วันเสาร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2552

การวางแผนเชิงกลยุทธ์ของห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ (ตอนที่ 1)



การวางแผนเชิงกลยุทธ์ของห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ
แผนกมัธยมศึกษา ปีพุทธศักราช 2550
นางกานดา ลือกาญจนวนิช
วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
ปีการศึกษา 2546
ISBN 974-373-347-7
ลิขสิทธิ์ของสถาบันราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
THE STRATEGIC PLAN OF ASSUMPTION SECONDARY
SCHOOL’S LIBRARY FOR B.E. 2550
MRS.KANDA LUEKANJANAVANICH
A Thesis Submitted in Partial Fulfillment of the Requirements
for the Master of Arts Program in Library and Information Science
at Rajabhat Institute Bansomdejchaopraya
Academic Year 2003
ISBN 974-373-347-7

กานดา ลือกาญจนวนิช. (2546). การวางแผนเชิงกลยุทธ์ของห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ
แผนกมัธยมศึกษา ปีพุทธศักราช 2550. วิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย
สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. คณะกรรมการควบคุม : รองศาสตราจารย์
ดร.นันทา วิทวุฒิศักดิ์, รองศาสตราจารย์ หรรษา ศิวรักษ์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์
ดร.ชัชวาลย์ วงษ์ประเสริฐ.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1.)ศึกษาสภาพปัจจุบันของห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ
แผนกมัธยมศึกษา (2.) ศึกษาภาพที่พึงประสงค์ของห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยมศึกษา
(3.) กำหนดเป้าหมาย และแผนกลยุทธ์ของห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยมศึกษาสำหรับ
ปีพุทธศักราช 2550 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบตรวจสอบสภาพแวดล้อม
และแบบสอบถามภาพที่พึงประสงค์ของห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยมศึกษา ใช้เก็บ
รวบรวมข้อมูลจากกลุ่มประชากร ได้แก่ผู้บริหาร บรรณารักษ์ ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด และกลุ่มผู้มี
ส่วนได้ส่วนเสีย กลุ่มตัวอย่างได้แก่ครูและนักเรียน รวมทั้งหมด 219 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่า
สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัจจุบันของห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยมศึกษา มีบริการที่ทันสมัย
ด้วยระบบห้องสมุดอัตโนมัติ มีโครงสร้างของงานที่ชัดเจน นโยบายของห้องสมุดสอดคล้องกับ
นโยบายของโรงเรียน บุคลากรมีความสามารถทำงานเป็นทีม และทรัพยากรสารสนเทศมีความ
หลากหลาย จุดอ่อน คือ อาคารสถานที่ตั้งอยู่ในบริเวณที่ไม่เหมาะสม ครุภัณฑ์ไม่เหมาะสม การใช้
ทรัพยากรสารสนเทศไม่คุ้มค่า เพราะมีผู้ใช้น้อย ความต้องการใช้ห้องสมุดของผู้ใช้เปลี่ยนไป และ
ห้องสมุดมีแสงสว่างไม่เพียงพอ
2. ผลการศึกษาภาพที่พึงประสงค์ของห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยม ศึกษาใน
3 มาตรฐานตามเกณฑ์ห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก คือมาตรฐานด้านปัจจัยนำเข้า
มาตรฐานด้านกระบวนการ และมาตรฐานด้านผลผลิต ในภาพรวมและรายข้อผู้ตอบแบบสอบถาม
มีความต้องการให้เกิดในระดับมากทุกมาตรฐาน
3. แผนกลยุทธ์ของห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยมศึกษา สำหรับปีพุทธศักราช
2550 (1.) จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านให้หลากหลายทั้งภายในและภายนอกห้องสมุด (2.) การ
พัฒนาเทคโนโลยีที่สารสนเทศที่ใช้บริการให้ทันสมัยเสมอ (3.) การจัดห้องสมุดให้เป็นแหล่งเรียนรู้
ที่หลากหลายทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (4.) การพัฒนาบุคลากรด้าน
เทคโนโลยีสารสนเทศและการให้บริการให้ทันสมัยเสมอ (5.) การจัดสภาพแวดล้อมแห่งการเรียนรู้
ให้มีบรรยากาศใกล้ชิดธรรมชาติ (6.) การจัดบริการเชิงรุกที่สามารถตอบสนองการเรียนการสอนที่
เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

กานดา ลือกาญจนวนิช. (2546). การวางแผนเชิงกลยุทธ์ของห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ
แผนกมัธยมศึกษา ปีพุทธศักราช 2550. วิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย
สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. คณะกรรมการควบคุม : รองศาสตราจารย์
ดร.นันทา วิทวุฒิศักดิ์, รองศาสตราจารย์ หรรษา ศิวรักษ์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์
ดร.ชัชวาลย์ วงษ์ประเสริฐ.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1.)ศึกษาสภาพปัจจุบันของห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ
แผนกมัธยมศึกษา (2.) ศึกษาภาพที่พึงประสงค์ของห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยมศึกษา
(3.) กำหนดเป้าหมาย และแผนกลยุทธ์ของห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยมศึกษาสำหรับ
ปีพุทธศักราช 2550 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบตรวจสอบสภาพแวดล้อม
และแบบสอบถามภาพที่พึงประสงค์ของห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยมศึกษา ใช้เก็บ
รวบรวมข้อมูลจากกลุ่มประชากร ได้แก่ผู้บริหาร บรรณารักษ์ ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด และกลุ่มผู้มี
ส่วนได้ส่วนเสีย กลุ่มตัวอย่างได้แก่ครูและนักเรียน รวมทั้งหมด 219 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่า
สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัจจุบันของห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยมศึกษา มีบริการที่ทันสมัย
ด้วยระบบห้องสมุดอัตโนมัติ มีโครงสร้างของงานที่ชัดเจน นโยบายของห้องสมุดสอดคล้องกับ
นโยบายของโรงเรียน บุคลากรมีความสามารถทำงานเป็นทีม และทรัพยากรสารสนเทศมีความ
หลากหลาย จุดอ่อน คือ อาคารสถานที่ตั้งอยู่ในบริเวณที่ไม่เหมาะสม ครุภัณฑ์ไม่เหมาะสม การใช้
ทรัพยากรสารสนเทศไม่คุ้มค่า เพราะมีผู้ใช้น้อย ความต้องการใช้ห้องสมุดของผู้ใช้เปลี่ยนไป และ
ห้องสมุดมีแสงสว่างไม่เพียงพอ
2. ผลการศึกษาภาพที่พึงประสงค์ของห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยม ศึกษาใน
3 มาตรฐานตามเกณฑ์ห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก คือมาตรฐานด้านปัจจัยนำเข้า
มาตรฐานด้านกระบวนการ และมาตรฐานด้านผลผลิต ในภาพรวมและรายข้อผู้ตอบแบบสอบถาม
มีความต้องการให้เกิดในระดับมากทุกมาตรฐาน
3. แผนกลยุทธ์ของห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยมศึกษา สำหรับปีพุทธศักราช
2550 (1.) จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านให้หลากหลายทั้งภายในและภายนอกห้องสมุด (2.) การ
พัฒนาเทคโนโลยีที่สารสนเทศที่ใช้บริการให้ทันสมัยเสมอ (3.) การจัดห้องสมุดให้เป็นแหล่งเรียนรู้
ที่หลากหลายทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (4.) การพัฒนาบุคลากรด้าน
เทคโนโลยีสารสนเทศและการให้บริการให้ทันสมัยเสมอ (5.) การจัดสภาพแวดล้อมแห่งการเรียนรู้
ให้มีบรรยากาศใกล้ชิดธรรมชาติ (6.) การจัดบริการเชิงรุกที่สามารถตอบสนองการเรียนการสอนที่
เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

สารบัญ
หน้า
บทคัดย่อภาษาไทย............................................................................................................. ง
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ........................................................................................................ ฉ
ประกาศคุณูปการ............................................................................................................... ซ
สารบัญ.............................................................................................................................. ฌ
สารบัญตาราง.................................................................................................................... ฏ
สารบัญแผนภาพ................................................................................................................ ฐ
บทที่ 1 บทนำ..................................................................................................................... 1
1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา............................................................ 2
1.2 วัตถุประสงค์ของการวิจัย.................................................................................. 2
1.3 ขอบเขตของการวิจัย......................................................................................... 2
1.4 นิยามศัพท์เฉพาะ............................................................................................. 3
1.5 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ................................................................................ 4
1.6 กรอบแนวคิดในการวิจัย.................................................................................... 5
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง................................................................................. 6
ตอนที่ 1 การวางแผนเชิงกลยุทธ์............................................................................... 6
1. ความหมายการวางแผน........................................................................... 6
2. ความหมายของคำว่า “กลยุทธ์”................................................................ 7
3. ความหมายของคำว่า “การวางแผนเชิงกลยุทธ์”......................................... 7
4. กระบวนการวางแผนเชิงกลยุทธ์................................................................ 9
5. การนำแผนกลยุทธ์มาใช้ในห้องสมุดโรงเรียน............................................. 18
ตอนที่ 2 ทิศทางของห้องสมุดในอนาคต................................................................... 24
ตอนที่ 3 แนวคิดทฤษฎีการบริหารงานห้องสมุดสมัยใหม่........................................... 33
ตอนที่ 4 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง.................................................................................... 42
งานวิจัยในประเทศ.................................................................................... 42

สารบัญ (ต่อ)
หน้า
งานวิจัยต่างประเทศ.............................................................................. 48
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย.................................................................................................... 51
ตอนที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันของห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยมศึกษา.......... 51
ตอนที่ 2 ศึกษาภาพที่พึงประสงค์ของห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยมศึกษา.... 54
ตอนที่ 3 กำหนดเป้าหมายและแผนกลยุทธ์ของห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนก
มัธยมศึกษา ในปีพุทธศักราช 2550.............................................................
56
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล............................................................................................. 58
ตอนที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันของห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยมศึกษา......... 59
ตอนที่ 2 ศึกษาภาพที่พึงประสงค์ของห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยมศึกษา.... 60
ตอนที่ 3 กำหนดเป้าหมาย และแผนกลยุทธ์ของห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนก
มัธยมศึกษา สำหรับปีพุทธศักราช 2550.....................................................
72
แผนกลยุทธ์ห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยมศึกษา.......................... 78
บทที่ 5 สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ.......................................................... 86
5.1 วัตถุประสงค์ของการวิจัย................................................................................... 86
5.2 ขอบเขตการวิจัย............................................................................................... 86
5.3 วิธีดำเนินการวิจัย.............................................................................................. 86
5.4 สรุปผลการวิจัย................................................................................................. 86
5.5 อภิปรายผลการวิจัย.......................................................................................... 88
5.6 ข้อเสนอแนะ..................................................................................................... 92
บรรณานุกรม.....................................................................................................................
.
93

สารบัญ (ต่อ)
หน้า
ภาคผนวก......................................................................................................................... 97
ภาคผนวก ก หนังสือเชิญผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเครื่องมือ............................................ 98
ภาคผนวก ข รายชื่อผู้เชี่ยวชาญตรวจแบบสอบถาม.................................................... 100
ภาคผนวก ค แบบสอบถามตรวจสอบสภาพแวดล้อมของห้องสมุดโรงเรียน................... 102
ภาคผนวก ง แบบสอบถามภาพที่พึงประสงค์ของห้องสมุดโรงเรียน.............................. 106
ภาคผนวก จ มาตรฐานห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา พ.ศ. 2533 ของสมาคมห้องสมุด
แห่งประเทศไทยฯ................................................................................. 120
ภาคผนวก ฉ ประวัติผู้วิจัย........................................................................................ 129

สารบัญตาราง
หน้า
ตารางที่
1 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน.............................................................................. 19
2 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก........................................................................... 19
3 การจัดทำตารางความสัมพันธ์แบบ สว็อท แมทริกส์ (SWOT Matrix)……………………. 22
4 มาตรฐานบุคลากร...................................................................................................... 36
5 แสดงประชากรและกลุ่มตัวอย่างของครู และนักเรียนโรงเรียนอัสสัมชัญแผนกมัธยมศึกษา 52
6 สภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นผู้บริหาร บรรณารักษ์ ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด
และครูโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยมศึกษา.................................................................
60
7 สภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นนักเรียน......................................................... 61
8 ภาพที่พึงประสงค์ของมาตรฐานด้านปัจจัยนำเข้าในส่วนของบุคลากรที่ผู้บริหาร
บรรณารักษ์ ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด ครู และนักเรียนต้องการให้เกิดกับห้องสมุด.................
62
9 ภาพที่พึงประสงค์ของมาตรฐานด้านปัจจัยนำเข้าในส่วนของทรัพยากรที่ผู้บริหาร
บรรณารักษ์ ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด ครู และนักเรียนต้องการให้เกิดกับห้องสมุด.................
64
10 ภาพที่พึงประสงค์ของมาตรฐานด้านปัจจัยนำเข้าในส่วนของอาคารสถานที่ ที่ผู้บริหาร
บรรณารักษ์ ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด ครู และนักเรียนต้องการให้เกิดกับห้องสมุด..................
65
11 ภาพที่พึงประสงค์ของมาตรฐานด้านกระบวนการในส่วนของการบริหารจัดการที่ผู้บริหาร
บรรณารักษ์ ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด และครู ต้องการให้เกิดกับห้องสมุด.............................
66
12 ภาพที่พึงประสงค์ของมาตรฐานด้านกระบวนการในส่วนของการบริการที่ผู้บริหาร
บรรณารักษ์ ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด ครู และนักเรียนต้องการให้เกิดกับห้องสมุด..................
67
13 ภาพที่พึงประสงค์ของมาตรฐานกระบวนการในส่วนของการเข้าถึงข้อมูลที่ผู้บริหาร
บรรณารักษ์ ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด ครู และนักเรียนต้องการให้เกิดกับห้องสมุด..................
68
14 ภาพที่พึงประสงค์ของมาตรฐานด้านกระบวนการในส่วนของเครือข่ายที่ผู้บริหาร
บรรณารักษ์ ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด ครู และนักเรียนต้องการให้เกิดกับห้องสมุด..................
69
15 ภาพที่พึงประสงค์ของมาตรฐานด้านผลผลิตที่ผู้บริหาร บรรณารักษ์ ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด
ครู และนักเรียนต้องการให้เกิดกับห้องสมุด....................................................................
70
16 ตารางความสัมพันธ์แบบสว็อท แมทริกส์ (SWOT Matrix)………………………………….. 75

สารบัญแผนภาพ
หน้า
แผนภาพที่ 1 กรอบแนวคิดในการวิจัย................................................................................... 5
แผนภาพที่ 2 รูปแบบการวางแผนเชิงกลยุทธ์........................................................................ 17
แผนภาพที่ 3 การตรวจสอบสภาพแวดล้อม……………………………………………………… 20
แผนภาพที่ 4 รูปแบบของกิจกรรมในการพัฒนา “ห้องสมุด” สู่ “แหล่งเรียนรู้”............................. 26
บทที่ 1
บทนำ
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
ความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของ “สังคมยุคโลกาภิวัตน์” หรือ “ยุคโลกไร้พรมแดน”
ทำให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ผลกระทบที่เห็นเด่นชัดจากการเปลี่ยนแปลง
อย่างรวดเร็วนี้ คือทุกบุคคล ทุกองค์กร ทุกระดับ ต้องเข้าสู่ภาวะที่มีการแข่งขันสูง ความสามารถ
ในการมองอนาคต และการตัดสินใจในปัจจุบันเพื่ออนาคตที่ดีกว่า จึงเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง (ทวีชัย
บุญเติม 2540:2) การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกลายเป็นปัญหาอย่างมากของสังคม โดยเฉพาะระบบ
การศึกษาไทยซึ่งค่อนข้างล้าหลัง พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (พระราชบัญญัติ
การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542:9) เป็นพระราชบัญญัติที่ออกมาเพื่อแก้ไขระบบการศึกษาของไทย
ใหม่ โดยเฉพาะในเรื่องของแนวการจัดการศึกษา ในหมวดที่ 4 สรุปได้ว่า การจัดการศึกษาต้องเน้น
ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางโดยยึดหลักที่ว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนร ู้ และพัฒนาตนเองได้ โดย
การจัดสภาพแวดล้อม บรรยากาศรวมทั้งแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ให้หลากหลาย ให้เกิดการเรียนรู้ขึ้นได้
ทุกเวลา ทุกสถานที่ แนวการจัดการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มุ่งเน้นประโยชน์ของผู้เรียนเป็น
สำคัญโดยจัดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น มีนิสัยรัก
การอ่าน ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน แนวการจัดที่มุ่งปลูกฝัง และสร้างลักษณะที่พึงประสงค์ให้กับผู้เรียน โดยเน้น
ความรู้คู่คุณธรรม แนวการจัดกระบวนการเรียนรู้ เน้นให้สถานศึกษาจัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้
สอดคล้องกับความสนใจของผู้เรียน มีทักษะในการคิด การจัดการ เผชิญปัญหาและแก้ปัญหาได้
ปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงาม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา นอกจากนี้ในหมวด 6
ว่าด้วยเรื่องมาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษาให้สถานศึกษาจัดให้มีระบบประกันคุณภาพ
ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2543) ห้องสมุด
โรงเรียนอัสสัมชัญแผนกมัธยมศึกษาเป็นองค์ประกอบหนึ่งของสถานศึกษา ที่ได้รับผลกระทบโดย
ตรงในฐานะเป็นแหล่งการเรียนรู้ และส่งเสริมพัฒนาการทางวิชาการที่สำคัญยิ่ง รวมทั้งเป็นผู้นำ
ในการพัฒนาและปฏิรูปการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
(เกรียงศักดิ์ สังข์ชัย 2544:9) สิ่งเหล่านี้นับเป็นโอกาสที่ดีอย่างยิ่งสำหรับห้องสมุดที่จะพัฒนาให้
สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
“ในสภาวะที่สภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว องค์กรที่ปรับตัวไม่ทัน มีโอกาสที่
จะล่มสลายได้” (ทวีชัย บุญเติม 2540:7-8) และจากการเปลี่ยนแปลงภายในโรงเรียนอัสสัมชัญ
2
แผนกมัธยมศึกษาอย่างมาก ห้องสมุดซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียนจึงต้องปรับตัวให้ทันกับสภาวะ
ดังกล่าว จะปรับตัวไปในทิศทางใดและอย่างไร ให้สนองตอบกับนโยบายและแผนพัฒนาของ
โรงเรียน และจำเป็นต้องกำหนดทิศทางให้ไปในแนวเดียวกัน เพื่อความมีศักยภาพ และสอดคล้อง
กับสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
ผู้วิจัยจึงมีแนวคิดในการทำวิจัย การวางแผนเชิงกลยุทธ์ของห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ
แผนกมัธยมศึกษา สำหรับปีพุทธศักราช 2550 ขึ้น เพื่อได้เป็นแนวทางในการจัดการห้องสมุดใหม่
ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน อันจะทำให้บุคลากรเกิดความเข้าใจ
และทำงานไปในทิศทางเดียวกัน ต่อไป
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. ศึกษาสภาพปัจจุบันของห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยมศึกษา
2. ศึกษาภาพที่พึงประสงค์ของห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยมศึกษา
3. กำหนดเป้าหมาย และแผนกลยุทธ์ของห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยมศึกษา ปี
พุทธศักราช 2550
ขอบเขตของการวิจัย
การวิจัย เรื่องการวางแผนเชิงกลยุทธ์ ของห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญแผนกมัธยมศึกษา
ปีพุทธศักราช 2550 มีขอบเขตการวิจัย ดังนี้
1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ผู้บริหาร บรรณารักษ์และผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด ครู นักเรียน ในโรงเรียนอัสสัมชัญ
แผนกมัธยมศึกษา ในปีการศึกษา 2546 ประกอบด้วย
ผู้อำนวยการโรงเรียน
รองผู้อำนวยการ
หัวหน้าฝ่าย
หัวหน้าระดับ
หัวหน้ากลุ่มสาระ
หัวหน้างาน
บรรณารักษ์และผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด
ครูและนักเรียน
3
2. ในการทำการวิจัย ผู้วิจัยใช้การวางแผนกลยุทธ์ในการวิจัยมีขั้นตอน ดังนี้
2.1 ตรวจสอบและวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของห้องสมุด
2.2 กำหนดวิสัยทัศน์และภารกิจหลักของห้องสมุด
2.3 การกำหนดกลยุทธ์ของห้องสมุด
3. ศึกษาเฉพาะห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยมศึกษา ตามสภาพปัจจุบัน
4. ผู้ให้ข้อมูลในการวิจัยนี้ เป็นคณะผู้บริหารของโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยมศึกษา
บรรณารักษ์ และผู้ปฏิบัติงานในห้องสมุด นำเสนอการรับรู้จากประสบการณ์ในการทำงาน การมี
ส่วนร่วมในการพัฒนาบริหารจัดการห้องสมุดช่วงที่มีการปฏิรูปการศึกษา ตั้งแต่พระราชบัญญัติการ
ศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 จนถึงปัจจุบัน
นิยามศัพท์เฉพาะ
การวางแผนเชิงกลยุทธ์ หมายถึงการวางแผนการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายใน
อนาคต โดยมีการศึกษาสภาพแวดล้อมภายใน และภายนอก เพื่อกำหนดภารกิจ วิสัยทัศน์ วัตถุ
ประสงค ์ เป้าหมายและกลยุทธ์ของห้องสมุด
ห้องสมุด หมายถึง หน่วยงานที่ดำเนินงาน และให้บริการห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ
แผนกมัธยมศึกษา
สภาพแวดล้อมภายนอก หมายถึง องค์ประกอบภายนอกห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ
แผนกมัธยมศึกษา 5 ด้าน คือ 1. การเมือง กฎหมาย และนโยบายของรัฐ 2. การบริหาร 3. สังคม 4.
เศรษฐกิจ 5. เทคโนโลยีและแนวโน้มการใช้บริการ สภาพแวดล้อมภายนอกนี้แบ่งออกเป็น 2 ด้าน คือ
โอกาส ซึ่งหมายถึง ปัจจัยภายนอกที่เอื้อต่อการพัฒนาห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยม
ศึกษา และภาวะคุกคาม ซึ่งหมายถึง ปัจจัยภายนอกที่ก่อให้เกิดอุปสรรคต่อความเจริญก้าวหน้า
หรือช่วยการดำเนินงานของห้องสมุด
สภาพแวดล้อมภายใน หมายถึง องค์ประกอบภายในห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนก
มัธยมศึกษา 7 ด้าน คือ 1. ค่านิยมของหน่วยงาน 2. โครงสร้างของหน่วยงาน 3. ระบบการทำงาน
4. บุคลากร 5. ลักษณะการบริหาร 6.การบริการ 7. เทคโนโลยี สภาพแวดล้อมภายในนี้ แบ่งออก
เป็น 2 ด้าน คือจุดแข็ง ซึ่งหมายถึง สภาวะของปัจจัยภายในห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยม
ที่จะส่งผลกระทบทางด้านบวกต่อห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยมศึกษา ดำเนินงานต่อไป
ได้อย่างมีคุณภาพและจุดอ่อน ซึ่งหมายถึง สภาวะของปัจจัยภายในห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ
แผนกมัธยมศึกษา ที่จะส่งผลกระทบทางลบหรือเหนี่ยวรั้งการดำเนินงานต่อไปได้อย่างมีคุณภาพ
4
การวิเคราะห์สภาวะแวดล้อมภายนอก หมายถึงการตรวจสอบและประเมินสภาพแวด
ล้อมภายนอก 5 ด้าน เพื่อระบุโอกาส และภาวะคุกคามของห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยม
ศึกษา
การวิเคราะห์สภาวะแวดล้อมภายใน หมายถึงการตรวจสอบ การประเมินสภาพปัจจุบัน
ของสภาพแวดล้อมภายใน 7 ด้าน คือ 1.ค่านิยมของหน่วยงาน 2. โครงสร้างของหน่วยงาน 3. ระบบ
การทำงาน 4. บุคลากร 5. ลักษณะการบริหาร 6. การบริการ 7. เทคโนโลยี
วิสัยทัศน์ หมายถึงสิ่งที่ห้องสมุดมุ่งหวังให้เกิดขึ้นในอนาคต สามารถจุดประกายความคิด
ให้แก่ผู้ปฏิบัติงานในองค์กร เพื่อมุ่งไปสู่สภาพที่ดีที่สุด โดยเชื่อมโยงวัตถุประสงค์ ภารกิจ ค่านิยม
และความเชื่อมั่นไปสู่ความมุ่งหวังนั้น และเป็นแนวทางให้องค์กรเดินไปในทิศทางเดียวกัน
ภารกิจ หรือพันธกิจ หมายถึง ข้อความที่แสดงแนวคิดและวิธีการดำเนินงานเพื่อบรรลุถึง
วิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้แล้วในนโยบายของโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยมศึกษา
เป้าหมาย หมายถึงผลลัพธ์ขั้นสุดท้ายที่ห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยมศึกษา
วางไว้ล่วงหน้าเพื่อบรรลุภารกิจที่กำหนดไว้และพัฒนาสู่วิสัยทัศน์อันประกอบด้วยเป้าหมายเชิง
ปริมาณ และเป้าหมายเชิงคุณภาพ
วัตถุประสงค์ (Objectives) หมายถึงการกำหนดจุดหมายหรือผลสำเร็จที่ต้องการ เพื่อ
ปฏิบัติงานหลังจากภารกิจหลัก โดยกำหนดวัตถุประสงค์ หรือทิศทางโดยรวมของห้องสมุดให้
บรรลุตามความต้องการในอนาคต
ภาพที่พึงประสงค์ หมายถึง ผลที่ได้จากการวิเคราะห์ความคาดหวังของผู้มีส่วนได้
ส่วนเสีย ตอบแบบสอบถามในด้านต่าง ๆ
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ทราบสภาพปัจจุบันของห้องสมุดว่ามีสภาพแวดล้อมในปัจจุบันอยู่ในสถานการณ์ใดเพื่อ
การแก้ไขปรับปรุง
2. ได้แนวทางในการบริหารจัดการงานห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยมศึกษา ใน
อนาคตให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
3. ได้กรอบในการพัฒนาห้องสมุดโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาทั่ว ๆ ไป โดยผู้บริหารและ
ผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปปรับใช้ตามศักยภาพ และความเหมาะสมของแต่ละห้องสมุดต่อไป
5
กรอบแนวคิดในการวิจัย
แผนภาพที่ 1 กรอบแนวคิดในการวิจัย
ทิศทางของห้องสมุดในอนาคต มีลักษณะพอสรุป
ได้ ดงั น้ ี (การประชมุ บรรณารกั ษน์ านาชาต ิ : 2542,
ประกอบ คุปรัตน์ : 2538, น้ำทิพย์ วิภาวิน : 2542 ฯ)
1. การดำเนินงานแบบ Electronic library
2. การบริการ
- บริการแบบ Online ผ่านเครือข่าย
- บริการเชิงรุก
- บริการชุมชน
3. การเข้าถึงข้อมูลด้วยเทคโนโลยีอิเล็คทรอนิกส์
4. มีเครือข่ายเพื่อใช้ทรัพยากรร่วมกัน
แผนกลยุทธ์สำหรับห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ
แผนกมัธยมศึกษา
การวางแผนกลยุทธ์ ใน 3 ด้าน
1. ด้านปัจจัยนำเข้า
2. ด้านกระบวนการ
3. ด้านผลผลิต
แนวคิดทฤษฏีการบริหารงานห้องสมุดสมัยใหม่
มีแนวคิดทฤษฏี สรุปได้ดังนี้ (หน่วยงานศึกษานิเทศ
กรมสามัญศึกษา : 2539)
1. มาตรฐานด้านปัจจัยนำเข้า แบ่งเป็น
1.1 บุคลากร
1.2 ทรัพยากร
1.3 อาคารสถานที่ และครุภัณฑ์
2. มาตรฐานด้านกระบวนการ
2.1 การบริหารจัดการ
2.2 การบริการ
2.3 การเข้าถึงข้อมูล
2.4 เครือข่ายห้องสมุด
3. มาตรฐานด้านผลผลิต
แนวคิดทฤษฏีในการวางแผนเชิงกลยุทธ์ มีขั้นตอน
สรุปได้ดังนี้ (คณะนักวิจัยสถาบันพระปกเกล้า : 2545)
1. การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกและภายใน
องค์กร
2. กำหนดภารกิจหลักขององค์กร
3. กำหนดกลยุทธ์หลักให้สอดคล้องกับภารกิจขององค์กร
4. ดำเนินการตามแผนกลยุทธ์
5. การติดตามประเมินผล
6
บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
การวิจัย เรื่อง การวางแผนเชิงกลยุทธ์ของห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญแผนกมัธยมศึกษา
ปีพุทธศักราช 2550 เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการวางแผนการปฏิบัติงานห้องสมุดของโรงเรียน
อัสสัมชัญ แผนกมัธยมศึกษาในอนาคต โดยผู้วิจัยได้ศึกษาค้นคว้าเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
โดยเสนอผลการศึกษา เป็น 4 ตอน ดังต่อไปนี้
ตอนที่ 1 การวางแผนเชิงกลยุทธ์
ตอนที่ 2 ทิศทางของห้องสมุดในอนาคต
ตอนที่ 3 ทฤษฏีการบริหารงานห้องสมุดสมัยใหม่
ตอนที่ 4 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ตอนที่ 1 การวางแผนเชิงกลยุทธ์
การนำเสนอวรรณกรรมในตอนที่ 1 เกี่ยวกับการวางแผนเชิงกลยุทธ์ ผู้วิจัยขอนำเสนอ
แนวคิดทฤษฏีการวางแผนเชิงกลยุทธ์ ไว้เป็น 3 หัวข้อ ดังนี้
1. ความหมายของการวางแผนเชิงกลยุทธ์
2. กระบวนการวางแผนเชิงกลยุทธ์
3. การนำการวางแผนกลยุทธ์มาใช้ในห้องสมุดโรงเรียน
1. ความหมายของการวางแผนเชิงกลยุทธ์
1.1 ความหมายของ “การวางแผน”
ธงชัย สันติวงษ์ (2540:2) ให้ความหมายของคำว่า “การวางแผน” หมายถึง
กระบวนการที่องค์กรหรือบุคคล ตัดสินใจเกี่ยวกับการทำงานไว้ล่วงหน้าว่าจะทำอะไรบ้างในอนาคต
โดยกระทำเป็นขั้นตอนและต่อเนื่อง
ปกรณ์ ปรียากร (2543 : 41-46) สรุปได้ว่า การวางแผนเป็นเรื่องที่กำหนดสภาพที่
ควรจะเป็นขององค์กรในอนาคต โดยใช้แผนที่วางไว้ควบคุมการทำงาน และเป็นการช่วยการตัดสิน
ใจในอนาคต
คาส์ทและโรสินวิค (Kast and Rosenweick 1970 : 435 – 436) สรุปว่า คือ
กระบวนการพิจารณาข้อมูลด้านต่าง ๆ เพื่อตัดสินใจว่าอนาคตจะทำอะไร มีการใช้ดุลพินิจกำหนด
วัตถุประสงค์ นโยบาย โครงการ และวิธีปฏิบัติ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์นั้น
7
กันสเทิร์น (Gunsteren 1976 : 12) ให้ความหมายของคำว่า “การวางแผน” ไว้ว่า
คือการประมวลกิจกรรมต่าง ๆ ขององค์กร ให้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง และสอดคล้อง มีระเบียบเพื่อ
ให้ทุกคนในองค์กร มีความผูกพัน มุ่งมั่นที่จะผลักดันให้การดำเนินงาน ดำเนินร่วมกันไปอย่างราบรื่น
มินท์สเบิร์ก (Mintsberg 1990 : 12) สรุปว่า การวางแผนเป็นกระบวนการที่เป็น
ทางการ โดยรวมระบบการตัดสินใจขององค์กรต่าง ๆ เพื่อกำหนดวิธีดำเนินงานที่ชัดเจนอันนำไปสู่
จุดมุ่งหมายหรือผลลัพท์ที่ต้องการร่วมกัน
1.2 ความหมายของคำว่า “กลยุทธ์”
คำว่ากลยุทธ์ มีรากศัพท์มาจากภาษากรีกโบราณ เป็นคำที่ใช้ในความหมายของ
ศิลป์ และศาสตร์เกี่ยวกับยุทธการทางทหารซึ่งคำศัพท์ “กลยุทธ์” หรือ “Strategy”มาจากคำสองคำ
รวมกันคือ “Stratos” ซึ่งหมายถึง “กองทัพ” และ “Legei” ซึ่งหมายถึง “การนำหรือผู้นำ” (พวงรัตน์
เกษรแพทย์. 2543 : 11) บางตำรา แปลว่า “ยุทธศาสตร์” (สอ เสถบุตร 2538:763)
อภิชาต ธีรธำรง (2532 : 1) ได้ให้ความหมายว่า หมายถึง“กลวิธี หรือกลยุทธ์ใน
การดำเนินการ ในขอบเขตที่กว้างขวางหรือระดับสูงให้บรรลุวัตถุประสงค์ โดยมุ่งที่จะให้บรรลุผลใน
เวลาอันสั้นที่สุด และสิ้นเปลืองหรือเกิดการเสียหายแก่ฝ่ายดำเนินกลยุทธ์น้อยที่สุด”
คำว่า “กลยุทธ์” เริ่มปรากฏในวงการทหารโดยใช้คำว่า “ยุทธศาสตร์” และแพร่
เข้ามาในวงการธุรกิจ และจึงเริ่มเข้ามาในวงการศึกษา กลยุทธ์ไม่ว่าจะใช้ในทางการทหาร ใน
วงการธุรกิจ หรือในทางการศึกษา จะหมายถึงแนวทางที่ทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ (ทวีชัย
บุญเติม 2540 : 18, 21)
1.3 ความหมายของคำว่า การวางแผนเชิงกลยุทธ์ (Strategic Planning)
ในทศวรรษ 1960 แชนด์เลอร์ (Chandler,1962 อ้างใน Maassen and Van
Vught, 1992) เป็นผู้เชื่อมโยงคำว่า strategy และ planning ซึ่งใช้เป็นศัพท์พื้นฐานในการพัฒนา
องค์การ หมายถึง การกำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ระยะยาวขององค์การ แล้วกำหนดแผน
ปฏิบัติงานและทรัพยากรที่จำเป็น เพื่อนำไปสู่เป้าหมายดังกล่าว วงการธุรกิจของไทยใช้คำว่าการ
วางแผนเชิงกลยุทธ์ ซึ่งศรีวงศ์ สุมิตร (2537 : 3) ให้ความหมายว่า “การจัดทำแผนเชิงกลยุทธ์
เป็นกระบวนการของการตัดสินใจเลือกจุดหมายขององค์การ การเปลี่ยนแปลงเป้าหมาย รวมทั้ง
การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ เพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายต่าง ๆ ในองค์การ นอกจากนี้ ยังครอบคลุมไปถึง
นโยบายต่าง ๆ การจัดหา การใช้ และการจัดสรรทรัพยากรต่าง ๆ ขององค์การ”
เคนท์ (1997:293) กล่าวว่าในปี 1967 มีผู้พยายามประยุกต์ทฤษฏีการวางแผนเชิงกลยุทธ์
เข้ากับวิชาบรรณารักษศาสตร์ เป็นวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกของ โรเบิร์ท อี เคมเพอร์ เรื่อง การ
วางแผนเชิงกลยุทธ์ระบบห้องสมุด และมีข้อเขียนสั้น ๆ ที่ตีพิมพ์เป็นฉบับปฐมฤกษ์ของ Advances
8
in Librarianship ในปี ค.ศ. 1970 คือโครงสร้างของการวางแผน เคมเพอร์ ได้เริ่มพัฒนาด้วย
คำอธิบายพื้นฐานที่มีลักษณะเฉพาะที่ได้จากความหลากหลายของแหล่งข้อมูล ซึ่งถือเป็นปัจจัย
สำคัญของงานวิจัย เรื่องการวางแผนเชิงกลยุทธ์ของห้องสมุดต่อมาดังนี้
1. ระบบการวางแผนต้องทำทั้งหมด กว้างๆ ครอบคลุมงานทุกด้านขององค์กรที่ประกอบ
เป็นสภาพแวดล้อม
2. การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของการบริหาร และการวางแผนปฏิบัติต้องสัมพันธ์กัน
3. ระบบการวางแผนต้องระบุภาระหน้าที่ให้รับรู้อย่างทั่วถึงและถูกต้องถึงความคาดหวัง
ขององค์การ
4. ระบบการวางแผนต้องมีการพัฒนา และตอบสนองความเปลี่ยนแปลงขององค์กร
5. แผนต้องมีเกณฑ์วัดคุณภาพ และคุณภาพของระบบที่ออกมาต้องหลากหลาย
ปกรณ์ ปรียากร (2543 : 41-46) ให้ความหมายของคำว่า “การวางแผนเชิงกลยุทธ์”
หมายถึง
1. การคิดเรื่องสภาพในอนาคตขององค์กร (Planning is future thinking) โดยกำหนด
กรอบเวลาในการวางแผนไว้ 3 ระยะ คือ
- การวางแผนระยะยาว (long range planning) ซึ่งมีระยะเวลาตั้งแต  5 ปี
ขึ้นไป
- การวางแผนระยะปานกลาง (middle range planning) คือแผนที่มีระยะ
เวลา ระหว่าง 3-5 ปี
- การวางแผนระยะสั้น (short range planning) คือมีระเวลาตั้งแต่ไม่กี่นาที
จนถึงไม่เกิน 3 ปี
2. การควบคุมอนาคต (planning is controlling the future) เป็นการคาดการณ์ด้านต่าง ๆ
อย่างละเอียด เพื่อกำหนดวิธีการที่ต้องทำในอนาคต ด้วยกระบวนการ (process) ที่
ครอบคลุมกิจกรรมที่ต้องปฏิบัติ (tasks or activities) งบประมาณ (budgeting) โดยมีคนหรือ
องค์กรรับผิดชอบและปฏิบัติร่วมกัน
3. การตัดสินใจ (Planning is decision making) การวางแผนคือ การตัดสินใจล่วงหน้าว่า
จะทำอะไร ทำอย่างไร ทำเมื่อใด ใครเป็นผู้ทำ โดยใช้ดุลพินิจในการกำหนดวัตถุประสงค์ นโยบาย
โครงการ วิธีปฏิบัติ ให้บรรลุวัตถุประสงค์ และประเมินความสำเร็จในอนาคต
4. การตัดสินใจเชิงบูรณาการ (Planning is integrated decision making) ถือเป็น
กระบวนตัดสินใจในการดำเนินงานให้เป็นไปอย่างต่อเนื่องและสอดประสานกันอย่างเป็นระบบ
9
5. กระบวนการในการจำแนก แจกแจงเหตุผล และเชื่อมโยง (Planning is formalized
procedure) เป็นกระบวนการในการกำหนดกลยุทธ์หลัก และกลยุทธ์ย่อย โดยใช้การวิเคราะห์และ
รวบรวมเรียบเรียงเป็นเอกสารแผน
เคนท์ (Kent 1997 : 30) กล่าวถึงการวางแผนเชิงกลยุทธ์ของห้องสมุดว่าเป็นการจัดการงาน
ห้องสมุดอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่การฝึกปฏิบัติหรือการจัดการเอกสารเพียงครั้งเดียว แต่เป็นการ
ทำซ้ำ และเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่อง
เคนท์ (Kent 1997 : 292) ได้สรุป “การวางแผนเชิงกลยุทธ์” ไว้ว่า หมายถึง เป้าหมายของ
อนาคต การประเมินปัจจัยของสภาวะแวดล้อมเช่นเศรษฐกิจ สังคม กฎหมาย และเทคโนโลยี เป็น
ประสิทธิภาพที่มีอิทธิพลทำให้บรรลุผลตามเป้าหมายมากที่สุด
ปีเตอร์สันและโค้ป (Peterson and Cope อ้างใน Maassen and van Vught, 1992 :
1485) ผู้มีความสนใจในการนำ การวางแผนเชิงกลยุทธ์ มาใช้ในวงการอุดมศึกษา ได้ประยุกต์
แนวคิดของกลยุทธ์เข้ากับ การวางแผนสถาบัน (institutional planning) ซึ่งได้พัฒนามาถึง
ทศวรรษที่ 1960 ในทัศนะของทั้งสองคนนี้ การวางแผนสถาบัน น่าจะนำไปสู่การกำกับกลยุทธ์ของ
สถาบันซึ่งเป็นการมองไปในอนาคต
ริกส์ (Riggs 1992 อ้างใน นันทา วิทวุฒิศักดิ์ 2544 : 2) ได้อธิบายกระบวนการวางแผน
เชิงกลยุทธ์ของห้องสมุด ว่าหมายถึง การมุ่งไปสู่พันธกิจขององค์กรที่ตั้งไว้ตามเป้าหมาย วัตถุ
ประสงค์ กลยุทธ์ ทางเลือกต่าง ๆ และความไม่แน่นอนต่าง ๆ รวมทั้งการกระจายทรัพยากร
การปฏิบัติตามแผนการ และการประเมินผล แนวทางต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการจำกัดความของ
การวางแผนกลยุทธ์สามารถสรุปเป็นเป้าหมายในอนาคต การประเมินองค์ประกอบของ
สิ่งแวดล้อม (เศรษฐกิจ การเมือง สังคม และเทคโนโลยี) ซึ่งมีอิทธิพลต่อความสำเร็จของเป้าหมาย
และเป็นการกำหนดรูปแบบ วิธีปฏิบัติที่จำเป็นเพื่อให้ประสบความสำเร็จอย่างสูงสุด
สรุป การวางแผนเชิงกลยุทธ์ หมายถึงการวางแผนดำเนินงานที่จะทำในอนาคต ให้บรรลุ
เป้าหมายที่โดยมีการศึกษาสภาพแวดล้อมของห้องสมุด เพื่อสร้างทิศทาง และดำเนินงานตาม
กลยุทธ์ที่วางไว้
2. กระบวนการวางแผนเชิงกลยุทธ์
กระบวนการวางแผนเชิงกลยุทธ์ มีขั้นตอนและการวางแผนหลายรูปแบบ ในการนี้ได้
นำเสนอรูปแบบที่สามารถนำมาใช้กับการวางแผนกลยุทธ์ของห้องสมุดโรงเรียนไว้ดังนี้
10
ปกรณ์ ปรียากร (2543 : 92 – 94) ได้นำแนวคิดของ จอห์น เอ็ม ไบร์สัน มาเขียนไว้
ในเรื่อง การวางแผนเชิงกลยุทธ์แนวคิดและแนวทางเชิงประยุกต์ ซึ่งไบร์สัน ได้แบ่งกระบวนการ
วางแผนกลยุทธ์ไว้เป็น 10 ขั้นตอน สรุปได้ดังนี้
1. กำหนดข้อตกลง และแนวคิดเบื้องต้นในการวางแผนกลยุทธ์
2. พิจารณาอำนาจหน้าที่ขององค์กร
3. กำหนดภารกิจและค่านิยมต่าง ๆ ขององค์กร
4. ประเมินสภาพแวดล้อมภายนอก และภายใน
5. ระบุประเด็นที่จะนำไปสู่การวางกลยุทธ์
6. กำหนดกลยุทธ์
7. ทบทวนอนุมัติกลยุทธ์และแผน
8. กำหนดวิสัยทัศน์
9. นำแผนไปสู่การดำเนินงาน
10. ประเมินผล
ทองหล่อ เดชไทย (2544 : 94 –98) ได้นำเสนอแนวคิดกระบวนการวางแผนกลยุทธ์ไว้
พอสรุปเป็นขั้นตอนหลัก ๆ ดังนี้
ขั้นที่ 1 การวางแผนกระบวนการ (Planning the Process) เป็นการช่วยเหลือผู้บริหาร
องค์การตัดสินใจในสิ่งต่อไปนี้
- โครงสร้างคณะกรรมพัฒนาข้อมูลการวางแผน ประเมินข่าวสารและเลือก
กลยุทธ์
- วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
- สมาชิกทีมวางแผน
- ความถี่ของการประชุม
- ระยะเวลาที่คาดว่าต้องใช้สำหรับวางแผน
ขั้นที่ 2 การประเมินข้อความพันธกิจ (Assessing the Mission Statement)
ขั้นที่ 3 การประเมินสภาพแวดล้อม (Assessing Environmental Situations) โดยใช้
SWOT Analysis
ขั้นที่ 4 การวิเคราะห์กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Analyzing Stakeholders)
ขั้นที่ 5 การกำหนดเป้าประสงค์และวัตถุประสงค์ (Setting Goals and Objectives)
ขั้นที่ 6 การกำหนดทางเลือกกลยุทธ์ (Formulating Strategic Options)
ขั้นที่ 7 การเลือกและการพัฒนากลยุทธ์ (Selecting and Developing Strategies)
11
ขั้นที่ 8 การพัฒนาแผนการดำเนินงาน (Developing the Implementation Plan)
สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ (2544 : 6-15) ได้อธิบายถึงองค์ประกอบในการวางแผน
เชิงกลยุทธ์ไว้ 5 ประการ พอสรุปได้ ดังนี้
1. การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายนอกองค์กร ได้แก่ เศรษฐกิจ
การเมือง สังคม ว่ามีความเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างที่เป็นผลกระทบต่อองค์กร ถ้าเกิดผลกระทบในทาง
บวก เรียกว่า “โอกาส” (Opportunity) แต่ถ้าเกิดผลกระทบในทางลบ เรียกว่า “ภยันตราย”
(Threat) การวิเคราะห์ก็เพื่อให้องค์กรสามารถปรับตัวได้ทัน และเตรียมพร้อมในการรองรับการ
เปลี่ยนแปลง
2. การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายในขององค์กร ได้แก่ บุคลากร
ระบบการเงิน เทคโนโลยี โครงสร้างองค์กร ระบบการสื่อสาร ค่านิยม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหา
จุดอ่อน (Weakness)และจุดแข็ง (Strength) ขององค์กร
3. กำหนดทิศทางกลยุทธ์ หรือแผนทิศทางด้วยการกำหนดภารกิจว่าองค์กรมีหน้าที่ทำอะไร
และในอนาคตองค์กรจะเป็นอย่างไร
4. กำหนดกลยุทธ์ คือการกำหนดกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับภารกิจที่ตั้งไว้ การสร้างความ
สอดคล้องระหว่างส่วนต่าง ๆ ให้มีความสัมพันธ์กันเป็นการเสริมให้ทิศทางขององค์กรบรรลุสู่
เป้าหมายของการพัฒนาในอนาคต
5. ปฏิบัติตามแผน เป็นการนำกลยุทธ์ที่กำหนดไว้มาทำ การวางแผนนั้นจะต้องเป็นการวาง
แผนที่สามารถปฏิบัติได้จริง
สุพานี สฤษ์วานิช (2544 : 17 –18) ได้นำเสนอแนวคิดในการวางแผนกลยุทธ์ไว้ว่า การวาง
แผนกลยุทธ์เป็นการวางแผนระยะยาวขององค์กร เพื่อให้ได้มาซึ่งกลยุทธ์ โดยมีกระบวนการที่สำคัญ
3 ขั้นตอน คือ
1. ขั้นตอนการวางแผนกลยุทธ์ ประกอบด้วย
1.1 การกำหนดภารกิจขององค์กร (Corporate Mission) เพื่อให้ทราบภาระงาน
ทิศทางและเป้าหมายที่องค์กรต้องการ
1.2 การตรวจสอบ และวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (Situational Audit หรือ SWOT
Analysis) เพื่อให้ทราบสถานะต่าง ๆ ขององค์กร สามารถปรับตัวรับมือกับเหตุการณ์ และความเสี่ยง
ต่าง ๆ จากสภาพแวดล้อมได้
1.3 การกำหนดกลยุทธ์ขององค์การ (Corporate Strategy) เพื่อให้มีแนวทางที่จะทำ
ให้องค์การบรรลุถึงภารกิจ และวัตถุประสงค์หลักขององค์กรที่ตั้งไว้
2. การนำแผนกลยุทธ์ไปปฏิบัติ
12
3. การติดตามประเมินผล
เคนท์ (Kent 1997 : 299) ได้กล่าวถึงโมเดลการวางแผนเชิงกลยุทธ์ตามแนวคิด ของ
บรัดเซล และเฮลสลีย์ ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน คือ
1. แต่งตั้งนักวางแผน
2. การตรวจสอบสภาพแวดล้อม
3. เลือกการวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์
4. การออกแบบแผนการดำเนินงาน
5. ที่ประชุมรับรองแผน
6. ปฏิบัติตามแผน
โดยอธิบายว่า การวางแผนเชิงกลยุทธ์เน้นให้เห็นถึง ความสำคัญของความร่วมมือระหว่าง
ห้องสมุด และความนิยมในการพัฒนาตามแผน ดังนั้นความสำคัญของแผนจึงขึ้นอยู่กับการดำเนิน
งานและผลงานที่ออกมา
Encyclopedia of Library and Information sciences Vol. 59 Supplement 22 p.30 ได้
นำแนวคิดและทฤษฏี จำนวน 7 ทฤษฏีของนักวางแผนเชิงกลยุทธ์ของห้องสมุดมากล่าวไว้ดังนี้
ไบร์สัน (Bryson 1994 : 156-173) นักออกแบบการวางแผนเชิงกลยุทธ์ขององค์กรไม่หวังผล
กำไร ได้กล่าวถึงขั้นตอนการวางแผนไว้ 8 ขั้นตอน ดังนี้
1. กำหนดข้อตกลงเบื้องต้นของการพัฒนา
2. พิจารณาอำนาจหน้าที่ให้ชัดเจน
3. พัฒนาและระบุพันธกิจ และค่านิยม
4. ประเมินสภาพแวดล้อมภายนอก
5. ประเมินสภาพแวดล้อมภายใน
6. กำหนดกลยุทธ์
7. พัฒนากลยุทธ์
8. ภาพขององค์กรในอนาคต
แนวคิดของ โฮบอร์ค (Hobrock 1991 : 48 –52) มี 8 ขั้นตอน คือ
1. กำหนดปัญหาขั้นพื้นฐาน
2. กำหนดพันธกิจ หรืออำนาจหน้าที่ให้ชัดเจน
3. วิเคราะห์สภาพแวดล้อม
4. วิเคราะห์ทรัพยากร
5. ระบุหัวข้อของกลยุทธ์
13
6. กำหนดกลยุทธ์ในอนาคต
7. รายการซึ่งปฏิบัติตามกลยุทธ์
8. ปฏิบัติตามแผนและประเมิน
แนวคิดของ จาร์คอป และริงส์ (Jacob and Rings 1989 : 29) มี 3 ขั้นตอน ดังนี้
1. ขั้นตอนการพัฒนา ประกอบด้วย
- การพิจารณาภารกิจหลัก
- เป้าหมาย
- วัตถุประสงค์
- ติดตามสภาพแวดล้อม
- วิเคราะห์โอกาสและอุปสรรคของอนาคต
2. ขั้นตอนการดำเนินการ ประกอบด้วย
- การดำเนินการตามแผน
- การติดต่อสื่อสาร
3. ขั้นควบคุมการปฏิบัติให้ดำเนินไปตามแผน
- ปรับปรุงใหม่ ทบทวน
- ปฏิบัติตามแนวคิด
แนวคิดของ เคมเพอร์ (Kemper, 1967) มี 10 ขั้นตอน คือ
1. การกำหนดวัตถุประสงค์ทั่วไป
2. พิจารณาสภาพแวดล้อม
3. ความต้องการเปลี่ยนแปลงที่สอดคล้องกัน
4. แนวทางการปรับเปลี่ยน
5. การพยากรณ์สภาพแวดล้อม
6. การกำหนดวัตถุประสงค์
7. ประเมิน เลือก และตัดสินใจเลือก
8. ออกแบบแผนปฏิบัติ
9. การได้รับอนุญาตตามระเบียบ
10.ปฏิบัติตามการเปลี่ยนแปลง
แนวคิดของ ริกส์ (Riggs 1984 : 161 - 164) มี 8 ขั้นตอน ดังนี้
1. กำหนดภารกิจ
2. กำหนดเป้าหมาย
14
3. กำหนดวัตถุประสงค์
4. กำหนดกลยุทธ์
5. เลือกกลยุทธ์
6. กำหนดเป้าหมาย
7. จัดสรรทรัพยากร
8. ประเมินผล
แนวคิด ของ ไวร์โก (Virgo 1984 : 13) มีทั้งหมด 9 ขั้นตอน คือ
1. พิจารณาสภาพแวดล้อมภายนอก
2. กำหนดเงื่อนไข
3. กำหนดภารกิจ
4. กำหนดเป้าหมาย
5. กำหนดวัตถุประสงค์
6. เลือกกลยุทธ์
7. รายละเอียดของโครงการ
8. การพัฒนาตามแผนปฏิบัติการ
9. ปฏิบัติตามแผนที่ใช้ควบคุม
แนวคิดของ เฟอร์เรียโร และไวล์ดิง (Ferriero and Wilding 1991 :47 58) มี 4 ขั้นตอน
ประกอบด้วย
1. ทำแผนการวางแผน ดังนี้
1.1 อธิบายแผน
1.2 อธิบายเป้าหมาย
1.3 ดำเนินการตรวจสอบค่านิยม
1.4 วันที่รวบรวม
1.5 พิจารณาสภาพแวดล้อมใหม่
1.6 พิจารณาแผนปฏิบัติการใหม่
2. การปฏิบัติตามแผนและการรวบรวม มีขั้นตอนดังนี้
2.1 ออกแบบกลยุทธ์
2.2 จัดสรรทรัพยากร
2.3 จัดตารางเวลา
2.4 แต่งตั้งผู้รับผิดชอบ
15
2.5 วัดความก้าวหน้า
2.6 ทบทวนโครงสร้างองค์กร
3. การออกแบบกลยุทธ์ มี 6 ขั้นตอนคือ
3.1 สร้างโมเดลของกลยุทธ์
3.2 ออกแบบอนาคต
3.3 ความเป็นไปได้ของแผน
3.4 วิเคราะห์เพื่อหาช่องว่างของการปฏิบัติตามแผน
3.5 ตรวจสอบความเป็นไปได้
3.6 เลือกปฏิบัติ
4. การประเมิน มี 3 ขั้นตอน คือ
4.1 ดูกระบวนการปฏิบัติตามแผนใหม่
4.2 ประเมินผลที่สะท้อนกลับ
4.3 เริ่มวงจรการวางแผนใหม่
เบิร์ดแชล และเฮนส์ลีย์ (Birdshall & Hensley,1994:157) ได้เสนอรูปแบบซึ่งเกิดจาก
การวิเคราะห์แผนกลยุทธ์ทางเลือกซึ่งนำไปสู่ภาพที่ดีที่สุดเกี่ยวกับห้องสมุดในอนาคต วิธีนำเสนอที่
อนุญาตให้ผู้วางแผนสามารถกำหนดกิจกรรมสำหรับการปฏิบัติได้ทุกระดับและทุกสถานการณ์ แผน
กลยุทธ์เป็นความสำเร็จระหว่างผู้ร่วมงานห้องสมุดและสถาบัน กระบวนการวางแผนกลยุทธ์มี 6 ขั้น
ตอน
(1) การกำหนดตัวผู้วางแผน
(2) การวิเคราะห์สภาวะแวดล้อม
(3) การวิเคราะห์กลยุทธ์ทางเลือกต่าง ๆ
(4) การกำหนดกลยุทธ์หลัก
(5) การดำเนินการตามกลยุทธ์/ การกำหนดตารางปฏิบัติการ
(6) การยอมรับและการนำแผนไปสู่การปฏิบัติ
สจ็วต และ โมราน (Stueart and Moran 1993 : 36 – 38) นำขั้นตอนการวางแผน
เชิงกลยุทธ์ของ Massachusetts Board of Library commissioners มาอธิบายไว้ดังนี้
Proposed Process for Development of a Strategic Plan for the
Future of Library Service in Massachusetts
1. ระบุค่านิยม หรือสมมุติฐานตามหลักการขององค์กร
2. ดำเนินการตรวจสอบสภาวะแวดล้อม : จำแนกโอกาสและคู่แข่ง ความสัมพันธ์ของ
16
คู่แข่งความร่วมมือในการวางแผน โดยพิจารณารูปแบบที่ออกมาให้สัมพันธ์กัน และทำการพัฒนา
ต่อไป
3. สร้างวิสัยทัศน์
4. กำหนดพันธกิจ
5. พัฒนาเป้าหมายและวัตถุประสงค์
6. พัฒนากลยุทธ์ และลงมือวางแผน ระบุความต้องการทรัพยากร และพัฒนานโยบาย
และวิธีดำเนินการให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์
7. ปฏิบัติตามแผนกลยุทธ์
8. ควบคุม ประเมิน และแก้ไขแผนให้เหมาะสมตามวัตถุประสงค์
Encyclopedia of Library and Information Science vol. 59 supplement 22, (1997 :
299 -301) ได้อ้างถึงผลการวิเคราะห์เอกสารทางการวางแผนกลยุทธ์ของ OCLC โดยมีนักวางแผน
เชิงกลยุทธ์ชื่อจาร์คอบ เป็นผู้วิเคราะห์ และสรุปกระบวนการวางแผนเชิงกลยุทธ์ไว้ดังแผนภาพที่ 2
17
เป้าหมาย 1 เป้าหมาย 2 เป้าหมาย 4 เป้าหมาย 5
วัตถุประสงค์ 2 วัตถุประสงค์ 3 วัตถุประสงค์ 4 วัตถุประสงค์ 5
กลยุทธ์ ที่ 1
กลยุทธ์ ที่ 2
กลยุทธ์ ที่ 3
กลยุทธ์ ที่ 4
กลยุทธ์ ที่ 5
กลยุทธ์ ที่ 6
แผนภาพที่ 2 รูปแบบการวางแผนเชิงกลยุทธ์
ที่มา : “Encyclopedia of Library and Information science” Vol. 59 Supplement 22 P.301
ภารกิจ
วิสัยทัศน์
เป้าหมาย 3
วัตถุประสงค์ 1
วิเคราะห์สภาวะแวดล้อม ตรวจสอบคา่ นยิ ม
18
3. การนำการวางแผนกลยุทธ์มาใช้ในห้องสมุดโรงเรียน มีขั้นตอนพอสรุปได้ดังนี้
3.1. การตรวจสอบ และวิเคราะห์สภาพแวดล้อม เป็นกระบวนการขั้นแรกของการ
วางแผนกลยุทธ์ เพื่อกำหนดแผนกลยุทธ์ในการเปลี่ยนแปลงแก้ไขสภาพแวดล้อมที่เป็นอุปสรรคให้
เป็นสิ่งที่สามารถยอมรับได้ หลีกเลี่ยงได้ หรือส่งผลน้อยลง และสามารถใช้โอกาสให้เกิดประโยชน์
อย่างแท้จริง (นันทา วิทวุฒิศักดิ์, 2545 : 54) สภาพแวดล้อมที่ต้องวิเคราะห์มี 2 ส่วน คือ
สภาพแวดล้อมภายนอก (External Environment) ที่องค์กรไม่สามารถควบคุมได้ และสภาพ
แวดล้อมภายใน (Internal Environment)
3.1.1 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก (External Environment)
คณะนักวิจัยที่ปรึกษาสถาบันพระปกเกล้า (2545) ได้จัดทำการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั้ง
สภาพแวดล้อมภายนอก และสภาพแวดล้อมภายใน โดยมีกรอบการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม
ภายนอกดังนี้
1. การเมือง
2. การบริหาร
3. สังคม
4. เศรษฐกิจ
5. เทคโนโลยี และแนวโน้มการใช้บริการ
ศิริพร สุวรรณะ (2532 : 33-40) ให้แนวคิดเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมภายในของระบบ
สารสนเทศ ว่าเป็นปัจจัยต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในองค์กร โดยปัจจัยเหล่านั้นจะส่งผลกระทบโดยตรง
ต่องานบริการสารนิเทศ ซึ่งได้แก่ นโยบายขององค์การ การจัดองค์การ งบประมาณ บุคลากร
สถานที่ และความต้องการสารนิเทศ ดังนี้
19
ตารางที่ 1 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน (Internal Enveronment Analysis)
นโยบาย การจัดองค์การ งบประมาณ บุคลากร สถานที่ ความต้องการสาร
สนเทศ
นโยบายของ
องค์กร
การจัดองค์การต้น
สังกัด
ที่มาของ
รายได้
ความสามารถ
เฉพาะ
ตำแหน่ง
ความสะดวก
ในการใช้
สารสนเทศ
ประเภทของผู้ใช้
บริการ
นโยบายของ
สถาบันบริการ
สารสนเทศ
การจัดองค์ดาร
ของสถาบันบริการ
สารสนเทศ
การบริหาร
รายได้
ทัศนคติต่องาน การจัดสถานที่ เนื้อหาของ
สารสนเทศ
ความพึงพอใจ
ต่องาน
ความเปลี่ยนแปลง
ด้านความต้องการ
สารสนเทศ
บริการที่ผู้ใช้ต้องการ
ศิริพร สุวรรณะ (2532 : 33-40) กล่าวว่าสภาพแวดล้อมภายนอก ได้แก่ ปัจจัยต่าง ๆ ที่
เกิดขึ้นภายนอกองค์การโดยสถาบันบริการสารสนเทศไม่ได้มีบทบาทโดยตรงในการกำหนด หรือ
สร้างสภาพแวดล้อมนั้น ๆ แต่สภาพแวดล้อมภายนอกนี้จะมีผลกระทบไม่ทางตรงก็ทางอ้อมต่อการ
ปฏิบัติงานให้บริการสารสนเทศ สภาพแวดล้อมภายนอกเหล่านั้น ได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจและสังคม
กฎหมาย มาตรฐาน ชุมชน เทคโนโลย ี ดงั นี้
ตารางที่ 2 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก (External Enveronment Analysis)
ภาวะเศรษฐกิจ
และสังคม
กฎหมาย มาตรฐาน ชุมชน เทคโนโลยี
ความเติบโตทาง
เศรษฐกิจ
กฎหมายสิ่งพิมพ์ มาตรฐานงาน ความคิดเห็นของ
ชุมชน
ศักยภาพของ
เทคโนโลยีสาร
สนเทศ
ปัญหาทางเศรษฐกิจ กฎหมายลิขสิทธิ์ มาตรฐาน
คอมพิวเตอร์
ความต้องการของ
ชุมชน
การแข่งขันทางด้าน
เทคโนโลยี
ค่านิยมต่อการศึกษา กฎหมายที่เกี่ยวกับ
สารบันบริการ
สารสนเทศ
ความตระหนักเรื่อง
สารสนเทศ
20
สจ็วต และ โมราน (1993 : 39) ได้อธิบายแนวคิดไว้ว่า การวิเคราะห์สภาวะแวดล้อมทั้ง
ภายใน และภายนอก เป็นการเตรียมการขั้นแรกในการวางแผนเชิงกลยุทธ์ เพื่อที่จะนำข้อมูลที่ได้ในการ
วิเคราะห์มาเป็นตัวกำหนดภารกิจหลัก หรือวัตถุประสงค์ ผู้วางแผนกลยุทธ์ต้องพิจารณาปัจจัยเบื้องต้นของ
การวางแผนเชิงกลยุทธ์เป็นขั้น ๆ มาสรุปได้ ดังนี้
แผนภาพที่ 3 การตรวจสอบสภาพแวดล้อม
การตรวจสอบสภาพแวดล้อม
การวิเคราะห์ภายนอก
“มองไปรอบ ๆ”
การวิเคราะห์ภายใน
“กระบวนการศึกษาด้วยตัวเอง”
ประกอบด้วย
การประเมินสภาพแวดล้อม
ภายนอก :
√ สังคม
√ เศรษฐกิจ
√ เทคโนโลยี
√ วัฒนธรรม
√ จำนวนประชากร
√ การเมือง
ประกอบด้วย
การประเมินสภาพแวดล้อม
ภายใน :
√ บุคลากร
√ การบริการ
√ ระบบบริหาร
√ ทรัพยากร
√ ยุทธศาสตร์ใน
ปัจจุบัน
การศึกษา
√ ความต้องการของผู้ใช้
√ ความรู้สึกของผู้ไม่ใช้บริการ
การศึกษา
√ พันธกิจ
√ เป้าหมาย
√ วัตถุประสงค์
√ กลยุทธ์
21
3.1.2 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน (Internal Environment)
คณะนักวิจัยที่ปรึกษาสถาบันพระปกเกล้า (2545) ได้จัดทำการวิเคราะห์
สภาพแวดล้อมทั้งสภาพแวดล้อมภายนอก และสภาพแวดล้อมภายใน โดยมีกรอบการวิเคราะห์
สภาพแวดล้อมภายในดังนี้
3.1.2.1 ค่านิยมของหน่วยงาน
3.1.2.2 โครงสร้างของหน่วยงาน
3.1.2.3 ระบบการทำงาน
3.1.2.4 บุคลากร
3.1.2.5 ลักษณะการบริหาร
3.1.2.6 การบริการ
3.1.2.7 เทคโนโลยี
แนวคิดของเซอร์โตและปีเตอร์ (Certo and Peter : 1991) แบ่งองค์ประกอบของ
สภาพแวดล้อมภายในไว้ ดังนี้
1. สภาพแวดล้อมทั่วไป เป็นสภาพแวดล้อมที่มีขอบเขตที่กว้างไม่ได้มีผล
ฉับพลันต่อองค์การ ซึ่งการแบ่งสิ่งแวดล้อมระดับนี้ออกเป็น สิ่งแวดล้อมด้านเศรษฐกิจ สังคม
การเมือง กฎหมายและเทคโนโลยี
2. สภาพแวดล้อมต่อการดำเนินการขององค์การ เป็นระดับของ
สภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการจัดการองค์การ ซึ่งแบ่งเป็นองค์ประกอบด้านลูกค้า ด้าน
คู่แข่ง ด้านแรงงาน ด้านผู้ส่งสินค้าให้ และด้านที่เกี่ยวข้องกับการค้ากับต่างประเทศ
3. สภาพแวดล้อมภายในองค์การ แบ่งเป็น 5 ด้าน คือ ด้านการบริหาร
องค์การ ด้านบุคลากร ด้านการตลาด ด้านผลิตภัณฑ์ และด้านการเงิน
22
การสรุปจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และข้อจำกัด (SWOT Analysis)
หลังจากดำเนินการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั้งภายใน และภายนอกจนสามารถสังเคราะห์
สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกได้แล้ว นำมาสรุปเป็นตารางความสัมพันธ์แบบแมททริกส์ของ
ปัจจัยเชิงกลยุทธ์ทั้งสองด้าน ดังตารางที่ 3
ตารางที่ 3 การจัดทำตาราง SWOT Matrix
ปัจจัยภายใน
ปัจจัยภายนอก
จุดแข็ง (Strengths = S)
ระบุรายการจุดแข็งภายใน
จำนวน 5 – 10 ประเด็นในช่องนี้
จุดอ่อน (Weaknesses = w)
ระบุรายการจุดอ่อนภายใน
จำนวน 5 – 10 ประเด็นในช่องนี้
โอกาส
(Opportunities = O)
ระบุรายการโอกาสภายนอก
จำนวน 5 – 10 ประเด็นในช่องนี้
SO Strategies
กำหนดกลยุทธ์ในช่องนี้โดยจุด
แข็งประสานกับความได้เปรียบ
ในโอกาส
WO Strategies
กำหนดกลยุทธ์ในช่องนี้ โดยใช้
ความได้เปรียบในโอกาสมาปิด
จุดอ่อน
ข้อจำกัด
(Threats = T)
ระบุรายการข้อจำกัดอันมาจาก
ภายนอก 5 – 10 ประเด็น
ในช่องนี้
ST Strategies
กำหนดกลยุทธ์ในช่องนี้โดยใช้
จุดแข็งหลบหลีกข้อจำกัด
WT Strategies
กำหนดกลยุทธ์ในช่องนี้ โดย
ระมัดระวังจุดอ่อนและหลบหลีก
ข้อจำกัด
ที่มา : Weihrich, 1982 : 60
SWOT Matrix นำไปสู่สถานการณ์กลยุทธ์ 4 แนวทาง
. SO Strategies ถือเป็นความได้เปรียบอย่างยิ่ง ที่อาจเรียกว่า The Best-case
Scenario หรือยุทธศาสตร์เชิงรุก
. ST Strategies ถือเป็นการเดินหมากที่จำทำให้ SO Strategies มีความแกร่งมากขึ้น
หรือยุทธศาสตร์การป้องกัน/แยกตัว
. WO Strategies เป็นการเดินหมากที่จะใช้ SO Strategies มาช่วยพัฒนาหรือ
ยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์กร
23
. WT Strategies ถือเป็นความเสียบเปรียบอันสำคัญที่ถือเป็น The Worst-case
Scenario หรือยุทธศาสตร์การถอนตัว/ถอย
3.2 การกำหนดภารกิจของห้องสมุด โดยเริ่มต้นจากการให้คณะกรรมการทีมวางแผน
กลยุทธ์ของห้องสมุด ระดมสมองทบทวนภารกิจที่มีอยู่ กำหนดภารกิจหลัก วิสัยทัศน์ วัตถุประสงค์
และเป้าหมายของห้องสมุด โดยนำภารกิจ วิสัยทัศน์ วัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่มีอยู่มาทบทวน
3.3 การกำหนดกลยุทธ์หลัก เมื่อทำการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมแล้ว ต้องนำข้อมูลที่ได้
จากตารางสรุป SWOT Matrix มากำหนดกลยุทธ์ โดยกลยุทธ์จะต้องอยู่บนพื้นฐานของจุดแข็งของ
ห้องสมุด และใช้ประโยชน์จากโอกาสของสภาพแวดล้อม ขณะเดียวกันต้องกำหนดกลยุทธ์ เพื่อ
แก้ไขจุดอ่อนหรือปัญหาของห้องสมุด โดยอยู่ในกรอบของข้อจำกัดของสภาพแวดล้อมภายนอก และ
ประเด็นที่สำคัญที่สุดของการกำหนดกลยุทธ์จะต้องมุ่งตอบสนองต่อภารกิจ วิสัยทัศน์ และวัตถุ
ประสงค์หลักของห้องสมุด
3.4 นำแผนกลยุทธ์ไปปฏิบัติ สิ่งสำคัญคือ ต้องนำแผนกลยุทธ์มาใช้เป็นแนวทางในการ
กำหนดแผนปฏิบัติงาน วางแผนโครงการ และจัดทำรายละเอียดของงบประมาณให้ชัดเจน แล้ว
มอบหมายให้แผนกหรือฝ่ายที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินงานตามแผนนั้น
3.5 การติดตามและประเมินผล เป็นส่วนสุดท้ายที่จะทำ เพื่อให้ทราบว่าได้มีการปฏิบัติตาม
แผนกลยุทธ์ที่วางไว้หรือไม่ แผนงานถูกต้องเหมาะสมกับการใช้งานเพียงใด และประสบผลสำเร็จ
ตามที่ต้องการหรือไม่
สรุปจากแนวคิดทฤษฏีการวางแผนกลยุทธ์ที่มีผู้ให้แนวคิดไว้หลากหลายไม่มีขั้นตอนตายตัว
สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมขึ้นอยู่กับโครงสร้างขององค์การและสภาพแวดล้อมผู้วิจัย
จึงเลือกแนวคิดของ คณะนักวิจัย สถาบันพระปกเกล้า (2545) เพื่อนำมาใช้ในการวิจัยครั้งนี้ โดยมี
ขั้นตอนที่สำคัญ 3 ขั้นตอน คือ
1. การตรวจสอบและวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั้งภายนอกและภายในองค์กร
2. การกำหนดวิสัยทัศน์และพันธกิจขององค์กร (Coporate Mission) เพื่อให้
ทราบภาระงาน ทิศทาง และเป้าหมายที่องค์การต้องการ
3. กำหนดกลยุทธ์หลักขององค์การ (Corporate Strategy) เพื่อให้มีแนวทาง
ที่จะทำให้องค์การบรรลุถึงภารกิจ และวัตถุประสงค์หลัก
และในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ทำขั้นตอนที่ 2 คือการตรวจสอบและวิเคราะห์สภาพแวดล้อม
ภายนอกและภายในองค์กร
24
ตอนที่ 2 ทิศทางของห้องสมุดในอนาคต
การทบทวนวรรณกรรมในหัวข้อนี้ ผู้วิจัยขอนำเสนอทิศทางของห้องสมุดในอนาคตซึ่งมีผู้รู้ได้
ให้แนวคิดไว้หลากหลาย ดังนี้
ประกอบ คุปรัตน์ (2538) ได้กล่าวถึงรูปแบบของห้องสมุดที่เปลี่ยนไป ใน บทความเรื่อง
“ปฏิรูประบบห้องสมุดไทยสู่ยุคไฮเทค” ไว้ดังนี้
ระบบห้องสมุดขนาดใหญ่ที่เน้นตัวอาคารและความมโหฬารกำลังหมดความหมายไป
เพราะปัญหาระบบห้องสมุดแบบเก่านั้นนับเป็นการลงทุนที่สูงมาก และสิ้นเปลืองทั้งในค่า
ดำเนินการ แต่ในขณะทีต้นทุนการผลิตหนังสือแพงมากขึ้นเทคโนโลยีการเก็บข้อมูลยุคใหม่ด้วย
คอมพิวเตอร์นั้นกลับถูกลง
ระบบห้องสมุดยุคใหม่ได้เปลี่ยนแนวคิดการดำเนินการไป กลายเป็น Electronic library ซึ่ง
น่าจะเรียกเป็นภาษาไทยว่า “ห้องสมุดลอยฟ้า” เพราะเป็นระบบการค้นคว้าและเรียนรู้ที่ไม่ถูกจำกัด
เวลาและสถานที่อีกต่อไป จากเทคโนโลยีดังที่ได้กล่าวแล้วเบื้องต้น ผู้ต้องการศึกษาค้นคว้าสามารถ
เรยี นไดจ้ ากทไี่ หนกไ็ ด้ ในเวลาอะไรก็ได ้ ผลของเทคโนโลยยี คุ ใหมท่ าํ ใหห้ อ้ งสมดุ มหาวทิ ยาลยั ทเี่ คย
ต้องรวมศูนย์เอาไว้ในอาคารขนาดใหญ่ ก็หมดความจำเป็นลงไปมาก เพราะเมื่อระบบคอมพิวเตอร์
สามารถจัดเก็บและส่งต่อข้อมูลจำนวนมากภายในเสี้ยววินาที ข้อมูลทั้งหมดก็สามารถกระจายออก
ไปได้มีการวางระบบการจัดค้นและเรียกข้อมูลที่สามารถค้นหาข้ามแหล่งได้รวดเร็ว มีการแบ่งหน้าที่
และความเชี่ยวชาญระหว่างต่างแหล่งกัน แบ่งกันทำงานและแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน มีการวาง
ระบบค้นคว้าเป็นมาตรฐานสามารถใช้ร่วมกันได้ทั่วโลก และสะดวกต่อผู้ใช้ที่มากขึ้น
ชัชวาลย์ วงษ์ประเสริฐ (2543 :26 –33) กล่าวถึงทิศทางของห้องสมุดในอนาคต โดยใช้ชื่อ
เรื่องว่า การปรับกระบวนทัศน์ใหม่ในการจัดตั้งศูนย์สารสนเทศ พอสรุปได้ดังนี้ การพัฒนา
เทคโนโลยีที่รวดเร็วทำให้ศูนย์สารสนเทศต้องปรับกระบวนทัศน์ (Paradigm shift) คือการ
ปรับเปลี่ยนกระบวนการคิดในการจัดดำเนินงานของห้องสมุด และศูนย์สารสนเทศ คือ
1. การปรับเปลี่ยนรูปแบบสื่อที่ใช้บรรจุสารสนเทศ จากวัสดุสิ่งพิมพ์ เป็นสื่อ
อิเล็กทรอนิกส์รูปแบบใหม่เรียกว่า สื่อบูรณาการ (Integrated media) หรือมัลติมีเดีย (Multimedia)
ซึ่งประกอบด้วยข้อความ เสียง ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ไว้ด้วยกัน
2. การจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศในรูปอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้เปลี่ยนแปลงการได้มา
ของสารสนเทศ ศูนย์สารสนเทศรูปแบบใหม่จะรวมข้อมูลกับแหล่งสารสนเทศไว้ด้วยกัน เช่นการค้น
สารสนเทศผ่านระบบอินเทอร์เน็ต จะได้สารสนเทศในรูปของฟูลเท็ค และสามารถพูดคุยกับ
ผู้เขียนได้ โดยผ่านระบบ อีเมล์ และสามารถตรวจสอบรายการอ้างถึงสารสนเทศที่ใช้ในการเขียน
25
เอกสาร เช่น อีบุคส์, อีเจอร์นอล, อีแมคกาซีน ได้ทันที
3. บริการผู้ใช้ สามารถใช้บริการได้ตลอดเวลาผ่านระบบออนไลน์ เมื่อผู้ใช้ต้องการ
ใช้สามารถติดต่อเข้าไปที่แหล่งสารสนเทศได้ทันที ไม่ต้องเข้าไปหาบรรณารักษ์ ซึ่งแต่ก่อน
บรรณารักษ์เป็นตัวกลางในการให้บริการ แต่ต่อไป ผู้ใช้เป็น End users ค้นหาสารสนเทศได้ด้วยตน
เอง
ลักษณะของศูนย์สารสนเทศก็เปลี่ยนไป โดยแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
- ศูนย์สารสนเทศที่มีลักษณะเป็นที่เก็บเอกสาร (Document center)
- ศูนย์สารสนเทศที่คล้ายกับแผนกคอมพิวเตอร์ (Computer center) เป็น
หน่วยงานใหม่ ที่คล้ายคลึงกับแผนกสารสนเทศเพื่อการจัดการ (MIS) โดยมีเป้าหมาย เพื่อต้องการ
ช่วยเหลือผู้ใช้และหน่วยงานของผู้ใช้ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ของโปรแกรมที่ช่วยสนับสนุน
การตัดสินใจ
- ศูนย์สารสนเทศที่มีทั้ง 2 ระบบอยู่ด้วยกัน คือ Document center และ
Computer center
สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย (2542) จากการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2542 ของ
สมาคม ในหัวข้อ”บทบาทของห้องสมุดในการสนับสนุนการศึกษาตามแนวพระราชบัญญัติการ
ศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 กล่าวถึงภาพอนาคตของห้องสมุด : แหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดย
หยิบเอาถ้อยแถลง เรื่อง ห้องสมุดประชาชนของ UNESCO กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า “หน้าที่สำคัญของ
ห้องสมุดประชาชน คือ การให้การสนับสนุนทั้งการศึกษาด้วยตนเอง และการศึกษาภาคบังคับทุก
ระดับชั้น” หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่ง ก็คือ “ห้องสมุด มีบทบาทหน้าที่สำคัญในการเผยแพร่หนังสือ สื่อ
วิชาการอื่น ๆ รวมทั้งแหล่งข้อมูลภาพ และเสียงไปสู่ประชาชนจำนวนมาก” ซึ่งตามเป้าหมายของ
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 คือ แหล่งการเรียนรู้เพื่อการศึกษาตลอดชีวิต
การที่ห้องสมุดจะเป็นแหล่งการเรียนรู้ได้นั้น ห้องสมุดจะต้องมีบทบาทหลักอยู่ 2 ประการ
คือ
1. การเข้าถึง ห้องสมุดต้องเป็นแหล่งหรือศูนย์กลางสำหรับผู้เรียน หรือบุคคลส่วนใหญ่
เข้าถึงหรือไปใช้บริการได้
2. การนำเสนอวิธีการถ่ายทอดความรู้ที่คุ้มค่า กล่าวคือ จะต้องรู้ว่า “ผู้ใช้บริการ หรือ
ผู้เรียน มีวัตถุประสงค์อะไรในการใช้ห้องสมุด”
26
ภาพอนาคตห้องสมุด
แผนภาพที่ 4 รูปแบบของกิจกรรมในการพัฒนา “ห้องสมุด” สู่ “แหล่งการเรียนรู้”
ห้องสมุดในฐานะที่เป็นสถานที่หรือ
แหล่งเก็บและรวบรวมหนังสือ
กิจกรรม / การดำเนินงาน
- สถานที่เพื่อการศึกษาค้นคว้า
- ห้องอ่านหนังสือ
- แหล่งรวมข้อมูลสิ่งพิมพ์
- แหล่งรวมข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
- หนังสือ “ที่เรียนรู้ด้วยตนเอง”
- ชุดการเรียนรู้
- สื่อและอุปกรณ์เพื่อการเรียนรู้
- ข้อมูลข่าวสารด้านความเชี่ยวชาญ
- คำปรึกษาด้านการเรียนรู้
- คำแนะนำด้านการศึกษา
- การวิเคราะห์ความต้องการสำหรับผู้เรียน
- ความร่วมมือกันของผู้ให้บริการ การศึกษา
ห้องสมุดในฐานะที่เป็น - การสอนในห้องสมุด
แหล่งการเรียนรู้ - กลุ่มช่วยเหลือกันในการเรียน
- การเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่หลากหลายเพื่อการเรียนรู้ทางไกล
- การประชุมทางไกลจากห้องสมุด
ที่มา : เอกสารประกอบการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2542 และประชุมทางวิชาการ สมาคมห้อง
สมุดแห่งประเทศไทยฯ (2542 : 55)
จากแผนภาพที่ 4 ได้มีการวิเคราะห์เพื่อการกำหนดบทบาทของห้องสมุดในอนาคต เมื่อนำ
สถานภาพและบทบาท ตลอดจนภาพอนาคตของห้องสมุดมาวิเคราะห์ จะพบว่าห้องสมุดมี จุดแข็ง
คือ
1. การเข้าถึง การเปิดให้บริการต้องมากกว่าเวลาทำการของราชการ และความ
เชี่ยวชาญในการจัดการแหล่งวิทยาการต่าง ๆ ต้องมีคุณภาพ เพื่อ “การช่วยเหลือตนเองได้” ของ
ผู้ใช้บริการ รวมทั้งการนำเสนอสิ่งดึงดูดใจให้ผู้ใช้สนใจ รักการอ่าน
27
2. เครือข่าย เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้เข้าถึงแหล่งข้อมูลข่าวสารที่กว้างไกล ด้วยบริการ
ออนไลน์ และระบบเครือข่ายระหว่างประเทศ หรือ อินเทอร์เน็ต (Internet) บรรณารักษ์จะต้องมี
ความรู้ในการให้บริการ บรรณารักษ์ต้องมี คำตอบ ในปัจจุบันประเทศไทยมีระบบเครือข่ายห้องสมุด
จำนวนไม่ต่ำกว่า 2,000 แห่ง ซึ่งจะมีความยุ่งยากในการบริหารจัดการมาก รวมทั้งแต่ละแห่งยังมี
พัฒนาการที่ไม่เท่ากัน ดังนั้น แนวทางที่มีความเป็นไปได้สูงสุด คือ ต้องอาศัยเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
เป็นหลัก การที่จะช่วยให้ผู้ใช้ได้ข้อมูลจากห้องสมุดต่าง ๆ เป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว และมี
ประสิทธิภาพ จำเป็นต้องอาศัยโครงสร้างพื้นฐานที่ดี ในด้านการให้บริการแก่ผู้ใช้ แต่ละห้องสมุด
ควรจัดทำ โฮมพพจ ของตน โดยจัดทำเป็นตัวเลือกให้ผู้ใช้เข้าระบบได้ง่าย และควรมีศูนย์กลางซึ่ง
จัดทำสารบบ (directory) ของ โฮมเพจ ของห้องสมุดทุกแห่งที่อยู่ในเครือข่ายไว้ในที่เดียวกัน
3. ความเชี่ยวชาญ บรรณารักษ์จะต้องมีความเชี่ยวชาญในการจัดการและการสร้างชุด
ความรู้ต้องทราบถึงประเภทของสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ เพื่อจัดให้เหมาะสมกับผู้เรียน และผู้รับบริการ อีกทั้ง
ควรมีความเชี่ยวชาญในการเข้าถึงแหล่งวิทยาการชนิดและประเภทต่าง ๆ ที่มีความแตกต่างกันใน
การตอบคำถามทุกวิชา และทุกระดับ ต้องมียุทธศาสตร์ในการค้นหาที่มีประสิทธิภาพ และความ
เชี่ยวชาญที่เพิ่มขึ้นในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
โดยสรุป ก้าวย่างสู่ศตวรรษที่ 21 เพื่อความอยู่รอดอย่างยั่งยืน ท่ามกลางความ
เปลี่ยนแปลง และความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สังคม
การเรียนรู้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย ถ้าปราศจาก
1. การเข้าถึง
2. เครือข่ายของห้องสมุด และ
3. ความเชี่ยวชาญของบรรณารักษ์ ซึ่งเป็นหัวใจของการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้
สุกัญญา ศรีสืบสาย (2545) ได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับห้องสมุดยุคใหม่ไว้ว่า เมื่อพิจารณาถึง
บทบาทและวิสัยทัศน์ของห้องสมุดยุคใหม่ ในประเด็นการปฏิรูปการศึกษา มีประเด็นที่น่าพิจารณา
อยู่ 4 ประการ คือ
1. ห้องสมุดกับการปฏิรูปการศึกษา
2. สภาพและภารกิจของห้องสมุด
3. สภาพและภารกิจของบรรณารักษ์
4. วิสัยทัศน์ในการพัฒนางานห้องสมุดยุคใหม่
1. ห้องสมุดกับการปฏิรูปการศึกษา ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พ.ศ. 2540 มาตรา 81 กำหนดให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษา ออกพระราชบัญญัติการศึกษาแห่ง
ชาติ พ.ศ. 2542 หมวด ๔ แนวการจัดการศึกษามาตรา ๒๒ ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถ
28
เรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่า ผู้เรียนสำคัญที่สุด มาตรา 24 กระบวนการจัดการเรียนรู้
มุ่งประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน ผู้เรียนพัฒนาเต็มตามศักยภาพ มีทักษะในการแสวงหาความรู้จาก
แหล่งเรียนรู้ นำวิธีการเรียนรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม มาตรา 25 รัฐส่งเสริม
ดำเนินการจัดตั้งแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตทุกรูปแบบอย่างพอเพียงและมีประสิทธิภาพและมาตรา
29 สถานศึกษาร่วมกับองค์กรต่าง ๆ ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน โดยจัดกระบวนการเรียนรู้ เพื่อ
ให้ชุมชนมีการจัดการศึกษา อบรม แสวงหาความรู้ รู้จักเลือกสรรภูมิปัญญา และวิทยาการต่าง ๆ
เพื่อพัฒนาชุมชน
2. สถานภาพและภารกิจของห้องสมุดยุคใหม่ จะเปลี่ยนแปลงและพัฒนา
จากเดิม ดังนี้
- ต้องจัดห้องสมุดให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ มากกว่าบทบาทงานบริการ
ทางวิชาการ
- ต้องทำให้ทุกคนแสวงหาความรู้ ข่าวสารได้อย่างทั่วถึง ห้องสมุดยุคใหม่
จึงหนีไม่พ้นการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้
- การใช้ทรัพยากรสารสนเทศและเครือข่ายการเรียนรู้ เนื่องจากภารกิจ
ในการให้การศึกษากับชนทุกระดับ การใช้ทรัพยากรสารสนเทศร่วมกันก่อให้เกิดเครือข่าย
การเรียนรู้ในระดับชาติและระดับสากล
- การสร้างนิสัยรักการอ่านการศึกษาค้นคว้าและการใฝ่รู้ใฝ่เรียน เป็น
บทบาทที่สำคัญของห้องสมุด เนื่องจากกระบวนการเรียนรู้จะเกิดขึ้นไม่ได้ ถ้าขาดนิสัยรักการอ่าน
การศึกษาค้นคว้า และการใฝ่รู้ ใฝ่เรียน
- การเปิดโอกาสให้บุคคลภายนอก มีส่วนร่วมในการดำเนินงานห้องสมุด
เนื่องจากการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานได้กำหนดให้มีคณะกรรมการสถานศึกษา ดังนั้นแผนปฏิบัติ
งานห้องสมุดจะต้องผ่านการเห็นชอบของคณะกรรมการสถานศึกษา
3. สถานภาพและภารกิจของบรรณารักษ์
สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ได้ให้ข้อเสนอเกี่ยวกับ การพัฒนา
สถานสภาพของห้องสมุดและบุคลากร เพื่อตอบสนองบทบัญญัติของพระราชบัญญัติการศึกษา
แห่งชาติ พ.ศ. 2542 ในเรื่องการพัฒนาสถานภาพบุคลากรห้องสมุดไว้ดังนี้
- กำหนดระเบียบ หลักเกณฑ์ให้บทบาทหน้าที่ของบรรณารักษ์เป็นการ
จัดกิจกรรมการเรียนการสอนในความหมายเดียวกันกับ “ครูผู้สอน”
- ส่งเสริมให้มีการพัฒนาบุคลากรห้องสมุดทุกประเภทให้มีความรู้ ทักษะ
ที่เหมาะสมกับบทบาทหน้าที่ของห้องสมุดในฐานะเป็นศูนย์การเรียนรู้
29
- กำหนดให้บรรณารักษ์เป็นวิชาชีพในมาตรฐานเดียวกับผู้สอน และ
ผู้บริหารโดยให้มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
นอกจากสถานภาพแล้ว ภารกิจที่จะเพิ่มขึ้นในห้องสมุดยุคใหม่ คือ
- การให้การศึกษาแก่ผู้ใช้ในเรื่องวิธีการเรียนรู้
- การให้ความร่วมมือกับครูผู้สอน ในการใช้ทรัพยากรสารสนเทศให้ได้รับ
ความสะดวก เช่น แนะนำการใช้ จัดทำบรรณานุกรมรายวิชา หรือให้ครูผู้สอนร่วมวางแผนในการใช้
ทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด
- การสร้างกระบวนการส่งเสริมการอ่านผู้ใช้ห้องสมุดยุคใหม่จะใช้ห้องสมุด
ในการศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ใหม่ การสร้างกระบวนการส่งเสริมการอ่านจึงเป็นภารกิจที่
บรรณารักษ์ห้องสมุดยุคใหม่จะต้องสนใจเพิ่มขึ้นและแบ่งเวลาในการทำงานให้ถูกต้อง
4. วิสัยทัศน์ในการพัฒนางานห้องสมุดยุคใหม่ โดยมีนโยบายการพัฒนาระบบ
ศนู ยก์ ารเรยี นร ู้ ในโครงการเครอื ขา่ ยการศกึ ษาแหง่ ชาต ิ ซึ่งทบวงมหาวิทยาลัยได้นำเสนอต่อ
คณะรัฐมนตรี ดังนี้
- พัฒนาห้องสมุดให้เป็นระบบเครือข่าย ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์
สามารถขยายเป็นทรัพยากรเพื่อการเรียนรู้ได้ครอบคลุมทั้งประเทศ
- จัดให้มีหนังสือ วารสาร และฐานข้อมูลทางการศึกษาในรูปอิเล็กทรอนิกส์
ที่เป็นประโยชน์อย่างเพียงพอ
- สนับสนุนให้สถาบันการศึกษา สร้างฐานข้อมูล แหล่งการเรียนรู้
ตามอัธยาศัยในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถใช้งานร่วมกันระหว่างสถาบันการศึกษาบนเครือข่าย
และสามารถเชื่อมโยงกับแหล่งการเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกประเทศ
- จัดให้มีเครื่องมือประสิทธิภาพสูงสำหรับการผลิตเอกสารชุดวิชา และสื่อ
ประกอบการเรียนการสอน เพื่อการศึกษาสำหรับประชาชนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มที่ขาดและด้อย
โอกาสทางการศึกษา
- จัดให้มีเครื่องมือสำหรับการบริหารจัดการ และเผยแพร่สารสนเทศ
ทางการศึกษาในทุกจังหวัด
การประชุมบรรณารักษ์นานาชาติ (The International Federation of Library
Associations : 2542) ที่ให้ชื่อว่า The School Library in teaching and learning for all : The
School Library manifesto ทำให้เห็นแนวทางในการจัดห้องสมุดในอนาคตที่เป็นสากลมากยิ่งขึ้น
ซึ่งพอสรุปได้ว่าห้องสมุดโรงเรียนจะเป็นที่ให้บริการทางการเรียนรู้ โดยมีหนังสือและทรัพยากรต่าง ๆ
ที่สามารถทำให้ผู้ที่อยู่ในโรงเรียนเป็นนักคิด และสามารถนำข้อมูลจากสื่อทุกรูปแบบมาใช้ได้อย่างมี
30
ประสิทธิภาพ ซึ่งตรงกับยุคสมัยที่ความรู้จากห้องสมุดขยายกว้างออกไปจนเป็นเครือข่ายข้อมูล ซึ่ง
เป็นไปตามหลักของ UNESCO Public Library Manifesto บุคลากรในห้องสมุดจะเป็นผู้สนับสนุน
ให้เกิดการค้นคว้าข่าวสาร ข้อมูลจากหนังสือและจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ทั้งที่เป็นกระดาษ และสื่อ
อิเล็กทรอนิกส์ ทั้งภายในห้องสมุด และภายนอกห้องสมุด อุปกรณ์ต่าง ๆ ควรมีครบสมบูรณ์อัน
ประกอบด้วยหนังสือที่น่าสนใจ อุปกรณ์การสอน และหลักวิชาการต่าง ๆ ที่นำมาใช้ บรรณารักษ์
และครูต้องร่วมมือกันในอันที่จะทำให้นักเรียนได้รับประโยชน์สูงสุดทั้งการเรียนรู้จากหนังสือ การ
อ่าน การแก้ปัญหา ข้อมูลต่าง ๆ และความรู้ทางเทคโนโลยีทางการศึกษา การให้บริการของ
ห้องสมุดโรงเรียน จะต้องให้บริการสมาชิกทุกคนอย่างเสมอภาค ไม่คำนึงถึงอายุ เชื้อชาติ เพศ
ศาสนา สัญชาติ ภาษา อาชีพ หรือแม้กระทั่งฐานะทางสังคม การบริการพิเศษ และการใช้อุปกรณ์
จะต้องคำนึงถึงผู้ที่ไม่สามารถรับบริการของห้องสมุดได้ด้วย การให้บริการและการจัดเก็บ ควรเป็น
ไปตามเกณฑ์ของ United Nations ตามสิทธิและเสรีภาพ ไม่ควรคำนึงถึงเรื่องทางการเมือง การ
กีดกันทางศาสนา หรือมุ่งไปในทางการค้ากำไร
และสิ่งที่โรงเรียนจะขาดไม่ได้คือ การจัดทำแผนระยะยาวในการให้การศึกษา และการรู้
หนังสือ การให้ข้อมูลข่าวสารทางเศรษฐกิจ สังคม และการพัฒนาทางวัฒนธรรม โดยจะต้องมีความ
รบั ผดิ ชอบตอ่ ชมุ ชน เขตพื้นท ี่ และความมั่นคงของประเทศชาต ิ ห้องสมุดจะต้องได้รับการสนับสนุน
ทางกฎหมายโดยเฉพาะด้านนโยบายต่างๆ รวมทั้งจะต้องมีเงินสนับสนุนเพียงพอในการ
อบรมบุคลากร วัสดุอุปกรณ์ เทคโนโลยี วิทยาการ และการอำนวยความสะดวกสบายในการใช้ โดย
ไม่เสียค่าบริการ มีความร่วมมือกับชุมชนเขตพื้นที่ และห้องสมุดแห่งชาติ รวมทั้งมีเครือข่ายทาง
ข้อมูลใช้ร่วมกัน เป็นการแบ่งปันความสะดวกสบายและทรัพยากรต่าง ๆ กับห้องสมุดอื่น ๆ
เป้าหมายของห้องสมุดโรงเรียน
ห้องสมุดโรงเรียนเป็นแหล่งรวบรวมกระบวนการทางการศึกษา สิ่งที่จะขาดไม่ได้ในการ
พัฒนาการรู้หนังสือ ข่าวสารข้อมูล การเรียนรู้และวัฒนธรรมเป็นหลักสำคัญในการให้บริการ
อันประกอบด้วย
1. ให้การสนับสนุนและส่งเสริมให้บรรลุเป้าหมายทางการศึกษา
2. พัฒนาและสนับสนุนเด็ก ๆ ให้มีนิสัยรักการอ่าน สนุกกับการเรียนรู้ และใช้ห้องสมุดให้
เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต
3. เปิดโอกาสให้นักเรียนได้มีประสบการณ์ในการคิด และสร้างสรรค์ รวมทั้งใช้ข้อมูล
เพื่อศึกษาหาความรู้ จากสารสนเทศต่าง ๆ อย่างมีความเข้าใจ
4. สนับสนุนนักเรียนทุกคนในการเรียนรู้และฝึกทักษะ ในด้านการปฏิบัติเพื่อใช้สารสนเทศ
ต่าง ๆ โดยไม่คำนึงถึงรูปแบบ ลักษณะ และสื่อที่ใช้ รวมทั้งรูปแบบทางการสื่อสารของชุมชนด้วย
31
5. เข้าถึงแหล่งข้อมูลในชุมชนระดับเขต ประเทศ และแหล่งความรู้ของโลกเปิดโอกาส
ให้ผู้ที่ต้องการเรียนรู้ได้รับความรู้ ทราบข้อคิดเห็น และประสบการณ์จากผู้เขียน
6. จัดให้มีกิจกรรมส่งเสริมวัฒนธรรม และเกิดความเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
7. ทำงานร่วมกับนักเรียน ครู ผู้บริหารและผู้ปกครองเพื่อให้บรรลุถึงเป้าประสงค์ของโรงเรียน
8. ทำให้เกิดเสรีภาพทางความคิด และเข้าถึงข้อมูล ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการทำให้เกิด
ประสิทธิภาพในการใช้ข้อมูลข่าวสาร โดยมีความรับผิดชอบต่อสัมพันธภาพของประชากร และมี
ส่วนร่วมในประชาธิปไตย
9. ส่งเสริมการอ่าน และแหล่งทรัพยากรทางการศึกษา และให้บริการกับคนทั้งโรงเรียน
ชุมชน และบุคคลทั่วไป
ห้องสมุดโรงเรียนจะทำตามหลักการต่าง ๆ โดยการปรับปรุงนโยบายและการให้บริการ
ด้วยการเลือกและการจัดหาทรัพยากร อุปกรณ์ที่เหมาะสมในการค้นหาข้อมูล และให้คำแนะนำที่
เป็นประโยชน์ รวมทั้งจัดให้มีการอบรมบุคลากรด้วย
บุคลากร
บรรณารักษ์ห้องสมุดโรงเรียนจำเป็นต้องเป็นบุคลากรมืออาชีพ ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมและ
ตอบสนองต่อการวางแผนและการบริหารงานห้องสมุด โดยได้รับการสนับสนุน จำนวนบุคลากรที่
เพียงพอต่อการให้บริการ สามารถทำงานร่วมกันกับทุกคนในโรงเรียน และสร้างความสัมพันธ์กับ
ห้องสมุดประชาชน และบุคคลทั่วไปได้
บทบาทของบรรณารักษ์จะเปลี่ยนไปตามเป้าหมายของประเทศนั้น ๆ สาระสำคัญที่
จำเป็นที่สุดในการให้ความรู้โดยทั่วไปของบรรณารักษ์ คือการพัฒนาและจัดการ การบริการของ
ห้องสมุดโรงเรียน ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งทางด้านการให้บริการ การจัดหาทรัพยากร อุปกรณ์
การจัดเก็บข้อมูลข่าวสาร และการสอนการใช้ห้องสมุด
การบริหาร และการจัดการ
สิ่งที่จะทำให้แน่ใจได้ว่าการบริหารและการจัดการมีประสิทธิภาพ คือ
1. นโยบายการให้บริการของห้องสมุดโรงเรียน จะต้องเป็นไปอย่างมีระบบเพื่อบรรลุ
เป้าหมายด้วยสิทธิพิเศษ และการให้บริการต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับหลักสูตรของโรงเรียน
2. ห้องสมุดโรงเรียนจะต้องมีระบบและรักษาไว้ซึ่งมาตรฐานแบบมืออาชีพ
3. การให้บริการต้องเข้าถึงทุกคน และมีการจัดการภายใต้เงื่อนไขร่วมกับชุมชน
4. การร่วมมือกันระหว่างครู และผู้บริหารระดับสูงของโรงเรียน คณะกรรมการบริหาร
ผู้ปกครอง บรรณารักษ์ อื่น ๆ ผู้ใช้บริการ คณะกรรมการชุมชน
ในการพัฒนาให้เกิดเครือข่ายตามสภาวะแวดล้อม หลักสูตรของโรงเรียนต้องทำ
32
แผนการสอนให้เห็นความแตกต่างของข่าวสารข้อมูลต่าง ๆ และสร้างความชำนาญให้เกิดกับครูและ
นักเรียน เพื่อจะคงความเป็นมืออาชีพในการสอนและการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป
น้ำทิพย์ วิภาวิน (2542) ได้อธิบายถึงแนวโน้มของการใช้ห้องสมุดยุคใหม่ คือ การที่ผู้ใช้
ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการสืบค้นข้อมูลอย่างแพร่หลาย การใช้ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ แทนการใช้ข้อมูลใน
รูปเอกสาร และห้องสมุดใช้งบประมาณ เพื่อการเข้าถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มากกว่าการซื้อเป็น
รูปเล่มสิ่งพิมพ์
ห้องสมุดยุคใหม่ จะเป็นฐานความรู้ของสังคมต่อไปหรือไม่ ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรม การศึกษา
และสภาพการใช้สารสนเทศของคนในสังคมว่า มีการนำสารสนเทศไปใช้ให้เกิดประโยชน์มากน้อย
เพียงใด เพราะการขาดสารสนเทศ อาจทำให้เกิดปัญหาของการตัดสินใจโดยปราศจากสารสนเทศ
ซึ่งคุณสมบัติของผู้นำหรือผู้บริหารยุคใหม่ควรจะต้องมีข้อมูลหรือสารสนเทศที่เพียงพอต่อการ
วางแผนเพื่อหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาด และการยอมรับการเปลี่ยนแปลง
แนวโน้มของการใช้ห้องสมุดและศูนย์สารสนเทศ ได้แก่ แนวทางการเข้าถึงสารสนเทศ
ได้ง่าย และรวดเร็ว ความสำคัญจึงอยู่ที่การเลือกใช้สารสนเทศที่เหมาะสม และตรงกับความต้องการ
อย่างแท้จริง โดยสถาบันการศึกษาทุกแห่ง มีแนวโน้มของการใช้สารสนเทศห้องสมุดผ่าน
อินเตอร์เน็ต จะเห็นได้ว่า การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานห้องสมุดเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่
ได้ ห้องสมุดจะมีพัฒนาการของการจัดการข้อมูล จากที่เคยบริการในลักษณะข้อมูลบรรณานุกรม
จะขยายการจัดการ และให้บริการข้อมูลต้นแหล่งมากขึ้น พร้อม ๆ กับการเสนอข้อมูลในรูปแบบ
เอกสารเต็มรูป (Full Text) และในรูปมัลติมิเดีย
ดังนั้น ประเด็นของการพิจารณาความสามารถในการจัดเก็บข้อมูลและการเข้าถึงข้อมูล
อย่างมีประสิทธิภาพ และคุ้มค่า จะเป็นสิ่งสำคัญในการประเมินคุณภาพของสารสนเทศ จากความ
สามารถในการเขา้ ถงึ ขอ้ มลู ทตี่ อ้ งการ และมีผู้นำสารสนเทศนั้นไปใช้ประโยชน ์ จะเห็นได้ว่า
เทคโนโลยีสารสนเทศ เกี่ยวข้องกับชีวิตของเรามากขึ้นเป็นลำดับ แหล่งภูมิปัญญาของสังคม เช่น
ห้องสมุด จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้เกิดประโยชน์ในการดำเนินงานโดยมีการประยุกต์
ใช้ และเลือกใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสมกับสภาพขององค์กร และสังคม การให้การศึกษากับผู้ใช้
และการกำหนดทิศทาง ในการดำเนินงานของห้องสมุดให้สามารถใช้ประโยชน์จากสารสนเทศอย่าง
คุ้มค่า และเหมาะสมเป็นเป้าหมายสำคัญที่ควรคำนึง
พรรณดาว รัตชะถาวร (2545 : 22-30) กล่าวไว้ในเรื่อง การพัฒนาห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์
(E-Library) กับอีเลิร์นนิง (E-Learning) สรุปได้ว่า บทบาทหน้าที่ของห้องสมุดในปัจจุบันและอนาคต
น่าจะได้รับการพัฒนาให้เป็นห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น โดยเพิ่มการพัฒนาหรือจัดหาทรัพยากร
สารนิเทศในรูปสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ประเภทห้องสมุดดิจิตอล หรือห้องสมุดเสมือน ตามความพร้อมของ
33
แต่ละห้องสมุดเพื่อขานรับอีเลิร์นนิง อุปกรณ์สารสนเทศ และเครื่องมือสื่อสารสมัยใหม่ รวมถึงพัฒนา
หรือเพิ่มทรัพยากรบุคคลด้านสารสนเทศของห้องสมุด โดยให้มีการแบ่งปันการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ
ร่วมกันให้เกิดประโยน์สูงสุด แก่ผู้ใช้ห้องสมุดและผู้เรียนโดยเฉพาะอีเลิร์นนิงเพื่อก้าวไปสู่การเป็นห้อง
สมุดอิเล็กทรอนิกส์ชั้นนำที่ทันสมัยสามารถตอบสนองต่อผู้ใช้ และผู้เรียนได้ทันเหตุการณ์ อันเป็น
ภารกิจหลักอย่างหนึ่งของห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ที่พึงปฏิบัติ และจะเป็นผลดีต่อการพัฒนาในแง่
การสร้างองค์ความรู้ (Knowledge) ที่จำเป็นเพื่อแข่งขันกันในเศรษฐกิจบนฐานความรู้
(Knowledge-based economy)ของประเทศต่อไป
สรุป ห้องสมุดในอนาคตจะต้องเป็นห้องสมุดที่ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศต่าง ๆ ใน
ห้องสมุดได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึงด้วยการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ สร้างเครือข่าย
ระหว่างห้องสมุดเพื่อใช้ทรัพยากรร่วมกัน และประหยัดงบประมาณ และบรรณารักษ์ต้องมีความ
เชี่ยวชาญในวิชาชีพสามารถที่จะหาสารสนเทศได้ตามที่ผู้ใช้ต้องการไม่ว่าจะรูปแบบใด
ตอนที่ 3 แนวคิดทฤษฏีการบริหารงานห้องสมุดสมัยใหม่
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน (2536 : 6-14) สรุปได้คือ งานบริหารเป็นงาน
กำกับดูแล และอำนวยความสะดวกให้การทำงานด้านต่าง ๆ ในห้องสมุดเป็นไปอย่างเรียบร้อย และ
มีประสิทธิภาพ โดยแบ่งงานบริหารออกเป็นงานย่อย ๆ คือ
1. งานบุคลากร
2. งานธุรการ
3. งานสถิติ
4. งานประชาสัมพันธ์
5. งานการเงินห้องสมุด
6. งานนักเรียนช่วยงานห้องสมุด
7. งานติดตามและประเมินผล
เฉลียว พันธุ์สีดา (2539 : 82) กล่าวถึงการบริหารงานห้องสมุดโรงเรียนสรุปได้ คือ เป็นการ
ดำเนินงานด้านต่าง ๆ ของห้องสมุด ได้แก่การวางนโยบาย และกำหนดจุดมุ่งหมาย การวางแผน
การกำหนดวิธีปฏิบัติ และรวมไปถึงการวัด และการประเมินผลงาน หลักการบริหารที่ได้รับความ
นิยมอย่างแพร่หลาย ของ ลูเธอร์ กูลิค (Luther Gulic) ดังนี้
1. การวางแผน (Planning) เริ่มตั้งแต่การกำหนดนโยบายเพื่อการวางแผนไว้เป็น 3 ระยะ
1.1 การวางแผนระยะยาว (Long – term Plan) เป็นการวางแผนตลอดทั้งปี
1.2 การวางแผนระยะสั้น (Short – term Plan) คือแผนที่ทำเป็นเดือน หรือ 3 เดือน
34
หรือ 1 ภาคเรียน
1.3 การวางแผนเพื่อปฏิบัติให้ทันเหตุการณ์ที่กำหนด หรือที่ต้องรีบแก้ไข
(Operational Plan) คือแผนที่ อาจมาโดยที่เราไม่ได้วางแผนไว้ ถ้าไม่ปฏิบัติจะเกิดผลเสียได้
2. การจัดองค์การ (Organizing) เป็นการกระทำที่จะไม่ให้เกิดปัญหาการทำงานซ้ำซ้อน
และสามารถทำงานได้ครบถ้วน ดังนี้
2.1 การกำหนดหน้าที่ของบุคลากร
2.2 การกำหนดสายการบังคับบัญชา
2.3 การเขียนคู่มือการปฏิบัติงาน
3. การจัดคนเข้าทำงาน (Staffing) เพื่อจัดคนให้เข้ากับงานและมีการกระทำเพื่อให้
องค์กรเกิดผลงานที่ดี ดังนี้
3.1 การพัฒนาบุคลากร
3.2 การบำรุงขวัญและกำลังใจ
3.3 ให้รางวัลเมื่อทำความดี ลงโทษเมื่อทำความผิด
4. การสั่งการ (Directing) เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดในการทำงาน ควรทำคู่มือการ
ปฏิบัติงานให้ทุกคนถือปฏิบัติ
5. การประสานงาน (Coordinating) การบริหารงานห้องสมุดนั้นต้องมีส่วนเกี่ยวข้อง
กับหน่วยงานอื่นภายในโรงเรียน การประสานงานที่ดี จึงควรสื่อกันด้วยลายลักษณ์อักษร เพื่อ
หลีกเลี่ยงการทำงานซ้ำซ้อน และเก็บไว้เป็นหลักฐานเพื่อป้องกันการผิดพลาด
6. การเขียนรายงาน (Reporting) ควรมีการทำรายงาน เพื่อให้ผู้อื่นรู้ว่าเราทำงานอะไร
ไว้บ้าง ทำเป็นลายลักษณ์อักษร มีสถิติ ปัญหา และข้อเสนอแนะ เพื่อให้ผู้บังคับบัญชารับทราบ
7. การจัดงบประมาณ (Budgeting) การกำหนดงบประมาณไว้ในแผนงานเป็นสิ่งจำเป็น
เพราะจะได้รู้ว่างานใดใช้งบประมาณเท่าใด และได้งบนั้นมาจากไหน และควรติดตามการใช้จ่าย
งบประมาณให้เป็นปัจจุบัน เพื่อป้องกันการเกิดปัญหา
สมจิต พรหมเทพ (2542 : 53 – 82) ใช้คำว่าการดำเนินงานแทนการวางแผน หมายถึงการ
จัดการหรือปฏิบัติงานในห้องสมุดให้เป็นไปตาม กระบวนการงานห้องสมุดด้วยความเรียบร้อย
บังเกิดผลดีตามเป้าหมายที่วางไว้ การดำเนินงานจะเป็นไปด้วยดีมีประสิทธิภาพ ต้องมี
องค์ประกอบในการดำเนินงานดังนี้
1. นโยบายหรือเป้าหมายในการดำเนินงาน
2. การสนับสนุนของผู้บริหาร
3. ความร่วมมือของบุคลากรในห้องสมุด
35
4. ความร่วมมือของผู้ใช้ห้องสมุดที่รู้จักใช้เครื่องมือช่วยค้นคว้า ที่ห้องสมุดจัดเตรียมไว้
อย่างมีประสิทธิภาพ มีระเบียบวินัย
5. นโยบายของผู้บริหารระดับสูงที่สามารถกำหนดนโยบาย เพื่อสนับสนุน การเรียน
การสอน และส่งเสริมให้ครูสอนโดยการใช้ห้องสมุด
แม้นมาส ชวลิต (2536) สรุปการบริหารงานห้องสมุดสมัยใหม่ไว้ 4 แนวทาง คือ
1. คิด/สร้างสรรค์/ฝันเฟื่อง คือมองเห็นภาพห้องสมุดในอุดมคติ
2. พลิกเรื่องเก่า หาแนวใหม่ คือ กำหนดแนวคิดใหม่เกี่ยวกับบทบาทของห้องสมุด
3. แก้ไขพัฒนา คือการใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ในการจัดการงานห้องสมุด เพื่อ
สนองตอบความต้องการใช้ได้อย่างทันท่วงที
4. สร้างแผนงานเผชิญหน้ากับอนาคต ด้วยการกำหนดแผนงานของห้องสมุดให้ควบคู่
ไปกับการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ
หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา (2539 : 1 – 42) ได้สนับสนุนและส่งเสริมให้
โรงเรียนในสังกัด กรมสามัญศึกษา ได้พัฒนางานห้องสมุดเข้าสู่มาตรฐานตามเกณฑ์ห้องสมุด
เฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก ดังนี้
1. มาตรฐานด้านปัจจัยนำเข้า (Input)
2. มาตรฐานด้านกระบวนการ (Process)
3. มาตรฐานด้านผลผลิต (Products)
1. มาตรฐานด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ในการสนับสนุนการดำเนินงานพัฒนา และ
ยกระดับคุณภาพงานห้องสมุดโรงเรียนเข้าสู่มาตรฐานประกอบด้วย
36
ตารางที่ 4 1.1 มาตรฐานบุคลากร
บุคลากรที่ปฏิบัติงานห้องสมุด คุณสมบัติที่ได้มาตรฐาน
ครูบรรณารักษ์ - ต้องมีวุฒิทางบรรณารักษ์
- ในรอบปีที่ผ่านมาได้รับการประชุม/อบรม/สัมมนา/
ศึกษาดูงานห้องสมุดอย่างน้อย 1 ครั้ง
- ปฏิบัติงานห้องสมุดเต็มเวลาและมีคาบสอน
ไม่เกิน 5 คาบต่อสัปดาห์
ครูช่วยงานห้องสมุด - ปฏิบัติงานในห้องสมุดโดยเฉลี่ย 3 ชั่วโมงขึ้นไป ต่อวัน
นักเรียนช่วยงานห้องสมุด - ผ่านการอบรมเกี่ยวกับการปฏิบัติงานห้องสมุด
- ปฏิบัติงานห้องสมุดโดยเฉลี่ย 1 ชั่วโมงขึ้นไปต่อวัน
คณะกรรมการห้องสมุด คณะกรรมการห้องสมุดประกอบด้วย
- ผู้บริหารโรงเรียนเป็นประธาน
- ผู้ช่วยผู้บริหารที่เกี่ยวข้องเป็นรองประธาน
- กรรมการจากหมวดวิชาต่าง ๆ
- บุคลากรในชุมชนร่วมเป็นกรรมการ
- ครูบรรณารักษ์ร่วมเป็นเลขานุการ
- ครูช่วยงานห้องสมุดเป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
โดยมีสัดส่วนของบุคลากรที่ได้มาตรฐานตามขนาดของโรงเรียน ดังนี้
ครูบรรณารักษ์ โรงเรียนขนาดใหญ่และใหญ่พิเศษ 2 คนขึ้นไป
โรงเรียนขนาดกลาง และขนาดเล็ก 1 คนขึ้นไป
ครูช่วยงานห้องสมุด หรือเจ้าหน้าที่ห้องสมุด
โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ 5 คนขึ้นไป
โรงเรียนขนาดใหญ่ 4 คนขึ้นไป
โรงเรียนขนาดกลาง 3 คนขึ้นไป
โรงเรียนขนาดเล็ก 2 คนขึ้นไป
นักเรียนช่วยงานห้องสมุด
โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ 50 คนขึ้นไป
โรงเรียนขนาดใหญ่ 40 คนขึ้นไป
โรงเรียนขนาดกลาง 30 คนขึ้นไป
โรงเรียนขนาดเล็ก 20 คนขึ้นไป
37
บุคลากรภายนอก หรืออาสาสมัครช่วยงานห้องสมุด
โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ ควรมี
โรงเรียนขนาดใหญ่ ควรมี
โรงเรียนขนาดกลาง ควรมี
โรงเรียนขนาดเล็ก ควรมี
1.2 มาตรฐานงบประมาณ
การบริหารงบประมาณ เพื่อส่งเสริมให้ได้มาตรฐานควรดำเนินการดังนี้
เงินค่าบำรุงห้องสมุด ควรได้รับ 100 % ของเงินงบประมาณที่ห้องสมุดได้รับจัดสรรจากกรมสามัญ
ศึกษา และเงินบริจาคหรือสิ่งของต่าง ๆ ที่ชุมชนมีส่วนร่วมส่งเสริมการพัฒนาห้องสมุด
1.3 มาตรฐานเวลาในการบริการงานห้องสมุด
ห้องสมุดโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา จะต้องมีเวลาที่เปิดบริการคิดเป็น
ชั่วโมงที่ให้บริการ มากกว่า 35 คาบต่อสัปดาห์ หรือมากกว่า 7 คาบต่อวัน
1.4 มาตรฐานอาคารสถานที่ของห้องสมุด
1.4.1 สภาพที่ตั้งของห้องสมุด นักเรียนสามารถใช้บริการได้สะดวก ห่างไกลเสียง
รบกวน อากาศถ่ายเทสะดวก แสงสว่างพอเหมาะ บรรยากาศและสิ่งแวดล้อมภายในและ
ภายนอกห้องสมุด สะอาด ร่มรื่น เรียบร้อย สวยงาม ตกแต่งสถานที่จูงใจให้เข้ามาใช้บริการ
1.4.2 ขนาดของห้องสมุด
ห้องสมุดโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ ควรมีขนาดตั้งแต่ 6 ห้องเรียนขึ้นไป
ห้องสมุดโรงเรียนขนาดใหญ่ควรมีขนาดตั้งแต่ 5 ห้องเรียนขึ้นไป
ห้องสมุดโรงเรียนขนาดกลางควรมีขนาดตั้งแต่ 3 ห้องเรียนขึ้นไป
ห้องสมุดโรงเรียนขนาดเล็กควรมีขนาดตั้งแต่ 2 ห้องเรียนขึ้นไป
1.4.3 มีผังการจัดห้องสมุดเต็มรูปแบบ (Master Plan)
1.4.4 มีการจัดมุมต่าง ๆ ภายในห้องสมุดเป็นสัดส่วน ดังนี้
มีบริเวณทำงานของครูบรรณารักษ์ บริเวณอ่านหนังสือทั่วไป มุมหนังสืออ้างอิง มุมวารสารและ
หนังสือพิมพ์ มุมส่งเสริมความรู้ หรือมุมเยาวชน มุมศึกษาค้นคว้ารายบุคคล มุมโสตทัศนศึกษา มุม
ศิลปวัฒนธรรม มุมนิทรรศการ มุมครู และมุมอื่น ๆ ตามความเหมาะสม ตามสภาพและขนาดของ
โรงเรียน คือโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษควรมี 10 มุมขึ้นไป โรงเรียนขนาดใหญ่ 9 มุมขึ้นไป โรงเรียน
ขนาดกลาง 8 มุมขึ้นไป และโรงเรียนขนาดเล็ก 7 มุมขึ้นไป
1.5 มาตรฐานครุภัณฑ์ห้องสมุด
ประกอบด้วย ตู้บัตรรายการ เคาน์เตอร์รับจ่ายหนังสือพร้อมเก้าอี้ โต๊ะทำงานของ
38
บรรณารักษ์ และเจ้าหน้าที่ โต๊ะเก้าอี้อ่านหนังสือ โต๊ะอ่านหนังสือเป็นรายคนพร้อมเก้าอี้ ชั้นหนังสือ
ชั้นวารสารที่วางหนังสือพิมพ์ ชั้นวางสิ่งของก่อนเข้าห้องสมุด ตู้เหล็กเก็บเอกสาร ตู้เหล็ก 2บาน
ตู้เก็บแผนที่ ตู้เก็บโสตทัศนวัสดุ ตู้เก็บวารสารและหนังสือพิมพ์ล่วงเวลา ที่ปีนหยิบหนังสือ รถเข็น
หนังสือ ป้ายสำหรับจัดนิทรรศการ เครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทย ภาษาอังกฤษหรือคอมพิวเตอร์ครุภัณฑ์
และอุปกรณ์ซ่อมแซมและเขียนสันหนังสือ วัสดุอื่น ๆ ตามความเหมาะสม การจัดวางครุภัณฑ์
ภายในห้องสมุดเน้นความเหมาะสมกลมกลืน ความเป็นระเบียบ เป็นสัดส่วนเหมาะสม
1.6 มาตรฐานทรัพยากรสารสนเทศ
1.6.1 โสตทัศนูปกรณ์ ประกอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ วิทยุเทปพร้อมหูฟัง วิทยุ
โทรทัศน์พร้อมหูฟัง เครื่องเล่นวีดีทัศน์ เครื่องฉายภาพนิ่ง พร้อมจอและอื่น ๆ ตามความเหมาะสม
ตามสภาพและขนาดของโรงเรียน คือโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ และขนาดใหญ่ ควรมีไม่น้อยกว่า 5
รายการ โรงเรียนขนาดกลาง และขนาดเล็ก ควรมีไม่น้อยกว่า 4 รายการขึ้นไป
1.6.2 ทรัพยากรสารสนเทศ
1.6.2.1 จำนวนหนังสือ เฉลี่ยนักเรียน 1 คนต่อหนังสือ 10 เล่มขึ้นไป
1.6.2.2 จำนวนวารสาร ควรมีสัดส่วนดังนี้ โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ ควรมี
วารสาร 25 ชื่อเรื่องขึ้นไป โรงเรียนขนานใหญ่ 20 ชื่อเรื่องขึ้นไป โรงเรียนขนาดกลาง 15 ชื่อเรื่องขึ้น
ไป และโรงเรียนขนาดเล็ก 10 ชื่อเรื่องขึ้นไป
1.6.2.3 จำนวนหนังสือพิมพ์ ควรมีสัดส่วนตามขนาดของโรงเรียนดังนี้
โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ ควรมีหนังสือพิมพ์ 20 ฉบับขึ้นไป โรงเรียนขนานใหญ่ 15 ฉบับขึ้นไป
โรงเรียนขนาดกลาง 10 ฉบับขึ้นไป และโรงเรียนขนาดเล็ก 5 ฉบับขึ้นไป
1.6.2.4 วัสดุไม่ตีพิมพ์ ห้องสมุดจะต้องมีวัสดุไม่ตีพิมพ์บริการ ดังนี้
แผนที่ ลูกโลก เกม ภาพนิ่ง เทปบันทึกเสียง วีดีทัศน์ ซีเอไอ
แผ่นดิสก์บรรจุข้อความรู้ แผ่น ซีดี (CD-ROM) อื่น ๆ ตามความเหมาะสม ตามสภาพและขนาดของ
โรงเรียน ดังนี้ โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษและขนาดใหญ่ควรมี 7 รายการขึ้นไป โรงเรียนขนาดกลาง
และขนาดเล็ก ควรมี 5 รายการขึ้นไป
2. มาตรฐานกระบวนการ (Process) กระบวนการในการพัฒนา และยกระดับพัฒนา
คุณภาพงานห้องสมุดโรงเรียนเข้าสู่มาตรฐานประกอบด้วย
1. มาตรฐานงานบริหาร
2. มาตรฐานงานเทคนิค
3. มาตรฐานงานบริการของห้องสมุด
3.1 งานบริการ
39
3.2 การจัดห้องสมุดเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน
3.3 งานกิจกรรม
2.1 มาตรฐานงานบริหาร
การบริหารงานห้องสมุดที่ได้มาตรฐาน ครูบรรณารักษ์ คณะกรรมการห้องสมุดได้
ดำเนินงาน 10 กิจกรรมต่อไปนี้อย่างครบถ้วน
2.1.1 ครูบรรณารักษ์ ได้เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการวิชาการของโรงเรียนในฐานะ
กรรมการทุกครั้งที่มีการประชุม
2.1.2 มีการประชุมคณะกรรมการห้องสมุดอย่างต่อเนื่อง
2.1.3มีการจัดทำโครงการ และแผนการปฏิบัติงานห้องสมุดที่สอดคล้องกับนโยบาย
ของโรงเรียน และกรมสามัญศึกษา
2.1.4 มีการปฏิบัติงานตามแผน
2.1.5 มีการประสานงานห้องสมุดกับครูอาจารย์และบุคลากรในโรงเรียน
2.1.6 มีการประสานงานกับผู้ปกครองนักเรียนและชุมชน
2.1.7 มีการเก็บสถิติ และจัดทำรายงานห้องสมุด
2.1.8 มีการประชาสัมพันธ์งานห้องสมุดด้วยวิธีการต่าง ๆ
2.1.9 มีการจัดทำบัญชีการเงินของห้องสมุดอย่างเป็นปัจจุบัน
2.1.10 มีการนำผลการประเมินของห้องสมุดมาใช้เพื่อพัฒนา
2.2 มาตรฐานงานเทคนิค
ในการดำเนินงานเทคนิคห้องสมุดที่ได้มาตรฐาน ครูบรรณารักษ์ คณะกรรมการงาน
ห้องสมุดได้ดำเนินงาน 10 กิจกรรมต่อไปนี้อย่างต่อเนื่อง ครบถ้วน
2.2.1 สำรวจความต้องการในการใช้บริการห้องสมุดของครู และนักเรียน
2.2.2 มีการพิจารณารายชื่อทรัพยากรสารสนเทศให้ตรงตามหลักสูตร
2.2.3 มีการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศให้ตรงตามหลักสูตร
2.2.4 มีการลงทะเบียนทรัพยากรสารสนเทศให้เป็นปัจจุบัน
2.2.5 มีการจัดหมวดหมู่และทำบัตรรายการทรัพยากรสารสนเทศให้เป็น
ปัจจุบันในรูปของบัตร หรือการสืบค้นจากคอมพิวเตอร์
2.2.6 มีการเตรียมทรัพยากรสารสนเทศให้พร้อมเพื่อให้บริการ
2.2.7 มีการจัดทำดัชนีวารสาร
2.2.8 มีการจัดทำจุลสาร และกฤตภาคให้พร้อมบริการ
2.2.9 มีการซ่อมบำรุงรักษาทรัพยากรสารสนเทศให้อยู่ในสภาพใช้การได้ดี
40
2.2.10 มีการสำรวจและจำหน่ายทรัพยากรสารสนเทศปีละ 1 ครั้ง
2.3 มาตรฐานงานบริการ
2.3.1 งานบริการ มีการดำเนินงาน ดังนี้
2.3.1.1 มีการวางแผนในการดำเนินงาน
2.3.1.2 มีการดำเนินงานตามแผน
2.3.1.3 มีการประเมินผล
2.3.1.4 มีการนำผลการประเมินมาใช้
2.3.2 ประเภทของงานบริการที่จัด
2.3.2.1 แนะนำการใช้ห้องสมุด
2.3.2.2 แนะนำการอ่านและการค้นคว้า
2.3.2.3 บริการตอบคำถามและช่วยค้นคว้า
2.3.2.4 บริการหนังสือจอง
2.3.2.5 บริการหนังสือแบบเรียน
2.3.2.6 บริการชุมชน
2.3.2.7 บริการห้องสมุดแก่ผู้ใช้อย่างทั่วถึง โดยจัดห้องสมุดเคลื่อนที่
และมุมหนังสือในห้องเรียนตามสภาพขนาดโรงเรียนดังนี้ โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ และขนาดใหญ่
ไม่ควรมีน้อยกว่า 6 จุด โรงเรียนขนาดกลางและขนาดเล็กไม่ควรน้อยกว่า 4 จุด
2.3.3 การจัดห้องสมุด เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน ครูบรรณารักษ์
คณะกรรมการห้องสมุด และครูได้ดำเนินงาน 10 กิจกรรมต่อไปนี้อย่างครบถ้วนตามบทบาทหน้าที่
2.3.3.1 ครูเสนอแนะรายชื่อหนังสือ หรือแนวทางการพัฒนาห้องสมุด
เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน
2.3.3.2 ครูและบรรณารักษ์ ร่วมกันคัดเลือกหนังสือและสื่อการสอน
2.3.3.3 จัดทำหลักฐานการจองสื่อประกอบการเรียนการสอน
2.3.3.4 การทำหลักฐานการจองเวลาใช้ห้องสมุดเพื่อการเรียนการสอน
2.3.3.5 จัดสื่อประกอบการสอนที่ครูจองไว้ในชั้นหนังสือจอง
2.3.3.6 จัดทำบรรณานุกรม สื่อ ประกอบการสอนที่ครูจองไว้
2.3.3.7 ประชาสัมพันธ์สื่อที่จองได้ให้ครู และนักเรียนทราบล่วงหน้า
2.3.3.8 จัดนิทรรศการส่งเสริมความรู้ในรายวิชาที่มีการเรียนการสอน
2.3.3.9 ประเมินผลการให้บริการในเรื่องความสอดคล้องของสื่อ กับ
กระบวนการเรียนการสอน ความทันสมัยของสื่อ ความสะดวกในการใช้บริการของครูและนักเรียน
41
ความร่วมมือของครูผู้สอนและจำนวนคาบต่อสัปดาห์ที่บริการสื่อการเรียนการสอน
2.3.3.10 ปรับปรุงการจัดห้องสมุดด้านบริการเพื่อการเรียนการสอน
2.3.4 งานกิจกรรม กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ควรจัดกิจกรรมดังต่อไปนี้
อย่างน้อย 8 รายการ คือ การแนะนำหนังสือ ตอบปัญหา จัดนิทรรศการ จัดทำบรรณานุกรม จัดทำ
บรรณนิทัศน์ จัดเสียงตามสาย สาธิตความรู้จากหนังสือ อภิปราย โต้วาที เล่านิทาน จัดเกมส่งเสริม
การอ่าน สนทนาเรื่องหนังสือ เล่าเรื่องหนังสือ วรรณกรรมสาธิต ประกวดยอดนักอ่าน และอ่านอื่น ๆ
ตามความเหมาะสมตามสภาพและขนาดของโรงเรียน
3. มาตรฐานด้านผลผลิต (Products)
ห้องสมุดโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษาที่ได้มาตรฐาน ปรารถนาให้นักเรียนมี
พฤติกรรมดังนี้
3.1 รักการอ่าน และศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง โดยพิจารณาจากการใช้บริการห้องสมุดของ
นักเรียนโดยเฉลี่ยไม่ควรน้อยกว่า 50% ของจำนวนนักเรียน การยืมหนังสือของนักเรียน
โดยเฉลี่ยไม่ควรน้อยกว่า 5 เล่ม ต่อเดือน
3.2 สามารถนำความรู้จากการอ่านไปใช้ในชีวิตประจำวัน พิจารณาจากผลการวิเคราะห์
การตอบแบบสอบถาม การสัมภาษณ์นักเรียนทุกระดับชั้น ตามวิธีการวัดและประเมินผล
3.3 นักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองพิจารณาจากผลการสังเกตการตอบแบบสอบถาม
การสัมภาษณ์นักเรียนทุกระดับชั้น ตามวิธีการวัดประเมินผล
3.4 ครูรักการอ่าน และศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง พิจารณาจากการเข้าใช้ห้องสมุดของ
ครู โดยเฉลี่ยไม่ควรน้อยกว่า 30 % ของจำนวนครู การยืมหนังสือของครู โดยเฉลี่ยไม่ควรน้อยกว่า
10 เล่มต่อคนต่อเดือน สารสนเทศในมุมครูที่ห้องสมุดกลางและห้องสมุดหมวดวิชา มีความ
ทันสมัย ตามสภาพ ข้อจำกัด และขนาดของโรงเรียน ดังนี้ โรงเรียนขานใหญ่พิเศษ ควรมี 8 หมวด
วิชาขึ้นไป โรงเรียนขนาดใหญ่ 6 หมวดวิชาขึ้นไป โรงเรียนขนาดกลาง 5 หมวดวิชาขึ้นไป และ
โรงเรียนขนาดเล็ก 4 หมวดวิชาขึ้นไป
3.5 ชุมชนให้ความสนใจต่อบริการห้องสมุด พิจารณาจากการเข้าใช้บริการห้องสมุด
การยืมหนังสือห้องสมุด การเข้าร่วมกิจกรรมที่จัดในโรงเรียน การเข้าร่วมกิจกรรมที่โรงเรียนไปจัดใน
ชุมชนหรือจัดร่วมกับชุมชน และการสนับสนุนกิจกรรมห้องสมุดโดยบริจาคเงินหรือสิ่งของ
สรุป ห้องสมุดโรงเรียนที่ดี จะต้องมีการดำเนินงานที่เป็นระบบ อัน
ประกอบด้วยการวางแผนที่ดี ปฏิบัติตามวัตถุประสงค์ได้อย่างครบถ้วน และครบตามหน้าที่ และ
ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และได้ประสิทธิผล
42
ตอนที่ 4 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
การทบทวนวรรณกรรมในหัวข้อนี้ เพื่อศึกษาขั้นตอนและวิธีการกำหนดทิศทางการ
วางแผนเชิงกลยุทธ์ และการจัดการเชิงกลยุทธ์ของห้องสมุดต่าง ๆ ผลการศึกษาสำหรับประเทศไทย
มีดังนี้
งานวิจัยในประเทศ
ทวีชัย บุญเติม (2540) ได้ทำการวิจัยเรื่อง การพัฒนาการจัดการเชิงยุทธศาสตร์
ของมหาวิทยาลัยขอนแก่นสำหรับปีพุทธศักราช 2550 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อกำหนดทิศทางและ
ยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยในปีพุทธศักราช 2550 แบ่งขั้นตอนการวิจัย เป็น 6 ขั้นตอน ได้แก่
ขั้นตอนที่ 1 การเก็บรวบรวมข้อมูลและจัดทำฐานข้อมูล
ขั้นตอนที่ 2 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัยขอนแก่น
ขั้นตอนที่ 3 การสร้างทิศทางของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ใน พ.ศ. 2550
ขั้นตอนที่ 4 การกำหนดยุทธศาสตร์เพื่อให้บรรลุทิศทางที่สร้างขึ้นในขั้นตอนที่ 3 โดยใช้
เทคนิคการวิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส ภาวะคุกคาม (SWOT Analysis)
ขั้นตอนที่ 5 การประชุมสัมมนาผู้ทรงคุณวุฒิ (Connoisscurship) เพื่อพิจารณาตรวจสอบ
ทศิ ทางและยทุ ธศาสตรม์ หาวทิ ยาลยั ขอนแกน่ ทผี่ วู้ จิ ยั จดั ทาํ ขนึ้ ในขนั้ ตอนที่ 3 และ 4 และให้
ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุง
ผลการวิจัยพบว่า มหาวิทยาลัยขอนแก่นมีทิศทางการพัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็น
สถาบันที่พึ่งหลักทางวิชาการแก่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและประเทศลุ่มน้ำโขง มีการบริหารจัดการ
ที่มีความคล่องตัว และมีประสิทธิภาพ ให้บริการวิชาการอย่างหลากหลาย เพื่อความเข้มแข็งของ
ชุมชนโดยอาศัยเทคโนโลยีเครือข่ายสารสนเทศ ยุทธศาสตร์หลักที่กำหนดเพื่อให้บรรลุตามทิศทางนี้
คือ การนำมหาวิทยาลัยสู่การเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการ
นวลทิพย์ อรุณศรี (2539) อ้างใน นันทา วิทวุฒิศักดิ์ (2545 : 68) ได้ทำการวิจัยเรื่อง
“การศึกษากลยุทธ์การรับเข้าศึกษาวิชาพยาบาล ในสถาบันอุดมศึกษาสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย”
ผลการวิจัยพบว่า คณะพยาบาลศาสตร์ยังไม่มีแผนกลยุทธ์ในการรับเข้าศึกษา
ผู้วิจัยจึงเสนอแนวทางพัฒนากลยุทธ์และแผนงานในการรับเข้าศึกษาไว้ 5 แผนงานคือ แผนงาน
พัฒนาภาพลักษณ์วิชาชีพ แผนงานแนะแนวการศึกษา แผนงานพัฒนารูปแบบการรับเข้าศึกษา
แผนงานพัฒนาการเรียนการสอน และแผนงานพัฒนาความก้าวหน้าและความมั่นคงในวิชาชีพ
นันทา วิทวุฒิศักดิ์ (2545) ได้ทำการวิจัยเรื่อง การวางแผนกลยุทธ์สำนัก
วิทยบริการสถาบันราชภัฏ ในทศวรรษหน้า (2544 – 2553) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา
43
สภาพปัจจุบันของสำนักวิทยบริการ สถาบันราชภัฏและสถาบันอุดมศึกษา เพื่อศึกษาเปรียบเทียบ
สภาพปัจจุบันกับภาพที่พึงประสงค ์ ของสาํ นกั วทิ ยบรกิ าร สถาบันราชภัฏและสถาบันอุดมศึกษา ใน
ทศวรรษหน้า (2544-2553) และเพื่อพัฒนาและตรวจสอบแผนกลยุทธ์ สำนักวิทยบริการ สถาบัน
ราชภัฏ ในทศวรรษหน้า (2544-2553) ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันของสำนักวิทยบริการ
สถาบันราชภัฏ และสถาบันอุดมศึกษา มีวิสัยทัศน์ร่วมในการให้บริการที่เป็นสากล มีมาตรฐาน
ทันสมัย สามารถส่งเสริมการเรียน การสอน การค้นคว้าวิจัย และการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยนำเสนอ
ในแต่ละด้าน คือ
1. ด้านทฤษฎีและบริบทการบริการสารสนเทศ และระบบการจัดการห้องสมุดใน
หลักการอุดมศึกษา
2. องค์ประกอบต่าง ๆ ตามมาตรฐานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา
3. เป้าหมายและแผนกลยุทธ์
4. ด้านเอกลักษณ์
ในภาพรวมทุกด้านมีการดำเนินการปรากฏอยู่ในระดับปานกลาง ยกเว้นด้าน
ทฤษฎีและบริบทการบริการสารสนเทศมีการดำเนินการปรากฏอยู่อย่างมาก ส่วนผลการ
เปรียบเทียบสภาพปัจจุบัน กับภาพที่พึงประสงค์ของสำนักวิทยบริการ สถาบันราชภัฏ และสถาบัน
อุดมศึกษา ในทศวรรษหน้า (2544 – 2553) แล้วกำหนดเป็นช่องว่างอันเป็นความจำเป็นในการ
วางแผนกลยุทธ์ ผลการเปรียบเทียบพบว่า มาตรฐานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2544 มี
ค่าความแตกต่างสูงสุด รองลงมาเป็นเอกลักษณ์ของสำนักวิทยบริการ ห้องสมุดสมัยใหม่
ส่วนทฤษฏี และบริบทการบริการสารสนเทศและการจัดการห้องสมุดในหลักการอุดมศึกษา เป็นภาพ
ที่ควรสร้างให้เกิดและรักษาไว้อย่างยิ่ง ส่วนความจำเป็นในการวางแผนกลยุทธ์เพื่อสร้าง
ให้เกิด และรักษาไว้ต่ำกว่าด้านอื่น ๆ
บานชื่น ทองพันชั่ง (2544) อ้างใน นันทา วิทวุฒิศักดิ์ (2545 : 69 – 70)
ได้ทำการวิจัยเรื่อง “แนวโน้มการพัฒนาคุณภาพห้องสมุดในสังกัดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่” มี
วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวโน้มการพัฒนาคุณภาพห้องสมุดในสังกัดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ปี พ.ศ. 2554 ในด้านโครงสร้างและการบริหารงาน งบประมาณและการเงิน บุคลากร ทรัพยากร
สารนิเทศห้องสมุด อาคารสถานที่และครุภัณฑ์ บริการ ความร่วมมือระหว่างห้องสมุดและ
ด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยใช้เทคนิคเดลฟาย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยนี้เป็นผู้เชี่ยวชาญ
ทางด้านห้องสมุดที่เกี่ยวกับห้องสมุดในสังกัดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จำนวน 13 คน ผลของการวิจัย
พบว่าแนวโน้มการพัฒนาคุณภาพห้องสมุดในสังกัดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในปีพ.ศ. 2554 เป็นดังนี้
44
1. ด้านโครงสร้างและการบริหารงาน จะมีการปรับปรุงให้เกิดความคล่องตัว เป็น
องค์กรแบบแบนราบ มีขนาดกะทัดรัด มีนโยบายพัฒนาห้องสมุดเป็นห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์หรือ
ห้องสมุดดิจิตอล จะมีความเป็นเอกภาพในการบริหารจัดการในทุกด้านโดยมีระบบการบริหารงาน
ห้องสมุดเป็นแบบศูนย์รวม
2. ด้านงบประมาณและการเงิน เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานห้องสมุดสถาบัน
อุดมศึกษา ทบวงมหาวิทยาลัย ระบบการบริหารงานงบประมาณจะมีอิสระมากขึ้น สอดคล้องกับ
ระบบการบริหารงานของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐบาลได้งบประมาณแผ่นดินในลักษณะ
อุดหนุนทั่วไปและเงินรายได้จากค่าปรับ ค่าบริการ ค่าธรรมเนียมจากผู้ใช้บริการและจากการหา
รายได้ของห้องสมุด
3. ด้านบุคลากร จะมีระบบประเมินประสิทธิภาพของบุคลากร จำนวนบุคลากรจะ
ลดลงโดยมีการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ มาช่วยการทำงานของบุคลากร บุคลากรต้องมี
ความสามารถในการปรับเปลี่ยนได้ จะต้องทำงานในเชิงรุก มีบทบาทหน้าที่ตรงตามภาระงาน
ของแต่ละตำแหน่ง มีความรู้ความสามารถในเรื่องภาษาต่างประเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศ
และเทคโนโลยีมัลติมีเดียที่สามารถให้คำปรึกษาเป็นระดับช่วยวิชาการ และให้บริการแก่ผู้ใช้บริการ
ได้ ทั้งนี้บุคลากรห้องสมุดจะมีสถานภาพเป็นพนักงานของรัฐ
4. ด้านทรัพยากรสารนิเทศห้องสมุดที่ให้บริการจะมี 2 รูปแบบ คือ รูปแบบสิ่งพิมพ์
และรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์หรือรูปแบบดิจิตอล มีการจัดซื้อโดยคำนึงถึงการใช้งานอย่างคุ้มค่าและ
คุ้มกับการลงทุน
5. ด้านอาคารสถานที่และครุภัณฑ์ จะปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับลักษณะของ
ห้องสมุดดิจิตอลหรือ Virtual Library ผู้ใช้สามารถนำคอมพิวเตอร์ส่วนตัวมาใช้งานได้ภายใน
ห้องสมุด และมีการนำครุภัณฑ์เพื่อสร้างระบบเครือข่ายการจัดเก็บสารนิเทศที่ทันสมัยมาใช้
6. ด้านบริการ มีนโยบายในการให้บริการที่สนับสนุนให้ผู้ใช้บริการมีการศึกษาค้นคว้า
ด้วยตนเองจากวัสดุอุปกรณ์ที่ทันสมัยในการสืบค้นสารนิเทศ ให้บริการเชิงรุก เน้นการบริการที่
สะดวก รวดเร็ว ทันสมัย ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ทุกระดับให้เกิดความประทับใจ และมี
ความพึงพอใจในการได้รับบริการ ผู้ให้บริการจะเป็นตัวกลางในการใช้สารนิเทศผ่านระบบ
เครือข่ายอินเทอร์เน็ต และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ในรูปของบริการดิจิตอลไลบรารี ตลอด
24 ชั่วโมง และมีบทบาทการให้บริการชุมชน
7. ด้านความร่วมมือระหว่างห้องสมุด จะมีการกำหนดแผนและมีการพัฒนาเชิงระบบ
เป็นข่ายงานที่ประสานกันได้ มีการใช้ทรัพยากรร่วมกันและจะมีการให้บริการร่วมกันในลักษณะ
45
บริการผ่านระบบ Internet มีการใช้บริการฐานข้อมูลออนไลน์ร่วมกัน และจัดทำมาตรฐาน ใน
การใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติร่วมกัน
8. ด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องจะเป็นห้องสมุดที่มีคุณภาพที่สุดเป็น 1 ใน 3 ของห้องสมุด
มหาวิทยาลัยภายในประเทศ
ไพโรจน์ ด้วงวิเศษ (2543) ได้ทำการวิจัยเรื่อง “การพัฒนาแผนกลยุทธ์การพัฒนาคุณ
ภาพการเรียนการสอนทางครุศาสตร์ในสถาบันราชภัฏ” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐาน
ของสถาบันราชภัฏ การประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนของสถาบันราชภัฏ และ
จัดทำแผนกลยุทธ์เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนทางครุศาสตร์ในสถาบันราชภัฏ ผลการวิจัย
จากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางครุศาสตร์ในสถาบันราชภัฏ พบว่า จุดแข็ง คือ อาจารย์มีความรู้
และประสบการณ์ มีความเป็นเครือข่าย นักศึกษาส่วนมากเป็นคนในท้องถิ่น จุดอ่อนคือ อาจารย์มี
ภาระงานหลายด้าน นักศึกษามีพื้นความรู้ต่ำ โอกาสคือ นักเรียนมีความต้องการการเข้าศึกษา
มากขึ้น อุปสรรค คือ อัตราการบรรจุอาจารย์ การใช้เทคโนโลยี และการบริหารจัดการ การจัดทำ
กลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนในคณะครุศาสตร์ ประกอบด้วยกลยุทธ์ 7 ด้าน คือ
กลยุทธ์ด้านอาจารย์ กลยุทธ์ด้านการศึกษา กลยุทธ์ด้านบริหารจัดการ กลยุทธ์ด้านปัจจัย และสิ่ง
อำนวยความสะดวกพื้นฐาน กลยุทธ์ด้านหลักสูตร กลยุทธ์ด้านกระบวนการเรียนการสอน และ
กลยุทธ์การสร้างความเข้าใจอาจารย์ และการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ กลยุทธ์แต่ละด้านมีกลวิธีที่
สำคัญ คือการเพิ่มการเชิดชูเกียรติและให้รางวัลแก่อาจารย์ทางด้านการสอน การปรับพื้นฐานความรู้
นักศึกษา การปฏิรูปการบริหารจัดการคณะครุศาสตร์ให้มีความคล่องตัว การจัดตั้งศูนย์สื่อวัสดุ
อุปกรณ์ และคอมพิวเตอร์ การจัดหลักสูตรที่หลากหลาย จัดตั้งศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนและ
การสร้างความตระหนักในการทำงานเป็นทีม
ภาภิวัฒน์ ภัทรธิยานนท์ (2544) ได้ทำการวิจัยเรื่อง การพัฒนาการประยุกต์ระบบฐาน
ข้อมูลผ่านเว็บเพื่อการจัดการระบบห้องสมุด กรณีศึกษา : สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการออกแบบฐานข้อมูลและการจัดสร้างเว็บแอพพลิเคชั่นที่จะทำให้ผู้ใช้งาน
สามารถเข้าถึงระบบได้ทางอินเตอร์เน็ต โดยมีการแสดงผลออกมาในรูปของเว็บเพจผ่านทาง
โปรแกรมเว็บบราวเซอร์ ซึ่งจะช่วยผู้ใช้งาน สามารถได้รับข้อมูลต่าง ๆได้รวดเร็ว และง่ายขึ้น ระบบจะ
สนับสนุนการเรียกใช้ข้อมูลแบบออนไลน์ ซึ่งจะทำให้สามารถนำเสนอข้อมูลเพิ่มเติมและแก้ไขข้อมูล
ของวัสดุตีพิมพ์ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในห้องสมุด และสามารถทำการตรวจสอบผลการทำงานต่าง ๆ ได้
ฐานข้อมูลถูกออกแบบให้ใช้ Microsoft SQL Server 7.0 เป็นตัวจัดการฐานข้อมูลโดยใช้
Internet Information Server เป็นเว็บเซิร์ฟเวอร์ และมี Professional Home Page (PHP) ทำหน้าที่
เป็นตัวประสานงานระหว่างเว็บเซิร์ฟเวอร์ และตัวจัดการฐานข้อมูลเพื่อที่จะนำข้อมูลไปใช้งานตาม
46
ความต้องการของผู้ใช้ และยังมีการใช้ภาษา Dynamic Hypertext Markup Language (DHTML)
และภาษา JavaScript มาช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพ ในส่วนของหน้าจอของผู้ใช้ แอปพลิเคชั่นนี้มี
ส่วนประกอบด้วยส่วนหลัก 2 ส่วน โดยส่วนแรกเป็นระบบรักษาความปลอดภัยในการเข้าใช้งาน การ
ตรวจสอบผู้ใช้งาน การกำหนดระดับการเข้าใช้งาน และการบริหารผู้ใช้งาน เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ใช้ได้รับ
อนุญาตให้เข้าใช้ระบบได้อย่างถูกต้อง ส่วนที่สองคือระบบจัดการห้องสมุด ซึ่งผู้ใช้งานจะสามารถ
ค้นหา จัดการข้อมูลวัสดุตีพิมพ์ต่าง ๆ การจองหนังสือ การบริหารการยืมคืนหนังสือ ตลอดจนถึงการ
แสดงรายงานสรุปต่าง ๆ ผลที่ได้จากการพัฒนาระบบ พบว่าเป็นที่น่าพอใจทั้งในส่วนของความ
ถูกต้อง ความรวดเร็วของการตอบสนอง มีความยืดหยุ่นและง่ายต่อการใช้งาน
มลิวัลย์ ประดิษฐ์ธีระ (2537) ได้ทำการวิจัยเรื่อง การวางแผนบุคลากรทางด้าน
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการวางแผนบุคลากร
ทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน จำนวน 45 แห่ง
ในเรื่องความต้องการบุคลากรทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ปัจจัยที่มีผลต่อการ
วางแผนบุคลากรทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และวิธีการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยี
คอมพิวเตอร์ โดยตั้งสมมุติฐานการวิจัยไว้ 3 ประการ คือ 1. ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษามีความ
ต้องการบุคลากรทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาโทขึ้นไป และมี
ประสบการณ์การปฏิบัติงานทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ 2. งบประมาณ นโยบายของ
ผู้บริหารห้องสมุด และประเภทงานที่เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เป็น ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการ
วางแผนบุคลากรทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ 3. ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาบุคลากรทางด้าน
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์โดยวิธีการฝึกอบรมในระหว่างปฏิบัติงาน การวิจัยได้ใช้แบบสอบถามและ
การสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาส่วนใหญ่ มีการวางแผนบุคลากรทางด้านเทคโนโลยี
คอมพิวเตอร์
2. ปัจจัยสำคัญที่มีต่อการวางแผนบุคลากรทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ได้แก่
งบประมาณห้องสมุด ประเภทงานที่ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และคุณสมบัติและความสามารถของ
บุคลากรที่ปฏิบัติงานในปัจจุบันตามลำดับ
3. ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาส่วนใหญ่ประสบปัญหาบุคลากรไม่เพียงพอ และมี
ความต้องการบุคลากรทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ โดยในแง่คุณสมบัติ พบว่า ผู้บริหารห้องสมุด
มีความต้องการบุคลากรที่มีวุฒิปริญญาโทสาขาบรรณารักษศาสตร์ที่มีความรู้ และประสบการณ์
ทางคอมพิวเตอร์มากที่สุด ขณะที่ในแง่ปริมาณนั้น พบว่า ต้องการบุคลากรที่มีวุฒิต่ำกว่าปริญญาตรี
ในปริมาณมากที่สุด 4. วิธีการพัฒนาบุคลากรทางด้านคอมพิวเตอร์ที่ห้องสมุดใช้และคาดว่าจะใช้
47
มากที่สุด คือ การฝึกอบรมในระหว่างการปฏิบัติงาน
สุดใจ ธนไพศาล (2540) ได้ทำการวิจัยเรื่อง การพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติห้องสมุด
คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นการศึกษาเรื่องของ
ห้องสมุดคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งประสบปัญหาจากความ
เปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทั้งภายใน และภายนอก การเพิ่มปริมาณอย่างรวดเร็วของข้อมูล
ข่าวสาร ตลอดจนความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารทางไกล มี
ผลกระทบอย่างรุนแรงต่อผู้ปฏิบัติงานและผู้ใช้บริการห้องสมุด ทำให้การทำงานเกิดความล่าช้า
ไม่สะดวก ไม่ตรงกับความต้องการใช้บริการของอาจารย์ นักศึกษา และบุคลากรประเภทอื่น ๆ
ดังนั้นแนวทางแก้ไขปัญหานี้จึงนำทฤษฏีการวางแผนกลยุทธ์ (Strategic Planning) มาใช้
โดยศึกษาถึงสภาพขององค์กร และการใช้กลยุทธ์เพื่อแก้ปัญหาด้วยการพัฒนาระบบห้องสมุด
อัตโนมัติ (Automatic Library)
เสน่ห์ จุ้ยโต (2541) อ้างใน นันทา วิทวุฒิศักดิ์ (2545 : 67 – 68) วิจัยเรื่อง
"วิสัยทัศน์และกลยุทธ์ในการบริหารอุดมศึกษา : กรณีศึกษาของผู้บริหารระดับสูง" การวิจัยครั้งนี้มี
วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาที่มาของวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ในการบริหารอุดมศึกษาของผู้บริหารระดับสูง
และการใช้วิสัยทัศน์และกลยุทธ์ในการบริหารอุดมศึกษาของผู้บริหารระดับสูง
ผลการวิจัยพบว่า ที่มาของวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ในการบริหารอุดมศึกษาของผู้บริหาร
ระดับสูง มี 4 ประการคือ การขัดเกลาทางสังคม การศึกษาในระบบ ประสบการณ์ในอาชีพ และ
วัฒนธรรมขององค์การ การขัดเกลาทางสังคมประกอบไปด้วยการอบรมเลี้ยงดูของบิดามารดา
การเป็นแบบอย่างที่ดีของบิดามารดา ความยากลำบากในวัยเด็กที่ทำให้มีความอดทนพากเพียร
การเป็นน้องที่มีพี่ ๆ ให้การสนับสนุน และการฝึกฝนของบิดามารดาที่ทำให้เกิดความเฉลียวฉลาด
ในวัยเด็ก การศึกษาในระบบประกอบไปด้วยการมีครูดี การได้เรียนในวิชาที่เป็นประโยชน์โดยตรง
และการได้ทำกิจกรรมเสริมหลักสูตร ประสบการณ์ในอาชีพประกอบด้วยประสบการณ์ในการเรียน
ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ประสบการณ์ในการเรียนระดับปริญญาตรี โทและเอก และ
ประสบการณ์ในการทำงาน วัฒนธรรมขององค์การประกอบไปด้วยความเชื่อและค่านิยมของผู้นำ
เกี่ยวกับการบริหารองค์การ วิสัยทัศน์ในการบริหารอุดมศึกษาของผู้บริหารระดับสูงมี 5 ประการ
คือ มหาวิทยาลัยทางไกลและมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาล การบริหารความขัดแย้ง ความ
เป็นสากลของอุดมศึกษา การกระจายอำนาจและการบริหารองค์การเชิงธุรกิจ การใช้วิสัยทัศน์
และกลยุทธ์ในการบริหารอุดมศึกษาของผู้บริหารระดับสูงมี 4 ขั้นตอนคือ ขั้นจุดประกาย ขั้นขาย
ความคิด ขั้นพิชิตการเปลี่ยนแปลง และขั้นสร้างความต่อเนื่อง
48
สุริทอง ศรีสะอาด (2544) ทำการวิจัยเรื่อง “แนวทางการพัฒนาห้องสมุดสถาบันอุดม
ศึกษาไปสู่เกณฑ์มาตรฐานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2544 “ โดยมีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อการ
ศึกษาวิเคราะห์สภาพของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาตามเกณฑ์มาตรฐานห้องสมุดมหาวิทยาลัย
พ.ศ. 2529 และเกณฑ์มาตรฐานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2544 และเพื่อศึกษาแนวทางการ
พัฒนาห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาไปสู่เกณฑ์มาตรฐานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2544 เป็น
การวิจัยเชิงสำรวจ ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาโดยภาพรวมได้
รับการปรับปรุงดีขึ้นโดยเฉพาะในมาตรฐานเชิงคุณภาพ เช่น โครงสร้างและการบริหาร การบริการ
ความร่วมมือระหว่างห้องสมุดและประเภทของทรัพยากร เมื่อเปรียบเทียบสภาพห้องสมุดสถาบัน
อุดมศึกษาตามเกณฑ์มาตรฐาน พ.ศ. 2529 และ พ.ศ. 2544 พบว่าส่วนใหญ่บรรลุเกณฑ์เฉพาะ
มาตรฐานคล้ายคลึงกัน ด้านที่บรรลุเกณฑ์มาตรฐานมากที่สุดทั้งสองฉบับคือ ด้านบริการ รองลงมา
คือด้านความร่วมมือระหว่างห้องสมุด เกณฑ์มาตรฐานเชิงปริมาณที่ห้องสมุดไม่บรรลุตามมาตรฐาน
ทั้งสองฉบับเหมือนกันคือ เกณฑ์มาตรฐานเชิงปริมาณในด้านงบประมาณ ส่วนมาตรฐานด้านอื่น ๆ
ที่เหลือพบว่ามีห้องสมุดจำนวนไม่ถึงครึ่งที่บรรลุเกณฑ์มาตรฐาน เช่น ด้านอาคารห้องสมุด และ
ครุภัณฑ์ ด้านจำนวนทรัพยากรห้องสมุด จำนวนผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด และด้านการประเมิน
คุณภาพห้องสมุด ผลการศึกษาครั้งนี้นอกจากจะชี้ให้เห็นความไม่พอเพียงด้านงบประมาณแล้วยังชี้
ให้เห็นจุดสำคัญที่ควรรีบพัฒนาและให้การสนับสนุนโดยเร็ว คือเรื่อง โอกาสความก้าวหน้าและ
สถานภาพของบุคลากรห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา
งานวิจัยต่างประเทศ
นิโคลสัน สก็อต (Nicholson, 1995) ได้ทำการวิจัยเรื่อง "Management of the
Digital Library: New Techniques for a New Technology" จุดประสงค์ของการวิจัยนี้เป็นการ
วิเคราะห์ จุดประสงค์ของปัญหาต่าง ๆ ข้อเสนอแนะและวิธีแก้ไขเท่าที่จะเป็นไปได้ การวิจัยพบว่า
ปัญหาที่ใหญ่ที่สุดที่ผู้บริหารห้องสมุดดิจิตอลจะต้องเผชิญ 3 ประการคือ 1) ความคุ้มทุน (Cost
Recovery) 2) การกระจายสิ่งพิมพ์ และ 3) การฝึกอบรม ห้องสมุดดิจิตอลเป็นการให้บริการของ
ห้องสมุดที่ยึดถือผู้ใช้เป็นหลักโดยการเชื่อมโยงผู้ใช้เข้ากับสารสนเทศด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์
เทคโนโลยีใหม่ ๆ และ ต้นทุนที่สูงทำให้การบริหารมีความยุ่งยากมากขึ้นในด้านต่าง ๆ 4 ด้าน
1. การวางแผน (Planning)
2. การจัดองค์กร (Organizing)
3. การอำนวยการ (Directing)
4. การควบคุม (Controlling)
49
โควิ,ลิซา มาร์ตินา (Covi, 1996:Abstract) ทำการวิจัยเรื่อง "Material Mastery : How
university researchers use digital libraries for scholarly Communication”. สรุปว่า คนที่มี
ความรู้และทำงานในด้านของการให้ความรู้ จะใช้ห้องสมุดดิจิตอลในการหาข้อมูล โดยนักวิจัยเกี่ยว
กับเรื่องห้องสมุดและสารสนเทศ วิชาคอมพิวเตอร์ และระบบการจัดการสารสนเทศ อ้างว่าคนที่
ทำงานด้านการให้ความรู้ จะทำงานไปในแนวทางใหม่ เนื่องจากอุปกรณ์ต่าง ๆ ในห้องสมุด
ดิจิตอลมีมากขึ้น โดยเข้าถึงความรู้ทางเครือข่ายของห้องสมุดดิจิตอล ซึ่งประกอบไปด้วย เทคโนโลยี
เวิรล์ด ไวด์ เว็บ การแบ่งปันฐานข้อมูล และระบบบรรณานุกรม นักวิจัยจาก 8 มหาวิทยาลัยพบว่า
แนวทางการเรียนรู้หลัก ๆ ของคนที่ทำงานด้านความรู้ใช้ทั้งวัสดุตีพิมพ์ และวัสดุอิเล็กทรอนิกส์
สถานการณ์ของการปฏิบัติการเรียนรู้จึงเปลี่ยนไป คือ ใช้ความสามารถในการแลกเปลี่ยน เรียนรู้
รวบรวม และนำความรู้มาใช้ในกรณีจำเป็น ซึ่งเป็นแนวทางที่นักพัฒนาห้องสมุดดิจิตอลจะต้อง
วางแผนการปฏิบัติงานในอนาคตให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ โดยเฉพาะการจัดเตรียม
ทั้งวัสดุตีพิมพ์ และวัสดุอิเล็กทรอนิกส์ ไว้สำหรับบุคคลที่ทำงานด้านความรู้เหล่านี้ไว้อย่างพร้อมใช้
ตลอดเวลา
บาร์ค, จอห์น เอลลิส (Park, 1997) อ้างในไพโรจน์ ด้วงวิเศษ (2543 : 114) วิจัยเรื่อง
“การศึกษากรณีการวางแผนกลยุทธ์ในสถาบันอุดมศึกษาต่อเนื่อง” วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ
ศึกษาวิเคราะห์การนำแผนกลยุทธ์ไปใช้ ศึกษาโดยใช้วิธีสัมภาษณ์ผู้บริหารที่เป็นคณะกรรมการ
ศึกษาต่อเนื่องจำนวน 15 คน ตลอดจนการวิเคราะห์เอกสารมีการเปรียบเทียบรูปแบบกลยุทธ์ต่าง ๆ
ที่นำไปใช้ ผลของการศึกษาพบว่า องค์การมีจุดมุ่งหมายในการวางแผนกลยุทธ์ 2 ประการ กล่าวคือ
1. เพื่อการตัดสินใจในการกำหนดทิศทางขององค์การ
2. เพื่อแสดงจุดเน้นของการเจริญเติบโตตลอดจนนวัตกรรมขององค์การ
บันดี้, อเลน (Bundy, 2000) ได้ทำการวิจัยเรื่อง ความคาดหวังของผู้ใช้บริการในการให้
บริการแบบใหม่ของห้องสมุดในศตวรรษที่ 21 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการให้บริการรูปแบบ
ใหม่ของห้องสมุดมหาวิทยาลัย โดยวิธีประเมินเว็บไซต์ห้องสมุดมหาวิทยาลัยโดยสมาชิก ผลการ
วิจัยพบว่า การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารภายในห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ทั้งในและต่างประเทศนั้น ผู้มีการ
ศึกษาสูงสามารถเข้าใจข้อมูลข่าวสารได้ดี ความร่วมมือระหว่างห้องสมุด ความสะดวกสบายใน
การใช้ การค้นหาข้อมูล และการพัฒนา เวิล์ด ไวด์ เว็บนั้นมีผู้ใช้น้อย ในออสเตรเลียและนิวซีแลนด์
มีบริการแบบใหม่ใส่ไว้ในแผนกลยุทธ์ มีโปรแกรมการพัฒนาบุคลากรและวัฒนธรรมองค์กรรูปแบบ
ใหม่ ข้อกำหนดรูปแบบใหม่สำหรับทำงบประมาณ เหล่านี้แสดงไว้ในหน้าแรกสำหรับสมาชิกไอเอทียู
ที่กำลังแยกตัวออกจากออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ให้ความสะดวกรวดเร็ว
50
สรุป ผลของการวิจัยทั้งภายใน และภายนอกประเทศ พอสรุปได้ว่าการวางแผนเชิงกล
ยุทธ์ของสถาบันที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการศึกษา โดยเฉพาะห้องสมุดในสถาบันการศึกษามีรูปแบบ
และกลยุทธ์ที่หลากหลายอันจะส่งผลให้การบริหารจัดการงานห้องสมุดมีประสิทธิภาพ และประสิทธิ
ผล ห้องสมุดจึงมีความจำเป็นและควรมีการวางแผนพัฒนาห้องสมุดเพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลง
ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะการวางแผนการปฏิบัติงานของห้องสมุดในอนาคตให้บรรลุเป้าหมายที่
วางไว้ทุกรูปแบบ
51

การวางแผนเชิงกลยุทธ์ของห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ (ตอนที่ 1)
การวางแผนเชิงกลยุทธ์ของห้องสมุดโรงเรียนอัสสัมชัญ (ตอนที่ 2)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น