วันศุกร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การประเมินการบริการสารสนเทศในห้องสมุด (ตอนที่ 3)



บางส่วนไม่คุ้นเคยและไม่ทราบระบบการให้บริการดังกล่าว ห้องสมุดโดยการนำของผู้รับผิดชอบใน
ส่วนนี้ควรจะประชาสัมพันธ์และจัดอบรม แนะวิธีการใช้ให้กับผู้ใช้จะช่วยให้การใช้บริการมี
ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น หรือจัดทำคู่มือการใช้เพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้ก็จะดีและมีประสิทธิภาพมายิ่งขึ้น
บริการที่ผู้ใช้ได้รับทั้งหมดจะมีครบทุกประเภท แต่ผู้ใช้บริการใช้มากที่สุด คือบริการถ่ายเอกสาร
บริการยืมคืนสารสนเทศ ส่วนบริการที่ใช้น้อยที่สุด คือบริการหนังสือจอง ทรัพยากรสารสนเทศทั้ง
110 รายการที่ผู้ใช้บริการ มีความต้องการโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ทรัพยากรสารสนเทศ
ประเภทต่างๆ ในห้องสมุดมหาวิทยาลัย มหามกุฏราชวิทยาลัยนั้น มีความสอดคล้องกับหลักสูตรการ
เรียนการสอนของมหาวิทยาลัยในระดับปานกลาง และความต้องการอยู่ในระดับปานกลางเช่นกัน
2.4 จาการศึกษาความพึงพอใจในการให้บริการทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุด พบว่า
2.4.1 ด้านความสำเร็จในการในการสืบค้นพบว่า ผูใ้ ช้บริการส่วนใหญ่ประสบ
ความสำเร็จในการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศ ในห้องสมุดเป็นบางครั้งเท่านั้น
2.4.2 ผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจต่อการใช้บริการสารสนเทศประเภทต่างๆใน 110
รายการในระดับปานกลาง สารสนเทศที่ผู้ใช้บริการพอใจในระดับมากได้แก่ 1) ชุดสารัตถะแห่งพระ
วินัยปิฎก 2) ชุดสารัตถะแห่งพระสุตันตปิฎก 3) ชุดสารัตถะแห่งพระอภิธรรมปิฎก 4) ชุดการปฏิบัติ
กรรมฐาน 5) ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาพุทธศาสนากับสังคม 6) พุทธปรัชญาหลักแห่งศาสนา
พุทธพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์ 7) ประวัติความเป็นมาของพระพุทธศาสนาในประเทศไทย 8)
พจนานุกรมพุทธศาสนาฉบับประมวลศัพท์9) พจนานุกรพุทธศาสนาฉบับประมวลธรรม
สรุปปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ปัญหาดังนี้
1. ด้านเนื้อหาของทรัพยากรสารสนเทศ มีเนื้อหาที่ตอบสนองต่อวัตถุประสงค์และ
หลักสูตรของสถาบันอยู่ในระดับปานกลาง ควรแยกจัดหาทรัพยากรสารสนเทศให้สอดคล้องกับ
หลักสูตรในระดับต่างๆ คือ ระดับปริญญาตรีต้องใช้มาตรฐานใดเป็นเกณฑ์ในการจัดหา ระดับ
ปริญญาโท และปริญญาเอกก็ควรจะจัดแยกให้ชัดเจน เพราะทรัพยากรสารสนเทศบางรายการมี
ปริมาณที่มากเกินความจำเป็น และไม่มีผู้ใช้ บางรายการมีปริมาณที่น้อยไม่เพียงพอต่อความต้องการ
ของผู้ใช้บริการ
2. ทรัพยากรสารสนเทศบางประเภทเหมาะสมในระดับปริญญาตรี แต่ไม่เหมาะสมและ
สอดคล้องในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ตลอดถึงไม่ตอบสนองต่อการศึกษาค้นคว้าต่อการทำ
ผลงานทางวิชาการและงานวิจัยของมหาวิทยาลัย
3. ระบบการจัดเก็บและค้นคืนไม่สอดรับกับความเป็นจริง บางรายการมีในระบบการ
จัดเก็บและการค้นคืนแต่ไม่มีตัวจริงของทรัพยากร บนชั้นวางหรือในหมวด
114
4. ระบบการให้บริการ ไม่ตอบสนองกับความต้องการของผู้ใช้บริการ ส่วนใหญ่
ผู้ใช้บริการต้องการความสะดวกและรวดเร็วแต่ระบบห้องสมุดไม่ตอบสนองในจุดนี้ ห้องสมุดควรมี
การแนะนำระบบและชี้แจงวิธีการให้บริการหรือควรมีเจ้าหน้าที่ช่วยในการค้นคว้า
5. ด้านปริมาณของทรัพยากรสารสนเทศ ควรเพิ่มในบางรายการโดยใช้สัดส่วนของ
ประกาศทบวงมหาวิทยาลัยว่า ด้วยมาตรฐานห้องสมุดระดับอุดมศึกษา 2544 เป็นเกณฑ์
ทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่างๆ ที่ห้องสมุดมีไว้เพื่อให้บริการนั้นความสอดคล้อง
กับหลักสูตรการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย มหามกุฏราชวิทยาลัยอยู่ในระดับปานกลาง และ
ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่ก็มีความต้องอยู่ในระดับปานกลาง อย่างไรก็ตามยังมีคำถามที่ได้จาก
แบบสอบถามปลายเปิดพบว่า ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าห้องสมุดมีวัสดุสารสนเทศที่ตนเอง
ต้องการ ทั้งนี้เนื่องจากผู้ใช้บางส่วนไม่เข้าใจในระบบการจัดเก็บ และไม่คุ้นเคยกับการใช้บริการใน
ห้องสมุด
2 อภิปรายผล
1. สภาพทั่วไปในการดำเนินงานการให้บริการสารสนเทศของห้องสมุด
ความสอดคล้องของเนื้อหาทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุด กับหลักสูตรที่เปิดสอนใน
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย พบว่า สารสนเทศประเภทต่างๆ สนับสนุนการเรียนการและอยู่
ในความต้องการของผู้สอนในคณะต่างๆ ในระดับที่มาก มีค่าอยู่ที่ 80.00 % ในทุกรายการยกเว้น
รายการที่ 80 การสอนวิชากลุ่มสร้างเสริมลักษณะนิสัย การสอนวิชากลุ่มการงานพื้นฐานอาชีพ ศิลป
สำหรับครูประถมมีความต้องการร้อยละ 72.22 สอดคล้องกับงานวิจัยของอาภากร สุวรณธรรมา
(2530 : 64 - 67) ได้วิจัยเรื่อง การศึกษาความสอดคล้องของเนื้อหาในสิ่งพิมพ์สาขาพืชสวนที่มีอยู่ใน
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กับรายวิชาในหลักสูตรระดับปริญญาโท สาขาพืชสวน
สิ่งพิมพ์สาขาพืชสวนส่วนใหญ่ มีเนื้อหาสอดคล้องกับรายวิชาและหัวข้อที่จำแนกเนื้อหาในรายวิชา
ของหลักสูตรระดับปริญญาโท สาขาพืชสวน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และงานวิจัยของประภา
พรรณ วงศ์รัตนาวิน (2528 : 91) ได้วิจัยเรื่อง การวิเคราะห์ความสอดคล้องของเนื้อหาหนังสือ
เสริมสร้างประสบการณ์ชีวิต กับจุดประสงค์ของหลักสูตรกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 สรุปได้ว่า ทรัพยากรสารสนเทศที่ห้องสมุดจัดไว้นั้นมีความสอดคล้อง
กับหลักสูตรในระดับปริญญาตรีเท่านั้น แต่ไม่สอดคล้องในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก และ
สอดคล้องกับงานวิจัยของ ผิวพรรณ จันทร์หอม, (2534 บทคัดย่อ) ได้ศึกษาความสอดคล้องด้าน
เนื้อหาของหนังสือตำรา สาขาการบริหารการศึกษา ในห้องสมุดคณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น กับรายวิชาตามหลักสูตรระดับปริญญาโท สาขาการบริหารการศึกษา พบว่า
115
หนังสือตำราสาขาการบริหารการศึกษา ในห้องสมุดคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มี
ความสอดคล้องกับรายวิชาตามหลักสูตรระดับปริญญาโทสาขาการบริหารการศึกษา ซึ่งมีจำนวน 286
ชื่อเรื่อง และพบว่า เนื้อหาของรายวิชา 15 หัวข้อ ในจำนวนทั้งหมด 154 หัวข้อ ไม่มีหนังสือตำรา
สอดคล้องเลย
2. การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation)
การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า ด้วยการสำรวจปริมาณและคุณภาพของทรัพยากรสารสนเทศใน
ห้องสมุดมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ทีสอดคล้องกับความต้องการใช้ทำกาสำรวจทรัพยากร
สารสนเทศประเภทต่างๆ พบว่าทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุดมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
ได้ถูกจัดไว้แล้วในทุกรายการตามที่ผู้สอนเห็นสมควรให้มี (110 รายการ)
พิจารณาความสอดคล้องของสารสนเทศที่ใช้ เพื่อสนับสนุนการเรียน โดยทำประเภท
ของทรัพยากรสารสนเทศที่ผู้สอนเห็นว่ามีความสอดคล้องเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนตาม
หลักสูตรในแต่ละคณะ ผู้ใช้บริการจำนวน 147 ท่าน ให้ความคิดเห็นต่อความสอดคล้องของประเภท
ทรัพยากรสารสนเทศ กับการเรียนการสอนที่มีอยู่ในห้องสมุดของ มหาวิทยาลัยมกุฎราชวิทยาลัย
สรุปได้ว่าผู้ใช้บริการสารสนเทศในห้องสมุดมีความคิดเห็นต่อความสอดคล้อง และไม่สอดคล้องของ
สารสนเทศในห้องสมุดมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย กับการเรียนการสอนตามหลักสูตรของ
มหาวิทยาลัย แต่ละรายการแตกต่างกัน พบว่าผู้ใช้บริการส่วนใหญ่เห็นว่าสอดคล้อง ทรัพยากร
สารสนเทศทั้งหมดที่จัดไว้ในห้องสมุด ตามบริบทสอดคล้อง และเอื้อต่อการศึกษาตามหลักสูตรของ
มหาวิทยาลัยทุกรายการ และผู้ตอบแบบสอบถามที่เห็นว่าสิ่งพิมพ์ที่ให้ประโยชน์สูงสุด ออกเป็นราย
ข้อได้ดังต่อไปนี้ กลุ่มตัวอย่างที่ได้รับประโยชน์ในระดับปานกลางมีมากที่สุด จากวารสารวิชาการ
ภาษาไทย วารสารวิชาการภาษาต่างประเทศ นิตยสารรายสัปดาห์ รายปักษ์ รายเดือน และรายปี
ภาษาไทย หนังสือวิชาการภาษาไทย หนังสือประเภทตำราเรียนภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ
พระไตรปิฎกฉบับหลวงภาษาบาลี ภาษาไทยภาษาอังกฤษ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
วารสารทั่วไปภาษาไทยรายงาน ภาคนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ คู่มือหลักสูตรการศึกษา พจนานุกรมพุทธ
ศาสนาฉบับประมวลศัพท์และประมวลธรรม รองลงมาได้รับประโยชน์ในระดับน้อย จากนิตยสาร
รายสัปดาห์ รายปักษ์ รายเดือน และรายปีภาษาต่างประเทศ หนังสืออ้างอิงภาษาต่างประเทศ หนังสือ
วิชาการภาษาต่างประเทศ รายงานการประชุม วารสารทั่วไปภาษาต่างประเทศ กฤตภาค จุลสาร
สิ่งพิมพ์รัฐบาล วีดิทัศน์ (Videotape) เทปตลับ แผ่นซีดี สอดคล้องกับงานวิจัยของ เพ็ญพันธ์
เพชรศร (2530 : 54 - 59) ได้วิจัยเพื่อประเมินหนังสือในสาขาวิทยาศาสตร์ ของหอสมุดกลาง
มหาวิทยาลัยขอนแก่น ว่ามีความสัมพันธ์กับหลักสูตรการเรียนการสอนของคณะวิทยาศาสตร์มาก
น้อยเพียงใด พบว่า จำนวนหนังสือในสาขาวิทยาศาสตร์ที่มีอยู่มีความสัมพันธ์กับหลักสูตรการเรียน
116
การสอน ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของโกลเดน (Golden. 1974 :268-274) ที่ว่าจำนวน
ทรัพยากรห้องสมุดที่มีอยู่ มีความสัมพันธ์กับหลักสูตรการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย
เบนท์เลย์ (Bentley. 1987: 1045-A ) วิจัยเรื่องความสอดคล้องของเนื้อหาหนังสือสาขา
จิตวิทยา กับโครงสร้างเนื้อหาวิชาจิตวิทยา ระดับปริญญาโท โดยสุ่มกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 5 จาก
จำนวนหนังสือสาขาจิตวิทยา ผลการวิจัยพบว่า เนื้อหาของหนังสือสาขาจิตวิทยา สอดคล้องกับ
โครงสร้างและเนื้อหาโปรแกรมการศึกษาสาขาวิชาจิตวิทยาในระดับมาก
วรรณา โตพิบูลย์พงศ์ (2527:บทคัดย่อ) วิจัยเรื่อง การวิเคราะห์เนื้อหาวารสาร
ธรรมศาสตร์ โดยสำรวจปริมาณบทความแต่ละแขนงวิชา จากวารสารธรรมศาสตร์ ตั้งแต่ ปี่ที่ 1 ฉบับ
ที่ 1 พ.ศ. 2514 ถึงปีที่ 11 ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2525 รวม 200 บทความ และศึกษาขอบเขตเนื้อหาว่า
สอดคล้องกับแขนงวิชาที่สอนในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือไม่ ผลการวิจัยพบว่า วารสารมี
เนื้อหาสอดคล้องกับแขนงวิชาที่เปิดสอน ดังนี้คือ มีเนื้อหาในสาขาวิชาศิลปศาสตร์มากที่สุดคือ 133
บทความ รองลงมาอันดับ 2 ได้แก่สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ มี 54 บทความและอันดับ 3 คือ สาขา
รัฐศาสตร์ มี 39 บทความ
ทรัพยากรสารสนเทศที่ให้ประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ใช้บริการ คือหนังสืออ้างอิงภาษาไทย
และหนังสือพิมพ์รายวัน เมื่อมองในภาพรวมของผู้ใช้บริการ สิ่งพิมพ์ที่ให้ประโยชน์สูงสุด อยู่ใน
ระดับปานกลาง
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation)
ประเมินกระบวนการการให้บริการสารสนเทศในห้องสมุดโดยศึกษาจากการให้บริการ
ที่เอื้อต่อการศึกษาในหลักสูตรต่างๆ โดยพิจารณาจากรายการต่อไปนี้
1. การให้บริการแก่ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่ เพื่อการยืมหนังสือและสิ่งพิมพ์ในการค้นคว้า
เพิ่มเติม แก่ผู้ใช้บริการมากที่สุด รองลงมาคือการให้บริการเพื่อการอ่านหนังสือพิมพ์ เพื่อเตรียมทำ
รายงาน และเพื่อค้นคว้าวิจัยตามลำดับ
2. ความถี่ในการใช้บริการสารสนเทศห้องสมุด มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ของ
ผู้ใช้บริการ พบว่า ผู้ใช้บริการมีความถี่ในการใช้ต่างๆ กัน ตั้งแต่เดือนละครั้ง จนถึงใช้ทุกวัน แต่ส่วน
ใหญ่ใช้บริการสารสนเทศในห้องสมุด มากกว่า 2 – 3 ครั้งต่อสัปดาห์
3. ระยะเวลาในการใช้บริการสารสนเทศในห้องสมุดมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
ถึงแม้ห้องสมุดจะเปิดให้บริการตลอดทั้งวัน คือตั้งแต่ เวลา 8.00 น. - 16.00 น. ก็ตาม แต่ผู้ใช้บริการก็
จะเลือกใช้เป็นบางเวลาเท่านั้น พบว่าผู้ใช้บริการสารสนเทศในห้องสมุด ส่วนใหญ่จะใช้บริการเมื่อ
ต้องการค้นคว้าเพิ่มเติมในวิชาที่สอน หรือวิชาที่เรียน และใช้ในเวลาพักจาการสอนหรือการเรียน
117
4. การบริการเพื่อการเลือกใช้สารสนเทศในห้องสมุด ผู้ใช้บริการเลือกใช้วิธีการในการ
เลือกใช้สารสนเทศในห้องสมุดจากแหล่งต่างๆ กัน พบว่า ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่ใช้บริการสืบค้น
สารสนเทศโดยดูจากชั้นวางหนังสือด้วยตนเอง รองลงมาใช้บริการการถามบรรณารักษ์หรือเจ้าหน้าที่
ห้องสมุด
5. ลักษณะของบริการสารสนเทศที่ผู้ใช้บริการได้รับจากห้องสมุด พบว่า บริการที่
ผู้ใช้บริการได้รับจากห้องสมุดมีครบทุกประเภท ประเภทที่ใช้บริการมากที่สุดคือ บริการถ่ายเอกสาร
รองลงมาคือ บริการยืม – คืน สารสนเทศ วัสดุสารสนเทศ บริการที่ใช้น้อยที่สุดคือ บริการหนังสือ
จอง และผู้ใช้บริการมีความถี่ในการใช้ต่างๆ กัน ตั้งแต่เดือนละครั้ง จนถึงใช้ทุกวัน แต่ส่วนใหญ่จะใช้
บริการสารสนเทศในห้องสมุดมากกว่า 2 – 3 ครั้งต่อสัปดาห์ระยะเวลาในการใช้บริการสารสนเทศใน
ห้องสมุดมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ถึงแม้ห้องสมุดจะเปิดให้บริการตลอดทั้งวัน คือตั้งแต่
เวลา 8.00 น. - 16.00 น. ก็ตาม แต่ผู้ใช้บริการก็จะเลือกใช้เป็นบางเวลาเท่านั้น สอดคล้องกับงานวิจัย
ของ เรณู กาญจนโภคิน (2529 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาพฤติกรรมการใช้หนังสือภายในห้องสมุด และ
การยืมออกนอกห้องสมุดในเวลาเปิดบริการ ณ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง พบว่า
อาจารย์มีพฤติกรรมในการใช้หนังสือภายในห้องสมุดมากที่สุดในช่วงเวลา 10.30 – 11.30 และมี
พฤติกรรมยืมหนังสือออกมากที่สุดในช่วงเวลา 11.30 – 12.30 น. นักศึกษามีพฤติกรรมในการใช้
หนังสือภายในห้องสมุดมากที่สุด ในช่วงเวลา 11.30 – 12.30 น.
ผู้ใช้บริการมีความต้องการใช้ทรัพยากรสารสนเทศทั้ง 110 รายการ โดยภาพรวมอยู่ใน
ระดับปานกลาง เมือพิจารณา ในแต่ละรายการพบว่า ผู้ใช้บริการมีความต้องการใช้บริการในระดับ
มาก เพียง 18 รายการได้แก่ 1)ชุดสารัตถะแห่งพระวินับปิฎก 2)ชุดสารัตถะแห่งสุตันปิฎก 3)ชุด
สารัตถะแห่งพระอภิธรรมปิฎก 4)ชุดการปฏิบัติกรรมฐาน 5)ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาพุทธ
ศาสนากับสังคม 6)ศาสนาเปรียบเทียบ 7)ประวัติความเป็นมาของ พระพุทธศาสนาในประเทศไทย 8)
พจนานุกรมพุทธศาสนาฉบับประมวลศัพท์ 9)พจนานุกรมพุทธศาสนาฉบับประมวลธรรม 10)
สารานุกรมพุทธศาสนา และผลงานวิจัยทางพระพุทธศาสนา 11)จริยศาสตร์ศีลธรรม 12)ปรัชญา
อินเดีย 13)ปรัชญาไทย 14)ปรัชญากรีก 15)ปรัชญาของเพลโตโสเครตีสอริสโตเติล 16)มนุษย์กับการ
ใช้เหตุผล 17)การทดลองสอนวิชาพระพุทธศาสนา 18)ศึกษาศาสตร์ตามแนวพุทธศาสตร์
สารสนเทศประเภทอื่นๆ อีก 92 รายการผู้ใช้บริการมีความต้องการในระดับปานกลาง
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation)
การประเมินด้านผลผลิต เป็นการประเมินผลการให้บริการสารสนเทศในห้องสมุด
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
118
การประเมินด้านผลผลิต เป็นการประเมินการให้บริการสารสนเทศในห้องสมุด
มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัยโดยประเมินจากรายการดังนี้
4.1 ด้านความสำเร็จในการสืบค้นสารสนเทศในห้องสมุด มหาวิทยาลัยมหามกุฏ
ราชวิทยาลัย โดยศึกษาจากระดับของความสำเร็จ ที่ผู้ใช้บริการได้รับจากการสืบค้นจากสารสนเทศใน
ห้องสมุด พบว่า ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่ประสบความสำเร็จในการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศใน
ห้องสมุด เป็นบางครั้งเท่านั้น
4.2 ความพึงพอใจในการใช้บริการสารสนเทศประเภทต่างๆ ในห้องสมุด ของ
ผู้ใช้บริการ พบว่า ผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจต่อการใช้บริการสารสนเทศประเภทต่างๆ ในภาพรวม
อยู่ในระดับปานกลาง
เมื่อมองในภาพรวมสวนใหญ่ พบว่า ผู้ใช้บริการส่วนมากจะมีความพึงพอใจอยู่ในระดับ
ปานกลาง ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ เลนซ์ แอน วอลซ์ (Lenz and Waltz 1982) ได้ศึกษา
ความสำคัญและความพึงพอใจในการบริการ และวัสดุสิ่งพิมพ์ห้องสมุดของอาจารย์พยาบาลที่สอน
ในระดับปริญญาโทในโรงเรียนพยาบาลที่ตั้งอยู่ในรัฐต่างๆ ทางตอนใต้ของประเทศสหรัฐอเมริกา
พบว่า อาจารย์พยาบาลที่ผลิตผลงานทางวิชาการให้ความสำคัญกับห้องสมุดในระดับสูง ส่วนความ
พึงพอใจในบริการและวัสดุสิ่งพิมพ์ของห้องสมุด อาจารย์พยาบาลส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในระดับ
ปานกลาง ส่วนอาจารย์ที่มีความพึงพอใจในระดับสูงจะเป็นผู้ที่สอนในโรงเรียนพยาบาลขนาดใหญ่
ซึ่งมีระบบการบริการและสภาพแวดล้อมที่ดี
ด้าน ปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ปัญหา ในการให้บริการสารสนเทศในห้องสมุด
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยข้อที่ 5) โดยวิเคราะห์จากความ
คิดเห็นของผู้ใช้บริการ ในแบบสอบถามปลายเปิด ซึ่งปัญหา และอุปสรรคส่วนใหญ่ที่พบจาก
การศึกษาครั้งนี้ แยกเป็นประเด็นได้ดังนี้
1. ด้านเนื้อหาของทรัพยากรสารสนเทศ มีเนื้อหาที่ไม่ตอบสนองต่อวัตถุประสงค์และ
หลักสูตรเท่าที่ควร บางรายการมีปริมาณที่มากเกินความจำเป็นและไม่มีผู้ใช้ บางรายการมีปริมาณที่
น้อยไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้บริการ
2. ทรัพยากรสารสนเทศ บางประเภทเหมาะสมในระดับปริญญาตรี แต่ไม่เหมาะสมและ
สอดคล้องในระดับปริญญาโท และปริญญาเอก ตลอดถึงไม่ตอบสนองต่อการศึกษาค้นคว้าต่อการทำ
ผลงานทางวิชาการและงานวิจัยของมหาวิทยาลัย
3. ระบบการจัดเก็บและค้นคืนไม่สอดรับกับความเป็นจริง บางรายการมีในระบบการ
จัดเก็บและการค้นคืนแต่ไม่มีตัวจริงบนชั้นวางหรือในหมวด
119
4. ระบบการให้บริการ ไม่ตอบสนองกับความต้องการของผู้ใช้บริการ ส่วนใหญ่
ผู้ใช้บริการต้องการความสะดวกและรวดเร็วแต่ระบบห้องสมุดไม่ตอบสนองในจุดนี้
5. ด้านปริมาณของทรัพยากรสารสนเทศ ควรเพิ่มในบางรายการโดยใช้สัดส่วนของ
ประกาศทบวงมหาวิทยาลัย ว่าด้วยมาตรฐานห้องสมุดระดับอุดมศึกษา 2544 เป็นเกณฑ์
3 ข้อเสนอแนะ
ด้านคำแนะนำและข้อเสนอแนะของผู้ใช้บริการส่วนมากพบและสรุปเป็นประเด็นได้ดังนี้
1.ด้านบุคลากร ผู้บริหารห้องสมุด ควรมีวิสัยทัศน์ด้านห้องสมุดและทรัพยากรสารสนเทศ
ในห้องสมุดในระสั้นและระยะยาว ต้องตอบสนองและสอดคล้องกับนโยบายของมหาวิทยาลัยและ
นโยบายของรัฐบาลด้านห้องสมุด ซึ่งจะต้องประสานกับกระทรวงทรัพยากรสารสนเทศและการ
สื่อสาร (ICT.) และสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.) เป็นเกณฑ์
2.แผนพัฒนาห้องสมุดและทรัพยากรสารสเทศต้องมีอย่างชัดเจน ทั้งระยะสั้นและระยะ
ยาว โดยต้องยึดแผนพัฒนามหาวิทยาลัย วิสัยทัศน์ และพันธ์กิจของมหาวิทยาลัยเป็นหลักและ
นโยบายของรัฐบาลต่อการส่งเสริมและสนับสนุนกิจการห้องสมุดในประเทศไทยเป็นเกณฑ์
3.ด้านคุณภาพและปริมาณของทรัพยากรสารสนเทศ ต้องตอบสนองนโยบายการบริหาร
ของมหาวิทยาลัย หลักสูตรการเรียนการสอนทั้งสี่คณะของมหาวิทยาลัยทั้งในระดับปริญญาตรี
ปริญญาโท และปริญญาเอก และการค้นคว้าทางวิชาการของคณาจารย์ในแต่ละสาขาวิชา
1 ข้อเสนอแนะเพื่อการนำผลการวิจัยไปใช้
1. ด้านเนื้อหาควรปรับปรุงดังนี้
1.1 เนื้อหาของสารสนเทศส่วนมากมีขอบข่าย และความสอดคล้องกันไม่ดี
เท่าที่ควรเพราะข้อมูลบางอย่างไม่มีในห้องสมุดมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ไม่สามารถดูถึง
ความสอดคล้องได้ชัดเจนเพราะห้องสมุดมีแต่หนังสือเก่าๆ และไม่มีการจัดหมวดหมู่ไม่ชัดเจน ควร
ปรับปรุงให้เหมาะสมกว่านี้
1.2 หนังสือที่อยู่ในห้องสมุดเป็นหนังสือที่เกี่ยวกับหลักสูตรที่เรียนน้อยมาก ควร
จัดหาเพิ่มเติมให้มีจำนวนมากพอ
1.3 หนังสือที่มีเนื้อหาสำคัญต้องใช้ในการศึกษาค้นคว้ายังขาดอีกเป็นจำนวนมาก
ควรจัดหาเพิ่มเติม
1.4 ด้านปริมาณของทรัพยากรสารสนเทศ พบว่า ส่วนมากมีปริมาณน้อยควรเพิ่ม
จำนวนให้มากขึ้น และควรเพิ่มสารสนเทศในรายวิชาแขนงอื่นๆ อีก
120
1.5 เนื้อหาควรมีการปรับปรุงตลอดปีการศึกษาของแต่ละปี และความสอดคล้อง
ต้องมีมากกว่านี้ เพื่อเป็นประโยชน์ในการค้นคว้าศึกษาในชั้นเรียนด้วย และเนื้อหาต้องทันสมัยและ
สอดคล้องกับเหตุการณ์ในสังคมปัจจุบันให้มากที่สุด
1.6 ควรเพิ่มเติมหนังสือที่เกี่ยวกับสารสนเทศทางโลกมากนัก
1.7 ควรปรับปรุงวิธีการให้บริการ คุณภาพ และปริมาณของทรัพยากรสารสนเทศ
ให้ครอบคลุมและอำนวยความสะดวกต่อผู้ใช้ได้ทั่วถึง โดยยึดหลักตามแผนและวิสัยทัศน์พันธ์กิจ
ของมหาวิทยาลัยเป็นสำคัญ
2. ด้านความเหมาะสมของทรัพยากรสารสนเทศ มีข้อเสนอแนะดังนี้
2.1 ทรัพยากรสารสนเทศบางอย่างไม่เพียงพอ ควรให้มีหนังสือที่หลาก หลาย
และจำนวนที่มากพอกับความต้องการ
2.2 สมควรเน้นเนื้อหาด้านปรัชญาและศาสนาให้มากกว่าด้านอื่นๆ
2.3 ทรัพยากรสารสนเทศประเภทตำราเรียนควรจัดหาเพิ่มเติม
3. ด้านรูปแบบของทรัพยากรสารสนเทศ
3.1 ควรจะแบ่งให้ชัดเจนว่านี่คือตำราประกอบการเรียนวิชาอะไร
3.2 ทรัพยากรสารสนเทศ ควรเป็นรูปแบบตามมาตรฐานของกระทรวงการ
ศึกษาธิการที่ทำขึ้นเป็นแบบอย่าง
3.3 ทรัพยากรสารสนเทศส่วนใหญ่ สมควรเป็นประเภทตำรา และสมควรที่จะมี
เครือข่ายในระบบข้อมูลที่เป็นComputer / Internet ที่สามารถใช้ระบบ Lance ซึ่งสามารถดึงข้อมูลมา
ศึกษาประกอบการการเรียนได้
4.ความทันสมัยของเนื้อหาและปริมาณของทรัพยากรสารสนเทศมีข้อเสนอแนะดังนี้
4.1 ส่วนใหญ่เป็นหนังสือเก่า และบางประเภทไม่มี ปริมาณและความเพียงพอ
ของทรัพยากรสารสนเทศ ควรมีสื่อประเภท DVD, VCD และ CD-Rom
4.2 ทรัพยากรสารสนเทศประเภทหนังสือยังมีน้อย และหนังสือค้นคว้าใหม่ๆ มี
น้อย ต้องการให้ห้องสมุด มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีข้อมูลที่เยอะๆ ไม่ควรนำข้อมูลที่เก่า
แล้วไปทำลาย และควรเพิ่มสารความรู้ทาง Computer, Internet ให้มากกว่าปัจจุบัน
4.3 ควรเพิ่มทรัพยากรวารสนเทศที่ให้ความความรู้ทางด้านวิชาการที่หลากหลาย
ในโลกปัจจุบันให้มากกว่านี้
121
5. ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป
5.1 ควรวิจัยด้านการให้บริการสารสนเทศในห้องสมุดของสถาบันการศึกษา
อื่นๆ ที่เป็นของสงฆ์เพื่อทำการเปรียบเทียบ จะทำให้งานวิจัยมีความสมบูรณ์มากขึ้น
5.2 ควรทำวิจัยในลักษณะเดียวกันนี้กับวิทยาเขตต่างๆ ของมหาวิทยาลัยมหา
มกุฎราชวิทยาลัย
5.3 ควรทำการวิจัยถึงรูปแบบของทรัพยากรสารสนเทศที่เหมาะสมและควรค่า
แก่การมีไว้ภายในห้องสมุดแห่งมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
บรรณานุกรม
กฤดา นุตพันธ์. การดำเนินงานระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ, ในเอกสารประกอบการสอน
ชุดวิชาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ 9 – 15. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัย
ธรรมาธิราช, 2528.
ขนิษฐา วิทยาอนุมาศ. และณัฐฎา สรรศรี. แบบจำลองเคาน์ทีแนนซ์ของสเต็กรวมบทความ
ทางการประเมินโครงการ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540.
คณะกรรมการอำนวยการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติกรม 50 ปีพระมหากรุณาธิคุณต่อ ภาษา
วรรณกรรมและห้องสมุดหน้า270. อ้างถึงพระราชพงศาวดาร กรุงสยาม,จาก
ต้นฉบับของปริติชมิวเซี่ยม, กรุงลอนดอน, มนตรี อมาตยกุล หัวหน้ากองวรรณคดี
และประวัติศาสตร์, กรมศิลปากรตรวจสอบและทำเชิงอรรถ กรุงเทพฯ: อมรินทร์ พริ้นติ้ง,
2539.
จำเนียร สุขหลาย และคณะ. รวมบทความทางการประเมินโครงการ. พิมพ์ครั้งที่ 6.
กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544.
จุมพจน์ วานิชกุล. สารสนเทศเพื่อการพัฒนา, [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http:www.mcu.ac.th/mcu.
ดนัยศักดิ์ โกวิทวิบูล. ความต้องการและลักษณะการใช้สารสนเทศของนักศึกษาใน
สำนักหอสมุดกลาง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาบรรณารักษศาสตร์
และสารนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2543.
ดิเรก ศรีสุโข. โครงการและการประเมินโครงการ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย, 2544.
ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ. กรุงเทพฯ : แซทโฟร์พริ้นติ้ง, 2546.
ธัญญรัตน์ ธิชัย. ความต้องการและการใช้สารสนเทศของอาจารย์คณะพยาบาลศาสตร์ในสถาบัน
อุดมศึกษาเอกชน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2543.
ธาดาศักดิ์ วิชิรปรีชาพงษ์. หลักบรรณารักษศาสตร์เบื้องต้น. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, (ม.ป.ป).
ธานินทร์ ฐิติวีโร,พระมหา. การศึกษาแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ตอนปลายในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญา
พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2545.
นิศา ชูโต. การประเมินโครงการ Program Evaluation. กรุงเทพฯ : พี. เอ็น. การพิมพ์, 2538.
123
ประภาวดี สืบสนธิ์. การใช้และการแสวงหาสารนิเทศของเกษตรกร อำเภอมะขาม
จังหวัดจันทบุรี. กรุงเทพฯ : คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530.
ประภาพรรณ วงศ์รัตนาวิน. การวิเคราะห์ความสอดคล้องของเนื้อหาหนังสือเสริมประสบการณ์ชีวิต
กับจุดประสงค์ของหลักสูตรกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตระดับชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 5 - 6. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร,
2528.
ปราณี สารมาศ. การใช้แหล่งสารสนเทศทางวิทยาศาสตร์ของครูวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนมัธยมศึกษา.
วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร, 2532.
ปุรชัย เปี่ยมสมบูรณ์. การวิจัยประเมินผลหลักการและกระบวนการ. พิมพ์ครั้งที่ 8.
กรุงเทพฯ: เอส แอนด์ จี กราฟฟิค, 2545.
พรรณชัย เจนนพกาญจน์. สภาพปัญหาและความต้องการของของผู้สอนโรงเรียนผู้ใหญ่
ในเขตการศึกษา 5. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2539.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ : สำนัก
ทดสอดทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2538.
เพ็ญพันธ์ เพชรศร. การประเมินหนังสือในสาขาวิทยาศาสตร์ของห้องสมุดกลาง
มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530.
ภัทร นิดมานนท์. การประเมินผลการเรียน. กรุงเทพฯ : อักษรพิพัฒน์, 2543.
ภิรมยา อินทรกำแหง. การศึกษาเพื่อพัฒนารูปแบบระบบข้อมูลสารสนเทศในในการวางแผนพัฒนา
การศึกษาแบบบูรณาการระดับจังหวัดในเขตการศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2530.
มณีรัตน์ พรกุลวัฒน์. การให้บริการปัญหาและความต้องการของผู้ใช้ห้องสมุดองค์การสหประชาชาติ
ในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2543.
เยาวดี รางชัยกุล วิบูลย์ศรี. การวัดผลและการสร้างแบบสอบผลสัมฤทธิ์. กรุงเทพฯ :
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539.
. การประเมินโครงการแนวคิดและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, 2542.
วรรณา โตพิบูลย์พงศ์. การวิเคราะห์เนื้อหาวารสารธรรมศาสตร์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , 2527.
วัลลภ สวัสดิวัลลภ. คู่มืองานเทคนิคและการฝึกงานห้องสมุด. กรุงเทพฯ : บรรณกิจเทรดดิ้ง, 2536.
วาณี ฐาปนวงศ์ศานติ. สารนิเทศกับการศึกษาค้นคว้า. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2539.
วิภาวรรณ ปลัดคุณ. ความพึงพอใจของคณาจารย์ต่อการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศของ
124
ห้องสมุดสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตภาคพายัพ. วิทยานิพนธ์ปริญญา
มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2545.
วีระ จันทร์คงและคนอื่นๆ. สถานภาพ ศักยภาพ และวัตถุประสงค์ของระบบสารสนเทศ
กรุงเทพฯ : เจ้าพระยาการพิมพ์, 2526.
วีระ เทพกรณ์. สารสนเทศเพื่อการพัฒนาการศึกษาในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์,
2538.
ศักดิ์ชัย สุภาคง. การใช้แหล่งสารสนเทศในการศึกษาค้นคว้าของนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง.
วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร, 2533.
ศิริชัย กาญจนวาสี. ทฤษฎีการประเมิน. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2537.
ศุภมงคล พจน์ธีรมนตรี. วิเคราะห์หนังสือส่งเสริมการอ่านระดับประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญา
มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2542.
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ พระดำรัสเนื่องในวโรกาสเสด็จพระราชดำเนิน
เปิดการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2528. สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย 40
สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย 11 ตุลาคม 2537. กรุงเทพฯ : เพทายการพิมพ์, 2537.
สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล. เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการประเมินโครงการ
สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล, 2542.
สมคิด พรจุ้ย. เทคนิคการประเมินโครงการ. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2542.
สมบัติ สุวรรณพิทักษ์. การประเมินโครงการ : ทฤษฎีและการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา
ลาดพร้าว, 2531.
สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. รวมบทความทางการประเมินโครงการ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ:
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539.
สามัญศึกษา,กรม. เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : กลุ่มวิจัยและ
ประเมินผลคุณภาพการศึกษา กองการมัธยมศึกษา 2538.
สำเริง จันทรสุวรรณ. สถิติสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์. ขอนแก่น : ภาควิชาสังคมวิทยา
และมานุษยวิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2537.
สิริญดา สิทธิบุ่น. การใช้และความต้องการใช้สารนิเทศของสังคมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
โรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2541.
สุกานดา ดีโพธิ์กลางและคนอื่นๆ. ทรัพยากรสนเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้า. กรุงเทพฯ :
มายด์พับลิซซิ่ง, 2540.
125
สุขุม มูลเมือง. เทคนิคการประเมินโครงการ. กรุงเทพฯ : องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก, 2543.
สุจินต์ ธรรมชาติ. การวิจัยภาคปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏ
ราชวิทยาลัย, 2546.
สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. แนวคิดทฤษฎีโครงการและตัวแบบจำลองต่างๆ สำหรับการ
ประเมินผลโครงการ. อัดสำเนา, 2543.
สุทธิลักษณ์ อำพันวงศ์. การใช้บริการห้องสมุด และการเขียนรายงานการค้นคว้า.
พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช, 2542.
สุธี ทิพย์สุข. สภาพปัญหา แลแนวทางพัฒนาการปฏิบัติงานระบบสารสนเทศของสถานี
ตำรวจภูธรในสังกัดสำนักงานตำรวจภาค 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต.
มหาวิทยาลัยบูรพา, 2528.
สุประภา ศรีทอง. การวิเคราะห์ความสอดคล้องด้านเนื้อหาระหว่างหนังสือภาพ
และกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ4
ตามหลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต.
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร, 2527.
หรรษา ศิวรักษ์. เอกสารประกอบการสอนวิชาสถิติและการใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับการวิจัย
ทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 2546.
อาภากร สุวรรณธรรมา. การศึกษาความสอดคล้องของเนื้อหาในสิ่งพิมพ์สาขาพืชสวนที่มีอยู่ในสำนัก
หอสมุดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กับรายวิชาในหลักสูตรระดับปริญญาโทสาขาพืช
สวนมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร, 2530.
Bentley, Stella. “Inventor, Overlap, and Description of Psychology Collections in
Research Libraries: Study of A Conspectus,” Dissertation Abstracts
International. 48 (4): 1045 – A; November, 1987.
Best, John W. Research in Education. 4th ed. Englewood Cliffs: Prentice-Hall, 1981.
Blausten, Barry Eric. Managing management information system (MIS) development
In federal government, Dissertation Abstracts International. 45 (5) :
1517–A; November, 1984.
Fink, Arlene and Jacqueline koscoff. An Evaluation Frimer. Washington: Capital
Publication, 1978.
Gosling, Mary. Lea about information. Zed Canberra: Copyqik, 1999.
126
Karadima, Oscar. Management information system for faculty allocation
Institution of higher education: a Case study for the University
Santiago de Chile,” 45 (8): 2412 a February.
Kerchief, Robert V. And Daryle M. Morgan. Determining sample size for
Research activities, Educational and psychological measurement,
3: 607 – 610; autumn, 1970.
Lancaster s, Frederick Wilfred. If you want to evaluate your library. London: Library
Association Publishing. 1993.
Line Maurice. Librarianship and information work world wide 1992. London: Bocuker-saur,
1993.
Siefferman, Patricia Elaine. The synthesis of a hazardous – materials – inventory
Management information system for the University of Alabama
Dissertation Abstracts International. 49 (10) : 4452 – B April, 1989.
Valenzuela, Frances Diane. “Development of a management information system in
a halfway house setting.” master’s Abstracts International. 30 (3): 886 A ;
Fall, 1992.
ภาคผนวก ก
รายนามผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาเครื่องมือ
127
รายนามผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาเครื่องมือ
1. พระเทพวิสุทธิกวี (เกษม สญฺญโต ป.ธ.9) รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและวางแผน
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
2. พระสุธีวรวรญาณ รองอธิการบดี ฝ่ายวิชาการและวางแผน มหาวิทยาลัยมหาจุฬา
ลงกรณราชวิทยาลัย
3. รองศาสตราจารย์ ดร.ชุติมา สัจจานันท์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
4. รองศาสตราจารย์ ดร.นันทา วิทวุฒิศักดิ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไพโรจน์ ชลารักษ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
ภาคผนวก ข
ประวัติและหลักสูตรมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
ประกาศทบวงมหาวิทยาลัย
เรื่อง มาตรฐานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2544
มาตรฐานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2544 ฉบับนี้เป็นมาตรฐานฉบับที่ 2
ซึ่งได้จัดทำขึ้นเพื่อปรับปรุงแก้ไข มาตรฐานห้องสมุดมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2529 เพื่อให้ทันสมัย
และสอดคล้องกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี โดยมุ่งหวังที่จะให้เป็นแนวทางสำหรับ
สถาบันอุดมศึกษาได้พัฒนาห้องสมุดของสถาบันให้ได้มาตรฐาน ตลอดจนมีประสิทธิภาพและ
คุณภาพยิ่งขึ้น
มาตรฐานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับ
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 เพื่อให้เป็นการตอบสนองต่อการศึกษาเรียนรู้ด้วย
ตนเอง และการศึกษาตลอดชีวิต และเป็นดัชนีบ่งชี้คุณภาพการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาให้
ได้มาตรฐานในการประกันคุณภาพการศึกษา ทบวงมหาวิทยาลัยจึงกํ าหนดมาตรฐานห้อง
สมุดสถาบันอุดมศึกษาไว้ดังนี้
1) ประกาศนี้เรียกว่า "ประกาศทบวงมหาวิทยาลัย เรื่อง "มาตรฐานห้องสมุด
สถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2544"
2) ให้ใช้ประกาศนี้ ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศ เป็นต้นไป
3) ในประกาศนี้
สถาบันอุดมศึกษาหมายถึงสถาบันการศึกษาที่เปิดสอนตั้งแต่ระดับปริญญาตรี
ขึ้นไปทั้งของรัฐและเอกชน ซึ่งอาจเรียกมหาวิทยาลัย หรือชื่ออื่นใด เช่นสถาบัน วิทยาลัย ฯลฯ
ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา หมายถึง หน่วยงานสํ าหรับบริการทรัพยากร
สารสนเทศ ในสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งอาจเรียกว่า สํ านักหอสมุด หรือชื่ออื่นใด
ผู้บริหารห้องสมุด หมายถึง บุคคลที่ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ
หรือผู้มีหน้าที่รับผิดชอบระดับสูง ในห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาหรือห้องสมุดที่ทํ าหน้าที่
เปรียบเสมือนห้องสมุดของสถาบันอุดมศึกษา
ผู้ปฏิบัติงานระดับวิชาชีพ หมายถึง บุคลากรที่ทำงานภายในห้องสมุดซึ่งมีคุณวุฒิ
ระดับปริญญาตรีขึ้นไปในสาขาวิชาต่างๆ เช่น บรรณารักษ์ นักเอกสารสนเทศ
นักวิชาการการเงิน นักวิชาการโสตทัศนศึกษา เป็นต้น
ผู้ใช้บริการ หมายถึง บุคคลที่สามารถใช้บริการของห้องสมุดได้ ได้แก่ นักเรียน
นักศึกษา คณาจารย์ บุคลากรของสถาบันอุดมศึกษา ศิษย์เก่า นักธุรกิจ ประชาชนทั่วไป
ตลอดจนผู้ใช้บริการจากต่างประเทศด้วย
137
นักศึกษา หมายถึง นักศึกษาหรือนิสิตที่กำลังศึกษาอยู่ในสถาบันอุดมศึกษา
ฐานข้อมูลเชิงพาณิชย์หมายถึงฐานข้อมูลที่ห้องสมุดเป็นสมาชิกโดยเสียค่
าสมาชิก
ระบบการศึกษา หมายถึง ระบบการศึกษาตามที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติ
การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 หมวด 3 มาตรา 15 ซึ่งจัดการศึกษาเป็นสามรูปแบบ คือ
การศึกษาในระบบการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
งบดำเนินการ หมายถึง งบประมาณที่สถาบันอุดมศึกษาได้รับในการดํ าเนิน
กิจกรรมของสถาบันอุดมศึกษาในหมวดเงินเดือน ค่าจ้างชั่วคราว หมวดตอบแทนใช้สอยและ
วัสดุ และค่าสาธารณูปโภค และอาจรวมถึงหมวดเงินอุดหนุนด้วยในบางกรณี
สาขาวิชา หมายถึง สาขาวิชาตามการจำแนกสาขาวิชาตามมาตรฐานสากล
(International Standard Classification of Education : ISCED ) ขององค์การศึกษาวิทยาศาสตร์
และวัฒนธรรมสหประชาชาติ หรือยูเนสโก (UNESCO)กำหนดมาตรฐานห้องสมุด
สถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2544 ดังต่อไปนี้
ตอนที่ 1 โครงสร้างและการบริหาร
ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา มีหน้าที่หลักในการส่งเสริมการเรียน การสอน การ
วิจัย ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และบริการทางวิชาการแก่สถาบันอุดมศึกษาทุกระบบการศึกษา
และแก่สังคม ตลอดจน ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง อย่างต่อเนื่องและตลอดชีวิต ดังนั้น
สถานภาพ อำนาจหน้าที่ ความรับผิดชอบของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา และความ
รับผิดชอบของผู้บริหารห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ควรกำหนดไว้อย่างชัดเจน ดังนี้
1.1 ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาควรมีสถานภาพเท่าหน่วยงานทางวิชาการระดับ
คณะ ของสถาบันอุดมศึกษา
1.2 ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาควรกํ าหนดนโยบายในการบริหารไว้เป็น ลาย
ลักษณ์อักษรมีการแบ่งหน่วยงานและ ระบบสายการบังคับบัญชาไว้อย่างชัดเจน
1.3 ผู้บริหารห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาควรขึ้นตรงต่อผู้บริหารสูงสุดของ
สถาบันอุดมศึกษาต้นสังกัด และควรมีส่วนร่วมโดยตรง ในการบริหารงานสถาบันอุดมศึกษา
1.4 ผู้บริหารห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาควรได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการ
บริหารของสถาบันอุดมศึกษาและเป็นกรรมการในชุดต่างๆ ของสถาบันต้นสังกัดตามความ
เหมาะสม เพื่อให้ได้รับทราบความ ก้าวหน้าในการดํ าเนินงานของสถาบันอุดมศึกษา และ
ความ ก้าวหน้าทางวิชาการอันจะทํ าให้ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาสามารถ สนองต่อภาระหน้
าที่ของสถาบันอุดมศึกษาต้นสังกัดและทันต่อความต้องการอย่างมีประสิทธิภาพ
138
1.5 ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาควรมีคณะกรรมการ ดังต่อไปนี้
1.5.1 คณะกรรมการกำหนดนโยบายทำหน้าที่กำหนดนโยบายในการพัฒนา
ติดตาม ดูแลและประเมินผล ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาให้เป็นไปตามนโยบายที่กำหนด
1.5.2 คณะกรรมการบริหารห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาทำหน้าที่กำกับดูแล
การบริหารงานของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาให้สอดคล้องกับนโยบาย และเป็นไปอย่างมี
ประสิทธิภาพ
1.6 สถาบันอุดมศึกษาอาจมีห้องสมุดแห่งเดียว หรืออาจมีห้องสมุดกลางและ ห้
องสมุดสาขา ระบบบริหารงานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาควรเป็นระบบศูนย์รวมการบริหาร
ตอนที่ 2 งบประมาณและการเงิน
ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาควรได้รับงบประมาณอย่างเพียงพอ เพื่อให้สามารถ
ปฏิบัติงานในหน้าที่และความรับผิดชอบ ของหน่วยงานต้นสังกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ งบ
ประมาณให้คำนวณตามส่วน โดยถืออัตราส่วนอย่างน้อยร้อยละ 8 ของงบประมาณทั้งหมด
ของสถาบันอุดมศึกษางบประมาณของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาต้องแยกเป็น อิสระในกรณี
ที่มีห้องสมุดสาขา ผู้บริหารห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษามีหน้าที่จัดเตรียมและบริหาร
งบประมาณเพื่อการดํ าเนินงานสำหรับห้องสมุดสาขาตามความจำเป็นและเหมาะสม รายได้ที่
ได้จากกิจกรรมและบริการของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ให้สงวนไว้สำหรับเป็น ค่าใช้จ่าย
ที่จำเป็นของห้องสมุด นอกเหนือจากงบประมาณที่ได้รับ
ตอนที่ 3 บุคลากรห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา
บุคลากรในห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาควรมีคุณสมบัติ จำนวน และประเภทตาม
ความจำเป็นและอย่างเพียงพอเพื่อ พัฒนาห้องสมุด ดูแลรักษา และให้บริการทรัพยากร
สารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับนโยบายและ วัตถุประสงค์ของ
สถาบันอุดมศึกษา การพิจารณาจำนวนและคุณสมบัติของบุคลากรให้คํ านึงถึงจํ านวนและข
อบเขต ของทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุดสาขา หน่วยบริการ ชั่วโมงบริการอัตราการเพิ่มของ
ทรัพยากรสารสนเทศใหม่ อัตราการยืม - คืน ลักษณะของกระบวนการทางเทคนิค เทคโนโลยี
สารสนเทศที่นำมาใช้ และลักษณะของบริการ ที่ต้องการ รวมถึงลักษณะของการบริการเฉพาะ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะต้องมีบุคลากร ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อพัฒนาระบบงาน
เทคโนโลยีสารสนเทศของห้องสมุด
139
3.1 คุณสมบัติ
3.1.1 ผู้บริหารห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ควรมีวุฒิไม่ตํ่ากว่าปริญญาโท
และควรมีความรู้พื้นฐานทางบรรณารักษศาสตรและสารสนเทศศาสตร์ และจะต้องมีประสบ
การณ์ในการบริหารงานไม่น้อยกว่า 5 ปีหรือให้เป็นไปตาม พ.ร.บ. ของสถาบันนั้นๆ
3.1.2 ผู้ปฏิบัติงานในระดับหัวหน้าฝ่าย ควรมีวุฒิอย่างตํ่ าปริญญาโท และมี
พื้นความรู้ในสาขาที่ปฏิบัติงานไม่ ตํ่ ากว่าปริญญาตรี กับมีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานห้อง
สมุด อย่างน้อย 2 ปี หรือ เป็นผู้ที่มีวุฒิไม่ตํ่ ากว่าปริญญาตรีและมีประสบการณ์ในการ
ปฏิบัติงานห้องสมุดไม่ น้อยกว่า 3 ปี
3.2 จำนวนบุคลากรในงานห้องสมุดสถาบันศึกษา ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา
แต่ละแห่งควรจัดสรรบุคลากรตํ าแหน่งต่างๆ ตามความเหมาะสม ดังนี้
3.2.1 งานบริหารและงานธุรการ ควรประกอบด้วย ผู้อำนวยการห้องสมุด
รองผู้อำนวยการ ผู้ช่วยผู้อำนวยการหัวหน้าฝ่ายเลขานุการบริหารและตำแหน่งอื่นๆ เช่นเจ้าหน้
าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน พนักงานธุรการ เจ้าหน้าที่ธุรการ เจ้าหน้าที่สารบรรณ ช่
างอิเล็กทรอนิกส์ นักวิชาการพัสดุ นักวิชาการการเงิน และบัญชี พนักงาน/เจ้าหน้าที่บันทึกข้
อมูลนักการภารโรงและตำแหน่งอื่นๆ ตามความเหมาะสม
3.2.2 งานพื้นฐานของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาควรประกอบด้วยงานดังต่
อไปนี้
(1) งานพัฒนาทัพยากรสารสนเทศ ควรประกอบด้วยบรรณารักษ์ ทำ
หน้าที่ขอ และแลกเปลี่ยน บรรณารักษ์ทำหน้าที่คัดเลือกและจัดซื้อ บรรณารักษ์ทำหน้าที่
บำรุงรักษาและตรวจสอบ พนักงานห้องสมุด พนักงาน/เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล และพนักงานซ่
อมหนังสือ
(2) งานวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศควรประกอบด้วย บรรณารักษ์
พนักงาน/เจ้าหน้าที่ห้องสมุดพนักงาน/เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล
(3) งานสื่อโสตทัศน์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ควรประกอบด้
วยบรรณารักษ์ นักวิชาการโสตทัศนศึกษา พนักงานโสตทัศนศึกษา พนักงาน/เจ้าหน้าที่
บันทึกข้อมูล และช่างศิลป์
(4) งานวารสารควรประกอบด้วย บรรณารักษ์เจ้าหน้าที่/พนักงาน ห้
องสมุดและพนักงาน/เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล
(5) งานเอกสารและสิ่งพิมพ์รัฐบาล ควรประกอบด้วย บรรณารักษ์
พนักงาน/เจ้าหน้าที่ ห้องสมุด และพนักงาน/เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล
140
(6) งานบริการยืม- คืน งานเจ้าหน้าที่ห้องสมุด บรรณารักษ์บริการยืม
ระหว่างห้องสมุด เจ้าหน้าที่ตรวจสอบทางเข้า - ออก เจ้าหน้าที่จัดเก็บหนังสือ เจ้าหน้าที่
ตรวจสอบชั้นหนังสือ และเจ้าหน้าที่ทำความสะอาดหนังสือและชั้นหนังสือ
(7) งานบริการอ้างอิง ให้คำปรึกษาและช่วยค้นคว้า ควรประกอบด้
วยบรรณารักษ์ หรือนักเอกสารสนเทศเจ้าหน้าที่ห้องสมุด (ถ่ายเอกสาร) และพนักงาน/เจ้าหน้
าที่บันทึกข้อมูล
(8) งานผลิตคู่มือสืบค้นพิเศษ งานผลิตดรรชนีและสาระสังเขปค้
นเรื่องทั่วไปควรประกอบด้วยบรรณารักษ์หรือนักเอกสารสนเทศเจ้าหน้าที่และพนักงาน/เจ้
าหน้าที่บันทึกข้อมูล
(9) งานส่งเสริมและเผยแพร่บริการวิชาการงานบริการวิชาการแก่
สังคม และประชาสัมพันธ์ ควรนักวิชาการ ช่างศิลป์พนักงานห้องสมุด และเจ้าหน้าที่บันทึก
ข้อมูล
(10) งานระบบงานเทคโนโลยีสารสนเทศ ควรประกอบด้วย
นักวิชาการคอมพิวเตอร์ และบรรณารักษ์หรือนักเอกสารสนเทศที่มีความรู้ทางคอมพิวเตอร์
(11) งานจดหมายเหตุสถาบันอุดมศึกษาควรประกอบด้วยบรรณารักษ์
นักเอกสารสนเทศ
(12) หากห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาใดมีงานนอกเหนือจากที่ระบุไว้
ให้พิจารณาผู้ปฏิบัติงานตามความเหมาะสม
3.3 สู ตรสำหรับคำนวณจำนวนผู้ปฏิบัติงานในห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา
สำหรับจำนวนผู้ปฏิบัติงานในห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ให้คำนวณตามสูตรดังนี้
3.3.1 จำนวนผู้ปฏิบัติงานระดับวิชาชีพคำนวณจากจำนวนนักศึกษารวมกับ
จำนวนหนังสือ ดังนี้
(1) ถ้าจำนวนนักศึกษาทั้งหมดไม่เกิน 10,000 คน ให้ใช้สัดส่วน
นักศึกษา 500 คน ต่อ บรรณารักษ์ 1 คน ส่วนจำนวนนักศึกษาที่เกินจาก 10,000 คนแรกขึ้น
ไปให้ใช้สัดส่วนนักศึกษาทุก 2,000 คน ต่อบรรณารักษ์ 1 คน
(2) จํ านวนหนังสือ 150,000 เล่มต่อบรรณารักษ์ 1 คน และจำนวน
หนังสือที่เพิ่มขึ้นใน แต่ละปี ทุกๆ 20,000 เล่ม ต่อบรรณารักษ์ 1 คน
3.3.2 จำนวนผู้ปฏิบัติงานระดับวิชาชีพอื่นๆ พนักงานและเจ้าหน้าที่อื่นๆให้
มีจำ นวนตามความเหมาะสม
141
ตอนที่ 4 ทรัพยากรสารสนเทศ
ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาควรจัดหาและรวบรวมทรัพยากรสารสนเทศที่มีการ
บันทึกในทุกรูปแบบ ได้แก่ วัสดุตีพิมพ์ โสตทัศนวัสดุ สารสนเทศที่บันทึกในรูปเสียง รูปสื่อ
อิเล็กทรอนิกส์ รูปกราฟิก และฐานข้อมูลเชิงพาณิชย์ ให้ครบถ้วน ตามความจำเป็นและอย่างต่
อ เนื่อง เพื่อสนองตอบภาระหน้าที่ของสถาบันอุดมศึกษาต้นสังกัด ดำเนินการจัดเก็บอย่างมี
ระบบเพื่อให้สามารถสืบค้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับความก้าวหน้าทาง
เทคโนโลยี นอกจากนี้ ต้องมีหลักเกณฑ์ การเพิ่มจำนวนทรัพยากรสารสนเทศอย่างมีระบบ
และต่อเนื่องให้สอดคล้องกับนโยบาย เป้าหมายของสถาบันอุดมศึกษา
4.1 ทรัพยากรสารสนเทศพื้นฐานที่จะต้องจัดหาเข้าห้องสมุด สถาบันอุดมศึกษามี
ดังนี้
4.1.1 ทรัพยากรสารสนเทศที่ส่งเสริมหลักสูตรและกิจกรรมทางวิชาการ
ของสถาบันอุดมศึกษา ทุกระบบการศึกษา
4.1.2 ทรัพยากรมาสนเทศที่ผลิตและเผยแพร่โดยสถาบันอุดมศึกษาต้นสังกัด
4.1.3 ทรัพยากรสารสนเทศทางศิลปวัฒนธรรม ทรัพยากรสารสนเทศท้อง
ถิ่น และภูมิปัญญาท้องถิ่น
4.1.4 ทรัพยากรสารสนเทศที่ส่งเสริมความสนใจใคร่รู้ สติปัญญา และ
นันทนาการตลอดจนแนวทางในการประกอบอาชีพและดำรงชีวิตอย่างมีความสุข
4.2 ปัจจัยที่ต้องคำนึงในการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ
4.2.1 ขอบเขตและลักษณะของหลักสูตรในสถาบันอุดมศึกษา
4.2.2 จํ านวนและลักษณะของโครงการบัณฑิตศึกษา
4.2.3 วิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้
4.2.4 จํ านวนนักศึกษาทั้งในระดับปริญญาตรี และบัณฑิตศึกษา
4.2.5 จำนวนวิทยาเขต ศูนย์การเรียนและหน่วยงานเรียกชื่ออย่างอื่น ในแต่
ละสถาบันอุดมศึกษาและลักษณะของสารสนเทศท้องถิ่นของแต่ละท้องถิ่น
4.2.6 ความต้องการของคณาจารย์ในการสอน การวิจัย และการบริการทาง
วิชาการแก่สังคม และบุคลากรอื่นๆ ในสถาบันอุดมศึกษา
4.2.7 ความต้องการของผู้ใช้ที่จะศึกษาให้ลึกซึ้งในเรื่องใด เรื่องหนึ่งซึ่งห้อง
สมุดสถาบันอุดมศึกษาไม่สามารถ ยืมทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการได้จากห้องสมุดอื่น
4.3 สูตรสำหรับคำนวณจำนวนทรัพยากรสารสนเทศ จำนวนทรัพยากร
สารสนเทศ ให้ใช้สูตรสำหรับคิดคำนวณ ดังนี้
142
4.3.1 หนังสือ
(1) จํ านวนหนังสือ/นักศึกษา 15 เล่ม / 1 คน
(2) จํ านวนหนังสือ/อาจารย์ 100 เล่ม / 1 คน
(3) หนังสือเฉพาะสาขาวิชา 500 เล่ม สำหรับระดับปริญญาตรี 30,000
เล่มสำหรับระดับปริญญาโทกรณีที่ไม่มีการเปิดสอนในระดับอื่นที่สูงกว่าระดับปริญญาโท
6,000 เล่ม สํ าหรับระดับปริญญาโท กรณีที่ไม่มีการเปิดสอนในระดับอื่นที่สูงกว่าระดับ
ปริญญาโท 6,000 เล่ม สํ าหรับระดับการศึกษาเฉพาะทาง 6 ปี 25,000 เล่ม สํ าหรับระดับ
ปริญญาเอก ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาควรมีหนังสือ จำนวนไม่น้อยกว่า 100,000 เล่ม และ
จะต้องมีตัวเล่มหนังสืออย่างน้อยร้อยละ 50 ทั้งนี้ จำนวนทรัพยากรสารสนเทศ ในรูปสื่อ
อื่นๆ ให้ นับเท่ากับจำนวนเล่มของหนังสือที่บันทึกลงสื่อที่สามารถค้นหามาใช้ได้ทันที
4.3.2 วารสารห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาควรมีวารสารเฉพาะสาขาวิชาตาม
ความจำเป็นของแต่ละสาขาวิชาที่เปิดสอนเป็นวิชาเอก วิชาโท ของสถาบันอุดมศึกษา ทั้งนี้ให้
คํ านึงถึงการบอกรับวารสาร ด้วยวิธีอื่น เช่น การสั่งซื้อบทความวารสารและสาระสังเขปซึ่ง
สามารถสั่งฉบับพิมพ์ทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้ทันที รวมทั้งการบอกรับวารสารอิเล็กทรอนิกส์
วารสารประเภทให้ความรู้ทั่วไปและเพื่อ ความจรรโลงใจ ให้มีจำนวนตามความเหมาะสม
ตอนที่ 5 อาคาร สถานที่ และครุภัณฑ์
อาคารห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาควรตั้งอยู่ที่สะดวกสำหรับผู้ใช้มีสัดส่วนเป็
นเอกเทศมีเนื้อที่สำหรับเก็บทรัพยากรสารสนเทศอย่างเพียงพอ และเหมาะสมกับลักษณะของ
ทรัพยากรสารสนเทศขนาดของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาและเนื้อที่ในส่วนต่างๆ ควร
คำนึงถึงจำนวนนักศึกษา จำนวนบุคลากร และเนื้อที่ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานของบุคลากร
ตลอดจนจำนวนทรัพยากรสารสนเทศ ซึ่งการคิดคำนวณเนื้อที่ห้องสมุดจะรวมถึงเนื้อที่สำหรับ
เครื่องมือและอุปกรณ์ในการให้บริการที่ต้องใช้เทคโนโลยีประเภทต่างๆ ของห้องสมุดด้วย
5.1 การสร้างอาคารห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาควรคำนึงถึงความต้องการ ใน
การใช้เนื้อที่ในอนาคต และได้รับการออกแบบอย่างเหมาะสมและถูกต้องตามมาตรฐานการก่
อสร้างอาคารอุปกรณ์ อำนวยความสะดวกในตัวอาคารควรให้เหมาะสมกับลักษณะงาน และ
ภาระหน้าที่ ทั้งนี้ผู้บริหารห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาต้องเป็นผู้หนึ่งในคณะกรรมการ
ดำเนินการจัดสร้างและตรวจรับอาคาร
5.2 ครุภัณฑ์ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ควรออกแบบ ให้ได้
มาตรฐาน
143
5.3 พื้น เพดาน และผนังอาคารห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาควรประกอบด้วย วัสดุ
เก็บเสียง
5.4 อาคารห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาควรมีระบบควบคุมอุณหภูมิ ความชื้น
การระบาย
อากาศ แสงสว่าง และระบบป้องกันสาธารณภัย อย่างเหมาะสมและได้มาตรฐาน
เพื่อป้องกันและบำรุงรักษา ทรัพยากรห้องสมุดมิให้เกิดการชำรุดเสียหายก่อนเวลาอันสมควร
5.5 ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาควรจัดอาคารสถานที่สำหรับคนพิการ โดยเพิ่ม
สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ เช่น ทางขึ้น - ลง ห้องนํ้า ลิฟต์ และ ที่นั่งอ่านหนังสือ
5.6 สู ตรสำหรับคำนวณเนื้อที่ของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา
5.6.1 เนื้อที่สำหรับผู้ใช้จำนวนที่สำหรับศึกษาค้นคว้าภายในห้องสมุด
สถาบันอุดมศึกษา ให้มีจำนวนที่นั่งร้อยละ 25 ของผู้ใช้โดยเฉลี่ยต่อวันโดยคิดพื้นที่ประมาณ
2.25 - 3.15 ตารางเมตร/คนทั้งนี้ให้จัดห้องศึกษาเดี่ยวและห้องศึกษากลุ่มสำหรับนักศึกษา และ
อาจารย์ตามความเหมาะสมจำนวนเนื้อที่สำหรับวางอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์
สำหรับผู้ใช้ ควรมีเนื้อที่ไม่ตํ่ากว่าร้อยละ 25 ของจำนวนที่นั่งในห้องสมุด
5.6.2 เนื้อที่สำหรับเก็บหนังสือและวารสารเย็บเล่มสำหรับจำนวน 150,000
เล่มแรก 0.0090 ตารางเมตร/เล่มสำหรับ จำนวน 150,000 เล่มต่อไป 0.0081 ตารางเมตร/เล่ม
สำหรับจำนวน 300,000 เล่มต่อไป 0.0072 ตารางเมตร/เล่ม ถ้าจำนวนหนังสือทั้งหมดมากกว่า
600,000 เล่มขึ้นไป 0.0063 ตารางเมตร/เล่ม ทั้งนี้ควรจะเตรียมเนื่อที่สำหรับทรัพยากร
สารสนเทศที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต ด้วย
5.6.3 เนื้อที่สำหรับบุคลากรผู้ปฏิบัติงานเนื้อที่สำหรับการปฏิบัติงาน ของ
บุคลากรสำหรับการให้บริการจัดวางเอกสารการทำงาน เครื่องมือ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อื่นๆ ให้คิดเนื้อที่ เป็น 1 ใน 8 ส่วน จากเนื้อที่รวมทั้ง หมดของเนื้อที่
สำหรับผู้ใช้และเนื้อที่สำหรับจัดเก็บหนังสือ
ตอนที่ 6 การบริการ
บริการต้องมุ่งส่งเสริมให้ความสะดวกแก่ผู้ใช้ทุกประเภท และส่งเสริมการเรียนรู้
ด้วยตนเอง ต้องหาวิธีการ เครื่องมือ เทคโนโลยีที่ทันสมัย และโทรคมนาคมที่จำเป็น เพื่อช่
วยให้ผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศ อย่างรวดเร็วและครบถ้วนตามความต้อง
การ ทั้งบริการให้เปล่าและบริการที่ต้องเสียค่าธรรมเนียม ดังนี้
6.1. ต้องจัดให้มีการปฐมนิเทศนักศึกษา การสอน หรือร่วมสอนการค้นคว้า
ทรัพยากรสารสนเทศ ตลอดจนช่วยค้นคว้า และให้คํ าปรึกษาทางวิชาการ
144
6.2. จัดให้มีบริการยืม - คืน โดยกำหนดระเบียบเพื่อให้ผู้ใช้รับบริการอย่างเสมอ
ภาคตามสิทธิที่ควร
6.3 ต้องมีบริการสืบค้นผ่านเครือข่ายภายในประเทศ เครือข่ายอินเตอร์เน็ต และ
สอนการสื่ออิเล็กทรอนิกส์
6.4 ต้องมีชั่วโมงบริการอย่างสมํ่ าเสมอและเหมาะสม
6.5 หากมีการเรียนการสอนนอกสถาบันอุดมศึกษาควรจัดให้ มีการบริการเพื่อให้
ผู้ใช้สามารถเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศได้ตามความต้องการ
6.6 ต้องมีการพัฒนาคุณภาพการบริการด้านต่างๆ อย่างต่อเนื่องและสมํ่าเสมอ
6.7 ส่งเสริมให้มีการใช้ทรัพยากรสารสนเทศร่วมกัน เพื่อให้มีการใช้ทรัพยากร
สารสนเทศอย่างกว้างขวางและประหยัด
ตอนที่ 7 ความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ห้องสมุด
สถาบันอุดมศึกษาควรดํ าเนินการให้เกิดความร่วมมือโดยการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยง เพื่อให้มี
การใช้ทรัพยากรและเทคโนโลยีร่วมกัน โดยคํ านึงถึงหลักการประหยัดและประสิทธิ ภาพของ
บริการ ทั้งนี้ ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งควรได้รับ งบประมาณประจำปีเพื่อการนี้ด้วย
ตอนที่ 8 การประเมินคุณภาพห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา
ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาควรมีระบบการประเมินคุณภาพของห้องสมุด
สถาบันอุดมศึกษา เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการ ให้เป็นไปตามมาตรฐานห้องสมุด
สถาบันอุดมศึกษาและสอดคล้องกับนโยบายการประกันคุณภาพการศึกษาแห่งชาติ ทั้งนี้ห้อง
สมุดสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งควรได้รับงบประมาณเพื่อการนี้ด้วยทั้งนี้ในการนํ ามาตรฐานห้
องสมุดสถาบันอุดมศึกษาไปปฏิบัติเพื่อให้ถึงมาตรฐานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ.2544
ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาควรมีการดำเนินการให้ครบตามที่มาตรฐานกำหนดภายใน 5 ปี
นับจากวันประกาศใช้มาตรฐานฉบับนี้ เมื่อพ้น 5 ปีแล้วควรจัดให้มีการดำเนินการ ประเมิน
คุณภาพห้องสมุดเพื่อรอบรับการประกันคุณภาพการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาต่อไป โดย
อาจจะกระ ทำในทุกๆ 5 ปี สำหรับห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาที่ใช้การศึกษาระบบเปิด
หรือระบบการศึกษาทางไกล อาจใช้มาตรฐานนี้โดยอนุโลม และอาจปรับเปลี่ยนบางข้อให้
สอด คล้องกับสภาพการเรียนการสอนของสถาบันอุดมศึกษาได้
ภาคผนวก ง
- แบบสำรวจเพื่อศึกษาความสอดคล้องของทรัพยากรสารสนเทศที่ใช้สนับสนุน
เพื่อการเรียนการสอนตามหลักสูตรที่มีอยู่ในห้องสมุดมหาวิทยาลัยมหามกุฏ
ราชวิทยาลัย (ชุดที่1)
- แบบสอบถามเพื่อการวิจัยเรื่องการประเมินการให้บริการสารสนเทศใน
ห้องสมุดมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (ชุดที่ 2)
- แบบสอบถามเพื่อการวิจัยเรื่องการประเมินการให้บริการสารสนเทศใน
ห้องสมุดมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (ชุดที่ 3)
150
(ชุดที่ 1)
แบบสำรวจเพื่อศึกษาความสอดคล้องของทรัพยากรสารสนเทศ
ที่ใช้สนับสนุนเพื่อการเรียนการสอนตามหลักสูตรที่มีอยู่ในห้องสมุด
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
--------------------------------------
คำชี้แจง
แบบสำรวจนี้ เป็นแบบสำรวจทรัพยากรสารสนเทศที่ใช้เพื่อการสนับสนุนการเรียน
การสอนตามหลักสูตรของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยซึ่งมีอยู่ในห้องสมุดมหาวิยาลัย
มหามกุฏราชวิทยาลัย ในรายวิชาที่ท่านสอน
แบบสำรวจแบ่งออกเป็น 2 ตอน
ตอนที่ 1 เป็นคำถามเกี่ยวกับสถานภาพส่วนตัวของผู้ตอบ
ตอนที่ 2 เกี่ยวกับสารสนเทศในรายวิชาที่ท่านสอน (กรุณาใส่เครื่องหมาย ลงใน
ช่อง)
ตอนที่ 1 สถานภาพส่วนตัวของท่าน
(1.1) เพศ
�� ชาย
�� หญิง
(1.2) สถานภาพของท่าน
�� พระสงฆ์
�� คฤหัสถ์
�� แม่ชี
(1.3) คณะที่ท่านสังกัดและสาขาวิชาที่ท่านสอน
��1. คณะพุทธสาศนาและปรัชญา
�� สาขาพุทธศาสตร์
�� สาขาพุทธศาสนาและปรัชญา
�� สาขาศาสนาเปรียบเทียบ
151
��2. คณะศึกษาศาสตร์
�� สาขาการศึกษา
�� สาขาบริหารการศึกษา
�� สาขาการศึกษานอกระบบ
��3. คณะสังคมศาสตร์
�� สาขาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
�� สาขาประวัติศาสตร์และโบราณคดี
�� สาขาวารสารศาสตร์และชนบทศึกษา
��4. คณะมนุษยศาสตร์
�� สาขาวิชาภาษาตะวันออก
�� สาขาวิชาตะวันตก ภาษาอังกฤษ
ตอนที่ 2 แบบสำรวจทรัพยากรสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน
ในรายวิชา ที่ท่านสอนโปรดพิจารณาเนื้อหาสารสนเทศที่ท่านสอนแล้วแสดงความคิดเห็นว่า
จะต้องใช้สื่อสารสนเทศประเภทใดบ้าง เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนในรายวิชาที่ท่านสอน
กรุณาทำเครื่องหมาย ในช่องที่ตรงกับสารสนเทศในรายวิชาของท่านในตาราง
สนับสนุนคณะ ไม่สนับสนุนคณะ
ที่
ประเภทสารสนเทศที่
สนับสนุนกับรายวิชาในสาชา
วิชาที่ท่านสอน
ศาสนา
และ
ปรัชญา
ศึกษา
ศาสตร์
สังคม
ศาสตร์
มนุษย์
ศาสตร์
ศาสนา
และ
ปรัชญา
ศึกษา
ศาสตร์
สังคม
ศาสตร์
มนุษย์
ศาสตร์
1 ชุดสารัตถะแห่งพระวินัยปิฎก,
ชุดสารัตถะแห่งพระวินัยปิฎก
2 ชุดสารัตถะแห่งพระอภิธรรม
ปิฎก, ชุดสารัตถะแห่งพระ
อภิธรรมปิฎก
3 ชุดการปฏิบัติกรรมฐาน,
ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา
4 ธรรมพากย์ภาษาอังกฤษ,ศาสนา
เปรียบเทียบ
152
สนับสนุนคณะ ไม่สนับสนุนคณะ
ที่
ประเภทสารสนเทศที่
สนับสนุนกับรายวิชาในสาชา
วิชาที่ท่านสอน
ศาสนา
และ
ปรัชญา
ศึกษา
ศาสตร์
สังคม
ศาสตร์
มนุษย์
ศาสตร์
ศาสนา
และ
ปรัชญา
ศึกษา
ศาสตร์
สังคม
ศาสตร์
มนุษย์
ศาสตร์
5 พุทธศาสนากับสังคม, พุทธ
ปรัชญา หลักแห่งศาสนาพุทธ,
พุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์
6 ประวัติความเป็นมาของ
พระพุทธศาสนาในประเทศไทย
7 พจนานุกรม สารานุกรมพุทธ
ศาสนา, ผลงานวิจัยทาง
พระพุทธศาสนา
8 ประวัติผู้บำเพ็ญประโยชน์ของ
พุทธศาสนา, ความเป็นมนุษย์
9 สมณะศักดิ์ของคณะสงฆ์ไทย
ประวัติและความเป็นมา
10 พระพุทธศาสนานิกายมหายาน
ฝ่ายเหนือ การปฏิบัติกรรมฐาน
๑ - ๖
11 พระพุทธศาสนานิกายธิเบธแบบ
ดาไลลามะ พุทธปรัชญาเถรวาท
๑- ๓
12 อรรถกถาพระสุตตันตปิฎก ๑ –
๓, อรรถกถาพระอภิธรรมปิฎก
๑ - ๓
14 พุทธปรัชญามหายาน ๑ - ๓,
เศรษฐศาสตร์ตามแนวพุทธ
ศาสตร์
15 มิลินทปัญหา , วิสุทธิมรรค,
พุทธจริยศาสตร์, พุทธปฏิภาณ,
จริยศาสตร์ศาสนา
16 พุทธตรรกวิทยา ๑ - ๓, ประวัติ
วรรณคดีบาลี ๑ - ๒
17 ภาษาอังกฤษพื้นฐาน ๑ - ๒ ,
ภาษาบาลีพื้นฐาน ๑ -๒ภาษา
สันสกฤตพื้นฐาน ๑ - ๒
153
สนับสนุนคณะ ไม่สนับสนุนคณะ
ที่
ประเภทสารสนเทศที่
สนับสนุนกับรายวิชาในสาชา
วิชาที่ท่านสอน
ศาสนา
และ
ปรัชญา
ศึกษา
ศาสตร์
สังคม
ศาสตร์
มนุษย์
ศาสตร์
ศาสนา
และ
ปรัชญา
ศึกษา
ศาสตร์
สังคม
ศาสตร์
มนุษย์
ศาสตร์
18
ไวยากรณ์อังกฤษ ๑ - ๒, การแปล
อังกฤษเป็นไทย ๑ - ๒
19 ทักษะทางภาษาอังกฤษเพื่อการ
สื่อสาร ๑ - ๒ ปรัชญาเบื้องต้น
20 ทักษะทางภาษาอังกฤษเพื่อ
จุดมุ่งหมายเฉพาะด้าน,
จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน, ศิลป
นิยม,
21 สังคีตนิยม, มนุษย์กับเศรษฐกิจ,
สุนทรียศาสตร์ในงานประพันธ์
ไทย, มนุษย์กับสังคม
22 มนุษย์กับอารยธรรม, การเมือง
การปกครองไทย, สภาวการณ์
โลก, ประวัติศาสตร์ไทย
23 เคมีในชีวิตประจำวัน, ฟิสิกส์ใน
ชีวิตประจำวัน, ยากับ
ชีวิตประจำวัน
24 พืชและสัตว์ท้องถิ่น,
ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา,
พระพุทธศาสนามหายาน
25 การศึกษาพระธรรมพากย์
ภาษาอังกฤษ,หลักการเผยแผ่
และวาทศิลป์
26 ศาสนาเปรียบเทียบ, ศาสนา
พราหมณ์ , ศาสนาเชนและ
ซิกข์, ศาสนาคริสต์
27 ศาสนาอิสลาม, ศาสนากับโลก
ปัจจุบัน, ปรัชญาศาสนา,
ประวัติศาสตร์ศาสนา
28 ปรัชญาอินเดีย ๑ – ๓, ปรัชญา
กรีก, ปรัชญาตะวันตกร่วมสมัย,
ญาณวิทยา
154
สนับสนุนคณะ ไม่สนับสนุนคณะ
ที่
ประเภทสารสนเทศที่
สนับสนุนกับรายวิชาในสาชา
วิชาที่ท่านสอน
ศาสนา
และ
ปรัชญา
ศึกษา
ศาสตร์
สังคม
ศาสตร์
มนุษย์
ศาสตร์
ศาสนา
และ
ปรัชญา
ศึกษา
ศาสตร์
สังคม
ศาสตร์
มนุษย์
ศาสตร์
29 ศาสนาปฐมบรรพ์,
สุนทรียศาสตร์, ปรัชญา
ตะวันตกสมัยใหม่, ศาสนาเต๋า,
ขงจื้อและชินโต
30 ศาสนาโซโรอัสเตอร์และยูดา,
พิธีกรรมทางศาสนา, สตรีกับ
ศาสนา , อภิปรัชญา
31 สัมมนาปัญหาศาสนา, พุทธ
ปรัชญาเถรวาท, พุทธปรัชญา
มหายาน, จริยศาสตร์
32 ปรัชญาอัตถิภาวนิยม, ปรัชญา
การศึกษา, ระเบียบวิธีวิจัย
33 ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา,
พระพุทธศาสนามหายาน,
หลักการเผยแผ่และวาทศิลป์
34 การศึกษาพระธรรมพากย์
ภาษาอังกฤษ, ศาสนาพราหมณ์-
ฮินดู, พระพุทธศาสนา
35 ศาสนา วัฒนธรรมและ
สังคมไทย พิธีกรรมทางศาสนา,
ศาสนากับโลกปัจจุบัน
36 ศาสนากับวัฒนธรรม,
มานุษยวิทยา, จิตวิทยาศาสนา,
สังคมวิทยาศาสนา
37 ศาสนากับความตาย, สมาธิใน
ศาสนา, สัมมนาปัญหาศาสนา,
38 พระพุทธศาสนากับ
วิทยาศาสตร์,ภาษาไทย,
จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน
39 การแปลอังกฤษเป็นไทย ๑ – ๒,
ทักษะทางภาษาอังกฤษเพื่อการ
สื่อสาร ๑- ๒
155
สนับสนุนคณะ ไม่สนับสนุนคณะ
ที่
ประเภทสารสนเทศที่
สนับสนุนกับรายวิชาในสาชา
วิชาที่ท่านสอน
ศาสนา
และ
ปรัชญา
ศึกษา
ศาสตร์
สังคม
ศาสตร์
มนุษย์
ศาสตร์
ศาสนา
และ
ปรัชญา
ศึกษา
ศาสตร์
สังคม
ศาสตร์
มนุษย์
ศาสตร์
40 มนุษย์กับการใช้เหตุผล,
จริยธรรม, และสนุทรีย
ศาสตร์,ปรัชญาเบื้องต้น
41 สุนทรียศาสตร์ในงานประพันธ์
ไทย, สังคมกับกฎหมาย
42 สถิติคณิตศาสตร์,คอมพิวเตอร์
เบื้องต้น ๑ - ๒
43 การใช้โปรแกรม,คณิตศาสตร์
ในชีวิตประจำวันวิทยาศาสตร์
กับโลก
44 เคมีในชีวิตประจำวัน, ยากับ
ชีวิตประจำวัน, ฟิสิกส์ใน
ชีวิตประจำวัน, พืชและสัตว์
ท้องถิ่น
45 มนุษย์กับชีวมณฑล, มนุษย์กับ
สิ่งแวดล้อม,การท่องเที่ยวเชิง
อนุรักษ์
46 เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการ
ค้นคว้า,พลศึกษากับการศึกษา
คุณภาพชีวิต
47 ปรัชญาและหลักการศึกษานอก
ระบบ, การพัฒนาหลักสูตร
การศึกษานอกระบบ
48 วิวัฒนาการจุดมุ่งหมายและ
นโยบายการศึกษานอกระบบ,
จิตวิทยาผู้ใหญ่
49 การศึกษานอกระบบกับการ
พัฒนาสังคม, การสอนผู้ใหญ่
และการแนะแนว
50 การวางแผนและการประเมินผล
โครงการการศึกษานอกระบบ
156
51 ประชากรกลุ่มเป้าหมายทาง
การศึกษานอกระบบ, การ
จัดการศึกษานอกระบบ
สนับสนุนคณะ ไม่สนับสนุนคณะ
ที่
ประเภทสารสนเทศที่
สนับสนุนกับรายวิชาในสาชา
วิชาที่ท่านสอน
ศาสนา
และ
ปรัชญา
ศึกษา
ศาสตร์
สังคม
ศาสตร์
มนุษย์
ศาสตร์
ศาสนา
และ
ปรัชญา
ศึกษา
ศาสตร์
สังคม
ศาสตร์
มนุษย์
ศาสตร์
52 เทคโนโลยีและสื่อการเรียนการ
สอนกับการศึกษานอกระบบ๑- ๒
53 การศึกษานอกระบบกับ
ห้องสมุด, การจัดกิจกรรม
การศึกษานอกระบบ
54 โครงการการจัดการศึกษานอก
ระบบในประเทศไทย จิตวิทยา
การศึกษาและการแนะแนว
55 มนุษยสัมพันธ์ของผู้ปฏิบัติงาน
การศึกษานอกระบบ,
นันทนาการชุมชน
56 การใช้สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา
นอกระบบn, การประชาสัมพันธ์
การศึกษานอกระบบ
57 ปฏิบัติการเทคโนโลยีทางการ
ศึกษา, การนิเทศและการติดตาม
ผลงานการศึกษานอกระบบ
58 การศึกษานอกระบบกับสถาบัน
สงฆ์,สัมมนาการศึกษานอกระบบ
59 หลักการศึกษา, หลักการสอน,
จิตวิทยาสำหรับครู, คุณธรรม
สำหรับครู, พื้นฐานการศึกษา
60 การประเมินผลและการสร้าง
แบบทดสอบ, เทคโนโลยีและ
นวัตกรรมทางการศึกษา
61 ทฤษฎีการทดลองสอนวิชา
พระพุทธศาสนา, ทฤษฎีวิธีสอน
วิชาเฉพาะ, การประถมศึกษา
157
62 การมัธยมศึกษา, การอาชีวศึกษา,
การจัดการศึกษานอกระบบ,
ปรัชญาการศึกษา
สนับสนุนคณะ ไม่สนับสนุนคณะ
ที่
ประเภทสารสนเทศที่
สนับสนุนกับรายวิชาในสาชา
วิชาที่ท่านสอน
ศาสนา
และ
ปรัชญา
ศึกษา
ศาสตร์
สังคม
ศาสตร์
มนุษย์
ศาสตร์
ศาสนา
และ
ปรัชญา
ศึกษา
ศาสตร์
สังคม
ศาสตร์
มนุษย์
ศาสตร์
63 ศึกษาศาสตร์ตามแนวพุทธ
ศาสตร์, โรงเรียนชุมชน,
ระเบียบวิธีสอนทั่วไป
64 จิตวิทยาและการแนะแนวเด็ก
วัยรุ่น,การสร้างสื่อและการ
วิเคราะห์แบบเรียนชั้น
ประถมศึกษา
65 การสร้างสื่อและการวิเคราะห์
แบบเรียนชั้นมัธยมศึกษา
การศึกษาของไทย
66 การวางแผนการศึกษา ,
กฎหมายการศึกษา ,หลักการ
บริหารการศึกษา
67 หลักสูตรและการจัดการ
ประถมศึกษา, หลักสูตร
และการจัดการมัธยมศึกษา
68 การพัฒนาหลักสูตร, การนิเทศ
การศึกษา, ระเบียบการ
วิจัย,สัมมนาปัญหาทาง
การศึกษา
69 คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา,คณิต
ศาตร์ในชีวิตประจำวัน,
วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับโลก
70 เคมีในชีวิตประจำวัน, ยากับ
ชีวิตประจำวัน, ฟิสิกส์ใน
ชีวิตประจำวัน, มนุษย์กับชีว
มณฑล
158
71 มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม,
โภชนาการ, เทคโนโลยี
สารสนเทศเพื่อการค้นคว้า
72 การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์, พล
ศึกษากับการศึกษาคุณภาพชีวิต,
การศึกษาเด็ก
สนับสนุนคณะ ไม่สนับสนุนคณะ
ที่
ประเภทสารสนเทศที่
สนับสนุนกับรายวิชาในสาชา
วิชาที่ท่านสอน
ศาสนา
และ
ปรัชญา
ศึกษา
ศาสตร์
สังคม
ศาสตร์
มนุษย์
ศาสตร์
ศาสนา
และ
ปรัชญา
ศึกษา
ศาสตร์
สังคม
ศาสตร์
มนุษย์
ศาสตร์
73 จิตวิทยาและการแนะแนวเด็ก
ประถม, การ
ประถมศึกษา,สัมมนาปัญหาการ
ประถมศึกษา
74 กิจกรรมการศึกษาเพื่อท้องถิ่น,
การศึกษากับการพัฒนาชุมชน,
ห้องสมุดโรงเรียน
75 หลักการนิเทศการศึกษา,
หลักสูตรและการจัดการ
ประถมศึกษา
76 ทักษะและเทคนิคการสอนใน
ระดับประถมศึกษา
77 การสร้างสื่อและวิเคราะห์
แบบเรียนชั้นประถมศึกษา
78 การสอนวิชากลุ่มทักษะที่เป็น
เครื่องมือการเรียนรู้ ๑ – ๒
(ภาษไทย)
79 การสอนวิชากลุ่มทักษะที่เป็น
เครื่องมือการเรียนรู้ ๑ - ๒
(คณิตศาสตร์)
80 การสอนวิชากลุ่มสร้างเสริม
ประสบการณ์ชีวิต ๑ – ๒
81 การสอนวิชากลุ่มสร้างเสริม
ลักษณะนิสัย, การสอนวิชากลุ่ม
การงานพื้นฐานอาชีพ
159
82 การสอนวิชากลุ่มประสบการณ์
พิเศษ (ภาษาอังกฤษ)
83 การสอนวิชาพระพุทธศาสนาใน
โรงเรียนประถมศึกษา
84 การสอนซ่อมเสริมในโรงเรียน
ประถมศึกษา, กิจกรรมเข้า
จังหวะสำหรับครูประถม
85 การสอนค่านิยม, ภาษาไทย
สำหรับครูประถม
สนับสนุนคณะ ไม่สนับสนุนคณะ
ที่
ประเภทสารสนเทศที่
สนับสนุนกับรายวิชาในสาชา
วิชาที่ท่านสอน
ศาสนา
และ
ปรัชญา
ศึกษา
ศาสตร์
สังคม
ศาสตร์
มนุษย์
ศาสตร์
ศาสนา
และ
ปรัชญา
ศึกษา
ศาสตร์
สังคม
ศาสตร์
มนุษย์
ศาสตร์
86 คณิตศาสตร์สำหรับครูประถม,
พลานามัยในโรงเรียนประถม,
ศิลปะสำหรับครูประถม
87 วิทยาศาสตร์สำหรับครูประถม,
คหกรรมศาสตร์ในโรงเรียน
ประถม, เด็กกับวรรณกรรม
88 เกษตรกรรมในโรงเรียนประถม,
การฝึกผู้นำและกิจกรรมเยาวชน
89 ดนตรีสำหรับครูประถม, การ
ละครสำหรับครูประถม,
โภชนาการสำหรับครูประถม
90 การสอนอ่าน , หัตถกรรม
ท้องถิ่นสำหรับครูประถม, หลัก
การศึกษา, หลักการสอน
91 จิตวิทยาสำหรับครู, คุณธรรม
สำหรับครู, การประเมินผลและ
การสร้างแบบทดสอบ
92 เทคโนโลยีและนวัตกรรมทาง
การศึกษา, การฝึกสอน, พื้นฐาน
การศึกษา
93 การทดลองสอนวิชา
พระพุทธศาสนา, วิธีสอนวิชา
เฉพาะ, การประถมศึกษา
160
94 การมัธยมศึกษา, การ
อาชีวศึกษา, การจัดการศึกษา
นอกระบบ, โรงเรียนชุมชน
95 ศึกษาศาสตร์ตามแนวพุทธ
ศาสตร์, ปรัชญาการศึกษา,
ระเบียบวิธีสอนทั่วไป
96 จิตวิทยาและการแนะแนวเด็ก
วัยรุ่น, การศึกษาของไทย,
กฎหมายการศึกษา
สนับสนุนคณะ ไม่สนับสนุนคณะ
ที่
ประเภทสารสนเทศที่
สนับสนุนกับรายวิชาในสาชา
วิชาที่ท่านสอน
ศาสนา
และ
ปรัชญา
ศึกษา
ศาสตร์
สังคม
ศาสตร์
มนุษย์
ศาสตร์
ศาสนา
และ
ปรัชญา
ศึกษา
ศาสตร์
สังคม
ศาสตร์
มนุษย์
ศาสตร์
97 การสร้างสื่อและการวิเคราะห์
แบบเรียนชั้นประถมศึกษา, การ
วางแผนการศึกษา
98 การสร้างสื่อและการวิเคราะห์
แบบเรียนชั้นมัธยมศึกษา,
หลักการบริหารการศึกษา
99 หลักสูตรและการจัดการ
ประถมศึกษา, หลักสูตรและ
การจัดการมัธยมศึกษา
100 การพัฒนาหลักสูตร, การนิเทศ
การศึกษา, การศึกษาเด็ก,
คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา
101 จิตวิทยาและการแนะแนวเด็ก
ประถม, ทักษะและเทคนิคการ
สอนในระดับประถมศึกษา
102 ห ลั ก สู ต ร แ ล ะ ก า ร จั ด ก า ร
ประถมศึกษา
สื่อสารสนเทศประเภทอื่นๆ ที่จำเป็นต้องใช้เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนของท่านได้แก่
(โปรดระบุ)
1. ...............................................................................................................................................
2. ...............................................................................................................................................
161
3. ...............................................................................................................................................
4. ...............................................................................................................................................
5. ...............................................................................................................................................
6. ...............................................................................................................................................
7. ...............................................................................................................................................
8. ...............................................................................................................................................
9. ...............................................................................................................................................
10. ...............................................................................................................................................
ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้ความอนุเคราะห์ในการตอบแบบสำรวจ
(ชุดที่ 2)
แบบสอบถามเพื่อการวิจัย
เรื่อง
การประเมินการให้บริการสารสนเทศในห้องสมุด
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
--------------------------------------
คำชี้แจง
แบบสอบถามนี้ เป็นแบบสอบถามที่เกี่ยวกับให้บริการสารสนเทศในห้องสมุดมหาวิ
ยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาต่อไปนี้คือ
1) ปริมาณและคุณภาพของสารสนเทศ ในห้องสมุดมหาวิทยาลัยมหามกุฏราช
วิทยาลัย
2) ปัญหาอุปสรรค และข้อคิดเห็นข้อเสนอแนะของท่านที่มีต่อการจัดหาทรัพยากร
สารสนเทศ ด้านปริมาณ ประเภท รูปแบบ และเนื้อหาของสารสนเทศ
ในฐานะที่ท่านมีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของห้องสมุดในการให้บริการ
สารสนเทศ ขอความเมตตานุเคราะห์จากท่านได้โปรดสำรวจทรัพยากรสารสนเทศใน
ห้องสมุดและตอบแบบสอบถามทุกข้อตามความเป็นจริง เพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัย
ผู้วิจัยจะรักษาคำตอบของท่านไว้เป็นความลับ จะวิเคราะห์ข้อมูลจากการตอบแบบสอบถสม
ของท่านนำเสนอเป็นภาพรวม ไม่ได้แจกแจงข้อมูลเป็นรายบุคคล จึงไม่มีผลกระทบต่อ
สถานภาพของท่านแต่อย่างใดแต่จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการพัฒนา การดำเนินการ
162
จัดหาทรัพยากรสารสนเทศ และพัฒนาห้องสมุดของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยใน
อนาคตต่อไป
แบบสอบถามแบ่งเป็น 3 ตอนดังนี้
ตอนที่ 1 เป็นคำถามเกี่ยวกับสถานภาพส่วนตัวของผู้ตอบ
ตอนที่ 2 เกี่ยวกับปริมาณ และความเพียงพอของทรัพยากรสารสนเทศ
ภายในห้องสมุด
ตอนที่ 3 เกี่ยวปัญหาและข้อเสนอแนะของท่านต่อรูปแบบการบริการ
ปริมาณ และคุณภาพของทรัพยากรสารสนเทศ ในห้องสมุดมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
(กรุณาใส่เครื่องหมาย ☑ ในช่อง )
ตอนที่ 1 สถานภาพส่วนตัวของท่าน
1.1) เพศ �� 1. ชาย �� 2. หญิง
1.2) สถานภาพของท่าน �� 1.พระสงฆ์ �� 2.คฤหัสถ์ �� 3.แม่ชี
1.3) อายุ ………. ปี
1.4) ระดับการศึกษาปริยัติธรรม �� 1. น.ธ.ตรี �� 2. น.ธ. โท �� 2. น.ธ.เอก
1.5) กรณีที่ท่านเป็นเปรียญ
�� 1 ท่านเป็นเปรียญ ตรี ป.ธ. ๓
�� 2 เปรียญโท ป.ธ.4 – 6
�� 3 เปรียญเอก ป.ธ. 7 – 9
1.6) ระดับการศึกษาสามัญและสาขาที่ท่านจบการศึกษา
��1 ปริญญาตรี สาขา ………………………………………………..
��2 ปริญญาโท สาขา ………………………………………………..
��3 ปริญญาเอก สาขา ………………………………………………..
1.7) ประสปการรรรณ์ในการทำงานในห้องสมุดของท่าน
�� 1.น้อยกว่า 1 ปี
�� 2. 1 – 5 ปี
�� 3.มากกว่า 5 ปี
ตอนที่ 2 ปริมาณของทรัพยากรสารสนเทศที่มีอยู่จริงในห้องสมุด
กรุณาใส่ตัวเลขในตารางตามความเป็นจริงลงในช่องตารางตามด้านล่างนี้
ที่ ปริมาณของทรัพยากรสารสนเทศที่มีอยู่จริงในห้องสมุด จำนวน
163
1 ชุดสารัตถะแห่งพระวินัยปิฎก
2 ชุดสารัตถะแห่งพระสุตันตปิฎก
3 ชุดสารัตถะแห่งพระอภิธรรมปิฎก
4 ชุดการปฏิบัติกรรมฐาน
5 ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา
6 การศึกษาธรรมพากย์ภาษาอังกฤษ
7 ศาสนาเปรียบเทียบ
8 พุทธศาสนากับสังคม
9 พุทธปรัชญา หลักแห่งศาสนาพุทธ
10 พุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์
11 ประวัติความเป็นมาของพระพุทธศาสนาในประเทศไทย
ที่ ปริมาณของทรัพยากรสารสนเทศที่มีอยู่จริงในห้องสมุด จำนวน
12 พจนานุกรมพุทธศาสนา ฉบับประมวลศัพท์
13 พจนานุกรมพุทธศาสนา ฉบับประมวลธรรม
14 สารานุกรมพุทธศาสนา และผลงานวิจัยทางพระพุทธศาสนา
15 ประวัติผู้บำเพ็ญประโยชน์ของพุทธศาสนา
16 สมณศักดิ์ของคณะสงฆ์ไทย ประวัติและความเป็นมา
17 พระพุทธศาสนานิกายมหายานฝ่ายเหนือ
18 พระพุทธศาสนามหายานนิกายธิเบตแบบดาไลลามะ
19 พุทธศาสนามหายานแบบจีนพุทธศาสนามหายานแบบญี่ปุ่น
20 พุทธศาสนามหายานแบบเกาหลี
21 ทฤษฎีแห่งความรู้ ความเป็นมนุษย์
22 อภิปรัชญา
23 ภววิทยา
24 จักรวาลวิทยา
25 อัตตา ตัวตน
26 จิตนิยม
27 ปรัชญาของธรรมชาติ และความคิดทางปรัชญาเฉพาะกลุ่ม
28 ความเป็นเหตุและความเป็นผล
29 อัตถิภาวนิยมตามทรรศนะของนักปรัชญาต่างๆ
30 สิทธันตนิยมจิตวิทยาทั่วไป และจิตวิทยาประยุกต์
31 ปรัชญาเชิงวิพากษ์
32 ธรรมชาตินิยม และเสรีนิยม สรรพเทวนิยม
164
33 จิตวิทยาตามทฤษฎีของนักวิชาการต่างๆ
34 กระบวนการของจิตสำนึก
35 สภาวะและกระบวนการของจิตสำนึก
36 จิตวิทยานามธรรม
37 จิตวิทยาและความแตกต่างทางจิตวิทยาพัฒนาการ
38 จริยศาสตร์ทางการเมือง
39 จิตวิทยาเปรียบเทียบ
40 ปรัชญาทางการเมือง
41 จริยศาสตร์ทางศีลธรรม
42 ระบบและหลักเกณฑ์ของจริยศาสตร์
43 ตรรกศาสตร์และตรรกวิทยา
ที่ ปริมาณของทรัพยากรสารสนเทศที่มีอยู่จริงในห้องสมุด จำนวน
44 จริยศาสตร์ของความสัมพันธ์ในครอบครัว
45 จริยศาสตร์ของอริสโตเติล
46 จริยศาสตร์ในการประกอบอาชีพ
47 จริยศาสตร์ทางเพศ
48 จริยศาสตร์ในการเข้าสังคม
49 บรรทัดฐานของจริยศาสตร์
50 ปรัชญาตะวันตกสมัยโบราณ
51 ปรัชญาตะวันตกสมัยกลาง
52 ปรัชญาตะวันตกสมัยใหม่
53 ปรัชญาตะวันออก
54 ปรัชญาอินเดีย
55 ปรัชญาจีน
56 ปรัชญาไทย
57 ปรัชญาญี่ปุ่น
58 รวมชุดปรัชญาตะวันออกร่วมสมัย
59 ปรัชญากรีก
60 ปรัชญากรีกรวมยุกต์
61 ปรัชญาของเพลโต โสเครตีส อริสโตเติล
62 รวมชุดปรัชญาตะวันตก
63 ปรัชญาสหรัฐอเมริกา
64 ปรัชญาแคนาดา
165
65 ปรัชญาฝรั่งเศส
66 มนุษย์กับการใช้เหตุผล
67 สุนทรียศาสตร์ในงานประพันธ์ของไทย
68 พรรคการเมือง
69 กลุ่มผลประโยชน์และการเลือกตั้ง
70 สังคมกับกฎหมาย
71 การเมืองการปกครองของไทย
72 ชุดวิชาภาษาไทย
73 ชุดวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน
74 มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม
75 เทคโนโลยีเพื่อการค้นคว้า
ที่ ปริมาณของทรัพยากรสารสนเทศที่มีอยู่จริงในห้องสมุด จำนวน
76 ชุดวิชาไวยากรณ์อังกฤษ 1 - 2
77 ชุดวิชาแปลอังกฤษเป็นไทย 1 – 2
78 ชุดโครงสร้างภาษาอังกฤษ 1 – 2
79 วิธีการสอนภาษาอังกฤษ 1 – 2
80 ชุดวิชาบาลีพื้นฐาน 1 – 2
81 ชุดวิชา บาลี – สันสกฤต ที่ปรากฏอยู่ในภาษาไทย
82 ชุดวิชาภาษาตะวันออก
83 ศิลาจารึกสมัยสุโขทัย ศิลปนิยม สังคีตนิยม มนุษย์กับสังคม
84 คอมพิวเตอร์เบื้องต้น ๑ – ๒ และการใช้โปรแกรม
85 วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับโลกและการกำเนิดของชีวิต
86 คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน และเคมีในชีวิตประจำวัน
87 มนุษย์กับชีวมณฑล พืชและสัตว์ท้องถิ่น ฟิสิกข์ในชีวิตประจำวัน
88 คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน
89 มนุษย์กับเศรษฐกิจ และสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
90 การศึกษากับภาษาสัญลักษณ์
91 พืชและสัตว์ท้องถิ่น และโภชนาการ
92 วัฒนธรรมและสถาบันในสังคมยากับชีวิตประจำวัน
93 กระบวนการสังคม และมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม
94 การทดลองสอนวิชาพระพุทธศาสนา
95 เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการค้นคว้า
96 หลักการศึกษากับความเป็นครู
166
97 การสอนเด็กปฐมวัย
98 การศึกษาของไทย การวางแผนการศึกษา หลักการสอน
99 กฎหมายทางการศึกษา หลักการบริหารการศึกษา
100 จิตวิทยาสำหรับครู การพัฒนาหลักสูตร พื้นฐานการศึกษา
101 การนิเทศการศึกษา การประเมินผลและการสร้างแบบทดสอบ
102 ระเบียบวิธีวิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา
103 คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา
104 การสัมมนาปัญหาทางการศึกษา วิธีการสอนวิชาเฉพาะ
105 ชุดวิชาว่าด้วยรายวิชาการประถมศึกษา
106 ชุดวิชาว่าด้วยรายวิชาการมัธยมศึกษา
107 ชุดวิชาว่าด้วยรายวิชาการอาชีวศึกษา
ที่ ปริมาณของทรัพยากรสารสนเทศที่มีอยู่จริงในห้องสมุด จำนวน
108 การจัดการศึกษานอกระบบ
109 ศึกษาศาสตร์ตามแนวพุทธศาสตร์
110 ปรัชญาการศึกษา จิตวิทยาการแนะแนว
111 ชุดวิชาว่าด้วยรายวิชาเกี่ยวกับโรงเรียนชุมชน
112 ชุดวิชาว่าด้วยระเบียบวิธีสอนทั่วไป
113 จิตวิทยาเด็กวัยรุ่น ชุดวิชาว่าด้วยรายวิชาเกี่ยวกับโรงเรียนชุมชน
114 การสร้างสื่อและการวิเคราะห์แบบเรียนระดับชั้นประถมศึกษา
115 การสร้างสื่อและการวิเคราะห์แบบเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา
116 การสร้างสื่อและการวิเคราะห์แบบเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา
ตอนที่ 3
เป็นคำถามเกี่ยวกับข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อการปรับปรุงและ
พัฒนาห้องสมุดมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ตลอดถึงการให้บริการสารสนเทศใน
ห้องสมุดมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยต่อผู้ใช้บริการ และแนวทางในการบิหารจัดการ
1. ด้านเนื้อหาและความสอดคล้อง …………………….……………………………..
…………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
167
2. ด้านทรัพยากรสารสนเทศเหมาะสม………………………………..……………
…………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
3. ด้านรูปแบบของทรัพยากรสารสนเทศ…………………………………………….
…………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
4. ด้านปริมาณและความทันสมัยของทรัพยากรสารสนเทศ…………………….
…………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
5. ด้านระบบการจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศ …………………………………..
…………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
ขอขอบคุณทุกท่านที่อนุเคราะห์และให้ความร่วมมือต่อการตอบแบบสอบถาม
168
(ชุดที่ 3)
แบบสอบถามเพื่อการวิจัย
เรื่อง
การประเมินการให้บริการสารสนเทศในห้องสมุด
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
----------------------------------------
คำชี้แจง
แบบสอบถามนี้ เป็นแบบสอบถามเพื่อศึกษาการให้บริการสารสนเทศในห้องสมุด
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา
1) ความต้องการและความพึงพอใจของท่านต่อการให้บริการรูปแบบและเนื้อหาของ
สารสนเทศในห้องสมุดมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
2) ปัญหาอุปสรรค และข้อคิดเห็นข้อเสนอแนะของท่านที่มีต่อการจัดหาทรัพยากร
สารสนเทศ ด้านปริมาณ ประเภท รูปแบบ และเนื้อหาของสารสนเทศ
ในฐานะที่ท่านมีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของห้องสมุดในการให้บริการ
สารสนเทศ ตอบของท่านจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาครั้งนี้เป็นอย่างยิ่ง ขอความเมตตานุ
เคราะห์จากท่านได้โปรดตอบแบบสอบถามทุกข้อตามความเป็นจริง ผู้วิจัยจะรักษาคำตอบของ
ท่านไว้เป็นความลับ จะวิเคราะห์ข้อมูลจากการตอบของท่านนำเสนอเป็นภาพรวม ไม่ได้แจก
แจงข้อมูลเป็นรายบุคคล จึงไม่มีผลกระทบต่อสถานภาพของท่านแต่อย่างใด แต่จะเป็น
ประโยชน์อย่างมากต่อการพัฒนาและการดำเนินการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศและพัฒนา
169
ห้องสมุดของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยในอนาคตต่อไป กรุณาทำเครื่องหมาย �� ลง
ในช่อง ☑ ตามความคิดเห็นของท่านต่อไปนี้ ��
(1) แบบสอบถามแบ่งออกเป็น 5 ตอน
ตอนที่ 1 เป็นคำถามเกี่ยวกับสถานภาพส่วนตัวของผู้ตอบแบบสอบถาม
ตอนที่ 2 เป็นคำถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้บริการสารสนเทศในห้องสมุด
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยของท่าน
ตอนที่ 3 เป็นคำถามที่เกี่ยวกับความต้องการและความพึงพอใจในสารสนเทศที่มีอยู่ใน
ห้องสมุดมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ทั้งทางด้านคุณภาพและปริมาณ
ตอนที่ 4 เป็นคำถามที่เกี่ยวกับเนื้อหาสารสนเทศภายในห้อสมุดว่ามีความสอดคล้อง
กับหลักสูตรการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยหรือไม่
ตอนที่ 5 เป็นคำถามเกี่ยวกับปัญหาอุปสรรคข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของท่าน
ตอนที่ 1 สถานภาพส่วนตัวของท่าน
1.1) เพศ …………
1.2) สถานภาพของท่าน ��1. พระสงฆ์ ��2.คฤหัสถ์ ��3. แม่ชี
1.3) อายุ ………. ปี
1.4) ระดับการศึกษาปริยัติธรรม ��1.น.ธ.ตรี ��2.น.ธ.โท ��3.น.ธ.เอก
1.5) ท่านเป็นนักศึกษาในระดับ ��1.ป.ตรี ��2.ป.โท ��3.ป.เอก
1.6) กรณีที่ท่านเป็นเปรียญ (เฉเพาะนักศึกษาที่เป็นบรรพชิตและแม่ชีเท่านั้น)
��1. เป็นเปรียญ ตรี (ป.ธ. ๓) ��2. เปรียญโท (ป.ธ.4 – 6) ��3. เปรียญเอก (ป.ธ. 7 – 9
1.7) ระดับการศึกษาสามัญ (เฉพาะเจ้าหน้าที่เท่านั้น
��1. ต่ำกว่าปริญญาตรี ��2. ปริญญาตรี ��3. ปริญญาโท ��4. ปริญญาเอก
1.8) คณะที่ท่านศึกษา
�� 1.คณะพุทธสาศนาและปรัชญา �� 2. คณะศึกษาศาสตร์
�� 3.คณะสังคมศาสตร์ �� 4. คณะมนุษยศาสตร์
1.9) ระดับตำแหน่งของท่าน (เฉพาะเจ้าหน้าที่และอาจารย์เท่านั้น)
�� 1.ระดับเจ้าหน้าที่ทั่วไป
�� 2.ระดับผู้เชี่ยวชาญพิเศษ
�� 3.ระดับผู้ชำนาญการ
�� 4.ระดับหัวหน้า
�� 5.อื่นๆ โปรดระบุ ………………………………………………
170
ตอนที่ 2 เป็นคำถามเกี่ยวกับจุดประสงค์ในการการใช้บริการสารสนเทศในห้องสมุดมหาวิทยาลัย
มหามกุฏราชวิทยาลัยของท่าน กรุณาทำเครื่องหมาย ในช่องที่กำหนดไว้
2.1) วัตถุประสงค์ในการใช้ห้องสมุดของท่าน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
�� 1. เพื่ออ่านหนังสือพิมพ์
�� 2 . เพื่อยืมหนังสือและสิ่งพิมพ์ในการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม
�� 3. เพื่อค้นคว้าวิจัย
�� 4. เพื่อสืบค้นฐานข้อมูล
�� 5.เพื่อเล่นอินเตอร์เน็ต
�� 6.เพื่อค้นคว้าข้อมูลในการเขียนผลงานทางวิชาการ
�� 7.เพื่อค้นคว้าเพิ่มเติมในรายวิชาที่สอน
�� 8.เพื่อเตรียมทำรายงาน
��9.เพื่อติดตามปัญหาข่าวสารต่างๆ
��10.เพื่อนัดพบและประชุมกลุ่ม
��11.อื่นๆ โปรดระบุ ……………………………………………………………………..
2.2) ท่านใช้บริการห้องสมุดบ่อยเพียงใด
��1.ใช้ทุกวัน
��2.ใช้ 1 ครั้ง/สัปดาห์
��3.ใช้มากว่า 2 - 3 ครั้ง/สัปดาห์
��4.ใช้เดือนละครั้ง
��5.อื่นๆ โปรดระบุ …………………………………………………………………………
2.3) ท่านใช้ห้องสมุดในเวลาใดเป็นส่วนมาก
��1.ตลอดวัน
��2.เมื่อต้องการค้นคว้าเพิ่มเติมในวิชาที่สอน และวิชาที่เรียน
��3.เวลาพักจากการสอน และการเรียน
��4.เมื่อต้องการความรู้เพิ่มเติมเพื่อประกอบการเขียนตำรา
��5.เมื่อต้องการจะค้นคว้าเพื่อทำรายงาน หรือเขียนวิทยานิพนธ์
2.4) ท่านใช้บริการห้องสมุดด้วยวิธีใดต่อไปนี้
��1. ถามบรรณารักษ์ หรือเจ้าหน้าที่ห้องสมุด
��2. ดูจากชั้นวางหนังสือ
��3. ถามเพื่อนๆ และคนอื่นๆ
��4. ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปที่ห้องสมุดจัดไว้ให้ค้นหา
171
2.5) ท่านสามารถค้นหาวัสดุสารสนเทศที่ท่านต้องการได้ภายในห้องสมุดมหาวิทยาลัยมหา
มกุฏราชวิทยาลัยหรือไม่
��1. ได้ทุกครั้งที่ต้องการ
��2. ได้เป็นบางครั้ง
��3. ไม่สามารถหาได้เลย
2.6) ท่านคิดว่าสิ่งพิมพ์ประเภทใดต่อไปนี้ที่ให้ประโยชน์แก่ท่านมากที่สุด (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
กรุณาใส่ตัวเลขลงในช่องตาราง (ในข้อนี้จะมีความมากในระดับดังนี้)
5 หมายถึง มากที่สุด
4 หมายถึง มาก
3 หมายถึง ปานกลาง
2 หมายถึง น้อย
1 หมายถึง น้อยที่สุด
ที่ รายการ 5 4 3 2 1
1 หนังสือพิมพ์รายวัน
2 วารสารเชิงวิชาการภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ
3 นิตยสารรายสัปดาห์/รายปักษ์/รายเดือน/และรายปีภาษาไทยละต่างประเทศ
4 หนังสืออ้างอิงภาษาไทยและต่างประเทศ
5 หนังสือวิชาการภาษาไทยและต่างประเทศ
6 รายงานการประชุม
7 หนังสือประเภทตำราเรียนภาษาไทยและต่างประเทศ
8 พระไตรปิฎกฉบับหลวงภาษาบาลี/ภาษาไทย/ภาษาอังกฤษ
9 พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
10 วารสารทั่วไปภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ
11 กฤตภาค (ข่าว บทความที่ตัดจากหนังสือพิมพ์รายวัน)
12 จุลสาร
13 รายงานการวิจัย/ภาคนิพนธ์/วิทยานิพนธ์
14 สิ่งพิมพ์รัฐบาล
15 คู่มือ หลักสูตรการศึกษา
16 วีดิทัศน์ (Videotape)
17 เทปตลับ
18 แผ่นซีดี
19 พจนานุกรมพุทธศาสนาฉบับประมวลศัพท์และประมวลธรรม
172
2.7) ท่านเคยยืมวัสดุสารสนเทศจากห้องสมุดหรือไม่
��1. เคยยืม 1 ครั้ง/สัปดาห์
��2. ไม่เคยยืม
��3. ยืมมากกว่า 2 – 3 ครั้ง/สัปดาห์
��4. ยืมมากกว่า 4 - 5 ครั้ง/สัปดาห์
��5. ยืม 5 ครั้ง/สัปดาห์
2.8) ท่านเคยใช้บริการใดบ้างในห้องสมุด (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
��1.บริการยืม – คืน สารสนเทศ/วัสดุสารสนเทศ
��2.บริการยืมระหว่างห้องสมุด
��3.บริการสืบค้นสารสนเทศ
��4.บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า
��5.บริการสืบค้นฐานข้อมูล ออนไลน์และซีดีรอม
��6.บริการหนังสือจอง
��7.บริการถ่ายเอกสาร
��8.บริการอินเตอร์เน็ต
ตอนที่ 3 คำถามเกี่ยวกับความต้องการและความพึงพอใจในการใช้บริการสารสนเทศและนื้อหาของ
ทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุดมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย โปรดพิจารณาว่าท่านได้รับความพึง
พอใจการใช้สารสนเทศประเภทต่างๆ ต่อไปนี้ในระดับใดและกรุณาทำเครื่องหมาย ในช่อง
ตาราง ในส่วนนี้จะมีระดับความต้องการและความพึงพอใจที่ได้รับต่อการใช้ ดังนี้
5 หมายถึง ความต้องการ/ความพึงพอใจ มากที่สุด
4 หมายถึง ความต้องการ/ความพึงพอใจ มาก
3 หมายถึง ความต้องการ/ความพึงพอใจ ปานกลาง
2 หมายถึง ความต้องการ/ความพึงพอใจ น้อย
1 หมายถึง ความต้องการ/ความพึงพอใจ น้อยที่สุด
ความต้องการ ความพึงพอใจ ที่ ประเภทสารสนเทศที่ต้องการและพึงพอใจ 5 4 3 2 1 5 4 3 2 1
1 ชุดสารัตถะแห่งพระวินัยปิฎก
2 ชุดสารัตถะแห่งพระสุตันตปิฎก
3 ชุดสารัตถะแห่งพระอภิธรรมปิฎก
4 ชุดการปฏิบัติกรรมฐาน
173
5 ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาพุทธศาสนากับสังคม
6 การศึกษาธรรมพากย์ภาษาอังกฤษ
7 ศาสนาเปรียบเทียบ
8 การศึกษาพระธรรมพากย์ภาษาอังกฤษในพระสูตร
9 พุทธปรัชญา หลักแห่งศาสนาพุทธ พุทธศาสนากับ
วิทยาศาสตร์
10 ประวัติความเป็นมาของพระพุทธศาสนาใน
ประเทศไทย
11 พจนานุกรมพุทธศาสนาฉบับประมวลศัพท์
12 พระพุทธศาสนานิกายมหายานฝ่ายเหนือ
13 พระพุทธศาสนานิกายธิเบตแบบดาไลลามะ
14 พุทธศาสนามหายานแบบจีนพุทธศาสนามหายาน
แบบญี่ปุ่น
ความต้องการ ความพึงพอใจ ที่ ประเภทสารสนเทศที่ต้องการและพึงพอใจ 5 4 3 2 1 5 4 3 2 1
15 พุทธศาสนามหายานแบบเกาหลี
16 ทฤษฎีแห่งความรู้ และความเป็นมนุษย์
17 อภิปรัชญาปรัชญาเชิงวิพากษ์
18 ภววิทยา
19 จักรวาลวิทยา
20 อัตตา ตัวตน จิตนิยม
21 ปรัชญาของธรรมชาติ และความคิดทางปรัชญา
เฉพาะกลุ่ม
22 ความเป็นเหตุและความเป็นผล
23 อัตถิภาวนิยมตามทรรศนะของนักปรัชญาต่างๆ
24 ธรรมชาตินิยม และเสรีนิยม สรรพเทวนิยม
25 สิทธันตนิยมจิตวิทยาทั่วไป และจิตวิทยาประยุกต์
26 จิตวิทยาตามทฤษฎีของนักวิชาการต่างๆ
27 กระบวนการของจิตสำนึก
28 สภาวะและกระบวนการของจิตสำนึก
29 จิตวิทยานามธรรม
30 จิตวิทยาเปรียบเทียบ
174
31 จิตวิทยาและความแตกต่างทางจิตวิทยาพัฒนาการ
32 จริยศาสตร์ทางการเมือง
33 ปรัชญาทางการเมือง
34 จริยศาสตร์ศีลธรรม
35 ระบบและหลักเกณฑ์ของจริยศาสตร์
36 ตรรกศาสตร์และตรรกวิทยา
37 จริยศาสตร์ของความสัมพันธ์ในครอบครัว
38 จริยศาสตร์ของอริสโตเติล
39 จริยศาสตร์ในการประกอบอาชีพ
40 จริยศาสตร์ทางเพศ
41 จริยศาสตร์ในการเข้าสังคม
42 บรรทัดฐานของจริยศาสตร์
43 ปรัชญาตะวันตกสมัยโบราณ
ความต้องการ ความพึงพอใจ ที่ ประเภทสารสนเทศที่ต้องการและพึงพอใจ 5 4 3 2 1 5 4 3 2 1
44 ปรัชญาตะวันตกสมัยกลาง
45 ปรัชญาตะวันตกสมัยใหม่
46 ปรัชญาตะวันออก
47 ปรัชญาอินเดีย
48 ปรัชญาจีน
49 ปรัชญาไทย
50 ปรัชญาญี่ปุ่น
51 รวมชุดปรัชญาตะวันออกร่วมสมัย
52 ปรัชญากรีก
53 ปรัชญากรีกรวมยุกต์
54 ปรัชญาของเพลโต
55 รวมชุดปรัชญาตะวันตก
56 ปรัชญาสหรัฐอเมริกา
57 ปรัชญาแคนาดา
58 ปรัชญาฝรั่งเศส
59 มนุษย์กับการใช้เหตุผล
60 สุนทรียศาสตร์ในงานประพันธ์ของไทย
61 พรรคการเมือง
175
62 กลุ่มผลประโยชน์และการเลือกตั้ง
63 สังคมกับกฎหมาย
64 การเมืองการปกครองไทย
65 ชุดวิชาภาษาไทย
66 ชุดวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน
67 มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม
68 เทคโนโลยีเพื่อการค้นคว้า
69 ชุดวิชาไวยากรณ์อังกฤษ 1 - 2
70 ชุดวิชาแปลอังกฤษเป็นไทย 1 – 2
71 ชุดโครงสร้างภาษาอังกฤษ 1 – 2
72 วิธีการสอนภาษาอังกฤษ 1 – 2
73 ชุดวิชาบาลีพื้นฐาน 1 – 2
74 ชุดวิชา บาลี – สันสกฤต ที่ปรากฏอยู่ในภาษาไทย
ความต้องการ ความพึงพอใจ ที่ ประเภทสารสนเทศที่ต้องการและพึงพอใจ 5 4 3 2 1 5 4 3 2 1
75 ชุดวิชาภาษาตะวันออก
76 ศิลาจารึกสมัยสุโขทัย ศิลปนิยม สังคีตนิยม มนุษย์
กับสังคม
77 คอมพิวเตอร์เบื้องต้น ๑ – ๒ และการใช้โปรแกรม
78 มนุษย์กับชีวมณฑล พืชและสัตว์ท้องถิ่น ฟิสิกข์ใน
ชีวิตประจำวัน
79 วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับโลกและการกำเนิดของชีวิต
80 คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน และเคมีใน
ชีวิตประจำวัน
81 มนุษย์กับเศรษฐกิจ และสังคมวิทยาและ
มานุษยวิทยา
82 การศึกษากับภาษาสัญลักษณ์
83 พืชและสัตว์ท้องถิ่น และโภชนาการ
84 วัฒนธรรมและสถาบันในสังคมยากับชีวิตประจำวัน
85 กระบวนการสังคม และมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม
86 การทดลองสอนวิชาพระพุทธศาสนา
87 เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการค้นคว้า
88 หลักการศึกษากับความเป็นครู
176
89 การสอนเด็กปฐมวัย
90 การศึกษาของไทย การวางแผนการศึกษา หลักการสอน
91 กฎหมายทางการศึกษา หลักการบริหารการศึกษา
92 จิตวิทยาสำหรับครู การพัฒนาหลักสูตร พื้นฐาน
การศึกษา
93 การนิเทศการศึกษา การประเมินผลและการสร้าง
แบบทดสอบ
94 ระเบียบวิธีวิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรมทาง
การศึกษา
95 คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา
96 การสัมมนาปัญหาทางการศึกษา วิธีการสอนวิชา
เฉพาะ
ความต้องการ ความพึงพอใจ ที่ ประเภทสารสนเทศที่ต้องการและพึงพอใจ 5 4 3 2 1 5 4 3 2 1
97 ชุดวิชาว่าด้วยรายวิชาการประถมศึกษาชุดวิชาว่า
ด้วยรายวิชาการมัธยมศึกษา
98 ชุดวิชาว่าด้วยรายวิชาการอาชีวศึกษา
99 การจัดการศึกษานอกระบบ
100 ศึกษาศาสตร์ตามแนวพุทธศาสตร์
101 ปรัชญาการศึกษา จิตวิทยาการแนะแนว
102 ชุดวิชาว่าด้วยรายวิชาเกี่ยวกับโรงเรียนชุมชน
103 ชุดวิชาว่าด้วยระเบียบวิธีสอนทั่วไป
104 จิตวิทยาเด็กวัยรุ่น ชุดวิชาว่าด้วยรายวิชาเกี่ยวกับ
โรงเรียนชุมชน
105 การสร้างสื่อและการวิเคราะห์แบบเรียนระดับชั้น
ประถมศึกษา
106 การสร้างสื่อและการวิเคราะห์แบบเรียนระดับชั้น
มัธยมศึกษา
177
ตอนที่ 4 เป็นคำถามที่เกี่ยวกับเนื้อหาสารสนเทศภายในห้องสมุดว่า มีความสอดคล้องกับหลักสูตร
การเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยหรือไม่ กรุณาทำเครื่องหมาย ☑ ลงในช่องตาราง
ที่ ประเภทสารสนเทศ สอดคล้อง ไม่สอดคล้อง
1 ชุดสารัตถะแห่งพระวินัยปิฎก
2 ชุดสารัตถะแห่งพระสุตันตปิฎก
3 ชุดสารัตถะแห่งพระอภิธรรมปิฎก
4 ชุดการปฏิบัติกรรมฐาน
5 ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา พุทธศาสนากับสังคม
6 การศึกษาธรรมพากย์ภาษาอังกฤษ
7 ศาสนาเปรียบเทียบ
8 การศึกษาธรรมพากย์ภาษาอังกฤษในพระสูตร
9 พุทธปรัชญา หลักแห่งศาสนาพุทธ พุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์
ที่ ประเภทสารสนเทศ สอดคล้อง ไม่สอดคล้อง
10 ประวัติความเป็นมาของพระพุทธศาสนาในประเทศไทย
11 พจนานุกรมพุทธศาสนา ฉบับประมวลศัพท์
12 พจนานุกรมพุทธศาสนา ฉบับประมวลธรรม
13 สารานุกรมพุทธศาสนา และผลงานวิจัยทางพระพุทธศาสนา
14 ประวัติผู้บำเพ็ญประโยชน์ของพุทธศาสนา
15 สมณศักดิ์ของคณะสงฆ์ไทย ประวัติและความเป็นมา
16 พระพุทธศาสนานิกายมหายานฝ่ายเหนือ
17 พระพุทธศาสนามหายานนิกายธิเบตแบบดาไลลามะ
18 พุทธศาสนามหายานแบบจีนพุทธศาสนามหายานแบบญี่ปุ่น
19 พุทธศาสนามหายานแบบเกาหลี
20 ทฤษฎีแห่งความรู้ ความเป็นมนุษย์
21 อภิปรัชญา และปรัชญาเชิงวิพากษ์
22 ภววิทยา
23 จักรวาลวิทยา
24 อัตตา ตัวตน จิตนิยม
25 ปรัชญาของธรรมชาติ และความคิดทางปรัชญาเฉพาะกลุ่ม
26 ความเป็นเหตุและความเป็นผล
27 อัตถิภาวนิยมตามทรรศนะของนักปรัชญาต่างๆ
28 ธรรมชาตินิยม และเสรีนิยม สรรพเทวนิยม
178
29 สิทธันตนิยม จิตวิทยาทั่วไป และจิตวิทยาประยุกต์
30 จิตวิทยาตามทฤษฎีของนักวิชาการต่างๆ
31 กระบวนการของจิตสำนึก
32 สภาวะและกระบวนการของจิตสำนึก
33 จิตวิทยานามธรรม
34 จิตวิทยาเปรียบเทียบ
35 จริยศาสตร์ทางการเมือง
36 จิตวิทยาและความแตกต่างทางจิตวิทยาพัฒนาการ
37 ปรัชญาทางการเมือง
38 จริยศาสตร์ทางศีลธรรม
39 ระบบและหลักเกณฑ์ของจริยศาสตร์
40 ตรรกศาสตร์และตรรกวิทยา
41 จริยศาสตร์ของความสัมพันธ์ในครอบครัว
ที่ ประเภทสารสนเทศ สอดคล้อง ไม่สอดคล้อง
42 จริยศาสตร์ของอริสโตเติล
43 จริยศาสตร์ในการประกอบอาชีพ
44 จริยศาสตร์ทางเพศ
45 จริยศาสตร์ในการเข้าสังคม
46 บรรทัดฐานของจริยศาสตร์
47 ปรัชญาตะวันตกสมัยโบราณ
48 ปรัชญาตะวันตกสมัยกลาง
49 ปรัชญาตะวันตกสมัยใหม่
50 ปรัชญาตะวันออก
51 ปรัชญาอินเดีย
52 ปรัชญาจีน
53 ปรัชญาไทย
54 ปรัชญาญี่ปุ่น
55 รวมชุดปรัชญาตะวันออกร่วมสมัย
56 ปรัชญากรีก
57 ปรัชญากรีกรวมยุกต์
58 ปรัชญาของเพลโต
59 รวมชุดปรัชญาตะวันตก
60 ปรัชญาสหรัฐอเมริกา
179
61 ปรัชญาแคนาดา
62 ปรัชญาฝรั่งเศส
63 มนุษย์กับการใช้เหตุผล
64 สุนทรียศาสตร์ในงานประพันธ์ของไทย
65 พรรคการเมือง
66 กลุ่มผลประโยชน์และการเลือกตั้ง
67 สังคมกับกฎหมาย
68 การเมืองการปกครองของไทย
69 ชุดวิชาภาษาไทย
70 มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม
71 ชุดวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน
72 เทคโนโลยีเพื่อการค้นคว้า
73 ชุดวิชาไวยากรณ์อังกฤษ 1 - 2
ที่ ประเภทสารสนเทศ สอดคล้อง ไม่สอดคล้อง
74 ชุดวิชาแปลอังกฤษเป็นไทย 1 – 2
75 ชุดโครงสร้างภาษาอังกฤษ 1 – 2
76 วิธีการสอนภาษาอังกฤษ 1 – 2
77 ชุดวิชาบาลีพื้นฐาน 1 – 2
78 ชุดวิชา บาลี – สันสกฤต ที่ปรากฏอยู่ในภาษาไทย
79 ชุดวิชาภาษาตะวันออก
80 ศิลาจารึกสมัยสุโขทัย ศิลปนิยม สังคีตนิยม มนุษย์กับสังคม
81 คอมพิวเตอร์เบื้องต้น ๑ – ๒ และการใช้โปรแกรม
82 วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับโลกและการกำเนิดของชีวิต
83 คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน และเคมีในชีวิตประจำวัน
84 มนุษย์กับชีวมณฑล พืชและสัตว์ท้องถิ่น ฟิสิกข์ในชีวิตประจำวัน
85 คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน
86 มนุษย์กับเศรษฐกิจ และสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
87 การศึกษากับภาษาสัญลักษณ์
88 พืชและสัตว์ท้องถิ่น และโภชนาการ
89 วัฒนธรรมและสถาบันในสังคมยากับชีวิตประจำวัน
90 กระบวนการสังคม และมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม
91 การทดลองสอนวิชาพระพุทธศาสนา
180
92 สุนทรียศาสตร์ในงานประพันธ์ของไทย
93 พรรกการเมือง
94 กลุ่มผลประโยชน์และการเลือกตั้ง
95 สังคมกับกฏหมาย
96 ระเบียบวิธีวิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา
97 คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา
98 การสัมมนาปัญหาทางการศึกษา วิธีการสอนวิชาเฉพาะ
99 ชุดวิชาว่าด้วยรายวิชาการประถมศึกษาชุดวิชาว่าด้วยรายวิชาการ
มัธยมศึกษา
100 ชุดวิชาว่าด้วยรายวิชาการอาชีวศึกษา
101 การจัดการศึกษานอกระบบ
102 ศึกษาศาสตร์ตามแนวพุทธศาสตร์
103 ปรัชญาการศึกษา จิตวิทยาการแนะแนว
ที่ ประเภทสารสนเทศ สอดคล้อง ไม่สอดคล้อง
104 ชุดวิชาว่าด้วยรายวิชาเกี่ยวกับโรงเรียนชุมชน
105 ชุดวิชาว่าด้วยระเบียบวิธีสอนทั่วไป
106 จิตวิทยาเด็กวัยรุ่น ชุดวิชาว่าด้วยรายวิชาเกี่ยวกับโรงเรียนชุมชน
107 การสร้างสื่อและการวิเคราะห์แบบเรียนระดับชั้นประถมศึกษา
108 การสร้างสื่อและการวิเคราะห์แบบเรียนระดับชั้นชั้นมัธยมศึกษา
ตอนที่ 5 เป็นคำถามเกี่ยวกับข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของท่านต่อการให้บริการ
สารสนเทศในห้องสมุดมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยในฐานะผู้ใช้บริการ
1. ด้านเนื้อหาและความสอดคล้อง
………………………………………………………………………………………………….
………………………………………………………………………………………………….
………………………………………………………………………………………………….
2. ประเภทของทรัพยากรสารสนเทศเหมาะสมหรือไม่
………………………………………………………………………………………………….
………………………………………………………………………………………………….
………………………………………………………………………………………………….
3. รูปแบบของทรัพยากรสารสนเทศ
181
………………………………………………………………………………………………….
………………………………………………………………………………………………….
………………………………………………………………………………………………….
4. ประทรัพยากรสารสนเทศมีเนื้อหาทันสมัยหรือไม่
………………………………………………………………………………………………….
………………………………………………………………………………………………….
………………………………………………………………………………………………….
5. ปริมาณและความเพียงพอของทรัพยากรสารสนเทศ
………………………………………………………………………………………………….
………………………………………………………………………………………………….
………………………………………………………………………………………………….
ขอขอบคุณทุกท่านที่อนุเคราะห์และให้ความร่วมมือต่อการตอบแบบสอบถาม
ภาคผนวก จ
ประวัติผู้วิจัย
182
ประวัติผู้วิจัย
ชื่อ : พระมหาถาวร ขนฺติธมฺโม (ทับทิม)
เกิด : 17 กันยายน 2505 อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 77000
การศึกษา : นักธรรมเอก (น.ธ.เอก) เปรียญธรรม 5 ประโยค (ป.ธ.5)
ศาสนศาสตร์บัณฑิต (ศน.บ.) ศาสนาและปรัชญา
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
หน้าที่การงาน : ครูสอนปริยัติธรรมแผนกบาลี สำนักเรียนวัดมหรรณพาราม
: ครูสอนวิชาพระพุทธศาสนา ประจำโรงเรียนวัดมหรรณพ์ สังกัดกรุงเพทฯ
: กรรมการสอบธรรมสนามหลวงแผนกธรรม 2530 - ปัจจุบัน
: เจ้าหน้าที่ห้องสมุดบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
ปัจจุบันสังกัด : เลขที่ ๒๖๑/๓ วัดมหรรณพาราม เสาชิงช้า พระนคร กรุงเทพฯ10200
*** *** ***
การประเมินการบริการสารสนเทศในห้องสมุด (ตอนที่ 1)
การประเมินการบริการสารสนเทศในห้องสมุด (ตอนที่ 2)
การประเมินการบริการสารสนเทศในห้องสมุด (ตอนที่ 3)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น