ศึกษาและโหลดฟรีเป็นตัวอย่างเกี่ยวกับงานวิจัย all free download research
วันเสาร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2552
การศึกษาการทำความดีของเยาวชนเพื่อสังคม (ตอนที่ 1)
การศึกษาการทำความดีของเยาวชนเพื่อสังคม : กรณี
ศึกษานักเรียนโรงเรียนวัดบวรนิเวศ
The Study of Teenagers’ Benevolence for Society:
A Case Study of Wat Borworniwet High School Students
วิทยานิพนธ์
ของ
นางยุพา บุญอำนวยสุข
เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตาม
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา
พ.ศ 2545
ISBN 974-373-154-7
ลิขสิทธิ์เป็นของสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
การศึกษาการทำความดีของเยาวชน เพื่อสังคม : กรณีศึกษานักเรียนโรงเรียนวัดบวรนิเวศ
บทคัดย่อ
ของ
นางยุพา บุญอำนวยสุข
เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัยสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา
ตามหลักสูตรวิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา
พ.ศ 2545
การศึกษาการทำความดีของเยาวชนเพื่อสังคม : กรณี
ศึกษานักเรียนโรงเรียนวัดบวรนิเวศ
นางยุพา บุญอำนวยสุข
วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา
บัณฑิตวิทยาลัยสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ปีการศึกษา 2545
ISBN 974-373-154-7
ลิขสิทธิ์เป็นของสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
วิทยานิพนธ์ การศึกษาการทำความดีของเยาวชน เพื่อสังคม : กรณีศึกษานักเรียนโรงเรียน
วัดบวรนิเวศ
โดย นางยุพา บุญอำนวยสุข
สาขาวิชา สังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา
อาจารย์ที่ปรึกษา ผศ.ดร.อ้อมเดือน สดมณี
อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม ดร.ทวิช บุญธิรัศมี
อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม ดร.วราภรณ์ พันธุ์วงศ์กล่อม
.
บัณฑิตวิทยาลัยสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา อนุมัติให้วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วน
หนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
……………………………………. คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
(รองศาสตราจารย์นันทา วิทวุฒิศักดิ์)
วันที่ เดือน พ.ศ 2545
คณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์
……………………………………….ประธานกรรมการ
(ศาสตราจารย์ ดร.สายหยุด จำปาทอง)
……………………………………….กรรมการ
(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อ้อมเดือน สดมณี)
………………………………………..กรรมการ
( ดร.ทวิช บุญธิรัศมี )
……………………………………….กรรมการ
( ดร.วราภรณ์ พันธุ์วงศ์กล่อม )
………………………………………..กรรมการและเลขานุการ
(รองศาสตราจารย์นันทา วิทวุฒิศักดิ์)
ลิขสิทธิ์ของสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
The Study of Teenagers’ Benevolence for Society: A Case Study of
Wat Borworniwet High School Students
An abstract
by
Mrs. Yupa Boonumnuaysuk
Presented in partial fulfillment of the requirements
For the Master of Arts (Social Sciences for Development)
Rajabhat Institute Bansomdej Chao Praya
2002
ประกาศคุณูปการ
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้สำเร็จเรียบร้อยลงได้ด้วยดีเนื่องจากผู้วิจัยได้รับความรู้ คำแนะนำอย่าง
ดียิ่งจากผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อ้อมเดือน สดมณี ดร. ทวิช บุญธิรัศมี และ ดร. วราภรณ์
พันธุ์วงศ์กล่อม ที่ได้กรุณาสละเวลาในการให้คำปรึกษา ชี้แนะแนวทาง ตรวจสอบความถูกต้อง
และความสมบูรณ์ของเนื้อหาทางวิชาการ รวมทั้งกระบวนการวิจัยทุกขั้นตอน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ได้รับความเมตตา ให้กำลังใจในการทำงานมาโดยตลอด ผู้วิจัยรู้สึกซาบซึ้งและขอกราบ
ขอบพระคุณไว้ ณ โอกาสนี้
ผู้วิจัยขอกราบขอบพระคุณ ท่านคณะบดีบัณฑิตวิทยาลัย รองศาสตราจารย์ นันทา
วิทวุฒิศักดิ์ที่ได้ให้ความเมตตา ให้คำแนะนำ ชี้แนะแนวทางในการทำวิทยานิพนธ์มาโดยตลอด
และขอกราบขอบพระคุณผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุนิตย์ เย็นสบาย ที่ให้ความช่วยเหลือ ให้
กำลังใจ และเป็นผู้อยู่เบื้องหลังในการปูรากฐานแห่งความสำเร็จในระดับเบื้องต้นของชีวิต
ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ในครั้งนี้ เกิดขึ้นได้เพราะคณาจารย์จากสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จ
เจ้าพระยาที่ทุ่มเทกำลังกายและมีจิตเมตตา มุ่งส่งเสริมพัฒนาให้ศิษย์เป็นผู้มีความรู้ ความ
สามารถในการเป็นนักพัฒนาที่ดี ของสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา รุ่นที่ 1 จึงใคร่ขอกราบระลึกถึง
พระคุณท่านคณาจารย์ทุกท่านไว้ ณ โอกาสนี้
ท้ายสุดนี้ขอกราบขอบพระคุณคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ทุกท่านที่ให้ความเมตตา
ตรวจสอบความถูกต้อง ความสมบูรณ์ของวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ให้มีคุณค่ายิ่งขึ้น
ยุพา บุญอำนวยสุข
ก
ยุพา บุญอำนวยสุข. (2545) การศึกษาการทำความดีของเยาวชน เพื่อสังคม : กรณีศึกษานัก
เรียนโรงเรียนวัดบวรนิเวศ. วิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร:บัณฑิต
วิทยาลัยสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
ผศ.ดร.อ้อมเดือน สดมณี
ดร.ทวิช บุญธิรัศมี
ดร.วราภรณ์ พันธุ์วงศ์กล่อม
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเรื่อง “ การศึกษาการทำความดีของเยาวชนเพื่อ
สังคม : กรณีศึกษานักเรียนโรงเรียนวัดบวรนิเวศ” ซึ่งมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษามูลเหตุที่ส่งผลต่อ
การทำความดีเพื่อสังคมของเยาวชน โดยเลือกศึกษาเฉพาะตัวแปรสภาพแวดล้อมทางสังคม 2
ด้านคือ ด้านสภาพแวดล้อมทางครอบครัว สภาพแวดล้อมทางโรงเรียน และตัวแปรลักษณะทาง
จิต คือทัศนคติต่อการทำความดีเพื่อสังคม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชายล้วน
โรงเรียนวัดบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีอายุระหว่าง 14-19 ปี ศึกษาในระดับชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 2 ถึง มัธยมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ตามคุณสมบัติที่
ต้องการ โดยผ่านการกลั่นกรองคัดเลือกจากอาจารย์ที่ปรึกษา หัวหน้าระดับชั้น และผู้วิจัย จำนวน
10 กรณี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ การสังเกต การสัมภาษณ์ การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการ
บันทึกการสัมภาษณ์ การสังเกต และใช้เครื่องบันทึกเสียงช่วยเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลโดย
การพรรณนาเป็นรายกรณีและสรุปความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร
ผลการศึกษาพบว่า ตัวแปรที่ส่งเสริมให้เยาวชนทำความดีเพื่อสังคมคือ ก.สภาพแวดล้อม
ทางครอบครัวได้แก่ 1. วิธีการเลี้ยงดูและการอบรมสั่งสอน ซึ่งสรุปได้เป็น 3 ลักษณะตามลำดับดัง
นี้คือ การเลี้ยงดูแบบใช้เหตุผล เป็นการสอนให้บุตรรู้จักเหตุและผล รู้ว่าอะไรควรทำและไม่ควรทำ
ด้วยการให้รางวัลและลงโทษตามความเหมาะสม เช่น เมื่อบุตรสอบได้คะแนนดีจะให้รางวัล เมื่อ
ทำผิด เช่น กลับบ้านผิดเวลาจะถูกทำโทษหรือแสดงกิริยาสีหน้า ท่าทาง ให้รู้ว่าโกรธ ไม่พอ
ใจในพฤติกรรมนั้นๆ การเลี้ยงดูแบบพึ่งตนเอง สอนให้บุตรรู้จักช่วยเหลือตนเองด้วยการฝึกฝนให้
จัดการภาระกิจส่วนตัว เช่น ดูแลการแต่งกายด้วยตนเอง ไปไหนมาไหนเองผู้ปกครองไม่ต้องไปรับ
ไปส่ง ให้รับผิดชอบงานบ้าน เช่น หุงข้าว ล้างจาน ทำการบ้าน อ่านหนังสือด้วยตนเองเป็นกิจวัตร
ประจำวัน และการเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุน เป็นการเลี้ยงดูซึ่งบิดามารดาให้การสนับสนุนในสิ่งที่
บุตรปรารถนา อยากไปไหน อยากทำอะไรก็ให้อิสระในการคิดการตัดสินใจโดยบอกให้ท่านทราบ
ข
ก่อน คอยดูแลเอาใจใส่หาอาหารที่ชอบให้ คอยให้คำแนะนำและสอนเสริม นอกจากวิธีเลี้ยงดู
ดังกล่าวแล้วบิดามารดาหรือผู้ปกครองยังใช้กระบวนการขัดเกลาทางสังคม อบรมสั่งสอนให้บุตร
ประพฤติปฏิบัติตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์อันได้แก่ความมีน้ำใจช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และ
มีจิตใจเมตตากรุณาตามแบบอย่างที่ตนมี 2. การเป็นแบบอย่างของบิดามารดาหรือผู้ปกครอง ที่
ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างในการช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และมีจิตใจเมตตากรุณา ทั้งด้วยการ
กระทำและกิริยาท่าทาง และการส่งเสริมสนับสนุนให้บุตรทำ เช่น ให้เงินไปทำบุญ พาไปดูให้เห็น
ด้วยตา และมีส่วนร่วมด้วยการใช้ให้ปฏิบัติ ข. สภาพแวดล้อมทางโรงเรียน ซึ่งประกอบด้วย ครูมี
บทบาทสำคัญในการดูแลเอาใจใส่ รู้จักจุดดี จุดด้อยของเด็ก ส่งเสริมสนับสนุน ด้วยการดึงนัก
เรียนที่มีความถนัด ความสามารถเฉพาะเข้าร่วมกิจกรรม เช่น คนที่สวดมนต์เก่ง ร้องเพลง เล่น
ดนตรี และชอบเต้น ชอบแสดง หรือคนที่มีปัญหาก็ให้คำแนะนำอบรมสั่งสอนด้านการปรับตัวที่
เหมาะสม การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้จัดอย่างหลากหลายเปิดโอกาสให้นักเรียนเข้าไปมี
ส่วนร่วมคิด ร่วมทำในรูปของคณะกรรมการนักเรียน และเปิดกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่หลากหลาย
ให้นักเรียนเลือกตามความถนัดความสนใจ จัดบรรยากาศสิ่งแวดล้อมที่ร่มรื่น สงบ เหล่านี้เป็นมูล
เหตุที่ส่งเสริมให้เยาวชนมีโอกาสได้แสดงออกตามพื้นฐานความสามารถและความถนัดที่ตนมีอยู่
รวมทั้งระเบียบกฏเกณฑ์ที่มีความพอดี ค. ลักษณะทางจิต คือ การมีทัศนคติที่ดีต่อการทำความ
ดีเพื่อสังคม ซึ่งเป็นผลจากการขัดเกลาหล่อหลอมจากครอบครัวและได้รับแรงกระตุ้นเสริมจาก
กระบวนการขัดเกลาของโรงเรียนจึงส่งผลเชิงบวกต่อการทำความดีเพื่อสังคม
จากการวิจัยในครั้งนี้ผู้วิจัยพบข้อสรุปเพื่อเสนอแนะในการพัฒนาเยาวชนดังนี้ 1. สถาบัน
ครอบครัวควรให้ความสำคัญกับการอบรมเลี้ยงดูบุตร คำนึงถึงความรู้สึกนึกคิด ความรักความเอา
ใจใส่ ให้ความสำคัญที่จิตใจมากกว่าสิ่งนอกกาย 2. สถาบันการศึกษาควรจัดกิจกรรมเสริมสร้าง
การทำความดีเพื่อสังคมและยกย่องคนทำความดี รวมทั้งให้การดูแลเอาใจใส่ให้ความเป็นกันเอง
เสมอื นบตุ รหลานมากกวา่ เนน้ ความเปน็ ครกู บั ศษิ ย ์ ดังนั้นจึงสรุปว่าการพัฒนาเยาวชนไม่ว่าจะ
เป็นสถาบันที่เกี่ยวข้องใดๆก็ตามสิ่งสำคัญต้องคำนึงถึง “จิตใจ” ซึ่งเป็นศูนย์กลางของความเป็นตัว
ตนของคนเป็นสำคัญ
ค
Yupa Boonumnuaysuk. (2002) . The Study of Teenagers’ Benevolence for Society :
A Case Study of Wat Borworniwet High School Students.
Bangkok: Graduate School, R.I.B.
Advisory Committee
Asst. Prof. Dr. Oamdean sodmanee
Dr. Tawit Bunthirasmi
Dr. Waraporn panwongklom
The purpose of the study was to find out what factors contributed to benevolence
for society in Teenagers. The main factors that would be investigated in details included 1)
family background 2) school environment and 3) psychology such as the attitudes toward
public sacrifice. The study group was selected from Wat Borworniwet High School
Students , an all-boy school located in Pranakorn district, Bangkok. The age range is
between 14-19 year old which is from grade 8 to grade 12. In order with in the right
qualification, and the specific basis method. The 10 cases were carefully chosen under a
strict selection process by counselors, heads of the department and researchers, with
various data collecting tools including interview, observation and voice recorder. The
analysis was a description of each case followed by the summary of the factor relationship.
The findings were that the main factors that encouraged Teenagers to do the pubic
goodness were 1. family upbringing including; the reasoning upbringing would taught
young children to use reasons. A child would be awarded or punished according to what
was right or wrong. For example, if a child has done well in school, he would be awarded.
On the contrary, if a child came home late, he would be punished. The independent
upbringing was those who taught children to take care of themselves such as dressing up,
commuting or responsible for some of the housework like cooking, washing dishes,
completing homework or studying on his own. Finally, the supporting upbringing would let
ง
children do as they please with parent affirmation. Parents would be more like a counselor.
Apart from this, parents were also using social norm to shape a child’s behavior by teaching
him/her what was acceptable in the society such kindness, helpfulness and mercy. 2.
Setting the sample. Parents could have standard conducts for their children such as being
helpful and merciful. Parents would also support their children by donating money and let
them be a part of experiences. The school environment was also another supporting factor.
Teachers played an important role because they knew and understood each child’s
strength and weakness. Teachers could support students by encouraging them to do
activities that help building their strength such as dancing, acting, singing in the choir, etc.
For those students who have problems, teachers could give them advice. The other activity
that encouraged students to improve was to join the student committee to which students
had opportunity to express their ideas. Various curricula also helped promoting students’
activities that were suite their strength. The peaceful environment and right regulations also
assisted students to do right things. Finally, positive attitudes were also important to public
sacrifice. Thus, family background and school support helped children to do good things
for public.
Recommendations were
• Family should concentrate on how a child is being brought up by right thoughts and
positive attitudes instead of objects.
• Educational institute should provide activities that encourage students to do good
things for public, and teachers have to look after students like their own children, as
well.
Finally, to develop children is to build up their mentality which is the human’s center .
จ
สารบัญ
หน้า
ประกาศคุณูปการ
บทคัดย่อภาษาไทย ก-ข
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ ค-ง
สารบัญเรื่อง จ-ช
สารบัญตาราง ซ
สารบัญแผนภาพ ฌ
บทที่ 1 บทนำ 1
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา 1
วัตถุประสงค์ของการศึกษา 2
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 2
ขอบเขตของการศึกษา 2
นิยามศัพท์เชิงปฏิบัติการ 3
กรอบแนวคิดในการวิจัย 4
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 5
แนวคิดเรื่องการทำความดี 5
แนวคิดเกี่ยวกับอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมทางสังคมกับพฤติกรรม 20
กระบวนการขัดเกลาทางสังคม 25
สภาพแวดล้อมทางสังคม 28
สภาพแวดล้อมทางครอบครัวกับพฤติกรรมการทำความดีเพื่อสังคม 29
สภาพแวดล้อมทางโรงเรียนกับพฤติกรรมการทำความดีเพื่อสังคม 40
ลักษณะทางจิต 45
ทัศนคติกับพฤติกรรมทำความดีเพื่อสังคม 51
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 55
ฉ
สารบัญ(ต่อ)
หน้า
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย 60
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 61
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา 61
การเก็บรวบรวมข้อมูล 61
การวิเคราะห์ข้อมูล 61
บทที่ 4 การวิเคราะห์ผลการศึกษา 62
ส่วนที่1 ผลการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลรายบุคคล 62
กรณีศึกษาที่ 1 62
กรณีศึกษาที่ 2 66
กรณีศึกษาที่ 3 71
กรณีศึกษาที่ 4 75
กรณีศึกษาที่ 5 78
กรณีศึกษาที่ 6 81
กรณีศึกษาที่ 7 84
กรณีศึกษาที่ 8 88
กรณีศึกษาที่ 9 91
กรณีศึกษาที่ 10 95
ตอนที่ 2 การวิเคราะห์ผลตามลักษณะตัวแปร 100
สภาพแวดล้อมทางครอบครัว 100
สภาพแวดล้อมทางโรงเรียน 107
ทัศนคติต่อการทำความดีเพื่อสังคม 116
ช
สารบัญ(ต่อ)
หน้า
บทที่ 5 สรุป อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ 120
สรุปผลการวิจัย 120
อภิปรายผลผลการวิจัย 123
ข้อเสนอแนะ 133
ข้อเสนอแนะในการวิจัย 134
บรรณานุกรม 135
ภาคผนวก
แบบสัมภาษณ์ 144
ประวัติผู้วิจัย 145
ซ
สารบัญตาราง
หน้า
ตารางที่ 1 ตารางแสดงการเข้าร่วมกิจกรรม 112
ตารางที่ 2 แสดงทัศนคติต่อการทำความดีเพื่อสังคม 116
ฌ
สารบัญแผนภาพ
หน้า
แผนภาพที่ 1 แสดงรูปแบบปฏิสัมพันธ์นิยม 19
แผนภาพที่ 2 แสดงอิทธิพลสิ่งแวดล้อมทางสังคมต่อพฤติกรรมของบุคคล 20
แผนภาพที่ 3 ต้นไม้จริยธรรม 47
แผนภาพที่ 4 แสดงทัศนคติกับพฤติกรรม 52
บทที่ 1
บทนำ
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
"ความเปลี่ยนแปลงอย่างหนึ่งที่น่าวิตกคือ ทุกวันนี้ความคิดความอ่านและความ
ประพฤติหลายๆ อย่างซึ่งถือว่าเป็นความชั่ว ความผิด ได้กลายมาเป็นสิ่งที่คนในสังคม
ยอมรับแล้วพากันประพฤติปฏิบัติโดยไม่รู้สึกสะดุ้งสะเทือน จนทำให้เกิดปัญหา และทำ
ให้วิถีชีวิตของแต่ละคนมืดมัวลงได้“ (พระบรมราโชวาทสำหรับอัญเชิญไปอ่านเนื่องในการเปิด
ประชุมใหญ่ของสมาคมพุทธศาสนา ณ พุทธสถาน จ.เชียงใหม่ วันที่ 18-21 พ.ค 2532)
พระบรมราโชวาทนี้ชี้ให้เห็นว่าเมื่อสังคมเปลี่ยนแปลงไป ค่านิยมในการประพฤติปฏิบัติ
ของคนในสังคมก็เปลี่ยนแปลงไปด้วย แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงในทางเสื่อมถอยจากวิถีชีวิตที่ดีงาม
ไปสู่การยอมรับในสิ่งที่ผิดว่าถูกต้อง จนทำให้เกิดปัญหาขึ้นในสังคม ในขณะเดียวกันสังคมก็มีส่วน
สร้างปัญหาให้เกิดขึ้นกับคนเช่นกัน เพราะคนอยู่ในบริบทของสังคมอันประกอบด้วยสภาพแวด
ล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และเทคโนโลยี ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
โลกทุกวันนี้แคบลงเป็นหนึ่งเดียวด้วยกระแสของโลกาภิวัตน์ สิ่งที่หลั่งไหลจากโลกตะวัน
ตกเข้ามาสู่สังคมไทย ไม่เพียงเฉพาะเทคโนโลยีเท่านั้น แต่ยังนำวัฒนธรรม ความคิด ความเชื่อ
ใหม่ๆเข้ามามีอิทธิพลต่อวิถีการดำเนินชีวิตของคนไทย โดยเฉพาะเยาวชนซึ่งขาดการคิด วิเคราะห์
ไตร่ตรองว่าสิ่งใดดี สิ่งใดถูก สิ่งใดควรประพฤติปฏิบัติ ทำให้เยาวชนเกิดความสับสนและความขัด
แย้งในการปฏิบัติตนในสังคม ในขณะที่พ่อแม่ผู้ปกครองต้องมีภาระอันหนักในการประกอบอาชีพ
จนละเลยที่จะหาเวลามาใกล้ชิด และอบรมสั่งสอนบุตรหลานให้ตระหนักและประพฤติปฏิบัติในสิ่ง
ที่ดีงาม
ครอบครัวเป็นสถาบันพื้นฐานอันดับแรกของมนุษย์ที่นอกจากจะทำหน้าที่ในการหล่อ
หลอมบุคลิกภาพและปลูกฝังค่านิยม ความเชื่อ ทัศนคติ จริยธรรม แนวทางการคิดรวมทั้งการแก้
ปญั หาตา่ งๆใหแ้ กเ่ ดก็ โดยผา่ นกระบวนการอบรมเลยี้ งดู ซึ่งในแต่ละครอบครัวจะมีวิธีการอบรม
เลี้ยงดูแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของท้องถิ่นนั้นๆนอกจากนี้ครอบครัวยังทำหน้าที่ส่ง
เสริมสนับสนุนด้านการศึกษา โดยนำเด็กเข้าสู่โรงเรียน ซึ่งเป็นส่วนที่จะสนับสนุนส่งเสริมให้เด็ก
เกิดการเรียนรู้ และพัฒนาไปตามวัย จากสภาพความเปลี่ยนแปลงทางสังคมเมืองในปัจจุบันส่งผล
2
ให้บทบาทของครอบครัวลดน้อยถอยลง ผู้ทำหน้าที่เป็นหลักของครอบครัวอันได้แก่บิดามารดา
ต้องทำงานหนักขึ้นโดยหันมาให้ความสำคัญกับการหารายได้ ทำให้ละเลยหน้าที่ในการอบรม
สั่งสอน ดูแลเอาใจใส่ให้ความรักความอบอุ่น โรงเรียนจึงมีบทบาทสำคัญนอกเหนือจากครอบครัว
ในการขัดเกลาหล่อหลอมเยาวชนให้เป็นทรัพยากรที่มีคุณภาพต่อการพัฒนาประเทศ
ในฐานะที่ผู้วิจัยเป็นข้าราชการครูมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาให้เยาวชนมีความสำนึก
ในหน้าที่และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม ประกอบกับโรงเรียนที่ผู้วิจัยทำงานอยู่นั้น ได้มี
การคัดเลือกเยาวชนดีเด่นในการทำความดีเพื่อสังคม ผู้วิจัยจึงมีความประสงค์จะศึกษาว่า
เพราะเหตุใดเยาวชนกลุ่มนี้จึงทำความดีเพื่อสังคม เพื่อจะได้แนวทางการสร้างเสริมคุณลักษณะ
ทางคุณธรรมจริยธรรมที่พึงประสงค์ให้เกิดกับเยาวชนที่จะเติบโตเป็นพลเมืองดีของชาติสืบต่อไป
วัตถุประสงค์ของการศึกษา
เพื่อศึกษามูลเหตุที่ส่งผลต่อการทำความดีของเยาวชนเพื่อสังคม
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. สถาบันครอบครัวได้แนวทางการพัฒนาจิตใจและพฤติกรรมทางจริยธรรมของเยาวชน
ในสังคมให้ตระหนักถึงคุณค่าของการทำความดีเพื่อสังคม
2. สถาบันการศึกษาได้แนวทางการพัฒนาเยาวชน สนับสนุนส่งเสริมให้ทำความดีจน
เป็นนิสัยที่ดีของเยาวชนไทย
ขอบเขตของการศึกษา
การศึกษาครั้งนี้จะศึกษามูลเหตุที่ส่งผลต่อการทำความดีของเยาวชนเพื่อสังคม ที่กำลัง
ศึกษาอยู่ในโรงเรียนวัดบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร โดยจะเลือกศึกษาเฉพาะ ตัวแปร
สภาพแวดล้อมทางสังคม ซึ่งประกอบด้วย สภาพแวดล้อมทางครอบครัว และสภาพแวดล้อมทาง
โรงเรียน และตัวแปรลักษณะทางจิต ซึ่งเป็นทัศนคติต่อการทำความดีเพื่อสังคม
3
นิยามศัพท์เชิงปฏิบัติการ
การทำความดีเพื่อสังคม หมายถึง พฤติกรรมการเสียสละ เมตตากรุณา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
ในการทำกิจกรรม ทางบ้าน โรงเรียนและสังคมที่ตนอยู่
การเสียสละ หมายถึง การให้ความช่วยเหลือผู้อื่นด้วยกำลังกาย กำลังใจและกำลังทรัพย์
โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน
ความเมตตากรุณา หมายถึง ความสงสารและเห็นใจ มีความปรารถนาที่จะช่วยให้ผู้อื่น
พ้นทุกข์
ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ หมายถึง การแบ่งปันทรัพย์สิ่งของ มีน้ำใจ ไม่หวังสิ่งตอบแทน
เยาวชน หมายถึง นักเรียนโรงเรียนวัดบวรนิเวศ ที่ได้รับคัดเลือกให้เป็นเยาวชนดีเด่นด้าน
การทำความดีเพื่อสังคม
สถาบันการศึกษา หมายถึง โรงเรียนวัดบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
สภาพแวดล้อมทางครอบครัว หมายถึง บรรยากาศในครอบครัว วิธีการอบรมเลี้ยงดู และ
ตัวแบบในครอบครัว
บรรยากาศในครอบครัว หมายถึง สัมพันธภาพการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข มีความรัก
ความเข้าใจ ยอมรับฟังความคิดเห็น มีการทำกิจกรรมร่วมกัน
การอบรมเลี้ยงดู หมายถึง วิธีการที่บิดามารดา หรือผู้ปกครองปฏิบัติต่อเด็กด้วยการดูแล
ให้คำแนะนำสั่งสอน ให้การสนับสนุนส่งเสริม ด้วยคำพูด การกระทำ เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้พฤติกรรม
ต่างๆ ซึ่งมีวิธีการเลี้ยงดูดังนี้ การเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุน การเลี้ยงดูแบบใช้เหตุผล การเลี้ยงดูแบบ
ลงโทษทางจิตมากกว่าทางกาย การเลี้ยงดูแบบควบคุม และการเลี้ยงดูแบบพึ่งตนเองเร็ว
ตัวแบบในครอบครัว หมายถึง การประพฤติปฏิบัติตนด้านต่างๆ ของพ่อแม่หรือผู้ปกครอง
ให้เป็นแบบอย่างแก่บุตรธิดา
สภาพแวดล้อมทางโรงเรียน หมายถึง สภาพสังคมภายในโรงเรียนที่เกิดจากกระบวนการ
เรียนการสอน ซึ่งประกอบด้วย ครู หลักสูตร กิจกรรม ระเบียบกฎเกณฑ์ บริการ
สวัสดิการ
ครู หมายถึง ผู้ทำหน้าที่อบรมสั่งสอนด้านวิชาการและพฤติกรรมต่างๆ
หลักสูตร หมายถึง แผนการ เรียนที่โรงเรียนจัดให้มีวิชาและกิจกรรมต่างๆ
4
กิจกรรม หมายถึง การจัดให้มีชั่วโมงเรียนตามความถนัดความสนใจโดยไม่มีหน่วยการ
เรียน เช่น กิจกรรมลูกเสือ ชุมนุมดนตรี ชมรมเพื่อนเพื่อเพื่อน ทัศนศึกษา การโต้วาที หรือ
การอภิปรายเป็นต้น
ระเบียบกฏเกณฑ์ หมายถึง ข้อปฏิบัติของโรงเรียน
บริการสวัสดิการ หมายถึง จัดให้มีบริการเพื่อช่วยเหลือนักเรียนด้านต่างๆ เช่น บริการ
พยาบาล ห้องสมุด บริการแนะแนว
ทัศนคติต่อการทำความดีเพื่อสังคม หมายถึง การเห็นคุณค่า ความชอบ ความพอใจ
ความเต็มใจและพร้อมที่จะทำประโยชน์เพื่อผู้อื่นและสังคม
กรอบแนวคิดในการวิจัย
สภาพแวดล้อมทางสังคม
- สภาพแวดล้อมทางครอบครัว
- บรรยากาศในครอบครัว
- วิธีการอบรมเลี้ยงดู
- ตัวแบบในครอบครัว
- สภาพแวดล้อมทางโรงเรียน
-ครู,หลักสูตร ,กิจกรรม,ระเบียบกฎ
เกณฑ์, บริการสวัสดิการ
ลักษณะทางจิต
-ทัศนคติต่อการทำความดีเพื่อ
สังคม
การทำความดีเพื่อสังคม
-พฤติกรรมการเสียสละ
เมตตากรุณา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
ในการทำกิจกรรมทางบ้าน โรง
เรียนและสังคมที่ตนอยู่
บทที่ 2
เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาการทำความดีของเยาวชนเพื่อสังคม : กรณีศึกษานักเรียนโรงเรียนวัดบวรนิเวศ
เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ผู้ศึกษาได้ทบทวนวรรณกรรม ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ดัง
ต่อไปนี้คือ
1. แนวคิดเรื่อง “การทำความดี”
2. แนวคิดเกี่ยวกับอิทธิพลสิ่งแวดล้อมทางสังคมกับพฤติกรรม
3. กระบวนการขัดเกลาทางสังคม
4. สภาพแวดล้อมทางสังคม
5. ลักษณะทางจิต
6. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
1. แนวคิดเรื่อง "การทำความดี"
นิยามและความหมาย
ความดีตามนิยามของอภิจริยศาสตร์ นิยามว่า เป็นสิ่งที่ดีคือสิ่งที่ควรทำ หรือ การกระทำที่ดี
คือการกระทำตามหน้าที่ (วิทย์ วิศทเวทย์ 2530 : 137) สมภพ ชีวรัฐพัฒน์ (2539 : 96)กล่าวว่า
ความดี เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความเจริญ บุคคลทำความดี ย่อมทำให้ตนเองและผู้อื่นเกิดความเจริญ
ก้าวหน้า และมีความสุขใจ สบายใจ การทำความดีทุกชนิดต้องไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น
บุคคลทำความดีได้ที่ กาย วาจา ใจ
ความดี เป็นคุณธรรมที่มีประจำตัวของแต่ละบุคคลไม่มากก็น้อยสุดแล้วแต่ว่าใครจะได้สั่งสม
กันมาอย่างไร คนที่มีคุณธรรมเรื่องความดี จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความรู้เป็นเครื่องรักษาความ
ดีที่ตนมีอยู่นั้นให้มั่นคงดำรงอยู่ ถ้าปราศจากความรู้เสียแล้วความดีของบุคคลนั้นอาจจะหดหาย
ไปเพราะขาดปัญญาความรอบรู้สิ่งที่ควรและไม่ควร สิ่งมีประโยชน์และไม่มีประโยชน์ เพราะว่ามี
ความดี อยู่ 2 ชนิด คือ
1. ความดี (บุญ) ที่เราเคยกระทำมาแต่อดีตมีผลส่งให้เราได้รับความสุขกายสบายใจ (บุญนำพา
หรือบุญบันดาล)
6
2. ความดีที่เราสร้างไว้ในชีวิตปัจจุบัน เป็นสิ่งที่เราเข้าใจได้ง่ายและมีผลทำให้ได้รับความสุข
ความสำเร็จอย่างเห็นได้ชัด เช่น ความขยันหมั่นเพียรในการศึกษา ตลอดจนถึงการแสวงหา
ทรัพย์สมบัติ ฯลฯ (ชัยวัฒน์ อัตพัฒน์ 2534 : 80-81)
ความดีจึงเป็นลักษณะทาง คุณธรรมอย่างหนึ่งซึ่ง Titus (1936: 200) ได้ให้ความหมายของ
คุณธรรมว่า เป็นลักษณะที่ดีของอุปนิสัย คุณภาพหรือนิสัยของมนุษย์ซึ่งคนทั่วไปชมเชยและเห็น
คุณค่า เป็นเจตคติที่แสดงออกถึงคุณความดีทางศีลธรรม ซึ่งสอดคล้องกับความหมายใน
พจนานุกรมทางการศึกษา (Dictionary of Education 1973 : 641) ที่ให้ความหมายเป็นสอง
ความหมาย ความหมายแรก หมายถึง ความดีงามของลักษณะนิสัยหรือพฤติกรรมที่กระทำตาม
ความคิด ตามมาตรฐานของสังคมซึ่งเกี่ยวข้องกับความประพฤติและหลักศีลธรรม และตาม
พจนานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติ พ.ศ 2530 (2530:16) หมายถึง สภาพคุณงามความดี ซึ่งคุณ
ความดีที่ สุมน อมรวิวัฒน์ (2534 : 238) ได้กล่าวว่าเป็นคุณลักษณะที่สำคัญ ถือว่ามีความเป็น
มนุษย์โดยสมบูรณ์ นั่นคือ จะต้องคิดและกระทำสิ่งที่ก่อให้เกิดผลอันเป็นคุณแก่ส่วนรวมและตน
เอง ได้แก่
1. การเสียสละ แบ่งปัน เป็นต้นเหตุทำให้เกิดความไม่อยากได้ของผู้อื่น ทำให้ประพฤติสุจริต
สันโดษ ยินดีในสิ่งที่ตนมี ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น บำเพ็ญประโยชน์ต่อส่วนรวม ฯลฯ
2. เมตตา กรุณา เป็นต้นเหตุทำให้เกิด ความไม่คิดประทุษร้ายผูกโกรธ ทำให้ประพฤติเสียสละ
สงเคราะห์ อนุเคราะห์ ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ไม่ทำร้าย ไม่ฆ่าฟัน ไม่ถือโทษโกรธตอบ มีความ
สามัคคี ฯลฯ
3. ปัญญา และความเห็นถูกต้อง เป็นต้นเหตุทำให้เกิดความมีเหตุผล ไม่งมงาย ทำให้ประพฤติ
มีระเบียบวินัย รับผิดชอบ มีความคิดรอบคอบ มีสติ ไม่ประมาท ฯลฯ (พระมหาปรีชา มหา
ปัญโญและคนอื่นๆ 2532:29)
ดังนั้นความดีในที่นี้หมายถึง ลักษณะความดีงามที่ปรากฏทางกาย วาจาและใจ การ
เสียสละ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ทำบุญให้ทาน มีจิตใจเมตตากรุณา
การทำความดี เป็น คุณธรรมของมนุษย์ ข้อปฏิบัติเพื่อก่อให้เกิดความประพฤติที่ดี
เหมาะสมสำหรับความเป็นมนุษย์ตามหลักพุทธจริยธรรมได้ระบุไว้ดังนี้ ความประพฤติชอบ 3
ประการ คือกาย วาจาและใจ ทำตนเป็นคนมีศีลธรรม สร้างความดีอยู่เสมอ และปฏิบัติตามกุศล
กรรมบท 10 ประการ(สมภพ ชีวรัฐพัฒน์ 2539 : 97-99)
7
การทำความดี ในที่นี้จึงหมายถึง การประพฤติปฏิบัติถูกต้องดีงาม ทั้งทางกาย วาจา
ใจ การเสียสละ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ ทาํ บญุ ใหท้ าน มีจิตใจเมตตากรุณา ให้ตนเองมีความสุข ความ
เจริญ และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อคนรอบข้าง
หลักการทำความดี
การทำความดี พระธรรมปิฎก (สนิท เขมจารี ป.ธ. 9) ได้กล่าวว่าการทำความดีของคนเรา
มีอยู่ 3 อย่างคือ
1. ทำดี เพราะเห็นแก่ตัวเอง (อัตตาธิปไตย)
2. ทำดีเพราะเห็นแก่คนอื่น เช่น เห็นแก่พวกพ้องของตัว (โลกาธิปไตย)
3. ทำดีเพราะเห็นว่าเป็นความดีที่ควรทำ โดยไม่เห็นแก่ตัวหรือพวกพ้อง ถือเหตุผล ถือ
ธรรมเป็นสำคัญ (ธรรมาธิปไตย)
การทำความดีเพราะเห็นว่าเป็นความดีที่ควรทำ เชื่อว่าเป็นการทำความดีที่แท้จริง
เกณฑ์ตัดสินความดีความชั่ว
เกณฑ์ตัดสินความดีหรือชั่ว ผิดหรือถูกนั้นมีนักปรัชญาสาขาต่างๆ ได้กำหนดหลักหรือ
มาตรการที่ใช้ตัดสินพฤติกรรม หรือการกระทำของมนุษย์ ซึ่งเรียกว่า เกณฑ์ตัดสินจริยธรรมซึ่งสรุป
สาระสำคัญจากความคิดเห็นของนักปรัชญากลุ่มต่างๆ ได้ดังนี้ คือ (สมภพ ชีวรัฐพัฒน์2539 : 96)
1. เกณฑ์ตัดสินจริยธรรมตามทัศนะของกลุ่มสัมพัทธนิยม
1.1 ดีชั่วขึ้นอยู่กับการตัดสินของบุคคล
1.2 ดีชั่วขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของสังคมหรือสิ่งแวดล้อม
2. เกณฑ์ตัดสินจริยธรรมตามทัศนะของกลุ่มประโยชน์นิยม
2.1 เป็นสิ่งที่ให้ประโยชน์สุขยาวนาน
2.2 ถ้าไม่มีสิ่งดี ก็ให้เลือกสิ่งที่เลวน้อยที่สุด
2.3 สิ่งที่มีประโยชน์สุขมากที่สุดของคนจำนวนมากเป็นหลักสำคัญ
2.4 ยึดไม่ลดตัวเองให้น้อยกว่าคนอื่นและไม่ลดของผู้อื่นให้น้อยกว่าคนทุกฝ่ายมี
ประโยชน์เท่าเทียมกัน
2.5 เจตนาในการกระทำไม่สำคัญ แต่สำคัญที่ผลประโยชน์ที่เกิดจากการกระทำ
3. เกณฑ์ตัดสินจริยธรรมตามทัศนะของกลุ่มปฏิบัตินิยม
การตัดสินค่าทางศีลธรรมว่า ดี ชั่ว ถูกผิด ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของการกระทำ คือการใช้
ประโยชน์ได้จริง และถือว่าสิ่งที่ดี ก็คือ สิ่งดีสำหรับส่วนรวม และความดีนั้นเป็นความดีของส่วน
รวม
8
4. เกณฑ์การตัดสินจริยธรรมตามทัศนะของกลุ่มบริสุทธิ์นิยม
คานต์ นักปรัชญาชาวเยอรมัน เป็นผู้ตั้งทฤษฎีขึ้นและสรุปได้ว่า การกระทำที่ดี คือ การ
กระทำด้วยเจตนาที่ดี และเจตนาในความหมายนี้ คือ การทำหน้าที่ ดังนั้นการทำหน้าที่ที่ดี คือ การ
กระทำทุกชนิดโดยไม่เห็นแก่ตัวเองและผู้อื่น และไม่มีอารมณ์และความรู้สึกใดๆ มามีอิทธิพลร่วม
ตลอดจนไม่หวังประโยชน์ตอบแทนใดๆ ทั้งสิ้น เช่น เพชฌฆาต มีหน้าที่ยิงคนให้ตายเขาต้องยิง ทุก
คนที่ส่งมาให้เขายิงให้ตาย การกระทำของเพชฌฆาตถือว่าเป็นการกระทำหน้าที่ด้วยเจตนาที่ดี
5.เกณฑ์ตัดสินจริยธรรมตามทัศนะของกลุ่มสมบูรณนิยม
5.1 มโนธรรมเป็นมาตรฐานตายตัวในการตัดสินจริยธรรม
5.2 คุณค่าทางศีลธรรมเป็นกฎตายตัว
6.เกณฑ์การตัดสินความดี ความชั่วในพระพุทธศาสนา
เกณฑ์การตัดสินความดี ความชั่วในพระพุทธศาสนา นั้นแบ่งออกเป็น 2 ระดับคือ
1. ระดับศีลธรรม จริยธรรมระดับมีศีลธรรม มีเกณฑ์ตัดสินความดีความชั่วพื้นฐานของ
มนุษย์ คือ เบญจศีล หรือศีลห้า ได้แก่ ข้อปฏิบัติในการเว้นจากการทำความชั่ว 5 ประการ คือ เว้น
จากการฆ่าสัตว์ เว้นจากการลักทรัพย์ เว้นจากการประพฤติผิดในกาม เว้นจากการพูดเท็จ และเว้น
จากการดื่มน้ำเมา ศีลห้าเป็นมนุษยธรรม ซึ่งเป็นธรรมสำหรับทำให้คนเป็นมนุษย์ (พระราชวรมุรี
2520 : 143-144 ) นอกจากนี้ความประพฤติที่ดีตามสุจริต 3 อย่าง คือ ความประพฤติชอบด้วย
กาย ความประพฤติชอบด้วยวาจา ความประพฤติชอบด้วยใจ เป็นเกณฑ์วัดความประพฤติดีของ
มนุษย์
2. ระดับสัจธรรม เกณฑ์มาตรฐานสำหรับชี้วัดความประพฤติ หรือการปฏิบัตธรรมระดับ
สัจธรรม เพื่อการครองชีวิตที่ประเสริฐและเพื่อความพ้นทุกข์ พระวรศักดิ์ วรธัมโม (2526 : 93)
กล่าวว่า หลักตัดสิน ความดี-ความชั่ว ซึ่งเป็นทางสายกลาง ได้แก่ อริยมรรคมีองค์แปด คือ ความ
เห็นชอบ ความดำริชอบ การเจรจาชอบ การกระทำทางกายชอบ การดำรงชีวิตชอบ ความเพียร
ชอบ การระลึกชอบ และการตั้งใจมั่นชอบ อริยมรรคมีองค์แปดเป็นความดีงาม ทุกขั้นตอนของ
ความถูกต้องดีงามทั้งตัวความรู้ ตัวการปฏิบัติ และผลการปฏิบัติ สามารถแก้ปัญหาได้ทุกขั้นตอน
ดังนั้นการตัดสินพฤติกรรมความดีในที่นี้ยึดหลักพุทธศาสนา คือ
1. เป็นผู้ปฏิบัติตนตามหลักเบญจศีล คือ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่
พูดเท็จ และไม่ดื่มน้ำเมา
9
2. เป็นผู้ประพฤติดีตามสุจริต 3 คือ มีสัมมาคารวะ พูดจาไพเราะเสนาะหู มีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อ
แผ่ ช่วยเหลือผู้อื่น
3. ไม่มีพฤติกรรมเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น
4. ไม่โลภ โกรธ หลง
5. ทำประโยชน์เกื้อกูล ช่วยเหลือส่วนรวม
6. มีความจริงใจ ไม่เสแสร้งหรือทำเพื่อหวังสิ่งตอบแทน
7. คนส่วนใหญ่ยอมรับ หรือยกย่อง หรือให้เกียรติ
การทำความดีเพื่อสังคม
แนวคิดที่เกี่ยวกับการทำความดีเพื่อสังคม
โคลเบอร์ก (Kohlberg 1975:673) ได้ศึกษาจริยธรรมตามแนวทฤษฎีของเพียเจท์(Piaget)
และพบความจริงว่า การพัฒนาจริยธรรมของมนุษย์นั้นไม่ได้พัฒนาถึงจุดสมบูรณ์เพียงอายุ 10 ปี
แต่มนุษย์ในสภาพปกติจะมีการพัฒนาทางจริยธรรมอีกหลายขั้นตอน จากอายุ 11 ปี ถึง 25 ปี
และโคล์เบอร์กได้ใช้เวลาอันยาวนานในการศึกษาค้นคว้าเรื่องพัฒนาการของจริยธรรมในตัวเด็ก
และวัยรุ่นจริงจังและพบว่าคนเรานั้นไม่ว่าจะอยู่ในสังคมแบบไหนประเทศใดก็ตาม จะมีรูปแบบ
(Pattern) ของการพัฒนาจริยธรรมตามลำดับเป็นขั้นตอนที่แน่นอนเหมือนๆ กัน 6 ขั้นตอน (กีรติ
ศรีวิเชียร 2524 : 17)และได้จัดเป็น 3 ระดับ ดังนี้ (ศุภวัฒน์ ดีสงคราม 2540 : 19)
ระดับที่ 1 ระดับก่อนกฏเกณฑ์ (Preconventional) เป็นระดับที่เด็กยึดตัวเองเป็นศูนย์
กลางในการตัดสินการกระทำ เลือกกระทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ตนเองโดยไม่คำนึงถึงผลที่เกิด
แก่ผู้อื่น ระดับนี้แบ่งออกเป็น 2 ขั้น
ขั้นที่ 1 หลักการเชื่อฟังคำสั่งและหลบหลีกการลงโทษ (Obedience and Punishment)
ตัดสินการกระทำว่าดีเลวจากการพิจารณาที่ผลการกระทำ ยอมทำตามคำสั่งผู้มีอำนาจทางกาย
เหนือตน จริยธรรมขั้นนี้จะเกิดในบุคคลอายุตั้งแต่ 2 – 7 ปี
ขั้นที่ 2 หลักการแสวงหารางวัล (Naively Egoistic Orientation) เริ่มคิดถึงคนอื่นบ้าง แต่
เป็นไปในลักษณะแลกเปลี่ยน เด็กถือว่าการกระทำที่ถูกต้อง คือการกระทำที่สนองความต้องการ
และนำมาซึ่งความพอใจของตน ขั้นนี้จะเกิดกับบุคคลอายุตั้งแต 7-10 ปี
ระดับที่ 2 ระดับตามกฎเกณฑ์ (Conventional) ในขั้นนี้เรียนรู้ที่จะกระทำตามกฎเกณฑ์
ของกลุ่มย่อยของตน กระทำตามกฎหมาย กฎเกณฑ์ของศาสนา รู้จักที่จะเอาใจเขามาใส่ใจเรา
ระดับนี้แบ่งออกเป็น 2 ขั้น
10
ขั้นที่ 3 หลักการทำตามที่ผู้อื่นเห็นชอบ (Good-boy Orientation) หรือความคิดเห็นของผู้
อื่นเข้ามาพิจารณา จะเกิดในบุคคลอายุตั้งแต่ 10-13 ปี บุคคลจะกระทำพฤติกรรมที่ดีเพื่อจะเป็นที่
ยกย่องชมเชย ไม่เป็นตัวของตัวเอง ชอบคล้อยตามคนอื่นโดยเฉพาะกลุ่มเพื่อน
ขั้นที่ 4 หลักการทำตามหน้าที่ทางสังคม (Authority and Social Order Maintaining
Orientation) เด็กจะเริ่มมองเห็นความสำคัญของกฎเกณฑ์และระเบียบต่างๆ เห็นความสำคัญที่จะ
ทำตามหน้าที่ของตนแสดงการยอมรับเคารพในอำนาจและมุ่งรักษาไว้ซึ่งกฎเกณฑ์ทางสังคม จะ
เกิดในบุคคลอายุตั้งแต่ 13-16 ปี
ระดับที่3 ระดับเหนือกฎเกณฑ์ (Postconventional) การตัดสินพฤติกรรมใดๆ เป็นไปตาม
ความคิดและเหตุผลของตนเอง ระดับนี้แบ่งออกเป็น 2 ขั้น
ขั้นที่ 5 หลักการทำตามคำมั่นสัญญา (Contractual Legatistic Orientation) ยึด
ประโยชน์และความถูกต้องตามกฎหมาย การกระทำที่ถูกต้องคือ การกระทำที่ทำไปตามข้อตกลง
ในสังคม สามารถควบคุมตนเองได้ จะเกิดในบุคคลอายุตั้งแต่ 16 ปี ขึ้นไป
ขั้นที่ 6 หลักการยึดอุดมคติสากล (Conscience Orientation) สิ่งที่ถือว่าถูกต้องจะเป็น
เรื่องของสำนึกของแต่ละบุคคลซึ่งอยู่บนพื้นฐานความคิดที่ถูกต้องเหมาะสมนำไปใช้ได้กับทุกคน มี
ลักษณะแสดงถึงการมีความเป็นสากลนอกเหนือจากกฎเกณฑ์ในสังคมของตน จริยธรรมนี้จะเกิด
อย่างสมบูรณ์ในผู้ใหญ่
จากขั้นพัฒนาการทั้ง 6 ขั้นที่โคลเบอร์กเสนอไว้แล้วนั้น การพัฒนาการจากขั้นต่ำสุดไปยัง
ขั้นสูงสุดมีกระบวนการดังนี้ คือ
1. พัฒนาการทางจริยธรรมของบุคคลจะผ่านไปตามลำดับขั้น (Sequential stages) โดย
มีพื้นฐานมาจากการให้เหตุผลเชิงตรรกศาสตร์ 4 ขั้น ตามที่เพียเจท์ศึกษาไว้จะเห็นได้ชัดว่าการให้
เหตุผลเชิงจริยธรรมในขั้นสูงๆ นั้นจะขึ้นอยู่กับการให้เหตุผลทางตรรกศาสตร์ขั้นสูงด้วยโดยจะ
พัฒนาคู่กันไป
2. การที่บุคคลได้มีโอกาสรับรู้ทางสังคม (Social perceptions) หรือการมีบทบาทใน
สังคม (Role taking) จะมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับพัฒนาการทางจริยธรรม
3. บุคคลจะมีพัฒนาการทางจริยธรรมในขั้นที่สูง เขาจะต้องมีความสามารถในการใช้เหตุ
ผลเชิงตรรกศาสตร์และความสามารถในการรับรู้ทางสังคมในระดับที่สูงเสียก่อน ซึ่งต่อมาเจมส์
อาร์ เรสต์ (James R. Rest) ได้ใช้แนวคิดจากทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบอร์กเป็น
พื้นฐานในการศึกษาวิจัย โดยปรับปรุงเครื่องมือที่ใช้วัดให้มีลักษณะเป็นปรนัยและสะดวกในการใช้
มากขึ้น ชื่อ เดอะดีไฟนิ่งอีชชูส์ เทสต์ (The Defining Issues Test) ผลจากการศึกษาทำให้เกิด
11
ความคิดใหม่ๆ เกี่ยวกับลักษณะของขั้นพัฒนาการ (Stage characteristics) และแบ่งขั้น
พัฒนาการการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมออกเป็น 6 ขั้น คือ
ขั้นที่ 1 การยอมเชื่อฟังและการหลีกเลี่ยงการถูกลงโทษ (The obedience and
punishment orientation) ยอมทำตามคำสั่งของผู้ที่มีอำนาจเหนือกว่าเพื่อให้รอดพ้นจากการถูก
ลงโทษ
ขั้นที่ 2 การแสวงหารางวัลและการแลกเปลี่ยน (Instrumental hedonism and
exchange) ในขั้นนี้จะไม่มีการยินยอมตามเป็นรองใคร แต่หันมาตอบแทนกันในลักษณะที่เท่า
เทียมกันโดยทั้งสองฝ่ายพึงพอใจและความดีขึ้นอยู่กับค่าทางวัตถุ
ขั้นที่ 3 การให้ผู้อื่นยอมรับตน (orientation to approval and oersonal concordance)
ในขั้นนี้การช่วยเหลือไม่ใช่เป็นการแลกเปลี่ยนที่ตอบแทนเท่าเทียมกัน แต่ขยายขอบเขตออกไปเพื่อ
รักษาสัมพันธภาพอันดีต่อกัน การได้รับสิ่งตอบแทนไม่สำคัญเท่ากับเรื่องการรักษาความพึงพอใจ
ต่อกันและความสัมพันธ์อันดีต่อกัน และความสัมพันธ์นี้เริ่มขยายออกไปสู่คนหมู่มาก
ขั้นที่ 4 การปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับของสังคม (The law and order
orientation) สัมพันธภาพในขั้นนี้ไม่ใช่เป็นสัมพันธภาพที่คงไว้ระหว่างบุคคล แต่ขยายขอบเขตไป
ถึงชุมชนและชาติ ทั้งนี้สมาชิกในสังคมต้องละเว้นการทำร้าย การขโมยผู้อื่น และแต่ละคนทำงาน
ตามหน้าที่ของตนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานส่วนรวม ให้ความร่วมมือกับผู้นำและผู้มีอำนาจในกลุ่ม
การตอบแทนกันอยู่ในลักษณะการติดต่อกับสังคมหรือสถาบันสังคมที่จะจัดระบบดีแล้ว เพื่อให้
เกิดความสมดุลย์ในสังคม
ขั้นที่ 5 ใช้หลักความคิดทางจริยธรรมขั้นสูง (Principled moral thing) การตอบแทนกัน
เกิดจากความจำเป็นของโครงสร้างทางสังคมทำให้ความคาดหวังระหว่างบุคคลในสังคมเกิดความ
สมดุลย์ มีความซาบซึ้งว่าการจัดวางความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลสามารถจัดได้หลายวิธี แบ่งเป็น
2 ขั้น ย่อยดังนี้
ก.ขั้น 5 เอ เป็นการเห็นชอบและเข้าใจหลักเกณฑ์ทางสังคมด้วยวิธีการประชาธิปไตย
ข.ขั้น 5 บี เริ่มมีอุดมคติในการสร้างสรรค์เพื่อให้สังคมอยู่ในสภาพที่เต็มไปด้วยความรัก
สันติภาพ ไม่มีชนชั้นในสังคม มีอิสระภาพ เสรีภาพ และความเท่าเทียมกัน
ขั้นที่ 6 ใช้หลักเกณฑ์ขั้นสูงสุด (Organized principle) พัฒนาการในขั้นนี้เป็นอิสระจาก
ความไม่แน่นอนของสภาพการณ์ในสังคม เช่น ไม่ว่าโครงสร้างของสังคมจะเป็นอย่างไร ประเพณีที่
ยึดถือกันในสังคมเขาต้องสามารถสร้างขอบเขตของพันธะสิทธิที่ยึดถือเป็นหลักสากลสามารถแก้
ไขปัญหาทางจริยธรรมที่ซับซ้อนได้มากกว่าขั้นก่อนๆ
12
การศึกษางานการพัฒนาพฤติกรรมทางจริยธรรมในประเทศไทย จากการศึกษาวิจัย
พฤติกรรมของคนไทยทางด้านจิตวิทยาโดย ดวงเดือน พันธุมนาวิน (2538) ว่า คนไทยที่มีการ
กระทำที่จัดได้ว่าเป็นคนดี และคนเก่งนั้น มีลักษณะทางจิตใจที่สำคัญ 8 ประการ โดยมีส่วนสำคัญ
3 ส่วน คือ ดอกและผลไม้บนต้น ลำต้น และราก โดยพฤติกรรมของคนดีและคนเก่งเปรียบเสมือน
ผลผลิตที่น่าพอใจและมีประโยชน์คือ ดอกไม้และผลไม้ จิตลักษณะประการที่หนึ่งถึงห้าเปรียบ
เสมือนลำต้นของต้นไม้ ต้นไม้จะออกดอกสมบูรณ์ได้ต้องมีลำต้นหรือสาเหตุที่เพรียบพร้อมสมบูรณ์
ด้วย คือ 1.เหตุผลเชิงจริยธรรม 2. ความสามารถในการควบคุมตนเอง(มุ่งอนาคต) 3. ความเชื่อใน
อำนาจตน 4. แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ 5. ทัศนคติ คุณธรรมและค่านิยม ส่วนจิตลักษณะอีก 3 ด้านคือ
ความเฉลียวฉลาด สุขภาพจิตและมีประสบการณ์ทางสังคม เปรียบเสมือนรากของต้นไม้ ซึ่งเป็น
พื้นฐานของความเจริญทางจิตใจห้าประการที่ลำต้น และจิตลักษณะทั้งแปดประการนี้ร่วมกันเป็น
สาเหตุของพฤติกรรมการทำดีละเว้นชั่วและทำงานอย่างขยันขันแข็งตามหน้าที่และเพื่อคุณภาพ
ของงานและส่วนรวม
ส่วนสุรศักดิ์ สันติธัญญโชค (2521: 22-23) ได้นำหลักธรรมที่เรียกว่าความปรารถเป็น
ใหญ่ (อธิปเตยยะ 3) และพุทธโอวาท มากำหนดเป็นเกณฑ์จัดระดับขั้นพฤติกรรมทางจริยธรรมได้
ดังนี้
ระดับที่ 1 พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ เป็นการกระทำที่ทำให้ตนเอง บุคคลอื่นและสังคม
เดือดร้อน
ระดับที่ 2 พฤติกรรมที่ละเว้นความชั่ว แต่ไม่ทำให้ตน บุคคลอื่น และ/หรือสังคมเดือดร้อน
ระดับที่ 3 พฤติกรรมทำความดีหรือกระทำถูก ทำประโยชน์ให้กับตน บุคคลอื่นและ/หรือ
สังคม
ระดับที่ 4 พฤติกรรมทำความดีหรือกระทำถูก ทำประโยชน์ให้กับตน บุคคลอื่นและ/หรือ
สังคม ก่อให้เกิดความสุข กระทำด้วยจิตใจบริสุทธิ์และใช้ปัญญาซึ่งสอดคล้องกับการจัดระดับขั้น
ทางจริยธรรมของ อัจฉรา จตุรพิธพร (2523:13-16) ได้ใช้เกณฑ์การจัดระดับขั้นทางจริยธรรมของ
กลุ่มนิสิตปริญญาโทสาขาการสอนสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปีการศึกษา 2520 ซึ่ง
นำหลักธรรมทางพุทธศาสนามาเป็นแนวทางในการจัดระดับขั้นทางจริยธรรม ดังนี้
1. อธิปเตยยะ 3 หมายถึง ความปรารถเป็นใหญ่ บุคคลจะทำอะไรจะต้องปรารถสิ่งใดสิ่ง
หนึ่งซึ่งตนเห็นว่าดีแล้วจึงทำซึ่งประกอบด้วยความมีตน ความมีโลภ และความมีธรรมเป็นใหญ่
2. พุทธโอวาท เป็นประมวลคำสอนของพระพุทธเจ้า ได้แก่การไม่ทำความชั่วทั้งปวง ทำแต่
ความดีและทำจิตใจของตนให้สะอาดบริสุทธิ์
13
และได้อาศัยทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบอร์ก ที่แบ่งเป็น 3 ระดับคือ 1.
ระดับก่อนกฎเกณฑ์ หมายถึง การเลือกตัดสินใจ เลือกกระทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ตนเอง ไม่
คำนึงถึงผลที่จะเกิดแก่ผู้อื่น 2. ระดับตามเกณฑ์ หมายถึงการกระทำตามกฎเกณฑ์ของกลุ่มย่อยๆ
ของตนหรือทำตามกฎเกณฑ์ กฎหมาย ศาสนา คล้อยตามผู้อื่น 3. ระดับเหนือกฎเกณฑ์ หมายถึง
การตัดสินข้อขัดแย้งต่างๆ ด้วยการชั่งใจตนเองแล้วตัดสินใจไปตามความสำคัญ โดยอัจฉรา
จตุรพิธพร ได้ตั้งเกณฑ์การจัดระดับขั้นทางจริยธรรมเป็น 4 ระดับดังนี้
ระดับจริยธรรม พฤติกรรม เหตุผลของการกระทำ
1. ไม่พึงประสงค์ ทำความชั่ว ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม
2. พึงประสงค์ ไม่ทำความชั่ว(เพื่อตนเอง) เพราะนึกถึงตนเองเป็นใหญ่ไม่
นึกถึงผู้อื่น
3. พึงประสงค์ ทำความดี (เพื่อตนเอง,ผู้อื่น) เพราะต้องการได้รับคำยกย่อง
สรรเสริญ เห็นว่าเป็นกฎเกณฑ์
ของสังคม
4. พึงประสงค์ ทำความดีด้วยใจบริสุทธิ์ เพราะเห็นว่าถูกต้องโดยใช้สติ
ปัญญา ไม่คำนึงถึงตนและผู้อื่น
ที่ประชุมทางวิชาการเกี่ยวกับจริยธรรมไทย (กรมวิชาการ 2523 : 64) ได้กำหนดการแบ่ง
ระดับของจริยธรรมออกเป็น 2 มิติ คือ
1. มิติระดับของจริยธรรม ในจริยธรรมแต่ละประการได้จำแนกพฤติกรรมออกเป็นระดับ
ต่างๆ ตามลักษณะผลที่กระทบถึงบุคคลโดยแบ่งระดับจากต่ำไปหาสูงดังนี้
1.1 ระดับด้อยหรือขาดคุณสมบัติทางจริยธรรม
1.2 ระดับมีจริยธรรมเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง
1.3 ระดับมีจริยธรรมเพื่อผลประโยชน์ของผู้อื่นในหมู่คณะเล็กๆ
1.4 ระดับมีจริยธรรมเพื่อผลประโยชน์ของสังคมส่วนรวม
2. มิติระดับของผู้ปฏิบัติ ในจริยธรรมแต่ละประการได้จำแนกสิ่งที่ควรปฏิบัติหรือพฤติ
กรรมออกเป็นระดับต่างๆ ตามลักษณะวัย ประสบการณ์ของผู้ปฏิบัติ แบ่งได้ดังนี้
2.1 ระดับของผู้ปฏิบัติวัยประถมศึกษาตอนต้น
2.2 ระดับของผู้ปฏิบัติวัยประถมศึกษาตอนปลาย
2.3 ระดับของผู้ปฏิบัติวัยมัธยมศึกษา
14
2.4 ระดับของผู้ปฏิบัติวัยอุดมศึกษาและประชาชนทั่วไป
จากแนวคิดดังกล่าวพบว่าพฤติกรรมการทำความดี ทำประโยชน์ให้กับตนเอง บุคคลอื่น
หรือสังคม จะปรากฏอยู่ในระดับขั้นทางจริยธรรมขั้นที่ 3และ 4 ของโคลเบอร์ก และตามหลักอธิป
เตยยะ 3 และของ อัจฉรา จตุรพิธพร (2523) ซึ่งสรุปได้ว่าพฤติกรรมการทำความดีเพื่อสังคมคือ
การทำประโยชน์ตนและบุคคลอื่นและสังคม โดยมีผู้ให้ความหมายของการทำประโยชน์เพื่อบุคคล
อื่นและสังคมไว้ดังนี้
รัตนาวดี รอดภิรมย์ (2533 : 5) กล่าวว่าพฤติกรรมช่วยเหลือ หมายถึง การกระทำของเด็ก
ซึ่งทำให้ตนและผู้อื่นเกิดความพึงพอใจ การช่วยเหลือตนเองและผู้อื่นเป็นการตอบสนองความ
ต้องการของผู้อื่นด้วยคำพูดและการกระทำต่าง ๆ เช่นการแบ่งปันสิ่งของ การให้สิ่งของ การช่วยทำ
กิจกรรม การปลอบใจและการประนีประนอม
เกษณี เทศนา (2540 : 35) กล่าวว่า การเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม เป็นคุณลักษณะหนึ่ง
ที่ควรปลูกฝังในเด็กและเยาวชน พฤติกรรมที่แสดงออกถึงการเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมนั้นมีมาก
มายอาทิ เช่น การเสียสละ ความมีน้ำใจ การให้ปัน การไม่เอาเปรียบผู้อื่น
ปริศนา คำชื่น (2540 : 35) กล่าวถึงการเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมว่า หมายถึง การแสดง
ออกในพฤติกรรมของการให้ปัน ช่วยเหลือหรือให้ผู้อื่นด้านทรัพย์สิน สิ่งของ ความรู้ และแรงงาน
การอุทิศตนทำงานเพื่อสังคมและส่วนรวม รู้จักร่วมมือช่วยกันรักษาสมบัติส่วนรวม ไม่ทำลาย
สมบัติส่วนรวม
กนก จันทร์ขจร (2544:254-255) ได้กล่าวว่า “การช่วยเหลือผู้อื่น หรือการปฏิบัติเพื่อ
ประโยชน์แก่ผู้อื่น เพื่อประโยชน์ส่วนรวม สังคมจะมีความสุข คือมีความสงบสุข ถ้าบุคคลในสังคม
รู้จักการช่วยเหลือ มีความเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม” เป็นคุณธรรมขั้นสูงของการอยู่ร่วมกันใน
สังคม ซึ่งลักษณะของการทำความดีเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมได้มีนักวิชาการ กล่าวถึงไว้ว่ามี
ลักษณะต่างๆ ดังนี้
ความเสียสละ
ความเสียสละ บางท่านเรียกว่าความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ซึ่งทั้งสองคำน่าจะตรงกับภาษา
อังกฤษว่า Altruism หมายถึง ผู้ที่ให้ความช่วยเหลือผู้อื่น หรือผู้ที่เห็นแก่ประโยชน์ของผู้อื่น มีผู้ให้
ความหมายของความเสียสละไว้หลายท่านดังนี้
เทอร์เนอร์ (Turner 1942 : 502-516 อ้างถึงในพระราชพิพัฒน์ โกศล 2539 : 52) ได้กล่าว
ถึงความเสียสละว่าเป็นผลรวมของความไวของบุคคลต่อความต้องการของคนอื่น ผู้ที่มีคุณธรรม
15
แบบเสียสละจะมีความเต็มใจช่วยเหลือผู้อื่น หรือสนองความต้องการของผู้อื่นโดยการให้ปันทรัพย์
สิน หรือสิ่งของ การกระทำให้ผู้อื่นมีความพึงพอใจ และเป็นผู้ที่มีทัศนคติแบบการให้และการรับ
ดาเลย์ และแลทาเนย์ (บรรทม มณีโชติ 2530 : 24 อ้างอิงมาจาก Darley and Latane
1963 :377-383) ได้กล่าวถึงความเสียสละว่าเป็นพฤติกรรมที่แสดงว่าบุคคลคำนึงถึงและให้ความ
ช่วยเหลือผู้อื่นได้ในสิ่งที่เขาต้องการ ทั้งด้านทรัพย์สิน สิ่งของ แรงกาย การพูด และการกระทำ รวม
ทั้งความสามารถทุกๆด้านที่สามารถช่วยเหลือผู้อื่นโดยไม่คำนึงถึงความสุขหรือความทุกข์ของตน
เองอันเนื่องมาจากการช่วยเหลือผู้อื่น
สำเริง บุญเรืองรัตน์ (2528 :8) ได้ให้ความหมายความเสียสละ โดยรวบรวมนิยามจาก
การสอบถามความหมายของความเสียสละ และพฤติกรรมความเสียสละ จากความเห็นของ
อาจารย์วิทยาลัยพยาบาล และอาจารย์สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรี
นครินทรวิโรฒ จำนวน 26 คน แล้วสรุปว่าพฤติกรรมผู้ที่มีความเสียสละไว้เป็นด้านๆดังนี้
1. ให้ความช่วยเหลือผู้อื่นด้านทรัพย์สิน ความรู้ แรงงาน
2. เห็นแก่ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน
3. มีความปรารถนาดีต่อผู้อื่นในด้านการพูด และการกระทำ หรือความมีน้ำใจ
4. ไม่เอาเปรียบผู้อื่น
กรมวิชาการ (2528 : 161-166) ได้สรุปลักษณะพฤติกรรมของผู้ที่มีความเสียสละไว้ดังนี้
1. การให้ทางกาย เช่น ช่วยเหลือผู้อื่นทำธุระการงานที่ไม่มีโทษ ไม่นิ่งดูดายช่วยเหลือ
งานสาธารณะประโยชน์ เป็นต้น
2. การให้ทางวาจา เช่น ช่วยเหลือให้คำแนะนำทั้งในทางโลกและทางธรรมช่วยเจรจาเอา
เป็นธุระให้สำเร็จประโยชน์
3. การให้ทางสติปัญญา เช่น ช่วยแสดงความเห็นอย่างตรงไปตรงมา ช่วยแก้ปัญหา
เดือดร้อนแก่คนที่ไม่ทำผิด ช่วยคิดหาแนวทางที่ถูกที่ชอบ ช่วยเพิ่มพูนความรู้ให้แก่ผู้
อื่นตามกำลังสติปัญญา
4. การให้ด้วยกำลังทรัพย์ เช่น แบ่งปันเครื่องอุปโภคบริโภคให้แก่ผู้ที่สมควรให้แบ่งปัน
เงินทองให้แก่ผู้ที่สมควรให้ การสละทรัพย์เพื่อสาธารณะกุศล เป็นต้น
5. การให้ทางใจ เช่น ยินดีเมื่อผู้อื่นมีความสุข ไม่อาฆาตจองเวร ให้อภัยในความผิดของ
ผู้อื่นเมื่อเพลี่ยงพล้ำ ไม่นึกสมน้ำหน้าผู้อื่น ไม่โลภอยากได้ของผู้อื่นมาเป็นของตน
16
จากลักษณะดังกล่าวพอ สรุปได้ว่าการเสียสละคือ การให้ความช่วยเหลือผู้อื่นด้วยกำลัง
กาย กำลังใจและกำลังทรัพย์โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน
ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ กรมการวัฒนธรรม (2496 : 3) ได้ให้ความหมายของความเอื้อเฟื้อไว้
หลายด้านดังนี้ คือ
1. ต้องมีความเอื้อเฟื้อเต็มใจช่วยเหลือบำบัดทุกข์และบำรุงสุขให้แก่กันด้วยน้ำใสใจจริง
โดยมิเห็นแก่หน้าหรือหวังอามิสลาภผลใดๆ เป็นเครื่องตอบแทน อย่าเป็นคนดูดาย ใน
เมื่อพอจะช่วยเหลือได้
2. ต้องเป็นคนเผื่อแผ่มีน้ำใจกว้างขวางไม่คับแคบ ได้อะไรมาก็ไม่ตระหนี่ หวงแหนไว้
บริโภคคนเดียว ไม่มีอคติที่จะเจือจานให้ผู้อื่นเพื่อให้เขาได้กินได้ใช้มีความสุขเช่นตน
บ้าง
3. รู้จักใช้เงินทองที่เก็บออมและประหยัดไว้ได้ให้เกิดประโยชน์แก่ผู้อื่นบ้าง ตามควรแก่
กำลังและฐานะ มิใช่จะตั้งหน้าแต่เก็บออมสะสมไว้ฝ่ายเดียว ขณะเดียวกันก็ไม่เผื่อแผ่
เจือจานแก่คนอื่นจนสิ้นเนื้อประดาตัว
4. ต้องรู้จักเสียสละ คือ ยอมเสียสละสิ่งที่ตนมีอยู่บ้าง จะเป็นทรัพย์สินเงินทองความสุข
ส่วนตัวหรือแม้ชีวิตอันมีค่าของตนตามโอกาสที่เห็นสมควรและจำเป็น
ส่วนเลมโบ (Lembo 1967 : 70-73) ได้ให้ความหมายของความเอื้อเฟื้อไว้ว่า ความ
เอื้อเฟื้อเป็นคุณลักษณะของบุคคลที่จะแสดงความต้องการและความเต็มใจที่จะช่วยเหลือผู้อื่นใน
สถานการณ์ที่พบในชีวิตประจำวัน ความต้องการดังกล่าวเกิดจากความบังเอิญและบุคคลนั้นเรียน
รู้ด้วยตนเอง ส่วนแมคคอเลย์ และเบอร์โควิทซ์ (Macaulay and Berkowitz 1970 : 3) ได้ให้ความ
หมายว่า ความเอื้อเฟื้อเป็นพฤติกรรมที่มุ่งจะทำประโยชน์แก่ผู้อื่น โดยไม่ได้หวังว่าจะได้รับรางวัล
ตอบแทน
กล่าวโดยสรุปว่า ความเอื้อเฟื้อมีลักษณะที่เป็นการกระทำเพื่อผู้อื่น และยังเป็นการเสีย
สละ ใจกว้าง โอบอ้อมอารี เห็นใจ และเข้าใจถึงสภาพจิตใจผู้อื่น การเกิดและพัฒนาการของความ
เอื้อเฟื้อ นักจิตวิเคราะห์ (Psychoanalyst) อธิบายว่า ความเอื้อเฟื้อเกิดจากแรงกระตุ้นของ อีโก้
(Ego) ที่พยายามจะทำความดี เพื่อชดเชยการกระทำที่ไม่ดี(เห็นแก่ตัว) ในวัยเด็ก แต่นักทฤษฎี
พัฒนาการ (Developmental Psychologist) โดยเฉพาะ เพียเจท์ (Piaget, 1972) ได้อธิบายว่า
ความเอื้อเฟื้อเกิดจากการเรียนรู้จากความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ซึ่ง มีดด (Meed, 1972) นกั จติ
วิทยาในสาขาอีกคนหนึ่งได้อธิบายเพิ่มเติมว่า ความเอื้อเฟื้อของบุคคลเป็นผลมาจากการที่บุคคล
17
นั้นได้เคยรับความช่วยเหลือที่เต็มใจจากผู้อื่นจึงทำให้เด็กเรียนรู้ที่จะเลียนแบบความเอื้อเฟื้อที่ตน
เคยได้รับมาก่อนอันเป็นผลให้เด็กเรียนรู้บทบาทของตัวเองและผู้อื่น และค่อยๆสะสมความเอื้อเฟื้อ
เพิ่มขั้นตอนตามลำดับ ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ หมายถึง การแบ่งปันทรัพย์ สิ่งของ
มีน้ำใจให้โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน
ความเมตตา กรุณา
ความเมตตา กรุณา มีความหมายหลายประการ ดังนี้ (กรมวิชาการ 2528 : 75-82)
เมตตา หมายถึง ความคิดปรารถนาให้ผู้อื่นเป็นสุข เมื่อตนมีความสุขแล้วก็อยากให้ผู้อื่นมี
บ้าง คุณธรรมข้อนี้เป็นเหตุให้มนุษย์รักใคร่ช่วยเหลือเกื้อกูลกันเป็นความรักที่บริสุทธิ์ ไม่เจือปนด้วย
ราคะ เป็นความรักที่ประกอบด้วยไมตรีจิต คิดอยากให้ผู้อื่นมีความสุขสำราญ เช่น ความรักของ
บิดามารดาที่มีต่อบุตรธิดา เป็นต้น
กรุณา หมายถึง ความคิดปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ เมื่อเห็นผู้ใดมีความทุกข์ก็รู้สึกสงสาร
และเห็นใจ อยากช่วยเหลือให้พ้นทุกข์ยากนั้นๆ และลงมือกระทำให้ความช่วยเหลือเพื่อให้เป็นพลัง
แห่งเมตตา
เมตตากรุณาเกิดขึ้นเมื่อบุคคลมีความรักผูกพันต่อกัน มีความเห็นใจในการดิ้นรนต่อสู้เพื่อ
ใหช้ วี ติ อยรู่ อด และตระหนักชัดว่าทุกชีวิตอยากเป็นสุข ไม่ต้องการความทุกข ์ เมตตากบั กรณุ าเปน็
คุณธรรมที่เกิดขึ้นคู่กันอยู่เสมอ
พฤติกรรมของผู้ที่มีความเมตตากรุณา สามารถแสดงออกในลักษณะต่างๆ ได้ดังนี้
1. ไม่ประทุษร้ายต่อชีวิต และร่างกายของบุคคลและสัตว์ หมายถึง การไม่ทำร้ายร่างกาย
คน และสัตว์ให้ได้รับความเจ็บปวด หรือได้รับอันตรายถึงชีวิต ไม่ทรมานสัตว์ ไม่ฆ่า
สัตว์โดยไม่มีประโยชน์
2. ให้ความคุ้มครอง และช่วยผู้ที่อ่อนแอกว่า ผู้ที่มีกำลังแข็งแรงกว่าควรให้ความคุ้มครอง
และช่วยเหลือผู้ที่อ่อนแอกว่าในการข้ามถนน ยกของหนัก และช่วยให้พ้นจากอันตราย
3. แบ่งปันสิ่งของ เครื่องใช้ และอาหารให้แก่ผู้ที่สมควรได้รับ ผู้ที่สมควรได้รับการแบ่งปัน
ได้แก่ คนที่มีความเป็นอยู่อย่างขัดสน แร้นแค้น คนที่ประสบภัยพิบัติต่างๆ และสัตว์
เลี้ยง
4. ให้กำลังใจและให้ความช่วยเหลือผู้ที่มีความทุกข์ ไม่ซ้ำเติมเยาะเย้ยสมน้ำหน้าผู้ที่มี
ทุกข์ เพราะจะทำให้เขาอาย ควรแสดงความเสียใจ ปลอบใจ ปลอบขวัญให้คลายทุกข์
คลายความเศร้าโศกเสียใจ
18
5. ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ได้แก่ ไม่ทำให้ผู้อื่นหมดเปลืองเงินทอง หมดความสุข เกิดความ
เดือดร้อนรำคาญ
6. ช่วยประกอบกิจกรรมของส่วนรวม ได้แก่ การสละแรงงาน และทรัพย์เพื่อทำความ
เจริญหรือร่วมกิจกรรมกับผู้อื่น
7. ให้อภัยผู้อื่น เมื่อผู้ใดกระทำอะไรล่วงเกิน จะโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม เราไม่ควรผูกใจ
เจ็บ คิดพยาบาท อาฆาต จองเวร หรือหาทางแก้แค้น
8. สุภาพอ่อนโยน ได้แก่ การแต่งกายสุภาพอ่อนน้อม และวาจาอ่อนหวาน ถือเป็นการ
แสดงเมตตากรุณาอย่างหนึ่ง กล่าวคือ กายสุภาพอ่อนน้อม และวาจาอ่อนหวานไม่
เป็นที่เดือดร้อนรำคาญแก่ผู้พบเห็น
9. ไม่ยอมรับส่วนแบ่งในสิ่งที่ตนมีอยู่แล้วและไม่จำเป็น สละสิทธิ์ในส่วนแบ่งของตนให้
แก่ผู้ที่ขาดแคลนและมีความจำเป็นกว่า
จากแนวคิดดังกล่าวสรุปได้ว่าความเมตตากรุณา หมายถึง ความสงสารและเห็นใจ มี
ความปรารถนาที่จะช่วยให้เขาพ้นทุกข์
ฉะนั้นอาจกล่าวได้ว่าการทำความดีเพื่อประโยชน์ส่วนรวมหรือสังคมเป็นคุณธรรมสำคัญ
ของมนุษย์ในการอยู่ร่วมกันในสังคม(จรรจา สุวรรณทัต และดวงเดือน พันธุมนาวิน (2521 : 32)
ได้แก่พฤติกรรมการเสียสละ คือ การให้ความช่วยเหลือผู้อื่นด้วยกำลังกาย กำลังใจ และกำลัง
ทรัพย์โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ คือ การแบ่งปัน ทรัพย์ สิ่งของ น้ำใจให้โดยไม่
หวังสิ่งตอบแทน ความเมตตา กรุณา คือ ความสงสารและเห็นใจ มีความปรารถนาที่จะช่วยให้เขา
พ้นทุกข์มีความสุขกายและสุขใจ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของ สุกานดา นิ่มทองคำ (2535 : 22) ที่
กล่าวถึงพฤติกรรมที่เอื้อต่อสังคม เป็นการกระทำที่ผู้กระทำตั้งใจกระทำเพื่อช่วยเหลือผู้อื่นโดยไม่
หวงั ผลประโยชน ์ ซงึ่ แสดงออกทางพฤตกิ รรมการชว่ ยเหลอื (Helping Behavior) พฤติกรรมเอื้อ
เฟื้อ (Altruism) หรือการแบ่งปันกัน (sharing) ดังนั้นในการศึกษาครั้งนี้จะศึกษาการทำความดีเพื่อ
สังคมทั้งสามด้านคือศึกษาพฤติกรรมการเสียสละ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เมตตากรุณา ในการทำกิจกรรม
ทางบา้ น โรงเรียนและสังคมที่นักเรียนอย ู่ ซงึ่ คณุ ลกั ษณะดงั กลา่ วนี้ สมาน ชาลีเครือ (2523 : 2)
ได้กล่าวว่าเป็นค่านิยมพื้นฐานของการอยู่ร่วมกันในสังคม
ในการศึกษาสาเหตุของพฤติกรรมมนุษย์นั้นสามารถศึกษาได้จากหลายรูปแบบ แต่ในที่นี้
ยึดรูปแบบปฏิสัมพันธ์นิยมมาเป็นแนวทางในการศึกษาพฤติกรรมโดยรูปแบบนี้ได้กล่าวถึงสาเหตุ
ของการเกิดพฤติกรรมว่ามาจาก 2 สาเหตุใหญ่ๆ คือ สาเหตุภายในตัวมนุษย์เอง โดยใช้รูปแบบ
19
จิตลักษณ์ (Traits Model) เป็นการศึกษาลักษณะที่อยู่ภายในตัวบุคคล ได้แก่ การศึกษาบุคลิก
ภาพของบุคคลซึ่งประกอบขึ้นด้วยลักษณะทางจิตย่อยๆ หลายลักษณะที่คงอยู่ภายในตัวบุคคล
และรูปแบบสถานการณ์นิยม (Situationism Model) ที่มีหลักการว่าพฤติกรรมย่อมเป็นไปตาม
สถานการณ์หนึ่งๆ มากกว่าจะเกิดจากลักษณะภายในตัวบุคคล เพราะสถานการณ์ภายนอกมีอิทธิ
พลต่อพฤติกรรมมนุษย์ สามารถแก้ไข ปรับปรุง และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของมนุษย์ได้ โดย
สถานการณ์แวดล้อมภายนอกเงื่อนไขทางสังคม และสิ่งเร้าต่างๆ จะมีอิทธิพลให้บุคคลแสดง
พฤติกรรมออกมาในลักษณะต่าง ๆ กัน รูปแบบปฏิสัมพันธ์นิยม (Interactionism Model)เน้น
ความสำคัญของการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสถานการณ์ที่เขาประสบอยู่ ซึ่งเป็นแหล่งริเริ่ม
และกำหนดพฤติกรรมของบุคคล หลักสำคัญของรูปแบบปฏิสัมพันธ์นิยมคือ มีการกำหนดตัวแปร
ที่เป็นสาเหตุของพฤติกรรมไว้ 3 ประเภทได้แก่ 1) ลักษณะทางจิตของผู้กระทำ 2) ลักษณะของ
สถานการณ์ที่มีความหมายก่อให้เกิดการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดขึ้น และ 3) สาเหตุร่วมระหว่าง
ลักษณะทางจิตกับลักษณะของสถานการณ์ ซึ่งอาจวัดและศึกษาได้ในรูปการรับรู้ของบุคคลเกี่ยว
กับลักษณะของสถานการณ์ โดยการตีความหมายหรือการมองเห็นความสำคัญของสถานการณ์
นั้น ๆ ของบุคคลผู้กระทำ ซึ่งสรุปได้ว่ารูปแบบการวิเคราะห์สาเหตุของพฤติกรรมแบบปฏิสัมพันธ์
นิยม มุ่งศึกษาสาเหตุของพฤติกรรมทั้งภายใน(ลักษณะทางจิต)และสถานการณ์ภายนอกตัวบุคคล
(ลัดดาวัลย์ เกษมเนตร และคนอื่นๆ 2539 : 7 อ้างถึง Magnusson and Endler.1977 : 4) จาก
แนวคิดดังกล่าวสามารถเขียนเป็นภาพได้ดังนี้
แผนภาพที่1 แสดงรูปแบบปฏิสัมพันธ์นิยมจากแนวคิดของ Magnusson and Endler
ที่มา : ลัดดาวัลย์ เกษมเนตรและคนอื่นๆ (2539 : 8)
ลักษณะทางจิตใจของผู้กระทำ
ลักษณะสภาพแวดล้อมที่มีความหมาย
พฤติกรรม
20
2. แนวคิดเกี่ยวกับอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมทางสังคมกับพฤติกรรม
“พฤติกรรม” เป็นการแสดงออกเมื่อบุคคลในสังคมมีความสัมพันธ์กัน โดยได้รับอิทธิพล
จากสิ่งแวดล้อม พฤติกรรมบุคคลหนึ่งจะเป็นสิ่งกระตุ้นให้เกิดปฏิกริยาจากบุคคลอื่นหรือเป็นสิ่งที่
ทำให้คนอื่นๆ มีพฤติกรรมต่าง ๆ ได้ด้วย (อรทัย ชื่นมนุษย์ มปป. :23) การอยู่ในสังคมจะมีอิทธิพล
ขัดเกลาเปลี่ยนแปลงตัวเราได้ เพราะบุคคลหรือกลุ่มคนเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมและสังคม
สิ่งแวดล้อมทางสังคมและสิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรมจะมีอิทธิพลต่อประสบการณ์ของบุคคล ดัง
แสดงในแผนภาพดังนี้
แผนภาพที่ 2 แสดงอิทธิพลสิ่งแวดล้อมทางสังคมต่อพฤติกรรมของบุคคล
ที่มา : อรทัย ชื่นมนุษย์ (มปป. :24)
จะเห็นได้ว่าสิ่งแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรมจะมีอิทธิพลต่อบุคคล ต่อการก่อตั้ง
พฤติกรรมประจำบทบาท (Role Behavior) สังคมจะเป็นผู้กำหนดบทบาทหรือ Role ของแต่ละ
บุคคล ขบวนการเรียนรู้ทางสังคมจึงมีผลสำคัญต่อการพัฒนาบุคลิกภาพของบุคคลทุกคน
กระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและความคิดของบุคคลจำแนกออกเป็น 3 ประเภท
(สิทธิโชค วรานุสันติกูล มปป.:206) ได้แก่ 1) การยอมทำตาม (Compliance) เป็นการเปลี่ยน
แปลงพฤติกรรมภายนอกอันเกิดจากการได้รับรางวัลหรือลงโทษ แต่ความคิดภายในไม่ได้เปลี่ยน
แปลงตามไปด้วย 2) การทำตนให้เหมือนผู้ที่ตนนับถือ (Identification) เป็นการเปลี่ยนแปลงความ
คิดและทัศนคติภายในซึ่งเกิดจากการที่บุคคลหนึ่งพยายามที่จะแสดงให้อีกคนหนึ่งเห็นว่าตนเองมี
พฤติกรรมหรือความคิดตามที่สังคมหรือคนอื่นคาดหมายเอาไว้ การที่เด็กลอกเลียนแบบของความ
คิดและทัศนคติจากพ่อแม่จากกระบวนการขัดเกลาทางสังคม การที่สมาชิกใหม่เข้ามาในกลุ่ม เขา
สังคมและวัฒนธรรม
กลุ่ม
ประสบการณ์ของ
บุคคล
คุณสมบัติต่าง ๆ ของ
บุคคล
21
ต้องพึ่งพาอาศัยคนเก่าที่มีอำนาจ เขาจึงต้องปฏิบัติตาม 3) การซึมซาบ (Internalization) คือ
การที่บุคคลเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรม เพราะว่าความคิดที่เสนอมาใหม่นั้นสอดคล้องกับ
ทัศนคติและค่านิยมที่เขามีอยู่ก่อนแล้ว
จากแนวคิดของ สงวน สุทธิเลิศอรุณ (2543 : 38-39) ได้กล่าวถึงปัจจัยพื้นฐานสิ่งแวดล้อม
ทางสังคมที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของมนุษย์ได้แก่ ครอบครัว โรงเรียน กลุ่มเพื่อน กลุ่มอาชีพ สื่อ
มวลชน สถาบันทางศาสนา และ หน่วยสังคมอื่นๆ
ครอบครัวเป็นจุดเริ่มต้นของมนุษย์ทุกคน เพราะครอบครัวเป็นแหล่งหล่อหลอมลักษณะ
บุคลิกภาพ ความรู้สึกนึกคิดตลอดจนพฤติกรรมการแสดงออกของบุคคล แม้ว่าในบางช่วงอายุของ
บุคคลจะได้รับอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อมภายนอกครอบครัวบ้าง แต่การได้รับการถ่ายทอดจากครอบ
ครัวในเบื้องต้นจะเป็นพื้นฐานในการกำหนดท่าทียอมรับ ปฏิเสธ หรือผสมผสานประสบการณ์ใหม่
ได้อย่างเหมาะสม (อ้อมเดือน สดมณี และคนอื่น 2543:16-17) โดยทั่วไปการกระทำต่อเด็กของ
บุคคลในครอบครัวจะมี 4 ลักษณะ คือการแสดงออกถึงการควบคุม การให้รางวัล การลงโทษ และ
การเป็นแบบอย่างการประพฤติปฏิบัติแก่เด็ก ดังนั้นบุคคลจะมีพฤติกรรม บุคลิกลักษณะอย่างไร
ย่อมเป็นผลมาจากการอบรมเลี้ยงดูอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้นรูปแบบการเลี้ยงดูที่ต่างกัน ทำให้บุคคลมี
พฤติกรรมต่างกัน
สถาบันการศึกษา มีหน้าที่สำคัญคือ 1) รักษาและถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรม 2) ส่ง
เสริมการเรียนรู้ในการเข้าสังคม 3) ผสมผสานความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของสังคม 4) ส่งเสริม
การพัฒนาของปัจเจกชน ให้ใช้ศักยภาพในตัวให้ได้มากที่สุด 5) การส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ก้าวหน้า
ไปในด้านที่ตนถนัดและสนใจ 6) บทบาทในการนำการเปลี่ยนแปลงเป็นสถาบันถ่ายทอดทางสังคม
ให้แก่บุคคลอย่างมีแบบแผน (อ้อมเดือน สดมณี และคนอื่น 2543 : 19)
กลุ่มเพื่อน เพื่อนเป็นบุคคลที่เรารักใคร่ สนิทสนม เป็นผู้คอยปลอบประโลมใจเป็นที่ปรับ
ทุกข์ได้ยามกลุ้มใจ เพื่อจะให้ความช่วยเหลือในเรื่องการเรียนและเรื่องอื่น ๆ ได้มากมาย เพื่อนจึงมี
ความสำคัญต่ออนาคตของบุคคลมาก พฤติกรรมของบุคคลจะดีหรือชั่วนั้นส่วนหนึ่งมาจากเพื่อน
ฉะนั้นจึงควรพิจารณาถึงความสำคัญของการคบเพื่อน
กลุ่มอาชีพ ในวัยทำงานบุคคลจะมีเพื่อนร่วมอาชีพตามความถนัด ความสนใจ จะต้อง
ปรับตัวเข้ากับเพื่อนร่วมงาน สร้างความสนิทสนมกับเพื่อนร่วมงาน หากวางตัวดีและเหมาะสม จะ
แสดงออกถึงพฤติกรรมที่ดี และเหมาะสมเป็นตัวอย่างของพนักงานที่ดีได้
สื่อมวลชน ในสังคมปัจจุบัน บุคคลทุกเพศทุกวัยจะผูกพันกับสื่อมวลชน ได้แก่รายการวิทยุ
รายการโทรทัศน์ ภาพยนตร์ วีดีทัศน์ แผ่นซีดี อินเตอร์เนต เทปเพลง หนังสือพิมพ์ นิตยสาร หนังสือ
22
และสิ่งพิมพ์อื่น ๆ อิทธิพลของสื่อทางโทรทัศน์มีผลต่อพฤติกรรมทางสังคมของมนุษย์จากการวิจัย
ของฟิลิปและคาร์สเทนเซน (Philips and Carstensen,1986 : 685-689 อ้างถึงในสงวน สุทธิเลิศ
อรุณ 2543 : 46) พบว่าเมื่อโทรทัศน์ 4 ช่อง ในสหรัฐอเมริกาได้ฉายภาพยนต์เกี่ยวกับการ
ฆาตกรรมแล้ว หลังจากนั้น 2 สัปดาห์ ปรากฏว่ามีเยาวชนพยายามจะฆ่าตัวตายถึง 22 ราย
สถาบันทางศาสนา ทุก ๆ ศาสนาต่างก็สอนให้ศาสนิกชนมุ่งกระทำความดี เพื่อเป็นคนดี
ของสังคม แต่เน้นกระบวนการและปรัชญาที่แตกต่างกัน ดังนั้นบุคคลที่นับถือลัทธิและศาสนาก็มุ่ง
เน้นการประกอบพฤติกรรมดีทั้งสิ้น
หน่วยสังคมอื่นๆ ได้แก่บริษัทห้างร้าน ศูนย์การค้า ศูนย์การนันทนาการและบันเทิง ล้วนมี
อทิ ธพิ ลตอ่ พฤตกิ รรมของมนษุ ย ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กวัยรุ่นชอบไปเที่ยวตามศูนย์การค้าและ
ศูนย์ต่างๆ ที่เป็นสถานเริงรมย์ทั้งหลาย บางคนต้องการไปหาประสบการณ์ บางคนชอบไปผจญภัย
และสร้างอารมณ์ตื่นเต้นหวาดเสียว และสนุกให้แก่ตนเอง ซึ่งอาจได้ผลดีหรือผลร้ายแก่ตนเองได้
จากปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมดังกล่าว นักจิตวิทยา วัตสัน (Watson อ้างถึงใน สงวน
สุทธิเลิศอรุณ 2543 : 49) เชื่อว่าพฤติกรรมมนุษย์เกิดจากการเรียนรู้และฝึกฝนจากสิ่งแวดล้อม ใน
งานวิจัยนี้จะกล่าวถึงสิ่งแวดล้อมสำคัญที่มีอิทธิพลต่อมนุษย์มากที่สุด ได้แก่ ครอบครัว และโรง
เรียน ซึ่งเป็นสถาบันแห่งแรกและแห่งที่สองในการสร้างเสริมประสบการณ์ทางสังคมเบื้องต้น ที่มี
อิทธิพลต่อเด็ก
นอกจากนี้ตามแนวคิดของนักจิตวิทยาเชื่อว่าการพัฒนาการทางสังคมเป็นปัจจัยด้านสิ่ง
แวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อบุคลิกลักษณะของเด็กได้แก่ อิริคสัน ( ศิริศักดิ์ เขตตานุรักษ์ 2530 : 39 )
มีความเชื่อว่าการตอบสนองทางสังคม เป็นสิ่งกำหนดบุคลิกภาพของแต่ละคน ซึ่งการพัฒนาแต่ละ
ขั้นตอนตามวัยอายุจะนำไปสู่จุดสุดยอดที่แตกต่างกันนั่นคือ หากบุคคลที่ประสบความสำเร็จใน
ชีวิตอย่างมีความสุข ด้วยวิถีทางที่ถูกต้องอย่างเป็นขั้นเป็นตอนแล้ว วาระสุดท้ายของชีวิตคือวัย
ชรา (อายุ 60 ปี ขึ้นไป) จะประสบกับความมั่นคงทางจิตใจ (Integrity) ทางตรงกันข้าม หากบุคคล
ใดไม่ประสบความสำเร็จในพัฒนาการขั้นต่าง ๆ ที่ผ่านไป จะพบว่าตลอดชีวิตผ่านมาอย่างไร้ความ
หมายและไม่ประสบความสำเร็จทำให้เกิดทัศนะในทางลบอันเป็นการตกไปสู่สภาวะแห่งความสิ้น
หวัง (State of despair) โดยอิริคสันได้เสนอลำดับขั้นต่าง ๆ ของจิตวิทยาพัฒนาการทางสังคมไว้
ดงั นี้ ( Erickson.1980 อา้ งถงึ ใน สุทธิลักษณ นาคสสู่ ขุ 2544:20 และศริ ศิ กั ด ์ิ เขตตานรุ กั ษ์ 2530
: 39)
1. ขั้นไว้ใจกับขั้นไม่ไว้ใจ (Trust v.s. Mistrust) เกิดตั้งแต่ช่วงแรกเกิด ถึง 1 ปี ถ้ามารดา
23
ให้ความอบอุ่น เลี้ยงดู และตอบสนองความต้องการของเด็กอย่างดีย่อมสร้างความรู้สึกไว้วางใจ
ขึ้นในใจของเด็กได้ ในทางตรงกันข้ามหากมารดาเลี้ยงดูลูกอย่างปล่อยปละละเลย ทอดทิ้งขาด
ความรัก เมื่อหิวก็ร้องไห้ ทุรนทุรายเป็นเวลานาน ๆ กว่าจะได้รับการตอบสนอง การที่ไม่มีผู้หยอก
ล้อเล่นหัว และอุ้มชูรักใคร่ หรือเด็กถูกบังคับให้หย่านมเร็วเกินไป หรือด้วยวิธีหักโหมรุนแรง การ
แสดงความรู้สึกขู่เด็ก ปล่อยปละละเลย ทอดทิ้งทำให้เด็กรู้สึกว่าไม่ไว้วางใจใคร หากเด็กได้รับการ
ตอบสนองอย่างคงเส้นคงวา เด็กจะมีพัฒนาการไปในทางไว้วางใจผู้อื่น หากในทางกลับกัน เด็กได้
รับการตอบสนองบ้างไม่ตอบสนองบ้าง ในลักษณะไม่คงเส้นคงวา เด็กจะพัฒนาความไม่ไว้วางใจ
ผู้อื่นอย่างกว้างๆ (general mistrust) ดังนั้นเด็กที่มีมติในทางเชื่อใจผู้อื่นและสร้างศรัทธา (Faith)
ในตัวผู้อื่นเข้ามา อันเป็นการก้าวไปสู่การมีความหวัง (Hope) ที่จะประสบความสำเร็จในสิ่งที่
ต้องการ
2. ขั้นที่มีความอิสระกับความสงสัย (Autonomy v.s. doubt) เกิดในช่วงอายุ 1-3 ปี ใน
ช่วงนี้เด็กจะมีพัฒนาการไปในทางใดขึ้นอยู่กับความสามารถในการจัดการกับสิ่งแวดล้อมรอบตัว
หมายความว่า ถ้าเด็กได้อิสระที่จะแสดงความสามารถจะก้าวไปสู่ความรู้สึกที่จะปกครองตนเอง
(Feeling of autonomy) ส่วนเด็กที่ไม่มีอิสระและพบกับข้อห้ามมากเกินไปจะก้าวไปสู่ความรู้สึก
สงสัย ต่างกับเด็กที่มีอิสระอันเป็นรากฐานนำไปสู่ ความคิดในแง่ดี (positive self-concept) และ
เป็นการพัฒนาความใจกว้าง (free will) คือมีใจเป็นกลางไม่ติดยึดอยู่กับสิ่งใด
3. ขั้นที่มีความคิดริเริ่มกับความรู้สึกผิด (Initiative v.s.guilt) ในช่วงอายุ 3-6 ปี เด็กจะ
ทดสอบความเป็นตัวของตัวเอง (Independence) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมที่แสดงออก หากได้รับ
การสนับสนุน เด็กจะพัฒนาความคิดริเริ่ม ในทางกลับกันหากถูกห้ามปรามบ่อยๆ ผลที่ออกมาจะ
กลายเป็นความรู้สึกผิด อาจทำให้เด็กชอบหลีกหนีสถานการณ์ และไม่ยอมรับบทบาทและหน้าที่
ของตน ควรจะเอาใจใส่เด็กให้เผชิญความจริง แก้ไขปรับปรุงพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง
4. ขั้นเอาการเอางานกับความมีปมด้อย (Industry v.s. Inferiority)ระหว่างอาย ุ 6-12 ปี
เด็กในขั้นนี้จะแสดงออกถึงทักษะและความสามารถของตนซึ่งถ้าได้รับการยอมรับจากสังคม เด็ก
จะพัฒนาไปสู่ความรู้สึกที่ดีอย่างกว้าง ๆ (general good feeling) เกี่ยวกับความสามารถในการ
เรียนรู้เรื่องอื่น ๆ รวมทั้งการเข้ากลุ่มกับเพื่อนนี้ อิริคสันเรียกว่า เป็นความอุตสาหะหรือเอาการเอา
งาน (Industry) ในทางตรงกันข้าม หากเด็กไม่ประสบความสำเร็จด้านทักษะหรือการเข้ากลุ่ม
เพื่อนจะทำให้เกิดปมด้อยหรือเหลวไหลไร้คุณค่า(Inferiority of Worthlessness) ซึ่งจะทำให้เกิด
การขัดแย้งในขั้นต่อไป โดยทำให้เกิดทักษะต่อตนเองในลักษณะไร้ความสามารถ (incompetent)
24
ส่วนเด็กที่มีมติเป็นที่ยอมรับของสังคมจะพัฒนาไปสู่ความสำเร็จ ดังนั้นจึงควรเปิดโอกาสให้เด็กได้
ประสบความสำเร็จอย่างมากที่สุด
5. ขั้นเข้าใจจิตลักษณะตนกับไม่เข้าใจบทบาทตน (Ego Identity v.s. Role Confusion)
อยู่ในช่วง 12-20 ปี เด็กวัยนี้จะพยายามสร้างลักษณะประจำตัว เช่น มีเจตคติต่อโลก และชีวิตใน
แง่ลึกซึ้ง และเข้าใจโลกและชีวิตมากขึ้น เด็กรู้จักประกอบการงานตามหน้าที่บทบาทของตน การรู้
จักเป็นผู้นำและผู้ตาม การสร้างอุดมการณ์ประจำใจ เด็กต้องการการยอมรับและการยกย่อง เป็น
วัยที่เด็กมีความสนใจเพศตรงข้ามอย่างเด่นชัด เด็กจะมีความสนใจและต้องการที่จะเรียนรู้การคบ
เพื่อนต่างเพศ คุณลักษณะที่ตรงกันข้าม ถ้าเด็กไม่ได้รับการยอมรับเด็กจะแสดงออกในทางถดถอย
และก้าวร้าว มีความรู้สึกว้าวุ่นและสับสนเกี่ยวกับตนเองทุกด้าน เช่น ในด้านการงาน บทบาททาง
เพศ ระเบียบ กฎเกณฑ์และค่านิยมต่าง ๆ ในสังคม
6. ขั้นรู้สึกเสน่หากับความรู้สึกเปล่าเปลี่ยว (Intimacy v.s. Isolation) เกิดในผู้ใหญ่ตอน
ต้นอายุประมาณ 20-35 ปี คุณลักษณะที่ควรสร้างขึ้น ได้แก่ การรู้จักผูกพันกับผู้อื่น การมีความรัก
และการครองชีวิตคู่ในที่สุด คุณลักษณะตรงข้ามคือ การขาดเพื่อนและหลีกหนีจากการมีความรัก
ผูกพันกับผู้อื่น มีปัญหาด้านลักษณะนิสัย มีพฤติกรรมสับสนไม่ชอบคบผู้คน และแยกตัวเองออก
จากสังคม
7. ขั้นการบำรุงส่งเสริมบุคคลอื่นกับการพะว้าพะวังแต่ตัวเอง (Generativity v.s. Selfsorption)
เกิดในช่วงวัยผู้ใหญ่ตอนกลางอายุประมาณ 35-50 ปี เป็นวัยที่สร้างครอบครัว โดยมี
บุตรสืบสกุล มีความภาคภูมิใจและสุขใจในความเป็นผู้ให้กำเนิด มีความเป็นผู้ใหญ่เต็มตัวและรู้จัก
ใช้ชีวิต และมีความสามารถในการอบรมแนะแนวทางให้แก่บุตรหลานได้ ลักษณะตรงข้ามกันคือ
ความเบื่อหน่ายต่อชีวิต รู้สึกตัวว่า ไร้ค่า ถือว่าตนเองเป็นใหญ่ไม่สร้างครอบครัวและสนใจตัวเอง
มากเกินไป รู้สึกต่ำต้อย
8. ขั้นความมั่นคงทางจิตใจกับความสิ้นหวัง (Integrity v.s. Despair) เกิดในช่วงผู้ใหญ่
ตอนปลายอายุประมาณ 50-60 ปี ลักษณะที่ดีของคนวัยนี้คือ พอใจกับชีวิตของตนทั้งในอดีต
ปัจจุบัน และอนาคต ยอมรับวัฏจักรแห่งชีวิต และแบบแผนแห่งชีวิตของตนและพร้อมจะรับสภาพ
สุดท้ายแห่งชีวิตคือความตาย ผู้ใหญ่วัยนี้บางคนมีลักษณะตรงข้ามคือเริ่มมีความรู้สึกว่าช่วงเวลา
ที่เหลือของชีวิตสั้นเกินไป เพราะตัวเองไม่รู้สึกเลยว่าการดำเนินชีวิตที่ผ่านมานั้นมีความหมาย
สำหรับตนรู้สึกหมดศรัทธาในตัวเองและผู้อื่น ทำให้อยากมีโอกาสอีกครั้งในการดำเนินชีวิตใน
สภาพแวดล้อมที่ดีกว่าที่เป็นอยู่ และรู้สึกกลัวความตายที่จะมาถึง
สรุปอิริคสันได้เน้นความสำคัญของประสบการณ์ทางจิตสังคม (Psychosocial) ที่บุคคล
25
ได้รับตั้งแต่แรกเกิดจนถึงบั้นปลายของชีวิต โดยเขาเชื่อว่าบุคลิกภาพของบุคคลนั้นจะถูกปลูกฝัง
ด้วยกระบวนการขัดเกลาทางสังคม ซึ่งผู้ขัดเกลาคือบิดามารดา โดยกระทำควบคู่ไปกับการ
พัฒนาการทางด้านพฤติกรรมสังคมโดยเน้นความเอาใจใส่ การเลี้ยงดูด้วยความรัก ความใส่ใจ
เด็กจะมีความเชื่อมั่น มีความคิดริเริ่ม เอาการเอางาน เข้าใจตนเอง เป็นคนมีเสน่ห์ ช่วยเหลือผู้อื่น
และมีความมั่นคงทางจิตใจ
3. กระบวนการขัดเกลาทางสังคม (Socialization)
การขัดเกลาทางสังคม (Socialization) เป็นสิ่งที่มนุษย์จะต้องประสบตลอดชีวิต ทำให้
บุคคลสามารถปรับตัวเข้ากับวิถีชีวิตที่ตนเป็นสมาชิก เป็นการรับเอาคุณค่าของกลุ่มที่เราร่วมด้วย
ในฐานะเป็นสมาชิกของกลุ่ม ทำให้มนุษย์เกิดเป็นตัวตน (Self) คือความรู้สึกที่ตนเป็นมนุษย์แตก
ต่างจากคนอื่น สามารถควบคุมความรู้สึกนึกคิด ความประพฤติให้เหมาะสมกับวาระและโอกาส
ต่าง ๆ กล่าวอีกนัยหนึ่ง การขัดเกลาจึงเป็นการถ่ายทอดวัฒนธรรมของสังคมยุคหนึ่งไปยังสังคมอีก
ยุคหนึ่งเป็นกระบวนการที่สมาชิกแรกเกิดถูกจำกัดให้อยู่ในกรอบของสังคมที่เป็นระเบียบเพื่อให้
เรียนรู้บทบาทของสังคม (Social Roles) รวมตลอดถึงทักษะ (Skills) ที่จำเป็นต่อการดำรงอยู่และ
การบำบัดความต้องการของมนุษย์ ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากเราไม่อาจอาศัยลักษณะทางชีวภาพเท่า
นั้น แต่เรายังต้องอาศัยการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมทางสังคม โดยอาศัยตัวแทนช่วยขัด
เกลา เช่น ครอบครัว กลุ่มเพื่อน โรงเรียน กลุ่มอาชีพ ศาสนา สื่อมวลชน เป็นต้น
การขัดเกลาทางสังคม (Socialization) จึงเป็นสิ่งที่มนุษย์ขาดเสียมิได้ตั้งแต่เกิดจนเป็นผู้
ใหญ่เพื่อจะได้มีการเจริญเติบโตเต็มที่ตามวุฒิภาวะ (Maturation) ซึ่งเป็นกระบวนการที่ซับซ้อน
เกี่ยวพันกัน เช่น เด็กแรกเกิดจำเป็นต้องมีคนเลี้ยงดู มิฉะนั้นเด็กจะไม่มีการเจริญเติบโตหรือตายได้
ง่าย และเพื่อการอยู่รอดเด็กจะต้องได้อาหารและมีการรักษาทางด้านสุขภาพอนามัย ไม่ว่าด้าน
ความสะอาดหรือการดูแลระหว่างกัน (Social Interaction) ที่มีความหมายแก่การดำรงอยู่ต่อไป
ของชีวิตของมนุษย์ในสังคม เพราะกิจกรรมต่างๆของมนุษย์จำเป็นต้องมีการเจริญเติบโตอย่างมี
วุฒิภาวะ (Maturation) แต่การมีวุฒิภาวะนั้นจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อมีการขัดเกลาทางสังคม
มีผู้ให้ความหมายของการขัดเกลาทางสังคมไว้ดังนี้ สุพัตรา สุภาพ (2537:38) ได้ให้ความ
หมายว่า การขัดเกลาทางสังคมเป็นการเรียนรู้ทางตรงและทางอ้อมก็ได้
“ทางตรง” เป็นการสอนหรือบอกกันโดยตรง เช่น พ่อแม่สอนลูก ครูสอนนักเรียน เพื่อน
บอกเพื่อน ฯลฯ
26
“ทางอ้อม” เป็นการเรียนรู้โดยการสังเกตเลียนแบบ เช่น แม่พูดคำหยาบ ลูกก็จะพูดคำ
หยาบทั้ง ๆ ที่แม่ไม่ได้สอนลูกให้พูด หรือเราไปงานเลี้ยงอาหารแบบดินเนอร์ แล้วเราไม่รู้ว่าจะรับ
ประทานอย่างไร หยิบอะไรก่อนอะไรหลัง เราก็อาศัยดูจากคนที่เขาทำถูกต้องเป็นแบบฉบับ
เป็นต้น
ดังนั้นการขัดเกลาทางสังคมเป็นกระบวนการทั้งทางตรงและทางอ้อมของมนุษย์ในสังคม
หนึ่งๆเพื่อที่จะพัฒนาตนเองให้เป็นสมาชิกที่ดีของสังคมและเพื่อพัฒนาบุคลิกภาพของตนเองด้วย
Turner (อ้างถึงในสายฝน สุคนธพันธ์ 2532: 2) ได้กล่าวถึงการขัดเกลาทางสังคมว่า เป็น
สิ่งที่สำคัญที่ต้องระลึกไว้ว่า กระบวนการขัดเกลาทางสังคม คือ วิธีการของการเรียนรู้ความหมาย
ของบทบาทที่เป็นมาตรฐานทางวัฒนธรรม และวิธีการทำความเข้าใจสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับบท
บาทต่างๆ ส่วน Gecas (อ้างถึงใน สายฝน สุคนธพันธ์ 2532 :2) ได้ให้ความหมายว่า หมายถึง
การปรับปรุงตัวและการที่บุคคลทำตัวให้สอดคล้องกับความคาดหวังในบทบาทความมุ่งหวังของ
คนอื่น และบรรทัดฐานค่านิยมของสังคม
ดังนั้นกระบวนการขัดเกลาทางสังคมจึงหมายถึง กระบวนการฝึกฝนอบรมเพื่อให้เกิดการ
เรียนรู้บทบาททางสังคมด้วยการสั่งสอนและการเป็นแบบอย่างด้านการทำความดีให้สังคม เพื่อ
การปรบั ตวั ใหส้ อดคลอ้ งกบั สงั คมวฒั นธรรม คา่ นยิ ม ขนบธรรมเนียมประเพณ ี วัฒนธรรมและ
ความเชื่อในสังคมนั้นๆ
ตัวแทนการขัดเกลาทางสังคม (Agencies of Socialization) (สงวน สุทธิเลิศอรุณ 2529 :
19) ที่มีส่วนในการหล่อหลอมบุคลิกภาพของเยาวชนให้เป็นบุคคลที่สังคมต้องการเพื่อเป็นกำลัง
สำคัญในการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมต่อไปได้แก่ ครอบครัว กลุ่มเพื่อน โรงเรียน กลุ่มอาชีพ ตัว
แทนทางศาสนาและสื่อมวลชน
ครอบครัว เป็นสถาบันพื้นฐานที่ขัดเกลามนุษย์ให้รู้ว่าสิ่งใดควรทำสิ่งใดไม่ควรทำ หรือ
อะไรถูกอะไรผิด เป็นต้น เป็นสถาบันที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาบุคลิกภาพอย่างลึกซึ้งและมีอิทธิพล
ต่ออารมณ์ทัศนคติและความประพฤติของเด็กเป็นอย่างยิ่ง การอบรมของครอบครัวนี้สามารถทำ
ได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม ทางตรงก็บอกกันตรงๆ ว่าต้องทำตัวอย่างไรเพื่อจะได้วางตัวได้ถูกต้อง
เหมาะสม เช่น สอนให้มีวินัย มีสัมมาคารวะ รู้จักไหว้เมื่อพบผู้ใหญ่ รู้จักกล่าวคำขอบคุณเมื่อมีใคร
ให้ของหรือทำอะไรให้ การบอกกันโดยตรงนี้บางครั้งจะมีทั้งการให้รางวัลและการลงโทษ เช่นทำถูก
ทำดีก็ชมเชย ทำผิดก็มีการลงโทษตั้งแต่กล่าวตักเตือนจนถึงเฆี่ยนตี ส่วนทางอ้อมเป็นการอบรม
แบบไม่ได้ทำเป็นทางการ อาจจะเป็นการเลียนแบบหรือรับเข้าไปโดยไม่รู้ตัว เช่น พ่อแม่สกปรก พ่อ
แม่ชอบใช้คำหยาบ ลูกก็ใช้คำหยาบด้วยเป็นต้น
27
กลุ่มเพื่อน เป็นกลุ่มที่มีอายุระดับเดียยวกันโดยอาจรวมกันเป็นกลุ่มเพื่อนธรรมดาจนถึง
ชมรม สมาคมที่ตนสนใจ เช่น เพื่อนร่วมชั้น ชมรมฟุตบอล เนตบอล สมาคมนักเรียนเก่าเป็นต้น
กลุ่มเพื่อนมีอิทธิพลต่อทัศนคติของวัยรุ่นเป็นอย่างยิ่งเพราะเด็กวัยนี้มีแนวโน้มต้องการอยู่ร่วมกับ
เพื่อนที่มีรสนิยมใกล้เคียงกัน ไม่ว่าจะในด้านการแต่งกายหรือแบบของการแสดงออกเพื่อให้เพื่อน
ยอมรับตนเป็นสมาชิกคนหนึ่งของกลุ่ม เช่น เพื่อนไว้ผมยาว ก็ยาวตามเพื่อน จะได้ไม่รู้สึกเชยหรือ
ผิดแผกไปจากกลุ่ม เพื่อนจึงสอนเด็กให้ทำตามกฎเกณฑ์ที่สังคมต้องการ หรือในทางตรงกันข้าม
สอนเด็กให้ทำอะไรฝืนกฏเกณฑ์ของสังคมเพราะวัยนี้ชอบลองดูว่าผู้ใหญ่จะเอาจริงแค่ไหน
โรงเรียน เปรียบเสมือนบ้านที่สองของเด็กในการที่จะได้รับความรู้ความคิดต่างๆ และวิชา
การต่างๆ อย่างเป็นทางการ โดยเฉพาะสังคมปัจจุบันโรงเรียนเป็นสถานที่สำคัญในเรื่องการขัด
เกลาแก่เด็กตลอดจนทำให้เด็กมีโอกาสพบปะสมาคมกับเพื่อนในวัยเดียวกัน โรงเรียนจึงมีอิทธิพล
และมีผลต่อการพัฒนาบุคลิกภาพของเด็กเพราะสมัยใหม่มักจะใช้ชีวิตอยู่ในโรงเรียนเป็นระยะ
เวลายาวนาน โดยเฉพาะลูกหลานของชนชั้นกลางและมั่งมีซึ่งนิยมให้ลูกหลานเล่าเรียนในระดับสูง
ขึ้นไปเรื่อยๆ เพื่อความก้าวหน้าของชีวิต โรงเรียนมีโอกาสหลอหลอมทัศนคตินิสัยใจคอของเด็กได้
ไม่ยาก เนื่องจากเด็กต้องศึกษาเล่าเรียนหลายปีในระดับชั้นต่าง ๆ ทำให้เด็กได้รับคุณค่า และ
ความรู้บางอย่างทั้งแบบรู้ตัวและไม่รู้ตัว
ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการขัดเกลาของโรงเรียนอาจจะออกมาในรูปที่
1) ไม่ตรงกับพ่อแม่ ผู้ปกครอง เด็กก็เลยสับสน ไม่ทราบว่าของใครถูกกว่ากัน เช่น แม่ว่า
อย่างครูว่าอีกอย่าง ครูว่าผิด แม่ว่าถูก ครูว่าไม่ดี แม่ว่าดี เป็นต้น
2) สอนในลักษณะที่เป็นทฤษฎีหรืออุดมคติจนเกินไป อาจจะไม่ตรงกับสิ่งที่ปฏิบัติในชีวิต
จริง เช่น ทำดีได้ดี แต่เด็กเห็นว่าทำดีได้ชั่ว ทำชั่วได้ดี เด็กอาจจะเสื่อมศรัทธาได้
กลุ่มอาชีพต่างๆ ในสังคมซึ่งแต่ละกลุ่มอาชีพจะมีคุณค่าหรือกฎระเบียบกฎเกณฑ์ไปตาม
อาชีพของตนเอง เช่น ครูต้องสอนลูกศิษย์ด้วยความเมตตา นักสังคมสงเคราะห์ไม่เปิดเผยความ
ลับของผู้มารับการสงเคราะห์ แพทย์รักษาคนไข้ด้วยจรรยาบรรณ ไม่เห็นแก่เงิน เป็นต้น แต่ละ
อาชีพจึงมีบุคลิกภาพแตกต่างกันไป เช่นตำรวจก็แตกต่างจากแพทย์ นางพยาบาลก็แตกต่างจาก
พ่อค้า ครูแตกต่างจากวิศวกร
ตัวแทนศาสนา เป็นตัวแทนที่ขัดเกลาคนหรือแนะแนวทางให้คนยึดเหนี่ยวจิตใจเพื่อเป็น
เป้าหมายในการกระทำโดยเฉพาะศาสนาพุทธได้สอนให้คนเราไม่ตั้งอยู่ในความประมาทเพราะ
หลายสิ่งในโลกไม่มีความแน่นอนจึงต้องยึดมั่นในสิ่งที่ดีงาม มีศีลธรรม จริยธรรม และความ
ประพฤติในทางที่ถูกที่ควร ศาสนาจึงควรสร้างเจตคติที่ดี มีจิตใจงดงาม มีพฤติกรรมดีประกอบ
28
ด้วยคุณธรรม ความสุจริต ซึ่งช่วยให้บุคคลเข้าใจความจริงแห่งชีวิตและสามารถระงับความตึง
เครียดหรือขจัดความฟุ้งซ่านหรือทุกข์ได้ซึ่งเป็นตัวแทนทางศาสนาได้แก่ วัดอาราม พระนักบวช ผู้
สอนศาสนาหรือผู้เผยแพร่ศาสนาพยายามที่จะช่วยขัดเกลาให้ผู้อื่นได้เป็นไปตามครรลองที่มุ่ง
หมายไว้ แนวความคิดของศาสนาจึงเป้นพลังให้บุคคลยอมรับหรือไม่ยอมรับสิ่งต่างๆ คุณค่าหรือที่
มาจากศาสนา จึงเป็นเสมือนเครื่องกลั่นกรองความรู้สึกของบุคคลโดยเฉพาะวัด มีอิทธิพลต่อ
บุคคลไม่น้อยถ้าบุคคลใกล้ชิดวัดมากเท่าไร ก็จะได้รับเจตคติและแนวความคิดมากขึ้นเท่านั้น วัด
และพระสงฆ์จึงช่วยขัดเกลาแนวความประพฤติของบุคคล เช่นการกระทำที่บุคคลคิดว่าสิ่งใดถูก
หรือผิด เกิดจากความเชื่อในศาสนาที่ยึดถือ และสิ่งนี้เองเป็นอิทธิพลทางจิตวิทยาซึ่งได้ช่วยสร้าง
บุคคลิกภาพของบุคคล สำหรับบุคคลที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับศาสนาอย่างใกล้ชิด ศาสนาก็ได้มีอิทธิพล
ไม่น้อยเพราะหลักศีลธรรมหรือจริยธรรมของโลกมาจากศาสนา หลักจริยธรรมต่างๆ เหล่านี้ได้
กลายเป็นหลักกฏหมายทั้งทางแพ่งและทางอาญาทุกคนจึงต้องปฏิบัติตาม เป็นข้อห้ามที่ยับยั้งการ
กระทำของบุคคลสิ่งเหล่านี้ออกมาในรูปขนบธรรมเนียมประเพณี มารยาท ฯลฯ ที่ปฏิบัติกันอยู่โดย
ทั่วไปในปัจจุบัน
สื่อมวลชน มีหลายประเภท เช่นวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ภาพยนตร์ นวนิยาย วรรณคดี
เป็นต้น ซึ่งมีส่วนในการขัดเกลาสังคมแก่มนุษย์ในด้านต่างๆ ตั้งแต่ความคิด ความเชื่อ แบบของ
ความประพฤติ เพราะสื่อมวลชนมีทั้งการให้ความรู้และความเพลิดเพลิน โดยเฉพาะอิทธิพลของ
สื่อมวลชนที่สำคัญคือการให้ข่าวสาร ข่าวสารนี้มักเป็นลายลักษณ์อักษรและผู้ที่เกียวข้องกับข่าว
สารนั้นไม่ว่าจะเป็นนักเขียน บรรณาธิการและผู้จัดทำ มีส่วนช่วยครอบครัวโรงเรียนในการขัดเกลา
เด็ก เช่น หนังสื่อพิมพ์เสนอข่าวเด็กเรียนดี พ่อแม่อาจสั่งให้ลูกอ่านเพื่อเอาเป็นเยี่ยงอย่าง หรือครู
ปัจจุบันก็สั่งให้นักเรียนตัดข่าวดีเก็บมารายงานหน้าชั้น หรือติดบอร์ดหน้าห้องเรียน หรือกลุ่มเพื่อน
เห็นแฟชั่นแปลกๆใหม่ ๆ อาจจะลอกเรียนแบบไปก็ได้เพื่อให้เข้ากับสมัยนิยม อิทธิพลสื่อมวลชนนี้
จะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับภูมิหลังของครอบครัวว่าได้สอนลูกมาให้รู้จักเหตุ
ผลและผลหรือเลือกแฟ้นข่าวสารต่างๆ ได้แค่ไหนหรือขึ้นอยู่กับทัศนคติของแต่ละบุคคลต่อสิ่งที่ตน
ได้รับ
4. สภาพแวดล้อมทางสังคม
สภาพแวดล้อมทางสังคมเป็นตัวแปรหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของเยาวชน ซึ่งนัก
จิตวิทยาหลายท่านได้กล่าวถึงอิทธิพลของสังคมที่มีผลต่อการปลูกฝังพฤติกรรมจริยธรรมในช่วงวัย
ต่างๆของชีวิต โดยได้กล่าวถึงบทบาทของครอบครัว โรงเรียน สื่อมวลชนอันได้แก่ โทรทัศน์ วิทยุ
29
หนังสือพิมพ์ เป็นต้น ดังนั้นในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยมุ่งที่จะศึกษา สภาพแวดล้อมทางครอบ
ครัวและสภาพแวดล้อมทางโรงเรียน ที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการทำความดีเพื่อสังคมของเยาวชน
สภาพแวดล้อมทางครอบครัวกับพฤติกรรมการทำความดีเพื่อสังคม
ครอบครัว หมายถึงผู้ร่วมครัวเรือน ได้แก่ สามี ภรรยา และบุตร ในความหมายของนักจิต
วิทยา ครอบครัวคือ สถาบันทางสังคมแห่งแรกที่มนุษย์สร้างขึ้นจากความสัมพันธ์ที่มีต่อกันเพื่อเป็น
ตัวแทนของสถาบันสังคมภายนอกที่จะปลูกฝังความเชื่อ ค่านิยม และทัศนคติกับสมาชิกรุ่นใหม่
ของสังคมที่มีชีวิตอุบัติขึ้นในครอบครัว (สุชิรา บุญทัน 2541 : 10)
กรรณิการ์ อักษรกุล (2521:70) กล่าวว่าครอบครัวเป็นสิ่งแวดล้อมที่สำคัญสิ่งแรกและ
ตลอดไปของมนุษย์ ตั้งแต่คลอดออกมาความรัก ความเอาใจใส่ของพ่อแม่ การเลี้ยงดูและอบรม
เป็นประสบการณ์ที่ทำให้มนุษย์เกิดการเรียนรู้ และทรงพล ภูมิพัฒน์ (2538 : 54) ได้กล่าวถึง
ความสำคัญของครอบครัวว่าครอบครัว ได้แก่บิดามารดา ผู้ปกครอง เครือญาติ ปู่ย่าตายาย พี่น้อง
นับเป็นบุคคลกลุ่มแรก เป็นสถาบันที่สำคัญที่สุด และเป็นหลักสำคัญในการที่จะถ่ายทอดหล่อ
หลอมความรู้สึก ความรู้ เจตคติ อุดมคติ ความเชื่อ อารมณ์ และแนวทางในการดำรงชีวิตภายหน้า
ให้แก่เด็ก จนกลายเป็นลักษณะนิสัยและบุคลิกภาพ และจากรายงานการวิจัย ฉบับที่ 60 เรื่อง
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีวินัย(ลดั ดาวลั ย เกษมเนตร 2539 : 18) กลา่ ววา่ ครอบครวั เปน็ สภาพ
แวดล้อมที่จัดได้ว่ามีอิทธิพลมากที่สุดต่อพฤติกรรมของเด็ก เพราะครอบครัวเป็นสถาบันที่สำคัญที่
สุดในการอบรมสั่งสอน และสร้างบุคลิกภาพให้แก่เด็ก
ดังนั้นครอบครัวจึงเป็นสถาบันทางสังคมหน่วยเล็กที่สุดที่มีบทบาทเป็นสิ่งแวดล้อมทาง
สังคมในการอบรมเลี้ยงดูเด็กตั้งแต่แรกเกิด ในการถ่ายทอดความรัก ความคิด ทัศนคติ เป็นแบบ
อย่างให้เด็กได้ปฏิบัติ ตาม ครอบครัวจึงมีอิทธิพลต่อเด็กเป็นอย่างยิ่งดัง ปรีชา คัมภีรปกรณ์ (2532
: 61-62) ได้กล่าวว่าอิทธิพลของครอบครัวที่มีต่อเด็กวัยรุ่นดังนี้
1. บรรยากาศในครอบครัว พ่อแม่ที่เป็นประชาธิปไตยยอมรับฟังความคิดเห็นของลูกจะ
ทำให้ลูกมีความอบอุ่น กล้าแสดงออก กล้าแสดงความคิดเห็น มีความสุขรักครอบครัว
พฤติกรรมที่แสดงออกก็เป็นไปในทางที่ดี ส่วนครอบครัวที่เลี้ยงลูกอย่างเข้มงวดเต็มไป
ด้วยกฎระเบียบ ลูกก็จะมีพฤติกรรมไปทางเก็บกด ไม่แสดงความคิดเห็น หลีกหนีไม่
ยอมพบหน้าพ่อแม่เบื่อครอบครัว
2. การอบรมเลี้ยงดู พ่อแม่ที่คอยให้กำลังใจ เอาใจใส่ตามความจำเป็น ลูกก็จะแสดง
พฤติกรรมที่ดี แต่ถ้าหากทางบ้านเลี้ยงดูอย่างขาดความรักความอบอุ่น วัยรุ่นก็จะ
30
พยายามหาเพื่อนนอกบ้าน ซึ่งถ้าได้เพื่อนที่ไม่ดี อาจทำให้วัยรุ่นมีพฤติกรรมที่เป็น
ปัญหาได้
3. ต้นแบบของพ่อแม่ พ่อแม่และลูกจะต้องอยู่ด้วยกันเกือบตลอดเวลาดังนั้นพ่อแม่ควร
จะเป็นต้นแบบที่ดีของลูกได้ วัยรุ่นเป็นวัยที่แสวงหาเอกลักษณ์ของตนเอง ดังนั้นจึง
พยายามหาต้นแบบที่ตนเองคิดว่าดี หรือเหมาะสมตามความรู้สึกของตน พ่อแม่เป็น
บุคคลที่อยู่ใกล้ชิดโอกาสที่วัยรุ่นจะเลียนแบบพ่อแม่จึงมีมาก
ทรงพล ภูมิพัฒน์ (2538 : 105) ได้กล่าวถึง อิทธิพลของบรรยากาศในครอบครัว มีผลต่อ
พฤติกรรมของเด็กมาก ครอบครัวที่มีบรรยากาศในครอบครัวในทางไม่ดีเด็กจะปรับตัวเข้ากับสังคม
ไม่ได้ มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม ได้แก่ พฤติกรรมก้าวร้าว ยอมตกเป็นเบี้ยล่าง มีความรู้สึกไม่ปลอด
ภัย หวั่นไหว เป็นโรคประสาท ดื้อรั้น ชอบขัดแย้งไม่ร่วมมือ มองคนในแง่ร้าย ชอบอิจฉาไม่สนใจ
ใคร เกเร เข้ากับใครไม่ได้ ส่วนครอบครัวที่มีบรรยากาศที่ดีระหว่างแม่กับลูก จะทำให้เด็กมี
พฤติกรรมที่ดี คือปรับตัวได้ดี รู้จักพึ่งพาในสิ่งที่จำเป็น รู้จักร่วมมือ เป็นตัวของตัวเอง มองโลกในแง่
ที่ดี มีความมั่นคงทางจิตใจ มั่นใจในตนเองและรู้จักรับผิดชอบ
ส่วนวันเพ็ญ พงศ์ประยูร (2527:405) ได้กล่าวถึงรูปแบบของครอบครัวที่มีอิทธิพลต่อ
วัยรุ่นดังนี้
1. ครอบครัวที่ต้องการให้ทุกอย่างสมบูรณ์ที่สุด ดีที่สุด พ่อแม่แบบนี้จะตั้งความหวังเกิน
ความเป็นจริง ในการฝึกลูกจะไม่ยืดหยุ่น ทุกอย่างตายตัว เช่น ต้องขับถ่ายเป็นเวลา เด็กที่ถูกฝึกมา
แบบนี้จะเป็นพวกเถรตรง ไม่ยืดหยุ่น ไม่เชื่อใจคนอื่น ดูถูกความสามารถของคนอื่นจึงต้องทำเอง
ทุกอย่าง ไม่แบ่งความรับชอบให้ใคร กลัวเขาจะทำดีไม่ได้เท่าตน มีปัญหาในการปรับตัวเข้ากับคน
อื่น เพราะยืดหยุ่นไม่เป็น สะอาดเกินไปเรียบร้อยเกินไป มีความคิดแคบ หาความสุขไม่ได้
2. ครอบครัวที่ปล่อยลูกมากเกินไป มักเกิดจากพ่อแม่ที่ขาดความรัก ความอบอุ่นไม่สามารถ
ให้ความรักกับลูกได้ด้วยคำพูดและกิริยาท่าทางที่แสดงถึงความรักเวลาส่วนใหญ่ของพ่อแม่จะทำ
กิจกรรมนอกบ้าน คิดเวลาเป็นเงินเป็นทองเป็นพวกหลงวัตถุมักใช้เงินแทนความรักแก่ลูกตามที่ลูก
ต้องการ แต่เด็กคิดว่าพ่อแม่ไม่รักตนไม่มีเวลาให้ เด็กจึงไม่ได้รับการอบรมในเรื่องการแสดงอารมณ์
และควบคุมอารมณ์เด็กมักถูกทอดทิ้งให้อยู่กับคนรับใช้ซึ่งทำทุกอย่าง จนเด็กทำงานบ้านไม่เป็น
มักเป็นคนเจ้าอารมณ์ อารมณ์เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เวลาโกรธจะแสดงอารมณ์อย่างรุนแรงแล้
วจะพอใจ เช่น การทำลายเข้าของ เด็กมักเป็นคนเห็นแก่ตัว เหงา ไม่เชื่อมั่นในตนเองบางคนใช้ยา
เสพติดเป็นที่พึ่ง
31
3. ครอบครัวที่ตั้งมาตรฐานการอบรมลูกที่ผิดอย่างรุนแรง ถือเรื่องเพศเป็นเรื่องสกปรก
เด็กเถียงไม่ได้ต้องอยู่ในโอวาท ถ้าเถียงจะถือว่าเลวบาป เด็กกลายเป็นคนซึมเศร้า ดูถูกตัวเอง ถ้า
ทำตนไม่ได้ดั่งที่พ่อแม่ต้องการ จะเห็นตนไม่มีค่า บางคนเห็นว่าการมีเพศสัมพันธ์เป็นเรื่องที่น่าเจ็บ
ปวด น่าอับอาย ชีวิตครอบครัวไม่มีความสุข ผลจากครอบครัวแบบนี้ เด็กวัยรุ่นจะปรับตัวแบบ
หวานเกินไป ชอบยกยอคนอื่นเกินความเป็นจริง ชอบประจบสอพลอแต่ไม่จริงใจกับใครเลย ลับ
หลังจะหักหลังผู้อื่นทันทีไม่ไว้ใจใครทั้งสิ้น
4. ครอบครัวที่ฝึกระเบียบวินัยที่ผิดๆ เช่น การสร้างกฎเกณฑ์ว่าคนดี คือ คนที่เชื่อฟังพ่อ
แม่ ชอบเน้นการสร้างระเบียบวินัยที่ผิดๆ เช่น ลูกอยู่ในวัยเรียนต้องเรียนอย่างเดียว ห้ามสูบบุหรี่
กินเหล้า มีแฟน เด็กจะเป็นคนปราศจากความคิดเป็นของตัวเอง เป็นคนไม่มีเหตุผล เด็กย่อมอึดอัด
จึงแสดงออกในรูปการต่อต้าน และทำตรงกันข้ามกับที่พ่อแม่กำหนด
5. ครอบครัวที่พ่อแม่เป็นตัวอย่างที่ผิดๆ ให้เด็กเห็น เช่น ชอบดื่มเหล้า เล่นการพนัน ชอบ
โกหก แต่สอนลูกว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ดีอย่าทำ เด็กเริ่มดูถูกพ่อแม่ ไม่ศรัทธาต้องพึ่งคนอื่นแทนพ่อแม่
เช่น พึ่งพระ พึ่งครู การพึ่งเพื่อนก็ไม่มีทิศทางชีวิตและวิธีคิด ถ้าคบเพื่อนไม่ดีอาจชักชวนกันไปติด
ยาเสพติด
6. ครอบครัวที่เอาใจลูกมากเกินไป ทำให้ลูกทุกอย่าง จนลูกเป็นเด็กไม่กล้าคิดไม่กล้าทำ
ไม่กล้าตัดสินใจ พึ่งผู้อื่นตลอดเวลา มักมีปัญหาในการปรับตัวเข้ากับเพื่อนเพราะขาดการฝึกหัดคิด
หัดตัดสินใจและไม่ภูมิใจในตนเอง
7. ครอบครัวที่ไม่ยอมรับเด็กเป็นลูก มักจะพบในรายที่พ่อแม่ยังไม่พร้อมจะมีลูกจึงไม่รัก
ลูก เด็กจะแสดงออกในอาการซึมเศร้า รู้สึกไม่เป็นมิตรกับใคร ดื้อ เถียงพ่อแม่ ถ้าพ่อแม่ไม่เข้าใจ
ดุด่า เฆี่ยนตีอย่างรุนแรง เด็กจะมีความแค้น อาจแก้แค้นโดยการลักขโมย ทำลายตนเองโดยยา
เสพติด ประชดชีวิตในรูปแบบต่างๆ ติดเหล้าติดการพนัน เป็นต้น
8. ครอบครัวที่ให้ความรักลูกไม่เท่ากัน จะเห็นชัดในครอบครัวที่มีพฤติกรรม เช่น รักลูก
ชายมากกว่าลูกสาว หรือรักลูกบางคน เด็กที่พ่อแม่รักเป็นพิเศษจะทำอะไรก็ได้ ไม่มีใครกล้าว่า ทำ
ผิดพ่อแม่จะปกป้อง ลูกคนอื่นย่อมโกรธที่พ่อแม่ไม่สนใจไม่ให้ความยุติธรรม จึงแสดงออกโดยการ
อิจฉาริษยา การลดความริษยาในเด็กควรเริ่มทำโดยให้เหตุผลอธิบายได้ผลเสียให้ลูกฟังตั้งแต่
ยังเด็กอย่างสม่ำเสมอว่าทำไมพ่อแม่จึงทำเช่นนี้
9. ครอบครัวที่ไม่ลงรอยกันในชีวิตสมรสมักจะเกิดความระหองระแหงเนื่องจากการเลือกคู่
ครองจากฐานะทางสังคมหรือทางการเงินเป็นหลัก โดยไม่ศึกษากันให้ดีพอ พ่อแม่จะใส่อารมณ์
โกรธของตนมาสู่ลูก มีการพูดประชดประชันกันว่า เด็กไม่ดี เหมือนพ่อ เหมือนแม่ หรือทุบตีเด็กโดย
32
เด็กไม่เข้าใจว่าเขาทำผิดอะไร ควรแก้ไขอย่างไร บางครั้งทำให้เด็กเกลียดครูที่เพศเดียวกับพ่อแม่ที่
ตนไม่ชอบ เด็กอาจจะเป็นคนขวางโลก ปรับตัวไม่ได้ พูดจาไม่เข้าหู และไม่ไว้ใจใคร อาจจะประชด
ชีวิต เช่น เจ้าชู้ขี้เมา สำส่อนทางเพศ
10. ครอบครัวที่มีความสัมพันธ์กันแบบโรคประสาท โรคจิต เช่น แม่ บางคนซึมเศร้าก็จะ
ไม่รับรู้ ไม่สนใจความคิดหรือการกระทำของลูก หรือพ่อแม่บางคนที่ย้ำคิดย้ำทำ หรือกลัวความเจ็บ
ปวด จะคอยดูแลลูกห้ามลูกออกจากบ้าน จนเด็กรู้สึกว่าตนเองเป็นคนอ่อนแอ ป่วยตลอดเวลา
เนื่องจากครอบครัวมีอิทธิพลต่อวัยรุ่นมาก และครอบครัวมีความใกล้ชิดกับวัยรุ่นอีกด้วย
ถ้าครอบครัวให้การส่งเสริม สนับสนุน หรือให้ประสบการณ์ต่างๆ แก่วัยรุ่นให้สามารถบรรลุงาน
ตามขั้นพัฒนาการได้ ซึ่งมีแนวทางในการส่งเสริมพัฒนาการของวัยรุ่นดังนี้
สมร ทองดี (2532, 140) ได้กล่าวถึงแนวทางการส่งเสริมพัฒนาการวัยรุ่นของครอบครัวไว้
ว่า
1. ให้ความรัก ความอบอุ่น ให้การยอมรับ และสนองความต้องการให้เหมาะสมกับวัย
และความสามารถ
2. สร้างบรรยากาศความเป็นประชาธิปไตยในครอบครัว เปิดโอกาสให้อิสระในการคิด
และตัดสินใจด้วยตนเองตามขอบเขต ให้ความยุติธรรมไม่ลำเอียงหรือมีอคติต่อบุตรคนใดคนหนึ่ง
3. สนับสนุนโดยให้เรียนรู้เพื่อพัฒนาบุคลิกภาพทางกาย ทางสติปัญญา ทางอารมณ์
สังคม ที่เหมาะสมกับแต่ละคน
4. สนับสนุนโดยแสวงหาเอกลักษณ์ของตน ยอมรับทั้งในส่วนดีและส่วนบกพร่องของตน
เอง ช่วยให้สามารถ รู้ค่านิยมของตน ตระหนักในคุณค่าของการพัฒนาส่วนที่บกพร่องของตน และ
พร้อมที่จะปฏิบัติหรือดำเนินการปรับบุคลิกภาพ
ประยูรศรี มณีสร (2536, 151-152) ได้กล่าวไว้ว่าบทบาทครอบครัวในการส่งเสริม
พัฒนาการของเด็กวัยรุ่นไว้ว่า บิดามารดา ควรสร้างความสัมพันธ์อันดีภายในบ้าน บิดามารดา
ต้องมีความรักซึ่งกันและกัน พยายามละเว้นการทะเลาะเบาะแว้งการแตกแยก ต้องให้หลักประกัน
ที่มั่นคงแก่ครอบครัวทั้งในด้านเศรษฐกิจการเงิน และสังคม เป็นตัวอย่างที่ดีแก่เด็ก ให้ความรักแก่
บุตรเท่าเทียมกัน ไม่ทอดทิ้งบุตร มากเกินไปจนไม่มีโอกาสดูแล หรือปล่อยปละละเลย ควรได้มี
โอกาสรับประทานอาหารพร้อมกันซึ่งเป็นการสร้างความใกล้ชิด ทำให้เกิดความอบอุ่น เมื่อเด็กมี
ปัญหาเกิดขึ้นเพียงเล็กน้อยก็จะได้ปรึกษากับบิดามารดา ซึ่งบิดามารดาสามารถช่วยกันแก้ปัญหา
ได้ นอกจากนั้นบิดามารดาควรมีกิจกรรมที่น่าสนใจร่วมกัน เช่น การทำงานอดิเรก ปลูกต้นไม้ ดู
ละครโทรทัศน์ ไปตากอากาศร่วมกัน ตลอดจนเปิดโอกาสให้วัยรุ่นนำเพื่อนมาที่บ้านในโอกาส
33
พิเศษ เช่น ฉลองวันเกิด งานปีใหม่ วันรุ่นก็จะมีความสุขไม่ไปเที่ยวสถานที่ไม่สมควร บิดามารดา
ควรเข้าใจว่า บางครั้งเด็กวัยรุ่นมีความรู้สึกที่อยากทำอะไรเหมือนเพื่อน เด็กวัยรุ่นบางคนต้องการ
ใส่เสื้อผ้าที่สวยงาม เปลี่ยนแบบบ่อยๆ การที่บิดาช่วยให้เด็กเข้าใจว่าสิ่งใดถูกสิ่งใดผิด ควรทำด้วย
ความนุ่มนวล อธิบายให้วัยรุ่นเข้าใจด้วยเหตุผลที่ดี ซึ่งทำให้วัยรุ่นไม่รู้สึกน้อยใจหรือดื้อดึง และ
บิดามารดาควรให้เด็กรู้สึกเสมอว่าตนเป็นสมาชิกที่สำคัญที่สุดคนหนึ่งของบ้าน และให้รู้จักรับผิด
ชอบในกิจการบ้านเรือนพอสมควร ในบางราย บิดามารดา อาจเปิดเผยให้เด็กทราบรายได้ของ
ครอบครัว เพื่อที่เด็กจะได้คิดเหตุผลว่า ตนควรใช้เงินเท่าใดไม่ให้ครอบครัวลำบาก หรือการให้เงิน
เด็กสำหรับการใช้จ่ายควรทำเป็นอาทิตย์หรือเดือน เพื่อให้เด็กรู้จักตัดสินใจด้วยตัวเองโดยเริ่มจาก
สิ่งง่ายๆ เช่นเลือก เสื้อผ้า เลือกวิชาเรียน ตลอดจนเลือกอาชีพ และเลือกคู่ครอง โดยบิดามารดา
เป็นเพียงผู้แนะนำเพื่อเป็นแนวทางให้เด็กได้รู้จักตัดสินปัญหาสำคัญต่อไปในอนาคต
ด้วยเหตุผลดังที่ได้กล่าวมาแล้ว สภาพครอบครัวที่ประกอบด้วยบรรยากาศที่ดี มีสัมพันธ
ภาพอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข มีความรัก ความเข้าใจยอมรับฟังความคิดเห็น และมีการทำกิจ
กรรมร่วมกัน เป็นบรรยากาศที่อบอุ่นของครอบครัว มีแบบอย่างที่ดีของพ่อแม่ในการปฏิบัติตนเป็น
ตัวอย่างที่ดีด้านพฤติกรรมต่างๆ ย่อมส่งผลให้ลูกๆ มีพฤติกรรมที่ดีตามไปด้วย
การอบรมเลี้ยงดู
การอบรมเลี้ยงดู หมายถึง การกระตุ้นและการตอบสนองแก่เด็กเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้จาก
ประสบการณ์ที่เขาได้รับในชีวิต อันจะนำไปสู่พัฒนาการในการปรับตัวจากทารกซึ่งต้องพึ่งพาผู้
เลี้ยงดูทุกอย่างให้เติบโตเป็นเด็กโต วัยรุ่นและผู้ใหญ่ในที่สุด
บิดามารดาเป็นบุคคลที่มีส่วนสำคัญที่สุดในการอบรมเลี้ยงดูบุตร จากการวิจัยพบว่า บิดา
มารดาที่เป็นอาชญากร มีปัญหาสุขภาพจิตหรือมีปัญหาขัดแย้งกัน จะมีความบกพร่องในการเลี้ยง
ดูเด็ก และทำให้เด็กในครอบครัวมีปัญหาในการพัฒนาการทางจิตใจได้ นอกจากนั้นสิ่งที่มีอิทธิพล
ต่อพัฒนาการของเด็กยังขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของบิดามารดาในเรื่องสถานภาพทางสังคม ระดับ
การศึกษา ความต้องการและความคาดหวังในตนเอง และในตัวเด็ก (ศรีธรรม ธนะภูมิ 2535 : 12)
นอกจากนี้ลัดดาวัลย์ เกษมเนตร (2531: 105) ได้กล่าวว่าการอบรมเลี้ยงดูหมายถึง การที่
บิดามารดา หรือผู้ดูแลเด็กปฏิบัติต่อเด็กและเรียกร้องให้เด็กปฏิบัติต่อตน โดยที่ผู้เลี้ยงดูกับเด็กมี
การติดต่อเกี่ยวข้องกัน ผู้เลี้ยงดูสามารถให้รางวัลหรือลงโทษการกระทำต่างๆ ของเด็กได้ นอกจาก
นี้เด็กยังมีโอกาสเฝ้าสังเกตลักษณะและการกระทำต่างๆ ของผู้เลี้ยงดูด้วย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้เด็กได้
เลียนแบบผู้เลี้ยงดูอีกด้วย ส่วนการเลี้ยงดูจะส่งเสริมหรือขัดขวางลักษณะพฤติกรรมใดๆ ของเด็ก
ย่อมขึ้นอยู่กับความนิยมของสังคมหรือของกลุ่มที่บุคคลนั้นเป็นสมาชิกอยู่
34
และอีกแนวคิดหนึ่งตติยา ทุมเสน(2542:11)ได้กล่าวถึงการอบรมเลี้ยงดูว่าหมายถึง วิธี
การที่บิดามารดา หรือผู้ปกครองปฏิบัติต่อบุตรในลักษณะของการบำรุงรักษาเด็ก ให้มีชีวิตอยู่
อย่างปลอดภัย คุ้มครองด้วยความรัก ความอบอุ่น ให้คำแนะนำสั่งสอน ให้ความช่วยเหลือ เพื่อให้
เด็กมีชีวิตอยู่และเจริญเติบโตขึ้นเป็นสมาชิกของสังคมตามที่ผู้อบรมเลี้ยงดูมุ่งหวัง อีกทั้งรวมถึง
อิทธิพลของขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมต่างๆ ด้วย
กล่าวโดยสรุปการอบรมเลี้ยงดูหมายถึง วิธีการที่บิดามารดา ผู้ปกครองปฏิบัติต่อเด็กด้วย
การดูแล ให้คำแนะนำสั่งสอน ให้การสนับสนุน ส่งเสริม ด้วยคำพูด การกระทำ เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้
พฤติกรรมต่างๆ
บิดามารดากับการเลี้ยงดู
บิดามารดา(ผู้ปกครอง) เป็นบุคคลที่มีความใกล้ชิดกับเด็กมากที่สุด และมีอิทธิพลต่อการ
พัฒนาบุคลิกภาพของเด็ก เนื่องจากบิดามารดา(ผู้ปกครอง)มีบทบาทดังนี้
1. ให้การอบรมเลี้ยงดูและให้ปัจจัย 4
2. ให้การศึกษาขั้นพื้นฐาน
3. ฝึกอบรมเด็กให้ช่วยเหลือตนเองได้
4. ถ่ายทอดวัฒนธรรมประเพณี ตลอดจนบทบาทหน้าที่ในครอบครัวให้แก่เด็ก
5. ช่วยแก้ไขปัญหาและอบรมสร้างวินัยอันดีให้แก่เด็ก
6. จัดประสบการณ์และสิ่งแวดล้อมเพื่อช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้และพัฒนาทุกๆ ด้าน
7. เป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่เด็ก
8. เสริมสร้างบุคลิกภาพและการสร้างสรรค์
9. ปลูกฝังคุณธรรมให้กับเด็ก
ความสำคัญของบิดามารดาในการอบรมเลี้ยงดู
บิดามารดารักลูกทุกคน ปรารถนาที่จะให้ลูกเติบโตเป็นพลเมืองดีของชาติ มีความเจริญ
ก้าวหน้ามีความสุขประสบผลสำเร็จ และมีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงจากเดิมให้ดีขึ้นตามลำดับโดยมี
บุคลิกภาพที่ดี มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพในด้านต่างๆ สูง เพื่อความอยู่รอดในสังคม นักจิต
วิทยาเชื่อว่า ความแตกต่างของเด็กเกิดจากการอบรมเลี้ยงดูที่แตกต่างกันในวัยเด็กอันจะมีอิทธิพล
ต่อการปลูกฝังลักษณะนิสัยที่จะติดตัวเด็กไปตลอดชีวิต ดังนั้นบิดามารดาจึงมีบทบาทสำคัญใน
การอบรมเลี้ยงดูเด็กมาก
สำหรับครอบครัวไทยส่วนมากในยุคปัจจุบันที่สังคมอยู่ในสภาพสับสนวุ่นวาย สภาพ
เศรษฐกิจบีบรัด ทำให้บิดามารดาไม่ค่อยมีเวลาให้กับลูก การอบรมเลี้ยงดูลูกจึงแตกต่างกันออกไป
35
แล้วแต่บิดามารดาที่จะเลือก การอบรมเลี้ยงดูมีหลายวิธี บิดามารดาบางคนอาจจะใช้หลายๆ วิธี
ผสมกัน แต่อย่างไรก็ตาม บิดามารดาทุกคนย่อมปรารถนาจะเลี้ยงดูบุตรของตนให้ดีที่สุด
ลักษณะของการอบรมเลี้ยงดู
กระบวนการอบรมเลี้ยงดูเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกันระหว่างผู้เลี้ยงดูกับผู้รับการเลี้ยง
ดู ตัวแทนต่างๆ ของการอบรมเลี้ยงดูที่สำคัญที่สุด คือ บิดามารดา เพราะอยู่ใกล้ชิดกับบิดามารดา
ตั้งแต่เกิดจนกว่าจะเข้าสู่สังคมใหม่คือโรงเรียน ก็ใช้ระยะเวลานานหลายปี เมื่อเติบโตขึ้นก็จะได้รับ
การถ่ายทอดขบวนการขัดเกลาทางสังคม (Socialization) จากตัวแทนอื่นๆ เช่นกลุ่มเพื่อนในโรง
เรียน กลุ่มอาชีพต่างๆ สื่อสารมวลชน เป็นต้น
มีผู้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูไว้มากมาย เช่น ดวงเดือน พันธุมนาวิน และ
เพ็ญแข ประจนปัจจนึก (2520 : 78) แบ่งลักษณะการอบรมเลี้ยงดูออกเป็น 3 แบบ คือ
1. แบบรักสนับสนุน คือ การอบรมเลี้ยงดูที่พ่อแม่แสดงความรักต่อลูกอย่างเปิดเผยยอมให้
ลูกมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ของครอบครัว และทำความเข้าใจความรู้สึกของลูกอย่างดี
2. แบบควบคุม คือ การอบรมเลี้ยงดูที่พ่อแม่คอยควบคุมบังคับและลงโทษลูกเมื่อลูกกระทำ
ในสิ่งที่ตนไม่ต้องการ
3. แบบใช้เหตุผล คือ การอบรมเลี้ยงดูที่พ่อแม่แจกแจงเหตุผลต่างๆ แก่เด็กให้ทำหรือห้าม
ปรามมิให้เด็กกระทำสิ่งใด
ส่วนบุญสวย เชิดเกียรติกุล (2528 : 10-12) กล่าวถึงการอบรมเลี้ยงดูเด็กว่ามีอยู่ 3 แบบ
คือ
1. แบบตามใจ คือ พ่อแม่เอาอกเอาใจลูกตลอดเวลา ไม่ขัดใจลูก และยอมตามลูกทุก
อย่าง
2. แบบทอดทิ้ง คือพ่อแม่ไม่แสดงความห่วงใยหรือสนใจลูกเลย แม้ว่าลูกจะเจ็บไข้ ไม่ให้
คำแนะนำ พ่อแม่พวกนี้มักลำเอียงในการรักลูก บางครั้งก็ลงโทษอย่างรุนแรงโดยไม่มีเหตุผล
3. แบบเข้มงวด คือพ่อแม่ที่บังคับให้ลูกทำตามที่ตนเองกำหนดไว้ทุกอย่าง จะวางกฎ
เกณฑ์ไว้ให้เด็กทำตามโดยไม่คำนึงถึงธรรมชาติของเด็ก เมื่อเด็กทำผิดไปจากที่กำหนดก็จะลงโทษ
และบางครั้งก็จะลงโทษโดยวิธีแปลกๆ
งามตา วนินทานนท์ (2528 : 4-12) ได้สรุปถึงการอบรมเลี้ยงดูเด็กของสังคมไทยไว้ 5 แบบ
ได้แก่ การอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุน การเลี้ยงดูแบบใช้เหตุผล การอบรมเลี้ยงดูแบบลงโทษ
ทางจิต การอบรมเลี้ยงดูแบบควบคุม และการอบรมเลี้ยงดูแบบให้พึ่งตนเองเร็ว ซึ่งจะกล่าวถึงราย
ละเอียดดังต่อไปนี้
36
1. การอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุน หมายถึง การที่บิดามารดาได้แสดงความรักใคร่เอา
ใจใส่ สนใจทุกข์สุขบุตรของตนอย่างเพียงพอ มีความใกล้ชิดกับบุตร กระทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกับ
บุตร นอกจากนั้นยังมีความสนิทสนม การสนับสนุนช่วยเหลือและการให้ความสำคัญแก่บุตรด้วย
การอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุนมากนี้ เป็นการให้ในสิ่งที่บุตรต้องการทั้งสิ้น ฉะนั้นบิดามารดาที่
เลี้ยงดูบุตรด้วยวิธีนี้จึงเป็นผู้ที่บุตรรัก และบุตรเป็นความสำคัญของบิดามารดา ซึ่งจะทำให้บุตร
ยอมรับการอบรมสั่งสอนต่างๆ ของบิดามารดาได้โดยง่าย และยอมรับบิดามารดาเป็นแบบอย่าง
โดยไม่รู้ตัว จะเห็นได้ว่าการอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุนนี้ป็นพื้นฐานสำคัญของการที่บิดามารดา
จะสามารถถ่ายทอดลักษณะต่างๆไปสู่เด็ก นอกจากนี้ ทฤษฎีพัฒนาการทางสังคม อารมณ์ ของ
อิริคสัน ยังกล่าวว่า ถ้าเด็กทารกได้รับความสุขความพอใจจากการดูแลอย่างใกล้ชิดของมารดาตั้ง
แต่เกิด เด็กจะเกิดความรู้สึกรักใคร่ไว้วางใจมารดา และเมื่อโตขึ้นจะแผ่ขยายความรู้สึกรักใคร่ไว้
วางใจไปยังผู้อื่น และสภาพแวดล้อมที่แปลกใหม่ ซึ่งจะทำให้เด็กสามารถปรับตัวได้ดี มีจิตใจเอื้อ
เฟื้อเผื่อแผ่ เมตตากรุณาเห็นอกเห็นใจ มีจิตใจดีคิดช่วยเหลือคนอื่นในยามเติบใหญ่
2. การอบรมเลี้ยงดูแบบใช้เหตุผล หมายถึง การที่บิดามารดาได้อธิบายเหตุผลให้แก่บุตร
ในขณะที่มีการส่งเสริมหรือขัดขวางการกระทำของบุตร หรือลงโทษบุตร นอกจากนั้น บิดามารดาที่
ใช้วิธีการนี้ยังให้รางวัลและลงโทษบุตรอย่างเหมาะสมกับการกระทำของบุตรมากกว่าที่จะปฏิบัติ
ต่อบุตรตามอารมณ์ของตนเอง การกระทำของบิดามารดาจะเป็นเครื่องช่วยให้บุตรได้เรียนรู้และรับ
ทราบถึงสิ่งที่ควรและไม่ควรกระทำ นอกจากนั้นยังช่วยให้บุตรสามารถจะทำนายว่า ตนจะได้รับ
รางวัลหรือโดนลงโทษจากบิดามารดา หลังจากที่ตนกระทำพฤติกรรมต่างๆ แล้วมากน้อยเพียงใด
3. การอบรมเลี้ยงดูแบบลงโทษทางจิตมากกว่าทางกาย การลงโทษเป็นวิธีที่พ่อแม่ใช้กับ
ลูกที่มีพฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนา การลงโทษเด็กโดยเฉพาะการทำให้เจ็บกาย เป็นวิธีการปรับ
พฤติกรรมที่บิดามารดามักจะใช้อย่างจงใจ ใช้มากและใช้บ่อยกว่าการให้รางวัลเด็ก เมื่อทำความดี
ส่วนการลงโทษอีกชนิดหนึ่งเป็นการใช้อำนาจบังคับโดยไม่ลงโทษทางกาย แต่เป็นการใช้วาจาดุว่า
การงดวัตถุสิ่งของ การงดแสดงความรักใคร่เมตตา และการตัดสิทธิต่างๆ เหล่านี้เป็นการลงโทษ
ทางจิต
4. การอบรมเลี้ยงดูแบบควบคุม หมายถึง การออกคำสั่งให้เด็กทำตามแล้วผู้ใหญ่คอย
ตรวจตราใกล้ชิดว่าเด็กทำตามที่ตนต้องการหรือไม่ ถ้าเด็กไม่ทำตามก็ลงโทษเด็กด้วย โดยที่การ
อบรมเลี้ยงดูแบบควบคุมมาก เป็นการบังคับให้เด็กทำตามที่ผู้เลี้ยงดูเห็นดีเห็นชอบโดยการตรวจ
ตราและขู่เข็ญ ส่วนการควบคุมน้อย หมายถึง การปล่อยให้เด็กรู้จักคิดตัดสินใจเองว่าควรทำหรือ
ไม่ควรทำสิ่งใด และเปิดโอกาสให้เด็กเป็นตัวของตัวเองบ่อยครั้ง โดยไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับเด็กมาก
37
การศึกษาการทำความดีของเยาวชนเพื่อสังคม (ตอนที่ 1)
การศึกษาการทำความดีของเยาวชนเพื่อสังคม (ตอนที่ 2)
การศึกษาการทำความดีของเยาวชนเพื่อสังคม (ตอนที่ 3)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น