วันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การศึกษาประสิทธิภาพการดำเนินงานของสำนักวิทยบริการ (ตอนที่ 2)



4. การบริการ
(1) บริการสืบค้น
(2) บริการตอบคำถาม
(3) บริการยืม-คืน
(4) บริการยืมระหว่างหอสมุด
5. ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
การประเมินการประกันคุณภาพ
8. การประเมินคุณภาพ
ห้องสมุดสถาบัน
อุดมศึกษา
เมื่อพิจารณาจากตารางเปรียบเทียบนี้แล้ว จะเห็นว่าปัจจัยประกันคุณภาพหอสมุดมหาวิทยาลัย
เชียงใหม่จะกำหนดไว้เพียง 5 ด้าน แต่ในด้านที่ 1 การบริหารหอสมุดได้กล่าวถึงบุคลากรห้องสมุด
ซึ่ ง ก็ ต ร งกั บ ม าต ร ฐ าน ที่ 3 ข อ ง ท บ ว ง ม ห าวิ ท ย าลั ย แ ล ะ ก ล่ าว ถึ ง ง บ ป ร ะ ม าณ
ซึ่งตรงกับมาตรฐานที่ 2 ของทบวงมหาวิทยาลัย และกล่าวถึงอาคารสถานที่ ซึ่งก็ตรงกับมาตรฐานที่
5 ของทบวงมหาวิทยาลัย ก็ครบถ้วนตามที่ทบวงมหาวิทยาลัยกำหนดไว้
49
ตารางที่ 3 เปรียบเทียบปัจจัยประกันคุณภาพหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กับมาตรฐาน
ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของสหรัฐอเมริกา
ปัจจัยประกันคุณภาพหอสมุด
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 5 ด้านพร้อมทั้ง
ดัชนีตัวบ่งชี้คุณภาพและมาตรฐานขั้นต่ำ
5 ด้าน
มาตรฐานห้องสมุดสถาบัน
อุดมศึกษาของสหรัฐอเมริกา
11 ด้าน
1. การบริหาร
2. การวางแผน
4. บุคลากร
5. ทรัพยากร
7. สิ่งอำนวยความสะดวก
8. การเข้าถึง
1. การบริหารหอสมุด
(1) บุคลากร
(2) งบประมาณ
(3) ระบบข้อมูลและ
การจัดการข้อมูล
(4) อาคารสถานที่
2. ทรัพยากรสารสนเทศ
(1) นโยบายการจัดหาทรัพยากร
(2) หลักเกณฑ์การเพิ่มทรัพยกร
(3) การบำรุงรักษาทรัพยากร
(4) การจัดทำข้อมูลท้องถิ่น
3. เครื่องมือช่วยค้น หนังสือ วารสาร
โสตทัศนวัสดุ สื่ออิเล็กทรอนิกส์
4. การบริการ
(1) บริการสืบค้น
3. งบประมาณ
6. การบริการ
10. การสื่อสารและ
ความร่วมมือ
11. การประเมิน
และผลลพธ์
9. การสอน
(2) บริการตอบคำถาม
50
(4) บริการยืมระหว่างหอสมุด
5. ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
การประเมินการประกันคุณภาพ
(3) บริการยืม-คืน
เมื่อพิจารณาจากตารางเปรียบเทียบนี้แล้ว จะเห็นว่าปัจจัยประกันคุณภาพหอสมุด
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 5 ด้าน นั้นมีรายละเอียดแต่ละด้าน ครอบคลุมถึงมาตรฐานห้องสมุดสถาบัน
อุดมศึกษาของสหรัฐอเมริกา อย่างเช่น ปัจจัยประกันคุณภาพหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ด้านที่ 1
การบริหารหอสมุด ได้กล่าวถึงบุคลากร และงบประมาณ ก็ตรงกับมาตรฐานห้องสมุดสถาบันอุดม
ศึกษาของสหรัฐอเมริกา ด้านที่ 3 และ 4 จึงเห็นว่าไม่ได้แตกต่างกันนัก สาระสำคัญส่วนใหญ่จะ
เหมือนกัน
ตอนที่ 5 ประสิทธิภาพการดำเนินงานของสำนักวิทยบริการ สถาบัน
ราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ตามมาตรฐานห้องสมุด
สถาบันอุดมศึกษาของสหรัฐอเมริกา 11 ด้าน
การศึกษาประสิทธิภาพการดำเนินงานของสำ นักวิทยบริการ สถาบันราชภัฏ
บ้านสมเด็จเจ้าพระยา ผู้วิจัยได้นำเอามาตรฐานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของสหรัฐอเมริกา 11
ด้าน มาเป็นเกณฑ์ในการศึกษาตามลำดับ ดังนี้
(1) การบริหาร (Administration)
การบริหารงานห้องสมุด หมายถึง การกระทำใด ๆ ในอันที่จะทำให้การดำเนินงาน
ห้องสมุดบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ เพื่อส่งเสริมวิธีการใช้ทรัพยากรห้องสมุดที่มีอยู่ให้มี
ประสิทธิภาพสูงสุด
สำนักวิทยบริการ สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้กำหนดเกี่ยวกับการบริหาร
ห้องสมุดไว้ ดังนี้ (สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 2545 : 10-19)
1.1 โครงสร้างสำนักวิทยบริการ
สำ นักวิทยบริการเป็นหน่วยงานที่ขึ้นตรงต่อมหาวิทยาลัยโดยมีอธิการบดีเป็น
ผู้บริหารสูงสุด แบ่งหน่วยงานออกเป็น 8 ฝ่าย แต่ละฝ่ายมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
51
1.1.1 ฝ่ายสำนักงานเลขานุการ มีหน้าที่และความรับผิดชอบงาน ดังนี้
(1) งานเลขานุการ มีหน้าที่ จัดประชุมและจัดทำเอกสารการประชุม
และบันทึกการประชุมของสำนักวิทยบริการ ดำเนินการเกี่ยวกับการขอตั้งงบประมาณ และจัดซื้อ จัดจ้าง
ของสำนักวิทยบริการ จัดรวบรวมข้อมูล สถิติต่างๆ ที่เกี่ยวกับงานของสำ นักวิทยบริการ
ประชาสัมพันธ์การดำเนินงานของสำนักวิทยบริการ ดำเนินงานสารบรรณของสำนักวิทยบริการ จัด
ทำปฏิทินการปฏิบัติงานของสำนักวิทยบริการ
(2) งานธุรการ มีหน้าที่ รับส่งตอบหนังสือราชการ และติดต่องาน
ราชการจัดบริการรับส่งจดหมาย และไปรษณีย์ภัณฑ์ จัดทำคำสั่งไปราชการของบุคลากรของสำนัก
วิทยบริการ ตรวจทานคำสั่งสำหรับโครงการเฉพาะกิจของทุกหน่วยงานเพื่อนำเสนอผู้บริหาร
ลงนามตามลำดับ จัดทำประกาศ ระเบียบ ข้อบังคับ และเอกสารราชการอื่น ๆ ของสำนักวิทยบริการ
ดำเนินงานธุรการทั่วๆ ไป เช่น รับติดต่อบุคคลภายนอก
(3) งานการเจ้าหน้าที่ มีหน้าที่ งานทะเบียนประวัติลูกจ้างชั่วคราว เก็ บ
บันทึกประวัติบุคลากร ดำเนินการงานบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย และระเบียบราชการ ประสานงาน
การสรรหาและการบรรจุ แต่งตั้ง โอน ย้าย และการออกจากราชการของลูกจ้าง
(4) งานการเงิน มีหน้าที่ ดำเนินการรับเงินและออกใบเสร็จรับเงิน
ค่าปรับประเภทต่าง ๆ เบิกใบเสร็จรับเงินและนำเงินส่งเจ้าหน้าที่การเงินของสถาบัน จัดทำทะเบียน
ใบเสร็จรับเงินและรายงานการใช้ใบเสร็จประจำเดือน จัดทำระเบียบการรับเงินในหมวดงบ
ประมาณทุกประเภท ตรวจสอบและเก็บรวบรวมหลักฐานการเบิกจ่ายเงินงบประมาณและเงินนอก
งบประมาณให้ถูกต้อง และคุมยอดเงินรายจ่าย ทำบัญชีการรับ – จ่ายเงินของสำนักวิทยบริการ ทำ
ทะเบียนคุมรายจ่ายตามแผนงาน
(5) งานพัสดุ มีหน้าที่ ดำเนินการจัดซื้อ จัดจ้างงานพัสดุ ตรวจสอบการ
ดำเนินการจัดซื้อ – จัดจ้าง ควบคุมดำเนินการเกี่ยวกับการยืม เก็บรักษา ลงทะเบียนและจ่ายพัสดุ
ดำเนินการจำหน่ายพัสดุที่หมดสภาพ จัดทำบัญชีพัสดุ และตรวจสอบพัสดุ ในหน่วยงานของสำนัก
วิทยบริการ จัดทำ รายงานพัสดุประจำปี เสนอผู้บังคับบัญชา ดำเนินการซ่อมบำ รุงพัสดุ
ครุภัณฑ์ของสำนักวิทยบริการ
(6) งานประชาสัมพันธ์ มีหน้าที่ ติดประกาศเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์กิจ
กรรมของสำนักวิทยบริการ
(7) งานอาคารสถานที่ มีหน้าที่ บำรุง รักษา อาคารภายในและบริเวณ
โดยรอบของสำนักวิทยบริการ การรักษาความปลอดภัย มีเจ้าหน้าที่ควบคุมดูแลการเข้า-ออกสำนัก
วิทยบริการ มีตู้ล็อคเกอร์ให้ผู้ใช้บริการได้ฝากของโดยมีเจ้าหน้าที่ดูแล จัดให้มเี จ้าหน้าที่รับฝากของ
โดยมีตู้ล็อคเกอร์ บริการและดูแลซ่อมแซมโทรศัพท์ภายในสำนักวิทยบริการ การไฟฟ้า
52
ดูแลซ่อมแซมระบบไฟฟ้าภายในสำนักวิทยบริการในขั้นพื้นฐาน ดูแลและซ่อมบำรุงลิฟท์และ
เครื่องปรับอากาศในสำนักวิทยบริการในขั้นพื้นฐาน การประปา ดูแลและซ่อมแซมงานประปา
ภายในสำนักวิทยบริการ ในขั้นพื้นฐาน
1.1.2 ฝ่ายวิเคราะห์และพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ มีหน้าที่ และความรับผิด
ชอบ ดังนี้
(1) งานพัฒ นาทรัพยากรสารสนเทศ จัดซื้อ จัดหาทรัพยากร
สารสนเทศทุกประเภท จัดทำทะเบียนจัดซื้อ จัดหา ทรัพยากรสารสนเทศ
(2) งานวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ วิเคราะห์หมวดหมู่และหัวเรื่อง
ทรัพยากรสารสนเทศ แปลงข้อมูลระบบบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศลงในกระดาษ
ทำการลงรายการ (work sheet) บันทึกข้อมูลบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศเข้าฐานข้อมูล
(3) งานซ่อมบำรุงทรัพยากรสารสนเทศ ซ่อมแซมและจัดทำรูปเล่ม
ทรัพยากรสารสนเทศที่ชำรุดเสียหาย บริการเข้าเล่มหนังสือและเอกสารตามที่ผู้ใช้บริการร้องขอ
(4) งานบรรณานุกรม จัดทำบรรณานุกรมรายชื่อหนังสือใหม่
1.1.3 ฝ่ายบริการทรัพยากรสารสนเทศ มีหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังนี้
(1) งานบริการยืม-คืน และจัดเก็บสถิติทรัพยากรสารสนเทศ จัดทำ
ทะเบียนสมาชิกห้องสมุดทุกประเภท จัดเก็บค่าปรับทรัพยากรสารสนเทศที่ส่งล่าช้ากว่ากำหนด
(2) งานบริการหนังสือจอง ดำเนินการจองหนังสือให้แก่ผู้ใช้ เมื่อมี
การร้องขอ
(3) งานบริการช่วยการศึกษาค้นคว้า ดำเนินการแนะนำ ชี้แหล่ง
สารสนเทศและตอบคำถามช่วยค้นคว้า
(4) งานบริการยืมระหว่างหน่วยงาน ดำเนินการทำใบร้องขอเพื่อยืม
สิ่งพิมพ์ระหว่างหน่วยงาน
1.1.4 ฝ่ายสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง มีหน้าที่ และความรับผิดชอบ ดังนี้
(1) งานวารสารและสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง ลงทะเบียนการบอกรับวารสาร
และสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง จัดทำบัตรดรรชนีวารสาร แปลงข้อมูลบรรณานุกรม ดรรชนีวารสารลงใน
กระดาษทำการลงรายการ(worksheet) บันทึกข้อมูลบรรณานุกรม ดรรชนีวารสารเข้าฐานข้อมูล
บริการยืม-คืนวารสารและสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง
(2) งานหนังสือพิมพ์และกฤตภาค ลงทะเบียนการบอกรับหนังสือพิมพ์
จัดทำกฤตภาค บริการยืม-คืนหนังสือพิมพ์
53
1.1.5 ฝ่ายบริการโสตทัศนวัสดุ มีหน้าที่ และความรับผิดชอบ ดังนี้
(1) งานบริการสื่อโสตทัศนวัสดุ จัดบริการสื่อโสตทัศนวัสดุทุก
ประเภทรวมทั้งการใช้ห้อง เครื่องมือและอุปกรณ์ประกอบการใช้ทุกประเภท ดูแลและซ่อมแซม
เครื่องมือและอุปกรณ์สื่อโสตทัศนวัสดุ
1.1.6 ฝ่ายสารสนเทศพิเศษ มีหน้าที่ และความรับผิดชอบ ดังนี้
(1) งานสารสนเทศท้องถิ่น รวบรวมสารสนเทศท้องถิ่นและเชื่อมโยง
แหล่งสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับงานสารสนเทศท้องถิ่น บริการสืบค้นสารสนเทศท้องถิ่น
(2) งานสารสนเทศพิเศษ รวบรวมสารสนเทศพิเศษและเชื่อมโยง
ทรัพยากรสารสนเทศ บริการสืบค้นสารสนเทศพิเศษ
1.1.7 ฝ่ายวิทยพัฒนา มีหน้าที่ และความรับผิดชอบ ดังนี้
(1) งานส่งเสริมการเรียนการสอน ดำ เนินงานที่เกี่ยวข้องกับ
การ สนับสนุนส่งเสริมการเรียนการสอน
(2) งานพัฒนาวิชาการและงานวิจัย ดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับงานพัฒนา
วิชาการและการวิจัยในสำนักวิทยบริการ จัดทำวารสารสารสนเทศและแผ่นพับของสำนักวิทย
บริการ
(3) งานพัฒนาศูนย์สารสนเทศ ดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับงานพัฒนา
สำนักวิทยบริการ การพัฒนาบุคลากรในสำนักวิทยบริการ
(4) งานประชุมสัมมนาและฝึกอบรม ดำเนินการจัดการอบรม ประชุม
สัมมนาทั้งภายในและภายนอกสถาบัน
1.1.8 ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ มีหน้าที่ และความรับผิดชอบ ดังนี้
(1) งานระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ จัดทำระบบสารสนเทศเพื่อ
การจัดการในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องของสำนักวิทยบริการ ดูแลระบบสารสนเทศให้ดำเนินไปด้วย
ความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ จัดทำและดูแลระบบปฏิบัติการ
คอมพิวเตอร์ การประมวลผลข้อมูล จัดทำและรายงานผลการประมวลผลข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ของสำนักวิทยบริการ ดูแลและซ่อมบำรุงเครื่องคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ของสำนักวิทยบริการ
ให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(2) งาน ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ บริการระบบเครือข่าย
คอมพิวเตอร์ จัดทำและดูแลเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของสำนักวิทยบริการ
(3) งานสืบค้นฐานข้อมูลสารสนเทศ บริการสืบค้นสารสนเทศจากฐาน
ข้อมูลซีดีรอม ดำเนินการสืบค้นสารสนเทศ ฐานข้อมูลซีดีรอม ของสำนักวิทยบริการ ดูแลและซ่อม
บำรุงฐานข้อมูลซีดีรอมให้ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย บริการสืบค้นสารสนเทศออนไลน์
54
ทางอินเตอร์เน็ต ดำเนินการสืบค้นสารสนเทศออนไลน์ทางอินเตอร์เน็ตและอินทราเน็ต ดูแลและ
ซ่อมบำรุงฐานข้อมูล คอมพิวเตอร์ให้ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย
1.2 ตำแหน่งผู้บริหารของสำนักวิทยบริการ
มีตำแหน่งผู้อำนวยการ มีหน้าที่รับผิดชอบงานทั้งปวงของสำนักวิทยบริการ
ขึ้นตรงต่อรองอธิการบดี มีรองผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร และรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ เพื่อช่วย
การปฏิบัติงานของผู้อำนวยการ และมีหัวหน้าฝ่ายดูแลรับผิดชอบงานของแต่ละฝ่ายทั้ง 8 ฝ่าย
1.3 คณะกรรมการประจำสำนักวิทยบริการ เป็นคณะกรรมการ ประกอบด้วย
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิภายในมหาวิทยาลัย และกรรมการจาก
ข้าราชการประจำในสำนักวิทยบริการ รวมเป็น 11 คน ทำหน้าที่ให้คำปรึกษา แนะนำ กำหนด
นโยบาย วางแผนการดำเนินงาน
แผนภูมิที่ 2 โครงสร้างสำนักวิทยบริการ
สำนักวิทยบริการ
ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการ
ที่ปรึกษา
รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร
คณะกรรมการประจำ
สำนักวิทยบริการ
สำนักงาน
เลขานุการ ฝ่ายวิเคราะห์
หมวดหมู่และ
ทรัพยากรสารสนเเทศ
ฝ่ายบริการ
ทรัพยากร
สารสนเทศ
ฝ่ายบริการ
ทรัพยากร
สารสนเทศ
อธิการบดี
55
ฝ่ายบริการ
โสตทัศนวัสดุ
ฝ่ายบริการ
สารสนเทศพิเศษ
ฝ่ายเทคโนโลยี
สารสนเทศ ฝ่ายวิทยพัฒนา
ที่มา : สำนักวิทยบริการ สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
2. การวางแผน (Planning)
การวางแผนการดำเนินงานห้องสมุด ได้แก่ การวางแนวปฏิบัติงานทุกอย่าง
ในห้องสมุด ซึ่งได้แก่ งานเทคนิค งานด้านบริการ และกิจกรรม งานซ่อมบำรุงรักษาทรัพยากร
ห้องสมุด
สำนักวิทยบริการ สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้กำหนดเกี่ยวกับการวางแผน
การดำเนินงานห้องสมุดเป็น 3 ระยะ คือ (สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 2544 : 5-7)
ระยะที่ 1 เป็นห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ มีการศึกษาลักษณะข้อมูลและระบบเครือข่าย
ปรับปรุงห้องต่าง ๆ และติดตั้งเครือข่าย Hardware / Software จัดหาและจัดซื้อวัสดุอิเล็กทรอนิกส์
และวัสดุสารนิเทศและครุภัณฑ์ ลงรายการทรัพยากรสารสนเทศให้สมบูรณ์
ระยะที่ 2 เป็นศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเองและโสตทัศนูปกรณ์ โดยการจัดหา จัดซื้อวัสดุ
และครุภัณฑ์โสตทัศนูปกรณ์และโปรแกรมจัดการลูกข่าย และปรับปรุงห้องประชุมใหญ่
ปรับปรุงห้องศูนย์การเรียนรู้
ระยะที่ 3 เป็นศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเองและโสตทัศนูปกรณ์ที่สมบูรณ์ โดยจัดหา
จัดซื้อวัสดุและครุภัณฑ์เพิ่มเติม จัดซื้อคอมพิวเตอร์และโปรแกรม ปรับปรุงห้องประชุมเล็ก และลง
รายการทรัพยากรให้ครบถ้วน (สำนักวิทยบริการ งบคงคลัง)
3. งบประมาณ (Budget)
งบประมาณ คือ เงินที่ห้องสมุดได้รับจากหน่วยงาน อาจมาจากเงินบำรุงการศึกษา
หรือเงินค่าสมาชิกของห้องสมุด
บุญชนะ อัตถากร (2526 : 13) ได้ให้ความหมาย งบประมาณว่า หมายถึง
การเงินซึ่งแต่ละสถาบันกำหนดขึ้นมาตามแผนงานการใช้เงินของรัฐบาลที่กำหนดให้แก่หน่วยงาน
เพื่อไว้ใช้เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ตามที่หน่วยงานได้รับมา และงบประมาณที่ได้มาจะมาก
56
หรือน้อยขึ้นอยู่องค์ประกอบหลายอย่าง เช่น กำหนดนโยบายของประเทศ ซึ่งรัฐบาลจะเป็นผู้ที่
จัดสรรว่าจะจ่ายไปในด้านใดบ้างมากหรือน้อย
เพ็ญแข สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (2537 : 1) ได้ให้ความหมายว่า งบประมาณ มีความหมาย
ครอบคลุมถึงการจัดทำงบประมาณ (Budget preparation) และการควบคุมโดยงบประมาณ
(Budget control) คือการจัดทำงบประมาณการดำเนินงานอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรขององค์กรใด
องค์กรหนึ่ง และสำหรับช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยอาจเป็นแผนระยะยาว 3-10 ปี หรืออาจเป็น
แผนระยะเวลาสั้น ซึ่งโดยปกติเป็นแผนการดำ เนินงานสำ หรับระยะเวลา 6 เดือน หรือ
1 ปี ส่วนการควบคุมโดยงบประมาณนั้น หมายถึง การเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกิดขึ้นกับ
แผนการดำเนินงานว่าเป็นไปตามแผนปฏิบัติที่วางไว้หรือไม่
ไกรยุทธ ธีรตยาคีนันท์ (2528 : 8) ได้ให้ความนิยามงบประมาณว่า คือแผนเบ็ดเสร็จ ซึ่ง
แสดงออกในรูปตัวเงินที่แสดงโครงการดำเนินงานทั้งหมดในระยะเวลาหนึ่ง และรวมถึงการกะ
ประมาณการบริหารกิจกรรม และโครงการค่าใช้จ่าย ตลอดจนทรัพยากรที่จำเป็นในการสนับสนุน
การดำเนินงานให้บรรลุตามแผนที่ประกอบด้วย ขั้นตอน 3 ขั้น ได้แก่ การจัดเตรียม การอนุมัติ และ
การบริหาร ดังนั้น งบประมาณจึงเป็นการแสดงออกอย่างเป็นทางการถึงนโยบาย แผนงาน วัตถุ
ประสงค์ และเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้าโดยผู้บริหารระดับสูงสุดขององค์กร
จากความหมายที่กล่าวมาจึงสรุปได้ว่า งบประมาณ หมายถึงแผนสำหรับการใช้จ่ายเงิน
ในช่วงระยะเวลาหนึ่งที่กำหนดขึ้นตามแผนงาน หรือโครงการของแต่ละหน่วยงาน เพื่อใช้จ่าย
เกี่ยวกับกิจกรรมต่าง ๆ ให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายที่วางไว้และให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
สำนักวิทยบริการ สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้กำหนดในการจัดงบประมาณ
พอสังเขปไว้ ดังนี้ (สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 2547 : 7)
3.1 เหตุผลการจัดสรรงบประมาณ มีการสนับสนุนให้มีการนำข้อมูลอาจารย์
นักศึกษา และบุคลากร มาพิจารณาการจัดสรรงบประมาณ โดยมีสิทธิในการพิจารณาคัดเลือก
ทรัพยากรสารสนเทศที่หลากหลายทุกประเภทเข้าห้องสมุด เพื่อให้สำนักวิทยบริการเป็นห้องสมุด
อิเล็กทรอนิกส์สมบูรณ์แบบ เป็นศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเอง เพื่อให้สมาชิกของสถาบัน
รวมทั้งชุมชนได้ประโยชน์จากการใช้ทรัพยากรสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ (สำนักวิทยบริการ,
งบคงคลัง, 2544 : 2)
3.2 การจัดสรรงบประมาณ มีการจัดทำคำของบประมาณทั้งงบประมาณแผ่นดิน
และเงินบำรุงการศึกษา ให้สอดคล้องกับแผนงานและโครงการของมหาวิทยาลัย มีระเบียบ
ข้อบังคับ เกี่ยวกับการเก็บค่าธรรมเนียม และการใช้จ่ายเงินไว้ชัดเจน และค่าธรรมเนียมการขอรับ
57
บริการจากสำนักวิทยบริการ มีการจัดทำแผนงานจัดสรรงบประมาณตามภารกิจของมหาวิทยาลัย
(รายงานการประเมินตนเอง สำนักวิทยบริการ การเงินและงบประมาณ ฉบับที่ 4, 2547 : 45)
3.3 ระบบบัญชีและการตรวจสอบ มีบุคลากรดูแลระบบบัญชีและการตรวจสอบ
มีการรายงานผลการใช้งบประมาณตามแผนและโครงการ (รายงานการประเมินตนเอง สำนักวิทย
บริการ ฉบับที่ 4, 2547 : 46)
3.4 จำนวนเงินงบประมาณ ในปี พ.ศ. 2546 สำนักวิทยบริการ มีเงินงบประมาณทั้ง
สิ้น 12,461,279 บาทเป็นเงินงบประมาณแผ่นดิน 2,981,800 บาท งบรายได้ของมหาวิทยาลัย
3,856,630 บาท และงบคงคลัง 5,685,849 บาท (รายงานการประเมินตนเอง สำนักวิทยบริการ ฉบับ
ที่ 4, 2546 : 12)
4. บุคลากร (Staff)
บุคลากร หมายถึง ผู้ปฏิบัติงานในห้องสมุด ซึ่งได้แก่ บรรณารักษ์ เจ้าหน้าที่
พนักงานพิมพ์ดีด นักการภารโรง ซึ่งบุคลากรระดับอุดมศึกษาได้กำหนดมาตรฐานไว้ดังนี้
1. ผู้บริหารห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ควรมีวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาโท และควรมีความรู้พื้น
ฐานทางบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ และจำต้องมีประสบการณ์ในการบริหารงานไม่น้อยกว่า 5 ปี
หรือให้เป็นไปตาม พ.ร.บ. ของสถาบันนั้น ๆ
2. ผู้ปฏิบัติงานในระดับหัวหน้าฝ่าย ควรมีวุฒิอย่างต่ำปริญญาโท และมีพื้นความรู้ในสาขาที่
ปฏิบัติงานไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี กับมีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานห้องสมุด อย่างน้อย 2 ปี หรือ เป็นผู้ที่มีวุฒิ
ไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี และมีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานห้องสมุดไม่น้อยกว่า 3 ปี
3. บุคลากรทุกระดับของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ควรมีโอกาสได้รับการศึกษา ฝึกอบรม
และเข้าร่วมการประชุมสัมมนาทั้งภายในและระหว่างประเทศ รวมทั้งได้รับการพัฒนาในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ต่ำ
กว่า 2 ครั้งต่อ 1 ปี เพื่อเพิ่มพูนความรู้ทั้งทางวิชาการและวิชาชีพระดับสูงอย่างสม่ำเสมอให้ทันกับการเปลี่ยน
แปลงทางเทคโนโลยีสมัยใหม่และทันต่อความก้าวหน้าทางวิชาการที่สถาบันอุดมศึกษานั้น ๆ ดำเนินการสอน
วิจัย และให้บริการแก่สังคม
4. จำนวนบุคลากรในงานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่ง
ควรจัดสรรบุคลากรตำแหน่งต่าง ๆ ตามความเหมาะสม
5. ง าน บ ริ ห าร แ ล ะ ง าน ธุ ร ก าร ค ว ร ป ร ะ ก อ บ ด้ ว ย ผู้ อํ าน ว ย ก าร ห้ อ ง ส มุ ด
รอ งผู้อำ น วยก าร ผู้ช่ วยผู้อํ าน วยการ หั วห น้ าฝ่าย เล ข านุ การบ ริห าร และตํ าแห น่ งอื่น ๆ เช่ น
เจ้าหน้าที่บริหารทั่วไป เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน พนักงานธุรการ เจ้าหน้าที่ธุรการ
เจ้าหน้าที่สารบรรณ ช่างอิเล็กทรอนิกส์ นักวิชาการพัสดุ นักวิชาการการเงินและบัญชี พนักงาน/เจ้าหน้าที่บันทึก
ข้อมูล นักการภารโรง และตำแหน่งอื่นๆ ตามความเหมาะสม (ทบวงมหาวิทยาลัย สำนักงานปลัด กองวิชาการ,
2544 : 4-6)
58
สำนักวิทยบริการ สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้กำหนดเกี่ยวกับบุคลากรห้อง
สมุดไว้ดังนี้
4.1 จำ นวนบุคลากร ในปี พ.ศ. 2546 มีจำ นวนบุคลากรทั้งสิ้น 32 คน เป็น
ข้าราชการ 16 คน เป็นเจ้าหน้าที่ห้องสมุด 16 คน มีวุฒิการศึกษาปริญญาตรี 7 คน ปริญญาโท 8 คน
ปริญญาเอก 1 คน และเป็นวุฒิทางบรรณารักษศาสตร์ 15 คน (รายงานการประเมินตนเอง สำนัก
วิทยบริการ, 2547 : 15-17)
4.2 ความรับผิดชอบของบุคลากร มีผู้อำนวยการ 1 คน ดูแลรับผิดชอบงาน
ทั้งปวงของสำนักวิทยบริการ มีรองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารรับผิดชอบช่วยผู้อำนวยการด้านงาน
บริหาร รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการรับผิดชอบช่วยผู้อำนวยการด้านงานวิชาการ และมีหัวหน้าฝ่าย
ดูแลรับผิดชอบงานของแต่ละฝ่ายทั้ง 8 ฝ่าย
4.3 การพัฒนาบุคลากร มีการกำหนดเป็นนโยบายและแผนพัฒนาบุคลากรไว้ใน
แผนกลยุทธ์สำนักวิทยบริการ นอกจากนี้ สำนักวิทยบริการมีจุดมุ่งหมายที่จะพัฒนาบุคลากร
ทุกด้าน เพื่อส่งเสริมให้ระบบการประกันคุณภาพประสบความสำเร็จและเป็นผู้ให้บริการที่ดีโดยได้
ยึดถือมาตรฐานการปฏิบัติงานเพื่อพัฒนาบุคลากรของสถาบันฯ เป็นแนวทาง
มาตรฐานที่ 1 พัฒนาบุคลากรให้มีความสามารถด้านการวางแผนการปฏิบัติงาน
มาตรฐานที่ 2 พัฒนาบุคลากรให้มีความสามารถด้านการปฏิบัติงาน
มาตรฐานที่ 3 พัฒนาบุคลากรให้มีความสามารถด้านการติดตามประเมินผลและ
รายงานผลการปฏิบัติงาน
มาตรฐานที่ 4 พัฒนาบุคลากรให้มีความสามารถด้านความคิดริเริ่มและการพัฒนางาน
มาตรฐานที่ 5 พัฒนาบุคลากรให้มีความเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรมและจิตสำนึกใน
การให้บริการ (สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการ, 2544 : 9)
5. ทรัพยากร (Resources)
ทรัพยากรที่มีอยู่ในห้องสมุดถือเป็นทรัพยากรสารสนเทศ คำว่า สารสนเทศ
(Information) มีสถาบัน หน่วยงาน และนักวิชาการที่เกี่ยวข้องได้ให้ความหมายไว้อย่างหลากหลาย
ด้วยกัน เช่น ALA Glossary of Library and Information Science (1983 : 117 อ้างถึงใน ศุจิมน สุภ
โอภาส, 2543 : 9) ให้ความหมายสารสนเทศว่า หมายถึง ข้อเท็จจริง และงานที่เกิดจากจินตนาการ
ซึ่ งไ ด้ มี ก าร สื่ อ ส าร บั น ทึ ก แ ล ะ จั ด พิ ม พ์ เผ ย แ พ ร่ ทั้ งที่ เป็ น ท างก าร แ ล ะ ไ ม่ เป็ น
ทางการ ไม่ว่าจะเป็นสื่อรูปแบบใด ๆ ก็ตาม สำหรับ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525
(2538 : 831) ได้นิยามสารสนเทศไว้ว่า ข่าวสาร การแสดงหรือชี้แจงข่าวสารข้อมูลต่าง ๆ และ
พ จ น า นุ ก ร ม ฉ บั บ ส อ เส ถ บุ ต ร (2540 : 717) ใ ห้ ค ว า ม ห ม า ย ส า ร ส น เท ศ ว่ า
59
หมายถึง การให้ความรู้ หรือ ข่าวสาร สำหรับนักวิชาการและบรรณารักษ์ที่เกี่ยวข้อง เช่น
จารุวรรณ สินธุโสภณ 2521 : 69) ให้ความหมายสารสนเทศว่า หมายถึง ข่าวสาร ข้อความ
ที่เพิ่มพูนความรู้แก่ผู้ที่ได้รับ รูปร่างลักษณะของข่าวสารอาจเป็นสิ่งตีพิมพ์หรือไม่ใช่ก็ได้ ปกติข่าว
สารจะมีหลักฐานที่ควรแก่การเชื่อถือรับรองอยู่ ข่าวสารที่มีลักษณะเป็นสิ่งตีพิมพ์บางทีใช้เรียกว่า
เอกสาร ข้อสน เทศ สารสน เทศ ส่วน อัมพร ทีขะระ (2528 : 160-161) ให้ความหมาย
สารสนเทศว่า หมายถึง ข่าวสาร เรื่องราว ข้อความรู้ ข้อสนเทศ สารสนเทศ สารสนเทศหรือสนเทศ
อ าเท ศ ข่ าว ส าร แ ล ะ ค ว าม รู้ แ ม้ น ม าส ช ว ลิ ต (2533 : 5) ก ล่ าว ว่ า ส าร ส น เท ศ
หมายถึง ความรู้ เรื่องราว ข้อมูล ข่าวสารซึ่งมีการบันทึกและจัดการตามหลักวิชาการเพื่อเผยแพร่
และเพื่อใช้ประโยชน์ในการพัฒนาด้านต่าง ๆ ทั้งในส่วนบุคคลและสังคม พวา พันธุ์เมฆา (2535 :
1) กล่าวว่า สารสนเทศก็คือ ข่าวสาร ข้อมูลความรู้ ข้อเท็จจริง ความคิด ที่ได้มีการบันทึกไว้ในสื่อ
หรือทรัพยากรสารสนเทศแบบต่าง ๆ ซึ่งบุคคลสามารถรับรู้ได้ด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งเพื่อนำไปใช้
ประโยชน์ตามต้องการ
จากคำจำกัดความและจากนักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่าน ที่ได้ให้นิยามและ
ความหมายดังกล่าว สรุปได้ว่า ทรัพยากรสารสนเทศ หมายถึง สื่อ รูปแบบ หรือวัสดุต่าง ๆ เช่น
หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ โสตทัศนวัสดุ รวมทั้งสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ซีดี-รอม จานแม่เหล็ก
คอมพิวเตอร์ ที่มีการถ่ายทอดและบันทึกข้อมูล ข่าวสาร ความคิด ความรู้ ข้อเท็จจริง ตัวเลข สถิติ
ต่าง ๆ งานที่เกิดจากจินตนาการ หรือสิ่งใด ๆ ที่สามารถเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มพูนความรู้แก่ผู้ที่ได้รับ
เมื่อนำมาวิเคราะห์และประมวลผลแล้วก็สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ เกิดเป็นทรัพยากร
สารสนเทศ
สำนักวิทยบริการ สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้กำหนดเกี่ยวกับทรัพยากร
สารสนเทศของห้องสมุดในปี พ.ศ. 2546 พอสรุปได้ดังนี้
5.1 หนังสือ มีจำนวนหนังสือประมาณ 211,376 เล่ม แบ่งเป็นหนังสือภาษาไทย
189,571 เล่ม ภาษาอังกฤษ 21,495 เล่ม งานวิจัยและวิทยานิพนธ์ 310 เล่ม
5.2 วารสารและหนังสือพิมพ์ มีจำนวน 274 รายการ แบ่งเป็น วารสารภาษาไทย
235 รายการ วารสารภาษาอังกฤษ 18 รายการหนังสือพิมพ์ 21 รายการ
5.3 สื่อโสตทัศนวัสดุ มีเทปจำนวน 653 ชื่อเรื่อง วีดิโอ จำนวน 1,233 ชื่อเรื่อง, วีซีดี
จำนวน 281 ชื่อเรื่อง, ซีดี จำนวน 774 ชื่อเรื่อง (สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 2547 : 22)
6. การบริการ (Services)
60
การบริการ หมายถึง การอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการห้องสมุดในด้านการให้
อ่าน ให้ยืม ให้จองหนังสือ แนะแนวการอ่าน บริการตอบคำถาม ช่วยค้นคว้า บริการอินเทอร์เน็ต
บริการห้องสมุด หมายถึง ความสะดวกสะบายต่าง ๆ ที่ห้องสมุดจัดขึ้นสำหรับการ
ใช้หนังสือและการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ (Herrod 1987 : 465 อ้างถึงใน ครองทรัพย์
เจิดนภาพันธ์, 2542 : 8) รวมทั้งหมายถึงหลักการต่างๆ หรือการปฏิบัติที่เกี่ยวกับการดำเนินงานด้าน
การบริหาร การดูแลรักษา การจัดเก็บ การค้นสิ่งพิมพ์และทรัพยากรสารสนเทศต่าง ๆ ของห้องสมุด
นอกจากนี้ บริการห้องสมุดยังรวมถึงงานใดๆ ก็ตามที่ห้องสมุดได้จัดทำขึ้นเพื่อการติดต่อโดยตรง
กับผู้ใช้ห้องสมุด ซึ่งงานที่ถือว่าเป็นงานบริการที่สำคัญนั้น ได้แก่ บริการยืม-คืน บริการตอบคำถาม
และช่วยค้นคว้า บริการหนังสือจอง การประชาสัมพันธ์ (Herrod 1987 : 465 อ้างถึงใน ครองทรัพย์
เจิดนภาพันธ์, 2542 : 8) ตลอดจนการสร้างบรรยากาศเชิญชวนให้ผู้สนใจเข้าใช้ห้องสมุด การจัด
สถานที่ให้สวยงามและการจัดชั้นหนังสือให้เป็นระเบียบ เป็นต้น (สุทธิลักษณ์ อำพันวงศ์, 2521 :
56)
สำนักวิทยบริการ สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้กำหนดเกี่ยวกับบริการ
ห้องสมุดไว้ดังนี้
6.1 เวลาให้บริการ สำ นักวิทยบริการเปิดให้บริการในช่วงเปิดภาคเรียน
วันจันทร์ ถึง พฤหัสบดี ตั้งแต่เวลา 7.30 – 20.40 น. วันศุกร์ เวลา 7.30-16.30 น. วันเสาร์ เวลา 8.30 –
16.30 น วันอาทิตย์ เวลา 8.30 – 18.00 น. ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์เวลาดังกล่าวนี้อาจมีการเปลี่ยน
แปลงไปตามสภาพของการเปิดการเรียนการสอน
6.2 ลักษณะของผู้ให้บริการที่พึงประสงค์
ภารกิจของสำนักวิทยบริการที่สำคัญ คือ การให้บริการที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
สะดวก รวดเร็ว และมีจิตสำนึก ในการให้บริการที่ดี บุคลากรของสำนักวิทยบริการมีลักษณะดังนี้
(1) บริการด้วยความยิ้มแย้มแจ่มใสด้วยความเข้าใจ (Smiling & Empathy)
ด้วยความรู้สึกว่าผู้เข้ารับบริการมีความยุ่งยากใจในการแสวงหาสิ่งที่ต้องการและความต้องการ
ความช่วยเหลือ
(2) บริการสน องตอบ ด้วยความรวดเร็ว (Early Response) สิ่ งนี้ เป็ น
คุณสมบัติของผู้ให้บริการเชิงรุก ซึ่งจะสร้างความประทับใจได้ดี
(3) บริการพร้อม ๆ ไปกับการให้เกียรติ (Respectful) โดยไม่แสดงอาการ
ดูถูกผู้ใช้บริการ ไม่ว่าจะอยู่ในระดับใดก็ตาม
(4) บริการด้วยความเต็มใจ (Voluntariness manner) โดยไม่คิดว่างานเป็น
เพียงภาระรับผิดชอบที่ผ่านเข้ามาเท่านั้น แต่แสดงออกด้วยความจริงใจ ด้วยความรู้สึกสร้างสรรค์
61
(5) บริการเพื่อสร้างภาพลักษณ์ของตนเองและหน่วยงาน (Image enhancing)
โดยให้ผู้พบเห็นมีความรู้สึกที่ดีและต้องการให้การสนับสนุนเกื้อกูลในภารกิจที่กำลังดำเนินอยู่
(6) บริการด้วยมารยาทที่ดี (Courtesy) คือ การแสดงออกด้วยกริยามารยาทที่
สุภาพงดงามและถ่อมตน
(7) บริการด้วยความกระตือรือร้น (Enthusiasm) แสดงอาการกระฉับ
กระเฉงในลักษณะงดงามและพอเหมาะพอดี (สำนักวิทยบริการ สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จ
เจ้าพระยา 2544, 8-9)
6.3 คุณสมบัติของผู้ให้บริการที่ดี
สำนักวิทยบริการได้กำหนดคุณสมบัติของผู้ให้บริการที่ดี ดังนี้
(1) เป็นผู้ที่มีความไวต่อความต้องการของผู้รับบริการ (Sensitive to
customer’s needs)
(2) เป็นผู้ที่มีความกระตือรือร้น (Enthusiasm)
(3) เป็นที่น่าเชื่อถือได้ (Reliability)
(4) เป็นผู้ที่มีความกระฉับกระเฉง (Vigorous)
(5) เป็นผู้ให้ข้อมูลข่าวสาร (Information)
(6) เป็นผู้ที่มีความห่วงใยอาทรผู้อื่น (Concerned)
(7) เป็นผู้ที่มีความเข้าใจผู้อื่น (Consideration)
(8) เป็นผู้ที่มีความยิ้มแย้มแจ่มใส (Smiles)
6.4 ระเบียบและข้อปฏิบัติในการใช้บริการสำนักวิทยบริการ
(1) หนังสือทั่วไปยืมได้เวลา 08.00 – 19.15 น.
(2) หนังสือสำรองยืมได้เวลา 10.00 น. และส่งคืนก่อนเวลา 09.00 น. ของวัน
รุ่งขึ้น
(3) หนังสืออ้างอิง หนังสือพิมพ์ วารสารฉบับปัจจุบันให้อ่านในห้องสมุด
เท่านั้น
(4) นักศึกษาต้องมีบัตรสมาชิกของตนเอง ห้ามนำบัตรของผู้อื่นมาใช้
มิฉะนั้นจะถูกตัดสิทธิในการยืม 1 ภาคการศึกษา
(5) บัตรสมาชิกต้องเก็บรักษาเป็นอย่างดีเพื่อนำมาเป็นหลักฐานในวันที่จบ
การศึกษา
6.5 ระเบียบการใช้บริการ
ผู้มีสิทธิทำบัตรสมาชิก ได้แก่ คณาจารย์ นักศึกษา เจ้าหน้าที่ นักเรียนมัธยม
สาธิตฯ สิ่งที่ต้องนำมา
62
(1) รูปถ่าย 2 รูป (หน้าตรง ไม่สวมแว่นตาดำ)
(2) บัตรนักศึกษา
(3) ใบเสร็จรับเงินของภาคเรียนปัจจุบัน
6.6 ระเบียบการยืมทรัพยากรสารสนเทศ
นักศึกษา ปริญญาตรี จำนวน 5 เล่ม ต่อ 7 วัน
นักศึกษา (ศูนย์ให้การศึกษา) จำนวน 5 เล่ม ต่อ 10 วัน
นักศึกษา ปริญญาโท จำนวน 10 เล่ม ต่อ 14 วัน
อาจารย์ จำนวน 30 เล่ม ต่อ 1 ภาคเรียน
บุคลากร จำนวน 7 เล่ม ต่อ 7 วัน
6.7 ระเบียบการจ่ายค่าปรับ / คืนหนังสือล่าช้าและบัตรสมาชิก
ค่าปรับคืนหนังสือเกินกำหนดเวลา ปรับ 10 บาทต่อเล่มต่อวัน
ค่าบัตรสมาชิก เมื่อทำสูญหาย จะเสียค่าปรับ ดังนี้
นักศึกษาภาคปกติ ปรับ 20 บาท
นักศึกษา ภาค กศ.บป. ปรับ 30 บาท
นักศึกษาปริญญาโท ปรับ 30 บาท
(บัตรสูญหายจะต้องปรับตามที่กำหนดและรอทำบัตรใหม่ 1 สัปดาห์)
6.8 มารยาทในการใช้ห้องสมุด
(1) แต่งกายและปฏิบัติตนให้สุภาพเรียบร้อย
(2) ฝากกระเป๋า ถุง ย่าม ฯลฯ ไว้ที่ห้องฝากของก่อนเข้าใช้บริการทุกครั้ง
(3) ไม่ส่งเสียงดังหรือกระทำการใด ๆ ให้เป็นที่รบกวนผู้อื่น
(4) ห้ามนำอาหาร เครื่องดื่ม ฯลฯ มารับประทานในห้องสมุด
(5) ห้ามขีดเขียน/ฉีก/ตัดหนังสือและวารสารบางส่วนหรือทั้งหมด
(6) งดใช้โทรศัพท์มือถือและเพจเจอร์ทุกชนิด
6.9 สถิติจำนวนผู้ใช้บริการห้องสมุดตั้งแต่เดือนมีนาคม 2546 – กุมภาพันธ์ 2547
63
สถิติจำนวนผู้ใช้บริการห้องสมุด ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2546 – กุมภาพันธ์ 2547
ที่มา : รายงานการประเมินตนเอง สำนักวิทยบริการ ฉบับที่ 4, 2547 : 12
7. สิ่งอำนวยความสะดวก (Facilities)
ในสมัยหนึ่ง ห้องสมุดเป็นแต่เพียงที่ซึ่งเก็บหนังสือ การเก็บในสมัยนั้น โดยมากก็
เก็บเพื่อรักษาไว้ซึ่งหนังสือ ผู้ซึ่งจะอ่านได้มีจำนวนจำกัด เพราะการเรียนรู้หนังสือยังไม่แพร่หลาย
ในประเทศไทยของเรา ห้องสมุดแต่เดิมก็มีอยู่เฉพาะในพระบรมมหาราชวัง ในวังเจ้านาย
บางพระองค์ ในบ้านข้าราชการชั้นผู้ใหญ่บางท่าน และในวัดบางแห่งจะมีที่เก็บพระไตรปิฎก และ
หนังสือศาสนาอื่น ๆ ผู้ที่จะอ่านหนังสือมีจำนวนจำกัด การจัดหาสถานที่จึงไม่ต้องคำนึงถึงความ
สะดวกสบายของผู้ใช้มากนัก ในสมัยต่อ ๆ มา นอกจากห้องสมุดส่วนตัวของบุคคลแล้ว ห้องสมุด
ประเภทอื่น ๆ ก็ล้วนแต่มีผู้ใช้สอยมากขึ้น และใช้เพื่อประโยชน์ต่าง ๆ มากขึ้น เช่น ใช้เพื่อ
การศึกษา เพื่อการวิจัย เพื่อการบันเทิง ฯลฯ และนอกจากนั้น สิ่งพิมพ์และสื่อความคิดเห็น
อย่างอื่นก็มีมากขึ้น นโยบายการจัดหาสถานที่ก็ต้องเปลี่ยนแปลงไปด้วย การจัดหาเพื่อให้สะดวกแก่
การใช้เป็นหลักที่จะต้องยึดถือในปัจจุบัน (แม้นมาส เชาวลิต, 2541 : 19)
สำ นักวิทยบริการ สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้กำ หนดเกี่ยวกับ
สิ่งอำนวยความสะดวก ดังนี้
7.1 อาคารสถานที่ เป็นอาคารที่ทันสมัย สูง 8 ชั้น มีพื้นที่ใช้สอยทั้งสิ้น 4,972.90 ตา
รางเมตร แบ่งพื้นที่ใช้สอยในแต่ละชั้น ดังนี้
19,990
84
11,187
103
12,897
42
32,431
325
40,983
111
44,818
126
48,621
100
0
10,000
20,000
30,000
40,000
50,000
12052
33
37591
101
36058
93
27761
79
37251
81 บุคคลภายใน
บุคคลภายนอก
มีนาคม
เมษายน
พฤษภาคม
มิถุนายน
กรกฎาคม
สิงหาคม
กันยายน
ตุลาคม
พฤศจิกายน
ธันวาคม
มกราคม
กุมภาพันธ์
64
ชั้น ที่ 1 เป็ น ส่วน ป ฏิบั ติงาน ของสำ นั กงาน เลขานุ การป ระกอบ ด้วยงาน เลขานุ การ,
งาน ก ารเจ้าห น้ าที่ , งาน ธุรก าร, งาน พั ส ดุ งาน ป ระช าสั ม พั น ธ์, งาน บ ริก ารยืม -คื น ท รัพ ยาก ร
สารสนเทศ, หนังสือจองและงานซ่อมบำรุงทรัพยากรสารสนเทศ ห้องเอนกประสงค์เป็นที่โล่งกว้าง
มีพื้นที่ประมาณ 225 ตารางเมตร
ชั้ น ที่ 2 เป็ น ส่ วน ข อ งงาน พั ฒ น าท รัพ ยาก รส ารส น เท ศ , งาน เล ข านุ ก าร เป็ น ส่ วน
ฝ่ายสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง ซึ่งบริการวารสารฉบับปัจจุบันและล่วงเวลา รวมทั้งจุลสารและกฤตภาค
นอกจากนี้ยังมีบริการถ่ายเอกสาร
ชั้นที่ 3 เป็นส่วนห้องบริการหนังสืออ้างอิง งานบริการสารสนเทศพิเศษ ได้แก่ บริการ
ข้อมูลท้องถิ่น (ธนบุรี) บริการสิ่งพิมพ์รัฐบาล บริการหนังสือของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บริการห้องหนังสือหายาก พร้อมบริการห้องค้นคว้ากลุ่ม (Study room) ประมาณ 6 – 8 คน จำนวน
3 ห้อง เพื่อให้นักศึกษาได้ใช้ประโยชน์ทางการศึกษาเพื่อทบทวนการเรียนนอกเหนือไปจากที่ได้รับ
ในห้องเรียน และสามารถปรึกษากันเป็นกลุ่มหรือทำรายงานได้ตามความต้องการ
ชั้นที่ 4 เป็นส่วนบริการหนังสือภาษาไทยหมวด 600-900 และมีชั้นแสดงหนังสือใหม่
เพื่อให้ผู้ใช้บริการที่ต้องการข้อมูลที่ใหม่และทันสมัย และพร้อมบริการห้องค้นคว้ากลุ่ม (Study
room) ประมาณ 6 – 8 คน จำนวน 3 ห้องและใช้ปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิเคราะห์ทรัพยากรสาร
สนเทศ
ชั้นที่ 5 เป็นบริการหนังสือภาษาไทยหมวด 600-900 และส่วนปฏิบัติงานของ
เจ้าหน้าที่งานเทคนิคทางด้านทรัพยากรสารสนเทศ
ชั้นที่ 6 เป็นส่วนฝ่ายบริการโสตทัศนวัสดุ ซึ่งให้บริการเทป วีดิโอเทป และสไลด์ และ
บริการยูบีซีเป็นบริการสื่อการศึกษาตามความสนใจ ห้องสมุดดนตรี มีหนังสือทางด้านดนตรีและ
โน้ตเพลงและห้องมินิเธียเตอร์ พร้อมให้บริการห้องประชุม “ราชาวดี” ซึ่งใช้ในการจัดประชุม สัมมนา
สามารถจุคนได้ 80 คน
ชั้นที่ 7 เป็นส่วนบริการค้นคว้าและบริการบัณฑิตวิทยาลัย ประกอบด้วยห้องทำการ
บัณฑิตวิทยาลัย สาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์และห้องค้นคว้ากลุ่ม (Study room)
สํ าห รับ นั ก ศึ ก ษ าบั ณ ฑิ ต วิท ยาลั ยจำ น ว น 3 ห้ อ งๆ ล ะ 10-15 ค น เพื่ อ ใช้ ป ระ ก อ บ
การประชุม หรือปรึกษากันเป็นกลุ่ม แต่ละห้องจะมีหนังสือที่ใช้ในการเรียนการสอนในระดับ
บัณฑิตศึกษาที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัย วิทยานิพนธ์ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ งานวิจัย และ
หนังสือสำหรับเด็กและเยาวชน นวนิยาย หนังสือทั่วไปภาษาอังกฤษ หมวด 000-900 ส่วนพื้นที่
บริการภายนอกจะมีหนังสือตำราทางวิชาการ (ของอาจารย์ในสถาบัน) พร้อมบริการหนังสือ
ประเภทเรื่องสั้นและยังมีห้องประชุม “บุณฑริก” เพื่อใช้ในการจัดประชุมบุคลากรภายใน
สำนักวิทยบริการ หรือรับรองแขกภายนอก ขนาด 25-40 คน ตลอดจนการประชุมสัมมนาต่างๆ
65
ชั้นที่ 8 เป็นส่วนของฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งให้บริการอินเตอร์เน็ต
สำหรับนักศึกษาจำนวน 60 เครื่องพร้อมบุคลากรที่คอยแนะนำและให้คำปรึกษา เพื่อใน
การค้นคว้า อบรม สัมมนา และการประชุมปฏิบัติการต่างๆ ห้องค้นคว้าสำหรับอาจารย์
จำนวน 9 ห้องๆ ละ 5 คน และบริการฐานข้อมูลซีดี-รอมต่างๆ
7.2 อุปกรณ์อำนวยความสะดวก มีตู้บัตรรายการ เครื่องคอมพิวเตอร์ 75 เครื่อง
อินเตอร์เน็ต 60 เครื่อง โต๊ะ เก้าอี้ สำหรับอ่านหนังสือมีทั้งแบบเป็นกลุ่ม และเดี่ยวเฉพาะแต่ละ
บุคคล (สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 2545 : 10-19)
8. การเข้าถึง (Access)
การเข้าถึง เป็นการจัดให้ผู้ใช้ห้องสมุดได้เข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศได้อย่าง
รวดเร็ว
8.1 ความจำเป็นที่จะต้องเข้าถึง (แม้นมาส ชวลิต, 2533 : 16-18) ได้กล่าวว่า
ทรัพยากรสารสนเทศทุกรูปแบบเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์ ความจำเป็นในการใช้ทรัพยากร
สารสนเทศมี ดังนี้
(1) ความจำเป็นสำหรับการศึกษาเพื่อพัฒนาทั้งในส่วนตนและสังคม
(2) ความจำเป็นสำหรับการตัดสินใจ
(3) ความจำเป็นสำหรับการค้นคว้าวิจัย
(4) ความจำเป็นสำหรับการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตส่วนตัวและการงาน
(5) ความจำเป็นสำหรับการปรับปรุงประสิทธิภาพของการปฏิบัติงานหรือ
บริหารงานให้ได้ดังวัตถุประสงค์
8.2 ค ว าม ต้ อ งก ารเข้ าถึ ง (แ ม้ น ม าส ช ว ลิ ต , 2533 : 16-18) ได้ ก ล่ าว ว่ า
ความต้องการซึ่งเป็นเรื่องเฉพาะของแต่ละบุคคลและกลุ่มบุคคลทำให้เกิดการใช้สารสนเทศเฉพาะ
ความต้องการของผู้ใช้ ดังนี้
(1) ต้องการทรัพยากรสารสนเทศเรื่องใดเรื่องหนึ่งซึ่งเป็นความสนใจโดย
เฉพาะ
(2) ต้องการทราบแหล่งสารสนเทศทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น ๆ
(3) ต้องการเข้าถึงเนื้อหาสาระในเรื่องนั้น ๆ เพื่อจะได้นำมาใช้ทันท่วงที
(4) ต้องการเข้าถึงเนื้อหาสาระในเรื่องนั้น ๆ ที่ผลิตขึ้นในต่างประเทศ
(5) ต้องการเข้าถึงเนื้อหาสาระในเรื่องนั้น ๆ อย่างหลากหลายถูกต้อง และ
ครบถ้วน
66
(6) ต้องการทรัพยากรสารสนเทศและเนื้อหาสารสนเทศอย่างรวดเร็วทันเวลา
ในอดีตมนุษย์เรามีการค้นหาข้อมูลความรู้ด้วยการลองผิดลองถูกค้นหาไปเรื่อยๆ
การค้นพบข้อมูลที่ต้องการ ใช้เวลานานมาก บางครั้งใช้เวลานานมากแล้วก็ยังไม่พบข้อมูล
ที่ต้องการ เมื่อวิทยาการเจริญก้าวหน้าขึ้น จึงเกิดการจัดหมู่หนังสือระบบต่างๆ มีการกำหนด
หัวเรื่อง การกำหนดบัญชีศัพท์สัมพันธ์ ทำให้การค้นหาข้อมูลที่ต้องการสะดวกรวดเร็วขึ้น
ได้ข้อมูลที่มีการกลั่นกรองในปริมาณมาก จนสามารถเปรียบเทียบและเลือกใช้ข้อมูลได้ ต่อมาเมื่อ
มนุษย์ประดิษฐ์คอมพิวเตอร์และได้สร้างระบบจัดการฐานข้อมูล ได้สร้างฐานข้อมูลหนังสือใน
ห้องสมุด และสร้างระบบเครือข่ายความมหัศจรรย์ในการค้นหาข้อมูลที่เกิดขึ้น กล่าวคือ สามารถ
สืบค้นหาข้อมูลได้อย่างกว้างขวางในหลายระดับอย่างสะดวกรวดเร็ว โดยไม่จำกัดประเภทของ
ทรัพยากรสารสนเทศ ระยะทาง เวลา สถานที่ สามารถสืบค้นได้หลาย ๆ คนพร้อมกันและมีโอกาส
เข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศมากมาย ทั้งภายในและภายนอกสถาบันบริการสารสนเทศ
การเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศของผู้ใช้เป็นวิธีการที่ผู้ใช้สามารถนำทรัพยากร
สารสนเทศที่ต้องการไปใช้งานได้ ดังนั้น การเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศจึงเป็นสิ่งสำคัญถ้ามี
ทรัพยากรสารสนเทศมากแต่ไม่สามารถเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศเพื่อนำทรัพยากรสารสนเทศนั้น
ไปใช้งานให้เกิดประโยชน์ได้ ทรัพยากรสารสนเทศที่มีอยู่ก็ไร้ความหมาย ในการที่ผู้ใช้จะเข้าถึง
ทรัพยากรสารสนเทศได้นั้น จะต้องมีแหล่งสารสนเทศ หรือ ระบบสารสนเทศที่สามารถช่วยเหลือผู้
ใช้ได้สะดวกรวดเร็ว ซึ่งควรเป็นแหล่งหรือระบบที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย สะดวก และไม่ไกลจนเกิน
ไป
8.3 องค์ประกอบของการเข้าถึง การเข้าถึงสารสนเทศจะประสบความสำเร็จได้
จะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบต่อไปนี้ คือ
(1) สารสนเทศนั้นได้รับการรวบรวมไว้อย่างละเอียดในระบบที่ถูกต้องและ
เป็นระเบียบ ง่ายต่อการสืบค้น
(2) มีเครื่องมือช่วยในการค้นหาสารสนเทศที่ต้องการ
(3) มีปริมาณเอกสารสิ่งพิมพ์เพียงพอ และมีสารสนเทศใหม่เพิ่มเติมอย่าง
สม่ำเสมอ สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้บริการ
(4) ผู้ใช้สารสนเทศมีความพึงพอใจกับบริการที่ตนได้รับทั้งจากแหล่ง
สารสนเทศและคำแนะนำจากผู้ให้บริการ ตลอดจนความพึงพอใจในเรื่องที่เกี่ยวกับสถานที่และการ
จัดเก็บสารสนเทศนั้น
เครื่องมือช่วยค้น เป็นสิ่งที่บันทึกรายการต่าง ๆ ของหนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์
จุลสาร กฤตภาค และสื่อโสตทัศน์ ที่มีอยู่ในแหล่งทรัพยากรสารสนเทศ พร้อมทั้งบอกตำแหน่งหรือ
67
สถานที่จัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศนั้น คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือช่วยค้นอย่างหนึ่ง
ในแหล่งทรัพยากรสารสนเทศช่วยให้ผู้ใช้สามารถค้นทรัพยากรสารสนเทศได้ด้วยตนเอง
ทั้งทรัพยากรสารสนเทศภายในห้องสมุดเดียวกันหรือระหว่างห้องสมุดรวมทั้งการสืบค้น
สารสนเทศระหว่างประเทศ ทำให้ผู้ใช้สามารถค้นหาทรัพยากรสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เครื่องมือช่วยค้นจะช่วยตอบคำถามหรือแจ้งให้ผู้ใช้ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพยากร
สารสนเทศ ผู้ใช้จึงควรศึกษาเครื่องมือช่วยค้นประเภทต่างๆ ที่มีอยู่ในแหล่งทรัพยากร
สารสนเทศแต่ละแห่ง ซึ่งได้แก่ บัตรรายการ บรรณานุกรม และดัชนี (สุกานดา ดีโพธิ์กลาง และคน
อื่น ๆ , 2540 : 59-60)
8.4 ฐานข้อมูล ฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุดที่มีอยู่ในปัจจุบัน สามารถ
แบ่งได้กว้าง ๆ เป็น 3 ประเภท คือ 1) ฐานข้อมูลทรัพยากรห้องสมุดที่ห้องสมุดจัดทำขึ้นเอง
2) ฐานข้อมูล ซีดี-รอม และ 3) ฐานข้อมูลออนไลน์ มีรายละเอียดโดยสรุป ดังนี้ (กาญจนา
ใจกว้าง, 2540 : 222-114)
(1) ฐาน ข้อมูลที่ พั ฒ น าขึ้น เอง (In-house database) เป็ น ฐาน ข้อมูลที่
ห้องสมุดได้พัฒนาขึ้นเองโดยใช้โปรแกรมสำเร็จ เช่น ซีดีเอส/ไอซีส (CDS/ISIS) บีอาร์เอสเสิร์ซ
(BRS Search) เป็นต้น นอกจากนี้ในปัจจุบันยังมีโปรแกรมสำเร็จสำหรับห้องสมุดอัตโนมัติ
บางโปรแกรมใช้พัฒนาฐานข้อมูลห้องสมุด เช่น ไดนิกซ์ (DYNIX) วีทีแอลเอส (VTLS) ทินลิป
(TINLIB) ฐานข้อมูลที่พัฒนาขึ้นเองนี้ส่วนใหญ่จัดเก็บทรัพยากรภายในห้องสมุดนั้น
(2) ฐานข้อมูล ซีดี-รอม (CD-ROM database) เป็นฐานข้อมูลที่มีเนื้อหาครอบ
คลุมหลายวิชาอาจเป็นฐานข้อมูลอ้างอิง ฐานข้อมูลต้นแหล่งหรือฐานข้อมูลเนื้อหาเต็มรูป ซีดี-รอม
(CD-ROM) เป็นสื่อบันทึกข้อมูลชนิดสื่อผสมหรือมัลติมิเดีย (multimedia) ที่สามารถบันทึกข้อมูล
ได้ ทั้ งตั วเลข ตั วอัก ษ ร ภ าพ เสี ยง มี คุณ ส ม บั ติ จัด เก็บ ข้ อ มู ล เพื่ อ ก ารอ่ าน ได้ เพี ยง
อย่างเดียว ข้อมูลที่บันทึกแล้วไม่สามารถลบหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ฉะนั้นจึงไม่สูญหายหรือ
ถูกทำลายได้ง่าย และมีอายุการใช้งานได้นาน
(3) ฐานข้อมูลออนไลน์ (Online database) เป็นฐานข้อมูลที่ต้องใช้วิธี
การค้นคืนสารสนเทศจากระยะไกลซึ่งผู้ใช้สามารภค้นคืนสารสนเทศจากเครื่องปลายทางเชื่อมโยง
กับสายโทรศัพท์ โดยผ่านระบบโทรคมนาคมไปยังคอมพิวเตอร์ของห้องสมุดที่อยู่ห่างไกล
(ชลทิชา สุทธินิรันดร์กุล, 2535 : 8-9)
ซวาส (Zwass, 1996 :: 187 อ้างถึงใน ศุจิมน สุภโอภาส, 2543 : 34) ได้กล่าวถึง
การเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศเพื่อให้ได้รับประโยชน์จากสารสนเทศนั้น ผู้ใช้สารสนเทศควรมีคุณ
สมบัติ 3 ประการ คือ 1) ทักษะความรู้ในการจัดการกับสารสนเทศ 2) ทักษะในการใช้เทคโนโลยี
สารสนเทศ และ 3) ทักษะในการเข้าถึงสารสนเทศ
68
8.5 ความไม่สำเร็จในการเข้าถึง นักสารสนเทศหลายท่านกล่าวว่า ความพึงพอใจ
ของผู้ใช้บริการ เป็นสิ่งสำคัญที่สุด ผู้ใช้ที่ไม่ประสบความสำเร็จในการได้มาซึ่งสารสนเทศนั้นอาจ
เป็นเพราะ
(1) ความล้มเหลวของแหล่งความรู้ของห้องสมุด เช่น ไม่มีหนังสือ เอกสาร
ตามที่ผู้ใช้คาดหวังไว้
(2) ความล้มเหลวของบัตรรายการและเครื่องมือช่วยค้นต่าง ๆ ที่ไม่ให้ข้อมูลที่
ดีพอ
(3) ความล้มเหลวของตัวผู้ใช้เองที่ไม่สามารถค้นหาสิ่งที่ตนต้องการได้พบ
ดังนั้น ห้องสมุดจึงเป็นแหล่งที่อำนวยความสะดวก ในการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศ
ได้อย่างรวดเร็ว และสิ่งที่เน้นมากที่สุดก็คือ การใช้บริการสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์อันเป็นช่องทาง
ในการเข้าถึงสารสนเทศ (พิมพ์รำไพ เปรมสมิทธิ์, 2538 : 2) ซึ่งการช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงแหล่ง
สารสนเทศได้นั้นเป็นการส่งเสริมเสรีภาพส่วนบุคคล ในขณะเดียวกันบรรณารักษ์ ผู้ที่
เกี่ยวข้องกับการบริการ ควรช่วยอธิบาย หรือให้คำแนะนำ วิธีการใช้แหล่งสารสนเทศให้แก่ผู้ใช้ด้วย
เพื่อให้ห้องสมุดคงความเป็นแหล่งแห่งความรู้มากกว่าที่จะเป็นเพียงแหล่งรวบรวมเอกสารสิ่งพิมพ์
เท่านั้น ซึ่งแตกต่างจากในอดีตช่องทางในการสืบค้นหรือเข้าถึงสารสนเทศค่อนข้างจำกัด และไม่
กว้างขวางมากนัก แต่ปัจจุบันการสืบค้นและการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศเป็นไปอย่างรวดเร็ว
และสะดวก หลากหลายรูปแบบ ทำ ให้สามารถรวบรวมสารสนเทศที่ต้องการได้อย่าง
ถูกต้อง รวดเร็ว กว้างขวาง และทันการณ์ ผู้ใช้ควรตระหนักถึงความหลากหลายของทรัพยากร
สารสนเทศ รูปแบบการสืบค้น ตลอดจนวิธีการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศ รวมทั้งทรัพยากร
สารสนเทศที่ได้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ตรงตามความต้องการ ซึ่งห้องสมุดยุคใหม่จำเป็นต้องมี
การนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยพัฒนาการทำงาน เพื่อให้สามารถเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศได้ง่าย
สะดวก และรวดเร็วขึ้น
สำนักวิทยบริการ สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้กำหนดเกี่ยวกับสิ่งอำนวย
ความสะดวก ดังนี้
การจัดหมวดหมู่หนังสือ เพื่อให้ผู้ใช้ได้ทราบและเข้าถึงหนังสือแต่ละประเภทอย่าง
รวดเร็วจึงได้จัดหนังสือด้วยระบบทศนิยมดิวอี้ โดยแบ่งหมวดหมู่ ดังนี้ (สถาบันราชภัฏ
บ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 2545 : 27)
000 เบ็ดเตล็ด (Generalities)
100 ปรัญา (Philosophy and Related Disciplines)
200 ศาสนา (Religion)
69
300 สังคมศาสตร์ (Social Sciences)
400 ภาษา (Language)
500 วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ (Pure Sciences)
600 วิทยาศาสตร์ประยุกต์และเทคโนโลยี (Technology, Applied Sciences)
700 ศิลปะและการบันเทิง (The Arts, Fine and Decorative Arts)
800 วรรณคดี (Literature)
900 ภูมิศาสตร์ประวัติศาสตร์และชีวประวัติ (Geography and History)
สัญลักษณ์ที่ปรากฎบนหนังสือแต่ประเภท ดังนี้
อักษรย่อ/ประเภทสิ่งพิมพ์ รายละเอียดสิ่งพิมพ์ สถานที่
R/อ หนังสืออ้างอิง ชั้น 3
LS./บศ. หนังสือบรรณารักษศาสตร์ ชั้น 8
J/E/ย หนังสือเด็กและเยาวชน ชั้น 7
TH/วน วิทยานิพนธ์ ชั้น 7
Res/วจ รายงานการวิจัย ชั้น 7
SS/รส เรื่องสั้น ชั้น 7
Fic/น หนังสือนวนิยาย ชั้น 7
000 - 500 หนังสือทั่วไป ชั้น 4
600 - 900 หนังสือทั่วไป ชั้น 5
9. การสอน (Instruction)
การสอน คือ การที่ผู้สอนจัดเตรียมประสบการณ์และแนวคิดไว้อย่างเป็นขบวนการ
เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ ตลอดจนการชี้แนะและส่งเสริมให้ผู้เรียนอยากรู้อยากเห็น จนสามารถ
เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทางที่ดีขึ้น (ณรงค์ ป้องบุปผา, 2526 : 6)
การสอนการใช้ห้องสมุดหรือการให้การศึกษาผู้ใช้ (User Education) หมายถึง
กิจกรรมทุกอย่างที่สอนให้ผู้ใช้มีความเข้าใจเกี่ยวกับบริการของห้องสมุด สิ่งอำนวยความสะดวก
การจัดองค์การ ทรัพยากรห้องสมุด และยุทธวิธีการค้นข้อมูล ตลอดจนสอนให้ผูใช้รู้จักการใช้
เครื่องมือช่วยค้น การบรรยายเกี่ยวกับการใช้ห้องสมุด และการสอนแหล่งข้อมูลทางบรรณานุกรม
(The ALA Glossary of Library and Information Science 1983 : 237 อ้ า ง ใ น ป ร ะ ภ า ส
พาวินันท์, 2541 : 27)
70
การให้การศึกษาผู้ใช้เหมือนกับการเผยแพร่สารสนเทศ เป็นการให้ความรู้แก่ผู้ใช้
เกี่ยวกับห้องสมุด ทรัพยากรและบริการของห้องสมุด รวมทั้งการแนะนำผู้ใช้ให้รู้จักแหล่ง
สารสนเทศ (Whittakers 1993 : 52-53 อ้างถึงใน ประภาส พาวินันท์, 2541 : 27)
9.1 ประเภทของการสอน
การจำแนกประเภทของการสอนสามารถจำแนกได้หลายแบบ ขึ้นอยู่กับว่าจะ
ใช้เกณฑ์ใดในการจำแนก ดังนี้ (บุญชม ศรีสะอาด 2527 : 2-3)
9.1.1 การจำแนกโดยใช้จำนวนผู้เรียนและปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับ
ผู้เรียนเป็นเกณฑ์ แบ่งได้ดังนี้
(1) การสอนเป็นกลุ่มใหญ่ ลักษณะการสอนมีผู้เรียนจำนวนมาก
ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนเป็นแบบทางเดียว (One way) ผู้สอนมีบทบาทแต่เพียง
ผู้เดียว เช่น การสอนแบบบรรยาย
(2) การสอนเป็นกลุ่มเล็ก ลักษณะการสอนมุ่งให้ผู้เรียนทุกคนในกลุ่ม
เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนให้มากที่สุด ผู้สอนมีความใกล้ชิดกับผู้เรียนมากขึ้น เช่น
การสอนแบบอภิปราย การสอนโดยการแสดงบทบาทสมมุติ การสอนแบบคิว
(3) การสอนเป็นรายบุคคล ลักษณะการเรียนการสอนที่ผู้เรียนสามารถ
เลือกวิธีการเรียนที่เหมาะสมกับความสนใจของตนเอง เรียนไปตามความสามารถของ
ตนเอง และขณะเดียวกันผู้เรียนจะทราบความก้าวหน้าในการเรียนของตนเองอยู่เสมอ โดยหลัก
การสอนวิธีนี้ผู้เรียนแต่ละคนจะมีหลักสูตรของตนเองโดยเฉพาะ ซึ่งในหลักสูตรประกอบด้วย
วัตถุประสงค์ วิธีเรียน ตลอดจนการประเมินความก้าวหน้าเป็นของตนเองโดยเฉพาะ
9.1.2 การจำแนกโดยใช้ปริมาณของบทบาทผู้สอนกับบทบาทผู้เรียนเป็น
เกณฑ์แบ่งได้ ดังนี้
(1) การสอนที่ผู้สอนเป็นศูนย์กลาง เน้นบทบาทของผู้สอนเป็นหลัก
เช่น วิธีสอนแบบบรรยาย วิธีสอนแบบสาธิต การสอนโดยทั่วไปจะต้องมีบทบาทของผู้เรียนและ
ผู้สอน ในการสอนแบบบรรยาย ขณะที่ผู้สอนบรรยาย ผู้เรียนจะมีบทบาทฟัง คิด ตาม
ตีความหมาย จดจำเนื้อหาสาระ จดบันทึก กิจกรรมของผู้สอนจะก่อให้เกิดการเรียนรู้ถ้าผู้สอน
ไม่บรรยายหรือไม่สาธิตให้ดู ก็จะไม่เกิดการเรียนรู้ และบทบาทของผู้เรียนเป็นบทบาทแบบเฉื่อย
การสอนที่ผู้สอนเป็นศูนย์กลาง หรือการสอนโดยตรงนี้ สามารถใช้กับ
การถ่ายทอดเนื้อหาสั้น ๆ ได้ดี เช่น การให้ข้อมูลเบื้องต้นถ้าหากผู้สอนมีความสามารถในการ
บรรยายเป็นอย่างดี จะทำให้ผู้เรียนมีความตื่นเต้น สนใจ และกระตุ้นให้มีความอยากรู้อยากเห็น ผู้
เรียนไม่จำเป็นต้องมีทักษะการเรียนในระดับสูง เพราะผู้สอนทำหน้าที่ควบคุมการเรียนการสอนอยู่
แล้ว การสอนวิธีนี้อาจจะมีข้อเสียเกี่ยวกับการตอบสนองความต้องการของผู้เรียนแต่ละคน และไม่
71
อาจทราบผลการนำไปฝึกปฏิบัติ หรือการนำไปประยุกต์ใช้ เพราะเป็นการสื่อสารทางเดียว (Wilson
1995 : 1171-172 อ้างถึงใน ประภาส พาวินันท์, 2541 : 39)
(2) การสอนที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เน้นบทบาทของผู้เรียนเป็นหลัก เช่น
วิธีสอนแบบปฏิบัติ การสอนโดยวิธีการแสดงบทบาทสมมติ วิธีสอนแบบการเรียนเป็นคู่ วิธีสอน
เหล่านี้ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้จากการกระทำกิจกรรมของผู้เรียนเป็นหลัก
การสอนที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางหรือการสอนโดยอ้อม คือการเรียนของผู้เรียน
โดยตรง ผู้เรียนรู้จักการค้นหาข้อมูล วิเคราะห์ และในที่สุดจะก่อให้เกิดการเรียนรู้ ส่วนผู้สอน
ทำหน้าที่ส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมการเรียนรู้ และกระตุ้นให้เกิดความรับผิดชอบในการเรียน (Wilson
1995 : 1171-172 อ้างถึงใน ประภาส พาวินันท์, 2541 : 29)
(3) การสอนที่ผู้เรียนและผู้สอนมีกิจกรรมร่วมกัน โดยผู้เรียนและผู้สอน
มีบทบาทพอ ๆ กัน มีการปฏิบัติกิจกรรมร่วมกัน เช่น วิธีสอนแบบสัมมนา วิธีสอนแบบอภิปราย
เริ่มแรกผู้สอนจะต้องเสนอข้อมูลก่อน เช่น การสาธิต การยกตัวอย่าง ตามด้วยการปฏิบัติและ
ประยุกต์ใช้ห้องเรียน การตอบคำถาม การสอนลักษณะนี้ต้องการที่ให้ผู้เรียนเป็นผู้กระทำมากกว่า ผู้
สอนทำหน้าที่แนะนำเท่านั้น
(4) การสอนโดยใช้อุปกรณ์พิเศษ บทบาทของการสอนทั้งหมดหรือเกือบ
ทั้งหมดจะใช้อุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์ เช่น ภาพยนตร์ คอมพิวเตอร์ สไลด์ประกอบเสียง ผู้เรียน
จะเรียนจากสื่อดังกล่าวตามที่ผู้สร้างบทเรียนสำเร็จรูปไว้แล้ว
9.2 การสอนโดยการใช้โสตทัศนูปกรณ์
การสอนโดยใช้โสตทัศนูปกรณ์ (Audiovisual presentations) หมายถึง
การสอนโดยใช้อุปกรณ์ การสอนต่าง ๆ เช่น สไลด์ ภาพยนตร์ โทรทัศน์ หุ่นจำ ลอง
เทปบันทึกเสียง เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ เป็นต้น มาใช้ประกอบการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียน
เกิดประสิทธิภาพในการเรียนมากยิ่งขึ้น (บุญชม ศรีสะอาด, 2537 : 70-71) การเลือกใช้
โสตทัศนูปกรณ์ ในการสอนมีหลัก ดังนี้
(1) เลือกใช้ให้ตรงกับจุดประสงค์ในการสอน ไม่มีโสตทัศนูปกรณ์ชนิดใด
ที่สามารถใช้ได้อย่างดีที่สุดกับทุกจุดประสงค์ ดังนั้นจะต้องทราบข้อดีข้อเสียของสื่อแต่ละประเภท
เพื่อที่จะเลือกใช้ให้ตรงกับจุดประสงค์การเรียน
(2) ผู้สอนจะต้องมีความคุ้นเคยกับโสตทัศนูปกรณ์นั้น ๆ เป็นอย่างดีจึงจะทำ
ให้การใช้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด
(3) เลือกใช้ให้เหมาะสมกับระดับความสามารถและรูปแบบการเรียนของ
ผู้เรียน
9.3 รูปแบบการสอนทักษะทางสารสนเทศ
72
การสอนเรื่องห้องสมุดได้เปลี่ยนไปจากขอบเขตในห้องสมุดเป็นการให้ผู้เรียน
มีความรู้ในการจัดการสารสนเทศ เพราะการเพิ่มปริมาณของสารสนเทศอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการ
เปลี่ยนแปลงการจัดเก็บ การจัดระบบ การเข้าถึง และการใช้สารสนเทศ ซึ่งทำให้การสอน
มีความจำเป็นสำหรับทุกคนไม่ใช้เพียงแค่การใช้ห้องสมุดเท่านั้น แต่รวมถึงวิธีการเลือกและใช้
สารสนเทศทั่วๆ ไป ความรอบรู้เกี่ยวกับสารสนเทศเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับสังคมสารสนเทศ
(Wilson 1995 : 153 อ้างถึงใน ประภาส พาวินันท์, 2541 : 39)
การสอนทักษะสารสนเทศมีการกล่าวถึงกันอย่างแพร่หลายทั้งภายในและภายนอกสาขา
วิชาชีพบรรณารักษศาสตร์ มีคำศัพท์หลายคำที่เกี่ยวข้องกับการสอนเรื่องห้องสมุดและ
สารสนเทศ คือ การปฐมนิเทศห้องสมุด (Library orientation) การสอนเรื่องห้องสมุด (Library
instruction) การสอนการใช้ห้องสมุด (Teaching of library use) การสอนทักษะห้องสมุด (Teaching
of library skills) การสอนแหล่งข้อมูลทางบรรณานุกรม (Bibliographic instruction) การให้การ
ศึกษาเรื่องการจัดการสารสนเทศ (Information management education) การสอนทักษะทางสาร
สนเทศ (Teaching of information skills) (Wilson, 1995 : 154 อ้างถึงใน ประภาส พาวินันท์, 2541 :
39) ซึ่งสามารถจำแนกตามรูปแบบการสอน ดังนี้
9.3.1 การสอนแบบไม่เป็นทางการ
ถ้ามีการแบ่งระดับการสอนการใช้ห้องสมุด การให้ความรู้เกี่ยวกับ
ห้องสมุดเบื้องต้นหรือการปฐมนิเทศถือว่าเป็นการให้ความรู้ขั้นต้น (Rice, 1981 : 5 อ้างถึงใน
ประภาส พาวินันท์, 2541 : 39) การให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับห้องสมุดมักจะจัดโดยบุคลากรของ
ห้องสมุด ประกอบด้วยกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อแนะนำผู้ใช้ให้รู้จักบริการ ทรัพยากรสารสนเทศ สภาพ
อาคาร การจัดการวัสดุสารสนเทศ และเครื่องช่วยค้นของห้องสมุด จุดประสงค์ในการสอน
มี ดังนี้ (Wilson, 1995 : 154-155 อ้างถึงใน ประภาส พาวินันท์, 2541 : 39)
(1) แนะนำให้รู้จักโครงสร้างของอาคารห้องสมุด
(2) แนะนำแผนกหรือโต๊ะบริการ พร้อมทั้งบุคลากรของแต่ละแผนก
(3) แนะนำ บริการพิเศษหรือบริการเฉพาะ เช่น การสืบค้นข้อมูลจาก
คอมพิวเตอร์ กิจกรรมการเล่าเรื่อง หรือ บริการยืมคืนระหว่างห้องสมุด
(4) แนะนำนโยบายของห้องสมุด เช่น ตารางการยืมคืนหนังสือ เวลาปิดเปิด
ห้องสมุด
(5) ให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดทรัพยากรสารสนเทศ เพื่อช่วยให้ผู้ใช้ค้น
หาสารสนเทศได้อย่างรวดเร็ว
(6) กระตุ้นหรือส่งเสริมให้ใช้สารสนเทศมากขึ้น และให้ผู้ใช้หวนคืนมาใช้
บริการอีก
73
(7) สร้างบรรยายกาศที่พร้อมจะให้ความช่วยเหลือและสร้างความเป็นมิตรกับ
ผู้ใช้มากที่สุด
ห้องสมุดส่วนใหญ่จัดให้มีการสอนการใช้ห้องสมุดในรูปของการนำชมห้องสมุด ซึ่ง
การนำชมจะเป็นวิธีหลักในการให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับห้องสมุด นอกจากนี้ยังมีการสอนโดยวิธี
อื่น ๆ เช่น การบรรยายในวันปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ การใช้วิดีทัศน์ เอกสารประกอบการนำชม
การใช้แบบฝึกหัดการใช้หนังสือคู่มือ หรือใช้สื่อผสม (multimedia) ซึ่งช่วยให้การนำชมห้องสมุด
กลุ่มใหญ่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น (Rice, 1981 : 5 อ้างถึงใน ประภาส พาวินันท์, 2541 : 40)
9.3.2 การปฐมนิเทศเรื่องห้องสมุดในวันปฐมนิเทศนิสิตนักศึกษาใหม่
บรรณารักษ์จะไปบรรยายความรู้เกี่ยวกับนโยบาย บริการและกิจกรรมต่าง ๆ ของห้องสมุดระเบียบ
ข้อบังคับและมารยาทในการใช้ห้องสมุด และอาจมีการแจกคู่มือการใช้ห้องสมุดให้แก่ผู้ใช้ การนำ
เสนอได้มีการใช้โสตทัศนวัสดุ ประกอบการบรรยาย เช่น สไลด์ ภาพยนตร์ วีดีทัศน์ แผ่นใส เพื่อ
กระตุ้นให้ผู้ฟังเกิดความสนใจและเข้าใจเรื่องที่บรรยายมากยิ่งขึ้น การปฐมนิเทศจะทำให้
ผู้เรียน เห็นความสำคัญของห้องสมุดในฐานะเป็นแหล่งวิทยาการที่สำคัญของการศึกษาในสถาบัน
และเป็นการสร้างความเข้าใจอันดี ระหว่างผู้ใช้กับห้องสมุดอีกด้วย
การปฐมนิเทศโดยใช้การบรรยายอาจจะไม่ได้ผลดีนัก เพราะผู้ฟังกลุ่มใหญ่เกินไป และ
ไม่ให้ความสนใจในการฟังเนื่องจากไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ห้องสมุดในขณะนั้น ดังนั้น
การจัดปฐมนิเทศจะต้องจัดในช่วงระยะเวลาเหมาะสม ไม่นานเกินไป บรรณารักษ์ควรบรรยาย
เฉพาะสาระที่สำคัญจริง ๆ ส่วนในรายละเอียดไม่จำเป็นต้องกล่าวเพราะผู้ฟังจะจำไม่ได้ และก่อให้
เกิดความรำคาญ (ธาดาศักดิ์ วชิรปรีชาพงษ์, 2528 : 11-14)
9.3.3 การใช้โสตทัศนวัสดุ การปฐมนิเทศโดยการจัดฉายสไลด์ ภาพยนตร์
หรือ วีดีทัศน์ ให้ความรู้เกี่ยวกับห้องสมุด และวิธีการใช้ห้องสมุด เหมาะสำหรับการปฐมนิเทศห้อง
สมุดขนาดใหญ่ มีเนื้อที่มาก ไม่สะดวกต่อการนำ ชมห้องสมุด ข้อดีของวิธีการนี้คือ
เป็นการเรียกร้องความสนใจของผู้ชม และการนำเสนอสามารถย่อและขยายในส่วนที่ต้องการให้
ผู้ใช้เห็นชัดเจน การผลิตโสตทัศนวัสดุแต่ละประเภทจะต้องอาศัยผู้ที่มีความสามารถเฉพาะ
ในการผลิต การจัดซื้อสื่อที่มีจำหน่ายสำเร็จรูป อาจจะไม่เหมาะสมตรงกับลักษณะโดยทั่วไปของ
ห้องสมุด
9.3.4 การนำชมห้องสมุด เป็นการนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับห้องสมุดโดยให้
ผู้ใช้ได้มีโอกาสสัมผัสกับของจริง เนื้อหาบางส่วนไม่อาจที่จะใช้สื่อหรือสอนโดยการบรรยายหลัง
จากที่ได้ฟังการบรรยาย หรือการชมโสตทัศนวัสดุแต่ละประเภท จะช่วยกระตุ้นความสนใจของ
ผู้ใช้อยากที่จะเข้ามาใช้บริการมากยิ่งขึ้น
74
การนำชมห้องสมุดจะแบ่งผู้ใช้ออกเป็นกลุ่มเล็กๆ แต่ละกลุ่มจะมีบรรณารักษ์หรือ
เจ้าหน้าที่ห้องสมุดนำชมห้องสมุด อธิบายและตอบคำถามในแต่ละจุดที่ผู้ใช้ไม่เข้าใจ วิธีการที่จะไม่
ทำให้ผู้ใช้เกิดความเบื่อหน่าย โดยการเลือกนำชมห้องสมุดเฉพาะเรื่องที่ผู้ใช้ยังไม่เข้าใจ หรือจุดที่ผู้
ใช้จะต้องเข้าไปใช้บริการเพื่อให้เกิดความคุ้นเคยกับบริการและบุคลากร
9.3.5 การจัดห้องปฏิบัติการสอนทักษะทางสารสนเทศ การจัดการสอนการใช้
ห้องสมุดที่ผ่านมาจะเป็นหน้าที่ของงานบริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า การนำชมหรือ
การแนะนำสำหรับผู้ที่เข้ามาใช้ห้องสมุด แต่ปัจจุบันเกิดการเปลี่ยนแปลงในหลาย ๆ ด้าน
ทั้งลักษณะอาคารห้องสมุด วิธีการศึกษาการเพิ่มปริมาณของหนังสืออ้างอิง ถึงเวลาที่ห้องสมุดจะ
ต้องจัดให้มีสถานที่สำหรับสอนทักษะสารสนเทศโดยเฉพาะ ซึ่งอาจจะอยู่ภายในห้องสมุดหรือถ้า
ห้องสมุดไม่มีสถานที่พอ อาจจะใช้สถานที่ใกล้ ๆ ห้องสมุด ที่สามารถที่จะใช้สื่อและอุปกรณ์ของ
ห้องสมุดประกอบการสอนได้สะดวก ซึ่งมีลักษณะคล้าย ๆ กันเป็นห้องสมุดปฏิบัติการเรียน
การสอนการใช้ห้องสมุดและทักษะทางสารสนเทศ (Feinman, 1994 14-18 : อ้างถึงใน ประภาส
พาวินันท์, 2541 : 42)
9.4 การสอนการใช้ห้องสมุด (Library instruction)
การสอนเรื่องห้องสมุดมีการขยายเนื้อหาลึกซึ้งมากกว่าการปฐมนิเทศ คือ
การสอนการใช้ห้องสมุด ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับห้องสมุด กระบวนการ ทรัพยากรสารสนเทศ และ
นโยบาย โดยเน้นความสำ คัญของวัสดุห้องสมุด เครื่องมือ และเครื่องจักร ในห้องสมุด
วิธีการใช้ดัชนีวารสาร แหล่งสารสนเทศอ้างอิง บัตรรายการ และการค้นคืนสารสนเทศออนไลน์ วิธี
การสอนเรื่องห้องสมุดสามารถใช้วิธีการบรรยาย การอภิปราย ใช้แบบฝึกหัด ใช้คู่มือ หรือการใช้
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การสอนเรื่องห้องสมุดมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ (Rice, 1981 : 6 อ้างถึงใน
ประภาส พาวินันท์, 2541 : 42)
(1) ให้ผู้ใช้ได้เรียนรู้การใช้เครื่องมือช่วยค้นแต่ละรายการ
(2) สามารถค้นหาหนังสือและใช้บัตรรายการได้อย่างถูกวิธี
(3) สามารถใช้สื่อสมัยใหม่และเครื่องมือที่ช่วยในการอ่านสื่อดังกล่าว
(4) สามารถใช้สารสนเทศประเภทอ้างอิงแต่ละรายการได้เป็นอย่างดี
(5) สามารถใช้บริการห้องสมุดและแหล่งสารสนเทศอื่น ๆ ได้
สำ นักวิทยบริการ สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้กำ หนดเกี่ยวกับ
การสอน ไว้ดังนี้
75
1. ปัจจัยเกื้อหนุนด้านห้องสมุดและแหล่งค้นคว้า โดยได้จัดหาทรัพยากรสารสนเทศ
ทั้งวัสดุตีพิมพ์ วัสดุไม่ตีพิมพ์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์อย่างหลากหลาย พร้อมทั้งมีสถานที่และ
ครุภัณฑ์ไว้อย่างเพียงพอ
2. ปัจจัยเกื้อหนุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยมีบริการสืบค้นด้านสารสนเทศด้วย
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ต มีห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีสารสนเทศ จำนวน 2 ห้อง
คอมพิวเตอร์สำหรับสืบค้นดรรชนีวารสารและข้อมูลข่าวสารจาก News Center ไว้บริการตามจุด
ต่าง ๆ ทำเว็บไซต์ของสำนักวิทยบริการ
10. การสื่อสารและความร่วมมือ (Communication and Cooperation)
การสื่อสารและความร่วมมือ หมายถึง การติดต่อสื่อสารเพื่อส่งเสริมความเข้าใจ
อันถูกต้องต่อกัน เป็นการแถลงงาน ข่าว กิจการ ฯลฯ ของหน่วยงานให้แพร่หลายเพื่อสร้างความสนใจและความ
เข้าใจอันดีระหว่างหน่วยงานนั้นๆ กับผู้ที่เกี่ยวข้องทำให้เกิดความร่วมมือและประสานงานระหว่างบุคคลกับ
หน่วยงานกับกลุ่มประชาชนที่บุคคลหรือหน่วยงานนั้นเกี่ยวข้องหรือติดต่อด้วย (กุหลาบ ปั้นลายนาค, ม.ป.ป.)
สำนักวิทยบริการ สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้กำหนดเกี่ยวกับการสื่อสารและ
ความร่วมมือไว้ดังนี้
10.1 จัดทำเว็บไซต์ของสำนักวิทยบริการ (http://arcbs.bansomdej.ac.th/) โดยได้
บรรจุสาระสำ คัญของสำ นักวิทยบริการไว้อย่างสมบูรณ์ ทั้งที่ตั้ง ทรัพยากรสารสนเทศ
การบริการสารสนเทศ การจัดหมวดหมู่หนังสือ และการบริหาร
10.2 การประชาสัมพันธ์โดยเขียนบทความลงในวารสารประชาสัมพันธ์สุริยสาร
ของมหาวิทยาลัย และการจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์
11. การประเมินผลลัพธ์ (Outcomes Assessment)
การประเมินผลลัพธ์ หมายถึง กระบวนการหรือวิธีการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการทำงาน การ
ปฏิบัติงานในหน้าที่ของบุคลากรหรืองานที่ต้องการประเมิน โดยนำไปวิเคราะห์กับเกณฑ์หรือมาตรฐานที่เรา
ต้องการแล้วตัดสินว่าดีหรือไม่เพียงใด การประเมินผลงานควรมีวัตถุประสงค์ที่แน่นอน เพื่อนำผลลัพท์ที่ได้ไปใช้
ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด (กุหลาบ ปั้นลายนาค, ม.ป.ป.)
สำนักวิทยบริการ สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้กำหนดเกี่ยวกับการประเมิน
ผลลัพธ์ไว้โดยการทำประกันคุณภาพการศึกษาของสำนักวิทยบริการ มีการทำรายงานการประเมิน
ตนเอง มีการวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อนและแนวทางแก้ไข กับแนวทางเสริมไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
(สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 2547 : 6)
76
ตอนที่ 6 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
6.1 งานวิจัยในต่างประเทศ
ปาริชาติ เสารยะวิเศษ 2541 : 26 อ้างถึง Alzonfon and Pulis (1984) ศึกษาเกี่ยวกับรูป
แบบการสืบค้นและความสำเร็จจากการสืบค้นฐานข้อมูลรายการบรรณานุกรมแบบออนไลน์ ที่ห้อง
ส มุดมห าวิท ยาลัยของรัฐโอไฮโอ พ บ ว่าปั จจัยที่ ทํ าให้ ผู้ใช้ป ระส บ ความล้มเห ลว
ได้แก่ ข้อมูลช่วยค้นและประสบการณ์ในการค้น และงานวิจัยของ Hunter (1991) ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับ
ความสำ เร็จและความล้มเหลวในการสืบค้นรายการบรรณนุกรมแบบออนไลน์ โดยใช้
การวิเคราะห์จากบันทึกเกี่ยวกับการสืบค้นรายการบรรณานุกรมออนไลน์ ที่มหาวิทยาลัยของ
รัฐนอร์ธ แคโรไลนา พบว่าปัจจัยที่ทำให้ผู้ใช้ประสบความล้มเหลว ได้แก่ (1) ข้อมูลช่วยค้น
(รูปแบบการค้น) (2) ประสบการณ์ในการค้น เช่น ไม่เข้าใจวิธีการทำงานของระบบ และใช้ศัพท์ที่
ไม่ได้ควบคุม (3) ความบกพร่องของผู้ใช้ เช่น การพิมพ์ผิด เป็นต้น
พาร์รอตต์ (Parrott. 1982 : 2-32) ศึกษาเรื่อง การใช้บริการและการศึกษาความ
คิดเห็นของนักเรียนในการใช้ห้องสมุดซีโอเอส เมืองวิสเซลเลีย รัฐแคลิฟอร์เนีย เพื่อศึกษาความคิด
เห็นของนักเรียนที่ใช้และที่ไม่ใช้ห้องสมุด จากการศึกษาพบว่า นักเรียนเห็นความสำคัญของห้อง
สมุดว่ามีบทบาทในการเรียนการสอน และนักเรียนให้ความเห็นตรงกันว่าอาจารย์ให้ใช้
ห้องสมุดเพื่อการเรียนการสอนในระดับมาก
โอซีโอป (Osiobe. 1984 : 1562-A) ศึกษาการใช้ห้องสมุดของนักศึกษาแพทย์
ในประเทศไนจีเรีย เพื่อต้องการทราบวิธีการใช้ห้องสมุด และประเภทของวัสดุทาง
การศึกษาที่นำมาใช้ในการเรียนการค้นคว้าวิจัย พบว่า นักศึกษาใช้บรรณานุกรมทางการแพทย์ และ
บัตรรายการของห้องสมุดเพื่อค้นหาสิ่งที่ต้องการจากห้องสมุดน้อย ส่วนวัสดุทางการศึกษา
ที่ใช้มาก คือ สารสนเทศวิทยาศาสตร์การแพทย์ หนังสือเฉพาะเรื่อง และหนังสือตำรา
6.2 งานวิจัยในประเทศไทย
รณิดา ศิริไพบูลย์. (2541 บทคัดย่อ). ทำการวิจัยเรื่อง “บทบาทของผู้บริหารใน
การดำเนินงานห้องสมุดโรงพยาบาลทั่วไป สังกัดกองโรงพยาบาลภูมิภาค กระทรวงสาธารณสุข”
ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริหาร และบรรณารักษ์ส่วนใหญ่ เห็นว่า ห้องสมุดควรได้รับการปรับปรุงให้
ก้าวหน้า และทันสมัย กว่าที่เป็นอยู่ เมื่อพิจารณาบทบาทที่ปฏิบัติจริง ผู้บริหารและ บรรณารักษ์
เห็นว่า ผู้บริหารมีบทบาทในการดำเนินงานห้องสมุด ด้านงานบริหาร งานเทคนิค และงานบริการ
77
ในระดับปานกลาง สำหรับบทบาทที่ควรปฏิบัติ ผู้บริหารและบรรณารักษ์ เห็นว่า ผู้บริหารควรมี
บทบาทในการดำเนินงานห้องสมุด ด้านงานบริหาร งานเทคนิค และงานบริการในระดับมาก
เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและบรรณารักษ์เกี่ยวกับบทบาทปฏิบัติจริง พบว่า
ด้านงานบริหาร และงานเทคนิคแตกต่างกัน ส่วนด้าน งานบริการไม่แตกต่างกัน ส่วนความคิดเห็น
ของผู้บริหารและ บรรณารักษ์ เกี่ยวกับบทบาทที่ควรปฏิบัติทุกด้านแตกต่างกัน
นาถร์ มีดี. (2540 : บทคัดย่อ). ทำ การวิจัยเรื่อง “การใช้ทรัพยากรร่วมกันใน
การดำเนินงานห้องสมุดกองทัพบก” ผลการวิจัยพบว่า ทรัพยากรห้องสมุดและการใช้บริการของ
ห้องสมุดกองทัพบก 21 แห่ง มีความคล้ายคลึงกัน คือ ทรัพยากรห้องสมุดมีปริมาณน้อยและค่อน
ข้างจำกัด บริการส่วนใหญ่เป็นการยืม/คืน ทรัพยากรห้องสมุดที่มีผู้นิยมมากที่สุดคือหมวดเบ็ดเตล็ด
ผลการสำรวจแสดงให้เห็นว่ามีความต้องการทรัพยากรห้องสมุดทางด้านวิชาการทหาร ค่อนข้างสูง
เพราะมีหลักสูตรการทหารหลายหลักสูตรที่เปิดสอนภายในโดยกองทัพบก ส่วนปัญหาทั่วไปที่ผู้ใช้
ประสบในการใช้ห้องสมุดคือ ข้อจำกัดในการขอยืมทรัพยากร ของห้องสมุดต่างหน่วย ปัญหาทั่วไป
ที่ห้องสมุดทุกแห่งประสบคือ การขาดบุคลากรวิชาชีพ บรรณารักษ์และ/หรือนักสารนิเทศ
ทรัพยากรของห้องสมุดไม่เพียงพอหรือล้าสมัย การให้บริการของห้องสมุดยังไม่ครบตามมาตรฐาน
บริการของห้องสมุดสมัยใหม่ การพิสูจน์ สมมติฐานพบว่าไม่เป็นไปตามที่คาดไว้ กล่าวคือ ความ
ต้องการของผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการในการใช้ทรัพยากรร่วมกันระหว่างห้องสมุดไม่แตกต่างกัน
ตามหน่วยงานที่ห้องสมุดสังกัด ความแตกต่างอยู่ที่ผู้ใช้ต้องการใช้บริการทรัพยากรร่วมกันในระดับ
ปานกลาง แต่ผู้ให้บริการมีความต้องการให้บริการทรัพยากรร่วมกันในระดับค่อนข้างต่ำ
ปิยะวรรณ ประทุมรัตน์. (2543). ศึกษาสภาพ ปัญหา และความต้องการใน
การดำเนินงานห้องสมุดสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า มีสภาพใน
การดำเนินงานโดยรวมที่ระดับปานกลาง มีการดำเนินงานเป็นรายด้านอยู่ที่ระดับมาก 1 ด้าน คือ
ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ มีปัญหาในระดับปานกลางทุกด้าน ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุดมีความ
ต้องการในเรื่อง การเพิ่มงบประมาณให้เพียงพอต่อการดำเนินงาน เพิ่มอัตรากำลังของบุคลากร
จัดซื้ออุปกรณ์ทันสมัยมาดำเนินงาน จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้ในระบบยืม-คืนหนังสือ และจัด
หาเครื่องมือช่วยค้นที่เป็นเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ดำเนินการ
กรรณิการ์ ภูผาธรรม (2541) ศึกษาสภาพและความต้องการของผู้ใช้บริการ
สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม พบว่า ผู้ใช้บริการมีความต้องการใช้วัสดุตีพิมพ์และ
วัสดุไม่ตีพิมพ์ประเภทต่าง ๆ ได้แก่ หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ และวิทยานิพนธ์ รวมทั้งมีความ
ต้องการเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการสืบค้นข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้น
78
สุรักษ์ สุทธิประภา. (2542 : บทคัดย่อ). ได้ทำการวิจัยเรื่อง “การศึกษาความสัมพันธ์
ระหว่างคุณลักษณะกับการปฏิบัติงานด้านการวางแผนการศึกษาและงบประมาณของวิทยาลัยการ
อ า ชี พ ใ น ภ า ค ต ะ วั น อ อ ก เฉี ย ง เห นื อ ” ผ ล ก า ร วิ จั ย พ บ ว่ า 1) ผู้ ป ฏิ บั ติ ง า น
ด้านการวางแผนการศึกษาและงบประมาณของวิทยาลัยการอาชีพในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
มีคุณลักษณะของนักวางแผนทั้ง 5 ด้าน คือ ด้านความรู้ ด้านการเป็นผู้นำ ด้านการปฏิบัติงาน ด้าน
จิตใจ ด้านสังคมและมนุษยสัมพันธ์ อยู่ในระดับ มาก 2) ด้านการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ใน 3 ขั้น
ตอน คือ การจัดทำแผน การดำเนินงานตามแผน และการติดตามและประเมินผล อยู่ในระดับปาน
กลาง 3) ด้าน ความสัมพั น ธ์ระห ว่างคุณ ลักษณ ะของนั กวางแผน กับการปฏิบัติงาน
พบว่า มีความสัมพันธ์กันในระดับสูงมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงว่า
คุณลักษณะของนักวางแผนย่อมส่งผลต่อการปฏิบัติงานในทุกขั้นตอน ซึ่งสามารถเรียงลำดับความ
สัมพันธ์จากสูงไปหาต่ำได้ดังนี้ (1) คุณลักษณะด้านการปฏิบัติงาน (2) ด้านสังคมและมนุษย
สัมพันธ์มีความสัมพันธ์ (3) ด้านจิตใจ (4) ด้านความเป็นผู้นำและ (5) ด้านความรู้มีความสัมพันธ์กับ
การปฏิบัติงานวางแผนการศึกษาและงบประมาณ ตามลำดับ
ศลีลา ปิ่นเพชร. (2541 : บทคัดย่อ). ได้ทำ การวิจัยเรื่อง “การเปิดรับข่าวสาร
ด้านการบริการ ลักษณะการสื่อสารด้านการบริการ และความพึงพอใจในการบริการของศูนย์บริการ
รถยนต์” ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้ใช้บริการที่มีลักษณะทางประชากรแตกต่างกัน มีการเปิดรับข่าวสาร
ด้านการบริการของศูนย์บริการรถยนต์แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้น ปัจจัยทางด้าน
เพศ ที่ไม่มีผลต่อการเปิดรับข่าวสารด้านการบริการ 2. การเปิดรับข่าวสารด้านการบริการของผู้ใช้
บริการมีความสัมพันธ์ในเชิงบวก กับความพึงพอใจในการบริการของศูนย์บริการรถยนต์ อย่างมีนัย
สํ าคั ญ ท างส ถิ ติ 3. ก าร เปิ ด รั บ ข่ าว ส าร ด้ าน ก าร บ ริ ก าร ข อ งผู้ ใช้ บ ริ ก าร ใน บ าง
ช่องทางเท่านั้น ที่มีความสัมพันธ์ในเชิงลบ กับการใช้บริการของศูนย์บริการรถยนต์ อย่างมีนัย
สำ คัญทางสถิติ ได้แก่ข่าวสารประชาสัมพันธ์ด้านการบริการ และวารสารประจำเดือน
4. ความพึงพอใจในลักษณะการสื่อสารด้านการบริการ มีความสัมพันธ์ใน เชิงบวกกับความ
พึงพอใจในการบริการของศูนย์บริการรถยนต์
ดวงดาว จารุสุวรรณภูมิ์. (2541 : บทคัดย่อ). ได้ทำ การวิจัยเรื่อง “การศึกษา
หาความพึงพอใจในด้านการบริการหลังการขายของผลิตภัณฑ์สีผง บริษัท ทีโอเอ (ประเทศไทย)
จำกัด ตามทัศนคติของลูกค้า” ผลการวิจัยพบว่า ระดับความพึงพอใจมาก อันดับที่ 1 เป็นความพึง
พอใจ ของลูกค้าที่มีต่อบุคลากรที่ให้การบริการหลังการขายอยู่ในระดับ ความพึงพอใจมากซึ่งลูกค้า
ส่วนใหญ่ให้ความพึงพอใจกับเรื่องของการแต่งกายและมนุษย์สัมพันธ์ของบุคลากรเป็นอันดับแรก
ส่วนเรื่องวิธีการ อธิบายและสื่อความของบุคลากรเป็นเรื่องที่ลูกค้าให้ความพึงพอใจเป็นอันดับสุด
ท้าย อันดับที่ 2 เป็นความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อ การปฏิบัติงานของการให้บริการหลังการขายอยู่
79
ในระดับความพึงพอใจมาก โดยลูกค้าส่วนใหญ่ให้ความพึงพอใจกับเรื่องการช่วยเหลือ ประสาน
งาน และแก้ไขปัญหาให้กับลูกค้าเป็นอันดับแรกและให้ความพึงพอใจกับความถี่ ในการให้บริการ
อั น ดั บ สุ ด ท้ า ย อั น ดั บ ที่ 3 เป็ น ค ว า ม พึ ง พ อ ใ จ ข อ ง ลู ก ค้ า ที่ มี ต่ อ ก า ร
ตอบสนองและความรวดเร็วในการให้บริการหลังการขายอยู่ใน ระดับความพึงพอใจปานกลางซึ่ง
ลูกค้าส่วนใหญ่ให้ความพึงพอใจกับเรื่อง ความรวดเร็วในการจัดการแลกเปลี่ยนสินค้าเป็นอันดับสุด
ท้าย อันดับที่ 4 เป็นความพึงพอใจในการบริการทั่วไปอยู่ในระดับความพึงพอใจ ปานกลาง โดยลูก
ค้าส่วนใหญ่ให้ความพึงพอใจกับเรื่องการให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า เป็นอันดับแรกและให้
ความพึงพอใจกับการให้บริการในการอบรมให้ความรู้ เกี่ยวกับสี และวิธีการใช้งานเป็นอันดับ
สุดท้าย ดังนั้นในการบริการหลัง การขายสิ่งที่จะทำให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจได้นั้น จะต้อง
ประกอบด้วย การให้บริการที่มีคุณภาพมีความสะดวกและสามารถตอบสนองความต้องการ ของลูก
ค้าอย่างรวดเร็วโดยบุคลากรจะมีส่วนสำคัญที่สุดสำหรับการให้บริการ ดังนั้นจะต้องมีการฝึก
อบรมพัฒนาและจูงใจบุคลากรอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
ราม ป้อมทอง. (2541 : บทคัดย่อ). ได้ทำการวิจัยเรื่อง “กระบวนการตัดสินใจเลือก
ระบบห้องสมุดอัตโนมัติของผู้บริหารห้องสมุด” ผลการวิจัยพบว่า สาเหตุของการนำเทคโนโลยีสาร
นิเทศ มาใช้ในห้องสมุดโดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดหาระบบห้องสมุดอัตโนมัติ คือ เพื่อเพิ่มประสิทธิ
ภาพการให้บริการสารนิเทศ แก่ผู้ใช้ ปัจจัยขององค์กรที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้บริหาร ห้องสมุด
ไ ด้ แ ก่ งบ ป ร ะ ม าณ แ ผ น งาน ข อ งห้ อ งส มุ ด แ ล ะ ก าร ส นั บ ส นุ น จ าก ห น่ ว ย งาน
ภายนอก เกณฑ์พิจารณาในการเลือก ระบบห้องสมุดอัตโนมัติที่ผู้บริหารห้องสมุดให้ความสำคัญใน
ระดับมากที่สุด คือ คุณสมบัติของซอฟต์แวร์ สำหรับกิจกรรม ที่ผู้บริหารห้องสมุดส่วนมากทำเป็น
กิจกรรมที่ 1 คือ การวางแผน กำหนดความต้องการและขอบเขตของโครงการ ผู้บริหาร
ห้องสมุดมีความเห็นว่า ผลการดำเนินงานบริการ เป็นผลที่ได้รับในระดับมากที่สุดจากการ
ตัดสินใจเลือกระบบ ห้องสมุดอัตโนมัติ กระบวนการตัดสินใจเลือกระบบห้องสมุดอัตโนมัติของ
ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัย พบว่าอยู่ในระดับมากในทุกด้าน เมื่อทดสอบค่าสัมประสิทธิ์
ความแปรผัน พบว่า การกระจาย ของข้อมูลน้อย และเมื่อทดสอบค่าไคสแควร์ พบว่า
ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ .05 สอดคล้องกับสมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้ คือ กระบวนการ
ตัดสินใจเลือกระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ของผู้บริหารห้องสมุดอุดมศึกษาไม่มีความแตกต่างกัน
จันทร์เพ็ญ กล่อมใจขาว. (2541 : บทคัดย่อ). ได้ทำการวิจัยเรื่อง “ผลกระทบของระบบ
ห้องสมุดอัตโนมัติต่อการทำ งานของบรรณารักษ์ห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค”
ผลการวิจัยพบว่า บรรณารักษ์ห้องสมุดมหาวิทยาลัย ส่วนภูมิภาคเห็นว่าการทำงานในระบบ
ห้องสมุดอัตโนมัติ ทำให้ บรรณารักษ์จำเป็นต้องมีประสบการณ์ในการทำงานด้านระบบ ห้องสมุด
อัตโนมัติ และระบบงานคอมพิวเตอร์ในระดับมาก นอกจากนั้นบรรณารักษ์ยังจำเป็นต้องมีความรู้
80
ภาษาต่างประเทศ ในระดับมากที่สุด และความรู้เบื้องต้นทางด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี
สารนิเทศในระดับมาก รวมทั้งจำเป็นต้องเปลี่ยนบทบาทในการให้บริการ โดยเฉพาะบทบาท
ในการช่วยให้ผู้ใช้ เข้าถึงสารนิเทศได้อย่างรวดเร็ว และบทบาทในการติดตามความก้าวหน้า
ของวิทยาการและเทคโนโลยีต่าง ๆ นอกจากนี้ จากการวิจัยพบว่าบรรณารักษ์ห้องสมุดมหาวิทยาลัย
ส่วนภูมิภาคมีความพึงพอใจในการทำงานในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ในระดับมาก ในด้านความ
สำเร็จในการทำงาน ความมั่นคงในการทำงาน ความก้าวหน้าทางวิชาชีพ การได้รับการยอมรับ นับ
ถือ ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน และการบริหาร
ฉัตรวรุณ เหมฤดี. (2542 : บทคัดย่อ). ได้ทำการวิจัยเรื่อง “การประเมินระบบห้องสมุด
อัตโนมัติอินโนแพคในเครือข่ายห้องสมุดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” ผลการวิจัยพบว่า
ผู้ปฏิบัติงานมีความเชื่อมั่นว่าระบบงานหลัก 10 ระบบในห้องสมุดอัตโนมัติ อินโนแพคที่ใช้ในเครือ
ข่ายห้องสมุดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สามารถทำงานได้ตามทัศนะมากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ เมื่อ
เทียบกับความสามารถของระบบ ยกเว้นระบบสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 79.96
เปอร์เซ็นต์
จากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการดำ เนินงานและการเข้าถึงทรัพยากร
สารสนเทศของห้องสมุด จึงสรุปได้ว่า การดำเนินงานห้องสมุดของหน่วยงานที่มิใช่สถานศึกษาจะ
มีทรัพยากรสารสนเทศน้อยกว่าห้องสมุดของสถานศึกษา ผู้บริหารของหน่วยงานมีบทบาท
ต่อการดำเนินงานของห้องสมุดไม่มากนัก ผู้ปฏิบัติงานวิชาชีพทางบรรณารักษ์ไม่เพียงพอ
ส่วนผู้ใช้บริการจะใช้บริการทรัพยากรสารสนเทศทางด้านใดมากน้อยอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับว่า
ห้องสมุดนั้นเป็นห้องสมุดของหน่วยงานที่ผู้ใช้บริการประกอบวิชาชีพทางวิชาการด้านใด หรือมี
หลักสูตรการเรียนการสอนทางวิชาการด้านใดมากก็จะใช้ทรัพยากรสารสนเทศทางด้านนั้นมาก
ทั้งผู้บริการและผู้ใช้บริการต่างก็ต้องการให้มีทรัพยากรสารสนเทศอย่างหลากหลาย และนำ
เทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ ให้ผู้ใช้บริการได้เข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศได้ตรงตามความต้องการ
โดยสะดวก รวดเร็ว เพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน การใช้บริการได้ดีขึ้น ผู้บริหารห้องสมุด
มีความสนใจที่จะบริหารระบบห้องสมุดอัตโนมัติ แต่การตัดสินใจใช้ระบบนี้มีปัญหาที่มีผลต่อการ
ตัดสินใจ คือ งบประมาณ การจัดทำแผนงาน การให้ความสนับสนุนของหน่วยงาน ตลอดทั้ง
ผลกระทบต่อการทำงานของบรรณารักษ์ ซึ่งจะต้องมีความรู้และมีประสบการณ์ด้านระบบ
ห้องสมุดอัตโนมัติ ระบบงานคอมพิวเตอร์ ภาษาต่างประเทศและต้องเปลี่ยนบทบาทการให้บริการ
ให้ผู้ใช้เข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศได้อย่างรวดเร็ว และต้องมีบทบาทการติดตามความก้าวหน้าของ
วิทยาการและเทคโนโลยีต่าง ๆ ด้วย

บทที่ 3
วิธีดำเนินการวิจัย
การวิจัยเรื่อง “การศึกษาประสิทธิภาพการดำเนินงานของสำนักวิทยบริการ สถาบัน
ราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา “ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
1. ประชากรที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 4 กลุ่มคือ อาจารย์บรรณารักษ์และ
เจ้าหน้าที่ห้องสมุด นักศึกษาภาคปกติ นักศึกษาภาค กศ.บป. และนักศึกษาปริญญาโท สถาบัน
ราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ตารางที่ 4 แสดงจำนวนประชากรที่ใช้ในการวิจัยที่เป็น อาจารย์บรรณารักษ์และ
เจ้าหน้าที่ห้องสมุด นักศึกษาภาคปกติ นักศึกษาภาค กศ.บป. และนักศึกษาปริญญาโท สถาบัน
ราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ประชากร จำนวน
อาจารย์บรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่
ห้องสมุด 24
นักศึกษาภาคปกติ 5,958
นักศึกษาภาค กศ.บป. 8,967
นักศึกษาปริญญาโท 338
รวม 15,287
ที่มา : ฝ่ายประมวลผล สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพรยา 2546
2. กลุ่มตัวอย่างได้แก่
2.1 อาจารย์บรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ห้องสมุด เป็นทั้งกลุ่มประชากรและกลุ่ม
ตัวอย่าง จำนวน 24 คน
2.2 นักศึกษาภาคปกติ นักศึกษาภาค กศ.บป. และนักศึกษาปริญญาโท สถาบัน
ราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 385 คน ในปีการศึกษา 2546 โดยวิธี
การสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) มีขั้นตอนดังนี้
คำนวณขนาดของกลุ่มตัวอย่างจากประชากร โดยใช้สูตร ยามาเน จากจำนวน
ประชากร 15,287 คน เมื่อกำหนดความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้เท่ากับ 0.05 ได้ขนาดตัวอย่าง
409 คน จากสูตรของ Talo Yamane ดังสูตร
79
n = N เมื่อระดับความมีนัยสำคัญที่ 0.05
1 + Ne2
เมื่อ n = ขนาดของตัวอย่าง
N = ขนาดของประชากร
e = ความคลาดเคลื่อนเท่าที่จะยอมรับได้
ตารางที่ 5 แสดงประชากรและกลุ่มตัวอย่างของอาจารย์บรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่
ห้องสมุด นักศึกษาภาคปกติ นักศึกษาภาค กศ.บป. และนักศึกษาปริญญาโท สถาบันราชภัฏ
บ้านสมเด็จเจ้าพระยา จำแนกตามรายการ
รายการ ประชากร กลุ่มตัวอย่าง
อาจารย์บรรณารักษ์และ
เจ้าหน้าที่ห้องสมุด 24 24
นักศึกษาภาคปกติ 5,958 150
นักศึกษาภาค กศ.บป. 8,967 226
นักศึกษาปริญญาโท 338 9
รวม 15,287 409
2. การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือแบบสอบถามเกี่ยวกับ การศึกษาประสิทธิภาพ
การดำเนินงานของสำนักวิทยบริการ สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้น
โดยมีรายละเอียดเป็นขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1. ศึกษาข้อมูลจากหนังสือ วารสาร บทความ รายงานการวิจัยวิทยานิพนธ์และ
สิ่งพิมพ์อื่น ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับ การศึกษาประสิทธิภาพ
การดำเนินงานของสำนักวิทยบริการ สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สร้างแบบสอบถาม
จากแนวทางที่ได้ศึกษามา 2 ชุด เพื่อสอบถามประชากรที่เป็น อาจารย์บรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่
ห้องสมุด นักศึกษาภาคปกติ นักศึกษาภาค กศ.บป. และนักศึกษาปริญญาโท สถาบันราชภัฏ
บ้านสมเด็จเจ้าพระยา โดยจัดแบบสอบถามเป็น 2 ชุด ดังนี้
ชุดที่ 1 เป็นแบบสอบถามประชากร กลุ่มของอาจารย์บรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่
ห้องสมุด ที่ทำงานอยู่ในสำนักวิทยบริการ เกี่ยวกับประสิทธิภาพการดำเนินงานของสำนักวิทย
บริการ ตามมาตรฐานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของสหรัฐอเมริกา 11 ด้าน คือ
(1) ด้านการบริหาร
(2) ด้านการวางแผน
(3) ด้านงบประมาณ
80
(4) ด้านบุคลากร
(5) ด้านทรัพยากร
(6) ด้านการบริการ
(7) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก
(8) ด้านการเข้าถึง
(9) ด้านการสอน
(10) ด้านการสื่อสารและความร่วมมือ และ
(11) ด้านการประเมินผลลัพธ์
ชุดที่ 2 เป็นแบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างของนักศึกษา สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จ
เจ้าพระยา ซึ่งมีนักศึกษาปริญญาโท นักศึกษาปริญญาตรีภาคปกติ และนักศึกษาปริญญาตรีภาค
กศ.บป. เกี่ยวกับประสิทธิภาพการดำเนินงานของสำนักวิทยบริการ ตามมาตรฐานห้องสมุด
สถาบันอุดมศึกษาของสหรัฐอเมริกา 6 ด้าน คือ
(1) ด้านทรัพยากร
(2) ด้านการบริการ
(3) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก
(4) ด้านการเข้าถึง
(5) ด้านการสอน
(6) ด้านการสื่อสารและความร่วมมือ
ลักษณะเนื้อหาของแบบสอบถามที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล แบ่งเนื้อหาออกเป็น 2
ตอน คือ
ตอนที่ 1 เป็นคำถามเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม ชุดที่ 1
ถามอาจารย์บรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ห้องสมุด ประกอบด้วยคำถาม 3 ข้อ คือ เพศ
ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน และชุดที่ 2 ถามนักศึกษา ประกอบด้วยคำถาม 3 ข้อ
คือ เพศ ระยะเวลาในการเรียน ประเภทของนักศึกษา
ตอนที่ 2 เป็นคำถามเกี่ยวกับประสิทธิภาพการดำเนินงานของสำนักวิทยบริการ
แต่ละองค์ประกอบตามมาตรฐานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของสหรัฐอเมริกา โดยแบบสอบถาม
ชุดที่ 1 ถามข้อมูลด้านที่เกี่ยวกับอาจารย์บรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ห้องสมุด ซึ่งปฏิบัติงานโดยตรง
ทงั้ 11 ด้าน ส่วนคำถามชุดท ี่ 2 ถามข้อมูลเฉพาะด้านที่เกี่ยวกับนักศึกษาได้สัมผัสโดบตรง 6 ด้าน
ผู้วิจัยได้กำหนดเกณฑ์ในการให้ระดับของประสิทธิภาพแต่ละรายการในแบบสอบถาม
แบ่งออกเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับตามแบบลิเคอร์ท โดยแบ่งเป็นระดับแต่ละข้อ คือ
81
มีประสิทธิภาพมากที่สุด ให้ระดับ 5
มีประสิทธิภาพมาก ให้ระดับ 4
มีประสิทธิภาพปานกลาง ให้ระดับ 3
มีประสิทธิภาพน้อย ให้ระดับ 2
มีประสิทธิภาพน้อยที่สุด ให้ระดับ 1
ขั้นที่ 2 นำแบบสอบถามที่สร้างขึ้นเสนอผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน เพื่อตรวจสอบความถูก
ต้องของเนื้อหา ความชัดเจนของแบบสอบถาม ความเหมาะสมของการใช้ถ้อยคำ และคำถามที่
ครอบคลุมเนื้อหาที่ต้องการ เพื่อวิเคราะห์ความเที่ยงตรงของแบบสอบถาม
ขั้นที่ 3 ปรับปรุงแก้ไขแบบสอบถามตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ
ขั้นที่ 4 นำแบบสอบถามไปทดลองใช้กับนักศึกษาสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จ
เจ้าพระยา ซึ่งไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ จำนวน 30 คน
ขั้นที่ 5 หาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามที่ได้รับกลับคืนมา โดยวิธีสัมประสิทธิ์
แบบแอลฟา โคเอฟฟิเชี่ยน (Alpha-Coeffcient) ของครอนบาค (Cronbach) โดยใช้โปรแกรม
SPSS
ขั้นที่ 6 ปรับปรุงแก้ไขแบบสอบถามจนได้แบบสอบถามที่มีประสิทธิภาพ แล้วใช้เก็บ
ข้อมูลต่อไป
3. การเก็บรวบรวมข้อมูล
1. ผู้วิจัยส่งแบบสอบถามให้ อาจารย์บรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ห้องสมุด และ
นักศึกษาสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา โดยผู้วิจัยส่งและรับแบบสอบถามกลับคืน
ด้วยตนเอง
2. ตรวจสอบความสมบูรณ์ของแบบสอบถามที่ได้รับคืน ซึ่งแบบสอบถามที่ส่งไป
ทั้งหมดจำนวน 409 ฉบับ ได้รับคืน จำนวน 409 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100 ในการรวบรวม
ข้อมูล และได้นำมาตรวจสอบความถูกต้องและความสมบูรณ์ของแบบสอบถามทั้งหมด
4. การวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้แบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ
1. ข้อมูลเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม วิเคราะห์โดยใช้วิธีแจกแจง
ความถี่ (Frequency) และหาค่าร้อยละ (Percentage) จากนั้นนำเสนอในรูปตารางประกอบ
คำอธิบาย
2. ข้อมูลเกี่ยวกับความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของสำนักวิทยบริการ
สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีหาค่าเฉลี่ย (Mean)
และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) เป็นรายข้อและสรุปรวมในแต่ละด้าน
82
11 ด้าน คือ ด้านการบริหาร ด้านการวางแผน ด้านงบประมาณ ด้านบุคลากร ด้านทรัพยากร
ด้านการบริการ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านการเข้าถึง ด้านการสอน ด้านการสื่อสารและ
ความร่วมมือ และ ด้านการประเมินผลลัพธ์ จากนั้นนำเสนอในรูปตารางประกอบคำอธิบาย
โดยการวิเคราะห์ตามเกณฑ์ของ ประคอง กรรณสูต (2540) ดังนี้
4.50 - 5.00 หมายถึง มีประสิทธิภาพมากที่สุด
3.50 – 4.49 หมายถึง มีประสิทธิภาพมาก
2.50 – 3.49 หมายถึง มีประสิทธิภาพปานกลาง
1.50 – 2.49 หมายถึง มีประสิทธิภาพน้อย
1.00 – 1.49 หมายถึง มีประสิทธิภาพน้อยที่สุด
5. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
1. ค่าร้อยละ
ค่าร้อยละ = จำนวนของผู้ตอบแบบสอบถาม X 100
จำนวนประชากรทั้งหมด
2. ค่าเฉลี่ย X = θx
X = ค่าเฉลี่ย
θx = ผลรวมของคะแนนทั้งหมด
N = จำนวนผู้ตอบแบบสอบถาม
(พวงรัตน์ ทวีรัตน์, 2543 : 137)
3. ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน SD = Nθx2 – (θx)2
N(N-1)
SD = ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน
θx = ผลรวมของคะแนนทั้งหมด
θx2 = ผลรวมของคะแนนยกกำลัง
N = จำนวนประชากร
(พวงรัตน์ ทวีรัตน์, 2543 : 143)
บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
เพื่อให้การดำเนินการวิจัยครั้งนี้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยเรื่อง การศึกษา
ประสิทธิภาพการดำเนินงานของสำนักวิทยบริการ สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ผู้วิจัยนำข้อมูลที่ได้รับ
กลับมาทำการวิเคราะห์และเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล โดยแบ่งเป็น 2 ชุด ๆ ละ 2 ตอน ดังนี้
ตอนที่ 1 วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม แจกแจงความถี่
และร้อยละ โดยนำเสนอเป็นตารางประกอบความเรียง
ตอนที่ 2 วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการศกึ ษาประสทิ ธภิ าพการดาํ เนนิ งานของสาํ นกั วทิ ยบรกิ าร
สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ตามมาตรฐานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของสหรัฐอเมริกา 11
ด้าน ได้แก่ ด้านการบริหาร ด้านการวางแผน ด้านงบประมาณ ด้านบุคลากร ด้านทรัพยากร
ด้านการบริการ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านการเข้าถึง ด้านการสอน ด้านการสื่อสารและความ
ร่วมมือ และ การประเมินผลลัพธ์ โดยแจกแจงความถี่และร้อยละ และนำเสนอเป็นตาราง
ประกอบความเรียง
84
ผลการศึกษาข้อมูล
ตอนที่ 1 การวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม
วิเคราะห์โดยแยกตามกลุ่มประชากร และกลุ่มตัวอย่าง อาจารย์บรรณารักษ์และ
เจ้าหน้าที่ห้องสมุด และ นักศึกษาปริญญาโท นักศึกษาภาคปกติ นักศึกษาภาค กศ.บป.
ตามตัวแปรที่ต้องการศึกษาโดยแจกแจงความถี่ และร้อยละ ดังตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 6 สถานภาพและร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นอาจารย์บรรณารักษ์และ
เจ้าหน้าที่ห้องสมุด จำแนกตาม เพศ ระดับการศึกษาสูงสุด ประสบการณ์
ในการทำงานวิชาชีพบรรณารักษ์
รายการ จำนวน ร้อยละ
ชาย 4 16.70
เพศ
หญิง 20 83.30
รวม 24 100.0
ปริญญาตรี 15 62.50
ประกาศนียบัตรบัณฑิต - -
ปริญญาโท 6 25.00
ปริญญาเอก 1 4.20
ระดับการศึกษาสูงสุด
อื่น ๆ 2 8.30
รวม 24 100.0
5 ปี 6 25.00
6 – 10 ปี 3 12.50
11 – 15 ปี 5 20.80
16 –20 ปี 6 25.00
ประสบการณ์ในการทำงานวิชาชีพ
บรรณารักษ์
21 ปีขึ้นไป 4 16.70
รวม 24 100.0
จากตารางที่ 6 พบว่า อาจารย์บรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ห้องสมุด ส่วนใหญ่เป็นเพศ
หญิงร้อยละ 83.30 ระดับการศึกษา ผู้จบการศึกษาในระดับปริญญาตรีมากที่สุด ร้อยละ 62.50
ประสบการณ์ในการทำงานวิชาชีพบรรณารักษ์ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่มีประสบการณ์ในการทำงาน
วิชาชีพบรรณารักษ์ มากที่สุด ร้อยละ 25.00 มีอยู่ 2 กลุ่ม คือ ระหว่าง 5 ปี และ 16-20 ปี
85
ตารางที่ 7 สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นนักศึกษา จำแนกตามเพศ ประเภทของ
นักศึกษา และระยะเวลาในการเรียน
ประเภทของนักศึกษา
รายการ ปริญญาโท ภาคปกติ ภาค กศ.บป. รวม
จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ
ชาย 5 55.56 50 33.33 78 34.51 133 34.55
เพศ
หญิง 4 44.44 100 66.67 148 65.49 252 65.45
รวม 9 100.00 150 100.00 226 100.00 385 100.00
1 ปี 2 22.22 16 10.67 11 4.87 29 7.53
2 ปี 4 44.45 17 11.33 62 27.43 83 21.56
3 ปี 2 22.22 8 5.30 28 12.39 38 9.87
4 ปี 1 11.11 108 72.00 114 50.44 223 57.92
ระยะ
เวลา
ในการ
เรียน
4 ปีขึ้นไป - - 1 0.67 11 4.87 12 3.12
รวม 9 100.00 150 100.00 226 100.00 385 100.00
จากตารางที่ 7 พบว่า
1. นักศึกษาปริญญาโท ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 55.56 นักศึกษาภาคปกติ
และ นักศึกษาภาค กศ.บป. ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 66.67 และ 65.49 ตามลำดับ
2. นักศึกษาปริญญาโท ส่วนใหญ่มีระยะเวลาในการเรียน 2 ปี ร้อยละ 44.45
นักศึกษาภาคปกติ และ นักศึกษาภาค กศ.บป. ส่วนใหญ่มีระยะเวลาในการเรียน 4 ปี ร้อยละ
72.00 และ 50.44 ตามลำดับ
86
ตอนที่ 2 วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาประสิทธิภาพการดำเนินงาน
ของสำนักวิทยบริการ สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
การศึกษาประสิทธิภาพการดำเนินงานของสำนักวิทยบริการ จากความคิดเห็นของ
อาจารย์บรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ห้องสมุด ที่ทำงานอยู่ในสำนักวิทยบริการ ประกอบด้วยคำถาม
ที่บูรณาการการดำเนินงานของสำนักวิทยบริการ สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ในกรอบ
มาตรฐานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาสหรัฐอเมริกัน โดยกำหนดเกณฑ์มาตรฐาน 11 ด้าน
ประกอบด้วย ด้านการบริหาร ด้านการวางแผน ด้านงบประมาณ ด้านบุคลากร ด้านทรัพยากร
ด้านการบริการ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านการเข้าถึง ด้านการสอน ด้านการสื่อสารและ
ความร่วมมือ และ ด้านการประเมินผลลัพธ์ และกรอบห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาทบวง
มหาวิทยาลัย และกรอบหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยแจกแจงความถี่และร้อยละ และ
นำเสนอเป็นตารางประกอบความเรียง
รายละเอียดของการวิเคราะห์ข้อมูลแต่ละด้านของแต่ละกลุ่มประชากร มีดังต่อไปนี้
1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลความคิดเห็นของอาจารย์บรรณารักษ์และ
เจ้าหน้าที่ห้องสมุด
อาจารย์บรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ห้องสมุด ได้ตอบแบบสอบถาม ในกรอบ
มาตรฐาน 11 ด้าน แต่ละด้านมีความคิดเห็นตามผลดังแสดงในตารางที่ 8 ถึง ตารางที่ 18 ดังนี้
ตารางที่ 8 ความคิดเห็นของอาจารย์บรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ห้องสมุดต่อประสิทธิภาพ
การดำเนินงานของสำนักวิทยบริการ ด้านการบริหาร
ข้อความ ∼X S.D. ระดับ
ความคิดเห็น
1. ด้านการบริหาร
1. มีระบบบริหารงานบุคคลโดยมีการกำหนดตำแหน่งและ
การประเมินผล
3.50 0.93 มาก
2. มีการฝึกอบรมให้เจ้าหน้าที่ทุกระดับให้มีความรู้ความเข้าใจ 3.50 0.78 มาก
3. มีการพัฒนาเจ้าหน้าที่ด้านจิตสำนึก และทักษะในการสื่อสาร
ด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย และรับฟังความคิดเห็นของผู้ใช้
3.08 1.14 ปานกลาง
รวม 3.36 0.75 ปานกลาง
จากตารางที่ 8 พบว่า ประสิทธิภาพการดำเนินงานของสำนักวิทยบริการ
ด้านการบริหาร โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมีประสิทธิภาพปานกลาง (∼X = 3.36)
เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมีประสิทธิภาพมาก ยกเว้น ข้อเกี่ยวกับ
87
“มีการพัฒนาเจ้าหน้าที่ด้านจิตสำนึก และทักษะในการสื่อสารด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย และรับฟัง
ความคิดเห็นของผู้ใช้” มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมีประสิทธิภาพปานกลาง (∼X = 3.08)
ตารางที่ 9 ความคิดเห็นของอาจารย์บรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ห้องสมุดต่อประสิทธิภาพ
การดำเนินงานของสำนักวิทยบริการ ด้านการวางแผน
ข้อความ ∼X S.D. ระดับ
ความคิดเห็น
2. ด้านการวางแผน
4. มีแผนกลยุทธ์สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ของสถาบัน 3.79 0.78 มาก
5. มีการกำกับ ตรวจสอบและควบคุมคุณภาพผลงานอย่าง
สม่ำเสมอ
3.88 0.68 มาก
6. มีการพัฒนาเจ้าหน้าที่ห้องสมุดอย่างสม่ำเสมอ 3.54 0.83 มาก
รวม 3.74 0.55 มาก
จากตารางที่ 9 พบว่า ประสิทธิภาพการดำเนินงานของสำนักวิทยบริการ
ด้านการวางแผน ทั้งภาพรวมและรายข้อมีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมีประสิทธิภาพมาก (∼X =
3.74)
ตารางที่ 10 ความคิดเห็นของอาจารย์บรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ห้องสมุดต่อประสิทธิภาพ
การดำเนินงานของสำนักวิทยบริการ ด้านงบประมาณ
ข้อความ ∼X S.D. ระดับ
ความคิดเห็น
3. ด้านงบประมาณ
7. ห้องสมุดมีความสามารถในการใช้งบประมาณให้เกิด
ประโยชน์สูงสุด
3.67 0.96 มาก
8. งบประมาณใช้สำหรับการพัฒนาบริการห้องสมุดให้ดีขึ้น 3.67 0.82 มาก
9. มีการกำกับ ตรวจสอบและควบคุมการใช้งบประมาณ
ให้ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
3.46 1.22 ปานกลาง
รวม 3.60 0.86 มาก
จากตารางที่ 10 พบว่า ประสิทธิภาพการดำเนินงานของสำนักวิทยบริการ
ด้านงบประมาณ โดยภาพรวมและรายข้อมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมีประสิทธิภาพมาก (∼X=3.60)
88
ยกเว้น ข้อเกี่ยวกับ “มีการกำกับ ตรวจสอบและควบคุมการใช้งบประมาณให้ถูกต้องและ
มีประสิทธิภาพ” อยู่ในระดับมีประสิทธิภาพปานกลาง (∼X = 3.46)
ตารางที่ 11 ความคิดเห็นของอาจารย์บรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ห้องสมุดต่อประสิทธิภาพ
การดำเนินงานของสำนักวิทยบริการ ด้านบุคลากร
ข้อความ ∼X S.D. ระดับ
ความคิดเห็น
4. ด้านบุคลากร
10. บุคลากรมีปริมาณสอดคล้องกับภาระงาน 3.46 0.98 ปานกลาง
11. บุคลากรมีการพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ 3.46 0.51 ปานกลาง
12. บุคลากรเป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจในวิชาชีพบรรณารักษ์
เป็นอย่างดี
3.46 0.83 ปานกลาง
รวม 3.46 0.52 ปานกลาง
จากตารางที่ 11 พบว่า ประสิทธิภาพการดำเนินงานของสำนักวิทยบริการ
ด้านบุคลากร ทั้งภาพรวมและทุกรายข้อ มีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมีประสิทธิภาพปานกลาง
(∼X = 3.46)
89
ตารางที่ 12 ความคิดเห็นของอาจารย์บรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ห้องสมุดต่อประสิทธิภาพ
การดำเนินงานของสำนักวิทยบริการ ด้านทรัพยากร
ข้อความ ∼X S.D. ระดับ
ความคิดเห็น
5. ด้านทรัพยากร
การจัดหา
13. จัดหาทรัพยากรสารสนเทศที่หลากหลาย รวมทั้ง
ภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้บริการ สอดคล้องกับความ
ต้องการของผู้ใช้
3.79 0.72 มาก
14. ทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการมีจำนวนเพียงพอกับ
การใช้ของผู้ใช้
3.37 0.71 ปานกลาง
15. ผู้ใช้มีส่วนร่วมในการเสนอแนะ และมีการสอบถามผู้ใช้
บริการสม่ำเสมอ ในการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ
3.75 0.74 มาก
วัสดุตีพิมพ์ - หนังสือ
16. หนังสือที่มีให้บริการมีความเพียงพอสอดคล้องกับ
ความต้องการของผู้ใช้
3.33 1.01 ปานกลาง
17. เมื่อหาหนังสือบนชั้นไม่พบเจ้าหน้าที่สามารถบอก
ให้ทราบถึงสถานภาพของหนังสือนั้นได้อย่างรวดเร็ว
3.37 0.92 ปานกลาง
วัสดุตีพิมพ์ - วารสาร
18. วารสารที่จัดขึ้นชั้นมีจำนวนเพียงพอและมี
ความสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้
3.54 0.98 มาก
19. การจัดเรียงวารสารค้นหาได้ง่าย 3.83 0.87 มาก
วัสดุไม่ตีพิมพ์
20. แถบบันทึกเสียงมีจำนวนเพียงพอและเป็นปัจจุบัน
สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้
3.17 0.82 ปานกลาง
21. การให้บริการมีความสะดวกรวดเร็ว 3.58 0.65 มาก
สื่ออิเล็กทรอนิกส์
22. มีสื่ออิเล็กทรอนิกส์จำนวนเพียงพอสอดคล้องกับ
ความต้องการของผู้ใช้
3.50 0.78 มาก
23. การยืม – คืน สะดวกและรวดเร็ว 3.83 0.96 มาก
รวม 3.55 0.48 มาก
จากตารางที่ 12 พบว่า ประสิทธิภาพการดำเนินงานของสำนักวิทยบริการ
ด้านทรัพยากร โดยภาพรวมจากคำถาม 11 ข้อ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมีประสิทธิภาพมาก
(∼X = 3.55) ยกเว้น “ทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการมีจำนวนเพียงพอกับการใช้ของผู้ใช้”
90
“หนังสือที่มีให้บริการมีความเพียงพอสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้” “เมื่อหาหนังสือบน
ชั้นไม่พบเจ้าหน้าที่สามารถบอกให้ทราบถึงสถานภาพของหนังสือนั้นได้อย่างรวดเร็ว” และ
“แถบบันทึกเสียงมีจำนวนเพียงพอและเป็นปัจจุบันสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้”
อยู่ในระดับมีประสิทธิภาพปานกลาง
91
ตารางที่ 13 ความคิดเห็นของอาจารย์บรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ห้องสมุดต่อประสิทธิภาพ
การดำเนินงานของสำนักวิทยบริการ ด้านการบริการ
ข้อความ ∼X S.D. ระดับ
ความคิดเห็น
6. ด้านการบริการ ประเภทบริการและวิธีการ
บริการพื้นฐาน
24. มีระบบการให้บริการที่อำนวยความสะดวก ให้คำแนะนำ
แก่ผู้มาใช้บริการ และมีบรรยากาศที่ร่มรื่นน่าเข้ามาใช้บริการ
3.71 0.75 มาก
25. การบริการของสำนักวิทยบริการ เช่น บริการให้อ่าน
บริการ ยืม-คืน บริการหนังสือจอง เป็นต้น
3.87 0.61 มาก
26. การจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน เช่น จัดนิทรรศการ
อภิปราย เป็นต้น
2.71 0.81 ปานกลาง
บริการตอบคำถาม
27. ทรัพยากรอ้างอิงมีความทันสมัยและพอเพียงในการให้
บริการ
3.38 0.82 ปานกลาง
28. มีบรรณารักษ์ให้ความช่วยเหลือเป็นอย่างดีเมื่อนักศึกษา
มีปัญหา
3.96 0.69 มาก
29. หนังสือสำรอง คือ หนังสือที่ยืมได้ 3 วัน ทำการ และมี
ความพอเพียงต่อความต้องการ
3.50 0.88 มาก
30. มีการจัดเก็บและให้บริการสารสนเทศพิเศษ เช่น ข้อมูล
ท้องถิ่น “ธนบุรี”
3.67 1.24 มาก
บริการสื่อโสตทัศน์
31. มีความยืดหยุ่นในระเบียบการยืมด้านจำนวนและระยะเวลา
ในการให้ยืมสื่อ
3.75 0.74 มาก
32. ความเพียงพอของสื่อโสตทัศน์ สอดคล้องกับความต้องการ
ของผู้ใช้
3.12 0.80 ปานกลาง
33. ความสะดวกรวดเร็วในการให้บริการของบุคลากร 3.67 0.76 มาก
บริการ อินเตอร์เน็ต
34. ความเหมาะสมของระยะเวลาในการให้บริการ 8.30-
19.30 น.
3.83 1.05 มาก
35. การเชื่อมต่อ อินเตอร์เน็ต เข้าระบบได้ง่ายไม่ติดขัด 3.46 0.83 ปานกลาง
36. ความเพียงพอของจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์
ต่อการให้บริการ
3.25 0.85 ปานกลาง
รวม 3.53 0.54 มาก
92
จากตารางที่ 13 พบว่า ประสิทธิภาพการดำเนินงานของสำนักวิทยบริการ
ด้านการบริการ โดยภาพรวมและรายข้อ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมีประสิทธิภาพมาก (∼X = 3.53)
ยกเว้น บริการพื้นฐาน เกี่ยวกับ “การจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน เช่น จัดนิทรรศการ อภิปราย
เป็นต้น” บริการตอบคำถาม เกี่ยวกับ “ทรัพยากรอ้างอิงมีความทันสมัยและพอเพียงในการให้
บริการ” บริการสื่อโสตทัศน์ เกี่ยวกับ “ความเพียงพอของสื่อโสตทัศน์ สอดคล้องกับ
ความต้องการของผู้ใช้” บริการ อินเตอร์เน็ต เกี่ยวกับ “การเชื่อมต่อ อินเตอร์เน็ต เข้าระบบได้
ง่ายไม่ติดขัด” และ เกี่ยวกับ “ความเพียงพอของจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ต่อการให้บริการ”
อยู่ในระดับมีประสิทธิภาพปานกลาง
93
ตารางที่ 14 ความคิดเห็นของอาจารย์บรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ห้องสมุดต่อประสิทธิภาพ
การดำเนินงานของสำนักวิทยบริการ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก
ข้อความ ∼X S.D. ระดับ
ความคิดเห็น
7. ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก
บรรยากาศภายในห้องสมุด
37. ส่งเสริมและพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อให้ผู้ใช้
สามารถใช้สื่อในการสืบค้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.46 0.88 ปานกลาง
38. บรรยากาศในสำนักวิทยบริการเหมาะสมแก่การอ่านหนังสือ 3.67 0.76 มาก
39. เมื่อเข้ามาใช้บริการสำนักวิทยบริการแล้วอยากเข้ามาใช้
บริการอีก
3.71 0.91 มาก
อาคารสำนักวิทยบริการ
40. สำนักวิทยบริการตั้งอยู่ในที่ไปมาสะดวกแก่ผู้ใช้บริการและ
เป็นศูนย์กลางของสถาบัน
3.67 0.92 มาก
41. จำนวนที่นั่งสำหรับนักศึกษาค้นคว้าภายในสำนักวิทย
บริการมีจำนวนเพียงพอ
3.42 0.93 ปานกลาง
42. เนื้อที่สำหรับจัดเก็บทรัพยากรสำนักวิทยบริการมีความ-
เหมาะสม
2.63 1.10 ปานกลาง
ครุภัณฑ์
43. มีครุภัณฑ์จำนวนเพียงพอและเหมาะสมกับงานสำนักวิทย-
บริการและการให้บริการ
3.50 0.98 มาก
44. ชั้นวางหนังสือ ชั้นวางวารสาร และที่วางหนังสือพิมพ์
มีความเหมาะสมสะดวกต่อการใช้งาน
3.71 1.04 มาก
45. เคาน์เตอร์ ยืม-คืน หนังสือมีความเหมาะสมสะดวกต่อ
การใช้งาน
3.96 0.69 มาก
46. ทางเข้า - ออก สำนักวิทยบริการมีความสะดวก 3.75 1.03 มาก
รวม 3.55 0.53 มาก
จากตารางที่ 14 พบว่า ประสิทธิภาพการดำเนินงานของสำนักวิทยบริการ
ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมีประสิทธิภาพมาก (∼X=3.55)
และมีรายข้อคือ บรรยากาศภายในห้องสมุด เกี่ยวกับ “ส่งเสริมและพัฒนาการใช้เทคโนโลยี
สารสนเทศเพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้สื่อในการสืบค้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ” (∼X = 3.46) และ
เกี่ยวกับอาคารสำนักวิทยบริการ เกี่ยวกับว่า “จำนวนที่นั่งสำหรับนักศึกษาค้นคว้าภายในสำนัก
วิทยบริการมีจำนวนเพียงพอ” (∼X = 3.42) และเกี่ยวกับ “เนื้อที่สำหรับจัดเก็บทรัพยากรสำนัก
วิทยบริการมีความเหมาะสม” (∼X = 2.63) อยู่ในระดับมีประสิทธิภาพปานกลาง
94
ตารางที่ 15 ความคิดเห็นของอาจารย์บรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ห้องสมุดต่อประสิทธิภาพ
การดำเนินงานของสำนักวิทยบริการ ด้านการเข้าถึง
ข้อความ ∼X S.D. ระดับ
ความคิดเห็น
8. ด้านการเข้าถึง
47. มีเครื่องมือช่วยค้นคว้าสะดวกและรวดเร็ว 2.96 1.20 ปานกลาง
48. จัดทรัพยากรสารสนเทศให้เป็นระเบียบสะดวกต่อ
การเข้าถึง
3.37 0.77 ปานกลาง
49. เชื่อมโยงเครือข่ายสารสนเทศในระดับสถาบัน ท้องถิ่น
และสากล
3.33 0.87 ปานกลาง
รวม 3.22 0.65 ปานกลาง
จากตารางที่ 15 พบว่า ประสิทธิภาพการดำเนินงานของสำนักวิทยบริการ
ด้านการเข้าถึง โดยภาพรวมและทุกรายข้อมีค่าเฉลี่ย (∼X = 3.22) อยู่ในระดับมีประสิทธิภาพ
ปานกลาง
95
ตารางที่ 16 ความคิดเห็นของอาจารย์บรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ห้องสมุดต่อประสิทธิภาพ
การดำเนินงานของสำนักวิทยบริการ ด้านการสอน
ข้อความ ∼X S.D. ระดับ
ความคิดเห็น
9. ด้านการสอน
ปฐมนิเทศห้องสมุด
50. เนื้อหาและระยะเวลาในการจัดการปฐมนิเทศมีความ-
เหมาะสมครอบคลุมการใช้งานสำนักวิทยบริการ
2.88 0.68 ปานกลาง
51. คู่มือการใช้สำนักวิทยบริการอธิบายเนื้อหาได้ชัดเจน
เข้าใจง่าย
3.33 0.76 ปานกลาง
52. แนะนำวิธีการใช้เครื่องมือสืบค้นข้อมูลต่าง ๆ ได้ชัดเจน
เข้าใจง่าย และได้เห็นของจริง
3.04 0.69 ปานกลาง
การสอนการใช้ห้องสมุด
53. สำนักวิทยบริการมีวิธีดำเนินการช่วยกระตุ้นการเรียนรู้
ตลอดชีวิตโดยใช้ทรัพยากรสารสนเทศผสมกับเทคโนโลยี
ใหม่ ๆ
3.46 0.78 ปานกลาง
54. ห้องที่ใช้ในการสอนมีความเหมาะสมอยู่ใกล้สำนัก
วิทยบริการ
3.50 0.78 มาก
55. อุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการสอนมีความพร้อม 3.46 0.98 ปานกลาง
รวม 3.28 0.52 ปานกลาง
จากตารางที่ 16 พบว่า ประสิทธิภาพการดำเนินงานของสำนักวิทยบริการ
ด้านการสอน โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมีประสิทธิภาพปานกลาง (≥X = 3.28)
ยกเว้น การสอนการใช้ห้องสมุด เกี่ยวกับ “ห้องที่ใช้ในการสอนมีความเหมาะสมอยู่ใกล้สำนัก
วิทยบริการ” (≥X = 3.50) อยู่ในระดับมีประสิทธิภาพมาก
96
ตารางที่ 17 ความคิดเห็นของอาจารย์บรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ห้องสมุดต่อประสิทธิภาพ
การดำเนินงานของสำนักวิทยบริการ ด้านการสื่อสารและความร่วมมือ
ข้อความ ∼X S.D. ระดับ
ความคิดเห็น
10. ด้านการสื่อสารและความร่วมมือ
การสื่อสารกับผู้ใช้
56. มีเครือข่ายสำนักวิทยบริการของสถาบันเพื่อการเข้าถึง
แหล่งสารสนเทศของสถาบันอื่น ๆ ได้
3.54 1.10 มาก
57. มีความชัดเจนของแผนผังที่แสดงส่วนต่าง ๆ ของสำนัก
วิทยบริการ
3.63 1.06 มาก
58. มีการจัดป้ายนิทรรศการให้บริการข่าวสารที่เป็นประโยชน์ 3.54 0.78 มาก
59. มีการประชาสัมพันธ์เรื่องกิจกรรมต่าง ๆ ของสำนักวิทย-
บริการผ่านสื่อ เช่น วารสารสำนักวิทยบริการ หรือเว็บไซต์
ของสถาบัน
3.54 1.06 มาก
ความร่วมมือระหว่างห้องสมุด
60. สำนักวิทยบริการมีความร่วมมือกับห้องสมุดสถาบันอื่น
เพื่อให้มีการใช้ทรัพยากรและเทคโนโลยีใหม่ ๆ ร่วมกัน
2.92 1.06 ปานกลาง
61. มีการร่วมมือกับชุมชนด้านการจัดเก็บ 3.25 0.99 ปานกลาง
62. มีการร่วมมือกับชุมชนในด้านการบริการ 3.04 0.91 ปานกลาง
รวม 3.35 0.61 ปานกลาง
จากตารางที่ 17 พบว่า ประสิทธิภาพการดำเนินงานของสำนักวิทยบริการ
ด้านการสื่อสารและความร่วมมือ โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมีประสิทธิภาพปานกลาง
(∼X = 3.35) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมีประสิทธิภาพมาก คือ ด้านการสื่อ
สารกับผู้ใช้ ยกเว้น ที่อยู่ในระดับมีประสิทธิภาพปานกลาง คือ ด้านความร่วมมือระหว่างห้อง
สมุด
97
ตารางที่ 18 ความคิดเห็นของอาจารย์บรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ห้องสมุดต่อประสิทธิภาพ
การดำเนินงานของสำนักวิทยบริการ ด้านการประเมินผลลัพธ์
ข้อความ ∼X S.D. ระดับ
ความคิดเห็น
11. ด้านการประเมินผลลัพธ์
63. มีระบบการประเมินคุณภาพของสำนักวิทยบริการเพื่อเป็น
แนวทางในการจัดการให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานฯ
3.46 1.02 ปานกลาง
64. มีการจัดทำมาตรฐานการปฏิบัติงานในสำนักวิทยบริการ
ทุกงานเพื่อควบคุมคุณภาพขึ้นภายในสำนักวิทยบริการ
อย่างเป็นทางการ
3.63 1.06 มาก
65. มีการประเมินแผนงานและโครงการปฏิบัติงานในสำนัก
วิทยบริการทุกงาน
3.67 0.87 มาก
66. มีการศึกษาตนเองอย่างเป็นทางการของสำนักวิทยบริการ
เพื่อค้นหาจุดอ่อนและแนวทางแก้ไข ค้นหาจุดแข็งและ
แนวทางเสริม
3.37 0.92 ปานกลาง
67. มีการประเมินผลงานบริการสำนักวิทยบริการหรือประเมิน
ความพึงพอใจ ของ ผู้ใช้บริการอย่างสม่ำเสมอ
3.67 1.17 มาก
รวม 3.56 0.75 มาก
จากตารางที่ 18 พบว่า ประสิทธิภาพการดำเนินงานของสำนักวิทยบริการ
ด้านการประเมินผลลัพธ์ โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมีประสิทธิภาพมาก เมื่อพิจารณา
เป็นรายข้อ พบว่า เกี่ยวกับ “การประเมินผลลัพธ์ ได้แก่ มีระบบการประเมินคุณภาพของสำนัก
วิทยบริการเพื่อเป็นแนวทางในการจัดการให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานฯ” (≥X = 3.46)
เกี่ยวกับ “มีการศึกษาตนเองอย่างเป็นทางการของสำนักวิทยบริการเพื่อค้นหาจุดอ่อนและ
แนวทางแก้ไข ค้นหาจุดแข็งและแนวทางเสริม” ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมีประสิทธิภาพปานกลาง
(≥X = 3.37)
98
2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลความคิดเห็นของนักศึกษา
การศึกษาประสิทธิภาพการดำเนินงานของสำนักวิทยบริการ จากความคิดเห็นของ
นักศึกษา ประกอบด้วยคำถามที่บูรณาการการดำเนินงานของสำนักวิทยบริการ ในกรอบมาตรฐาน
ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของสหรัฐอเมริกัน 6 ด้าน ประกอบด้วย ด้านทรัพยากร ด้านบริการ
ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านการเข้าถึง ด้านการสอน และด้านการสื่อสารและความร่วมมือ
กรอบมาตรฐานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาทบวงมหาวิทยาลัย กรอบงานประกันคุณภาพหอสมุด
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยแจกแจงความถี่และร้อยละ และนำเสนอเป็นตารางประกอบความเรียง
นักศึกษา ได้ตอบแบบสอบถาม ในกรอบมาตรฐาน 6 ด้าน แต่ละด้านมีความคิดเห็น
ตามผลดังแสดงในตารางที่ 19 ถึง ตารางที่ 24 ดังนี้
99
ตารางที่ 19 ความคิดเห็นของนักศึกษาต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของสำนักวิทยบริการ
ด้านทรัพยากร
ประเภทของนักศึกษา
ขอ้ ความ ปริญญาโท ภาคปกติ ภาค กศ.บป.
≥X SD. ระดับ ≥X SD. ระดับ ≥X SD. ระดับ
1. ด้านทรัพยากร
การจัดหา
1. จัดหาทรัพยากรสาร
สนเทศที่หลากหลาย
รวมทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่น
ให้บริการ สอดคล้องกับ
ความต้องการของผู้ใช้
3.44 0.88 ปาน
กลาง
3.47 0.69 ปาน
กลาง
3.32 0.72 ปาน
กลาง
2. ทรัพยากรสารสนเทศ
ที่ต้องการมีจำนวนเพียง
พอกับการใช้ของผู้ใช้
3.11 0.93 ปาน
กลาง
3.28 0.87 ปาน
กลาง
3.10 0.83 ปาน
กลาง
3. ผู้ใช้มีส่วนร่วมในการ
เสนอแนะ และมีการสอบ
ถามผู้ใช้บริการ
สม่ำเสมอ ในการจัดหา
ทรัพยากรสารสนเทศ
3.22 1.20 ปาน
กลาง
3.17 0.95 ปาน
กลาง
3.01 0.84 ปาน
กลาง
วัสดุตีพิมพ์ -
หนังสือ
4. หนังสือที่มีให้บริการมี
ความเพียงพอสอดคล้อง
กับความต้องการของผู้ใช้
3.22 0.97 ปาน
กลาง
3.20 0.85 ปาน
กลาง
3.23 0.89 ปาน
กลาง
5. เมื่อหาหนังสือบนชั้น
ไม่พบเจ้าหน้าที่สามารถ
บอกให้ทราบถึงสถาน
ภาพ ของหนังสือนั้นได้
อย่างรวดเร็ว
3.44 1.01 ปาน
กลาง
3.61 0.99 มาก 3.31 0.92 ปาน
กลาง
วัสดุตีพิมพ์ - วารสาร
6. วารสารที่จัดขึ้นชั้นมี
จำนวนเพียงพอและมี
ความสอดคล้องกับความ
ต้องการของผู้ใช้
3.22 0.83 ปาน
กลาง
3.37 0.89 ปาน
กลาง
3.15 0.81 ปาน
กลาง
100
ตารางที่ 19 ความคิดเห็นของนักศึกษาต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของสำนักวิทยบริการ
ด้านทรัพยากร (ต่อ)
ประเภทของนักศึกษา
ขอ้ ความ ปริญญาโท ภาคปกติ ภาค กศ.บป.
≥X SD. ระดับ ≥X SD. ระดับ ≥X SD. ระดับ
7. การจัดเรียงวารสาร
ค้นหาได้ง่าย
3.78 0.44 มาก 3.58 0.79 มาก 3.32 0.79 ปาน
กลาง
วัสดุไม่ตีพิมพ์
8. แถบบันทึกเสียงมี
จำนวนเพียงพอและเป็น
ปัจจุบันสอดคล้องกับ
ความต้องการของผู้ใช้
2.89 0.60 ปาน
กลาง
3.21 0.79 ปาน
กลาง
3.04 0.74 ปาน
กลาง
9. การให้บริการมีความ
สะดวกรวดเร็ว
3.22 0.97 ปาน
กลาง
3.55 0.83 มาก 3.18 0.77 ปาน
กลาง
สื่ออิเล็กทรอนิกส์
10. มีสื่ออิเล็กทรอนิกส์
จำนวนเพียงพอ สอด
คล้องกับความต้องการ
ของผู้ใช้
3.22 0.67 ปาน
กลาง
3.20 0.95 ปาน
กลาง
3.09 0.79 ปาน
กลาง
11. การยืม – คืน
สะดวกและรวดเร็ว
3.78 0.97 มาก 3.82 0.84 มาก 3.44 0.80 ปาน
กลาง
รวม 3.32 0.64 ปาน
กลาง
3.40 0.53 ปาน
กลาง
3.20 0.50 ปาน
กลาง
จากตารางที่ 19 พบว่า โดยภาพรวมทุกระดับการศึกษาและทุกรายข้อของ
นักศึกษาภาค กศ.บป. มีความเห็นต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของสำนักวิทยบริการ
มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมีประสิทธิภาพปานกลาง ยกเว้น รายข้อของนักศึกษาปริญญาโท และ
นักศึกษาภาคปกติ มีความเห็นเกี่ยวกับ “การจัดเรียงวารสารค้นหาได้ง่าย” (∼X=3.78) และ
(∼X=3.58) เกี่ยวกับ “การให้บริการมีความสะดวกรวดเร็ว” (∼X = 3.55) เกี่ยวกับ
“การยืม – คืน สะดวกและรวดเร็ว” (∼X = 3.78) และ (∼X = 3.82) มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ
มีประสิทธิภาพมาก
101
ตารางที่ 20 ความคิดเห็นของนักศึกษาต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของสำนักวิทยบริการ
ด้านการบริการ
ประเภทของนักศึกษา
ขอ้ ความ ปริญญาโท ภาคปกติ ภาค กศ.บป.
≥X SD. ระดับ ≥X SD. ระดับ ≥X SD. ระดับ
2. ด้านบริการ ประเภท
บริการและวิธีการ
บริการพื้นฐาน
12. มีระบบการให้บริการ
ที่อำนวยความสะดวก ให้
คำแนะนำแก่ผู้มาใช้
บริการ และมีบรรยากาศ
ที่ร่มรื่นน่าเข้ามาใช้บริการ
3.67 0.71 มาก 3.68 0.84 มาก 3.39 0.82 ปาน
กลาง
13. การบริการของสำนัก
วิทยบริการ เช่น บริการ
ให้อ่าน บริการ ยืม-คืน
บริการหนังสือจอง
เป็นต้น
3.89 0.60 มาก 3.81 0.81 มาก 3.48 0.74 ปาน
กลาง
14. การจัดกิจกรรมส่ง
เสริมการอ่าน เช่น จัด
นิทรรศการ อภิปราย
เป็นต้น
3.11 0.60 ปาน
กลาง
3.14 0.78 ปาน
กลาง
3.08 0.78 ปาน
กลาง
บริการตอบคำถาม
15. ทรัพยากรอ้างอิงมี
ความทันสมัยและพอ
เพียงในการให้บริการ
3.56 0.73 มาก 3.37 0.83 ปาน
กลาง
3.21 0.79 ปาน
กลาง
16. มีบรรณารักษ์ให้
ความช่วยเหลือเป็นอย่าง
ดีเมื่อนักศึกษามีปัญหา
3.33 0.71 ปาน
กลาง
3.59 0.93 มาก 3.33 0.84 ปาน
กลาง
17. หนังสือสำรอง คือ
หนังสือที่ยืมได้ 3 วัน ทำ
การ และมีความพอเพียง
ต่อความต้องการ
3.33 0.50 ปาน
กลาง
3.27 0.84 ปาน
กลาง
3.09 0.80 ปาน
กลาง
102
ตารางที่ 20 ความคิดเห็นของนักศึกษาต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของสำนักวิทยบริการ
ด้านการบริการ (ต่อ)
ประเภทของนักศึกษา
ขอ้ ความ ปริญญาโท ภาคปกติ ภาค กศ.บป.
≥X SD. ระดับ ≥X SD. ระดับ ≥X SD. ระดับ
18. มีการจัดเก็บและให้
บริการสารสนเทศพิเศษ
เช่น ข้อมูลท้องถิ่น
“ธนบุรี”
3.78 0.67 มาก 3.37 0.76 ปาน
กลาง
3.20 0.76 ปาน
กลาง
20. ความเพียงพอของ
สื่อโสตทัศน์ สอดคล้อง
กับความต้องการ
3.33 0.50 ปาน
กลาง
3.24 0.88 ปาน
กลาง
3.15 0.74 ปาน
กลาง
21. ความสะดวกรวดเร็ว
ในการให้บริการของ
บุคลากร
3.44 0.53 ปาน
กลาง
3.47 0.85 ปาน
กลาง
3.28 0.78 ปาน
กลาง
บริการ อินเตอร์เน็ต
22. ความเหมาะสมของ
ระยะเวลาในการให้
บริการ 8.30-19.30 น.
4.11 0.60 มาก 3.73 0.99 มาก 3.54 0.91 มาก
23. การเชื่อมต่อ
อินเตอร์เน็ต เข้าระบบ
ได้ง่ายไม่ติดขัด
3.67 0.71 มาก 3.50 0.89 มาก 3.18 0.87 ปาน
กลาง
24. ความเพียงพอของ
จำนวนเครื่อง
คอมพิวเตอร์ต่อการให้
บริการ
3.89 0.78 มาก 2.81 1.01 ปาน
กลาง
2.83 0.90 ปาน
กลาง
รวม 3.61 0.35 มาก 3.42 0.53 ปาน
กลาง
3.23 0.52 ปาน
กลาง
จากตารางที่ 20 พบว่า โดยภาพรวมของนักศึกษาปริญญาโท มีความเห็นต่อ
ประสิทธิภาพการดำเนินงานของสำนักวิทยบริการ อยู่ในระดับมีประสิทธิภาพมาก (≥X = 3.61)
และโดยภาพรวมของนักศึกษาภาคปกติ และ นักศึกษาภาค กศ.บป. มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ
มีประสิทธิภาพปานกลาง ยกเว้น รายข้อ ของนักศึกษาปริญญาโท มีความเห็นเกี่ยวกับ
“การจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน เช่น จัดนิทรรศการ อภิปราย เป็นต้น” (≥X = 3.11),
เกี่ยวกับ “มีบรรณารักษ์ให้ความช่วยเหลือเป็นอย่างดีเมื่อนักศึกษามีปัญหา” (≥X = 3.33),
103
เกี่ยวกับ “หนังสือสำรอง คือ หนังสือที่ยืมได้ 3 วันทำการ และมีความพอเพียงต่อความต้องการ”
(≥X = 3.33), เกี่ยวกับ “ความเพียงพอของสื่อโสตทัศน์ สอดคล้องกับความต้องการ”
(≥X = 3.33), เกี่ยวกับ “ความสะดวกรวดเร็วในการให้บริการของบุคลากร” (≥X = 3.44)
อยู่ในระดับมีประสิทธิภาพปานกลาง, รายข้อของนักศึกษาภาคปกติ มีความเห็นเกี่ยวกับ
“มีระบบการให้บริการที่อำนวยความสะดวก ให้คำแนะนำแก่ผู้มาใช้บริการ และมีบรรยากาศ
ที่ร่มรื่นน่าเข้ามาใช้บริการ” (≥X = 3.68), เกี่ยวกับ “การบริการของสำนักวิทยบริการ เช่น
บริการให้อ่าน บริการ ยืม-คืน บริการหนังสือจอง เป็นต้น” (≥X = 3.81), เกี่ยวกับ “มี
บรรณารักษ์ให้ความช่วยเหลือเป็นอย่างดีเมื่อนักศึกษามีปัญหา” (≥X = 3.59), เกี่ยวกับ “ความ
เหมาะสมของระยะเวลาในการให้บริการ 8.30-19.30 น.” (≥X = 3.73), เกี่ยวกับ “การเชื่อม
ต่อ อินเตอร์เน็ต เข้าระบบได้ง่ายไม่ติดขัด” (≥X = 3.50) มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมีประสิทธิภาพ
มาก และรายข้อ ของ นักศึกษาภาค กศ.บป. มีความเห็นเกี่ยวกับ “ความเหมาะสมของระยะเวลา
ในการให้บริการ 8.30- 19.30 น.” (≥X = 3.54) มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมีประสิทธิภาพมาก
104
ตารางที่ 21 ความคิดเห็นของนักศึกษาต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของสำนักวิทยบริการ
ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก
ประเภทของนักศึกษา
ขอ้ ความ ปริญญาโท ภาคปกติ ภาค กศ.บป.
≥X SD. ระดับ ≥X SD. ระดับ ≥X SD. ระดับ
3. ด้านสิ่งอำนวย
ความสะดวก
บรรยากาศภายใน
ห้องสมุด
25. ส่งเสริมและ
พัฒนาการใช้เทคโนโลยี
สารสนเทศเพื่อให้ผู้ใช้
สามารถใช้สื่อในการสืบ
ค้นได้อย่างมีประสิทธิ-
ภาพ
3.78 0.44 มาก 3.53 0.86 มาก 3.33 0.70 ปาน
กลาง
26. บรรยากาศในสำนัก
วิทยบริการเหมาะสมแก่
การอ่านหนังสือ
3.78 0.44 มาก 3.86 0.87 มาก 3.42 0.76 ปาน
กลาง
27. เมื่อเข้ามาใช้บริการ
สำนักวิทยบริการแล้ว
อยากเข้ามาใช้บริการอีก
4.00 0.50 มาก 3.86 0.82 มาก 3.40 0.86 ปาน
กลาง
อาคารห้องสมุด
28. สำนักวิทยบริการ
ตั้งอยู่ในที่ไปมาสะดวก
แก่ผู้ใช้บริการและเป็น
ศูนย์กลางของสถาบัน
3.44 0.73 ปาน
กลาง
3.69 0.90 มาก 3.53 0.78 มาก
29. จำนวนที่นั่งสำหรับ
นักศึกษาค้นคว้าภายใน
สำนักวิทยบริการมี
จำนวนเพียงพอ
4.11 0.78 มาก 3.62 0.93 มาก 3.34 0.88 ปาน
กลาง
30. เนื้อที่สำหรับจัดเก็บ
ทรัพยากรสำนักวิทย
บริการมีความเหมาะสม
3.56 0.53 มาก 3.59 0.85 มาก 3.19 0.78 ปาน
กลาง
105
ตารางที่ 21 ความคิดเห็นของนักศึกษาต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของสำนักวิทยบริการ
ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก (ต่อ)
ประเภทของนักศึกษา
ขอ้ ความ ปริญญาโท ภาคปกติ ภาค กศ.บป.
≥X SD. ระดับ ≥X SD. ระดับ ≥X SD. ระดับ
ครุภัณฑ์
31. มีครุภัณฑ์จำนวน
เพียงพอและเหมาะสม
กับงานสำนักวิทยบริการ
และการให้บริการ
3.89 0.33 มาก 3.40 0.81 ปาน
กลาง
3.27 0.66 ปาน
กลาง
32. ชั้นวางหนังสือ ชั้น
วางวารสาร และที่วาง
หนังสือพิมพ์มีความ
เหมาะสมสะดวกต่อการ
ใช้งาน
3.87 0.35 มาก 3.55 0.84 มาก 3.23 0.78 ปาน
กลาง
33. เคาน์เตอร์ ยืม-คืน
หนังสือมีความเหมาะสม
สะดวกต่อการใช้งาน
3.67 0.71 มาก 3.80 0.91 มาก 3.47 0.76 ปาน
กลาง
34. ทางเข้า - ออก
สำนักวิทยบริการมีความ
สะดวก
4.00 0.71 มาก 3.83 0.89 มาก 3.54 0.88 มาก
รวม 3.81 0.38 มาก 3.67 0.78 มาก 3.37 0.54 ปาน
กลาง

การศึกษาประสิทธิภาพการดำเนินงานของสำนักวิทยบริการ (ตอนที่ 1)
การศึกษาประสิทธิภาพการดำเนินงานของสำนักวิทยบริการ (ตอนที่ 2)
การศึกษาประสิทธิภาพการดำเนินงานของสำนักวิทยบริการ (ตอนที่ 3)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น