วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2552

การศึกษาการบังคับใช้การดำเนินการมาตรการบันทึกคะแนนอบรม ทดสอบผู้ขับขี่ ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ (ตอนที่ 1)



วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท
หัวข้อเรื่อง การศึกษาการบังคับใช้การดำเนินการมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบผู้ขับขี่ ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่
ในเขตกรุงเทพมหานคร
เสนอโดย พันตำรวจโท นนท์ นุ่มบุญนำ
รหัสประจำตัว 420093006
หลักสูตร ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชา สังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา
ปีการศึกษา 2546
อาจารย์ที่ปรึกษา รศ.ดร.นงลักษณ์ เทพสวัสดิ์
อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม ผศ.บุปผา แช่มประเสริฐ
อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม พ.ต.อ.ดร.ปิยะ อุทาโย

การศึกษาการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่
พันตำรวจโท นนท์ นุ่มบุญนำ
วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา
ปีการศึกษา 2546
ISBN 974-373-392-2
ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
Law Enforcement in Rating and Suspendsion of
Driver’s License on Traffic Violation in Bangkok
Police Lieutenant Colonel Non Numboonnam
A thesis Submitted in Partial fulfillment of the Requirements
For the Master of Arts (Social Sciences for Development)
At Rajabhat Institute Bansomdejchaopraya
Academic Year 2004
ISBN : 974-373-392-2
วิทยานิพนธ์ การศึกษาการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่
ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่
โดย พ.ต.ท.นนท์ นุ่มบุญนำ
สาขาวิชา สังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา
ประธานกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ รศ.ดร. ดร.นงลักษณ์ เทพสวัสดิ์
กรรมการ ผศ. บุปผา แช่มประเสริฐ
กรรมการ พ.ต.อ. ดร.ปิยะ อุทาโย
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา อนุมัติให้วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของ
การศึกษาตามหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
……………………………………………… คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
(ดร.สรายุทธ์ เศรษฐขจร)
คณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์
……………………….………………….….. ประธานกรรมการ
(ศาสตราจารย์ ดร.สายหยุด จำปาทอง)
………………………………………………. กรรมการ
(รองศาสตราจารย์ ดร.นงลักษณ์ เทพสวัสดิ์)
………………………………………………. กรรมการ
(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ บุปผา แช่มประเสริฐ)
………………………………………...…….. กรรมการ
(พันตำรวจเอก ดร.ปิยะ อุทาโย)
………………………………………………. กรรมการ
(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุพิศวง ธรรมพันทา)
……………………………………………….. กรรมการและเลขานุการ
( นางสาว อาภา วรรณฉวี)
ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

พันตำรวจโท นนท์ นุ่มบุญนำ (2547). การศึกษาการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
คณะกรรมการควบคุม : รองศาสตราจารย์ ดร. นงลักษณ์ เทพสวัสดิ์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ บุปผา แช่มประเสริฐ
พันตำรวจเอก ดร.ปิยะ อุทาโย.
การศึกษาเรื่อง การบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการบันทึกคะแนนอบรม ทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ 2) เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีต่อการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการบันทึกคะแนนอบรม ทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ 3) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์หาแนวทางทางปรับปรุงการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ ให้มีประสิทธิภาพเพื่อลดปัญหาการจราจร และผู้ฝ่าฝืนกฎจราจรในกรุงเทพมหานคร
การศึกษาครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ โดยประชากรที่นำมาศึกษาเป็นผู้กระทำผิด ในที่เกิดขึ้นในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 379 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ค่าสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ใช้ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 และ 0.05
ผลการศึกษาพบว่า
1. ปัจจัยส่วนบุคคลประกอบด้วย ตัวแปรเพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ และประสบการณ์การขับขี่ที่แตกต่างกันมีผลต่อการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่แตกต่างกันมีผลต่อการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนตัวแปรอาชีพที่แตกต่างกันมีผลในการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการบันทึกคะแนน อบรม
ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่แตกต่างกันมีผลในในการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่แตกต่างกัน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

2. การรับรู้การดำเนินการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ที่ส่งผลต่อการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ในระดับค่อนข้างมาก (r = 0.615) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
3. ทัศนคติต่อการดำเนินการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ที่ส่งผลต่อการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ ในระดับค่อนข้างมาก (r = 0.750) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
4. การปฏิบัติตามกฎหมาย การดำเนินการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ที่ส่งผลต่อการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ ในระดับค่อนข้างมาก (r = 0.781) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

Police Lieutenant Colonel Non Numboonnam (2004). Law Enforcement in Rating
and Suspendsion of Driver’s Licence on Traffic Violation in Bangkok.
Graduate school, Bansomdejchaopraya Rajabhat University. Adviso .
Associate Professor Dr.Nongluksana Thepsawasdi
Assistant Professor Boobpha Champrasert and
Police Colonel Piya Aootayo.
In the modern city life, the traffic related problems are generally man made. For the personal selfish reasons, those driving cars or vehicles on the road generally disobey basic and fundamental rules of safety. Hence, the road laws to check such ill-behavior by the people are enforced by the various rating grade. On reaching certain level of such violation, a driving license can be easily revoked. Such deterrents and the responses of people highlight the present research. Hence, the objective covered to evaluate law enforcement in such rating and suspension of driving license, and also to find out the relative factors, and analyses the scope of further development of such law enforcement in this regard.
The law prevalent in Bangkok area to enforce the system of rating and subsequent suspension of driver’s license on the traffic violation has had deep impact on the cases studied. There were altogether 379 cases with the questionnaire being answered. The research finding was based upon statistical method featuring P , M , SD , t-test , One way ANOVA , PC and SPSS for Windows.
It was observed that the people in Bangkok perceived and complied with such law affecting the fate of driving license at a medium level. There were responses from various social strata but while these laws were applied, these differences played no significance. It would mean that the equality before law was being practiced.
As far as perception of law enforcement is concerned, the suspension of driving license was at a very high level. In addition, both attitude and compliance of the law was emphatically at a high level too.
ประกาศคุณูปการ
วิทยานิพนธ์นี้สำเร็จลุล่วงได้ด้วยความกรุณาเป็นอย่างสูงของรองศาสตราจารย์ ดร.นงลักษณ์ เทพสวัสดิ์ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ซึ่งได้ให้ความช่วยเหลือ แนะนำ และแก้ไข ข้อบกพร่องต่าง ๆในการทำวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยรู้สึกซาบซึ้งและขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงไว้ ณ โอกาสนี้
ขอกราบขอบพระคุณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ บุปผา แช่มประเสริฐ พ.ต.อ.ดร.ปิยะ อุทาโย ดร.สัญญา สัญญาวิวัฒน์ พ.ต.อ.สมศักดิ์ ปทุมมารักษ์ พ.ต.อ.ยอดชาย ผู้สันติ ที่ให้ความช่วยเหลือ แนะนำ แก้ไข วิทยานิพนธ์ฉบับนี้สำเร็จเรียบร้อยสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
ขอขอบพระคุณ เจ้าหน้าที่เปรียบเทียบปรับทุกสถานีตำรวจ ที่ให้ความร่วมมือในการแจก และเก็บรวบรวมแบบสอบถามเป็นอย่างดียิ่ง
คุณค่าและประโยชน์ใด ๆ ที่มีในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ผู้วิจัยของมอบเป็นเครื่องบูชา พระคุณบิดา มารดา และผู้มีพระคุณ
พันตำรวจโท นนท์ นุ่มบุญนำ
สารบัญ
หน้า
ประกาศคุณูปการ. …………..……………………..…………………… ค
บทคัดย่อภาษาไทย …..………………………………….………………. ง
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ ..……………………………………………….… ฉ
สารบัญเรื่อง ..……………………………………………………….…… ช
สารบัญแผนภาพ……………………………………………..……….….. ฌ
สารบัญตาราง……………………………………………………………. ญ
บทที่ 1 บทนำ…………………………………………………………………….… 1
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา………………………………...…. 1
วัตถุประสงค์ของการวิจัย …………………………………………………. 6
ขอบเขตการวิจัย……………………………………………….…………… 7
สมมติฐานการวิจัย……………………………………………………….… 7
นิยามศัพท์เฉพาะ……………………………………………..………...….. 7
กรอบแนวคิด……………………………………………………………….. 8
ประโยชน์ของการวิจัย……………………………………………...……… 11
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง….………………………………………..... 12
แนวคิดเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายจราจร ………..…………….…….. 12
แนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์.........................……….……………….. 20
แนวความคิดเกี่ยวกับสถานภาพและบทบาท…..………….…………….. 25
แนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรมเบี่ยงเบน………………………….…..………. 27
ทฤษฎีการยับยั้ง...…………………………………………………………. 34
ลักษณะของกฎหมายจราจร......................................................................... 40
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย ………………………………………………………….. 48
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง………………………….……………………… 48
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย…………………………………………………… 49
การเก็บรวบรวมข้อมูล …………………………………………………….. 51
การวิเคราะห์ข้อมูล ..............................................…………………………. 52

สารบัญ (ต่อ)
หน้า
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล………………………………………………………… 54
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป……………………………………..…………… 54
ผลการทดสอบสมมติฐาน...…………………………………...…..…………. 63
บทที่ 5 สรุปและอภิปรายผล……………………………………………..…………… 71
สรุปผลการวิจัย………………………………….…………………………… 71
การอภิปรายผลการศึกษาวิจัย………………………………………………… 72
ข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัย..……………..……………………………….. 81
ข้อเสนอแนะในการวิจัยต่อไป ………………………………………….…… 82บรรณานุกรม………………………………………………………………………….. 83
ภาคผนวก……………………………………………………………………………… 86
แบบสอบถาม ………………………………………………………………... 87
ข้อกำหนดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรื่อง การดำเนินการบันทึกคะแนน
อบรม ทดสอบผู้ขับขี่ ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ …………… 94
รายชื่อผู้เชี่ยวชาญ.............................................................................................. 100
ประวัติผู้วิจัย…………………………………………………………………………… 104

สารบัญแผนภาพ
หน้า
แผนภาพที่ 1 กรอบแนวคิด ………………………………………………….…………. 10
แผนภาพที่ 2 การดำเนินการต่อผู้กระทำผิดกฎหมายจราจรในปัจจุบัน……….………. 18
แผนภาพที่ 3 สิ่งกำหนดพฤติกรรมมนุษย์………..……………………………………… 25
แผนภาพที่ 4 ความสัมพันธ์ของระดับการลงโทษ โดยเฉพาะความแน่นอนและ
ความรุนแรงในการลงโทษ……………………………………………… 39

สารบัญตาราง
หน้า
ตารางที่ 1 สถิติการจับกุมผู้กระทำผิดกฎจราจรในเขตกรุงเทพมหานคร
ระหว่างปี 2536 – 2546……………………………………………….. 3
ตารางที่ 2 ผลการจับกุมตามมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบผู้ขับขี่
ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ ของกองบัญชาการ
ตำรวจนครบาลเปรียบเทียบ 2545 -2546……………………………. 5
ตารางที่ 3 ผลการดำเนินการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบผู้ขับขี่ ที่กระทำผิด
และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ ของกองบัญชาการตำรวจนครบาล
เปรียบเทียบปี 2545 – 2546………………………………………… 6
ตารางที่ 4 แสดงจำนวน ค่าร้อยละ ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม
จำแนกตามเพศ……………………………………………………. 54
ตารางที่ 5 แสดงจำนวน ค่าร้อยละ ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม
จำแนกตามอายุ……………………………………………………. 55
ตารางที่ 6 แสดงจำนวน ค่าร้อยละ ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม
จำแนกตามระดับการศึกษา..………………………………………. 55
ตารางที่ 7 แสดงจำนวน ค่าร้อยละ ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม
จำแนกตามอาชีพ……….…………………………………………. 56
ตารางที่ 8 แสดงจำนวน ค่าร้อยละ ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม
จำแนกตามรายได้ต่อเดือน…………………………………………. 56
ตารางที่ 9 แสดงจำนวน ค่าร้อยละ ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม
จำแนกตามประสบการณ์การขับขี่…………………………………. 57
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละ คะแนนเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของ
แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยการรับรู้การดำเนินการบันทึกคะแนน
อบรม ทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่…. 58

สารบัญตาราง (ต่อ)
หน้า
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละ คะแนนเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของ
แบบสอบถามเกี่ยวกับทัศนคติต่อการดำเนินการบันทึกคะแนน
อบรม ทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่….. 59
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละ คะแนนเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของ
แบบสอบถามเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมาย ตามการดำเนินการ
บันทึกคะแนน อบรม ทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้
ใบอนุญาตขับขี่……………………………………………………. 60
ตารางที่ 13 แสดงค่าร้อยละ คะแนนเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของ
แบบสอบถามเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการบันทึก
คะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้
ใบอนุญาตขับขี่…………………………………………………….. 61
ตารางที่ 14 แสดงปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ มาตรการบันทึกคะแนน
อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่… 62
ตารางที่ 15 เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการบันทึกคะแนน
อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่กับ
ตัวแปรเพศ …………………………………………………………… 63
ตารางที่ 16 การวิเคราะห์ความแปรปรวนปัจจัยที่มีผลต่อการบังคับใช้กฎหมาย
ตามมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และ
การพักใช้ใบอนุญาตขับขี่จำแนกตามตัวแปรอายุ……………………. 64
ตารางที่ 17 การวิเคราะห์ความแปรปรวนปัจจัยที่มีผลต่อการบังคับใช้กฎหมาย
ตามมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด
และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ จำแนกตามตัวแปรระดับการศึกษา….. 64
ตารางที่ 18 การวิเคราะห์ความแปรปรวนปัจจัยที่มีผลต่อการบังคับใช้กฎหมาย
ตามมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด
และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่จำแนกตามตัวแปรรายได้.................... 65

สารบัญตาราง (ต่อ)
หน้า
ตารางที่ 19 การวิเคราะห์ความแปรปรวนปัจจัยที่มีผลต่อการบังคับใช้กฎหมาย
ตามมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และ
การพักใช้ใบอนุญาตขับขี่จำแนกตามตัวแปรอาชีพ............................ 65
ตารางที่ 20 เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการบันทึกคะแนน
อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่กับ
ตัวประสบการณ์การขับขี่……………………………………………. 66
ตารางที่ 21 ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรการบังคับใช้กฎหมายตามมาตร
การบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และ
การพักใช้ใบอนุญาตขับขี่กับตัวแปรการรับรู้การดำเนินการ
บันทึกคะแนน อบรม ทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพัก
ใช้ใบอนุญาตขับขี่……..…………………………………………….. 67
ตารางที่ 22 ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรการบังคับใช้กฎหมาย
ตามมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด
และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ตัวแปรทัศนคติต่อการดำเนินการ
บันทึกคะแนน อบรม ทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้
ใบอนุญาตขับขี่…………..………………………………………….. 68
ตารางที่ 23 ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรการบังคับใช้กฎหมาย
ตามมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด
และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่กับตัวแปรการปฏิบัติตามกฎหมาย
ตามการดำเนินการ บันทึกคะแนน อบรม ทดสอบผู้ขับขี่
ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่……..…………………… 69

บทที่ 1
บทนำ
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
รถยนต์คันแรกของประเทศไทย สั่งเข้ามาโดยพระยาสุรศักดิ์มนตรี ในขณะนี้การจัดระเบียบ การจดทะเบียน คนขับ กำหนดค่าทะเบียนใบอนุญาต ตลอดจนข้อบังคับเกี่ยวกับความปลอดภัย เช่น การบรรทุกคนโดยสาร การตรวจสภาพรถ ฯลฯ ถูกควบคุมโดยพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2488 ซึ่งในสมัยนั้นยังมีจำนวนรถยนต์ไม่มากนัก และมีถนนเพียงไม่กี่สายที่รถเดินได้สะดวก อำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติรถยนต์จึงตกเป็นของนายทะเบียน และเจ้าหน้าที่กองทะเบียน ซึ่งสังกัดอยู่กับกองพิเศษตำรวจนครบาล มีสำนักงานอยู่ที่กรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย (งามพิศ 2537 : 9 -11)
คำว่า “จราจร” เกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อปีพุทธศักราช 2474 โดยกรมตำรวจได้เสนอ ร่างพระราชบัญญัติจราจรทางบกต่อกระทรวงมหาดไทย เพื่อขอออกเป็นกฎหมาย ร่างพระราชบัญญัตินี้ พ.ต.อ. ซี บี ฟอลเล็ต เป็นผู้ร่างเป็นภาษาอังกฤษ โดยอาศัยหลักฐานกฎหมายจราจรของประเทศอังกฤษ มาดัดแปลงให้เหมาะสมกับบ้านเมืองของเรา ซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าวได้ออกบังคับใช้เป็นกฎหมายเมื่อปี พ.ศ. 2477
นับจากปี พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา จำนวนรถชนิดต่าง ๆ ได้เพิ่มมากขึ้น ประกอบกับสะพานพระพุทธยอดฟ้า ก็ได้สร้างเสร็จและเปิดใช้ ทางสำหรับการจราจรจึงเพิ่มขึ้นตามจำนวนรถด้วย และในปี พ.ศ. 2477 กรมตำรวจได้จัดตั้ง “กองจัดยวดยาน” เป็นหน่วยขึ้นตรงต่อกรมตำรวจออกตรวจตราและควบคุมการจราจร โดยเฉพาะในถนนเจริญกรุง และถนนเยาวราช ที่มีความยุ่งยากในการจราจรมากที่สุด เพราะเป็นย่านธุรกิจการค้า และโรงมโหรสพมากมายทั้งกลางวัน และกลางคืน ยานพาหนะของตำรวจก็มีเพียงรถจักรยานยนต์สองล้อตรวจตระเวนไปตามจุดต่างๆ ที่วางไว้ (สำนักงานคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก 2537)
กล่าวกันว่า กรุงเทพมหานคร คือ ประเทศไทย หรือ ประเทศไทย คือกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้เพราะกรุงเทพมหานคร เป็นศูนย์กลางความเจริญทุก ๆ ด้าน เป็นศูนย์กลางของสถานที่ราชการ สถานศึกษา ศูนย์ธุรกิจการค้า ศูนย์กลางการเงิน และธนาคาร ฯลฯ ทำให้ประชาชนหลั่งไหลเข้ามาอยู่ในกรุงเทพ ฯ เป็นจำนวนมาก ประกอบกับกรุงเทพ ฯ มีการขยายตัวอย่างไม่เป็นระเบียบไร้ทิศทาง ก่อให้เกิดปัญหาการขาดแคลนระบบบริการพื้นฐาน ระบบสาธารณูปโภค และสาธารณูปการ เกือบทุกประเภท โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงข่ายถนน ซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการและไม่ได้สัดส่วนกับการเพิ่มขึ้นของจำนวนรถยนต์ นอกจากนี้การที่กรุงเทพมหานครขาดระบบขนส่งมวลชนที่มีประสิทธิภาพ ตลอดจนการแก้ไขปัญหาการจราจรยังดำเนินการไปอย่างล่าช้า ไม่มีระบบที่ชัดเจนส่งผล
2
ให้กรุงเทพมหานครมีปัญหาการจราจรอยู่ในขึ้นวิกฤต ก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งทางตรงและทางอ้อม อันได้แก่ผลเสียทางเศรษฐกิจ สุขภาพ ทรัพย์สิน และในด้านงบประมาณการลงทุน โดยเฉพาะความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจ ประมาณว่าปัญหาการจราจรสร้างความสูญเสียประมาณปีละ 40,000 ล้านบาท และหากรัฐบาลไม่เร่งรัดการดำเนินการให้ทันกับความต้องการในการจราจรของประชาชนในปี 2544 แล้วจะเกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจเป็นปีละกว่า 100,000 ล้านบาท (สำนักงานคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก 2537: 1 ) จะเห็นได้ว่าปัญหาการจราจรในกรุงเทพมหานคร เป็นปัญหาสำคัญปัญหาหนึ่งของประเทศที่ต้องเร่งหามาตรการแก้ไขปัญหาโดยเร็ว มิเช่นนั้นจะเป็นผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศโดยรวมอย่างมาก
จากการศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (2537: 17 ) ได้สรุปสาเหตุหลักของปัญหาการจาจรในกรุงเทพมหานครไว้ดังนี้
1. ปัญหาระบบโครงข่ายไม่สมบูรณ์ทั้งถนนสายหลักและสายรอง
2. ปัญหาจุดตัดถนนกับเส้นทางรถไฟ
3. ปัญหาสภาพและลักษณะของถนนขาดประสิทธิภาพ
4. ปัญหาการเพิ่มขึ้นของรถยนต์
5. ปัญหาระบบขนส่งสาธารณะยังไม่มีประสิทธิภาพ
6. ปัญหาการกระจุกตัวของแหล่งจ้างงาน สถาบันการศึกษา และสถานที่ราชการ
7. ปัญหาการไม่เคารพกฎจราจรของผู้ใช้รถใช้ถนน
8. ปัญหาอุบัติเหตุการจราจร
ประกอบกับผลการศึกษาปัญหาการจราจรของศราวุฒิ พนัสขาว (2526 : 3) พบว่า สาเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหาการจราจรที่สำคัญอีกประการหนึ่ง ก็คือ พฤติกรรมการใช้รถยนต์ของผู้ใช้รถใช้ถนน ที่มักจะมีพฤติกรรมการใช้รถยนต์ในลักษณะดังต่อไปนี้
1. การเร่งรีบในการเดินทาง โดยเฉพาะในเวลาเร่งรัดเช้าและเย็น ซึ่งต่างฝ่ายต้องการให้ถึงจุดหมายปลายทางให้ทันเวลา โดยไม่ยอมเสียเวลาให้กับคนอื่นแม้แต่เพียงเล็กน้อย เกิดการแย่งชิงการใช้ทางกัน
2. ความเห็นแต่ตัวเพื่อความสะดวกแก่ตัวเอง ในการที่จะเคลื่อนรถไปได้เร็วกว่าคนอื่น เช่น การหยุดรถในช่องจราจร ขับรถคล่อมช่องทางจราจร
3. การติดนิสัยเจ้าขุนมูลนาย ถือตัวเองเป็นใหญ่ มีสิทธิจะทำอะไรก็ได้โดยไม่คำนึงถึงบุคคลอื่น เช่น ขับรถช้าในช่องขวา ขับรถกีดกันผู้อื่นไม่ให้ผู้อื่นแซงตนแต่ตอนเองชอบแซงรถคันอื่น
4. พวกมีอภิสิทธิ์ มีพรรคพวกคอยช่วยเหลือเมื่อตนกระทำผิด พวกนี้มักจะไม่คำนึงถึงความเดือดร้อนของผู้อื่น ขับรถตามใจตนเอง
3
5. พวกไม่รู้จักกฎจราจร หรือรู้บ้าง หรือแกล้งทำไม่รู้ เอาหูไปนาเอาตาไปไร่ หรือพวกขับรถที่ไม่เคยศึกษาเส้นทางมาก่อน มักขับรถฝ่าฝืนกฎจราจรเป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุ หรือกีดขวางทางสัญจรของผู้อื่น
จากปัญหาดังกล่าวการไม่เคารพกฎจราจรของผู้ใช้รถใช้ถนน นับเป็นปัญหาที่สำคัญที่มีส่วนทำให้เกิดปัญหาการจราจร เนื่องจากกฎหมายจราจรเป็นกฎหมายที่ออกมาใช้บังคับเพื่อความสะดวกปลอดภัยของผู้ใช้รถใช้ถนน มีลักษณะเป็นข้อห้าม สังคมบางส่วนจึงมักถือว่าการกระทำความผิดกฎหมายจราจรเป็นความผิดเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็อาจจะกระทำความผิดได้ ไม่ถือว่าเป็นความผิดที่รุนแรง อีกทั้งยังไม่ถือเป็นการประกอบอาชญากรรม ดังนั้นการปฏิบัติตามกฎหมายจึงมักถูกละเลย และมีการละเมิด ซึ่งจะเห็นได้โดยทั่วไปเกือบทุกหนทุกแห่ง เช่น จอดรถในที่ห้ามจอด จอดรถซ้อนคัน ฝ่าฝืนเครื่องหมายจราจร คนเดินถนนไม่ข้ามถนนตรงทางม้าลาย หรือสะพานลอยเป็นต้น
จากสถิติของกองบังคับการตำรวจจราจร แสดงผลการจับกุม และการมารายงานตัวของผู้กระทำผิดกฎจราจรในเขตกรุงเทพมหานคร ระหว่างปี 2536 – 2546 ปรากฏตามตารางที่ 1 ดังนี้
ตารางที่ 1 สถิติการจับกุมผู้กระทำผิดกฎจราจรในเขตกรุงเทพมหานครระหว่างปี 2536 – 2546
จับกุม
มารายงานตัว
คิดเป็นร้อยละ
ปี พ.ศ.
เบิกใบสั่ง
(เล่ม)
พบตัว
ไม่พบตัว
รวม
(ราย)
พบตัว
ไม่พบตัว
รวม
(ราย)
พบตัว
ไม่พบตัว
2536
2537
2538
2539
2540
2541
2542
2543
20,235
11,498
13,814
29,810
23,280
24,260
22,254
27,593
363,067
218,187
167,920
302,358
225,273
235,896
215,548
300,541
42,655
47,147
31,607
288,963
75,611
80,154
74,562
115,245
405,722
256,334
199,527
591,321
300,884
316,050
290,110
415,786
196,920
115,649
118,542
199,520
130,429
141,253
132,456
168,257
62,780
41,690
21,334
187,356
43,450
44,442
32,478
34,658
259,700
157,339
239,876
386,876
173,879
185,695
164,934
202,915
54.24
53.00
70.59
65.99
57.90
59.88
61.45
55.98
100
88.43
67.50
64.84
57.47
55.45
43.56
30.07
2544
2545
2546
69,100
92,550
124,710
N/A N/A N/A
N/A N/A N/A
1,700,078
2,278,353
3,117,490
N/A N/A N/A
N/A N/A N/A
1,222,242
1,604,173
2,226,146
71.89
70.41
71.41
ที่มา : งานที่ 1 กองกำกับการ 3 กองบังคับการตำรวจจราจร 2547: 1.
จากสถิติดังกล่าวข้างต้นเห็นได้ว่า ในแต่ละปีผู้กระทำความผิดกฎหมายจราจรเป็นจำนวนมาก แต่มีผู้มารายงานตัวไม่เกินร้อยละ 60 แสดงถึงการไม่เคารพกฎหมาย และกติกาของสังคม การที่ผู้กระทำผิดบางรายไม่มารายงานตัว หลีกเลี่ยงการลงโทษ หรือการไม่ได้รับการลงโทษนั้น จะทำให้
4
ผู้กระทำผิดไม่เข็ดหลาบ หลาบจำ ไม่เกรงกลัวกระบวนการบังคับใช้กฎหมาย และอาจเป็นเหตุให้ผู้อื่นกระทำผิดมากขึ้น และจะส่งผลถึงปัญหาการจราจรเป็นลำดับต่อมา
โดยในปี พ.ศ. 2535 กรมตำรวจในสมัยนั้น ได้ขอแก้ไขพระราชบัญญัติจราจรทางบก ในมาตรา 161 โดยมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการ สั่งยึดใบอนุญาต การยึด และบันทึกคะแนน การอบรมทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิด เพื่อให้ผู้กระทำผิดเกรงกลัวในกระบวนการบังคับใช้กฎหมาย ไว้ดังนี้
มาตรา 161 ในกรณีที่ผู้ขับขี่ผู้ใดได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ผู้บัญชาการตำรวจภูธร ผู้บังคับการตำรวจจราจร ผู้บังคับการตำรวจทางหลวง หรือผู้ซึ่งได้รับมอบอำนาจจากผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวมีอำนาจสั่งยึดใบอนุญาตขับขี่ของผู้นั้นมีกำหนดครั้งละไม่เกินหกสิบวัน
ผู้สั่งยึดใบอนุญาตขับขี่ตามวรรคหนึ่งอาจบันทึกการยึดและคะแนนไว้ด้านหลังใบอนุญาตขับขี่ที่ถูกยึด และดำเนินการอบรม ทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิดซ้ำตั้งแต่สองครั้งภายในหนึ่งปีรวมทั้งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ที่เสียคะแนนมากของผู้ขับขี่นั้นมีกำหนดครั้งละไม่เกินเก้าสิบวัน
การดำเนินการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ ให้เป็นไปตามที่อธิบดีกำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้มีข้อกำหนดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรื่อง การดำเนินการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบผู้ขับขี่ ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2542 และ ข้อกำหนดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรื่อง การดำเนินการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบผู้ขับขี่ ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 9 มกราคม 2543 กำหนดให้ข้อกำหนดดังกล่าวมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2545 เป็นต้นไป
จากการบังคับใช้การบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ ในระยะเวลา 2 ปี ในเขตกรุงเทพมหานคร มีผลการดำเนินการตามตารางที่ 2 และตามตาราง 3 ดังนี้
5
ตารางที่ 2 ผลการจับกุมตามมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบผู้ขับขี่ ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ ของกองบัญชาการตำรวจนครบาล เปรียบเทียบ 2545 - 2546
การจับกุม / ออกใบสั่ง
ฐานความผิด
2545
2546
เพิ่ม/ลด (ร้อยละ)
บันทึกคะแนนครั้งละ 10 คะแนน
1. ขับรถในลักษณะกีดขวางการจราจร
68,261
162,422
137.94
2. ขับรถบนทางเท้า
16,262
20,917
28.63
บันทึกคะแนนครั้งละ 20 คะแนน
3. แซงรถด้านซ้ายไม่ปลอดภัย
3,450
3,257
-5.59
4. แซงรถในที่คับขัน
21,795
35,307
62.00
5. จอดรถในทางไม่เปิดไฟ
4,704
3,781
-19.52
6. แท๊กซี่ไม่รับผู้โดยสาร
551
212
-61.52
7. แท๊กซี่ทอดทิ้งผู้โดยสาร
25
21
-16.00
บันทึกคะแนนครั้งละ 30 คะแนน
8. ขับรถขณะหย่อนความสามารถ
288
486
68.75
9. ขับรถประมาทน่าหวาดเสียว
3,587
6,582
83.50
10. ขับรถผิดปกติวิสัย
117
2,141
1729.91
11. ขับรถไม่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้อื่น
503
6,429
1178.13
12. ขับรถเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด
3,796
5,269
38.80
บันทึกคะแนนครั้งละ 40 คะแนน
13. ไม่หยุดรถหลังเส้นให้หยุด (ฝ่าไฟแดง)
90,589
93,915
3.67
14. ขับรถขณะเมาสุรา
562
1,881
234.70
15. ขับรถชนรถผู้อื่นแล้วหลบหนี
169
173
2.37
16. แข่งรถในทาง
76
230
202.63
ที่มา : งานที่ 1 กองกำกับการ 3 กองบังคับการตำรวจจราจร 2547: 1.
6
ตารางที่ 3 ผลการดำเนินการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบผู้ขับขี่ ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ ของกองบัญชาการตำรวจนครบาล เปรียบเทียบปี 2545 - 2546
ลำดับ
รายการ
ปี 2545
(16 ม.ค.-31 ธ.ค.)
ปี 2546
(1 ม.ค.-31 ธ.ค.)
เพิ่ม/ลด (ร้อยละ)
1.
การกระทำผิดเกินกว่า 1 ครั้งภายใน 1 ปี
42
494
1,076.19
2.
การพักใช้ใบอนุญาตขับขี่
31
325
948.39
3.
การบันทึกความผิดคะแนนและคะแนนครั้งละ 10 คะแนน
84,523
183,339
116.91
4.
การบันทึกความผิดคะแนนและคะแนนครั้งละ 20 คะแนน
30,525
42,578
39.30
5.
การบันทึกความผิดคะแนนและคะแนนครั้งละ 30 คะแนน
8,291
20,907
152.16
6.
การบันทึกความผิดคะแนนและคะแนนครั้งละ 40 คะแนน
91,396
96,199
5.26
รวม
214,735
343,023
59.71
7.
จำนวนที่ต้องอบรมและทดสอบผู้ขับขี่
33
430
1,203.03
8.
จำนวนที่มาอบรมและผ่านการอบรม
22
399
1,713.64
ที่มา : งานที่ 1 กองกำกับการ 3 กองบังคับการตำรวจจราจร 2547: 1.
ในฐานะที่ผู้วิจัยเป็นเจ้าพนักงานจราจร มีประสบการณ์ในด้านการจราจร ทราบและเข้าใจปัญหาด้านการจราจรพอสมควร จึงสนใจศึกษา ปัจจัยที่มีผลต่อการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ เพื่อจะได้นำผลการศึกษานำไปปฏิบัติงานในหน้าที่แก้ไขปัญหาจราจร และเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายจราจร ต่อไป
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาผลการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการบันทึกคะแนนอบรม ทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่
2. เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการบันทึกคะแนนอบรม ทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่
3. เพื่อศึกษาและวิเคราะห์หาแนวทางทางปรับปรุงการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ ให้มีประสิทธิภาพเพื่อลดปัญหาการจราจร และผู้ฝ่าฝืนกฎจราจรในกรุงเทพมหานคร
7
ขอบเขตของการวิจัย
ปัญหาข้อจำกัดด้านต่างๆ ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย เวลา งบประมาณ ผู้ช่วยเหลือด้านวิจัย ดังนั้นผู้วิจัย จึงทำการศึกษาภายใต้ขอบเขตดังนี้
1. ศึกษาการบังคับใช้กฎหมาย ตามข้อกำหนดการดำเนินการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ เฉพาะในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร
2. ศึกษาเฉพาะประชากรผู้กระทำผิด ในที่เกิดขึ้นในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
สมมติฐานของการวิจัย
สมมติฐานที่ 1 ปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ แตกต่างกัน
สมมติฐานที่ 2 ปัจจัยภายนอกมีความสัมพันธ์ต่อการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการบันทึก คะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่
นิยามศัพท์เฉพาะ
การดำเนินการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ หมายถึง ข้อกำหนดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรื่อง การดำเนินการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ ลงวันที่ 20 เมษายน 2542 และ ข้อกำหนดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรื่อง การดำเนินการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 9 มกราคม 2543
ผู้กระทำความผิด หมายถึง ผู้กระทำผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกตามที่ระบุใน ข้อกำหนดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรื่อง การดำเนินการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ ลงวันที่ 20 เมษายน 2542 ที่มารายงานตัวชำระค่าปรับต่อพนักงานสอบสวน และถูกเจ้าหน้าที่ทำการบันทึกคะแนน ในเดือนสิงหาคม 2547
การรับรู้การดำเนินการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ หมายถึง ระดับการรับรู้ถึง ข้อกำหนดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เกี่ยวกับการดำเนินการ
8
บันทึกคะแนน อบรม ทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ ลงวันที่ 20 เมษายน 2542
ประสบการณ์ในการขับ หมายถึง ระยะเวลาที่ผู้กระทำความผิด ขับรถเป็น ตั้งแต่เริ่มขับรถยนต์ และนับเฉพาะช่วงเวลาที่ขับรถยนต์เป็นประจำ อย่างน้อยสัปดาห์ละหนึ่งวันแบ่งออกเป็น 2 ระดับคือ ประสบการณ์น้อย เป็นระยะเวลารวมไม่เกิน 10 ปี และประสบการณ์มาก เป็นระยะเวลารวมเกิน 10 ปี
การปฏิบัติตามกฎหมาย ตามการดำเนินการ บันทึกคะแนน อบรม ทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ หมายถึง ระดับความคิดเห็นของผู้กระทำผิดที่ต่อการปฏิบัติตามกฎหมายเมื่อมีการดำเนินการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่
ทัศนคติต่อการดำเนินการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ หมายถึง ระดับความคิดเห็นของผู้กระทำความผิดที่มีต่อการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่
กรอบความคิด
ผู้วิจัยได้ศึกษาภายใต้แนวคิดทฤษฎีต่างๆ ประกอบด้วย
1. การบังคับใช้กฎหมายจราจรของ กองกำกับการตำรวจจราจร (2542: 199-200) อธิบายให้เห็นถึง การบังคับใช้กฎหมายเพื่อควบคุมการจราจร และพฤติกรรมการกระทำผิดกฎจราจรของบุคคล
2. แนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์ของอารีย์ พันธ์มณี (2534: 15-16) อธิบายให้ทราบว่า พฤติกรรมแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ พฤติกรรมเปิดเผย (Overt Behavior) เป็นการกระทำที่สามารถสังเกตเห็นได้ เช่น การพูด การหัวเราะ การร้องไห้ การชกมวย และ พฤติกรรมปกปิด (Covert Behavior) เป็นการกระทำที่ไม่สามารถสังเกตเห็นได้นอกจากจะใช้เครื่องมือช่วยวัด เช่น การเกิด การหายใจ อารมณ์ การรับรู้ การทำงานของกระเพาะอาหาร
3. แนวความคิดเกี่ยวกับสถานภาพและบทบาทของบลูม และ เซลนิค (Broom และ Selznick อ้างถึงใน สุนทร เฉลิมเกียรติ 2540 : 32) อธิบายให้ทราบว่า บทบาททางสังคมเป็นแบบแผนของพฤติกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับตำแหน่งเฉพาะทางสังคม เช่น การเป็นพ่อ เป็นครู บทบาทเป็นการกล่าวถึงสิทธิและหน้าที่ที่ขึ้นอยู่กับตำแหน่งทางสังคมซึ่งบอก ให้รู้ว่าแต่ละคนควรจะแสดงบทบาท และเป็นหน้าที่ของเขาที่ต้องแสดงพฤติกรรมตามบทบาทนั้น ๆ และเขาสามารถเรียกร้องสิทธิอันนี้ได้
9
4. ทฤษฎีการขัดเกลาทางสังคมของบลูม และ เซลนิค (Broom และ Selznick อ้างถึงใน สุนทร เฉลิมเกียรติ 2540 : 44) ชี้ให้เห็นว่า กระบวนการขัดเกลาทางสังคมมีจุดมุ่งหมายหลัก 4 ประการคือ การปลูกฝังระเบียบวินัย (Disciplino) การปลูกฝังความมุ่งหวังในชีวิตที่กลุ่มยอมรับ (aspiration) การกำหนดบทบาทในสังคม (Social Value) การให้เกิดความชำนาญหรือทักษะ (Skills) ที่จะมีส่วนร่วมกิจกรรมในสังคมกับคนอื่น ๆ จุดมุ่งหมายข้อนี้เป็นผลสุดท้ายที่ต่อเนื่องมาจากจุดมุ่งหมายแต่ละข้อตามลำดับ
5. แนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรมเบี่ยงเบน ได้อธิบายให้เห็นถึง ความเบี่ยงเบนคือการที่บุคคลมีลักษณะแตกต่างหรือผิดไปจากบรรทัดฐานสังคม ลักษณะที่แตกต่างกัน ได้แก่ ทัศนคติ มาตรฐานเชิงศีลธรรม และพฤติกรรมที่สามารถมองเห็นได้ชัด สังคมดำรงอยู่ได้เนื่องจากมีระเบียบกฎเกณฑ์ให้สมาชิกปฏิบัติตามแต่การฝ่าฝืนหรือล่วงละเมิดระเบียบสังคม ก็เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นปกติของสังคม ดังนั้น การกระทำผิดกฎหมายและการฝ่าฝืนจารีตประเพณีหรือการละเมิดศีลธรรมในรูปแบบต่างๆ จึงปรากฏให้เห็นเป็นข่าวบ่อย การกระทำดังกล่าวเป็นการเบี่ยงเบนหรือ พฤติกรรมเบี่ยงเบน (Deviant Behavior) เป็นพฤติกรรมที่กลุ่มหรือสังคมเห็นว่าผิดไปจากบรรทัดฐานคนทั่วไป และก่อให้เกิดการต่อต้านและลงโทษผู้กระทำผิด การเบี่ยงเบนที่เห็นชัดสุด คืออาชญากรรม หรือการกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมายอาญา เช่น ฆาตกรรม ติดยาเสพติด ฝ่าฝืนกฎหมายจราจร
6. ทฤษฎีการยับยั้งของซีซาร์ เบคคาเรีย (1738-1794) อธิบายให้เห็นถึง ความชอบธรรม
ในการลงโทษว่า การลงโทษตามหลักอรรถประโยชน์นิยม ถือว่าการลงโทษเป็นสิ่งจำเป็นที่มุ่งถึงประโยชน์ที่จะเกิดแก่สังคมเป็นสำคัญ การที่จะพิจารณาว่าการกระทำใดเป็นการกระทำที่ถูกต้องหรือไม่นั้น พิจารณาจากความสุขที่คนส่วนใหญ่ของสังคมจะได้รับจากการกระทำนั้นเป็นสำคัญ ถ้าเป็นไปตามเหตุผลดังกล่าวนี้แล้วก็ถือได้ว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นสิ่งถูกต้องชอบธรรม และแนวคิดความคงเส้นคงวาในการลงโทษของกอเรคกี (Gorecki 1979: 21) ที่อธิบายถึงผลต่ออารมณ์ของผู้กระทำผิดที่ถูกลงโทษ ถ้าการลงโทษไม่คงเส้นคงวาแล้ว ทำให้ผู้ถูกลงโทษคำนึงถึงความยุติธรรมที่ตนได้รับ หรือคนอื่นอาจจะขาดความเคารพยำเกรง
7. ลักษณะของกฎหมายจราจร ( อิทธิ มุสิกะพงษ์ 2534 :11 อ้างถึงใน สมศักดิ์ บุญถม 2541 : 37) ได้อธิบายถึง กฎหมายจราจรไว้ว่ากฎหมายจราจร เป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้น เพื่อให้เกิดความสะดวกและปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน เป็นกฎเกณฑ์ที่ตั้งขึ้นเพื่อใช้บังคับเพื่อการจัดระเบียบการจราจรให้ทันกับการพัฒนาการเทคโนโลยียานยนต์ และสภาพการใช้รถใช้ถนน กฎหมายจราจรจึงมีลักษณะเป็นกฎหมายเทคนิค (Technical Law ) ที่บัญญัติขึ้นด้วยเหตุผลทางเทคนิค (Technical reason ) เพื่อการจัดระเบียบทางสังคม (Social Order ) ไม่ได้บัญญัติตามเหตุผลทางด้านศีลธรรม(Moral reason) เช่น การเดินรถทางซ้ายทางขวาไม่มีความผิดในตัวของมันเอง ความถูกผิดเกิดขึ้น เนื่องจากการตั้งกฎเกณฑ์ เป็นต้น เพื่อประโยชน์ในทางปกครอง บริหาร โดย
10
1. กำหนดกฎเกณฑ์และมาตรการต่างๆ เพื่อบังคับให้เกิดความสะดวกและปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน ซึ่งการกระทำที่ฝ่าฝืนกฎเกณฑ์ จึงอยู่นอกเหนือความรู้สึกมนุษย์ในเรื่องความผิดถูกทางศีลธรรม
ผู้วิจัยได้นำแนวคิด ทฤษฎีดังกล่าวข้างต้นมาทำการวิเคราะห์และสังเคราะห์สร้างเป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย ดังมีรายละเอียดตามแผนภาพที่ 1
แผนภาพที่ 1 กรอบแนวคิด
ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม
ปัจจัยส่วนบุคคล
1. เพศ
2. อายุ
3. การศึกษา
4. อาชีพ
5. รายได้
6. ประสบการณ์การขับขี่
การบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่
ปัจจัยภายนอก
1. การรับรู้การดำเนินการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่
2. ทัศนคติต่อการดำเนินการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่
3. การปฏิบัติตามกฎหมาย ตามการดำเนินการ บันทึกคะแนน อบรม ทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่
11
ประโยชน์ของการวิจัย
1. ผลการศึกษาวิจัยทำให้ทราบถึงผลของการบังคับใช้กฎหมาย ตามการดำเนินการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่
2. ผลการศึกษาวิจัยทำให้ทราบถึงปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการบังคับใช้กฎหมายตามการดำเนินการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่
3. สามารถนำผลการศึกษาวิจัยที่พบมาเป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขการดำเนินการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อลดปัญหาการจราจรและผู้ฝ่าฝืนกฎจราจรในกรุงเทพมหานคร
บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ในการศึกษาเรื่องการประเมินการดำเนินการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ ผู้กระทำผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 เพื่อทราบถึงผลสัมฤทธิ์ และปัจจัยที่มีต่อการดำเนินการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ ของผู้กระทำผิด ผู้วิจัยใช้ทฤษฎีและแนวความคิดต่อไปนี้เป็นแนวทางและเป็นกรอบในการศึกษา
1. แนวคิดเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายจราจร
2. แนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์
3. แนวคิดเกี่ยวกับสถานภาพและบทบาท
4. แนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรมเบี่ยงเบน
5. ทฤษฎีการยับยั้ง
6. ลักษณะของกฎหมายจราจร
แนวคิดเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายจราจร
การบริหารการจราจร กองกำกับการนโยบายและแผนงาน กองบัญชาการตำรวจภูธร (2530: 12-13) ได้อธิบายถึง การบังคับใช้กฎหมายจราจร ว่าหมายถึง การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจทุกรูปแบบ เพื่อป้องกันการละเมิดกฎหมายจราจร ซึ่งได้แก่ การตรวจตราในเขตพื้นที่รับผิดชอบ หากพบการกระทำความผิดก็ดำเนินการไปตามอำนาจและหน้าที่ การบังคับใช้กฎหมายจราจรนี้ไม่ได้จำกัดขอบเขตแต่เพียงการจับกุมและออกใบสั่งเท่านั้น แต่จะรวมไปถึงการป้องกันไม่ให้ผู้ขับขี่รถและคนเดินเท้าละเมิดโดยรู้เท่าไม่ถึงหรือไม่ตั้งใจ เช่น การเลี้ยวรถในที่ห้ามหรือการเดินเหม่อลอย เป็นต้น
การบังคับใช้กฎหมายนั้นไม่ได้เกิดจากการตรวจตราในพื้นที่รับผิดชอบเท่านั้น ส่วน ประกอบที่สำคัญอีกส่วนหนึ่งของการใช้กฎหมาย คือ การสืบสวนสอบสวนนคดีอุบัติเหตุการจราจรได้ การที่ดำเนินคดีกับผู้ละเมิดกฎหมายภายหลังจากการเกิดอุบัติเหตุการจราจรก็จะเป็นการบังคับใช้กฎหมายที่มีสมเหตุสมผลและยุติธรรมมากที่สุด การกระทำดังกล่าวนี้ เป็นการบังคับใช้กฎหมายกับสิ่งที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุโดยตรง นอกจากนี้การบังคับใช้กฎหมายอาจเกิดการติดตามตรวจสอบตามคำร้องเรียนที่ได้รับ วัตถุประสงค์เบื้องต้นของการบังคับใช้กฎหมายจราจรก็คือการจูงใจไม่ให้มีการละเมิดกฎหมายจราจร แรงจูงใจเช่นว่านี้ ประการหนึ่งก็คือด้านจิตวิทยา ได้แก่ ความกลัวที่จะถูก
13
เปรียบเทียบปรับ การจำคุก การถูกเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ การเสื่อมเสียศักดิ์ศรี ความอับอายเนื่องจากแรงกดดันทางสังคม แรงจูงใจอีกประการหนึ่งก็คือการเป็นตัวอย่างที่ดี ได้แก่ การกระทำสิ่งที่ถูกต้องและการเป็นตัวอย่างแก่บุคคลอื่น โดยเฉพาะเยาวชน ความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุจราจรก็เป็นแรงจูงใจอีกประการหนึ่ง เจ้าหน้าที่ตำรวจควรจะประยุกต์ใช้วิธีการทุกๆ วิธี เพื่อห้ามปรามบุคคลจากการละเมิดกฎหมายจราจร เป้าหมายแรก คือ การได้รับความร่วมมือจากประชาชนในการปฏิบัติตามกฎหมายด้วยความเต็มใจ ประการต่อมาก็คือ การดำเนินการต่อผู้ที่ละเมิดกฎหมายไม่ว่าจะด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่อด้วยวิธีการตามความเหมาะสม
วิธีการบังคับใช้กฎหมายที่ตำรวจจราจรทั้งหลายใช้ มีลักษณะคล้ายคลึงกัน กล่าวคือ เป็นการกระทำที่มุ่งต่อการควบคุมพฤติกรรมของบุคคลโดยตรงสม่ำเสมอ การบังคับใช้กฎหมายนั้น ไม่ใช้เพียงแต่การปรับใช้กฎหมายเข้ากับสถานการณ์ใดสถาน การณ์หนึ่งเท่านั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจ ผู้บังคับใช้กฎหมายจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในวัตถุประสงค์ของกฎหมายและการตีความกฎหมายของศาล เจ้าหน้าที่ตำรวจด้วยกันและประชาชนทั่วๆ ไป เพื่อให้ทราบถึงเจตนารมณ์ของสังคมโดยแท้จริง นอกจากนี้ในการควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์เจ้าหน้าที่ตำรวจยังต้องเข้าใจถึงความสลับซับซ้อนของพฤติกรรมดังกล่าวว่าอะไรคือ ปัจจัยที่ทำให้มนุษย์มีพฤติกรรมดังเช่นที่ได้กระทำลงไป และการบังคับใช้กฎหมายจะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมดังกล่าวของผู้ขับขี่ และคนเดินเท้าได้อย่างไร
กฤษดา จันทร์มีศรี (2537: 16) ได้อธิบายว่า จุดมุ่งหมายสำคัญของการบังคับใช้กฎหมายจราจร ก็เพื่อเป็นการข่มขวัญยับยั้งผู้ละเมิด หรือผู้ที่มีแนวโน้มที่จะละเมิดกฎหมายหรือระเบียบเกี่ยวกับการจราจร ในขณะเดียวกัน การบังคับใช้กฎหมายที่เหมาะสม มิใช้เพื่อทำให้ผู้ละเมิดกฎหมายเกิดความเสียหน้าความคับข้องใจ หรือความเกลียดชังผู้บังคับใช้กฎหมาย แต่เพื่อให้ผู้ละเมิดกฎหมายได้เรียนรู้ที่จะหลีกเลี่ยงพฤติกรรมละเมิดกฎหมาย หรือลดพฤติกรรมที่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนในการใช้รถใช้ถนนโดยไม่คำนึงถึงบุคคลอื่น
กองกำกับการตำรวจจราจร (2542: 199-200) ได้กล่าวถึงประสิทธิภาพการควบคุมบังคับให้สมาชิกในสังคมเคารพกฎหมายว่า มีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ประการคือ
1. มีการบัญญัติกฎหมายที่เหมาะสม
2. มีการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด
3. มีการลงโทษผู้ฝ่าฝืนกฎหมายอย่างเฉียบขาดและรวดเร็ว
วิธีที่จะให้ประชาชนรักษาประสิทธิภาพของกฎหมายมีอยู่ 3 ประการคือ
1. ประชาชนต้องทราบเกี่ยวกับกฎหมาย
2. การฝึกให้ประชาชนมีระเบียบวินัยและเคารพกฎหมาย
3. มีการลงโทษผู้ฝ่าฝืนกฎหมายอย่างเฉียบขาดและรวดเร็ว
14
ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวกับอุบัติเหตุจราจร จะต้องรีบดำเนินการให้ครบทุกประการ หากจะเลือกปฏิบัติเพียงประการใดประการหนึ่งก็หาบรรลุผลสำเร็จในระยาวได้ไม่
ตามแนวคิดเกี่ยวกับวิศวกรรมจราจร ซึ่งเป็นวิศวกรรมแขนงหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนและออกแบบการควบคุมระบบการจราจรของถนนหลวง ตลอดจนการใช้ที่ดินใกล้เคียงและศึกษาความสัมพันธ์กับระบบการขนส่งชนิดอื่นหรือหมายถึงการนำเอาหลักการ เครื่องมือ วิธีการ เทคนิคตลอดจนการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ เพื่อให้ได้มาซึ่งความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัยและประหยัดในการเคลื่อนย้ายขนถ่ายผู้โดยสารและสิ่งของ
องค์ประกอบของการจราจรมี 3 ประการคือ
1. คนขับและคนเดินถนน (Driver and Pedestrian) คนขับรถอาจก่อปัญหาการจราจรได้
ใน 2 ลักษณะคือ มารยาทในการขับรถ และการตัดสินใจ ซึ่งมารยาทในการขับรถอาจมาจาก
สภาพแวดล้อม ได้แก่
1.1 สภาพภูมิอากาศ ภูมิประเทศ ลักษณะสภาพการจราจร สภาพเส้นทางที่ใช้ในการเดินทาง เป็นต้น
1.2 ปัจจัยทางด้านจิตใจ ได้แก่ อารมณ์ของคนขับรถ อายุ เพศ ตลอดจนการตอบสนองต่อสิ่งเร้า
1.3 ปัจจัยทางด้านกายภาพ ได้แก่ ความสามารถในการมองเห็น การได้ยิน และการมี
ปฏิกิริยาโต้ตอบ
ระยะเวลาในการตัดสินใจ คือระยะเวลาที่ร่างกายรับรู้ทางตา หู การสัมผัส และส่งการรับรู้ไปยังสมอง เพื่อสั่งการให้มือและเท้าเหยียบเบรค ระยะเวลาต่างๆ คือระยะเวลาในการตัดสินใจ
คนเดินถนน (Pedestrian) คนเดินเท้าเป็นปัจจัยของการจราจร ซึ่งจะต้องออกแบบระบบการจราจรให้สัมพันธ์กันได้แก่ ทางเดินเมข้างถนน ทางม้าลาย สะพานลอย เป็นต้น
2. รถ (Vehicle) เป็นองค์ประกอบหนึ่งของการจราจรและมีองค์ประกอบที่สำคัญคือ
ลักษณะและน้ำหนักของรถ ลักษณะเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของรถ และลักษณะของแรงต่างๆ ซึ่งมีผลต่อการเคลื่อนที่ของรถ
3. ถนน (Road) ถนนเป็นปัจจัยการจราจรอีกอย่างหนึ่งเนื่องจากถนนจะต้องก่อสร้างขึ้น
เพื่อรองรับการเดินทางของรถ การก่อสร้างถนนจะต้องออกแบบด้วยหลักเรขาคณิต ซึ่งประกอบด้วยการวางแนวถนน การออกแบบทางโค้ง ระยะสายตาและการออกแบบทางแยก เป็นต้น
ประจวบ วงศ์สุข (2535: 1-3) ได้ศึกษาปัญหาและอุปสรรคของเจ้าหน้าที่ตำรวจทางด้านการจราจร พบว่า แนวทางการแก้ปัญหาการจราจรต่างๆของเจ้าหน้าที่ตรวจไม่แตกต่างกัน โดยเรียงลำดับความสำคัญได้แก่ การให้ความรู้แก่ประชาชนโดยสื่อต่างๆ ขยายและปรับปรุงผิวการจราจรให้กว้างออกไป และกวดขันการใช้ถนนของประชาชนให้เคร่งครัดตามกฎหมาย
15
การบังคับใช้กฏหมายและการบังคับใช้กฎหมายจราจร
การบังคับใช้กฎหมายโดยทั่วไป หมายถึง การนำกฎหมายมาบังคับใช้เพื่อควบคุมความประพฤติของสมาชิก โดยการดำเนินการอย่างเป็นกระบวนการต่อเนื่องและสัมพันธ์กันระหว่างหน่วยงานต่างๆ ในกระบวนการยุติธรรมของรัฐ ได้แก่ การดำเนินการในชั้นเจ้าพนักงานตำรวจในการรักษากฎหมาย ซึ่งหากมีการฝ่าฝืนจะต้องสืบสวน สอบสวน และจับกุมผู้กระทำผิดส่งต่อให้พนักงานอันการทำหน้าที่ฟ้องร้องคดี ศาลยุติธรรมจะทำหน้าที่พิจารณา และตัดสินคดีและมีพนักงานราชทัณฑ์ ทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุม คุมขัง ตามที่ศาลสั่งลงโทษ โดยมีมาตรฐานในการปฏิบัติงาน รวมทั้งมาตรการอันเป็นหลักประกันในการปฏิบัติหน้าที่ของแต่ละหน่วยงาน ทั้งนี้เพื่อทำให้การบังคับใช้กฎหมาย และระบบงานยุติธรรมของรัฐทั้งระบบสามารถอำนวยความยุติธรรม และตอบสนองต่อการแก้ไขปัญหาสังคม (ประธาน วัฒนพาณิชย์ 2522 : 148-154 อ้างถึงใน สมศักดิ์ บุญถม 2541 : 44)
การที่จะอำนวยความยุติธรรมให้กับสังคมได้อย่างเต็มที่ นอกจากจะต้องประกอบด้วยกฎหมายที่มีความถูกต้องชอบธรรมและเหมาะสมแล้ว การบังคับใช้กฎหมายผ่านกระบวนการยุติ ธรรมของรัฐ จะต้องมีความสัมพันธ์สอดคล้องกับหลักความถูกต้องตามหลักนิติธรรมสามารถรักษาความสงบเรียบร้อยภายในสังคม โดยการป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกด้วย
กระบวนการยุติธรรมที่มีประสิทธิภาพ สามารถเห็นได้จากสถิติการจับกุม และการลงโทษผู้กระทำผิดสูงเมื่อเทียบกับการเกิดการกระทำความผิด ทั้งนี้โดยการใช้ทรัพยากรอย่างจำกัด โดยการดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆ ในกระบวนการยุติธรรมจะต้องมีความรวดเร็วและแน่นอน มีวิธีปฏิบัติที่มีแบบแผน แต่ในขณะเดียวกันก็ยืดหยุ่นได้บ้าง และจะต้องลดโอกาสที่ผู้กระทำผิดจะรอดพ้นจากการพิจารณาในกระบวนการยุติธรรมให้น้อยที่สุด
ดังนั้น หากกระบวนการยุติธรรมไม่มีประสิทธิภาพ เจ้าหน้าที่ของรัฐไม่สามารถจับกุมผู้กระทำผิดมาลงโทษได้แล้ว ความไม่นำพาและการละเลยต่อกฎหมายจะเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นรับจึงต้องใช้หลักประกันต่อสังคม เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกระบวนการยุติธรรมทางอาญาดังกล่าว ทั้งนี้โดยการปรับปรุงตัวบทกฎหมาย ทั้งกฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีบัญญัติ ตลอดจนเพิ่มพูนประสิทธิภาพของกระบวนการยุติธรรม ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น อันจะเป็นผลต่อประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมายของรัฐอีกด้วย สำหรับการบังคับใช้กฎหมายจราจร เป็นการดำเนินการของหน่วยงานของรัฐ ในการรักษาความปลอดภัย และส่งเสริมความสะดวกในการใช้รถใช้
16
ถนน ตลอดจนจับกุมผู้กระทำผิดต่อกฎหมายจราจรมาลงโทษ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ระยะ คือ
1. การบังคับใช้กฎหมายในระยะก่อนการกระทำผิด
2. การบังคับใช้กฎหมายภายหลังการกระทำผิด
การบังคับใช้กฎหมายในระยะก่อนการกระทำความผิด
การบังคับใช้กฎหมายในระยะก่อนการกระทำความผิด หมายถึง การรักษาให้มีการปฏิบัติตามกฎหมาย ในลักษณะการป้องกันการกระทำความผิดหรือการฝ่าฝืนกฎหมาย โดยการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานตามอำนาจและหน้าที่ กฎหมายกำหนดเอาไว้ ได้แก่ เจ้าพนักงานตำรวจ และเจ้าพนักงานอื่นๆ ที่กฎหมายให้อำนาจ
การบังคับใช้กฎหมายจราจรในระยะก่อนการกระทำความผิด เป็นการดำเนินการรักษากฎหมาย โดยเจ้าพนักงานจราจรและเจ้าหน้าที่ ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานของรัฐ ต้องปฏิบัติหน้าที่ในการตรวจตรา ดูแล จัด และควบคุมการจราจร สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. ตรวจตรา ดูแล กวดขัน ให้เจ้าของหรือผู้ขับขี่ได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวกับการจราจร
2. อำนวยความสะดวกในการจราจร และควบคุมระบบการจราจรให้เคลื่อนไหวไปอย่างต่อเนื่อง
3. ออกประกาศ ข้อบังคับ ระเบียบการจราจร เพื่อให้เกิดความสะดวกและปลอดภัยในการจราจร หรือดำเนินการอื่นๆตามที่กฎหมายให้อำนาจ เช่น
3.1 การกำหนดให้พื้นที่ของเอกชนที่เปิดให้ประชาชนใช้เป็นทางพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ (พระราชบัญญัติจราจรทางบกฯมาตรา 135)
3.2 การห้ามรถ คนเดินเท้าเดินทาง , ห้ามหยุดหรือจอดรถ , ห้ามเลี้ยวกลับรถ หรือถอยหลัง หรือกำหนดให้รถเดินได้ทางเดียว ในทางสายใด หรือเฉพาะตอนใด ชั่วระยะเวลาที่เห็นสมควร และจำเป็นเกี่ยวกับการจราจร เมื่อมีเหตุฉุกเฉินหรืออุบัติเหตุ ทำให้ไม่ปลอดภัยหรือไม่สะดวกในบริเวณนั้น ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความปลอดภัยหรือความสะดวกในการจราจร (พระราชบัญญัติจราจรทางบกฯมาตรา 138)
3.3 การออกประกาศ ข้อบังคับ หรือระเบียบ เพื่อบังคับในทางสายใดหรือเฉพาะตอนใด เพื่อให้เกิดความปลอดภัยและสะดวกในการจราจรตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ เช่น การกำหนดอัตราความเร็วของรถในทางภายในอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง(พระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา139(6)
17
3.4 ตรวจ หรือทดสอบ หรือสั่งให้ได้รับการตรวจ หรือทดสอบ ในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้ได้รับอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถผู้ใด ในขณะปฏิบัติหน้าที่นั้น มีสารอยู่ในร่างกายอันเกิดจากการเสพสุราหรือของเมาอย่างอื่นๆ หรือยาเสพติดให้โทษ หรือวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท(พระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 102 ทวิ)
การบังคับใช้กฎหมายภายหลังการกระทำความผิด
เป็นการดำเนินการต่อผู้กระทำผิด โดยเจ้าพนักงานจราจร พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเจ้าพนักงานอื่นตามที่กฎหมายให้อำนาจ จับกุมตัวผู้กระทำผิดส่งพนักงานสอบสวนผู้มีอำนาจทำการสอบสวนดำเนินคดีตามที่กฎหมายกำหนด แล้วส่งตัวให้พนักงานอัยการ ดำเนินการส่งฟ้องต่อศาลเพื่อพิจารณาการกระทำผิดและลงโทษต่อไป
การดำเนินการต่อผู้กระทำผิดกฎหมายจราจรในปัจจุบัน
เมื่อมีการกระทำความผิดกฎหมายจราจร เป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานที่จะต้องดำเนินการจับกุมผู้กระทำความผิด ออกใบสั่งให้ไปรายงานตัว หรือควบคุมตัวส่งพนักงานสอบสวน เพื่อทำการสอบสวนไปตามอำนาจหน้าที่ แล้วส่งตัวผู้กระทำผิดให้พนักงานอัยการเพื่อยื่นฟ้องต่อศาลเพื่อให้ศาลพิจารณาลงโทษ เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวง และวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ และพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ ดังที่อธิบายไว้ตามแผนภาพที่ 2
18
แผนภาพที่ 2 การดำเนินการต่อผู้กระทำผิดกฎหมายจราจรในปัจจุบัน(ภาพรวม)
พงส.ทำการสอบสวน นัดฟ้อง/ฝากขัง
ส่งสำนวนให้อัยการ
ออกใบสั่งให้ไปรายงานตัวต่อ พงส.
อัยการตรวจสำนวน
มารายงานตัวและยินยอมเสียค่าปรับ
ไม่มารายงานตัวหรือ
ปฎิเสธข้อกล่าวหา
ผัดฟ้อง/ฝากขัง
ยื่นฟ้องต่อศาล
ความผิดร้ายแรง
ความผิดไม่ร้ายแรง
ว่ากล่าว-พบตัว ตักเตือน
ไม่พบตัว
คดีอาญาเลิกกัน
ศาลแขวง
ศาลอาญา/ศาลจังหวัด
รับฟ้องด้วยวาจา
รับฟ้อง
พงส.ดำเนินคดีเช่นเดียวกับร้ายแรง
ความผิด
จำเลยรับสารภาพ
จำเลยสู้คดี
สืบพยาน
ศาลพิพากษา
(ทำคำพิพากษาด้วยวาจา)
พิพากษา
ศาลพิพากษา
คดีถึงที่สุด
อุทธรณ์/ฎีกา
อุทธรณ์/ฎีกา
คดีถึงที่สุด
อุทธรณ์/ฎีกา
สืบพยาน
คดีถึงที่สุด
มีการกระทำความผิด
ที่มา: ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวง และวิธีพิจารณา
ความอาญาในศาลแขวงฯ และพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ
การนำเสนอในส่วนนี้แบ่งตามการดำเนินการเป็น 3 ระยะ กล่าวคือ
1. การดำเนินการในชั้นเจ้าพนักงาน
2. การดำเนินการในชั้นพนักงานอัยการ
3. การดำเนินการในชั้นศาล
19
การบังคับตามกฎหมาย (Law Enforcament)
ศราวุฒิ พนัสขาว (2522 :90-96) ได้ให้ความหมายการบังคับตามกฎหมาย (Enforcement ) ไว้ว่า หมายถึงการบังคับให้ผู้ใช้รถใช้ถนนได้ปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับเกี่ยวกับการจราจร การขนส่งทางบก เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสังคม เพราะการกระทำผิดกฎหมาย จะต้องมีการลงโทษผู้ฝ่าฝืนโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการข่มขู่ (deterrence ) มากกว่าการแก้แค้น ทั้งนี้เพราะการกระทำผิดกฎหมายจราจรว่าเป็นความผิดทางอาญา ประเภท Mala Prohibita ซึ่งหมายถึง การกระทำผิดที่กฎหมายได้บัญญัติไว้ว่าเป็นผิดซึ่งมีผู้ฝ่าฝืนกฎหมายประเภทนี้มากมาย สาเหตุประการหนึ่งคือ ผู้กระทำผิดส่วนใหญ่มากมายในสังคม ผู้กระทำผิดมักมีอภิสิทธิ์หรือมีคนรู้จักชอบพอที่จะช่วยให้ตนพ้นผิดได้โดยไม่ต้องถูกลงโทษ ประการสำคัญที่สุด คือ ประชาชนทั่วไปมักไม่ประณามผู้กระทำผิดว่าเป็นการก่ออาชญากรรม แต่ถ้าหากพิจารณาในนัยที่ว่าเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายและมีบทลงโทษ อีกทั้งการฝ่าฝืนนั้นทำให้สังคมเดือดร้อน หรือได้รับอันตราย การกระทำผิดฐานฝ่าฝืนกฎหมายจราจร ก็สมควรอย่างยิ่งที่จะจัดไว้ว่าเป็นการก่ออาชญากรรมพื้นบ้าน (Folk crime) เพราะอัตราการเกิดอาชญากรรมประเภทนี้มีสูงมากกว่าอาชญากรรมเกี่ยวกับชีวิต และทรัพย์ สินอื่นๆรวมกันเสียอีก
การบังคับให้เป็นไปตามกฎหมาย มองดูผิวเผินแล้วน่าจะเป็นหน้าที่ของตำรวจจราจรเท่านั้น ที่จะคอยกวดขัน บังคับมิให้ผู้ใดฝ่าฝืนกฎข้อบังคับในการจราจรตลอดจนการลงโทษผู้จงใจฝ่าฝืน เพิ่มโทษหรือเสนอเพิกถอนใบอนุญาตขับรถแก่ผู้ไม่เคารพกฎหมาย แต่ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้มีอีกหลายหน่วยงาน เช่น กองทะเบียนยานพาหนะ และ กรมการขนส่งทางบกมีอำนาจในการออกใบอนุญาตขับขี่ ส่วนศาลมีอำนาจที่จะเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ได้เป็นต้น
การแก้ไขเพื่อที่จะลดอุบัติเหตุบนท้องถนน โดยการออกกฎหมายบังคับนั้น ในทางจิตวิทยา กล่าวว่าเป็นการกดดันแต่เพียงอย่างเดียว ซึ่งหมายความว่ามีแต่การบังคับไม่ให้กระทำผิด แต่ยังไม่มีการอบรมให้เข้าใจถึงข้อเท็จจริงทั้งคนขับรถ และคนเดินเท้าในภยันตรายอย่างดีพอ ถือว่าเป็นการแก้ไขที่ปลายเหตุ จะเห็นได้ว่าในด้านการศึกษา ด้านวิศวกรรมจราจร และด้านการบังคับให้เป็นไปตามกฎหมายย่อมต้องมีความสัมพันธ์กันเสมอ หากต่างฝ่ายต่างทำย่อมจะได้ผลไม่สมบูรณ์ เช่น วิศวกรรมสร้างทางตามความพอใจของตนฝ่ายเดียว เพียงขอให้เป็นทางก็ใช้ได้ หรือหากเป็นทางที่ดีตามวิศวกรรม แต่ตำรวจไม่เอาใจใส่คอยกวดขัน หรือไม่ให้คำแนะนำไม่ให้การศึกษาแก่ผู้ใช้ทางก็จะเกิดอุบัติเหตุได้มาก การจราจรสับสนวุ่นวาย สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขด้านการบังคับตามกฎหมายควรพิจารณาจาก
20
1. กฎหมายจราจร (Traffic Law)
2. การควบคุมรถยนต์ (Motor Vehicle Administration )
3. การควบคุมใบอนุญาตขับรถ (Driver Lisenning )
4. เจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร (Police Traffic Suporvision )
ชำนาญ มีปลอด (2536: บทคัดย่อ) ได้ศึกษาพฤติกรรมการกระทำผิดกฎจราจรในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ พบว่า สาเหตุของกระทำผิดกฎจราจรได้แก่ความมักง่ายของผู้ขับขี่ ความประมาท ความรีบเร่ง ความเห็นแก่ตัว ความใจร้อน ความคึกคะนองและความมักง่าย
จากแนวคิดการบังคับใช้กฎหมายจราจรของกองกำกับการตำรวจจราจร (2542: 199-200) อธิบายให้เห็นถึง วัตถุประสงค์ของกฎหมายเพื่อควบคุมการจราจร และพฤติกรรมการกระทำผิดกฎจราจรของบุคคล ซึ่งครอบคลุมเนื้อหาที่ศึกษา ผู้วิจัยจึงนำมาเป็นกรอบในการศึกษาครั้งนี้
แนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์
พฤติกรรมของคนในฐานะที่เป็นสัตว์สังคมนั้น แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
1. พฤติกรรมเปิดเผย (Overt Behavior) คือ พฤติกรรม หรือการกระทำที่สวามารถสังเกตเห็นได้เช่น การพูด การร้องไห้ การชกมวย ฯลฯ
2. พฤติกรรมไม่ เปิดเผย (Convert Behavior) คือ พฤติกรรม หรือการกระทำที่ไม่สามารถสังเกตเห็นได้นอกจากจะใช้เครื่องมือช่วยวัด เช่น การเกิด การหายใจ อารมณ์ การรับรู้ การทำงานของกระเพาะอาหาร ฯลฯ
นอกจากการแบ่งพฤติกรรมออกเป็น 2 ประเภทดังกล่าวแล้ว นักจิตวิทยาบางท่านยังแบ่งพฤติกรรมโดยอาศัยเกณฑ์อื่นอีก กล่าวคือ อาจแบ่งพฤติกรรม ได้ 2 ชนิด ดังนี้
1. พฤติกรรมที่ติดตัวมาแต่กำเนิด (Unlearned Behavior) หมายถึง พฤติกรรมที่อินทรีย์ทำได้เองโดยที่อินทรีย์มิได้มีโอกาสเรียนรู้มาก่อนเลย พฤติกรรมติดมาแต่กำเนิดอาจเกิดขึ้นนานหลังจากกำเนิดของอินทรีย์ก็ได้ เพราะฉะนั้นบางที่จึงเป็นที่สงสัยว่าอาจไม่ใช่พฤติกรรมติดมาแต่กำเนิด อย่างไรก็ดีพฤติกรรมติดมาแต่กำเนิดขึ้นหลังจากที่อินทรีย์เกิดขึ้นแล้วนาน ๆ
21
2. พฤติกรรมที่เป็นผลของการเรียนรู้ (Learned Behavior) อินทรีย์ทำขึ้นหลังจากที่ได้มีการเรียนรู้ หรือเลียนแบบจากบุคคลอื่นในสังคม พฤติกรรมประเภทนี้อาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า พฤติกรรมทางสังคม
อารีย์ พันธ์มณี (2534: 15-16) ได้อธิบายว่า พฤติกรรมแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ พฤติกรรมภายนอกและพฤติกรรมภายใน ดังนี้
1. พฤติกรรมภายนอกหรือพฤติกรรมชัดแจ้ง (Overt Behavior) เป็นพฤติกรรมที่สามารถมองเห็น สังเกตเห็นได้จากภายนอก มี 2 ลักษณะ คือ
1.1 พฤติกรรมแบบโมล่าร์ (Molar Behavior) เป็นพฤติกรรมหน่วยใหญ่ที่สังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่า โดยไม่ต้องอาศัยเครื่องมือวัดและการตรวจสอบ เช่น การเคลื่อนไหวของร่างกาย การเดิน การยืน การหัวเราะ เป็นต้น
1.2 พฤติกรรมแบบโมเลกุล (Molecular Behavior) เป็นพฤติกรรมหน่วยย่อยที่ต้องอาศัยเครื่องมือช่วยในการสังเกต เช่นการเปลี่ยนแปลงของร่างกายการไหลเวียนของโลหิต การเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต กระแสประสาทในสมอง เป็นต้น
2. พฤติกรรมภายในหรือพฤติกรรมกำลัง (Convert Behavior) เป็นพฤติ กรรมที่สามารถมองเห็นชัดเจนด้วยตา แต่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือ และตรวจสอบพฤติกรรมภายในดังนี้
2.1 ความรู้สึก (Feelings) หมายถึงการตอบสนองต่อสิ่งเร้าด้วยอวัยวะ สัมผัสที่ 5 หรือส่วนใดส่วนหนึ่ง ซึ่งได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น ผิวหนัง เช่นการที่สัมผัสรสหวาน การได้เห็นแสงสว่าง การได้รับกลิ่นหอม เป็นต้น
2.2 การรับรู้ (Perceiving) หมายถึง การแปลความหมาย หรือการตีความที่ได้จากการสัมผัส
2.3 การจำ (Remembering) หมายถึง ความสามารถในการสะสมสิ่งเร้าหรือประสบการณ์ที่เคยผ่านเข้ามาแล้วเก็บเป็นภาพไว้ได้ และสามารถที่จะนำออกมาใช้ได้ทุกครั้ง
2.4 การคิด (Thinking) และการตัดสินใจ (Decision Marking) หมายถึง การรวบรวมข้อมูลหรือสิ่งต่าง ๆ และวิเคราะห์หาสาเหตุและพิจารณาตัดสินใจ
พฤติกรรมโดยอาศัยการสังเกตออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. พฤติกรรมภายในหรือพฤติกรรมปกปิด (Convert Behavior) คือ การกระทำหรือกิจกรรมที่เกิดขึ้นในตัวบุคคลซึ่งสมองจะทำหน้าที่รวบรวมและสั่งการ มีทั้งที่เป็นรูปธรรมได้แก่ การเต้นของหัวใจ การบีบตัวของลำไส้ และที่เป็นนามธรรม ได้แก่ ความคิด ความรู้สึก ทัศนคติ ความเชื่อ ค่านิยม ซึ่งมีอยู่ในสมองของคนไม่สามารถสังเกตเห็นได้
2. พฤติกรรมภายนอกหรือพฤติกรรมเปิดเผย (Overt Behavior) คือปฏิกิริยาของบุคคล หรือกิจกรรมของบุคคลที่ปรากฏออกมาให้บุคคลอื่นเห็นได้ทั้งทางวาจา การกระทำต่าง ๆ เช่น การ
22
พูด การหัวเราะ การกินอาหาร การรักษาความสะอาด การปลูกต้นไม้ พฤติกรรมภายนอกเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดของมนุษย์ในการอยู่ร่วมกันกับบุคคลอื่น และเป็นสาเหตุที่สำคัญในการอนุเคราะห์โลกหรืออนุลักษณ์สิ่งแวดล้อม
จากประเภทของพฤติกรรมสรุปได้ว่า แบ่งออกได้เป็น 2 แบบคือ
1. พฤติกรรมเปิดเผย (Overt Behavior) คือพฤติกรรม หรือการกระทำที่สามารถสังเกตเห็นได้ เช่น การพูด การหัวเราะ การร้องไห้ การชกมวย ฯลฯ
2. พฤติกรรมปกปิด (Covert Behavior) คือพฤติกรรม หรือการกระทำที่ไม่สามารถสังเกตเห็นได้นอกจากจะใช้เครื่องมือช่วยวัด เช่น การเกิด การหายใจ อารมณ์ การรับรู้ การทำงานของกระเพาะอาหาร ฯลฯ
การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยศึกษาวิจัยถึงพฤติกรรมของผู้กระทำผิด ในลักษณะพฤติกรรมเปิดเผย (Overt Behavior) ที่สามารถอธิบายหรือบอกได้ ใช้เครื่องมือทดสอบได้
กระบวนการเกิดพฤติกรรม
วิมลสิทธิ์ หรยางกูล (2526: 7-9) กล่าวว่า พฤติกรรมจะมีขั้นตอนของกระบวนการเกิดพฤติกรรม 3 กระบวนการ คือ
1. กระบวนการเรียนรู้ (Perception) คือกระบวนการที่รับข่าวสารจากสภาพแวดล้อมโดยตรงผ่านทางระบบประสาทสัมผัส กระบวนการจึงรวมความรู้สึกด้วย
2. กระบวนรู้ (Cognition) คือ กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทางจิตที่รวมการเรียนรู้ การจำ การคิด กระบวนการทางจิตดังกล่าว ย่อมรวมถึงการพัฒนาด้วย กระบวนการรู้จึงเป็นกระบวนการทางปัญญา
3. กระบวนการเกิดพฤติกรรมในสภาพแวดล้อม (Spatial Behavior) คือ กระบวนการที่บุคคลมีพฤติกรรมเกิดขึ้นในสภาพแวดล้อม มีความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมผ่านการกระทำสังเกตได้จากภายนอก เป็น พฤติกรรมภายนอก
สิ่งที่กำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ (Behavior Determinant) ได้มีผู้กล่าวถึงสิ่งที่กำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ จากความหมายและองค์ประกอบพฤติกรรม ซึ่งทำให้การแสดงออกของมนุษย์ แต่ละคนแตกต่างกันออกไป ดังต่อไปนี้
ชุดา จิตพิทักษ์ (2536:58-77) กล่าวว่า สิ่งกำหนดพฤติกรรมมนุษย์มีหลายประการ ซึ่งอาจจะแยกได้ 2 ประการ คือ
23
1. ลักษณะนิสัยส่วนตัวได้แก่
1.1 ความเชื่อ หมายถึง การที่บุคคลคิดถึงอะไรก็ได้ในแง่ของข้อเท็จจริงซึ่งไม่จำเป็นจะต้องถูกหรือผิดเสมอไป ความเชื่ออาจมาโดยการเห็น บอกเล่า การอ่าน รวมทั้งการคิดขึ้นเอง
1.2 ค่านิยม หมายถึง สิ่งที่คนนิยมยึดถือประจำใจที่ช่วยตัดสินใจการเลือก
1.3 ทัศนคติหรือเจตคติ มีความเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของบุคคล กล่าวคือ ทัศนคติเป็นแนวโน้มหรือขั้นเตรียมพร้อมของพฤติกรรม และถือว่าทัศนคติมีความสำคัญในการกำหนดพฤติกรรม
1.4 บุคลิกภาพ เป็นสิ่งกำหนดว่า บุคคลหนึ่งจะทำอะไร ถ้าเขาตกอยู่ในสถานการณ์หนึ่งเป็นสิ่งที่บอกว่าบุคคลจะปฏิบัติอย่างไรในสถานการณ์หนึ่ง ๆ
2. กระบวนการหนึ่ง ๆ ทางสังคมได้แก่
2.1 สิ่งกระตุ้นพฤติกรรม (Stimulus Object) และความเข้มข้นของสิ่งที่กระตุ้นพฤติกรรมลักษณะนิสัยของบุคคล คือ ความเชื่อ ค่านิยม ทัศนคติ บุคลิกภาพ มีอิทธิพล ต่อพฤติกรรมก็จริง แต่พฤติกรรมจะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าไม่มีสิ่งกระตุ้นพฤติกรรมซึ่งเป็นปัจจัยส่วนบุคคล
2.2 สถานการณ์ (Situation) หมายถึง สิ่งแวดล้อมทั้งที่เป็นบุคคลไม่ใช่บุคคล ซึ่งอยู่ในสภาวะที่บุคคลกำลังจะมีพฤติกรรม
พัฒน์ สุจำนงค์ (2532:80-82) ได้กล่าวถึงองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมมนุษย์ ได้แก่
1. กลุ่มสังคม (Social Group) ได้แก่กลุ่มเพื่อนบ้าน กลุ่มเพื่อนที่โรงเรียน
2. บุคคลที่เป็นแบบอย่าง ( Identification figure ) ได้แก่ พ่อแม่ พี่น้อง ครู หรือผู้ที่มีชื่อเสียงในวงสังคม
3. สถานภาพ (Status) อาจเป็นสถานภาพที่ได้มาแต่กำเนิด เช่น เพศ อายุ หรืออาจเป็นสถานภาพที่บุคคลนั้นได้มาจากการกระทำ เช่นยศ ตำแหน่ง เมื่อบุคคลมีความสถานภาพที่แตกต่างกันย่อมมีพฤติกรรมที่แตกต่างกันด้วย
4. ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เช่น ในปัจจุบัน คนนิยมใช้รถจักรยานยนต์เป็นพาหนะในการเดินทางแทนการเดินทางด้วยเท้าหรือใช้ม้าเหมือนอย่างแต่ก่อน ทำให้พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
5. กฎหมาย พฤติกรรมบางส่วนของมนุษย์ถูกกำหนดโดยกฎหมาย เช่น การขับขี่รถยนต์บนท้องถนน ต้องปฏิบัติตามกฎจราจร
6. ศาสนา แต่ละศาสนามีกฎเกณฑ์ข้อห้ามที่แตกต่างกันดังนั้นในสถานการณ์อย่างเดียวกัน คนที่นับถือศาสนาต่างกันก็อาจแสดงพฤติกรรมที่แตกต่างกันได้ ทั้งนี้เนื่องมาจากอิทธิพลของศาสนานั่นเอง
24
7. ขนบธรรมเนียมประเพณี ประเพณีความเชื่อต่าง ๆ ล้วนมีอิทธิพลต่อการปฏิบัติของบุคคลทั้งสิ้น
8. สิ่งแวดล้อม คนที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกันย่อมมีพฤติกรรมที่ต่างกัน เช่น คนในชนบทกับคนในเมือง
9. ทัศนคติ มีอิทธิพลต่อการแสดงออกของมนุษย์ เช่นนักเรียนที่มีทัศนคติที่ไม่ดีต่อครูก็มักจะแสดงพฤติกรรมแปลก ๆ เช่น ไม่ตั้งใจเรียน ขาดเรียน
10. การเรียนรู้ ในทางจิตวิทยา ถือว่าพฤติกรรมส่วนหนึ่งของมนุษย์เกิดจากการเรียนรู้ การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยตลอดตั้งแต่เด็กจนโต
สรุปสิ่งที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของมนุษย์ในระดับ มหภาคได้แก่ วัฒนธรรม บรรทัดฐานของสังคม ความคาดหวังในบทบาท สถานภาพ สถาบัน หรือองค์กรในสังคม ส่วนในระดับจุลภาค คือมองตั้งแต่ตัวบุคคลนั่นเอง และสิ่งที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมมนุษย์ได้แก่ การรับรู้ การเรียนรู้ ทัศนคติ ความเชื่อ ค่านิยม ฯลฯ ซึ่งรวมอยู่ในบุคลิกภาพของบุคคลนั่นเอง
ในการแสดงพฤติกรรมออกมาอย่างหนึ่ง ๆ ของมนุษย์นั้น ได้มีผู้สงสัยกันว่าอะไรที่ทำให้การแสดงพฤติกรรมเป็นไปอย่างนั้น อะไรในที่นี้ ก็คือเครื่องกำหนดพฤติกรรมบุคคลจะมี พฤติกรรมออกมาในรูปแบบใดก็ตามย่อมจะต้องมีสิ่งกำหนดพฤติกรรม การเข้าใจสิ่งกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์จะทำให้เข้าใจพฤติกรรมมนุษย์ได้ด้วย
คนธรรมดาทั่วไปมักจะนึกถึงบุคลิกภาพในแง่ของลักษณะหน้าตา การแต่งกาย วิธีการพูด วิธีการวางตัว ในที่ต่าง ๆ เพราะฉะนั้นคนที่บุคลิกภาพดีมักจะ หมายถึงบุคคลที่มีรูปร่างหน้าตาดี วางตัวเหมาะสมกับกาลเทศะ พูดจาฉะฉานไม่เคอะเขิน และคนที่บุคลิกภาพไม่ดีก็หมายความถึงบุคคลที่รูปร่างหน้าตาไม่ดี วางตัวไม่เหมาะสมกับกาลเทศะ พูดจาไม่ฉะฉาน แต่ในทางวิชาจิตวิทยานั้นได้ให้คำจำกัดความของคำว่า บุคลิกภาพต่างออกไปคือ
โรเบิร์ต ลันดิน (Robert Lundinn 1961: 71 อางถึงใน สุนทร เฉลิมเกียรติ 2540 : 27) นิยามคำว่าบุคลิกภาพ ว่าคือเครื่องมือในการกำหนดพฤติกรรมที่มีลักษณะเด่น หลาย ๆ ประการ ซึ่งบุคคลได้มาภายใต้สถานการณ์พิเศษ
เรย์มอน แคทแตล (Raymon Cattle 1965 : 25 อ้างถึงใน สุนทร เฉลิมเกียรติ 2540 : 27) ได้ให้คำจำกัดความว่า บุคลิกภาพ คือสิ่งที่บอกว่าบุคคลหนึ่งจะทำอะไร ถ้าเขาอยู่ในสถานการณ์
กอร์ดอน ออลพอท (Gordon Allport 1937: 38 อ้างถึงใน สุนทร เฉลิมเกียรติ 2540 : 27) ได้อธิบาย ว่าบุคลิกภาพคือ ระบบต่าง ๆ ทางกายและใจ เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้และเป็นเครื่องกำหนดอันเป็นลักษณะเฉพาะตัวเองของเขาจะปรับเข้ากับสภาพแวดล้อมรอบตัวเขาอย่างไร
25
จากคำจำกัดความดังกล่าวนั้นพอจะสรุปได้ว่าบุคลิกภาพ คือ สิ่งที่บอกว่าบุคคลจะปฏิบัติ อย่างไรในสถานการณ์หนึ่ง ๆ หมายความว่าถ้าสถานการณ์ อย่างเดียวกันแล้วคน 2 คน มีพฤติกรรมต่างกัน เราก็อาจจะอธิบายได้ว่าคงเป็นเพราะเขามีบุคลิกภาพที่ต่างกัน และคน ๆ เดียวกันถ้าอยู่ในสภาพแวดล้อมหรือสถานการณ์ที่ต่างกัน ก็ควรจะมีพฤติกรรมต่างกันออกไปด้วย
สรุปแล้ว สิ่งกำหนดพฤติกรรมมนุษย์เท่าที่กล่าวมาตั้งแต่ต้นพอจะเขียนแผนภูมิ ประกอบคำอธิบายได้ดังแผนภาพที่ 3
แผนภาพที่ 3 สิ่งกำหนดพฤติกรรมมนุษย์
ความเชื่อ ค่านิยม บุคลิกภาพ
สิ่งกระตุ้นพฤติกรรมและความเข้มข้นของสิ่งกระตุ้น
สถานการณ์
พฤติกรรม
ทัศนคติ
ที่มา: ชุดา จิตพิทักษ์ 2536: 77.
แนวความคิดเกี่ยวกับสถานภาพและบทบาท
แนวความคิดในเรื่องบทบาทนี้ ส่วนใหญ่มักจะพิจารณาในด้านแนวคิดทางสังคมวิทยาและจิตวิทยา ซึ่งทั้งนักจิตวิทยาและนักสังคมวิทยาได้ให้แนวความคิดเกี่ยวกับบทบาทไว้หลายประการ ซึ่งพอจะนำมาพิจารณาพอสังเขปได้ดังนี้
บลูม และ เซลนิค (Broom and Selznick 1987 : 60 อ้างถึงใน สุนทร เฉลิมเกียรติ 2540 : 32) อธิบายว่าบทบาทบางครั้งเรียกว่า บทบาททางสังคมเป็นแบบแผนของพฤติกรรมที่เกี่ยวเนื่องกกับตำแหน่งเฉพาะทางสังคม เช่น การเป็นพ่อ เป็นครู เป็นต้น ความหมายของบทบาทเป็นการกล่าวถึงสิทธิและหน้าที่ที่ขึ้นอยู่กับตำแหน่งทางสังคมซึ่งบอก ให้รู้ว่าแต่ละคนควรจะแสดงบทบาทอะไรบ้างในการเป็นพ่อ เป็นครู และเป็นหน้าที่ของเขาที่ต้องแสดงพฤติกรรมตามบทบาทนั้น ๆ และเขาสามารถเรียกร้องสิทธิอันนี้ได้
สาริน (Sarin 1992: 546 อ้างถึงใน สุนทร เฉลิมเกียรติ 2540 : 32) ได้จำแนกลักษณะที่สำคัญของบทบาทออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. ความคาดหวัง (Expectations) เป็นความคาดหวังของบุคคลที่ตำแหน่งนั้น ๆ ว่าควรจะแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมกับตำแหน่งนั้น ๆ อย่างไร
26
2. การแสดงบทบาท (Enactments) เป็นการแสดงบทบาทของบุคคลให้สอดคล้องกับ บทบาทที่กำหนด
โจนาธา เทอร์นเนอร์ (Jonathan H. Turner 1992: 349-351 อ้างถึงใน สุนทร เฉลิมเกียรติ 2540 : 32-33) ได้กล่าวถึงทฤษฎีบทบาทในเชิงทฤษฎีทางปฏิกรรมลักษณ์นิยม (Symbolic Interactionism) ไว้โดยเปรียบเทียบเหมือนกับ “การเล่นละครบนเวที” (Dramaturgical approach) ซึ่งประกอบด้วยลักษณะความคาดหวัง (Expectations) โดยทั่วไป ความคาดหวังประกอบด้วย 3 ประการคือ
1. ความคาดหวังจาก “บท” (Expectation from the “Script”) หมายถึง ภาวะความเป็นจริงต่าง ๆ ทางสังคม (Social reality) จะสามารถเปรียบได้เช่นกับบทละคร (Script) ซึ่งประกอบด้วยตำแหน่งต่าง ๆ ทางสังคมมากมายโดยมีบรรทัดฐาน(Norm) เป็นตัวกำหนดว่าบุคคลจะมีพฤติกรรม เช่น ในสังคมกิจกรรมหรือการกระทำต่าง ๆ ทางสังคมจะถูกจัดระบบและควบคุมโดยบรรทัดฐานที่แตกต่างกันไปตามสถานการณ์และเงื่อนไขทางสังคมที่แตกต่างกัน
2. ความคาดหวังจากผู้ร่วมแสดงคนอื่น ๆ ( Expectation from other “Player” ) หมายถึง การที่สังคมมีบรรทัดฐานซึ่งเปรียบเทียบเหมือน Script ที่จะกำหนดบทบาทของบุคคลในความสัมพันธ์กันทางสังคมดังกล่าวแล้ว บุคคลในสังคมจึงต้องมีการสวมบทบาท (Role taking) ซึ่งกันและกันเพื่อที่บุคคลจะได้คาดหวังพฤติกรรมของบุคคลอื่นในสังคมที่แสดงออกและสามารถมีปฏิสัมพันธ์ (Interaction) ที่ถูกต้องได้ตามความคาดหวังของสังคมและบุคคลอื่น ๆ
3. ความคาดหวังจาก “ ผู้ชม ” ( Expectation from the “ Audience ) หมายถึง เป็นความคาดหวังของบุคคลในสังคมที่อยู่ในสถานภาพต่าง ๆ กัน ซึ่งจะต้องคาดหวังและสวมบทบาทของบุคคลอื่นเพื่อที่เป็นเครื่องนำทางไปสู่การปฏิสัมพันธ์ทางสังคมอย่างถูกต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ซึ่งเป็นความคาดหวังร่วมกัน
โดยสรุป โจนาธา เทอร์นเนอร์ เห็นว่าสังคมโลกถูกสมมติขึ้น โดยทฤษฎีบทบาทซึ่งจัดระบบ โครงสร้างในลักษณะของความคาดหวังจากสิ่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการคาดหวังบท (Script) ความคาดหวังจากผู้ร่วมแสดงคนอื่น (Other players) หรือคาดหวังจากผู้ชม (Audience) ก็ตามซึ่งรูปแบบของความคาดหวังดังกล่าวเหล่านั้นจะขึ้นอยู่กับสถานภาพที่บุคคลเหล่านั้นครอบครองอยู่นั่นเอง
จาก แนวความคิดเกี่ยวกับสถานภาพและบทบาทของบลูม และ เซลนิค ที่อธิบายว่า บทบาททางสังคมเป็นแบบแผนของพฤติกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับตำแหน่งเฉพาะทางสังคม เช่น การเป็นพ่อ เป็นครู บทบาทเป็นการกล่าวถึงสิทธิและหน้าที่ที่ขึ้นอยู่กับตำแหน่งทางสังคมซึ่งบอก ให้รู้ว่าแต่ละคนควรจะแสดงบทบาท และเป็นหน้าที่ของเขาที่ต้องแสดงพฤติกรรมตามบทบาทนั้น ๆ ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยจึงนำมาเป็นกรอบในการศึกษา
27
แนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรมเบี่ยงเบน
สุพัตรา สุภาพ (2541: 133-137 อ้างถึงใน Walman 1973: 98) กล่าวว่า พจนานุกรมทางสังคมศาสตร์ อธิบายว่า พฤติกรรมเบี่ยงเบน เป็นพฤติกรรมที่แตกต่างหรือฝ่าฝืน หรือขัดแย้งกับมาตรฐานที่สังคมยอมรับหรือวัฒนธรรมภายในระบบกลุ่มสังคมนั้น กูล์ด และ คอล์บ (สุพัตรา สุภาพ 2541: 133-137 อ้างถึงใน Gould and Kolb 1964: 196) และพจนานุกรมทางพฤติกรรมศาสตร์ได้กล่าวไว้ว่า ความเบี่ยงเบนคือการที่บุคคลมีลักษณะแตกต่างหรือผิดไปจากบรรทักฐานสังคม ลักษณะที่แตกต่างกัน ได้แก่ ทัศนคติ มาตรฐานเชิงศีลธรรม และพฤติกรรมที่สามารถมองเห็นได้ชัดเป็นต้น
พาร์สัน (สุพัตรา สุภาพ 2541: 133-137 อ้างถึงใน Talcot Parson 1993: 4) ให้แนวคิดความเบี่ยงเบนโดยเสนอว่าสังคมมีความคาดหวังร่วมกันเป็นแนวทางกว้าง ๆ ที่เราควรกระทำตามบทบาทที่สังคมกำหนด การที่บุคคลละเมิดบรรทัดฐานนั้นประกอบด้วย องค์ประกอบคือ ตัวผู้ละเมิด สถานการณ์ขณะนั้นอำนวยให้และจูงใจที่จะผลักดันให้เกิดการกระทำ
เมอร์ตัน (สัตรา สุภาพ 2541: 133-137 อ้างถึง Robert K. Merton) กล่าวว่า พฤติกรรมเบี่ยงเบนเป็นเรื่องจากกฎเกณฑ์ เหล่านี้ล้มเหลว ทำให้ไม่มีผู้ปฏิบัติตามหรือละเมิดดังกล่าว ความล้มเหลวของกฎเกณฑ์ หรือละเมิดดังกล่าวอาจมีสาเหตุ 3 ประการ คือ
1. การไร้ กฎเกณฑ์ เป็นภาวะที่เราไม่มีกฎเกณฑ์คอยบอกว่าต้องทำอะไร
2. ความขัดแย้งของกฎเกณฑ์ เป็นภาวะที่คนเรารู้สึกว่า ถูกบีบหรือบังคับให้กระทำตามบรรทัดฐานที่ตรงข้ามหรือขัดแย้งกัน
3. การฝ่าฝืน เป็นภาวะที่คนเรารู้สึกว่า การเชื่อกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้ไม่ได้ทำให้ตนได้รับประโยชน์หรือได้รับโทษอะไร เช่น การเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างรวดเร็ว อาจจะทำให้มาตรฐานของความประพฤติที่เคยปฏิบัติมาจนเป็นประเพณีกลายเป็นสิ่งล้าสมัย และสังคมก็ไม่มีมาตรฐานใหม่ให้สมาชิกปฏิบัติ บุคคลที่ได้รับผลจากการเสียระเบียบทางสังคมอาจจะทำให้กลาย เป็นไม่สนใจทำตามระเบียบ เช่น ติดยาเสพติด ฝ่าฝืนกฏจราจร หรือฝ่าฝืนกฎหมาย และสังคมเองก็จะรู้สึกได้รับแรงกระทบจากความไร้ระเบียบนั้นและอาจจะแก้ไขด้วยการเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์บางอย่างหรืออาจจะรักษากฎเกณฑ์ที่ขัดแย้งนั้นไว้หรือไม่ก็ตาม
28
โครงสร้างทางสังคม คือ รูปแบบ แบบแผน หรือวิธีทางที่คนจะอยู่รวมกัน ในสังคมหนึ่ง ๆ สังคมมนุษย์ จะอยู่ร่วมกันอย่างมีแบบ และยึดถือระเบียบของสังคมนั่นเอง เช่นแบบแผนของการเมือง การปกครอง ระบบทางเศรษฐกิจ ความแตกต่างในพฤติกรรมของบุคคล จะแตกต่างกันตามแบบแผนของระบบการเมือง แบบแผนของสังคมใดสังคมหนึ่ง อาจพิจารณาได้จากโครงสร้างทางสังคม และความเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์กับ องค์การทางสังคมนั้น รวมถึงการพิจารณาได้จากความไม่มีระเบียบขององค์การทางสังคม การให้คำอธิบายในลักษณ์นี้เป็นการหาคำตอบเพื่ออธิบายปรากฏการณ์ของอาชญากรรมที่นอกเหนือจากการศึกษาประวัติการเรียนรู้ของบุคคล ปัจจัยภายใน เช่น อดทนต่อสิ่งเร้า ความอดทนต่อความล้มเหลว รวมทั้งปัจจัยภายนอกบุคคลซึ่งล้วนแต่มีส่วนในการส่งผลกระทบต่อบุคคลในเชิงลบ จนทำให้บุคคลมีพฤติกรรมเบี่ยงเบนไปจากสังคมจะยอมรับได้
การศึกษาและการทฤษฎีทางสังคมในอดีต ได้ใช้แนวทางการคาดคะเน โดยอาศัยแนวความคิดตามหลักปรัชญา ต่อมา ในต้นศตวรรษที่ 19 ออกัสต์ คอมต์ (August Comte) ซึ่งได้รับการยอมับว่าเป็นผู้วางรากฐานทางสังคมวิทยา มุ่งการศึกษามาที่ระเบียบสัวคม โดยอาศัยหลักวิทยาศาสตร์ที่แน่นอนมากกว่าอาศัยหลักปรัชญาอย่างแต่ก่อน การศึกษาในแนวใหม่นี้ แพร่หลายอยู่ในการศึกษาสังคมวิทยาด้านพฤติกรรมเบี่ยงเบน ( Deviant Behavior) ได้อธิบายว่า พฤติกรรมเบี่ยงเบน เป็นผลมาจากชีววิทยา จิตวิทยา และปัญหาทางจิตใจ (Psychiatric Complexes)
สุพัตรา สุภาพ (2541: 133-137) อธิบายว่า สภาพไร้บรรทัดฐาน (Normlessness) หรือ อโนมี่ (Anomie) ได้มีการศึกษาวิจัยโดย อีมิล เดอร์ไคม์ (Emile Durkheim) และโรเบิร์ต เค เมอร์ตัน (Robert K.Merton) การศึกษานี้ มีความสำคัญในด้านสังคมวิทยาเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นการศึกษาที่อธิบายพฤติกรรมเบี่ยงเบนของบุคคลในสังคมทั้งหมดโดยอาศัยการศึกษาจาก โครง สร้างสังคม และแนวความคิดเรื่องสภาพไร้บรรทัดฐาน ยังมีความสำคัญมากแก่การ ศึกษาทางสังคมวิทยา ในแง่พลังทางสังคม (Social Forces) จิตสำนึกวัฒนธรรมล้าหลัง กลุ่มบุคคล ความบกพร่องทางสังคม ผลต่างของการสมาคม (Differential Association) ในเวลาต่อมา เดอร์ไคม์ ได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับ สภาพไร้บรรทัดฐานหรือ Anomie มีพื้นฐานมาจากความต้องการตามปกติของมนุษย์พึงมี เช่น อยากร่ำรวย อยากมีหน้ามีตาในสังคม ฯ ถ้าความต้องการดังกล่าว อยู่บนพื้นฐานของความพอดี ทำมาหากินตามปกติ วิธีการแสวงหาทรัพย์สิน เพื่อเลี้ยงชีพ อยู่ในเกณฑ์ที่สังคมยอมรับได้ ความสงบสุขก็จะเกิดขึ้นในสังคม หากความต้องการหรือ ความอยากได้ไม่มีที่สิ้นสุด จนมิอาจควบคุมได้ ก็จะเกิดปรากฏการณ์สภาพไร้บรรทัดฐาน ดังกล่าวจนทำให้ผู้นั้นกลายเป็นอาชญากร หรือทำให้เกิดความคับข้องใจ จนกระทั่งหาทางออกด้วยวิธีฆ่าตัวตาย แนวทางแก้ไข คือต้องลดความอยากได้ ให้อยู่ในระดับที่สังคมยอมรับด้วย การฝึกอบรมกล่อมเกลาจิตใจโดยใช้แนวทางศาสนาเป็นต้น ส่วนในด้านของเมอร์ตัน ให้ทัศนะว่า สภาพที่ขาดแคลนวิธีการที่จะนำมา
29
ใช้เพื่อตอบสนองความต้องการต่าง ๆ อันเป็นพื้นฐานของมนุษย์ทั่ว ๆ ไปในผู้ที่เป็นอาชญากร จะใช้วิธีการอันมิชอบที่ขัดต่อกฎเกณฑ์ของสังคม เพื่อการตอบสนองความต้องการของตน พฤติกรรมเบี่ยงเบน ที่ทำให้บุคคลประกอบอาชญากรรม มีสาเหตุอันเนื่องมาจากโครงสร้างของสังคม โดยการที่บุคคลได้ตั้งเป้าหมายหรือความฝันอันสูงสุดของชีวิตเอาไว้ จะเป็นแรงผลักดันให้บุคคลบางประเภทกระทำการที่นอกแบบ หรือนอกกฎเกณฑ์บรรทัดฐานของสังคม เนื่องจากเป้าหมายความสำเร็จของชีวิต (Purposrsand Gold) ที่ได้มานั้น ไม่สอดคล้องกับวิถีทางที่ สถาบันสังคมจะยอมรับได้ เช่นสังคมให้ความสำคัญของความสำเร็จในชีวิต อยู่ที่ความร่ำรวย แต่วิถีทางที่สังคมจะยอมรับได้ใน วิธีการหาเงินโดยสุจริตมีอยู่อย่างจำกัด หากบุคคลมีความยึดมั่น ผูกพันกับเป้าหมายของชีวิต ในทางสังคมอันนั้นมากเกินไป จะทำให้บุคคลแสวงหาทางเลือกอื่น ๆ ที่เบี่ยงเบนไปจากแนวทางที่สังคมยอมรับได้ เช่น การหาเงินด้วยวิธีการยักยอก ฉ้อ โกง หรือ ลักทรัพย์ผู้อื่นฯ แนวทางของเมอร์ตัน ที่จะแก้ไขเรื่องนี้ โดยให้การศึกษา เสริมสร้างวิธีการที่จะให้บุคคลประสบผลสำเร็จในชีวิต เช่น มีงานทำ เพื่อคนที่ด้อยฝีมือ (มีแต่แรงงาน) จะได้ใช้เป็นเครื่องมือในการทำมาหากินเลี้ยงชีพ
เมอร์ตัน (สุพัตรา สุภาพ 2541: 133-137 อ้างถึง Robert K.Merton) ได้ทำทฤษฎี Anomie (สภาพไร้บรรทัดฐาน เกิดจากความคัดแย้งระหว่าง ความมุ่งหวัง (Aspiration) และความล้มเหลว ของกฎข้อบังคับ ซึ่งเป็นบรรทัดฐานของสังคม เมอร์ตัน ได้ใช้ทฤษฎีนี้ มาอธิบายถึงปัญหาอาชญากรรมด้วย โดยเสนอแนวความคิดว่า “โครงสร้างทางสังคม เป็นแรงกดดันอย่างหนึ่ง ต่อบุคคลในสังคมอาชญากรรม เป็นสิ่งผิดปกติตามหลักจิตวิทยา” เพราะมนุษย์ย่อมมีความต้องการไม่มีที่สิ้นสุด มีความทะเยอทะยาน และปรารถนาที่จะแสดงออกอย่างเต็มที่ ความปรารถนาอัน แรงกล้าของบุคคล อาจจะเป็นเครื่องชักจูงให้บุคคลประพฤติฝ่าฝืนระเบียบของสังคม พฤติกรรม ฝ่าฝืนระเบียบของสังคม ย่อมมีรูปแบบที่แตกต่างกันไปตามลักษณะ โครงสร้างในสังคมที่แตกต่างกัน เมอร์ตันได้ให้เหตุผลที่ชี้ให้เห็นว่าโครงสร้างทางสังคมและสิ่งแวดล้อม เป็นแรงกดดันและแรงกระตุ้นให้บุคคลละเมิดกฎหมายและข้อบังคับของสังคม ถึงจะพบว่าในบางสังคม ผู้กระทำความผิดหรือฝ่าฝืนกฎเกณฑ์ทางสังคมจะมิใช่ กลุ่มบุคคลที่มีแนวโน้มที่จะกระทำความผิดโดยธรรมชาติ หรือเป็นพวกอาชญากรอาชีพ แต่ที่ได้กระทำความผิดลงไปก็เพราะอิทธิพลจากแรงกดดันจากสังคมและสภาพแวดล้อม ทำให้ผู้ที่มีความปรารถนา จะประสบความสำเร็จในชีวิต มีความรุนแรงมากกว่าบุคคลอื่น ต้องแสดงออกด้วยวิธีการอันมิชอบ โดยไม่ได้คำนึงถึงกฎเกณฑ์ทางสังคม เพื่อให้ตนเองยืนหยัดในสังคมที่ตนเองปรารถนาต่อไปได้
กล่าวโดยสรุป สภาพไร้กฎเกณฑ์ หรือ ภาวะไร้บรรทัดฐาน (Anomie) คือสภาพอันสลับซับซ้อน ที่ประกอบด้วยความยากจน การมีโอกาสอย่างจำกัด ที่จะดำเนินไปสู่ความสำเร็จ ใน
30
การดำรงชีวิตร่วมกันในสังคม เป็นสภาพความสับสนในทางวัฒนธรรม ที่จะปรากฏขึ้นต่อเมื่อ ค่านิยมอันดีงามในสังคม ไม่เป็นที่ยอมรับของคนบางกลุ่มบางคน ที่มุ่งแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้ง ทำให้คนมีความมุ่งมั่นที่จะบรรลุเป้าหมายของตน โดยไม่คำนึงถึงวิธีปฏิบัติอื่น ๆ ที่ถูกต้องตามกฎหมายหรือกล่าวอีกในหนึ่งว่า เป็นสภาพไร้บรรทัดฐาน หรือไร้ กฎหมาย ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อ คนยึดถือวิธีการที่ละเมิดต่อกฎหมาย เพื่อให้ บรรลุเป้าหมายอันพึงประสงค์ เช่น ความร่ำรวย เป้าหมายจึงกลายเป็น ตัวกำหนดพฤติกรรมของบุคคล ส่วนจะใช้วิธีการอย่างไรไม่สำคัญ ไม่ว่าจะถูกหรือผิดก็ตาม ขอเพียงให้ บรรลุเป้าหมายที่ต้องการก็เพียงพอ
ภาวะไร้บรรทัดฐาน (Anomie) หมายถึง สภาพสังคมที่ตกอยู่ในความสับสนเนื่องจากบรรทัดฐานต่าง ๆ อ่อนแอไร้ประสิทธิภาพ ไม่สามารถควบคุมความประพฤติของสมาชิกได้ เป็นภาวะที่บุคคลในสังคมไม่ยึดถือค่านิยม และบรรทัดฐานร่วมกัน บุคคลไม่ค่อยผูกพันกับกลุ่มและบรรทัดฐานของกลุ่มภาวะ เช่นนี้ มักจะเกิดขึ้นในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เช่นในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำหรือรุ่งเรืองอย่างรวดเร็ว ทำให้การดำเนินชีวิตทุกด้านของทุกคนในสังคมต้อง ถูกกระทบกระเทือนหรือเปลี่ยนแปลงอย่างมาก จนบุคคลปรับตัวไม่ทันเกิดความรู้สึกสับสนไม่แน่ใจว่าอะไรถูกหรือผิด ไม่แน่ใจว่าอะไรถูกหรือผิด ไม่แน่ใจว่าการปฏิบัติตามบรรทัดฐานจะเป็นผลดีแก่ตนหรือไม่ ทำให้เกิดการไม่ไว้วางใจกันอย่างกว้างขวาง โดยมองว่าบรรทัดฐานของสังคมไม่มีความหมาย ไม่สามารถให้คุณให้โทษได้อย่างแท้จริง เดอร์ไคม์ (Emile Durkheim) ได้ เขียนไว้ในหนังสือ Suicide ว่าเมื่อสังคมเกิดภาวะไร้บรรทัดฐาน โดยเฉพาะในช่วงวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ ทั้งในเวลาเศรษฐกิจ ทั้งในเวลาเศรษฐกิจรุ่งเรืองหรือตกต่ำ รายได้หรือค่าจ้างไม่แน่นอนหรือมีความล้มเหลวอย่างอื่น เช่น ล้มละลายหรือแม้แต่ในยามที่ร่ำรวยกะทันหันล้วนนำประชาชนไปสู่การทำลายตัวเองทั้งสิ้น กล่าวได้ว่าการฆ่าตัวตายในภาวะเช่นนี้เป็นภาวะฆ่าตัวตายที่เกิดจากภาวะไร้บรรทัดฐาน (Anomie suicide) คือคนที่ขาดสิ่งยึดเหนี่ยวสับสน โดดเดี่ยว มองโลกในแง่ร้าย และเห็นว่าชีวิตไร้ความหมาย
เมอร์ตัน (สุพัตรา สุภาพ 2541: 133-137 อ้างถึง Merton) ได้นำเอาทฤษฎีภาวะไร้บรรทัดฐานมาอธิบายพฤติกรรมเบี่ยงเบนในอีกแนว โดยเขาอธิบายว่าพฤติกรรมเบี่ยงเบนเป็นผลของความไม่ประสานสอดคล้องกันระหว่างเป้าหมายทางวัฒนธรรมหรือค่านิยมทางสังคม กับบรรทัดฐานหรือวิธีการที่สังคมกำหนด เพื่อปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายนั้น ดังนั้น การที่คนเราไม่สามารถใช้วิธีการ ที่สังคมยอมรับและเห็นว่าเหมาะสมกันเป็นแนวทางไปสู่เป่าหมายที่เราต้องการ ทำให้คนเหล่านั้นหันไปหาวิธีการอื่น ๆ ที่สังคมยอมรับคือ คือ ละเมิดบรรทัดฐานหรือต้องมีพฤติกรรมเบี่ยงเบนในที่สุด เช่น ในสังคมปัจจุบัน เป้าหมายชีวิต หรือค่านิยมที่คนส่วนใหญ่ปรารถนา คือความมั่งคั่งร่ำรวยความสุขสบายทางวัตถุ ส่วนวิธีการที่สังคมยอมรับคือการยกฐานะโดยการศึกษาและการ
31
ทำงานที่สุจริตทำนองคลองธรรม แต่ในความเป็นจริงคนบางกลุ่ม ไม่สามารถปฏิบัติตามวิธีที่สังคมยอมรับได้ เพราะไม่มีโอกาสศึกษาสูง หรือมีตำแหน่งการงานที่มีรายได้ดี ฉะนั้นคนที่ต้องการความมั่งคั่งร่ำรวย แต่ถูกจำกัดในวิธีการ ก็ต้องหันไปใช้วิธีการที่ผิดกฎหมายหรือผิดศีลธรรมแทน เช่นการค้ายาเสพติด ค้าของหนีภาษี เป็นโสเภณี ปล้น โกง เล่นการพนัน คอรัปชั่น เป็นต้น
เมอร์ตัน (สุพัตรา สุภาพ 2541: 133-137 อ้างถึง Merton) ได้กล่าวถึงโครงสร้างทางสังคมบางอย่าง ที่ก่อให้เกิดความกดดันและขัดแย้งต่อบุคคลในกลุ่ม คนทำให้พฤติกรรมไม่เป็นไปตามเกณฑ์ของสังคมซึ่งเป็นผลให้เกิดความไม่เป็นระเบียบในสังคม โดยมีตัวแปรผัน (Variables) 2 อย่าง คือ
1. จุดหมายปลายทางวัฒนธรรม (Cultural goals) ที่สังคมในขณะนั้นยึดมั่นและนำไปปฏิบัติในการอยู่ร่วมกัน ซึ่งจุดหมายปลายทางนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะของสังคมและสภาพแวดล้อมและถ้าหากลักษณะของสังคมและสภาพทางสังคมเปลี่ยนแปลงไป จุดหมายปลายทางทางวัฒนธรรมอาจเปลี่ยนได้เป็นค่านิยมของสังคม ส่วนใหญ่ยึดถือปฏิบัติในขณะใดขณะหนึ่งว่า เป็นสิ่งถูกต้อง เช่นในสมัยก่อนสังคมไทยถือว่าเกียรติสำคัญกว่าเงิน ความซื่อสัตย์มีค่าต่อการคบหาสมาคมคนจะดีได้ต้องเข้าวัดอยู่กับพระให้พระอบรม ฯลฯ แต่ในสังคมปัจจุบันเราย้ำเรื่องเงิน เรื่องวัตถุมากกว่าเรื่องอื่น ๆ ตลอดจนย้ำว่าทุกคนมีโอกาสเท่าเทียมกันในการหาความสำเร็จ ฉะนั้น บุคคลจึงพยายามดิ้นรนต่อสู้เพื่อเสริมสร้างฐานะของตนให้มั่นคงโดยอาศัยวัตถุเป็นเครื่องวัด เช่น ใครมีเงินมากกว่ากัน บ้านใหญ่กว่ากัน แหวนเพชรใครเม็ดใหญ่กว่ากัน ใครสามารถส่งลูกไปเมืองนอกมากกว่ากัน ฯลฯ บุคคลจึงถูกบีบให้พยายามไขว่คว้าในสิ่งที่ตนมุ่งหวังเพื่อเลื่อนฐานะ หรือเพื่อการยอมรับของสังคม บางคนเมื่อทำดีไม่ได้ก็จะทำชั่ว เพราะเงินจะทำให้ได้มาซึ่งอำนาจและตำแหน่ง ค่านิยมแบบนี้แพร่หลายในสังคมที่เป็นประชาธิปไตย เช่น ไทย สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ญี่ปุ่น เป็นต้น
2. วิธีการต่าง ๆ ที่สังคมได้กำหนดไว้ให้บุคคลปฏิบัติตาม (Institutionalized means) เป็นการจำกัดเสรีภาพให้อยู่ในขอบเขต หรือห้ามการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นการปฏิบัติตามคุณธรรมต่าง ๆ ที่สังคมต้องการหรือยอมรับ เช่น มีระเบียบวินัย เคารพผู้อาวุโส ซื่อสัตย์ ขยันขันแข็ง อดทน อดกลั้น ฯลฯเป็นการชี้แนวทางให้บุคคลปฏิบัติไปตามกฎเกณฑ์ที่วางไว้เพื่อให้สังคมเกิดความเป็นระเบียบ ไม่ยุ่งเหยิง สับสน และถ้าใครปฏิบัติตามอุดมคตินี้ ชีวิตก็จะประสบ ความสำเร็จและได้ในสิ่งที่คาดหวัง เช่น ขยันเรียนสูง ๆ ก็จะได้งานตำแหน่งดีมีเกียรติ หรือขยันทำงานอย่างสม่ำเสมอด้วยความซื่อสัตย์สุจริต จะได้เลื่อนชั้น เลื่อนตำแหน่งหรือทำดีสังคมยอกย่องสรรเสริญ มีทรัพย์สินเงินทอง ซึ่งสังคมจะส่งเสริม โดยการเปิดโอกาสให้ทุกคนมีความก้าวหน้าในชีวิตด้วยการศึกษาและการทำงาน
ในสังคมปัจจุบัน มีปัญหาเรื่องจุดหมายปลายทางหรือเป้าหมายกับวิธีการที่สังคมกำหนดเพราะทั้ง 2 อย่างเป็นเรื่องที่มนุษย์กำหนดขึ้นมา เช่น ถ้าตั้งเป้าหมายไว้ว่า จะชนะการแข่งขันฟุตบอลให้ได้ (มิใช่เป็นการชนะตามเกมกีฬา) วิธีการอาจจะเป็นไปโดยมิชอบ เช่นกระแทกคู่ต่อสู้
32
ชก ใช้ศอก เข่า ฯลฯ หรือถ้าเป็นมวยปล้ำก็ใช้วิธีการสกปรกให้คู่ต่อสู้หมดแรง จากสภาพดังกล่าว ความตึงเครียดเกิดจากความต้องการจะชนะให้ได้ ทั้ง ๆที่ ผู้เล่นรู้ดีว่ากฎเกณฑ์ที่จะต้องปฏิบัติ แต่ไม่ทำเพราะอยากชนะ (ตามเป้าหมายที่วางไว้) การตั้งเป้าหมายเพื่อความสำเร็จในในทางที่ไม่ถูกต้อง อาจจะทำให้เกิดการเสื่อมเสียทางศีลธรรม เหมือนอย่างสังคมอเมริกันปัจจุบันที่เน้นเป้าหมาย (Cultural goals) ความสำเร็จในรูปของเงินโดยไม่เน้นวิธีการที่สังคมกำหนด (Institutionalized means) ซึ่งเงินนี้นอกจากใช้ซื้อเครื่องอุปโภค บริโภค และยังเป็นเครื่องเสริมอำนาจด้วย เงินถูกเปลี่ยนรูปให้เป็นสัญลักษณ์ของเกียรติภูมิและบารมีและชั้นสังคมที่สูงขึ้น เป็นต้น
การท้าทายบางอย่างก็เป็นพฤติกรรมที่ขัดต่อศีลธรรมอันดีงาม เช่น พวกฮิปปี้ที่ชอบแต่งกายสกปรกรกรุงรัง มีเสรีภาพในเรื่องเพศ ชีวิตไม่เป็นระเบียบแบบแผน ชอบสูบกัญชา เสพยาเสพติด เกียจคร้าน ฯลฯ เป็นการสร้างวัฒนธรรมรอง (Subculture) ในกลุ่มตน ซึ่งวัฒนธรรมรองของพวกนี้ขัดกับวัฒนธรรมใหญ่ในหลายเรื่อง
การท้าทายบางอย่างก็เป็นก็เป็นการไม่ก่อความเดือดร้อนแกสังคม เช่น พวกปัญญาชน หรือพวกนักเขียนที่ละเว้นไม่สนใจบางอย่างและให้ความเห็นบางอย่าง เช่น ไม่ใส่ใจความยิ่งใหญ่ของคนบางคน ไม่สนใจจะเอาอกเอาใจเจ้านาย ไม่สนใจจะทำตามระเบียบกฎเกณฑ์ บางอย่างที่เห็นว่าไม่ถูกต้อง และไม่จำเป็นต้องกระทำตาม หรือพยายามละเว้นโดยใช้วิธีการนุ่มนวล เช่น นิสิต นักศึกษาชายไว้ผมยาวเป็นการท้าทายว่าสังคมมีระเบียบวินัย มากเกินไป เขาจะทำตามที่เขาพอใจเลยปล่อยผมให้ยาวตามความพอใจของเขา หรือพวกศิลปิน เช่น นักเขียนภาพสมัยใหม่ที่ในระยะแรก ๆ ถูกวิพากษ์วิจารณ์มากกว่าเป็นการแหวกแนวเกินไปดูไม่รูเรื่อง แต่ต่อมาคนจึงยอมรับ เพราะอะไรที่ใหม่หรือแหวกแนวไปกว่าเก่า ๆ ในระยะแรกอาจจะได้รับการต่อต้าน เพราะมนุษย์ มักจะเคยชินกับสิ่งที่ตนคุ้นเคย จึงอยากให้ยอมรับในทันทีทันใดได้ แม้ว่าสังคมต่าง ๆ ก็พยายามที่จะอบรมกล่อมเกลาคนในสังคมของตนให้มีบุคลิกภาพตามที่เห็นว่าดีงาม แต่ความพยายามนี้ก็หาได้สัมฤทธิผลเป็นที่พอใจเสมอไปไม่ยังมีบุคคลใดในสังคม ที่แสดงพฤติกรรมที่ไม่สอดคล้องกับบรรทัดฐานของสังคม บางคนมีพฤติกรรมต่อต้านสังคมต้องการเปลี่ยนแปลงสังคม พฤติกรรมเหล่านี้มีสาเหตุได้มากมายที่เกิดจากสาเหตุทางพันธุกรรมก็มี ที่เกิดจากสาเหตุทางกายก็มี ที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมก็มี และมีเป็นจำนวนมากด้วย สังคมดำรงอยู่ได้เนื่องจากมีระเบียบกฎเกณฑ์ให้สมาชิกปฏิบัติตามแต่การฝ่าฝืนหรือล่วงละเมิดระเบียบสังคม ก็เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นปกติของสังคม ดังนั้น การกระทำผิดกฎหมายและการฝ่าฝืนจารีตประเพณีหรือการละเมิดศีลธรรมในรูปแบบต่าง ๆ จึงปรากฏให้เห็นเป็นข่าวบ่อย นักสังคมวิทยาเรียกกว่า การกระทำดังกล่าวเป็นการเบี่ยงเบนหรือ พฤติกรรมเบี่ยงเบน (Deviant Behavior)
การเบี่ยงเบน คือ พฤติกรรมที่กลุ่มหรือสังคมเห็นว่าผิดไปจากบรรทัดฐานคนทั่วไปและก่อให้เกิดการต่อต้านและลงโทษผู้กระทำผิด การเบี่ยงเบนที่เห็นชัดสุด คืออาชญากรรม หรือการกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมายอาญา เช่น ฆาตกรรม ติดยาเสพติด ฝ่าฝืนกฎหมายจราจร เป็นต้น และ
33
ดังนั้น การกระทำผิดกฎหมายและการฝ่าฝืนจารีตประเพณีหรือการละเมิดศีลธรรมในรูปแบบต่าง ๆ จึงปรากฏให้เห็นเป็นข่าวบ่อย นักสังคมวิทยาเรียกกว่า การกระทำดังกล่าวเป็นการเบี่ยงเบนหรือ พฤติกรรมเบี่ยงเบน (Deviant Behavior)
การเบี่ยงเบน คือ พฤติกรรมที่กลุ่มหรือสังคมเห็นว่าผิดไปจากบรรทัดฐานคนทั่วไปและก่อให้เกิดการต่อต้านและลงโทษผู้กระทำผิด การเบี่ยงเบนที่เห็นชัดสุด คืออาชญากรรม หรือการกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมายอาญา เช่น ฆาตกรรม ติดยาเสพติด ฝ่าฝืนกฎหมายจราจร เป็นต้น และการที่จะระบุว่าพฤติกรรมใดเป็นพฤติกรรมเบี่ยงเบนหรือไม่นั้นไม่อาจระบุได้ตายตัว ทั้งนี้เพราะการกระทำอย่างหนึ่งสำหรับคนกลุ่มหนึ่ง หรือยุคสมัยหนึ่งอาจเป็นการกระทำเบี่ยงเบน แต่อาจเป็นสิ่งที่ยอมรับของคนอีกกลุ่มหนึ่งหรือยุคสมัยหนึ่ง เช่น เกย์ ในสังคมสมัยก่อนใครเป็นต้องปกปิดน่าอับอาย ในปัจจุบันเป็นเกย์ไม่ต้องปกปิดซ่อนเร้นอีกต่อไป สังคมยอมรับและไม่รังเกียจบางคนได้ รับการยกย่องในความสามารถอีกต่างหาก
พฤติกรรมเบี่ยงเบน หมายถึง พฤติกรรมที่แตกต่างไปจากพฤติกรรมของคนอื่น ๆ ส่วนใหญ่ในสังคม เป็นพฤติกรรมที่เบี่ยงเบนออกจากบรรทัดฐานของสังคม การที่จะเข้าใจสาเหตุของพฤติกรรมเบี่ยงเบนเหล่านี้ จำเป็นต้องสืบประวัติการอบรมเลี้ยงดูไปถึงวัยเด็กว่าได้รับการฝึกฝนโดยเงื่อนไขผลกรรมอย่างไร พฤติกรรมเบี่ยงเบนบางอย่างเกิดจากการให้แรงเสริมของพ่อ-แม่ หรือบุคคลอื่น ที่แวดล้อม แต่เป็นพฤติกรรมที่ขัดกับที่พึงปรารถนาของสังคม สิ่งที่พ่อ-แม่คิดว่าพึงปรารถนาอาจจะไม่สอดคล้องกับที่สังคมปรารถนา สิ่งที่คนในละแวกหนึ่งคิดว่าไม่เสียหายอาจเป็นที่เสียหายตามมาตรฐานของสังคมส่วนใหญ่ ตัวอย่างเรื่องสอนลูกให้เป็นโจร และคติพจน์คบคนพาลพาลพาไปหาผิดล้วนเป็นตัวอย่างของการให้แรงเสริม และการให้ตัวอย่างแก่พฤติกรรมที่เป็นที่ยอมรับในครอบครัวหรือสังคม แต่พฤติกรรมเหล่านี้ก็ขัดกับบรรทัดฐานของสังคมส่วนใหญ่
ผู้อบรมกล่อมเกลาอาจให้แรงเสริมแกพฤติกรรมเบี่ยงเบนโดยที่มิได้ตั้งใจ เด็กที่ตามปกติไม่ได้รับความสนใจ แต่ถ้าแสดงพฤติกรรมนอกลู่นอกทางบางอย่างเช่น ตะโกนเสียงดัง ทำลายข้าวของบางอย่าง หรือแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมอื่น ๆ ก็จะได้รับความสนใจจากผู้ใหญ่และบางทีก็จะได้รับผลทางลบคือการเอ็ดเป็นการให้ความสนใจ พฤติกรรมเบี่ยงเบนเหล่านี้จึงได้รับแรงเสริมและกลายเป็นลักษณะของบุคลิกภาพในที่สุด
พฤติกรรมเบี่ยงเบนยังอาจเกิดจากวิธีอบรมกล่อมเกลา แม้ว่าผู้กล่อมเกลาจะกำหนดพฤติกรรมที่ปรารถนาไว้ดีเลิศ สอดคล้องกับอุดมคติของสังคมเพียงไร แต่ถ้าวิธีการไม่มีประสิทธิภาพก็ไม่สามารถทำให้ผู้ถูกกล่อมเกลามีลักษณะบุคลิกภาพตามที่ต้องการได้ การอบรมกล่อมเกลาโดยใช้อำนาจบังคับขู่เข็ญ ใช้อารมณ์ และมีเงื่อนไขผลกรรมขัดกันเองอยู่เสมอ ๆ ย่อมทำให้ผู้ถูกกล่อมเกลามีความกลัว มีความขัดข้องใจ และอาจกลายเป็นคนวิตกกังวล สับสน หรือเป็นคนฝ่าฝืนต่อต้านสังคมในที่สุด
34
ผู้เบี่ยงเบนคือ คนที่ทำผิดบรรทัดฐานทุกคนคือผู้เบี่ยงเบนหรือไม่เราจะพบว่าเกือบทุกคนต้องเคยกระทำผิดกฎหมาย หรือผิดจารีตประเพณีมาแล้วบ้างไม่มากก็น้อย เช่นการกระทำผิดกฎหมายจราจร ไม่ว่าจะฝ่าสัญญาณไฟจราจร หรือไม่ข้ามถนนตรงทางม้าลาย จอดที่ห้ามจอด เป็นต้น แต่การกระทำผิดดังกล่าวไม่ได้ทำให้ผู้กระทำความผิดเบี่ยงเบนไปโดยอัตโนมัติ ปัจจัยที่กำหนดว่าใครเป็นผู้เบี่ยงเบนขึ้นอยู่กับสังคมหรือคนอื่น ๆ ในสังคมเป็นสำคัญ นั่นก็หมายความว่าบุคคลจะเป็นผู้เบี่ยงเบนก็ต่อเมื่อถูกคนอื่น ๆ ในสังคมประณาม หรือ “ตีตรา” ว่าเป็นผู้เบี่ยงเบน เช่น ถูกประณามว่าเป็นไอ้หัวขโมย โสเภณี ไอ้ขี้ยา เป็นต้น บางคนเคยกระทำความผิดร้ายแรงอาจไม่ถูกประณามหรือตีตราว่า เป็นผู้เบี่ยงเบนก็เพราะเป็นผู้มีอำนาจบ้าง เช่น นักการเมืองหรือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่มี อำนาจ ที่ทุจริตคอรัปชั่นที่รู้จักกันทั่วไปในสังคม แต่ก็ยังได้รับการยกย่องในสังคม ดังนั้นปฏิกิริยาของคนอื่นในสังคมเป็นสิ่งสำคัญในการกำหนดให้ใครเป็นผู้เบี่ยงเบน
แนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรมเบี่ยงเบนของ กูล์ด และ คอล์บ (Gould and Kolb 1964: 196) ที่ได้อธิบายให้เห็นว่า ความเบี่ยงเบนคือการที่บุคคลมีลักษณะแตกต่างหรือผิดไปจากบรรทัดฐานสังคม ลักษณะที่แตกต่างกัน ได้แก่ ทัศนคติ มาตรฐานเชิงศีลธรรม และพฤติกรรมที่สามารถมองเห็นได้ชัด สังคมดำรงอยู่ได้เนื่องจากมีระเบียบกฎเกณฑ์ให้สมาชิกปฏิบัติตามแต่การฝ่าฝืนหรือล่วงละเมิดระเบียบสังคม ก็เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นปกติของสังคม ดังนั้น การกระทำผิดกฎหมายและการฝ่าฝืนจารีตประเพณีหรือการละเมิดศีลธรรมในรูปแบบต่างๆ จึงปรากฏให้เห็นเป็นข่าวบ่อย การกระทำดังกล่าวเป็นการเบี่ยงเบนหรือ พฤติกรรมเบี่ยงเบน (Deviant Behavior) เป็นพฤติกรรมที่กลุ่มหรือสังคมเห็นว่าผิดไปจากบรรทัดฐานคนทั่วไปและก่อให้เกิดการต่อต้านและลงโทษผู้กระทำผิด การเบี่ยงเบนที่เห็นชัดสุด คืออาชญากรรม หรือการกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมายอาญา เช่น ฆาตกรรม ติดยาเสพติด ฝ่าฝืนกฎหมายจราจร แนวคิดดังกล่าวสอดคล้องกับการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยจึงนำมาเป็นกรอบในการศึกษา
ทฤษฎีการยับยั้ง
จรรยา สุวรรณทัต (2515: 54) ได้อธิบายถึง การเกิดขึ้นของทฤษฎีการยับยั้ง ได้เริ่มเกิดขึ้นอย่างเด่นชัดในช่วงคริสศตวรรษที่ 18 โดยนักคิดกลุ่มอาชญาวิทยา สำนักคลาสสิก (Classical School of Criminology) ที่สำคัญคือ ซีซาร์ เบคคาเรีย (1738-1794) โดยเบคคาเรีย ได้รับอิทธิพลมาจากความคิดของนักคิดคลาสสิกเริ่มแรก (Pre classical ) เช่น มองเตสกิเออ (Montesquien) วอลแตร์ (Voltaire) และรุสโซ (Roussean) โดยนักคิดเหล่านี้เชื่อว่า ในระยะเริ่มแรกของรัฐโดยธรรมชาติแล้วไม่มีสถาบันทางสังคมและสถาบันทางการเมืองพลเมืองจะอยู่ร่วมกันในสังคมก็โดยการมีสัญญาทางสังคม (Social contract) และต่อมามีการพัฒนาไปสู่การเป็นรัฐสมัยใหม่ มีการกำหนดอำนาจของสถาบันทางการเมือง พวกนักคิดเหล่านี้มองว่าพลเมืองมีเจตจำนงอิสระ ( Free will) ที่จะเลือกกระทำ
35
ด้วยตนเอง และขณะเดียวกันเขาก็ต้องได้รับผลของพฤติกรรมที่เกิดจากเจตจำนงอิสระของเขาเช่นนั้นด้วย ดังนั้นพลเมืองจะถูกควบคุมการกระทำต่าง ๆ ที่เกิดจากเจตจำนงอิสระโดยผ่านความกลัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งความกลัวความเจ็บปวด ( The fear of pain) ดังนั้น การลงโทษโดยรัฐจึงเป็นวิธีการเริ่มแรกที่จะก่อให้เกิดความกลัวอันจะเป็นการช่วยป้องกันละเมิดกฎหมาย
เบคคาเรีย (จรรยา สุวรรณทัต 2515: 54 อ้างถึง ซีซาร์ เบคคาเรีย 1738-1794) ก็มีความคิดเช่นเดียวกับกลุ่มนักคิดคลาสสิกรุ่นแรก ๆ โดยเชื่อว่า พลเมืองสร้างสังคมที่มีสัญญาขึ้นมา (Contractual society) ก็เพื่อหนีจากสภาวะการขัดแย้งต่าง ๆ ที่ไม่สามารถจะทนได้ พร้อมกับยกอำนาจการปกครองให้กับผู้ปกครอง และการลงโทษเป็นการป้องกันพลเมืองแย่งชิงอำนาจจากผู้ปกครอง พร้อมทั้งเป็นการป้องกันการละเมิดกฎหมายอีกด้วย เบคคาเรีย อ้างว่ารัฐมีสิทธิ์ที่จะลงโทษผู้กระทำผิดกฎหมาย และเชื่อว่าพลเมืองได้รับการจูงใจจากความเจ็บปวดกับความสุขซึ่งแรงจูงใจเหล่านี้จะไปสัมพันธ์กับเจตจำนงค์อิสระตลอดจนเหตุผลของตนเอง ในที่สุดก็จะตอบ สนองต่อการเลือกกระทำของตนเอง ดังนั้น ความกลัวการลงโทษอันเป็นความเจ็บปวดทำให้พวกเขาเลือกที่จะกระทำตามกฎหมาย
จากการที่เบคคาเรียได้รับอิทธิพลจากแนวคิดของนักคิดรุ่นก่อน ๆ ประกอบกับการไม่เห็นด้วย ในการลงโทษต่อผู้กระทำผิดกฎหมายอย่างโหดร้ายและทารุณในสมัยนั้น (ซึ่งก่อนหน้าเบคคาเรียก็ได้มีผู้ทำการคัดค้านการลงโทษที่โหดร้ายเช่นนั้นมาแล้ว) ทำให้เบคคาเรีย ได้เสนอข้อคิดเห็นโต้แย้งการลงโทษดังกล่าวซึ่งข้อเสนอของเบคคาเรียมีผลต่อการปรับปรุงกฎหมายอาญามากที่สุด ผลงานของเขาได้ให้หลักเกณฑ์ในการลงโทษต่อผู้กระทำผิด จนเป็นที่สนใจกันอย่างแร่หลาย ต่อมาหลักเกณฑ์ของท่านทั้งสองโดยละเอียดต่อไป
ความชอบธรรมในการลงโทษ
การลงโทษตามหลักอรรถประโยชน์นิยม ถือว่าการลงโทษเป็นสิ่งจำเป็นที่มุ่งถึงประโยชน์ที่จะเกิดแก่สังคมเป็นสำคัญ นั่นก็คือการที่จะพิจารณาว่าการกระทำใดเป็นการกระทำที่ถูกต้องหรือไม่นั้น พิจารณาจากความสุขที่คนส่วนใหญ่ของสังคมจะได้รับจากการกระทำนั้นเป็นสำคัญ ถ้าเป็นไปตามเหตุผลดังกล่าวนี้แล้วก็ถือได้ว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นสิ่งถูกต้องชอบธรรม ดังที่คิลล์ (จรรยา สุวรรณทัต 2515: 54 อ้างถึงใน Kill 1957:10) กล่าวไว้ว่า ประโยชน์หรือหลักความสุขแก่คนส่วนมาก เป็นรากฐานของศีลธรรมถือว่าความถูกต้องของการกระทำขึ้นอยู่กับแรงโน้มที่กระทำนั้นได้ก่อให้เกิดสิ่งที่ตรงกันข้ามกับความสุข
36
อย่างไรก็ตาม พวกอรรถประโยชน์นิยม ก็ยอมรับว่าการลงโทษเป็นสิ่งชั่วร้ายในตัวมันเอง เพราะก่อให้เกิดความทุกข์ แต่ถ้าการลงโทษจะก่อให้เกิดผลดีต่อสังคมแล้ว เราจำเป็นต้องใช้วิธีการลงโทษ (Newman 1978: 203) ซึ่งเหตุผลดังกล่าวนี้ เบนธัม (Bentham,quoted in Mannheim 1960:59) ก็กล่าวได้ว่า การลงโทษได้รับการพิจารณาว่าเป็นสิ่งชั่วร้ายที่จำเป็นจะป้องกัน ความชั่วร้ายที่จะก่อให้เกิดความทุกข์แก่สังคมมากขึ้นและทำให้ความสุขลดน้อยลงไป
กล่าวสรุปได้ว่า พวกอรรถประโยชน์นิยมเห็นด้วยกับการลงโทษผู้กระทำผิด ทั้งนี้เพื่อประโยชน์แก่สังคมโดยส่วนรวม เพราะถ้าไม่มีการลงโทษแล้ว ผู้กระทำผิดก็จะก่อให้เกิดความทุกข์แก่สังคม อันเป็นการขัดกับหลักความชอบธรรมที่คำนึงถึงความสุขมากที่สุดกับคนจำนวนมากที่สุด (The greatest happiness for the greatest number)
ความมุ่งหมายของการลงโทษ
นิวแมน (จรรยา สุวรรณทัต 2515: 54 อ้างถึง Newman 1978: 202) การลงโทษเป็นปฏิกิริยาตอบโต้ที่สังคมมีต่อผู้กระทำผิด ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้ผู้เสียหายโต้ตอบหรือแก้แค้นต่อผู้กระทำผิดด้วยตัวเอง เพื่อให้ผู้กระทำผิดได้รับความทุกข์หรือความเจ็บปวดเท่าที่ผู้เสียหายได้รับ อย่างไรก็ตามการลงโทษในปัจจุบัน มิใช่เพื่อให้ผู้กระทำผิดได้รับความทุกข์จากผลที่ตนได้ก่อขึ้นเท่านั้น แต่มุ่งป้องกันและแก้ไขมิให้ผู้กระทำผิดได้กระทำผิดซ้ำขึ้นอีก
หลักการเบื้องต้น ในการลงโทษตามแนวคิดอรรถประโยชน์นิยมเชื่อว่าการลงโทษขณะนั้นไม่สามารถจะแก้ไขความผิดในอดีตได้ และไม่เห็นด้วยกับกฎหมายในรูปของการแก้แค้น จุดมุ่งหมายของการลงโทษในขณะนั้น เพื่อที่จะป้องกันการกระทำผิดที่จะเกิดขึ้นในอนาคตและเพื่อเป็นแบบอย่างแก่ผู้กระทำผิดเอง และต่อคนอื่นๆ ที่อาจคิดที่จะกระทำผิดขึ้นอีก
ตามทัศนะของเบคคาเรียน (Baccaria,quoted in Mannheim 1960:63) ถือว่าจุดประสงค์เริ่มแรกของการลงโทษก็เพื่อประกันความคงอยู่ตลอดไปของสังคมปริมาณ และลักษณะของการลงโทษจะก่อให้เกิดความทุกข์ต่อผู้ละเมิดซึ่งควรจะแตกต่างกันไปเป็นสัดส่วนต่อระดับที่การกระทำนั้นจะก่อให้เกิดอันตรายต่อความคงอยู่ของสังคม และเชื่อว่าการกระทำความผิดต่อผลประโยชน์ร่วมกันของสมาชิกในสังคมควรจะได้รับการป้องกัน ส่วนเป้าหมายสำคัญการลงโทษ เบคคาเรีย (Baccaria,quoted in Mannheim 1960:44) ให้ความเห็นว่า ไม่ใช่เพื่อทรมานผู้กระทำผิด ทั้งมิใช่ว่าจะลบล้างอาชญากรรมที่จะเกิดขึ้นได้อย่างสมบูรณ์ แต่เป็นการลงโทษเพื่อป้องกันผู้กระทำผิด จากการกระทำที่จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อสังคมขึ้นอีก และเพื่อป้องกันคนอื่น ๆ จากการกระทำผิด
37
อาชญากรรม และเช่นเดียวกับเบนธัม (Bentham,quoted in Mannheim,1960:61) ก็ยืนยันว่าเป้าหมายของการลงโทษเป็นการป้องกันความไม่เข็ดหลาบ (recidivism) และเพื่อเป็นการยับยั้งคนอื่นจากการที่จะกระทำความผิดในลักษณะเดียวกันอีกด้วย
การลงโทษเพื่อการยับยั้ง (Deterrence)
การลงโทษเพื่อการยับยั้งได้มีผู้ให้ความหมายและความคิดเห็น เช่น อี.จอห์นสัน (E. Johnson 1979: 33) กล่าวว่าการยับยั้งเป็นการปฏิบัติตาม (Conformity) อันเป็นผลของการผูกมัดในทางลบ(ความกลัว) ต่อผลในทางลบ (การบังคับใช้อย่างเป็นทางการ) และจะนำเอาการลงโทษ เพื่อการยับยั้งมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ก็ต่อเมื่อข้อผูกมัดทางบวก (Positive bonds) ล้มเหลวที่จะควบคุมพฤติกรรมที่จะเบี่ยงเบนแล้วเท่านั้น
เอฟ ไมเอล และที จอห์นสัน (จรรยา สุวรรณทัต 2515: 54 อ้างถึงใน F. Meier and T. Johnson 1977: 293) กล่าวว่านักอาชญาวิทยาใช้แนวความคิดเกี่ยวกับการยับยั้งเพื่ออธิบายถึงการป้องกันพฤติกรรมอาชญากรรม โดยการข่มขู่ (Threat) จากการบังคับใช้กฎหมาย
จากความคิดเห็นต่าง ๆ เกี่ยวกับการลงโทษเพื่อการยับยั้ง พอจะสรุปได้ว่า การลงโทษเพื่อการยับยั้งเป็นวิธีการลงโทษเพื่อให้ผู้กระทำผิดเกิดความเข็ดหลาบไม่กล้าทำผิดอีก ตลอดจนทำให้บุคคลอื่น ๆ ที่เห็นตัวอย่างของการลงโทษไม่กล้าทำผิดเช่นเดียวกันนั้น ฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่าการลงโทษเพื่อการยับยั้งมีจุดมุ่งหมาย 2 ประการ คือ
1. เพื่อการยับยั้งเฉพาะ (Specific deterrence) เป็นการลงโทษเพื่อข่มขู่และป้องกันผู้กระทำผิดมิให้กระทำผิดซ้ำนั่นคือ เป็นการลงโทษ เพื่อให้ผู้กระทำผิดเกิดความเข็ดหลาบนั่นเอง
2. เพื่อการยับยั้งทั่วไป (General deterrence) เป็นการป้องกันคนทั่ว ๆ ไป มิให้กระทำผิดเช่นเดียวกันกับที่ผู้ถูกลงโทษได้กระทำ โดยการลงโทษผู้กระทำผิดให้ดูเป็นตัวอย่าง นั่นคือเป็นการลงโทษผู้กระทำผิดเพื่อมิให้คนอื่นเอาเยี่ยงอย่างนั่นเอง
ธรรมชาติของมนุษย์กับการลงโทษเพื่อการยับยั้ง
นักทฤษฎีอรรถประโยชน์นิยมได้ยืนยันว่า ความเป็นอยู่ของมนุษย์ได้รับการจูงใจ โดยการดิ้นรนเพื่อให้ได้ความสุข (peace) สูงสุดและหลีกเลี่ยงความทุกข์ (pain) (Little,1975 : 400) นั่นก็คือมนุษย์จะคำนึงถึงผลได้ (gain) และผลเสีย (cost) ก่อนที่จะตัดสินใจกระทำสิ่งใด ๆ ลงไป โดยมุ่งไปที่ผลประโยชน์หรือกำไรสูงสุด (Profit maximizing) ที่จะได้รับเป็นสำคัญ ซึ่งก็หมายถึงผลได้จะต้องมากกว่าผลเสียนั่นเอง
38
เบนธัม (จรรยา สุวรรณทัต 2515: 54 อ้างถึง Bentham,quoted in Mannheim 1960: 56) ได้ยืนยันว่าโดยพื้นฐานแล้ว การกระทำของมนุษย์ทุกคนจะมาจากแรงจูงใจที่เป็นสิ่งเดียวกันเท่านั้น คือการแสวงหาความสุขและหลีกเลี่ยงความทุกข์
การพิจารณาดังกล่าวเป็นการนำเอาแรงจูงใจ ซึ่งเป็นทฤษฎีทางจิตวิทยามาพิจารณาถึงการกระทำของมนุษย์ และได้นำมาพิจารณาตีความการกระทำอันเป็นอาชญากรรมที่มีแรงจูงใจอย่างเดียวกัน คือ เชื่อว่ามนุษย์พยายามกระทำเพื่อให้ได้สิ่งที่ตนต้องการหรือพึงพอใจในทุกวิถีทาง แม้บางครั้ง อาจจะผิดกฎหมายแต่ในขณะเดียวกันถ้าการกระทำเช่นนั้นนำความทุกข์มาให้ มนุษย์ก็จะหลีกเลี่ยง
เบนธัม (จรรยา สุวรรณทัต 2515: 54 อ้างถึง Bentham,quoted in Mannheim 1960: 57) ได้กล่าวไว้ว่า ถ้าปราศจากการยับยั้ง (ความเจ็บปวดหรือความทุกข์อย่างพอเพียง) บุคคลที่อยู่ในสถานการณ์ที่จะกระทำผิดได้ก็จะไปกระทำผิดขึ้น เมื่อคำนึงถึงเหตุผลหรือธรรมชาติของมนุษย์ ที่มุ่งกระทำใด ๆ เพื่อให้ได้ความสุขและหลีกเลี่ยงความทุกข์ นักทฤษฎียับยั้งจึงได้พยายามอธิบายเงื่อนไขภายใต้การเลี่ยงที่จะได้รับการถูกลงโทษ (COST) ซึ่งจะคอยถ่วงผลได้จากการกระทำผิด เงื่อนไขเหล่านั้นจะต้องพอเพียงที่จะป้องกันการกระทำเช่นนั้น นักทฤษฎียับยั้งส่วนมากรู้ว่า การตัดสินใจโดยตรงของพฤติกรรมอาชญากรรมก็คือการเสี่ยง และความรุนแรงของการลงโทษที่จะได้ รับมากกว่าการเสี่ยงและความรุนแรงที่แท้จริง
กล่าวโดยสรุป มนุษย์จะกระทำผิดหรือไม่ขึ้นอยู่กับการมองของมนุษย์ซึ่งคำนึงถึงผลกำไรสูงสุดและตัวกำหนดต่อการตัดสินใจที่สำคัญคือการประเมินผลได้ และผลเสียซึ่งในทฤษฎียับยั้งถือว่าการเสี่ยงคือความเป็นไปได้ที่จะถูกลงโทษ เปรียบเสมือนกับผลเสียจากการกระทำเช่นนั้น ดังนั้นนักคิดทฤษฎียับยั้งโดยเฉพาะเบคคาเรียและเบนธัม จึงได้พยายามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่จะมาคอยถ่วงผลได้จากการกระทำผิดกฎหมาย ซึ่งมีน้ำหนักเพียงพอที่จะป้องกันและแก้ไขการกระทำผิดกฎหมายนั้นได้
จากแนวคิดทางทฤษฎีของเบคคาเรียและเบนธัม ดังได้กล่าวมาแล้วทั้งหมดโดยเฉพาะที่เกี่ยวกับระดับการลงโทษที่แน่นอน รุนแรงและรวดเร็ว อันจะเป็นผลในการยับยั้งการกระทำผิดอาชญากรรม พอจะสรุปได้ดังนี้
1. ความแน่นอน ความรุนแรง และความรวดเร็วในการลงโทษจะมีผลให้มนุษย์เลี่ยงพฤติกรรมอาชญากรรม หรือกล่าวได้ว่าถ้ามีความแน่นอน ความรุนแรง และความรวดเร็วในการลงโทษมาก อัตราอาชญากรรมก็จะลดน้อยลง
39
2. ความแน่นอน และความรุนแรงในการลงโทษเป็นสิ่งที่เสริมซึ่งกันและกัน นั่นคือ ถ้ามีการลงโทษที่รุนแรง และเสริมความแน่นอนแล้ว ผลในการยับยั้งอาชญากรรมสูงสุด
จากความสัมพันธ์ของระดับการลงโทษ โดยเฉพาะความแน่นอนและความรุนแรงในการลงโทษสามารถจะเขียนเป็นตัวแบบ (model) ได้ดังแผนภาพที่ 4
แผนภาพที่ 4 ความสัมพันธ์ของระดับการลงโทษ โดยเฉพาะความแน่นอนและความ
รุนแรงในการลงโทษ
รุนแรงในการลงโทษ
ความรุนแรง
(Severity)
อัตราอาชญากรรม
(Crime rates)
ความแน่นอน (Certainty)
ที่มา: จรรยา สุวรรณทัต 2515: 54.
ความคงเส้นคงวาในการลงโทษ ได้มีผู้ให้ทัศนะไว้อย่างเช่น
กอเรคกี (เสริน ปุณณะหิตานนท์ 2523: 188-189 อ้างถึง Gorecki 1979:21) กล่าวว่า ความคงเส้นคงวา เป็นสิ่งที่ยึดถือกันโดยทั่วไป และเป็นที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลายไม่ว่าจะเป็นความคงเส้นคงวาในการให้รางวัลหรือความคงเส้นคงวาในการลงโทษ อันเป็นเงื่อนไขที่จำเป็นต่อความถูกต้องชอบธรรม แม้ว่ามันจะไม่ใช่เงื่อนไขอันเดียวที่พอเพียงก็ตาม
เล็มเมร์ท (เสริน ปุณณะหิตานนท์ 2523: 188-189 อ้างถึง Lemert 1967 :42 ) อ้างถึงใน เสริน ปุณณะหิตานนท์ 2523:188-189 ) ได้อ้างถึงรายงานสำรวจนักกฎหมายและนักสังคมศาสตร์หลายคนที่แสดงให้เห็นว่า คำพิพากษาลงโทษที่ไม่คงเส้นคงวาเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เยาวชนต้อง
40
กลายเป็นอาชญากร เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว เนื่องจากทำให้ผู้ถูกลงโทษบังเกิดความรู้สึกรุนแรงในเรื่องความยุติธรรมที่ตนได้รับ
จรรยา สุวรรณทัต (2515: 54) ก็กล่าวไว้ว่าในการอบรมสั่งสอนเด็กนั้น ถ้าเราต้องการให้การลงโทษเป็นเครื่องมือในการช่วยวางระเบียบวินัยให้แก่เด็กและสังคมแล้ว ผู้ใช้เองจะต้องมีความคงเส้นคงวาต่อการใช้ในการลงโทษนั้น ๆ ด้วย
จากทฤษฎีการยับยั้งของซีซาร์ เบคคาเรีย (1738-1794) ได้อธิบายให้เห็นถึง ความชอบธรรมในการลงโทษว่า การลงโทษตามหลักอรรถประโยชน์นิยม ถือว่าการลงโทษเป็นสิ่งจำเป็นที่มุ่งถึงประโยชน์ที่จะเกิดแก่สังคมเป็นสำคัญ การที่จะพิจารณาว่าการกระทำใดเป็นการกระทำที่ถูกต้องหรือไม่นั้น พิจารณาจากความสุขที่คนส่วนใหญ่ของสังคมจะได้รับจากการกระทำนั้นเป็นสำคัญ ถ้าเป็นไปตามเหตุผลดังกล่าวนี้แล้วก็ถือได้ว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นสิ่งถูกต้องชอบธรรม และจากทัศนะต่าง ๆ ดังกล่าวย่อมแสดงว่า ความคงเส้นคงวาในการลงโทษ ย่อมมีผลต่ออารมณ์ของผู้กระทำผิดที่ถูกลงโทษ ถ้าการลงโทษไม่คงเส้นคงวาแล้ว ทำให้ผู้ถูกลงโทษคำนึงถึงความยุติธรรมที่ตนได้รับ หรือคนอื่นอาจจะขาดความเคารพยำเกรงได้ ด้วยเหตุผลนี้พอจะสรุปเป็นสมมุติฐานได้ว่าถ้ามีความคงเส้นคงวาในการลงโทษแล้วผลประสิทธิผลในการลงโทษย่อมสูงกว่ากรณีที่ไม่คงเส้นคงวา ผู้วิจัยจึงนำแนวคิดของซีซาร์ เบคคาเรีย (1738-1794) และกอเรคกี (Gorecki 1979: 21) มาเป็นแนวทางในการศึกษาในครั้งนี้
ลักษณะของกฎหมายจราจร
อิทธิ มุสิกะพงษ์ (2534 : 11 อ้างถึงใน สมศักดิ์ บุญถม 2541 : 37) ได้กล่าวถึงลักษณะของกฎหมายจราจรไว้ว่ากฎหมายจราจร เป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อให้เกิดความสะดวกและปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน เป็นกฎเกณฑ์ที่ตั้งขึ้นเพื่อใช้บังคับเพื่อการจัดระเบียบการจราจรให้ทันกับการพัฒนาการเทคโนโลยียานยนต์ และสภาพการใช้รถใช้ถนน ดังนั้น กฎหมายจราจรจึงมีลักษณะเป็นกฎหมายเทคนิค (Teachnical Law ) คือ บัญญัติขึ้นด้วยเหตุผลทางเทคนิค (Teachnical reasson )เพื่อการจัดระเบียบทางสังคม (Social Order ) ไม่ได้บัญญัติตามเหตุผลทางด้านศีลธรรม(Moral reason) เช่น การเดินรถทางซ้ายทางขวาไม่มีความผิดในตัวของมันเอง ความถูกผิดเกิดขึ้น เนื่องจากการตั้งกฎเกณฑ์ เป็นต้น
จะเห็นได้ว่า โดยพื้นฐานของกฎหมายจราจรแล้ว บัญญัติขึ้นเพื่อประโยชน์ในทางปกครอง บริหาร โดยกำหนดกฎเกณฑ์และมาตรการต่างๆ เพื่อบังคับให้เกิดความสะดวกและปลอดภัยในการ
41
ใช้รถใช้ถนน ฉะนั้น การกระทำที่ฝ่าฝืนกฎเกณฑ์ จึงอยู่นอกเหนือความรู้สึกมนุษย์ในเรื่องความผิดถูกทางศีลธรรม ซึ่งหลายๆประเทศเช่น เยอรมัน ได้แยกความผิดจราจรนี้ให้สิ้นสภาพการเป็นความผิดอาญา โดยพิจารณาจัดให้การกระทำผิดดังกล่าวเป็นลักษณะของ “การฝ่าฝืนระเบียบ” เท่านั้น เป็นผลให้การกำหนดนโยบายทางอาญาต่อผู้กระทำผิดกฎหมายจราจรไม่จำเป็นต้องใช้โทษและกระบวนการทางอาญามาบังคับ เช่นเดียวกับความผิดอาญาทั่วไป ทั่งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงผลเสียในการเข้ามาสู่กระบวนการทางอาญา และภาระการพิจาณาของศาล แต่สำหรับกฎหมายไทยไม่ได้แยกความผิดจราจรออกไปจากกฎหมายอาญา ทั้งนี้เป็นเพราะแนวคิดในการร่างกฎหมายไทย ที่นำแนวความคิดของประเทศอังกฤษมาใช้ประกอบกับการที่สังคมไทย ประชาชนยังขาดสำนึกในการปฏิบัติตามกฎหมายด้วยตนเอง หรือขาดหลักความเชื่อฟังกฎหมาย (Obedient to Law ) ดังนั้น เพื่อให้กฎหมายที่บัญญัติขึ้นมีผลบังคับใช้จึงต้องอาศัยบทลงโทษทางอาญามาใช้บังคับ
ประเภทของความผิดตามกฎหมายจราจร
ศราวุฒิ พนัศขาว (2522 : 1)ได้แบ่งประเภทความผิดตามกฎหมายจราจรได้ 2 ประเภทคือ
1. ความผิดประเภทที่เกี่ยวกับการจอดรถ (Parking violation) เป็นการที่ผู้ขับขี่ได้กระทำผิดหลังจากที่หยุดรถ หรือจอดรถแล้ว แม้จะก่อให้เกิดอุบัติเหตุหรือมีความร้ายแรงน้อยกว่า แต่โอกาสที่จะทำให้เกิดปัญหาการจราจรติดขัดก็ง่าย เช่น การจอดรถในเขตป้ายจอดรถประจำทาง การจอดรถในที่ห้ามจอด การจอดรถซ้อนคัน เป็นต้น
2. ความผิดประเภทที่เกี่ยวกับการขับเคลื่อนรถ (Moving violation) เป็นการที่ผู้ขับขี่ได้กระทำความผิดขณะที่อยู่ในระหว่างขับขี่ยวดยาน ความผิดประเภทนี้ ถือว่าเป็นความผิดประเภทที่ร้ายแรง และเป็นสาเหตุให้เกิดอุบัติเหตุจราจรมากที่สุด ได้แก่ การขับรถด้วยความเร็วเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด ขับรถฝ่าฝืนสัญญาณจราจร ขับรถในขณะมึนเมา เป็นต้น
ประเภทของผู้กระทำผิดกฎหมายจราจร
ผู้กระทำผิดกฎหมายจราจร อาจแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือผู้ใช้รถและคนเดินเท้า
1. ผู้กระทำผิดในส่วนของผู้ใช้รถ ผู้กระทำผิดในส่วนนี้อาจแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มคือ
1.1 กลุ่มผู้ขับขี่ที่มิได้มีอาชีพในการขับรถ แต่ต้องขับรถเพราะมีความจำเป็นจะต้องเดินทาง หรือประกอบธุรกิจ
1.2 กลุ่มผู้ขับขี่ที่มีอาชีพในการขับรถ เช่นคนขับรถรับจ้างสาธารณะ คนขับรถโดยสารประจำทาง หรือคนขับรถบรรทุกรับจ้าง เป็นต้น
42
2. ผู้กระทำผิดในส่วนของคนเดินเท้า เช่น การไม่เดินบนทางเท้าหรือไหล่ทาง ในทางที่มีทางเท้าหรือไหล่ทาง การขายของในทางเดินรถ การขี่ จูง หรือไล่ต้อนสัตว์ไปบนทางในลักษณะ ที่เป็นการกีดขวางการจราจร เป็นต้น
กฎหมายจราจร
ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ร.บ.การขนส่ง ทั้ง 3 ฉบับนี้ได้ประกาศใช้เมื่อ พ.ศ.2522 ซึ่งเป็นการแก้ไขกฎหมายฉบับเดิมที่ใช้มากกว่า 20 ปีแล้ว กล่าวคือ พ.ร.บ.ฉบับเดิมใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2477,2473 และ 2497 ตามลำดับ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงกฎหมาย ใหม่จะเหมาะสมกับสภาพการณ์ในปัจจุบันเพียงใด ต้องพิจารณาจากการยอมรับหรือการปฏิบัติของสังคมส่วนใหญ่ว่าสามารถที่จะปฏิบัติตามได้หรือไม่ ทั้งนี้กฎหมายที่ออกมาไม่ควรที่จะเป็นสภาพบังคับผู้ใช้ถนนมากเกินไป แต่กฎหมายจราจรของประเทศไทยร่างออกมาใช้โดยคำนึงถึงหลักความปลอดภัยเป็นประการสำคัญ ซึ่งถือว่าเป็นการใช้หลักตามแบบอย่างประเทศในยุโรปการ ถือหลักความปลอดภัย โดยการเน้นหนักเช่นนี้ ย่อมจะเกิดการหย่อนยานในหลักความสะดวกในการสัญจรไปบ้าง แต่อย่างไรก็ตามการเลือกหลักความปลอดภัยไว้ก่อนความสะดวกก็จะลดค่าความ สูญเสีย เกี่ยวกับชีวิต และทรัพย์สินลงไปได้มาก
กล่าวโดยทั่วไปแล้ว กฎหมาย ข้อบังคับ ประกาศของเจ้าพนักงานจราจร สิ่งต่างๆนี้มีอยู่เพียงพอแล้วหากไม่จำเป็นแก้ไม่ควรที่จะบัญญัติไว้อีก หากแต่ประการสำคัญควรพิจารณาว่าเจ้าหน้า ที่ของรัฐและผู้ใช้ถนนหนทางปฏิบัติตามกฎหมายข้อบังคับที่มีอยู่ครบถ้วนแล้วเพียงใด
การออกใบสั่งเจ้าพนักงานจราจร เจ้าหน้าที่ตำรวจมีอำนาจตามกฎหมายจราจรให้ออกแก่ผู้กระทำผิดได้ โดยมีอำนาจยึดใบอนุญาตขับขี่ไว้ไม่เกิน 8 ชั่วโมง และจะต้องออกใบแทนในอนุญาตขับขี่ (ก็คือใบสั่งนั่นเอง) ให้แก่ผู้กระทำผิดเพื่อใช้ได้ภายใน 7 วัน ผู้กระทำผิดจะต้องมารายงานตัวต่อพนักงานสอบสวนยังสถานีตำรวจที่ปรากฏในใบสั่ง
วัตถุประสงค์ของการมีใบสั่งก็เพื่อเป็นการแจ้งความ (notification ) เป็นหมายเรียกตัว (Summons ) เป็นแบบฟอร์มการให้สัญญา (Promissry note) และเป็นแบบฟอร์มการตำหนิติเตียน (Complaint form ) จุดประสงค์ในการใช้ใบสั่งเหล่านี้ถูกกำหนดขึ้นเพื่อเป็นบทลงโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืนกฎหมายจราจรซึ่งถูกจับกุมโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ และเพื่อเป็นการป้องกันอุบัติเหตุจราจร บทลงโทษของใบสั่งนั้นเป็นไปใน 2 ลักษณะด้วยกันคือ ผู้ฝ่าฝืนกฎหมายจราจรและได้รับใบสั่งต้องไปจ่ายค่าปรับตามเวลาที่กำหนดไว้ หรือไม่ก็ต้องขึ้นศาลหากไม่ยอมชำระค่าปรับ
43
ใบสั่งของเจ้าพนักงานจราจรแทบจะไร้ความหมายโดยสิ้นเชิง เพราะเมื่อเจ้าหน้าที่พบเห็นรถที่กระทำผิดกฎหมายจราจร แต่ไม่พบตัวผู้ขับขี่ก็จะออกใบสั่งติดไว้ที่รถนั้น ปรากฏว่าใบสั่งดังกล่าวขาดการเอาใจใส่และให้ความสำคัญจากผู้ขับขี่มากที่สุด กล่าวคือ มีผู้ไม่มารายงานตามกำหนดเวลาในใบสั่งถึงร้อยละ 80 โดยประมาณ(เมื่อปี 2520) แนวโน้มดังกล่าวนี้เพิ่มขึ้นจนน่าวิตก หากจะไม่หามาตรการใดๆ มาแก้ไขแล้ว ทัศนคติของประชาชนทั่วไปก็มองไม่เห็นความสำคัญของกฎหมายจราจรเลย
การควบคุมรถยนต์
การแก้ไขปัญหาจราจรคับคั่งอีกทางหนึ่งควรพิจารณาต้นเหตุประการหนึ่ง คือ รถยนต์ที่มีมากเกินไปโดยเฉพาะรถยนต์นั่งส่วนบุคคล เคยมีผู้คิดหาวิธีชะลอการเกิดของรถยนต์ส่วนบุคคลให้มีน้อยลง ด้วยวิธีการต่างๆกันเช่น การพิจารณาเก็บภาษีรถยนต์ตามความดังของกระบอกสูบ (เป็น ซี.ซี.) รถที่มีกำลังม้ามากก็เสียภาษีมาก แต่อย่างไรก็ตาม การเพิ่มจำนวนรถประจำทางให้มีมากขึ้นกว่าเดิมก็ไม่เป็นการแก้ไขการคับคั่ง หากยังเป็นผลให้รถติดเพิ่มมากขึ้นอีก ทางที่เป็นไปได้คือ การจัดการทำให้ระบบการขนส่งสาธารณะ สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย และประหยัด เพียงเท่านี้ก็จะทำให้ผู้ใช้รถส่วนตัวหันมาใช้รถสาธารณะมากขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องไปตั้งกำแพงภาษีรถชิดอื่นๆ ซึ่งอาจก่อความเดือดร้อนแก่ประชาชน
การห้ามยานพาหนะบางชนิดที่ประกอบสร้างมาไม่ปลอดภัยแก่การใช้ในการจราจร และการขนส่งบางท้องถิ่น การพิจารณาต่ออายุทะเบียนรถให้มีเฉพาะรถที่มีสภาพมั่นคงแข็งแรงอย่างเข้มงวดโดยเฉพาะรถสาธารณะ
การควบคุมใบอนุญาตขับรถ
ควรเปลี่ยนวิธีการสอบรับใบอนุญาตขับรถเสียใหม่ ผู้มีสิทธิสอบจำเป็นต้องมีสมรรถภาพในการขับรถเฉพาะประเภทอย่างแท้จริง อาจผ่านการทดสอบมาจากสถาบันที่จัดสถานที่ทดสอบนั้นตามหลักวิชาการโดยเฉพาะและเป็นที่รับรองของทางราชการแล้ว หรือทางราชการอาจจัดขึ้นเสียเองได้ยิ่งเป็นการดี ส่วนการสอบความรู้อื่นที่จำเป็นก็ต้องดำเนินการโดยรัดกุม อาจใช้วิธีสอบแบบปรนัย เช่น ในสหรัฐอเมริกาเข้าสอบได้คราวละหลายคน ผู้เข้าสอบจะต้องมีความรู้อย่างทั่วถึงจริงๆ จึงจะอยู่ในเกณฑ์สอบได้ ต่อจากนี้ปัญหาเรื่องสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจ ก็ต้องมีเครื่องมือทดสอบอย่างครบถ้วน ในกรณีจำเป็นต้องใช้แพทย์เข้าร่วมทำการพิจารณาวินิจไฉนด้วย หากมี
44
โรคซึ่งขัดต้อการขับรถก็ไม่ควรอนุญาต และใบอนุญาตขับขี่ที่ออกให้ก็ไม่ควรมีประเภทตลอดชีพ เพราะต่อมาผู้ขับขี่อาจบกพร่องทางกายหรือจิตใจไม่อาจขับรถได้อย่างปลอดภัย
โรงเรียนสอนขับรถยนต์ที่มีมากมายในปัจจุบัน ซึ่งเป็นของเอกชน สมควรที่กระทรวง ศึกษาธิการและกรมตำรวจ เข้าไปดำเนินการควบคุมให้เป็นตามความประสงค์ของทางราชการอย่างแท้จริง และอาจไม่รับรองโรงเรียนสอนขับรถยนต์ที่มีผู้ศึกษาจากสถาบันนั้นไปกระทำผิดกฎจราจรมากกว่ากำหนดที่ได้วางไว้ได้
ในการจัดระบบเก็บเอกสารจะต้องเปลี่ยนให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล โดยเฉพาะการป้องกันการออกใบอนุญาตขับรถซ้ำซ้อน และการบันทึกความผิดของผู้ฝ่าฝืนกฎหมายจราจรลงไว้ในใบอนุญาตขับรถ เพื่อป้องกันมิให้ผู้กระทำผิดฝ่าฝืนมากจนอาจเกิดอันตรายแก่ผู้ใช้ทางส่วนใหญ่ได้
เจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร
ควรต้องมีบุคลิกลักษณะเหมาะสมกับงานโดยเฉพาะ เป็นคนซื่อสัตย์ สุจริต สุขภาพเข้มแข็ง อดทน มีปฏิภาณไหวพริบ และเข้ากับประชาชนได้ดี จึงต้องมีวิธีการคัดเลือก และฝึกอบรม กันเป็นพิเศษ เพื่อประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างมารยาทในการขับรถแก่ประชาชนทั่วไป จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพิจารณาบุคลากรประเภทนี้ให้มีความรู้ และใช้กฎหมายอย่างเข้มแข็งเฉียบขาดและสม่ำเสมอ เป็นที่ยอมรับกันว่าหากเจ้าหน้าที่ตำรวจเอาใจใส่ในการกวดขันบังคับตามกฎหมายอย่างจริงจังแล้ว พฤติกรรมของประชาชนทั่วไปที่เคยฝ่าฝืนกฎหมายอยู่จะเปลี่ยนแปลงไป ข้อสนับสนุนในกรณีนี้ เช่น การขับรถในถนนสายบางนา- ตราด รถทุกคันจะต้องวิ่งอยู่ในช่องทางซ้ายสุด ยกเว้นกรณีแซงเท่านั้น ทั้งๆที่คนขับรถก็คนเดียวกัน รถประเภทเดียวกัน ถนนอยู่ในเมืองไทยเหมือนกัน แต่ถ้าหากขับไปยังถนนสายอื่นๆคนขับรถคนนั้นอาจขับรถฝ่าฝืนกฎหมายอีกได้
เกี่ยวกับยานพาหนะเครื่องมือสื่อสารอุปกรณ์ต่างๆ ก็มีความจำเป็นเพื่อให้การจัดและควบคุมจราจรได้ผล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการป้องกันและปราบปรามผู้กระทำผิดจะต้องกระทำโดยสม่ำเสมอ หากกำลังคนไม่เพียงพอก็ควรดำเนินการเป็นแห่งๆ ซึ่งจะได้ผลบ้างก็ยังดีกว่าตำน้ำพริกละลายแม่น้ำไม่ได้อะไรเลย
การจัดและควบคุมการจราจรจะต้องอาศัยจากผลการวิจัยอุบัติเหตุ และการจับกุมผู้กระทำผิดเป็นหลักในการดำเนินงาน แต่ไม่ควรใช้วิธีจัดสรรโควต้าแบ่งกันจับกุมให้ได้เท่านั้นรายเท่านี้ราย ไม่มุ่งจับกุมแต่ในกรณีความผิดเล็กๆน้อยๆ ซึ่งมิใช่สาเหตุแห่งอันตราย การพิจารณาการปฏิบัติงาน
45
ของตำรวจที่ตั้งใจทำงานอย่างได้ผลดีเยี่ยม ควรได้รับการพิจารณาให้บำเหน็จรางวัลเป็น พิเศษเพื่อเป็นกำลังใจ หรือให้คำยกย่องชมเชยให้เป็นแบบอย่างที่ดีต่อตำรวจผู้อื่น
ลักษณะของกฎหมายจราจร ของอิทธิ มุสิกะพงษ์ (2534 : 11 อ้างถึงใน สมศักดิ์ บุญถม 2541 : 37) ได้อธิบายถึง กฎหมายจราจรไว้ว่ากฎหมายจราจร เป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้น เพื่อให้เกิดความสะดวกและปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน เป็นกฎเกณฑ์ที่ตั้งขึ้นเพื่อใช้บังคับเพื่อการจัดระเบียบการจราจรให้ทันกับการพัฒนาการเทคโนโลยียานยนต์ และสภาพการใช้รถใช้ถนน กฎหมายจราจรจึงมีลักษณะเป็นกฎหมายเทคนิค (Technical Law ) ที่บัญญัติขึ้นด้วยเหตุผลทางเทคนิค (Technical Reason )เพื่อการจัดระเบียบทางสังคม (Social Order ) ไม่ได้บัญญัติตามเหตุผลทางด้านศีลธรรม(Moral reason) เช่น การเดินรถทางซ้ายทางขวาไม่มีความผิดในตัวของมันเอง ความถูกผิดเกิดขึ้น เนื่องจากการตั้งกฎเกณฑ์ เป็นต้น เพื่อประโยชน์ในทางปกครอง บริหาร โดยกำหนดกฎเกณฑ์และมาตรการต่างๆ เพื่อบังคับให้เกิดความสะดวกและปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน ซึ่งการกระทำที่ฝ่าฝืนกฎเกณฑ์ จึงอยู่นอกเหนือความรู้สึกมนุษย์ในเรื่องความผิดถูกทางศีลธรรม จากแนวคิดดังกล่าวสอดคล้องกับการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยได้นำมาเป็นกรอบในการศึกษา
การลงโทษผู้ฝ่าฝืนกฎหมายจราจร
การลงโทษผู้ฝ่าฝืนกฎหมายจราจรในทางปฏิบัติแล้วจะเป็นโทษปรับเสียมากกว่าด้วยเหตุผล ที่ยอมรับกันในนานาประเทศแล้วว่า การกระทำความผิดทางคดีอาญาในคดีเล็กน้อยที่ผู้กระทำผิดไม่ควรจะต้องรับโทษถึงจำคุกนั้น โทษปรับเป็นการลงโทษในทางทรัพย์สินที่ดีที่สุดทางหนึ่ง แต่โทษปรับที่นำมาใช้อย่างแพร่หลายในประเทศไทยนั้น มักจะมีอัตราตายตัวสำหรับแต่ละความผิด ทั้งนี้ โดยพิจารณาถึงความหนักเบาของความผิดเป็นสำคัญ การลงโทษในแง่นี้หากจะมองในแง่ความเป็นธรรมก็ดูจะเป็นธรรมเนื่องจากเป็นการลงโทษอย่างเสมอหน้ากัน แต่หากจะมองในแง่ทัณฑ์แล้ว จะเป็นปัญหาว่าจะสนองตอบวัตถุประสงค์ในการลงโทษได้เพียงใดหรือไม่
ในยุคปัจจุบัน ทฤษฎีการลงโทษเพื่อเป็นการแก้แค้นให้แก่สังคมไม่เป็นที่ยอมรับกันแล้ว และทฤษฎีการลงโทษเพื่อแก้ไขผู้กระทำผิดให้กลับตัวเป็นคนดีนั้น โดยสภาพแล้วก็มีอาจนำมาใช้แก่โทษปรับได้ จึงเหลือเพียงทฤษฏีป้องปราบ หรือข่มขู่เท่านั้น ที่เป็นวัตถุประสงค์ของโทษปรับ กล่าวคือ เป็นการลงโทษเพื่อมิให้ผู้ถูกลงโทษนั้นกระทำผิดซ้ำอีก และเพื่อให้ผู้อื่นเห็นตัวอย่างและเกิดความเกรงกลัว ไม่กล้ากระทำผิดเช่นนั้นในภายหน้า
46
สุพัตรา สุภาพ (2541 : 40) ได้กล่าวถึงพฤติกรรมในทางจิตวิทยาเชื่อว่า “พฤติกรรม หรือ การกระทำของบุคคล” เป็นอาการที่แสดงออกซึ่งสิ่งที่สั่งสมประสบการณ์ในด้านต่างๆตลอดระยะเวลาอันยาวนานที่ผ่านมาซื่งได้แก่
1.1 อารมณ์ (Emotion ) และความรู้สึก (Feeling) ต่อบุคคลหรือสถานการณ์ที่ประสบ ซึ่งอาจแสดงออกเป็นพฤติกรรม หรือไม่แสดงพฤติกรรมออกมา หรือเก็บกดอารมณ์และความรู้สึกนั้นไว้ใต้พฤติกรรมปกติ
1.2 ความคิด (Thought) และเหตุผล (Reasoning) ซึ่งเป็นกระบวนการที่บุคคลให้ค่าความรู้สึกต่อเหตุการณ์ ข้อเท็จจริง ความรู้และข่าวสารต่างๆ ทั้งเหตุการณ์ที่ผ่านไปแล้วและกำลังประสบอยู่
1.3 ความเชื่อ (Beliefs) และค่านิยม (Values)ได้แก่ความเชื่อเกี่ยวกับผลลัพธ์ของการกระทำต่างๆ ว่าจะส่งผลเชิงบวกหรือลบอย่างไร ความเชื่อเกี่ยวกับภาพลักษณะของตนเองเปรียบกับภาพลักษณะตัวตนของผู้อื่น ค่านิยมเป็นผลผลิตของการพิจารณาตามหลักศีลธรรมจรรยา รวมอิทธิพลของวัฒนธรรม วัฒนธรรมรอง ตลอดจนการขัดเกลาของครอบครัว กลุ่มเพื่อน เชื้อสาย เผ่าพันธุ์ และเอกลักษณ์ทางเพศ ประกอบกัน
Campbell (2537 : Abstract) ได้ทำการศึกษาเพื่อทดสอบว่าผู้ขับขี่รถยนต์เพศชาย ที่เป็นผู้มีพฤติกรรมเสี่ยงภัย มีความสัมพันธ์กับการขับรถเสี่ยงภัยจริงๆ ของหรือไม่ โดยศึกษาจากผู้ขับขี่รถแท็กซี่ผู้ชายจำนวน 79 คนในเมือง Kingston โดยใช้วิธีให้ผู้สังเกตการณ์จำนวน 2 คน ปลอมตัวเป็นผู้โดยสาร สังเกตการณ์ขับรถที่มีภาวะเสี่ยงสูง วันต่อมาผู้วิจัยได้เชิญ ผู้ขับรถแท็กซี่เหล่านั้นมาตอบแบบสอบถาม และเข้าร่วมการวัดการทดลองเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยง โดยอนุญาตให้ผู้ขับขี่ดูบันทึกการขับรถที่สังเกตการณ์ไว้ ผู้ขับขี่จำนวน 51 คน ให้ข้อมูลครบถ้วน ผลที่ได้รับพบว่าผู้ขับขี่มีลักษณะการขับรถ แบ่งได้ 3 ประเภท คือ ประเภทแรก เป็นผู้ขับขี่ที่มีความเครียดสูง มีความเสี่ยงและผจญภัยในชีวิต จะแสดงออกโดยการขับรถด้วยความเร็วสูง และปราศจากการระมัดระวังในการเปลี่ยนช่องทางของการขับขี่ ประเภทที่สอง ผู้ขับขี่รายงานว่า การขับขี่ที่เสี่ยงภัยสูงมากๆ ทำให้เขารู้สึกตื่นเต้นและพึงพอใจ มักจะขับรถด้วยความเร็วและรุนแรงไม่สุภาพ ประเภทที่สาม ไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างการขับขี่กับผลการบันทึกจากการสังเกต ผลสรุปในด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพของผู้ขับขี่กับพฤติกรรมในการขับขี่กับพฤติกรรมในการขับขี่ที่ประสบอุบัติเหตุนั้นไม่มีความสัมพันธ์กัน
บรรจง ใหญ่ยงค์ (2542 : บทคัดย่อ ) ศึกษาเรื่องการกระทำผิดกฎจราจรของผู้ขับขี่ยานพาหนะในเขตกรุงเทพมหานคร ศึกษาเฉพาะกรณีกองบังคับการตำรวจนครบาล 2 และคงกาจ ภูนกเนียม ( 2544 ) ที่ศึกษาเรื่อง ประสิทธิ์ผลในการควบคุมและจัดการจราจร : ศึกษาเปรียบเทียบเขต
47
พื้นที่สถานีตำรวจนครบาลพญาไท และปทุมวัน ผลการศึกษาสอดคล้องกันพบว่า อายุและระดับการศึกษาของประชากรมีความสัมพันธ์กับปฏิบัติตามกฎจราจร
จิตติมา เทพอารักษ์กุล ( 2543: บทคัดย่อ ) ได้ศึกษาเรื่อง มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการลงโทษผู้กระทำผิดกฎหมายจราจร พบว่า ความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกส่วนใหญ่เป็นความผิดเล็ก ๆ น้อย ๆ สามารถยุติได้ในชั้นเจ้าพนักงานซึ่งเน้นการลงโทษปรับมากกว่าการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ขับขี่ และในการใช้ดุลพินิจกำหนดจำนวนเงินค่าปรับ พบว่าเจ้าพนักงานมิได้ให้ความสำคัญต่อการคำนึงถึงฐานะของผู้กระทำความผิด โดยพระราชบัญญัติดังกล่าวให้เจ้าพนักงานมีอำนาจเปรียบเทียบปรับได้ทั้งความผิดที่ร้ายแรงและความผิดที่ไม่ร้ายแรง จึงเป็นการเปิดโอกาสให้เจ้าพนักงานใช้โทษและมาตรการบังคับเป็นข้อต่อรอง เพื่อแสวงหาผลประโยชน์โดย มิชอบ ปัญหาการจราจรที่นับวันจะติดขัดมากขึ้นส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากกระบวนการบังคับใช้กฎหมายจราจรและมาตรการลงโทษผู้กระทำผิดกฎหมายในปัจจุบันไม่มีประสิทธิภาพ และไม่เหมาะสม โดยเฉพาะวิธีการบังคับใช้มาตรการลงโทษในชั้นเจ้าพนักงานผู้บังคับใช้กฎหมาย
ผู้วิจัยได้นำแนวคิดทฤษฎีดังกล่าวข้างต้นมาทำการวิเคราะห์และสังเคราะห์ร่วมกับหลักฐานเชิงประจักษ์เป็นแนวทางในการตั้งสมมติฐานการวิจัย และกรอบแนวคิดในการวิจัยในการศึกษาครั้งนี้ โดยมีตัวแปรต้น ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคลประกอบด้วย อายุ เพศ การศึกษา รายได้และประสบการณ์การขับขี่ ปัจจัยภายนอกได้แก่ การรับรู้การดำเนินการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ ความรุนแรงของโทษการดำเนินการ บันทึกคะแนน อบรม ทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาต ขับขี่และทัศนคติต่อการดำเนินการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ และตัวแปรตามได้แก่ ประสิทธิผลในการดำเนินการมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่
บทที่ 3
วิธีดำเนินการวิจัย
ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ผู้วิจัยได้ศึกษารวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้องจาก หนังสือ งานวิจัย เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาแบบสอบถามและสมมติฐานสำหรับแบบสอบถาม และผู้วิจัยได้พัฒนาให้มีคุณภาพโดยมีรายละเอียดดังนี้
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากร
ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาเป็นผู้กระทำผิดที่มาชำระค่าปรับตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 เฉพาะข้อหาตามการดำเนินการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ ในเขตกรุงเทพมหานคร ในเดือนสิงหาคม 2547 ซึ่งจากข้อมูลจากกองกำกับการ 3 กองบังคับการตำรวจจราจรในปี 2546 เฉลี่ยใน 1 เดือน จะมีผู้มาชำระค่าปรับประมาณ 28,583 คน
กลุ่มตัวอย่าง
เนื่องจากจำนวนผู้กระทำผิดมีจำนวนมาก ผู้วิจัยได้เลือกกลุ่มตัวอย่าง จากผู้กระทำผิดที่มาชำระค่าปรับตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 เฉพาะข้อหาตามการดำเนินการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ ในเขตกรุงเทพมหานคร ในช่วงเดือนสิงหาคม ในระยะเวลา 1 เดือน โดยใช้ตาราง Krejcieและ Morgan ในการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง ได้เท่ากับ 379 คน ซึ่งนำมาใช้การเลือกตัวอย่างแบบมีระบบ (Systematic Sampling) จาก 88 สถานีตำรวจนครบาล ที่ทำหน้าที่ในการเปรียบเทียบปรับคดีจราจรในพื้นที่รับผิดชอบของกองบัญชาการตำรวจนครบาล และจะเก็บแบบสอบถามจากผู้กระทำผิดที่มาชำระค่าปรับทุก 75 คน ในแต่ละสถานีตำรวจ
49
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้ประกอบไปด้วยการวิจัยจากเอกสาร และการวิจัยภาคสนาม โดยการวิจัยจากเอกสาร เป็นการศึกษาจากเอกสารดังต่อไปนี้
1. เอกสารที่เกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมาย
2. งานวิจัยและบทความต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องการวิจัยภาคสนาม
3. การสำรวจจากตัวอย่างผู้กระทำผิดตามการดำเนินการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างและปรับปรุงขึ้นโดยมีลักษณะของคำตอบเป็นคำตอบแบบทั้งปลายเปิดและปลายปิด ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ส่วน มีรายละเอียดแบบสอบถามมีดังนี้
ส่วนที่ 1 ปัจจัยส่วนบุคคล 6 ข้อ เป็นคำถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 5 ข้อ
ส่วนที่ 2 ปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อการดำเนินการมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ จำนวน 24 ดังนี้
1. คำถามเกี่ยวกับ การรับรู้การดำเนินการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ จำนวน 8 ข้อ
2. คำถามเกี่ยวกับทัศนคติต่อการดำเนินการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ จำนวน 8 ข้อ
3. คำถามเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมาย ตามการดำเนินการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ จำนวน 8 ข้อ
4. คำถามเกี่ยวกับการดำเนินการมาตรการบันทึกคะแนน อบรม ทดสอบ ผู้ขับขี่ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ จำนวน 2 ข้อ
ส่วนที่ 3 ปัญหาและข้อเสนอแนะ
ลักษณะของแบบสอบถาม มี 2 แบบคือ
1. แบบคำถามเปิด ( Open ended Questionnaire ) ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสกว้างๆ ให้ผู้ตอบสามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ
2. แบบคำถามปิด ( Close ended Questionnaire ) ซึ่งได้กำหนดคำถามไว้ล่วงหน้า โดยให้ผู้ตอบเลือกตอบจากคำตอบที่กำหนดให้เท่านั้น โดยใช้มาตรวัดแบบลิเคิร์ท ( Likert ) แต่ละข้อคำ

การศึกษาการบังคับใช้การดำเนินการมาตรการบันทึกคะแนนอบรม ทดสอบผู้ขับขี่ ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ (ตอนที่ 1)
การศึกษาการบังคับใช้การดำเนินการมาตรการบันทึกคะแนนอบรม ทดสอบผู้ขับขี่ ที่กระทำผิด และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ (ตอนที่ 2)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น