ศึกษาและโหลดฟรีเป็นตัวอย่างเกี่ยวกับงานวิจัย all free download research
วันศุกร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2553
การถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติต่อวัยรุ่น (ตอนที่ 2)
พระอาจารย์ผู้สอนในโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดท่าพระ
พระอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิที่ถ่ายทอดความรู้และหลักธรรมให้แก่เยาวชนในโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดท่าพระ ปัจจุบันมี 7 รูปได้แก่
1. พระมหาวิมล แซ่ตั๊น ฉายา โชติธมฺโม อายุ 41 ปี บวชมาแล้ว 21 พรรษา วุฒิการศึกษา น.ธ.เอก, ป.ธ.3, พธ.บ. สอนวิชาธรรมะภาคภาษาอังกฤษ มีแนวคิดในการถ่ายทอดธรรมะแก่วัยรุ่นโดยเล่าว่า “ให้เด็กมีส่วนร่วม เช่น ให้เด็กแสดงละครธรรมะ ท่องบทเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อเพิ่มทักษะการใช้ภาษาแก่เด็ก เล่าเรื่องโดยใช้ภาพนิทานชาดกประกอบ เป็นการจูงใจให้เด็กไม่เบื่อและยังได้ข้อคิดเพื่อนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตต่อไป” (พระมหาวิมล โชติธมฺโม, 2547, มกราคม 15)
2. พระอุดม เกรัมย์ ฉายา ติกฺขะปญฺโญ อายุ 37 ปี บวชมาแล้ว 15 พรรษา วุฒิการศึกษา น.ธ.เอก, พธ.บ. สอนวิชาธรรมะภาคภาษาอังกฤษ แนวทางในการถ่ายทอดธรรมะแก่วัยรุ่นโดยเล่าว่า “ให้เด็กมีส่วนร่วม เช่น ให้เด็กนำข่าวหนังสือพิมพ์มาวิเคราะห์โดยใช้หลักธรรมเข้าไปเปรียบเทียบข่าวต่าง ๆ เพื่อจะแก้สิ่งเหล่านั้นด้วยหลักธรรม จะช่วยให้เด็กได้เพิ่มทักษะในการคิดและแก้ปัญหาให้กับตัวเองได้” (พระอุดม ติกฺขะปญฺโญ, 2546, ธันวาคม 2)
3. พระมหาเหวียง เอี่ยมสะอาด ฉายา อภิวฑฺฒโน อายุ 36 ปี บวชมาแล้ว 14 พรรษา วุฒิการศึกษา น.ธ.เอก , ป.ธ.4 สอนวิชาธรรมะ แนวทางในการถ่ายทอดแก่วัยรุ่นโดยเล่าว่า “เล่าเรื่องนิทานชาดกประกอบธรรมะแต่ละเรื่อง เช่น เรื่องพระเวชสันดรชาดก เกี่ยวกับการบริจาคทาน พระมหาชนก เกี่ยวกับความอดทน มุ่งมั่น เป็นต้น เพื่อให้เด็กได้นำไปเป็นข้อคิดให้กับตนเอง” (พระมหาเหวียง อภิวฑฺฒโน, 2546, ธันวาคม 7)
4. พระมหารักเกียรติ ศรีษะเทือน ฉายา สุเมธโส อายุ 34 ปี บวชมาแล้ว 11 พรรษา วุฒิการศึกษา น.ธ.เอก, ป.ธ.3, พธ.บ. สอนวิชาพุทธประวัติ แนวทางในการถ่ายทอดธรรมะแก่วัยรุ่นโดยเล่าว่า “ เล่าเรื่องพุทธประวัติมีภาพประกอบเพื่อให้นึกเห็นภาพในอดีตของพระพุทธเจ้าจะทำให้เด็กเกิดความเชื่อและศรัทธาในองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งเป็นศาสดาของศาสนาพุทธ” (พระมหารักเกียรติ สุเมธโส, 2546, ธันวาคม 7)
5. พระมหา สุนา สีดามาตย์ ฉายา สุทฺธิปภาโส อายุ 23 ปี บวชมาแล้ว 2 พรรษา วุฒิการศึกษา น.ธ.เอก, ป.ธ.3, พธ.บ. แนวทางในการสอนวัยรุ่นให้เป็นคนดี โดยเล่าว่า “ต้องการสอนให้เด็กมีความกตัญญู มีความอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่ โดยยกเหตุผลโดยใช้นิทานประกอบจูงใจให้เด็กสนใจติดตาม ซึ่งตรงกับคำพังเพยที่ว่า ดูละครแล้วย้อนดูตัวเอง” (พระมหา สุนา สุทฺธิปภาโส, 2546, ธันวาคม 7)
5 6
6. พระทรงศักดิ์ แอ๊ดสกุล ฉายา เขมจาโร อายุ 32 ปี บวชมาแล้ว 6 พรรษา วุฒิการศึกษา น.ธ.เอก, พธ.บ. ได้กล่าวถึงแนวคิดในการสอนวัยรุ่นว่า “สอนให้เด็กคิดโดยยกหัวข้อที่สอนตั้งเป็นประเด็นให้นักเรียนถกแถลงแล้วสรุปคำตอบ หรือเล่านิทานชาดก เช่น พระเวชสันดร องคุลีมาล ให้เข้ากับเรื่องที่สอน บางครั้งใช้ละครในทีวีที่สอนแทรกความรู้ ซึ่งชี้ให้เด็กสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวัน และท้ายชั่วโมงจะมีคำถามให้เด็กตอบก่อนเลิกเรียน” (พระทรงศักดิ์ เขมจาโร, 2546, ธันวาคม 7)
7. พระธีรยุทธ เรียงวิเชียร ฉายา อตฺถโภวิโท อายุ 52 ปี บวชมาแล้ว 31 พรรษา วุฒิการศึกษา น.ธ.เอก มีความตั้งใจในการที่จะอบรมวัยรุ่นให้เป็นคนดี ห่างไกลยาเสพติด ได้เล่าว่า “ต้องการสอนให้เด็กมีความกตัญญู ห่างไกลสิ่งอบายมุข ใช้การเล่านิทานสอนใจ หรือยกเหตุผลประกอบให้เด็กคิดอย่างมีเหตุมีผล” (พระธีรยุทธ อตฺถโภวิโท , 2546, ธันวาคม 7)
5 7
ผลการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลรายบุคคล
โรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดท่าพระ มีเยาวชนที่สนใจเข้าศึกษาสม่ำเสมอ ประมาณ 60 คน แบ่งเป็น 3 ระดับ คือ ขั้นต้น ขั้นกลาง และธรรมศึกษา ผู้วิจัยได้ขอให้พระอาจารย์ของโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดท่าพระ เป็นผู้คัดสรรว่าเป็นนักเรียนที่มีพฤติกรรมจริยธรรม อีกทั้งได้รับการยอมรับจากกลุ่มเพื่อนและผู้คนในละแวกบ้าน จำนวน 10 คน จากนั้นสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างตามแนวคำถามที่กำหนด เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลรายบุคคลดังต่อไปนี้
กรณีศึกษาที่ 1
ด.ญ.หนึ่ง อายุ 12 ปี อยู่บ้านเลขที่ 17/39 ซอยจรัญสนิทวงศ์ 6 แขวงวัดท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร บิดามีอาชีพขับรถแท็กซี่ มารดาเป็นแม่บ้าน มีพี่น้อง 3 คน ด.ญ.หนึ่ง เป็นลูกสาวคนโต มีน้องสาวกับน้องชายอย่างละ 1 คน ปัจจุบันเรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดท่าพระ เนื่องจากบิดามารดามีฐานะยากจน จึงให้ ด.ญ.หนึ่ง มาอาศัยกับย่าตั้งแต่อายุ 6 ขวบ ด.ญ.หนึ่ง เป็นคนขยัน อดทน มีความประพฤติดี แต่งกายเรียบร้อยถูกระเบียบ
การถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติจากบ้าน
สัมพันธภาพในครอบครัว
ย่าให้การเลี้ยงดู ด.ญ.หนึ่ง ตั้งแต่อายุ 6 ขวบ โดยย่าให้การดูแลในเรื่องอาหารการกิน เสื้อผ้า จ่ายค่าอาหารไปโรงเรียน ไปส่งและรับกลับจากโรงเรียนตั้งแต่ชั้นประถมปีที่ 1 – 3 เมื่อ ด.ญ.หนึ่งเรียนอยู่ชั้นประถมปีที่ 4 – 6 ย่าจึงให้ไปและกลับจากโรงเรียนเอง ย่าจะอบรมสั่งสอนเกี่ยวกับการปฏิบัติตนเป็นคนดี คำสอนหลัก คือไม่ดื้อไม่ซน เชื่อฟังผู้ใหญ่ สิ่งที่ย่าสอนอยู่เสมอ เช่น ให้จัดเก็บเสื้อผ้าเป็นที่เป็นทาง เสื้อผ้าที่ใส่แล้วใส่ตะกล้าไว้ซัก เสื้อผ้าที่ซักแล้วจัดเก็บเข้าตู้ให้เรียบร้อย ถ้วยชามที่ใช้แล้วให้ล้างเก็บเข้าตู้กับข้าว ฯลฯ นอกจากนี้ย่าได้สอนให้ ด.ญ.หนึ่ง มีความรับผิดชอบโดยย่าให้รับผิดชอบงานบ้านคือการถูบ้านทุกวันหลังกลับจากโรงเรียน ด.ญ.หนึ่ง ได้ปฏิบัติทุกวัน เว้นแต่วันที่ย่าพาไปธุระนอกบ้าน ด.ญ.หนึ่งและย่ามีเวลาอยู่พร้อมหน้ากันทุกวัน นางอรุณ (2546) ซึ่งเป็นย่าของ ด.ญ.หนึ่ง อายุ 60 ปี เล่าว่า “ทางบ้านได้สอนให้ ด.ญ.หนึ่ง เป็นคนมีสัมมาคารวะต่อผู้ใหญ่ โดยเจอผู้ใหญ่ที่เคารพให้ยกมือไหว้พร้อมกล่าวคำว่า สวัสดีค่ะ เมื่อผู้ใหญ่ให้ของยกมือไหว้รับและกล่าวคำว่า ขอบคุณค่ะ และสอนให้รักศักดิ์ศรีความเป็นลูกผู้หญิง รู้จักรักนวลสงวนตัว โดยพยายามอย่าให้ผู้ชายถูกเนื้อต้องตัวถ้ายังไม่ถึงเวลาอันควร รู้จักทำงานบ้านและการเรือน คำสอนของย่าอาศัยหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา”
5 8
การอบรมเลี้ยงดูตามแนวพุทธ
การให้ทาน นางอรุณ จะใส่บาตรพระสงฆ์ทุกวันวันละ 3 รูป โดยสอนให้ ด.ญ.หนึ่งเล่าว่า “หนูจะช่วยย่าซื้อกับข้าวใส่บาตรพระสงฆ์ บางวันจะใส่บาตรพระก่อนไปโรงเรียน” นางอรุณจะสอน ด.ญ.หนึ่งให้ทราบถึงผลดีของการให้ทานว่า “การใส่บาตรพระสงฆ์หากทำสม่ำเสมอได้จะเป็นการดี เป็นการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้ดำรงคงอยู่ เพราะพระสงฆ์คือ ผู้สืบทอดพระพุทธศาสนา และชาวพุทธเชื่อว่าการทำบุญใส่บาตรจะเป็นพลวัตรปัจจัย ให้มีกินมีใช้ในชาติหน้า รวมทั้งเป็นการอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติมิตรที่ล่วงลับและเจ้ากรรมนายเวรด้วย “ ด.ญ.หนึ่ง มีความสงสัยว่าทำไมย่าต้องถอดรองเท้าเวลาใส่บาตร นางอรุณอธิบายให้หลานฟังว่า “ที่เราถอดรองเท้า เป็นการให้ความเคารพพระสงฆ์ เราจะต้องยืนต่ำกว่าพระสงฆ์ จะได้ไม่มีบาปติดตัว”
การรักษาศีล นางอรุณ สอนหลานให้รักษาศีลห้าทุกวันพระ โดยสอนว่า “ไม่ให้พูดโกหก และถือเอาสิ่งของคนอื่นมาเป็นของตน” นางอรุณเล่าว่า ด.ญ.หนึ่ง เคยทำความดี โดยเก็บกระเป๋าเงินของ นางทอง คนข้างบ้านซึ่งลืมไว้ที่ตู้โทรศัพท์หน้าบ้านและนำมาให้ย่าเพื่อส่งคืนเจ้าของ และได้สอบถาม ด.ญ.หนึ่ง ว่า “มีความคิดอย่างไรถึงได้นำกระเป๋าเงินไปให้ย่าเพื่อส่งคืนเจ้าของ” ด.ญ.หนึ่ง ตอบว่า “ไม่ควรจะเอาของคนอื่นที่ไม่ใช่ของเรา” ซึ่งแสดงให้เห็นว่าด.ญ.หนึ่ง เป็นผู้ที่มีความซื่อสัตย์ นางอรุณมักจะพา ด.ญ.หนึ่ง ไปปฏิบัติธรรมในวันพระหรือในวันสำคัญทางศาสนาเสมอ และเล่าว่า ด.ญ.หนึ่งชอบที่จะไปทำบุญไม่เคยขาด
การปฏิบัติธรรม นางอรุณจะพา ด.ญ.หนึ่ง ไปถือศีล และปฏิบัติธรรมที่วัดในวันพระใหญ่ คือวันพระขึ้น 15 ค่ำ หรือ แรม 15 ค่ำ ตามโอกาสอันสมควร ซึ่ง ด.ญ.หนึ่ง จะชอบไปปฏิบัติธรรมกับย่า และเล่าว่า “ ถ้าวันไหนเป็นวันหยุดที่ตรงกับวันพระ และพ่อแม่ไม่มารับไปบ้าน ย่าจะพาไปทำบุญ ฟังเทศน์และปฏิบัติธรรมที่วัด เพราะจะทำให้รู้สึกสบายใจดี”
วิถีชีวิตแบบพุทธ
นางอรุณ ได้นำหลักธรรมทางพุทธศาสนามาสั่งสอน ด.ญ.หนึ่ง คือ อตฺตาหิ อตฺตโน นาโถ ตนนั่นแหละเป็นที่พึ่งแห่งตน” ด.ญ.หนึ่ง กล่าวถึงการพึ่งตนเองที่บ้านว่า “จะซักเสื้อผ้า รองเท้า ถุงเท้า หุงข้าว ล้างถ้วย ล้างจาน ด้วยตนเอง” จากการสังเกตพบว่า ด.ญ.หนึ่ง มีความมั่นใจตนเองและทำงานอย่างแคล่วคล่อง นางอรุณ สอนหลานว่า “คนเราทำดีก็จะได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว หากทำกรรมดีก็จะส่งให้ไปสู่ภพภูมิที่ดี หากทำกรรมไม่ดีอย่างไรก็จะได้รับผลของกรรมนั้น”
5 9
สรุป การถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติจากบ้าน พบว่า บ้านมีบทบาทในการถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติให้กับ ด.ญ.หนึ่ง โดยย่าใช้วิธีการอบรมสั่งสอนและการปฏิบัติให้ดูเป็นแบบอย่าง หลักธรรมที่ย่านำมาสั่งสอนได้แก่ การพึ่งตนเอง และกฎแห่งกรรม ส่วนแนวทางการปฏิบัติที่ย่าทำให้ดูเป็นแบบอย่าง ได้แก่ การใส่บาตรพระสงฆ์เป็นประจำ การถือศีลห้าและการปฏิบัติธรรมในวันสำคัญทางพุทธศาสนา
การถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติจากโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์
การถ่ายทอดคุณธรรมจริยธรรม
พระมหาสุนา สุทฺธิปภาโส (2546, ธันวาคม 7) อายุ 23 ปี เป็นพระอาจารย์ของ ด.ญ.หนึ่ง เล่าให้ฟังว่า “ได้สอนนักเรียนมาหลายรุ่นแล้ว ซึ่งการสอนจะมุ่งเน้นให้นักเรียนทำความดี มีความกตัญญูต่อบุพการี หน้าที่ที่ลูกควรปฏิบัติต่อพ่อแม่หรือผู้มีพระคุณ โดยจะเล่านิทานประกอบ” และกล่าวอีกว่า “ด.ญ.หนึ่ง เป็นคนขยัน มาเรียนสม่ำเสมอ ตั้งใจเรียน” ด.ญ.หนึ่ง มีความประทับใจวิธีการสอนของพระอาจารย์โดยเล่าว่า “พระอาจารย์ใจดี สอนเข้าใจง่าย ท่านบอกว่า ความดีนั้นทำยาก แต่ความชั่วนั้นทำง่าย เช่น การหยิบเอาของคนอื่นมาเป็นของตนโดยเจตนา ทำให้เจ้าของเป็นทุกข์ ถือว่าทำชั่วแล้ว” นอกจากนี้พระอาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับการทำความดี โดยกล่าวว่า “การทำความดีทุกอย่างต้องไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ซึ่งการทำความดีสามารถทำได้ทั้งทางกาย เช่น ช่วยเก็บขยะในบริเวณวัด ช่วยเป็นธุระให้พ่อแม่ เป็นต้น ทางวาจา เช่น ไม่พูดให้คนอื่นเจ็บใจ นินทาว่าร้าย เป็นต้น ทางใจ เช่น ไม่คิดอิจฉาริษยา ไม่คิดซ้ำเติมเมื่อบุคคลอื่นได้รับความทุกข์” จากการสังเกตการสอนของพระมหาสุนาพบว่าใช้หลักการสอนให้เด็กรู้จักคิดแยกแยะระหว่างความดีกับความชั่ว จึงทำให้ ด.ญ.หนึ่งสามารถแยกแยะความดีความชั่วได้ และปฏิบัติตนตามหลักพุทธศาสนาได้เหมาะสมกับวัย
การส่งเสริมการเป็นพุทธมามกะ
พระอุดม ติกฺขปญฺโญ (2546, ธันวาคม 2) อายุ 37 ปี พระเลขานุการ เล่าให้ฟังว่า “นักเรียนทุกคนจะต้องผ่านพิธีประกาศตนเป็นพุทธมามกะ ซึ่งโรงเรียนจะทำพิธีในอาทิตย์ที่สองของการเปิดเทอม เพื่อแสดงว่าเป็นผู้รับนับถือพระพุทธเจ้าว่าเป็นของตน และยอมรับนับถือพระพุทธศาสนาประจำชีวิตของตน “จากพิธีกรรมดังกล่าว ด.ญ.หนึ่ง มีความประทับใจและเล่าให้ฟังว่า พิธีดังกล่าวทำให้หนูมีความเชื่อและศรัทธาในพระพุทธศาสนามากขึ้น เพราะไม่เคยเข้าร่วมพิธีเช่นนี้มาก่อน พระอาจารย์ท่านจะแนะนำ และสอนให้หนูได้เข้าใจและเห็นประโยชน์ของการแสดงตนเป็นพุทธมามกะได้เป็นอย่างดี” จากการสังเกตพบว่า พระอาจารย์ใช้จิตวิทยากระตุ้นให้เด็กๆ เกิดความสนใจที่จะเรียนรู้
6 0
การเรียนรู้
พระมหาสุนา (2546, ธันวาคม 7) อายุ 23 ปี ได้เล่าให้ฟังว่า “หลักสูตรกำหนดให้จัดการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ โดยยึดหลักไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา จัดกิจกรรมเสริม เช่น การตอบปัญหาธรรมะในวันสำคัญทางศาสนา การปฏิบัติธรรม การเดินจงกลม ในช่วงเวลาพักเรียน ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนได้ผ่อนคลาย ขณะที่เดินจงกลมพระอาจารย์ได้บอกให้นักเรียนทำตาม เช่น ยกเท้าซ้าย ก็ให้นึกตามว่า ซ้ายยกหนอ ยกเท้าขวาก็ให้นึกตามว่า ขวายกหนอ ใช้เวลาประมาณ 10 นาที ทำอย่างนี้เป็นประจำในวันที่มาเรียน จากกลักสูตรการสอนนี้ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ ด.ญ.หนึ่ง เล่าว่า เหตุผลที่มาเรียนคือ ต้องการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ เมื่อมาเรียนแล้วได้รับประโยชน์มาก ได้รู้จักตนเอง การจะอยู่ในสังคมได้อย่างสงบสุขต้องเรียนรู้ เสียสละ มีศีล สามารถแยกแยะความดีความชั่ว จากการสังเกตและพุดคุย พบว่า ด.ญ.หนึ่ง เป็นผู้มีอุปนิสัยดี แต่งกายเรียบร้อยด้วยชุดนักเรียน สังเกตได้จาก ด.ญ.หนึ่ง จะเดินผ่านผู้ใหญ่โดยก้มตัวยกมือไหว้และกล่าวคำว่า “ขอโทษค่ะ” แล้วเดินผ่านไปด้วยกิริยาอาการสงบเรียบร้อย แสดงให้เห็นว่า การที่ ด.ญ.หนึ่ง ได้รับการอบรมสั่งสอนจากพระสงฆ์ทำให้พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปในทางดี
สรุป การถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติจากโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ พบว่า โรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ มีวิธีในการถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติด้วยการสอนให้เป็นคนดี ให้แสดงตนเป็นพุทธมามกะ การสอนด้านปริยัติ คือ ความรู้ตามหลักไตรสิกขา หลักธรรมแห่งพระพุทธศาสนา การปฏิบัติธรรม การเดินจงกลม เพื่อกล่อมเกลาจิตใจ ให้สงบเย็นรู้เท่าทันอารมณ์ของตน ทำให้ ด.ญ.หนึ่ง มีพฤติกรรมดี
การถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติจากชุมชน
บริบทชุมชน
ชุมชนวัดท่าพระอยู่ใกล้บริเวณวัด ทำให้ ด.ญ.หนึ่ง มีความใกล้ชิดกับกิจกรรมทางพุทธศาสนาเนื่องจากมีบ้านอยู่ใกล้วัด และได้เรียนอยู่ในโรงเรียนซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณวัด ด.ญ.หนึ่ง มีความภาคภูมิใจและศรัทธาในองค์หลวงพ่อเกษรพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักและนับถือของคนย่านฝั่งธน เมื่อมีงานบุญที่ทางวัดจัดขึ้น ด.ญ.หนึ่ง จะไปช่วยงานด้วยความศรัทธา เช่น งานแห่ผ้าไตรหลวงพ่อเกษร ซึ่งจัดขึ้นโดยชาวชุมชน งานทำบุญ งานประเพณีสงกรานต์งานเทศกาลปีใหม่ เป็นต้น จากบริบทดังกล่าวทำให้ ด.ญ.หนึ่ง ซึมซับประเพณีที่ดีงามจากชุมชน
6 1
การคบเพื่อน
ชุมชนวัดท่าพระ มีเยาวชนรุ่นราวคราวเดียวกันกับ ด.ญ.หนึ่ง หลายคนมีเพื่อนสนิทที่ไปมาหาสู่กันอยู่เสมอ เพื่อนคนหนึ่งของ ด.ญ.หนึ่ง เล่าให้ฟังว่า “ด.ญ.หนึ่ง มีนิสัยดี ชอบช่วยเหลือเพื่อน เสียสละ ชุมชนมีงานจะไปช่วยเสมอ เช่น บ้านหนูมีงานทำบุญบ้านช่วงประเพณีสงกรานต์ ด.ญ.หนึ่ง มาช่วยยกน้ำบริการแขกที่มาร่วมทำบุญ และเก็บจานที่แขกใช้ใส่อาหารทานแล้วไปให้แม่ครัวล้าง ด.ญ.หนึ่ง อยู่จนเสร็จงาน” ด.ญ.หนึ่ง พูดถึงเพื่อน ๆ ว่า “เพื่อน ๆ ในชุมชนมีอยู่หลายคน แต่ที่คบกันอย่างจริงใจเป็นพิเศษหนึ่งคน ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ของเพื่อนคนนี้ใจดี จึงช่วยเหลือซึ่งกันและกันตลอดมา” จากการสังเกตพบว่า ด.ญ.หนึ่ง และเพื่อน ๆ จะมีการช่วยเหลือซึ่งกันละกันในการเรียน การทำกิจกรรมและบำเพ็ญประโยชน์ต่าง ๆ ร่วมกัน
การทำกิจกรรมและบำเพ็ญประโยชน์
เพื่อน ๆ ของ ด.ญ.หนึ่ง เล่าให้ฟังว่า ด.ญ.หนึ่ง จะรวมกลุ่มกับเพื่อน ๆ ไปร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชน เช่น การบวชสามเณรภาคฤดูร้อน งานแห่เทียนพรรษา งานประเพณีสงกรานต์ ฯลฯ โดยไปช่วยยกพานพุ่มดอกไม้เดินตามขบวนแห่ ชวยบริการน้ำดื่มให้แขกที่มาร่วมงานเป็นประจำทุกปี ด.ญ.หนึ่ง เคยพูดกับเพื่อนว่า มีความภาคภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชน และคิดว่าจะร่วมกับชาวชุมชนสืบสานประเพณีเหล่านี้ให้ดำรงอยู่ต่อไป จึงกล่าวได้ว่า ด.ญ.หนึ่ง มีความประพฤติดี ใช้เวลาว่างในการบำเพ็ญประโยชน์ให้แก่ส่วนรวมและชุมชน ทั้งนี้จากการสังเกตและพูดคุย กับ ด.ญ.หนึ่ง เพื่อนสนิท และผู้นำชุมชน พบว่า เพื่อนจะแนะนำแต่สิ่งที่ดี พิธีกรรมทางศาสนา งานประเพณีสำคัญ ๆ ชาวชุมชนจัดขึ้น และเชิญชวนให้ชาวชุมชนมาช่วยกันด้วยศรัทธาไม่มีการว่าจ้าง ซึ่งผู้นำชุมชนและผู้ใหญ่ในชุมชนทำเป็นแบบอย่างที่ดี
สรุป การถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติจากทางบ้านของ ด.ญ.หนึ่ง มีย่าเป็นตัวแบบที่ดีมีการถ่ายทอดวิธีการปฏิบัติ โดยทำเป็นตัวอย่าง เช่น การใส่บาตรพระสงฆ์ การรักษาศีล การรู้จักพึ่งตนเอง และเชื่อในกฏแห่งกรรม ส่วน โรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ได้รับการถ่ายทอดจากพระอาจารย์ซึ่งนำหลักธรรมคำสอนทางพุทธศาสนาที่เหมาะแก่วัยของเด็ก ได้แก่ การทำความดี การมีความกตัญญูต่อบุพการี สิ่งที่ลูกควรปฏิบัติต่อพ่อแม่หรือผู้มีพระคุณ ทำให้ ด.ญ.หนึ่ง สามารถแยกแยะความดีความชั่วได้ รวมทั้งการปฏิบัติธรรม การเดินจงกลม ช่วยให้จิตใจสงบ อารมณ์ดี ส่วน ชุมชน ได้รับการถ่ายทอดวัฒนธรรมที่ดีงามจากชุมชน มีการคบเพื่อนที่ดี โดยเพื่อนแนะนำสิ่งที่ดี มีการทำกิจกรรมและบำเพ็ญประโยชน์ต่อส่วนรวม เช่น ช่วยงานประเพณีและกิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชนด้วยแรงศรัทธาและเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เยาวชนอื่น
6 2
กรณีศึกษาที่ 2
ด.ญ.สอง อายุ 12 ปี อยู่บ้านเลขที่ 268 ซอยจรัญสนิทวงศ์ 4 แขวงวัดท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร เรียนอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดท่าพระ มารดามีอาชีพรับจ้าง ด.ญ.สอง เป็นลูกสาวคนโต มีน้องชาย 1 คน บิดามารดาแยกกันอยู่ ด.ญ.สอง อาศัยอยู่กับมารดาและป้า ด.ญ.สอง เป็นเด็กที่มีนิสัยเรียบร้อย ขยัน ตั้งใจเรียน มีความรับผิดชอบ
การถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติจากบ้าน
สัมพันธภาพในครอบครัว
ด.ญ.สอง ได้รับการเลี้ยงดูจากมารดาและป้า เวลามารดาออกไปทำงานนอกบ้าน ป้าจะช่วยดูแลในเรื่องอาหารการกิน อาบน้ำแต่งตัวไปโรงเรียน มารดาและป้าจะผลัดเปลี่ยนกันไปรับส่ง มีเวลาใกล้ชิดสนิทสนมกัน นางฉวีวรรณ แสงอาทิตย์ (2546, ธันวาคม 15) อายุ 57 ปี ป้าของ ด.ญ.สอง เล่าให้ฟังว่า ด.ญ.สอง จะช่วยทำงานบ้านหลังกลับจากโรงเรียน เช่น ดูแลน้อง สอนการบ้านน้อง และเก็บกวาดบ้าน เป็นประจำ หากต้องการออกไปนอกบ้านจะขออนุญาตก่อนทุกครั้ง นางรัตนา แสงอาทิตย์ (2546, ธันวาคม 15) อายุ 39 ปี มารดาของ ด.ญ.สอง เล่าให้ฟังว่า ได้สอนให้ ด.ญ.สอง เป็นคนเสียสละ โดยการแบ่งปันของกินให้น้อง แบ่งของเล่นให้เล่น
การอบรมเลี้ยงดูตามแนวพุทธ
การให้ทาน นางฉวีวรรณ แสงอาทิตย์ (2546, ธันวาคม 15) เล่าว่า “ในตอนเช้าพระจะเดินบิณฑบาตรผ่านหน้าบ้านทุกวัน ทำให้ได้รับความสะดวกที่จะใส่บาตร จึงได้นิมนต์หลวงตาองค์หนึ่งให้มารับบาตรที่บ้านทุกเช้าเป็นประจำ การเตรียมอาหารใส่บาตรก็ไม่ยุ่งยาก จะเตรียมไว้ตอนทำอาหารมื้อเย็น โดยจะแบ่งอาหารที่จะใส่บาตรตอนเช้าไว้ บางครั้งจะไปซื้อที่ตลาด เนื่องจากมีอาหารทั้งหวานคาวหลายอย่างให้เลือก” ด.ญ.สอง เล่าว่า “วันหยุดจะตื่นมาใส่บาตรกับป้า ถ้าหากป้ามีธุระก็จะให้ หนูและแม่ใส่บาตรแทน และเห็นว่าการใส่บาตรทำให้สบายใจ หลวงตาที่มารับบาตรจะให้พรว่า ขอให้อยู่เย็นเป็นสุข มีความเจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ เทอญ” และป้าจะสอนให้รักษาศีลห้าในวันพระ เพื่อฝึกให้รู้จักทำความดี
การรักษาศีล นางฉวีวรรณ แสงอาทิตย์ (2546, ธันวาคม 15) เล่าว่า “ทุกวันพระจะชวนกันไปวัดถือศีลห้า โดยตั้งใจจะไม่เบียดเบียนใคร พูด คิดแต่สิ่งที่ดี ไม่ดุด่าหลาน และสวดมนต์ก่อนนอน เพื่อจิตใจจะได้สงบ” ส่วนการสั่งสอนหลาน จะสอนว่า “การรักษาศีลห้าแม้ทำได้เพียงข้อใดข้อหนึ่งก็จะช่วยให้ชีวิต
6 3
เราเป็นสุขได้ เช่น การไม่พูดปด พูดว่าร้ายคนอื่น เราก็ไม่ต้องกลัวว่าคนอื่นจะมาว่าร้ายเรา” ซึ่ง ด.ญ.สอง เล่าว่า “ป้าเป็นคนใจเย็น พูดอะไรก็มีเหตุมีผล แต่แม่จะใจร้อน ชอบดุ แต่ไม่เคยตีลูก และป้าจะชักชวนให้ปฏิบัติธรรมเพื่อจิตใจจะได้สงบ จะได้ลดความใจร้อนลง”
การปฏิบัติธรรม นางฉวีวรรณ แสงอาทิตย์ (2546, ธันวาคม 15) เล่าว่า “วันสำคัญทางศาสนา เช่น วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชาวันมาฆะบูชา จะไปถือศีลและฟังธรรมที่วัด และได้สอนหลานให้รู้ว่า การปฏิบัติธรรมจะทำให้จิตเป็นสมาธิ ใจสงบ ช่วยให้แก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตได้เป็นอย่างดี” จากการสังเกต พบว่า แม่และป้า ของ ด.ญ.สอง จะสนับสนุนให้ ด.ญ.สอง ไปเรียนพุทธศาสนาที่โรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ โดยนางฉวีวรรณ คิดว่า “จะช่วยเพิ่มพูนความรู้ให้กับหลาน และหลานจะได้เข้าใจวิธีการปฏิบัติธรรมมากขึ้น เพราะโรงเรียนพุทธศาสนามีการสอนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ”
วิถีชีวิตแบบพุทธ
นางฉวีวรรณ แสงอาทิตย์ เลี้ยงหลานโดยได้ใช้หลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนา “ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว” มาใช้สั่งสอนหลาน โดยชี้ให้เห็นว่า “เด็กที่เกเรหนีเรียน ติดยาเสพติด ผลที่ตามมาคือ สอบตก ติดยาและเสียอนาคต และถ้ามีความเชื่อและศรัทธาในสิ่งใด ก็จงตั้งใจทำในสิ่งนั้นให้ดีที่สุด เช่น ตั้งใจเรียน โดยไม่เกเรหนีโรงเรียน หมั่นเรียนรู้ และทำการบ้านส่งอาจารย์ทุกครั้ง” และเล่าอีกว่า “หลานเชื่อฟังคำสอนดี ในที่สุดก็สามารถสอบผ่านได้ทุกวิชา” ด.ญ.สอง เล่าว่า “ป้าเป็นแบบอย่างที่ดีช่วยปลูกฝังและอบรมสั่งสอนให้เกิดความเชื่อและศรัทธาในการทำความดี และมีความภาคภูมิใจที่มีป้าเป็นคนดี”
สรุป การถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติจากบ้าน พบว่า บ้านมีบทบาทในการถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติให้กับ ด.ญ.สอง โดยมารดาใช้วิธีสั่งสอนให้เป็นคนเสียสละ ได้แก่ การแบ่งปันของกินของเล่นให้น้อง ป้าใช้วิธีการอบรมสั่งสอนด้วยหลักธรรมและทำให้ดูเป็นแบบอย่าง หลักธรรมที่ป้านำมาสั่งสอน คือ การทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว การปฏิบัติที่ป้าทำให้ดูเป็นแบบอย่าง ได้แก่ การใส่บาตรทุกวัน การถือศีลห้าและสวดมนต์ในวันพระ การไปปฏิบัติธรรมในวันสำคัญทางศาสนา
การถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติจากโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์
การถ่ายทอดคุณธรรมจริยธรรม
พระมหาสุนา (2546, ธันวาคม 7) อายุ 23 ปี พระอาจารย์ของ ด.ญ.สอง เล่าว่า “การสอนจะมุ่งเน้นให้นักเรียนทำความดี มีความกตัญญูรู้คุณต่อบุพการีอันได้แก่ บิดามารดา หน้าที่ที่ลูกควรปฏิบัติต่อพ่อแม่หรือผู้มีพระคุณ ด้วยการเล่านิทานประกอบทำให้นักเรียนเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น” พระอาจารย์เล่าอีกว่า “ด.ญ.สอง
6 4
มาเรียนอย่างสม่ำเสมอ และตั้งใจเรียน” ด.ญ.สอง มีความศรัทธาในพระอาจารย์ โดยเล่าว่า “พระอาจารย์ใจดี ไม่ดุ เวลาเรียนนักเรียนคุยกันเสียงดัง พระอาจารย์จะสอนว่าการคุยเสียงดังขณะที่พระอาจารย์สอนไม่ดี จะเป็นบาป และสั่งสอนให้มีสัมมาคารวะต่อผู้ใหญ่หรือผู้มีอาวุโสกว่า เช่น เวลาพบเจอให้ยกมือไหว้และกล่าวคำว่า สวัสดีค่ะ เมื่อทำความผิดให้ยกมือไหว้และกล่าวคำ ขอโทษค่ะ” จากการสังเกตพบว่า ด.ญ.สอง เป็นคนอุปนิสัยดี พูดจาไพเราะ พบเจอที่ไหนก็ยกมือไหว้พร้อมกล่าวคำว่า “สวัสดีค่ะ” ทุกครั้ง
การส่งเสริมการเป็นพุทธมามกะ
พระมหาวิมล (2547, มกราคม 15) อายุ 41 ปี พระอาจารย์ เล่าว่า “นักเรียนทุกคนจะต้องผ่านพิธีประกาศตนเป็นพุทธมามกะ เพื่อแสดงว่าเป็นผู้รับนับถือพระพุทธเจ้าว่าเป็นของตน และยอมรับนับถือพระพุทธศาสนาประจำชีวิตของตน” ด.ญ.สอง มีความประทับใจในการจัดพิธีดังกล่าวได้เล่าว่า “เป็นครั้งแรกที่เข้าร่วมพิธีทำให้ เกิดความเชื่อ และศรัทธาในพระพุทธศาสนามากขึ้น และพระอาจารย์ได้สอนให้รู้และเข้าใจในพิธีการ ประโยชน์ของการเป็นพุทธมามกะ และหน้าที่ที่ชาวพุทธควรปฏิบัติ” จากการสังเกตพบว่า พระอาจารย์ใช้กุศโลบายที่จะกระตุ้นให้เด็กเกิดความสนใจที่จะเรียนรู้พุทธศาสนาด้วยวิธีการต่างๆ เช่น เล่านิทานชาดก ยกตัวอย่างจากละครทีวี มาเปรียบเทียบกับการทำความดี เพื่อให้เด็กเรียนรู้จากพฤติกรรมของตัวละคร เป็นต้น
การเรียนรู้
พระมหาสุนา (2546, ธันวาคม 7) อายุ 23 ปี พระอาจารย์ ได้เล่าว่า “หลักสูตรกำหนดให้จัดการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ โดยยึดหลักไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นการสอนเสริม เพื่อให้นักเรียนเกิดทักษะในการเรียนรู้ เช่น การตอบปัญหาธรรมะในวันสำคัญทางศาสนา การปฏิบัติธรรม การเดินจงกลม” ด.ญ.สอง เล่าให้ฟังว่า การเรียนพุทธศาสนามีประโยชน์มาก ทำให้ได้รู้จักตนเอง รู้จักการอยู่ร่วมกัน การเสียสละเพื่อส่วนรวม การักษาศีล และสามารถแยกแยะสิ่งที่ควรทำไม่ควรทำได้” จากการสังเกต พบว่า ด.ญ.สอง เป็นผู้ที่มีอุปนิสัยร่าเริง ยิ้มง่าย แต่งกายเรียบร้อย โดยแต่งชุดนักเรียน สวมรองเท้า ถุงเท้า ถูกต้องตามระเบียบของโรงเรียน
พระมหาวิมล (2547, มกราคม 15) อายุ 41 ปี พระอาจารย์อีกท่านหนึ่ง ได้กล่าวถึงหลักสูตรให้ฟังอีกว่า “หลักสูตรของโรงเรียนต้องการสอนให้นักเรียนทุกคนเป็นคนดี ตั้งใจเรียน สามารถนำเอาหลักธรรมที่สอนไปใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ให้รู้ถึงประโยชน์ของการสวดมนต์หน้าเสาธงตอนเช้าก่อนเข้าเรียน ฝึกให้เด็กมีความเป็นผู้นำ โดยให้นักเรียนหมุนเวียนกันทำหน้าที่เป็นผู้นำสวดมนต์ เพื่อฝึกให้กล้าแสดงออก” พระอาจารย์กล่าวชม ด.ญ.สอง ว่า “ด.ญ.สอง เป็นเด็กเรียบร้อย ขยัน มีความรับผิดชอบ มาเรียนทุกอาทิตย์ สามารถนำสวด
6 5
มนต์ได้โดยไม่ตื่นกลัว” จากการสังเกตพบว่า ด.ญ.สอง ตั้งใจเรียน เมื่อเลิกเรียนจะช่วยจัดเก็บสิ่งของทุกอย่างเข้าที่ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ก่อนกลับบ้าน แสดงให้เห็นว่าสิ่งที่พระอาจารย์สอน ด.ญ.สอง นำไปประพฤติปฏิบัติ
สรุป การถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติจากโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ พบว่า โรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ มีวิธีการถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติด้วยการอบรมสั่งสอนให้เป็นคนดี การแสดงตนเป็นพุทธมามกะ การสอนธรรมะ ตามหลักไตรสิกขา หลักธรรมแห่งพระพุทธศาสนา การปฏิบัติธรรม การเดินจงกลม เพื่อกล่อมเกลาจิตใจ ให้สงบเย็น รู้เท่าทันอารมณ์ของตน ทำให้ ด.ญ.สอง มีพฤติกรรมดี
การถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติจากชุมชน
บริบทชุมชน
ชุมชนวัดท่าพระมีกิจกรรมต่างๆ อยู่ ด.ญ.สอง ได้ร่วมกิจกรรมทางพุทธศาสนากับทางวัดท่าพระเป็นประจำ เนื่องจากชุมชนตั้งอยู่ใกล้วัด ด.ญ.สอง มีความศรัทธาในองค์หลวงพ่อเกษรซึ่งเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่เคารพสักการะของชาวบ้านมาช้านาน มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักและนับถือของคนย่านฝั่งธน เมื่อมีงานบุญที่ทางวัดจัดขึ้น ด.ญ.สอง จะไปช่วยงานด้วยความศรัทธา เช่น งานแห่ผ้าไตรหลวงพ่อเกษร งานประเพณีสงกรานต์ งานทำบุญในวันสำคัญทางศาสนา เป็นต้น จากบริบทดังกล่าวทำให้ ด.ญ.สอง จึงซึมซับขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงามจากชุมชน
การคบเพื่อน
ด.ญ.พรรณรพี สาลีกิจ (2546, ธันวาคม 20) อายุ 12 ปี เพื่อนสนิทที่ไปมาหาสู่กันทุกวันเล่าให้ฟังว่า “ด.ญ.สอง เป็นคนขยัน นิสัยดี เสียสละ ได้ช่วยเหลือเพื่อนเสมอ เมื่อสอบเทอมปลายวันสุดท้ายหนูลืมดินสอไว้ที่บ้าน และจำเป็นจะต้องใช้ดินสอด้วย ไม่รู้จะทำอย่างเพราะใกล้เวลาสอบแล้ว ด.ญ.สอง รู้จากเพื่อนอีกคน ก็รีบนำดินสอมาให้ ทำให้ซึ้งใจเพื่อนคนนี้เป็นอย่างมาก” ด.ญ.สอง มีเพื่อน ๆ ในชุมชนอีกหลายคน แต่ ด.ญ.รพี จะเป็นเพื่อนที่คบกันอย่างจริงใจ เพราะช่วยเหลือซึ่งกันและกันตลอดมา จากการสังเกต พบว่า ด.ญ.สอง และเพื่อน ๆ ได้ช่วยเหลือซึ่งกันและกันในด้านการเรียน การทำกิจกรรมและบำเพ็ญประโยชน์ด้วยความเต็มใจอยู่เสมอ
การทำกิจกรรมและบำเพ็ญประโยชน์
เพื่อนสนิทของ ด.ญ.สอง เล่าให้ฟังถึงการทำกิจกรรมต่างๆ ว่า “หนูจะไปช่วยกิจกรรมของชุมชนเป็นประจำในช่วงภาคฤดูร้อนของทุกปี เพราะวัดท่าพระ มีการบวชสามเณรภาคฤดูร้อน ผู้นำชุมชนจะ
6 6
เชิญชวนให้ชาวชุมชนไปช่วยงาน หนูและเพื่อนๆ จะพากันไปช่วยยกปัจจัย สิ่งของที่คนมาถวายพระ ช่วยบริการต้อนรับ และอำนวยความสะดวกแก่ผู้ที่มาร่วมงานเป็นประจำทุกปี เมื่อมีงานประเพณีสงกรานต์ งานแห่เทียนเข้าพรรษา จะชอบมากและดีใจที่ได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชน และคิดว่าจะช่วยดำรงรักษาให้เป็นมรดกไปสู่ชนรุ่นหลัง” จากการสังเกตและพูดคุย กับ ด.ญ.สอง เพื่อนสนิท และผู้นำชุมชน พบว่า ด.ญ.สอง จะมีเพื่อนที่ให้คำแนะนำสิ่งที่ดี จะชวนกันเข้าร่วมพิธีกรรมทางศาสนา งานประเพณีสำคัญ ๆ ที่ชาวชุมชนจัดขึ้นโดยการรวมกลุ่มของผู้นำชุมชน และผู้ใหญ่ในชุมชน จึงกล่าวได้ว่า ด.ญ.สอง เป็นแบบอย่างของเยาวชนที่ดี
สรุป การถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติจากทางบ้านของ ด.ญ.สอง มีป้าเป็นแบบอย่างที่ดีในการใส่บาตรพระสงฆ์ การรักษาศีล และเชื่อในกฏแห่งกรรม ทำดีได้ ทำชั่วได้ชั่ว แม่สอนให้เสียสละ ส่วน โรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ได้รับการถ่ายทอดจากพระอาจารย์ที่ได้นำหลักธรรมคำสอนทางพุทธศาสนาที่เหมาะกับวัยของเด็ก ได้แก่ การทำความดี การมีความกตัญญูต่อบุพการี สิ่งที่ลูกควรปฏิบัติต่อพ่อแม่หรือผู้มีพระคุณ ทำให้ ด.ญ.สอง สามารถแยกแยะสิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำ การปฏิบัติธรรม การเดินจงกลม ทำให้จิตใจสงบ รู้เท่าทันอารมณ์ของตน ชุมชน ได้รับการถ่ายทอดวัฒนธรรมที่ดีจากชุมชน มีการคบเพื่อนดี โดยเพื่อนจะแนะนำสิ่งที่ดีและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีการทำกิจกรรมและทำประโยชน์ต่อส่วนรวม ผู้นำชุมชนและผู้ใหญ่ในชุมชนเป็นแบบอย่างที่ดี
6 7
กรณีศึกษาที่ 3
ด.ช.สาม อายุ 12 ปี อยู่บ้านเลขที่ 218/5 ซอยจรัญสนิทวงศ์ 4 แขวงวัดท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร เรียนอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดท่าพระ บิดามีอาชีพรับจ้าง มารดามีอาชีพค้าขาย มีพี่น้อง 3 คน ด.ช.สาม เป็นบุตรชายคนโต มีน้องสาว 2 คน บิดามารดาหย่าร้าง ปัจจุบัน ด.ช.สาม และน้อง ๆ อยู่กับมารดาและย่า ด.ช.สาม เป็นคนขยัน มีสัมมาคารวะ เสียสละและมีน้ำใจ แต่งกายเรียบร้อย มีความรับผิดชอบ กล้าแสดงออก
การถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติจากบ้าน
สัมพันธภาพในครอบครัว
ด.ช.สาม ได้รับการเลี้ยงดูจากมารดาและย่า มารดาต้องออกไปขายของนอกบ้าน จึงมีเวลาอยู่พร้อมหน้ากันในเวลารับประทานอาหารเย็นเท่านั้น ย่าจะอบรมเลี้ยงดูและสั่งสอนให้หลานเป็นคนดี ไม่เกเร ไม่ดื้อไม่ซน ขยันและมีความรับผิดชอบ พี่น้องหลายคนต้องช่วยเหลือกัน พี่ต้องเสียสละทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีแก่น้อง ๆ นางสุพรรณี รอดเจริญ (2546, ธันวาคม 18) อายุ 65 ปี เป็นย่าของ ด.ช.สาม ได้เล่าให้ฟังว่า “ด.ช.สาม ช่วยงานบ้านทุกอย่าง เช่น ซักผ้า ถูบ้าน ล้างจาน หุงข้าว ทำให้แบ่งเบาภาระของมารดาและย่าได้มาก” ด.ช.สาม เป็นเด็กที่มีนิสัยกตัญญู จะสงสารย่าและแม่ ได้สอนให้น้อง ๆ ทุกคนช่วยเหลือตนเอง และช่วยงานบ้านเท่าที่จะทำได้
การอบรมเลี้ยงดูตามแนวพุทธ
การให้ทาน นางสุพรรณี รอดเจริญ (2546, ธันวาคม 18) เล่าว่า “ได้ไปทำบุญที่วัดในวันพระเป็นประจำ หากตรงกับวันหยุดจะพา ด.ช.สาม ไปด้วย” นางสุพรรณี รอดเจริญ ต้องการปลูกฝังให้ ด.ช.สาม ยึดมั่นในพระพุทธศาสนา และกล่อมเกลาจิตใจให้อยู่ในศีลธรรม มีการเสียสละ ด.ช.สาม เล่าว่า “การใส่บาตรพระสงฆ์แต่ละครั้งรู้สึกสบายใจ”
การรักษาศีล นางสุพรรณี รอดเจริญ (2546, ธันวาคม 18) เล่าให้ฟังว่า “ฉันได้สอน ด.ช.สาม ไม่ให้พูดโกหก ไม่เอาเปรียบผู้อื่น ซึ่งการเอาเปรียบผู้อื่นเป็นสิ่งไม่ดี” ส่วน นางเตือนใจ(2546) อายุ 32 ปี ซึ่งเป็นมารดาของ ด.ช.สาม เล่าให้ฟังว่า “การมีลูกหลายคน จำเป็นต้องให้ความรักและความอบอุ่นเท่ากัน เสียสละและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน”
6 8
การปฏิบัติธรรม นางสุพรรณี รอดเจริญ (2546, ธันวาคม 18) เล่าว่า “ตนเองไม่ได้ปฏิบัติอย่างจริงจัง เนื่องจากอายุมากแล้วนั่งนาน ๆ หรือเดินนานๆ ก็จะปวดเมื่อย ได้แต่บอกหลานๆ ให้รู้ว่าการปฏิบัติธรรมเป็นการดี ถ้ามีเวลาและโอกาสควรกระทำ”
วิถีชีวิตแบบพุทธ
นางสุพรรณี รอดเจริญ (2546, ธันวาคม 18) ได้นำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่มาสอนด.ช.สาม โดยสอนว่า “การเสียสละ และการให้อภัย” ด.ช.สาม เป็นพี่ชายคนโตต้องใช้ความอดทนและเสียสละให้แก่น้อง ๆ จะสอนน้องว่า “การทะเลาะแย่งของเล่นกันไม่ดี” จากการสังเกตและพูดคุย พบว่า ด.ช.สาม มีความเชื่อมั่นในตนเอง กล้าแสดงออก การพูดมีเหตุมีผลดี
สรุป การถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติจากบ้าน พบว่า บ้านมีบทบาทในการถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติให้กับ ด.ช.สาม โดยมีมารดาป็นผู้ถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติด้วยวิธีการสั่งสอนให้มีความรักและเสียสละ เช่น การแบ่งปันของให้น้อง ย่าจะอบรมสั่งสอนให้มีการเสียสละและให้อภัย การทำให้ดูเป็นแบบอย่างได้แก่ การใส่บาตรพระสงฆ์ เป็นต้น
การถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติจากโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์
การถ่ายทอดคุณธรรมจริยธรรม
พระมหาเวียง (2546, ธันวาคม 7) อายุ 36 ปี เล่าให้ฟังว่า “การสอนจะให้เด็กได้เรียนปริยัติ เพื่อสร้างความรู้ในแนวพุทธแก่เด็ก โดยเน้นเรื่องใกล้ตัว บางครั้งก็ใช้เหตุการณ์ปัจจุบันประกอบ เช่น จากข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ ลูกที่ทำร้ายพ่อแม่ เกิดจากการขาดสติความยั้งคิดเนื่องจากความโกรธ หลักธรรมในการแก้ปัญหา คือ การใช้สติไตร่ตรองในเรื่องนั้น ๆ ก่อน” ด.ช.สาม เล่าว่า “พระอาจารย์สอนให้เป็นคนกตัญญูรู้คุณ และตอบแทนคุณบิดามารดา ผู้มีพระคุณ โดยตอบแทนท่านด้วยการตั้งใจเรียน ช่วยทำงานบ้าน เชื่อฟัง ให้มีสัมมาคารวะแก่ผู้ใหญ่หรือผู้มีอาวุโส ด้วยการยกมือไหว้และกล่าวคำ สวัสดีครับ เมื่อแรกพบและอำลากลับ หรือกล่าวคำ ขอโทษครับ เมื่อทำผิด หรือล่วงเกินด้วยกาย วาจา ใจ”
การส่งเสริมการเป็นพุทธมามกะ
พระมหาเหวียง (2546, ธันวาคม 7) อายุ 36 ปี พระอาจารย์ของ ด.ช.สาม เล่าให้ฟังว่า “โรงเรียนประกอบพิธีแสดงตนเป็นพุทธมามกะ ให้นักเรียนได้ประกาศตนเป็นพุทธมามกะ เพื่อแสดงว่าเป็นผู้รับนับถือพระพุทธเจ้าว่าเป็นของตน และยอมรับนับถือพระพุทธศาสนาประจำชีวิตของตน ด.ช.สาม เข้าร่วม
6 9
ด.ช.สาม เข้าใจและเห็นประโยชน์ของการแสดงตนเป็นพุทธมามกะ ชาวพุทธควรปฏิบัติ คือ ให้ทาน รักษาศีล และปฏิบัติธรรม แสดงให้เห็นว่าพระอาจารย์ใช้หลักจิตวิทยากระตุ้นให้ ด.ช.สาม เกิดการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติตนเป็นพุทธมามกะที่ดี
การเรียนรู้
พระมหาเหวียง (2546, ธันวาคม 7) ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของ ด.ช.สาม เล่าให้ฟังว่า “หลักสูตรกำหนดให้จัดการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ โดยยึดหลักไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา การจัดกิจกรรมเสริม เช่น การตอบปัญหาธรรมะในวันสำคัญทางศาสนา การปฏิบัติธรรม การเดินจงกลม ในช่วงเวลาพักเรียน ได้ช่วยให้นักเรียนได้ผ่อนคลาย” ด.ช.สาม กล่าวว่า “การเรียนพุทธศาสนามีประโยชน์มาก ได้รู้จักตนเอง รู้จักการอยู่ร่วมกัน การเสียสละเพื่อส่วนรวม การักษาศีล ทำให้สามารถแยกแยะสิ่งที่ควรทำไม่ควรทำได้” จากการสังเกตและพุดคุยพบว่า ด.ช.สาม เป็นผู้มีอุปนิสัยดี แต่งกายเรียบร้อย ใส่ชุดนักเรียน สวมรองเท้าผ้าใบสีน้ำตาล สวมถุงเท้า ถูกต้องตามระเบียบ
สรุป การถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติจากโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ พบว่า โรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ มีวิธีในการถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติด้วยการสอนให้เป็นคนดี ให้แสดงตนเป็นพุทธมามกะ การสอนตามหลักไตรสิกขา หลักธรรมแห่งพระพุทธศาสนา การปฏิบัติธรรม การเดินจงกลม เพื่อกล่อมเกลาจิตใจ ให้สงบเย็น รู้เท่าทันอารมณ์ตนเอง สิ่งเหล่านี้ทำให้ ด.ช.สาม มีพฤติกรรมดี
การถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติจากชุมชน
บริบทชุมชน
ชุมชนวัดท่าพระมีความใกล้ชิดกับกิจกรรมทางพุทธศาสนา เนื่องจากมีสถานที่ตั้งอยู่ใกล้วัด ชาวชุมชนมีความภาคภูมิใจ และศรัทธาในองค์หลวงพ่อเกษรพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักและนับถือของคนย่านฝั่งธน งานบุญที่ทางวัดจัดขึ้น ชาวชุมชนจะร่วมแรงร่วมใจกันไปช่วยงานด้วยความศรัทธา งานประเพณีสำคัญที่พุทธศาสนิกชนในชุมชน และประชาชนผู้มีจิตศรัทธาร่วมกันจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ได้แก่ งานแห่ผ้าไตรหลวงพ่อเกษร ซึ่งจัดขึ้นเดือน 5 ของทุกปี ในงานประเพณีดังกล่าว ชาวชุมชนทั้งเด็กและผู้ใหญ่จะมาช่วยงานเป็นประจำ ทำให้ลูกหลานได้พบเห็นและจดจำเป็นแบบอย่างสืบต่อไป
7 0
การคบเพื่อน
ด.ญ.อรนิภา ทองแท้ (2546, ธันวาคม 19) อายุ 11 ปี เพื่อนสนิทของ ด.ช.สาม เล่าว่า “ด.ช.สาม เป็นเพื่อนที่ดี ซื่อสัตย์ เรียนดี ลายมือสวย วาดรูปเก่ง เคยวาดรูปประกวดที่โรงเรียนวัดท่าพระได้รางวัลชนะเลิศ” ส่วน ด.ช.สาม เล่าว่า “เพื่อน ๆ รุ่นเดียวกันมีอยู่หลายคน แต่ ด.ญ.อรนิภา เป็นเพื่อนที่ดีที่สุด คอยช่วยเหลือและแนะนำในสิ่งที่ดี คอยเตือนไม่ให้เป็นคนใจร้อน เคยถูกเพื่อนแกล้งและทะเลาะกัน เธอก็จะมาช่วยทำความเข้าใจให้ และมักจะชวนให้ไปร่วมกิจกรรม และบำเพ็ญประโยชน์ให้กับชุมชนด้วย”
การทำกิจกรรมและบำเพ็ญประโยชน์
ด.ช.สาม เล่าให้ฟังถึงการทำกิจกรรมว่า “กิจกรรมที่ชุมชนจัดขึ้น เช่น งานประเพณีสงกรานต์ จะไปกับเพื่อน ๆ ช่วยกันจัดสถานที่ ช่วยจัดโต๊ะ เก้าอี้ ช่วยเสริฟน้ำดื่มแก่ผู้มาร่วมงาน” ด.ช.สาม คิดว่าการช่วยเหลือกิจกรรมเป็นการทำความดี และพูดว่า “การช่วยงานทำให้หนูมีความภาคภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชน ได้เรียนรู้วิธีปฏิบัติตามประเพณีที่ต่าง ๆ ของไทย คิดว่าจะช่วยรักษาวัฒนธรรมเหล่านี้ไปยังรุ่นน้องๆ” จากการสังเกตและพูดคุย กับ ด.ช.สาม เพื่อนสนิทและผู้นำชุมชน พบว่า การคบเพื่อนของ ด.ช.สาม ได้คบเพื่อนดี เพื่อนๆ จะแนะนำในสิ่งที่ดี งานพิธีกรรมทางศาสนา งานประเพณีสำคัญ ๆ ที่จัดขึ้นโดยการรวมกลุ่มของชาวชุมชน เป็นแบบอย่างของการเสียสละเพื่อส่วนรวม
สรุป การถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติจาก บ้าน ย่าเป็นแบบอย่างที่ดีในการใส่บาตรพระสงฆ์ และเชื่อในกฏแห่งกรรม การเสียสละ และการให้อภัย มารดาสอนให้มีความรักและเสียสละ ส่วน โรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ พระอาจารย์ได้นำหลักธรรมคำสอนทางพุทธศาสนาที่เหมาะแก่วัยของเด็ก ได้แก่ การทำความดี การมีความกตัญญูต่อบุพการี สิ่งที่ลูกควรปฏิบัติต่อพ่อแม่หรือผู้มีพระคุณมาสอนทำให้ ด.ช.สาม สามารถแยกแยะสิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำได้ การปฏิบัติธรรม การเดินจงกลม ช่วยกล่อมเกลาจิตใจให้เยือกเย็น ส่วน ชุมชน คำแนะนำของเพื่อน การจัดกิจกรรมต่าง ๆ ของผู้นำชุมชนและผู้ใหญ่ในชุมชน เป็นแบบอย่างของการเสียสละและความร่วมมือ ทำให้ ด.ช.สาม ได้ซึมซับและจดจำเป็นแบบอย่าง
7 1
กรณีศึกษาที่ 4
ด.ญ.สี่ อายุ 12 ปี อยู่บ้านเลขที่ 21/94 ซอยจรัญสนิทวงศ์ 2 แขวงวัดท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร เรียนอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดท่าพระ บิดามีอาชีพช่างไฟฟ้า มารดามีอาชีพรับจ้าง มีน้องชาย 1 คน ด.ญ.สี่ อยู่กับบิดามารดา มีอุปนิสัยเรียบร้อย ขยัน ตั้งใจเรียน มีความรับผิดชอบ มีน้ำใจช่วยเหลือเพื่อนเสมอ
การถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติจากบ้าน
สัมพันธภาพในครอบครัว
ครอบครัวนี้ไม่ค่อยมีเวลาใกล้ชิดกันมากนัก บิดามารดาต้องออกไปทำงานนอกบ้าน มีเวลาอยู่พร้อมหน้ากันเฉพาะเวลารับประทานอาหารเย็น ขณะรับประทานอาหารบิดามารดาได้พูดคุยและสอนให้ ด.ญ.สี่ ปฏิบัติตนเป็นคนดี โดยไม่เกเร ตั้งใจเรียน เป็นตัวอย่างที่ดีแก่น้อง ช่วยเหลืองานบ้าน เช่น ล้างจาน ถูบ้าน ดูแลและเลี้ยงน้อง นางฉวีวรรณ กุสุมาลย์ (2546, ธันวาคม 27) อายุ 35 ปี มารดาเล่าให้ฟังว่า “ตอนเช้าได้ไปส่ง ด.ญ.สี่ และน้องไปโรงเรียน แล้วไปทำงาน ช่วงเย็นโรงเรียนเลิกให้กลับเอง วันหยุดบิดามารดาพาครอบครัวไปเที่ยวและทำบุญตามโอกาส เช่น วันขึ้นปีใหม่ วันเข้าพรรษา เป็นต้น” ด.ญ.สี่ เล่าว่า “ถึงแม้ว่าคุณพ่อ คุณแม่จะไม่ค่อยมีเวลาให้หนูมากนัก แต่ครอบครัวหนูก็อบอุ่น ไม่เคยทะเลาะกัน ทุกคนก็ทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด” แสดงให้เห็นว่าการมีเวลาอยู่ร่วมกัน ทำกิจกรรมร่วมกัน ส่งผลต่อพฤติกรรมของเด็ก
การอบรมเลี้ยงดูตามแนวพุทธ
การให้ทาน นางฉวีวรรณ กุสุมาลย์ จะทำบุญใส่บาตรเทศกาลสำคัญ ๆ เช่น เทศกาลปีใหม่ สงกรานต์ หรือถ้ามีเวลาก็พาครอบครัวไปทำบุญที่วัด ด.ญ.สี่ จะไปช่วยแม่ใส่บาตรก่อนไปโรงเรียนเสมอ
การรักษาศีล นางฉวีวรรณ กุสุมาลย์ (2546, ธันวาคม 27) เล่าให้ฟังว่า “การมีอาชีพรับจ้างจะต้องซื่อสัตย์ต่อลูกค้า ทำให้ลูกค้าประทับใจ ไม่คิดเอาเปรียบ การตรงต่อเวลาเป็นสิ่งสำคัญ การเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ครอบครัว การประพฤติตนเป็นคนดี โดยไม่เที่ยวกลางคืน ไม่เล่นการพนัน ไม่เสพติดสิ่งมึนเมา เป็นการรักษาศีลไปในตัวอยู่แล้ว” ด.ญ.สี่ เล่าถึงบิดาว่า “คุณพ่อจะเป็นคนไม่ค่อยพูด แต่จะทำตนเป็นแบบอย่างที่ดี ไม่เล่นการพนัน เป็นคนรักครอบครัว”
การปฏิบัติธรรม นางฉวีวรรณ กุสุมาลย์ (2546, ธันวาคม 27) เล่าให้ฟังว่า “ไม่มีเวลาที่จะปฏิบัติ แต่ถ้ามีโอกาสก็จะบอกลูก ๆ หลานๆ ให้รู้ว่าการปฏิบัติธรรมถ้าทำได้ก็จะเป็นประโยชน์ต่อตัวลูกเอง”
7 2
วิถีชีวิตแบบพุทธ
นายเฉลิม กุสุมาลย์ (2546, ธันวาคม 27) เล่าว่า ได้สอน ด.ญ.สี่ ให้ปฏิบัติตนเป็นคนดี กตัญญูต่อผู้มีพระคุณ ดังคำที่ว่า “เกิดมาทั้งทีทำดีให้ได้ จะตายทั้งที ฝากดีเอาไว้” จากการสังเกตพบว่า ด.ญ.สี่ เคารพและเชื่อฟังบิดามารดามาก กลับจากโรงเรียนก็จะทำการบ้านและอ่านหนังสือทบทวนบทเรียนทุกวัน นางฉวีวรรณ กุสุมาลย์ (2546, ธันวาคม 27) เล่าว่า “จะพูดให้กำลังใจลูกๆ จะไม่ดุเมื่อทำผิด ทานอาหารแล้วไม่ล้างจานปล่อยให้มดขึ้น ก็จะบอกว่าการกินเสร็จแล้วไม่รีบล้างจะติดเป็นนิสัยซึ่งเป็นสิ่งไม่ดี ครั้งต่อไปกินเสร็จแล้วให้รีบล้างเก็บ มดจะได้ไม่ขึ้นและจะได้หยิบใช้ใหม่ได้ทันที”
สรุป การถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติจากบ้าน พบว่า บ้านมีบทบาทในการถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติให้กับ ด.ญ.สี่ โดยมีบิดาเป็นผู้ถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติด้วยวิธีการสั่งสอนให้มีความกตัญญูและเชื่อในการกระทำของตนเอง มารดา จะอบรมสั่งสอนให้สนใจการเรียนเพื่อจะได้มีอนาคตที่ดี
การถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติจากโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์
การถ่ายทอดคุณธรรมจริยธรรม
พระมหาเวียง (2546, ธันวาคม 7) อายุ 36 ปี เล่าให้ฟังว่า “การสอนภาคทฤษฎีเพื่อสร้างความรู้ตามแนวพุทธแก่เด็ก สอนให้ทำความดี โดยการเสียสละเพื่อส่วนรวม ได้แก่การร่วมกิจกรรมที่โรงเรียนจัดขึ้น การทำบุญให้ทาน การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การมีจิตใจเมตตากรุณา โดยไม่เบียดเบียนผู้อื่นในทางกาย ทางวาจา ทางใจ” ด.ญ.สี่ เล่าว่า “พระอาจารย์สอนพวกเราให้เป็นคนกตัญญูรู้คุณบิดารมารดา และผู้มีพระคุณ ทำงานที่มอบหมายให้สำเร็จด้วยความตั้งใจ มีสัมมาคารวะต่อผู้ใหญ่หรือผู้มีอาวุโส ให้ไหว้เมื่อแรกพบหรืออำลาและกล่าวคำว่า สวัสดีค่ะ เมื่อเดินผ่านผู้ใหญ่ หรือทำผิดให้ยกมือไหว้และกล่าวคำว่า ขอโทษค่ะ”
การส่งเสริมการเป็นพุทธมามกะ
พระมหาเหวียง (2546, ธันวาคม 7) เล่าให้ฟังว่า “นักเรียนจะต้องผ่านพิธีประกาศตนเป็นพุทธมามกะ ซึ่งโรงเรียนจะทำพิธีในอาทิตย์ที่สองของการเปิดเทอม เพื่อแสดงว่าเป็นผู้รับนับถือพระพุทธเจ้าว่าเป็นของตน และยอมรับนับถือพระพุทธศาสนาประจำชีวิตของตน” ด.ญ.สี่ เล่าถึงความประทับใจในพิธีกรรมดังกล่าวว่า “พิธีดังกล่าวหนูไม่เคยร่วมมาก่อน เมื่อได้ร่วมพิธีและอาราธนาตนรับศีลแล้วทำให้หนูมีความเชื่อและศรัทธาในพระพุทธศาสนามากขึ้น พระอาจารย์ท่านได้สอนให้หนูเข้าใจและเห็นประโยชน์ของการแสดงตนเป็นพุทธมามกะ หน้าที่ที่ชาวพุทธควรปฏิบัติ คือ การให้ทาน การรักษาศีล ทำจิตใจให้ผ่องใส”
7 3
การเรียนรู้
พระมหาเหวียง (2546, ธันวาคม 7) เล่าให้ฟังถึงการสอนว่า “มีหลักสูตรกำหนดให้จัดการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ โดยยึดหลักไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา การจัดกิจกรรมเสริม เช่น การตอบปัญหาธรรมะในวันสำคัญทางศาสนา การเดินจงกลม ในช่วงเวลาพักเรียน ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนได้ผ่อนคลาย ในขณะที่เดินจงกลมพระอาจารย์ได้บอกให้นักเรียนทำตาม เช่น ยกเท้าซ้าย ก็ให้นึกตามว่า ซ้ายยกหนอ ยกเท้าขวาก็ให้นึกตามว่า ขวายกหนอ ใช้เวลาประมาณ 10 นาที ด.ญ.สี่ กล่าวว่า “การเรียนพุทธศาสนามีประโยชน์มาก ได้รู้จักตนเอง การปฏิบัติตนของชาวพุทธ โดยละชั่ว ทำดี ทำจิตใจให้ผ่องใส การเสียสละเพื่อส่วนรวม การรักษาศีล สามารถแยกแยะสิ่งที่ควรทำไม่ควรทำได้”
สรุป การถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติจากโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ พบว่า โรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ มีวิธีในการถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติด้วยการสอนให้เป็นคนดี ให้แสดงตนเป็นพุทธมามกะ การสอนตามหลักไตรสิกขา หลักธรรมแห่งพระพุทธศาสนา การปฏิบัติธรรม การเดินจงกลม เพื่อกล่อมเกลาจิตใจ ให้สงบเย็น รู้เท่าทันอารมณ์ตนเอง สิ่งเหล่านี้ทำให้ ด.ญ.สี่ มีพฤติกรรมดี
การถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติจากชุมชน
บริบทชุมชน
ชุมชนวัดท่าพระ มีกิจกรรมทางพุทธศาสนาอยู่เสมอ เนื่องจากมีสถานที่ตั้งอยู่ใกล้บริเวณวัด ด.ญ.สี่ มีความภาคภูมิใจ และศรัทธาในองค์หลวงพ่อเกษรพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักและนับถือของพุทธศาสนิกชนคนย่านฝั่งธน เมื่อมีงานบุญที่ทางวัดจัดขึ้น ด.ญ.สี่ จะไปช่วยงานด้วยความศรัทธาทุกครั้ง ไม่เคยขาด เช่น งานแห่ผ้าไตรหลวงพ่อเกษรซึ่งจัดโดยวัด และชาวชุมชนในบริเวณวัดท่าพระและชุมชนใกล้เคียง จัดเป็นงานยิ่งใหญ่ประจำปีของวัดท่าพระ งานประเพณีสงกรานต์ และงานเทศกาลปีใหม่ เป็นต้น จากบริบทดังกล่าวทำให้ ด.ญ.สี่ ซึมซับขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงามจากชุมชน
การคบเพื่อน
เพื่อนคนหนึ่งของ ด.ญ.สี่ เล่าให้ฟังว่า “ด.ญ.สี่ มีนิสัยเรียบร้อย ขยัน ให้คำแนะนำแก่เพื่อน ๆ เกี่ยวกับธรรมะเสมอ เพื่อนคนหนึ่งถูกแม่ดุ ไม่สบายใจ ด.ญ.สี่ ได้ปลอบใจและให้ข้อคิดแก่เพื่อนว่าแม่รักและหวังดี อย่าโกรธแม่ เพื่อน ๆ รุ่นเดียวกันในชุมชนมีหลายคนแต่ที่สนิทสนม และช่วยเหลือกันมาตลอดมีหนึ่งคน” จากการสังเกตและพูดคุยพบว่า ด.ญ.สี่ และเพื่อน ๆ มีการช่วยเหลือซึ่งกันและในด้านการเรียนการทำกิจกรรมและบำเพ็ญประโยชน์ร่วมกัน
7 4
การทำกิจกรรมและบำเพ็ญประโยชน์
กิจกรรมต่าง ๆ ที่ชาวชุมชนจัดขึ้น ด.ญ.สี่ จะไปช่วยกิจกรรมของชุมชนเสมอ เช่น ในช่วงภาคฤดูร้อนของทุกปี วัดท่าพระจะมีการบวชสามเณรภาคฤดูร้อน ชุมชนจะเชิญชวนให้ชาวชุมชนไปช่วยงาน ด.ญ.สี่ จะชวนเพื่อน ๆ ไปช่วยจัดดอกไม้ จัดสถานที่ ยกปัจจัยสิ่งของที่คนมาถวายพระ ช่วยบริการต้อนรับแก่ผู้ที่มาร่วมงาน งานประเพณีสงกรานต์และงานแห่เทียนเข้าพรรษา ด.ญ.สี่ เล่าว่า “ภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชน และคิดว่าจะดำรงรักษาให้เป็นมรดกไปสู่ชนรุ่นหลังต่อไป” จากการสังเกตและพูดคุย กับ ด.ญ.สี่ เพื่อน ๆ และผู้นำชุมชน พบว่า เพื่อนได้แนะนำสิ่งที่ดี พิธีกรรมทางศาสนา งานประเพณีสำคัญ ๆ ที่จัดขึ้น โดยการรวมกลุ่มของชาวชุมชนมาช่วยกันด้วยศรัทธาไม่มีค่าจ้าง เป็นแบบอย่างที่ดีของการเสียสละเพื่อส่วนรวม
สรุป การถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติจาก บ้าน ของ ด.ญ.สี่ มีบิดาเป็นแบบอย่างที่ดีมีวิธีการถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติ โดยสอนให้มีความกตัญญู เชื่อในการกระทำของตน มารดาสอนให้ตั้งใจเรียน ส่วน โรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ พระอาจารย์ได้นำหลักธรรมคำสอนทางพุทธศาสนาที่เหมาะแก่วัยของเด็ก ได้แก่ การทำความดี การมีความกตัญญูต่อบุพการี สิ่งที่ลูกควรปฏิบัติต่อพ่อแม่หรือผู้มีพระคุณ มาสอนทำให้ ด.ญ.สี่ สามารถแยกแยะสิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำได้ การปฏิบัติธรรม การเดินจงกลม ช่วยให้จิตใจสงบและมีสมาธิ ส่วน ชุมชน คำแนะนำที่ดีของเพื่อน การจัดกิจกรรมตามประเพณีต่าง ๆ ของผู้นำชุมชนและผู้ใหญ่ในชุมชน เป็นแบบอย่างที่ดีของการเสียสละและความร่วมมือ ด.ญ.สี่ ได้ซึมซับสิ่งที่ดีงามจากชุมชนทำให้มีพฤติกรรมดี
7 5
กรณีศึกษาที่ 5
ด.ญ.ห้า อายุ 12 ปี อยู่บ้านเลขที่ 234/33 ซอยจรัญสนิทวงศ์ 2 แขวงวัดท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร เรียนอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดท่าพระ บิดามีอาชีพรับจ้าง มารดามีอาชีพเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัย มีพี่น้องอีก 3 คน ด.ญ.ห้า เป็นลูกคนโต มีน้องชาย 1 คน และ น้องสาว 2 คน ปัจจุบันอาศัยอยู่กับตายาย ด.ญ.ห้า มีอุปนิสัยเรียบร้อยร่าเริง ตั้งใจเรียน ขยัน อดทน ใฝ่เรียนรู้
การถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติจากบ้าน
สัมพันธภาพในครอบครัว
ด.ญ.ห้า อาศัยอยู่กับตายายตั้งแต่อายุ 7 ขวบ เนื่องจากบิดามารดามีลูกหลายคนจึงได้นำมาให้ตายายเลี้ยงดู ตายายได้อบรมสั่งสอนและส่งให้เรียนหนังสือ บิดามารดาจะมาเยี่ยมอาทิตย์ละครั้งมีเวลาพบปะอยู่ด้วยน้อย เวลาส่วนใหญ่จะอยู่กับตายาย รับประทานอาหารเย็นกับตายายทุกวัน นางสำเนียง นิ่มละมุล (2546, ธันวาคม 28) อายุ 65 ปี ยายเล่าถึงการสอนหลานให้ฟังว่า “เวลาทานอาหารร่วมกันได้สอนให้รู้จักกิริยามารยาทในการทานอาหาร ได้แก่ การเคี้ยวอาหารอย่าให้มีเสียงดัง การตักอาหารจากถ้วยหรือจานชามให้ใช้ช้อนกลาง คอยดูแลว่าข้าวในจานตายายพร่องไปให้คอยเติม เมื่อทานอิ่มแล้วให้คอยเก็บถ้วยชามไปล้าง อาหารที่เหลือถ้าไม่ทิ้งให้เก็บเข้าตู้กับข้าวไว้” จ.ส.อ.บุญปลูก นิ่มละมุล (2546, ธันวาคม 28) อายุ 72 ปี ตาเล่าว่า “ด.ญ.ห้า มีความรับผิดชอบดี สนใจเรียนรู้ เมื่อกลับจากโรงเรียนก็จะรีบทำการบ้านจนเสร็จแล้วจะมาช่วยงานบ้าน ถูบ้าน หุงข้าว ซักเสื้อผ้าของตนเองโดยผู้ใหญ่ไม่ต้องทำให้” จากการสังเกตและพูดคุย พบว่า ด.ญ.สี่ ให้ความเคารพและเชื่อฟังตายาย ด้วยการปฏิบัติตามที่ยายบอก เช่น ให้ไปจัดน้ำเย็นมาให้ผู้ศึกษาดื่ม และคำตอบรับด้วยคำว่า “ได้ค่ะยาย” แสดงให้เห็นว่าการอบรมสั่งสอนและการเป็นแบบอย่างที่ดีของตายายส่งผลให้ ด.ญ.สี่ ได้ซึมซับเอาสิ่งที่ดีและนำไปปฏิบัติเป็นผลให้มีพฤติกรรมดี
การอบรมเลี้ยงดูตามแนวพุทธ
การให้ทาน จ.ส.อ.บุญปลูก นิ่มละมุล (2546, ธันวาคม 28) เล่าว่า “เทศกาลงานสำคัญ ๆ เช่น เทศกาลปีใหม่ สงกรานต์ หรือวันพระก็จะใส่บาตร ที่หน้าบ้านตอนเช้า ช่วงบ่ายได้พายายและหลานไปทำบุญที่วัดท่าพระ ร่วมพิธีทางศาสนา เช่น สรงน้ำพระ ฟังธรรม เป็นต้น”
การรักษาศีล นางสำเนียง นิ่มละมุล (2546, ธันวาคม 28) เล่าให้ฟังว่า “วันสำคัญทางศาสนา เช่น มาฆบูชา วิสาขบูชา หรือ อาสาฬหบูชา ได้พา ด.ญ.ห้า ไปทำบุญที่วัดท่าพระและรักษาศีล เพื่อต้องการให้ ด.ญ.ห้า ได้เรียนรู้พิธีกรรมทางศาสนาด้วยตนเอง การรักษาศีลห้า ไม่เบียดเบียนคนอื่น การแบ่งปันสิ่ง
7 6
ของที่เกินความจำเป็นของตนให้คนอื่นที่ขาดแคลน การไม่หยิบเอาของคนอื่นมาเป็นของตน เพราะเป็นเครื่องหมายของคนดี” ด.ญ.ห้า เล่าว่า “ยายของหนูเป็นคนใจดี มีอะไรที่ทำได้ยายก็จะทำเอง ทุกครั้งที่ยายไปทำบุญคนเดียว เวลากลับมาก็จะพูดว่า ยายเอาบุญมาฝากขอให้สาธุเอานะ ซึ่งยายจะปฏิบัติอย่างนี้เป็นประจำ”
การปฏิบัติธรรม นางสำเนียง นิ่มละมุล (2546, ธันวาคม 28) เล่าว่า ตนเคยไปถือศีลและปฏิบัติธรรมตามวัดต่างจังหวัด เพื่อทำบุญและสนทนาธรรมกับพระที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ แต่เดี๋ยวนี้เดินทางไกลไม่ไหว ได้แต่ไหว้พระ สวดมนต์ที่บ้าน และสอนให้ ด.ญ.ห้า ให้นั่งสมาธิว่าเป็นการฝึกจิตใจให้สงบ เวลาไม่สบายใจจะรู้สึกผ่อนคลาย และเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ ได้
วิถีชีวิตแบบพุทธ
จ.ส.อ.บุญปลูก นิ่มละมุล (2546, ธันวาคม 28) เล่าว่า “ฉันสอนให้หลานรู้จักเสียสละ โดยการแบ่งปันของกินของใช้ให้น้อง ช่วยเหลือคนที่ด้อยโอกาสกว่าเท่าที่จะทำได้” ซึ่ง ด.ญ.ห้า เคยจูงคนตาบอด 2 คน ข้ามสะพานลอยที่หน้าวัดท่าพระ เมื่อกลับถึงบ้านได้เล่าให้ตายายฟัง ได้รับคำชมว่า “หนูทำดีแล้ว และขอให้หนูรักษาความดีนี้ไว้และอย่าลืมบอกเพื่อน ๆ ให้ปฏิบัติด้วย”
สรุป ถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติจากบ้าน ของ ด.ญ.ห้า พบว่า บ้านมีบทบาทในการถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติให้กับ ด.ญ.ห้า โดยมีตาเป็นผู้ถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติด้วยวิธีการสั่งสอนให้มีการเสียสละ ด้วยการแบ่งปันของกินของใช้ให้น้อง และช่วยเหลือผู้อื่น โดยช่วยจูงคนตาบอดข้ามสะพานลอย และยายจะอบรมสั่งสอนให้ไหว้พระ สวดมนต์ โดยยายเป็นต้นแบบที่ดี
การถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติจากโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์
การถ่ายทอดคุณธรรมจริยธรรม
พระมหาเวียง (2546, ธันวาคม 7) อายุ 36 ปี เล่าให้ฟังว่า “การสอนอาตมาจะเน้นการให้นักเรียนทำความดี เสียสละเพื่อส่วนรวม ให้ความร่วมมือทำงาน ทำความสะอาดห้องเรียนที่สกปรก ทุกคนจะต้องช่วยกันปัดกวาดเช็ดถูให้สะอาดไม่เกี่ยงกัน หลังจากโรงเรียนเลิกก็ต้องช่วยกันจัดเก็บโต๊ะเก้าอี้เข้าที่ให้เรียบร้อย การแบ่งปันสิ่งของที่เรามีเกินความจำเป็นให้คนอื่น อย่างเช่น แบ่งของกินของใช้ให้น้อง หรือเพื่อน ถ้ามีหนังสือเรียนที่ไม่ใช้แล้ว ก็นำมาบริจาคให้กับโรงเรียน เพื่อจะได้นำไปให้นักเรียนที่ขาดแคลน ควรมีความสามัคคีในหมู่คณะ ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ไม่ทะเลาะกันไม่พูดยุแหย่ให้แตกความ
7 7
สามัคคี” พระมหาเวียง เล่าอีกว่า “ที่สอนเช่นนี้เพื่อเป็นการสร้างจิตสำนึกที่ดีให้เยาวชนได้คิดดี ทำดี และเป็นคนดีของสังคม และ ด.ญ.ห้า ก็เชื่อฟังดี”
การส่งเสริมการเป็นพุทธมามกะ
โรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ได้ประกอบพิธีประกาศตนเป็นพุทธมามกะ ในวันอาทิตย์ที่สองของการเปิดเทอม เพื่อให้นักเรียนได้แสดงตนว่าเป็นผู้รับนับถือพระพุทธเจ้าว่าเป็นของตน และยอมรับนับถือพระพุทธศาสนาประจำชีวิตของตน ด.ญ.ห้า เล่าให้ฟังว่า “หนูไม่เคยร่วมพิธีแสดงตนเป็นพุทธมามกะมาก่อน เมื่อเข้าร่วมพิธีและอาราธนาตนรับศีลแล้ว ทำให้หนูมีความเชื่อและศรัทธาในพระพุทธศาสนามากขึ้น” และเล่าอีกว่า “พระอาจารย์สอนให้เข้าใจและมองเห็นประโยชน์ของการแสดงตนเป็นพุทธมามกะ หน้าที่ที่ชาวพุทธควรปฏิบัติ ได้แก่ การให้ทาน รักษาศีล ทำจิตใจให้ผ่องใส” จากคำบอกเล่าของ ด.ญ.ห้า แสดงให้เห็นว่าพระอาจารย์ได้ใช้หลักจิตวิทยาในการกระตุ้นให้เยาวชนเกิดการเรียนรู้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
การเรียนรู้
พระอาจารย์เล่าให้ฟังว่า “การเรียนการสอนได้กำหนดให้สอนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ โดยยึดหลักไตรสิกขา ได้แก่ ศีล เพื่อสอนให้นักเรียนได้รู้ความหมาย ชนิด การรักษาศีล เช่น ศีลห้า ได้แก่ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่พูดเท็จ และดื่มเครื่องดองของเมา สมาธิ สอนการปฏิบัติธรรม เช่น การเดินจงกลม เพื่อให้จิตใจสงบรู้เท่าทันอารมณ์ของตน ปัญญา สอนให้รู้จักคิด เด็กจะสามารถแยกแยะความดี ความชั่วได้ และมีกิจกรรมเสริมให้กับเด็ก เพื่อให้ไม่เครียดและมีความสนุกสนาน เช่น การตอบปัญหาธรรมะในวันสำคัญทางศาสนา ทำให้นักเรียนกล้าแสดงออก สามารถนำเอาหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนาไปใช้ในชีวิตประจำวันได้” ด.ญ.ห้า เล่าให้ฟังว่า “หนูได้เป็นตัวแทนของห้องไปตอบปัญหาตอบธรรมะที่โรงเรียนวัดท่าพระระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และตอบปัญหาได้ทุกข้อ จนได้รับรางวัลชนะเลิศ พระอาจารย์ชม และสนับสนุนหนูให้เรียนธรรมศึกษา เพื่อเพิ่มพูนความรู้ด้านธรรมะให้มากขึ้น” และเล่าว่า “ทางโรงเรียนได้ส่งหนูไปสอบเลื่อนระดับธรรมศึกษาชั้นตรี และสอบผ่าน” แสดงให้เห็นว่าการเรียนรู้หลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนาก่อให้เกิดประโยชน์ไม่ว่าจะ ทางโลกหรือทางธรรม ซึ่งทางโลกจะทำให้มีการปรับตัวให้สามารถอยู่ในสังคมที่เต็มไปด้วยสิ่งแวดล้อมที่สับสนวุ่นวายได้อย่างสงบสุข ส่วนทางธรรม เป็นการรักษากาย โดยไม่เบียดเบียนผู้อื่น ทางวาจา จะไม่ใช้วาจาว่าร้าย หรือนินทาใคร ส่วนทางใจ ก็ไม่คิดริษยา โกรธเกลียดใคร” กลยุทธ์ดังกล่าว สอนให้เยาวชนอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข มีจิตสำนึกดีก่อให้เกิดพฤติกรรมดี
7 8
สรุป การถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติจากโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ พบว่า โรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ มีวิธีในการถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติด้วยการสอนให้เป็นคนดีได้แก่ การเสียสละเพื่อส่วนรวม โดยการให้ความร่วมมือในกิจกรรมต่าง ๆ การประกอบพิธีแสดงตนเป็นพุทธมามกะเพื่อสร้างความเชื่อในพระพุทธศาสนาก่อให้เกิดความศรัทธาพระพุทธเจ้าและหลักคำสอนของพระองค์ การปฏิบัติธรรม โดยการเดินจงกลม เพื่อกล่อมเกลาจิตใจให้สงบ รู้เท่าทันอารมณ์ตนเอง ทำให้ ด.ญ.ห้า เป็นผู้ที่มีพฤติกรรมดีเป็นที่รักใคร่ของผู้ใหญ่
การถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติจากชุมชน
บริบทชุมชน
การที่ชุมชนวัดท่าพระมีความใกล้ชิดกับกิจกรรมทางพุทธศาสนาตลอดเวลา ทั้งนี้เพราะการที่มีสถานที่ตั้งอยู่ใกล้เคียงกับวัด ชาวชุมชนต่างก็มีความภาคภูมิใจ ศรัทธาในองค์หลวงพ่อเกษร ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักและนับถือของคนย่านฝั่งธน งานบุญต่าง ๆ ที่ทางวัดจัดขึ้น ด.ญ.สี่ จะไปช่วยงานด้วยความศรัทธา โดยขออนุญาตตายาย และให้เพื่อนมารับ งานประเพณีที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ได้แก่ งานแห่ผ้าไตรหลวงพ่อเกษร งานประเพณีสงกรานต์ เป็นต้น จากบริบทดังกล่าวทำให้ ด.ญ.ห้า ได้ซึมซับประเพณีที่ดีงามจากชุมชน และจดจำแบบอย่างที่ดีเพื่อดำรงรักษาไว้
การคบเพื่อน
เพื่อนของ ด.ญ.ห้า คนหนึ่งเล่าให้ฟังว่า “ด.ญ.ห้า มีความสามารถเล่นดนตรีไทย ได้รวมกลุ่มเพื่อน ๆ ที่โรงเรียนวัดท่าพระ ไปเล่นดนตรีไทยในงานประเพณีสงกรานต์ที่ชุมชนจัดขึ้นเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งประธานชุมชนขอรับการสนับสนุนไปทางโรงเรียน และโรงเรียนอนุญาตให้ไปเล่น ผู้ใหญ่ในชุมชนและเพื่อน ๆ ต่างชื่นชมในความสามารถ” และยังเล่าอีกว่า “มีเพื่อนที่สนิทสนมกันมาก ชื่อ ด.ญ.เอ เป็นเพื่อนที่คบกันมานาน คอยให้กำลังใจกันอยู่เสมอ เคยเตือนว่า ในชุมชนมียาเสพติดระบาดอย่าไปยุ่งเกี่ยว เพราะหากไปเกี่ยวข้องแล้วจะทำให้เสียอนาคต” แสดงให้เห็นว่า ด.ญ.ห้า เป็นผู้ที่เลือกคบเพื่อนดีมีส่วนทำให้ด.ญ.ห้า เป็นผู้ที่มีความประพฤติดี
การทำกิจกรรมและบำเพ็ญประโยชน์
กิจกรรมต่าง ๆ ที่ชุมชนได้ร่วมกันจัดขึ้น เช่น งานประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา ด.ญ.ห้า จะขออนุญาตตายาย และไปชวน ด.ญ.เอ ไปช่วยงานโดยถือพานพุ่มดอกไม้ร่วมขบวนแห่ ทั้งไปและกลับ ด.ญ.ห้า เล่าว่า “หนูได้ไปช่วยงานและกิจกรรมที่ชุมชนจัด เพราะจะได้เรียนรู้และดูเป็นแบบอย่าง และเรียนรู้ถึงขนบ
7 9
ธรรมเนียมประเพณีจากชุมชน และรู้สึกดีใจที่ได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชน” จากการสังเกตและพูดคุย กับ ด.ญ.ห้า เพื่อน ๆและชาวชุมชน พบว่า มีการคบเพื่อนที่ดี คอยให้คำแนะนำที่ดี และได้เรียนรู้พิธีกรรมทางศาสนา งานประเพณีสำคัญๆ ที่ชาวชุมชนจัดเป็นประจำทุกปี ด.ญ.ห้า จึงได้ซึมซับขนบธรรมเนียมประเพณีสิ่งที่ดีงามจากชุมชน
สรุป การถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติจาก บ้าน ของ ด.ญ.ห้า มีตาเป็นแบบอย่างที่ดี มีวิธีการถ่ายทอดโดยการอบรมสั่งสอน ให้เป็นผู้ที่เสียสละและช่วยเหลือผู้อื่น ส่วนยายเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติที่ดี ในการไหว้พระ สวดมนต์ โรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ พระอาจารย์ได้นำหลักธรรมคำสอนทางพุทธศาสนาที่เหมาะแก่วัยของเด็ก ได้แก่ การทำความดี การเสียสละเพื่อส่วนรวม กิจกรรมเสริม โดยการตอบปัญหาธรรมะ การปฏิบัติธรรม การเดินจงกลม เป็นกุศโลบายการฝึกให้จิตสงบเป็นสมาธิ ก่อให้เกิดปัญญา ในส่วนของ ชุมชน ได้รับการถ่ายทอดขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงามจากชุมชน การคบเพื่อนดีโดยเพื่อนแนะนำแต่สิ่งที่ดี ผู้นำชุมชนและผู้ใหญ่ในชุมชนปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ทำให้ ด.ญ.สี่ มีพฤติกรรมดี
8 0
กรณีศึกษาที่ 6
ด.ญ.หก อายุ 12 ปี อยู่บ้านเลขที่ 85/27 ซอยจรัญสนิทวงศ์ 2 แขวงวัดท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร เรียนอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดท่าพระ บิดามีอาชีพเป็นพนักงานขับรถบริษัทเอกชน มารดาเป็นแม่บ้าน ด.ญ.ห้า เป็นคนโต มีน้องชาย 1 คนและ น้องสาว 5 คน อาศัยอยู่กับบิดามารดา
การถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติจากบ้าน
สัมพันธภาพในครอบครัว
บิดามารดาให้การอบรมเลี้ยงดูและอบรมสั่งสอน ด.ญ.หก มาตั้งแต่เล็ก มารดาจะมีเวลาใกล้ชิดมากกว่าบิดา มีเวลาอยู่พร้อมหน้ากันทั้งครอบครัวคือเวลารับประทานอาหารเย็น ในขณะทานอาหารบิดามารดาได้พูดคุยและสอนให้ทุกคนรักและสามัคคีกัน โดยการให้ความคารพเชื่อฟังกัน พี่ต้องเสียสละและช่วยเหลือน้อง บิดาออกไปทำงานนอกบ้านทุกวัน นางขวัญเรือน ลายมืองาม (2546, ธันวาคม 22) อายุ 36 ปี มารดาเล่าให้ฟังว่า “ด.ญ.หก ช่วยแบ่งเบาภาระงานบ้านได้มาก โดยถูบ้าน ล้างจาน หุงข้าว และเลี้ยงน้อง ภารกิจประจำวัน คือ ตื่นนอนตอนเช้าได้ช่วยมารดาเตรียมอาหาร และเสื้อผ้าสำหรับน้องที่จะไปโรงเรียน ส่วนน้องที่ยังไม่ได้เข้าโรงเรียนมารดาเป็นคนดูแล ออกจากบ้านเวลา 07.00 น. พาน้องไปโรงเรียน โรงเรียนเลิกก็จะพากลับบ้านและไปช่วยมารดาดูแลน้องที่ยังเล็ก จะมีเวลาทำการบ้าน และสอนน้องในช่วงเวลา 16.30 – 18.00 น. ทุกวันจันทร์ ถึงวันศุกร์ เวลาว่างนอกจากนี้ก็จะดูโทรทัศน์และอ่านหนังสือบ้าง” แสดงให้เห็นว่าการให้เยาวชนมีความรับผิดชอบและการดูแลเอาใจใส่ตั้งแต่วัยเยาว์ทำให้เยาวชนมีพฤติกรรมดี
การอบรมเลี้ยงดูตามแนวพุทธ
การให้ทาน นางขวัญเรือน ลายมืองาม (2546, ธันวาคม 22) เล่าว่า “ไปทำบุญใส่บาตรในเทศกาลปีใหม่ วันสงกรานต์ หรือวันพระเท่านั้น เนื่องจากลูกหลายคนจะต้องดูแล หากพ่อเด็กหยุดงานก็จะพาไปทำบุญที่วัดบ้าง”
การรักษาศีล นางขวัญเรือน เล่าให้ฟังว่า ลายมืองาม (2546, ธันวาคม 22) “ไม่ได้ไปวัด แต่ก็พยายามเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ลูก ๆ เช่น ไม่ดุด่าลูก จะเตือนด้วยเหตุผล ไม่เล่นการพนัน ไม่เสพของมึนเมา” ด.ญ.หก เล่าว่า “คุณแม่จะเป็นคนใจเย็น จะสอนลูกทุกคนไม่ให้พูดโกหก ขอให้เชื่อฟัง”
8 1
การปฏิบัติธรรม นางขวัญเรือน ลายมืองาม (2546, ธันวาคม 22) เล่าว่า “ไม่มีโอกาสได้ปฏิบัติ แต่ก็พยามที่จะแนะนำลูก ๆ ในสิ่งที่ถูกต้อง ให้รู้จักสงบสติอารมณ์เมื่อมีความโกรธหรือไม่สบายใจ การปรับตัวให้อยู่ในสังคมปัจจุบันที่สิ่งแวดล้อมเป็นพิษมากมาย ถ้าเอาชนะสิ่งเหล่านี้ได้ก็น่าจะเพียงพอแล้ว”
วิถีชีวิตแบบพุทธ
นางขวัญเรือน ลายมืองาม (2546, ธันวาคม 22) เล่าว่า ได้สอนให้ ด.ญ.หก รู้จักเสียสละ โดยการดูแลและเลี้ยงน้อง ให้ช่วยเหลือกัน เช่น การล้างจานคนโตช่วยล้างให้คนเล็ก เสื้อผ้าพี่คนโตช่วยซักให้ ด.ญ.หก เล่าให้ฟังว่า “ได้ทำงานตอบแทนพ่อแม่เป็นการกระทำที่ดี” และเล่าต่ออีกว่า “หนูเคยจับฉลากที่โรงเรียนได้รางวัลเป็นของเล่นพอกลับบ้านก็แบ่งให้น้อง ๆ ได้เล่นกันทุกคน หนูอยากให้น้อง ๆ มีความสุข”
สรุป การถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติจากบ้าน พบว่า บ้านมีบทบาทในการถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติให้กับ ด.ญ.หก โดยมีมารดาเป็นผู้ถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติด้วยวิธีการอบรมสั่งสอนให้มีความรักสามัคคีเสียสละ ซึ่งมารดาเป็นแบบอย่างที่ดี
การถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติจากโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์
การถ่ายทอดคุณธรรมจริยธรรม
พระมหาเหวียง (2546, ธนวาคม 7) เล่าให้ฟังว่า “ต้องการสอนให้เด็กทำความดี รู้จักเสียสละเพื่อส่วนรวม มีการแบ่งปัน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีความสามัคคีในหมู่คณะ ให้ทำดีทั้งทางกาย วาจา ใจ โดยทางกาย ทำได้ด้วยการไม่เบียดเบียนผู้อื่นให้ได้รับความเดือดร้อน ทางวาจา ไม่ดุด่าว่ากล่าวให้คนอื่นเสียหาย ทางใจ ไม่อิจฉาริษยามุ่งร้ายใคร ด.ญ.หก เล่าว่า “หลักธรรมคำสอนที่พระอาจารย์นำมาสอนได้นำไปในชีวิตประจำวันและเอาไปสอนน้อง ๆ ต่อ เพราะอยากให้น้องเป็นเด็กดี”
การส่งเสริมการเป็นพุทธมามกะ
พระมหาวิมล (2547, มกราคม 15) อายุ 41 ปี เล่าว่า “โรงเรียนจะประกอบพิธีแสดงตนเป็นพุทธมามกะ ในวันอาทิตย์ที่สองของการเปิดเทอม ด.ญ.หก ก็ผ่านพิธีประกาศตนเป็นพุทธมามกะ แสดงว่าเป็นผู้รับนับถือพระพุทธเจ้าว่าเป็นของตน และยอมรับนับถือพระพุทธศาสนาประจำชีวิตของตน” ด.ญ.หก เล่าให้ฟังว่า “การประกอบพิธีแสดงตนเป็นพุทธมามกะจะจัดปีละหน สำหรับนักเรียนใหม่ หนูไม่เคยร่วมพิธีมาก่อน เมื่อเข้าร่วมพิธีและอาราธนาตนรับศีลแล้วทำให้หนูมีความเชื่อว่าพระพุทธเจ้ามีจริง และรู้อีกว่าหลักธรรมคำสอนก่อให้เกิดศรัทธาในพระพุทธศาสนามากขึ้น พระอาจารย์ท่านจะแนะนำวิธีการปฏิบัติตนของการเป็นชาวพุทธ
8 2
ที่ดีและเห็นประโยชน์ของการแสดงตนเป็นพุทธมามกะ” จากการสังเกตพบว่าพระอาจารย์ใช้จิตวิทยากระตุ้นให้วัยรุ่นมีความสนใจที่จะเรียนรู้
การเรียนรู้
พระมหาสุนา (2546, ธันวาคม 7) อายุ 23 ปี เล่าถึงการเรียนรู้ของเด็กๆ ว่า “ทางโรงเรียนได้จัดการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ โดยยึดหลักไตรสิกขา คือ ศีล โดยการรักษาศีลห้า ได้แก่ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่พูดปด ไม่เสพเครื่องดองของเมา สมาธิ โดยการปฏิบัติธรรม การเดินจงกลม เพื่อฝึกจิตให้ตั้งมั่นอยู่ในความดี ปัญญา โดยการทำใจให้สงบเมื่อใจสงบก่อให้เกิดปัญญา ได้แก่การแยกแยะความดีความชั่วได้ ซึ่งโรงเรียนได้จัดกิจกรรมเสริม และ ด.ญ.หก ก็เข้าร่วมการตอบปัญหาธรรมะในวันสำคัญทางศาสนา เป็นการฝึกการแสดงออก และสะสมความรู้ความสามารถของเด็ก” ด.ญ.หก เล่าว่า “การเรียนพุทธศาสนาทำให้เข้าใจในพุทธศาสนา และยังเอาไปใช้ในชีวิตประจำวัน ทำให้รู้จักถึงกิเลส ที่ทำให้มนุษย์มีความโลภ โกรธ หลง และสามารถแก้ไขได้ด้วยการละจาก ความโลภ ไม่โกรธ และไม่ลุ่มหลงในสิ่งไม่ดี” แสดงให้เห็นว่าการเรียนรู้ทำให้ ด.ญ.หก มีพฤติกรรมดี มีความคิดดี
สรุป การถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติจากโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ พบว่า โรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ มีวิธีในการถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติด้วยการสอนให้เป็นคนดี การแสดงตนเป็นพุทธมามกะ การสอนตามหลักไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา การการปฏิบัติธรรม การเดินจงกลม เป็นการกล่อมเกลาจิตใจ ให้สงบเย็น รู้เท่าทันอารมณ์ตนเอง สิ่งเหล่านี้ทำให้ ด.ญ.หก มีพฤติกรรมดี
การถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติจากชุมชน
บริบทชุมชน
ชุมชนวัดท่าพระ มีความใกล้ชิดกับกิจกรรมทางพุทธศาสนาเนื่องจากมีสถานที่ตั้งอยู่ในบริเวณวัด ด.ญ.หก มีความภาคภูมิใจและศรัทธาในองค์หลวงพ่อเกษรพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักและนับถือของคนย่านฝั่งธน เมื่อมีงานบุญที่ทางวัดจัดขึ้น ชาวชุมชนจะไปช่วยงานด้วยความศรัทธา งานแห่ผ้าไตรหลวงพ่อเกษร จัดขึ้นเดือน 5 ของทุกปี ในงานประเพณีดังกล่าว ด.ญ.หก จะขออนุญาตมารดาไปช่วยงาน ได้เรียนรู้และซึมซับประเพณีที่ดีงามจากชุมชน จากบริบทดังกล่าวทำให้ ด.ญ.หก มีพฤติกรรมดี
8 3
การคบเพื่อน
เพื่อนของ ด.ญ.หก คนหนึ่ง เล่าว่า “ด.ญ.หก เป็นคนนิสัยดี ช่างพูด เล่นดนตรีไทยได้ เล่นดนตรีร่วมกับเพื่อน ๆ ที่โรงเรียนวัดท่าพระเป็นประจำ เป็นคนเสียสละ ครั้งหนึ่งเคยลืมสมุดจดงาน และจำเป็นจะต้องใช้ในวันนั้น ด.ญ.หก ให้ยืมหนึ่งเล่มเพื่อจดงาน” ด.ญ.หก มีเพื่อน ๆ รุ่นเดียวกันในชุมชนหลายคน แต่ ด.ญ.บี เป็นเพื่อนที่ดี ให้กำลังใจในการเรียนเสมอ ช่วยสอนวิชาคณิตศาสตร์ให้ นอกจากนี้ยังเคยให้คำแนะนำว่า “อย่าไปยุ่งกับพวกติดยาเสพติด เพราะเป็นสิ่งไม่ดี หากเสพติดจะทำให้เสียอนาคต” แสดงให้เห็นว่า ด.ญ.หก รู้จักคบเพื่อนที่ดี
การทำกิจกรรมและบำเพ็ญประโยชน์
กิจกรรมที่จัดขึ้นในชุมชน ด.ญ.หก จะไปช่วยเสมอไม่เคยขาด เช่น งานสงกรานต์ ด.ญ.หก จะไปช่วยถือของร่วมขบวนแห่หลวงพ่อเกษร และงานบวชสามเณรภาคฤดูร้อน ด.ญ.หก เล่าว่า “การไปร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชนเป็นสิ่งที่ดี เพราะจะได้เรียนรู้และดูไว้เป็นแบบอย่าง” ด.ญ.หก ช่วยงานกิจกรรม ต่างๆ เช่น ช่วยจัดดอกไม้ ยกปัจจัยสิ่งของที่คนนำมาถวายพระ ช่วยบริการต้อนรับแก่ผู้ที่มาร่วมงานบุญ และงานประเพณีสงกรานต์และงานแห่เทียนเข้าพรรษา ด.ญ.หก เล่าต่ออีกว่า “รู้สึกดีใจที่ได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชน และคิดว่าจะช่วยดำรงรักษาให้เป็นมรดกไปสู่ชนรุ่นหลังตลอดไป” จากการสังเกตและพูดคุย กับ ด.ญ.หก เพื่อนสนิทและผู้นำชุมชน พบว่า เพื่อนแนะนำสิ่งที่ดี พิธีกรรมทางศาสนา งานประเพณีสำคัญ ๆ ที่จัดขึ้นโดยการรวมกลุ่มของชาวชุมชน เป็นแบบอย่างของความร่วมมือและการเสียสละ
สรุป การถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติจาก บ้าน ของ ด.ญ.หก มีมารดาเป็นแบบอย่างที่ดีมีวิธีการถ่ายทอดโดยอบรมสั่งสอนให้มีความรักความสามัคคีและเสียสละ ส่วน โรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ พระอาจารย์ได้นำหลักธรรมคำสอนทางพุทธศาสนาที่เหมาะแก่วัยของเด็ก ได้แก่ การทำความดี การมีความกตัญญูต่อบุพการี สิ่งที่ลูกควรปฏิบัติต่อพ่อแม่หรือผู้มีพระคุณ มาสอนทำให้ ด.ญ.หก สามารถแยกแยะความดีความชั่วได้ การปฏิบัติธรรม การเดินจงกลม ช่วยกล่อมเกลาจิตใจให้สงบ รู้เท่าทันอารมณ์ของตนทำให้เกิดปัญญา ส่วน ชุมชน คำแนะนำของเพื่อน การจัดกิจกรรมต่าง ๆ ของผู้นำชุมชนและผู้ใหญ่ในชุมชน เป็นแบบอย่างของการเสียสละและความร่วมมือของชาวชุมชนที่ชนรุ่นหลังสมควรได้เอาเป็นแบบอย่างเพื่อสืบทอดต่อไป
8 4
กรณีศึกษาที่ 7
ด.ช.เจ็ด อายุ 12 ปี อยู่บ้านเลขที่ 614/2 ซอยจรัญสนิทวงศ์ 2 แขวงวัดท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร เรียนอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดท่าพระ บิดามีอาชีพรับจ้าง มารดาเป็นแม่บ้าน มีน้องชาย 1 คน อาศัยอยู่กับบิดามารดา ด.ช.เจ็ด เป็นคนขยัน อดทน อารมณ์ดี ความประพฤติเรียบร้อย มีความรับผิดชอบ
การถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติจากบ้าน
สัมพันธภาพในครอบครัว
ด.ช.เจ็ด ได้รับการอบรมเลี้ยงดูจากบิดามารดาตั้งแต่เกิดจนโต มีเวลาอยู่พร้อมหน้ากันเฉพาะเวลารับประทานอาหารเย็น นายสมศักดิ์ มาลาล้ำ (2546, ธันวาคม 14) อายุ 37 ปี บิดาเล่าว่า “ด.ช.เจ็ด เป็นคนอารมณ์ดี ขยัน การบ้านหรืองานอาชีพที่ครูให้มา เมื่อถึงบ้านจะรีบทำให้เสร็จก่อนที่จะพาน้องไปเล่นฟุตบอลที่หน้าบ้านกับเพื่อน ๆ ซึ่งบิดามารดาไม่ต้องบอก บางวันได้สอนการบ้านน้องด้วย เพื่อน ๆ จะมาที่บ้านเฉพาะวันหยุดเพื่อขออนุญาตบิดามารดาไปเที่ยว” ด.ช.เจ็ด เล่าให้ฟังว่า “บิดาส่งเสริมให้เล่นกีฬา เพื่อให้รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เป็นการเสริมสร้างสุขภาพให้แข็งแรง และสร้างนิสัยให้รู้จักรักและสามัคคี เช่น ฟุตบอล เพื่อเป็นการออกกำลังกาย และเข้าสังคมกับเพื่อนได้ดี”
การอบรมเลี้ยงดูตามแนวพุทธ
การให้ทาน นางสมร มาลาล้ำ (2546, ธันวาคม 14) อายุ 32 ปี มารดาเล่าว่า “จะทำบุญใส่บาตรในเทศกาลปีใหม่ วันสงกรานต์ หรือวันพระ บางครั้งก็พาลูก ๆ ไปทำบุญที่วัดมหาธาตุ ท่าพระจันทร์ เพื่อให้เขาได้พบสิ่งแปลกใหม่บ้าง”
การรักษาศีล นางสมร มาลาล้ำ (2546, ธันวาคม 14) เล่าว่า ไม่ได้เคร่งครัดแต่อย่างใด แต่จะบอกให้ลูกประพฤติตนเป็นคนดี อย่ารังแกน้อง อย่าเบียดเบียนสัตว์ ด.ช.เจ็ด เล่าว่า “ครั้งหนึ่งแม่ซื้อปลาทูมาเพื่อทอดให้ลูก ๆ ทานมื้อเย็น แม่วางไว้ที่โต๊ะในครัวลืมเอาเก็บในตู้กับข้าว แต่แมวได้ขโมยไปกินเหลือตัวเดียว ผมไปพบเข้า จึงได้ไล่แมวไป และไปบอกแม่ แต่แม่บอกว่าช่างเถอะ แมวมันหิว นึกว่าแม่จะโกรธ แต่แม่ก็ไม่โกรธ”
การปฏิบัติธรรม นางสมร มาลาล้ำ (2546, ธนวาคม 14) เล่าว่า “เคยปฏิบัติเหมือนกัน แต่ไม่ต่อเนื่อง พยายามที่จะแนะนำลูก ๆ ในสิ่งที่ถูกต้อง เรื่องการพูดจาให้ไพเราะ ใจเย็น ใช้สติอย่าใช้อารมณ์ เมื่อมีความโกรธ”
8 5
วิถีชีวิตแบบพุทธ
นางสมร มาลาล้ำ (2546, ธันวาคม 14) เล่าให้ฟังว่า “ได้สอนให้ ด.ช.เจ็ด เกรงกลัวต่อบาป การโกหกพ่อแม่เป็นสิ่งไม่ดี การรังแกสัตว์ การเอาเปรียบคนอื่น” ด.ช.เจ็ด เล่าว่า “แม่จะเสียใจมาก หากแม่รู้ว่าผมพูดโกหกกับแม่ มีครั้งหนึ่งที่ชกต่อยกับเพื่อน ริมฝีปากแตก กลับบ้านแม่ถามว่าไปทำอะไรมา บอกแม่ว่าหกล้ม วันหลังแม่ทราบจากเพื่อนว่าชกต่อย แม่บอกว่าทีหลังอย่าโกหกอีกแม่ไม่ชอบ และเป็นสิ่งที่ไม่ดี”
สรุป การถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติจากบ้าน พบว่า บ้านมีบทบาทในการถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติให้กับ ด.ช.เจ็ด โดยมีมารดาเป็นแบบอย่างที่ดีมีวิธีการถ่ายทอดโดยการอบรมสั่งสอนให้เกรงกลัวต่อบาป เช่น โกหกบิดามารดาไม่ดี
การถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติจากโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์
การถ่ายทอดคุณธรรมจริยธรรม
พระธีรยุทธ (2546, ธันวาคม 7) อายุ 52 ปี เล่าให้ฟังว่า “ได้สอนให้เด็กทำความดี มีการเสียสละเพื่อส่วนรวม ให้เข้าร่วมกิจกรรมที่โรงเรียนจัดขึ้น ดูแลความเรียบร้อยของห้องเรียน ช่วยกันทำความสะอาด จัดเก็บเก้าอี้และโต๊ะเรียนให้เป็นระเบียบเรียบร้อยหลังเลิกเรียนก่อนที่จะกลับบ้าน” และเล่าว่า “ได้สอนให้เด็กทำความดี เช่น สอนทำบุญให้ทาน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่ผู้อื่น มีจิตใจเมตตากรุณา เสียสละทรัพย์ให้แก่ผู้ยากไร้ เช่น บริจาคหนังสือเรียน บริจาคเสื้อผ้าที่ไม่ใช้แล้วให้แก่ผู้รับบริจาค หรือมูลนิธิ” แสดงให้เห็นว่าพระอาจารย์สอนให้ ด.ช.เจ็ด มีจิตสำนึกดี
การส่งเสริมการเป็นพุทธมามกะ
พระธีรยุทธ (2546, ธันวาคม 7) อายุ 52 ปี เล่าให้ฟังว่า “นักเรียนใหม่ต้องผ่านพิธีประกาศตนเป็นพุทธมามกะ เป็นผู้รับนับถือพระพุทธเจ้าว่าเป็นของตน และยอมรับนับถือพระพุทธศาสนาประจำชีวิตของตน ทางโรงเรียนจัดพิธีประกาศตนเป็นพุทธมามกะขึ้นในวันอาทิตย์ที่สองของเดือนพฤษภาคมของทุกปี” ด.ช.เจ็ด เล่าให้ฟังว่าว่า “เมื่อเข้าร่วมพิธีและอาราธนาตนรับศีลแล้วทำให้มีความเชื่อ ศรัทธาในพระพุทธศาสนา และพระอาจารย์ได้แนะนำให้รู้เกี่ยวกับพระธรรมคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนา ชี้ให้เห็นประโยชน์ของการแสดงตนเป็นพุทธมามกะ เป็นหน้าที่ของชาวพุทธที่ต้องปฏิบัติ ได้แก่ ให้ทาน รักษาศีล และภาวนา”
8 6
การเรียนรู้
พระมหาเหวียง (2546, ธันวาคม 7) อายุ 36 ปี เล่าให้ฟังว่า “หลักสูตรกำหนดให้จัดการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ โดยยึดหลักไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา การจัดกิจกรรมเสริม เช่น การตอบปัญหาธรรมะในวันสำคัญทางศาสนา การปฏิบัติธรรม การเดินจงกลม เป็นการฝึกให้นักเรียนมีประสบการณ์ทั้งทางโลกโดยการกล้าแสดงในทางที่ดี การเป็นตัวแทนตอบปัญหาธรรมะ ในทางธรรม โดยการทำสมาธิเดินจงกลมให้ใจสงบก่อให้เกิดปัญญา ทำให้วัยรุ่นมีจิตสำนึกดี” ด.ช.เจ็ด เล่าว่า “การเรียนพุทธศาสนานอกจากทำให้เข้าใจในพุทธศาสนาแล้วยังสามารถนำเอาหลักธรรมคำสอนไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ เช่น การลด ละ เลิก ในกิเลส ได้แก่ โลภ โกรธ หลง ได้ชีวิตก็เป็นสุข”
สรุป การถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติจากโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ พบว่า โรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ มีวิธีในการถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติด้วยการสอนให้เป็นคนดี ให้แสดงตนเป็นพุทธมามกะ การสอนตามหลักไตรสิกขา หลักธรรมแห่งพระพุทธศาสนา การปฏิบัติธรรม การเดินจงกลม เพื่อกล่อมเกลาจิตใจให้สงบ รู้เท่าทันอารมณ์ของตน สิ่งเหล่านี้ทำให้ ด.ช.เจ็ด มีพฤติกรรมดี
การถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติจากชุมชน
บริบทชุมชน
ชุมชนวัดท่าพระมีความใกล้ชิดและทำกิจกรรมทางพุทธศาสนากับวัดท่าพระเสมอ เพราะมีสถานที่ตั้งอยู่ใกล้วัด ชาวชุมชนมีความภาคภูมิใจและศรัทธาในองค์หลวงพ่อเกษร พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักและนับถือของคนย่านฝั่งธน เมื่อมีงานบุญที่ทางวัดจัดขึ้น ชาวชุมชนจะร่วมแรงร่วมใจกันไปช่วยงานด้วยความศรัทธา งานประเพณีสำคัญที่พุทธศาสนิกชนในชุมชนแห่งนี้และประชาชนผู้มีจิตศรัทธาร่วมกันจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ได้แก่ งานแห่ผ้าไตรหลวงพ่อเกษร ซึ่งจัดขึ้นเดือน 5 ของทุกปี ในงานประเพณีดังกล่าว ชาวชุมชนทั้งเด็กและผู้ใหญ่จะมาช่วยงานเป็นประจำ ทำให้บุตรถือปฏิบัติเป็นประจำทุกปี
การคบเพื่อน
เพื่อนในชุมชนคนหนึ่งของ ด.ช.เจ็ด ชื่อ ด.ญ.นี เล่าให้ฟังว่า “ด.ช.เจ็ด เป็นคนนิสัยดี ขยัน เสียสละ ได้ช่วยเหลือหนูเวลาถือของหนักกลับบ้าน” ด.ช.เจ็ดเล่าว่า “ด.ญ.นี จะช่วยเหลือ ให้คำแนะนำในการปฏิบัติตนเป็นคนดี โดยไม่ให้เป็นคนใจร้อน ให้อภัยต่อเพื่อนมนุษย์” ผมเคยทะเลาะกับเพื่อนในห้องเรียน ด.ญ.นี ได้แนะนำให้ไปขอโทษเพื่อน เพื่อจะได้เป็นเพื่อนที่ดีต่อกัน ซึ่งผมได้ทำตามและเพื่อนคนนั้นก็ขอโทษผมด้วย ก็เป็นเพื่อนที่ดีต่อกันมาจนทุกวันนี้” แสดงให้เห็นว่า ด.ช.เจ็ด เป็นผู้ที่รู้จักคิดเมื่อทำผิดก็รู้จักขอโทษ และยอมรับผิด
8 7
การทำกิจกรรมและบำเพ็ญประโยชน์
ด.ญ.นี เพื่อน ด.ช.เจ็ด เล่าว่า “กิจกรรมที่จัดขึ้นในชุมชน หนูและ ด.ช.เจ็ด จะไปช่วย เช่น งานสงกรานต์จะไปถือของร่วมขบวนแห่หลวงพ่อเกษร ด.ช.เจ็ด เล่าว่า “การเสียสละด้วยการไปร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชน เป็นสิ่งที่พึงกระทำเพราะจะได้เรียนรู้และดูเป็นแบบอย่าง” การช่วยงานกิจกรรม เช่น การจัดดอกไม้ ยกปัจจัยสิ่งของที่คนนำมาถวายพระ ช่วยบริการต้อนรับผู้ที่มาร่วมงานได้แก่ งานประเพณีสงกรานต์และงานแห่เทียนเข้าพรรษา” ซึ่ง ด.ช.เจ็ด มีความภาคภูมิใจ โดยเล่าว่า “ภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชน และคิดว่าจะช่วยดำรงรักษาให้เป็นมรดกไปสู่ชนรุ่นหลังตลอดไป” จากการสังเกตและพูดคุย กับ ด.ช.เจ็ด เพื่อนสนิท และผู้นำชุมชน พบว่า เพื่อนแนะนำสิ่งที่ดี พิธีกรรมทางศาสนา งานประเพณีสำคัญ ๆ ที่ชาวชุมชนจัดเป็นประจำทุกปี โดยผู้นำชุมชนและผู้ใหญ่ในชุมชนทำเป็นแบบอย่างที่ดีในการเสียสละและให้ความร่วมมือ
สรุป การถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติจาก บ้าน ของ ด.ช.เจ็ด พบว่า มารดาจะอบรมสั่งสอนให้มีความเชื่อในกฎแห่งกรรมและมีความกตัญญู ซึ่งมารดาเป็นแบบอย่างที่ดี ส่วน โรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ พระอาจารย์ได้นำหลักธรรมคำสอนทางพุทธศาสนาที่เหมาะแก่วัยของเด็ก ได้แก่ การทำความดี การมีความกตัญญูต่อบุพการี สิ่งที่ลูกควรปฏิบัติต่อพ่อแม่หรือผู้มีพระคุณ มาสอนทำให้ ด.ช.เจ็ด สามารถแยกแยะความดีความชั่วได้ การปฏิบัติธรรม การเดินจงกลม ช่วยกล่อมเกลาจิตใจให้สงบก่อให้เกิดปัญญา ส่วน ชุมชน คำแนะนำของเพื่อน การจัดกิจกรรมต่าง ๆ ของผู้นำชุมชนและผู้ใหญ่ในชุมชน เป็นแบบอย่างของการเสียสละและความร่วมมือของชาวชุมชน สมควรที่ชนรุ่นหลังจะได้เอาเป็นแบบอย่างเพื่อสืบทอดต่อไป
8 8
กรณีศึกษาที่ 8
ด.ญ.แปด อายุ 11 ปี อยู่บ้านเลขที่ 79/9 ซอยจรัญสนิทวงศ์ 2 แขวงวัดท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร เรียนอยู่ในระดับชั้นประถมปีที่ 5 โรงเรียนวัดท่าพระ บิดามีอาชีพรับจ้าง มารดามีอาชีพเป็นนักแสดงตลก ด.ญ.แปด เป็นบุตรสาวคนเดียว อาศัยอยู่กับบิดา เนื่องจากบิดามารดาอย่าร้าง
สัมพันธภาพในครอบครัว
ด.ญ.แปด บิดาเป็นผู้ให้การอบรมเลี้ยงดูและสั่งสอน จะมีเวลาอยู่พร้อมหน้ากันเฉพาะเวลารับประทานอาหารเย็น นายชัยยา เสรีสุข (2546, ธันวาคม 9) อายุ 38 ปี บิดาเล่าให้ฟังว่า “ด.ญ.แปด เป็นเด็กขยันเรียน ช่วยเหลืองานบ้านเสมอ มีเวลาบิดาจะสอนการบ้าน บิดาเล่าว่า การเรียนสูง ๆ จะช่วยให้ลูกมีอนาคตที่ดี ให้ตั้งใจเรียน” ด.ญ.แปด เล่าว่า “คุณพ่อเป็นคนใจดี จะให้อิสระแก่ลูก จะเป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำแก่ลูกในสิ่งที่ถูกต้องเสมอ”
การอบรมเลี้ยงดูตามแนวพุทธ
การให้ทาน นายชัยยา เสรีสุข (2546, ธันวาคม 9) อายุ 38 ปี บิดาเล่าว่า “จะทำบุญใส่บาตรในวันสำคัญทางศาสนา เช่น วันพระ วันสงกรานต์ หรือวันขึ้นปีใหม่ บางครั้งก็พาลูกไปทำบุญที่วัดระฆัง โฆสิตาราม เพื่อกราบไหว้หลวงพ่อโต”
การรักษาศีล เสรีสุข (2546, ธันวาคม 9) เล่าว่า “ไม่ได้เคร่งครัด แต่จะสอนให้ลูกประพฤติตนเป็นคนดี ห่างไกลยาเสพติด” ด.ญ.แปด เล่าว่า “คุณพ่อเป็นคนดี ไม่เที่ยวกลางคืน ไม่ดื่มเหล้า ไม่เล่นการพนัน หนูภูมิใจในตัวคุณพ่อมาก”
การปฏิบัติธรรม เสรีสุข (2546, ธันวาคม 9) เล่าถึงการปฏิบัติธรรมว่า “ไม่เคยไปปฏิบัติธรรมที่ไหน แต่จะแนะนำลูกในสิ่งที่ถูกต้อง ไม่ใจร้อนวู่วาม พูดจาดี ใช้สติอย่าใช้อารมณ์เมื่อมีความโกรธหรือไม่สบายใจ”
วิถีชีวิตแบบพุทธ
เสรีสุข (2546, ธันวาคม 9) เล่าให้ฟังว่า “สอนให้ ด.ญ.แปด เชื่อในการกระทำของตน ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว การพูดโกหกไม่ดี” ด.ญ.แปด เล่าว่า “คุณพ่อแยกกันกับคุณแม่ แต่คุณพ่อก็ไม่มีแม่ใหม่ คุณพ่อบอกว่าไม่อยากให้หนูไม่สบายใจ จะขอทำหน้าที่เป็นทั้งพ่อและแม่ให้ลูกจนกว่าลูกจะโตเป็นผู้ใหญ่และเรียนจบเสียก่อน หนูรักคุณพ่อมาก”
8 9
สรุป การถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติจากบ้าน พบว่า บ้านมีบทบาทในการถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติให้กับ ด.ญ.แปด โดยมีบิดาเป็นผู้ถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติด้วยวิธีการอบรมสั่งสอนให้มีความเชื่อกฎแห่งกรรม ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
การถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติจากโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์
การถ่ายทอดคุณธรรมจริยธรรม
พระทรงศักดิ์ (2546, ธันวาคม 7) อายุ 32 ปี เล่าให้ฟังว่า “ได้สอนให้เด็กทำความดี ได้แก่ การทำบุญให้ทาน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีจิตใจเมตตากรุณา และเห็นว่า ด.ญ.แปด ได้นำคำสอนของพระอาจารย์ไปใช้ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม” ด.ญ.แปด เล่าว่า “เรื่องความประพฤติหนูคิดว่าการประพฤติตัวดีแสดงถึงคุณค่าของการเป็นผู้หญิง ไม่ทำให้พ่อกังวลใจ หนูจะช่วยทำงานบ้าน และตั้งใจศึกษา เมื่อโตขึ้นจะได้ช่วยคุณพ่อได้”
การส่งเสริมการเป็นพุทธมามกะ
พระทรงศักดิ์ (2546, ธันวาคม 7) อายุ 32 ปี เล่าให้ฟังว่า “นักเรียนทุกคนจะต้องผ่านพิธีประกาศตนเป็นพุทธมามกะ ผู้รับนับถือพระพุทธเจ้าว่าเป็นของตน และยอมรับนับถือพระพุทธศาสนาประจำชีวิตของตน ด.ญ.แปด ก็ได้เข้าพิธีประกาศตนเป็นพุทธมามกะเป็นพิธีศักดิ์สิทธิ์ ผู้เข้าร่วมพิธีต้องอาราธนาตนรับศีลเป็นการยอมรับพระพุทธเจ้า มีความเชื่อและศรัทธาในพระพุทธศาสนา” ด.ญ.แปด กล่าวว่า “หนูคิดว่าผู้ที่ผ่านพิธีแล้วจึงจะเป็นชาวพุทธที่แท้จริง และสมควรที่แนะนำให้ชาวพุทธทุกคนได้ร่วมกระทำพิธีดังกล่าวจะเป็นสิ่งที่ดีกับตนเอง”
การเรียนรู้
พระมหาเหวียง (2546, ธันวาคม 7) อายุ 36 ปี เล่าให้ฟังว่า “โรงเรียนมีหลักสูตรที่กำหนดให้จัดการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ให้เด็กรู้จัก ศีล สมาธิ ปัญญา มีการจัดกิจกรรมเสริม มีการตอบปัญหาธรรมะในวันสำคัญทางศาสนา การปฏิบัติธรรม การเดินจงกลม” ด.ญ.แปด เล่าว่า “การเรียนพุทธศาสนาทำให้นำเอาหลักธรรมคำสอนไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ รู้จักศีล 5 ปกติหนูจะเป็นคนที่เกลียดสุนัขมาก เพราะหนูเคยถูกสุนัขกัดที่ขา เวลาเจอที่ไหนหนูจะไล่มัน ถ้าอยู่ใกล้หนูก็จะใช้น้ำสาดใส่ เมื่อหนูรู้ว่าการทำร้ายสัตว์เป็นสิ่งไม่ดีไม่ควรทำ เพราะการที่สุนัขกัดเราอาจจะมีมูลเหตุ จึงควรให้อภัย ทุกวันนี้สุนัขที่คนเอามาปล่อยที่วัดมีมากมาย หนูเห็นแล้วก็สงสาร และได้นำเอาอาหารที่กินเหลือไปให้สุนัขกินเป็นประจำ”
9 0
สรุป การถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติจากโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ พบว่า โรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ มีวิธีในการถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติด้วยการสอนให้เป็นคนดี ให้แสดงตนเป็นพุทธมามกะ การให้ความรู้ตามหลักไตรสิกขา หลักธรรมแห่งพระพุทธศาสนา การปฏิบัติธรรม การเดินจงกลม เป็นการกล่อมเกลาจิตใจ ให้สงบ รู้เท่าทันอารมณ์ของตน สิ่งเหล่านี้ทำให้ ด.ญ.แปด มีพฤติกรรมดี
การถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติจากชุมชน
บริบทชุมชน
ชุมชนวัดท่าพระ มีความใกล้ชิดกับกิจกรรมทางพุทธศาสนา ชาวชุมชนได้มีโอกาสได้ช่วยเหลือกิจการงานวัดเป็นประจำ เช่น งานประจำปีหลวงพ่อเกษร งานเข้าพรรษา ออกพรรษา กิจกรรมงานบุญเหล่านี้ ชาวชุมชนทั้งเด็กและผู้ใหญ่จะร่วมแรงร่วมใจกันไปช่วยงานด้วยความศรัทธา ซึ่งเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับบุตรหลานตลอดมา นายสมบัติ จันทร์แย้ม (2546, กรกฎาคม 10) อายุ 65 ปี ประธานชุมชน กล่าวว่า “เดี๋ยวนี้ คนมาทำบุญทุกวัน ช่วงเทศกาลจะมีมากที่สุด โดยเฉพาะช่วงตอนเย็น ชุมชนก็จัดคนไปช่วยงานตามที่ต่าง ๆ ซึ่งกรรมการวัดจะแบ่งหน้าที่ให้ทำ เด็ก ๆ ก็ไปช่วยบริการดอกไม้ธูปเทียนแก่ผู้มาทำบุญและไปกราบไหว้หลวงพ่อเกษรที่วิหาร”
การคบเพื่อน
เพื่อนคนหนึ่งเล่าว่า “ด.ญ.แปด เป็นเด็กนิสัยดี เสียสละ ชอบช่วยเหลือเพื่อนเสมอ” ด.ญ.แปด มีเพื่อนชื่อ ด.ญ.ยา โดยเล่าว่า “ด.ญ.ยา นอกจากจะเป็นเพื่อนที่ดีแล้ว ยังให้คำแนะนำเรื่องการปฏิบัติตนให้ห่างไกลยาเสพติด เพราะเป็นสิ่งไม่ดี” แสดงให้เห็นว่า ด.ญ.แปด เลือกคบเพื่อนดี
การทำกิจกรรมและบำเพ็ญประโยชน์
ด.ญ.ยา ซึ่งเป็นเพื่อนของ ด.ญ.แปด เล่าให้ฟังว่า “ชุมชน จะจัดงานตามฤดูกาล เช่น งานประเพณีสงกรานต์ หนูและ ด.ญ.แปด จะไปถือของที่ใช้ในการร่วมขบวนแห่หลวงพ่อเกษร เพื่อให้ประชาชนที่มาในงานได้สรงน้ำและขอพร เป็นประจำทุกปี” ด.ญ.แปด เล่าว่า “ทุกครั้งที่ได้ไปร่วมงานทำให้หนูได้ข้อคิดและได้พบเห็นอะไรหลาย ๆ อย่าง การที่หนูเสียสละเวลาไปร่วมงานหนูได้เรียนรู้ และเห็นแบบอย่างในการทำงาน ประเพณีไทยที่ทุกคนจะต้องดำรงรักษาไว้ ดีใจที่ได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชน และคิดว่าจะช่วยสืบสานวัฒนธรรมนี้ไว้ตลอดไป” จากการสังเกตและพูดคุย กับ ด.ญ.แปด เพื่อนสนิท และผู้นำชุมชน พบว่า เพื่อนแนะนำสิ่งที่ดี พิธีกรรมทางศาสนา งานประเพณีสำคัญ ๆ ที่ชาวชุมชนจัดเป็นประจำทุกปี โดยผู้นำชุมชนและผู้ใหญ่ในชุมชนทำเป็นแบบอย่างที่ดีในการเสียสละและให้ความร่วมมือ
9 1
สรุป การถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติจาก บ้าน ของ ด.ญ.แปด มีบิดาได้อบรมสั่งสอนให้มีความเชื่อในกฎแห่งกรรมและมีความกตัญญู ซึ่งบิดาเป็นแบบอย่างที่ดี ส่วน โรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ พระอาจารย์ได้นำหลักธรรมคำสอนทางพุทธศาสนาที่เหมาะแก่วัยของเด็ก ได้แก่ การทำความดี การมีความกตัญญูต่อบุพการี สิ่งที่ลูกควรปฏิบัติต่อพ่อแม่หรือผู้มีพระคุณ ทำให้ ด.ญ.แปด สามารถแยกแยะความดีความชั่วได้ การปฏิบัติธรรม การเดินจงกลม ช่วยให้จิตสงบ รู้เท่าทันอารมณ์ของตน ส่วน ชุมชน การคบเพื่อนดี เพื่อนแนะนำแต่สิ่งที่ดี การจัดกิจกรรมต่าง ๆ ของผู้นำชุมชนและผู้ใหญ่ในชุมชน เป็นแบบอย่างของการเสียสละและความร่วมมือของชาวชุมชนที่เยาวชนได้ซึมซับสิ่งที่ดีงามจากชุมชน
9 2
กรณีศึกษาที่ 9
ด.ช.เก้า อายุ 12 ปี อยู่บ้านเลขที่ 136/64 ซอยจรัญสนิทวงศ์ 2 แขวงวัดท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร เรียนอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดท่าพระ บิดามีอาชีพค้าขาย มารดาเป็นแม่บ้าน ด.ช.เก้า เป็นบุตรคนสุดท้อง มีพี่ชายกับพี่สาวอย่างละ 1 คน บิดามารดาอย่าร้างกัน ปัจจุบัน ด.ช.เก้า อาศัยอยู่กับยาย
สัมพันธภาพในครอบครัว
ด.ช.เก้า ได้รับการอบรมเลี้ยงดูจากยายตั้งแต่อายุ 7 ขวบ นางฉลวย สังฆะตะวรรธณ์ (2546, ธันวาคม 24) อายุ 65 ปี เป็นยายของ ด.ช.เก้า อดีตเป็นครูสอนนาฏศิลป์ เล่าให้ฟังว่า “ด.ช.เก้า เป็นเด็กนิสัยดี ไม่ดื้อไม่ซน ขยันโดยกลับจากโรงเรียนได้ทำการบ้านเสร็จแล้วช่วยยายทำงานบ้าน ได้สอนให้ตั้งใจเรียน มีสัมมาคารวะต่อผู้ใหญ่โดยเวลาพบเจอให้ยกมือไหว้และกล่าวคำว่า “สวัสดีครับ” เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และเสียสละ โดยแบ่งของกินของใช้ที่มีให้กับคนที่ด้อยโอกาส” ด.ช.เก้า เล่าถึงยายว่า “หนูอยู่กับยายมา 5 ปี ยายเป็นห่วง เพราะในชุมชนมีวัยรุ่นที่ไม่เรียนหนังสือ ติดยา ยายกลัวว่าจะไปยุ่งเกี่ยวด้วย การที่ยายเป็นห่วงทำให้หนูรู้สึกอบอุ่นและไม่คิดจะไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด พอเลิกเรียนหนูก็จะรีบกลับบ้าน เมื่อทำการบ้านเสร็จก็ไปเตะฟุตบอลกับเพื่อน ๆ รุ่นเดียวกันแล้วก็กลับบ้านทานข้าว ช่วยยายทำงานบ้าน ดูโทรทัศน์ จะเข้านอนตอนสามทุ่ม”
การอบรมเลี้ยงดูตามแนวพุทธ
การให้ทาน นางฉลวย สังฆะตะวรรธณ์ (2546, ธันวาคม 24) เล่าให้ฟังว่า “ได้ทำบุญใส่บาตรในวันสำคัญทางศาสนา เช่น วันพระ วันสงกรานต์ หรือวันขึ้นปีใหม่ โดยพาหลานไปทำบุญที่วัด ทางวัดได้จัดกิจกรรมหลายอย่างได้บุญและสบายใจที่ได้ไปทำบุญทำทาน”
การรักษาศีล นางฉลวย สังฆะตะวรรธณ์ (2546, ธันวาคม 24) เล่าว่า “ได้สอนหลานให้ประพฤติตนเป็นคนดี ไม่เบียดเบียนผู้อื่นชี้ให้เห็นโทษการเสพของมึนเมา และให้ห่างไกลยาเสพติด” จากการสังเกต ด.ช.เก้า เชื่อฟังยาย
การปฏิบัติธรรม นางฉลวย สังฆะตะวรรธณ์ (2546, ธันวาคม 24) เล่าว่า “การทำใจให้สงบ มีสมาธิสามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันและอยู่ในสังคมได้อย่างสงบสุข และได้สอนให้กับหลาน ให้ทำสิ่งที่ถูกต้อง เป็นคนใจเย็น ทำอะไรต้องมีสติ อย่าใช้อารมณ์ เพราะถ้าใช้อารมณ์จะเป็นผลเสียมากกว่าผลดี และจะติดไปจนโต”
9 3
วิถีชีวิตแบบพุทธ
นางฉลวย สังฆะตะวรรธณ์ (2546, ธันวาคม 24) เล่าให้ฟังว่า “ได้สอนให้ ด.ช.เก้า เชื่อในการกระทำความดีของตน ไม่ว่าจะทาง กาย วาจา ใจ” ด.ช.เก้า เล่าว่า “ยายเป็นคนใจดี ไปไหนก็เป็นห่วง ย้ำเตือนเสมอว่าอย่าไปยุ่งเกี่ยวยาเสพติด การแยกกันอยู่ของพ่อแม่ไม่ทำให้เป็นปมด้อย มียายทำหน้าที่เป็นทั้งพ่อและแม่คอยดูแลเอาใจใส่ ผมภูมิใจในตัวยายมาก ตั้งใจจะดูแลยายให้ดีที่สุด” แสดงให้เห็นว่า ด.ช.เก้า เป็นเด็กที่มีความกตัญญู
สรุป การถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติจากบ้าน ของ ด.ช.เก้า พบว่า บ้านมีบทบาทในการถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติให้กับ ด.ช.เก้า โดยมียายเป็นผู้ถ่ายทอดด้วยวิธีการอบรมสั่งสอนให้มีความเชื่อในการทำความดีของตน
การถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติจากโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์
การถ่ายทอดคุณธรรมจริยธรรม
พระมหาเหวียง (2546, ธันวาคม 7) อายุ 36 ปี เล่าให้ฟังว่า “ได้สอนให้เด็กทำความดี ได้แก่ การทำบุญให้ทาน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีจิตใจเมตตากรุณา ด.ช.เก้า เล่าว่า “คำสอนของพระอาจารย์ทำให้ผมได้ข้อคิดหลายอย่าง เนื่องจากผมไม่ได้อยู่กับพ่อแม่ อยู่กับยายซึ่งมีอายุมากแล้วแต่ยายก็รักผมมาก สิ่งที่ผมจะตอบแทนยายได้ในขณะนี้คือการประพฤติตนเป็นคนดี ไม่เกเร ตั้งใจเรียน มีความรับผิดชอบ ช่วยเหลือยายทำงานบ้าน” และเล่าว่า “พระอาจารย์สอนผมถึงการอยู่ในสังคมปัจจุบันต้องสร้างเกราะป้องกันตนเองให้ได้ เพราะกิเลสมันคอยยั่วยุให้หลงใหลไปตามกระแส ถ้ารู้ไม่ทันก็จะเป็นทาสของมัน ดูอย่างการเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์ ถ้าเล่นเพื่อศึกษา หรือศึกษาหาความรู้ก็มีประประโยชน์ แต่ถ้าเล่นเพื่อเอาชนะ หรือการพนันทำให้เสียเงิน เสียสุขภาพ ในที่สุดเสียสายตา คำสอนของพระอาจารย์ทำให้ผมแยกแยะสิ่งควรทำหรือไม่ควรทำ” จากการสังเกตพบว่า ด.ช.เก้า เป็นเด็กที่มีความคิดดี รู้จักวิเคราะห์ความดี ความชั่วได้
การส่งเสริมการเป็นพุทธมามกะ
พระทรงศักดิ์ (2546, ธันวาคม 7) อายุ 32 ปี เล่าให้ฟังว่า “ด.ช.เก้า ผ่านพิธีประกาศตนเป็นพุทธมามกะ เพื่อแสดงว่าเป็นผู้รับนับถือพระพุทธเจ้าว่าเป็นของตน ยอมรับนับถือพระพุทธศาสนาประจำชีวิตของตน” จากพิธีดังกล่าว ด.ช.เก้า มีความเชื่อและศรัทธา โดยเล่าว่า “การแสดงตนเป็นพุทธมามกะทำให้ผมมีความเชื่อ และศรัทธาในพระพุทธศาสนามากขึ้น ในวันทำพิธีพระอาจารย์จะแนะนำและสอนให้เข้าใจและเห็นประโยชน์ของการแสดงตนเป็นพุทธมามกะ ผมคิดว่ายังมีชาวพุทธอีกมากที่ยังไม่เคยแสดงตนเป็นพุทธมามกะ”
9 4
แสดงให้เห็นว่า ด.ช.เก้า มีความเข้าใจและศรัทธาในพระพุทธศาสนาและยึดถือเป็นหลักในการปฏิบัติตนเป็นคนดี
การเรียนรู้
พระมหาเหวียง (2546, ธันวาคม 7) อายุ 36 ปี เล่าให้ฟังว่า “ได้สอนนักเรียนตามหลักสูตรที่กำหนดให้มีการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ โดยยึดหลักไตรสิกขา มีการจัดกิจกรรมเสริม เช่น การตอบปัญหาธรรมะในวันสำคัญทางศาสนา การปฏิบัติธรรม การเดินจงกลม” ด.ช.เก้า เล่าว่า “การเรียนพุทธศาสนาทำให้มีความรู้และเข้าใจพุทธศาสนามากขึ้น สามารถนำเอาหลักธรรมคำสอนไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ การอยู่ในสังคมอย่างมีความสุขต้องมีศีล 5 ได้แก่ การไม่ถือเอาของคนอื่นมาเป็นของตน ซึ่งผมเคยเก็บปากกาได้ นำไปให้ประกาศหาเจ้าของให้มารับคืน พระอาจารย์ให้ผมไปยืนหน้าแถวหลังเคารพธงชาติประกาศให้ทุกคนทราบในความดีที่ผมได้ทำ ทุกวันนี้ผมยังจำภาพนั้นได้ นอกจากนี้การให้อภัย การเสียสละเพื่อส่วนรวม เป็นสิ่งที่ผมจะต้องประพฤติปฏิบัติต่อไป ส่วนการตอบปัญหาธรรมะ เป็นกิจกรรมที่ทำให้ผมกล้าแสดงออก และเชื่อมั่นตัวเองมากขึ้น วันวิสาขบูชา พระอาจารย์จัดให้ผมเป็นตัวแทนห้องไปตอบปัญหาธรรมะ พระอาจารย์ชมว่าผมทำได้ดีมาก”
สรุป การถ่ายทอดพุทธปฏิบัติจากโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ พบว่า โรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติด้วยวิธีการสอนให้เป็นคนดี ให้แสดงตนเป็นพุทธมามกะ การสอนให้ความรู้ตามหลักไตรสิกขา หลักธรรมแห่งพระพุทธศาสนา การปฏิบัติปฏิบัติธรรม การเดินจงกลม เป็นการกล่อมเกลาจิตใจ ให้สงบเย็น รู้เท่าทันอารมณ์ของตน ทำให้ ด.ช.สาม มีพฤติกรรมดี
การถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติจากชุมชน
บริบทชุมชน
ชุมชนวัดท่าพระ มีความใกล้ชิดกับกิจกรรมทางพุทธศาสนา กิจกรรมต่าง ๆ ที่วัดจัดขึ้น ชาวชาวชุมชนก็จะมีส่วนร่วมและมาช่วยงานด้วยความศรัทธา โดยเฉพาะงานแห่ผ้าไตรหลวงพ่อเกษร ซึ่งจัดขึ้นเดือน 5 ของทุกปี นางอารมย์ จันทร์แย้ม (2546, กรกฏาคม 10) อายุ 45 ปี ชาวชุมชน กล่าวว่า “วันงานจะมีคนมาจากหลายจังหวัด มีทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ดูแล้วน่าปลื้มใจมาก ชุมชนของเราก็จะพาลูกหลายไปช่วยงานเท่าที่จะทำได้ เช่น บริการดอกไม้ธูปเทียน บริการเครื่องดื่ม ออกร้านอาหาร เป็นต้น” ประเพณีสงกรานต์เป็นกิจกรรมที่ชุมชุนจัดทุกปี โดยกรรมการชุมชนและชาวชุมชนร่วมกันจัดงาน ลูกหลานวัยรุ่นในชุมชนได้เล่นสงกรานต์ มีการประกวดนางนพมาศ เป็นการส่งเสริมประเพณีและวัฒนธรรมไทย เพื่อให้ชนรุ่นหลังได้สืบสานต่อไป
9 5
การคบเพื่อน
ด.ญ.อร เพื่อนคนหนึ่งของ ด.ช.เก้า เล่าให้ฟังว่า “ด.ช.เก้า เป็นเพื่อนที่ดี ให้คำแนะนำในการปฏิบัติตนของลูกผู้หญิง โดยการรักษากิริยามารยาท” จากการสังเกตพบว่า ด.ช.เก้า พูดกับผู้ใหญ่จะต้องมีคำว่า “ค่ะ” ต่อท้ายทุกครั้ง ด.ช.เก้า เล่าว่า “มีเพื่อนหลายคน แต่ ด.ญ.ภัทร เป็นเพื่อนที่คบกันมานานมีความจริงใจ ให้คำแนะนำแต่สิ่งที่ดีเสมอ เคยแนะนำว่าการทำตัวเป็นเด็กดี เคารพและเชื่อฟังผู้ใหญ่ทำให้เป็นที่รักใคร่ของพ่อแม่ และยังเป็นคนชักชวนให้ไปเรียนพุทธศาสนา” แสดงให้เห็นว่า ด.ช.เก้า เลือกคบเพื่อนดี
การทำกิจกรรมและบำเพ็ญประโยชน์
กิจกรรมที่จัดขึ้นในชุมชน ด.ช.เก้า เล่าให้ฟังว่า “ได้ไปช่วยงานประเพณีสงกรานต์ทุกปี การไปช่วยงานได้เรียนรู้การเข้าสังคม การปฏิบัติตน การได้เห็นรูปแบบการจัดงาน การเสียสละเพื่อส่วนรวม เป็นการกระทำที่สังคมกำลังต้องการ เด็กควรให้ความร่วมมือและจดจำประเพณีของชุมชน และรักษาไว้ตลอดไป” จากการสังเกตและพูดคุย กับ ด.ช.เก้า เพื่อนๆ และชาวชุมชน พบว่า ด.ช.เก้า มีการคบเพื่อนดีเพื่อนได้ให้คำแนะนำแต่สิ่งที่ดี งานประเพณีสำคัญ ๆ ที่ชาวชุมชนจัดเป็นประจำทุกปี โดยผู้นำชุมชนและผู้ใหญ่ในชุมชนทำเป็นแบบอย่างที่ดี ทำให้ ด.ช.เก้า เป็นเด็กที่มีพฤติกรรมดี
สรุป การถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติจาก บ้าน ของ ด.ช.เก้า มียายเป็นตัวแบบที่ดีมีการถ่ายทอดวิธีปฏิบัติ โดยอบรมสั่งสอนให้มีความเชื่อในการกระทำความดีของตน ส่วน โรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ พระอาจารย์ได้นำหลักธรรมคำสอนทางพุทธศาสนาที่เหมาะแก่วัยของเด็ก ได้แก่ การทำความดี การมีความกตัญญูต่อบุพการี สิ่งที่ลูกควรปฏิบัติต่อพ่อแม่หรือผู้มีพระคุณ ทำให้ ด.ช.เก้า สามารถแยกแยะความดีความดีชั่วได้ การปฏิบัติธรรม การเดินจงกลม เป็นการกล่อมเกลาจิตใจให้สงบรู้เท่าทันอารมณ์ของตน ส่วน ชุมชน การจัดกิจกรรมต่าง ๆ ของผู้นำชุมชนและผู้ใหญ่ในชุมชนเป็นแบบอย่างของการเสียสละและความร่วมมือของชาวชุมชน ด.ช.เก้า ได้ซึมซับสิ่งที่ดีงามจากชุมชนทำให้มีพฤติกรรมดี
9 6
กรณีศึกษาที่ 10
ด.ญ.สิบ อายุ 11 ปี อยู่บ้านเลขที่ 119 ซอยจรัญสนิทวงศ์ แขวงวัดท่าพระ
เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร เรียนอยู่ในระดับชั้นประถมปีที่ 5 โรงเรียนวัดท่าพระ บิดามารดามีอาชีพรับจ้าง มีพี่น้อง 2 คน ด.ญ.สิบ เป็นบุตรคนโต มีน้องสาวและน้องชายอย่างละ 1 คน อาศัยอยู่กับบิดามารดา
สัมพันธภาพในครอบครัว
นายสมัย กินยืน (2546, ธันวาคม 10) อายุ 39 ปี บิดาเล่าให้ฟังว่า “ทุกวันได้ออกไปทำงานแต่เช้าและกลับเย็น มารดาเป็นผู้เตรียมอาหารเช้าไว้ให้ลูก ๆ ด.ญ.สิบ จะดูแลน้อง ๆ อาบน้ำแต่งตัวให้ และทานอาหารก่อนไปโรงเรียน ด.ญ.สิบ พาน้องไปโรงเรียนและพากลับบ้านหลังเลิกเรียน หากมีการบ้านก็จะทำให้เสร็จก่อนและช่วยสอนการบ้านให้น้อง มีเวลาอยู่พร้อมหน้าและพูดคุยกันทั้งครอบครัวเฉพาะเวลารับประทานอาหารเย็น ซงไม่บ่อยนัก” ด.ญ.สิบ เล่าว่า “หนูโชคดีที่น้องทั้งสองคนไม่ดื้อ ไม่ซน ช่วยเหลือตนเองได้ เมื่อทานอาหารเช้าเสร็จ ล้างจานเรียบร้อย หนูจะพาน้องไปโรงเรียนเวลา 07.30 น. อาหารกลางวันโรงเรียนจัดให้ เวลา 15.45 น. โรงเรียนเลิกถ้าไม่มีเรียนเสริม หนูก็จะพาน้องกลับบ้าน ทำการบ้านและสอนการบ้านน้อง หุงข้าวเตรียมไว้ มารดาจะกลับจากทำงานประมาณ 17.30 น. ซื้ออาหารมาให้พวกหนูได้ทาน” นางแดง ซึ่งเป็นมารดาของ ด.ช.เก้า เล่าว่า “ได้สอนลูก ๆ ทุกคนให้รักกัน ช่วยเหลือกัน อย่าทะเลาะกัน แม่ไม่มีเวลาที่จะอบรมลูก แต่แม่เชื่อว่าลูกทุกคนเป็นคนดีได้”
การอบรมเลี้ยงดูตามแนวพุทธ
การให้ทาน นางแดง กินยืน (2546, ธันวาคม 10) อายุ 32 ปี มารดาเล่าว่า “ได้พาลูกไปทำบุญใส่บาตรในวันหยุดที่วัดท่าพระเป็นประจำ มี ด.ญ.สิบ ช่วยเตรียมอาหารและใส่ปิ่นโต ให้พร้อม” ด.ญ.สิบ เล่าว่า “คุณแม่ให้หนูประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่น้อง คุณแม่ไม่มีเวลาที่จะอบรมสั่งสอน แต่คุณแม่บอกว่า แม่สบายใจที่หนูทำงานได้ด้วยตนเอง”
การรักษาศีล นางแดง กินยืน (2546, ธันวาคม 10) เล่าว่า “ไม่ได้เคร่งครัด แต่ก็ต้องประพฤติตนเป็นคนดี เพื่อเป็นตัวอย่างแก่ลูก ๆ และได้เตือนลูกเสมอว่าให้ห่างไกลยาเสพติด”
การปฏิบัติธรรม นางแดง กินยืน (2546, ธันวาคม 10) เล่าให้ฟังถึงการปฏิบัติธรรมว่า “ที่บ้านจะไม่ค่อยมีเวลา แต่ก็รู้ว่าการปฏิบัติธรรมเป็นสิ่งที่ดี จะแนะนำลูกให้รู้ถึงประโยชน์ที่ได้รับ มีสติ ทำตนให้มีอารมณ์ดี ใจเย็น ไม่โกรธง่าย เป็นต้น”
9 7
วิถีชีวิตแบบพุทธ
นางแดง กินยืน (2546, ธันวาคม 10) กล่าวว่า “เชื่อในการกระทำความดีของตน ไม่ว่าจะทาง กาย วาจา ใจ สิ่งที่ตนเองคิดและกระทำเสมอคือความซื่อสัตย์และตั้งใจจริงในการทำงาน จะสอนลูก ๆ ให้เอาเป็นแบบอย่าง” ด.ญ.สิบ บอกว่า “คุณแม่เป็นคนขยัน อดทน คุณแม่จะเป็นห่วงลูก ๆ และย้ำเตือนเสมอว่าอย่าไปยุ่งเกี่ยวยาเสพติด หนูภูมิใจในตัวคุณแม่มาก”
จากการสังเกตและสัมภาษณ์ ด.ญ.สิบ และมารดา พบว่า บ้านมีบทบาทในการถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติให้กับ ด.ญ.สิบ โดยมีมารดาเป็นผู้ถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติด้วยวิธีการอบรมสั่งสอนให้มีความเชื่อในการทำความดีของตน
การถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติจากโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์
การถ่ายทอดคุณธรรมจริยธรรม
พระธีรยุทธ (2546, ธันวาคม 7) อายุ 52 ปี กล่าวว่า “จะสอนให้เด็กทำความดี ได้แก่ การทำบุญให้ทาน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีจิตใจเมตตากรุณา” “พระอาจารย์จะยกตัวอย่างคนที่ทำดีเพื่อสังคม เช่น เจ้าอาวาสวัดพระบาทน้ำพุ จังหวัดลพบุรี ที่ดูแลรักษาผู้ป่วยโรคเอดส์ เป็นต้น” ด.ญ.สิบ กล่าวว่า “คำสอนของพระอาจารย์หนูนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี เช่น หนูต้องดูแลและเลี้ยงน้องทุกวันหากหนูไม่มีจิตใจเอื้อเฟื้อและเมตตา หนูคงจะทะเลาะกับน้องทุกวัน”
การส่งเสริมการเป็นพุทธมามกะ
พระอุดม (2546, ธันวาคม 2) อายุ 37 ปี กล่าวว่า “นักเรียนทุกคนจะต้องผ่านพิธีประกาศตนเป็นพุทธมามกะ เพื่อแสดงว่าเป็นผู้รับนับถือพระพุทธเจ้าว่าเป็นของตน และยอมรับนับถือพระพุทธศาสนาประจำชีวิตของตน” ด.ญ.สิบ กล่าวว่า “การได้แสดงตนเป็นพุทธมามกะ ทำให้หนูเกิดความเชื่อและศรัทธาในพระพุทธศาสนามากขึ้น เพราะหลังจากประกาศตนเป็นพุทธมามกะแล้วพระอาจารย์จะให้อาราธนารับศีล พร้อมทั้งทำความเข้าใจและชี้ให้เห็นประโยชน์การแสดงตนเป็นพุทธมามกะของชาวพุทธ”
การเรียนรู้
พระอาจารย์อุดม (2546, ธันวาคม 2) อายุ 37 ปี กล่าวว่า “โรงเรียนมีหลักสูตรที่กำหนดให้จัดการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ โดยยึดหลักไตรสิกขา นอกจากการเรียนในห้องเรียนแล้ว ได้จัดกิจกรรมเสริมให้นักเรียน มีการตอบปัญหาธรรมะในวันสำคัญทางศาสนา การปฏิบัติธรรม การเดินจงกลม” ด.ญ.สิบ เล่าว่า “การปฏิบัติธรรม การเดินจงกลม หนูคิดว่ามีประโยชน์มาก ปกติหนูจะเป็นคนใจ
9 8
ร้อน ไม่ค่อยมีสมาธิ การได้ฝึกสมาธิและเดินจงกลม กับพระอาจารย์บ่อย ๆ ทำให้หนูรู้ตัวเองว่า สมาธิดีขึ้น ใจเย็นขึ้น”
จากการสังเกตและสัมภาษณ์ ด.ญ.สิบ และพระอาจารย์ พบว่า โรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ มีวิธีในการถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติด้วยการสอนให้เป็นคนดี ให้แสดงตนเป็นพุทธมามกะ การให้ความรู้ตามหลักไตรสิกขา หลักธรรมแห่งพระพุทธศาสนา และการปฏิบัติธรรม การเดินจงกลม เพื่อกล่อมเกลาจิตใจ ให้สงบเย็น รู้เท่าทันอารมณ์ของตน สิ่งเหล่านี้น่าจะทำให้ ด.ญ.สิบ เป็นคนดีมีคุณธรรมจริยธรรมดังที่ปรากฏและกล่าวมาข้างต้น
การถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติจากชุมชน
บริบทชุมชน
ชุมชนวัดท่าพระ ตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับวัด และชาวชุมชน มีความภาคภูมิใจ และศรัทธาในหลวงพ่อเกษรพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักและนับถือของคนย่านฝั่งธน เมื่อมีงานบุญที่ทางวัดจัดขึ้น ชาวชุมชนจะร่วมแรงร่วมใจกันไปช่วยงานด้วยความศรัทธา งานประเพณีสำคัญที่พุทธศาสนิกชนในชุมชนแห่งนี้และประชาชนผู้มีจิตศรัทธาร่วมกันจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี งานใหญ่ประจำปีคือ งานแห่ผ้าไตรหลวงพ่อเกษร ซึ่งจัดขึ้นเดือน 5 ของทุกปี ในงานประเพณีดังกล่าว ชาวชุมชนทั้งเด็กและผู้ใหญ่จะมาช่วยงานเป็นประจำ ทำให้ลูกหลานได้พบเห็นและจำไว้เป็นแบบอย่าง
การคบเพื่อน
ด.ญ.ณัฐนันท์ ยิ้มหิรัญทรัพย์ (2546, ธันวาคม 17) อายุ 12 ปี เพื่อนสนิท กล่าวว่า “ด.ญ.สิบ มีอุปนิสัยดี ขยัน เสียสละ ร่วมกิจกรรมของโรงเรียนและชุมชนเสมอ” ด.ญ.สิบ เล่าว่า “ด.ญ.ณัฐนันท์ เป็นเพื่อนที่ดี ช่วยเหลือให้คำแนะนำแต่สิ่งที่ดีเสมอ เช่น ให้ห่างไกลยาเสพติด เพราะจะทำให้เสียคน สนใจการเรียนให้มาก และได้ช่วยสอนการบ้านวิชาคณิตศาสตร์ด้วย”
การทำกิจกรรมและบำเพ็ญประโยชน์
ด.ญ.ณัฐนันท์ ยิ้มหิรัญทรัพย์ (2546, ธันวาคม 17) เล่าว่า “ชุมชนจะจัดงานประเพณีขึ้นทุกปี ที่สนุกได้แก่ งานประเพณีสงกรานต์ หนูและ ด.ญ.สิบ จะไปร่วมงานทุกครั้ง” ด.ญ.สิบ กล่าวว่า “การไปร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชน เป็นสิ่งที่แสดงถึงการให้ความร่วมมือแก่ส่วนรวม ได้เรียนรู้ และเป็นแบบอย่าง รู้สึกดีใจที่ได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชน และคิดว่าจะช่วยดำรงรักษาให้เป็นวัฒนธรรมที่ดีตลอดไป”
9 9
จากการสังเกตและพูดคุย กับ ด.ญ.สิบ เพื่อนสนิท และผู้นำชุมชน พบว่า เพื่อนแนะนำสิ่งที่ดี พิธีกรรมทางศาสนา งานประเพณีสำคัญ ๆ ที่ชาวชุมชนจัดเป็นประจำทุกปี โดยผู้นำชุมชนและผู้ใหญ่ในชุมชนทำเป็นแบบอย่างที่ดีในการเสียสละและความร่วมมือ
สรุป การถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติจากทาง บ้าน ของ ด.ญ.สิบ มีเป็นแบบอย่างที่ดีมีการถ่ายทอดวิธีปฏิบัติ โดยมารดาสั่งสอนให้มีความเชื่อในการกระทำความดีของตน ส่วน โรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ พระอาจารย์ได้นำหลักธรรมคำสอนทางพุทธศาสนาที่เหมาะแก่วัยของเด็ก ได้แก่ การทำความดี การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีเมตตากรุณา การปฏิบัติธรรม การเดินจงกลม ช่วยให้จิตเป็นสมาธิอีกด้วย ส่วน ชุมชน คำแนะนำที่ดีของเพื่อน การจัดกิจกรรมต่าง ๆ ของผู้นำชุมชนและผู้ใหญ่ในชุมชน เป็นแบบอย่างของการเสียสละและความร่วมมือของชาวชุมชน สมควรที่ชนรุ่นหลังจะเอาเป็นแบบอย่างเพื่อสืบทอดต่อไป
บทที่ 5
สรุป อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
การศึกษาเรื่อง “การถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติต่อวัยรุ่น” เป็นการศึกษาวิธีการถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติของบิดามารดา ผู้ปกครอง พระอาจารย์ เพื่อน ๆ และผู้นำชุมชน ที่ทำให้เยาวชนเป็นคนดีของสังคม สามารถปรับตนให้มีความสอดคล้องกับวิถีชีวิตในสังคมปัจจุบันได้อย่างสงบสุข วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษา วิธีการถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติของ บ้าน โรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ และชุมชน ที่ส่งผลให้วัยรุ่นมีคุณธรรมจริยธรรม
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดย ใช้วิธีเข้าไปทำความรู้จัก สร้างความคุ้นเคย สังเกต และสัมภาษณ์เจาะลึกเป็นรายบุคคล เปิดโอกาสให้กรณีศึกษาพูดคุยได้อย่างอิสระในสิ่งที่เป็นภูมิหลังของครอบครัว ความสัมพันธ์ โรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ และชุมชน เพื่อหาความสัมพันธ์และบรรยากาศในครอบครัว ความเชื่อและศรัทธาในหลักธรรม ความสัมพันธ์กับโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ และความสัมพันธ์ในชุมชน ผู้วิจัยได้ใช้คำถามโดยอาศัยการพูดคุยแบบไม่เป็นทางการ และใช้การสังเกตแบบมีส่วนร่วม
สรุปผลการวิจัย
ผลการศึกษา เรื่อง การถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติต่อวัยรุ่น สรุปได้ดังนี้
1. บ้านหรือครอบครัว มีวิธีการถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติ โดยการสอนให้เด็กทำบุญใส่บาตร และบิดามารดาหรือญาติผู้ใหญ่ปฏิบัติตามศีลห้าเป็นตัวอย่างให้เด็กปฏิบัติตาม
2. โรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ มีวิธีการถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติโดยให้เด็กเข้าร่วมพิธี
ประกาศตนเป็นพุทธมามกะ และสอนให้ประพฤติปฏิบัติตนตามศีลห้าและทำกิจกรรมเสริม
3. ชุมชุมมีวิธีการถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติ ด้วยการให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำบุญ และทำกิจกรรมในวันสำคัญทางศาสนาที่ชุมชนจัดขึ้น โดยสมาชิกชุมชนปฏิบัติตนเป็นแบบอย่าง
101
จากผลการศึกษาครั้งนี้ สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาเยาวชนให้เป็นคนดีมีคุณธรรมจริยธรรมของสังคมได้
การอภิปรายผลการวิจัย
การถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติต่อวัยรุ่น
ผลการศึกษาวิธีการถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติต่อวัยรุ่นจากสถาบัน บ้าน โรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ และชุมชน สรุปในภาพรวมได้ดังนี้
บ้านหรือครอบครัว ผลการศึกษา 10 กรณีศึกษา พบว่า มีวิธีการถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติ โดยการสอนเด็กรู้จักทำบุญ ใส่บาตร และปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีให้เด็กปฏิบัติตามศีลห้า ซึ่งกรณีศึกษาที่มีฐานะยากจน ต้องช่วยพ่อแม่ดูแลบ้านและน้อง บางครอบครัวพ่อแม่แยกกันต้องอยู่กับญาติผู้ใหญ่ เช่น กรณีศึกษาที่ 1, 2, 3, 5 และ 9 โดยกรณีศึกษาที่ 1 มีย่าเป็นตัวแบบในการถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติ สอนให้หลานรักนวลสงวนตัว แต่งกายมิดชิด ไม่เที่ยวกลางคืน และสอนให้มีความกตัญญู กรณีศึกษาที่ 2 มีป้าเป็นตัวแบบ สอนให้หลานเป็นคนกตัญญู แบ่งเบาภาระงานบ้านและดูแลน้อง กรณีศึกษาที่ 3 มีย่าเป็นตัวแบบที่ดี สอนให้มีความกตัญญูและกรณีศึกษาที่ 5 และ 9 มียายเป็นตัวแบบสอนให้หลานเป็นคนดี มีความกตัญญู และมีสัมมาคารวะต่อผู้ใหญ่ ซึ่งการอบรมเลี้ยงดูนี้มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของเด็ก เป็นการขัดเกลาให้เด็กเป็นคนดี วิธีการอบรมเลี้ยงดูของบิดามารดา ซึ่งเป็นตัวแบบของครอบครัว บิดามารดาส่วนใหญ่จะให้ความรักความเอาใจใส่ต่อบุตร ควบคุมดูแลให้บุตรเป็นคนมีระเบียบวินัย มีความรับผิดชอบ พึ่งพาตนเองได้ และรู้จักแบ่งปันกัน สอนให้ทำงานเป็น ส่งผลให้บุตรประพฤติดี มีความรับผิดชอบ ช่วยเหลือเอื้ออาทรต่อกัน มีความกตัญญูกตเวทีต่อบิดามารดาและญาติผู้ใหญ่ ซึ่งเห็นได้จากกรณีศึกษาที่ 4, 6, 7, 8 และ 10 ที่มีพ่อ แม่ เป็นตัวแบบ มีวิธีการถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติ โดยปฏิบัติเป็นตัวอย่าง เช่นการทำบุญตักบาตร สอนบุตรให้พึ่งตนเอง ช่วยเหลือพ่อแม่แบ่งเบางานบ้าน และเลี้ยงน้อง ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของงามตา วนินทานนท์ (2536 : 123-124) ที่ได้อธิบายถึงการอบรมเลี้ยงดูบุตรว่า เป็นหน้าที่สำคัญของครอบครัวในการปลูกฝังจิตลักษณะที่สำคัญและวิธีการอบรมเลี้ยงดูบุตร จะส่งผลข้องเกี่ยวกับพัฒนาการทางจิตใจและพฤติกรรมของบุตร และสอดคล้องกับผลการศึกษาของสุชิรา บุญทัน (2541: บทคัดย่อ) ที่พบว่า ปัจจัยทางครอบครัวที่สัมพันธ์กับจริยธรรมด้านความกตัญญูกตเวที ลักษณะครอบครัวและอาชีพผู้ปกครอง มีความสัมพันธ์กับจริยธรรมด้านความกตัญญูกตเวที ลักษณะการอบรมเลี้ยง
102
ดู อาชีพของผู้ปกครอง และประเภทของครอบครัว สามารถพยากรณ์จริยธรรมด้านความกตัญญูกตเวทีได้ทั้งหมด โดยปัจจัยด้านลักษณะการเลี้ยงดูสามารถพยากรณ์จริยธรรมด้านความกตัญญูกตเวทีได้ดีที่สุด จึงสรุปได้ว่า แนวคิดด้านการอบรมเลี้ยงดูบุตรตามแนวพุทธศาสนา วิถีชีวิตแนวพุทธ และสัมพันธภาพในครอบครัวมีความสำคัญต่อพฤติกรรมของเด็กโดยเฉพาะเด็กวัยรุ่น
โรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ พบว่า มีวิธีการถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติ โดยให้เด็กเข้าร่วม
พิธีประกาศตนเป็นพุทธมามกะ และสอนให้ประพฤติปฏิบัติตนตามศีลห้า ทำให้เด็กได้รับการถ่ายทอด
คุณธรรมจริยธรรม มีการส่งเสริมการเป็นพุทธมามกะ และการเรียนรู้หลักธรรมคำสอนทางพระพุทธ ศาสนาจากพระอาจารย์ ซึ่งใช้หลักไตรสิกขา ประกอบด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา มาเป็นหลักในการสอน ให้เด็กมีความศรัทธา และเชื่อในการทำความดี มีมารยาทที่ดี มีความกตัญญูและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ โดยเห็นได้จากการประพฤติตนเป็นคนดี ช่วยเหลือครอบครัว และสังคม ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของ งามตา วนินทานนท์ (2536: 55-59) ที่ชี้ให้เห็นว่า การส่งเสริมให้เป็นพุทธมามกะ ต้องอบรมสั่งสอนให้เข้าใจเนื้อหาของพุทธศาสนาอย่างถูกต้อง เปิดโอกาสให้เด็กแสดงความคิดเห็น และชี้ให้เห็นความสำคัญของศาสนา อาจจะถ่ายทอดโดยการเปลี่ยนความคิด ความเชื่อ และการปฏิบัติของเด็กด้วยการจูงใจตามหลักการเปลี่ยนทัศนคติ ได้แก่ ก่อให้เกิดความสนใจรับทราบ เข้าใจเนื้อความ และเกิการยอมรับหรือเปลี่ยนตาม จึงสรุปได้ว่าความเชื่อ และศรัทธาที่วัยรุ่นมีต่อหลักธรรมทางพุทธศาสนามีอิทธิพลมากที่สุดต่อพฤติกรรมของวัยรุ่นให้เป็นคนดี มาจากการอบรมสั่งสอน และได้รับการถ่ายทอดจากพระอาจารย์ ของโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์
ชุมชน ผลการศึกษา 10 กรณีศึกษา พบว่า ชุมชนมีวิธีการถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติ ด้วยการ
ให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำบุญ และกิจกรรมในวันสำคัญทางศาสนาที่ชุมชนปฏิบัติสืบต่อกันมา โดย สมาชิกชุมชนปฏิบัติตนเป็นแบบอย่าง ทั้งนี้เพราะสภาพแวดล้อมทางสังคมที่อยู่ใกล้วัด และมีการเข้าร่วมทำบุญตามเทศกาลต่างๆ ของวัดอยู่เสมอ ทำให้เด็กซึมซับวัฒนธรรมประเพณีที่สืบทอดกันมา เห็นได้จากทั้ง 10 กรณีศึกษา ที่เรียนอยู่ในโรงเรียนพุทธศาสนา จะช่วยเหลือกิจกรรมต่างๆ ของวัด และช่วยกิจกรรมในชุมชนทุกกรณีศึกษา ทั้งนี้จากการศึกษาพบว่า เกิดจากการถ่ายทอดจากบริบทชุมชน ทางด้านสังคมได้มีการช่วยงานชุมชนในการทำบุญ และกิจกรรมตามประเพณีต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ ทำให้เด็กมีความภาคภูมิใจที่ได้ร่วมกิจกรรมและบำเพ็ญประโยชน์ต่อส่วนรวม ที่มีสภาพเอื้อต่อการกระทำความดีของบุคคล กระตุ้นให้บุคคลมีความซื่อสัตย์ และผลักดันให้บุคคลกระหายที่จะกระทำดีแล้ว ซึ่งสอดคล้องกับ
103
แนวคิดของศักดิ์ไทย สุรกิจบวร (2545 : 96-98) ที่ชี้ให้เห็นถึงอิทธิพลของการรับรู้ทางสังคมที่มีผลต่อพฤติกรรมของบุคคล เป็นความพยายามของบุคคลที่จะทำความเข้าใจพฤติกรรมทางสังคมของบุคคลอื่น ๆ เพื่อต้องการที่จะค้นหาว่าบุคคลมีเจตนา หรือความต้องการอะไรอยู่เบื้องหลังของพฤติกรรมนั้น เป็นการควบคุมความสัมพันธ์ให้คงอยู่ในขอบเขตที่บุคคลต้องการ สภาพแวดล้อมทางสังคมจึงเป็นตัวแปรหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของวัยรุ่น และมีผลต่อการปลูกฝังพฤติกรรมจริยธรรมในช่วงวัยต่าง ๆ ของชีวิต ทั้งนี้เพราะบรรยากาศของชุมชน กิจกรรม สถานที่ การประกอบอาชีพ รายได้ การดำเนินชีวิตของคนในชุมชน เป็นสิ่งที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องอย่างยิ่งต่อความคิดและพฤติกรรมของวัยรุ่นและคนในสังคมนั้น จึงสรุปได้ว่าสภาพแวดล้อมเป็นองค์ประกอบที่มีความสำคัญที่ก่อเกิดจริยธรรมในบุคคลได้สูง
ข้อเสนอแนะ
ผลจากการศึกษาครั้งนี้ พบประเด็นสำคัญที่มีอิทธิพลต่อของวัยรุ่น ได้แก่ สถาบันทางศาสนา เป็นสถาบันที่มีความสำคัญที่ส่งผลแก่วิธีการถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติต่อวัยรุ่นมากที่สุด การสอนในโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ พระอาจารย์มีบทบาทสำคัญในการถ่ายทอดหลักธรรมคำสอน วิธีการปฏิบัติที่ถูกต้องสำหรับวัยรุ่น กระตุ้นให้เด็กมีความเชื่อและศรัทธาในการทำความดี รู้จักกฎแห่งกรรมจึงควรส่งเสริมให้มีการสอนหลักธรรมแก่เด็กมากขึ้น
ผลการศึกษาการถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติจากครอบครัว บิดามารดา ญาติผู้ใหญ่ มีบทบาทในการถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติต่อวัยรุ่น ส่งผลให้วัยรุนเป็นคนดีมีคุณธรรมจริธรรม ซึ่งการถ่ายทอดของบิดามารดาเป็นการขัดเกลาที่สำคัญ จะส่งผลต่อพฤติกรรมของเด็ก แต่ในสังคมปัจจุบันบิดามารดามักไม่มีเวลาให้กับบุตร จึงส่งผลให้เด็กต้องพึ่งตนเอง และไม่มีหลักในการดำรงชีวิตที่ดี บิดามารดาควรให้ความรักและอบอุ่นต่อบุตร เพื่อถ่ายทอดสิ่งที่ดีงามเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตในอนาคตของเด็ก
ผลการศึกษาด้านบริบทชุมชน พบว่า ชุมชนที่มีการสืบทอดธรรมเนียมประเพณีและถือปฏิบัติวิถีพุทธ จะมีส่วนในการขัดเกลาทางสังคม ทำหน้าที่ทักทอความคิดแก่บุคคลในชุมชน ให้มีจิตสำนึกในการดำรงไว้และสืบต่อไปส ู่อนุชนรุ่นหลัง การเสียสละ การร่วมกิจกรรมของบุคคลในชุมชนจะเป็นแบบอย่างที่ดีแก่วัยรุ่น ซึ่งจะส่งผลต่อพฤติกรรมที่ดีของวัยรุ่นในชุมชนโดยตรง ผู้นำชุมชนควรดูและเอาใจใส่สภาพแวดล้อมของชุมชน ดูแลเอาใจใส่ และช่วยเหลือเยาวชนของชุมชนให้เป็นคนดี
104
ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป
1. ควรศึกษาองค์ประกอบอื่นที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของวัยรุ่นในด้านคุณธรรมจริยธรรม
2. ควรศึกษาวิถีการถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติจากโรงเรียนอื่น เพื่อนำผลที่ได้มาเป็นแนวทางในการขัดเกลาเยาวชนให้เป็นคนดี
บรรณานุกรม
กรมวิชาการ. (2523). การประชุมทางวิชาการเกี่ยวกับจริยธรรมไทย. กรุงเทพฯ:
กองวิจัยการศึกษา.
กระบี่ ชลวิทย์. (2543). ครอบครัวที่มีคุณภาพในทัศนะของพนักงานธนาคารทหารไทย
ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต
(การบริหารและนโยบายสวัสดิการสังคม) : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ.
กิติมา สุรสนธิ. (2543). ความรู้ทางการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: คณะวารสารศาสตร์และสื่อมวลชน
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ขบวน พลตรี. (2530). มนุษย์กับสังคม. (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์).
ขวัญเรือน ลานมืองาม. สัมภาษณ์, 22 ธันวาคม 2546
คณะกรรมการพัฒนาการศึกษาอบรมเลี้ยงดูเด็ก. (2535). รายงานการศึกษาแนวทางการพัฒนา
คุณธรรมจริยธรรม. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
งามตา วนินทานนท์. (2528). รายงานวิจัยฉบับที่ 50 ลักษณะทางพุทธศาสนาและ
พฤติกรรมศาสตร์ของบิดามารดาที่เกี่ยวข้องกับการอบรมเลี้ยงดูบุตร. กรุงเทพฯ:
สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
________. (2536). ลักษณะทางพุทธศาสนาและพฤติกรรมศาสตร์ของบิดามารดาที่
เกี่ยวข้องกับการอบรมเลี้ยงดูบุตร. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
จิรินี ฮวบนรินทร์.(2542). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมทางสังคม การบรรลุ
งานตามขั้นพัฒนาการและพฤติกรรมการพึ่งตนเองของวัยรุ่นในกรุงเทพมหานคร.
วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต(จิตวิทยาพัฒนาการ) มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
จารึก ลายมืองาม. สัมภาษณ์, 22 ธนวาคม 2546.
จุฑามณี จาบตะขบ. (2542). การศึกษาปัจจัยที่ทำให้คนทำความดีเพื่อสังคม: ศึกษาเฉพาะ
กรณีบุคคลที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ ตำบลกำแพงดิน อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร.
วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2528). สถานภาพการศึกษาเรื่องคติความเชื่อของไทย. กรุงเทพฯ:
โครงการไทยศึกษา ฝ่ายวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ฉวีวรรณ กุสุมาลย์. สัมภาษณ์, 27 ธันวาคม 2546.
106
ฉวีวรรณ แสงอาทิตย์. สัมภาษณ์, 15 ธันวาคม 2546.
ฉลวย สังฆะตะวรรธณ์. สัมภาษณ์, 24 ธันวาคม 2546.
ฉันทนา มุติ. (2540). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการอบรมเลี้ยงดูการสนับสนุนทาง
สังคมการบรรลุงานตามขั้นพัฒนาการและพฤติกรรมพลเมืองดีของวัยรุ่นในภาคใต้.
วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต(จิตวิทยาพัฒนาการ) มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
เฉลิม กุสุมาลย์. สัมภาษณ์, 27 ธันวาคม 2546.
ฉันทนา มุติ. (2540). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการอบรมเลี้ยงดูการสนับสนุนทาง
สังคมการบรรลุงานตามขั้นพัฒนาการและพฤติกรรมพลเมืองดีของวัยรุ่นในภาคใต้.
วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต(จิตวิทยาพัฒนาการ) มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ชลบุษย์ เจริญสุข. (2540). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการอบรมเลี้ยงดู การสนับสนุน
ทางสังคม การบรรลุงานตามขั้นพัฒนาการและพฤติกรรมพลเมืองดีของวัยรุ่น
ในภาคตะวันตก. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (จิตวิทยาพัฒนาการ)
มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ชาญชัย ยมดิษฐ์. (2528). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติศีลห้าตามคำรายงานของนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตการศึกษา 6. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชัยยา โชติดิลก.(2533). การจัดสภานักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญ
ศึกษา กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต,
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ชัยยุทธ ดาผา. (2534). ปัจจัยของการขัดเกลาทางสังคมของพ่อแม่ที่กระทบต่อ
พฤติกรรมการดื่มอัลกอฮอร์ของวัยรุ่น. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ชัยวัฒน์ อัตพัฒน์. (2534). จริยศาสตร์. กรุงเทพฯ : พิมพ์ครั้งที่ 5 สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย
รามคำแหง.
ชัยยา เสรีสุข. สัมภาษณ์, 9 ธันวาคม 2546.
ชุลีพร ม่วงเทศ. สัมภาษณ์, 21 ธันวาคม 2546.
ชำเลือง วุฒิจันทร์. (2522). จริยธรรมในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการ
การศึกษาแห่งชาติ.
107
ฐิติวรรณ สุกใส. (2540). ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการการมีพฤติกรรมคุณธรรมทางพุทธ
ศาสนาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดสมุทรปราการ.
วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขา การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.
ณรงค์ เส็งประชา. (2541). มนุษยวิทยาประยุกต์ในการพัฒนาชุมชน. (กรุงเทพฯ :
สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์).
ณัฐนันท์ ยิ้มหิรัญทรัพย์. สัมภาษณ์, 17 ธันวาคม 2546.
ดวงเดือน พันธุมนาวิน. (2522). ตำราจิตวิทยา การพัฒนาจริยธรรม. กรุงเทพฯ: สถาบัน
วิจัยพฤติกรรมศาสตร์.
ดวงเดือน พันธุมนาวิน และเพ็ญแข ประจนปัจจนึก. (2520). จริยธรรมของเยาวชนไทย.
กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ประสานมิตร.
________. (2524). รายงานการวิจัยเรื่อง ความสัมพันธ์ภายในครอบครัวกับสุขภาพจิตและ
จริยธรรมของนักเรียนวัยรุ่นไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
_______. (2526) . จุลสารฉบับที่ 4 ครูกับการปลูกฝังจริยธรรมแก่นักเรียน.
สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
ดวงเดือน พันธุมนาวิน และคณะ. (2528). เรื่องปัจจัยทางจิตวิทยานิเวชที่เกี่ยวกับการ
อบรมเลี้ยงดูเด็กของมารดาไทย. รายงานการวิจัยฉบับที่ 32 กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัย
พฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
_______. (2524). คุณธรรมที่พึงประสงค์ของเยาวชนไทย. กรุงเทพฯ:
สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
_______. (2529). รายงานการวิจัย เรื่อง การควบคุมอิทธิพลสื่อมวลชนของครอบครัว
กับจิตลักษณะที่สำคัญของเยาวชนไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
_______. (2539). ทฤษฎีต้นไม้จริยธรรม การวิจัยและพัฒนาบุคคล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ดวงเดือน พันธุมนาวิน อรพินทร์ ชูชม และงามตา วนินทานนท์. (2528). ปัจจัยทาง
จิตวิทยานิเวศน์ที่เกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กของมารดาไทย. กรุงเทพฯ:
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
108
ดวงมาลย์ กุสุมาลย์. สัมภาษณ์, 21 ธันวาคม 2546.
เดโช สวนานนท์. (2518). จิตวิทยาสังคม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.
แดง กินยืน. สัมภาษณ์, 10 ธันวาคม 2546.
เตือนใจ ปิ่นทองคำ. สัมภาษณ์, 18 ธันวาคม 2546.
ทัศนา ทองภักดี. (2528). ความสัมพันธ์ระหว่างการอบรมเลี้ยงดูแบบใช้เหตุผลกับความ
เชื่ออำนาจภายในตนของเด็กวัยรุ่นไทย.ปริญญานิพนธ การศึกษามหาบัณฑิต
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
นพรัตน์ มาลาล้ำ. สัมภาษณ์, 7 ธันวาคม 2546.
นฤมล สุคนธสังข์. สัมภาษณ์, 7 ธันวาคม 2546.
นงลักษณ์ เอมประดิษฐ์. (2542). นักสังคมสงเคราะห์กับการพัฒนาสังคม. (กรุงเทพฯ :
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
นวลวรรณ ฟุ้งไมตรีจิต. ผู้ให้สัมภาษณ์. (2547, กุมภาพันธ์ 27), โรงเรียนวัดท่าพระ.
นภาจรี นำเบ็ญจพล และอมรรัตน์ จันทร์เพ็ญสว่าง. (2537). จิตวิทยาศาสนา ความเชื่อและ
ความจริง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์กองทุน บี.ทราเวน.
บรรทม มณีโชติ.(2530). การศึกษารูปแบบของข้อคำถามวัดลักษณะนิสัยด้านความ
เสียสละ ชนิดคำถามและชนิดสถานการณ์ที่มีต่อคุณภาพของแบบสอน. วิทยานิพนธ์
ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
บุญสวย เชิดเกียรติกุล.(2528). รักลูกให้ถูกทาง. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ธรรมสภา.
บุญปลูก นิ่มละมุล. สัมภาษณ์, 28 ธันวาคม 2546.
ปริศนา คำชื่น.(2540). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการอบรมเลี้ยงดู การสนับสนุนทาง
สังคม การบรรลุงานตามขั้นพัฒนาการและพฤติกรรมพลเมืองดีของวัยเด็กตอนต้นใน
ภาคเหนือ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (จิตวิทยาพัฒนาการ) มหาวิทยาลัย
รามคำแหง.
ปิยะธิดา เหลืองอรุณ. (2540). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการอบรมเลี้ยงดู
การสนับสนุนทางสังคม การบรรลุงานตามขั้นพัฒนาการ และพฤติกรรมพลเมืองดี
ของวัยรุ่นในภาคตะวันออก.วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (จิตวิทยา)
มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ประภาศรี แจ้งศิริ. (2527). ผลของการควบคุมตนเองต่อพฤติกรรมก่อกวนในชั้นเรียนของ
นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์คุรุศาสตร์มหาบัณฑิต
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
109
ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์. (2542). น้ำกับการพัฒนาการทางจริยธรรม (ของเด็กๆ).
มติชนรายวัน. วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2542.
พจนา ทรัพย์สกุลเจริญ. (2541). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติของวัยรุ่นระดับ
มัธยมศึกษาตอนต้นต่อสถาบันครอบครัวไทย. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2530. พิมพ์ครั้งที่ พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ :
สำนักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์.
พวงเพชร สุรัตนกวีกุล. (2541). มนุษย์กับสังคม. (กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์).
พรรณี ชุทัย. (2521)จริยธรรมทางการศึกษา. เอกสารประกอบการสอนวิชา กศ.ส.ค.511.
กรุงเทพฯ: ภาควิชาการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พรรณรพี สาลีกิจ. สัมภาษณ์, 20 ธันวาคม 2546
พระธรรมปิฏก. (2536). จะพัฒนาคนกันอย่างไร (พุทธศาสนากับการพัฒนามนุษย์).
กรุงเทพฯ : บริษัทจากธรรมิก จำกัด.
________. (2538). พุทธธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬ่าลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พระธรรมปิฎก(สนิท เขมจารี ป.ธ.9 ) . ( 2504 ) ." ดี ชั่ว ” .พิมพ์เป็นมุทิตานุสรณ์สมาชิกสภา
พระธรรมถึกในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา.
พระมหาปรีชามหาปัญญโญและคนอื่นๆ.(2532). ธรรมวิภาคบรรยายสำหรับนักธรรมและ
ธรรมศึกษาชั้นตรี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา.
พระราชพิพัฒน์โกศล (โกศลมหาวีโร พธ.ม). (2539). รายงานการวิจัยเรื่อง การวิจัยและพัฒนา
รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดเป็น
ที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการดำรงชีวิตในสังคมไทยสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา.
พระราชวิสุทธิ์โมลี.(2526). หลักธรรมสำหรับพัฒนาธรรมจริยา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์
การศาสนา.
พระวรศักดิ์ วรธัมโม.(2528). พุทธจริยธรรมเพื่อมนุษยชาติ. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด
การพิมพ์พระนคร.
พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตโต). (2526). พุทธธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สุขภาพใจ.
พระอาจารย์ทรงศักดิ์ เขมจาโร, สัมภาษณ์, 7 ธันวาคม 2546.
พระอาจารย์ธีรยุทธ อตถโภวิโท, สัมภาษณ์, 7 ธันวาคม 2546.
พระมหารักเกียรติ สุเมธโส, สัมภาษณ์, 7 ธันวาคม 2546.
พระมหาวิมล โชติธมฺโม. สัมภาษณ์, 15 มกราคม 2546.
110
พระมหาสุนา สุทธิปภาโส, สัมภาษณ์, 7 ธันวาคม 2546.
พระมหาเหวียง อภิวฑฒโณ, สัมภาษณ์, 7 ธันวาคม 2546.
พระอาจารย์อุดม ติกขปญโญ, สัมภาษณ์, 2 ธันวาคม 2546.
________. (2527). สถาบันสงฆ์กับสังคมไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โกมลคุมทอง.
________. (2523). การเสริมสร้างคุณสมบัติทางจริยธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์การศาสนา.
พัทยา สายหู. (2517). กลไกสังคม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬ่าลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภุชงค์ รอดเจริญ. สัมภาษณ์, 14 ธันวาคม 2546.
มนทิยา สุระสิงห์. สัมภาษณ์, 11 ธันวาคม 2546.
มารุต ดำชะอม. (2524). ระดับการให้เหตุผลเชิงจริยธรรมของนักศึกษาวิทยาลัยครูสงขลา.
วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาอุดมศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
ระเบียบ จันทร์แย้ม. สัมภาษณ์, 10 กรกฎาคม 2546.
รัชนีกร เศรษโฐ. (2532). โครงสร้างสังคมและวัฒนธรรมไทย. (กรุงเทพฯ :
บริษัทโรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด).
รัตนา แสงอาทิตย์. สัมภาษณ์, 15 ธันวาคม 2546.
รุ่งนภา ลายมืองาม. สัมภาษณ์, 21 ธันวาคม 2546.
ลัดดาวัลย์ เกษมเนตรและคนอื่นๆ.(2539). รายงานการวิจัยฉบับที่ 60 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อ
การมีวินัย. สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
ลัดดาวัลย์ เกษมเนตร และทัศนา ทองภักดี. (2543). รายงานการวิจัยฉบับที่ 75 รูปแบบการ
แสดงความรักของมารดาที่เกี่ยวข้องกับบุคลิกภาพและพัฒนาการทางอารมณ์
สังคมของเด็ก. สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
วรรณะ บรรจง. (2537). ลักษณะทางศาสนาและพฤติกรรมศาสตร์ของเยาวชนไทยจาก
ชุมชนแผ่นดินธรรมแผ่นดินทองในภาคใต้. ปริญญานิพนธ์ วท.ม (วิจัยพฤติกรรม
ศาสตร์ประยุกต์) กรุงเทพมหานคร : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ประสานมิตร.
. (2541). ลักษณะทางศาสนาและพฤติกรรมศาสตร์ของเยาวชนไทยจากชุมชน
แผ่นดินธรรมแผ่นดินทองในภาคใต้ รางวัลผลงานวิจัยและพัฒนาระบบพฤติกรรมไทย
ประจำปี 2541. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ กรมวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
และสิ่งแวดล้อม.
วิทย์ วิศทเวทย์. (2530). มนุษย์กับปัญหาจริยธรรม. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.
111
วิปัสสนา เสรีสุข. สัมภาษณ์, 7 ธันวาคม 2546.
วัฒนา อัติโชติ. (2540). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการอบรมเลี้ยงดู การสนับสนุน
ทางสังคม การบรรลุงานตามขั้นพัฒนาการและพฤติกรรมพลเมืองดีของวัยรุ่น
ในภาคกลาง. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
วิชาการ,กรม.(2527). โครงการทดลองหารูปแบบที่มีประสิทธิผลต่อการเรียนการสอน
จริยธรรม. กรุงเทพฯ : กองวิจัยการศึกษา กรมวิชาการ.
วิชาการ,กรม. (2528). เอกสารเสริมความรู้สำหรับครูกลุ่มสร้างเสริมลักษณะนิสัย
ศิลปศึกษา ระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ : คุรุสภา.
ศรีวรรณา เขียวลี. (2522). พัฒนาการทางจริยธรรมของนักเรียนในภาคกลาง. วิทยานิพนธ์
ครุศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิริศักดิ์ เขตตานุรักษ์. (2530). การศึกษาเชิงวิจารณ์เรื่องการพัฒนาค่านิยมทางศาสนาและ
จริยธรรมในเด็กก่อนวัยเรียน ศึกษาเฉพาะกรณีโรงเรียนยุวพุทธพิทยา
ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์. บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยมหิดล.
ศุภวัฒน์ ดีสงคราม. (2540). “การเสริมสร้างแบบทดสอบวัดจริยธรรมด้านความไม่เห็น
แก่ตัวสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในจังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์
ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สงวน สุทธิเลิศอรุณ(ผศ). (2529). ทฤษฎีและปฏิบัติการทางจิตวิทยาสังคม. กรุงเทพฯ
อักษรบัณฑิต.
(2543). พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ: อักษราพัฒน์.
สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน. (2542). รายงานการศึกษาวิจัยการศึกษารูปแบบและ
วิธีการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรม. สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
สมาน กำเนิด. (2520). การอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีผลต่อการปรับตัวของเด็ก.
ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต,กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
สนธยา พลศรี. (2543). ทฤษฎีสังคมศาสตร์กับการพัฒนาสังคม. (สุราษฎร์ธานี:
วิทยาลัยครูสุราษฎร์ธานี).
สมพร เทพสิทธา. (2541). ภาวะวิกฤติของสังคมไทยในปัจจุบัน. (กรุงเทพฯ :
สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์).
สมบัติ จันทร์แย้ม. สัมภาษณ์, 10 กรกฎาคม 2546.
สมศักดิ์ มาลาล้ำ. สัมภาษณ์, 14 ธันวาคม 2546.
112
สมร มาลาล้ำ. สัมภาษณ์, 14 ธันวาคม 2546.
สมัย กินยืน. สัมภาษณ์, 10 ธันวาคม 2546.
สารินี สิทธิโชติ. สัมภาษณ์, 15 ธันวาคม 2546.
สิทธิพัฒน์ จงเจริญ. สัมภาษณ์, 21 ธันวาคม 2546.
สุพรรณี รอดเจริญ. สัมภาษณ์, 18 ธันวาคม 2546.
สุพัตรา สุภาพ. (2543). สังคมและวัฒนธรรมไทย. (กรุงเทพฯ : บริษัทโรงพิมพ์
ไทยวัฒนาพานิช จำกัด).
สุรีย์พร จงเจริญ. สัมภาษณ์, 24 ธันวาคม 2546.
สุขุมาน มาสว่าง. (2541). จริยธรรมกับความสามารถในการคิดเป็นของชาวชนบท อำเภอ
วารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุจิตรา บุณยรัตพันธุ์. (2538). ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับรัฐประศาสนศาสตร์. กรุงเทพฯ :
บริษัทจูนพับลิซซิ่ง.
สุชิรา บุญทัน. (2541). ปัจจัยบางประการของครอบครัวที่สัมพันธ์กับจริยธรรมด้านความ
กตัญญูกตเวทีของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในจังหวัดขอนแก่นวิทยาลัย.
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2522). จริยธรรมในสังคมไทย. กรุงเทพฯ:
คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
สำเนียง นิ่มละมุล. สัมภาษณ์, 28 ธันวาคม 2546.
ไสว มาลาทอง. (2542). คู่มือการศึกษาจริยธรรม สำหรับนักเรียน นิสิต นักศึกษา นักบริหาร
นักปกครองและ ประชาชนทั่วไป. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.
บริหารจัดการกองทุนมู่บ้านและชุมชนเมือง.
ศักดิ์ไทย สุรกิจบวร. (2545). จิตวิทยาสังคม : ทฤษฎีและปฏิบัติการ. (กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาสน์).
อรนิภา ทองแท้. สัมภาษณ์, 19 ธันวาคม 2546.
อรษา กินยืน. สัมภาษณ์, 7 ธันวาคม 2546.
อรุณ บุตรแตง. สัมภาษณ์, 13 ธันวาคม 2546.
อมรรัตน์ แสงอาทิตย์. สัมภาษณ์, 14 ธันวาคม 2546.
อารมณ์ จันทร์แย้ม. สัมภาษณ์, 10 กรกฎาคม 2546.
Lindzey , Garder and Aronson ,Elliot .(1969). The Handbook of Social Psychology.
3rd ed. New York : Addison-Wesley Publishing Co.,
Piaget, Jean. (1967). The Moral Judgement of the Child. London: Harcout brace Co.,
113
Spilka, Bernard and Others. (1985). The Psychology of Religion : An Empirical
Approach. Englewood Cliffs, N.J. : Prentice – Hall.
Titus, Harold Happer. (1936). Ethics for Today. New York: American Book Company.
ภาคผนวก
1 1 5
แบบสัมภาษณ์
แนวคำถาม
1. ข้อมูลส่วนบุคคล
- วัน เดือน ปี เกิด
- ลักษณะนิสัยใจคอ
- ความมุ่งหวังในอนาคต
2. สภาพครอบครัว
- สภาพแวดล้อม
- จำนวนสมาชิก
- อาชีพ
- ฐานะทางเศรษฐกิจ
- การปฏิบัติตนของบิดามารดา ผู้ปกครอง ญาติผู้ใหญ่ตามแนวพุทธ
- การอบรมเลี้ยงดูตามแนวพุทธ
3. โรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์
- สภาพแวดล้อม
- หลักสูตรและการเรียนการสอน
- กิจกรรมเสริม
- การปฏิบัติตนในโรงเรียน
- การถ่ายทอดคุณธรรมจริยธรรม
4. ชุมชน
- สภาพแวดล้อม
- กลุ่มเพื่อน การเลือกคบเพื่อน
- การทำกิจกรรมและการบำเพ็ญประโยชน์
1 1 6
แบบสัมภาษณ์พระอาจารย์
แนวคำถาม
1. ประวัติ
- ชื่อ – สกุล – ฉายา
- อายุ – พรรษา – วุฒิการศึกษา
- วิชาที่สอน
- ประสบการณ์ในการสอน
2. อุดมการณ์และแนวทางในการสอน/ความคิดเห็นเกี่ยวกับเยาวชน
1 1 7
ประวัติพระมหา วิมล แซ่ตั๊น
ชื่อ-สกุล พระมหาวิมล แซ่ตั๊น
ฉายา โชติธมฺโม
อายุ อายุ 41 ปี
พรรษา 21 ปี
วุฒิการศึกษา - นักธรรมเอก
- เปรียญธรรมประโยค 3
- พุทธศาสตร์บัณฑิต
อุดมการณ์และแนวคิดในการสอน
ให้เด็กมีส่วนร่วม เช่น ให้เด็กแสดงละครธรรมะ ท่องบทเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อเพิ่มทักษะการใช้ภาษาแก่เด็ก เล่าเรื่องโดยใช้ภาพนิทานชาดกประกอบ เป็นการจูงใจให้เด็กไม่เบื่อและยังได้ข้อคิดเพื่อนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน
ความคิดเห็นเกี่ยวกับเด็ก
เด็กเปรียบเหมือนผ้าขาว จะทำอย่างไรให้ผ้าขาวเหล่านี้คงความขาวอยู่ได้ เป็นสิ่งที่พระอาจารย์ทุกรูปจะต้องช่วยกันบ่มเพาะ ถักทอความคิดให้เด็กด้วยธรรม เพื่อรักษาผ้าให้คงความขาวอยู่ตลอดไป
1 1 8
ประวัติพระอาจารย์ อุดม เกรัมย์
ชื่อ-สกุล พระอาจารย์อุดม เกรัมย์
ฉายา ติกฺขะปญฺโญ
อายุ อายุ 37 ปี
พรรษา 15 ปี
วุฒิการศึกษา - นักธรรมเอก
- พุทธศาสตร์บัณฑิต
อุดมการณ์และแนวคิดในการสอน
ให้เด็กมีส่วนร่วม เช่น ให้เด็กนำข่าวหนังสือพิมพ์มาวิเคราะห์โดยใช้หลักธรรมเข้าไปเปรียบเทียบข่าวต่าง ๆ เพื่อจะแก้สิ่งเหล่านั้นด้วยหลักธรรม จะช่วยให้เด็กได้เพิ่มทักษะในการคิดและแก้ปัญหาให้กับตัวเองได้
ความคิดเห็นเกี่ยวกับเด็ก
การเป็นแบบอย่างที่ดีมีค่ากว่าคำสอน เด็กที่มาเรียนต้องหล่อหลอมจิตใจด้วยธรรมะ ซึ่งจะนำพาเด็กไปสู่การมีพฤติกรรมดีที่พึงประสงค์
1 1 9
ประวัติพระมหาเหวียง เอี่ยมสะอาด
ชื่อ-สกุล พระมหาเหวียง เอี่ยมสะอาด
ฉายา อภิวฑฺฒโน
อายุ อายุ 36 ปี
พรรษา 14 ปี
วุฒิการศึกษา - นักธรรมเอก
- เปรียญธรรมประโยค 4
- พุทธศาสตร์บัณฑิต
อุดมการณ์และแนวคิดในการสอน
เล่าเรื่องนิทานชาดกประกอบธรรมะแต่ละเรื่อง เช่น เรื่องพระเวชสันดรชาดก เกี่ยวกับการบริจาคทาน พระมหาชนก เกี่ยวกับความอดทน มุ่งมั่น เป็นต้น เพื่อให้เด็กได้นำไปเป็นข้อคิดให้กับตนเอง
ความคิดเห็นเกี่ยวกับเด็ก
เด็กที่มาเรียนมีพื้นฐานจากบ้านไม่เหมือนกัน จะต้องทักทอความคิดเด็กให้เหมือนกัน สร้างจิตสำนึกที่ดีให้กับเด็กเพื่อนำไปสู่การมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์
1 2 0
ประวัติพระมหารักเกียรติ ศรีษะเทือน
ชื่อ-สกุล พระอาจารย์รักเกียรติ ศรีษะเทือน
ฉายา สุเมธโส
อายุ อายุ 34 ปี
พรรษา 11 ปี
วุฒิการศึกษา - นักธรรมเอก
- เปรียญธรรมประโยค 4
อุดมการณ์และแนวคิดในการสอน
เล่าเรื่องพุทธประวัติมีภาพประกอบเพื่อให้นึกเห็นภาพในอดีตของพระพุทธเจ้าจะทำให้เด็กเกิดความเชื่อและศรัทธาในองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งเป็นศาสดาของศาสนาพุทธ
ความคิดเห็นเกี่ยวกับเด็ก
ความคิดและจิตของเด็กยังบริสุทธิ์ การสอนธรรมะเหมือนการให้อาหารแก่จิตของเด็ก หากบ่มเพาะปลูกฝังแต่สิ่งที่ดีให้ เด็กก็จะเติบโตเป็นผู้มีศักยภาพช่วยพัฒนาประเทศชาติได้ดีต่อไป
1 2 1
ประวัติพระมหาสุนา สีดามาตย์
ชื่อ-สกุล พระมหาสุนา สีดามาตย์
ฉายา สุทฺธิปภาโส
อายุ อายุ 23 ปี
พรรษา 2 ปี
วุฒิการศึกษา - นักธรรมเอก
- เปรียญธรรมประโยค 3
- พุทธศาสตร์บัณฑิต
อุดมการณ์และแนวคิดในการสอน
ต้องการสอนให้เด็กมีความกตัญญู มีความอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่ โดยยกเหตุผลโดยใช้นิทานประกอบจูงใจให้เด็กสนใจติดตาม ซึ่งตรงกับคำพังเพยที่ว่า ดูละครแล้วย้อนดูตัวเอง
ความคิดเห็นเกี่ยวกับเด็ก
การพัฒนาเด็กก็เหมือนพัฒนาชาติ เด็กฉลาดชาติเจริญ
1 2 2
ประวัติพระอาจารย์ทรงศักดิ์ แอ๊ดสกุล
ชื่อ-สกุล พระอาจารย์ ทรงศักดิ์ แอ๊ดสกุล
ฉายา เขมจาโร
อายุ อายุ 32 ปี
พรรษา 6 ปี
วุฒิการศึกษา - นักธรรมเอก
- พุทธศาสตร์บัณฑิต
อุดมการณ์และแนวคิดในการสอน
สอนให้เด็กคิดโดยยกหัวข้อที่สอนตั้งเป็นประเด็นให้นักเรียนถกแถลงแล้วสรุปคำตอบ หรือเล่านิทานชาดก เช่น พระเวชสันดร องคุลีมาล ให้เข้ากับเรื่องที่สอน บางครั้งใช้ละครในทีวีที่สอนแทรกความรู้ ซึ่งชี้ให้เด็กสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวัน และท้ายชั่วโมงจะมีคำถามให้เด็กตอบก่อนเลิกเรียน
ความคิดเห็นเกี่ยวกับเด็ก
ไม้แก่ดัดยาก ไม้อ่อนดัดง่าย ดังนั้น เด็กทุกคนที่มาเรียนเปรียบเหมือนไม้อ่อนสามารถดัดเป็นรูปแบบต่าง ๆ ได้ พระอาจารย์ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เด็ก
1 2 3
ประวัติพระอาจารย์ ธีรยุทธ เรียงวิเชียร
ชื่อ-สกุล พระอาจารย์ธีรยุทธ์ เรียงวิเชียร
ฉายา อตฺถโภวิโก
อายุ อายุ 52 ปี
พรรษา 31 ปี
วุฒิการศึกษา - นักธรรมเอก
อุดมการณ์และแนวคิดในการสอน
ต้องการสอนให้เด็กมีความกตัญญู ห่างไกลสิ่งอบายมุข ใช้การเล่านิทานสอนใจ หรือยกเหตุผลประกอบให้เด็กคิดอย่างมีเหตุมีผล
ความคิดเห็นเกี่ยวกับเด็ก
เด็กที่มาเรียนเปรียบเหมือนลูกหลาน อยากให้ลูกหลานเติบโตเป็นคนดีมีคุณภาพต้องเติมเต็มสิ่งที่เขาขาด อนาคตเด็กต้องมีพฤติกรรมดีอย่างแน่นอน
1 2 4
ประวัติผู้วิจัย
ชื่อ นาวาเอก วิษณุสรรค์ ศรีแก่นจันทร์
วัน เดือน ปีเกิด 5 พฤษภาคม 2498
สถานที่เกิด จังหวัดร้อยเอ็ด
ประวัติการศึกษา วิทยาศาสตร์บัณฑิต พ.ศ.2525
มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ตำแหน่งและสถานที่ทำงาน กรมพัฒนาการช่าง พ.ศ.2544 - ปัจจุบัน
กรมอู่ทหารเรือ
ตำแหน่งหัวหน้าแผนกวิชาการ
กองวิจัยและพัฒนา
การถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติต่อวัยรุ่น (ตอนที่ 1)
การถ่ายทอดวิถีพุทธปฏิบัติต่อวัยรุ่น (ตอนที่ 2)
ป้ายกำกับ:
งานวิจัย,
ปริญญาโท,
วัยรุ่น,
วิทยานิพนธ์,
สถานศึกษา
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น