ศึกษาและโหลดฟรีเป็นตัวอย่างเกี่ยวกับงานวิจัย all free download research
วันพุธที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553
การดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ตามความคิดเห็นของ (ตอนที่ 2)
ขั้นตอนที่ 7 นำแบบสอบถามที่หาค่าความเที่ยง แล้วไปดำเนินการจัดพิมพ์เป็น
แบบสอบถามฉบับสมบูรณ์เพื่อใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลต่อไป
2. ลักษณะของเครื่องมือ
เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยได้
จัดทำขึ้นมาโดยการวิเคราะห์จากเนื้อหา ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับตัวแปรที่ต้องการ
ศึกษา ซึ่งอาศัยกรอบแนวคิดในการวิจัยมาทำการออกแบบเครื่องมือเพื่อใช้ในการเก็บรวบรวม
ข้อมูลประกอบด้วย
แบบสอบถามตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม เป็นแบบเลือกตอบ
(Check list) โดยสอบถามเกี่ยวกับตำแหน่งหน้าที่ และคณะวิชาที่สังกัดของบุคลากร
แบบสอบถามตอนที่ 2 ข้อมูลการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ตาม
ความคิดเห็นของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ซึ่งแบบสอบถามมี
ลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ชนิด 6 ระดับ โดยให้เลือกคำตอบได้
เพียงคำตอบเดียว มีทั้งหมด 72 ข้อคำถาม สร้างขึ้นตามกรอบการประกันคุณภาพการศึกษา
ของทบวงมหาวิทยาลัยดังที่กล่าวมาแล้ว ผู้วิจัยได้กำหนดเกณฑ์ค่าระดับการดำเนินงานดังนี้
48
5 หมายความว่า มีการดำเนินงานอยู่ในระดับ มากที่สุด
4 หมายความว่า มีการดำเนินงานอยู่ในระดับ มาก
3 หมายความว่า มีการดำเนินงานอยู่ในระดับ ปานกลาง
2 หมายความว่า มีการดำเนินงานอยู่ในระดับ น้อย
1 หมายความว่า มีการดำเนินงานอยู่ในระดับ น้อยที่สุด
0 หมายความว่า ไม่มีการดำเนินงาน
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้ดำเนินการดังนี้
1. ติดต่อขอความอนุเคราะห์จากคณะวิชา โดยมีหนังสือจากบัณฑิตวิทยาลัย
สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เพื่อขอความอนุเคราะห์กลุ่มตัวอย่างไปยังคณบดีของ
ทั้ง 8 คณะวิชาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เพื่อให้ช่วยดำเนินการ
แจกแบบสอบถามให้อาจารย์ประจำ และเจ้าหน้าที่ประจำ ที่เป็นกลุ่มตัวอย่างและรวบรวมส่ง
คืนให้ผู้วิจัย
2. ติดตาม และรับคืนแบบสอบถามให้ครบตามจำนวนที่ต้องการ โดยแบบสอบถามที่
ส่งไปมีทั้งหมด 248 ฉบับ และได้รับแบบสอบถามที่ตอบสมบูรณ์ครบถ้วน จำนวน 240 ฉบับ
คิดเป็นร้อยละ 96.77 ของจำนวนแบบสอบถามทั้งหมดที่ส่งออกไป
3. ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามเป็นข้อมูลที่เก็บในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม
พ.ศ. 2545 จากกลุ่มตัวอย่างทั้ง 8 คณะวิชา
การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิจัย
ผู้วิจัยดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถาม โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป
SPSS PC for Windows โดยแบ่งการวิเคราะห์เป็นดังนี้
1. วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม โดยการแจกแจงความถี่
(Frequency) และหาค่าร้อยละ (Percentage)
2. วิเคราะห์ข้อมูลการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ตามความคิดเห็นของ
บุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดยการหาค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วน
เบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ซึ่งกำหนดช่วงคะแนนการวิเคราะห์ไว้ดังนี้
ช่วงคะแนน การแปลความหมาย
4.50-5.00 มีระดับการดำเนินงาน มากที่สุด
3.50-4.49 มีระดับการดำเนินงาน มาก
2.50-3.49 มีระดับการดำเนินงาน ปานกลาง
49
1.50-2.49 มีระดับการดำเนินงาน น้อย
0.50-1.49 มีระดับการดำเนินงาน น้อยที่สุด
0.00-0.49 ไม่มีการดำเนินงาน
3. วิเคราะห์เปรียบเทียบการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ตามความคิดเห็น
ของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ ซึ่งมี
ข้อมูลเปรียบเทียบระหว่างอาจารย์ประจำ และเจ้าหน้าที่ประจำ เป็นรายด้าน โดยการใช้สถิติ
ทดสอบ t-test
4. วิเคราะห์เปรียบเทียบการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ตามความคิดเห็น
ของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จำแนกตามคณะวิชาที่สังกัด เป็น
รายด้าน ซึ่งมีข้อมูลเปรียบเทียบระหว่าง 8 คณะวิชา โดยการใช้สถิติทดสอบ F-test และเพื่อ
ให้ทราบความแตกต่างเป็นรายคู่ จึงใช้วิธีการทดสอบระหว่างค่าเฉลี่ยที่เรียกว่าวิธีผลต่าง
นัยสำคัญ (Least Significant Difference) หรือ LSD ทำการทดสอบค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ของ
คณะวิชาที่สังกัด ตามรายด้าน เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างมีขนาดไม่เท่ากัน
บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
การนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ตาม
ความคิดเห็นของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ผู้วิจัยได้ดำเนินการ
ตามลำดับดังนี้
1. การวิเคราะห์ข้อมูล
2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูลการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ตามความคิดเห็นของ
บุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ดำเนินการใช้โปรแกรมสำเร็จรูป
SPSS PC for Windows โดยได้วิเคราะห์ข้อมูลดังนี้
1. วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม โดยการแจกแจงความถี่
(Frequency) และหาค่าร้อยละ (Percentage)
2. วิเคราะห์ข้อมูลการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ตามความคิดเห็นของ
บุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดยการหาค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วน
เบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
3. วิเคราะห์เปรียบเทียบการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ตามความคิดเห็น
ของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ ซึ่งมี
ข้อมูลเปรียบเทียบระหว่างอาจารย์ประจำ และเจ้าหน้าที่ประจำ เป็นรายด้าน โดยการใช้สถิติ
ทดสอบ t-test
4. วิเคราะห์เปรียบเทียบการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ตามความคิดเห็น
ของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จำแนกตามคณะวิชาที่สังกัด เป็น
รายด้าน ซึ่งมีข้อมูลเปรียบเทียบระหว่าง 8 คณะวิชา โดยการใช้สถิติทดสอบ F-test และเพื่อ
ให้ทราบความแตกต่างเป็นรายคู่ จึงใช้วิธีการทดสอบระหว่างค่าเฉลี่ยที่เรียกว่าวิธีผลต่าง
นัยสำคัญ (Least Significant Difference) หรือ LSD ทำการทดสอบค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ของ
คณะวิชาที่สังกัด ตามรายด้าน เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างมีขนาดไม่เท่ากัน
51
ผลการวิเคราะห์
1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน
240 ฉบับ ดังแสดงผลการวิเคราะห์ในตารางที่ 4
ตารางที่ 4 ค่าร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามตำแหน่งหน้าที่และคณะวิชาที่สังกัด
ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน ร้อยละ
1. ตำแหน่งหน้าที่
1) อาจารย์ประจำ 148 61.70
2) เจ้าหน้าที่ประจำ 92 38.30
รวม 240 100.00
2. คณะวิชาที่สังกัด
1) คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม 28 11.70
2) คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี 13 5.40
3) คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ 13 5.40
4) คณะพลังงานและวัสดุ 20 8.30
5) คณะวิทยาศาสตร์ 38 15.80
6) คณะวิศวกรรมศาสตร์ 100 41.70
7) คณะศิลปศาสตร์ 17 7.10
8) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ 11 4.60
รวม 240 100.00
จากตารางที่ 4 พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีตำแหน่งเป็นอาจารย์
ประจำจำนวน 148 คน คิดเป็นร้อยละ 61.70 เป็นเจ้าหน้าที่ประจำจำนวน 92 คน คิดเป็น
ร้อยละ 38.30 และสังกัดคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมจำนวน 28 คน คิดเป็นร้อยละ 11.70
คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยีจำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 5.40 คณะเทคโนโลยี
สารสนเทศจำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 5.40 คณะพลังงานและวัสดุ จำนวน 20 คน
คิดเป็นร้อยละ 8.30 คณะวิทยาศาสตร์จำนวน 38 คน คิดเป็นร้อยละ 15.80 คณะ
วิศวกรรมศาสตร์จำนวน 100 คน คิดเป็นร้อยละ 41.70 คณะศิลปศาสตร์จำนวน 17 คน
คิดเป็นร้อยละ 7.10 และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์จำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 4.60 ตาม
ลำดับ
52
2. ผลวิเคราะห์ข้อมูลการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ตามความคิดเห็นของ
บุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดยภาพรวม และในแต่ละด้าน
ดังแสดงผลการวิเคราะห์ในตารางที่ 5-14
ตารางที่ 5 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา
ตามความคิดเห็นของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
โดยภาพรวม ในแต่ละรายด้าน
การดำเนินงาน S.D. การแปลผล
1. ด้านปรัชญา ปณิธาน วัตถุประสงค์ และแผนการดำเนินงาน 3.11 0.76 ปานกลาง
2. ด้านการเรียนการสอน 3.13 0.80 ปานกลาง
3. ด้านกิจกรรมการพัฒนานักศึกษา 2.60 1.02 ปานกลาง
4. ด้านการวิจัย 3.47 0.79 ปานกลาง
5. ด้านการบริการทางวิชาการแก่สังคม 2.83 0.99 ปานกลาง
6. ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม 2.38 1.04 น้อย
7. ด้านการบริหารและจัดการ 3.13 0.77 ปานกลาง
8. ด้านการเงินและงบประมาณ 3.13 0.87 ปานกลาง
9. ด้านระบบและกลไกการประกันคุณภาพ 3.35 0.79 ปานกลาง
รวม 3.03 0.61 ปานกลาง
จากตารางที่ 5 พบว่า การดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ตามความคิดเห็น
ของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดยภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับ
ปานกลาง ( X = 3.03) และเมื่อพิจารณาในรายด้าน พบว่า มีการดำเนินงานอยู่ ในระดับ
ปานกลางทุกด้าน ยกเว้นด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม มีการดำเนินงานอยู่ในระดับน้อย
( X = 2.38) โดยด้านที่มีการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลางเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหา
น้อยได้แก่ ด้านการวิจัย ( X = 3.47) ด้านระบบและกลไกการประกันคุณภาพ ( X = 3.35)
ด้านการเรียนการสอน ( X = 3.13) ด้านการบริหารและจัดการ ( X = 3.13) ด้านการเงินและ
งบประมาณ ( X = 3.13) ด้านปรัชญา ปณิธาน วัตถุประสงค์ และแผนการดำเนินงาน ( X =
3.11) ด้านการบริการทางวิชาการแก่สังคม ( X = 2.83) และด้านกิจกรรมการพัฒนา
นักศึกษา ( X = 2.60) ตามลำดับ
X
53
ตารางที่ 6 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา
ตามความคิดเห็นของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ด้านปรัชญา ปณิธาน วัตถุประสงค์และแผนการดำเนินงาน โดยภาพรวมและรายข้อ
การดำเนินงาน S.D. การแปลผล
1) ปรัชญามีความชัดเจนสามารถเป็นแนวทางในการดำเนินงานของ
มหาวิทยาลัย 3.64 0.91 มาก
2) หลักสูตรการศึกษาส่วนใหญ่มีความสอดคล้องกับปรัชญาของมหาวิทยาลัย 3.37 0.83 ปานกลาง
3) มีการเผยแพร่ปรัชญา วิสัยทัศน์ ของมหาวิทยาลัยสู่ประชาคม
อย่างกว้างขวาง 3.33 0.95 ปานกลาง
4) คณะวิชา มีการกำหนดนโยบายให้สอดคล้องกับปรัชญา
วิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย 3.27 0.95 ปานกลาง
5) ประชาคมมีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย 2.97 1.04 ปานกลาง
6) มีการชี้แจงวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยให้ประชาคมทราบ 3.10 1.06 ปานกลาง
7) คณะวิชามีการกำหนดวัตถุประสงค์ที่สอดคล้องกับปรัชญา
วิสัยทัศน์หลักของมหาวิทยาลัย 3.11 1.00 ปานกลาง
8) คณะวิชามีแผนงาน/โครงการที่ชัดเจนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนด 2.97 1.00 ปานกลาง
9) มีการวิเคราะห์ ทบทวนและปรับปรุงหรือพัฒนาปรัชญา วิสัยทัศน์ และ
ภารกิจของมหาวิทยาลัยให้เหมาะสมอยู่เสมอ 2.71 1.21 ปานกลาง
10) มีแผนการดำเนินงานที่ชัดเจน สามารถเป็นแนวทางในการดำเนินงาน
ของมหาวิทยาลัย 2.95 1.04 ปานกลาง
11) มีการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามแผนงาน/โครงการเป็น
ระยะๆ เพื่อปรับปรุงและพัฒนาให้สอดคล้องและทันต่อการเปลี่ยนแปลง 2.83 1.09 ปานกลาง
รวม 3.11 0.76 ปานกลาง
จากตารางที่ 6 พบว่า การดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ตามความคิดเห็น
ของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีด้านปรัชญา ปณิธาน วัตถุประสงค์
และแผนการดำเนินงาน โดยภาพรวมมีการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง ( X = 3.11) เมื่อ
พิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ปรัชญามีความชัดเจนสามารถเป็นแนวทางในการดำเนินงานของ
มหาวิทยาลัย อยู่ในระดับมาก ( X = 3.64) ส่วนข้ออื่นๆ ที่มีการดำเนินงานอยู่ในระดับปาน
กลาง คือ หลักสูตรการศึกษาส่วนใหญ่มีความสอดคล้องกับปรัชญาของมหาวิทยาลัยอันดับที่
1 ( X = 3.37) รองลงมาคือ มีการเผยแพร่ปรัชญา วิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยสู่ประชาคมอย่าง
กว้างขวางอันดับที่ 2 ( X = 3.33) และมีการวิเคราะห์ทบทวนและปรับปรุงหรือพัฒนาปรัชญา
วิสัยทัศน์และภารกิจของมหาวิทยาลัยให้เหมาะสมอยู่เสมอ น้อยกว่าอันดับอื่นๆ ( X = 2.71)
X
54
ตารางที่ 7 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา
ตามความคิดเห็นของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ด้านการเรียนการสอน โดยภาพรวม และรายข้อ
การดำเนินงาน S.D. การแปลผล
1) มีการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการทางด้านวิชาการและสังคม 3.28 0.88 ปานกลาง
2) มีการประเมินหลักสูตรอย่างสม่ำเสมอ 3.19 1.00 ปานกลาง
3) มีการบริหารหลักสูตรอย่างมีประสิทธิภาพ และมีปรับปรุงหลักสูตรให้ทันต่อ
การเปลี่ยนแปลง 3.17 0.94 ปานกลาง
4) มีระบบการสรรหาและพัฒนาเพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งอาจารย์ที่มีคุณวุฒิและ
ประสบการณ์ 3.04 1.07 ปานกลาง
5) มีการกำหนดภารกิจของอาจารย์ไว้ชัดเจนและมีการประเมินการปฏิบัติภารกิจ
อย่างสม่ำเสมอเพื่อพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอน 3.16 1.07 ปานกลาง
6) มีการจัดระบบติดตามและประเมินผลนักศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพทั้งที่ศึกษา
ต่อและที่เข้าทำงานแล้ว 2.88 1.01 ปานกลาง
7) คณะวิชามีการวัดและประเมินผลการเรียนอย่างเป็นระบบและได้มาตรฐานตาม
หลักการวัดผลประเมินผล การจัดทำ Portfolio ของนักศึกษา 2.97 1.08 ปานกลาง
8) มีการประเมินการสอนของอาจารย์เพื่อปรับปรุงการสอนให้มีคุณภาพสูงยิ่งขึ้น 3.13 1.15 ปานกลาง
9) การจัดปัจจัยเกื้อหนุนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของนักศึกษาอย่างมีคุณภาพและ
ประสิทธิภาพ อาทิเช่น มีอาคารสถานที่ที่เอื้ออำนวยต่อการจัดการเรียนการ
สอนในหลายรูปแบบ มีบรรยากาศที่เสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษา 3.15 1.06 ปานกลาง
10) ห้องสมุดมีตำราหนังสือวารสารเพียงพอสื่อการเรียนการสอนและวัสดุอุปกรณ์
ที่เอื้ออำนวยต่อการสืบค้นและเสาะแสวงหาความรู้ของนักศึกษาด้วยตนเอง 3.31 1.03 ปานกลาง
รวม 3.13 0.80 ปานกลาง
จากตารางที่ 7 พบว่า การดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาตามความคิดเห็น
ของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ด้านการเรียนการสอน โดยภาพรวม
อยู่ในระดับปานกลาง ( X = 3.13) และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มีการดำเนินงานอยู่
ในระดับปานกลาง คือ ห้องสมุดมีตำราหนังสือวารสารเพียงพอสื่อการเรียนการสอน
และวัสดุอุปกรณ์ที่เอื้ออำนวยต่อการสืบค้น และเสาะแสวงหาความรู้ของนักศึกษาด้วยตนเอง
อันดับที่ 1 ( X = 3.31) รองลงมาคือ มีการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการทาง
ด้านวิชาการและสังคมอันดับที่ 2 ( X = 3.28) และมีการจัดระบบติดตามและประเมินผล
นักศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพทั้งที่ศึกษาต่อและที่เข้าทำงานแล้วน้อยกว่าอันดับอื่นๆ (X =
2.88)
X
55
ตารางที่ 8 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา
ตามความคิดเห็นของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ด้านกิจกรรมการพัฒนานักศึกษา โดยภาพรวม และรายข้อ
การดำเนินงาน S.D. การแปลผล
1) มีกิจกรรมปลูกฝังนักศึกษาให้เป็นผู้มีระเบียบวินัย มีคุณธรรมและจริยธรรม
มีความรับผิดชอบต่อตนเองครอบครัว ชุมชน และสังคม 2.70 1.20 ปานกลาง
2) มีการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการรักประชาธิปไตย 2.46 1.20 น้อย
3) การจัดให้มีกิจกรรมเพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีความเจริญทางด้านสติปัญญา
ร่างกาย จิตใจ และสังคม 2.52 1.22 ปานกลาง
4) มีกิจกรรมปลูกฝังนักศึกษาให้เป็นผู้รู้จักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 2.49 1.20 น้อย
5) การกำหนดแผนงานและโครงการในการพัฒนานักศึกษาในด้านต่างๆ
นอกเหนือจากการเรียนรู้ในห้องเรียน 2.64 1.19 ปานกลาง
6) การพัฒนาระบบอาจารย์ที่ปรึกษาให้มีประสิทธิภาพเกิดประโยชน์สูงสุดใน
การพัฒนานักศึกษาในด้านต่างๆ 2.67 1.14 ปานกลาง
7) มีหน่วยงานรับผิดชอบในการให้บริการแนะนำเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ
และจัดหางานทำแก่นักศึกษา 2.93 1.09 ปานกลาง
8) มีการวางแผนเพื่อจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาที่เหมาะสม 2.60 1.23 ปานกลาง
9) มีการประเมินผลการจัดกิจกรรมการพัฒนานักศึกษาอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ 2.40 1.30 น้อย
รวม 2.60 1.02 ปานกลาง
จากตารางที่ 8 พบว่า การดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ตามความคิดเห็น
ของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ด้านกิจกรรมการพัฒนานักศึกษา
โดยภาพรวมมีการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง ( X = 2.60) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบ
ว่ามี 3 รายการ อยู่ในระดับน้อย คือ 1) มีการประเมินผลการจัดกิจกรรมการพัฒนานักศึกษา
อย่างต่อเนื่อง 2) มีกิจกรรมปลูกฝังนักศึกษาให้เป็นผู้รู้จักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และ 3) มีการจัด
กิจกรรมเพื่อส่งเสริมการรักประชาธิปไตย ( X = 2.40, 2.46 และ 2.49)
X
56
ตารางที่ 9 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา
ตามความคิดเห็นของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ด้านการวิจัย โดยภาพรวม และรายข้อ
การดำเนินงาน S.D. การแปลผล
1) มีการกำหนดนโยบายและแผนงานการวิจัยไว้อย่างชัดเจน 3.38 1.00 ปานกลาง
2) มีระบบการสนับสนุนการวิจัยเพื่อการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่และนำไปใช้เพื่อ
การพัฒนาการเรียนการสอน 3.46 0.98 ปานกลาง
3) มหาวิทยาลัยมีการส่งเสริมสนับสนุนการวิจัยเพื่อการนำไปใช้เพื่อการพัฒนา
ประเทศ 3.59 0.87 มาก
4) มีการพัฒนาฐานข้อมูลการวิจัยที่สามารถเผยแพร่และถ่ายทอดองค์ความรู้สู่สังคม 3.44 0.96 ปานกลาง
5) มีการเผยแพร่งานวิจัยในวารสารวิชาการซึ่งเป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศและ
ต่างประเทศ 3.68 0.92 มาก
6) มหาวิทยาลัย พยายามสนับสนุนนโยบายการจัดหาทรัพยากรโดยเฉพาะแหล่ง
เงินทุนทั้งภาครัฐ และเอกชนภายนอกให้เพียงพอต่อการส่งเสริมการวิจัยตาม
นโยบายและแผนงานการวิจัยของมหาวิทยาลัย 3.48 1.04 ปานกลาง
7) มีการเสาะแสวงหาทรัพยากรจากหน่วยงานภายนอกทั้งภาครัฐและภาคเอกชน 3.40 1.05 ปานกลาง
8) มีการติดตามประมวลผลการวิจัยของมหาวิทยาลัยไว้อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง 3.31 1.02 ปานกลาง
รวม 3.47 0.79 ปานกลาง
จากตารางที่ 9 พบว่า การดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ตามความคิดเห็น
ของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีด้านการวิจัย โดยภาพรวมมีการ
ดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง ( X = 3.47) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มี 2 รายการ
อยู่ในระดับมาก คือ 1) มีการเผยแพร่งานวิจัยในวารสารวิชาการซึ่งเป็นที่ยอมรับทั้งใน
ประเทศและต่างประเทศ 2) มหาวิทยาลัยมีการส่งเสริมสนับสนุนการวิจัยเพื่อการนำไปใช้เพื่อ
การพัฒนาประเทศ ( X = 3.68, 3.59) และมีการติดตามประมวลผลการวิจัยของมหาวิทยาลัย
ไว้อย่างเป็นระบบและต่อเนื่องน้อยกว่าอันดับอื่นๆ ( X = 3.31)
X
57
ตารางที่ 10 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา
ตามความคิดเห็นของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ด้านการบริการทางวิชาการแก่สังคม โดยภาพรวม และรายข้อ
การดำเนินงาน S.D. การแปลผล
1) มีการกำหนดวัตถุประสงค์และแผนงานการให้บริการวิชาการแก่สังคมไว้
อย่างชัดเจน 3.03 1.13 ปานกลาง
2) คณะวิชามีการจัดทำโครงการเพื่อให้บริการทางวิชาการแก่สังคม 2.85 1.07 ปานกลาง
3) คณะวิชามีการดำเนินงานบริการทางวิชาการแก่สังคมให้สอดคล้องกับ
ภารกิจของมหาวิทยาลัย 2.80 1.04 ปานกลาง
4) คณะวิชามีการประเมินผลการดำเนินการบริการทางวิชาการแก่สังคมอย่าง
สม่ำเสมอเพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพและประสิทธิผล 2.68 1.10 ปานกลาง
5) คณะวิชามีการให้บริการทางวิชาการแก่สังคมอย่างต่อเนื่อง 2.78 1.14 ปานกลาง
รวม 2.83 0.99 ปานกลาง
จากตารางที่ 10 พบว่า การดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ตามความคิดเห็น
ของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีด้านการบริการทางวิชาการแก่
สังคม โดยภาพรวมมีการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง ( X = 2.83) เมื่อพิจารณาเป็น
รายข้อ พบว่า มีการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลางคือ มีการกำหนดวัตถุประสงค์และแผน
งานการให้บริการวิชาการแก่สังคมไว้อย่างชัดเจนอันดับที่ 1 ( X = 3.03) รองลงมา คือ คณะ
วิชามีการจัดทำโครงการเพื่อให้บริการทางวิชาการแก่สังคมอันดับที่ 2 ( X = 2.85) และคณะ
วิชามีการให้บริการทางวิชาการแก่สังคมอย่างต่อเนื่องน้อยกว่าอันดับอื่นๆ ( X = 2.78)
X
58
ตารางที่ 11 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา
ตามความคิดเห็นของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยภาพรวม และรายข้อ
การดำเนินงาน S.D. การแปลผล
1) มีการกำหนดวัตถุประสงค์การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมไว้อย่างชัดเจน 2.73 1.11 ปานกลาง
2) คณะวิชามีการกำหนดแผนงานและโครงการเพื่อทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ตามนโยบายของมหาวิทยาลัย 2.54 1.11 ปานกลาง
3) มีการดำเนินงานทางด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมตามวัตถุประสงค์และ
แผนงานที่กำหนดไว้ 2.49 1.08 น้อย
4) มีการประเมินผลการดำเนินงานเป็นระยะๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิ
ผลในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม 2.39 1.20 น้อย
5) มีการสำรวจ/ประเมินความพึงพอใจต่อการดำเนินงานด้านการทำนุบำรุง
ศิลปวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัย 2.03 1.35 น้อย
6) การให้บริการทางด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมแก่ผู้รับบริการเป็นไป
อย่างทั่วถึง 2.13 1.38 น้อย
รวม 2.38 1.04 น้อย
จากตารางที่ 11 พบว่า การดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ตามความ
คิดเห็นของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ด้านการทำนุบำรุงศิลป
วัฒนธรรม โดยภาพรวมมีการดำเนินงานอยู่ในระดับน้อย ( X = 2.38) และเมื่อพิจารณาเป็น
รายข้อ พบว่า มี 4 รายการ อยู่ในระดับน้อย คือ 1) มีการสำรวจ/ประเมินความพึงพอใจ
ต่อการดำเนินงานด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัย 2) การให้บริการทางด้าน
การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมแก่ผู้รับบริการเป็นไปอย่างทั่วถึง 3) มีการประเมินผลการดำเนิน
งานเป็นระยะๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และ 4)
มีการดำเนินงานทางด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมตามวัตถุประสงค์และแผนงานที่กำหนด
ไว้ ( X = 2.03, 2.13, 2.39 และ 2.49)
X
59
ตารางที่ 12 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา
ตามความคิดเห็นของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ด้านการบริหารและจัดการ โดยภาพรวม และรายข้อ
การดำเนินงาน S.D. การแปลผล
1) มีการกำหนดโครงสร้างและระบบการบริหารที่สอดคล้องกับภารกิจของมหาวิทยาลัย 3.40 0.87 ปานกลาง
2) มีระบบการสรรหา พัฒนา และประเมินผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพ 3.21 1.03 ปานกลาง
3) ผู้บริหารของมหาวิทยาลัยมีภาวะผู้นำ วิสัยทัศน์ ความรู้ ความสามารถ
ประสบการณ์ และคุณธรรมจริยธรรม 3.69 1.09 มาก
4) มีการกำหนดอำนาจหน้าที่และขอบข่ายงานของบุคลากรแต่ละตำแหน่งไว้
อย่างชัดเจน 3.34 0.90 ปานกลาง
5) มีระบบการพัฒนาและธำรงรักษาไว้ซึ่งบุคลากรที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ 3.07 1.02 ปานกลาง
6) มีการประเมินบุคลากรและพิจารณาความดีความชอบอย่างยุติธรรมและเปิดเผย 2.84 1.22 ปานกลาง
7) มีการจัดวางระบบข้อมูลและสารสนเทศเพื่อดำเนินงานการวางแผนและ
การตัดสินใจ 2.86 1.17 ปานกลาง
8) การเปิดโอกาสให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการบริหาร มีการจัดระบบเพื่อให้
บุคลากรมีส่วนร่วมในการวางแผน และการตัดสินใจในภารกิจที่สำคัญของ
มหาวิทยาลัย 2.64 1.37 ปานกลาง
รวม 3.13 0.77 ปานกลาง
จากตารางที่ 12 พบว่า การดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาตามความคิดเห็น
ของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ด้านการบริหารและจัดการ โดย
ภาพรวมมีการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง ( X = 3.13) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า
ผู้บริหารของมหาวิทยาลัยมีภาวะผู้นำ วิสัยทัศน์ ความรู้ความสามารถ ประสบการณ์และคุณ
ธรรมจริยธรรมอยู่ในระดับมาก ( X = 3.69) ส่วนข้ออื่นมีการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง
คือ มีการกำหนดโครงสร้างและระบบการบริหารที่สอดคล้องกับภารกิจของมหาวิทยาลัยอยู่ใน
ระดับอันดับที่ 1 ( X = 3.40) รองลงมา คือ มีการกำหนดอำนาจหน้าที่และขอบข่ายงานของ
บุคลากรแต่ละตำแหน่งไว้อย่างชัดเจนอันดับที่ 2 ( X = 3.34) และการเปิดโอกาส
ให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการบริหารมีการจัดระบบเพื่อให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการวางแผนและ
การตัดสินใจในภารกิจที่สำคัญของมหาวิทยาลัยน้อยกว่าอันดับอื่นๆ ( X = 2.64)
X
60
ตารางที่ 13 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา
ตามความคิดเห็นของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ด้านการเงินและงบประมาณ โดยภาพรวม และรายข้อ
การดำเนินงาน S.D. การแปลผล
1) มีการจัดสรรการเงินและงบประมาณไว้อย่างชัดเจน 3.32 0.99 ปานกลาง
2) มีการแสวงหาทรัพยากรการเงินจากแหล่งต่างๆ นอกเหนือจากงบประมาณแผ่นดิน 3.20 1.04 ปานกลาง
3) การจัดสรรงบประมาณเป็นไปอย่างมีระบบ 3.19 1.09 ปานกลาง
4) มีการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายตามแผนงานและโครงการต่างๆ ก่อนที่จะมีการ
จัดสรรงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ 3.17 1.02 ปานกลาง
5) มีระบบการตรวจสอบทางด้านการเงินและงบประมาณที่มีประสิทธิภาพ 3.18 1.04 ปานกลาง
6) บุคลากรในหน่วยงานมีส่วนร่วมในการจัดสรรงบประมาณ 2.82 1.19 ปานกลาง
7) มีการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายต่อหัวนักศึกษา 3.23 1.01 ปานกลาง
8) มีการติดตามและประเมินผลการใช้จ่ายงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ 2.97 1.11 ปานกลาง
รวม 3.13 0.87 ปานกลาง
จากตารางที่ 13 พบว่า การดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ตามความคิดเห็น
ของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ด้านการเงินและงบประมาณ
โดยภาพรวมมีการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง ( X = 3.13) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบ
ว่า มีการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง คือ มีการจัดสรรการเงินและงบประมาณไว้อย่าง
ชัดเจนอันดับที่ 1 ( X = 3.32) รองลงมาคือ มีการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายต่อหัวนักศึกษาอันดับที่ 2
( X = 3.23) และบุคลากรในหน่วยงานมีส่วนร่วมในการจัดสรรงบประมาณน้อยกว่าอันดับ
อื่นๆ ( X = 2.82)
X
61
ตารางที่ 14 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของการดำเนินงานประกันคุณภาพ
การศึกษา ตามความคิดเห็นของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
ธนบุรี ด้านระบบและกลไกการประกันคุณภาพ โดยภาพรวม และรายข้อ
การดำเนินงาน S.D. การแปลผล
1) มีนโยบายคุณภาพและประกาศใช้อย่างเป็นทางการ 3.67 0.88 มาก
2) มีการพัฒนาระบบและกลไกการควบคุมคุณภาพภายใน ในการประกัน
คุณภาพการศึกษา 3.48 0.90 ปานกลาง
3) มีการจัดตั้งหน่วยงานและแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อรับผิดชอบการประกัน
คุณภาพภายในมหาวิทยาลัย 3.63 0.89 มาก
4) มีการจัดทำคู่มือและเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวกับการประกันคุณภาพออกเผยแพร่
ทั้งในรูปเอกสารและแสดงบน Web site ของมหาวิทยาลัยและแสดงผลการประเมิน
คุณภาพภายใน ให้กับบุคลากรได้รับทราบอย่างทั่วถึง 3.36 0.99 ปานกลาง
5) มีการประเมินการเปลี่ยนทัศนคติที่ดีขึ้นต่องานการประกันคุณภาพการศึกษา
ของผู้มีส่วนที่เกี่ยวข้อง 2.97 1.23 ปานกลาง
6) มีการจัดระบบการประกันคุณภาพที่เอื้ออำนวยต่อการตรวจสอบ และการ
ประเมินคุณภาพโดยหน่วยงานภายนอก 3.13 1.00 ปานกลาง
7) มีการเตรียมรับการประเมินจากองค์กรภายนอก 3.21 1.09 ปานกลาง
รวม 3.35 0.79 ปานกลาง
จากตารางที่ 14 พบว่า การดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ตามความคิดเห็น
ของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีด้านระบบและกลไกการประกันคุณ
ภาพ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( X = 3.35) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มี 2
ราย อยู่ในระดับมาก รายการ คือ 1) มีนโยบายคุณภาพและประกาศใช้อย่างเป็นทางการ 2) มี
การจัดตั้งหน่วยงานและแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อรับผิดชอบการประกันคุณภาพภายใน
มหาวิทยาลัย ( X = 3.67, 3.63) และมีการประเมินการเปลี่ยนทัศนคติที่ดีขึ้นต่องานประกัน
คุณภาพการศึกษาของผู้มีส่วนที่เกี่ยวข้องน้อยกว่าอันดับอื่นๆ ( X = 2.97)
3. ผลการเปรียบเทียบการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ตามความคิดเห็น
ของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จำแนกตามตำแหน่งหน้าที่
ดังแสดงผลการวิเคราะห์ในตารางที่ 15
X
62
ตารางที่ 15 ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา
ตามความคิดเห็นของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ที่มีตำแหน่งหน้าที่แตกต่างกัน ในแต่ละด้าน
ตำแหน่งหน้าที่
การดำเนินงาน อาจารย์ประจำเจ้าหน้าที่ประจำt p
S.D. S.D.
1. ด้านปรัชญา ปณิธาน วัตถุประสงค์ และแผน
การดำเนินงาน 3.10 0.78 3.12 0.72 -0.165 0.869
2. ด้านการเรียนการสอน 3.09 0.81 3.18 0.77 -0.801 0.420
3. ด้านกิจกรรมการพัฒนานักศึกษา 2.48 1.03 2.79 0.96 -2.371* 0.019
4. ด้านการวิจัย 3.50 0.77 3.40 0.80 0.993 0.322
5. ด้านการบริการทางวิชาการแก่สังคม 2.73 0.95 2.98 1.01 -1.949 0.052
6. ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม 2.26 0.97 2.57 1.10 -2.198* 0.029
7. ด้านการบริหารและจัดการ 3.10 0.78 3.17 0.75 -0.746 0.457
8. ด้านการเงินและงบประมาณ 3.09 0.90 3.19 0.82 -0.882 0.379
9. ด้านระบบและกลไกการประกันคุณภาพ 3.35 0.81 3.33 0.75 0.231 0.818
* p< 0.05 จากตารางที่ 15 พบว่า บุคลากรของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ที่มีตำแหน่งหน้าที่ต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 อยู่ 2 ด้าน คือ ด้านกิจกรรมการพัฒนา นักศึกษา และด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ส่วนด้านอื่นๆ ไม่แตกต่างกัน โดยเจ้าหน้าที่ ประจำ มีความเห็นว่ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้มีการดำเนินงานประกัน คุณภาพการศึกษาในด้านกิจกรรมการพัฒนานักศึกษา และด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม อยู่ในระดับที่สูงกว่า เมื่อเทียบกับความเห็นของอาจารย์ประจำ นอกจากนี้ยังพบว่า อาจารย์ประจำ มีความเห็นว่ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอม เกล้าธนบุรี มีการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาอยู่ในระดับมาก คือ ด้านการวิจัย ( X = 3.50) และมีการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาอยู่ในระดับน้อย คือ ด้านการทำนุบำรุง ศิลปวัฒนธรรม ( X = 2.26) ส่วนเจ้าหน้าที่ประจำ มีความเห็นว่า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระ จอมเกล้าธนบุรี มีการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาอยู่ในระดับปานกลางค่อนข้างมาก คือ ด้านการวิจัย ( X = 3.40) และมีการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาอยู่ในระดับปาน กลางค่อนข้างน้อย คือ ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ( X = 2.57) XX 63 4. ผลการเปรียบเทียบการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ตามความคิดเห็นของ บุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จำแนกตามคณะวิชาที่สังกัด ดังแสดงผลการวิเคราะห์ในตารางที่ 16-17 ตารางที่ 16 ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาในแต่ละด้าน ตามความคิดเห็นของบุคลากรในมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีที่มีคณะวิชาที่สังกัดต่างกัน คณะวิชาที่สังกัด การดำเนินงาน ครุศาสตร์ อุตสาหกรรม ทรัพยากรชีวภาพ และเทคโนโลยี เทคโนโลยี สารสนเทศ พลังงาน และวัสดุ วิทยา ศาสตร์ วิศวกรรม ศาสตร์ ศิลปศาสตร์ สถาปัตย- กรรมศาสตร์ F p S.D. S.D. S.D. S.D. S.D. S.D. S.D. S.D. 1. ด้านปรัชญา ปณิธาน วัตถุประสงค์และแผน การดำเนินงาน 3.04 0.86 3.05 0.73 3.25 0.59 3.29 0.58 2.94 0.53 3.11 0.88 3.26 0.49 3.21 0.72 0.653 0.711 2. ด้านการเรียน การสอน 3.41 0.69 3.04 0.84 3.35 0.62 3.09 0.69 2.71 0.63 3.11 0.89 3.47 0.38 3.29 0.99 2.818* 0.008 3. ด้านกิจกรรมการ พัฒนานักศึกษา 3.15 0.92 2.66 0.84 2.99 1.18 2.53 0.81 2.01 0.71 2.47 1.08 3.21 0.39 3.01 1.12 5.290* 0.000 4. ด้านการวิจัย 3.56 0.84 3.56 0.79 3.63 0.77 3.41 0.71 3.16 0.64 3.58 0.80 3.36 0.38 3.19 1.23 1.560 0.148 5. ด้านการบริการทาง วิชาการแก่สังคม 3.35 0.76 3.07 0.66 3.00 0.81 2.95 0.85 2.68 0.79 2.56 1.13 3.36 0.49 2.83 1.13 3.461* 0.002 6. ด้านการทำนุบำรุง ศิลปวัฒนธรรม 2.89 0.92 2.26 0.92 2.46 1.03 2.38 1.02 1.89 0.86 2.30 1.07 3.13 0.56 2.40 1.23 3.933* 0.000 7. ด้านการบริหารและ จัดการ 3.06 0.68 3.04 0.73 3.39 0.82 2.98 0.77 2.71 0.58 3.31 0.78 3.13 0.74 3.17 0.95 2.899* 0.006 8. ด้านการเงินและ งบประมาณ 3.16 0.83 3.13 0.71 3.40 0.87 3.20 0.73 2.54 0.71 3.25 0.93 3.36 0.46 3.15 1.10 3.320* 0.002 9. ด้านระบบและกลไก การประกันคุณภาพ 3.11 0.66 3.19 0.65 3.31 0.69 3.48 0.63 3.00 0.66 3.54 0.81 3.55 0.55 3.02 1.42 2.926* 0.006 *p<0.05 X 64 65 จากตารางที่ 16 พบว่า บุคลากรของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีที่มี คณะวิชาที่สังกัดต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 อยู่ทุกด้าน ยกเว้นด้านปรัชญา ปณิธาน วัตถุประสงค์และแผน การดำเนินงาน และด้านการวิจัย ที่ไม่แตกต่างกัน ซึ่งได้ทำการวิเคราะห์ความแปรปรวนของคะแนนการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ตามความคิดเห็นของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีที่มีคณะวิชาที่สังกัดต่าง กันในแต่ละด้าน ดังแสดงผลการวิเคราะห์ในตารางที่ 17 66 ตารางที่ 17 ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนของคะแนนการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ในแต่ละด้าน ตามความคิดเห็นของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรีที่มีคณะวิชาที่สังกัดต่างกัน ในรายด้าน การดำเนินงาน แหล่งความ แปรปรวน df SS MS F 1. ด้านปรัชญา ปณิธาน วัตถุประสงค์และ แผนการดำเนินงาน คณะวิชาที่สังกัด ความคลาดเคลื่อน รวม 7 232 239 2.663 135.109 137.773 0.380 0.582 0.653 2. ด้านการเรียนการสอน คณะวิชาที่สังกัด ความคลาดเคลื่อน รวม 7 232 239 11.989 141.010 152.998 1.713 0.608 2.818* 3. ด้านกิจกรรมการพัฒนานักศึกษา คณะวิชาที่สังกัด ความคลาดเคลื่อน รวม 7 232 239 33.902 212.397 246.298 4.843 0.916 5.290* 4. ด้านการวิจัย คณะวิชาที่สังกัด ความคลาดเคลื่อน รวม 7 232 239 6.623 140.705 147.323 0.946 0.606 1.560 5. ด้านการบริการทางวิชาการแก่สังคม คณะวิชาที่สังกัด ความคลาดเคลื่อน รวม 7 232 239 21.980 210.467 232.447 3.140 0.907 3.461* 6. ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม คณะวิชาที่สังกัด ความคลาดเคลื่อน รวม 7 232 239 27.261 229.706 256.967 3.894 0.990 3.933* 7. ด้านการบริหารและจัดการ คณะวิชาที่สังกัด ความคลาดเคลื่อน รวม 7 232 239 11.396 130.279 141.675 1.628 0.562 2.899* 8. ด้านการเงินและงบประมาณ คณะวิชาที่สังกัด ความคลาดเคลื่อน รวม 7 232 239 16.635 166.050 182.684 2.376 0.716 3.320* 9. ด้านระบบและกลไกการประกันคุณภาพ คณะวิชาที่สังกัด ความคลาดเคลื่อน รวม 7 232 239 12.131 137.403 149.534 1.733 0.592 2.926* *p<0.05 จากตารางที่ 17 พบว่า บุคลากรของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีที่มี คณะวิชาที่สังกัดต่างกัน มีความเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 อยู่ในด้านการเรียนการสอน ด้านกิจกรรมการพัฒนานักศึกษา ด้านการบริการทางวิชาการแก่สังคม ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ด้านการบริหารและจัดการ 67 ด้านการเงินและงบประมาณ และด้านระบบและกลไกการประกันคุณภาพ ส่วนด้านปรัชญา ปณิธาน วัตถุประสงค์และแผนการดำเนินงาน และด้านการวิจัย ไม่แตกต่างกัน เพื่อให้ทราบความแตกต่างเป็นรายคู่ จึงใช้วิธีการทดสอบระหว่างค่าเฉลี่ยที่เรียกว่าวิธีผล ต่างนัยสำคัญ (Least Significant Difference) หรือ LSD เพื่อทดสอบค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ของคณะวิชา ที่สังกัด ตามรายด้าน เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างมีขนาดไม่เท่ากัน ดังแสดงผลการวิเคราะห์ในตารางที่ 18-24 ตารางที่ 18 ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่การดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ตามความคิดเห็นของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ที่มีคณะวิชาที่สังกัดต่างกัน ด้านการเรียนการสอน คณะวิชาที่สังกัด ครุศาสตร์ อุตสาหกรรม (3.14) ทรัพยากรชีวภาพ และเทคโนโลยี (3.04) เทคโนโลยี สารสนเทศ (3.35) พลังงาน และวัสดุ (3.09) วิทยา ศาสตร์ (2.71) วิศวกรรม ศาสตร์ (3.11) ศิลป ศาสตร์ (3.47) สถาปัตย กรรมศาสตร์ (3.29) ครุศาสตร์อุตสาหกรรม 3.14 - 0.36 6.04 0.31 0.70* 0.29 -5.63 0.29 ทรัพยากรชีวภาพ และเทคโนโลยี 3.04 - -0.36 -4.88 0.33 -7.08 0.42 -0.24 เทคโนโลยีสารสนเทศ 3.35 - 0.25 0.64* 0.23 -0.11 6.29 พลังงานและวัสดุ 3.09 - 0.38 -2.20 -0.37 -0.19 วิทยาศาสตร์ 2.71 - -0.40* -0.76* -0.58* วิศวกรรมศาสตร์ 3.11 - -0.35 -0.17 ศิลปศาสตร์ 3.47 - 0.17 สถาปัตยกรรมศาสตร์ 3.29 - *p< 0.05 จากตารางที่ 18 พบว่า บุคลากรที่สังกัดคณะวิทยาศาสตร์ มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการ ดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาด้านการเรียนการสอน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05 โดยบุคลากรที่สังกัดคณะวิทยาศาสตร์ มีความเห็นว่า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอม เกล้าธนบุรี ได้มีการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาด้านการเรียนการสอน อยู่ในระดับที่น้อยกว่า เมื่อเทียบกับความเห็นของบุคลากรที่สังกัดคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ X 68 ตารางที่ 19 ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่การดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ตามความคิดเห็นของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ที่มีคณะวิชาที่สังกัดต่างกัน ด้านกิจกรรมการพัฒนานักศึกษา คณะวิชาที่สังกัด ครุศาสตร์ อุตสาหกรรม (3.15) ทรัพยากรชีวภาพ และเทคโนโลยี (2.66) เทคโนโลยี สารสนเทศ (2.99) พลังงาน และวัสดุ (2.53) วิทยา ศาสตร์ (2.01) วิศวกรรม ศาสตร์ (2.47) ศิลป ศาสตร์ (3.21) สถาปัตย กรรมศาสตร์ (3.01) ครุศาสตร์อุตสาหกรรม 3.15 - 0.49 0.16 0.62* 1.14* 0.68* -5.69 0.14 ทรัพยากรชีวภาพ และเทคโนโลยี 2.66 - 0.32 0.13 0.65* 0.19 -0.54 -0.34 เทคโนโลยีสารสนเทศ 2.99 - 0.45 0.97* 0.51 -0.22 -1.86 พลังงานและวัสดุ 2.53 - 0.52* 5.88 -0.68* 0.47 วิทยาศาสตร์ 2.01 - -0.46* -1.20* -0.99* วิศวกรรมศาสตร์ 2.47 - 0.74* -0.53 ศิลปศาสตร์ 3.21 - 0.20 สถาปัตยกรรมศาสตร์ 3.01 - *p< 0.05 จากตารางที่ 19 พบว่า บุคลากรที่สังกัดคณะพลังงานและวัสดุ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และ คณะวิทยาศาสตร์ มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาด้านกิจกรรมการ พัฒนานักศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยบุคลากรที่สังกัดคณะ พลังงานและวัสดุ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์ มีความเห็นว่า มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้มีการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาด้านกิจกรรมการพัฒนา นักศึกษา อยู่ในระดับที่น้อยกว่า เมื่อเทียบกับความคิดเห็นของบุคลากรที่สังกัดคณะวิชาอื่นๆ ทุกคณะ X 69 ตารางที่ 20 ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่การดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ตามความคิดเห็นของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ที่มีคณะวิชาที่สังกัดต่างกัน ด้านการบริการทางวิชาการแก่สังคม คณะวิชาที่สังกัด ครุศาสตร์ อุตสาหกรรม (3.35) ทรัพยากรชีวภาพ และเทคโนโลยี (3.07) เทคโนโลยี สารสนเทศ (3.00) พลังงาน และวัสดุ (2.95) วิทยา ศาสตร์ (2.68) วิศวกรรม ศาสตร์ (2.56) ศิลป ศาสตร์ (3.36) สถาปัตย กรรมศาสตร์ (2.83) ครุศาสตร์อุตสาหกรรม 3.35 - 0.28 0.35 0.40 0.67* 0.79* -7.56 0.52 ทรัพยากรชีวภาพ และเทคโนโลยี 3.07 - 7.69 0.12 0.39 0.51 -0.28 0.24 เทคโนโลยีสารสนเทศ 3.00 - 5.00 0.31 0.43 -0.36 0.16 พลังงานและวัสดุ 2.95 - 0.26 0.38 -0.41 0.11 วิทยาศาสตร์ 2.68 - 0.12 -0.68* -0.15 วิศวกรรมศาสตร์ 2.56 - -0.80* -0.27 ศิลปศาสตร์ 3.36 - 0.52 สถาปัตยกรรมศาสตร์ 2.83 - *p< 0.05 จากตารางที่ 20 พบว่า บุคลากรที่สังกัดคณะวิทยาศาสตร์ และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาด้านการบริการทางวิชาการแก่สังคม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยบุคลากรที่สังกัดคณะวิทยาศาสตร์ และคณะ วิศวกรรมศาสตร์ มีความเห็นว่า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้มีการดำเนินงานประกัน คุณภาพการศึกษาด้านการบริการทางวิชาการแก่สังคม อยู่ในระดับที่น้อยกว่า เมื่อเทียบกับความเห็น ของบุคลากรที่สังกัดคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม และคณะศิลปศาสตร์ X 70 ตารางที่ 21 ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่การดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ตามความคิดเห็นของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ที่มีคณะวิชาที่สังกัดต่างกัน ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม คณะวิชาที่สังกัด ครุศาสตร์ อุตสาหกรรม (2.89) ทรัพยากรชีวภาพ และเทคโนโลยี (2.26) เทคโนโลยี สารสนเทศ (2.46) พลังงาน และวัสดุ (2.38) วิทยา ศาสตร์ (1.89) วิศวกรรม ศาสตร์ (2.30) ศิลป ศาสตร์ (3.13) สถาปัตย กรรมศาสตร์ (2.40) ครุศาสตร์อุตสาหกรรม 2.89 - 0.62 0.43 0.51 1.00* 0.59* -0.23 0.48 ทรัพยากรชีวภาพ และเทคโนโลยี 2.26 - -0.19 -0.11 0.37 -3.24 -0.86* 0.13 เทคโนโลยีสารสนเทศ 2.46 - 7.82 0.57 0.15 -0.67 5.24 พลังงานและวัสดุ 2.38 - 0.49 8.16 -0.75* -2.54 วิทยาศาสตร์ 1.89 - -0.41* -1.24* -0.51 วิศวกรรมศาสตร์ 2.30 - -0.83* -0.10 ศิลปศาสตร์ 3.13 - 0.72 สถาปัตยกรรมศาสตร์ 2.40 - *p< 0.05 จากตารางที่ 21 พบว่า บุคลากรที่สังกัดคณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี และคณะพลัง งานและวัสดุ มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาด้านการทำนุบำรุงศิลป วัฒนธรรม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยบุคลากรที่สังกัดคณะทรัพยากรชีว ภาพและเทคโนโลย ี และคณะพลังงานและวัสดุ มคี วามเหน็ วา่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี ได้มีการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม อยู่ในระดับที่น้อย กว่า เมื่อเทียบกับบุคลากรที่สังกัดคณะศิลปศาสตร์ บุคลากรที่สังกัดคณะวิทยาศาสตร์ มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานประกันคุณภาพการ ศึกษาด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดย บุคลากรที่สังกัดคณะวิทยาศาสตร์ มีความเห็นว่า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้มีการ ดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม อยู่ในระดับที่น้อยกว่า เมื่อ เทียบกับบุคลากรที่สังกัดคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะศิลปศาสตร์ บุคลากรที่สังกัดคณะวิศวกรรมศาสตร์ มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานประกัน คุณภาพการศึกษาด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยบุคลากรที่สังกัดคณะวิศวกรรมศาสตร์ มีความเห็นว่ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี X 71 ได้มีการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม อยู่ในระดับที่น้อยกว่า เมื่อเทียบกับบุคลากรที่สังกัดคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม และคณะศิลปศาสตร์ ตารางที่ 22 ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่การดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ตามความคิดเห็นของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ที่มีคณะวิชาที่สังกัดต่างกันด้านการบริหารและจัดการ คณะวิชาที่สังกัด ครุศาสตร์ อุตสาหกรรม (3.06) ทรัพยากรชีวภาพ และเทคโนโลยี (3.04) เทคโนโลยี สารสนเทศ (3.39) พลังงาน และวัสดุ (2.98) วิทยา ศาสตร์ (2.71) วิศวกรรม ศาสตร์ (3.31) ศิลป ศาสตร์ (3.13) สถาปัตย กรรมศาสตร์ (3.17) ครุศาสตร์อุตสาหกรรม 3.06 - 1.88 -0.32 7.94 0.35 -0.24 -6.53 -0.10 ทรัพยากรชีวภาพ และเทคโนโลยี 3.04 - -0.34 6.05 0.33 -0.26 -8.42 -0.12 เทคโนโลยีสารสนเทศ 3.39 - 0.40 0.68* 8.29 0.26 0.22 พลังงานและวัสดุ 2.98 - 0.27 -0.32 -0.14 -0.18 วิทยาศาสตร์ 2.71 - -0.59* -0.41 -0.45 วิศวกรรมศาสตร์ 3.31 - 0.17 0.14 ศิลปศาสตร์ 3.13 - -3.81 สถาปัตยกรรมศาสตร์ 3.17 - *p< 0.05 จากตารางที่ 22 พบว่า บุคลากรที่สังกัดคณะวิทยาศาสตร์ มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการ ดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาด้านการบริหารและจัดการ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05 โดยบุคลากรที่สังกัดคณะวิทยาศาสตร์ มีความเห็นว่า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี ได้มีการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาด้านการบริหารและจัดการ อยู่ใน ระดับที่น้อยกว่า เมื่อเทียบกับความคิดเห็นของบุคลากรที่สังกัดคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ และคณะ วิศวกรรมศาสตร์ X 72 ตารางที่ 23 ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่การดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ตามความคิดเห็นของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ที่มีคณะวิชาที่สังกัดต่างกันด้านการเงินและงบประมาณ คณะวิชาที่สังกัด ครุศาสตร์ อุตสาหกรรม (3.16) ทรัพยากรชีวภาพ และเทคโนโลยี (3.13) เทคโนโลยี สารสนเทศ (3.40) พลังงาน และวัสดุ (3.20) วิทยา ศาสตร์ (2.54) วิศวกรรม ศาสตร์ (3.25) ศิลป ศาสตร์ (3.36) สถาปัตย กรรมศาสตร์ (3.15) ครุศาสตร์อุตสาหกรรม 3.16 - 3.50 -0.23 -3.03 0.62* -8.66 -0.19 1.05 ทรัพยากรชีวภาพ และเทคโนโลยี 3.13 - 0.26 -6.53 0.58* -0.12 -0.23 -2.44 เทคโนโลยีสารสนเทศ 3.40 - 0.20 0.85* 0.14 3.62 0.24 พลังงานและวัสดุ 3.20 - 0.65* -5.62 -0.16 4.09 วิทยาศาสตร์ 2.54 - 0.71* -0.82* -0.61* วิศวกรรมศาสตร์ 3.25 - -0.11 9.71 ศิลปศาสตร์ 3.36 - 0.20 สถาปัตยกรรมศาสตร์ 3.15 - *p< 0.05 จากตารางที่ 23 พบว่า บุคลากรที่สังกัดคณะวิทยาศาสตร์ มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนิน งานประกันคุณภาพการศึกษาด้านการเงินและงบประมาณ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05 โดยบุคลากรที่สังกัดคณะวิทยาศาสตร์ มีความเห็นว่า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี ได้มีการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาด้านการเงินและงบประมาณ อยู่ในระดับที่น้อย กว่า เมื่อเทียบกับความเห็นของบุคลากรที่สังกัดคณะวิชาอื่นๆ ทุกคณะ X 73 ตารางที่ 24 ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่การดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ตามความคิดเห็นของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ที่มีคณะวิชาที่สังกัดต่างกัน ด้านระบบและกลไกการประกันคุณภาพ คณะวิชาที่สังกัด ครุศาสตร์ อุตสาหกรรม (3.11) ทรัพยากรชีวภาพ และเทคโนโลยี (3.19) เทคโนโลยี สารสนเทศ (3.31) พลังงาน และวัสดุ (3.48) วิทยา ศาสตร์ (3.00) วิศวกรรม ศาสตร์ (3.54) ศิลป ศาสตร์ (3.55) สถาปัตย กรรมศาสตร์ (3.02) ครุศาสตร์อุตสาหกรรม 3.11 - -8.04 -0.20 -0.36 0.10 -0.42* -0.43 9.13 ทรัพยากรชีวภาพ และเทคโนโลยี 3.19 - -0.12 -0.28 0.19 -0.34 -0.35 0.17 เทคโนโลยีสารสนเทศ 3.31 - 0.12 -0.16 0.31 -0.23 0.29 พลังงานและวัสดุ 3.48 - -0.47* -5.42 -6.89 0.45 วิทยาศาสตร์ 3.00 - -0.53* -0.54* -1.84 วิศวกรรมศาสตร์ 3.54 - -1.46 0.51* ศิลปศาสตร์ 3.55 - 0.52 สถาปัตยกรรมศาสตร์ 3.02 - *p< 0.05 จากตารางที่ 24 พบว่า บุคลากรที่สังกัดคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม และคณะ สถาปัตยกรรมศาสตร์ มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาด้านระบบและ กลไกการประกันคุณภาพ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยบุคลากรที่สังกัดคณะ ครุศาสตร์อุตสาหกรรมและคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มีความเห็นว่า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอม เกล้าธนบุรี ได้มีการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาด้านระบบและกลไกการประกัน คุณภาพ อยู่ในระดับที่น้อยกว่า เมื่อเทียบกับบุคลากรที่สังกัดคณะวิศวกรรมศาสตร์ บุคลากรที่สังกัดคณะวิทยาศาสตร์ มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานประกันคุณภาพการ ศึกษาด้านระบบและกลไกการประกันคุณภาพ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดย บุคลากรที่สังกัดคณะวิทยาศาสตร์ มีความเห็นว่า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้มี การดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาด้านระบบและกลไกการประกันคุณภาพ อยู่ในระดับที่น้อยกว่า เมื่อเทียบกับบุคลากรที่สังกัดคณะพลังงานและวัสด ุ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะศิลป-ศาสตร์ X บทที่ 5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ การวิจัยเรื่อง “การดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ตามความคิดเห็นของ บุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี” ผู้วิจัยสรุปผลการวิจัย โดยแบ่ง ออกเป็น วัตถุประสงค์ของการวิจัย ขอบเขตของการวิจัย วิธีดำเนินการวิจัย สรุปผลการวิจัย อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ ดังนี้ วัตถุประสงค์ของการวิจัย ศึกษาและเปรียบเทียบการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ตามความคิดเห็น ของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดยจำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ และคณะวิชาที่สังกัด ขอบเขตของการวิจัย ประชากรกลุ่มเป้าหมาย คือ ข้าราชการและพนักงาน ที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานหลักที่ ทำหน้าที่จัดการศึกษาตามภารกิจหลักของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดยไม่ รวมสถาบัน สำนัก หรือหน่วยงานที่เรียกชื่อต่ำกว่า หรือสูงเทียบเท่าคณะวิชา ซึ่งได้แก่ บุคลากรที่เป็นอาจารย์ประจำ และเจ้าหน้าที่ประจำของทั้ง 8 คณะวิชา เนื่องจากบุคลากรกลุ่ม นี้ได้มีโอกาสเข้าไปมีส่วนร่วม และหรือได้รับรู้เกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาของระดับ คณะวิชามาแล้วระดับหนึ่งทำให้สามารถตอบได้ตรงความเป็นจริง โดยข้อมูลที่เก็บรวบรวมมา วิเคราะห์เป็นข้อมูลระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม พ.ศ. 2545 วิธีดำเนินการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามที่สร้างขึ้นตามกรอบการประกัน คุณภาพการศึกษาของทบวงมหาวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่างประกอบไปด้วยอาจารย์ประจำ 148 คน และเจ้าหน้าที่ประจำ 92 คน รวมทั้งสิ้น 240 คน คิดเป็นร้อยละ 96.77 ของข้อมูล ทั้งหมดที่รวบรวมได้ จากนั้นจึงทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS PC for Windows เพื่อหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบ t-test และสถิติ ทดสอบ F-test 75 สรุปผลการวิจัย ผลการวิจัยเรื่อง “การดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ตามความคิดเห็นของ บุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี” ปรากฎผล ดังนี้ 1. การดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ตามความคิดเห็นโดยรวมของบุคลากร ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี อยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน ยกเว้น ด้านการ ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม มีการดำเนินงานอยู่ในระดับน้อย 2. เปรียบเทียบการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ตามความคิดเห็นของ บุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ พบว่า บุคลากรที่มีตำแหน่งหน้าที่ต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานประกันคุณภาพการ ศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 อยู่ 2 ด้าน คือ ด้านกิจกรรมการ พัฒนานักศึกษา และด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ส่วนด้านอื่นๆ ไม่แตกต่างกัน โดย เจ้าหน้าที่ประจำ มีความเห็นว่ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้มีการดำเนิน งานประกันคุณภาพการศึกษาด้านกิจกรรมการพัฒนานักศึกษาและด้านการทำนุบำรุงศิลป วัฒนธรรม อยู่ในระดับที่สูงกว่า เมื่อเทียบกับความเห็นของอาจารย์ประจำ 3. เปรียบเทียบการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ตามความคิดเห็นของ บุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จำแนกตามคณะวิชาที่สังกัด พบว่า บุคลากรที่สังกัดคณะวิชาต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานประกันคุณภาพการ ศึกษา ไม่แตกต่างกันในด้านปรัชญา ปณิธาน วัตถุประสงค์และแผนการดำเนินงาน และด้าน การวิจัย ส่วนด้านอื่นๆ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และเมื่อทำการทดสอบค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ของคณะวิชาที่สังกัดต่างกัน พบว่า บุคลากร ที่สังกัดคณะวิทยาศาสตร์ มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาแตก ต่างกันกับบุคลากรที่สังกัดคณะวิชาอื่นๆ ทุกคณะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 อยู่ทุก ด้าน ยกเว้นด้านปรัชญา ปณิธาน วัตถุประสงค์และแผนการดำเนินงาน และด้านการวิจัย โดย บุคลากรที่สังกัดคณะวิทยาศาสตร์ มีความเห็นว่า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี ได้มีการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาด้านการเรียนการสอน ด้านกิจ กรรมการพัฒนานักศึกษา ด้านการบริการทางวิชาการแก่สังคม ด้านการบริหารและจัดการ ด้าน การเงินและงบประมาณ และด้านระบบและกลไกการประกันคุณภาพ อยู่ในระดับที่น้อยกว่า เมื่อ เทียบกับความเห็นของบุคลากรที่สังกัดคณะวิชาอื่นๆ ทุกคณะ 76 การอภิปรายผล จากผลการวิจัย พบว่า มีประเด็นสำคัญที่น่าสนใจและสมควรนำมาวิเคราะห์และ อภิปรายผลหลายประการดังนี้ 1. การดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ตามความคิดเห็นโดยรวมของบุคลากร ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี อยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน ยกเว้น ด้านการ ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมมีการดำเนินงานอยู่ในระดับน้อย แสดงให้เห็นว่า มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ยังไม่สามารถดำเนินงานเพื่อให้บรรลุตามภารกิจของสถาบัน อุดมศึกษา ในด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ซึ่งจะนำไปสู่เป้าหมายในการพัฒนาบุคคลและ การพัฒนาสังคมประเทศชาติในอนาคต (ทบวงมหาวิทยาลัย, 2544 : 6) โดยผลการวิจัยที่พบ ในครั้งนี้มีลักษณะคล้ายคลึงกับผลงานวิจัยของ อาภรณ์ พลเยี่ยม (2542 : ข) ที่พบว่า การดำเนินการตามนโยบายการประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษาของมหาวิทยาลัย ขอนแก่น รวมทุกด้านมีการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง และผู้วิจัยซึ่งได้ศึกษาการ ดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ตามความเห็นของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี มีความเห็นว่าผลที่ได้เช่นนี้อาจสืบเนื่องจากการที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรีเพิ่งได้ดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาอย่างจริงจังเมื่อไม่นานมานี้ ทั้งที่ได้ประกาศ “นโยบายคุณภาพ : ความคาดหวังในการส่งเสริมการพัฒนาระบบคุณภาพ องค์กรภายใต้แนวทาง ISO 9000 Series Standard” ไปตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2537 แต่เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2541 ทางคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอม เกล้าธนบุรีได้รับนำนโยบาย และแนวคิดของระบบบริหารงานคุณภาพโดยรวม (TQM : Total Quality Management) มาเป็นพื้นฐานในการพัฒนาระบบบริหารงานของมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ซึ่งเป็นไปได้ว่าบุคลากรทั้งอาจารย์ประจำ และเจ้าหน้าที่ ประจำจะต้องใช้เวลาในการศึกษา และเตรียมความพร้อมในการดำเนินงานประกันคุณภาพการ ศึกษา โดยเริ่มจากการทำความเข้าใจ การกำหนดเกณฑ์การตัดสิน การสร้างเครื่องมือ เพื่อประเมินผลการดำเนินงานตามเกณฑ์ และกำหนดกรอบการประเมินคุณภาพขึ้นในแต่ละ คณะวิชา เมื่อพิจารณาการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาในแต่ละด้าน ตามความคิด เห็นของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี สามารถอภิปรายผลได้ดังนี้ 1.1 ด้านปรัชญา ปณิธาน วัตถุประสงค์และแผนการดำเนินงาน ผลการวิจัย พบว่า มีการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา โดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง โดยมี ข้อสังเกตว่ายังมีเรื่องที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีมีการดำเนินงานอยู่ในระดับ ปานกลางค่อนข้างน้อย 3 เรื่อง คือ (1) มีแผนการดำเนินงานที่ชัดเจนสามารถเป็นแนวทางใน การดำเนินงานของมหาวิทยาลัย (2) มีการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามแผน งาน/โครงการเป็นระยะๆ เพื่อปรับปรุงและพัฒนาให้สอดคล้องและทันต่อการเปลี่ยนแปลง และ 77 (3) มีการวิเคราะห์ทบทวนและปรับปรุงหรือพัฒนาปรัชญาวิสัยทัศน์และภารกิจของ มหาวิทยาลัยให้เหมาะสมอยู่เสมอ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะแผนพัฒนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549) เพิ่งจะเริ่มประกาศใช้เมื่อต้นปีงบประมาณ 2545 ได้ประกาศวิสัยทัศน์ไปในการประชุมสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 17 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, 2544 : 11) จึงทำให้ การติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามแผนงาน/โครงการก็ยังกระทำได้ไม่มากนัก แต่ สิ่งที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีปฏิบัติได้อย่างชัดเจน ก็คือการตั้งเป้าหรือการ กำหนดวิสัยทัศน์ไว้ว่าอีก 10 ปีข้างมหาวิทยาลัยต้องการจะก้าวไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยชั้น นำระดับโลก 1.2 ด้านการเรียนการสอน ผลการวิจัย พบว่า มีการดำเนินงานประกันคุณภาพ การศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งมีข้อสังเกตว่ายังมีเรื่องที่มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มีการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลางค่อนข้างน้อยอยู่ 3 เรื่อง คือ (1) มีระบบการสรรหาและพัฒนาเพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งอาจารย์ที่มีคุณวุฒิและประสบการณ์ (2) มีการจัดระบบติดตามและประเมินผลนักศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพทั้งที่ศึกษาต่อและที่เข้า ทำงานแล้ว (3) คณะวิชามีการวัดและประเมินผลการเรียนอย่างเป็นระบบและได้มาตรฐานตาม หลักการวัดผลประเมินผลการจัดทำ Portfolio ของนักศึกษา ซึ่งสอดคล้องกับอาภรณ์ พลเยี่ยม (2542 : 77) ที่ศึกษาการดำเนินการตามนโยบายการประกันคุณภาพการศึกษาระดับ อุดมศึกษาของมหาวิทยาลัยขอนแก่น และพบว่า ปัญหาของมหาวิทยาลัยขอนแก่นด้านการ เรียนการสอนมาจากการไม่มีระบบสรรหาอาจารย์ที่มีคุณวุฒิ ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ คุณธรรมจริยธรรม ในส่วนคณะวิชามีการวัดและประเมินผลการเรียนอย่างเป็น ระบบ และได้มาตรฐานตามหลักการวัดผลประเมินผลการจัดทำ Portfolio ของนักศึกษานั้น สอดคล้องทบวงมหาวิทยาลัย (2545 : 4-7) ที่ได้สรุปผลการตรวจสอบคุณภาพการศึกษา คณะ วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดยคณะกรรมการตรวจสอบ คุณภาพการศึกษาจากทบวงมหาวิทยาลัย ด้านการเรียนการสอนว่า สมควรให้มีกระบวนการ วัดผลการเรียนที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของรายวิชา และการออกข้อสอบควรพิจารณาจาก วัตถุประสงค์ของรายวิชา ส่วนการวัดและประเมินผลนั้นไม่ควรใช้การตัดสินโดยอิงกลุ่มเพียง อย่างเดียว อีกทั้งแบบฟอร์มการประเมินข้อสอบยังไม่มีข้อมูลเพียงพอที่จะสะท้อนถึงคุณภาพ และการประเมินข้อสอบที่ดี และควรนำผลการประเมินข้อสอบมาใช้ เพื่อการปรับปรุงแก้ไข กระบวนการเรียนการสอนด้วย 1.3 ด้านกิจกรรมการพัฒนานักศึกษา ผลการวิจัย พบว่า มีการดำเนินงานประกัน คุณภาพการศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และมีข้อสังเกตว่าเรื่องที่มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มีการดำเนินงานอยู่ในระดับน้อย คือ เรื่องของการประเมินผลการ 78 จัดกิจกรรมการพัฒนานักศึกษาอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ ซึ่งสอดคล้องกับ สุธรรม อารีกุล (2541 : บทความ) ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับคุณภาพของจัดการอุดมศึกษาของ สถาบันอุดมศึกษาว่า จะต้องมีการควบคุมคุณภาพเพื่อการตรวจสอบว่าผลผลิตที่ออกมาตรงตาม วัตถุประสงค์และเป้าหมายประกอบ เพื่อประเมินคุณภาพเป็นการประกันคุณภาพว่าได้มีการ ดำเนินการตามวิธีการต่างๆ เพื่อควบคุมคุณภาพนั้นๆ ซึ่งต้องมีการประเมินผลการจัด กิจกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ 1.4 ด้านการวิจัย ผลการวิจัย พบว่า มีการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และจุดเด่นของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีก็ คือ การประกาศวิสัยทัศน์ข้อหนึ่งที่ว่า “มุ่งสู่ ความเป็นเลิศในเทคโนโลยีและการวิจัย” และจาก คำประกาศวิสัยทัศน์นี้เองมีผลทำให้เรื่องที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มีการ ดำเนินงานอยู่ในระดับมากก็คือ มีการเผยแพร่งานวิจัยในวารสารวิชาการซึ่งเป็นที่ยอมรับทั้งใน ประเทศและต่างประเทศ ซึ่งสอดคล้องกับรายงานของศูนย์ส่งเสริมงานวิจัยและ ทรัพย์สินทางปัญญา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (2545 : เว็บไซด์) ได้ รายงานสรุปว่าในรอบปีงบประมาณ 2544 ที่ผ่านมา มีผลงานตีพิมพ์เผยแพร่ลงในวารสาร ระดับนานาชาต ิ 68 เรื่อง วารสารระดบั ประเทศ 52 เรื่อง รายงานการประชมุ ทางวิชาการระดบั นานาชาติ 127 เรื่อง และรายงานการประชุมทางวิชาการระดับประเทศ 217 เรื่อง รวมทั้งสิ้น 464 เรื่อง โดยเพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2543 ถึง 181 เรื่อง และเป็นสถิติที่เพิ่มขึ้นทุกๆ ปี 1.5 ด้านการบริการทางวิชาการแก่สังคม ผลการวิจัยพบว่า มีการดำเนินงาน ประกันคุณภาพการศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ทั้งนี้เป็นเพราะว่ามหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีได้มีการกำหนดวัตถุประสงค์และแผนการดำเนินการให้บริการทาง วิชาการแก่สังคมไว้อย่างชัดเจน คณะวิชามีการจัดทำโครงการเพื่อให้บริการทางวิชาการแก่สังคม สังคมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสอดคล้องทบวงมหาวิทยาลัย (2545 : 4-7) ที่ได้สรุปผลการตรวจสอบ คุณภาพการศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุร ี โดยคณะกรรมการตรวจสอบคณุ ภาพการศกึ ษาจากทบวงมหาวิทยาลยั ซึ่งกล่าวถึงจุด เด่นของคณะวิศวกรรมศาสตร์ว่า ให้การบริการวิชาการแก่สังคมอย่างหลากหลาย ก่อให้เกิด รายได้เพื่อการพัฒนาและการดำเนินการของภาควิชา และงานพัสดุมีการผลิตชิ้นงานคุณภาพ จนสามารถใช้เป็นแบบอย่างสำหรับสถาบันอื่นได้ แต่มีข้อสังเกตประการหนึ่งว่า คณะ วิศวกรรมศาสตร์ ยังขาดแผนงานและกลยุทธ์เชิงรุกในด้านบริการวิชาการ ทั้งที่มีอุปกรณ์และ เครื่องมือจำนวนมากที่สามารถที่จะให้บริการวิชาการแก่สังคมได้ 1.6 ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ผลการวิจัยพบว่า มีการดำเนินงานประกัน คุณภาพการศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย โดยมีข้อสังเกตว่า เรื่องที่มหาวิทยาลัย 79 เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มีการดำเนินงานอยู่ในระดับน้อยคือ การให้บริการทางด้านการ ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมแก่ผู้รับบริการเป็นไปอย่างทั่วถึง ซึ่งสอดคล้องกับทบวงมหาวิทยาลัย (2545 : 4-7) ที่ได้สรุปผลการตรวจสอบคุณภาพการศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดยคณะกรรมการตรวจสอบคุณภาพการศึกษา จากทบวงมหาวิทยาลัย พบว่า คณะวิศวกรรมศาสตร์ ยังขาดแผนงานและการดำเนินงานทาง ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ซึ่งการขาดแผนงานนี้เองส่งผลให้การดำเนินงานด้านดัง กล่าวเป็นไปได้ในระดับน้อย 1.7 ด้านการบริการทางวิชาการแก่สังคม ผลการวิจัยพบว่า มีการดำเนินงาน ประกันคุณภาพการศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ยกเว้น 1 เรื่องที่มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มีการดำเนินงานอยู่ในระดับที่มาก คือ ผู้บริหารของ มหาวิทยาลัยมีภาวะผู้นำ วิสัยทัศน์ ความรู้ความสามารถและประสบการณ์ และคุณธรรม จริยธรรม ซึ่งสอดคล้องกับทบวงมหาวิทยาลัย (2545 : 4-7) ที่ได้สรุปผลการตรวจสอบ คุณภาพการศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดย คณะกรรมการตรวจสอบคุณภาพการศึกษาจากทบวงมหาวิทยาลัย พบว่า ผู้บริหารของ คณะวิศวกรรมศาสตร์เห็นความสำคัญและแสดงความพยายามที่จะเข้าถึงบุคลากรทุกระดับ โดยการจัดประชุมร่วมกันระหว่างบุคลากรทุกระดับเป็นระยะๆ อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งแสดงให้ เห็นว่า ผู้บริหารของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นผู้ที่บุคลากรส่วนใหญ่ให้ การยอมรับและยินดีปฏิบัติตามคำสั่งอย่างเคร่งครัด 1.8 ด้านการเงินและงบประมาณ ผลการวิจัยพบว่า มีการดำเนินงานประกัน คุณภาพการศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งมีอยู่ 2 เรื่องที่มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มีการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลางค่อนข้างน้อยคือ (1) มี การติดตามและประเมินผลการใช้จ่ายงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ และ (2) บุคลากรใน หน่วยงานมีส่วนร่วมในการจัดสรรงบประมาณ ซึ่งสอดคล้องกับภาณุวัฒน์ สุริยฉัตร (2544 : บทความ) ได้กล่าวไว้ว่า การเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาลนั้น ในด้านงบประมาณและ การติดตามตรวจสอบผลการดำเนินงาน จะต้องมีระบบและมีความเป็นอิสระในการดำเนินงาน มากกว่าหน่วยงานของทางราชการทั่วไป 1.9 ด้านระบบและกลไกการประกันคุณภาพ ผลการวิจัย พบว่า มีการดำเนินงาน ประกันคุณภาพการศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และมีอยู่ 2 เรื่องที่มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มีการดำเนินงานอยู่ในระดับมากคือ (1) มีนโยบายคุณภาพและ ป ร ะ ก า ศ ใ ช้ อ ย่ า ง เ ป็ น ท า ง ก า ร ( 2 ) มี ก า ร จั ด ตั้ ง ห น่ ว ย ง า น แ ล ะ แ ต่ ง ตั้ ง คณะกรรมการเพื่อรับผิดชอบการประกันคุณภาพภายในมหาวิทยาลัย ซึ่งสอดคล้องกับ วันชัย ศิริชนะ (2537 : ง) ได้ศึกษาการพัฒนารูปแบบการประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา 80 สำหรับสถาบันอุดมศึกษาในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย พบว่า ระบบการประกันคุณภาพการ ศึกษาของทุกประเทศที่ศึกษาได้เน้นถึงหลักการในเรื่องความเป็นอิสระ (Autonomy) ควบคู่ไป กับความพร้อมที่จะรับการตรวจสอบจากภายนอก (Accountability) ของสถาบันอุดมศึกษา โดยที่แต่ละประเทศต่างมีกลไกการดำเนินและวิธีการในรายละเอียดที่แตกต่างกันออกไปตาม ประสบการณ์และจารีตนิยมของตน สำหรับในส่วนของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรีนั้น ได้ประกาศ “นโยบายคุณภาพ : ความคาดหวังในการส่งเสริมการพัฒนาระบบ คุณภาพองค์กรภายใต้แนวทาง ISO 9000 Series Standard” ไว้เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2537 เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย ซึ่งภาณุวัฒน์ สุริยะฉัตร (2544 : บทความ) ได้กล่าวไว้ว่า หัวใจสำคัญของการจัดระบบ ประกันคุณภาพไม่ว่าจะภายในหรือภายนอกจะต้องนำไปสู่การปฏิรูป 3 ด้านคือ (1) การ ปฏิรูปการเรียนรู้ (2) การปฏิรูปการสอน และ (3) การปฏิรูปการบริหาร 2. เปรียบเทียบการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ตามความคิดเห็นของ บุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ พบว่า บุคลากรที่มีตำแหน่งหน้าที่ต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานประกันคุณภาพการ ศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในด้านกิจกรรมการพัฒนานักศึกษา และด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยเจ้าหน้าที่ประจำมีความเห็นว่า มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้มีการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาในด้าน กิจกรรมการพัฒนานักศึกษา และด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม อยู่ในระดับที่สูงกว่า เมื่อ เทียบกับความเห็นของอาจารย์ประจำ ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ผู้วิจัยเห็นว่าที่เป็น เช่นนี้ เป็นเพราะว่าในการจัดกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับนักศึกษานั้น เจ้าหน้าที่ประจำถือว่า เป็นหน้าที่โดยตรงในการให้บริการด้านนี้แก่นักศึกษา แต่อาจารย์ประจำผู้ซึ่งมีหน้าที่หลักก็คือ ให้การสอนแก่นักศึกษา จึงเป็นธรรมดาที่เจ้าหน้าที่ประจำซึ่งสัมผัสและรับรู้เกี่ยวกับการจัดกิจ กรรมต่างๆ เป็นอย่างดี จะเห็นว่ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีได้ดำเนินงานใน ด้านดังกล่าวอยู่ในระดับที่มากกว่าอาจารย์ประจำ ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของคณะผู้บริหารของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่ต้องเร่งดำเนินงานในด้าน ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการพัฒนานักศึกษาและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมเพ่อื ให้มีผล การดำเนินงานเป็นที่ประจักษ์ต่อสายตาของอาจารย์ประจำให้มากขึ้น สำหรับด้านปรัชญา ปณิธาน วัตถุประสงค์และแผนการดำเนินงาน ด้านการเรียนการสอน ด้านการวิจัย ด้านการ บริการทางวิชาการแก่สังคม ด้านการบริหารและจัดการ ด้านการเงินและงบประมาณ และด้าน ระบบและกลไกการประกันคุณภาพนั้น บุคลากรที่มีตำแหน่งหน้าที่ต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยว กับการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาไม่แตกต่างกันตามตำแหน่งหน้าที่ ทำให้ไม่ สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ 81 3. เปรียบเทียบการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ตามความคิดเห็นของ บุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จำแนกตามคณะวิชาที่สังกัด พบว่า บุคลากรที่มีคณะวิชาที่สังกัดต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานประกัน คุณภาพการศึกษา ไม่แตกต่างกันในด้านปรัชญา ปณิธาน วัตถุประสงค์และแผนการดำเนิน งาน และด้านการวิจัย ซึ่งทำให้สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ในขณะที่ด้านการเรียนการ สอน ด้านกิจกรรมการพัฒนานักศึกษา ด้านการบริการทางวิชาการแก่สังคม ด้านการ ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ด้านการบริหารและจัดการ ด้านการเงินและงบประมาณ ด้านระบบ และกลไกการประกันคุณภาพ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งไม่สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ผู้วิจัยมีความเห็นว่าที่เป็นเช่นนี้อาจเป็นเพราะว่า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มีหลักสูตรและสาขาวิชาที่เปิดสอนอยู่ค่อนข้าง หลากหลาย โดยเฉพาะ 4 คณะวิชา ซึ่งได้แก่ คณะพลังงานและวัสดุ คณะทรัพยากรชีวภาพ และเทคโนโลยี คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ และคณะวิศวกรรมศาสตร์นั้นเปิดสอนจนถึงใน ระดับปริญญาเอก (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, 2544 : 25) สำหรับการ ศึกษาวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทำการศึกษากับบุคลากรที่สังกัดคณะวิชาต่างๆ ทั้ง 8 คณะวิชา ซึ่งต่างก็มีลักษณะของการจัดการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมการพัฒนานักศึกษา การ บริการทางวิชาการแก่สังคม การบริหารและจัดการ การเงินและงบประเมิน และระบบและนั้น พบว่า บุคลากรที่สังกัดคณะวิทยาศาสตร์ มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานประกัน คุณภาพการศึกษาในด้านดังกล่าว อยู่ในระดับที่น้อยกว่า เมื่อเทียบกับบุคลากรที่สังกัด คณะวิชาอื่นๆ ทุกคณะ ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของคณะผู้บริหารของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ต้องมีการวางแผน และกำหนดนโยบายในการ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ และจัดทำสื่อต่างๆ อีกยังทั้งต้องมีการนำเสนอผลการดำเนินงานเกี่ยว กับการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีทั้ง 9 ด้าน ไป ยังบุคลากรที่สังกัดคณะวิทยาศาสตร์ให้มากยิ่งขึ้น ข้อเสนอแนะ จากผลการวิจัยเรื่อง “การดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ตามความคิดเห็น ของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี” สามารถประมวลเป็นข้อเสนอ แนะได้ดังนี้ 1. ข้อเสนอแนะต่อมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง 82 1.1 การดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ตามความคิดเห็นของบุคลากรใน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ปัจจุบันมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี ยังไม่สามารถดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาได้ตามองค์ประกอบของคุณภาพ และดัชนีบ่งชี้ที่ทบวงมหาวิทยาลัยกำหนดไว้โดยเฉพาะในด้านต่างๆ ต่อไปนี้ 1.1.1 ด้านปรัชญา ปณิธาน วัตถุประสงค์และแผนการดำเนินงาน ควรมี แผนการดำเนินงานที่ชัดเจนสามารถใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย ควร จัดให้มีการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามแผนงาน/โครงการเป็นระยะๆ เพื่อ ปรับปรุงและพัฒนาให้สอดคล้องและทันต่อการเปลี่ยนแปลง และควรมีการวิเคราะห์ทบทวน และปรับปรุงหรือพัฒนาปรัชญาวิสัยทัศน์และภารกิจของมหาวิทยาลัยให้เหมาะสมอยู่เสมอ 1.1.2 ด้านการเรียนการสอน ควรมีระบบการสรรหาและพัฒนาเพื่อธำรง รักษาไว้ซึ่งอาจารย์ที่มีคุณวุฒิและประสบการณ์ และควรจัดให้มีระบบติดตามและประเมินผล นักศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพทั้งที่ศึกษาต่อและที่เข้าทำงานแล้ว โดยในระดับคณะวิชาก็ควร จัดมีให้การวัดและประเมินผลการเรียนอย่างเป็นระบบและได้มาตรฐานตามหลักการวัดผล ประเมินผล และมีการจัดทำ Portfolio ของนักศึกษาด้วย 1.1.3 ด้านกิจกรรมการพัฒนานักศึกษา ควรมีการประเมินผลการจัด กิจกรรมการพัฒนานักศึกษาอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ ควรจัดให้มีกิจกรรมปลูกฝัง นักศึกษาให้เป็นผู้รู้จักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และควรมีการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการรัก ประชาธิปไตย 1.1.4 ด้านการวิจัย ควรมีการติดตามประมวลผลการวิจัยของมหาวิทยาลัย ไว้อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง 1.1.5 ด้านการบริการทางวิชาการแก่สังคม คณะวิชาควรมีการให้บริการทาง วิชาการแก่สังคมอย่างต่อเนื่อง 1.1.6 ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ควรมีการสำรวจ/ประเมินความพึง พอใจต่อการดำเนินงานด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัย ควรมีการให้ บริการทางด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมแก่ผู้รับบริการให้เป็นไปอย่างทั่วถึง และควรมี การประเมินผลการดำเนินงานเป็นระยะๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำนุ บำรุงศิลปวัฒนธรรม และควรมีการดำเนินงานทางด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมตาม วัตถุประสงค์และแผนงานที่กำหนดไว้ 1.1.7 ด้านการบริหารและจัดการ ควรมีการเปิดโอกาสให้บุคลากรมีส่วน ร่วมในการบริหารมีการจัดระบบเพื่อให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการวางแผนและการตัดสินใจใน ภารกิจที่สำคัญของมหาวิทยาลัย 1.1.8 ด้านการเงินและงบประมาณ ควรจัดให้บุคลากรในหน่วยงานมีส่วน ร่วมในการจัดสรรงบประมาณด้วยทุกครั้ง 83 1.1.9 ด้านระบบและกลไกการประกันคุณภาพ ควรจัดให้มีการประเมินการ เปลี่ยนทัศนคติที่ดีขึ้นต่องานประกันคุณภาพการศึกษาของผู้มีส่วนที่เกี่ยวข้อง 1.2 ควรมีการควบคุมองค์ประกอบที่มีผลกระทบต่อการประกันคุณภาพการ ศึกษาในภาพรวม ซึ่งมีดัชนีบ่งชี้ที่สำคัญๆ อันได้แก่ หลักสูตร คณาจารย์ ห้องสมุด สื่อการ ศึกษา อุปกรณ์การศึกษา การวัดและประเมินผลการศึกษา และการวิจัย เป็นต้น 1.3 ควรเผยแพร่ผลการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ให้กับบุคลากรได้รับทราบอย่างทั่วถึง อาจจะออกมาในรูปของ Newsletter หรือจัดประชุมสัมมนาเกี่ยวกับผลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยในรอบปี โดย เชิญบุคลากรทุกๆ หน่วยงานเข้าร่วม เพื่อช่วยเสริมสร้างความรู้และความเข้าใจให้กับบุคลากร ของหน่วยงาน อันจะส่งผลต่อการประกันคุณภาพการศึกษาซึ่งจะทำให้การดำเนินงานประกัน คุณภาพการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป 1.4 เนื่องจากผลการวิจัยนี้ถูกประเมินจากบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐบาล มีปรัชญาการศึกษา ดำเนินการ จัดการเรียนการสอน และหลักสูตรที่เน้นทางด้านงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีทางวิทยา ศาสตร์ ดังนั้นหากนำผลการวิจัยจากวิทยานิพนธ์เล่มนี้ไปใช้กับสถาบันอุดมศึกษาหรือ มหาวิทยาลัยอื่นๆ เช่น สถาบันราชภัฏ มหาวิทยาลัยเอกชน และมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งอื่นที่ มีปรัชญาการศึกษา การจัดการเรียนการสอน และหลักสูตรที่แตกต่างไปจากมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี อาจให้ผลการวิจัยที่แตกต่างกันได้ 2. ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป (ในกรณีของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอม เกล้าธนบุรี) 2.1 ควรศึกษาปัจจัยและรายละเอียดของปัจจัยแต่ละส่วนที่มีผลต่อการประเมิน ประสิทธิภาพของการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า- ธนบุรี 2.2 ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมถึงน้ำหนักของดัชนีต่างๆ ที่มีผลต่อการดำเนินการ ประกันคุณภาพการศึกษาในแต่ละองค์ประกอบย่อย เช่น ดัชนีใดในแต่ละองค์ประกอบย่อยที่ มีผลต่อผลการวิเคราะห์และผลงานวิจัย 2.3 ควรศึกษาวิจัยด้านพฤติกรรมหรือทัศนคติของผู้บริหาร ที่มีต่อการประกัน คุณภาพการศึกษา บรรณานุกรม ภาษาไทย กล้า ทองขาว. (2544). การนำนโยบายการประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษาสู่การ ปฏิบัติบัติ : การดำเนินงานช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ. วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช. ปีที่ 14 ฉบับที่ 3. คณะกรรมการพัฒนาระบบการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา. (2544). 6 สิงหาคม. (ร่าง) กรอบแนวทางการประเมินคุณภาพภายนอกระดับอุดมศึกษา. สำนักงานรับ รองมาตรฐานและและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2540). สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540-2544). กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี. จุฑา เทียนไทย และ จินตนา ชาญชัยศิลป์. (2544). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง. จุฑารัตน์ วิทยาขาว. (2541). การประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา : ศึกษากรณี การนำนโยบายไปปฏิบัติในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. เอกสารการวิจัยตามหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ชูเวช ชาญสง่าเวช. (2542). การจัดอันดับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ : แนวทางสำหรับ ประเทศไทย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์พิมพ์ดี. เชียงใหม่, มหาวิทยาลัย. (2543). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัย เชียงใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 2. เชียงใหม่ : สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ทบวงมหาวิทยาลัย. (2545). คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอม เกล้าธนบุรี. รายงานผลการตรวจสอบคุณภาพการศึกษา โดยคณะกรรมการ ตรวจสอบคุณภาพการศึกษาจากทบวงมหาวิทยาลัย. (http://www.qa.mua.go.th/Thai/board5.htm) ทองอินทร์ วงศ์โสธร. (2541). ความหมายและกลไกการประกันคุณภาพ. ใน ระบบและ กลไกการประกันคุณภาพอุดมศึกษาในสหราชอาณาจักร, หน้า 1-13. กรุงเทพฯ : ทบวงมหาวิทยาลัย. 85 เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, มหาวิทยาลัย. (2544). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ : งานประกันคุณภาพการศึกษา กองบริการการศึกษา. ________ . (4 มีนาคม 2545). รายงานวิจัยที่มีการตีพิมพ์/เผยแพร่. ศูนย์ส่งเสริมงานวิจัยและ ทรัพย์สินทางปัญญา. (http://www.kmutt.ac.th/organization/Research/Intellect/abstract.htm) ________ . (2545). รายงานประจำปี 2544 สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี. กรุงเทพฯ : สำนักหอสมุด. พรชุลี อาชวอำรุง. (2539). เกณฑ์ประเมินสถาบันอุดมศึกษาไทย. รายงานการวิจัย ภาควิชา อุดมศึกษาคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ________ . (2540). ระบบประกันคุณภาพและรับรองมาตรฐาน. ในการอภิปรายเรื่อง “การประกันคุณภาพ : รูปแบบและแนวทางในระดับอุดมศึกษา” หน้า 13-20. 30 มิถุนายน ณ ห้องประชุมนานาชาติ อาคาร 3. เพ็ญศรี ทานให้. (2544). การดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัยในสังกัด สถาบันพระบรมราชชนกเครือข่ายภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร. ภาณุวัฒน์ สุริยะฉัตร. (2544). ยุทธศาสตร์การศึกษาและประเมินตนเองกระบวนการทำ Self Study Report เพื่อพัฒนาระบบบริหารมหาวิทยาลัยอิสระ : กรณีศึกษามหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. ในการประชุม QA Forum ครั้งที่ 3 : ยุทธศาสตร์การ จัดทำรายงานการศึกษาตนเอง (Self-Study). 12 กรกฎาคม ณ ห้องประชุมอาคาร สถาบัน 3 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วันชัย ศิริชนะ. (2537). การพัฒนารูปแบบการประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา สำหรับสถาบันอุดมศึกษาในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์ปริญญา ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาอุดมศึกษา บัณฑิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ________ . (2540). การประกันคุณภาพการศึกษาในระดับอุดมศึกษา. อนุสารอุดมศึกษา 23 (เมษายน) : 3-13. วรภัทธ์ ภู่เจริญ. (2542). แนวทางการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สถาบันส่งเสริมการประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. 86 ศักดิ์ชาย เพชรช่วย. (2541). การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณภาพการศึกษาของคณะครุศาสตร์ใน สถาบันราชภัฏ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศึกษาธิการ, กระทรวง. (2542). คำชี้แจงประกอบพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา กรมการศาสนา. ศุภชัย หล่อโลหการ. (26 กรกฎาคม 2542). ความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยไทย. ใน ประชาคมวิจัย, หน้า 22-24. กรุงเทพ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. สภาสถาบันราชภัฏ. (2543). กรองการจัดทำการศึกษาตนเอง. ในการประชุมปฏิบัติการเรื่อง “วิสัยทัศน์การประกันคุณภาพการศึกษาสถาบันราชภัฏ”. หน้า 1-10. 23-25 พฤษภาคม ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์. สภาสถาบันราชภัฏ. (2543). ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของ สถาบันราชภัฏ. ในการประชุมปฏิบัติการเรื่อง “วิสัยทัศน์การประกันคุณภาพการ ศึกษาสถาบันราชภัฏ”. หน้า 1-69. 23-25 พฤษภาคม ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์. ส่วนวิจัยและพัฒนา สำนักงานมาตรฐานอุดมศึกษา. (2541). แนวทางการประกันคุณภาพการ ศึกษาระดับอุดมศึกษา. ทบวงมหาวิทยาลัย. ________ . (2542). การตรวจสอบคุณภาพจากภายนอก. กรุงเทพฯ : ทบวงมหาวิทยาลัย. ________ . (2542). การประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ : ทบวงมหาวิทยาลัย. ________ . (2544). นโยบาย แนวทาง วิธีการประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว ทบวงมหาวิทยาลัย. ________ . (15 กันยายน 2544). เรื่องการประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา. (http://www.qa.mua.go.th/Thai) ________ . (1 กรกฎาคม 2545). โครงการวิจัยและพัฒนาระบบประกันคุณภาพสำหรับ สถาบันอุดมศึกษา. รายงานฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ : ทบวงมหาวิทยาลัย. (http://www.qa.mua.go.th/Thai/pechtong1) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2541). ระบบการประกันคุณภาพและมาตรฐาน การศึกษาแห่งชาติ : การศึกษาอุดมศึกษา (Quality Assurance and Accreditation). กรุงเทพฯ : รายงานการวิจัยประกอบร่างพระราชบัญญัติการศึกษา แห่ง พ.ศ...... กลุ่มแผนงานการพัฒนาระบบอุดมศึกษา สำนักพัฒนานโยบาย และวาง แผนการจัดการศึกษา. ________ . (2543). แนวทางการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา : เพื่อพร้อมรับการ ประเมินภายนอก. กรุงเทพฯ : บริษัท พิมพ์ดี จำกัด. 87 สำนักงานพัฒนาและประกันคุณภาพการศึกษา. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษา แห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ : บริษัท พริกหวานกราฟฟิก จำกัด. ________ . (2543). สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมิน คุณภาพการศึกษา: คำถาม-คำตอบในการสัมมนาเรื่อง “การประกันคุณภาพการ ศึกษาระดับพื้นฐาน” หน้า 1-4. 13 พฤษภาคม ณ โรงแรมมารวยการ์เด้น. สุธรรม อารีกุล. (2541). คุณภาพของการจัดการอุดมศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา. (เอกสารอัดสำเนา). สุวิมล ราชธนบริบาล. (2541). การศึกษากระบวนการการประกันคุณภาพการศึกษาใน สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์ปริญญา ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาอุดมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อมรรัตน์ จิตรังสฤษฎ์. (2545). การประเมินผลโครงการศึกษาและพัฒนาระบบการประกัน คุณภาพการศึกษาของทบวงมหาวิทยาลัย (โครงการนำร่อง). ศุภสาระ ฉบับที่ 2 (เมษายน – มิถุนายน) หน้า 7. อมรวิชช์ นาครทรรพ. (2540). ในกระแสแห่งคุณภาพ : ข้อสรุปจากงานวิจัยศึกษาแนวโน้ม ความเคลื่อนไหวด้านการประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษาของประเทศ ต่างๆ ทั่วโลก. รายงานการวิจัยโดยเงินทุนสนับสนุนของสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. กรุงเทพฯ : บริษัท ที พี พริ้นท์ จำกัด. ________ . (2543). บนทางสู่คุณภาพ : รายงานการติดตามผลการประกันคุณภาพและ รับรองมาตรฐานการอุดมศึกษา . รายงานการวิจัยโดยเงินทุน สนับสนุนของสำนัก งานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. กรุงเทพฯ : บริษัท ที พี พริ้นท์ จำกัด. อาภรณ์ พลเยี่ยม. (2542). การศึกษาการดำเนินงานตามนโยบายการประกันคุณภาพการ ศึกษาระดับอุดมศึกษาของมหาวิทยาลัยขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. อุทุมพร จามรมาน. (2543). การเขียนสรุปสาระจากการตรวจสอบผลการประกันคุณภาพของ คณะกรรมการตรวจสอบโดยภายนอกเสนอทบวงมหาวิทยาลัย. ในการสัมมนาเรื่อง “การประกันคุณภาพการศึกษาระดับพื้นฐาน” หน้า 61-84. 16 มิถุนายน ณ โรงแรมมารวยการ์เด้น. ________ . (2543). การประกันคุณภาพระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ : ฟันนี่พับบลิชชิ่ง. อุทุมพร จามรมานและคณะ. (2542). ข้อมูลสถานภาพการประกันคุณภาพอุดมศึกษา 5 สาขา วิชาของสำนักงานปลัดทบวงมหาวิทยาลัย. รายงานการศึกษา ศูนย์บริการวิชาการ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (อัดสำเนา). 88 อุทุมพร จามรมานและคณะ. (2544). ดัชนี เกณฑ์ และวิธีการประเมินคุณภาพการศึกษา ภายในและภายนอกสำหรับสถาบันอุดมศึกษาไทย. กรุงเทพฯ : รายงานการวิจัย โดยได้เงินทุนสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. อุไรพรรณ เจนวาณิชยานนท์. (2540). แนวคิดในการประกันคุณภาพทางวิชาการของสถาบัน อุดมศึกษาเอกชน. ในการอภิปรายเรื่อง “การประกันคุณภาพ : รูปแบบและ แนวทางในระดับอุดมศึกษา” หน้า 1-12. 30 มิถุนายน ณ ห้องประชุมนานาชาติ อาคาร 3. ภาษาอังกฤษ Amaral, A.(1998). The US Accreditation System and the CRE’s Quality Audits-a Comparative Atudy. Quality Assurance in Education. 6(4) : 184-196. Cuttance, P. (1993). Quality Assurance and Auality Management. Evaluation News & Comment. 2(2) : 18-23. Dickinson, K.W. and Pollock, A. (1995). Perception of the Values of Quality Assessment in Scottish Higher Education. Assessment & Evaluation in Higher Education. : 59-66. Dill, D.D. and et al.(1996). Accreditation & Academic Quality Assurance. Change. 28(5) : 16-24. Kanji G.K., Abdul Malek B.A. and Wallance T. & W. (1999). A Comparative Study of Quality Practices in Higher Education Institutions in the US and Malaysia. Total Quality Management 10(3) : 357-371. Kistan, C. (1999). Quality Assurance in South Africa. Quality Assurance in Education. 7(3) : 125-133. Lim, D. (1999). Quality Assurance in Higher Education in Developing Countries. Assessment & Evaluation in Higher Education. 24(4) : 379-390. Newton, J. (1999). An Evaluation of the Impact of Extern Quality Monitoring on a Higher Education College (1993-98). Assessment & Evaluation in Higher Education. 24 (2) : 215-235. Woodhouse, D. (1996). Quality Assurance : International Trends, Preoccupations and Features. Assessment & Evaluation in Higher Education 21(4) : 347-356. ภาคผนวก ภาคผนวก ก แบบสอบถามเพื่อการวิจัย 90 แบบสอบถามเพื่อการวิจัย เรื่อง การดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ตามความคิดเห็นของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม คำชี้แจง : โปรดทำเครื่องหมาย ลงใน หน้าข้อความที่ตรงกับความเป็นจริงของท่าน 1. ตำแหน่งหน้าที่ปัจจุบัน เฉพาะผู้วิจัย 1. อาจารย์ประจำ [ ] 2. เจ้าหน้าที่ประจำ[ ] 2. ท่านสังกัดคณะวิชาใดของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 1. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม [ ] 2. คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี [ ] 3. คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ [ ] 4. คณะพลังงานและวัสดุ [ ] 5. คณะวิทยาศาสตร์ [ ] 6. คณะวิศวกรรมศาสตร์ [ ] 7. คณะศิลปศาสตร์ [ ] 8. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ [ ] 91 ตอนที่ 2 ข้อมูลการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ตามความคิดเห็นของบุคลากร ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี คำชี้แจง : โปรดอ่านคำถามเกี่ยวกับการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีอย่างละเอียด แล้วพิจารณาและตัดสินใจตอบข้อคำถามแต่ละข้อนั้น ตามระดับการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย คณะวิชา ภาควิชาในเรื่องต่างๆ ตามกรอบการประกันคุณภาพการ ศึกษาของทบวงมหาวิทยาลัย แล้วทำเครื่องหมาย ลงในช่องทางขวามือเพียงช่องเดียว โดยมีเกณฑ์ดังนี้ 5 หมายความว่า มีการดำเนินงานอยู่ในระดับ มากที่สุด 4 หมายความว่า มีการดำเนินงานอยู่ในระดับ มาก 3 หมายความว่า มีการดำเนินงานอยู่ในระดับ ปานกลาง 2 หมายความว่า มีการดำเนินงานอยู่ในระดับ น้อย 1 หมายความว่า มีการดำเนินงานอยู่ในระดับ น้อยที่สุด 0 หมายความว่า ไม่มีการดำเนินงาน ข้อที่ การดำเนินงาน ระดับการดำเนินงาน เฉพาะ 5 4 3 2 1 0 ผู้วิจัย 1. ด้านปรัชญา ปณิธาน วัตถุประสงค์และแผนการดำเนินงาน 1) ปรัชญามีความชัดเจน สามารถเป็นแนวทางใน การดำเนินงานของมหาวิทยาลัย [ ] 2) หลักสูตรการศึกษาส่วนใหญ่มีความสอดคล้อง กับปรัชญาของมหาวิทยาลัย [ ] 3) มีการเผยแพร่ปรัชญา วิสัยทัศน์ ของมหาวิทยาลัย สู่ประชาคมอย่างกว้างขวาง [ ] 4) คณะวิชา มีการกำหนดนโยบายให้สอดคล้องกับ ปรัชญา วิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย [ ] 5) ประชาคมมีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์ของ มหาวิทยาลัย [ ] 6) มีการชี้แจงวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยให้ ประชาคมทราบ [ ] 7) คณะวิชามีการกำหนดวัตถุประสงค์ที่สอดคล้องกับ ปรัชญา วิสัยทัศน์หลักของมหาวิทยาลัย [ ] 8) คณะวิชามีแผนงาน/โครงการที่ชัดเจนเพื่อให้บรรลุ วัตถุประสงค์ที่กำหนด [ ] 92 9) มีการวิเคราะห์ ทบทวนและปรับปรุงหรือพัฒนา ปรัชญา วิสัยทัศน์ และภารกิจของมหาวิทยาลัยให้ เหมาะสมอยู่เสมอ [ ] ข้อที่ การดำเนินงาน ระดับการดำเนินงาน เฉพาะ 5 4 3 2 1 0 ผู้วิจัย 10) มีแผนการดำเนินงานที่ชัดเจน สามารถเป็นแนว ทางในการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย [ ] 11) มีการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตาม แผนงาน/โครงการเป็นระยะๆ เพื่อปรับปรุงและ พัฒนาให้สอดคล้องและทันต่อการเปลี่ยนแปลง [ ] 2. ด้านการเรียนการสอน 12) มีการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับความ ต้องการทางด้านวิชาการและสังคม [ ] 13) มีการประเมินหลักสูตรอย่างสม่ำเสมอ [ ] 14) มีการบริหารหลักสูตรอย่างมีประสิทธิภาพ และมี ปรับปรุงหลักสูตรให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง [ ] 15) มีระบบการสรรหาและพัฒนาเพื่อธำรงรักษาไว้ ซึ่งอาจารย์ที่มีคุณวุฒิและประสบการณ์ [ ] 16) มีการกำหนดภารกิจของอาจารย์ไว้ชัดเจน และมี การประเมินการปฏิบัติภารกิจอย่างสม่ำเสมอ เพื่อ พัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพในการจัดการ เรียนการสอน [ ] 17) มีการจัดระบบติดตามและประเมินผลนักศึกษา อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งที่ศึกษาต่อและที่เข้า ทำงานแล้ว [ ] 18) คณะวิชามีการวัดและประเมินผลการเรียนอย่าง เป็นระบบ และได้มาตรฐานตามหลักการวัดผล ประเมินผล การจัดทำ Portfolio ของนักศึกษา [ ] 19) มีการประเมินการสอนของอาจารย์เพื่อปรับปรุง การสอนให้มีคุณภาพสูงยิ่งขึ้น [ ] 93 20) การจัดปัจจัยเกื้อหนุนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของ นักศึกษาอย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ อาทิ เช่น มีอาคารสถานที่ ที่เอื้ออำนวยต่อการจัดการ เรียนการสอนในหลายรูปแบบ มีบรรยากาศที่เสริม สร้างความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษา [ ] 21) ห้องสมุดมีตำรา หนังสือ วารสารเพียงพอ สื่อการ เรียนการสอน และวัสดุอุปกรณ์ที่เอื้ออำนวยต่อ การสืบค้นและเสาะแสวงหาความรู้ของนักศึกษา ด้วยตนเอง [ ] ข้อที่ การดำเนินงาน ระดับการดำเนินงาน เฉพาะ 5 4 3 2 1 0 ผู้วิจัย 3. ด้านกิจกรรมการพัฒนานักศึกษา 22) มีกิจกรรมปลูกฝังนักศึกษาให้เป็นผู้มีระเบียบวินัย มีคุณธรรมและจริยธรรม มีความรับผิดชอบต่อตน เองครอบครัว ชุมชน และสังคม [ ] 23) มีการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการ รักประชาธิปไตย [ ] 24) การจัดให้มีกิจกรรมเพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีความ เจริญทางด้านสติปัญญา ร่างกาย จิตใจ และ สังคม [ ] 25) มีกิจกรรมปลูกฝังนักศึกษาให้เป็นผู้รู้จักอนุรักษ์สิ่ง แวดล้อม [ ] 26) การกำหนดแผนงานและโครงการในการพัฒนานัก ศึกษาในด้านต่างๆ นอกเหนือจากการเรียนรู้ใน ห้องเรียน [ ] 27) การพัฒนาระบบอาจารย์ที่ปรึกษาให้มี ประสิทธิภาพเกิดประโยชน์สูงสุดในการ พัฒนานักศึกษาในด้านต่างๆ [ ] 28) มีหน่วยงานรับผิดชอบในการให้บริการแนะนำ เกี่ยวกับการประกอบอาชีพและจัดหางานทำแก่นัก ศึกษา [ ] 29) มีการวางแผนเพื่อจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาที่ เหมาะสม [ ] 94 30) มีการประเมินผลการจัดกิจกรรมการพัฒนา นักศึกษาอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ [ ] 4. ด้านการวิจัย 31) มีการกำหนดนโยบายและแผนงานการวิจัยไว้ อย่างชัดเจน [ ] 32) มีระบบการสนับสนุนการวิจัยเพื่อการพัฒนา องค์ความรู้ใหม่ และนำไปใช้เพื่อการพัฒนา การเรียนการสอน [ ] 33) มหาวิทยาลัยมีการส่งเสริมสนับสนุนการวิจัยเพื่อ การนำไปใช้เพื่อการพัฒนาประเทศ [ ] 34) มีการพัฒนาฐานข้อมูลการวิจัยที่สามารถเผยแพร่ และถ่ายทอดองค์ความรู้สู่สังคม [ ] 35) มีการเผยแพร่งานวิจัยในวารสารวิชาการ ซึ่งเป็นที่ ยอมรับทั้งในประเทศและต่างประเทศ [ ] ข้อที่ การดำเนินงาน ระดับการดำเนินงาน เฉพาะ 5 4 3 2 1 0 ผู้วิจัย 36) มหาวิทยาลัย พยายามสนับสนุนนโยบายการจัด หาทรัพยากร โดยเฉพาะแหล่งเงินทุนทั้งภาครัฐ และเอกชนภายนอกให้เพียงพอต่อการส่งเสริมการ วิจัยตามนโยบายและแผนงานการวิจัยของ มหาวิทยาลัย [ ] 37) มีการเสาะแสวงหาทรัพยากรจากหน่วยงานภาย นอกทั้งภาครัฐและภาคเอกชน [ ] 38) มีการติดตามประมวลผลการวิจัยของ มหาวิทยาลัยไว้อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง [ ] 5. ด้านการบริการทางวิชาการแก่สังคม 39) มีการกำหนดวัตถุประสงค์และแผนงานการให้ บริการวิชาการแก่สังคมไว้อย่างชัดเจน [ ] 40) คณะวิชามีการจัดทำโครงการเพื่อให้บริการทาง วิชาการแก่สังคม [ ] 41) คณะวิชามีการดำเนินงานบริการทางวิชาการแก่ สังคมให้สอดคล้องกับภารกิจของมหาวิทยาลัย [ ] 95 42) คณะวิชามีการประเมินผลการดำเนินการบริการ ทางวิชาการแก่สังคมอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเพิ่มพูน ประสิทธิภาพและประสิทธิผล [ ] 43) คณะวิชามีการให้บริการทางวิชาการแก่สังคม อย่างต่อเนื่อง [ ] 6. ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม 44) มีการกำหนดวัตถุประสงค์การทำนุบำรุงศิลปวัฒน ธรรมไว้อย่างชัดเจน [ ] 45) คณะวิชามีการกำหนดแผนงานและ โครงการเพื่อทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมตาม นโยบายของมหาวิทยาลัย [ ] 46) มีการดำเนินงานทางด้านการทำนุบำรุง ศิลปวัฒนธรรมตามวัตถุประสงค์และแผนงาน ที่กำหนดไว้ [ ] 47) มีการประเมินผลการดำเนินงานเป็นระยะๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการ ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม [ ] 48) มีการสำรวจ/ประเมินความพึงพอใจต่อการ ดำเนินงานด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ของมหาวิทยาลัย [ ] ข้อที่ การดำเนินงาน ระดับการดำเนินงาน เฉพาะ 5 4 3 2 1 0 ผู้วิจัย 49) การให้บริการทางด้านการทำนุบำรุง ศิลปวัฒนธรรมแก่ผู้รับบริการเป็นไปอย่างทั่วถึง [ ] 7. ด้านการบริหารและจัดการ 50) มีการกำหนดโครงสร้างและระบบการบริหารที่สอด คล้องกับภารกิจของมหาวิทยาลัย [ ] 51) มีระบบการสรรหา พัฒนา และประเมินผู้บริหารที่ มีประสิทธิภาพ [ ] 52) ผู้บริหารของมหาวิทยาลัยมีภาวะผู้นำ วิสัยทัศน์ ความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ และ คุณธรรมจริยธรรม [ ] 53) มีการกำหนดอำนาจหน้าที่และขอบข่ายงานของ บุคลากรแต่ละตำแหน่งไว้อย่างชัดเจน [ ] 96 54) มีระบบการพัฒนาและธำรงรักษาไว้ซึ่งบุคลากร ที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ [ ] 55) มีการประเมินบุคลากรและพิจารณาความดีความ ชอบอย่างยุติธรรมและเปิดเผย [ ] 56) มีการจัดวางระบบข้อมูลและสารสนเทศเพื่อ ดำเนินงานการวางแผนและการตัดสินใจ [ ] 57) การเปิดโอกาสให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการบริหาร มีการจัดระบบเพื่อให้บุคลากรมีส่วน ร่วมในการวางแผน และการตัดสินใจใน ภารกิจที่สำคัญของมหาวิทยาลัย [ ] 8. ด้านการเงินและงบประมาณ 58) มีการจัดสรรการเงินและงบประมาณไว้อย่าง ชัดเจน [ ] 59) มีการแสวงหาทรัพยากรการเงินจากแหล่งต่างๆ นอกเหนือจากงบประมาณแผ่นดิน [ ] 60) การจัดสรรงบประมาณเป็นไปอย่างมีระบบ [ ] 61) มีการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายตามแผนงานและ โครงการต่างๆ ก่อนที่จะมีการจัดสรรงบ ประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ [ ] 62) มีระบบการตรวจสอบทางด้านการเงินและ งบประมาณที่มีประสิทธิภาพ [ ] 63) บุคลากรในหน่วยงานมีส่วนร่วมในการ จัดสรรงบประมาณ [ ] ข้อที่ การดำเนินงาน ระดับการดำเนินงาน เฉพาะ 5 4 3 2 1 0 ผู้วิจัย 64) มีการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายต่อหัวนักศึกษา [ ] 65) มีการติดตามและประเมินผลการใช้จ่ายงบ ประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ [ ] 9. ด้านระบบและกลไกการประกันคุณภาพ 66) มีนโยบายคุณภาพและประกาศใช้อย่าง เป็นทางการ [ ] 97 67) มีการพัฒนาระบบและกลไกการควบคุมคุณภาพ ภายใน ในการประกันคุณภาพการศึกษา [ ] 68) มีการจัดตั้งหน่วยงานและแต่งตั้งคณะกรรมการ เพื่อรับผิดชอบการประกันคุณภาพภายใน มหาวิทยาลัย [ ] 69) มีการจัดทำคู่มือและเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวกับการ ประกันคุณภาพออกเผยแพร่ทั้งในรูปเอกสารและ แสดงบน Web site ของมหาวิทยาลัย และแสดง ผลการประเมินคุณภาพภายใน ให้กับบุคลากรได้ รับทราบอย่างทั่วถึง [ ] 70) มีการประเมินการเปลี่ยนทัศนคติที่ดีขึ้นต่องานการ ประกันคุณภาพการศึกษา ของผู้มีส่วนที่ เกี่ยวข้อง [ ] 71) มีการจัดระบบการประกันคุณภาพที่เอื้ออำนวยต่อ การตรวจสอบ และการประเมินคุณภาพโดยหน่วย งานภายนอก [ ] 72) มีการเตรียมรับการประเมินจากองค์กรภายนอก [ ] ข้อเสนอแนะอื่น ๆ (โปรดระบุ)………………………………………………………………………………………………………… ………….. ……………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………… ภาคผนวก ข หนังสือราชการที่เกี่ยวข้อง 98 ที่ พิเศษ/ 2544 สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 1061 ถนนอิสรภาพ แขวงหิรัญรูจี เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร 10600 22 ธันวาคม 2544 เรื่อง เรียนเชิญเป็นผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาเครื่องมือในการทำวิทยานิพนธ์ เรียน …………………………………… สิ่งที่ส่งมาด้วย 1. เค้าโครงวิทยานิพนธ์ จำนวน 1 ชุด 2. แบบสอบถาม จำนวน 1 ชุด 3. แบบประเมินความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา จำนวน 1 ชุด เนื่องด้วย นางสาววชิราภรณ์ สุรธนะสกุล นักศึกษาระดับบัณฑิตบัณฑิตศึกษา หลักสูตรครุศาสตรมหา- บัณฑิต สาขาการบริหารการศกึ ษา รนุ่ ท่ ี 2 สถาบนั ราชภฏั บา้ นสมเดจ็ เจา้ พระยา กำลังทำวิทยานิพนธ เรื่อง “การ ดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ตามความคิดเห็นของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอม เกล้าธนบุรี” โดยมีคณะกรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ดังนี้ 1. รศ.ดร.ณรงค์ฤทธิ์ สมบัติสมภพ ประธานกรรมการ 2. รศ.หรรษา ศิวรักษ์ กรรมการ 3. รศ.เกริก วยัคฆานนท์ กรรมการ ในการทำวิทยานิพนธ์ครั้งนี้ นักศึกษาจำเป็นต้องตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) ของ เครื่องมือ เพื่อให้ได้เครื่องมือที่สมบูรณ์ที่สุด ทางบัณฑิตวิทยาลัยได้พิจารณาเห็นว่าท่านเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ มีความรู้ ความสามารถทางด้านการทำวิจัยเป็นอย่างดี จึงขอเรียนเชิญท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบความเที่ยงตรง เชิงเนื้อหาของเครื่องมือดังกล่าว จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาให้ความอนุเคราะห์แก่นักศึกษาด้วย จักเป็นพระคุณยิ่ง ขอแสดงความนับถือ (รองศาสตราจารย์นันทา วิทวุฒิศักดิ์) รักษาการคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย บัณฑิตวิทยาลัย โทร. 02-890-0841-50 ต่อ 809 โทรสาร 02-890-1786 99 ที่ พิเศษ/ 2545 สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 1061 ถนนอิสรภาพ แขวงหิรัญรูจี เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร 10600 16 กุมภาพันธ์ 2545 เรื่อง ขอความอนุเคราะห์ข้อมูลในการทำวิทยานิพนธ์ เรียน …………………………………………………. ด้วย นางสาววชิราภรณ์ สุรธนะสกุล นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการ บรหิ ารการศกึ ษา รนุ่ ท่ ี 2 สถาบนั ราชภฏั บา้ นสมเดจ็ เจา้ พระยา กำลังทำวิทยานิพนธ โดยได้รับอนุมัติจากบัณฑิต วิทยาลัยให้ทำวิทยานิพนธ์เรื่อง “การดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ตามความคิดเห็นของบุคลากรใน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี” โดยมีคณะกรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ดังนี้ 1. รศ.ดร.ณรงค์ฤทธิ์ สมบัติสมภพ ประธานกรรมการ 2. รศ.หรรษา ศิวรักษ์ กรรมการ 3. รศ.เกริก วยัคฆานนท์ กรรมการ การทำวิทยานิพนธ์ครั้งนี้ นักศึกษาที่ทำการวิจัย จำเป็นต้องเก็บรวบรวมข้อมูลจากบุคลากรประจำที่ปฏิบัติ หน้าที่อยู่ภายในคณะวิชาที่ดำเนินงานด้านการจัดการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ดังนั้นจึงใคร่ขอความอนุเคราะห์เก็บข้อมูลในคณะวิชาของท่าน เพื่อนำข้อมูลไปประกอบการทำวิจัยให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา หวังว่าคงได้รับความอนุเคราะห์จากท่านและขอขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้ ขอแสดงความนับถือ (รองศาสตราจารย์นันทา วิทวุฒิศักดิ์) รักษาการคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย บัณฑิตวิทยาลัย โทร. 02-890-0841-50 ต่อ 809 โทรสาร 02-890-1786 ภาคผนวก ค ประวัติผู้วิจัย 101 ประวัติผู้วิจัย ชื่อ นางสาววชิราภรณ์ สุรธนะสกุล วันเกิด วันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2513 สถานที่เกิด ตำบลบ้านตาล อำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ ตำแหน่งหน้าที่การงาน นักวิชาการศึกษา ระดับ 5 สถานที่ทำงานปัจจุบัน งานบริการงานวิจัยและพัฒนา สำนักงานคณบดีคณะพลังงานและวัสดุ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เลขที่ 91 ถนนประชาอุทิศ แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร 10140 ประวัติการศึกษา พ.ศ. 2539 ปริญญาครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.) วิชาเอกสังคมศึกษา สถาบันราชภัฏพระนคร กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2545 ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชาการบริหารการศึกษา สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กรุงเทพมหานคร ภาคผนวก ง ผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่ 103 ผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่ ผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ใน วารสารวิชาการระดับประเทศ จำนวน 2 เรื่อง 1. Narongrit Sombatsompop, Preyanuch Ratchatahirun, Vachiraporn Surathanaskul, Nongyao Premkamolnetr, and Teerasak Markpin, Journal Impact Factors for Thai Academic Journals: Part I. Preliminary Research Results, KMUTT Research and Development Journal, Vol. 24, No. 3, September-December, 2001, pp. 355-368. (in Thai) 2. Narongrit Sombatsompop, Preyanuch Ratchatahirun, Vachiraporn Surathanaskul, Nongyao Premkamolnetr, and Teerasak Markpin, Journal Impact Factors for Thai Academic Journals: Part II. Journal Immediacy Index, KMUTT Research and Development Journal, Vol. 25, No. 1, January- March, 2002, pp. 87-95. (in Thai) 3. Vachiraporn Surathanaskul and Narongrit Sombatsompop, Viewpoints of Personnel of King Mongkut’s University of Technology Thonburi Concerning the Quality Assurance of Higher Education in Accordance with The Ministry of University Affairs, KMUTT Research and Development Journal, Vol. 26, No. 1, January-March, 2003. (Accept) การดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ตามความคิดเห็นของ (ตอนที่ 1)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น