วันพุธที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การก่อเกิดจริยธรรมกรณีศึกษาสมาชิกผู้ใช้ประโยชน์จากกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง (ตอนที่ 3)



ภาคผนวก ก
ข้อมูลชุมชนและประวัติชีวิตของผู้ใช้ประโยชน์จากกองทุน
ชุมชนวัดเทพากร เป็นชุมชนเมืองตั้งอยู่ที่ซอยจรัญสนิทวงศ์ 48 แขวงบางพลัด เขต บาง
พลัด กรุงเทพมหานคร มีพื้นที่ประมาณ 36 ไร่ สภาพเดิมเป็นพื้นที่สวนผลไม้และเป็นที่
ธรณีสงฆ์ของวัดเทพากร ต่อมามีประชาชนอพยพมาจากภูมิภาคต่าง ๆ และเช่าที่ของ
วัดสร้างบ้านเรือนอยู่อย่างถาวร
เป็นชุมชนเมืองที่มีความสะดวกในการคมนาคมทั้งทางบกและทางน้ำ ประชาชนที่อยู่อาศัยส่วน
มากมีการศึกษา มีอาชีพรับจ้าง ธุรกิจส่วนตัว รัฐวิสาหกิจ และรับราชการ ฐานะของประชาชนอยู่ใน
ระดับมีกินมีใช้ ค่อนข้างร่ำรวยประมาณร้อยละ 70 ค่อนข้างยากจนประมาณร้อยละ 30 ประชาชน
มีความสัมพันธ์กันโดยทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น การทำบุญร่วมกันตามเทศกาล การร่วมมือกัน
พัฒนาชุมชน ให้ความช่วยเหลือกัน เช่น เมื่อมีงานบวช งานแต่ง และงานศพ
นอกจากนี้ประชาชนสามารถรวมตัวกันจัดตั้งกลุ่มเพื่อร่วมมือกันทำอาชีพและกิจกรรม เช่น
กลุ่มทำดอกไม้จันทน์ เพื่อ เพิ่มรายได้ กลุ่ม อสส. เพื่อร่วมกันระวังภัยต่าง ๆ ในชุมชน กลุ่มเยาว
ชน กลุ่มแม่บ้าน อีกทั้งมีการเสริมสร้างอาชีพ โดยการจัดอบรมการนวดแผนโบราณให้กับประชาชน
ผู้สนใจ ส่วนปัญหาของชุมชนในบางเรื่อง ผู้นำชุมชนสามารถแก้ไขปัญหาได้ เช่น ปัญหาขยะ น้ำ
เน่าเสีย ยุงชุม สุนัขจรจัด ขโมย ส่วนปัญหาที่ยังคงมีอยู่ เช่น การพนัน การกู้เงินนอกระบบของกลุ่ม
ผู้ที่ยังยากจน
จะเห็นได้ว่าพฤติกรรมของชุมชนมุ่งเสริมสร้างระเบียบแก้ไขปัญหาความยากจน เสริมสร้าง
ให้เกิดความสามัคค ี เพื่อให้เป็นชุมชนที่มีความเข้มแข็งทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
และที่สำคัญในชุมชนมีวัด ซึ่งเป็นสถานที่ให้ประชาชนได้ทำกิจกรรมทางศาสนาร่วมกัน สถานที่รับ
เลี้ยงเด็กเล็ก โรงเรียน สนามเด็กเล่น นับได้ว่าเป็นชุมชนที่มีความพร้อมและสมบูรณ์ในระดับหนึ่ง
สามารถเป็นชุมชนนำร่องจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านได้สำเร็จในระยะแรกตามนโยบาย ของรัฐบาล
และสามารถบริหารจัดการได้ประสบผลสำเร็จซึ่งเป็นผลมาจากความมีจริยธรรมของสมาชิกกองทุน
ผู้ศึกษาจึงได้ศึกษาเกี่ยวกับประวัติชีวิตของผู้ใช้ประโยชน์จากกองทุน จำนวน 2 คน คือ 1)
นางสงวนศรี วงศ์ยิ้ม และ 2) นางวรรณา แม้นเลขา มีผลการศึกษาและวิเคราะห์ดังนี้
96
นางสงวนศรี วงศ์ยิ้ม อยู่บ้านเลขที่ 183 ซอย 6 ชุมชนวัดเทพากรร่วมใจ แขวงบางพลัด เขตบาง
พลัด กรุงเทพมหานคร เป็นสมาชิกผู้ใช้ประโยชน์จากกองทุนหมู่บ้านชุมชนเทพากรร่วมใจ
1. ข้อมูลทั่วไป
(1) ภูมิลำเนาของบิดามารดา บิดาของนางสงวนศรี ชื่อ นายอำนวย วงค์
ยิ้ม เป็นชาวจังหวัดอุทัยธานี เข้าไปทำงานที่วังสระปทุม โดยมีบิดา (ปู่ของนางสงวน) ซึ่งเป็นหมอ
นวดและหมอยาแผนโบราณในวังสระปทุม เป็นผู้ช่วยเหลือให้เข้าไปทำในหน้าที่คนงาน และได้
แต่งงานกับ นางสาวปิ่น ซึ่งทำหน้าที่เป็นผ้ช่วยทำอาหารอยู่ในโรงครัว มีบุตรด้วยกันทั้งหมด 4
คน เมื่อสมเด็จพระพันวสา องค์พระประมุขของวังสระปทุมประชวนหนัก ทำให้บรรยากาศ
ความเป็นอยู่ของ ข้าบริวารทั้งหลายเปลี่ยนแปลง หลาย ๆ ครอบครัวที่เคยอยู่รับใช้ตามหน้าที่ขอ
ย้ายออกไปหาบ้านพักอยู่นอกวัง ครอบครัวของนางสงวนศรี วงค์ยิ้ม ได้ย้ายออกจากวังสระปทุม
ไปพักอยู่ในวังเทเวศ ขณะที่อยู่ที่วังเทเวศ นายอำนวยประกอบอาชีพเพาะชำต้นไม้ขาย และนาง
ปิ่นทำอาหารและขนมขายเมื่อมีเงินทุนพอประมาณจึงได้ไปสร้างบ้านเป็นของตัวเองที่ซอยวัดเทพา
กร ในระยะนี้บุตรทั้ง 4 คน ได้ประกอบอาชีพเป็นของตัวเอง ทั้งนายอำนวยและนางปิ่น ซึ่งก็มี
อายุมากแล้วไม่ได้ประกอบอาชีพอะไร มีบุตรคนที่ 2 (คือนางสงวน) เป็นผู้รับใช้ปรนนิบัติทั้งบิดา
และมารดา กิจวัตรประจำวันของนายอำนวย และนางปิ่น ในบั้นปลายของชีวิตคือ ให้การช่วย
เหลือในกิจกรรมของวัดเทพากร ให้ความอนุเคราะห์แก่พระเณรทั้งในเรื่องอาหารและการงาน
สนับสนุนให้พระบางรูปได้ศึกษาจบระดับปริญญา ต่อมานางปิ่นได้ถึงแก่กรรมด้วยโรคชราเมื่อ
พ.ศ. 2525 การจัดงานศพของนางปิ่น เจ้าอาวาสวัด เทพากรเป็นเจ้าภาพจัดการให้และหลังจาก
นั้น อีก 2 ปี ในปี พ.ศ.2527 นายอำนวย ก็ถึงแก่กรรม โดยที่เจ้าอาวาสวัดเทพากรเป็นเจ้า
ภาพจัดการให้เช่นเดียวกับนางปิ่น ทั้งนายอำนวย และนางปิ่น ได้ดำรงชีวิตอย่างเรียบง่ายทำหน้าที่
ของความเป็นบิดามารดาที่สมบูรณ์ ทำหน้าที่เป็น ข้ารับใช้อย่างซื่อสัตย์และทำหน้าที่เป็นส่วน
หนึ่งในการดำรงและส่งเสริมศาสนา กล่าวได้ว่า มีความสมบูรณ์ในระดับหนึ่งของความเป็นมนุษย
ชน
(2) ชีวิตในวัยเด็กและวัยศึกษา เนื่องจากทั้งบิดาและมารดาทำงานอยู่ในวังสระ
ปทุม นางสงวนศรี จึงมีที่พักอยู่ในวังที่มีอาณาบริเวณเป็นส่วนของเจ้าหน้าที่และคนงาน เมื่ออายุ
97
ประมาณ 7 ถึง 8 ปี ก็ช่วยบิดามารดาเลี้ยงน้อง รับใช้ปรนนิบัติปู่ที่ชรา ดูแลทำความสะอาดบ้าน
ขณะนั้นนางสงวนศรี อายุถึงเกณฑ์ที่จะเรียนหนังสือแล้วแต่ยังไม่ได้เรียน การที่จะเรียนหนังสือ
ต้องออกไปเรียนนอกวังเพราะในวังมีโรงเรียนเฉพาะบุตรเจ้านายเท่านั้น ไม่มีโอกาสที่จะออกไป
เที่ยวหรือไปเล่นนอกบ้าน นางสงวนได้เล่าว่า ครั้งหนึ่งได้แอบดูสมเด็จพระพันวสาออกมาเดินดู
ดอกบัวซึ่งมีอยู่มากและมีหลายชนิด ที่ต้องแอบดูมีความรู้สึกว่ากลัวมาก เพราะเป็นเจ้านายชั้นสูง
เป็นธรรมเนียมที่ไม่ให้สามัญชนเข้าใกล้ ยกเว้นเฉพาะผู้ที่รับใช้ใกล้ชิดเท่านั้น เมื่อย้าย
ครอบครัวออกจากวังสระปทุมไปอยู่ที่ วังเทเวศ บิดาได้พาไปเรียนหนังสือที่วังกรม พระประมุข
เป็นวังของสมเด็จพระประมุข อยู่ที่สำราญราษฎร์ เสาชิงช้า ปัจจุบันนี้เป็นโรงเรียนเทเวศวิทยาลัย
การไปเรียนหนังสือจะต้องเดินไปคนเดียวออกจากบ้านตั้งแต่เจ็ดโมงเช้าในสมัยนั้นยังไม่มีรถประจำ
ทางมีแต่รถรางแต่ที่สำคัญต้องการจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายให้กับครอบครัวด้วย ซึ่งคิดว่าตนมี
โอกาสได้เรียนก็ดีมากแล้วพี่คนโตเป็นผู้หญิงแต่ไม่ได้เรียน พ่อแม่ไม่สามารถส่งให้เรียนได้ต้องช่วย
เหลือพ่อแม่ทำงานบ้านเลี้ยงน้อง เรียนจบชั้นสูงสุดได้วุฒิการศึกษาระดับ ม6.
(3 ) ชีวิตในวันทำงาน เมื่อจบการศึกษาบิดาส่งให้ไปอยู่กับญาติที่จังหวัด
ราชบุรี และทำงานในโรงพยาบาลจังหวัดราชบุรีได้รับการแต่งตั้งเป็นลูกจ้างประจำทำหน้าที่ทำ
ความสะอาดเครื่องมือแพทย์ได้ค่าจ้างเดือนละ 420 บาท แบ่งเงินส่งให้พ่อและแม่เป็นค่าใช้จ่าย
เป็นประจำทุกๆ เดือน ช่วงที่ทำงานในโรงพยาบาลเป็นที่รักของเพื่อนร่วมงานและผู้บังคับบัญชา
โดยเฉพาะหมอใหญ่และชมเสมอว่า “สงวนศรีนอกจากจะขยันขันแข็งแล้วยังทำงานเป็นระเบียบ
เรียบร้อยมาก” ส่วนเพื่อนร่วมงานเราก็ช่วยเหลือตลอดอย่างเช่นวันหยุด ไม่เคยกลับบ้านจะ
ทำงานพิเศษ บางครั้งเพื่อนเขาจะจ้างให้ทำงานแทนแต่เราไม่เคยจะคิดอะไรบอกว่าช่วยเหลือได้ก็
จะช่วย ปี พ.ศ. 2527 แต่งงานกับ ส.อ.สุรศักดิ์ ช่างเมือง รับราชการทหารยศเป็นสายสิบเอก
สังกัดค่ายภาณุรังษี จังหวัดราชบุรี หลังจากแต่งงานแล้ว 1 ปี ได้ลาออกจากการทำงานที่โรง
พยาบาล ไปพกั อยทู่ บี่ า้ นของราชการในคา่ ยภาณรุ งั ษี ทำหน้าที่เป็นแม่บ้านและประกอบอาชีพ
ขายของประเภทของใช้ในครัวเรือน เช่น น้ำปลา ผงซักฟอก สบู่ ยาสีฟัน แป้ง อาหารสำเร็จรูป
ต่าง ๆ และขายอาหารตามสั่งประเภทข้าวผัด ต่างๆ ทำให้ฐานทางด้านเศรษฐกิจของครอบครัวดี
มากสามารถรวบรวมเงินสร้างบ้านเป็นของตนเองหน้าค่ายภาณุรังษี จังหวัดราชบุรี เมื่อบ้านเสร็จ
สมบูรณ์ก็ได้ย้ายครอบครัวออกจากบ้านพักทหารของราชการ ไปอยู่ที่บ้านส่วนตัวและยังคง
ประกอบอาชีพค้าขายแบบเดิม แต่ได้ขยายสินค้าเพิ่มขึ้น เช่น น้ำอัดลม สุรา เบียร์ ส่วนภาระการ
เลี้ยงดูบิดามารดายังคงส่งเงินเป็นค่าใช้จ่ายให้ทุก ๆ เดือน เดือนละสองพันบาทอาชีพการขายของ
ในช่วงนั้นดีมาก ทำให้การดำรงชีพได้สะดวกสบาย ชีวิตภายในครอบครัวเริ่มมีปัญหา กรณีเช่น
ในแต่ละวันจะขายของและอาหารได้ไม่ตำกว่าสามพันถึงสี่พันบาท แต่ขาดหายไป ทำให้ไม่ไว้
98
วางใจต่อกัน ต่อมาได้ทราบจากเพื่อนบ้าน และประสบด้วยตัวเองว่าสามีไปติดพันธ์ผู้หญิงอื่น ทำ
ให้ทะเลาะกันอย่างรุนแรงหลายครั้ง และในที่สุดก็ได้หย่าร้างกัน นางสงวนรับภาระเลี้ยงดูบุตรทั้ง
หมด 5 คน มีแนวความคิดว่าไม่อยากให้พี่น้องต้องแยกกันอยู่ ตัดสินใจขายบ้านที่จังหวัดราชบุรี
กลับไปอยู่กับบิดามารดาที่บ้านซอยวัดเทพากร กรุงเทพ ประกอบกับขณะนั้นทั้งบิดาและมารดาก็
อยู่กับตามลำพังสองคน เมื่อกลับมาอยู่กรุงเทพก็เริ่มที่จะหาอาชีพทำ ได้เปิดบ้านทำเป็นร้านขาย
ก๋วยจั๊บ และอาหารตามสั่ง มีรายได้พอเป็นค่าขนมลูก ๆ ทั้ง 5 คนไปโรงเรียน จนกระทั่งลูกคนโต
จบระดับประถมหกก็ให้ออกจากโรงเรียนให้มาช่วยขายด้วยอีกคนในช่วงนี้ชีวิตลำบาก หลัก
จากที่ได้หย่าร้างกับสามีแล้ว 2 ปี ก็มีสามีใหม่อาชีพเป็นพนักงานของบริษัท ซี.พี มีบุตรด้วยกัน
2 คน ผู้ชายอายุ 16 ปี และผู้หญิงอายุ 18 ปี
(4 ) การดำรงชีวิตในปัจจุบัน ปัจจุบันได้หย่าร้างกับสามีคนที่ 2 ซึ่งสามีแยก
ไปอยู่ที่อื่นนางสงวนอยู่กับลูกชายและลูกสาว ประกอบอาชีพทำปลาแนมให้ลูกสาวไปขายที่ตลาด
บางพลัด ส่วนนางสงวนก็จะไปขายที่ท่าน้ำวัดเทพนารี ขายเฉพาะตอนเช้าประมาณเจ็ดโมงเช้าถึง
เก้าโมงเช้า บางวันก็จะมีเหลือบ้างเล็กน้อยถึงแม้ของที่ขายจะไม่หมดแต่เมื่อถึงเวลาจะกลับเพื่อนำ
ปิ่นโตไปถวายพระที่วัดให้ทันพระฉันท์เพล หลังจากที่ทั้งบิดาและมารดาได้เสียชีวิตแล้วจะทำ
หน้าที่นี้แทนมาตลอด ยกเว้นที่มีธุระจำเป็นไปทำธุรกิจ เช่นไปหาหมอ หรือไม่สบายเท่านั้น
2. ข้อมูลเกี่ยวกับองค์ประกอบที่ก่อเกิดจริยธรรม
(1 ) องค์ประกอบที่เกี่ยวกับบ้าน
การสร้างความสัมพันธ์ภายในครอบครัว ครอบครัวของนางสงวน เป็น
ครอบครัว
ขนาดกลาง มี ปู่ พ่อ แม่ และ ลูก 4 คน รวมสมาชิกในบ้านเจ็ดคน สมาชิกในครอบครัว
มีทั้งผู้สูงอายุและเด็กเมื่อพ่อแม่ไปทำงาน ก็จะมีพี่คนโตซึ่งขณะนั้นอายุ 8 ปี และนางสงวนศรี
อายุ 7 ปี ช่วยกันทำงานในบ้าน หุงข้าวทำกับข้าว เลี้ยงน้อย ซักเสื้อผ้า ทำงานเสร็จก็จะเล่นกัน
อยู่ในกลุ่มพี่น้อง ไม่ได้ออกไปนอกบ้านหรือออกไปเที่ยวที่ไหน ลูกทุกคนจะใกล้ชิดพ่อมากกว่าแม่
เพราะพ่อจะไม่ดุ วันหยุดหรือยามว่างพ่อจะนั่งคุยเล่นกับลูก ๆ ส่วนแม่จะตัดเย็บเสื้อผ้าให้
ลูกๆ บางทีแม่จะได้เสื้อผ้าจากเพื่อน ๆ ที่โรงครัว แล้วมาดัดแปลงให้ลูกสาวหรือใส่เอง แม่จะเป็น
คนประหยัดมาก เสื้อผ้าของลูกคนไหนที่ใส่ไม่ได้แล้ว แม่จะเก็บไว้ให้น้องคนเล็กใช้ต่อ เรื่อง
อาหารการกินของลูก ๆ ก็เช่นกัน ถ้าหากวันไหนเป็นวัหยุดพวกเราจะดีใจกันมากเพราะว่าแม่จะ
ทำขนมให้เรากิน พวกเราจะช่วยกันคนละไม้คนละมือประเดี๋ยวเดียวก็เสร็จประเดี๋ยวเดียวก็ได้กิน
แต่ที่แม่ทำบ่อยมาก็เป็นหมี่กรอบ แม่บอกว่า ลงทุนน้อยได้ปริมาณมากได้กินทั่วถึงกันทุกคน
99
แถมบางครั้งยังแบ่งเก็บไว้อีกหลายวันไม่บูดไม่เสีย นางสงวนศรี มีหน้าที่ประจำ คือปรนนิบัติปู่
ซึ่งขณะนั้นอายุ 75 ปี เตรียมอาหารให้ปู่ทุก ๆมื้อ รับใช้ใกล้ชิดปู่ รู้จักเอาใจ ทำให้กลายเป็น
หลานที่ได้รับความรักจากปู่มากกว่าคนอื่น ก่อนที่ปู่จะเสียชีวิตได้สอนวิธีการนวด การทำลูก
ประคบและยังได้ตำรายาแผนโบราณ ปัจจุบันนี้ได้นำวิชาความรู้ที่ได้จากปู่ช่วยเหลือเพื่อนบ้านบ้าง
เช่น บางครั้งเพื่อนบ้านจะให้ไปกวาดยาให้กับเด็ก (อาการที่เด็กทารกมีฝ้าขาวหนาที่ลิ้นกินนมไม่ได้
และเด็กจะร้องไห้โยเย) และเพื่อนบ้าน ซึ่งบ้านอยู่ติดกัน เป็นโรคอัมพฤก เดินไม่ได้ช่วยนวด
ให้ทั้งเช้าและเย็นจนสามารถเดินได้ ผู้วิจัยได้สังเกตแบบมีส่วนร่วมพบว่านางสงวนมีตำราการนวด
ซึ่งเขียนด้วยหมึกอินเดียนอิ้งสีดำเป็นรูปภาพคนบอกตำแหน่งการกดและตำรายาแผนโบราณเขียน
แบบสมุดช่วย อายุร้อยกว่าปีให้ดู บอกว่ามีเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยมหิดลมาขอซื้อแต่ไม่ขาย
จะเก็บไว้เป็นสิริมงคลกับครอบครัว การสร้างบรรยากาศภายในครอบครัวด้วยการให้สมาชิกทุกคน
มีส่วนร่วมในการรับผิดชอบ ช่วยเหลือกัน มีสิทธิในการปกครองดูแลน้องให้น้องรู้จักยำแกรงและ
เคารพเชื่อฟังพี่ เป็นการสร้างรูปแบบของครอบครัวที่มีระบบ
วิธีการอบรมเลี้ยงดู ครอบครัวของนางสงวน เป็นครอบครัวขนาดกลางสมาชิก
ในครอบครัว ประกอบด้วย ปู่ พ่อ แม่ และลูก 4 คน สภาพเศรษฐกิจของครอบครัวอยู่อย่าง
พอมีพอใช้ พ่อเป็นคนใจดีมีระเบียบ แม่เป็นแม่บ้านที่ขยันและประหยัด พ่อจะไว้วางใจให้แม่เป็น
คนเก็บเงินและบริหารค่าใช้จ่ายของครอบครัว เมื่อพี่สาวคนโตเป็นผู้ใหญ่มากขึ้น แม่ก็แบ่งภาระ
ให้รับผิดชอบแทน พ่อจะสอนลูกทุกคนให้รู้จักใช้จ่าย รู้จักเลือกซื้อ แม้แต่จะซื้อขนมกันพ่อจะบอก
ว่า ขนมแบบนี้แม่เขาทำเป็น รู้จักช่วยเหลือกันทำงาน ทุกวันที่พ่อกลับจากทำงาน พ่อจะถามลุก
ๆ ว่าวันนี้ ใครทำอะไรบ้าง เล่นอะไรกับใคร นางสงวนศรีเล่าว่า เคยพาน้องออกไปในอาณาเขต
พระตำหนัก ไปแอบดูดอกไม้ส่วนมากจะเห็นดอกบัว แล้วก็เล่าให้พ่อฟัง ถูกพ่อตำหนิแต่ไม่ดุแบบ
อารมณ์เสียเพียงแต่บอกให้เราเข้าใจว่าอะไรควรหรือไม่ควรและสั่งเสียว่าคราวหน้าไม่ให้ทำอีกการ
ที่พ่อพูดด้วยเหตุผลทำให้ลูกทุก ๆ คนรักพ่อและกลัวเกรงพ่อ ส่วนแม่จะไม่ค่อยพูดมากแต่มีความ
เด็ดขาด ทุกอย่างที่แม่ออกคำสั่งหมายถึงจะต้องทำให้สำเร็จและทันทีทันใด ข้อสังเกต ครอบครัว
ของนางสงวนศรี วงศ์ยิ้ม เป็นครอบครัวที่พ่อแม่สั่งสอนลูกให้มีเหตุผลในการคิดการทำให้มีหน้าที่
รับผิดชอบตามความเหมาะสม จะเป็นทางบ่มสร้างนิสัยให้มีวินัยมีระเบียบ มีความคิดรอบ
คอบ อนั อาจจะเปน็ บอ่ เกดิ ใหเ้ ปน็ คนดมี ี จริยธรรมได้
(2) องค์ประกอบที่เกี่ยววัด
ความสัมพันธ์กับวัด เมื่อบิดามารดาของนางสงวนศรี ย้ายครอบครัวไป
สร้างบ้านในซอยวัดเทพากรร่วมใจ จึงมีโอกาสไปทำบุญเป็นกิจวัตรประจำวัน และมีหน้าที่เป็นแม่
งานการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ของวัด พ่อและแม่จะสอนลูก ๆ เสมอว่า คนเราต้องทำบุญเอาไว้ เพื่อผล
100
บุญจะตอบสนองเรา และช่วยเหลือผู้อื่นเท่าที่จะช่วยได้ เมื่อบิดามารดาถึงแก่กรรม นางสงวนศรี
จึงได้ทำหน้าที่จัดอาหารไปถวายพระทุกวัน สืบทอดบิดามารดาจนกระทั้งบัดนี้ อีกทั้งเป็นแม่งาน
การจัดกิจกรรมของวัดทุกครั้ง โดยที่มีความตั้งใจที่จะทำเช่นนี้ไปตลอดชีวิต
ความเชื่อความศรัทธาในหลักธรรม มีความเชื่อว่า “คนเราจะต้องสะสมบุญ
ของตัวเองไว้ เพื่อไว้กินในชาติหน้า” ซึ่งนางสงวนศรี หมายถึง คนเราจะต้องหมั่นทำความดี ทำ
บุญสร้างกุศลไว้ชาติหน้าจะได้สบาย
(3 ) องค์ประกอบที่เกี่ยวกับในโรงเรียน
ความสัมพันธ์กับครูอาจารย์ นางสงวนศรีมีโอกาสได้เรียนหนังสือในขณะที่พี่
สาวไม่ได้เรียน ในยุคสมัยที่การศึกษาไม่เจริญ สภาพของโรงเรียนไม่เป็นมาตรฐาน โรงเรียนที่
นางสงวนศรีเรียนนั้น เป็นบ้านขุนนางเก่าเปิดรับกาสอนคนทั่วไป ครูที่สอนฉัน เป็นขุนนางเก่าที่
มีความรู้มีอายุมากใจดี แต่เข้มงวด (ครูประพันธ์) สอนให้อ่านออกเขียนได้คิดเลขเป็น นางสงวน
ศรี และได้รับคำชมจากครูเสมอว่าเป็นคนเก่ง และให้กำลังใจ และสำเร็จการศึกษาในระดับ ม.3
นางสงวนศรี มีลักษณะเฉพาะตัวที่โดดเด่น เป็นน่าเชื่อถือของบุคคลทั่วไป เป็นผู้ใฝ่รู้และ กล้า
แสดงออก ซึ่งลักษณะเฉพาะตัวที่มีอยู่ในตัวของบุคคลนั้น ถ้าหากได้รับการขุดคุ้ยออกมา ก็จะ
เป็นการสร้างบุคลิกที่โดดเด่นให้ผู้นั้นได้ ถือว่าครูนั้นเป็นบุคคลสำคัญที่เป็นต้นแบบเสริมสร้าง
ลักษณะนิสัยบุคลิกได้
(4 ) องค์ประกอบที่เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทางสังคม
วิถีชีวิตภายในชุมชน ผู้วิจัยสังเกตพบว่าประชาชนมีความสะดวกสบายใน
การเดินทางไปประกอบอาชีพ เนื่องจากชุมชนนี้เป็นชุมชนเมือง ด้านหน้าติดถนนสายหลักคือ
ถนนจรัญสนิทวงศ์ ด้านหลังติดแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้เดินทางได้ทั้งทางรถและทางเรือในเวลา
กลางวันจะมีเฉพาะผู้สูงอายุเฝ้าบ้าน ผู้ที่บ้านเรือนใกล้กันจะมีการสังสรรค์กัน บางครอบครัวมีหน้า
ที่เลี้ยงเด็กที่เป็นลูกหลานในบ้าน ตอนเย็นจะพาลูกหลานไปเล่นที่สนามภายในวัดเทพากรร่วมใจที่
อยู่กลางชุมชน ในชุมชนจะมีทั้งวัด โรงเรียน ศูนย์เด็กเล็ก และสถานที่สำหรับเด็กเล่น ทำให้พ่อแม่
หรือผู้ปกครองมีโอกาสได้พบปะสังสรรค์กันเป็นประจำ
เศรษฐกิจชุมชน ชุมชนวัดเทพากร ตั้งอยู่ใกล้กับสถานที่ประกอบการของเอก
ชนและของรัฐบาล เช่น ห้างสรรพสินค้า โรงแรมชั้นดี โรงพยาบาล โรงเรียนสถาบันราชภัฏ และ
สถานที่ราชการอื่น ๆ อีกมาก ประชาชนส่วนใหญ่ที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ในชุมชนส่วนใหญ่ มีอาชีพที่
101
ถาวร เช่น ราชการ รัฐวิสาหกิจ นักธุรกิจ และลูกจ้าง ตามลำดับ ฐานะของประชาชนอยู่ในระดับ
ค่อนข้างร่ำรวยเป็นส่วนใหญ่ จากการสำรวจของผู้นำชุมชนพบว่า ผู้มีรายได้ระดับห้าพันบาทต่อ
เดือน มีประมาณร้อยละ 30 และนอกจากนี้สภาพภายนอกที่บ่งบอกถึงฐานะทางเศรษฐกิจได้ โดย
สังเกตจากสภาพของบ้านอยู่อาศัย จะปลูกสร้างแบบถาวรมีทั้งบ้านไม้และครึ่งตึกครึ่งไม้
บ้านของ นางสงวนศรี อยู่ติดถนนสายหลักในชุมชน หน้าบ้านมีร้านอาหารประเภท ไก่
ย่าง ส้มตำ มีผู้คนมากทำให้มีโอกาสได้ทักทายพูดคุยกัน ความพร้อมของชุมชนที่มีทั้ง วัด โรงเรียน
และสถานที่สำหรับพักผ่อนหย่อนใจ ได้รับความสะดวก ได้รับความรู้ และการกล่อมเกลาทางจิตใจ
ตลอดจนมีเวลาได้พักผ่อนหย่อนใจ มีความสัมพันธ์ มีบรรยากาศของความเป็นมิตร เป็นส่วนทำให้
คนในสังคมรวมทั้งนางสงวนศรี และครอบครัว มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี
การเลือกคบเพื่อน นางสงวนศรีเป็นผู้ที่มีความรู้วิธีการนวดจับเส้น และ
ประกอบอาชีพค้าขาย จึงมีลักษณะเฉพาะตัวคือ เป็นผู้มีมนุษย์สัมพันธ์ดีกับบุคคลทั่วไป ในชุม
ชนวัดเทพากรชาวบ้านรู้จักนางสงวนเป็นส่วนใหญ่ นางสงวนศรีมีเพื่อนที่คบหากันมาตั้งแต่สมัย
เด็กชื่อคุณแดง มีบ้านอยู่ซอยสวนพลู ซึ่งคบหากันมานาน เมื่อมีเรื่องหรือปัญหาจะคุยติดต่อ
กันทางโทรศัพท์ และอีกคนที่พบว่าเป็นทั้งเพื่อนและผู้ที่ชีวิตนั้นจะขาดไม่ได้คือ พี่สาวคนโต เป็น
คู่คิดและให้คำแนะนำในทุกๆ เรื่อง พี่สาวเป็นคนไม่ช่างพูด เป็นคนที่มีระเบียบพูดจริงและทำจริง
ทั้งสามคนสนิทสนมกันมาตั้งแต่เดิม ปัจจุบันก็ยังคงมีความสัมพันธ์เหมือนเดิม ส่วนในชุมชนก็จะ
มีเพื่อนบ้านที่คุยกันเรื่องทั่วไปช่วยเหลือกันบ้าง เช่น งานบวช งานแต่ง หรืองานศพ จะช่วยเหลือ
กัน เป็นที่น่าสังเกตว่า นางสงวนศรี มีเพื่อนหลายประเภท หลายระดับ ประกอบด้วย เพื่อน
สนิท เพื่อนที่ชอบพอรักใคร่กัน เพื่อนคู่คิด เพื่อนบ้าน แสดงให้เห็นว่านางสงวนศรี เป็นผู้มีมนุษย์
สัมพันธ์ดี
(5 ) องค์ประกอบเกี่ยวกับการบริหารจัดการของคณะกรรมการกองทุน
ระเบียบกองทุน จากการศึกษาพบว่าระเบียบกองทุนหมู่บ้านชุมชนเทพากร
ร่วมใจ มีวัตถุประสงค์ให้เป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนของชุมชน ส่งเสริมให้เกิดการออมทรัพย์ด้วยวิธี
การฝากเงินสัจจะ บริการให้เงินกู้แก่สามาชิกกองทุน เพื่อก่อให้เกิดการพัฒนา จิตใจสมาชิกให้เป็น
ดีมีคุณธรรม 4 ประการคือ มีความซื่อสัตย์ ไม่เห็นแก่ตัว ไม่มัวเมาในอบายมุข และรู้รักสามัคคี จะ
เห็นว่าระเบียบของกองทุนซึ่งกำหนดขึ้นและโดยความเห็นชอบของประชาชนในชุมชน มีวัตถุ
ประสงค์ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชนจึงเป็นที่พึ่งพอใจของสมาชิกผู้ใช้บริการกองทุน
(6 ) องค์ประกอบที่เกี่ยวกับพฤติกรรมการรับข่าวสาร
พฤติกรรมการรับข่าวสาร นางสงวนศรี อยู่ในวัยผู้ใหญ่ อาชีพแม่บ้านเป็น
หลักมี กิจกรรมขายของบ้างเล็กน้อย แต่เป็นผู้ที่มีความสนใจในเหตุการณ์บ้านเมืองปัจจุบัน
102
เมื่อถามถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เช่น เรื่องการทุจริตของเจ้าหน้าที่ทางด่วน ก็สามารถที่จะ
วิเคราะห์ให้ฟัง มีเหตุผลรองรับที่น่าเห็นด้วยและยังแสดงความคิดเห็นการโฆษณาทางโทรทัศน์ว่า
ส่วนใหญ่แล้วเกิดความเป็นจริง หลอกลวงประชาชน ถ้าเรื่องที่ผ่านมาทางโทรทัศน์หลอกลวงไป
หมด ผู้ดูก็จะอันตราย นางสงวนศรีชอบข่าวสารด้านความบันเทิงทางโทรทัศน์ ชอบดูการประกวด
ร้องเพลง เพราะถือว่าเป็นการให้โอกาส ส่วนละครไทยก็ดูบ้างเป็นบางเรื่อง แต่ไม่ค่อยจะชอบดู
นอกจากดูโทรทัศน์แล้ว บางครั้งก็อ่านหนังสือพิมพ์บ้างแต่จะไม่ค่อยได้อ่านเพราะที่บ้านไม่รับ
หนังสือพิมพ์ นอกจาก ยังรับรู้ข่าวสารจากสื่ออื่นๆ ที่สนใจ เช่น จากหนังสือพิมพ์เพื่อนำมาอ่านเพิ่ม
เติม แสดงให้เห็นว่านางสงวนศรี เป็นผู้ที่มีความสนใจเรื่องราวที่เป็นส่วนรวม เป็นการแสดงให้
เห็นถึงจิตสำนึกของคนได้ว่า ยังยอมรับรู้เรื่องของสังคม ถึงแม้จะแก้ไขอะไรไม่ได้ แต่ก็ยังรับผิด
ชอบรับรู้ไว้
จากตัวแปรที่กำหนดเป็นองค์ประกอบเพื่อศึกษาการก่อเกิดจริยธรรม สรุปได้ว่า นางสงวน
ศรี วงศ์ยิ้ม มีองค์ประกอบที่ก่อเกิดจริยธรรม จาก 3 องค์ประกองคือ 1) บ้าน ด้วยการเลี้ยงดูที่ให้
ความรักความอบอุ่น มีระเบียบวินัย ช่วยเหลือตัวเอง และช่วยเหลือเกื้อกูลกัน 2) วัด ได้รับการปลูก
ฝังให้มีความเชื่อความศรัทธาในหลักธรรม ให้ทำแต่ความดีเมื่อผลดีที่จะได้ตอบสนอง 3) สภาพ
แวดล้อมทางสังคมด้วยเหตุที่ชุมชนมีความพร้อมทางด้านเศรษฐกิจ สุขภาพทางกายและจิต ความ
สะดวกสบาย ตลอดจนบรรยากาศของความเป็นเพื่อนบ้านที่ดีต่อกัน
นางวรรณา แม้นเลขา อยู่บ้านเลขที่ 497 ซอย 13 ชุมชนวัดเทพากรร่วมใจ เขตบางพลัด
กรุงเทพมหานคร เป็นผู้ใช้ประโยชน์จากกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองของ ชุมชนวัดเทพากร
ร่วมใจ ผลการศึกษาและวิเคราะห์มีรายละเอียดดังนี้
1. ข้อมูลทั่วไป
(1) ภูมิลำเนาของบิดามารดา
บิดามารดาของนางวรรณา แม้นเลขา เป็นชาวประจวบคีรีขันธ์ ประกอบอาชีพค้าขายผลไม้
นางวรรณาเป็นบุตรคนที่ 2ในจำนวนพี่น้อง 5 คน ต่อมาบิดามารดาขายบ้านและย้ายไปอยู่ใน
กรุงเทพฯ ซอยจรัลฯ 35 ประกอบอาชีพขายอาหารสด เช่น ผัก หมู ไก่ ปลา ภายในบ้านซึ่งเป็น
อาคารพานิชย์และมีรายได้ดีพอส่งเสียลูกให้ลูกได้เรียนดี บิดามารดาจึงทำงานหนักมาก ลูกทุกคนจึง
ต้องช่วยเหลือกัน และแบ่งหน้าที่กันตามความสามารถ ในปี 2535 มารดาของนางวรรณา ประสบ
อุบัติเหตุเสียชีวิต พี่สาวคนโตซึ่งจบชั้น ปวส. ต้องมาช่วยบิดาค้าขาย ในขณะที่นางวรรณา เรียนอยู่ที่
โรงเรียนพาณิชยการธนบุรี ต่อมาเมื่อน้องชายคนเล็ก สอบเข้าเรียนที่วิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพได้ บิดา
103
จึงย้ายกลับไปอาศัยอยู่กับญาติที่บ้านเดิมในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ทำไร่ ปลูกผักเล็กๆ น้อยๆ และ
จะนำผลผลิตมาให้ร้านที่กรุงเทพฯ ทุกสัปดาห์ ไม่ยอมมาอยู่ในกรุงเทพฯ ให้เหตุผลว่าอากาศดี
และคิดถึงมารดาที่เสียชีวิตในลักษณะที่น่าสงสาร ลูกทุกคนจึงผลัดกันไปเยี่ยมทุกเดือน ปัจจุบัน
บิดาของนางวรรณา อายุ 76 ปี สุขภาพแข็งแรง และมีญาติสนิทดูแลและคอยส่งข่าวให้ลูกๆ ทราบ
สม่ำเสมอ
(2 ) ชีวิตในวัยเด็กและวัยศึกษา
ในวัยเด็ก นางวรรณา มีชีวิตที่ค่อนข้างสะดวกสบาย บิดามารดาให้ความรักและเอาใจใส่
ประกอบกับครอบครัวค้าขายมีรายได้ดี นางวรรณา จบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาจากโรง
เรียน เทศบาลเมืองประจวบคีรีขันธ์ และระดับ ปวช. สาขาการตลาดที่โรงเรียนพาณิชย
การธนบุรี ก่อนไปโรงเรียน ได้ช่วยบิดามารดาขายของ ในตอนเช้าได้ไปช่วยมารดาซื้อของที่ตลาด
มาจัดของขาย ในวันหยุดจะไปช่วยมารดาซื้อของที่ตลาดศาลาน้ำร้อนหรือตลาดหัวรถไฟ ซึ่งอยู่ใกล้
โรงพยาบาลศริ ริ าช โดยออกจากบา้ นตงั้ แต ่ สามนาฬิกา เพื่อจะได้นำของไปจัดขายในร้านได้ทัน
เวลา หกโมงเช้า ในตอนเย็นเป็นหน้าที่ของพี่ ได้รับค่าใช้จ่ายจากมารดา เดือนละ 1,200 บาท ซึ่ง
ต้องใช้จ่ายอย่างประหยัด
(3 ) ชีวิตในวันทำงาน
หลังจบการศึกษาในระดับ ปวช. สาขาการตลาด นางวรรณา ได้เข้าทำงานที่แผนก
เครื่องไฟฟ้า ห้างเซ็นทรัล ลาดพร้าว ได้รับเงินเดือนในอัตรา 4,500 บาท และมีรายได้เพิ่มจากเปอร์
เซนต์การขายในแต่ละเดือน รวมรายได้ประมาณ 8,000 บาท ซึ่งนางวรรณาได้แบ่งรายได้ให้กับ
บิดาและน้องที่ยังเรียนอยู่ และมีเหลือเก็บไว้เป็นเงินออมเมื่อจำเป็น หลังจากที่แต่งงานแล้ว 1 ปี
สามีให้ลาออกมาช่วยดูแลป้า ซึ่งเป็น มารดาบุญธรรม อายุ 87 ปี ซึ่งเป็นผู้ชราที่ช่วยตัวเองไม่ได้
ประกอบกับตั้งครรภ์บุตรคนแรก สุขภาพไม่แข็งแรง ต้องไปพบแพทย์บ่อยๆ หลังคลอดบุตรมีภาระ
ด้านค่าใช้จ่ายของครอบครัวที่เพิ่มขึ้น และค่ารักษาพยาบาลป้า ได้รับความช่วยเหลือเฉพาะ
หน้าจากหัวหน้าเขตบางพลัด เป็นเงิน 1,780 บาท และได้รับค่าช่วยเหลือการจัดงานศพของป้าที่ถึง
แก่กรรมจำนวน 3,000 บาท เป็นค่าอาหารสำหรับถวายภัตตาหารพระสงฆ์ และยังได้รับความช่วย
เหลือส่วนอื่นๆ จากวัดและเจ้าอาวาสวัดเทพากร ซึ่งเป็นซาบซึ้งและประทับใจที่ได้รับความเมตตา
กรุณา ในหลายๆอย่าง
(4 ) การดำรงชีวิตในปัจจุบัน
ได้รับกรรมสิทธิ์บ้านจากป้า ซึ่งเมตตายกให้เพราะเป็นผู้ที่ดูแลใกล้ชิด จนเกิดความรักนับ
ถือเปรียบเสมือนมารดา ได้รับคำชื่นชมจากป้า เสมอว่า “ถึงจะหน้าตาไม่สวยแต่ใจมันสวย”
ปัจจุบันดูแลลูกอยู่กับบ้าน เนื่องจากสามีไปทำงานที่จังหวัดระยอง และจะส่งเงินมาเป็นค่าใช้จ่าย
104
สำหรับลูกทุกเดือน บุตรคนสุดท้องมีสุขภาพไม่แข็งแรงเป็นหอบหืด ต้องไปรับการรักษาที่โรง
พยาบาลอยู่เสมอ ซึ่งมีผลให้มีค่าใช้จ่ายมาก นางวรรณา สมัครเข้าเป็นสมาชิกกองทุน และได้กู้ยืม
เงินกองทุนมาทำทุนค้าขาย ก๋วยเตี๋ยว และอาหารตามสั่ง ได้กำไรวันละประมาณ 300 บาท ทำให้มี
รายได้เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ นางวรรณายังใช้เวลาว่างรับจ้างซักผ้า เป็นอาชีพเสริมอีกด้วย
2 . ข้อมูลเกี่ยวกับองค์ประกอบที่ก่อเกิดจริยธรรม
(1 ) องค์ประกอบที่เกี่ยวกับบ้าน
การสร้างความสัมพันธ์ภายในครอบครัว ครอบครัวของนางวรรณา แม้น
เลขา มีอาชีพ
ค้าขาย ดังนั้นบุตรจึงต้องช่วยเหลือตัวเองและครอบครัว นับตั้งแต่เรื่องเรียนและการทำงาน
บ้าน ส่วนใหญ่ต้องดูแลกันเองโดยไม่เดือนร้อนหรือเป็นปัญหากับพ่อแม่ ซึ่งไม่มีเวลาสั่งสอน
เพราะต้องทำงานหาเงินเพื่อส่งเสียลูกและเป็นค่าใช้จ่ายภายในบ้าน จึงเป็นการสร้างความผูกพันธ์
ด้วยการมีความรับผิดชอบและดูแลน้อง เป็นการปลูกจิตสำนึกในการรู้จักหน้าที่ความรับผิดชอบนับ
ได้ว่าเป็นส่วนสร้างให้คนเป็นคนดีมีความรับผิดชอบ
วิธีการอบรมเลี้ยงดู เนื่องจากบิดามารดาไม่มีเวลาในการอบรมสั่ง
สอนเพราะชีวิตครอบครัวมุ่งแต่เรื่องทำมาหาเลี้ยงชีพ โดยบุตรทุกคนดูตัวอย่างจากบิดามารดา ใน
เรื่องไม่สูบบุหรี่กินเหล้าและไม่เที่ยวกลางคืนเหมือนเพื่อนบ้าน มีการรวมกลุ่มกินเหล้าและทะเลาะ
เบาะแว้งทุบตีกัน พ่อมักพูดกับแม่ว่าเราอย่าทะเลาะกันเลยมาช่วยกันค้าขายดีกว่า ซึ่งลูก ๆ นำ
แนวทางปฏิบัติของบิดามารดา ที่มีความขยันหมั่นเพียร หมั่นประกอบอาชีพสุจริต และมีครอบ
ครัวที่สงบสุขมาเป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับวิถีชีวิตของตน แบบอย่างบิดามารดาจึงเป็นวิธีการอ
บรมเลี้ยงดูลูกที่เกิดจากรูปธรรม เป็นแบบอย่างที่ดีลูกลอกเลียนแบบไปใช้อย่างได้ผล
( 2 ) องค์ประกอบที่เกี่ยววัด
ความสัมพันธ์กับวัด นางวรรณา เริ่มเรียนหนังสือจากโรงเรียนต่างจังหวัด ซึ่ง
ตั้งอยู่
ในวัด มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมวันสำคัญทางศาสนาเสมอ เมื่อครอบครัวได้ย้ายไปประกอบอาชีพที่
กรุงเทพมหานคร ไม่มีโอกาสได้ไปทำบุญที่วัด แต่จะทำบุญใส่บาตรพระหน้าบ้านตอนเช้าบ่อย
ครั้ง หลังจากมารดาเสียชีวิต จะไปทำที่วัดเมื่อวันครบรอบปี หลังจากแต่งงานย้ายไปอยู่บ้านของสามี
105
หลังวัดเทพากรซึ่งเป็นที่อยู่ปัจจุบันนี้ ก็ได้มีโอกาสไปช่วยเหลืองานของวัดทุกครั้งเมื่อมีงาน เช่น
ทอดผ้าป่า ทอดกฐิน งานบวชนาค งานวันพระ 8 ค่ำ 15 ค่ำ มีหน้าที่เป็นแม่ครัวให้กับวัด ทำให้เป็นที่
รู้จักและได้รับความเมตตา เอื้อเฟื้อจากเจ้าอาวาสเสมอเช่น อาหารที่เหลือจากฉันท์เพล เจ้าอาวาสจะ
ให้นำไปแจกจ่ายแก่ครอบครัวที่ยากจนในบริเวณใกล้วัด ครอบครัวของนางวรรณาซึ่งอยู่ในฐานะ
ยากจนก็จะได้รับเช่นกัน นางวรรณามีความสัมพันธ์กับวัดในฐานะผู้ได้รับความเมตตาจากเจ้าอาวาส
ความเชื่อความศรัทธาในหลักธรรม นางวรรณา ได้รับการปลูกฝังจากบิดาให้เป็น
คนดีมีความรับผิดชอบสังคม โดยเฉพาะได้รับการสั่งสอนให้ประกอบอาชีพที่สุจริต เห็นได้จากที่
นางวรรณาแสดงให้เห็นถึงทัศนความคิดที่มีต่อผู้ขายยาเสพติดว่าเป็นการทำลาย ทำให้เกิดปัญหากับ
สังคม และยึดถือคติว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว แสดงให้เห็นว่าผู้มีจิตสำนึกดีละอายต่อการทำความชั่ว
เช่น
นางวรรณานั้น นับได้ว่าเป็นคนดีมีความเชื่อศรัทธาในหลักธรรม
(3 ) องค์ประกอบที่เกี่ยวกับในโรงเรียน
ความสัมพันธ์กับครูอาจารย์ โรงเรียน ในวัยเรียนระดับ ปวช. ต้องช่วยพ่อ
แม่ค้าขายทำให้บางวันไปโรงเรียนสายและถูกตำหนิ แต่เมื่อครูรู้เหตุผลก็ให้ความเมตตาและเข้าใจ
ครูผู้ที่สูงวัยและมีประสบการณ์มากจะมีความเข้าใจวิถีชีวิตและชื่นชมในการช่วยเหลือครอบครัวใน
การประกอบอาชีพสุจริต และมักให้คำแนะนำอยู่เสมอ
(4 ) องค์ประกอบที่เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทางสังคม
วิถีชีวิตภายในชุมชน ตามที่กล่าวมาแล้วในหัวข้อโครงสร้างชุมชน ชุม
ชนวัดเทพากร เป็นชุมชนที่มีความพร้อม มีความสมบูรณ์อยู่ในระดับหนึ่ง แต่นางวรรณาซึ่ง
อยู่ในกลุ่มครอบครัวยากจน มีอาชีพขายอาหารตามสั่ง ซึ่งจะต้องหาเงินมาจุนเจือครอบครัว จึงไม่มี
โอกาสได้ออกไปสังสรรค์กับเพื่อนนอกบ้าน แต่จะได้สังสรรค์กับผู้ที่มาสั่งอาหาร จากการสังเกตพบ
ว่าในเวลากลางวัน จะมีเฉพาะผู้สูงอายุที่ซื้ออาหาร จึงทำให้นางวรรณาได้มีความผูกพันและ
สัมพันธ์กับผู้สูงอายุ
เศรษฐกิจชุมชน จากที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นนางวรรณาจัดอยู่ในกลุ่มร้อยละ
30 ที่มีฐานะยากจน เป็นผู้มีรายได้ประมาณเดือนละ 5,000 บาท แต่นางวรรณาก็สามารถดำรงชีวิต
ให้มีความสุขตามสถานภาพ เนื่องจากได้รับความเมตตาเอื้อเฟื้อจากเพื่อนบ้าน
การเลือกคบเพื่อน ในช่วงวัยเด็กมีพี่และน้องเป็นเพื่อนใช้เวลาส่วนใหญ่กับ
การ ช่วยเหลือครอบครัวในการประกอบอาชีพและการเรียนหนังสือจึงไม่ค่อยมีเพื่อนสนิทมากนัก
ปัจจุบันมีเพื่อนบ้านเป็นเพื่อนส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุที่ให้คำแนะนำ และเป็นที่เคารพนับถือเพราะ
106
ส่วนผู้ที่อยู่ในชุมชนเป็นผู้สูงอายุ เมื่อมีปัญหานางวรรณาก็ได้รับคำแนะนำช่วยเหลือกล่อมเกลา
จากบุคคลสูงอายุโดย ชี้นำทางด้านความคิด ในการทำความดีและละอายต่อการทำชั่ว
(5 ) องค์ประกอบเกี่ยวกับการบริหารจัดการของคณะกรรมการกองทุน
ระเบียบกองทุน ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าระเบียบของกองทุนหมู่บ้านและชุมชน
เมืองของชุมชนเทพากรร่วมใจ มีวัตถุประสงค์ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชน ทำให้เป็นที่พึงพอ
ใจของสมาชิกผู้ใช้ประโยชน์จากกองทุน นางวรรณาผู้ซึ่งกู้เงินจากกองทุนได้ยอมรับและปฏิบัติตาม
เงื่อนไขทุกประการ
(6 ) องค์ประกอบที่เกี่ยวกับพฤติกรรมการรับข่าวสาร
พฤติกรรมการรับข่าวสาร นางวรรณา ใช้เวลาส่วนใหญ่ในการประกอบ
อาชีพค้าขายและรับจ้างซักผ้าจึงไม่ค่อยมีโอกาสไปนอกบ้าน ยกเว้นไปซื้อของในตลาดส่วนใหญ่จะ
ได้รับข่าวสารจากเพื่อนบ้านสำหรับโทรทัศน์ และมักจะดูพร้อมกับลูก ๆ ในตอนกลางคืนส่วนใหญ่
จะดูการบันเทิเพราะไม่เครียด
จากการศึกษาตัวแปรที่กำหนด สรุปได้ว่า นางวรรณา แม้นเลขา มีองค์ประกอบที่ก่อ
เกิด จริยธรรมจาก 3 องค์ประกอบ คือ 1) บ้าน ด้วยวิธีการอบรมสั่งสอนให้เป็นคนดี อีกทั้งบิดา
มารดาเป็นแบบอย่างที่ดี 2) วัด มีพื้นฐานเป็นการเข้าร่วมกิจกรรมของวัดมาตั้งแต่วัยเด็ก และการ
ดำรงชีวิตในปัจจุบันได้อุทิศเวลาเพื่อช่วยกิจกรรมของวัด 3) สภาพแวดล้อมทางสังคม มี
ความสัมพันธ์กับผู้สูงอายุได้รับ คำปรึกษาและชี้นำจากเพื่อนบ้านผู้สูงอายุ ผู้ที่มีความเมตตาและ
ปรารถนาดี
ชุมชนพัฒนาซอย 79 ตั้งอยู่ที่ ซอย จรัญสนิทวงศ์ 79 หลังโรงเรียนวัดบางพลัด แขวงบาง
พลัด เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร เป็นชุมชนเมืองขนาดเล็ก มีบ้านเรือนของประชาชน
101 หลังคาเรือน 144 ครอบครัว มีจำนวนประชากรทั้งหมด 599 คน
สภาพเดิมของชุมชนเป็นพื้นที่สวนผลไม้ และเป็นที่ของเอกชน ต่อมาประชาชนอพยพมา
จากภูมิภาคต่าง ๆ เข้ามาแบ่งซื้อที่บ้าง เช่าบ้าง ปลูกสร้างบ้านอยู่อาศัย เกิดสภาพความแออัดมาก
ขึ้น จึงได้รวมตัวจัดตั้งเป็นชุมชนขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2521 ปี พ.ศ. 2529 เกิดอัคคีภัยครั้งใหญ่ทำให้บ้าน
เรือนเสียหายเกือบหมด ประชาชนจึงได้จัดระเบียบชุมชนขึ้นใหม่ โดยได้แบ่งพื้นที่สร้างบ้านให้เป็น
ระเบียบขึ้น
เศรษฐกิจชุมชน ภายในชุมชนไม่มีทรัพยากรธรรมชาติ ประชาชนมีอาชีพรับจ้าง ค้า
ขาย รัฐวิสาหกิจ และรับราชการ ตามลำดับ รายได้ของประชาชนโดยเฉลี่ยรายได้ขั้นต่ำสุดครอบครัว
107
ละ 50,000 บาท ต่อปี ส่วนใหญ่ประชาชนประกอบอาชีพรับจ้าง มีรายได้ไม่แน่นอน ประชาชนมี
ฐานะพอมีพอกิน ค่อนข้างยากจน
สภาพทางสังคมและวัฒนธรรม ประชาชนมีทั้งเจ้าของพื้นที่ดั้งเดิม และผู้ที่เข้ามาอยู่ใหม่
อีกทั้งเป็นชุมชนเปิดมีผู้มาเช่าบ้านอยู่อาศัยชั่วคราว ลักษณะผสมผสานกันระหว่างเจ้าของถิ่นเดิม
กับผู้มาอยู่ใหม่ แต่ชุมชนสามารถรวมตัวกันได้ในโอกาสที่ต้องการความร่วมมือกันทำความสะอาด
ลอกท่อ การจัดงานวันปีใหม่ วันสงกรานต์ ตลอดจนกิจกรรมการเสริมสร้างสุขภาพของประชาชน
จะมีการรวมกลุ่มออกกำลังกายทุกวัน
นบั ไดว้ า่ ประชาชนมคี ณุ ภาพ มีความสามัคค ี มีจิตสำนึกร่วมกัน จงึ ไดร้ บั การคดั เลอื กให้
เป็นชุมชนนำร่องจัดตั้งกองทุนหมู่บ้าน และสามารถบริหารจัดการได้ประสบผลสำเร็จ ดำเนิน
งานอย่างมีประสิทธิภาพ สืบเนื่องจากพฤติกรรมดี มีจริยธรรมของสมาชิกผู้ใช้บริการ
ผลการศึกษาและวิเคราะห์ สมาชิกผู้ใช้ประโยชน์จากกองทุนชุมชนพัฒนา ซอย
79 เป็นรายบุคคลประกอบด้วย 1) นางพรรณิภา อุ่นแจ่ม 2) นางเรณู นำผล มีผลการศึกษาและ
วิเคราะห์ดังนี้
นางพรรณิภา อุ่นแจ่ม อยู่บ้านเลขที่ 463/57 ซอยจรัญสนิทวงศ์ 79 ชุมชนพัฒนาซอย 79 เขต
บางพลัด กรุงเทพมหานคร เป็นสมาชิกผู้ใช้ประโยชน์จากกองทุนหมู่บ้านชุมชนพัฒนาซอย 79
1. ข้อมูลทั่วไป
(1 ) ภูมิลำเนาของบิดามารดา นางพรรณิภา อุ่นแจ่ม บิดามารดาเป็น
ชาวสวนทุเรียน อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี นอกจากทำสวนแล้ว ครอบครัวนางพรรณิภา ยัง
ปลูกผัก เลี้ยงเป็ดไว้ในร่องสวน เพื่อไว้บริโภคเอง และถ้ามีเหลือก็จะนำไปขายเป็นรายได้เพิ่ม บิดา
ของนางพรรณิภา ยังประกอบอาชีพช่างรับเหมาก่อสร้างบ้าน และมารดารับจ้างเย็บผ้าที่ตลาดโบ๊
เบ้ ต่อมาในปี 2517- 2518 น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาไหลท้วมส่วน ทำให้สวนทุเรียนล่ม บิดาจึงเปลี่ยน
อาชีพไปขายหนังสือที่สนามหลวง และยึดอาชีพขายหนังสือเป็นเวลานาน 10 ปี ก็เสียชีวิตด้วยเส้น
โลหิตในสมองแตก ขณะอายุ 59 ปี มารดาจึงเลิกอาชีพเย็บผ้า และมาทำกิจการขายหนังสือแทน
หลังจากนั้นได้ย้ายบ้านไปอยู่ที่ซอยจรัลสนิทวงศ์ 79 ซึ่งเป็นที่อยู่ปัจจุบัน โดยมารดาเลิกขายหนังสือ
และกลับมารับจ้างเย็บผ้าที่บ้าน นางพรรณิภามีพี่น้อง 3 คน เป็น 1 คน หญิง 2 คน และมีพี่บุญ
ธรรม 1 คน และมีญาติพี่น้องตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้เคียงกัน ซึ่งบิดามารดาจะให้ความช่วยเหลือญาติ
พี่น้องที่ขัดสนอยู่เสมอ ครอบครัวนางพรรณิภา มีฐานะปานกลางไม่ขัดสน ประกอบกับบิดา
มารดาเป็นคนประหยัด และขยันทำงานาจึงมีเงินเก็บ การบริโภคภายในครอบครัวได้จากผักที่ปลูก
ไว้กินในบ้านแทบไม่ต้องซื้อหาเพิ่มเติม ปัจจุบันมารดาอายุ 71 ปี สุขภาพแข็งแรงและทำงานอยู่
108
กับบ้าน รับจ้างเย็บผ้าขายขนม มีเครื่องเล่นเกมให้เช่าซึ่งจะมีรายได้ประมาณเดือนละ 10,000 –
15,000 บาทต่อเดือน แต่เป็นรายได้ที่ไม่คงที่
(2 ) ชีวิตในวัยเด็กและวัยศึกษา ชีวิตในวัยเด็กไม่ต้องทำงานตรากตรำ
มากช่วยงาน
บ้าน เช่น เลี้ยงเป็ด เก็บผัก เป็นภาระสมาชิกในครอบครัวช่วยกันทำ นางพรรณนิภาจบการ
ศึกษาประถมศึกษาจากโรงเรียนวัดบางพลัด ในช่วงเรียนอยู่ประถม 5 ได้เรียนเย็บผ้าปักจักร
จากมารดา หลังจากจบชั้นประถม 7 ได้เข้าศึกษาต่อที่วัดบวรมงคลจนจบชั้นมัธยม 3 ผลการเรียน
อยู่ในระดับดีมาตลอด หลังจากนั้นได้เข้าเรียนที่โรงเรียนดุสิตพณิชยการจนจบระดับ ปวช. ซึ่ง
เป็นที่น่าสังเกตว่านางพรรณิภาเป็นผู้ที่มีผลการเรียนดี
(3 ) ชีวิตในวันทำงาน เข้าทำงานที่บริษัทอุตสาหกรรมนมไทย (นมตรามะลิ)
ได้รับเงินเดือน ๆ ละ 6,000 บาทให้มารดาทั้งหมด มารดาจะจ่ายให้เป็นค่ารถค่าอาหารเป็นรายวัน
ทำงานได้ 2 ปี แต่งงานกับนายประยงค์ สุขสวาส เป็นข้าราชการสำนักงาน ก.พ. มีบุตรชาย 1
คน ต่อมาก็ต้อง หย่าร้างกัน เพราะสามีชอบเที่ยวผู้หญิงค้าบริการทางเพศ ติดกามโรคจาก
หญิงค้าบริการทางเพศ ปี พ.ศ. 2530 ย้ายไปทำงานบริษัท ลิดเติ้นไฟเยอร์ ประเทศไทยจำกัด
เป็นบริษัทขายนมผงสำหรับเด็ก ทำหน้าที่ป้อนข้อมูลลูกค้า ได้ค่าจ้างเดือนละ 9,000 บาท ทำได้
ห้าปีจึงได้ลาออกเนื่องจากการเดินทางลำบากและมีภาระในการเลี้ยงดูบุตรกลับกับมาช่วยมารดา
เย็บผ้าอีก 2 ปี ก็แต่งงานใหม่กับช่างรับเหมาก่อสร้าง และย้ายไปอยู่จังหวัดนครปฐม 4 ปี มีบุตร
กับสามีใหม่อีก 2 คนเป็นชาย 1 คน หญิง 1 คน ต่อมาปี พ.ศ. 2540 ได้ศึกษาต่อที่สถาบันราชภัฏ
สวนดุสิตตามปรารถนาของมารดาที่จะส่งเสียให้บุตรจบการศึกษาระดับปริญญาทุกคน และใน
ขณะเรียนได้ใช้เวลาช่วงกลางวันก่อนไปเรียนขายอาหารตามสั่งหน้าบ้าน เมื่อเรียนจบก็ได้เข้า
ทำงานที่ ป.บัณฑิต ในระหว่างที่ทำงานโครงการสามีมีปัญหาเกี่ยวกับอาชีพที่ทำกับนายทุนและได้
หนีออกจากบ้านไปโดยไม่ได้ติดต่อกับครอบครัวแต่อย่างใด
(4 ) การดำรงชีวิตในปัจจุบัน ปัจจุบันย้ายบ้านออกมาอยู่กับแม่ใน
ซอยบางพลัด ส่วนบ้านเดิมให้เช่ามีรายได้เดือนละ 5,000 บาท ขณะนี้ไม่มีอาชีพอะไรที่มั่นคงมีราย
ได้จากการรับเลี้ยงเด็ก ทำตุ๊กตาปูนปาสเตอร์ และรับจ้างซักผ้าร่วมกับมารดาและน้องชาย
โดยใช้เครื่องซักผ้าแบบหยอดเหรียญซึ่งเป็นกิจการที่ทำรายได้สูงโดยเฉพาะวันเสาร์อาทิตย์มีลูกค้า
มากเป็นพิเศษ
จากมูลเหตุดังกล่าว พอสรุปได้ว่า บรรยากาศของครอบครัวนางพรรณิภาพ ได้รับการเลี้ยง
ดูโดยปลูกฝังให้เป็นคนขยัน หมั่นเรียนรู้ มีความมานะพยายามจนสามารถจบระดับปริญญา แม้
มีปัญหาครอบครัวก็ไม่ท้อถอย ยังประกอบอาชีพโดยสุจริต และสามารถเลี้ยงดูบุตรได้ มีรายได้ไม่
109
เพียงพอ แต่ยังสามารถชำระเงินกู้กองทุนได้อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่านางพรรณิภา มี
ความซื่อสัตย์และมีความซื่อตรง จนเป็นที่น่าเชื่อถือของคนในชุมชน
2 . ข้อมูลเกี่ยวกับองค์ประกอบที่ก่อเกิดจริยธรรม
(1 ) องค์ประกอบที่เกี่ยวกับบ้าน
การสร้างความสัมพันธ์ภายในครอบครัว บรรพบุรุษของนางพรรณิภาเป็นคนสวนใช้ชีวิต
แบบชาวสวน ในช่วงแรกที่อยู่บ้านสวนช่วยบิดามารดาทำงานและยังได้พบหน้ากันทุกวันโดยเริ่ม
ตื่นตั้งแต่ตีห้าเลี้ยงเป็ดดายหญ้าลูก ๆทุกคนจะอยู่กันพร้อมหน้า ฟังบิดาคุยบ้างชวนบิดาคุยบ้างส่วน
มารดาจะไปเก็บผักผลไม้ก่อนจะไปเย็บผ้าที่ตลาด พี่บุญธรรมเป็นคนทำกับข้าว บิดารมารดาและ
บุตรจึงมีความสนิทสนมกัน ในตอนเย็น จะช่วยกันดายหญ้าในสวนเล่นบ้างทำงานบ้างและยังมีบ้าน
เครือญาติที่เข้ามาร่วมพบปะสังสรรค์กัน มารดามีอุปนิสัยใจดีจึงมีลูกหลานรักมากและจะช่วยเหลือ
ผู้ที่เดือดร้อนอยู่เสมอ เมื่อมีญาติขายที่สวนแม่ก็จะรับซื้อหรือรับจำนองไว้เอง
วิธีการอบรมเลี้ยงดู บิดามารดาเป็นผู้ที่มีการศึกษาน้อย แต่เป็นผู้ที่มีความขยันในการ
ทำงานเมื่อออกไปทำงานในสวนก็จะชวนลูก ๆ ไปช่วยกันทำและเก็บผักผลไม้มาบริโภคและจะแนะ
นำสั่งสอนลูกในเรื่องการทำมาหากิน บิดามารดาเป็นผู้มีลักษณะคล้ายกันคือเป็นคนใจเย็น และมีวิธี
การสั่งสอนลูก ๆให้มีความรักและสามัคคี และให้การสนับสนุนด้านการเรียนเพื่อสร้างอนาคตที่ดี
สำหรับลูก ๆ เมื่อสวนทุเรียนล่มบิดารมารดาได้ปรึกษาหารือกันเพื่อเปลี่ยนอาชีพใหม่โดยยึดอาชีพ
การขายหนังสือและมีความคิดว่าเมื่อไปขายหนังสือลูกๆ ก็จะได้อ่านหนังสือด้วย ซึ่งเป็นที่น่า
สังเกตว่าครอบครัวนางพรรณนิภา เป็นคนไทยมีภูมิปัญญาด้านจิตวิทยาการอบรมสั่งสอนบุตร
หลานให้รู้จักวิถีชีวิตรู้จักประหยัดมีวิสัยทัศน์และเป็นผู้มีความกตัญญูรู้คุณต่อบรรพบุรุษ
( 2 ) องค์ประกอบที่เกี่ยวกับวัด
ความสัมพันธ์กับวัด ครอบครัวนางพรรณิภามีความสัมพันธ์กับวัดสำโรงซึ่ง
เป็นสถานที่เก็บกระดูกบรรพบุรุษเมื่อถึงวันสำคัญก็จะไปทำบุญและบวชให้ลูกหลานที่นี้ ซึ่งแต่เดิม
นั้นตากับยายของนางพรรณิภาจะสนิทสนมกับเจ้าอาวาสเป็นการส่วนตัวจึงนำบุตรหลานไปทำบุญ
ที่วัดนี้อยู่เสมอ ปัจจุบันยังไปทำบุญที่วัดบางสำโรง แต่ไม่บ่อยนัก เช่นไปถวายสังฆทาน ในยุค
ของการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจวิถีชีวิตของคนเปลี่ยนแปลงไปเวลาจึงเป็นสิ่งที่มีค่ายิ่งคนที่อยู่ใน
วัยทำงานจึงมักฝักใฝ่แต่เรื่องงานจึงเหินห่างจากวัดขาดการขัดเกลาทางด้านจิตแต่อย่างไรก็ตามผู้ที่
ได้รับการขัดเกลาจากครอบครัวที่ดีมาแต่วัยเด็กนับเป็นการปลูกฝังที่อยู่ในกมลสันดานของผู้นั้น แม้
จะตกไปอยู่ในสภาพแวดล้อมเช่นไร ก็ยังมีความละอายต่อการทำสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา
110
ความเชื่อความศรัทธาในหลักธรรม จากการสัมภาษณ์และสังเกตของผู้
วิจัยพบว่า นางพรรณิภา มีความเชื่อว่าในเรื่องหลักธรรมตนเองจะไม่ค่อยเข้าใจลึกซึ้ง แต่มีสำนึกว่า
จะทำในสิ่งดีไม่เบียดเบียนและเอาเปรียบผู้อื่นขยันทำงานในอาชีพสุจริต เมื่อมีผู้ต้องการความช่วย
เหลือก็จะช่วยเท่าที่จะช่วยได้ ซึ่งคิดว่าการทำความดีจะส่งผลดีให้กับตนเองและจะมีผลบุญกลับ
มาหาตัวเรา จึงมีข้อสังเกตว่า นางพรรณิภามีความเชื่อในหลักธรรมของพระพุทธศาสนาที่สอนให้
ทำความดีและในสิ่งที่ถูกต้องมีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ผู้อื่นเป็นหลักธรรมประจำใจ
(3 ) องค์ประกอบที่เกี่ยวกับในโรงเรียน
ความสัมพันธ์กับครูอาจารย์ นางพรรณิภา มีความประทับใจกับครูที่โรงเรียน
บวรมงคลเนื่องจากในวัยรุ่นจะมีความคิดสับสนมากติดเพื่อน เลิกเรียนจะไปเที่ยวกับเพื่อนกลับ
บ้านมืดค่ำ มารดาจึงไปพบครูประจำชั้นชื่อครูประนอมให้ช่วยเตือน ครูได้เรียกไปอบรมสั่งสอนและ
ยังดูแลให้อยู่ในสายตาเช่นเรียกไปใช้งานช่วยรวมคะแนนให้เด็กและเลี้ยงขนม บางวันครูก็จะให้
กลับบ้านพร้อมกันและจ่ายค่ารถให้วันเสาร์อาทิตย์ครูยังให้ไปช่วยทำงานที่บ้านและมีวิธีการพูดจา
จนเราไม่รู้ว่ากำลังถูกควบคุมไม่ให้ไปเที่ยว ปัจจุบันครูประนอมเกษียณอายุแล้วแต่ก็ยังไปเยี่ยม
เยียนครูอยู่เสมอ ครูประนอมเป็นคนพูดจาไพเราะเวลาสอนก็จะให้ความรู้เรื่องต่างๆ เช่น การทำ
อาหารหรือขนม ซึ่งจะได้เทคนิคและเกร็ดความรู้ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ในปัจจุบัน ถ้าไม่มี
ครูประนอมก็คงจะมีวิถีชีวิตที่ลำบากกว่านี้และอาจเรียนหนังสือไม่จบจึงกล่าวได้ว่า อนาคตของตน
ขึ้นอยู่กับครูผู้สอนในสถานศึกษาโดยเฉพาะในช่วงวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงครูจึงเป็นผู้มีบทบาท
สำคัญที่จะหล่อหลอมให้เด็กเป็นคนดีและสร้างความประทับใจในสำนึกที่ดี และยังเป็นการสร้างคน
ดีได้
(4 ) องค์ประกอบที่เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทางสังคม
วิถีชีวิตภายในชุมชน จากการสังเกตแบบมีส่วนร่วมพบว่า มีประชาชน
ที่เป็นคนดั้งเดิมและผู้มาอยู่ใหม ่ และเป็นชุมชนเปิดมีผู้มาเช่าบ้านอยู่ชั่วคราวมีอาชีพไม่มั่นคง และ
ยังมีกลุ่มนายทุนที่ให้กู้ยืมเงินดอกเบี้ยสูง เก็บดอกเบี้ยรายวัน มีกลุ่มอิทธิพลคอยควบคุมหากผู้กู้ไม่
สามารถชำระได้ตามเงื่อนไขจะถูกข่มขู่ทำร้าย บางครอบครัวต้องย้ายบ้านหนีไปอยู่ที่อื่น และยังมี
บ่อนการพนันในพื้นที่ทำให้ชาวบ้านที่ไม่ได้มีอาชีพจะหมกมุ่นอยู่ในเรื่องของการพนัน แต่อย่างไรก็
ตามประชาชนในชุมชนยังมีวัฒนธรรมดี มีความสามัคค ี มีน้ำใจเอื้อเฟื้อ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เช่น
เพอื่ นบา้ นไดร้ บั อบุ ตั เิ หต ุ หรือเจ็บป่วย ก็จะให้ความช่วยเหลือกัน ซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่มาจากความ
ใกล้ชิดสนิทสนมกัน ซึ่งมักจะเป็นคนดั้งเดิมในพื้นที่ที่ยังคงมีอยู่
เศรษฐกิจชุมชน ฐานะทางด้านเศรษฐกิจมีความแตกต่างกันบางครอบ
ครัวจัดอยู่ในระดับค่อนข้างร่ำรวย แต่จะมีจำนวนน้อย จากการศึกษาสังเกตพบว่าจะสร้างบ้านอยู่
111
ริมถนนสายหลักของชุมชน ส่วนผู้ที่ยากจนในลักษณะบ้านใต้ถุนมีน้ำขัง รั้วสังกะสีติดกัน กล่าวใน
ภาพรวมได้ว่าประชาชนของชุมชนอยู่ในฐานะพอมีพอกินค่อนข้างยากจน
การเลือกคบเพื่อน นางพรรณิภาเป็นบุคคลที่มีบุคลิกเฉพาะตัว มีมนุษย์
สัมพันธ์และอัธยาศัยด ี ประกอบกับเป็นคนในพื้นที่เดิมจึงมีความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้านได้อย่างดี
เป็นมิตรกับทุกคนและมีเพื่อนสนิทที่จริงใจต่อกันเพียงคนเดียวคือคุณขวัญยืน สินสมสุข รู้จักสนิท
สนมกันตั้งแต่เรียนที่วัดบวรมงคล ปัจจุบันมีอาชีพส่วนตัวและมีสามีเป็นนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่สถานี
ตำรวจนครบาล บางขุนนนท์ นางพรรณิภา กล่าวถึงคุณขวัญยืนว่า เป็นเพื่อนคนเดี่ยวที่ไม่รังเกียจ
คนจนอย่างเราถึงแม้จะมีสภาพทางสังคมแตกต่างกันมากและเป็นคนใจดีมีเมตตา เคยช่วยเหลือ
เกื้อกูลเรื่องค่าขนมกันมาตั้งแต่เด็กจึงเป็นข้อน่าสังเกตว่าสังคมของมนุษย์ย่อมมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อ
กันการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ต้องมีพฤติกรรมต่าง ๆ ที่คล้ายคลึงกัน
(5 ) องค์ประกอบเกี่ยวกับการบริหารจัดการของคณะกรรมการกองทุน
ระเบียบกองทุน ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาพบว่า ระเบียบกองทุนมีวิธีการกำหนดขึ้น
โดยมีการทำประชาพิจารณ์ ประชาชนมีความเห็นร่วมกันมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนหมุน
เวียนให้กับสมาชิก ส่งเสริมการออมทรัพย์ด้วยวิธีถือหุ้นและเงินรับฝาก ให้บริการเงินกู้แก่สมาชิก
ช่วยบรรเทาความเดือดร้อน เหตุฉุกเฉินและความจำเป็นเร่งด่วน พัฒนาส่งเสริมและสนับสนุนการ
ประกอบอาชีพการสร้างงานและสร้างความพลังความสามัคคีให้เกิดขึ้นในชุมชน ซึ่งมีความเหมาะ
สมกับวิถีชีวิตของประชาชนและสอดคล้องกับความต้องการของประชาชน
(6 ) องค์ประกอบที่เกี่ยวกับพฤติกรรมการรับข่าวสาร
พฤติกรรมการรับข่าวสาร นางพรรณิภา ไม่ค่อยมีโอกาสอ่านหนังสือ หรือ
ดูโทรทัศน์ ส่วนใหญ่ในขณะทำงานจะเปิดวิทยุฟังไปด้วย ไม่เฉพาะเจาะจงว่าเป็นข่าวสารอะไร แต่
เมื่อมีเวลาอ่านหนังสือพิมพ์ก็จะสนใจเกี่ยวกับข่าวสังคม คอลัมภ์ซุบซิบและเกล็ดความรู้ต่างๆ ไม่
ชอบขา่ วอบุ ตั เิ หต ุ หรอื การทรมานเดก็ ซงึ่ จะทาํ ใหเ้ กดิ ความไมส่ บายใจสว่ นขา่ วเกยี่ วกบั การเมอื ง
อ่านบ้างแต่ไม่ค่อยสนใจเพราะคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัวที่จะไปคิดถึง
จากตัวแปรที่กำหนดเป็นองค์ประกอบเพื่อศึกษาการก่อเกิดจริยธรรม
สรุปได้ว่า นางพรรณิภา อุ่นแจ่ม ได้รับอิทธิพลมาจากครอบครัว และโรงเรียนที่
ปลูกฝังจิตสำนึกให้เป็นผู้มีความคิดดี มีความขยันหมั่นเพียร และมีความซื่อสัตย์
ตอนที่ 2 ข้อมูลที่เกี่ยวกับองค์ประกอบที่ก่อให้เกิดจริยธรรม
112
สภาพแวดล้อมทางสังคม ผู้วิจัยได้เข้าไปศึกษาและพบว่าวิถีชีวิตชุมชนในซอยจรัญ
สนิทวงค์ 79 มีด้านหน้าทิศเหนือติดกับวัดบางพลัดและโรงเรียนวัดบางพลัด ทิศตะวันออกติดต่อ
กับชุมชนบางพลัด ทิศตะวันตกติดต่อชุมชนดวงด ี ทศิ ใตต้ ดิ ตอ่ กบั พนื้ ทชี่ าวสวนบางกรวย มีผู้อยู่
อาศัย 130 หลังคาเรือน มีสภาพความเป็นอยู่หลากหลาย ลักษณะการสร้างบ้านเป็นไม้ชั้นเดียวใต้
ทุนสูง บ้านครึ่งตึกครึ่งไม้และอาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่สร้างบนพื้นที่ของเอกชนให้เช่า และบางส่วน
สร้างบนพื้นที่ของตนเอง บางหลังเจ้าของที่สร้างให้เช่ามีถนนกลางชุมชนเป็นสายหลักและมีตรอก
ซอกซอยไม่เป็นระเบียบ ด้านหน้าชุมชนติดกับวัดมีตลาดนัดในตอนเช้า ประชาชนประกอบ
อาชีพที่ไม่มั่นคงส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้างและขายของนอกบ้าน ส่วนที่เข้ามาอยู่ใหม่จะขายของ
ประเภทของใช้ในครัวเรือน ขนมน้ำอัดลมน้ำดื่มและขายของชำเป็นต้น จากการสังเกตแบบมีส่วน
ร่วมผู้วิจัยได้เห็นว่าในเขตบางพลัดมีกลุ่มนายทุนให้กู้ยืมดอกเบี้ยสูงและเก็บดอกเบี้ยรายวัน ยังมี
กลุ่มอิทธิพลคอยควบคุมทำร้าย บางคนต้องย้ายครอบครัวหนีไปอยู่ที่อื่น และยังมีบ่อนการพนัน
ในพื้นที่ อย่างไรก็ดีในชุมชนยังมีวัฒนธรรมที่ดีเช่นความมีน้ำใจต่อกันช่วยเหลือซึ่งกันและกันยาม
เจ็บป่วยนำส่งโรงพยาบาล วัฒนธรรมเช่นนี้มาจากความใกล้ชิดสนิทสนมซึ่งเป็นคนดั้งเดิมในพื้นที่
ที่อยู่กันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ มีอยู่ประมาณห้าสิบเปอร์เซ็นของผู้ที่อาศัยอยู่ในชุมชน
นางเรณู นำผล อยู่บ้านเลขที่ 463/127 ซอย 79 ชุมชนพัฒนาซอย 79 เขตบางพลัด
กรุงเทพมหานคร เป็นสมาชิกผู้ใช้ประโยชน์จากกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองของ ชุมชน
พัฒนาซอย 79 ผลการศึกษาและวิเคราะห์มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. ข้อมูลทั่วไป
( 1 ) ภูมิลำเนาของบิดามารดา
นางเรณู นำผล มีบิดามารดาชื่อ นายทองปลิว และนางสังวาลย์ ศรีดี ทั้งสองคน เป็น
ชาวอำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรีโดยกำเนิดมีอาชีพค้าขายข้าว โดยมียุ้งข้าวเป็นของตน
เอง และนอกจากค้าข้าวแล้ว ยังมีกิจการเรือลากจูง ฐานะของครอบครัวอยู่ในระดับเศรษฐี มีลูก
5 คน นางเรณู นำผล เป็นคนที่ 4 เป็นลูกสาวคนเดียว อาชีพของครอบครัวมีลูกจ้างมาก ทั้ง
บิดามารดาทำงานหนักทั้งสองคน การควบคุมลูกจ้างคนงานต้องใช้ความเข้มงวดเด็ดขาด ทั้งบิดา
มารดดูเหมือนจะเป็นคนที่ดุ แต่ถ้าลูกจ้างคนใดมีปัญหาก็จะช่วยเหลือเหมือนคนในครอบครัวเดียว
กัน ส่วนมากลูกจ้างจะเกรงกลัวพ่อมาก เพราะพ่อเป็นคนพูดจริงทำจริง เมื่อปีพ.ศ. 2520 พ่อเสีย
ชีวิต แม่ไม่สามารถจะดูแลกิจการคนเดียวได้ก็เลิกกิจการเรือลากจูง ขายให้กับญาติฝ่ายพ่อไป
หลังจากนั้น 7-8 ปี แม่ก็เลิกค้าข้าว ลูกทั้ง 5 คนก็เรียนจบหมดแล้วทุกคนไม่มีใครอยากสืบทอด
113
อาชีพค้าขาย พี่ชายทั้งสามคนพอเรียนจบก็สอบเข้าทำงานรับราชการหมด แม่ก็อายุมากขึ้น
ลูก ๆ ทุกคนก็ให้เลิกกิจการ พักอยู่กับบ้านจนเสียชีวิตด้วยโรคเบาหวานเมื่อปี พ.ศ. 2535
(2 ) ชีวิตในวัยเด็กและวัยศึกษา
เรียนจบระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนประจำจังหวัด สุพรรณบุรี ในขณะ
นั้นครอบครัวอุดมสมบูรณ์มาก อาชีพค้าขายรุ่งเรื่อง เมื่อจบ ม.6 ก็ได้ไปเรียน ป.กศ.ที่โรงเรียนฝึก
หัดครูเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี ประกอบกับพี่ชายเรียนครูด้วย และจบ ป.กศ. เข้ารับการบรรจุเป็น
ครู เป็นข้าราชการที่โก้มากในยุคนั้น ก็เลยอยากให้เราเป็นครูเหมือนพี่ นอกจากเรียนก็ทำกิจกรรม
โดยเฉพาะด้านกีฬาชอบมาก ได้รับการคัดเลือกให้เป็นประธานนักกีฬาของโรงเรียนเป็นเรื่องที่ถูก
กับใจเรามาก ในระยะที่เรียนที่วิทยาลัยครูเพชรบุรีนี้เป็นช่วงชีวิตที่มีความสุข เป็นบุคคลสำคัญใน
กลุ่มเพื่อน เมื่อจบการศึกษาชั้น ป.กศ. ก็ไปสอบเรียนต่อ ป.กศ.สูงที่วิทยาลัยครูสวนสุนันทา
กรุงเทพ และเรียนต่อระดับปริญญาตรีภาคค่ำวิทยาลัยสวนสุนันทา
(3 ) ชีวิตในวันทำงาน
ขณะที่เรียนอยู่ปี 1 พ่อเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจวาย เมื่อปี พ.ศ. 2514 แม่
บอกว่าพ่อ
เสียเพราะทำงานหนัก ขณะนั้นมีความคิดจะออกจากเรียนเพื่อไปอยู่เป็นเพื่อนแม่ เพราะพี่ชาย
สามคนมีครอบครัวแยกไปอยู่กับครอบครัว น้องคนเล็กอยู่ประจำที่โรงเรียนนายร้อย แม่อยู่คน
เดียว เราเองเป็นลูกผู้หญิงคนเดียวควรอยู่ใกล้แม่มากที่สุดในขณะนั้น แต่แม่ก็เป็นคนเข้มแข็งไม่
ยอมให้ออก เชื่อแม่ จึงตั้งหน้าตั้งตาเรียนอย่างเดียวอยากจะให้จบเร็ว ๆ พอจบ ป.กศ. สูง แล้วก็
รีบไปหางานทำ ได้เป็นครูสอนอยู่ที่โรงเรียนพิมลวิทย์ เป็นหัวหน้าหมวดภาษาอังกฤษ เมื่อได้
ทำงานแล้วพี่ ๆ กับแม่ซื้อบ้านให้อยู่ไม่ไกลจากที่ทำงาน ก็รับแม่มาอยู่ที่กรุงเทพ ขณะทำงานก็
เรียนต่อในระดับปริญญาตรี ภาคค่ำที่วิทยาลัยสวนสุนันทาจนจบ เป็นครู 12 ปี เห็นว่าไม่ก้าว
หน้า เงินเดือนก็ไม่มาก จึงลาออกเมื่อปี พ.ศ. 2527 แล้วไปทำงานบริษัทสายการบินไทยอิน
เตอร์ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ได้รับเงินเดือนสูงกว่าเป็นครู แต่มีความรู้สึกว่าไม่ใช่ตัวตนของเรา เพราะ
การทำงานอยู่ที่เดิมนาน ๆ ทำให้เบื่อหน่ายแต่ก็พยายามทำอยู่ 4 ปี ก็ขอลาออก และไปทำงาน
shipping อยู่ที่ท่าเรือกรุงเทพ ได้ 8 ปี ชีวิตการทำงานที่ผ่านมาทั้งหมด ไม่มีช่วงไหนที่จะเหนื่อย
เท่ากับการทำงานที่ท่าเรือ ปีพ.ศ. 2536 แม่เสียชีวิต ทั้งที่รู้ว่าเป็นความสูญเสียที่หลีกเลี่ยง
ไม่ได้ แต่เราก็ทำใจยากเพราะเราก็มีแค่คนเดียวอยากให้อยู่กับเราไปตลอดไม่มีวันสิ้นสุด
(4 ) การดำรงชีวิตในปัจจุบัน
หลังจากที่แม่ได้เสียชีวิตแล้ว เราก็รู้สึกว่ามีเวลาว่างมากและบ้านก็ว่างเปล่าเหลือ
เกิน จึงคิดหางานทำ เรามีความรู้และอาชีพเดิมก็คือการเป็นครู เกิดความคิดว่า เด็กในชุมชนที่
114
อยู่ใกล้บ้าน จึงได้ชวนเด็กที่อยู่บ้านติดกันมากนั่งทำการบ้านกับลูก ต่อมามีคนอื่นเห็นก็เลยเอา
ลูกมาฝากให้ช่วยสอนก็ให้ค่าสอนเป็นรายวันๆละ 20 บาท 30 สิบบาทบ้าง ตอนนหลังเห็นว่าพ่อ
แม่เด็กเขาสนใจก็เลยปิดประกาศหน้าบ้าน รับสอนหนังสือเสริมตอนเย็น เด็กประถมสอนวิชา
ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาไทย ปัจจุบันได้เปิดบ้านซึ่งเป็นบ้านหลังเก่าที่แม่
กับพี่ชายซื้อให้นั้นปรับปรุงเป็นศูนย์เด็กเล็กของชุมชน และดำเนินการธุระกิจเอง มีเด็กที่รับผิด
ชอบประมาณ 70 คน จำนวนไม่ค่อยจะแน่นอน เพราะว่าจะเข้าออกอยู่ตลอด และยังรับหน้าที่
เป็นเลขาของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านของชุมชน 79 ด้วย ชีวิตส่วนตัวทางด้านครอบครัวจะ
หมดภาระเพราะลูกชายสองคนเรียนจบระดับปริญญาตรี เขาก็ดูแลรับผิดชอบตัวเองได้
2 . ข้อมูลเกี่ยวกับองค์ประกอบที่ก่อเกิดจริยธรรม
(1 ) องค์ประกอบที่เกี่ยวกับบ้าน
การสร้างความสัมพันธ์ภายในครอบครัว
เนื่องจากพ่อแม่มีอาชีพค้าขายมีบ้านเป็นสำนักงานการประกอบธุรกิจ ในตอนที่พวกเรามี
อยู่ในวัยเด็กครอบครัวของเราเป็นครอบครัวที่มีความสมบูรณ์ อยู่กันอย่างพร้อมหน้าพ่อแม่ลูก พ่อ
กับแม่จะพูดกับพวกเราเสมอว่า ทำงานแบบพ่อกับแม่เหนื่อยมาก ที่ต้องทุ่มเท เพราะว่า พ่อกับ
แม่เรียนมาน้อยแค่อ่านออกเขียนได้เท่านั้น ไม่อยากให้ลูกต้องทำงานหนักแบบพ่อแม่อีก จึงได้ตั้ง
ความหวังให้ลูกๆ ทุนมีการศึกษาสูงจะได้ทำงานที่สบาย ๆ การที่เราได้เห็นภาพความจริงที่พ่อแม่
ทำงานหนัก แต่ไม่เคยละเลยการทำหน้าที่พ่อแม่ และเรื่องการแต่งตัวของลูก ๆ แม่จะเข้ามาดูแล
มีความละเอียดอ่อนในทุกเรื่องทำให้สร้างจิตสำนึกให้กับลูก ๆ ที่ยึดถือพ่อแม่เป็นแบบอย่าง โดย
คิดเสมอว่าเมื่อพ่อแม่เหนื่อยแล้วอย่าทำให้พ่อแม่ไม่สบายใจ ทางด้านฐานะของครอบครัวนับเป็น
ส่วนสำคัญที่ทำให้สมาชิกครอบครัวมีความสุขทุกคนได้รับความสุขเท่าเทียมกันจึงไม่มีอุปสรรคที่
จะทำให้เกิดความขัดแย้งกันจึงสังเกตได้ว่าครอบครัวนางเรณูได้รับความรักการเอาใจใส่จากพ่อแม่
ปลูกฝังอารมณ์และจิตใจให้มีสุขภาพจิตดี จึงทำให้ลูก ๆ มีความสุขและเป็นคนดีของสังคม
วิธีการอบรมเลี้ยงดู
บิดามารดามีอาชีพค้าขายมารดามีภาระที่จะเลี้ยงดูลูกเองโดยบริเวณบ้านเป็นลาน
กว้างทำให้ลูก ๆ มีทีเล่นได้อย่างสบาย ขณะที่แม่ทำงานไปเลี้ยงลูกไป ซึ่งลูก ๆ จะเล่นรวมกลุ่มกันทุก
คนและอยู่ในความดูแลของแม่ตลอดเวลา สิ่งที่พ่อแม่เตือนอยู่เป็นประจำคือ ดูแลน้องให้ดีและให้
น้องซึ่งเป็นผู้หญิงก่อนเป็นการปลูกฝัง ให้อยู่ในจิตใจเราตลอดเวลา ทำให้คิดได้ว่าพ่อแม่รักเรามาก
และพี่จะรักน้องมาก อบรมสั่งสอนจึงยึดถือพ่อแม่เป็นแบบอย่างชีวิตครอบครัวมีความสงบสุข พ่อ
แม่ไม่มีความขัดแย้งไม่ด่าคำหยาบคาย และเมื่อมีของให้ลูกจะให้เหมือนกันต่างกันที่จำนวนหรือ
ขนาดจะให้ลดหลั่นกันไป เมื่อลูกทุกคนโตเป็นผู้ใหญ่จะได้รับการแบ่งมรดกให้ลูก ๆ ในลักษณะเดียว
115
กัน จึงเป็นข้อน่าสังเกตว่าครอบครัวที่พร้อมจะมีบุตรและต้องทำหน้าที่พ่อแม่ที่สมบูรณ์ควรให้ความ
รักความอบอุ่นมีวิธีการสอนที่เหมาะสมจึงเป็นการปลูกฝังความเป็นระเบียบวินัยรู้จักอ่อนน้อมถ่อม
ตนทำให้เป็นคนที่รู้จักความพอดี
( 2 ) องค์ประกอบที่เกี่ยววัด
ความสัมพันธ์กับวัด
นางเรณูจะไปทำบุญที่วัดเมื่อเป็นวันประเพณี เช่น วันขึ้นปี
ใหม่ วันสงกรานต์ หรือ วันสำคัญทางศาสนา เช่น วันเข้าพรรษา หรือ ออก
พรรษา ทำบุญบริจาคทรัพย์ตามความสามารถ และช่วยเหลือการพัฒนาวัด โดย
การติดต่อประสานงานกับสำนักงานเขต จัดการทำความสะอาด ลอกท่อ
ความเชื่อความศรัทธาในหลักธรรม
มีความยึดมั่นในศีล 5 เพราะเชื่อว่าการฆ่าสัตย์ตัดชีวิตเป็นบาป การประพฤติตนที่
ผิดไปจากธรรมเนียมประเพณีถือว่าเป็นการประพฤติชั่วและผิดศีลธรรม
(3 ) องค์ประกอบที่เกี่ยวกับในโรงเรียน
ความสัมพันธ์กับครูอาจารย์
ความสัมพันธ์กับครูอาจารย ์ ในสมยั เปน็ นกั ศกึ ษาวทิ ยาลยั ครเู พชรบรุ ี จังหวัด เพชรบุรี
มีความประทับใจอาจารย์สอนวิชาพละศึกษามาก เป็นคนเก่งมีความสามารถ การเล่นกีฬาเกือบทุก
ชนิด เป็นคนมีความมั่นใจในตัวเอง กล้าตัดสินใจ อาจารย์ฝึกให้เป็นนักกีฬาจนได้เป็นนักกีฬาดีเด่น
ของวิทยาลัย และอาจารย์ได้สนับสนุนจนได้รับการคัดเลือกให้เป็นประธานฝ่ายนักกีฬา
(4 ) องค์ประกอบที่เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทางสังคม
วิถีชีวิตภายในชุมชน
ตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น สภาพของชุมชนเป็นชุมชนเปิด มีผู้เข้าไปอยู่อาศัย
เช่าบ้านอยู่ชั่วคราว เป็นจำนวนมากจะมีการโยกย้ายตลอดเวลา ทำให้มีประชาชนหนาแน่น เมื่อ
ประเมินด้วยสายตา แต่จากการสำรวจของผู้นำชุมชนมีประชาชน รูปแบบ ของวิถีชีวิตมีทั้งที่สนิท
สนมให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลกัน มีความสัมพันธ์กันแค่เพียงรู้จัก และไม่รู้จักกัน
เศรษฐกิจชุมชน
ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว เนื่องจากประชาชนมีฐานะทางเศรษฐกิจ พอมีพอกิน และ
ค่อนข้างยากจน ภายในชุมชนมีเพียงโรงงานทำไอศครีมขนาดเล็ก และเป็นโรงงานเย็บเสื้อผ้าขนาด
เล็กมีคนงานประมาณ 6-7 คน และไม่พบว่ามีทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน
การเลือกคบเพื่อน
116
นางเรณู เป็นผู้จบการศึกษาระดับปริญญาตรี และเคยมีอาชีพเป็นอาจารย์
สอนในโรงเรียนราษฎร์มาหลายป  จึงเป็นผู้มีจิตวิทยา สามารถสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
ได้เป็นอย่างดี ประกอบกับเป็นผู้มีฐานะทางเศรษฐกิจค่อนข้างดี มีสถานภาพที่จะเอื้อเฟื้อต่อผู้
อื่นได้ อีกทั้งได้รับความเชื่อถือและไว้วางใจจากประชาชนในชุมชน คัดเลือกให้เป็นเลขานุการของ
กองทุน จนกระทั้งเป็นประธานกองทุนและทำให้เห็นถึงความมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี จึงสามารถติดต่อ
สัมพันธ์ได้กับบุคคลทั่วไป
(5 ) องค์ประกอบเกี่ยวกับการบริหารจัดการของคณะกรรมการกองทุน
ระเบียบกองทุน
ตามที่กล่าวมาแล้วว่าด้วยระเบียบกองทุน จะต้องกำหนดขึ้น โดยความเห็นชอบ
ของประชาชนในชุมชน เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐที่ต้องการให้ประชาชนรู้จักบริหารจัด
การกันเอง
(6 ) องค์ประกอบที่เกี่ยวกับพฤติกรรมการรับข่าวสาร
พฤติกรรมการรับข่าวสาร นางเรณู รับฟังข่าวสารจากสื่อทุกด้าน และมี
ความสนใจด้านการพัฒนา การเมือง และเศรษฐกิจ จึงเป็นที่น่าสังเกตว่า เป็นผู้ที่มีความรู้ สามารถ
นำข่าวสาร ความรู้ต่างๆ ไปถ่ายทอดแก่ สมาชิก เพื่อนร่วมงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จากมูลเหตุดังกล่าว นำมาทำจากการศึกษาและวิเคราะห์องค์ประกอบของการก่อเกิดจริย
ธรรม จึงสรุปได้ว่า นางเรณูได้รับอิทธิพลมาจาก 1) บ้าน และ 2) โรงเรียน ซึ่งเป็นสิ่งที่ปลูกฝังจิต
สำนึกให้เป็นผู้ที่มีความคิดดี เป็นบุคคลที่มีจิตใจดี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ โดยมีจิตสำนึกในการทำความดี
และชอบช่วยเหลือสังคม
ชุมชนฉัตรชัย-เสริมโชค ตั้งอยู่ที่ถนนเลียบคลองทวีวัฒนา แขวงหนองค้างพลู เขตหนองแขม
กรุงเทพมหานคร เดิมเป็นพื้นที่ทำการเกษตรของชาวสวนดอกไม้ มีเนื้อที่ทั้งหมด 117 ไร่ เจ้าของที่
เดิมได้แบ่งที่ขายเป็นแปลง เมื่อมีประชาชนมาปลูกบ้านอยู่อาศัยมากขึ้นจึงได้จัดตั้งเป็นชุมชนขึ้น
เมื่อ พ.ศ.2525
สภาพทั่วไปของชุมชน เป็นชุมชนชายขอบ ประชาชนจะสร้างบ้านเรือนอยู่รวมกันเป็น
กลุ่มๆ ซึ่งอยู่อาศัยกันแบบหลวม ยังคงเหลือพื้นที่ว่างเปล่าอีกมาก จำนวนประชาชนประมาณ
3,200 คน จำนวน 291 หลังคาเรือน ปลูกสร้างอยู่อย่างไม่เป็นระเบียบ ชุมชนยังอยู่ในระหว่างการ
พัฒนา เริ่มสร้างสิ่งสาธารณูปโภคต่าง ๆ
117
เศรษฐกิจของชุมชน ในชุมชนไม่มีทรัพยากรธรรมชาติใดๆ ประชาชนที่มาสร้างบ้านเรือน
มาจากต่างถิ่น ไม่มีคนพื้นที่เดิม ผู้ที่มาใหม่ต่างเริ่มสร้างฐานะ อาชีพส่วนใหญ่ร้อยละ 90 มีอาชีพ
รับจ้างทั่วไป ค้าขาย ทำธุรกิจส่วนตัว และรับราชการ ส่วนมากจะมีรายได้ไม่แน่นอน ฐานะของ
ประชาชนพอมีพอกิน ค่อนข้างยากจน
สภาพของสังคมและวัฒนธรรม สังคมของชุมชนใช้ชีวิตแบบต่างคนต่างอยู่ ช่วยเหลือตัว
เอง แต่ด้วยความสามารถของผู้นำชุมชนที่เป็นผู้มีวิสัยทัศน์ และเป็นผู้ที่มีความเข้มแข็ง มีความ
สามารถในการประชาสัมพันธ์ โน้มน้าวใจประชาชนให้มารวมตัวกันได้ และได้รับการคัดเลือกจาก
สำนักงานเขตหนองแขมให้เป็นชุมชนนำร่องจัดตั้งกองทุนหมู่บ้าน บริหารจัดการจนประสบผล
สำเร็จ และได้รับการคัดเลือกจัดอยู่ในกลุ่มของกองทุนชั้นดีของประเทศ ได้รับรางวัลและโล่เกียรติ
ยศจากนายกรัฐมนตรี
นับได้ว่านอกจากความสามารถของผู้นำแล้ว ส่วนสำคัญก็คือสมาชิกผู้ใช้บริการกองทุนที่
เปน็ ผทู้ รี่ หู้ นา้ ที่ มรี ะเบยี บวนิ ยั รับผิดชอบต่อสังคม คนดมี ีจรยิ ธรรม จึงส่งผลให้กองทุนประสบผล
สำเร็จ และดีเด่น ผลการศึกษาและวิเคราะห์สมาชิกผู้ใช้ประโยชน์จากกองทุน ฉัตรชัย-เสริมโชค
เป็นรายบุคคล 2 ราย ประกอบด้วย 1) นางปราณี ปฐพี 2) นางเอื้อมเดือน ทุถาวร มีผลการศึกษา
และวิเคราะห์ ดังนี้
นางปราณี ปฐพี อายุ 56 ปี อยู่บ้านเลขที่ 4/4 ชุมชน ฉัตรชัย-เสริม แขวงหนองค้างพลู เขต
หนองแขม กรุงเทพมหานคร เป็นผู้ใช้ประโยชน์จากกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองของ ชุมชนฉัตร
ชัย-เสริมโชค ผลการศึกษาและวิเคราะห์มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. ข้อมูลทั่วไป
( 1 ) ภูมิลำเนาของบิดามารดา
บิดามารดาเป็นชาวนาอยู่ในจังหวัดสุพรรณบุรี ฐานะค่อนข้างยากจน มี
ชีวิตที่เรียบง่าย มีลูกทั้งหมด 4 คน นางปราณี เป็นบุตรคนที่ 1 ของครอบครัว เมื่อประกอบอาชีพ
การทำนาไม่ประสบความสำเร็จจึงขายที่ทำกิน พาลูก ๆ ออกเร่ร่อนทำงานรับจ้างทั่วไป
(2 ) ชีวิตในวัยเด็กและวัยศึกษา
มีความเป็นอยู่ลำบาก ค่อนข้างมาก เพราะไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง ต้องย้ายที่อยู่
ไปเรื่อย ๆ นางปราณีเป็นคนหุงหาอาหารข้าวปลาให้พ่อแม่และน้องๆ ที่ต้องออกไปรับจ้าง ในขณะ
นั้นก็ดูแลน้องคนเล็กไปด้วย เรียนจบระถมศึกษาปีที่ 4 ที่จังหวัดสุพรรณบุรี แล้วช่วยพ่อแม่ทำนา
พออายุได้ 14-15 ปี ได้เข้ามาทำงานในกรุงเทพ เพื่อรับจ้างทำงานทั่วไป
(3 ) ชีวิตในวันทำงาน
118
หลังจากที่เข้ามารับจ้างในกรุงเทพได้ประมาณ 2-3 ปี พ่อแม่ย้ายครอบครัวไปรับ
จ้างปลูกอ้อย ปลูกมันที่จังหวัดชลบุรี และนางปราณีมีสามีซึ่งเป็นหัวหน้าคุมคนงานก่อสร้างที่นั้น มี
ลูกด้วยกัน 4 คน และแยกครอบครัวมาอยู่กับสามีซึ่งย้ายที่อยู่ไปเรื่อย ๆ ไม่เป็นหลักแหล่ง สุดท้าย
มาซื้อที่และปลูกบ้านที่เขตทวีวัฒนา เพราะสามีต้องเดินทางไปทำงานต่างจังหวัดทำให้เกิดปัญหา
ครอบครัว และหย่าร้างกันไป นางปราณีจึงขายบ้านแล้วไปมีสามีใหม่ ได้ซื้อที่ปลูกบ้านใหม่ที่ชุมชน
ฉัตรชัย-เสริมโชคในเขตหนองแขมซึ่งมีสภาพที่ไม่ค่อยดีเท่าที่ควร
(4 ) การดำรงชีวิตในปัจจุบัน
ปัจจุบันอายุ 56 ปี ฐานะทางครอบครัวพอมีพอกิน นักเพราะมีรายได้ไม่ค่อยแน่
นอน นางปราณีและสามีขายอาหารตามสั่งบางวันก็ขายได้ดี บางวันขายขาดทุน แต่ก็ได้อาศัย
อาหารเหล่านั้นใช้เลี้ยงชีวิตตนเองและครอบครัว-นางปราณีเป็นผู้ที่มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี มีสุขภาพ
จิตดี มีความสัตย์ซื่อ มีความพึงพอใจกับสภาพที่เป็นอยู่
จากมูลเหตุดังกล่าวพอสรุปได้ว่า บรรยากาศของครอบครัวของปราณี ปฐพี มีชีวิตเรียบ
ง่าย ฐานะไม่ค่อยดีนัก มีชีวิตค่อนข้างลำบาก จึงต้องช่วยเหลือตัวเอง แม้นว่าฐานะจะไม่ค่อยมีราย
ได้เพียงพอ แต่มีพื้นฐานจิตใจที่ดี เป็นผู้มีมนุษย์สัมพันธ์ดี มีความพอใจในชีวิตความเป็นอยู่ของตน
2 . ข้อมูลเกี่ยวกับองค์ประกอบที่ก่อเกิดจริยธรรม
(1 ) องค์ประกอบที่เกี่ยวกับบ้าน
การสร้างความสัมพันธ์ภายในครอบครัว เนื่องจากครอบครัวมีฐานะยากจน
จึงเลี้ยงดูแบบเรียบง่าย ต้องช่วยเหลือตัวเอง บิดามารดา จะดูแลโดยจะพูดคุยกันในตอนรับ
ประทานอาหาร
วิธีการอบรมเลี้ยงดู นางปราณี ยึดถือแบบอย่างจากบิดามารดา ในเลี้ยงการ
ประกอบอาชีพ ความขยันหมั่นเพียร ความซื่อสัตย์สุจริต โดยบิดามารดา จะสอนให้เป็นผู้ที่มีความ
ประพฤติดี
( 2 ) องค์ประกอบที่เกี่ยวกับวัด
ความสัมพันธ์กับวัด นางปราณีเป็นผู้มีความขยันขันแข็งในการประกอบ
อาชีพ จึงไม่มีโอกาสที่จะไปทำบุญที่วัด แต่จะไปบ้างในวันสำคัญตามประเพณี หรือวันสำคัญทาง
ศาสนา เช่น วันขึ้นปีใหม่ วันสงกรานต์ วันเข้าพรรษา วันออกพรรษา ประกอบกับความไม่สะดวก
เนื่องจากชุมชนอยู่ห่างไกลจากวัด
119
ความเชื่อความศรัทธาในหลักธรรม มีความศรัทธาในหลักธรรมคำสั่งสอน
ของบิดามารดา ให้คิดแต่สิ่งดี และทำแต่ความดี เชื่อว่าความดีจะได้รับผลตอบสนอง
ทางที่ดี
(3 ) องค์ประกอบที่เกี่ยวกับในโรงเรียน
ความสัมพันธ์กับครูอาจารย์ นางปราณี เป็นบุตรชาวนาจึงมีความรู้น้อย ได้รับ
ความรู้จากโรงเรียนในชนบท ซึ่งไม่ได้รับอิทธิพลด้านจริยธรรมมากนัก แต่มีครูที่นางปราณีให้ความ
เคารพ และให้ความเมตตา และนางปราณียังระลึกถึงอยู่ตลอดมา เพราะครูมีความเข้าใจสภาพ
ชีวิตของตนว่ายากจน
(4 ) องค์ประกอบที่เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทางสังคม
วิถีชีวิตภายในชุมชน ผู้วิจัยได้เข้าไปศึกษาพบว่า ในชุมชนยังมีสภาพความ
เป็นอยู่ไม่เป็นระเบียบ ฐานะทางเศรษฐกิจแตกต่างกัน ส่วนใหญ่มีฐานะยากจน และปานกลาง
เศรษฐกิจชุมชน ในชุมชนเป็นชุมชนที่มีพื้นที่กว้าง เป็นที่โล่งมีสภาพแวดล้อม
ที่ดี มีเงินกู้นอกระบบ การประกอบอาชีพของประชาชนมีรายได้ไม่พอใช้ มีโรงงานที่สามารถรองรับ
การจ้างได้บ้าง ประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้าง และมีรายได้ไม่มั่นคง ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจ
ของนายจ้าง
การเลือกคบเพื่อน นางปราณีมีอาชีพค้าขาย เป็นผู้มีมนุษย์สัมพันธ์ดี มีบุคลิก
ภาพที่เป็นมิตรกับทุกคน แต่จะเลือกคบผู้ที่มีฐานะเท่าเทียมกัน
(5 ) องค์ประกอบเกี่ยวกับการบริหารจัดการของคณะกรรมการกองทุน
ระเบียบกองทุน ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาโดยเข้าไปสังเกตแบบมีส่วนร่วมพบว่า
ระเบียบกองทุนมีวิธีการกำหนดขึ้นโดยการจัดทำประชาพิจารณ์ ประชาชนในชุมชน มีความเห็น
ร่วมกันในการกำหนดวัตถุประสงค์ เพื่อให้เป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนให้แก่สมาชิกในชุมชน ส่ง
เสริมวิธีการออมทรัพย์ด้วยวิธีการถือหุ้น การฝากเงินและรับฝากเงิน พัฒนาจิตใจมีคุณภาพ 4
ประการ คือ 1) เป็นคนดี มีความซื่อสัตย์ 2) เสียสละเพื่อส่วนรวม 3) ไม่มัวเมาในอบายมุข 4) เพื่อ
ให้รู้รักสามัคคี อีกทั้งส่งเสริมและพัฒนาให้สมาชิกเป็นคนดีมีคุณภาพมีความคิดสร้างสรรค์ และให้
เป็นผู้ที่รู้จักรับผิดชอบในหน้าที่ ซึ่งมีความเหมาะสมกับสภาพของชุมชน และความต้องการของชุม
ชน
(6 ) องค์ประกอบที่เกี่ยวกับพฤติกรรมการรับข่าวสาร
120
พฤติกรรมการรับข่าวสาร นางปราณี ประกอบอาชีพทำอาหารขาย จึงพบ
ปะผู้คนมาก การรับข่าวสารจึงมาจากสื่อบุคคลเป็นส่วนใหญ่ ประเภทข่าวสารที่ได้รับส่วนใหญ่ เป็น
ข่าวสารด้านสังคม การบันเทิง
มูลเหตุดังกล่าว นำมาทำการศึกษาและวิเคราะห์องค์ประกอบของการก่อเกิดจริย
ธรรม จึงสรุปได้ว่า นางปราณี ปฐพี มีองค์ประกอบที่ก่อเกิดจริยธรรมจากครอบครัวและการวิถี
ชีวิตแบบเรียบง่ายและตรงไปตรงมา จึงเป็นการปลูกฝังความเป็นคนดีมาตั้งแต่เด็กเมื่อกู้เงินจาก
กองทุนไปใช้จึงปฏิบัติตามระเบียบของกองทุนอย่างเคร่งครัด
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
จากตัวแปรที่กำหนดเป็นองค์ประกอบเพื่อศึกษาการก่อเกิดจริยธรรม สรุปได้ว่า การก่อ
เกิด จริยธรรมของนาง ปราณี ปฐพี มาจากองค์ประกอบ บ้าน เนื่องจากนางปราณี ปฐพี เกิดใน
ครอบครัวที่ยากจน อาชีพของบิดามารดาไม่มั่นคง ต้องเร่ร่อนหาเลี้ยงชีพ จึงต้องช่วยบิดามารดารับ
ภาระงานตามสถานภาพของตนตังแต่วัยเด็ก วิถีชีวิตของนางปราณีจะไม่พบกับความสดวกสบาย
ความสนุกสนานมาตั้งแต่วัยเด็ก จึงกล่าวได้ว่าการทำงานบ้านหรือรับผิดชอบเลี้ยงน้องเป็นเรื่อง
ปรกติธรรมดา ไม่ถือว่าเป็นความลำบากแต่อย่างใด เพียงแต่ได้อยู่กันพร้อมหน้าพอ่แม่ลูกเป็นบาง
ครั้งก็ถือว่าเป็นความสุขที่เพียงพอแล้วแบบอย่างของความขยันอดทน ประกอบอาชีพที่ซื่อสัตย์
สุจริตของบิดามารดาเป็นความภาคภูมิใจอย่างและได้เป็นที่สุดของนางปราณี และองค์ประกอบ
ระเบียบกองทุนที่กำหนดซึ่งนางปราณีปฏิบัติตามระเบียบของกองทุนทุกประการ
นางเอื้อมเดือน ทุถาวร อายุ 33 ปี บ้านเลขที่ 4/5 ชุมชนฉัตรชัย-เสริมโชค แขวงหนองค้างพลู
เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร เป็นผู้ใช้ประโยชน์จากกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองของ ชุม
ชนฉัตรชัย-เสริมโชค ผลการศึกษาและวิเคราะห์มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. ข้อมูลทั่วไป
( 1 ) ภูมิลำเนาของบิดามารดา
นางเอื้อมเดือน ทุถาวร มีบิดาชื่อนายอ่อนศรี มารดาชื่อนางเกลียว เป็นชาวจังหวัด
ชลบุรี บิดามีอาชีพรับจ้างด้านช่างก่อสร้าง มารดาเป็นช่างเย็บผ้า พี่น้อง 4 คน เป็นชาย 2 คน หญิง
2 คน นางเอื้อมเดือน เป็นบุตรคนที่ 2 ของครอบครัว ฐานะพอมีพอกิน มีรายได้ไม่แน่นอน
( 2 ) ชีวิตในวัยเด็กและวัยศึกษา
121
ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้านทุกอย่างและดูแลน้อง ๆ เพราะมารดาเป็นช่างเย็บผ้า ไม่มี
เวลา
ดูแลครอบครัว หน้าที่ทั้งหมดจึงเป็นของนางเอื้อมเดือน ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้กลายเป็นคนมีความรับผิด
ชอบสูง เสียสละ ไม่เคยออกนอกลู่นอกทาง เป็นที่พึ่งของครอบครัวได้ เรียนจบการศึกษาระดับ
ประถมศึกษาปีที่ 6 ในระหว่างที่เรียนอยู่นั้นก็ต้องช่วยครอบครัวทำงานบ้านเท่าที่จะทำได้ ไม่มีเวลา
ออกไปเที่ยวเล่น ชีวิตค่อนข้างลำบาก เพราะพ่อแม่เป็นคนหาเลี้ยงลูก ๆ ที่ยังเล็กอยู่ในวัยกิน
และวัยเรียนกันทั้งนั้น
( 3 ) ชีวิตในวันทำงาน
หลังจบการศึกษาขั้นสูงสุดคือชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ออกจากโรงเรียนไปรับจ้าง
เลี้ยงเด็กเพื่อหารายได้เพิ่ม เป็นการแบ่งเบาภาระของพ่อแม่ ทำอยู่ได้ 3 ปี จึงเดินทางเข้ากรุงเทพ
เพื่อหางานทำกับคนรู้จักเมื่อปี 2530 โดยรับจ้างเย็บผ้าโหลในโรงงานเย็บผ้า พักอยู่กับอาที่หมู่บ้าน
เศรษฐกิจ รายได้ส่วนใหญ่ส่งไปช่วยเหลือทางบ้าน เหลือเก็บไว้ใช้เฉพาะที่จำเป็น ทำอยู่ได้
ประมาณ 3-4 ปี พอมีความสามารถเพิ่มขึ้นจึงออกมารับจ้างตัดเย็บเสื้อผ้าเองเปิดเป็นโรงงานขนาด
เล็กภายในครอบครัว จากนั้นจึงแต่งงานและมีลูก 2 คน
( 4 ) การดำรงชีวิตในปัจจุบัน
ปัจจุบันมีอายุ 33 ปี ฐานะทางครอบครัวค่อนข้างดี เพราะมีรายได้หลักจากการ
เย็บผ้าส่งไปขายที่ตลาดจตุจักร โดยทำกันในกลุ่มเครือญาติ มีพี่น้อง สะไภ้ และหลานเป็นแรงงาน
ส่วนนางเอื้อมเดือนทำหน้าที่ดูแลและรับผิดชอบทั่วไป สามีทำงานบริษัทมีรายได้ประมาณ 8,000
บาทต่อเดือน
2 . ข้อมูลเกี่ยวกับองค์ประกอบที่ก่อเกิดจริยธรรม
(1 ) องค์ประกอบที่เกี่ยวกับบ้าน
การสร้างความสัมพันธ์ภายในครอบครัว เนื่องจากครอบครัวประกอบอาชีพ
รับเย็บเสื้อผ้า จึงไม่ค่อยมีเวลาดูแลลูก สมาชิกในครอบครัวจึงต้องช่วยเหลือตัวเอง โดยเฉพาะนาง
เอื้อมเดือนเป็นกำลังสำคัญของครอบครัว
วิธีการอบรมเลี้ยงดู ได้แบบอย่างจากบิดามารดา ในเรื่องความขยัน ความรับ
ผิดชอบ จากการที่บิดามีอาชีพเป็นหัวหน้าช่าง จึงมีนิสัยเจ้าระเบียบ และมีลักษณะเป็นผู้นำ นาง
เอื้อมเดือน จึงได้รูปแบบการดำเนินชีวิตจากบิดา
122
( 2 ) องค์ประกอบที่เกี่ยวกับวัด
ความสัมพันธ์กับวัด บิดาของนางเอื้อมเดือนมีความเลื่อมใสและศรัทธาใน
พระพุทธศาสนา เป็นอย่างมาก ปัจจุบันได้บวชเป็นพระภิกษุ อยู่ที่วัดในจังหวัดชลบุรี ซึ่งนางเอื้อม
เดือนมีความผูกพันกับบิดา จึงไปเยี่ยมเยียนและดูแลบิดาอยู่เป็นประจำ จึงได้รับการถ่ายทอดใน
การเป็นพุทธ ศาสนิกชนที่ดีจากบิดา
ความเชื่อความศรัทธาในหลักธรรม ได้รับการถ่ายทอดจากพระสงฆ์ผู้เป็น
บิดาในการเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดีจากบิดา มีความเชื่อมั่นและปฏิบัติตามศีล 5 อย่างเคร่งครัด เพื่อ
เชื่อว่าการประกอบอาชีพจะต้องมีความซื่อสัตย์ต่ออาชีพ จึงจะมีความเจริญรุ่งเรือง อีกทั้งการ
ประพฤติปฏิบัติตนเป็นคนดีจะทำให้คนทั่วไปเขาศรัทธาและนับถือ
(3 ) องค์ประกอบที่เกี่ยวกับในโรงเรียน
ความสัมพันธ์กับครูอาจารย์ นางเอื้อมเดือน จบระดับประถมศึกษา จึงมี
ความรู้น้อย แต่ขณะที่เรียนหนังสือมีความศรัทธาต่อครูผู้สอน และได้รับการถ่ายบุคลิกจากครูที่เป็น
อาจารย์ใหญ่ ทำให้นางเอื้อมเดือนมีบุคลิกที่ดี จากความเชื่อและศรัทธาครูใหญ่ ซึ่งเป็นผู้ที่มี
ลักษณะผู้นำ จึงนำมาเป็นแบบอย่าง
(4 ) องค์ประกอบที่เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทางสังคม
วิถีชีวิตภายในชุมชน ผู้วิจัยได้เข้าไปศึกษาและนำมาวิเคราะห์พบว่า
ประชาชนที่อยู่อาศัยในชุมชนนี้มาจากที่อื่นซื้อที่ปลูกบ้านตามสถานภาพทางเศรษฐกิจของตน ส่วน
มากจะเป็นผู้ที่เพิ่งสร้างครอบครัวใหม่ ประชาชนจึงมีวิถีชีวิตแบบต่างคนต่างอยู่ ไม่มีความสัมพันธ์
กัน
เศรษฐกิจชุมชน เป็นชุมชนที่มีพื้นที่กว้าง เป็นที่โล่งมีสภาพแวดล้อมที่ดี มีเงินกู้
นอกระบบ การประกอบอาชีพของประชาชนมีรายได้ไม่พอใช้ มีโรงงานที่สามารถรองรับการจ้างได้
บ้าง ประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้าง และมีรายได้ไม่มั่นคง ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของนายจ้าง
ส่วนนางเอื้อมเดือน ประกอบอาชีพเย็บเสื้อผ้าส่งขาย และเป็นผู้ที่ควบคุมการผลิตเอง
การเลือกคบเพื่อน นางเอื้อมเดือน มีอาชีพค้าขายและมีฐานะเป็นผู้นำ มีบุคลิก
ลักษณะเป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลทั่วไป ไม่กำหนดว่าจะเป็นบุคคลระดับใด แต่จะเลือก
คบผู้ที่มีความซื่อสัตย์ต่อกัน
(5 ) องค์ประกอบเกี่ยวกับการบริหารจัดการของคณะกรรมการกองทุน
123
ระเบียบกองทุน จากวัตถุประสงค์ของระเบียบนอกจากจะให้สมาชิกสามารถกู้
เงินไปส่งเสริมและพัฒนาอาชีพแล้ว ยังมีวัตถุประสงค์พัฒนาจิตใจ และเสริมสร้างศักยภาพของ
สมาชิกให้เป็นคนดีและเป็นคนเก่งสามารถแก้ไขปัญหาของชุมชนโดยให้ถือเป็นหน้าที่ของตน
(6 ) องค์ประกอบที่เกี่ยวกับพฤติกรรมการรับข่าวสาร
พฤติกรรมการรับข่าวสาร นางเอื้อมเดือนจะได้รับข่าวสารจากสื่อบุคคลเป็น
ส่วนใหญ่ ประเภทข่าวสารที่ได้รับส่วนใหญ่ เป็นข่าวสารด้านสังคม การบันเทิง ไม่มีเวลาอ่าน
หนังสือพิมพ์ จึงรับข่าวสารจากคำบอกเล่า
มูลเหตุดังกล่าว นำมาทำการศึกษาและวิเคราะห์องค์ประกอบของการก่อเกิดจริย
ธรรม จึงสรุปได้ว่า นางเอื้อมเดือน ได้รับการปลูกฝังความเป็นคนดีมาตั้งแต่เด็กจึงนับว่าบ้าน
และระเบียบกองทุนมีอิทธิพลต่อการก่อเกิดจริยธรรม
ชุมชนวัดบางขุนนนท์ ชุมชนวัดบางขุนนนท์ ตั้งอยู่ที่ ถนนบางขุนนนท์ แขวงบางขุนนนท์
เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร เป็นชุมชนเมืองขนาดเล็กมีพื้นที่ 6 ไร่ สภาพเดิมเป็นป่า มี
ประชาชนอาศัยอยู่เพียง 8-9 หลังคาเรือน ต่อมาเมื่อการรถไฟแห่งประเทศไทย สร้างทางรถไฟจาก
บางกอกน้อยไปภาคใต ้ การสญั จรสะดวกมากขนึ้ ประชาชนจึงได้อพยพเข้ามาปลูกสร้างบ้านเรือน
โดยเช่าที่ของวัดบ้าง เอกชนบ้าง ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่มาจากภาคใต้และภาคอีสาน จนกระทั่งได้
จัดตั้งเป็นชุมชนในปี พ.ศ. 2532
สภาพโดยทั่วไปของชุมชน เป็นชุมชนแออัด ติดกับกำแพงด้านหลังของวัด บางขุนนนท์
และโรงเรียนวัดบางขุนนนท์ สภาพของบ้านเรือน ส่วนมากจะปลูกสร้างบ้านไม้ หลังคาติดต่อกัน
ทางเดินเป็นถนนคอนกรีตแคบ ๆ แต่มีความสะอาดพอสมควร ส่วนที่ติดต่อกับวัดจะไม่มีต้นไม้ ส่วน
ด้านหลังของชุมชนติดต่อกับทางรถไฟสายใต้ บางส่วนยังเป็นทางเปลี่ยว ความหนาแน่นของชุมชน
จะอยู่ส่วนติดกับวัน
สังคมและวัฒนธรรม ประชาชนมีโอกาสพบประกันเมื่อมีเทศกาลงานวัด เพราะในวัด
บางขุนนนท์ มีศูนย์รวมจิตใจของประชาชน คือ หลวงพ่อดำ นอกจากนี้ ความสัมพันธ์ของประชาชน
มีเป็นกลุ่ม เฉพาะผู้ที่ทำกิจกรรมกลุ่ม เช่น กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มกองทุน
แต่อย่างไรก็ตามนับว่าประชาชนของชุมชนมีคุณภาพ รู้หน้าที่ความรับผิดชอบ ทำให้ชุมชนได้รับ
การคัดเลือกเป็นชุมชนนำร่องในการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้าน และบริหารจัดการกองทุนได้ประสบผล
124
สำเร็จ เป็นการบ่งบอกถึงคุณภาพของประชาชนที่รู้หน้าที่มีความรับผิดชอบ โดยเฉพาะสมาชิกกอง
ทุนผู้ใช้บริการกองทุนหมู่บ้านที่เป็นคนดีมี จริยธรรม
ผลการศกึ ษาและวเิ คราะห  สมาชิกผู้ใช้ประโยชน์จากกองทุนเป็นรายบุคคล จากชุมชน
วัดบางขุนนนท์มี 2 ราย ประกอบด้วย 1) นางกมลรัตน์ ยามมีสิน 2) นางพัทยา รุ่งเดชารัตน์ มีผล
การศึกษาและวิเคราะห์ ดังนี้
นางกมลรัตน์ ยามมีสิน อายุ 33ปี บ้านเลขที่ 34/43 ชุมชนวัดบางขุนนนท์ แขวงบางขุนนนท์
เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร เป็นผู้ใช้ประโยชน์จากกองทุนหมู่บ้าน และชุมชนเมืองของ
ชุมชนวัดบางขุนนนท์ ผลการศึกษาและวิเคราะห์มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. ข้อมูลทั่วไป
( 1 ) ภูมิลำเนาของบิดามารดา
บิดาของนางกมลรัตน์ ชื่อทองดี มารดาชื่อหนูผล เป็นชาวจังหวัดชัยภูมิ มีอาชีพ
ขายอาหาร เดิมพ่อทองดีบวชเป็นสามเณรในกรุงเทพ เมื่อสึกออกมาก็ได้ประกอบอาชีพขับรถ 3
ล้อ และรับจ้างตัดผม ผู้ใหญ่ของนายทองดีและนางหนูผลชักนำให้แต่งงานกัน และมาตั้งถิ่นฐานที่
ขางขุนนนท์ ซึ่งมีลูกด้วยกัน 3 คน เป็นผู้หญิงทั้งหมด โดยนางกมลรัตน์ เป็นบุตรคนที่ 2 ของครอบ
ครัว
(2 ) ชีวิตในวัยเด็กและวัยศึกษา
เป็นเด็กที่มีความขยัน มุนานะอดทด เพราะช่วยทำงานทุกออย่างในบ้านอย่าง
สม่ำเสมอ และยังต้องช่วยพ่อแม่ทำอาหารเพื่อขายในตอนเช้าที่วัดบางขุนนนท์ ซึ่งฐานะของครอบ
ครวั ขณะนนั้ อยใู่ นระดบั คอ่ นขา้ งด ี จบการศกึ ษาระดบั สงู สดุ ชนั้ มธั ยมศกึ ษาปที ี่ 6 จาก โรงเรยี น
ชิโนรส วิทยาลัย จากนั้นไปศึกษาต่อในระดับพาณิชย์ ได้เพียงแค่ภาคเรียนแรก เพราะมีคู่ครอง จึง
ออกมาช่วยแม่ค้าขายอยู่ที่บ้าน
(3 ) ชีวิตในวันทำงาน
หลังที่ออกจากการศึกษาคืองานขายอาหารซึ่งเป็นของบิดามารดาขณะนั้นมีอายุ
ประมาณ 15 ปี ทำงานมาได้ประมาณ 4-5 ปีจึงออกมาเป็นแม่ครัวทำอาหารไทยให้กับชาวเกาหลี
125
ได้รับเงินเดือน ประมาณ 10,000 บาท/เดือน บางครั้งก็ได้รับเงินพิเศษ รวมแล้วประมาณ 13,000
บาท/เดือน ทำอยู่ประมาณ 5 ปี ก็ออกจากงานและเลิกกับสามี และมีสามีคนที่ 2 ซึ่งกลับมา
ทำงานกับพ่อแม่อีกครั้งเพราะความรู้สึกห่วงใยที่พ่อแม่ต้องทำงานหนักและไม่มีคนคอยช่วยเหลือ
ต้องตื่นขึ้นมาตั้งแต่ ตี 2 เพื่อทำอาหารขาย
(4 ) การดำรงชีวิตในปัจจุบัน
ปัจจุบันยังอยู่กับพ่อแม่ และมีลูกกับสามีใหม่ 1 คน สามีทำงานบริษัทและมีหน้าที่
ส่งของ ฐานะครอบครัวพออยู่พอกิน และได้นำเงินจำนวนหนึ่งมาลงทุนในการทำน้ำส้มขาย ตั้งแต่ปี
2544 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งรายได้จากการทำน้ำส้มขายนี้ค่อนข้างดี โดยมียี่ห้อเป็นชื่อของตนเองใน
ขณะเดียวกันก็ช่วยงานของพ่อแม่อยู่เหมือนเดิม ฐานะทางครอบครัวดีขึ้น รายได้ส่วนใหญ่มาจาก
การขายน้ำส้ม ประมาณ 3-4 หมื่นบาทต่อเดือน
2 . ข้อมูลเกี่ยวกับองค์ประกอบที่ก่อเกิดจริยธรรม
(1 ) องค์ประกอบที่เกี่ยวกับบ้าน
การสร้างความสัมพันธ์ภายในครอบครัว นางกมลรัตน์มีความผูกพันกับ
บิดามารดา ช่วยเหลือด้านค้าขายมาตั้งแต่เด็กจนถึงปัจจุบัน
วิธีการอบรมเลี้ยงดู บิดามารดาเลี้ยงดูด้วยความห่วงใย และให้การ
สนับสนุนในเรื่องการประกอบอาชีพ และฐานะทางเศรษฐกิจอยู่เสมอ
( 2 ) องค์ประกอบที่เกี่ยววัด
ความสัมพันธ์กับวัด บ้านของนางกมลรันต์ อยู่ติดกับวัด ได้พบปะพูดคุยและ
ปรึกษาหารือปัญหาที่เกิดขึ้นและมองเห็นความเป็นไปของวัดกับสถานภาพวัดทำให้ทราบปัญหา
ต่างๆของวัดดี
ความเชื่อความศรัทธาในหลักธรรม จากการที่นางกมลรัตน์มีบ้านติดกับวัด
และมีความศรัทธาต่อหลวงพ่อดำ ซึ่งเป็นพระที่ชาวชุมชนให้ความนับถือศรัทธา เมื่อถึงเทศกาลก็
จะไปทำบุญตามเทศกาล ตามวิถีชีวิตของชาวบ้านทั่วไป และมีความเชื่อความศรัทธาในหลักธรรม
ตามวิถีชาวพุทธ
(3 ) องค์ประกอบที่เกี่ยวกับในโรงเรียน
126
ความสัมพันธ์กับครูอาจารย์ นางกมลรัตน์ จบการศึกษาระดับม.6 จากโรง
เรียนชิโนรส ได้รับการอบรมตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาตามปกติไม่มีความสัมพันธ์ใดๆกับ
อาจารย์
(4 ) องค์ประกอบที่เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทางสังคม
วิถีชีวิตภายในชุมชน ผู้วิจัยได้เข้าไปศึกษาและพบว่า ชุมชนเป็นชุม
ชนเก่าแก่ที่มีฐานะทางเศรษฐกิจดี ประชาชนมีฐานะปานกลาง มีการศึกษาตามหลักสูตรภาคบังคับ
เศรษฐกิจชุมชน เนื่องจากชุมชนบางขุนนนท์เป็นชุมชนเมือง มีความสะดวก
ต่อการเดินทางส่วนใหญ่เป็นที่อยู่อาศัย ไม่มีโรงงาน มีร้านค้าของชำ และขายของเล็กๆ น้อยๆ ซึ่ง
ครอบครัวของนางกมลรัตน์ขายอาหารในชุมชนทั้งครอบครัวนับได้ว่าชุมชนมีเศรษฐกิจพออยู่พอกิน
การเลือกคบเพื่อน นางกมลรัตน์ มีอาชีพขายอาหาร จึงเป็นผู้ที่มีมนุษย์สัมพันธ์
ที่ดีกับทุกคน จากที่ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาและสัมภาษณ์พบว่า นางกมลรัตน์มีบุคลิกเป็นคนเปิดเผย
และจริงใจ จึงมีทัศนในการเลือกคบเพื่อนที่มีความซื่อสัตย์ และเปิดเผย
(5 ) องค์ประกอบเกี่ยวกับการบริหารจัดการของคณะกรรมการกองทุน
ระเบียบกองทุน ผลการวิเคราะห์การบริหารจัดการกองทุนชุมชนวัดบางขุนนนท์
พบว่า กองทุนหมู่บ้านของชุมชนวัดบางขุนนนท์เป็นกองทุนนำร่องในเขตบางกอกน้อย การบริหาร
จัดการมีวิธีการเป็นไปตามข้อกำหนดของคณะกรรมการบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่ง
ชาติ ซึ่งการบริหารจัดการกองทุนชุมชนมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ให้เป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียน ส่ง
เสริมให้เกิดการออมทรัพย์ด้วยวิธีการฝากเงินสัจจะ และให้บริการเงินกู้แก่สมาชิก เพื่อพัฒนาจิตใจ
สมาชิกให้เป็นคนดีมีคุณธรรม 4 ประการคือ มีความซื่อสัตย์ ไม่เห็นแก่ตัว ไม่มัวเมาในอบายมุข
และรู้รักสามัคคี โดยมีการบริหารจัดการ ประกอบด้วย จัดการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารกอง
ทุน กำหนดระเบียบข้อบังคับในการบริหารกองทุน และกำหนดคุณสมบัติของสมาชิกกองทุน และ
รายละเอียดเงินฝากสัจจะ ซึ่งกำหนดเป็นหุ้น มีการฝากด้วยจำนวนเท่าๆ กันเป็นประจำทุกเดือน
และมีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 7 ต่อปี กำหนดคุณสมบัติของสมาชิกกองทุน และรับสมัครสมาชิก
ซึ่งเป็นคนในชุมชน มีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ จัดทำกระบวนการบริหารจัดการกองทุน หลักการ
ฝากเงิน การกู้ยืมและการคืนเงินกองทุน เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน
(6 ) องค์ประกอบที่เกี่ยวกับพฤติกรรมการรับข่าวสาร
พฤติกรรมการรับข่าวสาร นางกมลรัตน์ ประกอบอาชีพทำอาหารขาย จึง
พบปะ ผู้คน การรับข่าวสารจึงมาจากสื่อทุกประเภทประเภทข่าวสารที่ได้รับส่วนใหญ่เป็น
ทางด้านความบันเทิง
127
สรุปได้ว่า นางกมลรัตน์ ยามมีสิน เป็นผู้ที่มีความขยัน มุนานะอดทด ช่วยทำงานทุก
อย่างสม่ำเสมอ มีความขยัน หมั่นเพียร และมีความกตัญญูต่อบิดามารดาอย่างสูง บิดามารดาให้
การสนับสนุนด้านการประกอบอาชีพ ด้วยความขยันหมั่นเพียร ความซื่อสัตย์สุจริต โดยบิดามารดา
จะสอนให้เป็นผู้ที่มีความประพฤติดี และมีความเชื่อความศรัทธาในหลักธรรมตามวิถีชาวพุทธ มูล
เหตุดังกล่าว นำมาทำจากการศึกษาและวิเคราะห์องค์ประกอบของการก่อเกิดจริยธรรม จึงสรุปได้
ว่า นางกมลรัตน์ มีองค์ประกอบที่ก่อให้เกิดจริยธรรม บ้าน เพราะ ครอบครัว ที่ให้ความเอาใจใส่
จากบิดามารดาเป็นพิเศษกว่าพี่และน้อง จึงเป็นการปลูกฝังความเป็นคนดีและสภาพแวดล้อมทาง
สังคม เพราะเป็นผู้ที่มีมนุษย์สัมพันฑ์ดีกับเพื่อนบ้านตลอดทั้งความมีน้ำใจเอื้อต่อผู้อื่น
นางพิทยา รุ่งเดชารัตน์ อายุ 50 ปี บ้านเลขที่ 31/157 ชุมชนวัดบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย
กรุงเทพมหานคร เป็นผู้ใช้ประโยชน์จากกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองของ ชุมชนวัดบางขุนนนท์
ผลการศึกษาและวิเคราะห์มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. ข้อมูลทั่วไป
( 1 ) ภูมิลำเนาของบิดามารดา
บิดาของนางพิทยา ชื่อนายประชา มารดาชื่อนางสำอาง หุ่นเจริญ ชาวจังหวัด
สมุทรสาคร มีเชื้อสายเป็นชาวจีน มีอาชีพเลี้ยงเป็ด มีพี่น้อง 4 คน หญิง 2 คน ชาย2 คน และนาง
พิทยาเป็นบุตรคนที่ 1ของครอบครัวฐานะทางบ้านขณะนั้นค่อนข้างดี บิดาเคยเป็นกรรมการวัดซึ่ง
ต้องไปช่วยงานที่วัดเป็นประจำทุกวันจนกระทั่งเสียชีวิตเมื่ออายุได้ 78 ปี คุณแม่ยังมีชีวิตอยู่จน
ปัจจุบันนี้ ซึ่งมีอายุ 79 ปี
(2 ) ชีวิตในวัยเด็กและวัยศึกษา
เป็นเด็กที่มีความขยัน อดทน ช่วยเหลือตัวเองมาตั้งแต่เด็ก และช่วยพ่อแม่เลี้ยง
เป็ดตั้งแต่ตี5 เสร็จแล้วก็ต้องเก็บไข่ใส่ลังเพื่อนำไปขาย ซึ่งเป็นกิจวัตรประจำวันทุกเช้าจนกระทั่งเข้า
โรงเรียนก็ยังคงช่วยพ่อแม่ทำงานเช่นนี้มาตลอด เรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากโรงเรียนสตรี
ประจำจังหวัดสมุทรสาคร ไม่อยากเรียนต่อ จึงลาออกไปเรียนตัดเย็บเสื้อผ้ากับช่างที่มีฝีมือในร้าน
รับจ้างตัดเย็บเสื้อผ้า
(3 ) ชีวิตในวันทำงาน
อายุประมาณ 16-17 ปี ได้มารับจ้างตัดเย็บเสื้อผ้ากับพี่สาวในกรุงเทพ ที่บางไผ่
เขต ภาษีเจริญในปี 2524 และได้แต่งงานกับช่างซ่อมรถ มีบุตรด้วยกัน 2 คน หลังจากนั้นได้แยก
ตัวออกมาจากพี่สาวและมาอยู่กับแม่ของสามีที่ ซอยวัดบางขุนนนท์จนกระทั่งปัจจุบันนี้
128
(4 ) การดำรงชีวิตในปัจจุบัน
ขณะนี้มีอายุ 50 ปี มีอาชีพรับจ้างตัดเย็บเสื้อผ้า รับจ้างซักรีด และรับทำอาหาร
ส่งตามบ้านและโรงเรียน และสำนักงานโดยมีน้องสาวมาช่วยทำงาน สามีไปทำอาชีพเลี้ยงกุ้งที่
ปากอ่าวปัตตานี ฐานะค่อนข้างดีสุขสบายกว่าเดิม ทุก ๆ วันนอกจากจะทำงานของตนเองแล้วก็
ยังทำงานในกรรมการกองทุนหมู่บ้าน
2 . ข้อมูลเกี่ยวกับองค์ประกอบที่ก่อเกิดจริยธรรม
(1 ) องค์ประกอบที่เกี่ยวกับบ้าน
การสร้างความสัมพันธ์ภายในครอบครัวพี่น้องมีความผูกพันกัน เนื่องจากต้อง
ช่วยพ่อแม่ในด้านการเลี้ยงเป็ด บิดามารดารักเอาใจใส่ สนับสนุนเรื่องการศึกษา ต้องการให้บุตรมี
การศึกษาสูง
วิธีการอบรมเลี้ยงดู บิดามารดา อบรมสั่งสอนให้ลูกทำงาน อาชีพสุจริต มี
ความขยันขันแข่งในการทำงาน
( 2 ) องค์ประกอบที่เกี่ยวกับวัด
ความสัมพันธ์กับวัด เนื่องจากบ้านของนางพิทยา อยู่ติดต่อกับ วัดบางขุนนนท์ วิถี
ชีวิตประจำวันจึงใกล้ชิดกับวัด เมื่อวัดมีกิจกรรมตามประเพณีหรือวันสำคัญทางศาสนา เช่น วันขึ้น
ปีใหม่ วันเข้าพรรษา วันออกพรรษา ก็จะเข้าร่วมกิจกรรมทำหน้าที่เป็นแม่งานให้กับวัด อีกทั้งในวัด
มีรูปปั้นของหลวงพ่อดำที่เป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชนด้วย ซึ่งนางพิทยาก็มีความสัมพันธ์กับวัด
ในฐานะเป็นแม่งานของวัด
ความเชื่อความศรัทธาในหลักธรรม มีความศรัทธาและความเชื่อถือตามวิถี
ชาวพุทธ โดยยึดหลักการปฏิบัติตามศีล 5 อย่างเคร่งครัด
(3 ) องค์ประกอบที่เกี่ยวกับในโรงเรียน
ความสัมพันธ์กับครูอาจารย์ จบการศึกษาตามเกณฑ์การศึกษามัธยมศึกษา
ตอนต้น ไม่ได้รับความประทับใจจากโรงเรียนมากนัก
(4 ) องค์ประกอบที่เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทางสังคม
วิถีชีวิตภายในชุมชน ผู้วิจัยได้เข้าไปศึกษาและพบว่า ชุมชนวัดบางขุน
นนท์เป็น ชุมชนที่แออัด ประชาชนที่มาสร้างบ้านเรือนมาจากถิ่นอื่นเป็นส่วนใหญ่ เช่น ภาคใต้
ภาคอีสาน มีอาชีพรับราชการ รัฐวิสาหกิจ และรับจ้าง ประชาชนจะออกไปประกอบอาชีพนอกบ้าน
มีความสัมพันธ์กันบ้างเมื่อทำกิจกรรมร่วมกัน
เศรษฐกิจชุมชน เนื่องจากชุมชนบางขุนนนท์เป็นชุมชนเมือง มีความสะดวกต่อ
การเดินทาง ส่วนใหญ่เป็นที่อยู่อาศัย ประชาชนมีฐานะอยู่ในระดับพอมีพอกินอยู่อย่างสะดวก
129
สบาย การคมนาคมสะดวก ส่วนมากจะเป็นที่อยู่อาศัย ไม่มีทรัพยากรธรรมชาติ ไม่มีโรงงาน มีแต่
ร้านค้าขายของใช้ภายในครัวเรือนเล็ก ๆ น้อย
การเลือกคบเพื่อน นางพิทยา เป็นผู้มีมนุษย์สัมพันธ์ดี มีฐานะเป็นเลขาของกอง
ทุน รู้บ้านของนางพิทยาจึงเป็นสถานที่รวมของประชาชนในชุมชนนางพิทยาจึงมีมนุษย์สัมพันธ์
กับคนทั่วไป
(5 ) องค์ประกอบเกี่ยวกับการบริหารจัดการของคณะกรรมการกองทุน
ระเบียบกองทุน ผลการวิเคราะห์การบริหารจัดการกองทุนชุมชนวัดบางขุนนนท์
พบว่า กองทุนหมู่บ้านของชุมชนวัดบางขุนนนท์เป็นกองทุนนำร่องในเขตบางกอกน้อย การบริหาร
จัดการมีวิธีการเป็นไปตามข้อกำหนดของคณะกรรมการบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่ง
ชาติ
ซึ่งการบริหารจัดการกองทุนชุมชนมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ให้เป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียน ส่งเสริมให้
เกิดการออมทรัพย์ด้วยวิธีการฝากเงินสัจจะ และให้บริการเงินกู้แก่สมาชิก เพื่อพัฒนาจิตใจสมาชิก
ให้เป็นคนดีมีคุณธรรม 4 ประการคือ มีความซื่อสัตย์ ไม่เห็นแก่ตัว ไม่มัวเมาในอบายมุข และรู้รัก
สามัคคี โดยมีการบริหารจัดการ ประกอบด้วย จัดการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารกองทุน
กำหนดระเบียบข้อบังคับในการบริหารกองทุน และกำหนดคุณสมบัติของสมาชิกกองทุน และราย
ละเอียดเงินฝากสัจจะ ซึ่งกำหนดเป็นหุ้น มีการฝากด้วยจำนวนเท่าๆ กันเป็นประจำทุกเดือน และมี
อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 7 ต่อปี กำหนดคุณสมบัติของสมาชิกกองทุน และรับสมัครสมาชิก ซึ่งเป็น
คนในชุมชน ซึ่งมีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ จัดทำกระบวนการบริหารจัดการกองทุน หลักการฝาก
เงิน การกู้ยืมและการคืนเงินกองทุน เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน
(6 ) องค์ประกอบที่เกี่ยวกับพฤติกรรมการรับข่าวสาร
พฤติกรรมการรับข่าวสาร นางพิทยา มีมนุษยสัมพันธ์ดี ทำกิจกรรมด้าน
ศาสนากับวัด จึงมีการสื่อสาร และรับส่งข้อมูลด้วยสื่อต่างๆ ทุกประเภท และเป็นผู้ที่สามารถรับข่าว
สารได้ทุกประเภท
สรุปได้ว่า นางพิทยามีความผูกพันธ์กับครอบครัว บิดามารดารักเอาใจใส่ สนับสนุน
เรื่องการศึกษา วิธีการอบรมเลี้ยงดู บิดามารดา อบรมสั่งสอนให้ลูกทำงาน อาชีพสุจริต มีความ
ขยันขันแข็งในการทำงาน ด้านความสัมพันธ์กับวัด เป็นผู้จัดการในการทำกิจกรรมของวัด จึงมี
ความผูกพันกับวัดสูง มีความศรัทธา และความเชื่อในวิถีชีวิตชาวพุทธสูงและสภาพแวดล้อมริมทาง
สังคมที่เป็นส่วนทำให้เกิด จริยธรรม
130
ชุมชนหมู่ 6 บางระมาด ตั้งอยู่แขวงบางระมาด หมู่ 6 เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร เป็นชุมชน
ชายขอบ ประชาชนมีอาชีพทำสวนผลไม้ปลูกพืชผสมผสานเป็นอาชีพหลัก
สภาพทั่วไป ประชาชนตั้งบ้านเรือนอยู่กันเป็นกลุ่ม ๆ มีความห่างที่สามารถติดต่อกันได้ ผู้ที่
มีฐานะจะสร้างบ้านเรือนอยู่ริมคลองบางระมาดซึ่งเป็นคลองสายหลักของชุมชน ผู้ที่เป็นญาติพี่น้อง
กันก็จะอยู่กันเป็นกลุ่ม สำหรับผู้ที่มีฐานะด้อยลงไปก็จะปลูกบ้านเรือนในสวน ซึ่งบ่งบอกถึงวิถีชีวิต
ดั้งเดิมที่มีความผูกพันอยู่กับสายน้ำ ใช้ลำคลองเป็นเส้นทางสัญจรขนผลผลิตจากสวนสู่ตลาด ซึ่งยัง
คงมีให้เห็นถึงวิถีชีวิตแบบชาวสวน อีกลักษณะคือด้านหลังของชุมชนปัจจุบันจะมีถนนเข้าถึงและมี
รถรับจ้างประจำทางวิ่งประจำ ซึ่งสภาพของชุมชนนี้จะมีให้เห็นทั้งแบบที่เป็นชนบทและเมือง มีพื้น
ที่ว่างเปล่าและมีอากาศบริสุทธิ์
เศรษฐกิจของชุมชน ประชาชนมีทั้งฐานะร่ำรวยและยากจน ผู้ร่ำรวยจะมีที่สวนเป็นของ
ตนเองและเป็นเจ้าของดั้งเดิม ส่วนที่ยากจนจะเป็นผู้ที่มีอาชีพรับจ้างทำงาน ที่อยู่อาศัยสร้างแบบ
อยู่ชั่วคราว และยังมีอาชีพรับราชการและรัฐวิสาหกิจ ที่เข้าไปซื้อที่ปลูกบ้าน จะมีฐานะร่ำรวยเช่น
กัน ภาพรวมของชุมชนประชาชนมีเศรษฐกิจดี
สภาพทางสังคมและวัฒนธรรม ถ้าเป็นชาวบ้านดังเดิมยังคงใช้วิธีชีวิตแบบเรียบๆ
มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน จากการศึกษาพบว่าประชาชนร่วมมือร่วมใจกันไปช่วยเหลืองานของ
เพื่อนบ้าน เช่นงานบวช งานแต่งงาน และงานศพ ชุมชนยังคงรักษาวัฒนธรรมของความเป็นชาว
บ้าน มีฐานะเศรษฐกิจดีแต่ยังใช้วิธีชีวิตแบบเรียบ ๆ ไม่อวดโอ้ มีความยึดมั่นเรื่องความมีบุญคุณ
ต่อกันเป็นคุณภาพในจิตใจที่ได้ปลูกฝังกันมา ประกอบกับวิถีชีวิตที่อยู่ธรรมชาติที่ร่มเย็น การใช้
ชีวิตจึงเรียบง่าย จากคุณภาพของประชาชนเป็นผลที่ส่งให้ชุมชนได้รับการคัดเลือกเป็นชุมชนนำ
ร่อง การจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านของเขตตลิ่งชัน และประสบผลสำเร็จในการบริหารจัดการ
ผลการศึกษาและวิเคราะห์สมาชิกผู้ใช้ประโยชน์จากกองทุน ชุมชนหมู่ 6 บางระมาด
เป็นรายบุคคล 2 ราย ประกอบด้วย 1) นางลัดดา น่วมในชาติ 2) นายส้ม กล่ำถนอม มีผลการ
ศึกษา และวิเคราะห์ดังนี้
131
นางลัดดา น่วมในชาติ อายุ 61 ปี อยู่บ้านเลขที่ 2 หมู่ 6 แขวงบางระมาด เขตตลิ่งชัน
กรุงเทพมหานคร เป็นสมาชิกผู้ใช้ประโยชน์จากกองทุนหมู่บ้าน ของชุมชนหมู่ 6 บางระมาด ผล
การศึกษาและวิเคราะห์รายละเอียด มีดังนี้
กรณีศึกษาที่ 9 นางลัดดา น่วมในชาติ อายุ 61 ปี บ้านเลขที่ 2 หมู่ 6 แขวงบางระมาด เขต
ตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร เป็นผู้ใช้ประโยชน์จากกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองของ ชุมชน หมู่ 6
บางระมาด ผลการศึกษาและวิเคราะห์มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. ข้อมูลทั่วไป
(1) ภูมิหลัง บิดามารดาของนางลัดดา เป็นชาวสวนดั้งเดิมของชุมชนบาง
ระมาด เขตตลิ่งชัน ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมคลองบางระมาด มีวิถีชีวิตเรียบง่ายและมีฐานะปานกลาง ไม่
ร่ำรวย นางลัดดา เป็นบุตรคนเดียวของบิดามารดา
(2) ชีวิตในวัยเด็กและวัยศึกษา ช่วยมารดาทำงานบ้านและทำสวน -มีวิถีชีวิต
สะดวกสบายตามธรรมชาติ โดยเก็บผัก จับปลาที่อยู่ในสวนเป็นอาหาร จบชั้นมัธยม 6 เดินทางไป
โรงเรียนด้วยเท้าตั้งแต่เด็กจนจบม.6 นางลัดดาช่วยมารดาทำสวนแต่ไม่ต้องรับผิดชอบมากนัก
(3) ชีวิตในวันทำงาน เป็นลูกจ้างรักษาความสะอาดในโรงพยาบาลรามาธิบดี
จนเกษียณอายุ
(4) การดำรงชีวิตในปัจจุบัน แต่งงานกับชาวสวน ชุมชนเดียวกัน มีบุตร 1 คน
และหย่าร้างกับสามี เมื่อลูกสาวอายุ 3 ขวบ และเลี้ยงดูบุตรเอง-ปัจจุบันอายุ 64 ปี และยังดูแล
มารดาที่มีอายุมาก มีรายได้จากบุตรสาว และเก็บของในสวนขาย
2. ข้อมูลที่เกี่ยวกับองค์ประกอบที่ก่อให้เกิดจริยธรรม
(1) องค์ประกอบที่เกี่ยวกับบ้าน
การสร้างความสัมพันธ์ภายในครอบครัว มีความสัมพันธ์ และผูกพัน
กับบิดามารดาและญาติพี่น้อง ปัจจุบันยังเลี้ยงดูมารดาที่มีอายุมาก
วิธีการอบรมเลี้ยงดู บิดามารดาให้การอบรมเลี้ยงดูแบบชาวสวน ที่มี
ชีวิตเรียบง่าย
(2) องค์ประกอบที่เกี่ยวกับวัด
132
ความสัมพันธ์กับวัด นางลัดดาเป็นลูกชาวสวน มีฐานะครอบครัวดี จึงได้
เรียนหนังสือ ระดับสูงกว่าภาคบังคับและทำงานนอกบ้าน จึงไม่มีโอกาสสร้างความสัมพันธ์กับวัด
แต่เมื่อเกษียณอายุอยู่กับบ้านก็ทำบุญใส่บาตรทุกวันไม่ได้ขาด
ความเชื่อศรัทธาในพุทธศาสนา มีความเชื่อเรื่องของบุญและบาป คือการทำ
ดีจะได้ดี การใส่บาตรพระทุกวัน ถือว่าตนได้สร้างบุญกุศล เพื่อว่าผลบุญไปถึงบรรพบุรุษ
(3) องค์ประกอบที่เกี่ยวกับโรงเรียน
ความสัมพันธ์กับครูอาจารย์ จบชั้นมัธยม 6 เดินทางไปโรงเรียนด้วย
เท้าไปเรียน
ตั้งแต่เด็กจนจบม.6 และไปเป็นลูกจ้างโรงพยาบาลรามาธิบดีจนเกษียณอายุ
(4) องค์ประกอบที่เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทางสังคม
วิถีชีวิตในชุมชน มีความสัมพันธ์กันแบบเครือญาติ คือการให้ความ
ร่วมมือช่วยเหลือเกื้อกูลกัน อยู่กันอย่างเรียบง่าย สภาพแวดล้อมแบบธรรมชาติ ช่วยเสริมเสริมให้
ประชาชนในชุมชนมี
จิตใจเยือกเย็น
เศรษฐกิจชุมชน ชุมชนมีเศรษฐกิจแบบพอเพียง บางครอบครัวมี
เศรษฐกิจดี ฐานะร่ำรวย ส่วนน้อยที่ยากจน
การคบเพื่อน นางลัดดาเป็นคนเงียบไม่ช่างพูด แต่มีบุคคลิกภาพดี
สุภาพเรียบร้อย เป็นที่น่าคบค้าสมาคมของคนทั่วไป นางลัดดาสามารถมีไมตรีได้กับทุกคน แต่จะ
เลือกคบเพื่อนที่มีอุปนิสัยเหมือนกัน
(5) องค์ประกอบที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการของคณะกรรมการกองทุน
ระเบียบกองทุน ผลการวิเคราะห์การบริหารจัดการกองทุนชุมชนวัด
บางขุนนนท์ พบว่า กองทุนหมู่บ้านของชุมชนวัดบางขุนนนท์เป็นกองทุนนำร่องในเขตบางกอกน้อย
การบริหารจัดการมีวิธีการเป็นไปตามข้อกำหนดของคณะกรรมการบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุม
ชนเมืองแห่งชาติ ซึ่งการบริหารจัดการกองทุนชุมชนมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ให้เป็นแหล่งเงินทุนหมุน
เวียน ส่งเสริมให้เกิดการออมทรัพย์ด้วยวิธีการฝากเงินสัจจะ และให้บริการเงินกู้แก่สมาชิก เพื่อ
พัฒนาจิตใจสมาชิกให้เป็นคนดีมีคุณธรรม 4 ประการคือ มีความซื่อสัตย์ ไม่เห็นแก่ตัว ไม่มัวเมาใน
อบายมุข และรู้รักสามัคคี โดยมีการบริหารจัดการ ประกอบด้วย จัดการเลือกตั้งคณะกรรมการ
บริหารกองทุน กำหนดระเบียบข้อบังคับในการบริหารกองทุน และกำหนดคุณสมบัติของสมาชิก
133
กองทุน และรายละเอียดเงินฝากสัจจะ ซึ่งกำหนดเป็นหุ้น มีการฝากด้วยจำนวนเท่าๆ กันเป็น
ประจำทุกเดือน และมีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 7 ต่อปี กำหนดคุณสมบัติของสมาชิกกองทุน และ
รับสมัครสมาชิก ซึ่งเป็นคนในชุมชน ซึ่งมีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ จัดทำกระบวนการบริหารจัด
การกองทุน หลักการฝากเงิน การกู้ยืมและการคืนเงินกองทุน เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของ
กองทุน
(6) องค์ประกอบที่เกี่ยวกับพฤติกรรมการรับข่าวสาร นางลัดดา
ไม่ค่อยได้รับข่าวสารจากภายนอก ส่วนใหญ่เป็นการฟังจากวิทยุและโทรทัศน์ ด้านธรรมะ
สรุปได้ว่า นางลัดดา เป็นผู้ที่มีความสัมพันธ์กับเครือญาติ และมีความกตัญญูสูง มี
ความเชื่อและศรัทธาพระพุทธศาสนาสูง มีความเอื้อเฟื้อ เกื้อกูลกันภายในวงศ์ญาติ มูลเหตุดัง
กล่าว นำมาทำการศึกษาและวิเคราะห์องค์ประกอบของการก่อเกิดจริยธรรม จึงสรุปได้ว่า นางลัด
ดา มีองค์ประกอบที่ก่อให้เกิดจริยธรรม ครอบครัว ที่ให้ความเอาใจใส่จากบิดามารดา มีความ
กตัญญู และมีการรับฟังข่าวสารด้านธรรมะจากสื่อวิทยุและโทรทัศน์ จึงเป็นการปลูกฝังความเป็น
คนดีและสภาพแวดล้อมทางสังคม
นายส้ม กล่ำถนอม อายุ 48 ปี บ้านเลขที่ 2/1 ชุมชนหมู่ 6 บางระมาด เขตตลิ่งชัน
กรุงเทพมหานคร เป็นผู้ใช้ประโยชน์จากกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองของ ชุมชนหมู่ 6 บาง
ระมาด ผลการศึกษาและวิเคราะห์มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. ข้อมูลทั่วไป
(1) ภูมิหลัง บิดาของนายส้ม กล่ำถนอม เป็น ชาวนาจังหวัดอยุธยา มีฐานะยาก
จน มีรายได้ไม่แน่นอน นายส้ม เป็นบุตรคนที่ 7 ในจำนวนพี่น้อง 8 คน และบิดาเสียชีวิตเมื่อน้องคน
เล็กยังอยู่ในครรภ์มารดา
(2) ชีวิตในวัยเด็กและวัยศึกษา แม่ฝากไปอยู่กับพระ ซึ่งเป็นหลวงลุงเมื่ออายุ
7-8 ขวบ
(3) ชีวิตในวันทำงาน เรียนหนังสือที่วัดพออ่านออกเขียนได้ เปรียบเทียบคุณ
วุฒิอยู่ในระดับ ประถมปีที่ 4 แล้วจึงลาหลวงลุงมาหางานทำในกรุงเทพฯ อย่างไม่มีจุดหมาย โดย
รับจ้างเข็นรถผัก ล้างจานในร้านก๋วยเตี๋ยวได้ค่าตอบแทนเป็นอาหารประทังชีวิตประจำวัน
134
(4) การดำรงชีวิตในปัจจุบัน มีคนช่วยเหลือให้ไปเป็นคนขับรถสามล้อเครื่องที่
ตลาดสะพานขาว ทำอยู่ประมาณ 10 ปี แล้วมีคนชักชวนไปเป็นคนขับรถบรรทุกไม้ของเสี่ยแหย ใน
จังหวัดอ่างทอง เมื่อเสียแหยเสียชีวิตจึงเปลี่ยนอาชีพเป็นคนขับรถประจำทางสาย 82 ใน
กรุงเทพฯ เขตตลิ่งชัน และแต่งงานมีลูก 1 คน ปัจจุบันอายุ 12 ปี หลังจากนั้นมาประกอบอาชีพ
ขายน้ำตาลสดจนถึงปัจจุบัน โดยมีชื่อว่า ส.น้ำตาลสด
สรุปผลการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป สรุปได้ว่า นายส้ม กล่ำถนอม มี
บิดามารดา เป็น ชาวนาจังหวัดอยุธยา มีฐานะยากจน มีรายได้ไม่แน่นอน นายส้ม เป็นบุตรคนที่ 7
ในจำนวนพี่น้อง 8 คน และบิดาเสียชีวิตเมื่อน้องคนเล็กยังอยู่ในครรภ์มารดา ชีวิตในวัยเด็ก แม่
ฝากไปอยู่กับพระ ซึ่งเป็นหลวงลุงเมื่ออายุ 7-8 ขวบ เมื่อเรียนหนังสือที่วัดพออ่านออกเขียนได้
เปรียบเทียบคุณวุฒิอยู่ในระดับ ประถมปีที่ 4 แล้วจึงลาหลวงลุงมาหางานทำในกรุงเทพฯ อย่างไม่
มีจุดหมาย โดยรับจ้างเข็นรถผัก ล้างจานในร้านก๋วยเตี๋ยวได้ค่าตอบแทนเป็นอาหารประทังชีวิต
ประจำวัน การดำรงชีวิตในปัจจุบัน ได้รับความช่วยเหลือให้ไปเป็นคนขับรถสามล้อเครื่องที่ตลาด
สะพานขาว ทำอยู่ประมาณ 10 ปี แล้วมีคนชักชวนไปเป็นคนขับรถบรรทุกไม้ของเสี่ยแหย่ ใน
จังหวัดอ่างทอง เมื่อเสียแหย่เสียชีวิตจึงเปลี่ยนอาชีพเป็นคนขับรถประจำทางสาย 82 ในกรุงเทพฯ
เขตตลิ่งชัน และแต่งงานมีลูก 1 คน หลังจากนั้นมาประกอบอาชีพขายน้ำตาลสดจนถึงปัจจุบันโดย
มีชื่อว่า ส.น้ำตาลสด
2. ข้อมูลที่เกี่ยวกับองค์ประกอบที่ก่อให้เกิดจริยธรรม
(1) องค์ประกอบที่เกี่ยวกับบ้าน
การสร้างความสัมพันธ์ภายในครอบครัว ไม่ได้รับการเลี้ยงดูจาก
บิดามารดา เนื่องจากเป็นกำพร้า และมารดายากจน จึงนำไปฝากเลี้ยงที่วัด
วิธีการอบรมเลี้ยงดู ได้รับการอบรมเลี้ยงดูจากพระซึ่งเป็นหลวงลุง
มีวิถีชีวิตแบบเด็กวัด ต้องดูแลปรนนิบัติ และเรียนหนังสือจากหลวงลุง
(2) องค์ประกอบที่เกี่ยวกับวัด
ความสัมพันธ์กับวัด มีความสัมพันธ์สูง เติบโตและได้รับการเลี้ยงดู
จากพระ จึงมีความซาบซึ้งในคำสั่งสอนของพระพุทธศาสนา และปฏิบัติเป็นประจำทุกวัน
135
ความเชื่อศรัทธาในหลักธรรม เนอื่ งจากนายสม้ ไดร้ บั การอบรมเลยี้ งด ู จาก
พระผู้เป็นลุง ให้เป็นผู้มีความกตัญญูรู้คุณคน และห้ามไม่ให้ลักขโมยทรัพย์ของผู้อื่น ทำให้
นายส้มยึดถือปฏิบัติมาตลอด นายส้มถือว่าการตอบแทนบุญคุณผู้ที่เลี้ยงดูมาต้องเชื่อฟัง
และปฏิบัติตามคำสอน
(3) องค์ประกอบที่เกี่ยวกับโรงเรียน
ความสัมพันธ์กับครูอาจารย์ ไม่ได้รับการศึกษาจากโรงเรียนจึงไม่มีความ
สัมพันธ์ และกระบวนการเรียนในโรงเรียน
(4) องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมทางสังคม
วิถีชีวิตในชุมชน ผู้วิจัยได้เข้าไปศึกษาและพบว่า ชุมชนเป็นชนชาวสวน
มีความสัมพันธ์ในลักษณะเครือญาต ิ การสรา้ งบา้ นเรอื นอยกู่ นั เปน็ กลมุ่ มีวิถีชีวิตชาวสวนดั้งเดิม
เศรษฐกิจชุมชน ชาวบ้านในชุมชนดั้งเดิมยังคงประกอบอาชีพทำสวนผล
ไม้ ส่วนผู้ที่เข้ามาอยู่ใหม่จะมีอาชีพค้าขาย รับจ้างและรับราชการ
การเลือกคบเพื่อน นายส้มเป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์ได้กับคนทั่วไป แต่
จะคบคนที่มีความจริงใจต่อกัน พูดจริง ทำจริง จะไม่ชอบคนโกหก
(5) องค์ประกอบที่เกี่ยวกับการบริหารกองทุนและคณะกรรมการ
กองทุน
ระเบียบกองทุน ผลการวิเคราะห์การบริหารจัดการกองทุนชุมชนหมู่
6 บางระมาด พบว่า กองทุนหมู่บ้านของชุมชนหมู่ 6 บางระมาด เป็นกองทุนที่มีการบริหารจัดการมี
วิธีการเป็นไปตามข้อกำหนดของคณะกรรมการบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ซึ่ง
การบริหารจัดการกองทุนชุมชนมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ให้เป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียน ส่งเสริมให้เกิด
การออมทรัพย์ด้วยวิธีการฝากเงินสัจจะ และให้บริการเงินกู้แก่สมาชิก เพื่อพัฒนาจิตใจสมาชิกให้
เป็นคนดีมีคุณธรรม 4 ประการคือ มีความซื่อสัตย์ ไม่เห็นแก่ตัว ไม่มัวเมาในอบายมุข และรู้รัก
สามัคคี โดยมีการบริหารจัดการ ประกอบด้วย จัดการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารกองทุน
กำหนดระเบียบข้อบังคับในการบริหารกองทุน และกำหนดคุณสมบัติของสมาชิกกองทุน และราย
ละเอียดเงินฝากสัจจะ ซึ่งกำหนดเป็นหุ้น มีการฝากด้วยจำนวนเท่าๆ กันเป็นประจำทุกเดือน และมี
อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 7 ต่อปี กำหนดคุณสมบัติของสมาชิกกองทุน และรับสมัครสมาชิก ซึ่งเป็น
คนในชุมชน ซึ่งมีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ จัดทำกระบวนการบริหารจัดการกองทุน หลักการฝาก
เงิน การกู้ยืมและการคืนเงินกองทุน เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน
(6) องค์ประกอบที่เกี่ยวกับพฤติกรรมการรับข่าวสาร
136
พฤติกรรมการรับข่าวสาร นายส้ม กล่ำถนอม ไม่ค่อยได้รับข่าว
สารจากภายนอก ส่วนใหญ่เป็นการฟังจากวิทยุและโทรทัศน์ ด้านต่างๆ ตามโอกาส
สรุปผลการศึกษาและวิเคราะห์องค์ประกอบที่ก่อให้เกิดจริยธรรม สรุปได้ว่า นาย
ส้ม กล่ำถนอม ไม่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูจากครอบครัว เนื่องจากมารดานำไปฝากหลวงลุงที่วัด
เลี้ยงตั้งแต่เด็ก ได้รับความเมตตาและอบรมสั่งสอนด้านจริยธรรมและคุณธรรมจากหลวงลุง
ปัจจุบันมีอาชีพขายน้ำตาลสดตามสถานที่จัดงานต่าง ๆ มูลเหตุดังกล่าว จากการศึกษาและ
วิเคราะห์องค์ประกอบของการก่อเกิด จริยธรรม จึงสรุปได้ว่า นายส้ม กล่ำถนอม มีองค์ประกอบที่
ก่อให้เกิดจริยธรรม วัดซึ่งไปอาศัยอยู่ตั้งแต่เด็ก จึงเป็นการปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรมมาแต่
เด็ก
137
ภาคผนวก ข
สรุปข้อมูลเกี่ยวกับประวัติของสมาชิกกองทุน
136
ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติชีวิตของสมาชิกกองทุน
กรณีศึกษา 1 นางสงวนศรี วงศ์ยิ้ม
ภูมิหลังของบิดามารดา ชีวิตในวัยเด็ก ชีวิตในวัยเรียน ชีวิตวัยทำงาน การดำรงชีวิตในปัจจุบัน
-บิดามารดา ของนางสงวน เป็น
ชาวอุทัยธานี ทำงานเป็นคนสวน
ที่วังสระประทุม และมารดาเป็น
แม่ครัวในวังสระประทุม
-เป็นบุตรคนที่ 2 ในจำนวนพี่
น้อง 4 คน เป็นชาย 2 คน และ
หญิง 2 คน นางสงวน เป็นบุตรี
คนโปรดของบิดามารดา
-บิดามารดาใช้รายได้จากวัง
สระประทุมเลี้ยงดูบุตร
-เมื่อสมเด็จพระพันวัสสาอยิกา
เจ้าต่อมาสร้างบ้านในซอยวัด
เทพากร ที่อยู่ในปัจจุบันนี้สิ้น
พระชนม์ครอบครัวของนาง
สงวนได้ย้ายไปอยู่วังเทเวศน์
-เป็นเด็กที่มีลักษณะพิเศษหลาย
อย่าง และเป็นที่ได้รับความไว้
วางใจจากบุคคลในครอบครัว
-ช่วยพ่อแม่เลี้ยงน้อง และผู้สูงอายุ
ตั้งแต่ยังไม่อยู่ในวัยเรียน
-ช่วยเหลือครอบครัว
-ในวัยเรียน นางสงวน ไม่ได้
รับการศึกษาในโรงเรียน
เนื่องจากโรงเรียนในสมัยนั้น
มีไว้สำหรับเจ้านายชั้นสูง
-เข้าศึกษาที่โรงเรียนวังกรม
พระประมุข(ปัจจุบันคือ
รร.เทเวศน์วิทยาลัย) หลังย้าย
ไปอยู่ที่วังเทเวศน์
- โดยออกจากบ้านตั้งแต่เช้า
เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย
และจบการศึกษา
-จบการศึกษาอายุ 15ปี
-ไปทำงานเป็นลูกจ้างประจำทำ
ความสะอาดเครื่องมือแพทย์
ที่รพ.ราชบุรี ได้รับเงินเดือนใน
อัตรา 450 บาท และได้แบ่งเงิน
เดือนให้บิดามารดา
-เป็นที่รักของเพื่อนร่วมงาน
และเจ้านาย
-หลังจากแต่งงานกับทหารจึง
ได้ลาออกประกอบอาชีพขาย
ของที่จังหวัดราชบุรี
-ทำหน้าที่แม่บ้านและยึดอาชีพ
ค้าขาย มีรายได้มากขึ้น
-หย่าร้างกับสามีและ
มีบุตรธิดารวม 5 คน
-ย้ายกลับมาอยู่กับบ้านบิดา
มารดา โดยนำเงินส่วนตัวมา
ต่อเติมบ้านที่วัดเทพากร
-แต่งงานใหม่ มีบุตร 2 คน
และประกอบอาชีพทำขนม
ไทย เป็นรายได้ส่งให้บุตรธิดา
เรียนหนังสือในปัจจุบัน
-ตักบาตรหรือถวายข้าวพระ
ที่วัดทุกวัน โดยใช้รายได้จาก
การค้าขายมาใช้ดำรงชีวิตใน
ปัจจุบันและมีส่วนที่เหลือจาก
ค่าใช้จ่ายในการครองชีพมา
ทำบุญ
137
ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติชีวิตของสมาชิกกองทุน
กรณีศึกษา 2 นางวรรณา แม้นเลขา
ภูมิหลังของบิดามารดา ชีวิตในวัยเด็ก ชีวิตในวัยเรียน ชีวิตวัยทำงาน การดำรงชีวิตในปัจจุบัน
-บิดามารดาเป็นชาวประจวบ
คีรีขันธ์ ประกอบอาชีพค้าขาย
ผลไม้ นางวรรณาเป็นบุตรคนที่
2ในจำนวนพี่น้อง 5 คน
ต่อมาบิดามารดาขายบ้านและ
ย้ายเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ ซอย
จรัลฯ 35 ประกอบอาชีพขาย
อาหารสด เช่น ผัก หมู ไก่ ปลา
ภายในบ้านซึ่งเป็นอาคารพานิชย์
และมีรายได้ดีพอส่งเสียลูกให้
ลูกได้เรียนดี ต่อมามารดา
ประสบอุบัติเหตุจึงรับภาระแทน
ในขณะที่เรียนอยู่พาณิชยการ
ธนบุรี
-ในวัยเด็กช่วยพ่อแม่เลี้ยงดูน้อง
และดูแลทำงานบ้าน ซึ่งครอบครัว
มีความรักและอบอุ่น ฐานะมีกินมี
ใช้และมีความสุขตามสมควร
-เรียนชั้นมัธยมศึกษาใน
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
-เรียนระดับปวช.ที่
รร.พาณิชยการธนบุรี และ
ทุกวันหยุดจะช่วยมารดาซื้อ
ผักสดที่ตลาด หลังจากมารดา
เสียชีวิต พี่สาวคนโตออกมา
ประกอบอาชีพแทน
นางวรรณากับบิดาจึง
รับผิดชอบหารายได้อื่นๆ
เพิ่มขึ้นจนจบชั้น ปวช.
-ทำงานในแผนกเครื่องใช้
ไฟฟ้าที่ห้างเซ็นทรัล 6 ปี
และแต่งงานเมื่ออายุ 27 ปี จึง
ลาออกเพื่อมาดูแลป้าซึ่งเป็น
แม่บุญธรรมของสามีอายุ 80 ปี
ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ซึ่งตน
เองคิดว่าเป็นบุคคลสำคัญจึงได้
ดูแลอย่างดี ในขณะนั้นตั้ง
ครรภ์ลูกคนแรก รายได้จากสามี
ซึ่งไม่เพียงพอจึงเริ่มมีปัญหาแล
เพราะมีภาระเพิ่มขึ้น หลังจากที่
ป้าเสียชีวิต ก็ได้รับกรรมสิทธิ์
บ้านจากป้า
-ปัจจุบันอายุ 43 ปี สามี
ย้ายไปทำงานที่จังหวัดระยอง
โดยส่งเสียค่าเลี้ยงดูบุตร 3 คน
มาให้ โดยที่นางวรรณาได้
ประกอบอาชีพขายอาหารตาม
สั่งหน้าบ้านมีรายได้เป็นค่า
ขนมลูกๆ ลูกค้าส่วนใหญ่เป็น
คนแก่ที่อยู่ในละแวกนั้นช่วย
ซื้ออาหาร ในราคาจานละ 15-
20 บาท ซึ่งเป็นราคาที่เอื้อซึ่ง
กันและกัน
-เวลาว่างรับจ้างซักผ้า ไป
พร้อมกับดูแลบ้านและลูกๆ
138
ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติชีวิตของสมาชิกกองทุน
กรณีศึกษา 3 นางพรรณิภา อุ่นแจ่ม
ภูมิหลังของบิดามารดา ชีวิตในวัยเด็ก ชีวิตในวัยเรียน ชีวิตวัยทำงาน การดำรงชีวิตในปัจจุบัน
-บิดามารดา ของนางพรรณิภา
เป็นชาวสวนทุเรียนในอำเภอ
บางกรวย จ.นนทบุรี เมื่อเกิด
ปัญหาภาวะน้ำท่วมสูงทำให้
สวนทุเรียนล่ม จึงเปลี่ยนอาชีพ
ขายหนังสือที่สนามหลวงและ
บิดเสียชีวิตในปี 2529 มารดาจึง
ทำกิจการนี้ต่อไปอีก 5 ปี จึง
เปลี่ยนอาชีพไปรับจ้างเย็บผ้า
และย้ายจากบ้านบางกรวยมาอยู่
ที่ซอยจรัลสนิทวงศ์ 79 จนถึง
ปัจจุบัน
-มีพี่น้อง 3 คน เป็นชาย 1 คน
หญิง 2 คน และมีพี่บุญธรรมอีก
1 คน
-ได้รับการเลี้ยงดูจากครอบครัว
โดยปลูกฝังให้เป็นคนขยันและ
ประหยัดตั้งแต่เด็ก เนื่องจาก
ครอบครัวมีฐานะพอมีพอกิน
ช่วยเหลือกันภายในครอบครัว
-ได้รับการศึกษาระดับประถม
ศึกษาตอนต้นจากโรงเรียน
บางพลัด
-จบมัธยมศึกษาตอนต้นจาก
โรงเรียนบวรมงคล
-จบระดับ ปวช. จากโรงเรียน
พณิชยการดุสิต โดยมีผลการ
เรียนอยู่ในเกณฑ์ดี
-ในปี 2540 ได้ศึกษาต่อจบ
ปริญญาตรี จาก รภ.สวนดุสิต
-เริ่มทำงานที่บริษัท
อุตสาหกรรมนมไทยได้รับเงิน
เดือนเริ่มต้นที่หกพันบาท และ
ให้มารดาเก็บไว้ทั้งหมด โดย
มารดาจ่ายค่าใช้จ่ายเป็นรายวัน
-ย้ายไปทำงานบริษัทลิตเติ้ล
ไฟเบอร์ ได้รับเงินเดือน
เก้าพันบาท
-สร้างครอบครัวโดยสมรสกับ
นายประยงค์ สุขสวาส ซึ่งเป็น
ข้าราชการสำนักงาน กพ.
มีบุตรชาย 1 คน และหย่าร้าง
กันในปี 2530
-สมรสใหม่ และมีบุตร 2 คน
เป็นชาย 1 คน หญิง 1 คน
-หลังจากจบปริญญาตรีจาก
รภ.สวนดุสิตได้เข้าทำงาน
โครงการ กองทุนบัณฑิตเป็น
ระยะเวลา 10 เดือน หลังจบ
โครงการจึงประกอบอาชีพ
ซักรีดเสื้อผ้าและรับเลี้ยงเด็ก
แต่รายได้พอใช้ แต่ยังมีภาระ
หนี้อยู่บ้างจากหนี้กองทุน
139
ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติชีวิตของสมาชิกกองทุน
กรณีศึกษา 4 นางเรณู นำผล
ภูมิหลังของบิดามารดา ชีวิตในวัยเด็ก ชีวิตในวัยเรียน ชีวิตวัยทำงาน การดำรงชีวิตในปัจจุบัน
- บิดามารดาชื่อนายปลิวและ
นางสังวาลย์ เป็นชาวอำเภอ
บางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี
อาชีพค้าขาย มียุ้งข้าวเป็นของตน
เอง และมีกิจการเรือลากจูง ฐานะอยู่
ในขั้นเศรษฐี เป็นลูกคนที่ 4 ใน
จำนวนพี่น้อง 5 คน เป็นบุตรสาว
คนเดียว และมีตายายเป็นเจ้าของ
ร้านทองในจังหวัดสุพรรณบุรี
- บิดามารดา เป็น คนดุ เนื่องจาก
ต้องควบคุมคนงาน และเป็นคน
พูดจริงทำจริง ในปี 2520 บิดาเสีย
ชีวิต และมารดา ขายเรือลากจูง
ส่งเสียลูกจนจบและรับราชการทุก
คน

การก่อเกิดจริยธรรมกรณีศึกษาสมาชิกผู้ใช้ประโยชน์จากกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง (ตอนที่ 1)
การก่อเกิดจริยธรรมกรณีศึกษาสมาชิกผู้ใช้ประโยชน์จากกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง (ตอนที่ 2)
การก่อเกิดจริยธรรมกรณีศึกษาสมาชิกผู้ใช้ประโยชน์จากกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง (ตอนที่ 3)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น