ศึกษาและโหลดฟรีเป็นตัวอย่างเกี่ยวกับงานวิจัย all free download research
วันศุกร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2553
การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาด (ตอนที่ 2)
บทที่ 3
วิธีดำเนินการวิจัย
ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยได้ศึกษารวบรวมข้อมูลจากเอกสารหนังสือ และ
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาแบบสอบถาม สำหรับเป็นเครื่องมือในการ
เก็บรวบรวมข้อมูล โดยมีรายละเอียดดังนี้
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากร ในการวิจัยครั้งนี้ประชากรที่นำมาศึกษาเป็นประชาชนในชุมชนเขตบางแค
กรุงเทพมหานคร ที่แบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 4 แขวง ประกอบด้วย แขวงบางแค แขวง
บางแคเหนือ แขวงบางไผ่ และแขวงหลักสอง โดยประชากรที่นำมาศึกษาเป็นชุมชนนำร่อง ที่ได้
เข้าร่วมโครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของกรุงเทพมหานคร จำนวน 5 ชุมชน
ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ของแขวงต่าง ๆ ของเขตบางแค คือ
1. ชุมชนริมคลองราชมนตรี แขวงบางแคเหนือ
2 ชุมชนริมคลองราชมนตรี หมู่ 3. แขวงบางแคเหนือ
3. ชุมชนนครแสงเพชร แขวงบางแคเหนือ
4. ชุมชนครูเจือ แขวงบางแค
5. ชุมชนหลังโรงเรียนสากลศึกษา แขวงบางแค
กลุ่มตัวอย่าง
การเลือกกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีเจาะจง (Purposive Random) จากชุมชนในเขตบางแค
กรุงเทพมหานคร ที่เข้าร่วมโครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของกรุงเทพมหานคร
โดยพิจารณาจาก 5 ชุมชน ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่แขวงต่าง ๆ ของเขตบางแค ซึ่งมีจำนวนประชากร และ
จำนวนครัวเรือนในแต่ละชุมชนที่มีความแตกต่างกัน สำหรับการเลือกขนาดของกลุ่มตัวอย่าง
ผู้วิจัยได้พิจารณาจากการคำนวนโดยใช้เกณฑ์ ร้อยละ 20 ของจำนวนครัวเรือนในแต่ละชุมชน เพื่อ
ใหเ้ กิดการกระจายของกลุม่ ตัวอยา่ ง และเห็นความหลากหลายในการปฏบิ ตั ใิ นเรือ่ งของการจดั การ
ขยะมูลฝอยในแต่ละครัวเรือนของชุมชน (ดังแสดงในตารางที่ 1)
41
ตารางที่1. แสดงจำนวนกลุ่มตัวอย่างจากครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการชุมชนร่วมใจรัก
สะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของกรุงเทพมหานคร ในเขตบางแค
ชุมชนที่เข้าร่วมโครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาด จำนวน
เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของกรุงเทพมหานคร ประชากร ครัวเรือน ร้อยละ 20
ของครัวเรือน
1. ชุมชนริมคลองราชมนตรี 800 250 50
2. ชุมชนริมคลองราชมนตรี หมู่ 3 752 280 56
3. ชุมชนนครแสงเพชร 467 176 35
4. ชุมชนครูเจือ 226 62 12
5. ชุมชนหลังโรงเรียนสากลศึกษา 225 75 15
รวม 2,470 843 168
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถาม ผู้วิจัยได้สร้างขึ้นโดยมีขั้นตอนดังนี้
1.ศึกษาเอกสารและงานวิจัยในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมในการจัดการและ
การคัดแยกขยะมูลฝอย รวมถึงปัจจัยอื่น ๆ
2.สร้างข้อคำถามให้ครอบคลุมรายละเอียดของตัวแปรอิสระที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมใน
การดำเนินงานโครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของกรุงเทพมหานคร จัดทำแบบ
สอบถามให้เหมาะสมกับการนำไปใช้ได้ และนำแบบสอบถามฉบับนี้ไปหาคุณภาพ โดยได้กำหนด
การวัดและเกณฑ์การให้คะแนนมีรายละเอียดของส่วนต่างๆ ดังนี้
ส่วนที่ 1 คำถามเกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคล มีลักษณะเป็นแบบสอบถามแบบปลายปิด และ
ให้เลือกตอบข้อเดียว ใช้เป็นเกณฑ์การให้คะแนน ประกอบด้วยคำถาม 3 ข้อ ได้แก่ เพศ อายุ
และ ระดับการศึกษา
ส่วนที่ 2 คำถามเกี่ยวกับความคิดเห็นใช้วัดความคิดเห็นจากปัจจัยภายนอก เป็นแบบสอบ
ถามแบบประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ มีระดับการวัดแบบประเภทช่วง (Interval Scale)
จำนวน 60 ข้อ มีรายละเอียดและเกณฑ์การให้คะแนนดังนี้ ( ตามตาราง ที่ 2)
42
ตารางที่ 2. เกณฑ์การให้คะแนนของแบบสอบถาม
ความคิดเห็น คะแนน
คำถามเชิงบวก คำถามเชิงลบ
ไม่เห็นด้วย 1 5
เห็นด้วยน้อย 2 4
เห็นด้วยปานกลาง 3 3
เห็นด้วยมาก 4 2
เห็นด้วยมากที่สุด 5 1
แปลผลจากคะแนนของแบบสอบถาม โดยรวมคะแนนจากแบบสอบถามทั้ง 60 ขอ้ แลว้ ใช้
คา่ เฉลยี่ (ϒX) และสว่ นเบีย่ งเบนมาตรฐาน ( S.D.) นำมาเปรยี บเทียบกับเกณฑท์ ีก่ าํ หนดไวข้ องกลุม่
ปัจจัยภายนอก ได้แก่ ความรู้เรื่องเกี่ยวกับขยะมูลฝอยและการคัดแยก การจัดการขยะมูลฝอย
บทบาทผนู้ าํ การสื่อสารและประชาสัมพนั ธ์ และความพงึ พอใจทีม่ ตี อ่ การดาํ เนนิ โครงการ
เนื่องจากลักษณะแบบสอบถามที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็น มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ
เป็นการเลือกตอบโดยใช้มาตรของ ลิเคิร์ต (Likert Scale) แต่ละข้อมีคะแนนเป็น 1,2,3,4,5 ดังนั้น
เกณฑ์การพิจารณาขอบเขตของคะแนนเฉลี่ยเพื่อใช้ในการแปลผลตามความหมายของข้อมูล
จึงกำหนดไว้เป็น 3 ระดับ ซึ่งมีเกณฑ์การพิจารณาดังนี้
พิสัย = (คะแนนสูงสุด - คะแนนต่ำสุด) / 3
= (5 - 1 ) / 3
= 1.33
จากเกณฑ์ดังกล่าวจึงสามารถกำหนดระดับความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมในการดำเนิน
โครงการชุมชนรักสะอาด เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของกรุงเทพมหานครได้ดังนี้
43
ตารางที่ 3. เกณฑ์กำหนดระดับความคิดเห็น
3.67 - 5.00 หมายถึง อยู่ในระดับสูง
2.34 - 3.66 หมายถึง อยู่ในระดับปานกลาง
1.00 - 2.33 หมายถึง อยู่ในระดับต่ำ
ส่วนที่ 3 คำถามด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาอุปสรรค ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับโครงการ
ชุมชนร่วมใจรักสะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของชุมชนในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร เป็นคำถาม
ปลายเปิด จำนวน 3 ข้อ
การพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
ในการสร้างและพัฒนาแบบสอบถามให้มีคุณภาพ ผู้วิจัยได้พัฒนาเครื่องมือด้วยตนเองโดย
รวบรวมข้อมูลจากเอกสารต่างๆ เพื่อนำข้อมูลทั้งหมดมาเป็นแนวทางในการสร้างแบบสอบถาม
เมื่อทำการสร้างแบบสอบถามเป็นเครื่องมือที่จะใช้ในการวิจัยแล้ว ผู้วิจัยได้ทำการตรวจสอบ
คุณภาพของเครื่องมือและดำเนินการปรับปรุงแก้ไข โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. การตรวจสอบความตรงของเครื่องมือ (Validity) ได้นำแบบสอบถามที่สร้างขึ้นไป
หาความตรงตามเนื้อหา (Content Validity) โดยนำเสนอแบบสอบถามฉบับร่างไปให้กรรมการ
วิทยานิพนธ์ จำนวน 3 ท่าน และผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 2 ท่าน ตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา
เพื่อตรวจสอบความสมบูรณ์ของเครื่องมือในด้านเนื้อหาคำถาม เพื่อให้ครอบคลุมและวัดได้ตรง
ตามที่ต้องการวัด รวมทั้งตรวจสอบความเป็นปรนัย (Objectivity) ของคำถาม คำตอบแต่ละข้อ
เพื่อให้ได้ข้อคำถามคำตอบที่ชัดเจน ถูกต้อง เมื่อผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว ผู้วิจัยได้
นำแบบสอบถามมาทำการปรับแก้ให้เหมาะสมทั้งภาษาและเนื้อหาตามความคิดเห็นและข้อเสนอ
แนะของผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อนำไปตรวจสอบคุณภาพด้านอำนาจการจำแนกของข้อคำถาม ความ
เที่ยงตรงของเครื่องมือ เพื่อนำไปใช้จริง
44
2. การทดลองใช้แบบสอบถาม (Try Out) นำแบบสอบถามที่ปรับปรุงแล้วไปทดลองใช้
กับประชากรที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกลุ่มตัวอย่าง โดยนำลงเก็บข้อมูลในชุมชนข้างวัดหลักสาม
เขตหนองแขม ซึ่งเป็นชุมชนที่ได้เข้าร่วมโครงการลักษณะเดียวกัน จำนวน 30 คน เพื่อตรวจสอบ
ภาษาที่ใช้ให้เป็นที่เข้าใจและมีความชัดเจนเมื่อนำแบบสอบถามไปใช้จริง
3. การตรวจสอบอำนาจจำแนกรายข้อของแบบสอบถาม (Discrimination) นำข้อมูล
ที่ได้จากแบบสอบถามมาตรวจสอบคุณภาพด้วยอำนาจจำแนกรายข้อของข้อคำถามด้วยการ
ทดสอบหาความแตกต่างของค่าเฉลี่ย (X) ระหว่างกลุ่มสูงและกลุ่มต่ำ ตามเทคนิค 25 % ของ
ลิเคอร์ต (Likert) โดยเรียงคะแนนจากมากไปหาน้อย แบ่งเป็นกลุ่มสูง 25 % และกลุ่มต่ำ 25%
แล้วนำมาเปรียบเทียบกันด้วยสูตร t-test คัดเลือกเฉพาะข้อที่มีค่า t-test ตั้งแต่ 1.75 ขึ้นไป
ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ( บุญชม ศรีสะอาด 2536 : 94) ถือว่าเป็นอำนาจจำแนกที่ใช้ได้
4. ตรวจสอบความเชื่อถือของเครื่องมือ (Reliability) มีวิธีการโดยการหาค่า
สัมประสิทธิ์แอลฟา (Coefficient Alpha) จากโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows
(Statistical Package for the Social Sciences for Windows)
5.ทำการปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องของแบบสอบถามขั้นสุดท้าย ในด้านการใช้สำนวน
ภาษาในข้อคำถามให้เข้าใจง่ายและเข้าใจตรงกัน มีความเที่ยงตรง มีความเหมาะสมในการนำ
ไปใช้ แล้วจึงนำไปทำการสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างจริง
การเก็บรวบรวมข้อมูล
ผู้วิจัยได้ติดต่อจัดทำหนังสือราชการ และประสานขอความร่วมมือกับท่านประธานชุมชนทั้ง
5 ชุมชน คือ 1.ชุมชนริมคลองราชมนตรี 2. ชุมชนริมคลองราชมนตรี หมู่3 3.ชุมชนนครแสงเพชร
4.ชุมชนครูเจือ 5.ชุมชนหลังโรงเรียนสากลศึกษา เพื่อขอเข้าไปเก็บข้อมูล ในแต่ละชุมชน ตาม
จำนวนครัวเรือนที่ต้องการ การเก็บและ รวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยพยายามเก็บแบบสอบถามกลับมาให้
ได้มากที่สุด ด้วยการอธิบายและชี้แจง ผู้ตอบแบบสอบถามโดยผู้ตอบไม่ต้องระบุชื่อ นามสกุล
สำหรับการตอบแบบสอบถาม และเก็บ รวบรวมด้วยตนเองทั้งหมด ซึ่งผู้วิจัยจะนำเสนอผลการวิจัย
ในภาพรวม ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการวิจัยครั้งนี้ โดยจะใช้เวลาในการเก็บรวมรวมข้อมูลประมาณ
2 เดือน
45
การวิเคราะห์ข้อมูล
ผู้วิจัยได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างนำมาวิเคราะห์ นำไปวิเคราะห์ทาง
สถิติด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows (Statistical Package
for the Social Sciences for Windows) และในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาความสัมพันธ์ทางสถิติ
ในการวิจัยครั้งนี้ ใช้ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 และร้อยละ 99 (ϒ = 0.05, 0.01) เป็นเกณฑ์
ในการยอมรับหรือปฏิเสธสมมติฐานในการวิจัย
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
1.วิเคราะห์ค่าสถิติเชิงพรรณา (Descriptive Statistics) โดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ
ค่าเฉลี่ย และค่าความแปรปรวนของคะแนนตัวแปรทุกตัวในกลุ่มตัวอย่างตัวแปรอิสระเพื่ออธิบาย
ตัวแปรทุกตัวที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ตัวแปรที่มีระดับการวัดแบบอัตราส่วน (Ratio Scale) และ
แบบช่วง (Interval Scale) ใช้ค่ามัชฌิมเลขคณิต และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในการอธิบายตัวแปร
ที่นอกเหนือจากที่ใช้วัดด้วยค่าความถี่ และค่าร้อยละ
2.การทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆ ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล
ปัจจัยภายนอก มาพิจารณาผลของความคิดเห็นที่มีต่อการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการ
ชุมชนร่วมใจรักสะอาด เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของกรุงเทพมหานคร
การทดสอบสมมติฐาน
ผู้วิจัยได้กำหนดสมมติฐานจากตัวแปรทุกตัวในกลุ่มปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยภายนอกที่มี
อิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของ
กรุงเทพมหานคร ผู้วิจัยได้ตั้งสมมติฐาน และพิจารณาความมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 และ 0.05
โดยได้กำหนดสมมติฐานไว้ ดังนี้
46
สมมตฐิ านที่ 1 เพศชายมีสว่ นรว่ มในการดำเนินงานโครงการชุมชนรว่ มใจรักสะอาดเพื่อสิ่ง
แวดล้อมที่ดีของชุมชนในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร ไม่แตกต่างจากเพศหญิง
สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน คือ t-test ซึ่งใช้ในการทดสอบความแตกต่างระหว่าง
คะแนนเฉลี่ยของตัวแปร 2 กลุ่ม
สมมติฐานที่ 2 ผู้ที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการชุมชน
ร่วมใจรักสะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของชุมชนในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร ต่างกัน
สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน คือ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way
Analysis of Variance)
สมมติฐานที่ 3 ผู้ที่มีอายุต่างกัน มีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการชุมชนร่วมใจ
รักสะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของชุมชนในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร ไม่แตกต่างกัน
สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน คือ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way
Analysis of Variance)
สมมติฐานที่ 4 การมีความรู้เรื่องขยะมูลฝอย การจัดการมูลฝอย และการคัดแยกขยะ
มูลฝอย มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาด
เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของชุมชนในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร
สมมติฐานที่ 5 บทบาทในการสนับสนุนโครงการของผู้นำชุมชน มีความสัมพันธ์เชิงบวก
กับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของชุมชน
ในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร
สมมติฐานที่ 6 การมีความรู้ความเข้าใจต่อโครงการมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการมี
ส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของชุมชนใน
เขตบางแค กรุงเทพมหานคร
สมมติฐานที่ 7 การส่งเสริมประชาสัมพันธ์โครงการในชุมชน มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับ
การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของชุมชนใน
เขตบางแค กรุงเทพมหานคร
47
สมมติฐานที่ 8 ความสัมพันธ์ที่ดีของเจ้าหน้าที่กับชุมชน มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการ
มีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของชุมชนใน
เขตบางแค กรุงเทพมหานคร
สมมติฐานที่ 9 ความรู้เรื่องพิษภัยจากขยะมูลฝอย มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการมี
ส่วนร่วมในการดาํ เนินงานโครงการชุมชนร่วมใจรกั สะอาดเพือ่ สิง่ แวดลอ้ มที่ดขี องชมุ ชนในเขตบางแค
กรุงเทพมหานคร
สถติ ทิ ี่ใชท้ ดสอบสมมตฐิ าน ตัง้ แตส่ มมติฐานที่ 4 – 9 ใชท้ ดสอบโดยการหาสมั ประสทิ ธ์ิ
ความสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation Coefficient)
บทที่4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษา “การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาด
เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของกรุงเทพมหานคร“ วิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามจำนวน 158 ชุด และ
นำเข้าสู่กระบวนการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยขอนำเสนอผลการวิเคราะห์ดังนี้
1. ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วยข้อมูลส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ และ
ระดับการศึกษา นำเสนอโดยแจกแจงเป็นตารางความถี่ และร้อยละพร้อมสรุป ดังนี้
ตารางที่ 4. แสดงข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง
ข้อมูลทั่วไป จำนวน ร้อยละ
1.เพศ
ชาย
หญิง
รวม
70
88
158
44.3
55.7
100.0
2.อายุ
อายุระหว่าง 20 – 30 ปี
อายุระหว่าง 31 – 40 ปี
อายุระหว่าง 41 – 50 ปี
อายุตั้งแต่ 51 ขึ้นไป
รวม
48
53
31
26
158
30.4
33.5
19.6
16.5
100.0
3.ระดับการศึกษา
ประถมศึกษา
มัธยมศึกษา / ปวช.
อนุปริญญา / ปวส.
ปริญญาตรี
สูงกว่าปริญญาตรี
รวม
67
49
27
14
1
158
42.4
31.0
17.1
8.9
.6
100.0
56
จากตารางที่ 4. แสดงข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง ผลจากการวิเคราะห์พบว่า ลักษณะทั่วไป
ของกลุ่มตัวอย่าง จากจำนวน 158 คน มีลักษณะดังนี้
เพศ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 88 คน คิดเป็นร้อยละ 55.7 และเป็นเพศชายจำนวน
70 คน คิดเป็นร้อยละ 44.3
อายุ กลุ่มที่มีอายุระหว่าง 31 – 40 ปี มีจำนวนมากที่สุดคือ 53 คน คิดเป็นร้อยละ 33.5
กลุ่มรองลงมามีอายุระหว่าง 20 – 30 ปี มีจำนวน 48 คน คิดเป็นร้อยละ 30.4 กลุ่มที่มีอายุ
ระหว่าง 41 – 50 ปี มีจำนวน 31 คน คิดเป็นร้อยละ 19.6 และกลุ่มที่มีอายุ 51 ปีขึ้นไปมี
จำนวน 26 คน คิดเป็นร้อยละ 16.5
ระดับการศึกษา กลุ่มตัวอย่างมีการศึกษาในระดับประถมศึกษา มากที่สุด จำนวน 67 คน
คิดเป็นร้อยละ 42.4 รองลงมาอยู่ในระดับมัธยมศึกษา /ปวช. จำนวน 49 คน คิดเป็นร้อยละ
31.0 ระดับอนุปริญญา /ปวส. จำนวน 27 คน คิดเป็นร้อยละ 17.1 ระดับปริญญาตรี จำนวน
14 คน คิดเป็นร้อยละ 8.9 ตามลำดับ ส่วนระดับการศึกษาที่มีจำนวนน้อยที่สุด คือ สูงกว่า
ปริญญาตรี มีอยู่ 1คน เท่านั้น คิดเป็นร้อยละ 0.6
2. การแสดงค่าระดับความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อปัจจัยภายนอก
จากแบบสอบถามที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นการวัดจากระดับความคิดเห็น ของตัวแปร
กลุ่มปัจจัยภายนอก ได้แก่ความรู้เรื่องเกี่ยวกับขยะมูลฝอยและการคัดแยก การจัดการขยะมูลฝอย
พิษภัยจากขยะมูลฝอย บทบาทผู้นำ การสื่อสารประชาสัมพันธ์ และความพึงพอใจที่มีต่อการ
ดำเนินงานโครงการ โดยได้ผลของคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับ ความคิดเห็น ดังนี้
ตารางที่ 5. แสดงค่าระดับความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อปัจจัยภายนอก
ปัจจัยภายนอก
ϒX S.D.
ระดับ
ความคิดเห็น
1. ความรู้เกี่ยวกับขยะมูลฝอยและการคัดแยก 3.9684 .4097 สูง
2. การจัดการขยะมูลฝอย 3.9494 .4575 สูง
3. พิษภัยจากขยะมูลฝอย 4.1500 .8500 สูง
4. บทบาทผู้นำชุมชน 3.9816 .4254 สูง
5. การสื่อสารประชาสัมพันธ์ 3.8291 .3358 สูง
6. ความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินงานโครงการ 4.0272 .4637 สูง
7. การมีส่วนร่วม 4.0736 .3983 สูง
56
ผลจาการวิเคราะห์ข้อมูลจากตาราง 5. พบว่า ระดับความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อ
ปัจจัยภายนอก ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับขยะมูลฝอยและการคัดแยก การจัดการขยะมูลฝอย พิษภัย
จากขยะมูลฝอย บทบาทผู้นำชุมชน การสื่อสารประชาสัมพันธ์ และความพึงพอใจที่มีต่อโครงการ
การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของ
กรุงเทพมหานคร เมื่อนำมาเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ปรากฏว่าอยู่ในระดับสูง
ทั้ง 7 ปัจจัย
อนึ่งปัจจัยทางด้านพิษภัยจากขยะมูลฝอย มิได้กล่าวไว้ในกรอบแนวความคิด แต่ได้มีการ
นำมากำหนดไว้ในสมมติฐานการวิจัย โดยกำหนดไว้ในเครื่องมือข้อที่ 6 - 8
3. ผลการศึกษาข้อมูลตามสมมติฐาน
สมมติฐานที่ 1 เพศชายมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาด
เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของชุมชนในเขตบางแค กรุงเทพมหานครไม่แตกต่างจากเพศหญิง
ตารางที่ 6. เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการของเพศชายและหญิง
ปัจจัยภายนอก เพศ N ϒX t Sig
การมสี ว่ นรว่ มในการ ชาย 70 4.0875
ดำเนินงานโครงการ หญิง 88 4.0625
.391 .696
จากผลการศึกษาจาก ตารางที่ 6 พบว่า เพศชายและเพศหญิง ซึ่งมีจำนวนใกล้เคียงกัน
คือเพศชายจำนวน 70 คน และเพศหญิงจำนวน 88 คน และจากการนำค่าเฉลี่ยจำแนกตาม
เพศ มาหาค่าความแตกต่างของกลุ่ม 2 กลุ่ม ( t-test ) ผลจากการวิเคราะห์ ปรากฏว่า เพศชาย
และเพศหญิงไม่มีความแตกต่างในการดำเนินงานโครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาด เพื่อสิ่งแวดล้อม
ที่ดีของชุมชนในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
56
สมมติฐานที่ 2 ผู้ที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการชุมชน
ร่วมใจรักสะอาด เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีข องชุมชนในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร ต่างกัน
การวิเคราะห์หาความแปรปรวนทางเดยี ว ซงึ่ ไดจ้ ากการทดสอบความแตกตา่ งของคะแนนเฉลยี่ ของ
ตวั แปรมากกวา่ 2 กลมุ่ และพจิ ารณาความมนี ยั สาํ คญั ทรี่ ะดบั 0.05
ตารางที่ 7.การวิเคราะห์ความแปรปรวนของผู้ที่มีระดับการศึกษาที่ต่างกัน กับการมีส่วนร่วม
ในการดำเนินงานโครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของชุมชนในเขตบางแค
กรุงเทพมหานคร
ปัจจัยส่วนบุคคล แหล่งความแปรปรวน SS df MS F Sig
Between Groups .871 4 .218 1.386 .242
Within Groups 24.040 153 .157
ระดับการศึกษา
Total 24.910 157
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากตารางที่ 7 พบว่า ผู้ที่มีระดับการศึกษาต่างกันจะมีส่วนร่วมใน
การดำเนินงานโครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของชุมชนในเขตบางแค
กรุงเทพมหานคร ไม่แตกต่างกัน ซึ่งปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้
สมมตฐิ านที่ 3 ผทู้ มี่ อี ายตุ า่ งกนั มีสว่ นรว่ มในการดาํ เนนิ งานโครงการชุมชนรว่ มใจรกั สะอาด
เพื่อสิ่งแวดลอ้ มทีด่ ขี องชุมชนในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร ไมแ่ ตกตา่ งกัน โดยใชก้ ารวิเคราะห์
ความแปรปรวนทางเดยี ว ซึ่งไดจ้ ากการทดสอบหาความแตกตา่ งของคะแนนเฉลี่ยของตัวแปรมากกวา่
2 กลุ่ม และพิจารณาความมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05
ตารางที่ 8. การวิเคราะห์ความแปรปรวนของผู้ที่มีกลุ่มอายุต่างกัน กับการมีส่วนร่วมในการ
ดำเนินงานโครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของชุมชนในเขตบางแค
กรุงเทพมหานคร
ปัจจัยส่วนบุคคล แหล่งความแปรปรวน SS df MS F Sig
Between Groups .272 3 .091 .566 .638
Within Groups 24.639 154 .160
อายุ
Total 24.910 157
56
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากตารางที่ 8 พบว่า ผู้ที่มีอายุต่างกัน จะมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน
โครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของชุมชนในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร ไม่มี
ความแตกต่างกัน ซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ตั้ง
ตารางที่ 9. การหาค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ ของปัจจัยภายนอกกับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน
โครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของชุมชนในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร
ปัจจัยภายนอก การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาด
N ϒX SD P value Sig.
ความรู้เกี่ยวกับขยะมูลฝอย
และการคัดแยกขยะมูลฝอย
158 3.9684 .4097 .045 .287
การจัดการขยะมูลฝอย 158 3.9494 .4575 .364** .000
บทบาทผู้นำชุมชน 158 3.9816 .4254 .173* .015
การมีความรู้ความเข้าใจต่อ
โครงการ
158 4.0272 .4637 .602** .000
การส่งเสริมประชาสัมพันธ์
โครงการ
158 3.8291 .3358 .399** .000
ความสัมพันธ์ที่ดีของเจ้าหน้า
ที่กับชุมชน
158 4.270 .580 .215** .003
ความรู้เรื่องพิษภัยจากขยะ
มูลฝอย
158 4.1500 .8500 .058 .234
* นัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
** นัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01
56
สมมติฐานที่ 4 การมีความรู้เรื่องเกีย่ วกบั ขยะมลู ฝอย การจัดการและการคัดแยกขยะมูลฝอย
มคี วามสมั พนั ธเ์ชงิ บวก กับการมีสว่ นรว่ มในการดาํ เนนิ งานโครงการชุมชนรว่ มใจรกั สะอาดเพือ่ สิง่ แวดลอ้ มที่ดี
ของชุมชนในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากตารางที่ 9 พบว่า การมีความรู้เรื่องเกี่ยวกับขยะมูลฝอยและการ
คัดแยกขยะมูลฝอย มีความสัมพันธ์ค่อนข้างต่ำกับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการชุมชน
ร่วมใจรักสะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของชุมชนในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร ซึ่งจัดว่าอยู่ในการ
ปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้
ในด้านการจัดการขยะมูลฝอยมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน
โครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของชุมชนในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร โดยมี
ความสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้
สมมติฐานที่ 5 บทบาทในการสนับสนุนโครงการของผู้นำชุมชน มีความสัมพันธ์เชิงบวก
กับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาด เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของชุมชน
ในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากตารางที่ 9 พบว่า บทบาทในการสนับสนุนโครงการของผนู้ าํ ชมุ ชน
มีความสัมพันธ์ในระดับปานกลางกบั การมีส่วนร่วมในการดาํ เนนิ งานโครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาด
เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของชุมชนในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
สมมติฐานที่ 6 การมีความรู้ความเข้าใจต่อโครงการ มคี วามสมั พนั ธเ์ชงิ บวกกับการมีส่วนรว่ ม
ในการดำเนินงานโครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของชุมชนในเขตบางแค
กรุงเทพมหานคร
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากตารางที่ 9 พบว่า การมีความรู้ความเข้าใจต่อโครงการมีความ
สัมพันธ์ ในระดับปานกลางค่อนข้างสูง กับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการชุมชนร่วมใจ
รักสะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของชุมชนในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐาน
ที่ตั้งไว้
56
สมมติฐานที่ 7 การส่งเสริมประชาสัมพันธ์ในโครงการมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการมีส่วน
ร่วมในการดำเนินงานโครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาด เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของชุมชนในเขตบางแค
กรุงเทพมหานคร
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากตารางที่ 9 พบว่า การส่งเสริมประชาสัมพันธ์ในโครงการมีความ
สัมพันธ์ในระดับปานกลางกับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาดเพื่อ
สิ่งแวดล้อมที่ดีของชุมชนในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้
สมมติฐานที่ 8 ความสัมพันธ์ที่ดีของเจ้าหน้าทีกับชุมชน มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการมี
ส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาด เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของชุมชนในเขต
บางแค กรุงเทพมหานคร
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากตารางที่ 9 พบว่า ความสัมพันธ์ที่ดีของเจ้าหน้าที่กับชุมชนนั้น มี
ความสัมพันธ์ในระดับปานกลางกันการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการชุมชนร่วมใจรัก
สะอาด เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของชุมชนในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร ซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้
สมมติฐานที่ 9 ความรู้เรื่องพิษภัยจากขยะมูลฝอย มีความสมั พนั ธเ์ชงิ บวกกับการมีส่วนร่วม
ในการดำเนินงานโครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของชุมชนในเขตบางแค
กรุงเทพมหานคร
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากตารางที่ 9 พบว่า ความรู้เรื่องพิษภัยจากขยะมูลฝอย มีความ
สัมพนั ธ์ค่อนข้างน้อย กับการมีส่วนร่วมในการดาํ เนนิ งานโครงการชุมชนรว่ มใจรกั สะอาด เพอื่ สงิ่ แวดลอ้ ม
ที่ดีของชุมชนในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร ซึ่งปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้
ข้อเสนอแนะจากแบบสอบถาม
ผลสรุปที่ได้จากแบบสอบถามปลายเปิด ซึ่งให้ผู้ตอบได้แสดงความคิดเห็นใน 3 ประเด็น
โดยนำมาอภิปรายเป็นภาพรวมที่ได้จากข้อมูลทั้ง 5 ชุมชน ดังนี้
56
1.การดำเนินงานโครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาดในชุมชนมีข้อดี คือ ทุกชุมชนได้รับ
ผลจากการร่วมโครงการมีลักษณะคล้ายกัน อาทิ ทำให้ชุมชนมีความสะอาด สิ่งแวดล้อมดีขึ้น
ขยะมูลฝอยไม่ตกค้าง ไม่เป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค นอกจากนั้นชุมชนริมคลองราชมนตรี เห็นว่ามี
การเก็บขยะทุกวัน ขยะไม่ตกค้าง ชุมชนมีความเป็นระเบียบขึ้น และผู้ที่ทำหน้าที่ชักลากก็ทำงาน
ได้ดี ชุมชนครูเจือ ชุมชนหลังโรงเรียนสากลศึกษา เห็นว่ามีการทิ้งขยะมูลฝอย ในที่ซึ่งจัดเตรียมไว้
มากขึ้น อีกทั้งยังช่วยปลูกฝังให้เด็กมีความรู้และทิ้งขยะในถังรองรับขยะมูลฝอยมากขึ้น ทำให้
คนมีความรู้ในการลดปริมาณและคัดแยกขยะก่อนทิ้งมากขึ้น นอกจากนี้ทำให้ชุมชนได้รับถังขยะ
จำนวนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในชุมชนนครแสงเพชร ประชาชนเห็นว่าโครงการนี้ทำให้ชุมชนสะอาด
น่าอยู่ มีถังขยะรองรับตามจุดต่าง ๆ ประชาชนในชุมชนพอใจและร่วมมือกันรักษาความสะอาด
จนส่งผลให้ชุมชนได้รับการยกย่อง จากเขตบางแค กรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ.2544 ให้เป็นชุมชน
จัดการด้านขยะมูลฝอยดีเด่นด้วย
2.ปัญหาและอุปสรรคที่พบ จากการเข้าร่วมในการดำเนินงานโครงการชุมชนร่วมใจ
รักสะอาดในชุมชนทั้ง 5 ชุมชน ปัญหาหลักที่พบ คือ ประชาชนบางคนไม่ให้ความร่วมมือ หรือ
ให้ความร่วมมือน้อย หน่วยงานที่รับขยะไปทิ้งมาเก็บช้าหรือต้องรอหลายวัน ทำให้มีขยะตกค้างใน
ปริมาณมาก สำหรับหน่วยงานทางราชการที่รับผิดชอบยังขาดการดูแลเอาใจใส่ในปัญหานี้ และที่
สำคัญประชาชนยังไม่เข้าใจในวัตถุประสงค์ของโครงการนี้ ทำให้ขาดการประสานความร่วมมือกัน
ขาดความเสียสละเพื่อส่วนรวม เด็กในชุมชนริมคลองราชมนตรี มักจะทิ้งขยะไม่ลงถัง ขาดความ
สนใจในการทิ้งขยะในที่ ๆ จัดไว้ ชุมชนครูเจือ พบว่าบางคนไม่เคยรับรู้โครงการนี้มาก่อน ทั้งมี
ปัญหาในการทำมาหากิน ชุมชนหลังโรงเรียนสากลศึกษา ชุมชนริมคลองราชมนตรี หมู่ 3 เห็นว่า
คนในชุมชนไม่ค่อยมีเวลามาประชุมหรือให้ความร่วมมือ นอกจากนี้ยังขาดอุปกรณ์ หรือเครื่องมือ
ในการขนย้ายขยะไม่ได้มาตรฐาน ไม่มีภาชนะมารองรับ หรือมีไม่เพียงพอ ขาดการประชาสัมพันธ์
และการสื่อสารเผยแพร่ข่าวสารมีน้อย ไม่มีการประชุมในชุมชน ขาดความสามัคคี
3.ข้อเสนอแนะต่อโครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาดควรนำไปเผยแพร่แก่ชุมชนอื่น
ชุมชนริมคลองราชนมนตรี เสนอให้มีการประชาสัมพันธ์โครงการให้มากขึ้น ชุมชนต้องร่วมมือกับ
หน่วยงานต่าง ๆ ควรมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างชุมชน ชุมชนริมคลองราชมนตรี หมู่ 3
เสนอให้ทำชุมชนของตนให้สะอาดและดีก่อนจึงจะเป็นตัวอย่างแก่ชุมชนอื่น ชุมชนครูเจือ เสนอว่า
ควรปรับปรุงทางเดินเท้าให้ทั่วถึงและดูแลเรื่องความสะอาดของชุมชน เพื่อให้มีสภาพที่ดีก่อน
บทที่ 5
สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
ปัญหาขยะมูลฝอยในชุมชนเมือง โดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร นับว่าเป็นปัญหาที่เกิดจาก
ผลกระทบของการพัฒนาทั้งทางด้านความเจริญการขยายตัวทางเศรษฐกิจและความก้าวหน้าทาง
เทคโนโลยี อันเป็นปัจจัยหนึ่งทำให้พฤติกรรมการบริโภคของมนุษย์เปลี่ยนไป ทำให้เกิดปริมาณ
ขยะมูลฝอยขึ้นเป็นจำนวนมากจนไม่สามารถกำจัดและดำเนินการจัดการให้หมดไปได้ เป็นเหตุให้
เกิดปัญหาขยะตกค้าง ส่งกลิ่นเหม็น ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและคุณภาพชีวิต เพื่อให้
สามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงต้องอาศัยความร่วมมือและการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ดังนั้น
การศึกษาเรื่อง “การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อม
ที่ดีของกรุงเทพมหานคร : กรณีศกึ ษา ชุมชนในเขตบางแค กรงุ เทพมหานคร” มีวตั ถปุ ระสงค 2
ประการ คือ
1.เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีต่อการดำเนินงานโครงการชุมชนร่วมใจรัก
สะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของกรุงเทพมหานคร
2.เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการ
ชุมชนร่วมใจรักสะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของกรุงเทพมหานคร
สรุปผลการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยที่ได้ศึกษารวบรวมข้อมูลจากเอกสารหนังสือและงานวิจัยที่มี
ความเกี่ยวข้อง เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาแบบสอบถาม ซึ่งเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวม
ข้อมูลโดยเป็นแบบสอบถามแสดงความคิดเห็นของบุคคลที่แสดงถึงศักยภาพส่วนบุคคลผ่าน
กระบวนการจากการเรียนรู้ การรับรู้ การสร้างสมประสบการณ์ต่าง ๆ อันส่งผลนำไปสู่ ทัศนคติ
และพฤติกรรมของบุคคล โดยมีจำนวนประชากรที่นำมาศึกษาเป็นประชาชนในชุมชนเขตบางแค
กรุงเทพมหานคร ซึ่งเปน็ ชมุ ชนนาํ รอ่ งที่เข้าร่วมโครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของ
กรุงเทพมหานคร จำนวน 5 ชุมชน ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ของแขวงต่าง ๆ ในเขตบางแค คือ
57
1. ชุมชนริมคลองราชมนตรี แขวงบางแคเหนือ
2. ชุมชนริมคลองราชมนตรี หมู่ 3 แขวงบางแคเหนือ
3. ชุมชนนครแสงเพชร แขวงบางแคเหนือ
4. ชุมชนครูเจือ แขวงบางแค
5. ชุมชนหลังโรงเรียนสากลศึกษา แขวงบางแค
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ
ส่วนที่ 1 คำถามเกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคคล มีลักษณะเป็นแบบสอบถามปลายปิด และให้
เลือกตอบเพียงข้อเดียว ประกอบด้วยคำถาม 3 ข้อ ได้แก่ เพศ อายุ และระดับการศึกษา
ส่วนที่ 2 คำถามเกี่ยวกับความคิดเห็น ใช้วัดด้วยระดับความคิดเห็นด้านปัจจัยภายนอก
เป็นแบบสอบถามแบบการประมาณค่า มี 5 ระดับ ได้แก่ เห็นด้วยอย่างยิ่ง เห็นด้วย ไม่แน่ใจ
ไม่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง จำนวน 60 ข้อ ประกอบด้วยคำถามที่เกี่ยวกับ ความรู้ในเรื่อง
ขยะมูลฝอย การคัดแยก การจัดการขยะมูลฝอย พิษภัยจากขยะมูลฝอย บทบาทของผู้นำชุมชน
การสื่อสารและการประชาสัมพันธ์ ความพึงพอใจที่มีต่อโครงการ และการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน
โครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของกรุงเทพมหานคร
ส่วนที่ 3 คำถามด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะที่เกี่ยวกับ
โครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของชุมชนในเเขตบางแค กรุงเทพมหานคร ซึ่ง
ประกอบด้วคำถามปลายเปิด จำนวน 3 ข้อ ให้แสดงความคิดเห็นถึงข้อดี ข้อเสียของโครงการ
ปัญหาและอุปสรรคที่พบ ในการดำเนินงาน และการนำโครงการไปเผยแพร่ ต่อไป
การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้เข้าทำการเก็บข้อมูลด้วยตนเองในพื้นที่ โดยได้นำหนังสือ
ขอความร่วมมือในการเก็บข้อมูล จากบัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ส่งถึง
ประธานชุมชนทั้ง 5 ชุมชนที่เข้าร่วมโครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของ
กรุงเทพมหานคร เพื่อขอความอนุเคราะห์ในการเข้าเก็บข้อมูลในชุมชน โดยใช้แบบสอบถามถึง
กลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนครัวเรือนในชุมชน ข้อมูลที่ได้รับอยู่ในสภาพสมบูรณ์พอที่จะนำมาวิเคราะห์
ได้จำนวน 158 ชุด จากจำนวนทั้งสิ้น 168 ชุด คิดเป็นร้อยละ 94.05
58
การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ การวิจัยครั้งนี้ ทำการวิเคราะห์ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์
โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows (Statistical Package for the Social Sciences
for Windows) ในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาความสัมพันธ์ทางสถิติ โดยกำหนดระดับความเชื่อมั่น
ร้อยละ 95 หรือร้อยละ 99 (× = 0.05 หรือ 0.01) เป็นเกณฑ์ในการยอมรับหรือปฏิเสธสมมติฐาน
ในการวิจัย โดยใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้
1. วิเคราะห์ค่าสถิติเชิงพรรณา โดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และหาค่าความ
แปรปรวนของคะแนนตัวแปรส่วนบุคคล ในกลุ่มตัวอย่างตัวแปรอิสระเพื่ออธิบายตัวแปรทุกตัวที่ใช้
ในการวิจัยครั้งนี้ ตัวแปรที่มีระดับการวัดแบบอัตราส่วน และแบบช่วง ใช้ค่ามัชฌิมเลขคณิต และ
ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในการอธิบายตัวแปรที่นอกเหนือจากที่ใช้วัดด้วยค่าความถี่ และค่าร้อยละ
2. ทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคลด้าน
เพศ อายุ ระดับการศึกษา และปัจจัยภายนอก ความรู้ที่เกี่ยวกับขยะมูลฝอยและการคัดแยก การ
จัดการขยะมูลฝอย พิษภัยจากขยะมูลฝอย บทบาทผู้นำชุมชน การสื่อสารและการประชาสัมพันธ์
ความพึงพอใจที่มีต่อโครงการ และนำมาพิจารณาผลของความคิดเห็นที่มีต่อการมีส่วนร่วมในการ
ดำเนินงานโครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของกรุงเทพมหานคร ด้วยการนำมา
หาค่าความแตกต่าง t-test, one way ANOVA และหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
นอกจากนี้จะมีการนำเสนอข้อมูลสนาม โดยวิธีการสังเคราะห์ และนำมาเสนอเป็นข้อมูล
เชิงพรรณาในภาพรวมของชุมชนที่ได้เข้าไปศึกษา
อภิปรายผลการวิจัย
การสรุปและอภิปรายผลการวิจัยในครั้งนี้จะนำเสนอประเด็นสำคัญที่พบในการวิจัยดังต่อไปนี้
ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง
จากการศึกษาข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง จำนวนทั้งหมด 158 คน พบว่าเป็น
เพศชาย 70 คน เท่ากับ ร้อยละ 44.3 เพศหญิง 88 คน เท่ากับร้อยละ 55.7 มีระดับอายุส่วน
ใหญ่อยู่ในกลุ่มอายุ 31-40 ปี จำนวน 53 คน เท่ากับร้อยละ 33.5 ระดับกลุ่มอายุที่รองลงมาคือ
20-30 ปี จำนวน 48 คน เท่ากับร้อยละ 30.4 และกลุ่มที่มีอายุน้อยที่สุด คือ กลุ่มอายุ 51 ปีขึ้นไป
59
จำนวน 26 คน เท่ากับร้อยละ 16.5 สำหรับระดับการศึกษาส่วนใหญ่อยู่ในระดับประถมศึกษา
จำนวน 67 คน เท่ากับร้อยละ 42.4 และรองลงมาคือระดับมัธยมศึกษา 49 คน เท่ากับร้อยละ
31.0 (ตามตารางที่ 5)
ข้อสรุปตามวัตถุประสงค์และสมมติฐาน
1. การมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีต่อการดำเนินงานโครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาดเพื่อ
สิ่งแวดล้อมที่ดีของกรุงเทพมหานคร
ระดับความคิดเห็น ของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อตัวแปรที่เป็นปัจจัยภายนอก ได้แก่ ระดับ
การศึกษา กลุ่มอายุ ความรู้เกี่ยวกับขยะมูลฝอยและการคัดแยก การจัดการขยะมูลฝอย พิษภัย
จากขยะมูลฝอย บทบาทผู้นำชุมชน การสื่อสารประชาสัมพันธ์และความพึงพอใจที่มีต่อโครงการ
ชุมชนร่วมใจรักสะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดี ในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร เมื่อนำมาเปรียบเทียบ
ค่าเฉลี่ยตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ปรากฏว่าอยู่ในระดับสูง ทุกตัวแปร (ตามตารางที่ 5)
2. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการชุมชน
ร่วมใจรักสะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของกรุงเทพมหานคร
จากการตั้งสมมติฐานเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยภายนอก ได้แก่ เพศ อายุ
ระดับการศึกษา ความรู้เกี่ยวกับขยะมูลฝอยการจัดการขยะมูลฝอยและการคัดแยก บทบาทผู้นำ
ชุมชน ความพึงพอใจที่มีต่อโครงการ การสื่อสารประชาสัมพันธ์ ความสัมพันธ์ที่ดีของเจ้าหน้าที่
และพิษภัยจากขยะมูลฝอยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการชุมชนร่วมใจรัก
สะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของกรุงเทพมหานคร ดังข้อมูลในการสรุปและอภิปลายผล ดังนี้
สมมติฐานข้อที่ 1 เพศชายมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาด เพื่อ
สิ่งแวดล้อมที่ดีของชุมชนในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร ไม่แตกต่างจากเพศหญิง
ผลจากการศึกษาครั้งนี้พบว่า เพศชายและเพศหญิง ซึ่งมีจำนวนใกล้เคียงกัน คือเพศชาย
จำนวน 70 คน และเพศหญิงจำนวน 88 คน และจากการนำค่าเฉลี่ยจำแนกตามเพศ มาหาค่า
ความแตกต่างของกลุ่ม 2 กลุ่ม ( t-test ) ผลจากการวิเคราะห์ ปรากฏว่า เพศชายและเพศหญิง
ไม่มีความแตกต่างในการดำเนินงานโครงการ ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ อีกทั้งยังสอดคล้อง
60
กับผลการศึกษาของ ชัยยุทธ โยธามาตย์ (2539) เรื่อง การมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำจัด
ขยะมูลฝอย ศึกษาเฉพาะกรณี เทศบาลตำบลพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี พบว่าเพศชาย
และเพศหญิงมีส่วนร่วมในการกำจัดขยะมูลฝอยไม่แตกต่างกัน
ดังนั้นจากผลของการศึกษาวิจัยครั้งนี้ สามารถอธิบายได้ว่า ความแตกต่างในเรื่องเพศ
ระหว่างเพศชายและหญิงไม่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการชุมชนร่วมใจรัก
สะอาด เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของชุมชนในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร เนื่องจากการมีส่วนร่วมใน
การดำเนินงานโครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาดนั้น บุคคลไม่ว่าเพศใดก็สามารถที่จะเข้ามามีส่วน
ร่วมในกิจกรรมได้ รวมถึงจะต้องประสานความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยในชุมชนด้วย
สมมติฐานข้อที่ 2 ผู้ที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการ
ชุมชนร่วมใจรักสะอาด เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของชุมชนในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร ต่างกัน
ผลจากการศึกษาครั้งนี้พบว่า ผู้ที่มีระดับการศึกษาต่างกัน ทั้ง 5 ระดับ คือ ทั้งในระดับ
ประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา ระดับอนุปริญญา ระดับปริญญาตรีและระดับที่สูงกว่าปริญญา
ตรี จะมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาด เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของชุมชน
ในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร ไม่แตกต่างกัน ซึ่งปฏิเสธสมมติฐาน ที่ตั้งไว้ มีผลการศึกษาที่
สอดคล้องตรงกับสมมติฐานนี้ ที่ชี้ให้เห็นว่า ระดับการศึกษาที่ต่างกัน ไม่มีผลต่อการมีส่วนร่วม
ของประชาชนซึ่งเป็นผลการศึกษาของ วรรณา ลิ่มพานิชย์ (2538) เรื่อง การมีส่วนร่วมของประชา
ชน ในการกำจัดขยะมูลฝอยในเมืองพัทยา พบว่า ระดับการศึกษาไม่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของ
ประชาชน แต่ที่แตกต่างและไม่สอดคล้องกับสมมติฐานก็มีปรากฏ ซึ่งตรงกับผลการศึกษาของ
ชัยยุทธ โยธามาตย์ (2539) เรื่อง การมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำจัดขยะมูลฝอย ศึกษา
เฉพาะกรณีเทศบาลตำบลพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี พบว่าระดับการศึกษาสูงมีส่วนร่วม
ในการกำจัดขยะมูลฝอยมากกว่าประชาชนที่มีระดับการศึกษาต่ำ
ดังนั้นจากผลของการศึกษาวิจัยครั้งนี้ สามารถอธิบายได้ว่า ระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน
ไม่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาด เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของ
ชุมชนในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร เนื่องจากความรับผิดชอบในการรักษาความสะอาดเป็น
หน้าที่ของทุกคนไม่ว่าจะมีการศึกษาในระดับใดก็ควรจะต้องปฏิบัติเพราะเป็นเรื่องใกล้ตัว และยัง
ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิต อีกทั้งเจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
สามารถนำโครงการเข้าสู่ประชาชนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายในชุมชนได้อย่างทั่วถึง อันก่อให้เกิดความ
ร่วมมือของประชาชนในทุกระดับการศึกษา
61
สมมติฐานข้อที่ 3 ผู้ที่มีอายุต่างกัน มีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการชุมชนร่วมใจรัก
สะอาด เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของชุมชนในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร ไม่แตกต่างกัน
ผลจากการศึกษาครั้งนี้พบว่า ความแตกต่างของกลุ่มอายุทั้ง 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มอายุ
ระหว่าง 20-30 ปี กลุ่มอายุระหว่าง 31-40 ปี กลุ่มอายุระหว่าง 41-50 ปี และกลุ่มอายุตั้งแต่
51 ปีขึ้นไป สรุปว่าตัวแปรอายุไม่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการชุมชนร่วมใจรัก
สะอาด เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของชุมชนในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร ซึ่งผลจากการวิจัยเป็นไป
ตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ และสอดคล้องกับผลการศึกษาของ นฤเทพ สิทธิชาญคุณะ (2541) เรื่อง
การมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำจัดขยะมูลฝอย กรณีศึกษากรุงเทพมหานคร พบว่า อายุไม่มี
ผลต่อการมีส่วนร่วมในการกำจัดขยะมูลฝอย นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับผลการวิจัยของ ชัยยุทธ
โยธามาตย (2539) เรอื่ ง การมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำจัดขยะมูลฝอย ศึกษาเฉพาะกรณี
เขตเทศบาลตำบลพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี พบว่าประชาชนอายุน้อยหรืออายุมาก มี
ส่วนร่วมในการกำจัดขยะมูลฝอยไม่แตกต่างกัน
ดังนั้นจากผลของการศึกษาวิจัยครั้งนี้ สามารถอธิบายได้ว่า ความแตกต่างของอายุไม่มีผล
ต่อการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาด เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของชุมชน
ในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร ด้วยกิจกรรมในการรักษาความสะอาดทั้งในบ้านเรือนและชุมชน
เป็นสิ่งที่ต้องปฏิบัติประจำ และต้องร่วมมือกันรับผิดชอบเพื่อส่งเสริมให้เป็นนิสัย
สมมติฐานที่ 4 การมีความรู้เรื่องขยะมูลฝอย การจัดการ และการคัดแยกขยะมูลฝอย
มีความสัมพันธ์เชิงบวก กับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาด เพื่อ
สิ่งแวดล้อมที่ดีของชุมชนในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร
ผลจากการศึกษาครั้งนี้พบว่า ความรู้เกี่ยวกับขยะมูลฝอยและการคัดแยกขยะมูลฝอยอยู่ใน
ระดับความคิดเห็นที่สูง แต่ในด้านความสัมพันธ์มีระดับค่อนข้างต่ำกับการมีส่วนร่วมในการ
ดำเนินงานโครงการ ไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่กำหนด ซึ่งสอดคล้องผลการศึกษาของ นฤเทพ
สิทธิชาญคุณะ (2541) เรื่อง การมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำจัดขยะมูลฝอย กรณีศึกษา
กรุงเทพมหานคร พบว่าความรู้ความเข้าใจเรื่องขยะมูลฝอยไม่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชน
ต่อการกำจัดขยะมูลฝอย สำหรับเรื่องการจัดการขยะมูลฝอยนั้นมีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วม
ในการดำเนินงานโครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของชุมชนในเขตบางแค
กรุงเทพมหานคร มีผลการศึกษาวิจัยที่สนับสนุนของ ยุพิน ระพิพันธุ์ (2544) ที่กล่าวถึงการจัดการ
ขยะมูลฝอยอย่างมีประสิทธิภาพจะต้องอาศัยปัจจัยในหลายๆ ด้านประกอบกัน ได้แก่ การบริการ
62
การรับรู้ข่าวสารข้อมูล ประสบการณ์ที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม และวิธีการจัดการ จะต้องมีความรู้จึง
จะดำเนินการไดอ้ ยา่ งมีประสิทธิภาพ
ดังนั้น จากผลการศึกษาวิจัยครั้งนี้ อธิบายได้ว่า การมีความรู้ในเรื่องของขยะมูลฝอย และ
การคัดแยก ไม่มีความสัมพันธ์ เนื่องจากประชาชนไม่ให้ความสำคัญและไม่นำความรู้ที่เกี่ยวกับ
ขยะมูลฝอยและการคัดแยกไปปฎิบัติ ด้วยเหตุที่ทิ้งขยะมูลฝอยรวมและไม่มีการคัดแยกก่อนนำทิ้ง
จนเป็นนิสัยและเห็นว่าเป็นสิ่งไกลตัวไม่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน จึงส่งผลให้มี
ความสัมพันธ์ค่อนข้างต่ำกับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการ แต่ในด้านการจัดการมี
ความสัมพันธ์กัน เพราะประชาชนดำเนินการจัดการขยะในชุมชน ในการกำจัด ชักลากขยะมูลฝอย
โดยผู้ทำหน้าที่ชักลากเป็นผู้รับผิดชอบ จึงส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการชุมชน
ร่วมใจรักสะอาด เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของชุมชนในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร
สมมติฐานที่ 5 บทบาทในการสนับสนุนโครงการของผู้นำชุมชน มีความสัมพันธ์เชิงบวก
กับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาด เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของชุมชน
ในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร
ผลจากการศึกษาครั้งนี้พบว่า บทบาทในการสนันสนุนโครงการของผู้นำชุมชน มีความ
สัมพันธ์ในระดับปานกลางกับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาด เพื่อ
สิ่งแวดล้อมที่ดีของชุมชนในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ อัน
จะเห็นได้จากปัจจัยในด้านต่าง ๆ ของความคิดเห็นจากกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับความคิดเห็นที่
เห็นด้วยสูง ดังเช่น ผู้นำให้การสนับสนุนจัดกิจกรรมรณรงค์ในเรื่องการรักษาความสะอาด ร้อยละ
67.7 ผู้นำมีหน้าที่และสนันสนุนการประชาสัมพันธ์โครงการฯ ร้อยละ 64.6 ผู้นำชุมชนมีบทบาท
ในการประชุมวางแผนและหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาขยะในชุมชน ร้อยละ 60.1 เป็นต้น
ดังนั้นบทบาทที่ผู้นำในชุมชนย่อมสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการมองเห็นปัญหาต่าง ๆ และ
มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาของชุมชน ตรงกับแนวคิดของ สัญญา สัญญาวิวัฒน์ (2534 : 22)
ที่ชี้ให้เห็นว่าบทบาทผู้นำมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการดำเนินงานไม่ว่าเรื่องใด ๆ ในการพัฒนา
ผลการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยอธิบายได้ว่า บทบาทในการสนับสนุนโครงการของผู้นำชุมชน
มีผลต่อการมีส่วนร่วมอย่างเห็นได้ชัดเจน ดังเช่น ประธานริมคลองราชมนตรี และประธานชุมชน
นครแสงเพชร ที่มีคุณลักษณะสำคัญ คือมีภาวะผู้นำและทำหน้าที่ตามบทบาท จนได้รับการยอม
รับจากประชาชน ย่อมจะส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาด
เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของชุมชนในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร
63
สมมติฐานที่ 6 การมีความรู้ความเข้าใจต่อโครงการมีความสัมพันธ์เชิงบวก กับการมีส่วนร่วม
ในการดำเนินงานโครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของชุมชนในเขตบางแค
กรุงเทพมหานคร
ผลจากการศึกษาครั้งนี้พบว่า การมีความรู้ความเข้าใจต่อโครงการ มีความสัมพันธ์ใน
ระดับปานกลางกับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อม
ที่ดีของชุมชนในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ การวัดความรู้
ความเข้าใจที่มีต่อโครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของชุมชนในเขตบางแค
กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง แสดงความคิดเห็นในลักษณะของความพึงพอใจที่มีต่อโครงการ
นำมากล่าวโดยสรุปได้ว่า การที่ประชาชนรับรู้ เข้าใจสาระต่างๆในโครงการย่อมจะมีส่วนสนับสนุน
และเกิดการยอมรับหรือเปลี่ยนแปลงทัศนคติและให้ความร่วมมือ ผลสรุปที่ได้จากแบบสอบถาม
ที่วัดจากระดับความพึงพอใจเรื่องความเข้าใจต่อโครงการ จะอยู่ในระดับสูง ทุกตัวแปรย่อย อาทิ
พอใจกับผลงานของโครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาด ร้อยละ 58.9 พอใจและเข้าใจในวิธีการ
ชักลากขยะหรือการเก็บขนขยะในชุมชน ร้อยละ 55.7 พอใจที่มีโครงการนี้เกิดขึ้นในชุมชน ร้อยละ
64.6 เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีผลการศึกษาที่สอดคล้องกับสมมติฐานชี้ให้เห็นว่า การมีความรู้และ
ความเข้าใจต่อโครงการมีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการ ตรงกับผลการ
วิจัยของ วรรณา ลิ่มพานิชย์ (2538) เรื่อง การมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำจัดขยะมูลฝอยใน
เมืองพัทยา พบว่าประชาชนที่อาศัยอยู่ในเมืองพัทยา มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของขยะมูลฝอย
และความคิดเห็นต่อปัญหาขยะมูลฝอย มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการมีส่วนร่วมของประชาชน
ดังนั้น จากผลการศึกษาวิจัยครั้งนี้ อธิบายได้ว่า การมีความรู้ความเข้าใจต่อโครงการจะมี
ผลต่อความพึงพอใจ และทัศนคติที่ดีในการมีส่วนร่วมสนับสนุนโครงการ ดังแนวคิดของ มัลลินส์
(Mullins, 1985:230) ที่ว่า ความพึงพอใจเป็นทัศนคติของบุคคลที่มีต่อสิ่งต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์
กับความรู้สึกของบุคคลที่นำไปสู่ความสำเร็จ ดังนั้นการที่ประชาชนในชุมชนมีความพึงพอใจกับ
กิจกรรมและผลที่ทำให้ชุมชนมีความสะอาดขึ้น ย่อมจะส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน
โครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของชุมชนในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร แต่ที่
สำคัญการสร้างความเข้าใจให้เกิดความพึงพอใจต้องอาศัยปัจจัยร่วมอื่น ๆ เช่น การประชาสัมพันธ์
โครงการที่ชัดเจนและได้รับรู้ทั่วถึง รวมทั้งการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องด้วย
64
สมมติฐานที่ 7 การส่งเสริมประชาสัมพันธ์ในโครงการมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการมี
ส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของชุมชนใน
เขตบางแค กรุงเทพมหานคร
ผลการศึกษาครั้งนี้พบว่า การสื่อสารประชาสัมพันธ์โครงการ โดยผ่านสื่อต่าง ๆ และการ
ออกเสียงตามสายให้รายละเอียดของโครงการและเผยแพร่ความรู้ข่าวสารในชุมชน ปัจจัยที่สำคัญ
คือผู้ทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์ในชุมชนต้องมีความรู้และทำหน้าที่ผู้รับผิดชอบอย่างเหมาะสมรวมถึง
ประชาชนในชุมชนนั้น ๆสามารถทำหน้าที่ส่งข่าวสื่อสารกันได้ จึงส่งผลต่อความสัมพันธ์ในระดับ
ปานกลางกับการมีส่วนร่วมในโครงการ ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ และสอดคล้องกับผลการ
วิจัยของ วรรณา ลิ่มพานิชย์ (2538) เรื่อง การมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำจัดขยะมูลฝอย
ในเมืองพัทยา พบว่าการได้รับข่าวสารเกี่ยวกับการรักษาความสะอาด มีผลต่อการมีส่วนร่วม
ดังนั้น จากผลการศึกษาวิจัยครั้งนี้ อธิบายได้ว่ามีความจำเป็นและสำคัญอย่างยิ่งในการที่
จะทำโครงการหรืองานใด ๆ ที่จะให้เกิดความสำเร็จโดยการะบวนการในการมีส่วนร่วม จะต้องมี
การส่งเสริมการประชาสัมพันธ์ ให้ประชาชนรับทราบอย่างทั่วถึง เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกัน
ดังคำกล่าวที่ว่า สังคมมนุษย์จะหยุดนิ่ง ถ้าขาดการติดต่อสื่อสารประชาสัมพันธ์ และที่สำคัญทั้ง
สื่อและอุปกรณ์ที่มช้ในการประชาสัมพันธ์ต้องมีคุณภาพสามารถใช้งานได้ดี มีความเหมาะสมกับ
พื้นที่และชุมชน
สมมติฐานที่ 8 ความสัมพันธ์ที่ดีของเจ้าหน้าที่กับชุมชน มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการ
มีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของชุมชนใน
เขตบางแค กรุงเทพมหานคร
ผลการศึกษาครั้งนี้พบว่า ประชาชนมีความพึงพอใจกับหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ ที่เข้ามา
รับผิดชอบในโครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาด ร้อยละ 58.2 อันเป็นผลที่แสดงให้เห็นถึงการมีความ
สัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน ซึ่งส่งผลให้การดำเนินงานโครงการนำไปสู่ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์
ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ตรงตามแนวทัศนะของ Poitremaud (อ้างใน เขมิกา ยามะรัต
2527) กล่าวถึงความพอใจ กับชีวิตการทำงาน ต้องมีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงาน อันจะส่งผลสู่
ความสำเร็จ
ดังนั้น จากผลการศึกษาวิจัยครั้งนี้ อธิบายได้ว่าความสัมพันธ์ของเจ้าหน้าที่ทั้งจากหน่วย
งานของภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะเป็นส่วนสนับสนุนและกระตุ้นให้เกิดจิตสำนึกและเห็น
ความสำคัญในการนำไปสู่การแก้ไขปัญหา
65
สมมติฐานที่ 9 ความรู้เรื่องพิษภัยจากขยะมูลฝอย มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการมีส่วน
ร่วมในการดำเนินงานโครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาด เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของชุมชนในเขตบางแค
กรุงเทพมหานคร
ผลการศึกษาครั้งนี้พบว่า ความรู้เรื่องพิษภัยของขยะมูลฝอย ประชาชนในชุมชนได้แสดง
ความคิดเห็นในเรื่องนี้อยู่ในระดับสูงแต่ไม่มีผลต่อความสัมพันธ์ ที่พบว่าอยู่ในระดับปานกลางกับ
การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาด ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
กล่าวได้ว่าประชาชนยังไม่ตระหนักถึงอันตรายที่จะได้รับจากปัญหาและพิษภัยของขยะมูลฝอย
เนื่องด้วยความเคยชินจากการดำเนินชีวิตและการปฎิบัติอันเป็นนิสัยที่สืบทอดกันมาในครอบครัว
และการไม่ได้รับอันตรายที่เป็นปัจจุบัน จึงทำให้พฤติกรรมของบุคคลขาดความสนใจในการดูแล
สุขภาพ หรือไม่ได้ใส่ใจให้ความสำคัญในเรื่องของสุขภาพเท่าที่ควร
ดังนั้น จากผลการศึกษาวิจัยครั้งนี้ อธิบายได้ว่า ประชาชนมีความรู้ในเรื่องพิษภัยของ
ขยะมูลฝอยจาการเรียนรู้ หรือเกิดการรับรู้ได้ ซึ่งมีอยู่ในระดับสูงนั้น แต่ยังไม่ได้ให้ความสำคัญ
หรือยังไม่เห็นผลกระทบที่ส่งผลทันทีทันใดต่อสุขภาพ และไม่เกิดแรงจูงใจที่จะรักและสนใจในการ
ดูแลสุขภาพของตน นอกจากนี้กระบวนการที่จะนำไปสู่การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการ
ชุมชนร่วมใจรักสะอาด ก็ไม่ได้นำเรื่องพิษภัยของขยะมูลฝอยนี้ลงไปแนะนำและให้ความรู้กับ
ประชาชนในชุมชนอย่างจริงจังเพื่อให้เห็นถึงอันตรายที่จะได้รับ อันจะส่งผลกระทบไปสู่สุขภาพ
และสิ่งแวดล้อมด้วย อีกทั้งเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่รับผิดชอบในด้านนี้ก็ไม่ได้นำความรู้ในเรื่อง
ดังกล่าวไปให้ประชาชนรับรู้และอีกประการหนึ่งความรู้เรื่องพิษภัยของขยะมูลฝอย ผู้วิจัยอาจจะ
ให้ประเด็นความชัดเจนที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการไม่เพียงพอ
จึงเป็นผลให้มีความสัมพันธ์กันน้อย
กล่าวโดยสรุปผลการศึกษาที่ได้ มีทั้งส่วนที่ยอมรับและปฎิเสธกับสมมติฐาน ซึ่งชี้ให้เห็น
ว่าการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานโครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาด เพื่อสิ่งแวดล้อม
ทีดีของกรุงเทพมหานคร เป็นหัวใจสำคัญของการแก้ไขปัญหา เรื่องขยะมูลฝอยในชุมชนวิธีหนึ่ง
ที่ใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยเฉพาะตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ คือ ด้านการจัดการ
ขยะมูลฝอยในชุมชนที่ดี มีวัสดุอุปกรณ์พอเพียง ย่อมทำให้เกิดความสะดวกและรวดเร็วในการ
ดำเนินงาน บทบาทของผู้นำเป็นหัวใจของการดำเนินงานที่จะทำให้ประชาชนเกิดการยอมรับหรือ
ปฎิเสธในการเข้าร่วมโครงการ ความรู้ความเข้าใจต่อโครงการ การสื่อสารประชาสัมพันธ์ และ
ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเจ้าหน้าที่กับประชาชนและชุมชน ปัจจัยเหล่านี้เป็นตัวแปรที่ส่งผลต่อ
66
ความสัมพันธ์ในการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานโครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาดเพื่อ
สิ่งแวดล้อมที่ดี ของกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 หรือ 0.05 สำหรับ
ตัวแปรด้านความรู้เกี่ยวกับขยะมูลฝอย การคัดแยก และความรู้เรื่องพิษภัยจากขยะมูลฝอย ไม่มี
ความสัมพันธ์กับการดำเนินงานโครงการ
ข้อเสนอแนะ
ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะ 2 แนวทาง ดังนี้
1. ข้อเสนอแนะเพื่อการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์
2. ข้อเสนอแนะเพื่อการทำวิจัยครั้งต่อไป
1. ข้อเสนอแนะเพื่อการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์
ด้วยวัตถุประสงค์หลักของโครงการ ที่ต้องการให้ประชาชนและชุมชนมีความตระหนักและ
มีจิตสำนึกต่อการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการดังกล่าว จากการศึกษาและลงพื้นที่ในภาค
สนามของการเก็บข้อมูลครั้งนี้พบว่า ลักษณะสภาพแวดล้อมทางกายภาพ สังคม และ ศักยภาพ
ของชุมชนในการมีส่วนร่วมต่อโครงการ ทั้ง 5 ชุมชนมีความแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ ดังนี้
1. ชุมชนริมคลองราชมนตรี เป็นชุมชนขนาดเล็กอยู่ริมคลองราชมนตรี บ้านที่อยู่อาศัย
ร้อยละ 80 เป็นเรือนไม้แบ่งเป็นห้องให้เช่า ประชาชนที่อาศัยส่วนใหญ่มีอาชีพค้าขาย มีฐานะทาง
เศรษฐกิจปานกลาง ผู้นำชุมชนเป็นผู้ที่มีความสามารถและได้รับการยอมรับจากประชาชน ทั้งใน
และนอกชุมชน จนได้รับตำแหน่งประธานเครือข่ายชุมชนเขตบางแค นอกจากนั้นยังมีการจัดให้มี
กิจกรรมในการให้ความรู้ด้านต่าง ๆ และประชาสัมพันธ์ข่าวสารโดยผ่านสื่อเสียงตามสายในชุมชน
การจัดการขยะมูลฝอยในชุมชนรวมถึงการชักลากสามารถจัดการได้ดี และประชาชนโดยรวมได้ให้
ความร่วมมือในโครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาดเป็นอย่างดี ปัญหาอุปสรรคที่พบในการดำเนินงาน
โครงการนี้ คือ มีประชาชนบางส่วนขาดโอกาสในการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการชุมชน
ร่วมใจรักสะอาด ทั้งนี้เนื่องมาจากการประกอบอาชีพค้าขายในตลาดสดบางแค จึงทำให้ไม่มี
เวลาในการเข้าร่วมกิจกรรมที่ชุมชนจัดขึ้น
67
2. ชุมชนริมคลองราชมนตรี หมู่ 3 ประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้าง และค้าขายจึงไม่
ค่อยมีเวลาให้ส่วนรวม สภาพแวดล้อมของที่อยู่อาศัยค่อนข้างแออัด เนื่องจากมีขนาดพื้นที่
จำนวนน้อยและเป็นที่เช่า สำหรับผู้ที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่มาเช่าอยู่ ไม่ใช่คนพื้นที่ดั้งเดิม ดังนั้นการ
มีส่วนร่วมในชุมชนจึงมีน้อย การจัดกิจกรรมต่าง ๆ ยังขาดการประชาสัมพันธ์ โดยเฉพาะโครง
การชุมชนร่วมใจรักสะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดี มีประชาชนส่วนหนึ่งที่ยังไม่ได้รับรู้หรือเข้าใจถึง
เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของโครงการ
3. ชุมชนนครแสงเพชร สภาพแวดล้อมของชุมชนเป็นพื้นที่สวนโดยรอบ และมีการปลูก
บ้านอยู่ติดกันโดยยกพื้นสูง ด้านล่างเป็นร่องสวนมีน้ำขังตลอดเวลา และยังพบว่าบ้านบางหลังมี
การทิ้งขยะมูลฝอยลงใต้ถุนบ้านอยู่บ้าง ผู้นำชุมชนและคณะกรรมการชุมชนมีความสามารถสูง
และได้รับการยอมรับจากประชาชนเป็นอย่างดี รวมไปถึงการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับชาวบ้านอย่าง
สม่ำเสมอ และพบว่า คนในชุมชนให้ความไว้วางใจ ให้ความร่วมมือในกิจกรรมต่าง ๆ ที่ชุมชนได้
จดั ขนึ้ เปน็ อยา่ งดี จนได้รับประกาศนียบัตรเป็นชุมชนตัวอย่างในเรื่องการรักษาความสะอาดและ
การจัดการขยะมูลฝอยในชุมชนเป็นอย่างดี สำหรับปัญหาที่พบส่วนใหญ่มาจากอุปกรณ์ในการ
รักษาความสะอาดมีไม่พอเพียงกับความต้องการ ด้านการประชาสัมพันธ์ มีปัญหาลำโพงขยาย
เสียงมีไม่ทั่วถึง ซึ่งทำให้ประชาชนบางส่วนในชุมชนไม่ได้รับข่าวสารข้อมูลต่าง ๆ
4. ชุมชนครูเจือ เป็นชุมชนติดริมคลองภาษีเจริญ มีน้ำท่วมขังใต้ถุนบ้านและทางเดินเท้า
ตลอดเวลา ทำให้การรักษาความสะอาดในชุมชนดูแลรักษายาก และมีสภาพน้ำที่เน่าเสีย สำหรับ
การได้รับความร่วมมือจากคนในชุมชน ถือว่าอยู่ในระดับพอใช้ ประธานชุมชนเป็นผู้ที่มีแนวคิดใน
ด้านการพัฒนาและใฝ่หาความรู้อย่างสม่ำเสมอ แต่เนื่องจากได้รับการเลือกตั้งเข้ามารับหน้าที่ใหม่
การประสานงานกับคณะกรรมการและการจัดกิจกรรมในชุมชนจึงต้องใช้เวลาบ้าง นอกจากนี้ทาง
ชุมชนต้องการได้รับการสนับสนุนในทุกด้านจากหน่วยงานภายนอกทั้งจากทางราชการและเอกชน
ทางด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาด ต้องมีการประชาสัมพันธ์
ให้มากกว่านี้ เพื่อให้ประชาชนรับรู้ และควรมีการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมความรู้ ในเรื่องที่เกี่ยวกับ
ขยะมูลฝอยและการรักษาความสะอาดในชุมชน เพื่อให้ประชาชนได้จัดการและแก้ปัญหาในชุมชน
ของตนเอง
68
5. ชุมชนหลังโรงเรียนสากลศึกษา เป็นชุมชนขนาดเล็ก ประชาชนมีอาชีพรับจ้างทั่วไป
และประกอบอาชีพอิสระเป็นส่วนใหญ่ ประชาชนไม่ค่อยมีเวลาให้กับชุมชนมากนัก เนื่องจากมี
สภาวะและปัญหาทางเศรษฐกิจในครัวเรือนสูง การรักษาความสะอาดในชุมชน ประชาชนมองว่า
เป็นหน้าที่ของหน่วยงานราชการต้องรับผิดชอบ สำหรับเจ้าหน้าที่ชักลากขยะในชุมชนมีความรับ
ผิดชอบสูง การรักษาความสะอาดโดยส่วนรวมที่ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชนควรให้
ความสำคัญมากขึ้นกว่านี้
จากความแตกต่างและสภาพปัญหาของแต่ละชุมชนที่กล่าวข้างต้น จึงมีข้อเสนอแนะ
แนวทางเพื่อนำไปสู่การที่จะให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการชุมชน
ร่วมใจรักสะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของกรุงเทพมหานครหรือโครงการใด ๆ ก็ตามเพื่อให้ประชาชน
ได้เห็นความสำคัญ และเกิดความสนใจในกระแสของการพัฒนา อันจะเป็นทิศทางในการใช้
กระบวนการต่าง ๆ แก้ไขปัญหาโดยอาศัยศักยภาพที่มีในชุมชน และที่สำคัญจำเป็นต้องมีปัจจัย
ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือขึ้นมาในชุมชน ปัจจัยเหล่านั้น คือ
1. สนับสนุนให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการรณรงค์ โดยเริ่มที่การประชาสัมพันธ์
รณรงค์ให้ประชาชนได้รับรู้และเกิดความตระหนักในปัญหา โดยใช้สื่อ ประเภทต่าง ๆ ทั้งเอกสาร
และบุคคล เช่น แผ่นพับ ใบปลิว การใช้สื่อเสียงตามสาย หรือหอกระจายข่าวในชุมฃน การใช้
วิธีการบอกต่อปากต่อปาก เป็นต้น และร่วมกิจกรรมกับหน่วยงานที่เข้ามาสนับสนุนในเรื่องการ
รักษาความสะอาดและสิ่งแวดล้อมทั้งของภาครัฐ เอกชนและกลุ่มอนุรักษ์ต่าง ๆ ที่จัดโครงการ
และการรณรงค์ขึ้น เช่น สมาคมสร้างสรรค์ไทย มูลนิธิสิ่งแวดล้อม มูลนิธิโลกสีเขียว เป็นต้น
2. เพิ่มประสิทธิภาพและศักยภาพของหน่วยงานราชการท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ให้สามารถดำเนินงานโครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีมากยิ่งขึ้น โดยกำหนด
นโยบายที่ชัดเจน สอดคล้องและเหมาะสมกับปัญหาของชุมชน เพื่อให้สามารถจัดสรรงบประมาณ
ได้อย่างเพียงพอกับความต้องการ ในการจัดดำเนินการและจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์
3. ส่งเสริมศักยภาพผู้นำชุมชน ให้มีวิสัยทัศน์ มีบทบาทความเป็นผู้นำ มีความตระหนัก
และให้ความสำคัญต่อปัญหาของชุมชน มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์แนวทางการแก้ปัญหาและการ
พัฒนาต่าง ๆ พร้อมทั้งรู้จักการเผยแพร่ เชิญชวน รณรงค์ให้ประชาชนเข้าร่วมในกิจกรรม ตลอดจน
จัดดำเนินการและติดตามประเมินผลจนบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ตั้งไว้
69
4. สร้างจิตสำนึก การรับรู้ และความตระหนักในปัญหาขยะมูลฝอยในชุมชนที่เกิดขึ้นอัน
ส่งผลกระทบต่อตนเองและครอบครัวไปสู่สังคมส่วนรวม ด้วยการสร้างพลังกลุ่มให้เกิดขึ้นในชุมชน
ภายใต้การศึกษาปัญหา และร่วมกันแสดงความคิดเห็นในการแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยในชุมชน
รวมถึงการสอดส่องดูแลรับผิดชอบร่วมกัน เป็นผลให้เกิดการมีส่วนร่วมและสามารถแก้ไขปัญหา
ได้อย่างแท้จริง นำไปสู่การสร้างเครื่อข่ายให้เกิดภายในและภายนอกชุมชน ส่งผลให้เกิดการ
พัฒนาอย่างยั่งยืน
5. จัดทำโครงการที่มีลักษณะเป็นเชิงรุก หรือแนวทางป้องกันโดยปลูกฝังการรักษาความ
สะอาดและช่วยกันดูแลรับผิดชอบชุมชนกับเด็กและเยาวชนในชุมชน เพื่อให้เกิดจิตสำนึก ความรับ
ผิดชอบให้กับตนเอง ครอบครัว ชุมชนและสังคม ด้วยการจัดกิจกรรมให้เด็กและเยาวชนมีส่วนร่วม
ในการเรียนรู้ในการลดปริมาณขยะมูลฝอย และการสร้างขยะมูลฝอยให้มีมูลค่า
2. ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
1. นำปัจจัยและผลที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ไปทดลองใช้กับชุมชนอื่น เพื่อเป็นการเปรียบ
เทียบและตรวจสอบประสิทธิภาพการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานโครงการชุมชน
ร่วมใจรักสะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของกรุงเทพมหานคร
2. ควรศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของคนในชุมชนที่มีต่อการรักษาความสะอาดใน
ชุมชนและการทิ้งขยะมูลฝอย
3. ควรศึกษาการมีจิตสำนึก หรือการสร้างจิตสำนึกของการรักษาความสะอาดในชุมชน
อันจะนำไปสู่การมีส่วนร่วมของคนในชุมชนเพื่อส่วนรวม
บรรณานุกรม
กองวิชาการและแผนงาน. จุลสารการคัดแยกขยะ. กรุงเทพมหานคร : สำนักรักษา
ความสะอาด, 2543. (อัดสำเนา)
------- . คู่มือการลดปริมาณมูลฝอยในชุมชน.กรุงเทพมหานคร :
สำนักรักษาความสะอาด ,2543.
เขมิกา ยามะรัต. ความพึงพอใจในชีวิตของคนชรา : ศึกษากรณี ข้าราชการบำนาญ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย
ธรรมศาสตร์ 2527.
จินตนา เปียสวน . ความตระหนักและการปฏิบัติตัวของแม่บ้าน เกี่ยวกับการจัดการ
ขยะมูลฝอยของครัวเรือน ในแฟลตข้าราชการกรุงเทพมหานคร.
วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล 2538.
เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง. การระดมประชาชนเพื่อการพัฒนาชนบท. เอกสารประกอบการสัมมนา.
กรุงเทพมหานคร : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์,2525
ชยั ยทุ ธ โยธามาตย. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำจัดขยะมูลฝอย : ศึกษา
เฉพาะกรณี เทศบาลฃตำบลพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์
ปริญญามหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2539.
ทนงศักดิ์ คุ้มไข่น้ำ และคณะ. การพัฒนาชุมชนเชิงปฏิบัติการ. กรุงเทพมหานคร :
บพิชการพิมพ์, 2534.
นพรัตน์ ใจผ่อง. การจัดการขยะมูลฝอยในแหล่งนันทนาการประเภทสวนสัตว์.
วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกริก, 2544.
นรินทร์ พัฒนาพงศา. การสื่อสารรณรงค์เชิงยุทธศาสตร์ เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมมนุษย์
กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์เขียว, 2542.
นฤเทพ สิทธิชาญคุณะ. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำจัดขยะมูลฝอย
กรณีศึกษากรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกริก
2541.
บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น, 2543.
ปาริชาติ วลัยเสถียรและคณะ. กระบวนการและเทคนิคการทำงานของนักพัฒนา
กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2542.
72
ปาริชาติ แสงหิรัญ.ทิศทางการพัฒนากรุงเทพมหานคร ปี 2543. จุลสาร กรุงเทพมหานคร ปีที่
18, ฉบับที่ 178, 2543. (อัดสำเนา)
ปริศนา โกลละสุต. การมีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชน : ศึกษาเปรียบเทียบผู้เคยย้ายถิ่น
และผู้ไม่เคยย้ายถิ่น วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สถาบันพัฒนบัณฑิตบริหาร
ศาสตร์ 2534.
ปรีดา แย้มเจริญวงศ์. การจัดการขยะขยะมูลฝอย. ภาควิชาวิทยาศาสตร์สุขาภิบาล
และสิ่งแวดล้อม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย
ขอนแก่น, 2531.
ปรัชญา เวสารัชช์. รายงานการวิจัย การมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจกรรมเพื่อพัฒนา
ชนบท,กรุงเทพมหานคร : สถาบันไทยคดีศึกษา. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2528.
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่7 การพัฒนาเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม ความ
ร่วมมือระหว่างรัฐและเอกชน, 2543. (อัดสำเนา)
พัชรี หอวิจิตร. การจัดการขยะมูลฝอย.ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรม
ศาสตร์. มหาวิทยาลัยขอนแก่น : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น , 2529.
พวงทอง ตั้งธิติกุล. ความพึงพอใจของผู้รับบริการบัตรประกันสุขภาพโดยความสมัครใจ
ต่อบริการของสถานีอนามัยในจังหวัดอุทัยธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยมหิดล 2543.
ไพรัตน์ เตชะรินทร์. นโยบายและการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา.
กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ศักดิ์โสภาการพิมพ์, 2527.
มลฑล ใบบัว. หลักและทฤษฎีการสื่อสาร. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, 2537.
มารศรี นุชแสงพลี. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในชีวิตผู้สูงอายุ : ศึกษากรณีผู้สูง
อายุในชุมชนบ่อนไก่ กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2532.
ยุพิน ประจวบเหมาะ และนุกูล กระยืนยงค์. การลงทุนในธุรกิจกำจัดขยะของภาคเอกชน :
การวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตรเ์ พื่อพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อมในเขตรงุ เทพมหานคร..
คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพมหานคร, 2534.
ยุพิน ระพิพันธุ์. ความรู้, ทัศนคติและการจัดการที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของ
กรรมการชุมชน ในการจำแนกประเภทมูลฝอยที่ใช้ในชีวิตประจำวันก่อนทิ้ง
ในเขตเทศบาลเมือง พนัสนิคม อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญา
มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2544.
72
ยุวมาลย์ ทวีวัลย์. การจัดการและความตระหนักของประชาชนในหมู่บ้านจัดสรรที่มีต่อ
ปัญหาขยะมูลฝอย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหิดล,2540.
ยุวัฒน์ วุฒิเมธี. หลัการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพมหานคร : ไทยอนุเคราะห์ไทย, 2526.
วรรณา ลิ้มพานิชย์. การมีส่วนร่วมของประชาชนชราในการกำจัดขยะมูลฝอยเมืองพัทยา
วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2538.
วิรัช ชมชื่น. พฤติกรรมการกำจัดขยะมูลฝอยของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองนครปฐม.
วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล 2537.
ศรินทร์ ตันติพุกนนท์. โครงการก่อสร้างโรงงานกำจัดมูลฝอยโดยการเผาและผลิตกระแส
ไฟฟ้าที่อ่อนนุช. วารสารสิ่งแวดล้อม ปีที่3, ฉบับที่ 13, 2542 .
สมทัศ สมชีวีตา. นโยบายและการดำเนินงานของรัฐในการควบคุมมลภาวะและสิ่งแวดล้อม
ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 การพัฒนาเศรษฐกิจและ
สิ่งแวดล้อม ความร่วมมือระหว่างรัฐและเอกชน, 2543. (อัดสำเนา)
สัญญา สัญญาวิวัฒน์. ทฤษฎีสังคมวิทยา. กรุงเทพมหานคร : เจ้าพระยาการพิมพ์, 2534
สัญญา สัญญาวิวัฒน์. หลัการพัฒนา. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534.
สำนักรักษาความสะอาด. สำนักรักษาความสะอาด 2543. กรุงเทพมหานคร :
บริษัทสัมพันธ์พานิชย์, 2543.
สิริ เทศประสิทธิ์. บทบาทของนักบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช,
2529.
Applewhite and Phillip B.Organization and Behavior. New York : Prentice-Hall, 1965.
Cohen.John.M. and Uphoff Norman T. Participations Place in Rural Development :
“Seeking Clarity Through Specificity” World Development ,1980.
Mullins, Luaric J. Management and Organizationl Behavior. London: Pitman
Company, 1985.
Neal, Homer A, and Schubal, J.R. Solid Waste Management and The Environment :
The Mouting Gargage and Trash Cruisis. New Jersy ; Prentice-Hall,1987.
ภาคผนวก
คำชี้แจง การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนที่เข้าร่วม
โครงการ ชุมชนร่วมใจรักสะอาด เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของเขตบางแค กรุงเทพมหานคร
ข้อแนะนำเกี่ยวกับแบบสอบถาม
แบบสอบถามชุดนี้มีทั้งหมด 8 หน้า แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1 เป็นคำถามเกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคคล จำนวน 3 ข้อ
ส่วนที่ 2 เป็นคำถามเกี่ยวกับความคิดเห็นและความพึงพอใจ จำนวน 60 ข้อ
ส่วนที่ 3 เป็นคำถามปลายเปิดแสดงความคิดเห็นและเสนอแนะ จำนวน 3 ข้อ
แบบสอบถามสำหรับการวิจัย
เรื่อง การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการชุมชนร่วมใจ
รักสะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของเขตบางแค
กรุงเทพมหานคร
แบบสอบถาม
ชุดที่ 1-3
หน้า 1/8
ส่วนที่ 1 ข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม
คำชี้แจง โปรดใส่เครื่องหมาย ลงในวงเล็บหน้าข้อความที่ตรงกับความเป็นจริง
ข้อ 1. เพศ
( ) 1. ชาย ( ) 2. หญิง
ข้อ 2. อายุ
( ) 1. อายุระหว่าง 20-30 ปี ( ) 2. อายุระหว่าง 31-40 ปี
( ) 3. อายุระหว่าง 41-50 ปี ( ) 4. อายุตั้งแต่ 51 ปีขึ้นไป
ข้อ 3. ระดับการศึกษาสูงสุด
( ) 1. ประถมศึกษา ( ) 2. มัธยมศึกษา /ปวช.
( ) 3. อนุปริญญา/ปวส. ( ) 4. ปริญญาตรี
( ) 5. สูงกว่าปริญญาตรี
หน้า 2/8
ส่วนที่ 2 เป็นคำถามเกี่ยวกับความคิดเห็นและความพึงพอใจ
คำชี้แจง โปรดใส่เครื่องหมาย ในช่องระดับความคิดเห็นและระดับความพึงพอใจ
ที่ตรงกับความเป็นจริงหรือ สอดคล้องกับความรู้สึกของท่านมากที่สุด
ระดับความคิดเห็น
1.เกี่ยวกับขยะมูลฝอย
และการคัดแยก
เห็นด้วย
อย่างยิ่ง
เห็นด้วย ไม่แน่ใจ ไม่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย
อย่างยิ่ง
1.ขยะมูลฝอยก่อให้เกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม
2.ขยะเปียกพวกเศษอาหาร ผัก ผลไม้ เป็นขยะ
ที่ย่อยสลายได้ง่าย
3.ขยะมูลฝอยทุกประเภทมีวิธีการกำจัดเหมือน
กันหมด
4.เศษอาหาร ผัก และผลไม้ เป็นขยะมูลฝอยที่
สามารถทิ้งลงแม่น้ำลำคลองได้
5.ถ่านไฟฉาย กระป๋องสเปรย์ หรือกระป๋อง
สารฆ่าแมลง เมื่อไม่ใช้แล้วควรนำไปเผา
6. การเผาขยะกลางแจ้ง ก่อให้เกิดควัน แต่ไม่มี
ผลเสียต่อสุขภาพ และสิ่งแวดล้อม
7.ขยะมูลฝอยในชุมชน เป็นแหล่งที่ทำให้เกิด
การแพร่กระจายของเชื้อโรคไปสู่ประชาชน
8. ขยะมูลฝอยอันตรายจากโรงงาน และขยะ
ติดเชื้อจากโรงพยาบาล ถ้านำมาทิ้งรวมกับ
ขยะมูลฝอยทั่วๆไปจากบ้านเรือนสามารถแพร่
เชื้อโรคและสารพิษมาสู่คนในชุมชนได้
9. ขยะพิษ คือขยะที่มีส่วนประกอบของสาร
อันตราย ได้แก่ ถ่านไฟฉาย แบตเตอรี่ หลอด
ไฟฟลูออเรสเซนต์ ที่หมดอายุ หรือใช้ไม่ได้แล้ว
10.ขยะมูลฝอยจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับนิสัย
การทิ้ง และความรับผิดชอบของคนในชุมชน
11.เราไม่จำเป็นต้องคัดแยกประเภทของขยะ
มูลฝอยก่อนนำไปทิ้ง
ระดับความคิดเห็น
เกี่ยวกับขยะมูลฝอย
และการคัดแยก (ต่อ)
เห็นด้วย
อย่างยิ่ง
เห็นด้วย ไม่แน่ใจ ไม่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย
อย่างยิ่ง
12.การคัดแยกขยะมูลฝอยออกเป็นขยะเปียก
ขยะแห้ง ขยะมีพิษ ทำให้นำไปกำจัดได้รวดเร็ว
และปลอดภัยต่อชุมชน
ระดับความคิดเห็น
2.การจัดการขยะมูลฝอย เห็นด้วย
อย่างยิ่ง
เห็นด้วย ไม่แน่ใจ ไม่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย
อย่างยิ่ง
13.การกำจัดขยะที่ถูกวิธีจะช่วยลดปริมาณ
ขยะมูลฝอยและแก้ปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อม
14.ควรกำจัดขยะมูลฝอยอย่างถูกวิธีทุกวันเพื่อ
สุขภาพอนามัยที่ดีของคนในชุมชน
15.ประชาชนต้องมีความรู้และมีส่วนร่วม ด้าน
การรักษาความสะอาด จึงจะแก้ไขปัญหา
ขยะมูลฝอยในชุมชนได้
16.ขยะมูลฝอยประเภทพลาสติกหรือโฟมต้อง
กำจัดด้วยวิธีการเผาในเตาเผาอย่างถูกหลัก
สุขาภิบาล
17.ขยะที่เป็นพิษหรือเป็นอันตรายควรกำจัด
โดยวิธีฝังกลบอย่างปลอดภัยและต้องทำอย่าง
ระมัดระวัง
18.การขาดความร่วมมือจากประชาชนไม่ใช่
สาเหตุของปัญหาการจัดการขยะในชุมชน
19.ควรนำขยะมาทำให้เกิดประโยชน์เพื่อ
แก้ปัญหาขยะมูลฝอยในชุมชน
20.การออกกฎหมายและประชาชนปฏิบัติตาม
อย่างเคร่งครัด จะสามารถแก้ปัญหาขยะมูล
ฝอยอย่างได้ผล
หน้า 3/8
หน้า 4/8
ระดับความคิดเห็น
การจัดการขยะมูลฝอย (ต่อ) เห็นด้วย
อย่างยิ่ง
เห็นด้วย ไม่แน่ใจ ไม่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย
อย่างยิ่ง
21.ปัญหาขยะมูลฝอยไม่ใช่ปัญหาสำคัญที่
ประชาชนทุกคนต้องช่วยแก้ไข
22.การเข้าร่วมในกิจกรรมรักษาความสะอาด
ของชุมชนทำให้เสียเวลาทำมาหากิน
ระดับความคิดเห็น
3.บทบาทของผู้นำเห็นด้วย
อย่างยิ่ง
เห็นด้วย ไม่แน่ใจ ไม่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย
อย่างยิ่ง
23.ผู้นำชุมชนควรให้ความสำคัญกับการ
ดำเนินการด้านรักษาความสะอาดในชุมชน
24.ผู้นำชุมชนควรจัดกิจกรรมรณรงค์ในเรื่อง
การรักษาความสะอาดและจัดการขยะในชุมชน
25.ผู้นำชุมชนไม่จำเป็นต้องเป็นแบบอย่างหรือ
ให้ความร่วมมือในการรักษาความสะอาด
เพราะเป็นหน้าที่ของหน่วยราชการอยู่แล้ว
26. ผู้นำชุมชนควรมีการประชาสัมพันธ์
โครงการฯ ให้คนในชุมชนรับทราบอย่างทั่วถึง
27.ผู้นำชุมชนควรมีหน้าที่และส่วนร่วมในการ
จัดหาภาชนะและสถานที่รองรับขยะในชุมชน
อย่างเหมาะสม
28.ผู้นำชุมชนต้องประสานงานกับหน่วยงาน
ราชการที่รับผิดชอบในเรื่องการรักษาความ
สะอาดในชุมชน
29.ผู้นำชุมชนไม่ต้องเสนอความคิดเห็นหรือ
ศึกษาปัญหาเกี่ยวกับขยะมูลฝอยในชุมชน
เพราะเป็นหน้าที่ของประชาชนทุกคน
30.ผู้นำชุมชนมีบทบาทในการประชุมวางแผน
และหา แนวทางในการแก้ปัญหาขยะในชุมชน
หน้า 5/8
ระดับความคิดเห็น
บทบาทของผู้นำ (ต่อ) เห็นด้วย
อย่างยิ่ง
เห็นด้วย ไม่แน่ใจ ไม่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย
อย่างยิ่ง
31.การเป็นผู้นำชุมชนทำหน้าที่เพียงนำปัญหา
ในเรื่องขยะมูลฝอยของชุมชนไปแจ้งต่อหน่วย
งานราชการ
32..ผู้นำชุมชนไม่จำเป็นต้องจัดกิจกรรม หรือ
ชักชวน ประชาชนให้มีส่วนร่วมในการจัดการ
ขยะมูลฝอย
ระดับความคิดเห็น
4.การสื่อสารประชาสัมพันธ์ เห็นด้วย
อย่างยิ่ง
เห็นด้วย ไม่แน่ใจ ไม่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย
อย่างยิ่ง
33.ในชุมชนควรมีการประชาสัมพันธ์โครงการ
ชุมชนร่วมใจรักสะอาดฯ โดยผ่านสื่อต่างๆและ
ออกเสียงตามสายหรือเครื่องขยายเสียง
34. เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานราชการควรให้
ความรู้เรื่องขยะมูลฝอยโดยการแนะนำและ
แจกเอกสาร
35.ข่าวสารหรือการประชาสัมพันธ์ที่เกี่ยวกับ
โครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาดฯไม่มีในชุมชน
36.การสื่อสารประชาสัมพันธ์โครงการชุมชน
ร่วมใจรักสะอาดฯ มีรายละเอียดไม่ชัดเจน
37.ในชุมชนไม่มีความจำเป็นต้องสื่อข่าวสาร
หรือประชาสัมพันธ์เรื่องต่างๆ
38.ประชาชนในชุมชนสามารถทำหน้าที่ส่งข่าว
สื่อสารและประชาสัมพันธ์ได้
39.คนที่ทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์ในชุมชนต้องมี
ความรู้ที่เหมาะสมกับหน้าที่
40.ในชุมชนควรจัดทำตารางเวลาสำหรับ
ประชาสัมพันธ์เพื่อเผยแพร่ความรู้และข่าวสาร
หน้า 6/8
ระดับความคิดเห็น
การสื่อสารประชาสัมพันธ์ (ต่อ) เห็นด้วย
อย่างยิ่ง
เห็นด้วย ไม่แน่ใจ ไม่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย
อย่างยิ่ง
41.ชุมชนท่านมีป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ
ชุมชนร่วมใจรักสะอาดแจ้งให้ทราบอย่างทั่วถึง
42. ประชาชน คณะกรรมการชุมชนและผู้เกี่ยว
ข้องในโครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาดมีการ
พูดคุยปรึกษาหารือกันอย่างสม่ำเสมอ
ระดับความพึงพอใจ
5.ความพึงพอใจต่อโครงการ ชุมชนร่วมใจ
รักสะอาดเพื่อสิ่งที่ดีของกรุงเทพมหานคร พึงพอใจ
อย่างยิ่ง
พึงพอใจ ไม่แน่ใจ ไม่พอใจ ไม่พอใจ
อย่างยิ่ง
43.ท่านรู้สึกพอใจกับผลงานของโครงการ
ชุมชนร่วมใจรักสะอาด
44.ท่านพอใจวิธีการชักลากหรือการเก็บขนขยะ
ของชุมชนในปัจจุบัน
45.ท่านพอใจที่ชุมชนของท่านมีความสะอาด
มากขึ้นหลังจากมีโครงการนี้เกิดขึ้น
46.ท่านพอใจที่มีโครงการนี้เกิดขึ้นในชุมชน
47.ท่านพอใจที่คนในชุมชนมีความรับผิดชอบ
ในการรักษาความสะอาดและคัดแยกขยะ
48.ท่านพอใจที่ได้รับความรู้และคำแนะนำใน
การคัดแยกขยะ
49.ท่านพอใจกับหน่วยงานราชการที่เข้ามา
รับผิดชอบในโครงการชุมชนรักสะอาด
50.ท่านเต็มใจที่จะร่วมทำกิจกรรมและ
สนับสนุนต่อโครงการตลอดไป
51. ท่านตั้งใจจะใช้ความรู้และความสามารถ
ที่ได้รับจากการเข้าร่วมโครงการนี้ไปเผยแพร่
หน้า 7/8
ระดับความพึงพอใจ
5.ความพึงพอใจต่อโครงการ ชุมชนร่วมใจ
รักสะอาดเพื่อสิ่งที่ดีของกรุงเทพมหานคร
(ต่อ)
พึงพอใจ
อย่างยิ่ง
พึงพอใจ ไม่แน่ใจ ไม่พอใจ ไม่พอใจ
อย่างยิ่ง
52.ท่านพอใจการทำงานของอาสาสมัครที่
ชักลากขยะในชุมชนของท่าน
ระดับความคิดเห็น
6.การมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน
โครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาด
เห็นด้วย
อย่างยิ่ง
เห็นด้วย ไม่แน่ใจ ไม่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย
อย่างยิ่ง
53.ปัญหาขยะและสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่ทุกคน
ในสังคมต้องช่วยกันรับผิดชอบและแก้ปัญหา
54.ท่านให้ความสำคัญต่อการกำจัดขยะและ
รักษาสิ่งแวดล้อมในชุมชน
55.ท่านเกิดความรู้ความเข้าใจอย่างชัดเจนใน
ร่วมดำเนินงานโครงการชุมชนรักความสะอาด
56.ท่านให้ความร่วมมือในการแก้ปัญหาและ
อุปสรรคที่เกิดขึ้นในโครงการชุมชนร่วมใจรัก
สะอาด
57.ท่านมีความคิดริเริ่มสิ่งใหม่ ๆ ที่จะช่วยกัน
รักษาความสะอาดและสิ่งแวดล้อมในชุมชนให้
ดีขึ้นกว่าเดิม
58.ท่านร่วมกันป้องกันปัญหาขยะมูลฝอยและ
สิ่งแวดล้อมในชุมชนอย่างเข้มแข็ง
59.ท่าน มีส่วนร่วมในการควบคุม ติดตาม และ
ประเมินผลโครงการว่ามีความสำเร็จมากน้อย
เพียงใด
60.ท่านและคนในชุมชนร่วมกันป้องกันปัญหา
ขยะมูลฝอยและสิ่งแวดล้อมในชุมชนอย่าง
เข้มแข็ง
หน้า 8/8
ส่วนที่ 3 คำถามสำหรับแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ จำนวน 3 ข้อ
คำชี้แจง โปรดแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่ตรงกับความต้องการของท่านลงใน
ช่องว่างที่ได้กำหนดไว้
1. ท่านคิดว่าการดำเนินโครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาดในชุมชนของท่านมีข้อดีและข้อเเสีย
อะไรบ้าง
ข้อดี………………………………………………………………………………………………
……….…………………………………………………………………………………………
……….…………………………………………………………………………………………
ข้อเสีย……………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
2. ท่านคิดว่าปัญหาและอุปสรรคที่พบในการดำเนินงานโครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาดในชุมชน
ของ ท่านมีอะไรบ้าง
…………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
3. ท่านมีข้อเสนอแนะต่อโครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาดว่าควรนำไปเผยแพร่ในชุมชนอื่นอย่างไร
…………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
บรรณานุกรม
ผู้วิจัยขอขอบคุณเป็นอย่างสูงที่ท่านได้สละเวลาในการตอบแบบสอบถามฉบับน ี้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์
ต่อการนำไปใช้ในการจัดการขยะในชุมชนต่อไปในอนาคต
นางสาว เยาวลักษณ์ ทองอุ่มใหญ่
ผู้วิจัย
ประวัติผู้วิจัย
ชื่อ-สกุล นางสาวเยาวลักษณ์ ทองอุ่มใหญ่
วัน เดือน ปีเกิด 30 กันยายน 2500
สถานที่เกิด กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
ประวัติการศึกษา
การศึกษาบัณฑิต พ.ศ.2522
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (พละศึกษา)
ครุศาสตรบัณฑิต พ.ศ.2533
วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
สถานที่ทำงานและตำแหน่ง
โรงเรียนปัญญาวรคุณ พ.ศ.2524 -ปัจจุบัน
ตำแหน่ง อาจารย์ 2 ระดับ 7
หัวหน้างานอนามัยโรงเรียนปัญญาวรคุณ
การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาด (ตอนที่ 1)
การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาด (ตอนที่ 2)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น