ศึกษาและโหลดฟรีเป็นตัวอย่างเกี่ยวกับงานวิจัย all free download research
วันเสาร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2552
การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาด (ตอนที่ 1)
การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาด
เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของกรุงเทพมหานคร : กรณีศึกษา
ชุมชนในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร
.
นางสาวเยาวลักษณ์ ทองอุ่มใหญ่
วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขา
สังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา
ปีการศึกษา 2545
ISBN : 974 - 373 -177- 6
ลิขสิทธิ์ของสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
The People’s Participation in the Community Project on
“Raumchai Rak Sa-ad” for better Enviromment at Bangkok
Metropolis : A Community Case Study in Bangkae District.
Yaowaluk Thongumyai
A Thesis Submitted in Partial Fulfillment of the Requirements
for the Master of Education (Social Science for Development)
At Rajabhat Institute Bansomdej Chaopraya
Academic Year 2002
ISBN : 974-373-187-4
วิทยานิพนธ์ การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาดเพื่อ
สิ่งแวดล้อมที่ดีของกรุงเทพมหานคร : กรณีศึกษา ชุมชนในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร
โดย เยาวลักษณ์ ทองอุ่มใหญ่
สาขาวิชา สังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา
อาจารย์ที่ปรึกษา ดร.ปรีชา เปี่ยมพงศ์สานต์
อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม ดร.ประเทือง อัมพรภักดิ์
อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม ผศ.บุปผา แช่มประเสริฐ
บัณฑิตวิทยาลัยสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา อนุมัติให้วิทยานิพนธ์นี้
เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
……………………………………………………….คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
(รองศาสตราจารย์ นันทา วิทวุฒิศักดิ์)
วันที่ ……..เดือน………………พ.ศ………..
คณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์
……………………………………………………………….ประธานกรรมการ
(ศาสตราจารย์ ดร.สายหยุด จำปาทอง)
………………………………………………………………อาจารย์ที่ปรึกษา
(ดร.ปรีชา เปี่ยมพงศ์สานต์)
………………………………………………………………อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม
(ดร.ประเทือง อัมพรภักดิ์)
………………………………………………………………อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม
(ผศ.บุปผา แช่มประเสริฐ)
………………………………………………………………กรรมการ
(ผศ.สุพิศวง ธรรมพันทา)
…………………………………………………………กรรมการและเลขานุการ
(ผศ.สมชาย พรหมสุวรรณ)
ลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
เยาวลักษณ์ ทองอุ่มใหญ่ (2545) การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาด
เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของกรุงเทพมหานคร วิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร :
บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. คณะกรรมการควบคุม :
ดร.ปรีชา เปี่ยมพงศ์สานต์ ดร.ประเทือง อัมพรภักดิ์ ผศ.บุปผา แช่มประเสริฐ
การศึกษาการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อม
ที่ดีของกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค ์ เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีต่อการดำเนิน
งานโครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดี และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัย
ที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของ
กรุงเทพมหานคร
ประชากรที่นำมาศึกษาเป็นประชาชนในชุมชนนำร่องที่เข้าร่วมโครงการชุมชนร่วมใจรัก
สะอาด เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของกรุงเทพมหานคร ในเขตบางแค วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างที่นำมา
ศึกษาใช้วิธีเจาะจง (Purposive Random) ซึ่งมีจำนวนทั้งหมด 5 ชุมชน คือ 1.ชุมชนริมคลอง
ราชมนตรี 2.ชุมชนริมคลองราชมนตรี หมู่ 3 3.ชุมชนนครแสงเพชร 4. ชุมชนครูเจือ 5. ชุมชน
หลังโรงเรียนสากลศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นตัวแทนจากครัวเรือนจำนวน 158 คน เครื่องมือที่ได้
นำไปใช้เป็นแบบสอบถาม และทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (∼X ) ค่าของ
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าสถิติ t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way
ANOVA) และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS
for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการศึกษาเกี่ยวกับระดับความคิดเห็นที่มีต่อปัจจัยภายนอกและระดับการมีส่วนร่วม
ของประชาชนในการดำเนินงานโครงการ ทั้ง 7 ประเด็น ได้แก่ ความรู้ การจัดการเกี่ยวกับขยะ
มูลฝอย บทบาทผู้นำชุมชน พิษภัยจากขยะมูลฝอย การสื่อสารประชาสัมพันธ์ ความพึงพอใจที่มี
ต่อโครงการและการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการ ซึ่งผลที่ได้อยู่ในระดับสูง
ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า เพศ อายุ และระดับการศึกษาที่แตกต่างกันไม่มีผลต่อ
การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของชุมชนใน
เขตบางแค กรุงเทพมหานคร
ตัวแปรด้านการจัดการขยะมูลฝอย บทบาทผู้นำ การสื่อสารประชาสัมพันธ์ และ
ความพึงพอใจที่มีต่อโครงการ มีความสัมพันธ์ ในระดับปานกลางกับการมีส่วนร่วมในการ
ดำเนินงานโครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของชุมชนในเขตบางแค
กรุงเทพมหานคร
ตัวแปรด้านการมีความรู้เรื่องขยะมูลฝอย การคัดแยกขยะมูลฝอย และความรู้เรื่องพิษ
ภัยจากขยะมูลฝอย มีความสัมพันธ์น้อยมาก กับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการชุมชน
ร่วมใจรักสะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของชุมชนในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร
จ
Yaowaluk Thongumyai. (2002). The People’s Participation in The Community Project
on “ Raumchai Rak Sa-ad ” for Better Environment in Bangkok Metropolis :
A Community Case Study in Bangkae District. Bangkok : Graduate School,
Rajabhat Institute Bansomdejchaopraya. Advisory Committee :
Dr. Preecha Piamphongsant Dr. Prathaung Ampornpuckdi
Asst. Prof. Boobpha Champrasert
The purpose was to study the people’s participation in the project and the
relationship of the project participation factors.
The population was from 5 communities in Bangkae District by purposive
random sampling including – Rimklong Rajmontri, Rimklong Rajmontri Moo 3, Nakorn
Sangpeth, Kruchue and behind Sakorn Suksa school within 158 cases. Statistical
methods used were percentage, mean, standard deviation, t-test, one way ANOVA,
Pearson Co-efficiency Correlation and the SPSS program.
Findings were as follows :
They were seven factors leading to the people’s participation : the knowledge of
garbage management, the leader’s roles, public relations, the project satisfaction which
related to the project at high level.
The differences in sex, age and education levels had no effect on the people’s
participation to the project.
The variable on the garbage management, leader’s roles, public relation and
satisfaction with the project had the relationship with the people’s participation to the
project at the average level.
The variable on the knowledge of garbage management, the garbage
separation and the knowledge on the garbage danger had relationship with the people’s
participation to the project at low level.
ค
กิตติกรรมประกาศ
วิทยานิพนธ์ฉบันนี้ดำเนินการสำเร็จได้ด้วยความอนุเคราะห์จากท่านอาจารย์ที่ปรึกษา
วิทยานิพนธ์ ดร.ปรีชา เปี่ยมพงศ์สานต์ ดร.ประเทือง อัมพรภักดิ์ ดร.ทวิช บุญธิรัศมี
ผศ.บุปผา แช่มประเสริฐ ผศ.สุพิศวง ธรรมพันทา และท่านผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบเครื่องมือ
ดร.สัญญา สัญญาวิวัฒน์ ดร.สิทธิชัย ตันธนะสฤษดิ์ และคณาจารย์ทุกท่าน ที่ได้ให้คำปรึกษา
ชี้แนะความรู้ต่างๆ ทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ และความเข้าใจในการดำเนินงานศึกษาวิจัยทาง
สังคมศาสตร์ อันเป็นประโยชน์แก่ผู้วิจัยอย่างยิ่ง ผู้วิจัยขอกราบขอบพระคุณทุกท่านเป็นอย่างสูง
ขอขอบคุณประชาชนและประธานชุมชนในเขตบางแคทั้ง 5 ชุมชน คือ 1.ชุมชนริมคลอง
ราชมนตรี 2. ชุมชนริมคลองราชมนตรี หมู่ 3 3. ชุมชนนครแสงเพชร 4. ชุมชนครูเจือ 5.ชุมชน
หลังโรงเรียนสากลศึกษา ที่ให้ความร่วมมือในการตอบแบบสอบถาม พร้อมทั้งข้อเสนอแนะต่าง ๆ
และให้กำลังใจ รวมถึงความเอื้ออาทรเป็นอย่างดีในครั้งนี้
ขอขอบคุณพี่และเพื่อนนักศึกษาสาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา ที่สนับสนุนให้ความรู้
และให้กำลังใจอย่างสม่ำเสมอ ส่งผลให้เกิดความวิริยะในการศึกษาและจัดทำวิทยานิพนธ์ในครั้งนี้
จนประสบความสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี
เยาวลักษณ์ ทองอุ่มใหญ่
สารบัญ
หน้า
กิตติกรรมประกาศ………………………………………………………………… ค
บทคัดย่อภาษาไทย……………………………………………………………….. จ
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ…………………………………………………………… ช
สารบัญเรื่อง………………………………………………………………………. ฌ
สารบัญตาราง…………………………………………………………………….. ฏ
สารบัญแผนภาพ………………………………………………………………….. ฑ
บทที่ 1 บทนำ
1.1 ความเป็นมาของปัญหา………………………………………….….. 1
1.2 วัตถุประสงค์ของการวิจัย….………………………………………… 5
1.3 ขอบเขตการวิจัย……………………………………………….……. 5
1.4 นิยามศัพท์เฉพาะ……………………………………………..……… 5
1.5 สมมติฐานการวิจัย………………………………………………….. 8
1.6 กรอบความคิดในการวิจัย…………………………………………… 9
1.7 ประโยชน์ของการวิจัย……………………………………………...… 10
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
2.1 โครงการชุมชนร่วมใจรักสอาดเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของกรุงเทพมหานคร 11
2.2 แนวคิดความรู้เกี่ยวกับขยะมูลฝอย………………………………… 14
2.3 แนวคิดการจัดการขยะขยะมูลฝอย………………………………… 21
2.4 แนวคิดเกี่ยวกับบทบาทผู้นำ………..……………………………… 23
2.5 แนวคิดการสื่อสารประชาสัมพันธ์…………………………………… 27
2.6 แนวคิดแนวคิดการมีส่วนร่วม…………………………………….… 31
2.7 แนวคิดทฤษฎีความพึงพอใจในการทำงาน………………..………… 36
2.8 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง…………………………………………………… 37
ฑ
สารบัญ (ต่อ)
หน้า
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย
3.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง………………………….……………… 40
3.2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย……………………………………………. 41
3.3 วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล …………………………………………… 44
3.4 การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์…………………… 45
3.5 การทดสอบสมมติฐาน……………………………………………… 45
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
4.1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปกลุ่มตัวอย่าง…………………………. 48
4.2 การแสดงค่าระดับความคืดเห็น……………………………………. 49
4.3 ผลการศึกษาข้อมูลตามสมมติฐาน…………………………………. 50
บทที่ 5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
5.1 สรุปผลการวิจัย…………………………….……………………… 56
5.2 อภิปรายผลการวิจัย………………………………………………… 58
5.3 ข้อเสนอแนะ…………………………………………………………. 66
บรรณานุกรม…………………………………………………………………… 70
ภาคผนวก……………………………………………………………………… 73
สำเนาโครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของกรุงเทพมหานคร74
แบบสอบถาม …………………………………………………………. 76
ประวัติผู้วิจัย…………………………………………………………………… 85
ฑ
สารบัญตาราง
หน้า
ตารางที่ 1 แสดงจำนวนกลุ่มตัวอย่างจากครัวเรือน……………………………... 41
ตารางที่ 2 แสดงเกณฑ์การให้คะแนนของแบบสอบถาม………………………... 42
ตารางที่ 3 แสดงเกณฑ์กำหนดระดับความคิดเห็น………………………………... 43
ตารางที่ 4 แสดงข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง…………………………………... 48
ตารางที่ 5 แสดงค่าระดับความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง……………………….. 49
ตารางที่ 6 เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการของเพศ……… 50
ตารางที่ 7 ความแปรปรวนของผู้ที่มีระดับการศึกษา ต่างกัน………………….. .51
ตารางที่ 8 ความแปรปรวนของผู้ที่มีกลุ่มอายุต่างกัน…………………………… 51
ตารางที่ 9 ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของปัจจัยภายนอก……………………….. 52
ฑ
สารบัญแผนภาพ
หน้า
แผนภาพที่ 1 แสดงปริมาณมูลฝอยในเขตกรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ.2528-2540
และปริมาณมูลฝอยคาดประมาณ ปี พ.ศ.2538-2558…………. 2
แผนภาพที่ 2 แสดงกรอบความคิดในการทำวิจัย …………………………….. 10
บทที่ 1
บทนำ
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
พลวัตรของโลกที่เกิดจากการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ อุตสาหกรรมลัทธิจักรวรรดินิยม ระบบ
เศรษฐกจิ ทุนนยิ ม ระบบตลาดโลก เปน็ ทศิ ทางของการเคลอื่ นไหวในประเทศไทยช่วงระยะเวลา 40
กว่าปีที่ผ่านมา ได้กำหนดเป็นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่1- 8 (2504 - 2544)
ซึ่งมุ่งมั่นให้มนุษย์มีความสามารถในการผลิตและแสวงหาอำนาจในการควบคุมธรรมชาติ เพื่อที่จะ
สร้างความมั่งคั่งทางวัตถุโดยมิได้คำนึงถึงความเสื่อมโทรมของทรัพยากรหรือปัญหาที่เกิดจากสภาพ
สิง่ แวดลอ้ มทางธรรมชาติทีถ่ กู ทำลาย อกี ทงั้ การเปลยี่ นแปลงอยา่ งรวดเรว็ ของสังคมและการพัฒนา
ประเทศที่ขาดจิตสำนึกที่ถูกต้อง เพียงมุ่งหวังเพื่อให้เกิด “ความเจริญก้าวหน้าและทันสมัย” ตาม
กระแสโลกาภิวัตน์ (สมทัด สมชีวิตา 2534 : 14)
การพัฒนาเทคโนโลยี ได้นำมาซึ่งการอำนวยความสะดวกต่อมวลมนุษยชาติอย่างมากมาย
แต่สิ่งที่มีคุณอนันต์มักมีโทษมหันต์ ส่งผลให้เกิดการทำลายและเกิดการสูญเสียในเรื่องของทรัพยากร
เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมและมลพิษต่างๆ อันส่งผลกระทบให้เห็นได้ชัดในปัจจุบันและต่อเนื่องไปใน
อนาคต เช่น ปัญหามลพิษทางน้ำ ที่ทำให้คุณภาพน้ำและแหล่งน้ำธรรมชาติเกิดการเน่าเสีย
เนื่องจากความสกปรก มีปริมาณแบคที่เรียสูง และมีออกซิเจนละลายในน้ำต่ำ ทำให้น้ำมีสภาพที่ไม่
สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได ปัญหามลพิษทางอากาศ ทเี่ กดิ จากมลภาวะอากาศทมี่ สี ารอนั ตราย
ปะปนจนเกิดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน และที่สำคัญที่สุดคือปัญหาขยะมูลฝอย
ปัญหาขยะมูลฝอยเป็นปรากฏการณ์อย่างหนึ่ง ที่สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม
โดยเกิดขึ้นจากผลกระทบของการพัฒนาที่ผ่านมา ในปัจจุบันปัญหาขยะมูลฝอยโดยเฉพาะในเขต
ชุมชนเมืองปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดเพิ่มมากขึ้นกำลังเป็นปัญหาสำคัญต่อประชาชนและผู้บริหาร
บ้านเมือง โดยเฉพาะเมืองใหญ่ เช่น กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ และพัทยา พบว่า ปัญหาของ
ขยะมูลฝอยเป็นปัญหาหลักที่ต้องดำเนินการแก้ไขอย่างเร่งด่วนเนื่องจากปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิด
ขึ้นมีมากในขณะที่ความสามารถในการจัดการ และการกำจัดค่อนข้างจำกัด เป็นเหตุให้เกิดปัญหา
2
ขยะตกค้างส่งกลิ่นเหม็นรบกวน เป็นปัญหาด้านทัศนียภาพ อันส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม
และคุณภาพชีวิตในด้านต่างๆของประชาชน สาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้ปริมาณขยะมูลฝอย
เพิ่มมากขึ้น และเป็นแหล่งกำเนิดขยะมูลฝอยที่แท้จริงก็คือ ชุมชน ซึ่งเป็นผู้ที่ผลิตขยะมูลฝอย
จากการบริโภคและการทิ้งของคนในชุมชน ตัวเลขที่แสดงปริมาณขยะที่เก็บได้และการคาดหมาย
ในอนาคต สำรวจในปี 2541 พบว่าในปี 2540 กรุงเทพมหานคร มีปริมาณขยะมูลฝอย 8,703
ตันต่อวัน และคาดหมายว่าในปี 2549 ขยะมูลฝอยของกรุงเทพมหานครจะเพิ่มสูงขึ้นเป็น
13,550 ตันต่อวัน ปี 2559 จะเพิ่มสูงถึง 18,000 ตันต่อวัน (ศรินทร์ ตันติพุกนนท์ 2542: 50)
ซึ่งก็ถือว่าเป็นปัญหาและภาระของกรุงเทพมหานครในการจัดเก็บและทำลายเป็นอย่างยิ่ง
ดังแสดงใน แผนภาพที่ 1
จากแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมของ
เมือง ความว่า “ปัญหาภาวะมลพิษมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของชุมชนเป็นอย่างมาก และนับ
วันจะทวีคูณมากยิ่งขึ้น การดำรงชีพของพสกนิกรทั้งหลายในปัจจุบัน ต้องเผชิญภาวะวิกฤติ
อันเกิดจากสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมรุนแรงขึ้นตลอดเวลา สาเหตุสำคัญประการหนึ่ง คือ ชุมชนเมือง
ยังขาดระบบบำบัดน้ำเสียและการกำจัดขยะมูลฝอยที่ดีและมีประสิทธิภาพ”
3
กล่าวได้ว่าปัญหาเรื่องขยะมูลฝอยของกรุงเทพมหานครในปัจจุบัน นับว่าเป็นปัญหาหลักที่
ต้องการการแก้ไขอย่างเร่งด่วน ถ้าการบริหารจัดการไม่ดี ชุมชนและประชาชนไม่ให้ความร่วมมือ
ในการลดและคัดแยกขยะมูลฝอย การทิ้งกำจัด รวมทั้งการรักษาความสะอาด ปัญหาขยะมูลฝอย
จะทวีความรุนแรงมากขึ้น การจัดการขยะต้องอาศัยความร่วมมือจากส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้ง
ภาครัฐและประชาชน โดยเฉพาะวิธีการจัดเก็บและการทำลายต้องอาศัยเครื่องมือที่ทันสมัย และ
เทคโนโลยีซึ่งต้องใช้งบประมาณสูง จากการดำเนินงานที่ผ่านมายังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้
เนื่องจากปริมาณขยะมูลฝอยที่เพิ่มมากขึ้น การตกค้างของขยะมูลฝอย เครื่องมือที่มีอยู่ไม่ทันสมัย
โดยเฉพาะชุมชนที่รถเก็บขยะมูลฝอยเข้าไม่ถึง จำนวนเจ้าหน้าที่มีไม่เพียงพอ วัสดุอุปกรณ์ และ
วิธีการจัดการขยะมูลฝอยยังขาดประสิทธิภาพ และเป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ
ปัญหาเรื่องขยะมูลฝอยชุมชนในกรุงเทพมหานคร เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ชี้ให้เห็นได้อย่างเป็น
รูปธรรม และสามารถกล่าวถึงได้ ดังต่อไปนี้ (สำนักรักษาความสะอาด : 2543)
1. การเพิ่มขึ้นของปริมาณขยะมูลฝอยในแต่ละปี
2. ระบบเก็บขนและกำจัดขยะมูลฝอยยังไม่สามารถรองรับปริมาณมูลฝอยที่เพิ่มขึ้น
3. การคัดแยกขยะมูลฝอยยังไม่เห็นผลชัดเจน พบว่าในองค์ประกอบของขยะมูลฝอย
มีส่วนที่สามารถหมุนเวียนนำกลับมาใช้ใหม่ได้ถึงร้อยละ 30
4. ค่าใช้จ่ายในการจัดการมูลฝอยสูงกว่าค่าธรรมเนียมที่จัดเก็บได้
5. มีการปนเปื้อนของขยะมูลฝอยอันตรายจากบ้านเรือนและขยะมูลฝอยติดเชื้อที่มาจาก
โรงพยาบาล
การจัดการขยะมูลฝอยให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลนั้นต้องมาจากการลดปริมาณ
ของมูลฝอย จึงจำเป็นต้องมีการจัดการที่เป็นระบบและเป็นกระบวนการ นับตั้งแต่การลดปริมาณ
ขยะมูลฝอย การคัดแยกมูลฝอยก่อนนำทิ้ง จะเป็นหนทางที่จะช่วยเสริมประสิทธิภาพการจัดการ
ขยะมูลฝอยและเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการทั้งยังเป็นการช่วยอนุรักษ์รัพยากรธรรมชาติ
และรักษาสภาพแวดล้อมโดยรวม สิ่งสำคัญจะต้องอาศัยความร่วมมือจากประชาชนในฐานะเป็น
ผู้ผลิตขยะมูลฝอยหรือเป็นผู้ทิ้ง กรุงเทพมหานครได้กำหนดแนวทางและเป้าหมาย โดยจะระดม
ความร่วมมือจากผู้อาศัยในชุมชน ให้ดำเนินการพัฒนาร่วมกัน โดยมุ่งหวังให้ประชาชนต้องมี
ส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและยังถือว่าผู้ที่ก่อปัญหาต้องมีส่วนในการแก้ไขปัญหาด้วย เพื่อช่วย
บำรุงรักษาพัฒนาเมืองให้สะอาดเรียบร้อยน่าอยู่ (ปริชาติ แสงหิรัญ 2543 : 34) โดยมีหน่วยงาน
4
ที่ทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับขยะมูลฝอยรับผิดชอบดูแล คือ สำนักรักษาความสะอาดกรุงเทพมหานคร
และสำนักงานเขต ได้จัดทำโครงการรักษาความสะอาดและการจัดเก็บขยะมูลฝอยต่าง ๆ เพื่อนำ
มาให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพและแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยในชุมชน อาทิ โครงการส่งเสริมการ
ลดและการแยกมูลฝอยอย่างมีประสิทธิภาพ โครงการจัดการขยะมูลฝอย 3 ประเภท โครงการ
ธนาคารขยะ โครงการรณรงค์ส่งเสริมการแปรรูปเศษอาหารเป็นขยะหอม และโครงการชุมชนร่วม
ใจรกั สะอาดเพอื่ สงิ่ แวดลอ้ มทดี่ ขี องกรงุ เทพมหานคร เปน็ ตน้ ซึง่ โครงการเหลา่ นี้ จะนำไปดาํ เนนิ การ
ในพื้นที่รับผิดชอบในเขตต่าง ๆ ของกรุงเทพมหานคร
ดังนั้นสำนักงานเขตบางแค โดยฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ ได้เล็งเห็นถึง
ปัญหานี้เช่นกัน จึงได้มีความพยายามอย่างยิ่งที่จะช่วยบรรเทาและขจัดปัญหานี้ให้หมดไป โดย
การส่งเสริมให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการรักษาความสะอาดบ้านเมืองไปพร้อมกับทางราชการ
ทั้งร่วมรักษาสภาพแวดล้อมและทำเมืองให้น่าอยู่อาศัย โดยได้นำโครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาด
เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของกรุงเทพมหานครเข้ามาดำเนินการในชุมชนของเขตบางแค
ผู้วิจัยพบว่าการศึกษาเรื่อง“การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาด
เพื่อสิ่งแวดลอ้ มทีด่ ขี องกรงุ เทพมหานคร กรณีศึกษา : ชมุ ชนในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร”
เป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์และเป้าหมายเป็นประโยชน์ต่อการรักษาความสะอาดและแก้ไข
ปัญหาขยะมูลฝอยในชุมชน ภายใต้การมีส่วนร่วมของประชาชน และการจัดการด้านการรักษา
ความสะอาดและลดปริมาณขยะมูลฝอยในชุมชน โดยเฉพาะนโยบายการชักลากขยะของชุมชน
ซึ่งเป็นส่วนสำคัญ ในการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนที่มาเป็นอาสาสมัครในการเก็บขนขยะมูลฝอย
เพื่อสะดวกในการจัดเก็บและไม่ให้มีการตกค้างของขยะมูลฝอยในชุมชน ทำให้เกิดความสะอาด
และความสวยงามในชุมชนท้องถิ่นของตน มีการประสานความร่วมมือในการมีส่วนร่วมทั้งของ
ประชาชนกับชุมชน และชุมชนกับหน่วยงานรักษาความสะอาดของเขตบางแค กรุงเทพมหานคร
ทงั้ ยงั ไดน้ าํ กระบวนการตา่ งๆ อาทิ การประชาสมั พนั ธข์ อ้ มลู ขา่ วสาร ความรู้ การมสี ว่ นรว่ ม อนั จะ
นำไปสู่การแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในชุมชนเรื่องขยะมูลฝอย ก่อให้เกิดจิตสำนึกที่ดีที่จะนำไปสู่
พฤติกรรมอื่นๆ ในเรื่องของการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาของชุมชนต่อไป
5
ปัญหาสำหรับการวิจัยครั้งนี้ คือ มีปัจจัยอะไรที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน
โครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของชุมชนในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร ซึ่ง
ปัจจัยต่าง ๆ นั้นจะส่งผลต่อความสำเร็จของโครงการหรือมีผลต่อการมีส่วนร่วมหรือไม่ อันจะนำ
ไปสู่การกำหนดแนวทางในการจัดการ หรือวางแผนโครงการอื่น ๆ ที่จะนำไปสู่การรักษาความ
สะอาด และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในชุมชนต่อไป
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1.เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีต่อการดำเนินโครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาด
เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของกรุงเทพมหานคร
2.เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน
โครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของกรุงเทพมหานคร
ขอบเขตของการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเฉพาะชุมชนในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร ที่เข้าร่วมโครงการ
ชุมชนร่วมใจรักสะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของกรุงเทพมหานคร จำนวน 5 ชุมชน ได้แก่
1. ชุมชนริมคลองราชมนตรี
2. ชุมชนริมคลองราชมนตรี หมู่ 3
3. ชุมชนนครแสงเพชร
4. ชุมชนครูเจือ
5. ชุมชนหลังโรงเรียนสากลศึกษา
นิยามศัพท์เฉพาะ
โครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของกรุงเทพมหานคร หมายถึง
โครงการที่สำนักงานรักษาความสะอาด กรุงเทพมหานคร ได้จัดทำขึ้นเพื่อให้เกิดความร่วมมือ
ระหว่างหน่วยงานของรัฐและชุมชนในการมีส่วนร่วมของประชาชนในการรักษาความสะอาดโดย
จัดการคัดแยกขยะมูลฝอยและว่าจ้างอาสาสมัครชักลากขยะในชุมชน ทำการชักลากขยะออกมา
ไว้ที่พักหรือจุดรวมขยะมูลฝอย เพื่อรอการจัดเก็บ
6
การมีส่วนร่วม หมายถึง การมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนในการดำเนินงานและ
ประสานงานตามโครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของชุมชนในเขตบางแค
กรุงเทพมหานคร กับหน่วยงานที่รับผิดชอบ โดยมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมต่างๆที่ส่งผลต่อความ
สำเร็จของโครงการ คือ
1. การมีส่วนร่วมในกิจกรรมการคัดแยกขยะมูลฝอยก่อนนำทิ้ง
2. การมีส่วนร่วมสนับสนุนในกิจกรรมการชักลากขยะในชุมชน โดยเตรียมขยะมูลฝอยเพื่อ
รอการจัดเก็บจากพนักงานชักลากหรือนำไปทิ้งในสถานที่รอรับขยะมูลฝอยเพื่อรอการเก็บขนจาก
ทางราชการตามเวลาที่กำหนด
3.การมีส่วนร่วมในการประสานความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งใน
ภาครัฐและเอกชน ในเรื่องการรักษาความสะอาด ทั้งภายในและภายนอกชุมชน
ขยะมูลฝอย หรือมูลฝอย หมายถึง บรรดาสิ่งของที่คนไม่ต้องการใช้แล้ว ซึ่งส่วนใหญ่
เป็นของแข็งทั้งอินทรีย์วัตถุและอนินทรีย์วัตถุ รวมตลอดถึงขี้เถ้า ซากสัตว์ ฝุ่นละอองและเศษวัตถุ
ต่างๆ ที่ทิ้งจากบ้านเรือน ที่อยู่อาศัยและสถานที่ต่างๆ ซึ่งแบ่งได้เป็น 3 ชนิดคือ ขยะที่เป็น
เศษอาหารหรือขยะเปยี ก ขยะที่นำกลับมาใชใ้ หมไ่ ดห้ รือขยะแหง้ และขยะพิษหรือขยะมูลฝอย
อันตราย
ปัจจัยส่วนบุคคล หมายถึง ลักษณะเฉพาะต่างๆ หรือคุณลักษณะของบุคคล ได้แก่ เพศ
อายุ และระดับการศึกษา
- เพศ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ เพศชาย และเพศหญิง
- อายุ หมายถึง จำนวนอายุเต็มปีของประชาชน ในการศึกษาครั้งนี้ได้แบ่งกลุ่มอายุ
ออกเป็น 4 กลุ่ม คือ
1. อายุระหว่าง 20-30 ปี
2. อายุระหว่าง 31-40 ปี
3. อายุระหว่าง 41-50 ปี
4. อายุตั้งแต่ 51 ปีขึ้นไป
7
ระดับการศึกษา หมายถึง ระดับการศึกษาของประชาชน แบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม
1. ประถมศึกษา หรือต่ำกว่า
2. มัธยมศึกษา / ปวช.
3. อนุปริญญา / ปวส
4. ปริญญาตรี
5. สูงกว่าปริญญาตรีขึ้นไป
ปัจจัยภายนอก หมายถึง ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานโครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาด
เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย
1. ความรู้เกี่ยวกบั ขยะมลู ฝอย หมายถึง การทปี่ ระชาชนมคี วามรคู้ วามเขา้ ใจทวั่ ไปเกยี่ วกบั ขยะมลู ฝอย
ในเรื่องของความหมาย ชนิดของขยะมูลฝอย แหล่งที่มาของขยะมูลฝอย การกำจัดขยะมูลฝอย
การคัดแยกขยะมูลฝอย พิษภัยอันตรายและผลกระทบจากขยะมูลฝอย
2. การจัดการขยะมูลฝอย หมายถึง การที่ประชาชนช่วยกันรักษาความสะอาดในชุมชน
โดยการลดปริมาณขยะมูลฝอยในชุมชน เช่น การจัดเก็บ การคัดแยกขยะมูลฝอย การนำกลับ
มาใช้ใหม่ (Recycle) และการชักลากขยะมูลฝอยของประชาชน
3. บทบาทผู้นำ หมายถึง ประธานชุมชนที่ได้เข้าร่วมโครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาดเพื่อ
สิ่งแวดล้อมที่ดีของกรุงเทพมหานคร โดยมีบทบาทหน้าที่และมีภาวะผู้นำที่มีความมุ่งมั่นในการ
ทำงานเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการชุมชนร่วมใจรัก
สะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของชุมชนในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร
4. การสื่อสารประชาสัมพันธ์ หมายถึง การส่งข่าวสารความรู้ การแลกเปลี่ยนข่าวสาร
ระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร โดยใช้สื่อ หรือช่องทางต่าง ๆ อาทิ หอกระจายข่าวในชุมชน บอร์ด
ประชาสัมพันธ์ เพื่อมุ่งหมายโน้มน้าวจิตใจให้เกิดผลในการรับรู้หรือเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรม
การทิ้งขยะมูลฝอย ซึ่งจะส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาด
เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของชุมชนในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร
8
5. การพึงพอใจ หมายถึง การที่ประชาชน ในชุมชนเขตบางแค ที่เข้าร่วมโครงการชุมชน
ร่วมใจรักสะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของกรุงเทพมหานคร มีความพอใจที่จะร่วมกับการดำเนินงาน
ในกิจกรรมต่างๆ ของโครงการ และพึงพอใจต่อเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง
สมมติฐานของการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้กำหนดสมมติฐานเพื่อใช้ตอบปัญหาการวิจัยไว้ดังนี้
สมมติฐานที่ 1 เพศชายมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาดเพื่อ
สิ่งแวดล้อมที่ดีของชุมชนในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร ไม่แตกต่างจากเพศหญิง
สมมติฐานที่ 2 ผู้ที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการชุมชน
ร่วมใจรักสะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของชุมชนในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร ต่างกัน
สมมติฐานที่ 3 ผู้ที่มีอายุต่างกัน มีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการชุมชนร่วมใจรัก
สะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของชุมชนในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร ไม่แตกต่างกัน
สมมติฐานที่ 4 การมีความรู้เรื่องขยะมูลฝอย การจัดการและการคัดแยกขยะมูลฝอย
มีความสัมพันธ์เชิงบวก กับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาด
เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของชุมชนในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร
สมมติฐานที่ 5 บทบาทในการสนับสนุนโครงการของผู้นำชุมชน มีความสัมพันธ์เชิงบวก
กับการมีส่วนร่วม ในการดำเนินงานโครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของชุมชน
ในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร
สมมติฐานที่ 6 การมีความรู้ความเข้าใจต่อโครงการ มีความสัมพันธ์เชิงบวก
กับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของชุมชน
ในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร
9
สมมติฐานที่ 7 การส่งเสริมประชาสัมพันธ์โครงการในชุมชน มีความสัมพันธ์เชิงบวก
กับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของชุมชน
ในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร
สมมติฐานที่ 8 ความสัมพันธ์ที่ดีของเจ้าหน้าที่กับชุมชนมีความสัมพันธ์เชิงบวก กับ
การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของชุมชนใน
เขตบางแค กรุงเทพมหานคร
สมมติฐานที่ 9 ความรู้เรื่องพิษภัยจากขยะมูลฝอยมีความสัมพันธ์เชิงบวก กับการมี
ส่วนร่วม ในการดำเนินงานโครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดี ของชุมชนใน
เขตบางแค กรุงเทพมหานคร
กรอบความคิดในการทำวิจัย
การศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาภายใต้แนวคิดและทฤษฎีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการมี
ส่วนร่วม การจัดการขยะมูลฝอย และการรักษาความสะอาด โดยนำแนวคิดทฤษฎีต่าง ๆ มาใช้ใน
การศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย
โครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของกรุงเทพมหานคร (กรุงเทพมหานคร
2544) แนวคิดความรู้เกี่ยวกับขยะมูลฝอย แนวคิดทฤษฎีการมีส่วนร่วมของ โคเฮนและอัฟฮอฟฟ์
(Cohen and Uphoff 1980: 212-222) แนวคิดการจัดการขยะในชุมชนของยุพิน ระพิพันธ์ (2544 :
24-26) และ ปรีดา แย้มเจริญวงศ์ (2531: 13-14) ซึ่งผู้วิจัยได้นำมาทำการวิเคราะห์และสังเคราะห์
เพื่อใช้เป็นกรอบความคิดในการทำวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย ตัวแปรอิสระ และตัวแปรตาม ดังนี้
ตวั แปรอสิ ระ คอื ปจั จยั สว่ นบคุ คล และปจั จัยภายนอก ทีม่ ผี ลตอ่ การมสี ว่ นรว่ มในการ
ดำเนินงานโครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของกรุงเทพมหานคร
ตัวแปรตาม คือ การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาดเพื่อ
สิ่งแวดล้อมที่ดีของกรุงเทพมหานคร ดังรายละเอียดที่แสดงไว้ในแผนภาพที่ 2
10
แผนภาพที่ 2 กรอบความคิดในการทำวิจัย
ประโยชน์ของการวิจัย
1. ได้ทราบถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีต่อการดำเนินงานโครงการชุมชนร่วมใจ
รักสะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของชุมชนในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร
2. ได้ทราบถึงปัญหา อุปสรรค และข้อเท็จจริงจากการดำเนินงานโครงการชุมชน
ร่วมใจรักสะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของชุมชนในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร
3. นำผลจากการวิจัย ไปเป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขโครงการ ด้านการรักษา
ความสะอาด และการจัดการขยะมูลฝอยในชุมชนของเขตบางแค กรุงเทพมหานคร
ปัจจัยส่วนบุคคล
1.เพศ
2.อายุ
3.ระดับการศึกษา
ปัจจัยภายนอก
1. ความรู้เกี่ยวกับขยะมูลฝอย
และการคัดแยกขยะมูลฝอย
2. การจัดการขยะมูลฝอย
3. บทบาทผู้นำ
4. การสื่อสารประชาสัมพันธ์
5. ความพึงพอใจต่อโครงการ
การมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน
โครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาดเพื่อ
สิ่งแวดล้อมที่ดีของกรุงเทพมหานคร
ตัวแปรอิสระ ตัวแปรตาม
บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ผูว้ จิ ยั ไดศ้ กึ ษาคน้ ควา้ ทบทวนเอกสารตา่ งๆ และผลงานวจิ ยั ทเี่ กยี่ วขอ้ ง
กับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการที่ร่วมกันจัดการขยะมูลฝอยเพื่อลดปริมาณและแก้ไขปัญหา
ด้านขยะมูลฝอยในชุมชน โดยสนับสนุนโครงการของหน่วยงานราชการ ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไข
ปัญหาสิ่งแวดล้อมในชุมชนต่อการจัดการและการคัดแยกขยะมูลฝอยของชุมชตามลำดับ ที่จะนำ
เสนอต่อไปนี้
1. โครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของกรุงเทพมหานคร
2. แนวคิดความรู้เกี่ยวกับขยะมูลฝอย
3. แนวคิดการจัดการขยะมูลฝอย
4. แนวคิดเกี่ยวกับบทบาทผู้นำ
5. แนวคิดการสื่อสารประชาสัมพันธ์
6. แนวคิดการมีส่วนร่วม
7. แนวคิดความพึงพอใจ
8. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
1. โครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของกรุงเทพมหานคร
เป็นโครงการหนึ่งในกลยุทธการจัดกิจกรรมส่งเสริมการรักษาความสะอาดในชุมชน ที่สนอง
ต่อวิสัยทัศน์ด้านสิ่งแวดล้อมของกรุงเทพมหานคร ที่กำหนดว่า “กรุงเทพมหานครมีสิ่งแวดล้อม
ที่ดีเป็นระเบียบเรียบร้อย มลภาวะไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน”
(แผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ฉบับที่ 5) โดยมีรายละเอียด ดังนี้
หลักการและเหตุผลของโครงการ
ขยะมูลฝอยเป็นปัญหาของทุกคนทุกชุมชนในฐานะเป็นผู้ผลิตขยะมูลฝอยซึ่งมีหน่วยงาน
ของกรุงเทพมหานคร ทำหน้าที่ให้บริการจัดเก็บ ปัจจุบันขยะมูลฝอยมีมากขึ้นตามอัตราการเพิ่ม
ของประชากรและความเจริญทางเทคโนโลยี ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น การจัด
การไม่ดีพอหรือชุมชนและประชาชนไม่ให้ความร่วมมือในการลดและแยกขยะมูลฝอย รวมทั้งการ
12
รักษาความสะอาด ดังนั้นเพื่อให้การบริการของหน่วยงานของกรุงเทพมหานครมีประสิทธิภาพและ
ได้รับความร่วมมือที่ดีจากชุมชน สำนักงานเขตบางแคได้จัดทำโครงการ "ชุมชนร่วมใจรักสะอาด
เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของกรุงเทพมหานคร" โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
1.เพื่อให้ประชาชนและชุมชนได้ให้ความร่วมมือในการรับผิดชอบเรื่องการรักษา
ความสะอาด การลดและคัดแยกขยะมูลฝอยในชุมชน
2.เพื่อให้ประชาชนและชุมชนมีหน้าที่ในการเตรียมขยะมูลฝอยเพื่อรอการจัดเก็บในจุด
ที่รถเก็บขนขยะสามารถเข้าทำการเก็บขนได้
3.เพื่อให้เกิดการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานของรัฐและชุมชน
4.เพื่อให้กรุงเทพมหานคร สะอาดเรียบร้อยและมีสิ่งแวดล้อมที่ดี
5.ประชาชนและชุมชนเข้าถึงผลดีของการแยกขยะ 3 ชนิด ก่อนนำทิ้ง
เป้าหมาย
1.ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ จ้างอาสาสมัครบริการสาธารณะชักลากขยะ
ในชุมชน 5 ชุมชน คือ
1. ชุมชนริมคลองราชมนตรี
2. ชุมชนริมคลองราชมนตรี หมู่ 3
3. ชุมชนนครแสงเพชร
4. ชุมชนครูเจือ
5. ชุมชนหลังโรงเรียนสากลศึกษา
2.เพื่อให้ประชาชนที่อาศัยในชุมชนริมน้ำหรือชุมชนที่รถเก็บขนขยะไม่สามารถเข้าไป
บริการจัดเก็บได้ มีส่วนช่วยกันทำความสะอาดถนน ซอย และพื้นที่ว่างสาธารณะในชุมชน โดยให้
มีการดำเนินการคัดแยกขยะเป็นขยะมูลฝอย ขยะเศษอาหาร และนำมาทิ้งในที่รอพักซึ่งรถเก็บขน
สามารถเข้าไปบริการจัดเก็บให้ได้
13
แนวทางการดำเนินการ
1. ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ เสนอขออนุมัติโครงการ
2.ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะร่วมกับฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
กำหนดวิธีและประสานความร่วมมือกับชุมชน และเป้าหมายในแนวทางการดำเนินงาน
3.ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะร่วมกับฝ่ายปกครองกำหนดและสรรหา
บุคคลจ้างอาสาสมัครงานบริการสาธารณะ
4.ประชาสัมพันธ์โครงการในชุมชน 5 ชุมชน ช่วยแยกขยะ 3 ชนิด ก่อนนำทิ้ง
ประโยชน์ที่ได้รับ
1.ชุมชนมีความรับผิดชอบในส่วนของการรักษาความสะอาดและสิ่งแวดล้อมของชุมชน
มากขึ้น
2.การจัดเก็บขยะมูลฝอยของฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะมีประสิทธิภาพ
มากขึ้น ลดปัญหาขยะมูลฝอยตกค้าง
3.พื้นที่เขตบางแคมีความสะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อย และมีสิ่งแวดล้อมที่ดี
4.สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างประชาชน ชุมชนกับหน่วยงานของรัฐ
5.ประชาชนและชุมชนมีทัศนคติที่ดีต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
การศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ให้ความสำคัญต่อโครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อม
ที่ดีของกรุงเทพมหานคร เนื่องจากเป็นแนวทางและเป้าหมายในการแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยและ
สิ่งแวดล้อมที่สนองต่อวิสัยทัศน์ด้านสิ่งแวดล้อมของกรุงเทพมหานคร ในเรื่องการมีส่วนร่วมของ
ประชาชนและชุมชนที่จะต้องมีส่วนรับผิดชอบในเรื่องการรักษาความสะอาดในชุมชน โดยการลด
ปริมาณขยะมูลฝอย การคัดแยกขยะมูลฝอย และการจัดเตรียมขยะมูลฝอยเพื่อรอการจัดเก็บใน
ชุมชนหรืออาจสรุปได้ว่าการจัดโครงการหรือกิจกรรมใด ๆ ที่เกิดจากความร่วมมือจากประชาชนจะ
ทำให้เกิดความรู้สึกถึงการเป็นเจ้าของเกิดความรับผิดชอบมีการแก้ไขปัญหาข้อผิดพลาดต่าง ๆ ที่
เกิดขึ้นทั้งยังได้รับประโยชน์สู่ตนเองและส่วนรวมด้วย โครงการที่จัดขึ้นในชุมชนจึงมีความสำคัญ
และความจำเป็นที่จะใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาเพื่อนำไปสู่การพัฒนา
14
2.แนวคิดความรู้เกี่ยวกับขยะมูลฝอย
2.1. ความหมายของขยะมูลฝอย
ตามพระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ. 2484 (ชัยยุทธ โยธามาตย์ 2539 :12)
“มูลฝอย” หมายถึง บรรดาสิ่งต่าง ๆ ที่คนไม่ต้องการและทิ้งไป ซึ่งส่วนใหญ่เป็นของแข็ง
จะเน่าเปื่อยได้หรือไม่ก็ตาม และของอ่อนที่มีความชื้นทั้งนี้รวมถึงขี้เถ้า ซากสัตว์ ฝุ่นละออง เศษผ้า
เศษอาหาร เศษกระดาษ และเศษวัสดุสิ่งของทั้งที่เก็บกวาดจากเคหะสถาน อาคาร ถนน ตลาด
สถานที่เลี้ยงสัตว์ โรงงานอุตสาหกรรมและอื่นๆ
ในทางวิชาการ จะใช้คำว่า “ขยะมูลฝอย” หมายถึง วัตถุสิ่งของที่ไม่ต้องการใช้แล้ว ซึ่ง
ส่วนใหญ่เป็นของแข็งจะเน่าเปื่อยได้หรือไม่ก็ตาม รวมตลอดถึงขี้เถ้าซากสัตว์ มูลสัตว์ ฝุ่นละออง
และเศษวัตถุที่ทิ้งแล้วจากบ้านเรือน ที่พักอาศัย สถานที่ต่างๆรวมถึงสถานที่สาธารณะ ตลาด และ
โรงงานอุตสาหกรรม ยกเว้น อุจจาระ และปัสสาวะของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งปฏิกูลที่ต้องการเก็บและ
กำจัดที่แตกต่างไป
Neal and Schubel (1978 : 218) ได้ให้ความหมายไว้ดังนี้
ขยะมูลฝอย หมายถึง วัตถุสิ่งของที่ทิ้งจากอาคารบ้านเรือนสถานที่ทำงาน และจาก
อุตสาหกรรม ได้แก่ เศษอาหาร เศษสิ่งของต่าง ๆ เครื่องใช้ วัสดุที่เหลือจากการรื้อทำลาย หรือ
การก่อสร้าง ซากรถยนต์ และตะกอนจากน้ำเสีย เป็นต้น
กรุงเทพมหานคร (กองวิชาการและแผน 2543 : 4) ได้ให้ความหมาย ขยะพิษจาก
ชุมชน ได้แก่ หลอดไฟ หลอดฟลูออเรสเซนต์ ถ่านไฟฉาย สีสเปรย์ เครื่องสำอางหมดอายุ
แบตเตอรี ยารักษาโรคที่หมดอายุ น้ำมันเครื่อง น้ำมันเบรกรถ ภาชนะบรรจุผลิตภัณฑ์ ดังต่อไปนี้
น้ำยาทำความสะอาดเครื่องสุขภัณฑ์ น้ำยารักษาเนื้อไม้ น้ำยาขัดเงาไม้ น้ำยาขัดเงาโลหะ กาว
สีทาบ้าน ทินเนอร์ แลกเกอร์ สารฆ่าแมลง สารกำจัดวัชพืช สารฆ่าสัตว์ที่รบกวน และภาชนะใส่ปุ๋ย
สารเคมี เป็นต้น ขยะพิษ ควรต้องแยกและรวบรวมใส่ถุงนำไปทิ้งในถังรองรับเฉพาะขยะพิษ
15
2.2 ชนิดของขยะมูลฝอย
พัชรี หอวิจิตร (2529 : 3) ได้อธิบายเกี่ยวกับชนิดของขยะมูลฝอยไว้ดังนี้
2.2.1 ขยะมูลฝอยเปียก (Garbage) เป็นขยะมูลฝอยที่ประกอบด้วยอินทรีย์วัตถุที่
เน่าเปื่อยง่ายมีความชื้นสูง เกิดการย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ได้ง่ายเมื่อปล่อยทิ้งไว้ระยะหนึ่งจะเกิด
การเน่าเปื่อยส่งกลิ่นเหม็นเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของเชื้อโรค ขยะมูลฝอยชนิดนี้ ได้แก่ เศษอาหาร
เศษผัก เปลือกผลไม้ เป็นต้น
2.2.2 ขยะมูลฝอยแห้ง (Rubbish) เป็นขยะมูลฝอยที่ย่อยสลายด้วยจุลินทรีย์ได้ยาก
หรือย่อยสลายไม่ได้ มีความชื้นต่ำ บางชนิดติดไฟและเป็นเชื้อเพลิงได้ดี บางชนิดไม่ติดไฟและ
ทำเป็นเชื้อเพลิงไม่ได้ เช่น เศษอาหาร เศษไม้ เศษแก้ว เศษโลหะ กระป๋อง เป็นต้น
2.2.3 ขี้เถ้า (Aahes) เป็นกากเชื้อเพลิงที่ผ่านการเผาไหม้แล้ว เช่น ขี้เถ้าถ่าน
ขี้เถ้าแกลบ เป็นต้น ขยะมูลฝอยชนิดนี้ถ้ากำจัดหรือควบคุมไม่ดีจะเกิดการฟุ้งกระจาย ทำให้
สกปรกเลอะเทอะเกิดมลพิษทางอากาศได้
2.2.4 ซากสัตว์ (Dead Animals) เป็นซากสัตว์ที่ตายและไม่ได้ใช้ให้เกิดประโยชน์
เช่น ซากหนู สุนัข แมว ฯลฯ ซึ่งซากเหล่านี้ถ้าปล่อยทิ้งไว้จะเน่าเหม็นมาก เป็นที่เพาะพันธุ์
แมลงและเชื้อโรค
2.2.5 เศษก่อสร้าง (Construction Refuse) ได้แก่ เศษคอนกรีตที่แตกเป็นชิ้นเล็ก
ชิ้นน้อย เศษอิฐ เศษไม้ และเศษโลหะต่าง ๆ เศษหิน ปูน ทราย ขยะมูลฝอยเหล่านี้ทำให้ขาด
ความสวยงามไม่เป็นระเบียบ
2.2.6 มูลฝอยจากถนน (Street Seepings) ได้แก่ ฝุ่น ผง ดิน หิน ใบไม้
เศษกระดาษ เศษไม้ และเศษโลหะต่าง ๆ ที่ได้จากการกวาดถนน ขยะมูลฝอยเหล่านี้ทำให้ถนน
สกปรกเลอะเทอะ
2.2.7 มูลฝอยจากโรงงานอุตสาหกรรม (Industrial Refuse) โรงงานอุตสาหกรรม
แต่ละแห่งจะมีขยะมูลฝอยแตกต่างกันไป ทั้งนี้แล้วแต่กิจกรรมของแต่ละโรงงาน เช่น โรงงาน
ผลิตอาหารจะมีขยะมูลฝอยจำพวกเศษอาหารชนิดต่าง ๆ และเศษภาชนะบรรจุอาหารปะปนอยู่สูง
ซึ่งจะเป็นขยะมูลฝอยสดมากกว่าขยะมูลฝอยแห้ง
2.2.8 ขยะมูลฝอยจากกสิกรรม ได้แก่ ของเสียที่เกิดจากกิจกรรมทางกสิกรรม เช่น
เศษพืช หญ้า ฟางข้าว มูลสัตว์ เป็นต้น
16
2.2.9 ขยะมูลฝอยพิเศษ เป็นของเสียซึ่งมีอันตรายสูง ขยะมูลฝอยที่ปนเปื้อนเชื้อโรค
ที่ได้จากโรงพยาบาล ของเสียจากกัมมันตรังสี และของเสียที่เป็นสารเคมี เป็นต้น ของเสียเหล่านี้
ต้องกำจัดและควบคุมเป็นพิเศษไม่ให้เกิดอันตรายต่อมนุษย์
2.3 การจำแนกประเภทของขยะมูลฝอย
มูลฝอยที่เกิดขึ้น สามารถจำแนกประเภทตามลักษณะของแหล่งกำเนิดขยะมูลฝอยได้
ดังนี้ (วิรัช ชมชื่น 2537 : 28 )
ตารางที่ 1 แหล่งกำเนิดของขยะมูลฝอย
แหล่งกำเนิด ชนิดของขยะมูลฝอย ส่วนประกอบ
1.อาคารบ้านเรือน
ภัตตาคาร ร้านค้า
สถานที่ทำงาน
ตลาดสด
- ขยะมูลฝอยเปียก เป็นขยะมูลฝอยที่เกิดจากการเตรียมการ
ประกอบหรือบริการอาหาร ขยะมูลฝอยจาก
ตลาดจากการเก็บอาหารการซื้อขายอาหาร
และผลผลิตเกี่ยวกับอาหาร
- ขยะมูลฝอยแห้ง พวกที่ไหม้ไฟได้ เช่น กระดาษ กระดาษ
แข็ง หีบหรือกล่อง เศษไม้ กิ่งไม้ ใบไม้
หญ้าเครื่องเรือนเครื่องใช้
พวกที่ไม่ไหม้ไฟ เช่น เหล็กและโลหะอื่น ๆ
กระป๋อง เครื่องเรือน เครื่องใช้ที่ทำจาก
โลหะ แก้ว เครื่องปั้นดินเผา
- ขี้เถ้า สิ่งที่เหลือจากการเผาไหม้
2.ถนน ข้างถนน
บริเวณที่ดินรกร้าง
ว่างเปล่า
-ขยะมูลฝอยที่เก็บกวาด
จากถนน
- ซากพืช
- เศษชิ้นส่วนของ
ยานพาหนะ
ดิน เศษหิน ผง ฝุ่น ใบไม้
สุนัข แมว ฯลฯ
ซากรถยนต์ ยานพาหนะอื่นๆ
17
แหล่งกำเนิด ชนิดของขยะมูลฝอย ส่วนประกอบ
3.บริเวณที่มีการ
ก่อสร้าง การรื้อถอน
อาคาร
- เศษสิ่งก่อสร้าง ไม้ อิฐ เศษคอนกรีต หิน
4.โรงงานอตุสาหกรรม
โรงไฟฟ้า โรงพยาบาล
- ขยะมูลฝอยจาก
กิจการอุตสาหกรรม
- ขยะมูลฝอยพิเศษ
มีลักษณะเฉพาะของอตุสาหกรรมแต่ละ
ประเภท
ขยะมูลฝอยที่เป็นสารพิษ ขยะมูลฝอยที่ติด
เชื้อวัตถุระเบิด วัตถุแผ่รังสี
5. ฟาร์มที่เลี้ยงสัตว์ -ขยะมูลฝอยจากการ
เกษตร
มูลสัตว์ เศษหญ้า เศษฟาง
6. โรงงานบำบัดน้ำเสีย - ขยะมูลฝอยจากการ
บำบัดน้ำเสีย
พวกของแข็งที่ติดตะแกรง
2.4 การกำจัดขยะมูลฝอย
การกำจัดขยะมูลฝอยที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมี 4 วิธีการ ดังนี้คือ (ยุพิน ประจวบเหมาะ
และนุกุล กรยืนยงค์ 2534 : 18-19)
2.4.1 การหมักทำปุ๋ย
การหมักขยะมูลฝอยเพื่อทำปุ๋ย คือ การย่อยสลายอินทรีย์วัตถุที่มีอยู่ในขยะมูลฝอย
มูลฝอยโดยอาศัยขบวนการทางชีวเคมีของจุลินทรีย์ ภายใต้สภาวะที่เหมาะสมในด้านความชื้น
อุณหภูมิ ปริมาณ ออกซิเจน รวมทั้งอัตราส่วนระหว่างคาร์บอนและไนโตรเจน ทำให้ได้แร่ธาตุ
ที่ค่อนข้างคงรูปมีคุณค่าต่อการบำรุงดิน
18
2.4.2 การนำไปเผา
การเผาขยะมูลฝอยในเตาเผาที่ถูกหลักสุขาภิบาล เป็นขบวนการเผาไหม้ของเสีย
ทั้งส่วนที่เป็นของแข็ง ของเหลวและก๊าซ ซึ่งต้องใช้ความร้อนสูงเพื่อทำให้การเผาไหม้เป็นไปอย่าง
สมบูรณ์ไม่ทำให้เกิดกลิ่นและควันรบกวนรวมทั้งไม่ทำให้เกิดปัญหาด้านมลภาวะทางอากาศ
2.4.3 การฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาล
การฝังกลบขยะมูลฝอยอย่างถูกหลักสุขาภิบาลเป็นวิธีการที่ควบคุมและดูแลได้
ง่ายกว่า 2 วิธีข้างต้น โดยการฝังกลบนี้ขยะมูลฝอยจะถูกนำมาเทกองบนพื้นที่ได้เตรียมไว้แล้วใช้
เครื่องจักรกลบดอัดให้แน่น เพื่อลดปริมาตรของขยะมูลฝอยให้เล็กลง จากนั้นจึงใช้ดินกลบทับ
ด้านบนและบดอัดให้แน่นสลับกันไป ซึ่งจะทำให้เกิดลักษณะเป็นชั้นและมีความสูงเพิ่มมากขึ้น
ตามระดับที่กำหนดไว้ซึ่งชั้นความสูงของการกลบนี้จะขึ้นอยู่กับสภาพของภูมิประเทศของพื้นที่ที่ใช้
ในการฝังกลบ
2.4.4 การลดปริมาณและการคัดแยก
การกำจัดด้วยวิธีนี้ไม่ใช่การกำจัดขยะมูลฝอยที่สมบูรณ์เพราะหลังจากการที่ได้
ลดปริมาณของขยะมูลฝอยลงได้แล้ว ส่วนที่เหลือยังต้องนำไปฝังกลบ หรือเผา เพียงแต่ปริมาณ
ของขยะมูลฝอยที่ต้องกำจัดนั้นมีน้อยลงทำให้ประหยัดงบประมาณ พื้นที่และพลังงาน นอกจากนี้
ยังเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและเพิ่มรายได้อีกด้วย โดยปริมาณของขยะมูลฝอยจะลดลง
ได้ด้วยการทำให้มันเกิดขึ้นน้อยลง การลดปริมาณขยะมูลฝอยจะเกิดขึ้นได้มากน้อยเพียงใด ขึ้น
อยู่กับความร่วมมือของหลาย ๆ ฝ่าย คือ ฝ่ายรัฐบาล ผู้ประกอบการ ตลอดจนประชาชนทุกคน
แต่ละฝ่ายจะมีหน้าที่และความรับผิดชอบแตกต่างกันออกไป
การคัดแยกขยะมูลฝอย กรุงเทพมหานคร (กองวิชาการและแผนงาน 2543)
ได้จัดทำแนวทางในการลดปริมาณและการแยกขยะมูลฝอย โดยใช้ แนวคิด 4Rs ประกอบด้วย
4 วิธีการดังนี้คือ
1. Reduce (ลดการใช้) เป็นการลดการบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือย ใช้อย่าง
ประหยัด และใช้เท่าที่จำเป็น เช่น ทำอาหารให้พอดีรับประทาน เลือกซื้อสินค้าที่ไม่บรรจุห่อหลาย
ชั้น ใช้ผ้าเช็ดหน้า แทนกระดาษทิชชู พกถุงผ้าไปตลาด
19
2. Repair (การซ่อมแซม) เป็นการซ่อมแซมวัสดุสิ่งของที่ชำรุด ให้อยู่ใน
สภาพที่ดีใช้งานได้นาน ไม่ต้องทิ้งเป็นขยะหรือต้องสิ้นเปลืองซื้อใหม่
3. Reuse (การใช้ซ้ำ) เป็นการนำสิ่งของที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ในรูปแบบ
เดิม หรือใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่า เช่น ขวดแก้วนำไปล้างไว้ใส่น้ำดื่ม การนำกระดาษมาใช้สองหน้า
4. Recycle (การนำกลับมาใช้ใหม่) เป็นการนำขยะมาแปรรูป โดยผ่าน
กระบวนการผลิตออกมาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อนำมาใช้ใหม่ ทำให้ไม่ต้องนำทรัพยากรธรรมชาติมา
ผลิตสิ่งของต่างๆ แต่ใช้ขยะเป็นวัตถุดิบทดแทนในการผลิตต่างๆ เช่น การนำขวดแก้วที่ใช้แล้ว
กลับไปหลอมใหม่ เป็นต้น
ในการดำเนินการคัดแยกประเภทขยะมูลฝอยเพื่อให้ได้ผลที่ดีที่สุด ควรจะให้มีการคัดแยก
ประเภทตั้งแต่แหล่งกำเนิดของขยะมูลฝอย โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากครัวเรือน แต่ทั้งนี้จะต้องได้
รับความร่วมมือและการยอมรับจากครัวเรือนจึงจะประสบผลสำเร็จ
ดังนั้น ขั้นตอนในการปฏิบัติเพื่อให้ได้รับความร่วมมือจากทุกชุมชน ในการคัดแยกประเภท
ขยะมูลฝอยควรจะประกอบด้วย
1. ให้ชุมชน (ครัวเรือน) เป็นผู้รับผิดชอบหรือมีความรู้เป็นเจ้าของโครงการนี้เอง ซึ่งต้อง
รับผิดชอบต่อความสำเร็จหรือล้มเหลวที่เกิดขึ้น
2. จัดระบบเก็บขนให้เหมาะสม โดยเฉพาะการจัดเก็บขยะมูลฝอยจากบ้าน
3. จัดหาภาชนะหรือถังขยะมูลฝอยแยกประเภทบริการแก่ครัวเรือน และชุมชนให้ทั่วถึง
4. มีการเก็บขนขยะมูลฝอยที่แยกประเภททุกวัน เช่นเดียวกับขยะมูลฝอยทั่วไป
5. มีการประชาสัมพันธ์ด้วยวิธีการต่าง ๆ เพื่อให้ชุมชนรับทราบโครงการและผลที่ได้รับ
จากโครงการการรณรงค์ เพื่อให้ชุมชนเกิดความร่วมมือในการคัดแยกประเภทขยะมูลฝอย และ
ประโยชน์อีกประการหนึ่งของการคัดแยกประเภทขยะมูลฝอย คือ ทำให้สามารถวางแผนการ
กำจัดขยะมูลฝอยครั้งสุดท้ายได้อย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพมากขึ้น
2.5 ผลกระทบและปัญหาที่เกิดจากขยะมูลฝอย
ขยะมูลฝอยที่เกิดจากชุมชน มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการที่จะต้องกำจัด หากไม่มี
การเก็บและกำจัดอย่างถูกต้องหรืออย่างเหมาะสมแล้ว จะทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ต่อชุมชน คือ
20
2.5.1 เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม (Pollution) ขยะมูลฝอยเป็นสาเหตุที่สำคัญอย่างหนึ่ง
ที่ทำให้สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ของชุมชนเกิดมลพิษ เช่น น้ำเสีย อากาศเสีย เกิดการปนเปื้อนของดิน
เป็นต้น
2.5.2 แหล่งเพาะพันธุ์ของเชื้อโรคและแมลง ( Breeding Places ) ในขยะมูลฝอยอาจ
จะมีเชื้อโรคที่ทำให้เกิดโรคต่างๆปะปนมา เช่น มูลฝอยจากโรงพยาบาล และการสะสมของ
มูลฝอยที่เก็บขนมา ถ้ากำจัดไม่ถูกต้องจะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงวันและหนู ซึ่งจะเป็นพาหะนำ
โรคมาสู่คน
2.5.3 การเสี่ยงต่อสุขภาพ ( Health risk ) ชุมชนที่ขาดการกำจัดขยะมูลฝอยที่ดี และ
ถูกต้องตามหลักเกณฑ์การสุขาภิบาล จะทำให้ประชาชนเสี่ยงต่อการเป็นโรคต่าง ๆ ได้โดยง่าย
เช่น โรคทางเดินอาหารที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย หรือ พยาธิชนิดต่าง ๆ เนื่องจากขยะมูลฝอย
เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลง ฉะนั้น การแพร่ของโรคย่อมเป็นได้ง่าย นอกจากนั้นยังมีอันตรายที่
เกิดจากขยะพิษ เช่น หลอดฟลูออเรสเซนต์ มีสารปรอท ทำให้ปวดศรีษะ อ่อนเพลีย
ประสาทหลอน หรือการได้รับสารตะกั่วจากแบตเตอรี่รถยนต์ ยาฆ่าแมลงก็จะทำให้อ่อนเพลีย ซีด
ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ ความจำเสื่อม ชักกระตุกและหมดสติได้
2.5.4 การสูญเสียทางเศรษฐกิจ ( Esthetics Economic Loss ) ชุมชนจะต้องเสียค่า
ใช้จ่ายสำหรับกำจัดขยะมูลฝอยเป็นประจำอยู่แล้ว และถ้าการกำจัดไม่ถูกต้อง ย่อมส่งผลกระทบ
ต่อเศรษฐกิจด้านอื่น ๆ เช่น นำขยะมูลฝอยทิ้งลงในแหล่งน้ำ ก็จะส่งผลให้เกิดน้ำเสีย เป็นอันตราย
ต่อสัตว์น้ำ ซึ่งจะเป็นการสูญเสียทางเศรษฐกิจตามมา เป็นต้น
2.5.5 ทำให้ขาดความสง่างาม ( Esthetics ) การเก็บรวบรวมและกำจัดขยะมูลฝอย
ที่ดีจะช่วยให้ชุมชนเกิดความสวยงาม ความเป็นระเบียบเรียบร้อย อันแสดงถึงการมีวัฒนธรรม
นำไปสู่ความเจริญของชุมชน ถ้าขาดการเก็บหรือการจัดการไม่ดี ย่อมทำให้เกิดความไม่น่าดู
2.5.6 ก่อให้เกิดเหตุรำคาญ(Nuisance ) ขยะมูลฝอยก่อให้เกิดเหตุรำคาญแก่ประชาชน
เนื่องจากความสกปรกและกลิ่นเหม็นที่เกิดจากการเน่าเปื่อย หรือการสลายของขยะมูลฝอย
ความรู้เกี่ยวกับขยะมูลฝอย เป็นองค์ประกอบสำคํญที่ประชาชนต้องมีความรู้ความเข้าใจ
ทั่วไป .ในเรื่องของความหมาย ชนิดของขยะมูลฝอย แหล่งที่มาของขยะมูลฝอย การกำจัด การ
คัดแยกขยะมูลฝอย และผลกระทบจากขยะมูลฝอย ซึ่งเป็นแนวคิดที่ผู้วิจัยได้ให้ความสำคัญว่า
ประชาชนจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับขยะมูลฝอยเป็นพื้นฐานเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติและเข้าใจ
ถึงกระบวนการที่จะต้องมีความสัมพันธ์ระหว่างกัน ถ้าประชาชนมีพื้นฐานในเรื่องนี้เป็นอย่างดี
21
ก็จะส่งผลให้เกิด การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อม
ที่ดี กรุงเทพมหานคร อันนับว่าเป็นการสอดคล้องกับเรื่องที่ศึกษา
3.แนวคิดการจัดการขยะมูลฝอย
การจัดการขยะมูลฝอย หมายถึง หลักการในการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม
การทิ้ง การเก็บชั่วคราว การรวบรวม การขนถ่ายและการขนส่ง การกำจัดขยะมูลฝอยโดยคำนึงถึง
ผลประโยชน์สูงสุดในทางสุขภาพอนามัย ความสวยงาม การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และที่สำคัญ
ที่สุดจะต้องเป็นที่ยอมรับของสังคม ในการจัดการขยะมูลฝอยอย่างมีประสิทธิภาพจะต้องอาศัย
ปัจจัยในหลายด้านประกอบกัน ได้แก่ ความรู้ในเรื่องของขยะมูลฝอย การบริการ การรับรู้ข้อมูล
ข่าวสาร การประสานความร่วมมือทั้งของหน่วยงานราชการและประชาชน และการดำเนินการใน
การกำจัดขยะมูลฝอยอย่างเหมาะสม
ปรีดา แย้มเจริญวงศ์ (2531 : 13-14) ได้ให้แนวความคิดเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอย
ไว้ว่า การดำเนินการจัดการมูลฝอยที่ดี จะต้องใช้วิธีการกำจัดที่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล โดยไม่
ทำให้เกิดมลพิษต่อสภาพแวดล้อม เช่น พื้นดิน แหล่งน้ำและอากาศ เป็นต้น โดยจะต้องคำนึงถึง
องศ์ประกอบ สำคัญ 5 ประการ คือ
1. ชนิด ปริมาณและลักษณะของขยะมูลฝอย ที่เกิดขึ้นตามประเภทของกิจกรรมและ
แหล่งกำเนิด
2. ค่าใช้จ่ายและการลงทุนที่ใช้ในการดำเนินงาน เกี่ยวกับการจัดการในการกำจัด
3. ปัญหาเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม ที่ได้รับผลจากการเกิดมลพิษ อาจจะส่งผลกระทบต่อ
สุขภาพและความเป็นอยู่ของมนุษย์
4. การนำเอาทรัพยากรบางส่วนจากขยะมูลฝอยกลับมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ
5. กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
สำหรับวิธีการที่หน่วยงาน จัดการขยะมูลฝอยของกรุงเทพมหานคร ซึ่งดำเนินการโดยสำนัก
รักษาความสะอาด ได้นำมาปฎิบัติมีอยู่ 4 วิธี ได้แก่ (สำนักรักษาความสะอาด 2537)
1. การหมักให้มูลฝอยย่อยสลายตัวเป็นปุ๋ยอินทรีย์ (Composting)
2. การเทกองกลางแจ้ง (Open dumping)
3. การฝังกลบมูลฝอยอย่างถูกหลักสุขาภิบาล (Sanitary landfill)
22
4. การเผาในโรงงานเผาขยะ (Incineration) จะนำเผาเฉพาะส่วนที่ถูกแยกออกจาก
มูลฝอยที่นำเข้าโรงงานและมูลฝอยติดเชื้อที่เกิดจากสถานพยาบาล
รูปแบบการจัดกิจกรรมหรือโครงการลดและแยกขยะมูลฝอยในชุมชน สามารถอธิบายได้
ดังนี้
1. ชาวชุมชนมีจิตสำนึกและวิสัยทัศน์
2. ระดมอาสาสมัครและมอบหมายภาระกิจ
3. การวางกลยุทธ์ในชุมชน
4. การรณรงค์ประชาสัมพันธ์
5. การลงมือปฏิบัติ
6. การประเมินสถานการณ์และการปรับแผน
ยุพิน ระพิพันธุ์ (2544 : 24 – 26) ได้กล่าวถึง แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอย คือ
หลักการในการดำเนินการเกี่ยวข้องกับการควบคุม การทิ้งการเก็บชั่วคราว การรวบรวม
การขนถ่ายและการขนส่ง การแปลงรูป และการกำจัดขยะมูลฝอย โดยคำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุด
ในทางสุขอนามัย ความสวยงาม การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และที่สำคัญที่สุด คือการยอมรับของ
สังคม ในการจัดการขยะมูลฝอยอย่างมีประสิทธิภาพจะต้องอาศัยปัจจัยในหลายด้านประกอบกัน
ได้แก่ การบริการ การรับรู้ข้อมูลข่าวสารด้านสิ่งแวดล้อมประสบการณ์ที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม และ
วิธีการจัดการขยะมูลฝอยในแต่ประเภท โดยวิธีการจัดการจะต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมที่มี
ในทุกแง่ทุกมุม
กิจกรรมทั้งหลายในการจัดการขยะมูลฝอย อันเริ่มตั้งแต่การทิ้งขยะมูลฝอยจนกระทั่งถึง
การกำจัดขยะมูลฝอยในขั้นสุดท้าย แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
1.การทิ้งขยะมูลฝอย เป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นจากการที่ผู้ทิ้งเห็นว่าวัสดุชิ้นใด ๆ นั้นไม่
สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อีกต่อไปแล้ว จึงทิ้งไว้หรือรวบรวมเพื่อกำจัดต่อไป ดังจะเห็นได้ว่าการ
ทิ้งขยะมูลฝอยเป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นหรือไม่ขึ้นกับบุคคลผู้ใช้วัสดุนั้นๆ ว่าจะยังใช้ประโยชน์จากวัสดุ
นั้นได้หรือไม่
2. การจัดการขยะมูลฝอย ณ แหล่งกำเนิด ในส่วนนี้จะมุ่งความสนใจไปที่ขยะมูลฝอยที่มา
จากชุมชนมากกว่าขยะมูลฝอยที่ได้จากแหล่งอื่น ทั้งนี้เพราะขยะมูลฝอยส่วนนี้จะประกอบด้วย
23
ขยะมูลฝอยมากมายหลายชนิดปะปนกันอยู ่ และเกดิ ในแหลง่ ทผี่ คู้ นอาศยั อยกู่ นั อยา่ งแออดั และ
ไม่มีพื้นที่พอที่จะเก็บขยะมูลฝอยที่เกิดในแหล่งที่ผู้คนอาศัยอยู่ หรือถึงแม้ว่าจะมีพื้นที่เพียงพอที่
จะเก็บก็ต้อง มีการขนย้ายหรือกำจัดไปในเวลาอันควร มิฉะนั้นจะเกิดการเน่าเหม็น เป็นภาพที่ไม่
น่าดู และอาจมีผลต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน
3.การแปลงรูปหรือการคืนรูป องค์ประกอบของระบบการจัดการขยะมูลฝอยส่วนนี้รวมถึง
เทคนิคการใช้เครื่องมือและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เพื่อใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพของส่วน
ประกอบอื่น ๆ และเพื่อแยกวัสดุที่ยังใช้ประโยชน์ได้กลับมาใช้ใหม่ หรือแปลงรูปขยะมูลฝอยให้ได้
สิ่งที่เป็นประโยชน์ เช่น ปุ๋ย หรือพลังงานความร้อน
ในทัศนะของผู้วิจัยเห็นว่า แนวคิดการจัดการของยุพิน ระพิพันธุ์ มีความชัดเจน และชี้ให้
เห็นถึงการจัดการขยะมูลฝอยประเภทต่าง ๆ ได้อย่างดี และมีความสอดคล้องกับสภาพแวดล้อม
ในปัจจุบันเป็นอย่างยิ่ง จึงได้นำมาศึกษาในครั้งนี้
4.แนวคิดเกี่ยวกับบทบาทผู้นำ
สัญญา สัญญาวิวัฒน์ (2534 : 32) กล่าวถึงบทบาทผู้นำว่า ในงานพัฒนาผู้นำเป็นตัวแปร
สำคัญส่วนแรกของทฤษฎีศักยภาพในการพัฒนา มีบทบาทที่จะต้องทำ ซึ่งถือเป็นหน้าที่หลักมีอยู่
สองประการ คือ ประการแรก ทำการเลือกเป้าหมายและควบคุมดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายใน
งานหรือกิจกรรมนั้นๆ ประการที่สอง มีหน้าที่ในการเสริมพลัง และบำรุงรักษาความเป็นปึกแผ่น
ของกลุ่ม หรือขององค์กรที่เขาสังกัดอยู่ บทบาทของผู้นำจึงมีอยู่ชัดเจนไม่ว่าจะเป็นงานใดๆ ใน
เรื่องของงานพัฒนา
ทวี ทิมขำ (2528 : 171-184) ให้ได้ความสำคัญและรายละเอียดของผู้นำไว้ ดังต่อไปนี้
ผู้นำ (Leader) หมายถึง ผู้มีความรู้ในเรื่องที่เป็นที่ต้องการในการดำเนินงานของกลุ่ม และ
สามารถใช้ความรู้นั้นช่วยให้กลุ่มบรรลุวัตถุประสงค์ได้ในสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่ง และการ
เป็นผู้นำ (Leadership) เป็นกระบวนการที่มีอิทธิพลต่อกิจกรรมของกลุ่มที่รวมตัวกันขึ้นเพื่อนำ
กลุ่มให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่วางไว้ ผู้นำส่วนใหญ่จะมีบุคลิกภาพเด่น มีความรู้ความ
สามารถเป็นพิเศษในกลุ่มชนหรือในท้องถิ่นนั้น ๆ เป็นผู้ที่สามารถจูงใจประชาชนให้มีความคิดเห็น
24
คล้อยตาม และลงมือทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง จนนำกลุ่มไปสู่จุดหมายทางบวก เป็นผลสำเร็จได้
ในที่สุด
ผู้นำชุมชน หมายถึง ผู้ที่มีบุคลิกภาพเด่น ประกอบกับความสามารถเป็นพิเศษในกลุ่มคน
หรือในท้องถิ่นนั้น ๆ ซึ่งในกลุ่มแต่ละกลุ่มย่อมประกอบด้วย บุคคลที่มีบุคลิกภาพ มีความรู้ความ
สามารถหรือทักษะแตกต่างกันไป ในขณะที่ทุกคนมีความผูกพันซึ่งกันและกัน ในฐานะที่เป็นส่วน
หนึ่งของกลุ่มจะต้องยอมรับนับถือความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ด้วยเหตุนี้เองสถานการณ์ที่บีบตัวขึ้น
จึงผลักดันให้สมาชิกของกลุ่มบางคน กลายเป็นผู้นำ และบางคนกลายเป็นผู้ตาม ส่วนประกอบที่
ทำให้บุคคลกลายเป็นผู้นำย่อมมาจากลักษณะพิเศษประจำตัว เช่น ความซื่อสัตย์สุจริต มีความ
ยุติธรรม ความโอบอ้อมอารี และความเสียสละ
ปาริชาติ วลัยเสถียรและคณะ (2542:193) ได้สรุปองค์ประกอบของผู้นำ มีดังนี้
1. มีความรู้ ความสามารถอันเป็นคุณสมบัติภายในตัว รวมถึงความสามารถที่จะใช้ความรู้
นั้นให้เกิดประโยชน์ด้วย
2. มีผู้ตามที่ดี
3. มีจุดหมายในการทำงาน
4. ต้องมีหลักการและวิธีการเพื่อการทำงานให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่วางไว้
5. มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
6. มีสถานการณ์ให้ได้ใช้ความสามารถของตน
สิริ เทศประสิทธิ์ (2529 : 129) กล่าวว่า บทบาทหน้าที่ของผู้นำท้องถิ่นที่สอดคล้องกับการ
พัฒนาท้องถิ่น หรือการพัฒนาชุมชนโดยเฉพาะควรจะมีดังนี้
1. เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงให้ด้านต่าง ๆ ของท้องถิ่นหรือชุมชน
2. เป็นผู้ริเริ่มแนวคิดใหม่หรือค้นหาแนวทางสิ่งใหม่ ๆ พร้อมทั้งชี้แนวทางการปฏิบัติที่
เกี่ยวกับแนวคิดใหม่หรือสิ่งใหม่ ๆ นั้นด้วย
3. เป็นผู้ช่วยวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการของชาวบ้าน
4. เป็นผู้แสดงความคิดเห็น ความรู้สึก และสร้างแรงจูงใจเพื่อกระตุ้นเตือนหรือยั่วยุ
ให้เกิดการกระทำในทางสร้างสรรค์ หรือการพัฒนาให้เกิดขึ้นในชุมชน
5. เป็นผู้รับฟังปัญหาความต้องการ และความคิดเห็นของชาวบ้านในเรื่องต่างๆ
25
แล้วนำเสนอคณะกรรมการพัฒนาหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง และรับเอาความคิดเห็นของคณะกรรมการ
พัฒนา หรือผู้เกี่ยวข้อง นำไปเสนอหรือเผยแพร่แก่ชาวบ้าน ซึ่งนับว่าเป็นกระบวนการ 2 ทาง
(Two-way Communication)
6. เป็นผู้ร่วมวางแผนพัฒนาท้องถิ่นหรือชุมชน
7. เป็นผู้ควบคุมหรือกำกับดูแล ให้มีการปฏิบัติตามแผนที่วางไว้
8. เป็นผู้ร่วมติดตามผล และประเมินผลตามแผนที่วางไว้
9. เป็นผู้ร่วมรายงาน หรือเผยแพร่ผลงานตามแผนพัฒนาท้องถิ่นหรือชุมชน
ให้ผู้เกี่ยวข้องและประชาชนได้ทราบ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้รับทราบจะได้มีการศึกษาหรือให้ความร่วมมือใน
อนาคตต่อไป
สรุปได้ว่า บทบาทของผู้นำนั้น มีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในการดำเนินการ ไม่ว่า
จะเป็นกิจกรรมหรือโครงการใด ๆ ก็ตาม ซึ่งนับว่าเป็นตัวจักรสำคัญที่จะทำให้งานกิจกรรม หรือ
โครงการบรรลุเป้าหมาย ประสบความสำเร็จ หรือล้มเหลวได้โดยที่ผู้นำจะแสดงบทบาทในด้าน
ต่าง ๆ ตามสถานการณ์ได้ชัดเจนหรือมีประสิทธิภาพเพียงใด เมื่อมนุษย์มาอยู่รวมกันมาก ๆ
เป็นกลุ่มเป็นชุมชนขึ้น จึงจำเป็นต้องยอมรับนับถือในความคิดความสามารถซึ่งกันและกัน มิฉะนั้น
จะอยู่รวมกันไม่ได้ ด้วยเหตุนี้เอง จึงเป็นเครื่องผลักดันให้เกิดภาวะผู้นำและผู้ตามขึ้น ผู้นำจึงเป็น
สิ่งที่ขาดไม่ได้ของทุกกลุ่มชน มีเหตุผลหลายประการที่ทำให้สังคมต้องมีผู้นำและผู้ตามคือ
1.โดยธรรมชาติแล้วมนุษย์ย่อมไม่เท่ากันในความสามารถ ความเฉลียวฉลาด คนหนึ่งอาจ
เหนือกว่าอีกคนหนึ่ง คนที่เหนือกว่ามักจะได้เป็นหัวหน้า หรือผู้นำ ความเหนือกว่านั้นอาจเนื่องมา
แต่กำเนิด หรือเพราะการฝึกฝนในภายหลังก็ได้ หรืออาจเป็นได้ทั้งสองทางคือ มีดีมาแต่กำเนิดพอ
สมควร แต่ต่อมาได้มีการฝึกฝนร่ำเรียนขึ้น หรือปรับปรุงแต่งให้ดีขึ้นไปอีก
2.การมีผู้นำนั้นมีประโยชน์ต่อสังคมมาก เช่น ผู้นำช่วยนำทางที่ถูกต้อง เพราะเป็นผู้ที่มี
ความเฉลียวฉลาดเห็นการณ์ไกล ผู้นำช่วยให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ ช่วยให้คนในสังคมเป็น
ระเบียบเรียบร้อย สำหรับลักษณะของผู้นำนั้นพอสังเกตได้ดังนี้
1.เป็นผู้นำที่มีผู้ให้ความเคารพนับถือและยำเกรง แต่มิใช่ชาวบ้านเกรงกลัว
2.ได้รับการยกย่อมจากชาวบ้านว่าเก่งกว่า ดีกว่า
3.มักช่วยดูแลเจ็บร้อนแทนผู้อื่นในแนวทางที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม
4.มักแสดงออกว่าใจกว้าง
5.มีความมั่นคงมากกว่าผู้อื่นทางด้านรูปธรรม หลักฐาน และทรัพย์สิน
26
6.เป็นผู้ที่มีความเชื่อมั่นในตัวประชาชนและความต้องการที่จะปรับปรุงตนเอง
7.เป็นผู้ที่พร้อมที่จะรับฟังเหตุผล และปรึกษาหารือกับผู้อื่นในปัญหาสำคัญของท้องถิ่น
8.เป็นผู้ที่มีความตั้งใจทำงานเพื่อส่วนรวม
9.เป็นมิตรที่ดีของชนทุกชั้น
10.เป็นผู้ที่มีประชาชนชอบและกล่าวถึงเสมอ
ความสำคัญของผู้นำชุมชนในการพัฒนา งานพัฒนาชุมชนมุ่งส่งเสริมปรับปรุง
ความเป็นอยู่ของประชาชน ให้มีความเป็นอยู่ดีขึ้นตามเป้าหมาย 5 ประการ ได้แก่
1.สิ่งแวดล้อม
2.การเรียนรู้
3.รายได้
4.สุขภาพ
5.การใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ของประชาชน
โดยให้ประชาชนเป็นผู้ริเริ่มดำเนินการเอง รัฐเข้าช่วยเหลือในเมื่อเกินความสามารถเพื่อให้
งานเป็นไปตามความต้องการ และเป็นที่พอใจแก่ประชาชนอย่างแท้จริง ความสำเร็จของงาน
พัฒนาจึงขึ้นอยู่กับความร่วมมือ ระหว่างประชาชนกับรัฐเป็นสำคัญ และการทำงานร่วมกับผู้นำ
ด้านต่าง ๆ ซึ่งมีอยู่ในชุมชน ผลงานที่ออกมาจึงเกิดจากความร่วมมือร่วมใจของผู้นำในชุมชนกับ
ประชาชนเป็นสำคัญ
มีผู้เปรียบเทียบผู้นำเสมือนเส้นทางหรือถนนที่ลำเลียงสิ่งใหม่ ๆ เช่น ความคิดผลิตผล และ
กรรมวิธีใหม่ ๆ ไปสู่ชุมชน ผู้นำจึงเป็นตัวเชื่อมที่ดีระหว่างชุมชนกับการพัฒนา ด้วยมีสิ่งสืบเนื่องคือ
1.ผู้นำเข้าใจสถานการณ์ของหมู่บ้าน
2.ผู้นำสามารถติดต่อกับชาวบ้านได้ดีกว่าผู้อื่น
3.ผู้นำสามารถกระตุ้นการทำงานของชาวบ้านได้
4.ผู้นำสามารถสละเวลาได้มากกว่าผู้อื่น
ด้วยเหตุนี้การเผยแพร่สิ่งใหม่จากภายนอก ที่จะนำไปสู่ชุมชนและได้รับการยอมรับจึงเป็น
หน้าที่และบทบาทที่สำคัญของผู้นำและเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันสิ่งต่างๆที่จะนำความเจริญ
ให้เกิดขึ้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่นำไปสู่การพัฒนาต่อไป
ผู้วิจัยเห็นว่าบทบาทของผู้นำนั้นมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่จะนำให้คนส่วนใหญ่
ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ซึ่งจะสอดคล้องกับการมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการใดๆ
ก็ตามเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์
27
5. แนวคิดการสื่อสารประชาสัมพันธ์
การดำเนินงานโครงการใด ๆ เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ จะต้องอาศัยการสื่อสาร
(communication)ที่มีองค์ประกอบและกระบวนการในการสื่อสารรวมถึงการประชาสัมพันธ์
(Public Relations) ซึ่งนับว่าเป็นหัวใจสำคัญการสื่อสารและการประชาสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพ
ต้องมีวัตถุประสงค์อย่างชัดเจนและมีการกำหนดวิธีการ การวางแผนในการเลือกและใช้สื่ออย่าง
เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายย่อมจะประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ต้องการ
การสื่อสาร (Communication ) หมายถึง การแลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างผู้ส่งสาร และ
ผู้รับสาร โดยใช้สื่อ หรือช่องทางต่าง ๆ เพื่อมุ่งหมายโน้มน้าวจิตใจให้เกิดผลในการ รับรู้ หรือ
เปลยี่ นทศั นคต ิ หรอื เปลยี่ นพฤตกิ รรม (นรนิ ทร ์ พัฒนาพงศ 2542:3)
การประชาสัมพันธ (Public Relations) หมายถงึ การสอื่ สารขององคก์ รเพอื่ สรา้ ง
ความสัมพันธ์กับประชาชน โดยการเสนอข่าวสาร การสร้างกิจกรรมให้เป็นข่าวสาร การแสดง
ความรับผิดชอบต่อสังคม หรือการแสดงความปรารถนาดีต่อประชาชนในฐานะที่อยู่ร่วมกันอย่าง
สันติสุข และเกื้อกูลผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน ความสัมพันธ์ในลักษณะนี้จะนำไปสู่ทัศนคติใน
เชิงบวก หรือภาพพจน์ที่น่านิยมขององค์กร และไปสู่พฤติกรรมที่มีคุณค่าต่อสังคม
5.1 องค์ประกอบของการสื่อสาร
ในการสื่อสาร มีสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึง องค์ประกอบ 4 ประการ ดังนี้คือ
1. ผู้ส่งสาร (Sender) หมายถึง บุคลหรือกลุ่มบุคล ที่มีความคิด มีความต้องการ
และมีความตั้งใจที่ต้องการจะส่งข่าวสาร ความรสู้ กึ นกึ คดิ ความคดิ เหน็ ทัศนคต ิ ความเชอื่ และ
อื่น ๆ ไปสู่ผู้รับสาร ผู้ส่งสารที่ดี มีความสำคัญและความจำเป็นอย่างยิ่ง ควรมีคุณลักษณะที่มี
ความเหมาะสมด้วย
คุณลักษณะที่ดี ของผู้ส่งสาร ประกอบด้วยปัจจัยต่อไปนี้
- มีความรู้ ความสามารถ ในข้อมูลข่าวสาร หรือเรื่องที่จะสื่อสาร
- มีบุคลิกลักษณะ ในท่าทาง ความเฉลียวฉลาด มีไหวพริบ และการตัดสินใจ
- ได้รับการยอมรับในสังคม ผู้ที่ได้รับการยอมรับทั้งแบบที่เป็นผู้นำเป็นทางการ
และไม่เป็นทางการ รวมถึงผู้ที่มีชื่อเสียงในสังคม จะได้รับการยอมรับด้วยดี
28
- เป็นคนเปิดเผยจริงใจ จะสามารถสร้างความไว้วางใจกับผู้รับสารได้ดี
2. สาร (Message) หมายถึง ข่าว ข้อมูล และอื่น ๆ ที่มีความหมายที่แสดงออก
โดยอาศยั ภาษาหรอื สญั ลกั ษณ์ ที่จะสามารถทำให้เกิดการรับรู้ร่วมกันได ้ ระหว่างผู้ส่งสารและ
ผู้รับสาร สารจะเป็นตัวเร่งเร้าและกระตุ้นให้ผู้รับสารรับรู้และเข้าใจความหมาย และมีปฏิกิริยาใน
การตอบสนองได้
คุณลักษณะของสารที่ดี เนื้อหาข่าวสารที่ดีจะทำให้การสื่อสารมีประสิทธิผล
- สารนั้นจะต้องมุ่งถึงผู้รับสารและได้รับความสนใจจากผู้รับสาร
- สารนั้นต้องมีสัญลักษณ์แสดงถึงความเหมือนกันของผู้ส่งสารและผู้รับสาร เพื่อ
แลกเปลี่ยนความหมายซึ่งกันและกัน
- สารต้องเร้าความต้องการของผู้รับสาร และแนะนำวิธีการที่ผู้รับสารจะได้รับ
ประโยชน์หรือการตอบสนองตามความต้องการ
- สารต้องแนะนำวิธีที่ผู้รับสารจะตอบสนองความต้องการของตน ตามความ
เหมาะสมกับสถานการณ์ และสอดคล้องกับการดำเนินวิถีชีวิต
3. ช่องทางการสื่อสารหรือสื่อ (Channel) หมายถึง สิ่งที่จะนำสารไปส่งยังผู้รับสาร
ซึ่งมีหลายช่องทางโดยผ่านสื่อต่างๆ เช่น สื่อบุคคล สื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออีเล็กทรอนิกส์ สื่อพื้นบ้าน
การพิจารณาการใช้สื่อหรือช่องทางการสื่อสารใด ควรพิจารณาถึง ปัจจัยต่อไปนี้
- ความเหมาะสมของสื่อกับผู้ส่งสาร ผู้ส่งสารต้องเลือกช่องทาง หรือการใช้สื่อ
ที่เหมาะสม และตนมีความชำนาญในสื่อนั้นๆ
- ความเหมาะสมของสื่อนั้นกับการถ่ายทอดสาร
- ความเหมาะสมของสื่อกับสภาพแวดล้อม
4. ผู้รับสาร (Receiver) หมายถึง กระบวนการสื่อสารผู้รับสารและผู้ส่งสาร จะต้อง
เปลี่ยนแปลงบทบาทระหว่างกัน คือเป็นทั้งผู้รับสารและผู้ส่งสารด้วย
29
คุณลักษณะของผู้รับสารทีดี เพื่อให้เกิดประสิทธิผล มีดังนี้
- ทักษะในการสื่อสาร ผู้รับสารจะต้องมีความสามารถ หรือมีความชำนาญและ
มีทักษะในการสื่อสาร
- ทัศนคติในการสื่อสาร ทัศนคติต่อตนเอง ต่อสาร และต่อผู้ส่งสาร เพราะเป็น
ส่วนสำคัญต่อพฤติกรรมการรับสารของผู้รับสารที่จะถูกกำหนดออกมาในลักษณะใด
- ระดับความรู้ ความรู้เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการรับและแปลความหมายของสาร
เป็นอย่างมาก
- สถานภาพในระบบสังคมและวัฒนธรรม
องค์ประกอบของการสื่อสารที่ดีมี ดังนี้
1. จงทำความเข้าใจกับความคิดของท่านให้แจ่มแจ้งก่อนจะสื่อสารไปยังผู้อื่น
2. จงตรวจสอบจุดมุ่งหมายอันแท้จริงของการสื่อสารทุกครั้ง
3. จงพิจารณาถึงสิ่งแวดล้อมและตัวบุคคลในการสื่อสาร
4. จงปรึกษาหารือกับผู้อื่นตามความเหมาะสมในการวางแผนเพื่อการสื่อสาร
5. จงระมัดระวังน้ำเสียงของท่านเช่นเดียวกับเนื้อหาของข้อความที่ส่งออกไป
6. จงใช้โอกาสที่จะให้สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อผู้รับทันที
7. จงติดตามผลการสื่อสารของท่าน
8. จงคำนึงถึงผลของการสื่อสารทั้งในปัจจุบันและอนาคต
9. จงระวังให้ท่าทางของท่านสนับสนุนการสื่อสารของท่านด้วย
10. จงเป็นผู้ฟังที่ดี อย่าพยายามให้ผู้อื่นเข้าใจท่านฝ่ายเดียวแต่ท่านต้องเข้าใจผู้อื่น
ในการสื่อสารย่อมต้องพบปัญหาและอุปสรรคจึงมีหลักและวิธีการขจัดปัญหา และ
อุปสรรคในการติดต่อสื่อสาร ดังนี้
1. ความน่าเชื่อถือ ถ้าบุคคลที่ติดต่อสื่อสารด้วยเป็นผู้ที่เชื่อถือได้ไม่เคยมีการหลอกลวง
เมื่อมีการติดต่อสื่อสารครั้งใดย่อมได้รับความสนใจ เชื่อฟังและทำตาม หรือกล่าวได้ว่า คนจะให้
ความเชื่อถือข่าวสารนั้น
2. ความละเอียด ให้คำอธิบายที่ละเอียดชัดเจน ไม่มีเนื้อความใดที่ขาดตกบกพร่อง
3. เนื้อหา คำพูดต้องเป็นเนื้อหาสาระที่จะทำให้คนอื่นสนใจได้ดีทั้งนี้ควรจะเป็นข่าวสาร
30
ที่แสดงผลดี และผลเสียที่จะเกิดขึ้นแก่ผู้รับสารนั้น หรือเป็การเสนอวิธีการปฏิบัติ ที่รับข่าวสารจะ
ปฏิบัติได้โดยไม่ถูกล้อเลียนหรือตั้งข้อรังเกียจเพราะไม่ถูกกับค่านิยมของกลุ่ม
4. ความชัดเจน คือการที่พูดด้วยศัพท์ที่ผู้ฟังเข้าใจทางเดียวตามที่ผู้ส่งข่าวสารต้องการ
ให้เข้าใจ ไม่ใช้คำที่ตีความได้ 2 แง่ 3 ง่ามเป็นอย่างอื่น
5. การกล่าวซ้ำ ถ้าข่าวสารที่ให้นั้นมีความสลับซับซ้อนเข้าใจยาก ควรต้องอธิบายซ้ำ
เพื่อความเข้าใจที่แท้จริงและป้องกันการหลงลืม
6. ช่องทาง การเลือกช่องทางการติดต่อสื่อสารให้ถูกกับสถานการณ์และบุคคลต่าง ๆ
บุคคลที่อยู่ใกล้เคียงอาจส่งข่าวสารด้วยวาจาได้ แต่ถ้าข่าวสารยากสลับซับซ้อนมาก อาจต้องมี
การจดบันทึกประกอบข่าวสาร นอกจากนี้ยังใช้การสื่อสารทางมวลชน เช่น ทางวิทยุ โทรทัศน์
หนังสือพิมพ์ หรือข่าวสารที่ส่งไป ถึงบุคคลเฉพาะคน อาจใช้ จดหมาย โทรเลข โทรศัพท์ เป็นต้น
7. ความสามารถของทั้งผู้ส่งข่าวสาร และผู้รับข่าวสาร ถ้าบุคคลบางคนมีความจำที่ดี
เพียงบอกกล่าวด้วยวาจาก็อาจสามารถจดจำได้หมด แต่บางคนมีความสามารถทางนี้จำกัดอาจ
ต้องมีการจดบันทึกช่วยความจำ ผู้ส่งข่าวสารบางคนรู้จักเลือกใช้ถ้อยคำอธิบายให้คนเข้าใจได้ง่าย
แต่บางคนมีความสามารถทางนี้จำกัดอาจใช้การจดบันทึกช่วยเพื่อได้มีโอกาสเลือกใช้ถ้อยคำ
สำนวนได้ดีขึ้น
ถ้าพิจารณาให้ลึกซึ้งลงไปอีกจะเห็นว่าการติดต่อสื่อสารที่ได้ผลนั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับการกระทำ
ของผู้ส่งข่าวสารแต่ฝ่ายเดียว ต้องขึ้นอยู่กับทั้งตัวผู้ส่งข่าวสาร ผู้รับข่าวสาร ช่องทาง และ
ประกอบด้วยตัวข่าวสาร แต่เมื่อมีอุปสรรคในการติดต่อสื่อสารเกิดขึ้นผู้ติดต่อมักจะโทษไปถึงฝ่าย
ตรงข้าม คือผู้ส่งข่าวสารโทษผู้รับข่าวสาร ผู้รับข่าวสารก็โทษผู้ส่งข่าวสาร เช่น ผู้ส่งข่าวสารจะ
โทษผู้รับข่าวสารว่า เป็นคนโง่เขลา หูตึง ตาเซ่อ ไม่พยายามเข้าใจคำสั่ง ผู้รับข่าวสารก็จะโทษ
ผู้ส่งข่าวสารว่า พูดไม่รู้เรื่อง อธิบายไม่เป็น เขียนหนังสือไม่เป็นภาษา วิธีการที่จะขจัดอุปสรรค
ในการติดต่อสื่อสารและทำให้การติดต่อได้ผลที่สุดนั้นต้องพิจารณาแก้ไขปัจจัยสำคัญในการติดต่อ
สื่อสารทุกด้าน จะแก้ไขสิ่งใดฝ่ายเดียวไม่ได้ แต่ในฐานะที่เป็นผู้ส่งข่าวสารและต้องการให้ข่าวสาร
ที่ส่งออกไปมีประสิทธิภาพที่สุด ต้องแก้ไขที่ตัวผู้ส่งข่าวสารก่อน เพราะเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวที่สุดถ้าจะ
แก้ไขกันจริง ๆ ก็อาจทำได้สะดวกที่สุด แล้วจึงพิจารณาตัวข่าวที่ส่งออกไปเป็นอันดับ 2 ส่วนผู้รับ
ข่าวสารเป็นสิ่งที่ไกลตัวผู้ส่งข่าวสาร ซึ่งอาจแก้ไขได้ยากที่สุด จะทำได้ก็เพียงแต่พิจารณาลักษณะ
ท่าที ปฏิกิริยาโต้ตอบของผู้รับข่าวสาร แต่ละคนแต่ละสถานการณ์แล้วพยายามปรับปรุงตนเอง
และข่าวสารที่ส่งออกไปให้เหมาะสม
31
การสื่อสารจะมีความเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าองค์ประกอบทุกตัวใน
กระบวนการสื่อสารต่างมีอิทธิพล ซึ่งกันและกัน และต้องมีคุณลักษณะที่เหมาะสมตามที่ได้กล่าว
ข้างต้น จะทำให้ประชาชน มีความรู้ ความเข้าใจและรับรู้สิ่งต่าง ๆ อันจะเป็นประโยชน์ในการที่จะ
สนับสนุนการทำงาน และการมีส่วนร่วมในโครงการต่างๆ
ผู้วิจัยได้มองเห็นว่า “การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาดเพื่อ
สิ่งแวดล้อมที่ดีของกรุงเทพมหานคร“ มีความจำเป็นที่จะต้องอาศัยการสื่อสารประชาสัมพันธ์เป็น
สื่อประสานความเข้าใจในการที่จะให้เกิดการมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของโครงการ
ที่จะเกิดขึ้นในชุมชน เพื่อให้ประชาชนได้รับรู้และเตรียมตัวที่จะร่วมมือร่วมใจในการพัฒนาชุมชน
ของตน และเป็นปัจจัยสำคัญที่จะนำความรู้ในด้านต่างๆ ให้เข้าสู่ชุมชนด้วย
6. แนวคิดเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชน
ปัจจุบันแนวคิดเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนได้ถูกนำไปใช้ในเรื่องต่างๆ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ
สงั คม วัฒนธรรมและสิ่งแวดลอ้ ม ดังนั้นความหมายของการมีสว่ นรว่ ม จึงถกู ใหค้ าํ จำกดั ความแตกตา่ ง
กันไปตามวัตถุประสงค์ที่นำไปใช้
6.1 ความหมายการมีส่วนร่วมของประชาชน
ทนงศักดิ์ คุ้มไข่น้ำและขณะ (2534 : 76) ให้ความหมาย การมีส่วนร่วมของประชาชน
คือ การที่ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง ในลักษณะของการร่วมคิดร่วม
ตัดสินใจ ร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติ ร่วมรับผลประโยชน์และร่วมติดตามผล เป็นกระบวนการที่
กลุ่มเป้าหมายได้รับโอกาสและใช้โอกาสที่ได้รับแสดงออกซึ่งความรู้สึกนึกคิดแก้ไขปัญหาความ
ต้องการของตน โดยรับการช่วยเหลือจากหน่วยงานภายนอกน้อยที่สุด
สัญญา สัญญาวิวัฒน์ (2539 : 130) ได้ให้ความหมาย การมีส่วนร่วมของประชาชนว่า
หมายถึง การเปิดโอกาสให้ประชาชนผู้เป็นเป้าหมายของการพัฒนา เข้ามาร่วมโครงการของการ
พัฒนาตั้งแต่เริ่มโครงการดำเนินการ และมีการประเมินจนเสร็จสิ้นโครงการ โดยมีวัตถุประสงค์ให้
32
ชาวบ้านได้เรียนรู้ทั้งเรื่องที่ทำอยู่ และการทำงานร่วมกัน ซึ่งถ้าหากสมประสงค์แล้วก็จะทำให้คน
เกิดการพัฒนาได้
ยุวัฒน์ วุฒิเมธี (2526 : 25) ได้กล่าวถึงสาระสำคัญของการมีส่วนร่วมของประชาชนว่า
หมายถึง การเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการคิดริเริ่ม การพิจารณาตัดสินใจ การ
ร่วมปฏิบัติ และการร่วมรับผิดชอบในเรื่องต่างๆ อันมีผลกระทบถึงตัวของประชาชนเอง เพื่อแก้ไข
ปัญหาและนำมาซึ่งสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชาชน
ไพรัตน์ เตชะรินทร์ (2527 : 6-7) ได้เสนอความหมายและหลักการสำคัญเรื่อง นโยบาย
การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาว่า หมายถึง กระบวนการที่รัฐบาลทำการส่งเสริม ชักนำ
สนับสนุนและสร้างโอกาสให้ประชาชนทั้งในรูปส่วนบุคคล กลุ่มคน ชมรม สมาคม มูลนิธิและ
องค์การอาสาสมัครรูปแบบต่างๆ ให้เข้ามามีส่วนร่วมดำเนินงานในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือหลาย
เรื่องรวมกันเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์และนโยบายของการพัฒนาตามที่กำหนดไว้ ดังเช่น
ในเรื่องต่อไปนี้ คือ
1.ร่วมทำการศึกษาค้นคว้าปัญหาและสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนรวมตลอดจน
ความต้องการของชุมชน
2.ร่วมคิดหาสร้างรูปแบบและวิธีการพัฒนาเพื่อแก้ไขและลดปัญหาของชุมชน หรือเพื่อ
สร้างสรรค์สิ่งใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน หรือสนองความต้องการของชุมชน
3.ร่วมวางแผนนโยบายหรือแผนงานหรือโครงการหรือกิจกรรมเพื่อขจัดและแก้ไขปัญหา
และสนองความต้องการของชุมชน
4.ร่วมตัดสินใจในการใช้ทรัพยากรที่มีจำกัดให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนร่วม
5.ร่วมจัดหรือปรับปรุงระบบการบริหารงานพัฒนา ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
6.ร่วมการลงทุนในกิจกรรมโครงการของชุมชนตามขีดความสามารถของตนเองและของ
หน่วยงาน
7.ร่วมปฏิบัติตามนโยบาย แผนงาน โครงการ และกิจกรรมให้บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้
8.ร่วมควบคุม ติดตาม ประเมินผล และร่วมบำรุงรักษาโครงการและกิจกรรมที่ได้ทำไว้
ทั้งโดยเอกชนและรัฐบาลให้ใช้ประโยชน์ได้ตลอดไป
33
6.2 ความสำคัญของการมีส่วนร่วม
ปริศนา โกลละสุต ( 2534 : 13 ) ได้ให้ความสำคัญของการมีส่วนร่วมไว้ดังนี้
1. จะช่วยให้ประชาชนยอมรับโครงการมากขึ้น เนื่องจากเป็นโครงการที่ตรงกับปัญหา
และความต้องการของประชาชน
2. ประชาชนจะมีความรู้สึกผูกพัน และมีความรู้สึกเป็นเจ้าของมากยิ่งขึ้น
3. การดำเนินโครงการจะราบรื่น ได้รับความร่วมมือจากประชาชนมากขึ้น
4. จะช่วยพัฒนาขีดความสามารถของประชาชนมากขึ้น
5. โครงการจะให้ประโยชน์แก่ประชาชนมากขึ้น และมีการระดมทรัพยากรเพื่อการ
ดำเนินโครงการมากขึ้น
6.3 ลักษณะของการมีส่วนร่วม
โคเฮน และอัฟฮอฟ (Cohen and Uphoff 1980 : 219-222) ได้มีการแบ่งชนิดของ
การมีส่วนร่วมออกเป็น 4 ชนิด คือ
1. การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ประกอบด้วย ริเริ่มตัดสินใจ ดำเนินการตัดสินใจ และ
ตัดสินใจปฏิบัติการ
2. การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการ ประกอบด้วยการสนับสนุนด้านทรัพยากรการบริหาร
และการประสานงานขอความร่วมมือ
3. การมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ ประกอบด้วยผลประโยชน์ทางด้านวัตถุ ผลประโยชน์
ทางสังคม หรือผลประโยชน์ส่วนบุคคล
4. การมีส่วนร่วมในการประเมินผล
เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง (2525 : 11) ได้แบ่งขั้นตอนของการมีส่วนร่วมของประชาชนไว้เป็น
4 ขั้นตอน คือ
1. การมีส่วนร่วมในการค้นหาปัญหาและสาเหตุของปัญหา ชุมชนนั้นเป็นขั้นตอนแรก
ที่สำคัญที่สุด เพราะถ้าชาวบ้านยังไม่สามารถเข้าใจปัญหา และสาเหตุของปัญหาด้วยตัวเอง
กจิ กรรมตา่ ง ๆ ที่ตามมาก็ไร้ประโยชน ์ และในอีกแง่หนึ่ง ประชาชนเปน็ ผอู้ ยกู่ บั ปญั หายอ่ มเปน็ ผทู้ รี่ ู้
ปัญหาดีที่สุด
34
2. การมีส่วนร่วมในการวางแผนการดำเนินกิจกรรม สำหรับการดำเนินการวางแผนเป็น
ขั้นตอนที่จะขาดไม่ได้ หากประชาชนไม่ได้เข้าร่วมในการวางแผนการดำเนินกิจกรรมประชาชนก็จะ
ไม่สามารถดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ได้เองโดยที่ไม่มีผู้ช่วย
3. การมีส่วนร่วมในการลงทุนและปฏิบัติงาน ในส่วนนี้หมายถึงการมีส่วนร่วมในการทำ
กิจกรรมต่าง ๆ ตามความสามารถของประชาชนแต่ละคนนั้นเอง โดยที่ใครมีทุนก็สามารถช่วย
เหลือด้านเงินทุน หากใครไม่มีเงินทุนก็สามารถช่วยในด้านแรงงานได้
4. การมีส่วนร่วมในการติดตามและประเมินผลงาน ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนสุดท้าย ซึ่ง
ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นหากประชาชนมีส่วนร่วมคือ การที่จะทราบข้อดีข้อเสียของตนเองได้
6.4 มิติในการมีส่วนร่วมของประชาชน
แนวคิดของ Matthias Stiefel and Andrew Pearse (อ้างใน ปรัชญา เวสารัชช์ 2528 : 5)
ได้เสนอการมีส่วนร่วมไว้ 5 มิติ คือ
1. การมีส่วนร่วมในการประจันหน้า โดยถือว่าการมีส่วนร่วมสะท้อนลักษณะการ แจกแจง
แบ่งสรรอำนาจในการตัดสินใจที่ผิดไปจากเดิมจึงอาจมองได้ว่าเป็นการประจันหน้าระหว่างกลุ่ม
ผลประโยชน์ กลุ่มสังคม กลุ่มชนชั้นต่าง ๆ เป็นการปะทะกัน (Confrontation) ระหว่างผล
ประโยชน์ของคนในเมืองหรือเป็นการเผชิญหน้าระหว่างสมาชิกองค์การอาสาสมัคร กับหน่วยงาน
ที่ตั้งขึ้นมั่นคงแล้วและไม่ยอมเปลี่ยนแปลง (Immobile Establishments) ซึ่งโดยทั่วไปหมายถึง
หน่วยงานราชการ
การมองการมีส่วนร่วมในมิติของการประจันหน้าเช่นนี้ชี้ให้เกิดความสนใจลักษณะ
การเปลี่ยนแปลงสถาบันซึ่งนำไปสู่การต่อต้านการมีส่วนร่วมโดยองค์การเก่า แสดงการเปลี่ยนหรือ
ปรับโครงสร้างทางอำนาจ รวมทั้งช่วยให้สนใจประเมินผลได้ผลเสียที่เกิดจากการประจันหน้า
(ซึ่งขึ้นกับทัศนะของแต่ละฝ่ายที่เกี่ยวข้อง)
2. การมีส่วนร่วมเป็นเรื่องของกลุ่มและขบวนการในการเข้าร่วม มิตินี้พิจารณาการ
มีส่วนร่วมจากการวิเคราะห์โครงสร้าง วิธีดำเนินการ ตลอดจนสภาพแวดล้อมของกลุ่มและขบวน
การที่เกี่ยวข้องในการเข้าร่วม โดยเน้นองค์ประกอบสำคัญที่ก่อให้เกิดพลังเช่น โครงสร้างและการ
จัดรูปองค์การภายในกลุ่มหรือภายในขบวนการ องค์การที่มีประสิทธิภาพจะเปลี่ยนคนแต่ละคนที่
ปราศจากอำนาจให้เป็นพลังสังคมและเกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในขั้นตอนการประจันหน้า
35
อีกองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญจากมิติของกลุ่ม คือรูปแบบและลักษณะของภาวะผู้นำ
รวมทั้งสัมพันธภาพระหว่าง “ผู้นำ” กับ ”ผู้ตาม” ในขบวนการ
มิติเกี่ยวกับกลุ่มและขบวนการนี้ยังให้ความสนใจขอบข่ายของการร่วมเป็นพันธมิตร
ระหว่างกลุ่มหรือขบวนการต่าง ๆ ซึ่งอาจมีผลต่อเนื่องถึงการประสานขบวนการต่าง ๆ เข้าด้วยกัน
เพื่อปกป้องและเผยแพร่ผลประโยชน์ของกลุ่มและขบวนการที่เข้าร่วม
3. การมีส่วนร่วมเป็นประสบการณ์เฉพาะบุคคล ตามนิยามทั่วไป การมีส่วนร่วมเป็น
เรื่องของพฤติกรรมกลุ่มแต่ขณะเดียวกันการตัดสินใจเข้าร่วมกับกลุ่มเป็นการตัดสินใจเฉพาะ
บุคคล ซึ่งผู้สนใจอาจศึกษาได้จากประสบการณ์ในชีวิตของแต่ละคน ในแง่นี้อาจกล่าวถึงการทำ
ความเข้าใจการมีส่วนร่วมจากการศึกษาประวัติส่วนตัว และการทำความเข้าใจแนวคิดสำคัญบาง
อย่าง เช่น “การตัดสินใจ” “ความสำนึกในชนชั้น” “การสร้างสำนึก” “การจูงใจ” และ
“ความรู้สึกแปลกแยก” ทั้งนี้เพราะแนวคิดดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมของประชาชน แต่
ขณะเดียวกันก็เป็นเรื่องเฉพาะตัวบุคคลด้วย
4. การมีส่วนร่วมเป็นโครงการ ในวงราชการและองค์การระหว่างประเทศ การมีส่วน
ร่วมของประชาชนมักหมายไปถึงโครงการซึ่งถูกกำหนดเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเฉพาะด้าน นักวิจัย
ที่สนใจมิตินี้อาจศึกษาระบบการจูงใจซึ่งทำให้ข้าราชการ นักปฏิบัติภาคสนาม หรือ ผู้นำโครงการ
มีส่วนดำเนินการเผยแพร่โครงการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับเป้าหมาย
ในโครงการ รวมทั้งศึกษาระดับการมีส่วนร่วมซึ่งมักขึ้นกับลักษณะโครงการ
การพิจารณาการมีส่วนร่วมจากมิติของโครงการนี้อาศัยข้อสมมติที่ว่าถึงแม้โครงการ
จะถูกกำหนดขึ้นจากแหล่งใดก็ตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกำหนดจากเบื้องบน แต่ก็เชื่อว่าถ้า
กลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วมแล้ว โครงการจะเกิดผล และการเข้าร่วมของกลุ่มเป้าหมายย่อมเกิดขึ้นได้
ถ้าใช้วิธีการเข้าถึงปัญหาที่ถูกต้อง
5. การมีส่วนร่วมเป็นนโยบาย เราอาจมองประเด็นการมีส่วนร่วมของประชาชนว่า
เป็นเรื่องเดียวกันกับประชาธิปไตย ทั้งนี้เพราะในปัจจุบันแทบไม่มีรัฐบาลใดกล้าคัดค้านหลักการ
การมีส่วนร่วมเป็นแกนกลางของนโยบายรัฐบาล แต่ในทางปฏิบัติ ผู้นำหรือผู้ปฏิบัติอาจมิได้
ดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบาย ทั้งนี้ด้วยเหตุผลจากความกลัวหรือความไม่เชื่อว่าจะเกิดผล แต่
36
มีบางรัฐบาลพยายามระดมความร่วมมือและการมีส่วนร่วมของมวลชนให้สนับสนุนรัฐบาล จึงเน้น
การมีส่วนร่วมในนโยบายของรัฐ
จากแนวคิดเกี่ยวกับลักษณะการมีส่วนร่วมดังกล่าวข้างต้น ส่วนใหญ่แล้วจะมีลักษณะที่
ไม่แตกต่างกันมากนัก จะแตกต่างกันบ้างเล็กน้อยในส่วนของรายละเอียดที่แยกย่อยลงไปเท่านั้น
การศึกษาครั้งนี้ จึงได้นำแนวความคิดเกี่ยวกับลักษณะการมีส่วนร่วมของ โคเฮนและ
อัฟฮอฟฟ์ และไพรัตน์ เตชะรินทร์ ที่ได้กล่าวถึงการมีส่วนร่วมของชุมชน ซึ่งกล่าวถึงกิจกรรมที่
ปฏิบัติในชุมชน คือ กิจกรรมการมีส่วนร่วมในการรณรงค์การกำจัดขยะมูลฝอย การจำแนก
ประเภทขยะมูลฝอยและการลดปริมาณขยะมูลฝอย และกิจกรรมการมีส่วนร่วมในโครงการรณรงค์
เกี่ยวกับการรักษาความสะอาด ซึ่งสอดคล้องสัมพันธ์กันมาเป็นกรอบในการศึกษา
7. แนวคิดเกี่ยวกับความพึงพอใจ
พวงทอง ตั้งธิติกุล (2542 : 10) กล่าวว่า ความพึงพอใจเป็นการแสดงออกซึ่งความสุข
และความสมหวังของมนุษย์ เมื่อได้รับการตอบสนองตามต้องการ
มัลลินส์ (Mullins, 1985 : 280) กล่าวว่า ความพึงพอใจเป็นทัศนคติของบุคคลที่มีต่อ
สิ่งต่าง ๆ หลาย ๆ ด้าน เป็นสภาพภายในที่มีความสัมพันธ์กับความรู้สึกของบุคคลที่ทำให้ประสบ
ความสำเร็จในความต้องการหรือคาดหวัง
แอปเปิ้ลไวท์ (Applewhite 1965 : 8) ได้ให้ข้อสนับสนุนเกี่ยวกับความรู้สึกพึงพอใจในงาน
เป็นเรื่องของบุคคล ซึ่งเป็นความรู้สึกส่วนตัวของบุคคลในการทำงาน และความพึงใจในการทำงาน
มีความหมายรวมถึง ความพอใจในสภาพแวดล้อมทางกายภาพ เช่น การมีความสุขที่ได้ทำงานกับ
เพื่อนร่วมงาน เป็นต้น
มารศรี นุชแสงพลี (2532 : 25) พบว่า ความพึงพอใจในชีวิต การประเมินภาพรวมของชีวิต
บุคคลหรือเป็นการเปรียบเทียบที่สะท้อนให้เห็นการรับรู้ถึงความไม่สอดคล้องกันระหว่างความมุ่ง
หวังกับสัมฤทธิ์ผลของบุคคลที่แสดงให้เห็นว่า ความพึงพอใจเป็นกระบวนการรับรู้ แต่ความสุข
แสดงถึงสภาพความรู้สึก (Affective) หรืออารมณ์ (Mood) คำถามที่เกี่ยวกับความพึงพอใจใน
ชีวิตมักรวมถึงกลุ่มเปรียบเทียบทั้งที่แจ่มชัดและไม่แจ่มชัด เป็นการเปรียบเทียบกับผู้อื่นหรือรวมถึง
ด้านเวลาและมักรวมถึงความพอใจในมิติต่างๆ
37
ในทัศนะของ พอเทอร์มัต (Poitremaud อ้างใน เขมิกา ยามะรัต 2527 : 16) กล่าวถึง
ความพอใจไว้ว่าต้องครอบคลุมในด้านต่างๆ ดังนี้
1.ชีวิตการทำงาน บุคคลต้องมีความพอใจในการทำงาน มีความสัมพันธ์กับผู้ร่วมงาน
และสิ่งแวดล้อมในที่ทำงาน
2.ความรู้สึกทางอารมณ์ เช่น ความพอใจในเรื่องความรัก
3.ชีวิตครอบครัว หมายถึง ความพอใจในความสัมพันธ์ของตนกับคู่ชีวิต และญาติสนิท
4.ชีวิตสังคม มีความพอใจในกิจกรรมต่างๆ ของสังคม เช่น การเข้าร่วมในองค์กรต่างๆ
ทางการเมือง ศาสนาหรือองค์การที่ไม่เป็นทางการ
5.การใช้เวลาว่าง มีความพอใจกับกิจกรรมต่างๆ ที่สนใจ
ผู้วิจัยได้มองความพึงพอใจในสองมิติ คือ ความพึงพอใจที่มีในทางบวกและทางลบ ใน
การศึกษาครั้งนี้เห็นว่า ความพึงพอใจเป็นเรื่องของบุคคลที่มีต่อโครงการ ความต้องการ หรือการ
บริการที่ได้รับการตอบสนองในด้านดีจะเป็นความพึงพอใจในทางบวก และเป็นแนวทางในการที่
จะเข้าไปมีส่วนร่วมในการดำเนินงานในโครงการ ตามแนวความคิดของ Mullins มีแนวคิดที่ชี้ให้
เห็นถึงความรู้สึกพึงพอใจเป็นทัศนคติของบุคคล จึงได้นำมาเป็นปัจจัยภายนอกในการศึกษาครั้งนี้
8. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
จากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยต่าง ๆ พบว่า มีผู้ทำการศึกษาเกี่ยวกับการมีส่วนร่วม
ที่มีต่อการจัดการเกี่ยวกับขยะมูลฝอย รวมถึงเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาครั้งนี้ ดังนี้
ยุพิน ระพิพันธุ์ (2544) ศกึ ษาเรอื่ ง ความร้ ู ทัศนคต ิ และการจัดการที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วม
ของคณะกรรมการชุมชนในการจำแนกประเภทขยะมูลฝอยที่ใช้ในชีวิตประจำวันก่อนทิ้งใน
เขตเทศบาลเมืองพนัสนิคมในจังหวัดชลบุรี พบว่า เพศ อาชีพ ระดับการศึกษา ความรู้เกี่ยวกับ
ขยะมูลฝอย ระยะเวลาที่อยู่ในชุมชนมีผลต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอย
นพรัตน์ ใจผ่อง (2544) ศึกษาเรื่อง “การจัดการขยะมูลฝอย เจ้าหน้าที่มีความรู้ในการจัดการ
ขยะมูลฝอย และการปฏิบัติเพื่อการจัดการขยะอย่างถูกวิธี” โดยจำแนกตามอายุ ระดับการศึกษา
การรับรู้ข่าวสาร และการฝึกอบรม ไม่มีความแตกต่างกันในการจัดการขยะมูลฝอย
38
นฤเทพ สิทธิชาญคุณะ (2541) ได้ทำการศึกษาเรื่อง “การมีส่วนร่วมของประชาชนในการ
กำจัดขยะมูลฝอย กรณีศึกษา กรุงเทพมหานคร” พบว่า ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร
มีส่วนร่วมในการกำจัดขยะมูลฝอยในระดับปานกลาง ร้อยละ 71.2 จากการวิเคราะห์หา
ความสัมพันธ์พบว่า ที่อยู่อาศัย อาชีพ การศึกษา การรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับขยะมูลฝอย จิตสำนึก
ต่อการมีส่วนร่วม มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำจัดขยะมูลฝอย และ
อายุ รายได้ ความรู้ความเข้าใจเรื่องขยะมูลฝอย ทัศนะต่อพนักงานเก็บขยะ ไม่มีผลต่อการมีส่วน
ร่วมของประชาชนต่อการกำจัดขยะมูลฝอย
ยุวมาลย์ ทวีวัลย์ (2540) ได้ศึกษาเรื่อง “ การจัดการและความตระหนักของประชาชนในหมู่
บ้านจัดสรร ที่มีต่อปัญหาขยะมูลฝอย ศึกษากรณี อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี” พบว่า
การกำจัดขยะเปียกโดยการทิ้งรวมกับขยะประเภทอื่น และขยะอันตราย ได้แก่ ถ่านไฟฉาย
แบตเตอรี่รถยนต์ หลอดไฟ ถูกกำจัดโดยการทิ้งรวมกับขยะอื่น เนื่องกลุ่มตัวอย่างมีความรู้ความ
เข้าใจเกี่ยวกับปัญหาเกี่ยวกับขยะมูลฝอยในระดับต่ำ
ชัยยุทธ โยธามาตย์ (2539) ศึกษาเรื่อง“การมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำจัดขยะ
มูลฝอย ศึกษาเฉพาะกรณี เขตเทศบาล ตำบลพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี“ ผลการศึกษา
พบว่า เพศ อายุ อาชีพ ระยะเวลาที่เข้าตั้งถิ่นฐาน การได้รับข่าวสาร ไม่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของ
ประชาชนในการกำจัดขยะมูลฝอย ส่วนระดับการศึกษา รายได้ การเป็นสมาชิกกลุ่มทางสังคม
ความรู้ความเข้าใจในเรื่องขยะมูลฝอย และความคิดเห็นต่อปัญหาขยะมูลฝอยมีความสัมพันธ์เชิง
บวกกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำจัดขยะมูลฝอย
วรรณา ลิ่มพานิชย์ (2538) ได้ศึกษาเรื่อง “การมีส่วนร่วมของประชาชน ในการกำจัด
ขยะมูลฝอยในเมืองพัทยา พบว่า ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเมืองพัทยา ระดับการศึกษา การได้รับ
ข่าวสารเกี่ยวกับการรักษาความสะอาดไม่มีผลต่อการมีส่วนร่วม สำหรับความรู้ความเข้าใจในเรื่อง
ขยะมูลฝอย และความคิดเห็นต่อปัญหาขยะมูลฝอยมีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับการมีส่วนร่วม
ของประชาชน
จินตนา เปียสวน (2538) ศึกษาเรื่อง ความรู้ความตระหนักตนของแม่บ้าน เกี่ยวกับการ
จัดการขยะมูลฝอยของครัวเรือนในแฟตข้าราชการกรุงเทพมหานคร พบว่า พฤติกรรมการคัดแยก
ขยะมูลฝอยมีสูง โดยแยกตามประเภทของถังเก็บชนิดต่างๆ
39
จากการศึกษาค้นคว้าวรรณกรรม แนวคิดทฤษฎีและผลงานวิจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องนับว่าเป็น
แนวทางที่สนับสนุนความคิดเห็นของผู้วิจัยที่มองว่าการแก้ไขปัญหาใด ๆ ในชุมชน ต้องอาศัยมิติ
ของการมีส่วนร่วม ที่เกิดจากการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผลประโยชน์ด้วยกัน โดยจัดทำ หรือนำ
โครงการที่มีวัตถุประสงค์ในการแก้ปัญหามาดำเนินการ และที่ผู้วิจัยให้ความสำคัญคือการที่ชุมชน
ในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร ได้นำโครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของ
กรุงเทพมหานคร เข้ามาแก้ปัญหาเรื่องขยะมูลฝอยในชุมชน ด้วยเหตุนี้จึงต้องการวิเคราะห์ปัจจัย
และตัวแปรที่เป็นสาเหตุหรือส่งผลกับการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยพิจารณาถึงความสัมพันธ์
ของตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม ที่ได้จากการพัฒนากรอบความคิด ว่าจะมีความสัมพันธ์กันโดย
ตัวแปรอิสระทุกตัว มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานโครงการชุมชนร่วม
ใจรักสะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของกรุงเทพมหานคร
การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาด (ตอนที่ 1)
การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการชุมชนร่วมใจรักสะอาด (ตอนที่ 2)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น