วันศุกร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การวางแผนเชิงกลยุทธ์ของห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ (ตอนที่ 2)



บทที่ 3
วิธีดำเนินการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพปัจจุบันของ
ห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยมศึกษา 2. ศึกษาภาพที่พึงประสงค์ของห้องสมุดโรงเรียน
อัสสัมชัญ แผนกมัธยมศึกษา 3. เพื่อกำหนดเป้าหมาย และแผนกลยุทธ์ของห้องสมุดโรงเรียน
อัสสัมชัญ แผนกมัธยมศึกษา สำหรับปีพุทธศักราช 2550 โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสาร ตำรา
วิทยานิพนธ์ และรายงานการวิจัยทั้งใน และต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนเชิงกลยุทธ์ และ
ข้อค้นพบใหม่ ๆ เกี่ยวกับระบบการจัดการห้องสมุดโรงเรียน และทำการวิเคราะห์เพื่อใช้เป็น
ข้อมูลพื้นฐานในการสร้างแบบสอบถามและวางแผนกลยุทธ์ของห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนก
มัธยมศึกษา ปีการศึกษา 2550 แบ่งการดำเนินการวิจัยเป็น 3 ตอนดังมีรายละเอียดในการ
ดำเนินการดังนี้
ตอนที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันของห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยมศึกษา
เป็นข้อมูลในการตอบวัตถุประสงค์ข้อที่ 1
1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
1.1 ประชากร
ประชากรที่ใช้ ประกอบด้วย 3 กลุ่ม คือกลุ่มผู้บริหาร กลุ่มบรรณารักษ์และผู้
ปฏิบัติงานห้องสมุด และกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ของโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยมศึกษา ดังนี้
1.1.1 กลุ่มผู้บริหาร
ผู้อำนวยการโรงเรียน 1 คน
รองผู้อำนวยการ 1 คน
หัวหน้าฝ่าย 7 คน
หัวหน้าระดับ 6 คน
หัวหน้ากลุ่มสาระ 8 คน
หัวหน้างาน 16 คน
รวม 39 คน
1.1.2 กลุ่มบรรณารักษ์และผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด 5 คน
1.1.3 กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ประกอบด้วย ผู้อำนวย รองผู้อำนวยการ
52
หัวหน้าฝ่ายวิชาการ หัวหน้าฝ่ายกิจกรรม หัวหน้ากลุ่มสาระ และนักเรียนชุมนุมห้องสมุด 40 คน
1.2 กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ครูและนักเรียนโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยมศึกษาในปี
การศึกษา 2546 ใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ (Systemtic Random Sampling) มีขั้นตอน
ดังนี้
การคำนวณขนาดของกลุ่มตัวอย่างจากประชากร โดยใช้สูตรของยามาเน
(Yamane) (อ้างถึงในอุทุมพร จามรมาน, 2530 : 40) จากจำนวนประชากร 3,463 คน เมื่อกำหนด
ความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้เท่ากับ 0.05 จำนวน 10% ได้ขนาดตัวอย่าง 135 คน จากสูตรของ
Talo Yamane ดังสูตร
n = N __ เมอื่ ระดบั ความมนี ยั สาํ คญั ที่ 0.05
1 + Ne2
เมื่อ n = ขนาดของตัวอย่าง
N = ขนาดของประชากร
e = ความคลาดเคลื่อนเท่าที่จะยอมรับได้
ตารางที่ 5 แสดงกลุ่มตัวอย่างของครูและนักเรียนโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยมศึกษา
จำแนกตามรายการ
รายการ ประชากร กลุ่มตัวอย่าง
ครู
นักเรียน ม.ต้น
นักเรียน ม.ปลาย
243
1,800
1,420
10
70
55
รวม 3,463 135
2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามตรวจสอบสภาพแวดล้อมภายนอกและสภาพ
แวดล้อมภายในห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญแผนกมัธยมศึกษา
2.1 วิธีสร้างเครื่องมือ
แบบสอบถามตรวจสอบสภาพแวดล้อมภายนอก และสภาพแวดล้อมภายใน
สำหรับให้กลุ่มบรรณารักษ์และผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด โดยใช้กรอบการศึกษาสภาพแวดล้อมของ
ศาลปกครอง ที่ใช้ในการประชุมเชิงปฏิบัติการทบทวนแผนแม่บทสำนักงานศาลปกครอง ซึ่ง
53
สอดคล้องกับแนวคิดของ เซอร์โต และปีเตอร์ (1991), ปกรณ์ ปรียากร (2540 : 109)
สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ (2544 : 6-15) ศิริพร สุวรรณะ (2532 : 33-40) และ Library and
Information Center Management (1993 : 39) ดังนี้
กรอบการศึกษาสภาพแวดล้อมภายนอก
- การเมือง กฎหมาย และนโยบายของรัฐ
- สังคม
- เศรษฐกิจ
- เทคโนโลยี และแนวโน้มการใช้บริการ
กรอบการศึกษาสภาพแวดล้อมภายใน
- นโยบาย
- โครงสร้างของหน่วยงาน
- การบริหารจัดการ
- บุคลากร
- ทรัพยากรสารสนเทศ
- การบริการ
- เทคโนโลยี
โดยมีขั้นตอนในการสร้างเครื่องมือ ดังนี้
2.1.1 แบบตรวจสอบสภาพแวดล้อมภายนอกสร้างจากประเด็นที่ได้จาก
ผลการวิเคราะห์เอกสารมาให้บรรณารักษ์ และผู้ปฏิบัติงานห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยม
ศึกษาพิจารณาว่าประเด็นใดส่งผลต่อการพัฒนาห้องสมุด โดยใช้กรอบการศึกษาสภาพแวดล้อม
ภายนอกของศาลปกครอง มีเอกสารที่นำมาวิเคราะห์ดังนี้
1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540
2. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
3. พระราชบัญญัติการศึกษาเอกชน
4. มาตรฐานสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย
5. นโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศ พ.ศ.2544–2553 ของประเทศ
ไทย
โดยพิจารณาว่าประเด็นใดส่งผลต่อการพัฒนาห้องสมุด บรรณารักษ์ และผู้ปฏิบัติงาน
ห้องสมุดบันทึกแสดงความคิดเห็นเชิงอภิปราย และสรุปผล หลังจากนั้นได้นำผลที่ได้ไปให้ผู้มีส่วนได้
ส่วนเสีย (Stake Holder) ตรวจสอบและยืนยันผลการตรวจสอบของบรรณารักษ์และผู้ปฏิบัติงาน
54
ห้องสมุด ได้ผลสภาพแวดล้อมภายนอกของห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยมศึกษา
2.1.2 แบบสอบถามตรวจสอบสภาพแวดล้อมภายใน สร้างจากความ
คิดเห็นที่ได้จากการนำผลการวิจัยของห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยมศึกษา ปีพุทธศักราช
2546 มาเป็นฐานในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในโดยให้บรรณารักษ์และผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด
บันทึกแสดงความคิดเห็นเชิงอภิปราย และสรุปผล โดยใช้กรอบการศึกษาสภาพแวดล้อมภายนอก
ของศาลปกครอง หลังจากนั้นได้นำผลที่ได้ไปให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stake Holder) ตรวจสอบและ
ยืนยันผลการตรวจสอบของบรรณารักษ์และผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด ได้ผลสภาพแวดล้อมภายในของ
ห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยมศึกษา
2.2 การวิเคราะห์ข้อมูล
ผู้วิจัยนำประเด็นที่ได้จากการวิเคราะห์แบบสอบถามตรวจสอบสภาพแวดล้อมจนได้จุดแข็ง
จุดอ่อนของห้องสมุดซึ่งเป็นสภาพปัจจุบันของห้องสมุด โอกาสและอุปสรรคของห้องสมุด ซึ่งเป็น
สภาพแวดล้อมภายนอกนำผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมที่ได้ นำมาจัดอันดับความสำคัญ 5
อันดับจากจำนวนผู้ตอบแบบสอบถามมากไปน้อย สรุปเป็นตารางความสัมพันธ์แบบ SWOT Matrix
หลังจากได้ผลการศึกษาภาพที่พึงประสงค์ของห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญแผนกมัธยมศึกษาแล้ว
เพื่อกำหนดกลยุทธ์ และพัฒนาไปสู่ภาพที่พึงประสงค์ต่อไป
ตอนที่ 2 ศึกษาภาพที่พึงประสงค์ของห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยม
ศึกษา เป็นข้อมูลในการตอบวัตถุประสงค์ข้อที่ 2
1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ใชก้ ลมุ่ เดยี วกบั ตอนที่ 1 ยกเวน้ ขอ้ 1.1.3
2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
ประเภทของเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามสำรวจภาพที่พึงประสงค์ของ
ห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยมศึกษา ปีพุทธศักราช 2550
2.1 วิธีการสร้างเครื่องมือ
2.1.1 แบบสอบถามภาพที่พึงประสงค์ ของห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมัญแผนกมัธยม
ศึกษา ใช้สำหรับผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นกลุ่มผู้บริหาร บรรณารักษ์และผู้ปฏิบัติงานใน
ห้องสมุด ครู และนักเรียน แบบสอบถามสร้างโดยศึกษาแนวคิดทฤษฎีการบริหารงานห้องสมุด
สมัยใหม่ และแนวโน้มของห้องสมุดในอนาคต สรุปหัวข้อหลักที่สำคัญ และนำมาแยกเป็นประเด็น
55
สำหรับสร้างแบบสอบถาม นำแบบสอบถามไปปรึกษากับอาจารย์ที่ปรึกษาแล้วนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญ
ด้านห้องสมุดโรงเรียนที่มีวุฒิการศึกษาไม่น้อยกว่าปริญญาโททางด้านบรรณารักษศาสตร์ และ
สารสนเทศศาสตร์ จำนวน 4 คน และผู้เชี่ยวชาญทางด้านสถิติและวิจัยจำนวน 1 คน ตรวจสอบ
ความตรงเชิงเนื้อหา
2.1.2 นำแบบสอบถามที่ปรับปรุงแก้ไขแล้วไปตรวจสอบคุณภาพ โดยนำไปทดลอง
ใช้กับกลุ่มที่ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายจำนวน 30 คน และหาความเที่ยงของเครื่องมือ โดยวิธีหา
ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา ของครอนบาค (Cronbach : 1972) ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม
ทั้งชุด เท่ากับ 0.995 แบบสอบถามนี้แบ่งเป็น 2 ตอน คือ
ตอนที่ 1 แบบสอบถามสถานภาพของกลุ่มผู้บริหาร บรรณารักษ์และผู้ปฏิบัติงาน
ห้องสมุด และครู เป็นข้อมูลเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ เพศ อายุ วุฒิทางการ
ศึกษา สถานภาพ และประสบการณ์ในการทำงาน จำนวน 5 ข้อ ส่วนชุดที่เป็นข้อมูลเกี่ยวกับสถาน
ภาพของนักเรียนผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ ระดับชั้นของผู้ตอบแบบสอบถาม
ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ (Rating scale)
เกี่ยวกับภาพที่พึงประสงค์ ของห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยมศึกษาในอนาคต
2.2 การวิเคราะห์ข้อมูล
ข้อมูลจากการสำรวจด้วยแบบสอบถามผู้วิจัยทำการวิเคราะห์ในแต่ละตอน ดังนี้
ตอนที่ 1 สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม วิเคราะห์โดยหาค่าความถี่
และร้อยละ
ตอนที่ 2 รายการความคิดเห็นภาพที่พึงประสงค์ของห้องสมุดโรงเรียน
อัสสัมชัญ แผนกมัธยมศึกษาทำการวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/PC และแสดงเป็น
สถิติต่างๆได้ ดังนี้
1. ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
2. การจัดอันดับความสำคัญจากค่าเฉลี่ย
3. วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
แบบสอบถามภาพที่พึงประสงค์ของห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญแผนกมัธยมศึกษาปี
พุทธศักราช 2550
3.1 ผู้วิจัยได้ทำจดหมายถึงผู้อำนวยการโรงเรียนอัสสัมชัญเพื่อขออนุญาตให้ผู้ทำการวิจัยได้
ใช้กลุ่มประชากร และกลุ่มตัวอย่างที่เป็นคณะกรรมการบริหาร บรรณารักษ์และผู้ปฏิบัตงาน
56
ห้องสมุดครู และนักเรียนของโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยมศึกษา เป็นผู้ตอบแบบสอบถาม
3.2 ส่งแบบสอบถามพร้อมแนบจดหมายขออนุญาตที่ได้รับการอนุมัติ ให้กลุ่มประชากร
และกลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามโดยผู้วิจัยเป็นผู้นำไปให้กลุ่มผู้บริหาร บรรณารักษ์และผู้ปฏิบัติ
งานห้องสมุด รวมทั้งครู และนัดวันไปรับด้วยตัวเอง ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนผู้วิจัยได้
ขออนุญาตหัวหน้าระดับในการให้นักเรียนกลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถาม และขอความร่วมมือจาก
ครูประจำชั้นให้นักเรียนกลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถาม โดยผู้วิจัยใช้การสุ่มตัวอย่างจากนักเรียนใน
ชั้นเรียนในชั่วโมงโฮมรูมเป็นผู้ตอบแบบสอบถาม และรอรับแบบสอบถามด้วยตัวเอง
3.3 ก่อนถึงวันนัดรับแบบสอบถามจากกลุ่มผู้บริหาร และครู ผู้วิจัยติดตามสอบถามทาง
โทรศัพท์เพื่อกระตุ้นเตือน ก่อนไปรับแบบสอบถามด้วยตัวเอง ส่วนบรรณารักษ์และผู้ปฏิบัติงาน
ห้องสมุดผู้วิจัยสอบถามด้วยตัวเอง
ตอนที่ 3 กำหนดเป้าหมายและแผนกลยุทธ์ของห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ
แผนกมัธยมศึกษา ในปีพุทธศักราช 2550
การกำหนดเป้าหมายแผนกลยุทธ์ของห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยมศึกษา ในปี
พุทธศักราช 2550 ในตอนนี้เป็นการตอบวัตถุประสงค์ข้อ 3 โดยดำเนินการดังนี้
1. ผู้วิจัยร่างแผนกลยุทธ์ของห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญแผนกมัธยมศึกษา ปี
พุทธศักราช 2550 เริ่มด้วยดำเนินการกำหนดกลยุทธ์ทางเลือก โดยนำข้อมูลที่ได้จากตารางสรุป
SWOT Matrix มากำหนดกลยุทธ์โดยใช้ประโยชน์จากจุดแข็งประสานโอกาสของสภาพแวดล้อม
ภายนอก ในทำนองเดียวกันก็สามารถลดจุดอ่อน และให้สามารถหลีกเลี่ยงภาวะคุกคามของสภาพ
แวดล้อมภายนอก การวิเคราะห์กลยุทธ์ทางเลือกต่าง ๆ เป็นการกำหนดเป้าหมายทั่ว ๆ ไป และ
กลวิธีการดำเนินงาน ดังนี้
1.1 กำหนดวิสัยทัศน์และพันธกิจของห้องสมุด
1.1.1 การกำหนดวิสัยทัศน์ ผู้วิจัยระดมความคิดร่วมกับคณะ
กรรมการห้องสมุด โดยใช้ข้อมูลจากผลการวิเคราะห  SWOT จากการวจิ ยั ในตอนที่ 1 และผลการ
ศึกษาภาพที่พึงประสงค์ในตอนที่ 2 เป็นฐานในการกำหนดวิสัยทัศน์
1.1.2 การกำหนดพันธกิจ ต้องกำหนดให้สอดคล้องกับนโยบาย
ของโรงเรียน และนโยบายของมูลนิธิเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้ดูแลการดำเนินงาน
ของโรงเรียน
1.1.3 ดำเนินการร่างกลยุทธ์
57
2. การตรวจสอบความเหมาะสมของกลยุทธ์ฉบับร่าง ของห้องสมุดโรงเรียน
อัสสัมชัญ แผนกมัธยมศึกษาปีพุทธศักราช2550 โดยวิธีอิงผู้ทรงคุณวุฒิ (Connoisseurship) จำนวน
5 คน ซึ่งประกอบด้วยผู้อำนวยการ หัวหน้าฝ่ายวิชาการ หัวหน้างานห้องสมุด ผู้เชี่ยวชาญด้าน
ห้องสมุด และผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยมศึกษา เป็นผู้ตรวจสอบความ
เหมาะสม นำแต่ละกลยุทธ์ที่ผ่านการตรวจสอบความเหมาะสม มาจัดลำดับตามความสำคัญ
3. จัดทำแผนกลยุทธ์ฉบับสมบูรณ์ผู้วิจัยนำกลยุทธ์ที่มีความเหมาะสมสูง มาจัดทำ
แผนกลยุทธ์ฉบับสมบูรณ์ของห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญแผนกมัธยมศึกษาปีพุทธศักราช 2550
58
บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
การวิจัยเรื่อง การวางแผนเชิงกลยุทธ์ห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยมศึกษา ปี
พุทธศักราช 2550 ผู้วิจัยนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล 3 ตอนดังนี้
ตอนที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันของห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยมศึกษา นำเสนอเป็น
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในของห้องสมุด
ตอนที่ 2 ศึกษาภาพที่พึงประสงค์ของห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยมศึกษา นำผลการ
วิเคราะห์ข้อมูลเสนอในรูปตาราง และความเรียง ดังนี้
1. ตารางแสดงจำนวนร้อยละ ของผู้บริหาร ครู บรรณารักษ์ และผู้ปฏิบัติงานห้องสมุดจำแนก
ตามเพศ อายุ วุฒิการศึกษา สถานภาพและประสบการณ์ในการทำงาน
2. ตารางแสดงค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเกี่ยวกับภาพที่พึงประสงค์ของห้องสมุด
โรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยมศึกษา ใน 3 มาตรฐาน คือ
2.1 มาตรฐานด้านปัจจัยนำเข้า ประกอบด้วยบุคลากร ทรัพยากรสารสนเทศ อาคาร -
สถานที่และครุภัณฑ์
2.2 มาตรฐานด้านกระบวนการประกอบด้วยการบริหารจัดการ การบริการ การเข้าถึง
ข้อมูล และเครือข่ายของห้องสมุด
2.3 มาตรฐานด้านผลผลิต
ตอนที่ 3 กำหนดเป้าหมาย และแผนกลยุทธ์ของห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยม
ศึกษาสำหรับปีพุทธศักราช 2550
59
ตอนที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันของห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยมศึกษา
ได้จากการนำผลการวิจัยของห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยมศึกษา ปีพุทธศักราช
2546 มาเป็นฐานในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในโดยให้บรรณารักษ์ และผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด
บันทึกแสดงความคิดเห็นเชิงอภิปราย และสรุปผล หลังจากนั้นได้นำผลที่ได้ไปให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
(Stake Holder) ตรวจสอบและยืนยันผลการตรวจสอบของบรรณารักษ์และผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด ได้ผล
สภาพแวดล้อมภายในของห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยมศึกษา โดยเลือกจุดแข็ง และจุดอ่อน
ที่มีผู้ตอบแบบสอบถามมากสุดมาจัดอันดับความสำคัญได้ ดังนี้
จุดแข็งของห้องสมุด
1. มีบริการที่ทันสมัยด้วยระบบห้องสมุดอัตโนมัติ
2. มีโครงสร้างของงานที่ชัดเจน
3. นโยบายของห้องสมุดสอดคล้องกับนโยบายของโรงเรียน
4. บุคลากรมีความสามารถทำงานเป็นทีม
5. ทรัพยากรสารสนเทศมีความหลากหลาย
จุดอ่อนของห้องสมุด
1. อาคารสถานที่ตั้งอยู่ในบริเวณที่ไม่เหมาะสม
2. ครุภัณฑ์ไม่เหมาะสม
3. การใช้ทรัพยากรสารสนเทศไม่คุ้มค่า เพราะมีผู้ใช้น้อยทำให้
4. ความต้องการใช้ห้องสมุดของผู้ใช้เปลี่ยนไป
5. ห้องสมุดมีแสงสว่างไม่เพียงพอ
60
ตอนที่ 2 ศึกษาภาพที่พึงประสงค์ของห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยมศึกษา
ปีพุทธศักราช 2550 ดังนี้
ตารางที่ 6 ตอนที่ 1 สภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นผู้บริหาร บรรณารักษ์
ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด และครู (N=54)
รายการ จำนวน ร้อยละ
หญิง 29 53.70
เพศ
ชาย 25 46.30
รวม 54 100.00
25 –35 ปี 12 22.22
36 – 45 ปี 24 44.44
46 – 55 ปี 14 25.93
อายุ
56 ปี ขึ้นไป 4 7.41
รวม 54 100.00
ต่ำกว่าปริญญาตรี 3 5.56
ปริญญาตรี 35 64.81
ปริญญาโท 16 29.63
วุฒิการศึกษา
ปริญญาเอก - -
รวม 54 100.00
ผู้อำนวยการ 1 1.85
รองผู้อำนวยการ 1 1.85
หัวหน้าฝ่าย 6 11.11
หัวหน้าระดับ 7 12.96
หัวหน้ากลุ่มสาระ 8 14.82
หัวหน้างาน 16 29.63
บรรณารักษ์ 3 5.56
ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด 2 3.70
สถานภาพ
ครู 10 18.52
รวม 54 100.00
1-10 ปี 15 27.78
ประสบการณใ์ นการ 11-20 ปี 27 50.00
ทำงาน
21 ปีขึ้นไป 12 22.22
รวม 54 100.00
61
จากตารางที่ 6 สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นผู้บริหาร บรรณารักษ์ ผู้ปฏิบัติงาน
ห้องสมุด และครู จำนวน 54 คน พบว่าส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 53.70 อยู่ในกลุ่มอายุ 36 – 45
ปี ร้อยละ 44.44 มีวุฒิการศึกษา ปริญญาตรี ร้อยละ 64.81 ซึ่งมีสถานภาพ เป็นหัวหน้างาน
ร้อยละ 29.63 หัวหน้ากลุ่มสาระ ร้อยละ 14.82 หัวหน้าระดับ ร้อยละ 12.96 หัวหน้าฝ่ายร้อยละ 11.11
บรรณารักษ์ ร้อยละ 5.56 ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด ร้อยละ 3.70 ผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการร้อยละ
1.85 และมีประสบการณ์ในการทำงานอยู่ในกลุ่ม 11- 20 ปี ร้อยละ 50.00 1 –10 ปี ร้อยละ 27.78 และ
กลุ่มอายุ 21 ปีขึ้นไป ร้อยละ 22.22
ตารางที่ 7 สภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นนักเรียน (N=125 )
ลำดับที่ ระดับชั้น จำนวน ร้อยละ
1. มัธยมศึกษาตอนต้น 85 68
2. มัธยมศึกษาตอนปลาย 40 32
รวม 125 100.00
จากตารางที่ 7 พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
ร้อยละ 68 และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ร้อยละ 32
62
ตอนที่ 2 ภาพที่พึงประสงค์ของห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยมศึกษา ใน
3 มาตรฐาน (มาตรฐานด้านปัจจัยนำเข้า มาตรฐานด้านกระบวนการ และมาตรฐานด้าน
ผลผลิต)
ตารางที่ 8 ภาพที่พึงประสงค์ของมาตรฐานด้านปัจจัยนำเข้าในส่วนของบุคลากร
ภาพที่พึงประสงค์
ผู้บริหาร บรรณารักษ์
ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด ครู
และนักเรียน
นักเรียน
รายการ
α S.D.
ลำดับ
ความ
สำคัญ α S.D
ลำดับ
ความ
สำคัญ
ภาพที่พึงประสงค์ของห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยม
ศึกษา ใน 3 มาตรฐาน (มาตรฐานด้านปัจจัยนำเข้า มาตรฐานด้าน
กระบวนการและมาตรฐานด้านผลผลิต)ท่านมีความคิดเห็นว่าแต่ละ
มาตรฐานควรสร้างให้เกิดในระดับใด
มาตรฐานด้านปัจจัยนำเข้า
บุคลากร
1. สามารถสร้างความสัมพันธ์กับผู้ใช้บริการ ห้องสมุดอื่น ๆ และ
บุคคลทั่วไป
4.33 0.54 4 4.02 0.83 2
2. สามารถสอนการใช้ห้องสมุด และสอนให้เห็นถึงความแตกต่าง
ของข่าวสารข้อมูล ต่าง ๆ จนสามารถแยกแยะความน่าเชื่อถือได้ 4.13 0.70 7 3.89 0.84 5
3. มีความเชี่ยวชาญในการตอบคำถามและช่วยค้นคว้า 4.42 0.66 2 3.98 0.89 3
4. เป็นผู้สนับสนุนให้เกิดการค้นคว้าข่าวสาร ข้อมูลจาก
แหล่งข้อมูลต่าง ๆ ทั้งที่เป็นสิ่งพิมพ์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ 4.43 0.69 1 3.95 0.80 4
5. สร้างความร่วมมือกับครูผู้สอนในอันที่จะทำให้นักเรียนได้รับ
ประโยชน์สูงสุดทั้งจากการเรียนรู้จากสิ่งพิมพ์ จากเทคโนโลยี
ทางการศกึ ษาใน 3 ด้าน คือ ดา้ นการอา่ น ดา้ นการเรยี นรู้
และด้านการแก้ปัญหา 4.37 0.65 3 4.08 0.78 1
6. มีความสามารถให้บริการเชิงรุก เช่นให้บริการทรัพยากรสาร
สนเทศทั้งในและนอกสถานที่ได้ โดยนำไปให้บริการในบริเวณที่มีผู้
ใช้เป็นจำนวนมากได้ 4.11 0.76 8 3.72 0.85 6
7. ความเชี่ยวชาญในการเข้าถึงแหล่งวิทยาการประเภทต่าง ๆ 4.20 0.68 5 3.89 0.82 5
8. มีความเชี่ยวชาญในการใช้อุปกรณ์สารสนเทศ และเครื่องมือสื่อ
สารทันสมัยเพื่อตอบสนองการเรียนรู้ในระบบอิเล็กทรอนิกส์ 4.17 0.78 6 4.08 0.87 1
รวม 4.26 0.70 3.95 0.84
63
จากตารางที 8 พบว่าในภาพรวมและรายข้อ ทั้งผู้บริหาร บรรณารักษ์ ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด
และครู มีความต้องการให้เกิดในระดับมาก ในด้านรายข้อผู้บริหาร บรรณารักษ์ ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด
และครูต้องการให้เกิดมากที่สุด คือบุคลากรของห้องสมุดเป็นผู้สนับสนุนให้เกิดการค้นคว้าข่าวสาร
ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ทั้งที่เป็นสิ่งพิมพ์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ( α =4.43) แต่นักเรียนต้องการให้
บุคลากรของห้องสมุดสร้างความร่วมมือกับครูผู้สอน ในอันที่จะทำให้นักเรียนได้รับประโยชน์สูงสุด
ทั้งจากการเรียนรู้จากสิ่งพิมพ์ จากเทคโนโลยีทางการศึกษาใน 3 ด้าน คือด้านการอ่าน ด้านการเรียนรู้
และด้านการแก้ปัญหา และต้องการให้บุคลากรมีความเชี่ยวชาญในการใช้อุปกรณ์สารสนเทศ และ
เครื่องมือสื่อสารทันสมัยเพื่อตอบสนองการเรียนรู้ในระบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-learning) (α =4.08)
64
ตารางที่ 9 ภาพที่พึงประสงค์ของมาตรฐานด้านปัจจัยนำเข้าในส่วนของทรัพยากร
สารสนเทศ
ภาพที่พึงประสงค์
ผู้บริหาร บรรณารักษ์
ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด ครู
และนักเรียน
นักเรียน
รายการ
α S.D.
ลำดับ
ความ
สำคัญ α S.D
ลำดับ
ความ
สำคัญ
ทรัพยากรสารสนเทศ
9. มีสิ่งพิมพ์ที่ทันสมัยตรงตามความต้องการของผู้ใช้ 4.28 0.76 1 4.15 0.79 1
10. ผู้ใช้สามารถกำหนดความต้องการทรัพยากรสารสนเทศได้โดยมี
ส่วนร่วมในการคัดเลือกทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด 4.01 0.71 5 3.74 0.84 6
11. มีการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศในรูปสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่หลาก
หลายระบบและ รูปแบบเพื่อรองรับระบบอีเลิร์นนิ่ง 4.11 0.74 3 3.95 0.85 2
12. มีทรัพยากรสารสนเทศหลากหลาย ตรงตามความต้องการ 4.26 0.72 2 3.95 0.97 2
13. ปรับเปลี่ยนรูปแบบสื่อที่ใช้บันทึกสารสนเทศ จากวัสดุตีพิมพ์เป็น
สื่ออิเล็กทรอนิกส์ 3.89 0.76 7 3.77 0.98 5
14. เป็นแหล่งรวมข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่มีปริมาณเพียงพอกับความ
ต้องการ 4.07 0.79 4 3.8 0.97 4
15. มีฐานข้อมูลตรงกับความต้องการของผู้ใช้ 4.28 0.76 1 3.92 0.93 3
16. มีการใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ร่วมกันในกลุ่มโรงเรียนในเครือมูลนิธิ
เซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย 3.98 1.03 6 3.62 1.02 7
รวม 4.11 0.80 3.87 0.94
จากตารางที่ 9 พบว่าในภาพรวมและรายข้อทั้งผู้บริหาร บรรณารักษ์ ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด ครู
และนักเรียนต้องการให้เกิดในระดับมาก ในด้านรายข้อผู้บริหาร บรรณารักษ์ ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด
และครูต้องการให้เกิดมากที่สุดคือทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดเป็นสิ่งพิมพ์ที่ทันสมัยตรงตาม
ความต้องการของผู้ใช้ และมีฐานข้อมูลตรงตามความต้องการของผู้ใช้มากที่สุด (α =4.28) แต่นัก
เรียนต้องการให้ทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดเป็นสิ่งพิมพ์ที่ทันสมัยตรงตามความต้องการของผู้ใช้
เช่นกัน ( α =4.15)
65
ตารางที่ 10 ภาพที่พึงประสงค์ของมาตรฐานด้านปัจจัยนำเข้าในส่วนของอาคารสถานที่
และครุภัณฑ์
ภาพที่พึงประสงค์
ผู้บริหาร บรรณารักษ์
ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด ครู
และนักเรียน
นักเรียน
รายการ
α S.D.
ลำดับ
ความ
สำคัญ
α S.D
ลำดับ
ความ
สำคัญ
อาคารสถานที่และครุภัณฑ์
17. รูปแบบอาคารปรับเปลี่ยนเหมาะสมกับทรัพยากรสารสนเทศ 3.74 1.06 7 3.92 1.07 4
18. รูปแบบอาคารปรับเปลี่ยนเหมาะสมกับการดำเนินงาน
และการบริการทั้งในรูปแบบดังเดิมและสมัยใหม่ 3.87 1.02 4 3.83 0.94 7
19. รูปแบบอาคารเหมาะสมกับการที่ผู้ใช้สามารถนำคอมพิวเตอร์
และเครื่องมือ การเรียนรู้ส่วนตัวเข้ามาใช้ในห้องสมุด 3.67 1.17 8 3.92 0.88 4
20. สถานที่เหมาะสมสำหรับการจัดนิทรรศการ การศึกษา และการ
ทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม 3.78 1.05 6 3.86 0.93 6
21. มีสื่อและอุปกรณ์เพื่อการเรียนรู้อย่างหลากหลาย 4.07 0.90 2 4.04 0.83 2
22. มีโสตทัศนูปกรณ์เพียงพอกับความต้องการใช้บริการ 4.00 0.86 3 4.00 0.95 3
23. มีโสตทัศนูปกรณ์สนับสนุนการผลิตสื่อต่าง ๆ และการผลิตสิ่ง
พิมพ์ 3.80 0.93 5 3.91 0.82 5
24. มีคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยในการค้นหาข้อมูล และสนับสนุนงาน
บริการให้ดำเนินไปด้วยความสะดวกและรวดเร็ว 4.24 0.74 1 4.09 0.89 1
รวม 3.90 0.99 3.95 0.92
จากตารางที่ 10 พบว่าในภาพรวมและรายข้อทั้งผู้บริหาร บรรณารักษ์ ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด
ครู และนักเรียนมีความต้องการให้เกิดในระดับมาก ในด้านรายข้อต้องการให้เกิดมากที่สุดคือ อาคาร
สถานที่และครุภัณฑ์ของห้องสมุด มีคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยในการค้นหาข้อมูล และสนับสนุนงานบริการ
ให้ดำเนินไปด้วยความสะดวกและรวดเร็วมากที่สุด (α =4.24) แต่นักเรียนต้องการให้อาคารสถานที่
และครุภัณฑ์ของห้องสมุดมีคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยในการค้นหาข้อมูล และสนับสนุนงานบริการให้
ดำเนินไปด้วยความสะดวกและรวดเร็วเช่นกัน ( α =4.08)
66
ตารางที่ 11 ภาพที่พึงประสงค์ของมาตรฐานด้านกระบวนการของการบริหารจัดการ ที่
ผู้บริหาร บรรณารักษ์ ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด และครู
จากตารางที่ 11 พบว่าในภาพรวมและรายข้อทั้งผู้บริหาร บรรณารักษ์ ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด
ครูและนักเรียนมีความต้องการให้เกิดในระดับมาก ผู้บริหาร บรรณารักษ์ ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด และครู
ต้องการให้เกิดมากที่สุดคือ การบริหารจัดการของห้องสมุด มีระบบการประเมินคุณภาพของห้องสมุด
เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการให้เป็นไปตามมาตรฐานห้องสมุดโรงเรียน และสอดคล้องกับนโยบายการ
ประกันคุณภาพการศึกษาของชาติมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเป็น α =4.43
ภาพที่พึงประสงค์
ผู้บริหาร บรรณารักษ์
ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด ครู
รายการ และนักเรียน
α S.D.
ลำดับ
ความ
สำคัญ
มาตรฐานด้านกระบวนการ
การบริหารจัดการ
25. มีนโยบายและแผนการจัดทำห้องสมุดดิจิตอล 4.04 0.82 6
26. มีนโยบายพัฒนาการสืบค้นข้อมูลบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต 4.28 0.76 2
27. ห้องสมุดมีการดำเนินการตามนโยบายและแผนงาน 4.22 0.76 3
28. มีระบบการประเมินคุณภาพของห้องสมุดเพื่อเป็นแนวทางใน
การจัดการให้เป็นไปตามมาตรฐานห้องสมุดโรงเรียน 4.43 0.67 1
29. มีระบบการประเมินคุณภาพของห้องสมุดสอดคล้องกับนโยบาย
การ ประกันคุณภาพการศึกษาของชาติ 4.43 1.15 1
30. ห้องสมุดมีการประเมินแผนงานและโครงการปฏิบัติงานในห้อง
สมุดทุกงาน 4.06 0.68 5
31. ห้องสมุดมีการศึกษาตนเองอย่างเป็นทางการเพื่อค้นหาจุดอ่อน
และแนวทางแก้ไขค้นหาจุดแข็งและแนวทางเสริม 4.20 0.70 4
32. ห้องสมุดมีการนำผลของการประเมินมาเป็นฐานในการพัฒนา 4.22 0.71 3
รวม 4.17 0.74
67
ตารางที่ 12 ภาพที่พึงประสงค์ของมาตรฐานด้านกระบวนการของการบริการ
ภาพที่พึงประสงค์
ผู้บริหาร บรรณารักษ์
ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด ครู
และนักเรียน
นักเรียน
รายการ
α S.D.
ลำดับ
ความ
สำคัญ
α S.D
ลำดับ
ความ
สำคัญ
การบริการ
33. ห้องสมุดมีการบริการหลากหลายตรงตามมาตรฐานห้องสมุด 4.22 0.68 1 4.03 0.78 2
34. ห้องสมุดมีการบริการหลากหลายตรงตามความต้องการของผู้ใช้
บริการ 4.19 0.77 3 3.96 0.87 4
35. มีการเชื่อมโยงเครือข่ายห้องสมุดโรงเรียนในเครือมูลนิธิคณะ
เซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย เพื่อการใช้ทรัพยากรร่วมกัน 3.93 0.96 5 3.72 0.98 6
36. มีการจัดทำฐานข้อมูลสารสนเทศแบบ ฟูลเท็ก ให้บริการด้วย
ซีดี-รอม และระบบออนไลน์ 3.00 1.25 6 3.74 0.98 5
37. มีการจัดบริการแบบเชิงรุก เช่นการนำทรัพยากรสารสนเทศที่
สามารถนำไปให้บริการนอกสถานที่ได้ เช่น จัดนิทรรศการส่งเสริม
การอ่าน,บอร์ดแสดงสารบัญวารสารฉบับใหม่ ประจำเดือน, ส่ง
อีเมล์แนะนำรายชื่อหนังสือใหม ่ พรอ้ มบรรณนทิ ศั น ์ ฯ 4.20 0.56 2 3.70 0.97 7
38. มีการบริการที่ทันสมัย ถูกต้อง มีประสิทธิภาพผ่านระบบเครือ
ข่าย 4.19 0.79 3 4.05 0.88 1
39. มีบริเวณให้บริการแก่ครูสามารถนำนักเรียนจำนวน 1 ห้องเรียน
มาเรียนในห้องสมุดอย่างเป็นสัดส่วนได้ 4.17 0.81 4 3.98 0.86 3
รวม 4.11 0.80 3.88 0.92
จากตารางที่ 12 พบว่าในภาพรวมและรายข้อทั้งผู้บริหาร บรรณารักษ์ ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด
ครูและนักเรียนมีความต้องการให้เกิดในระดับมาก ในด้านรายข้อผู้บริหาร บรรณารักษ์ ผู้ปฏิบัติงาน
ห้องสมุด และครูต้องการให้เกิดมากที่สุดคือการบริการของห้องสมุด มีการบริการที่หลากหลายตรง
ตามมาตรฐานห้องสมุดมากที่สุด ( α =4.22) แต่นักเรียนต้องการให้บริการของห้องสมุดทันสมัย ถูก
ต้อง มีประสิทธิภาพผ่านระบบเครือข่าย ( α =4.05)
68
ตารางที่ 13 ภาพที่พึงประสงค์ของมาตรฐานด้านกระบวนการของการเข้าถึงข้อมูล
ภาพที่พึงประสงค์
ผู้บริหาร บรรณารักษ์
ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด ครู
และนักเรียน
นักเรียน
รายการ
α S.D.
ลำดับ
ความ
สำคัญ
α S.D
ลำดับ
ความ
สำคัญ
การเข้าถึงข้อมูล
40. มีการใช้เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์เป็นช่องทางในการสื่อสารเพื่อ
ให้เข้าถึงสารสนเทศอย่างรวดเร็วและถูกต้อง 4.11 0.85 3 3.98 0.83 2
41. ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศของห้องสมุดผ่านเครือข่าย
อินเตอร์เน็ต 4.09 0.87 4 3.89 0.84 4
42. ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศในอินเตอร์เน็ต ด้วยเครื่อง
คอมพิวเตอร์ภายในห้องสมุด และพิมพ์ข้อมูลที่ต้องการได้ 4.20 0.80 1 4.02 0.93 1
43. การสืบค้นสารสนเทศของห้องสมุดสามารถค้นผ่านระบบ
อินเตอร์เน็ตได้ ตลอดเวลา 4.17 0.90 2 4.02 0.93 1
44. จัดให้มีการเข้าถึงสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ระบบออนไลน์จาก
เจ้าของฐานข้อมูล 4.06 0.87 5 4.02 0.93 3
รวม 4.13 0.86 4.08 0.91
จากตารางที่ 13 พบว่าในภาพรวมและรายข้อทั้งผู้บริหาร บรรณารักษ์ ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด
ครูและนักเรียนมีความต้องการให้เกิดในระดับมาก ในด้านรายข้อผู้บริหาร บรรณารักษ์ ผู้ปฏิบัติงาน
ห้องสมุด ครู และนักเรียน ต้องการให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศในอินเตอร์เน็ตด้วยเครื่อง
คอมพิวเตอร์ภายในห้องสมุด และพิมพ์ข้อมูลที่ต้องการได้มากที่สุด ( α =4.20) นอกจากนี้นักเรียนยัง
ต้องการให้การสืบค้นสารสนเทศของห้องสมุดสามารถค้นผ่านระบบอินเตอร์เน็ตได้ตลอดเวลา
(α =4.02)
69
ตารางที่ 14 ภาพที่พึงประสงค์ของมาตรฐานด้านกระบวนการของเครือข่ายของ
ห้องสมุด
ภาพที่พึงประสงค์
ผู้บริหาร บรรณารักษ์
ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด ครู
และนักเรียน
นักเรียน
รายการ
α S.D.
ลำดับ
ความ
สำคัญ
α S.D
ลำดับ
ความ
สำคัญ
เครือข่ายของห้องสมุด
45. มีการจัดทำเครือข่ายห้องสมุดของโรงเรียนในเครือมูลนิธิคณะ
เซนต์คาเบรียล แห่งประเทศไทย เพื่อใช้ทรัพยากรร่วมกัน 3.94 0.95 3 3.84 1.05 2
46. ร่วมมือสร้างฐานข้อมูลสารสนเทศระดับท้องถิ่นของโรงเรียนใน
เครือมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย 3.98 0.83 2 3.67 1.00 5
47. มีนโยบายจัดทำมาตรฐานการใช้ระบบห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์
ร่วมกันกับโรงเรียนใน เครือมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศ
ไทย 4.02 0.87 1 3.72 0.97 4
48. อบรมการใช้เครือข่าย อินเทอร์เน็ตเป็นการช่วยให้ผู้ใช้ได้ข้อมูล
สะดวก รวดเร็ว และถูกต้อง 3.87 0.79 4 3.78 1.03 3
49. จัดทำสารบบ (Directory) ห้องสมุดในประเทศไทย เพื่อการเข้า
ถึงเครือข่ายห้องสมุดได้สะดวก รวดเร็วในโฮมเพจ ของห้องสมุดโรง
เรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยมศึกษา 4.02 0.83 1 3.94 0.94 1
รวม 3.97 0.86 3.94 0.94
จากตารางที่ 14 พบว่าในภาพรวมและรายข้อทั้งผู้บริหาร บรรณารักษ์ ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด
ครูและนักเรียนมีความต้องการให้เกิดในระดับมาก ในด้านรายข้อผู้บริหาร บรรณารักษ์ ผู้ปฏิบัติงาน
ห้องสมุด และครู ต้องการให้มีเครือข่ายห้องสมุด โดยมีนโยบายจัดทำมาตรฐานการใช้ระบบห้องสมุด
อิเล็กทรอนิกส์ร่วมกันกับโรงเรียนในเครือมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย และจัดทำสารบบ
(Directory) ห้องสมุดในประเทศไทย เพื่อการเข้าถึงเครือข่ายห้องสมุดได้สะดวก รวดเร็วในโฮมเพจ ของ
ห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยมศึกษามากที่สุด (α =4.02) แต่นักเรียนต้องการให้เครือข่าย
ของห้องสมุดจัดทำสารบบ (Directory) ห้องสมุดในประเทศไทยเช่นกัน ( α =3.94)
70
ตารางที่ 15 ภาพที่พึงประสงค์ของมาตรฐานด้านผลผลิต
ภาพที่พึงประสงค์
ผู้บริหาร บรรณารักษ์
ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด ครู
และนักเรียน
นักเรียน
รายการ
α S.D.
ลำดับ
ความ
สำคัญ
α S.D
ลำดับ
ความ
สำคัญ
มาตรฐานด้านผลผลิต
50. บุคลากรมีประสิทธิภาพตรงตามความต้องการของผู้ใช้บริการ 4.39 0.62 1 4.14 0.76 1
51. บุคลากรใช้อุปกรณ์สารสนเทศ และเครื่องมือสื่อสารทันสมัยได้
อย่างดี 4.31 0.69 2 3.97 0.85 7
52. มีทรัพยากรสารสนเทศที่ทันสมัยตรงตามความต้องการของผู้ใช้
บริการ 4.31 0.72 2 4.00 0.88 6
53. มีอุปกรณ์สารสนเทศ และเครื่องมือสื่อสารทันสมัยใช้ในห้องสมุด 4.22 0.79 5 4.04 0.89 4
54. นักเรียนมีนิสัย รักการอ่าน และการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง 4.26 0.84 4 4.03 0.83 5
55. นักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง และสามารถนำความรู้ที่ได้
จากการอ่านไปใช้ในชีวิตประจำวัน 4.30 0.81 3 4.05 0.78 3
56. ครูเข้าใช้ห้องสมุดเพิ่มขึ้น 4.09 0.84 7 3.87 0.83 8
57. ครูรักการอ่านและศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง 4.19 0.75 6 3.86 0.82 9
58. ครูสามารถนำความรู้ที่ได้จากการอ่านไปใช้ประกอบการเรียน
การสอน 4.30 0.71 3 4.06 0.90 2
รวม 4.26 0.76 3.98 0.84
จากตารางที่ 15 มาตรฐานด้านผลผลิตพบว่าในภาพรวมและรายข้อทั้งผู้บริหาร บรรณารักษ์ ผู้
ปฏิบัติงานห้องสมุด ครูและนักเรียนมีความต้องการให้เกิดในระดับมาก ในด้านรายข้อผู้บริหาร
บรรณารักษ์ ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด ครู และนักเรียน ต้องการให้บุคลากรของห้องสมุดมีประสิทธิภาพ
ตรงตามความต้องการของผู้ใช้มากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย ( α =4.39) และนักเรียนมีค่าเฉลี่ย (α =4.14)
จากผลการศึกษาภาพที่พึงประสงค์ของห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญแผนกมัธยมศึกษา มีการ
ศึกษาใน 3 มาตรฐาน โดยมีผู้ตอบแบบสอบถาม 2 กลุ่ม คือกลุ่มผู้บริหาร ครู บรรณารักษ์และผู้ปฏิบัติ
งานห้องสมุด และกลุ่มนักเรียน สรุปได้ดังนี้
1. มาตรฐานด้านปัจจัยนำเข้า
ผู้บริหาร บรรณารักษ์ ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด และครู ต้องการให้บุคลากรของห้องสมุดเป็น
ผู้สนับสนุนให้เกิดการค้นคว้าข่าวสาร ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ทั้งที่เป็นสิ่งพิมพ์ และสื่อ
อิเล็กทรอนิกส์มากที่สุด ส่วนนักเรียนต้องการให้บุคลากรของห้องสมุดสร้างความร่วมมือกับครูผู้สอน
71
ในอันที่จะทำให้นักเรียนได้รับประโยชน์สูงสุดทั้งจากการเรียนรู้จากสิ่งพิมพ์ จากเทคโนโลยีทางการ
ศึกษาใน 3 ด้าน คือด้านการอ่าน ด้านการเรียนรู้ และด้านการแก้ปัญหา และต้องการให้บุคลากรมี
ความเชี่ยวชาญในการใช้อุปกรณ์สารสนเทศ และเครื่องมือสื่อสารทันสมัยเพื่อตอบสนองอีเลิร์นนิ่ง ใน
ด้านทรัพยากรสารสนเทศ ผู้ตอบแบบสอบถามทั้ง 2 กลุ่ม มีความคิดตรงกันคือ ต้องการให้ทรัพยากร
สารสนเทศของห้องสมุดเป็นสิ่งพิมพ์ที่ทันสมัยตรงตามความต้องการของผู้ใช้ และมีฐานข้อมูลตรงตาม
ความต้องการของผู้ใช้มากที่สุด ด้านอาคารสถานที่และครุภัณฑ์ ผู้ตอบแบบสอบถามทั้ง 2 กลุ่ม
ต้องการให้อาคารสถานที่และครุภัณฑ์ของห้องสมุด มีคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยในการค้นหาข้อมูล และ
สนับสนุนงานบริการให้ดำเนินไปด้วยความสะดวกและรวดเร็วมากที่สุด
2. มาตรฐานด้านกระบวนการ
ผู้บริหาร บรรณารักษ์ ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด และครู ต้องการให้การบริหารจัดการของ
ห้องสมุด มีระบบการประเมินคุณภาพของห้องสมุดเพื่อเป็นแนวทางในการจัดการให้เป็นไปตาม
มาตรฐานห้องสมุดโรงเรียน และสอดคล้องกับนโยบายการประกันคุณภาพการศึกษาของชาติมากที่สุด
ในมาตรฐานด้านกระบวนการ การบริหารจัดการไม่ให้นักเรียนทำแบบสอบถามเนื่องจากนักเรียนไม่มี
ส่วนในการรับรู้การบริหารจัดการของห้องสมุด ในด้านการบริการ ผู้บริหาร บรรณารักษ์ ผู้ปฏิบัติงาน
ห้องสมุด และครู ต้องการให้การบริการของห้องสมุด มีการบริการที่หลากหลายตรงตามมาตรฐาน
ห้องสมุด นักเรียนต้องการให้บริการของห้องสมุดทันสมัย ถูกต้อง มีประสิทธิภาพผ่านระบบเครือข่าย
ในการเข้าถึงข้อมูล ผู้ตอบแบบสอบถามทั้งสองกลุ่ม ต้องการให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศใน
อินเตอร์เน็ตด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ภายในห้องสมุด และพิมพ์ข้อมูลที่ต้องการได้ ในด้านเครือข่าย
ห้องสมุด ผู้บริหาร บรรณารักษ์ ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุดและครู ต้องการให้มีเครือข่ายห้องสมุด โดยมี
นโยบายจัดทำมาตรฐานการใช้ระบบห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ร่วมกันกับโรงเรียนในเครือมูลนิธิคณะ
เซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย และผู้ตอบแบบสอบถามทั้งสองกลุ่มต้องการให้จัดทำสารบบ
(Directory) ห้องสมุดในประเทศไทย เพื่อการเข้าถึงเครือข่ายห้องสมุดได้สะดวก รวดเร็วใน Home
page ของห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมัญ แผนกมัธยม
3. มาตรฐานด้านผลผลิต
ในมาตรฐานด้านผลผลิตพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามทั้งสองกลุ่มต้องการให้บุคลากรของ
ห้องสมุดมีประสิทธิภาพตรงตามความต้องการของผู้ใช้มากที่สุด
72
ตอนที่ 3 กำหนดเป้าหมาย และแผนกลยุทธ์ของห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ
แผนกมัธยมศึกษาสำหรับปีพุทธศักราช 2550
การดำเนินการในตอนนี้ เป็นการกำหนดกลยุทธ์ทางเลือก โดยนำข้อมูลจากตารางสรุป
SWOT Matrix ในตอนที่ 1 และผลการวิเคราะห์แบบสอบถามภาพที่พึงประสงค์ของห้องสมุดโรงเรียน
อัสสัมชัญ แผนกมัธยมศึกษาในตอนที่ 2 มาพิจารณาร่วมกัน เพื่อกำหนดเป็นแผนกลยุทธ์ของห้องสมุด
โรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยมศึกษา ดังนี้
จากผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในของห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยมศึกษา
ตอนที่ 1 สามารถนำมาจัดลำดับความสำคัญได้ ดังนี้
จุดแข็ง (Strengths = S)
S1. มีบริการที่ทันสมัยด้วยระบบห้องสมุดอัตโนมัติ
S2. มีโครงสร้างของงานที่ชัดเจน
S3. นโยบายของห้องสมุดสอดคล้องกับนโยบายของโรงเรียน
S4. บุคลากรสามารถทำงานเป็นทีม
S5. ทรัพยากรสารสนเทศมีความหลากหลาย
จุดอ่อน (Weakness = W)
W1. อาคารสถานที่ตั้งอยู่ในบริเวณที่ไม่เหมาะสม
W2. ครุภัณฑ์ไม่เหมาะสม
W3. การใช้ทรัพยากรสารสนเทศไม่คุ้มค่า เพราะผู้ใช้น้อยทำให้
W4. ความต้องการใช้ห้องสมุดของผู้ใช้เปลี่ยนไป
W5. แสงสว่างภายในห้องสมุดไม่เพียงพอ
จากผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกของห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนก
มัธยมศึกษา ตอนที่ 1 สามารถนำมาจัดลำดับความสำคัญได้ ดังนี้
โอกาส (Opportunities = O)
O1. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวด 4 แนวการจัดการศึกษา
มาตรา 24 ข้อ 3 ว่าด้วยจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติ ให้ทำได้
คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง
O2. การสนับสนุนในด้านการอ่านของกระทรวงศึกษาธิการ
O3. มาตรฐานคุณภาพการศึกษาของมูลนิธิคณะเซนต์คราเบรียล แห่งประเทศไทย
มาตรฐานด้านผู้เรียน มาตรฐานที่ 6 ตัวบ่งชี้ที่ 2 ผู้เรียนรักการอ่าน สามารถใช้ห้องสมุด แหล่งความรู้
และสื่อต่าง ๆ ทั้งในและนอกสถานศึกษา
73
O4. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวด 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
มาตรา 67 รัฐต้องส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนา การผลิตและการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
รวมทั้งการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อให้เกิดการใช้ที่คุ้มค่า
และเหมาะสมกับกระบวนการเรียนรู้ของคนไทย
O5. ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ภาวะคุกคาม (Treats = T)
T1. การพัฒนาอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี
T2. กฏหมายลิขสิทธิ์
T3. รูปแบบของทรัพยากรสารสนเทศที่เปลี่ยนไป
T4. ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจของประเทศ ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนของงบประมาณ
T5. ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทำให้ทรัพยากรสารสนเทศมีราคาสูงขึ้น
จากการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภาวะคุกคาม ผู้วิจัยได้นำมาจัดทำตารางความ
สัมพันธ์แบบแมทริกส์ (SWOT Matrix) ตามขั้นตอนของไวริช (Weihrich, 1982) และเลือกกลยุทธ์
เพียงหนึ่ง หรือสองกลยุทธ์ที่จะเกิดผลสูงสุด กำหนดเป็นกลยุทธ์หลัก ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้จัดทำ
ตารางจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภาวะคุกคาม เพื่อกำหนดกลยุทธ์ ดังนี้
1. เขียนรายการสภาพแวดล้อมภายนอกที่เป็นโอกาสหลัก (Key external
Opportunities=O)
2. เขียนรายการสภาพแวดล้อมภายนอกที่เป็นภาวะคุกคามหลัก (Key external Threats =
T)
3. เขียนรายการสภาพแวดล้อมภายในที่เป็นจุดแข็งหลัก (Key internal Strength = S)
4. เขียนรายการสภาพแวดล้อมภายในที่เป็นจุดอ่อนหลัก (Key internal Weakness =
W)
5. จับคู่ จุดแข็งหลักกับโอกาสหลัก (SO) คือใช้จุดแข็งเพื่อให้ได้รับโอกาสมากที่สุด โดย
คิดหากลยุทธ์ที่เหมาะสมสำหรับเซลนี้ขึ้นมา
6. จับคู่ จุดแข็งหลักกับภาวะคุกคามหลัก (ST) คือใช้จุดแข็งเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะคุกคาม โดย
คิดหากลยุทธ์ที่เหมาะสมสำหรับเซลนี้ขึ้นมา
7. จับคู่ จุดอ่อนหลักกับโอกาส (WO) คือลดจุดอ่อนเพื่อเพิ่มโอกาส โดยคิดหากลยุทธ์ที่
เหมาะสมสำหรับเซลนี้ขึ้นมา
8. จับคู่ จุดอ่อนหลักกับภาวะคุกคามหลัก (WT) คือลดจุดอ่อน และหลีกเลี่ยงภาวะคุกคาม
โดยคิดหากลยุทธ์ที่เหมาะสมสำหรับเซลนี้
74
9. จากกลยุทธ์ทั้งหมดในแต่ละเซล ตัดสินใจเลือกกลยุทธ์เพียงหนึ่งหรือสองกลยุทธ์ที่จะเกิดผล
สูงสุด กำหนดเป็นกลยุทธ์หลัก
จาก จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส ภาวะคุกคามที่แสดงในตอนที่ 1 ผู้วิจัยจัดทำตารางตารางความ
สัมพันธ์แบบสว็อต แมททริกส์ (SWOT Matrix) เพื่อกำหนดกลยุทธ์ เพื่อพัฒนาไปสู่ภาพที่พึงประสงค์
โดยใช้ประโยชน์ จาก SO ดังนี้ ที่สามารถลด W และหลีกเลี่ยงภาวะคุกคาม ดังนำเสนอในตารางที่16
ดังนี้
75
ตารางที่ 16 ตารางความสัมพันธ์แบบสว็อท แมททริกส์ (SWOT Matrix)
Strengths = S Weaknesses = W
ปัจจัยภายใน
ปัจจัยภายนอก
S1. มีบริการที่ทันสมัยด้วยระบบ
ห้องสมุดอัตโนมัติ
S2. มีโครงสร้างของงานชัดเจน
S3. นโยบายของห้องสมุดสอดคล้อง
กับนโยบายของโรงเรียน
S4. บุคลากรมีความสามารถทำงาน
เป็นทีม
S5. ทรัพยากรสารสนเทศมีความ
หลากหลาย
W1. อาคารสถานที่ตั้งอยู่ในบริเวณที่ไม่
เหมาะสม
W2. ครุภัณฑ์ไม่เหมาะสม
W3. ผู้ใช้น้อยทำให้การใช้
ทรัพยากรสารสนเทศไม่คุ้มค่า
W4. ความต้องการใช้ห้องสมุดของผู้ใช้
เปลี่ยนไป
W5. แสงสว่างภายในห้องสมุดไม่เพียงพอ
Opportunities = O SO Strategies WO Strategies
O1 จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์
จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่าน
และเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง (พระราชบัญญัติการ
ศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวด 4มาตรา 24 )
O2 การสนับสนุนในด้านการอ่านของกระทรวงศึกษา
ธิการ
O3 ผู้เรียนรักการอ่าน สามารถใช้ห้องสมุด แหล่ง
ความรู้ และสื่อต่าง ๆ ทั้งในและนอกสถานศึกษา
(มาตรฐานคุณภาพการศึกษาของมูลนิธิ คณะเซนต์คา
เบรียล ฯ มาตรฐานที่ 6 ตัวบ่งชี้ที่ 2)
O4 รัฐต้องส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนา การผลิต
และการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา รวมทั้งการติด
ตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการใช้เทคโนโลยีเพื่อ
การศึกษา เพื่อให้เกิดการใช้ที่คุ้มค่า และเหมาะสมกับ
กระบวนการเรียนรู้ของคนไทย (พระราชบัญญัติการ
ศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวด 9 เทคโนโลยีเพื่อการ
ศึกษา)
O5 ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ
1. จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านให้
หลากหลาย (S3 S5 O2 O3)
2. พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้
บริการให้ทันสมัยเสมอ (S1 S5 O4 O5)
1. จัดสภาพแวดล้อมแห่งการเรียนรู้
ให้มีบรรยากาศใกล้ชิดธรรมชาติ (W1 W3
W4 W5 O1 O3)
Threats = T ST Strategies WT Strategies
T1. การพัฒนาอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี
T2. กฏหมายลิขสิทธิ์
T3. รูปแบบของทรัพยากรสารสนเทศที่เปลี่ยนไป
T4. ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจของประเทศทำให้เกิด
การปรับเปลี่ยนของงบประมาณ
T5. ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทำให้ทรัพยากรสารสนเทศมี
ราคาแพงขึ้น
1. จัดห้องสมุดให้เป็นแหล่งเรียน
รู้ที่หลากหลายทุกรูปแบบด้วยสื่อสาร
สนเทศ (S1 S3 S5 T1 T3)
2. พัฒนาบุคลากรด้าน IT และ
การให้บริการ (S4 T1 T3)
1. จัดบริการเชิงรุกเพื่อใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่า
และสามารถตอบสนองการเรียนการสอนที่
เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (W1 W3 W4 T1 T3 T4
T5)
76
ผลการวิเคราะห์ SWOT Matrix พบว่า
1. กลยุทธ์จุดแข็งและโอกาส (SO strategies) ของห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยม
ศึกษา โดยใช้จุดแข็งที่มีอยู่ประสานกับความได้เปรียบในโอกาสที่สอดคล้องกันทำให้เกิดประโยชน์
สูงสุด จากโอกาสที่มี ดังนั้นกลยุทธ์ทางเลือก คือ
1.1 จากผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน พบว่าจุดแข็งของห้องสมุดคือนโยบาย
ของห้องสมุดสอดคล้องกับนโยบายของโรงเรียน และทรัพยากรสารสนเทศมีความหลากหลาย และมี
โอกาสเพื่อเสริมจุดแข็งของห้องสมุดจากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกคือการสนับสนุนในด้าน
การอ่านของกระทรวงศึกษาธิการ และมาตรฐานคุณภาพการศึกษาของมูลนิธิ คณะเซนต์คาเบรียลฯ
ดังนั้นกลยุทธ์ทางเลือกในกรณีนี้จึงเป็นการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านให้หลากหลายทั้งภายในและ
ภายนอกห้องสมุด เพื่อนำไปสู่ภาพที่พึงประสงค์มาตรฐานด้านปัจจัยนำเข้า ด้านบุคลากร
1.2 จากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในของห้องสมุดพบว่า ห้องสมุดมีบริการที่
ทันสมัยด้วยระบบห้องสมุดอัตโนมัต ิ ทรัพยากรสารสนเทศที่หลากหลาย ประกอบกบั การวเิ คราะห์
สภาพแวดล้อมภายนอกที่จะเสริมจุดแข็งให้เพิ่มขึ้น คือความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศและ
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวด 9 กรณีนี้กลยุทธ์ทางเลือกจึงเป็น การพัฒนา
เทคโนโลยีที่สารสนเทศที่ใช้บริการให้ทันสมัยเสมอ เพื่อนำไปสู่ภาพที่พึงประสงค์มาตรฐานด้าน
กระบวนการ ด้านบริการ ด้านการเข้าถึงข้อมูล ด้านเครือข่ายห้องสมุด
2. กลยุทธ์จุดแข็งและภาวะคุกคาม (ST strategies) เป็นการใช้จุดแข็งหลีกเลี่ยงภาวะ
คุกคามที่เกิดจากสภาวะแวดล้อมภายนอกต่างๆ ดังนั้นกลยุทธ์ทางเลือกคือ
2.1 จากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกพบว่า ภาวะคุกคามที่เกิดจากสภาพ
แวดล้อมภายนอกคือ การพัฒนาอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี และรูปแบบของทรัพยากรสารสนเทศ
เปลี่ยนไป แต่ห้องสมุดมีจุดแข็งด้านการบริการที่ทันสมัยด้วยระบบห้องสมุดอัตโนมัติและมีนโยบาย
สอดคล้องกับนโยบายของโรงเรียนและทรัพยากรสารสนเทศมีความหลากหลายที่จะลดภาวะคุกคาม
ดังนั้นกลยุทธ์ทางเลือกในกรณีนี้คือ จัดห้องสมุดให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อ
โสตทัศน์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อนำไปสู่ภาพที่พึงประสงค์มาตรฐานด้านปัจจัยนำเข้า ด้าน
ทรัพยากรสารสนเทศ
2.2 จากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในจุดแข็งห้องสมุดอีกข้อคือบุคลากรมีความ
สามารถทำงานเป็นทีม แต่มีภาวะคุกคามที่เทคโนโลยีมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและรูปแบบของ
ทรัพยากรสารสนเทศที่เปลี่ยนไป จึงเป็นโอกาสที่จะใช้ภาวะคุกคามในข้อนี้ ทำให้เกิดประโยชน์ด้วย
ดังนั้นกลยุทธ์ทางเลือกในกรณีนี้คือ พัฒนาบุคลากรด้าน IT และการให้บริการให้ทันสมัยเสมอ เพื่อนำ
ไปสู่ภาพที่พึงประสงค์มาตรฐานด้านปัจจัยนำเข้า ด้านบุคลากร มาตรฐานด้านกระบวนการด้านบริการ
และมาตรฐานด้านผลผลิต
77
3. กลยุทธ์ลดจุดอ่อนเพื่อเพิ่มโอกาส (WO strategies) เป็นการใช้โอกาสที่มีความได้เปรียบ
ลดจุดอ่อน ทำให้ได้กลยุทธ์ทางเลือก ดังนี้
3.1 จากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในห้องสมุดมีจุดอ่อนคือ อาคารสถานที่ตั้ง
อยู่ในบริเวณที่ไม่เหมาะสม ผู้ใช้น้อยทำให้การใช้ทรัพยากรสารสนเทศไม่คุ้มค่า ความต้องการใช้
ห้องสมุดของผู้ใช้เปลี่ยนไป และห้องสมุดมีแสงสว่างไม่เพียงพอ แต่ยังมีโอกาสซึ่งเป็นสภาพแวดล้อม
ภายนอก เกี่ยวกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แนวการจัดการศึกษา มาตรา 24 ข้อ
3 และมาตรฐานคุณภาพการศึกษาของมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย มาตรฐานด้าน
ผู้เรียน มาตรฐานที่ 6 ตัวบ่งชี้ที่ 2 ในกรณีนี้กลยุทธ์ทางเลือก คือ การจัดสภาพแวดล้อมแห่งการเรียนรู้
ให้มีบรรยากาศใกล้ชิดธรรมชาติ เพื่อนำไปสู่ภาพที่พึงประสงค์มาตรฐานด้านปัจจัยนำเข้า ด้านอาคาร
สถานที่
4. กลยุทธ์ที่เป็นการลดจุดอ่อน และลดอุปสรรค (WT strategies) โดยมีกลยุทธ์ทางเลือกดังนี้
4.1 จากจุดอ่อนในเรื่องอาคารสถานที่ตั้งอยู่ในบริเวณที่ไม่เหมาะสม ผู้ใช้น้อยทำให้
การใช้ทรัพยากรสารสนเทศไม่คุ้มค่า และความต้องการใช้ห้องสมุดของผู้ใช้เปลี่ยนไป และมีภาวะ
คุกคามจากสภาพแวดล้อมภายนอกในเรื่องของการพัฒนาอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี และรูปแบบของ
ทรัพยากรสารสนเทศที่เปลี่ยนไป กลยุทธ์ทางเลือกในกรณีนี้คือ จัดบริการเชิงรุกที่สามารถตอบสนอง
การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อนำไปสู่ภาพที่พึงประสงค์มาตรบานด้านกระบวนการ
ด้านการบริการ
จากการวิเคราะห์ตารางความสัมพันธ์แบบสว็อต แมทริกส์ (SWOT matrix) สรุปกลยุทธ์
ทางเลือกของห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญแผนกมัธยมศึกษาได้ดังนี้
1. จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านให้หลากหลายทั้งภายในและภายนอกห้องสมุด
2. พัฒนาเทคโนโลยีที่สารสนเทศที่ใช้บริการให้ทันสมัยเสมอ
3. จัดห้องสมุดให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ และสื่อ
อิเล็กทรอนิกส์
4. พัฒนาบุคลากรด้าน IT และการให้บริการให้ทันสมัยเสมอ
5. จัดสภาพแวดล้อมแห่งการเรียนรู้ให้มีบรรยากาศใกล้ชิดธรรมชาติ
6. จัดบริการเชิงรุกที่สามารถตอบสนองการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
78
แผนกลยุทธ์ห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยมศึกษา
สภาพปัจจุบัน
ห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยมศึกษา เป็นห้องสมุดโรงเรียนมัธยมขนาดใหญ่ มี
บริการที่ทันสมัยด้วยระบบห้องสมุดอัตโนมัติที่ใช้งานมาเป็นเวลาประมาณ 7 ปี สามารถใช้งานได้อย่าง
มีประสิทธิภาพ ด้วยระบบยืม – คืน ระบบสืบค้นข้อมูล และระบบยืมอัตโนมัติที่ผู้ใช้สามารถยืมหนังสือ
ได้ด้วยตัวเอง มีโครงสร้างการบริหารงานที่ชัดเจนแบ่งเป็นงานใหญ่ ๆ 4 งาน คือ งานบริหาร งาน
เทคนิค งานบริการ และกิจกรรม ในแต่ละงานใหญ่ทั้ง 4 งาน จะมีงานย่อย ๆ แบ่งออกไปอีก ห้องสมุด
มีการกำหนดนโยบายสอดคล้องกับนโยบายของโรงเรียน และนโยบายของมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียล
แห่งประเทศไทย มีบุคลากรที่มีความสามารถทำงานเป็นทีม และมีทรัพยากรสารสนเทศที่มีความ
หลากหลายประกอบด้วยสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศนวัสดุ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ไว้ให้บริการห้องสมุดมี
จุดอ่อนที่ควรแก้ไขและปรับปรุง คือ อาคารสถานที่ตั้งอยู่ในบริเวณที่ไม่เหมาะสม ไม่เป็นจุดศูนย์กลางที่
ผู้ใช้จะมารับบริการห่างจากกลุ่มเป้าหมาย ตั้งอยู่ใกล้เตาเผาขยะ บ่อบำบัดน้ำเสีย และห้องดนตรีสากล
ที่มีนักดนตรีใช้หน้าระเบียงห้องสมุดเป็นที่ซ้อมดนตรี ครุภัณฑ์ไม่เหมาะสม เนื่องจากนำครุภัณฑ์จาก
ห้องสมุดเดิมมาใช้ทำให้การจัดให้เข้ากับห้องสมุดใหม่ทำได้ยาก ผู้ใช้บริการมีน้อยทำให้การใช้
ทรัพยากรสารสนเทศไม่คุ้มค่าซึ่งมีสาเหตุหลายประการ เช่น ห้องสมุดตั้งอยู่ในสถานที่ไม่เหมาะสม
ห่างไกลกลุ่มเป้าหมาย ทางที่จะมาห้องสมุดมีการก่อสร้างทำให้เดินไม่สะดวก ความต้องการใช้
ห้องสมุดของผู้ใช้เปลี่ยนไปผู้ใช้มักจะสนใจใช้สื่อ Internet ซึ่งห้องสมุดมีคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการเพียง
24 เครื่อง บางเครื่องเป็นเครื่องรุ่นเก่าประสิทธิภาพในการใช้งานต่ำ และจุดอ่อนข้อสุดท้ายคือแสงสว่าง
ภายในห้องสมุดไม่เพียงพอ โดยเฉพาะบริเวณชั้นหนังสือทั่วไป
วิสัยทัศน์
พัฒนาห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ ให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัย จัดกิจกรรม
ส่งเสริมการอ่าน เพื่อกระตุ้นให้ผู้ใช้แสวงหาความรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยจัดบรรยา-
กาศ ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ จัดระบบบริหารจัดการงานห้องสมุดให้มีมาตรฐานที่สามารถตรวจสอบได้ นำ
นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้อย่างหลากหลาย มีการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ทันต่อ
เทคโนโลยี และทำงานเป็นทีม
พันธกิจ
1. จัดทำแผนพัฒนาห้องสมุดเพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานให้เป็นศูนย์กลางการเรียน
รู้ตามอัธยาศัย ให้สอดคล้องกับนโยบายของโรงเรียนและมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย
2. ปรับปรุงคู่มือการปฏิบัติงานห้องสมุดให้เป็นปัจจุบัน
3. จัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และค้นคว้าด้วยตนเอง
79
4. จัดหาสารสนเทศให้สอดคล้องกับหลักสูตร และตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้
5. พัฒนาระบบบริหารจัดการให้ได้มาตรฐานของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย และ
มาตรฐานคุณภาพการศึกษาของมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย
6. นิเทศ ติดตาม ตรวจสอบ และปรับปรุงการดำเนินงานของห้องสมุดอย่างต่อเนื่อง
เป้าหมาย
1. ผู้เรียนมีแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ประกอบด้วย สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศนวัสดุ และสื่อ-
อิเล็กทรอนิกส์ ในเวลา 1 ปี
2. ห้องสมุดมีสภาพแวดล้อมและบรรยากาศเหมาะแก่การเรียนรู้ และใกล้ชิดธรรมชาติ
ในเวลา 1 ปี
3. ห้องสมุดมีบริการและกิจกรรมที่ส่งเสริมต่อการเรียนรู้ทั้งภายใน และภายนอกโรงเรียน ใน
เวลา 1 ปี
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เรียนมีแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ประกอบด้วย สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศนวัสดุ และ
สื่ออิเล็กทรอนิกส์
2. เพื่อให้ห้องสมุดมีสภาพแวดล้อมและบรรยากาศเหมาะแก่การเรียนรู้และใกล้ชิดธรรมชาติ
3. เพื่อให้ห้องสมุดมีบริการและกิจกรรมที่ส่งเสริมต่อการเรียนรู้ทั้งภายใน และภายนอก
โรงเรียน
กลยุทธ์
1. จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านให้หลากหลายทั้งภายในและภายนอกห้องสมุด
2. พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้บริการให้ทันสมัยเสมอ
3. จัดห้องสมุดให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ และสื่ออิเล็ก-
ทรอนิกส์
4. พัฒนาบุคลากรด้าน IT และการให้บริการให้ทันสมัยเสมอ
5. จัดสภาพแวดล้อมแห่งการเรียนรู้ให้มีบรรยากาศใกล้ชิดธรรมชาติ
6. จัดบริการเชิงรุกที่สามารถตอบสนองการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
80
แผนกลยุทธ์ห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยมศึกษา
กลยุทธ์ วัตถุประสงค์ วิธีดำเนินการ/กิจ
กรรม
ตัวชี้วัดสภาพความ
สำเร็จ ผู้รับผิดชอบ
1. จัดกิจกรรมส่ง
เสริมการอ่านอย่าง
ห ล า ก ห ล า ย ใ ห้
บุคลากรในโรงเรียน
1. เพื่อส่งเสริมการ
อ่านที่สนองต่อความ
ต้องการของผู้ใช้
บริการ
2. เพื่อส่งเสริม
ประสบการณ์ในการ
อ่านให้เกิดการใฝ่รู้
รักการอ่านอย่างต่อ
เนื่องตลอดชีวิต
วิธีดำเนินการ
1. ประชุมวางแผน
การจัดกิจกรรม
2. แบ่งหน้าที่ความ
รับผิดชอบ
3. ดำเนินการตาม
แผน
4. สรุปและประเมิน
ผล
กิจกรรม
1.โครงการค่ายรัก
การอ่านนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 1
2 .โครงการส่งเสริม
การอ่านที่ยั่งยืน
3. โครงการวางทุก
งานอ่านทุกคน
4. โครงการชวน
เพื่อนอ่านหนังสือ
5. โครงการตะกร้า
ความรู้สู่ชุมชน
มีกิจกรรมส่งเสิรม
การอ่านที่หลาก
หลายเหมาะสมกับ
วัยและความ
ต้องการของผู้ใช้เพิ่ม
ขึ้น 30%ในปีแรก
เพิ่มขึ้น 50% ในปีที่
2 และเพิ่มขึ้น 80%
ในปีที่ 3
งานบริหาร
81
กลยุทธ์ วัตถุประสงค์ วิธีดำเนินการ/กิจ
กรรม
ตัวชี้วัดสภาพความ
สำเร็จ ผู้รับผิดชอบ
2. พัฒนาเทคโนโลยี
ที่ใช้บริการ
1. เพื่อความสะดวก
ของผู้ให้และผู้ใช้
บริการ
2. พัฒนาเทคโนโลยี
ที่ใบริการให้ทันสมัย
วิธีดำเนินการ
1. วางแผนเพื่อจัดทำ
โครงการเสนอขอ
อนุมัติ
2. ดำเนินการ
ตามแผนที่กำหนด
3. ทดลองประสิทธิ-
ภาพและนำไปใช้
4. ติดตามและ
ประเมินผล
กิจกรรม
1. โครงการพัฒนา
ระบบห้องสมุด
อัตโนมัติให้บริการ
ผ่านเว็บไซต์
3. โครงการปรับ
เปลี่ยนเครื่อง
คอมพิวเตอร์ และ
ระบบปฏิบัติการภาย
ในห้องสมุดทั้งหมด
4. โครงการเครือข่าย
ห้องสมุดโรงเรียนใน
เครือมูลนิธิเซนต์คา
เบรียลฯ
5. โครงการมุม
Internet แห่งการ
เรียนรู้
6. โครงการใช้ฐาน
ข้อมูลออนไลน์ร่วม
กันกับโรงเรียนใน
เครือมูลนิธิเซนต์คา
เบรียลแห่งประเทศ
ไทย
ห้องสมุดมีการปรับ
ปรุงทางด้าน
เทคโนโลยีให้ทันสมัย
โดยในปีแรกเปลี่ยน
คอมพิวเตอร์และ
ระบบปฏิบัติการใน
ห้องสมุดทั้งหมด
และพัฒนาระบบ
ห้องสมุดอัตโนมัติให้
ใช้บริการผ่าน
เว็บไซต์ได้ ในปีที่ 2
สร้างเครือข่ายห้อง
สมุดโรงเรียนในเครือ
มูลนิธิเซนต์คาเบรียล
แห่งประเทศไทยมี
เครือข่ายถึงกัน 40%
ในปีที่ 3 เพิ่มขึ้น
80% และผู้ใช้บริการ
มีแหล่งเรียนรู้เพิ่มขึ้น
ในปีแรก 30 % ในปี
ที่ 2 60% และในปีที่
3 80%
งานบริการ
82
กลยุทธ์ วัตถุประสงค์ วิธีดำเนินการ/กิจ
กรรม
ตัวชี้วัดสภาพความ
สำเร็จ ผู้รับผิดชอบ
3. จัดห้องสมุดให้
เป็นแหล่งเรียนรู้ที่
หลากหลาย ทั้งสื่อ
สิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์
วัสดุ และสื่อ
อิเล็กทรอนิกส์
1. เพื่อให้เป็นศูนย์
กลางแห่งการเรียนรู้
ของโรงเรียน
1. เพื่อส่งเสริม
ให้เป็นแหล่งค้นคว้า
ที่อยู่ใกล้ตัว
2. เพื่อจูงใจให้มี
ผู้เข้าใช้ห้องสมุด
4. เพื่อให้ห้องสมุดมี
สารสนเทศที่หลาก
หลาย
วิธีดำเนินการ
1. ประชุมวางแผน
การทำกิจกรรม
2. สรุปรูปแบบการ
ปฏิบัติกิจกรรมและ
จัดหาอุปกรณ์ที่ใช้
3. ดำเนินการตาม
แผน
4. นิเทศ ติดตาม
และประเมินผล
กิจกรรม
1. โครงการจัดซื้อ
ฐานข้อมูลออนไลน์
2. โครงการจัดทำ Eclipping
3. โครงการมุมทีวี
4. โครงการมุม
ความรู้ออนไลน์
5. โครงการมุม
พจนานุกรมและ
Dictionary ออนไลน์
6. โครงการมุม
ทดสอบความรู้
ออนไลน์
7. โครงการสร้าง
ความร่วมมือกับครูผู้
สอนนำนักเรียนเข้า
มาศึกษาค้นคว้าใน
ห้องสมุด
ทุกกิจกรรมมีวัตถุ
ประสงค์และหน่วย
ปฏิบัติที่ชัดเจนไปสู่
เป้าหมายที่กำหนด
ในปีแรก 30% ปีที่ 2
60 % และในปีที่ 3
95%
งานเทคนิค
83
กลยุทธ์ วัตถุประสงค์ วิธีดำเนินการ/กิจ
กรรม
ตัวชี้วัดสภาพความ
สำเร็จ ผู้รับผิดชอบ
4. พัฒนาบุคลากร
ด้าน IT และการให้
บริการให้ทันสมัย
เสมอ
1. เพื่อพัฒนา
บุคลากรให้มีความรู้
ด้าน IT เพิ่มขึ้น
2. เพื่อพัฒนาการให้
บริการของบุคลากร
ให้สามารถใช้งานได้
อย่างมีประสิทธิภาพ
เพิ่มขึ้น
วิธีดำเนินการ
1. หาข้อมูลเกี่ยวกับ
วิทยากรที่มีความรู้
ความสามารถด้าน
IT
2. ออกจดหมายเชิญ
วิทยากร
3. ออกกำหนดการ
เพื่อแจ้งให้บุคลากร
รับทราบ
4. จัดอบรม
5. ประเมินผล
กิจกรรม
1. โครงการอบรม
บุคลากรด้านการใช้
อุปกรณ์สารสนเทศ
2. โครงการศึกษาดู
งานด้าน IT
3. โครงการอบรม
การให้บริการที่
ประทับใจ
4. โครงการอบรม
การให้บริการห้อง
สมุดอัตโนมัติ
5. โครงการศึกษาดู
งานระบบห้องสมุด
อัตโนมัติ
บุคลากรมีความรู้ใน
ด้าน IT เพิ่มขึ้น และ
มีความรู้ความ
สามารถในการให้
บริการในระบบห้อง
สมุดอัตโนมัติ เพิ่ม
ขึ้น
งานบริการ
84
กลยุทธ์ วัตถุประสงค์ วิธีดำเนินการ/กิจ
กรรม
ตัวชี้วัดสภาพความ
สำเร็จ ผู้รับผิดชอบ
5. จัดสภาพแวดล้อม
แห่งการเรียนรู้ให้มี
บรรยากาศใกล้ชิด
ธรรมชาติ
1. เพื่อให้มีสภาพ
แวดล้อมและ
บรรยากาศเหมาะแก่
การเรียนรู้
2. เพื่อความ
เป็นระเบียบเรียบ
ร้อยและสวยงาม
3. เพื่อความสะดวก
ในการใช้บริการ
วิธีดำเนินการ
1. สำรวจสถานที่
และความเป็นไปได้
2. จัดทำโครง
การเสนอขออนุมัติ
3. ดำเนินการและให้
บริการ
4. ติดตามการใช้
และประเมินผล
กิจกรรม
1. โครงการปรับ
ขยายพื้นที่ด้านหลัง
ห้องสมุดและจัดสวน
2. โครงการตกแต่ง
ห้องสมุดให้มี
บรรยากาศใกล้ชิด
ธรรมชาติ
มีบรรยากาศเป็นที่
พึงพอใจของผู้และ
สะดวกในการให้
บริการ ในปีแรก 60
% ปีที่ 2 80 % และ
ในปีที่ 3 100%
งานบริหาร
85
กลยุทธ์ วัตถุประสงค์ วิธีดำเนินการ/กิจ
กรรม
ตัวชี้วัดสภาพความ
สำเร็จ ผู้รับผิดชอบ
6. จัดบริการเชิงรุกที่
สามารถตอบสนอง
การเรียนการสอนที่
เ น้ น ผู้ เ รี ย น เ ป็ น
สำคัญ
1. เพื่อจัดบริการเชิง
รุกที่สามารถตอบ
สนองการเรียนการ
สอนที่เน้นผู้เรียนเป็น
สำคัญ
2. เพื่อสนับสนุนการ
เรียนการสอนที่เน้นผู้
เรียนเป็นสำคัญ
วิธีดำเนินงาน
1. ประชุมวางแผน
การจัดกิจกรรม
2. ดำเนินการตาม
แผนที่กำหนด
3. ติดตามและ
ประเมินผล
กิจกรรม
1.โครงการบริการ
รายชื่อหนังสือใหม่
พร้อมสารสังเขปทาง
E-mail
2. โครงการตู้ความรู้
อิเล็กทรอนิกส์ระบบ
สัมผัสเคลื่อนที่
3. โครงการ บทเรียน
ออนไลน์
4. โครงการบทความ
ประกอบการเรียน
การสอนออนไลน์
การจัดบริการเชิงรุก
สามารถตอบสนอง
การเรียนการสอนที่
เน้นผู้เรียนเป็น
สำคัญในปีแรก 30%
ปีที่ 2 60% และในปี
ที่ 3 90 %
งานบริการ
86
บทที่ 5
สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
การวิจัยเรื่อง การวางแผนกลยุทธ์ห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยมศึกษา
ปีพุทธศักราช 2550 ผู้วิจัยสรุปผลการวิจัย โดยแบ่งออกเป็น วัตถุประสงค์ของการวิจัย ขอบเขต
ของการวิจัย วิธีดำเนินการวิจัย สรุปผลการวิจัย อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ ดังนี้
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. ศึกษาสภาพปัจจุบันของห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยมศึกษา
2. ศึกษาภาพที่พึงประสงค์ของห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยมศึกษา
3. เพื่อกำหนดเป้าหมาย และแผนกลยุทธ์ของห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยม
ศึกษา สำหรับปีพุทธศักราช 2550
ขอบเขตของการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัย เรื่องการวางแผนเชิงกลยุทธ์ของห้องสมุดโรงเรียน
อัสสัมชัญ แผนกมัธยมศึกษา ปีพุทธศักราช 2550
ประชากรและกลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลในการวิจัยนี้ เป็นคณะผู้บริหารของโรงเรียน
อัสสัมชัญ แผนกมัธยมศึกษา บรรณารักษ์ และผู้ปฏิบัติงานในห้องสมุดนำเสนอการรับรู้จาก
ประสบการณ์ในการทำงาน การมีส่วนร่วมในการพัฒนา บริหารจัดการห้องสมุดช่วงที่มีการปฏิรูป
การศึกษาตั้งแต่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2545 จนถึงปัจจุบัน
วิธีดำเนินการวิจัย
ผู้วิจัยแบ่งวิธีดำเนินการวิจัยเป็นขั้นตอน ดังนี้
ตอนที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันของห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยมศึกษา
ตอนที่ 2 ศึกษาภาพที่พึงประสงค์ของห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยมศึกษา
ตอนที่ 3 กำหนดเป้าหมายและแผนกลยุทธ์ของห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนก
มัธยมศึกษา ในปีพุทธศักราช 2550
สรุปผลการวิจัย
การวิจัยเรื่อง การวางแผนกลยุทธ์ห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยมศึกษา ปี
พุทธศักราช 2550 ผู้วิจัยสรุปผลการวิจัย และนำเสนอเป็น 3 ตอน ดังนี้
ตอนที่ 1 สรุปผลการศึกษาสภาพปัจจุบันของห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนก
87
มัธยมศึกษา
ตอนที่ 2 สรุปผลการศึกษาภาพที่พึงประสงค์ของห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ
แผนกมัธยมศึกษา
ตอนที่ 3 กำหนดเป้าหมายและแผนกลยุทธ์ของห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนก
มัธยมศึกษา ในปีพุทธศักราช 2550
ตอนที่ 1 สภาพปัจจุบันของห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยมศึกษา
ห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยมศึกษา เป็นห้องสมุดโรงเรียนมัธยมขนาดใหญ่ มี
บริการที่ทันสมัยด้วยระบบห้องสมุดอัตโนมัติ มีระบบยืมอัตโนมัติที่ผู้ใช้สามารถยืมหนังสือได้ด้วย
ตัวเอง มีโครงสร้างการบริหารงานที่ชัดเจนแบ่งเป็นงานใหญ่ ๆ 4 งาน คือ งานบริหาร งานเทคนิค
งานบริการ และกิจกรรม มีการกำหนดนโยบายสอดคล้องกับนโยบายของโรงเรียน และนโยบาย
ของมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย มีบุคลากรที่มีความสามารถทำงานเป็นทีม และมี
ทรัพยากรสารสนเทศที่มีความหลากหลายประกอบด้วยสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศนวัสดุ และสื่อ
อิเล็กทรอนิกส์ไว้ให้บริการ
ห้องสมุดมีจุดอ่อนที่ควรแก้ไขและปรับปรุง คือ อาคารสถานที่ตั้งอยู่ในบริเวณที่ไม่
เหมาะสม ห่างจากกลุ่มเป้าหมาย ครุภัณฑ์ไม่เหมาะสม เนื่องจากนำครุภัณฑ์จากห้องสมุดเดิมมา
ใช้ ทำให้การจัดให้เข้ากับห้องสมุดใหม่ทำได้ยาก ผู้ใช้บริการมีน้อยทำให้การใช้ทรัพยากรสาร
สนเทศไม่คุ้มค่า
ตอนที่ 2 ผลการศึกษาภาพที่พึงประสงค์ของห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนก
มัธยมศึกษา
จากผลการศึกษาภาพที่พึงประสงค์ของห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญแผนกมัธยมศึกษา มี
การศึกษาใน 3 มาตรฐาน โดยมีผู้ตอบแบบสอบถาม 2 กลุ่ม คือกลุ่มผู้บริหาร ครู บรรณารักษ์และ
ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด และกลุ่มนักเรียน ดังนี้
1. มาตรฐานด้านปัจจัยนำเข้า
ผู้บริหาร บรรณารักษ์ ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด และครู ต้องการให้เกิดมากที่สุด
คือบุคลากรของห้องสมุดเป็นผู้สนับสนุนให้เกิดการค้นคว้าข่าวสารข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ทั้ง
ที่เป็นสิ่งพิมพ์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ มีทรัพยากรสารสนเทศที่ทันสมัยตรงตามความต้องการของ
ผู้ใช้ และมีฐานข้อมูลตรงตามความต้องการของผู้ใช้ ให้อาคารสถานที่และครุภัณฑ์ของห้องสมุด
มีคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยในการค้นหาข้อมูล และสนับสนุนงานบริการให้ดำเนินไปด้วยความสะดวก
และรวดเร็ว แต่นักเรียนต้องการให้บุคลากรของห้องสมุดสร้างความร่วมมือกับครูผู้สอนในอันที่จะ
ทำให้นักเรียนได้รับประโยชน์สูงสุดใน 3 ด้าน คือด้านการอ่าน ด้านการเรียนรู้ และด้านการแก้
88
ปัญหา และต้องการให้บุคลากรมีความเชี่ยวชาญในการใช้อุปกรณ์สารสนเทศ และเครื่องมือสื่อ
สารทันสมัยเพื่อตอบสนองอีเลิร์นนิ่ง
2. มาตรฐานด้านกระบวนการ
ผู้บริหาร บรรณารักษ์ ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด และครู ต้องการให้เกิดมากที่สุดคือ
การบริหารจัดการของห้องสมุด มีระบบการประเมินคุณภาพของห้องสมุดเพื่อเป็นแนวทางในการ
จัดการให้เป็นไปตามมาตรฐานห้องสมุดโรงเรียน และสอดคล้องกับนโยบายการประกันคุณภาพ
การศึกษาของชาติ มีการบริการที่หลากหลายตรงตามมาตรฐานห้องสมุด สร้างเครือข่ายห้องสมุด
ร่วมกันกับโรงเรียนในเครือมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย แต่นักเรียนต้องการให้
บริการของห้องสมุดทันสมัย ถูกต้อง มีประสิทธิภาพผ่านระบบเครือข่าย ในการเข้าถึงข้อมูลผู้ตอบ
แบบสอบถามทั้งสองกลุ่ม ต้องการให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศในอินเตอร์เน็ตด้วยเครื่อง
คอมพิวเตอร์ภายในห้องสมุด และพิมพ์ข้อมูลที่ต้องการได้ และให้จัดทำสารบบ (Directory)
ห้องสมุดในประเทศไทย เพื่อการเข้าถึงเครือข่ายห้องสมุดได้สะดวก รวดเร็วในโฮมเพจของ
ห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมัญ แผนกมัธยม
3. มาตรฐานด้านผลผลิต
ในมาตรฐานด้านผลผลิตพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามทั้งสองกลุ่มต้องการให้บุคลากรของ
ห้องสมุดมีประสิทธิภาพตรงตามความต้องการของผู้ใช้มากที่สุด
ตอนที่ 3 แผนกลยุทธ์ของห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญแผนกมัธยมศึกษาสำหรับปี
พุทธศักราช 2550 มีทั้งหมด 6 กลยุทธ์ ดังนี้
1. จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านให้หลากหลายทั้งภายในและภายนอกห้องสมุด
2. พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้บริการให้ทันสมัยเสมอ
3. จัดห้องสมุดให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ และ
สื่ออิเล็กทรอนิกส์
4. พัฒนาบุคลากรด้าน IT และการให้บริการให้ทันสมัย
5. จัดสภาพแวดล้อมแห่งการเรียนรู้ให้มีบรรยากาศใกล้ชิดธรรมชาติ
6. จัดบริการเชิงรุกที่สามารถตอบสนองการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
อภิปรายผลการวิจัย
จากผลการวิจัยมีประเด็นที่น่าสนใจจากผลการวิเคราะห์ข้อมูล สามารถนำอภิปรายได้
ดังนี้
1. การศึกษาสภาพปัจจุบันของห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยมศึกษา
89
มีข้อค้นพบที่น่าสนใจและควรดำเนินการต่อไปเพื่อให้เกิดผลต่อผู้ใช้บริการอย่าง
คุ้มค่า คือ ห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยมศึกษา มีบริการที่ทันสมัยด้วยระบบห้องสมุด
อัตโนมัติ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ สุดใจ ธนไพศาล (2540) มีการกำหนดนโยบายสอดคล้อง
กับนโยบายของโรงเรียน และนโยบายของมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย มีบุคลากรที่
มีความสามารถทำงานเป็นทีม และมีทรัพยากรสารสนเทศที่มีความหลากหลายประกอบด้วยสื่อสิ่ง
พิมพ์ สื่อโสตทัศนวัสดุ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ไว้ให้บริการ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดในการประชุม
บรรณารักษ์นานาชาติ (The International Federation of Library Associations : 2542) และ
เฉลียว พันธุ์สีดา (2539 : 82)
ข้อค้นพบประเด็นที่ควรแก้ไขและปรับปรุง คือ อาคารสถานที่ตั้งอยู่ในบริเวณที่ไม่
เหมาะสม ห่างจากกลุ่มเป้าหมาย ครุภัณฑ์ไม่เหมาะสม เนื่องจากนำครุภัณฑ์จากห้องสมุดเดิม
มาใช้ ทำให้การจัดให้เข้ากับห้องสมุดใหม่ทำได้ยาก ผู้ใช้บริการมีน้อยทำให้การใช้ทรัพยากร
สารสนเทศไม่คุ้มค่า ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของนันทา วิทวุฒิศักด์ (2545) และบานชื่น
ทองพันชั่ง (2544)
2. ผลการศึกษาภาพที่พึงประสงค์ของห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยม
ศึกษา
ผลการศึกษาพบว่าการศึกษาภาพที่พึงประสงค์ของห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ
แผนกมัธยมศึกษา มีการศึกษาใน 3 มาตรฐาน ดังนี้
2.1 มาตรฐานด้านปัจจัยนำเข้า สิ่งที่ควรสร้างให้เกิดมากที่สุดคือบุคลากรของ
ห้องสมุดเป็นผู้สนับสนุนให้เกิดการค้นคว้าข่าวสารข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ทั้งที่เป็นสิ่งพิมพ์
และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ทรัพยากรสารสนเทศที่ทันสมัยตรงตามความต้องการของผู้ใช้ และมีฐาน-
ข้อมูลตรงตามความต้องการของผู้ใช้ ให้อาคารสถานที่และครุภัณฑ์ของห้องสมุด มีคอมพิวเตอร์ที่
ทันสมัยในการค้นหาข้อมูล และสนับสนุนงานบริการให้ดำเนินไปด้วยความสะดวกและรวดเร็ว แต่
นักเรียนต้องการให้บุคลากรของห้องสมุดสร้างความร่วมมือกับครูผู้สอนในอันที่จะทำให้นักเรียนได้
รับประโยชน์สูงสุดใน 3 ด้าน คือด้านการอ่าน ด้านการเรียนรู้ และด้านการแก้ปัญหา และต้องการ
ให้บุคลากรมีความเชี่ยวชาญในการใช้อุปกรณ์สารสนเทศ และเครื่องมือสื่อสารทันสมัยเพื่อ
ตอบสนองอีเลิร์นนิ่ง ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ นันทา วิทวุฒิศักด์ (2544) สุริทอง ศรีสะอาด
(2544) และบานชื่น ทองพันชั่ง (2544)
90
2.2 มาตรฐานด้านกระบวนการ สิ่งที่ต้องการให้เกิดมากที่สุด ในด้านการบริหาร
จัดการของห้องสมุด ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ บานชื่น ทองพันชั่ง (2544) มีการบริการที่
หลากหลายตรงตามมาตรฐานห้องสมุด ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ นันทา วิทวุฒิศักดิ์ (2544)
การสร้างเครือข่ายห้องสมุดร่วมกันกับโรงเรียนในเครือมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย
ต้องการให้บริการของห้องสมุดทันสมัย ถูกต้อง มีประสิทธิภาพผ่านระบบเครือข่าย ในการเข้าถึง
ข้อมูลต้องการให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศในอินเตอร์เน็ตด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ภายในห้อง
สมุด และพิมพ์ข้อมูลที่ต้องการได้ และให้จัดทำสารบบ (Directory) ห้องสมุดในประเทศไทย เพื่อ
การเข้าถึงเครือข่ายห้องสมุดได้สะดวก รวดเร็วในโฮมเพจของห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมัญ แผนก
มัธยม ซึ่งตรงกับแนวคิดในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2542 และประชุมทางวิชาการ สมาคม
ห้องสมุดแห่งประเทศไทย (2542 : 55)
2.3 มาตรฐานด้านผลผลิตพบว่าสิ่งที่ต้องการให้เกิดมากที่สุดด้านบุคลากร คือ
บุคลากรมีประสิทธิภาพด้านการให้บริการที่ตรงตามความต้องการของผู้ใช้มากที่สุดซึ่งตรงกับ
ผลงานวิจัยของ บานชื่นทองพันชั่ง (2544)
3. แผนกลยุทธ์ : กลยุทธ์
จากกระบวนการจัดทำแผนกยุทธ์ ผู้วิจัยพบว่า กลยุทธ์ที่ได้จากการวิจัยทั้งหมด 6 ข้อ
สามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้ ซึ่งอภิปรายผลได้ ดังนี้
3.1 กลยุทธ์การจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านอย่างหลากหลายให้บุคลากรในโรงเรียน
โดยจัดกิจกรรมดังนี้ (1.) โครงการค่ายรักการอ่านนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (2.) โครงการส่ง
เสริมการอ่านที่ยั่งยืน (3.) โครงการวางทุกงานอ่านทุกคน (4.) โครงการตะกร้าความรู้สู่ชุมชน
3.2 กลยุทธ์การพัฒนาเทคโนโลยีที่ใช้บริการ โดยจัดกิจกรรมดังนี้ (1.) โครงการพัฒนา
ระบบห้องสมุดอัตโนมัติให้บริการผ่านเว็บไซต์ (2.) โครงการปรับเปลี่ยนเครื่องคอมพิวเตอร์ และ
ระบบปฏิบัติการภายในห้องสมุดทั้งหมด (3.) โครงการเครือข่ายห้องสมุดโรงเรียนในเครือมูลนิธิ
คณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย (4.) โครงการมุมอินเทอร์เน็ตแห่งการเรียนรู้ (5.) โครงการใช้
ฐานข้อมูลออนไลน์ร่วมกันกับโรงเรียนในเครือมูลนิธิเซนต์เบรียลแห่งประเทศไทย
3.3 กลยุทธ์การจัดห้องสมุดให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์สื่อ
โสตทัศน์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยจัดกิจกรรมดังนี้ (1.) โครงการจัดซื้อฐานข้อมูลออนไลน์ (2.)
โครงการจัดทำกฤตภาคในระบบอิเล็กทรอนิกส์ (3.) โครงการมุมทีวี (4.) โครงการมุมความรู้
ออนไลน์ (5.) โครงการมุมพจนานุกรม และดิกชันนารีออนไลน์ (6.) โครงการมุมทดสอบความรู้
ออนไลน์ และ (7.) โครงการสร้างความร่วมมือกับครูผู้สอนนำนักเรียนเข้ามาศึกษาค้นคว้าใน
ห้องสมุด
91
3.4 กลยุทธ์พัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการให้บริการ ให้ทันสมัย
โดยจัดกิจกรรมดังนี้ (1.)โครงการอบรมบุคลากรด้านการใช้อุปกรณ์สารสนเทศ (2.) โครงการศึกษา
ดูงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (3.) โครงการอบรมการให้บริการที่ประทับใจ (4.) โครงการอบรม
การให้บริการห้องสมุดอัตโนมัติ และ (5.) โครงการศึกษาดูงานระบบห้องสมุดอัตโนมัติ
3.5 กลยุทธ์การจัดสภาพแวดล้อมแห่งการเรียนรู้ให้มีบรรยากาศใกล้ชิดธรรมาติ โดย
จัดกิจกรรมดังนี้ (1.) โครงการปรับขยายพื้นที่ด้านหลังห้องสมุดและจัดสวน (2.) โครงการตกแต่ง
ห้องสมุดให้มีบรรยากาศใกล้ชิดธรรมชาติ
3.6 กลยุทธ์การจัดบริการเชิงรุก ที่สามารถตอบสนองการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียน
เป็นสำคัญ โดยจัดกิจกรรมดังนี้ (1.) โครงการบริการรายชื่อหนังสือใหม่พร้อมสารสังเขปทาง
อีเมล( 2.) โครงการตคู้ วามรอู้ เิ ลก็ ทรอนกิ สร์ ะบบสมั ผสั เคลอื่ นที่ (3.) โครงการบทเรยี นออนไลน์ (4.)
โครงการบทความประกอบการเรียนการสอนออนไลน์
แผนกลยุทธ์ และกลยุทธ์ดังกล่าวข้างต้น เกิดจากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม โดยใช้
จุดแข็ง และโอกาสให้เป็นประโยชน์ในการพัฒนาที่สามารถลดจุดอ่อนและหลบหลีกภาวะคุกคาม
ซึ่งสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แนวการจัดการศึกษา มาตรา 24
ข้อ 3 ว่าด้วยจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น
ทำเป็น รักการอ่าน และเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง และหมวด 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษามาตรา 67
รัฐต้องส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนา การผลิตและการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา รวมทั้ง
การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อให้เกิดการใช้ที่คุ้มค่า
และเหมาะสมกับกระบวนการเรียนรู้ของคนไทย การสนับสนุนด้านการอ่านของกระทรวงศึกษา
ธิการ และมาตรฐานคุณภาพการศึกษาของมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย มาตรฐาน
ด้านผู้เรียน มาตราที่ 6 ตัวบ่งชี้ที่ 2 ผู้เรียนรักการอ่าน สามารถใช้ห้องสมุด แหล่งความรู้และสื่อ
ต่าง ๆ ทั้งในและนอกสถานศึกษา การวางแผนกลยุทธ์ครั้งนี้มีข้อค้นพบที่น่าสนใจพบว่า กลยุทธ์
การจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านให้กับบุคลากรในโรงเรียน กลยุทธ์จัดห้องสมุดให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่
หลากหลายทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์วัสดุ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ การจัดสภาพแวดล้อมแห่งการ
เรียนรู้ให้ใกล้ชิดธรรมชาติ และการจัดบริการเชิงรุก ที่สามารถตอบสนองการเรียนการสอนที่เน้น
ผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นสิ่งสำคัญมาก เพื่อเป็นการส่งเสริมให้บุคลากรรักการอ่านอย่างต่อเนื่อง และ
เกิดการใช้ทรัพยากรสารสนเทศอย่างคุ้มค่า อันมีผลต่อการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ในทำนองเดียวกัน กลยุทธ์ในการพัฒนาเทคโนโลยีที่ใช้บริการ และกลยุทธ์ในการพัฒนาบุคลากร
ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการให้บริการให้ทันสมัยเสมอก็เป็นสิ่งที่มาสนับสนุนในการใช้
ห้องสมุดให้เกิดความสะดวกรวดเร็ว และตรงตามความต้องการของผู้ใช้ตลอดจนสนับสนุนให้เกิด
การสนใจในการอ่านมากขึ้นด้วย
92
ข้อเสนอแนะ
จากผลการวิจัยการวางแผนเชิงกลยุทธ์ของห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยมศึกษา
ปีพุทธศักราช 2550 ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะดังนี้
1. ข้อเสนอแนะสำหรับผู้บริหาร
ผู้บริหารควรคำนึงถึงผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน ซึ่งเป็นจุดอ่อนที่ควร
ปรับปรุงแก้ไขในข้อ 1 คือ อาคารสถานที่ตั้งอยู่ในบริเวณที่ไม่เหมาะสม เป็นแนวทางในการ
กำหนดนโยบาย และเกิดการนำไปปฏิบัติได้
2. ข้อเสนอแนะสำหรับบรรณารักษ์
บรรณารักษ์ควรนำแผนไปปฏิบัติตามนโยบายของผู้บริหาร เพื่อการพัฒนาห้องสมุด
ไปสู่ภาพที่พึงประสงค์
3. ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
3.1 ควรทำการวิจัยเพื่อศึกษาปัญหาและภาวะคุกคาม ในการดำเนินงานของ
ห้องสมุดเพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนพัฒนาห้องสมุดโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นใน
ครั้งต่อไป
3.2 การทำวิจัยเพื่อการวางแผนกลยุทธ์ นอกจากทำในห้องสมุดแล้ว ผู้วิจัยคิดว่า
ควรร่วมมือกันทำการวิจัยพัฒนาแผนกลยุทธ์ทั้งองค์กร เพื่อการแก้ไขและพัฒนาร่วมกัน
93
บรรณานุกรม
ภาษาไทย
เกรียงศักดิ์ สังข์ชัย. การประกันคุณภาพห้องสมุดโรงเรียน. กรุงเทพฯ : โรงเรียนอัสสัมชัญ
แผนกมัธยม
ศึกษา 2544. (เอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการเรื่อง การประกันคุณภาพห้องสมุดและ
การทำวิจัยในห้องสมุดโรงเรียน วันที่ 9-10 กุมภาพันธ์ 2544 ณ วังสิงห์รีสอร์ท จังหวัด
กาญจนบุรี จัดโดยชมรมห้องสมุดสถาบันเอกชน และคณะกรรมการงานห้องสมุดโรง
เรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยม)
คณะกรรมการการศึกษาเอกชน, สำนักงาน. คู่มือการดำเนินงานห้องสมุดโรงเรียนเอกชน.
กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2536.
คณะนักวิจัย ที่ปรึกษาสถาบันพระปกเกล้า. ทบทวนแผนแม่บทสำนักงานศาลปกครอง.
ปทุมธานี : 2545. (เอกสารประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการทบทวนแผนแม่บทสำนัก
งานศาล
ปกครอง วันที่ 24 – 25 สิงหาคม 2545 ณ บางกอกกอล์ฟ สปา รีสอร์ท จังหวัดปทุมธานี
จัดโดยสำนักงานศาลปกครอง)
เฉลียว พันธุ์สีดา. คู่มือการบริหารงานห้องสมุดโรงเรียน. กรุงเทพฯ : ต้นอ้อแกรมมี่, 2539.
ชัชวาลย์ วงษ์ประเสริฐ. “การปรับกระบวนทัศน์ใหม่ในการจัดตั้งศูนย์สารสนเทศ” วารสาร
สำนัก
วิทยบริการ. ปีที่ 5 ฉบับที่ 3 (2543) : 26 – 27.
ทวีชัย บุญเติม. การพัฒนาการจัดการเชิงยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น สำหรับ
พุทธศักราช 2550. ปริญญาครุศาสตร์ดุษฏีบัณฑิต สาขาอุดมศึกษา จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย,
2540.
ทองหล่อ เดชไทย. การบริหารเชิงกลยุทธ์สำหรับหน่วยงานสาธารณสุข. นครปฐม : ภาควิชา
บริหาร
งานสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, 2544.
ธงชัย สันติวงษ์. กลยุทธ์และนโยบายธุรกิจ : การศึกษานโยบาย และกลยุทธ์การบริหารของ
องค์การ. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช, 2540.
นันทา วิทวุฒิศักดิ์. “การวางแผนกลยุทธ์สำนักวิทยบริการสถาบันราชภัฏ.” สำนักวิทยบริการ. ปี
ที 6
ฉบับที่ 1 (2544) : 2.
94
. การวางแผนกลยุทธ์สำนักวิทยบริการ สถาบันราชภัฏ ในทศวรรษหน้า (2544 – 2553).
ปริญญาครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาอุดมศึกษา ภาควิชาอุดมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย
จุฬา
ลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545.
น้ำทิพย์ วิภาวิน. ห้องสมุดยุคใหม่กับไอที. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2542.
ปกรณ์ ปรียากร. การวางแผนกลยุทธ์ : แนวคิดและแนวทางเชิงประยุกต์. พิมพ์ครั้งที่ 4.
กรุงเทพฯ : เสมาธรรม, 2543.
ประกอบ คุปรัตน์. “ปฏิรูประบบห้องสมุดไทยยุคไฮเทค”. จุลสารของศูนย์คอมพิวเตอร์เพื่อการ
ศึกษา และพัฒนา (มูลนิธิเด็ก) 1 ฉบับพิเศษ : 2538.
พรรณดาว รัตชะถาวร. “การพัฒนาห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (E-Library) กับอีเลิร์นนิ่ง (E -
Learning)”
วารสารห้องสมุด. ปีที่ 46 ฉบับที่ 4 ตุลาคม – ธันวาคม (2545) : 22-30.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา, 2542.
พวงรัตน์ เกษรแพทย์. การวางแผนกลยุทธ์ของนักการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น,
2543.
ไพโรจน์ ด้วงวิเศษ. การพัฒนาแผนกลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนทางครุศาสตร์
ใน
สถาบันราชภัฎ. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543.
ภาภิวัฒน์ ภัทรธิยานนท์. การพัฒนาการประยุกต์ระบบฐานข้อมูลผ่านเว็บเพื่อการจัดการระบบ
ห้องสมุดกรณีศึกษา : สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา. กรุงเทพฯ : วิทยานิพนธ์
มหาบัณฑิต คณะวิทยาศาสตร์ (เทคโนโลยีการจัดการระบบสารสนเทศ) มหาวิทยาลัย
มหิดล, 2544.
มลิวัลย์ ประดิษฐ์ธีระ. การวางแผนบุคลากรทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในห้องสมุดสถาบัน
อุด ม ศึ กษ า. กรุงเท พ ฯ : วิท ยานิ พ น ธ์ม ห าบั ณ ฑิ ต คณ ะอั กษ รศาสตร์ สาขา
บรรณารักษศาสตร์
และสารนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2537.
แม้นมาส ชวลิต. ปกิณกะ - ปฏิรูปห้องสมุด. กรุงเทพฯ : บรรณกิจ, 2544.
ศรีวงศ์ สุมิตร. แนวคิดและหลักการวางแผนกลยุทธ์. นครปฐม : มหาวิทยาลัยมหิดล, 2536.
(เอกสารสรุปผลการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การวางแผนกลยุทธ์สำหรับนักบริหาร
ระหว่าง
วันที่ 17 –19 ตุลาคม 2536 ณ.ศูนย์ฝึกอบรมธนาคารไทยพาณิชย์ หาดตะวันรอน
จังหวัดชลบุรี)
ศิริพร สุวรรณะ. “สภาวะสิ่งแวดล้อมในงานบริการสารสนเทศ”. วารสารห้องสมุด. 33, 4(2532) :
95
33-40.
สมจิต พรหมเทพ. ห้องสมุดโรงเรียน. เชียงใหม่ : คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบัน
ราชภัฎ
เชียงใหม่, 2542.
สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์. การบริหารเชิงกลยุทธ์. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร : อมรินทร์,
2544.
สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ฯ. บทบาทห้องสมุดในการสนับสนุนการ
ศึกษา
ขั้นพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน. การประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2542 และการ
ป ระชุม ท าง วิชาการ วัน ที่ 12 – 16 ธัน วาคม 2542 ณ . โรงแรม แอม บ าส เดอร์
กรุงเทพมหานคร.
สอ เสถบุตร. พจนานุกรม อังกฤษ – ไทย. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช, 2538.
สุกัญญา ศรีสืบสาย. ห้องสมุดยุคใหม่. (เอกสารประกอบการบรรยาย เรื่องห้องสมุดในอนาคต
ในงาน
มหกรรมการศึกษาคาทอลิก วันที่ 29 สิงหาคม 2545 จัดโดยมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
กรุงเทพมหานคร)
สุดใจ ธนไพศาล. การพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย
แห่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ปริญญามหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัย
ขอนแก่น,
2540.
สุพานี สฤษฏ์วานิช. การบริหารเชิงกลยุทธ์ : แนวคิดและทฤษฏี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์
มหาวิทยาลัย
ธรรมศาสตร์, 2544.
สุรชาติ บำรุงสูง. “ยุทธศาสตร์คืออะไร.” มติชนสุดสัปดาห์ 14, 729 (12 สิงหาคม 2537) : 31-32.
สุริทอง ศรีสุอาด. แนวทางการพัฒนาห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาไปสู่เกณฑ์มาตรฐานห้องสมุด
สถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2544. กรุงเทพมหานคร : ทบวงมหาวิทยาลัย, 2544.
เสน่ห์ จุ้ยโต. วิสัยทัศน์และกลยุทธ์ในการบริหารอุดมศึกษา : กรณีศึกษาของผู้บริหารระดับสูง.
ปริญญาครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาอุดมศึกษา ภาควิชาอุดมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย
จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, 2541.
หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา. ห้องสมุดโรงเรียนที่ได้มาตรฐานนั้นเป็นอย่างไร. กรุงเทพฯ
:
หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 3, 2539.
อภิชาต ธีรธำรง. ยอดยุทธศาสตร์ของยอดขุนพล. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช, 2532.
อุทุมพร จามรมาน. “สถิติสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์” ใน ไพฑูรย์ สินลารัตน์ และสำลีทอง
96
บรรณาธิการ. การวิจัยทางการศึกษา : หลักและวิธีการสำหรับนักวิจัย. กรุงเทพฯ :
สำนักพิมพ์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534.
ภาษาอังกฤษ
Birdsall, D. G. and Hensley, O. D. 1994. “A new strategic planning model for academic
Libraries”. College & Research Libraries. 55, 2(March): 157.
Buddy, Alen. : Forward with Imagination: Innovative Library Client Services for the 21st
Century. [online]. Available : http://www.ericfacility.net/teams/View.do?action=7, 2000.
Certo, Xamuel C., and Peter J. Pual. Strategic Management : Concept and Applicatiohs.
NewYork : McGraw – Hill, 1991.
Covi, Lisa Martina. How University Researchers Use Digital Libraries for Scholarly
Communication. Doctor of Philosophy in Information and Computer Science University
of California, 1996.
Cronbach, Lee J. Essential of Psychological Testing. 3 rd ed. New York : Harper & Row,
1972.
Gunsteren, Van H.R. The Guest of Control : A Critique of The Rational Control Ruic
Approach In Public Affairs. New York : Wiley, 1976.
The International Federation of Library Associations. The school library in teaching and
learning for all : The School Library Manifesto. Canada : The National Library, 2000.
Kast, F.E. and Rosenweig, J.E. Organization and Management : A System Approach.
NewYork : McGraw-Hill, 1970.
Keller, George. Academic Strategic. Baltimore : The Johns hopkins university press, 1983.
Kent, Allen. “Strategic Planning Models in Academic Libraries.” Encyclopedia of Library and
Information Science. Vol. 59. Supplement 22.
Maassen P.A.M. and Van Vaght, F.A. “Strategic Planning in The Encyclopedia of Higher
Education.” Vol. 2 : Analylical Perspectives. Oxford : Pergamon Press, 1992.
Mintzberg, H. The Rise and Fall of Strategic Planning. New York : Prentice Hall, 1990.
Nicholson, Scott. “Management of the Digital Library: New Techniques for a New Technology,”
[online]. Available : http://www.bibliomining.com/nicholson/newvl.html., 1996.
97
Park, John Ellis. “A case study analysis of strategic planning in a continuing higher
Education Organization.” University of Pennoylvania, Disseration Abstracts
International, (Volume 58 – 05), 1997.
Stueart, Robert D. and Moran, Barbara B. Library and Information Center Management.
4th ed. United States : Libraries Unlimited Inc, 1993.
Schene, Carol. “The Development of a Strategic Plan for Networking the Kindergarten to
Grade
Eight School Library Media Centers in the Taunton School System,” [online]. Available:
http://www.ericfacility.net/teams/View.do?action7, 1996.
Weihrich, H. “The SWOT Matrix – S Tool for situation Analysis.” Long Range Planning.
(April 1982), p.60.
102
การวิจัยเรื่อง
การวางแผนเชิงกลยุทธ์ของห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยมศึกษา
ปีพุทธศักราช 2550
แบบตรวจสอบสภาพแวดล้อมของห้องสมุด
คำชี้แจง
1. เมื่อพิจารณาจากองค์ประกอบ/ประเด็นการพิจารณาที่ระบุในแบบประเมิน ท่านคิดว่าห้องสมุดมีขีดสมรรถนะใน
ลักษณะใด และในระดับใด
2. ในการประเมิน โปรดระบุลักษณะของขีดสมรรถนะลงใน �� และระดับขีดสมรรถนะในช่องที่ว่างตรงกับ
ความคิดเห็นของท่าน โดยทำเครื่องหมาย ��
3. การที่มีขีดสมรรถนะที่เป็น จุดแข็ง หมายถึงการที่ห้องสมุดมีผลการดำเนินงานมองในภาพรวมบรรลุหรือใกล้เคียง
กับเป้าหมายเป็นที่ยอมรับได้ หรือการที่ห้องสมุดมีคุณลักษณะขององค์ประกอบด้านการบริหารจัดการที่ดี หรือเอื้อต่อการ
ปฏิบัติงานทั้งที่ผ่านมา หรืองานตามภารกิจที่จะเกิดขึ้นใหม่ประสบผลสำเร็จ
4. การที่มีขีดสมรรถนะในเชิงที่เป็น จุดอ่อน หมายถึงการที่ห้องสมุดมีผลการดำเนินงานมองในภาพรวมแล้วยังไม่บรรลุ หรือไม่ใกล้
เคียงกับเป้าหมาย หรือมีมาตรฐานที่กำหนดไว้ในระดับที่พอยอมรับได้ หรือการที่ห้องสมุดมีคุณลักษณะขององค์ประกอบด้าน
การบริหารจัดการที่เป็นอุปสรรค หรือไม่เอื้ออำนวยที่จะช่วยให้การปฏิบัติงานใน
ช่วงปัจจุบัน หรืองานตามภารกิจที่จะเกิดขึ้นใหม่ประสบผลสำเร็จ
103
องค์ประกอบ / ประเด็นการพิจารณา ลักษณะของขีดสมรรถนะ
นโยบาย
1. นโยบายของห้องสมุดสอดคล้องกับนโยบายของโรงเรียน
�� จุดแข็ง �� จุดอ่อน
โครงสร้างของหน่วยงาน
2. มีโครงสร้างของงานที่ชัดเจน �� จุดแข็ง �� จุดอ่อน
การบริหารจัดการ
3. มีการวางแผน การกำหนดเป้าหมายการดำเนินงาน �� จุดแข็ง �� จุดอ่อน
4. การบริหาร การเงิน และงบประมาณ �� จุดแข็ง �� จุดอ่อน
5. แสงสว่างไม่เพียงพอ �� จุดแข็ง �� จุดอ่อน
6. อาคารสถานที่ตั้งอยู่ในบริเวณที่ไม่เหมาะสม �� จุดแข็ง �� จุดอ่อน
7. ครุภัณฑ์ไม่เหมาะสม �� จุดแข็ง �� จุดอ่อน
บุคลากร
8. มีความสามารถเฉพาะงาน �� จุดแข็ง �� จุดอ่อน
9. ภาวะผู้นำของบุคลากร �� จุดแข็ง �� จุดอ่อน
10. มีความสามารถทำงานเป็นทีม �� จุดแข็ง �� จุดอ่อน
11. ความสามารถด้านภาษา และ ICTs ปรากฏอยู่บ้าง �� จุดแข็ง �� จุดอ่อน
ทรัพยากรสารสนเทศ
12. ทรัพยากรสารสนเทศมีความหลากหลาย �� จุดแข็ง �� จุดอ่อน
13. เนื้อหาตรงตามหลักสูตร �� จุดแข็ง �� จุดอ่อน
14. ตรงตามความต้องการนำไปใช้ประโยชน์ของผู้ใช้บริการ �� จุดแข็ง �� จุดอ่อน
15. สะดวกในการเข้าถึง �� จุดแข็ง �� จุดอ่อน
16. มีคุณภาพ ทันสมัย ทันเหตุการณ์ ถูกต้องน่าเชื่อถือ �� จุดแข็ง �� จุดอ่อน
การบริการ
17. บริการที่จัดเหมาะสม ทันสมัยด้วยระบบห้องสมุดอัตโนมัติ �� จุดแข็ง �� จุดอ่อน
18. ความสะดวกรวดเร็วในการให้บริการ �� จุดแข็ง �� จุดอ่อน
19. ความต้องการใช้ห้องสมุดของผู้ใช้เปลี่ยนไป �� จุดแข็ง �� จุดอ่อน
20. จัดห้องสมุดเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน �� จุดแข็ง �� จุดอ่อน
104
องค์ประกอบ / ประเด็นการพิจารณา ลักษณะของขีดสมรรถนะ
เทคโนโลยี
21. วัสดุอุปกรณ์ทางเทคโนโลยีในการทำงาน �� จุดแข็ง �� จุดอ่อน
22. สนับสนุนส่งเสริมโครงการ E-learning �� จุดแข็ง �� จุดอ่อน
23. ตู้ยืมหนังสืออัตโนมัติ �� จุดแข็ง �� จุดอ่อน
24. ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ �� จุดแข็ง �� จุดอ่อน
25. อื่น ๆ โปรดระบุ……………………………….……………………………….. �� จุดแข็ง �� จุดอ่อน
105
องค์ประกอบ / ประเด็นการพิจารณา ลักษณะของผลกระทบ
การเมือง กฎหมาย และนโยบายของรัฐ
1. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 กับนโยบายการประกันคุณ
ภาพศึกษา
�� โอกาส �� อุปสรรค
2. การสนับสนุนในด้านการอ่านของรัฐบาล �� โอกาส �� อุปสรรค
3. กฏหมายลิขสิทธิ์ �� โอกาส �� อุปสรรค
สังคม
4. มาตรฐานของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย �� โอกาส �� อุปสรรค
5. ความต้องการใช้ห้องสมุดของผู้ใช้เปลี่ยนไป �� โอกาส �� อุปสรรค
6. รูปแบบของทรัพยากรสารสนเทศที่เปลี่ยนไป �� โอกาส �� อุปสรรค
7. มาตรฐานคุณภาพของมูลนิธิเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย �� โอกาส �� อุปสรรค
8. ความต้องการความรู้ของชุมชน �� โอกาส �� อุปสรรค
เศรษฐกิจ
9. ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจของประเทศ ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนงบประมาณ �� โอกาส �� อุปสรรค
10. ภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำทำให้ทรัพยากรสารสนเทศมีราคาสูงขึ้น �� โอกาส �� อุปสรรค
เทคโนโลยีและแนวโน้มการบริการ
11. ความก้าวหน้าของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ �� โอกาส �� อุปสรรค
12. รูปแบบของทรัพยากรสารสนเทศเปลี่ยนไป �� โอกาส �� อุปสรรค
13. การจัดตั้งกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร �� โอกาส �� อุปสรรค
14. นโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศ พ.ศ. 2544 – 2553 �� โอกาส �� อุปสรรค
15. อื่น ๆโปรดระบุ………………………………………………………………… �� โอกาส �� อุปสรรค
114
การวิจัยเรื่อง
การวางแผนกลยุทธ์ห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยมศึกษา
ปีพุทธศักราช 2550
แบบสำรวจภาพที่พึงประสงค์ของห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยมศึกษา สำหรับนักเรียนโรงเรียน
อัสสัมชัญ แผนกมัธยมศึกษา
คำชี้แจง แบบสอบถามชุดนี้ผู้วิจัยจะเก็บข้อมูลจากหลายแหล่งข้อมูล ข้อมูลที่ได้จะเป็นประโยชน์ต่อการปรับ
ปรุงและพัฒนาห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยมศึกษาในอนาคต ให้มีประสิทธิภาพ และได้ภาพที่พึงประสงค์
ตามความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder)
ตอนที่ 1 แบบสอบถามสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม
ระดับชั้นที่กำลังศึกษา
�� มัธยมศึกษาตอนต้น �� มัธยมศึกษาตอนปลาย
115
ตอนที่ 2 รายการแบบสอบถามเกี่ยวกับภาพที่พึงประสงค์ของห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยมศึกษา 3
ด้าน ตามมาตรฐานของห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก ซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐานสมาคมห้องสมุด
แห่งประเทศไทยคือ มาตรฐานด้านปัจจัยนำเข้า มาตรฐานด้านกระบวนการ และมาตรฐานด้านผลผลิต แบบ
สอบถามนี้เป็นมาตรประมาณค่า แบ่งออกเป็น 5 ระดับ ความคิดเห็น ดังนี้
ความหมายมาตรประมาณค่าของภาพที่พึงประสงค์
5 ควรสร้างให้เกิดอย่างมากที่สุด 4 ควรสร้างให้เกิดอย่างมาก
3 ควรสร้างให้เกิดในระดับปานกลาง 2 ควรสร้างให้เกิดในระดับน้อย
1 ไม่ควรดำเนินการ
ภาพที่พึงประสงค์
รายการ
5 4 3 2 1
ภาพที่พึงประสงค์ของห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยมศึกษา ใน 3
มาตรฐาน (มาตรฐานด้านปัจจัยนำเข้า มาตรฐานด้านกระบวนการ และมาตรฐานด้าน
ผลผลิต) ท่านมีความคิดเห็นว่าแต่ละมาตรฐานควรสร้างให้เกิดในระดับใด
มาตรฐานด้านปัจจัยนำเข้า
บุคลากร
1. สามารถสร้างความสัมพันธ์กับผู้ใช้บริการ ห้องสมุดอื่น ๆ และบุคคลทั่วไป
2. สามารถสอนการใช้ห้องสมุด และสอนให้เห็นถึงความแตกต่างของข่าวสารข้อมูล
ต่าง ๆ จนสามารถแยกแยะความน่าเชื่อถือได้
3. มีความเชี่ยวชาญในการตอบคำถามและช่วยค้นคว้า
4. เป็นผู้สนับสนุนให้เกิดการค้นคว้าข่าวสาร ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ทั้งที่เป็น
สิ่งพิมพ์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์
5. สร้างความร่วมมือกับครูผู้สอนในอันที่จะทำให้นักเรียนได้รับประโยชน์สูงสุดทั้งจาก
การเรียนรู้จากสิ่งพิมพ์ จากเทคโนโลยีทางการศึกษาใน 3 ด้าน
5.1 ด้านการอ่าน
5.2 ด้านการเรียนรู้
5.3 ด้านการแก้ปัญหา
6. มีความสามารถให้บริการเชิงรุก เช่นให้บริการทรัพยากรสารสนเทศทั้งในและนอก
สถานที่ได้ โดยนำไปให้บริการในบริเวณที่มีผู้ใช้เป็นจำนวนมากได้
7. มีความเชี่ยวชาญในการเข้าถึงแหล่งวิทยาการประเภทต่าง ๆ
8. มีความเชี่ยวชาญในการใช้อุปกรณ์สารสนเทศ และเครื่องมือสื่อสารทันสมัยเพื่อ
ตอบสนองอีเลิร์นนิ่ง
116
ภาพที่พึงประสงค์
รายการ
5 4 3 2 1
ทรัพยากรสารสนเทศ
9. มีสิ่งพิมพ์ที่ทันสมัยตรงตามความต้องการของผู้ใช้
10. ผู้ใช้สามารถกำหนดความต้องการทรัพยากรสารสนเทศได้โดยมีส่วนร่วม ในการ
คัดเลือกทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด
11. มีการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศในรูปสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่หลากหลายระบบและ
รูปแบบเพื่อรองรับระบบอีเลิร์นนิ่ง
12. มีทรัพยากรสารสนเทศหลากหลาย ตรงตามความต้องการ
13. ปรับเปลี่ยนรูปแบบสื่อที่ใช้บันทึกสารสนเทศ จากวัสดุตีพิมพ์เป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์
14. เป็นแหล่งรวมข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่มีปริมาณเพียงพอกับความต้องการ
15. มีฐานข้อมูลตรงกับความต้องการของผู้ใช้
16. มีการใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ร่วมกันในกลุ่มโรงเรียนในเครือมูลนิธิเซนต์คาเบรียลแห่ง
ประเทศไทย
อาคารสถานที่และครุภัณฑ์
17. รูปแบบอาคารปรับเปลี่ยนเหมาะสมกับทรัพยากรสารสนเทศ
18. รูปแบบอาคารปรับเปลี่ยนเหมาะสมกับการดำเนินงาน และการบริการ ทั้งในรูปแบบ
ดังเดิมและสมัยใหม่
19. รูปแบบอาคารเหมาะสมกับการที่ผู้ใช้สามารถนำคอมพิวเตอร์และเครื่องมือ
การเรียนรู้ส่วนตัวเข้ามาใช้ในห้องสมุด
20. สถานที่เหมาะสมสำหรับการจัดนิทรรศการ การศึกษา และการทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม
21. มีสื่อและอุปกรณ์เพื่อการเรียนรู้อย่างหลากหลาย
22. มีโสตทัศนูปกรณ์เพียงพอกับความต้องการใช้บริการ
23. มีโสตทัศนูปกรณ์สนับสนุนการผลิตสื่อต่าง ๆ และการผลิตสิ่งพิมพ์
24. มีคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยในการค้นหาข้อมูล และสนับสนุนงานบริการให้ดำเนินไป
ด้วยความสะดวกและรวดเร็ว
มาตรฐานด้านกระบวนการ
การบริการ
25. ห้องสมุดมีการบริการหลากหลายตรงตามมาตรฐานห้องสมุด
26. ห้องสมุดมีการบริการหลากหลายตรงตามความต้องการของผู้ใช้บริการ
27. มีการเชื่อมโยงเครือข่ายห้องสมุดโรงเรียนในเครือมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียล
แห่งประเทศไทย เพื่อการใช้ทรัพยากรร่วมกัน
117
ภาพที่พึงประสงค์
รายการ
5 4 3 2 1
28. มีการจัดทำฐานข้อมูลสารสนเทศแบบ full text ให้บริการด้วย CD-ROM
และระบบออนไลน์
29. มีการจัดบริการแบบเชิงรุก เช่นการนำทรัพยากรสารสนเทศที่สามารถนำไปให้บริการ
นอกสถานที่ได้ เช่น จัดนิทรรศการส่งเสริมการอ่าน, บอร์ดแสดงสารบัญวารสาร
ฉบับใหม่ ประจำเดือน, ส่ง E-mail แนะนำรายชื่อหนังสือใหม่ พร้อมบรรณนิทัศน์ ฯ
30. มีการบริการที่ทันสมัย ถูกต้อง มีประสิทธิภาพผ่านระบบเครือข่าย
31. มีบริเวณให้บริการแก่ครูสามารถนำนักเรียนจำนวน 1 ห้องเรียนมาเรียนในห้องสมุด
อย่างเป็นสัดส่วนได้
การเข้าถึงข้อมูล
32. มีการใช้เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์เป็นช่องทางในการสื่อสารเพื่อ ให้เข้าถึงสารสนเทศ
อย่างรวดเร็วและถูกต้อง
33. ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศของห้องสมุดผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
34. ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศในอินเตอร์เน็ต ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ภายใน
ห้องสมุด และพิมพ์ข้อมูลที่ต้องการได้
35. การสืบค้นสารสนเทศของห้องสมุดสามารถค้นผ่านระบบอินเตอร์เน็ตได้ ตลอดเวลา
36. จัดให้มีการเข้าถึงสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ระบบออนไลน์จากเจ้าของฐานข้อมูล
เครือข่ายของห้องสมุด
37. มีการจัดทำเครือข่ายห้องสมุดของโรงเรียนในเครือมูลนิธิเซนต์คาเบรียล แห่ง
ประเทศไทย เพื่อใช้ทรัพยากรร่วมกัน
38. ร่วมมือสร้างฐานข้อมูลสารสนเทศระดับท้องถิ่นของโรงเรียนในเครือมูลนิธิเซนต์คา
เบรียลแห่งประเทศไทย
39. มีนโยบายจัดทำมาตรฐานการใช้ระบบห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ร่วมกันกับโรงเรียนใน
เครือมูลนิธิเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย
40. อบรมการใช้เครือข่าย Internet เป็นการช่วยให้ผู้ใช้ได้ข้อมูล สะดวก รวดเร็ว และ
ถูกต้อง
41. จัดทำสารบบ (Directory) ห้องสมุดในประเทศไทย เพื่อการเข้าถึงเครือข่ายห้องสมุด
ได้สะดวก รวดเร็วใน Home page ของห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยม
ศึกษา
118
ภาพที่พึงประสงค์
รายการ
5 4 3 2 1
มาตรฐานด้านผลผลิต
42. บุคลากรมีประสิทธิภาพตรงตามความต้องการของผู้ใช้บริการ
43. บุคลากรใช้อุปกรณ์สารสนเทศ และเครื่องมือสื่อสารทันสมัยได้อย่างดี
44. มีทรัพยากรสารสนเทศที่ทันสมัยตรงตามความต้องการของผู้ใช้บริการ
45. มีอุปกรณ์สารสนเทศ และเครื่องมือสื่อสารทันสมัยใช้ในห้องสมุด
46. นักเรียนมีนิสัย รักการอ่าน และการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
47. นักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง และสามารถนำความรู้ที่ได้จากการอ่านไปใช้
ในชีวิตประจำวัน
48. ครูเข้าใช้ห้องสมุดเพิ่มขึ้น
49. ครูรักการอ่านและศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
50. ครูสามารถนำความรู้ที่ได้จากการอ่านไปใช้ประกอบการเรียนการสอน
ข้อเสนอแนะอื่น ๆ
……………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………
108
การวิจัยเรื่อง
การวางแผนกลยุทธ์ห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยมศึกษา
ปีพุทธศักราช 2550
แบบสำรวจภาพที่พึงประสงค์ของห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยมศึกษา สำหรับผู้บริหาร บรรณารักษ์
และผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด โรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยมศึกษา
คำชี้แจง แบบสอบถามชุดนี้ผู้วิจัยจะเก็บข้อมูลจากหลายแหล่งข้อมูล ข้อมูลที่ได้จะเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงและ
พัฒนาห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยมศึกษาในอนาคต ให้มีประสิทธิภาพ และได้ภาพที่พึงประสงค์ตามความ
ต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder)
ตอนที่ 1 แบบสอบถามสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม
1. เพศ
�� ชาย �� หญิง
2. อายุ
�� 25 – 35 ปี �� 36 – 45 ปี
�� 46 – 55 ปี �� 56 ปีขึ้นไป
3. วุฒิการศึกษา
�� ต่ำกว่าปริญญาตรี �� ปริญญาตรี
�� ปริญญาโท �� ปริญญาเอก
4. สถานภาพ
�� ผู้อำนวยการ �� รองผู้อำนวยการ
�� ผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่ฝ่าย �� หัวหน้าระดับ
�� หัวหน้าหมวด �� หัวหน้างาน
�� ครู �� บรรณารักษ์
�� ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด
5. ประสบการณ์ในการทำงาน
�� 1 – 10 ปี �� 11 – 20 ปี
�� 21 ปีขึ้นไป
109
ตอนที่ 2 รายการแบบสอบถามเกี่ยวกับภาพที่พึงประสงค์ของห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยมศึกษา 3
ด้าน ตามมาตรฐานของห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก ซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐานสมาคมห้องสมุด
แห่งประเทศไทยคือ มาตรฐานด้านปัจจัยนำเข้า มาตรฐานด้านกระบวนการ และมาตรฐานด้านผลผลิต แบบ
สอบถามนี้เป็นมาตรประมาณค่า แบ่งออกเป็น 5 ระดับ ความคิดเห็น ดังนี้
ความหมายมาตรประมาณค่าของภาพที่พึงประสงค์
5 ควรสร้างให้เกิดอย่างมากที่สุด 4 ควรสร้างให้เกิดอย่างมาก
3 ควรสร้างให้เกิดในระดับปานกลาง 2 ควรสร้างให้เกิดในระดับน้อย
1 ไม่ควรดำเนินการ
ภาพที่พึงประสงค์
รายการ
5 4 3 2 1
ภาพที่พึงประสงค์ของห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยมศึกษา ใน 3
มาตรฐาน (มาตรฐานด้านปัจจัยนำเข้า มาตรฐานด้านกระบวนการ และมาตรฐานด้าน
ผลผลิต) ท่านมีความคิดเห็นว่าแต่ละมาตรฐานควรสร้างให้เกิดในระดับใด
มาตรฐานด้านปัจจัยนำเข้า
บุคลากร
1. สามารถสร้างความสัมพันธ์กับผู้ใช้บริการ ห้องสมุดอื่น ๆ และบุคคลทั่วไป
2. สามารถสอนการใช้ห้องสมุด และสอนให้เห็นถึงความแตกต่างของข่าวสารข้อมูล
ต่าง ๆ จนสามารถแยกแยะความน่าเชื่อถือได้
3. มีความเชี่ยวชาญในการตอบคำถามและช่วยค้นคว้า
4. เป็นผู้สนับสนุนให้เกิดการค้นคว้าข่าวสาร ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ทั้งที่เป็น
สิ่งพิมพ์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์
5. สร้างความร่วมมือกับครูผู้สอนในอันที่จะทำให้นักเรียนได้รับประโยชน์สูงสุดทั้งจาก
การเรียนรู้จากสิ่งพิมพ์ จากเทคโนโลยีทางการศึกษาใน 3 ด้าน
5.1 ด้านการอ่าน
5.2 ด้านการเรียนรู้
5.3 ด้านการแก้ปัญหา
6. มีความสามารถให้บริการเชิงรุก เช่นให้บริการทรัพยากรสารสนเทศทั้งในและนอก
สถานที่ได้ โดยนำไปให้บริการในบริเวณที่มีผู้ใช้เป็นจำนวนมากได้
7. มีความเชี่ยวชาญในการเข้าถึงแหล่งวิทยาการประเภทต่าง ๆ
8. มีความเชี่ยวชาญในการใช้อุปกรณ์สารสนเทศ และเครื่องมือสื่อสารทันสมัยเพื่อ
ตอบสนองอีเลิร์นนิ่ง
110
ภาพที่พึงประสงค์
รายการ
5 4 3 2 1
ทรัพยากรสารสนเทศ
9. มีสิ่งพิมพ์ที่ทันสมัยตรงตามความต้องการของผู้ใช้
10. ผู้ใช้สามารถกำหนดความต้องการทรัพยากรสารสนเทศได้โดยมีส่วนร่วม ในการ
คัดเลือกทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด
11. มีการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศในรูปสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่หลากหลายระบบและ
รูปแบบเพื่อรองรับระบบอีเลิร์นนิ่ง
12. มีทรัพยากรสารสนเทศหลากหลาย ตรงตามความต้องการ
13. ปรับเปลี่ยนรูปแบบสื่อที่ใช้บันทึกสารสนเทศ จากวัสดุตีพิมพ์เป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์
14. เป็นแหล่งรวมข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่มีปริมาณเพียงพอกับความต้องการ
15. มีฐานข้อมูลตรงกับความต้องการของผู้ใช้
16. มีการใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ร่วมกันในกลุ่มโรงเรียนในเครือมูลนิธิเซนต์คาเบรียลแห่ง
ประเทศไทย
อาคารสถานที่และครุภัณฑ์
17. รูปแบบอาคารปรับเปลี่ยนเหมาะสมกับทรัพยากรสารสนเทศ
18. รูปแบบอาคารปรับเปลี่ยนเหมาะสมกับการดำเนินงาน และการบริการ ทั้งในรูปแบบ
ดังเดิมและสมัยใหม่
19. รูปแบบอาคารเหมาะสมกับการที่ผู้ใช้สามารถนำคอมพิวเตอร์และเครื่องมือ
การเรียนรู้ส่วนตัวเข้ามาใช้ในห้องสมุด
20. สถานที่เหมาะสมสำหรับการจัดนิทรรศการ การศึกษา และการทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม
21. มีสื่อและอุปกรณ์เพื่อการเรียนรู้อย่างหลากหลาย
22. มีโสตทัศนูปกรณ์เพียงพอกับความต้องการใช้บริการ
23. มีโสตทัศนูปกรณ์สนับสนุนการผลิตสื่อต่าง ๆ และการผลิตสิ่งพิมพ์
24. มีคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยในการค้นหาข้อมูล และสนับสนุนงานบริการให้ดำเนินไป
ด้วยความสะดวกและรวดเร็ว
มาตรฐานด้านกระบวนการ
การบริหารจัดการ
25. มีนโยบายและแผนการจัดทำห้องสมุดดิจิตอล
26. มีนโยบายพัฒนาการสืบค้นข้อมูลบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
27. ห้องสมุดมีการดำเนินการตามนโยบายและแผนงาน
111
ภาพที่พึงประสงค์
รายการ
5 4 3 2 1
28. มีระบบการประเมินคุณภาพของห้องสมุดเพื่อเป็นแนวทางในการจัดการให้เป็นไป
ตามมาตรฐานห้องสมุดโรงเรียน
29. มีระบบการประเมินคุณภาพของห้องสมุดสอดคล้องกับนโยบายการ ประกันคุณภาพ
การศึกษาของชาติ
30. ห้องสมุดมีการประเมินแผนงานและโครงการปฏิบัติงานในห้องสมุดทุกงาน
31. ห้องสมุดมีการศึกษาตนเองอย่างเป็นทางการเพื่อค้นหาจุดอ่อนและแนวทางแก้ไข
ค้นหาจุดแข็งและแนวทางเสริม
32. ห้องสมุดมีการนำผลของการประเมินมาเป็นฐานในการพัฒนา
การบริการ
33. ห้องสมุดมีการบริการหลากหลายตรงตามมาตรฐานห้องสมุด
34. ห้องสมุดมีการบริการหลากหลายตรงตามความต้องการของผู้ใช้บริการ
35. มีการเชื่อมโยงเครือข่ายห้องสมุดโรงเรียนในเครือมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียล
แห่งประเทศไทย เพื่อการใช้ทรัพยากรร่วมกัน
36. มีการจัดทำฐานข้อมูลสารสนเทศแบบ full text ให้บริการด้วย CD-ROM
และระบบออนไลน์
37. มีการจัดบริการแบบเชิงรุก เช่นการนำทรัพยากรสารสนเทศที่สามารถนำไปให้บริการ
นอกสถานที่ได้ เช่น จัดนิทรรศการส่งเสริมการอ่าน, บอร์ดแสดงสารบัญวารสาร
ฉบับใหม่ ประจำเดือน, ส่ง E-mail แนะนำรายชื่อหนังสือใหม่ พร้อมบรรณนิทัศน์ ฯ
38. มีการบริการที่ทันสมัย ถูกต้อง มีประสิทธิภาพผ่านระบบเครือข่าย
39. มีบริเวณให้บริการแก่ครูสามารถนำนักเรียนจำนวน 1 ห้องเรียนมาเรียนในห้องสมุด
อย่างเป็นสัดส่วนได้
การเข้าถึงข้อมูล
40. มีการใช้เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์เป็นช่องทางในการสื่อสารเพื่อ ให้เข้าถึงสารสนเทศ
อย่างรวดเร็วและถูกต้อง
41. ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศของห้องสมุดผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
42. ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศในอินเตอร์เน็ต ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ภายใน
ห้องสมุด และพิมพ์ข้อมูลที่ต้องการได้
43. การสืบค้นสารสนเทศของห้องสมุดสามารถค้นผ่านระบบอินเตอร์เน็ตได้ ตลอดเวลา
44. จัดให้มีการเข้าถึงสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ระบบออนไลน์จากเจ้าของฐานข้อมูล
112
ภาพที่พึงประสงค์
รายการ
5 4 3 2 1
เครือข่ายของห้องสมุด
45. มีการจัดทำเครือข่ายห้องสมุดของโรงเรียนในเครือมูลนิธิเซนต์คาเบรียล แห่ง
ประเทศไทย เพื่อใช้ทรัพยากรร่วมกัน
46. ร่วมมือสร้างฐานข้อมูลสารสนเทศระดับท้องถิ่นของโรงเรียนในเครือมูลนิธิเซนต์คา
เบรียลแห่งประเทศไทย
47. มีนโยบายจัดทำมาตรฐานการใช้ระบบห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ร่วมกันกับโรงเรียนใน
เครือมูลนิธิเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย
48. อบรมการใช้เครือข่าย Internet เป็นการช่วยให้ผู้ใช้ได้ข้อมูล สะดวก รวดเร็ว และ
ถูกต้อง
49. จัดทำสารบบ (Directory) ห้องสมุดในประเทศไทย เพื่อการเข้าถึงเครือข่ายห้องสมุด
ได้สะดวก รวดเร็วใน Home page ของห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยม
ศึกษา
มาตรฐานด้านผลผลิต
50. บุคลากรมีประสิทธิภาพตรงตามความต้องการของผู้ใช้บริการ
51. บุคลากรใช้อุปกรณ์สารสนเทศ และเครื่องมือสื่อสารทันสมัยได้อย่างดี
52. มีทรัพยากรสารสนเทศที่ทันสมัยตรงตามความต้องการของผู้ใช้บริการ
53. มีอุปกรณ์สารสนเทศ และเครื่องมือสื่อสารทันสมัยใช้ในห้องสมุด
54. นักเรียนมีนิสัย รักการอ่าน และการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
55. นักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง และสามารถนำความรู้ที่ได้จากการอ่าน
ไปใช้ในชีวิตประจำวัน
56. ครูเข้าใช้ห้องสมุดเพิ่มขึ้น
57. ครูรักการอ่านและศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
58. ครูสามารถนำความรู้ที่ได้จากการอ่านไปใช้ประกอบการเรียนการสอน
ข้อเสนอแนะอื่น ๆ
……………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………

การวางแผนเชิงกลยุทธ์ของห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ (ตอนที่ 1)
การวางแผนเชิงกลยุทธ์ของห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ (ตอนที่ 2)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น