วันเสาร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2552

การวางแผนเชิงกลยุทธ์ของห้องสมุดโรงเรียน (ตอนที่ 1)



ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา
ตามทัศนะของข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตธนบุรี
กรุงเทพมหานคร
นายจิรภัทร ศิริพรรณาภรณ์
วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาการบริหารการศึกษา
ปีการศึกษา 2546
ISBN: 974 – 373 – 294 - 2
ลิขสิทธิ์ของสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
MANAGEMENT SKILLS OF THE PRIMARY SCHOOL
ADMINISTRATORS ACCORDING TO THE VIEWPOINT
OF THE TEACHERS UNDER THE THONBUREE DISTRICT,
BANGKOK METROPOLITIAN.
MR JIRAPATHARA SIRIPANNAPORN
A THEIS SUBMITTED IN PARTIAL FULFILLMENT OF THE REQUIEMENTS FOR
THE MASTER OF EDUCATION (EDUCATIONAL ADIMINISTATION)
AT RAJABHAT INSTITUTE BANSOMDEJ CHAOPRAYA
ACADEMIC YEAR 2003
ISBN : 974 – 373 – 294 - 2
หัวข้อวิทยานิพนธ์ ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา
ตามทัศนะของข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร
โดย นายจิรภัทร ศิริพรรณาภรณ์
สาขา การบริหารการศึกษา
ประธานกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ ดร.รังสรรค์ มณีเล็ก
กรรมการ อาจารย์ทวีศักดิ์ จงประดับเกียรติ
กรรมการ นายอุดมศักดิ์ นาดี
บัณทิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา อนุมัติให้วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่ง
ของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต
…………………………………………คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
(ดร.สรายุทธ์ เศรษฐขจร )
คณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์
………………………………………………….ประธานกรรมการ
(ศาสตราจารย์ ดร.สายหยุด จำปาทอง )
……………………..……………………………………กรรมการ
(ดร.รังสรรค์ มณีเล็ก)
…………………….……………………………………กรรมการ
(อาจารย์ทวีศักดิ์ จงประดับเกียรติ)
…………………………………………………………กรรมการ
(นายอุดมศักดิ์ นาดี)
…………..…………………………………………...…กรรมการ
(รองศาสตราจารย์ เกริก วยัคฆานนท์)
…………………….……………………………กรรมการและเลขานุการ
(รองศาสตราจารย์ สมชาย พรหมสุวรรณ)

นายจิรภัทร ศิริพรรณาภรณ์ . (2546) ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา
ตามทัศนะของข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร วิทยานิพนธ์ระดับ
มหาบันฑิต : กรุงเทพฯ บัณทิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ ดร.รังสรรค์ มณีเล็ก อาจารย์ทวีศักดิ์ จงประดับเกียรติ
นายอุดมศักดิ์ นาดี
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบทักษะการบริหารของผู้บริหาร
โรงเรียนประถมศึกษาตามทัศนะของข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานครจำแนก
ตามขนาดโรงเรียนและประสบการณ์ในการปฎิบัติงาน
กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูปฏิบัติการสอนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตธนบุรี
กรุงเทพมหานคร จำนวน 206 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็น แบบสอบถาม ชนิดเลือกตอบและ
มาตรประเมินค่า การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป เพื่อหาค่าเฉลี่ยร้อยละ
ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความแปรปรวน
ผลการวิจัยพบว่าโดยภาพรวมผู้บริหารโรงเรียนมีทักษะในการบริหารอยู่ ในระดับมาก
ทุกด้าน เรียงลำดับจากคะแนนเฉลี่ยมากไปหาน้อย คือ ทักษะด้านมนุษย์ ทักษะด้านเทคนิควิธี และ
ทักษะด้าน ความคิดรวบยอด ตามลำดับ เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อในแต่ละด้าน ปรากฏผลดังนี้
1. ด้านมนุษย์ พบว่า ข้อที่มีทัศนะอยู่ในระดับมากอันดับแรก คือ ผู้บริหารปรับตัวให้
เข้ากับบุคคลอื่นในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม รองลงมาคือ ผู้บริหารเปิดโอกาสให้
ผู้ร่วมงานได้แสดงความคิดเห็นและร่วมตัดสินใจในเรื่องราวต่างๆอย่างสม่ำเสมอ และผู้บริหารจัดให้มี
การพบปะสังสรรค์กันนอกเวลาเพื่อสัมพันธ์ไมตรีอันดีต่อกันระหว่างบุคลากรระดับต่างๆได้อย่าง
เหมาะสม ตามลำดับ
2. ด้านเทคนิควิธี พบว่า ข้อที่มีทักษะอยู่ในระดับมากที่สุดอันดับแรก คือ คือผู้บริหาร
มีความสามารถการทำหน้าที่ประธานในประชุมครูได้อย่างมีประสิทธิภาพ รองลงมาคือผู้บริหารมี
การพัฒนาตนเองและ ค้นคว้าอยู่เสมอ และผู้บริหารมีความสามารถในการนำเสนอวิธีการสอนเป็นตัว
อย่างให้ครูได้เมื่อครูต้องการตามลำดับ
3. ด้านความคิดรวบยอด พบว่า ข้อที่มีทัศนะอยู่ในระดับมาก อันดับแรก คือ ผู้บริหาร
นำนโยบายของผู้บังคับบัญชาเหนือชั้นขึ้นไปทุกระดับมากำหนดแนวทางการปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม
รองลงมาคือ ผู้บริหารสามารถอำนวยการและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับโครงการต่างๆ ที่จัดขึ้นในโรงเรียน

และผู้บริหารรู้และเข้าใจในความต้องการของชุมชนทางด้านการศึกษาและนำมาเป็นแนวทางในการจัด
การศึกษาของโรงเรียนได้สอดคล้องเหมาะสม ตามลำดับ
4. เปรียบเทียบทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนตามทัศนะของข้าราชการครู
สังกัดสำนักงานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร จำแนกตามขนาดโรงเรียน โดยรวม แตกต่างกันอย่างไม่มี
นัยสำคัญทางสถิติ
5. เปรียบเทียบทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนตามทัศนะของข้าราชการครู
สังกัดสำนักงานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานครจำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน โดยรวม พบว่า
แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ปรากฏว่าแตกต่างกัน
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในทักษะด้านมนุษย์ และทักษะด้านความคิดรวบยอด ส่วน
ทักษะด้านเทคนิควิธี แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
MANAGEMENT SKILLS OF THE PRIMARY SCHOOL
ADMINISTRATORS ACCORDING TO THE VIEWPOINT
OF THE TEACHERS UNDER THE THONBUREE DISTRICT,
BANGKOK METROPOLITIAN.
MR JIRAPATHARA SIRIPANNAPORN
A THEIS SUBMITTED IN PARTIAL FULFILLMENT OF THE REQUIEMENTS FOR
THE MASTER OF EDUCATION (EDUCATIONAL ADIMINISTATION)
AT RAJABHAT INSTITUTE BANSOMDEJ CHAOPRAYA
ACADEMIC YEAR 2003
ISBN : 974 – 373 – 294 - 2

JIRAPATTRA SIRIPANNAPORN. (2003) :MANAGEMENT SKILL OF THE
PRIMARY SCHOOL ADMINISTRATOR ACCODING TO THE VIEWPOINT
OF TEACHERS UNDER THE THONBURI DISTRICT, BANGKOK
METROPILITAN. ADMINISTRATION, MASTER DEGREE THESIS: BANGKOK
: GRADUATE SCHOOL, RAJABHAT INSTITUTE BANSOMDEJ CHAOPRAYA.
ADVISOR COMMITTEE : DR. RANGSABN MANEELEK; MR.THAVEESAK
JONGPRADABGEARD; MR. UDOMSAK NADEE.
The objectives of this research were to study and compare the management skill of
the primary schools according the Bangkok Metropolitan Administration , Thonburi District
Population used for the vesearcle comprised 410 teachers samples (206 persons) from 17 primary
schools questionnaires was the tool collect data whicle were analysis by means of percentage,
means, standard deviation, and analysis of variance.
Results of the research were :
1. The respondouts rated management skill of the primary schools principles
at the high level in all the three skill .
2. In ranking order, respondouts rated the technical at the high level and the
human skill and conceptaul skill at the high leve
3. In compairing the three management skills, it was found that there was
statistical difference at the 0.05 level of significant betaween human skill and conceptaul skill.

ประกาศคุณูปการ
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้สำเร็จได ้ ด้วยความกรุณาอย่างยิ่งจาก ดร.รงั สรรค  มณีเล็ก
ประธานที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ อาจารย์ทวีศักดิ์ จงประดับเกียรติ กรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
และอาจารย์ อุดมศักดิ์ นาดี กรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
ขอขอบพระคุณศาสตราจารย์ ดร. สายหยุด จำปาทอง ประธานกรรมการสอบ
วิทยานิพนธ์ รองศาสตราจารย์ เกริก วยัคฆานนท์ กรรมการสอบวิทยานิพนธ์ รองศาสตราจารย์ สม
ชาย พรหมสุวรรณ กรรมการสอบวิทยานิพนธ์ ที่ได้กรุณาให้คำแนะนำและข้อเสนอแนะที่เป็น
ประโยชน์ และตรวจแก้ไขวิทยานิพนธ์ ให้ถูกต้องสมบูรณ์ยิ่งขึ้น รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญ ในการตรวจสอบ
เครื่องมือทุกท่าน ที่กรุณาให้คำแนะนำและข้อเสนอแนะในการสร้างเครื่องมือในการวิจัย
ขอขอบพระคุณ ดร.นันทา วิทวุฒิศักดิ์ ที่ให้ความอนุเคราะห์ตรวจรูปแบบการพิมพ์
และปรับแก้ให้สมบูรณ์ ยิ่งขึ้น ตลอดจนบุคคลที่อยู่เบื้องหลัง ที่สนับสนุนให้การทำวิทยานิพนธ์ครั้งนี้
สำเร็จลุล่วงด้วยดี
จิรภัทร ศิริพรรณาภรณ์

สารบัญ
บทคัดย่อภาษาไทย ……………………………………………………………………
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ …………………………………………………………………
ประกาศคุณูปการ ……………………………………………………………………..
สารบัญ ……………………………………………………………………………….
สารบัญตาราง …………………………………………………………………………
สารบัญแผนภาพ ………………………………………………………….………….
บทที่ 1 บทนำ………………………………………………………….…………......
- ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา …………………………………..
- วัตถุประสงค์การวิจัย ……………………………………………………...
- ขอบเขตของการวิจัย ………………………………………………………
- นิยามศัพท์เฉพาะ…………………………………………………………..
- ประโยชน์ของการวิจัย ………………………………………………….…
- กรอบความคิดในการวิจัย …………………………………………..……..
- สมมติฐานการวิจัย …………………………………………………………
บทที่ 2 เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ………………………………………………..…
- สภาพการจัดการศึกษาโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตธนบุรี…..
- ความหมายของการบริหารและการบริหารโรงเรียน …………………….…
- บทบาทของผู้บริหารโรงเรียน………………………………………………
- ภาระหน้าที่หน้าที่ของผู้บริหาร……………………………………………..
- การบริหารโรงเรียน………………………………………………..………..
- ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียน ……………………………………
- งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง …………………………………………………………
หน้า






1
1
2
2
3
4
5
5
6
6
8
10
14
17
26
33

สารบัญ (ต่อ)
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย …………………………………………………..…..….
- ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง …………………………………………….…
- เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย …………………………………………………
- การสร้างเครื่องมือ ……………………………………………………..…
- สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล …………………………………..….…..
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล …………………………………………………..…
ตอนที่ 1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา จำแนกตาม
ระยะเวลาที่ปฏิบัติงานและและขนาดของโรงเรียนที่ปฏิบัติงาน ……
ตอนที่ 2 ผลการวิเคราะห์ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียน
ประถมศึกษาตามทัศนะของข้าราชการครูสังกัดสำนักวานเขตธนบุรี
กรุงเทพมหานคร …………………………………..………………
ตอนที่ 3 ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียน
ประถมศึกษาตามทัศนะของข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตธนบุรี
กรุงเทพมหานคร …………………………………………………..
บทที่ 5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ …………………………...………..….
วัตถุประสงค์ .…………………………………………………..……….….
สมมติฐานในการวิจัย……………….………………………………… …..
ประชากรที่ใช้ในการวิจัย …………………………………………..…..…..
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย …………………………………….…………
หน้า
37
37
38
38
40
41
41
42
50
57
57
57
57
57

สารบัญ (ต่อ)
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ……………………………………………………..
การเก็บรวบรวมข้อมูล …………………………………..…………………….
การวิเคราะห์ข้อมูล ……………………………………………………….….
สรุปผลการวิจัย…………………………………………………………….…
อภิปรายผลการวิจัย ………………………………………………………….
ข้อเสนอแนะจากการวิจัย ………………………………………………...… .
ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยต่อไป……………………………..……………......
บรรณานุกรม .................................................................................................………....…
ภาคผนวก …………………………………………………………………………………..…..
ภาคผนวก ก ……………………………………………………….…………..…..
ตารางประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ...................................……….......
แบบสอบถามเพื่อการวิจัย……………………………………....…...
ภาคผนวก ข หนังสือราชการที่เกี่ยวข้อง .........................…..............………...….…
รายชื่อผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเครื่องมือ ………………………………..
หนังสือเชิญผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเครื่องมือ……………………..…..
หนังสือขออนุเคราะห์ทดลองใช้เครื่องมือ……………………..….…
หนังสือขออนุญาตเก็บข้อมูล…………………………………..….…
ภาคผนวก ค .............................................................................................….
ประวัติผู้วิจัย ..........................................................................….
หน้า
58
58
58
59
60
63
64
65
70
71
72
73
79
80
81
83
86
88
89

สารบัญตาราง
ตารางที่
1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำแนกตามขนาดของโรงเรียน
ในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร…………………………………………………
2 จำนวนร้อยละของกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา จำแนกตามขนาดโรงเรียน
และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน …………………………………………..
3 คะแนนเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระดับทักษะการบริหาร และอันดับ
ที่เกี่ยวกับทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ตามทัศนะของ
ข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ……………..…….…
4 คะแนนเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระดับทักษะการบริหาร และอันดับ
ที่เกี่ยวกับทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ด้านเทคนิควิธี
ตามทัศนะของข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตเขตธนบุรีกรุงเทพมหานคร …..
5 คะแนนเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระดับทักษะการบริหาร และอันดับ
ที่เกี่ยวกับทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาด้านทักษะมนุษย์
ตามทัศนะของข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานเขตธนบุรี……….
6 คะแนนเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระดับทักษะการบริหาร และอันดับ
ที่เกี่ยวกับทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา
ด้านความคิดรวบยอด ตามทัศนะของข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร
สังกัดสำนักงานเขตธนบุรี ……………………………………………………....
7 คะแนนเฉลี่ยและความเบี่ยงเบนมาตรฐาน เกี่ยวกับทักษะการบริหารของผู้บริหาร
โรงเรียนประถมศึกษา ตามทัศนะของข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร
สังกัดสำนักงานเขตธนบุรี จำแนกตามขนาดโรงเรียน ………………………..
8 เปรียบเทียบทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ตามทัศนะของ
ข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร
จำแนกตาม ขนาดโรงเรียน ….………………………………………………….
หน้า
37
41
42
43
45
48
50
51

สารบัญตาราง(ต่อ)
ตารางที่
9 คะแนนเฉลี่ย และความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ของทักษะการบริหารของผู้บริหาร
โรงเรียนประถมศึกษา ตามทัศนะของข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตธนบุรี
กรุงเทพมหานคร จำแนกตามประสบการณ์…………………………………..…
10 เปรียบเทียบทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ตามทัศนะของ
ข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร จำแนกตาม
ประสบการณ์การปฏิบัติงาน ………………………………………………..….
11 การทดสอบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ย ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียน
ตามทัศนะของข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร
ด้านมนุษย์ จำแนกตามประสบการณ์การปฏิบัติงาน ……………………….......
12 การทดสอบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ย ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียน
ตามทัศนะของข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร
ด้านความคิดรวบยอด จำแนกตามประสบการณ์การปฏิบัติงาน …………...........
13 การทดสอบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ย ทักษะการบริหารของผู้บริหาร
โรงเรียนประถมศึกษาตามทัศนะของข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตธนบุรี
กรุงเทพมหานครในภาพรวมจำแนกตามประสบการณ์การปฏิบัติงาน ………….
...
หน้า
52
54
55
55
56

สารบัญแผนภาพ
แผนภาพที่
1 กรอบแนวคิดในการวิจัย .....................................................................…………
2 ระบบการบริหารการศึกษาของกรุงเทพมหานคร …….…………………….…
3 แสดงทักษะการบริหารที่จำเป็น…………………………………………..……
หน้า
5
7
33
บทที่ 1
บทนำ
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 มีสาระสำคัญแบ่งเป็น 9 หมวด โดยได้
กำหนดแนวนโยบายการจัดการศึกษาไว้ในหมวดที่ 3 มีสาระบัญญัติที่เกี่ยวข้อง คือ “มาตรา 22 การจัด
การศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความ
สำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตาม
ศักยภาพ ” นั่นก็คือหลักการของชาติกำหนดให้ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางโดยการให้นักเรียนรู้ด้วยตนเอง
ได้ ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีการรับรองโดยกฎหมาย (ยุทธชัย อุตมา ,2542 : คำนำ )
กรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่ในการจัดการศึกษาที่กำหนดไว้ในมาตรา 89 (21) แห่ง
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2528 โดยมีการจัดการศึกษาหลายระดับ
และหลายรูปแบบ (สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร2542:22) ซึ่งในส่วนของการจัดการศึกษา ระดับ
ประถมศึกษานั้นอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานครและสำนักงานเขตต่างๆ
จำนวน 50 สำนักงานเขต
โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร มีจำนวน 17 โรงเรียน
และมีผลการประเมินความสำเร็จในการจัดการเรียนการสอน ประจำปีการศึกษา 2544 อยู่ในระดับ
น่าพอใจ 6 โรงเรียน ระดับปานกลาง 5 โรงเรียน และในระดับน้อย 6 โรงเรียน (สำนักงานเขตธน
บุรี:2545)ซึ่งจากการวิเคราะห์ของศูนย์วิชาการเขตธนบุรี พบว่าสาเหตุที่คุณภาพการศึกษาของนักเรียน
บางโรงเรียนต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานนั้น สรุปได้ว่าปัจจัยที่มีผลกระทบต่อคุณภาพการศึกษาของนักเรียน
มีหลายประการ เช่น ระบบการบริหาร ผู้บริหารโรงเรียน ครู ผู้ปกครอง นักเรียน ฯลฯ แต่ปัจจัยที่สำคัญ
ที่สุดคือ ผู้บริหารโรงเรียน ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ สมบูรณ์ พรรณาภพ (2521 :15) ว่าผู้บริหาร
โรงเรียนเป็นตัวจักรสำคัญในการควบคุม กำกับ ดูแลการจัดการศึกษาในโรงเรียน บริหารผู้บริหารโรง
เรียนจึงมีความสำคัญต่อการจัดการศึกษาหรือพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างมาก โดยเฉพาะในการจัด
การศึกษาของผู้โรงเรียนจะประสบผลสำเร็จได้นั้น ผู้บริหารโรงเรียนจะต้องมีความรู้ ความสามารถ เข้า
ใจในหลักการบริหารหรือการจัดกา ตลอดจนมีทักษะในการบริหารหรือการจัดการ ซึ่งทักษะการบริหาร
2
ที่ผู้บริหารจำเป็นต้องมีเพื่อให้การดำเนินการการบริหารประสบผลสำเร็จแลมีประสิทธิภาพนั้น จะต้องมี
ทักษะการบริหาร 3 ด้าน ได้แก่ ทักษะด้านเทคนิควิธี (Technical Skills) ทักษะด้านมนุษย์ (Human
Skills ) และทักษะด้านความคิดรวบยอด (Conceptual Skills) แคทซ์ (Katz, 1955, :33-42)
จากที่กล่าวข้างต้นนี้ แสดงให้เห็นว่า ทักษะการบริหารของผู้บริหารมีความสำคัญและจำเป็น
ต่อการบริหารโรงเรียนให้เกิดประสิทธิภาพ ซึ่งผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงาน
เขตธนบุรี อาจมีทักษะการบริหาร ทั้ง 3 ด้าน คือ ทักษะด้านเทคนิควิธี ทักษะด้านมนุษย์ และทักษะด้าน
ความคิดรวบยอด ไม่สมบูรณ์ครบถ้วนหรือไม่อยู่ในระดับเพียงพอ ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาการใช้ทักษะใน
การบริหารทั้ง 3 ด้าน ของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตธนบุรี ตามทัศนะของข้าราชการครู
กรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร เพื่อนำไปใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนาการ
ศึกษาให้มีคุณภาพต่อไป
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาตามทัศนะของข้าราชการ
ครูสังกัดสำนักงานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร
2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียน ตามทัศนะของข้าราชการครู
สังกัดสำนักงานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร จำแนกตามขนาดโรงเรียนและประสบ
การณ์ในการปฎิบัติงานของข้าราชการครู
ขอบเขตของการวิจัย
1. ขอบเขตของเนื้อหา การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มุ่งศึกษา ทักษะการบริหารของผู้บริหาร
โรงเรียนประถมศึกษา ใน 3 ทักษะ ได้แก่ ทักษะด้านเทคนิควิธี ทักษะด้านมนุษย์ และทักษะด้าน
ความคิดรวบยอด
2. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
2.1 ประชากร ได้แก่ ข้าราชการครูในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตธนบุรี
กรุงเทพมหานคร จำนวน 410 คน
1.2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ข้าราชการครูในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขต
ธนบุรี กรุงเทพมหานคร จำนวน 206 คน ที่ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratifieid Random
Samplings )
3
3. ตัวแปรที่ศึกษา ประกอบด้วย ตัวแปรต้นและตัวแปรตาม ดังนี้
3.1 ตัวแปรต้น ได้แก่
3.1.1 ขนาดของโรงเรียน จำแนกเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก โรงเรียนขนาดกลาง และ
โรงเรียนขนาดใหญ่
3.1.2 ประสบการณ์ในการปฏิบัติงานข้าราชการครูในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัด
สำนักงานเขตธนบุรี แยกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
3.1.2.1 - น้อยกว่า 12 ปี
3.1.2.2 - 13-22 ปี
3.1.2.3 - 23-32 ปี
3.1.2.4 - 33 ปี ขึ้นไป
3.2 ตัวแปรตาม ได้แก่ ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ตามทัศนะ
ของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร จำแนกตามทักษะย่อย 3 ด้าน ได้แก่
3.2.1 ทักษะด้านเทคนิควิธี
3.2.2 ทักษะด้านมนุษย์
3.2.2 ทักษะด้านความคิดรวบยอด
นิยามศัพท์เฉพาะ
1. ทักษะด้านการบริหาร หมายถึง ความรู้และความสามารถของผู้บริหารโรงเรียนในการ
บริหารที่แสดงออกถึงการปฎิบัติงานร่วมกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง จนเกิดความสำเร็จแก่หน่วยงานหรือองค์
การ จำแนกเป็น 3 ด้าน ตามแนวความคิดของ โรเบิร์ต แคทซ์ ได้แก่ ทักษะด้านเทคนิควิธี ทักษะด้าน
มนุษย์ และทักษะด้านความคิดรวบยอด
1.1 ทักษะด้านเทคนิควิธี หมายถึง ความรู้ความสามารถที่เกี่ยวกับวิธีการ กระบวนการ
การดำเนินงาน และเทคนิคต่าง ๆ ในการจัดกิจกรรมรวมถึงความสามารถในการใช้เครื่องมือต่าง ๆ อย่าง
มีประสิทธิภาพ
1.2 ทักษะด้านมนุษย์ หมายถึง ความรู้ความสามารถของผู้บริหารโรงเรียนในการทำงาน
ให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยใช้กระบวนการกลุ่มและเสริมสร้างความร่วมมือซึ่งกันและกันภายในโรง
เรียนตลอดจนประสานงานและการให้คำแนะนำแก่ผู้ร่วมงานได้ด้วย
4
1.3 ทักษะด้านความคิดรวบยอด หมายถึง ความสามารถของผู้บริหารโรงเรียน ในการ
เข้าใจระบบโครงสร้างของ โครงสร้างตำแหน่ง นโยบายการจัดการศึกษาและระบบงานของโรงเรียน
เพื่อบริหารการศึกษาของโรงเรียนให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ
2. ผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา หมายถึง หัวหน้าสถานศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษา
ได้แก่ ผู้ดำรงตำแหน่ง อาจารย์ใหญ่ และผู้อำนวยการโรงเรียนประถมศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขต
ธนบุรี กรุงเทพมหานคร
3. ข้าราชการครู หมายถึง ข้าราชการที่ปฏิบัติการสอนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขต
ธนบุรี กรุงเทพมหานคร
4. โรงเรียน หมายถึง โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร
จำแนกเป็น 3 ขนาด ได้แก่
4.1 โรงเรียนขนาดเล็ก มีนักเรียน ต่ำกว่า 400 คน
4.2 โรงเรียนขนาดกลาง มีนักเรียน 401 – 800 คน
4.3 โรงเรียนขนาดใหญ่ มีนักเรียน 801 คนขึ้นไป
5. ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน หมายถึง ระยะเวลาการปฏิบัติงานของข้าราชการครูตั้งแต่
อายุ 20 ปี จนถึงเกษียณอายุราชการ 60 ปี มีระยะเวลาปฏิบัติงานทั้งสิ้น ประมาณ 40 ปีโดยกำหนดระยะ
เวลาการปฏิบัติงานออกเป็น 4 ช่วง ๆ ละ 10 ปี ในช่วงแรก กำหนดระยะเวลา เป็น 12 ปี เนื่องจาก
จำนวนข้าราชการครูที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตธนบุรี ต่ำกว่า 2 ปี มีจำนวนน้อยส่วน
ใหญ่จะมีระยะเวลาในการปฏิบัติงาน มากกว่า 2 ปี ขึ้นไป จึงกำหนดประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน
ของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตธนบุรี ในช่วงแรก 12 ปี ช่วงต่อๆไป ช่วงละ 10 ปีตามลำดับ ดังนี้
5.1 น้อยกว่า 12 ปี
5.2 13-22 ปี
5.3 23-32 ปี
5.4 33 ปีขึ้นไป
ประโยชน์ของการวิจัย
1. เป็นข้อมูลในการพัฒนาทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนัก
งานเขตธนบุรี
2. เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพิจารณาวางแผน หรือกำหนดนโยบายเพื่อปรับปรุงพัฒนา
ประสิทธิภาพการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร
5
กรอบแนวคิดในการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้ ได้นำแนวความคิดทฤษฎี 3 ทักษะ ของ โรเบิร์ต แคทซ์ (Robert L. Katz,
1955, : 33-34) เกี่ยวกับผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จในการบริหารงานนั้นมี 3 ด้าน คือ ทักษะด้าน
เทคนิควิธี ทักษะด้านมนุษย์ และทักษะด้านความคิดรวบยอด มาใช้เป็นแนวทาง และกำหนดกรอบแนว
คิดในการวิจัยดังนี้
แผนภาพที่ 1 กรอบแนวคิดในการวิจัย
สมมติฐานของการวิจัย
1. ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา มีความแตกต่างกันตาม ทัศนะ
ของข้าราชการครูที่ปฏิบัติงานอยู่ในโรงเรียนที่มีขนาดต่างกัน
2. ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา มีความแตกต่างกันตาม ทัศนะ
ของข้าราชการครูที่มีประการณ์ในการปฏิบัติงานต่างกัน
ตัวแปรต้นต้น
ขนาดโรงเรียน ตวั แปรตาม
- ขนาดเล็ก
- ขนาดกลาง
- ขนาดใหญ่
ประสบการณ์ในการปฏิบัติงานของข้าราชการครู
- น้อยกว่า 12 ปี
- 13-22 ปี
- 23-32 ปี
- 33 ปีขึ้นไป
ทักษะการบริหาร
- ทักษะด้านเทคนิควิธี
- ทักษะด้านมนุษย์
- ทักษะด้านความคิดรวบยอด
บทที่ 2
เอกสารและ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยทักษะของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ตามทัศนะของข้าราช
การครูสังกัดสำนักงานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ได้นำเสนอเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องอันประกอบ
ด้วยหัวข้อสำคัญได้แก่
1. สภาพจัดการศึกษาโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร
2. ความหมายของการบริหาร และการบริหารโรงเรียน
3. บทบาทของผู้บริหารโรงเรียน
4. ภารหน้าที่ของผู้บริหารโรงเรียน
5. การบริหารโรงเรียนประถมศึกษา
6. ภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา
7. ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียน
8. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
สภาพจัดการศึกษาโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร
ระบบบริหารการศึกษาของกรุงเทพมหานคร เป็นไปตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ
กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2528 และประกาศกรุงเทพมหานคร ลงวันที่ 31 ตุลาคม 2528 เรื่อง การจัดระเบียบ
ราชการกรุงเทพมหานคร ลงวันที่ 31 ตุลาคม 2528 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 2 เมษายน 2530
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
มติ ก.ก. ครั้งที่ 6/2541 วันที่ 20 กรกฎาคม 2541 เรื่อง อนุมัติปรับปรุงโครงสร้างและอัตรากำลัง ตามโครง
การจัดทำแผนอัตรากำลัง 3 ปี ของสำนักงานเขต ตลอดจนประกาศกรุงเทพมหานคร ลงวันที่ 31 มีนาคม
2535 เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงาน และการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพ
มหานคร(ฉบับที่ 14) ดังนั้น รูปแบบโครงสร้างระบบบริหารการศึกษาของกรุงเทพมหานครในปัจจุบันเป็น
ดังนี้
7
ระบบบริหารการศึกษาของกรุงเทพมหานคร
แผนภาพที่ 2 ระบบบริหารการศึกษาของกรุงเทพมหานคร
(สำนักการศึกษา, 2544 : 31 )
สำนักงานเขต มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการเกี่ยวกับการศึกษาและการอบรมดูแลโรงเรียน
ประถมศึกษา ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2528 และประกาศ
กรุงเทพมหานคร
สำนักงานเขตธนบุรี ประกอบด้วยโรงเรียนประถมศึกษา 17 โรงเรียน โดยมีภารกิจในการจัด
การศึกษา ดังนี้
ภารกิจหลัก
1. การจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา ดำเนินการจัดการศึกษาให้แก่เด็กวัยเรียนก่อนเกณฑ์
ตั้งแต่อายุ 4 ปี โดยจัดการเรียนการสอนเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับเด็กวัยก่อนภาคบังคับ ทั้งทางด้านร่าง
กาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา มีความพร้อมในการเข้าเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในปัจจุบันถือ
ว่ามีความจำเป็นยิ่งสำหรับพัฒนาการในชีวิตเด็ก และเป็นการปูพื้นฐานที่สำคัญต่อการพัฒนาคนให้เป็นพล
เมืองที่มีคุณภาพในอนาคต ในขณะที่ความต้องการของบิดา มารดา โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีฐานะยากจนมีความ
คณะที่ปรึกษา ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สภากรุงเทพมหานคร
ปลัดกรุงเทพมหานคร
กลมุ่ เขต/โซน สำนักงานเขต สภาเขต
ศูนย์วิชาการ ฝ่ายการศึกษา
กลุ่มโรงเรียน โรงเรียนประถมศึกษา คณะกรรมการศึกษาโรงเรียน
หนว่ ยงานหรอื สว่ นราชการ องคก์ รทจี่ ดั ตั้งข้นึ เพื่อส่งเสริมระบบ
8
ต้องการให้เด็กอยู่ในโรงเรียน ตั้งแต่อายุ 3 ปี สำนักงานเขธนบุรีจึงต้องเร่งขยายบริการเตรียมความพร้อมให้
แก่เด็กก่อนเข้าเรียนประถมศึกษาให้กว้างขวางทั่วถึงมากขึ้นทั้งในรูปชั้นเด็กเล็กและอนุบาลศึกษา
2. การจัดการศึกษาในระดับประถมศึกษา ซึ่งมีลักษณะเป็นงานหลักในงานด้านการศึกษา
โดยให้แก่เด็กวัยภาคบังคับทุกคน โดยจัดการเรียนการสอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ตามพระราช
บัญญัติประถมศึกษา พ.ศ.2523 และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ปัจจุบันยังไม่สามารถ
แสดงให้เห็นว่าเด็กของสำนักงานเขตธนบุรี ที่อยู่ในวัยการศึกษาภาคบังคับได้รับการศึกษาทั่วถึงหรือไม่
เนื่องจากยังมีปัญหาในการดำเนินการเกี่ยวกับการเกณฑ์เด็กเข้าเรียน ประกอบกับสภาพทางสังคมที่ประชา
กรมีการเคลื่อนไหวตลอดเวลารวมทั้งสถานการณ์ปัญหาเด็กในสภาวะยากลำบากมีความรุนแรงขึ้น ทำให้
เด็กโดยเฉพาะกลุ่มที่มีการเคลื่อนย้ายถิ่นฐานที่อยู่ ได้แก่ เด็กเร่ร่อน และเด็กจากครอบครัวผู้อพยพเข้ามาขาย
แรงงานไม่ได้รับการศึกษา หรือต้องออกจากระบบโรงเรียนกลางคัน แม้ว่าจะมีหน่วยงานรับผิดชอบแก้
ปัญหา
3. การให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ นิเทศ ติดตามการปฏิบัติงานของหน่วยงานสถานศึกษาใน
สังกัด ทำให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างสะดวก มีประสิทธิภาพ และบรรลุเป้าหมาย
ความหมายของการบริหารและการบริหารโรงเรียน
การบริหาร สามารถมองได้เป็นสองทาง คือ มองในรูปของกิจกรรมที่มนุษย์ร่วมกันดำเนิน
งานเพื่อการอยู่รอดและความเจริญก้าวหน้าของสังคมเป็นประการหนึ่ง และมองในรูปของศาสตร์ คือ หลัก
วิชาอันเป็นสาขาหนึ่งที่เชื่อมโยงกับทฤษฎี หลักการ กระบวนการ และปัจจัยที่จะช่วยให้มนุษย์สามารถ
ดำเนินงานของหน่วยงาน องค์การ สังคม และประเทศชาติอย่างมีระเบียบเพื่อพัฒนาไปตามแนวทางที่กลุ่ม
ชนนั้นมีความประสงค์
ความหมายของการบริหาร คำว่า การบริหาร (administration) หมายถึง การดำเนินงานทุกชนิดให้
สำเร็จลุล่วงไป เช่นเดียวกับคำว่า การจัดการ (management) ซึ่งก็หมายถึง การดำเนินงานทุกชนิดในหน่วย
งานให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยเหมือนกัน แต่นิยมใช้ต่างสถานการณ์กัน กล่าวคือ คำว่าการบริหารใช้กับการ
บริหารทุกชนิดในส่วนที่เป็นของรัฐบาล ส่วนคำว่า การจัดการใช้ในงานที่เกี่ยวกับธุรกิจเอกชน การบริหาร
หมายถึง การกำหนดนโยบายการจัดการ หรือหมายถึงการนำนโยบายไปปฏิบัติ (กิติมา ปรีดีดิลก, 2529 : 24)
มีนักวิชาการด้านการบริหารการศึกษาได้ให้ความหมายของ “ การบริหาร ” ไว้หลายท่าน เช่น นพพงษ์
บุญจิตราดุลย์ (2525 : 35) ให้ความหมายไว้ว่า การบริหารหมายถึงกิจกรรมต่าง ๆ ที่บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้น
ไปร่วมมือกันดำเนินการ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างที่บุคคลร่วมกัน
กำหนด โดยใช้กระบวนการอย่างมีระเบียบและใช้ทรัพยากรตลอดจนเทคนิคต่าง ๆ อย่างเหมาะสม
9
ภิญโญ สาธร (2526 : 21) กล่าวว่า การบริหาร คือ ศิลปะในการทำให้กิจกรรมต่างๆ ได้รับการ
ปฏิบัติจนเป็นผลสำเร็จ
กิติมา ปรีดีดิลก (2529 : 24) ให้คำอธิบายไว้ว่า การบริหาร หมายถึง การดำเนินงานทุกชนิดในหน่วยงานให้ลุ
ล่วงไป
ธงชัย สันติวงษ์ (2533 : 33) กล่าวว่า การบริหาร คือ ทำให้งานต่าง ๆสำเร็จลุล่วงไปโดยอาศัย
คนอื่นเป็นผู้ทำ
สมยศ นาวีการ (2536 : 17) สรุปไว้ว่า การบริหาร คือ ศิลปะของการทำงานให้สำเร็จโดยใช้
บุคคล มีกระบวนการวางแผน การจัดองค์การ การสั่งการ การควบคุม การใช้ทรัพยากรอื่น ๆ เพื่อความ
สำเร็จในเป้าหมายขององค์การที่กำหนดไว้
จากความหมายที่ยกมาเป็นตัวอย่างข้างต้น จะเห็นได้ว่าการบริหารมความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับ
ปัจจัยต่างๆ ดังนี้
1. การบริหารเป็นกิจกรรมของกลุ่มบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป
2. ร่วมมือกันทำกิจกรรม
3. เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน
4. โดยใช้กระบวนการและทรัพยากรที่เหมาะสม
ดังนั้น การกระทำกิจกรรมใด ๆ ที่ต้องใช้คนหลาย ๆ คนร่วมกันทำ หากจะให้บังเกิดผลดีมีประ
สิทธิผลจำเป็นต้องมีการบริหารที่ดี นั่นคือ การบริหารเป็นเรื่องของการกระทำกิจกรรมส่วนใหญ่ ผู้ที่กระทำ
กิจกรรมเหล่านั้น คือ ผู้บริหารและสมาชิกในหน่วยงาน โดยพยายามใช้ทรัพยากรให้มีประโยชน์มากที่สุด
และจูงใจให้ผู้ร่วมงานใช้ความสามารถมากที่สุด
สรุปได้ว่า การบริหาร หมายถึง กิจกรรมที่บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปร่วมมือกันในการดำเนินงาน
โดยเอาทรัพยากรทางการบริหารมาประกอบตามกระบวนการบริหาร เพื่อให้งานบรรลุวัตถุประสงค์ที่
กำหนดการบริหารโรงเรียนหรือการบริหารการศึกษาในโรงเรียนเป็นกิจกรรมต่าง ๆ ที่บุคคลหลายคนร่วม
มือกันดำเนินงานเพื่อพัฒนาเด็ก เยาวชน ประชาชน หรือสมาชิกของสังคมในทุก ๆ ด้าน เช่น ความ
สามารถ ทัศนคติ ค่านิยม พฤติกรรม หรือคุณธรรม ทั้งในด้านสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ เพื่อให้บุคคล
ดังกล่าวเป็นสมาชิกที่ดีและมีประสิทธิภาพของสังคมโดยกระบวนการต่าง ๆ ทั้งที่เป็นระเบียบแบบแผนและ
ไม่เป็นระเบียบแบบแผน ทั้งในโรงเรียนและนอกโรงเรีน(ภิญโญ สาธร,2523 : 10)ซึ่งการบริหารโรงเรียน
อาจแตกต่างจากกิจการอื่น บางส่วนอาจต้องอาศัยหลักการมากกว่ากิจการอื่น ๆ ทั้งหมดของสังคม ฉะนั้น ผู้
บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้อง จึงต้องทำงานนี้ด้วยความระมัดระวังรอบคอบ ควรไตร่ตรองเพื่อให้กิจกรรมของ
10
สังคมนี้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ (วิจิตร ศรีสอ้าน,2520 : 22) ทั้งนี้เพราะการบริหารโรงเรียน
เป็นการดำเนินงานกลุ่มบุคคลในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติ ตามหน้าที่ความรับผิดชอบของโรงเรียนได้
แก่ การบริหารงานทางการศึกษาแก่สมาชิกของสังคมให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ (หวน พินธุพันธ์,
2528 : 44) และในการดำเนินกิจการของโรงเรียนจำเป็นต้องมีบุคคลผู้หนึ่งคอยจัดการดูแลให้หน่วยงานต่าง
ๆ ดำเนินไปพร้อมเพรียงและมีประสิทธิภาพ กล่าวคือ เป็นไปด้วยความรวดเร็ว เรียบร้อย และประหยัดทั้ง
กำลังงานและกำลังทรัพย์ แต่ได้ผลเต็มที่ตามความมุ่งหมายที่ตั้งใจไว้
จากแนวคิดของนักบริหารการศึกษาดังกล่าวสรุปได้ว่า การบริหารโรงเรียน หมายถึง การดำเนิน
การตัดสินใจสั่งการในการบริหารอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้งานทุกด้านของโรงเรียนบรรลุตามวัตถุ
ประสงค์ในการจัดการศึกษาให้มากที่สุด
บทบาทของผู้บริหารโรงเรียน
การบริหารสถานศึกษาคืองานในหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาโดยตรง ซึ่งจำแนกเป็นหมวดหมู่
แตกต่างกันออกไปตามลักษณะของงาน ตามโครงสร้างของการจัดองค์กร ตามระบบการศึกษา และตาม
แนวคิดของนักบริการการศึกษาแต่ละคน บทบาทหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาที่สำคัญต้องใช้ความเป็นผู้
นำ ภาวะผู้นำ เป็นหัวหน้าในการใช้อำนาจและตำแหน่งที่มีในการบริหารจัดการให้การศึกษาของสถาน
ศึกษาให้บรรลุเป้าหมาย มีผู้กล่าวถึงบทบาทหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาไว้ดังต่อไปนี้ คือ
ไพฑูรย์ เจริญพันธุวงศ์ (2529:142) กล่าวว่า บทบาทของผู้บริหารโรงเรียนหรือผู้นำ (Leardership
Roles) ผู้บริหารมีบทบาทในฐานะต่างๆ ได้แก่ ผู้บริหารในฐานะผู้วางแผน ในฐานะผู้กำหนดนโยบาย ใน
ฐานะผู้เชี่ยวชาญ ในฐานะตัวแทนติดต่อกับบุคคลภายนอก ในฐานะผู้คอยควบคุมความสัมพันธ์ของสมาชิก
ภายในกลุ่ม ในฐานะผู้ให้คุณให้โทษบุคลากรและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ในฐานะคนกลางหรือผู้ตัดสินใจ ใน
ฐานะบุคคลตัวอย่างที่มีความประพฤติดีหรือปฏิบัติดี ในฐานะสัญญลักษณ์ของกลุ่ม ในฐานะตัวแทนความ
รับผิดชอบ ในฐานะผู้มีอุดมคติ ในฐานะบิดา และในฐานะผู้รับผิดชอบแทน
กอร์ตัน (Gorton. 1983 : 100-101 ) ได้สรุปบทบาทที่สำคัญของผู้บริหารการศึกษาไว้ 6
ประการ คือ
1. บทบาทในฐานะเป็นผู้บริหาร
2. บทบาทในฐานะเป็นผู้บริหารการสอนและด้านวิชาการ
3. บทบาทในฐานะเป็นผู้รักษาระเบียบวินัย
4. บทบาทในฐานะผู้ส่งเสริมมนุษย์สัมพันธ์
11
5. บทบาทในฐานะผู้ประเมินผล
6. บทบาทในฐานะผู้แก้ปัญหาความขัดแย้ง
สต๊อกดิลล์ (Stogdill. 1984 : 42-45 ) ได้สรุปบทบาทของผู้บริหารไว้ 17 ประการ ดังนี้
1. บทบาทเป็นผู้กำหนดทิศทางการปฏิบัติงาน (Directiom Setter) ผู้บริหารจะช่วยให้
หน่วยงานบรรลุเป้าหมายได้ดังนี้จำมีความจำเป็นต้องความสามรถในการชี้แจง ทำความเข้าใจเขียนวัตถุ
ประสงค์หน่วยงาน มีความสามารถในการเขียนแผนงานและโครงการและการบริหารงานและวัตถุประสงค์
ของผลงาน
2. บทบาทเป็นผู้กระตุ้นความเป็นผู้นำ (Leader Catalyst) บทบาทนี้จำเป็นต้องมีความสามารถใน
การจูงใจ กระตุ้น และมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของบุคคลในองค์การ มีทักษะทำงานเป็นทีม
3. บทบาทเป็นนักวางแผน (Planner) จะต้องมีความสามารถในการคาดคะเนเหตุการณ์ในอนาคต
เตรียมบุคลากรให้พร้อมในการรับมือกับสิ่งใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้น
4. บทบาทเป็นผู้ตัดสินใจ (Decision Maker) บทบาทนี้จะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทฤษฎี
ต่าง ๆ ของการตัดสินใจ และมีความสามรถในการวิจัยสั่งการไม่ให้เกิดความขัดแย้ง
5. บทบาทเป็นผู้จัดองค์การ (Organizer) ผู้บริหารจำเป็นต้องออกแบบงานและกำหนดโครงสร้าง
ขององค์กรขึ้นใหม่ งนั้นจึงจำเป็นจะต้องเข้าใจพลวัตรของอค์การและพฤติกรรมขององค์การด้วย
6. บทบาทเป็นผู้เปลี่ยน ( Change Manager) ผู้บริหารเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงมาสู่สถานบัน
เพื่อเพิ่มพูนคุณภาพสถานบัน รู้ว่าจะเปลี่ยนอะไร เปลี่ยนอย่างไร และควรจะเปลี่ยนในสถานการณ์ใด
และทิศทางใด
7. บทบาทเป็นผู้ประสานงาน (Coordinator) ผู้บริหารจะต้องมีความเข้าใจรูปแบบ ปฏิสัมพันธ์
ของบุคคล ข้าใจเครือข่ายของการสื่อสาร รู้จักวิธีนิเทศงานที่พึงปรารถนา เข้าใจระบบการรายงานที่ดี สาม
รถประสานกิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
8. บทบาทเป็นผู้สื่อสาร (Communicator) ผู้บริหารจะต้องมีความสามรถในการสื่อสารทั้งด้วยการ
พูดและการเขียน รู้จักใช้สื่อต่าง ๆเพื่อการสื่อสาร และจะมีความสามรถในการประชาสัมพันธ์
9. บทบาทเป็นผู้แก้ความขัดแย้ง (Conflict Manager) เนื่องจากความขัดแย้งเป็นสิ่งที่ไม่สามารถ
หลีกเลี่ยงได้ ผู้บริหารต้องเข้าใจสาเหตุของความขัดแย้ง จะต้องมีความสามารถในการต่อรอง ไกล่เกลี่ย
จัดการกับความขัดแย้งและแก้ปัญหาความขัดแย้งได้
12
10. บทบาทหน้าที่ผู้แก้ปัญหา (Problems Manager) เนื่องจากปัญหาทั้งหลายไม่ลงเอยด้วยความ
ขัดแย้ง ปัญหาจึงมีความหมายกว้างขวางกว่าความขัดแย้ง ผู้นำจะต้องมีความสามรถในการวินิจฉัยปัญหา
แก้ปัญหาเป็น
11. บทบาทเป็นผู้จัดระบบ (Systems Manager) ผู้บริหารจะต้องมีความสามรถในหารวิเคราะห์
ระบบและกระบวนการที่เกี่ยวข้อง เข้าใจในการนำทฤษฎีทาการบริหารไปใช้ประโยชน์
12. บทบาทเป็นผู้บริหารการเรียนการสอน (Instructional Manager) ผู้บริหารจะต้องมีความเข้า
ใจในระบบการเรียนรู้การเจริญและพัฒนาการของมนุษย์เข้าใจทฤษฎีการสร้างและพัฒนาหลักสูตร มีความ
รู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีและวัตกรรมทางการศึกษา
13. บทบาทเป็นผู้บริหารบุคคล (Personnel Manager) ผู้บริหารจะต้องมีความสามารถในเทคนิค
ของการเป็นผู้นำ การเจรจาต่อรอง การประเมินผลงานและการปฏิบัติงานของบุคคล
14. บทบาทเป็นผู้บริหารทรัพยากร (Resource Manager ) ผู้บริหารจะต้องมีความสามรถในการ
เงินและงบประมาณ สามารถในการบริหารวัสดุ ครุภัณฑ์ การก่อสร้าง การบำรุงรักษา ตลอดจนการแสวง
หาหารสนับสนุนจากภายนอก
15. บทบาทเป็นผู้ประเมินผล (Appraiser ) ผู้บริหารจะต้องมีความสามารถในการประเมินความ
ต้องการ การประเมินระบบ วิธีการทางสถิติ และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
16. บทบาทเป็นนักประชาสัมพันธ์ (Public Relator) ผู้บริหารจะต้องมีทักษะในการสร้างภาพ
พจน์ที่ดี รู้จักพลวัตของกลุ่ม รู้จักและเข้าใจเผยแพร่ข่าวสารด้วยสื่อและวิธีการต่าง ๆ
17. บทบาทเป็นประธานในพิธีการ (Ceremonial Head) เป็นบทบาทที่จำเป็นยิ่งของผู้บริหาร ซึ่ง
จำเป็นจะต้องใช้ความสามารถในบทบาทต่าง ๆ ที่กล่าวมาเพื่อแสดงบทบาทนี้
โคทส  (Coats. 1986 : 151-152 ) ได้สรุปบทบาทของผู้บริหารในการบริหารการศึกษาไว้ 3
ประการ คือ
1. บทบาทในฐานะผู้บริหาร ผู้บริหารการศึกษาต้องแสดงความเป็นผู้นำ โดยมีพฤติกรรมที่
เหมาะสมทั้งพฤติกรรมมุ่งงาน และพฤติกรรมมุ่งคน
2. บทบาทในฐานะผู้นำทางวิชาการ ต้องพัฒนาบุคลากรในหน่วยงานให้มีทักษะ ความรู้ และ
ความสามารถในการปฏิบัติการ
3. บทบาทในฐานะผู้นำกลุ่ม เป็นผู้นำในการทำงานให้ประสบความสำเร็จ และมีบทบาทในการ
สร้างกลุ่มและทำให้กลุ่มคงอยู่ต่อไป สร้างความกลมเกลียวสมานฉันท์ในกลุ่มภารถหน้าที่ของผู้บริหารการ
ศึกษา
13
นอกจากนี้ผู้บริหารยังมีบทบาทในการประสานกับองค์การต่าง ๆ ที่เป็นองค์การรูปนัย (Formal
Organization) โดยดำเนินงานภายใต้ กฎระเบียบ ข้อบังคับ ตามโครงสร้างขององค์การและกำหนดหน้าที่
ของผู้บริหารในตำแหน่งต่าง ๆ ไว้ ผู้บริหารการศึกษามีหน้าที่ตามลักษณะของระบบการจัดการศึกษา ซึ่ง
โดยทั่วไป คือ ภาระหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับงานการจัดการเรียนการสอนและงานสนับสนุนการเรียนการสอน
ภาระหน้าที่ของผู้บริหารการศึกษาต้องคำนึงถึงองค์ประกอบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนแนวคิด
ที่เกี่ยวกับภาระหน้าที่ของผู้บริหารการศึกษาที่สำคัญๆ มีดังนี้
เดรค และโรว์ (Drake and Roe. 1986 : 89) สรุปว่ามีองค์ประกอบหลายอย่างที่มีอิทธิพลต่อ
การเรียนการสอนในโรงเรียน แต่มีองค์ประกอบที่สำคัญ 6 องค์ประกอบ ซึ่งเป็นหน้าที่ของหัวหน้าสถาน
ศึกษา ทำให้องค์ประกอบเหล่านี้เกิดประโยชน์สูงสุด องค์ประกอบทั้ง 6 ประการ คือ
1. บุคลากร ซึ่งรวมถึงนักเรียน ครู คนงาน ภารโรง เจ้าหน้าที่ทางการศึกษา ชุมชนและสมาคม
วิชาชีพ เป็นต้น
2. เวลา ผู้นำจำเป็นต้องใช้เวลาที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด งานหลายอย่างต้องทำแข่งกับเวลา
โรงเรียนต้องจัดบรรยากาศให้นักเรียนได้ใช้เวลาของเขาอย่างคุ้มค่า
3. ข้อมูลหรือสารสนเทศ ผู้บริหารการศึกษา จำเป็นต้องใช้ข้อมูลเท่าที่จำเป็นแก่คณะบุคคลทั้ง
หลาย ภาระที่สำคัญที่สุดของผู้บริหารการศึกษาคือ ควรจะให้ข้อมูลอะไรกับใคร จึงจะทำให้เกิดประโยชน์
สูงสุด
4. โปรแกรมและวัสดุอุปกรณ์มากมาย หน้าที่สำคัญของผู้บริหารก็คือ ทำอย่างไรจึงจับคู่ระหว่าง
โปรแกรมและอุปกรณ์คือ โปรแกรมอะไรควรใช้อุปกรณ์อะไร เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดทางการศึกษา
5. เงินมักจะเป็นข้ออ้างว่าเพราะขาดเงินจึงไม่สามารถจัดโปรแกรมที่ดีได้ เงินอาจเป็นส่วนหนึ่ง
ทำให้โปรแกรมการศึกษาดีขึ้น ภายในระบบเศรษฐกิจที่รัดตัว ผู้บริหารการศึกษาควรทราบว่า ภายในวง
เงินจำกัดควรจะทำอะไรก่อนและทำอะไรหลัง เพราะไม่สามารถทำพร้อมกันได้
6. สถานที่ ผู้บริหารการศึกษาจำเป็นต้องมีความสามารถในการใช้อาคารสถานที่ที่มีอยู่ให้เกิด
ประโยชน์สูงสุดทางการศึกษา
แคมพ์เบลล์ และคณะ (Campbell and others. 1983 : 75-76 ) ได้ชี้ให้เห็นว่าหน้าที่สำคัญของผู้
บริหารการศึกษา คือการส่งเสริมการเรียนการสอน โดยสรุปภารกิจหลัก คือ
1. ผู้บริหารการศึกษาควรจะมองเห็นการณ์ไกลและมีอิทธิพลในการพัฒนาเป้าหมายและนโยบาย
ของสถานศึกษา
14
2. ผู้บริหารการศึกษาควรจะกระตุ้นและชี้นำในการพัฒนาโครงการและโปรแกรมต่าง ๆ เพื่อช่วย
ให้บรรลุเป้าหมายของสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษาควรจะกำหนดวิธีการและประสานงาน
ในการนำโครงการต่าง ๆ ไปปฏิบัติ
3. ผู้บริหารการศึกษาควรจะจัดหาและจัดสรรทรัพยากรต่าง ๆ ที่จำเป็นเพื่อสนับสนุนโครงการ
และโปรแกรมของสถานศึกษา
4. ผู้บริหารการศึกษาควรจะเป็นตัวแทนของสถานศึกษาในกิจกรรมต่าง ๆ
5. ผู้บริหารการศึกษาควรจะประเมินผลประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินงานทาง
สถานศึกษา
สรุปได้ว่า ผู้บริหารเป็นบุคคลสำคัญในการควบคุม กำกับดูแลให้งานดำเนินการไปด้วย
ความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพของหน่วยงานและองค์การ ต้องสนใจเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจในบท
บาทของตน เพื่อให้มีสมรรถภาพในการบริหารงานและสามารถใช้ความสามารถในด้านต่างๆตามที่ได้
ศึกษามาประยุกต์ใช้ให้เกิดศิลปะในการบริหารงานให้มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับงานที่ปฏิบัติได้อย่าง
ถูกต้อง
ภารหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษา
กอร์ตัน (Gorton. 1983 : 191-195 ) ได้สรุปภารกิจหลักของผู้บริหารโรงเรียนไว้ 7 ประการแต่ละ
ภารกิจมีกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะต้องปฏิบัติ ดังนี้
1. ภารกิจด้านการบริหารบุคคล ประกอบด้วย
1.1 กำหนดนโยบายการบริหารงานบุคลากร จัดดำเนินการคัดเลือก มอบหมายงานให้แก่
บุคลากรด้านการศึกษาครู- อาจารย์และบุคลากร
1.2 ช่วยเหลือครูในการแก้ปัญหาในชั้นเรียน ปรับปรุงและพัฒนาการสอนของครู
1.3 ประเมินผลการสอนและส่งเสริมความก้าวหน้าในวิชาชีพให้แก่ครู
1.4 ส่งเสริมความสามัคคีในหมู่คร-ู อาจารย์
2. ภารกิจด้านกิจกรรมนักเรียน ประกอบด้วย
2.1 จัดปฐมนิเทศนักเรียนและบริการแนะแนวนักเรียน
2.2 กำหนดนโยบายและกระบวนการเกี่ยวกับวินัย และมาตรการเกี่ยวกับความปลอดภัยของ
นักเรียนพิจารณาและการลงโทษ
2.3 จัดสวัสดิการต่าง ๆ ให้แก่นักเรียนพัฒนาและประสานงานกิจกรรมเสริมหลักสูตร
15
2.4 รายงานพฤติกรรมของนักเรียนให้ผู้ปกครองได้ทราบ
3. ภาระกิจด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ประกอบด้วย
3.1 กำหนดนโยบายและมาตรการในการให้ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมของ
โรงเรียน
3.2 จัดดำเนินการให้บุคลากรของโรงเรียนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชน
3.3 เป็นตัวแทนของสถานศึกษาในกิจกรรมของชุมชนที่โรงเรียนตั้งอยู่หรือในชุมชนอื่น ๆ
4. ภารกิจด้านพัฒนาหลักสูตรและการสอน ประกอบด้วย
4.1 ช่วยเหลือในการกำหนดเป้าหมายของหลักสูตร จัดหาวัสดุ อุปกรณ์ เรียนการสอน
4.2 จัดการนิเทศการศึกษา การประเมินผลการเรียนห้กับบุคลากรเพื่อพัฒนาการสอน
5. ภารกจิ ด้านการเงนิ และพัสด ุ ประกอบด้วย
5.1 จัดทำงบประมาณ จัดระบบตรวจสอบภายในโรงเรียนเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง
1.2 จัดระบบบัญชี - การพัสดุ
6. ภารกิจด้านอาคารสถานที่ ประกอบด้วย
6.1 จัดวางแผนเกี่ยวกับการใช้ การบำรุงรักษาและซ่อมแซมอาคารสถานที่
6.2 ดูแลคนงาน - ภารโรง
6.3 จัดระบบการจอดยานพาหนะ
7. ภารกิจด้านอื่น ๆ ประกอบด้วย
7.1 จัดการประชุมหรือสัมมนา การประชาสัมพันธ์สถานศึกษา
7.2 มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียน เช่นการประกวดต่าง ๆ กีฬากิจกรรมส่งเสริม
วัฒนธรรมประเพณี เป็นต้น
นอกจากนี้ในระบบบริหารการศึกษาของไทย การพิจารณาภาระหน้าที่ของผู้บริหาร สำนักงาน
คณะกรรมการข้าราชการครู (ก.ค.) ได้จัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่งผู้บริหารการศึกษาและลักษณะงานที่
ต้องปฏิบัติในการดำรงตำแหน่งทุกตำแหน่งไว้แล้ว เช่น ตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ในสถานศึกษา มีภาระหน้าที่
ดังต่อไปนี้ (สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครู. 2540 : 8-9)
1. วางแผนการปฏิบัติงาน หน้าที่และวิธีการดำเนินงานบุคลากรในสถานศึกษา
2. ควบคุมดูแลและติดตามผลการดำเนินงานด้านวิชาการ เช่น การเรียนการสอนและฝึกอบรม
3. จัดระเบียบและวัดผลการศึกษาให้เป็นไปตามหลักสูตรแผนการสอนโครงการสอนทั้งวิชา
สามัญและวิชาชีพ
16
4. จัดโปรแกรมการเรียน คู่มือประกอบการเรียนการสอนวัสดุ อุปกรณ์การศึกษา
5. จัดบริการแนะแนว ห้องสมุดและสื่อทางการศึกษาให้ใช้ได้ในสถานศึกษา
6. จัดฝึกอบรมและให้คำแนะนำเพื่อส่งเสริมวิชาชีพให้สอดคล้องกับความต้องการของ
ประชนและท้องถิ่น
7. ควบคุมดูแลงานธุรการหรืองานบริหารทั่วไปของสถานศึกษา เช่น อาคารสถานที่ การเงิน
พัสดุ - ครุภัณฑ์ ทะเบียนและเอกสารให้เป็นไปตามระเบียบ
8. ควบคุมดูแล ปกครอง จัดระบบงานในสถานศึกษา
9. กำหนดลักษณะงาน มอบหมายงานให้เหมาะสมกับความรู้ความสามารถ
10. ติดตามให้คำปรึกษา แก้ปัญหาและนิเทศ บังคับบัญชาครู อาจารย์ นักเรียน นักศึกษา
ตลอดจนหน้าที่อื่น ๆ ให้สามารถปฏิบัติหน้าที่อย่างถูกต้องครบถ้วน
11. ดูแลสวัสดิภาพความเป็นอยู่ของนักเรียน นักศึกษา ครูอาจารย์ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมและ
หน้าที่อื่น ๆ
12. ติดตามประสานงานสร้างเสริมความสัมพันธ์กับประชาชนในท้องถิ่น
13. วิเคราะห์วิจัยและประเมินผลงาน รวบรวมข้อมูล และจัดทำสถิติต่าง ๆ เพื่อปรับปรุงคุณภาพ
ด้านการศึกษา
14. นำเทคนิคและวิธีการใหม่ๆ ทางการศึกษาทั้งวิชาสามัญและวิชาชีพมาใช้และเผยแพร่และ
พัฒนาสถานศึกษาให้ได้มาตรฐานและเป็นที่นิยมของประชาชน
15. เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการต่าง ๆ ตามที่ได้รับแต่งตั้ง ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่อื่นที่
เกี่ยวข้อง
สำหรับตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนนั้น ก.ค. ได้กำหนดลักษณะงานที่กำหนดหน้าที่อื่น ๆ กับ
ตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ มีต่างกันเล็กน้อย เช่น เพิ่มข้อความข้อ 6 ว่า “และสามารเผยแพร่เป็นตัวอย่างได้”
เพิ่มข้อความข้อ 14 ว่า “และพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นที่นิยมของประชาชน” เพิ่มลักษณะงานอีกอย่างหนึ่ง
คือ “จัดกิจกรรมและส่งเสริมการประกอบอาชีพของประชาชนให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล”
ภาระหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาจะมีมากหรือน้อยย่อมขึ้นอยู่กับขนาดของสถานศึกษาและ
ระดับของการจัดการศึกษา แต่ขอบเขตของงานบริหารมักจะคล้ายคลึงกันแตกต่างกันในรายละเอียดของ
หน้าที่ในแต่ละขอบเขตการบริหาร ขอบเขตของงานบริหารสถานศึกษาในระดับประถม
ศึกษาและระดับมัธยมศึกษา ที่สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ กำหนดไว้มี 6 งาน คือ
(สำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ. 2541 : 10-15 )
1. งานบริหารวิชาการ
17
2. งานบริหารบุคคล
3. งานบริหารธุรการ
4. งานบริหารอาคารสถานที่
5. งานบริหารกิจการนักเรียน
6. งานด้านความสัมพันธ์กับชุมชน
สรุป ภาระหน้าที่ของผู้บริหารโรงเรียน ในด้านต่างๆได้แก่ ด้านบุคคลากร ด้านความ
สัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ด้านกิจการนักเรียน ด้านหลักสูตรและการสอน ด้านอาคารสถานที่และ
พัสดุ คลอดจนภาระด้านกิจกรรมอื่นๆ นั้น ภาระหน้าที่ดังกล่าวของผู้บริหารจะมีมากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่
กับขนาดของโรงเรียน สถานศึกษาและระดับการจัดการศึกษา ส่วนขอบข่ายในการบริหารจะมีความ
คล้ายคลึงกัน ซึ่งภาระหน้าที่เหล่านี้ เป็นภาระที่ผู้บริหารทุกคนต้องยึดถือและปฏิบัติจนเกิดทักษะ เพื่อให้
ประสิทธิภาพการบริหารเป็นไปตามที่ กำหนดและเหทาะสมสอดคล้องกับภารระหน้าที่ดังกล่าวได้
การบริหารงานในโรงเรียนประถมศึกษา
การบริหารโรงเรียน คือ การดำเนินงานของกลุ่มบุคคลในส่วนที่ปฏิบัติตามหน้าที่ความรับผิด
ชอบของโรงเรียน อันได้แก่ การให้บริการทางการศึกษาแก่สมาชิกของสังคม และการดูแลจัดกิจกรรมต่าง ๆ
ที่เป็นภาระกิจของโรงเรียน เพื่อให้บรรลุผลตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ (สมบูรณ์ พรรณาภพ, (2521 :15)
เพื่อให้เกิดความชัดเจนของการบริหารตามที่กล่าวข้างต้น สามารถกำหนดกรอบในการสร้างความเข้าใจใน
การบริหารโรงเรียนของผู้บริหารดังนี้
1. แนวคิดในการบริหารงานโรงเรียน
1.1 โรงเรียนเป็นหน่วยงานทางการศึกษาระดับปฏิบัติการที่สำคัญที่สุด และผลการจัดการ
ประถมศึกษาจะเป็นเช่นใดนั้นขึ้นอยู่กับการปฏิบัติงานของโรงเรียน
1.2 ภารกิจหลักของโรงเรียน คือ การจัดการเรียนการสอน เพื่อให้นักเรียนบรรลุจุดมุ่ง
หมายที่กำหนดไว้ในหลักสูตร นั่นคือ มีคุณภาพที่พึงประสงค์ทางด้านผลสัมฤทธิ์ทาง
การเรียนทุกกลุ่มประสบการณ์ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ และสุขภาพอนามัยดี
1.3 ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อคุณภาพการประถมศึกษามีหลายอย่าง เช่น ระบบการบริหารของผู้
บริหารโรงเรียนและผู้ปกครองนักเรียน ปัจจัยที่สำคัญที่สุดคือ การบริหารโรงเรียน
18
1.4 การที่ผู้บริหารโรงเรียนจะประสบความสำเร็จในการปฏิบัติงานได้นั้น ย่อมต้องอาศัย
ความรู้ ความสามารถ คุณธรรม และคุณลักษณะที่ดีของผู้บริหาร ผู้บริหารโรงเรียนที่มีประสิทธิภาพคือ
ผู้บริหารที่สามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการเรียนการสอนบรรลุจุดหมายที่
กำหนด
1.5 การบริหารโรงเรียนจะบรรลุผลสำเร็จตามจุดหมายของหลักสูตรได้ดีนั้นย่อมต้องอาศัย
การบริหารงานอย่างน้อย 6 งาน คือ งานวิชาการ งานกิจการนักเรียน งานธุรการและการเงิน งานอาคาร
สถานที่ และงานความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและชุมชน
1.6 ทรัพยากรในการบริหารโรงเรียนทั้ง 4 อย่าง คือ บุคลากร เงิน วัสดุ และระบบการ
จัดการ ทรัพยากรด้านบุคคลเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุด ดังนั้น ในการบริหารโรงเรียนจำเป็น
1.7 ต้องให้ความสำคัญต่องานและบุคลากรไปพร้อม ๆ กัน นั่นคือทำอย่างไรจึงจะได้งานที่
มีคุณภาพและให้คนทำงานอย่างมีความสุข
1.7 การบริหารงานทั้ง 6 งานของโรงเรียน จะเป็นไปได้ย่อมต้องอาศัยกระบวนการอย่างน้อย
4 ขั้นตอน คือ การศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการของโรงเรียน การวางแผน การดำเนินการ
ตามแผน การประเมินผล
1.8 การบริหารโรงเรียนจะเป็นไปโดยราบรื่นและได้ผลดียิ่งขึ้น ถ้าผู้บริหารโรงเรียนได้ใช้
แนวทางและเทคนิควิธีการต่าง ๆ ประกอบ เช่น การบริหารโดยยึดผลที่จะเกิดขึ้นต่อเด็กนักเรียนเป็นหลัก
สำคัญ การบริหารโดยให้บุคคลมีส่วนร่วม เช่น การใช้กระบวนการกลุ่มทักษะในการบริหารประกอบด้วย
ทักษะด้านเทคนิควิธี ด้านมนุษยสัมพันธ์ และด้านความคิดรวบยอดของงาน (สำนักงานคณะกรรมการการ
ประถมศึกษาแห่งชาติ, 2528 : 15)
2. งานบริหารโรงเรียน ในฐานะที่โรงเรียนเป็นสถาบันทางสังคมสถาบันหนึ่ง ภารกิจหรือหน้า
ที่สำคัญของโรงเรียน การบริหารทางการศึกษาที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของสังคม งาน
ในหน้าที่ของโรงเรียนแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ การอนุรักษ์ และการถ่ายทวัฒนธรรมของ สังคม การปรับ
ปรุงวัฒนธรรมของสังคมและการคิดค้นสร้างสรรค์สิ่งใหม่ กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้การ
ปฏิบัติเกี่ยวกับภาระกิจหรือหน้าที่ของโรงเรียนบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ งานโรงเรียนที่ต้องดำเนินการให้
ตรงตามหลักสูตรของโรงเรียน (Instruction Program) งานที่เกี่ยวกับการปลูกฝังนิสัยอันดีงาม ได้แก่ โครง
การกิจกรรมนักเรียน บางครั้งเรียกว่าโครงการกิจกรรมเสริมหลักสูตร และงานที่เกี่ยวกับการให้บริการเพื่อ
อำนวยความสะดวกด้านการเรียนการสอน และการประกอบกิจกรรมของนักเรียน (สมบูรณ์ พรรณาภพ,
2521 : 19)
19
นักวิชาการบริหารการศึกษาหลายคนได้แบ่งงานบริหารโรงเรียนออกเป็นด้านต่าง ๆ ดังนี้
ฟิสค์ (Fisk, 1963 : 31) ได้แบ่งงานบริหารการศึกษาไว้เป็น 4 ประการ คือ ความรับผิดชอบเกี่ยวกับชุมชน
ที่โรงเรียนตั้งอยู่ การปรับปรุงด้านวิชาการ การบริหารงานบุคคล และการบริหารงานด้านต่าง ๆ
มิลเลอร  (Miller, 1965 : 45) กล่าวว่า งานของผู้บริหารโรงเรียนที่จะต้องปฏิบัติมีอยู่ 8 ประการ
คือ งานวางโครงการการเรียนการสอน งานด้านกิจการนักเรียน งานด้านอาคารสถานที่ งานพัสดุและ
อุปกรณ์ งานการเงินและธุรการ งานประชาสัมพันธ์ งานการวางแผนและการประเมินผลแคมพ์เบลล์
(Campbell, 1972 : 16) แบ่งงานบริหารการศึกษาออกเป็น 6 ด้าน คือความสัมพันธ์ระหว่างบ้านกับโรง
เรียน หลักสูตรและการสอน บุคลากรในโรงเรียน กิจกรรมนักเรียน สิ่งอำนวยความสะดวกทางกาย การ
เงินและธุรการ
เคลลอกก์ (Kellogg, 1976 อ้างถึงใน ชารี มณีศรี, 2527 : 19) ได้สรุปว่า ภารกิจของโรงเรียนที่
สำคัญประกอบด้วย
1. งานวิชาการ งานบริหารบุคคล งานบริหารกิจการนักเรียน การเงินและพัสดุ งานอาคาร
สถานที่ งานการเงินและธุรการของโรงเรียน
2 งานขนส่งของโรงเรียนและจัดองค์การของโรงเรียน
กล่าวโดยสรุป งานของผู้บริหารโรงเรียนที่นักวิชาการทางการบริหารการศึกษาได้แบ่งไว้แตกต่าง
กัน ถ้าจะจำแนกออกเป็นงานใหญ่ ๆ จะได้ 6 งาน คือ
1. งานวิชาการ
2. งานบริหารบุคลากร
3. งานกิจการนักเรียน
4. งานธุรการการเงินและพัสดุ
5. งานอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม
6. งานความสัมพันธ์กับชุมชน
ในจำนวน 6 งานนี้ จะแบ่งออกเป็น 2 งานใหญ่ ๆ คือ งานวิชาการ และงานสนับสนุนงานวิชา
การ (สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร, 2542 : 29)
1. งานวิชาการ งานวิชาการเป็นหัวใจของการทำงานในโรงเรียน เพื่อพัฒนาผลผลิต คือ นักเรียน
ให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามเป้าหมายของหลักสูตรองค์ประกอบที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ งานด้าน
วิชาการ ได้แก่ ผู้บริหาร ซึ่งทำหน้าที่บริหาร และบริการหลักสูตร ครูผู้สอนเป็นผู้ดำเนินการจัดกิจ
กรรมการเรียนการสอน นักเรียนเป็นผลผลิตของการจัดการด้านวิชาการ โปรแกรมการเรียนการสอนเป็น
20
แกนหลักของการจัดการเรียนการสอน รวมทั้งวัสดุอุปกรณ์และเทคโนโลยีทางการศึกษาเป็นส่วนสนับสนุน
และอำนวยความสะดวกในการดำเนินงานด้านวิชาการ (สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร, 2542 : 30)
ภิญโญ สาธร (2523 : 29) กล่าวว่า งานวิชาการเป็นงานที่เกี่ยวกับโครงการดำเนินงาน การทำ
โครงการ การเรียนการสอนให้เป็นไปตามหลักสูตร การแนะนำควบคุมการเรียนการสอน การจัดกิจกรรม
ต่าง ๆ การวัดผลการศึกษา การค้นคว้าทดลอง ปรับปรุงวิธีสอน และจัดให้มีการประชุมอบรมนิเทศ
เอกชัย กี่สุขพันธ์ (2527 : 16) สรุปว่าการบริหารงานวิชาการ หมายถึง การดำเนินงานทุกชนิด
เพื่อส่งเสริมพัฒนาหรือปรับปรุงการเรียนการสอนของโรงเรียน ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะ
เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับครูหรือนักเรียนก็ตาม
ดาวเรือง รัตนิน (2518 : 35) กล่าวว่า งานบริหารวิชาการในโรงเรียนประถมศึกษา ได้แก่ การ
ควบคุมดูแลหลักสูตร การจัดแบบเรียน คู่มือครู การจัดชั้นเรียน การปรับปรุงการเรียนการสอน การจัดฝึก
อบรมครูประจำการ เผยแพร่วิชาการ การวัดผลการศึกษา การวิจัยค้นคว้า การประเมินมาตรฐานโรงเรียน
ตลอดจนการตรวจเยี่ยมและนิเทศการศึกษาแก่โรงเรียน
หวน พินธุพันธ์ (2528 : 49) กล่าวว่า งานบริหารวิชาการ จำแนกได้ 3 ประการ คือ
1. งานเกี่ยวกับการสอนโดยตรง เช่น การรับนักเรียน การจัดครูเข้าประจำชั้น การจัดตารางสอน
การเตรียมงานก่อนเปิดเรียน
2. การจัดบริการวัสดุอุปกรณ์การสอนประกอบหลักสูตร เช่น โครงการสอน แบบเรียน ระเบียบ
วิธีวัดผล สมุดประจำชั้น วัสดุอุปกรณ์การสอน งานส่งเสริมการเรียนการสอน
3. งานส่งเสริมการเรียนการสอน เช่น งานกิจกรรมแนะแนว ลูกเสือ - ยุวกาชาด กิจกรรมกีฬา
ต่าง ๆ และงานเกี่ยวกับบุคลากร เช่น การจัดครูเข้าสอน การแบ่งงานรับผิดชอบ งานวิชาการเป็นงานที่มี
ความเกี่ยวข้องกับเรื่องต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ (เอกชัย กี่สุขพันธ์, 2527 : 17)
1. หลักสูตร
2. การเรียนการสอน
3. การบริหารบุคลากรทางวิชาการ
4. การนิเทศการศึกษา
5. การบริหารสื่อการศึกษา
6. กิจกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน
21
กล่าวโดยสรุป งานบริหารวิชาการก็คือ การบริหารกิจกรรมทุกชนิดของโรงเรียน (สำนักการ
ศึกษา กรุงเทพมหานคร, 2542 : 30) มีขั้นตอนดังนี้
1. การศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหา
2. .การวางแผน
3. การดำเนินงานตามแผน
4. การประเมินผล
5. ข้อมูลย้อนกลับ
เพื่อให้งานวิชาการในโรงเรียนมีประสิทธิภาพ ผู้บริหารจะต้องหาความรู้ในเรื่องหลักสูตรทฤษฎี
การเรียนรู้ หลักการสอนทั่วไป หลักการสอนแต่ละกลุ่มประสบการณ์ และควรส่งเสริมให้มีการใช้สื่อการ
เรียนการสอน การใช้ชุดการสอน การใช้แบบเรียนสำเร็จรูปและการใช้ห้องสมุด (สำนักการศึกษา
กรุงเทพมหานคร, 2542 : 30)
2. งานบุคลากร มีคำกล่าวว่า “ชัยชนะของสงครามไม่ได้ขึ้นอยู่กับองค์ยุทธวิธีและองค์วัตถุเท่า
นั้น ต้องอาศัยบุคลากรเป็นปัจจัยสำคัญและกองทัพใดมีบุคลากรที่ไร้ความสามารถ กองทัพนั้นย่อมหมด
สมรรถภาพ” คำกล่าวทั้งสองเน้นเรื่องบุคคล ดังนั้น จะเห็นได้ว่างานบริหารบุคคลเป็นงานที่สำคัญมาก
(นพพงษ์ บุญจิตราดุลย์, 2529 : 21) บุคลากรทุกฝ่ายในโรงเรียนเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การดำเนินงาน
พัฒนาการศึกษาในโรงเรียนบรรลุเป้าหมาย ดังนั้น การบริหารงานบุคลากรจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้อง
ดำเนินการในครบถ้วนและมีประสิทธิภาพ(สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร,2542 : 61)
สุกิจ จุลละนันท์ (2510:21) กล่าวว่า การบริหารบุคคลเป็นกระบวนการวางแผน นโยบาย
ระเบียบ และกรรมวิธีในการดำเนินการเกี่ยวกับตัวบุคคลที่ปฏิบัติงานในองค์การ โดยให้ได้บุคคลที่
เหมาะสมและบำรุงรักษาไว้ซึ่งทรัพยากรมนุษย์ที่มีประสิทธิภาพ โดยให้มีทั้งปริมาณเพียงพอและมีคุณภาพ
ภิญโญ สาธร (2523 : 41) สรุปว่า การบริหารงานบุคคล คือ การใช้คนให้ทำงานให้ได้ผลดีที่สุด
โดยใช้เวลาน้อยที่สุด สิ้นเปลืองเงินและวัสดุในการทำงานน้อยที่สุด และในขณะเดียวกันคนที่เราใช้นั้นต้อง
มีความสุข ความพอใจที่จะทำงานตามที่ผู้บริหารต้องการ
สมพงษ์ เกตุน้อย (2523 : 45) สรุปไว้ว่า การบริหารงานบุคคล คือ ศิลปะในการเลือกสรรคน
ใหม่ และการใช้คนเก่าเพื่อให้ได้ผลงานและการบริการจากการปฏิบัติงานของบุคคลทั้งในด้านปริมาณและ
คุณภาพ
สุรพันธ์ ยันต์ทอง (2526: 36) ได้กำหนดภารกิจและขอบข่ายของงานบริหารงานบุคคลไว้
ดังนี้
22
1. วางแผนบุคลากร ได้แก่ การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับบุคลากร
2. การเตรียมตัวบุคลากร ได้แก่ การพิจารณาจัดคนเข้าทำงานให้เหมาะสมกับความรู้ความ
สามารถ การปฐมนิเทศ การมอบหมายงาน
3. การพัฒนาและการบำรุงรักษา ได้แก่ การให้ความรู้การให้การศึกษาอบรมแก่บุคลากร รวม
ตลอดถึงการให้ขวัญกำลังใจและการประเมินผลงานบุคลากร
สมบูรณ์ พรรณาภพ (2521 :26) กล่าวว่า การบริหารงานบุคคลมีกระบวนการและขั้นตอนดังนี้
1. การวางแผน วางนโยบาย จัดอัตรากำลัง
2. การสรรหา
3. การกำหนดอัตราเงินเดือน
4. การประเมินผลงานบำเหน็จความชอบ
5. การปกครองบังคับบัญชา
6. การพัฒนา
7. การจัดประโยชน์เกื้อกูล
8. การวิจัย
ปกรณ์ ศรีดอนไผ่ (2528 : 48) กล่าวว่า ขอบข่ายการบริหารบุคลากรมี 4 ประการ คือ
1. การได้มาซึ่งตัวบุคคล หมายถึง การสรรหา
2. การบำรุงรักษาบุคคล
3. การพัฒนาบุคคล
4. การให้พ้นจากงาน ซึ่งหมายถึงเรื่องวินัย การย้าย โอน
กล่าวโดยสรุป การบริหารงานบุคคล คือ การบริหารงานเพื่อการจัดการเกี่ยวกับบุคคลอย่างมี
กระบวนการ เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ บรรลุเป้าหมายของโรงเรียน โรงเรียนเป็น
สถาบัน ความสำเร็จของโรงเรียนขึ้นอยู่กับคนในโรงเรียน ซึ่งจะต้องเป็นคนดี มีประสิทธิภาพ
3. งานกิจการนักเรียน เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับตัวนักเรียนและกิจกรรมนักเรียนทั้งหมด ซึ่งจะช่วย
ส่งเสริมการเรียนการสอนในหลักสูตรให้บรรลุผลสำเร็จ (สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร, 2542 : 51)
งานกิจการนักเรียน มีแนวดำเนินการดังนี้ (สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร, 2542 : 51-54)
1. การเกณฑ์เด็กในวัยเรียนเข้าเรียน
2. การบริการด้านสุขภาพอนามัย
3. การบริการอาหารกลางวัน
23
4. การบริการแนะแนว
5. การบริการห้องสมุด
6. การบริการช่วยเหลือนักเรียนที่ขาดแคลน
7. การจัดกิจกรรมสหกรณ์นักเรียน
8. การส่งเสริมวิถีชีวิตแบบประชาธิปไตย
9. การจัดกิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัยในโรงเรียน
10. การจัดกิจกรรมป้องกันยาเสพติดในโรงเรียน
จึงสรุปได้ว่า การบริหารงานกิจการนักเรียนก็คือ การจัดการเกี่ยวกับกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ
ตัวนักเรียน ยกเว้นการเรียนการสอนในห้องเรียน เพราะกิจการนักเรียนเป็นงานที่มุ่งให้นักเรียนได้รับความรู้
ประสบการณ์ต่าง ๆ เพิ่มขึ้นจากการเรียนการสอนในเวลาปกติ บางครั้งอาจเรียกว่ากิจกรรมเสริมหลักสูตร
4. งานธุรการการเงินและพัสดุ นับว่าเป็นงานที่สำคัญประการหนึ่งของโรงเรียน แม้ว่างานธุร -
การการเงินและพัสดุ จะไม่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมโดยตรงของนักเรียนเหมือนงานวิชาการ
แต่ก็เป็นงานสนับสนุนการเรียนการสอน ทำให้การเรียนการสอดำเนินไปอย่างเรียบร้อย ราบรื่น คล่องตัว
และเกิดผลดีต่องานด้านวิชาการ อย่างไรก็ตามแม้ว่าเด็กจะอ่านหนังสือไม่ออก เขียนหนังสือไม่ได้ ครูผู้
สอนหรือผู้บริหารโรงเรียนก็จะไม่ถูกลงโทษทางวินัย แต่ถ้ามีการปฏิบัติงานผิดพลาดทางการเงินผู้รับผิด
ชอบหรือผู้บริหารโรงเรียนจะต้องถูกกรรมการสอสวนลงโทษทางวินัย บางครั้งอาจต้องรับผิดทางแพ่ง และ
ยิ่งกว่านั้นอาจผิดทางอาญาถึงขั้นจำคุก ดังนั้น งานธุรการ การเงิน และพัสดุ จึงถือว่าเป็นงานที่มีอันตรายต่อ
ชีวิตราชการ ผู้บริหารโรงเรียนจะต้องอาศัยความสุขุมรอบคอบ รู้และเข้าใจในระเบียบ ไม่ประมาทเลินเล่อ
สุรพันธ์ ยันทอง (2526 : 55) กล่าวว่า งานธุรการโรงเรียน หมายถึง งานที่เกี่ยวกับเอกสารต่าง ๆ
ของโรงเรียนที่ต้องปฏิบัติ ทั้งเป็นงานภายในและงานติดต่อกับบุคคลหรือหน่วยงานภายนอก เพื่อให้โรง
เรียนสามารถดำเนินกิจการไปได้เป็นอย่างดี มีประสิทธิภาพ ทำให้การเรียนการสอนเป็นไปอย่างคล่องตัว
ดังนั้น ประสิทธิภาพของโรงเรียนก็ขึ้นอยู่กับงานธุรการด้วย
สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร ได้แบ่งงานออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้ (สำนักการศึกษา
กรุงเทพมหานคร, 2542 : 57)
1. งานธุรการทั่วไป ได้แก่ จัดทำทะเบียนรับ-ส่งหนังสือ จัดทำทะเบียนประวัติ จัดทำทะเบียน
นักเรียน และจัดหาเครื่องมือเครื่องใช้ที่เอื้อต่องานสารบรรณ
2. งานสารบรรณ ได้แก่ การรับ-ส่งหนังสือ โต้ตอบหนังสือ และเก็บหนังสือเป็นระบบ
24
3. งานการเงินและบัญชี ได้แก่ การจัดทำบัญชีรับ-จ่ายเงิน เก็บรักษาเงิน วางแผนการใช้เงิน
ของโรงเรียนให้ตรงตามวัตถุประสงค์ของงานและโครงการ
4. งานพัสดุและครุภัณฑ์ ได้แก่ การจัดหา จัดสรร และจำหน่ายพัสดุครุภัณฑ์ให้ถูกต้องตาม
ระเบียบของทางราชการ
สุรพันธ์ ยันต์ทอง (2526 : 55) ได้กล่าวถึง งานธุรการ การเงิน และพัสดุโรงเรียนประถมศึกษา
ว่าประกอบด้วยงานต่าง ๆ ดังนี้
1. งานสารบรรณ ได้แก่ การรับส่งหนังสือ โต้ตอบหนังสือ และเก็บหนังสือราชการที่สำคัญ
5. งานการเงิน ได้แก่ การรับเงิน จ่ายเงิน การบัญชี การจัดซื้อวัสดุครุภัณฑ์ต่าง ๆ
3. การจัดงบประมาณประจำปี ได้แก่ การจัดทำงบประมาณรายจ่ายของเงินงบประมาณแผ่นดิน
และการจัดทำงบประมาณเงินนอกงบประมาณ
4. งานควบคุมพัสดุครุภัณฑ์ ได้แก่ การเบิกจ่ายครุภัณฑ์ การลงบัญชี การจำหน่ายให้เป็นไป
ตามระเบียบของทางราชการ
6. งานทะเบียนนักเรียน ได้แก่ การจัดทะเบียนนักเรียน การออกใบรับรองและใบสุทธิ
6. งานดูแลรักษาอาคารสถานที่ และการควบคุมดูแลความปลอดภัยทรัพย์สินของทางราชการ
5. งานอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม อาคารสถานที่เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่ช่วยให้โรงเรียน
ดำเนินงานได้โดยสะดวก เป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการดำเนินงานของโรงเรียนเช่นเดียวกับบ้านจำเป็นต่อการดำรง
ชีวิตของคน จึงควรที่ผู้บริหารจะต้องให้ความสำคัญต่อการบริหารอาคารสถานที่ให้เหมาะสมกับความ
สำคัญของงาน การบริหารอาคารสถานที่ หมายถึงการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในการดำเนินงานร่วมกับบุคลากร
ในโรงเรียนให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ (สมบูรณ์ พรรณาภพ, 2521 : 25)
ภิญโญ สาธร (2523 : 39) ได้กล่าวถึงการบริหารอาคารสถานที่ว่า ประสิทธิภาพของการบริหาร
อาคารสถานที่ในโรงเรียนประถมศึกษา มิได้ขึ้นอยู่กับงบประมาณ อาคารหรู หรืออุปกรณ์แพง ๆ อยู่กับการ
รู้จักดัดแปลงอาคารสถานที่ที่มีอยู่ให้ทันสมัยและใช้ประโยชน์ให้เต็มที่มากกว่า
พนัส หันนาคินทร์ (2531 : 31) ได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการบริหารอาคารสถานที่ไว้ 3 ประการ
คือ การบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพดีอยู่เสมอ ซึ่งได้แก่การซ่อมแซม ตรวจตรา ดูแลความสะอาด การใช้
ประโยชน์ให้มากที่สุด คือ การใช้ห้องและอาคารต่าง ๆ ที่มีอยู่อย่างเต็มที่คุ้มค่ากับการลงทุน ประการสุด
ท้ายคือ การตกแต่งบริเวณให้สวยงาม ได้แก่ การจัดสภาพแวดล้อมให้สวยงาม
ในการบริหารอาคารสถานที่นั้น ผู้บริหารโรงเรียนมีบทบาทหน้าที่ในการดำเนินการตามขอบข่าย
ของอาคารสถานที่ดังนี้ (มาตรฐานโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร, 2540:28)
25
1. การวางแผนด้านอาคารสถานที่ โดยจัดให้มีแผนงานโครงการและปฏิทินปฏิบัติงานมีแผนผัง
แสดงแม่บท (Master Plan)
7. การรักษาความสะอาดและสุขาภิบาล โดยจัดให้บริเวณโรงเรียนสะอาดเป็นระเบียบมีระบบ
น้ำที่ดี ส้วมใช้งานได้ไม่มีกลิ่นเหม็น จัดโรงอาหารได้ถูกหลักสุขาภิบาลตลอดจนทำบ่อดักไขมัน
3. การจัดบรรยากาศและสิ่งแวดล้อม ร่มรื่นสวยงาม มีไม้ยืนต้น ไม้ประดับ มีการตกแต่งบริเวณ
อาคารและจัดสถานที่พักผ่อน เพื่อเป็นมุมพักผ่อนและสถานที่ออกกำลังกายสำหรับนักเรียน
4. การใช้อาคารสถานที่ โดยจัดให้บริหารชุมชนมีการปรับปรุงแก้ไขให้อยู่ในสภาพใช้การได้ดี
จัดหาพัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ สนับสนุนการพัฒนาอาคารสถานที่
5. การจัดสถานที่บริการนักเรียน โดยจัดให้มีโรงอาหารหรือสถานที่รับประทานอาหาร
ห้องพยาบาล จัดน้ำดื่ม และจัดให้มีห้องกิจกรรมสหกรณ์นักเรียน
6. งานความสัมพันธ์กับชุมชน ปัจจับันการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนเป็นสิ่ง
จำเป็นในการบริหารการศึกษา เพราะโรงเรียนต้องอาศัยทรัพยากรจากชุมชนช่วยในการพัฒนาโรงเรียน ไม่
ว่าจะเป็นด้านอาคารสถานที่ หรือการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน จะเห็นได้จากแนวการจัดกิจกรรมการ
เรียนการสอนตามหลักสูตรที่กำลังใช้อยู่ในปัจจุบันได้มุ่งเน้นให้ใช้แหล่งวิทยากร สถานประกอบการ และ
สถานประกอบอาชีพอิสระของชุมชนมาเสริมการเรียนรู้ในโรงเรียน ดังนั้น โรงเรียนกับชุมชนจึงจำเป็น
ต้องมีความร่วมมือและมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน
เพื่อให้การจัดการศึกษาของโรงเรียนมีคุณภาพตรงตามความต้องการของหลักสูตร (สำนักการ
ศึกษา กรุงเทพมหานคร, 2542 : 71)
ขอบข่ายของงานความสัมพันธ์กับชุมชนมีดังนี้
1. การให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของโรงเรียน
1.1 มีคณะกรรมการการศึกษาของโรงเรียน
1.2 จัดประชุมปรึกษาหารือเกี่ยวกับการจัดการศึกษาและกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียน
ระหว่างผู้ปกครอง ผู้นำชุมชนหรือคณะกรรมการการศึกษากับบุคลากรในโรงเรียน
3. การร่วมกิจกรรมของชุมชน โรงเรียนเข้าร่วมกิจกรรมของชุมชนและองค์กรต่าง ๆ ตามเทศ
กาลและวันสำคัญ
4. การประชาสัมพันธ์โรงเรียน จัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่าง ๆ ให้ครอบคลุมงาน
ของโรงเรียนและกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ และประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง
5. การให้บริการแก่ชุมชน
26
4.1 รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับบุคลากร วัสดุอุปกรณ์ อาคารสถานที่ที่โรงเรียนสามารถให้
บริการแก่ชุมชนได้
4.2 มีการบริการทางวิชาการ บุคลากร วัสดุอุปกรณ์ อาคารสถานที่แก่ชุมชน
5. การสร้างเสริมความสัมพันธ์กับชุมชนและองค์กรต่าง ๆ ในท้องถิ่น
5.1 จัดให้มีกิจกรรมร่วมกันระหว่างผู้ปกครอง ชุมชน และองค์กรต่าง ๆ ขึ้นในโรงเรียน
5.2 มีผู้ปกครอง ชุมชน และองค์กรต่าง ๆ ให้การสนับสนุนทุนทรัพย์และแหล่งวิทยากรมา
เสริมการเรียนรู้ให้แก่โรงเรียน
สรุปได้ว่า แนวคิดในการบริหารโรงเรียนที่สำคัญก็คือ โรงเรียนจะดำเนินการหรือปฏิบัติงานให้มี
คุณภาพนั้นขึ้นอยู่กับภาระกิจของโรงเรียน ได้แก่ หลักสูตรการสอน และคุณภาพที่ต้องการก็คือผลสัมฤทธิ์
ในการเรียนการสอน ทั้งนี้ต้องอาศัยองค์ประกอบด้านต่างๆ มาช่วยเสริม เช่น บุคคลากร เงิน การจัดการ
และวัสดุ โดยเฉพาะคุณสมบัติของผู้บริหารโรงเรียน ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนจะมีส่วนใน
การผลักดันให้เกิดการปฏิบัติ ทั้งนี้ปัจจัยสำคัญของการบริหารและการจัดการที่โรงเรียนยึดถือและปฏิบัติ ไม่
ว่าโรงเรียนจะมีขนาดต่างกันอย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต้องปฏิบัติและนำมาเป็นหลักในการบริหาร ก็คือ งาน
บริหาร 6 ด้าน ได้แก่ งานวิชาการ งานบุคคลากร งานกิจการนักเรียน งานธุรการการเงินและพัสดุ งาน
อาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมและสุดท้ายคืองานความสัมพันธ์กับชุมชน
ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียน
การบริหารหน่วยงานหรือองค์กร เป็นกระบวนการดำเนินงานที่ประกอบด้วยการวางแผน การ
จัดรูปงานและระบบกำลังคน การจูงใจ และการควบคุมการดำเนินงานของบุคลากรภายในหน่วยงานหรือ
องค์กรนั้น ผู้บริหารจะต้องมีทั้งวิธีการ ปัจจัย หรือทรัพยากรเป็นวัตถุดิบสำหรับการดำเนินงาน นอกเหนือ
จากนี้แล้วความรู้ความสามารถและทักษะของผู้บริหาร เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่จะส่งผลต่อความสำเร็จของ
การบริหารหน่วยงานหรือองค์กร
กิติมา ปรีดีดิลก (2529 : 274) ได้สรุปไว้ว่า การปฏิบัติงานใด ๆ หากคาดหวังจะให้ผลการปฏิบัติ
งานนั้นมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลแล้ว จำเป็นที่ผู้ปฏิบัติงานคนนั้นจะต้องมีความชำนาญเป็นอย่าง
ดีในสิ่งที่ตนปฏิบัติ นั่นคือทักษะในการปฏิบัติงานของตนนั่นเอง ในทำนองเดียวกันผู้บริหารที่ดีมีความ
สามารถในการบริหารงานจำเป็นต้องมีทักษะในการเป็นผู้นำการบริหารจึงจะประสบผลสำเร็จด้วยดี ทักษะ
ที่จำเป็นต้องมี คือ ทักษะพื้นฐาน เป็นทักษะพื้นฐานโดยทั่วไป ผู้บริหารส่วนใหญ่พึงมี ได้แก่
27
1. ทักษะด้านความรู้ความสามารถ หมายถึง ทักษะที่เกี่ยวกับความรู้ความสามารถที่จะเข้าใจ
เกี่ยวกับความสลับซับซ้อนภายในหน่วยงาน
2. ทักษะด้านมนุษย์สัมพันธ์ หมายถึง ความสามารถในการทำงานกับบุคคลต่าง ๆ ภายในหน่วย
งาน
3. ทักษะทางด้านวิธีการ หมายถึง ความสามารถในการใช้เครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ ในการ
ทำงานให้ถูกต้องตามวิธีการ
นอกจากนี้ผู้บริหารต้องเสริมสร้างและพัฒนาทักษะต่าง ๆ เพิ่มเติมในการบริหารงาน เช่น ทักษะ
ทางด้านวางแผน ทักษะในการแก้ปัญหา ทักษะในการกระตุ้นและการจูงใจ ทักษะในการขจัดความแย้ง
ทักษะในการประเมินผลการปฏิบัติงาน ทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ทักษะในการสร้างขวัญในการ
ทำงาน ทักษะในการใช้เวลา ทักษะในการเป็นผู้นำการประชุม ทักษะในการเกลี้ยกล่อม ทักษะในการครอง
คน ทักษะในการติชม ทักษะในการสร้างอารมณ์ขัน ทักษะในการพูด ฟัง เขียน และอ่าน ฯลฯ
ทักษะที่จะจำเป็นสำหรับผู้บริหารดังกล่าวข้างต้น ล้วนเป็นทักษะที่จำเป็นต้องแสวงหาและพัฒนา
ให้มากยิ่งขึ้น เพื่อให้ภาวะการเป็นผู้บริหารมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ทักษะเหล่านี้ผู้บริหารแต่ละคนจะมีไม่เท่า
กัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้บริหารแต่ละคนที่จะแสวงหาเพื่อทำให้สภาพการเป็นผู้บริหาร
สมบูรณ์แบบที่สุด อันเป็นที่พึงประสงค์ของผู้บริหารทุกคน
พนัส หันนาคินทร์ (2529 : 75-76) ได้ให้ข้อเสนอแนะในเรื่องเดียวกันนี้ว่า นอกจากจะต้อง
คำนึงถึงวิธีการที่เหมาะสมและแนบเนียนในการทำงานเพื่อให้บรรลุถึงจุดหมายที่ต้องการแล้วผู้บริหารยังจำ
เป็นต้องสร้างทักษะต่าง ๆ ให้เกิดขึ้นเพื่อว่าให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่นทักษะที่ผู้บริหารจะเป็นต้อง
สร้างขึ้นให้เป็นสมบัติประจำตัว คือ
1. ทักษะในด้านกลวิธีการทำงาน คือ รู้ว่างานที่จะต้องทำในหน้าที่ของตนมีอะไรบ้างและจะ
ทำงานนั้น ๆ ได้อย่างไร
2. ทักษะในด้านความคิดรวบยอด คือ การเข้าใจโครงสร้างและความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงาน
ทั้งภายในและภายนอกองค์การ การเข้าใจและมองเห็นแนวโน้มของความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น เป็นผู้มี
สายตาไกลพอที่จะมองหยั่งรู้ถึงผลที่จะเกิดขึ้นจากการกระทำ และการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ทั้งภายในและภาย
นอกมีผลกระทบต่อการทำงานในโรงเรียน หรือองค์การที่ตนเป็นผู้บริหาร
3. ทักษะในด้านมนุษย์ คือ การรู้จักสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคลทั้งภายในและภายนอกองค์
การ รู้จักที่จะใช้ความสามารถที่มีอยู่ในตัวครูแต่ละคนให้เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินการของโรงเรียน รู้จัก
ประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นที่ยอมรับนับถือแก่บรรดาครู บุคคลอื่นในโรงเรียนและในสังคมโดยทั่วไป
28
ในขณะที่ วินัย เกษมเศรษฐ (2521 : 45) ได้กล่าวว่า ผู้บริหารโรงเรียนจะสามารถบริหารงานได้อย่างมีประ
สิทธิภาพ จำเป็นต้องมีทักษะสำหรับผู้บริหารหลายประการดังนี้คือ
1. ทักษะด้านความเป็นผู้นำ เป็นทักษะพื้นฐานจำเป็น ได้แก่ ทักษะในการเป็นผู้นำทางด้าน
การวางแผน การประสานงาน การติดต่อสื่อสาร การจัดการและการดำเนินงาน การมอบหมายงาน และการ
ประเมินผล ทักษะในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง การบริหารงานเป็นทีม การตัดสินใจ เป็นต้น ทักษะความ
เป็นผู้นำนั้นถือว่าเป็นยุทธวิธีการจัดการกับทุกสถานการณ์โดยมีจุดมุ่งหมายที่ผลงานหรือองค์กรหรือหน่วย
งานนั้น
2. ทักษะด้านมนุษย์สัมพันธ์ เป็นความสามารถในการเข้ากับบุคคลต่าง ๆ ในบางครั้งอาจจะ
เรียกว่าทักษะในการครองคน (Human-Managerial Skills) ได้แก่ ทักษะในการติดต่อระหว่างบุคคล การ
ประสานงาน การแสดงภาวะผู้นำ การจูงใจคน การสร้างขวัญและกำลังใจ ความเอาใจใสการทำงานของกลุ่ม
คน การจูงใจหรือชักจูงให้สมาชิกในกลุ่มร่วมกันทำงาน
3. ทักษะด้านการบริหารงานบุคคล เป็นความสามารถทางการสนับสนุนพัฒนาบุคคลให้เจริญ
ก้าวหน้าในอาชีพ
4. ทักษะด้านเทคนิค (Technical Managerial Skills) ได้แก่ ทักษะในการจัดหา คือ การซื้อ การ
จ้าง การเงินและการบัญชี งานสารบรรณ งานบุคคล และการจัดระบบงาน
5. ทักษะด้านการศึกษา (Technical Educational Skills) ได้แก่ ทักษะการสอบ การวัดผลการ
ศึกษา การนิเทศ การนำแหล่งวิทยาการมาใช้ให้เกิดประโยชน์
6. ทักษะการสร้างความคิด (Speculative-Creative Skills) เป็นทักษะที่สำคัญอย่างหนึ่งสำหรับ
ผู้บริหาร เพราะเป็นทักษะในการคาดการณ์ล่วงหน้า การวิเคราะห์ปัญหา การบริการ การวางแผน และการ
แก้ปัญหาเฉพาะหน้า
7 ทักษะด้านการประเมิน เป็นความสามารถทางด้านการประเมินผลงาน ซึ่งอาจประเมินได้
โดยการออกแบบสอบถาม การสัมภาษณ์ และการสังเกต
ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้ยึดตามทฤษฎี
ของ แคทซ์ (Katz, 1955 : 33-42) ซึ่งได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับทักษะของผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพ 3 ด้าน
คือ
1. ทักษะด้านเทคนิควิธี ได้แก่ ความสามารถที่จะใช้ความรู้ในกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งซึ่งจำเป็น
ต้องใช้วิธีการ กระบวนการ ขั้นตอนหรือเทคนิคต่าง ๆ ที่จำเป็นคือการปฏิบัติงานในหน้าที่
29
2. ทักษะด้านมนุษย์ ได้แก่ ความสามารถที่จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในฐานะสมาชิกของ
กลุ่มและสร้างความร่วมมือกับกลุ่มในฐานะผู้นำ รวมถึงความเข้าใจความต้องการของคนอื่น และกระตุ้น
คนอื่นในองค์กรหรือหน่วยงานให้มีส่วนร่วมในการวางแผนกิจกรรมต่าง ๆ ให้บรรลุเป้าหมาย
3. ทักษะด้านความคิดควบยอด เป็นความสามารถในการมองเห็นความสัมพันธ์ของกิจกรรมต่าง
ๆ ในองค์การหรือหน่วยงาน รวมถึงความสัมพันธ์ของบุคคลอื่น ๆ การสื่อสารและลักษณะทางการเมือง
สังคม พลังเศรษฐกิจชองชาติทั้งหมด
ทักษะทางด้านเทคนิคหรืองานเฉพาะอย่าง หมายถึง ความรู้ความเข้าใจ ความสามารถและความ
ชำนาญในกิจกรรมเฉพาะ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับวิธีกระบวนการดำเนินการหรือเทคนิคต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการ
ปฏิบัติงานในหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งความคล่องแคล่วในการใช้อวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่าง
กายด้วย ทักษะทางด้านเทคนิคที่สำคัญ คือ การบริหารจะต้องประกอบไปด้วย ทักษะทางด้านการวางแผน
งานและโครงการ ทักษะทางด้านกระบวนการกลุ่ม และทักษะทางด้านการจัดการ (Katz, 1955 : 33-34)
นอกจาก แคทซ์ ซึ่งได้รับการยกย่องอย่างกว้างขวางในองค์การบริหารในเรื่องทฤษฎี 3 ทักษะ
แล้ว ยังมีผู้ให้ทัศนะเกี่ยวกับทักษะด้านเทคนิคไว้อีกหลายท่าน เช่น
กิติมา ปรีดีดิลก (2529 : 275) กล่าวว่า ทักษะทางด้านวิธีการ หมายถึงความเข้าใจที่จะปฏิบัติ
งานอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้รวมถึงการรู้จักกระทำ ดำเนินการ และ เทคนิคในการปฏิบัติงาน โดยทั่วไป
แล้วมักจะหมายถึงความรู้ความสามารถที่จะกระทำงานได้อย่างดีในแต่ละอย่าง
พนัส หันนาคินทร์ (2529 : 75) สรุปว่า ทักษะในด้านกลวิธีการทำงาน คือ รู้ว่างานที่จะต้องทำ
ในหน้าที่ของตนมีอะไรบ้าง และจะทำงานนั้น ๆ ได้อย่างไร รวมทั้งบทบาทที่ต้องกระทำเพื่องานสมบูรณ์ดี
ยิ่งขึ้น
ไพฑูรย์ เจริญพันธุวงศ์ (2530 : 106) สรุปว่าทักษะด้านเทคนิคเป็นทักษะที่ต้องการความ
สามารถในการใช้ความรู้ที่ได้ร่ำเรียนมา การใช้เทคนิคบางประการอย่างเหมาะสมในการปฏิบัติงาน การใช้
เครื่องมือ ตลอดจนวิธีการที่จำเป็นต่าง ๆ เพื่อการปฏิบัติงานเฉพาะอย่างที่ต้องการความสามารถพิเศษบาง
ประการจากผู้ปฏิบัติงานนั้น ๆ ทักษะนี้อาจได้มาด้วยการศึกษาอบรมและการฝึกฝน
ถวิล เกื้อกูลวงศ์ (2530 : 39) สรุปว่า ทักษะเทคนิควิธีการ ได้แก่ ความสามารถที่จะใช้ความรู้
ระบบวิธีการ เทคนิค และเครื่องมืออุปกรณ์ที่จำเป็น สำหรับการปฏิบัติงานหน้าที่เฉพาะด้าน ความสามารถ
เหล่านี้ได้มาจากประสบการณ์การศึกษาและการฝึกฝน
อุทัย ธรรมเดโช (2531 : 47) สรุปว่า ทักษะด้านเทคนิควิธี มีความสามารถปฏิบัติงานด้านกิจ
กรรมเฉพาะได้อย่างดี ซึ่งกิจกรรมเหล่านั้นจะเกี่ยวกับวิธีการ กระบวนการ และเทคนิคการวิเคราะห์ และรู้
30
จักใช้เครื่องมือในการปฏิบัติงาน เช่น การเขียนคำสั่งงาน การจัดตารางการทำงาน การทำรายงาน การใช้
แบบฟอร์มต่าง ๆ การใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ เป็นต้น
กิตติ ตยัคคานนท์ (2536 : 66) สรุปว่า ทักษะในด้านวิธีการเทคนิคหรือฝีมือคือทักษะด้าน
เทคนิค
สมยศ นาวีการ (2536 : 119) สรุปว่า ทักษะทางด้านเทคนิค คือ ความสามรถใช้เครื่องมือ
ระเบียบปฏิบัติงาน หรือเทคนิคต่าง ๆ ของสาขาวิชาเฉพาะอย่าง ศัลยแพทย์ วิศวกร นักดนตรี หรือนักบัญชี
ทุกคนต้องมีทักษะทางด้านเทคนิคในขอบเขตของพวกเขา ผู้บริหารต้องการทักษะทางด้านเทคนิคที่เพียง
พอสำหรับ "ความสำเร็จของงานอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ" ที่เขาต้องรับผิดชอบอยู่
จากแนวความคิดของนักวิชาการที่เกี่ยวข้องกับทักษะทางด้านเทคนิคดังกล่าว อาจสรุปได้ว่า
ทักษะทางด้านเทคนิคเป็นทักษะของผู้บริหารด้านกระบวนการและเทคนิค ต้องอาศัยความรู้การวิเคราะห์
และการรู้จักใช้เครื่องมือในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพนั่นเอง ทักษะด้านเทคนิควิธีนี้เป็นทักษะที่ผู้
บริหารสามารถพัฒนาตนเองได้ไม่ยากนัก ส่วนมากจะบรรจุไว้ในวิชาต่าง ๆ ทางการบริหาร เช่น การเขียน
คำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษร การพูด การอ่านแผนผัง การสร้างอาคาร การรู้จักจัดตารางทำงาน การจัดทำสำมะ
โนประชากร เกี่ยวกับนักเรียน แบบฟอร์มทะเบียนและการใช้สอยต่าง ๆ การสอนการรู้จักใช้อุปกรณ์และ
เครื่องมือต่าง ๆ เป็นต้น
ไพฑูรย์ เจริญพันธุวงศ์ (2530 : 106) ได้กล่าวถึงทักษะด้านมนุษย์สัมพันธ์ เป็นความสามารถใน
การพิจารณาหรือพินิจพิเคราะห์คนเมื่อต้องการทำงานร่วมกับคนอื่นทั้งนี้รวมถึงความสามารถในการทำ
ความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างแรงจูงใจให้เกิดขึ้นในการทำงาน ตลอดทั้งการรู้จักใช้ความสามารถในการเป็น
ผู้นำด้วย
ถวิล เกื้อกูลวงศ์ (2530 : 39) สรุปว่า ทักษะบุคคล ได้แก่ ความสามารถและการใช้ดุลพินิจ
วินิจฉัยในการทำงานร่วมกันกับบุคคลอื่นหรือโดยบุคคลอื่น(หลักมนุษยสัมพันธ์)รวมทั้งการเข้าใจเรื่องการ
จูงใจและการประยุกต์ใช้ภาวะผู้นำที่มีประสิทธิผล
อุทัย ธรรมเดโช (2531 : 48) สรุปว่า ทักษะด้านมนุษย์สัมพันธ์ ผู้บริหารจะต้องศึกษาพฤติกรรม
ของมนุษย์และพยายามเข้าใจบุคคลทุกประเภททั้งผู้บังคับบัญชา คนเสมอกัน และประชาชน การใช้ศิลป์
ด้านมนุษย์สัมพันธ์ให้เกิดประโยชน์เพื่อให้ได้มาซึ่งความรักความเข้าใจของความร่วมมือในการบริหาร การ
ศึกษาภายในขอบเขตหน้าที่รับผิดชอบ
กิติ ตยัคคานนท์ (2536 : 66) สรุปว่า ทักษะในด้านการติดต่อและมีสัมพันธภาพกับมนุษย์หรือ
การทำงานร่วมกับผู้อื่น คือ ทักษะด้านมนุษย์สัมพันธ์
31
สมยศ นาวีการ (2536 : 119) สรุปว่า ทักษะทางด้านมนุษย์เป็นควาสามารถทำงานร่วมกับคนอื่น
เข้าใจและจูงใจบุคคลอื่น ไม่ว่าจะเป็นบุคคลหรือกลุ่ม ผู้บริหารต้องการทักษะด้านมนุษย์สัมพันธ์เพื่อความ
มีประสิทธิภาพในการเป็นผู้นำของกลุ่ม
ไพฑูรย์ เจริญพันธุวงศ์ (2530 : 107) ได้กล่าวว่า ทักษะในการมองภาพรวมของหน่วยงานเป็น
ความสามารถที่จะทำความเข้าใจถึงความสลับซับซ้อนของหน่วยงานทั้งมวล และรวมทั้งรู้ว่าใครเหมาะสมที่
จะทำงานอยู่ในตำแหน่งใดของหน่วยงานด้วย ความรู้ความสามารถในการมองเห็นภาพรวมของหน่วยงาน
นี้ จะช่วยให้บุคคลปฏิบัติตนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของหน่วยงานโดยส่วนรวมแทนที่จะปฏิบัติตนไป
บนพื้นฐานแห่งความต้องการของตนหรือกลุ่มของตนเท่านั้น
ถวิล เกื้อกูลวงศ์ (2530 :39) ได้สรุปไว้ว่า ทักษะมโนทัศน์ ได้แก่ ความสามารถที่เข้าใจความ
สลับซับซ้อนขององค์การโดยภาพรวม และเข้าใจว่าการปฏิบัติงานของใคร เหมาะสมกับตำแหน่ง
ใดในองค์การโดยส่วนรวมมากกว่าที่จะดำเนินการให้เป็นไปตามหลักการเป้าหมาย และความต้องการของ
กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะ
อุทัย ธรรมเดโช (2531 : 48) กล่าวว่า ทักษะทางคตินิยม ผู้บริหารการศึกษาจะต้องมีความรู้
ความเข้าใจงานในหน้าที่ของตนเป็นอย่างดี มีความเข้าใจในกระบวนการของงานทุกขั้นตอน รู้ความเกี่ยว
พันระหว่างหน่วยงานของตนกับหน่วยงานอื่น มีความคิดริเริ่มพัฒนางานในหน้าที่ มีความคิดกว้างขวางมอง
การไกล กล่าวคือ รู้เรื่องการศึกษาทั้งหมด ระบบบริหารการศึกษา หลักการบริหารการศึกษา
ภารกิจที่ผู้บริหารการศึกษาจะต้องทำนโยบายทางการศึกษาของรัฐบาล กระทรวงศึกษาธิการ แผนการศึกษา
แห่งชาติและระเบียบแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
กติ ติ ตยัคคานันท  (2536 : 66) สรุปว่า ทักษะในด้านการใช้ความคิด และการมีความริเริ่มสร้าง
สรรค์ เรียกว่า ทักษะด้านความคิด
สมยศ นาวีการ (2536 : 119) สรุปว่า ทักษะทางด้านความคิด คือ ความสามารถทางด้านสมอง
ประสานงานและการทำให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของผลประโยชน์และกิจกรรมต่าง ๆ ขององค์การ
ทักษะด้านความคิดเป็นความสามารถของผู้บริหารในการมององค์การโดยส่วนรวมและมีความเข้าใจว่าส่วน
ต่าง ๆ ขององค์การขึ้นอยู่กับส่วนอื่น ๆ อย่างไร และการเปลี่ยนแปลงของส่วนใดส่วนหนึ่งจะมีผลกระทบ
ต่อองค์การโดยส่วนรวมอย่างไร ผู้บริหารต้องการทักษะทางด้านความคิดที่เพียงพอในการพิจารณาว่าปัจจัย
ต่าง ๆ ของสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่ง มีความเกี่ยวพันระหว่างกันและกันอย่างไร เพื่อทำให้การกระทำ
ของเขาเป็นผลดีกับองค์การ
32
ดังที่กล่าวมานี้ จึงพอสรุปได้ว่า จากทัศนะของนักวิชาการเกี่ยวกับทักษะด้านความคิดรวบยอดดัง
กล่าว เป็นทักษะที่เกี่ยวกับความสามารถของผู้บริหารในการเข้าใจระบบการปฏิบัติงานในหน่วยงาน หรือ
เกี่ยวกับโครงสร้างและระบบการบริหาร โครงสร้างงาน โครงสร้างตำแหน่ง และนโยบายของหน่วยงาน
หรือองค์การอันจะส่งผลให้การปฏิบัติงานต่าง ๆ ในองค์การหรือหน่วยงานบรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประ
สิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
ในการแยกการบริหารที่มีประสิทธิภาพออกมาเป็นทักษะทั้ง 3 ประการนี้ เป็นประโยชน์สำหรับ
เป้าหมายของการวิเคราะห์ แต่ในทางปฏิบัติแล้วทักษะทั้ง 3 มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันอย่างใกล้ชิด และ
ไม่อาจตัดสินใจว่าทักษะใดเกิดขึ้นก่อนและทักษะใดเกิดหลังสุด ทักษะทั้ง 3ประการ เป็นสิ่งจำเป็น
สำหรับผู้บริหารในทุกระดับองค์การ แต่ความจำเป็นในแต่ละเรื่องนั้นมีความแตกต่างกันไปตามระดับชั้น
ของการบริหาร กล่าวคือสำหรับผู้บริหารระดับต้นนั้น ทักษะด้านความคิดรวบยอดไม่สู้จะจำเป็นต้องมีมาก
เมื่อเปรียบเทียบทักษะด้านอื่น ๆ แต่จะต้องมีความเชี่ยวชาญในเรื่องเทคนิคของงานที่ตนรับผิดชอบ ส่วนผู้
บริหารระดับกลางทักษะด้านมนุษย์มากที่สุด เป็นบุคคลอยู่ตรงกลาง จึงต้องมีบทบาทหน้าที่เป็นผู้เชื่อมโยง
ผู้บริหารระดับสูงและระดับต้น ทักษะด้านความคิดรวบยอด และทักษะด้านเทคนิคในประมาณที่ใกล้เคียง
กัน สำหรับผู้บริหารระดับสูงนั้นจำเป็นต้องมีทักษะทางด้านการวางแผนและความเข้าใจถึงความสัมพันธ์
ระหว่างส่วนต่าง ๆ ขององค์การเป็นอย่างดี ทักษะด้านมนุษย์ต้องมีมาก ต้องใช้ความสามารถในทางมนุษย์
สัมพันธ์ เพื่อให้สามารถจูงใจ และรู้จักใช้บุคคลต่าง ๆ แต่ความรู้ความชำนาญทางด้านเทคนิคนั้นไม่สู้จะมี
ความสำคัญเท่าใดนัก เพราะสามารถมอบหมายความรับผิดชอบทางด้านนั้นแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาได้ แต่อย่าง
ไรก็ดีคงจะเป็นที่สังเกตเห็นได้ว่า ทักษะด้านบุคคลนั้นเป็นทักษะที่ดูเหมือนจะมีอัตราส่วนมากที่สุดใน
บรรดาทักษะทั้งหลายที่นักบริหารพึงมีและทักษะด้านนั้นก็มีอยู่เกือบสม่ำเสมอไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารระดับ
ใดก็ตาม ทั้งนี้เนื่องจากเงื่อนไขสำคัญในการเป็นนักบริหารนั้นก็คือ จะต้องทำงานให้สำเร็จโดยอาศัยผู้อื่น
ดังนั้น ทักษะทั้ง 3 ดังกล่าว จึงมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันและมีความสำคัญมากสำหรับผู้บริหารที่จะนำ
ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียน อันเป็นเป้าหมายสำคัญของการดำเนินงาน
และการที่ผู้บริหารมีทักษะในการบริหารดีก็จะเป็นการสร้างศรัทธาและความเชื่อถือในตัวผู้บริหาร รวมทั้ง
การปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ ของการจัดการศึกษาก็จะประสบความสำเร็จได้เป็นอย่างดี ดังแผนภาพที่ 3
33
แผนภาพที่ 3 แสดงทักษะการบริหารที่จำเป็น
( กิติ ตยัคคานนท์, 2536 : 28)
สรุปได้ว่า ความแตกต่างในการใช้ทักษะที่จำเป็นของผู้บริหาร ในแต่ละดับชั้น ได้แก่ ผู้บริหาร
ระดับต้น ต้องมีความเชี่ยวชาญในเรื่องเทคนิคของงาน และผู้บริหารระดับกลางต้องมีทักษะด้านมนุษย์มากที่
สุด เพราะเป็นบุคคลอยู่ตรงกลางระหว่างระดับสูงและระดับต้น ส่วนผู้บริหารระดับสูง จำเป็นต้องมีทักษะ
ในการวางแผนและความเข้าใจในความสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่างๆ ขององค์กรเป็นอย่างดี สำหรับทักษะด้าน
ความคิดรวบยอด ผู้บริหารระดับกลางและระดับสูง มีความจำเป็นมากแต่ทักษะด้านมนูษย์ ยังมีความจำเป็น
มากสุดไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารในชั้นใดก็ตาม เพราะผู้บริหารจะต้องทำงานให้สำเร็จโดยอาศัยผู้อื่น ดังนั้น
ทักษะทั้ง 3 ดังกล่าว จึงมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันและมีความสำคัญมากสำหรับผู้บริหารที่จะนำไปใช้ให้
เกิดประโยชน์ต่อการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนต่อไป
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
วิรัช ธีรประยูร (2532 : 67-69) ได้ทำการวิจัยเรื่อง ความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนเกี่ยวกับ
ทักษะการบริหารที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการ
ประถมศึกษาแห่งชาติ เขตการศึกษา 1 ผลการวิจัยพบว่า ความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนเกี่ยวกับทักษะ
ทางการบริหารที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา เรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย
ได้ดังนี้
1. ทักษะทางการบริหารที่พึงประสงค์ด้านความคิดรวบยอด ผู้บริหารโรงเรียนมีความคิด
เห็นเกี่ยวกับทักษะทางการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาในด้านความคิดรวบยอดอยู่ในเกณฑ์
เห็นด้วย
ทักษะด้านความคิดรวบยอด
ทักษะด้านมนุษย์
ทักษะด้านเทคนิค
ทักษะที่ต้องการ
ผู้บริหารระดับสูง
ผู้บริหารระดับกลาง
ผู้บริหารระดับต่ำ
34
2. ทักษะทางด้านการบริหารที่พึงประสงค์ด้านมนุษย์สัมพันธ์ ผู้บริหารโรงเรียนมีความคิดเห็น
เกี่ยวกับทักษะทางการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาในด้านมนุษยสัมพันธ์อยู่ในเกณฑ์เห็นด้วย
3. ทักษะทางด้านการบริหารที่พึงประสงค์ด้านเทคนิค ผู้บริหารโรงเรียนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับ
ทักษะทางการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาในด้านเทคนิคอยู่ในเกณฑ์เห็นด้วย
นวลศรี ตาสิน (2533 : 53) ได้ทำการศึกษาเรื่อง ทักษะการนิเทศการศึกษาของผู้บริหารโรงเรียน
ประถมศึกษาดีเด่น สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติตามการรับรู้ของตน ผลการ
วิจัยพบว่า ผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาดีเด่น สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ
ประจำปีการศึกษา 2531 มีทักษะทางการนิเทศการศึกษาตามการรับรู้ของตนเอง ตามลำดับค่าเฉลี่ยดังนี้
1. ทักษะทางด้านมนุษย์สัมพันธ์
2. ทักษะด้านเทคนิค
3. ทักษะทางด้านความคิดรวบยอด
ทิวา พุทธรักษา (2534 : 100-102) ได้ทำการวิจัยเรื่อง ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียน
สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดชลบุรี 3 ด้าน คือ ด้านเทคนิควิธี ด้านมนุษย์สัมพันธ์ และด้านความ
คิดรวบยอดของหน่วยงาน ตัวแปรที่นำมาศึกษาในครั้งนี้ ได้แก่ ประสบการณ์ในการบริหารของผู้บริหาร
โรงเรียน โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน โรงเรียนสังกัดสำนักงานการประถมศึกษา
จังหวัดชลบุรี จำนวน 663 คน ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัด
ชลบุรี มีทักษะการบริหารทั้ง 3 ด้าน อยู่ในดับสูง เมื่อเปรียบเทียบทักษะการบริหารของผู้บริหารที่มี
ประสบการณ์สูงกับผู้บริหารที่มีประสบการณ์ต่ำ พบว่า ไม่มีความแตกต่างกันทั้ง 3 ด้าน
วินิค นาควิเชียร (2535 : 79-80) ได้ทำการวิจัยเรื่อง การศึกษาทักษะการบริหารของผู้บริหาร
โรงเรียนมัธยมศึกษา ตามทัศนะของผู้บริหารโรงเรียนและครู-อาจารย์ สังกัดกรมสามัญศึกษาจังหวัดสงขลา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ตามทัศนะของผู้บริหารโรงเรียน
และครู-อาจารย์ อยู่ในระดับปานกลาง
2. ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ตามทัศนะของผู้บริหารโรงเรียน และ
ครู-อาจารย์ โดยส่วนรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ตามทัศนะของผู้บริหารโรงเรียนมีประสบ
การณ์การดำรงตำแหน่งต่างกัน โดยส่วนรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน
35
4. ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ตามทัศนะของผู้บริหารโรงเรียนที่ปฏิบัติ
งานในโรงเรียนที่มีขนาดต่างกัน โดยส่วนรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน
5. ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ตามทัศนะของครูอาจารย์ ที่มีประสบ
การณ์ ดำรงตำแหน่งต่างกัน โดยส่วนรวมไม่แตกต่างกัน ส่วนด้านกรอบความคิดแตกต่างกันอย่างมีนัย
สำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
6. ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ตามทัศนะของครู-อาจารย์ ที่ปฏิบัติงาน
ในโรงเรียนที่มีขนาดแตกต่างกัน โดยส่วนรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนด้าน
งานเฉพาะอย่างและด้านกรอบความคิดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนด้านมนุษย์
สัมพันธ์ไม่แตกต่างกัน
วิเชียร เย็นกาย (2535 : 90-91) ได้ทำการวิจัยเรื่อง ทักษะที่เป็นจริงของผู้บริหารโรงเรียนประถม
ศึกษาตามทัศนะของหัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอ และครูในสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัด เขต
การศึกษา 1 ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัด เขตการศึกษา 1
มีทักษะการบริหารที่เป็นจริง 3 ด้าน คือ ด้านเทคนิควิธี ด้านมนุษย์ และด้านความคิดรวบยอดของหน่วยงาน
อยู่ในระดับมาก เมื่อเทียบกับทัศนะของหัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอกับครู พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัย
สำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทุกด้าน
โสภณ ชินคำ (2536 : 86-90) ได้ทำการวิจัยเพื่อศึกษาความคิดเห็นของครูผู้สอนที่มีต่อทักษะ
การบริหารของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 7 ผลการวิจัย
พบว่า
1. ความคิดเห็นของครูผู้สอนในโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีต่อทักษะการบริหารโรงเรียน
มัธยมศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 7 ทั้ง 3 ทักษะ คือ
1.1 ทักษะด้านเทคนิค โดยเฉลี่ยมีทักษะอยู่ในระดับมาก
1.2 ทักษะด้านบุคคล โดยเฉลี่ยมีทักษะอยู่ในระดับมาก
1.3 ทักษะด้านมโนคติ โดยเฉลี่ยมีทักษะอยู่ในระดับมาก
3. ความคิดเห็นของครู้ผู้สอนกลุ่มวิชาสามัญกับกลุ่มวิชาการงานและอาชีพในโรงเรียนมัธยม
ศึกษา ที่มีต่อทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ทักษะด้านเทคนิคด้าน
บุคคล ทักษะด้านมโนคติ ไม่มีความแตกต่างกัน
3. ความคิดเห็นของครูผู้สอนที่มีประสบการณ์ทางการสอนต่ำกว่า 10 ปี และมีประสบการณ์
ทางการสอนตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนด้านเทคนิคด้านบุคคลไม่มีความ
แตกต่างกัน ส่วนทางด้านมโนคติแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
36
นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยในต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับทักษะการบริหารโรงเรียนดังนี้
คินเดรค (Kindred, 1972) ได้วิจัยเรื่อง ทักษะของผู้บริหารโรงเรียน ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริหาร
โรงเรียนที่ไม่มีทักษะการบริหารทั้ง 3 ด้าน คือ ทักษะด้านกรอบความคิด ทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์และ
ทักษะด้านเทคนิค จะทำให้เกิดปัญหาดังนี้
เอคกานท์ (Eckhant, 1978 : 562-563) ได้ศึกษาเกณฑ์คัดเลือกครูใหญ่ในโรงเรียนประถมศึกษา
ที่มลรัฐอิลลินอยส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า มีเกณฑ์คัดเลือกครูใหญโรงเรียนประถมศึกษาและโรงเรียน
มัธยมศึกษาแตกต่างกัน มีความมั่นคงทางอารมณ์ มีทักษะในการตัดสินใจ มีทักษะในการติดต่อสื่อสาร มี
มนุษยสัมพันธ์ในบุคลิภาพ มีการปรับตัวโดยรอบคอบ มีลักษณะทางศีลธรรม
สโลน (Slone, 1983 : 38-A) ได้ติดตามผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารโรงเรียนแห่งรัฐไมอามี่
ซึ่งผ่านการอบรมระยะสั้นโดยการพิจารณาความรู้ที่ได้รับทัศนคติที่ปรากฎและการปฏิบัติงานงานเฉพาะ
อย่างเปรียบเทียบกับกลุ่มตัวอย่างอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งไม่ได้ผ่านการอบรมได้รับความรู้ในเรื่องการปฏิบัติงาน
และมีทัศนคติเปลี่ยนแปลงไปในทางบวกซึ่งส่งผลสำเร็จในการทำงาน รวมทั้งมีทักษะในการปฏิบัติงาน
เฉพาะอย่างและสามารถนำไปใช้ได้อย่างได้ผล ส่วนกลุ่มผู้บริหารโรงเรียนที่ได้รับการส่งเสริมให้ศึกษา
สาระของการอบรมด้วยตนเอง มีแนวโน้มที่จะได้รับความรู้เปลี่ยนแปลงทัศนคติ และมีทักษะการปฏิบัติ
งานเฉพาะอย่างน้อยกว่าผู้บริหารที่ผ่านการฝึกอบรมโดยเฉพาะ
เบลโล และโฮเวล (Bello & Howell, 2000 : 1-3) ได้เสนอการเป็นผู้บริหารมืออาชีพจะต้องนำ
เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยด้วยคอมพิวเตอร์และติดตั้งระบบอินเตอร์เนท เพื่อการเรียนรู้ การจัด
ระบบ การจัดการ การบริหารองค์กรของตนเอง เป็นการนำไปสู่การเรียนรู้และทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เป็น
ไปอย่างรวดเร็วของโลก รวมถึงนำไปสู่ระบบวิชาการ การบริหารการประชาสัมพันธ์ การบริการแก่ชุมชน
นอกจากนี้เป็นการสร้างสรรค์ผลงาน เพิ่มระดับความชำนาญการแก่ครูอาจารย์ ซึ่งจะเป็นการเตรียมการไป
สู่ครูมืออาชีพและวิชาชีพครู ในประการสุดท้ายเป็นการสร้างศักยภาพในวงการวิชาการ ก่อให้เกิดความ
สำเร็จในฐานะผู้นำและประสิทธิภาพของผู้บริหารโรงเรียน
จากผลการวิจัยทั้งภายในและต่างประเทศ ที่เกี่ยวกับทักษะการบริหารงานทั้ง 3 ด้าน คือทักษะ
ด้านเทคนิค ทักษะด้านมนุษย์ และทักษะด้านความคิดรวบยอด จะเห็นได้ว่าผู้บริหาร ครู-อาจารย์ ให้ความ
เห็นชอบว่า ทักษะการบริหารทั้ง 3 ด้านมีความจำเป็น และมีความสำคัญต่อการปฏิบัติงานของผู้บริหารเป็น
อย่างยิ่ง และมีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการบริหารโรงเรียน จำเป็นที่ผู้บริหารสถาน
ศึกษาต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และเสริมสร้าง ปรับปรุงการปฏิบัติงานให้เกิดทักษะการบริหาร ทั้งด้าน
เทคนิค ด้านมนุษย์ และด้านความคิดรวบยอด จึงจะสามารถบรรลุผลสำเร็จในการบริหารสถานศึกษาที่รับ
ผิดชอบ
บทที่ 3
วิธีดำเนินการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาตามทัศนะของ
ข้าราชครูสังกัดสำนักงานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร โดยมีขั้นตอนในการดำเนินการดังนี้
1. ประชากร และกลุ่มตัวอย่าง
2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
3. การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
4. การเก็บรวบรวมข้อมูล
5. การวิเคราะห์ข้อมูล
6. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
กาวิจัยครั้งนี้ ได้ศึกษากับประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ดังนี้.
1. ประชากร ได้แก่ ข้าราชการครูที่ปฏิบัติการสอนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนัก
งานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร จำนวน 410 คน จาก 17 โรงเรียน
2. กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ข้าราชการครูปฏิบัติการสอนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนัก
งานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (stratified random samplings)
โดยใช้ตารางการกำหนดกลุ่มตัวอย่างของ เครจซี่ และมอร์แกน (Krejcie & Morgan, 1970 : 8 )ได้กลุ่ม
ตัวอย่างทั้งหมด 206 คน แยกเป็นข้าราชการครูโรงเรียนขนาดเล็ก 51 คน ข้าราชการครูโรงเรียน
ขนาดกลาง จำนวน 89 คน และข้าราชการครูโรงเรียนขนาดใหญ่ จำนวน 66 คน จำแนกเป็นรายโรง
เรียนดังตารางที่ 1
ตารางที่ 1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำแนกตามขนาดของโรงเรียนในเขตธนบุรี
กรุงเทพมหานคร
ขนาดของโรงเรียน ประชากร กลุ่มตัวอย่าง
เล็ก 104 51
กลาง 176 89
ใหญ่ 130 66
รวม 410 206
38
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับทักษะการบริหารของผู้บริหารโรง
เรียนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง แบ่งเป็น แบ่งออกเป็น 2 ตอน ได้แก่
ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ลักษณะคำถามที่ใช้เป็นแบบเลือกตอบ เกี่ยวกับ
เพศ อายุ วุฒิ ตำแหน่ง ระยะเวลาที่ปฏิบัติการสอนและขนาดของโรงเรียนที่ปฏิบัติการสอน
ตอนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร
3 ด้าน ได้แก่ ทักษะด้านเทคนิควิธี ทักษะด้านมนุษย์ และทักษะด้านความคิดรวบยอด ลักษณะของแบบ
สอบถาม เป็นแบบมาตรประมาณค่า (rating scale) จำนวน 48 ข้อ มีรายละเอียดดังนี้
1. ทักษะด้านเทคนิควิธี ข้อ 1-18 จำนวน 18 ข้อ
2. ทักษะด้านมนุษย์ ข้อ 19-35 จำนวน 17 ข้อ
3. ทักษะด้านความคิดรวบยอด ข้อ 36-48 จำนวน 13 ข้อ

การวางแผนเชิงกลยุทธ์ของห้องสมุดโรงเรียน (ตอนที่ 1)
การวางแผนเชิงกลยุทธ์ของห้องสมุดโรงเรียน (ตอนที่ 2)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น