วันศุกร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การวางแผนเชิงกลยุทธ์ของห้องสมุดโรงเรียน (ตอนที่ 2)



ในการตอบแบบสอบถามแต่ละข้อ จะมีมาตรวัดสำหรับประมาณค่าเป็นน้ำหนักของคะแนน
ตามระดับทักษะการบริหารว่ามีมากน้อยเพียงใด โดยได้กำหนดคะแนนของช่วงน้ำหนักแต่ละระดับ
ดังนี้
1 หมายถึง มีทักษะการบริหาร อยู่ในระดับน้อยที่สุด
2 หมายถึง มีทักษะการบริหาร อยู่ในระดับน้อย
3 หมายถึง มีทักษะการบริหาร อยู่ในระดับปากลาง
4 หมายถึง มีทักษะการบริหาร อยู่ในระดับมาก
5 หมายถึง มีทักษะการบริหาร อยู่ในระดับมากที่สุด
การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียน ทั้ง 3 ด้าน
ตามทฤษฎีของ โรเบิร์ต แคทช์ ได้แก่ ทักษะด้านเทคนิควิธี ทักษะด้านมนุษย์ และทักษะด้านความคิด
รวบยอด
2. สร้างแบบสอบถามเป็นข้อคำถาม เกี่ยวกับทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนทั้ง 3
ด้าน นำแบบสอบถามที่สร้างขึ้นมาให้ประธานกรรมการและกรรมการควบคุมการทำปริญญานิพนธ์
ตรวจสอบความถูกต้องเหมาะสมของภาษาและความสมบูรณ์ของเนื้อหา
39
3. นำแบบสอบถามที่ได้รับการปรับปรุงแล้วไปให้กรรมการผู้เชี่ยวชาญ 5 คนตรวจสอบ
ความเที่ยงตรงของข้อคำถาม และให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
4. นำแบบสอบถามมาดำเนินการปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะของกรรมการผู้เชี่ยวชาญ
5. นำเครื่องมือที่ได้รับการตรวจสอบ และปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ
แล้วนำไปทดลองใช้ (Try Out) กับครูผู้สอนที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน หลังจากนั้นนำแบบ
สอบถามทั้งหมดที่ได้มาทำการวิเคราะห์ เพื่อหาความเชื่อมั่น โดยใช้วิธีการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า
ของครอนบาค( Cronbach อ้างใน ยุทธพงษ์ กัยวรรณ์, 2543 : 137) ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบ
ถามเท่ากับ 0.97
6) นำแบบสอบถามที่หาค่าความเที่ยงตรงและความเชื่อมั่นแล้ว ไปดำเนินการจัดพิมพ์เป็นแบบ
สอบถามฉบับสมบูรณ์เพื่อใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลต่อไป
การเก็บรวบรวมข้อมูล
ผู้วิจัยได้ดำเนินการแจกแบบสอบถามไปยังกลุ่มตัวอย่างและเก็บรวบรวมข้อมูลตามลำดับดังนี้
1. ขอหนังสือจากบัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ขอความอนุเคราะห์
จากผู้อำนวยการสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
2. นำหนังสือจากสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร เรียนผู้อำนวยการเขตธนบุรี เพื่อขอ
ความอนุเคราะห์ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากข้าราชการครูในสังกัด ที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง และแจกแบบ
สอบถามไปให้ จำนวน 206 ชุด
3. ผู้วิจัยไปเก็บรวบรวมแบบสอบถามด้วยตนเอง จากโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตธนบุรี
กรุงเทพมหานคร ได้รับคืน จำนวน 206 ชุด คิดเป็นร้อยละ 100
การวิเคราะห์ข้อมูล
ผู้วิจัยนำแบบสอบถามที่รวบรวมได้มาตรวจสอบขั้นต้น โดยทำการตรวจสอบข้อมู(Editing)
ตรวจดูความสมบูรณ์ของการตอบแบบสอบถาม ต่อจากนั้นนำแบบสอบถามมาลงรหัส ให้คะแนนตาม
น้ำหนักของคะแนนแต่ละข้อ และบันทึกลงในคอมพิวเตอร์เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์
โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Window (Statistical Package for the Social Science)
บทที่ 3
วิธีดำเนินการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาตามทัศนะของ
ข้าราชครูสังกัดสำนักงานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร โดยมีขั้นตอนในการดำเนินการดังนี้
1. ประชากร และกลุ่มตัวอย่าง
2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
3. การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
4. การเก็บรวบรวมข้อมูล
5. การวิเคราะห์ข้อมูล
6. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
กาวิจัยครั้งนี้ ได้ศึกษากับประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ดังนี้.
1. ประชากร ได้แก่ ข้าราชการครูที่ปฏิบัติการสอนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนัก
งานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร จำนวน 410 คน จาก 17 โรงเรียน
2. กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ข้าราชการครูปฏิบัติการสอนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนัก
งานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (stratified random samplings)
โดยใช้ตารางการกำหนดกลุ่มตัวอย่างของ เครจซี่ และมอร์แกน (Krejcie & Morgan, 1970 : 8 )ได้กลุ่ม
ตัวอย่างทั้งหมด 206 คน แยกเป็นข้าราชการครูโรงเรียนขนาดเล็ก 51 คน ข้าราชการครูโรงเรียน
ขนาดกลาง จำนวน 89 คน และข้าราชการครูโรงเรียนขนาดใหญ่ จำนวน 66 คน จำแนกเป็นรายโรง
เรียนดังตารางที่ 1
ตารางที่ 1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำแนกตามขนาดของโรงเรียนในเขตธนบุรี
กรุงเทพมหานคร
ขนาดของโรงเรียน ประชากร กลุ่มตัวอย่าง
เล็ก 104 51
กลาง 176 89
ใหญ่ 130 66
รวม 410 206
73
ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า จำแนกเป็นรายโรงเรียน
ในสังกัดสำนักงานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร
ประชากร กลุ่มตัวอย่าง
ขนาดโรงเรียน ขนาดโรงเรียน
ลำดับ
ที่ โรงเรียน
เล็ก กลาง ใหญ่ รวม เล็ก กลาง ใหญ่ รวม
1 วัดโพธินิมิตร - - 43 43 - - 22 22
2 วัดประยุรวงศ์ 20 - - 20 10 - 10
3 วัดกัลยาณมิตร - 27 - 27 14 - 14
4 วัดประดิษฐาราม 20 - - 20 10 - - 10
5 วัดใหญ่ศรีสุพรรณ 18 - - 18 9 - - 9
6 วัดราชคฤห์ - 17 - 17 - 8 - 8
7 วัดบางสะแกนอก 9 - - 9 4 - - 4
8 วัดบางสะแกใน - - 39 39 - - 20 20
9 วัดขุนจันทร์ 11 - - 11 5 - - 5
10 วัดกระจับพินิจ - - 48 48 - - 24 24
11 วัดเวฬุราชิน - 29 - 29 - 15 - 15
12 วัดบางน้ำชน 12 - - 12 6 - - 6
13 วัดราชวรินทร์ - 18 - 18 - 9 - 9
14 วัดดาวคนอง - 29 - 29 - 15 - 15
15 วัดบุคคโล - 28 - 28 - 14 - 14
16 กันตทาราราม - 28 - 28 - 14 - 14
17 วัดใหม่ยายนุ้ย 14 - - 14 7 - - 7
รวม 104 176 130 410 51 89 66 206
38
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับทักษะการบริหารของผู้บริหารโรง
เรียนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง แบ่งเป็น แบ่งออกเป็น 2 ตอน ได้แก่
ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ลักษณะคำถามที่ใช้เป็นแบบเลือกตอบ เกี่ยวกับ
เพศ อายุ วุฒิ ตำแหน่ง ระยะเวลาที่ปฏิบัติการสอนและขนาดของโรงเรียนที่ปฏิบัติการสอน
ตอนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร
3 ด้าน ได้แก่ ทักษะด้านเทคนิควิธี ทักษะด้านมนุษย์ และทักษะด้านความคิดรวบยอด ลักษณะของแบบ
สอบถาม เป็นแบบมาตรประมาณค่า (rating scale) จำนวน 48 ข้อ มีรายละเอียดดังนี้
1. ทักษะด้านเทคนิควิธี ข้อ 1-18 จำนวน 18 ข้อ
2. ทักษะด้านมนุษย์ ข้อ 19-35 จำนวน 17 ข้อ
3. ทักษะด้านความคิดรวบยอด ข้อ 36-48 จำนวน 13 ข้อ
ในการตอบแบบสอบถามแต่ละข้อ จะมีมาตรวัดสำหรับประมาณค่าเป็นน้ำหนักของคะแนน
ตามระดับทักษะการบริหารว่ามีมากน้อยเพียงใด โดยได้กำหนดคะแนนของช่วงน้ำหนักแต่ละระดับ
ดังนี้
1 หมายถึง มีทักษะการบริหาร อยู่ในระดับน้อยที่สุด
2 หมายถึง มีทักษะการบริหาร อยู่ในระดับน้อย
3 หมายถึง มีทักษะการบริหาร อยู่ในระดับปากลาง
4 หมายถึง มีทักษะการบริหาร อยู่ในระดับมาก
5 หมายถึง มีทักษะการบริหาร อยู่ในระดับมากที่สุด
การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียน ทั้ง 3 ด้าน
ตามทฤษฎีของ โรเบิร์ต แคทช์ ได้แก่ ทักษะด้านเทคนิควิธี ทักษะด้านมนุษย์ และทักษะด้านความคิด
รวบยอด
2. สร้างแบบสอบถามเป็นข้อคำถาม เกี่ยวกับทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนทั้ง 3
ด้าน นำแบบสอบถามที่สร้างขึ้นมาให้ประธานกรรมการและกรรมการควบคุมการทำปริญญานิพนธ์
ตรวจสอบความถูกต้องเหมาะสมของภาษาและความสมบูรณ์ของเนื้อหา
39
3. นำแบบสอบถามที่ได้รับการปรับปรุงแล้วไปให้กรรมการผู้เชี่ยวชาญ 5 คนตรวจสอบ
ความเที่ยงตรงของข้อคำถาม และให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
4. นำแบบสอบถามมาดำเนินการปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะของกรรมการผู้เชี่ยวชาญ
5. นำเครื่องมือที่ได้รับการตรวจสอบ และปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ
แล้วนำไปทดลองใช้ (Try Out) กับครูผู้สอนที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน หลังจากนั้นนำแบบ
สอบถามทั้งหมดที่ได้มาทำการวิเคราะห์ เพื่อหาความเชื่อมั่น โดยใช้วิธีการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า
ของครอนบาค( Cronbach อ้างใน ยุทธพงษ์ กัยวรรณ์, 2543 : 137) ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบ
ถามเท่ากับ 0.97
6) นำแบบสอบถามที่หาค่าความเที่ยงตรงและความเชื่อมั่นแล้ว ไปดำเนินการจัดพิมพ์เป็นแบบ
สอบถามฉบับสมบูรณ์เพื่อใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลต่อไป
การเก็บรวบรวมข้อมูล
ผู้วิจัยได้ดำเนินการแจกแบบสอบถามไปยังกลุ่มตัวอย่างและเก็บรวบรวมข้อมูลตามลำดับดังนี้
1. ขอหนังสือจากบัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ขอความอนุเคราะห์
จากผู้อำนวยการสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
2. นำหนังสือจากสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร เรียนผู้อำนวยการเขตธนบุรี เพื่อขอ
ความอนุเคราะห์ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากข้าราชการครูในสังกัด ที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง และแจกแบบ
สอบถามไปให้ จำนวน 206 ชุด
3. ผู้วิจัยไปเก็บรวบรวมแบบสอบถามด้วยตนเอง จากโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตธนบุรี
กรุงเทพมหานคร ได้รับคืน จำนวน 206 ชุด คิดเป็นร้อยละ 100
การวิเคราะห์ข้อมูล
ผู้วิจัยนำแบบสอบถามที่รวบรวมได้มาตรวจสอบขั้นต้น โดยทำการตรวจสอบข้อมู(Editing)
ตรวจดูความสมบูรณ์ของการตอบแบบสอบถาม ต่อจากนั้นนำแบบสอบถามมาลงรหัส ให้คะแนนตาม
น้ำหนักของคะแนนแต่ละข้อ และบันทึกลงในคอมพิวเตอร์เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์
โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Window (Statistical Package for the Social Science)
40
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
การดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิต ิ SPSS for Window ในการ
ดำเนินการวิจัยดังนี้
1. การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม โดยการหาค่าร้อยละ
2. การวิเคราะห์เพื่อหาระดับทักษะการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา
ตามทัศนะของครู สังกัดสำนักงานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร โดยการหาค่าเฉลี่ย ( X ) และความ
เบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และแปลความหมายตามเกณฑ์ที่กำหนด ( กรมวิชาการ,2537 : 27) ดังนี้
ค่าเฉลี่ยระหว่าง 1.00-1.79 หมายถึง มีทักษะในระดับน้อยที่สุด
ค่าเฉลี่ยระหว่าง 1.80-2.59 หมายถึง มีทักษะในระดับน้อย
ค่าเฉลี่ยระหว่าง 2.60-3.39 หมายถึง มีทักษะในระดับปากลาง
ค่าเฉลี่ยระหว่าง 3.40-4.19 หมายถึง มีทักษะในระดับมาก
ค่าเฉลี่ยระหว่าง 4.20-5.00 หมายถึง มีทักษะในระดับมากที่สุด
3. เปรียบเทียบความแตกต่างของทักษะการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา
ตามทัศนะของข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานครที่ปฏิบัติงานอยู่ในโรงเรียน 3
ขนาด และประสบการณ์ในการทำงานของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร
โดยทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (ANOVA) กรณีผลการทดสอบค่า F มีนัยสำคัญทางสถิติ จะทำ
การทดสอบรายคู่ภายหลังด้วยวิธีของ เชฟเฟ่ ( Scheffe')
บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
การศึกษาทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ตามทัศนะของข้าราชการครู
สังกัดสำนักงานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานครในครั้งนี้ ผู้วิจัยเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลตามลำดับดังนี้
ตอนที่ 1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา จำแนกตามขนาด
โรงเรียนและประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน
ตอนที่ 2 ผลการวิเคราะห์ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ตามทัศนะ
ของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร
ตอนที่ 3 ผลการเปรียบเทียบทักษะการบริหารของผู้บริหาร โรงเรียนประถมศึกษา
ตามทัศนะของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานครจำแนกตามขนาดโรงเรียน
ตอนที่ 4 ผลการเปรียบเทียบทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ตาม
ทัศนะของข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร จำแนกตามประสบการณ์ในการ
ทำงาน
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา จำแนกตามขนาดโรงเรียนและประสบการณ์
ในการปฏิบัติงาน ดังตารางที่ 2
ตารางที่ 2 จำนวนร้อยละของกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา จำแนกตามขนาดโรงเรียนและประสบการณ์ในการ
ปฏ ิบัติงาน
ขนาดโรงเรียน
เล็ก กลาง ใหญ่ รวม
ระยะเวลา
ที่ปฏิบัติงาน
จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ
น้อยกว่า 12 ปี
13 - 22 ปี
23 - 32 ปี
33 ปีขึ้นไป
11
12
17
11
5.3
5.8
8.3
5.3
16
9
32
32
7.8
4.4
15.5
15.5
13
10
20
23
6.3
4.9
9.7
11.2
40
31
69
66
19.4
15.0
33.5
32.0
รวม 51 24.8 89 43.2 66 32.0 206 100
42
จากตารางที่ 2 พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา จำนวน 206 คน ส่วนใหญ่เป็นครูผู้สอนในโรง
เรียนขนาดกลาง จำนวน 89 คน คิดเป็นร้อยละ 43.2 เป็นครูผู้สอนในโรงเรียนขนาดใหญ่ จำนวน
66 คน คิดเป็นร้อยละ 32.0 และครูผู้สอนในโรงเรียนขนาดขนาดเล็ก จำนวน 51 คน คิดเป็นร้อยละ
24.8 ตามลำดับ
ส่วนประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน พบว่า เวลาส่วนใหญ่เป็นครูผู้สอนที่มีประสบการณ์ใน
การปฏิบัติงาน 22-32 ปีขึ้นไป จำนวน 69 คน คิดเป็นร้อยละ 33.5 ครูผู้สอนที่มีระยะเวลาในการที่
ปฏิบัติงาน 33 ปีขึ้นไป จำนวน 66 คน คิดเป็นร้อยละ 32.0 และครูผู้สอนที่มีระยะเวลาในการปฏิบัติ
งานน้อยกว่า 12 ปี จำนวน 40 คน คิดเป็นร้อยละ 19.4 ตามลำดับ
ตอนที่ 2 ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ตามทัศนะของข้าราชการ
ครูสังกัดสำนักงานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ดังตารางที่ 3-6
ตารางที่ 3 คะแนนเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระดับทักษะการบริหาร และอันดับที่เกี่ยวกับ
ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ตามทัศนะของข้าราชการครู
สังกัดสำนักงานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร
ข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตธนบุรี
ด้าน (n = 206)
ที่ ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียน
X
SD
ระดับทักษะ
การบริหาร
อันดับ
1 เทคนิควิธี 4.155 .716 มาก 2
2 มนุษย์ 4.170 .762 มาก 1
3 ความคิดรวบยอด 4.151 .747 มาก 3
ภาพรวม 4.160 .718 มาก -
จากตารางที่ 3 พบว่า ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ตามทัศนะของ
ข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตเขตธนบุรี กรุงเทพมหานครโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณา
เป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมาก ทุกด้าน ซึ่งเรียงลำดับจากคะแนนเฉลี่ยมากไปหาน้อยคือ ทักษะ
ด้านมนุษย์ ทักษะด้านเทคนิควิธี และทักษะด้านความคิดรวบยอด ตามลำดับ
ตารางที่ 4 คะแนนเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระดับทักษะการบริหาร และอันดับที่เกี่ยวกับ
43
ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ด้านเทคนิควิธี ตามทัศนะของ
ข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตเขตธนบุรีกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตธนบุรี
ข้อที่ ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียน
X
SD
ระดับทักษะ
การบริหาร อันดับ
ทักษะด้านเทคนิควิธี 4.155 .716 มาก -
1 ผู้บริหารนำความรู้ในการจัดทำแผนมาปฏิบัติ
ได้เหมาะสมกับสภาพของโรงเรียน
3.961
.704
มาก
9
2 ผู้บริหารนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดทำสถิติ
และแผนภูมิเกี่ยวกับข้อมูลทางการศึกษาของ
โรงเรียนได้อย่างชัดเจน
3.859
.755
มาก
13
3 ผู้บริหารมีความสามารถในการนำเสนอวิธีการ
สอนเป็นตัวอย่างให้ครูได้เมื่อครูต้องการ
3.476
.966
มาก
18
4 ผู้บริหารมีความสามารถในการทำหน้าที่
ประธานในที่ประชุมครูได้อย่างมีประสิทธิ
ภาพ
4.243
.739
มากที่สุด
1
5 ผู้บริหารใช้เทคนิคต่าง ๆในการสั่งการและ
มอบหมายงานให้ผู้ปฏิบัติตามเข้าใจและปฏิบัติ
ตามได้ถูกต้องและชัดเจน
3.985
.716
มาก
8
6 ผู้บริหารมีความสามารถในการจัดหาวัสดุ-
อุปกรณ์ด้วยวิธีการต่าง ๆมาใช้ในการเรียนการ
สอนได้เหมาะสมกับสภาพของโรงเรียน
3.825
.802
มาก
16
7 ผู้บริหารนำความรู้และความเข้าใจในการจัด
ระบบการเก็บรักษาวัสดุอุปกรณ์และครุภัณฑ์
มาใช้ในการปฏิบัติงาน
3.840
.732
มาก
14
8 ผู้บริหารนำความรู้ความเข้าใจในระเบียบการ
เงินและควบคุมกำกับติดตามมาใช้ในการ
ปฏิบัติงานได้ถูกต้องตามระเบียบ
4.063
.713
มาก
3
ตารางที่ 4 (ต่อ)
44
ข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตธนบุรี
ข้อที่
ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียน
X
SD
ระดับทักษะ
การบริหาร อันดับ
9 ผู้บริหารนำความรู้ความเข้าใจระเบียบการ
สารบรรณและควบคุมกำกับติดตามให้
สามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง
3.918
.711
มาก
10
10 ผู้บริหารสามารถจัดทำเกณฑ์มาตรฐานการ
ทำงานของบุคลากรในโรงเรียนได้อย่าง
เหมาะสม
3.903
.784
มาก
11
11 ผู้บริหารสามารถพัฒนาวิธีการต่าง ๆเพื่อ
เสนอรายงานเกี่ยวกับความก้าวหน้าหรือ
ปัญหาของนักเรียนไปยังผู้ปกครองได้อย่าง
เหมาะสม
3.757
.802
มาก
17
12 ผู้บริหารมีความสามารถในการเตรียมและจัด
ทำรายงานผลปฏิบัติงานของโรงเรียนเสนอ
สนศ. ได้อย่างถูกต้องเรียบร้อย
4.005
.666
มาก
6
13 ผู้บริหารใช้วิธีการอย่างหลากหลายในการ
เสนอข้อมูลข่าวสารต่อชุมชนเพื่อการประชา
สัมพันธ์โรงเรียนได้อย่างต่อเนื่อง
3.825
.795
มาก
15
14 ผู้บริหารมีความรู้ในการวางแผนการประชา
สัมพันธ์ได้สอดคล้องกับลักษณะงานของ
โรงเรียน
3.869
.763
มาก
12
15 ผู้บริหารมีการพัฒนาตนเองและค้นคว้าหา
ความรู้อยู่เสมอ
4.233
.704
มากที่สุด
2
16
ผู้บริหารสามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้ใน
งานที่ปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม
4.015
.722
มาก
4
17 ผู้บริหารมีความสารถในการพัฒนาผู้ใต้บังคับ
บัญชาให้สามารถทำงานแทนได้
4.005
.742
มาก
7
ตารางที่ 4 (ต่อ)
ข้อที่ ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียน ข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตธนบุรี
45
X SD ระดับทักษะ
การบริหาร
อันดับ
18 ผู้บริหารมีความรู้และความเข้าใจในการรวบ
รวมข้อมูลและจัดเก็บอย่างเป็นระบบ เพื่อ
ประโยชน์ในการกำหนดนโยบายและวางแผน
ปฏิบัติงาน
4.015
.729
มาก
5
จากตารางที่ 4 พบว่าทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ด้านเทคนิควิธี ตามทัศนะของข้า
ราชการครู สังกัดสำนักงานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานครโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อปรากฏว่า
อยู่ในระดับมากทุกข้อ ยกเว้น อันดับที่ 1 และอันดับที่ 2 อยู่ในระดับมากที่สุดคือผู้บริหารมีความสามารถในการทำ
หน้าที่ประธานในที่ประชุมครูได้อย่างมีประสิทธิภาพ และผู้บริหารมีการพัฒนาตนเองและค้นหาความรู้อยู่เสมอ
ส่วนทักษะที่อยู่ในอันดับสุดท้าย คือผู้บริหารมีความสามารถในการนำเสนอวิธีการสอนเป็นตัวอย่างให้ครูได้เมื่อครู
ต้องการ
ตารางที่ 5 คะแนนเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระดับทักษะการบริหาร และอันดับที่เกี่ยวกับทักษะ
การบริหารของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาด้านทักษะมนุษย์ตามทัศนะของข้าราชการ
ครูประถมศึกษากรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานเขตธนบุรี
ข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตธนบุรี
ข้อที่ ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียน
X
SD
ระดับทักษะ
การบริหาร
อันดับ
ทักษะด้านมนุษย์ 4.170 .762 มาก -
1 ผู้บริหารสามารถปรับตัวให้เข้ากับบุคคลอื่นใน
สถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม
4.505
.766
มากที่สุด
1
2 ผู้บริหารเปิดโอกาสให้ผู้ร่วมงานมีส่วนร่วมใน
การปฏิบัติงานตามความถนัดและความ
สามารถเป็นประจำ
4.121
.752
มาก
2
ตารางที่ 5 (ต่อ)
ข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตธนบุรี
ข้อที่ ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียน
X SD
ระดับทักษะ
การบริหาร อันดับ
46
3 ผู้บริหารให้ความสำคัญและยกย่องผู้ร่วมงาน
บ่อยครั้ง
4.038 .795 มาก 8
4 ผู้บริหารให้ความเป็นกันเองกับทุกคนโดย
สม่ำเสมอและถ้วนหน้า
4.072
.808
มาก
4
5 ผู้บริหารมีเวลาให้กับทุกคนในการให้
คำปรึกษาอย่างจริงใจ
4.043
.798
มาก
7
6 ผู้บริหารเปิดโอกาสให้ผู้ร่วมงานได้แสดง
ความคิดเห็น และร่วมตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ
อย่างสม่ำเสมอ
4.092 .806 มาก 3
7 ผู้บริหารสามารถสร้างบรรยากาศให้เกิดความ
ร่วมมือร่วมใจในกลุ่มผู้ร่วมงานได้เป็นอย่างดี
4.053
.845
มาก
6
8 ผู้บริหารรับฟังและพยายามช่วยเหลือในการ
แก้ปัญหาของทุกคนด้วยความเต็มใจ
4.063
.746
มาก
5
9 ผู้บริหารแสดงความยินดีและยกย่อง
ชมเชยผู้ร่วมงานที่ประสบความสำเร็จในการ
ปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายอย่างสม่ำเสมอ
4.014
.799
มาก
9
10 ผู้บริหารจัดให้มีการพบปะสังสรรค์กันนอก
เวลาเพื่อสร้างสัมพันธ์ไมตรีอันดีต่อกัน
ระหว่างบุคลากรระดับต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม
3.746
.969
มาก
17
11 ผู้บริหารสามารถเป็นผู้นำการอภิปรายที่
สามารถจูงใจให้คนเห็นคล้อยตามได้
3.898
.834
มาก
14
12
ผู้บริหารปฏิบัติต่อทุกคนอย่างยุติธรรมโดยเท่า
เทียมกัน
3.927
.855
มาก
13
13 ผู้บริหารใช้วิธีการต่างๆในการให้รางวัลแก่ผู้
ร่วมงานในโอกาสต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม
3.835
.917
มาก
16
ตารางที่ 5 (ต่อ)
ข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตธนบุรี
ข้อที่ ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียน
X SD
ระดับทักษะ
การบริหาร
อันดับ
14 ผู้บริหารสามารถแก้ปัญหาข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้น
47
ระหว่างผู้ร่วมงานได้อย่างมีผลดี 3.859 .840 มาก 15
15 ผู้บริหารให้โอกาสแก่ผู้ใต้บังคับบัญชามีส่วน
ร่วมรับผิดชอบในการบริหารงานได้อย่าง
หมาะสม
3.980
.745
มาก
10
16 ผู้บริหารสามารถจัดระบบการติดต่อสื่อสาร
และการประสานงานระหว่างโรงเรียนกับชุม
ชนหรือหน่วยงานอื่นอย่างมีประสิทธิภาพ
3.942
.709
มาก
12
17 ผู้บริหารสามารถแสวงหาความช่วยเหลือจาก
บุคคลหรือหน่วยงานอื่นมาใช้ในการบริหาร
โรงเรียนอยู่เสมอ
3.956
.741
มาก
11
จากตารางที่ 5 พบว่าทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ด้านมนุษย์
ตามทัศนะของข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร โดยรวม อยู่ในระดับมาก
เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อปรากฏว่า อยู่ในระดับมากทุกข้อ โดยทักษะที่อยู่ในอันดับแรก คือผู้บริหารสามารถปรับตัว
ให้เข้ากับบุคคลอื่นในสถานการณ์ต่าง ๆได้อย่างเหมาะสม รองลงมาอยู่ในระดับมากคือ ผู้บริหารเปิดโอกาสให้ผู้ร่วม
งานได้แสดงความคิดเห็นและร่วมตัดสินใจในเรื่องต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ ส่วนทักษะที่อยู่ในอันดับสุดท้าย คือผู้
บริหารจัดให้มีการพบปะสังสรรค์กันนอกเวลา เพื่อสร้างสัมพันธ์ไมตรีอันดีต่อกันระหว่างบุคคลระดับต่าง ๆ ได้
อย่างเหมาะสม
ตารางที่ 6 คะแนนเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระดับทักษะการบริหาร และอันดับที่เกี่ยวกับ
ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ด้านความคิดรวบยอด ตามทัศนะ
ของข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานเขตธนบุรี
ข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตธนบุรี
ข้อที่ ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียน
X SD
ระดับทักษะ
การบริหาร
อันดับ
48
ทักษะด้านความคิดรวบยอด 4.151 .747 มาก -
1 ผู้บริหารสามารถนำนโยบาย จุด-มุ่งหมาย และ
ขอบข่ายของงานที่ชัดเจนไปใช้ในการปฏิบัติงาน
4.019
.691
มาก
4
2 ผู้บริหารนำนโยบายของผู้บังคับบัญชาเหนือชั้น
ขึ้นไปทุกระดับมากำหนดแนวทางในการปฏิบัติ
ได้อย่างเหมาะสม
4.083
.683
มาก
1
3 ผู้บริหารสามารถวิเคราะห์งานของโรงเรียนได้ถูก
ต้อง
4.005
.729
มาก
6
4 ผู้บริหารมีความรู้ความเข้าใจในนโยบายเกี่ยวกับ
การจัดการศึกษาของชาติและนำมากำหนดทำเป็น
นโยบายในการบริหารโรงเรียนได้สอดคล้อง
เหมาะสม
4.034
.722
มาก
3
5 ผู้บริหารมีความรู้ในเรื่องหลักสูตรการศึกษาทุก
ระดับช่วงชั้นที่จัดในโรงเรียนแลสามารถดำเนิน
ให้บรรลุจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
4.005
.717
มาก
5
6
ผู้บริหารสามารถอำนวยการและให้คำปรึกษาเกี่ยว
กับโครงการต่าง ๆ ที่จัดขึ้นในโรงเรียนได้
4.065
.724
มาก
2
7
ผู้บริหารรู้และเข้าใจในความต้องการของชุมชน
ทางด้านการศึกษาและนำมาเป็นแนวทางในการจัด
การศึกษาของโรงเรียนได้สอดคล้องเหมาะสม
3.859
.729
มาก
13
8 ผู้บริหารมีแนวคิดที่ชัดเจนเกี่ยวกับ
การกำหนดงบประมาณให้สอดคล้องกับแผน
พัฒนาประจำปีของโรงเรียน
3.971
.745
มาก
10
ตารางที่ 6 (ต่อ)
ข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตธนบุรี
ข้อที่ ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียน
X SD
ระดับทักษะ
การบริหาร
อันดับ
9 ผู้บริหารมีความสามารถในการวางการแผนการ
49
ใช้อาคารสถานที่ได้เหมาะสมกับการจัดกิจ
กรรมการเรียนรู้
4.005
.755
มาก
8
10 ผู้บริหารสามารถจัดลำดับความสำคัญก่อน-หลัง
ของการปฏิบัติ และการแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะ
สม
4.005
.729
มาก
6
11 ผู้บริหารมอบหมายอำนาจหน้าที่ในการบังคับ
บัญชาตามลำดับชั้นของสายการบังคับบัญชาอย่าง
เหมาะสม
3.985
.742
มาก
9
12 ผู้บริหารใช้กระบวนการในการพิจารณาความดี
ความชอบของผู้ใต้บังคับบัญชาได้อย่างเหมาะสม
และยุติธรรม
3.864
.844
มาก
12
13 ผู้บริหารมีวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้
ใต้บังคับบัญชา เพื่อพิจารณาความดีความชอบได้
อย่างถูกต้อง
3.893
.837
มาก
11
จากตารางที่ 6 พบว่า ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ด้านความคิดรวบยอด ตาม
ทัศนะของข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร โดยรวมอยู่ใน
ระดับ มาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ ปรากฏว่าอยู่ในระดับ มาก ทุกข้อ โดยทักษะที่อยู่ใน อันดับแรกคือ ผู้บริหารนำ
นโยบายของผู้บังคับบัญชาเหนือชั้นขึ้นไปทุกระดับ มากำหนดแนวทางการปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม รองลงมา คือ ผู้
บริหารสามารถอำนวยการ และให้คำปรึกษา เกี่ยวกับโครงการต่าง ๆ ที่จัดขึ้นในโรงเรียนได้ ส่วนทักษะที่อยู่ใน
อันดับสุดท้ายคือ ผู้บริหารรู้และเข้าใจในความต้องการของชุมชนทางด้านการศึกษา และนำมาเป็นแนวทางในการจัด
การศึกษาของโรงเรียนได้อย่างเหมาะสม
ตอนที่ 3 ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ตาม
ทัศนะของข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานเขตธนบุรี จำแนกตามขนาดโรงเรียน ดังตารางที่ 7-8
ตารางที่ 7 คะแนนเฉลี่ยและความเบี่ยงเบนมาตรฐาน เกี่ยวกับทักษะการบริหารของผู้บริหาร
โรงเรียนประถมศึกษา ตามทัศนะของข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงาน
เขตธนบุรี จำแนกตามขนาดโรงเรียน
โรงเรียนขนาด
เล็ก (n = 51)
โรงเรียนขนาด
กลาง (n = 89)
โรงเรียนขนาด
ด้าน ทักษะการบริหารของ ใหญ่ (n = 66)
ผู้บริหารโรงเรียน
X SD X SD X SD
50
1 เทคนิควิธี 4.235 .586 4.023 .825 4.273 .621
2 มนุษย์ 4.314 .547 4.101 .840 4.152 .789
3 ความคิดรวบยอด 4.137 .601 4.045 .838 4.303 .701
ภาพรวม 4.216 .577 4.090 .821 4.212 .668
จากตารางที่ 7 พบว่า ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ตามทัศนะของ
ข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร จำแนกตามขนาดโรงเรียน โรงเรียนขนาด
เล็ก โรงเรียนขนาดกลางและโรงเรียนขนาดใหญ่ ปรากฏผลดังนี้
ทักษะ การบริหารของผู้บริหารโรงเรียนเรียนประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร ของโรงเรียน
ขนาดเล็ก โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากที่สุดโดยเรียง
ลำดับคะแนนเฉลี่ยมากไปหาน้อย คือทักษะด้านมนุษย์ ทักษะด้านเทคนิควิธี ส่วนทักษะด้าน ความคิด
รวบยอด อยู่ในระดับมาก
ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตธนบุรี
กรุงเทพมหานคร ของโรงเรียนขนาดกลาง โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า
อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ทักษะด้านมนุษย์ ทักษะ
ด้านความคิดรวบยอด และทักษะด้านเทคนิควิธี ตามลำดับ
ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตธนบุรี
กรุงเทพมหานคร ของโรงเรียนขนาดใหญ่โดยรวม อยู่ในระดับ มากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน
พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือทักษะด้านความคิดรวบ
ยอด ทักษะด้านเทคนิควิธี ส่วนทักษะด้านมนุษย์ อยู่ในระดับมาก
ตารางที่ 8 เปรียบเทียบทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ตามทัศนะของ
ข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร จำแนกตาม
ขนาดโรงเรียน
ด้าน ทักษะการบริหารของ
ผู้บริหารโรงเรียน df SS MS F p
ด้านเทคนิควิธี
ระหว่างกลุ่ม 2 2.807 1.403 2.787 .064
ภายในกลุ่ม 203 102.222 .504
รวม 205 105.029 -
51
ด้านมนุษย์
ระหว่างกลุ่ม 2 1.498 .749 1.294 .277
ภายในกลุ่ม 203 117.555 .579
รวม 205 119.053
ด้านความคิดรวบยอด
ระหว่างกลุ่ม 2 2.536 .749 1.294 .277
ภายในกลุ่ม 203 111.779 .551
รวม 205 114.335 รวม
ภาพรวม
ระหว่างกลุ่ม 2 .775 .387 .750 .474
ภายในกลุ่ม 203 104.939 .517
รวม 205 105.714
จากตาราง 8 พบว่า ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ตามทัศนะของ
ข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร จำแนกตามขนาดโรงเรียนโดยรวม พบว่า
แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งในภาพรวมและรายด้าน
ตอนที่ 4 ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา
ตามทัศนะของข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร จำแนกตามประสบการณ์ใน
การปฏิบัติงาน ดังตารางที่ 9-10
ตารางที่ 9 คะแนนเฉลี่ย และความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ของทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา
ตามทัศนะของข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร จำแนกตามประสบการณ์ใน
การปฏิบัติงาน
ด้าน ทักษะการบริหาร ประสบการณ์ในการทำงาน
52
น้อยกว่า12 ปี
(n = 40 )
13-22 ปี
(n = 31)
23-32 ปี
(n = 69)
33 ปี ขึ้นไป
(n = 66 )
ของ
ผู้บริหารโรงเรียน
X SD X SD X SD X SD
1 เทคนิควิธี 4.100 .778 3.968 .752 4.130 .746 4.303 .607
2 มนุษย์ 4.075 .797 3.839 .735 4.188 .862 4.364 .572
3 ความคิดรวบยอด 4.050 .783 3.871 .718 4.174 .857 4.318 .559
ภาพรวม 4.100 .709 3.871 .670 4.174 .822 4.318 .586
จากตารางที่ 9 พบว่า ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ตามทัศนะของ
ข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานเขตธนบุรี จำแนกตามประสบการณ์การในการปฏิบัติงาน ปรากฎดัง
นี้
ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนเรียนประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร ตามทัศนะของข้า
ราชการครูกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานเขตธนบุรี ที่มีประสบการณ์การในการปฏิบัติน้อยกว่า 12 ปี โดย
รวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมาก
ทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากคะแนนเฉลี่ยมากไปหาน้อย คือ ทักษะด้านเทคนิควิธี ทักษะด้านมนุษย์ และทักษะด้าน
ความคิดรวบยอด ตามลำดับ
ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนเรียนประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร ตาม
ทัศนะของข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานเขตธนบุรี ที่มีประสบการณ์การในการ
ปฏิบัติงาน 13-22 ปี โดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมาก
ทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากคะแนนเฉลี่ยมากไปหาน้อย คือทักษะด้านเทคนิควิธี ทักษะด้านความคิด
รวบยอด และทักษะด้านมนุษย์ ตามลำดับ
ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนเรียนประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร ตาม
ทัศนะของข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานเขตธนบุรี มีประสบการณ์การในการปฏิบัติ
งาน 23-32 ปี โดยรวม อยู่ในระดับ มาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับ มาก ทุกด้าน
โดยเรียงลำดับจากคะแนนเฉลี่ยมากไปหาน้อย คือทักษะด้านมนุษย์ ทักษะด้านความคิดรวบยอด
และทักษะด้านเทคนิควิธี ตามลำดับ
ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนเรียนประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร
ตามทัศนะของข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานเขตธนบุรี ที่มีประสบการณ์การในการ
ปฏิบัติงานอยู่ในระดับมากที่สุดเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด ทุกด้าน โดยเรียง
ลำดับจากคะแนนเฉลี่ยมากไปหาน้อย คือทักษะด้านมนุษย์ ทักษะด้านความคิดรวบยอด และทักษะ
ด้านเทคนิควิธี ตามลำดับ
53
ตารางที่ 10 เปรียบเทียบทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ตามทัศนะของ
ข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร จำแนกตามประสบการณ์การ
ในการปฏิบัติงาน
ทักษะการบริหารของ
ผู้บริหารโรงเรียน df SS MS F p
ด้านเทคนิควิธี 1.774 .153
ระหว่างกลุ่ม 3 2.696 .899
ภายในกลุ่ม 202 102.333 .507
รวม 205 105.029
ด้านมนุษย์ 3.738* .012
ระหว่างกลุ่ม 3 6.261 2.087
ภายในกลุ่ม 202 112.792 .558
รวม 205 119.053
ความคิดรวบยอด 2.899* .036
ระหว่างกลุ่ม 3 4.270 1.573
ภายในกลุ่ม 202 94.123 .543
รวม 205 109.615
ภาพรวม 2.923* .035
ระหว่างกลุ่ม 3 4.398 1.466
ภายในกลุ่ม 202 101.315 .502
รวม 205 105.174
* p < .05 จากตารางที่ 10 พบว่า ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ตามทัศนะของ ข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร จำแนกตามประสบการณ์การปฏิบัติงาน โดยรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทักษะด้าน มนุษย์ และทักษะด้านความคิดรวบ แตกต่างกันอย่างนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ.05 ส่วนทักษะด้าน เทคนิควิธี พบว่าแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 54 ตารางที่ 11 การทดสอบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ย ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนตาม ทัศนะของข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ด้านมนุษย์ จำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน ประสบการณ์การปฏิบัติ น้อยกว่า 12 ปี 13-22 ป  23-32 ป  33 ปีขนึ้ ไป งาน X 4.075 3.839 4.188 4.363 น้อยกว่า 12 ปี 4.075 .236 .133 .289 13-22 ปี 3.839 .350 .525* 23-32 ปี 4.188 .175 33 ปี ขึ้นไป 4.363 *p < .05 จากตารางที่ 11 พบว่า ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ตามทัศนะของ ข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน 13-22 ปีกับประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน 33 ปีขึ้นไป มีทัศนะต่อทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียน ประถมศึกษา ด้านมนุษย์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 ส่วนคู่อื่นแตกต่างกัน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ตารางที่ 12 การทดสอบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ย ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียน ประถมศึกษาตามทัศนะของข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ด้านความคิดรวบยอด จำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน ประสบการณ์การปฏิบัติงาน น้อยกว่า 12 ปี 13-22 ปี 23-32 ปี 33 ปีขึ้นไป X 4.050 3.871 4.174 4.318 น้อยกว่า 12 ปี 4.050 .179 * .124 .268 13-22 ปี 3.831 .303 .447 23-32 ปี 4.174 .144 33 ปี ขึ้นไป 3.318 *p < .05 55 จากตาราง ที่ 12 พบว่า ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ตามทัศนะของข้าราชการ ครู สังกัดสำนักงานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน น้อยกว่า 12 ปี กับประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน 13-22 ปี มีทัศนะต่อ ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียน ประถมศึกษา ด้านความคิดรวบยอด แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วน คู่อื่นแตก ต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3 การทดสอบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ย ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียน ประถมศึกษาตามทัศนะของข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ในภาพรวม จำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน ตารางที่ 1 ประสบการณ์การปฏิบัติงาน น้อยกว่า 12 ปี 13-22 ป  23-32 ป  33 ปีขนึ้ ไป X 4.100 3.891 4.174 3.318 น้อยกว่า 12 ปี 4.100 .299 .074 .218 13-22 ปี 3.831 .303* .447* 23-32 ปี 4.174 .144 33 ปี ขึ้นไป 3.318 *p < .05 จากตาราง ที่ 13 พบว่า ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ตามทัศนะ ของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ในภาพรวม ที่มีตามประสบการณ์ใน การปฏิบัติงาน 13-22 ปี กับประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน 23-32 และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน 33 ปีขึ้นไป มีทัศนะต่อ ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วน คู่อื่นแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ บทที่ 5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนตามทัศนะของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร 2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนตามทัศนะของข้าราชการ ครูสังกัดสำนักงานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร จำแนกตามขนาดโรงเรียนและ ประสบการณ์ในการ ปฎิบัติงาน สมมติฐานในการวิจัย 1. ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียน ตามทัศนะของข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขต ธนบุรี กรุงเทพมหานครจำแนกตามขนาดโรงเรียนแตกต่างกัน 2. ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียน ตามทัศนะของข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขต ธนบุรี กรุงเทพมหานครจำแนกตามประสบการณ์ในการทำงานแตกต่างกัน ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ประชากรในการวิจัยนี้ เป็นข้าราชการครูปฏิบัติการสอนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัด สำนักงานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร จำนวน 410 คน จาก 17 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยนี้เป็นข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร จำนวน 206 คน ซึ่งได้มา ด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เป็นข้าราชการครูในโรงเรียนขนาดเล็ก จำนวน 51 คน โรงเรียนขนาดกลาง จำนวน87 คน และโรงเรียนขนาดใหญ่จำนวน 66 คน 58 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามประเภทมาตรประมาณค่า ที่ผู้วิจัย สร้างขึ้นและให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา และทดลองใช้กับครูผู้ปฏิบัติการสอน โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขต ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน แล้วนำมาหาค่าความเชื่อ มั่น ด้วยวิธีการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า ของ ครอนบาค (Cronbach) ได้ค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยง เท่า กับ 0.97 การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้ดำเนินการแจกแบบสอบถามไปยังกลุ่มตัวอย่างและเก็บรวบรวมข้อมูลตามลำดับ ดังนี้ 1. ขอหนังสือจากบัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ขอความอนุเคราะห์ จากผู้อำนวยการสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร ในการเก็บรวบรวมข้อมูล 2. นำหนังสือจากสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร ถึงผู้อำนวยการเขตธนบุรีเพื่อขอความ อนุเคราะห์ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากข้าราชการครูในสังกัดที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง และแจกแบบสอบ ถามไปให้ 3. ผู้วิจัยไปเก็บรวบรวมแบบสอบถามด้วยตนเอง จากโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ปรากฏว่าจากจำนวนแบบสอบถามที่แจกไป 206 ฉบับ ได้รับคืน 206 ฉบับ คิดเป็น ร้อยละ 100 การวิเคราะห์ข้อมูล 1. นำแบบสอบถามมาลงรหัส ให้คะแนนตามน้ำหนักของคะแนนแต่ละข้อ และบันทึกลง ในคอมพิวเตอร์เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Window (Statistical Package for the Social Science) 2. ดำเนินการวิเคราะห์มูลตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย ดังนี้ 2.1 การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป สถานภาพผู้ตอบแบบสอบถาม โดยการหาค่าร้อยละ 2.2 วิเคราะห์เพื่อหาระดับทักษะการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ตามทัศนะของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร โดยการหาค่าเฉลี่ย ( X ) ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และแปลความหมายตามเกณฑ์ที่กำหนด 2.3 ความแตกต่างของทักษะการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาตามทัศนะ 59 ของข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานครที่ปฏิบัติงานอยู่ในโรงเรียน 3 ขนาด และ ประสบการณ์ในการทำงานของข้าราชการคร ู สังกัดสำนักงานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร โดยทดสอบ ความแปรปรวนทางเดียว (ANOVA) กรณีผลการทดสอบ ค่า F มีนัยสำคัญทางสถิติ จะทำการทดสอบ รายคู่ภายหลังด้วยวิธีของ เชฟเฟ่ (Scheffe) สรุปผลการวิจัย ผลจากการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียน ตามทัศนะของข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานเขตธนบุรี พบว่า โดยภาพรวมผู้บริหารโรงเรียนมีทักษะในการบริหารอยู่ในระดับ มาก เมื่อจำแนกเป็นรายด้านก็พบว่าอยู่ในระดับ มาก ทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากคะแนนเฉลี่ยมากไปหาน้อย คือ ทักษะด้านมนุษย์ ทักษะด้านเทคนิควิธี ทักษะและด้าน ความคิดรวบยอด ตามลำดับ เมื่อพิจารณา เป็นรายข้อในแต่ละด้าน ปรากฏผลดังนี้ 1.1 ด้านเทคนิควิธี พบว่า ข้อที่มีทักษะอยู่ในระดับมากที่สุด อันดับแรก คือผู้บริหารมี ความสามารถการทำหน้าที่ ประธานในที่ประชุมครูได้อย่างมีประสิทธิภาพ รองลงมาคือผู้บริหารมีการ พัฒนาตนเองและ ค้นคว้าอยู่เสมอ ส่วนทักษะที่อยู่อันดับสุดท้าย คือ ผู้บริหารมีความสามารถในการนำ เสนอวิธีการสอนเป็นตัวอย่างให้ครูได้เมื่อครูต้องการ 1.2 ด้านมนุษย์ พบว่า ข้อที่มีทัศนะอยู่ในระดับมาก อันดับแรก คือ ผู้บริหารปรับตัวให้ เข้ากับบุคคลอื่นในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม รองลงมาคือ ผู้บริหารเปิดโอกาสให้ผู้ร่วมงาน มีร่วมในการปฏิบัติงานตามความถนัดและความสามารถเป็นประจำ ส่วนทักษะที่อยู่อันดับสุดท้าย คือ ผู้ บริหารจัดให้มีการพบปะสังสรรค์กันนอกเวลาเพื่อสัมพันธ์ไมตรีอันดีต่อกันระหว่างบุคลากรระดับ ต่างๆได้อย่างเหมาะสม 1.3 ด้านความคิดรวบยอด พบว่า ข้อที่มีทัศนะอยู่ในระดับมาก อันดับแรก คือ ผู้บริหารนำ นโยบายของผู้บังคับบัญชาเหนือชั้นขึ้นไปทุกระดับมากำหนดแนวทางการปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม รอง ลงมาคือ ผู้บริหารสามารถอำนวยการและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับโครงการต่างๆ ที่จัดขึ้นในโรงเรียนได้ ส่วนทักษะที่อยู่อันดับสุดท้าย คือ ผู้บริหารรู้และเข้าใจในความต้องการของชุมชนทางด้านการศึกษา และนำมาเป็นแนวทางในการจัดการศึกษาของโรงเรียนได้สอดคล้องเหมาะสม 60 2. ผลการเปรียบเทียบทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนตามทัศนะของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร จำแนกตามขนาดโรงเรียน โดยรวม แตกต่างกันอย่างไม่มี นัยสำคัญทางสถิติ 3. ผลการเปรียบเทียบทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนตามทัศนะของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานครจำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน โดยรวม พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทักษะด้านมนุษย์ และทักษะ ด้านความคิดรวบยอด แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนทักษะด้านเทคนิควิธี แตก ต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ อภิปรายผลการวิจัย การศึกษาทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนตามทัศนะของข้าราชการครูสังกัดสำนัก งานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร มีประเด็นในการอภิปรายผลดังนี้ 1. ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนตามทัศนะของข้าราชการคร ู สังกัดสำนักงานเขต ธนบุรี กรุงเทพมหานคร โดยรวมอยู่ในระดับมาก เนื่องมาจากสำนักการศึกษา มีนโยบายในการจัดการ ศึกษาโดยเน้นประสิทธิภาพและคุณภาพของการบริหารงาน เพื่อให้การจัดการศึกษาของ กรุงเทพมหานคร บรรลุวัตถุประสงค์ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 โดยมียุทธศาสตร์ การกระจายอำนาจสู่ระดับโรงเรียน ให้โรงเรียนเป็นฐานในการบริหารและการจัดการศึกษา ดังนั้น การ คัดเลือกผู้บริหารเข้าสู่ตำแหน่งจึงมีการกำหนดคุณสมบัติไว้ค่อนข้างสูง และเมื่อเข้าสู่ตำแหน่งแล้ว ผู้ บริหารยังได้รับการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเรื่องนี้ แคทซ์ (Katz, 1955 : 33-42) ได้กล่าวถึงผู้ บริหารที่มีประสิทธิภาพไว้ 3 ประการ คือ ประการแรก ความสามารถที่จะใช้ในกิจกรรมใดกิจกรรม หนึ่งซึ่งจำเป็นต้องใช้วิธีการ กระบวนการ ขั้นตอนหรือเทคนิคต่าง ๆ ที่จำเป็น คือ การปฏิบัติงานในหน้า ที่ ประการที่สองคือ ความสามารถที่จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในฐานะสมาชิกของกลุ่ม และ สร้างความร่วมมือกับกลุ่มในฐานะผู้นำ รวมถึงความเข้าใจ ความต้องการของคนอื่น และกระตุ้นคนอื่น ในองค์กรหรือหน่วยงานให้มีส่วนร่วมในการวางแผนกิจกรรมต่าง ๆ ให้บรรลุเป้าหมาย และประการสุด ท้ายคือ มีความสามารถในการมองเห็นความสัมพันธ์ของกิจกรรมต่าง ๆ ในองค์การหรือหน่วยงาน รวม ถึงความสัมพันธ์ของบุคคลอื่น ๆ ในองค์การหรือหน่วยงาน รวมถึงความสัมพันธ์ของบุคคลอื่น ๆ การ สื่อสาร และลักษณะทางการเมือง สังคม และพลังเศรษฐกิจของชาติทั้งหมด เมื่อพิจารณาในรายข้อของ แต่ละด้าน พบประเด็นในการอภิปรายผลดังนี้ 61 1.1 ด้านเทคนิควิธี พบว่า ข้อที่มีทักษะอยู่ในระดับมากเป็นอันดับแรก คือผู้บริหาร สามารถทำหน้าที่ประธานในที่ประชุมครูได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องมาจากผู้บริหารโรงเรียนได้ให้ ความสำคัญต่อการประชุมครูเพื่อชี้แจงนโยบายและแนวทางปฏิบัติให้กับครู จึงได้เตรียมความพร้อมใน การประชุมเป็นอย่างดี ข้อที่มีทักษะอยู่ในระดับมากเป็นอันดับรองลงมา คือ ผู้บริหารมีการพัฒนาตนเองและค้น คว้าอยู่เสมอ เนื่องมาจากกรุงเทพมหานครและหน่วยงาน องค์กรการศึกษาต่าง ๆ ได้จัดและให้การอ บรมเกี่ยวกับการจัดการศึกษา และพัฒนาผู้บริหารสู่ ผู้บริหารมืออาชีพ ให้กับผู้บริหารโรงเรียนทุกโรง เรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร และเกณฑ์ในการแต่งตั้งผู้บริหาร ในตำแหน่งที่สูงขึ้น จะต้องเป็นผู้ ที่ จบการศึกษาในระดับปริญญามหาบัณฑิตทางการบริหารการศึกษา อีกทั้งจะต้องเสนอวิสัยทัศน์การ บริหารการศึกษาได้ ดังนั้นผู้บริหารจะต้องใฝ่เรียน ใฝ่รู้อยู่ตลอดเวลา ข้อที่มีทักษะอยู่ในอันดับสุดท้ายคือ ผู้บริหารมีความสามารถในการนำเสนอวิธีการสอน เป็นตัวอย่างให้ครูได้เมื่อต้องการ เพราะการจัดการเรียนการสอนและการสาธิตการสอนนั้น เป็นหน้าที่ โดยตรงของครูผู้สอนที่จะมาสาธิตการสอนเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเทคนิคและประสบการณ์ซึ่งกันและ กัน ในขณะที่ผู้บริหารโรงเรียนจะเป็นผู้ให้การสนับสนุนและอำนวยการจัดการเรียนการสอนมากกว่า การปฏิบัติการสอน ดังนั้นการปฏิบัติงานมักจะเน้นการประสานสัมพันธ์มากกว่า จึงทำให้ลดทักษะใน เรื่องนี้ไป 1.2 ทักษะด้านมนุษย์ จากผลการวิจัยพบว่า ข้อที่มีทักษะอยู่ในระดับมากที่สุดเป็นอันดับ แรก คือ ผู้บริหารปรับตัวให้เข้ากับบุคคลอื่นในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม ทั้งนี้เป็นเพราะผู้ บริหารโรงเรียนส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีมนุษยสัมพันธ์ดี เข้ากับบุคคลอื่นได้ง่าย และมักจะให้ความช่วยเหลือ ผู้อื่นอยู่เสมอ ทำให้เป็นที่รักใคร่ของบุคคลทั่วไป ข้อที่มีทักษะอยู่ในระดับสูงเป็นอันดับรองลงมาคือ ผู้บริหารเปิดโอกาสให้ผู้ร่วมงานได้ แสดงความคิดเห็นและร่วมตัดสินใจในเรื่องราวต่างๆอย่างสม่ำเสมอ เพราะผู้บริหารโรงเรียนส่วนใหญ่ ตระหนักถึงความสำคัญในการมีส่วนร่วมในการทำงาน โดยเห็นว่าบุคลากรในโรงเรียนเป็นตัวจักร สำคัญที่จะทำให้การดำเนินงานด้านต่าง ๆ ของโรงเรียนประสบความสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพและ เกิดประสิทธิผล ซึ่ง ถวิล เกื้อกูลวงศ์ (2530, : 3) ได้กล่าวถึง การใช้ทักษะด้านบุคคลว่าเป็นความ สามารถของผู้บริหารที่จะใช้ดุลพินิจวินิจฉัยในการทำงานร่วมกันกับบุคคลอื่นหรือโดยบุคคลอื่น และ การประยุกต์ใช้ภาวะผู้นำที่มีประสิทธิผล ข้อที่มีทักษะอยู่ในระดับมากเป็นอันดับสุดท้าย คือ ผู้บริหารจัดให้มีการพบปะสังสรรค์ กันนอกเวลา เพื่อสร้างความสัมพันธ์ไมตรีอันดีต่อกันระหว่างบุคลากรระดับต่างๆได้อย่างเหมาะสม 62 ผู้บริหารโรงเรียนยังให้ความสำคัญกับเรื่องนี้น้อยกว่าที่ควรจะเป็น เพราะการให้การพบปะสังสรรค์กัน นอกเวลานั้น เวลาของบุคลากรที่จะมาร่วมงานนั้นอาจไม่ตรงกันรืออาจมีภารกิจทางครอบครัวเข้ามา เป็นตัวแทรกจึงทำให้ดำเนินการได้น้อย 1.3 ทักษะด้านความคิดรวบยอด พบว่า ข้อที่มีทักษะอยู่ในระดับมาก เป็นอันดับแรกคือ ผู้บริหารมีความสามารถนำนโยบายของผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปทุกระดับชั้นมากำหนดแนวทางการ ปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสมนั้น ผู้บริหารส่วนใหญ่ได้รับการอบรมสัมมนาเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจ ในการจัดและดำเนินการตามนโยบายและการวางแผน ซึ่งสำนักงานเขตธนบุรี ได้จัดขึ้น ทำให้สามารถ นำนโยบายมาสู่การปฏิบัติได้เป็นอย่างดี ข้อที่มีทักษะระดับมาก รองลงมา คือ ผู้บริหารสามารถอำนวยการและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับ โครงการต่าง ๆ ที่จัดขึ้นในโรงเรียนได้นั้น เป็นผู้บริหารส่วนใหญ่ในสังกัดสำนักงานเขตธนบุรี เป็นผู้ที่ มีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับการดำเนินงานตามโครงการต่าง ๆ เป็นอย่างดี ซึ่งเป็นคุณสมบัติของ ผู้นำที่ดี ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (2528, : 15) ได้กล่าวถึงความสำเร็จของ การปฏิบัติงานนั้น ผู้บริหารต้องมีความรู้ความสามารถ คุณธรรมและคุณลักษณะที่ดี ข้อที่มีทักษะอยู่ในระดับมากเป็นอันดับสุดท้าย คือ ผู้บริหารรู้และเข้าใจในความต้องการ ของชุมชนทางด้านการศึกษาและนำมาเป็นแนวทางในการจัดการศึกษาของโรงเรียนได้สอดคล้อง เหมาะสมนั้น นื่องมาจากขาดข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับชุมชนหรือขาดการประสานงานและการร่วมงาน ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน มีโอกาสน้อยไปจึงทำให้ดำเนินการได้น้อยหรือไม่ชัดเจนเท่าที่ควร 2. เปรียบเทียบทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนตามทัศนะของข้าราชการครูสังกัด สำนักงานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร จำแนกตามขนาดโรงเรียน พบว่าแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญ ทางสถิติ ซึ่งไม่สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ทั้งนี้เนื่องมาจากการบริหารโรงเรียนในสังกัด กรุงเทพมหานครในปัจจุบันนั้น ผู้บริหารมีทักษะ และความรู้ความสามารถในการบริหาร โดยมีการเพิ่ม พูนความรู้อย่างต่อเนื่อง เช่นการศึกษาต่อในระดับมหาบัณฑิต และหน่วยงานราชการให้การอบรมและ พัฒนาผู้บริหารอยู่เสมอ ๆทั้ง 431 โรงเรียน อีกทั้งการพิจารณาผู้ที่จะเข้าสู่ตำแหน่งสายงานการบริหาร การศึกษา ในตำแหน่ง ผู้ช่วยอาจารญใหญ อาจารย์ใหญ่ และผู้อำนวยการโรงเรียน จะต้องมีคุณสมบัติ ตามที่กล่าว (แผนพัฒนาการศึกษาของกรุงเทพมหานคร ฉบับที่ 6 พ.ศ.2545-2549,2545:24) ดังนั้น ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ตามทัศนะของข้าราชการครูสังกัด สำนักงานเขต ธนบุรี กรุงเทพมหานคร จึงแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 63 3. เปรียบเทียบทักษะการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนตามทัศนะของข้าราชการครูสังกัด สำนักงานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร จำแนกตามประสบการณ์ในการปฎิบัติงาน พบว่า แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ เมื่อพิจารณาประสบการณ์ในการปฎิบัติงานเป็นรายคู่ พบว่าข้าราชการครูที่มีประสบการณ์ การปฎิบัติงาน ตั้งแต่ 12-22 ปี กับ ข้าราชการครูที่มีประสบการณ์การปฎิบัติงาน 23-33 ปี มีทัศนะต่อ ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 2 ทักษะ คือทักษะด้านมนุษย์ และทักษะด้านความคิดรวบยอด ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากประสบ การณ์การทำงานของข้าราชการครู ตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไปถึง 33ปี ได้มีส่วนร่วมในการทำงาน กำหนด นโยบาย รวมทั้งมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ซึ่งเป็นไปตามการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนใน ปัจจุบันที่เน้นการบริหารงานแบบมีส่วนร่วม ดังนั้นข้าราชการครูส่วนใหญ่จึงได้ทราบถึงทักษะการ บริหารของผู้บริหารโรงเรียน ในลักษณะ หรือรูปแบบการบริหารอย่างหลากหลาย สามารถคิดและ พิจารณาจากประสบการณ์ตรงที่ได้รับ จึงมีทัศนะต่อทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนประถม ศึกษา แตกต่างกัน สำหรับข้าราชการครู ที่มีประสบการณ์การปฎิบัติงานต่ำกว่า 12 ปีกับข้าราชการครูที่มี ประสบการณ์การทำงาน 13- 33 ปีขึ้นไป มีทัศนะต่อทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนไม่แตกต่าง กัน ทั้งนี้เป็นเพราะการปฏิบัติงานและการบริหารงานในปัจจุบัน ผู้บริหารเน้นการบริหารแบบให้ทุกคน มีส่วนร่วมในการปฎิบัติงาน จึงทำให้ทราบและเห็นทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนร่วมกัน แม้ ว่าจะมีประสบการณ์ในการทำงานต่างกันก็ตาม (เสรี เลิศสุชาตวนิช, 2531: 11) ข้อเสนอแนะจากการวิจัย จากผลการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียน ตามทัศนะของ ข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานเขตธนบุรี ในครั้งนี้ ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะดังนี้ ข้อเสนอแนะทั่วไป 1. สำนักการศึกษา ควรจัดให้มีโครงการอบรม สัมมนา เพื่อเพิ่มพูนความรู้ให้กับผู้บริหาร โรงเรียนอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้บริหารมีการพัฒนาตนเอง อันจะส่งผลต่อทักษะในการบริหารโรงเรียน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. โรงเรียนและสำนักงานเขต ควรจัดให้มีการพัฒนาและเพิ่มทักษะในการบริหารโรงเรียน และพัฒนาผู้บริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เพื่อให้โรงเรียนและสำนักงานเขตไดมีการบิหารจัดการได้ ต่อเนื่องและสอดคล้องกัน 64 ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยต่อไป 1. ควรทำการศึกษาเกี่ยวกับทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียน ตามทัศนะของข้าราช การครูกรุงเทพมหานคร หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา ในระดับกรุงเทพมหานคร 2. ควรทำการศึกษาเกี่ยวกับวิสัยทัศน์และทักษะของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนัก งานเขตอื่น ๆ โดยการใช้เทคนิคเดลฟาย 3. ควรศึกษาเกี่ยวกับการบริหารเวลาของผู้บริหารโรงเรียน เนื่องจากผลการวิจัยพบว่า ส่วน ใหญ่ผู้บริหารโรงเรียนเน้นในด้านเทคนิควิธีมากเกินไป บรรณานุกรม กรุงเทพมหานคร. สำนักการศึกษา. ประมวลกฏหมายและระเบียบในการปฎิบัติงานการศึกษา ของกรุงเทพมหานคร.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, 2536. . มาตรฐานโรงเรียนประถมศึกษากรุงเทพมหานคร.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ ชุมนุมสหกรณ์การ เกษตรแห่งประเทศไทย, 2540. . แผนพัฒนาการศึกษาของกรุงเทพานมหคร ระยะแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ฉบับที่ 6 (พ.ศ.2545-2549). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ ์ ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, 2545. . มาตรฐานโรงเรียนประถมศึกษากรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การ เกษตรแห่งประเทศไทย, 2542. . รายงานสถิติการศึกษา ปี 25444 ของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, 2544. . รายงานผลการประเมินความสำเร็จในการจัดการเรียนการสอน ปีการศึกษา 2544.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, 2544. กิตติ ตยัคคานนท์. เทคนิคการสร้างภาวะผู้นำ. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: บัตเตอร์ฟลาย, 2536. กิติมา ปรีดีดิลก. ทฤษฎีบริหารองค์การ. กรุงเทพฯ: ธนะการพิมพ์, 2529. คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ,สำนักงาน. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่ง ชาติ ฉบับที่ 8( 2540-2544) กรุงเทพฯ:สำนักนายกรัฐมนตรี,2540 คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ,สำนักงาน. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่ง ชาติ ฉบับที่ 9( 2545-2550) กรุงเทพฯ:สำนักนายกรัฐมนตรี,2545. คณะกรรมการข้าราชการครู, สำนักงาน มาตรฐานเฉพาะตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา.กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครู, 2540. . บทบาทหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา 2542. ชารี มณีศรี. การนิเทศการศึกษา. กรุงเทพฯ: บูรพาสาส์น, 2527. ดาวเรือง รัตนิน. งานบริหารการศึกษาโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหาร การศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, 2518. 66 ถวิล เกื้อกูลวงศ์. การบริหารการศึกษาสมัยใหม่ ทฤษฎี วิจัย แนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: วัฒนาพานิช, 2530. ธงชัย สันติวงษ์. องค์การและการบริหาร. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช, 2533. ทองพูน นาบ่อทอง. ความพึงพอใจของครูที่มีต่อพฤติกรรมการบริหารงานโรงเรียนของครูใหญ่โรง เรียนประถมศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาการ ศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, 2524. ทิวา พุทธรักษาทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา, 2534. นพพงษ์ บุญจิตราดุลย์. หลักการบริหารการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ:เอส เอ็ม เอ็ม, 2525. นวลศรี ตาสิน. ทักษะทางการนิเทศการศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาดีเด่นสังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการประถมศกึ ษาแหง่ ชาต ิ ตามการรบั รขู้ องตน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหา บัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2533. นิพนธ์ กินาวงศ์. หลักบริหารสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : บพิธการพิมพ์, 2540 บุญชม ศรีสะอาด และบุญส่ง นิลแก้ว. การอ้างอิงประชากรเมื่อใช้เครื่องมือแบบมาตราส่วนประมาณค่า กับกลุ่มตัวอย่าง. วารสารการวัดผลการศึกษา มศว.มหาสารคาม, 2535. บุญทิวา บุญยะประภัศร. ภาระหน้าที่ของผู้บังคับบัญชา. วารสารข้าราชการ, 2537. ปกรณ์ ศรีดอนไผ่. การบริหารการศึกษา. นครปฐม: สถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษา, 2528. เปรมสุรีย์ เชื่อมทอง. จิตลักษณะของผู้บริหารและสภาวะการณ์ของกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิผลของ โรงเรียน. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิต วิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, 2536. พนัส หันนาคินทร์. หลักการบริหารโรงเรียน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: วัฒนาพานิช, 2531. …………..พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542. โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว, 2542 …………..รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 . กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา, 2540 ไพฑูรย์ เจริญพันธุวงศ์. พฤติกรรมผู้นำกับบริหารองค์การ. กรุงเทพฯ: โอเดี้ยนสโตร์, 2529. .พฤติกรรมองค์การและการบริหาร. กรุงเทพฯ: โอ.เอส. พริ้นติ้งเฮ้าส์, 2530. ภิญโญ สาธร. การบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ ศ.ส. การพิมพ์. 2523. .หลักการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา, 2526. 67 ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ:ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ, 2536. วิจิตร ศรีสอ้าน. ( สิงหาคม-กันยายน 2520). บทบาทของผู้บริหารในการปรับปรุงส่งเสริมงานวิชาการ. วารสารสภาการศึกษาแห่งชาติ, 11, 22-23. วิชิต ทองนุ้ย และคนอื่น ๆ. การวิเคราะห์พฤติกรรมการบริหารและผลของผู้บริหารดีเด่นโรงเรียน ประถมศึกษา ปี 2527. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ, 2527. วิชาการ, กรม. คู่มือการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ระดับประถมศึกษา กรุงเทพฯ : สำนักงานทดสอบทางการศึกษา,2537. วิเชียร เย็นกาย. ทักษะที่เป็นจริงของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ตามทัศนะของหัวหน้า การประถมศึกษาอำเภอและครู ในสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดเขตการศึกษา 1. วิทยา นิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา, 2535. วินัย เกษมเศรษฐ. หลักการและเป้าหมายของการนิเทศการศึกษา. ประมวลบทความนิเทศการศึกษาปี 2521. (หน้า 5-10). กรุงเทพฯ: หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา, 2521. วินิค นาควิเชียร. การศึกษาทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามทัศนะของ ผู้บริหารโรงเรียนและครูอาจารย์ สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดสงขลา.วิทยานิพนธ์ปริญญา การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนคริน ทรวิโรฒ ภาคใต้.,2535. วิรัช ธีรประยูรความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนเกี่ยวกับทักษะทางการบริหารที่พึงประสงค์ ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ เขตการศึกษา 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิต วิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532. สนอง เครือมาก. (ม.ป.ป.) คู่มือสอบและปฏิบัติการของผู้บริหาร. ม.ป.ท. สมบูรณ์ พรรณาภพ. หลักเบื้องต้นของการบริหารโรงเรียน. กรุงเทพฯ: บรรณกิจ, 2521 สมพงษ์ เกตุน้อย. สมรรถภาพการเป็นครูใหญ่โรงเรียนชุมชน สังกัดองค์การบริหารส่วน จังหวัดพิษณุโลก. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พิษณุโลก, 2523. สมยศ นาวีการ. การบริหาร. กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า.,2536 สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. แนวคิดในการบริหารโรงเรียนประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ, 2528. 68 สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. คู่มือบริหารงบประมาณโรงเรียนประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ, 2537. . แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 7 (พ.ศ.2535- 2539). กรุงเทพฯ: รุ่งเรืองสาส์นการ พิมพ์, 2540. . ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการบริหาร:ชุดฝึกอบรมผู้บริหารสถานศึกษา ระดับสูง เล่มที่ 1. กรุงเทพฯ: พี.เอ.ลีฟวิ่ง, 2541 ก . . บริหารศาสตร์. กรุงเทพฯ: พี.เอ.ลีฟวิ่ง. 2541 ข. สำนักพัฒนาการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เขตการศึกษา 1. การพัฒนาตนเองและเพื่อนร่วมงาน . ในเอกสารประกอบการฝึกอบรม (หน้า 14-21). นครปฐม: ศูนย์ฝึกอบรมประจำเขตการ ศึกษา 1 จังหวัดนครปฐม, 2540. สำนักงานเขตธนบุรี. ศูนย์วิชาการเขต. การประเมินผลการจัดการเรียนการสอน ปีการศึกษา2544. 2545 สุกิจ จุลละนันท์. หลักการบริหาร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น, 2510. สุเมธ เดียวอิศเรศ. พฤติกรรมผู้นำทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์วัฒนาการพิมพ์, 2527. สุรพันธ์ ยันทอง. การบริหารโรงเรียนประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดพิมพ์อักษร, 2525. . การบริหารโรงเรียนประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: แพร่พิทยา, 2526. สุวิทย์ ฤทธิ์เดช. การบริหารงานธุรการในโรงเรียน. กรุงเทพฯ: วัฒนาพานิช, 2514. เสรี เลิศสุชาตวนิช. ทักษะและพฤติกรรมการบริหารของครูใหญ่โรงเรียนประถมศึกษาสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติก่อนและหลังการฝึกอบรม.วิทยานิพนธ์ ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2531. โสภณ ชินคำ. ความคิดเห็นของครูผู้สอนที่มีต่อทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียน มัธยมศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 7. วิทยานิพนธ์ปริญญาการ ศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2536. หวน พินธุพันธ์. การบริหารโรงเรียน. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์, 2528. อุทัย ธรรมเดโช. หลักบริหารการศึกษา (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: เจ้าพระยาการพิมพ์, 2531. เอกชัย กี่สุขพันธ์. การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ: อนงค์ศิลป์การพิมพ์, 2527. 69 Bello & Howell: Selected by leading higher education E-learning providers. (2000).[Online]. Available: http://www.umi.com/hp/PressRel/2000/20000925.html. Campbell, Ronald F. (1972). Introduction to education administration. New York:Allyn and Bacon. Cronbach, Lee J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). New York:Harper Collins. Campbell, R.E. and other. Introduction to Educatioal Administration . 6 th ed.Boston : Allyn and Bacon, 1983. Coats, Thomas. “Educatio Community,” College. 57 (4) : 151-152; October , 1986 Diekhoff, G. (1992). Statistics for the social and behavioral science: Univeriate bivariate, multivariate. Dubuque, LA: Wm.C. Brown. Drake, Thelbert L. and H. Roe. William H. Roe. The Principalship. 3rd ed. Eckhant, Edware E. (1978). Selection criteria, practices and procedures of elementary and secondary school. Dissertation Abstracts International, 39(2), 562-563. Gorton, Richard D. School Administration and Supervision. Dubuque : W.m.c. Brown, 1983 Fish, Robert S. The task of educational administration. New York: Harper and Row ; 1963. Howell, David C. (1992). Statistics methods for psychology. (3rd ed.). Boston: PWS-Kent. Katz, Robert L. January-February). Skill of effective administrator. Harvard Business Review, 33(1) ,1955. Krejcie, Robert V. & Morgan, Daryle W. Autumn). Determining sample size for research activities. Journal of Educational and Psychological Measurement, 30(3): 607-609; 1970. Miller, V. The public administration of school. New York: Macmillan ;1965. Slone, Etta K. Principals and inservice training: Knowledge attitude and Mainstreaming practices. Dissertation Abstracts International, 44(1), 38-A;1983.. Stogdill, Ralph M. Handbook of Leadership. New York : The Free Press, 1984. Wiersma, William & Jurs, Stephen G. Educational measurement and testing.(2nd ed.). Boston: Allyn and Bacon; 1990. …………………………………………… ภาคผนวก ภาคผนวก ก. ตารางประชากรและกลุ่มตัวอย่าง แบบสอบถามเพื่อการวิจัย รายชื่อผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเครื่องมือ 74 แบบสอบถามเพื่อการวิจัย เรื่อง ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนตามทัศนะของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ----------------------------- คำชี้แจง 1. แบบสอบถามฉบับนี้ แบ่งเป็น 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2 ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร 2. กรุณาตอบแบบสอบถามให้ครบทุกข้อ และตอบให้ตรงกับสภาพความเป็นจริง 3. ข้อมูลที่ได้จากการตอบแบบสอบถามนี้ จะนำเสนอเป็นภาพรวมและจะนำไปใช้ สำหรับการวิจัยเท่านั้น ตอนที่ 1 สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม คำชี้แจง โปรดเขียนคำตอบหรือเครื่องหมาย  ในวงเล็บหน้าข้อความที่ตรงกับสภาพความเป็น จริงเกี่ยวกับตัวท่านมากที่สุด 1. ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน ( ) น้อยกว่า 12 ปี ( ) 13 - 22 ปี ( ) 23 - 32 ปี ( ) 33 ปี ขึ้นไป 2. ปัจจุบันนี้ปฏิบัติการสอนอยู่ในโรงเรียน ( ) โรงเรียนขนาดเล็ก (โรงเรียนที่มีนักเรียน 1- 400 คน) ( ) โรงเรียนขนาดกลาง (โรงเรียนที่มีนักเรียน 401-800 คน) ( ) โรงเรียนขนาดใหญ  (โรงเรียนที่มีนักเรียน 801 ขึ้นไป) 75 ตอนที่ 2 ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนตามทัศนะของข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตธน บุรี กรุงเทพมหานคร คำชี้แจงในการตอบแบบสอบถาม ให้ท่านพิจารณาข้อคำถามในแบบประเมิน แล้วกาเครื่องหมาย √ ลงในแบบประเมิน ตามระดับคุณภาพ ที่ท่านเห็นว่าผู้บริหารโรงเรียน ปฏิบัติจริงเกี่ยวกับทักษะในการบริหารโรงเรียน ตามทัศนะของท่าน เพียงใด ตามระดับคุณภาพดังนี้ 1. หมายถึง ผู้บริหารปฏิบัติ / หรือมีทักษะดังกล่าว จริงน้อยที่สุด 2. หมายถึง ผู้บริหารปฏิบัติ / หรือมีทักษะดังกล่าว จริงน้อย 3. หมายถึง ผู้บริหารปฏิบัติ / หรือมีทักษะดังกล่าว จริงปานกลาง 4. หมายถึง ผู้บริหารปฏิบัติ / หรือมีทักษะดังกล่าว จริงมาก 5. หมายถึง ผู้บริหารปฏิบัติ / หรือมีทักษะดังกล่าว จริงมากที่สุด ระดับการปฏิบัติ มาก ที่สุด มาก ปาน กลาง น้อย น้อย ที่สุด ข้อ ทักษะการดำเนินงาน 5 4 3 2 1 ทักษะด้านเทคนิควิธี 1 ผู้บริหารนำความรู้ในการจัดทำแผนปฏิบัติการมาปฏิบัติได้ เหมาะสมกับสภาพของโรงเรียน 2 ผู้บริหารนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดทำสถิติและแผนภูมิ เกี่ยวกับข้อมูลทางการศึกษาของโรงเรียนได้อย่างชัดเจน 3 ผู้บริหารมีความสามารถในการนำเสนอวิธีการสอนเป็นตัว อย่างให้กับครูได้เมื่อครูต้องการ 4 ผู้บริหารมีความสามารถในการทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม ครูได้อย่างมีประสิทธิภาพ 5 ผู้บริหารใช้เทคนิคต่าง ๆในการสั่งการและมอบหมายงานให้ ผู้ปฏิบัติเข้าใจและปฎิบัติตามได้ถูกต้องชัดเจน 6 ผู้บริหารมีความสามารถในการจัดหาวัสดุ -อุปกรณ์ด้วยวิธีการ ต่าง ๆมาใช้ในการเรียนการสอนได้เหมาะสมกับสภาพของโรง เรียน 76 ระดับการปฏิบัติ มาก ที่สุด มาก ปาน กลาง น้อย น้อย ที่สุด ข้อ ทักษะการดำเนินงาน 5 4 3 2 1 7 ผู้บริหารนำความรู้และความเข้าใจในการจัดระบบการเก็บ รักษาวัสดุอุปกรณ์และครุภัณฑ์มาใช้ในการปฏิบัติงาน 8 ผู้บริหารนำความรู้ความเข้าใจในระเบียบการเงินและควบคุม กำกับติดตามมาใช้ปฏิบัติงานได้ถูกต้องตามระเบียบ 9 ผู้บริหารนำความรู้ความเข้าใจในระเบียบการสารบรรณและ ควบคุมกำกับติดตาม มาปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง 10 ผู้บริหารสามารถจัดทำเกณฑ์มาตรฐานการทำงานของ บุคลากรในโรงเรียนได้อย่างเหมาะสม 11 ผู้บริหารสามารถพัฒนาวิธีการต่าง ๆเพื่อเสนอรายงานเกี่ยวกับ ความก้าวหน้าหรือปัญหาของนักเรียนไปยังผู้ปกครองได้อย่าง เหมาะสม 12 ผู้บริหารมีความสามารถในการเตรียมและจัดทำรายงานผล ปฏิบัติงานของโรงเรียนเสนอ สนศ. ได้อย่างถูกต้องเรียบร้อย 13 ผู้บริหารใช้วิธีการอย่างหลากหลายในการเสนอข้อมูลข่าวสาร ต่อชุมชนเพื่อการประชาสัมพันธ์โรงเรียนได้อย่างติอเนื่อง 14 ผู้บริหารมีความรู้ในการวางแผนการประชาสัมพันธ์ได้สอด คล้องกับลักษณะงานของโรงเรียน 15 ผู้บริหารมีการพัฒนาตนเอง ค้นคว้าหาความรู้อยู่เสมอ 16 ผู้บริหารสามารถนำความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้ในงานที่ปฏิบัติ ได้อย่างเหมาะสม 17 ผู้บริหารมีความสามารถในการพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชาให้ สามารถทำงานแทนได้ 18 ผู้บริหารมีความรู้และความเข้าใจในการรวบรวมข้อมูลและจัด เก็บอย่างเป็นระบบ เพื่อประโยชน์ในการกำหนดนโยบายและ วางแผนปฏิบัติงาน 77 ระดับการปฏิบัติ มาก ที่สุด มาก ปาน กลาง น้อย น้อย ที่สุด ข้อ ทักษะการดำเนินงาน 5 4 3 2 1 ทักษะด้านมนุษย์ 19 ผู้บริหารสามารถปรับตัวให้เข้ากับบุคคลอื่นในสถานการณ์ ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม 20 ผู้บริหารเปิดโอกาสให้ผู้ร่วมงานมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน ตามความถนัดและความสามารถเป็นประจำ 21 ผู้บริหารให้ความสำคัญและยกย่องผู้ร่วมงานบ่อยครั้ง 22 ผู้บริหารให้ความเป็นกันเองกับทุกคนโดยสม่ำเสมอและถ้วน หน้า 23 ผู้บริหารมีเวลาให้กับทุกคนในการให้คำปรึกษาอย่างจริงใจ 24 ผู้บริหารเปิดโอกาสให้ผู้ร่วมงานได้แสดงความคิดเห็น และ ร่วมตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ 25 ผู้บริหารสามารถสร้างบรรยากาศให้เกิดความร่วมมือร่วมใจ ในกลุ่มผู้ร่วมงานได้เป็นอย่างดี 26 ผู้บริหารรับฟังและพยายามช่วยเหลือในการแก้ปัญหาของทุก คนด้วยความเต็มใจ 27 ผู้บริหารแสดงความยินดีและยกย่องชมเชยผู้ร่วมงานที่ประสบ ความสำเร็จในการปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายอย่าง สม่ำเสมอ 28 ผู้บริหารจัดให้มีการพบปะสังสรรค์กันนอกเวลาเพื่อสร้าง สัมพันธ์ไมตรีอันดีต่อกันระหว่างบุคลากรระดับต่างๆได้อย่าง เหมาะสม 29 ผู้บริหารสามารถเป็นผู้นำการอภิปรายที่จูงใจใหผู้อื่นปฎิบัติ ตามได้ 30 ผู้บริหารปฏิบัติต่อทุกคนอย่างยุติธรรมโดยเท่าเทียมกัน 78 ระดับการปฏิบัติ มาก ที่สุด มาก ปาน กลาง น้อย น้อย ที่สุด ข้อ ทักษะการดำเนินงาน 5 4 3 2 1 ทักษะด้านมนุษย์ (ต่อ) 31 ผู้บริหารใช้วิธีการต่าง ๆในการให้รางวัลแก่ผู้ร่วมงานใน โอกาสต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม 32 ผู้บริหารสามารถแก้ปัญหาข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างผู้ร่วม งานได้อย่างมีผลดี 33 ผู้บริหารให้โอกาสแก่ผู้ใต้บังคับบัญชามีส่วนร่วมรับผิดชอบ ในการบริหารงานได้อย่างหมาะสม 34 ผู้บริหารสามารถจัดระบบการติดต่อสื่อสารและการประสาน งานระหว่างโรงเรียนกับชุมชนหรือหน่วยงานอื่นอย่างมีประ สิทธิภาพ 35 ผู้บริหารสามารถแสวงหาความช่วยเหลือจากบุคคลหรือหน่วย งานอื่นมาใช้ในการบริหารโรงเรียนอยู่เสมอ ทักษะด้านความคิดรวบยอด 36 ผู้บริหารสามารถนำนโยบาย จุดมุ่งหมาย และขอบข่ายของ งานที่ชัดเจนไปใช้ในการปฏิบัติงาน 37 ผู้บริหารนำนโยบายของผู้บังคับบัญชาเหนือชั้นขึ้นไปมา กำหนดแนวทางการปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม 38 ผู้บริหารสามารถวิเคราะห์งานของโรงเรียนได้ถูกต้อง 39 บริหารมีความรู้ความเข้าใจในนโยบายกี่ยวกับการจัดการ ศึกษาของชาติและนำมากำหนดป็นนโยบายในการบริหารโรง เรียนได้สอดคล้องเหมาะสม 40 ผู้บริหารมีความรู้ในเรื่องหลักสูตรการศึกษาทุกระดับช่วงชั้นที่ จัดในโรงเรียน และสามารถดำเนินให้บรรลุจุดมุ่งหมายของ หลักสูตร 79 ระดับการปฏิบัติ มาก ที่สุด มาก ปาน กลาง น้อย น้อย ที่สุด ข้อ ทักษะการดำเนินงาน 5 4 3 2 1 41 ผู้บริหารสามารถอำนวยการและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับโครง การต่าง ๆ ที่จัดขึ้นในโรงเรียนได้ 42 ผู้บริหารรู้และเข้าใจในความต้องการของชุมชนทางด้านการ ศึกษาและนำมาเป็นแนวทางในการจัดการศึกษาของโรงเรียน ได้สอดคล้องและเหมาะสม 43 ผู้บริหารมีแนวคิดที่ชัดเจนเกี่ยวกับการกำหนดงบประมาณให้ สอดคล้องกับแผนพัฒนาประจำปีของโรงเรียน 44 ผู้บริหารมีความสามารถในการวางแผนการใช้อาคารสถานที่ ได้เหมาะสมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 45 ผู้บริหารสามารถจัดลำดับความสำคัญก่อน-หลังของการ ปฏิบัติ และการแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม 46 ผู้บริหารมอบหมายอำนาจหน้าที่ในการบังคับบัญชาตามลำดับ ชั้นของสายการบังคับบัญชาอย่างเหมาะสม 47 ผู้บริหารใช้กระบวนการในการพิจารณาความดีความชอบของ ผู้ใต้บังคับบัญชาได้อย่างเหมาะสมและยุติธรรม 48 ผู้บริหารมีวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับ บัญชา เพื่อพิจารณาความดีความชอบได้อย่างถูกต้อง ขอขอบคุณ ภาคผนวก ข. หนังสือราชการที่เกี่ยวข้อง หนังสือเชิญผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเครื่องมือ หนังสือขอความอนุเคราะห์ทดลองใช้เครื่องมือ หนังสือขออนึญาตเก็บข้อมูล 80 รายชื่อผู้เชี่ยวชาญผู้ตรวจสอบเครื่องมือ 1. นายไพรัช อรรถกามานนท์ รองผู้อำนวยการสำนักการศึกษา สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร 2. นางสาวมาสวิมล รักบ้านเกิด ผู้อำนวยการกองวิชาการ สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร 3. นางประนอม ทวีกาญจน์ ผู้อำนวยการโรงเรียนพระยามนธาตุราชศรีพิจิตร์ สำนักงานเขตบางบอน กรุงเทพมหานคร 4. ดร.สรายุทธ์ เศรษฐ์ขจร อาจารย์ประจำสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จ เจ้าพระยา 5. ผศ.สุภรณ์ ลิ้มบริบูรณ์ อาจารย์ประจำสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จ เจ้าพระยา ………………………………………………… ภาคผนวก ค. ประวัติผู้วิจัย 90 ประวัติผู้วิจัย ชื่อ- สกุล นายจิรภัทร ศิริพรรณาภรณ์ ที่อยู่ปัจจุบัน 3/38 หมู่ที่ 5 ซ.รัตนประเสริฐ แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร 10150 โทร. 0-2451-6174 ประวัติการการศึกษา พ.ศ. 2504 ประถมศึกษา จากโรงเรียนเทศบาลวัดแหลมสุวรรณาราม ตำบลท่าฉลอม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร พ.ศ. 251 มัธยมศึกษาตอนปลาย จากโรงเรียนสมุทรสาครวิทยาลัย จังหวัดสมุทรสาคร พ.ศ. 2525 ปริญญาตรี วิทยาลัยจากเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา (วิทยาเขต เพาะช่าง) ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง อาจารย์ใหญ่โรงเรียนวัดนินสุขาราม เขตบางบอน กรุงเทพมหานคร การวางแผนเชิงกลยุทธ์ของห้องสมุดโรงเรียน (ตอนที่ 1)
การวางแผนเชิงกลยุทธ์ของห้องสมุดโรงเรียน (ตอนที่ 2)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น