วันเสาร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การศึกษาการทำความดีของเยาวชนเพื่อสังคม (ตอนที่ 3)



การเลี้ยงดูและการอบรมสั่งสอน มีบิดามารดา ญาติผู้ใหญ่ในบ้านเช่น ลุง ป้า คอยเป็นที่
ปรึกษารองจากพ่อแม่ ให้การอบรมเลี้ยงดูด้วยความรักความเอาใจใส่ไม่ให้คลาดสายตา เช่นเวลาลูก
ซ้อมเชียร์รีดเดอร์อยู่จนมืดค่ำก็แอบมาดูว่าทำอะไรอยู่ยังไม่กลับบ้าน สรุปการเลี้ยงดูที่ใช้คือแบบรัก
สนับสนุน บิดามารดาคอยเอาใจใส่รับ-ส่งไปโรงเรียนตั้งแต่เล็กจนเข้าเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จึง
ปล่อยให้ไปเองแต่ยังมีห่วงใยคอยติดตามดูอยู่ พอโตก็ให้อิสระในการคิดและตัดสินใจเอง โดยคอย
94
สนับสนุนส่งเสริมให้กำลังใจ ถ้าทำดีได้รางวัลมาทางบ้านจะให้รางวัลเพิ่มอีก 2. การเลี้ยงดูแบบใช้เหตุ
ผล โดยปล่อยให้คิดและตัดสินใจเองเป็นส่วนใหญ่อยากทำอะไรก็ทำ มารดาจะคอยดูแลให้ปฏิบัติอยู่
ในกรอบของสังคมและจะสอนด้วยเหตุผลให้คิดให้เลือกเอง ตัดสินใจเอง ด้วยการชี้แนะ ยกตัวอย่าง
และปฏิบัติตนให้ดูและชักชวนให้มีส่วนร่วมทำด้วย
การทำความดีเพื่อสังคม ช่วยเหลือโรงเรียนด้วยการเป็นกรรมการคณะสี เป็นรีดเดอร์ เล่น
ดนตรีไทย เป็นผู้นำร้องเพลงชาติ เป็นนักร้องนำในวงดนตรีไทย ช่วยครูจัดบอร์ดแสดงนิทรรศการ การ
ช่วยเหลืองานชุมชน ช่วยนำของบริจาคไปช่วยผู้เดือดร้อนจนถึงมือผู้เดือดร้อนที่ภาคใต้ และเมื่อที่ชุม
ชนเขามีงานทำบุญจะเอาของไปร่วมด้วย ด้านความเมตตากรุณา เมื่อเห็นผู้เดือดร้อนรู้สึกสงสารเห็น
ใจจึงช่วยเหลือตั้งโต๊ะรับบริจาคและนำของไปช่วยดังกล่าว
สภาพแวดล้อมทางโรงเรียน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เปิดโอกาสให้เยาวชนที่มี
ความถนัดความสามารถพิเศษได้เข้าร่วมทำกิจกรรมตามที่ตนสนใจ กฏระเบียบของโรงเรียนมีส่วนส่ง
เสริมให้เยาวชนปฏิบัติตนอยู่ในกรอบระเบียบของสังคม ครูมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเด็กรู้ว่าใครมี
ความถนัด ความสามารถใด สามารถส่งเสริมได้ตรงจุด
ทัศนคติต่อการทำความดีเพื่อสังคม มีความคิดว่าจะช่วยเหลือผู้เดือดร้อนให้เขามีความสุข
โดยดูจากคำพูดที่ว่า”ทำอะไรก็ได้ไม่ให้เขาเดือดร้อน ให้เขามีความสุข และเราก็ไม่เดือดร้อน สิ่งที่ได้ทำ
ไปแล้วก็เพื่ออยากให้โรงเรียนดีมีชื่อเสียงจึงช่วยปฏิบัติตนให้เป็นตัวอย่างที่ดี และมีความพร้อมที่จะทำ
เมื่อมีเหตุการณ์ที่ผู้อื่นเดือดร้อน ต้องการความช่วยเหลือ เพราะทางบ้านมีโครงการรองรับและตัวเอง
ได้ปฏิบัติเป็นประจำอยู่แล้ว
สรุปนายเก้าอยู่ในสภาพแวดล้อมทางครอบครัวที่อบอุ่น มีความใกล้ชิดผูกพันกับญาติผู้ใหญ่
ได้รับการถ่ายทอดทักษะทางดนตรีไทย การร้องเพลงไทยเดิม หล่อหลอมให้เป็นคนสุภาพอ่อนน้อมและ
มีความสามารถพิเศษด้านการร้องเพลง การเลี้ยงดูที่สนับสนุนส่งเสริมให้บุตรทำอะไรได้ตามความ
ถนัดความสามารถส่งผลให้เขาได้แสดงออดตามความถนัดและความสนใจที่มีอยู่เป็นพื้นฐานที่ได้รับ
การถ่ายทอดจากบรรพบุรุษ และการเรียนรู้แบบอย่างการทำความดีเพื่อช่วยเหลือสังคมจากบิดาส่งผล
ให้เยาวชนผู้นี้ทำความดีเพื่อสังคมดังกล่าว
❋❋❋
95
กรณีศึกษาที่ 10 นายสิบ เรียนอยู่ชั้น ม .2/4 อายุ 14 ปี เกรดเฉลี่ย 2.80/3.13 ชอบวิชา
คณิตศาสตร์ วิชาที่ทำคะแนนได้ดีคือภาษาไทย ลักษณะบุคลิกภาพเป็นคนแต่งกายถูกต้องเรียบร้อย
พูดจาสุภาพ ชอบอาสาช่วยเหลือครู ตั้งใจเรียนชอบนั่งหน้าชั้นเป็นประจำ มีจิตใจดีชอบช่วยเหลือครู
ถืออุปกรณ์การสอน เมื่อพบครูจำถามว่าให้ช่วยไหมครับแล้วก็รีบมาช่วยทันที ว่านอนสอนง่าย
สภาพแวดล้อมทางครอบครัว
กรณีศึกษาเป็นบุตรคนที่ 1 มีน้อง 1 คน บิดามารดาแยกทางกัน บิดามีอาชีพรับจ้างคุมงาน
ก่อสร้างไปตามจังหวัดต่างแล้วแต่เจ้านาย จบการศึกษา ป.6 มารดาจบ ป.6 ทำงานโรงงาน เป็นคน
จังหวัดสงขลา ปัจจุบันบิดามีภรรยาใหม่และมารดามีสามีใหม่ แต่จะติดต่อมาหาโดยการโทรศัพท์ เพื่อ
ถามไถ่ทุกข์สุขและอบรมสั่งสอนด้วยความห่วงใย ปัจจุบันอาศัยอยู่กับพระผู้ใหญ่ที่วัดบวรนิเวศ ซึ่งปู่
ได้พามาฝากไว้ตั้งแต่เข้ามาเรียนชั้น ม.1
ชีวิตในวัยเด็กอาศัยอยู่กับบิดามารดาและน้องอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขจนถึงป.2 แม่ก็จาก
ไป ในช่วงที่อยู่กันพร้อมหน้าพ่อแม่ลูก แม่จะรักผมมาก น้องจะสนิทกับพ่อ ส่วนผมจะสนิมกับแม่ แม่
จะพาไปวัดบ่อยมาก ผมจะติดแม่ เมื่อแม่จากไปผมอยากหาแม่ แต่พ่อก็บอกว่าถึงแม้จะไม่มีแม่ พ่อก็
เป็นได้ทั้งแม่และพ่อ ต่อมาพ่อก็จะพาไปฝากไว้กับพี่สาว(เป็นผู้หญิงคนหนึ่งที่พ่อรัก) ให้ทำหน้าที่ดูแล
ลูก 2 คน ให้ไปเรียนโรงเรียนรัฐบาลแห่งหนึ่งตอนอยู่ ป.3 เพราะพ่อต้องไปทำงานตามจังหวัดต่างๆ พอ
พี่สาวที่อยู่ด้วยย้ายกลับไปอยู่บ้านพ่อแม่เธอ พ่อจึงได้พาผมและน้องไปอยู่กับปู่ย่าที่อำเภอจะนะ
จังหวัดสงขลา ปู่ย่าส่งเสียให้เรียนหนังสือจนจบ ป.6 ในช่วงนั้นแม่มาหาครั้งหนึ่ง แม่มากอดหอมและ
บอกว่าคิดถึงลูก มีอยู่วันหนึ่งที่แม่มาหาแล้วก็นัดกับแม่ว่าจะไปหาแม่ที่บ้านตายายก็เลยแอบหนีปู่ย่า
ไปโดยบอกว่าจะไปเรียนพิเศษ พอดีมีคนเห็นว่าผมไปแถวบ้านเก่า(บ้านตายาย) ปู่และพ่อก็ดุว่าทำไม
ต้องโกหก ผมกลัวว่าพ่อจะไม่ให้ไปก็เลยต้องโกหก ในช่วงนั้นการติดต่อกับแม่ก็โดยแม่จะไปหาที่โรง
เรียน ตอนนี้แม่ก็โทรมาหาที่วัด และปิดเทอมนี้แม่บอกจะให้ไปหา แม่อยู่ จ.สงขลา
“ชีวิตในช่วงนี้รู้สึกหว้าเหว่ เหงา ขาดความอบอุ่นก็เข้าหาอาจารย์ไปคุยกับอาจารย์เพราะบาง
ทีคิดถึงแม่ก็ไม่รู้จะทำอย่างไรไปหาอาจารย์คุยกับอาจารย์ ท่านก็ให้ช่วยทำงานไปก็ลืมเหงา ตอนอยู่
โรงเรียนประถมอาจารย์ก็สอนว่ามีคนอื่นๆเป็นแบบเราหรือแย่กว่าเราอีกเยอะ และสอนให้เราปฏิบัติ
ตนให้ดีจะได้ไม่เหมือนพ่อแม่ ให้ขยันเรียนเข้าไว้ อย่าคิดมากกับสิ่งเหล่านี้ ผมได้อยู่กับปู่ย่าจนจบ
ป.6ท่านจึงนำมาฝากเจ้าคุณวัดบวรนิเวศ(ที่อยู่ปัจจุบัน) ท่านเจ้าคุณรับฝากไว้และสอนว่าให้คิดว่าท่าน
เป็นเสมือนพ่อแม่ มีอะไรก็ให้มาบอก มาปรึกษาได้ อยู่ที่นี่เคยนอนร้องไห้คิดถึงแม่ แต่คิดได้ว่า แม่
96
สอนว่าอยู่กับใครก็ให้ช่วยเขาอย่าทำตัวเกเร เคยอยู่กับป้า(อยู่บ้านปู่) ป้าสอนให้ปลูกผัก ล้างจาน รด
น้ำต้นไม้ สอนการขายของ การทำงานต่างๆ พออยู่กับเจ้าคุณ ท่านสอนว่าอย่าเที่ยวดึก จะไปไหนให้
บอก ให้ขออนุญาตก่อน อยู่ที่วัดมีภาระกิจที่ต้องทำ คือ ทำเวรตอนตี 5 จัดที่ฉันให้พระ ล้างจาน ถูกุฏิ
อื่นๆตามแต่พระท่านจะใช้ แล้วมาเข้าแถวเวลา 07.15 ที่โรงเรียนของทุกวัน ในช่วงกลางคืน เวลา 2
ทุ่ม กว่าๆจะทำการบ้านจนถึง 3ทุ่ม จะต้องทำวัตรเย็น เด็กวัดทุกคน(เฉพาะที่กุฏินี้ 10 คน) จะต้องทำ
วัตรเย็นทุกวันพระใหญ่ วันสำคัญทางศาสนาจะต้องเวียนเทียนรอบโบสถ์วัดบวรนิเวศ”
ความรู้สึกต่อครอบครัวรู้สึกว่าขาดความอบอุ่นบ้าง มีความสุขบ้าง แต่คิดถึงอนาคตว่าจะเรียน
ให้จบเอาปริญญาไปฝากพ่อแม่ ปู่ย่า พ่อและแม่จะโทรมาหาและคอยให้กำลังใจและสอนให้ตั้งใจเรียน
และอย่าทำอะไรเสียหายต่อผู้อุปการะเพราะยังมีน้องจะพามาอยู่อีกคน ความรู้สึกต่อพ่อ คิดว่าพ่อเป็น
คนดีเอาใจใส่ลูกดี แม่ เป็นคนดี คอยถามไถ่ห่วงใยอยู่เสมอ ท่านเจ้าคุณ เป็นคนที่คอยห่วงใย คอยดูแล
พาไปหาหมอเวลาไม่สบาย ท่านจะดูแลเหมือนลูกหลาน เวลามีปัญหาจะปรึกษาอาจารย์ในโรงเรียน
เป็นส่วนใหญ่ อยู่โรงเรียนประถมก็ปรึกษาครู อยู่ที่โรงเรียนนี้ก็จะปรึกษาพูดคุยกับอาจารย์ไปทั่วแล้ว
แต่จะติดขัดเรื่องใด
การอบรมเลี้ยงดู ตอนอยู่กับแม่เด็กๆ แม่จะสอนให้คบเพื่อนดีๆ ตั้งใจเรียนหนังสือ สอนให้กิน
ข้าวเองแต่งตัวเอง ไปโรงเรียนตอนอนุบาล มีรถรับ-ส่ง ตอนอยู่ ป.3ที่อยู่กับพี่สาว พี่จะมอบหมาย
ภาระหน้าที่ให้หุงข้าว ล้างจาน กวาดบ้านถูบ้านให้เรียบร้อย อยู่ที่โรงเรียนประถมครูก็อบรมสั่งสอน พอ
ป.4-5 ไปอยู่กับปู่ย่า ท่านก็สอนถ้าทำผิดย่าจะตีและด่า พ่อก็จะตีถ้าไปไหนไม่บอก พ่อไม่ได้อยู่ด้วยแต่
จะคอยดูแลห่วงใยถามไถ่ทุกข์สุขและสอนให้ทำตัวดีๆ สอนให้ทำการบ้านถ้ามีเวลาพ่อจะตรวจสมุด
การบ้าน ถ้าพบว่าไม่เรียบร้อยก็จะว่า เคยดูแล้วพบว่าเขียนหนังสือไม่สวย พ่อเลยให้คัดลายมือ อยู่กับ
ปู่ย่าท่านจะถามทั้งวันว่าทำการบ้านหรือยัง บางทีก็เคยโกหกว่าทำแล้วแต่ก็แอบทำทีหลังก็ทำการบ้าน
เสร็จทุกครั้ง พอกลับมาจากโรงเรียนก็ไปเล่นซักพักแล้วก็มาอาบน้ำกินข้าว ทำการบ้าน พออยู่วัด
ม.1-ม.2 ท่านเจ้าคุณท่านก็สอนให้ทำตัวดีๆถ้าทำผิดท่านจะลงโทษ ท่านเจ้าคุณมีกฎระเบียบมาก ถ้า
ไปไหนมาไหนไม่บอกจะถูกตี เคยถกู ต ี 6 ท ี เพราะไปบ้านต่างจังหวัดกลับมาแล้วนอนหลับโดยไม่ไป
บอกว่ากลับมาแล้ว ท่านจะสอนให้บอกว่าจะไปไหนมาไหน ทำอะไร ให้มีเหตุผล
แบบอย่างที่ตนยึดถือคือ นายชวน หลีกภัย เพราะท่านเคยอยู่วัด ท่านเป็นคนขยัน คิดว่าคน
อยู่วัดแล้วจะได้ดี ท่านเจ้าคุณสอนให้ทำความดี เวลามีปัญหาท่านให้มาปรึกษาได้ ความรู้สึกต่อท่าน
เจ้าคุณท่านเป็นแบบอย่างในด้านความขยัน เป็นคนมีระเบียบเรียบร้อย ท่านทำให้ดูเป็นตัวอย่าง คอย
97
ดูแลเอาใจใส่เหมือนลูกหลานเวลาเจ็บป่วยก็พาไปหาหมอ ส่วนพ่อ พ่อเป็นคนขยัน เป็นคนเอาใจใส่ลูก
ดี แม่เป็นคนดีคอยถามไถ่ห่วงใยอยู่เสมอ
การทำความดีเพื่อสังคมตอนอยู่โรงเรียนประถมศึกษา ครูจะสอนให้ช่วยเหลือคน สอนให้แบ่ง
ปัน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ น้าก็สอน การได้ช่วยเหลือคนทำแล้วรู้สึกสบายใจที่ได้ทำ ได้แบ่งเบาภาระคนอื่น
ส่วนหนึ่งเกิดจากการเรียนรู้ด้วย ตอนเด็กผมชอบดูโทรทัศน์มาก ดูแล้วก็อยากทำอย่างที่เขาทำ เพราะ
เห็นเขาทำแล้วเห็นว่าเป็นการกระทำที่ดีเลยคิดว่า ถ้าเราทำบ้างอาจมีอะไรดีๆ และจากครูโรงเรียน
ประถมที่ต่างจังหวัดย้ำบ่อยมาก ครูสอนสังคมท่านสอนให้ช่วยเหลือเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เคยเห็นป้าขายของ
หรือขอทาน คิดว่าถ้าเขาขอไม่ได้แล้วเขาจะเอาอะไรกิน เกิดความสงสาร แต่ก็ช่วยอะไรไม่ได้ เคยคิด
อยากให้ทุกคนมีงานทำ เช่น เวลาเดินผ่านเห็นป้าแก่ๆขายของตอนเช้าของก็มีเท่านี้ พอตอนบ่ายก็มี
เท่านี้ คิดว่า เอ๊ะยังขายไม่ได้อีกเหรอ แล้วจะเอาอะไรกิน เกิดความสงสารอยากช่วยเหลือ
การเข้าร่วมกิจกรรมของโรงเรียนในแต่ละครั้งเกิดจากครูชักชวนบ้าง สมัครเองบ้าง ถ้ากิจกรรม
ไหนไม่กระทบกับการเรียนก็จะสมัคร คิดว่าการทำงานเพื่อสังคมเป็นเรื่องลำบาก แต่ดีเพราะได้ช่วยคน
อื่น เหตุผลที่เข้าร่วมกิจกรรมเพราะเห็นว่าเป็นงานที่ดีมีคุณค่า ทำให้คนอื่นได้ประโยชน์ เมื่อทำแล้วรู้สึก
ชอบ มีความสุข ไม่ต้องการอะไรจากที่ทำนอกจากความรักจากคนที่เข้าร่วมกิจกรรม และการช่วย
เหลือคนอื่นก็เพื่อให้งานเขาสำเร็จตามเป้าหมาย การช่วยคนอื่นทำให้มีความสุข
ในชีวิตเคยบริจาคหนังสือ(ที่ตนอ่านแล้ว) เสื้อผ้า เงิน ทำบุญ ตอนเด็กๆจะไปวัดทุกวันพระกับ
แม่ เป็นประจำ อยู่ที่วัดปัจจุบันพระจะสอนศีล 5 สวดมนต์ไหว้พระทุกวันพระใหญ่ เวียนเทียนสอนให้
ประหยัด ทำงานตามที่มอบหมาย สอนให้รับผิดชอบต่อหน้าที่
การร่วมกิจกรรมในโรงเรียน โรงเรียนก็สอนให้รู้จักอดทน ให้มีโอกาสกล้าแสดงออก เปิดโอกาส
ให้เข้าร่วมกิจกรรม เช่น กิจกรรมผู้พิทักษ์ 3 ป ค่ายคุณธรรม งานวันประสูติสมเด็จพระสังฆราช งานวัน
สถาปนาโรงเรียน ช่วยงานครูห้องสมุด ช่วยงานอาจารย์หัวหน้าหมวดกิจกรรม ช่วยงานอาจารย์ห้อง
วัดผลและอาจารย์ห้องพยาบาล เวลาเห็นครูถือของมาก็เข้าไปช่วยถือ และจากการสังเกตเห็นหลาย
ครั้งนักเรียนจะไปหาครูเพื่อช่วยถืออุปกรณ์การสอนก่อนครูเข้าสอน ชอบทำตัวเป็นคนสนิทของ
อาจารย์ด้วยการขอช่วยงานอาจารย์เองการไปช่วยงานอาจารย์ส่วนใหญ่ ช่วยอาจารย์เก็บอุปกรณ์การ
สอน ถือสมุดการบ้านให้ จะไปเอง ไปหาอาจารย์เผื่อมีอะไรให้ทำแล้วบางครั้งอยากให้อาจารย์ช่วย
สอนการบ้านบ้าง เข้าร่วมแล้วได้รู้เท่าทันและสอนคนอื่นๆได้ สอนคุณธรรม สอนให้เป็นคนดี การเข้า
ร่วมกิจกรรมชุมชนคือเข้าสอบนักธรรมศึกษาตรี เหตุผลที่เข้าร่วมกิจกรรม เข้าร่วมแล้วได้ความรู้ สนใจ
98
ชอบธรรมะ เพราะอยู่กับพระสามารถนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้ การเข้าร่วมกิจกรรมถ้าไม่ติดก็
จะเข้าร่วมทุกครั้ง
สรุปและวิเคราะห์
สภาพแวดล้อมทางครอบครัว เป็นครอบครัวหย่าร้าง บิดา มารดาอยู่คนละทาง ตัวนักเรียน
ต้องอาศัยอยู่กับคนรู้จักบ้าง อยู่กับญาติบ้าง และสุดท้ายอยู่กับพระ ความสัมพันธ์ในครอบครัวเป็น
แบบผิวเผิน ไม่เหนียวแน่น แต่ได้รับความรักความเอาใจใส่จากบุคคลที่เลี้ยงดูเป็นอย่างดี ให้ความรัก
ความเอาใจใส่อบรมสั่งสอนให้เป็นคนดี ให้การศึกษา
บรรยากาศในครอบครัว ถึงจะไม่ได้อยู่กันอย่างสมบูรณ์พ่อแม่ลูกแต่ ก็ไม่ได้ทอดทิ้ง มีคนรัก
ใคร่ดูแลเอาใจใส่ มีการติดต่อสัมพันธ์กับพ่อแม่ทางโทรศัพท์ ในส่วนที่อยู่กับคนอื่นก็ได้รับการเอา
ใจใส่ดี ได้รับการอบรมสั่งสอน ฝึกฝนให้รับผิดชอบต่อหน้าที่ ฝึกให้ทำงานให้พึ่งตนเอง ใช้เหตุผล
สอนให้คิดให้มองโลกในแง่ดี ได้รับการอบรมให้เป็นผู้มีคุณธรรม ปฏิบัติตามศีล 5 ได้รับการสอนให้
สวดมนต์ไหว้พระเป็นประจำ ปฏิบัติอยู่ในกรอบ ระเบียบวินัย มีกฎเกณฑ์ในการควบคุมให้ประพฤติ
ปฏิบัติ สิ่งเหล่านี้จึงหล่อหลอมให้เป็นคนดี คิดได้และคิดเป็น
การอบรมเลี้ยงดู ในวัยเด็กเล็กได้รับความรักความเอาใจใส่จากพ่อแม่ดี พอเริ่มเข้าสู่วัยเด็กได้
เรียนรู้ชีวิตที่ต้องพึ่งตนเองและการเป็นพี่ที่ต้องดูแลน้อง การเรียนรู้ชีวิตที่ขาดแม่ การอาศัยอยู่กับคนอื่น
ได้รับการสั่งสอนให้ทำงาน ทำหน้าที่ด้านการเรียน การเลี้ยงดูตนเองและดูแลน้องด้วย และการที่เป็น
คนติดแม่ชอบเข้าหาครูซึ่งคิดว่าเป็นที่พึ่งแทนแม่ได้ ก็ได้รับการอบรมสั่งสอนให้คิดเป็น คิดในแง่ดี มอง
โลกในด้านดี หาจุดดีลบล้างจุดด้อยเช่น คิดถึงแม่แต่ก็จะพยายามเรียนให้สำเร็จเพื่อเอาปริญญาไป
ฝากให้พ่อแม่ชื่นใจ และการเป็นคนที่ต้องรับผิดชอบน้องพ่อสั่งสอนให้ทำตัวให้ดีๆเพื่อผู้อุปการะคุณจะ
ได้ให้น้องมาอยู่ด้วยอีกคน จึงต้องทำตัวให้ดีๆเข้าไว้ สรุปการเลี้ยงดูที่ได้รับในวัยเด็กจนถึงปัจจุบันคือ
1. การเลี้ยงดูแบบให้พึ่งตนเองมาตั้งแต่เล็ก จึงสามารถอยู่ได้ด้วยตนเอง ไม่นิ่งดูดายรู้จักคิด รู้จักทำใน
สิ่งที่ควรทำ และ 2.การเลี้ยงดูแบบใช้เหตุผล ถ้าทำดีก็ได้ดี ถ้าทำไม่ดีจะได้รับการลงโทษ
ตัวแบบในการดำเนินชีวิต ได้ดูแบบอย่างจากนายชวน หลีกภัย ซึ่งได้รับการเล่าขานให้ฟังจาก
พระที่วัดแล้วคิดว่าการเป็นเด็กวัดจะสามารถเอาดีได้ การเป็นเด็กกำพร้าพ่อแม่ ได้รับการอบรมสั่งสอน
จากครูโรงเรียนประถมให้คิดเป็น จึงเป็นคนมีจุดมุ่งหมายในชีวิตอยากทำตัวให้เป็นคนดีให้คนรัก มีจิต
ใจดี คิดช่วยเหลือคนอื่น เห็นอกเห็นใจคน เพราะการได้อิทธิพลจากการเรียนรู้ชีวิตที่ไม่สมบรูณ์ในวัย
99
เด็ก และการเป็นแบบอย่างจากพระที่มีระเบียบวินัย มีความเมตตากรุณาดูแลเอาใจใส่ในยามเจ็บไข้ได้
ป่วย
การทำความดีเพื่อสังคม ได้รับอิทธิพลจากการอบรมสั่งสอนของครูจากโรงเรียนประถม
ศึกษาที่สอนให้ทำความดี สอนให้เอื้อเฟื้อแบ่งปัน การมีนิสัยเป็นคนดีมีความอ่อนน้อม เห็นอะไรไม่นิ่ง
ดูดายมีน้ำใจคิดช่วยเหลือ เช่น เห็นครูถือของก็เอ่ยปากขอช่วยถือ หรือบางครั้งก็เดินไปรับหนังสือ
อุปกรณ์การสอนจากครูที่ห้องพักก่อนเข้าเรียน
ลักษณะความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เคยได้บริจาคหนังสือ(ที่ตนอ่านแล้ว) เสื้อผ้า เงินทำบุญ เงินส่วน
ตัวที่ตนเก็บเป็นค่าใช้จ่าย ตอนเด็กๆจะได้ไปวัดกับแม่เป็นประจำทุกวันพระ อยู่วัดปัจจุบันพระได้สอน
ศีล5 ทำให้เป็นคนมีจิตใจดีเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีจิตใจเมตตาสงสารเห็นใจ คิดอยากช่วยเหลือเช่นสงสาร
คนแก่ที่ขายของ สงสารคนขอทานถ้าเขาขอไม่ได้เขาจะเอาอะไรกิน
สภาพแวดล้อมทางโรงเรียน ครูเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการให้โอกาสให้ความใกล้ชิดให้
เด็กเข้ามามีส่วนร่วมในการคิดและการทำความดี เพื่อสร้างคุณค่าให้ตนเอง การจัดกิจกรรมการเรียน
การสอนมีส่วนส่งเวริมให้เด็กได้แสดงออกตามความถนัด ความสนใจ บรรยากาศและความอบอุ่นของ
โรงเรียนมีส่วนเสริมสร้างความรักความผูกพันให้เด็กได้คลายความรู้สึกหว้าเหว่จากครอบครัว
ทัศนคติต่อการทำความดีเพื่อสังคม รู้ว่าการทำความดีแล้วได้ประโยชน์เป็นงานที่มีคุณค่า ทำ
ให้คนอื่นได้ประโยชน์ ทำแล้วมีคนรัก และทำเพื่ออยากช่วยเหลือ อยากให้งานบรรลุเป้าหมาย
เมื่อทำแล้วรู้สึกชอบมีความสุขที่ได้ช่วยให้งานสำเร็จ เมื่อเห็นคนเดือดร้อนรู้สึกสงสารเห็นใจอยากช่วย
แต่ยังช่วยไม่ได้ ไม่รู้จะช่วยอย่างไร เท่าที่ทำได้ก็ช่วยงานครูเล็กๆน้อยๆ ซึ่งเป็นลักษณะของความ
พร้อมที่จะช่วยเหลือถ้ามีโอกาสหรือการร้องขอเขาก็สามารถให้ความช่วยเหลือได้
จากการวิเคราะห์ชีวิตในวัยเด็กของนายสิบช่วงวัยแรกของชีวิต (0-6 ขวบ) ได้รับความรัก
ความอบอุ่นจากบิดามารดาดี ดังเช่นที่กล่าวว่า “แม่จะกอดรัดตลอดเวลาอยู่ด้วยกัน ไปวัดไปด้วยกัน
ทั้งครอบครัว“ ซึ่งครอบครัวมาแยกกันตอนที่ตนอยู่ ป.2 –ป.3 ซึ่งผ่านพ้นช่วงวัยสำคัญของชีวิตมาแล้ว
จะเห็นได้ว่าเขาเป็นคนมีสุขภาพจิตดี ยิ้มแย้มแจ่มใส มีน้ำใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ คิดสงสารเห็นใจคนแก่
แสดงให้เห็นว่าช่วงพัฒนาการในวัยเด็กได้รับการเติมเต็มสมบรูณ์ตามลำดับขั้น ถึงแม้บิดามารดาจะ
แยกทางกันแต่ความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นพ่อ แม่ มิได้ขาดหายไปดังเช่นที่แม่มาหาเขาแอบหนีปู่
ไปหาแล้วเมื่อพบหน้ากันแม่จะกอด และอยู่กับแม่ทั้งวัน เมื่อมาอยู่กรุงเทพแม่จะโทรศัพท์มาหาพูดคุย
อบรมสั่งสอนให้ลูกประพฤติตัวด ี ๆ พอปดิ เทอมกจ็ ะกลบั ไปพบแม่ เป็นการแสดงถึงสายสัมพันธ์
100
ระหว่างแม่ลูกคงดำเนินอยู่ตามปกติ เด็กที่มีสุขภาพจิตดี ได้รับการเติมเต็มตามวัยย่อมเข้าใจและรับรู้
สภาพการณ์ของชีวิตได้ดี และในยามที่ขาดพ่อและแม่เด็กยังมีปู่ ย่า ป้าและคนที่รัก ทำหน้าที่เป็นตัว
แทนของพ่อในการ ขัดเกลาลักษณะทางสังคมให้เป็นผู้มีความรู้ มีความก้าวหน้าทางการศึกษา ไปโรง
เรียนก็มีครูทำหน้าที่ให้การขัดเกลาลักษณะนิสัยให้เป็นคนมีความคิดดี เข้าใจตนเองเห็นคุณค่าในตน
เอง เข้าใจโลกและสังคม นับว่านายสิบได้รับกระบวนการขัดเกลาทางสังคมระหว่างบ้านและโรงเรียน
จนสามารถพัฒนาเข้าสู่ขั้นการยอมรับจากเพื่อน ครูและปรับตัวได้ดี ไม่รู้สึกว่าตัวเองมีปมด้อยดังที่
กล่าวว่าถึงเป็นเด็กวัดก็สามารถเอาดีได้
➀➀➀
ตอนที่ 2 การวิเคราะห์ผลตามลักษณะตัวแปร
1. สภาพแวดล้อมทางครอบครัว
จากผลการศึกษาสภาพแวดล้อมทางครอบครัวสามารถแบ่งลักษณะครอบครัวเป็น 2
ลักษณะคือ
ลักษณะที่ 1 เป็นครอบครัวหย่าร้าง มีจำนวน 3 กรณี ซึ่งสรุปได้ว่ากรณีที่ 1 ถึงแม้บิดา
มารดาจะแยกกันอยู่แต่ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ลูกมีความสนิทสนม รักใคร่กันดี ซึ่งดูจากการที่
บิดายังส่งเสียเลี้ยงดูมารดา จัดหาที่อยู่อาศัยที่ดีกว่าเดิมให้ และร่วมกันทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับตัวบุตร
ด้วยกันเช่นไปโรงเรียนเพื่อแสดงความยินดีที่บุตรได้รับประกาศเกียรติคุณด้านการทำความดีเพื่อสังคม
ด้วยกัน ประกอบกับบุตรมิได้อยู่กับบิดามารดาในช่วงวัยเด็ก จึงไม่รู้สึกแตกต่างมากนักในการหย่าร้าง
ของบิดามารดา และความใกล้ชิดผูกพันกับบิดาบุตรจึงมีความสัมพันธ์ที่ดี ความรู้สึกที่ดีอยู่ ซึ่งดูได้
จาก
กรณีที่1 “มารดาทำหน้าที่ดูแลปู่ พาปู่ไปหาหมอเพื่อทำกายภาพบำบัดทุกวัน” “บิดาซื้อบ้าน
หลังใหม่ที่พุทธมณฑลสาย4 เพื่อให้แม่ อา ปู่ อยู่ที่นั่น “ “พ่อแม่มาร่วมงานรับเกียรติบัตรด้วยกัน”
“ตอนเด็กๆพ่อแม่ส่งไปอยู่กับอาที่ศรีราชา เรียนโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา การไปอยู่ที่นั่นเป็น
ความต้องการของผม ผมอยากไปอยู่กับอา”
“รสู้ กึ วา่ บา้ นสองหลงั ไม่ค่อยอบอุ่น แตโ่ ตแลว้ กร็ บั ได”้
กรณีที่ 5 ถึงแม้บิดามารดาจะแยกกันอยู่แต่ตัวเยาวชนเองได้รับการเลี้ยงดูจากตายายมาตั้งแต่เกิด ทำ
ให้สนิทสนมกับตายายและมีความผูกพันกับตายายมากกว่า ตายายคอยให้ความรักความเอาใจใส่ ให้
คำปรึกษาหารือ และทำหน้าที่เสมือนหนึ่งเป็นบิดามารดาทดแทนผู้ให้กำเนิด นายห้าจึงได้รับการเติม
101
เต็มความรักความอบอุ่น และการยอมรับจากตา-ยาย ประกอบกับการขัดเกลาทางสังคมและการหล่อ
หลอมบุคลิกภาพด้วยการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมให้ตั้งแต่เยาวัย นายห้าจึงมีความรู้สึกเห็นคุณค่า
ในตนเองและมีจิตสำนึกที่จะทำความดีเพื่อสังคมเป็นนิสัย
“อยู่กับตายายมาตั้งแต่เกิด อยู่กับพ่อแม่ตอนอายุ 11-12 ปี ก็ย้ายไปอยู่กับตายายอีก” “เวลา
มีปัญหาก็จะปรึกษาตา จะสนิทกับตามากกว่าพ่อแม่””รู้สึกว่าขาดความอบอุ่นนิดหน่อยแต่ดีว่ามีตา
ยายคอยช่วยเพราะอยู่กับตามาตลอด อยู่กับแม่ระยะสั้นๆ”
แสดงให้เห็นว่าการหย่าร้างและแยกกันอยู่ของบิดามารดาไม่มีผลต่อความสัมพันธ์ในครอบ
ครัว เพราะกรณีศึกษาได้รับการดูแลเอาใจใส่จากตายายซึ่งเป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูมาตั้งแต่เกิด ซึ่ง
เปรียบประดุจเป็นบิดามารดาทดแทนบิดามารดาผู้ให้กำเนิด และในช่วงวัยต้นของชีวิต (อายุ 0-6
ขวบ)ได้รับการเลี้ยงดูด้วยความรักความเอาใจใส่ ได้รับการปลูกฝังอบรมขัดเกลาให้เป็นผู้มีคุณธรรมจ
ริยธรรมตั้งแต่อายุ 3-4 ขวบก็สามารถสวดมนต์ได้แล้ว และมีความสนิทสนมกับตายาย ไปไหนไปด้วย
กัน “ตายายชอบไปวัดทำบุญทุกวันพระ เวลาไปวัดก็จะพาผมไปด้วย”
ส่วนกรณีที่10 ในวัยเด็กได้รับความรักความอบอุ่นจากบิดามารดา ไปไหนไปด้วยกัน มารดา
จะให้ความรักด้วยการกอดรัดมากเป็นพิเศษ นายสิบจึงมีความรู้สึกผูกพันกับมารดา เมื่อขาดมารดา
เขาจึงเข้าหาครูอาจารย์ที่โรงเรียนเพื่อเป็นการแสวงหาความรักและการยอมรับเป็นการชดเชยด้วยการ
ช่วยเหลืองานและครูได้ตอบสนองให้เขาได้รับความสำเร็จให้ความรักและยอมรับ เขาจึงเห็นคุณค่าใน
ตนเอง มีความคิดดี ปฏิบัติตนดี มีเป้าหมายของชีวิต จึงสรุปได้ว่าถึงแม้จะมีลักษณะการหย่าร้างใน
ครอบครัว แต่บิดามิได้ทอดทิ้งยังจัดหาผู้อุปการะเลี้ยงดูมาเป็นผู้ปกครองแทนตนซึ่งเป็นปู่ย่าตายาย
หรือคนที่รัก ไว้วางใจที่มีจิตเมตตา รักและให้ความเอาใจใส่ เลี้ยงดูและอบรมสั่งสอนให้เด็กสามารถพึ่ง
ตนเองและควบคุมพฤติกรรมให้อยู่ในกรอบระเบียบกฏเกณฑ  ซึ่งดูได้จาก
“ชีวิตในวัยเด็กอาศัยอยู่กับบิดามารดาและน้องอย่างมีความสุขจนถึง ป.2 แม่ก็จากไป พ่อก็
พาไปฝากไว้กับพี่สาว ให้ทำหน้าที่ดูแลผมและน้อง ให้เรียนโรงเรียนรัฐบาลแห่งหนึ่งอยู่ ป.3 เพราะพ่อ
ต้องไปทำงานต่างจังหวัด พอพี่สาวย้ายไปอยู่บ้านพ่อแม่เขา พ่อก็พาผมและน้องไปอยู่กับปู่ที่อำเภอจะ
นะ จังหวัดสงขลา ปู่กับย่าส่งให้เรียนหนังสือจนจบ ป.6 ปู่ก็นำมาฝากท่านเจ้าคุณที่วัดบวรนิเวศให้
เรียน ม.1”
102
“เมื่อรู้สึกหว้าเหว่ เหงาขาดความอบอุ่นก็เข้าหาอาจารย์ๆก็สอนว่ามีคนอื่นๆเป็นแบบเราหรือ
แย่กว่าเราอีกเยอะ อาจารย์สอนให้ปฏิบัติตนให้ดีจะได้ไม่เหมือนพ่อแม่ ให้ขยันเรียนเข้าไว้ อย่าคิดมาก
กับสิ่งนั้น” แสดงให้เห็นว่าครูโรงเรียนประถมศึกษามีบทบาทสำคัญในการขัดเกลาให้เห็นคุณค่าในตน
เองและมีความคิดดี ใฝ่ดี มีเป้าหมายของชีวิต และครูยังเป็นที่พึ่งทางจิตใจของเยาวชนอีกด้วย นอก
จากครูจะมีบทบาทในการให้ความรู้แล้ว ครูยังทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือให้คำแนะนำและเป็นที่พึ่งแก่
เด็กได้
นอกเหนือจากครูแล้วยังมีพระ ซึ่งเป็นผู้อุปการะที่มีบทบาทในการให้การอบรมสั่งสอนให้
ปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนตามหลักพุทธศาสนา
จากการศึกษาครั้งนี้มีข้อค้นพบที่แตกต่างคือ ลักษณะของครอบครัวที่ไม่อบอุ่นแต่เยาวชนทั้ง 3
กรณีสามารถปฏิบัติตนเป็นคนดีได้ แสดงให้เห็นว่าถึงแม้ครอบครัวจะหย่าร้างแยกทางกันอยู่ก็ไม่ได้เป็น
อุปสรรคต่อการเสริมสร้างบุคลิกภาพของการเป็นคนดีเนื่องจากการพัฒนาการในวัยต้นของชีวิตเด็กได้
รับการอบรมเลี้ยงดูที่ส่งเสริมการพัฒนาการตามช่วงวัยของชีวิต (อิริคสัน อ้างถึงใน ศิริศักดิ์ เขตตานุ
รักษ์ 2530 : 39) ซึ่งเยาวชนทั้ง 3 ในช่วงวัยต้นของชีวิต (0-1 ขวบ) ได้รับการตอบสนองจากบิดามารดา
หรือผู้เลี้ยงดูอย่างคงเส้นคงวา เด็กจึงมีความไว้วางใจผู้อื่น ช่วงอายุ 1.5-3 ปี เยาวชนทั้ง 3 ได้รับการเลี้ยง
ดูให้เกิดความรู้สึกว่าสามารถปกครองตนเองได้ (Feeling of autonomy) มีอิสระในการคิด รู้จักคิด จึงมี
ความคิดในแง่ดี (positive self-concept) จึงมีความเข้าใจในบทบาทของครอบครัวที่ไม่สมบูรณ์ได้ดี ไม่
เก็บมาคิดให้เป็นปมด้อยและส่งผลให้เกิดปัญหาเช่นเด็กอื่น ๆ ในช่วงอายุ 6-12 ปี เยาวชนทั้ง 3 ได้รับ
การยอมรับจากสังคมบ้านและโรงเรียนดี โดยมีผู้ที่ให้การอบรมเลี้ยงดูแทนบิดามารดา ให้การยอมรับ
เอาใจใส่ ดูแลอย่างดี ดังกรณีที่ 1 อยู่กับอา อาก็รักเสมือนบิดา กรณีที่ 5 ตายายย่อมรักหลานมากกว่าบุตร
ย่อมเป็นธรรมดา และกรณีที่ 10 ได้รับความรัก เอ็นดูจากครูและผู้อุปการะเลี้ยงดูซึ่งก็มาจากพื้นฐานทาง
สุขภาพจิตของเด็กส่วนหนึ่งซึ่งมีผลให้ปรับตัวได้ดี ได้รับการยอมรับจากบุคคลต่าง ๆ ส่งผลต่อการมอง
เห็นคุณค่าในตนเอง (วัชรี ธุวธรรม 2540 :131) จึงมีความคิดที่จะพัฒนาตนไปสู่ความสำเร็จของชีวิตได้
ลักษณะที่2 เป็นครอบครัวที่มีความสมบูรณ์ 7 :3 กรณี ซึ่งเป็นสัดส่วนที่มากที่สุดในกรณี
ศึกษาทั้งหมดแยกเป็นประเภทครอบครัวเดี่ยว 5 กรณี ครอบครัวขยาย 2 กรณี ได้แก่กรณีที่ 2,3,4,7,8
และ6,9 ทุกครอบครัวมีความสัมพันธ์ สนิทสนมกันระหว่างบิดามารดา พี่และน้อง มีการพูดคุย
ปรึกษาหารือกัน ช่วยเหลืองานกันและกันภายในครอบครัว ดังเช่น
103
กรณีที่ 2 “ ตัวผมจะสนิทกับแม่มากกว่าพ่อ พ่อออกต่างจังหวัดบ่อย มีอะไรจะปรึกษาแม่ กับ
น้องสาวก็สนิทกันคุยกันปรึกษาหารือกัน พ่อจะช่วยแม่ขายของและทำความสะอาดบ้าน จัดระเบียบ
ภายในบ้าน น้องสาวช่วยทำงานบ้าน ช่วยแม่ขายของ ตัวเองก็ช่วยงานทุกอย่างเท่าที่มี เช่นช่วยแม่
เตรียมของขาย กรอกน้ำ กวาดบ้านถูบ้าน”
กรณีที่ 3 “ บิดามารดาอยู่ด้วยกัน ไม่ค่อยทะเลาะกัน เอาใจใส่ครอบครัว พ่อมีหน้าที่อบรมสั่ง
สอน รับส่งไปโรงเรียน เวลาว่างจะกลับมาช่วยทำกับข้าว ถ้าทำการบ้านไม่ได้พ่อจะช่วยสอน”
กรณีที่ 4 “พ่อกับแม่ช่วยกันทำอาหารขาย”
กรณีที่ 6 “ทุกคนในครอบครัวจะมีความสนิทสนมกันดี ไม่ทะเลาะกัน ไม่พูดจาหยาบคาย
นานๆจะทะเลาะกับน้อง ถ้ามีเรื่องทะเลาะกันพ่อจะตัดสินโดยดูต้นเหตุแล้วลงโทษตามเหตุผล” “คุณ
ยายจะเป็นคนทำอาหารเย็นไว้ให้ทุกคน จะทานข้าวพร้อมกัน ยกเว้นวันไหนพ่อกลับดึก”
กรณีที่ 8 “อยู่ด้วยกัน 3 คนพ่อแม่ลูก มีความสนิทสนมกันดี ส่วนใหญ่ผมจะสนิทกับแม่ พูด
คุยกับแม่ มีอะไรจะบอกแม่ แล้วแม่จะบอกพ่ออีกที จะไปเที่ยวด้วยกันไปทำบุญตามเทศกาล ไปทาน
อาหาร เวลาว่างพ่อจะช่วยแม่ขายของ ซักผ้ารีดผ้า และทำให้ลูกด้วย แม่จะทำงานหนักไม่ค่อยได้
เพราะเป็นโรคกล้ามเนื้ออักเสบ”
กรณีที่ 9 “ที่บ้านอยู่ร่วมกัน 10 กว่าคน มีพ่อแม่ ป้า น้า พี่ๆน้องลูกของลุงป้า ทุกคนมีความ
สัมพันธ์กันดี อบอุ่น พูดคุยปรึกษาหารือกัน ลูกหลานพี่น้องในเครือญาติสนิทกัน ปรึกษาหารือกันทุก
คน ว่างๆก็เล่นดนตรี ร้องเพลงด้วยกัน”
จากลักษณะที่ 2 จะพบว่ากรณีศึกษาส่วนใหญ่เป็นครอบครัวที่มีบรรยากาศอบอุ่นเต็มไปด้วย
ความรัก ความเข้าใจ มีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน ยอมรับฟังความคิดเห็นและมี
การปฏิบัติภารกิจร่วมกัน บิดามารดาปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีด้านการช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
และมีเมตตากรุณา ประกอบกับขบวนการขัดเกลาจากบุคคลหลักในครอบครัวคือบิดามารดา ลุง ป้า
น้า อา มีอิทธิพลต่อความคิดและการกระทำ ส่งผลให้เกิดการลอกเลียนแบบ ยอมทำตาม และซึมซับ
ลักษณะพฤติกรรมดีจากบุคคลใกล้ชิดที่ตนรักและศรัทธา
วิธีการอบรมเลี้ยงดู
จากการศึกษาทุกกรณีใช้วิธีการอบรมเลี้ยงดูพอสรุปออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ ตามลำดับดังนี้
1. ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบใช้เหตุผลมากเป็นอันดับหนึ่ง ได้แก่ กรณีที่ 1 “ม.1-ม.3 นั่งรถ
กลับ
104
เอง จะไปไหน ต้องกลับบ้านก่อนแล้วขออนุญาตไป อยากได้อะไรเก็บเงินซื้อเอง จะขอก็ได้แต่เกรงใจ
พ่อแม่จะส่งเงินให้อา” “จะถูกลงโทษเพราะดื้อและซน” กรณีที่ 2 “แม่บอกว่าแม่ไม่มีเงินทอง ความรู้
ให้เราได้จึงใช้งานฝึกให้ทำงาน ตอนเล็กๆแม่ใช้ให้ทำโน่นทำนี่แต่พอโตแล้วจะพูดด้วยเหตุผล” กรณีที่3
“กลับจากโรงเรียนอาบน้ำแล้วมาช่วยงานแม่ ถ้าวันไหนไม่มีงานจะให้ไปเล่นได้ ถ้ามีงานแม่จะบอกว่า”
วันนี้งานเยอะให้ช่วยตัดเศษด้ายก่อน” เมื่อสอบได้คะแนนดีพ่อซื้อวีดีโอให้แม่ให้โทรทัศน์” กรณีที่ 4
“เวลาจะไปไหนมาไหนบอกเหตุผล ขออนุญาตก่อน ถ้าไม่อนุญาตก็ไปไม่ได้ ถ้าอยู่โรงเรียนวันไหน
กลับบ้านเย็น กลับไปก็บอกว่าไปทำอะไรมา” กรณีที่7 “ไปไหนไม่บอกแม่จะตีเคยโดนตีด้วยไม้แขวน
เสื้อหรือบางทีก็กักบริเวณ” กรณีที่ 8 “จะทำอะไรก็บอกก่อน ถ้าทำผิดจะถูกดุ ว่ากล่าวตักเตือน พ่อจะ
คอยเป็นห่วง ถ้ายังไม่กลับจะถามหา คอยห่วงใยและจะเตือนด้วยเหตุผล” กรณีที่10 “ปู่บอกว่าอย่าทำ
อะไรเสียหายต่อผู้อุปการะเพราะยังมีน้องจะพามาอยู่ด้วยอีกคน” “ท่านเจ้าคุณสอนให้ทำตัวดีๆ ถ้าทำ
ผิดจะลงโทษ เคยถูกตี 16 ที เพราะกลับจากต่างจังหวัดแล้วไปนอนหลับ ไม่ไปบอกท่านว่ากลับมา
แล้ว” “ท่านจะสอนให้บอกว่า จะไปไหนมาไหน ทำอะไรให้มีเหตุผล”
การเลี้ยงดูด้วยเหตุผล คือการที่บิดามารดาหรือผู้ปกครองให้เหตุผลแก่บุตรในสิ่งที่ควรทำและ
ไม่ควรทำ เมื่อทำผิดจะได้รับการลงโทษว่ากล่าวตักเตือน เมื่อทำดีจะได้รับรางวัล บุตรสามารถรู้ได้ว่า
พฤติกรรมใดควรทำและไม่ควรทำ จะถามหรือขออนุญาตก่อนเพื่อความเหมาะสม ดังนั้นเยาวชนเหล่า
นี้จึงมีพฤติกรรมที่ดีอยู่ในกรอบระเบียบกฎเกณฑ์ของสังคม และรู้จักคิดเป็นเหตุเป็นผล
2. การอบรมเลี้ยงดูแบบให้พึ่งตนเอง มี 3 กรณี เป็นอันดับที่ 2 ของการอบรมเลี้ยงดู เช่น กรณี
ที่ 3 บิดามารดาปล่อยให้ไปโรงเรียนเอง อาบน้ำแต่งตัวเองตั้งแต่ ป.1 “ ปัจจุบันมาโรงเรียนก็ตั้งนาฬิกา
ปลุกเอง” กรณีที่4 แม่ปล่อยให้ไปโรงเรียนเองตั้งแต่ ป.1 ขึ้นรถประจำไปบ้านและโรงเรียนอยู่คนละ
อำเภอ ปัจจุบันอยู่ ม.2 ตั้งแต่ ม.1มาโรงเรียนเอง ดูแลตนเองทำการบ้านเอง เก็บเงินซื้อของเอง” กรณี
ที่ 5 ”ตายายสอนให้ทำงานตั้งแต่เด็ก 4-5 ขวบ ให้หาข้าวกินเอง แต่งตัวเอง” กรณีที่7 “ตอนเล็กๆแม่
จะไปส่งไปโรงเรียนวันแรกๆแล้วก็ให้ไปเองตั้งแต่ ป.1ปัจจุบันไปไหนก็ไปเอง “ กรณีที่10 “ตอนอยู่กับ
แม่ แม่ก็สอนให้กินข้าวเอง แต่งตัวเอง พออยู่กับปู่ย่า ท่านก็สอนให้ทำงาน สอนให้ขายของ ปลูกผัก
อยู่กับพี่สาวก็สอนให้หุงข้าว ล้างจาน ทำความสะอาดบ้าน”
จากการฝึกฝนให้เด็กทำกิจวัตรประจำวัน ดูแลการอาบน้ำ แต่งกาย รับประทานอาหาร ไปโรง
เรียนด้วยตนเอง ฝึกให้ช่วยงานตามที่มอบหมาย โดยทำตามคำแนะนำของบิดามารดาหรือผู้เลี้ยงดู ซึ่ง
ทำให้เด็กสามารถช่วยตนเองได้เร็ว ไม่ต้องพึ่งพาผู้อื่น
105
2. ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบรักและสนับสนุนมากเป็นอันดับสาม ได้แก่ กรณีที่ 1 “จะไป
ไหนไปเอง ไม่ต้องขออนุญาต แต่ให้โทรศัพท์บอก “” แม่ไม่ค่อยลงโทษเพราะโตแล้ว”กรณีที่5 “อยู่กับ
ตายายมาตั้งแต่เกิด ตายายจะตามใจจะทำอะไรก็ให้ทำแต่ต้องมีเหตุผลที่สมควร” กรณีที่6 “แม่จะดูแล
เรื่องการรับประทานอาหาร พาไปส่งโรงเรียนจนถึง ม.1พอ ม.2 จึงปล่อยให้ไปเอง แม่จะคอยห่วงใยเอา
ใจใสช่ ว่ ยดแู ลการเรยี นจนถงึ ม.3” กรณที 9ี่ “พ่อแม่จะดูแลอย่างด ี ไม่ปล่อยให้ไปไหนมาไหนคนเดียว
คอยห่วงใย ไม่ปล่อยให้ไปไหนมาไหนนานๆ ให้อิสระในการคิดและการกระทำ ตัดสินใจเอง เลือกแผน
การเรียนเอง เมื่อกลับบ้านค่ำแม่จะแอบมาดูว่าอยู่ไหม อยู่อย่างไร”
การที่เด็กได้รับความรัก ความเอาใจใส่ ดูแลให้มีความสุขใจ สุขกาย ส่งเสริมสนับสนุนสิ่งที่ถูก
ที่ควร ให้อิสระในการคิด การตัดสินใจ จึงส่งผลให้เยาวชนเหล่านี้คิดและทำในสิ่งที่ดี
การอบรมสั่งสอน
ผลจากการอบรมสั่งสอนสามารถสรุปได้ดังนี้
1. สอนเรื่องการปฏิบัติตน ให้เป็นคนดี เป็นบุตรที่ดี มีความรับผิดชอบ ประพฤติตนดีอยู่ใน
กรอบระเบยี บกฎเกณฑข์ องครอบครวั ประเพณ ี สอนใหร้ กั เรยี น เอาใจใส่การเรียน สอน
ให้ทำการบ้าน สอนความสามารถพิเศษเช่นสอนให้เล่นดนตรี สอนให้ร้องเพลง แต่งกลอน
สอนให้ตั้งใจทำงาน รับผิดชอบการเรียน สอนให้มีเหตุผล มีระเบียบวินัย สอนกิริยา
มารยาท การพูดจา
2. สอนให้ปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมประเพณี เช่น ทำบุญ ใส่บาตร ไหว้พระ สวดมนต์ นั่ง
สมาธิ บริจาคทรัพย์ สิ่งของ เงินทองเพื่อช่วยเหลือผู้เดือดร้อน
3. สอนให้ทำความดีเช่นไปช่วยดูแลสุนัข นำอาหารไปช่วยเพื่อนบ้านทำบุญ บริจาคเงิน ช่วย
คนจนไม่คิดค่าอาหาร ช่วยดูแลสัตว์ผู้ทุกข์ยากเช่นแมวแม่ลูกอ่อนให้การเลี้ยงดูให้ที่อยู่
อาศัย
4. สอนให้เสียสละ ให้ช่วยเหลือคน มีความกตัญญู ทำเพื่อประเทศชาติ ทำเพื่อโรงเรียน สอน
ไม่ให้เห็นแก่ตัว
จะเห็นได้ว่าอิทธิพลจากการอบรมสั่งสอนของบิดามารดามี ผลต่อการปฏิบัติตนเป็นคนดีและ
การทำความดีเพื่อสังคมดังเช่นกรณีที่ 1 ได้รับการสอนจากบิดามารดาให้เรียนแล้วกลับมาพัฒนา
ประเทศชาติ ให้ทำเพื่อส่วนรวม ไม่ให้เห็นแก่ตัว กรณีที่2 การสอนของมารดามีส่วนช่วยให้คิดเป็นและ
106
ปฏิบัติตนช่วยเหลือผู้อื่นอยู่เสมอ เช่นให้มีจิตเมตตา ให้เงินขอทาน ไม่คิดค่าอาหารคนแก่ยากจนและ
สอนให้ทำความดีเข้าไว้ “คนไม่เห็นแต่พระเห็น ” กรณีที่3 มารดาสอนให้ทำงานให้ช่วยคนอื่นให้ดูแล
สุนัข ส่งเสริมให้เป็นคนมีเมตตากรุณาด้วยการพาสุนัขไปผ่าตัดเนื้องอกทั้งที่เจ้าของให้เอาไปปล่อย
กรณีที่ 4 บิดามารดาสอนให้พึ่งตนเอง ให้ตั้งใจเรียนให้ช่วยเหลือน้อง สอนให้ประพฤติตนเป็นคนดี
กรณีที่ 5 ตาสอนให้ช่วยเหลือผู้อื่น อบรมให้มีคุณธรรมด้วยการพาไปฝากพระ พระให้การอบรมศีล
ธรรม กรณีที่ 6 บิดามารดาสอนให้เป็นคนมีระเบียบวินัย มารดาสอนและอบรมกิริยามารยาท การ
พูดจาให้สุภาพ ไม่พูดหยาบคาย บิดาสอนให้ตั้งใจทำงาน ทำอะไรทำจริง กรณีที่7 มารดาสอนให้
ปฏิบัติตนตามธรรมเนียมประเพณี เช่นร่วมงานวันสงกรานต์ วันปีใหม่และให้ไปช่วยเขาทำความ
สะอาดซอย สอนให้เรียนรู้จากประสบการณตรงด้วยการพาไปวัดพระบาทน้ำพุ สลัมคลองเตย กรณีที่
8 บิดาสอนให้เอื้อเฟื้อคนพิการตาบอด กรณีที่9 บิดามารดาสอนให้ช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อคนเดือดร้อน
ประสบภัย ให้ตอบแทนโรงเรียน และกรณีที่ 10 พระสอนศีลธรรม ปฏิบัติธรรม จะเห็นได้ว่าการอบรม
สั่งสอนเป็นกระบวนการขัดเกลาทางสังคมซึ่งเกิดจากสถาบันครอบครัว ซึ่งเป็นสถาบันเริ่มต้นของชีวิต
สามารถขัดเกลาให้เยาวชนเหล่านี้เป็นคนดี ทำความดีเพื่อสังคม ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าอิทธิพลจาก
การอบรมสั่งสอนและวิธีเลี้ยงดูเป็นตัวแปรที่สำคัญในการส่งเสริมให้เยาวชนทำความดีเพื่อ
สังคม
ตัวแบบในครอบครัว
บิดามารดาและผู้ปกครองได้ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างแก่บุตร หลาน ที่ให้การอุปการะ
เลี้ยงดู ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้
1. บิดามารดาเป็นแบบอย่างในด้านความรับผิดชอบครอบครัว การปฏิบัติตนตามบทบาท
หน้าที่ของบิดามารดา การช่วยเหลือซึ่งกันและกันภายในครอบครัวและชุมชน
2. บิดามารดาและผู้ปกครองเป็นแบบอย่างของการช่วยเหลือ เสียสละ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
เมตตากรุณา แบ่งปัน
3. บิดามารดาและผู้ปกครองเป็นแบบอย่างของการทำความดีเพื่อสังคมและชุมชน เช่น
บริจาคทรัพย์สิ่งของเงินเพื่อช่วยเหลือคนด้อยโอกาส เช่นการจัดหาทรัพย์สิ่งของไปช่วย
เหลือผู้เดือดร้อนตามโอกาส
107
4. บิดามารดาและผู้ปกครองเป็นแบบอย่างของการปฏิบัติตนเป็นผู้มีคุณธรรมจริยธรรม เช่น
ไปวัดทำบุญ สวดมนต์ ไหว้พระ นั่งสมาธิ เป็นต้น
5. บิดามารดาและผู้ปกครองเป็นแบบอย่างในการอุทิศตนเพื่อหน่วยงาน ชุมชน
จะเห็นได้ว่าทุกกรณีศึกษาได้เรียนรู้แบบอย่างของบิดามารดาหรือผู้ปกครองในการทำความดี
เพื่อสังคมซึ่งจะเห็นได้ว่ากรณีที่1 ได้รับแบบอย่างการช่วยเหลือสังคมมาจากบิดาที่เป็นผู้เลี้ยงดูพ่อ(ปู่)
มารดาและ ญาติ มารดาเป็นผู้มีจิตใจเอื้ออารี ชอบทำบุญ กรณีที่2 ได้รับแบบอย่างเป็นคนดีมีความ
รับผิดชอบ มีระเบียบวินัยจากบิดา และได้รับแบบอย่างการเป็นคนเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีจิตใจเมตตากรุณา
จากมารดา กรณีที่ 3 บิดาเป็นแบบอย่างเรื่องความรับผิดชอบ การช่วยเหลือ และได้รับแบบอย่างความ
เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีจิตใจเมตตากรุณาจากมารดา กรณีที่ 4 บิดามารดาเป็นแบบอย่างในด้านความรับผิด
ชอบต่อหน้าที่ การดำรงชีวิตแบบเรียบง่าย กรณีที่ 5 ตาเป็นแบบอย่างในการช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
พระเป็นแบบอย่างการมีจิตใจเมตตากรุณา กรณีที่ 6 บิดาเป็นแบบอย่างในการอุทิศตนเพื่องาน
ทำงานเพื่อส่วนรวม กรณีที่7 มารดาเป็นแบบอย่างของการทำความดีเพื่อสังคม พาไปวัดพระบาทน้ำพุ
สลัมคลองเตย ช่วยให้เป็นคนมีจิตเมตตา ช่วยเหลือผู้เดือดร้อนเมื่อพบเห็น กรณีที่8 บิดาเป็นแบบอย่าง
ของการปฏิบัติตนเพื่อช่วยเหลือคนบาดเจ็บถูกรถชนส่งโรงพยาบาล ช่วยเหลือเด็ก ทำอาหารให้เด็ก
ทาน สนับสนุนให้สงเคราะห์คนพิการ กรณีที่ 9 บิดาเป็นแบบอย่างการให้ความช่วยเหลือสังคม ชุมชน
ในฐานะเป็นผู้นำและดึงบุตรหลานญาติมิตรเข้ามาร่วมด้วยช่วยกัน และกรณีที่10 ได้รับแบบอย่างจาก
สื่อและบุคคลใกล้ชิดที่ให้การศึกษาอบรม จะเห็นได้ว่าเยาวชนเลียนแบบในสิ่งที่ดีจากบุคคลที่ใกล้ชิด
และบุคคลที่เป็นที่รัก ทำให้ลอกเลียนแบบพฤติกรรมดีไปด้วย โดยเฉพาะเด็กจะลอกเลียนแบบจาก
บิดามารดาเป็นเบื้องต้น จึงสรุปได้ว่าการเลียนแบบจากบุคคลในครอบครัวที่ตนรักและให้ความ
สนิทสนมเป็นตัวแปรที่ส่งเสริมให้เยาวชนทำความดีเพื่อสังคม
2.สภาพแวดล้อมทางโรงเรียน
ประวัติและสถานที่ตั้ง
โรงเรียนวัดบวรนิเวศตั้งอยู่เลขที่ 250 ถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร
กรุงเทพมหานคร รหัสไปรษณีย์ 10200 มีเนื้อที่ 10 ไร่ 1 งาน 5 ตารางวา อยู่ในวัดบวรนิเวศวิหาร เป็น
โรงเรียนรัฐบาลประเภทชายล้วน สังกัดกองการมัธยมศึกษา กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
108
เปิดสอนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.1-ม.6) มีสมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก เป็นองค์อุปถัมภ์โรงเรียน
โรงเรียนวัดบวรนิเวศตั้งอยู่ในย่านธุรกิจการค้า ธุรกิจการค้ามีทั้งขนาดกลาง ขนาดเล็ก และ
รายย่อย เช่นสหกรณ์บางลำพู ห้างสรรพสินค้าตั้งฮั่วเส็ง ร้านขายเสื้อผ้าสำเร็จรูป กระเป๋า รองเท้า
เครื่องประดับทั้งเป็นร้านและเป็นแผงลอย ร้านอินเตอร์เน็ต ร้านวีดีโอเกม เป็นต้น มีแหล่งประกอบ
ธุรกิจขนาดเล็กตั้งอยู่ติดกับโรงเรียนเช่น ทำธงชาติ ตีทองคำเปลว นอกจากนี้ยังมีตลาดสด อาทิเช่น
ตลาดวันชาติ ตลาดยอด และตลาดนานา เป็นต้น
โรงเรียนวัดบวรนิเวศเป็นโรงเรียนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ได้
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ตั้งวิทยาลัยขึ้นในวัดบวรนิเวศวิหารพระ
ราชทานนามว่า “มหามกุฎราชวิทยาลัย” เพื่อให้เป็นที่เล่าเรียนศึกษาพระปริยัติธรรมของพระภิกษุ
สามเณร ในคณะธรรมยุติกะนิกาย โดยพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส เจ้าคณะใหม่ฝ่าย
ธรรมยุติกะนิกายเป็นประธาน ทรงแบ่งวิทยาลัยเป็น 2 แผนก คือ ส่วนวิทยาลัยใช้เป็นที่เล่าเรียนพระ
ปริยัติธรรมชั้นสูง และจัดตั้งโรงเรียนหนังสือไทยตามพระอารามต่างๆเป็นสาขาขงวิทยาลัยอีก 5 โรง
เพื่อใช้เป็นที่ศึกษาของศิษย์วัดและประชาชนทั่วไป โรงเรียนหนังสือไทยวัดบวรนิเวศเป็นโรงเรียนหนึ่ง
ใน 5 โรงเรียน ได้เปิดทำการสอนพร้อมกันกับการเปิดมหามกุฎราชวิทยาลัยในวันที่ 1 ตุลาคม ซึ่งเป็น
วันที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวครองราชสมบัติจนครบ 25 ปีบริบูรณ์ มีนักเรียน 20 คน
โดยมีสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสทรงเป็นผู้จัดการวางรากฐานการศึกษาให้
กับโรงเรียนเป็นพระองค์แรก และได้แจ้งความกระทรวงธรรมการแผนกศึกษาธิการเป็นทางการเมื่อวัน
ที่ 23 กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทร์ศก 112
นี่คือจุดเริ่มต้นของโรงเรียนวัดบวรนิเวศ ทางโรงเรียนถือว่าวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2436(รศ.112)
เป็นวันสถาปนาโรงเรียน
ในปีพุทธศักราช 2442 (รศ.117)พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์
ให้ขยายการศึกษาให้แพร่หลายทั่วประเทศจึงโปรดเกล้าฯให้นำหลักสูตรและวิธีการสอนที่ใช้ในโรง
เรียนวัดบวรนิเวศไปใช้สอนตามโรงเรียนต่างๆทั่วประเทศ จึงถือได้ว่าโรงเรียนวัดบวรนิเวศเป็นโรงเรียน
ตัวอย่างในการใช้หลักสูตรเป็นแห่งแรกและพัฒนามาจนถึงปัจจุบัน
อาคารเรียนโรงเรียนวัดบวรนิเวศมีอาคารเรียนปัจจุบันได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงใหม่คงเหลือ
ใช้เป็นอาคารเรียน 4 หลังในปัจจุบัน ดังนี้
109
1. ตึกวชิรญาณวงศ์ สร้างเมื่อ พ.ศ 2506 โดยใช้งบประมาณของกรมสามัญศึกษาและเงินสม
ทบของวัดบวรนิเวศเป็นตึก 4 ชั้น หลังแรกของกรมสามัญศึกษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่
หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงพระราชทานนามตึกนี้และได้เสด็จเปิดตึกเมื่อวันที่ 22
พฤศจิกายน 2507
2. อาคาร 78 ปี (อาคารศิลปศึกษา) สร้างเมื่อ พ.ศ 2516 ด้วยงบประมาณของกระทรวงศึกษา
ธิการ มี 3 ชั้น ชั้นบนเป็นโรงยิมเนเซี่ยมซึ่งเป็นโรงยิมแห่งแรกของกรมสามัญศึกษา
3. อาคาร สุรีย์ เหวียนระวี สร้างเมื่อ พ.ศ 2538 ด้วยเงินบริจาคของคุณสุรีย์ เหวียนระวี และ
เงินสมทบของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาปริณายกอีกส่วนหนึ่ง
เป็นอาคารฝึกงานมี 4 ชั้น
4. อาคารสมเด็จพระญาณสังวร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2539 โดยสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระ
สังฆราช สกลมหาปริณายก ได้ประทานทรัพย์ส่วนพระองค์ที่มีผู้มีจิตศรัทธาและศิษยานุ
ศิษย์ถวายเป็นเงิน 93 ล้านบาท เป็นอาคารแฝด 5 ชั้น
ผู้บริหารโรงเรียนนับแต่วันก่อตั้งจนถึง ปัจจุบันมีจำนวน 37 ท่าน ผู้บริหารคนปัจจุบันคือ
นายสุธน คุ้มสลุด
โรงเรียนวัดบวรนิเวศจัดเป็นสถานศึกษาขนาดกลาง ประกอบด้วยครูอาจารย์ ชาย หญิงรวม
85 คน จำนวนนักเรียนชายล้วน รวม 1,446 คน มีอาคารเรียน 4 หลัง บ้านพักคนงาน(แฟลต)จำนวน
20 หน่วย) 1 หลัง
ลักษณะการจัดหลักสูตร ใช้หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง
พ.ศ 2533) และหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช 2524 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2533) โดยมี
จุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนานักเรียนให้มีลักษณะที่พึงประสงค์ทั้งในด้านสติปัญญา ความรู้ ทักษะ ร่างกาย
อารมณ์ สังคมและจิตใจ ดังนี้
1. หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2533) โรงเรียนวัด
บวรนิเวศจัดการศึกษาตามหลักสูตรโดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตและการศึกาาต่อ
มีความรู้ ทักษะเพียงพอที่จะเลือกและตัดสินใจในการประกอบสัมมาอาชีพตามความถนัดและความ
สนใจของตนเอง สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ มีความคิดสร้างสรรค์ที่จะทำประโยชน์ให้กับสังคม
2. หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช 2524 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2533) โรงเรียน
110
วัดบวรนิเวศจัดการศึกษาตามหลักสูตรโดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนพัฒนาคุณภาพชีวิต มีความรู้และทักษะ
เฉพาะด้าน มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถเป็นผู้นำในการวางแผนแก้ปัญหา โดยนำวิธีการใหม่ๆไปใช้
ในการพัฒนาชุมชนของตน มีเจตคติที่ดีต่ออาชีพ เห็นช่องทางในการประกอบอาชีพ รักการทำงาน
สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โรงเรียนวัดบวรนิเวศจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดย
เน้นนักเรียนเป็นสำคัญตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ 2542 ดังนี้
1. จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้นักเรียนได้เลือกเรียนวิชาเลือกเสรีและวิชาพื้นฐานวิชาชีพ
อย่างหลากหลาย เลือกกิจกรรมเสริมหลักสูตรตามความถนัดและความสามารถ
2. จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นการทดลอง การปฏิบัติจริง การประดิษฐ์คิดค้น และ
การแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง เพื่อให้สามารถคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณ มีความ
คิดสร้างสรรค์และมีวิสัยทัศน์
3. จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยปลูกฝังให้นักเรียนมีจิตสำนึกที่เกิดบนผืนแผ่นดินไทย
ช่วยกันอนุรักษ์ทรัพยากรของชาติ ตลอดจนศิลปวัฒนธรรมไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่น
4. จัดกิจกรรมการสอนโดยสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมให้นักเรียนมีวินัย มีความรับผิดชอบ
และมีความเป็นประชาธิปไตย รู้จักสิทธิและหน้าที่ของตนเอง
5. จัดกิจกรรมการเรียนการสอนส่งเสริมให้ผู้เรียนมีสุนทรียภาพทั้งด้านดนตรี ศิลปะและการ
กีฬา มีสุขภาพและจิตใจที่ดี เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันจากสิ่งไม่พึงประสงค์
6. จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้แหล่งภูมิปัญญาและวิทยากรท้องถิ่น
7. จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใชห้ผู้สอนนำสื่อเทคโนโลยีมาใช้อย่างหลากหลายเหมาะ
สม
8. จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เสริมสร้างประสบการณ์ด้านการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารใน
ชีวิตประจำวัน
9. จัดกิจกรรมการเรียนการสอนส่งเสริมทัศนคติที่ดีต่อสัมมาอาชีพอย่างหลากหลายและเผย
แพร่ผลงานเพื่อฝึกประสบการณ์และหารายได้ระหว่างเรียน
10. จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้บรรลุผลตามหลักสูตรขั้นพื้นฐาน นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ประเมินตามหลักสูตร
111
กิจกรรมที่จัดโดยให้นักเรียนมีส่วนร่วมในปีการศึกษา 2544
1. การเลือกตั้งประธานนักเรียน
2. การเลือกตั้งคณะกรรมการนักเรียน
3. การเลือกตั้งประธานคณะสีและกรรมการนักเรียน
4. กิจกรรมวันไหว้ครู
5. กิจกรรมวันหล่อเทียนจำนำพรรษาและการแห่เทียน
6. โครงการอบรมพัฒนาจิต”ค่ายคุณธรรม” เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระบรมราชินีนารถ
และวันแม่
7. โครงการบรรพชาสามเณร 19 รูป เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลเนื่องในวันประสูติสมเด็จพระ
สังฆราช สกลมหาปรินายก
8. โครงการคุ้มครองผู้บริโภคอบรมผู้พิทักษ์ 3 ป
9. โครงการอบรมผู้นำเยาวชนต่อต้านยาเสพติด
10. โครงการกีฬาสีระหว่างคณะ
11. โครงการฟุตบอลสมานมิตรระหว่างโรงเรียนในกลุ่ม
12. กิจกรรมระหว่างโรงเรียน เช่นการแข่งขันตอบปัญหาทางวิชาการ
13. กิจกรรมภายนอกโรงเรียนจากหน่วยงานอื่นๆเช่น การแข่งขันหมากล้อม ค่ายคุณธรรม ลูก
เสือโลก เป็นต้น
การจัดบริการและสวัสดิการ
งานพยาบาล ให้การดูแลรักษาพยาบาลเบื้องต้นให้แก่นักเรียน มีการประกันอุบัติเหตุ รักษา
สุขภาพกายและสุขภาพจิต
งานห้องสมุด บริการหนังสือเอกสารความรู้ทางวิชาการ บันเทิง สารคดี สื่อ สิ่งพิมพ์ที่เหมาะ
สมและจำเป็นต่อการเรียนรู้
งานแนะแนวการศึกษา ให้บริการแนะแนวการศึกษาต่อและการเลือกอาชีพ บริการให้คำ
ปรึกษาปัญหาส่วนตัว สังคม และบุคลิกภาพ บริการทุกนการศึกษา ทุนกู้ยืม สวัสดิการเครื่องแบบนัก
เรียน หนังสือเรียน รองเท้า ทุนอาหารกลางวัน
งานโสตทัศนูปการ ให้บริการสื่อ เทคโนโลยีด้านการศึกษา บันเทิง สารคดี ตามความสนใจ
ของผู้เรียน
112
งานอาหารและโภชนาการ มีบริการตรวจสอบความเหมาะสมของการให้บริการด้านอาหาร
และโภชนาการด้านความปลอดภัยและคุ้มครองผู้บริโภค
งานประชาสัมพันธ์ เป็นสื่อกลางในการติดต่อประสานงานภายในและภายนอกโรงเรียน ให้
การสื่อสารข่าวสารการเรียนรู้แก่บุคคลทั่วไป
กิจกรรมสหกรณ์ เป็นบริการสวัสดิการสินค้า เครื่องดื่มที่มีคุณภาพและ อุปกรณ์การเรียนที่จำ
เป็นแก่บุคลากรภายในโรงเรียนด้วยคุณภาพและราคาถูก
งานอาคารและสถานที่ เป็นบริการจัดสิ่งแวดล้อมภายในอาคารเรียนให้มีความสะดวก เหมาะ
สมและปลอดภัย แก่ผู้เรียน จัดบรรยากาศให้ร่มรื่นด้วยการตกแต่งต้นไม้กระถาง ปลูกไม้ยืนต้นบริเวณ
ระหว่างอาคารเรียน
จากการศึกษาการเข้าร่วมกิจกรรมของกรณีศึกษาทั้ง 10 กรณี สามารถแสดงในรูปตารางได้
ดังนี้
ตารางที่ 1 ตารางแสดงการเข้าร่วมกิจกรรม
กรณี
ศึกษาที่
กิจกรรมที่เข้าร่วม เหตุผลที่เข้าร่วมกิจกรรม ผลที่ต้องการ
และสิ่งที่ได้รับ
1 -เป็นคณะกรรมการนักเรียน ฝ่าย
ประชาสัมพันธ์
-หัวหน้าแผนกเชียร์ของคณะสี
-หัวหน้าคุมกีฬาแบตมินตัน
-ดูแลจัดระเบียบแถวให้กับคณะสี
-เป็นตัวแทนไปแข่งขันภาษาอังกฤษ
นอกโรงเรียน
-สมัครใจเข้ารับการคัดเลือก
-เต็มใจในการทำงาน
-ช่วยโรงเรียนให้มีคน
ทำงาน
-ได้ประสบการณ์และรู้
ว่าควรจะทำอะไรอีก
2 -เป็นเลขาคณะกรรมการนักเรียน
-เป็นผู้นำวงดุริยางค์
-เข้าร่วมชมรมเพื่อนเพื่อเพื่อน
-เป็นรองประธานคณะสี –ทำงานที่
ครูอาจารย์มอบหมายพิเศษ
1.เรียนรู้ประสบการณ์(ทำสิ่ง
ใหม่ๆไปเรื่อยๆ)
2.เรียนรู้ประสบการณ์จากโรง
เรียนประถมศึกษาเพราะครู
จับให้ทำกิจกรรม
-กำลังใจและความร่วม
มือ
-ดีใจ ภูมิใจที่ได้ช่วยใคร
สักคนและได้ทำงาน
สำเร็จ
113
-เป็นสมาชิกกลุ่มเพื่อนเพื่อเพื่อน
ระดับกรมสามัญ 113โรงเรียน
-เป็นสมาชิกเครือข่ายเยาวชน
3.ได้รับการเลี้ยงดูมาแต่เล็กๆ
3 -ช่วยงานหัวหน้าหมวดกิจกรรม
-เข้าค่ายลูกเสือโลก
-เข้าร่วมแข่งขันหมากล้อม
-สมัครใจเข้าอบรมค่ายคุณธรรม
-เป็นตัวแทนคณะกรรมการนักเรียน
ระดับชั้นม.2
-ช่วยทำความสะอาดห้องปกครอง
1. สมัครใจ
2. อาสาสมัคร
3. เพื่อนชวน
4. ครูชวน
-อยากไปเองและจาก
การชักชวนของเพื่อน
และรุ่นพี่และครู
-ทำแล้วดี ชอบ ได้
ประสบการณ์ใหม่ๆ
4 -ช่วยงานหัวหน้าหมวดกิจกรรม
-สมัครเข้าค่ายอบรมคุณธรรม
-ไปแข่งขันตอบปัญหานอกโรงเรียน
-เป็นนักดนตรีเล่นดุริยางค์วงโรง
เรียน
-สมัครเข้าค่ายต่อต้านยาเสพติด
1. สมัครใจ
2. อยากทำ
3. เพื่อนชวน
-อยากทำ อยากได้
ความรู้
-มีความสุขได้ความรู้ได้
ประสบการณ์
5 -นำสวดมนต์ทุกวันศุกร์ในกิจกรรม
ค่ายคุณธรรม
-นำอาราธนาศิลป์ในวันต้นเดือนที่
นิมนต์พระมาเทศฯ
-เป็นผู้นำนักเรียนรุ่นน้องไปฟังเทศน์
ที่โบสถ์ของพุทธสมาคม(ตัวแทน
อาจารย์หัวหน้าหมวดกิจกรรม)
-ทำโครงการซาเล้งถนน
-ถือกล่องรับบริจาคช่วยเหลือเด็ก
ปัญญาอ่อน
-เป็นพี่เลี้ยงสามเณร
1. สมัครใจ
2.ครูชักชวน
3. อาสาสมัคร
-อยากหาความรู้ ประสบ
การณ์ ใช้เวลาว่างให้เกิด
ประโยชน์
-ภูมิใจที่ได้ช่วยให้คน
เป็นคนดี
-ภูมิใจในผลงาน
6 -เป็นเลขาคณะกรรมการนักเรียน 1. ได้รับคัดเลือก -ทำด้วยความสมัครใจ
114
-เป็นรีดเดอร์คณะ
-เข้าร่วมแสดงโขนในกิจกรรมแห่
เทียน
2. สมัครใจ ไม่ได้หวังสิ่งตอบแทน
-ทำแล้วรู้สึกเหนื่อยแต่ก็
ดี
7 -ช่วยงานอาจารย์ห้องวัดผล
-ช่วยงานอาจารย์ที่ปรึกษาเช็คชื่อนัก
เรียน
-ช่วยงานอาจารย์ห้องพยาบาล
-รับใช้อาจารย์ตามที่มอบหมาย
-เข้าค่ายอบรมคุณธรรม
-บวชสามเณรวันแม่แห่งชาติ
1. สมัครใจทำ
2. อาสาสมัคร
-อยากช่วยเหลือ
-อยากหาความรู้ ประสบ
การณ์
8 -เป็นพี่เลี้ยงสามเณร
-เข้าร่วมอบรมสิ่งแวดล้อม
-ช่วยเหลืองานอาจารย์ที่มอบหมาย
1.สมัครใจ
2. สนใจ
-ทำแล้วได้บุญ
-ใช้เวลาให้เกิด
ประโยชน์
9 -เป็นอนุกรรมการคณะสี
-เป็นกรรมการส่งเสริมวินัยและคุณ
ธรรม
-เล่นดนตรีไทยวงโรงเรียน
-เป็นนักร้องเพลงไทยเดิมของวง
ดนตรีไทย
-นำร้องเพลงชาติ
-ช่วยครูจัดบอร์ด
1.ชอบทำ ทำแล้วสบายใจ
10 -เข้าอบรมผู้พิทักษ์ 3 ป
-เข้าอบรมคุณธรรม
-บวชสามเณร
-ช่วยงานอาจารย์ห้องวัดผล ห้องสมุด
-ช่วยอาจารย์ถืออุปกรณ์การสอน
1.ครูชักชวน
2.สมัครใจ
3.สนใจ ชอบทำ
-อยากให้คนรัก
-ดีเพราะได้บุญ ได้ช่วย
คน
จากตารางที่ 1 พอสรุปได้ว่าเยาวชนทั้ง 10 กรณีมีเหตุผล 4 ประการในการเข้าร่วมกิจกรรมดังนี้คือ
115
1. สมัครใจเข้าร่วมกิจกรรมที่โรงเรียนเปิด
2. ครูชักชวนให้เข้ามาทำเพราะเห็นว่ามีความสามารถ
3. มีความชอบเป็นพื้นฐานจึงอาสาเข้ามาทำงานนั้นๆ
4. อยากทำเพราะอยาก เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
ซึ่งสามารถสรุปได้ว่าการเข้าร่วมทำกิจกรรมนั้นเยาวชนมีพื้นฐานความชอบอยู่แล้ว เมื่อโรง
เรียนเปิดโอกาสให้นักเรียนเข้าร่วมจึงสมัคร บางกรณีก็อาสาเข้าช่วยทำ บางกรณีได้รับการชักชวนจาก
เพื่อนและครูโดยทั้งนี้ต้องมีความชอบพอ ความสนใจเป็นทุนเดิมอยู่ก่อนแล้ว และเมื่อทำแล้วได้รับ
ความรู้และประสบการณ์ มีความสุข สบายใจ และภาคภูมิใจจากผลงานที่ได้ทำ
ผลจาการสัมภาษณ์นักเรียนทั้ง 10 กรณี มีความเห็นสอดคล้องต้องกันว่า การจัดบรรยากาศ
ภายในโรงเรียนดี มีความร่มรื่น สะอาด มีความเป็นระเบียบ สงบ กฎข้อบังคับของโรงเรียนอยู่ในเกณฑ์
ดี การจัดการเรียนการสอนอยู่ในเกณฑ์ดี ความสัมพันธ์ระหว่างครูและนักเรียน มีความสนิทสนมกันดี
โอกาสในการเข้าร่วมกิจกรรม มีมาก ได้เข้าร่วมบ่อยครั้ง ความรู้สึกต่อการเรียนการสอนของครู อยู่ใน
เกณฑ์ดี สภาพห้องเรียน สะอาด โปร่ง อากาศถ่ายเทดี จำนวนนักเรียนไม่แน่นจนเกินไป นักเรียน
สามารถปฏิบัติตามกฎข้อบังคับของโรงเรียนระดับดี นักเรียนมีโอกาสช่วยเหลืองานโรงเรียนบ่อยครั้ง
นักเรียนมีโอกาสช่วยเหลืองานโรงเรียนบ่อยครั้ง จึงสรุปได้ว่าโรงเรียนเป็นสถาบันที่มีกระบวนการขัด
เกลาให้เกิดพฤติกรรมที่พึงประสงค์ได้โดยเฉพาะพฤติกรรมทำความดีเพื่อสังคม ซึ่งเกิดจากการจัด
บรรยากาศที่ดี สงบร่มรื่น การจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมให้มีกิจกรรมสนองความถนัด ความ
สามารถ ความสนใจของผู้เรียนเปิดโอกาสให้เยาวชนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น สามารถใช้
ศักยภาพของตนในการแสดงออกอย่างเหมาะสม และมีระเบียบกฏเกณฑ์ที่มีความพอดี
116
3. ทัศนคติต่อการทำความดีเพื่อสังคม
ตารางที่ 2 ตารางแสดงทัศนคติต่อการทำความดีเพื่อสังคม
กรณีศึกษา การทำความดีเพื่อสังคม ทัศนคติต่อการทำความดีเพื่อสังคม
1 1. เป็นหัวหน้ากีฬาแบตมินตัน เป็น
หัวหน้าแผนกเชียร์ เป็นตัวแทน
ของโรงเรียนไปแข่งขันทางวิชา
การ
2. ช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วมภาคใต้
บริจาคเสื้อผ้า ทำบุญ
3. สงสารและเห็นใจเพื่อนที่ไม่มี
เวลาต้องทำงานหาเลี้ยงตัวเอง ได้
ช่วยเหลือเขาให้คำแนะนำ ให้กำลัง
ใจ
1.รับรู้ว่าการทำเพื่อสังคมคือช่วยให้คน
อื่นดีขึ้น
2. รู้สึกชอบทำเพราะเป็นความรับผิดชอบ
อยากให้สังคมดีมีระเบียบ
3. พร้อมที่จะจัดระเบียบสังคม ได้ทำใน
โรงเรียนคือจัดระเบียบแถวนักเรียนทุกเช้า
ดูแลให้เพื่อนในห้องอยู่ในระเบียบไม่คุย
เล่น
2 1. เป็นเลขานุการคณะกรรมการนัก
เรียน ผู้นำวงดุริยางค์ กรรมการ
ชมรมเพื่อนเพื่อเพื่อนทั้งในและ
นอกโรงเรียน
2. รองประธานคณะสี สมาชิกเครือ
ข่ายชุมชน
3. มีจิตใจเมตตาสงสาร ให้การเลี้ยงดู
สัตว์
1.การปลูกฝังจากทางครอบครัว ครูทำให้
ชอบทำงานเพื่อสังคม
2. มีความชอบสนใจที่จะทำงานเพราะรู้ว่า
ทำแล้วได้ประสบการณ์ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
3. มีความพร้อมที่จะทำ และมีโครงการ
ชมรมกลุ่มลูกสน
3 1. ช่วยเหลืองานโรงเรียน ช่วยงาน
อาจารย์ เข้าค่ายคุณธรรม เป็นตัว
แทนกรรมการนักเรียนระดับชั้น
ม.2 ช่วยงานบ้านดูแลบ้าน กวาด
1. รับรู้ว่าการทำงานเพื่อสังคมต้องอด
ทน เสียสละและทุ่มเท
2. รู้สึกชอบทำ ทำแล้วมีความสุข ได้
ประสบการณ์ใหม่ๆ
117
บ้าน ล้างจาน ช่วยงานมารดา กวาด
ลานบ้านในชุมชน
2. บริจาคเสื้อผ้า เงิน ทำบุญกัณฑ์
เทศน์ ให้เพื่อนยืมเงิน
3. พาสุนัขไปผ่าตัดเนื้องอก ดูแลให้
ข้าวเลี้ยงดูสุนัข
3. ถ้ามีคนให้ช่วย เหลืออะไรก็ พร้อมที่
จะทำ
4 1. ช่วยงานหัวหน้าหมวดกิจกรรม เข้า
ค่ายอบรมคุณธรรม เป็นตัวแทน
แข่งขันตอบปัญหา อบรมต่อต้าน
ยาเสพติด
2. ไปวัดทำบุญ ไหว้พระ บริจาคเงิน
ติดกัณเทศน์
3. รับรู้ว่าการทำเพื่อสังคมคือการช่วย
เหลือแสดงถึงความมีน้ำใจ
4. ทำแล้วรู้สึกภูมิใจ
5. ถ้ามีคนให้ช่วยเหลือก็พร้อมที่จะทำ
5 1. เป็นผู้นำการสวดมนต์ เป็นพี่เลี้ยง
สามเณร ทำโครงการซาเล้งถนน
เป็นผู้นำน้องๆไปฟังเทศน์ ถือ
กล่องรับบริจาคเงินช่วยคนตาบอด
ช่วยอาจารย์ห้องพยาบาล อบรม
คุณธรรม
2. เอื้อเฟื้อคนตาบอดด้วยการนำเยาว
ชนและช่วยหาเงินบริจาคเพื่อคน
ตาบอดได้เงินแสนกว่าบาท
3. ทำโครงการอบรมแกนนำค่ายคุณ
ธรรม
1. รับรู้ว่าการทำความดีต้องเสียสละทั้ง
กำลังกายและจิตใจ
2. มีความสุขที่ได้ทำให้คนเป็นคนดี
3. มีโครงการทำในอนาคตอยู่แล้ว
6 1. เป็นเลขานุการคณะ เป็นเชียร์รีด
เดอร์ เล่นโขนในกิจกรรมแห่เทียน
คุมวงดุริยางค์ เป็นพี่เลี้ยงสามเณร
2. ทำบุญใส่บาตร บริจาคทรัพย์ช่วย
1. รับรู้ว่าการทำความดีต้องเสียสละทุ่ม
เท
2. ทำแล้วเห็นคุณค่าว่าดีมีประโยชน์
โดยการทำให้ส่วนรวมก่อนตัวเองที
118
น้ำท่วมภาคใต้
3. สงสารเห็นใจสัตว์ผู้ตกยาก
หลัง
3. มีความคิดที่จะทำในอนาคตเช่น เป็น
กรรมการนักเรียนเมื่อตนอยู่ม.6(ปีสุด
ท้ายของโรงเรียน)
7 1. ช่วยงานอาจารย์ ช่วยซื้อของ อบรม
คุณธรรม บวชเพื่อถวายเป็นพระ
ราชกุศลสมเด็จพระสังฆราช ช่วย
ยายข้างบ้าน ช่วยคนตาบอด
2. ทำบุญใส่บาตร บริจาคช่วยคนน้ำ
ท่วมภาคใต้ คนจนในสลัมคลอง
เตย
3. สงสารคนถูกทำร้าย คุณยายที่ถูก
ทอดทิ้ง ให้ความช่วยเหลือพูดคุย
ให้กำลังใจเป็นธุระให้
1. เกิดการเรียนรู้จากการอบรมสั่งสอน
ของมารดา
2. เห็นคุณค่าของการช่วยเหลือ ช่วยแล้ว
ได้ความรัก มีคนรัก ชอบทำ
3. ถ้ามีโอกาสก็พร้อมที่จะทำ
8 1. ช่วยเหลือโรงเรียนทำกิจกรรม เป็น
พี่เลี้ยงสามเณร ช่วยงานอาจารย์ที่
มอบหมาย อบรมสิ่งแวดล้อม ช่วย
งานวัด
2. บริจาคเงินช่วยคนตาบอด ให้เพื่อน
ยืมเงินแล้วไม่เอาคืน
3. สงสารคนพิการอยากช่วยเหลือ
ช่วยบริจาคเงินให้คนตาบอด
1. รับรู้ว่าการช่วยเหลือเป็นสิ่งที่ดี ได้
ประสบการณ์ ได้พัฒนาโรงเรียนตัว
เองได้ความรู้
2. เห็นคุณค่าว่าได้ประโยชน์ทำให้โรง
เรียนพัฒนา ตนเองได้ความรู้ได้
ประสบการณ์
3. ถ้ามีคนขอให้ช่วยเหลือก็ยินดีช่วย มี
โครงการอยากช่วยคนพิการ
9 1. ช่วยโรงเรียนด้วยการเป็นคณะ
กรรมนักเรียน เล่นดนตรีไทย เป็น
นักร้องวงดนตรีไทย นำร้องเพลง
ชาติ ช่วยงานชุมชนบางลำพู
2. รับบริจาคทรัพย์ สิ่งของ นำไปช่วย
1. มีความคิดในการช่วยคนเพราะภายใน
ครอบครัวจะเป็นผู้ช่วยเหลือคนเดือด
ร้อนอยู่แล้ว
2. ทำเพราะเห็นว่าดีมีคุณค่า เช่นอยาก
ให้โรงเรียนมีชื่อเสียงจึงช่วยปฏิบัติ
119
น้ำท่วมภาคใต้ ช่วยอุบัติภัยในชุม
ชน
3. สงสารเห็นใจผู้เดือดร้อนมีอะไร
ช่วยได้ก็ช่วยโดยที่ตัวเองไม่เดือด
ร้อน
ตนเป็นตัวอย่าง
3. เมื่อมีเหตุการณ์ที่ผู้อื่นเดือดร้อน
สามารถช่วยได้ทันที
10 1. ช่วยเหลืองานอาจารย์ อบรมคุณ
ธรรม บวชเณรเพื่อถวายเป็นพระ
ราชกุศลสมเด็จพระสังฆราช
2. เอื้อเฟื้อแบ่งปันช่วยเหลือเพื่อนฝูง
ทำบุญบริจาคทรัพย์
3. สงสารคนแก่ ขอทาน คิดอยากช่วย
ให้เขามี
1. รับรู้ว่าทำแล้วดีมีคนรัก เชื่อว่าทำ
ความดีเป็นบุญสะสม
2. ชอบทำอยากให้ผู้ร่วมงานรัก ทำแล้ว
มีความสุข สบายใจที่ช่วยแบ่งเบาภา
ระคนอื่น ช่วยให้งานเสร็จตามเป้า
หมาย
3. คิดจะทำถ้ามีโอกาส
จากตารางที่ 2 สรุปได้ว่าทั้ง 10 กรณีได้ทำกิจกรรมให้กับ บ้าน โรงเรียน ชุมชน และสังคม
ด้านการช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และเมตตากรุณา เป็นผลเนื่องมาจากได้รับการถ่ายทอดมาจาก
การอบรมเลี้ยงดูและการเป็นแบบอย่างของบิดามารดาหรือผู้ปกครองโดยรู้ว่าสิ่งที่ได้ทำให้ประโยชน์
ให้ความรู้ และประสบการณ์ และได้รับความรัก ความดี เกิดความรู้สึกชอบและภูมิใจที่ได้ทำและเมื่อ
มีโอกาสก็พร้อมที่จะทำเพื่อสังคม
บทที่ 5
สรุป อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
การศึกษาการทำความดีเพื่อสังคมของเยาวชน : กรณีศึกษานักเรียนโรงเรียนวัดบวรนิเวศ
เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำความดีเพื่อสังคม
ของเยาวชน กลุ่มตัวอย่างใช้นักเรียนที่ทำความดีด้านการบำเพ็ญประโยชน์ให้แก่บ้าน โรงเรียน
และชุมชน โดยผ่านการคัดกรองจากอาจารย์ที่ปรึกษา หัวหน้าระดับชั้น และผู้วิจัยสุ่มแบบเจาะจง
จำนวน 10 กรณี
การเก็บรวบรวมข้อมูลในครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เป็นราย
บุคคล และสัมภาษณ์แบบเจาะลึกโดยเปิดโอกาสให้กรณีศึกษาพูดได้อย่างอิสระในสิ่งที่เกิดขึ้น
ภายในครอบครัวโดยการป้อนคำถามเป็นประเด็น ๆ โดยอาศัยการพูดคุยกันแบบไม่เป็นทางการ
ผลการศึกษาสามารถสรุปได้ดังนี้
1. ข้อมูลลักษณะส่วนตัว
2. ตัวแปรสภาพแวดล้อมทางสังคม โดยจำแนกออกเป็น 2 ด้าน คือ ด้านสภาพแวดล้อม
ทางครอบครัว และด้านสภาพแวดล้อมทางโรงเรียน
3. ตัวแปรลักษณะทางจิต ซึ่งได้ศึกษาทัศนคติต่อการทำความดีเพื่อสังคม
สรุปผลการวิจัย
1. ข้อมูลลักษณะส่วนตัว
ผลการศึกษากรณีศึกษาทั้ง 10 กรณีเป็นชายล้วน กำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนวัดบวรนิเวศระดับ
ชั้น ม.2 ถึง ม.6 ผลการเรียนเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลางถึงดี( 2 – 3.1)มีอายุระหว่าง14-18 ปี พบ
วา่ นกั เรยี นทงั้ 10 กรณีมีลักษณะพฤติกรรมด ี ประพฤตดิ ี ช่วยเหลือกิจกรรมทางบ้านและโรงเรียน
เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ บริจาคทรัพย์ สิ่งของ และมีจิตใจดี มีน้ำใจเมตตากรุณาต่อผู้ด้อยกว่า
2. ตัวแปรด้านสภาพแวดล้อมทางสังคม ซึ่งแบ่งเป็น 2 ด้าน คือ ด้านสภาพแวดล้อมทางครอบ
ครัว และสภาพแวดล้อมทางโรงเรียน
121
2.1 สภาพแวดล้อมทางครอบครัวแบ่งออกเป็น 3 ประเด็นได้แก่ ลักษณะของครอบครัว
และบรรยากาศภายในครอบครัว วิธีการเลี้ยงดูและการอบรมสั่งสอน และตัวแบบในครอบครัว ซึ่ง
สรุปได้ดังนี้
2.1.1 ลักษณะครอบครัวและบรรยากาศในครอบครัว
สรุปโดยส่วนใหญ่มาจากครอบครัว ที่มีความสมบูรณ์ บิดามารดาและบุตรอยู่ร่วมกัน
อย่างมีความสุข มีความสัมพันธ์สนิทสนม พูดคุยปรึกษาหารือกันดี ช่วยเหลือเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน
รับประทานอาหารร่วมกันในมื้อเย็นเป็นประจำ ดูโทรทัศน์ด้วยกัน ไปเที่ยว รับประทานอาหารนอก
บ้านตามโอกาสอันควร ซึ่งจัดได้ว่าเป็นบรรยากาศที่ส่งเสริมให้บุตรมีความสุข อบอุ่น ปฏิบัติตน
เป็นคนดี ทำความดีตามแบบอย่างที่ได้รับ ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษา ของ กระบี่ ชลวิทย์ (2543)
ที่พบว่า ครอบครัวที่มีคุณภาพประกอบด้วยความรักใคร่ กลมเกลียว สมานฉันท์ ช่วยเหลือเกื้อกูล
เอื้ออาทร มีการพูดคุยให้เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน แก้ปัญหาจนสำเร็จลุล่วงเมื่อผู้ใดประสบ
ปัญหามีการให้กำลังใจ เมื่อผู้ใดในครอบครัวมีความขัดแย้งต้องมีการให้อภัยซึ่งกันและกัน
ส่วนประเด็นที่แตกต่างคือ ส่วนน้อยที่เกิดจาการศึกษาพบว่ามีลักษณะของการอยู่ร่วม
ครอบครัวแบบลักษณะแตกแยกคือพ่ออยู่ทาง แม่อยู่ทาง ซึ่งจัดได้ว่าเป็นครอบครัวที่ไม่อบอุ่น
ขาดความสมบูรณ์และความเหนี่ยวแน่นภายในครอบครัว แต่เยาวชนทั้ง 3กรณียังสามารถเป็นคน
ดีและทำความดีเพื่อสังคมได้ เนื่องมาจากชีวิตในวัยเด็กของทั้ง 3 กรณีเป็นเยาวชนที่มีพื้นฐานใน
วัยเริ่มต้นของชีวิต (0-6 ขวบ) มีการพัฒนาการที่มีความมั่นคงทางครอบครัวและได้รับการยอมรับ
ความไว้วางใจจากบุคคลรอบข้าง เยาวชนจึงมีความไว้วางใจ เชื่อใจ ได้รับการยอมรับ ได้รับการ
เสริมสร้างความมั่นคงทางจิตใจจากผู้อุปการะเลี้ยงดูซึ่งทำหน้าที่แทนบิดามารดาผู้ให้กำเนิด และ
อีกประการหนึ่งบิดามารดาเองก็ไม่ได้ทอดทิ้งเด็ก ยังมีการสื่อสารติดต่อสัมพันธ์กันตลอดระยะ
เวลาที่ตนเองไม่สามารถทำหน้าที่เลี้ยงดูแต่ก็ให้การอบรมสั่งสอน และมีการพบกันตามโอกาสอัน
ควร มีการแสดงความรักด้วยการสัมผัสทางกาย หรือใช้คำพูดที่แสดงถึงความรู้สึกห่วงใย เยาวชน
จึงสามารถเรียนรู้ได้ว่าตนไม่ได้ถูกทอดทิ้ง เยาวชนที่ได้รับการพัฒนาตามช่วงชีวิตที่เหมาะสมตาม
ขั้นตอนตามพัฒนาการทางสังคมของอิริคสันเชื่อว่าในระดับช่วงวัยต่างๆย่อมมีพัฒนาการที่ถูกต้อง
เหมาะสมโดยเฉพาะเยาวชนในช่วงวัยรุ่นนี้เด็กได้ผ่านช่วงวัยแสวงหาความรักสู่การยอมรับและ
พัฒนาการสู่การสร้างชื่อเสียงให้ตนเองและครอบครัวตามลำดับจึงเกิดความรู้สึกเห็นคุณค่าในตน
เองและสามารถพัฒนาตนเองไปสู่ความสำเร็จของชีวิตได้(วัชรี ธุวธรรม 2540 : 131)
2.1.2 วิธีการเลี้ยงดูและการอบรมสั่งสอน
122
ผลจากการศึกษาวิธีการเลี้ยงดูสรุปได้ 3 ลักษณะตามลำดับดังนี้ การอบรมเลี้ยง
ดูแบบใช้เหตุผล การอบรมเลี้ยงดูแบบพึ่งตนเองเร็ว การอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุน การอบรม
เลี้ยงดูแบบควบคุม และการอบรมเลี้ยงดูแบบลงโทษทางจิต ซึ่งทั้ง 10 กรณีได้รับการอบรมเลี้ยงดู
ผสมผสานกันอย่างน้อยกรณีละ 2 วิธี ควบ คู่กันอาทิ เช่น การอบรมเลี้ยงดูแบบใช้เหตุผล และกา
รอบรมเลี้ยงดูแบบให้พึ่งตนเองเร็ว ซึ่งผลจากการเลี้ยงดูสามารถส่งเสริมบุคลิกภาพของเยาวชน
เหล่านี้ให้เป็นคนที่มีความคิดดี ทำความดี ซึ่งลักษณะการอบรมเลี้ยงดูแบบใช้เหตุผล ส่งผลให้
เยาวชนเหล่านี้คิดเป็น คิดเป็นเหตุเป็นผล ปฏิบัติตนดีทั้งกาย วาจา ใจ การเลี้ยงดูแบบให้พึ่งตนเอง
เร็ว ทำให้เขาสามารถพึ่งตนเองได้ ทำงานเป็น การเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุนช่วยส่งเสริมให้เขาเป็น
คนที่เต็มอิ่มด้วยความรัก ความอบอุ่น ส่งผลให้รู้จักรักผู้อื่น เห็นอกเห็นใจผู้อื่น จึงสรุปได้ว่า
ลักษณะการเลี้ยงดูมีส่วนส่งเสริมให้เยาวชนเหล่านี้ปฏิบัติตนเป็นคนดี และจากการอบรมสั่งสอน
ซึ่งจัดได้ว่าเป็นกระบวนการขัดเกลาทางสังคมหน่วยแรกที่เยาวชนได้รับจากครอบครัวส่งผลให้เป็น
คนรู้จักช่วยเหลือเอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ แบ่งปัน มีจิตใจเมตตากรุณา จึงช่วยเสริมให้เยาวชนเหล่านี้ทำ
ความดีเพื่อสังคม ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของจุฑามณี จาบตะขบ ที่พบว่า การเลี้ยงดูแบบรัก
สนับสนุน แบบใช้เหตุผล การเลี้ยงดูแบบลงโทษทางจิตมากกว่าทางกาย แบบควบคุมและแบบให้
พึ่งตนเองเร็วจากคนในครอบครัวเป็นปัจจัยหลักในการทำความดีเพื่อสังคม
2.1.3 ตัวแบบในครอบครัว
ผลจากการศึกษาตัวแบบในครอบครัวพบว่าบิดามารดาและผู้ปกครองเป็นแบบ
อยา่ งในการปฏบิ ตั ติ นดา้ นความรบั ผดิ ชอบตอ่ บทบาทหนา้ ที่ เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม แบบ
อย่างในการปฏิบัติตนด้านการช่วยเหลือเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เมตตากรุณา แบ่งปัน อุทิศตนเพื่อหน่วย
งาน ชุมชน เหล่านี้นับเป็นแบบอย่างในการทำความดีเพื่อสังคมของเยาวชนทั้ง 10 กรณี ซึ่งสอด
คล้องกับผลการศึกษาของ กระบี่ ชลวิทย์ (2543) ที่ว่า พ่อแม่หรือหัวหน้าครอบครัวต้องทำตนเป็น
แบบอย่างในการดำเนินชีวิตอย่างมีคุณธรรมในเรื่องความตั้งใจทำงาน ต้องอุทิศตนเพื่องาน
ทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ปฏิบัติตนตามหลักคุณธรรมของศาสนา รู้จักรักษาเกียรติวงศ์
ตระกูล
2.2 สภาพแวดล้อมทางโรงเรียน
สภาพแวดล้อมทางโรงเรียนที่ประกอบด้วยบุคลิกภาพของครู การจัดการเรียนการสอน
การจัดกิจกรรมภายในโรงเรียน กฏระเบียบข้อบังคับและบรรยากาศภายในโรงเรียนมีส่วนส่งเสริม
123
ให้เยาวชนมีพฤติกรรมการทำความดีเพื่อสังคมคือ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนมีส่วนส่งเสริม
ให้เยาวชนมีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมทั้งในและนอกโรงเรียน ครูอาจารย์มีส่วนส่งเสริมสนับสนุนให้
เยาวชนเหล่านี้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมและบรรยากาศของโรงเรียนมีความเป็นระเบียบ สงบ
ร่มรื่น โปร่งสบาย เหมาะต่อสภาพการเรียนการสอน และกฏระเบียบของโรงเรียนไม่เข้มงวดหรือ
หย่อนเกินไป เยาวชนสามารถรับได้และปฏิบัติตนได้อย่างอิสระ เปิดโอกาสให้รู้จักคิด และตัดสิน
ใจทำตามความต้องการของตนเองได้ จึงสรุปได้ว่าสภาพแวดล้อมทางโรงเรียนมีส่วนส่งเสริมให้
เยาวชนมีโอกาสทำความดีเพื่อสังคม
3. ตัวแปรลักษณะทางจิต
การศึกษาทัศนคติต่อการทำความดีเพื่อสังคม พบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดมีความรู้สึก
ชอบและภูมิใจที่ได้ทำกิจกรรมเพื่อบ้าน โรงเรียน และชุมชนที่ตนอยู่ และพร้อมที่จะร่วมมือทำเมื่อมี
โอกาส เพราะว่าเกิดจากการเรียนรู้ว่าสิ่งที่ทำนั้นดีงาม เกิดประโยชน์ให้ประสบการณ์ และได้รับ
ความรักตอบแทน ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ส่งผลให้กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดแสดงพฤติกรรมเป็นไปในทาง
ช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่และมีเมตตา กรุณา จนเป็นที่ยอมรับของผู้พบเห็น จึงสรุปว่าการมี
ทัศนคติที่ดีต่อการทำความดีเพื่อสังคมเป็นมูลเหตุส่งผลให้เยาวชนทำความดีเพื่อสังคม
การอภิปรายผลการวิจัย
จากการศึกษาข้อมูลด้านต่างๆที่ได้ศึกษาพฤติกรรมของเยาวชนที่ทำความดีเพื่อสังคมใน
โรงเรียนวัดบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร พอจะอภิปรายผลเชื่อมโยงกับแนวคิด ทฤษฎี
ได้ดังนี้
ด้านลักษณะส่วนตัวของทั้ง 10 กรณีเป็นลักษณะของคนดีคือ เป็นผู้มีความประพฤติดี
ทางกาย วาใจ ประพฤติตนอยู่ในศีลธรรม และเป็นผู้ประพฤติตามสุจริต 3 คือ มีสัมมาคารวะ พูด
จาไพเราะ มีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือผู้อื่น ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ทำประโยชน์เกื้อกูล
ช่วยเหลือส่วนรวม มีความจริงใจ ไม่เสแสร้งหรือทำเพื่อหวังสิ่งตอบแทน คนส่วนใหญ่ให้การยอม
รับเพราะทุกกรณีเป็นเยาวชนที่ได้รับเกียรติบัตรการทำความดีสาขา “การบำเพ็ญประโยชน์”จาก
โรงเรียนวัดบวรนิเวศโดยผ่านกรรมการการคัดเลือกจากอาจารย์ที่ปรึกษา หัวหน้าระดับชั้นเรียน
และกรรมการพิจารณาจัดสรรคัดเลือกนักเรียนเข้ารับเกียรติบัตร
และเมื่อจัดกลุ่มตามอายุของกรณีศึกษาสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มอายุตามขั้น
พัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบอร์ก ได้แก่กลุ่มอายุระหว่าง 14-16 ปี และกลุ่มอายุ 16 ปีขึ้นไป
124
ได้แก่อายุ 17-18 ปี ซึ่งกลุ่มอายุ14-16 ปี จัดอยู่ในระดับการพัฒนาการขั้นที่ 4 หลักการทำตาม
หน้าที่ทางสังคม (Authority and Social Order Maintaining Orientation) แสดงให้เห็นว่าเยาวชน
ทุกกรณีได้ทำความดีตามหน้าที่เป็นนักเรียนที่ดีทั้งกายและจิตใจคือ ปฏิบัติตามระเบียบกฎเกณฑ์
ของโรงเรียน โดยทำเพราะเห็นความสำคัญที่จะทำและถือเป็นหน้าที่ที่ตนพึงกระทำ อาทิเช่น
ปฏิบัติตามกฏระเบียบของโรงเรียน แต่งกายถูกระเบียบ ประพฤติตนเรียบร้อย ขยันตั้งใจเรียน มี
ความรับผิดชอบต่อตนเอง ช่วยเหลือครู เพื่อนและส่วนรวมตามที่เพื่อน ครู ขอร้องเพื่อส่วนรวม
ส่วนกลุ่มอายุ 17-18 ปี จัดอยู่ในขั้นพัฒนาการตามขั้นที่ 6 หลักการยึดอุดมคติสากล
(Conscience Orientation) ซึ่งเขาทำเพราะเป็นสำนึกของตนที่มีต่อสังคม ดังเช่นกรณีที่1 มีสำนึก
ในการพัฒนาสังคม อยากให้สังคมดีมีระเบียบ คิดอยากจัดระเบียบสังคมในโรงเรียน กรณีที่ 2 มี
ส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมเพื่อดึงชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมกันแก้ปัญหาสังคมภายในชุมชนของตน
และกรณีที่ 9 มีสำนึกในการจัดการให้โรงเรียนของตนดีมีชื่อเสียงก็ปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างที่ดีสร้าง
ชื่อเสียงให้โรงเรียน
จากลักษณะดังกล่าวสรุปได้ว่าเยาวชนที่ทำความดีทุกกรณีมีคุณสมบัติพื้นฐานของการ
เป็นคนดี มีพัฒนาการในการทำความดีตามลำดับขั้นของโคลเบอร์ก โดยมีมูลเหตุในการส่งเสริม
สนับสนุนให้ทำความดีดังต่อไปนี้
1. สภาพแวดล้อมทางสังคม
1.1 สภาพแวดล้อมทางครอบครัว
ผลจากการศึกษาด้านสภาพแวดล้อมทางครอบครัวพบว่ามูลเหตุที่ส่งเสริมให้เยาวชนกระทำ
ความดีและทำความดีเพื่อสังคม พอสรุปอภิปรายตามแนวคิดทฤษฎีการพัฒนาการทางสังคมของ
อิริคสัน กระบวนการขัดเกลาทางสังคมและหลักการเกิดพฤติกรรมตามรูปแบบปฏิสัมพันธ์นิยมได้
ดังนี้
จากการวิเคราะห์ลักษณะครอบครัวลักษณะที่ 1 เป็นกรณีศึกษาที่ครอบครัวหย่าร้าง แต่
ไม่ได้ทอดทิ้งเด็ก บิดามารดายังทำหน้าที่จัดหาผู้อุปการะเลี้ยงดูให้การอบรมสั่งสอน ให้ความรัก
ความเอาใจใส่ ดูแลควบคุมให้อยู่ในกรอบระเบียบวินัย ภายในครอบครัวไม่มีบรรยากาศที่ก่อให้
เกิดความขัดแย้ง ทารุณโหดร้าย อันส่งผลกระทบต่อจิตใจเด็กแต่อย่างใด นอกจากนั้นเยาวชน
เหล่านั้นยังได้รับการเอาใจใส่ห่วงใยจากบิดามารดา เขาจึงสามารถรับรู้และเข้าใจในสถานภาพ
ของทั้งสองฝ่ายได้ดี บรรยากาศในครอบครัวจึงไม่ส่งผลต่อการปฏิบัติตนเป็นคนดีเพราะเขามี
บุคคลอุปการะทำหน้าที่แทนบิดามารดา
125
จากครอบครัวลักษณะที่ 2 เป็นครอบครัวเดี่ยวและครอบครัวขยาย ซึ่งเป็นกรณีศึกษา
ส่วนใหญ่ของการศึกษาที่อยู่ในครอบครัวที่มีความสมบรูณ์พร้อมหน้าพ่อแม่ลูก บรรยากาศใน
ครอบครัวมีความสัมพันธ์กันดี มีความรัก ความอบอนุ่ มีความเข้าใจ บุตรปฏิบัติตนด ี ยอมรับฟัง
ความคิดเห็นซึ่งกันและกัน มีการทำกิจกรรมร่วมกัน จึงเป็นบรรยากาศที่เต็มไปด้วยความรักความ
อบอุ่น สมาชิกในครอบครัวรู้สึกมีความสุข รักใคร่ ให้ความยอมรับนับถือบิดามารดาเป็นแบบอย่าง
ในการปฏิบัติตน ส่งผลให้ประพฤติปฏิบัติตนเป็นคนดีตามเจตนาของผู้เลี้ยงดู ซึ่งสอดคล้องกับแนว
คิด ของ ชำนาญ นิศารัตน์ (2533) เกี่ยวกับลักษณะครอบครัวที่พึงประสงค์ ดังนี้
1. หัวหน้าครอบครัวที่มีความสามัคคีปรองดองกัน โดยเฉพาะถ้าบิดามารดามีการปรับ
ตัวที่ดีย่อมเป็นตัวอย่างในการปรับตัวสำหรับเด็ก ถ้าบิดามารดาไม่รู้จักปรับตัวเข้าหากันมีข้อขัด
แย้งกันบ่อยๆโดยไม่มีเหตุผลก็ย่อมสร้างนิสัยให้กับเด็กคล้อยตามไปด้วย เด็กอาจจะมีอารมณ์ขุ่น
มัว เศร้าหมอง ขาดเหตุผลเข้ากับคนอื่นได้ยาก
2. สร้างบรรยากาศในบ้านให้มีบรรยากาศแห่งความรักความเป็นมิตร ความปรารถนาดี
3. ต่อกันมีความสนิทสนมเป็นกันเอง สอดคล้องเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ทำให้เกิด
บรรยากาศที่อบอุ่นปลอดภัย มีความมั่นคงทางจิตใจ มีความเมตตาโอบอ้อมอารีเป็น
ประชาธิปไตยสอนให้มีระเบียบวินัยที่มั่นคงและสม่ำเสมอ การปลูกฝังลักษณะนิสัย
4. สร้างบรรยากาศในบ้านให้มีความสามัคคี ปราศจากความขัดแย้ง ให้แก่เด็กควร
ประกอบด้วยหลักสำคัญ 3 ประการคือ 1. เหมาะสมกับวัยและความสามารของเด็ก ไม่ควรเคี่ยว
เข็ญเด็กในเรื่องใดเรื่องหนึ่งจนเกินไป หรือเรียกร้องในสิ่งที่เด็กไม่มีความสามารถที่จะทำได้ 2. บิดา
มารดาและผู้ใหญ่ที่มีส่วนในการอบรมเลี้ยงดูบุตรหลานควรมีความเห็นคล้าย ๆ กัน ไม่ใช่คนหนึ่ง
อนุญาต อีกคนขัดแย้ง 3. การอบรมควรจะสม่ำเสมอ ผู้ใหญ่ไม่ควรใช้อารมณ์หรือใช้อำนาจ
บังคับ ควรชี้แจ้งด้วยเหตุผลให้เด็กเข้าใจว่าพฤติกรรมใดควรละเว้นเพราะอะไร การอบรมควรมุ่งจะ
ให้เด็กและเยาวชนมีพฤติกรรมที่เหมาะสมกับสภาพสิ่งแวดล้อมที่เป็นจริง สอดคล้องกับผลการ
ศึกษาของ องุ่น พูลทวี (2539) พบว่าครอบครัวเดี่ยว และครอบครัวขยายมีบทบาท 5 ด้านในการ
ส่งเสริมคุณธรรมของนักเรียนด้านความซื่อสัตย์ ความขยัน ความมีระเบียบวินัย การประหยัด
ความอดทน การตรงต่อเวลาและความใฝ่รู้ และบทบาทในด้านการเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่เด็กมาก
ที่สุด ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ ปรีชา คัมภีรปกรณ์ (2532:61-62) ที่กล่าวว่า บรรยากาศ
ในครอบครัวที่พ่อแม่เป็นประชาธิปไตยยอมรับฟังความคิดเห็นของลูก จะทำให้ลูกมีความอบอุ่น
กล้าแสดงออก กล้าแสดงความคิดเห็นมีความสุข รักครอบครัว พฤติกรรมที่แสดงออกก็เป็นไปใน
ทางที่ดีและสอดคล้องกับ ทรงพล ภูมิพัฒน์ (2538 : 105) ที่กล่าวว่าอิทธิพลของบรรยากาศใน
126
ครอบครัวมีผลต่อพฤติกรรมของเด็กมาก ครอบครัวที่มีบรรยากาศในทางที่ไม่ดีเด็กจะปรับตัวเข้า
กับสังคมไม่ได้ มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม ส่วนครอบครัวที่มีบรรยากาศที่ดีระหว่างแม่กับลูกจะทำให้
เด็กมีพฤติกรรมที่ดี คือปรับตัวได้ดี รู้จักพึ่งพาในสิ่งที่จำเป็น รู้จักร่วมมือ เป็นตัวของตัวเอง มีความ
มั่นคงทางจิตใจ มั่นใจในตนเองและรู้จักรับผิดชอบ และประยูรศรี มณีสร (2536:151-152) ได้
กล่าวว่าครอบครัวที่มีความสัมพันธ์ภายในบ้านดีมีความรักซึ่งกันและกัน พยายามละเว้นการ
ทะเลาะเบาะแว้งการแตกแยก เป็นแบบอย่างที่ดีแก่เด็ก ให้ความรักเท่าเทียมกัน ไม่ปล่อยปละละ
เลย มีโอกาสใกล้ชิดกัน รับประทานอาหารร่วมกันไปเที่ยวร่วมกัน บิดามารดาเข้าใจบุตร จัดหาสิ่ง
ที่วัยรุ่นต้องการให้ ให้รู้จักรับผิดชอบในกิจกรรมวัยเรียน เปิดเผยรายได้ของครอบครัว ให้เด็กได้มี
โอกาสใช้จ่ายเงินเป็นรายวัน รายอาทิตย์ ให้เด็กรู้จักตัดสินใจด้วยตนเอง เช่นเลือกเสื้อผ้าเอง เลือก
วิชาเรียนด้วยตนเอง สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องส่งเสริมพัฒนาการให้เยาวชนมีลักษณะที่พึงประสงค์ได้
และจาการศึกษาของ กระบี่ ชลวิทย์ (2543 ) เกี่ยวกับครอบครัวที่มีคุณภาพ พบว่า ทัศนะด้าน
ความรักใคร่ กลมเกลียว สมานฉันท์ ช่วยเหลือเกื้อกูล เอื้ออาทร มีการพูดให้เกิดความเข้าใจซึ่งกัน
และกัน แก้ปัญหาจนสำเร็จลุล่วงเมื่อผู้ใดประสบปัญหามีการให้กำลังใจ และเมื่อผู้ใดในครอบครัว
มีความขัดแย้งต้องมีการให้อภัยซึ่งกันและกัน มีภาพรวมทัศนะอยู่ในระดับสูงและเห็นด้วยมากที่
สุด
จึงสรุปได้ว่าลักษณะครอบครัวที่มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน มีความรักใคร่กลมเกลียวกัน มี
ความสามัคคีปรองดอง มีบรรยากาศแห่งความเป็นมิตร เป็นประชาธิปไตย ผู้ปกครองให้การเอาใจ
ใส่ดูแล สั่งสอน เป็นแบบอย่างในการปฏิบัติตน จัดได้ว่าเป็นบรรยากาศที่ส่งเสริมให้บุตรมีความสุข
อบอุ่น เด็กจึงซึมซับและลอกเลียนแบบในสิ่งที่ดีงามจากบุคคลที่ตนรักและศรัทธา ปฏิบัติตนเป็น
คนดี และทำความดีตามแบบอย่างที่ได้รับ
วิธีการอบรมเลี้ยงดู
ผลจากการศึกษาวิธีการอบรมเลี้ยงดูสรุปได้ 3 ลักษณะตามลำดับดังนี้
1. การอบรมเลี้ยงดูแบบใช้เหตุผล คือ บิดามารดาให้เหตุผลแก่บุตรในสิ่งที่ควรทำและไม่
ควรทำ เมื่อทำผิดจะได้รับการลงโทษว่ากล่าวตักเตือน เมื่อทำดีจะได้รับรางวัล บุตรสามารถรู้ได้ว่า
พฤติกรรมใดควรทำและไม่ควรทำ จะถามหรือขออนุญาตก่อนเพื่อความเหมาะสม ดังกรณีศึกษาที่
1,2,3,4,7,8และ10 บิดามารดาและผู้ปกครอง จะอธิบายให้เข้าใจเหตุผลสิ่งที่ควรทำและไม่ควร
ทำ สิ่งไหนเห็นว่าทำแล้วดี ไม่เกิดโทษก็จะอนุญาตให้ทำ ถ้าทำแล้วเห็นว่าไม่สมควรก็ไม่อนุญาต
และจะบอกเหตุผล เช่นให้บุตรไปไหนมาไหนได้ แต่ต้องบอกก่อนว่าจะไปไหน ไปทำอะไร กลับเมื่อ
ไร และถ้ากรณีให้ปฏิบัติสิ่งใดแล้วไม่ทำหรือทำไม่ดีไม่ถูกไม่ควรจะถูกลงโทษ เมื่อทำดีก็จะได้รับ
127
รางวัลตามควรแก่กรณี ซึ่งการเลี้ยงดูแบบนี้ช่วยส่งเสริมให้บุตรมีลักษณะของความกล้าแสดงออก
กล้าคิดและกล้าทำ รู้ว่าสิ่งใดทำได้และสิ่งใดไม่ควรทำ จึงเป็นลักษณะการเลี้ยงดูที่ส่งเสริมให้เด็กมี
พฤติกรรมการทำความดีเพื่อสังคมมากที่สุด ซึ่งผลการศึกษานี้สอดคล้องกับการศึกษาของ สมาน
กำเนิด (2520) ที่พบว่าเด็กที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย ปรับตัวได้ดีกว่าเด็กที่ได้รับ
การอบรมเลี้ยงดูแบบเข้มงวดและแบบปล่อยปละละเลย เพราะการอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย
พ่อแม่ยอมรับฟังเหตุผล ทัศนา ทองภักดี (2528) พบว่าเด็กวัยรุ่นที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบใช้
เหตุผลมากมีความเชื่ออำนาจภายในตนเองมากกว่าเด็กวัยรุ่นที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบใช้เหตุ
ผลน้อย
2. การอบรมเลี้ยงดูแบบให้พึ่งตนเองเร็ว คือการฝึกฝนให้เด็กทำกิจวัตรประจำวัน ดูแล
การอาบน้ำ แต่งตัวเอง รับประทานอาหารเอง ไปโรงเรียนด้วยตนเอง ฝึกให้ช่วยงานตามที่มอบ
หมาย โดยทำตามคำแนะนำของบิดามารดาหรือผู้เลี้ยงดู ซึ่งส่งผลให้เด็กสามารถช่วยตนเองได้เร็ว
ไม่ต้องพึ่งพาผู้อื่น ดังกรณีศึกษาที่ 3,4 ,5,7 และ10 ได้รับการฝึกฝนอบรมและสอนให้ทำกิจกรรม
ตามที่ผู้ปกครองมอบหมายจนสามารถดูแลปกครองตนเองได้ ทำอะไรได้ด้วยตนเองไม่ต้องพึ่งพาผู้
อื่น ซึ่งเป็นลักษณะของการเลี้ยงดูที่ส่งเสริมให้เด็กมีพฤติกรรมการทำความดีเพื่อสังคมมากเป็น
อันดับที่สอง สอดคล้องกับผลการศึกษาของ รัตนา ยัญทิพย์ (2522) พบว่าการเลี้ยงดูแบบฝึกให้พึ่ง
ตนเองปรับตัวได้ดีกว่าเด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูแบบยับยั้งการพึ่งตนเอง สอดคล้องกับ เอเยอร์ และ
เบอร์นรูเทอร์ (Ayer and Bernrueter.1937:163) พบว่าเด็กที่พ่อแม่ฝึกให้รู้จักพึ่งตนเอง โดยให้รู้จัก
ใช้ความคิดและการตัดสินใจด้วยตนเอง จะสามารถปรับตัว และกล้าเผชิญความจริงได้ดีกว่าเด็กที่
ต้องคอยพึ่งผู้ใหญ่
3. การอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุน คือการที่บิดามารดาให้ความรัก ความเอาใจใส่ สน
ใจทุกข์สุขบุตรของตน มีความใกล้ชิดกับบุตร ทำกิจกรรมร่วมกัน มีความสนิทสนม สนับสนุนช่วย
เหลือและส่งเสริมให้กำลังใจ ให้บุตรได้ทำในสิ่งที่ต้องการ ดังกรณีศึกษาที่1 มารดาให้อิสระในการ
คิดและการกระทำ จะไปไหนมาไหน กลับเมื่อไร เพียงขอให้บอกให้มารดารับรู้เท่านั้น กรณีที่ 5 ตา
ยายไปไหนจะพาไปด้วย อยากได้อะไรอยากทำอะไรตายายจะเป็นผู้สนับสนุนให้คำแนะนำ ให้
กำลังใจ กรณีที่6 มารดาจะดูแลรับ-ส่งไปโรงเรียนตั้งแต่เล็กจนโตอยู่ชั้น ม.1 ม.2 จึงค่อยปล่อยให้ดู
แลตนเอง อยากทำอะไรก็ให้ทำ ช่วยสอน ช่วยแนะนำ ให้การสนับสนุน ให้กำลังใจในการทำงาน
เพื่อโรงเรียนในฐานะเป็นกรรมการนักเรียน กรณีที่ 9 มารดาให้การสนับสนุนในการคิดและการ
กระทำโดยคอยดูแลให้กำลังใจ เช่นเมื่อบุตรสมัครเป็นรีดเดอร์ต้องซ้อมเชียร์ทุกวัน กลับบ้านมืดค่ำ
ก็จะแอบไปดูว่าทำอะไรอยู่ ซึ่งลักษณะการเลี้ยงดูแบบนี้ส่งเสริมให้บุตรมีความรู้สึกรักใคร่ผูกพัน
128
กับผู้เลี้ยงดูยอมรับนับถือและประพฤติปฏิบัติตามแบบอย่าง ยอมรับและเชื่อฟังจึงเป็นลักษณะ
ของการเลี้ยงดูที่ส่งเสริมการทำความดีเพื่อสังคมเป็นอันดับที่สาม ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษา
ของ ประยุทธ์ วัชระดิษย์ (2514) พบว่าเด็กที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงมีแนวโน้มที่จะได้รับการอ
บรมเลี้ยงดูจากผู้ปกครองด้วยความรัก เสริมเกียรติ พรหมผุย (2523) พบว่าเด็กที่ได้รับการเลี้ยงดู
แบบให้ความรักนั้นมีคุณธรรมแห่งพลเมืองดีสูง จากการศึกษาของวัฒนา อัติโชติ(2540) พบว่านัก
เรียนวัยรุ่นได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุนในระดับมากจะมีพฤติกรรมของพลเมืองดีระดับ
มาก จากการศึกษาในปี พ.ศ.2541 ของฉันทนา มุติ ,ชลบุษย์ เจริญสุข , ปิยะธิดา เหลืองอรุณ ,
ปานแก้ว จันทราชัยโชติ และปริศนา คำชื่น พบว่า นักเรียนวัยเด็กตอนต้นที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดู
แบบรักสนับสนุนสูงจะมีค่าเฉลี่ยบรรลุงานตามขั้นพัฒนาการมากกว่านักเรียนวัยเด็กตอนต้นที่ได้
รับการอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุนต่ำ
จึงสรุปผลการศึกษาวิธีการอบรมเลี้ยงดูทั้ง 3 แบบได้ว่าการหล่อหลอมบุคลิกภาพให้เยาว
ชนมีพฤติกรรมดี กระทำความดีเป็นผลที่เกิดจากวิธีการเลี้ยงดูอย่างผสมผสานกันดังกล่าวซึ่งสอด
คล้องกับ งามตา วนินทานนท์(2528)ได้สรุปถึงการอบรมเลี้ยงดูเด็กของสังคมไทยไว้ 5 แบบได้แก่
การอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุน การอบรมเลี้ยงดูแบบใช้เหตุผล การอบรมเลี้ยงดูแบบลงโทษ
ทางจิตมากกว่าทางกาย การอบรมเลี้ยงดูแบบ ควบคุม และการอบรมเลี้ยงดูแบบ ให้พึ่งตนเองเร็ว
และ จากผลการศึกษาของเฮอร์ล็อค (Herlock, 1956 อ้างถึงใน องุ่น พูลทวี 2539 : 157) ได้
ศึกษาเกี่ยวกับอิทธิพลของการอบรมเลี้ยงดู พบว่าเด็กจะเลียนแบบพฤติกรรมของบุคคลที่เป็น
แบบในครอบครัวโดยเฉพาะพ่อแม่จะเป็นตัวแบบที่สำคัญที่สุดที่จะช่วยให้เด็กมีพฤติกรรมที่ถูกต้อง
ซึ่งจากการศึกษาของ ดวงเดือน พัมธุมนาวินและเพ็ญแข ประจนปัจจนึก (2524) พบว่า
การอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุนมากส่งผลให้มีทัศนคติที่ดีต่อบิดามารดาและสุขภาพจิตดี และ
จากการศึกษาปัจจัยที่ทำให้คนทำความดีเพื่อสังคมของ จุฑามณี จาบตะขบ (2542) พบว่าการ
เลี้ยงดูในวัยเด็กแบบรักสนับสนุน แบบใช้เหตุผล แบบลงโทษทางจิตมากกว่าทางกาย แบบ
ควบคุมและแบบให้พึ่งตนเองเร็วจากคนในครอบครัวเป็นปัจจัยหลักในการทำความดีเพื่อสังคม
และการศึกษาของ สุทธิลักษณ์ นาคสู่สุข (2544) พบว่า การอบรมเลี้ยงดูนักเรียนส่วนใหญ่ได้รับ
การเลี้ยงดูแบบควบคุมมาก รองลงมาเป็นแบบลงโทษทางจิตมากกว่าทางกาย แบบรักสนับสนุน
และใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์ ตามลำดับ
นอกจากวิธีการเลี้ยงดูแล้ว การอบรมสั่งสอนจากกรณีศึกษาทั้ง 10 กรณี พบว่าการอบรม
สั่งสอนมีอิทธพลต่อการปฏิบัติตนเป็นคนดีและส่งเสริมให้เยาวชนเหล่านี้ทำความดีเพื่อสังคมซึ่ง
สามารถสรุปลักษณะการอบรมสั่งสอนได้ดังนี้
129
1. สอนเรื่องการปฏิบัติตนให้เป็นคนดี เป็นบุตรที่ดี มีความรับผิดชอบ ประพฤติตนอยู่ใน
กรอบระเบยี บกฎเกณฑข์ องครอบครวั ประเพณ ี สอนใหร้ กั เรยี น เอาใจใส่การเรียน สอนให้ทำการ
บ้าน สอนความสามารถพิเศษเช่นสอนให้เล่นดนตรี ร้องเพลง แต่งกลอนสอนให้ตั้งใจทำงาน รับผิด
ชอบการเรียน สอนให้มีเหตุผล มีระเบียบวินัย สอนกิริยามารยาท การพูดจา
2. สอนให้ปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมประเพณี เช่น ทำบุญ ใส่บาตร ไหว้พระ สวดมนต์
นั่งสมาธิ บริจาคทรัพย์สิ่งของ เงินทองเพื่อช่วยเหลือผู้เดือดร้อน
3. สอนให้ทำความดีเช่นไปช่วยดูแลสุนัข นำอาหารไปช่วยเพื่อนบ้านทำบุญ บริจาคเงิน
ช่วยคนจน ไม่คิดค่าอาหาร ช่วยดูแลสัตว์จรจัดเช่นแมวลูอ่อนให้การเลี้ยงดูให้ที่อยู่อาศัยเป็นต้น
4. สอนให้เสียสละ ให้ช่วยเหลือคน มีความกตัญญู ทำเพื่อประเทศชาติ ทำเพื่อโรงเรียน
สอนไม่ให้เห็นแก่ตัว
จากลักษณะการอบรมสั่งสอนให้ประพฤติปฏิบัติตนเป็นคนดี ทำความดี ทำเพื่อสังคมและ
ส่วนรวม สอนให้มีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีจิตใจเมตตากรุณา เหล่านี้ย่อมเป็นผลที่เกิดการซึมซับ
จากบทบาทของบิดามารดาและผู้ปกครองในการปฏิบัติตนเป็นแบบอย่าง และเป็นมูลเหตุในการ
ส่งเสริมให้เยาวชนทำความดีเพื่อสังคม ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของลัดดาวัลย์ เกษมเนตร และ
คณะ (2539) ที่ว่าการอบรมเลี้ยงดูและการเป็นแบบอย่างของบิดามารดาเป็นปัจจัยตัวหนึ่งของ
พฤติกรรมการมีวินัย
ตัวแบบในครอบครัว
จากผลการศึกษาด้านตัวแบบในครอบครัวพบว่าบิดามารดาและผู้ปกครองเป็นแบบอย่าง
แก่บุตร หลาน ในการทำความดีและทำความดีเพื่อสังคมซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้
1. บิดามารดาเป็นแบบอย่างในด้านความรับผิดชอบครอบครัว การปฏิบัติตนตาบทบาท
หน้าที่ของบิดามารดา การช่วยเหลือซึ่งกันและกันภายในครอบครัวและชุมชน
2. บิดามารดาและผู้ปกครองเป็นแบบอย่างของการช่วยเหลือ เสียสละ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
เมตตากรุณา แบ่งปัน
3. บิดามารดาและผู้ปกครองเป็นแบบอย่างของการทำความดีเพื่อสังคมและชุมชน เช่น
บริจาคทรัพย์สิ่งของ เงิน เพื่อช่วยเหลือคนที่ด้อยกว่า เช่นคนจน ขอทาน หรือผู้ที่เดือด
ร้อน ด้วยการจัดหาทรัพย์สิ่งของไปช่วยเหลือผู้เดือดร้อนตามโอกาส คนเป็นโรคเอดส์
ที่วัดพระบาทน้ำพุ สลัมคลองเตย เป็นต้น
130
4. บิดามารดาหรือผู้ปกครองเป็นแบบอย่างของการปฏิบัติตนเป็นผู้มีคุณธรรมจริยธรรม
เช่น ไปวัดทำบุญ ใส่บาตร สวดมนต์ ไหว้พระ นั่งสมาธิ เป็นต้น
5. บิดามารดาและผู้ปกครองเป็นแบบอย่างในการอุทิศตนเพื่อหน่วยงาน ชุมชน เช่นตั้ง
โต๊ะรับบริจาคทรัพย์ สิ่งของ เพื่อนำไปช่วยผู้ประสบอุทกภัยภาคใต้
ดังจะเห็นได้ว่าบิดามารดาและผู้ปกครองเป็นตัวอย่างในการปฏิบัติด้านความรับผิดชอบ
ตอ่ บทบาทหนา้ ที่ เปน็ ผมู้ คี ณุ ธรรม จริยธรรมซึ่งเป็นแบบอย่างของคนด ี และแบบอย่างการปฏิบัติ
ตนในด้านการช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เมตตากรุณา แบ่งปัน อุทิศตนเพื่อหน่วยงาน ชุมชน สิ่ง
เหล่านี้นับเป็นตัวแบบที่เยาวชนได้ซึมซับลอกเลียนแบบอย่างในการทำความดีเพื่อสังคมโดยไม่รู้ตัว
ซึ่งสอดคล้องกับ เฮอร์ล็อค(Herlock,1956 อ้างถึงในองุ่น พูลทวี 2539 :157) ที่ได้ศึกษาเกี่ยวกับ
อิทธิพลของการอบรมเลี้ยงดู พบว่าเด็กจะเลียนแบบพฤติกรรมของบุคคลที่เป็นแบบในครอบครัว
โดยเฉพาะพ่อแม่จะเป็นตัวแบบที่สำคัญที่สุดที่จะช่วยให้เด็กมีพฤติกรรมที่ถูกต้อง และจากแนวคิด
ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมของแบนดูรา (Albert Bandura :1977)พบว่าการปลูกฝังคุณธรรมให้แก่
บุคคลด้วยวิธีการเรียนรู้จากประสบการณ์ที่เกิดขึ้นโดยตนเองหรือเกิดจากการสังเกตพฤติกรรมหรือ
ผลกรรมของผู้อื่นหรือการให้แบบอย่างและจากการฟังคำบอกเล่า และจากการศึกษาของ
กรรณิการ์ สิทธิศักดิ์ (2522) พบว่า อิทธิพลของตัวแบบและการเสริมแรงมีผลต่อพฤติกรรมการ
เลียนแบบของเด็กระดับอนุบาล จากผลงานวิจัยของ งามตา วนินทานนท์ (2536) พบว่า บิดา
มารดาที่ให้การอบรมเลี้ยงดูบุตรเพื่อส่งเสริมให้เป็นคนดีมีคุณธรรมตามแนวพุทธศาสนานั้น เป็น
บิดามารดาที่มีลักษณะทางพุทธสูง (โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีการดำเนินชีวิตประจำวันตามวิถีทาง
พุทธ ที่สำคัญคือ ยึดมั่นในการปฏิบัติตนตามหลักธรรมขั้นพื้นฐาน อันได้แก่ การบริจาคทาน การ
รักษาศีลห้า และหมั่นปฏิบัติสมาธิภาวนา) กับการศึกษาของ องุ่น พูลทวี (2539 ) ซึ่งสรุปว่าเด็กจะ
เลียนแบบพ่อแม่ ผู้ปกครองด้วยการเรียนรู้ทั้งทางตรงและทางอ้อมจากประสบการณ์ที่เกิดขึ้นและ
จากการสังเกตพฤติกรรม ดังนั้นการกระทำตนเป็นแบบอย่างที่ดีของพ่อแม่ผู้ปกครองจึงเป็นสิ่ง
สำคัญอย่างยิ่งในการปลูกฝังส่งเสริมพัฒนาพฤติกรรมด้านต่างๆ ของเด็กให้มีพฤติกรรมตาม
ต้องการ
1.2 สภาพแวดล้อมทางโรงเรียน
ผลการศึกษาด้านสภาพแวดล้อมทางโรงเรียน พบว่า การจัดบรรยากาศภายในโรงเรียนดี
มีความร่มรื่น สะอาด มีความเป็นระเบียบและสงบ เนื่องมาจากโรงเรียนอยู่ในวัดต้องรักษาสภาพ
บรรยากาศให้มีความสงบ ร่มเย็นเหมาะสมกับการปฏิบัติธรรม ด้านกฎระเบียบข้อบังคับของโรง
เรียนจัดอยู่ในเกณฑ์ดี นักเรียนสามารถปฏิบัติตามได้ไม่เข้มงวดจนเกินไป มีการดูแลรักษาระเบียบ
131
วินัยโดยฝ่ายปกครองอย่างเข้มงวด ด้านการจัดการเรียนการสอนอยู่ในเกณฑ์ดี ความสัมพันธ์
ระหว่างครูและนักเรียนดี มีความสนิทสนมกันดี จึงส่งผลให้นักเรียนมีโอกาสเข้ามาพบปะพูดคุย
ปรึกษาหารือครูได้มีโอกาสใช้ให้นักเรียนมีส่วนช่วยเหลือตามโอกาสต่างๆ เป็นการฝึกประสบการณ์
ในการทำงาน และครูสามารถรู้จักความถนัด ความสามารถของนักเรียนแต่ละคนได้ว่าใครดีใคร
เก่งด้านไหน ครูจึงมีส่วนส่งเสริมให้นักเรียนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ที่โรงเรียนจัด และ
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริงด้วยการมีส่วน
ร่วมในการเป็นกรรมการนักเรียน ร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่โรงเรียนจัด นักเรียนได้แสดงศักยภาพ ความ
รู้ความสามารถที่มีอยู่เพื่อประสบการณ์การเรียนรู้อีกรูปแบบหนึ่งซึ่งต่างจากการเรียนรู้ในห้องเรียน
ซึ่งสาเหตุต่างๆ ดังกล่าวจึงมีส่วนส่งเสริมสนับสนุนให้เยาวชนเหล่านี้มีโอกาสทำความดีเพื่อ
โรงเรียนและชุมชน ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของ ชัยยา โชติดิลก (2533) พบว่าสภานักเรียนช่วย
ส่งเสริมให้นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์ และช่วยฝึกฝนให้นักเรียนเป็นพลเมืองดีในสังคม
ประชาธิปไตยได้ด้วย ต่อมา มารศรี จันทร์ชลอ (2534) พบว่านักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลัก
สูตรมากครั้งมีความสำนึกในหน้าที่และความรับผิดชอบสูงกว่านักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลัก
สูตรน้อยครั้ง นอกจากนี้บทบาทของผู้บริหารและครูในโรงเรียนมีความสัมพันธ์กับความสำนึกใน
หน้าที่และความรับผิดชอบของนักเรียนด้วย และจาการศึกษาของ จาริณี ฮวบนริทร์ (2542) พบ
ว่านักเรียนที่ได้รับสิ่งแวดล้อมทางโรงเรียนสูงจะบรรลุงานขั้นพัฒนาการมาก สอดคล้องกับ
จุฑามณี จาบตะขบ (2542) ที่ว่าประสบการณ์การเรียนรู้จากการศึกษา ฝึกอบรมทั้งในและนอก
โรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัย ทำให้มีวิสัยทัศน์ในการพัฒนาหมู่บ้าน และสอดคล้องกับ
บุปผา ประทีปทอง (2542) ที่ว่า นิสัยทางการเรียน บรรยากาศการเรียนการสอน สัมพันธภาพ
ระหว่างครูกับนักเรียนและสัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับเพื่อน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับทัศ
นคติต่อการเรียนวิชาดนตรี-นาฎศิลป์
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าสภาพแวดล้อมทางโรงเรียนที่ประกอบด้วยบุคลิกภาพของครูที่เป็นกัน
เองให้ความรักใคร่เอ็นดู เอาใจใส่ศิษย์ การจัดการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วม การ
จัดกิจกรรมที่มีความหลากหลายภายในโรงเรียน กฎระเบียบข้อบังคับที่มีความพอดี และ
บรรยากาศที่สงบอยู่ภายในบริเวณวัด มีส่วนส่งเสริมให้เด็กมีพฤติกรรมการทำความดีเพื่อสังคม
ด้วย
132
2. ลักษณะทางจิต
ทัศนคติต่อการทำความดีเพื่อสังคม หมายถึง การเห็นคุณค่า ความชอบ ความพอใจ
ความเต็มใจและความพร้อมที่จะทำประโยชน์เพื่อผู้อื่นและสังคม
จากการศึกษาทัศนคติต่อการทำความดีเพื่อสังคมพบว่า กรณีศึกษาทุกกรณีมีพฤติกรรม
ในการทำกิจกรรมเพื่อบ้าน โรงเรียน และชุมชนที่ตนอยู่ด้วยการช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และมี
เมตตากรุณา ตามลักษณะสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ตนอยู่ ซึ่ง Julian Steward (1949 อ้างถึงใน
นิยพรรณ วรรณศิริ : 86 ) ได้กล่าวว่าพฤติกรรมของคนจะเป็นเช่นไรขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมที่อาศัย
อยู่ โดยได้รับการถ่ายทอดเรียนรู้มาจากการอบรมสั่งสอน การเรียนรู้แบบอย่างจึงเป็นแรงจูงใจให้
แสดงพฤติกรรมทำความดีเพื่อสังคม อันเนื่องมาจากการได้มีส่วนช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และมี
จิตใจเมตตากรุณา เมื่อทำแล้วได้รับประโยชน์ มีความสุข จึงเห็นคุณค่าของการทำความดีเพื่อผู้
อื่นและสังคม จึงยึดถือและปฏิบัติตนเมื่อมีโอกาส ซึ่งสอดคล้องกันแนวคิดของ กมลรัตน์ หล้า
สุวงษ์ (2528) กล่าวว่า ทัศนคติเป็นสิ่งที่เกิดจากการเรียนรู้หรือการได้รับประสบการณ์ มิใช่สิ่งที่ติด
ตัวมาตั้งแต่กำเนิด และเป็นดัชนีที่จะชี้แนวทางในการแสดงพฤติกรรม และสอดคล้องกับ มอร์แกน
และริชาร์ด (Morgan and Richard : 1975 อ้างถึงในกัลยา สุขปะทิว 2538 : 34-42 ) กล่าวถึง
ลักษณะของทัศนคติว่าเกิดจากการเรียนรู้และเป็นตัวกำหนดพฤติกรรม ทัศนคติมีอิทธิพลต่อความ
ชอบ ไม่ชอบ ซึ่งผลจากการศึกษาของ งามตา วนินทานนท์ (2534) ได้ศึกษาว่าบุคคลที่มีทัศนคติที่
ดีต่อตำรวจย่อมมีความรู้สึกชื่นชมการทำงานของตำรวจ และยอมปฏิบัติตามการกำกับของตำรวจ
หรือผู้มีทัศนคติที่ดีต่อการประหยัดพลังงาน ย่อมพยายามที่จะกระทำการต่างๆโดยคำนึงถึงการ
ประหยัดน้ำประปา ไฟฟ้า หรือแม้แต่การใช้กระดาษ วัสดุสิ้นเปลืองเป็นต้น ซึ่งสอดคล้องกับการ
ศึกษาของ นพนธ์ สัมมา (2523) พบว่า ทัศนคติเพียงตัวเดียวเป็นตัวทำนายพฤติกรรมการยอม
รับนวกรรม และจากการศึกษาของ ศักดิ์ชัย นิรัญทวี (2531) พบว่า ทัศนคติเป็นตัวทำนายพฤติ
กรรมการทำงานที่สำคัญ จากการศึกษาของลัดดาวัลย์ เกษมเนตร และคณะ (2539) พบว่า ทัศ
นคติต่อพฤติกรรมการมีวินัยเป็นตัวแปรสำคัญในการทำนายพฤติกรรมการมีวินัยมากกว่าตัวแปร
อื่นๆ
133
ข้อเสนอแนะ
จากงานวิจัยพบว่าบทบาทของพ่อแม่ต่อการเลี้ยงดูบุตรยังมีความสำคัญอันดับหนึ่งในการ
เลี้ยงดูบุตรให้เป็นคนดีมีคุณภาพโดยมีปัจจัยสำคัญๆ คือ 1.การเลี้ยงดูและการอบรมสั่งสอน ซึ่ง
ประกอบด้วย 1.วิธีการเลี้ยงดูแบบใช้เหตุผล แบบให้พึ่งตนเอง แบบรักสนับสนุน ตามลำดับ 2.
การเป็นแบบอย่างของบิดามารดาหรือผู้ปกครองในด้านการเป็นผู้มีน้ำใจให้ความช่วยเหลือ เอื้อ
เฟื้อเผื่อแผ่ มีเมตตากรุณา 3. สถาบันการศึกษายังมีบทบาทสำคัญรองลงมาในการส่งเสริม
สนับสนุนให้เยาวชนทำความดีเพื่อสังคมอันประกอบด้วยบทบาทของครู การจัดกิจกรรมการเรียน
การสอนที่เอื้ออำนวยและระเบียบกฏเกณฑ์ที่มีความพอดี 4. การมีทัศนคติที่ดีต่อการทำความดี
เพื่อสังคมซึ่งเกิดจากการขัดเกลาหล่อหลอมจากครอบครัว ดังนั้นผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะที่ได้จากการ
ศึกษาดังนี้
1. สถาบันครอบครัว ผู้วิจัยเขียนบทความ บทคัดย่อ เผยแพร่ผลงานการวิจัย เพื่อนำ
ความรู้สู่ชุมชน กระตุ้นให้เห็นความสำคัญของการอบรมเลี้ยงดูบุตร ด้วยการเน้น
การดูแลเอาใจใส่ให้ความสำคัญกับบุตร คำนึงถึงความรู้สึกนึกคิด จิตใจของบุตรใน
ฐานะที่เป็นผู้เยาว์ที่มีความบริสุทธิ์ มีความต้องการความรักความเข้าใจจากพ่อแม่
มากกว่าสิ่งนอกกาย ทางสื่อมวลชน วิทยุ โทรทัศน์ องค์กรที่เกี่ยวข้องเช่น มูลนิธิดวง
ประทีป วารสารแม่และเด็ก เป็นต้น
2. สถาบันที่เกี่ยวข้องกับสถาบันครอบครัว เช่นกระทรวงสาธารณสุข ควรมีสื่อเพื่อเผย
แพร่ละครสั้นเป็นตัวอย่างการเสริมสร้างความรักความมั่นคง ภายในครอบครัวเพื่อ
เป็นพื้นฐานของการดำเนินชีวิตให้กับเยาวชนด้วยการเติมเต็มความรักความเข้าใจใน
วัยรุ่น หรือจัดโครงการสร้างทัศนคติการมีบุตรให้กับคู่สมรสใหม่ หรือจัดโครงการให้
ความรู้กับครอบครัวมือใหม่ในการเลี้ยงลูกให้มีคุณภาพ
3. สถาบันการศึกษา ผู้วิจัยเสนอผลงานการวิจัยต่อผู้อำนวยการโรงเรียนวัดบวรนิเวศ
เพื่อเผยแพร่ ผลงานการพัฒนาเยาวชนให้เป็นคนดี เพื่อประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูล
การเลี้ยงดูที่เหมาะสมกับครูอาจารย์ได้นำไปใช้ให้คำแนะนำชี้แนะแนวทางกับผู้ปก
ครองนักเรียน และนำเสนอบทความเพื่อเผยแพร่ทางวารสารโรงเรียน และระดับ
กรมสามัญศึกษา อาทิ เช่น เผยแพร่ผลงานวิจัยลงวารสารวิชาการ วารสารเพื่อการ
ปฏิรูปการศึกษาไทย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ วารสารกรมสามัญ
ศึกษา เป็นต้น
134
ข้อเสนอแนะสำหรับการทำวิจัยครั้งต่อไป
ในการทำวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเฉพาะกรณี โรงเรียนวัดบวรนิเวศ ดังนั้นในครั้งต่อไป
1. ควรทำวิจัยในเชิงปริมาณเพื่อเปรีบเทียบเยาวชนกลุ่มที่ทำความดีและกลุ่มอื่นๆเช่น
กลุ่มเสี่ยง กลุ่มมีปัญหา กลุ่มไม่ทำความดีแต่เป็นคนดี
2. ควรทำวิจัยในมุมกว้างศึกษาเยาวชนที่ทำความดีเพื่อสังคมจากโรงเรียนต่างๆในเขต
กรุงเทพมหานคร หรือเขตเมือง เขตชนบท เป็นต้น
3. ควรศึกษาทัศนคติของเยาวชนต่อการทำความดีเพื่อสังคม
4. ควรศึกษายุทธศาสตร์ในการพัฒนาบทบาทของพ่อแม่ที่มีต่อการเลี้ยงดูลูก เพื่อ
เปลี่ยนทัศนคติของพ่อแม่ให้หันมาเลี้ยงดูลูกอย่างมีคุณภาพ
135
บรรณานุกรม
กระบี่ ชลวิทย์. (2543). ครอบครัวที่มีคุณภาพในทัศนะของพนักงานธนาคารทหารไทย
ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตร์มหาบัณฑิต
(การบริหารและนโยบายสวัสดิการสังคม),กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
กรรณิการ์ สิทธิศักดิ์. (2522). อิทธิพลของตัวแบบและการเสริมแรงที่มีต่อพฤติกรรม
เลียนแบบของเด็กระดับอนุบาล.กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ประสานมิตร.
กรรมการปฏิรูปการเรียนรู้,(อนุกรรมการ).(2543). ปฏิรูปการเรียนรู้ ผู้เรียนสำคัญที่สุด.
กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
งามตา วนินทานนท์. (2536). รายงานวิจัยฉบับที่ 50 ลักษณะทางพุทธศาสนาและ
พฤติกรรมศาสตร์ของบิดามารดาที่เกี่ยวข้องกับการอบรมเลี้ยงดูบุตร.
สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
จรรจา สุวรรณทัต. (2531). ความสามารถในการควบคุมตนเองของเด็กไทยในแง่ของความ
สัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบทางการศึกษา การฝึกทักษะและการพัฒนาจิต
ลักษณะเพื่อการสร้างพลเมืองที่มีประสิทธิภาพ. รายงานการวิจัยฉบับที่4.
กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ประสานมิตร.
จรรจา สุวรรณทัต และดวงเดือน พันธุมนาวิน.(2521). พฤติกรรมศาสตร์ เล่ม 1 พื้นฐาน
ความเข้าใจทางจิตวิทยา. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.
จิรินี ฮวบนรินทร์.(2542). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมทางสังคม การบรรลุ
งานตามขั้นพัฒนาการและพฤติกรรมการพึ่งตนเองของวัยรุ่นในกรุงเทพมหานคร.
วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต(จิตวิทยาพัฒนาการ) มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
จิตรา วสุวานิช. (2524). เอกสารการสอนชุดวิชา 20002 การพัฒนาพฤติกรรมเด็ก
เล่มที่ 2 หน่วยที่ 6-10. กรุงเทพฯ : สภาวิจัยศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัย
ธรรมาธิราช.
จินตนา สงค์ประเสริฐ และพงศกร สุจริตผล. (2529). ค่านิยมในการพัฒนาตนเองและสังคม
ของเยาวชนไทย. การประชุมวิชาการสมาคมนักจิตวิทยาคลีนิคไทย ครั้งที่ 19
โรงพยาบาลสงฆ์ กรุงเทพฯ.
136
จุฑามณี จาบตะขบ. (2542). การศึกษาปัจจัยที่ทำให้คนทำความดีเพื่อสังคม : ศึกษาเฉพาะ
กรณีบุคคลที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ตำบลกำแพงดิน อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร.
วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ฉันทนา มุติ. (2540). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการอบรมเลี้ยงดูการสนับสนุนทาง
สังคมการบรรลุงานตามขั้นพัฒนาการและพฤติกรรมพลเมืองดีของวัยรุ่นใน
ภาคใต้. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต(จิตวิทยาพัฒนาการ) มหาวิทยาลัย
รามคำแหง.
ชลบุษย์ เจริญสุข. (2540). การศึกาาความสัมพันธ์ระหว่างการอบรมเลี้ยงดู การสนับสนุน
ทางสังคม การบรรลุงานตามขั้นพัฒนาการและพฤติกรรมพลเมืองดีของวัยรุ่น
ในภาคตะวันตก. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (จิตวิทยาพัฒนาการ)
มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ชัยยา โชติดิลก.(2533). การจัดสภานักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญ
ศึกษา กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต,
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ชัยยุทธ ดาผา. (2534). ปัจจัยของการขัดเกลาทางสังคมของพ่อแม่ที่กระทบต่อ
พฤติกรรมการดื่มอัลกอฮอร์ของวัยรุ่น. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ชัยวัฒน์ อัตพัฒน์. (2534). จริยศาสตร์. กรุงเทพฯ : พิมพ์ครั้งที่ 5 สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย
รามคำแหง.
ชุมมาศ กัลยาณมิตร. (2530). ปัจจัยที่มีผลต่อเจตคติเกี่ยวกับการประพฤติตนไม่เหมาะสม
กับสภาพและวัยของนักเรียนในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยมหิดล.
ชูชีพ อ่อนโคกสูง.(2522). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.
เชิดศักดิ์ โฆวาสินธุ์.(2520). การวัดทัศนคติและบุคลิกภาพ. กรุงเทพมหานคร : สำนักทดสอบ
ทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
ณัฐสุดา สุจินันท์กุล. (2541). ปัจจัยด้านครอบครัว การทำงาน และลักษณะส่วนบุคคลที่
เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ. ปริญญานิพนธ์
วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
ดวงเดือน พันธุมนาวิน. (2539).ทฤษฎีต้นไม้จริยธรรมการวิจัยและพัฒนาบุคคล.
กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
(2538). ทฤษฎีต้นไม้จริยธรรม การวิจัยและการพัฒนาบุคคล. กรุงเทพฯ :
137
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
.(2531). "บทความประกอบการอภิปรายเรื่อง สถานภาพและปัญหาการวิจัย
เกี่ยวกับพฤติกรรมของคนไทย" การสัมมนา เรื่องแนวทางการวิจัยและพัฒนา
ระบบพฤติกรรมไทย. สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ประสานมิตร.
. (2526). ครูกับการปลูกฝังจริยธรรมแก่นักเรียน. จุลสารฉบับที่ 4
สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
. (2524). คุณธรรมที่พึงประสงค์ของเยาวชนไทย. กรุงเทพฯ :
สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
ดวงเดือน พันธุมนาวิน และคณะ. (2529). รายงานการวิจัย เรื่อง การควบคุมอิทธิพล
สื่อมวลชนของครอบครัวกับจิตลักษณะที่สำคัญของเยาวชนไทย.กรุงเทพฯ:
สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
ดวงเดือน พันธุมนาวิน และเพ็ญแข ประจนปัจจนึก. (2524). รายงานการวิจัยเรื่อง
ความสัมพันธ์ภายในครอบครัวกับสุขภาพจิตและจริยธรรมของนักเรียนวัยรุ่น
ไทย. สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
. (2520 ) . จริยธรรมของเยาวชนไทย. กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
ทัศนา ทองภักดี. (2528). ความสัมพันธ์ระหว่างการอบรมเลี้ยงดูแบบใช้เหตุผลกับความ
เชื่ออำนาจภายในตนของเด็กวัยรุ่นไทย. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม ,กรุงเทพฯ:
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
นิยพรรณ วรรณศิริ. (2540). มานุษยวิทยาสังคมและวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ.
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
นิสากร แสนเสน่ห์.(2543). ทัศนคติและพฤติกรรมเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของ
นักศึกษาสถาบันราชภัฏสุราษฎร์ธานี. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
นุชนารถ ธาตุทอง. (2539). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความขัดแย้งในบทบาท
ความคลุมเครือในบทบาท ลักษณะทางจิตบางประการ กับพฤติกรรมการทำงาน
ของนักวิชาการศึกษาในส่วนภูมิภาค. ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต
กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
นงลักษณ์ เทพสวัสดิ์. (2538). ปัญหาสำคัญๆในสังคมไทย. คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
138
บรรทม มณีโชติ.(2530). การศึกษารูปแบบของข้อคำถามวัดลักษณะนิสัยด้านความ
เสียสละ ชนิดคำถามและชนิดสถานการณ์ที่มีต่อคุณภาพของแบบสอน. วิทยา
นิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
บุญสวย เชิดเกียรติกุล.(2528). รักลูกให้ถูกทาง. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ธรรมสภา.
ประภาศรี แจ้งศิริ. (2527). ผลของการควบคุมตนเองต่อพฤติกรรมก่อกวนในชั้นเรียนของ
นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์คุรุศาสตร์มหาบัณฑิต
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประยุทธ์ วัชระดิษย์. (2514). ความสัมพันธ์ระหว่างการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่กับผล
สัมฤทธิ์ทางการเรียนและระดับความมุ่งหวังในการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษา
ปีที่3 โรงเรียนมัธยมสาธิตวิทยาวิชาการศึกษา ประสานมิตร ปีการศึกษา 2513.
กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
ประสาร ทิพย์ธารา. (2521). พัฒนาการเด็กและการอบรมเลี้ยงดู. กรุงเทพฯ : แพร่พิทยา.
ประเสริฐ แย้มกลิ่นฟุ้ง และคณะ. (2537) . สังคมและวัฒนธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 1,กรุงเทพฯ :
สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย .
ปริศนา คำชื่น.(2540). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการอบรมเลี้ยงดู การสนับสนุนทาง
สังคม การบรรลุงานตามขั้นพัฒนาการ และพฤติกรรมพลเมืองดีของวัยเด็กตอน
ต้น ในภาคเหนือ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (จิตวิทยาพัฒนาการ)
มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ปิยะธิดา เหลืองอรุณ. (2540). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการอบรมเลี้ยงดู
การสนับสนุนทางสังคม การบรรลุงานตามขั้นพัฒนาการ และพฤติกรรมพลเมือง
ดีของวัยรุ่นในภาคตะวันออก.วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (จิตวิทยา)
มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ผมพัทชรี สุภางย์ยุทธลิขิต. (2544). ทัศนคติต่อวิชาชีพเภสัชกรรมของนิสิตคณะเภสัช
ศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต,กรุงเทพฯ:
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
พจนา ทรัพย์สกุลเจริญ. (2541). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติของวัยรุ่นระดับ
มัธยมศึกษาตอนต้นต่อสถาบันครอบครัวไทย. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ 2525. (2526). พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ :
อักษรเจริญทัศน์.
พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์. (2534). จิตวิทยาครอบครัว. กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์
139
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พระธรรมปิฎก(สนิท เขมจารี ป.ธ.9 ) . ( 2504 ) ." ดี ชั่ว ” .พิมพ์เป็นมุทิตานุสรณ์สมาชิกสภา
พระธรรมถึกในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา.
พระมหาปรีชามหาปัญญโญและคนอื่นๆ.(2532). ธรรมวิภาคบรรยายสำหรับนักธรรมและ
ธรรมศึกษาชั้นตรี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา.
พระราชพิพัฒน์โกศล (โกศลมหาวีโร พธ.ม). (2539). รายงานการวิจัยเรื่อง การวิจัยและพัฒนา
รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดเป็น
ที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการดำรงชีวิตในสังคมไทยสำหรับนักเรียนระดับมัธยม
ศึกษา.
พระราชวิสุทธิ์โมลี.(2526). หลักธรรมสำหรับพัฒนาธรรมจริยา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์
การศาสนา.
พระวรศักดิ์ วรธัมโม.(2528). พุทธจริยธรรมเพื่อมนุษยชาติ. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด
การพิมพ์พระนคร.
ภัทรา นิคมานนท์. (2517). ความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติต่อการถือศีลห้า ความรู้สึกรับผิด
ชอบวินัยในตนเอง ความเกรงใจและผลสัมฤทธ์ทางการเรียน. กรุงเทพฯ : ปริญญา
นิพนธ์วิทยาลัยวิชาการศึกษา ประสานมิตร.
มารศรี จันทร์ชลอ.(2534). การศึกษาเปรียบเทียบทัศนคติและปัจจัยที่เอื้อต่อความสำนึกใน
หน้าที่และความรับผิดชอบของนักเรียน ศึกษาเฉพาะกรณี : นักเรียนชั้นมัธยม
ศึกษาปีที่ 2 ในโรงเรียนคาทอลิกของสังฆมณฑลกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์
สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
มาริสา รัฐปัตย์. (2532). ความสัมพันธ์ระหว่างการอบรมเลี้ยงดูกับแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์.
กรุงเทพฯ : ปริญญานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ประสานมิตร.
ระพีพร นิ่มประยูร.(2537). ผลของการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มสร้างคุณภาพที่มีต่อความรับผิด
ชอบต่อหน้าที่การงานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดดอนหวาย
อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
รัตนา ยัญทิพย์. (2522). ความสัมพันธ์ระหว่างการอบรมเลี้ยงดู พฤติกรรมตอบสนอง
ระหว่างบุคคลและการปรับตัวของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. กรุงเทพฯ:
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
140
ลัดดาวัลย์ เกษมเนตรและคนอื่นๆ.(2539). รายงานการวิจัยฉบับที่ 60 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อ
การมีวินัย. สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
ลัดดาวัลย์ เกษมเนตร และทัศนา ทองภักดี. (2543). รายงานการวิจัยฉบับที่ 75 รูปแบบการ
แสดงความรักของมารดาที่เกี่ยวข้องกับบุคลิกภาพและพัฒนาการทางอารมณ์
สังคมของเด็ก. สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ประสานมิตร.
วงพักตร์ ภู่พันธ์ศรี. และ ศิรินันท์ ดำรงผล .(2538).จิตวิทยาพัฒนาการประยุกต์ทางการ
ศึกษา.พิมพ์ครั้งที่ 9, ภาคจิตวิทยา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
วรชาติ แสนคำ(ร้อยตำรวจเอก).(2543). ลักษณะทางจิตใจของเด็กและเยาวชนที่กระทำ
ความผิดในจังหวัดสมุทรปราการ. สารนิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตร์มหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.
วราภรณ์ รักวิจัย. (2533). การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ : แสงศิลป์การพิมพ์.
วรรณะ บรรจง. (2537). ลักษณะทางศาสนาและพฤติกรรมศาสตร์ของเยาวชนไทยจาก
ชุมชนแผ่นดินธรรมแผ่นดินทองในภาคใต้. ปริญญานิพนธ์ วท.ม (วิจัยพฤติกรรม
ศาสตร์ประยุกต์) กรุงเทพมหานคร : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ประสานมิตร.
. (2541). ลักษณะทางศาสนาและพฤติกรรมศาสตร์ของเยาวชนไทยจากชุมชน
แผ่นดินธรรมแผ่นดินทองในภาคใต้ รางวัลผลงานวิจัยและพัฒนาระบบพฤติกรรม
ไทยประจำปี 2541. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ กรมวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
และสิ่งแวดล้อม.
วัชรี ธุวธรรม. (2544). “จิตวิทยามนุษย์นิยมกับการพัฒนาวินัยและประชาธิปไตย”คำบรรยาย
เกี่ยวกับแนวคิดและทฤษฎีในการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมที่เน้นความมีวินัยและ
ความเป็นประชาธิปไตย. กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.
วัฒนา อัติโชติ. (2540). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการอบรมเลี้ยงดู การสนับสนุน
ทางสังคม การบรรลุงานตามขั้นพัฒนาการและพฤติกรรมพลเมืองดีของวัยรุ่น
ในภาคกลาง. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
วิชาการ,กรม.(2527). โครงการทดลองหารูปแบบที่มีประสิทธิผลต่อการเรียนการสอน
จริยธรรม. กรุงเทพฯ : กองวิจัยการศึกษา กรมวิชาการ.
วิชาการ,กรม. (2528). เอกสารเสริมความรู้สำหรับครูกลุ่มสร้างเสริมลักษณะนิสัย
ศิลปศึกษา ระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ : คุรุสภา.
141
วิชัย เอียดบัว .(2534). ลักษณะจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการยอมรับนวัตกรรมทาง
วิชาการของครูประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ : ปริญญานิพนธ์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
วิทย์ วิศทเวทย์. (2530). มนุษย์กับปัญหาจริยธรรม. กรุงเทพฯ : พิมพ์ครั้งที่ 6,
อักษรเจริญทัศน์.
วิรัช วรรณรัตน์.(2523). สิ่งแวดล้อมกับการพัฒนาบุคลิกภาพของเด็ก. วารสารครู
5 กรกฎาคม: 21-23.
วินัดดา ปิยะศิลป์.(2539). “ครอบครัววัยรุ่น” การพัฒนาครอบครัว. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้ง.
ศักดิ์ชัย นิรัญทวี. (2531). ความแปลกแยกกับพฤติกรรมการทำงานของครูสังกัด
กรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต กรุงเทพฯ :
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
ศิริศักดิ์ เขตตานุรักษ์.(2530). การศึกษาเชิงวิจารณ์เรื่องการพัฒนาค่านิยมทางศาสนาและ
จริยธรรมในเด็กก่อนวัยเรียน ศึกษาเฉพาะกรณีโรงเรียนยุวพุทธพิทยา ยุวพุทธิก
สมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย
มหิดล.
ศรีธรรม ธนะภูมิ. (2535). พัฒนาการทางอารมณ์และบุคลิกภาพ. กรุงเทพฯ : พิมพ์ครั้งที่ 1,
โรงพิมพ์ชวนพิมพ์.
ศุภวัฒน์ ดีสงคราม. (2540). “การเสริมสร้างแบบทดสอบวัดจริยธรรมด้านความไม่เห็น
แก่ตัวสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในจังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์
ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สงวน สุทธิเลิศอรุณ(ผศ). (2529). ทฤษฎีและปฏิบัติการทางจิตวิทยาสังคม. กรุงเทพฯ
อักษรบัณฑิต.
(2543). พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ:อักษราพัฒน์.
สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน. (2542). รายงานการศึกษาวิจัยการศึกษารูปแบบและ
วิธีการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรม. สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
สมพร เทพสิทธา. (2529). การพัฒนางานสังคมสงเคราะห์. สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศ
ไทยในพระบรมราชูปถัมภ.์
สมาน กำเนิด. (2520). การอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีผลต่อการปรับตัวของเด็ก.
ปริญญนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต,กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
142
ประสานมิตร.
สมาน ชาลีเครือ. (2523). ความสัมพันธ์ระหว่างค่านิยมเชิงสังคมกับความซื่อสัตย์.
ปริญญานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
สันทัด สัตยายุทธ์.(2527). การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่ส่งเสริมลักาณะความเป็น
พลเมืองดีในโรงเรียนประถมศึกษาในความควบคุมของสำนักงานคณะกรรมการ
การศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต,
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สิทธิโชค วรานุสันติกูล(ผศ.ดร.).(มปป.). ทฤฎีและการปฏิบัติการทางจิตวิทยาสังคม.
กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์พิทักอักษร.
สุชิรา บุญทัน.(2541). ปัจจัยบางประการของครอบครัวที่สัมพันธ์กับจริยธรรมด้านความ
กตัญญูกตเวทีของนักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 1 ในจังหวัดขอนแก่น.
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุพัตรา สุภาพ. (2537). “การขัดเกลาทางสังคม” สังคมและวัฒนธรรม.ภาควิชาสังคมวิทยาและ
มานุษยวิทยา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุภางค์ จันทวานิช. (2542). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 8 กรุงเทพฯ :สำนักพิมพ์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุมน อมรวิวัฒน์.(2534). “การสร้างเสริมศีลธรรมในสถานศึกษา” .ความรู้คู่คุณธรรมรวม
บทความเกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรมและการศึกษา. กรุงเทพฯ :
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุรางค์ โคว้ตระกูล. (2537). จิตวิทยาการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพฯ :
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุทธิลักษณ์ นาคสู่สุข. (2544). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อระดับสุขภาพจิตของนักเรียนชั้นมัธยม
ศึกษาตอนต้นในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์
ศาสตรม์ หาบณั ฑติ ,กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรต.ิ
เสริมเกียรติ พรหมผุย . (2523). อิทธิพลของการอบรมเลี้ยงดูที่มีต่อคุณธรรมแห่งพลเมือง
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในจังหวัดร้อยเอ็ด. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
องุ่น พูนทวี. (2539). การศึกษาบทบาทของครอบครัวในการส่งเสริมคุณธรรมของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนประถมศึกษาเขตการศึกษา 1. กรุงเทพฯ : ครุ
ศาสตร์มหาบัณฑิต,บัณฑิตวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
143
อานนท์ ฉายศรีศิริ. (2522). องค์ประกอบบางประการที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการ
เรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในจังหวัดนครปฐม.
กรุงเทพฯ: ปริญญานิพนธ์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
อาภรณ์พันธ์ จันทร์สว่าง. (2525). การพัฒนาบุคคล กลุ่ม และชุมชน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อุษา ธนาบุญฤทธิ์. (2544). การศึกษาปัจจัยบางประการที่สัมพันธ์กับความเชื่ออำนาจ
ภายในตนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จังหวัดนครปฐม. ปริญญานิพนธ์กศ.ม
(การวิจัยและสถิติทางการศึกษา) กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทร
วิโรฒ ประสานมิตร.
อ้อมเดือน สดมณี และคนอื่นๆ.(2543). ค่านิยมเกี่ยวกับการทำงาน การถ่ายทอดการทำงาน
และลักษณะทางจิตสังคมของประชาชน. รายงานการวิจัยฉบับที่ 78 สถาบันวิจัยพฤติ
กรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
Ayer,M.E and R.Bernrueter.(1937). ” A Study of the Relationship. Between Discipline
and Personality. Traits in Young Children”. Journal of Genetic Psychology.
50 :163-170,April.
Bandura Albert. (1977). Social Leaning Theory. New Jersey : Prentice-Hall Inc.
Englewood Gliffs.
Fishbey , Martin and AJyen ,Icek. (1975). Belief, Attitude,Intention and Behavior.
Massachusettes : Addison-Wesley Publishing company.
Herlock. (1956). Child Development. 3d.ed. New York Mc Graw-Hill Book Co.
Lindzey , Garder and Aronson ,Elliot .(1969). The Handbook of Social Psychology. 3rd
ed. New York : Addison-Wesley Publishing Co.
TiTus, Harold Happer.(1936). Ethics for Today. American Book Company.
144
แบบสัมภาษณ์
แนวคำถาม
1.คุณลักษณะส่วนบุคคล
- บุคลิกภาพ ,ลักษณะนิสัยใจคอ
- ผลการเรียน
2. สภาพครอบครัว
- ฐานะทางเศรษฐกิจ(รายได้)
- อาชีพ
- ลักษณะครอบครัว
- บรรยากาศในครอบครัว
- การปฏิบัติตนของบิดามารดา
3. ลักษณะการอบรมเลี้ยงดู
- แบบ รักสนับสนุน
- แบบใช้เหตุผล
- แบบควบคุม
- แบบลงโทษทางจิตมากกว่าทางกาย
- แบบให้พึ่งตนเองเร็ว
4. สิ่งแวดล้อมทางครอบครัว
- จำนวนสมาชิก
- ความสัมพันธ์ในครอบครัว
- แบบอย่างของบิดามารดาหรือผู้ปกครอง
- วัฒนธรรมประเพณีของชุมชน
5. ทัศนคติต่อการทำความดีเพื่อสังคม
6. แนวคิด อุดมการณ์ และความเชื่อ
145
145
ประวัติย่อของผู้วิจัย
ชื่อ-ชื่อสกุล นางยุพา บุญอำนวยสุข
วัน เดือน ปีเกิด 21 กันยายน 2495
สถานที่เกิด อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี
สถานที่อยู่ปัจจุบัน 76/4 หมู่บ้านสินพัฒนา ซอยปิ่นประภาคม ถนนติวานนท์
อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000
ตำแหน่งหน้าที่การงานปัจจุบัน หัวหน้างานแนะแนวโรงเรียนวัดบวรนิเวศ
พระนคร กรุงเทพฯ
ประวัติการศึกษา พ.ศ 2514 มัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.ศ 5) โรงเรียนศรียานุสรณ์
จันทบุรี
พ.ศ 2519 วิทยาศาสตร์บัณฑิต (วท.บ จิตวิทยา)
มหาวิทยาลัยรามคำแหง
พ.ศ 2545 ศศ.ม (สังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา)
สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
แบบสังเกตและสัมภาษณ์นักเรียน
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับตัวนักเรียน
1. ชื่อนักเรียน……………………………………………..เรียนอยู่ชั้น………อายุ………ปี
2. เป็นบุตรคนที่……..ในจำนวนพี่น้อง…….คน เป็นชาย………คนเป็นหญิง……คน
3. ปัจจุบันนักเรียนอาศัยอยู่กับ………………………………….ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้ปกครอง
4. ได้รับค่าใช้จ่าย…………….บาท/เดือน/วัน/สัปดาห์ ได้รับจาก…………………….
5. ภาระกิจประจำวัน………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
……………………
6. วิถีชีวิตของนักเรียน(สังเกต/สัมภาษณ์จากตัวนักเรียนและผู้ปกครอง)…………………………
…..
…………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………
………………………………
7.กิจกรรมที่นักเรียนปฏิบัติทางโรงเรียน……………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
……………….
8. กิจกรรมที่นักเรียนปฏิบัติทางบ้าน………………………………………………………………
…..
…………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
………….
9. กิจกรรมที่นักเรียนปฏิบัติทางชุมชน……………………………………………………………
…………………………………………………………………………….
…………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
…………..
10. ลักษณะของเพื่อนสนิท…………………………………………………………………………
……
…………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
……………….
สภาพแวดล้อมทางครอบครัว
1.ลักษณะทางกายภาพของบ้าน………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
……………………
2.สถานที่ตั้งของบ้านและสภาพแวดล้อม………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
………….
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
…………
3. สมาชิกภายในบ้านจำนวน…………คน บิดาประกอบอาชีพ………………………
รายได้……………………บาทต่อเดือน…การศึกษาจบหลักสูตร………………...
มารดาประกอบอาชีพ……………………………..รายได้………………….บาทต่อ
เดือน การศึกษาจบหลักสูตร………………………………………………………
ภูมิลำเนาเดิมของบิดา………………………………มารดา……………………….
สถานภาพของบิดามารดา…….อยู่ร่วมกัน ………แยกกันอยู่ ………หย่าร้างกัน
……….บิดา/มารดาเสียชีวิต
4. ลักษณะการทำงานของบิดามารดา/ผู้ปกครอง ……ไปเช้าเย็นกลับ …..ไปต่าง
จังหวัดบ่อย ……มีใครคนใดคนหนึ่งอยู่บ้านเสมอ …….ไม่แน่นอน………………
…………………………………………………………………………………….
5.
ความสัมพันธ์ภายในครอบครัว…………………………………………………………………….
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………
6.กิจกรรมร่วมของครอบครัว……………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
…………
7.การรับประทานอาหาร…………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
……..
8.ภาระกิจของบิดามารดา………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
…………….
7. ความรู้สึกต่อนักเรียน(ของบิดามารดา)…………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
…………..
8. ความประทับใจในตัวบิดามารดาหรือผู้ปกครอง………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
……………………
9. เวลาพบปะพูดคุยปรึกษาปัญหา………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
………………
10. กฏระเบียบข้อบังคับของบ้าน……………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
………
11. สิ่งที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งสอนของบิดามารดา/ผู้ปกครอง………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
……………
12. บิดามารดา/ผู้ปกครองคิดว่าตัวนักเรียนมีอะไรที่ปฏิบัติตามแบบของ
ท่าน………………………..
…………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
………..
13. นักเรียนคิดว่าอะไรคือสิ่งที่นักเรียนได้ปฏิบัติตามแบบอย่างที่บิดามารดา/ผู้ปกครองสั่งสอน
…………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
………………
14. บิดามารดา/ผู้ปกครองมีวิธีการเลี้ยงดูลูกอย่างไรบ้าง…………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
……………………
15. นักเรียนคิดว่าบิดามารดา/ผู้ปกครองเลี้ยงดูนักเรียนอย่างไร……………………………………

…………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
………………..
16. บิดามารดา/ผู้ปกครองเคยสอนให้นักเรียนช่วยเหลือผู้อื่นอย่าง
ไร………………………………….
…………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
…………..
เคยสอนให้เสียสละ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
หรือไม่อย่างไร…………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
…………
17. อะไรคือแบบอย่างการปฏิบัติตนที่นักเรียนคิดว่าได้เลียนแบบมาจากบิดามารดา/ผู้ปกครอง
…………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
………….
18. ความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนบ้านในชุมชน………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
………………
19. กิจกรรมร่วมกับเพื่อนบ้านในชุมชนของผู้ปกครอง………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
……………
ทัศนคติต่อการทำความดีเพื่อสังคม
1. จาการที่นักเรียนได้ช่วยเหลือกิจกรรมโรงเรียน/บ้าน/ชุมชนมาแล้วนั้น นักเรียนมีเหตุผลใดใน
การกระทำ………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
………………….
2. นักเรียนรู้สึกอย่างไรที่ได้ทำ……………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
…………..
3. นักเรียนต้องการอะไรเป็นสิ่งตอบแทน เช่นคำชมหรือรางวัลเป็นต้น
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
…………
4. นักเรียนคิดอย่างไรในการทำกิจกรรมเพื่อสังคม………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
………………
5. ถ้ามีโอกาสนักเรียนอยากทำอะไรเพื่อสังคม/โรงเรียน/ชุมชน/
บ้าน………………………………….
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
…………
6. อุดมการณ์ ความคิดความเชื่อของนักเรียน……………………………………………………..
………………………………………………………………………………………….
7. ความคาดหวังในอนาคต………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………
การสังเกตสภาพแวดล้อมทางโรงเรียน
ลักษณะทางกายภาพของโรงเรียน(ทำเล/สถานที่ตั้ง………………………………………………
……………………………………………………………………………….………………………
……….
การจัดบรรยากาศ
การจัดกิจกรรม
กฎระเบียบข้อบังคับของโรงเรียน
การจัดการเรียนการสอน
ความสัมพันธ์ระหว่างครู/นักเรียน
โอกาสในการเข้าร่วมกิจกรรม
ทัศนคติ/ความคิดเห็นเกี่ยวกับโรงเรียน
1. กิจกรรมที่นักเรียนสนใจเข้าร่วมคือ…………………………………………………
2. เหตุผลที่เข้าร่วม………………………………………………………………………
3. เมื่อมีการจัดกิจกรรมภายในโรงเรียนนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรม ….ทุกครั้ง ….เป็นบางครั้ง
เฉพาะที่สนใจ …….ถ้าบังคับก็เข้าร่วม
4. ความรู้สึกต่อการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน
-การสอนของครู……………………………………………………………………..
-สภาพห้องเรียน……………………………………………………………………..
-บรรยากาศของโรงเรียน……………………………………………………………..
-กฏระเบียบข้อบังคับของโรงเรียน…………………………………………………...
-ความสัมพันธ์ระหว่างครูและนักเรียน……………………………………………
นักเรียนสามารถปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อบังคับของโรงเรียนได้ในระดับ…………..
5. โรงเรียนมีการจัดกิจกรรมเพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วมคิดร่วมทำ ….บ่อยครั้ง
……นานๆครั้ง ……..มีน้อยมาก
6. การมีโอกาสช่วยเหลืองานภายในโรงเรียน …..มีบ่อยครั้ง ……นานๆครั้ง …….ไม่มีเลย
7. นักเรียนได้เข้าร่วมกิจกรรมที่เป็นการเสียสละเพื่อส่วนรวม ……บ่อยครั้ง ……เป็นบางครั้ง
………ไม่เข้าร่วม
แนวการสัมภาษณ์บิดามารดาเกี่ยวกับการเลี้ยงดู
1. การเลี้ยงดูนักเรียนในวัยเด็ก……………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
……………….
2. การอบรมสั่งสอนเพื่ออยากให้เขาเป็น(สอนอะไร สอนอย่างไร)
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
…………
3. ความพึงพอใจในตัวนักเรียน(นักเรียนเป็นไปตามที่คาดหวังหรือไม่อย่างไร)
………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………..
4. สิ่งที่พ่อแม่ปฏิบัติยึดถือ(ความเชื่อ)และต้องการให้เขาเป็น…………………………
………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………
5. การปฏิบัติตนของนักเรียนที่บ้าน………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………

การศึกษาการทำความดีของเยาวชนเพื่อสังคม (ตอนที่ 1)
การศึกษาการทำความดีของเยาวชนเพื่อสังคม (ตอนที่ 2)
การศึกษาการทำความดีของเยาวชนเพื่อสังคม (ตอนที่ 3)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น