วันศุกร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การประเมินการบริการสารสนเทศในห้องสมุด (ตอนที่ 2)



1. การประเมินความพยายาม เป็นการประเมินผลที่มุ่งความสนใจไปที่ปัจจัยนำเข้า โดย
ไม่คำนึงถึงผลกระทบด้านต่างๆ
2. การประเมินผลลัพธ์ เป็นการประเมินที่มุ่งตอบคำถามที่ว่า ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นบรรลุ
วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่ หรือโครงการมีประสิทธิผลเพียงใด
3. การประเมินผลรวบยอดหมายถึงการประเมินผลเพื่อที่จะพิจารณาว่า ปัจจัยที่ใช้ในการ
ดำเนินงานโดยการได้รับการดำเนินการตามที่วางแผนไว้หรือไม่
การประเมินผลโครงการเป็นการสรุปเพื่อต้องการหาแนวทางการตัดสินใจ และมุ่งไปสู่
การค้นหาสิ่งที่โครงการได้ดำเนินการไปแล้ว ว่าบรรลุตามเป้าหมายหรือไม่อย่างไรมีปัญหาและ
อุปสรรคใดบ้าง จะได้หาทางปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้
จากข้อดีของรูปแบบการประเมินผลแบบซิป (CIPP Model) จึงทำให้ผู้วิจัยเลือกรูปแบบดังกล่าว
เพราะเป็นการประเมินทั้งระบบที่เป็นปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายใน อันอาจส่งผลกระทบต่อ
ความสำเร็จของโครงการ และจะให้ประโยชน์เป็นแนวทางในการปรับปรุงการดำเนินงานของ
โครงการ
3. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
3.1 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องภายในประเทศ
3.1.1 งานวิจัยด้านทรัพยากรสารสนเทศและการให้บริการ
48
วีระ จันทร์คง (2526: บทคัดย่อ) ได้ศึกษาเกี่ยวกับสถานภาพศักยภาพและวัตถุประสงค์
ของระบบสารสนเทศในประเทศไทย พบว่า ปัญหาและอุปสรรคมีดังนี้
1. การเก็บรวมรวมข้อมูล มีความล่าช้า ข้อมูลไม่ถูกต้อง ไม่ครบถ้วน ผู้ให้ข้อมูลไม่เข้าใจ
วัตถุประสงค์ การประสานงานไม่สะดวกและมีความซ้ำซ้อน
2. การวิเคราะห์ข้อมูล ไม่ทันสมัย ล่าช้า ความร่วมมือจากผู้ช่วยประมวลผลยังไม่ดีพอ
ขาดเครื่องมือในการวิเคราะห์ และขาดเทคนิควิธีการในการวิเคราะห์
3. การใช้ข้อมูลผู้บริหารเรียกใช้ข้อมูลเร่งด่วนเกินไป ข้อมูลไม่ครอบคลุมความต้องการ
ผู้ใช้ไม่เข้าใจประโยชน์ของข้อมูลและระบบการจัดข้อมูลไม่ดีพอเรียกใช้ไม่สะดวก
4. งบประมาณในการเผยแพร่ไม่เพียงพอการสนับสนุนจากผู้บริหารยังไม่ดีพอ จำนวน
บุคลากรไม่เพียงพอคุณภาพไม่ดีในบางหน่วยงานมีการย้ายงานบ่อยและการมอบหมายงานไม่ชัดเจน
เที่ยง จารุมณี (2530: บทคัดย่อ) ได้เสนอรูปแบบของการจัดระบบสารสนเทศเพื่อการ
บริหารของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ดังนี้
1. ข้อมูลสารสนเทศที่ใช้ในการบริหารซึ่งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จัดเก็บอยู่มี 4 ด้าน
คือ ด้านโปรแกรมนักศึกษาบุคลากรการเงินและอาคารสถานที่ ได้มีการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยใน
การจัดเก็บยกเว้นข้อมูลด้านอาคารสถานที่ และจากการศึกษาสภาพปัจจุบันของการจัดระบบ
สารสนเทศพบว่า วัตถุประสงค์ของการจัดระบบสารสนเทศเพื่อใช้ในการวางแผนและนโยบายเป็น
อันดับแรกแต่ละหน่วยงานได้จัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศเป็นส่วนใหญ่ ส่วนการสอบถามความ
ต้องการใช้ข้อมูลและสารสนเทศจากผู้ใช้มีการปฏิบัติอยู่ในระดับน้อย
2. ปัญหาที่พบมากในการจัดระบบสารสนเทศ คือหน่วยงานยังไม่มีการจัดระบบเก็บ
รวบรวมรักษาประมวลผล และนำเสนอข้อมูลที่ดีมีการจัดเก็บข้อมูลซ้ำซ้อนข้อมูลที่สำคัญบางชนิด
ไม่มีการจัดเก็บ ผู้จัดกระทำและผู้ใช้สื่อความหมายไม่ตรงกันการให้ความรู้ด้านสารสนเทศยังไม่
เพียงพอ
ภิรมยา อินทรกำแหง (2530: บทคัดย่อ) ได้วิจัยรูปแบบของระบบข้อมูลข่าวสารสนเทศ
ในการวางแผนพัฒนาการศึกษาแบบบูรณาการระดับจังหวัดในเขตการศึกษา 11 ผลการวิจัยพบว่า ใน
การวางแผนพัฒนาการศึกษาแบบบูรณาการระดับจังหวัดนั้นผู้นำ ขององค์การใช้ประสบการณ์และ
สามัญสำนึกในการตัดสินใจมาก เท่ากับการใช้ข้อมูลและสารสนเทศโครงสร้างระบบข้อมูลกลางยัง
ไม่มีรูปแบบที่แน่นอน นักวางแผนส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความสามารถและประสบการณ์ขั้นพื้นฐาน
เกี่ยวกับหลักการของระบบสารสนเทศโครงสร้างระบบข้อมูลที่นำมาใช้ในการวางแผนนั้นเป็นข้อมูล
เกี่ยวกับนักเรียนประชากรบุคลากรทางการศึกษาคุณภาพการจัดการศึกษาระดับต่างๆ ครุภัณฑ์อาคาร
49
เรียนอาคารประกอบการ งบประมาณและข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตรเป็นส่วนใหญ่ข้อมูลที่นำมาใช้น้อย
คือ ข้อมูลสภาพภูมิศาสตร์ การสื่อสารและการคมนาคม
กรรณิการ์ มูลทวี (2538 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาเรื่องการใช้สารนิเทศของอาจารย์สถาบัน
ราชภัฎผลการวิจัยพบว่า การใช้เนื้อหาสารสนเทศของอาจารย์แตกต่างกันส่วนวัตถุประสงค์การใช้
สารสนเทศไม่แตกต่างกันและรูปแบบที่ใช้แตกต่างกันตามหน้าที่ ภาษาของสารสนเทศที่ใช้พบว่า
อาจารย์ใช้สารสนเทศภาษาไทยระดับมาก ภาษาอังกฤษระดับปานกลางสำหรับความทันสมัยของ
สารสนเทศที่ใช้ไม่แตกต่างกันคือพิมพ์ใน 1 ปี ที่ผ่านมา
เหลาทอง สุริยะ (2543: บทคัดย่อ) ได้ศึกษาวิจัยเรื่องการใช้สารสนเทศของอาจารย์คณะ
สัตวแพทยศาสตร์ในประเทศไทย พบว่า อาจารย์ใช้สารสนเทศเพื่อการสอนมากที่สุดรองลงมา
ตามลำดับ คือเพื่อติดตามข่าวสารทางวิชาการเพื่อการวิจัย/การทดลองเพื่อการเขียนตำราบทความทาง
วิชาการและเพื่อการบริการทางวิชาการโดยใช้ในระดับมากทุกรายการ เนื้อหาสารสนเทศพบว่า
โดยรวมอาจารย์ใช้เนื้อหาสารสนเทศทางด้านปรีคลินิกและทางด้านคลินิก โดยรวมในระดับปาน
กลาง เนื้อหาสารสนเทศทางด้านปรีคลินิกที่อาจารย์ใช้มากที่สุด คือเนื้อหาด้านเภสัชวิทยา และเนื้อหา
ที่มีการใช้น้อยที่สุดเท่ากัน คือจุลกายวิภาคศาสตร์และมหกายวิภาคศาสตร์ส่วนเนื้อหาสารสนเทศด้
านคลินิกที่อาจารย์ใ์ ช้มากทสี่ ุดเท่ากัน คอื เนื้อหาด้านอายุรศาสตร์สัตว์เคี้ยวเอื้องและอายุรศาสตร์สัตว์
เลี้ยง ส่วนเนื้อหาที่มีการใช้น้อยที่สุด คือ อายุรศาสตร์ช้างรูปแบบสารสนเทศ พบว่า อาจารย์ใช้
รูปแบบสารสนเทศในรูปของสิ่งตีพิมพ์โสตทัศนวัสดุ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์โดยรวมในระดับปาน
กลางโดยอาจารย์ใช้หนังสือตำราวิชาการมากที่สุดรองลงมาตามลำดับ คือรายงานการวิจัย
วารสารวิชาการ Internet รายงานการประชุมสัมมนา CD-ROM สื่อผสมฐานข้อมูลทรัพยากร
สารสนเทศในห้องสมุด วีดิทัศน์ของจริงส่วนสิทธิบัตรอาจารย์ใช้น้อยที่สุดแหล่งสารสนเทศและ
วิธีการเข้าถึงพบว่า อาจารย์ใช้แหล่งสารสนเทศภายในตัวบุคคล คือใช้แฟ้มข้อมูล/เอกสารที่สะสมไว้
ใช้ส่วนตัวมากที่สุด
ส่วนแหล่งสารนิเทศภายนอกพบว่าอาจารย์ใช้แหล่งสารสนเทศบุคคลโดยฟังการบรรยาย
อภิปรายในการประชุมสัมมนามากที่สุด แหล่งสารสนเทศภายนอกประเภทสถาบันที่เป็นทางการ
อาจารย์ใช้ห้องสมุดคณะที่สังกัดมากที่สุดโดยใช้เครื่องมือช่วยค้นประเภท Internet มากที่สุดแหล่ง
สารสนเทศภายนอกประเภทสถาบันที่ไม่เป็นทางการ อาจารย์ใช้หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องเช่น ภาค
วิชาต่างๆ ในคณะสัตวแพทยศาสตร์กรมปศุสัตว์สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ สวนสัตว์มากที่สุด
และใช้วิธีการเข้าถึงโดยการสังเกตการณ์ดูงาน ในโรงพยาบาลสัตว์ฟาร์มเลี้ยงสัตว์มากที่สุดแหล่ง
สารสนเทศสื่อมวลชน พบว่า อาจารย์ใช้วิธีการอ่านหนังสือพิมพ์มากที่สุด ปัญหาในการใช้
สารสนเทศพบว่า อาจารย์มีปัญหาเกี่ยวกับรูปแบบและเนื้อหาสารสนเทศ คือวารสารเฉพาะสาขาวิชา
50
มีไม่ครบทุกฉบับมากที่สุด และวารสารเฉพาะสาขาวิชาที่ต้องการมีน้อยหนังสือและโสตทัศนวัสดุ
ในสาขาวิชาที่ต้องการมีน้อย และล้าสมัยและ CD-ROM เฉพาะสาขาวิชาที่ต้องการมีน้อย ปัญหา
เกี่ยวกับแหล่งสารสนเทศและวิธีการเข้าถึง พบว่า อาจารย์มีปัญหา ไม่มีเวลาในการติดตามสารสนเทศ
มากที่สุดรองลงมาคือใช้เวลามากกว่า จะได้สารสนเทศที่ต้องการส่วนปัญหาในการใช้สารสนเทศ
แหล่งสารสนเทศสื่อมวลชนอาจารย์มี ปัญหาเกี่ยวกับไม่ทราบช่วงเวลาในการเผยแพร่สารสนเทศมาก
ที่สุด ข้อเสนอแนะของอาจารย์ คือควรมีศูนย์รวมแหล่งสารสนเทศทางด้านสัตวแพทยศาสตร์เพื่อที่จะ
ได้ทราบเกี่ยวกับผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านโครงการวิจัยและผลงานวิชาการต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการ
ติดตามความก้าวหน้าในสาขาวิชาและเป็นประโยชน์ในการประสานงานร่วมกัน
สรุปว่า ปัญหาที่ผู้ใช้บริการพบมากเกี่ยวกับการใช้บริการสารสนเทศของแต่ละสถาบัน
คือ ทรัพยากรสารสนเทศไม่ตรงกับรายวิชาที่สอนมีปริมาณไม่เพียงพอเก่าไม่ตรงกับความต้องการที่
ตนต้องการ และผู้ใช้บริการที่เป็นอาจารย์จะใช้เพื่อการเรียนการสอนในรายวิชาของตนเองเป็น
ส่วนมากสำหรับนักศึกษาจะใช้เพื่อค้นคว้าทำรายงานเป็นส่วนมาก
3.1.2 งานวิจัยสารสนเทศด้านการใช้และปัญหาการใช้สารสนเทศ
ปราณี สารมาศ (2530: บทคัดย่อ) ได้ศึกษาการใช้แหล่งสารสนเทศของครูในการสอน
วิชาภาษาไทยระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเขตการศึกษา 3 ผลการวิจัยพบว่า แหล่งสารสนเทศจาก
ห้องสมุดโรงเรียน จากหมวดวิชาและจากของส่วนตัวของครูที่ครูใช้มากที่สุดคือบัตรคำใช้ในการ
สอนด้านการฟังการพูด และการเขียนแผ่นป้ายผ้าสำลีใช้ในการสอน ด้านการฟังและการอ่าน
โทรทัศน์ใช้ในการสอนด้านการพูดและการอ่าน หนังสือใช้ในการสอนด้านการฟังแถบบันทึกภาพ
ใช้ในการสอนด้านการพูดกิจกรรมใช้ในการสอนด้านการอ่าน และภาพนิ่งใช้ในการสอนด้านการ
เขียน สำหรับปัญหาในการใช้แหล่งสารสนเทศจากห้องสมุดโรงเรียน คือหนังสือและรูปภาพเก่าไม่
ทันเหตุการณ์ ไม่พอเพียงและไม่ทราบว่าหนังสือที่ตนต้องการมีในห้องสมุดหรือไม่นอกจากนี้
ห้องสมุดส่วนใหญ่ยังไม่มีแถบบันทึกภาพแถบบันทึกเสียง และรูปภาพไว้บริการ
เที่ยง จารุมณี (2530 : บทคัดย่อ) ได้เสนอรูปแบบของการจัดระบบสารสนเทศเพื่อการ
บริหารของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ดังนี้ ข้อมูลสารสนเทศที่ใช้ในการบริหารซึ่งมหาวิทยาลัย
สงขลานครินทร์จัดเก็บอยู่มี 4 ด้าน คือด้านโปรแกรมนักศึกษาบุคลากรการเงิน และอาคารสถานที่
ได้มีการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยในการจัดเก็บ ยกเว้นข้อมูลด้านอาคารสถานที่และจากการศึกษา
สภาพปัจจุบันของการจัดระบบสารสนเทศพบว่า วัตถุประสงค์ของการจัดระบบสารสนเทศของ
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เพื่อใช้ในการวางแผนและนโยบายเป็นอันดับแรก แต่ละหน่วยงานได้
จัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศเป็นส่วนใหญ่ ส่วนการสอบถามความต้องการใช้ข้อมูลและสารสนเทศ
จากผู้ใช้มีการปฏิบัติอยู่ในระดับน้อย ปัญหาที่พบมากในการจัดระบบสารสนเทศ คือหน่วยงานยังไม่
51
มีการจัดระบบเก็บรวบรวม รักษาประมวลผลและนำเสนอข้อมูลที่ดีมีการจัดเก็บข้อมูลซ้ำซ้อนข้อมูล
ที่สำคัญบางชนิดไม่มีการจัดเก็บ ผู้จัดกระทำและผู้ใช้สื่อความหมายไม่ตรงกันการให้ความรู้ด้าน
สารสนเทศยังไม่เพียงพอ
ศักดิ์ชัย สภาคง (2533 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาการใช้แหล่งสารสนเทศในการศึกษา
ค้นคว้าของนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงผลการวิจัยพบว่า แหล่งสารสนเทศที่ใช้ในระดับมากคือ
ตำราประกอบการสอนกระบวนวิชาต่างๆ ที่ผลิตโดยมหาวิทยาลัยและการเข้ารับฟังการบรรยายใน
ชั้นเรียนที่มหาวิทยาลัย ใช้ในระดับปานกลางค่อนข้างมากคือ การสนทนาแลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อน
การชมและฟังรายการข่าวและสารคดีวิชาการที่ให้ความรู้ถ่ายทอดทางสถานีโทรทัศน์ต่างๆ การอ่าน
เอกสารและแนะแนวข้อสอบคำตอบและสรุปการบรรยายที่มีจำหน่ายตามร้านค้าหนังสือพิมพ์ และ
หนังสือทั่วไปภาษาไทย นอกนั้นใช้ในระดับปานกลางและน้อยสำหรับปัญหาและอุปสรรคในการใช้
แหล่งสารสนเทศที่ประสบในระดับมากเพียงข้อเดียวคือ จำนวนที่นั่งจัดไว้บริการในหอสมุดไม่
เพียงพอกับผู้ใช้บริการ ปัญหาและอุปสรรคที่ประสบในระดับปานกลางค่อนข้างมาก คือโทรทัศน์
การศึกษาในส่วนที่เกี่ยวกับกระบวนวิชาที่เสนอไม่ตรงกับวิชาที่เรียน จำนวนที่นั่งฟังการบรรยายใน
ชั้นเรียนไม่พอเพียงจำนวนหนังสือที่หอสมุดกลางให้ยืมไปอ่านภายนอกน้อยเกินไป และจำนวน
หนังสือทั่วไปในหอสมุดในสาขาที่สนใจมีน้อย นอกจากนั้นเป็นปัญหาและอุปสรรคที่ประสบใน
ระดับปานกลางและน้อย
เทียมจันทร์ ศิลปาจารย์ (2534 บทคัดย่อ) ได้ศึกษาวิจัยเรื่องการใช้สารสนเทศใน
การศึกษาค้นคว้าของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยผลการวิจัย พบว่า นิสิตใช้วัสดุ
สารสนเทศทุกประเภทโดยส่วนรวมในระดับปานกลางจากสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยมหาจุฬา
ลงกรณราชวิทยาลัย และห้องสมุดประชาชนและหอสมุดแห่งชาติ หอสมุดมหาวิทยาลัย ไม่เคยใช้เลย
นิสิตประสบปัญหาและอุปสรรคโดยส่วนรวมในระดับปานกลาง ในการใช้วัสดุสารสนเทศของ
สำนักหอสมุดกลางมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย สำหรับปัญหาและอุปสรรคที่ประสบ
ในระดับมาก ได้แก่หนังสือส่วนมากมีเนื้อหาไม่ทันสมัยหนังสือเล่มที่ต้องการมีจำนวนน้อยไม่
เพียงพอ และไม่มีในห้องสมุดและชั่วโมงเรียนมีมากไม่มีเวลาไปศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม
สุธี ทิพย์สุข (2538 : บทคัดย่อ) ได้วิจัยเรื่องสภาพปัญหาและแนวทางพัฒนาการ
ปฏิบัติงานระบบสารสนเทศของสถานีตำรวจภูธรในสังกัดสำนักงานตำรวจภาค 2 ได้ศึกษาจาก
หัวหน้าสถานีตำรวจภูธรในสังกัดสำนักงานตำรวจภูธรภาค 2 จากการศึกษาพบว่า สภาพการ
ปฏิบัติงานมีการปฏิบัติในระดับปานกลางปัญหาการปฏิบัติงานอยู่ในระดับปานกลาง และส่วนใหญ่
เห็นว่าแนวทางพัฒนาการปฏิบัติงานระบบสารสนเทศควรจัดหาวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือที่ทันสมัย
และเพียงพอในการเก็บรวมรวมข้อมูล การจัดกระทำข้อมูลและการจัดเก็บข้อมูลควรกำหนดมาตรการ
52
ในการตรวจสอบข้อมูลให้ชัดเจน และเป็นไปอย่างต่อเนื่องทันสมัยต่อสถานการณ์และควรจัดอบรม
ให้ความรู้และเทคนิควิธีแก่เจ้าหน้าที่ในการนำเสนอข้อมูลควรจัดสรรตำแหน่งเจ้าหน้าที่มีความรู้และ
สมัครใจทำงานด้านการนำเสนอข้อมูลเข้าปฏิบัติงานโดยพิจารณาให้ความดีความชอบเป็นกรณีพิเศษ
กฤษณา อาจแก้ว (2543: บทคัดย่อ) ได้วิจัยเรื่องการใช้สารสนเทศของครูภาษาไทยที่
สอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานการ
ประถมศึกษาจังหวัดเลยผลการวิจัยพบว่าครูภาษาไทยมีวัตถุประสงค์ในการใช้สารสนเทศเพื่อเพิ่มพูน
ความรู้ภาษาไทยเพื่อทำการสอนเพื่อทำคู่มือการสอน และเพื่อทำสื่อการสอนในระดับมากตามลำดับ
แหล่งสารนิเทศสถาบันที่เป็นทางการครูใช้ห้องสมุดโรงเรียนในระดับมาก แหล่งสารสนเทศสถาบัน
ทีไม่เป็นทางการ ครูใช้สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอในระดับปานกลางแต่ใช้สำนักงานการ
ประถมศึกษาจังหวัดในระดับน้อย รูปแบบสารสนเทศสิ่งพิมพ์ที่ครูใช้ในระดับมากที่สุด คือหนังสือ
เรียนรองลงมาที่ใช้ในระดับมากที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 ลำดับแรกคือคู่มือครูแบบฝึกหัดและพจนานุกรม
สิ่งไม่ตีพิมพ์ครูใช้ภาพและแถบบันทึกเสียงในระดับมาก
ส่วนสื่ออิเล็กทรอนิกส์เกือบทุกชนิดครูใช้ในระดับน้อย ยกเว้นอินเทอร์เน็ตครูใช้
ระดับน้อยที่สุด วิธีการเข้าถึงแหล่งสารสนเทศสถาบันที่เป็นทางการครูใช้วิธีค้นจากบัตรรายการด้วย
ตนเอง และขอให้บรรณารักษ์ เจ้าหน้าที่ช่วยค้นให้ในระดับปานกลางวิธีการเข้าถึงแหล่งสารสนเทศ
สถาบันที่ไม่เป็นทางการครูใช้วิธีการเดินทางไปขอข้อมูลด้วยตนเองในระดับมาก ปัญหาการใช้แหล่ง
สารสนเทศพบว่า ปัญหาการใช้แหล่งสารสนเทศสถาบันที่เป็นทางการห้องสมุดสถาบันราชภัฏเลย
มีปญั หาในระดับมากที่สุด โดยมีปัญหาเรื่องอยู่ห่างไกลที่ทาํ งานและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการ
เดินทางไปติดต่อข้อมูลในระดับมากที่สุด ปัญหาด้านรูปแบบสารนิเทศพบว่าห้องสมุดโรงเรียนมี
ปัญหาในระดับมาก โดยมีปัญหาเรื่องทรัพยากรสารสนเทศมีจำนวนจำกัดไม่เพียงพอต่อความต้อง
การ ปัญหาด้านวิธีการเข้าถึงสารนิเทศพบว่า ห้องสมุดโรงเรียนมีปัญหาในระดับมากในเรื่องไม่มี
บัตรรายการให้ค้นไม่มีคู่มือแนะนำการใช้ห้องสมุด ไม่มีบริการแนะนำการใช้ห้องสมุดไม่มีเอกสาร
แนะนำแหล่งสารสนเทศภาษาไทย ส่วนปัญหาแหล่งสารนิเทศสถาบันที่ไม่เป็นทางการพบว่า
สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดมีปัญหาในระดับมาก โดยมีปัญหาเรื่องแหล่งสารสนเทศอยู่ห่าง
ไกลที่ทำงาน และสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปติดต่อข้อมูลในระดับมากแต่สำนักงานการ
ประถมศึกษาอำเภอมีปัญหาในเรื่องดังกล่าวในระดับปานกลางด้านรูปแบบสารสนเทศ พบว่าทั้ง2
แหล่งสารสนเทศมีปัญหาระดับมากเหมือนกัน โดยมีปัญหาเรื่องรูปแบบสารสนเทศไม่หลากหลาย
ตรงตามความต้องการของหลักสูตรวิชาภาษาไทยด้านวิธีการเข้าถึงสารนิเทศพบว่าทั้ง 2 แหล่งสารสน
เทศมีปัญหาในระดับมากโดยมีปัญหาเรื่องขาดการประชาสัมพันธ์ให้ทราบว่ามีหน่วยงานใดผลิตหรือ
53
เผยแพร่สารสนเทศภาษาไทยและขาดการประสัมพันธ์เมื่อได้รับสารสนเทศใหม่ๆ ให้สถานศึกษา
และครูทราบในระดับมาก
อนันศักดิ์ พวงเอก (2543: บทคัดย่อ) ได้ศึกษาวิจัยเรื่องการใช้บริการมัลติมีเดียของ
นักศึกษาในหอสมุดกลางมหาวิทยาลัยขอนแก่นผลการวิจัยพบว่า ผู้เข้าใช้บริการส่วนใหญ่เป็นนัก
ศึกษาหญิงกำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรีชั้นปีท ี่ 4 และส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาสาขาวิชา
มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์และสาขาวิชาการศึกษาเคยมีประสบการณ์ในการใช้บริการ 1- 5 ครั้ง
นักศึกษาส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์ในการใช้บริการมัลติมีเดีย เพื่อศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม
ฐานข้อมูลอ้างอิงและวิชาการที่นักศึกษาใช้มากที่สุดคือฐานข้อมูลข้อมูลสถิติสำคัญ 75 จังหวัดฐานข้
อมูลที่ให้ความรู้ด้านภาษาอังกฤษที่นักศึกษาใช้มากที่สุดคือฐานข้อมูล English Vocabulary :
Entertainment ฐานข้อมูลที่ให้ความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ที่นักศึกษาใช้มากที่สุดคือ ฐานข้อมูล CD –
ROM guide to multimedia Authoring และฐานข้อมูลสารคดีและให้ความรู้ทั่วไปที่นักศึกษาใช้มาก
ที่สุดคือ ฐานข้อมูลประเพณีอีสานสิบสองเดือน (Heet Sip Song) นักศึกษาส่วนใหญ่มีความถี่ในการ
ใช้บริการไม่แน่นอนส่วนใหญ่ใช้บริการในวันจันทร์ - ศุกร์ และใช้บริการในช่วงเวลา 16.30 น. เป็นต้
นไปมากที่สุดความพึงพอใจในการใช้บริการพบว่า นักศึกษาพึงพอใจในเรื่องต่อไปนี้ในระดับปาน
กลาง คือฐานข้อมูลที่ให้บริการคู่มือแนะนำการให้บริการ และเจ้าหน้าที่ที่ให้บริการและพึงพอใจใน
สถานที่ที่ให้บริการในระดับน้อยนักศึกษาส่วนใหญ่มีปัญหาในเรื่องพื้นที่ในการให้บริการไม่พอเพียง
และเสนอแนะให้ขยายพื้นที่ในการให้บริการมากที่สุด
ทวัชชัย จินดาศักดิ์ (2545: บทคัดย่อ) ได้ศึกษาเรื่อง ปัญหาและอุปสรรคการบริหารการ
ส่งออกเครื่องปรับอากาศและชิ้นส่วนกรณีศึกษา บริษัท ไทยฮีทเอ็กซ์เช้นจ์ จำกัด (มหาชน) ผล
การศึกษาพบว่า ปัญหาที่สำคัญจากภายนอก 7 ประเด็นและภายใน 2 ประเด็นจากภายนอก คือ 1)
ทางด้านเศรษฐกิจที่ส่งผลให้ความต้องการชิ้นส่วนคอนเดนเซอร์และคอล์ยลดลง 2) ด้านอัตรา
แลกเปลี่ยนเป็นผลให้ราคาวัตถุดิบสูงขึ้น และยากต่อการตั้งราคาสินค้า 3) ด้านการแข่งขันพบว่ามีการ
ตัดราคาสินค้ากันสูง 4) ด้านผู้ขายปัจจัยการผลิตนั้น ให้เครดิตการชำระเงินสั้นลง 5) ด้านการจัดส่ง
นั้นมีราคาสูงขึ้น 6) กฎระเบียบข้อบังคับพบว่ารัฐมีการคืนภาษีล่าช้า 7) ด้านสังคมและวัฒนธรรม พบ
อุปสรรคในเรื่องเวลาทำการ พิธีการตลอดจนสภาพภูมิอากาศและภูมิประเทศส่วนประเด็นปัญหา
ภายในที่สำคัญ คือ 1) ต้นทุนการผลิตสูงแรงงานขาดทักษะทำให้การผลิตมีของเสียจำนวนมาก และ
จำนวนการสั่งซื้อที่น้อยทำให้เกิดการสูญเสียพลังงานมาก 2) ทางด้านเทคโนโลยีสภาพเครื่องจักรที่ใช้
มีลักษณะกึ่งอัตโนมัติ และเก่าประกอบกับการผลิตตามความต้องการของลูกค้าส่งผลให้เป็นปัญหา
ด้านคุณภาพและปริมาณ ซึ่งประเด็นปัญหาดังกล่าวสามารถแก้ไขโดยใช้ระบบบริหารคุณภาพ
พันธมิตรทางการผลิต และการเข้าร่วมโครงการเครือข่ายการกระจายสินค้าในต่างประเทศ
54
3.2.3 งานวิจัยสารสนเทศด้านความต้องการและความพึงพอใจ
แนวคิดเกี่ยวกับความต้องการใช้สารสนเทศ
ศศิวิมล ชัยวีระไทย (2528: บทคัดย่อ) ได้ศึกษาความต้องการใช้บริการห้องสมุดของ
นักศึกษาผู้ใหญ่แบบเบ็ดเสร็จระดับ 4 โรงเรียนผู้ใหญ่เฉลิมขวัญสตรีจังหวัดพิษณุโลก ผลการศึกษา
พบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่ต้องการบริการต่างๆ จากห้องสมุดโรงเรียนในระดับปานกลางบริการที่
ต้องการในระดับมาก คือบริการให้ยืมและบริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า ส่วนความต้องการ
ของนักศึกษาในบริการด้านสิ่งพิมพ์ ซึ่งจำแนกโดยใช้ระบบการจัดหมู่แบบทศนิยมดิวอี้เป็นแนวทาง
อยู่ในระดับปานกลางเป็นส่วนใหญ่ หนังสือที่ใช้ที่นักศึกษาต้องการในระดับมากคือหนังสือเกี่ยวกับ
การศึกษาหนังสือความรู้รอบตัวเบ็ดเตล็ดหนังสือสังคมการเมืองการปกครอง หนังสือเกี่ยวกับ
ประวัติศาสตร์หนังสือเกี่ยวกับกฎหมาย และหนังสือเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณีตามลำดับ
มาลี เสียงไทย (2534: บทคัดย่อ) ได้ทำการศึกษาเรื่อง ความต้องการและการใช้
สารสนเทศของคณาจารย์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ผลการวิจัย
พบว่า คณาจารย์มีความต้องการใช้สารสนเทศเพื่อการสอนมากที่สุด รองลงมาคือเพื่อการเพิ่มพูน
ความรู้ หรือติดตามข่าวสาร เพื่อการวิจัย และเพื่อการเขียนงานหรือบทความทางวิชาการน้อยที่สุด
ในส่วนของข้อเสนอแนะ พบว่าคณาจารย์เสนอให้ห้องสมุดจักหาสารสนเทศทางวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยีซึ่งมีเนื้อหาที่ทันสมัยเกี่ยวกับสาขาวิชาที่เปิดสอน โดยเฉพาะสารสนเทศประเภทวารสาร
ทางวิชาการรายงานการวิจัยรายงานการประชุมหนังสือวิชาการและหนังสืออ้างอิง เพิ่มขึ้นให้
เพียงพอกับการเรียนการสอน
จารุรัตน์ บุญประเสริฐ (2535: บทคัดย่อ) ได้ทำการศึกษาเรื่อง ความต้องการและการใช้
สารนิเทศของอาจารย์วิทยาลัยพยาบาลสังกัดกองงานวิทยาลัยพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข
ผลการวิจัยพบว่า อาจารย์วิทยาลัยพยาบาลมีความต้องการสารสนเทศและบริการสารสนเทศไม่
แตกต่างกันโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการสอนและเพื่อผลิตผลงานทางวิชาการ ส่วนปัญหาในการใช้
สารสนเทศของอาจารย์ส่วนใหญ่ประสบ คือ เครื่องมือช่วยค้น เช่นบัตรดรรชนีวารสารไม่มี
ประสิทธิภาพ และปัญหาเกี่ยวกับทรัพยากรสารสนเทศมีน้อย ไม่เพียงพอกับความต้องการ
ดนัยศักดิ์ โกวิทวิบูล (2543 บทคัดย่อ) ได้ศึกษาความต้องการและลักษณะการใช้
สารสนเทศของนักศึกษาในสำนักหอสมุดกลางมหาวิทยาลัยรามคำแหง พบว่า ความต้องการและ
ลักษณะการใช้สารสนเทศอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนใหญ่ใช้สารสนเทศของฝ่ายบริการทั่วไป
ประเภทสารสนเทศที่ใช้ คือตาราและเอกสารประกอบการบรรยายเครื่องมือที่ใช้ช่วยค้นสารสนเทศ
ส่วนใหญ่ใช้อินเตอร์เน็ต ส่วนลักษณะการใช้สารสนเทศไม่แตกต่างกันนักศึกษาที่มีอาชีพต่างกันมี
55
ความต้องการ และลักษณะการใช้สารสนเทศไม่แตกต่างกันนักศึกษาที่ศึกษาอยู่ต่างคณะกันมีความ
ต้องการและลักษณะการใช้สารสนเทศแตกต่างกันนักศึกษาต่างชั้นปีกันมีความต้องการใช้สารสนเทศ
แตกต่างกัน แต่มีลักษณะการใช้สารสนเทศไม่แตกต่างกัน
ธัญรัตน์ ธิชัย (2543: บทคัดย่อ) ศึกษาความต้องการใช้สารสนเทศของอาจารย์คณะ
พยาบาลศาสตร์ใสถาบันอุดมศึกษาเอกชนผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีระดับการศึกษาต่างกัน
มีความต้องการสารสนเทศประเภทสื่ออิเล็กทรอนิกส์ แตกต่างกันทางสถิติที่ระดับสำคัญ .05 ส่วน
ความต้องการบริการสารสนเทศแตกต่างกันทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ .05
กมลทิพย์ หอนาวานนท์ (2545 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาเรื่องความต้องการใช้สารสนเทศ
ด้านการตลาดของผู้ประกอบการส่งออกอาหารสดและอาหารแปรรูปในประเทศไทย ผลการศึกษา
พบว่า สภาพการใช้สารสนเทศและความต้องการสารสนเทศด้านการตลาดของผู้ประกอบการการ
ส่งออกอาหารสดและอาหารแปรรูปให้อยู่ในระดับสูง ส่วนสารสนเทศทางการตลาดที่ผู้ประกอบการ
ให้ความสำคัญและมีความถี่ในการใช้งานสูงสุด คือด้านกฎระเบียบต่างๆ ข้อมูลตลาดต่างประเทศ
ข้อมูลด้านราคาข้อมูลแหล่งวัตถุดิบ และราคาของวัตถุดิบจากแหล่งต่างๆ ส่วนปัญหาในการแสวงหา
สารนิเทศพบว่า ผู้ประกอบการมีความสะดวกในการติดต่อกับหน่วยงานทั้งภายนอกและภายในไม่ว่า
กรมศุลกากรกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สถานเอกอัครราชทูตองค์การค้าระหว่างประเทศและ
บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อมอยู่ในระดับปานกลาง ด้านคุณภาพของข้อมูลจากแหล่งข้อมูล
ภายนอกและภายในทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนอยู่ในระดับปานกลางเช่นกัน จากการเปรียบเทียบ
ความถี่ของการใช้สารสนเทศด้านต่างๆ ตามสถานภาพส่วนตัว พบว่าผู้ที่มีประสบการณ์และตำแหน่ง
ที่สูงขึ้นมีแนวโน้ม และความถี่เกี่ยวกับความต้องการในการใช้ข้อมูลมากขึ้นขณะที่ความพอใจใน
ด้านคุณภาพของข้อมูลจะขึ้นอยู่กับวุฒิการศึกษานอกจากนั้นพบว่า ขนาดของบริษัทและระยะเวลาใน
การดำเนินงานของบริษัทที่แตกต่างกัน มีความต้องการและความถี่ในการใช้สารนิเทศที่แตกต่างกัน
บุษบา เชื้อวงศ์ (2545 : บทคัดย่อ) การศึกษาเรื่อง ความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อการ
ให้บริการของบริษัท เอ็มเอ็มซี สิทธิผล จำกัด : สาขาหัวหมาก ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยด้านสภาพ
ของศูนย์บริการซึ่งประกอบด้วยความสะดวกของทำเลที่ตั้ง ความง่ายในการหาเคาน์เตอร์รับรถความ
สะดวกในการนัดหมายเข้ารับบริการ ความสะดวกสบายของห้องพักรับรองลูกค้า ความสะอาดของ
ศูนย์บริการช่วงเวลาในการให้บริการ ลูกค้าที่เป็นเพศชายมีความพึงพอใจมากส่วนลูกค้าที่เป็นเพศ
หญิงมีความพึงพอใจมากที่สุด ด้านการบริการของพนักงานรับรถการต้อนรับและด้านความ
สะดวกสบายในการชำระเงิน ลูกค้าทั้งเพศชายและเพศหญิงมีความพึงพอใจมากด้านคุณภาพของการ
ให้บริการราคาค่าบริการและค่าอะไหล่ลูกค้าทั้งเพศชายและเพศหญิงมีความพึงพอใจปานกลาง ส่วน
ทางด้านการติดตามหลังการให้บริการลูกค้าที่เป็นเพศชายมีความพึงพอใจเพียงปานกลาง ส่วนลูกค้าที่
56
เป็นเพศหญิงมีความพึงพอใจมาก สรุปการให้บริการโดยรวมของบริษัทลูกค้าส่วนใหญ่ทั้งเพศชาย
และเพศหญิงมีความพึงพอใจมากจากความคิดเห็นของลูกค้ากลุ่มตัวอย่างที่มาใช้บริการ และจากการ
เปรียบเทียบความพึงพอใจของลูกค้าจำแนกตามปัจจัยภูมิหลังพบว่า ลูกค้าที่จำแนกตามความแตกต่าง
ของอายุ เพศ และอายุการใช้งานของรถยนต์จะมีความพึงพอใจไม่แตกต่างกันในเรื่องการให้บริการ
ของพนักงาน แต่ลูกค้าที่จำแนกตามความแตกต่างของรถยนต์จะมีความพึงพอใจในการให้บริการของ
พนักงานที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05
วิภาวรรณ ปลัดคุณ (2545 : บทคัดย่อ) ได้วิจัยเรื่อง ความพึงพอใจของคณาจารย์ต่อการ
จัดหาทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตภาคพายัพ ผลการวิจัย
พบว่า คณาจารย์มีความพึงพอใจต่อการจัดหาทรัพยากรสารนเทศของห้องสมุดในระดับปานกลาง
และคณาจารย์มีความคิดเห็นว่า ทรัพยากรสารสนเทศที่ห้องสมุดจัดหามาให้บริการโดยเฉพาะ
ทรัพยากรสารสนเทศเฉพาะสาขาวิชาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศยังมีน้อยไม่เพียงพอต่อความ
ต้องการใช้นอกจากนี้คณาจารย์ยังได้ให้ข้อเสนอแนะว่า ห้องสมุดควรเพิ่มงบประมาณในการจัดซื้อ
ทรัพยากรสารสนเทศทุกประเภท ทุกรูปแบบ และครอบคลุมทุกสาขาวิชา ในปริมาณที่เพียงพอ
3.2.4 งานวิจัยสารสนเทศด้านการประเมิน
สมบูรณ์ จองคำ, (2540: บทคัดย่อ) ได้ศึกษาเรื่อง การประเมินผลการจัดบริการ
สารสนเทศในโรงเรียนจอมทองจังหวัดเชียงใหม่ผลการศึกษาพบว่า อาชีพ ส่วนตัว และสังคม มีความ
เหมาะสมในระดับมาก ส่วนในด้านกระบวนการและรูปแบบการดำเนินงานมีความเหมาะสมใน
ระดับมาก สำหรับบุคลิกภาพของครูแนะแนวในการให้บริการ และการยอมรับฟังความคิดเห็น
ข้อเสนอแนะของผู้ใช้บริการนั้นมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด ส่วนผลของบริการที่ได้รับ
นักเรียนเห็นว่ามีความเหมาะสมในระดับมาก แต่ต้องการให้มีครูแนะแนวเพิ่มขึ้นให้เพียงพอกับ
จำนวนนักเรียน
นอกจากนั้นนักเรียนยังมีข้อเสนอแนะให้โรงเรียนจัดเพิ่มเติม คือเชิญวิทยากรภายนอกมา
ให้ความรู้จัดนิทรรศการ ศึกษานอกสถานที่และการจัดเสียงตามสาย
พนิดา สมประจบ (2540: บทคัดย่อ) ได้ศึกษาวิจัยเรื่องทัศนะของผู้บริหารห้องสมุดและ
บรรณารักษ์ห้องสมุดสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลที่มีต่อมาตรฐานห้องสมุดสถานศึกษา เพื่อการ
อาชีวศึกษาและเทคโนโลยี พุทธศักราช 2535 ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริหารห้องสมุดและบรรณารักษ์
ส่วนใหญ่เห็นว่ามาตรฐานมีความเหมาะสมทั้งมาตรฐานทั่วไปและมาตรฐานเชิงปริมาณ
วัตถุประสงค์ใช้มาตรฐานคือเป็นแนวทางสำหรับผู้บริหารในการให้ความสนับสนุนและพัฒนา
ห้องสมุดให้บรรลุเป้าหมาย ส่วนสภาพห้องสมุดสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลต่ำกว่ามาตรฐานเชิง
57
ปริมาณทุกด้าน ได้แก่ 1) จำนวนวัสดุสารสนเทศ 2) บุลากร 3) อาคารห้องสมุดและครุภัณฑ์ 4)
งบประมาณ
พรวิทู โค้วคชาภรณ์ (2543 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาวิจัยเรื่องการประเมินคุณภาพบริการ
สารสนเทศ : ความแตกต่างระหว่างความคาดหวังกับความเป็นจริงของการได้รับบริการสารสนเทศ
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ช่องว่างระหว่างความคาดหวังกับความเป็นจริงของการได้รับบริการ
สารสนเทศของนักศึกษารวมทุกด้านมีค่าเป็นลบ แสดงว่าคุณภาพบริการสารสนเทศไม่ดีอย่างที่
คาดหวัง ความคาดหวังต่อบริการสารสนเทศในด้านลักษณะทางกายภาพ และความเชื่อมั่นของ
นักศึกษาที่มีชั้นปีต่างกันไม่แตกต่างกัน แต่ในด้านความน่าเชื่อถือ การตอบสนอง และการเข้าถึงจิตใจ
ของนักศึกษาที่มีชั้นปีแตกต่างกัน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ความคาดหวังต่อ
บริการสารสนเทศในทุกด้านของนักศึกษาที่มีผลการเรียนต่างกันไม่แตกต่างกัน ความเห็นต่อบริการ
สารสนเทศตามสภาพความเป็นจริงที่ได้รับ ในทุกด้านของนักศึกษาที่มีชั้นปีแตกต่างกันแตกต่างกัน
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
เพ็ญพรรณ ทั่งกรณ์ (2544: บทคัดย่อ) ได้ศึกษาเรื่องการประเมินผลหลักสูตรวิชาชีพ
ระยะสั้นสาขาวิชาช่างเสื้อผ้าสตรีเบื้องต้น ของโรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร โดยใช้รูปแบบการ
ประเมินแบบซิป ผลการวิจัย พบว่า 1) ด้านบริบทจุดประสงค์ของหลักสูตรมีความสอดคล้องกับ
แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 8 และแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ฉบับที่ 5 ค่อนข้างน้อย
สภาพของหลักสูตรทั้งอาจารย์และนักศึกษามีความเห็นว่า ปัจจัยด้านจุดประสงค์ของหลักสูตรมีความ
เหมาะสมอยู่ในระดับมาก ปัจจัยด้านโครงสร้างของหลักสูตร คือจำนวนวิชาที่เรียนปริมาณเวลาที่
เรียนตลอดหลักสูตร และปริมาณเวลาที่ใช้สำหรับเรียนรายวิชาต่างๆ มีความเหมาะสม และปัจจัยด้าน
เนื้อหาวิชาในหลักสูตรส่วนมากมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 2) ด้านปัจจัยเบื้องต้นพบว่า ด้าน
ความพอเพียงคุณภาพและความสะดวกในการใช้บริการอยู่ในระดับปานกลาง 3) ด้านกระบวนการ
พบว่า อาจารย์ผู้สอนใช้เทคนิคการสอนแบบสาธิตและการฝึกปฏิบัติจริงอยู่ในระดับมากที่สุด การวัด
และประเมินผลการเรียนการสอนมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ส่วนการบริหารหลักสูตรผู้บริหาร
โรงเรียนได้ดำเนินการด้านวิชาการ โดยมีการปรับเนื้อหาให้ทันสมัยสอดคล้องกับความต้องการของ
ชุมชน มีการปรับเวลาให้เหมาะสมกับสภาพการเรียนการสอน มีการส่งครูเข้าอบรมทำสื่อการเรียน
และมีการนิเทศการสอนการวัดและประเมินผลและการทำสื่อการสอน สำหรับปัญหาในการบริหาร
หลักสูตรที่พบคือปัญหาด้านวิชาการด้านบุคลากรด้านงบประมาณด้านวัสดุอุปกรณ์ อาคารและ
สถานที่ ด้านธุรการและด้านการเงินและพัสดุ 4) ด้านผลผลิต นักศึกษาผู้สำเร็จการศึกษาที่ประกอบ
อาชีพแล้ว ร้อยละ 41.14 และยังไม่ได้ประกอบอาชีพ ร้อยละ 58.86 สำหรับปริมาณและคุณภาพของ
58
ผู้สำเร็จการศึกษาพบว่านักศึกษามีอัตราการสำเร็จการศึกษาร้อยละ74.26 และนักศึกษาผู้สำเร็จ
การศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับค่อนข้างดี
สมบูรณ์ จองคำ (2544 บทคัดย่อ) ได้ศึกษาประเมินผลการจัดบริการสารสนเทศใน
โรงเรียนจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ผลการศึกษาพบว่า บริการสารสนเทศในด้านการศึกษาอาชีพ
ส่วนตัวและสังคม มีความเหมาะสมในระดับมากส่วนในด้านกระบวนการและรูปแบบการดำเนินงาน
มีความเหมาะสมในระดับมาก สำหรับบุคลิกภาพของครูแนะแนวในการให้บริการและการยอมรับฟัง
ความคิดเห็น ข้อเสนอแนะของผู้ใช้บริการนั้นมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุดส่วนผลของการ
บริการที่ได้รับนักเรียนเห็นว่า มีความเหมาะสมในระดับมากแต่ต้องการให้มีครูแนะแนวเพิ่มขึ้นให้
เพียงพอกับจำนวนนักเรียน
นอกจากนั้นนักเรียนยังมีข้อเสนอแนะให้โรงเรียนจัดเพิ่มเติม คือเชิญวิทยากรภายนอก
มาให้ความรู้จัดนิทรรศการ ศึกษานอกสถานที่และการจัดเสียงตามสาย
ศุภมงคล พจน์ธีรมนตรี (2545 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาวิเคราะห์หนังสือส่งเสริมการอ่าน
ระดับประถมศึกษาผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบ คือด้านเนื้อหา พบว่าการวางโครงเรื่องให้
คุณธรรมคติธรรมและจริยธรรมมากที่สุด โครงเรื่องให้ความรู้เรื่องชีวิตประจำวันพบน้อยที่สุดด้าน
แนวคิด พบมากที่สุดคือแนวคิดด้านสังคมคุณธรรมและจริยธรรม แนวคิดด้านการประกอบอาชีพพบ
น้อยที่สุด ด้านกลวิธีการเขียนนิยมปิดเรื่องด้วยการบรรยายตัวละครและฉาก ดำเนินเรื่องเป็นไป
ตามลำดับปีปฏิทินและปิดเรื่องแบบสุขนาฏกรรมด้านการใช้ภาษาใช้คำสั้น และง่ายต่อความเข้าใจ
ประโยคสั้นกระชับชัดเจน
คุณค่าของหนังสือส่งเสริมการอ่าน พบคุณค่าด้านความบันเทิงมากที่สุดคุณค่าด้านการ
ให้ความรู้สาขาต่างๆ พบน้อยที่สุด ส่วนความสัมพันธ์ของเนื้อหากับหลักสูตรมีความสัมพันธ์กับ
หลักกลุ่มสร้างเสริมลักษณะนิสัยมากที่สุด และกลุ่มการงานพื้นฐานและอาชีพพบน้อยที่สุด
อนันต์ เตียวต๋อย (2545: บทคัดย่อ) ได้ศึกษาเรื่อง การประเมินผลโครงการฝึกอบรม
เตรียมผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลผลการศึกษา พบว่า 1) ด้าน
สภาพแวดล้อมวัตถุประสงค์ของโครงการฝึกอบรมโดยรวมและเป็นรายข้อมีความเหมาะสมในระดับ
มากทุกข้อส่วนโครงสร้างของหลักสูตรการฝึกอบรม โดยรวมมีความเหมาะสมในระดับมากในราย
ข้อส่วนใหญ่มีความเหมาะสมในระดับมาก 2) ด้านปัจจัยนำเข้าคุณลักษณะของวิทยากร โดยรวมมี
ความเหมาะสมในระดับมากในรายข้อส่วนใหญ่มีความเหมาะสมในระดับมาก ส่วนการจัดสิ่งอำนวย
ความสะดวก โดยรวมมีความเหมาะสมในระดับมากในรายข้อส่วนใหญ่มีความเหมาะสมระดับมาก
ส่วนสถานที่ฝึกอบรมและสถานที่พัก โดยรวมและเป็นรายข้อมีความเหมาะสมในระดับมากส่วน
งบประมาณตามโครงการฝึกอบรม มีความเหมาะสมในระดับมากในรายข้อส่วนใหญ่มีความ
59
เหมาะสมในระดับมาก 3) ด้านกระบวนการการดำเนินงานฝึกอบรมโดยรวมและเป็นรายข้อมีความ
เหมาะสมในระดับมากส่วนการวัดผลและการประเมินผล โดยรวมมีความเหมาะสมในระดับมากใน
รายข้อส่วนใหญ่มีความเหมาะสมในระดับปานกลาง ส่วนการบริหารโครงการฝึกอบรม โดยรวมและ
เป็นรายข้อมีความเหมาะสมในระดับมาก 4) ด้านผลผลิต ปริมาณผู้ผ่านการฝึกอบรม โดยรวมและเป็น
รายข้อมีความเหมาะสมในระดับมาก ส่วนคุณภาพผู้ผ่านการฝึกอบรม โดยรวมและเป็นรายข้อมีความ
เหมาะสมในระดับมาก 5) สรุปผลการประเมินในด้านสภาพแวดล้อมด้านปัจจัยนำเข้า ด้าน
กระบวนการและด้านผลผลิต โดยรวมและเป็นรายข้อ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากทุกด้านและ
ทุกข้อ 6) ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อโครงการฝึกอบรม เป็นโครงการที่ดีมีประโยชน์ต่อบุคลากร
และสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ทำให้ผู้ผ่านการฝึกอบรมเกิดความมั่นใจในการทำงาน และมี
ความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานดีควรจัดให้มีการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง ควรคัดเลือกวิทยากรที่มี
ประสบการณ์ควรจัดระบบการคัดเลือกผู้เข้ารับการฝึกอบรมด้วยความสมัครใจหรือใช้วิธีสมัครเข้ารับ
การฝึกอบรม หรือคัดเลือกบุคคลเข้ารับการฝึกอบรมตามที่หน่วยงานเรียงลำดับไว้ ควรจัดช่วงเดือน
มีนาคม-พฤษภาคมของทุกปี จัดภาคทฤษฎีไม่ควรเกิน 8 ชั่วโมง ต่อวันควรเชิญผู้ประสบผลสำเร็จการ
บริหารมาเล่าประสบการณ์ และควรเพิ่มหลักสูตรการพัฒนาบุคลิกภาพ
3.3 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องต่างประเทศ
3.3.1 งานวิจัยต่างประเทศด้านพัฒนาระบบการจัดการสารสนเทศ
บลัสเท็น (Blausten, 1984 : 1517- A) ได้ศึกษาเรื่อง การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อ
การบริหารในหน่วยงานรัฐบาลกลางโดยการวิเคราะห์ภาระหน้าที่สำคัญๆ ความซ้ำซ้อนของงาน
ตลอดจนปัญหาต่างๆ จากการวิเคราะห์สภาวะแวดล้อมทางเทคโนโลยี การเมืององค์การและการ
ปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลผลการศึกษาได้สรุปว่า ไม่มีกุศโลบายการตัดสินใจแบบใดแบบหนึ่งที่
เหมาะสมกับทุกสภาพการณ์ งานการออกแบบและนำระบบไปใช้มีความซับซ้อนและหลากหลายเกิน
กว่าที่จะใช้กุศโลบายเพียงอย่างเดียวผู้จัดระบบควรจะนำวิธีการที่เหมาะสมหลายๆ อย่างมา
ประยุกต์ใช้และผู้จัดการระบบควรจะรู้แบบการบริหารของตนเอง เตรียมพร้อมที่จะปรับปรุงให้
สอดคล้องกับลักษณะการตัดสินใจเฉพาะครั้งคราว
นอกจากนี้ บลัสเท็นยังได้ศึกษาเกี่ยวกับระบบสารสนเทศในการจัดการสำหรับจัดสรร
ให้คณาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา จุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อการใช้ระบบสารสนเทศเพื่อกำหนดจำนวน
บุคลากรของคณาจารย์ที่แต่ละภาควิชาต้องการ ตามจำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่อุทิศให้กิจกรรม
วิชาการทุกกิจกรรมรวมทั้งหน้าที่บริหารด้วย โดยได้เสนอให้เก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ 1) ลักษณะ
60
ทั่วไปของวิทยาลัย 2) นโยบายของทางวิชาการและเกณฑ์ที่ใช้ และ 3) กิจกรรมหลักที่ภาควิชาปฏิบัติ
ได้แก่ การสอนการวิจัย การผลิตผลงานเชิงสร้างสรรค์ การบริการชุมชน การพัฒนาคณาจารย์ และ
งานด้านวิชาการและด้านบริหารของภาควิชา
เซฟเฟอร์แมน (Siefferman. 1989 : 4452-B) ได้ศึกษาการสังเคราะห์วัตถุมีพิษตามระบบ
การบริหารจัดการข้อมูลที่สร้างขึ้นจุดประสงค์ก็เพื่อศึกษาองค์ประกอบต่างๆ ซึ่งส่งผลต่อการควบคุม
และสังเคราะห์วัตถุมีพิษตามระบบบริหารจัดการข้อมูลของมหาวิทยาลัยอลาบามา และในการศึกษา
ค้นคว้าได้นำเอาความต้องการและศักยภาพของระบบบริหารจัดการข้อมูลโดยใช้ยุทธศาสตร์ ของ
ไอบีเอ็ม (ระบบการวางแผนทางธุรกิจ) เป็นการบริหารจากระดับบนลงมาล่างกับการปฏิบัติงานจาก
ระดับกลางสู่ระดับบนผลการศึกษาทำให้พบรูปแบบของการบริหารจัดการ รูปแบบของกระบวนการ
สังเคราะห์ของระบบเน้นการรายงานแหล่งข้อมูล ขั้นตอนหรือกระบวนการวิเคราะห์การไหลเวียน
ข้อมูลการแสดงผลข้อมูลโดยใช้ตารางรวมทั้งข้อมูลที่เป็นสถิติต่างๆ
วาเลนซูเอลลา (Valenzuela,1992 : 886 - A) ได้ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการของการบริหาร
ข้อมูลในหน่วยงานซึ่งผลจากการศึกษาพบว่า การนำระบบบริหารข้อมูลภายในหน่วยงานจำเป็นต้อง
ได้รับการเอาใจใส่ในเรื่องรายละเอียดของเนื้อหาความสามารถของบุคลากรรับผิดชอบ ด้านข้อมูล
เพื่อให้ได้ระบบการบริหารข้อมูลที่ทันสมัย เพราะถ้าหากไม่ได้กำหนดความสำคัญก่อนหลังของ
กิจกรรมต่างๆ ของหน่วยงานไว้จะทำให้เกิดปัญหาการพัฒนาระบบข้อมูลวาเลนซูเอลลา
3.3.2 งานวิจัยต่างประเทศด้านความต้องการของผู้ใช้สารสนเทศ
โกรฟ และเดวิส (Grovea and Davis : 1980, 22-29) ได้ศึกษาความต้องการของ
ผู้ใช้บริการห้องสมุดคณะกรรมาธิการพิษสุรา และยาเสพติดแห่งเมืองอัลเบอร์ตา (The Alberta
Alcoholism and Abuss Commisson Library) โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่ม
ผู้บริหาร กลุ่มผู้ให้คำปรึกษาและแนะนำ และกลุ่มผู้รับบริการปรึกษาและแนะนำจากการศึกษาพบว่า
ผู้ใช้ส่วนใหญ่ใช้ดรรชนีที่ห้องสมุดจัดทำขึ้นในการศึกษาค้นคว้าข้อมูลที่ต้องการ แต่กลุ่มผู้บริหารจะ
ค้นข้อมูล โดยใช้ดรรชนีคอมพิวเตอร์ (Online index) มากที่สุด
ในปีเดียวกันโรเบิร์ตสัน (Robertson : 1980, 345 - 353) ได้สำรวจการใช้บริการ
ห้องสมุดของนักวิจัยเกี่ยวกับความคิดเห็น ในการจัดลำดับความสำคัญของการบริการห้องสมุดของ
หน่วยงานเปรียบเทียบกับงบประมาณที่ได้รับและเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้อำนวยการห้องสมุด
ทั้ง 3 แห่งพบว่า ผู้ใช้บริการห้องสมุดให้ความสำคัญกับความต้องการบริการด้านสั่งซื้อวารสารและ
หนังสือ บริการค้นหาข้อมูลโดยระบบคอมพิวเตอร์ และบริการยืมระหว่างห้องสมุด ตามลำดับ
61
สรุปว่า ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่จะใช้เพื่อสนองความต้องการของตนเองเป็นสำคัญ และ
สิ่งที่ตนเองต้องการนั้นมันตรงหรือไม่กับทรัพยากรที่มีอยู่ภายใน และมันสอดคล้องกันหรือเปล่าเป็น
สำคัญ
3.3.3 งานวิจัยต่างประเทศด้านการประเมิน
ชิปส์ (Ships:1970, 5009 A) ได้ประเมินการใช้ห้องสมุดฐานทัพอากาศอเมริกันเพื่อ
ส่งเสริมการเรียนในโครงการศึกษาระดับปริญญาตรี และสูงกว่าปริญญาตรีซึ่งได้รับความร่วมมือจาก
วิทยาลัยและมหาวิทยาลัยฝ่ายพลเรือนจากการประเมินพบว่า ห้องสมุดไม่สามารถให้บริการแก่
โครงการนี้อย่างเพียงพอ เพราะขาดงบประมาณสำหรับซื้อวัสดุเข้าห้องสมุด เพราะเจ้าหน้าที่ห้องสมุด
ยังไม่มีอำนาจเต็มในการจัดหาวัสดุนอกจากนี้ห้องสมุดยังขาดความสัมพันธ์กับผู้แทนของสถานศึกษา
ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญในการจัดวัสดุในห้องสมุดทำให้เกิดความไม่สัมพันธ์กันกับหลักสูตรของ
โครงการ
ดาไล (Dalai: 1994) ศึกษาผู้ใช้เป็นการประเมินห้องสมุดเฉพาะจากรายการ การศึกษา
และข้อมูลพื้นฐานจากฝ่ายจ่าย-รับหนังสือ จากการสำรวจและการใช้แบบสอบถามเพื่อประเมิน
ทรัพยากรห้องสมุดของห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ในส่วนภูมิภาคที่เมือง Bhubaneswer ประเทศ
อินเดีย ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ด้านการเก็บรวมรวบข้อมูลในการปฏิบัติงานสารสนเทศมีปัญหาการ
จัดหาอุปกรณ์และเครื่องมือที่ทันสมัยไม่เพียงพอ การเก็บข้อมูลมีความล่าช้าทางด้านการตรวจสอบ
ข้อมูลไม่มีการตรวจสอบความเป็นปัจจุบัน ของข้อมูลสำหรับการจัดกระทำข้อมูลไม่มีการกำหนด
แบบฟอร์ม และรูปแบบที่เป็นมาตรฐานสวนการจัดเก็บข้อมูลมีการจัดเก็บข้อมูลซ้ำซ้อนมีการใช้
เครื่องคอมพิวเตอร์เข้ามาเสริมช่วย ในการจัดเก็บข้อมูลสำหรับทางด้านการนำเสนอข้อมูลมีการ
นำเสนอข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์มีการรายงานผลบนจอเทอร์มินอล นอกจากนี้ยังมีการอบรม
บุคลากรให้มีความรู้และเทคนิคการใช้ที่ดี
สรุปจากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องสรุปได้ว่า สารสนเทศจะเกิดขึ้นได้ 2
ทางคือสารสนเทศที่ได้เก็บรวบรวมมาตามขั้นตอน คือจากการสำรวจสัมภาษณ์ทดลอง ศึกษาค้นคว้า
ตามกระบวนการทางวิชาการ แล้ววิเคราะห์สังเคราะห์ตามหลักวิชาการของบรรณารักษศาสตร์และ
จัดเก็บไว้บริการเรียกสารสนเทศชนิดนี้ว่า สารสนเทศชั้นปฐมภูมิและสารสนเทศที่ได้รวบรวมหรือ
เรียบเรียงไว้แล้วเรียกว่าสารสนเทศขั้นตติยภูมิสารสนเทศชนิดนี้ ก็คือสารสนเทศที่ได้ผ่าน
กระบวนการคัดเลือก และจำแนกแจกแจงตามกระบวนการแล้วนั่นเองสารสนเทศดังกล่าวได้ผ่าน
การค้นคว้าและรวบรวมจากแหล่งสารสนเทศ คือห้องสมุดเอกสารหรือแหล่งบุคคลโดยผ่าน
กระบวนการการสังเกตการสัมภาษณ์ การออกแบบสอบถาม
62
สารสนเทศทั้งสองสามารถจำแนกลักษณะของสารสนเทศได้ดังนี้
1. จำแนกตามคุณภาพของสารสนเทศ
2. จำแนกตามปริมาณ
3. จำแนกตามกาลเวลาซึ่งเรียกสารสนเทศประเภทนี้ว่า สารสนเทศตามอนุกรมเวลา
4. จำแนกตามภูมิวรรณา ซึ่งเป็นสารสนเทศที่แยกหรือจำแนกตามลักษณะของพื้นที่ และ
อาณาเขต
สารสนเทศจะมีคุณสมบัติดังนี้
1. อคติ คือไม่มีการเอนเอียงไปในลักษณะเข้าข้างใดข้างหนึ่ง
2. ถูกต้องสมบูรณ์แบบ คือถูกต้องสมบูรณ์แบบตามความต้องการ
3. เชื่อถือได้ และมีความแม่นยำเที่ยงตรงสูง
4. มีความต่อเนื่องคือมีความถูกต้องตรงต่อความต้องการ ตรงตามเป้าหมายและอยู่ใน
ประเด็นของผู้ต้องการใช้
การประเมินทรัพยากรสารสนเทศที่มีอยู่ภายในห้องสมุด เป็นการประเมินทรัพยากร
สารสนเทศที่มีอยู่ทั้งหมดภายในห้องสมุด และการบริการสารสนเทศเพื่อให้ได้ภาพรวมของการ
บริการสารสนเทศ เพื่อที่จะสามารถประเมินได้ว่า ดีหรือไม่ มีความบกพร่องเพียงใด จะได้ปรับปรุง
แก้ไขการดำเนินงาน โดยการทบทวนนโยบายและวัตถุประสงค์หลักของสถาบันการศึกษาผู้ใช้ การ
เลือกทรัพยากรสารสนเทศการจัดหาการคัดเลือกทรัพยากรสารสนเทศ และการคัดทรัพยากร
สารสนเทศที่มีการใช้น้อยและไม่ได้ใช้เลยออกไป และการประเมินทรัพยากรสารสนเทศเพื่อตรวจ
สอบข้อบกพร่องต่างๆ เป็นต้น
บทที่ 3
วิธีดำเนินการวิจัย
การวิจัยเรื่อง “การประเมินการบริการสารสนเทศในห้องสมุดมหาวิทยาลัย มหามกุฏ
ราชวิทยาลัย” ผู้วิจัยดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปนี้
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาความสอดคล้องของเนื้อหาทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุดกับหลักสูตร
ที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
2. เพื่อศึกษาระบบและการให้บริการสารสนเทศในห้องสมุดที่เอื้อต่อการศึกษาตาม
หลักสูตรของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
3. เพื่อศึกษาความต้องการใช้ทรัพยากรสารสนเทศของผู้ใช้บริการสารสนเทศ ใน
ห้องสมุด มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
4. เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการให้บริการทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุด
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ต่อผู้ใช้บริการ
5. เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและแนวทางแก้ไขปัญหาในการให้บริการสารสนเทศใน
ห้องสมุด มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
วิธีดำเนินการวิจัย
1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
2. การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
3. การเก็บรวบรวมข้อมูล
4. การวิเคราะห์ข้อมูล
5. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ในการทำวิจัยครั้งนี้ประชากรกลุ่มตัวอย่างที่กำหนดในการวิจัย คืออาจารย์ผู้สอนนิสิต
ระดับชั้นปริญญาตรีปีที่ 1 - 4 และนิสิตระดับชั้นปริญญาโท ตลอดถึงเจ้าหน้าที่และผู้บริหารของ
64
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา 2548 รวมทั้งสิ้น 547 ท่าน มีรายละเอียดดัง
แสดงในตารางที่ 1
กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ ได้มาจากสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นจากกลุ่มประชากร
574 ท่านเป็นจำนวน 147 ท่านโดยใช้สูตรตัวแทนขนาดพอเหมาะที่จะเป็นตัวแทนของกลุ่มประชากร
โดยใช้สูตรของ Taro Yamane (1960:1088 – 1089 อ้างในสุจินต์ ธรรมชาติ, 2546:189)
N
P(I P)
Z
e
N P (I-P)
2
2 + −
=
โดยกำหนดให้ P = .15 e = .05 Z = 1.96
ขนาดของประชากร (N) = 574
146.215
574
(.05)2 (.15) (.85)
n (.15) (.85)
(1.96)2
=
+
=
ผู้วิจัยจึงใช้ขนาดของกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 147 ท่าน โดยใช้วิธีสุ่มแบบแบ่งชั้นได้ผลดัง
แสดงในตารางที่ 1
ตารางที่ 1 จำนวนประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประเภทประชากร จำนวน
ประชากร
จำนวนกลุ่ม
ตัวอย่าง
อาจารย์ 41 11
นักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 78 19
นักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 2 56 14
นักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 3 69 19
นักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 4 85 23
นักศึกษาระดับปริญญาโท 166 42
เจ้าหน้าที่ 79 19
รวม 574 147
65
กลุ่มตัวอย่างที่เป็นอาจารย์เจ้าหน้าที่และนักศึกษาทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโทโดย
แยกแต่ละคณะได้ผลดังที่ปรากฏในตารางที่ 2 และ 3 ดังนี้
ตารางที่ 2 จำนวนประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่เป็นอาจารย์และเจ้าหน้าที่
คณะ อาจารย์ เจ้าหน้าที่ กลุ่มตัวอย่าง
ศาสนาและปรัชญา 12 - 3
คณะมนุษยศาสตร์ 11 - 3
คณะสังคมศาสตร์ 8 - 2
คณะศึกษาศาสตร์ 10 - 3
สำนักงานอธิการบดี - 79 19
รวม 120 รวม 30
ตารางที่ 3 จำนวนนักศึกษาชั้นปีที่ 1 – 4 จากคณะต่างๆ และระดับบัณฑิตศึกษา
คณะ ชั้นปีที่ กลุ่มประชากร กลุ่มตัวอย่าง
รวมทุกคณะ 1 78 19
รวมทุกคณะ 2 56 14
ศาสนาและปรัชญา 3 14 4
คณะมนุษยศาสตร์ 3 17 5
คณะสังคมศาสตร์ 3 21 6
คณะศึกษาศาสตร์ 3 16 4
ศาสนาและปรัชญา 4 29 8
คณะมนุษยศาสตร์ 4 20 5
คณะสังคมศาสตร์ 4 17 5
คณะศึกษาศาสตร์ 4 19 5
บัณฑิตศึกษา 1 91 23
บัณฑิตศึกษา 2 75 19
รวม 454 117
66
2. การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้นด้วยการศึกษา
ค้นคว้าจากเอกสาร สิ่งพิมพ์ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นงานวิจัยที่มีเนื้อหาสาระในรูปแบบของ
การประเมินความต้องการความพึงพอใจต่อการใช้บริการสารสนเทศในห้องสมุด ในระดับ
มหาวิทยาลัยและงานวิจัยในเชิงประเมินคุณภาพ ตามกรอบแนวคิดการประเมินในรูปแบบซิปป์
โมเดล แบบสอบถามจะแยกเป็น 3 ชุด คือ
ชุดที่ 1 เป็นแบบสอบถามสำหรับอาจารย์ผู้ใช้สื่อสารสนเทศซึ่งเกี่ยวข้องกับหลักสูตรที่
เปิดสอนอยู่ในมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เป็นแบบสอบถามเชิงสำรวจถึงประเภทของ
สารสนเทศที่จำเป็นต้องใช้เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน
ชุดที่ 2 เป็นแบบสอบถามสำหรับเจ้าหน้าที่ห้องสมุดและบรรณารักษ์ ถึงประเภทและ
ปริมาณของสารสนเทศที่ผู้สอนจำเป็นต้องใช้ที่มีอยู่ภายในห้องสมุด
ชุดที่ 3 เป็นแบบสอบถามสำหรับผู้ใช้สารสนเทศ ประกอบด้วยอาจารย์ เจ้าหน้าที่
นักศึกษาระดับปริญญาตรีปีที่ 1 – 4 และปริญญาโท แบบสอบถามจะแยกเป็นรายละเอียดดังนี้
ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วยคำถาม
เกี่ยวกับสถานภาพ คณะที่เรียน ระดับการศึกษาทางธรรมในกรณีที่เป็นพระภิกษุสงฆ์สามเณรแม่ชี
วัตถุประสงค์ของการใช้สารสนเทศ ความถี่ในการใช้สารสนเทศ ลักษณะเป็นแบบสอบถามปลาย
ปิด
ตอนที่ 2 เป็นคำถามเกี่ยวกับจุดประสงค์ในการการใช้บริการสารสนเทศในห้องสมุด
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยของท่าน ซึ่งเป็นแบบสอบถามปลายปิด
ตอนที่ 3 เป็นคำถามที่ถามความสอดคล้องระหว่างเนื้อหาสารสนเทศภายในห้องสมุด
กับการเรียนการสอนตามหลักสูตรของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีลักษณะเป็นแบบสำรวจ
2 ตัวเลือกจำนวน 110 รายการ
ตอนที่ 4 เป็นคำถามเกี่ยวกับความต้องการและความพึงพอใจในการใช้บริการ
สารสนเทศและเนื้อหาของทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุดมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ซึ่งมี
ระดับความต้องการและความพึงพอใจให้เลือก 5 ระดับ เป็นแบบสอบถามแบบประมาณค่า (Rating
Scale) คือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด จำนวน 110 รายการ
ตอนที่ 5 เป็นคำถามเกี่ยวกับข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้ตอบแบบสอบถามต่อการ
ให้บริการทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุดมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยในฐานะผู้ใช้บริการ
67
3. ขั้นตอนในการสร้างเครื่องมือ
การสร้างเครื่องมือเพื่อการวิจัย เรื่อง “การประเมินการบริการสารสนเทศในห้องสมุด
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย” ผู้วิจัยได้สร้างจากขั้นตอนดังนี้
1. ศึกษาเอกสาร ทฤษฎี วรรณกรรม และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง พร้อมกันนี้ผู้วิจัยได้ศึกษา
จากหลักสูตรของมหาวิทยาลัยเพื่อกำหนดรายรายชื่อสารสนเทศที่เห็นว่าสอดคล้องกับหลักสูตร
ความต้องการและความพึงพอใจของผู้ใช้
2. ผู้วิจัยได้สร้างแบบสอบถามชุดที่ 1 เพื่อสำรวจประเภทของสารสนเทศที่จำเป็นเพื่อ
สอดคล้องกับการสอน ในหลักสูตรต่างๆ ที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
3. เมื่อได้แบบสอบถามชุดที่ 1 ผู้วิจัยได้นำแบบสอบถามดังกล่าวเสนอคณะกรรมการ
ควบคุมวิทยานิพนธ์ เพื่อตรวจสอบความถูกต้องและเหมาะสม
4. เมื่อผู้วิจัยได้รับแบบสอบถามซึ่งผ่านการตรวจแก้ และตรวจสอบจากคณะกรรมการ
แล้วผู้วิจัยได้นำแบบสอบถามชุดที่ 1 ไปแจกอาจารย์และนักวิชาการผู้ใช้สารสนเทศตามหลักสูตรของ
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เพื่อสำรวจประเภทของสารสนเทศที่ใช้ในการเรียนการสอนตาม
ความต้องการจากอาจารย์และนักวิชาการจากหลักสูตรทั้ง 4 คณะของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราช
วิทยาลัย
5. ผู้วิจัยได้สร้างเครื่องมือชุดที่ 2 ซึ่งเป็นลักษณะเป็นแบบสอบถามใช้สำรวจประเภท
และปริมาณสารสนเทศประเภทต่างๆ ที่จำเป็นเพื่อสนับสนุนการสอนตามผลการสำรวจจาก
แบบสอบถามชุดที่ 1 และชุดที่ 3 จากข้อมูลที่ได้รับจากแบบสอบถามชุดที่ 1 และได้ให้ผู้เชี่ยวชาญ
ตรวจสอบโดยผู้วิจัยได้ขอหนังสือจาก บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ขอ
ความอนุเคราะห์จากผู้เชี่ยวชาญให้ตรวจสอบความสมบูรณ์และความเที่ยงตรงของแบบสอบถาม
จำนวน 5 ท่าน
6. ผู้วิจัยได้รับแบบสอบถามทั้ง 5 ชุดจากผู้เชี่ยวชาญพร้อมกับได้ปรับแก้ตามคำแนะนำ
ของผู้เชี่ยวชาญทั้ง 5 ท่าน และได้แบบสอบถามที่มีความเที่ยงตรงและสมบูรณ์แล้ว
7. ทดสอบความเชื่อถือได้ของเครื่องมือกับประชากรกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 35 ท่าน ณ
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย แล้วนำมาคำนวณค่าความเชื่อมั่น (Reliability) โดยใช้วิธีหา
ค่าแบบสัมประสิทธิ์แอลฟ่า ( α - Coefficient) ของครอนบาช (Cronbach) (พวงรัตน์ ทวีรัตน์, 2538
: 125) ได้ค่าความเชื่อมั่นอยู่ที่ 0.85 และ 0.95 ตามลำดับ
68
4. การเก็บรวบรวมข้อมูล
1. ผู้วิจัยขอหนังสือจากบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เพื่อขอ
อนุญาตให้อาจารย์และนักวิชาการที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน ตอบแบบสอบถาม ชุดที่ 1 โดย
ผู้วิจัยเก็บแบบสอบถามด้วยตนเอง
2. ผู้วิจัยได้ใช้เครื่องมือเป็นแบบสอบถาม ซึ่งผ่านการหาค่าความเที่ยงตรงแล้วแจกแก่
ประชากรและกลุ่มตัวอย่างคือ อาจารย์เจ้าหน้าที่นักศึกษาโดยผู้วิจัยได้ขอหนังสือจากบัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาเพื่อขออนุญาต แจกแบบสอบถามแต่ละกลุ่มตัวอย่างมี
จำนวนทั้งสิ้น 147 ท่าน โดยขอความอนุเคราะห์ให้กลุ่มประชากรเหล่านั้นตอบแบบสอบถาม และ
ดำเนินการเป็น 2 ส่วน คือ
2.1 ผู้บริหาร อาจารย์และเจ้าหน้าที่ จำนวน 30 ท่าน จากจำนวน 120 ท่าน
2.2 นักศึกษา ระดับปริญญาตรีปี่ 1- 4 ปริญญาโท จำนวน 117 ท่าน จาก 454 ท่าน
3. รวบรวมข้อมูลแบบสอบถามได้จำนวน 147 ฉบับ จาก 147 ฉบับ คิดเป็นร้อยละร้อย
(100 %)
4. ผู้วิจัยใช้เครื่องมือซึ่งเป็นแบบสอบถามชุดที่ 3 แจกแก่กลุ่มตัวอย่างซึ่งประกอบด้วย
อาจารย์เจ้าหน้าที่บรรณารักษ์และนักศึกษา จำนวน 147 ฉบับ โดยผู้วิจัยขอหนังสือจากบัณฑิต
วิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาเพื่อขออนุญาตแจกแบบสอบถามด้วยตนเอง ได้รับ
แบบสอบถามคืน จำนวน 147 ชุด คิดเป็นร้อยละ 100
5. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
สถิติที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วยค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่า
เบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ค่าไค- สแควร์ (Chi-square test) โดยการใช้โปรแกรม
สำเร็จรูป SPSS วิเคราะห์ข้อมูลต่อไปนี้
1. ข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะของกลุ่มตัวอย่าง วิเคราะห์โดยใช้ค่าร้อยละ
2. จากแบบสอบถามชุดที่ 1 ศึกษาความต้องการทรัพยากรสารสนเทศที่สอดคล้องกับ
หลักสูตรที่เปิดสอน แยกตามคณะโดยใช้ค่าร้อยละซึ่งในแบบสอบถามชุดที่ 1 มีรายการทรัพยากร
สารสนเทศทั้งสิ้น 101 รายการและพบว่า สนับสนุน 100 รายการมีค่าอยู่ที่ 80.00 ยกเว้นรายการที่ 80
คือ การสอนวิชากลุ่มสร้างเสริมลักษณะนิสัย การสอนวิชากลุ่มการงานพื้นฐานอาชีพมีค่าอยู่ที่ 72.22
เป็นปริมาณสารสนเทศที่จำเป็นในการจัดให้มีในห้องสมุด
69
3. จากแบบสอบถาม ชุดที่ 2 สำรวจปริมาณของทรัพยากรสารสนเทศที่มีอยู่ในห้องสมุด
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย โดยวิเคราะห์จากปริมาณสูงสุดที่พบจากแบบสอบถามชุดที่ 3
วิเคราะห์ข้อมูลดังนี้
3.1 ศึกษาความสอดคล้องของเนื้อหาทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุดกับหลักสูตร
ที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยวิเคราะห์โดยใช้ค่า ไค-สแควร์
3.2 วิเคราะห์การให้บริการสารสนเทศในห้องสมุดจากลักษณะการใช้บริการของ
ผู้ใช้บริการโดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
3.3 ศึกษาความต้องการใช้ทรัพยากรสารสนเทศของผู้ใช้บริการสารสนเทศใน
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยโดยใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
3.4 ศึกษาความพึงพอใจในการให้บริการทรัพยากรสารสนเทศในมหาวิทยาลัย
มหามกุฏราชวิทยาลัยของผู้ใช้บริการ โดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วยเบี่ยงเบนมาตรฐาน
3.5 ศึกษาปัญหา อุปสรรค์ และแนวทางแก้ปัญหา สรุปจากข้อมูลที่ได้จาก
แบบสอบถามปลายเปิด
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
การหาค่าร้อยละ (Percentage) ของคำตอบเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปและข้อคำถามแบบให้
เลือกตอบโดยใช้หลักสูตร
ค่าร้อยละ = จำนวนผู้ที่ตอบคำถามนั้นๆ x 100
จำนวนผู้ตอบทั้งหมด
การวิเคราะห์ข้อมูลหาค่ามัชฌิมเลขคณิต (Mean) โดยใช้สูตร
x = Ν
Σ ∫ x
x = ค่ามัชฌิมเลขคณิต
N = จำนวนคำตอบทั้งหมด
f = จำนวนความถี่ของแต่ละคำตอบ
x = ค่าน้ำหนักคำตอบแต่ละข้อ
Σfx = ผลรวมของคะแนนแต่ละระดับคูณกับความถี่
การวิเคราะห์หาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) เพื่อศึกษาการกระจาย
ของข้อมูล โดยใช้สูตร
S.D. = ( 1)
x2 ( x)2

Σ − Σ
n n
n f f
70
n = จำนวนคำตอบทั้งหมด
x = ค่าของน้ำหนักคำตอบแต่ละข้อ
f = จำนวนความถี่ของแต่ละระดับ
Σ fx2 = ผลรวมของความถี่คูณกับคะแนนแต่ละระดับยกกำลังสอง
(Σ fx)2 = กำลังสองของผลรวมความถี่คูณกับคะแนนแต่ละระดับยกกำลังสอง
การวิเคราะห์ความสอดคล้องด้วยค่าสถิติ ไค - สแควร์ โดยใช้สูตร
χ 2 = ( )
⎭ ⎬ ⎫
⎩ ⎨ ⎧

l
l 2 ο
f d = (n − 1 )
χ 2 แทนค่าสถิติ ไค-สแควร์
ο แทนค่าความถี่ที่ได้จากข้อมูล (Observation Frequency)
l แทนความถี่ที่คาดหวัง (Expectation Frequency)
df แทนชั้นแห่งความเป็นอิสระ
n แทนจำนวนค่าที่เลือกทั้งหมด
บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
การวิจัยเรื่อง “การประเมินการบริการสารสนเทศในห้องสมุดมหาวิทยาลัย มหามกุฏ
ราชวิทยาลัย” ผู้วิจัยนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นลำดับดังนี้
1. ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม
2. ผลการประเมินด้านบริบท (Context Evaluation)
3. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation)
4. ผลการประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation)
5. ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation)
6. ปัญหาอุปสรรค และแนวทางแก้ปัญหาในการให้บริการสารสนเทศ ในห้องสมุด
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
1. ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม
ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 147 ท่าน แยกตามสถานภาพดังแสดงใน
ตารางที่ 4
ตารางที่ 4 ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม
สถานภาพ (N = 147)
จำนวน ร้อยละ
1. เพศ
ชาย
107
72.8
หญิง 40 27.2
2. สถานภาพ
พระสงฆ์
93
63.3
แม่ชี 42 28.6
คฤหัสถ์ 12 8.2
72
ตารางที่ 4 (ต่อ)
สถานภาพ (N = 147)
จำนวน ร้อยละ
3. อายุ
น้อยกว่าหรือเท่ากับ 20 ปี
3
2.0
21 – 40 ปี 94 63.9
41 – 60 ปี 47 32.0
มากกว่า 60 ปี 3 2.0
4. ระดับการศึกษาปริยัติธรรมแผนกธรรม
นักธรรมตรี
8
5.4
นักธรรมโท 5 3.4
นักธรรมเอก 123 83.7
ไม่ตอบ 11 7.5
5. ระดับการศึกษาปริยัติธรรมแผนกบาลี
เปรียญตรี ป.ธ.3
21
20.8
เปรียญโท ป.ธ.4 – 6 22 21.8
เปรียญเอก ป.ธ.7 – 9 58 57.4
6. นักศึกษาระดับ
ปริญญาตรี
85
62.0
ปริญญาโท 52 38.0
ปริญญาเอก - -
7. คณะที่ศึกษา
คณะพุทธศาสนาและปรัชญา
67
50.0
คณะศึกษาศาสตร์ 28 20.9
คณะสังคมศาสตร์ 20 14.9
คณะมนุษยศาสตร์ 19 14.2
73
ตารางที่ 4 (ต่อ)
(N = 147)
สถานภาพ จำนวน ร้อยละ
8. ระดับการศึกษาสามัญ (สำหรับอาจารย์และเจ้าหน้าที่)
ต่ำกว่าปริญญาตรี
6
5.5
ปริญญาตรี 30 27.5
ปริญญาโท 69 63.3
ปริญญาเอก 4 3.7
9. ระดับตำแหน่งเฉพาะอาจารย์และเจ้าหน้าที่
เจ้าหน้าที่ทั่วไป
20
19.0
ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ 3 2.9
ระดับผู้ชำนาญการ 63 60.0
ระดับหัวหน้า 13 12.4
อื่นๆ 6 5.7
จากตารางที่4 พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่นำมาวิเคราะห์ 147 ท่านส่วนใหญ่เป็นเพศชาย คิดเป็น
ร้อยละ 72.8 หญิงร้อย 27.2 เป็นพระสงฆ์ร้อยละ63.6 เป็นแม่ชีร้อยละ 28.6 และเป็นคฤหัสถ์ร้อยละ
8.2 มีอายุระหว่าง 21- 40 ร้อยละ 63.9 และระหว่าง 41 – 60 มีร้อยละ 32.0 มีการศึกษาปริยัติธรรม
แผนกธรรมระดับนักธรรมเอกร้อยละ 83.7 นักธรรมตรีและโทร้อยละ 5.4 และ 3.4 ตามลำดับ มี
การศึกษาปริยัติแผนกบาลีระดับเปรียญเอก (ป.ธ.7 – 9) ร้อยละ 57.4 เปรียญโท (ป.ธ.4 – 6) ร้อยละ
21.8 และเปรียญตรี (ป.ธ.3) ร้อยละ 20.8
นักศึกษา ศึกษาในระดับปริญญาตรีร้อยละ 62.0 ระดับปริญญาโทร้อยละ 38.0 นักศึกษา
ในคณะพุทธศาสนาและปรัชญาร้อยละ 50.0 คณะศึกษาศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ และคณะ
มนุษยศาสตร์ร้อยละ 20.0 14.9 และ14.2 ตามลำดับ
ในขณะที่อาจารย์และเจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่ มีความรู้ในระดับปริญญาโทร้อยละ 63.3
ปริญญาตรีต่ำกว่าปริญญาตรี และปริญญาเอกร้อยละ 27.5 5.5 และ 3.7 ตามลำดับ
74
2.การประเมินด้านบริบท (Context Evaluation)
2.1 การประเมินบริบทโดยศึกษาความสอดคล้องของเนื้อหาทรัพยากรสารสนเทศใน
ห้องสมุด กับหลักสูตรที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 จาก
ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามเชิงสำรวจมาจาก 4 คณะคือคณะศาสนาและปรัชญา คณะศึกษาศาสตร์
คณะสังคมศาสตร์ และคณะมนุษย์ศาสตร์ คณะละ 3 ท่าน จากทั้ง 4 คณะ แต่คณะมนุษย์ศาสตร์มี 2
ท่าน รวมเป็น 11 ท่านสรุปความสอดคล้องของทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุดและความต้องการ
ของผู้สอน ได้ผลแสดงในตารางที่ 5 ดังนี้
ตารางที่ 5 เนื้อหาของทรัพยากรสารสนเทศที่สนับสนุนในรายวิชาที่สอน
สนับสนุนคณะ
เนื้อหาสารสนเทศ
ศาสนา
และ
ปรัชญา
ศึกษา
ศาสตร์
สังคม
ศาสตร์
มนุษย์
ศาสตร์
รวม
ร้อยละ
ที่
สนับสนุน
1. ชุดสารัตถะแห่งพระวินัยปิฎก 3 2 2 2 9 81.81
2. ชุดสารัตถะแห่งพระอภิธรรมปิฎก 3 2 2 2 9 81.81
3. ชุดการปฏิบัติกรรมฐาน ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา 3 2 2 2 9 81.81
4. ธรรมพากย์ภาษาอังกฤษ ศาสนาเปรียบเทียบ 3 3 2 2 9 81.81
5. พุทธศาสนากับสังคมพุทธปรัชญา หลักแห่งศาสนาพุทธ 3 2 2 2 9 81.81
6. ประวัติความเป็นมาของพระพุทธศาสนาในประเทศไทย 3 2 2 2 9 81.81
7. พจนานุกรม สารานุกรมพุทธศาสนา ผลงานวิจัยทาง
พระพุทธศาสนา
3 2 2 2 9 81.81
8. ประวัติผู้บำเพ็ญประโยชน์ของพุทธศาสนาความเป็นมนุษย์ 3 3 2 2 9 81.81
9. สมณศักดิ์ของคณะสงฆ์ไทย ประวัติและความเป็นมา 2 2 2 2 9 81.81
10. พระพุทธศาสนานิกายมหายานฝ่ายเหนือ การปฏิบัติ
กรรมฐาน 1 - 6
3 2 2 2 9 81.81
11. พระพุทธศาสนานิกายธิเบธแบบดาไลลามะ พุทธปรัชญา
เถรวาท 1 - 3
3 2 2 2 9 81.81
12.อรรถกถาพระสุตตันตปิฎก 1 – 3 อรรถกถาพระอภิธรรม
ปิฎก 1 - 3
3 2 2 2 9 81.81
13. พุทธปรัชญามหายาน1 - 3 เศรษฐศาสตร์ตามแนวพุทธ ศาสตร์ 3 2 2 2 9 81.81
14. มิลินทปัญหาวิสุทธิมรรคพุทธจริยศาสตร์
พุทธปฏิภาณ จริยศาสตร์ศาสนา
3 2 2 2 9 81.81
75
ตาราที่ 5 (ต่อ)
สนับสนุนคณะ
เนื้อหาสารสนเทศ
ศาสนา
และ
ปรัชญา
ศึกษา
ศาสตร์
สังคม
ศาสตร์
มนุษย์
ศาสตร์
รวม
ร้อยละ
ที่
สนับสนุน
15. พุทธตรรกวิทยา1 - 3 ประวัติวรรณคดีบาลี1 - 2 3 3 2 2 9 81.81
16. ภาษาอังกฤษพื้นฐาน 1 – 2 ภาษาบาลีพื้นฐาน1 - 2
ภาษาสันสกฤตพื้นฐาน 1 - 2
3 3 2 2 9 81.81
17. ไวยากรณ์อังกฤษ1–2การแปลอังกฤษเป็นไทย1 - 2 3 3 2 2 9 81.81
18. ทักษะทางภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 1 - 2
ปรัชญาเบื้องต้น
3 2 2 2 9 81.81
19. ทักษะทางภาษาอังกฤษเพื่อจุดมุ่งหมาย
เฉพาะด้านจิตวิทยาในชีวิตประจำวัน
3 2 2 2 9 81.81
20. สังคีตนิยม มนุษย์กับเศรษฐกิจ สุนทรียศาสตร์ในงาน
ประพันธ์ไทยม
3 2 2 2 9 81.81
21. มนุษย์กับอารยธรรม การเมืองการปกครองไทย
ประวัติศาสตร์ไทย
3 2 2 2 9 81.81
22. เคมีในชีวิตประจำวัน ฟิสิกส์ในชีวิตประจำวัน
ยากับชีวิตประจำวัน
2 2 2 2 8 81.81
23. พืชและสัตว์ท้องถิ่น ประวัติศาสตร์
พระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนามหายาน
3 3 2 2 10 90.9
24. การศึกษาพระธรรมพากย์ภาษาอังกฤษ
หลักการเผยแผ่ และวาทศิลป์
3 2 2 2 9 81.81
25. ศาสนาพราหมณ์ ศาสนาเชน และซิกข์ ศาสนาคริสต์ 3 2 2 2 9 81.81
26. ศาสนาอิสลาม ศาสนากับโลกปัจจุบัน 3 2 2 2 9 81.81
27. ปรัชญาอินเดีย 1 – 2 ปรัชญากรีก
ปรัชญาตะวันตกร่วมสมัย ญาณวิทยา
3 2 2 2 9 81.81
28. ศาสนาปฐมบรรพ์ สุนทรียศาสตร์ปรัชญา
ตะวันตกสมัยใหม่ศาสนาเต๋าขงจื้อและชินโต
3 2 2 2 9 81.81
29. ศาสนาโซโรอัสเตอร์และยูดา พิธีกรรมทางศาสนา
สตรีกับศาสนา อภิปรัชญา
3 2 2 2 9 81.81
30. สัมมนาปัญหาศาสนา พุทธปรัชญาเถรวาท
พุทธปรัชญามหายาน จริยศาสตร์
3 2 2 2 9 81.81
76
ตาราที่ 5 (ต่อ)
สนับสนุนคณะ
เนื้อหาสารสนเทศ
ศาสนา
และ
ปรัชญา
ศึกษา
ศาสตร์
สังคม
ศาสตร์
มนุษย์
ศาสตร์
รวม
ร้อยละ
ที่
สนับสนุน
31. ปรัชญาอัตถิภาวนิยมปรัชญาการศึกษา ระเบียบวิธีวิจัย 3 2 2 2 9 81.81
32. ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาพระพุทธศาสนามหายาน
หลักการเผยแผ่
3 2 2 2 9 81.81
33. การศึกษาธรรมพากย์ภาษาอังกฤษ 3 2 2 2 9 81.81
34. ศาสนาวัฒนธรรมและสังคมไทย พิธีกรรมทางศาสนา 3 2 2 2 9 81.81
35. มานุษยวิทยา จิตวิทยาศาสนา สังคมวิทยาศาสนา 3 2 2 2 9 81.81
36. ศาสนากับความตายสมาธิในศาสนาสัมมนาปัญหาศาสนา 3 2 2 2 9 81.81
37. พระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน 3 2 2 2 9 81.81
38. การแปลอังกฤษเป็นไทย1-2 ทักษะทางภาษาอังกฤษเพื่อ
การสื่อสาร 1 - 2
3 3 2 2 10 90.9
39. มนุษย์กับการใช้เหตุผลสุนทรียศาสตร์และปรัชญาเบื้องต้น 3 2 2 2 9 81.81
40. สุนทรียศาสตร์ในงานประพันธ์ไทย สังคมกับกฎหมาย 3 3 2 2 9 81.81
41. คณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์เบื้องต้น ๑-๒ 3 2 2 2 9 81.81
42. การใช้โปรแกรมคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวันวิทยาศาสตร์
เกี่ยวกับโลก
3 2 2 2 9 81.81
43. พืชและสัตว์ท้องถิ่น 3 2 2 2 9 81.81
44. มนุษย์กับชีวมณฑล มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยวเชิง
อนุรักษ์
3 2 2 2 9 81.81
45. เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการค้นคว้า
พลศึกษากับการศึกษาคุณภาพชีวิต
3 2 2 2 9 81.81
46. หลักการศึกษานอกระบบ การพัฒนา
หลักสูตรการศึกษานอกระบบ
3 2 2 2 9 81.81
47. วิวัฒนาการของจุดมุ่งหมายและนโยบาย
การศึกษานอกระบบจิตวิทยาผู้ใหญ่
3 2 2 2 9 81.81
48. การพัฒนาสังคมและการแนะแนว 3 2 2 2 9 81.81
49. การวางแผนการประเมินผล และโครงการการศึกษา
นอกระบบ
3 2 2 2 9 81.81
77
ตาราที่ 5 (ต่อ)
สนับสนุนคณะ
เนื้อหาสารสนเทศ
ศาสนา
และ
ปรัชญา
ศึกษา
ศาสตร์
สังคม
ศาสตร์
มนุษย์
ศาสตร์
รวม
ร้อยละ
ที่
สนับสนุน
50. ประชากรกลุ่มเป้าหมายทางการศึกษานอกระบบ
การจัดการศึกษานอกระบบ
3 2 2 2 9 81.81
51. เทคโนโลยีและสื่อการเรียนการสอนกับการศึกษานอก
ระบบ 1 - 2
3 2 2 2 9 81.81
52. การศึกษานอกระบบกับห้องสมุด การจัดกิจกรรม
การศึกษานอกระบบ
3 2 2 2 9 81.81
53. จิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว 3 3 2 2 10 90.9
54. มนุษย์สัมพันธ์ของผู้ปฏิบัติงานด้านการศึกษานอกระบบ
นันทนาการชุมชน
3 2 2 2 9 81.81
55. การใช้สื่อมวลชนเพื่อการศึกษานอกระบบ
การประชาสัมพันธ์
3 2 2 2 9 81.81
56. ปฏิบัติการเทคโนโลยีทางการศึกษา
และการติดตามผลงานการศึกษานอกระบบ
3 2 2 2 9 81.81
57. การศึกษานอกระบบกับสถาบันสงฆ์
สัมมนาการศึกษานอกระบบ
3 2 2 2 9 81.81
58. หลักการศึกษาหลักการสอนจิตวิทยา
สำหรับครู คุณธรรมสำหรับครู
3 2 2 2 9 81.81
59. การประเมินผล การสร้างแบบทดสอบ
เทคโนโลยี และนวัตกรรมทางการศึกษา
3 2 2 2 9 81.81
60. ทฤษฎีการทดลองสอนวิชาพระพุทธศาสนา
ทฤษฎีวิธีสอนวิชาเฉพาะการประถมศึกษา
3 2 2 2 9 81.81
61. การมัธยมศึกษา การอาชีวศึกษาการจัด 3 2 2 2 9 81.81
62. ศึกษาศาสตร์ตามแนวพุทธศาสตร์
โรงเรียนชุมชน ระเบียบวิธีสอนทั่วไป
3 2 2 2 9 81.81
63. จิตวิทยาการแนะแนวเด็กวัยรุ่น การวิเคราะห์แบบเรียน
ชั้นประถมศึกษา
3 2 2 2 9 81.81
64. การสร้างสื่อและการวิเคราะห์แบบเรียนชั้นมัธยมศึกษา 3 2 2 2 9 81.81
65. การวางแผนการศึกษา กฎหมายการศึกษา หลักการ
บริหารการศึกษา
3 2 2 2 9 81.81
78
ตาราที่ 5 (ต่อ)
สนับสนุนคณะ
เนื้อหาสารสนเทศ
ศาสนา
และ
ปรัชญา
ศึกษา
ศาสตร์
สังคม
ศาสตร์
มนุษย์
ศาสตร์
รวม
ร้อยละ
ที่
สนับนุน
66. สังคมศึกษาในโรงเรียนประถม 3 2 2 2 9 81.81
67. การพัฒนาหลักสูตร การนิเทศการศึกษา
สัมมนาปัญหาทางการศึกษา
3 2 2 2 9 81.81
68. คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาคณิตศาสตร์ใน
ชีวิตประจำวัน,วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับโลก
3 2 2 2 9 81.81
69. เคมีในชีวิตประจำวัน ยากับชีวิตประจำวัน
ฟิสิกส์ในชีวิตประจำวัน
3 2 2 2 9 81.81
70. มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม โภชนาการ
เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการค้นคว้า
3 2 2 2 9 81.81
71. การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ พลศึกษากับ
การศึกษาคุณภาพชีวิต การศึกษาเด็ก
3 2 2 2 9 81.81
72. จิตวิทยาและการแนะแนวเด็กประถม
สัมมนาปัญหาการประถมศึกษา
3 2 2 2 9 81.81
73. กิจกรรมการศึกษาเพื่อท้องถิ่นการศึกษา
กับการพัฒนาชุมชน
3 2 2 2 9 81.81
74. หลักการนิเทศการศึกษา หลักสูตรและ
การจัดการประถมศึกษา
3 3 2 2 10 90.9
75. ทักษะและเทคนิคการสอนในระดับประถมศึกษา 3 3 2 2 10 90.9
76. การสร้างสื่อและวิเคราะห์แบบเรียนชั้นประถมศึกษา 3 3 2 2 10 90.9
77. การสอนวิชากลุ่มทักษะที่เป็นเครื่องมือการเรียนรู้ 1 – 2
78. การสอนวิชากลุ่มทักษะที่เป็นเครื่องมือการเรียนรู้ 1 – 2 3 2 2 2 9 90.9
79. การสอนวิชากลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต ๑ - ๒ 3 3 2 2 10 90.9
80. การสอนวิชากลุ่มสร้างเสริมลักษณะนิสัย
การสอนวิชากลุ่มการงานพื้นฐานอาชีพ
2 2 2 2 8 72.72
81. การสอนวิชากลุ่มประสบการณ์พิเศษ 3 2 2 2 9 81.81
82. การสอนวิชาพระพุทธศาสนาในโรงเรียนประถมศึกษา 3 3 2 2 10 90.9
83. การสอนซ่อมเสริมในโรงเรียนประถมศึกษา 3 2 2 2 9 81.81
84. การสอนค่านิยม ภาษาไทยสำหรับครูประถม 3 2 2 2 9 81.81
79
ตาราที่ 5 (ต่อ)
สนับสนุนคณะ
เนื้อหาสารสนเทศ
ศาสนา
และ
ปรัชญา
ศึกษา
ศาสตร์
สังคม
ศาสตร์
มนุษย์
ศาสตร์
รวม
ร้อยละ
ที่
สนับสนุน
85. คณิตศาสตร์สำหรับครูประถมพลานามัยใน
โรงเรียนประถม
3 2 2 2 9 81.81
86. วิทยาศาสตร์สำหรับครูประถม คหกรรมศาสตร์
ในโรงเรียนประถม
3 2 2 2 9 81.81
87. เกษตรกรรมในโรงเรียนประถม
การฝึกผู้นำและกิจกรรมเยาวชน
3 2 2 2 9 81.81
88. ดนตรีสำหรับครูประถม การละครสำหรับ
ครูประถม โภชนาการสำหรับครูประถม
3 2 2 2 9 81.81
89. การสอนอ่าน หัตถกรรมท้องถิ่นสำหรับครู
ประถม หลักการศึกษา หลักการสอน
3 2 2 2 9 81.81
90. จิตวิทยาสำหรับครู คุณธรรมสำหรับครู 3 3 2 2 10 90.9
91. เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา
การฝึกสอน พื้นฐานการศึกษา
3 3 2 2 10 90.9
92. การทดลองสอนวิชาพระพุทธศาสนา
วิธีสอนวิชาเฉพาะการประถมศึกษา
3 2 2 2 9 81.81
93. การมัธยมศึกษาการอาชีวศึกษาโรงเรียนชุมชน 3 2 2 2 9 81.81
94. ศึกษาศาสตร์ตามแนวพุทธศาสตร์ ปรัชญา
การศึกษา ระเบียบวิธีสอนทั่วไป
3 2 2 2 9 81.81
95. จิตวิทยาการแนะแนวเด็กวัยรุ่น การศึกษาของไทย
และกฎหมายการศึกษา
3 2 2 2 9 81.81
96. การวางแผนการศึกษา 3 3 2 2 10 90.9
97. การสร้างสื่อและการวิเคราะห์แบบเรียนชั้น
มัธยมศึกษา หลักการ บริหารการศึกษา
3 3 2 2 10 90.9
98. หลักสูตรและการจัดการประถมศึกษา
หลักสูตรและการจัดการมัธยมศึกษา
3 3 2 2 10 90.9
99. การนิเทศการศึกษา การศึกษาเด็ก
คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา
3 3 2 2 10 90.9
100. ทักษะและเทคนิคการสอนในระดับประถมศึกษา 3 3 2 2 10 90.9
101. หลักสูตรประถมศึกษา และการจัดการประถมศึกษา 3 3 2 2 10 90.9
80
จากผลที่ได้รับจากตารางที่ 5 พบว่า ทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่างๆ สนับสนุนการ
เรียนการสอนและอยู่ในความต้องการของผู้สอนในคณะต่างๆ ในระดับมากเท่ากับ 80.00% ในทุก
รายการ ยกเว้นรายการที่ 80 การสอนวิชากลุ่มสร้างเสริมลักษณะนิสัย การสอนวิชากลุ่มการงาน
พื้นฐานอาชีพศิลปสำหรับครูประถมมีความต้องการร้อยละ72.22 %
สรุปว่า ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดทุกรายการเป็นปริมาณที่จำเป็นในการจัดหาให้มี
อยู่ในห้องสมุดและเมื่อนำมาจัดกลุ่มสารสนเทศที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน จึงได้เนื้อหาทรัพยากร
สารสนเทศทั้งสิ้น 110 รายการ ดังแสดงในตารางที่ 6
2.2 รายการสารสนเทศต่างๆ ที่ได้จัดกลุ่มแล้ว ซึ่งได้จากเครื่องมือชุดที่ 1 ดังตารางที่6
ตารางที่6 เนื้อหาสารสนเทศที่จัดกลุ่มแล้ว
เนื้อหาสารสนเทศ เนื้อหาสารสนเทศ
1. ชุดสารัตถะแห่งพระวินัยปิฎก 2. ชุดสารัตถะแห่งพระสุตันตปิฎก
3. ชุดสารัตถะแห่งพระอภิธรรมปิฎก 4. ชุดการปฏิบัติกรรมฐาน
5. ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาพระพุทธศาสนากับสังคม 6. การศึกษาธรรมพากย์ภาษาอังกฤษ
7. ศาสนาเปรียบเทียบ 8. พุทธปรัชญาหลักแห่งศาสนาพุทธพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์
9. ประวัติความเป็นมาของพระพุทธศาสนาในประเทศไทย 10. พจนานุกรมพุทธศาสนาฉบับประมวลศัพท์
11. พจนานุกรมพุทธศาสนาฉบับประมวลธรรม 12. สารานุกรมพุทธศาสนาและผลงานวิจัยทางพระพุทธศาสนา
13. ประวัติผู้บำเพ็ญประโยชน์ของพระพุทธศาสนา 14. สมณศักดิ์ของคณะสงฆ์ไทย ประวัติและความเป็นมา
15. พระพุทธศาสนานิกายมหายานฝ่ายเหนือ 16. พระพุทธศาสนานิกายธิเบตแบบดาไลลามะ
17.พุทธศาสนามหายานแบบจีนพุทธศาสนามหายานแบบญี่ปุ่น 18. พุทธศาสนามหายานแบบเกาหลี
19. ทฤษฎีแห่งความรู้ และความเป็นมนุษย์ 20. อภิปรัชญา ปรัชญาเชิงวิพากษ์
21. ภววิทยา 22. จักรวาลวิทยา
23. อัตตา ตัวตน จิตนิยม 24. ปรัชญาของธรรมชาติและความคิดทางปรัชญาเฉพาะกลุ่ม
25. ความเป็นเหตุและความเป็นผล 26. อัตถิภาวนิยมตามทรรศนะของนักปรัชญาต่างๆ
27. ธรรมชาตินิยม และเสรีนิยม สรรพเทวนิยม 28. สิทธันตนิยมจิตวิทยาทั่วไป และจิตวิทยาประยุกต์
29. จิตวิทยาตามทฤษฎีของนักวิชาการต่างๆ 30. กระบวนการของจิตสำนึก
31. สภาวะและกระบวนการของจิตสำนึก 32. จิตวิทยานามธรรม
33. จิตวิทยาเปรียบเทียบ 34. จิตวิทยาและความแตกต่างทางจิตวิทยาพัฒนาการ
35. จริยศาสตร์ทางการเมือง 36. ปรัชญาทางการเมือง
37. จริยศาสตร์ศีลธรรม 38. ระบบและหลักเกณฑ์ของจริยศาสตร์
39. ตรรกศาสตร์และตรรกวิทยา 40. จริยศาสตร์ของความสัมพันธ์ในครอบครัว
41. จริยศาสตร์ของอริสโตเติล 42. จริยศาสตร์ในการประกอบอาชีพ
43. จริยศาสตร์ทางเพศ 44. จริยศาสตร์ในการเข้าสังคม
81
ตาราที่ 6 (ต่อ)
เนื้อหาสารสนเทศ เนื้อหาสารสนเทศ
45. บรรทัดฐานของจริยศาสตร์ 46. ปรัชญาตะวันตกสมัยโบราณ
47. ปรัชญาตะวันตกสมัยกลาง 48. ปรัชญาตะวันตกสมัยใหม่
49. ปรัชญาตะวันออก 50. ปรัชญาอินเดีย
51. ปรัชญาจีน 52. ปรัชญาไทย
53. ปรัชญาญี่ปุ่น 54. รวมชุดปรัชญาตะวันออกร่วมสมัย
55. ปรัชญากรีก 56. ปรัชญากรีกรวมยุกต์
57. ปรัชญาของเพลโต โสเครติส อริสโตเติล 58. รวมชุดปรัชญาตะวันตก
59. ปรัชญาสหรัฐอเมริกา 60. ปรัชญาแคนาดา
61. ปรัชญาฝรั่งเศส 62. มนุษย์กับการใช้เหตุผล
63. สุนทรียศาสตร์ในงานประพันธ์ของไทย 64. พรรคการเมือง
65. กลุ่มผลประโยชน์และการเลือกตั้ง 66. สังคมกับกฎหมาย
67. การเมืองการปกครองไทย 68. ชุดวิชาภาษาไทย
69. ชุดวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน 70. มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม
71.เทคโนโลยีเพื่อการค้นคว้า 72. ชุดวิชาไวยากรณ์อังกฤษ 1 - 2
73. ชุดวิชาแปลอังกฤษเป็นไทย 1 – 2 74. ชุดโครงสร้างภาษาอังกฤษ 1 – 2
75. วิธีการสอนภาษาอังกฤษ 1 – 2 76. ชุดวิชาบาลีพื้นฐาน 1 – 2
77.ชุดวิชาบาลี – สันสกฤต ที่ปรากฏอยู่ในภาษาไทย 78. ชุดวิชาภาษาตะวันออก
79. ศิลาจารึกสมัยสุโขทัยศิลปนิยมสังคีตนิยมมนุษย์กัสังคม 80. คอมพิวเตอร์เบื้องต้น 1 – 2 และการใช้โปรแกรม
81. วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับโลกและการกำเนิดของชีวิต 82. คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน และเคมีในชีวิตประจำวัน
83. มนุษย์กับชีวมณฑล ฟิสิกข์ในชีวิตประจำวัน 84. มนุษย์กับเศรษฐกิจ และสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
85. การศึกษากับภาษาสัญลักษณ์ 86. พืชสัตว์ท้องถิ่น และโภชนาการ
87. วัฒนธรรมและสถาบันในสังคมยากับชีวิตประจำวัน 88. กระบวนการสังคม และมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม
89. การทดลองสอนวิชาพระพุทธศาสนา 90. เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการค้นคว้า
91. หลักการศึกษากับความเป็นครู 92. การสอนเด็กปฐมวัย
93. การศึกษาของไทยการวางแผนการศึกษาหลักการสอน 94. กฎหมายทางการศึกษา หลักการบริหารการศึกษา
95. จิตวิทยาสำหรับครูการพัฒนาหลักสูตรพื้นฐาน
การศึกษา
96. การนิเทศการศึกษาการประเมินผล และการสร้าง
แบบทดสอบ
97. ระเบียบวิธีวิจัยเทคโนโลยีและนวัตกรรมทาง
การศึกษา
98.คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา
99. การสัมมนาปัญหาทางการศึกษาวิธีการสอนวิชาเฉพาะ 100. ชุดวิชาว่าด้วยรายวิชาการประถมศึกษา
82
ตารางที่ 6 (ต่อ)
เนื้อหาสารสนเทศ เนื้อหาสารสนเทศ
101. ชุดวิชาว่าด้วยรายวิชาการมัธยมศึกษา 102. ชุดวิชาว่าด้วยรายวิชาการอาชีวศึกษา
103. การจัดการศึกษานอกระบบ 104. ศึกษาศาสตร์ตามแนวพุทธศาสตร์
105. ปรัชญาการศึกษา จิตวิทยาการแนะแนว 106. ชุดวิชาว่าด้วยรายวิชาเกี่ยวกับโรงเรียนชุมชน
107. ชุดวิชาว่าด้วยระเบียบวิธีสอนทั่วไป 108. จิตวิทยาเด็กวัยรุ่น
109. การสร้างสื่อและการวิเคราะห์แบบเรียนระดับชั้น
ประถมศึกษา
110. การสร้างสื่อและการวิเคราะห์แบบเรียนระดับชั้น
มัธยมศึกษา
รายการสารสนเทศทั้งหมดเป็นรายการที่เลือกและจัดกลุ่มแล้วจากแบบสอบถามชุดที่ 1
ซึ่งผู้ใช้เห็นว่าจำเป็นต้องใช้ ซึ่งได้ผ่านการวิเคราะห์แล้วคิดเป็นร้อยละ 80.00 % ยกเว้นรายการที่ 81มี
ความต้องการของผู้ใช้อยู่ที่ 72.22 % จึงได้ใช้เป็นแบบในการสร้างเครื่องมือชุดที่ 2,3 ตามลำดับ
พร้อมกันนี้ผู้วิจัยได้เพิ่มสารสนเทศรายการที่ 2 คือชุดสารัตถะแห่งพระสุตตันปิฎก และ
ชุดสารัตถะแห่งพระอภิธรรมปิฎกและรายการสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับรายวิชาที่เหลือ คือรายวิชา
แห่งคณะศาสนาและปรัชญา รายวิชาคณะศึกษาศาสตร์ รายวิชาคณะสังคมศาสตร์ และรายวิชาคณะ
มนุษยศาสตร์ตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญจากแบบสอบถามปลายเปิด และนอกจากรายการ
สารสนเทศที่ปรากฏ ผู้ใช้ที่เป็นอาจารย์และผู้เชี่ยวชาญยังมีความต้องการใช้ทรัพยากรสารสนเทศใน
ลักษณะอื่นๆ ส่วนหนึ่งและได้จากแบบสอบถามปลายเปิดผู้วิจัยได้รวบรวมและสรุปได้ 19 รายการ
ดังนี้
1. หนังสือพิมพ์รายวัน
2. วารสารเชิงวิชาการภาษาไทย
3. วารสารเชิงวิชาการภาษาต่างประเทศ
4. นิตยสารรายสัปดาห์/รายปักษ์/รายเดือน/และรายปีภาษาไทย/และต่างประเทศ
5. หนังสืออ้างอิงภาษาไทย/ต่างประเทศ
6. หนังสือวิชาการภาษาไทย/ต่างประเทศ
7. รายงานการประชุม
8. หนังสือประเภทตำราเรียนภาษาไทย/ต่างประเทศ
9. พระไตรปิฎกฉบับหลวงภาษาบาลี/ภาษาไทย/ภาษาอังกฤษ
10. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
11. วารสารทั่วไปภาษาไทย/ต่างประเทศ
12. กฤตภาค (ข่าว บทความที่ตัดจากหนังสือพิมพ์รายวัน)
83
13. จุลสาร
14. รายงาน/ภาคนิพนธ์/วิทยานิพนธ์
15. สิ่งพิมพ์รัฐบาล
16. คู่มือหลักสูตรการศึกษา
17. วีดิทัศน์ (Videotape)
18. เทปตลับ
19. แผ่นซีดี

3. การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า ( Input Evaluation)
การประเมินด้านปัจจัยนำเข้าโดยพิจารณาจากความสอดคล้องของทรัพยากรสารสนเทศ
ในห้องสมุดมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย ตามความต้องการของผู้ใช้ประกอบการพิจารณาด้าน
ปัจจัยนำเข้าเพื่อการให้บริการสารสนเทศที่ต้องการจากปริมาณของทรัพยากรสารสนเทศที่ปรากฏอยู่
ในห้องสมุด ด้วยการสำรวจโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือชุดที่ 2 ผู้ตอบแบบสำรวจคือเจ้าหน้าที่
ห้องสมุด 3 ท่าน มีคุณสมบัติดังนี้ เป็นเพศชายและเป็นคฤหัสถ์ 2 ท่าน หญิง 1 ท่าน มีอายุอยู่ใน
ระหว่าง 42 – 48 ปี ประสบการณ์ 1- 5 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาโท 2 ท่าน ปริญญาตรี 1 ท่าน
ทำการสำรวจปริมาณทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่างๆ ในห้องสมุดพบว่า ได้จำนวนที่เท่ากันในทุก
รายการ ผู้วิจัยได้สรุปปริมาณของสารสนเทศประเภทต่างๆ ที่มีอยู่ในห้องสมุดมหาวิทยาลัยมหามกุฏ
ราชวิทยาลัยโดยพิจารณาจากปริมาณที่มากที่สุดที่พบดังแสดงในตารางที่ 7
ตารางที่ 7 ปริมาณของสารสนเทศที่มีอยู่จริงในห้องสมุด
ประเภทสารสนเทศ มีอยู่จริง
1. ชุดสารัตถะแห่งพระวินัยปิฎก 8
2. ชุดสารัตถะแห่งพระสุตันตปิฎก 25
3. ชุดสารัตถะแห่งพระอภิธรรมปิฎก 12
4. ชุดการปฏิบัติกรรมฐาน 21
5. ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนากับสังคม 17
6. การศึกษาธรรมพากย์ภาษาอังกฤษในพระสูตร -
7. ศาสนาเปรียบเทียบ 19
84
ประเภทสารสนเทศ มีอยู่จริง
8. พุทธปรัชญาหลักแห่งศาสนาพุทธพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์ 12
9. ประวัติความเป็นมาของพระพุทธศาสนาในประเทศไทย 23
10. พจนานุกรมพุทธศาสนาฉบับประมวลศัพท์ 14
11. พจนานุกรมพุทธศาสนาฉบับประมวลธรรม 21
12. สารานุกรมพุทธศาสนาและผลงานวิจัยทางพระพุทธศาสนา 5
13. ประวัติผู้บำเพ็ญประโยชน์ของพระพุทธศาสนา 5
14. สมณศักดิ์ของคณะสงฆ์ไทย ประวัติและความเป็นมา 3
15. พระพุทธศาสนานิกายมหายานฝ่ายเหนือ 10
16. พระพุทธศาสนานิกายธิเบตแบบดาไลลาม 5
17. พุทธศาสนามหายานแบบจีนพุทธศาสนามหายานแบบญี่ปุ่น 8
18. พุทธศาสนามหายานแบบเกาหลี 5
19. ทฤษฎีแห่งความรู้ และความเป็นมนุษย์ 5
20. อภิปรัชญา ปรัชญาเชิงวิพากษ์ -
21. ภววิทยา 5
22. จักรวาลวิทยา 17
23. อัตตา ตัวตน จิตนิยม 17
24. ปรัชญาของธรรมชาติและความคิดทางปรัชญาเฉพาะกลุ่ม 17
25. ความเป็นเหตุและความเป็นผล 17
26. อัตถิภาวนิยมตามทรรศนะของนักปรัชญาต่างๆ 17
27. ธรรมชาตินิยม และเสรีนิยม สรรพเทวนิยม 11
28. สิทธันตนิยมจิตวิทยาทั่วไปและจิตวิทยาประยุกต์ 11
29. จิตวิทยาตามทฤษฎีของนักวิชาการต่างๆ 11
30. กระบวนการของจิตสำนึก -
31. สภาวะและกระบวนการของจิตสำนึก 5
85
ประเภทสารสนเทศ มีอยู่จริง
32. จิตวิทยานามธรรม 5
33. จิตวิทยาเปรียบเทียบ 10
34. จิตวิทยาและความแตกต่างทางจิตวิทยาพัฒนาการ 3
35. จริยศาสตร์ทางการเมือง 5
36. ปรัชญาทางการเมือง 5
37. จริยศาสตร์ศีลธรรม 5
38. ระบบและหลักเกณฑ์ของจริยศาสตร์ 4
39. ตรรกศาสตร์และตรรกวิทยา 2
40. จริยศาสตร์ของความสัมพันธ์ในครอบครัว 12
41. จริยศาสตร์ของอริสโตเติล 9
42. จริยศาสตร์ในการประกอบอาชีพ 3
43. จริยศาสตร์ทางเพศ 10
44. จริยศาสตร์ในการเข้าสังคม 12
45. บรรทัดฐานของจริยศาสตร์ 8
46. ปรัชญาตะวันตกสมัยโบราณ 12
47. ปรัชญาตะวันตกสมัยกลาง 12
48. ปรัชญาตะวันตกสมัยใหม่ 10
49. ปรัชญาตะวันออก 5
50. ปรัชญาอินเดีย 5
51. ปรัชญาจีน 4
52. ปรัชญาไทย 3
53. ปรัชญาญี่ปุ่น 5
54. รวมชุดปรัชญาตะวันออกร่วมสมัย 7
55. ปรัชญากรีก 6
86
ประเภทสารสนเทศ มีอยู่จริง
56. ปรัชญากรีกรวมยุกต์ 5
57. ปรัชญาของเพลโต โสเครติส อริสโตเติล 5
58. รวมชุดปรัชญาตะวันตก 12
59. ปรัชญาสหรัฐอเมริกา 10
60. ปรัชญาแคนาดา 8
61. ปรัชญาฝรั่งเศส 3
62. มนุษย์กับการใช้เหตุผล 3
63. สุนทรียศาสตร์ในงานประพันธ์ของไทย 8
64. พรรคการเมือง 3
65. กลุ่มผลประโยชน์และการเลือกตั้ง 3
66. สังคมกับกฎหมาย 4
67. การเมืองการปกครองของไทย 10
68. ชุดวิชาภาษาไทย 21
69. ชุดวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน 10
70. มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม 2
71. เทคโนโลยีเพื่อการค้นคว้า 22
72. ชุดวิชาไวยากรณ์อังกฤษ 1 – 2 42
73. ชุดวิชาแปลอังกฤษเป็นไทย 1 – 2 37
74. ชุดโครงสร้างภาษาอังกฤษ 1 – 2 21
75. วิธีการสอนภาษาอังกฤษ 1 – 2 8
76. ชุดวิชาบาลีพื้นฐาน 10
77. ชุดวิชาบาลี – สันสกฤต ที่ปรากฏอยู่ในภาษาไทย 10
78. ชุดวิชาภาษาตะวันออก 10
79. ศิลาจารึกสมัยสุโขทัย ศิลปนิยม สังคีตนิยม มนุษย์กับสังคม 9
87
ประเภทสารสนเทศ มีอยู่จริง
80. คอมพิวเตอร์เบื้องต้น 1 – 2 การใช้โปรแกรม 7
81. วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับโลกและการกำเนิดชีวิต 5
82. คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน และเคมีในชีวิตประจำวัน 11
83. มนุษย์กับชีวมณฑล พืชและสัตว์ท้องถิ่น ฟิสิกข์ในชีวิตประจำวัน 2
84. มนุษย์กับเศรษฐกิจ สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา 47
85. การศึกษากับภาษาสัญลักษณ์ 13
86. พืชสัตว์ท้องถิ่น และโภชนาการ 4
87. วัฒนธรรมและสถาบันในสังคมยากับชีวิตประจำวัน 7
88. กระบวนการสังคมและมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม 5
89. การทดลองสอนวิชาพระพุทธศาสนา 15
90. เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการค้นคว้า 3
91. หลักการศึกษากับความเป็นครู 29
92. การสอนเด็กปฐมวัย 36
93. การศึกษาของไทย การวางแผนการศึกษา หลักการสอน 29
94. กฎหมายทางการศึกษาหลักการบริหารการศึกษา 10
95. จิตวิทยาสำหรับครู การพัฒนาหลักสูตร 15
96. การนิเทศการศึกษา การประเมินผลและการสร้างแบบทดสอบ 17
97. ระเบียบวิธีวิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา 12
98. คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา 10
99. การสัมมนาปัญหาทางการศึกษา วิธีการสอนวิชาเฉพาะ 11
100. ชุดวิชาว่าด้วยรายวิชาการประถมศึกษา 21
101. ชุดวิชาว่าด้วยรายวิชาการมัธยมศึกษา 10
102. ชุดวิชาว่าด้วยรายวิชาการอาชีวศึกษา 19
103. การจัดการศึกษานอกระบบ 10
88
ประเภทสารสนเทศ มีอยู่จริง
104. ศึกษาศาสตร์ตามแนวพุทธศาสตร์ 13
105. ปรัชญาการศึกษา จิตวิทยาการแนะแนว 7
106. ชุดวิชาว่าด้วยรายวิชาเกี่ยวกับโรงเรียนชุมชน 12
107. ชุดวิชาว่าด้วยระเบียบวิธีสอนทั่วไป 8
108. จิตวิทยาเด็กวัยรุ่น 8
109. การสร้างสื่อและการวิเคราะห์แบบเรียนระดับชั้นประถมศึกษา 12
110. การสร้างสื่อและการวิเคราะห์แบบเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา 25
จากผลที่แสดงในตารางที่ 7 พบว่าทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุดมหาวิทยาลัยมหา
มกุฏราชวิทยาลัย ได้ถูกจัดไว้แล้วในทุกรายการตามที่ผู้สอนเห็นสมควรให้มี (110 รายการ) โดยมี
ปริมาณของทรัพยากรสารสนเทศอยู่ในระหว่าง 2 – 25 เล่มต่อรายการ และพบว่า
มี 3 รายการที่ไม่ปรากฏอยู่ในห้องสมุดได้แก่
1. การศึกษาธรรมพากย์ภาษาอังกฤษ
2. พุทธศาสนามหายานแบบเกาหลี
3. สิทธันตนิยมจิตวิทยาทั่วไป และจิตวิทยาประยุกต์
รายการสารสนเทศที่มีน้อยกว่า 5 เล่ม ต่อรายการได้แก่
1. จิตวิทยาและความแตกต่างทางจิตวิทยาพัฒนาการ
2. ปรัชญาทางการเมือง
3. จริยศาสตร์ศีลธรรม
4. ระบบและหลักเกณฑ์ของจริยศาสตร์
5. ตรรกศาสตร์และตรรกวิทยา
6. ปรัชญาไทย
7. ปรัชญาฝรั่งเศส
8. มนุษย์กับการใช้เหตุผล
9. พรรคการเมือง
10. กลุ่มผลประโยชน์และการเลือกตั้ง
11. การเมืองการปกครองไทย
89
12. พืชและสัตว์ท้องถิ่น และโภชนาการ
13. เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการค้นคว้า
พิจารณาความสอดคล้องของสารสนเทศที่ใช้เพื่อสนับสนุนการเรียน โดยนำประเภท
ทรัพยากรสารสนเทศที่ผู้สอนเห็นว่า มีความสอดคล้องและสนับสนุนการเรียนการสอนตามหลักสูตร
ในแต่ละคณะผู้ใช้บริการจำนวน 147 ท่านให้ความคิดเห็นต่อความสอดคล้องของประเภททรัพยากร
สารสนเทศ กับการเรียนการสอนที่มีอยู่ในห้องสมุดของมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัยได้นำมา
วิเคราะห์โดยใช้ค่าสถิติไคสแควร์ (χ2 - Test) ได้ผลดังแสดงในตารางที่ 8
ตารางที่ 8 เนื้อหาสารสนเทศที่สอดคล้องและไม่สอดคล้องกับหลักสูตร
เนื้อหาสาระสนเทศ สอดคล้อง ไม่สอดคล้อง ไคสแควร์
1. ชุดสารัตถะแห่งพระวินัยปิฎ 140 7 18.83**
2. ชุดสารัตถะแห่งพระสุตันตปิฎก 144 3 133.33**
3. ชุดสารัตถะแห่งพระอภิธรรมปิฎก 142 5 25.82**
4. ชุดการปฏิบัติกรรมฐาน 139 8 14.97**
5. ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาพุทธศาสนากับสังคม 141 6 22.15**
6. การศึกษาธรรมพากย์ภาษาอังกฤษ 129 18 85.33**
7. ศาสนาเปรียบเทียบ 143 4 129.55**
8. พุทธปรัชญาหลักแห่งศาสนาพุทธ พุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์ 143 4 129.55**
9. ประวัติความเป็นมาของพระพุทธศาสนาในประเทศไทย 131 16 91.54**
10. พจนานุกรมพุทธศาสนาฉบับประมวลศัพท์ 139 8 114.97**
11. พจนานุกรมพุทธศาสนา ฉบับประมวล ธรรม 140 7 118.83**
12. สารานุกรมพุทธศาสนาและผลงานวิจัยทาง พระพุทธศาสนา 137 10 108.00**
13. ประวัติผู้บำเพ็ญประโยชน์ของพระพุทธศาสนา 127 20 76.43**
14. สมณศักดิ์ของคณะสงฆ์ไทยประวัติ และความเป็นมา 127 20 76.43**
15. พระพุทธศาสนานิกายมหายานฝ่ายเหนือ 113 34 41.39**
16. พระพุทธศาสนานิกายธิเบตแบบดาไลลามะ 123 24 68.03**
17. พุทธศาสนามหายานแบบจีนพุทธศาสนามหายานแบบญี่ปุ่น 112 35 41.39**
90
ตารางที่ 8 (ต่อ)
เนื้อหาสาระสนเทศ สอดคล้อง ไม่สอดคล้อง ไคสแควร์
18. พุทธศาสนามหายานแบบเกาหลี 115 32 48.007**
19. ทฤษฎีแห่งความรู้ และความเป็นมนุษย์ 110 37 37.25**
20. อภิปรัชญา ปรัชญาเชิงวิพากษ์ 129 18 85.33**
21. ภววิทยา 131 16 91.54**
22. จักรวาลวิทยา 126 21 73.58**
23. อัตตา ตัวตน จิตนิยม 120 27 60.11**
24. ปรัชญาของธรรมชาติความคิดทางปรัชญาเฉพาะกลุ่ม 128 19 82.31**
25. ความเป็นเหตุและความเป็นผล 134 13 101.25**
26. อัตถิภาวนิยมตามทรรศนะของนักปรัชญาต่างๆ 130 17 88.41**
27. ธรรมชาตินิยม และเสรีนิยม สรรพเทวนิยม 131 16 91.54**
28. สิทธันตนิยมจิตวิทยาทั่วไปและจิตวิทยาประยุกต์ 125 22 73.58**
29. จิตวิทยาตามทฤษฎีของนักวิชาการต่างๆ 121 26 62.69**
30. กระบวนการของจิตสำนึก 117 30 52.68**
31. สภาวะและกระบวนการของจิตสำนึก 120 27 60.11**
32. จิตวิทยานามธรรม 125 22 73.58**
33. จิตวิทยาเปรียบเทียบ 121 26 62.69**
34. จิตวิทยาและความแตกต่างทางจิตวิทยาพัฒนาการ 118 29 55.16**
35. จริยศาสตร์ทางการเมือง 24 23 70.77**
36. ปรัชญาทางการเมือง 18 29 55.10**
37. จริยศาสตร์ทางศีลธรรม 23 24 68.03**
38. ระบบและหลักเกณฑ์ของจริยศาสตร์ 24 23 70.72**
39. ตรรกศาสตร์และตรรกวิทยา 25 22 73.58**
40. จริยศาสตร์ของความสัมพันธ์ในครอบครัว 132 15 94.73**
41. จริยศาสตร์ของอริสโตเติล 127 20 76.43**
42. จริยศาสตร์ในการประกอบอาชีพ 127 20 76.43**
43. จริยศาสตร์ทางเพศ 24 23 70.72**
44. จริยศาสตร์ในการเข้าสังคม 127 20 76.43**
91
ตารางที่ 8 (ต่อ)
เนื้อหาสาระสนเทศ สอดคล้อง ไม่
สอดคล้อง
ไคสแควร์
45. บรรทัดฐานของจริยศาสตร์ 127 20 76.43**
46. ปรัชญาตะวันตกสมัยโบราณ 136 11 108.80**
47. บรรทัดฐานของจริยศาสตร์ 122 25 65.33**
48. ปรัชญาตะวันตกสมัยใหม่ 122 25 65.33**
49. ปรัชญาตะวันออก 122 25 65.33**
50. ปรัชญาอินเดีย 127 20 76.43**
51. ปรัชญาจีน 131 16 91.54**
52. ปรัชญาไทย 136 11 108.80**
53. ปรัชญาญี่ปุ่น 134 13 101.25**
54. รวมชุดปรัชญาตะวันออกร่วมสมัย 128 19 82.31**
55. ปรัชญากรีก 120 27 60.11**
56. ปรัชญากรีกรวมยุกต์ 108 39 33.33**
57. ปรัชญาของเพลโต โสเครติส อริสโตเติล 125 22 73.58**
58. รวมชุดปรัชญาตะวันตก 124 23 70.77**
59. ปรัชญาสหรัฐอเมริกา 127 20 76.43**
60. ปรัชญาแคนาดา 128 19 82.31**
61. ปรัชญาฝรั่งเศส 123 24 68.03**
62. มนุษย์กับการใช้เหตุผล 103 44 24.49**
63. สุนทรียศาสตร์ในงานประพันธ์ของไทย 100 47 19.84**
64. พรรคการเมือง 108 39 33.33**
65. กลุ่มผลประโยชน์และการเลือกตั้ง 133 14 97.96**
66. สังคมกับกฎหมาย 109 38 35.27**
67. การเมืองการปกครองของไทย 103 44 24.49**
68. ชุดวิชาภาษาไทย 119 28 57.58**
69. ชุดวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน 124 23 70.77**
70. มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม 129 18 82.31**
92
ตารางที่ 8 (ต่อ)
เนื้อหาสาระสนเทศ
สอดคล้อง ไม่
สอดคล้อ

ไคสแควร์
71. เทคโนโลยีเพื่อการค้นคว้า 129 18 82.31**
72. ชุดวิชาไวยากรณ์อังกฤษ 1 – 2 133 14 97.96**
73. ชุดวิชาแปลอังกฤษเป็นไทย 1 – 2 124 23 70.77**
74. ชุดโครงสร้างภาษาอังกฤษ 1 – 2 119 28 57.58**
75. วิธีการสอนภาษาอังกฤษ 1 – 2 131 16 91.54**
76. ชุดวิชาบาลีพื้นฐาน 1 – 2 129 18 85.33**
77. ชุดวิชา บาลี – สันสกฤต ที่ปรากฏอยู่ในภาษาไทย 128 19 82.31**
78. ชุดวิชาภาษาตะวันออก 131 16 91.54**
79. ศิลาจารึกสมัยสุโขทัย ศิลปนิยมสังคีตนิยมมนุษย์กับสังคม 126 21 73.58**
80. คอมพิวเตอร์เบื้องต้น ๑ – ๒ และการใช้โปรแกรม 123 24 68.03**
81. วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับโลกและการกำเนิดของชีวิต 122 25 65.33**
82. คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน และเคมีในชีวิตประจำวัน 117 30 52.68**
83. มนุษย์กับชีวมณฑล พืชและสัตว์ท้องถิ่นฟิสิกส์ใน
ชีวิตประจำวัน 115 32 48.50**
84. มนุษย์กับเศรษฐกิจ สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา 112 35 41.39**
85. การศึกษากับภาษาสัญลักษณ์ 101 46 21.33**
86. พืชและสัตว์ท้องถิ่น และโภชนาการ 95 52 13.17**
87. วัฒนธรรมและสถาบันในสังคมยากับชีวิตประจำวัน 103 44 24.49**
88. กระบวนการสังคม และมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม 120 27 60.11**
89. การทดลองสอนวิชาพระพุทธศาสนา 102 45 22.88**
90. เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการค้นคว้า 100 47 19.84**
91. หลักการศึกษากับความเป็นครู 115 32 48.00**
92. การสอนเด็กปฐมวัย 124 23 70.77**
93. การศึกษาของไทย การวางแผนการศึกษา ลักการสอน 133 14 97.96**
94. กฎหมายทางการศึกษา หลักการบริหารการศึกษา 122 25 65.33**
93
ตารางที่ 8 (ต่อ)
เนื้อหาสาระสนเทศ
สอดคล้อ

ไม่
สอดคล้อ

ไคสแควร์
95. จิตวิทยาสำหรับครูการพัฒนาหลักสูตรพื้นฐานการศึกษา 124 23 70.77**
96. การนิเทศการศึกษาการประเมินผลและการสร้างแบบทดสอบ 107 40 31.46**
97. ระเบียบวิธีวิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา 119 28 57.58**
98. คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา 118 29 55.10**
99. การสัมมนาปัญหาทางการศึกษา วิธีการสอนวิชาเฉพาะ 123 24 68.03**
100. ชุดวิชาว่าด้วยรายวิชาการประถมศึกษา 118 29 55.10**
101. ชุดวิชาว่าด้วยรายวิชาการมัธยมศึกษา 118 29 55.10**
102. ชุดวิชาว่าด้วยรายวิชาการอาชีวศึกษา 120 27 60.11**
103. การจัดการศึกษานอกระบบ 111 36 39.29**
104. ศึกษาศาสตร์ตามแนวพุทธศาสตร์ 107 40 31.46**
105.ปรัชญาการศึกษา จิตวิทยาการแนะแนว 105 42 27.86**
106. ชุดวิชาว่าด้วยรายวิชาเกี่ยวกับโรงเรียนชุมชน 105 42 27.86**
107. ชุดวิชาว่าด้วยระเบียบวิธีสอนทั่วไป 116 31 50.31**
108. จิตวิทยาเด็กวัยรุ่น 134 13 101.25**
109. การสร้างสื่อและการวิเคราะห์แบบเรียนระดับชั้น
ประถมศึกษา 125 22 73.58**
110.การสร้างสื่อและการวิเคราะห์แบบเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา 108 39 33.33**
จากผลที่ได้แสดงในตารางที่ 8 พบว่า ผู้ใช้บริการสารสนเทศในห้องสมุดมีความคิดเห็น
ต่อความสอดคล้อง และไม่สอดคล้องของสารสนเทศในห้องสมุดมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
กับการเรียนการสอนตามหลักสูตรของมหาวิทยาลัย แต่ละรายการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่
ระดับ .01 และพบว่า ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่เห็นว่าสอดคล้อง แสดงให้เห็นว่าทรัพยากรสารสนเทศ
ทั้งหมดที่จัดไว้ในห้องสมุดตามบริบทสอดคล้อง และเอื้อต่อการศึกษาตามหลักสูตรของมหาวิทยาลัย
ทุกรายการและนอกจากทรัพยากรสารสนเทศทั้ง 110 รายการนี้แล้วยังพบว่าทรัพยากรสารสนเทศอีก
จำนวน 19 รายการที่ได้จากแบบสอบถามปลายเปิดที่ผู้ใช้บริการเห็นว่าให้ประโยชน์สูงสุดซึ่งได้จาก
94
แบบสอบถามปลายเปิดของแบบสอบถามชุดที่ 1 ผู้วิจัยได้รวบรวมและจัดทำเป็นแบบสอบถามลงใน
แบบสอบถามชุดที่ 3 ตอนที่ 2 ข้อที่ 2.6 ว่าด้วยทรัพยากรสารสนเทศที่ให้ประโยชน์สูงสุด ดังตารางที่
9 ดังนี้
ตารางที่ 9 ทรัพยากรสารสนเทศที่ให้ประโยชน์สูงสุด
ระดับความคิดเห็น
ประเภทสิ่งพิมพ์ น้อย
ที่สุด
น้อย ปาน
กลาง
มาก มาก
ที่สุด
x S.D.
ระดับ
ประโยชน์
1. หนังสือพิมพ์รายวัน 7 14 38 40 48 3.73 1.15 มาก
2. วารสารเชิงวิชาการภาษาไทย 9 19 60 38 21 3.29 1.06 ปานกลาง
3. วารสารเชิงวิชาการภาษาต่างประเทศ 33 29 50 26 9 2.65 1.19 ปานกลาง
4. นิตยสารรายสัปดาห์รายปักษ์รายเดือน
และรายปีภาษาไทย และต่างประเทศ
15
32
57
29
14
2.97
1.10
ปานกลาง
5. หนังสืออ้างอิงภาษาไทย และต่าง ประเทศ 11 27 39 37 33 3.37 1.23 ปานกลาง
6. หนังสือวิชาการภาษาไทยต่างประเทศ 7 32 39 39 30 3.36 1.17 ปานกลาง
7. รายงานการประชุม 47 41 38 14 7 2.27 1.15 น้อย
8. หนังสือประเภทตำราเรียนภาษาไทย
ต่างประเทศ
9
2
46
8
32
3.42
1.16
ปานกลาง
9. พระไตรปิฎกฉบับหลวงภาษาบาลี
ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ
14
29
35
37
32
3.30
1.27 ปานกลาง
10. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน 10 36 37 40 24 3.22 1.19 ปานกลาง
11. วารสารทั่วไปภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ 15 29 57 31 15 3.01 1.11 ปานกลาง
12. กฤตภาค 15 29 57 31 15 3.01 1.11 ปานกลาง
13. จุลสาร 31 35 48 28 5 2.60 1.12 ปานกลาง
14. รายงานการวิจัย ภาคนิพน์ วิทยานิพนธ์ 16 31 55 31 14 2.97 1.12 ปานกลาง
15. สิ่งพิมพ์รัฐบาล 30 44 39 28 6 2.56 1.14 ปานกลาง
16. คู่มือหลักสูตรการศึกษา 19 26 54 35 13 2.98 1.14 ปานกลาง
17. วีดิทัศน์ 51 26 35 25 10 2.44 1.30 น้อย
18. เทปตลับ 62 30 28 17 10 2.20 1.29 น้อย
19. แผ่นซีดี 62 24 25 23 13 2.33 1.39 น้อย
95
รวม 2.86 1.18 ปานกลาง
จากตารางที่ 9 สามารถจำแนกระดับความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามที่เห็นว่า
สิ่งพิมพ์ที่ให้ประโยชน์สูงสุดออกเป็นรายข้อได้ดังต่อไปนี้กลุ่มตัวอย่างที่ได้รับประโยชน์ ในระดับ
ปานกลางมีมากที่สุด จากวารสารเชิงวิชาการภาษาไทยวารสารเชิงวิชาการภาษา ต่างประเทศ นิตยสาร
รายสัปดาห์ รายปักษ์ รายเดือน และรายปีภาษาไทยหนังสือวิชาการภาษาไทยหนังสือประเภทตำรา
เรียนภาษาไทยภาษาต่างประเทศพระไตรปิฎกฉบับหลวงภาษาบาลี ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานวารสารทั่วไปภาษาไทยรายงาน ภาคนิพนธ์ วิทยานิพนธ์คู่มือ
หลักสูตรการศึกษาพจนานุกรมพุทธศาสนาฉบับประมวลศัพท์และประมวลธรรม รองลงมาได้รับ
ประโยชน์ในระดับน้อยจากนิตยสารรายสัปดาห์รายปักษ์รายเดือน และรายปีภาษาต่างประเทศ
หนังสืออ้างอิงภาษาต่างประเทศ หนังสือวิชาการภาษาต่างประเทศ รายงานการประชุม วารสาร
ทั่วไปภาษาต่างประเทศ กฤตภาค (ข่าวบทความที่ตัดจากหนังสือพิมพ์รายวัน) จุลสาร สิ่งพิมพ์
รัฐบาล วีดิทัศน์ (Videotape) เทปตลับ แผ่นซีดี
ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับประโยชน์ในระดับมากมีน้อยที่สุด จากหนังสือพิมพ์รายวัน
เมื่อมองในภาพรวมระดับความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามที่เห็นว่าสิ่งพิมพ์ที่ให้ประโยชน์สูงสุด
อยู่ในระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ยโดยรวมเท่ากับ 2.86 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานโดยรวม
เท่ากับ 1.18
4. การประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation)
4.1 ประเมินกระบวนการการให้บริการสารสนเทศ ในห้องสมุดโดยศึกษาจากการ
ให้บริการที่เอื้อต่อการศึกษาในหลักสูตรต่างๆ โดยพิจารณาจากรายการต่อไปนี้
ตารางที่ 10 บริการสารสนเทศในห้องสมุดที่สนองความต้องการของผู้ใช้บริการ
(N = 147)
รายการ จำนวน ร้อยละ
1. เพื่ออ่านหนังสือพิมพ์ 94 63.9
2. เพื่อยืมหนังสือและสิ่งพิมพ์ในการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม 105 71.4
3. เพื่อค้นคว้าวิจัย 74 50.3
4. เพื่อสืบค้นฐานข้อมูล 71 48.3
5. เพื่อเล่นอินเตอร์เน็ต 17 11.6
6. เพื่อค้นคว้าข้อมูลในการเขียนผลงานทางวิชาการ 50 34.0
96
7. เพื่อค้นคว้าเพิ่มเติมในรายวิชาที่สอน 70 47.6
8. เพื่อเตรียมทำรายงาน 87 59.2
9. เพื่อติดตามปัญหาข่าวสารต่างๆ 58 39.5
10. เพื่อนัดพบและประชุมกลุ่ม 17 11.6
จากตารางที่ 10 พบว่า ห้องสมุดให้บริการแก่ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่ เพื่อการยืมหนังสือ
และสิ่งพิมพ์ในการค้นคว้าเพิ่มเติม แก่ผู้ใช้บริการมากที่สุดถึงร้อยละ 71.4 รองลงมาคือการให้บริการ
เพื่อการอ่านหนังสือพิมพ์ ร้อยละ 63.9 เพื่อเตรียมทำรายงาน ร้อยละ 59.2 และเพื่อค้นคว้าวิจัย ร้อยละ
50.3 ความถี่ในการใช้บริการสารสนเทศห้องสมุดมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ของผู้ใช้บริการ
ได้ผลดังแสดงในตารางที่ 11
ตารางที่ 11 ความถี่ในการใช้ห้องสมุดของผู้ใช้บริการ
รายการ (N = 147)
จำนวน ร้อยละ
1. ใช้ทุกวัน 19 12.9
2. ใช้ 1 ครั้ง/สัปดาห์ 18 12.2
3. ใช้มากว่า 2 – 3 ครั้ง/สัปดาห์ 64 43.5
4. ใช้เดือนละครั้ง 23 15.6
จากตารางที่ 11 พบว่า ผู้ใช้บริการมีความถี่ในการใช้ต่างๆ กันตั้งแต่เดือนละครั้ง จนถึง
ใช้ทุกวัน แต่ส่วนใหญ่ ร้อยละ 56.4 ใช้บริการสารสนเทศในห้องสมุด มากกว่า 2 – 3 ครั้งต่อสัปดาห์
4.2 ระยะเวลาในการใช้บริการสารสนเทศในห้องสมุด มหาวิทยาลัยมหามกุฏราช
วิทยาลัยถึงแม้ห้องสมุดจะเปิดให้บริการตลอดทั้งวันคือตั้งแต่ เวลา 8.00 น. - 16.00 น. ก็ตามแต่
ผู้ใช้บริการก็จะเลือกใช้เป็นบางเวลาเท่านั้น ดังแสดงรายละเอียดในตารางที่ 11
ตารางที่ 12 ระยะเวลาในการใช้บริการสารสนเทศในห้องสมุดของผู้ใช้บริการ
(N = 147)
รายการ จำนวน ร้อยละ
1. ตลอดวัน 8 5.4
2. เมื่อต้องการค้นคว้าเพิ่มเติมในวิชาที่สอน หรือวิชาที่เรียน 54 36.7
3. เวลาพักจากการสอน และการเรียน 40 27.2
4. เมื่อต้องการความรู้เพิ่มเติมเพื่อประกอบการเขียนตำรา 21 14.3
97
5. เมื่อต้องการจะค้นคว้าเพื่อทำรายงาน หรือเขียนวิทยานิพนธ์ 24 16.3
จากตารางที่ 12 พบว่าผู้ใช้บริการสารสนเทศในห้องสมุดส่วนใหญ่จะใช้บริการเมื่อ
ต้องการค้นคว้าเพิ่มเติมในวิชาที่สอนหรือวิชาที่เรียน (ร้อยละ 36.7) และใช้ในเวลาพักจาการสอนหรือ
การเรียน (ร้อยละ 27.2)
4.3 การบริการเพื่อการเลือกใช้สารสนเทศในห้องสมุด ผู้ใช้บริการเลือกใช้วิธีการใน
การเลือกใช้สารสนเทศในห้องสมุดดังแสดงในตารางที่ 13
ตารางที่ 13 วิธีการเพื่อการเลือกใช้สารสนเทศในห้องสมุดของผู้ใช้บริการ
(N = 147 )
รายการ จำนวน ร้อยละ
1. ถามบรรณารักษ์ หรือเจ้าหน้าที่ห้องสมุด 32 21.8
2. ดูจากชั้นวางหนังสือ 79 53.7
3. ถามเพื่อนๆ และคนอื่นๆ 17 11.6
4. ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปที่ห้องสมุดจัดไว้ให้ค้นหา 19 12.9
จากตารางที่ 13 พบว่า ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่ใช้บริการสืบค้นสารสนเทศโดยดูจากชั้น
วางหนังสือด้วยตนเอง (ร้อยละ 53.7) รองลงมาใช้บริการการถามบรรณารักษ์หรือเจ้าหน้าที่ห้องสมุด
(ร้อยละ 21.8)
4.4 ลักษณะของบริการสารสนเทศที่ผู้ใช้บริการ ได้รับจากห้องสมุดมหาวิทยาลัยมหาม
กุฏราชวิทยาลัย ดังแสดงในตางรางที่ 14
ตารางที่ 14 บริการสารสนเทศในห้องสมุดมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
(N = 147)
รายการ จำนวน ร้อยละ
1. บริการยืม – คืน สารสนเทศ/วัสดุสารสนเทศ 86 58.5
2. บริการยืมระหว่างห้องสมุด 47 32.0
3. บริการสืบค้นสารสนเทศ 43 29.3
4. บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า 40 27.2
5. บริการสืบค้นฐานข้อมูล ออนไลน์และซีดีรอม 14 9.5
6. บริการหนังสือจอง 12 8.2
7. บริการถ่ายเอกสาร 98 66.7
98
8. บริการอินเตอร์เน็ต 14 9.5
จากตารางที่ 14 พบว่า บริการที่ผู้ใช้บริการได้รับจากห้องสมุดมหาวิทยาลัยมกามกุฏ
ราชวิทยาลัยมีครบทุกประเภทประเภทที่ใช้บริการมากที่สุดคือบริการถ่ายเอกสาร (ร้อยละ 66.7)
รองลงมาคือ บริการยืม – คืน สารสนเทศ/วัสดุสารสนเทศ (ร้อยละ 58.5) บริการที่ใช้น้อยที่สุดคือ
บริการหนังสือจอง (ร้อยละ 8.2)
ตารางที่ 15 ความต้องการใช้สารสนเทศที่มีเนื้อหาต่างๆ ของผู้ใช้บริการ
ระดับความต้องการ
เนื้อหาสารสนเทศ น้อย
ที่สุด
น้อย ปาน
กลาง
มาก มาก
ที่สุด x S.D.
สรุป
1. ชุดสารัตถะแห่งพระวินัยปิฎก 6 18 37 46 40 3.65 1.13 มาก
2. ชุดสารัตถะแห่งพระสุตันตปิฎก 5 13 37 44 48 3.80 1.10 มาก
3. ชุดสารัตถะแห่งพระอภิธรรมปิฎก 9 17 41 41 39 3.57 1.18 มาก
4. ชุดการปฏิบัติกรรมฐาน 7 22 43 36 39 3.53 1.17 มาก
5. ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาพุทธศาสนากับสังคม 13 16 51 37 30 3.37 1.18 ปานกลาง
6. การศึกษาธรรมพากย์ภาษาอังกฤษ 3 11 32 49 52 3.93 1.03 มาก
7. ศาสนาเปรียบเทียบ 17 24 49 26 31 3.20 1.27 ปานกลาง
8. การศึกษาพระธรรมพากย์ภาษาอังกฤษในพระสูตร 3 16 39 41 48 3.78 1.08 มาก
9. พุทธปรัชญาหลักแห่งศาสนาพุทธ พุทธศาสนา
กับวิทยาศาสตร์
6
11
40
45
45
3.76
1.09
มาก
10. ประวัติความเป็นมาของพระพุทธศาสนา ใน
ประเทศไทย 5 15 42 43 42 3.69 1.10 มาก
11. พจนานุกรมพุทธศาสนาฉบับประมวลศัพท์ 6 14 52 34 41 3.61 1.11 มาก
12. พจนานุกรมพุทธศาสนา ฉบับประมวลธรรม 14 17 60 30 26 3.25 1.16 ปานกลาง
13. สารานุกรมพุทธศาสนาและผลงานวิจัยทาง
พระพุทธศาสนา
21
26
48
30
22
3.04
1.25
ปานกลาง
14. ประวัติผู้บำเพ็ญประโยชน์ของพุทธศาสนา 18 17 54 31 27 3.22 1.23 ปานกลาง
15. สมณศักดิ์ของคณะสงฆ์ ไทยประวัติและความเป็นมา 20 19 47 33 28 3.20 1.28 ปานกลาง
16. พระพุทธศาสนานิกายมหายานฝ่ายเหนือ 21 21 51 27 27 3.12 1.28 ปานกลาง
17. พระพุทธศาสนานิกายธิเบต แบบดาไลลามะ 23 25 55 22 22 2.97 1.25 ปานกลาง
18. พุทธศาสนามหายานแบบจีน พุทธศาสนามหายาน
แบบญี่ปุ่น
12
20
53
32
30
3.33
1.18
ปานกลาง
99
19. พุทธศาสนามหายานแบบเกาหลี 26 26 49 26 20 2.92 1.27 ปานกลาง
20. ทฤษฎีแห่งความรู้และความเป็นมนุษย์ 26 25 45 26 25 2.99 1.32 ปานกลาง
ตารางที่ 15 (ต่อ)
ระดับความต้องการ
เนื้อหาสารสนเทศ น้อย
ที่สุด
น้อย ปาน
กลาง
มาก มาก
ที่สุด x S.D.
สรุป
21. อภิปรัชญาและปรัชญาเชิงวิพากษ์ 19 21 42 35 30 3.24 1.29 ปานกลาง
22. ภววิทยา 20 16 49 33 29 3.24 1.27 ปานกลาง
23. จักรวาลวิทยา 19 18 40 38 32 3.31 1.30 ปานกลาง
24. อัตตา ตัวตน จิตนิยม 22 17 41 39 28 3.23 1.30 ปานกลาง
25. ปรัชญาของธรรมชาติและความคิดทางปรัชญาเฉพาะกลุ่ม 23 19 45 33 27 3.15 1.31 ปานกลาง
26. ความเป็นเหตุและความเป็นผล 19 18 40 38 32 3.31 1.30 ปานกลาง
27. อัตถิภาวนิยมตามทรรศนะของนักปรัชญาต่างๆ 22 17 41 39 28 3.23 1.30 ปานกลาง
28. ธรรมชาตินิยม และเสรีนิยมสรรพเทวนิยม 17 28 43 28 31 3.19 1.29 ปานกลาง
29. สิทธันตนิยมจิตวิทยาทั่วไปและจิตวิทยาประยุกต์ 10 24 44 43 26 3.35 1.15 ปานกลาง
30. จิตวิทยาตามทฤษฎีของนักวิชาการต่างๆ 20 22 45 32 27 3.16 1.28 ปานกลาง
31. กระบวนการของจิตสำนึก 11 23 38 39 36 3.45 1.23 ปานกลาง
32. สภาวะและกระบวนการของจิตสำนึก 13 24 49 38 23 3.23 1.16 ปานกลาง
33. จิตวิทยานามธรรม 11 26 34 44 32 3.41 1.22 มาก
34. จิตวิทยาเปรียบเทียบ 8 27 39 33 40 3.48 1.22 มาก
35. จิตวิทยาและความแตกต่างทาง จิตวิทยาพัฒนาการ 7 21 45 31 43 3.56 1.19 ปานกลาง
36. จริยศาสตร์ทางการเมือง 11 26 34 344 32 3.41 1.22 ปานกลาง
37. อัตถิภาวนิยมตามทรรศนะของนักปรัชญาต่างๆ 10 25 43 34 35 3.40 1.21 ปานกลาง
38. จริยศาสตร์ศีลธรรม 13 24 42 39 29 3.32 1.22 ปานกลาง
39. ระบบและหลักเกณฑ์ของจริยศาสตร์ 13 24 42 39 29 3.32 1.22 ปานกลาง
40. ตรรกศาสตร์และตรรกวิทยา 13 24 42 39 29 3.32 1.22 ปานกลาง
41. จริยศาสตร์ของความสัมพันธ์ในครอบครัว 14 21 47 38 27 3.29 1.20 ปานกลาง
42. จริยศาสตร์ของอริสโตเติล 15 22 39 36 35 3.37 1.28 ปานกลาง
43. จริยศาสตร์ในการประกอบอาชีพ 16 23 44 38 26 3.24 1.23 ปานกลาง
44. จริยศาสตร์ทางเพศ 26 22 46 29 24 3.02 1.31 ปานกลาง
45. จริยศาสตร์ในการเข้าสังคม 15 21 41 39 31 3.34 1.25 ปานกลาง
46. บรรทัดฐานของจริยศาสตร์ 16 19 41 42 29 3.33 1.24 ปานกลาง
47. ปรัชญาตะวันตกสมัยโบราณ 14 24 45 30 34 3.31 1.26 ปานกลาง
100
48. ปรัชญาตะวันตกสมัยกลาง 13 24 47 34 29 3.39 1.21 ปานกลาง
49. ปรัชญาตะวันตกสมัยใหม่ 12 31 38 34 32 3.29 1.25 ปานกลาง
ตารางที่ 15 (ต่อ)
ระดับความต้องการ
เนื้อหาสารสนเทศ น้อย
ที่สุด
น้อย ปาน
กลาง
มาก มาก
ที่สุด x S.D.
สรุป
50. ปรัชญาตะวันออก 10 26 39 37 35 3.41 1.22 ปานกลาง
51. ปรัชญาอินเดีย 11 30 50 20 25 2.97 1.28 ปานกลาง
52. ปรัชญาจีน 14 21 48 31 33 3.33 1.24 ปานกลาง
53. ปรัชญาไทย 12 16 46 28 45 3.53 1.26 มาก
54. ปรัชญาญี่ปุ่น 14 26 46 31 30 3.25 1.24 ปานกลาง
55. รวมชุดปรัชญาตะวันออกร่วมสมัย 13 23 39 39 33 3.38 1.24 ปานกลาง
56. ปรัชญากรีก 14 12 49 29 43 3.51 1.26 มาก
57. ปรัชญากรีกรวมยุกต์ 15 22 39 36 35 3.37 1.28 ปานกลาง
58. ปรัชญาของเพลโต 13 16 44 29 45 3.52 1.27 มาก
59. รวมชุดปรัชญาตะวันตก 12 21 43 33 38 3.44 1.24 มาก
60. ปรัชญาสหรัฐอเมริกา 16 25 49 27 30 3.20 1.25 ปานกลาง
61. ปรัชญาแคนาดา 22 30 50 20 25 2.97 1.28 ปานกลาง
62. ปรัชญาฝรั่งเศส 22 26 49 24 26 3.04 1.29 ปานกลาง
63. มนุษย์กับการใช้เหตุผล 10 14 50 34 39 3.53 1.18 มาก
64. สุนทรียศาสตร์ในงานประพันธ์ของไทย 13 17 50 37 30 3.37 1.19 ปานกลาง
65. พรรคการเมือง 23 17 46 35 26 3.16 1.29 ปานกลาง
66. กลุ่มผลประโยชน์และการเลือกตั้ง 13 24 47 34 29 3.29 1.21 ปานกลาง
67. สังคมกับกฎหมาย 12 31 38 34 32 3.29 1.25 ปานกลาง
68. การเมืองการปกครองไทย 16 17 41 34 39 3.43 1.29 มาก
69. ชุดวิชาภาษาไทย 14 24 40 39 30 3.32 1.24 ปานกลาง
70. ชุดวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน 7 25 46 36 33 3.43 1.15 มาก
71. มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม 7 25 44 37 34 3.45 1.16 มาก
72 เทคโนโลยีเพื่อการค้นคว้า 13 19 49 39 27 3.33 1.18 ปานกลาง
73. ชุดวิชาไวยากรณ์อังกฤษ 1 - 2 13 22 46 38 28 3.31 1.20 ปานกลาง
74. ชุดวิชาแปลอังกฤษเป็นไทย1 – 2 19 23 46 34 25 3.16 1.25 ปานกลาง
75. ชุดโครงสร้างภาษาอังกฤษ 1 – 2 21 28 47 28 23 3.03 1.26 ปานกลาง
76. วิธีการสอนภาษาอังกฤษ 1 – 2 19 28 36 41 23 3.14 1.27 ปานกลาง
101
77. ชุดวิชาบาลีพื้นฐาน1 – 2 13 19 48 36 31 3.36 1.20 ปานกลาง
78. ชุดวิชาบาลี – สันสกฤต ที่ปรากฏอยู่ในภาษาไทย 21 28 47 28 23 3.03 1.26 ปานกลาง
79. ชุดวิชาภาษาตะวันออก 19 28 36 41 23 3.14 1.27 ปานกลาง
ตารางที่ 15 (ต่อ)
ระดับความต้องการ
เนื้อหาสารสนเทศ น้อย
ที่สุด
น้อย ปาน
กลาง
มาก มาก
ที่สุด x S.D.
สรุป
80. ศิลาจารึกสมัยสุโขทัย 13 19 48 36 31 3.36 1.20 ปานกลาง
81. ศิลปนิยม สังคีตนิยม มนุษย์กับสังคม 15 25 41 37 29 3.27 1.25 ปานกลาง
82. คอมพิวเตอร์เบื้องต้น๑ – ๒ และการใช้โปรแกรม 13 23 41 36 34 3.37 1.25 ปานกลาง
83. วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับโลกและการกำเนิดของชีวิต 15 25 41 37 29 3.27 1.25 ปานกลาง
84. คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน และเคมีใน
ชีวิตประจำวัน
15
25
41
37
29
3.27
1.25
ปานกลาง
85. มนุษย์กับเศรษฐกิจ สังคมวิทยา และมานุษยวิทยา 15 25 41 37 29 3.27 1.25 ปานกลาง
86. การศึกษากับภาษาสัญลักษณ์ 7 24 39 41 36 3.51 1.17 มาก
87. พืชสัตว์ท้องถิ่น แลโภชนาการ 10 24 41 42 30 3.39 1.18 ปานกลาง
88. วัฒนธรรมและสถาบันสังคมยากับชีวิตประจำวัน 14 21 39 40 33 3.39 1.25 ปานกลาง
89. กระบวนการสังคมมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม 25 27 37 30 28 3.06 1.36 ปานกลาง
90. การทดลองสอนวิชา พระพุทธศาสนา 7 24 39 41 36 3.51 1.17 มาก
91. เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการค้นคว้า 14 25 40 41 27 3.29 1.22 ปานกลาง
92. หลักการศึกษากับความเป็นครู 13 22 43 40 29 3.34 1.21 ปานกลาง
93. การสอนเด็กปฐมวัย 25 27 37 30 28 3.06 1.36 มาก
94. การศึกษาของไทย การวางแผน
การศึกษา และหลักการสอน
17
25
44
46
15
3.12
1.16
ปานกลาง
95. กฎหมายทางการศึกษาหลักการบริหารการศึกษา 19 30 37 37 24 3.12 1.27 ปานกลาง
96. จิตวิทยาสำหรับครู การพัฒนาหลักสูตรพื้นฐานการศึกษา 8 15 40 40 44 3.66 1.17 มาก
97. การนิเทศการศึกษาการประเมินผล และการสร้าง
แบบทดสอบ
10
20
42
39
36
3.48
1.20
มาก
98. ระเบียบวิธีวิจัยเทคโนโลยีนวัตกรรมทาการศึกษา 16 23 50 6 22 3.17 1.19 ปานกลาง
99. คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา 14 25 46 30 32 3.28 1.25 ปานกลาง
100. การสัมมนาปัญหาทาง การศึกษาวิธีการสอนวิชาเฉพาะ 15 24 49 33 26 3.21 1.21 ปานกลาง
101. รายวิชาการประถมศึกษารายวิชาการมัธยมศึกษา 17 33 47 28 22 3.03 1.22 ปานกลาง
102. รายวิชาการอาชีวศึกษา 18 36 41 30 22 3.01 1.24 ปานกลาง
102
103. การจัดการศึกษานอกระบบ 8 15 40 40 44 3.66 1.17 มาก
104.ศึกษาศาสตร์ตามแนวพุทศาสตร์ 10 20 42 39 36 3.48 1.20 มาก
105.ปรัชญาการศึกษาจิตวิทยาการแนะแนว 16 23 50 36 22 3.17 1.19 ปานกลาง
ตารางที่ 15 (ต่อ)
ระดับความต้องการ
น้อย
ที่สุด
น้อย ปาน
กลาง
มาก มาก
ที่สุด x S.D.
สรุป
106.ชุดวิชาว่าด้วยรายวิชาเกี่ยวกับโรงเรียนชุมชน 14 25 46 30 32 3.28 1.25 ปานกลาง
107. ชุดวิชาว่าด้วยระเบียบวิธีสอนทั่วไป 15 24 49 33 26 3.21 1.21 ปานกลาง
109. การสร้างสื่อการวิเคราะห์
แบบเรียนระดับชั้นประถมศึกษา
18
36
41
30
22 3.01 1.24 ปานกลาง
110. การสร้างสื่อ การวิเคราะห์
แบบเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา
18
36
41
30
22 3.01 1.24 ปานกลาง
รวม 3.32 1.22 ปานกลาง
จากผลที่แสดงในตารางที่ 15 พบว่าผู้ใช้บริการมีความต้องการใช้ทรัพยากรสารสนเทศทั้ง
110 รายการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาในแต่ละรายการพบว่า ผู้ใช้บริการมี
ความต้องการใช้บริการในระดับมากเพียง 19 รายการได้แก่
1. ชุดสารัตถะแห่งพระวินับปิฎก
2. ชุดสารัตถะแห่งสุตันปิฎก
3. ชุดสารัตถะแห่งพระอภิธรรมปิฎก
4. ชุดการปฏิบัติกรรมฐาน
5. ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาพุทธศาสนากับสังคม
6. ศาสนาเปรียบเทียบ
7. ประวัติความเป็นมาของ พระพุทธศาสนาในประเทศไทย
8. พจนานุกรมพุทธศาสนาฉบับประมวลศัพท์
9. พจนานุกรมพุทธศาสนา ฉบับประมวลธรรม
10. สารานุกรมพุทธศาสนา และผลงานวิจัยทางพระพุทธศาสนา
11. จริยศาสตร์ศีลธรรม
12. ปรัชญาอินเดีย
13. ปรัชญาไทย
14. ปรัชญากรีก
103
16. ปรัชญาของเพลโตโสเครตีสอริสโตเติล
17. มนุษย์กับการใช้เหตุผล
18. การทดลองสอนวิชาพระพุทธศาสนา
19. ศึกษาศาสตร์ตามแนวพุทธศาสตร์
สารสนเทศประเภทอื่นๆ อีก 91 รายการผู้ใช้บริการมีความต้องการในระดับปานกลาง
ทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่างๆ ที่ห้องสมุดมีไว้เพื่อให้บริการนั้นความสอดคล้องกับหลักสูตร
การเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย มหามกุฏราชวิทยาลัยอยู่ในระดับปานกลาง และผู้ใช้บริการส่วน
ใหญ่ก็มีความต้องอยู่ในระดับปานกลาง อย่างไรก็ตามยังมีคำถามที่ได้จากแบบสอบถามปลายเปิด
พบว่า ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าห้องสมุดมีวัสดุสารสนเทศที่ตนเองต้องการ ทั้งนี้เนื่องจากผู้ใช้
บางส่วนไม่เข้าใจในระบบการจัดเก็บและไม่คุ้นเคยกับการใช้บริการในห้องสมุด
5. การประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation)
การประเมินด้านผลผลิต เป็นการประเมินผลการให้บริการสารสนเทศในห้องสมุด
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
5.1 การประเมินด้านผลผลิต เป็นการประเมินการให้บริการสารสนเทศในห้องสมุด
มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัยโดยประเมินจากรายการดังนี้
5.2 ด้านความสำเร็จในการสืบค้นสารสนเทศในห้องสมุด มหาวิทยาลัยมหามกุฏราช
วิทยาลัย โดยศึกษาจากระดับของความสำเร็จ ที่ผู้ใช้บริการได้รับจากการสืบค้นจากสารสนเทศใน
ห้องสมุด โดยแสดงในตารางที่ 16
ตารางที่ 16 ความสำเร็จที่ได้รับจากการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศ
รายการ (N = 147)
จำนวน ร้อยละ
1. ได้ทุกครั้งที่ต้องการ 30 20.4
2. ได้เป็นบางครั้ง 106 72.1
3. ไม่สามารถหาได้เลย 11 7.5
จากตารางที่ 16 พบว่า ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่ประสบความสำเร็จ ในการสืบค้นทรัพยากร
สารสนเทศในห้องสมุด มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เป็นบางครั้งเท่านั้น (ร้อยละ 72.00)
104
5.2 ความพึงพอใจในการใช้บริการสารสนเทศต่างๆ ในห้องสมุด มหาวิทยาลัยมหามกุฏ
ราชิทยาลัย ของผู้ใช้บริการ โดยแสดงในตารางที่ 17
ตารางที่ 17 ความพึงพอใจต่อบริการสารสนเทศประเภทต่างๆ ของผู้ใช้บริการ
ระดับความพึงพอใจ
ประเภทสารสนเทศ น้อย
ที่สุด
น้อย ปาน
กลาง
มาก มาก
ที่สุด
x S.D.
สรุปผล
1. ชุดสารัตถะแห่งพระวินัยปิฎก 6 14 49 42 36 3.60 1.08 มาก
2. ชุดสารัตถะแห่งพระสุตันตปิฎก 5 11 50 42 39 3.67 1.05 มาก
3. ชุดสารัตถะแห่งพระอภิธรรมปิฎก 11 12 54 37 33 3.47 1.15 มาก
4. ชุดการปฏิบัติกรรมฐาน 9 18 53 35 32 3.43 1.14 มาก
5. ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา 8 9 45 44 41 3.69 1.11 มาก
6. พุทธศาสนากับสังคม 14 26 55 28 24 3.15 1.18 ปานกลาง
7. การศึกษาธรรมพากภาษาอังกฤษ 14 26 55 28 24 3.15 1.18 ปานกลาง
8. ศาสนาเปรียบเทียบ 6 10 54 42 35 3.61 1.05 ปานกลาง
9. การศึกษาธรรมพากย์ภาษาอังกฤษในพระสูตร 14 26 55 28 24 3.15 1.18 ปานกลาง
10. พุทธปรัชญาหลักแห่งศาสนา พุทธพุทธศาสนากับ
วิทยาศาสตร์
4
19
50
40
34 3.55 1.07
มาก
11. ประวัติความเป็นมาของระพุทธศาสนาในประเทศไทย 3 13 52 45 34 3.64 1.00 มาก
12. พจนานุกรมพุทธศาสนาฉบับประมวลศัพท์ 7 12 46 46 36 3.63 1.09 มาก
13. พจนานุกรมพุทธศาสนา ฉบับประมวลธรรม 5 15 47 46 34 3.61 1.06 มาก
14. สารานุกรมพุทธศาสนา และผลงานวิจัยทาง
พระพุทธศาสนา 9 17 58 39 24 3.35 1.08 ปานกลาง
15. ประวัติผู้บำเพ็ญประโยชน์ของพุทธศาสนา 10 19 64 34 20 3.24 1.06 ปานกลาง
16. สมณศักดิ์ของคณะสงฆ์ไทยประวัติและความเป็นมา 19 22 63 27 16 2.99 1.14 ปานกลาง
17. พระพุทธศาสนานิกาย มหายานฝ่ายเหนือ 18 23 58 30 18 3.05 1.16 ปานกลาง
18. พระพุทธศาสนานิกายธิเบต แบบดาไลลามะ 16 30 49 34 18 3.05 1.17 ปานกลาง
19. พุทธศาสนามหายานแบบจีน พุทธศาสนามหายาน
แบบญี่ปุ่น
18
26
56
31
16 3.01 1.15
ปานกลาง
20. พุทธศาสนามหายานแบบเกาหลี 25 33 48 25 16 2.82 1.22 ปานกลาง
21. ทฤษฎีแห่งความรู้ และความเป็นมนุษย์ 14 25 57 36 15 3.09 1.10 ปานกลาง
105
22. อภิปรัชญาปรัชญาเชิงวิพากษ์ 17 34 52 27 17 2.95 1.16 ปานกลาง
23. ภววิทยา 23 36 51 23 14 2.79 1.17 ปานกลาง
24. จักรวาลวิทยา 25 39 46 25 12 2.73 1.17 ปานกลาง
25. อัตตา ตัวตน จิตนิยม 18 27 54 31 17 3.01 1.16 ปานกลาง
ตารางที่ 17 (ต่อ)
ระดับความพึงพอใจ
ประเภทสารสนเทศ น้อย
ที่สุด
น้อย ปาน
กลาง
น้อย
ที่สุด
น้อย
x S.D.
สรุปผล
26. ปรัชญาของธรรมชาติและความคิดทางปรัชญาเฉพาะ
กลุ่ม
22
28
48
32
17 2.96 1.22
ปานกลาง
27. ความเป็นเหตุและความเป็นผล 17 25 53 32 20 3.09 1.18 ปานกลาง
28. อัตถิภาวนิยมตามทรรศนะของนักปรัชญาต่างๆ 12 24 40 49 22 3.31 1.16 ปานกลาง
29. ธรรมชาตินิยมและเสรีนิยมสรรพเทวนิยม 17 28 43 28 31 3.19 1.29 ปานกลาง
30. สิทธันตนิยม จิตวิทยาทั่วไป และจิตวิทยาประยุกต์ 10 24 44 43 26 3.35 1.15 ปานกลาง
31. จิตวิทยาตามทฤษฎีของนักวิชาการต่างๆ 20 22 45 32 27 3.16 1.28 ปานกลาง
32. กระบวนการของจิตสำนึก 11 23 38 39 36 3.45 1.23 ปานกลาง
33. สภาวะและการะบวนการของจิตสำนึก 13 24 49 38 23 3.23 1.16 ปานกลาง
34. จิตวิทยานามธรรม 11 26 34 44 32 3.41 1.22 ปานกลาง
35. จิตวิทยาเปรียบเทียบ 24 25 47 31 20 2.99 1.26 ปานกลาง
36. จิตวิทยาและความแตกต่างทางทางจิตวิทยาพัฒนาการ 7 21 45 31 43 3.56 1.19 ปานกลาง
37. จริยศาสตร์ทางการเมือง 17 29 49 32 20 3.06 1.19 ปานกลาง
38. ปรัชญาทางการเมือง 13 38 37 37 22 3.12 1.21 ปานกลาง
39. จริยศาสตร์ศีลธรรม 11 30 42 48 16 3.19 1.11 ปานกลาง
40. ระบบและหลักเกณฑ์ของจริยศาสตร์ 14 25 46 40 22 3.21 1.18 ปานกลาง
41. ตรรกศาสตร์และตรรกวิทยา 17 27 41 39 23 3.16 1.23 ปานกลาง
42. จริยศาสตร์ของ ความสัมพันธ์ในครอบครัว 15 30 39 39 24 3.18 1.23 ปานกลาง
43. จริยศาสตร์ของอริสโตเติล 20 27 41 43 16 3.05 1.21 ปานกลาง
44. จริยศาสตร์ในกาประกอบอาชีพ 31 25 47 28 16 2.82 1.27 ปานกลาง
45. จริยศาสตร์ทางเพศ 15 28 46 37 21 3.14 1.19 ปานกลาง
46. จริยศาสตร์ในการเข้าสังคม 18 31 46 38 14 2.99 1.16 ปานกลาง
47. บรรทัดฐานของจริยศาสตร์ 14 33 45 34 21 3.10 1.19 ปานกลาง
48. ปรัชญาตะวันตกสมัยโบราณ 11 32 53 32 19 3.11 1.12 ปานกลาง
106
49. ปรัชญาตะวันตกสมัย กลาง 14 32 44 38 19 3.11 1.17 ปานกลาง
50.ปรัชญาตะวันตกสมัยใหม่ 11 28 40 41 27 3.31 1.19 ปานกลาง
51.ปรัชญาตะวันออก 10 27 37 42 31 3.39 1.20 ปานกลาง
52.ปรัชญาอินเดีย 16 25 48 38 20 3.14 1.18 ปานกลาง
53.ปรัชญาจีน 13 28 43 41 22 3.21 1.18 ปานกลาง
ตารางที่ 17 (ต่อ)
ระดับความพึงพอใจ
ประเภทสารสนเทศ น้อย
ที่สุด
น้อย ปาน
กลาง
น้อย
ที่สุด
น้อย
x S.D.
สรุปผล
54.ปรัชญาไทย 20 33 41 37 16 2.97 1.21 ปานกลาง
55.ปรัชญาญี่ปุ่น 16 31 43 36 21 3.10 1.21 ปานกลาง
56.รวมชุดปรัชญาตะวันออกร่วมสมัย 15 19 53 37 23 3.23 1.17 ปานกลาง
57.ปรัชญากรีก 15 25 51 36 20 3.14 1.16 ปานกลาง
58.ปรัชญากรีกรวมยุกต์ 18 23 49 35 22 3.14 1.21 ปานกลาง
59.ปรัชญาของเพลโต 15 28 44 38 22 3.16 1.20 ปานกลาง
60.รวมชุดปรัชญาตะวันตก 17 27 46 41 16 3.08 1.17 ปานกลาง
61.ปรัชญาสหรัฐอเมริกา 16 21 49 42 19 3.18 1.16 ปานกลาง
62.ปรัชญาแคนาดา 20 18 52 40 17 3.11 1.18 ปานกลาง
63.ปรัชญาฝรั่งเศส 22 26 49 24 26 3.04 1.29 ปานกลาง
64.มนุษย์กับการใช้เหตุผล 10 14 50 34 39 3.51 1.18 มาก
65.สุนทรียศาสตร์ในงานประพันธ์ ของไทย 15 33 45 40 14 3.03 1.14 ปานกลาง
66.พรรคการเมือง 23 17 46 35 26 3.16 1.29 ปานกลาง
67.กลุ่มผลประโยชน์และการเลือกตั้ง 11 28 55 44 9 3.08 1.02 ปานกลาง
68.สังคมกับกฎหมาย 12 27 54 43 11 3.10 1.05 ปานกลาง
69.การเมืองการปกครองของไทย 12 27 55 41 12 3.10 1.06 ปานกลาง
70.ชุดวิชาภาษาไทย 23 23 54 33 14 2.95 1.18 ปานกลาง
71.ชุดวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน 25 28 49 30 15 2.88 1.22 ปานกลาง
72.มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม 21 26 52 31 17 2.98 1.20 ปานกลาง
73.เทคโนโลยีเพื่อการค้นคว้า 17 28 47 42 13 3.04 1.14 ปานกลาง
74.ชุดวิชาไวยากรณ์อังกฤษ 1 - 2 19 30 44 38 16 3.01 1.19 ปานกลาง
75.ชุดวิชาแปลอังกฤษเป็นไทย1 – 2 19 23 46 34 25 3.16 1.25 ปานกลาง
76.ชุดโครงสร้างภาษาอังกฤษ1 – 2 25 34 42 32 14 2.84 1.22 ปานกลาง
77.วิธีการสอนภาษาอังกฤษ 1 – 2 21 29 51 31 15 2.93 1.18 ปานกลาง
107
78.ชุดวิชาบาลีพื้นฐาน 1 – 2 21 20 49 41 16 3.07 1.19 ปานกลาง
79.ชุดวิชา บาลี – สันสกฤตที่ ปรากฏอยู่ในภาษาไทย 24 29 51 28 15 2.87 1.20 ปานกลาง
80.ศิลาจารึกสมัยสุโขทัย 26 27 45 35 14 2.89 1.23 ปานกลาง
81.ศิลปนิยม สังคีตนิยม มนุษย์กับสังคม 23 26 47 34 17 2.97 1.23 ปานกลาง
82.คอมพิวเตอร์เบื้องต้น ๑ – ๒ และการใช้ โปรแกรม 17 28 52 31 19 3.05 1.18 ปานกลาง
ตารางที่ 17 (ต่อ)
ระดับความพึงพอใจ
ประเภทสารสนเทศ น้อย
ที่สุด
น้อย ปาน
กลาง
น้อย
ที่สุด
น้อย
x S.D.
สรุปผล
83.วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับโลกและการกำเนิดของชีวิต 12 28 47 39 21 3.20 1.15ปานกลาง
84.คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน และเคมีใน
ชีวิตประจำวัน
13
25
55
36
18 3.14 1.12
ปานกลาง
85.มนุษย์กับเศรษฐกิจและสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา 20 27 44 36 20 3.06 1.23 ปานกลาง
86.พืชสัตว์ท้องถิ่นและโภชนาการ 17 25 44 46 15 3.12 1.16 ปานกลาง
87.วัฒนธรรมและสถาบันในสังคม ยากับชีวิตประจำวัน 20 22 44 48 13 3.08 1.17 ปานกลาง
88.กระบวนการทางสังคม มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม 16 33 45 39 14 3.01 1.15 ปานกลาง
89.การทดลองสอนวิชาพระพุทธศาสนา 16 36 40 40 15 3.01 1.17 ปานกลาง
90.ศิลาจารึกสมัยสุโขทัย 19 26 50 37 15 3.02 1.17 ปานกลาง
91.เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการค้นคว้า 19 27 48 35 18 3.04 1.20 ปานกลาง
92.หลักการศึกษากับความเป็นครู 18 34 39 40 16 3.01 1.20 ปานกลาง
94.การศึกษาของไทย การวางแผนการศึกษาหลักการสอน 24 25 42 26 30 3.09 1.35 ปานกลาง
95.กฎหมายทางการศึกษาหลักการบริหารการศึกษา 21 28 57 28 13 2.89 1.14 ปานกลาง
96.จิตวิทยาสำหรับครู การพัฒนาหลักสูตร พื้นฐาน
การศึกษา
22
29
49
34
13 2.91 1.18
ปานกลาง
97.การนิเทศการศึกษา การประเมินผล
และการสร้างแบบทดสอบ
11
22
46
40
28 3.35 1.17
ปานกลาง
98. ระเบียบวิธีวิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรมทาง
การศึกษา
15
33
41
39
19 3.10 1.19
ปานกลาง
99. คอมพิวเตอร์เพื่อ การศึกษา 24 23 53 34 13 2.93 1.18 ปานกลาง
100.การสัมมนาปัญหาทางการศึกษาวิธีการสอนวิชาเฉพาะ 17 33 52 31 14 2.95 1.13 ปานกลาง
101.ชุดวิชาว่าด้วยรายวิชาการประถมศึกษา มัธยมศึกษา 24 22 51 35 15 2.97 1.21 ปานกลาง
102.ชุดวิชาว่าด้วยรายวิชาการอาชีวศึกษา 24 29 47 35 12 2.88 1.19 ปานกลาง
103.การจัดการศึกษานอกระบบ 31 26 46 28 16 2.81 1.27 ปานกลาง
108
104.ศึกษาศาสตร์ตามแนวพุทธศาสตร์ 11 22 46 40 28 3.35 1.17 ปานกลาง
105.ปรัชญาการศึกษา จิตวิทยาการแนะแนว 15 33 41 39 19 3.10 1.19 ปานกลาง
106.ชุดวิชาว่าด้วยรายวิชาเกี่ยวกับโรงเรียนชุมชน 24 23 53 34 13 2.93 1.18 ปานกลาง
107.ชุดวิชาว่าด้วยระเบียบวิธีสอนทั่วไป 17 33 52 31 14 2.95 1.13 ปานกลาง
ตารางที่ 17 (ต่อ)
ประเภทสารสนเทศ ระดับความพึงพอใจ
สรุปผล
น้อย
ที่สุด
น้อย ปาน
กลาง
น้อย
ที่สุด
น้อย
x S.D.
108. จิตวิทยาเด็กวัยรุ่น 24 22 51 35 15 2.97 1.21 ปานกลาง
109. การสร้างสื่อและการวิเคราะห์
แบบเรียนระดับชั้นประถมศึกษา
24
29
47
35
12 2.88 1.19
ปานกลาง
110. การสร้างสื่อแลการวิเคราะห์
แบบเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา
31
26
46
28
16 2.81 1.17
ปานกลาง
รวม 3.09 1.16 ปานกลาง
จากผลที่แสดงในตารางที่ 17 พบว่า ผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจต่อการใช้บริการ
สารสนเทศต่างๆ ในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง ( x = 3.09) (S.D.=1.16) เมื่อแยกพิจารณา แต่ละ
รายการพบว่า ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในระดับปานกลาง นอกจาก 9 ประเภทที่ผู้ใช้บริการพอใจใน
ระดับมาก ได้แก่
1. ชุดสารัตถะแห่งพระวินัยปิฎก
2. ชุดสารัตถะแห่งพระสุตันตปิฎก
3. ชุดสารัตถะแห่งพระอภิธรรมปิฎก
4. ชุดการปฏิบัติกรรมฐาน
5. ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาพุทธศาสนากับสังคม
6. พุทธปรัชญาหลักแห่งศาสนาพุทธพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์
7. ประวัติความเป็นมาของพระพุทธศาสนาในประเทศไทย
8. พจนานุกรมพุทธศาสนาฉบับประมวลศัพท์
9. พจนานุกรพุทธศาสนาฉบับประมวลธรรม
109
นอกจากนี้ เมื่อมองในภาพรวมสวนใหญ่พบว่า ผู้ใช้บริการส่วนมากจะมีความพึงพอใจ
อยู่ในระดับปานกลาง
จากการศึกษาปัญหาอุปสรรค และแนวทางแก้ปัญหา ในการให้บริการสารสนเทศใน
ห้องสมุดมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยข้อที่ 5) โดยวิเคราะห์จาก
ความคิดเห็นของผู้ใช้บริการในแบบสอบถามปลายเปิดซึ่งปัญหา และอุปสรรคส่วนใหญ่ที่พบจาก
การศึกษาครั้งนี้แยกเป็นประเด็นได้ดังนี้
1. ด้านเนื้อหาของทรัพยากรสารสนเทศ มีเนื้อหาที่ไม่ตอบสนองต่อวัตถุประสงค์และ
หลักสูตรเท่าที่ควร บางรายการมีปริมาณที่มากเกินความจำเป็นและไม่มีผู้ใช้ บางรายการมีปริมาณที่
น้อยไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้บริการ
2. ทรัพยากรสารสนเทศบางประเภทเหมาะสมในระดับปริญญาตรี แต่ไม่เหมาะสมและ
สอดคล้องในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ตลอดถึงไม่ตอบสนองต่อการศึกษาค้นคว้าต่อการทำ
ผลงานทางวิชาการและงานวิจัยของมหาวิทยาลัย
3. ระบบการจัดเก็บและค้นคืนไม่สอดรับกับความเป็นจริง บางรายการมีในระบบการ
จัดเก็บและการค้นคืนแต่ไม่มีตัวจริงของทรัพยากร บนชั้นวางหรือในหมวด
4. ระบบการให้บริการ ไม่ตอบสนองกับความต้องการของผู้ใช้บริการ ส่วนใหญ่
ผู้ใช้บริการต้องการความสะดวกและรวดเร็วแต่ระบบห้องสมุดไม่ตอบสนองในจุดนี้
5. ด้านปริมาณของทรัพยากรสารสนเทศ ควรเพิ่มในบางรายการโดยใช้สัดส่วนของ
ประกาศทบวงมหาวิทยาลัย ว่าด้วยมาตรฐานห้องสมุดระดับอุดมศึกษา 2544 เป็นเกณฑ์
ข้อเสนอแนะ
ด้านคำแนะนำและข้อเสนอแนะของผู้ใช้บริการส่วนมากพบและสรุปเป็นประเด็นได้
ดังนี้
1. ด้านบุคลากรผู้บริหารห้องสมุดควรมีวิสัยทัศน์ด้านห้องสมุด และทรัพยากรสาร
สนเทศในห้องสมุดในระสั้นและระยะยาวต้องตอบสนองและสอดคล้องกับนโยบายของมหาวิทยาลัย
และนโยบายของรัฐบาลด้านห้องสมุดซึ่งจะต้องประสานกับกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการ
สื่อสาร (ICT.) และสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.) เป็นเกณฑ์
2. แผนพัฒนาห้องสมุดและทรัพยากรสารสนเทศต้องมีอย่างชัดเจน ทั้งระยะสั้นและ
ระยะยาวโดยต้องยึดแผนพัฒนามหาวิทยาลัย วิสัยทัศน์พันธ์กิจของมหาวิทยาลัยเป็นหลักและ
นโยบายของรัฐบาลต่อการส่งเสริมและสนับสนุนกิจการห้องสมุด ในประเทศไทยเป็นเกณฑ์
110
3. ด้านคุณภาพและปริมาณของทรัพยาการสารสนเทศ ต้องตอบสนองนโยบายการ
บริหารของมหาวิทยาลัย หลักสูตรการเรียนการสอนทั้งสี่คณะของมหาวิทยาลัยทั้งในระดับปริญญา
ตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก และการค้นคว้าทางวิชาการของคณาจารย์ในแต่ละสาขาวิชา
บทที่ 5
สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
การวิจัย เรื่อง “การประเมินการให้บริการสารสนเทศในห้องสมุดมหาวิทยาลัย มหามกุฏ
ราชวิทยาลัย” มีวัตถุประสงค์ในการวิจัยดังนี้
1. ศึกษาความสอดคล้องของเนื้อหาทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุด กับหลักสูตรที่เปิด
สอนในมหาวิยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เพื่อแสดงปัจจัยนำเข้า ของการให้บริการสารสนเทศของ
ห้องสมุด
2. ศึกษาการให้บริการสารสนเทศ ในห้องสมุดที่เอื้อต่อการศึกษาตามหลักสูตรของมหาวิ
ยาลัย เพื่อแสดงการดำเนินงานของห้องสมุด
3. ศึกษาความต้องการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ ของผู้ใช้บริการสารสนในห้องสมุด
มหาวิทยาลัย เพื่อแสดงบริบทของการให้บริการ สารสนเทศในห้องสมุด มหาวิทยาลัย
4. ศึกษาความพึงพอใจในการให้บริการทรัพยากรสารสนเทศ ในห้องสมุด มหาวิทยาลัย
มหามกุฏราชวิทยาลัย ต่อผู้ใช้บริการ เพื่อแสดงผลการให้บริการทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุด
5. เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและแนวทางแก้ไขปัญหา ในการให้บริการสารสนเทศใน
ห้องสมุด มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
การวิจัยนี้ได้ดำเนินการวิจัยดังนี้
1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่นักศึกษาระดับปริญญาตรี และปริญญาโทตลอดถึง
เจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 147 ท่าน ได้มา
ด้วยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นจากกลุ่มประชากร 574 ท่าน โดยใช้สูตรกำหนดขนาดที่พอเหมาะที่จะ
เป็นตัวแทนของกลุ่มประชากรของ Taro Yamane (1960: 1088 - 1089 อ้างใน สุจินต์ ธรรมชาติ,
2546:189)
2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามและแบบสำรวจ รวมทั้งสิ้น 3 ชุด
ได้แก่
ชุดที่1 แบบสำรวจเพื่อค้นหาความสอดคล้องของทรัพยากรสารสนเทศ ในห้องสมุด
มหาวิทยาลัย มหามกุฏราชวิทยาลัย กับหลักสูตรการเรียนการสอน
111
ชุดที่2 แบบสอบถามเพื่อทราบปริมาณและคุณภาพของทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุด
มหาวิทยาลัย มหามกุฏราชวิทยาลัย
ชุดที่3 แบบสอบถามความต้องการ และความพึงพอใจ และความสอดคล้องของทรัพยากร
สารสนเทศ ในห้องสมุด มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
3. วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
ผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บรวบรวมโดยการแจกและรับคืนด้วยตนเอง ได้แบบสอบถามคืน
147 ชุด คิดเป็น 100 % ของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้เวลาเก็บรวบรวม 20 วัน
4.ด้านการจัดทำข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล
นำแบบสอบถามที่ได้รับทั้งหมด มาตรวจสอบความสมบูรณ์ของแบบสอบถาม และ
นำไปวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/PC version 12.0 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลสรุป
ผลได้ดังนี้
1 สรุป แผลการวิจัย
จากการวิเคราะห์ข้อมูลผู้วิจัยสรุปผลการวิจัยได้ ดังไปนี้
1. ข้อมูลด้านประชากรผู้ตอบแบบสอบถามจากการวิจัย พบว่า ผู้ที่ตอบแบบสอบถาม
จำนวน 147 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จำนวน 107 คน คิดเป็นอัตราส่วนร้อยละ 72.8 ส่วนเพศหญิงมี
เพียง 40 คน คิดเป็นอัตราส่วนร้อยละ 27.2 โดยส่วนใหญ่มีสถานภาพเป็น พระสงฆ์ คิดเป็นร้อยละ
63.3 มีอายุระหว่าง 21 – 40 ปี คิดเป็นร้อยละ 63.9 มีระดับการศึกษาปริยัติธรรมแผนกธรรม ระดับ
นักธรรมเอก คิดเป็นร้อยละ 83.7 ด้านระดับการศึกษาปริยัติธรรมแผนกบาลี ส่วนใหญ่ศึกษาระดับ
เปรียญเอก ป.ธ.7 – 9 คิดเป็นร้อยละ 63.3 ด้าน ระดับการศึกษา ส่วนใหญ่ศึกษาระดับ ปริญญาตรี คิด
เป็นร้อยละ 51.7 ด้านระดับการศึกษาสามัญสำหรับอาจารย์และเจ้าหน้าที่ ส่วนใหญ่ศึกษาระดับ
ปริญญาโท คิดเป็นร้อยละ 46.ด้านคณะที่ศึกษา ส่วนใหญ่ศึกษาในคณะ พุทธศาสนาและปรัชญา คิด
เป็นร้อยละ 45.6 ด้านระดับตำแหน่งเฉพาะอาจารย์และเจ้าหน้าที่ ส่วนใหญ่เป็น ระดับผู้ชำนาญการ
คิดเป็นร้อยละ 42.9
2. ผลการประเมินการบริการสารสนเทศในห้องสมุด มหาวิทยาลัยมหามกุฏราช วิทยาลัย
พบว่า
2.1 เนื้อหาทรัพยากรสารสนเทศ ที่สอดคล้องกับหลักสูตรและสนับสนุนความต้องการใช้
ประกอบการสอนมีทั้งสิ้น 110 รายการประกอบด้วยสารสนเทศด้านพุทธศาสนาและปรัชญา ทาง
สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ และสารสนเทศประเภทต่างๆ อีก 19 รายการได้แก่ 1)
112
หนังสือพิมพ์รายวัน 2) วารสารเชิงวิชาการภาษาไทย 3) วารสารเชิงวิชาการภาษาต่างประเทศ 4)
นิตยสารรายสัปดาห์ รายปักษ์ รายเดือน และรายปีภาษาไทย ต่างประเทศ 5)หนังสืออ้างอิงภาษาไทย
ต่างประเทศ 6) หนังสือวิชาการภาษาไทย ต่างประเทศ 7) รายงานการประชุม 8) หนังสือประเภท
ตำราเรียนภาษาไทยต่างประเทศ 9)พระไตรปิฎกฉบับหลวงภาษาบาลี ภาษาไทยภาษาอังกฤษ 10)
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน 11)วารสารทั่วไปภาษาไทยต่างประเทศ 12) จุลสาร 13) รายงาน
การประชุม 14) ภาคนิพนธ์วิทยานิพนธ์ 15)สิ่งพิมพ์รัฐบาล 16) คู่มือหลักสูตรการศึกษา 17) วีดิทัศน์
(Videotape) 18) เทปตลับ และ19) แผ่นซีดี ซึ่งเป็นบริบทของการบริการสารสนเทศในห้องสมุด
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
2.2 ศึกษาปัจจัยนำเข้าของการให้บริการ สารสนเทศของห้องสมุด มหาวิทยาลัยมหามกุฏ
ราชวิทยาลัย จากการสำรวจบริมาณทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่างๆ ทั้ง 110 รายการ โดยมีปริมาณ
อยู่ระหว่าง 2 ถึง 25 เล่มต่อรายการ มี 3 รายการที่ไม่ปรากฎอยู่ในห้องสมุดคือ การศึกษาธรรมพากย์
ภาษาอังกฤษ พุทธศาสนามหายานแบบเกาหลี และสิทธันตนิยมจิตวิทยาทั่วไปและจิตวิทยาประยุกต์
และมีน้อยกว่า 5 เล่มได้แก่ 1) จิตวิทยาและความแตกต่างทางจิตวิทยาพัฒนาการ 2) ปรัชญาทาง
การเมือง 3) จริยศาสตร์ศีลธรรม 4) ระบบและหลักเกณฑ์ของจริยศาสตร์ 5) ตรรกศาสตร์และ
ตรรกวิทยา 6) ปรัชญาไทย 7) ปรัชญาฝรั่งเศ 8) มนุษย์กับการใช้เหตุผล 9) พรรคการเมือง 10) กลุ่ม
ผลประโยชน์และการเลือกตั้ง 11)การเมืองการปกครองไทย 12) พืชและสัตว์ท้องถิ่น และโภชนาการ
13) เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการค้นคว้า
นอกจากนั้นยังพบว่า
2.2.1 ผู้ใช้บริการสารสนเทศให้ความคิดเห็นสรุปได้ว่า สารสนเทศในห้องสมุดทุก
รายการมีความสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้บริการ ตามหลักสูตรของมหาวิทยาลัยมหามกุฎ
ราชวิทยาลัย
2.2.2 ทรัพยากรสารสนเทศที่ให้ประโยชน์สูงสุดได้แก่ หนังสือพิมพ์รายวัน และ
สารสนเทศที่ให้ประโยชน์น้อยได้แก่ รายงานการประชุม จุลสาร สิ่งพิมพ์รัฐบาล วีดิทัศน์ เทปตลับ
และแผ่นซีดี
2.3 จากการศึกษาระบบ และการให้บริการ พบว่า สารสนเทศในห้องสมุด ผู้ใช้บริการมี
ความถี่ในการใช้บริการที่ต่างกัน แม้ว่าห้องสมุดจะให้บริการตั้งแต่เวลา 08.00 น. - 16.00 น. แต่ส่วน
ใหญ่เลือกใช้เป็นบางเวลาเท่านั้น ส่วนใหญ่จะใช้บริการเมื่อต้องการค้นคว้าเพิ่มเติมในรายวิชาที่สอน
หรือวิชาที่เรียนและในเวลาที่พักจากการสอนและการเรียน ผู้ใช้ส่วนใหญ่ใช้บริการสืบค้นโดยวิธี
สืบค้นจากชั้นวางหนังสือด้วยตนเอง รองลงมาคือถามบรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ห้องสมุด ซึ่งความ
จริงแล้วห้องสมุดมหาวิทยาลัยมีระบบการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศซึ่งให้บริการแก่ผู้ใช้ แต่ผู้ใช้
113

การประเมินการบริการสารสนเทศในห้องสมุด (ตอนที่ 1)
การประเมินการบริการสารสนเทศในห้องสมุด (ตอนที่ 2)
การประเมินการบริการสารสนเทศในห้องสมุด (ตอนที่ 3)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น