ศึกษาและโหลดฟรีเป็นตัวอย่างเกี่ยวกับงานวิจัย all free download research
วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2552
การศึกษาประสิทธิภาพการดำเนินงานของสำนักวิทยบริการ (ตอนที่ 1)
การศึกษาประสิทธิภาพการดำเนินงานของสำนักวิทยบริการ
สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
นางสาววรุณรัตน์ คนซื่อ
วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
ปีการศึกษา 2546
ISBN : 974-373-338-8
ลิขสิทธิ์ของสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ข
A STUDY OF THE OPERATION EFFECTIVENESS OF ACADEMIC
RESOURCES CENTER, RAJABHAT INSTITUTE
BANSOMDEJCHAOPRAYA
MS.WAROONRAT KHONSUE
A Thesis Submitted in Partial Fulfillment of the Requirements
for the Master of Arts Program in Library and Information Science
Rajabhat Institute Bansomdejchaopraya
Academic Year 2003
ISBN : 974-373-338-8
ค
วิทยานิพนธ์ การศึกษาประสิทธิภาพการดำเนินงานของสำนักวิทยบริการ สถาบันราชภัฏ
บ้านสมเด็จเจ้าพระยา
โดย นางสาววรุณรัตน์ คนซื่อ
สาขา บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ (แขนงการจัดการสารสนเทศเพื่อธุรกิจ)
ประธานกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ชัชวาลย์ วงษ์ประเสริฐ
กรรมการ รองศาสตราจารย์ ดร.นันทา วิทวุฒิศักดิ์
บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา อนุมัติให้วิทยานิพนธ์นี้เป็น
ส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
........................................................... คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
(ดร. สรายุทธ์ เศรษฐขจร)
คณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์
.................................................... ประธานกรรมการ
(ศาสตราจารย์ ดร.สายหยุด จำปาทอง)
.................................................... กรรมการ
(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชัชวาลย์ วงษ์ประเสริฐ)
.................................................... กรรมการ
(รองศาสตราจารย์ ดร.นันทา วิทวุฒิศักดิ์)
.................................................... กรรมการ
(รองศาสตราจารย์หรรษา ศิวรักษ์)
.................................................... กรรมการและเลขานุการ
(รองศาสตราจารย์สมชาย พรหมสุวรรณ)
ง
วรุณรัตน์ คนซื่อ. (2546). การศึกษาประสิทธิภาพการดำเนินงานของสำนักวิทยบริการ
สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. วิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ :
บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. คณะกรรมการควบคุม :
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ชัชวาลย์ วงษ์ประเสริฐ, รองศาสตราจารย์ ดร.นันทา
วิทวุฒิศักดิ์
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการดำเนินงานของสำนักวิทยบริการ
สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ตามมาตรฐานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของสหรัฐอเมริกา
11 ด้าน กลุ่มประชาการที่ศึกษา คือ อาจารย์บรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ห้องสมุด ที่ทำงานอยู่ใน
สำนักวิทยบริการ จำนวน 24 คน กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ นักศึกษาปริญญาโท จำนวน 9 คน
นักศึกษาภาคปกติ จำนวน 150 คน และนักศึกษาภาค กศ.บป. จำนวน 226 คน รวมจำนวน 409
คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีแจกแจงความถี่
หาค่าร้อยละ หาค่าเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มอาจารย์บรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ห้องสมุด ซึ่งตอบแบบสอบ
ถามทั้ง 11 ด้าน ส่วนกลุ่มนักศึกษา ตอบแบบสอบถามเฉพาะ 6 ด้าน คือ ด้านทรัพยากร
ด้านการบริการ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านการเข้าถึง ด้านการสอน และด้านการสื่อสารและ
ความร่วมมือ ผลการวิจัยโดยภาพรวม พบว่า การดำเนินงานของสำนักวิทยบริการมีประสิทธิภาพ
อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่า กลุ่มอาจารย์บรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่
ห้องสมุด เห็นว่า มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมาก 6 ด้าน ได้แก่ ด้านการวางแผน ด้านงบประมาณ
ด้านทรัพยากร ด้านการบริการ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก และด้านการประเมินและประเมินผล
ลัพธ์ ส่วนที่เหลืออีก 5 ด้าน เห็นว่ามีประสิทธิภาพอยู่ในระดับปานกลาง แต่กลุ่มนักศึกษามีความ
เห็นว่าการดำเนินงานของสำนักวิทยบริการ โดยภาพรวมมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อ
พิจารณาแต่ละด้าน นักศึกษาปริญญาโท เห็นว่ามีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมาก 4 ด้าน ได้แก่ ด้าน
บริการ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านการเข้าถึง และด้านการสื่อสารและความร่วมมือ ที่เหลือ
อีก 2 ด้าน เห็น ว่ามีป ระสิทธิภ าพ อยู่ในระดับ ปานกลาง นักศึกษาภ าคปกติ เห็น ว่า
มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมากอยู่ด้านเดียว คือ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ที่เหลืออีก 5 ด้าน
เห็นว่ามีประสิทธิภาพอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนนักศึกษาภาค กศ.บป. เห็นว่ามีประสิทธิภาพ
อยู่ในระดับปานกลางทั้ง 6 ด้าน
จ
WAROONRAT KHONSUE (2003). A Study of the Operation Effectiveness of the
Academic Resources Center, Rajabhat Institute Bansomdejchaopraya. Master
Thesis, Bangkok : Graduate School, Rajabhat Institute Bansomdejchaopraya.
Advisor Committee : Assistant Professor Dr. Chatchawan Wongprasert,
Associate Professor Dr.Nanta Witwuttisak.
This research aimed at studying the effectiveness of the operations of the Academic
Resource Center of Rajabhat Institute Bansomdej Chaopraya relating to the 11 aspects of the
Standards for College Libraries 2000 Edition. The subjects were 24 teacher-librarians (lecturers
of the Department of Library and Information Science who also work at the Academic Resource
Center) and librarians who work at the Center; 9 graduate students; 150 regular students; and 226
twilight program students, totally 409 persons. The research tool was the questionnaire. Data
analysis used frequency; percentage; arithmetic mean; and standard deviation.
The research results revealed that the group of teacher-librarians and librarians
responded to the 11 aspects and the students group responded to 6 aspects which were planning;
budget; resources; services; facilities; assessment and outcomes, viewed that the operations of the
Academic Resource Center were at the moderate level. As considering the opinions of teacherlibrarians
and librarians who were the respondents to the 11 aspects showing that the operations
were effective only 6 aspects which were planning; budget; resources; services; facilities;
assessment and outcomes. For the other 5 aspects which were services; personnel; access;
instruction; and communication and cooperation showing that the effectiveness was at the
moderate level. But the student group viewed that the operations of the Academic Resource
Center were at the moderate level. The graduate student group viewed that the operations were
effective in 4 aspects which were services; facilities; access; and communication and cooperation.
The other 2 aspects they considered that the only facilities were effective. The regular student
group viewed that the only facilities aspect was effective and that the other 5 aspects were at the
moderate level. However the twilight program students viewed that the effectiveness of the 6
aspects were at the moderate level.
ฉ
ประกาศคุณูปการ
วิท ยานิ พ น ธ์ฉบั บ นี้ สำ เร็จลงด้ วยดี เพ ราะได้ รับ ค วาม กรุณ าอย่างยิ่งจาก
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชัชวาลย์ วงษ์ประเสริฐ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ และ รองศาสตราจารย์
ดร.นันทา วิทวุฒิศักดิ์ กรรมการวิทยานิพนธ์ ที่ได้เอาใจใส่ให้คำแนะนำ และตรวจสอบแก้ไข เพื่อ
ให้วิทยานิพนธ์มีความถูกต้อง ผู้วิจัยขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงไว้ในโอกาสนี้
ขอกราบขอบพระคุณ ศาสตราจารย์ ดร.สายหยุด จำปาทอง รองศาสตราจารย์ หรรษา
ศิวรักษ์ รองศาสตราจารย์ สมชาย พรหมสุวรรณ กรรมการสอบวิทยานิพนธ์ และ ดร. สรายุทธ์
เศรษฐขจร คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย ที่ได้กรุณาให้คำแนะนำและข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ ตลอด
จนช่วยแก้ไขวิทยานิพนธ์ให้มีความสมบูรณ์ถูกต้องยิ่งขึ้น
ขอขอบพระคุณคณาจารย์ สาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ บัณฑิต
วิทยาลัยสถาบันราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ทุกท่านที่ได้ประสิทธิ์ประสาทความรู้แก่ผู้วิจัย
ขอขอบคุณผู้เชี่ยวชาญทุกท่านที่ได้กรุณาตรวจสอบ แก้ไข ให้คำแนะนำในการสร้าง
เครื่องมือในการวิจัย และขอขอบคุณอาจารย์และบรรณารักษ์ห้องสมุด และนักศึกษาสถาบัน
ราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ที่ให้ความอนุเคราะห์ในการให้ข้อมูล และตอบแบบสอบถาม
ขอขอบคุณญาติพี่น้องทุกคน ตลอดจนผู้ร่วมงานทุกท่าน และเพื่อนร่วมชั้นเรียนที่เป็น
กำลังใจและช่วยเหลือในการทำวิจัยในครั้งนี้ด้วยดีเสมอมา
คุณความดีของวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ขอมอบให้บุพการี และคณาจารย์
วรุณรัตน์ คนซื่อ
ช
สารบัญ
หน้า
บทคัดย่อภาษาไทย…………………………………………………………..………….. ง
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ………………………………………………………………….. จ
ประกาศคุณูปการ…………………………………………………………………….…. ฉ
สารบัญ……………………………………………………………………….…………. ช
สารบัญตาราง……………………………………………………………………..……. ฎ
สารบัญแผนภูมิ……………………………………………………………………….... ฑ
บทที่ 1 บทนำ
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา……………..………………………... 1
วัตถุประสงค์ของการวิจัย……………………………………………………… 2
ขอบเขตของการวิจัย…………………………………………………………... 2
นิยามศัพท์เฉพาะ……………………………………..……………………..… 3
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ……………………………………………….……. 3
กรอบแนวคิดในการวิจัย ……….……………….………………..……….….. 4
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ตอนที่ 1 แนวคิดทฤษฎีการบริการทรัพยากรสารสนเทศ……………………... 10
1. แนวคิดเกี่ยวกับห้องสมุด………………………………………... 10
1.1 ความหมายของห้องสมุด…………………………………. 10
1.2 ความสำคัญของห้องสมุด…………………………………. 11
1.3 บทบาทของห้องสมุด……………………………………... 13
1.4 หน้าที่ของห้องสมุดวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย…..………... 14
2. ทฤษฎีและหลักการให้บริการ………………………………….. 16
3. งานบริการและประเภทการให้บริการทรัพยากรสารสนเทศ……...16
3.1 ความหมายของงานบริการ……………………………….….16
3.2 ความสำคัญของงานบริการ……………….……….………. 17
3.3 ความหมายของการให้บริการ……………………………..... 18
3.4 ความหมายและประเภทการให้บริการสารสนเทศ………..…18
3.4.1 ความหมายของสารสนเทศ………………………...... 18
3.4.2 ประเภทการให้บริการสารสนเทศ…………………… 19
ซ
สารบัญ (ต่อ)
หน้า
ตอนที่ 2 มาตรฐานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของสหรัฐอเมริกา 11 ด้าน………….. 22
1. การบริหาร ……………………………………………………………… 23
2. การวางแผน…………………………………………………………….. 23
3. งบประมาณ…………………………………………………..…………. 24
4. บุคลากร………………………………………………………………… 24
5. ทรัพยากร……………………………………………………….………. 24
6. การบริการ……………………………………………………….……… 25
7. สิ่งอำนวยความสะดวก………………………………………………….. 25
8. การเข้าถึง………………………………………………………………. 25
9. การสอน…………………………………………………………………. 25
10. การสื่อสาร/ความร่วมมือ……………………………………………...... 26
1.1 การประเมิน/ผลลัพธ์…………………………………………………… 26
ตอนที่ 3 มาตรฐานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของทบวงมหาวิทยาลัย 8 ด้าน……... 28
1. โครงสร้างและการบริหาร…………………………..………………..…. 28
2. งบประมาณและการเงิน…………………………………….…………... 29
3. บุคลากรห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา…………………..……………….. 29
4. ทรัพยากรสารสนเทศ…………………………………..…………….…. 31
5. อาคาร สถานที่ และครุภัณฑ์……………………………..………….…. 33
6. การบริการ…………………………………………………………….… 34
7. ความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา……………..……….. 34
8. การประเมินคุณภาพห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา………………..…….. 35
ตอนที่ 4 ปัจจัยการประกันคุณภาพห้องสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่…………..……. 36
1. ด้านการบริหารห้องสมุด………………………………………….…..… 37
2. ด้านทรัพยากรสารสนเทศ………………………………………….…… 40
3. ด้านเครื่องมือช่วยค้น…….…………………….………………………. 41
4. ด้านการบริการ…………………………………….…………………… 41
5. ด้านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์……………….……..……………….. 43
ฌ
สารบัญ (ต่อ)
หน้า
ตอนที่ 5 ประสิทธิภาพการดำเนินงานของสำนักวิทยบริการ
สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ตามมาตรฐานห้องสมุด
สถาบันอุดมศึกษาของสหรัฐอเมริกา ทั้ง 11 ด้าน………………………………….. 48
1. การบริหาร ………………………………………………………………..….…. 48
2. การวางแผน……………………………………………………………..….….... 53
3. งบประมาณ…………………………………………………………….……….. 53
4. บุคลากร………………………………………………………………….……... 54
5. ทรัพยากร………………………………………………………………..…….… 56
6. การบริการ……………………………………………………………..………... 57
7. สิ่งอำนวยความสะดวก…………………………………………………..…….… 60
8. การเข้าถึง…………………………………………………………….…..……… 62
9. การสอน…………………………………………………………….……….….. 66
10. การสื่อสารและความร่วมมือ……………………………………….……….…. 71
11. การประเมินและผลลัพธ์………………………………………….……….…… 72
ตอนที่ 6 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
1. งานวิจัยในต่างประเทศ………………………………….………….…..………. 72
2. งานวิจัยในประเทศไทย…………………………………………………………. 73
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย
1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง……………………………………….…………….. 78
2. การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย.…………………………….……………...... 79
3. การเก็บรวบรวมข้อมูล…………………………………………….………….… 81
4. การวิเคราะห์ข้อมูล………………………………………………..………….… 81
5. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล.…………………..……………………………. 82
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ตอนที่ 1 วิเคราะห์ข้อมูลสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม….……………………. 84
ตอนที่ 2 วิเคราะห์ข้อมูลการศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิภาพการดำเนินงาน
ของสำนักวิทยบริการ ตามมาตรฐาน 11 ด้าน…………………………….. 86
1. ผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นของอาจารย์และบรรณารักษ์……..………………... 86
2. ผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นของนักศึกษา……………………………..……….. 98
ญ
สารบัญ (ต่อ)
หน้า
บทที่ 5 สรุป อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
1. วัตถุประสงค์ของการวิจัย……………………………………………………….... 113
2. วิธีดำเนินการวิจัย…….……………………………………….………………….. 113
3. การวิเคราะห์ข้อมูล……………………………………………………………..… 114
4. สรุปผลการวิจัย…………………………………………………………………… 114
5. การอภิปรายผลการวิจัย………………………….………………………………. 115
ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย.……………………………….……………………. 121
ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป……………………………………………… 121
บรรณานุกรม……………………………………………………………………………….. 122
ภาคผนวก
ภาคผนวก ก หนังสือเชิญผู้เชี่ยวชาญตรวจเครื่องมือ…………………………...... 128
ภาคผนวก ข แบบสอบถามสำหรับการตรวจสอบความเที่ยงตรง……………….. 132
ภาคผนวก ค รายชื่อผู้เชี่ยวชาญตรวจแบบสอบถาม……………………………... 148
ภาคผนวก ง แบบสอบถามฉบับสมบูรณ์ ชุดที่ 1 และชุดที่ 2 ………….………... 150
ภาคผนวก จ ประวัติผู้วิจัย……………………………………………………...… 164
ฎ
สารบัญตาราง
ตารางที่ หน้า
1 เปรียบเทียบมาตรฐานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของสหรัฐอเมริกา
กับ มาตรฐานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของทบวงมหาวิทยาลัย……………. 36
2 เปรียบเทียบมาตรฐานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของทบวงมหาวิทยาลัย
กับ ปัจจัยการประกันคุณภาพหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่…………………. 45
3 เปรียบเทียบปัจจัยประกันคุณภาพหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
กับมาตรฐานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของสหรัฐอเมริกา………………….. 47
4 แสดงจำนวนประชากรที่ใช้ในการวิจัยกลุ่มอาจารย์และบรรณารักษ์…………. 78
5 แสดงประชากรและกลุ่มตัวอย่างของ อาจารย์และบรรณารักษ์
และนักศึกษา………………………………………………………………….. 79
6 สถานภาพและร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถามกลุ่มอาจารย์
และบรรณารักษ์………………………………………………………………. 84
7 สถานภาพและร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถามกลุ่มนักศึกษา………….……… 85
8 ความคิดเห็นของอาจารย์และบรรณารักษ์ต่อประสิทธิภาพการดำเนินงาน
ของสำนักวิทยบริการ สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ด้านการบริหาร ……………………………………………………………… 86
9 ความคิดเห็นของอาจารย์และบรรณารักษ์ต่อประสิทธิภาพการดำเนินงาน
ของสำนักวิทยบริการ สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ด้านการวางแผน …………………………..…………………………………. 87
10 ความคิดเห็นของอาจารย์และบรรณารักษ์ต่อประสิทธิภาพการดำเนินงาน
ของสำนักวิทยบริการ สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ด้านงบประมาณ …………………………………………….….……………. 87
11 ความคิดเห็นของอาจารย์และบรรณารักษ์ต่อประสิทธิภาพการดำเนินงาน
ของสำนักวิทยบริการ สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ด้านบุคลากร ……………………..………………………………………….. 88
12 ความคิดเห็นของอาจารย์และบรรณารักษ์ต่อประสิทธิภาพการดำเนินงาน
ของสำนักวิทยบริการ สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ด้านทรัพยากร.……………………..……………………………………..…… 89
ฏ
สารบัญตาราง (ต่อ)
ตารางที่ หน้า
13 ความคิดเห็นของอาจารย์และบรรณารักษ์ต่อประสิทธิภาพการดำเนินงาน
ของสำนักวิทยบริการ สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ด้านการบริการ …..……………………………………………..………….. 91
14 ความคิดเห็นของอาจารย์และบรรณารักษ์ต่อประสิทธิภาพการดำเนินงาน
ของสำนักวิทยบริการ สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ………………………………………………….93
15 ความคิดเห็นของอาจารย์และบรรณารักษ์ต่อประสิทธิภาพการดำเนินงาน
ของสำนักวิทยบริการ สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ด้านการเข้าถึง …………………………………………………….….……..… 94
16 ความคิดเห็นของอาจารย์และบรรณารักษ์ต่อประสิทธิภาพการดำเนินงาน
ของสำนักวิทยบริการ สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ด้านการสอน ……………………….…………………………….…………… 95
17 ความคิดเห็นของอาจารย์และบรรณารักษ์ต่อประสิทธิภาพการดำเนินงาน
ของสำนักวิทยบริการ สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ด้านการสื่อสารและความร่วมมือ …………………………………….……… 96
18 ความคิดเห็นของอาจารย์และบรรณารักษ์ต่อประสิทธิภาพการดำเนินงาน
ของสำนักวิทยบริการ สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ด้านการประเมินและผลลัพธ์ …..…………………………………………… 97
19 ความคิดเห็นของนักศึกษา ทั้ง 3 ระดับ ต่อประสิทธิภาพการดำเนินงาน
ของสำนักวิทยบริการ สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ด้านทรัพยากร …………………………………………………………....….. 99
20 ความคิดเห็นของนักศึกษา ทั้ง 3 ระดับ ต่อประสิทธิภาพการดำเนินงาน
ของสำนักวิทยบริการ สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ด้านบริการ …….. 101
21 ความคิดเห็นของนักศึกษา ทั้ง 3 ระดับ ต่อประสิทธิภาพการดำเนินงาน
ของสำนักวิทยบริการ สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก …………………….……………………..…….. 104
ฐ
สารบัญตาราง (ต่อ)
ตารางที่ หน้า
22 ความคิดเห็นของนักศึกษา ทั้ง 3 ระดับ ต่อประสิทธิภาพการดำเนินงาน
ของสำนักวิทยบริการ สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ด้านการเข้าถึง ………………………………………………….……….. 106
23 ความคิดเห็นของนักศึกษา ทั้ง 3 ระดับ ต่อประสิทธิภาพการดำเนินงาน
ของสำนักวิทยบริการ สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ด้านการสอน …………………..…………….……..………………….….. 107
24 ความคิดเห็นของนักศึกษา ทั้ง 3 ระดับ ต่อประสิทธิภาพการดำเนินงาน
ของสำนักวิทยบริการ ด้านการสื่อสารและความร่วมมือ…….….…………. 109
25 สรุปภาพรวมความคิดเห็นของอาจารย์และบรรณารักษ์ และนักศึกษา
ต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของสำนักวิทยบริการ 11 ด้าน……………… 111
ฑ
สารบัญตารางภาพ
หน้า
แผนภูมิที่
1 กรอบแนวคิดในการวิจัย……………………………………..……………... 4
2 โครงสร้างสำนักวิทยบริการ………………………………………………….. 52
บทที่ 1
บทนำ
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เป็นสถาบันอุดมศึกษาซึ่งอยู่ในยุคแห่งการปฏิรูป
การศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และมีผลต่อการจัดการเรียน
การสอนในระดับต่าง ๆ ดังนั้นสถาบันจึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนการจัดการเรียนการสอนให้เหมาะ
กับสังคมปัจจุบัน เพื่อต้องการให้สถาบันมีเอกภาพ ประสิทธิภาพ และคุณภาพ สถาบันจะต้องเป็นที่
พึ่งของสังคม โดยการผลติ ผรู้ ู้ ผสู้ รา้ งความร ู้ และองค์ความรู้ สร้างขีดความสามารถให้คนไทยใน
ศตวรรษหน้าไม่เป็นเพียงผู้บริโภคความรู้และเทคโนโลยี แต่พึงเป็นนักประดิษฐ์ คิดค้น นักวิจัย
นักวิทยาศาสตร์ มากขึ้น (อมรวิชช์ นาครทรรพ, 2544:27) เพื่อปรับปรุงการศึกษาให้สอดคล้องกับ
การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม มุ่งสร้างสังคมไทยให้เป็น “สังคมแห่งการเรียนรู้”
ซึ่งในปัจจุบันมีข้อมูลข่าวสารที่ต้องเรียนรู้ การเรียนรู้ใหม่ ๆ จึงต้องเน้นการให้ คิดเป็น ทำเป็น
เป็นตัวของตัวเองในด้านของความคิด สามารถจินตนาการ ริเริ่ม สร้างสรรค์ การเรียนการสอน
จึงต้องเปลี่ยนจากระบบป้อนให้มาเป็นระบบเรียนรู้ด้วยตนเอง สามารถรู้วิธีการเรียนรู้ (ยืน
ภู่วรวรรณ, 2543:11) และถ้าจะสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ให้สำเร็จ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความ
พร้อมในเรื่องของข้อมูลข่าวสาร ที่ตอบสนองต่อความต้องการและการนำไปใช้ประโยชน์ของผู้ใช้
บริการ แหล่งที่สามารถตอบสนองความต้องการที่ดีที่สุดก็คือห้องสมุด (นันทา วิทวุฒิศักดิ์,
2545:9)
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (2542 : 14) มาตรา 25 ได้ให้
ความสำคัญกับห้องสมุดว่าเป็นแหล่งข้อมูลและแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต จำเป็นต้องดำเนินการจัด
ตั้งห้องสมุดให้พร้อมและเพียงพอให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นปัจจัยเกื้อหนุนที่จะส่งเสริม
การเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตที่สำคัญที่สุด เพราะห้องสมุดเป็นแหล่งรวมวิทยาการ เป็นศูนย์
ปฏิบัติการ ที่กระทำหน้าที่เป็นสื่อระหว่างบุคคลและเป็นสื่อวัสดุความรู้ (พจน์ สะเพียรชัย, 2532)
ห้องสมุดจึงเป็นปัจจัยหลักหรือปัจจัยสำคัญ เป็นเครื่องมือในการสร้างความเป็นเลิศ
ทางวิชาการ สนับสนุนการเรียนรู้ด้วยตนเองตลอดชีวิต ทั้งการศึกษาในระบบ นอกระบบ และ
ตามอัธยาศัย บริการวิชาการทั้งในสถาบัน นอกสถาบัน อย่างไร้ขอบเขต เวลา และสถานที่ ทั้งเพื่อ
การศึกษา การดำรงชีวิต และเพื่อสุขภาพ คุณภาพชีวิตที่ดี ภารกิจของห้องสมุดจะกว้างขวางกว่า
ภารกิจของห้องสมุดในปัจจุบันมาก "และเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ไม่ได้อยู่โดดเดี่ยวและไม่ได้
2
ตั้งขึ้นเพื่อประโยชน์ของผู้ใดผู้หนึ่งเท่านั้น หากเพื่อประโยชน์ของสังคมเป็นส่วนรวม" (คุณหญิง
แม้นมาส ชวลิต 2543 : 45)
โลกปัจจุบันเป็นยุคแห่งการทะลักทะลายของข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ หลากหลาย
รูปแบบ ทำให้เกิดผลกระทบต่อการเรียนการสอนที่ครูหรือผู้ให้ความรู้ จำเป็นต้องเปลี่ยนวิถี
ทางการเรียนการสอนใหม่ โดยผู้เรียนต้องรู้จักสืบค้นและแสวงหาข่าวสารความรู้และนำความรู้นั้น
มาใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมด้วยตนเองมากยิ่งขึ้น เพื่อปรับตัวให้สามารถดำรงชีวิตอยู่
ในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาได้ สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏและสถาบันราชภัฏได้
ตระหนักถึงปัญหาของโลกยุคไร้พรมแดน จึงเห็นความจำเป็นต้องพัฒนาสำนักวิทยบริการให้มีศักย
ภาพสูงในการบริการให้สามารถตอบสนองความต้องการเรียนรู้และสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวด
เร็ว (สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ, 2543 : 1-12) ความเปลี่ยนแปลงและความท้าทายเหล่านี้เป็นแรง
กระตุ้นและแรงกดดันให้ห้องสมุดต้องปรับตัว จะปรับอย่างไร แค่ไหน และจะดำเนินการอย่างไร
อะไรคือประสิทธิภาพในการดำเนินงานของสำนักวิทยบริการ สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ยังไม่มีผู้ศึกษา
ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาเรื่อง “การศึกษาประสิทธิภาพการดำเนินงานของสำนักวิทยบริการ
สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา” เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการดำเนินการของสำนักวิทยบริการ
11 ด้าน ตามมาตรฐานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของสหรัฐอเมริกา เพื่อนำผลการวิจัยนี้ไปเป็นข้อ
มูลในการพัฒนา กำหนดนโยบาย และวางแผนเกี่ยวกับการส่งเสริม สนับสนุนการใช้บริการและ
การนำมาใช้ในงานการเรียนการสอน และการวิจัยของสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ต่อไป
ในอนาคต
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการดำเนินงานของสำนักวิทยบริการ สถาบันราชภัฏ
บ้านสมเด็จเจ้าพระยา ตามมาตรฐานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของสหรัฐอเมริกา 11 ด้าน
ขอบเขตของการวิจัย
การศึกษาครั้งนี้ ศึกษาภายใต้ขอบเขต ด้านประสิทธิภาพการดำเนินงานของสำนักวิทย
บริการ สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ในกรอบของเกณฑ์มาตรฐาน 11 ด้าน ของห้องสมุด
สถาบันอุดมศึกษาของสหรัฐอเมริกา (Ruetten, Bostain, and Casey, 2000 : 570) คือ 1) การบริหาร
3
2) การวางแผน 3) งบประมาณ 4) บุคลากร 5) ทรัพยากร 6) การบริการ 7. สิ่งอำนวยความ
สะดวก 8) การเข้าถึง 9) การสอน 10) การสื่อสารและความร่วมมือ 11) การประเมินผลลัพธ์
นิยามศัพท์เฉพาะ
ประสิทธิภาพ หมายถึง ความสามารถในการดำเนินงานของสำนักวิทยบริการให้สำเร็จ
บรรลุเป้าหมายด้วยดีที่สุด สร้างความพึงพอใจให้กับอาจารย์และนักศึกษาผู้รับบริการได้สูงสุด
การดำเนินงานของสำนักวิทยบริการ หมายถึง กระบวนการการดำเนินงานในมุมมองของผู้
รับผล เช่น การยอมรับของผู้รับบริการ ความถูกต้องเหมาะสมทางวิชาการ การเข้าถึงบริการ ศักย
ภาพของการให้บริการของสำนักวิทยบริการ
ดัชนี/ตัวบ่งชี้คุณภาพ หมายถึง ตัวบ่งชี้ว่าการดำเนินงานในแต่ละองค์ประกอบคุณภาพ
เป็นไปตามเกณฑ์และมาตรฐานการศึกษาที่กำหนด
ห้องสมุด หมายถึง สำนักวิทยบริการ สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ผู้ใช้ห้องสมุด หมายถึง นักศึกษาภาคปกติ นักศึกษาภาค กศ.บป. และนักศึกษาปริญญา
โท สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ที่มาใช้บริการสำนักวิทยบริการ
อาจารย์บรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ห้องสมุด หมายถึง ผู้ที่ปฏิบัติการงานสอนและปฏิบัติ
งานในสำนักวิทยบริการ
นักศึกษาปริญญาโท หมายถึง นักศึกษาที่กำลังศึกษาในระดับมหาบัณฑิต
นักศึกษาภาคปกติ หมายถึง นักศึกษาที่กำลังศึกษาในระดับปริญญาตรีภาคเวลา
ราชการ
นักศึกษา กศ.บป. หมายถึง นักศึกษาที่กำลังศึกษาในระดับปริญญาตรีภาคบุคลากร
ประจำการซึ่งใช้เวลาศึกษานอกเวลาราชการ
มาตรฐาน หมายถึง สิ่งที่ถือเอาเป็นหลักเกณฑ์สำหรับเทียบกำหนดในการปฏิบัติงานให้
บรรลุเป้าหมายได้ด้วยดี
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ทำให้ทราบถึงประสิทธิภาพการดำเนินงานของสำนักวิทยบริการ สถาบันราชภัฏ
บ้านสมเด็จเจ้าพระยา ตามมาตรฐาน 11 ด้าน ของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของสหรัฐอเมริกา
2. เป็นแนวทางสำหรับงานสารสนเทศของสำนักวิทยบริการสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จ
เจ้าพระยา ในการปรับปรุงเครื่องมือช่วยค้นให้สอดคล้องกับความต้องการ และพฤติกรรมการค้น
ของอาจารย์และนักศึกษาได้อย่างสะดวก และรวดเร็ว
4
3. เป็นแนวทางสำหรับบรรณารักษ์ ที่ทำหน้าที่ให้บริการในการสอนการค้นหา
สารสนเทศต่าง ๆ รวมทั้งดำเนินการประชาสัมพันธ์ และให้คำแนะนำการค้นสารสนเทศที่ถูกต้อง
เพื่อให้อาจารย์และนักศึกษาสามารถค้นหาสารสนเทศได้อย่างถูกวิธีและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ผู้วิจัยได้นำแนวคิดและทฤษฎีดังกล่าวมาวิเคราะห์ และสังเคราะห์ร่วมกับหลักฐาน
เชิงประจักษ์สร้างเป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย เรื่อง “การศึกษาประสิทธิภาพการดำเนินงานของ
สำนักวิทยบริการ สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จจ้าพระยา” ดังแผนภาพที่ 1
ตอนที่
ประสิทธิภาพการดำเนินงานของ
สำนักวิทยบริการ
1. การบริหาร
2. การวางแผน
3. งบประมาณ
4. บุคลากร
5. ทรัพยากร
6. การบริการ
7. สิ่งอำนวยความสะดวก
8. การเข้าถึง
9. การสอน
10. การสื่อสารและความร่วมมือ
11. การประเมินผลลัพธ์
ตอนที่ 1 แนวคิดทฤษฎีการบริการทรัพยากรสารสนเทศ
1. แนวคิดเกี่ยวกับห้องสมุด
1.1 ความหมายของห้องสมุด (แม้นมาส ชวลิต, 2541 : 1)
1.2 ความสำคัญของห้องสมุด (สุริทอง ศรีสะอาด, 2543- 2544 : 9,
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร, 2544 : 15, พวา พันธุ์เมฆา, 2541 : 6-7, เอื้อม
พร ทัศนประสิทธิผล, 2542 : 39-40)
1.3 บทบาทของห้องสมุด (นันทา วิทวุฒิศักดิ์, 2545 : 22, วาณี ฐา
ปนวงศ์ศานติ, 2543 : 11-12)
1.4 หน้าที่ของห้องสมุด (อมรรัตน์ เชาวลิต, 2541 : 11)
2. ทฤษฎีและหลักการให้บริการ (นันทา วิทวุฒิศักดิ์, 2545 : 11)
3. งานบริการและประเภทการให้บริการทรัพยากรสารสนเทศ
3.1 ความหมายของงานบริการ (พจนานุกรมฉบับราช
บัณฑิตยสถาน, 2525:457, นันทา วิทวุฒิศักดิ์, 2545 :15)
3.2 ความสำคัญของงานบริการ (วาณี ฐาปนวงศ์ศานติ, 2543 : 145)
3.3 ความหมายของการให้บริการ (ฉวีลักษณ์ บุณยุกาญจน, 2525
:160, Bloomberg, 1977 : 19)
3.4 ประเภทการให้บริการสารสนเทศ
3.4.1 ความหมายของสารสนเทศ (Saracevic และ Wood, 1981
: 10 , ประภาวดี สืบสนธิ์, 2543 : 3-4)
3.4.2 ประเภทการให้บริการสารสนเทศ (นันทา
ตอนที่ 2 มาตรฐานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาสหรัฐอเมริกา
11 ด้าน
2.1 การบริหาร 2.2 การวางแผน
2.3 งบประมาณ 2.4 บุคลากร
2.5 ทรัพยากร 2.6 การบริการ
2.7 สิ่งอำนวยความสะดวก 2.8 การเข้าถึง
2.9 การสอน 2.10 การสื่อสาร/ความร่วมมือ
2.11 การประเมินนผลลัพธ์
(Ruetten, Bostain, and Casey, 2000 : 570)
ตอนที่ 3 มาตรฐานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของทบวง
มหาวิทยาลัย 8 ด้าน (ทบวงมหาวิทยาลัย, 2544, 1-10)
3.1 โครงสร้างและการบริหาร
3.2 งบประมาณและการเงิน
3.3 บุคลากรห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา
ตอนที่ 5 การศึกษาประสิทธิภาพการดำเนินงาน
ของสำนักวิทยบริการ สถาบันราชภัฏ
บ้านสมเด็จเจ้าพระยา ตามมาตรฐาน
ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของสหรัฐ
อเมริกา ทั้ง 11 ด้าน มาเป็นเกณฑ์
ในการศึกษา (สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จ
เจ้าพระยา, 2544 : 5-7, 2545 : 10-19)
แผนภาพที่ 1 กรอบแนวคิดในการวิจัย
5
กรอบแนวคิดในการวิจัย
กรอบแนวคิดในการวิจัย เรื่อง “การศึกษาประสิทธิภาพการดำเนินงานของสำนักวิทย
บริการ สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา” ผู้วิจัยได้ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง และ มาตร
ฐานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของสหรัฐอเมริกา 11 ด้าน โดยกำหนดขึ้นตามวัตถุประสงค์ของ
การวิจัยเพื่อนำไปสู่การตอบคำถามการวิจัย การสร้างเครื่องมือ การเลือกกลุ่มตัวอย่าง
การเก็บรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล จึงได้กรอบแนวคิดในการวิจัย ดังนี้
ตอนที่ 1 แนวคิดทฤษฎีการบริการทรัพยากรสารสนเทศ
1. แนวคิดเกี่ยวกับห้องสมุด
1.1 ความหมายของห้องสมุด
1.2 ความสำคัญของห้องสมุด
1.3 บทบาทของห้องสมุด
1.4 หน้าที่ของห้องสมุด
2. ทฤษฎีและหลักการให้บริการ
3. งานบริการและประเภทการให้บริการทรัพยากรสารสนเทศ
3.1 ความหมายของงานบริการ
3.2 ความสำคัญของงานบริการ
3.3 ความหมายของการให้บริการ
3.4 ประเภทการให้บริการสารสนเทศ
3.4.1 ความหมายของสารสนเทศ
3.4.2 ประเภทการให้บริการสารสนเทศ
ตอนที่ 2 มาตรฐานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของสหรัฐอเมริกา 11 ด้าน
2.1 การบริหาร หมายถึง การกระทำใด ๆ ในอันที่จะทำให้การดำเนินงานห้องสมุด
บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ เพื่อส่งเสริมวิธีการใช้ทรัพยากรห้องสมุดที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพ
สูงสุด
ตอนที่ 4 ปัจจัยการประกันคุณภาพห้องสมุด
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
4.1 การบริหาร 4.2 ทรัพยากรสารสนเทศ
4.3 เครื่องมือช่วยค้น 4.4 การบริการ
4.5 ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
(มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2541-2543:23-54)
6
2.2 การวางแผน หมายถึง การวางแนวปฏิบัติงานทุกอย่างในห้องสมุด เช่น
งานเทคนิค งานด้านบริการ และกิจกรรม งานซ่อมบำรุงรักษาทรัพยากรห้องสมุด
2.3งบประมาณ หมายถึง เงินที่ห้องสมุดได้รับจากหน่วยงาน อาจมาจากเงินบำรุง
การศึกษา เงินงบประมาณแผ่นดิน หรือเงินค่าสมาชิกของห้องสมุด
2.4 บุคลากร หมายถึง ผู้ที่ปฏิบัติงานในห้องสมุด เช่น บรรณารักษ์ และเจ้าหน้าที่
ห้องสมุด
2.5 ทรัพยากร หมายถึง ทรัพยากรสารสนเทศที่มีให้บริการในห้องสมุด 3 ประเภท
คือ วัสดุตีพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์
2.6 การบริการ หมายถึง การบริการด้านต่าง ๆ ที่ห้องสมุดจัดให้มีบริการสำหรับผู้
ใช้ เช่น บริการ ยืม-คืน บริการหนังสือสำรอง บริการจองหนังสือ บริการวารสาร บริการช่วยการ
ค้นคว้า บริการถ่ายเอกสาร บริการแฟ้มข้อมูลเฉพาะเรื่อง บริการโสตทัศนวัสดุ บริการสื่อ
อเิ ลก็ ทรอนกิ ส ์ เปน็ ตน้
2.7 สิ่งอำนวยความสะดวก หมายถึง สถานที่ตั้งห้องสมุด ลักษณะอาคาร ครุภัณฑ์
และอุปกรณ์ห้องสมุด สภาพแวดล้อมภายในห้องสมุด ซึ่งอำนวยความสะดวกสบายให้แก่ผู้ใช้
บริการ
2.8 การเข้าถึง หมายถึง การกระทำใด ๆ เพื่อให้ได้ทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการ
เช่น การสอบถามจากเจ้าหน้าที่ การใช้เครื่องมือในการช่วยค้น เช่น บัตรรายการ หรือการสืบค้นจาก
ฐานข้อมูลออนไลน์ เป็นต้น
2.9 การสอน หมายถึง การสอนการใช้ห้องสมุด โดยผ่านบริการตอบคำถาม
การให้คำแนะนำ การปฐมนิเทศ การสอนในรายวิชา เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ และ
สามารถใช้งานห้องสมุดได้เป็นอย่างดี
2.10 การสื่อสารและความร่วมมือ หมายถึง การติดต่อระหว่างมนุษย์ด้วยวิธี
ต่าง ๆ ซึ่งทำให้ฝ่ายหนึ่งรับรู้ความหมายจากอีกฝ่ายหนึ่ง และ เกิดการตอบสนอง ปัจจุบัน
การสื่อสารมีมากมายหลายวิธี อาจเป็น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ โทรศัพท์มือถือ ดาวเทียม
ระบบโทรคมนาคม หรือ การสื่อสารระบบเครือข่ายที่อาศัยดาวเทียมและสายเคเบิลใยแก้ว
เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อินเตอร์เน็ต ก็ได้
2.11 การประเมินผลลัพธ์ หมายถึง เป็นการสรุปการดำเนินงาน ต้องมีการรวบรวม
ข้อมูลถูกต้อง ทันสมัย เชื่อถือได้ การสรุปผลวิเคราะห์ข้อมูล ข้อเสนอแนะเที่ยงตรงไม่มีอคติ
ตอนที่ 3 มาตรฐานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของทบวงมหาวิทยาลัย 8 ด้าน
3.1 โครงสร้างและการบริหาร
7
3.2 งบประมาณและการเงิน
3.3 บุคลากรห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา
3.4 ทรัพยากรสารสนเทศ
3.5 อาคาร สถานที่ และครุภัณฑ์
3.6 การบริการ
3.7 ความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา
3.8 การประเมินคุณภาพห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา
ตอนที่ 4 ปัจจัยการประกันคุณภาพห้องสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
4.1 การบริหาร
4.2 ทรัพยากรสารสนเทศ
4.3 เครื่องมือช่วยค้น
4.4 การบริการ
4.5 ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ตอนที่ 5 การศึกษาประสิทธิภาพการดำเนินงานของสำนักวิทยบริการ สถาบันราชภัฏ
บ้านสมเด็จเจ้าพระยา ตามมาตรฐานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของสหรัฐอเมริกา
ทั้ง 11 ด้าน มาเป็นเกณฑ์ในการศึกษาตามลำดับ ดังนี้
1. ด้านการบริหาร
2. ด้านการวางแผน
3. ด้านงบประมาณ
4. ด้านบุคลากร
5. ด้านทรัพยากร
6. ด้านการบริการ
7. ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก
8. ด้านการเข้าถึง
9. ด้านการสอน
10. ด้านการสื่อสารและความร่วมมือ
11. ด้านการประเมินผลลัพธ์
ตอนที่ 6 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
6.1 งานวิจัยในต่างประเทศ
6.2 งานวิจัยในประเทศไทย
8
บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ก าร ศึ ก ษ าป ร ะ สิ ท ธิ ภ าพ ก าร ดํ าเนิ น งาน ข อ งสํ านั ก วิ ท ย บ ริ ก าร ส ถ าบั น ร าช ภั ฏ
บ้านสมเด็จเจ้าพ ระยา เป็นการศึกษาค้นคว้าเอกสารและงานวิจัยต่าง ๆ ทั้งในต่างประเทศและ
ภายในประเทศที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานห้องสมุดของสถาบันอุดมศึกษา โดยผู้วิจัยได้กำหนดประเด็นการ
ศึกษาเป็น 6 ตอน ดังนี้
ตอนที่ 1 แนวคิดทฤษฎีการบริการทรัพยากรสารสนเทศ
1. แนวคิดเกี่ยวกับห้องสมุด
1.1 ความหมายของห้องสมุด
1.2 ความสำคัญของห้องสมุด
1.3 บทบาทของห้องสมุด
1.4 หน้าที่ของห้องสมุด
2. ทฤษฎีและหลักการให้บริการ
3. งานบริการและประเภทการให้บริการทรัพยากรสารสนเทศ
3.1 ความหมายของงานบริการ
3.2 ความสำคัญของงานบริการ
3.3 ความหมายของการให้บริการ
3.4 ประเภทการให้บริการสารสนเทศ
3.4.1 ความหมายของสารสนเทศ
3.4.2 ประเภทการให้บริการสารสนเทศ
ตอนที่ 2 มาตรฐานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของสหรัฐอเมริกา 11 ด้าน
2.1 การบริหาร
2.2 การวางแผน
2.3 งบประมาณ
2.4 บุคลากร
2.5 ทรัพยากร
2.6 การบริการ
2.7 สิ่งอำนวยความสะดวก
2.8 การเข้าถึง
9
2.9 การสอน
2.10 การสื่อสารและความร่วมมือ
2.11 การประเมินผลลัพธ์
ตอนที่ 3 มาตรฐานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของทบวงมหาวิทยาลัย 8 ด้าน
3.1 โครงสร้างและการบริหาร
3.2 งบประมาณและการเงิน
3.3 บุคลากรห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา
3.4 ทรัพยากรสารสนเทศ
3.5 อาคาร สถานที่ และครุภัณฑ์
3.6 การบริการ
3.7 ความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา
3.8 การประเมินคุณภาพห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา
ตอนที่ 4 ปัจจัยการประกันคุณภาพหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
4.1 ด้านการบริหารห้องสมุด
4.2 ด้านทรัพยากรสารสนเทศ
4.3 ด้านเครื่องมือช่วยค้น
4.4 ด้านการบริการ
4.5 ด้านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ตอนที่ 5 ประสิทธิภาพการดำเนินงานของสำนักวิทยบริการ สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ตามมาตรฐานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของสหรัฐอเมริกา ทั้ง 11 ด้าน ดังนี้
5.1 ด้านการบริหาร
5.2 ด้านการวางแผน
5.3 ด้านงบประมาณ
5.4 ด้านบุคลากร
5.5 ด้านทรัพยากร
5.6 ด้านการบริการ
5.7 ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก
5.8 ด้านการเข้าถึง
5.9 ด้านการสอน
5.10 ด้านการสื่อสารและความร่วมมือ
5.11 ด้านการประเมินผลลัพธ์
10
ตอนที่ 6 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
6.1 งานวิจัยในต่างประเทศ
6.2 งานวิจัยในประเทศไทย
ตอนที่ 1 แนวคิดทฤษฎีการบริการทรัพยากรสารสนเทศ
1. แนวคิดเกี่ยวกับห้องสมุด
1.1 ความหมายของห้องสมุด
คำว่า ห้องสมุด ภาษาอังกฤษใช้ชื่อ Library คำนี้มาจากภาษาละติน คือ Libraria
แปลว่า ที่เก็บหนังสือ ภาษาฝรั่งเศสใช้ว่า Bibliotleque มาจากคำภาษากรีกว่า Biblios แปลว่าหนังสือ
ซึ่งแสดงให้เห็นว่าค่านิยมในการเก็บสะสมหนังสือมาแต่สมัยโบราณ และมีความเข้าใจกันมานาน
แ ล้ วว่า ห นั งสื อ คื อ ค วาม รู้ คื อ วิช า ก ารจัด รวบ รวม ส ะส ม วิช าเพื่ อ ให้ ค น เรียน รู้
ต่อไป ก็เป็นการขจัดความโง่เขลา และอวิชชาอันเป็นบ่วงผูกมัดมนุษย์ไว้อย่างหนึ่ง (แม้นมาส
ชวลิต 2541 : 5)
ห้องสมุด มีผู้ให้ความหมายไว้หลายความหมาย เช่น
ลมุล รัตตากร (2530 : 14) อธิบายว่า ห้องสมุดเป็นสถานที่รวบรวมสรรพวัสดุของห้อง
สมุด ซึ่งมีทั้งหนังสือ สิ่งพิมพ์ และโสตทัศนวัสดุต่าง ๆ ที่จัดไว้ให้ผู้ใช้ได้ใช้
สุทธิลักษณ์ อำพันวงศ์ (2521 ข : 69) กล่าวว่า ห้องสมุด คือ สถานที่รวบรวมสรรพ
วิทยาการต่าง ๆ ได้แก่ หนังสือ วารสาร สิ่งพิมพ์อื่น ๆ ต้นฉบับตัวเขียน สมุดข่อย และอุปกรณ์โสต
ทัศนศึกษาทุกชนิด
Encyclopedia Britannica Vol.10. (William Benton 1974 : 866) อ ธิ บ า ย ว่ า
ห้องสมุด คือ สถานที่เก็บรวบรวมหนังสือ เอกสาร และโสตทัศนวัสดุอุปกรณ์อื่น ๆ โดยมี
บรรณารักษ์หรือเจ้าหน้าที่อยู่ประจำทำงานเพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้ (ประทีป จรัสรุ่งรวีวร, 2542 : 10)
“ห้องสมุด” มีคำใช้อยู่หลายคำ ในประเทศไทยสมัยก่อนเรียก “หอหนังสือ” เป็นสถานที่
สำหรับเก็บรวบรวมหนังสือ เอกสารราชการ ซึ่งประกอบด้วยกฎระเบียบ ข้อบังคับ กฎหมาย พระ
บรมราชโองการ อันได้แก่ เรื่องราชการต่าง ๆ จดหมายโต้ตอบ บันทึกเรื่องราว เป็นต้น ส่วน
หนังสือทางพระพุทธศาสนา ได้แก่ พระไตรปิฎก และเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนานั้น จะ
มีสถานที่แยกเก็บต่างหาก สถานที่นี้จะสร้างขึ้นภายในวัดเรียกว่า “หอไตร” ปัจจุบันห้องสมุดได้เกิด
ขึ้ น อ ย่างม าก ม าย แ ล ะ มี ชื่ อ เรีย ก ที่ แ ต ก ต่ างกั น เนื่ อ งจ าก มี ก ารข ย ายก ารบ ริก าร
กว้างขวางเพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดความพยายามที่จะตั้งชื่อสถานที่นั้นให้เห็นเด่นชัดถึงหน้าที่ของ
หน่วยงานนั้น จึงมีชื่อเรียกต่างกันไป (ประทีป จรัสรุ่งรวีวร, 2542 : 10) ดังตัวอย่างเช่น
ใช้คำว่า “ห้อง” เช่น ห้องสมุดโรงเรียนต่าง ๆ ห้องสมุดประชาชน
11
ใช้คำว่า “หอสมุด” เช่น หอสมุดวิทยาลัยครูต่าง ๆ ในสมัยมีวิทยาลัยครู
ใช้คำว่า “สำนักหอสมุด” เช่น สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ใช้คำว่า “สำนักหอสมุดกลาง” เช่น สำนักหอสมุดกลางมหาวิทยาลัยรามคำแหง สำนัก
หอสมุดกลางมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร
ใช้คำว่า “สถาบันวิทยบริการ” เช่น สถาบันวิทยบริการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ใช้คำว่า “สำนักวิทยบริการ” เช่น สำนักวิทยบริการมหาวิทยาลัยขอนแก่น สำนักวิทย
บริการสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเาพระยา และสำนักวิทยบริการของสถาบันราชภัฏต่าง ๆ (ณรงค์
ป้อมบุบผา, 2530 : 7)
สรุปได้ว่า ห้องสมุด คือ สถานที่รวบรวมสรรพวิทยาการต่าง ๆ ทั้งที่เป็นหนังสือ
วารสาร สิ่งพิมพ์ โสตทัศนวัสดุ และอุปกรณ์ทางการศึกษาทุกชนิดที่จัดไว้อย่างเป็นระบบ
เพื่อสะดวกแก่การให้บริการผู้เข้ามาศึกษาค้นคว้า โดยมีบรรณารักษ์บริหารจัดการ อำนวยความ
สะดวกด้วยความเสมอภาค
1.2 ความสำคัญของห้องสมุด
ห้องสมุดเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญยิ่งต่อการจัดการศึกษาในทุกระดับ
โดยเฉพาะการศึกษาในระดับอุดมศึกษาให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ผู้ศึกษาได้ศึกษา
ค้นคว้าหาความรู้ในสรรพวิชาการต่าง ๆ เป็นศูนย์รวมที่ผสมผสานระหว่าง คน ทรัพยากร
การเรียนรู้ และอาคารสถานที่ โดยมุ่งที่จะช่วยเหลือผู้ใช้ในกระบวนการเปลี่ยนแปลงสารสนเทศไป
สู่ความรู้ทั้งสารสนเทศและความรู้ต่างก็เป็นเป้าหมายสำคัญอย่างหนึ่งของมหาวิทยาลัย (สุริทอง ศรี
สะอาด, 2543-2544 : 9)
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เห็นความสำคัญและบทบาทของห้องสมุดใน
การพัฒนาคน และพร้อมที่จะสนับสนุนการสร้างห้องสมุดและพัฒนาให้เป็นห้องสมุดมีชีวิตเจริญ
และเติบโต โดยกล่าวตอนหนึ่งในปาฐกถา เรื่อง “มิติใหม่ของการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย :
หัวใจแห่งการพัฒนาชาติ” ซึ่งจัดโดยประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ (ปอมท)
ร่วมกับมหาวิทยาลัยนเรศวร ว่า “ขุมมันสมองของเด็กอยู่ที่ห้องสมุด ซึ่งรัฐบาลพร้อมสนับสนุนงบ
ประมาณแก่อาจารย์ที่จะสร้างห้องสมุด โดยจะต้องเป็นห้องสมุดที่มีชีวิต เกิดแล้วโต” นอกจากนี้ยัง
ได้แนะนำครูอาจารย์มหาวิทยาลัย ช่วยกันคิดโครงการพัฒนาแหล่งสมอง เพื่อเตรียมความพร้อมใน
การแข่งขันระดับนานาชาติต่อไป (หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ 13 สิงหาคม 2544 : 15)
ความสำคัญของห้องสมุด มีผู้ให้ความเห็นไว้หลายทัศน ดังนี้
ลมุล รัตตากร (2539 : 27-31) ให้ความเห็นไว้ดังนี้
12
1. ห้องสมุด เป็นที่รวมแห่งทรัพยากรสารสนเทศต่าง ๆ ที่อาจารย์ผู้สอนและนิสิต
นักศึกษาเข้ามาค้นคว้าหาความรู้ทุกแขนงวิชาที่มีการเรียนการสอนในสถาบันการศึกษา
2. ห้องสมุดเป็นที่ทุกคนจะเลือกอ่านหนังสือและค้นคว้าหาความรู้ต่าง ๆ ได้โดย
อิสระตามความสนใจของแต่ละบุคคล
3. ห้องสมุดช่วยให้ผู้ใช้ห้องสมุดพอใจที่จะอ่านหนังสือต่าง ๆ โดยไม่รู้จักจบสิ้น
จากเล่มหนึ่งไปสู่อีกเล่มหนึ่งและอ่านจบเล่มแล้วเล่มเล่า
4. ห้องสมุดช่วยให้ผู้ใช้ห้องสมุดมีความรู้ทันสมัยอยู่เสมอ
5. ช่วยให้ผู้ใช้ห้องสมุดมีนิสัยรักการค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง
6. ห้องสมุดช่วยให้รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
7. ห้องสมุดจะช่วยให้ผู้ใช้ห้องสมุดรับรู้ในสมบัติสาธารณะ รู้จักใช้และระวังรักษา
อย่างถูกต้อง
พวา พันธุ์เมฆา (2541 : 6-7) ให้ความเห็นไว้ดังนี้
1. ห้องสมุดเป็นแหล่งรวมสรรพความรู้ทั้งหลายในโลกเอาไว้
2. ห้องสมุดเป็นสถานที่ที่ทุกคนสามารถค้นคว้าหาความรู้ได้อย่างเสรีตามความสน
ใจของตน
3. ห้องสมุดช่วยปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน
4. ห้องสมุดช่วยส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
5. ห้องสมุดช่วยให้ผู้ใช้มีความรู้ที่ทันสมัยอยู่เสมอ
วาณี ฐาปนวงศ์ศานติ (ม.ป.ป., : 1-2) ให้ความเห็นความสำคัญของห้องสมุดไว้ว่ามี
ความสำคัญ 5 ประการ คือ
1. เพื่อการศึกษา (Education)
2. เพื่อให้ข่าวสารและความรู้ (Information)
3. เพื่อการค้นคว้าและวิจัย (Research)
4. เพื่อความจรรโลงใจ (Inspiration)
5. เพื่อความเพลิดเพลิน (Recreation)
เอื้อมพร ทัศนประสิทธิผล (2542 : 39-40) ให้ความเห็นไว้ว่า
1. ห้องสมุดเป็นแหล่งรวมทั้งความรู้ความบันเทิง ที่ผู้ใช้สามารถเลือกสรรได้อย่าง
เสรีตามความต้องการ ทำให้เป็นคนฉลาดทันเหตุการณ์
2. ห้องสมุดช่วยส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ทั้งนี้เพราะปัจจุบัน
ห้องสมุดมีบริการสื่อโสตทัศน์ เช่น วีดิทัศน์ บริการวัสดุอิเล็กทรอนิกส์ บริการ Online ฯลฯ ผู้ใช้จะ
ได้รับทั้งความบันเทิงและความรู้ในขณะเดียวกัน และสามารถติดต่อสื่อสารกับเพื่อนทุกมุมโลก
13
3. ห้องสมุดช่วยปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน ผู้ใช้ห้องสมุดที่ได้รับความบันเทิงมักจะ
ติดใจกลับมาอ่านเรื่องอื่นๆ ทำให้เป็นนิสัย เกิดความต้องการหนังสือเป็นอาหารสมองอีก
อย่างหนึ่ง
4. ห้องสมุดเป็นแหล่งสารสนเทศที่กว้างไกลรับใช้สังคม ที่เรียกว่า เอเวอร์
ออนเวอร์ด (Ever Onward) หมายถึง ผู้ใช้บริการสามารถท่องเที่ยวไปได้ไกลอย่างไม่มีขอบเขต เช่น
ใช้บริการอินเตอร์เน็ต ซึ่งผู้ใช้สามรถส่งจดหมายหรือรับข่าวสารจากผู้ที่อยู่ห่างไกลได้ฉับไวจาก
บริการ E-mail หรือสามารถสืบค้นสารสนเทศได้ทั่วโลกโดยใช้บริการ World Wide Web เป็นต้น
5. ห้องสมุดเป็นสถานที่ไร้พรมแดน ผู้ให้บริการเต็มใจบริการโดยไม่เลือกปฏิบัติ
เป็นมิตรภาพไร้พรมแดน (Friendship Beyond Frontiers) หมายถึง ทุกคนสามารถรับบริการ
ได้อย่างเสมอภาค เป็นห้องสมุดปราศจากกำแพง (Library without wall)
สมจิต พรหรมเทพ (2542 : 45-46) ให้ความเห็นเกี่ยวกับห้องสมุดไว้ว่า
1. ช่วยให้เป็นคนทันมัยอยู่เสมอ รอบรู้ข้อมูลข่าวสาร ทันโลกทันต่อเหตุการณ์ที่
เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
2. ช่วยปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน รักการศึกษาค้นคว้า เพราะการที่ได้เข้าไปอ่านไปใช้
บริการบ่อย ๆ หรือเพียงอ่านข่าว ดูภาพหรือการอ่านเพื่อความบันเทิงก็ตาม เมื่อทำบ่อยครั้งก็จะเกิด
ความเคยชินในการอ่าน เกิดความอยากดู อยากอ่านต่อไป นั่นคือเริ่มมีนิสัยรักการอ่านนั่นเอง
3. ส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ และสามารถนำความรู้จากการอ่าน
การศึกษาค้นคว้า ไปประยุกต์ใช้ในการทำงาน การพัฒนาบุคลิกภาพหรือกิจกรรมที่เป็นงานอดิเรก
ได้
4. พัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเอง และครอบครัว เพราะความรู้ที่ได้จากการดู
การอ่าน การค้นคว้าสารสนเทศต่าง ๆ จะสามารถนำไปปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ประจำวันของตน
ให้ดีขึ้น
5. พัฒนาด้านการศึกษา ทั้งการศึกษาในระบบและการศึกษานอกระบบโรงเรียน
เพราะการศึกษาเป็นรากฐานของการดำเนินชีวิต เป็นรากฐานของการพัฒนาทุกด้าน การที่ได้รู้จักใช้
บริการสารสนเทศ มีผลให้การศึกษาเล่าเรียนประสบผลสำเร็จ เมื่อสำเร็จการศึกษาไปอยู่ในสังคม
แล้วก็ยังไม่สิ้นสุดการศึกษา ยังมีการศึกษาด้วยตนเองต่อไป เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น เป็นการ
ศึกษานอกระบบโรงเรียน ซึ่งจะทำได้โดยวิธีหาซื้อสารสนเทศศึกษาเอง หรือใช้บริการของห้อง
สมุดอื่น ๆ ที่มีอยู่ในสังคม
14
6. ช่วยทำนุบำรุงขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลปวัฒนธรรม เพราะห้องสมุดจะ
รวบรวม สะสมมรดกด้านศิลปวัฒนธรรม และประเพณีที่ดีงามของมนุษยชาติในรูปของ
สารสนเทศต่าง ๆ เพื่อสืบทอดสู่อนุชนรุ่นหลัง
7. ส่งเสริมความเป็นระเบียบวินัย เพราะห้องสมุดทุกแห่งมีกฎระเบียบที่ทุกคนต้อง
ปฏิบัติและยังจัดให้บริการสมาชิกทุกคนอย่างเสมอภาค ซึ่งการจัดระบบต่าง ๆ ของห้องสมุดอย่าง
เป็นระเบียบจะมีส่วนช่วยส่งเสริมความมีระเบียบวินัยแก่ผู้ใช้ด้วย
1.3 บทบาทของห้องสมุด
โลกปัจจุบันเป็นยุคข่าวสาร เทคโนโลยีสารสนเทศกำลังเป็นที่สนใจห้องสมุด
เป็นสถาบันที่มีบทบาทในการเก็บและเผยแพร่สารสนเทศดังกล่าวอย่างมากจึงมีบทบาทในด้านต่าง
ๆ ดังต่อไปนี้
(1) บทบาทพัฒนาด้านการศึกษา เป็นความสำคัญพื้นฐานสำหรับสังคม เพราะ
การศึกษาเป็นรากฐานของชีวิต ห้องสมุดจึงเป็นแหล่งให้การศึกษาทุกระบบสนับสนุนผู้ที่ต้องการ
ศึกษาค้นคว้าตนเอง สามารถพัฒนาเพิ่มคุณภาพชีวิตในทางความรู้ ให้สามารถประกอบอาชีพได้
อย่างมั่นใจ
(2) บทบาทพัฒนาด้านวัฒนธรรม เพราะห้องสมุดรวบรวมสารสนเทศ
ทุกประเภท ฉะนั้นวัฒนธรรมของชาติก็จะถูกสะสมไว้ ทั้งเป็นลายลักษณ์อักษร และเทคโนโลยี
สมัยใหม่ในรูปของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งศิลปะของชาติ เพื่อไว้ให้ชนรุ่นหลังได้ศึกษาค้นคว้า
ต่อไป
(3) บทบาทพัฒนาด้านเศรษฐกิจ ข้อมูลทางเศรษฐกิจ ธุรกิจ อุตสาหกรรม ทั้ง
ระดับประเทศและต่างประเทศ ห้องสมุดจะรวบรวมทั้งตัวเลขและข้อมูลเบื้องต้น ตั้งแต่อดีตจนถึง
ปัจจุบัน ตลอดจนงานวิจัย เพื่อให้นักธุรกิจและผู้เกี่ยวข้องสามารถนำไปใช้เพื่อพิจารณาตัดสิน
สำหรับดำเนินงานได้ รวมทั้งธุรกิจด้านสื่อสารที่จะช่วยด้านการผลิตข่าวสารในรูปของเอกสาร
ให้แพร่กระจายและมีบทบาทในสังคมปัจจุบัน
(4) บทบาทพัฒนาด้านสังคม การเมือง และการปกครอง สารสนเทศในห้อง
สมุดช่วยให้ผู้สนใจรับทราบสาระ ระบบการปกครองของสังคมโลก เป็นการศึกษา
เปรียบเทียบและพัฒนาผู้อ่านให้เข้าสู่โลกกว้าง เกิดความคิดสร้างสรรค์ เป็นนักประชาธิปไตย
เพื่อการเป็นพลเมืองที่ดีในสังคม ปรับตัวให้อยู่ในระบบการปกครองปัจจุบันได้
(5) บทบาทพัฒนาในเรื่องสิ่งแวดล้อม ห้องสมุดจะส่งเสริมการอนุรักษ์
ทรัพยากรขจัดมลพิษจากสิ่งแวดล้อม ด้วยการแสดงสารสนเทศที่มีทั้งคุณและโทษในทุกรูปแบบให้
ประจักษ์ต่อผู้ใช้บริการ เป็นการเผยแพร่ในรูปนิทรรศการ ข่าวสารและข้อมูลที่มีผู้วิจัย
ห้องสมุดเสมือนแหล่งกลางในการกระจายข่าวให้ทั่วถึง (วาณี ฐาปนวงศ์ศานติ, 2543 : 11-12)
15
ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษามีบทบาทในการเป็นหน่วยงานเสริมหลัก
ที่เป็นกลไกของสถาบันอุดมศึกษาในการส่งเสริมสนับสนุนภารกิจการจัดการศึกษาของสถาบันด้วย
การรวบรวม สะสมเชื่อมโยงทรัพยากรสารสนเทศและแหล่งสำหรับจัดบริการในรูปแบบดั้งเดิม
เท่าที่เป็นประโยชน์และจำเป็นตามความต้องการ ผนวกกับการบริการตามสมัยนิยม ด้วยการ
ประสานการได้รับหรือการเข้าถึงสารสนเทศที่ต้องการอย่างถูกต้อง รวดเร็ว จากหลากหลายแหล่ง
ระบบ และรูปแบบของสารสนเทศ ที่ไม่จำกัดด้วยมิติของเวลาและสถานที่ ตามทฤษฎีการบริการ
สารสนเทศและระบบการจัดการห้องสมุดในหลักการอุดมศึกษา (นันทา วิทวุฒิศักดิ์, 2545 : 22)
1.4 หน้าที่ของห้องสมุดวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย
ห้องสมุดวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย มีบทบาทหน้าที่สำคัญยิ่งต่อการศึกษาและ
การพัฒนาการเรียนการสอนของสถาบันเพราะเป็นแหล่งรวม ของสรรพวิทยาการทุกรูปแบบ
ทุกสาขาวิชาที่มีการเรียนการสอน ดังนั้น การจัดและบริหารงานห้องสมุดจึงจำเป็นต้องสอดคล้อง
กับหลักสูตรการศึกษา การค้นคว้าวิจัยอย่างเพียงพอ และมีประสิทธิภาพ ตลอดจนมีการจัด
องค์การที่ดีทั้งในด้านบริหาร ด้านงานเทคนิค และด้านการบริการ เพื่อให้ผู้ใช้ได้รับประโยชน์
มากที่สุด (อมรรัตน์ เชาวลิต, 2541 : 11)
ดังนั้นห้องสมุดมหาวิทยาลัย จึงมีบทบาทสำคัญในอันที่จะส่งเสริมและ
สนับสนุนภารกิจหลัก 4 ประการ ของมหาวิทยาลัย ได้ดังนี้ คือ
1.4.1 หน้าที่ในการเรียนการสอน โดยการส่งเสริมสนับสนุนหลักสูตร
การศึกษา กล่าวคือ ห้องสมุดมหาวิทยาลัย จะต้องจัดหาจัดเก็บรวบรวมรักษา และเผยแพร่หนังสือ
และวัสดุการอ่านอื่น ๆ ตลอดจนโสตทัศนวัสดุ ให้สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาวัตถุประสงค์
และนโยบายของสถาบัน ตลอดจนความต้องการของผู้ใช้ห้องสมุด (อมรรัตน์ เชาวลิต, 2541 : 11)
1.4.2 หน้าที่ในการวิจัย ห้องสมุดวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย ควรให้ความร่วม
มือในการวิจัยของสถาบัน โดยทำหน้าที่เป็นศูนย์กลาง ในการรวบรวมและเผยแพร่ผลงานวิจัยของ
อาจารย์นิสิตนักศึกษาและบุคคลภายในสถาบันนั้น ๆ
1.4.3 หน้าที่ในการให้บริการทางวิชาการแก่สังคม โดยการกระจายบริการทาง
การศึกษาไปยังภูมิภาค ตลอดจนเป็นแหล่งกลาง ในการติดต่อประสานงาน กับสถาบันอื่น และมี
บทบาทในการที่จะผลักดันการขยายบริการห้องสมุด ให้กว้างขวางออกไปสู่ชุมชนภายนอกสถาบัน
ด้วย เพื่อให้ชุมชนได้มีการพัฒนาการศึกษาด้วยตนเองมากขึ้น (อมรรัตน์ เชาวลิต, 2541 : 12)
1.4.4 หน้าที่ในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ถึงแม้ว่านโยบายหลักของห้อง
สมุดวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยจะเน้นที่การให้บริการความรู้ทางวิชาการแต่ห้องสมุดก็ยังส่งเสริม
สงวนรักษา และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมประจำชาติ โดยการเก็บรักษาทรัพย์สมบัติทางด้านเอกสาร
16
สิ่งพิมพ์จำพวกเอกสารโบราณ อันเป็นมรดกและเอกลักษณ์ ทางด้านศิลปวัฒนธรรมของชาติและ
ของท้องถิ่นนั้น ๆ
หน้าที่ของห้องสมุดมหาวิทยาลัย ตามแนวคิดของ โรเจอร์และเวเบอร์ (Rogers
and Weber 1971: 2) สรุปไว้ดังนี้
(1) จัดหาเอกสารและวัสดุอุปกรณ์การศึกษาต่าง ๆ เช่น หนังสือ วารสาร
หนังสือพิมพ์ ต้นฉบับตัวเขียน โสตทัศนวัสดุ ฯลฯ
(2) การจัดหมวดหมู่วัสดุดังกล่าว จะต้องให้รายละเอียดทางด้านบรรณานุกรม
เพื่อความสะดวกในการใช้และเป็นระเบียบ
(3) การเย็บเล่มการดูแลรักษาเอกสาร และวัสดุอุปกรณ์การศึกษาต่าง ๆ เพื่อที่
จะได้รับประโยชน์ถาวรต่อไป
(4) การบริการยืม-คืน ควรวางกฎเกณฑ์ที่แน่นอน เพื่อที่จะสามารถให้บริการ
ได้อย่างทั่วถึงแก่สมาชิกในมหาวิทยาลัย
(5) การจัดเตรียมด้านการช่วยเหลือผู้อ่านเป็นรายกลุ่ม ในด้านการใช้วัสดุห้อง
สมุด และเตรียมเครื่องมือช่วยค้นที่เหมาะสม เช่น จัดทำคู่มือการใช้ห้องสมุด เป็นต้น
(6) ควรมีสถานที่อย่างเพียงพอ ในการเก็บรักษาหนังสือ และวัสดุอุปกรณ์การ
ศึกษาและการให้บริการ ตลอดจนเครื่องอำนวยความสะดวก
(7) ควรมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับห้องสมุดหรือสถาบันอื่น ๆ เพื่อที่จะ
ใช้เอกสารร่วมกันได้ เช่น การยืมระหว่างห้องสมุด เป็นต้น (อมรรัตน์ เชาวลิต, 2541 : 12-13)
2. ทฤษฎีและหลักการให้บริการ
ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเป็นหน่วยงานที่เป็นหัวใจ (Brophy 2000 : 1) เป็นหน่วย
งานเสริมหลักที่สำคัญยิ่งในการเป็นกลไกสนับสนุนภารกิจด้านการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา ส่ง
เส ริม ก ารเรียน ก ารส อ น ก ารศึ ก ษ าค้ น ค ว้ าวิจั ย เป็ น แ ห ล่ งท รัพ ย าก รก ารเรีย น รู้
(Clark and Neave 1992 : 1157 and Rasoderoka 2001 : 2) ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันพันธกิจดั้งเดิม
ของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาไม่เปลี่ยนแปลง (Friend 2001 : 2)
1. ห้องสมุดเป็นหัวใจที่ชาญฉลาดของประชาคมมหาวิทยาลัย นำเสนอมรดกทางความ
คิดและประสบการณ์ของมนุษยชาติสำหรับการปฏิสังสรรค์เพื่อสร้างความเป็นนักวิชาการ นำเสนอ
ทั้งสิ่งที่จำเป็นและสิ่งที่เติมเต็มสำ หรับความต้องการของคน (Hwa wei, 1998 : 2) ทฤษฎี
การบริการห้องสมุด เพื่อการตอบสนองพันธกิจตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันก็ไม่เปลี่ยนแปลง เช่น
17
(1) ห้องสมุดมีความจำเป็นต้องเหมาะสมทั้งเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้แต่
ละห้องสมุด
(2) ความเหมาะสมไม่เพียงด้านวิชาการแต่รวมถึงความซับซ้อนของความต้องการ
ความเชี่ยวชาญของผู้ใช้และค่านิยมทางสังคมของห้องสมุด
(3) พัฒนาการเก็บรวบรวมทรัพยากรสารสนเทศ เน้นบทบาทต่าง ๆ ในการเก็บ
ที่สะดวกต่อผู้ใช้
(4) ห้องสมุดควรเก็บทรัพยากรที่สามารถเรียกใช้ได้สะดวก (Bucklan, 1999 : 18-
19) กล่าวคือ ห้องสมุดต้องปรับตัวให้สามารถประสานการเข้าถึงทรัพยากรทุกประเภทได้หลาก
หลายสอดคล้องกับความก้าวหน้าของวิทยาการสมัยใหม่ เมื่อสองทศวรรษที่ผ่านมามีการอภิปราย
กันอย่างกว้างขวางถึงสามแนวทางที่จะนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้ในห้องสมุด พัฒนาการของ
เทคโนโลยีและความต้องการที่ซับซ้อนเปลี่ยนแปลงเป็นปัจจัยให้เกิดแนวคิดระบบการจัดการห้อง
สมุดในหลักการอุดมศึกษา (นันทา วิทวุฒิศักดิ์, 2545 : 11-12)
สรุป ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาหลายแห่งของไทยในอดีตจนถึงปัจจุบัน ได้นำเสนอ
แนวคิดประสบการณ์ของมนุษยชาติ เพื่อสร้างความเป็นนักวิชาการในทุกสาขาอาชีพ แต่งานบริการ
ห้องสมุดที่ยึดหลักการและทฤษฎีบริการห้องสมุดมิได้พัฒนาไปตามกระแสความต้องการของผู้ใช้
บริการห้องสมุดที่เรียกหาความสะดวก ความหลากหลายของข้อมูลทุกประเภทที่สร้างความซับ
ซ้อนเพิ่มขึ้น ซึ่งวิธีการดำเนินงานห้องสมุดก็ยังไม่เปลี่ยนแปลง สำหรับแนวทางที่สำนักวิทยบริการ
จะต้องให้ความสำ คัญต่อแผนงาน กระบวนการ ขั้นตอนการดำ เนินงานภายในให้มี
ประสิทธิภาพ ได้ตามมาตรฐานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา
3. งานบริการและประเภทการให้บริการทรัพยากรสารสนเทศ
3.1 ความหมายของงานบริการ
ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2525 : 457) ให้ความหมาย
“การบริการ” หมายถึง การปฏิบัติรับใช้หรือการให้ความสะดวกต่าง ๆ
สุทธิลักษณ์ อำพันวงศ์ (2521 : 56) ให้ความหมายว่า การให้ความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการ
ห้องสมุดนับจากก้าวแรกที่ย่างเข้าห้องสมุด บรรณารักษ์จะต้องจัดบรรยากาศในห้องสมุดให้อยู่ใน
สภาพที่เชิญชวนให้ประชาชนสนใจอยากเข้าห้องสมุด โดยการจัดหนังสือ วารสาร
สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อโสตทัศนวัสดุอุปกรณ์ที่เป็นความรู้และความบันเทิง ตลอดจนข้อมูลข่าวสาร
ที่ทันต่อเหตุการณ์ จัดที่นั่งอ่านที่นั่งสบาย ตกแต่งให้สวยงาม ผู้บริการมีมนุษยสัมพันธ์ดี
ให้การต้อนรับด้วยใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส มีความกระตือรือร้นที่จะช่วยเหลือให้บริการตาม
ความประสงค์ของผู้ใช้บริการ
18
Encyclopedia of Library and information Science ให้ ค วาม ห ม าย “ก ารบ ริก าร”
ว่า หมายถึง การเลือกหนังสือ วัสดุสิ่งพิมพ์ไว้ในห้องสมุดเพื่อบริการประชาชนทั่วไป ตั้งแต่วัยเด็ก
อนุบาล จนถึงผู้ใหญ่ เพื่อก่อให้เกิดนิสัยรักการอ่านไปจนตลอดชีวิต (เรณู เปียซื่อ, 2538 : 109)
ดังนั้น งานบริการจึงเป็นงานที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อผู้ใช้ห้องสมุด อาจกล่าวได้ว่า
งานบริการของห้องสมุดเป็นหัวใจสำคัญ เพราะงานบริการถือเป็นงานที่จะสร้างความประทับใจให้
ผู้ใช้บริการเกิดทัศนคติที่ดีต่อห้องสมุด ช่วยให้ผู้ใช้เกิดความอบอุ่นใจ เชื่อมั่นเมื่อผู้ใช้บริการ
เข้าไปใช้บริการของห้องสมุดแล้วจะต้องได้สิ่งที่ผู้ใช้ต้องการ และตรงตามความปรารถนา เข้าถึง
แหล่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว (นันทา วิทวุฒิศักดิ์, 2545 : 15)
3.2 ความสำคัญของงานบริการ
ความสำคัญของงานบริการ เพื่อสนองวัตถุประสงค์ของห้องสมุดในการ
ส่งเสริมการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง การบริการข่าวสารที่เป็นปัจจุบัน การบริการข้อมูลงานวิจัย
การสนับสนุนการใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ และเพลิดเพลินตลอดจนเกิดความจรรโลงใจ
ความสำคัญของงานบริการ จึงมีดังนี้
3.2.1 เป็นการอำนวยความสะดวกในงานบริการต่าง ๆ ให้รวดเร็วด้วยวิธีการ
ต่าง ๆ คือ
(1) จัดบริการวัสดุให้ตรงตามวัตถุประสงค์ของสถาบันและผู้ใช้
(2) ให้บริการยืม คืน ด้วยระเบียบที่เหมาะสม
(3) จัดทำคู่มือและแผนผังการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ
3.2.2 เป็นการสนองความต้องการและความสนใจของผู้ใช้ทุกระดับ
ด้วยทรัพยากรสารสนเทศที่ถูกต้องและเหมาะสม
3.2.3 เป็นการพัฒนาวิธีบริการให้ทันสมัยด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อก้าวทัน
โลกยุคข่าวสารข้อมูล
3.2.4 เป็นการสนับสนุนการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง โดยการจัดหาทรัพยากร
สารสนเทศที่มีคุณภาพ มีจำนวนเพียงพอและจัดเก็บเป็นระบบถูกต้อง
3.2.5 เป็นการส่งเสริมการใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ ด้วยทรัพยากรสารสนเทศ
ประเภทบันเทิง ทั้ง นวนิยาย นิตยสาร และสื่อโสตทัศน์
3.2.6 เป็นการสนับสนุนให้ผู้ใช้เป็นบุคคลทันสมัย ก้าวทันโลก ด้วยการบริการ
ข่าวสารประจำวันจากหนังสือพิมพ์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ระบบต่าง ๆ
3.2.7 เป็นการส่งเสริมนักวิจัยและนักอ่าน ด้วยบริการข้อมูลหลากหลายที่เป็น
ปัจจุบันอย่างเป็นระบบ (วาณี ฐาปนวงศ์ศานติ, 2543 : 145)
19
3.3 ความหมายของการให้บริการ
การให้บริการ หมายถึง การรับใช้หรืออำนวยความสะดวกที่ห้องสมุดต้อง
ดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของหน่วยงาน องค์การ หรือสถาบันนั้น ๆ ภายใน
ขอบเขตอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของพนักงานแต่ละตำแหน่ง ปาริชาต เสารยะวิเศษ,
(2541 : 11) กล่าวว่าเพื่อประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ และการเข้าถึงทรัพยากรสาร
สนเทศทุกประเภทที่ห้องสมุดจัดหาไว้บริการสำหรับผู้ใช้ที่ต้องการ โดยเน้นวิธีการบริการต่าง ๆ ที่
ห้องสมุดแต่ละแห่งเลือกใช้ระบบการจัดหาและจัดเก็บถ่ายทอดข้อมูล เช่น บริการตอบคำถามและ
ช่วยค้นคว้า บริการยืม-คืน บริการยืมระหว่างห้องสมุด เป็นต้น ทั้งนี้ เริ่มตั้งแต่การสร้างบรรยากาศ
เชิญชวนให้ผู้สนใจ เข้ามาใช้ห้องสมุด การจัดอาคารสถานที่ และประเภทของบริการ
ที่ดึงดูดใจสนองความต้องการสำหรับผู้ใช้บริการคือ สิ่งพิมพ์ โสตทัศนวัสดุที่พร้อมใช้เพื่อความ
เพลิดเพลินและนันทนาการ (สุทธิลักษณ์ อำพันวงศ์, 2521 : 56, ธาดาศักดิ์ วชิรปรีชาพงษ์, 2525 :
111 และ (Beeler, 1974 : 11) โดยมีแนวความคิดในงานบริการต่าง ๆ ของห้องสมุด สอดคล้องกับ
หลักการและทฤษฎีการให้บริการ (ฉวีลักษณ์ บุณยะกาญจน, 2525 : 160 และ (Bloomberg, 1977 :
19)
สรุป งานบริการของห้องสมุด เป็นหัวใจสำคัญอย่างยิ่งต่อผู้ใช้ห้องสมุด กล่าวได้ว่า
งานบริการจะช่วยสร้างความประทับใจและมีทัศนคติที่ดีต่อห้องสมุด โดยห้องสมุดจะเน้นวิธี
บริการต่าง ๆ เช่น บริการตอบคำถามและช่วยค้นคว้า บริการยืม-คืน และบริการยืมระหว่างห้อง
สมุด รวมถึงการดำเนินงานของห้องสมุดที่ช่วยให้ผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศ
โสตทัศนวัสดุที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งมีแนวคิดในงานบริการต่าง ๆ ของห้องสมุดสอดคล้อง
กับหลักการและทฤษฎีการให้บริการ (ฉวีลักษณ์ บุณยะกาญจน, 2525 : 160 และ (Bloomberg, 1977
: 19)
3.4 ความหมายและประเภทการให้บริการสารสนเทศ
3.4.1 ความหมายของสารสนเทศ
Welisch (1972) ชี้ว่า สารสนเทศมีถึง 39 ความหมาย Saracevic และ
Wood (1981 : 10) ได้รวบรวมความหมายของสารสนเทศจากแหล่งต่าง ๆ 4 ความหมาย ความ
หมายแต่ละความหมายแสดงความคิดเห็นที่มีต่อสารสนเทศ และลักษณะของสารสนเทศที่แตกต่าง
กัน
สารสนเทศ คือ การเลือกสารจากสารที่มีอยู่ เป็นการเลือกที่ช่วยลดความไม่มั่น
ใจ สารสนเทศจึงหมายถึง สิ่งที่บรรเทาความไม่มั่นใจ
ความหมายนี้สรุปมาจากทฤษฎีสารสนเทศของ Shannon และ Weaver (1949)
ซึ่งพิจารณาว่าสารสนเทศเป็นส่วนประกอบของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น สาระ สัญญาณ หรือ ข้อความ
20
ในความหมายนี้จึงพิจารณาว่าสารสนเทศเป็นอัตราความเป็นอิสระที่ปรากฎในสถานการณ์ที่จะ
เลือกส่งสัญญาณ สัญลักษณ์ และสาระความคิดเช่นนี้ทำให้เกิดพัฒนาการของบิท ซึ่งเป็นการวัด
จำนวนของสารสนเทศในลักษณะตัวเลข
สารสนเทศ หมายถึง ความหมายที่มนุษย์ให้แก่ข้อมูลด้วยวิธีการนำเสนอที่เป็นที่ยอมรับ
ความหมายนี้เป็นที่ยอมรับของ America National Standards Institute โดยเน้นที่การตี
ความของมนุษย์และการให้ความหมายข้อมูล ความหมายนี้สะท้อนให้เห็นถึงบทบาทของกฎที่เป็นที่ยอมรับและ
เรื่องทางภาษาศาสตร์ที่สัมพันธ์กับสารสนเทศ ในความหมายนี้สารสนเทศจึงหมายถึง สัญลักษณ์หรือกลุ่ม
สัญลักษณ์ที่มีความหมาย
สารสนเทศ คือ ข้อความใด ๆ ที่จัดโครงสร้างให้สามารถเปลี่ยนจินตภาพของ
ผู้รับ (ข้อความ หมายถึง การจัดรวมสัญลักษณ์ต่าง ๆ อย่างมีจุดมุ่งหมาย โดยผู้ส่งมีเป้าหมายที่จะ
เปลี่ยนโครงสร้างจินตภาพ ความรู้สึกนึกคิดของผู้รับ)
ความหมายนี้ใช้ในสารสนเทศศาสตร์ และยังเป็นความหมายที่สอดคล้องกับ
ความหมายของการปรุงแต่งสารสนเทศ (Consolidation) ประเด็นสำคัญของความหมายนี้ คือ การ
เปลี่ยนแปลง (เพิ่ม ลด เน้นจัดรูปแบบสารสนเทศใหม่) ให้เหมาะกับสภาพความรู้ ความคิด ของผู้
รับแต่ละคน เมื่อบุคคลนั้นได้รับสาระจากสภาพภายนอกจะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือการก่อรูปภาย
ในขึ้น (Information) ข้อความที่ออกแบบเพื่อให้เกิดความรู้ ความเปลี่ยนแปลงในผู้รับเป็นเรื่องของ
สารสนเทศศาสตร์และการถ่ายทอดสารสนเทศที่ Unisist ซึ่งเป็นหน่วยงานของยูเนสโกพยายามเน้น
ในขณะนี้
สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่มีค่าในการตัดสินใจ
ความหมายง่าย ๆ ที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้ง่ายนี้มาจากทฤษฎีการตัดสินใจ
โดยถือว่าสารสนเทศมีคุณค่าต่อศีลธรรม จรรยา เศรษฐกิจ หรือสังคม และสำคัญต่อการตัดสินใจ
ของมนุษย์ จึงมีความหมายในอีกแง่มุมหนึ่งว่าสารสนเทศโดยตัวเองแล้วไม่มีคุณค่า ยกเว้นต่อเมื่อ
นำไปใช้ในการตัดสินใจในระดับบุคคล สถาบัน ประเทศ หรือ นานาชาติ การใช้สารสนเทศ (ไม่ใช่
ตัวสารสนเทศ) ทำให้เกิดคุณค่าแก่บุคคลและสังคม สารสนเทศไม่ว่ามีมากมายเพียงใด ถ้าไม่มีการ
ใช้งานก็ไร้ประโยชน์ สารสนเทศในความหมายนี้จึงมีผลต่อเนื่องที่ผู้ปฏิบัติงานสารสนเทศควร
คำนึงถึงในการจัดการสารสนเทศ (ประภาวดี สืบสินธิ์, 2543 : 3-4)
3.4.2 ประเภทการให้บริการสารสนเทศ
การให้บริการสารสนเทศอาจจัดแยกเป็นประเภทได้ดังนี้
(1) บริการจ่าย-รับหนังสือ (Circulation Service) บริการจ่าย-รับ หรือ
บ ริการให้ ยืม (Borrowing Service) ห มายถึง การให้ ยืมวัส ดุส ารส น เท ศของห้ องส มุด
21
บางประเภทที่ห้องสมุดกำหนดไว้ให้ยืมได้ บริการนี้เป็นบริการพื้นฐานที่ห้องสมุดทุกแห่งจัดบริการ
ไว้เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ห้องสมุดที่ต้องการนำหนังสือไปใช้นอกห้องสมุด
โดยห้องสมุดจะกำหนดระเบียบการยืมส่งและทำหลักฐานการยืมไว้
(2) บริการหนังสือจองและหนังสือสำรอง (Reserved Book Service)
บริการหนังสือจอง คือ บริการที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้จองหนังสือตามที่ตนต้องการไว้ล่วงหน้า
เนื่องจากหนังสือมีจำนวนน้อยและถูกยืมออกจากห้องสมุดไปแล้ว ส่วนบริการหนังสือสำรอง คือ
หนังสือที่อาจารย์ผู้สอนในสาขาวิชาต่าง ๆ แจ้งให้ทางห้องสมุดจัดสำรองไว้ให้นักศึกษาเรียกใช้ได้
โดยจัดบริการในระยะเวลาที่จำกัดให้สั้นกว่าบริการจ่าย-รับตามปกติ ซึ่งมักเป็นหนังสือที่มีจำนวน
น้อยแต่มีผู้ใช้เป็นจำนวนมาก
(3) บริการจัดทำดัชนี (Indexing Service) ดัชนีเป็นเครื่องมือช่วย
ค้นหาบทความหรือเรื่องที่ต้องการได้โดยสะดวกและรวดเร็ว เพราะดัชนีจะให้รายละเอียดเกี่ยวกับ
ชื่อคน ชื่อสถานที่ ชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่ง หัวเรื่อง ฯลฯ คำหรือข้อความอื่น ๆ ที่ใช้เป็นกุญแจสำคัญใน
การค้นหาบทความหรือเรื่องนั้น ๆ
(4) บริการแนะแนวการอ่าน (Readers Advisory Service) บริการ
แนะแนวการอ่าน เป็นบริการที่ห้องสมุดจัดขึ้นเพื่อส่งเสริมการอ่าน และปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้
แก่ผู้ใช้ห้องสมุด เป็นการช่วยเหลือผู้ใช้ห้องสมุดที่มีปัญหาในการอ่าน เช่น เลือกหนังสืออ่านไม่ได้
ตามความต้องการหรือเหมาะสม เลือกหนังสือไม่ถูก เป็นต้น การแนะแนวการอ่านนี้อาจจะกระทำ
แก่ผู้ใช้เป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่ม โดยทางห้องสมุดจะต้องทราบความสนใจ ความต้องการ
รสนิยม และความสามารถในการอ่านของผู้ใช้ในบางกรณีห้องสมุดอาจจะต้องทราบถึงสภาพจิตใจ
ร่างกาย และอารมณ์อีกด้วย ในการให้บริการนี้ห้องสมุดอาจจะรวบรวมชื่อหนังสือที่เหมาะสม
โดยคำนึงถึงสิ่งต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น รายชื่อหนังสือที่จัดทำขึ้นควรจะเรียงลำดับจากหนังสือ
ที่อ่านเข้าใจง่ายที่สุดไปหาหนังสือที่อ่านเข้าใจยากขึ้นตามลำดับ นอกจากนี้ห้องสมุดยังอาจ
จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการอ่านได้อีกหลายวิธี เช่น การเล่าเรื่องจากหนังสือ การวิจารณ์หนังสือ
การจัดอภิปรายและการสนทนาเรื่องหนังสือ เป็นต้น
(5) บริการยืมระหว่างห้องสมุด (Inter-Library Loan) เป็นบริการที่
ห้องสมุดขอยืมหนังสือ เอกสาร สิ่งพิมพ์ และวัสดุสารสนเทศซึ่งไม่มีอยู่ในห้องสมุดของตน
จากห้องสมุดอื่นที่มี ซึ่งเป็นข้อตกลงร่วมกันระหว่างห้องสมุดต่างสถาบัน หรือผู้ใช้ห้องสมุด
แห่งหนึ่ง นับเป็นบริการที่อำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ให้มีโอกาสใช้สารสนเทศที่กว้างขวางขึ้น
เพราะห้องสมุดเพียงแห่งเดียวไม่สามารถจะจัดหาและรวบรวมสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ได้สมบูรณ์ครบถ้วน
(6) บ ริ ก า ร บ ร ร ณ า นุ ก ร ม (Biblographical Service) ไ ด้ แ ก่
การรวบรวมรายชื่อหนังสือ และสารสนเทศ วัสดุการอ่านอื่น ๆ อย่างมีแบบแผน ตามประเภทของ
22
วัสดุสารสนเทศนั้น ๆ ด้วยการให้รายละเอียดแต่ละเรื่องเกี่ยวกับชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง สถานที่พิมพ์
สำนักพิมพ์ หรือโรงพิมพ์ ปีที่พิมพ์ เลขหน้า รวมทั้งอาจมีบรรณนิทัศน์สังเขปหรือสาระสังเขปตาม
ความเหมาะสมหรือความจำเป็นในการใช้ การบริการด้านบรรณานุกรม อาจจัดทำได้หลายวิธี เช่น
การทำบรรณานุกรมเฉพาะสาขาวิชา เพื่อให้ผู้ใช้สามารถค้นหาสิ่งพิมพ์ในสาขาวิชาที่ต้องการได้
อย่างรวดเร็วบริการช่วยค้นหารายละเอียดทางบรรณานุกรมในการเขียนบทนิพนธ์ ซึ่งผู้เขียน
บทนิพนธ์จำเป็นต้องใช้เขียนเชิงอรรถและบรรณานุกรมเพื่อประกอบการค้นคว้า
(7) บริการสอนวิธีใช้ห้องสมุด (Library Instruction Service) คือ
บริการที่ห้องสมุดจัดสอนให้ผู้ใช้บริการรู้จักใช้ห้องสมุด ทรัพยากรห้องสมุด และบริการต่างๆ ของ
ห้องสมุด เพื่อให้ผู้ใช้คุ้นเคยและรู้จักใช้ห้องสมุดเพื่อการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองได้ การสอน
การใช้ห้องสมุดอาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ การสอนอย่างเป็นทางการ และการสอนอย่างไม่เป็น
ทางการ การสอนอย่างเป็นทางการอาจจัดได้ด้วยการปฐมนิเทศ (Orientation) และการสอน
(Instruction) ส่วนการสอนอย่างไม่เป็นทางการอาจทำได้หลายวิธี เช่น ทำเอกสารประชาสัมพันธ์
งานห้องสมุด จัดนิทรรศการ จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน และจัดทำคู่มือแนะนำห้องสมุด เป็นต้น
(8) บ ริก ารถ่ายเอก ส าร (Photocopying Service) เป็ น บ ริก ารที่
จำเป็นสำหรับผู้ใช้ห้องสมุด เพราะช่วยอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ห้องสมุดที่ต้องการอย่างรวดเร็ว
ช่วยประหยัดเวลาในการคัดลอกในกรณีที่ไม่สามารถนำหนังสือออกนอกห้องสมุดได้ อีกทั้งช่วยลด
ความสูญเสียของห้องสมุดอันเนื่องจากผู้ใช้ฉีกหรือกรีดสิ่งพิมพ์ นอกจากนั้นการถ่ายเอกสาร
สามารถให้รายละเอียดต่าง ๆ ได้เกือบครบถ้วนเช่นเดียวกับต้นฉบับเดิม
(9) บริการอ้างอิงและสารสน เทศ (Reference and Information
Service) เป็นบริการที่ห้องสมุดจัดเพื่อให้คำตอบในเรื่องทั่วไป และช่วยเหลือการค้นคว้าเป็นราย
บุคคลหรือรายกลุ่ม รวมทั้งมีระบบการจัดเก็บและการรวบรวมข่าวสารความรู้ต่าง ๆ ตลอดจน
จัดหาคู่มือที่อำนวยความสะดวกที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ห้องสมุด
(10) บริการจัดทำสาระสังเขป (Abstracting Service) สาระสังเขป คือ
การสรุปเรื่องราวของหนังสือ สิ่งพิมพ์ หรือวัสดุสารสนเทศต่าง ๆ อย่างย่อ ประกอบรายละเอียดทาง
บรรณานุกรม ซึ่งแบ่งได้ 2 ประเภท ได้แก่
ก. สาระสังเขปประเภทบรรยายหรือบอกเล่า (Descriptive or
Indicative Abstracts) คือ บอกให้ทราบว่าสิ่งพิมพ์นั้นมีความเกี่ยวข้องกับเรื่องใดบ้าง
ข. สาระสังเขปประเภทให้ความรู้ (Information Abstracts) เป็น
การสรุปเนื้อหาหรือบอกจุดเด่นของเรื่อง
(11) บริการจัดทำ คู่มือการใช้ห้องสมุด (Handbook or Guide to the
Library) เป็นบริการที่ห้องสมุดจัดทำขึ้นเพื่อแจ้งให้ผู้ใช้บริการได้ทราบกฎระเบียบต่าง ๆ ของห้อง
23
สมุด และวิธีการใช้ห้องสมุด เช่น เวลาทำงานของห้องสมุด วิธีใช้บัตรรายการ เป็นต้น คู่มือการใช้
ห้องสมุดอาจจัดทำเป็นรูปเล่มในลักษณะของหนังสือ หรือจุลสาร หรือแผ่นพับ ก็ได้ตามความ
เหมาะสม (นันทา วิทวุฒิศักดิ์, 2540 : 15-18)
(12) บริการข่าวสารทันสมัย (Current Awareness Service) เป็นบริการ
ที่จะช่วยให้ผู้ใช้ห้องสมุดได้ทราบข้อเท็จจริง ข่าวสาร หรือความก้าวหน้าใหม่ ๆ ในวิชาที่เกี่ยวข้อง
ให้เร็วที่สุด มีวิธีการดังนี้ คือ
ก. ถ่ายสำเนาสารบัญเรื่องในวารสารเล่มใหม่ที่สุดที่ห้องสมุดได้
รับเผยแพร่แก่ผู้ใช้ หรืออาจแปลชื่อบทความให้เป็นภาษาที่ผู้ใช้จะเข้าใจง่ายขึ้น หรืออาจรวมหน้าสา
รบาญของวารสารในสาขาวิชาเดียวกันเผยแพร่ไปด้วยกัน หรืออาจแยกออกตามหัวข้อย่อย ๆ
ข. แจ้งรายการสิ่งพิมพ์ใหม่ ๆ ที่ได้รับประจำวันให้ผู้สนใจทราบ
ในประเทศที่พัฒนาแล้วใช้คอมพิวเตอร์จัดทำเพื่อความรวดเร็ว
ค. หมุนเวียนวารสารเล่มใหม่ให้ผู้ใช้จัดส่งต่อ ๆ กันไปตามราย
ชื่อผู้ใช้ ซึ่งจะมีอยู่ในแผ่นป้ายติดไว้ที่หน้าปกวารสาร ผู้ที่อ่านแล้วจะขีดชื่อของตนออกและส่งต่อ
ไปตามกำหนดเวลา
ง. ออกสิ่งพิมพ์โดยสม่ำเสมอ เสนอรายชื่อสิ่งพิมพ์ใหม่ ๆ เป็น
ประจำพร้อมกับรายงานข่าวหรือความเคลื่อนไหวอื่น ๆ ของห้องสมุด
บริการข่าวสารทันสมัยนี้มีในห้องสมุดเฉพาะและห้องสมุดภาควิชาของมหาวิทยาลัย
บางแห่ง
(13) บริการข่าวสารเลือกคัดเพื่อเผยแพร่ (Selective Dissemination of
Information, S.D.I.) เป็นการเลือกคัดข่าวสารเฉพาะเรื่องสำหรับให้บริการเฉพาะบุคคล ในประเทศ
ที่พัฒนาแล้วจะใช้คอมพิวเตอร์ในการให้บริการนี้ เป็นบริการของห้องสมุดเฉพาะและ
ห้องสมุดมหาวิทยาลัยบางแห่ง
(14) บริการความรู้แก่ชุมชน ห้องสมุดที่มีห้องประชุม เช่น ห้องสมุด
ประชาชน หอสมุดแห่งชาติ ห้องสมุดมหาวิทยาลัย อาจจัดปาฐกถา อภิปราย โต้วาที ฉายภาพยนต์
สารคดีให้ประชาชนเข้าฟังหรือชมเป็นการเพิ่มพูนความรู้ (สุทธิลักษณ์ อำพันวงศ์, 2542 : 7-9)
ตอนที่ 2 มาตรฐานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของสหรัฐอเมริกา 11 ด้าน
มาตรฐาน (Standard) เป็นข้อกำหนดขั้นต่ำของปริมาณและคุณภาพของวัสดุหรือบริการ
ต่าง ๆ การกำหนดมาตรฐานจำเป็นต้องมีการสำรวจหรือทำวิจัยจากผู้เกี่ยวข้อง ผู้เชี่ยวชาญ และผู้
ทรงคุณวุฒิ แล้วนำมาเปรียบเทียบเพื่อกำหนดเป็นมาตรฐาน ประกาศใช้ในสิ่งที่ต้องการ (วาณี ฐา
ปนวงศ์ศานติ, 2543 : 13)
24
รู โ ท น บ อ ส เท น แ ล ะ เค ซี (Ruetten, Bostain, and Casey, 2000 : 570) ศึ ก ษ า
การนำมาตรฐานห้องสมุดวิทยาลัย ค.ศ.2000 ซึ่งเป็นมาตรฐานฉบับใหม่ของ ACRL สมาคม
ห้องสมุดอเมริกันไปใช้ในการประเมินห้องสมุดมหาวิทยาลัย Governors State University (GSU)
ในรัฐอิละนอยส์ ในมาตรฐานฉบับใหม่นี้มีความแตกต่างจากมาตรฐานฉบับที่แล้วมา คือ เปลี่ยน
จากการมุ่งเน้นประเมินตัวป้อน (Input) มาสู่การเน้น ผลที่ได้รับ โดยมีองค์ประกอบที่จะต้อง
ประเมิน 11 ด้าน คือ
1. การบริหาร (Administration)
2. การวางแผน (Panning)
3. งบประมาณ (Budget)
4. บุคลากร (Staff)
5. ทรัพยากร (Resources)
6. การบริการ (Services)
7. สิ่งอำนวยความสะดวก (Facilities)
8. การเข้าถึง (Access)
9. การสอน (Instruction)
10. การสื่อสารและความร่วมมือ (Communication and Cooperation)
11. การประเมินผลลัพธ์ (Outcomes Assessment)
1. การบริหาร (Administration)
การบริหารห้องสมุดควรบริหารในลักษณะที่ส่งเสริมวิธีการใช้ทรัพยากรห้องสมุดที่
มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ผู้อำนวยการห้องสมุดควรขึ้นตรงต่ออธิการบดีหรือผู้บริหารสูงสุด
ด้านวิชาการของวิทยาลัย ควรมีคณะกรรมการที่ปรึกษาของห้องสมุด อำนาจและหน้าที่ความรับผิด
ชอบของผู้อำนวยการควรกำหนดไว้เป็นลายลักษณ์อักษร หากมีห้องสมุดสาขา ควรจะบริหารโดยผู้
อำนวยการ ตามแนวทางของสมาคมห้องสมุดวิทยาลัยและห้องสมุดเพื่อการวิจัย สำหรับ
ห้องสมุดสาขาในวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย ถ้ามีบริการเรียนทางไกลก็ควรบริหารให้สอดคล้องกับ
แนวทาง ACRL สำหรับบริการห้องสมุดเรียนทางไกล ห้องสมุดควรบริการให้สอดคล้องกับ
ข้อบัญญัติของห้องสมุดเกี่ยวกับความชอบธรรม (Library Bill of Right) ของสมาคมห้องสมุด
อเมริกัน
2. การวางแผน (Planning)
25
ห้องสมุดควรมีนโยบายและวัตถุประสงค์ที่ใช้เป็นกรอบสำหรับกิจกรรมของ
ห้องสมุด นโยบายที่มอบหมายและวัตถุประสงค์ควรจะไปด้วยกันและเข้ากันได้กับสิ่งที่ได้พัฒนา
ไว้แล้วของวิทยาลัย การประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพของห้องสมุดควรถูกเชื่อมโยงอย่างใกล้
ชิดกับนโยบายและจุดประสงค์เฉพาะเจาะจงของวิทยาลัย เพื่อสร้างการดำเนินงานและการบริการ
ของห้องสมุดในบริบทของวิทยาลัย ห้องสมุดควรมีส่วนร่วมในกระบวนการวางแผนทั้งหมด
กระบวนการวางแผนและวิธีการตามรูปแบบซึ่งถูกใช้บ่อย ๆ เช่น การวางแผนกลยุทธ์ การวางแผน
เหล่านี้ต้องการข้อมูลจากภาพรวมของสังคมของวิทยาลัย วิธีเหล่านี้จะช่วยวิทยาลัยในการเตรียมการ
สำหร ับอนาคตโดยการระบุภาพรวมและนโยบายอย่างชัดเจน โดยการกำหนดเป้าหมายและวัตถุ
ประสงค์ และโดยการเตรียมกลยุทธ์ที่เฉพาะเจาะจงหรือแนวทางปฏิบัติที่ออกแบบมาเพื่อช่วยให้
บรรลุจุดมุ่งหมาย การวางแผนกลยุทธ์เป็นกระบวนการผสมผสานซึ่งรวมทั้งการประเมิน การทำให้
ทันสมัย และการขัดเกลาให้เรียบร้อย กระบวนการนี้ช่วยให้สังคมของวิทยาลัยได้มุ่งเน้นไปที่ค่า
นิยมที่จำเป็นของวิทยาลัยและช่วยเตรียมแนวทางทั้งหมดที่ช่วยชี้นำกิจกรรมและการตัดสินใจในแต่
ละวัน (วันต่อวัน)
3. งบประมาณ (Budget)
ผู้อำนวยการห้องสมุดควรจัดเตรียม เสนอเหตุผลในการของบประมาณ และบริหาร
งบประมาณห้องสมุดให้เหมาะสมกับจุดมุ่งหมายของห้องสมุด งบประมาณ ควรสนองความคาด
หวังของผู้ใช้อย่างมีเหตุผล เมื่อเทียบกับความต้องการอื่น ๆ ของวิทยาลัย ห้องสมุดควรใช้ทรัพยากร
ด้านการเงินอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ผู้อำนวยการห้องสมุด ควรมีอำนาจในการจัดแบ่ง
เงินและใช้จ่ายภายในงบของห้องสมุดตามนโยบายของมหาวิทยาลัย งบประมาณควรมีความเหมาะ
สมกับระดับของบุคลากร และเพียงพอสำหรับค่าตอบแทนของบุคลากร
4. บุคลากร (Staff)
ควรมีจำนวนเพียงพอ และมีคุณภาพ ที่จะตอบสนองความต้องการของโปรแกรมการ
ศึกษา และการให้บริการ สำหรับผู้ใช้หลัก บรรณารักษ์รวมทั้งผู้อำนวยการควรได้รับปริญญาซึ่งได้
รับการรับรองจากสมาคมห้องสมุดอเมริกัน นอกจากนี้ ยังควรต้องมีบุคลากรในสาขาวิชาชีพอื่น ผู้
ซึ่งได้รับการฝึกฝนให้มีประสบการณ์และปริญญาที่เหมาะสม บุคลากรวิชาชีพห้องสมุด
ทั้งหมดควรมีความรับผิดชอบและมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางวิชาชีพ บุคลากรสนับสนุน และ
นักศึกษาช่วยงานควรได้รับมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบตามคุณสมบัติ ประสบการณ์และ
ความสามารถ การพัฒนาบุคลากรควรส่งเสริมโดยการให้ศึกษาอย่างต่อเนื่อง รวมถึง การฝึกฝน
เกี่ยวกับความปลอดภัย ความฉุกเฉิน และการสงวนรักษาทรัพยากร บุคลากรวิชาชีพห้องสมุด
26
ควรมีการกำหนดนโยบายเป็นลายลักษณ์อักษรที่ชัดเจนเกี่ยวกับ สถานภาพ สิทธิและความรับ
ผิดชอบ นโยบายนี้ควรสอดคล้องกับมาตรฐานของสมาคมห้องสมุดวิทยาลัยและห้องสมุดวิจัย
ว่าด้วยมาตรฐานสำหรับบรรณารักษ์ห้องสมุดวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย
5. ทรัพยากร (Resources)
ห้องสมุดควรจัดให้บริการทรัพยากรที่หลากหลาย ทันสมัยสอดคล้องกับพันธกิจ
(Mission) ของมหาวิทยาลัย และความต้องการของผู้ใช้ ทรัพยากรมีหลากหลายรูปแบบ รวมทั้งสิ่ง
พิมพ์และเนื้อหา ภาพ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ภายใต้งบประมาณอันจำกัด ห้องสมุดควรจัดหา
ทรัพยากรที่มีคุณภาพที่สุดเท่าที่จะหาได้
6. การบริการ (Services)
ห้องสมุดควรสร้าง ส่งเสริม รักษาคุณภาพ และประเมินคุณภาพของการบริการ
ที่สนับสนุนเป้าหมายและพันธกิจของสถาบัน ชั่วโมงทำการต้องสะดวกและเหมาะสม บริการ
อ้างอิงและความช่วยเหลือพิเศษอื่น ๆ ความพร้อมสำหรับผู้ใช้หลักของวิทยาลัยหากสถาบันมีการ
จัดการศึกษาทางไกลทรัพยากรห้องสมุดควรให้สอดคล้องกับแนวทางของสมาคมห้องสมุดวิทยาลัย
และห้องสมุดวิจัย สำหรับบริการห้องสมุดทางไกล (ACRL Guidelines for Distance Learning
Services)
ห้องสมุด จะต้องอำนวยความสะดวก ในการประสบความสำเร็จทางวิชาการ เช่นเดียว
กับส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยบรรณารักษ์ เป็นผู้นำวิธีการ และเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาช่วย
ผู้ใช้
การบริการ หมายถึง การอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการห้องสมุดในด้านการให้อ่าน
ให้ยืม ให้จองหนังสือ และแนวการอ่าน บริการตอบคำถาม ช่วยค้นคว้า บริการอินเทอร์เน็ต
7. สิ่งอำนวยความสะดวก (Facilities)
ควรมีการวางแผนอย่างดีในด้านสิ่งอำนวยความสะดวกของห้องสมุด โดยคำนึงถึง
ความปลอดภัย มีที่ว่างเพียงพอ มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการศึกษาและวิจัย สอดคล้องกับการ
ให้บริการต่าง ๆ บุคลากร และกลุ่มทรัพยากรต่าง ๆ อุปกรณ์ต่าง ๆ ในห้องสมุดควรมีความเพียงพอ
และอยู่ในสภาพใช้งานได้
27
8. การเข้าถึง (Access)
การเข้าถึงแหล่งทรัพยากรห้องสมุดควรถูกเตรียมไว้ตามรูปแบบที่นิยมในเวลานั้น
การเก็บรวบรวมของห้องสมุดและรายชื่อหนังสือเพื่อการใช้สิ่งเหล่านี้ควรถูกจัดระบบโดยใช้
มาตรฐานการจัดห้องสมุดแห่งชาติ รายชื่อที่เป็นส่วนกลางเกี่ยวกับทรัพยากรในห้องสมุดควรถูก
เตรียมไว้เพื่อผู้ใช้แต่ละประเภท และควรแสดงทรัพยากรทั้งหมดอย่างชัดเจน การเตรียมการ
ควรจัดทำไว้สำหรับการยืม-คืน ระหว่างห้องสมุด, สัญญาการยืมร่วมกัน, การใช้สิ่งที่รวบรวมไว้
ทางอิเล็กทรอนิกส์ และการจัดส่งเอกสารที่เตรียมไว้สำหรับการใช้วัสดุที่ห้องสมุดไม่ได้เป็นเจ้าของ
นอกจากนั้น กระบวนการเรียนรู้ทางไกลควรถูกสนับสนุนด้วยวิธีการที่เท่าเทียมกัน เช่น การใช้สิ่งที่
รวบรวมไว้ทางอิเล็กทรอนิกส์ทางไกล, การเตรียมการเชื่อมโยงทางเครือข่ายที่เทียงตรง, และการส่ง
ผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือการส่งเอกสารของห้องสมุดให้ผู้ใช้ทางไกล นโยบายเกี่ยวกับการใช้
ห้องสมุดควรถูกเผยแพร่ให้ผู้ใช้ห้องสมุดอย่างเหมาะสม
9. การสอน (Instruction)
ห้องสมุดจะมีวิธีดำเนินการช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ตลอดชีวิตโดยผสมเทคนิคใหม่ ๆ
และนำเทคโนโลยีที่ดีที่สุดของข้อมูลแบบเดิม (จารีต ประเพณี) เอกสารอ้างอิง ซึ่งบรรณารักษ์มี
ส่วนร่วมในการวางแผนเพิ่มเติมเกี่ยวกับหลักสูตร สนับสนุนวิชาเฉพาะซึ่งเป็นการประเมินผลลัพธ์
ของการศึกษาโดยมีบรรณารักษ์เป็นผู้ชำนาญช่วยแนะนำให้คำปรึกษาหารือที่นอกเหนือจากการ
อ่านออกเขียนได้
10. การสื่อสารและความร่วมมือ (Communication and Cooperation)
การสื่อสารที่ทั่วถึงในทุกระดับขององค์กรมีความจำเป็นเพื่อให้การดำเนินงาน
ห้องสมุดเป็นไปอย่างราบรื่น ห้องสมุดควรมีกลไกในการสื่อสารเป็นประจำกับทางมหาวิทยาลัย
บุคลากรห้องสมุดควรทำงานด้วยความร่วมมือและประสานงานที่ดีกับภาควิชาหรือส่วนงานอื่นๆ
ของมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ควรมีการส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคลากร
ห้องสมุดกับบุคลากรเทคโนโลยีสารสนเทศในการให้บริการเข้าถึงแหล่งสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์
ในบางกรณี รองอธิการ คณบดี หรือผู้อำนวยการในการบริการสารสนเทศอาจบริหารจัดการ
ทั้งห้องสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยที่ห้องสมุดเลือกและจัดหาเนื้อหา เทคโนโลยี
สารสนเทศจัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐานทางเทคนิคเพื่อนำส่งสารสนเทศ และทำงานร่วมกันด้วย
ความเข้าใจเป็นสิ่งที่จำเป็น ไม่ว่าบริการต่าง ๆ จะเป็นอิสระ หรือมีการผสมผสานกันอย่างใด
อย่างหนึ่ง
28
11. การประเมินผลลัพธ์ (Outcomes Assessment)
คณะกรรมการห้องสมุดจะเป็นผู้จัดสรรสนับสนุนภารกิจ จุดประสงค์ เพื่อกระตุ้น
ผู้ใช้ห้องสมุดได้เข้ามาใช้บริการโดยระบุชื่อผ่านอิเล็กทรอนิกส์ โดยให้โอกาสในการเข้าถึงข้อมูล
โดยไม่จำกัดเวลา ซึ่งเป็นความรับผิดชอบของคณะกรรมการมาตรฐานส่วนห้องสมุดในการกำหนด
รูปแบบ ตามร่างมาตรฐาน 1999 collib 1 ถูกตรวจสอบโดยคณะผู้บริหารห้องสมุดวิทยาลัย
การประเมินผลลัพธ์เป็นกลไกที่ตื่นตัวสำหรับการปรับปรุงแบบฝึกหัดของห้องสมุด
ปัจจุบัน ที่เล็งเห็นความสำเร็จของผลลัพธ์ตามที่ห้องสมุดได้วางวัตถุประสงค์ไว้ในการใช้แบบ
สำรวจ ทดสอบ สัมภาษณ์และอุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้เลือกสุ่มตัวอย่างสำหรับผู้ใช้บริการ ซึ่งการ
ประเมินผลลัพธ์ของห้องสมุดจำเป็นต้องประเมินทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพของข้อมูลที่
ห้องสมุดสะสมไว้
สรุปได้ว่า มาตรฐานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของสหรัฐอเมริกา มีองค์ประกอบใน
การประเมินห้องสมุดมหาวิทยาลัย 11 ด้าน คือ การบริหาร การวางแผน งบประมาณ บุคลากร
ทรัพยากร การบริการ สิ่งอำนวยความสะดวก การเข้าถึง การสอน การสื่อสารและความร่วมมือ
การประเมินผลลัพธ์ ซึ่งเป็นเกณฑ์ในการดำเนินงานห้องสมุดให้สอดคล้องกับดัชนีและตัวบ่งชี้การ
ประกันคุณภาพห้องสมุดต่อไป
มาตรฐานนี้เป็นมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางไปทั่วโลก ประเทศต่าง ๆ
หลายประเทศได้นำเอาเกณฑ์มาตรฐานดังกล่าวนี้ไปจัดทำมาตรฐานห้องสมุดของแต่ละประเทศ
รวมทั้งประเทศไทยโดยทบวงมหาวิทยาลัยก็ได้จัดทำมาตรฐานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาไว้เช่น
เดียวกัน สำหรับในต่างประเทศ จะยกตัวอย่างบางประเทศพอสังเขป ดังนี้
1. มหาวิทยาลัยบริติชโคลัมเบีย ประเทศแคนาดา เป็น มห าวิทยาลัยเปิ ด
มีโครงสร้างพื้นฐานห้องสมุดรวม 9 ข้อ โดยเลือกกลยุทธ์ที่เป็นจุดแข็งและจุดอ่อนคือ มีหนังสือและ
โสตทัศนวัสดุมากกว่า 8 ล้านรายการ ในปี คศ.1999 มุ่งเน้นการพัฒนาห้องสมุดดิจิตอลของ
มหาวิทยาลัย ซึ่งสร้างความมั่นใจในประสิทธิภาพที่เหมาะสมและความสม่ำเสมอในการให้บริการ
ข้อมูลย้อนกลับจากที่ปรึกษาและกลุ่มผู้ใช้ เจ้าหน้าที่อื่น ๆ ป้อนเข้าสู่การบริหารและกระบวนการ
วางแผนที่ได้รับการออกแบบอย่างดีเพื่อสร้างความมั่นใจในบริการที่สนองตอบความต้องการของผู้
ใช้ได้รวดเร็ว (นันทา วิทวุฒิศักดิ์, 2545: 142)
2. มหาวิทยาลัยเชฟฟิลด์ สหราชอาณาจักร ได้วางแผนกลยุทธ์ที่สำคัญไว้ 9 ด้าน
1) ด้านการจัดหา คัดเลือก สงวนรักษาและจัดให้มีวัสดุ สื่อสิ่งพิมพ์ วัสดุไม่ตีพิมพ์และวัสดุ
อิเล็กทรอนิกส์ ให้ครอบคลุมวัตถุประสงค์ทางวิชาการของมหาวิทยาลัย 2) ด้านสิ่งอำนวย
29
ความสะดวก เพื่อส่งเสริมให้มีการเข้าถึงแหล่งทรัพยากรอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นแหล่งปฐมภูมิและ
ทุติยภูมิได้อย่างรวดเร็วจากทั่วโลก 3) ด้านการจัดส่งเอกสารให้ผู้ใช้บริการได้รับอย่างรวดเร็ว
4) ด้านความร่วมมือกับห้องสมุดอื่น ๆ เพื่อการเข้าถึงฐานข้อมูลความรู้ให้มากที่สุด 5) ด้านการฝึก
อบรม นักวิจัย และนักศึกษาให้มีความเชี่ยวชาญในการแสวงหาสารสนเทศที่มีการเปลี่ยนแปลง 6)
ด้านการจัดการทรัพยากรทุกประเภทได้อย่างมีประสิทธิภาพใช้ประโยชน์ได้สูงสุดตามเป้าประสงค์
ของการส่งเสริมให้มีการใช้ 7) ด้านการสรรหาบุคลากรที่มีประสบการณ์มีคุณภาพในการทำงานสูง
โดยมีการพัฒนาอบรมให้สามารถปฏิบัติงานบริการได้เหมาะสมงานบริการที่ท้าทาย
8) ด้านการจัดหาทรัพยากรที่มีคุณภาพสูง 9) การประเมินพัฒนาการบริการของห้องสมุดรวมถึง
เครื่องอำนวยความสะดวกสำหรับผู้ใช้และการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ห้องสมุด บำรุงสิ่งแวดล้อม
ให้สะดวก สะอาด และปลอดภัย (นันทา วิทวุฒิศักดิ์, 2545: 143)
3. มหาวิทยาลัยแห่งชาติ ประเทศออสเตรเลีย ได้มีลักษณะโครงสร้างห้องสมุดที่มี
ความยืดหยุ่นสูง มีการเปลี่ยนแปลงบทบาทของห้องสมุดดั้งเดิมเป็นห้องสมุดที่มีบริการเข้าถึงใน
สังคมเครือข่าย จุดเด่น คือ การทำวิจัย การเรียนการสอน ของมหาวิทยาลัย เน้นการเข้าถึง
สารสนเทศจากทั่วโลกโดยเพิ่มการกลั่นกรอง การสังเคราะห์แหล่งสารสนเทศ สร้างพันธมิตรใหม่
กับผู้ใช้บริการ เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำงานรวดเร็ว ทั้งภายใน-นอก มหาวิทยาลัย เร่งผลักดัน
การบริการจัดส่งสารสนเทศของเครือข่าย จัดตั้งการตรวจสอบห้องสมุดและบริการสารสนเทศที่มี
คุณค่าเพิ่ม ฝึกอบรมเครือข่ายให้ชุมชน และพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่ออำนวยความสะดวก
ในการสอน การวิจัย รวมถึงการพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์และขยายโอกาสในการฝึกอบรมของห้องสมุด
ให้เชี่ยวชาญ รู้เท่าทันเทคโนโลยีสารสนเทศ (นันทา วิทวุฒิศักดิ์, 2545: 144)
ตอนที่ 3 มาตรฐานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของทบวงมหาวิทยาลัย
8 ด้าน
มาตรฐานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของสหรัฐอเมริกา 11 ด้านนั้น เป็นที่ได้รับการ
ยอมรับอย่างกว้างขวางไปทั่วโลก ประเทศต่าง ๆ หลายประเทศได้นำเอาเกณฑ์มาตรฐานดังกล่าวไป
จัดทำมาตรฐานห้องสมุดของแต่ละประเทศ รวมทั้งประเทศไทยด้วย โดยทบวงมหาวิทยาลัย ได้จัด
ทำ มาตรฐานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา โดยทำ เป็นประกาศทบวงมหาวิทยาลัย เรื่อง
มาตรฐานห้องสมุด พ.ศ. 2544 เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2544 มี 8 ด้านดังนี้ (ทบวงมหาวิทยาลัย,
2544:1-10)
1. โครงสร้างและการบริหาร
30
ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา มีหน้าที่หลักในการส่งเสริมการเรียน การสอน การวิจัย
ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และบริการทางวิชาการแก่สถาบันอุดมศึกษาทุกระบบการศึกษาและ
แก่สังคม ตลอดจนส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องและตลอดชีวิต ดังนั้นสถานภาพ
อำนาจหน้าที่ ความรับผิดชอบของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา และความรับผิดชอบของผู้บริหาร
ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ควรกำหนดไว้อย่างชัดเจน ดังนี้
1.1 ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาควรมีสถานภาพเท่าหน่วยงานทางวิชาการระดับ
คณะของสถาบันอุดมศึกษา
1.2 ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาควรกำหนดนโยบายในการบริหารงานไว้เป็น
ลายลักษณ์อักษร มีการแบ่งหน่วยงานและระบุสายการบังคับบัญชาไว้อย่างชัดเจน
1.3 ผู้บริหารห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาควรขึ้นตรงต่อผู้บริหารสูงสุดของสถาบัน
อุดมศึกษาตันสังกัด และควรมีส่วนร่วมโดยตรงในการบริหารงานของสถาบันอุดมศึกษา
1.4 ผู้บริหารห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาควรได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการ
บริหารของสถาบันอุดมศึกษาและเป็นกรรมการในชุดต่างๆ ของสถาบันอุดมศึกษาต้นสังกัด
ตามความเหมาะสม เพื่อให้ได้รับทราบความก้าวหน้าในการดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษา
และความก้าวหน้าทางวิชาการอันจะทำให้ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาสามารถสนองต่อภาระหน้าที่
ของสถาบันอุดมศึกษาต้นสังกัดและทันต่อความต้องการอย่างมีประสิทธิภาพ
1.5 ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาควรมีคณะกรรมการ ดังต่อไปนี้
1.5.1 คณะกรรมการกำหนดนโยบาย ทำหน้าที่ กำหนดนโยบายในการพัฒนา
ติดตาม ดูแล และประเมินผลห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาให้เป็นไปตามนโยบายที่กำหนด
1.5.2 คณะกรรมการบริหารห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ทำหน้าที่กำกับดูแล
การบริหารงานของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาให้สอดคล้องกับนโยบาย และเป็นไปอย่างมี
ประสิทธิภาพ
1.6 สถาบันอุดมศึกษาอาจมีห้องสมุดแห่งเดียว หรืออาจมีห้องสมุดกลางและ
ห้องสมุดสาขา ระบบบริหารงานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาควรเป็นระบบศูนย์รวมการบริหาร
2. งบประมาณและการเงิน
ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาควรได้รับงบประมาณอย่างเพียงพอ เพื่อให้สามารถ
ปฏิบัติงานในหน้าที่และความรับผิดชอบของหน่วยงานต้นสังกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
งบประมาณให้คำนวณตามส่วน โดยถืออัตราส่วนอย่างน้อยร้อยละ 8 ของงบดำเนินการทั้งหมดของ
สถาบันอุดมศึกษา งบประมาณของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาต้องแยกเป็นอิสระ ในกรณีที่มีห้อง
31
สมุดสาขา ผู้บริหารห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา มีหน้าที่จัดเตรียมและบริหารงบประมาณ เพื่อการ
ดำเนินงานสำหรับห้องสมุดสาขาตามความจำเป็นและเหมาะสม
รายได้ที่ได้จากกิจกรรมและบริการของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ให้สงวนไว้
สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายที่จำเป็นของห้องสมุด นอกเหนือจากงบประมาณที่ได้รับ
3. บุคลากรห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา
บุคลากรในห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาควรมีคุณสมบัติ จำนวน และประเภท
ตามความจำเป็นและอย่างเพียงพอเพื่อพัฒนาห้องสมุด ดูแลรักษา และให้บริการทรัพยากร
สารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับนโยบายและวัตถุประสงค์ของสถาบันอุดมศึกษา
การพิจารณาจำนวนและคุณสมบัติของบุคลากรให้คำนึงถึงจำนวนและขอบเขตของทรัพยากรสาร
สน เท ศ ห้ องส มุดส าขา ห น่ วยบ ริการ ชั่วโมงบ ริการ อัตราการเพิ่ มของท รัพ ยากร
สารสนเทศใหม่ อัตราการยืม-คืน ลักษณะของกระบวนการทางเทคนิค เทคโนโลยีสารสนเทศที่นำ
มาใช้ และลักษณะของบริการที่ต้องการ รวมถึงลักษณะของการบริการเฉพาะ โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งจะต้องมีบุคลากรทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อพัฒนาระบบงานเทคโนโลยี
สารสนเทศของห้องสมุด
3.1 คุณสมบัติ
3.1.1 ผู้บริหารห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ควรมีวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาโท และ
ควรมีความรู้พื้นฐานทางบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ และจะต้องมีประสบการณ์ใน
การบริหารงานไม่น้อยกว่า 5 ปี หรือให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.ของสถาบันนั้น ๆ
3.1.2 ผู้ปฏิบัติงานในระดับหัวหน้าฝ่าย ควรมีวุฒิอย่างต่ำปริญญาโท และมีพื้น
ความรู้ในสาขาที่ปฏิบัติงานไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี กับมีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานห้องสมุด
อย่างน้อย 2 ปี หรือเป็นผู้ที่มีวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีและมีประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน
ห้องสมุดไม่น้อยกว่า 3 ปี
3.1.3 บุคลากรทุกระดับของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ควรมีโอกาสได้รับ
การศึกษา ฝึกอบรม และเข้าร่วมการประชุมสัมมนาทั้งภายในและระหว่างประเทศ รวมทั้งได้รับ
การพัฒนาในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ต่ำกว่า 2 ครั้ง ต่อ 1 ปี เพื่อเพิ่มพูนความรู้ทั้งทางวิชาการและ
วิชาชีพระดับสูงอย่างสม่ำเสมอให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีสมัยใหม่และทันต่อ
ความก้าวหน้าทางวิชาการที่สถาบันอุดมศึกษานั้น ๆ ดำเนินการสอน วิจัย และให้บริการแก่สังคม
3.2 จำนวนบุคลากรในงานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ห้องสมุดสถาบัน
อุดมศึกษาแต่ละแห่ง ควรจัดสรรบุคลากรตำแหน่งต่าง ๆ ตามความเหมาะสม ดังนี้
32
3.2.1 งานบริหารและงานธุรการ ควรประกอบด้วย ผู้อำนวยการห้องสมุด รองผู้อำนวย
ก า ร ผู้ ช่ ว ย ผู้ อํ า น ว ย ก า ร หั ว ห น้ า ฝ่ า ย เล ข า นุ ก า ร บ ริ ห า ร แ ล ะ ตํ า แ ห น่ ง อื่ น ๆ เช่ น
เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน พนักงานธุรการ เจ้าหน้าที่ธุรการ เจ้าหน้าที่สาร
บรรณ ช่างอิเล็กทรอนิกส์ นักวิชาการพัสดุ นักวิชาการการเงินและบัญชี พนักงาน/เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล นักการ
ภารโรง และตำแหน่งอื่น ๆ ตามความเหมาะสม
3.2.2 งานพื้นฐานของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ควรประกอบด้วยงาน
ดังต่อไปนี้
(1) งานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ ควรประกอบด้วยบรรณารักษ์
ทำหน้าที่ขอและแลกเปลี่ยน บรรณารักษ์ทำหน้าที่คัดเลือกและจัดซื้อ บรรณารักษ์ทำหน้าที่บำรุง
รักษาและตรวจสอบ พนักงานห้องสมุด พนักงาน/เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล และพนักงานซ่อมหนังสือ
(2) งานวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ควรประกอบด้วย บรรณารักษ์
พนักงาน/เจ้าหน้าที่ห้องสมุด พนักงาน/เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล
(3) งานสื่อโสตทัศน์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ควรประกอบด้วย
บรรณารักษ์ นักวิชาการโสตทัศนศึกษา พนักงานโสตทัศนศึกษา พนักงาน/เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล
และช่างศิลป์
(4) งานวารสาร ควรประกอบด้วย บรรณารักษ์ เจ้าหน้าที่/พนักงานห้อง
สมุด และพนักงาน/เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล
(5) งานเอกสารและสิ่งพิมพ์รัฐบาล ควรประกอบด้วย บรรณารักษ์
พนักงาน/เจ้าหน้าที่ห้องสมุด และพนักงาน/เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล
(6) งานบริการยืม-คืน งานเจ้าหน้าที่ห้องสมุด บรรณารักษ์บริการยืม
ระหว่างห้องสมุด เจ้าหน้าที่ตรวจสอบทางเข้า-ออก เจ้าหน้าที่จัดเก็บหนังสือ เจ้าหน้าที่ตรวจสอบชั้น
หนังสือ และเจ้าหน้าที่ทำความสะอาดหนังสือและชั้นหนังสือ
(7) งานบริการอ้างอิง ให้คำปรึกษาและช่วยค้นคว้า ควรประกอบด้วย
บรรณารักษ์ หรือนักสารสนเทศ เจ้าหน้าที่ห้องสมุด (ถ่ายเอกสาร) และพนักงาน/เจ้าหน้าที่บันทึกข้อ
มูล
(8) งานผลิตคู่มือสืบค้นพิเศษ งานผลิตดรรชนีและสาระสังเขป
ค้นเรื่องทั่วไป ควรประกอบด้วย บรรณารักษ์ หรือนักเอกสารสนเทศ เจ้าหน้าที่ และพนักงาน/
เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล
(9) งานส่งเสริมและเผยแพร่บริการวิชาการ งานบริการวิชาการสังคม
และประชาสัมพันธ์ ควรประกอบด้วย บรรณารักษ์ นักวิชาการ ช่างศิลป์ พนักงานห้องสมุด และเจ้า
หน้าที่บันทึกข้อมูล
33
(10) งานระบบงานเทคโนโลยีสารสนเทศ ควรประกอบด้วย นักวิชา
การคอมพิวเตอร์ และ บรรณารักษ์ หรือนักเอกสารสนเทศที่มีความรู้ทางคอมพิวเตอร์
(11) งานจดหมายเหตุสถาบันอุดมศึกษา ควรประกอบด้วยบรรณารักษ์
นักเอกสารสนเทศ
(12) หากห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาใดมีงานนอกเหนือจากที่ระบุไว้
ให้พิจารณาผู้ปฏิบัติงานตามความเหมาะสม
3.3 สูตรสำหรับคำนวณจำนวนผู้ปฏิบัติงานในห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา สำหรับ
จำนวนผู้ปฏิบัติงานในห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ให้คำนวณตามสูตร ดังนี้
3.3.1 จำนวนผู้ปฏิบัติงานระดับวิชาชีพ คำนวณจาก จำนวนนักศึกษารวมกับ
จำนวนหนังสือ ดังนี้
(1) ถ้าจำนวนนักศึกษาทั้งหมดไม่เกิน 10,000 คน ให้ใช้สัดส่วน
นักศึกษา 500 คน ต่อ บรรณารักษ์ 1 คน ส่วนจำนวนนักศึกษาที่เกินจาก 10,000 คนแรกขึ้นไปให้ใช้
สัดส่วนนักศึกษาทุก ๆ 2,000 คน ต่อ บรรณารักษ์ 1 คน
(2) จำนวนหนังสือ 150,000 เล่ม ต่อ บรรณารักษ์ 1 คน และจำนวน
หนังสือที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปี ทุก ๆ 20,000 เล่ม ต่อ บรรณารักษ์ 1 คน
3.2.2 จำนวนผู้ปฏิบัติงานระดับวิชาชีพอื่นๆ พนักงานและเจ้าหน้าที่อื่นๆ
ให้มีจำนวนตามความเหมาะสม
4. ทรัพยากรสารสนเทศ
ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาควรจัดหาและรวบรวมทรัพยากรสารสนเทศที่มี
การบันทึกในทุกรูปแบบ ได้แก่ วัสดุตีพิมพ์ โสตทัศนวัสดุ สารสนเทศที่บันทึกในรูปเสียง รูปสื่อ
อิเล็กทรอนิกส์ รูปกราฟิก สื่อสามมิติ และฐานข้อมูลเชิงพาณิชย์ ให้ครบถ้วนตามความจำเป็นและ
อย่างต่อเนื่อง เพื่อสนองตอบภาระหน้าที่ของสถาบันอุดมศึกษาต้นสังกัด ดำเนินการจัดเก็บอย่าง
มีระบบ เพื่อให้สามารถสืบค้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
นอกจากนี้ ต้องมีหลักเกณฑ์การเพิ่มจำนวนทรัพยากรสารสนเทศอย่างมีระบบและต่อเนื่องให้
สอดคล้องกับนโยบาย เป้าหมายของสถาบันอุดมศึกษา
4.1 ทรัพยากรสารสนเทศพื้นฐานที่จะต้องจัดหาเข้าห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา
มีดังนี้
4.1.1 ทรัพยากรสารสนเทศที่ส่งเสริมหลักสูตรและกิจกรรมทางวิชาการของ
สถาบันอุดมศึกษาทุกระบบการศึกษา
34
4.1.2 ทรัพยากรสารสนเทศที่ผลิตและเผยแพร่โดยสถาบันอุดมศึกษา
ต้นสังกัด
4.1.3 ทรัพยากรสารสนเทศทางศิลปวัฒนธรรม ทรัพยากรสารสนเทศท้องถิ่น
และภูมิปัญญาท้องถิ่น
4.1.4 ทรัพยากรสารสนเทศที่ส่งเสริมความสนใจใคร่รู้ สติปัญญาและ
นันทนาการ ตลอดจนแนวทางในการประกอบอาชีพและดำรงชีวิตอย่างมีความสุข
4.2 ปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงในการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ
4.2.1 ขอบเขตและลักษณะของหลักสูตรในสถาบันอุดมศึกษา
4.2.2 จำนวนและลักษณะของโครงการบัณฑิตศึกษา
4.2.3 วิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้
4.2.4 จำนวนนักศึกษาทั้งในระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา
4.2.5 จำนวนวิทยาเขต ศูนย์การเรียน และหน่วยงานเรียกชื่ออย่างอื่น
ในแต่ละสถาบันอุดมศึกษา และลักษณะของสารสนเทศท้องถิ่นของแต่ละท้องถิ่น
4.2.6 ความต้องการของคณาจารย์ในการสอน การวิจัย และการบริการทางวิชา
การแก่สังคม และบุคลากรอื่น ๆ ในสถาบันอุดมศึกษา
4.2.7 ความต้องการของผู้ใช้ที่จะศึกษาให้ลึกซึ้งในเรื่องใด เรื่องหนึ่ง ซึ่ง
ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาไม่สามารถ ยืมทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการได้จากห้องสมุดอื่น
4.3 สูตรสำหรับคำนวณจำนวนทรัพยากรสารสนเทศ จำนวนทรัพยากรสารสนเทศ
ให้ใช้สูตรสำหรับคิดคำนวณ ดังนี้
4.3.1 หนังสือ
(1) จำนวนหนังสือ/นักศึกษา 15 เล่ม/1 คน
(2) จำนวนหนังสือ/อาจารย์ 100 เล่ม/ 1 คน
(3) ห นั งสื อเฉ พ าะส าข า 500 เล่ม สํ าห รับ ระดั บ ป ริญ ญ าต รี
3,000 เล่ม สำหรับระดับปริญญาโทกรณีที่มีการเปิดสอนในระดับอื่นที่สูงกว่าระดับปริญญาโท
6,000 เล่ม สำหรับระดับปริญญาโทกรณีที่ไม่มีการเปิดสอนระดับอื่นที่สูงกว่าระดับปริญญาโท
6,000 เล่ม สำหรับระดับการศึกษาเฉพาะทาง 6 ปี 25,000 เล่ม สำหรับระดับปริญญาเอก
ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาควรมีหนังสือจำนวนไม่น้อยกว่า 100,000 เล่ม และจะต้องมี
ตัวเล่มหนังสืออย่างน้อยร้อยละ 50 ทั้งนี้ จำนวนทรัพยากรสารสนเทศในรูปสื่ออื่น ๆ ให้นับเท่ากับ
จำนวนเล่มของหนังสือที่บันทึกลงสื่อ ที่สามารถค้นหามาใช้ได้ทันที
4.3.2 วารสาร
35
ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาควรมีวารสารเฉพาะสาขาวิชาตามความ
จำเป็นของแต่ละสาขาวิชาที่เปิดสอนเป็นวิชาเอก วิชาโท ของสถาบันอุดมศึกษา ทั้งนี้ให้คำนึงถึง
การบอกรับวารสารด้วยวิธีอื่น เช่น การสั่งซื้อบทความวารสารและสาระสังเขปซึ่งสามารถสั่งฉบับ
พิมพ์ทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้ทันที รวมทั้งการบอกรับวารสารอิเล็กทรอนิกส์ วารสารประเภทให้
ความรู้ทั่วไปและเพื่อความจรรโลงใจ ให้มีจำนวนตามความเหมาะสม
5. อาคาร สถานที่ และครุภัณฑ์
อาคารห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาควรตั้งอยู่ในที่สะดวกสำหรับผู้ใช้ มีสัดส่วนเป็น
เอกเทศ มีเนื้อที่สำหรับเก็บทรัพยากรสารสนเทศอย่างเพียงพอ และเหมาะสมกับลักษณะของ
ทรัพยากรสารสนเทศ ขนาดของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาและเนื้อที่ในส่วนต่าง ๆ ควรคำนึงถึง
จำนวนนักศึกษา จำนวนบุคลากร และเนื้อที่ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานของบุคลากร ตลอดจน
จำนวนทรัพยากรสารสนเทศ ซึ่งการคิดคำนวณเนื้อที่ห้องสมุดจะรวมถึงเนื้อที่สำหรับจัดเก็บและ
บริการโสตทัศนวัสดุ เนื้อที่สำหรับการสอน การค้นคว้าเป็นกลุ่ม และเนื้อที่สำหรับเครื่องมือและ
อุปกรณ์ในการให้บริการที่ต้องใช้เทคโนโลยีประเภทต่าง ๆ ของห้องสมุดด้วย
5.1 การสร้างอาคารห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาควรคำนึงถึงความต้องการในการ
ใช้เนื้อที่ในอนาคต และได้รับการออกแบบอย่างเหมาะสมและถูกต้องตามมาตรฐานการก่อสร้าง
อาคาร อุปกรณ์อำนวยความสะดวกภายในอาคาร ควรให้เหมาะสมกับลักษณะงาน และภาระ
หน้าที่ ทั้งนี้ผู้บริหารห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาต้องเป็นผู้หนึ่งในคณะกรรมการดำเนินการ
จัดสร้างและตรวจรับอาคาร
5.2 ครุภัณฑ์ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ควรออกแบบให้ได้
มาตรฐาน
5.3 พื้น เพดาน และผนังอาคารห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ควรประกอบด้วยวัสดุ
เก็บเสียง
5.4 อาคารห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ควรมีระบบควบคุมอุณหภูมิ ความชื้น
การระบายอากาศ แสงสว่าง และระบบป้องกันสาธารณภัย อย่างเหมาะสมและได้มาตรฐาน
เพื่อป้องกันและบำรุงรักษาทรัพยากรห้องสมุดมิให้เกิดการชำรุดเสียหายก่อนเวลาอันสมควร
5.5 ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ควรจัดอาคารสถานที่สำหรับคนพิการ โดยเพิ่ม
สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ เช่น ทางขึ้น-ลง ห้องน้ำ ลิฟต์ และที่นั่งอ่าน
5.6 สูตรสำหรับคำนวณจำนวนเนื้อที่ของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา
5.6.1 เนื้อที่สำหรับผู้ใช้
36
(1) จำนวนที่นั่งสำหรับศึกษาค้นคว้าภายในห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา
ให้มีจำนวนที่นั่ง ร้อยละ 25 ของผู้ใช้โดยเฉลี่ยต่อวัน โดยคิดพื้นที่ประมาณ 2.25-3.15 ตารางเมตร/
คน ทั้งนี้ให้จัดห้องศึกษาเดี่ยว และห้องศึกษากลุ่มสำหรับนักศึกษา และอาจารย์ตามความเหมาะสม
(2) จำนวนเนื้อที่สำหรับวางอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์
สำหรับผู้ใช้ ควรมีเนื้อที่ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 25 ของจำนวนที่นั่งในห้องสมุด
5.6.2 เนื้อที่สำหรับเก็บหนังสือและวารสารเย็บเล่ม สำหรับจำนวน 150,000
เล่มแรก 0.0090 ตารางเมตร/เล่ม สำหรับจำนวน 150,000 เล่มต่อไป 0.0081 ตารางเมตร/เล่ม
สำหรับจำนวน 300,000 เล่มต่อไป 0.0072 ตารางเมตร/เล่ม ถ้าจำนวนหนังสือทั้งหมดมากกว่า
600,000 เล่มขึ้นไป 0.0063 ตารางเมตร/เล่ม ทั้งนี้ควรจะเตรียมเนื้อที่สำหรับทรัพยากรสารสนเทศที่
จะเพิ่มขึ้นในอนาคตด้วย
5.6.3 เนื้อที่สำหรับบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน เนื้อที่สำหรับการปฏิบัติงานของ
บุคลากรสำหรับการให้บริการจัดวางเอกสารการทำงาน เครื่องมือ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ ให้คิดเนื้อที่ เป็น 1 ใน 8 ส่วนจากเนื้อที่รวมทั้งหมดของเนื้อที่
สำหรับผู้ใช้และเนื้อที่สำหรับจัดเก็บหนังสือ
6. การบริการ
บริการต้องมุ่งส่งเสริมให้ความสะดวกแก่ผู้ใช้ทุกประเภท และส่งเสริมการเรียนรู้
ด้วยตนเอง ต้องหาวิธีการ เครื่องมือ เทคโนโลยีที่ทันสมัย และโทรคมนาคมที่จำเป็น เพื่อช่วยให้
ผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศอย่างรวดเร็วและครบถ้วนตามความต้องการ
ทั้งบริการให้เปล่าและบริการที่ต้องเสียค่าธรรมเนียม ดังนี้
6.1 ต้องจัดให้มีการปฐมนิเทศนักศึกษา การสอน หรือร่วมสอนการค้นคว้า
ทรัพยากรสารสนเทศ ตลอดจนช่วยค้นคว้า และให้คำปรึกษาทางวิชาการ
6.2 จัดให้บริการยืม-คืน โดยกำหนดระเบียบเพื่อให้ผู้ใช้ได้รับบริการอย่างเสมอ
ภาคตามสิทธิที่ควร
6.3 ต้องมีบริการสืบค้นผ่านเครือข่ายภายในประเทศ เครือข่ายอินเตอร์เน็ต และ
สอนการสืบค้นด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์
6.4 ต้องมีชั่วโมงบริการอย่างสม่ำเสมอและเหมาะสม
6.5 หากมีการเรียนการสอนนอกสถาบันอุดมศึกษา ควรจัดให้มีการบริการเพื่อให้ผู้
ใช้สามารถเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศได้ตามความต้องการ
6.6 ต้องมีการพัฒนาคุณภาพการบริการด้านต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ
37
6.7 ส่งเสริมให้มีการใช้ทรัพยากรสารสนเทศร่วมกัน เพื่อให้มีการใช้ทรัพยากร
สารสนเทศอย่างกว้างขวางและประหยัด
7. ความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา
ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ควรดำเนินการให้เกิดความร่วมมือโดยการสร้าง
เครือข่ายเชื่อมโยงเพื่อให้มีการใช้ทรัพยากรและเทคโนโลยีร่วมกัน โดยคำนึงถึงหลักการประหยัด
และประสิทธิภาพของบริการ ทั้งนี้ ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งควรได้รับงบประมาณ
ประจำปีเพื่อการนี้ด้วย
8. การประเมินคุณภาพห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา
ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ควรมีระบบการประเมินคุณภาพของห้องสมุดสถาบัน
อุดมศึกษา เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการให้เป็นไปตามมาตรฐานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา และ
สอดคล้องกับนโยบายการประกันคุณภาพการศึกษาของชาติ ทั้งนี้ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาทุก
แห่งควรได้รับงบประมาณเพื่อการนี้ด้วย
ทั้งนี้ในการนำมาตรฐานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาไปปฏิบัติเพื่อให้ถึงมาตรฐาน
ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2544 ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ควรมีการดำเนินการให้ครบตาม
ที่มาตรฐานกำ หนดภายใน 5 ปี นับจากวันประกาศใช้มาตรฐานฉบับนี้ เมื่อพ้น 5 ปีแล้ว
ควรจัดให้มีการดำเนินการประเมินคุณภาพห้องสมุดเพื่อรองรับการประกันคุณภาพการศึกษาของ
สถาบันอุดมศึกษาต่อไป โดยอาจจะกระทำในทุก ๆ 5 ปี
สำหรับห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาที่ใช้การศึกษาระบบเปิด หรือระบบการศึกษา
ทางไกล อาจใช้มาตรฐานนี้โดยอนุโลม และอาจปรับเปลี่ยนบางข้อให้สอดคล้องกับสภาพการเรียน
การสอนของสถาบันอุดมศึกษาได้
จะเห็นได้ว่า มาตรฐานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาที่ทบวงมหาวิทยาลัยจัดทำไว้ ก็มี
เกณฑ์ต่าง ๆ เช่นเดียวกับมาตรฐานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของสหรัฐอเมริกาอยู่หลายประการ
ดังตารางเปรียบเทียบต่อไปนี้
ตารางที่ 1 เปรียบเทียบมาตรฐานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของสหรัฐอเมริกา กับ มาตรฐาน
ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของทบวงมหาวิทยาลัย
มาตรฐานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา มาตรฐานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของ
38
สหรัฐอเมริกา 11 ด้าน ทบวงมหาวิทยาลัย 8 ด้าน
1. การบริหาร 1. โครงสร้างและการบริหาร
2. การวางแผน -
3. งบประมาณ 2. งบประมาณและการเงิน
4. บุคลากร 3. บุคลากรห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา
5. ทรัพยากร 4. ทรัพยากรสารสนเทศ
6. การบริการ 5. การบริการ
7. สิ่งอำนวยความสะดวก 6. อาคาร สถานที่ และครุภัณฑ์
8. การเข้าถึง -
9. การสอน -
10. การสื่อสารและความร่วมมือ 7. ความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบัน
อุดมศึกษา
11. การประเมินผลลัพธ์ 8. การประเมินคุณภาพห้องสมุดสถาบัน
อุดมศึกษา
มาตรฐานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของทบวงมหาวิทยาลัยแม้จะกำหนดไว้ 8 ด้าน ซึ่ง
ต่างกับมาตรฐานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของสหรัฐอเมริกาก็ตาม แต่ในเนื้อหาสาระมาตรฐาน
ของทบวงมหาวิทยาลัยก็ครอบคลุมถึงเรื่อง การวางแผน การเข้าถึง และการสอน เช่นเดียวกัน ซึ่งป
รากฎอยู่ในมาตรฐานด้านต่าง ๆ อยู่แล้ว
ตอนที่ 4 ปัจจัยการประกันคุณภาพหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เมื่อทบวงมหาวิทยาลัยได้จัดทำมาตรฐานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาต่าง
ๆ นํ า ไ ป ป ฏิ บั ติ ใ ห้ เข้ า ถึ ง ม า ต ร ฐ า น ดั ง ก ล่ า ว แ ล้ ว จั ด ใ ห้ มี ก า ร ดํ า เนิ น ก า ร ป ร ะ เมิ น
คุณภาพห้องสมุดเพื่อรองรับการประกันคุณภาพการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา
ดังนั้ น ส ถาบั น อุดม ศึกษ าต่าง ๆ รวมทั้ งม ห าวิท ยาลัยเชียงให ม่ และส ถาบั น ราชภัฏ
บ้านสมเด็จเจ้าพระยาก็ได้ปรับปรุงห้องสมุดของสถาบันเพื่อให้เข้าถึงมาตรฐานตามที่ทบวงมหาวิทยาลัยกำหนด
แ ล ะ ไ ด้ ทํ า ก า ร ป ร ะ กั น คุ ณ ภ า พ ห้ อ ง ส มุ ด ข อ ง ส ถ า บั น ผู้ วิ จั ย จึ ง ไ ด้ นํ า
ตัวอย่างการทำประกันคุณภาพหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่มาศึกษา ซึ่งมี 5 ด้าน ดังนี้ (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,
2541-2543 : 23-54)
1. การบริหารห้องสมุด
39
2. ทรัพยากรสารสนเทศ
3. เครื่องมือช่วยค้น
4. การบริการ
5. ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ในแต่ละด้านมีรายละเอียด ดังนี้
1. ด้านการบริหารห้องสมุด
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้กำหนดดัชนีและตัวบ่งชี้คุณภาพ และมาตรฐานขั้นต่ำไว้ ดังนี้
1.1 บุคลากร
(1) ผู้ ป ฏิ บั ติ งาน ใน ห้ อ งส มุ ด ระดั บ วิช าชี พ ซึ่ งเป็ น บ รรณ ารัก ษ์ กํ าห น ด
มาตรฐานขั้นต่ำไว้ว่า จำนวนนักศึกษาไม่เกิน 10,000 คน นักศึกษาทุก ๆ 500 คน ต่อบรรณารักษ์ 1 คน หากมี
จำนวนนักศึกษาเพิ่มขึ้นจาก 10,000 คน นักศึกษาทุก ๆ 1,000 คน ต่อบรรณารักษ์ 1 คน และต้องดูเกณฑ์จาก
จำนวนหนังสือด้วยว่า หนังสือทุก ๆ 100,000 เล่ม ต่อบรรณารักษ์ 1 คน หากมีหนังสือเพิ่มขึ้น ส่วนที่เพิ่มทุก ๆ
5,000 เล่ม ต่อบรรณารักษ์ 1 คน
(2) ผู้ปฏิบัติงานระดับพนักงานเจ้าหน้าที่ ต้องมีไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ของ
ผู้ปฏิบัติงานทั้งหมดของห้องสมุด
(3) ตำแหน่งของบุคลากรในห้องสมุด ได้แก่ บรรณารักษ์ นักเอกสารสนเทศ
นักวิชาการโสตทัศนวัสดุ เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน พนักงานห้องสมุด เจ้าหน้าที่
ห้องสมุด พนักงานโสตทัศนวัสดุ นายช่างศิลป์ พนักงานอิเล็กทรอนิกส์ เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป
พนักงานธุรการ เจ้าหน้าที่ธุรการ เจ้าหน้าที่บุคคล นายช่างเทคนิค นายช่างไฟฟ้า นักวิชาการเงินและ
บัญชี พนักงานการเงินและบัญชี นักวิชาการพัสดุ พนักงานพัสดุ
(4) ระบบการบริหารงานบุคคล ให้มีการประเมินความพึงพอใจในการทำงานปีละ 1 ครั้ง
ให้มีการวางแผนอัตรากำลังบุคลากรและการคัดสรรบุคลากรเข้าสู่ระบบโดยการสอบแข่งขัน สอบคัดเลือก การคัด
เลือก การรับโอน จัดให้มีการปฐมนิเทศและมีการประเมินบุคลากร การพัฒนาบุคลากร
(5) ก ารวิจัยแล ะห รือ ผ ล งาน เฉ พ าะเรื่อ ง โด ยกํ าห น ด น โยบ ายให้ ชั ด เจน
จัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุน
1.2 งบประมาณ
(1) งบประมาณแผ่นดิน จัดสรรเป็นค่าดำเนินการของห้องสมุดต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 6
ของงบดำเนินการของมหาวิทยาลัย
(2) งบ ป ร ะ ม าณ เงิน ร าย ไ ด้ จ าก ค่ าบํ ารุ ง ค่ าธ ร ร ม เนี ย ม ก อ งทุ น พั ฒ น า
สำนักงาน และเงินสนับสนุนจากแหล่งอื่น ๆ ต้องจัดเป็นงบดำเนินการของห้องสมุดไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของงบ
ดำเนินการของมหาวิทยาลัย
40
(3) วัสดุอุปกรณ์ที่เป็นครุภัณฑ์ห้องสมุด เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ต้องออกแบบให้เหมาะสมถูกสุข
ลักษณะ เป็นไปตามมาตรฐาน จัดโต๊ะอ่านหนังสือเฉพาะบุคคล และห้องเดี่ยว ห้องศึกษากลุ่ม โดยมีจำนวนที่นั่ง
ร้อยละ 20 ของผู้ใช้โดยเฉลี่ยต่อวัน
อุปกรณ์ครุภัณฑ์สำนักงาน ให้มีเพียงพอกับคนและงานที่ปฏิบัติ ครุภัณฑ์สำหรับการให้
บริการควรให้เหมาะสมกับจำนวนทรัพยากรสารสนเทศ
ครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และอุปกรณ์โสตทัศนวัสดุ ควรให้มีจำนวน
เพียงพอ โดยมีคอมพิวเตอร์สำหรับผู้บริหาร 1 คน ต่อ 1 ชุด หน่วยงานในสำนักงานเลขานุการ 1 หน่วยต่อ 1 ชุด
งานนโยบายและแผน 1 งานต่อ 2 ชุด หน่วยพิมพ์ 1 คนต่อ 1 ชุด
1.3 ระบบข้อมูลและการจัดการข้อมูลทางด้านบริหาร
(1) มีโครงสร้างและระบบการบริหารมีสถานภาพเทียบเท่างานวิชากรระดับคณะ มี
นโยบายการบริหารเป็นลายลักษณ์อักษรชัดเจน มีคณะกรรมการระดับนโยบายและคณะกรรมการระดับบริหาร
ห้องสมุดกำกับดูแล จัดทำแผนภูมิ การแบ่งสายงานแต่ละสายงาน กำหนดให้มีการวางแผนพัฒนาและการควบคุม
คุณภาพการทำงาน
(2) ผู้บริหาร คุณสมบัติผู้บริหารระดับสูงของห้องสมุดต้องมีวุฒิไม่ต่ำกว่า
ปริญญาโท และมีความรู้พื้นฐานทางบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ ระดับปริญญาตรี
เป็นอย่างต่ำ มีประสบการณ์ในการทำงานในห้องสมุดอย่างน้อย 5 ปี
คุณสมบัติผู้บริหารระดับกลางและคุณสมบัติของเลขานุการสำนักหอสมุด
ต้องมีวุฒิอย่างต่ำปริญญาโท และมีพื้นฐานความรู้ในสาขาที่ปฏิบัติงานไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี กับมี
ประสบการณ์ในการปฏิบัติงานห้องสมุดอย่างน้อย 2 ปี หรือเป็นผู้ที่มีวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี และมี
ประสบการณ์ในการปฏิบัติงานห้องสมุดไม่น้อยกว่า 3 ปี
(3) การจัดทำ รายงาน ข้อมูลที่เก็บต้องมีการประมวล (Output) เพื่อทำ
รายงานสารสนเทศ ซึ่งอาจจัดทำรายงานเป็นรายเดือน ราย 6 เดือน รายปี หรือการทำรายงาน
ต่าง ๆ เฉพาะเรื่อง หรือเฉพาะกรณีเสนอต่อผู้บริหาร
1.4 อาคารสถานที่
(1) พื้นที่สำ นักหอสมุด พื้นที่สำ หรับผู้ใช้ต้องมีจำ นวนที่นั่งร้อยละ 20 ของ
ผู้ใช้โดยเฉลี่ยต่อวัน โดยคิดพื้นที่ประมาณ 25-35 ตารางฟุตต่อคน โดยให้จัดห้องศึกษาเดี่ยวและห้องศึกษากลุ่ม
สำหรับนักศึกษาและอาจารย์ตามความเหมาะสม จำนวนพื้นที่สำหรับวางอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์
สํ า ห รั บ ผู้ ใ ช้ คิ ด เ ป็ น ร้ อ ย ล ะ 50 ข อ ง จํ า น ว น ที่ นั่ ง
ในห้องสมุด
พื้นที่สำหรับเก็บหนังสือและเอกสาร สำหรับจำนวน 150,000 เล่มแรกให้มี 0.10 ตารางฟุต
ต่อเล่ม จำนวน 150,000 เล่มต่อไป ให้มี 0.9 ตารางฟุตต่อเล่ม จำนวน 300,000 เล่มต่อไป ให้มี 0.08 ตารางฟุตต่อ
เล่ม ถ้าจำนวนหนังสือทั้งหมดมากกว่า 600,000 เล่ม ขึ้นไป ให้มี 0.07 ตารางฟุตต่อเล่ม ทั้งนี้จะต้องเตรียมพื้นที่
สํ า ห รั บ ท รั พ ย า ก ร ส า ร ส น เ ท ศ
ที่จะเพิ่ม
41
พื้นที่สำหรับบุคลากรผู้ปฏิบัติงานในการจัดวางเอกสารการทำงาน เครื่องมือและอุปกรณ์
อิเล็กทรอนิกส์ และอุปกรณ์อื่น ๆ ให้คิดพื้นที่เป็น 1 ใน 8 ส่วน จากพื้นที่รวมทั้งหมดของพื้นที่สำหรับผู้ใช้ และ
พื้นที่สำหรับจัดเก็บหนังสือ
(2) สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ ควรจัดให้มีทางขึ้นลง ห้องน้ำ ลิฟท์ และที่
นั่งอ่าน สำหรับคนพิการในอัตราร้อยละ 0.2
(3) สภาพแวดล้อม แสงสว่างบริเวณพื้นที่อ่านหนังสือ และบริการ 200-500
lux บริเวณพื้นที่ทำงาน 200-500 lux บริเวณพื้นที่ทั่วไป 50-100 lux
อากาศ-กลิ่นให้มีระบบควบคุมอุณหภูมิ ความชื้น การระบายอากาศ เสียง
พื้นเพดาน ผนังอาคารห้องสมุดต้องประกอบด้วยวัสดุเก็บเสียง ความดังภายในห้องสมุด
ไม่เกิน 50 เดซิเบล
น้ำ ให้มีการตรวจสอบการทำงานของระบบน้ำเดือนละ 1 ครั้ง
(4) การดูแลรักษาอาคารและเครื่องอำนวยความสะดวก
ความสะอาด ควรกำหนดตารางทำความสะอาดประจำวัน และประจำปี
การป้องกันและการกำจัดปลวก มด แมงสาป และหนู ควรทำเดือนละ 2 ครั้ง
การทำนุบำรุงรักษาลิฟท์ ต้องกระทำเดือนละ 1 ครั้ง โดยวิศวกรของบริษัท
การบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศ ควรล้างคลีบคอล์ยเย็นด้วยน้ำสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ล้างด้วยสารเคมีปี
ละ 2 ครั้ง
(5) ระบบป้องกันอุบัติภัย การป้องกันอัคคีภัย ต้องจัดทำแผนการป้องกันอัคคี
ภัยของสำนักหอสมุด ให้มีการฝึกอบรมบุคลากรสำนักหอสมุดให้ทราบถึงอัคคีภัย การป้องกัน
ตลอดจนฝึกปฏิบัติการใช้อุปกรณ์ป้องกันอัคคีภัย 3 ปีต่อครั้ง ให้มีการจัดทำคู่มือป้องกันอัคคีภัย มี
การแต่งตั้งบุคลากรผู้รับผิดชอบ การป้องกันอัคคีภัยของสำนักหอสมุด
ระบบสัญญาณเตือนอัคคีภัยอัตโนมัติ ให้มีการตรวจสอบระบบเตือนอัคคีภัยอัตโนมัติ
เดือนละ 1 ครั้ง ให้มีคู่มือและแนวปฏิบัติงานสำหรับเจ้าหน้าที่อยู่เวร นอนเวร และตรวจเวรนอกเวลาราชการ เมื่อมี
สัญญาณเตือนอัคคีภัยดังขึ้น ให้มีเจ้าหน้าที่ช่างที่ควบคุมดูแลสัญญาณเตือนอัคคีภัย
เครื่องมือดับเพลิง ให้มีการตรวจสอบสายยางฉีดน้ำ หัวฉีด เครื่องดับเพลิงชนิด
ผงเคมีแห้ง ชนิดก๊าซ Halon ให้อยู่ในสภาพใช้งานได้เดือนละ 1 ครั้ง
ไฟฟ้าสำรอง ให้มีการตรวจสอบไฟฟ้าฉุกเฉิน ชนิดใช้แบตเตอรี่ เครื่องปั่นไฟฟ้าเดือนละ 1
เครื่อง
บันไดหนีไฟและกุญแจประตูทางออกฉุกเฉินให้จัดทำป้ายแสดงทิศทางบันไดหนีไฟ และ
ส ถ าน ที่ จั ด เก็ บ กุ ญ แ จ ป ร ะ ตู ท าง อ อ ก ฉุ ก เฉิ น ใ ห้ จั ด ทํ าช่ อ ง ห น้ าต่ าง เห ล็ ก ดั ด พ ร้ อ ม ทั้ ง
ลูกกุญแจปิดเปิดในบริเวณห้องที่ติดลูกกรงเหล็กดัด
42
2. ด้านทรัพยากรสารสนเทศ
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้กำหนดดัชนีและตัวบ่งชี้ และมาตรฐานขั้นต่ำในการทำ
ประกันคุณภาพไว้ดังนี้
2.1 นโยบายการจัดหาทรัพยากรสารนิเทศ มีการปรับปรุงนโยบายให้สอดคล้องกับ
มาตรฐานขั้นต่ำตามร่างมาตรฐานห้องสมุดมหาวิทยาลัย
2.2 ทรัพยากรสารนิเทศทุกรูปแบบที่ให้บริการ โดยจัดหาให้ครอบคลุมหลักสูตรที่
มีการเรียนการสอนและการวิจัยในมหาวิทยาลัย
จำนวนหนังสือพื้นฐานขั้นต่ำควรมี 85,000 เล่ม กำหนดสัดส่วนต่อนักศึกษา
ควรมี 15 เล่มต่อนักศึกษา 1 คน สัดส่วนต่ออาจารย์ ควรมี 100 เล่มต่ออาจารย์ 1 คน
หนังสือเฉพาะสาขาวิชา 350 เล่ม สำหรับระดับปริญญาตรี และ 3,000 เล่มสำหรับ
ปริญญาโท กรณีที่มีการเปิดสอนระดับอื่นที่สูงกว่าระดับปริญญาโท และ 6,000 เล่ม สำหรับระดับ
ปริญญาโท กรณีที่ไม่มีการเปิดสอนระดับอื่นที่สูงกว่าปริญญาโท และ 6,000 เล่ม สำหรับการศึกษา
เฉพาะทาง 6 ปี และ 25,000 เล่ม สำหรับระดับปริญญาเอก
จำนวนวารสาร วารสารเฉพาะสาขาวิชาทั้งภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ ให้มี
จำนวน 50 รายการขึ้นไปต่อหนึ่งสาขาวิชา โดยรวมการบอกรับวารสารและสาระสังเขปซึ่งสามารถ
สั่งฉบับพิมพ์ทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้ทันที
จำนวนโสตทัศนวัสดุ ให้มีความเหมาะสมโดยมุ่งเน้นโสตทัศนวัสดุประเภท
ไมโครฟิล์ม ซีดี-รอม มัลติมิเดีย เทปบันทึกเสียง วีดิทัศน์ ฯลฯ
จำนวนสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ที่เป็นฐานข้อมูลซีดี-รอม และฐานข้อมูลเชิงพาณิชย์ใน
ระบบออนไลน์ มีไม่น้อยกว่า 50 ฐาน
2.3 มีหลักเกณฑ์การเพิ่มทรัพยากรสารนิเทศอย่างมีระบบ โดยคำนึงถึงสัดส่วนของ
อาจารย์และนักศึกษาแต่ละระดับให้สอดคล้องกับงบประมาณที่ได้รับจัดสรรหลักเกณฑ์ในการจัด
หาทรัพยากรสารนิเทศ ควรได้รับการจัดสรรตามจำนวนนักศึกษาและอาจารย์ในแต่ละปี
2.4 มีวิธีการป้องกัน สงวน รักษาอนุรักษ์ และซ่อมบูรณะทรัพยากรสารนิเทศ
โดยให้ความรู้ความเข้าใจในการป้องกันการสงวนรักษาทรัพยากรสารนิเทศแก่ผู้เกี่ยวข้อง
ใช้เทคนิค วิธีการ เครื่องมือ และอุปกรณ์ที่เหมาะสม เพื่อมิให้เสื่อมสภาพ หรือคงสภาพเดิม สามารถ
ใช้งานและให้บริการได้ในระยะยาว
2.5 มีการจัดทำข้อมูลท้องถิ่น ข้อมูลเฉพาะด้านในรูปของสื่อต่าง ๆ ที่เหมาะสม
43
3. ด้านเครื่องมือช่วยค้น
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้กำหนดดัชนีตัวบ่งชี้คุณภาพเกี่ยวกับความรวดเร็วในการจัด
ทำดัชนี และกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำไว้ว่าหนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ โสตทัศนวัสดุ และสื่อ
อิเล็กทรอนิกส์ที่เข้ามาในห้องสมุดจะต้องได้รับการจัดทำดัชนี โดยไม่มีการตกค้าง (backlog)
4. ด้านการบริการ
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้กำหนดดัชนีตัวบ่งชี้คุณภาพ และมาตรฐานขั้นต่ำไว้ดังนี้
4.1 ผู้ใช้สามารถใช้บริการสืบค้นข้อมูลของห้องสมุดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
และเพียงพอโดยไม่จำ กัดเวลาและสถานที่ (Remote Access Service) สำ หรับผู้ใช้ภายใน
มหาวิทยาลัย ห้องสมุดต้องมีเครื่องคอมพิวเตอร์ให้บริการสืบค้นฐานข้อมูลของห้องสมุด (Online
Public Access Catalog = OPAC) ดังนี้ คือ ห้องสมุดกลาง อย่างน้อย 10 เครื่อง ห้องสมุดคณะอย่าง
น้อยคณะละ 1 เครื่อง ต้องมีระบบที่สามารถตอบสนองการทำงานได้อย่างรวดเร็ว
ส่วนผู้ใช้ภายนอกมหาวิทยาลัย ห้องสมุดจะต้องจัดทำฐานข้อมูลที่สะดวกต่อ
การเข้าถึงและจัดทำแหล่งบริการฐานข้อมูล (Home Page) บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ต้องติดตั้งครุ
ภัณฑ์หรืออุปกรณ์ใดที่ส่งเสริมการเข้าถึงฐานข้อมูล หรือส่งเสริมการใช้งานที่มีอยู่อย่าง
มีประสิทธิภาพ
4.2 มีบริการสืบค้นข้อมูลผ่านเครือข่ายภายในประเทศและเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ห้องสมุดต้องมีเครื่องคอมพิวเตอร์ให้บริการสืบค้นข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายภายในประเทศและ
เครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยห้องสมุดกลางต้องมีอย่างน้อย 10 เครื่อง ห้องสมุดคณะอย่างน้อยคณะละ
1 เครื่อง
4.3 มีบริการสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูล CD-ROM (Compact Disc Read Only
Memory) โดยห้องสมุดสามารถสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูล CD-ROM ผ่านระบบเครือข่าย (CDROM
Network)
4.4 มีบริการตอบคำถามและช่วยค้นคว้า โดยผู้ใช้บริการได้รับคำตอบจากคำถาม
ประเภทต่าง ๆ เช่น คำถามทั่วไป ตอบได้ทันที คำถามอย่างง่าย ตอบภายใน 10 นาที คำถามที่ต้องใช้
เวลาในการค้นคว้าอย่างน้อยตอบภายใน 24 ชั่วโมง ให้ผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจ
อย่างน้อยร้อยละ 60
4.5 มีบริการยืม-คืน ทรัพยากรสารนิเทศ
(1) การทำบัตรสมาชิก ผู้ใช้จะได้รับบัตรสมาชิกห้องสมุดภายใน 5 นาที หลังจากยื่น
แบบฟอร์มการสมัครเป็นสมาชิกพร้อมหลักฐานครบถ้วน
(2) สมาชิกของห้องสมุดมีสิทธิยืมทรัพยากรสารนิเทศที่สำนักหอสมุดกำหนด
ให้ยืมได้โดยมีจำนวนเล่มและระยะเวลาในการยืมตามประเภทของสมาชิก
44
ห้องสมุดกลางต้องมีหนังสือสำหรับนักศึกษาปริญญาตรี 10 เล่มต่อสัปดาห์ นัก
ศึกษาบัณฑิตศึกษา 15 เล่มต่อ 2 สัปดาห์ ข้าราชการสาย ก. ข. 15 เล่มต่อภาคการศึกษา
ข้าราชการสาย ค. (ลูกจ้าง) 5 เล่มต่อสัปดาห์ สมาชิกบุคคลภายนอก สมาชิกกิตติมศักดิ์ 5 เล่มต่อ
สัปดาห์ สมาชิก PULINET 3 เล่ม ต่อสัปดาห์
วารสาร ข้าราชการสาย ก. ข. ยืมวารสารรายปลีกฉบับล่วงเวลา 3 ฉบับต่อ
สัปดาห์
โสตทัศนวัสดุ สมาชิกห้องสมุดทุกประเภทสามารถยืมโสตทัศนวัสดุได้ตามที่
ห้องสมุดกลางกำหนดไว้
สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สมาชิกห้องสมุดทุกประเภทสามารถยืมสื่ออิเล็กทรอนิกส์
ที่มากับทรัพยากรสารนิเทศได้
ห้องสมุดคณะ สิทธิการยืม-คืน ตามที่ห้องสมุดคณะกำหนด ผู้ใช้บริการ
มีความพึงพอใจอย่างน้อยร้อยละ 60
4.6 มีบริการยืม-คืน ทรัพยากรสารนิเทศด้วยระบบอัตโนมัติ โดยมีอุปกรณ์สำหรับ
ให้ บ ริการ คือ ห้ องส มุดกลาง ต้องมีเครื่องคอมพิ วเตอร์พ ร้อมเครื่องอ่าน บ าร์โค๊ด
อย่างน้อย 4 ชุด สำหรับห้องสมุดคณะ ต้องมีเครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมเครื่องอ่านบาร์โค๊ด
อย่างน้อย 2 ชุด
4.7 มีบริการจองทรัพยากรสารนิเทศ การดำเนินการจองที่เคาน์เตอร์ยืม-คืน
ทรัพยากรสารนิเทศ ต้องทำ ให้เสร็จภายใน 5 นาที ถ้าจองผ่านฐานข้อมูล CMUL OPAC
เจ้าหน้าที่ดำเนินการรับคำขอและจองทรัพยากรสารนิเทศให้เสร็จภายใน 24 ชั่วโมง โดย
ตรวจสอบผลการจองจากฐานข้อมูล CMUL OPAC ด้วยทางเลือก V (view your Circulation record)
หรือจากบอร์ดงานบริการผู้อ่านที่ห้องสมุดกลางและบอร์ด
การได้รับหนังสือจอง ผู้ใช้จะได้รับทรัพยากรสารนิเทศที่จองตรงตามกำหนด กรณีที่
ผู้ยืมทรัพยากรสารนิเทศส่งตามกำหนด แต่กรณีที่ผู้ยืมทรัพยากรสารนิเทศไม่ส่งตามกำหนด
เจ้าหน้าที่จะติดตามทรัพยากรสารนิเทศที่ผู้ใช้จองเป็นกรณีไป
4.8 การขึ้นชั้นทรัพยากรสารนิเทศ ห้องสมุดจะต้องขึ้นชั้นทรัพยากรสารนิเทศ
อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง โดยจัดเรียงให้ถูกต้องตามประเภท เลขเรียกหนังสือ และมีป้ายชั้นบอกหมวด
หมู่ชัดเจน ต้องอ่านชั้นทรัพยากรสารนิเทศพร้อมกับการขึ้นชั้นอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง และอ่านชั้น
โดยละเอียดภาคการศึกษาละ 1 ครั้ง ให้สำรวจทรัพยากรสารนิเทศ อย่างน้อย 2 ปีต่อครั้ง
45
4.9 การบริการยืมระหว่างห้องสมุด
(1) การขอใช้บ ริการจากห้ องส มุดอื่น เจ้าห น้ าที่ ดำ เนิ น การส่งแบ บฟ อร์ม
การใช้บริการอย่างน้อย ภายใน 24 ชั่วโมง เมื่อห้องสมุดได้รับเอกสารที่ขอใช้บริการจากห้องสมุดอื่น เจ้าหน้าที่
แจ้งผู้ใช้บริการอย่างน้อยภายใน 24 ชั่วโมง
(2) ห้องสมุดอื่นขอใช้บริการ เจ้าหน้าที่ดำเนินการหาเอกสาร, สำเนาเอกสาร
และส่งเอกสารตามคำขออย่างน้อยภายใน 3 วันทำการ กรณีหาเอกสารไม่พบ เจ้าหน้าที่จะติดตาม
เอกสารอย่างน้อย 3 ครั้งภายใน 1 สัปดาห์ ถ้าพบเอกสาร จะสำเนาส่งเอกสารให้ภายใน 3 วัน
ถ้าไม่พบเอกสาร จะแจ้งให้ห้องสมุดที่ขอใช้บริการภายใน 1 สัปดาห์
4.10 การบริการขนส่งเอกสาร (Document Delivery) ภายในห้องสมุดมหาวิทยาลัย
เชียงใหม่ ห้องสมุดที่ขอใช้บริการและห้องสมุดที่ให้บริการดำเนินการ ดังนี้
(1) การขอใช้ห้องสมุด เจ้าหน้าที่ส่งแบบฟอร์มการใช้บริการให้ห้องสมุด
ที่ให้บริการ อย่างน้อยภายใน 24 ชั่วโมง เมื่อห้องสมุดได้รับหนังสือ เจ้าหน้าที่ต้องแจ้งผู้ใช้บริการ
อย่างน้อยภายใน 24 ชั่วโมง
(2) การให้บริการ เจ้าหน้าที่ดำเนินการหา และส่งหนังสือให้ห้องสมุดที่ขอ
ใช้บริการ อย่างน้อยภายใน 48 ชั่วโมง กรณีหาหนังสือไม่พบ เจ้าหน้าที่แจ้งผลการใช้บริการทันที
และดำเนินการติดตามหนังสือภายใน 1 สัปดาห์
4.11 การบริการข้อมูลท้องถิ่นแสดงความเป็นเอกลักษณ์ ของภาคเหนือ
ต้องดำเนินการ ดังนี้
(1) จัดเก็บ และรวบ รวมท รัพ ยากรส ารนิ เท ศ 17 จังห วัดภาคเห นื อ และ
ดินแดนที่มีวัฒนธรรมคล้ายคลึงกัน
(2) จัดทำสิ่งอำนวยความสะดวกในการค้นข้อมูล เช่น ทำดัชนีช่วยค้น
(3) ให้บริการช่วยการค้นคว้าข้อมูลท้องถิ่น ถ้าเป็นคำถามทั่วไปให้ตอบทัน
ที คำถามอย่างง่าย ตอบภายใน 10 นาที คำถามที่ต้องใช้เวลาในการค้นคว้า อย่างน้อยต้องตอบภาย
ใน 48 ชั่วโมง
(4) ผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจ อย่างน้อยร้อยละ 60
4.12 ชั่วโมงบริการต้องมีอย่างสม่ำเสมอ เหมาะสมตามความต้องการของผู้ใช้ และ
สภาพแวดล้อมของห้องสมุดต้องให้บริการทั้งเปิดภาคการศึกษาและปิดภาคการศึกษาตามเวลาที่แต่
ละห้องสมุดกำหนด ผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจอย่างน้อยร้อยละ 60
4.13 การส่งเสริมการใช้ห้องสมุดสำหรับผู้ใช้ทุกระดับตลอดจนให้คำปรึกษาช่วยค้น
คว้าและสอนการสืบค้นด้วยสื่อต่าง ๆ
(1) ต้องมีหน่วยงานและหรือบุคลากรรับผิดชอบ เพื่อส่งเสริมการใช้
ห้องสมุด
46
(2) มีกิจกรรมส่งเสริมการใช้ห้องสมุดทุกภาคการศึกษาปกติ
(3) มีห้องและหรืออุปกรณ์ที่เหมาะสมสำหรับการส่งเสริมการใช้ห้องสมุด
(4) ผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจอย่างน้อยร้อยละ 60
4.14 การบริการห้องสมุดที่วิทยาเขต ประกอบด้วยห้องสมุดสำหรับบริการโดย
เฉพาะ มีบุคลากรอย่างน้อย บรรณารักษ์ 1 คน เจ้าหน้าที่ 1 คน ต้องมีงบประมาณดำเนินการ
5. ด้านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้จัดกำหนดดัชนีและตัวบ่งชี้คุณภาพ และมาตรฐานขั้นต่ำ
ดังนี้
5.1 การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้กับงานระบบห้องสมุดทุกงาน ระบบ
ห้องสมุดที่มีให้บริการต้องเป็นระบบอัตโนมัติที่เป็นระบบ Library Turnkey System
5.2 สามารถเชื่อมโยงกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัย และระบบ
เครือข่ายภายในประเทศและต่างประเทศ (อาทิเช่น Internet) โดยต้องเชื่อมเครือข่ายได้ตลอดยี่สิบสี่
ชั่วโมง
เพื่อให้เข้าใจและมองเห็นความสำคัญของการจัดทำมาตรฐานห้องสมุดสถาบัน
อุดมศึกษา ดังที่ได้กล่าวมาว่า เมื่อสหรัฐอเมริกาได้จัดทำ มาตรฐานห้องสมุดสถาบัน
อุดมศึกษาแล้ว สถาบันอุดมศึกษาทั่วโลกก็ได้นำมาเป็นแนวทางในการจัดทำมาตรฐานสถาบันอุดม
ศึกษาของแต่ละประเทศ รวมทั้งประเทศไทยโดยทบวงมหาวิทยาลัย ได้จัดทำ มาตรฐาน
ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาไว้เป็นแนวทางให้สถาบันอุดมศึกษานำไปปฏิบัติดังที่กล่าวแล้ว จึงได้
เปรียบเทียบมาตรฐานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของทบวงมหาวิทยาลัยกับปัจจัยการประกัน
คุณภาพของหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมาตรฐานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของสหรัฐ
อเมริกา กับปัจจัยการประกันคุณภาพห้องสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดังนี้
47
ตารางที่ 2 เปรียบเทียบมาตรฐานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของทบวงมหาวิทยาลัย กับ ปัจจัย
การประกันคุณภาพหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
มาตรฐานห้องสมุดสถาบัน
อุดมศึกษาของทบวง
มหาวิทยาลัย 8 ด้าน
1. โครงสร้างการบริหาร
2. งบประมาณและการเงิน.
3. บุคลากรห้องสมุด
สถาบันอุดมศึกษา
4. ทรัพยากรสารสนเทศ
ปัจจัยประกันคุณภาพหอสมุด
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 5 ด้านรวมทั้งดัชนี
ตัวบ่งชี้คุณภาพและมาตรฐานขั้นต่ำ
1. การบริหารหอสมุด
(1) บุคลากร
(2) งบประมาณ
(3) ระบบข้อมูลและ
การจัดการข้อมูล
(4) อาคารสถานที่
2. ทรัพยากรสารสนเทศ
(1) นโยบายการจัดหาทรัพยากร
(2) หลักเกณฑ์การเพิ่มทรัพยากร
(3) การดูแลบำรุงรักษา
ทรัพยากร
(4) การจัดทำข้อมูลท้องถิ่น
5. อาคารสถานที่
และครุภัณฑ์
48
6. การบริการ
7. ความร่วมมือระหว่าง
ห้องสมุดสถาบัน
อุดมศึกษา
3. เครื่องมือช่วยค้น หนังสือ วารสาร
โสตทัศนวัสดุ สื่ออิเล็กทรอนิกส์
การศึกษาประสิทธิภาพการดำเนินงานของสำนักวิทยบริการ (ตอนที่ 1)
การศึกษาประสิทธิภาพการดำเนินงานของสำนักวิทยบริการ (ตอนที่ 2)
การศึกษาประสิทธิภาพการดำเนินงานของสำนักวิทยบริการ (ตอนที่ 3)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น