วันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การศึกษาความพร้อมในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดสมุทรสงคราม (ตอนที่ 2)



ตารางที่ 5 แสดงค่าคะแนนเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของความพร้อมในการบริหาร
สถานศึกษา โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนประถม ศึกษา สังกัดสำนักงาน
การประถมศึกษาจังหวัดสมุทรสงคราม ด้านการกระจายอำนาจ
ความพร้อมในการบริหารสถานศึกษา X S.D. การแปลผล
1. มีการวางแผนในการจัดทำแผนกลยุทธ์ 3.58 0.78 มาก
2. สถานศึกษาให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการตั้งเป้าหมาย
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน และมาตรฐาน
คุณภาพการศึกษา
3.38
0.72
ปานกลาง
3. มีระบบการเทียบโอนระหว่างการเรียนในระบบนอก
ระบบและตามอัธยาศัย
2.55
1.05
ปานกลาง
4. จัดให้มีระบบบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน 3.17 0.86 ปานกลาง
5. ให้ความรู้แก่บุคลากรและคณะกรรมการการศึกษา
ขั้นพื้นฐานในการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน
3.17
0.86
ปานกลาง
6. ส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากรเข้าประชุมอบรมสัมมนา
อย่างทั่วถึง
4.09
0.74
มาก
7. ส่งเสริมสนับสนุนให้ครูพัฒนาตนเองโดยการศึกษาต่อ
ศึกษาดูงานและการศึกษาค้นคว้าจากแหล่งความรู้ที่ทันสมัย
4.05
0.81
มาก
8. มีการวางแผนในการบริหารบุคลากรของสถานศึกษา 3.73 0.83 มาก
9. จัดให้มีห้องปฏิบัติการที่ทันสมัยและเพียงพอ 3.32 0.94 ปานกลาง
10. มีห้องสมุดที่ทันสมัยเพื่อการค้นคว้าสำหรับครูและ
นักเรียน
3.18
0.88
ปานกลาง
11. มีสถานที่สำหรับการจัดกิจกรรมต่างๆ และสถานที่
พักผ่อนของ นักเรียน ครู และชุมชนอย่างเพียงพอ
3.11
0.90
ปานกลาง
12. บริหารงบประมาณด้วยความโปร่งใส และพร้อมสำหรับ
ตรวจสอบ
3.99
0.89
มาก
รวม 3.44 0.96 ปานกลาง
51
จากตารางที่ 5 พบว่า ความพร้อมในการบริหารสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
ของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำ นักงานการประถมศึกษาจังหวัดสมุทรสงคราม
ด้านการกระจายอำนาจ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( X = 3.44, S.D. = 0.96) เมื่อพิจารณา
เป็นรายข้อปรากฏว่า โดยมีความพร้อมในการบริหารเกี่ยวกับส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากร
เข้าประชุมอบรมสัมมนาอย่างทั่วถึงอยู่ในระดับสูงสุด ( X = 4.09, = 0.74) รองลงมา คือ
ส่งเสริมสนับสนุนให้ครูพัฒนาตนเองโดยการศึกษาต่อศึกษาดูงานและการศึกษาค้นคว้าจาก
แหล่งความรู้ที่ทันสมัย(
S.D.
X = 4.05, = 0.81) และบริหารงบประมาณด้วยความโปร่งใส่และ
พร้อมสำหรับตรวจสอบ (
S.D.
X = 3.99, S.D. = 0.89) ตามลำดับ
52
ตารางที่ 6 แสดงค่าคะแนนเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของความพร้อมในการบริหาร
สถานศึกษา โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงาน
การประถมศึกษาจังหวัดสมุทรสงคราม ด้านการมีส่วนร่วม
ความพร้อมในการบริหารสถานศึกษา X S.D. การแปลผล
1. มีการแต่งตั้งสรรหาคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 4.04 0.84 มาก
2. คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีส่วนร่วมในการจัดทำ
หลักสูตรท้องถิ่นที่สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น
3.48
0.86
ปานกลาง
3. มีการวางแผนให้คณะกรรมการสถานศึกษา ครู ผู้ปกครองและ
ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนบริหารบุคลากร
3.41
0.89
ปานกลาง
4. ให้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง และชุมชน
เข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบ ติดตาม ประเมินผลการจัด
การศึกษาของสถานศึกษา
3.39
0.88
ปานกลาง
5. สนับสนุนส่งเสริมให้วิทยากรท้องถิ่นเข้ามาให้ความรู้นักเรียน
อย่างสม่ำเสมอ
3.54
0.93
มาก
6. ให้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง และ
ชุมชนสนับสนุนแนวทางในการใช้อาคาร สถานที่ทั้งภายใน
และภายนอกโรงเรียน
3.75
0.93
มาก
7. ให้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองและชุมชน
ให้สนับสนุนระดมทรัพยากรท้องถิ่นในการจัดการศึกษา
3.54
0.89
มาก
8. ให้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองและชุมชน
ให้สนับสนุนให้เด็กทุกคนในเขตบริการได้รับการศึกษา
ขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึง
3.93
0.80
มาก
9. ให้โรงเรียนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานร่วม
บริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน (PBB)
3.36
0.86
ปานกลาง
10. ให้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง ครู
นักเรียนมีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา
3.59
0.84
มาก
รวม 3.60 0.90 มาก
53
จากตารางที่ 6 พบว่า ความพร้อมในการบริหารสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
ของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำ นักงานการประถมศึกษาจังหวัดสมุทรสงคราม
ด้านการมีส่วนร่วม โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( X = 3.60, S.D. = 0.90) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ
ปรากฏว่า ข้อที่ความพร้อมในการบริหารอยู่ในระดับมาก คือ มีการแต่งตั้งสรรหาคณะกรรมการ
สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับสูงสุด ( X = 4.04, S.D. = 0.84) รองลงมา คือให้
คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองและชุมชนให้สนับสนุนให้เด็กทุกคนใน
เขตบริการได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึง ( X = 3.93, = 0.80) และให้คณะกรรมการ
สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง และชุมชนสนับสนุนแนวทางในการใช้อาคาร สถานที่
ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน (
S.D.
X = 3.75, S.D. = 0.93)
54
ตารางที่ 7 แสดงค่าคะแนนเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของความพร้อมในการบริหาร
สถานศึกษา โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงาน
การประถมศึกษาจังหวัดสมุทรสงคราม ด้านการคืนอำนาจการจัดการศึกษาให้ประชาชน
ความพร้อมในการบริหารสถานศึกษา X S.D. การแปลผล
1. ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการศึกษา
ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
ต่อคณะกรรมการสถานศึกษา องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น ผู้ปกครอง และชุมชน
3.57
0.85
มาก
2. สร้างความเข้าใจแก่บุคลากรของสถานศึกษาเกี่ยวกับ
การถ่ายโอนการจัดการศึกษาไปยังท้องถิ่น หรือ
การจัดการศึกษาโดยท้องถิ่น
3.46
0.87
ปานกลาง
3. ให้สถานศึกษาร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทำ
นโยบายและหาแนวทางในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
3.30
0.90
ปานกลาง
4. รับฟังคำแนะนำจากคณะกรรมการสถานศึกษา ชุมชน
เกี่ยวกับความต้องการของคนในท้องถิ่น
3.65
0.90
มาก
5. ให้มีการประสานสัมพันธ์กับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นใน
การกำหนดนโยบาย แผนมาตรฐานการศึกษาของท้องถิ่น
3.47
0.86
ปานกลาง
รวม 3.49 0.88 ปานกลาง
จากตารางที่ 7 พบว่า ความพร้อมในการบริหารสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
ของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำ นักงานการประถมศึกษาจังหวัดสมุทรสงคราม
ด้านการคืนอำนาจ การจัดการศึกษาให้ประชาชนโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( X = 3.49,
= 0.88) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ ปรากฏว่า ข้อที่ความพร้อมในการบริหารอยู่ในระดับมาก
คือ รับฟังคำแนะนำจากคณะกรรมการสถานศึกษา ชุมชนเกี่ยวกับความต้องการของคนในท้องถิ่น
อยู่ในระดับสูงสุด (
S.D.
X = 3.65, = 0.90) รองลงมาคือ ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับ
การจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ต่อคณะกรรมการสถานศึกษา
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ปกครองและชุมชน (
S.D.
X = 3.57,S.D. = 0.85) และให้มีการ
ประสานสัมพันธ์กับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในการกำหนดนโยบายแผนมาตรฐานการศึกษา
ของท้องถิ่น ( X =3.47, S.D. = 0.86)
55
ตารางที่ 8 แสดงค่าคะแนนเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของความพร้อมในการบริหาร
สถานศึกษา โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงาน
การประถมศึกษาจังหวัดสมุทรสงคราม ด้านการบริหารตนเอง
ความพร้อมในการบริหารสถานศึกษา X S.D. การแปลผล
1. กำหนดมาตรฐานและตัวชี้วัดคุณภาพในการบริหารตนเอง 3.61 0.81 มาก
2. มีการสำรวจจุดเด่น จุดด้อยของโรงเรียนเพื่อที่จะปรับปรุง
พัฒนาโรงเรียน
3.80
0.83
มาก
3. กำหนดเป้าหมายการดำเนินงานและเป้าหมายความสำเร็จ
ในการบริหารโรงเรียน
3.79
0.78
มาก
4. กำหนดวิธีการดำเนินงานอย่างเป็นระบบโดยใช้
วงจรเดมมิ่ง (Deming) บริหารงานในโรงเรียน
3.34
0.89
ปานกลาง
5. มีการจัดมาตรฐานการปฏิบัติงานอย่างชัดเจน 3.66 0.88 มาก
6. กำหนดวิธีการประเมินผลการดำเนินงานอย่างชัดเจน 3.63 0.85 มาก
รวม 3.64 0.85 มาก
จากตารางที่ 8 พบว่า ความพร้อมในการบริหารสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
ของ โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสมุทรสงคราม ด้านการ
บริหารตนเอง โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( X = 3.64, S.D. = 0.85) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ
ปรากฏว่า ความพร้อมในการบริหารอยู่ในระดับมากทุกข้อ ยกเว้นกำหนดวิธีการดำเนินงาน
อย่างเป็นระบบโดยใช้วงจรเดมมิ่ง (Deming) บริหารงานในโรงเรียนอยู่ในระดับปานกลาง
( X = 3.34, S.D. = 0.89) โดยมีความพร้อมในการบริหารเกี่ยวกับมี การสำรวจจุดเด่น จุดด้อย
ของโรงเรียนเพื่อที่จะปรับปรุงพัฒนาโรงเรียนอยู่ในระดับสูงสุด ( X = 3.80, S.D. = 0.83) รองลง
มา คือ กำหนดเป้าหมายการดำเนินงานและเป้าหมายความสำเร็จในการบริหารโรงเรียน
( X = 3.79, S.D. = 0.78) และมีการจัดมาตรฐานการปฏิบัติงานอย่างชัดเจน ( X = 3.66,
S.D. = 0.88)
56
ตารางที่ 9 แสดงค่าคะแนนเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของความพร้อมในการบริหาร
สถานศึกษา โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงาน
การประถมศึกษาจังหวัดสมุทรสงคราม ด้านการตรวจสอบและถ่วงดุล
ความพร้อมในการบริหารสถานศึกษา X S.D. การแปลผล
1. มีคณะทำงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา 3.59 0.84 มาก
2. ให้ครูได้รับความรู้ความเข้าใจในการประกันคุณภาพ
การศึกษา
3.72
0.77
มาก
3. ให้คณะกรรมการสถานศึกษามีส่วนร่วมในการรับทราบ
ข้อมูลในการประกันคุณภาพการศึกษา
3.58
0.84
มาก
4. มีการนำมาตรฐานคุณภาพการศึกษาที่กำหนดไว้ในธรรมนูญ
โรงเรียนมาจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี
3.85
0.84
มาก
5. ให้คณะทำงานในฝ่ายต่าง ๆ มีการรายงานผลการปฏิบัติ 3.74 0.82 มาก
6. ได้แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อตรวจสอบคุณภาพการศึกษา
ของสถานศึกษา
3.56
0.84
มาก
7. สร้างความเข้าใจกับบุคลากรเพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญ
ขององค์กร
3.64
0.84
มาก
8. มีการประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องและเป็นธรรม 3.68 0.87 มาก
9. มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาและตัวชี้วัดให้สอดคล้อง
กับแผนพัฒนาสถานศึกษา
3.68
0.88
มาก
10. มีการนำผลการประเมินมาปรับปรุงพัฒนางานให้มีคุณภาพ
เพื่อรองรับการประเมินมาตรฐานภายนอก
3.72
0.88
มาก
11. มีเอกสารรายงานผลการตรวจสอบการประเมินภายในเพื่อ
เตรียมรับการประเมินภายนอก
3.75
0.92
มาก
12. มีการจัดระบบข้อมูลสารสนเทศที่เป็นปัจจุบัน เพื่อสะดวก
ในการ ค้นหาและตรวจสอบ
3.58
0.87
มาก
13. มีการสร้างเสริมขวัญกำลังใจแก่บุคลากร 3.73 0.91 มาก
14. มีการรายงานผลการประเมินภายใน 3.66 0.91 มาก
รวม 3.68 0.86 มาก
57
จากตารางที่ 9 พบว่า ความพร้อมในการบริหารสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
ของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสมุทรสงครามด้านการตรวจ
สอบและถ่วงดุล โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( X = 3.64, = 0.85) เมื่อพิจารณ าเป็น
รายข้อปรากฏว่า ความพร้อมในการบริหารอยู่ในระดับมากทุกข้อ โดยมีความพร้อมในการบริหาร
เกี่ยวกับมีการนำมาตรฐานคุณภาพการศึกษาที่กำหนดไว้ในธรรมนูญโรงเรียนมาจัดทำแผนปฏิบัติ
การประจำปีอยู่ในระดับสูงสุด (
S.D.
X = 3.85, S.D. = 0.84) รองลงมา คือ มีเอกสารรายงาน
ผลการตรวจสอบการประเมินภายในเพื่อเตรียมรับการประเมินภายนอก ( X = 3.75, S.D. = 0.92)
และให้คณะทำงานในฝ่ายต่างๆ มีการรายงานผลการปฏิบัติ ( X = 3.74, S.D. = 0.82)
58
ตอนที่ 3 การเปรียบเทียบความพร้อมในการบริหารสถานศึกษา โดยใช้
โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงาน
การประถมศึกษาจังหวัดสมุทรสงคราม จำแนกตามตำแหน่งหน้าที่
และขนาดโรงเรียน
ตารางที่ 10 แสดงการเปรียบเทียบความพร้อมในการบริหารสถานศึกษา โดยใช้โรงเรียน
เป็น ฐาน ของโรงเรียน ประถมศึกษาสังกัดสำ นั กงาน การประถมศึกษ า
จังหวัดสมุทรสงคราม จำแนกตามตำแหน่งหน้าที่
ความพร้อมในการบริหารสถานศึกษา ตำแหน่งหน้าที่ n X S.D. t p
ด้านการกระจายอำนาจ
ผู้บริหาร
ครูผู้สอน
64
228
42.05
41.11
6.25
7.18
0.95 0.34
ด้านการมีส่วนร่วม ผู้บริหาร
ครูผู้สอน
64
228
37.94
35.50
6.29
7.06
2.50 0.13
ด้านการคืนอำนาจการจัดการศึกษา
ให้ประชาชน
ผู้บริหาร
ครูผู้สอน
64
228
17.91
17.32
3.90
3.85
1.07 0.28
ด้านการบริหารตนเอง ผู้บริหาร
ครูผู้สอน
64
228
22.33
21.70
3.95
4.41
1.03 0.31
ด้านการตรวจสอบและถ่วงดุล ผู้บริหาร
ครูผู้สอน
64
228
52.39
51.24
8.84
10.68
0.79 0.43
โดยรวมทุกด้าน ผู้บริหาร
ครูผู้สอน
64
228
172.61
166.86
25.39
30.23
1.39 0.17
จากตารางที่ 10 พบว่า ความพร้อมในการบริหารสถานศึกษา โดยใช้โรงเรียน
เป็นฐานของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสมุทรสงคราม
ตามทัศนะของผู้บริหารกับครูผู้สอนแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งในภาพรวมและ
จำแนกเป็นรายด้าน
59
ตารางที่ 11 แสดงการเปรียบเทียบความพร้อมในการบริหารสถานศึกษา โดยใช้โรงเรียน
เป็นฐานของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัด
สมุทรสงคราม จำแนกตามขนาดโรงเรียน
ความพร้อมในการบริหาร
สถานศึกษา
แหล่งความ
แปรปรวน
df SS MS F p
ระหว่างกลุ่ม
ภายในกลุ่ม
2
289
195.06
14005.95
ด้านการกระจายอำนาจ
รวม 291 14201.01
97.53
48.46
2.01 0.14
ระหว่างกลุ่ม
ภายในกลุ่ม
2
289
25.31
14081.41
ด้านการมีส่วนร่วม
รวม 291 14106.72
12.66
48.73
0.26 0.77
ระหว่างกลุ่ม
ภายในกลุ่ม
2
289
3.39
4330.84
ด้านการคืนอำนาจการจัดการศึกษา
ให้ประชาชน
รวม 291 4334.23
1.69
14.99
0.11 0.89
ระหว่างกลุ่ม
ภายในกลุ่ม
2
289
75.36
5340.07
ด้านการบริหารตนเอง
รวม 291 5415.44
37.68
18.48
2.04 0.13
ระหว่างกลุ่ม
ภายในกลุ่ม
2
289
462.92
30.412.05
ด้านการตรวจสอบและถ่วงดุล
รวม 291 30874.97
231.46
105.23
2.20 0.11
ระหว่างกลุ่ม
ภายในกลุ่ม
2
289
1497.80
248257.76
โดยรวมทุกด้าน
รวม 291 249755.56
748.90
859.02
0.87 0.42
จากตารางที่ 11 พบว่า ความพร้อมในการบริหารสถานศึกษา โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
ของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสมุทรสงคราม จำแนกตาม
ขนาดโรงเรียน ปรากฏว่า ความพร้อมในการบริหารแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
ทั้งในภาพรวมและจำแนกเป็นรายด้าน
บทที่ 5
สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาความพร้อมในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
ของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดสมุทรสงคราม โดยจำแนก
ตามตำแหน่งหน้าที่ และ ขนาดโรงเรียน ซึ่งผู้วิจัยได้ดำเนินการสรุปผลการวิจัย อภิปรายผล
และข้อเสนอแนะไว้ดังนี้
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาความพร้อมในการบริหารสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
ของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสมุทรสงคราม
2. เพื่อเปรียบเทียบความพร้อมในการบริหารสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
ของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสมุทรสงคราม
สมมติฐานของการวิจัย
1. ความพร้อมในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานตามทัศนะผู้บริหารกับครู
แตกต่างกัน
2. โรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดสมุทรสงคราม
ที่มีขนาดต่างกัน มีความพร้อมในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานต่างกัน
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
1. ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอนโรงเรียน
ประถมศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสมุทรสงคราม ปีการศึกษา 2546
จำนวน 292 คน
2. กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอนโรงเรียนประถมศึกษา
สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดสมุทรสงคราม จำนวน 292 คน ซึ่งได้มาจากสุ่มตัวอย่าง
แบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) โดยอาศัยตารางการกำหนดกลุ่มตัวอย่างของ
เครจซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan อ้างถึงในพวงรัตน์ ทวีรัตน์, 2540 : 303)
61
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม ซึ่งสอบถามเกี่ยวกับความพร้อม
ในการบริหารสถานศึกษา โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนสังกัดสำนักงานการประถมศึกษา
จังหวัดสมุทรสงคราม ซึ่งผู้วิจัยได้สร้างขึ้น จำนวน 1 ฉบับ มีลักษณะเป็นแบบประมาณค่า 5 ระดับ
คือ ระดับความพร้อมมากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด จำนวน 47 ข้อ โดยสอบถาม
ความพร้อมของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนโรงเรียนสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัด
สมุทรสงคราม มีปัจจัยจำนวน 5 ด้าน คือ ด้านการกระจายอำนาจ ด้านการมีส่วนร่วมด้าน
การคืนอำนาจการจัดการศึกษาให้ประชาชน ด้านการบริหารตนเอง และด้านการตรวจสอบ
และถ่วงดุล ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.98
การเก็บรวบรวมข้อมูล
ผู้วิจัยส่งแบบสอบถามเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างในโรงเรียนประถมศึกษา
สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดสมุทรสงคราม ด้วยวิธีการส่งให้กับโรงเรียนโดยผ่าน
สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสมุทรสงคราม จำนวน 292 ฉบับ ได้รับแบบสอบถามกลับคืน
ทั้งสิ้น 292 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100
การวิเคราะห์ข้อมูล
ผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป เพื่อวิเคราะห์
หาค่าสถิติดังนี้
1. ข้อมูลสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม โดยหาค่าร้อยละ (Percentage)
2. ข้อมูลความพร้อมในการบริหารสถานศึกษา โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ของโรงเรียน
ประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสมุทรสงคราม โดยหาค่าเฉลี่ย (Mean)
ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) วิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่าง โดยใช้สถิติ
ทดสอบ t-test และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (ANOVA) หากพบความแตกต่างอย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติจะทำการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ โดยใช้วิธีของเชฟเฟ่
(Seheffe’ s test)
62
สรุปผลการวิจัย
1. ผลการศึกษาความพร้อมในการบริหารสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
ของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสมุทรสงคราม พบว่า
ความพร้อมในการบริหารสถานศึกษา โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานโดยภาพรวมมีความพร้อมอยู่ใน
ระดับมาก
เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านในแต่ละด้าน พบว่า ความพร้อมในการบริหารสถานศึกษา
โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัด
สมุทรสงคราม มีความพร้อมอยู่ในระดับมากทุกด้าน ยกเว้น ด้านการกระจายอำนาจ และด้าน
การคืนอำนาจ การจัดการศึกษาให้ประชาชน พบว่ามีความพร้อมอยู่ในระดับปานกลาง
และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า
1.1 ด้านการกระจายอำนาจ ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนในโรงเรียนประถมศึกษา
สังกัด สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสมุทรสงคราม มีความพร้อมอยู่ในระดับมาก 3 ข้อ
คือ (1) ส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากรเข้าร่วมประชุมสัมมนาอย่างทั่วถึง (2) ส่งเสริมสนับสนุน
ให้ครูพัฒนาตนเองโดยการศึกษาต่อศึกษาดูงาน และการศึกษาค้นคว้าจากแหล่งความรู้ที่ทันสมัย
(3) บริหารงบประมาณด้วยความโปร่งใส และพร้อมสำหรับตรวจสอบ
1.2 ด้านการมีส่วนร่วม ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนในโรงเรียนประถมศึกษา
สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสมุทรสงคราม มีความพร้อมในระดับมาก 3 ข้อ คือ
(1) มีการแต่งตั้งสรรหาคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้คณะกรรมการสถานศึกษา
ขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองและชุมชน (2) ให้สนับสนุนให้เด็กทุกคนในเขตบริการได้รับการศึกษา
ขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึง (3) ให้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองและชุมชนให้
สนับสนุนให้เด็กทุกคนในเขตบริการได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึง
1.3 ด้านการคืนอำนาจการจัดการศึกษาให้ประชาชน ผู้บริหารโรงเรียน
ประถมศึกษาและครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสมุทรสงคราม มี
ความพร้อมในระดับมาก 2 ข้อ คือ (1) รับฟังคำแนะนำจากคณะกรรมการสถานศึกษาชุมชน
เกี่ยวกับความต้องการของคนในท้องถิ่น (2) ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการศึกษา
ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ต่อคณะกรรมการสถานศึกษา องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นผู้ปกครอง และชุมชน
1.4 ด้านการบริหารตนเอง ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนในโรงเรียนประถมศึกษา
สังกัด สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสมุทรสงคราม มีความพร้อมในระดับมาก 3 ข้อ คือ
(1) มีการสำรวจจุดเด่น จุดด้อยของโรงเรียนเพื่อที่จะปรับปรุงพัฒนาโรงเรียน (2) กำหนด
63
เป้าหมายการดำเนินงานและเป้าหมายความสำเร็จในการบริหารโรงเรียน (3) มีการจัดมาตรฐานการ
ปฏิบัติงานอย่างชัดเจน
1.5 ด้านหลักการตรวจสอบและถ่วงดุล ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนในโรงเรียน
ประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสมุทรสงคราม มีความพร้อมในระดับมาก
3 ข้อ คือ (1) มีการนำมาตรฐานคุณภาพการศึกษาที่กำหนดไว้ในธรรมนูญโรงเรียนมาจัดทำ
แผนปฏิบัติการประจำปี (2) มีเอกสารรายงานผลการตรวจสอบการประเมินภายในเพื่อเตรียมรับ
การประเมินภายนอก (3) ให้คณะทำงานในฝ่ายต่าง ๆ มีการรายงานผลการปฏิบัติ
2. ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบความพร้อมในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
ของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดสมุทรสงคราม เมื่อจำแนก
ตามตำแหน่งหน้าที่ และขนาดโรงเรียน โดยภาพรวมพบว่า
2.1 ผู้บริหารและครูผู้สอนของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถม
ศึกษาจังหวัดสมุทรสงคราม มีความพร้อมในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ที่มีตำแหน่ง
หน้าที่ต่างกัน มีความพร้อมในการบริหารแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
2.2 ผู้บริหารและครูผู้สอนของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถม
ศึกษา จังหวัดสมุทรสงคราม มีความพร้อมในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ที่สังกัดอยู่ในโรง
เรียนที่มีขนาดต่างกัน มีความพร้อมในการบริหารแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
การอภิปรายผลของการวิจัย
จากการสรุปและวิเคราะห์ข้อมูล ระดับความพร้อมในการบริหารโดยใช้โรงเรียน
เป็นฐานของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดสมุทรสงคราม
พบประเด็นที่สำคัญคือ
1. ความพร้อมในการบริหารสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ของโรงเรียนประถม
ศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสมุทรสงคราม โดยภาพรวมมีความพร้อมอยู่ใน
ระดับมาก และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการกระจายอำนาจ และด้านการคืนอำนาจ
การจัดการศึกษาให้ประชาชน อยู่ในระดับปานกลาง จากผลการวิจัยที่ค้นพบในครั้งนี้ ผู้วิจัย
มีความเห็นว่าอาจเกิดจากการที่ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจถึงหลักการของการกระจายอำนาจ
และการคืนอำนาจ การจัดการศึกษาให้กับประชาชนเพียงพอ ซึ่งส่งผลให้ประชาชนขาด
ความพร้อมในการเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน โดยผลการวิจัย
ดังกล่าวไม่สอดคล้องกับที่สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (ม.ป.ป. : 1)
ได้กำหนดเป็น “แนวทางการนำนโยบายปัญจปฏิรูปการศึกษาไปสู่การปฏิบัติ” ไว้ว่า ในการขับ
64
เคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จได้นั้น จะต้องบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
ซึ่งมีการกระจายอำนาจทั้งด้านวิชาการ การบริหารบุคคล การบริหารงบประมาณและการบริหาร
ทั่วไป เน้นการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบ โดยคำนึงถึง
การบริหารจัดการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ และจัดการเรียนรู้ที่มุ่งคุณภาพผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งสอดคล้อง
กับผลการวิจัยของ อนันต์ เพียรพานิชย์ (2545 : บทคัดย่อ) ซึ่งได้ทำศึกษาเรื่อง การบริหาร
โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานรูปแบบที่ครูและชุมชนมีบทบาทหลัก ตามความคิดเห็นของครูและผู้นำ
ชุมชนกลุ่มโรงเรียนขามใหญ่พัฒนา จังหวัดอุบลราชธานี พบว่า บุคลากรในท้องถิ่นขาด
ความพร้อมโดยเฉพาะด้านความรู้ และความแตกต่างด้านการศึกษาของครูและผู้นำชุมชน
ขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษา การจำกัดสิทธิ์ในการเลือกแบบเรียน อาจจะ
ทำให้โรงเรียนไม่สามารถเลือกหนังสือเรียนตามความต้องการของโรงเรียนได ้ มีแหล่งความรู้ไม่
เพียงพอต่อการศึกษาค้นคว้าวิจัย ดังนั้นในการนำเอาหลักการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานมา
ใช้เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ สิ่งที่ควรคำนึงถึงประการแรกคือ จะต้อง
สร้างความรู้ความเข้าใจให้กับประชาชน ซึ่งจากบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2540 ที่กำหนดให้บุคคลมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า
สิบสองปี รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย การจัดการศึกษาอบรม
ของรัฐ ต้องคำนึงถึงการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองท้องถิ่นและชุมชน ประกอบกับ
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้กำหนดให้การศึกษาเป็นกระบวนการเรียนรู้
เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคมโดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม
การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้าง
องค์ความรู้อันเกิดจากจัดสภาพแวดล้อม สังคม การเรียนรู้ และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเกิด
การเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์
ที่สมบูรณ์ ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและ วัฒนธรรม
ในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข การกำหนดให้สังคมมีส่วนร่วม
ในการจัดการศึกษา พัฒนาสาระ และกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อในแต่ละด้าน ก็พบประเด็นที่น่าสนใจ และสามารถนำมา
อภิปรายได้ดังต่อไปนี้
1.1 ความพร้อมของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา
จังหวัดสมุทรสงคราม ทางด้านการกระจายอำนาจ ในเรื่อง ส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากร
เข้าประชุมอบรมสัมมนาอย่างทั่วถึง พบว่า มีความพร้อมอยู่ในระดับมากกว่าทุกเรื่อง
ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางของ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2543 : 14-15)
ที่ต้องการให้สถานศึกษามีบุคลากรแกนนำที่มีความพร้อมในด้านความรู้และความสามารถใน
65
การถ่ายทอดความรู้ จัดประชุมเพื่อสร้างความตระหนักให้กับบุคลากรโดยใช้วิทยากรของ
สถานศึกษาเอง เพื่อแสดงให้เห็นศักยภาพของผู้บริหารและครูด้านการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง
และศักยภาพของสถานศึกษาที่สามารถพึ่งตนเองได้ อีกทั้งยังเป็นการสร้างความตระหนัก ความรู้
ความเข้าใจ ในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานเพื่อให้เป็นเรื่องที่บุคลากรที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
ทุกคนโดยเฉพาะคณะกรรมการสถานศึกษา ต้องมีความรู้ ความตระหนักในความรับผิดชอบและ
ขอบเขตของอำนาจหน้าที่โดยมีการตัดสินใจร่วมกัน ดังนั้นจึงจำเป็นที่ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้อง
ปลูกจิตสำนึกและสร้างความตระหนัก ให้บุคลากรทุกฝ่ายมองเห็นคุณค่าและมีความเข้าใจที่ถูก
ต้องตรงกัน จึงจำเป็นต้องปรับความคิดของบุคลากรฝ่ายต่างๆ ให้อยู่ในระดับเดียวกัน
1.2 ความพร้อมของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา
จังหวัดสมุทรสงคราม ทางด้านการมีส่วนร่วมในเรื่องเกี่ยวกับการ ให้โรงเรียนและคณะกรรมการ
สถานศึกษาขั้นพื้นฐานร่วมบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน (PBB) พบว่า มีความพร้อม
อยู่ในระดับปานกลางที่ค่อนข้างน้อยกว่าทุกเรื่อง จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า การบริหาร
โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ที่ต้องการให้เกิดการมีส่วนร่วมตั้งแต่ขั้นของการร่วม วางแผน
โครงการ การร่วมมือ การใช้ยุทธศาสตร์เพื่อระดมกำลังความคิด จิตใจ การเสียสละ กำลัง
แรงงาน วัสดุ กำลังเงิน หรือทรัพยากรใดที่มีอยู่ทำให้เกิดพลังทางการบริหาร โดยมีความ
เชื่ออันเป็นหนึ่ง อันเดียวกันในเรื่องของเป้าหมายของกิจกรรมที่ปฏิบัติ การร่วมมือกันจึงจะ
เกิดขึ้นอย่างแท้จริง ซึ่งเป็นแนวคิดของ ปรัชญา เวสารัชช์ (2528 : 227) นั้นโดยในทางปฏิบัติแล้ว
โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดสมุทรสงคราม มีความพร้อมเกี่ยว
กับเรื่องนี้ยังไม่มากนัก
1.3 ความพร้อมของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา
จังหวัดสมุทรสงคราม ทางด้านการคืนอำนาจการจัดการศึกษาให้ประชาชนในเรื่องของการรับฟัง
คำแนะนำจากคณะกรรมการสถานศึกษา ชุมชนเกี่ยวกับความต้องการของคนในท้องถิ่น
พบว่า มีความพร้อมอยู่ในระดับมากกว่าทุกเรื่อง ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยของ คารม ช่วยสุข
(2545 : 74) ที่ได้ทำการศึกษาเรื่อง ความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียน
เป็นฐานในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดอุบลราชธานี โดยพบเป็นข้อเสนอแนะว่า ในการจัด
การศึกษาของรัฐควรจะมีการกระจายอำนาจในการจัดการศึกษาให้คณะกรรมการสถานศึกษา
ขั้นพื้นฐานได้มีบทบาทหน้าที่ที่แท้จริงในการบริหารสถานศึกษาในทุกเรื่อง และควรกำหนด
คุณสมบัติผู้ที่จะเข้ามาเป็นคณะกรรมการให้เป็นไปด้วยความสมัครใจ โดยกำหนดคุณสมบัติ
ให้เหมาะสมเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย สำหรับการดำเนินการด้านต่างๆ ของคณะกรรมการ
สถานศึกษาขั้นพื้นฐานควรมุ่งไปที่การพัฒนาคุณภาพการศึกษา การเปลี่ยนแปลงการดำเนินงาน
66
ควรเป็นไปเพื่อพัฒนาผู้เรียน มากกว่าจะมุ่งไปที่ผลประโยชน์ อำนาจของตนเองและ
กลุ่มเครือญาติ
1.4 ความพร้อมของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา
จังหวัดสมุทรสงคราม ทางด้านการบริหารตนเองในเรื่องอื่นๆ มีความพร้อมอยู่ในระดับมาก
ยกเว้นเรื่อง กำหนดวิธีการดำเนินงานอย่างเป็นระบบโดยใช้วงจรเดมมิ่ง (Deming) บริหารงานใน
โรงเรียน พบว่า มีความพร้อมอยู่ในระดับปานกลาง การที่ผลการวิจัยเป็นเช่นนี้แสดงให้เห็นว่า
ผู้บริหารและครูผู้สอนของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัด
สมุทรสงคราม มีความรู้ และความเข้าใจในการนำเอาระบบการบริหารงานภายในโรงเรียน
โดยการใช้วงจรเดมมิ่ง (Deming) เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาการบริหารงานภายในโรงเรียน
ของตนยังไม่ชัดเจน โดยหลักการของ เสาวนิตย์ ชัยมุกสิก (2544 : 83) ซึ่งกำหนดวิธีการ
ดำเนินงานอย่างเป็นระบบโดยใช้วงจรคุณภาพเดมมิ่ง (Plan-Do-Check-Action : P-D-C-A) ก็เพื่อ
ต้องการให้สถานศึกษาได้แสดงความสามารถในการบริหารตนเองของโรงเรียนตาม
หลักการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
1.5 ความพร้อมของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา
จังหวัดสมุทรสงคราม ทางด้านการตรวจสอบและถ่วงดุลในเรื่อง มีการนำมาตรฐานคุณภาพ
การศึกษาที่กำหนดไว้ในธรรมนูญโรงเรียนมาจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี พบว่า มีความพร้อม
อยู่ในระดับมากกว่าทุกเรื่อง จากผลการวิจัยที่ค้นพบในครั้งนี้ ผู้วิจัยมีความเห็นว่า เกิดจาก
ผลบังคับใช้ของพระราชกฤษฎีกาการจัดตั้งสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพ
การศึกษา (สมศ.) พ.ศ. 2543 ได้กำหนดให้มีการประเมินคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา
ทุกๆ 5 ปี ดังนั้นโรงเรียนประถมศึกษา ที่สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดสมุทรสงคราม
จึงต้องเตรียมความพร้อมเพื่อรับการประเมินภายนอกจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมิน
คุณภาพการศึกษา (สมศ.)
2. การเปรียบเทียบความพร้อมในการบริหารสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
ของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสมุทรสงคราม เมื่อจำแนก
ตามตำแหน่งหน้าที่ และขนาดโรงเรียน โดยภาพรวมพบว่า
2.1 ผู้บริหารและครูผู้สอนของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถม
ศึกษาจังหวัดสมุทรสงคราม มีความพร้อมในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ที่มีตำแหน่ง
หน้าที่ต่างกัน มีความพร้อมในการบริหารแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ จากผลการวิจัย
ที่ค้นพบในครั้งนี้ไม่สอดคล้องกับสมมติฐานที่ว่า “ความพร้อมในการบริหารโดยใช้
โรงเรียนเป็นฐานตามทัศนะผู้บริหารกับครูแตกต่างกัน” สาเหตุส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากปฏิรูป
การศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ทำให้ผู้บริหารและครูผู้สอนต้องรับรู้
67
การทำงาน และรับผิดชอบร่วมกันแต่ผู้บริหารยังคงอำนาจในการตัดสินใจเหมือนเดิม
เป็นผลทำให้ไม่เกิดความแตกต่างทางด้านความพร้อมระหว่างผู้บริหารและครูผู้สอนในการศึกษา
ครั้งนี้ และนอกจากนี้ผลจากการวิจัยที่พบในครั้งนี้ไม่สอดคล้องกับผลการวิจัยของ คารม ช่วยสุข
(2545 : บทคัดย่อ) ซึ่งศึกษาเรื่อง ความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียน
เป็นฐานในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดอุบลราชธานี โดยผลการวิจัยพบว่า ข้าราชการครูที่มี
ตำแหน่งต่างกันมีความคิดเห็นต่อความเป็นไปได้ในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานใน
สถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยรวม ด้านบริหารงานวิชาการ ด้านบริหารงบประมาณและด้านบริหาร
ทั่วไป แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
2.2 ผู้บริหารและครูผู้สอนของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถม
ศึกษา จังหวัดสมุทรสงคราม มีความพร้อมในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ที่สังกัดอยู่ใน
โรงเรียนที่มีขนาดต่างกัน มีความพร้อมในการบริหารแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
จากผลการวิจัยที่ค้นพบในครั้งนี้ไม่สอดคล้องกับสมมติฐานที่ว่า “โรงเรียนประถมศึกษา สังกัด
สำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดสมุทรสงครามที่มีขนาดต่างกัน มีความพร้อมในการบริหาร
โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานต่างกัน” สาเหตุหลักเกิดจากการกระจายอำนาจทางการศึกษา ทำให้
โรงเรียนทุกแห่งมีอำนาจในตัดสินใจเกี่ยวกับการบริหารได้ด้วยตนเอง ดังนั้นขนาดของ
โรงเรียนที่ต่างกันจึงไม่มีผลต่อการศึกษาเรื่องความพร้อมในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
ต่างกัน ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยของคารม ช่วยสุข (2545 : บทคัดย่อ) ที่ศึกษาเรื่อง
ความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
จังหวัดอุบลราชธานี โดยผลการวิจัยพบว่า ข้าราชการครูที่ปฏิบัติหน้าที่ในโรงเรียนที่มี
ขนาดต่างกันมีความคิดเห็นต่อความเป็นไปได้ในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานใน
สถานศึกษาขั้นพื้นฐานในทุกด้านไม่แตกต่างกัน
68
ข้อเสนอแนะ
จากผลการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะที่จะเป็นประโยชน์ต่อการบริหารโรงเรียน
ดังต่อไปนี้
1. ข้อเสนอแนะสำหรับโรงเรียน
1.1 ด้านการกระจายอำนาจ ควรให้ความรู้เกี่ยวกับระบบการเทียบโอนระหว่าง
การเรียนในระบบนอกระบบและตามอัธยาศัย แก่บุคลากรอย่างทั่วถึง และควรมีสถานที่สำหรับ
การจัดกิจกรรมต่างๆ และสถานที่พักผ่อนของ นักเรียน ครู และชุมชนอย่างเพียงพอ
1.2 ด้านการมีส่วนร่วม ควรให้ความรู้แก่ผู้ที่มีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษา
ในด้านให้โรงเรียนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานร่วมบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้น
ผลงาน (PBB) และสามารถนำไปปฏิบัติงานได้จริง และให้คณะกรรมการสถานศึกษา
ขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง และชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบ ติดตาม ประเมินผลการจัด
การศึกษาของสถานศึกษา
1.3 ด้านการคืนอำนาจ การจัดการศึกษาให้ประชาชน ควรให้สถานศึกษาร่วมกับ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทำนโยบายและหาแนวทางในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานมากขึ้น
และควรสร้างความเข้าใจแก่บุคลากรของสถานศึกษาเกี่ยวกับการถ่ายโอนการจัดการศึกษาไป
ยังท้องถิ่น หรือการจัดการศึกษาโดยท้องถิ่น
1.4 ด้านการบริหารตนเอง ควรกำหนดวิธีการดำเนินงานอย่างเป็นระบบโดยใช้
วงจรเดมมิ่ง (Deming) บริหารงานภายในโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง
1.5 ด้านการตรวจสอบและถ่วงดุล ควรแต่งตั้งคณะกรรมการที่มีความรู้
ความสามารถทำหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ควรให้คณะกรรมการ
สถานศึกษามีส่วนร่วมในการรับทราบข้อมูลในการประกันคุณภาพการศึกษา และควรมีการจัด
ระบบข้อมูลสารสนเทศที่เป็นปัจจุบัน เพื่อสะดวกในการ ค้นหาและตรวจสอบ
2. ข้อเสนอแนะสำหรับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สมุทรสงคราม ควร
2.1 เร่งสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับสถานศึกษาเกี่ยวกับหลักการกระจายอำนาจ
และการการคืนอำนาจ การจัดการศึกษาให้ประชาชน
2.2 จัดส่งบุคลากร ที่มีความรู้ความเข้าใจและมีประสบการณ์มาให้ความรู้แก่
ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อทำให้โรงเรียนมีมาตรฐานเดียวกัน
2.3 ผลการวิจัยในครั้งนี้มีใช้ได้เฉพาะเขตพื้นที่การศึกษา สมุทรสงคราม หากนำ
แบบสอบถามฉบับนี้ไปใช้กับเขตพื้นที่การศึกษาอื่นผลที่ได้จากการวิจัยอาจเหมือนหรือแตกต่าง
69
จากผลการศึกษาครั้งนี้ เนื่องจากจังหวัดสมุทรสงคราม มีขนาดเล็ก จำนวนบุคลากรทางการศึกษา
และโรงเรียนมีจำนวนน้อย
3. ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งต่อไปควรศึกษาในเรื่องต่อไปนี้
3.1 ศึกษาความพร้อมของผู้ปกครอง ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้ที่มี
ส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา เพื่อรองรับการกระจายอำนาจและการคืนอำนาจ ในการบริหาร
และจัดการศึกษา
3.2 ศึกษาความต้องการของชุมชนที่เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษา โดย
ใช้โรงเรียนเป็นฐาน
3.3 ศึกษาความพร้อมของบุคลากรทางการศึกษาในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติ
การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
3.4 ศึกษาความต้องการของชุมชนในการจัดหลักสูตรท้องถิ่น
บรรณานุกรม
กรมสามัญศึกษา. (2542). รายงานการวิจัยเรื่อง การศึกษาแนวทางในการศึกษาพัฒนาคุณภาพ
ของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา. กรุงเทพฯ : กองแผนงาน
กรมสามัญศึกษา.
. (2543). ร่วมเรียนรู้สู่คุณภาพ. กรุงเทพฯ : หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา
เขตการศึกษา 5.
ก้องเกียรติ บุดดาเจริญ. (2538). การศึกษาการดำเนินงานนิเทศในโรงเรียนเอกชนที่ได้รับการ
รับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษากรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต
ภาควิชาบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
. (2544). แนวทางสู่ SBM : การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของกรมสามัญศึกษา.
กรุงเทพมหานคร. (อัดสำเนา).
เกรยี งศกั ด์ิ พราวศร.ี (2544). การจัดระบบสารสนเทศในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
เพื่อประเมินคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ : บุ๊คพอยท์.
คารม ช่วยสุข (2545). ความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานใน
สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาการบริหารการศึกษา สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.
ฉลุวิทย์ ดีวงศ์. (2545). การมีส่วนร่วมบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของคณะกรรมการสถาน
ศึกษาขั้นพื้นฐานในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดมุกดาหาร.
ภาคนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ดิเรก วรรณเศียร. (ม.ป.ป.). การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School– Based Management)
รวมบทความเชิงวิชาการเรื่อง การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน. กรุงเทพฯ : กลุ่มวิจัย
และประเมินคุณภาพการศึกษา กองการมัธยมศึกษา กรมสามัญศึกษา. (อัดสำเนา).
ถวิล มาตรเลี่ยม. (2544). การปฏิรูปการศึกษา : โรงเรียนเป็นฐานการบริหารจัดการ.
กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เสมาธรรม.
ทิพยวดี ไชยยงยศ. (2521). บทบาทของสภาตำบลในการส่งเสริมการศึกษานอกโรงเรียน.
วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาบริหารการศึกษา
มหาวิทยาลัยศรีนครรินทรวิโรฒ.
71
ธร สุนทรยุทธ. (ม.ป.ป.). หลักการและทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ :
เนติกุลการพิมพ์.
ธรรมรส โชติกุญชร. (2536). “การบริหารแบบมีส่วนร่วม” ประมวลสาระวิชาทฤษฎีและ
แนะแนวปฏิบัติในการบริหารการศึกษา หน่วยที่ 12 การบริหารและมีส่วนร่วม.
นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
นพพงษ์ บุญจิตราดุลย์. (2534). หลักการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ : ศูนย์การพิมพ์.
นิรันดร์ ช่วยเจริญ. (2543). การบริหารงานสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
ของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดปทุมธานี.
วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ปธาน สุวรรณมงคล. (2537). แนวโน้มการกระจายอำนาจปกครองของกฎหมายไทย.
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น.
ประคอง กรรณสูตร. (2540). สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 6.
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประยุทธ สุวรรณโกตา. (2536). “การบริหารแบบมีส่วนร่วม.” พัฒนาชุมชน. 32(พฤษภาคม
2536) : 17.
ปรัชญา เวสารัชช์. (2528). การมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจกรรมการพัฒนาชนบท. กรุงเทพฯ
: สถาบันไทยศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พรรณี ช. เจนจิต. (2538). จิตวิทยาการเรียนการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ :
บริษัท คอมแพคท์พรินท์ จำกัด.
พระธรรมปิฎก. (ป.อ. ปยุตโต). (2539). การศึกษากับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ :
โรงพิมพ์การศาสนา.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์.
พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา
มหาวิทยาศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2542). ทิศทางการศึกษาไทยกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในการศึกษา
เพื่อชีวิตและสังคม. กรุงเทพฯ : บริษัท พิมพ์ดี จำกัด.
มนตรี นาคสมบูรณ์. (2540). นโยบายและกลวิธีการมีส่วนร่วมของชุมชนในยุทธศาสตร์
การพัฒนาปัจจุบันในการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชนบท
กรุงเทพฯ : ศักดิ์โสภาการพิมพ์.
72
รวีวัตร์ สิริภูบาล, ยุวดี กังสดาล, พิกุล สีหาพงษ์. (2545). รายงานการวิจัยวัฒนธรรม
สภาพแวดล้อมและค่านิยมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ความดี และความสุขของผู้เรียน. กรุงเทพฯ
: กองวิจัยทางการศึกษา กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.
รุ่ง แก้วแดง. (2542). ปฏิวัติการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ : บริษัท พิฆเนศ พริ้นติ้ง
เซ็นเตอร์ จำกัด.
วรภัทร์ ภู่เจริญ. (2541). แนวทางการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ :
สถาบันส่งเสริมการประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ.
วัลลภา โล่ห์สุวรรณ. (2537). การศึกษาความต้องการของผู้ปกครองนักเรียนเกี่ยวกับการ
รับบริการตามโครงการขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนประถมศึกษา
สังกัดเทศบาลและเมืองพัทยา เขตการศึกษา 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต
ภาควิชาบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2542). การบริหาร หลักการ ทฤษฎี และประเด็นทางการศึกษา.
กรุงเทพฯ : อักษราพิพัฒน์.
วีระพงศ์ เดชบุญ. (2540). ความพร้อมในการมีส่วนร่วมจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี
ขององค์การบริหารส่วนตำบล เขตการศึกษา 10. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.
วีระวัฒน์ อุทัยรัตน์ และเฉลิมชัย หาญกล้า. (2546). “ทำอย่างไร เมื่อโรงเรียนต้องบริหารโดยใช้
โรงเรียนเป็นฐาน”. วารสารวิชาการ. 6(5) พฤษภาคม : 17-24.
ศศิธร ชูอินทร์. (2545) การศึกษาความพร้อมในการจัดการเรียนร่วมของโรงเรียนมัธยมศึกษา
สหวิทยาเขตรัตนโกสินทร์ 1 กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาการบริหารการศึกษา สถาบันราชภัฏสวนดุสิต.
สกาวรัตน์ ชุ่มเชย. (2543). การนำเสนอรูปแบบการวิจัยปฏิบัติการสำหรับการพัฒนาครู
ประถมศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต
ภาควิชาวิจัยการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (ม.ป.ป.). แนวทางการนำนโยบายปัญจปฏิรูป
การศึกษาไปสู่การปฏิวัติ. กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.
พ.).
. (2542) . คู่มือการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา. กรุงเทพฯ :
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ.
73
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2542). “เส้นทางการปฏิรูปการศึกษาไทย” .
ข่าว พ.ร.บ.ศึกษา. 1(2) มีนาคม : 1-4.
. (2543) ก. รายงานการศึกษาแนวทางการบริหารและการจัดการศึกษาของสถานศึกษาใน
รูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา.
. (2543) ข. สมรรถนะการศึกษาไทยในเวทีโลก พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ : พริกหวาน
กราฟฟิก.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน. (2544). นโยบายจัดการศึกษาเอกชน. กรุงเทพฯ :
โรงพิมพ์คุรุสภา.
. (2544). “การบริหารและการจัดการศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน”.
ในรวมบทความเชิงวิชาการ. น. 4. กรุงเทพฯ : กองการมัธยมศึกษา. กรมสามัญศึกษา.
สุมน อมรวิวัฒน์. (2542). “หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานในโลกทัศน์ใหม่”. วารสารวิชาการ.
2(1) มกราคม : 12-16.
สุทธิพงษ์ จุรุเทียบ (2545). การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานรูปแบบครูและชุมชนมีบทบาทหลัก
ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนประถมศึกษาสังกัด
สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์
ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.
เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์ และคณะ. (2541). การกระจายอำนาจการบริหารและจัดการศึกษา.
กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
เสาวนิตย์ ชัยมุสิก. (2544). การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา.
กรุงเทพฯ : บุ๊คพอยท์.
อนันต์ เพียรพานิชย์. (2545). การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานรูปแบบที่ครูและชุมชน
มีบทบาทหลัก ตามความคิดเห็นของครูและผู้นำชุมชนกลุ่มโรงเรียนขามใหญ่พัฒนา
จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาการบริหารการศึกษา สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี.
อุทัย บุญประเสริฐ. (2543). การศึกษาแนวทางการบริหารงานและการจัดการศึกษาของ
สถานศึกษาในรูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน. กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์คุรุสภา.
อุบล เรียงสุวรรณ. (2538). สาระการศึกษา : ระบบการศึกษา. กรุงเทพฯ :
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร.
74
Brooke. J. S. (1984). Centralization and Autonomy : A Study in Organizational Behavior.
New York : Holt, Rinehart and Winston.
Brown, D. J. (1994). “Decentralization in Educational Government and Management, ”
in The International Encyclopedia of Education. 2nd ed. Vol. 3, T. Husen
and T. Neville. Postlehwaite, (eds.), Oxford : Pergamon.
Brown, Bruce Robert. (1998). An Analysis of the Perceived Effectiveness of School-Based
Management By School and Community Stakeholders. Dissertation Abstracts
International. 59-09A ; 3296.
Brown, Johnnie Anthony. (1998). An Evaluation of the Effects of School-Based Management
on Perceived Principal and School Effectiveness at a Public Middle School.
Dissertation Abstracts international. 59-10A ; 153.
Caldwell, B. J. & Spink. J. M. (1996). The Self-Managing School. London : The Flamer Press.
Campbell, R. F. (1971). Introduction to Educational Administration. New York :
Allyn and Bacon, Inc.
Cheng, Y. C. (1996). School Effectiveness and School – Based Management. London :
The Flamer Press.
Claybar, Kathryn Reed. (1994). School-Based Management : A Study of Organizational Change
In Decision-Making and Factors Influencing the Institutionalization of the Process.
Dissertation Abstracts International. 55-06A ; 1431.
Daft, Richard D. (1983). Organization Theory and Design. St. Paul : West Publishing.
Dondero, Grace Marie. (1993). School-Based Management, Teachers’ Decisional Participation
Levels, School Effectiveness, and Job Satisfaction. Dissertation Abstracts
International. 54-05A : 1607.
Goode, Elleen. (1994). Site-Based Management in Public Education : A Challenge for Critical
Pragmatism. Dissertation Abstracts International. 55-04A:816.
Hanson, E. Mark. (1979). Education Administration and Organizational Behavior.
Boston : Allyn and Bacon.
Kemmerer, F. (1994). “ Decentralizing of Schooling in Developing Nations,”
in The International Encyclopedia of Education. 2nd ed. Vol. 3, T. Husen
and T. Neville. Postlehwaite, (eds.), Oxford : Pergamon.
75
Kochen, M. and Deutsch, K.W. (1980). Decentralization : in Sketches Toward a Rational
Theory. Cambridge MA : Oelgeschager, Gunn and Hain.
Lefrancois, G. R . (1988). Psychology for Teaching. California : Woods Worth Publishing
Company.
Maquire, Thomas Francis. (1994). School-Based Management : Conditions for Implementation.
Dissertation Abstracts International. 55-03A:434.
Mintzberg, H. (1979). The Structuring of Organization : A Synthesis of the Research.
Englewood Cliffs, New Jersey : Prentice Hall.
Renold, L. J. (1997). Successful Site-Based Management A Practical Guide
(Revised ed.) Californian : Corwin Press.
Scott, William G. and others. (1981). Organization Theory. 4th ed. Homewood Illinois :
Irwin.
Taba, Hilda. (1962). Curriculum Development : Theory and Practice. New York : Harcourt.
ภาคผนวก
ภาคผนวก ก
แบบสอบถามเพื่อการวิจัย
78
แบบสอบถามเพื่อการวิจัย
เรื่อง
การศึกษาความพร้อมในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนประถมศึกษา
สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดสมุทรสงคราม
ตอนที่ 1 สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม
คำชี้แจง โปรดเขียนเครื่องหมาย �� ลงใน �� ให้ตรงกับความเป็นจริง
1. เพศ
�� ชาย �� หญิง
2. อายุ
�� ต่ำกว่า 30 ปี �� 30 - 40 ปี
�� 41 - 50 ปี �� 51 - 60 ปี
3. วุฒิการศึกษา
�� ต่ำกว่าปริญญาตรี �� ปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
�� สูงกว่าปริญญาตรี
4. ตำแหน่งหน้าที่ในปัจจุบัน
�� ผู้บริหารโรงเรียน / ผู้อำนวยการ / อาจารย์ใหญ่
�� ครูผู้สอน
5. ขนาดโรงเรียน
�� โรงเรียนขนาดเล็ก �� โรงเรียนขนาดกลาง
�� โรงเรียนขนาดใหญ่
ตอนที่ 2 ความพร้อมในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
คำชี้แจง โปรดทำเครื่องหมาย �� ลงในช่องว่างท้ายข้อความที่ตรงกับระดับ ความพร้อมในโรงเรียนของท่าน
เพียง 1 ช่อง ซึ่งมีระดับความพร้อม 5 ระดับ คือ
5 หมายถึง มีความพร้อมมากที่สุด
4 หมายถึง มีความพร้อมมาก
3 หมายถึง มีความพร้อมปานกลาง
2 หมายถึง มีความพร้อมน้อย
1 หมายถึง มีความพร้อมน้อยที่สุด
ตัวอย่างการตอบแบบสอบถาม
ระดับความพร้อม
ข้อ รายการ 5 4 3 2 1
0 การรับการประเมินภายนอก ��
ข้อ 0 หมายความว่า โรงเรียนของท่านมีความพร้อมในการรับการประเมิน ภายนอกระดับปานกลาง
79
ความพร้อมในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนประถมศึกษา
สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสมุทรสงคราม
ระดับความพร้อม
ข้อ รายการ 5 4 3 2 1
ด้านการกระจายอำนาจ
1 มีการวางแผนในการจัดทำแผนกลยุทธ์
2 สถานศึกษาให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการตั้งเป้าหมายผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนของนักเรียน และมาตรฐานคุณภาพการศึกษา
3 มีระบบการเทียบโอนระหว่าง การเรียนในระบบ นอกระบบ
และตามอัธยาศัย
4 จัดให้มีระบบบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน
(Performance - based Budgeting : PBB)
5 ให้ความรู้แก่บุคลากรและ คณะกรรมการการศึกษา
ขั้นพื้นฐานในการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน (PBB)
6 ส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากรเข้าประชุม อบรม สัมมนาอย่างทั่วถึง
7 ส่งเสริมสนับสนุนให้ครูพัฒนาตนเองโดยการศึกษาต่อ ศึกษาดูงาน
และการศึกษาค้นคว้าจาก แหล่งความรู้ที่ทันสมัย
8 มีการวางแผนในการบริหารบุคลากรของสถานศึกษา
9 จัดให้มีห้องปฏิบัติการที่ทันสมัยและเพียงพอ
10 มีห้องสมุดที่ทันสมัยเพื่อการค้นคว้าสำหรับครูและนักเรียน
11 มีสถานที่สำหรับการจัดกิจกรรมต่าง ๆ และสถานที่พักผ่อน
ของนักเรียน ครูและชุมชนอย่างเพียงพอ
12 บริหารงบประมาณด้วยความโปร่งใส และพร้อมสำหรับ
การตรวจสอบ
ด้านการมีส่วนร่วม
13 มีการแต่งตั้ง สรรหาคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
14 คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีส่วนร่วมในการจัดทำ
หลักสูตรท้องถิ่นที่สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น
15 มีการวางแผนให้คณะกรรมการสถานศึกษา ครู ผู้ปกครอง และ
ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนบริหารบุคลากร
16 ให้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง และชุมชน
เข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบ ติดตาม ประเมินผลการจัด
การศึกษาของสถานศึกษา
80
ระดับความพร้อม
ข้อ รายการ 5 4 3 2 1
17 สนับสนุน ส่งเสริมให้วิทยากรท้องถิ่นเข้ามาให้ความรู้นักเรียน
อย่างสม่ำเสมอ
18 ให้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง และชุมชน
สนับสนุนแนวทางในการใช้อาคาร สถานที่ทั้งภายในและภายนอก
โรงเรียน
19 ให้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองและชุมชนให้
การสนับสนุน ระดมทรัพยากรท้องถิ่นในการจัดการศึกษา
20 ให้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองและชุมชน
สนับสนุนให้เด็กทุกคนในเขตบริการได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
อย่างทั่วถึง
21 ให้โรงเรียนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
ร่วมบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน (PBB)
22 ให้คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ครู นักเรียน
มีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา
ด้านการคืนอำนาจ การจัดการศึกษาให้ประชาชน
23 ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการศึกษาตาม
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ต่อคณะกรรมการ
สถานศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ปกครอง และชุมชน
24 สร้างความเข้าใจแก่บุคลากรของสถานศึกษาเกี่ยวกับการถ่ายโอน
การจัดการศึกษาไปยังท้องถิ่น หรือการจัดการศึกษาโดยท้องถิ่น
25 ให้สถานศึกษาร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทำ
นโยบายและหาแนวทางในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
26 รับฟังคำแนะนำจากคณะกรรมการสถานศึกษา ชุมชน
เกี่ยวกับความต้องการของคนในท้องถิ่น
27 ให้มีการประสานสัมพันธ์กับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
ในการกำหนดนโยบาย แผนมาตรฐาน การศึกษาของท้องถิ่น
ด้านการบริหารตนเอง
28 กำหนดมาตรฐานและตัวชี้วัด คุณภาพในการบริหารตนเอง
29 มีการสำรวจจุดเด่น จุดด้อยของโรงเรียนเพื่อที่จะ
ปรับปรุงพัฒนาโรงเรียน
30 กำหนดเป้าหมายการดำเนินงานและเป้าหมายความสำเร็จ
ในการบริหารโรงเรียน
81
ระดับความพร้อม
ข้อ รายการ 5 4 3 2 1
31 กำหนดวิธีการดำเนินงานอย่างเป็นระบบโดยใช้วงจรเดมมิ่ง
(Deming) บริหารงานในโรงเรียน
32 มีการจัดทำมาตรฐานการปฏิบัติงานอย่างชัดเจน
33 กำหนดวิธีการประเมินผลการดำเนินงานอย่างชัดเจน
ด้านการตรวจสอบและถ่วงดุล
34 มีคณะทำงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา
35 ให้ครูได้รับความรู้ความเข้าใจในการประกันคุณภาพการศึกษา
36 ให้คณะกรรมการสถานศึกษามีส่วนร่วมในการรับทราบข้อมูล
ในการประกันคุณภาพการศึกษา
37 มีการนำมาตรฐานคุณภาพการศึกษาที่กำหนดไว้ในธรรมนูญ
โรงเรียนมาจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี
38 ให้คณะทำงานในฝ่ายต่าง ๆ มีการรายงานผลการปฏิบัติงาน
39 ได้แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อตรวจสอบคุณภาพการศึกษา
ของสถานศึกษา
40 สร้างความเข้าใจกับบุคลากรเพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญ
ขององค์กร
41 มีการประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องและเป็นธรรม
42 มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาและตัวชี้วัดให้สอดคล้อง
กับแผนพัฒนาสถานศึกษา
43 มีการนำผลการประเมินมาปรับปรุงพัฒนางานให้มีคุณภาพ
เพื่อรองรับการประเมินมาตรฐานภายนอก
44 มีเอกสารรายงานผลการตรวจสอบการประเมินภายใน
เพื่อเตรียมรับการประเมินภายนอก
45 มีการจัดระบบข้อมูลสารสนเทศที่เป็นปัจจุบัน เพื่อสะดวก
ในการค้นหาและตรวจสอบ
46 มีการเสริมสร้างขวัญกำลังใจแก่บุคลากร
47 มีการรายงานผลการประเมินภายใน
ขอขอบคุณในการร่วมมือตอบแบบสอบถาม
ภาคผนวก ข
รายนามผู้ทรงคุณวุฒิ
และหนังสือราชการที่เกี่ยวข้อง
83
รายนามผู้ทรงคุณวุฒิ
1. ดร.เปรมสุรีย์ เชื่อมทอง เลขานุการบัณฑิตวิทยาลัย
สถาบันราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
2. อาจารย์พยอม สุขมาก อดีตศึกษานิเทศก็ 9 สำนักงานคณะกรรมการ
การประถมศึกษาแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ
3. อาจารย์วันเพ็ญ เกตุสกุล อดีตศึกษานิเทศก์ 8 สำนักงานคณะกรรมการ
การประถมศึกษา จังหวัดสมุทรสงคราม
4. อาจารย์สุนทร ป้านสกุล ศึกษานิเทศก์ 7 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
สมุทรสงคราม
5. อาจารย์สายใจ เจียมสุวรรณ ศึกษานิเทศก์ 7 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
สมุทรสงคราม
84
ที่ พิเศษ/2546 สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
1061 ถนนอิสรภาพ แขวงหิรัญรูจี
เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร 10600
10 กุมภาพันธ์ 2546
เรื่อง ขออนุญาตเก็บข้อมูล
เรียน ผู้อำนวยการสำนักงานประถมศึกษา จังหวัดสมุทรสงคราม
เนื่องด้วย นางสาวสุนิจจา ทัพศาสตร์ ซึ่งขณะนี้กำลังศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา หลักสูตรครุศาสตร
มหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา รุ่นที่ 2 สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กำลังทำวิทยานิพนธ์ เรื่อง
“การศึกษาความพร้อมในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการ
ประถมศึกษาจังหวัดสมุทรสงคราม” โดยมีคณะกรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ดังนี้
1. ดร.รังสรรค์ มณีเล็ก ประธานกรรมการ
2. รศ.เกริก วยัคฆานนท์ กรรมการ
3. อ.ทวีศักดิ์ จงประดับเกียรติ กรรมการ
การทำวิจัยครั้งนี้ นักศึกษาจะขอเก็บข้อมูลจากบุคลากรภายในหน่วยงานของท่านเพื่อนำข้อมูลไปประกอบ
การทำวิทยานิพนธ์ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น จึงขอความอนุเคราะห์ให้นักศึกษาดำเนินการเก็บข้อมูลจากหน่วยงานของท่าน
ขอแสดงความนับถือ
(รองศาสตราจารย์ ดร.นันทา วิทวุฒิศักดิ์)
รักษาการคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
บัณฑิตวิทยาลัย
โทร. 02-890-0841-50 ต่อ 809
โทรสาร 02-890-1786
85
ที่ พิเศษ/ 2546 สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
1061 ถนนอิสรภาพ แขวงหิรัญรูจี
เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร 10600
10 กุมภาพันธ์ 2546
เรื่อง เรียนเชิญเป็นผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาเครื่องมือในการทำวิทยานิพนธ์
เรียน ดร.เปรมสุรีย์ เชื่อมทอง
สิ่งที่ส่งมาด้วย 1. เค้าโครงวิทยานิพนธ์ จำนวน 1 ชุด
2. แบบสอบถาม จำนวน 1 ชุด
เนื่องด้วย นางสาวสุนิจจา ทัพศาสตร์ ซึ่งขณะนี้กำลังศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา หลักสูตรครุศาสตร
มหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา รุ่นที่ 2 สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กำลังทำวิทยานิพนธ์ เรื่อง
“การศึกษาความพร้อมในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงาน
การประถมศึกษาจังหวัดสมุทรสงคราม” โดยมีคณะกรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ดังนี้
1. ดร.รังสรรค์ มณีเล็ก ประธานกรรมการ
2. รศ.เกริก วยัคฆานนท์ กรรมการ
3. อ.ทวีศักดิ์ จงประดับเกียรติ กรรมการ
การทำวิจัยครั้งนี้ นักศึกษาจำเป็นต้องตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) ของเครื่องมือ
เพื่อให้ได้เครื่องมือที่สมบูรณ์ที่สุด ทางบัณฑิตวิทยาลัยได้พิจารณาเห็นว่าท่านเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ มีความรู้ความสามารถ
ทางด้านการทำวิจัยเป็นอย่างดี จึงขอเรียนเชิญท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาของ
เครื่องมือดังกล่าว
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาให้ความอนุเคราะห์แก่นักศึกษาด้วย จักเป็นพระคุณยิ่ง
ขอแสดงความนับถือ
(รองศาสตราจารย์ ดร.นันทา วิทวุฒิศักดิ์)
รักษาการคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
บัณฑิตวิทยาลัย
โทร. 02-890-0841-50 ต่อ 809
โทรสาร 02-890-1786
86
ที่ พิเศษ/2546 สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
1061 ถนนอิสรภาพ แขวงหิรัญรูจี
เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร 10600
10 กุมภาพันธ์ 2546
เรื่อง เรียนเชิญเป็นผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาเครื่องมือในการทำวิทยานิพนธ์
เรียน อาจารย์พยอม สุขมาก
สิ่งที่ส่งมาด้วย 1. เค้าโครงวิทยานิพนธ์ จำนวน 1 ชุด
2. แบบสอบถาม จำนวน 1 ชุด
เนื่องด้วย นางสาวสุนิจจา ทัพศาสตร์ ซึ่งขณะนี้กำลังศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา หลักสูตรครุศาสตร
มหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา รุ่นที่ 2 สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กำลังทำวิทยานิพนธ์ เรื่อง
“การศึกษาความพร้อมในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการ
ประถมศึกษาจังหวัดสมุทรสงคราม” โดยมีคณะกรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ดังนี้
1. ดร.รังสรรค์ มณีเล็ก ประธานกรรมการ
2. รศ.เกริก วยัคฆานนท์ กรรมการ
3. อ.ทวีศักดิ์ จงประดับเกียรติ กรรมการ
การทำวิจัยครั้งนี้ นักศึกษาจำเป็นต้องตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) ของ
เครื่องมือ เพื่อให้ได้เครื่องมือที่สมบูรณ์ที่สุด ทางบัณฑิตวิทยาลัยได้พิจารณาเห็นว่าท่านเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ มีความรู้
ความสามารถทางด้านการทำวิจัยเป็นอย่างดี จึงขอเรียนเชิญท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบความเที่ยงตรง
เชิงเนื้อหาของเครื่องมือดังกล่าว
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาให้ความอนุเคราะห์แก่นักศึกษาด้วย จักเป็นพระคุณยิ่ง
ขอแสดงความนับถือ
(รองศาสตราจารย์ ดร.นันทา วิทวุฒิศักดิ์)
รักษาการคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
บัณฑิตวิทยาลัย
โทร. 02-890-0841-50 ต่อ 809
โทรสาร 02-890-1786
87
ที่ พิเศษ/2546 สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
1061 ถนนอิสรภาพ แขวงหิรัญรูจี
เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร 10600
10 กุมภาพันธ์ 2546
เรื่อง เรียนเชิญเป็นผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาเครื่องมือในการทำวิทยานิพนธ์
เรียน อาจารย์วันเพ็ญ เกตุสกุล
สิ่งที่ส่งมาด้วย 1. เค้าโครงวิทยานิพนธ์ จำนวน 1 ชุด
2. แบบสอบถาม จำนวน 1 ชุด
เนื่องด้วย นางสาวสุนิจจา ทัพศาสตร์ ซึ่งขณะนี้กำลังศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา หลักสูตรครุศาสตร
มหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา รุ่นที่ 2 สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กำลังทำวิทยานิพนธ์ เรื่อง
“การศึกษาความพร้อมในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการ
ประถมศึกษาจังหวัดสมุทรสงคราม” โดยมีคณะกรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ดังนี้
1. ดร.รังสรรค์ มณีเล็ก ประธานกรรมการ
2. รศ.เกริก วยัคฆานนท ์ กรรมการ
3. อ.ทวีศักดิ์ จงประดับเกียรติ กรรมการ
การทำวิจัยครั้งนี้ นักศึกษาจำเป็นต้องตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) ของเครื่อง
มือ เพื่อให้ได้เครื่องมือที่สมบูรณ์ที่สุด ทางบัณฑิตวิทยาลัยได้พิจารณาเห็นว่าท่านเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ มีความรู้
ความสามารถทางด้านการทำวิจัยเป็นอย่างดี จึงขอเรียนเชิญท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิง
เนื้อหาของเครื่องมือดังกล่าว
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาให้ความอนุเคราะห์แก่นักศึกษาด้วย จักเป็นพระคุณยิ่ง
ขอแสดงความนับถือ
(รองศาสตราจารย์ ดร.นันทา วิทวุฒิศักดิ์)
รักษาการคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
บัณฑิตวิทยาลัย
โทร. 02-890-0841-50 ต่อ 809
โทรสาร 02-890-1786
88
ที่ พิเศษ/2546 สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
1061 ถนนอิสรภาพ แขวงหิรัญรูจี
เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร 10600
10 กุมภาพันธ์ 2546
เรื่อง เรียนเชิญเป็นผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาเครื่องมือในการทำวิทยานิพนธ์
เรียน อาจารย์สุนทร ป้านสกุล
สิ่งที่ส่งมาด้วย 1. เค้าโครงวิทยานิพนธ์ จำนวน 1 ชุด
2. แบบสอบถาม จำนวน 1 ชุด
เนื่องด้วย นางสาวสุนิจจา ทัพศาสตร์ ซึ่งขณะนี้กำลังศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา หลักสูตรครุศาสตร
มหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา รุ่นที่ 2 สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กำลังทำวิทยานิพนธ์ เรื่อง
“การศึกษาความพร้อมในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการ
ประถมศึกษาจังหวัดสมุทรสงคราม” โดยมีคณะกรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ดังนี้
1. ดร.รังสรรค์ มณีเล็ก ประธานกรรมการ
2. รศ.เกริก วยัคฆานนท์ กรรมการ
3. อ.ทวีศักดิ์ จงประดับเกียรติ กรรมการ
การทำวิจัยครั้งนี้ นักศึกษาจำเป็นต้องตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) ของ
เครื่องมือ เพื่อให้ได้เครื่องมือที่สมบูรณ์ที่สุด ทางบัณฑิตวิทยาลัยได้พิจารณาเห็นว่าท่านเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ มีความรู้
ความสามารถทางด้านการทำวิจัยเป็นอย่างดี จึงขอเรียนเชิญท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิง
เนื้อหาของเครื่องมือดังกล่าว
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาให้ความอนุเคราะห์แก่นักศึกษาด้วย จักเป็นพระคุณยิ่ง
ขอแสดงความนับถือ
(รองศาสตราจารย์ ดร.นันทา วิทวุฒิศักดิ์)
รักษาการคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
บัณฑิตวิทยาลัย
โทร. 02-890-0841-50 ต่อ 809
โทรสาร 02-890-1786
89
ที่ พิเศษ/2546 สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
1061 ถนนอิสรภาพ แขวงหิรัญรูจี
เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร 10600
10 กุมภาพันธ์ 2546
เรื่อง เรียนเชิญเป็นผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาเครื่องมือในการทำวิทยานิพนธ์
เรียน อาจารย์สายใจ เจียมสุวรรณ
สิ่งที่ส่งมาด้วย 1. เค้าโครงวิทยานิพนธ์ จำนวน 1 ชุด
2. แบบสอบถาม จำนวน 1 ชุด
เนื่องด้วย นางสาวสุนิจจา ทัพศาสตร์ ซึ่งขณะนี้กำลังศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา หลักสูตรครุศาสตร
มหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา รุ่นที่ 2 สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กำลังทำวิทยานิพนธ์ เรื่อง
“การศึกษาความพร้อมในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการ
ประถมศึกษาจังหวัดสมุทรสงคราม” โดยมีคณะกรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ดังนี้
1. ดร.รังสรรค์ มณีเล็ก ประธานกรรมการ
2. รศ.เกริก วยัคฆานนท ์ กรรมการ
3. อ.ทวีศักดิ์ จงประดับเกียรติ กรรมการ
การทำวิจัยครั้งนี้ นักศึกษาจำเป็นต้องตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) ของเครื่องมือ
เพื่อให้ได้เครื่องมือที่สมบูรณ์ที่สุด ทางบัณฑิตวิทยาลัยได้พิจารณาเห็นว่าท่านเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ มีความรู้ความสามารถ
ทางด้านการทำวิจัยเป็นอย่างดี จึงขอเรียนเชิญท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาของ
เครื่องมือดังกล่าว
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาให้ความอนุเคราะห์แก่นักศึกษาด้วย จักเป็นพระคุณยิ่ง
ขอแสดงความนับถือ
(รองศาสตราจารย์ ดร.นันทา วิทวุฒิศักดิ์)
รักษาการคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
บัณฑิตวิทยาลัย
โทร. 02-890-0841-50 ต่อ 809
โทรสาร 02-890-1786
ภาคผนวก ค
ตารางที่มาของกลุ่มตัวอย่าง
91
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ครูผู้สอนโรงเรียนสังกัดสำนักงานการประถมศึกษา
จังหวัดสมุทรสงคราม จำแนกตามอำเภอและขนาดโรงเรียน
ขนาด สำนักงานการประถมศึกษา/โรงเรียน ประชากร กลุ่มตัวอย่าง
ใหญ่ สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอเมือง
ไทยรัฐวิทยา 19
วัดบางจะเกร็ง
วัดปากสมุทร
วัดศรัทธาธรรม
วัดธรรมสถิตวราราม
อนุบาลสมุทรสงคราม
เมืองสมุทรสงคราม
วัดลาดเป้ง
วัดดาวโด่ง
19
16
18
18
27
57
66
33
22
7
6
6
6
10
20
24
12
8
รวม 109 42
กลาง วัดบ่อ
วัดคลองโคน
วัดธรรมประสิทธิ์
วัดบางขันแตก
วัดศรีสุวรรณคงคาราม
วัดน้อยแสงจันทร์
วัดสวนแก้ว
บ้านเขตเมือง
บ้านตะวันจาก
บ้านลาดใหญ่
บ้านลาดใหญ่สามัคคี
บ้านคลองบางกก
วัดธรรมาวุธาราม
วัดคู้สนามจันทร์
วัดจันทร์เจริญสุข
8
11
11
24
12
11
9
12
10
9
18
17
12
11
13
3
4
4
9
5
4
3
5
4
3
7
7
5
4
5
92
ขนาด สำนักงานการประถมศึกษา/โรงเรียน ประชากร กลุ่มตัวอย่าง
วัดช่องลม 14 5
วัดโรงธรรม 6 2
วัดปากลัด 8 3
วัดคู้สนามจันทร์สาขาวัดศรีศรัทธาธรรม 3 1
รวม 219 83
เล็ก วัดปากสมุทรสาขาวัดคลองสองร่อง
บ้านฉูฉี่
วัดนางพิมพ์
วัดท้ายหาดสาขาวชิรคาม
วัดท้ายหาด
วัดบางประจันต์
3
9
9
6
10
10
1
2
2
2
3
3
รวม 47 13
ใหญ่ สำนักงานการประถมศึกษาอำเภออัมพวา
วัดโคกเกต
วัดเทพประสิทธิ์คณาวาส
วัดสาธุชนาราม
30
16
21
10
6
8
รวม 67 24
กลาง บ้านดอนจั่น
วัดประชาโฆสิตาราม
วัดสี่แยกราษฎร์บำรุง
วัดแก้วเจริญ
บ้านคลองสมบูรณ์
จตุวัฎมหาราชานุสรณ์
วัดช่องลมวรรณาราม
บ้านแพรกหนามแดง
วัดจุฬามณี
วัดช้างเผือก
อนุบาลอัมพวา
12
14
14
12
14
8
18
9
10
9
12
5
5
5
5
5
3
7
3
4
3
5
93
ขนาด สำนักงานการประถมศึกษา/โรงเรียน ประชากร กลุ่มตัวอย่าง
วัดบางนางลี่ใหญ่ 9 3
บ้านบางนางลี่ 12 5
วัดปรกสุทธรรมาราม 18 7
วัดวรภูมิ 10 4
รวม 181 69
เล็ก วัดเขายี่สาร 10 3
บ้านต้นลำแพน 5 1
วัดอมรวดี
วัดปากน้ำสาขาวัดบางเกาะเทพศักดิ์
วัดเสด็จ
วัดปากน้ำ
วัดอินทาราม
วัดประดู่
วัดมณีสรรค์
วัดบางแคกลาง
9
5
7
7
6
9
7
10
2
1
2
2
2
2
2
3
รวม 75 20
ใหญ่ สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอบางคนที
อนุบาลบางคนที
วัดดอนมะโนรา
วัดบางน้อย
16
21
23
6
8
8
รวม 60 22
กลาง วัดเกตการาม
วัดแก่นจันทร์
วัดปากง่าม
วัดตรีจินดาราม
คลองตาจ่า
12
13
11
8
7
5
5
4
3
3
94
ขนาด สำนักงานการประถมศึกษา/โรงเรียน ประชากร กลุ่มตัวอย่าง
วัดเจริญสุขาราม 11 4
วัดปราโมทย์ 13 5
รวม 75 29
เล็ก วัดบางกล้วย
วัดบางพลับ
วัดบางใหญ่
วัดบางคนทีใน
วัดบางสะแก
วัดเจริญสุขารามสาขาวัดโพธิ์งาม
ศาลแม่อากาศ
วัดตะโหนดราย
บ้านรางห้าตำลึง
บ้านยายแพง
5
8
6
9
6
6
9
9
9
6
1
2
2
2
2
2
2
2
2
2
ศาลเจ้าอาม้า 11 3
รวม 84 24
รวมทั้งสิ้น 1,084 383
ภาคผนวก ง
ประวัติผู้วิจัย
96
ประวัติผู้วิจัย
ชื่อ นางสาวสุนิจจา ทัพศาสตร์
วัน เดือน ปีเกิด วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2490
ประวัติการศึกษา
พ.ศ. 2507 อนุบาล – ม.ศ.3 โรงเรียนนารีวัฒนา ตำบลบางนกแขวก
อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม
พ.ศ. 2509 ปกศ. วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ธนบุรี
พ.ศ. 2512 พ.ม. สนามสอบจังหวัดราชบุรี
พ.ศ. 2522 ปริญญาตรี วิชาเอกภาษาไทย
วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ธนบุรี
ประวัติการทำงาน
พ.ศ. 2509-2516 โรงเรียนดำเนินวิทยา อำเภอดำเนินสะดวก
จังหวัดราชบุรี (โรงเรียนราษฎร์)
พ.ศ. 2516-2518 สอบบรรจุเข้ารับราชการ โรงเรียนบ้านตลาดเขตมิตรภาพที่ 105
อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี
พ.ศ. 2518-ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่ง อาจารย์ 3 โรงเรียนวัดเจริญสุขาราม
อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม
ผลงานวิจัยที่ผ่านมา รายงานการสร้างและการใช้แบบฝึกการเขียนคำยาก
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

การศึกษาความพร้อมในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดสมุทรสงคราม (ตอนที่ 1)
การศึกษาความพร้อมในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดสมุทรสงคราม (ตอนที่ 2)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น