วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2552

การประเมินการบริการสารสนเทศในห้องสมุด (ตอนที่ 1)



การประเมินการบริการสารสนเทศในห้องสมุด
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
The Evaluation of Information Service in The Library of
Mahamakut Buddhist University
วิทยานิพนธ์
ของ
พระมหาถาวร ขนฺติธมฺโม (ทับทิม)
วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
สาขา บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ปีการศึกษา 2548
ISBN: 974 – 373 – 487 – 2
ลิขสิทธิ์เป็นของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

วิทยานิพนธ์ การประเมินการให้บริการสารสนเทศในห้องสมุด
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
โดย พระมหาถาวร ขนฺติธมฺโม (ทับทิม)
สาขา บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ (แขนงการจัดการสารสนเทศเพื่อธุรกิจ)
ประธานกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ รองศาสตราจารย์ หรรษา ศิวรักษ์
กรรมการ รองศาสตราจารย์ ดร.พรเพ็ญ เพชรสุขศิริ
กรรมการ รองศาสตราจารย์ จุมพจน์ วนิชกุล
บัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา อนุมัติให้นับวิทยานิพนธ์ฉบับ
นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบรรณารักษศาสตร์และ
สารสนเทศศาสตร์
..........................................................ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายงานบัณฑิตศึกษา
(ดร.สรายุทธ์ เศรษฐขจร)
คณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์
..........................................................ประธานกรรมการ
(ศาสตราจารย์ ดร.สายหยุด จำปาทอง)
..........................................................กรรมการ
(รองศาสตราจารย์หรรษา ศิวรักษ์)
..........................................................กรรมการ
(รองศาสตราจารย์ ดร.พรเพ็ญ เพชรสุขศิริ)
..........................................................กรรมการ
(รองศาสตราจารย์จุมพจน์ วนิชกุล)
..........................................................กรรมการ
(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชลลดา พงศ์พัฒนโยธิน)
..........................................................กรรมการและเลขานุการ
(อาจารย์ศิริกาญจน์ ศรีเคลือบ)
ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
กิตติกรรมประกาศ
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ สำเร็จได้ด้วยดีก็โดยการอนุเคราะห์จาก อาจารย์ที่ปรึกษา
ทั้งสามท่าน คือ รองศาสตราจารย์หรรษา ศิวรักษ์ รองศาสตราจารย์ ดร.พรเพ็ญ เพชรสุขศิริ
รองศาสตราจารย์จุมพจน์ วนิชกุล ซึ่งได้ให้ความเมตตานุเคราะห์เป็นที่ปรึกษาแนะนำ และให้
ข้อเสนอแนะอันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการวิจัยในครั้งนี้ ขอเจริญพรขอบคุณท่านทั้งสามเป็นอย่าง
ยิ่ง และขออนุโมทนากับเพื่อนๆ ร่วมชั้นเรียนทุกคนที่อนุเคราะห์รับภาระในการอำนวยความสะดวก
แก่การจัดการเรื่องภัตตาหารเพลในระหว่างที่เรียนร่วมกัน
ขออนุโมทนาในกุศลเจตนาแด่ท่านลิขิต ขาวเธียน และครอบครัว ที่ได้อุปการะในเรื่อง
ปัจจัยเพื่อเป็นทุนในการศึกษาตลอดระยะเวลาในการศึกษา ขออนุโมทนาเป็นอย่างสูงกับท่าน
รองศาสตราจารย์ ดร.นันทา วิทวุฒิศักดิ์ ที่ให้ความเมตตานุเคราะห์แนะนำเกี่ยวกับการค้นคว้าเรื่องข้อมูล
ท้ายที่สุดขอมอบความดีทั้งหมดจากงานวิจัยนี้แด่บุพการีของข้าพเจ้าเองอันมีโยมมารดา
และบิดาทั้งสองของข้าพเจ้าเป็นที่ตั้ง ขอเจริญพร
พระมหาถาวร ขนฺติธมฺโม

พระมหาถาวร ขนฺติธมฺโม (ทับทิม). (2548). การประเมิน การบริการสารสนเทศใน
ห้องสมุดมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต
กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
คณะกรรมการควบคุม: รองศาสตราจารย์ หรรษา ศิวรักษ์
รองศาสตราจารย์ ดร.พรเพ็ญ เพชรสุขศิริ
รองศาสตราจารย์ จุมพจน์ วนิชกุล
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการให้บริการสารสนเทศในห้องสมุดมหาวิทยาลัย
มหามกุฏราชวิทยาลัยโดยศึกษาความสอดคล้อง ของเนื้อหาทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุด กับ
หลักสูตรที่เปิดสอนในมหาวิยาลัย การให้บริการสารสนเทศในห้องสมุดที่เอื้อต่อการศึกษาตาม
หลักสูตรของมหาวิทยาลัย ความต้องการใช้ทรัพยากรสารสนเทศของผู้ใช้บริการสารสนเทศใน
ห้องสมุด ความพึงพอใจในการให้บริการทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุด ของผู้ใช้บริการ
ตลอดจนปัญหาอุปสรรคและแนวทางแก้ไขปัญหาในการให้บริการสารสนเทศในห้องสมุด ตาม
กระบวนการของการประเมิน คือ ด้านสภาพแวดล้อม ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และด้านผลผลิต
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม ใช้กลุ่มตัวอย่างที่ได้มาจาการสุ่มตัวอย่าง และวิเคราะห์
ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ผู้ที่ตอบแบบสอบถามจำนวน 147 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย
ร้อยละ 72.8 ส่วนใหญ่มีสถานภาพเป็นพระสงฆ์ ร้อยละ 62.3 มีอายุระหว่าง 21 – 40 ปี ร้อยละ 63.9
มีระดับการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรม ระดับนักธรรมเอก ร้อยละ 83.7 ระดับการศึกษาพระ
ปริยัติธรรมแผนกบาลี ส่วนใหญ่ศึกษาระดับ เปรียญเอก ป.ธ.7 – 9 ร้อยละ 63.3 ด้านระดับการศึกษา
ส่วนใหญ่ศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 51.7 ด้านระดับการศึกษาสามัญสำหรับอาจารย์และ
เจ้าหน้าที่ ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับปริญญาโท ร้อยละ 46.4 จากคณะพุทธศาสนาและปรัชญาร้อย
ละ 45.6 มีตำแหน่งเฉพาะอาจารย์และเจ้าหน้าที่ ส่วนใหญ่เป็นระดับผู้ชำนาญการ ร้อยละ 42.9
ผลการวิจัยพบว่า
1. ด้านสภาพแวดล้อมจากการศึกษาความสอดคล้องของเนื้อหาทรัพยากรสารสนเทศกับ
หลักสูตรที่สอน พบว่า ทรัพยากรสารสนเทศที่สนับสนุนความต้องการในการใช้ประกอบการสอนมี
ค่าอยู่ในระดับร้อยละ 80.00 จาก 110 รายการ และทรัพยากรสารสนเทศประเภทอื่นๆ จาก
แบบสอบถามปลายเปิดอีก 19 รายการ
2. ด้านปัจจัยนำเข้า จากการศึกษาปริมาณของสารสนเทศ และความสอดคล้องของ
ทรัพยากรที่มีในห้องสมุดตามความต้องการของผู้ใช้ พบว่า ทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุดส่วน
ใหญ่ได้ถูกจัดไว้แล้วทุกรายการ โดยมีปริมาณอยู่ในระหว่าง 2 ถึง 25 เล่มต่อรายการ และมีความ
สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้บริการ ด้วยค่าสถิติไคสแควร์ที่ระดับความสำคัญที่ .01

สารสนเทศที่ผู้ใช้บริการเห็นว่าให้ประโยชน์มากที่สุด คือ หนังสือพิมพ์รายวัน และหนังสืออ้างอิง
ภาษาไทย
3. ด้านกระบวนการได้ศึกษา และประเมินจากการให้บริการสารสนเทศในห้องสมุด
มหาวิทยาลัย พบว่า ผู้ใช้บริการมีความถี่ในการใช้บริการที่ต่างกัน แม้ว่าห้องสมุดจะให้บริการตั้งแต่
เวลา 08.00 น. - 16.00 น. แต่ส่วนใหญ่เลือกใช้เป็นบางเวลาเท่านั้น ส่วนใหญ่จะใช้บริการเมื่อต้องการ
ค้นคว้าเพิ่มเติมในรายวิชาที่สอน หรือวิชาที่เรียนและในเวลาที่พักจากการสอนและการเรียน ผู้ใช้ส่วน
ใหญ่ใช้บริการสืบค้นโดยวิธีสืบค้นจากชั้นวางหนังสือด้วยตนเอง รองลงมาคือ ถามบรรณารักษ์และ
เจ้าหน้าที่ห้องสมุด บริการที่ผู้ใช้ได้รับทั้งหมดจะมีครบทุกประเภท แต่ผู้ใช้บริการใช้มากที่สุด คือ
บริการถ่ายเอกสาร บริการยืมคืนสารสนเทศ ส่วนบริการที่ใช้น้อยที่สุด คือบริการหนังสือจอง
ทรัพยากรสารสนเทศทั้ง 110 รายการที่ผู้ใช้บริการ มีความต้องการโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง
ทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่างๆ ในห้องสมุดมหาวิทยาลัย มหามกุฏราชวิทยาลัยนั้น มีความ
สอดคล้องกับหลักสูตรการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยในระดับปานกลาง และความต้องการอยู่
ในระดับปานกลางเช่นกัน
4. ด้านผลผลิต พบว่า ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่ประสบความสำเร็จในการสืบค้นทรัพยากร
สารสนเทศในห้องสมุดเป็นบางครั้งและมีความพึงพอใจต่อการใช้บริการสารสนเทศ
ประเภทต่างๆ ในระดับปานกลาง
5. ด้านปัญหาและอุปสรรค พบว่า เนื้อหาของทรัพยากรสารสนเทศ ไม่ตอบสนอง
วัตถุประสงค์ของหลักสูตรปริญญาโท ทรัพยากรสารสนเทศบางประเภทเหมาะสมในระดับปริญญา
ตรี แต่ไม่เหมาะสมและไม่สอดคล้องในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ระบบการจัดเก็บและค้น
คืนไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงคือ ไม่สะดวกช้า คุณภาพและปริมาณอยู่ในเกณฑ์ปานกลางควร
ปรับปรุง คือ คุณภาพการให้บริการทรัพยากรสารสนเทศและบริการประเภทต่างๆ ในห้องสมุด
คุณภาพของตัวทรัพยากรสารสนเทศ และปริมาณของทรัพยากรสารสนเทศ

PHRAMAHATHAVORN KHANTHIDHAMMO (TABTIM) (2005) THE EVALUATION
OF INFORMATION SERVICE IN THE LIBRARY OF MAHAMAKUT
BUDDHIST UNIVERSITY.
GRADUATE SCHOOL, BANSOMDEJ CHAOPRAYA RAJABHAT UNIVERSITY.
ADVISOR COMMITTEE: ASSOCIATE PROFESSOR HANSA SIVARAKS
ASSOCIATE PROFESSOR Dr. PORNPEN PETSUKSIRI
ASSOCIATE PROFESSOR CHUMPOT WANICHAKUL
The purposes of this research were to study the following aspects: the conformation of the
information resource contents in the library and the course syllabuses publicly served in
Mahamakut Buddhist University, the information resource system in the library supporting
educational services in accordance with the university’s syllabuses, the information resource need
of clients from making use of the library of the university, the clients’ satisfaction towards the
information resource services of the library, and problems and solutions on information resource
services of the library.
The subjects being studied in this research were 147 clients receiving library services in
the library of Mahamakut Buddhist University comprising 107 males and 40 females. The
instrument implemented in this research was a questionnaire. The data were collected by the
random sampling method, and then analyzed by using SPSS program.
The research findings were as follows:
1. The conformation of the information resource contents and the course syllabuses
publicly served in Mahamakut Buddhist University was found as follows : the information resource
content which most conformed with the course syllabuses was the pragmatic collection of the
basket of Discourse of the Buddha, but human beings and scope on life; local plants and animals;
and physics in daily life were found the least conformation with the course syllabuses.
2. The client's purposes on using the information resource in the library were mostly to
borrow books and publications for more study. The secondary purposes were to read newspapers,
and the purposes on internet searching, personal meetings, and small-group meetings were found
the least. The frequency of utilizing library services was 2-3 times per weeks, mostly to search for
more information beyond the subjects taught or studied in class by seeking through books shelves
themselves. Most of the clients had borrowed information materials from the library for 5 - 10

times. The service, which was most frequently utilized by the clients, was photocopying. The most
useful materials in the library were newspapers, the secondary was Thai reference books, and the
least were tape cassettes.
3. The information resource need of clients from making use of the library of the
university was found to be at the medium level.
4. The client’s satisfaction towards the information resource services of the library was
found to be at the medium level.
5. Problems and solutions on information resource services of the library were as
follows: The information resource services quality, the quality of information resource and the
quantity information resources.
สารบัญ
หน้า
กิตติกรรมประกาศ ……………………………………………………………. ..... ข
บทคัดย่อภาษาไทย ……………………………………………………………...... ค
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ …………………………………………………………. .... จ
สารบัญ…………………………………………………………………………..... ช
สารบัญแผนภูมิ ………………………………………………………………… ... ฌ
สารบัญตาราง …………………………………………………………………..… ญ
บทที่ 1 บทนำ ………………………………………………………………. .. 1
- ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ……………………………..……… 1
- วัตถุประสงค์ของการวิจัย ……………………………………………............. 3
- ขอบเขตของการวิจัย ………………………………………………….……… 3
- นิยามศัพท์เฉพาะ ……………………………………………………… ……. 4
- ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ………………………………………………….. 5
- กรอบแนวคิด …………………………………………………………. ……. 5
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ……………………………………… 6
- ความหมายของสารสนเทศ ………………………………………..…………. 6
- ความสำคัญของสารสนเทศ ………………………………………………….. 9
- ประเภทและความต้องการใช้สารสนเทศ …………………………………….. 12
- การให้บริการสารสนเทศในห้องสมุด …………………….…………………. 24
- ทฤษฎีการประเมิน …………………………………….. …………………… 32
- กระบวนการของการประเมิน …………………………………… …………. 33
- ประเภทและรูปแบบของการประเมิน ………………………………………... 35
- งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ………………………………………………….. ……… 47
- งานวิจัยที่เกี่ยวข้องภายในประเทศ ……………………………… ………….. 47
- งานวิจัยที่เกี่ยวข้องในต่างประเทศ …………………………………………… 59

บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย …………………………………………… ………. 63
- ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง …………………………………………............... 63
- การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย……………………………………………. 66
- ขั้นตอนในการสร้างเครื่องมือ ………………………… …………………….. 67
- การเก็บรวบรวมข้อมูล....................................................................................... 68
- สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ………………………………………………. 69
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ………………………………………............... 70
- ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม ………………………………………. 70
- การประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) …………………….................. 74
- การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ………………...................... 83
- การประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) …………….................... 95
- การประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) ………………….. .................. 103
บทที่ 5 สรุปอภิปรายผลและข้อเสนอแนะ ……………………………………. 110
- สรุปผลการวิจัย ………………………………………………………………. 111
- อภิปรายผล ....................................................................................................... 114
- ข้อเสนอแนะ ………………………………………………………………… 119
บรรณานุกรม ……………………………………………………………………… …….. 123
ภาคผนวก ……………………………………………………………………….. …………. 127
ก. รายนามผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาเครื่องมือ ....................... 127
ข. ประวัติและหลักสูตรมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชราชวิทยาลัย ................... …….. 128
ค. ประกาศทบวงมหาวิทยาลัย เรื่อง มาตรฐานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ............ 136
ง. แบบสอบถามชุดที่ 1 - 3...................................................................................... 145
จ. ประวัติผู้วิจัย ………………………………………………………….……….. 185

สารบัญแผนภูมิ
แผนภูมิที่ หน้า
1 การแสดงการวิเคราะห์และจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศ .......................................... 21
2 กระบวนการประเมิน ................................................................................................. 34
3 แสดงการประเมินตามรูปแบบของไทเลอร์..........................................…………….. 39
4 รูปแบบในการเมินตามแบบของอัลคิน ..................................................................... 40
5 รูปแบบและแนวคิดทฤษฎีการประเมินแบบโพรวัส .............……………………… 40
6 กระบวนการประเมินแบบ CIPP MODEL …............................................................ 45

สารบัญตาราง
ตารางที่ หน้า
1 จำนวนประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ………………………………………..………… 66
2 จำนวนประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่เป็นอาจารย์และเจ้าหน้าที่ …………..……….. 67
3 จำนวนนักศึกษาชั้นปีที่ 1 – 4 จากคณะต่างๆ และระดับบัณฑิตศึกษา ………….…… 67
4 ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม ……………………………………………... 73
5 เนื้อหาของทรัพยากรสารสนเทศที่สนับสนุนในรายวิชาที่สอน …............................... 76
6 ประเภทสารสนเทศที่จัดกลุ่มแล้ว …………………………………………............... 82
7 ปริมาณของสารสนเทศที่มีอยู่จริงในห้องสมุด ………………………………............ 85
8 ประเภทสารสนเทศที่สอดคล้องและไม่สอดคล้องกับหลักสูตร.........................…….. 91
9 ทรัพยากรสารสนเทศที่ให้ประโยชน์สูงสุด …………………………………………. 95
10 บริการสารสนเทศในห้องสมุดที่สนองความต้องการของผู้ใช้บริการ……….………. 97
11 ความถี่ในการใช้ห้องสมุดของผู้ใช้บริการ …………………………………... ……. 98
12 ระยะเวลาในการใช้บริการสารสนเทศในห้องสมุดของผู้ใช้บริการ …….................... 98
13 แหล่งเพื่อการเลือกใช้สารสนเทศในห้องสมุดของผู้ใช้บริการ ………………............ 99
14 บริการสารสนเทศในห้องสมุดมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย …………............. 99
15 ความต้องการใช้สารสนเทศประเภทต่างๆ ของผู้ใช้บริการ………………… ………. 100
16 ความสำเร็จที่ได้รับจากการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศ ……………….. .................. 106
17 ความพึงพอใจต่อบริการสารสนเทศประเภทต่างๆ ของผู้ใช้บริการ ………………… 106
บทที่ 1
บทนำ
1. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
การจัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษาภาระ และหน้าที่หลักคือการผลิตบัณฑิตมหาบัณฑิต
และดุษฎีบัณฑิตตามศักยภาพ และวัตถุประสงค์ของสถาบันนั้นๆนอกจากนี้แล้วสถาบันการศึกษา
จำเป็นต้องผลิตบัณฑิตให้ตรงกับ ปรัชญา ปณิธาน และพันธกิจของสถาบัน การผลิตการวิจัยสร้าง
องค์ความรู้ให้เป็นประโยชน์แก่สังคม และส่งเสริมวิชาการ การผลิตบัณฑิต ที่มีคุณภาพและ
ประสิทธิภาพ ต้องมีองค์ประกอบ คือ อาจารย์ผู้สอน หลักสูตร การเรียนการสอน ความชัดเจนลึกล้ำ
ละเอียดลึกซึ้งของหลักสูตร ห้องสมุดและสารสนเทศในห้องสมุด ตัวนักศึกษา และการส่งเสริม
ผลงานทางวิชาการ การจัดการการบริหารของคณะและภาควิชา อุปกรณ์เสริมในการเรียนการสอน
อาคารสถานที่และ ทัศนียภาพบรรยากาศและการจัดกิจกรรมเสริมการเรียนการสอน ประกอบด้วย
อาจารย์ผู้สอน หลักสูตรที่ใช้ในการเรียนการสอน ห้องสมุดและสารสนเทศในห้องสมุด
พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศไทยในพุทธศตวรรษที่ 17 มีอิทธิพลเหนือระบบและวิถี
ชีวิตของคนไทยในแทบทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็น สังคม วัฒนธรรม ประเพณี วิถีดำเนินชีวิต การศึกษา
ล้วนเป็นปัจจัยหลักที่รับอิทธิพลมาจากพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น การศึกษาของไทย เริ่มจากวัด บ้าน
วัง วัดเป็นศูนย์กลางการศึกษาของประชากรส่วนใหญ่ ดังนั้นวัดและพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาจึง
เป็นผู้อยู่ในฐานะผู้นำทั้งทางวิญญาณและการศึกษาของไทยแต่เดิม ทั้งทางศาสนา วิชาชีพ และ
วิชาการหนังสือ วังนั้นเป็นแหล่งการศึกษาของคนชั้นสูง ทั้งวิชาการทางอาชีพและแขนงอื่นๆ แต่
จำกัดอยู่ในกลุ่มชนระดับสูงซึ่งเป็นประชากรส่วนน้อยในสังคม สำหรับบ้านนั้นเป็นแหล่งของ
การศึกษาของคนทั่วๆ ไปโดยส่วนมากจะมีเฉพาะวิชาชีพ และจะเป็นระบบสืบสายตระกูลเช่นพ่อ
เป็นช่างก็สอนลูกให้เป็นช่าง คืออาจจะเป็นช่างไม้ ช่างทอง และช่างฝีมืออื่นๆ (เทียมจันทร์ ศิล
ปาจารย์. 2534 : 1) เมื่อคนไทยได้เข้าสู่ระบบสากลทางการศึกษาแบบตะวันตก ซึ่งวิถีชีวิตและระบบ
การศึกษาก็เปลี่ยนแปลงไป การเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาของไทยเริ่มมา ตั้งแต่สมัยพระจุลจอมเกล้า
เจ้าอยู่หัวและพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้แยกการศึกษาสำหรับพระภิกษุสามเณร และเด็กนักเรียน
ออกจากกันโดยเด็ดขาดกระทรวง ศึกษาธิการเป็นผู้รับผิดชอบเฉพาะการศึกษาของเด็ก และระบบ
การศึกษาในระดับสูง คือ มัธยมศึกษาและอุดมศึกษา ปัจจุบันการจัดการศึกษาของคณะสงฆ์ แบ่งเป็น
2 สาย คือ การศึกษา พระปริยัติธรรม และการศึกษาสายสามัญ สายสามัญแบ่งเป็น 2 ระดับ คือ
มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาเรียกว่า โรงเรียนปริยัติสามัญ ใช้หลักสูตรของ
2
กระทรวงศึกษาธิการ และหลักสูตรเฉพาะวิชาทางพระพุทธศาสนาที่รับรองโดยกระทรวงศึกษาธิการ
ซึ่งอยู่ภายใต้ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา
พุทธศักราช 2535 (พระมหาธานินทร์ ฐิติวีโร, 2545 : 7)
ระดับอุดมศึกษา คือ การศึกษาในระดับสูง คณะสงฆ์ไทยมีสถาบันการศึกษาใน
ระดับอุดมศึกษา 2 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช
วิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย เป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาของคณะสงฆ์ฝ่าย
ธรรมยุตินิกายที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อรองรับการเจริญและเปลี่ยนแปลงของสังคม ในยุคเริ่มแรกที่ก่อตั้งนั้นมี
โครงสร้างการบริหารการจัดการที่เหมือนกับ สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาโดยทั่วไปเพียง แต่จะ
เน้นหนักอยู่ที่กฎระเบียบตามหลักพระธรรมวินัย ของพระพุทธศาสนาเพื่อสอดรับกับคำขวัญที่ว่า
ระเบียบ สามัคคี บำเพ็ญประโยชน์ ก่อตั้งมาแล้ว 110 ปี โดยประมาณคือจากพุทธศักราช 2436 - 2546
โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ได้ทรงสถาปนามหามกุฎราชวิทยาลัยขึ้น
และได้กำหนดวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินกิจการของ มหามกุฎราชวิทยาลัยอันเป็นชื่อที่ใช้ในสมัยแรก
ไว้ 3 ประการ คือ
1. เพื่อเป็นสถานศึกษาของพระภิกษุและสามเณร
2. เพื่อเป็นสถานศึกษาวิทยาการอันเป็นของชาติภูมิและของต่างประเทศ
3. เพื่อเป็นสถานที่เผยแผ่พระพุทธศาสนา
ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐภายใต้
พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยในปีพุทธศักราช 2540 ในส่วนของห้องสมุดของ
มหาวิทยาลัยได้รับการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงอยู่ในระดับหนึ่ง แต่ยังไม่ได้มีการสำรวจและวิจัยอย่าง
เป็นระบบ ผู้วิจัยจึงเห็นสมควรที่จะศึกษาเรื่องนี้อย่างเป็นระบบต่อไป ในการศึกษาครั้งนี้เป็น
การศึกษารูปแบบการประเมินทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุด มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย
ผู้วิจัยได้วางกรอบไว้ดังนี้
1. ความสอดคล้องของสารสนเทศกับหลักสูตรการเรียนการสอน ซึ่งเป็นรายวิชาที่เปิด
สอนในมหาวิทยาลัย
2. ปริมาณสารสนเทศที่มีอยู่ในห้องสมุด มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
3. ความพึงพอใจในการใช้บริการในระบบการจัดการ อาคาร สถานที่ สิ่งแวดล้อมและ
การให้บริการของห้องสมุด
การศึกษาในครั้งนี้ผู้วิจัยจะใช้รูปแบบการประเมินในรูปของซิปโมเดล (CIPP Model)
โดยมีกรอบแห่งการประเมินดังนี้
1. ประเมินสภาพแวดล้อม (Context Evaluation)
3
2. ประเมินตัวป้อนเข้า (Input Evaluation)
3. การประเมินกระบวนการ (Process Evaluation)
4. ประเมินผลผลิตที่เกิดขึ้น (Product Evaluation)
2. วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อประเมินความสอดคล้องของเนื้อหาทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุดกับหลัก
สูตรที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
2. เพื่อประเมินระบบและการให้บริการสารสนเทศในห้องสมุด ที่เอื้อต่อการศึกษาตาม
หลักสูตรของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
3. เพื่อประเมินความต้องการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ ของผู้ใช้บริการสารสนเทศใน
ห้องสมุดมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
4. เพื่อประเมินความพึงพอใจในการให้บริการ ทรัพยากรสารสนเทศ ในห้องสมุด
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ต่อผู้ใช้บริการ
5. เพื่อประเมินปัญหาอุปสรรค และแนวทางแก้ไขปัญหาในการให้บริการสารสนเทศ
ในห้องสมุด มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
3. ขอบเขตของการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้เครื่องมือแบบสอบถามโดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ
กลุ่มเป้าหมายหรือประชากรในการวิจัยคือนิสิตชั้นปีที่ 4 ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
ส่วนกลางทั้ง 4 คณะ นิสิตนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาทุกสาขาวิชาทั้งนักศึกษาที่เป็นบรรพชิต
คฤหัสถ์ ผู้บริหาร คณาจารย์และเจ้าหน้าที่ทุกระดับของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยเฉพาะ
ส่วนกลาง 574 ท่าน ดังรายละเอียดดังนี้
ผู้บริหาร อาจารย์และเจ้าหน้าที่ จำนวน 120 ท่าน
นักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 - 4 จำนวน 288 ท่าน
นักศึกษาระดับปริญญาโท จำนวน 166 ท่าน
รวมประชากรทั้ง 3 กลุ่ม จำนวน 574 ท่าน
4
4. นิยามศัพท์เฉพาะ
การประเมิน หมายความว่า การวัดและการประเมิน เพื่อหาค่าและความสำเร็จของ
โครงการ หลักสูตร แผนงานต่างๆ ตลอดถึงการวัดคุณค่าของกิจกรรมและวัตถุประสงค์ของโครงการ
ต่างๆ ของสถาบันนั้นๆ
ความต้องการ หมายถึง ความต้องการของผู้ใช้บริการสารสนเทศในห้องสมุด
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
ผู้ใช้บริการ หมายถึง ผู้ใช้บริการที่เป็นนิสิตนักศึกษา นักวิชาการ คณาจารย์และ
เจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
ห้องสมุด หมายถึง ห้องสมุดมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ซึ่งจัดหน่วยงานตาม
พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์ ฉบับปีพุทธศักราช 2540
สารสนเทศ หมายถึง สื่อหรือวัสดุสารสนเทศในห้องสมุด มหาวิทยาลัยมหามกุฏราช
วิทยาลัย ซึ่งได้รับการบันทึก จัดหา จัดเก็บ และให้บริการ
สถานภาพของนักศึกษา หมายถึง สถานภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราช
วิทยาลัย คือ เป็นพระภิกษุ สามเณร แม่ชี และคฤหัสถ์
การประเมินบริบท หมายถึง การประเมินสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับระบบการ
บริหารการจัดการของห้องสมุด มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
การประเมินปัจจัยนำเข้า หมายถึง การประเมินทรัพยากรสารสนเทศและวัสดุ
สารสนเทศทั้งหมดที่ให้บริการภายในห้องสมุดมหาวิทยาลัย
การประเมินกระบวนการ หมายถึง การประเมินกระบวนการในการจัดการจัดเก็บจัดหา
การให้บริการ และระบบการจัดการ ทรัพยากรสารสนเทศภายในห้องสมุด ของมหาวิทยาลัย
การประเมินผลผลิต หมายถึง ทรัพยากรสารสนเทศทุกประเภทที่ให้บริการอยู่ภายใน
ห้องสมุดมหาวิทยาลัย
ทรัพยากรสารสนเทศ หมายถึง วัสดุทางสารสนเทศที่ได้ผ่านกระบวนการวิเคราะห์และ
จัดหมวดหมู่ตามหลักวิชาทางบรรณารักษ์แล้วและให้บริการแก่ผู้ใช้ภายในห้องสมุดมหาวิทยาลัย
ประเภทของทรัพยากรสารสนเทศ หมายถึง สารสนเทศที่ได้จัดจำแนกแยกแยะเป็น
หมวดตามกระบวนการทางบรรณารักษศาสตร์แล้ว และได้จัดให้บริการอยู่ภายในห้องสมุด
มหาวิทยาลัย
5
5. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อทราบถึงความแตกต่างของปัญหาและความต้องการของผู้ใช้บริการอย่างแท้จริง
และเป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ ในการวางแผนพัฒนาในอนาคต
2. เพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนาห้องสมุด ตลอดถึงการตัดสินใจของผู้บริหารในอนาคต
และเป็นข้อมูลในการพัฒนาระบบห้องสมุดทางพระพุทธศาสนา และรูปแบบสารสนเทศทาง
พระพุทธศาสนา ของมหาวิทยาลัยสงฆ์และคณะสงฆ์ในประเทศไทย
3. เป็นการประเมินความสอดคล้องและความทันสมัยของทรัพยากรสารสนเทศในทาง
พระพุทธศาสนาและปรัชญา ของห้องสมุดมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
จากการศึกษาวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผู้วิจัยได้กำหนดกรอบแนวคิดใน
การวิจัยไว้ดังนี้
กรอบแนวคิด
องค์ประกอบที่ใช้ในการประเมิน
สภาพแวดล้อม (Context Evaluation)
- ระบบการจัดการ และลักษณะการให้บริการสารสนเทศ
ปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation)
- ทรัพยากรสารสนเทศที่สอดคล้องกับหลักสูตร และตรง
กับความต้องการ ความพึงพอใจของผู้ใช้
กระบวนการ (Process Evaluation)
- ความสอดคล้องของทรัพยากรสารสนเทศกับหลักสูตร
ผลผลิต (Product Evaluation)
- ปริมาณและคุณภาพของทรัพยากรสารสนเทศ
สารสนเทศที่ใช้ในการเรียนการสอนตามหลักสูตรของ
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ประกอบด้วย
- ระบบการจัดการ และลักษณะการให้บริการสารสนเทศ
- ปริมาณและคุณภาพของสารสนเทศที่สอดคล้องกับ
หลักสูตร
- ความสอดคล้องของทรัพยากรสารสนเทศกับหลักสูตร
- ความต้องการ และความพึงพอใจของผู้ใช้
คุณภาพการให้บริการ
สารสนเทศของห้องสมุด
บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
การวิจัยเรื่อง “การประเมินการบริการสารสนเทศในห้องสมุด มหาวิทยาลัยมหามกุฏ
ราชวิทยาลัย” ได้รวบรวมเอกสารวรรณกรรม และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องดังนี้
1. บริการสารสนเทศในห้องสมุด
1.1 ความหมายของสารสนเทศ
1.2 ความสำคัญของสารสนเทศ
1.3 ประเภทและความต้องการใช้สารสนเทศ
1.4 การให้บริการสารสนเทศในห้องสมุด
2. ทฤษฎีการประเมิน
2.1 กระบวนการของการประเมิน
2.2 รูปแบบของการประเมิน
3. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
3.1 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องภายในประเทศ
3.2 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องต่างประเทศ
1. บริการสารสนเทศในห้องสมุด
1.1 ความหมายของสารสนเทศ
ความหมายของสารสนเทศ คือ สารสนเทศมีความสำคัญที่เกี่ยวข้องกับชีวิต การงาน
และความก้าวหน้าในระดับต่างๆ ของบุคคล และองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนเป็นอย่างยิ่ง สารสนเทศ
โดยความหมายมีผู้ให้คำนิยามต่างๆ ในภาษาไทยแตกต่างกัน คือ สารสนเทศ ข้อสนเทศ ข่าวสาร
ข้อมูล ความรู้ ข้อเท็จจริง แหล่งความรู้ นักวิชาการได้ให้ความหมาย ทั่วไป และความหมายในทาง
วิชาการโดยเฉพาะทางสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์ คือ สารสนเทศโดยความหมายทั่วไปนั้น
ราชบัณฑิตยสถานได้กำหนดให้ใช้ศัพท์บัญญัติภาษาไทย 3 คำ คือ สารนิเทศ สนเทศ และสารสนเทศ
โดยอธิบายไว้ว่า สารนิเทศมี รากศัพท์มาจากคำว่า สาร + นิเทศ อันหมายถึงการชี้แจง แสดง แนะนำ
เกี่ยวกับข่าวสาร ข้อมูล เป็นคำที่มีความหมายตรงกับ Information ในภาษาอังกฤษ
1. สารสนเทศ หมายถึง ความรู้ เรื่องราว ข้อมูล ข่าวสาร ที่มีการบันทึกและจัดการตาม
หลักวิชาการเพื่อเผยแพร่ และเพื่อใช้ประโยชน์ในการพัฒนาด้านต่างๆ ทั้งในส่วนบุคคลและสังคม
7
2. สารสนเทศหมายถึง ข้อมูล ข้อเท็จจริง สิ่งที่ถือหรือยอมรับกันว่าเป็นข้อเท็จจริงสำหรับ
ใช้ค้นหาความจริง หรือ การคำนวณข่าวสาร หมายถึง คำบอกเล่าเรื่องราว ซึ่งโดยปกติมักเป็นเรื่องเกิด
ใหม่หรือเป็นที่สนใจ โดยเฉพาะข่าวความเคลื่อนไหวในสังคม หรือแวดวงวิชาการที่มีการเผยแพร่
เรื่องราวมีลักษณะอย่างเดียวกับข่าว แต่ไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นใหม่เสมอไปเรื่องราวที่รู้แล้ว
เข้าใจแล้ว มีสองลักษณะ คือ ความรู้เรื่องทั่วๆ ไปไม่ลึกซึ้ง และความรู้ทางวิชาการ หรือศาสตร์อัน
เป็นผลของการศึกษาค้นคว้าวิจัย
3. สารสนเทศ คือ สิ่งปรากฏให้เห็นเป็นรูปธรรมที่ได้บันทึกข้อมูล ข่าวสาร เรื่องราว และ
ความรู้โดยใช้ตัวอักษร ภาพ สัญลักษณ์ รหัส และเสียง อาจเป็นกระดาษ ฟิล์ม แถบเสียง วัสดุแมก
เนติกส์ และอื่นๆ (แม้นมาส ชวลิต, 2532: 9 – 10)
สารสนเทศหมายถึงข้อเท็จจริงเหตุการณ์ที่ผ่านกระบวนการประเมินผล และมีผู้ถ่ายทอด
บันทึกไว้ในรูปแบบต่างๆ เช่น หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ รายงาน โสตทัศน์วัสดุ เทป
คอมพิวเตอร์ ตลอดจนถ่ายทอดในรูปแบบอื่นๆ เช่น คำพูดโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ให้ผู้รับ
สารสนเทศได้ทราบ (ประภาวดี สืบสนธิ, 2530 : 23)
การรวบรวมข้อมูลในรูปแบบที่กว้างขวาง บันทึกลงในกระดาษหรือสิ่งอื่นๆ และ
สามารถทำการสื่อสารได้ (Horrod, 1990: 307)
ข้อมูลที่ได้รับการจัดเก็บรวบรวมและได้ผ่านกระบวนการเรียบเรียง เพื่อที่สามารถ
นำมาใช้ได้อย่างเป็นระเบียบ (Seidman, 1991: 64 – 68)
ผลของการจัดกระทำข้อมูลโดยกรรมวิธีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเลือกสรรการ
ประเมินผล การวิเคราะห์ การแปลความหมายเพื่อให้เกิดคุณค่าในการนำไปใช้ เพื่อการวางแผนการ
ตัดสินใจการอ้างอิงการแก้ไขปัญหาและสนองความต้องการในกิจกรรมใดๆ (ชัยวัฒน์ บุญศิวนนท์,
2532 : 12)
ข้อมูลหากได้ผ่านการประมวลผลและถูกจัดให้อยู่ในรูปที่มีความหมาย และเป็น
ประโยชน์ต่อการตัดสินใจของผู้รับ (ชุมพล ศฤงคารศิริ, 2537 : 55)
ข้อมูลที่ได้ผ่านการประมวล หรือการวิเคราะห์แล้วอยู่ในรูปแบบที่มีความหมาย
สามารถนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ได้ ตามวัตถุประสงค์ (ศรีสมร พุ่มสะอาด และ
คนอื่นๆ , 2539 : 1)
ข้อมูลที่ได้จัดกระทำแล้ว โดยผ่านการประมวลผลด้วยวิธีการต่างๆ จนมีความสมบูรณ์
สูงและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ประกอบการตัดสินใจตามวัตถุประสงค์ได้ (สุรวัฒน์ เหล็กกล้า,
2540 : 10)
8
ทรัพยากรห้องสมุด หมายถึงสื่อทุกประเภทที่มีในห้องสมุด อันได้แก่หนังสือซึ่งเป็นสิ่ง
ตีพิมพ์ และสื่อประเภทอื่นๆ ที่ไม่ใช่สิ่งตีพิมพ์ เช่น โสตทัศนวัสดุ (จารุพร พงศ์ศรีวัฒน์, 2525:1)
ทรัพยากรสารสนเทศหมายถึงข้อมูลข่าวสารความรู้ความคิด ประสบการณ์ที่ได้มีการ
รวบรวมเนื้อหาไว้ และผ่านกระบวนการกลั่นกรอง เรียบเรียงและประมวลไว้โดยใช้ภาษาสัญลักษณ์
ภาพ รหัส และอื่นๆ รวมทั้งมีการบันทึกด้วยวิธีต่างๆ ลงในวัสดุที่เป็นรูปธรรม สัมผัสได้ (วงศ์สว่าง
เชาว์ชุติ, 2539:11)
ทรัพยากรห้องสมุดหรือวัสดุห้องสมุด บางครั้งอาจเรียกว่า ทรัพยากรสารสนเทศ หรือ
วัสดุสารสนเทศหมายถึงวัสดุเพื่อการศึกษา และค้นคว้าวิจัยในห้องสมุดเช่นหนังสือวารสารหนังสือ
พิมพ์ เอกสาร จุลสาร รวมทั้งโสตทัศนวัสดุประเภทต่างๆ ด้วย (ธาดาศักดิ์ วชิรปรีชาพงษ์, 2540:1)
ทรัพยากรสารสนเทศ คือ บรรดาวัสดุสารนิเทศทั้งหลายซึ่งเมื่อรวมกันแล้วเป็นแหล่ง
ความรู้ยิ่งใหญ่เป็นบ่อเกิดแห่งทรัพย์สินทางปัญญา (แม้นมาศ ชวลิต, 2542:10)
ทรัพยากรสนเทศหมายถึงสิ่งที่บันทึกความรู้ เรื่องราว ข้อมูลหรือข่าวสาร อาจอยู่ในรูป
ของวัสดุตีพิมพ์ เช่น หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ หรือวัสดุไม่ตีพิมพ์ เช่น แถบวีดีทัศน์แผ่นบันทึก
ภาพนิ่ง มีความหมายเดียวกันได้แก่ ทรัพยากรสารสนเทศ (สุกานดา ดีโพธิ์กลาง และคนอื่นๆ, 2542:
23)
ทรัพยากรสารสนเทศ หมายถึงสิ่งที่มีคุณค่า ซึ่งเป็นการบันทึกข้อมูล ข่าวสาร เรื่องราว
และความรู้ โดยใช้อักษรภาพ สัญลักษณ์ รหัสหรือเสียง ซึ่งสามารถปรากฎให้เห็น หรือได้ยินสัมผัส
ได้โดยวิธีใดวิธีหนึ่ง วัสดุส่วนใหญ่ของห้องสมุด มักจะเห็นในรูปเล่มของหนังสือ นิตยสาร และ
หนังสือพิมพ์ (เอื้อมพร ทัศนประสิทธิผล, 2542: 14-15)
ทรัพยากรสารสนเทศ หมายถึงวัสดุรูปแบบต่างๆ ที่มีการบันทึกความรู้ข้อมูลข่าวสาร
ข้อเท็จจริง และความคิดต่างๆ ไว้โดยใช้ภาษาสัญลักษณ์ ภาพและเสียงในรูปของวัสดุตีพิมพ์ และวัสดุ
ไม่ตีพิมพ์ (วิเชียร นิตยกุล, 2543: 12)
สรุปว่า สารสนเทศ คือ หนังสือวารสารสิ่งพิมพ์อื่นๆ โสตทัศนวัสดุ คอมพิวเตอร์ดิสก์
คอมพิวเตอร์ เทป ล้วนเป็นสิ่งที่มีเนื้อหาสารอยู่ อาจนำออกมาใช้ได้ และผู้ทรงคุณวุฒิก็นับเป็น
แหล่งสารนิเทศด้วย ทรัพยากรสารสนเทศ คือวัสดุสารสนเทศทั้งหลายซึ่งเมื่อรวมกันแล้วเป็นแหล่ง
ความรู้อันยิ่งใหญ่เป็นบ่อเกิดแห่งทรัพย์สินทางปัญญา เป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งขององค์กร เป็นสิ่งจำเป็นต่อ
การดำเนินงานและประสานงานขององค์กร ทุกหน่วยงานต้องมีการแสวงหาสารสนเทศทั้งสิ้น
สารสนเทศเป็นข้อมูลที่มีความหมายและมีประโยชน์ต่อการตัดสินใจ ลดความไม่แน่นอน ความไม่
กระจ่างในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ช่วยแก้ปัญหา ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวงการธุรกิจ
อุตสาหกรรมการมีสารสนเทศที่ถูกต้อง หมายถึงผลกำไรในอนาคต การมีสารสนเทศในเรื่องใดเรื่อง
9
หนึ่งจะทำให้ความไม่แน่นอนในเรื่องนั้นๆ ลดน้อยลง สารสนเทศจึงมีความสำคัญยิ่งต่อการตัดสินใจ
ในการบริหารงานและการวางแผนสำหรับอนาคต หากผู้บริหารหรือผู้ตัดสินใจมีสารสนเทศที่ดีใน
เรื่องนั้น กล่าวคือมีสารสนเทศที่ ครบถ้วนถูกต้องและทันเวลา ก็ย่อมทำให้สามารถตัดสินใจได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ ทรัพยากรสารสนเทศยังหมายถึงวัสดุที่บันทึกข้อมูลข่าวสารความรู้ ความคิด
ประสบการณ์ของมนุษย์โดยใช้ภาษาสัญลักษณ์ ภาพ เสียงและอื่นๆ ที่สัมผัสได้
1.2 ความสำคัญของสารสนเทศ
สารสนเทศนั้นได้ทวีความสำคัญ และมีความจำเป็นแก่ชีวิตประจำวันของมนุษย์เป็นอย่าง
มากในสังคมปัจจุบันทั้งการทำงาน และศึกษาพัฒนาปัจจุบันการทำงานทุกด้านต้องอาศัยสารสนเทศ
ที่แม่นยำเที่ยงตรงและมีคุณภาพสูง ผลกระทบของสารสนเทศมีอยู่อย่างกว้างขวางทั้งในระดับบุคคล
และองค์กรการทำงานในสาขาวิชาชีพต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน องค์กรที่สามารถจัดการกับ
สารสนเทศได้ดีภายใต้การเปลี่ยนแปลงในสังคม ย่อมจะดำเนินงานไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมี
ประสิทธิผล มีความได้เปรียบในการแข่งขัน และช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความพอใจในการทำงาน
มากขึ้นอันจะนำไปสู่ความสำเร็จในที่สุด สารสนเทศเป็นทรัพยากรที่สำคัญ ห้องสมุดมีไว้เพื่อบริการ
แก่ผู้มีความต้องการในอันที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในทางวิชาการ ห้องสมุดมีหน้าที่จัดเก็บรวบรวม
จัดการสารสนเทศทุกประเภทให้อยู่ในระบบของห้องสมุด คือการจัดเก็บอย่างเป็นระบบทั้งนี้ก็เพื่อ
สะดวกแก่การค้นคืนสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ผู้ที่มีความต้องการใช้เข้าถึงสารสนเทศ
ง่ายและสะดวกรวดเร็ว ในปัจจุบันความจำเป็นในการใช้สารสนเทศมีมากขึ้นทุกขณะเพราะวัสดุใดๆ
ก็ตามที่เป็นวัตถุได้ผ่านกระบวนการประมวลผลด้วยกรรมวิธีต่างๆ จากระบบการจัดเก็บกระบวนการ
ทางระบบสารสนเทศนั้น จนมีความสมบูรณ์และสามารถที่จะนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจทั้ง
ในทางบริหาร และวิชาการ และจำแนกเป็นประเภทได้ดังนี้
1. สารสนเทศเพื่อกำหนดนโยบาย เป็นข้อมูลระดับสูงในองค์กร เพื่อประโยชน์ในการ
วางแผนการกำหนดนโยบายสำหรับอนาคต ข้อมูลเชิงนโยบายเป็นข้อมูลที่ให้ภาพรวมแบบกว้างๆ
เป็นเชิงคาดคะเนมากกว่าความแน่นอนตายตัว เป็นข้อมูลจากภายนอกมากกว่าภายในองค์กร
2. สารสนเทศเพื่อการจัดการ เป็นสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับรองลงมาหรือ
ผู้บริหารระดับกลาง เพื่อประโยชน์ในการควบคุมการดำเนินการ
3. สารสนเทศเพื่อการปฏิบัติการเป็นสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับล่างที่ใกล้ชิดกับ
การปฏิบัติเป็นข้อมูลที่แน่นอนตายตัว (กฤษดา นุตพันธ์, 2528 : 582 – 84) การก้าวเข้าสู่
สังคมสารสนเทศทำให้สารสนเทศมีความสำคัญต่อสังคมมนุษย์มากมาย หน่วยงานใดมีสารสนเทศ
มากจะเป็นผู้ได้เปรียบมีอำนาจการต่อรองทางด้านต่างๆ มากสารสนเทศเป็นปัจจัยสำคัญและมีความ
จำเป็นสำหรับชีวิตมนุษย์ เป็นปัจจัยพื้นฐานที่มีอิทธิพลยิ่งกับการดำเนินในกิจกรรมต่างๆ ในแต่ละวัน
10
สารสนเทศมีความสำคัญต่อคนทุกสาขาอาชีพทั้งภาครัฐ วงการธุรกิจการศึกษาและบุคคลทั่วไป
(นงลักษณ์ ไม่หน่ายกิจ 2530 : 1)
ปัจจุบันสารสนเทศมีความสำคัญมาก เนื่องจากสารสนเทศเป็นสิ่งที่เสริมสร้างหรือเป็น
ปัจจัยหนึ่งของความสำเร็จในงานทุกๆ ประเภท ห้องสมุดมีหน้าที่จัดหาทรัพยากรสารสนเทศ จัดเก็บ
และจัดการให้บริการตามระบบและแบบแผน ตลอดถึงตามวัตถุประสงค์ของมหาวิทยาลัย เพื่อให้ได้
ใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่ากับการลงทุน
นอกจากนี้สารสนเทศยังมีบทบาทในหลายๆ ประการโดยเฉพาะในสังคมปัจจุบันที่
สารสนเทศเป็นผลผลิตหลักของภาคอุตสาหกรรม สารสนเทศจึงมีบทบาทในเชิงเศรษฐกิจดังนี้
1. การตัดสินใจ ถ้าดูจากวรรณกรรมที่เขียนเกี่ยวกับสารสนเทศและเผยแพร่ขณะนี้ จะ
พบว่าส่วนใหญ่กล่าวถึงความสำคัญของสารสนเทศแต่มีข้อโต้แย้งว่า โดยตัวเองแล้วสารสนเทศไม่ใช่
ทรัพย์สินที่มีค่า แต่จะมีค่าต่อเมื่อมีการใช้ เช่นช่วยลดความเสี่ยงในการตัดสินใจ หรือช่วยชี้แนวทาง
ในการแก้ปัญหา แม้ว่าในบางครั้งการตัดสินใจจะเกิดก่อนและใช้สารสนเทศเป็นเครื่องยืนยัน แทนที่
จะใช้สารสนเทศช่วยการตัดสินใจก็ตาม ดังนั้นคุณค่าของสารสนเทศจึงเกิดการใช้มิใช่เกิดภายใน
ตัวเอง
2. การจัดการ สารสนเทศมีความสำคัญต่อการจัดการ การดำเนินงานอย่างยิ่งยวด ดังจะ
เห็นจากมีการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานแต่ละวันของ
องค์การ คุณค่าเชิงเศรษฐศาสตร์ของสารสนเทศ เห็นชัดเมื่อผู้ปฏิบัติงานมีและใช้สารสนเทศในการ
ปฏิบัติงา การจัดการย่อมมีประสิทธิภาพและนำประสิทธิผลมาสู่องค์การ
3. ใช้แทนทรัพยากรทางกายภาพ ในบางกรณีสารสนเทศสามารถใช้ทดแทนทรัพยากร
ทางกายภาพเช่นการเดินทาง ในระบบสื่อสารทางไกลที่มีการนำส่งข้อมูลทางการแพทย์ เช่น การ
ผ่าตัดจะช่วยให้แพทย์ติดตามเหตุการณ์ ความก้าวหน้าโดยไม่ต้องเดินทางไปยังแหล่งนั้น
4. ติดตามสภาพโดยรอบ สารสนเทศเป็นช่องทางเรียนรู้ว่า เกิดอะไรขึ้นในโลกนี้ ช่วย
การจัดการทั้งการปฏิบัติงาน และการตัดสินใจให้ติดตามความคืบหน้าที่เกิดภายนอกได้
5. โน้มน้าวและชักจูง สารสนเทศเป็นช่องทางโน้มน้าวและชักจูงใจบทบาทปรากฏชัด
ในโฆษณาการตลาด ช่วยให้ผู้บริโภครู้รายละเอียดผลผลิต รู้จักผู้ขาย
6. การศึกษาสารสนเทศเป็นองค์ประกอบสำคัญของการศึกษา ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งของ
กระบวนการเรียนรู้ทั้งผ่านสื่อต่างๆ หรือโดยปฏิสัมพันธ์โต้ตอบผู้สอน ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อ
ตัวบุคคลที่จะใช้การศึกษาเป็นเครื่องหาเลี้ยงชีพต่อไป และต่อสังคมที่จะมีผลิตผลผู้มีการศึกษาเพิ่มขึ้น
11
7. วัฒนธรรมและนันทนาการ สารสนเทศเป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับการส่งเสริม
วัฒนธรรมและนันทนาการบทบาทเชิงเศรษฐกิจปรากฏชัดเมื่อมีการซื้อผลผลิตและบริการสารสนเทศ
(เช่น โทรทัศน์ เทป วีดีโอ) ทำให้อุตสาหกรรมสารสนเทศเติบโตและมีผลต่อเศรษฐกิจ
8. ผลผลิตและบริการสารสนเทศเป็นผลผลิตที่สามารถบรรจุหีบห่อจำหน่ายซื้อขายกัน
ได้สารสนเทศยังเป็นบริการที่ผู้ซื้อจะได้สารสนเทศที่ปรับแต่งให้เหมาะสมกับความต้องการพร้อมใช้
งานในการจัดกลุ่มบริการธุรกิจจะมีบริการธุรกิจหลายประเภท ซึ่งในกลุ่มนี้ได้แก่บริการให้คำปรึกษา
และบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์ ซึ่งเป็นกลุ่มที่ทำรายได้หลักให้เศรษฐกิจของประเทศที่พัฒนาหลาย
ประเทศ
9. ทรัพยากรสำคัญที่ต้องลงทุน สารสนเทศเป็นทรัพยากรที่ต้องลงทุนจึงจะได้ผลผลิต
และบริการ ตัวอย่างเช่นในธุรกิจการขายผลผลิตและบริการสารสนเทศจะต้องลงทุนจัดทำฐานข้อมูล
ซึ่งเป็นการลงทุนที่สำคัญกว่าการซื้ออุปกรณ์และการจัดสร้างอาคาร
สารสนเทศมีความสำคัญในบทบาทต่อชีวิตประจำวัน ของสังคมปัจจุบันเป็นอันมาก
เพราะสารสนเทศเป็นปัจจัยหลักในการกำหนดแนวทางพัฒนาการเมืองเศรษฐกิจ สังคม และ
วัฒนธรรมความสำคัญต่อการพัฒนามนุษย์และสังคมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างกันช่วยสร้างความ
สงบสุขในสังคมความสำคัญของความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร ทรัพยากรที่สำคัญของโลกมี 3 ประเภทคือ
1) ทรัพยากรธรรมชาติ
2) ทรัพยากรมนุษย์
3) ทรัพยากรสารสนเทศ
ความก้าวหน้าของโลกได้รับข้อมูลข่าวสารต่างๆ เกิดความคิด สติปัญญามาสร้างสรรค์
สังคมให้เจริญก้าวหน้า (ลมุล รัตตากร, 2529: หน้าคำนำ)
สารสนเทศเป็นรากฐานอันจำเป็นสำหรับความก้าวหน้าของจริยธรรมและสังคม เป็น
ส่วนหนึ่งของการสร้างสรรค์ มีความสำคัญต่อรัฐบาล วงการธุรกิจ การศึกษาวิจัย นักวิชาการสาขา
ต่างๆ และบุคคลทั่วไป ดังนี้
1. รัฐบาลต้องการสารสนเทศที่ทันสมัยมาใช้ประกอบการวินิจฉัย สั่งการ และวางแผน
งานเพื่อพัฒนาประเทศ
2. วงการธุรกิจใช้สารสนเทศเป็นปัจจัยสำคัญ ต่อความสำเร็จในการดำเนินงานประจำ
วัน และมีการวางแผนสำหรับอนาคต
3. การศึกษาและวิจัย สารสนเทศเป็นปัจจัยพื้นฐานช่วยพัฒนาความรู้ความเชี่ยวชาญ
ทางวิชาการ เป็นพื้นฐานของการเรียนการสอนการค้นคว้าวิจัยของนักเรียนการสอนการค้นคว้าวิจัย
ของนักเรียนนักศึกษาครูอาจารย์นักวิชาการและนักวิจัย
12
4. ส่วนบุคคลทั่วไปต้องการสารสนเทศเพื่อใช้ในการพัฒนาอาชีพ การศึกษาในเรื่อง
ต่างๆ ที่สนใจและเพื่อความบันเทิง เป็นต้น (สุขุม เฉลยทรัพย์, 2531: 32-33)
สารสนเทศนับว่ามีความสำคัญในการถ่ายทอดเทคโนโลยีและวิทยาการต่างๆ จากบุคคลหนึ่งไปสู่อีก
บุคคลหนึ่งจากองค์กรหนึ่งไปสู่อีกองค์กรหนึ่ง จากประเทศหนึ่งไปสู่อีกประเทศหนึ่งก่อให้เกิด
แนวคิดและแนวทางการเริ่มต้นงานใหม่ๆ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาประเทศประเทศที่เจริญแล้วต่าง
ตระหนักถึงความสำคัญของสารนิเทศ และส่งเสริมให้มีการนำสารนิเทศไปใช้เพื่อการพัฒนาประเทศ
อย่างกว้าวขวาง
โลกปัจจุบันอยู่ในยุคที่เรียกว่า ยุคข้อมูลข่าวสาร แต่ละวันมีข่าวสารหรือสารนิเทศ
แพร่กระจายออกมามากมายและรวดเร็วหน่วยงานองค์การต่างๆ ทั้งของรัฐและเอกชนตลอดจนบุคคล
จำเป็นต้องใช้สารนิเทศอยู่ตลอดเวลา แต่จะเป็นสารนิเทศด้านใดมีความลึกซึ้งเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับ
ลักษณะหน้าที่ แล้วแต่ภารกิจของหน่วยงาน (พวา พันธุ์เมฆา, 2535: 2)
สถาบันการศึกษาโรงเรียนวิทยาลัยมหาวิทยาลัย จะเห็นได้ว่านักเรียนนิสิตนักศึกษาครู
อาจารย์และนักวิจัยต้องใช้สารสนเทศเพื่อการเรียนการสอน และการค้นคว้าอยู่ตลอดเวลาสถาบัน
การศึกษาทุกแห่งจำเป็นต้องสร้างสถานที่ที่เก็บสารสนเทศที่เรียกว่า ห้องสมุด หรือ ศูนย์สารสนเทศ
เพื่อรวบรวมสารสนเทศประเภทต่างๆ ในรูปแบบหลากหลายไว้ให้บริการแก่ผู้ใช้
1.3 ประเภทและความต้องการใช้สารสนเทศ
องค์กรทางการศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้
กำหนดให้ทรัพยากรที่สำคัญของโลกมี 3 ประเภท คือ 1) ทรัพยากรธรรมชาติ 2) ทรัพยากรมนุษย์ 3)
ทรัพยากรสารสนเทศ (วัลลภ สวัสดิวัลลภ, 2544: 9) ทรัพยากรสารสนเทศเป็นผลผลิตที่มนุษย์ได้
สะสมไว้ตั้งแต่เกิดอารยะธรรม ความรู้เหล่านั้นได้บันทึกลงไว้ในวัสดุต่างๆ เช่น แผ่นปาปิรัส ใบลาน
และวิธีสื่อสารอื่นๆ เป็นต้นว่ารูปภาพและตัวอักษรทรัพยากรสารสนเทศแบ่งอย่างกว้างๆ ได้เป็น 2
คือ
1. ทรัพยากรสารสนเทศประเภทสิ่งพิมพ์
2. ทรัพยากรสารสนเทศประเภทไม่ใช่สิ่งพิมพ์
ทรัพยากรสารสนเทศที่ได้รับการบันทึกเพื่อสื่อความหมาย ในรูปของตัวพิมพ์เป็นลาย
ลักษณ์อักษรเรียกว่าสารสนเทศที่เป็นสิ่งพิมพ์แบ่งเป็น 5 ประเภทคือหนังสือ วารสารหนังสือพิมพ์จุล
สาร กฤตภาค
ส่วนทรัพยากรสารสนเทศที่ไม่ใช่สิ่งพิมพ์มี 5 ประเภทคือ โสตวัสดุ ทัศน์วัสดุ
โสตทัศนวัสดุ วัสดุย่อส่วน วัสดุอิเล็กทรอนิกส์
13
ทรัพยากรสารสนเทศทั้งสองประเภทเป็นสิ่งที่จำเป็นและมีความสำคัญ ต่อการพัฒนา
ทางวิชาการและพัฒนาหน่วยงานในด้านอื่นๆ
นักวิชาการ อาจารย์และนักวิจัย ในสถาบันแต่ละแห่งที่ขาดข้อมูลทางสารสนเทศคือ
สารสนเทศและข่าวสารมีคุณภาพต่ำประการหนึ่ง ประการต่อมาคือประสบการณ์ของนักวิชาการ
อาจารย์ และนักวิจัยเองเหล่านี้จะส่งผลต่อการสั่งงานที่ปฏิบัติเกิดข้อบกพร่อง และผิดพลาดได้
ประการต่อมา คือการใช้สารสนเทศไม่ถูกต้องและไม่มีประโยชน์จะส่งผลต่อแขนงวิชาและสายงาน
นั้นๆ ผิดพลาดได้เพราะฉะนั้นการที่นักวิชาการอาจารย์และนักวิจัย จะมีประสิทธิภาพหรือไม่จึง
ขึ้นอยู่กับคุณภาพของสารสนเทศนั้นๆ ที่จะนำมาประกอบการตัดสินใจ โดยที่สารสนเทศนั้นๆ
จะต้องทันต่อเหตุการณ์ มีความแม่นยำและถูกต้องเป็นที่ยอมรับในระดับที่สูงพอสมควร ทั้งนี้เพื่อ
ตอบสนองความต้องการใช้ของนักวิชาการ อาจารย์ นักวิจัย และอาจรวมถึงผู้บริหารบางกลุ่มด้วย
ในการตัดสินใจ บุคคลที่มีความต้องการสารสนเทศนั้น อาจจะจำเป็นหรือไม่จำเป็นก็ตามหากว่า ผู้
นั้นอยู่ในภาวการณ์ใดภาวการณ์หนึ่งที่จำเป็นต้องหาข้อเท็จจริงในปัญหาหรือ เรื่องราวนั้นๆ ใน
ภาวการณ์เช่นนี้จะทำให้บุคคลทราบหรือมองเห็นถึงความต้องการของตน ความต้องการสารสนเทศก็
เกิดขึ้นเมื่อบุคคลนั้นตระหนักว่า ตนเองนั้นตกอยู่ในภาวการณ์ที่จะต้องมีการตัดสินใจในบางสิ่ง
บางอย่างเพื่อหาคำตอบหรือข้อเท็จจริง ในอันที่จะต้องแก้ไขปัญหาหรือหาคำตอบในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่ง
อาจมีความจำเป็นต่อส่วนรวมหรือไม่ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่ง แต่อยู่ในภาวะจำเป็นต้องตัดสินใจ จะเกิด
ระดับความต้องการในการใช้สารสนเทศโดยมีระดับดังนี้ ต้องการอย่างรีบด่วน ต้องการใช้อย่างไม่
รีบด่วน ทั้งสองประการจะมีความสัมพันธ์กับการเห็นถึงคุณค่าของมันว่า สารสนเทศเรื่องนั้น สาขา
นั้นๆ เป็นสิ่งสำคัญมากน้อยเพียงใด และอยู่ในข่ายที่ตนเองต้องการในการประกอบการตัดสินใจ
หรือไม่ เมื่อใดก็ตามที่มีเงื่อนไขของสิ่งที่ตนต้องการตรงกับวัตถุประสงค์จะทำให้สะดวกต่อการ
ตัดสินใจ และเนื้อหาตัวสารสนเทศคือ
1. ตัวสารสนเทศ หรือประเภทของสารสนเทศที่แตกต่างกัน อาจทำให้เกิดผลต่อการใช้
ในรูปแบบที่แตกต่างกันได้
2. กระบวนการทำงานที่มีผลกระทบต่อการใช้สารสนเทศ
3. ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
4. ลักษณะเฉพาะบุคคล
คุณลักษณะเงื่อนไขดังกล่าว จะเป็นแรงผลักดันให้มีอิทธิพลต่อความต้องการใช้
สารสนเทศเป็นอย่างมาก ความสามารถในการดำรงชีวิตโดยธรรมชาตินั้น เพื่อจะดำรงไว้ซึ่งเผ่าพันธุ์
ของตนให้สืบต่ออย่างยาวนานตลอดกาล คงไม่เกินเผ่าพันธุ์มนุษย์ เพราะมนุษย์เป็นสัตว์ที่มีความโดด
เด่นกว่าสัตว์ทั้งหลายเพราะมนุษย์ในแง่เป็นสัตว์ที่มีสมองเป็นเครื่องมือ สามารถที่จะใช้สารสนเทศที่
14
มนุษย์ด้วยกันเองเก็บและสะสมไว้แต่อดีตนำมาพัฒนาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม โดยการศึกษา
ตีความ วิเคราะห์สังเคราะห์ประเมินค่าให้เหมาะสมและเข้ากับสิ่งที่ตนต้องการ เพราะการกลั่นกรอง
เลือกสรรสารสนเทศของมนุษย์ในแต่ละยุค จึงทำให้สารสนเทศบางอย่างสามารถสร้างองค์ความรู้ให้
มนุษยชาติทั้งในปัจจุบัน และอนาคตอันยาวไกล ตลอดไปความต้องการในอันที่จะใช้สารสนเทศนั้น
ต้องอยู่ภายใต้กรอบของความเหมาะสมจุดประสงค์หลักก็คือ เพื่อใช้ สารสนเทศนั้นๆ ให้มีคุณค่าทาง
วิชาการหรือต่อบุคคลสังคมในทุกๆ แขนงสารสนเทศจะมีค่ามากน้อยเพียงใดก็ต้องขึ้นอยู่กับเงื่อนไข
5 ประการคือ
1. เวลา สารสนเทศที่ดีและมีคุณค่ามีประโยชน์รวดเร็วจะต้องทันต่อเวลา เหตุการณ์ และ
ทันสมัยอยู่เสมอมิใช่จะลดคุณค่าลงทันทีเมื่อเวลาล่วงไปๆ ตามลำดับจนหมดค่าหมดประโยชน์ใน
ที่สุด
2. ความถูกต้องแม่นยำสารสนเทศบางอย่างรวดเร็วและทันเหตุการณ์แต่ขาดความถูกต้อง
และแม่นยำ และหาค่ามิได้ จะขาดคุณค่าลงไปในแง่ของความน่าเชื่อถือในสารสนเทศนั้นๆ
3. ความครบถ้วนสารสนเทศบางอย่างมีความรวดเร็วฉับไว ทันต่อเหตุการณ์แต่ไม่ถูกต้อง
ครบถ้วนก็จะทำให้คุณค่าของมันลดลง ความน่าเชื่อถือของสารต่างๆ ก็จะหมดไปเพราะไม่อาจ
นำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างสมบูรณ์
4. ความต่อเนื่องสารสนเทศบางอย่างรวดเร็วถูกต้อง และทันต่อเหตุการณ์ แต่ไม่ต่อเนื่อง
เพราะขาดช่วงขาดตอน ไม่อาจติดตามความเคลื่อนไหวหรือ ความเปลี่ยนแปลงอันเกิดขึ้นอยู่ทุกขณะ
5. กะทัดรัดและตรงประเด็นสารสนเทศบางอย่างถึงแม้นว่าจะสั้น และกะทัดรัดแต่ก็ต้อง
ควรมีเนื้อสารที่ตรงกับประเด็น จึงจะเป็นประโยชน์อย่างมากและช่วยในการประหยัดเวลาตลอดถึง
ลดความสับสนลงได้เป็นอย่างดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของผู้ที่มีความจำเป็นต้องตัดสินใจ สำหรับ
ผู้บริหารระดับสูงแล้วสำคัญเป็นอย่างมาก
ความต้องการสารสนเทศของบุคคลนั้นขึ้นอยู่กับปัญหาและลักษณะงาน ความต้องการ
ใช้สารสนเทศของบุคคลอาจจะแยกเป็นกลุ่มได้ดังนี้ คือกลุ่มนิสิตนักศึกษากลุ่มนักค้นคว้าวิจัย
นักวิชาการกลุ่มผู้บริหารระดับล่างๆ ระดับกลางระดับบน กลุ่มประชาชนทั่วๆ ไปที่ต้องการหา
ความรู้เพิ่มเติม และกลุ่มพ่อค้า นักธุรกิจ
ยังมีความสำคัญที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของสารสนเทศ และระดับความสำคัญ
ของปัญหาที่ผู้มีความต้องการใช้จะนำไปใช้กลุ่มนิสิตนักศึกษา อาจใช้เพื่อเป็นการประกอบการศึกษา
ค้นคว้าทำรายงานเพื่อหวังผลเพียงคะแนนตามคำสั่งของครูอาจารย์ที่สอน ซึ่งหากเป็นระดับปริญญา
ตรีก็จะจำกัดอยู่เพียงเท่านี้ หรือค้นคว้าประกอบตำราเรียนตามบทเรียนก็เป็นสิ่งจะพึงทำได้ ในระดับ
ปริญญาโทหรือสูงกว่า เป็นเรื่องของการเรียบเรียงประกอบการค้นคว้าวิจัยเพื่อทำภาคนิพนธ์ สาร
15
นิพนธ์ วิทยานิพนธ์ ซึ่งจำเป็นต้องใช้สารสนเทศให้ตรงประเด็นมากๆ เพราะการใช้สารสนเทศจาก
แหล่งสารสนเทศ ซึ่งเป็นทรัพยากรที่ได้กลั่นกรองแล้วจะทำให้งานของผู้นั้นมีคุณค่ามากยิ่งขึ้นอีก
ประการหนึ่งนิสิตนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาทุกสถาบันต้องตระหนักอยู่อย่างก็คือต้องศึกษาค้นคว้า
หาความรู้ด้วยตนเอง เพื่อให้เกิดความรู้ตลอดถึงประสบการณ์ให้มากเพื่อที่จะได้นำออกไปประกอบ
อาชีพในสาขาวิชาชีพที่ตนเองได้ศึกษา เพราะการที่นิสิตนักศึกษาได้ฟังคำบรรยายในชั้นเรียนเพียง
อย่างเดียวนั้นไม่อาจเพียงพอที่จะก่อให้เกิดความรู้และศึกษาอย่างลึกซึ้งได้ ทั้งนี้และทั้งนั้นต้อง
ตระหนักอยู่เสมอว่านักศึกษานั้นจำเป็นต้องศึกษาค้นคว้าเพราะเป็นหน้าที่หลัก นักศึกษานั้นต้องรำลึก
อยู่เสมอว่า ตนเองอยู่ในฐานะที่เป็นทรัพยากรบุคคลอันมีค่ายิ่งของสังคมมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบและ
ปฏิบัติอยู่ 2 ประการคือ
1. การศึกษาค้นคว้า เป็นหน้าที่หลักของนักศึกษาที่ต้องปฏิบัติให้ดีที่สุดในขณะศึกษาใน
มหาวิทยาลัย ซึ่งการศึกษาในระดับนี้นักศึกษาจะต้องปรับปรุงทักษะในการศึกษาให้กว้างขวางกว่า
การเรียนในชั้นมัธยมศึกษาหลายเท่านักศึกษาควรจะศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองให้มากขึ้นโดยใช้เทคนิค
การเรียนเข้ามาช่วย จึงจะเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสบผลสำเร็จในการเรียนได้
2. การสร้างเสริมสังคม และส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมเป็นหน้าที่ซึ่งนักศึกษาต้องปฏิบัติ
ควบคู่กันไปในขณะที่ทำการศึกษาค้นคว้าโดยการร่วมกิจกรรมด้านต่างๆ ในสังคมตามความถนัด
และความสนใจของนักศึกษา และต้องศึกษาให้เข้าใจลึกซึ้งถึงวัฒนธรรมอันดีงามของสังคมไทย
พร้อมทั้งปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับประเพณีและวัฒนธรรมของสังคม เพราะนักศึกษาแต่ละคนเป็นผู้
ที่จะสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมของสถาบันและของประเทศชาติ (สุกานดา ดีโพธิ์กลาง, 2540: 9)
จากข้อที่สองจะมีความสัมพันธ์ตามมาก็คือ จะเกิดประโยชน์และคุณค่าแก่นักศึกษาก็
เพราะว่า ห้องสมุดเป็นส่วนรวมทางสิ่งพิมพ์หลากหลายประเภทผู้เข้ามาใช้สารสนเทศตามความ
ต้องการจะเกิดคุณประโยชน์อย่างมากเพราะห้องสมุดมีส่วนในการส่งเสริมวัฒนธรรม เนื่องมาจาก
เป็นแหล่งรวบรวมหนังสือ และสิ่งพิมพ์ในหลากหลายวิทยาการรวมถึงศาสนาและปรัชญาวรรณคดี
ศิลปวัฒนธรรมที่กระตุ้นให้ผู้อ่านเกิดความซาบซึ้งในคุณธรรมความดี เกิดความเข้าใจในอารยธรรม
และประวัติศาสตร์เกิดความซาบซึ้งในคุณค่าความงามของศิลปกรรมต่างๆ และเกิดความจรรโลง
ใจความเพลิดเพลินกับวรรณคดีนอกจากนี้การจัดห้องสมุดให้สวยงามสะอาด หรือการตกแต่งให้เข้า
กับท้องถิ่นนั้นๆ รวมถึงการจัดป้ายการนำสิ่งของมาวางในห้องสมุดการจัดสภาพแวดล้อมใน
ห้องสมุดให้มีบรรยากาศที่สอดคล้องกับสถาบันล้วนเป็นสิ่งที่ช่วยส่งเสริมและเกิดการซึมซับเอา
วัฒนธรรมของผู้มาใช้ห้องสมุดได้เป็นอย่างดี
ความต้องการที่จะใช้สารสนเทศเป็นส่วนสำคัญ ที่จะผลักดันให้ตนเองบรรลุเป้าหมายที่
วางไว้ทั้งทางด้านการเรียนสำหรับนิสิตนักศึกษาทางด้านวิชาการ สำหรับอาจารย์และนักวิจัยค้นคว้า
16
ความต้องการสารสนเทศหมายถึงการที่บุคคลพบว่า ตนเองอยู่ในสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่ง ที่
ทำให้ต้องตัดสินใจค้นหาคำตอบ หรือหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งและมีความต้องการ
สารสนเทศเพื่อนำมาใช้ในการนี้มาก สถานการณ์ดังกล่าวนี้เองทำให้บุคลากรล็งเห็นความต้องการ
ของตน (สิริญดา สิทธิบุ่น, 2541 : 9)
จากแนวคิดดังกล่าวทำให้มองเห็นภาพรวมของความต้องการ ของผู้ใช้บริการสารสนเทศ
ในห้องสมุด มองเห็นความสำคัญของการบริหารการให้บริการการจัดการภายในห้องสมุดทิศทาง
แก้ปัญหาแนวทางในการพัฒนาห้องสมุด และระบบการจัดเก็บสารสนเทศในห้องสมุดตลอดถึง
ระบบปฏิบัติการภายในห้องสมุด เพื่อให้สอดคล้องและตอบสนองความต้องการของผู้ใช้อย่าง
เหมาะสมกับสถานการณ์ที่ตนเองมีความต้องการให้ได้มาซึ่งสารสนเทศ ในลักษณะและรูปแบบต่างๆ
ตามที่ตนเองต้องการและวัตถุประสงค์เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ตามที่วางเป้าหมายไว้ ความต้องการใช้
สารสนเทศของแต่ละบุคคลอาจแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญซึ่งพอที่จะรวบรวมเป็นประเด็นได้ ดังนี้
1. เพื่อแก้ข้อสงสัยและหาคำตอบที่ตนเองต้องการทราบ
2. เพื่อการปฏิบัติเกี่ยวกับงานที่ตนรับผิดชอบทั้งส่วนบุคคลและส่วนรวม
3. เพื่อสังคมโดยส่วนรวม
การศึกษาการใช้และความต้องการใช้สารสนเทศ เป็นการศึกษาเพื่อให้ได้ข้อมูลไปใช้ใน
การวางแผนและกำหนดเป็นนโยบายเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ การศึกษาผู้ใช้มี
จุดหมายเพื่อทำให้ทราบพฤติกรรมการค้นหาสารสนเทศ อันเป็นผลจากความต้องการใช้สารสนเทศ
จากแหล่งต่างๆ เช่นห้องสมุดและศูนย์สารสนเทศระบบสารสนเทศออนไลน์ตลอดจนตัวบุคคล ซึ่ง
ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนสารสนเทศ ความต้องการใช้สารสนเทศของบุคคลนั้น คือ การใช้ที่มี
จุดประสงค์จุดมุ่งหมายต่างกัน คือเพื่อให้ได้ข้อมูลข่าวสารข้อเท็จจริงในเรื่องนั้นในสิ่งนั้นๆ เพื่อที่จะ
ใช้ประกอบการตัดสินใจในการแก้ไขปัญหาหรือตัดสินปัญหาและแสวงหาคำตอบอย่างถูกต้อง และมี
ทฤษฎีและหลักวิชาการและตรงกับความต้องการของผู้ใช้เนื่องจาก ความต้องการเป็นเรื่องที่เฉพาะ
ของแต่ละบุคคลและกลุ่มบุคคลแตกต่างกับความจำเป็นตรงที่ว่า ความจำเป็นนั้นเป็นสากลเป็น
พื้นฐานที่ขาดเสียมิได้ ความต้องการจะสร้างขึ้นจากความจำเป็นหรือไม่จำเป็นสำหรับที่ไม่ให้มี
รายละเอียดนอกเหนือไปจากความจำเป็นพื้นฐาน โดยประสงค์จะให้สนองความต้องการโดยเฉพาะ
สำหรับบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเฉพาะกาลเวลา (ดนัยศักดิ์ โกวิทวิบูลย์, 2543: 19, อ้างถึงแม้นมาส
ชวลิต, 2541: 17-19)
ผู้ที่มีความต้องใช้สารสนเทศ จะมีพฤติกรรมที่แตกต่างกัน ขั้นตอนและวิธีการจะอยู่ใน
กระบวนการที่คล้ายๆ กันคือแหล่งสารสนเทศผู้ที่มีบทบาทสำคัญคือบรรณารักษ์จะเป็น ผู้ที่ชี้แนะ
เป็นขั้นแรก ผทู้ ี่เข้ามาใช้บริการและผู้ต้องการใช้
17
ความต้องการสารสนเทศจะส่งผลทั้งการแสวงหาสารสนเทศ เมื่อพบว่าตนเองมีความ
ต้องการที่จะใช้สารสนเทศ ในทางขั้นตอนของจิตวิทยาบุคคลจะมีความต้องการใช้สารสนเทศอัน
หลากหลาย เมื่อสรุปตามทฤษฎีจะจำกัดอยู่ 4 ระดับคือ
1. ความต้องการที่อยู่ในจิตใต้สำนึก คือ ความต้องการที่อยู่ในจิตใจของผู้ใช้ ซึ่งบางครั้ง
ผู้ใช้เองอาจไม่รู้สึกว่าต้องการสิ่งนั้น
2. ความต้องการที่อยู่ในจิตสำนึกคือความต้องการในระดับที่ผู้ใช้เริ่มตระหนักว่าตน
ต้องการสารสนเทศ ผู้ใช้จะพบว่าตนเองมีคำถามที่ต้องการทราบคำตอบ
3. ความต้องการที่แสดงออก คือความต้องการในระดับที่ชัดเจนส่งผลให้เกิดการ
แสวงหาสารสนเทศเพื่อนำมาใช้ ผู้ใช้สามารถระบุได้ว่า ต้องการสารสนเทศอย่างไร ภายในขอบเขต
ในระดับนี้ ผู้ใช้อาจค้นหาสารสนเทศด้วยตนเอง
4. ความต้องการที่ปรับตามระบบสารสนเทศ (Compromised need) ในระดับนี้ผู้ใช้จะ
ร้องขอสารสนเทศที่ต้องการจากระบบสารสนเทศ ความต้องการของผู้ใช้จะได้รับการตีความจาก
บรรณารักษ์ เพื่อให้เข้ากับการสืบค้นของระบบสารนิเทศนั้น (ธัญญรัตน์ ธิชัย, 2543:13, อ้างถึง
Goggling: 1982)
ความต้องการใช้สารสนเทศ สามารถที่จะพิจารณาได้ในแง่มุมต่างๆ ดังนี้
1. เนื้อหาสารของสารสนเทศ
2. คุณลักษณะของสารสนเทศ
3. ปริมาณของสารสนเทศ
4. กระบวนการและขั้นตอน
5. รูปแบบของสารสนเทศ
6. ความเร็วในการได้รับสารสนเทศ
7. ความทันสมัยและเหตุการณ์ของสารสนเทศ
8. คุณลักษณะเฉพาะของสารสนเทศ
9. คุณภาพของสารสนเทศ
10. ความมีระดับของสารสนเทศ
ทั้ง 10 ประการนี้เป็นคุณลักษณะพื้นฐานที่สำคัญระดับหนึ่ง สำหรับผู้ที่มีความต้องการใช้
สารสนเทศ
ความต้องการใช้สารสนเทศของผู้ใช้บริการสารสนเทศ คือ ความต้องการที่จะได้ข้อมูล
ข้อเท็จจริงตามความประสงค์หรือสารสนเทศจะเป็นข้อมูลทางข้อเท็จจริง หรือเรื่องต่างๆ ที่ต้องการ
ของตนอันจะนำมาใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ ในการแก้ไขปัญหาหรือประกอบการตัดสินใจ
18
ตลอดถึงการตอบคำถามเรื่องที่ตนเองกำลังศึกษาค้นคว้าอยู่ซึ่งเหตุปัจจัยเหล่านี้ จะทำให้บุคคลเริ่ม
แสวงหาสารสนเทศเพราะประจักษ์ชัดแล้วว่า ตนเองต้องการสารสนเทศ บุคคลจึงเกิดการแสวงหาซึ่ง
จะต้องได้จากแหล่งใดๆ ก็ได้ซึ่งเป็นที่เก็บรวบรวมไว้ วัสดุสารสนเทศทุกประเภทห้องสมุดจะ
ตอบสนองความต้องการได้ ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่ว่าสารสนเทศในห้องสมุดนั้นๆ มีความ
สอดรับทางด้านเนื้อหาสนองความต้องการของผู้มีความต้องการมากน้อยเพียงใด เพราะแหล่ง
สารสนเทศจะมีองค์ประกอบ ดังนี้
1. ผู้ต้องการใช้สารสนเทศ แล้วแสวงหาจากแหล่ง
2. ความต้องการในอันที่จะใช้สารสนเทศ
3. ศูนย์สารสนเทศ ห้องสมุด และแหล่งสารสนเทศอื่นๆ
4. ผู้มีความต้องการที่แสวงหา ได้รับตามวัตถุประสงค์ หรือไม่
5. เมื่อเขาได้รับแล้ว สารสนเทศตอบสนองความต้องการหรือไม่
การที่ห้องสมุดหรือศูนย์สารสนเทศ ทำหน้าที่ได้ถูกต้องสนองความต้องการของ
ผู้ใช้บริการได้อย่างดีก็เท่ากับว่า การพัฒนาห้องสมุด ดังนั้นการตั้งศูนย์สารสนเทศ เป็นการสนอง
ความต้องการของผู้ใช้ซึ่งอาจเกิดจากความต้องการตามทฤษฏี การแสวงหาสารสนเทศตามความ
ต้องการพื้นฐาน 3 ประการความต้องการทางด้านร่างกายความต้องการทางด้านจิตใจและความ
ต้องการทางด้านปัญญา
ความต้องการทั้ง 3 อาจตรงกับความต้องการพื้นฐานทางจิตวิทยา และความต้องการทาง
พุทธศาสนาก็ได้ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับสภาวะแวดล้อมนั้นๆ ซึ่งจะได้รับแรงกระตุ้นมากน้อยเพียงใด
(ธัญญรัตน์ ธิชัย, 2543 :15, อ้างถึง Wilson, 1981: 8) ในการจัดการศึกษาระดับการเรียนที่ใช้ห้องเรียน
ซึ่งมีครูเป็นผู้สอนแล้ว การศึกษาค้นคว้านอกเวลาเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้วิชาการในสถาบันนั้นๆ มี
ความก้าวหน้าและทันสมัย ทันเหตุการณ์ต่างๆ ได้เป็นอย่างดียิ่ง
ห้องสมุดของแต่ละสถาบันนับว่าเป็นส่วนหนึ่งของสถาบัน เพราะถือเป็นแหล่งที่จัดเก็บ
สารสนเทศ และทรัพยากรที่เป็นสารสนเทศต่างๆ ที่จดบันทึกไว้ ในรูปแบบต่างๆ วัสดุสารสนเทศ
เท่าที่ห้องสมุดจะจัดหาและจัดเก็บนั้น ก็คือ วัสดุตีพิมพ์ วัสดุที่ไม่ได้พิมพ์
บรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ห้องสมุดจำเป็นที่จะต้องจัดหาสารสนเทศ ให้สอดคล้องกับ
สาขาวิชานั้นๆ โดยความเห็นชอบของรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและวางแผนเพื่อให้สอดรับกับวิชาที่
เปิดเรียนเปิดสอน โดยมีนักศึกษาเป็นศูนย์กลางอีกส่วนหนึ่งการศึกษาในระดับอุดมศึกษานอกจาก
จะต้องเรียนในห้องเรียนแล้วยังจำเป็นจะต้องศึกษาด้วยตนเองเพื่อเพิ่มเติมวิทยาการต่างๆ ให้สมบูรณ์
ยิ่งขึ้นดังนั้นห้องสมุดหรือศูนย์สารสนเทศจึงมีหน้าที่ให้บริการแก่นักศึกษา อาจารย์นักวิชาการ
ตลอดจนนักวิจัยเพื่อการเรียนการสอนและการค้นคว้าวิจัย (ดนัยศักดิ์ โกวิทวิบูล, 2543: 2)
19
แหล่งจัดเก็บสารสนเทศที่สำคัญอยู่ที่การจัดการของห้องสมุดว่า จะจัดในรูปแบบใดและ
ใช้ระบบการจัดเก็บประเภทไหนการจัดเก็บจะสัมพันธ์กับการใช้บริการและการค้นคืน เพราะจะบ่ง
ถึงคุณภาพของห้องสมุดและการเข้าถึงของผู้ใช้บริการเช่นกันแต่ส่วนใหญ่แล้วห้องสมุดทุกๆ ที่จะจัด
ทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุดของสถาบันเป็นแบบมาตรฐานการสืบค้นอย่างสะดวก สารสนเทศ
อยู่ในกลุ่มที่ผู้ใช้มีความต้องการสอดคล้องกับหลักสูตรและตรงกับความต้องการของนิสิต นักศึกษา
คณาจารย์ และนักวิชาการ นักวิจัย เนื่องจากมหาวิทยาลัย มหามกุฏวิทยาลัยนั้น เป็นสถาบันการศึกษา
ระดับอุดมศึกษา หรือมหาวิทยาลัยของรัฐที่จะมีการเรียนการสอนในรูปของมหาวิทยาลัยเฉพาะทาง
ส่วนมากจะเน้นด้านพุทธศาสนาและปรัชญา จริยศาสตร์วิชาสังคม ทั้งพื้นฐานและชั้นสูงภาษาและ
วรรณคดีมนุษย์เป็นสัตว์สังคม การที่ห้องสมุดจะจัดสารสนเทศให้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้นั้น
จำเป็นต้องทราบความต้องการของผู้ใช้ก่อนโดยการศึกษาการสังเกตพฤติกรรม การเก็บข้อมูลจากการ
บันทึกรายการยืมคืนส่วนหนึ่ง จะทำให้ทราบถึงพฤติกรรมของผู้ใช้เมื่อทราบถึงพฤติกรรมของผู้ใช้จะ
ทำให้ผู้บริหารห้องสมุดสามารถจัดหาสารสนเทศได้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ และผู้ใช้ก็สามารถ
หาสารสนเทศที่ตนต้องการนั้นได้สะดวก และรวดเร็วที่สุดผู้ใช้สารสนเทศหมายถึงบุคคลทุกคนที่ใช้
สารสนเทศโยเมื่อเกิดความต้องการสารสนเทศและเกิดการแสวงหาสารสนเทศ
เพื่อสนองความต้องการของตนความอยากรู้อยากเห็น หรือนำสารสนเทศนั้นมาใช้ตาม
วัตถุประสงค์ของตนเอง ซึ่งผู้ใช้สารสนเทศสามารถจำแนกได้ตามกลุ่มสาขาวิชาเช่นสาขา
วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์สามารถจำแนกตามกลุ่มอาชีพ เช่นแพทย์
วิศวกรอาจารย์นักศึกษา นักวิจัยการจำแนกผู้ใช้เป็นกลุ่มจะทำให้สามารถศึกษาผู้ใช้ได้สะดวกยิ่งขึ้น
เพราะความต้องการสารสนเทศของผู้ใช้ย่อมแตกต่างกันตามวิชาชีพพื้นฐานและวัตถุประสงค์ของการ
นำสารสนเทศนั้นๆ ไปใช้ (มณีรัตน์ พรกุลวัฒน์, 2543: 40)
นักบริหารห้องสมุดจะจัดการห้องสมุดได้ดีตรงกับความต้องการ และวัตถุประสงค์ของ
สถาบันและผู้มีความต้องการใช้บริการนั้น จำเป็นต้องทราบความต้องการของผู้ใช้บริการและ
วัตถุประสงค์ของสถาบันพอสมควร เช่นการให้บริการสารสนเทศที่ตรงตามความต้องการของ
ผู้ใช้บริการเกิดจากการทราบความต้องการของผู้ใช้โดยการศึกษาสังเกต เก็บข้อมูลเพื่อให้ทราบถึง
พฤติกรรมความต้องการปัญหาของผู้ใช้ จึงจะทำให้ผู้ให้บริการสารสนเทศสามารถจัดบริการ
สารสนเทศได้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ได้มากที่สุด และรวดเร็วที่สุดดังนั้นการศึกษาและทราบ
ความต้องการของผู้ใช้จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง (มณีรัตน์ พรกุลวัฒน์, 2543: 38)
อีกประเด็นหนึ่งก็คือห้องสมุดต้องคำนึงถึงวัตถุประสงค์ของผู้ใช้เป็นสำคัญ ทั้งนี้เพราะ
การกำหนดวัตถุประสงค์ของห้องสมุดนั้นขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้ ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ใช้หลักของ
ห้องสมุดเนื่องจากผู้ใช้แต่ละคนมีความต้องการที่แตกต่างกัน ห้องสมุดต้องสามารถกำหนด
20
วัตถุประสงค์และให้บริการให้ผู้ใช้พอใจถ้าผู้ใช้พอใจในบริการจึงจะถือได้ว่าห้องสมุดนั้นๆ ประสบ
ความสำเร็จดังนั้นห้องสมุดต้องทำการศึกษาผู้ใช้ และประเมินผู้ใช้เพื่อให้ทราบความต้องการความพึง
พอใจรูปแบบการใช้โดยเฉพาะรูปแบบของการช่วยเหลือการบริการการสื่อสารในการให้บริการ และ
ผลจาการศึกษานี้จะนำไปสู่การพัฒนารูปแบบการให้บริการที่ตรงตามความต้องการของผู้ใช้มากที่สุด
เช่นผู้ใช้เด็กๆ มักชอบอ่านหนังสือที่มีรูปภาพมาก และมีสีสัน (มณีรัตน์ พรกุลวัฒน์, 2543: 39 - 40)
นอกจากทำให้ทราบความต้องการที่แท้จริงของกลุ่มเป้าหมายแล้ว ทำให้การวางระบบ
และกลไกในการทำงานและพัฒนาห้องสมุดให้สมบูรณ์มากการศึกษาผู้ใช้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์
ของการออกแบบพัฒนาระบบและผลผลิตให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ระบบ การศึกษาผู้ใช้เป็น
การศึกษาเกี่ยวกับบุคคลพฤติกรรมการกระทำ เจตคติความคิดค่านิยมและนำผลของการศึกษาจะ
นำไปสู่การปรับปรุงการดำเนินงานขององค์กรให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้มากที่สุด โดยเฉพาะ
การวิเคราะห์ถึงความต้องการที่แท้จริงของบุคคล หรือผู้ใช้ย่อมเป็นข้อมูลที่สำคัญสำหรับการวางแผน
การดำเนินงานการพัฒนาความก้าวหน้า และนำความเจริญมาสู่องค์กรสถาบันห้องสมุดตลอดถึง
ผู้บริหารห้องสมุดจำเป็นต้องศึกษากลุ่มเป้าหมาย คือผู้ใช้บริการสารสนเทศในห้องสมุดจะได้เข้าใจ
ถึงปัญหาสาเหตุของปัญหาได้เป็นอย่างดี เข้าถึงความพึงพอใจของผู้ใช้เพื่อการวางแผนหาแนว
ทางการพัฒนา ตลอดถึงการตัดสินใจในการวางกลยุทธดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพการจัดหา
สารสนเทศเข้าสู่ห้องสมุดจะต้องตรงกับความต้องการสอดรับกับหลักสูตรการเรียนการสอน
การทราบความต้องการความคิดเห็นของผู้ใช้ความสามารถของผู้ใช้ จำนวนการใช้เป็น
ประโยชน์อย่างมากต่อการพัฒนาและการบริการจัดการห้องสมุด เนื่องจากการที่สามารถจัดการกับ
ความต้องการของผู้ใช้และการทราบความคิดเห็นของผู้ใช้ทำให้สามารถประหยัดค่าใช้จ่าย และ
เอกสารในการดำเนินการบริการแก่ผู้ใช้นอกจากนี้ การศึกษาผู้ใช้เป็นประโยชน์ต่อการจัดการ
ทรัพยากรสารสนเทศได้อย่างเหมาะสมโดยรวมแล้วห้องสมุดจะมีวัตถุประสงค์หลักๆ คือเพื่อ
การศึกษาค้นคว้าของคณาจารย์ตลอดถึงการค้นคว้าวิจัยและเพื่อให้ความรู้ทางข่าวสาร และความ
จรรโลงใจ นันทนาการ
ผู้ที่เข้ามาศึกษาค้นคว้าในห้องสมุด โดยเฉพาะห้องสมุดของมหาวิทยาลัยหากเป็นนิสิต
นักศึกษาส่วนมากจะใช้ห้องสมุดเพื่อประกอบการเรียนการสอนของอาจารย์ประจำวิชานั้นๆ เพื่อให้
วิชาที่เรียนที่สอนนั้นสมบูรณ์ และมีประสิทธิภาพในการเรียนการสอนเพื่อให้ความต้องการของผู้ใช้
และวัตถุประสงค์ของห้องสมุดตรงกัน จำเป็นที่จะต้องมีผู้เชี่ยวชาญในศาสตร์ทางห้องสมุดโดยตรง
เพื่อจะได้กำหนดวัตถุประสงค์ของห้องสมุด และความต้องการของผู้ใช้ห้องสมุดตลอดถึงปัญหา
อุปสรรค อันจะเกิดตามมาในภายหลังเพราะห้องสมุดแต่ละแห่งจะมีองค์ประกอบที่คล้ายกันอยู่อย่าง
21
หนึ่ง คือเป็นแหล่งรวบรวมวัสดุและสารสนเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้าทางวิชาการและเพื่อเป็นแหล่ง
วัสดุ เพื่อการวิจัย จึงสามารถแบ่งประเภทของสารสนเทศได้ ดังนี้
1. สารสนเทศเป็นสิ่งพิมพ์คือ หนังสือประเภทตำรา หนังสือที่เป็นวิชาการ หนังสือกึ่ง
วิชาการหนังสือวารสารจุลสาร หนังสือพิมพ์รายวันรายสัปดาห์รายปักษ์ เอกสารการประชุมสัมมนา
ทางวิชาการนอกจากนี้ยังมีหนังสือที่เป็นความรู้ทั่วไปในสาขาวิชาแขนงต่างๆ หนังสืออ้างอิงและ
หนังสือที่เป็นคัมภีร์ทางศาสนา อันเป็นหนังสือที่มีคุณค่าอย่างมั่นคงทางเนื้อหาทางพระพุทธศาสนา
ก็คือพระไตรปิฎกเป็นต้น รวมถึงสารสนเทศ บางอย่างที่เป็นการเขียน คือคัมภีร์ใบลานที่เป็นของเก่า
สมัยโบราณ สมุดข่อย ต้นฉบับเดิมล้วนเขียนด้วยมือทั้งสิ้น
2. สารสนเทศที่ไม่ได้เป็นสิ่งพิมพ์ คือภาพยนตร์สารคดีโสตทัศน์วัสดุแถบเสียง แผ่นเสียง
ฟิล์มสคริป สไลด์ แผนที่ และลูกโลก ภาพทั้งเก่าและใหม่ยังมีวัสดุอีกบางอย่างที่ต้องใช้เครื่องชนิด
พิเศษอ่าน วัสดุย่อส่วนต่างๆ เช่น ไมโครฟิล์ม ไมโครการ์ด ไมโครฟิช
วัสดุเพื่อการศึกษาและค้นคว้าวิจัยเหล่านี้ จะต้องจัดหามาไว้ให้สอดคล้องกับความ
ต้องการของผู้ใช้ และให้ทันสมัยอยู่เสมอมีการจัดให้ใช้ประโยชน์โดยทำการจัดทำเลขหมู่และทำ
บัตรรายการตามระบบสากลและอนุรักษ์ไว้ให้อยู่ในสภาพดีเพื่อใช้ประโยชน์ได้เป็นเวลานานเรียกใช้
ได้โดยสะดวก เผยแพร่ให้ผู้ใช้ได้ทราบเพื่อช่วยให้ใช้วัสดุแต่ละชนิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
องค์ประกอบสำคัญของห้องสมุด คืออาคารสถานที่วัสดุเพื่อการศึกษาและค้นคว้าวิจัยบรรณารักษ์ที่มี
คุณวุฒิทางบรรณารักษศาสตร์ และเจ้าหน้าที่ห้องสมุดในจำนวนที่เพียงพอเพื่อทำหน้าที่ให้บริการ
อย่างมีประสิทธิผล ตามวัตถุประสงค์ของห้องสมุดและเงินงบประมาณอย่างเพียงพอที่ได้รับเป็น
ประจำทุกปี (สุทธิลักษณ์ อำพันวงศ์, 2542: 1)
สรุปว่า สารสนเทศนั้นถือเป็นความรู้ที่มีคุณค่าที่สุด เป็นส่วนผสมผสานระหว่างทฤษฎี
และแหล่งข้อมูลที่ได้ผ่านการกลั่นกรองด้วยกระบวนการของการจัดเก็บ ผ่านการวิเคราะห์และ
สังเคราะห์ตามกระบวนการของการจัดเก็บแล้วจึงได้จัดเก็บไว้ในสถานที่ส่วนใดส่วนหนึ่ง ซึ่ง
ส่วนมากแล้วจะเป็นห้องสมุดฉะนั้นห้องสมุดจึงเกี่ยวพันธ์กับสารสนเทศ ซึ่งทั้งสองส่วนต้องมีความ
เกี่ยวโยงกันอย่างลงตัวจึงจะทำให้สารสนเทศนั้นๆ เกิดเป็นความรู้เพื่อให้บริการกับผู้ที่มีความ
ต้องการมาใช้บริการ ดังแผนภูมิที่ 1
สารสนเทศที่ผ่านการวิเคราะห์และจัดเก็บ
ห้องสมุด
เกิดเป็นความรู้
ผู้ใช้บริการ + ผู้มีความต้องการ
22
แผนภูมิที่ 1 แสดงขั้นตอนการวิเคราะห์และจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศ
สารสนเทศจะสนองความต้องการแก่ผู้ใช้บริการได้ ตัวสารสนเทศจะต้องสอดคล้องกับ
เนื้อหาสารสนเทศที่มีอยู่ภายในห้องสมุด เนื้อหาของสารสนเทศสรุปได้ดังนี้
1. เชื่อถือได้และเป็นแก่นสารของความรู้ในแต่ละสาขาวิชา เนื้อหาของสารสนเทศหมายถึง
เนื้อหาที่มีความคิดรวบยอดซึ่งสอดคล้องกับหลักสูตรในสาขาวิชา ที่มีเรียนมีสอนในสถาบันนั้นๆ มี
ความสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงในเหตุการณ์ปัจจุบันและสังคมสารสนเทศที่ดีจะต้องสามารถให้
ผู้ใช้เข้าใจ และเข้าถึงได้ง่ายนั่นจะต้องสัมพันธ์กับระบบการจัดเก็บเกิดความสมดุลย์ระหว่างความลึกซึ้ง
ของสารสนเทศ และความกว้างของเนื้อหาของสารสนเทศที่ดีและตอบสนองความต้องการได้ดีนั้น
จะต้องกว้างและครอบคลุมทั้งหลักสูตรและวัตถุประสงค์ของหลักสูตรตลอดถึงตอบสนองความต้องการ
ผู้ใช้ได้ในระดับสูง
2. สนองความต้องการและความมุ่งหมายได้ในหลายๆ ประการเนื้อหาสาระของสารสนเทศ
ที่ดีนอกจากจะสนับสนุนการเรียนการสอนตามหลักสูตรและวัตถุประสงค์แล้ว ควรที่จะตอบสนอง
สภาพการณ์ในปัจจุบันแบบบูรณาการ
3. สอดคล้องกับการเรียนรู้ประสบการณ์และวุฒิภาวะของผู้ใช้ ในข้อนี้ผู้คัดเลือกสารสนเทศ
คือบรรณารักษ์ประจำห้องสมุดจะต้องเน้นเนื้อหา และคำนึงถึงความพร้อมทางด้านวุฒิภาวะของผู้ใช้
ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้ จึงจะเป็นสารสนเทศที่สมบูรณ์แบบมีความสอดคล้องกับความ
ต้องการและความสนใจของผู้ใช้ ความต้องการของผู้ใช้นั้นควรจะต้องให้ผู้เลือกสรรคำนึงถึง ซึ่งมี
เกณฑ์อยู่ 3 ระดับคือ
1) ความต้องการด้านจิตใจของผู้ใช้
2) ความต้องการทางด้านสังคมซึ่งสัมพันธ์และตอบสนองผู้ใช้ภายนอก
3) ความต้องการตามสภาพของแต่ละบุคคล
ห้องสมุดมีหน้าที่ให้บริการข้อมูลทางสารสนเทศทั้งที่เป็นวิชาการเฉพาะทางเฉพาะแขนง
และยังต้องให้บริการสารสนเทศประเภทอื่นๆ ด้วยเช่นสารสนเทศที่เป็นสิ่งพิมพ์และไม่ใช่สิ่งพิมพ์
“เพราะระดับความคิด และจุดประสงค์ของผู้ใช้ย่อมแตกต่างกันห้องสมุดมีความจำเป็นจะต้องทราบ
ความต้องการของผู้ใช้สิ่งที่ทำให้ผู้ใช้มีความสุขในการใช้บริการและสิ่งที่ห้องสมุดให้บริการและต้อง
ทราบสาเหตุที่ผู้ใช้ไม่มาใช้ห้องสมุด และความรู้สึกของผู้ใช้ทุกๆ คนเกี่ยวกับห้องสมุดเพื่อให้
ห้องสมุดสามารถพัฒนาและตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ให้ได้มากที่สุด หรือทำให้ผู้ใช้พอใจใน
23
การใช้บริการมากที่สุด” (Gosling Mary.1999 : 69) แหล่งรวบรวมวัสดุเพื่อการศึกษาและการค้นคว้าวิจัย
ตลอดถึงการเป็นศูนย์กลางทางวิชาการในทุกแขนงวิชาคือห้องสมุดในทุกสถาบันการศึกษา ต้องมี
ห้องสมุดเพราะถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของสถาบันนั้นๆ การจัดบริการทางการศึกษาโดยทั่วไปแล้ว
จำเป็นจะต้องมีการสำรวจตรวจสอบถึงความต้องการของกลุ่มเป้าหมายอย่างเป็นระบบ ทั้งนี้และ
ทั้งนั้นก็เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ต่อการดำเนินงานในอันที่จะสอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย ดังแนวคิด
ต่อไปนี้ว่า ห้องสมุดในทุกแห่งโดยเฉพาะห้องสมุดของสถาบันอุดมศึกษาจะเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่
ต้องให้บริการครอบคลุมกลุ่มคนที่เป็นนิสิตนักศึกษาอาจารย์และนักวิจัย ภายใต้ข้อจำกัดของ
งบประมาณที่รัฐกำหนดให้โดยผ่านสถาบันนั้นๆ โดยอาจจะได้เป็นเปอร์เซ็นของงบเช่นร้อยละ 10
ของยอดเงินงบประมาณที่สถาบันนั้นๆ ได้โดยไม่รวมค่าก่อสร้างในการจัดการศึกษาระดับการเรียนที่
ใช้ห้องเรียนครูเป็นผู้สอนแล้ว การศึกษาค้นคว้านอกจากจะส่วนหนึ่งแล้วและเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้
วิชาการในสถาบันนั้นๆ มีความก้าวหน้าและทันสมัยทันเหตุการณ์ต่างๆ ได้เป็นอย่างดียิ่งห้องสมุด
ของแต่ละสถาบันนั้นนับว่าเป็นส่วนหนึ่งของสถาบันเพราะว่า ห้องสมุดถือเป็นแหล่งที่จัดเก็บ
สารสนเทศและทรัพยากรที่เป็นสารสนเทศต่างๆ ที่จัดบันทึกไว้ในรูปแบบต่างๆ วัสดุสารสนเทศ
เท่าที่ห้องสมุดจะจัดหาและจัดเก็บนั้นแบ่งเป็นวัสดุที่เป็นสิ่งพิมพ์ และวัสดุที่ไม่ใช่สิ่งพิมพ์
ผู้ใช้สารสนเทศ หมายถึงบุคคลทุกคนที่ใช้สารสนเทศโดยเมื่อเกิดความต้องการสารสนเทศ
และเกิดการแสวงหาสารสนเทศเพื่อให้ได้มาสนองความต้องการความอยากรู้อยากเห็น หรือนำ
สารสนเทศนั้นมาใช้ตามวัตถุประสงค์ของตนเองซึ่งผู้ใช้สารสนเทศสามารถจำแนกได้ตามกลุ่มสาขาวิชา
เช่นสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สังคมศาสตร์มนุษย์ศาสตร์สามารถจำแนกตามกลุ่มอาชีพได้ เช่น
แพทย์วิศวกรอาจารย์นักศึกษานักวิจัยการจำแนกผู้ใช้เป็นกลุ่มจะทำให้สามารถศึกษาผู้ใช้ได้สะดวกยิ่งขึ้น
เพราะความต้องการสารสนเทศของผู้ใช้ ย่อมแตกต่างกันตามวิชาชีพพื้นฐานและวัตถุประสงค์ของการ
นำสารสนเทศนั้นๆ ไปใช้ (มณีรัตน์ พรกุลวัฒน์, 2543: 40)
ห้องสมุดต้องทำการศึกษาผู้ใช้ และประเมินผู้ใช้เพื่อให้ทราบความต้องการความพึงพอใจ
รูปแบบการใช้โดยเฉพาะรูปแบบของการช่วยเหลือการบริการการสื่อสารในการให้บริการ และผล
จากการศึกษานี้จะนำไปสู่การพัฒนารูปแบบ การให้บริการที่ตรงตามความต้องการของผู้ใช้มากที่สุด
เช่นผู้ใช้เด็กๆ มักชอบอ่านหนังสือที่มีรูปภาพมากๆ และมีสีสันและนอกจากทำให้ทราบกลยุทธ์
กลุ่มเป้าหมายแล้วทำให้การวางระบบ และกลไกในการทำงานและพัฒนาห้องสมุดให้สมบูรณ์มาก
การศึกษาผู้ใช้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ของการออกแบบพัฒนาระบบ และผลผลิตให้ตรงกับความ
ต้องการของผู้ใช้ระบบการศึกษาผู้ใช้ เป็นการศึกษาเกี่ยวกับบุคคลพฤติกรรมการกระทำเจตคติ
ความคิดค่านิยม และนำผลของการศึกษาเพื่อใช้ในการปรับปรุงดำเนินงานองค์กรของตนให้ตรงกับ
ความต้องการของผู้ใช้มากที่สุด โดยเฉพาะการวิเคราะห์ถึงความต้องการที่แท้จริงของบุคคลหรือผู้ใช้
24
ย่อมเป็นข้อมูลสำคัญสำหรับการวางแผนการดำเนินงานการพัฒนาความก้าวหน้า และความเจริญไปสู่
องค์กร (ประภาวดี สืบสนธิ์, 2530: 17)
สรุปว่า สถาบันและห้องสมุดตลอดถึงผู้บริหารห้องสมุดจำเป็นต้องศึกษากลุ่มเป้าหมาย
คือผู้ใช้บริการห้องสมุดจะได้เข้าใจถึงปัญหาและสาเหตุของปัญหาได้เป็นอย่างดี และเข้าถึงความพึง
พอใจของผู้ใช้และพฤติกรรมต่างๆ เพื่อการวางแผนและแนวทางการพัฒนาตลอดถึงการตัดสินใจใน
การดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพการจัดหาสารสนเทศเข้าสู่ห้องสมุดก็จะตรงกับความต้องการอย่าง
ที่สุดการทราบความต้องการความคิดเห็นของผู้ใช้ความสามารถของผู้ใช้จำนวนการใช้เป็นประโยชน์
อย่างมากต่อการพัฒนาและการบริการจัดการห้องสมุดเนื่องจากการที่สามารถจัดการกับความต้องการ
ของผู้ใช้และการทราบความคิดเห็นของผู้ใช้ทำให้สามารถประหยัดค่าใช้จ่าย และเอกสารในการ
ดำเนินการบริการแก่ผู้ใช้ นอกจากนี้การศึกษาผู้ใช้เป็นประโยชน์ต่อการจัดการทรัพยากรสารสนเทศ
ได้อย่างเหมาะสม
1.4 การให้บริการสารสนเทศในห้องสมุด
ทรัพยากรทางปัญญาที่มนุษย์ได้สร้างขึ้นในยุคแรกคือหนังสือ ซึ่งมนุษย์ได้ใช้ประสบการณ์
ความคิดความรู้มาจัดเป็นหมวดหมู่ประมวลเข้าด้วยกัน เพื่อถ่ายทอดให้กับมวลมนุษยชาติซึ่งเชื่อกัน
ในกลุ่มของนักคิดนักวิชาการว่าพวกสุมาเรียนนับเป็นพวกแรกๆ ที่ใช้ตัวอักษรเพื่อเก็บรวบรวม
เรื่องราวต่างๆ ประมาณว่าตั้งแต่ 4000 ปีก่อนคริสตกาลต่อมาชนชาวอียีปต์ถือเป็นพวกที่ 2 ที่ใช้
ตัวอักษรชนชาวจีนเป็นผู้ที่คิดค้นการทำกระดาษใช้เป็นชาติแรกในโลกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 2 ชาว
เยอรมันคิดค้นเครื่องพิมพ์ดีดได้ใช้ระบบการพิมพ์หนังสือ เอกสารและงานวิจัยสาขาบรรณรักษ์
ศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์จะพบอยู่แต่ข้อเขียนเชิงประวัติศาสตร์ทางห้องสมุดในประเทศไทยว่ามี
มาแต่สมัยสุโขทัยเป็นราชธานีเป็นส่วนมากไม่มีหลักฐานชี้ชัดว่า สมัยก่อนนั้นสร้างห้องสมุดเป็น
เอกเทศต่างหากเหมือนสมัยปัจจุบันนี้ สถานที่ราชการหรือสถาบันการศึกษาทุกระดับต้องมีห้องสมุด
โดยเรียกว่าหอสมุดกลางสำนักหอสมุดสำนักวิทยบริการซึ่งก็คือห้องสมุด
สมัยสุโขทัย ได้พบหลักฐานปรากฏอยู่ในสถานที่อันเป็นโบราณสถานของสุโขทัยว่า
เป็นหอสมุดมีหอแล้วในสมัยนั้นเพราะวัดต่างๆ ในสมัยนั้นพระพุทธศาสนาเถรวาทเจริญรุ่งเรืองมาก
มีการติดต่อกันอย่างเป็นทางการระหว่างพระสงฆ์หรือคณะสงฆ์จากศรีลังกา โดยผ่านนครศรีธรรมราช
มายังกรุงสุโขทัยและละแวกใกล้เคียงการจำลองหรือคัดลอกคัมภีร์สำคัญๆ เช่นพระไตรปิฎกมีแล้ว
เวลานั้น เอกสารที่ได้ย่อมเป็นตำราทางวิชาการด้านพระพุทธศาสนาและสรรพวิชาอื่นๆ การเก็บรักษา
ตำราก็ต้องมีสถานจำเพาะเป็นส่วนเอกเทศวัดจึงมีการสร้างหอไตรขึ้น ในพระราชวังก็ต้องมี “หอพระ
สมุด” ในหอสมุดจึงเป็นแหล่งเก็บหนังสือหรือสารสนเทศในขณะนั้นในสมัยสุโขทัยพระมหาธรรม
ราชาไทยได้ ทรงพระราชนิพนธ์หนังสือขึ้นหนึ่งเรื่องมีชื่อว่า”เตภูมิกถา” หรือในกาพย์ไทยว่า “ไตร
25
ภูมิพระร่วง” ในหนังสือเล่มนี้ได้แสดงที่มาหรือปัจจุบันเรียกว่าอ้างอิงนั้นเองคืออ้างคัมภีร์ทาง
พระพุทธศาสนาไว้หลากหลายมาก แสดงว่าคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาได้ถูกเก็บรักษาไว้ภายในหอ
พระสมุดในพระราชวัง ที่ไม่ปรากฏเป็นหลักฐานทางวัตถุว่ามีหอสมุดหรือไม่มีเกิดจากสาเหตุที่
หอสมุดสมัยนั้นสร้างจากไม้จึงผุ และถูกปลวกทำลาย
หลักฐานยืนยันได้ว่าสมัยก่อนสุโขทัยได้เคยมีห้องสมุดหรือไม่พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
เป็นผู้ประดิษฐ์อักษรไทยปีพุทธศักราช 1826 มีการเก็บคัมภีร์พระไตรปิฎกเรียกว่า “หอไตร”
สันนิษฐานว่าย่อมาจากคำว่า “หอพระไตรปิฎก” ที่อยู่ตามวัดทั่วไปและมีพระสงฆ์ทำหน้าที่ดูแลคล้าย
หน้าที่ “บรรณารักษ์” ในปัจจุบันนี้
ยุคสุโขทัยเริ่มมีหลักฐานวรรณกรรมไทยหลายเล่ม เช่นไตรภูมิกถาหรือไตรภูมิพระร่วง
และสุภาษิตพระร่วงเป็นต้นว่าวรรณกรรมไทยสมัยอยุธยามีเพิ่มขึ้นพระมหากษัตริย์หลายพระองค์สน
พระทัยวรรณกรรม ภายในพระบรมมหาราชวังจึงได้สร้างสถานที่เก็บหนังสือทั้งวรรณกรรมตัวบท
กฎหมายและเอกสารราชการอื่นๆ เรียกว่า “หอหลวง” ส่วนตามวัดก็ยังคงมี “หอไตร” ทั่วไปแต่หลัง
การเสียกรุงครั้งที่สองหนังสือตามหอหลวงและหอไตรถูกพม่าเผาทิ้งมาก (จุมพจน์ วานิชกุล, 2545: 1)
ประเภทของห้องสมุดก็จะจำกัดให้ทราบการใช้สารสนเทศได้ดี เพราะฉะนั้นจึงนำไปสู่
ผลการประเมินและการตัดสินใจของผู้บริหารในรูปของการขยายการลงทุนการพัฒนา จากปัจจัย
ดังนี้คือ สำรวจอาคารเพื่อหาความโอ่โถงและความจุความสะดวกสบายของผู้ใช้บริการนำไปสู่การ
จัดซื้อจัดหาและการวางเทคนิคการให้บริการพร้อมกันนั้นก็จะสำรวจสารสนเทศบางอย่าง ที่ไม่ได้ถูก
ใช้มานาน สิ่งเหล่านี้จะถูกยกขึ้นมาเป็นประเด็นต่อการพัฒนาสารสนเทศในห้องสมุดแต่ละสถาบัน
การขยายห้องสมุดก็ดีการวางระบบด้านเทคนิคการให้บริการห้องสมุดส่วนใหญ่ บรรณารักษ์เท่านั้นผู้
ที่จะต้องใช้และทดลองใช้ตลอดถึงการอยู่กับมันตลอดไป แต่การเริ่มต้นและการวางระบบที่เหมาะ
หรือไม่เหมาะสมมักจะเริ่มจากผู้บริหารของสถาบันนั้นๆ ซึ่งบรรณารักษ์ไม่ค่อยได้รับรู้ผู้เสนอไป
แผนเหล่านี้จะต้องพบเจอ ปัญหาและอุปสรรคบางอย่างผู้ที่จะทำหน้าที่แก้ไขจุดนี้คนแรกคือ
บรรณารักษ์ของห้องสมุด ดังนั้นผู้บริหารกับบรรณารักษ์ของแต่ละห้องสมุดต้องตระหนักและควรจะ
คำนึงถึงเหตุปัจจัยต่อไปนี้แล้วจึงตัดสินใจในทางใดๆ ทางหนึ่งคือ
1. ผู้บริหารระดับสูงสุดต้องศึกษาร่วมมือกับบรรณารักษ์ในการจัดวางระบบพัฒนาระบบ
และจัดซื้อจัดหาสารสนเทศ
2. การจัดซื้อจัดหาสารสนเทศ ต้องมุ่งคุณภาพและประโยชน์อันจะเกิดกับผู้ใช้บริการเป็น
สำคัญ
3. ต้องมีบุคลากรที่พร้อมและเทคโนโลยีที่จำเป็น
4. ทีมงานต้องมีความเข้าใจมีความรู้และมีความทุ่มเทกับงาน
26
5. ยอมรับความเปลี่ยนแปลงและความคิดเห็นรอบด้าน
6. การพัฒนาห้องสมุดต้องใช้เงินผู้บริหารต้องมีวิสัยทัศน์ในกิจการห้องสมุด
ห้องสมุดของแต่ละแห่งแต่ละสถาบันๆ จะมีเอกวิชาและแขนงวิชามากน้อยเพียงใดนั้นอยู่
ที่เป้าหมายของสถาบันแต่โดยรวมแล้วห้องสมุดจะมีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาค้นคว้าวิจัย การ
สนับสนุนต่อหลักสูตรที่เปิดเรียนเปิดสอนของสถาบันเพื่อให้ความรู้ทางข่าวสาร ความจรรโลงใจ
และเพื่อนันทนาการ
ความสำเร็จในระดับสูงของวิชาการในแต่ละสถาบันนั้น ห้องสมุดนับว่าเป็นปัจจัยหนึ่งที่
สำคัญยิ่ง การที่สถาบันและหน่วยงานต่างไม่สามารถบรรลุเป้าหมายตามประสงค์หรือตามปณิธานได้
นั้น ห้องสมุดก็นับว่ามีส่วนสำคัญเพราะบรรณารักษ์ห้องสมุดเป็น ผู้คัดเลือกสารสนเทศมาประจำ
ห้องสมุดเพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้บริการห้องสมุด จึงมีส่วนในการรับผิดชอบงานก้านบริการห้องสมุด
ทุกๆ ด้านเพื่อให้ผู้ใช้ได้รับสารสนเทศที่ตรงกับความต้องการทันสมัยทันเหตุการณ์สะดวกและรวจ
เร็ว ทั้งที่มีอยู่ภายในห้องสมุดและภายนอกคือแหล่งสารสนเทศอื่นๆ ผู้ที่เข้าศึกษาค้นคว้าในห้องสมุด
โดยเฉพาะห้องสมุดของมหาวิทยาลัยหากเป็นนิสิตนักศึกษาส่วนมากจะใช้ห้องสมุดเพื่อประกอบการ
เรียนการสอนของอาจารย์ประจำวิชานั้นๆ เพื่อให้วิชาที่เรียนที่สอนนั้นสมบูรณ์ และมีประสิทธิภาพ
ในการเรียนการสอน และเพื่อให้ความต้องการของผู้ใช้ และวัตถุประสงค์ของห้องสมุดตรงกันจำเป็น
ที่จะต้องมีผู้เชี่ยวชาญในศาสตร์ทางห้องสมุด โดยตรงเพื่อจะได้กำหนดวัตถุประสงค์ของห้องสมุด
และความต้องการของผู้ใช้ห้องสมุดตลอดถึงปัญหาอุปสรรคอันจะเกิดตามมาในภายหลัง เพราะ
ห้องสมุดแต่ละแห่งจะมีองค์ประกอบที่คล้ายกันอยู่อย่างหนึ่ง คือเป็นแหล่งรวบรวมวัสดุและ
สารสนเทศซึ่งเป็นทรัพยากรของห้องสมุด ทั้งนี้ก็เพื่อการศึกษาค้นคว้าทางวิชาการและเพื่อการวิจัยจึง
สามารถแบ่งประเภทของทรัพยากรและสารสนเทศที่ให้บริการภายในห้องสมุดได้ดังนี้
1. สารสนเทศที่เป็นสิ่งพิมพ์ เป็นหนังสือประเภทตำราหนังสือที่เป็นวิชาการหนังสือถึง
วิชาการหนังสือ วารสารจุลสารหนังสือพิมพ์รายวันรายสัปดาห์รายปักษ์ เอกสารการประชุมสัมมนา
ทางวิชาการนอกจากนี้ยังมีหนังสือที่เป็นความรู้ทั่วไปในสาขาวิชาแขนงต่างๆ หนังสืออ้างอิง และ
หนังสือที่เป็นคัมภีร์ทางศาสนาอันเป็นหนังสือที่มีคุณค่าอย่างมั่นคงทางเนื้อหาทางพระพุทธศาสนา
คือพระไตรปิฎกเป็นต้น รวมถึงสารสนเทศบางอย่างที่เป็นตัวเขียน คือคัมภีร์ใบลานที่เป็นของเก่าสมัย
โบราณเช่นสมุดข่อย ต้นฉบับเดิมล้วนเขียนด้วยมือทั้งสิ้น
2. สารสนเทศที่ไม่ได้เป็นสิ่งพิมพ์ คือภาพยนตร์สารคดีโสตทัศนวัสดุแถบเสียงฟิล์ม
สตริป สไสด์ แผนที่และลูกโลก ภาพทั้งเก่าและใหม่ ยังมีวัสดุอีกบางอย่างที่ต้องใช้เครื่องชนิดพิเศษ
วัสดุย่อส่วนต่างๆ คือไมโครฟิชไมโครการ์ดและไมโครฟิล์ม
27
วัสดุเพื่อการศึกษาและค้นคว้าวิจัยเหล่านี้จะต้องมีการเลือกคัด เพื่อจัดหามาไว้ให้
สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้และให้ทันสมัยอยู่เสมอ ต้องมีการจัดให้ใช้ประโยชน์โดยทำการ
จัดหมู่และทำบัตรรายการตามระบบสากล ต้องอนุรักษ์ไว้ให้อยู่ในสภาพที่ดีและใช้ประโยชน์ได้เป็น
เวลานาน ต้องเรียกใช้ได้โดยสะดวกและเผยแพร่ให้ผู้ใช้ได้ทราบเพื่อช่วยให้ใช้วัสดุแต่ละชนิดได้
อย่างมีประสิทธิภาพองค์ประกอบสำคัญของห้องสมุดคืออาคารสถานที่ วัสดุเพื่อการศึกษาและ
ค้นคว้าวิจัยบรรณารักษ์ที่มีคุณวุฒิทางบรรณารักษศาสตร์ และเจ้าหน้าที่ห้องสมุดในจำนวนที่เพียงพอ
เพื่อทำหน้าที่ให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพผลตามวัตถุประสงค์ของห้องสมุด และเงินงบประมาณ
อย่างเพียงพอที่ได้รับเป็นประจำทุกปี (สุทธิลักษณ์ อำพันวงศ์, 2542 : 1)
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ได้ทรงประทานพระราชดำรัสตอนหนึ่งใจความว่า บริการ
ห้องสมุดเป็นบริการด้านความรู้ ข้อมูลข่าวสารเพื่อการพัฒนาทุกด้านส่วนใหญ่เป็นบริการของรัฐจัดขึ้น
เพื่อการศึกษาของแต่ละคน และเพื่อให้สนองความต้องการในการพัฒนาประเทศโดยส่วนรวมห้องสมุด
เป็นสถาบันซึ่งต้องใช้บุคลากรที่ได้รับการฝึกฝนทางวิชาชีพ โดยเฉพาะเป็นผู้ปฏิบัติงานความสัมพันธ์
ระหว่างสถาบันห้องสมุด และสถาบันฝึกอบรมทางวิชาบรรณารักษ์ศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์จึง
เป็นสิ่งจำเป็นมาก นอกจากนี้บริการห้องสมุดเป็นบริการแก่สังคมเพื่อความก้าวหน้าทุกวิถีทางของสังคม
ห้องสมุดกับสังคมจึงต้องมีความสัมพันธ์กันอย่างแน่นแฟ้น การที่จะกล่าวว่าต้องสัมพันธ์ช่วยเหลือ
เกื้อกูลกันทำงานร่วมกันประสานงานกัน รักษามาตรฐานเดียวกันกล่าวได้ไม่ยากแต่การปฏิบัติให้ได้
ดังกล่าวยากเย็นนัก (สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ, 2528: 17)
แหล่งจัดเก็บสารสนเทศที่สำคัญนั้นอยู่ที่การจัดการของห้องสมุด ว่าจะจัดในรูปแบบใด
แต่ส่วนใหญ่แล้วห้องสมุดทุกๆ ที่จะจัดทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุดของสถาบันเป็นแบบ
มาตรฐานการสืบค้นสะดวก สารสนเทศอยู่ในกลุ่มนี้ผู้ใช้มีความต้องการ และตรงกับความต้องการ
ของนิสิต นักศึกษาคณาจารย์ และนักวิชาการนักวิจัย เนื่องจากมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยนั้น
เป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา หรือมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐที่เปิดการเรียนการสอนใน
รูปของวิชาเฉพาะทางซึ่งส่วนใหญ่จะเน้นด้านพุทธศาสนาและปรัชญาจริยศาสตร์ วิชาสังคมทั้ง
พื้นฐานและชั้นสูงภาษาและวรรณคดี การที่ห้องสมุดจะจัดสารสนเทศให้ตรงตามความต้องการของ
ผู้ใช้จำเป็นต้องทราบความต้องการของผู้ใช้ก่อนการศึกษาการสังเกตการ เก็บข้อมูลจะทำให้ทราบถึง
พฤติกรรมของผู้ใช้ เมื่อทราบถึงพฤติกรรมของผู้ใช้จะทำให้ผู้บริหารห้องสมุดสามารถจัดหา
สารสนเทศ ได้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้และผู้ใช้ก็สามารถหาสารสนเทศที่ตนต้องการนั้นได้
สะดวกและรวดเร็วที่สุด บริการห้องสมุดจำแนกได้ดังนี้
1. บริการการอ่านบริการการอ่านเป็นบริการหลักของห้องสมุดทำหน้าที่ในการจัดเตรียม
ทรัพยากรสารสนเทศทุกประเภทที่มีคุณค่าต่อการศึกษาค้นคว้าให้แก่ผู้ใช้โดยนำมาจัดหมวดหมู่ หรือ
28
จัดเก็บตามประเภทของทรัพยากรเพื่อให้เกิดความสะดวก ในการค้นหามีบรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่
ห้องสมุดคอยให้บริการแนะนำผู้ใช้ในการค้นหาสารสนเทศ มีการจัดเตรียมที่นั่งอ่านหนังสือแสง
สว่าง บรรยากาศ และสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมต่อการอ่าน นอกจากนี้ยังรวมถึงการจัดเตรียมวัสดุ และ
อุปกรณ์อื่นๆ ที่จะช่วยอำนวยความสะดวกใน การค้นคว้าด้วย เช่นคอมพิวเตอร์เครื่องพิมพ์โทรศัพท์
เป็นต้น
2. บริการจ่าย-รับ หรือบริการยืม - คืน มีหน้าที่เบื้องต้นคือ การให้ยืมและรับคืนทรัพยากร
สารสนเทศของห้องสมุดทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด เช่นหนังสือวารสาร จุลสาร หรือวัสดุ
อื่นๆ ที่ผู้ใช้ห้องสมุดต้องการ ปัจจุบันห้องสมุดส่วนใหญ่ได้มีการยืม - คืนโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์
ทำให้เกิดความสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้นนอกจากนี้บริการจ่าย - รับอาจเกี่ยวข้องกับการทำบัตรสมาชิก
เพื่อใช้ในการยืม – คืนหนังสือ
3. การติดตามทวงถามในกรณีที่ผู้ใช้ยืมหนังสือไปแล้วยังไม่มีการนำมาคืน ตามวัน
กำหนดส่งทางเจ้าหน้าที่จะดำเนินการทวงหนังสือคืนเพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้คนอื่นๆ ต่อไปการ
ปรับ หากผู้ใช้นำหนังสือไปแล้วนำมาคืนช้ากว่ากำหนดผู้ใช้จะต้องเสียค่าปรับตามระเบียบการใช้
ห้องสมุดแห่งนั้นๆ กำหนดไว้เช่นปรับเล่มละ 5 บาท ต่อ 1 วันนอกจากนี้ยังมีบริการอื่นๆ อีกเช่นการ
ทำสถิติการยืมหรือการตรวจสอบประวัติการยืม – คืน ของสมาชิกแต่ละคนซึ่งปัจจุบันนี้การใช้ระบบ
ห้องสมุดอัตโนมัติทำให้ผู้ใช้สามารถทำการตรวจสอบประวัติการยืม – คืน ของตนได้อย่างรวดเร็ว
4. บริการจองหนังสือ คือบริการที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้ห้องสมุดสามารถจองหนังสือที่มีผู้
ยืมออกไปในขณะนั้นได้ด้วยการแจ้งความจำนง ให้ทางห้องสมุดทราบเมื่อผู้ที่ยืมหนังสือไปนำ
หนังสือมาคืนห้องสมุดจะไม่อนุญาตให้ผู้ที่นำหนังสือมาคืนต่ออายุการยืม และจะเก็บหนังสือนั้นไว้
ให้ผู้จองคนอื่น ต่อไป
5. บริการหนังสือสำรองหนังสือสำรองหมายถึงหนังสือที่มีจำนวนน้อยแต่มีผู้ต้องการ
ใช้มาก ในเวลาจำกัดเมื่อมีผู้ร้องขอให้จัดหนังสือเล่มใดเล่มหนึ่ง หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเป็นหนังสือ
สำรองทางห้องสมุดจะจัดแยกหนังสือ นั้นออกมาแล้วกำหนดระยะเวลาในการยืมให้สั้นลงหรืองด
ให้ยืมเพื่อให้ผู้ใช้สามารถอ่านได้ทั่วถึงกัน เช่นอาจารย์ได้มอบหมายให้นักศึกษาอ่านหนังสือเล่มหนึ่ง
แต่เป็นหนังสือที่ห้องสมุดมีจำนวนน้อยก็จะแจ้งให้ทางห้องสมุดจัดหนังสือนั้นเป็นหนังสือสำรอง
โดยลดระยะเวลาในการยืมจากเดิม 7 วันให้เหลือยืมได้ 1-2 วันหรืออาจกำหนดให้อ่านเฉพาะภายใน
ห้องสมุดเท่านั้น
6. บริการแนะนำการอ่านบริการนี้บรรณารักษ์หรือเจ้าหน้าที่ห้องสมุดจะช่วยแนะนำ
หนังสือวารสารและสิ่งพิมพ์ให้แก่ผู้ใช้ด้วยวิธีการต่างๆ เช่นจัดนิทรรศการแนะนำเป็นการส่วนตัว
จัดทำบรรณานุกรม หรือรายชื่อหนังสือในสาขาวิชาที่น่าสนใจหนังสือดีเด่นที่ได้รับรางวัลออก
29
เผยแพร่ หรือวิจารณ์หนังสือเพื่อเป็นการชักจูงให้ผู้อ่านสนใจอยากอ่านมากขึ้น และเป็นแนวทางให้
ผู้ใช้ในการเลือกอ่านการแนะนำอาจจะมีการแนะนำเป็นรายบุคคลหรือแบบกลุ่มก็ได้
7. บริการสอนและแนะนำการใช้ห้องสมุดบริการสอน และแนะนำการใช้ห้องสมุดมี
บทบาทสำคัญในการสร้างทักษะแก่ผู้ใช้เกี่ยวกับการศึกษาค้นคว้า เพื่อให้ผู้ใช้สามารถค้นหา
สารสนเทศในห้องสมุดและแหล่งสารสนเทศอื่นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นการสืบค้นจาก
ฐานข้อมูลรายการทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด (OPAC) การสืบค้นฐานข้อมูลสำเร็จรูป CDROM
การสืบค้นข้อมูล จากฐานข้อมูลออนไลน์ และการค้นข้อมูลที่มีกระจายอยู่บนเครือข่าย
อินเตอร์เน็ต นอกจากนี้ ทางห้องสมุดอาจมีการจัดทำคู่มือการใช้ห้องสมุดหรือสอนการใช้โปรแกรม
ของห้องสมุดที่เกี่ยวข้องกับการสืบค้นสารสนเทศ การสอนจัดทำออกมาได้ 2 ลักษณะ คือ
7.1 การสอนรายบุคคลเป็นการสอนให้เฉพาะบุคคลที่ต้องการบรรณารักษ์หรือ
เจ้าหน้าที่ห้องสมุด ช่วยสอนในเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้า หรือทำให้เกิด
ทักษะในการค้นคว้า
7.2 การสอนแบบกลุ่มเป็นการสอนโดยผู้ใช้รวมกลุ่มกันมาติดต่อกับ ทางห้องสมุด
ให้มีการสอนหรือแนะนำการใช้ห้องสมุด รวมถึงวิธีการใช้โปรแกรมการสืบค้นของห้องสมุดผู้ใช้
จะต้องแจ้งจำนวนของผู้ที่ต้องการเข้ารับการสอนเพื่อทางห้องสมุดจะได้จัดตารางเวลาและดำเนินการ
ต่อไป
8. บริการยืมระหว่างห้องสมุด เป็นบริการที่ห้องสมุดยืมหนังสือหรือวัสดุการอ่านอื่นๆ ที่
ไม่มีในห้องสมุดจากแหล่งสารสนเทศอื่นเพื่อบริการแก่ผู้ใช้การยืมระหว่างห้องสมุด ผู้ใช้อาจยืมเป็น
ตัวเล่มโดยมีกำหนดส่งคืนที่แน่นอนหรือขอถ่ายสำเนาเอกสารสิ่งพิมพ์ที่ไม่สามารถ ยืมออกนอก
ห้องสมุดได้เช่นหนังสืออ้างอิง บทความจากวารสารเป็นต้นระยะเวลาการให้ยืม และค่าใช้จ่ายในการ
ถ่ายสำเนาขึ้นกับระเบียบและข้อบังคับของห้องสมุดที่เป็นเจ้าของหนังสือหรือสิ่งพิมพ์นั้น และ
ผู้ใช้บริการจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง การยืมระหว่างห้องสมุดอาจเป็นความร่วมมือ
ระหว่างห้องสมุดทั้งภายในและต่างประเทศปัจจุบันนิยมใช้วิธีการทำเอกสาร ในลักษณะเอกสาร
อิเล็กทรอนิกส์แล้วส่งทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้เกิดความรวดเร็ว ทันต่อความต้องการของ
ผู้ใช้
9. บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้าบริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้าหมายถึง
บริการตอบคำถาม และช่วยเหลือผู้ใช้หาคำตอบที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องจากทรัพยากร
ของห้องสมุดโดยบรรณารักษ์อาจหาคำตอบจากหนังสืออ้างอิงหรือจากคู่มือช่วยค้นอื่นๆ ปัจจุบัน
บริการนี้ได้ขยายขอบเขตมากขึ้นจึงเปลี่ยนมาเรียกว่า บริการการค้นสารสนเทศซึ่งมีความหมาย
กว้างขวาง และลึกซึ้งกว่าบริการตอบคำถาม และช่วยการค้นคว้าเพราะมีขอบเขตรวมถึงการค้นคว้า
30
ข้อมูลข่าวสาร หรือเรื่องราวในสาขาวิชาต่างๆ อย่างละเอียดโดยไม่ได้ค้นเฉพาะภายในห้องสมุด
เท่านั้น แต่จะค้นจากแหล่งสารสนเทศอื่นๆ รวมถึงการติดต่อสอบถาม จากผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้ได้มาซึ่ง
คำตอบที่ผู้ใช้ต้องการ
10. บริการรวบรวมบรรณานุกรม เป็นบริการจัดรวบรวมรายการสิ่งพิมพ์และโสตทัศนวัสดุ
ที่มีในห้องสมุดในรูปแบบของบรรณานุกรมแล้วนำมาจัดเรียงตามหัวเรื่องหรือชื่อผู้แต่งอาจมีรายละเอียด
อื่นๆ ให้ด้วยเช่นจำนวนหน้าราคาหรือเนื้อเรื่องย่อห้องสมุดบางแห่งอาจจะมีการจัดรวบรวม
บรรณานุกรมเฉพาะสาขาวิชา
11. บริการข่าวสารทันสมัยเป็นบริการที่ช่วยให้ผู้ใช้ห้องสมุดได้ทราบข่าวสารข้อเท็จจริง
หรือความก้าวหน้าใหม่ๆ ในวิชาการที่ผู้ใช้สนใจอย่างรวดเร็วบริการข่าวสารทันสมัยอาจทำได้หลาย
วิธีเช่นการแจ้งรายชื่อสิ่งพิมพ์ใหม่ๆ ที่เข้ามาในห้องสมุดหรืออาจนำภาพหน้าสารบัญวารสารฉบับ
ใหม่บรรจุไว้ในเว็บไซต์ของห้องสมุดเพื่อให้เกิดความรวดเร็วเพิ่มความสะดวกแก่ผู้ใช้ และช่วย
ป้องกันการสูญหายของวารสารฉบับจริงได้
12. บริการสืบค้นสารสนเทศสารสนเทศหมายถึงข้อเท็จจริงข่าวสารข้อมูลตลอดจนความรู้
ซึ่งได้มีการบันทึกไว้ในวัสดุทั้งสิ่งตีพิมพ์โสตทัศนวัสดุวัสดุย่อส่วนวีดิทัศน์ (Video Tape) เทปแม่เหล็ก
จานแม่เหล็กแผ่นซีดี-รอม บริการสืบค้นสารสนเทศแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือบริการสืบค้นรายการ
สารสนเทศจากฐานข้อมูลของห้องสมุดบริการสืบค้นสารสนเทศจากฐานข้อมูลสำเร็จรูปซีดี - รอมและ
บริการสืบค้นสารสนเทศ ระบบออนไลน์
12.1 บริการสืบค้นสารสนเทศจากฐานข้อมูลของห้องสมุด
12.2 บริการสืบค้นสารสนเทศจากฐานข้อมูลสำเร็จรูปซีดี - รอม ตัวอย่างฐานข้อมูล
สำเร็จรูปที่สำคัญได้แก่ AGRIS เป็นฐานข้อมูลอ้างอิงด้านการเกษตรและเทคโนโลยีทางการเกษตร
จากประเทศต่างๆ มากกว่า 110 ประเทศตั้งแต่ปี 1957-1997 ให้ข้อมูลในรูปของรายการบรรณานุกรม
และสาระสังเขป เป็นฐานข้อมูลอ้างอิงด้านชีววิทยาทางการเกษตรและสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ปี 1997 ถึง
ปัจจุบันให้ข้อมูลในรูปของรายการบรรณานุกรมและสาระสังเขป เป็นฐานข้อมูลอ้างอิงด้าน
การเกษตรและสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ปี 1983 ถึงปัจจุบันให้ข้อมูลในรูปของรายการบรรณานุกรมและ
สาระสังเขป
13. บริการโสตทัศนวัสดุอุปกรณ์ห้องสมุดที่มีการจัดเก็บและให้บริการโสตทัศน วัสดุ
เช่น ภาพนิ่ง วัสดุย่อส่วน ภาพยนตร์ รูปภาพ แผนที่ แผนภูมิ เทปบันทึกเสียง และแผ่นเสียงผู้ใช้
สามารถขอใช้บริการภายในห้องสมุดหรือยืมออกไปใช้นอกห้องสมุดได้ นอกจากนี้ยังมีบริการฉาย
ภาพยนตร์ หรือวีดิทัศน์ในโอกาสต่างๆ บริการบันทึกภาพ และเสียง บริการทำสำเนาเทปตลับบริการ
พิมพ์ภาพไมโครฟิล์ม ไมโครฟิช บริการผลิตโสตทัศนวัสดุเพื่อการศึกษา เป็นต้น
31
14. บริการจัดพิมพ์และเผยแพร่เอกสารงานห้องสมุดและห้องสมุดจะจัดทำเอกสารเพื่อ
เผยแพร่ผลงานบริการของห้องสมุดให้ผู้ใช้ได้ทราบอย่างทั่วถึงกัน และเป็นการประชาสัมพันธ์
กิจกรรมของห้องสมุดด้วย เช่นการทำจดหมายข่าวห้องสมุดการจัดพิมพ์ รายชื่อหนังสือใหม่
บรรณานุกรม สาระสังเขป
15. บริการวิชาการแก่ชุมชนเป็นการเผยแพร่ความรู้ และชักจูงให้ผู้ใช้รักการอ่านเป็น
บริการให้กับประชาชนในชุมชนที่ใกล้เคียงหรือห่างออกไป ที่นอกเหนือจากกลุ่มผู้ใช้ประจำกิจกรรม
หรือ บริการที่จัดทำเช่นการช่วยจัดระบบห้องสมุด การบริการห้องสมุดเคลื่อนที่การจัดงาน แสดง
หนังสือจัดนิทรรศการในโอกาสต่างๆ เพื่อให้ประชาชนที่อยู่ในชุมชน สามารถเข้าร่วมกิจกรรมที่
ห้องสมุดได้
16. บริการถ่ายสำเนาเอกสาร ห้องสมุดจะจัดบริการถ่ายสำเนาเอกสารไว้เพื่ออำนวยความ
สะดวกแก่ผู้ใช้เพราะเอกสารบางชนิดจะไม่อนุญาตให้ยืมออกจากห้องสมุด เช่นหนังสืออ้างอิง
หนังสือสำรอง วารสารอีกทั้งเพื่อช่วยให้ผู้ใช้ประหยัดเวลาในการคัดลอกอีกด้วย
17. บริการสิ่งพิมพ์ร์ ัฐบาล
18. วิทยานิพนธ์หรือปริญญานิพนธ์ รายงานการวิจัยและภาคนิพนธ์
19. พจนานุกรม และสารานุกรม
20. บริการหนังสือคู่มือ
21. บริการดรรชนี และสาระสังเขป
22. บริการบรรณานุกรม
23. นามานุกรม
24. อักขรานุกรมชีวประวัติ
25. จุลสาร
26. กฤตภาค
การบริการสารสนเทศเป็นหน้าที่และเป็นสิ่งจำเป็นที่ทางสถาบัน จำต้องจัดหาและจัดการ
ให้มีให้เกิดมีขึ้นเพื่อสนองความต้องการของผู้ใช้บริการและเพื่อเป็นแหล่งข้อมูลในการวางแผน และ
การพัฒนาสถาบันของตนให้เจริญก้าวหน้าตาม ปรัชญา ปณิธาน และวัตถุประสงค์ของสถาบันที่ได้
กำหนดไว้ตลอดถึงความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของห้องสมุด สนองวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
ซึ่งแยกเป็นประเด็นได้ดังนี้
1. ต้องจัดหาทรัพยากรสารสนเทศให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของห้องสมุด
2. สนองความต้องการของผู้ใช้บริการคือต้องจัดหาหนังสือที่จำเป็น และสอคล้องกับ
หลักสูตรการเรียนการสอนซึ่งอยู่ภายใต้ความต้องการของผู้ใช้อันเป็นการลดช่องว่าง
32
3. การกำหนดปริมาณหรือจำนวนหนังสือ ซึ่งตามมาตรฐานแล้วห้องสมุดจำเป็นต้องมี
หนังสือที่สอดคล้องกับหลักสูตรและความต้องการของผู้ใช้แล้ว จำเป็นต้องกำหนดปริมาณด้วยซึ่ง
ปริมาณและจำนวนนั้นกำหนดตามมาตรฐาน ดังนี้
ห้องสมุดประชาชนจัดทำโดยสหพันธ์สากลแห่งสมาคมห้องสมุด ในปี ค.ศ.1973 ได้
กำหนดมาตรฐานขั้นต่ำให้มีจำนวนหนังสือ 9,000 เล่ม ต่อจำนวนประชากร 3,000 คน มาตรฐาน
ห้องสมุดโรงเรียนฉบับที่ 3 ค.ศ.1969 ของสมาคมห้องสมุดอเมริกัน (American library association)
กำหนดให้มีหนังสือจำนวน 10,000 เล่ม หรือ 20 เล่ม ต่อนักเรียน 1 คน ส่วนมาตรฐานห้องสมุด
วิทยาลัย และมหาวิทยาลัยของสมาคมห้องสมุดวิทยาลัยและห้องสมุดวิจัยกำหนดจำนวนหนังสือว่า
ควรมี 50,000 เล่ม สำหรับมหาวิทยาลัยที่มีนักศึกษา 600 คนและเพิ่มอีก 10,000 เล่ม ต่อนักศึกษาที่
เพิ่มขึ้นทุกๆ 200 คน (วัลลภ สวัสดิวัลลภ, 2536 : 2)
2. ทฤษฎีการประเมิน
การประเมินผลตามทัศนะของนักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญหลายท่านได้ให้คำจำกัดความ
ไว้ดังนี้การประเมินผล (Evaluation) หมายถึงการนำเอาข้อมูลทั้งหลาย ที่ได้จากการคิดมาใช้ในการ
ตัดสินใจโดยการหาข้อสรุปตัดสินประเมินค่าหรือตีราคาโดยเปรียบเทียบกับข้อมูลอื่นๆ หรือเกณฑ์
ที่ตั้งไว้ (ภัทร นิดมานนท์, 2543: 12) การประเมินนั้นเกิดขึ้นจากแนวคิดเพื่อที่จะวัดคุณค่าของสิ่งใดๆ
ก็ตามที่เป็นกิจกรรมอันเกี่ยวเนื่องกับการศึกษาเพื่อค้นหาคุณค่าของข้อเท็จจริงภายใต้กฎเกณฑ์ และ
บริบทของสังคม การประเมินมีความละเอียดอ่อนและซับซ้อนค่อนข้างมากเกี่ยวพันกับทฤษฎีและ
ศาสตร์ในหลายสาขาเช่น ปรัชญาสังคมศาสตร์และวิทยาศาสตร์
ช่วงระยะเวลาประมาณ 4 ทศวรรษที่ผ่านมานั้นองค์ความรู้ของการวิจัยประเมินผลได้รับ
การพัฒนาให้ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วตามมิติของเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากช่วงปลายทศวรรษที่
1960 เป็นต้นมานับตั้งแต่ที่ซัชแมนได้เสนอการประยุกต์ใช้รูปแบบการวิจัยทดลองประเภทต่างๆ เพื่อ
การวิจัยประเมินผลนโยบายแผนงาน โครงการนักวิชาการอีกจำนวนมากก็ได้เริ่มเสนอรูปแบบแบบ
อื่นๆ เพื่อการดำเนินการวิจัยประเมินผลนโยบายแผนงานโครงการด้านต่างๆ เช่น การวิจัยประเมินผล
เบื้องต้นและสรุปรวม การประเมินแบบอิสระจากเป้าประสงค์ สตัฟเฟิลบีม ได้เสนอการวิจัย
ประเมินผลแบบซิบ สเทค ได้เสนอการวิจัยประเมินแบบเคาติแทนซ์ (ปุรชัย เปี่ยมสมบูรณ์, 2545 : 55)
การประเมินโครงการหมายถึงการพิจารณาความเหมาะสมของโครงการ การตรวจสอบ
ความก้าวหน้าของการดำเนินโครงการการศึกษาผลสัมฤทธิ์ของโครงการนั้นๆ ว่าเป็นไปตามแผนที่
กำหนดไว้หรือไม่เพียงใด ผลการประเมินจะเป็นสารสนเทศในการปรับปรุงหรือตัดสินผลสัมฤทธิ์
ของโครงการ และการประเมินผลนั้นทางการศึกษาให้ความหมายว่า เป็นขบวนการตีความหมาย และ
33
ตัดสินคุณค่า จากสิ่งที่วัดได้จากการวัดผลการประเมินผลต้องอาศัยวิธีการที่มีระบบแบบแผนการ
รวบรวมข้อมูลตลอดจนเหตุผลประกอบการพิจารณาตัดสินว่ากิจกรรมการศึกษานั้นดีหรือเลวอย่างไร
เหมาะสมหรือไม่เพียงใด (สมหวัง พิธิยานุวัฒน์, 2539: 2 และ 91)
การประเมินผลหมายถึงกระบวนการที่มุ่งแสวงหาคำตอบสำหรับคำถามที่ว่า นโยบาย
แผนงาน โครงการบรรลุตามเป้าหมายและเป้าประสงค์ที่กำหนดไว้แต่ต้นหรือไม่และระดับใด (เยาวดี
วิบูลย์ศรี, 2539: 7) การประเมินหมายถึงกระบวนการในการตรวจสอบหรือข้อบ่งชี้ประสิทธิภาพของ
โครงการ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดดำเนินโครงการ (พิชิต ฤทธิ์จรูญ,
2540:14)
สรุปการประเมิน คือกระบวนการตรวจสอบถึงประสิทธิภาพของโครงการ เพื่อ
ประกอบการตัดสินใจที่จะยุติหรือดำเนินการต่อไปการวิเคราะห์ข้อมูลถึงผลงานที่ผ่านมาเพื่อแสวงหา
จุดดีจุดด้อยที่ผ่านมาด้วย ตลอดถึงการหาทางแก้ไขและปรับปรุงข้อผิดพลาดอันอาจจะเกิดขึ้นใน
อนาคตของโครงการนั้นๆ และการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิเคราะห์ความหมาย ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ
ความต้องการการหาแนวทางวิธีการปรับปรุงวิธีการจัดการเกี่ยวกับโครงการ และหาผลที่แน่ใจว่าเกิด
จากโครงการเพื่อเป็นการเพิ่มคุณภาพของ โครงการให้ดียิ่งขึ้น
2.1 กระบวนการของการประเมิน
กระบวนการของการประเมินปัญหาเป้าหมายวัตถุประสงค์ เป็นสิ่งสำคัญต่อการพัฒนา
คัดเลือกรูปแบบต่างๆ ในการประเมินปัญหาเป้าหมายและวัตถุประสงค์ต้องชัดเจนการประเมินผล
โครงการ สมควรที่จะยึดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของโครงการเป็นสำคัญโครงการต่างๆ นั้น
มักจะเริ่มต้นจากปัญหา และความต้องการเมื่อโครงการสรุปจบและรายงานความก้าวหน้าแล้วปัญหา
ต่างๆ ก็ควรจะหมดสิ้นไปเพราะโครงการต่างๆ โดยทั่วๆ ไปนั้นมักจะเริ่มจากสาเหตุก่อนคือปัญหา
ความต้องการ ประการใดประการหนึ่งแล้วจึงเข้าสู่กระบวนการของการดำเนินการเพื่อให้ปัญหานั้นๆ
บรรเทาเบาบางลงไป ซึ่งโครงการแต่ละโครงการจะต้องดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
วัตถุประสงค์นั้นก็ต้องขึ้นอยู่กับความสำคัญของปัญหาหรือความต้องการในการแก้ไขปัญหา และ
วิถีทางในการแก้ไขปัญหาเพื่อจะได้หาวิธีในการกำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนา กระบวนการ
ทั้งหมดจะสัมพันธ์กับแผนแม่แบบของโครงการ โดยที่ได้ทราบถึงสภาพอันแท้จริงและจุดบกพร่อง
ต่างๆ ของปัญหา
หลังจากที่ทราบถึงสภาพที่แท้จริงและลักษณะของปัญหาแล้ว งานโครงการมักจะเริ่มต้น
ด้วยงานวางแผนโครงการ ผู้ดำเนินงานวางแผนอาจเป็นคณะกรรมการ หรือผู้ชำนาญงานคนใดคน
หนึ่งก็อาจเป็นได้เมื่อมีแผนโครงการแล้วอาจต้องมีการทดลอง หรือโครงการนำร่องเพื่อดูแลผลของ
34
วิถีทางในการแก้ปัญหาก็ได้ทั้งนี้เพื่อจะได้ปรับปรุงแก้ไขวิธีการให้เหมาะสม และมีประสิทธิภาพดี
ยิ่งขึ้นจากนั้นแผนโครงการก็มักจะชี้จุดให้เริ่มดำเนินงานตามแผน โดยมีหัวหน้าโครงการเป็น
ผู้รับผิดชอบควบคุมดูแลให้งานตามโครงการดำเนินไปตามที่ได้กำหนดไว้ ส่วนเจ้าหน้าที่ดำเนินงาน
คณะกรรมการที่ปรึกษาจะมีจำนวนมากน้อยเพียงใดนั้นต้องแล้วแต่ลักษณะของโครงการแต่เจ้าหน้าที่
ด้านการประเมินผลควรจัดให้มีอยู่ประจำโครงการด้วย เพราะงานด้านการประเมินผลต้องทำกันอย่าง
มีระบบ และต้องสอดคล้องกับแผนโครงการตั้งแต่เริ่มต้นจนเสร็จสิ้นโครงการ งานประเมินบางส่วน
อาจต้องทำหลังจากเสร็จสิ้นโครงการแล้ว แต่ก็ต้องอยู่ในแผนของโครงการนั้นด้วย (ดิเรก ศรีสุโข,
2544 : 84)
การที่จะทำความเข้าใจถึงความหมายของการประเมินนั้นควรทำความเข้าใจ ในทฤษฎี
นิยามโดยสั้นๆ ของการประเมินก่อน คือ
1. การประเมิน เป็นกิจกรรมที่มีลักษณะเป็นกระบวนการคือมีความต่อเนื่องกันในการ
ดำเนินงานอย่างครบวงจร และย้อนกลับมาสู่รอบใหม่ของวงจรด้วย
2. การประเมิน จะต้องมีการระบุหรือบ่งชี้ข้อมูลที่ต้องการกระบวนการประเมินจะต้อง
มีการเก็บรวบรวมข้อมูลตามที่ได้ระบุหรือบ่งชี้ไว้
3. การประเมิน จะต้องมีการนำเอาข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาแล้วนั้น มาจัดทำให้เป็น
สารสนเทศ
4. สารสนเทศที่ได้มานั้น จะต้องมีความหมาย และมีประโยชน์
5. สารสนเทศดังกล่าวจะต้องได้รับการนำไปเสนอเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจในการ
กำหนดทางเลือกใหม่หรือแนวทางดำเนินงานใดๆ ต่อไป (เยาวดี รางชัยกุล วิบูลย์ศรี, 2542: 57)
ขั้นตอนของการทำงานโครงการโดยส่วนใหญ่แล้วอาจแสดงได้โดยแผนภูมิดังนี้
3.การลงข้อสรุปและ
เสนอแนะ
กระบวนการการ
ประเมิน
4.การรายงานและ
เผยแพร่ผลประเมิน
2.ดำเนินงานตามแผน
1.วางแผนโครงการ
แผนภูมิที่ 2 กระบวนการของการประเมิน
35
ที่มา : (สมหวัง พิธิยานุวัฒน์, 2544: 157)
2.2 ประเภทและรูปแบบของการประเมิน
แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการประเมินซึ่งมีชื่อเรียกว่า Education Evaluation and Decision
Making เขียนโดยสตัฟเฟิลบีม และคณะในปี ค.ศ.1971 เป็นที่นิยมในวงการศึกษาของไทยและ
ยอมรับกันอย่างมากมายเนื่องจากเป็นแนวคิดและทฤษฎีต่างๆ ทันสมัยเข้ากันได้ดีกับวัฒนธรรม
ประเพณีดั้งเดิมของสังคมวิชาการของไทยและสตัฟเฟิลบีมยังได้ให้คำนิยามทางการประเมินไว้ดังนี้
การประเมิน คือกระบวนการของการระบุหรือการกำหนดข้อมูลที่ต้องการรวมถึงการดำเนินการเก็บ
ข้อมูลและนำข้อมูลที่เก็บมานั้นมาจัดทำเป็นข้อมูลที่เป็นสารสนเทศ เพื่อให้เกิดประโยชน์ทางวิชาการ
ในอันที่จะนำเสนอเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจ (สมหวัง พิธิยานุวัฒน์, 2544: 158)
เมื่อพิจารณาคำนิยามดังกล่าวซึ่งมีสาระสำคัญขยายออกเป็นประเด็นต่างๆ มากมายแต่ว่า
โดยสรุปแล้วทฤษฎีแห่งการประเมินนั้นมีอยู่มากมายหลายทฤษฎี และในแต่ละทฤษฎีนั้นมี
วัตถุประสงค์ที่แตกต่างเป็นของเฉพาะตน มีจุดดีจุดด้อยและข้อจำกัดในการนำไปใช้ที่ต่างกันในการ
ประเมินโครงการใดๆ ก็ตามไม่สมควรอย่างยิ่งที่จะยึดวิธีการเดียวหรือทฤษฎีอย่างใดอย่างหนึ่งเพียง
อย่างเดียวควรพิจารณาถึงสภาพแวดล้อม ตลอดทั้งวัตถุประสงค์ของการประเมินจุดประสงค์ของการ
ประเมิน และองค์ประกอบอื่นๆ อันจะเอื้อต่อการใช้รูปแบบนั้นๆ ที่อำนวยประโยชน์มากกว่า ซึ่งขอ
เสนอทฤษฎีต่างๆ ดังนี้
เฮาส์ (House) (อ้างใน ปุรชัย เปี่ยมสมบูรณ์, 2529: 58 - 59) ได้อาศัยกรอบความคิด
เกี่ยวกับการพัฒนาองค์ความรู้ทางการประเมินของวอร์ดเทนและแซนเดอร์ (Worthen and Sanders)
โพเพมและคณะโดยเสนอองค์ความรู้ทางการประเมินออกเป็น 8 แนวทาง คือ
1. แนววิเคราะห์เชิงระบบ โดยจะมุ่งเน้นถึงผลประโยชน์จากโครงการและพยายามหา
ความเกี่ยวข้องของรูปแบบแผนงานที่วางในโครงการกับตัวบ่งชี้ต่างๆ ของข้อมูลและผลที่จะเกิด
โครงการต้องวัดได้ในเชิงปริมาณและหาสาเหตุที่เป็นเรื่องของเหตุผลได้ โดยทั้งไปจะมีข้อตกลงเบื้อ
ต้นเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ และผลที่คาดว่าจะได้รับจากการวัดผลของโครงการ คือการหาความ
เกี่ยวข้องทางเหตุผลของปัจจัยในการปฏิบัติจัดทำโครงการกับผลของโครงการ โดยการใช้เทคนิคการ
ทดลองของวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์ผลที่เกิดขึ้นจากโครงการจะถูกวัดทางด้านต่างๆ ทั้งทางสังคม
วิทยาจิตวิทยาและทางเศรษฐกิจ และเปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายในโครงการต่างๆ เพื่อประเมินค่า
เปรียบเทียบผลที่เกิดที่มีประสิทธิภาพสูงสุด รูปแบบการประเมินแบบนี้นิยมใช้ในการวัดผลโครงการ
ทางด้านบริการสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการของรัฐบาลและสามารถจะถือได้ว่าใช้กระบวนการ
ทางสังคมศาสตร์มาเป็นประโยชน์ในการจัดการกับบริการทางด้านสังคมมากกว่ารูปแบบอื่น
36
2. แบบยึดวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมผู้ประเมินจะนำเอาวัตถุประสงค์ที่ผู้พัฒนาโครงการ
ได้ตั้งไว้ว่า ต้องการให้ประสบผลสำเร็จเท่าไรมาวางไว้เป็นเกณฑ์ความแตกต่างระหว่างวัตถุประสงค์
ที่วางไว้กับสิ่งที่โครงการทำจริงคือผลของโครงการ ความสำเร็จของโครงการก็คือไม่มีความแตกต่าง
หรือมีความแตกต่างน้อยมาก ระหว่างวัตถุประสงค์ที่วางไว้กับสิ่งที่โครงการทำได้จริงๆ
3. แบบยึดการตัดสินใจเป็นหลักรูปแบบนี้ถือว่า การประเมินเป็นการรวบรวมข้อมูลแนว
ทางเลือกแก่ผู้บริหารดังนั้นต้องวางแผนการตัดสินใจของผู้บริหาร เป็นเกณฑ์นั่นคือผู้ประเมินผล
จะต้องให้ความสำคัญและสนใจตรงจุดระดับการตัดสินใจและสร้างภาพของสถานการณ์ต่างๆ ว่าควร
ตัดสินใจอย่างไร
4. แบบอิสระจากวัตถุประสงค์เป็นการประเมินทุกๆ อย่างที่เกิดขึ้นจากโครงการทั้งหมด
และเปรียบเทียบความสำคัญของผลที่เกิดขึ้นเหล่านั้นว่าตรงกับความต้องการหรือไม่ จำเป็นที่ผู้
ประเมินจะต้องรับรู้และใช้วัตถุประสงค์เป็นเกณฑ์ของการประเมิน เพราะอาจจะทำให้เกิดความ
ลำเอียงในการองผลโครงการ หรือบางครั้งอาจจะมองข้ามผลข้างเคียงที่เกิดจากโครงการบางเรื่องไป
เพราะคิดว่าไม่ใช่ผลสำคัญ(Scriven,1973:16) และรูปแบบการประเมินนี้ไม่เป็นที่นิยมในการประเมิน
โครงการด้านบริการสังคมเพราะยุ่งยากที่จะหาและค้นคิดเกณฑ์มาใช้ เพราะถ้าไม่ใช้วัตถุประสงค์ของ
โครงการมาเป็นเกณฑ์ก็คงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องใช้เกณฑ์ของผู้ประเมินเสียเอง (นิศา ชูโต, 2531: 20)
5. แบบศึกษาเฉพาะกรณีการศึกษามุ่งประเด็นไปที่บุคคลอื่นๆ ที่รู้จักโครงการมีความเห็น
เกี่ยวกับโครงการอย่างไรวิธีการที่ใช้ในการศึกษาจึงใช้ทั้งการสังเกตแบบมีส่วนร่วม ศึกษา
สภาพแวดล้อมต่างๆ ของโครงการในสภาพปกติตามธรรมชาติ และการสัมภาษณ์อย่างเจาะลึกบุคคล
ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง นับได้ว่าเป็นกระบวนการศึกษาแบบเชิงคุณภาพ
6. แบบศิลปวิจารณ์แนวคิดนี้เกิดจากผลงานและวิธีการที่ผู้วิจารณ์งานทางศิลปะ วรรณคดี
ดนตรี การละคร และผู้วิจารณ์งานศิลปะต่างๆ จะต้องมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และมีเกณฑ์อันเป็น
แนวทางที่จะประเมินความงามของศิลปะในสาขานั้นๆ เกณฑ์เหล่านั้นเป็นเกณฑ์ที่ใช้ในการวิจารณ์
คุณภาพและคุณค่าของงานศิลปะในสาขานั้นๆ
7. แบบกึ่งกฎหมาย รูปแบบนี้ได้นำกระบวนการซักฟอกและการพิจารณาคดีของศาลและ
ระบบ มาใช้ในวิธีการประเมินโดยเฉพาะในเรื่องเกี่ยวกับการประเมินปัญหาสำคัญๆ ทางสังคม
ประเด็นปัญหาอาจจะเป็นเรื่องของการสืบค้นข้อเท็จจริง หรือตรวจสองความคิดเห็นที่สำคัญๆ หรือที่
น่าสงสัย โต้แย้งหรือยังหาข้อยุติไม่ได้
8. แบบตรวจสอบทางวิชาชีพ เป็นการประเมินที่อาศัยกลุ่มบุคคลผู้เชี่ยวชาญในวิชาชีพ
นั้นๆ เป็นผู้ตรวจสอบมาตรฐาน และคุณค่าของคนไทยในอาชีพเดียวกันนั่นเองวิธีการของแต่ละสาขา
37
วิชาชีพจะแตกต่างกันไปในรายระเอียด แต่ก็เป็นการประเมินมาตรฐานของภาพรวามทุกๆ ด้านของ
วิชาชีพนั้นๆ เอง
การประเมิน มักจะใช้การประเมินผลทั้งแบบประเมินผลเพื่อการปรับปรุงเป็นสำคัญ มักใช้
ประเมินผลระหว่างวางแผนหรือระหว่างพัฒนาโครงการ ผลที่ได้จากการประเมินนี้ช่วยกำหนด
ทิศทางของวัตถุประสงค์ของโครงการให้เป็นไปตามเป้าหมายที่แท้จริง นอกจากนั้นการประเมินผล
แบบนี้อาจใช้ในระหว่างดำเนินโครงการก็ได้เพื่อช่วยตรวจสอบว่า โครงการนั้นดำเนินงานไปตาม
แผนของโครงการหรือไม่ อย่างไร ซึ่งมีชื่อเรียกเฉพาะว่า การประเมินผลการดำเนินงาน และบางครั้ง
การประเมินนี้ อาจช่วยตรวจสอบความก้าวหน้าของโครงการว่าดำเนินงานได้ผลมากน้อยเพียงใด
(Carole H. White อ้างใน พงศ์สัณห์ ศรีสมทรัพย์, 2528: 29 -30)
การประเมินโครงการจำแนกตามระยะเวลาของการประเมินได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1. การประเมินสรุปโครงการเป็นการประเมินผลรวมของโครงการที่ดำเนินไปแล้วและ
ได้สิ้นสุดลงเพื่อเป็นการสรุปการประเมินผลว่า มีผลกระทบในข้อดีและข้อเสียอย่างไร และมีการ
ประสบความสำเร็จตามที่ได้วางเป้าหมายไว้มากน้อยเพียงใด ควรปรับปรุงแก้ไขในส่วนไหนของการ
ให้ความช่วยเหลือ และเปลี่ยนแปลงของโครงการอย่างไรการประเมินผลสรุป เป็นการประเมินผล
รวมสรุปมักใช้ประเมินหลังสิ้นสุดโครงการ สำหรับโครงการที่มีการดำเนินงานระยะยาวก็อาจใช้การ
ประเมินผลการปฏิบัติงาน ช่วยสรุปผลการดำเนินงานซึ่งจะได้ข้อมูลการดำเนินงานเป็นระยะต่างๆ
ก่อนเป็นการประเมินผลสรุป ส่วนใหญ่แล้วจะรวบรวมผลของการประเมินผลการปฏิบัติงาน เข้าเป็น
การประเมินผลสรุป ซึ่งผลสรุปจากการประเมินผล สามารถนำไปสู่การรายงานว่าโครงการได้บรรลุ
เป้าหมายหรือไม่อย่างไร ตลอดจนรายงานถึงสถานภาพของโครงการว่า ประสบความสำเร็จหรือ
ล้มเหลวเพียงใด ปัญหาหรืออุปสรรคใดที่ต้องแก้ไขปรับปรุง สามารถช่วยให้ผู้บริหารโครงการ
สามารถนำไปตัดสินใจได้ว่า โครงกานนั้นควรดำเนินการต่อหรือยกเลิก
2. การประเมินความก้าวหน้าของโครงการเป็นการประเมินระหว่างการดำเนินการตาม
โครงการเพื่อเป็นการค้นหาว่า การดำเนินการไปแล้วนั้นได้มีความก้าวหน้าอย่างไรมีปัญหาและ
อุปสรรคอย่างไร ซึ่งจะเป็นการทำให้มีการย้อนกลับถึงผู้รับผิดชอบในโครงการต้องปรับปรุงแก้ไข
อะไรบ้างเพื่อเป็นการทำให้โครงการนี้ดำเนินงานไปอย่างมีประสิทธิภาพในการทำงาน (สุชาติ ประสิทธิ
รัฐสินธุ์, 2540: 1-3)
การประเมินความก้าวหน้าของโครงการ เน้นการประเมินเป็นขบวนการต่อเนื่องในการ
หาข้อมูล จะได้เป็นการทราบข้อเท็จจริงของโครงการ เป็นการหาแนวทางในการเลือกทางที่เป็น
ประโยชน์เพื่อเป็นการเสนอในการตัดสินใจของผู้บริหาร รูปแบบของการประเมินผลความก้าวหน้า
ของโครงการ ประกอบด้วยการประเมิน 4 ด้าน คือ
38
1. การประเมินบริบทหรือสภาพแวดล้อมของโครงการ เป็นการศึกษาสภาพปัญหาและ
สิ่งต่างๆ เพื่อใช้ในการกำหนดวางแผนเกี่ยวกับโครงการ
2. การประเมินปัจจัยเบื้องต้นเป็นการศึกษาเกี่ยวกับตัวแปรต่างๆ ที่นำมาใช้ในการ
ดำเนินงานเพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลง
3. การประเมินกระบวนการเป็นการประเมินเรื่องราวหรือกิจกรรมต่างๆ ในขั้นการ
ปฏิบัติงาน
4. การประเมินผลผลิตเป็นการศึกษาผลของโครงการว่าได้ผลตามความมุ่งหมายหรือไม่
เป็นการดำเนินการเพื่อที่จะตัดสินใจเกี่ยวกับการเริ่มวงจรใหม่
นอกจากนั้นการประเมินจัดทำขึ้นเพื่อตรวจสอบระดับความสำเร็จของโครงการ ว่าการ
ตัดสินใจในกรณีต่อไปนี้จะเกิดขึ้นได้
1. เพื่อที่จะดำเนินการต่อหรือยุบเลิกโครงการ
2. เพื่อพัฒนาการปฏิบัติงาน และขบวนการทำงานของโครงการ
3. เพื่อเพิ่มหรือลดยุทธวิธี และเทคนิคเฉพาะสำหรับโครงการ
4. เพื่อที่จะสร้างโครงการที่คล้ายคลึงกันนั้นไปใช้ในท้องถิ่นอื่นๆ
5. เพื่อที่จะแจกแจงทรัพยากรให้เหมาะสมระหว่างโครงการที่ต้องการทั้งหลาย
6. เพื่อที่จะยอมรับ หรือปฏิเสธแนวทางหรือทฤษฎีที่โครงการนำมาใช้
7. การประเมินผลโครงการจำแนกตามระยะเวลาของการประเมินได้เป็น 2 ประเภท
ใหญ่ๆ คือ
7.1 การประเมินผลสรุปโครงการ เป็นการประเมินผลรวมของโครงการที่ดำเนินไป
แล้วและได้สิ้นสุดลงเพื่อเป็นการสรุปการประเมินผลว่า มีผลกระทบในข้อดีและข้อเสียอย่างไร และมี
การประสบความสำเร็จตามที่ได้วางเป้าหมายไว้มากน้อยเพียงใด ควรปรับปรุงแก้ไขในส่วนไหนของ
การให้ความช่วยเหลือและเปลี่ยนแปลงของโครงการอย่างไร
7.2 การประเมินผลสรุปเป็นการประเมินผลรวมสรุป มักใช้ประเมินหลังสิ้นสุด
โครงการสำหรับโครงการที่มีการดำเนินงานระยะยาวก็อาจใช้การประเมินผลการปฏิบัติงาน ช่วย
สรุปผลการดำเนินงานซึ่งจะได้ข้อมูลการดำเนินงานเป็นระยะต่างๆ ก่อนเป็นการประเมินผลสรุป
ส่วนใหญ่แล้วจะรวบรวมผลของการประเมินผลการปฏิบัติงาน เข้าเป็นการประเมินผลสรุป ซึ่ง
ผลสรุปจากการประเมินผลสามารถนำไปสู่การรายงานว่าโครงการได้บรรลุเป้าหมายหรือไม่ อย่างไร
ตลอดจนรายงานถึงสถานภาพของโครงการว่า ประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวเพียงใด ปัญหาหรือ
อุปสรรคใดที่ต้องแก้ไขปรับปรุง สามารถช่วยให้ผู้บริหารโครงการสามารถนำไปตัดสินใจได้ว่า
โครงการนั้นควรดำเนินการต่อหรือยกเลิก
39
7.3 การประเมินผลความก้าวหน้าของโครงการ เป็นการประเมินระหว่างการ
ดำเนินการตามโครงการ เพื่อเป็นการค้นหาว่า การดำเนินการไปแล้วนั้นได้มีความก้าวหน้าอย่างไร มี
ปัญหาและอุปสรรคอย่างไร ซึ่งจะเป็นการทำให้มีการย้อนกลับถึงผู้รับผิดชอบในโครงการต้อง
ปรับปรุงแก้ไขอะไรบ้าง (สุชาติ ประสิทธิรัฐสินธุ์, 2540: 1-3)
7.4 การประเมินผลความก้าวหน้าของโครงการ เน้นการประเมินเป็นขบวนการ
ต่อเนื่องในการหาข้อมูล จะได้เป็นการทราบข้อเท็จจริงของโครงการ เป็นการหาแนวทางในการเลือก
ทางที่เป็นประโยชน์ เพื่อเป็นการเสนอในการตัดสินใจของผู้บริหารการประเมินเป็นกระบวนการของ
การตัดสินใจ การวินิจฉัยโครงการหรือแผนงานของหน่วยงานอย่างเป็นระบบและมีหลักเกณฑ์โดย
อาศัยความยุติธรรมและความไม่มีอคติในการประเมิน และในการประเมินนั้นมีรูปแบบที่หลากหลาย
จึงนำเสนอรูปแบบบางรูปแบบที่เป็นที่นิยมและยอมรับกันในปัจจุบันดังนี้
1. รูปแบบการประเมินของไทเลอร์
เป็นระบบแนวคิดmujเห็นว่าผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนที่ได้รับการประเมินจะมีผลเป็นอย่าง
ยิ่งต่อการพัฒนาการเรียนการสอน ในทัศนะของไทเลอร์การประเมินจึงเป็นการเปรียบเทียบระหว่าง
สิ่งที่ผู้เรียนสามารถปฏิบัติได้จริงๆ หลังจากการจัดการเรียนและการสอนตามกระบวนการ ทั้ง
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ได้กำหนดขึ้นไว้แล้ว ก่อนที่จะจัดการเรียนการสอน ดังแผนภูมิ
หยุด
เลือกนำผลไปใช้
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
Pre – test
X1
การจัดเนื้อหา
ดำเนินการ
ประเมินโครงการ Post – Test
(X2)
ยกเลิกหรือ X1 < X2 ปรับปรุง จุดมุ่งหมาย 40 แผนภูมิที่ 3 แสดงการประเมินตามรูปแบบของไทเลอร์ ที่มา : (สุขุม มูลเมือง, 2530: 15) 2. รูปแบบและแนวคิดทฤษฎีการประเมินของอัลคิน ในแนวการประเมินของอัลคินนั้นคือการคัดเลือกข้อมูล และการจัดระบบสารสนเทศที่ เป็นประโยชน์คือ กระบวนการประเมินทั้งนี้ก็เพื่อนำเสนอต่อผู้มีอำนาจในการตัดสินใจและเพื่อเลือก หนทางในอันที่จะทำกิจกรรมและโครงการต่างๆ นั่นเองซึ่งมีจุดเน้นของการประเมินอยู่ที่การ ตัดสินใจ การกำหนดขอบเขตของสิ่งที่เกี่ยวข้องในการตัดสินใจ การเลือกวิธีและแนวทางที่เหมาะสม การเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลที่เหมาะสม มีกรอบการประเมินอยู่ 5 ด้าน คือ 1) ประเมินระบบ 2) ประเมินการวางแผนโครงการ 3) ประเมินการดำเนินโครงการ 4) ประเมินเพื่อการปรับปรุงโครงการ 5) ประเมินเพื่อการยอมรับโครงการ แผนภูมิที่ 4 รูปแบบในการประเมินตามแบบของอัลคิน ที่มา : (สมคิด พรจุ้ย, 2542: 46) 3. รูปแบบและแนวคิดทฤษฎีการประเมินแบบโพรวัส กำหนดมาตรฐานที่เป็นเกณฑ์ เพื่อค้นหาช่องทางและช่องว่างของสถานภาพแห่งภาวะ ที่เป็นจริงกับเกณฑ์มาตรฐานที่ได้กำหนดเพื่อใช้ภาวะดังกล่าวนั้นเป็นตัวบ่งชี้ หรือระบุข้อบกพร่อง ต่างๆ ของแผนการหรือโครงการซึ่งการประเมินนั้นจะต้องดำเนินควบคู่ไปด้วยกันกับโครงการคือ จุดสำคัญของแนวคิดทฤษฎีนี้ ซึ่งนำเสนอเป็นแผนภูมิได้ดังนี้ ยุติกิจกรรม พัฒนาเปลี่ยนแปลง การประ เมินระบบ การประเมินการ ว า ง แ ผ น โครงการ กรประเมินการ นำไปใช้หรือการ ดำเนินโครงการ การประเมิน เพื่อการ ปรับปรุง โ การประเมินเพื่อ การยอมรับ โครงการ S -- C --D P A (1) เริ่มต้นงาน (2) ดำเนินการ ขั้นต่อไป การประเมิน 41 แผนภูมิที่ 5 รูปแบบแนวคิดทฤษฎีการประเมินแบบโพรวัส ที่มา : (เยาวดี เรืองชัยกุล วิบูลย์ศรี, 2542: 52) จากแผนภูมิ ด้านบนสัญลักษณ์และความหมายตามตัวอักษรดังนี้คือ S ย่อมาจาก Standard หมายถึง เกณฑ์มาตรฐาน P ย่อมาจาก Program Performance หมายถึง การปฏิบัติงานของโครงการ C ย่อมาจาก Comparison หมายถึง การเปรียบเทียบ D ย่อมาจาก Discrepancy Information หมายถึง สารสนเทศที่แสดงความแตกต่าง A ย่อมาจาก Alterative หมายถึง ทางเลือกเพื่อการเปลี่ยนแปลง (อนันต์ เตียวต๋อย, 2545: 28) โดยสรุปแล้ว โพรวัส ถือว่าการประเมินนั้นเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องดำเนินการให้มีควบคู่ไปกับ โครงการซึ่งแบ่งเป็น 5 ขั้นตอนดังนี้ 1. การออกแบบโครงการ 2. การเตรียมพร้อม 3. กระบวนการที่ใช้ในการดำเนินงาน 4. ผลผลิต 5. การวิเคราะห์เกี่ยวกับแหล่งทุน 4. โมเดลและรูปแบบการประเมินของ ไมเคิล สไครเวน การประเมินเป็นกิจกรรมที่จำเป็นสำหรับประมวลข้อมูล และรวบรวมข้อมูลซึ่งมี เป้าหมายในการตัดสินคุณค่าของกิจกรรมซึ่ง สไครเวนได้ให้ความหมายของการประเมินว่ามันคือ การเก็บรวบรวมข้อมูลในด้านต่างๆ ซึ่งเกี่ยวกับการปฏิบัติการตามกำหนดของเป้าหมายแห่งโครงการ สรุปได้เป็น 2 ประเด็นคือ 1. การประเมินในระหว่างดำเนินโครงการ คือการประเมินโครงการในระหว่างที่กำลัง ดำเนินการอยู่ ก็คือประเมินความก้าวหน้าของโครงการ 2. การประเมินผลมวลรวม คือการประเมินเมื่อสิ้นสุดโครงการแล้วเพื่อจะตัดสินคุณค่า ของโครงการ คือประเมินผลสรุปของโครงการซึ่งมีจุดหมายอยู่ที่การตัดสินคุณค่าของมันว่าดีมาก น้อยเพียงไรซึ่งสไครเวนได้เสนอแนะว่า “ในเรื่องการประเมินเพื่อการปรับปรุงหรือดูความก้าวหน้า ของโครงการโดยทำการประเมินความก้าวหน้า ไม่จำเป็นที่จะต้องใช้นักประเมินอาชีพอาจจะเป็นนัก ประเมินสมัครเล่น ซึ่งอาจจะเป็นผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับโครงการนั้นๆ ก็ได้แต่ถ้าเป็นการประเมินเพื่อ ตัดสินคุณค่าหรือการประเมินสรุปผลควรที่จะใช้นักวิจัยมืออาชีพ ในการดำเนินการประเมินนั้นควร จะได้แยกหน้าที่และความรับผิดชอบของบุคคลต่างๆ ให้ชัดเจนรวมทั้งควรได้มีการปรึกษาหารือกัน 42 ระหว่างนักประเมินกับผู้ดำเนินงานในโครงการด้วยวิธีการประเมินในการประเมินมีวิธีการที่สามารถ นำมาใช้ได้ 2 วิธีคือ 1. การประเมินก่อนมีการปฏิบัติงานหรือการประเมินคุณค่าภายในคือการประเมินคุณค่า ของเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล เนื้อหาจุดมุ่งหมาย กระบวน วิธีการ ให้ได้คะแนนและเจตคติ ของครู เป็นการประเมินก่อนที่จะได้มีการปฏิบัติงาน 2. การประเมินเมื่อมีการปฏิบัติงานแล้ว หรือการประเมินคุณค่าการปฏิบัติงานเป็นการ ตัดสินคุณค่าจากผลที่เกิดขึ้นจากการใช้เครื่องมือกับนักเรียน เช่นการประเมินมีความแตกต่างระหว่าง คะแนนการทดสอบ ก่อนเรียนและหลังเรียนหรือคะแนนที่ได้จากกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม (สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล, 2542: 34 – 36) 5. ทฤษฎีและรูปแบบการประเมินของสเตก ตามแนวทางการประเมินเป็นการประเมินที่มีรูปแบบการมุ่งเน้น ที่การเก็บรวบรวมข้อมูล จากแหล่งต่างๆ ในอันที่จะจัดทำให้เป็นระบบระเบียบและมีความหมายที่สื่อถึงความสอดคล้องทาง เหตุผลหรือความสัมพันธ์ในเชิงเหตุผลของปัจจัยในเบื้องต้น ตลอดถึงการปฏิบัติและผลผลิตคุณค่าที่ เหมาะสมนั้น นักประเมินจักต้องหามาตรฐานให้ได้ในแต่ละส่วน สเต๊คได้เสนอรูปแบบการประเมิน เคาน์ทิแนนซ์ซึ่งตามโครงสร้างของรูปแบบนี้ ได้จำแนกข้อมูลออกเป็น 2 ส่วน คือเมตริกซ์บรรยาย และเมตริกซ์การตัดสินคุณค่า และได้เสนอว่าก่อนบรรยายหรือตัดสินคุณค่าของโครงการ และได้ จำแนกสิ่งที่ต้องพิจารณาในการประเมินออกเป็น 3 ส่วน คือ 1. สิ่งนำหรือปัจจัยเบื้องต้น หมายถึงเป็นสภาพที่มีอยู่ก่อนเงื่อนไขหรือปัจจัยต่างๆ ในการ ดำเนินโครงการ 2. กระบวนการหรือการปฏิบัติงาน หมายถึงกิจกรรมดำเนินตามกิจกรรมที่ปฏิบัติเป็น ผลสำเร็จของการจัดกระทำงาน 3. ผลลัพธ์หรือผลการดำเนินงาน หมายถึงผลผลิตที่ได้จากโครงการในการเก็บข้อมูลผู้ ประเมินต้องบันทึกข้อมูล ทั้งสามชนิดนี้ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ 3.1 ความคาดหวังหรือแผนงาน หมายถึงสิ่งที่คาดหวังไว้จำแนกเป็นความคาดหวังที่ เกี่ยวกับปัจจัยเบื้องต้นการปฏิบัติ และผลการดำเนินการของโครงการ 3.2 สิ่งที่เกิดขึ้นจริงหมายถึงสภาพที่เกิดขึ้นจริงซึ่งจำแนกเป็นสภาพการณ์ที่เกิดขึ้น จริงเกี่ยวกับปัจจัยเบื้องต้น การปฏิบัติ และผลการดำเนินงาน 3.3 มาตรฐาน หมายถึงแนวทางการดำเนินงานคุณลักษณะที่ควรจะมีควรจะทำหรือ ควรจะได้รับ เกี่ยวกับปัจจัยเบื้องต้น การปฏิบัติ และผลการดำเนินงาน 43 3.4 การตัดสินใจ หมายถึงผลการพิจารณาการตัดสินใจเป็นการพิจารณาสรุปเกี่ยวกับ ปัจจัยเบื้องต้นการปฏิบัติและผลการดำเนินงาน (ขนิษฐา วิทยาอนุมาศ, 2540: 177 – 182) 6. รูปแบบการประเมินของเคอร์กแพทริค รูปแบบการประเมินตามทฤษฎีของโดนันด์ แอล. เคอร์กแพทริคมหาวิทยาลัย วิสคอนซินสหรัฐอเมริกาได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับการฝึกอบรมและการประเมินผล การฝึกอบรมนั้น เป็นการช่วยเหลือบุคลากรให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในการฝึกอบรมใดๆ ควรจะ จัดให้มีการประเมินผลการฝึกอบรมซึ่งถือเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยให้รู้ว่าการจัดโปรแกรมการฝึกอบรม มีประสิทธิผลเพียงใด เคอร์กแพทริค ได้เสนอแนวคิดในการประเมินผลการฝึกอบรมว่าควรจะเก็บ ข้อมูลไว้ (สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์, 2543 87 – 90) ข้อมูลจะจัดเป็นสัดส่วนดังนี้ ระดับ คำถาม 1. ปฏิกิริยา (Reaction) ผู้เข้าร่วมพอใจในโครงการหรือไม่ 2. การเรียนรู้ (Learning) ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้อะไรจากโครงการ 3. พฤติกรรม (Behavior) ผู้เข้าร่วมเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ตนได้จากการ เรียนรู้หรือไม่ 4. ผล (Results) การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมมีผลเชิงบวกต่อองค์กร หรือไม่ 7. รูปแบบการประเมินตามแบบของเบลล์ ระบบการประเมินแบบเบลล์ ได้เสนอการประเมินผลโครงการและการฝึกอบรมอยู่ที่การ มุ่งผลลัพธ์ในด้านต่างๆ ซึ่งจะเกิดตามมาในระยะยาวซึ่งแยกเป็นประเด็นได้ดังต่อไปนี้ 1. ผลลัพธ์ทางปฏิกิริยาคือการศึกษาทัศนคติของผู้เข้าร่วมรับการฝึกอบรมต่อโครงการ 2. ผลลัพธ์ทางความสามารถหลังจากสิ้นสุดโครงการ เป็นการคาดหวังว่าผู้เข้าร่วม โครงการคาดว่า จะรู้ จะคิด จะทำอะไร หรือจะสร้างอะไร หลังจากที่โครงการสิ้นสุดลง 3. ผลลัพธ์ทางการประยุกต์ 4. ผลลัพธ์ทางด้านการคุ้มค่า เป็นการศึกษาผลลัพธ์ซึ่งสำคัญที่สุดของโครงการเพราะ แสดงให้เห็นถึงคุณค่าของโครงการเมื่อเปรียบเทียบกับทุน (สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์, 2543 : 90 – 91) 8. การประเมินผลตามแบบของไฮโป 44 รูปแบบการประเมินผลของไฮโปเป็นรูปแบบ และโมเดลการประเมินแบบวัตถุประสงค์ เป็นหลัก รูปแบบการประเมินที่มีรูปแบบที่ยืดหยุ่นได้พร้อมกับสามารถที่จะรวบรวมสารสนเทศที่มี คุณค่าต่อการตัดสินโครงการซึ่งผ่านการคัดเลือกมาแล้ว หลังจากที่ได้พิจารณาวัตถุประสงค์ของ โครงการแล้วนั้นเองอันเป็นตัวแบบที่บริษัทไอบีเอ็ม ได้ดัดแปลงนำไปใช้ในการประผลการฝึกอบรม เพื่อช่วยในการตัดสินใจ 9. รูปแบบและแนวคิดตามทฤษฎีของสตัฟเฟิลบีม (CIPP Model) การประเมินผลตามรูปแบบของแดเนียล แอล. สตัฟเฟิลบีมและคณะ เป็นการให้ทฤษฎี ใหม่ทางการประเมินสมัยใหม่ในยุคปัจจุบัน เป็นผู้ให้ความหมายทางการประเมินว่ากระบวนการให้ ได้มาซึ่งสารสนเทศที่มีประโยชน์ในอันที่จะนำมาใช้ประกอบการตัดสินใจ และได้แบ่งการประเมิน ออกเป็น 4 ประเภท คือ 1. ประเมินสภาพแวดล้อม (Context Evaluation) 2. ประเมินตัวป้อนเข้า (Input Evaluation) 3. การประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) 4. ประเมินผลผลิตที่เกิดขึ้น (Product Evaluation) จากแนวคิดของสตัฟเฟิลบีมนั้นทำให้ทราบว่า มีแนวคิดที่ชัดเจนอยู่ที่ว่า ต้องการที่จะ แบ่งแยกบทบาทของการทำงานระหว่างฝ่ายแต่ละฝ่ายออกจากกันอย่างชัดเจน เช่น ฝ่ายประเมินกับ ฝ่ายบริหาร เพราะโดยหน้าที่แล้วฝ่ายประเมินมีหน้าที่ระบุ จัดหาจัดเตรียมนำเสนอข้อมูลให้กับฝ่าย บริหารนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจเพื่อกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องตามแต่จะเห็นสมควร การประเมินตามทัศนะของ สตัฟเฟิลบีมอาจแบ่งได้เป็น 3 ขั้นตอนคือ 1) ระบุข้อมูลที่ต้องการ 2) รวบรวมและจัดเก็บข้อมูล 3) จัดการและวิเคราะห์สารสนเทศ เพื่อเสนอต่อผู้บริหาร ในขณะเดียวกัน สตัฟเฟิลบีม และคณะได้จัดการประเมินออกเป็น 4 ประเภทเป็นการ ประเมินปัจจัยหลัก 4 ด้านและได้ให้รายละเอียดของกรอบ 4 ด้านดังนี้ 1. ประเมินสภาพแวดล้อม คือเป็นการประเมินสภาวะเศรษฐกิจสังคม การศึกษา การเมือง ความต้องการทางสังคมปัญหาสังคมแผนและปรัชญาทางการศึกษา เพื่อจะนำไปใช้ประโยชน์ต่อการ ตัดสินใจวางแผนกำกับนโยบาย กำหนดจุดหมาย 2. ประเมินปัจจัยนำเข้าหรือตัวป้อน คือกระบวนการตรวจสอบความพร้อมของปัจจัย แวดล้อมภายนอกที่จะเข้าสู่กระบวนการเป็นต้นว่า งบประมาณอาคารและสถานที่ตลอดถึงบุคลากร เพื่อจะนำไปใช้ประโยชน์ต่อการตัดสินใจวางแผนโครงการ และการหาวิธีในอันที่จะดำเนินโครงการ 45 นั้นๆ ให้ได้บรรลุจุดมุ่งหมายที่ได้ตั้งไว้ เป็นยุทธ์ศาสตร์ที่กำหนดให้เข้ากันได้กับทรัพยากรที่มีอยู่ใน ทุกๆ ด้าน 3. ประเมินกระบวนการ คือการประเมินสิ่งที่เป็นจุดเด่นและจุดด้อยของแนวทางในอันที่ จะเลือกมาใช้เช่นกระบวนการบริหารและการจัดการในด้านต่างๆ เพื่อนำแผนไปปฏิบัติ เพื่อจุดหมาย ตามที่กำหนด 4. ประเมินผลผลิต คือการตัดสินค่าหรือคุณค่าของโครงการทั้งมวลทั้งทางด้านปริมาณ และคุณภาพอันเป็นเครื่องบ่งชี้ว่าแผนที่ทำมานั้นได้บรรลุจุดประสงค์ตามที่ตั้งไว้หรือไม่เพียงไร ซึ่ง จะสามารถช่วยให้ผู้บริหารได้นำไปประกอบการตัดสินใจได้ว่าจะยุติโครงการนั้นๆ หรือจะปรับปรุง แก้ไขและดำเนินการต่อไปโดยปรับแก้กระบวนการต่างๆ ก็พอ ทั้ง 4 ด้านนี้ย่อเป็นตัวอักษรย่อเป็น (CIPP) (ปรุชัย เปี่ยมสมบูรณ์, 2545: 63) แนวคิดและทฤษฎีของ สตัฟเฟิลบีม นั้นเป็นแนวคิดที่ละเอียดชัดเจนเป็นประโยชน์โดย ตรงที่ผู้บริหารจะตัดสินใจได้ง่าย เพราะมองเห็นภาพรวมของเป้าหมายและโครงสร้างด้านต่างๆ เป็น แนวการประเมินที่มีระบบ พิจารณาตรงขั้นตอนการดำเนินงานที่ต่อเนื่อง มีการปรับปรุงตัดสินอยู่ทุก ขั้นตอน รูปแบบของการประเมินนั้นจัดกลุ่มได้เป็น 2 กลุ่มคือ1) กลุ่มการประเมินเพื่อการตัดสินใจ 2) รูปแบบการประเมินเพื่อการตัดสินคุณค่า การประเมินตามทฤษฎีของสตัฟเฟิลบีม หรือในรูปของ CIPP Model เป็นทฤษฎีที่ได้รับความสนใจจากนักประเมินปัจจุบันเป็นอย่างมาก ซึ่งการประเมิน ทฤษฎีนี้จะมุ่งประเด็น 4 ประเด็นตามที่กล่าวมา ดังแผนภูมิที่ 6 ประเภทของการประเมิน สภาพแวดล้อม (Context Evaluation) ปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) กระบวนการ (Process Evaluation) ผลผลิต (Product Evaluation) ควรปรับปรุงขยายแผนงานหรือควร ล้มเลิก การนำแผนงานที่วางไว้ไปปฏิบัติการ ปรับปรุงอะไรบ้าง เลือกแบบการจัดแผนงานที่เหมาะสมที่สุด การตัดสินใจเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ ประเภทของการตัดสินใจ 46 แผนภูมิที่ 6 กระบวนการประเมินแบบ CIPP MODEL ที่มา : (สมหวัง พิธิยานุวัฒน์, 2535: 233) การประเมินเป็นสิ่งเดียวกับการวัดผลการเรียนรู้ของผู้เรียน เป็นกระบวนการศึกษาสิ่ง ต่างๆ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการตรวจสอบการบรรลุผลตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ช่วยเสนอ สารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ และเป็นการสนองสารสนเทศแก่ผู้เกี่ยวข้องทั้งหลายด้วยการบรรยาย อย่างลุ่มลึก การประเมินเป็นการตัดสินคุณค่าของสิ่งที่มุ่งประเมิน การสืบทอดและการพัฒนากันมา อย่างต่อเนื่องทำให้ความหมายของการประเมินมีความชัดเจนและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น การประเมินใน อนาคตน่าจะขยับสถานภาพให้มีความหมาย และบทบาทต่อสังคมมากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งใน ด้านการเป็นสารสนเทศเชิงคุณค่าที่สนับสนุนการเจรจาต่อรองเชิงสร้างสรรค์เพื่อให้บรรลุถึงเอกภาพ ของความคิด แนวทางและข้อสรุปทางการเมืองและเศรษฐกิจที่ก่อให้เกิดประโยชน์สุขร่วมกันของ สังคม (ดิเรก ศรีสุโข, 2544 : 84) การประเมินเท่าที่ใช้เป็นแบบกันอยู่ในทุกวันนี้มีผลสืบเนื่องมาจากการพัฒนาการ ของ ความคิดจากประสบการณ์ของนักทฤษฎีทางการประเมินได้ช่วยกันสร้างสานต่อสะสมกันมาเป็นเวลา ยาวนาน การประเมินเป็นกิจกรรมที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นเวลานานตั้งแต่ครั้งโบราณกาลจาก หลักฐานที่ปรากฎสามารถสืบย้อนไปได้ถึงประมาณสี่พันปีมาแล้วเมื่อ 2357 ปีก่อนคริสต์ศักราช จักรพรรดิของจีนได้ใช้การตรวจสมรรถภาพข้าราชการทหารทุก 3 ปี เป็นหลักในการพิจารณาการ เลื่อนตำแหน่ง ระหว่างปี 1122 B.C.-225 B.C. (ก่อนคริสต์ศักราช) จึงได้ริเริ่มการใช้ข้อสอบคัดเลือก บุคคลเข้ารับการศึกษา (Nitko : 1983) นอกจากนี้เป็นที่ทราบกันมานานเช่นกันว่าปรมาจารย์ชาวกรีก เช่น โสกราตีส ได้ใช้การประเมินด้วยวาจาเป็นสื่อในกระบวนการเรียนรู้ เป็นต้น (ดิเรก ศรีสุโข, 2544 : 21) สรุป รูปแบบการประเมินจะเห็นว่า มีอยู่หลากหลายรูปแบบตามจุดมุ่งหมายของการใช้ ในการประเมินซึ่งย่อมจะมีข้อแตกต่างกัน แต่ละรูปแบบย่อมมีจุดเด่นจุดด้อยข้อดีข้อจำกัดที่แตกต่าง กัน ขึ้นอยู่ภาระงานและโครงการนั้นๆ ว่าจะเหมาะกับทฤษฎีแบบใด สำหรับการทำวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยจะ ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงประเมินตามแบบของ ซิปโมเดล (CIPP Model) เป็นตัวกำหนดเพราะแนวคิด ตามแบบจำลองของซิบโมเดลสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับลักษณะงานและโครงการแผนงานได้เป็น 3 ลักษณะคือ 1)โครงการใหม่ซึ่งยังไม่ได้ริเริ่มทำมาก่อน 2) โครงการที่มีอยู่แต่ยังไม่ได้ลงมือ ดำเนินการ 3) โครงการที่อยู่ในระหว่างดำเนินการรูปแบบการประเมินแบบ ซิปโมเดล เป็นการ ประเมินว่าโครงการหรือแผนงานนั้นๆ บรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่เท่านั้นแต่ยังเป็นการประเมิน เพื่อให้ได้มาซึ่งรายละเอียดต่างๆ เพื่อช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับโครงการและแผนงานอีกด้วยการ 47 ประเมินแผนงาน เป็นการจัดและแปลผลการปฏิบัติงานที่เกิดขึ้นว่าบรรลุวัตถุประสงค์โครงการ แผนงานหรือไม่และสมควรที่จะดำเนินการโครงการแผนงานต่อไปหรือไม่ หรือจะปรับปรุง เปลี่ยนแปลงโครงการอย่างไร จึงจะทำให้โครงการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การประเมิน เป็นกระบวนการของการตัดสินใจ การวินิจฉัยสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างเป็นระบบ และมีหลักเกณฑ์ โดยอาศัยความยุติธรรม และความไม่มีอคติในการประเมิน นักวิชาการทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศได้ให้ความหมายของการประเมินผลสรุปได้ว่า หมายถึงการวิจัยประยุกต์ ซึ่งได้ นำระเบียบวิธีทางสังคมและพฤติกรรมศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและผล ระหว่างนโยบาย แผนงาน โครงการ (ตัวแปรอิสระ) กับผลลัพธ์และผลกระทบ (ตัวแปรตาม) ทั้งที่พึง ปรารถนาและไม่พึงปรารถนา การเปรียบเทียบระหว่างผลลัพธ์และผลกระทบที่พึงปรารถนา กับ วัตถุประสงค์และเป้าหมายการศึกษา สังเกต รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผลลัพธ์และผลกระทบข้างเคียงที่ ไม่อาจคาดคิดไว้ล่วงหน้า และการติดตามและประเมินผลกระบวนการในขั้นตอนต่างๆ ระหว่าง ดำเนินการให้เป็นไปตามแนวทางหรือแบบแผนที่วางไว้ล่วงหน้า และการประเมินได้รับการพัฒนามา เป็นลำดับขั้นตอนโดยแบ่งออกเป็น 3 ยุคด้วยกัน คือ การประเมินการบริการสารสนเทศในห้องสมุด (ตอนที่ 1)
การประเมินการบริการสารสนเทศในห้องสมุด (ตอนที่ 2)
การประเมินการบริการสารสนเทศในห้องสมุด (ตอนที่ 3)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น