ศึกษาและโหลดฟรีเป็นตัวอย่างเกี่ยวกับงานวิจัย all free download research
วันเสาร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2553
การศึกษาการบังคับใช้การดำเนินการมาตรการบันทึกคะแนนอบรม ทดสอบผู้ขับขี่ ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ (ตอนที่ 2)
ถามจะให้ทางเลือกในการตอบ 5 ทางเลือก คือ เห็นด้วยอย่างยิ่ง เห็นด้วย ไม่แน่ใจ ไม่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง ซึ่งข้อคำถามประกอบด้วย ข้อความในเชิงบวก ( Positive ) และข้อความในเชิงลบ ( Negative) มีระดับการวัดความคิดเห็น 5 ระดับดังนี้
คำถามเชิงบวก คำถามเชิงลบ
เห็นด้วยอย่างยิ่ง ระดับคะแนน 5 1
เห็นด้วย ระดับคะแนน 4 2
ไม่แน่ใจ ระดับคะแนน 3 3
ไม่เห็นด้วย ระดับคะแนน 2 4
ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง ระดับคะแนน 1 5
ดังนั้น เกณฑ์การพิจารณาขอบเขตของคะแนนเฉลี่ยเพื่อใช้ในการแปลผลตามความหมายของข้อมูลกำหนดไว้เป็น 3 ระดับ มีเกณฑ์การพิจารณาจากพิสัยดังนี้
พิสัย = (คะแนนสูงสุด - คะแนนต่ำสุด)
3
= (5 - 1 )
3
= 1.33
จากเกณฑ์ดังกล่าวนำมากำหนดระดับคิดเห็น ได้ดังนี้
คะแนนเฉลี่ย
3.67 - 5.00
หมายถึง
อยู่ในระดับสูง
2.34 - 3.66
หมายถึง
อยู่ในระดับปานกลาง
1.00 - 2.33
หมายถึง
อยู่ในระดับต่ำ
51
การพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. ผู้ศึกษาดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการดังนี้
1.1 ติดต่อกับกองกำกับการ 3 กองบังคับการตำรวจจราจร ในการหาประชากรจาก
ข้อมูลของกองบัญชาการตำรวจนครบาล
1.2 ขอความร่วมมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล จากสถานีตำรวจเพื่อแจกแบบสอบถามกับผู้กระทำผิดที่มาชำระค่าปรับ
2. การสร้างแบบสอบถาม โดยใช้ข้อมูลจากการวิจัย บทความและเอกสารต่างๆ สร้างเป็นแบบสอบถามในด้านต่างๆ และนำแบบสอบถามฉบับร่างไปให้กรรมการวิทยานิพนธ์ 3 ท่านและผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ และทำการปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมทั้งภาษาและเนื้อหา
3.ได้นำแบบสอบถามไปทดสอบ ( Try Out ) กับกลุ่มผู้กระทำผิด จำนวน 20 คนที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกลุ่มตัวอย่างจริง จากสถานีตำรวจนครบาลทุ่งครุ พบว่าในบางข้อของคำถามยังไม่ชัดเจน ไม่ครอบคลุมในบางส่วน การลำดับข้อคำถามยังมีความสับสนทำให้กลุ่มตัวอย่างไม่เข้าใจในข้อคำถามเกิดความสับสน ดังนั้นผู้วิจัยจึงทำการปรับปรุงข้อคำถามใหม่ให้รัดกุมและสมบูรณ์ขึ้น และนำไปหาความเชื่อมั่นของแบบสอบถามด้วยโปรแกรม SPSS for Windows ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.9511
4. นำแบบสอบถามที่ได้รับการปรับปรุงแล้วดำเนินการเก็บข้อมูลโดย การสอบถามกับประชากรที่ศึกษา
การเก็บรวบรวมข้อมูล
ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัย จะได้นำแบบสอบสอบถามไปให้กับเจ้าหน้าที่เปรียบเทียบปรับของสถานีตำรวจในพื้นที่รับผิดชอบของกองบัญชาการตำรวจนครบาล โดยแจกจ่ายให้กับผู้กระทำความผิดที่มาชำระค่าปรับ ในระยะเวลา 1 เดือน
52
การวิเคราะห์ข้อมูล
ผู้ศึกษาได้นำแบบสอบถามมาลงรหัสเพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ นำข้อมูลที่ลงรหัสเรียบร้อยแล้วไปบันทึกไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ จากนั้นได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS for Windows โดยใช้ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 และ ร้อยละ 99 เป็นเกณฑ์ในการยอมรับหรือปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ผู้ศึกษาได้ใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้
1. สถิติเชิงพรรณา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานกับตัวแปรอิสระทุกตัว
2. ค่า t-test เพื่อหาความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างตัวแปร 2 กลุ่ม
3. ค่าความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) เพื่อหาค่าความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของตัวแปรมากกว่า 2 กลุ่ม
4. การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation Coefficient) โดยการกำหนดเกณฑ์ในการแปลความหมายค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน มีดังนี้
ค่า r ความหมาย
0.8 ขึ้นไป มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง
0.61- 0.80 มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับค่อนข้างสูง
0.41- 0.60 มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง
0.21- 0.40 มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ
0.01- 0.20 มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับต่ำ
0.00 ไม่มีความสัมพันธ์
53
การทดสอบสมมติฐาน
สมมติฐานที่ 1 ผู้กระทำผิดที่มีปัจจัยส่วนบุคคลต่างกันมีผลในบังคับใช้การดำเนินการ
บันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ต่างกัน
สถิติที่ใช้ในการทดสอบ ตัวแปรเพศและประสบการณ์การขับขี่ด้วยค่า t – test และ
ทดสอบตัวแปร อายุ ระดับการศึกษา และรายได้ ด้วย One Way ANOVA
สมมติฐานที่ 2 ผู้กระทำผิดที่มีปัจจัยภายนอกมีความสัมพันธ์ต่อการบังคับใช้การดำเนิน การบันทึก คะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่
สถิติที่ใช้ในการทดสอบ คือค่าค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
เกณฑ์ในการแปลความหมายค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน มีดังนี้
ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์
แสดงว่า
0.8 ขึ้นไป มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับมาก
0.61 – 0.80 มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับค่อนข้างมาก
0.41 – 0.60 มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง
0.21 – 0.40 มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับค่อนข้างน้อย
0.01 – 0.20 มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับน้อย
0.00 ไม่มีความสัมพันธ์กัน
วิธีการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation Coefficient) นำค่าที่ได้มาทำการแปลผล ดังนี้
1. ค่า r เป็นบวกและมีค่ามากกว่า 1 ขึ้นไป แสดงว่า ตัวแปรทั้งสองตัวมีความสัมพันธ์กัน
เชิงบวก แสดงว่า ตัวแปรตัวหนึ่งมีค่าสูงมากขึ้น ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์นั้นก็จะสูงมากขึ้นเช่นเดียวกัน
2. ค่า r มีค่าน้อยกว่า 0 หรือติดลบ แสดงว่า ตัวแปรทั้งสองตัวมีความสัมพันธ์กันเชิงลบ แสดงว่า ตัวแปรตัวหนึ่งมีค่าสูงขึ้นมากเท่าใด ตัวแปรอีกตัวหนึ่งก็จะต่ำลงมากเท่านั้น
บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามจำนวน 379 ชุด เป็นการวิจัยเชิงสำรวจที่ทำการ ศึกษาศึกษา การบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการการมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการการมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ ดังจะนำเสนอผลการวิจัยตามลำดับดังนี้
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป
ตารางที่ 4 แสดงจำนวน ค่าร้อยละ ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถามจำแนกตามเพศ
เพศ
จำนวน
ร้อยละ
ชาย
หญิง
329
50
86.80
13.20
รวม
379
100.00
ผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 379 คน แยกเป็น ชาย จำนวน 329 คน คิดเป็นร้อยละ 86.80 และเป็น หญิง จำนวน 50 คน คิดเป็นร้อยละ 13.20
55
ตารางที่ 5 แสดงจำนวน ค่าร้อยละ ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถามจำแนกตามอายุ
อายุ
จำนวน
ร้อยละ
18-27 ปี
28-37 ปี
38-47 ปี
48 ปีขึ้นไป
92
176
82
29
24.30
46.40
21.60
7.70
รวม
379
100.00
พิจารณาอายุพบว่า อายุ 18-27 ปี จำนวน 92 คน คิดเป็นร้อยละ 24.30 อายุ 28-37 ปี
จำนวน176 คน คิดเป็นร้อยละ 46.40 อายุ 38-47 ปี จำนวน 82 คน คิดเป็นร้อยละ 21.601 อายุ 48 ปีขึ้นไป จำนวน 29 คน คิดเป็นร้อยละ 7.70
ตารางที่ 6 แสดงจำนวน ค่าร้อยละ ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถามจำแนกตามระดับการศึกษา
ระดับการศึกษา
จำนวน
ร้อยละ
ประถมศึกษา
มัธยมศึกษา/ปวช.
อนุปริญญา/ปวส.
ปริญญาตรี
สูงกว่าปริญญาตรี
193
117
41
5
23
50.90
30.90
10.80
1.30
6.10
รวม
379
100.00
พิจารณาระดับการศึกษา พบว่า ระดับประถมศึกษา จำนวน 193 คน คิดเป็นร้อยละ 50.90 มัธยมศึกษาตอน/ปวช. จำนวน 117 คน คิดเป็นร้อยละ 30.90 อนุปริญญา/ปวส. จำนวน 41 คน คิดเป็นร้อยละ 10.80 คน ปริญญาตรี จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 1.30 และ สูงกว่าปริญญาตรี จำนวน 23 คน คิดเป็นร้อยละ 6.10
56
ตารางที่ 7 แสดงจำนวน ค่าร้อยละ ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถามจำแนกตามอาชีพ
อาชีพ
จำนวน
ร้อยละ
รับจ้าง
รับราชการ
ธุรกิจส่วนตัว
ค้าขาย
อื่นๆ
235
31
39
43
31
62.00
8.20
10.30
11.30
8.20
รวม
379
100.00
พิจารณาด้านอาชีพพบว่า ประกอบอาชีพรับจ้าง จำนวน 235 คิดเป็นร้อยละ 62.00 รับราชการ จำนวน 31 คน คิดเป็นร้อยละ 8.20 ธุรกิจส่วนตัว จำนวน 39 คน คิดเป็นร้อยละ 10.30 ค้าขายจำนวน 43 คน คิดเป็นร้อยละ 11.30 และอื่นๆ จำนวน 31 คน คิดเป็นร้อยละ 8.20
ตารางที่ 8 แสดงจำนวน ค่าร้อยละ ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถามจำแนกตามรายได้ต่อเดือน
รายได้ต่อเดือน
จำนวน
ร้อยละ
ต่ำกว่า 5,000 บาท
5,001- 10,000 บาท
10,001-15,000 บาท
15,001-20,000 บาท
20,000 ขึ้นไป
171
116
36
48
8
45.10
30.60
9.50
12.70
2.10
รวม
379
100.00
พิจารณาด้านรายได้ พบว่า มีรายได้ต่อเดือน รายได้ต่ำกว่า 5,000 บาท จำนวน 171 คน คิดเป็นร้อยละ 45.10 รายได้ 5,001-10,000 บาท จำนวน 116 คน คิดเป็นร้อยละ 30.60 รายได้ 10,001-15,000 บาท จำนวน 36 คน คิดเป็นร้อยละ 9.50 รายได้ 15,001-20,000 บาท จำนวน 48 คน คิดเป็นร้อยละ 12.70 รายได้ และรายได้สูงกว่า 20,000 บาท จำนวน 8 คน คิดเป็น 2.10
57
ตารางที่ 9 แสดงจำนวน ค่าร้อยละ ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถามจำแนกตามประสบการณ์การขับขี่
ประสบการณ์การขับขี่
จำนวน
ร้อยละ
น้อยกว่า 1 ปี
1-5ปี
5-10 ปี
10 ปีขึ้นไป
34
122
77
146
9.00
32.20
20.30
38.50
รวม
379
100.00
พิจารณาด้านประสบการณ์การขับขี่พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีประสบการณ์การขับขี่ น้อยกว่า 1 ปี จำนวน 34 คน คิดเป็นร้อนละ 9.00 1-5ปี จำนวน 122 คน คิดเป็นร้อยละ 32.20 5-10 ปี จำนวน 77 คน คิดเป็นร้อยละ 20.30 และ 10 ปีขึ้นไป จำนวน 146 คน คิดเป็นร้อยละ 38.50
58
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละ คะแนนเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของแบบสอบถาม เกี่ยวกับปัจจัยการรับรู้การดำเนินการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่
ข้อความ
ไม่เห็นด้วย่างยิ่ง
ไม่เห็นด้วย
ไม่แน่ใจ
เห็นด้วย
เห็นด้วย่างยิ่ง
⎯X
SD.
ระดับ
1. ท่านได้รับข่าวสารการดำเนินการบันทึกคะแนน อบรมทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ ผู้กระทำผิดกฎจราจร
18.20
23.70
25.90
23.70
8.40
2.80
1.23
ปานกลาง
2. ท่านไม่เคยทราบว่าเมื่อกระทำผิดกฎจราจรบางข้อหา ต้องถูกบันทึกคะแนน
14.80
28.00
34.80
18.20
4.20
2.69
1.06
ปานกลาง
3. ท่านทราบว่าการผิดกฎจราจรของท่าน ต้องถูกบันทึกคะแนน และ อาจทำให้ต้องเข้ารับการอบรม และพักใช้ใบอนุญาตขับขี่
12.10
29.30
26.60
21.90
10.00
2.88
1.18
ปานกลาง
4. ท่านเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของการดำเนินการบันทึกคะแนนอบรมผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่
16.90
18.20
28.80
26.60
9.50
2.94
1.23
ปานกลาง
5. ท่านพึ่งรับทราบว่าจะต้องถูกบันทึกคะแนนจากเจ้าหน้าที่ตำรวจเมื่อมาชำระค่าปรับ
7.90
27.20
33.80
19.30
11.90
3.00
1.12
ปานกลาง
6. ท่านทราบว่าหากท่านกระทำผิดในข้อหาเดียวกันเกินกว่า 2 ครั้งใน 1 ปี ท่านต้องเข้ารับการอบรมและทดสอบ
22.40
26.40
35.60
12.70
2.90
2.47
1.06
ปานกลาง
7. ท่านทราบว่าหากท่านถูกบันทึกคะแนนมากกว่า 60 คะแนน ใน 1 ปี ท่านต้องถูกพักใช้ใบอนุญาตขับขี่
16.10
37020
24.80
11.10
10.80
2.63
1.20
ปานกลาง
8. ท่านไม่เคยทราบว่าเมื่อมาชำระค่าปรับแล้วจะต้องถูกยึดใบอนุญาตขับขี่มีกำหนด 15 วัน เพื่อการดำเนินการบันทึกคะแนน
19.30
27.70
13.50
23.50
6.10
2.69
1.20
ปานกลาง
รวม
2.76
0.85
ปานกลาง
59
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละ คะแนนเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของแบบสอบถามเกี่ยวกับ ทัศนคติต่อการดำเนินการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่
ข้อความ
ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง
ไม่เห็นด้วย
ไม่แน่ใจ
เห็นด้วย
เห็นด้วย่างยิ่ง
⎯X
SD.
ระดับ
1. การดำเนินการบันทึกคะแนน อบรมทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และพักใช้ใบอนุญาต เป็นมาตรการลงโทษที่เหมาะสม
17.90
23.00
21.60
22.70
14.80
2.93
1.33
ปานกลาง
2. การดำเนินการคะแนน อบรมทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และพักใช้ใบอนุญาต ไม่มีผลทำให้ผู้กระทำผิดกฎจราจรน้อยลง
14.00
15.80
34.00
25.10
11.10
3.03
1.19
ปานกลาง
3. ควรมีการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการการบันทึกคะแนน อบรมทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และพักใช้ใบอนุญาต อย่างจริงจัง
16.60
23.70
24.80
20.60
14.20
2.92
1.29
ปานกลาง
4. ควรใช้วิธีการเปรียบเทียบปรับในอัตราสูง แทนการดำเนินการบันทึกคะแนน อบรมทดสอบผู้กระทำผิด และพักใช้ใบอนุญาตขับขี่
16.10
37.70
19.00
21.60
5.50
2.63
1.15
ปานกลาง
5. การที่ผู้ขับขี่ กระทำผิดซ้ำในข้อหาเดียวกันเกิน 2 ครั้ง ใน 1 ปี ต้องถูกอบรมและทดสอบ จึงจะได้รับใบอนุญาตขับขี่คืนเป็น การลงโทษที่เหมาะสม
17.70
28.80
24.50
15.30
13.70
2.79
1.29
ปานกลาง
6. การที่ผู้ขับขี่ กระทำผิดและถูกบันทึกคะแนนเกิน 60 คะแนน ใน 1 ปี ต้องถูกพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ 30 วัน จึงจะได้รับใบอนุญาตขับขี่คืนเป็นการลงโทษที่เหมาะสม
15.80
25.90
26.10
19.50
12.70
2.87
1.26
ปานกลาง
7. การดำเนินการบันทึกคะแนน อบรมทดสอบผู้กระทำผิด และพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ มีโทษรุนแรงเกินไป
19.00
33.50
18.20
19.80
9.50
2.67
1.25
ปานกลาง
8. การที่เจ้าหน้าที่ตำรวจบังคับใช้ หรือลงโทษตามการดำเนินการบันทึกคะแนน ฯ อย่างจริงจังทำให้มีผู้กระทำผิดกฎจราจรน้อยลง
13.70
21.90
24.80
25.60
14.00
3.04
1.26
ปานกลาง
รวม
2.86
0.89
ปานกลาง
60
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละ คะแนนเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของแบบสอบถามเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมาย ตามการดำเนินการ บันทึกคะแนน อบรม ทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่
ข้อความ
ไม่เห็นด้วย่างยิ่ง
ไม่เห็นด้วย
ไม่แน่ใจ
เห็นด้วย
เห็นด้วยอย่างยิ่ง
⎯X
SD.
ระดับ
1. การดำเนินการบันทึกคะแนน อบรมทดสอบผู้กระทำผิด และพักใช้ใบอนุญาต ทำให้ผู้ขับขี่มีความระมัดระวังไม่กระทำผิดกฎจราจร
16.40
15.30
17.90
22.70
27.70
3.30
1.43
ปานกลาง
2. ทุกวันนี้ผู้ขับขี่กระทำผิดกฎจราจรมากขึ้น
13.20
16.90
13.20
36.10
20.60
3.34
1.33
ปานกลาง
3. การกระทำผิดกฎจราจรแล้วต้องถูกบันทึกคะแนน อบรมทดสอบผู้กระทำผิด และพักใช้ใบอนุญาต ทำให้ผู้ขับขี่ไม่กล้าฝ่าฝืนกระทำผิดกฎจราจร
10.80
19.80
30.90
29.30
9.20
3.06
1.14
ปานกลาง
4. เมื่อกระทำผิดกฎจราจร และถูกดำเนินการบันทึกคะแนน ฯ แล้ว ทำให้ผู้ขับขี่ไม่กล้าทำผิดกฎจราจรอีก
9.80
21.60
31.90
27.70
9.00
3.04
1.12
ปานกลาง
5. เมื่อกระทำผิดกฎจราจร และถูกดำเนินการบันทึกคะแนนแล้วทำให้ผู้ขับขี่ไม่กล้ากระทำผิดผิดซ้ำในข้อหาเดิมอีก
11.10
21.10
35.90
28.00
4.00
2.93
1.04
ปานกลาง
6. ท่านมักจะเร่งความเร็วเพื่อผ่านทางแยกเมื่อได้รับสัญญาณไฟสีเหลือง
17.70
22.70
24.80
28.00
6.90
2.84
1.21
ปานกลาง
7. ท่านพยายามรักษากฎระเบียบเกี่ยวกับจราจร แม้จะไม่มีการดำเนินการบันทึกคะแนน อบรมทดสอบผู้กระทำผิด และพักใช้ใบอนุญาตขับขี่
13.50
19.30
11.10
47.20
9.00
3.19
1.24
ปานกลาง
8. ท่านพยายามรักษากฎระเบียบเกี่ยวกับจราจร แม้จะไม่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมการจราจรอยู่
19.00
16.60
9.20
39.30
15.80
3.16
1.39
ปานกลาง
รวม
3.11
1.01
ปานกลาง
61
ตารางที่ 13 แสดงค่าร้อยละ คะแนนเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของแบบสอบถามเกี่ยวกับ
การบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่
ข้อความ
ไม่เห็นด้วย่างยิ่ง
ไม่เห็นด้วย
ไม่แน่ใจ
เห็นด้วย
เห็นด้วย่างยิ่ง
⎯X
SD.
ระดับ
1. การบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการการดำเนินการบันทึกคะแนน อบรมทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ทำให้ผู้ขับขี่มีการปฏิบัติตามกฎจราจรมากขึ้น
16.40
15.30
17.90
22.70
22.70
3.30
1.43
ปานกลาง
2. การบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการดำเนินการบันทึกคะแนน อบรมทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจมีการจับกุมผู้กระทำผิดกฎจราจรมากขึ้น
13.70
21.90
24.80
25.60
14.00
3.04
1.26
ปานกลาง
รวม
3.17
1.17
ปานกลาง
ผลการวิเคราะห์ค่าระดับของปัจจัยจากตารางที่ 4-8 พบว่า
ปัจจัยที่มีผลต่อการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ พบว่า มีค่าอยู่ในระดับปานกลาง (⎯X = 3.17 , S.D=1.17)
ปัจจัยด้านการรับรู้การดำเนินการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่มีค่าอยู่ใน ระดับปานกลาง (⎯X = 2.76 , S.D=0.85) ความคิดเห็นที่มีค่าระดับต่ำสุดได้แก่ได้แก่ถ้ากระทำผิดเกินกว่า 2 ครั้งใน 1 ปี ต้องเข้าทำการอบรมและทดสอบ
ปัจจัยด้านทัศนคติต่อการดำเนินการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ มีค่าอยู่ในระดับปานกลาง (⎯X =2.86 , S.D= 0.89 ) ความคิดเห็นที่มีค่าระดับต่ำสุดได้แก่ควรใช้วิธีการเปรียบเทียบปรับในอัตราสูง แทนการดำเนินการบันทึกคะแนน อบรมทดสอบผู้กระทำผิด และพักใช้ใบอนุญาตขับขี่
62
ปัจจัยด้านการปฏิบัติตามกฎหมาย ตามมาตรการการดำเนินการ บันทึกคะแนน อบรม ทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่มีค่าอยู่ในระดับปานกลาง (⎯X = 3.11, S.D = 1.00 ) ความคิดเห็นที่มีค่าระดับต่ำสุดได้แก่ข้อคำถามที่ผู้กระทำผิดเร่งความเร็วเพื่อผ่านทางแยกเมื่อได้รับสัญญาณไฟเหลือง
ตารางที่ 14 แสดงปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ มาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่
ปัญหาและข้อเสนอแนะ
จำนวน
ร้อยละ
1. ควรดำเนินการกับการกระทำผิดในข้อหาอื่น ๆ ด้วย เช่น การจอดรถ การแซงรถในลักษณะปาดหน้ารถผู้อื่น
2. ควรมีการตักเตือนก่อนการจับกุม
3. การพักใช้ใบอนุญาตขับขี่รุนแรงเกินไป
28
5
12
62.2
11.1
26.7
รวม
45
100
ผลการวิเคราะห์จากตารางที่ 14 พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีข้อเสนอแนะควรดำเนินการตามการดำเนินการ บันทึกคะแนน อบรม ทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ กับข้อหาอื่น ๆ ร้อยละ 62.2 รองลงมาคือมีความเห็นว่าการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่เป็นการลงโทษที่รุนแรงเกินไป ร้อยละ 26.7 และควรให้เจ้าหน้าที่ตำรวจตักเตือนก่อนจับกุม ร้อยละ 11.1
63
ผลการทดสอบสมมติฐาน
การทดสอบสมมติฐาน เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการบันทึก
คะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่มีรายละเอียดสรุปได้ดังนี้
ผลการทดสอบสมมติฐานที่ 1 ปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกันส่งผลต่อการบังคับใช้กฎหมายตาม
มาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ แตกต่าง
กัน
ตารางที่ 15 เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการบันทึกคะแนน อบ
รม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่กับตัวแปรเพศ
ตัวแปร N ⎯X SD. t Sig.
เพศ
ชาย
329 3.229 1.153
การบังคับใช้กฎหมายตาม
มาตรการบันทึกคะแนน อบ
รม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำ
ผิด และการพักใช้ใบอนุญาต
ขับขี่
เพศ
หญิง
50 2.790 1.217
2.396 .020
ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
ผลการวิเคราะห์จากตารางที่ 15 พบว่า เพศของผู้ขับขี่ที่กระทำผิดที่แตกต่างกันมีผลต่อการ
บังคับใช้กฎหมายตามมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบ
อนุญาตขับขี่ขี่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ โดย
เพศชายมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ ปานกลาง (⎯X =3.229 , S.D= 1.153 ) และเพศหญิงมีค่าเฉลี่ยอยู่ใน
ระดับปานกลาง(⎯X =2.790 , S.D= 1.217 )
64
ตารางที่ 16 การวิเคราะห์ความแปรปรวนปัจจัยที่มีผลต่อการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ จำแนกตามตัวแปรอายุ
ตัวแปร
แหล่งความแปรปรวน
SS
df
MS
F
Sig.
Between Groups
12.641
3
4.214
Within Groups
504.211
375
1.345
อายุ
Total
516.852
378
3.134
.026
ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
ผลการวิเคราะห์จากตารางที่ 16 พบว่า อายุของผู้ขับขี่ที่กระทำผิดที่แตกต่างกันมีผลต่อการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้
ตารางที่ 17 การวิเคราะห์ความแปรปรวนปัจจัยที่มีผลต่อการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ จำแนกตามตัวแปรระดับการศึกษา
ตัวแปร
แหล่งความแปรปรวน
SS
df
MS
F
Sig.
Between Groups
52.044
4
13.011
Within Groups
464.808
374
1.246
ระดับการศึกษา
Total
516.852
378
10.469
.000
ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
ผลการวิเคราะห์จากตารางที่ 17 พบว่า ระดับการศึกษาของผู้ขับขี่ที่กระทำผิดที่แตกต่างกันมีผลต่อการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้
65
ตารางที่ 18 การวิเคราะห์ความแปรปรวนปัจจัยที่มีผลต่อการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ จำแนกตามตัวแปรรายได้
ตัวแปร
แหล่งความแปรปรวน
SS
df
MS
F
Sig.
Between Groups
35.046
4
8.761
Within Groups
481.806
374
1.288
รายได้
Total
516.852
378
6.801
.000
ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
ผลการวิเคราะห์จากตารางที่ 18 พบว่า รายได้ของผู้ขับขี่ที่กระทำผิดที่แตกต่างกันมีผลต่อการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้
ตารางที่ 19 การวิเคราะห์ความแปรปรวนปัจจัยที่มีผลต่อการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่
จำแนกตามตัวแปรอาชีพ
ตัวแปร
แหล่งความแปรปรวน
SS
df
MS
F
Sig.
Between Groups
11.945
8
2.986
Within Groups
504.908
374
1.350
อาชีพ
Total
516.852
378
2.212
.067
ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
ผลการวิเคราะห์จากตารางที่ 19 พบว่า อาชีพของผู้ขับขี่ที่กระทำผิดที่แตกต่างกันไม่มีผลต่อการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ แตกต่างกัน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งไม่ยอมรับสมมติฐานที่ตั้ง
66
ตารางที่ 20 การวิเคราะห์ความแปรปรวนปัจจัยที่มีผลต่อการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่จำแนกตามตัวแปรประสบการณ์การขับขี่
ตัวแปร
แหล่งความแปรปรวน
SS
df
MS
F
Sig.
Between Groups
24.044
3
8.015
Within Groups
492.808
375
1.314
ประสบการณ์การขับขี่
Total
516.852
378
6.099
.000
ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
ผลการวิเคราะห์จากตารางที่ 20 พบว่า ประสบการณ์การขับขี่ของผู้ขับขี่ที่กระทำผิดที่แตกต่างกันมีผลต่อการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้
67
ผลการทดสอบสมมติฐานที่ 2 ปัจจัยภายนอกมีความสัมพันธ์ต่อการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่
ตารางที่ 21 ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่กับตัวแปรการรับรู้การดำเนินการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่
ตัวแปร
⎯X
SD.
r
Sig.
การบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาต
ขับขี่
3.171
1.169
การรับรู้การดำเนินการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่
2.764
1.169
0.615
.000
มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
ผลการวิเคราะห์จากตาราง 21 พบว่า ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรการรับรู้การดำเนินการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ ต่อการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ มีความสัมพันธ์กันเชิงบวก ในระดับค่อนข้างมาก (r = 0.615) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้
68
ตารางที่ 22 ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ตัวแปรทัศนคติต่อการดำเนินการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่
ตัวแปร
⎯X
SD.
r
Sig.
การบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการการมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาต
ขับขี่
3.171
1.169
ทัศนคติต่อการดำเนินการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่
2.861
0.890
0.750
.000
มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
ผลการวิเคราะห์จากตารางที่ 22 พบว่า ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทัศนคติต่อการดำเนินการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ ต่อการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ มีความสัมพันธ์กันเชิงบวก ในระดับค่อนข้างมาก (r = 0.750 ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้
69
ตารางที่ 23 ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่กับตัวแปรการปฏิบัติตามกฎหมาย ตามการดำเนินการ บันทึกคะแนน อบรม ทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่
ตัวแปร
⎯X
SD.
r
Sig.
การบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการการมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาต
ขับขี่
3.171
1.169
การปฏิบัติตามกฎหมาย ตามการดำเนินการ บันทึกคะแนน อบรม ทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่
3.108
1.007
0.781
.000
มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
ผลการวิเคราะห์จากตารางที่ 23 พบว่า ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรการปฏิบัติตามกฎหมาย ตามการดำเนินการ บันทึกคะแนน อบรม ทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ ต่อการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ มีความสัมพันธ์กันเชิงบวก ในระดับค่อนข้างมาก (r = 0.781) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้
70
สรุปผลจากการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีมีผลต่อการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการการมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่แตกต่างกัน พบว่า
1. ปัจจัยส่วนบุคคลประกอบด้วย ตัวแปรเพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ และประสบการณ์การขับขี่ที่แตกต่างกัน มีผลต่อการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่แตกต่างกันมีผลต่อการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนตัวแปรอาชีพที่แตกต่างกันมีผลในการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่แตกต่างกันมีผลในในการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่แตกต่างกัน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
2. ปัจจัยภายนอกมีความสัมพันธ์ต่อการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการบันทึก คะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ ได้แก่
2.1 การรับรู้การดำเนินการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ ส่งผลต่อการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ ในระดับค่อนข้างมาก (r = 0.615) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
2.2 ทัศนคติต่อการดำเนินการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ที่ส่งผลต่อการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ ในระดับค่อนข้างมาก (r = 0.750) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
2.3 การปฏิบัติตามกฎหมาย ตามการดำเนินการ บันทึกคะแนน อบรม ทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ที่ส่งผลต่อการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ ในระดับค่อนข้างมาก (r = 0.781) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
บทที่ 5
สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ มีวัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาผลการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการบันทึกคะแนนอบรม ทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่
2. เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีต่อการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการบันทึกคะแนนอบรม ทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่
3. เพื่อศึกษาและวิเคราะห์หาแนวทางทางปรับปรุงการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการ
บันทึกคะแนน อบรม ทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ ให้มีประสิทธิภาพเพื่อลดปัญหาการจราจร และผู้ฝ่าฝืนกฎจราจรในกรุงเทพมหานคร
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยผู้วิจัยใช้แบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.9511
สรุปผลการวิจัย
ผลจากการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ สรุปได้ดังนี้
1. ปัจจัยส่วนบุคคลประกอบด้วย ตัวแปรเพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ และประสบการณ์การขับขี่ที่แตกต่างกันมีผลต่อการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่แตกต่างกัน มีผลต่อการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนตัวแปรอาชีพที่แตกต่างกันมีผลในการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่แตกต่างกันมีผลในในการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่แตกต่างกัน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
2. การรับรู้การดำเนินการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ที่ส่งผลต่อการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่
72
กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ในระดับค่อนข้างสูง (r = 0.615) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
3. ทัศนคติต่อการดำเนินการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ที่ส่งผลต่อการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ ในระดับค่อนข้างสูง (r = 0.750) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
5. การปฏิบัติตามกฎหมาย การดำเนินการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ที่ส่งผลต่อการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ ในระดับค่อนข้างสูง (r = 0.781) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
การอภิปรายผลการวิจัย
ผลการศึกษาในครั้งนี้จะนำเสนอประเด็นสำคัญที่พบในการวิจัยดังต่อไปนี้
ผลการศึกษาสมมติฐานที่ 1 ปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกันส่งผลต่อการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ แตกต่างกัน ผลการศึกษามีรายละเอียดดังนี้
ปัจจัยเพศ ผลการศึกษาพบว่า เพศของผู้ขับขี่ที่กระทำผิดที่แตกต่างกันมีผลต่อการ บังคับใช้กฎหมายตามมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่แตกต่างกัน การบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ผลการศึกษาที่สอดคล้องนี้ อาจเป็นเพราะส่วนใหญ่เพศชายจะมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องยนต์ และรถยนต์ดีกว่าเพศหญิง และเพศชายมักจะมีความสนใจเกี่ยวกับเรื่องรถยนต์มาตั้งแต่เด็ก ทำให้เกิดความชำนาญและประสบการณ์ที่มากกว่า นอกจากนี้เพศชายยังมีพฤติชอบเสี่ยง และขับรถเร็ว มีนิสัยคึกคะนอง ใจร้อน แต่มีการตัดสินใจในระหว่างการขับขี่รถยนต์เมื่อเกิดภาวะขับขันที่ดีกว่าเพศหญิง สอดคล้องกับแนวคิดของพัฒน์ สุจำนงค์ (2532: 80-82) ได้ให้ข้อสนับสนุนที่ว่า เพศเป็นสถานภาพที่บุคคลมีมาตั้งแต่เกิด บุคคลมีความสถานภาพที่แตกต่างกันย่อมมีพฤติกรรมที่แตกต่างกันด้วย จากผลการศึกษาครั้งนี้จึงกล่าวได้ว่า เพศของผู้ขับขี่ที่กระทำผิดที่แตกต่างกันมี
73
ผลต่อการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่แตกต่างกัน การบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่แตกต่างกัน ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้
ปัจจัยอายุ ผลการศึกษาพบว่า อายุของผู้ขับขี่ที่กระทำผิดที่แตกต่างกันมีผลต่อการ บังคับใช้กฎหมายตามมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่แตกต่างกัน การบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ผลการศึกษาที่สอดคล้องนี้ อาจเป็นเพราะบุคคลที่มีอายุต่างกันย่อมมีพฤติกรรมที่แตกต่างกัน ผู้มีอายุมากกว่า ย่อมมีประสบการณ์ด้านต่างๆ มากกว่าผู้ที่มีอายุน้อย สอดคล้องกับแนวคิดของพัฒน์ สุจำนงค์ (2532: 80-82) ได้ให้ข้อสนับสนุนที่ว่า องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมมนุษย์ เกี่ยวข้องกับสถานภาพที่ได้มาแต่กำเนิด เช่น เพศ อายุ หรืออาจเป็นสถานภาพที่บุคคลนั้นได้มาจากการกระทำ เช่นยศ ตำแหน่ง เมื่อบุคคลมีความสถานภาพที่แตกต่างกันย่อมมีพฤติกรรมที่แตกต่างกันด้วย ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาของ บรรจง ใหญ่ยงค์ (2542) ที่พบว่า อายุ และระดับการศึกษาของประชากรมีความสัมพันธ์กับปฏิบัติตามกฎจราจร จากผลการศึกษาจึงกล่าวได้ว่า อายุของผู้ขับขี่ที่กระทำผิดที่แตกต่างกันมีผลต่อการการบังคับใช้กฎหมาย ตามมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่แตกต่างกัน การบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่แตกต่างกัน ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้
ปัจจัยระดับการศึกษา ผลการศึกษาพบว่า ระดับการศึกษาของผู้ขับขี่ที่กระทำผิดที่แตกต่างกันมีผลต่อการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่แตกต่างกัน การบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ผลการศึกษาที่สอดคล้องนี้ อาจเป็นเพราะการที่บุคคลมีความรู้ ทำให้เกิดทัศนคติที่ดี และส่งผลต่อพฤติกรรมของบุคคลนั้นๆ ไม่ให้เบี่ยงเบนไปจากกฎเกณฑ์ของสังคม เมื่อได้รับรู้กฎหมาย และการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ ก็จะมีทัศนคติที่ดีว่า กฎเกณฑ์ที่กำหนดใช้สำหรับควบคุมการจราจรให้เป็นไปตามระเบียบเรียบร้อย ซึ่งจะเข้าใจวัตถุประสงค์ของมาตรการบันทึกคะแนนได้ง่ายกว่าผู้ที่มีการศึกษาน้อย เพราะวัตถุประสงค์เบื้องต้นของการบังคับใช้กฎหมายจราจรก็คือการจูงใจไม่ให้มีการละเมิด
74
กฎหมายจราจร แรงจูงใจเช่นว่านี้ ประการหนึ่งก็คือ ด้านจิตวิทยา ได้แก่ ความกลัวที่จะถูกเปรียบเทียบปรับ การจำคุก การถูกเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ การเสื่อมเสียศักดิ์ศรี ความอับอายเนื่องจากแรงกดดันทางสังคม แรงจูงใจอีกประการหนึ่งก็คือการเป็นตัวอย่างที่ดี ได้แก่ การกระทำสิ่งที่ถูกต้องและการเป็นตัวอย่างแก่บุคคลอื่น โดยเฉพาะเยาวชน ความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุจราจรก็เป็นแรงจูงใจอีกประการหนึ่ง เจ้าหน้าที่ตำรวจควรจะประยุกต์ใช้วิธีการทุกๆ วิธี เพื่อห้ามปรามบุคคลจากการละเมิดกฎหมายจราจร เป้าหมายแรก คือ การได้รับความร่วมมือจากประชาชนในการปฏิบัติตามกฎหมายด้วยความเต็มใจ ประการต่อมาก็คือ การดำเนินการต่อผู้ที่ละเมิดกฎหมายไม่ว่าจะด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่อด้วยวิธีการตามความเหมาะสม จากเหตุผลดังกล่าว ผู้ที่มีการศึกษาสูงจะเข้าใจจุดมุ่งหมายได้ง่าย กว่าผู้ที่การศึกษาน้อย จากผลการศึกษาครั้งนี้ประกอบกับจุดมุ่งหมายของมาตรการบันทึกคะแนนดังกล่าวข้างต้น นอกจากนี้ผลการศึกษาของ บรรจง ใหญ่ยงค์ (2542) ยังให้ข้อสนับสนุนว่า อายุและระดับการศึกษาของประชากรมีความสัมพันธ์กับปฏิบัติตามกฎจราจร ผลการศึกษาครั้งนี้จึงกล่าวได้ว่า ระดับการศึกษาที่แตกต่างกันมีผลต่อการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ที่แตกต่างกัน ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้
ปัจจัยรายได้ของผู้ขับขี่ ผลการศึกษาพบว่า รายได้ของผู้ขับขี่ที่กระทำผิดที่แตกต่างกันมีผลต่อการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่แตกต่างกัน การบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ผลการศึกษาที่สอดคล้องนี้ อาจเป็นเพราะผู้ที่ขับขี่รถที่กระทำผิดส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีพฤติกรรมที่เร่งรีบ โดยมักอ้างว่าต้องรีบไปประกอบธุรกิจ ประกอบกับปัญหาจราจรในกรุงเทพมหานครที่หนาแน่นทุกวันและยังแก้ไขไม่ได้ ทำให้ผู้ขับขี่รถยนต์เกิดความเครียด โดยเฉพาะผู้ที่ขับรถรับจ้างที่ต้องแข่งแย่งผู้โดยสาร มีความเสี่ยงสูงที่จะกระทำผิดกฎจราจร ทั้งนี้เพราะรายได้ของผู้ที่รับจ้างขับรถขึ้นอยู่กับจำนวนผู้โดยสาร ระยะเวลาในการขับขี่ในแต่ละวันที่มีผลต่อรายได้ ผู้ทีมีรายได้น้อยจะเร่งรีบประกอบอาชีพ จนอาจขาดความระมัดระวังในการขับขี่รถยนต์ เพราะต้องส่งสินค้าให้ทันกับความต้องการของลูกค้า หรือปัจจัยทางด้านจิตใจเช่น ความเครียดที่เกิดจากรายได้ไม่พอเลี้ยงครอบครัว ทำให้มีพฤติกรรมในการขับรถที่อาจก่อให้เกิดการกระทำผิดกฎจราจรได้ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดเกี่ยวกับการปฏิบัติงานตำรวจจราจรของกองกำกับการตำรวจจราจรที่อธิบายไว้ว่า คนขับรถอาจก่อปัญหาการจราจรได้จากปัจจัยทางด้านจิตใจ ได้แก่ อารมณ์ของคนขับรถ อายุ เพศ ตลอดจนการตอบสนองต่อสิ่งเร้า ซึ่งปัญหาเกี่ยวกับรายได้ของบุคคลอาจส่งผลต่อจิตใจของผู้ขับขี่ ซึ่งอาจก่อให้เกิดการกระทำผิดได้ ผลจากการศึกษาครั้งนี้จึงกล่าวได้ว่ารายได้ที่แตกต่างกันมีผลต่อการบังคับใช้
75
กฎหมายตามมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่แตกต่างกัน ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้
ปัจจัยอาชีพ ผลการศึกษาพบว่า อาชีพของผู้ขับขี่ที่กระทำผิดที่แตกต่างกันมีผลต่อการ บังคับใช้กฎหมายตามมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่แตกต่างกัน มีผลต่อการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่แตกต่างกัน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ผลการศึกษาที่ไม่สอดคล้องนี้ อาจเป็นเพราะไม่ว่าผู้ที่ประกอบอาชีพใดย่อมมีความเสี่ยงในการขับขี่เช่นเดียวกัน ดังนั้นมาตรการการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษา ของ ชำนาญ มีปลอด (2536) ที่ พบว่า สาเหตุของกระทำผิดกฎจราจรได้แก่ความมักง่ายของผู้ขับขี่ ความประมาท ความรีบเร่ง ความเห็นแก่ตัว ความใจร้อน ความคึกคะนองและความมักง่าย และสอดคล้องกับแนวคิดของเมอร์ตัน (Merton) ที่กล่าวถึง การแข่งขันเพื่อให้ได้มาซึ่งรายได้ว่า เพราะมีเป้าหมายของความสำเร็จ ที่บุคคลทำด้วยวิธีใดก็ตามที่จะให้ได้เงินและอำนาจไม่ว่าจะเป็นการผิดกฎหมาย ผิดระเบียบแบบแผนใดก็ตาม เป็นการเน้นในเรื่องจุดหมายปลายทาง มากกว่าวิธีการต่าง ๆ ที่สังคมกำหนด ที่เป็นเช่นนี้เพราะสังคมเน้นเรื่องวัตถุนิยมมากเกินไป คนมีเงินได้รับการยกย่องสรรเสริญ ตลอดจนบุคคลทุกคนไม่มีโอกาสได้รับความสำเร็จเท่าเทียมกัน คนยากจนย่อมมีโอกาสน้อยกว่าคนมั่งมีในหลาย ๆ ด้าน เช่น โอกาสในการศึกษา การอยู่ดีกินดี การอบรมสั่งสอนดี ระเบียบวินัยดี ควบคุมตนเองดี สิ่งแวดล้อมดี เป็นต้นโอกาสที่จะได้รับความสำเร็จจึงยากลำบาก เมื่อทำดีไม่ได้ก็อาจจะออกมาในรูปทำชั่ว เช่น เป็นนักเลงอันธพาล หลอกลวง ปล้นสะดม เป็นต้น ซึ่งปรากฏเสมอว่า ชนชั้นต่ำ หรือยากจน กระทำผิดมากเพราะเหตุดังกล่าว แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคนฐานะดีจะไม่กระทำการฝืนระเบียบ เพราะชนชั้นสูงหรือมั่งมีอาจจะกระทำผิดเพราะแรงกดดันบางอย่างที่ทำให้บุคคลต้องกระทำเพื่อความสำเร็จ ผลจากการศึกษาจึงสรุปได้ว่า ผู้ที่ประกอบอาชีพแตกต่างกันมีผลต่อการ บังคับใช้กฎหมายตามมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้
ปัจจัยประสบการณ์การขับขี่ ผลการศึกษาพบว่า ประสบการณ์การขับขี่ของผู้ขับขี่ที่กระทำผิดที่แตกต่างกันมีผลต่อการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่แตกต่างกัน การบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
76
ผลการศึกษาที่สอดคล้องนี้ อาจเป็นเพราะผู้ที่มีประสบการณ์ในการขับขี่มาก ย่อมมีการตัดสินใจที่ดีกว่าผู้มีประสบการณ์ในการขับขี่น้อยกว่า เมื่อมีประสบการณ์ในการขับขี่รถยนต์มากก็ย่อมมีความรู้เกี่ยวกับเครื่องยนต์ และความชำนาญในการใช้รถยนต์มากกว่าผู้ที่มีประสบการณ์น้อย ซึ่งเมื่อมีเหตุการณ์คับขัน จะแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าได้ไม่ดีเท่ากับผู้ที่มีประสบการณ์มากกว่า จากการศึกษาจึงเห็นได้ว่า ผู้มีประสบการณ์ในการขับขี่ที่แตกต่างกันมีผลต่อการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่แตกต่างกัน ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้
ผลการศึกษาสมมติฐานที่ 2 ปัจจัยภายนอกมีความสัมพันธ์ต่อการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ มีผลการศึกษาดังนี้
ผลการวิเคราะห์ พบว่า การรับรู้การดำเนินการบันทึกคะแนนอบรม ทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำ
ผิดและการพักใช้ใบ อนุญาต ขับขี่มีความสัมพันธ์กับการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ในระดับค่อนข้างสูง (r = 0.615) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้
ผลการศึกษาที่สอดคล้องนี้ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะการบังคับใช้กฎหมายที่มีประสิทธิภาพต้องให้ประชาชนรับรู้ และปฏิบัติตาม ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของ อิทธิ มุสิกะพงษ์ (2534 : 11 อ้างถึงใน สมศักดิ์ บุญถม 2541 : 37) ที่อธิบายถึงกฎหมายจราจรไว้ว่า กฎหมายจราจรซึ่งวิธีที่จะทำให้ประชาชนช่วยกันรักษาประสิทธิภาพของกฎหมายนั้น มี 3 ประการ ประการแรกคือ ประชาชนต้องทราบเกี่ยวกับกฎหมาย ตามหลักกฎหมายแล้วถือว่าประชาชนต้องรูกฎหมาย ผู้ใดจะกระทำผิดโดยอ้างว่าไม่รู้กฎหมายไม่ได้ แต่ในทางปฏิบัติแล้วโอกาสที่บุคคลจะรู้ว่ามีการตรากฎหมายอะไรบ้างนั้น มีน้อยมากปกติการเผยแพร่โฆษณากฎหมายที่ตราออกมาก็ใช้วิธีพิมพ์เผยแพร่ในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งเป็นหนังสือของทางราชการ โดยกฎหมายทุกฉบับจะเขียนไว้เหมือนกันว่าให้ใช้พระราชบัญญัตินี้ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หรือ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดไปจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป” เป็นต้น ประการที่ 2 คือ การฝึกให้ประชาชนมีระเบียบวินัยและเคารพกฎหมาย เพราะประชาชนจะต้องเคารพกฎเกณฑ์ข้อบังคับ เพื่อให้อยู่ร่วมกันในสังคมด้วยความสงบสุข เคารพในสิทธิของกันและกัน ดังนั้นประชาชนควรได้รับการฝึกฝนให้มีระเบียบวินัย เคารพในสิทธิของผู้อื่นและให้ความร่วมมือกับทางบ้านเมืองที่จะรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม ในเรื่องนี้ต้องเริ่มกระทำกันตั้งแต่เด็ก เช่น การข้ามถนนตรงทางม้าลาย ข้ามสะพานลอย ไม่ทิ้งเศษสิ่งของลงบนถนน เป็นต้น จนเกิดความเคยชินต่อการเคารพในกฎเกณฑ์
77
ต่างๆที่กำหนดขึ้น และจะส่งผลสืบเนื่องไปถึงการตั้งใจปฏิบัติตามกฎหมายในเรื่องอื่นๆ โดยเคร่งครัดและอัตโนมัติ และประการที่ 3ต้องมีการลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายอย่างเฉียบขาดและรวดเร็ว การใช้มาตรการนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจ จะต้องทำการจับกุมผู้กระทำผิดอย่างเคร่งครัด และโดยทันที และทำการสอบสวนแล้ว และใช้ดุลพินิจพิจารณาว่า ควรลงโทษผู้กระทำผิดสถานใด ซึ่งหากเป็นความผิดครั้งแรกในข้อหาความผิดที่ไม่ร้ายแรงก็เปรียบเทียบปรับในอัตราที่สมควร แต่หากเป็นความผิดที่อาจเกิดอันตรายแก่ชีวิต หรือทรัพย์สินแล้วก็ต้องพิจารณาเปรียบ เทียบปรับในอัตราที่หนัก เพื่อให้เข็ดหลาบและจะไม่กระทำผิดซ้ำอีก นอกจากนี้แนวคิดของวิมลสิทธิ์ หรยางกูล (2526: 7-9) ให้ข้อสนับสนุนพฤติกรรมของมนุษย์ว่า พฤติกรรมจะมีขั้นตอนของกระบวนการเกิดพฤติกรรม 3 กระบวนการ คือ กระบวนการเรียนรู้ ซึ่งเป็นกระบวนการที่รับข่าวสารจาก กระบวนรู้ เป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทางจิตที่รวมการเรียนรู้ การจำ การคิด และกระบวนการเกิดพฤติกรรมในสภาพแวดล้อมเป็น กระบวนการที่บุคคลมีพฤติกรรมเกิดขึ้นในสภาพแวดล้อม มีความ สัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมผ่านการกระทำสังเกตได้จากภายนอกเป็นพฤติกรรมภายนอกสิ่งที่กำหนด พฤติกรรมของมนุษย์แต่ละคนแตกต่างกันออกไป และพัฒน์ สุจำนงค์ (2532:80-82) ได้กล่าวถึงพฤติกรรมของมนุษย์ที่เกี่ยวกับกฎหมายว่า พฤติกรรมบางส่วนของมนุษย์ถูกกำหนดโดยกฎหมาย เช่น การขับขี่รถยนต์บนท้องถนน ต้องปฏิบัติตามกฎจราจร จากแนวคิดทฤษฎีดังกล่าวสอดคล้องกับผลการศึกษาในครั้งนี้จึงกล่าวได้ว่า การรับรู้การดำเนินการบันทึกคะแนนอบรม ทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิดและการพักใช้ใบอนุญาต ขับขี่มีความสัมพันธ์กับการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่
จากแบบสอบถามที่มีคะแนนค่าเฉลี่ยสูงสุดพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามทราบอยู่แล้วว่าการกระทำผิดของตนจะต้องถูกบันทึกคะแนนจากเจ้าหน้าที่ตำรวจเมื่อมาชำระค่าปรับ อาจแสดงให้เห็นว่าผู้ขับขี่มีการรับรู้การดำเนินการบันทึกคะแนนอบรม ทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิดและการพักใช้ใบอนุญาต แต่จากแบบสอบถามที่มีคะแนนเฉลี่ยต่ำสุด กลับพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามไม่ทราบว่าการกระทำผิดซ้ำในข้อหาเดียวกันภายในระยะเวลา 1 ปี จะต้องถูกเข้ารับการอบรมและทดสอบ อาจแสดงให้เห็นว่าผู้ขับขี่ยังไม่ทราบในรายละเอียดของการดำเนินการบันทึกคะแนนอบรม ทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิดและการพักใช้ใบอนุญาตว่ามีขั้นตอนการปฏิบัติอย่างไร
ผลการวิเคราะห์ พบว่า ทัศนคติต่อการดำเนินการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบผู้ขับขี่ที่
78
กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่มีความสัมพันธ์กับการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ในระดับค่อนข้างสูง (r = 0.750) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้
ผลการศึกษาที่สอดคล้องนี้ อาจเป็นเพราะว่าพฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากความรู้ ทัศนคติ
และประสบการณ์ การที่ผู้กระทำผิดมีพฤติกรรมที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย จัดได้ว่าเป็นพฤติกรรมเบี่ยงเบน ที่หลีกเลี่ยงกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ทั้งนี้การกระทำผิดเกิดได้จากนิสัยส่วนตัว ความไม่รู้กฎหมาย หรือมีทัศนคติไม่ดีต่อกฎหมายและเกิดการขัดแย้ง ซึ่งชุดา จิตพิทักษ์ (2536: 58-77) ได้อธิบายไว้ว่า สิ่งที่กำหนดพฤติกรรมมนุษย์มีหลายประการ เช่น ลักษณะนิสัยส่วนตัว ได้แก่ ความเชื่อ ค่านิยม ทัศนคติหรือเจตคติ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของบุคคล เป็นแนวโน้มหรือขั้นเตรียมพร้อมของพฤติกรรม และถือว่าทัศนคติมีความสำคัญในการกำหนดพฤติกรรม และบุคลิกภาพ สอดคล้องกับแนวคิดของพัฒน์ สุจำนงค์ (2532:80-82) ได้กล่าวถึงองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมมนุษย์เกี่ยวกับกฎหมายที่ว่า พฤติกรรมบางส่วนของมนุษย์ถูกกำหนดโดยกฎหมาย เช่น การขับขี่รถยนต์บนท้องถนน ต้องปฏิบัติตามกฎจราจร และทัศนคติ มีอิทธิพลต่อการแสดงออกของมนุษย์ เช่นนักเรียนที่มีทัศนคติที่ไม่ดีต่อครูก็มักจะแสดงพฤติกรรมแปลก ๆ เช่น ไม่ตั้งใจเรียน ขาดเรียน นอกจากนี้แนวคิดของเมอร์ตัน (สุพัตรา สุภาพ (2541: 133-137 อ้างถึง Robert K. Merton) กล่าวว่า พฤติกรรมเบี่ยงเบนเป็นเรื่องจากกฎเกณฑ์ เหล่านี้ ล้มเหลว ทำให้ไม่มีผู้ปฏิบัติตามหรือละเมิดดังกล่าว ความล้มเหลวของกฎเกณฑ์ หรือละเมิดดังกล่าวอาจมีสาเหตุ 3 ประการ คือ การไร้ กฎเกณฑ์ เป็นภาวะที่เราไม่มีกฎเกณฑ์คอยบอกว่าต้องทำอะไรความขัดแย้งของกฎเกณฑ์ เป็นภาวะที่คนเรารู้สึกว่า ถูกบีบหรือบังคับให้กระทำตามบรรทัดฐานที่ตรงข้ามหรือขัดแย้งกัน การฝ่าฝืน เป็นภาวะที่คนเรารู้สึกว่า การเชื่อกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้ไม่ได้ทำให้ตนได้รับประโยชน์หรือได้รับโทษอะไร เช่น การเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างรวดเร็ว อาจจะทำให้มาตรฐานของความประพฤติที่เคยปฏิบัติมาจนเป็นประเพณีกลายเป็นสิ่งล้าสมัย และสังคมก็ไม่มีมาตรฐานใหม่ให้สมาชิกปฏิบัติ บุคคลที่ได้รับผลจากการเสียระเบียบทางสังคมอาจจะทำให้กลาย เป็นไม่สนใจทำตามระเบียบ เช่น ติดยาเสพติด ฝ่าฝืนกฏจราจร หรือฝ่าฝืนกฎหมาย และสังคมเองก็จะรู้สึกได้รับแรงกระทบจากความไร้ระเบียบนั้นและอาจจะแก้ไขด้วยการเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์บางอย่างหรืออาจจะรักษากฎเกณฑ์ที่ขัดแย้งนั้นไว้หรือไม่ก็ตาม ซึ่งเป็นข้อสนับสนุนว่า สิ่งที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของมนุษย์ในระดับ มหภาคได้แก่ วัฒนธรรม บรรทัดฐานของสังคม ความคาดหวังในบทบาท สถานภาพ สถาบัน หรือองค์กรในสังคม ส่วนในระดับจุลภาค คือมองตั้งแต่ตัวบุคคลนั่นเอง และสิ่งที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมมนุษย์ได้แก่ การรับรู้ การเรียนรู้ ทัศนคติ ความเชื่อ ค่านิยม ฯลฯ ซึ่งรวมอยู่ในบุคลิกภาพของบุคคลนั้น แสดงให้เห็นว่า แม้นบุคคลจะมีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายหรือ
79
มาตรการที่บังคับใช้ แต่ไม่เป็นที่ยอมรับของคนบางกลุ่มบางคน ที่มุ่งแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้ง ทำให้คนมีความมุ่งมั่นที่จะบรรลุเป้าหมายของตน โดยไม่คำนึงถึงวิธีปฏิบัติอื่น ๆ ที่ถูกต้องตามกฎหมาย เมอร์ตัน (สุพัตรา สุภาพ 2541: 133-137 อ้างถึง Robert K.Merton) ได้อธิบายไว้ว่า เป็นสภาพไร้บรรทัดฐาน หรือไร้ กฎหมาย ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อ คนยึดถือวิธีการที่ละเมิดต่อกฎหมาย เพื่อให้ บรรลุเป้าหมายอันพึงประสงค์ เช่น ความร่ำรวย ฯ เป้าหมายจึงกลายเป็น ตัวกำหนดพฤติกรรมของบุคคล ส่วนจะใช้วิธีการอย่างไรไม่สำคัญ ไม่ว่าจะถูกหรือผิดก็ตาม ขอเพียงให้ บรรลุเป้าหมายที่ต้องการก็เพียงพอ ทั้งนี้พฤติกรรมของมนุษย์จึงขึ้นอยู่กับทัศนคติที่มีต่อสิ่งนั้นๆ ด้วย จากแนวคิดทฤษฎีดังกล่าวและผลจากการศึกษาที่ได้ในครั้งนี้จึงกล่าวได้ว่า ทัศนคติต่อการดำเนินการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่มีผลต่อการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้
จากแบบสอบถามที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามมีความเห็นว่าการที่เจ้าหน้าที่ตำรวจบังคับใช้กฎหมาย ตามมาตรการดำเนินการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิดอย่างจริงจังจะทำให้มีผู้กระทำผิดกฎจราจรลดน้อยลง อาจแสดงให้เห็นว่าผู้ตอบแบบสอบถามมีทัศนคติต่อการดำเนินการบันทึกคะแนน อบรมทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตว่าเป็นมาตรการที่สามารถทำให้ผู้ขับขี่เกรงกลัวและไม่กล้ากระทำผิด และจากแบบสอบถามที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดพบว่า ควรใช้วิธีการเปรียบเทียบปรับในอัตราสูงแทนการดำเนินการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และพักใช้ใบอนุญาต ซึ่งอาจแสดงให้เห็นว่าผู้ตอบแบบสอบถาม เห็นด้วยกับมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และพักใช้ใบอนุญาต มากกว่าการลงโทษโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจจะเปรียบเทียบปรับผู้กระทำผิดในอัตราสูง
ผลการวิเคราะห์ พบว่า การปฏิบัติตามกฎหมาย ตามการดำเนินการ บันทึกคะแนน อบรม ทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่มีความสัมพันธ์กับการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ในระดับค่อนข้างสูง (r = 0.615) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้
ผลการศึกษาที่สอดคล้องนี้ อาจพอแสดงให้เห็นว่าการบังคับใช้กฎหมายเป็นการนำกฎหมายมาเป็นแนวทางในการควบคุมความประพฤติให้ประชาชนปฏิบัติตาม ซึ่ง ประธาน วัฒนพาณิชย์ (2522 : 148-154) ได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายไว้ว่า การบังคับใช้กฎหมายโดยทั่วไป เป็นการนำกฎหมายมาบังคับใช้ เพื่อควบคุมความประพฤติของสมาชิก และสุพัตรา สุภาพ (2541: 133-137) ได้อธิบายไว้ว่า การปฏิบัติตาม เป็นการยอมรับปฏิบัติตามจุดหมาย
80
ปลายทาง และวิธีการที่สังคมกำหนด โดยการยอมรับกฎเกณฑ์และนำไปปฏิบัติ เพื่อต้องการประสบผลสำเร็จ หรือทำตามที่สังคมเห็นว่าถูกต้อง โดยมีความพอใจในสิทธิหน้าที่ของตน ตลอดจนมีการติดต่อสัมพันธ์กับบุคคลอื่นตามสังคมกำหนด ซึ่งจะพบว่ามีบุคคลประเภทนี้จะมีมากที่สุด มิฉะนั้นแล้วสังคมจะดำรงอยู่ไม่ได้ โดยมีสถาบันสังคมต่าง จะพยายามให้บุคคลปฏิบัติตามระเบียบวินัย เพื่อสิทธิและหน้าที่ของบุคคล ให้ดำเนินไปในทางที่ถูกที่ควรและให้สังคมมีความเป็นระเบียบ ส่วนผู้ที่แหวกแนว เป็นการปรับตัวแบบที่เน้นในเรื่องเป้าหมายของความสำเร็จ ด้วยวิธีใดก็ตามที่จะให้ได้เงินและอำนาจไม่ว่าจะเป็นการผิดกฎหมาย ผิดระเบียบแบบแผนใดก็ตาม เป็นการเน้นในเรื่องจุดหมายปลายทางมากกว่าวิธีการต่าง ๆ ที่สังคมกำหนด เมื่อทำดีไม่ได้ก็อาจจะออกมาในรูปกระทำความผิด แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคนฐานะดีจะไม่กระทำการฝืนระเบียบ เพราะชนชั้นสูงหรือมั่งมีอาจจะกระทำผิดเพราะแรงกดดันบางอย่าง ซึ่งเมื่อกระทำผิดก็ต้องถูกลงโทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้ สอดคล้องกับแนวคิดของ ประธาน วัฒนพาณิชย์ (2522 : 148-154อ้างถึงใน สมศักดิ์ บุญถม 2541 : 44) ที่อธิบายไว้ว่า การบังคับใช้กฎหมายผ่านกระบวนการยุติ ธรรมของรัฐ จะต้องมีความสัมพันธ์สอดคล้องกับหลักความถูกต้องตามหลักนิติธรรมสามารถรักษาความสงบเรียบร้อยภายในสังคม โดยการบังคับใช้กฎหมายก่อนการกระทำความผิด เป็นการป้องกันและปราบปรามการกระทำผิด และการบังคับใช้กฎหมายผ่านกระบวนการยุติ ธรรมของรัฐ จะต้องมีความสัมพันธ์สอดคล้องกับหลักความถูกต้องตามหลักนิติธรรมสามารถรักษาความสงบเรียบร้อยภายในสังคม โดยการป้องกันและปราบปรามการกระทำผิด โดยที่การบังคับใช้กฎหมายภายหลังการกระทำความผิด เป็นการดำเนินการต่อผู้กระทำผิด โดยเจ้าพนักงานจราจร พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเจ้าพนักงานอื่นตามที่กฎหมายให้อำนาจ จับกุมตัวผู้กระทำผิดส่งพนักงานสอบสวนผู้มีอำนาจทำการสอบสวนดำเนินคดีตามที่กฎหมายกำหนด การลงโทษผู้กระทำผิดด้วยมาตรการการบันทึกคะแนน อบรม เป็นมาตรการที่มุ่งหวังไม่ให้ผู้กระทำความผิดทำความผิดซ้ำ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของนิวแมน (จรรยา สุวรรณทัต 2515: 54 อ้างถึง Newman 1978: 202) ที่อธิบายไว้ว่า การลงโทษเป็นปฏิกิริยาตอบโต้ที่สังคมมีต่อผู้กระทำผิด ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้ผู้เสียหายโต้ตอบหรือแก้แค้นต่อผู้กระทำผิดด้วยตัวเอง เพื่อให้ผู้กระทำผิดได้รับความทุกข์หรือความเจ็บปวดเท่าที่ผู้เสียหายได้รับ อย่างไรก็ตามการลงโทษในปัจจุบัน มิใช่เพื่อให้ผู้กระทำผิดได้รับความทุกข์จากผลที่ตนได้ก่อขึ้นเท่านั้น แต่มุ่งป้องกันและแก้ไขมิให้ผู้กระทำผิดได้กระทำผิดซ้ำขึ้นอีก และแนวคิดของ นิวแมน และ จอห์นสัน (จรรยา สุวรรณทัต 2515: 54 อ้างถึง Newman 1978: 202 และ Johnson 1979: 33) ให้ข้อสนับสนุนที่ว่า การยับยั้งเป็นการปฏิบัติตาม อันเป็นผลของการผูกมัดในทางลบ(ความกลัว) ต่อผลในทางลบ (การบังคับใช้อย่างเป็นทางการ) และจะนำเอาการลงโทษ เพื่อการยับยั้งมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ก็ต่อเมื่อข้อผูกมัดทางบวก ล้มเหลวที่จะควบคุมพฤติกรรมที่จะเบี่ยงเบนแล้วเท่านั้น นอกจากนี้การลงโทษโดยการอบรมยังเป็นการขัดเกลาผู้กระทำผิดให้มีความรู้ และทัศนคติที่ดีต่อ
81
การดำเนินการบันทึกคะแนน เพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการขับขี่รถยนต์และไม่กระทำความผิดซ้ำ จากแนวคิดทฤษฎีดังกล่าวและผลการศึกษาในครั้งนี้จึงกล่าวได้ว่า การปฏิบัติตามกฎหมาย ตามการดำเนินการ บันทึกคะแนน อบรม ทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ มีผลต่อการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้
จากแบบสอบถามที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ผู้ตอบแบบสอบถามยังมีความเห็นว่าปัจจุบันผู้ขับขี่ยังมีการกระทำผิดมาก อาจแสดงให้เห็นว่าการบังคับตามการดำเนินการบันทึกคะแนนอบรม ทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิดและการพักใช้ใบอนุญาต ยังไม่จริงจังเท่าที่ควร และจากแบบสอบถามที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่การเร่งความเร็วเพื่อผ่านทางแยกเมื่อได้รับสัญญาณไฟเหลือง อาจแสดงให้เห็นว่าผู้ตอบแบบสอบถามยังขาดความรู้ความเข้าใจในกฎหมายจราจรจึงยังปฏิบัติฝ่าฝืนอยู่
ข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัย
1. การดำเนินการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาต ปัจจุบันมีการดำเนินการเฉพาะ 16 ฐานความผิด ตาม ข้อกำหนดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรื่อง การดำเนินการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ ลงวันที่ 20 เมษายน 2542 ผู้ตอบแบบสอบถามได้เสนอแนะในการดำเนินการกับการกระทำผิดในข้อหาอื่น ๆ ให้ครอบคลุม เช่น การจอดรถ การแซงรถในลักษณะปาดหน้ารถผู้อื่น เป็นต้น
ผู้วิจัยมีเห็นด้วยกับข้อเสนอแนะดังกล่าว โดยควรเพิ่มเติมฐานความผิดต่าง ๆ ครอบคลุม ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 เนื่องจากการดำเนินการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ เป็นมาตรการที่ใช้ยับยั้งพฤติกรรมการกระทำผิดกฎหมาจราจร เป็นมาตรการที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาจราจรโดยการอบรมผู้กระทำผิดให้เกิดทัศนคติที่ดีในการขับขี่ โดยมุ่งหวังไม่ให้ผู้กระทำผิดทำการกระทำผิดซ้ำอีก ซึ่งเป็นการขัดเกลาทางสังคมที่ต้องการแก้ไขพฤติกรรมเบี่ยงเบนในสังคมที่เกิดภาวะไร้ระเบียบ และแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุและการจราจรที่ติดขัดกรุงเทพมหานครให้ลดน้อยลง
2. ผู้ตอบแบบสอบถามเสนอให้มีการตักเตือนก่อนการจับกุมในฐานความผิดตาม ข้อกำหนด เรื่อง การดำเนินการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาต
ผู้วิจัยในฐานะเจ้าหน้าที่ตำรวจที่รับผิดชอบงานด้านจราจร และเป็นเจ้าพนักงานจราจรตามกฎหมาย มีหน้าที่ในการจับกุมผู้กระทำผิดกฎหมายจราจร เห็นว่าเจ้าพนักงานจราจรมีอำนาจในการ
82
ว่ากล่าวตักเตือนเมื่อพบการกระทำผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ซึ่งเจ้าพนักงานจราจรอาจจะใช้ดุลยพินิจในการจับกุม หรือว่ากล่าวได้ตามพฤติการณ์ในการกระทำความผิด หากเห็นว่าการกระทำผิดของผู้ขับขี่เป็นในลักษณะมีเจตนาอย่างชัดเจน เช่น การฝ่าฝืนสัญญาณไฟ การแซงรถในที่คับขับ การขับรถในลักษณะประมาทหวาดเสียวอันอาจเกิดอันตรายต่อบุคคลอื่น คงจะไม่สามารถว่ากล่าวตักเตือนได้ แต่ในทางกลับกันหากเป็นการกระทำโดยไม่มีเจตนา หรือเป็นความผิดที่ไม่ชัดเจน หรือไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนต่อผู้อื่น ก็ควรเป็นดุลยพินิจของเจ้าพนักงานจราจรในการว่ากล่าวตักเตือน
3. ผู้ตอบแบบสอบถามมีความเห็นว่าการพักใช้ใบขับขี่รุนแรงเกินไป สาเหตุอาจเนื่องจากเมื่อถูกพักใช้ใบอนุญาต แล้วผู้กระทำผิดจะไม่สามารถขับขี่รถได้ตามกฎหมาย ซึ่งก่อให้เกิดความเดือดร้อนต่อผู้กระทำผิด
ผู้วิจัยวิเคราะห์ว่าการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ จะกระทำก็ต่อเมื่อผู้กระทำผิดได้กระทำความผิด และถูกบันทึกคะแนนเกินกว่า 60 คะแนน ภายใน 1 ปี การลงโทษผู้กระทำผิดด้วยพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ เป็นมาตรการที่มุ่งหวังไม่ให้ผู้กระทำความผิดทำความผิดซ้ำ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของ นิวแมน (จรรยา สุวรรณทัต 2515: 54 อ้างถึง Newman 1978: 202) ที่อธิบายไว้ว่า การลงโทษเป็นปฏิกิริยาตอบโต้ที่สังคมมีต่อผู้กระทำผิด ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้ผู้เสียหายโต้ตอบหรือแก้แค้นต่อผู้กระทำผิดด้วยตัวเอง เพื่อให้ผู้กระทำผิดได้รับความทุกข์หรือความเจ็บปวดเท่าที่ผู้เสียหายได้รับ อย่างไรก็ตามการลงโทษในปัจจุบัน มิใช่เพื่อให้ผู้กระทำผิดได้รับความทุกข์จากผลที่ตนได้ก่อขึ้นเท่านั้น แต่มุ่งป้องกันและแก้ไขมิให้ผู้กระทำผิดได้กระทำผิดซ้ำขึ้นอีก
ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
1.ควรศึกษาปัจจัยอื่นที่มีผลต่อประสิทธิผลในการดำเนินการมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่
2. ควรศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบกับทัศนคติของผู้ขับขี่ที่มีต่อการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่
บรรณานุกรม
กฤษดา จันทร์ศรี. (2537). ปัญหาการจราจรในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
กองบังคับการตำรวจจราจร, กองบัญชาการตำรวจนครบาล. (2542). คู่มือปฏิบัติงานตำรวจจราจร. กองบังคับการตำรวจจราจร.
กองกำกับการนโยบายและแผน, กองบัญชาการตำรวจภูธร. (2530). การบริหารการจราจร.
กองกำกับการนโยบายและแผน กองบัญชาการตำรวจภูธร ภาค 3.
คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก, สำนักงาน. (2537). สรุปการแก้ไขปัญหาการจราจรของรัฐบาลปัจจุบัน” (เอกสารอัดสำเนา) , กรกฎาคม 2537
งามพิศ สัตย์สงวน. (2537).วัฒนธรรมความยากจน : สลัมแห่งหนึ่งของกรุงเทพ ฯ , วัฒนธรรมเมือง : ชุมชนเมืองและการเปลี่ยนแปลงในกรุงเทพและปริมณฑล . กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์กรุงเทพฯ.
งามพิศ สัตย์สงวน. (2538).หลักมานุษยวิทยาวัฒนธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 3) . กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ธรรมสภา.
จรรยา สุวรรทัต. (2515). การลงโทษเด็กเพิ่มหรือลดปัญหาในแง่จิตวิทยา. วารสารจิตวิทยา.
จิตติมา เทพอารักษ์กุล. (2543). มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการลงโทษผู้กระทำ
ผิดกฎหมายจราจร. กรุงเทพฯ: วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์. (2532). สังคมวิทยา . พิมพ์ครั้งที่ 2 . กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชุดา จิตพิทักษ์. (2536). พฤติกรรมศาสตร์เบื้องต้น. สงขลา : โครงการตำราวิชาการ มูลนิธิมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒน์สงขลา.
ชำนาญ มีปลอด. (2536). พฤติกรรมการกระทำผิดกฎจราจรในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ตำรวจจราจร, กองบังคับการ. (2525). คู่มือการปฏิบัติงานตำรวจจราจร. กรุงเทพมหานคร :
โรงพิมพ์ตำรวจ.
บรรจง ใหญ่ยงค์, ร.ต.อ. (2542). การกระทำผิดกฎจราจรของผู้ขับขี่ยานพาหนะในเขต กรุงเทพมหานคร ศึกษาเฉพาะกรณีกองบังคับการตำรวจนครบาล 2. กรุงเทพฯ: วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
84
ประจวบ วงศ์สุข. (2535). ปัญหาและอุปสรรคของเจ้าหน้าที่ตำรวจทางด้านการจราจร
ศึกษาเฉพาะในเขต สภต.ภูพิงค์ราชนิเวศน์. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พ.ศ. 2477.
พจนานุกรมฉบับบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ครุสภา.
พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2535.
พัฒน์ สุจำนงค์. (2532). กฎหมายควบคุมอาหารและมาตรฐานอาหาร. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์โอเดียนสโตร์, 2532
วิมลสิทธิ์ หรยางกูร. (2526). พฤติกรรมมนุษย์กับสภาพแวดล้อม. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526
ศราวุฒิ พนัสขาว. (2522). อาชญากรรมพื้นบ้าน การฝ่าฝืนกฎหมายจราจร. วิทยานิพนธ์ มหาบัณฑิต สาขาอาชญาวิทยาและงานยุติธรรม บัณฑิตวิทยาลัยมหิดล.
ศราวุฒิ พนัสขาว. (2526).ปัญหาการจราจรและอุบัติเหตุจราจร . กรุงเทพมหานคร :
วัฒนชัยการพิมพ์.
สุนทร เฉลิมเกียรติ. พ.ต.ต. (2540). ปัจจัยที่มีต่อการฝ่าฝืนกฎจราจรของผู้ใช้รถใช้รถยนต์ส่วนบุคคล ในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ สังคมวิทยามหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุพัตรา สุภาพ. (2541). สังคมวิทยา . กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช , 2541
___________ (2541).ปัญหาสังคม . กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช , 2541
สมศักด์ บุญถม. ร.ต.อ. (2541). ปัจจัยที่มีต่อการบังคับใช้กฎหมายจราจรของตำรวจจราจร. วิทยานิพนธ์ สังคมวิทยามหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุรพล กาญจนะจิตรา. (2534).ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์ . กรุงเทพมหานคร : กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย.
เสริน ปุณณะหิตานนท์. (2523).การกระทำผิดในสังคม สังคมวิทยาอาชญากรรมและพฤติกรรมเบี่ยงเบน. กรุงเทพมหานคร : บริษัทเดอะบิสซิเนสเพรส จำกัด.
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. ข้อกำหนดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรื่อง การบันทึกคะแนน อบรม
ทดสอบ การยึดและการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ ลงวันที่ 20 เมษายน 2542. สำนักงาน
ตำรวจแห่งชาติ.
อารีย์ พันธ์มณี. (2534).จิตวิทยาสังคมชั้นสูง . กรุงเทพมหานคร : เลิฟแอนด์ลิฟเพรส.
85
Conklin John E. (1981). Criminology . New York : Macmillan Publishing Co. , Inc. ,
Campbell BP. (1994). Risk taking in male drive.Relationship among personality,experimental
Measures , obserational data and driver records, MAI32.
Gorecki Jan. (1979). A Theoty of Criminal Juctice. New York , Columbia University Press ,
Johnson Richard E. (1979). Juvenile Delinquenoy and Its Origins : Integrated Theoritical Approach . Cambridge , Cambridge University Press .
Newman Graeme. (1978). The Punishment Response. New York : I.B. Lippincott Company .
Mannheim Hermann. (1960). Pioneer in Criminology . London : Steven and Son Limited.
Little Charles R. (1975). Deterrents or Labeling, Social Forces. 53 (March 1975) : 398-410
ภาคผนวก
แบบสอบถาม
คำชี้แจง การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษา การบังคับใช้ในการดำเนินการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่
ข้อแนะนำเกี่ยวกับแบบสอบถาม
ส่วนที่ 1 ปัจจัยส่วนบุคคล 6 ข้อ เป็นคำถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 6 ข้อ
ส่วนที่ 2 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบังคับใช้ในการดำเนินการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ จำนวน 24 ข้อ ดังนี้
1. คำถามเกี่ยวกับ การรับรู้การดำเนินการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ จำนวน 8 ข้อ
2. คำถามเกี่ยวกับทัศนคติต่อการดำเนินการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ จำนวน 8 ข้อ
3. คำถามเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมาย ตามการดำเนินการ บันทึกคะแนน อบรม ทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาต ขับขี่ จำนวน 8 ข้อ
4. คำถามเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมาย จำนวน 2 ข้อ
ส่วนที่ 3 ปัญหาและข้อเสนอแนะ
หน้า 1/5
แบบสอบถาม
เรื่อง การบังคับใช้การดำเนินการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่
ชุดที่
ส่วนที่ 1 ปัจจัยส่วนบุคคล
คำชี้แจง โปรดเติมคำในช่องว่างหรือใส่เครื่องหมาย √ ในช่องที่ท่านเลือก
1. เพศ
1. ชาย 2. หญิง
2. อายุ
1. 18-27 ปี 2. 28-37 ปี 3. 38-47 ปี 4. 48 ปีขึ้นไป
3. ระดับการศึกษา
1.ประถมศึกษา 2.มัธยมศึกษา/ปวช 3.อนุปริญญา/ปวส.
4.ปริญญาตรี 5.สูงกว่าปริญญาตรี
4. อาชีพ
1. รับจ้าง 2. รับราชการ 3. ธุรกิจส่วนตัว
4. ค้าขาย 5. อื่นๆ
5. รายได้ต่อเดือน
1. ต่ำกว่า 5,000 บาท 2. 5,001- 10,000 บาท
3. 10,001-15,000 บาท 4 15,001-20,000 บาท
5. 20,000 ขึ้นไป
6. ประสบการณ์การขับขี่
1. น้อยกว่า 1 ปี 2. 1-5 ปี 3. 5-10 ปี 4. 10 ปีขึ้นไป
หน้า 2/5
ส่วนที่ 2 ปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อการบังคับใช้การดำเนินการบันทึกคะแนน อบรมทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่
คำชี้แจง กรุณาใส่เครื่องหมาย / ลงในช่องความคิดเห็นที่ตรงกับความคิดเห็นของท่านมากที่สุด
เพียงข้อเดียว
ระดับความคิดเห็น
ข้อความ
เห็นด้วยอย่างยิ่ง
เห็นด้วย
ไม่แน่ใจ
ไม่เห็นด้วย
ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง
การรับรู้การดำเนินการบันทึกคะแนน อบรมทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และพักใช้ใบอนุญาตขับขี่
1. ท่านได้รับข่าวสารการดำเนินการบันทึกคะแนน อบรมทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ ผู้กระทำผิดกฎจราจร
2. ท่านไม่เคยทราบว่าเมื่อกระทำผิดกฎจราจรบางข้อหา ต้องถูกบันทึกคะแนน
3. ท่านทราบว่าการผิดกฎจราจรของท่าน ต้องถูกบันทึกคะแนน และ อาจทำให้ต้องเข้ารับการอบรม และพักใช้ใบอนุญาตขับขี่
4. ท่านเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของการดำเนินการบันทึกคะแนนอบรมผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่
5. ท่านพึ่งรับทราบว่าจะต้องถูกบันทึกคะแนนจากเจ้าหน้าที่ตำรวจเมื่อมาชำระค่าปรับ
6. ท่านทราบว่าหากท่านกระทำผิดในข้อหาเดียวกันเกินกว่า 2 ครั้งใน 1 ปี ท่านต้องเข้ารับการอบรมและทดสอบ
7. ท่านทราบว่าหากท่านถูกบันทึกคะแนนมากกว่า 60 คะแนน ใน 1 ปี ท่านต้องถูกพักใช้ใบอนุญาตขับขี่
8. ท่านไม่เคยทราบว่าเมื่อมาชำระค่าปรับแล้วจะต้องถูกยึดใบอนุญาตขับขี่มีกำหนด 15 วัน เพื่อการดำเนินการบันทึกคะแนน
หน้า 3/5
ระดับความคิดเห็น
ข้อความ
เห็นด้วยอย่างยิ่ง
เห็นด้วย
ไม่แน่ใจ
ไม่เห็นด้วย
ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง
ทัศนคติต่อการดำเนินการบันทึกคะแนน อบรมทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และพักใช้ใบอนุญาตขับขี่
1. การดำเนินการบันทึกคะแนน อบรมทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และพักใช้ใบอนุญาต เป็นมาตรการลงโทษที่เหมาะสม
2. การดำเนินการคะแนน อบรมทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และพักใช้ใบอนุญาต ไม่มีผลทำให้ผู้กระทำผิดกฎจราจรน้อยลง
3. ควรมีการบังคับใช้การดำเนินการบันทึกคะแนน อบรมทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และพักใช้ใบอนุญาต อย่างจริงจัง
4. ควรใช้วิธีการเปรียบเทียบปรับในอัตราสูง แทนการดำเนินการบันทึกคะแนน อบรมทดสอบผู้กระทำผิด และพักใช้ใบอนุญาตขับขี่
5. การที่ผู้ขับขี่ กระทำผิดซ้ำในข้อหาเดียวกันเกิน 2 ครั้ง ใน 1 ปี ต้องถูกอบรมและทดสอบ จึงจะได้รับใบอนุญาตขับขี่คืนเป็น การลงโทษที่เหมาะสม
6. การที่ผู้ขับขี่ กระทำผิดและถูกบันทึกคะแนนเกิน 60 คะแนน ใน 1 ปี ต้องถูกพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ 30 วัน จึงจะได้รับใบอนุญาตขับขี่คืนเป็นการลงโทษที่เหมาะสม
7. การดำเนินการบันทึกคะแนน อบรมทดสอบผู้กระทำผิด และพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ มีโทษรุนแรงเกินไป
8. การที่เจ้าหน้าที่ตำรวจบังคับใช้ หรือลงโทษตามการดำเนินการบันทึกคะแนน ฯ อย่างจริงจังทำให้มีผู้กระทำผิดกฎจราจรน้อยลง
หน้า 4/5
ระดับความคิดเห็น
ข้อความ
เห็นด้วยอย่างยิ่ง
เห็นด้วย
ไม่แน่ใจ
ไม่เห็นด้วย
ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง
การปฏิบัติตามกฎจราจรของผู้ขับขี่ต่อการดำเนินการบันทึกคะแนน อบรมทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และพักใช้ใบอนุญาตขับขี่
1. การดำเนินการบันทึกคะแนน อบรมทดสอบผู้กระทำผิด และพักใช้ใบอนุญาต ทำให้ผู้ขับขี่มีความระมัดระวังไม่กระทำผิดกฎจราจร
2. ทุกวันนี้ผู้ขับขี่กระทำผิดกฎจราจรมากขึ้น
3. การกระทำผิดกฎจราจรแล้วต้องถูกบันทึกคะแนน อบรมทดสอบผู้กระทำผิด และพักใช้ใบอนุญาต ทำให้ผู้ขับขี่ไม่กล้าฝ่าฝืนกระทำผิดกฎจราจร
4. เมื่อกระทำผิดกฎจราจร และถูกดำเนินการบันทึกคะแนน ฯ แล้ว ทำให้ผู้ขับขี่ไม่กล้าทำผิดกฎจราจรอีก
5. เมื่อกระทำผิดกฎจราจร และถูกดำเนินการบันทึกคะแนนแล้วทำให้ผู้ขับขี่ไม่กล้ากระทำผิดผิดซ้ำในข้อหาเดิมอีก
6. ท่านมักจะเร่งความเร็วเพื่อผ่านทางแยกเมื่อได้รับสัญญาณไฟสีเหลือง
7. ท่านพยายามรักษากฎระเบียบเกี่ยวกับจราจร แม้จะไม่มีการดำเนินการบันทึกคะแนน อบรมทดสอบผู้กระทำผิด และพักใช้ใบอนุญาตขับขี่
8. ท่านพยายามรักษากฎระเบียบเกี่ยวกับจราจร แม้จะไม่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมการจราจรอยู่
หน้า 5/5
ระดับความคิดเห็น
ข้อความ
เห็นด้วยอย่างยิ่ง
เห็นด้วย
ไม่แน่ใจ
ไม่เห็นด้วย
ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง
1. การบังคับใช้มาตรการการดำเนินการบันทึกคะแนน อบรมทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ทำให้ผู้ขับขี่มีการปฏิบัติตามกฎจราจรมากขึ้น
2. การบังคับใช้ในการดำเนินการบันทึกคะแนน อบรมทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ ทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจมีการจับกุมผู้กระทำผิดกฎจราจรมากขึ้น
ส่วนที่ 3 ปัญหาและข้อเสนอแนะ
ขอขอบคุณที่สละเวลาตอบแบบสอบถามนี้ ผู้วิจัยจะนำไปเป็นข้อมูลในการปรับปรุงการดำเนินการบันทึกคะแนน อบรมทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ผู้วิจัย
100
รายนามผู้เชี่ยวชาญ
1. ดร.สัญญา สัญญาวิวัฒน์
รัฐศาสตรบัณฑิต (การปกครอง) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
MA. in Anthropology (Michigan State)
Ph.D. in Sociology (Missouri – Columbia)
2. พ.ต.อ.สมศักดิ์ ปทุมมารักษ์
ปริญญาตรีวิศวกรรมสำรวจ (Georgia Institute of Technology, Atlanta, Georgia)
ปริญญาตรีวิศวกรรมโยธา (Memphis State University, Memphis, Tennessee)
ปริญญาโทวิศวกรรมจราจร (Georgia Institute of Technology, Atlanta, Georgia)
รัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
รองผู้บังคับการตำรวจจราจร
ทำหน้าที่หัวหน้าฝ่ายอำนวยการศูนย์ควบคุมและสั่งการจราจร กองบัญชาการตำรวจนครบาล
3. พ.ต.อ.ยอดชาย ผู้สันติ
รัฐศาสตรบัณฑิต เกียรตินิยมดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ผู้กำกับการ 3 กองบังคับการตำรวจดับเพลิง
ช่วยราชการฝ่ายประชาสัมพันธ์ศูนย์ควบคุมและสั่งการจราจร กองบัญชาการตำรวจนครบาล
104
ประวัติผู้วิจัย
ชื่อ พันตำรวจโท นนท์ นุ่มบุญนำ
วัน เดือน ปีเกิด 11 พฤษภาคม 2507
สถานที่เกิด กรุงเทพมหานคร
ประวัติการศึกษา สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี รัฐประศาสนศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ เมื่อปีการศึกษา 2528
ตำแหน่งและสถานที่ทำงาน ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง รองผู้กำกับการ 3 กองบังคับการตำรวจจราจร กรุงเทพมหานคร
การศึกษาการบังคับใช้การดำเนินการมาตรการบันทึกคะแนนอบรม ทดสอบผู้ขับขี่ ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ (ตอนที่ 1)
การศึกษาการบังคับใช้การดำเนินการมาตรการบันทึกคะแนนอบรม ทดสอบผู้ขับขี่ ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ (ตอนที่ 2)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น