ศึกษาและโหลดฟรีเป็นตัวอย่างเกี่ยวกับงานวิจัย all free download research
วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2552
การดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ตามความคิดเห็นของ (ตอนที่ 1)
การดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ตามความคิดเห็นของ
บุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
THE QUALITY ASSURANCE OF HIGHER EDUCATION
IN ACCORDANCE WITH PERSONNEL VIEWPOINTS OF
KING MONGKUT’S UNIVERSITY OF TECHNOLOGY THONBURI
วิทยานิพนธ์
ของ
นางสาววชิราภรณ์ สุรธนะสกุล
เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัยสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา
ตามหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา
พ.ศ. 2545
ISBN 974-373-160-1
วิทยานิพนธ์ การดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาตามความคิดเห็นของบุคลากรใน
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
โดย นางสาววชิราภรณ์ สุรธนะสกุล
สาขา การบริหารการศึกษา
ประธานกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ รองศาสตราจารย์ ดร. ณรงค์ฤทธิ์ สมบัติสมภพ
กรรมการ รองศาสตราจารย์ หรรษา ศิวรักษ์
กรรมการ รองศาสตราจารย์ เกริก วยัคฆานนท์
บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา อนุมัติให้วิทยานิพนธ์นี้
เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต
….…….………………………………..คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
(รองศาสตราจารย์ นันทา วิทวุฒิศักดิ์)
วันที่ เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2545
คณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์
…………………………………………ประธานกรรมการ
(ศาสตราจารย์ ดร. สายหยุด จำปาทอง)
…………………………………………กรรมการ
(รองศาสตราจารย์ ดร. ณรงค์ฤทธิ์ สมบัติสมภพ)
…………………………………………กรรมการ
(รองศาสตราจารย์ หรรษา ศิวรักษ์)
…………………………………………กรรมการ
(รองศาสตราจารย์ เกริก วยัคฆานนท์)
…………………………………………กรรมการ
(ดร. สรายุทธ์ เศรษฐขจร)
…………………………………………กรรมการและเลขานุการ
(รองศาสตราจารย์ นันทา วิทวุฒิศักดิ์)
ลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
การดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ตามความคิดเห็นของบุคลากรใน
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
บทคัดย่อ
ของ
นางสาววชิราภรณ์ สุรธนะสกุล
เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัยสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา
ตามหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา
ปีการศึกษา 2545
วชิราภรณ์ สุรธนะสกุล. (2545). การดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ตามความ
คิดเห็นของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. วิทยานิพนธ์
ระดับมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัยสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
คณะกรรมการควบคุม : รศ.ดร.ณรงค์ฤทธิ์ สมบัติสมภพ
รศ.หรรษา ศิวรักษ์
รศ.เกริก วยัคฆานนท์
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการดำเนินงานประกันคุณภาพ
การศึกษา ตามความคิดเห็นของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
โดยจำแนกตามตำแหน่งหน้าที่และคณะวิชาที่สังกัด ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามที่สร้างขึ้นตาม
กรอบการประกันคุณภาพการศึกษาของทบวงมหาวิทยาลัย ได้แก่ (1) ด้านปรัชญา ปณิธาน
วัตถุประสงค์ และแผนการดำเนินงาน (2) ด้านการเรียนการสอน (3) ด้านกิจกรรมการพัฒนา
นักศึกษา (4) ด้านการวิจัย (5) ด้านการบริการทางวิชาการแก่สังคม (6) ด้านการทำนุบำรุง
ศิลปวัฒนธรรม (7) ด้านการบริหารและจัดการ (8) ด้านการเงินและงบประมาณ (9) ด้านระบบ
และกลไกการประกันคุณภาพ โดยมีค่าความเชื่อมั่น 0.9878 และเก็บรวบรวมข้อมูลจาก
กลุ่มตัวอย่าง อาจารย์ประจำ 148 คน และเจ้าหน้าที่ประจำ 92 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้
ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบ t-test และสถิติทดสอบ F-test
ผลการวิจัยให้ข้อสรุปว่า
1. การดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ตามความคิดเห็นโดยรวมของบุคลากร
ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี อยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน ยกเว้น ด้านการ
ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม มีการดำเนินงานอยู่ในระดับน้อย
2. บุคลากรที่มีตำแหน่งหน้าที่ต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับดำเนินงานประกัน
คุณภาพการศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในด้านกิจกรรมการ
พัฒนานักศึกษาและด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ส่วนด้านอื่นๆ ไม่แตกต่างกัน
3. บุคลากรที่สังกัดคณะวิชาต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานประกัน
คุณภาพการศึกษา ไม่แตกต่างกันในด้านปรัชญา ปณิธาน วัตถุประสงค์และแผนการดำเนิน
งาน และด้านการวิจัย ส่วนด้านอื่นๆ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
The Quality Assurance of Higher Education in Accordance with Personnel Viewpoints
of King Mongkut’s University of Technology Thonburi
AN ABSTRACT
BY
Miss Vachiraporn Surathanaskul
Presented in partial fulfillment of the requirements
For the Master of Education Program in Educational Administration
at Rajabhat Institute Bansomdej Chao Praya
2002
Surathanaskul Vachiraporn (2002). The Quality Assurance of Higher Education in
Accordance with Personnel Viewpoints of King Mongkut’s University of
Technology Thonburi. Master Thesis, Bangkok: Graduate School,
Rajabhat Institute Bansomdej Chao Praya
Advisor Committee: Associate Professor Dr. Narongrit Sombatsompop
Associate Professor Hunsa Siwaluk
Associate Professor Krerk Wayakanon
The purpose of this research was to survey the quality assurance of higher
education in accordance with personnel viewpoints of King Mongkut’s University of
Technology Thonburi. According to personnel’s positions and faculties. The
questionnaires used in this research were designed under the quality assurance
conceptual framework of The Ministry of University Affairs as the following:
(1) Philosophy, Commitments, Objectives and Implementation Plan, (2) Teaching and
Learning, (3) Student Development Activities, (4) Research, (5) Academic Service to
the Community, (6) Preservation of Arts and Culture, (7) Administration and
Management, (8) Finance and Budgeting, and (9) QA System and Mechanism. The
questionnaires were sent to 148 academic staff and 92 supporting staff members. The
data were obtained from a set of questionnaires having a reliability of 0.9878.
The data was then analysed with different modes including percentage, mean,
standard deviation, the t-test, and F-test.
The results of the study were
1. The quality assurance of higher education in all aspects was at moderate
level, Preservation of Arts and Culture was at low level.
2. Student Development Activities and Preservation of Arts and Culture were
statistically different at 0.05 level.
3. No statistical difference was found in Philosophy, Commitments, Objectives
and Implementation Plan, and Research at 0.05 level, but statistical difference was
found in other aspects at 0.05 level.
กิตติกรรมประกาศ
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้สำเร็จด้วย ได้รับความกรุณาอย่างยิ่งจาก รองศาสตราจารย์ ดร.
ณรงค์ฤทธิ์ สมบัติสมภพ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ รองศาสตราจารย์ หรรษา
ศิวรักษ์ และรองศาสตราจารย์ เกริก วยัคฆานนท์ กรรมการวิทยานิพนธ์ ที่ได้เอาใจใส่ให้
คำแนะนำและตรวจแก้ไขเพื่อให้วิทยานิพนธ์มีความถูกต้อง ผู้วิจัยขอขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่ง
ขอขอบพระคุณคณาจารย์ สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย
สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ทุกท่านที่ได้ประสิทธิ์ประสาทความรู้แก่ผู้วิจัย
ขอขอบพระคุณศาสตราจารย์ ดร.สายหยุด จำปาทอง และรองศาสตราจารย์ นันทา
วิทวุฒิศักดิ์ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัยสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และ ดร.สรายุทธ์
เศรษฐขจร กรรมการสอบวิทยานิพนธ์ที่ได้กรุณาให้คำแนะนำและข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์
ตลอดจนช่วยแก้ไขวิทยานิพนธ์ให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
ขอขอบพระคุณผู้เชี่ยวชาญทุกท่านที่ได้กรุณาให้คำแนะนำ และข้อเสนอแนะในการ
สร้างเครื่องมือในการวิจัย และขอขอบพระคุณ คณบดี อาจารย์ประจำ และเจ้าหน้าที่ประจำใน
แต่ละคณะวิชาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีทุกท่าน ที่ให้ความอนุเคราะห์ใน
การเก็บข้อมูล และเป็นกลุ่มตัวอย่างในการตอบแบบสอบถาม ขอขอบพระคุณ คุณพงศ์ธร โพธิ์
พลศักดิ์ สำหรับคำแนะนำในการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS มาโดยตลอด
ขอกราบขอบพระคุณ คุณแม่กิมทง สุรธนะสกุล และขอขอบพระคุณญาติพี่น้องทุกคน
ตลอดจนเพื่อนๆ สาขาการบริหารการศึกษารุ่นที่ 2 ทุกคนที่คอยให้คำแนะนำ อีกทั้งยังเป็นกำลัง
ใจให้แก่ผู้วิจัยด้วยดีเสมอมา
คุณความดีของวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ขอมอบให้บุพการี และคณาจารย์ทุกท่าน
วชิราภรณ์ สุรธนะสกุล
สารบัญ
หน้า
กิตติกรรมประกาศ…………………………………………………………………………… ก
บทคัดย่อภาษาไทย…………………………………………………………………………. ข
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ……………………………………………………………………… ค
สารบัญเรื่อง…...…………………………………………………………………………….. ง
สารบัญตาราง…...…………………………………………………………………………… ฉ-ซ
สารบัญแผนภาพ…………………………………………………………………………….. ฌ
บทที่ 1 บทนำ
1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา………………..…………………. 1
1.2 วัตถุประสงค์ของการวิจัย…………………………………………………… 2
1.3 ขอบเขตของการวิจัย………………………………………………………... 2
1.4 นิยามศัพท์เฉพาะ…………………………………………………………… 2
1.5 สมมติฐานในการวิจัย……………………………………………………….. 3
1.6 ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย ……………………………………………… 3
1.7 กรอบแนวคิดในการวิจัย…………………………………………………….. 4
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
2.1 ความจำเป็นของการประกันคุณภาพการศึกษา…………………………… 5
2.2 แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการประกันคุณภาพการศึกษา………….. 6
2.3 การประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย…………… 14
2.4 การประกันคุณภาพการศึกษาของ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี……………………………….. 31
2.5 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง………………………………………………………….. 37
บทที่ 3 วิธีดำเนินงานวิจัย
3.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง……….………………………………….…….. 44
3.2 ตัวแปรที่ศึกษา……………………………………………………………… 45
3.3 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย………………..………………………………….. 46
3.4 วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล…………………………………………………… 48
3.5 การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิจัย……………………………….. 48
จ
สารบัญ (ต่อ)
หน้า
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
4.1 การวิเคราะห์ข้อมูล……………………………….………………………… 50
4.2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล…………………………………………………….. 51
บทที่ 5 สรุป อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
5.1 วัตถุประสงค์ของการวิจัย....................................................................... 74
5.2 ขอบเขตของการวิจัย............................................................................. 74
5.3 วิธีดำเนินการวิจัย................................................................................. 74
5.4 สรุปผลการวิจัย…………………………………………………………….. 74
5.5 การอภิปรายผล……………………………………………………………. 76
5.6 ข้อเสนอแนะ……………………………………………………………….. 81
บรรณานุกรม……………………………………………………………………………… 84
ภาคผนวก
ภาคผนวก ก แบบสอบถามเพื่อการวิจัย…………………………………… 90
ภาคผนวก ข หนังสือราชการที่เกี่ยวข้อง……………………………………. 97
ภาคผนวก ค ประวัติผู้วิจัย…………………………………………………… 100
ภาคผนวก ง ผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่................................................. 102
ฉ
สารบัญตาราง
หน้า
ตารางที่ 1 การเปรียบเทียบวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา 3 วิธี……………………. 13
ตารางที่ 2 จำนวนประชากรและกลุ่มตัวอย่างของบุคลากรใน
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จำแนกตามคณะวิชา…………. 45
ตารางที่ 3 ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม…………………………………………….. 47
ตารางที่ 4 ค่าร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามตำแหน่งหน้าที่
และคณะวิชาที่สังกัด……..…………………………………………………… 51
ตารางที่ 5 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของการดำเนินงานประกันคุณภาพ
การศึกษา ตามความคิดเห็นของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
พระจอมเกล้าธนบุรี โดยภาพรวม ในแต่ละรายด้าน………………………….. 52
ตารางที่ 6 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของการดำเนินงานประกันคุณภาพ
การศึกษา ตามความคิดเห็นของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
พระจอมเกล้าธนบุรี ด้านปรัชญา ปณิธาน วัตถุประสงค์และแผนการ
การดำเนินงาน โดยภาพรวมและรายข้อ……………………………………. 53
ตารางที่ 7 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของการดำเนินงานประกันคุณภาพ
การศึกษา ตามความคิดเห็นของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
พระจอมเกล้าธนบุรี ด้านการเรียนการสอน โดยภาพรวมและรายข้อ……. 54
ตารางที่ 8 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของการดำเนินงานประกันคุณภาพ
การศึกษา ตามความคิดเห็นของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
พระจอมเกล้าธนบุรี ด้านการกิจกรรมการพัฒนานักศึกษา
โดยภาพรวมและรายข้อ…………………………………………………….. 55
ตารางที่ 9 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของการดำเนินงานประกันคุณภาพ
การศึกษา ตามความคิดเห็นของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
พระจอมเกล้าธนบุรี ด้านการวิจัย โดยภาพรวมและรายข้อ……………….. 56
ตารางที่ 10 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของการดำเนินงานประกันคุณภาพ
การศึกษา ตามความคิดเห็นของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
พระจอมเกล้าธนบุรี ด้านการบริการทางวิชาการแก่สังคม
โดยภาพรวมและรายข้อ…………………………………………………….. 57
ช
สารบัญตาราง (ต่อ)
หน้า
ตารางที่ 11 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของการดำเนินงานประกันคุณภาพ
การศึกษา ตามความคิดเห็นของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
พระจอมเกล้าธนบุรี ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
โดยภาพรวมและรายข้อ……………………………………………………… 58
ตารางที่ 12 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของการดำเนินงานประกันคุณภาพ
การศึกษา ตามความคิดเห็นของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
พระจอมเกล้าธนบุรี ด้านการบริหารและจัดการ
โดยภาพรวมและรายข้อ……………………………………………………… 59
ตารางที่ 13 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของการดำเนินงานประกันคุณภาพ
การศึกษา ตามความคิดเห็นของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
พระจอมเกล้าธนบุรี ด้านการเงินและงบประมาณ
โดยภาพรวมและรายข้อ……………………………………………………… 60
ตารางที่ 14 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของการดำเนินงานประกันคุณภาพ
การศึกษา ตามความคิดเห็นของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
พระจอมเกล้าธนบุรี ด้านระบบและกลไกการประกันคุณภาพ
โดยภาพรวมและรายข้อ……………………………………………………… 61
ตารางที่ 15 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของการดำเนินงานประกันคุณภาพ
การศึกษา ตามความคิดเห็นของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
พระจอมเกล้าธนบุรี ที่มีตำแหน่งหน้าที่ต่างกัน ในแต่ละด้าน………………. 62
ตารางที่ 16 ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา
ตามความคิดเห็นของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
ธนบุรี ที่มีคณะวิชาที่สังกัดต่างกัน…………………………………………… 64
ตารางที่ 17 ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนของคะแนนการดำเนินงานประกันคุณภาพ
การศึกษา ตามความคิดเห็นของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
พระจอมเกล้าธนบุรี ที่มีคณะวิชาที่สังกัดต่างกัน ในรายด้าน……………… 66
ตารางที่ 18 ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา
ตามความคิดเห็นของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
ธนบุรี ที่มีคณะวิชาที่สังกัดต่างกัน ด้านการเรียนการสอน…………………. 67
ซ
สารบัญตาราง (ต่อ)
หน้า
ตารางที่ 19 ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา
ตามความคิดเห็นของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
ธนบุรี ที่มีคณะวิชาที่สังกัดต่างกัน ด้านกิจกรรมการพัฒนานักศึกษา………. 68
ตารางที่ 20 ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา
ตามความคิดเห็นของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
ธนบุรี ที่มีคณะวิชาที่สังกัดต่างกัน ด้านการบริการทางวิชาการแก่สังคม…… 69
ตารางที่ 21 ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา
ตามความคิดเห็นของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
ธนบุรี ที่มีคณะวิชาที่สังกัดต่างกัน ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม………. 70
ตารางที่ 22 ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา
ตามความคิดเห็นของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
ธนบุรี ที่มีคณะวิชาที่สังกัดต่างกัน ด้านการบริหารและจัดการ………………. 71
ตารางที่ 23 ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา
ตามความคิดเห็นของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
ธนบุรี ที่มีคณะวิชาที่สังกัดต่างกัน ด้านการเงินและงบประมาณ….…………. 72
ตารางที่ 24 ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา
ตามความคิดเห็นของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
ธนบุรี ที่มีคณะวิชาที่สังกัดต่างกัน ด้านระบบและกลไกการ
ประกันคุณภาพ….…………………………………………………………….. 73
ฌ
สารบัญแผนภาพ
หน้า
แผนภาพที่ 1 แสดงความสัมพันธ์ของตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย………………………………. 4
แผนภาพที่ 2 แสดง Model QA…………………………………………………………….. 21
แผนภาพที่ 3 แสดงกระบวนการตรวจสอบคุณภาพระดับคณะทบวงของมหาวิทยาลัย…… 29
บทที่ 1
บทนำ
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
ปัจจุบันการประกันคุณภาพการศึกษาของประเทศไทยได้ประกาศใช้ใน
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวด 6 : มาตรฐานและการประกันคุณภาพการ
ศึกษา (มาตรา 47-51) ซึ่งกำหนดให้การศึกษาทุกระดับมีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาทั้ง
ภายในและภายนอกหน่วยงาน และมีการพัฒนาการจัดการศึกษาให้ได้มาตรฐาน (สำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2542 : 14) จากรายงานการนำนโยบายการประกันคุณภาพ
การศึกษาระดับอุดมศึกษาสู่การปฏิบัติ นับตั้งแต่ประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. 2542 จนถึงต้นเดือนกันยายน 2544 พอสรุปได้ว่า การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน
สถาบันอุดมศึกษาดำเนินไปได้ค่อนข้างดีเนื่องจากได้เริ่มมาก่อน ส่วนการประกันคุณภาพจาก
ภายนอก โดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์กรมหาชน) ได้
กำหนดกรอบแนวทางการประเมินคุณภาพภายนอกไว้ค่อนข้างชัดเจนในด้านหลักการวัตถุ
ประสงค ์ การกำหนดตัวบ่งชี้การประเมินคุณภาพเท่านั้น (กล้า ทองขาว, 2544 : 30)
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นหน่วยงานที่จัดการศึกษาระดับ
อุดมศึกษาซึ่งอยู่ในหมวด 3 ระบบการศึกษา (มาตรา 21) ได้ตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องการ
พัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา โดยเมื่อครั้งที่ยังมีสถานภาพเป็นสถาบันเทคโนโลยี
พระจอมเกล้าธนบุรี นั้น ได้ประกาศ “นโยบายคุณภาพ : ความคาดหวังในการ
ส่งเสริมการพัฒนาระบบคุณภาพองค์กรภายใต้แนวทาง ISO 9000 Series Standard” เมื่อ
วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2537 และพยายามปลูกจิตสำนึกให้แก่บุคลากรขององค์กรให้มีความ
ตระหนักถึงการปฏิบัติงานที่มีคุณภาพ มีทัศนคติที่ดีต่อองค์กร มีความสำนึกว่างานขององค์กร
เป็นงานของตนเอง ประกอบการที่ทบวงมหาวิทยาลัยได้ประกาศ “นโยบายและแนวปฏิบัติในการ
ประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา” ให้กับสถาบันอุดมศึกษาได้ใช้เป็นแนวปฏิบัติ ไปเมื่อ
วันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2539 และกำหนดให้มีองค์ประกอบในการควบ
คุมคุณภาพภายใน 9 ด้าน ได้แก่ (1) ปรัชญา ปณิธาน วัตถุประสงค์ และแผนการดำเนินงาน
(2) การเรียนการสอน (3) กิจกรรมการพัฒนานักศึกษา (4) การวิจัย (5) การบริการทางวิชาการ
แก่สังคม (6) การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม (7) การบริหารและจัดการ (8) การเงินและ
2
งบประมาณ และ(9) ระบบและกลไกการประกันคุณภาพ เป็นผลให้มหาวิทยาลัยฯ ต้องตระหนัก
และให้ความสำคัญในเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษา (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
พระจอมเกล้าธนบุรี, 2544 : บทนำ) เพราะการประกันคุณภาพการศึกษาถือเป็นหน้าที่ของทุก
คนในมหาวิทยาลัยฯ ในการที่จะทำให้ผู้เรียนได้รับการศึกษาที่ดี มีคุณภาพ และเป็นไปตามความ
ต้องการของสังคม และประเทศชาติ (อุทุมพร จามรมานและคณะ, 2544 : 156 และสำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2543 : 11)
ผู้วิจัยได้นำเอาแนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการประกันคุณภาพการศึกษา
มาเป็นกรอบในการศึกษา ซึ่งทำให้ทราบถึงการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ตามความ
คิดเห็นของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดยสามารถนำผลจากการ
วิจัยนี้ไปเป็นประโยชน์ประกอบการตัดสินใจในการวางแผนพร้อมทั้งกำหนดนโยบายและปรับปรุง
การดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพบัณฑิตของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
พระจอมเกล้าธนบุรีให้ดียิ่งขึ้นต่อไป
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ตามความคิด
เห็นของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดยจำแนกตามตำแหน่ง
หน้าที่ และคณะวิชาที่สังกัด
ขอบเขตของการวิจัย
ประชากรกลุ่มเป้าหมาย คือ ข้าราชการและพนักงาน ที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานหลักที่
ทำหน้าที่จัดการศึกษาตามภารกิจหลักของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดยไม่
รวมสถาบัน สำนัก หรือหน่วยงานที่เรียกชื่อต่ำกว่า หรือสูงเทียบเท่าคณะวิชา ซึ่งได้แก่
บุคลากรที่เป็นอาจารย์ประจำ และเจ้าหน้าที่ประจำของทั้ง 8 คณะวิชา เนื่องจากบุคลากรกลุ่ม
นี้ได้มีโอกาสเข้าไปมีส่วนร่วม และหรือได้รับรู้เกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาของระดับ
คณะวิชามาแล้วระดับหนึ่งทำให้สามารถตอบได้ตรงความเป็นจริง โดยข้อมูลที่เก็บรวบรวมมา
วิเคราะห์เป็นข้อมูลระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม พ.ศ. 2545
นิยามศัพท์เฉพาะ
3
บุคลากร หมายถึง ข้าราชการและพนักงานของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
ธนบุรี ได้แก่ บุคลากรที่มีตำแหน่งหน้าที่รับผิดชอบในส่วนของการเป็นอาจารย์ประจำ และเจ้า
หน้าที่ประจำและปฏิบัติงานอยู่ในทั้ง 8 คณะวิชา
ตำแหน่งหน้าที่ต่างกัน หมายถึง อาจารย์ประจำ คือ ผู้ที่มีหน้าที่ในการสอน ส่วน
เจ้าหน้าที่ประจำ คือ ผู้ที่อยู่ในฝ่ายสนับสนุนการเรียนการสอนแต่ไม่มีหน้าที่ในการสอน
คณะวิชาที่สังกัดต่างกัน หมายถึง คณะวิชาที่มีหน้าที่จัดการศึกษาตามภารกิจหลัก
ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดยแต่ละคณะวิชาต่างก็มีปัจจัยนำเข้าและ
ชื่อเรียกคณะวิชาที่แตกต่างกัน แต่ในการรับเอานโยบายและแนวปฏิบัติในการประกันคุณภาพ
การศึกษาระดับอุดมศึกษาจากทบวงมหาวิทยาลัย มาเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัตินั้นไม่ได้
แตกต่างกัน
มหาวิทยาลัย หมายถึง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี แขวงบางมด เขต
ทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร ซึ่งรวมถึงวิทยาเขตบางขุนเทียน และวิทยาเขตราชบุรี
การประกันคุณภาพการศึกษา หมายถึง การมีระบบและกลไกในการควบคุม ตรวจ
สอบ และประเมินคุณภาพการดำเนินงานในแต่ละองค์ประกอบคุณภาพตามดัชนีบ่งชี้ที่กำหนด
เพื่อเป็นหลักประกันแก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและสาธารณชนได้มั่นใจว่ามหาวิทยาลัยนั้นๆ สามารถ
ให้ผลผลิตทางการศึกษาที่มีคุณภาพ ตามกรอบการประกันคุณภาพการศึกษาของทบวง
มหาวิทยาลัย 9 ด้าน ดังนี้
1. ด้านปรัชญา ปณิธาน วัตถุประสงค์และแผนการดำเนินงาน
2. ด้านการเรียนการสอน
3. ด้านกิจกรรมการพัฒนานักศึกษา
4. ด้านการวิจัย
5. ด้านการบริการทางวิชาการแก่สังคม
6. ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
7. ด้านการบริหารและจัดการ
8. ด้านการเงินและงบประมาณ
9. ด้านระบบและกลไกการประกันคุณภาพ
สมมติฐานในการวิจัย
1. บุคลากรที่มีตำแหน่งหน้าที่ต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานประกัน
คุณภาพการศึกษา แตกต่างกัน
2. บุคลากรที่มีคณะวิชาที่สังกัดต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานประกัน
คุณภาพการศึกษา ไม่แตกต่างกัน
4
ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย
ข้อมูลที่ได้รับจากการวิจัยครั้งนี้ เป็นประโยชน์โดยตรงต่อผู้บริหารและอาจารย์ ตลอด
จนเจ้าหน้าที่ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้ใช้เป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายและแผนงาน
สำหรับการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาในด้านต่างๆ ต่อไป
5
กรอบแนวคิดในการวิจัย
การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้มีการกำหนดตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม ดังแสดง
ไว้ในแผนภาพที่ 1
ตัวแปรอิสระ ตัวแปรตาม
แผนภาพที่ 1 แสดงความสัมพันธ์ของตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย
การดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา
1 ด้านปรัชญา ปณิธานวัตถุประสงค์
และแผนการดำเนินงาน
2 ด้านการเรียนการสอน
3 ด้านกิจกรรมการพัฒนานักศึกษา
4 ด้านการวิจัย
5 ด้านการบริการทางวิชาการแก่สังคม
6 ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
7 ด้านการบริหารและจัดการ
8 ด้านการเงินและงบประมาณ
9 ด้านระบบและกลไกการประกันคณภาพ
ตำแหน่งหน้าที่
-อาจารย์ประจำ
-เจ้าหน้าที่ประจำ
คณะวิชาที่สังกัด
-คณะครุศาสตร์และอุตสาหกรรม
-คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี
-คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
-คณะพลังงานและวัสดุ
-คณะวิทยาศาสตร์
-คณะวิศวกรรมศาสตร์
-คณะศิลปศาสตร์
ปั ์
บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และนำเสนอไว้ดังนี้
1. ความจำเป็นของการประกันคุณภาพการศึกษา
2. แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการประกันคุณภาพการศึกษา
2.1 การประกันคุณภาพ
2.2 การประกันคุณภาพการศึกษา
2.3 การประกันคุณภาพภายใน
2.4 การประกันคุณภาพภายนอก
2.5 มาตรฐานการศึกษา
2.6 รายงานการศึกษาตนเอง
2.7 รายงานการประเมินตนเอง
3. การประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย
3.1 ความเป็นมาและความสำคัญ
3.2 วัตถุประสงค์ของการประกันคุณภาพการศึกษา
3.3 กรอบการประกันคุณภาพการศึกษาของทบวงมหาวิทยาลัย
3.4 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
3.5 วิธีดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา
4. การประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
4.1 กระบวนการสำคัญในการประกันคุณภาพการศึกษา
4.2 การดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายนอกมหาวิทยาลัย
4.3 รายงานผลการตรวจสอบคุณภาพการศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
5. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ความจำเป็นของการประกันคุณภาพการศึกษา
สังคมทั่วไปยังให้ความยอมรับถึงความสำคัญของสถาบันอุดมศึกษา ในฐานะเป็น
แหล่งประสิทธิประสาทความรู้ และประสบการณ์ทำให้สถาบันอุดมศึกษาต้องปฏิบัติหน้าที่อย่าง
เต็มที่ให้สมกับความศรัทธาของสังคม ซึ่งสอดคล้องกับสาระสำคัญของแผนพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคมฉบับที่ 8 (ทบวงมหาวิทยาลัย 2539, ข : 2-3) เพื่อให้เกิดความมั่นใจของนักศึกษา
หรือผู้ปกครองที่จะส่งบุตรหลานของตนต่อความสำเร็จของนักศึกษา สำหรับการจัดการจัดการ
6
ศึกษาที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานนั่นถือว่าเป็นภารกิจที่มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการ
พัฒนาประเทศทั้งระยะสั้นและระยะยาว อย่างไรก็ตามแม้ว่าประเทศไทยจะได้มีการกำกับ
มาตรฐานและพัฒนาคุณภาพของผลผลิตทางการศึกษามาโดยตลอด แต่การดำเนินงานยังไม่
เป็นระบบครบวงจรและต่อเนื่อง ทั้งในด้านการควบคุมคุณภาพ ด้านการตรวจสอบ ประเมิน
คุณภาพและมาตรฐานการศึกษา จึงยังไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นหรือรับประกันได้อย่างเต็ม
ที่แก่สาธารณชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องว่าการดำเนินภารกิจดังกล่าวให้ผลผลิตทางการศึกษาที่มี
คุณภาพและได้มาตรฐาน และในปัจจุบันก็มีปัจจัยหลายประการที่ชี้ให้เห็นว่าการประกัน
คุณภาพการศึกษาเป็นสิ่งที่มีความจำเป็น และต้องเร่งดำเนินการในสำเร็จ อาทิเช่น การตื่นตัว
ในเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษาในประเทศต่างๆ การสื่อสารที่ไร้พรมแดน การเปิดเสรี
ด้านการค้าและการบริการ ความคาดหวังของสังคม สิทธิและเสรีภาพของประชาชนในการรับรู้
ข้อมูลข่าวสารตลอดจนข้อจำกัดในด้านงบประมาณของประเทศ โดยปัจจัยดังกล่าวได้กระตุ้น
ให้ผู้ที่อยู่ในวงการศึกษาทั้งระดับอุดมศึกษาและระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานต่างได้ตระหนักถึง
เรื่องการประกันคุณภาพการศึกษา ซึ่งสะท้อนออกมาเป็นพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. 2542 ที่เห็นในปัจจุบัน
แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการประกันคุณภาพการศึกษา
1. การประกันคุณภาพ
อุไรพรรณ เจนวาณิชยานนท์ (2540 : 2) กล่าวว่า “การประกันคุณภาพ” หมายถึง
กระบวนการใน การควบคุมคุณภาพ ตรวจสอบคุณภาพ และประเมินคุณภาพของสถาบันอุดม
ศึกษาอย่างเป็นแบบแผนและเป็นระบบ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า การให้การศึกษาจะได้
คุณภาพดังกล่าว ซึ่งสอดคล้องกับ ไคเยอร์ (Cryer, 1993 อ้างถึงในสำนักคณะกรรมการการ
ศึกษาแห่งชาติ, 2541 : 7) ที่กล่าวว่า “การประกันคุณภาพ” เป็นแผนงานและปฏิบัติการทั้ง
หลายที่เป็นระบบ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า การให้การศึกษาจะสนองตอบต่อคุณภาพที่กำหนด
วันชัย ศิริชนะ (2537 : 10) กล่าวว่า “การประกันคุณภาพ” หมายถึง กระบวน
การหรือ กลไกใดๆ ที่เมื่อได้ดำเนินการไปแล้วจะทำให้เกิดการดำรงซึ่งคุณภาพการศึกษาระดับ
อุดมศึกษา ให้ได้มาตรฐานอย่างต่อเนื่อง อันเป็นการป้องกันผลประโยชน์ของผู้เรียน ผู้ปกครอง
นายจ้าง ตลอดจนสังคมโดยส่วนรวม ทั้งนี้ รวมถึงกระบวนการหรือกลไกใดๆ ที่ริเริ่มขึ้นภายใน
สถาบันอุดมศึกษาเองหรือหน่วยงานภายนอกก็ได้
ทบวงมหาวิทยาลัย (2542 : 1) กล่าวว่า “การประกันคุณภาพ” หมายถึง กิจกรรม
หรือแนวปฏิบัติที่จำเป็นต้องดำเนินงานเพื่อประกันว่าคุณภาพการศึกษาได้รับการรักษาไว้และ
ส่งเสริมเพิ่มพูน และเกิดความมั่นใจว่า จะได้ผลผลิตของการศึกษาที่มีคุณภาพตามคุณลักษณะ
ที่พึงประสงค์ ซึ่งสอดคล้องกับ อุทุมพร จามรมาน (2543 : 2) ที่กล่าวว่า “การประกันคุณภาพ”
7
หมายถึง การระบุความชัดเจนในวัตถุประสงค์ และเป้าหมาย ตลอดจนวิธีปฏิบัติงาน เพื่อให้
ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ
คาร์แทนส์ (Cuttance, 1993 : 18) กล่าวว่า “การประกันคุณภาพ” หมายถึง
กลยุทธ์ที่ได้วางแผนไว้อย่างเป็นระบบและการปฏิบัติงานที่ได้มีการออกแบบไว้โดยเฉพาะ เพื่อ
รับประกันว่ากระบวนการได้รับการกำกับดูแล รวมถึงการปฏิบัติงานนั้นมุ่งไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้
อยู่ตลอดเวลา
สรุปได้ว่า การประกันคุณภาพ หมายถึง กระบวนการในการควบคุมคุณภาพ
ตรวจสอบคุณภาพ และประเมินคุณภาพอย่างมีระบบ เพื่อสร้างความมั่นใจว่าคุณภาพการ
ศึกษาได้รับการรักษา หรือได้มาตรฐานอย่างต่อเนื่องและส่งเสริมเพิ่มพูน เพื่อให้ได้ผลผลิตทาง
การศึกษาที่มีคุณภาพตามลักษณะที่พึงประสงค์
นอกจากนี้ “การประกันคุณภาพ” (Quality Assurance) ยังมีคำที่มาเกี่ยวข้องอีก
5 คำ คือ การควบคุมคุณภาพ (Quality Control), การตรวจสอบคุณภาพ (Quality Audit), การ
รับรองคุณภาพ (Quality Accreditation), การประเมินคุณภาพ (Quality Assessment) และ
การปรับปรุงคุณภาพ (Quality Improvement) ดังสมการต่อไปนี้ (อุทุมพร จามรมาน, 2543 :
1)
Quality Assurance (QA) = f (Quality Control, Quality Audit, Quality
Accreditation, Quality Assessment,
Quality Improvement)
โดยอธิบายได้ดังต่อไปนี้
1.1 การควบคุมคุณภาพ (Quality Control)
พรชุลี อาชวอำรุง (2540 : 14) กล่าวว่า “การควบคุมคุณภาพ” ว่า หมายถึง
กระบวนการหรือกลไกภายในสถาบันหรือระบบที่มีไว้เพื่อมั่นใจว่า การปฏิบัติงานบรรลุถึง
มาตรฐานแห่งคุณภาพ ซึ่งสอดคล้องกับ วันชัย ศิริชนะ (2537 : 12) กล่าวว่า “การควบคุม
คุณภาพ” หมายถึง กลไกภายในสถาบันที่ดูแลและพัฒนาการดำเนินการด้านต่างๆ ให้มี
คุณภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่งความมีคุณภาพนี้จะต้องเกิดจากการยอมรับของผู้ทรงคุณวุฒิ
หรือคณะผู้ตรวจสอบที่มาโดยภายนอก
วรภัทธ์ ภู่เจริญ (2542 : 13) กล่าวว่า “การควบคุมคุณภาพ” หมายถึง
การตรวจสอบที่มีการจดบันทึก และนำผลการบันทึกไปใช้ ไปวิเคราะห์ว่าผิดพลาดเพราะอะไร
ตรวจสอบมากไปหรือน้อยไป เพื่อกำหนดมาตรฐานการตรวจสอบให้ดียิ่งขึ้นหรือแก้ไขต่อไป
แต่อย่างไรก็ตาม การควบคุมคุณภาพเป็นการตรวจผลลัพธ์มากกว่าที่จะตรวจสอบ
องค์ประกอบอื่นๆ
8
อุทุมพร จามรมาน (2543 : 2) กล่าวว่า “การควบคุมคุณภาพ” หมายถึง การ
ดำเนินงานตามแผนที่วางไว้อย่างรัดกุมทุกขั้นตอน
สรุปได้ว่า การควบคุมคุณภาพ หมายถึง กระบวนการหรือกลไกภายใน
มหาวิทยาลัยที่ทำหน้าที่ในการกำกับดูแล และพัฒนาการดำเนินงาน เพื่อให้การดำเนินงานนั้น
บรรลุตามเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้
1.2 การตรวจสอบคุณภาพ (Quality Audit)
ทองอินทร์ วงศ์โสธร (2541 : 1) และฮาร์แมน (Harman, 1996 อ้างถึงใน
อุทุมพร จามรมาน, 2542 : 8) กล่าวว่า “การตรวจสอบคุณภาพ” หมายถึง กระบวนการตรวจ
สอบโดยภายนอกเพื่อประกันว่า สถาบันอุดมศึกษามีกลไกที่เหมาะสมในการควบคุมคุณภาพ
ซึ่งสอดคล้องกับ พรชุลี อาชวอำรุง (2540 : 15) ที่กล่าวว่า “การตรวจสอบคุณภาพ” หมายถึง
กระบวนการพิจารณาโดยบุคคลภายนอก เพื่อเป็นเครื่องประกันว่า กระบวนการควบคุมมี
คุณภาพและสามารถควบคุมการปฏิบัติงานได้ดี การตรวจสอบคุณภาพมักจะเป็นการประเมิน
โดยเพื่อนร่วมงาน สถาบันที่คล้ายคลึงกัน โดยการเขียนเป็นรายงานอย่างละเอียด เพื่อเป็นแนว
ทางให้สถาบันพัฒนาเพื่อบรรลุถึงผลผลิตที่ดีขึ้น ส่วน QAA (1999) ได้กล่าวว่า “การตรวจสอบ
คุณภาพ” เป็นการที่สถาบันยอมให้หน่วยงานจากภายนอกเข้ามาตรวจสอบ เพื่อเตรียมให้
นักศึกษาในสถาบันของตนได้บรรลุถึงมาตรฐานที่ตั้งไว้
อุทุมพร จามรมาน (2543 : 2) ได้แบ่ง “การตรวจสอบคุณภาพ” (Quality
Audit) ออกเป็นการตรวจสอบคุณภาพภายใน (Internal Quality Audit) ซึ่งเป็นการตรวจสอบ
คุณภาพโดยตัวเองตามเกณฑ์ที่ตนกำหนดขึ้น และการตรวจสอบคุณภาพโดยภายนอก
(External Quality Audit) เป็นการตรวจสอบคุณภาพโดยหน่วยงาน/กลุ่มภายนอก ตามเกณฑ์
ที่กำหนดขึ้น โดย วันชัย ศิริชนะ (2540 : 15) ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า “การตรวจสอบคุณภาพโดย
ภายนอก” เป็นกลไกการดำเนินการโดยภายนอกที่จะเข้าไปตรวจสอบระบบการควบคุม
คุณภาพที่สถาบันอุดมศึกษาได้จัดให้มีขึ้นตามหลักการและแนวทางที่ทบวงมหาวิทยาลัย
กำหนด
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (2543 : 12) กล่าวว่า “การตรวจสอบคุณภาพ”
(Quality Auditing) หมายถึง การตรวจสอบระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาที่
จัดให้มีขึ้นเพื่อให้มั่นในว่ามีคุณภาพ การตรวจสอบคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อจะตัดสิน
ว่า หน่วยงานได้จัดให้มีระบบและกลไกตามที่แจ้งไว้ว่าจะทำ และได้ทำหรือไม่ การตรวจสอบ
คุณภาพนี้จะดำเนินการภายในก่อน จากนั้นจึงจะมีการตรวจสอบจากองค์กรภายนอก
สรุปได้ว่า การตรวจสอบคุณภาพ หมายถึง การตรวจสอบการดำเนินการ ใน
การควบคุมคุณภาพภายในมหาวิทยาลัย ซึ่งมีหน่วยงานภายใน หรือภายนอกมหาวิทยาลัย
เป็นผู้ทำหน้าที่ในการตรวจสอบว่า มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการไปตามเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้
หรือไม่
9
1.3 การรับรองคุณภาพ (Quality Accreditation)
อุทุมพร จามรมาน (2543 : 2) กล่าวว่า “การรับรองคุณภาพ” หมายถึง การ
รับรองหรือไม่รับรองคุณภาพตามมาตรฐาน ซึ่งบางครั้งเป็นมาตรฐานทางกายภาพ เช่น พื้นที่
จำนวนอุปกรณ์ ฯลฯ
วันชัย ศิริชนะ (2537 : 11) กล่าวว่า “การรับรองวิทยฐานะ” (Accreditation)
ว่า หมายถึง กระบวนการประเมินเพื่อรับรองว่าสถาบันอุดมศึกษาได้ดำเนินการได้ครบถ้วน
ตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดโดย องค์กรรับรองวิทยฐานะแล้ว ซึ่งใกล้เคียงกับพรชุลี
อาชวอำรุง (2539 : 9) ที่กล่าวว่า “การรับรองวิทยฐานะ” หมายถึง กระบวนการที่ช่วยส่งเสริม
ให้มาตรฐานการศึกษาสูงขึ้น นอกจากนี้ CHEA (2000) ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า “การรับรองวิทย
ฐานะ” เป็นกระบวนการของสถาบันอุดมศึกษา ขึ้นกับการประเมินตนเองและการประเมินโดย
เพื่อนร่วมวงการ สำหรับการปรับปรุงคุณภาพทางวิชาการ (Academic Quality) และความ
สามารถในการตรวจสอบได้ต่อสาธารณชน (Public Accountability)
พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการ
ศึกษา พ.ศ. 2543 ได้นิยามคำว่า “การรับรองมาตรฐาน” หมายถึง การให้การรับรองการทำ
การประเมินคุณภาพภายนอกของผู้ประเมินภายนอก ที่มีคุณลักษณะและคุณภาพที่พึ่งประสงค์
ตามหลักเกณฑ์และมาตรฐานที่สำนักงานกำหนด
สรุปได้ว่า การรับรองคุณภาพ หมายถึง การรับรองว่า มหาวิทยาลัยได้มีการ
ดำเนินงานครบถ้วนตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด
1.4 การประเมินคุณภาพ (Quality Assessment)
ทบวงมหาวิทยาลัย (2542 : 4) กล่าวว่า “การประเมินคุณภาพ” หมายถึง
กระบวนการประเมินผลการดำเนินการของคณะโดยภาพรวมว่า เมื่อได้มีการใช้ระบบการ
ประกันคุณภาพ หรือระบบควบคุมคุณภาพแล้ว ได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิง
คุณภาพมากน้อยเพียงใด
อุทุมพร จามรมาน (2543 : 2) กล่าวว่า “การประเมินคุณภาพ” เป็นการหา
ข้อมูลที่เชื่อถือได้เพื่อตัดสินใจเกี่ยวกับคุณภาพของผลผลิต/บริการของหน่วยงานตามเกณฑ์ที่
กำหนด ในอังกฤษและสก๊อตแลนด์ หมายถึง การทบทวนและตัดสินผลโดยหน่วยงาน/กลุ่มภาย
นอก โดยเน้นเฉพาะด้านการเรียนการสอนเท่านั้น ซึ่งสอดคล้องกับ ทองอินทร์ วงศ์โสธร
(2541 : 1) และวันชัย ศิริชนะ (2537 : 12) ที่กล่าวว่า “การประเมินคุณภาพ” ในสหราช
อาณาจักร หมายถึง การทบทวนและตัดสินผลโดยภายนอกเกี่ยวกับการเรียนการสอนใน
สถาบันอุดมศึกษา
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (2543 : 12) กล่าวว่า “การประเมินคุณภาพ” หมาย
ถึง กระบวนการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย คณะ ภาควิชา สถาบัน สำนัก โดยภาพรวมว่า
10
เมื่อได้มีการใช้ระบบการประกันคุณภาพแล้ว ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงคุณภาพมากน้อย
เพียงใด
สรุปได้ว่า การประเมินคุณภาพ หมายถึง การตัดสินผลการดำเนินงาน ประกัน
คุณภาพของมหาวิทยาลัย/คณะ ว่าเป็นตามเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้
1.5 การปรับปรุงคุณภาพ (Quality Improvement)
อุทุมพร จามรมาน (2543 : 2) กล่าวว่า “การปรับปรุงคุณภาพ” หมายถึงเป็น
การปรับเปลี่ยนวิธีปฏิบัติงานในทางที่ดีขึ้นให้เกิดประสิทธิภาพและ หรือผลมากขึ้น
สรุปได้ว่า การปรับปรุงคุณภาพ หมายถึง การปรับเปลี่ยนวิธีการที่ปฏิบัติใหม่
เพื่อให้การทำงานนั้นมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น มักจะใช้ควบคู่กับคำว่า
“ทบทวน”
2. การประกันคุณภาพการศึกษา
ทบวงมหาวิทยาลัย (2541 : 2) กล่าวว่า “การประกันคุณภาพการศึกษา” หมาย
ถึง กิจกรรมหรือแนวปฏิบัติใดๆ ที่หากดำเนินการตามระบบและแผนที่ได้วางไว้แล้ว จะทำให้
เกิดความมั่นใจได้ว่าจะได้ผลผลิตของการศึกษาที่มีคุณภาพตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์
อุทุมพร จามรมาน (2543 : 2) กล่าวว่า “การประกันคุณภาพการศึกษา” เป็นการ
ควบคุมคุณภาพ การตรวจสอบคุณภาพภายในและโดยภายนอก แล้วตัดสินตามเกณฑ์ ส่วน
สภาสถาบันราชภัฏ (2543 : 2) กล่าวว่า “การประกันคุณภาพการศึกษา” หมายถึง การประกัน
ว่าสถาบัน คณะ หรือโปรแกรมวิชา ดำเนินงานได้ผลตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ก่อนเป็นการล่วงหน้า
หรือประกันว่าสถาบันดำเนินงานได้บรรลุตามพันธกิจและเป็นไปตามความคาดหวังของ
นักศึกษา ผู้ปกครอง ผู้สนับสนุน หรือสังคมโดยรวม
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (2543 : 11) กล่าวว่า “การประกันคุณภาพการศึกษา”
หมายถึง การทำกิจกรรม หรือ การปฏิบัติการในภารกิจหลักอย่างมีระบบตามแผนที่กำหนดไว้
โดยมีการควบคุมคุณภาพ การตรวจสอบคุณภาพ และการประเมินคุณภาพ จนทำให้เกิดความ
มั่นใจในคุณภาพและมาตรฐานของปัจจัยนำเข้า ระบบและกระบวนการผลิต ผลผลิต และผล
ลัพธ์ของการจัดการศึกษา ประกอบด้วยการประกันคุณภาพภายใน และการประกันคุณภาพ
ภายนอก
เพ็ญศิริ ทานให้ (2544 : 11) กล่าวว่า “การประกันคุณภาพการศึกษา” หมายถึง
กระบวนการบริหารที่มีระบบการวางแผน ควบคุม และทบทวนการปฏิบัติงานให้ได้คุณภาพ
มาตรฐานตามที่สถานศึกษาได้กำหนดไว้ และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ผู้รับบริการเกิด
ความเชื่อมั่นในคุณภาพและบริการที่ได้รับ
11
จุฑา เทียนไทยและ จินตนา ชาญชัยศิลป์ (2544 : 5) กล่าวว่า “การประกัน
คุณภาพการศึกษา” หมายถึง กระบวนการหรือกลไกใดๆ ที่เมื่อได้ดำเนินการไป
แล้วจะทำให้เกิดการดำรงไว้ซึ่งคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษาให้ได้มาตรฐานอย่างต่อเนื่อง
อันเป็นการปกป้องผลประโยชน์ของผู้เรียน ผู้ปกครอง ตลอดจนสังคมโดยส่วนรวม ทั้งนี้รวมถึง
กระบวนการหรือกลไกใดๆ ที่ริเริ่มขึ้นภายในสถาบันอุดมศึกษาเองหรือหน่วยงานภายนอกก็ได้
จึงสรุปได้ว่า การประกันคุณภาพการศึกษา หมายถึง กระบวนการในการควบคุม
คุณภาพ ตรวจสอบคุณภาพ ประเมินคุณภาพ ตลอดจนพัฒนาคุณภาพ เพื่อสร้างความมั่นใจว่า
การศึกษามีคุณภาพ และบรรลุตามเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้ โดยได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
3. การประกันคุณภาพภายใน
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ในมาตรา 4 ได้นิยามว่า
“การประกันคุณภาพภายใน” หมายถึง การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและ
มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายใน โดยบุคลากรของสถานศึกษานั้นเอง หรือโดย
หน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถานศึกษานั้น
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (2543 : 11-12) กล่าวว่า “การประกันคุณภาพภายใน”
หมายถึง การดำเนินการภายในมหาวิทยาลัย คณะ ภาควิชา สถาบัน สำนัก เพื่อควบคุม
คุณภาพปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพการศึกษา โดยมีระบบและกลไกควบคุม ติดตาม ตรวจสอบ
และประเมินคุณภาพอย่างต่อเนื่อง โดยบุคลากรในมหาวิทยาลัยหรือหน่วยงานต้นสังกัด จนทำ
ให้มหาวิทยาลัย คณะ ภาควิชา สถาบัน สำนัก เกิดความมั่นใจได้ว่า หน่วยงานมีการดำเนิน
การอย่างเป็นมาตรฐานและมีคุณภาพ
จุฑา เทียนไทยและจินตนา ชาญชัยศิลป์ (2544 : 7) กล่าวว่า “การประกัน
คุณภาพภายใน” หมายถึง กิจกรรมการควบคุมคุณภาพภายในมหาวิทยาลัย โดยการดำเนิน
การของมหาวิทยาลัยเอง เพื่อให้มีความมั่นใจว่ามหาวิทยาลัยดำเนินการตามภารกิจอย่าง
มีคุณภาพ
สรุปได้ว่า การประกันคุณภาพภายใน หมายถึง การประเมินผล และการติดตาม
ตรวจสอบคุณภาพ เพื่อให้เกิดมาตรฐานทางการศึกษาของมหาวิทยาลัยจากภายใน โดยมี
บุคลากรของมหาวิทยาลัยนั้นทำหน้าที่ในการประเมิน ติดตามและตรวจสอบคุณภาพเอง หรือ
ทบวงมหาวิทยาลัยซึ่งเป็นหน่วยงานต้นสังกัดของมหาวิทยาลัยทำหน้าที่ดังกล่าว
4. การประกันคุณภาพภายนอก
ทบวงมหาวิทยาลัย (2542 : 5) กล่าวว่า “การประกันคุณภาพโดยภายนอก”
หมายถึง การดำเนินการตามระบบควบคุมคุณภาพภายในพร้อมทั้งการตรวจสอบและการ
ประเมินผลทั้งระบบ โดยหน่วยงานภายนอกเพื่อประกันว่าสถาบันอุดมศึกษาดำเนินการภารกิจ
หลักได้อย่างมีคุณภาพ
12
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ในมาตรา 4 นิยามไว้ว่า
“การประกันคุณภาพภายนอก” หมายถึง การประเมินผลและการติดตาม ตรวจสอบ
คุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายนอก โดยสำนักงานรับรองมาตรฐาน
และประเมินคุณภาพการศึกษาหรือหน่วยงานภายนอกที่สำนักงานดังกล่าวรับรองเพื่อเป็นการ
ประกันคุณภาพและให้มีการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
ซึ่งสอดคล้องกับอุทุมพร จามรมาน (2543 : 7) ที่กล่าวว่า “การประกันคุณภาพภายนอก”
หมายถึง การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถาบัน
การศึกษาจากภายนอก โดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา หรือ
บุคคลหรือหน่วยงานภายนอก ที่สำนักงานดังกล่าวรับรองเพื่อเป็นการประกันว่า สถาบันการ
ศึกษาดำเนินการตามภารกิจหลักได้อย่างมีคุณภาพ
สรุปว่า การประกันคุณภาพภายนอก หมายถึง กระบวนการที่องค์กรภายนอก
มหาวิทยาลัยได้มาดำเนินการ เพื่อตรวจสอบผลการดำเนินการของระบบ และกลไกในการควบ
คุมคุณภาพภายในของมหาวิทยาลัย เพื่อประเมินผลการดำเนินการควบคุมคุณภาพของ
มหาวิทยาลัย และให้การรับรองมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับสังคมว่า
มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ รวมทั้งได้ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพด้วย
จากความหมายที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้นนั้นพอสรุปได้ว่า การประกันคุณภาพการ
ศึกษา หมายถึง กระบวนการในการควบคุมคุณภาพ ตรวจสอบคุณภาพ การรับรองคุณภาพ
และการประเมินคุณภาพ ซึ่งประกอบด้วยการประกันคุณภาพภายใน และการประกันคุณภาพ
ภายนอก (อุทุมพร จามรมาน, 2544 : 7) และนอกจากนี้เมื่อนำเอาความหมายทั้งหมดมา
เปรียบเทียบกัน จะได้วิธีการประกันคุณภาพการศึกษา 3 วิธี ซึ่งได้แก่ การรับรองคุณภาพ
การตรวจสอบคุณภาพ และการประเมินคุณภาพ จะมีความเหมือนและความต่าง ดังแสดงไว้ใน
ตารางที่ 1
13
ตารางที่ 1 การเปรียบเทียบวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา 3 วิธี
การรับรองคุณภาพ
(Accreditation)
การตรวจสอบคุณภาพ
(Audit)
การประเมินคุณภาพ (Assessment)
-อิงเกณฑ์ (criterion-reference) -อิงเกณฑ์ (criterion-reference) -อิงเกณฑ์ (criterion-reference)
-เกณฑ์ตัดสินระดับเดียว / เกณฑ์
มาตรฐาน (ผ่าน/ไม่ผ่าน)
-นิยมเกณฑ์ตัดสินระดับเดียว -เกณฑ์ตัดสินหลายระดับ
-เกณฑ์ค่อนข้างตายตัว -ยกระดับเกณฑ์ให้สูงขึ้น -เกณฑ์ค่อนข้างตายตัว
-ต้องการบรรลุจุดตัดคุณภาพ
(Threshold quality criteria)
-ต้องการบรรลุจุดตัดคุณภาพ โดยยึด
วัตถุประสงค์ของสถาบันเป็นหลัก
-ต้องการบรรลุจุดคุณภาพระดับสูงสุด
-ทำรายงานการศึกษาตนเอง
(Self Study Report)
-ทำรายงานการศึกษาตนเอง
(Self Study Report)
-ทำรายงานการประเมินตนเอง
(Self-Assessment Report)
-รับรองโดยเพื่อนร่วมวงการวิชาชีพ
(Peer) หรือผู้เชี่ยวชาญ
-ตรวจสอบโดยเพื่อนร่วมวงการวิชาชีพ
(Peer) หรือผู้เชี่ยวชาญ
-ประเมินโดยเพื่อนร่วมวงการวิชาชีพ
(Peer) หรือผู้เชี่ยวชาญ
-รับรองระดับสถาบัน/โปรแกรม -ตรวจสอบระดับสถาบัน -ประเมินระดับโปรแกรม/วิชา/หลักสูตร
-เน้นรับรองทั้งกระบวนการ
(Process) และผลผลิต (Output)
-เน้นตรวจสอบกระบวนการ
(Process)
-เน้นประเมินผลผลิต (Output)
-วงจรการประเมิน 10 ปี ยกเว้น
สถาบันที่มีปัญหามากๆ
-วงจรการตรวจสอบสั้นกว่าการ
ประเมินเนื่องจากทำง่ายกว่า
และเน้นการพัฒนาหรือยกระดับ
-วงจรการประเมิน 5-10 ปี
-ผลการรับรองตีพิมพ์ให้สาธารณชน
รับทราบ
-ผลการตรวจสอบตีพิมพ์ให้
สาธารณชนรับทราบ
-ผลการประเมินตีพิมพ์ให้สาธารณชน
รับทราบ และนิยมเปรียบเทียบระหว่าง
สถาบัน
ที่มา : David D. Dill and et al, 1996 : 20-23; David Woodhouse, 1996 : 349-352 Alberto
M.S.C. Amaral, 1998 : 188-190.
1.5 มาตรฐานการศึกษา
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ในมาตรา 4 นิยามไว้ว่า
“มาตรฐานการศึกษา” หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะคุณภาพที่พึ่งประสงค์ และ
มาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่ง และเพื่อใช้เป็นหลักในการเทียบเคียง
สำหรับการส่งเสริมและกำกับดูแล การตรวจสอบ การประเมินผลและการประกันคุณภาพทาง
การศึกษา
วรภัทธ ภู่เจริญ (2542 : 30-39) กล่าวว่า “มาตรฐาน” มีอยู่ด้วยกัน 3
แบบ ได้แก่ มาตรฐานผลิตภัณฑ์ มาตรฐานกระบวนการ และมาตรฐานปัจจัยนำเข้า ซึ่งสรุปได้
ว่ า
มาตรฐานของการศึกษาหรือของสถานศึกษานั้น จะดูได้จากความสามารถของสถานศึกษา
14
นั้นๆ ว่าได้ทำตามเกณฑ์ของแต่ละดัชนีที่ได้กำหนดไว้โดยผู้เกี่ยวข้อง (Stakeholder) หรือไม่
ซึ่งใกล้เคียงกับที่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (2543 : 12) ได้นิยามความหมายของคำว่า “บัณฑิตที่
มีคุณภาพ” ว่าหมายถึง ผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรมีคุณสมบัติตามปณิธานของ
มหาวิทยาลัยและตามที่หลักสูตรกำหนด และสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้และความ
คาดหวังของสังคม
สรุปได้ว่า มาตรฐานการศึกษา หมายถึง ข้อกำหนดหรือเกณฑ์ที่ใช้ในการ
ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ตามกรอบการประกัน
คุณภาพการศึกษาของทบวงมหาวิทยาลัย เพื่อเป็นการยืนยันว่ามหาวิทยาลัยได้ดำเนินการจัด
การเรียนการสอนอย่างมีคุณภาพ และได้มาตรฐานตามที่กำหนดไว้
1.6 รายงานการศึกษาตนเอง
อุทุมพร จารมรมาน (2543 : 1) กล่าวว่า รายงานการศึกษาตนเองเป็น
รายงานที่แสดงถึงผลการดำเนินงานของหน่วยงานในช่วงระยะเวลาหนึ่ง พร้อมทั้งวิเคราะห์ตน
เองว่า มีจุดอ่อน/จุดแข็งที่ใดเพื่อปรับปรุงการปฏิบัติงานให้ดีขึ้น โดยคาดหวังว่า ถ้าทุกคน
ปฏิบัติงานอย่างเต็มที่ ผลงานน่าจะดีขึ้น ดังนั้นรายงานการศึกษาตนเองคือ ลายลักษณ์อักษรที่
แสดงถึงผลการปฏิบัติงานในช่วงระยะหนึ่ง พร้อมทั้งความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาหน่วยงานของตน
ให้ดีขึ้น
1.7 รายงานการประเมินตนเอง
อุทุมพร จามรมาน (2543 : 63) กล่าวว่า รายงานการประเมินตนเองเป็น
รายงานที่แสดงผลการปฏิบัติงานของตนในหน่วยงานในช่วงเวลาที่ผ่านมา และมีการวิเคราะห์
ตนเองโดยคนในหน่วยงาน วางแผนแก้ไขจุดอ่อน เสริมจุดแข็ง ของวิธีปฏิบัติงานให้มี
ประสิทธิภาพ (Efficiency) มากขึ้น
การประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย
1.ความเป็นมาและความสำคัญ
การศึกษาในระดับอุดมศึกษาเป็นการศึกษาระดับสูงที่มุ่งพัฒนาคนเพื่อเข้าสู่
วิชาชีพต่างๆ เพื่อเป็นพื้นฐานสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ แต่จะพบว่าสถาบันอุดมศึกษาของ
ไทยกำลังอยู่ในขั้นวิกฤตเมื่อเทียบกับต่างชาติหรือแม้แต่เพื่อนบ้านในทวีปเดียวกัน โดยจะเห็น
ได้ชัดจากข้อมูลในนิตยสารเอเชียวีคปี 1999 ที่ได้จัดอันดับมหาวิทยาลัยไทย 5 มหาวิทยาลัย
ดังนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อันดับที่ 29) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อันดับที่ 38)
มหาวิทยาลัยมหิดล (อันดับที่ 39) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (อันดับที่ 44) และ
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (อันดับที่ 66) ซึ่งได้พิจารณาการจัดอันดับจากชื่อเสียงด้านวิชาการ
30% คณาจารย์ 25% การคัดนักศึกษา 20% งบประมาณค่าใช้จ่าย 15% และค่าเล่าเรียน/ค่า
บำรุง 10% และนอกจากนี้สถาบันพัฒนาการจัดการนานาชาติ (International Institution for
15
Management Development) ยังจัดอันดับความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ของไทย พบว่า ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 46 จากจำนวน 47 ประเทศทั้งหมด โดยในขณะที่
ประเทศมาเลเซีย (อันดับ 32) ฟิลิปปินส์ (อันดับ 33) และหากพิจารณาผลงานวิจัยของอาจารย์
ในมหาวิทยาลัย จะพบว่า ใน 1 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีอัตราส่วนของจำนวนอาจารย์ต่อ
ผลงานวิจัยจำนวน 1 ชิ้น อยู่ที่อัตราส่วน 17 : 1, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในอัตราส่วนที่
100 : 1, มหาวิทยาลัยมหิดลในอัตราส่วนที่ 11 : 1 ในขณะที่ประเทศญี่ปุ่น มหาวิทยาลัย
โตโอกุมีอัตราส่วนอยู่ที่ 1 : 1.25, และมหาวิทยาลัยสิงคโปร์อัตราส่วนเป็น 1 : 0.6 (ศุภชัย
หล่อโลหการ, 2542 : 23) นอกจากนี้ประเทศไทยยังไม่มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาที่
มีรูปแบบที่ชัดเจน คุณภาพการศึกษาและการผลิตบัณฑิตก็มีความต่างกัน ประชาชนขาดความ
มั่นใจในสถาบันอุดมศึกษา การบริหารขาดความโปร่งใส (Transparency) และความสามารถ
ตรวจสอบได้ (Accountability) (ส่วนวิจัยและพัฒนา สำนักงานมาตรฐานอุดมศึกษา, 2542 :
1-2)
แต่อย่างไรก็ตามประเทศไทยก็ไม่ได้นิ่งนอนใจและพยายามที่จะพัฒนาคุณภาพ
การศึกษาในระดับอุดมศึกษา ซึ่งจะเห็นได้จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8
(พ.ศ. 2540-2544) ที่มุ่งหมายจะยกระดับคุณภาพทางวิชาการของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ
และเอกชน อย่างน้อยให้ได้มาตรฐานขั้นต่ำที่เท่าเทียมกันทุกแห่ง (สำนักคณะกรรมการศึกษา
แห่งชาติ, 2540 : 82) นอกจากนี้ทบวงมหาวิทยาลัยก็ได้ประกาศนโยบายการประกันคุณภาพ
การศึกษาในระดับอุดมศึกษาขึ้นเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2539 โดยมีสาระสำคัญของ
นโยบายดังกล่าว คือ (สำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ, 2540 : 82-83 และวันชัย
ศิริชนะ, 2540 : 10-11, ส่วนวิจัยและพัฒนา สำนักงานมาตรฐานอุดมศึกษา, 2542 : 2-3)
1) ทบวงมหาวิทยาลัยจะพัฒนาให้มีระบบและกลไกการประกันคุณภาพการ
ศึกษาขึ้น
2) ทบวงมหาวิทยาลัยจะส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษามีการพัฒนาระบบการ
ประกันคุณภาพการศึกษาขึ้นภายในสถาบัน
3) ทบวงมหาวิทยาลัยจะได้กำหนดรูปแบบและวิธีการประกันคุณภาพการ
ศึกษาเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานของสถาบัน
4) ทบวงมหาวิทยาลัยจะจัดให้มีกลไกการตรวจสอบและประเมินผลระบบ
ประกันคุณภาพการศึกษาที่แต่ละสถาบันได้จัดขึ้น
5) ทบวงมหาวิทยาลัยจะสนับสนุนและส่งเสริมความร่วมมือและการมีส่วน
ร่วมของหน่วยงานและสถาบันต่างๆ ในสังคม ในกิจกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาของ
สถาบันอุดมศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน
6) ทบวงมหาวิทยาลัยจะส่งเสริมให้มีการนำข้อมูลข่าวสารและผลจาก
กิจกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาของสถาบันต่างๆ เผยแพร่ต่อสังคมภายนอก
16
อีกทั้งตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวด 6 โดยเฉพาะ
มาตราที่ 49-51 ได้กำหนดไว้อย่างชัดเจนว่า (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ,
2542 : 24-26 และ 35) “ให้มีสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา มีฐานะ
เป็นองค์การมหาชนทำหน้าที่พัฒนาเกณฑ์วิธีการประเมินคุณภาพภายนอก และทำการ
ประเมินผลการจัดการศึกษาเพื่อให้มีการตรวจสอบคุณภาพของสถานศึกษาให้มีการประเมิน
คุณภาพภายนอกของสถานศึกษาทุกแห่งอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกห้าปีตั้งแต่การประเมินครั้ง
สุดท้าย” (มาตรา 49) และ “ให้สถานศึกษาให้ความร่วมมือในการจัดเตรียมเอกสารหลักฐาน
ต่างๆ ที่มีข้อมูลเกี่ยวข้องกับสถานศึกษา ตลอดจนให้บุคลากร คณะกรรมการของสถานศึกษา
รวมทั้งผู้ปกครองและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสถานศึกษาให้ข้อมูลเพิ่มเติมในส่วนที่พิจารณาเห็น
ว่าเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติภารกิจของสถานศึกษา ตามคำร้องขอของสำนักงานรับรองมาตรฐาน
และประเมินคุณภาพการศึกษาหรือบุคคล หรือหน่วยงานภายนอกที่สำนักดังกล่าวรับรองที่ทำ
การประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษานั้น” (มาตรา 50) ซึ่ง”ในกรณีที่ผลการประเมิน
ภายนอกของสถานศึกษาใดไม่ได้ตามมาตรฐานที่กำหนด ให้สำนักงานรับรองมาตรฐานและ
ประเมินคุณภาพการศึกษา จัดทำข้อเสนอแนะการปรับปรุงแก้ไขต่อหน่วยงานต้นสังกัด เพื่อให้
สถานศึกษาปรับปรุงแก้ไขต่อหน่วยงานต้นสังกัด เพื่อให้สถานศึกษาปรับปรุงแก้ไขภายในระยะ
เวลาที่กำหนด หากมิได้ดำเนินการดังกล่าวให้สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพ
การศึกษารายงานต่อคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือคณะกรรมการอุดมศึกษาเพื่อ
ดำเนินการให้มีการปรับปรุงแก้ไข” (มาตรา 51) โดย “ภายในหกปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้
ใช้บังคับ ให้กระทรวงจัดให้มีการประเมินผลภายนอกครั้งแรกของสถานศึกษาทุกแห่ง”
(บทเฉพาะกาล มาตรา 72)
ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2542 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติ
หลักการร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา
พ.ศ. 2543 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูประบบราชการและสำนักงานคณะกรรมการ
ข้าราชการและพลเรือนเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้ว
ดำเนินการต่อไปได้ และเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 คณะรัฐมนตรีก็ได้ให้ความเห็นชอบ
ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา พ.ศ.
2543 ตามที่ทบวงมหาวิทยาลัยเสนอ ซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้ (สำนักนายกรัฐมนตรี, 2543 : 15)
1) กำหนดนิยามคำว่า “สถานศึกษา” หมายความว่า สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย
โรงเรียน ศูนย์การเรียน วิทยาลัย สถาบัน มหาวิทยาลัย หน่วยงานการศึกษา หรือหน่วยงาน
อื่นของรัฐหรือของเอกชนที่มีอำนาจหน้าที่หรือมีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษา
2) ให้จัดตั้งองค์การมหาชนขึ้นเรียกว่า “สำนักงานรับรองมาตรฐานและ
ประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)” เรียกโดยย่อว่า “สมศ.” มีวัตถุประสงค์เพื่อ
17
พัฒนาเกณฑ์ วิธีการประเมินคุณภาพภายนอก และทำการประเมินผลการจัดการศึกษาเพื่อให้
มีการตรวจสอบคุณภาพของสถานศึกษา
3) บรรดารายได้ของสำนักงานไม่เป็นรายได้ที่ต้องนำส่งกระทรวงการคลัง ตาม
กฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง และกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
4) ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า “คณะกรรมการบริหารสำนักงานรับ
รองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา” ประกอบด้วย ประธานกรรมการ กรรมการโดย
ตำแหน่ง จำนวน 3 คน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 6 คน โดยมีผู้อำนวยการสำนักงานเป็น
กรรมการและเลขานุการ รวม 11 คน
5) ให้มีคณะกรรมการพัฒนาระบบการประเมินคุณภาพการศึกษาขั้น
พื้นฐานและคณะกรรมการพัฒนาระบบการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา มี
อำนาจหน้าที่สนับสนุนงานด้านวิชาการแก่คณะกรรมการ พัฒนาปรับปรุงระบบและวิธีการ
ประเมินคุณภาพภายนอก กำกับการดำเนินการให้มีการรับรองมาตรฐานและการประเมิน
คุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา และกระทำการอื่นใดตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
6) ผู้อำนวยการและเจ้าหน้าที่จะต้องไม่ประกอบกิจการ ซึ่งมีสภาพเป็นการ
แข่งขันกับสำนักงาน หรือเป็นผู้มีส่วนได้เสียในกิจการที่กระทำกับสำนักงาน และจะต้องไม่เข้า
ไปเกี่ยวข้องกับการรับรองมาตรฐานหรือการประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาที่ตน
เป็นผู้มีส่วนได้เสีย
7) ผู้ปฏิบัติงานของสำนักงานมีสามประเภท คือ เจ้าหน้าที่หรือลูกจ้างที่
ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญและเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมาปฏิบัติงานเป็นการชั่วคราวตามที่รัฐมนตรีขอ
8) ให้รัฐมนตรีมีอำนาจกำกับดูแลการดำเนินกิจการของสำนักงาน และมี
อำนาจสั่งให้ สำนักงานชี้แจงทำรายงาน หรือยับยั้งการกระทำของสำนักงาน ตลอดจนสั่งสอบ
สวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการดำเนินการ
9) ภายในหกปีนับตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
ใช้บังคับให้มีการประเมินคุณภาพภายนอกครั้งแรกของสถานศึกษาทุกแห่ง เฉพาะที่เป็นสถาน
ศึกษาที่จัดการศึกษาในระบบตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยหลายเรื่องที่ศึกษาเกี่ยวกับการประกันคุณภาพในประเทศ
ไทย ได้แก่ อุทุมพร จามรมาน (2542) ได้ทำการศึกษา “ข้อมูลสถานภาพการประกันคุณภาพ
การอุดมศึกษา 5 สาขาวิชา” พบว่า 22 คณะ 5 สาขาวิชา มีระบบการประกันคุณภาพอยู่ในรูป
ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลลัพธ์ (Input Process Output) ส่วนกลไกการดำเนินงาน
ประกันคุณภาพอยู่ในรูปของคณะกรรมการประกันคุณภาพ ซึ่งมีคณบดี/รองคณบดีเป็น
ประธาน ในแต่ละคณะจะมีเจ้าหน้าที่ประกันคุณภาพ (QA Officer) ทำหน้าที่ในเรื่องการ
รวบรวม ข้อมูลจากทุกคน ทุกภาควิชา และข้อมูลรวมของคณะ ประมวลผล และเสนอรายงาน
ผลการปฏิบัติงานต่อคณะกรรมการประกันคุณภาพของคณะวิชา ซึ่งคณะในโครงการนำร่องได้
18
มีการระบุข้อมูลที่ต้องการ รวบรวมข้อมูลให้เป็นระบบ จัดทำดัชนีและเกณฑ์ จัดทำคู่มือประกัน
คุณภาพระดับคณะและประมวลข้อมูลเพื่อจัดทำรายงานการศึกษาตนเองทุกคณะ ส่วนศักดิ์
ชาย เพชรช่วย (2541 : บทคัดย่อ) ทำงานวิจัยเรื่อง “การพัฒนาตัวบ่งชี้รวมคุณภาพการศึกษา
ข อ ง
คณะครุศาสตร์ในสถาบันราชภัฏ” ซึ่งเก็บข้อมูลจากผู้ทรงคุณวุฒิ คณบดีและอาจารย์ในสถาบัน
ราชภัฏ 36 แห่ง ทั่วประเทศไทย โดยการใช้การส่งแบบสอบถามเก็บรวบรวมทางไปรษณีย ์
ซึ่งผลการวิจัย พบว่า ตัวบ่งชี้คุณภาพการศึกษาของคณะครุศาสตร์ในสถาบันราชภัฏมีทั้งหมด
จำนวน 75 ตัว แบ่งได้เป็น 11 องค์ประกอบ ได้แก่ ปรัชญา พันธกิจและวัตถุประสงค์ของคณะ
หลักสูตร อาจารย์ นักศึกษา การจัดการเรียนการสอน กิจกรรมนักศึกษา แหล่งทรัพยากรการ
เรียนรู้ การบริหารและการจัดการ การเงินงบประมาณ อาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม และ
การวิจัย นอกจากนี้ พรชุลี อาชวอำรุง (2539 : บทคัดย่อ) ทำงานวิจัยเรื่อง “เกณฑ์ประเมิน
สถาบันอุดมศึกษาไทย” โดยได้ศึกษาจากเอกสารเกี่ยวกับมาตรฐานและการประเมินสถาบัน
อุดมศึกษาทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ รวมถึงออกแบบสอบถามและสัมภาษณ์บุคลากร
ในสถาบันอุดมศึกษา ทั้งผู้บริหาร อาจารย์และนิสิตนักศึกษา ตลอดจนบุคลากรเสริม จำนวน
190 คน ซึ่งจากผลการวิจัย ได้เกณฑ์เพื่อการรับรองวิทยฐานะ (Accreditation) สถาบัน
อุดมศึกษาไทย ได้แก่ เกณฑ์ปรัชญาและจุดประสงค์ เกณฑ์การจัดการและบริการด้านต่างๆ
การวางแผนระยะยาว เกณฑ์โปรแกรมการศึกษาเกณฑ์บุคลากร เกณฑ์แหล่งการบริการทาง
วิชาการ เกณฑ์แหล่งที่มาของงบประมาณ เกณฑ์อาคาร สถานที่ วัสดุครุภัณฑ์ เกณฑ์การ
บริการสำหรับผู้เรียนและการเตรียมผู้เรียนเมื่อสำเร็จการศึกษา เกณฑ์ความสัมพันธ์กับชุมชน
รวมทั้งรายงานวิจัยหลายเรื่องที่ศึกษาการประกันคุณภาพการศึกษาในต่าง
ประเทศ ได้แก่ วันชัย ศิริชนะ (2537 : ง) ได้ทำงานวิจัยเรื่อง “การพัฒนารูปแบบการประกัน
คุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษาสำหรับสถาบันอุดมศึกษาในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย”
โดยได้ศึกษาแนวความคิดพื้นฐาน หลักการ โครงสร้าง วิธีการ และหลักเกณฑ์ ในการประกัน
คุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษาของประเทศสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น และ
ออสเตรเลีย และสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน ส่วนอมรวิชช์ นาครทรรพ (2540 : บทสรุป
ผู้บริหาร) ได้ศึกษาเรื่อง “ในกระแสแห่งคุณภาพ” เป็นผลจากโครงการวิจัยเรื่องการศึกษาแนว
โน้มความเคลื่อนไหวด้านการประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อ
ศึกษาและสังเคราะห์แนวคิดและแนวทางการประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษาใน
ประเทศหลัก 4 ประเทศ คือ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ นอก
จากนี้ยังศึกษาข้อมูลของประเทศอื่นๆ ประกอบอีกจำนวนหนึ่ง วิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเอกสาร
(Documentary Research) โดยการสืบค้นจากฐานข้อมูลสำคัญ คือ Educational Resource
Information Clearinghouse (ERIC) และการสืบค้นโดยตรงกับฐานข้อมูลของหน่วยงานที่
เกี่ยวข้องผ่านระบบอินเตอร์เนต และยังมีงานวิจัยของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา
19
แห่งชาติ (2541 : บทสรุปผู้บริหาร) ที่ได้ศึกษาสภาพการดำเนินงานระบบการประกันคุณภาพ
และมาตรฐานการศึกษาระดับอุดมศึกษาทั้งในและต่างประเทศ ได้แก่ สหราชอาณาจักร สหรัฐ
อเมริกา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ มาเลเซีย เวียตนาม และญี่ปุ่น และในต่างประเทศก็มีบท
ความวิจัยหลายเรื่องที่นักการศึกษาต่างประเทศได้ศึกษาไว้ อาทิ เช่น อัมรัล (Amaral,1998 :
184-196) วิจัยเรื่อง “การเปรียบเทียบระบบรับรองวิทยฐานะในสหรัฐอเมริกากับการตรวจสอบ
คุณภาพของ CRE (องค์กรมหาวิทยาลัยยุโรป)”, ดิ๊กนิกสันและโพล็อค (Dickinson and
Pollock, 1995 : 59-66) ศึกษาเรื่อง “การรับรู้คุณค่าของการประเมินคุณภาพในสถาบัน
อุดมศึกษาสก๊อตแลนด์”, ดีลและคณะฯ (Dill and et al, 1996 : 16-24) ศึกษาเรื่อง “การรับรอง
วิทยฐานะและการประกันคุณภาพทางวิชาการ” คีสทัล (Kistan, 1999 : 152-133) ศึกษาเรื่อง
“การประกันคุณภาพในอเมริกาใต้”, ลีม (Lim, 1999 : 379-390) วิจัยเรื่อง “การประกัน
คุณภาพในระดับอุดมศึกษาของประเทศกำลังพัฒนา และ วู๊ดเฮาส์ (Woodhouse, 1996 : 347-
356) วิจัยเรื่อง “การประกันคุณภาพ : แนวโน้มระดับนานาชาติ, ความมีอคติ และคุณลักษณะ”
เป็นต้น
จากข้อความที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ พอจะเห็นภาพได้ว่า ไม่ว่าจะเป็นประเทศไทย
หรือต่างประเทศ ต่างก็พากันตื่นตัวกับการประกันคุณภาพการศึกษา โดยเฉพาะในระดับ
อุดมศึกษาซึ่งถือว่ามีความสำคัญอย่างมากในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ และจาก
การค้นคว้าเพื่อหาข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นจากเอกสาร ตำรา บทความ และงานการวิจัยทั้งหลายที่มี
อยู่ในประเทศไทยนั้น พบว่า การประกันคุณภาพการศึกษาของประเทศไทยยังขาดความเป็น
รูปธรรมที่ชัดเจน ก็คือด้านวิธีการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา
ไทย โดยเฉพาะการประกันคุณภาพโดยภายนอก
2. วัตถุประสงค์ของการประกันคุณภาพการศึกษา
การประกันคุณภาพการศึกษาโดยภายนอกของคณะ/มหาวิทยาลัยของรัฐที่สังกัด
ทบวงมหาวิทยาลัยในปัจจุบันนั้น จะมุ่งเน้นที่การตรวจสอบ “กระบวนการ” (Process) ทำงาน
ของทุกคนในคณะตามพันธกิจ 4 อย่าง ที่คณะระบุไว้ ได้แก่ (1) กระบวนการผลิตบัณฑิตให้มี
คุณภาพ (2) กระบวนการวิจัยและผลิตงานวิจัยที่มีคุณภาพ (3) กระบวนการบริการทางวิชา
การแก่สังคม เพื่อผลงานที่มีคุณภาพ (4) กระบวนการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เพื่อผลงานที่มี
คุณภาพ
นอกจากนี้ยังรวมถึงกระบวนการเพื่อให้เกิดคุณภาพตามพันธกิจดังกล่าว ได้แก่
(1) กระบวนการบริหารจัดการที่โปร่งใส มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ (2) กระบวนการ
ด้านงบประมาณรายได้และรายจ่ายที่มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ และ (3) กระบวนการ
ประกันคุณภาพภายในและภายนอก
เนื่องจากทบวงมหาวิทยาลัยเห็นว่าทุกคณะหรือมหาวิทยาลัยมีปัจจัยนำเข้าที่
ต่างกัน อีกทั้งอายุการพัฒนาของมหาวิทยาลัยต่างกัน ดังนั้นถ้ามุ่งที่เน้นที่ผลผลิต/ผลลัพธ์ ก็
20
อาจไม่ยุติธรรมต่อมหาวิทยาลัยของรัฐบาลบางแห่ง นอกจากนี้ในการตรวจสอบคุณภาพการ
ศึกษาโดยภายนอก ทบวงมหาวิทยาลัยจะตรวจสอบระบบ กลไก และประสิทธิผลของ
องค์ประกอบคุณภาพ 9 ด้าน เพื่อให้ครอบคลุมพันธกิจของสถาบันอุดมศึกษาเท่านั้น (อุทุมพร
จามรมาน, 2542 : 1)
3. กรอบการประกันคุณภาพการศึกษาของทบวงมหาวิทยาลัย
ข้อสรุปจากการสัมมนาวิทยากรประกันคุณภาพการศึกษาของทบวงมหาวิทยาลัย
เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 ณ โรงแรมรอยัลปริ้นเซส กรุงเทพฯ ได้กำหนดกรอบการ
ประกันคุณภาพการศึกษาของทบวงมหาวิทยาลัยไว้ พร้อมทั้งให้นิยามคำว่า “องค์ประกอบ
คุณภาพ” หมายถึง ปัจจัยหลักในการดำเนินงานของสถาบันที่มีผลต่อคุณภาพการศึกษา
ซึ่งองค์ประกอบในการควบคุมคุณภาพภายทั้ง 9 ด้านนี้มาจากพันธกิจของมหาวิทยาลัย
ดังต่อไปนี้ (อุทุมพร จามรมาน, 2542 : 3)
พันธกิจ องค์ประกอบ
1. ปรัชญา ปณิธาน วัตถุประสงค์
และแผนงานดำเนินงาน
1. ผลิตบัณฑิต 2. การเรียนการสอน
3. กิจกรรมพัฒนานิสิตนักศึกษา
2. การวิจัย 4. การวิจัย
3. การบริการทางวิชาการสู่สังคม 5. การบริการทางวิชาการสู่สังคม
4. การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม 6. การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
5. อื่นๆ 7. การบริหารและจัดการ
8. การเงินและงบประมาณ
9. ระบบและกลไกการประกันคุณภาพ
21
ซึ่งสามารถสร้างเป็น Model QA ที่มีลักษณะดังที่แสดงไว้ในแผนภาพที่ 2
ต่อไปนี้
แผนภาพที่ 2 แสดง Model QA
ที่มา : อุทุมพร จามรมาน, 2542 : 3
คณะกรรมการทบวงมหาวิทยาลัยในคราวประชุมครั้งที่ 5/2541 เมื่อวันที่ 28
พฤษภาคม พ.ศ. 2541 และคณะรัฐมนตรีในคราวประชุมเมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2543
มีมติเห็นชอบกับองค์ประกอบของคุณภาพและดัชนีบ่งชี้ดังต่อไปนี้ (ส่วนวิจัยและพัฒนา สำนัก
งานมาตรฐานอุดมศึกษา, 2544 : 6-11)
3.1 องค์ประกอบที่ 1 : ปรัชญา ปณิธาน วัตถุประสงค์และแผนดำเนินงาน
สถาบันอุดมศึกษาพึงกำหนด ปรัชญา ปณิธาน และวัตถุประสงค์ของสถาบัน
ให้สอดคล้องกับภารกิจหลักของสถาบันและมีแผนดำเนินการที่ชัดเจน เพื่อให้บรรลุปรัชญา
ปณิธาน และวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
1) ปรัชญา ปณิธาน และวัตถุประสงค์
สถาบันอุดมศึกษามีการกำหนดปรัชญา ปณิธานและวัตถุประสงค์ของ
สถาบันไว้ชัดเจน เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานของสถาบัน
22
2)แผนงาน
สถาบันอุดมศึกษามีการวางแผนการศึกษาให้สอดคล้องกับปรัชญา
ปณิธาน และวัตถุประสงค์ของสถาบัน มีการดำเนินงานตามแผน เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่
กำหนด
3) การประเมินแผนงานและโครงการ
สถาบันอุดมศึกษาพึงประเมินแผนงานและโครงการเป็นระยะๆ มีการปรับ
ปรุงแผนงานและโครงการให้สอดคล้อง และทันต่อความเปลี่ยนแปลง
3.2 องค์ประกอบที่ 2 : การเรียนการสอน
สถาบันอุดมศึกษาพึงจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ มี
ความพร้อมเกี่ยวกับ หลักสูตร อาจารย์ กระบวนการเรียนการสอน นักศึกษา และปัจจัย
สนับสนุนการเรียนการสอน
1) หลักสูตร
สถาบันอุดมศึกษามีการพัฒนาหลักสูตรที่เปิดสอนทุกหลักสูตรให้สอด
คล้องกับความต้องการทางด้านวิชาการและวิชาชีพ มีการประเมินหลักสูตรอย่างสม่ำเสมอ มี
การบริหารหลักสูตรอย่างมีประสิทธิภาพ และมีการปรับปรุงหลักสูตรให้ทันต่อความเปลี่ยน
แปลง
2) อาจารย์
สถาบันอุดมศึกษามีระบบการสรรหา พัฒนา และธำรงรักษาไว้ซึ่งอาจารย์
ที่มีคุณวุฒิ ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ คุณธรรมและจริยธรรม มีการกำหนดภารกิจ
ของอาจารย์ไว้ชัดเจน และมีการประเมินผลการปฏิบัติภารกิจอย่างสม่ำเสมอ เพื่อพัฒนา
คุณภาพและประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอน
3) กระบวนการเรียนการสอน
สถาบันอุดมศึกษามีการจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพและประสิทธิ-ภาพ
มีการทำแผนการสอน การเตรียมการสอน การทำรายละเอียดชุดวิชา การใช้นวัตกรรมในการสอน
การประเมินผลการเรียน และการประเมินการสอนของอาจารย์
4) นักศึกษา
สถาบันอุดมศึกษามีการจัดระบบการคัดเลือกนักศึกษา และระบบติดตาม
ผลการศึกษาของนักศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ มีการประเมินผลคุณภาพของบัณฑิตทั้งที่ศึกษา
ต่อ และที่เข้าทำงาน
5) การวัดและประเมินผล
สถาบันอุดมศึกษามีการวัดและประเมินผลการเรียนอย่างเป็นระบบ และ
ได้มาตรฐานตามหลักการวัดและประเมินผล
23
24
6)ปัจจัยเกื้อหนุน
สถาบันอุดมศึกษาพึงจัดปัจจัยเกื้อหนุนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของ
นักศึกษา อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ มีอาคารสถานที่ที่เอื้ออำนวยต่อการจัดการเรียน
การสอน ในหลายรูปแบบ เช่น แบบกลุ่มใหญ่ กลุ่มเล็ก และแบบศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
มีห้องสมุด ตำรา หนังสือ วารสาร ทั้งภาษาไทยและต่างประเทศ มีเครื่องคอมพิวเตอร์สื่อการ
เรียนการสอน และวัสดุอุปกรณ์ที่เอื้ออำนวยต่อการสืบค้น และเสาะแสวงหาความรู้จากทั้งภาย
ในและภายนอกประเทศ มีอาณาบริเวณและบรรยายกาศที่เสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์และ
การใฝ่รู้ใฝ่เรียนของนิสิตนักศึกษา
3.3 องค์ประกอบที่ 3 : กิจกรรมพัฒนานิสิตนักศึกษา
สถาบันอุดมศึกษาพึงกำหนดแผนงานและโครงการในการพัฒนานิสิต
นักศึกษาเพื่อเสริมสร้างความเจริญงอกงามในด้านต่างๆ นอกเหนือจากการเรียนรู้ในห้องเรียน
1) กิจกรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการของนิสิตนักศึกษา
สถาบันอุดมศึกษาพึงจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนานิสิตนักศึกษาให้มีความเจริญ
งอกงามในด้านสติปัญญา ร่างกาย จิตใจ และสังคม มีกิจกรรมปลูกฝังนักศึกษาให้เป็นผู้มี
ระเบียบวินัยรักประชาธิปไตย รู้จักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มีคุณธรรมและจริยธรรม มีความรับผิดชอบ
ต่อตนเอง ครอบครัว ชุมชน และสังคม
2) ระบบอาจารย์ที่ปรึกษา
สถาบันอุดมศึกษาพึงพัฒนาระบบอาจารย์ที่ปรึกษาในให้ มีประสิทธิภาพ
เพื่อใช้กลไกนี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการพัฒนานิสิตนักศึกษาในด้านต่างๆ
3) การให้บริการแนะนำเกี่ยวกับอาชีพ
สถาบันอุดมศึกษาพึงจัดให้มีหน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการให้คำ
ปรึกษาในด้านการประกอบอาชีพ ตลอดถึงการให้บริการช่วยเหลือในการจัดหางานทำแก่นิสิตนัก
ศึกษา
3.4 องค์ประกอบที่ 4 : การวิจัย
สถาบันอุดมศึกษาพึงกำหนดนโยบายและแผนงานในการสนับสนุนและส่ง
เสริมงานวิจัยเพื่อให้เกิดประโยชน์ในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ การพัฒนาการเรียนการสอนและ
การพัฒนาประเทศ
1) นโยบาย แผนงานการวิจัย
สถาบันอุดมศึกษามีนโยบาย แผนงาน และระบบการสนับสนุนงานวิจัย
เพื่อการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ การพัฒนาการเรียนการสอน และการนำไปใช้เพื่อการพัฒนา
ประเทศ
25
26
2) ทรัพยากรเพื่อการสนับสนุนการวิจัย
สถาบันอุดมศึกษาพึงจัดหาทรัพยากรให้เพียงพอต่อการส่งเสริมการวิจัย
ตามนโยบาย และแผนงานการวิจัยของสถาบัน มีการเสาะแสวงหาทรัพยากรจากหน่วยงาน
ภายนอกทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน
3) ผลงานการวิจัย
สถาบันอุดมศึกษามีการพัฒนาฐานข้อมูลการวิจัยที่สามารถเผยแพร่ และ
ถ่ายทอดองค์ความรู้สู่สังคม มีการเผยแพร่ผลงานการวิจัยในวารสารวิชาการซึ่งเป็นที่ยอมรับ
ทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีระบบการถ่ายทอดความรู้ใหม่เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
ของประเทศ
3.5 องค์ประกอบที่ 5 : การบริการทางวิชาการแก่สังคม
สถาบันอุดมศึกษาพึงกำหนดวัตถุประสงค์ แผนงาน และการดำเนินงานเพื่อ
ให้บริการทางวิชาการแก่สังคม
1) วัตถุประสงค์และแผนงาน
สถาบันอุดมศึกษามีวัตถุประสงค์และแผนงาน และโครงการเพื่อให้บริการ
ทางวิชาการแก่สังคม
2) การดำเนินงาน
สถาบันอุดมศึกษามีการดำเนินงานบริการทางวิชาการแก่สังคม ให้
สอดคล้องกับพันธกิจของสถาบัน มีการประเมินผลการดำเนินการอย่างสม่ำเสมอเพื่อเพิ่มพูน
ประสิทธิภาพ และประสิทธิผล
3.6 องค์ประกอบที่ 6 : การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
สถาบันอุดมศึกษาพึงกำหนดวัตถุประสงค์และ แผนงานการทำนุบำรุงศิลป
วัฒนธรรม และมีการดำเนินการตามวัตถุประสงค์และแผนงานที่กำหนดไว้
1) วัตถุประสงค์และแผนงาน
สถาบันอุดมศึกษามีวัตถุประสงค์ แผนงานและโครงการเพื่อทำนุบำรุงศิลป
วัฒนธรรม
2) การดำเนินงาน
สถาบันอุดมศึกษามีการดำเนินงานทางด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ตามวัตถุประสงค์และแผนงานที่กำหนดไว้ มีการประเมินผลการดำเนินงานเป็นระยะๆ เพื่อ
เพิ่มพูนประสิทธิภาพและประสิทธิผล
3.7 องค์ประกอบที่ 7 : การบริหารและจัดการ
สถาบันอุดมศึกษาพึงจัดวางระบบการบริหารที่มีความคล่องตัว มีความ
สามารถในการปรับเปลี่ยนระบบ มีการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ในการบริหารมาใช้ มี
27
โครงสร้างและระบบที่สนับสนุนภารกิจหลัก ซึ่งได้แก่การสอน การวิจัย การบริการทางวิชาการ
แก่สังคม และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมอย่างมีประสิทธิภาพ และคุณภาพ
1) โครงสร้างและระบบการบริหาร
สถาบันอุดมศึกษามีการกำหนดโครงสร้าง และระบบการบริหารที่สอด
คล้องกับวัตถุประสงค์ และพันธกิจของสถาบัน มีระบบการสรรหา พัฒนาและประเมินผู้บริหาร
ที่มีประสิทธิภาพผู้บริหารของสถาบันอุดมศึกษามีภาวะผู้นำ วิสัยทัศน์ ความรู้ความสามารถ
ประสบการณ์และคุณธรรม จริยธรรม
2) อำนาจหน้าที่ของบุคลากร
สถาบันอุดมศึกษามีการกำหนดอำนาจหน้าที่และขอบข่ายงาน (Job
Description) ของบุคลากรแต่ละตำแหน่งอย่างชัดเจน
3) ระบบการคัดเลือกบุคลากร
สถาบันอุดมศึกษามีระบบการสรรหา พัฒนา และธำรงรักษาไว้ซึ่ง
บุคลากรที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ มีการประเมินบุคลากรและพิจารณาความดีความชอบ
อย่างยุติธรรมและเปิดเผย
4) ระบบข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ
สถาบันอุดมศึกษามีการจัดวางระบบข้อมูลและสารสนเทศ เพื่อการ
ดำเนินงาน การวางแผนและการตัดสินใจ
5) การมีส่วนร่วมในการบริหาร
สถาบันอุดมศึกษาเปิดโอกาสให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการบริหารมีการจัด
ระบบเพื่อให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการวางแผนและการตัดสินใจในภารกิจที่สำคัญของสถาบัน
3.8 องค์ประกอบที่ 8 : การเงินและงบประมาณ
สถาบันอุดมศึกษาพึงระดมทรัพยากรการเงินจากแหล่งต่างๆ เพื่อสนับสนุน
การดำเนินงานของสถาบัน มีการจัดสรรงบประมาณ ประเมินผลการใช้งบประมาณ และตรวจ
สอบการเงินและงบประมาณอย่างเป็นระบบ
1) แหล่งเงินงบประมาณ
สถาบันอุดมศึกษามีการแสวงหาทรัพยากรการเงินจากแหล่งต่างๆ นอก
เหนือจากงบประมาณแผ่นดิน
2) การจัดสรรและการตรวจสอบ
สถาบันอุดมศึกษามีระบบการจัดสรร การวิเคราะห์ค่าใช้จ่าย และการ
ตรวจสอบการเงินและงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ
3.9 องค์ประกอบที่ 9 : ระบบและกลไกการประกันคุณภาพ
สถาบันอุดมศึกษาพึงพัฒนาระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาขึ้น
เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของสถาบัน
28
1) การประกันคุณภาพภายใน
สถาบันอุดมศึกษาพัฒนาระบบและกลไกในการประกันคุณภาพภายในซึ่ง
ประกอบด้วยระบบการควบคุมคุณภาพ การตรวจสอบคุณภาพ และการประเมินคุณภาพ
2) การประกันคุณภาพภายนอก
สถาบันอุดมศึกษาจัดระบบประกันคุณภาพที่เอื้ออำนวยตอ่ การตรวจสอบ
และการประเมินคุณภาพโดยหน่วยงานภายนอก
4. หน่วยงานที่รับผิดชอบ
ทบวงมหาวิทยาลัย (2542 : 4) สรุปไว้ว่า ในช่วง พ.ศ. 2543-2545 ทบวง
มหาวิทยาลัยโดยคณะอนุกรรมการตรวจสอบและประเมินคุณภาพอุดมศึกษาจะทำหน้าที่ใน
การตรวจสอบคุณภาพการศึกษาระดับคณะ เฉพาะในมหาวิทยาลัยรัฐบาล (ยังไม่ครอบคลุมถึง
มหาวิทยาลัยเอกชน แต่มหาวิทยาลัยเอกชนสามารถมีระบบการประกันคุณภาพภายในของตน
เองเพื่อรองรับการประเมินคุณภาพในอนาคต)
สำหรับในช่วงปี พ.ศ. 2548-2552 สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพ
การศึกษาจะมีหน้าที่ประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาทุกแห่ง อย่างน้อยหนึ่งครั้งใน
ทุก 5 ปี นับตั้งแต่การประเมินครั้งสุดท้าย และจะเสนอผลประเมินต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและ
สาธารณชน
5. วิธีดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา
5.1 การตรวจสอบคุณภาพ
อุทุมพร จามรมาน (2542 : 8-10) สรุปว่า การตรวจสอบคุณภาพโดยทบวง
มหาวิทยาลัยจะกระทำเมื่อคณะได้ดำเนินการตรวจสอบภายใน ตลอดจนปรับปรุงแก้ไขเป็น
ระยะแล้ว จนได้ระดับคุณภาพที่พอใจ จึงแจ้งให้ทบวงมหาวิทยาลัยโดยผ่านมหาวิทยาลัยของ
ตน เพื่อรับการตรวจสอบโดยภายนอก
ทบวงมหาวิทยาลัยจะแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบโดยภายนอกจำนวน
3-5 คน ที่มีความรู้ด้านการประกันคุณภาพ การอุดมศึกษา และความรู้ความเชี่ยวชาญในเนื้อ
หาสาระของคณะนั้นๆ รวมทั้งมีความเป็นกลาง สามารถทำงานเป็นทีม สามารถติดต่อสื่อสาร
มีทัศนะทั้งกว้างและลึก และเข้าใจระบบประกันคุณภาพของคณะนั้น โดยส่งชื่อให้คณะรับทราบ
ซึ่งชื่อบุคคลดังกล่าวคณะมีสิทธิขอแก้ไขได้ อย่างไรก็ตามคณะกรรมการตรวจสอบภายนอกจะ
ต้องเป็นบุคคลที่ทั้งทบวงมหาวิทยาลัย และคณะมีความเห็นสอดคล้องต้องกัน
เมื่อได้ชื่อคณะกรรมการตรวจสอบภายนอกแล้ว ทบวงฯ จะติดต่อนัดหมาย
เพื่อให้มาตรวจเยี่ยมคณะตามวัน เวลาที่คณะสะดวก โดยคณะจะต้องส่งรายงานการศึกษา
ตนเองระดับคณะ (ตัวอย่างการกำหนดดัชนี เกณฑ์ในภาคผนวก ข) ให้คณะกรรมการอ่าน
ล่วงหน้า และจัดเตรียมสถานที่พร้อมหลักฐานต่างๆ ที่อ้างอิงในรายงาน เพื่อคณะกรรมการจะ
ได้ศึกษาค้นคว้า
29
คณะกรรมการตรวจสอบภายนอกแต่ละคนตรวจสอบเอกสารต่างๆ ว่า
ครบถ้วนตามที่ต้องการหรือไม่ เอกสารดังกล่าวได้แก่ รายงานการศึกษาตนเองของคณะ และ
รายชื่อหลักฐานและเอกสารที่ปรากฏในภาคผนวกสอดคล้องกันในตัวเล่มตามที่อ้างอิงไว้ นอก
จากนี้ยังต้องศึกษาเอกสารดังกล่าวอย่างละเอียดและพินิจพิเคราะห์ เพื่อสรุปความเข้าใจของ
ตนเอง บันทึกข้อขัดแย้งในรายงาน พิจารณาความชัดเจนและความสมบูรณ์ครบถ้วน แล้วจึง
ประชุมร่วมกันในคณะกรรมการตรวจสอบ เพื่อซักซ้อมความเข้าใจในการอ่านของตน ประเด็น
ที่สงสัย ข้อขัดแย้ง ความไม่สมบูรณ์อื่นๆ เพื่อประมวลเป็นกลุ่มและตกลงกันว่า ใครเก็บข้อมูล
อะไร ที่ไหน กับใคร ในประเด็นใดบ้าง ของคณะที่ไปตรวจเยี่ยม
เมื่อคณะกรรมการตรวจสอบเข้าไปในคณะ ต้องทำความเข้าใจกับรายงาน
การศึกษาตนเอง รายงานอื่นๆ ตัวเลข ข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ตั้งคำถามเกี่ยวกับการประกัน
คุณภาพ โดยต้องตรวจสอบความครบถ้วนและสมบูรณ์ของเอกสารและข้อมูล และตรวจสอบ
รายละเอียดเกี่ยวกับระบบ กลไก และการดำเนินงานตามองค์ประกอบของทบวงมหาวิทยาลัย
9 ด้าน และพบกับผู้บริหารคณะ อาจารย์ นักศึกษา เจ้าหน้าที่ สังเกตสถานที่ กิจกรรม
สัมภาษณ์ สอบถาม ตรวจเช็ค หาข้อมูลเพิ่มเติม จนได้ข้อมูลครบสมบูรณ์ในประเด็นที่ไม่
ชัดเจน ไม่สอดคล้อง และไม่เชื่อมโยง ตามได้ประชุมร่วมกันไว้
หลังจากการตรวจเยี่ยมคณะแล้ว คณะกรรมการตรวจสอบจะประชุมพิจารณา
ตัดสินผลร่วมกัน โดยพิจารณาว่า คณะมีหลักฐาน รายงาน ข้อมูลที่เกี่ยวข้องชัดเจนและเห็น
ประจักษ์ ตลอดทั้งข้อมูลที่รวบรวมเพิ่มเติมต่างยืนยันว่า คณะได้ดำเนินงานตามที่ระบุไว้จริง
หรือไม่ จึงตัดสินว่า “รับรอง” หรือ “ไม่รับรอง” ถ้า “รับรอง” หมายถึง คณะมีหลักฐานชัดเจน
ครบถ้วนว่าคณะวิชาดำเนินงานจริงตามที่เขียนในรายงานการศึกษาตนเอง (SSR) แต่ถ้า “ไม่
รับรอง” หมายถึง คณะขาดหลักฐานบางอย่างที่แสดงว่าได้มีการดำเนินงานจริงตามที่เขียนใน
รายงานการศึกษาตนเอง ซึ่งเกณฑ์ ดัชนี และแนวทางในการตัดสินให้เป็นไปตามที่กรรมการ
ประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษาเห็นชอบ ซึ่งในเบื้องต้นจะเป็นไปตามที่คณะได้
กำหนดไว้
เมื่อคณะกรรมการตรวจสอบโดยภายนอกได้ตัดสินใจแล้ว จึงแจ้งผลการ
ตัดสินแก่คณบดีตลอดจนคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องโดยคณะกรรมการตรวจสอบโดยภายนอก
ซึ่งคณะกรรมการควรเสนอแนะแนวทางพัฒนาคุณภาพด้านต่างๆ ให้ด้วย การแจ้งผลตัดสิน จะ
ต้องแจ้งเป็นรายองค์ประกอบ ว่าองค์ประกอบใดได้รับการรับรอง และองค์ประกอบใดไม่ได้รับ
การรับรอง เพราะอะไรจึงรับรอง และเพราะอะไรจึงไม่รับรอง โดยบรรยากาศในการแจ้งผล
ควรเป็นบรรยากาศที่สร้างสรรค์ ผู้แจ้งผลควรศึกษาเทคนิคทางจิตวิทยาว่า ควรจะเริ่มอย่างไร
โดยทั่วไปควรแจ้งผลตามองค์ประกอบที่รับรองก่อนพร้อมทั้งเหตุผลและข้อเสนอแนะในการ
เพิ่มคุณภาพให้สูงขึ้น แล้วจึงแจ้งผลขององค์ประกอบที่ไม่รับรองพร้อมทั้งเหตุผล หลักฐาน
ต่างๆ ที่ชัดเจน ตลอดจนวิธีปรับปรุงที่เป็นรูปธรรมต่างๆ นอกจากนี้ภาษาที่ใช้ในการแจ้งผล
30
ควรเป็นภาษาที่กระชับ ชัดเจนแต่อ่อนโยน และรู้จักการใช้สีหน้า แววตา และท่าทางให้
เหมาะสม
หลังจากที่คณะกรรมการตรวจสอบได้แจ้งผลต่อคณะแล้ว จึงประชุมร่วมกัน
อีกครั้งเพื่อจัดทำข้อสรุปเสนอทบวงมหาวิทยาลัยอย่างสั้น กระชับ ได้ใจความ ซึ่งในรายงาน
ควรระบุชื่อคณะกรรมการตรวจสอบ วัน เดือน ปีที่ตรวจสอบ คณะที่ตรวจสอบ ผลการตรวจ
สอบเป็นรายองค์ประกอบว่ารับรองหรือไม่รับรอง
เมื่อทบวงมหาวิทยาลัยได้รับรายงานแล้ว ในกรณีที่คณะได้รับการรับรองใน
ทุกองค์ประกอบ ทบวงมหาวิทยาลัยจะประกาศให้สาธารณชนทราบทั่วกัน โดยมีระยะเวลาใน
การรับรอง 5 ปี แต่ในกรณีที่คณะไม่ได้รับการรับรองในบางองค์ประกอบ คณะจะต้องปรับปรุง
แก้ไข เพื่อขอรับรองใหม่ภายใน 2 ปี
จากที่กล่าวไว้ข้างต้น สามารถเขียนกระบวนการในการตรวจสอบคุณภาพ
ได้ดังแสดงไว้ในแผนภาพที่ 3 ต่อไปนี้
31
แผนภาพที่ 3 แสดงกระบวนการตรวจสอบคุณภาพระดับคณะของทบวงมหาวิทยาลัย
(ที่มา : อุทุมพร จามรมาน, 2544 : 18)
32
5.2 การประเมินคุณภาพ
ตามความในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวด 6 โดย
เฉพาะมาตราที่ 49-51 และพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมิน
คุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2543 ที่ผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีวันที่
8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 และ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 ไปแล้วนั้น พบว่า ยังไม่มีการระบุถึง
วิธีการและขั้นตอนในการประเมินคุณภาพการศึกษาอย่างชัดเจน เพียงแต่ได้มีการวางกรอบ
และหลักการของการประเมินคุณภาพการศึกษาไว้โดยสังเขป ดังนี้
“สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา มีฐานะเป็น
องค์การมหาชนทำหน้าที่พัฒนาเกณฑ์วิธีการประเมินคุณภาพภายนอก และทำการประเมินผล
การจัดการศึกษาเพื่อให้มีการตรวจสอบคุณภาพของสถานศึกษา” (พระบัญญัติการศึกษาแห่ง
ชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 49) และ “ให้สถานศึกษาให้ความร่วมมือในการจัดเตรียมเอกสาร
หลักฐานต่างๆ ที่มีข้อมูลเกี่ยวข้องกับสถานศึกษา ตลอดจนให้บุคลากร คณะกรรมการของ
สถานศึกษา รวมทั้งผู้ปกครองและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสถานศึกษาให้ข้อมูลเพิ่มเติมในส่วนที่
พิจารณาเห็นว่าเกี่ยวข้องกับ การปฏิบัติภารกิจของสถานศึกษา ตามคำร้องขอของสำนักงาน
รับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาหรือบุคคลหรือหน่วยงานภายนอกที่สำนัก
ดังกล่าวรับรองการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษานั้น” (พระราชบัญญัติการศึกษา
แห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 50, พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานรับรองมาตรฐานและ
ประเมินคุณภาพการศึกษา มาตรา 11) ซึ่ง “ในกรณีที่ผลการประเมินภายนอกของสถานศึกษา
ใดไม่ได้ตามมาตรฐานที่กำหนด ให้สำนักงานฯ จัดทำข้อเสนอแนะการปรับปรุงแก้ไขต่อหน่วย
งานต้นสังกัด เพื่อให้สถานศึกษาปรับปรุงภายในระยะเวลาที่กำหนด หากมิได้ดำเนินการ
ดังกล่าวให้สำนักงานฯ รายงานต่อคณะกรรมการอุดมศึกษาเพื่อดำเนินการให้มีการปรับปรุง
แก้ไข” (พระบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 51, พระราชกฤษฎีกาจัด
ตั้งสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา มาตรา 10) โดย “ภายในหกปี
นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ (พ.ศ.2542) ให้กระทรวงจัดให้มีการประเมินผลภายนอก
ครั้งแรกของสถานศึกษาทุกแห่ง” (บทเฉพาะกาล พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.
2542 มาตรา 72) และ “ให้มีการประเมินคุณภาพภายนอกอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกห้าปีตั้งแต่
การประเมินครั้งสุดท้าย และเสนอผลการประเมินต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน”
(พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา มาตรา 10)
นอกจากนี้ ตามความในพระราชกฤษฏีกาจัดตั้งสำนักงานรับรอง
มาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) ยังได้กล่าวถึงหลักการในการ
ดำเนินงานการประเมินคุณภาพว่า ให้เป็นการประเมินเพื่อพัฒนาคุณภาพ ไม่ใช่การตัดสินให้
คุณให้โทษ และเป็นการประเมินที่มีการตรวจสอบและถ่วงดุลที่เป็นกลาง ถูกต้องตรงตามความ
เป็นจริง และเน้นการส่งเสริม ประสานงาน ไม่ใช่ควบคุมหรือใช้อำนาจ เพื่อสร้างวัฒนธรรมการ
33
ทำงานที่มีคุณภาพ มีความโปร่งใส และเพื่อให้เป็นบริการสาธารณะในการให้ข้อมูล
แก่ผู้เกี่ยวข้อง ผู้รับบริการทางการศึกษาและประชาชนทั่วไป
การประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
1. กระบวนการสำคัญในการประกันคุณภาพการศึกษา
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (2544 : 19-2) ได้กล่าวถึง การ
ดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย ว่ามีกระบวนการที่ผู้บริหารทุกระดับ
ตลอดจนบุคลากรทั่วไปของมหาวิทยาลัยพึ่งปฏิบัติ ได้แก่
1.1 มหาวิทยาลัยจำเป็นต้องจัดองค์กรเพื่อรับรองงานประกันคุณภาพ ซึ่งอาจ
อยู่ในรูปของคณะกรรมการ สำนักงาน หรือหน่วยงานที่เทียบเท่า เพื่อทำหน้าที่กำหนด
นโยบายแนวทางประกันคุณภาพของมหาวิทยาลัยฯ แก่บุคลากรทุกระดับ ติดตามตรวจสอบ
ประสานงานให้ผู้บริหารงานของหน่วยงานภายใน ทั้งระดับ คณะ สำนัก สถาบัน ได้จัดทำราย
งานการศึกษาตนเอง รายงานการประเมินตนเอง เพื่อสนองต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับ
กำหนดให้หน่วยงานระดับภาควิชา สายวิชา หรือเทียบเท่า จัดองค์กรรองรับ เช่นเดียวกัน
โดยเน้นบทบาทหน้าที่ แนวทางการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา จัดทำคู่มือประกัน
คุณภาพสำหรับหน่วยงาน เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจแก่บุคลากรในหน่วยงาน ทำการตรวจ
สอบติดตามผลการปฏิบัติงานภายในหน่วยงานเป็นประจำสม่ำเสมอ
1.2 มหาวิทยาลัยพึงกำหนดแนวทาง ระบบ หรือกลไกการประกันคุณภาพที่
เหมาะสมกับมหาวิทยาลัย โดยอาจเลือกใช้ระบบใดๆ เช่น ISO 9000 TQM Malcom Baldrige
ฯลฯ หรือ รูปแบบที่มหาวิทยาลัยพัฒนาขึ้นเอง แต่ยังคงต้องรับการตรวจสอบ ประเมิน และการ
รับรองมาตรฐานจากหน่วยงานกลางของประเทศ อันได้แก่ สำนักงานรับรองมาตรฐานและ
ประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) โดยคาดว่าจะประเมินตามภารกิจหลักของมหาวิทยาลัย
ทั้งนี้หน่วยงานดังกล่าวจะเริ่มดำเนินการประเมินมหาวิทยาลัยต่างๆ ในปี พ.ศ. 2544 เป็นต้น
ไป และจะทำการประเมินซ้ำทุกๆ 5 ปี
1.3 มหาวิทยาลัยจำเป็นต้องคำนึงถึงองค์ประกอบที่จะต้องรับการตรวจประเมิน
จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) โดยกำหนดให้ผู้บริหาร
หัวหน้าหน่วยงานทุกระดับ รับผิดชอบในการเขียนรายงานการศึกษาตนเอง (Self Study
Report) และรายงานการประเมินตนเอง (Self Assessment Report) เพื่อการปรับปรุง
ประสิทธิภาพของระบบงานภายในหน่วยงานและเพื่อรองรับการตรวจสอบและประเมินคุณภาพ
ทั้งภายในและภายนอก
1.4 องค์ประกอบที่พึงได้รับการควบคุม ตรวจสอบ และประเมินคุณภาพภายใน
ของมหาวิทยาลัยโดยทั่วไป ได้แก่
34
1) วัตถุประสงค์ ปรัชญา ปณิธาน พันธกิจ วิสัยทัศน์ เป้าหมายของ
มหาวิทยาลัย
2) การดำเนินงานตามภารกิจหลักของมหาวิทยาลัย ด้านต่างๆ ได้แก่ การ
ผลิตบัณฑิต การเรียนการสอน การพัฒนานักศึกษา นักวิจัย การบริหารวิชาการสู่สังคม การ
ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เป็นต้น
3) กระบวนการบริหาร จัดการ ได้แก่ การเงิน และงบประมาณ
4) สัมฤทธิ์ผล หรือการบรรลุวัตถุประสงค์ตามภารกิจนั้นๆ
1.5 มหาวิทยาลัยพึงจัดทำคู่มือ หรือแนวปฏิบัติในการประกันคุณภาพเพื่อให้
หน่วยงานภายในและภายนอกได้ทรายหลักและวิธีการปฏิบัติงานแต่ละด้าน
1.6 มหาวิทยาลัยพึงจัดให้มีการตรวจสอบระบบการประกันคุณภาพของหน่วย
งานนั้น
1) ความเหมาะสมขององค์กรที่รับผิดชอบการประกันคุณภาพของหน่วยงานนั้น
2) ความเหมาะสมของระเบียบ แนวปฏิบัติ และหลักเกณฑ์การประกัน
คุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย
3) ความเหมาะสมของกระบวนการขั้นตอนการประกันคุณภาพการศึกษา
ของมหาวิทยาลัย
4) ความเหมาะสมและประสิทธิภาพของการกำกับติดตามผลการประกัน
คุณภาพ
1.7 มหาวิทยาลัยพึงดำเนินการประกันคุณภาพภายใน มีการตรวจสอบ และ
ประเมินคุณภาพภายในอย่างสม่ำเสมอ เมื่อมหาวิทยาลัยมีระบบ แนวทาง และกลไกการ
ประกันคุณภาพการศึกษาที่ดีแล้ว ย่อมแสดงถึงความพร้อมที่จะรับการตรวจประเมินคุณภาพ
ภายนอกโดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.)
2.การดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา
ภาณุวัฒน์ สุริยะฉัตร (2544 : บทความ) ได้นำเสนอบทความเรื่อง “ยุทธศาสตร์
การศึกษาและประเมินตนเองกระบวนการทำ Self Study Report เพื่อพัฒนาระบบบริหาร
มหาวิทยาลัยอิสระ : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี” ในช่วงแรกของ
การรับเอาแนวทางการประกันคุณภาพตามแนวทางทบวงมหาวิทยาลัย (พ.ศ. 2540) มาดำเนิน
การเตรียมความพร้อมนั้น มหาวิทยาลัยได้กำหนดให้งานประกันคุณภาพเป็นงานหนึ่งที่อยู่ใน
ความรับผิดชอบของงานหลักสูตร กองบริการการศึกษาโดยประสานงานกับหน่วยงานภาย
ในมหาวิทยาลัยผ่านคำปรึกษาของคณะกรรมการดำเนินงานด้านประกันคุณภาพการศึกษาของ
มหาวิทยาลัยที่จัดตั้งขึ้นจากผู้แทนคณาจารย์ข้าราชการและพนักงานของมหาวิทยาลัย โดยมี
รองอธิการบดีอาวุโสฝ่ายวิชาการเป็นประธาน จนกระทั่งเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2543 งานประกัน
คุณภาพการศึกษาจะได้มีบุคลากรเพื่อรับผิดชอบประจำจำนวน 3 คนขึ้นตรงต่อกองบริการการ
35
ศึกษาโดยรับผิดชอบงาน ด้านการประกันคุณภาพตามแนวทางของมหาวิทยาลัย (TQM)
ควบคู่กับแนวทางของทบวงมหาวิทยาลัยจนกระทั่งปัจจุบัน
สรุปบทเรียนที่ได้จากการตรวจสอบคุณภาพภายในของมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นผล
จากการตรวจสอบคุณภาพภายในให้กับหน่วยงานต่างๆ ของมหาวิทยาลัย โดยคณะกรรมการ
ตรวจสอบคุณภาพภายในพบว่า
2.1 การเตรียมเอกสารหลักฐานไม่สอดคล้องกับดัชนี หรือเกณฑ์ที่อ้างอิง รวมถึง
เนื้อหาและช่วงเวลาของเอกสาร ซึ่งอาจเนื่องจากวิธีคิดที่แตกต่าง เป็นเหตุให้คณะกรรมการ
ตรวจสอบคุณภาพภายในจำเป็นต้องทำความเข้าใจถึงลักษณะของดัชนีและเอกสารหลักฐานที่
สอดคล้องกัน เช่น ดัชนีที่ระบุ กระบวนการหรือดัชนีที่ระบุผลลัพธ์เอกสารที่แสดงการแสดง
ถึงกระบวนการหรือผลลัพธ์เช่นกัน เป็นต้น
2.2 เกณฑ์และดัชนีแตกต่างไปตามลักษณะงาน และลักษณะเฉพาะของหน่วย
งาน ทำให้การเปิดเผยผลการตรวจสอบไม่สามารถทำเป็นข้อมูลเชิงเปรียบเทียบระหว่างหน่วย
งานได้
2.3 จากผลของการตรวจสอบคุณภาพของหน่วยงานต่างๆ พบว่าสาเหตุที่
หน่วยงานต่างๆ ไม่ได้รับการรับรองในบางองค์ประกอบมักมีสาเหตุเนื่องมาจากเอกสาร
หลักฐานไม่ครบสมบูรณ์หรือไม่ชัดเจน
2.4 ระยะเวลาในการตรวจสอบน้อยเกินไป ทำให้การตรวจสอบอาจไม่ได้
ละเอียดเท่าที่ควรอาจมีสาเหตุจากคณะกรรมการตรวจสอบคุณภาพภายในที่มีเวลาว่างไม่ตรง
กัน
2.5 การจัดเรียงเอกสารของหน่วยงานไม่เรียบร้อย ทำให้ไม่สะดวกในการค้นหา
อาจเนื่องมาจากการประสานงานกับหน่วยงานที่ยังไม่ดีพอ
2.6 แบบตรวจสอบที่หน่วยงานประกันคุณภาพ จัดเตรียมให้บางครั้งอาจมีความ
ผิดพลาดในบางจุด
นอกจากนี้ทางคณะกรรมการตรวจสอบคุณภาพภายในมหาวิทยาลัย ได้มีข้อเสนอ
แนะไว้ดังต่อไปนี้
1) ในการตรวจสอบคุณภาพภายในของหน่วยงานครั้งต่อไป มหาวิทยาลัย
หรือคณะกรรมการตรวจสอบคุณภาพ ควรกำหนดช่วงเวลาของเอกสารในแต่ละองค์ประกอบ
ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อเป็นแนวทางสำหรับทุกหน่วยงาน เช่น องค์ประกอบด้านการ
เรียนการสอนให้ยึดตามปีการศึกษา องค์ประกอบด้านงบประมาณให้ยึดตามปีงบประมาณ
องค์ประกอบอื่นๆ อาจยึดตามปีงบประมาณ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อกำหนดช่วงเวลาของเอกสาร
หรือหลักฐานให้สอดคล้องกับกิจกรรมที่ปฏิบัติในแต่ละองค์ประกอบ และให้หน่วยงานชี้แจง
หรือระบุไว้ในคำนำของรายงานการศึกษาตนเองด้วย
36
2) หลังจากตรวจสอบคุณภาพให้กับหน่วยงาน คณะกรรมการตรวจสอบ
คุณภาพภายในมีข้อเสนอให้หน่วยงานทุกหน่วยมีระบบการจัดเก็บเอกสารหลักฐานอย่างเป็น
ระบบเพื่อให้บุคลากรของหน่วยงานได้มีส่วนร่วมในการรับรู้และสามารถสืบค้นข้อมูลได้
(ยกเว้นในกรณีที่ข้อมูลเป็นความลับ) ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการตรวจสอบและร่วมมือกันในการ
ทำงาน
3) หน่วยงานประกันคุณภาพในมหาวิทยาลัย ซึ่งถือเป็นหน่วยกลางควรทำ
คู่มือในการกำหนดรูปแบบดัชนี ในแต่ละองค์ประกอบว่าดัชนีใดควรระบุเกณฑ์เชิงปริมาณ หรือ
ดัชนีใดควรระบุคุณภาพเป็นเกณฑ์ เพื่อให้หน่วยงานยึดถือปฏิบัติเป็นแบบแผนเดียวกัน
4) การประสานงานกับหน่วยงานที่จะถูกตรวจสอบ หรือกับกรรมการที่จะ
เป็นผู้ตรวจสอบคุณภาพภายในนั้น ผู้ประสานงานจำเป็นต้องมีความอดทน ต้องสุภาพ
มีเทคนิควิธีในการแก้ปัญหา ตัวอย่างเช่น เมื่อเกิดกรณีที่หน่วยงานปฏิเสธกรรมการผู้ตรวจ
สอบบางท่านผู้ประสานงานจำเป็นต้องหาวิธีเลือกในการอ้างอิงเพื่อไม่ให้ผู้ฟังเกิดความรู้สึกที่ไม่
ดีทั้ง 2 ฝ่ายหรืออาจใช้วิธีเสนอรายชื่อประธานให้หน่วยงานคัดเลือกก่อนที่จะทาบทาม
กรรมการ เป็นต้น
5) มารยาทและท่าทีที่สุภาพเป็นกันเองเป็นผู้รับฟัง และซักถามที่ดีเป็นสิ่งที่
ต้องพึงระวังประธาน จำเป็นต้องมีความสามารถในการพูด การควบคุม การตรวจสอบให้
ดำเนินไปได้โดยไม่ติดขัด ล่าช้าหรือเสียเวลาโดยไม่จำเป็น ควรรักษาท่าทีที่เป็นกลางและ
เจตนาที่ทำให้ผู้รับการตรวจสอบรู้สึกสบายใจ และถือว่าการตรวจสอบเป็นไปเพื่อการสร้าง
สรรค์
6) มหาวิทยาลัยควรทำคู่มือการเขียนรายงานการศึกษาตนเอง (SSR) และ
ตัวอย่างดัชนีที่เป็นมาตรฐานเสนอไปยังหน่วยงานต่างๆ ทุกครั้งที่มีการปรับเปลี่ยน โดยอาจ
ใช้ข่าว หนังสือเวียน คู่มือ เว็บไซด์ หนังสืออื่นๆ ที่จะช่วยอำนวยความสะดวก และสนับสนุน
การเขียนรายงานการศึกษาตนเองจากผลของการตรวจสอบคุณภาพภายใน ทำให้ผู้บริหารได้
รับทราบข้อมูลของหน่วยงานต่างๆ ประกอบกับข้อมูลที่ได้รับจากการดำเนินงานบริหาร
คุณภาพของมหาวิทยาลัย ในส่วนของการเพิ่มผลิตภาพการดำเนินงานในหน่วยงานต่างๆ ของ
มหาวิทยาลัย ซึ่งได้แก่ การวิเคราะห์ตนเองของหน่วยงานต่างๆ ถ้าใช้ข้อมูลที่ได้รับมีความ
น่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น อันจะนำไปสู่แนวคิดในการปรับปรุงแก้ไขปัญหาของมหาวิทยาลัยในระดับ
หน่วยงานและระดับบริหารให้เป็นผลมากยิ่งขึ้น นอกจากนั้นมหาวิทยาลัยโดยคณะกรรมการ
บริหารยังได้พยายามศึกษาปัจจัยที่จะส่งผลสู่ความสำเร็จตามหลักการและแนวคิดในการ
บริหารองค์กรที่เรียกว่าระบบบริหารองค์กรแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Result Based Management)
มาเป็นแนวทางที่เพื่อปฏิรูประบบการเรียนการสอน และการบริหารมหาวิทยาลัยตามกระบวน
การดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาแบบครบวงจร ได้แก่ (1) การปฏิรูปการเรียนรู้ (2)
การปฏิรูปการสอน (3) การปฏิรูปการบริหาร (4) การประกันคุณภาพภายใน และ (5) การ
37
ประกันคุณภาพภายนอก ทั้งนี้ทางคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยได้ตระหนักและเร่งดำเนินการให้
เป็นผลสำเร็จ โดยมุ่งหวังผลลัพธ์อันจะนำไปสู่การพัฒนามหาวิทยาลัยสู่ความเป็นสากลตาม
คำประกาศวิสัยทัศน์ที่ว่า
มุ่งมั่น เป็นมหาวิทยาลัยที่ใฝ่เรียนรู้
มุ่งสู่ ความเป็นเลิศในเทคโนโลยีและการวิจัย
มุ่งธำรง ปณิธานในการสร้างบัณฑิตที่เก่งและดี
มุ่งสร้าง ชื่อเสียงและเกียรติภูมิให้เป็นที่ภูมิใจของประชาคม
มุ่งก้าว ไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลก
3. รายงานผลการตรวจสอบคุณภาพการศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ทบวงมหาวิทยาลัย (2545 : 4-7) สรุปผลการตรวจสอบคุณภาพการศึกษา
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดยคณะกรรมการตรวจ
สอบคุณภาพการศึกษาจากทบวงมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 9-12 ตุลาคม พ.ศ. 2544 และได้
ข้อสรุปว่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ มีระบบและกลไกตามองค์ประกอบในการควบคุมคุณภาพการ
ศึกษาภายในทั้ง 9 ด้าน พร้อมทั้งมีการดำเนินการตามดัชนีชี้วัดคุณภาพตามที่คณะวิศวกรรม
ศาสตร์ได้กำหนดไว้ แต่ทั้งนี้ทางคณะกรรมการฯ มีความเห็นเพิ่มเติม เพื่อใช้เป็นแนวทางใน
การปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของคณะวิศวกรรมศาสตร์ ไว้ดังนี้
3.1 ด้านปรัชญา ปณิธาน วัตถุประสงค์ และแผนการดำเนินงาน มีจุดเด่น คือ
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้กำหนดปรัชญา และปณิธานไว้อย่างชัดเจน บุคลากรทุกระดับ
รับทราบและมีส่วนร่วมในการกำหนดวัตถุประสงค์ และพันธกิจที่สอดคล้องกับปรัชญา และ
ปณิธาน โดยมีข้อสังเกต คือ (1) คณะวิศวกรรมศาสตร์ สมควรกระตุ้นให้มีการจัดทำแผน
ดำเนินงานที่สอดคล้องกับปรัชญา ปณิธาน และวัตถุประสงค์ ทั้งในระดับคณะวิศวกรรมศาสตร์
และภาควิชา เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน อาจมีความจำเป็น
ต้องทำความเข้าใจร่วมกัน และ (2) ขาดการประเมินแผนงานทั้งในระดับคณะวิศวกรรมศาสตร์
และระดับภาควิชา
3.2 ด้านการเรียนการสอน มีจุดเด่น คือ (1) มีสาขาวิชาที่เป็นความต้องการของ
อุตสาหกรรมเป็นอย่างยิ่ง เช่น สาขาวัสดุศาสตร์ มีสาขาวิชาหรือหลักสูตรที่มีอยู่ที่เดียวใน
ประเทศไทยอันเป็นเอกลักษณ์ของสถาบัน เช่น ปริญญาเอกทางด้านวิศวกรรมอาหาร เป็นต้น
(2) มีการพัฒนาหลักสูตรโดยนำความเห็นจากบุคลากรภายนอกเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการ
พัฒนา (3) คณาจารย์มีคุณวุฒิสูงในทุกสาขาวิชา เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์ของทบวง
มหาวิทยาลัยมีแผนพัฒนาและเตรียมคณาจารย์ทุกภาควิชาฯ [โครงการพัฒนาคณาจารย์สาขา
ขาดแคลน] คณาจารย์มีความมุ่งมั่นในการถ่ายทอดความรู้ และมีศักยภาพในการวิจัยสูงมาก
[มีเมธีวิจัยอาวุโส] คณาจารย์มีความภักดีกับองค์กร ขยันหมั่นเพียรและมีความสามารถในการ
38
แสวงหาทรัพยากรเพื่อการพัฒนาองค์กรเป็นอย่างมาก (4) มีการเน้นการสอนในภาคปฏิบัติ
ซึ่งสอดคล้องกับปรัชญาของมหาวิทยาลัย และ (5) สาขาวิชาได้รับการสนับสนุนด้านทรัพยกร
และวัสดุอุปกรณ์ซึ่งได้รับการจัดสรรจากโครงการเงินกู้ [World Bank Loan Project] ทำให้มี
ครุภัณฑ์ทางการศึกษาที่ทันสมัย หลากหลายและพอเพียง โดยมีข้อสังเกต คือ (1) สมควรจัด
ให้มีการปรับปรุงหลักสูตรปริญญาโทตามที่ระบุไว้ในรอบเวลา 4 ปี (2) สมควรให้มีกระบวนการ
วัดผลการเรียนที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของรายวิชา (3) การออกข้อสอบควรพิจารณาจาก
วัตถุประสงค์ของรายวิชา ส่วนการวัดและประเมินผลนั้นไม่ควรใช้การตัดสินโดยอิงกลุ่มเพียง
อย่างเดียว (4) แบบฟอร์มการประเมินข้อสอบยังไม่มีข้อมูลเพียงพอที่จะสะท้อนถึงคุณภาพ
และการประเมินข้อสอบที่ดี และควรนำผลการประเมินข้อสอบมาใช้เพื่อการปรับปรุงแก้ไข
กระบวนการเรียนการสอนด้วย
3.3 ด้านกิจกรรมการพัฒนานักศึกษา มีจุดเด่น คือ นักศึกษาปัจจุบันมีความเชื่อ
มั่นในสถาบันมีความพึงพอใจกับสภาพแวดล้อมและระบบต่างๆ ในสถาบัน ตั้งแต่โครงสร้าง
ทางกายภาพ วัสดุอุปกรณ์ทางการศึกษา ห้องสมุด คณาจารย์ และผลงานวิจัยของคณาจารย์
ความสัมพันธ์กับรุ่นพี่ ฯลฯ โดยมีข้อสังเกต คือ นักศึกษาและคณาจารย์มีเวลาทำกิจกรรม
ร่วมกันไม่มาก กิจกรรมยังไม่มีความหลากหลาย และจำนวนคณาจารย์และนักศึกษาที่เข้า
ร่วมกิจกรรมมีน้อยมาก
3.4 ด้านการวิจัย มีจุดเด่น คือ (1) มีการทำวิจัยที่ตอบสนองความต้องการของ
ภาคอุตสาหกรรมและมีการนำไปใช้ประโยชน์จริง และ (2) มีเกณฑ์ในการตีพิมพ์งานวิจัยใน
ระดับบัณฑิตศึกษาทั้งในระดับชาติและในระดับนานาชาติ โดยมีข้อสังเกต คือ ควรกำหนด
ทิศทางและแผนงานในการทำวิจัยโดยรวมของคณะวิศวกรรมศาสตร์
3.5 ด้านการบริการทางวิชาการแก่สังคม มีจุดเด่น คือ (1) คณะวิศวกรรม
ศาสตร์ ให้การบริการวิชาการแก่สังคมอย่างหลากหลาย ก่อให้เกิดรายได้เพื่อการพัฒนาและ
การดำเนินการของภาควิชา และ (2) งานพัสดุมีการผลิตชิ้นงานคุณภาพจนสามารถใช้เป็น
แบบอย่างสำหรับสถาบันอื่นได้ โดยมีข้อสังเกต คือ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ยังขาดแผนงานและ
กลยุทธ์เชิงรุกในด้านบริการวิชาการ ทั้งที่มีอุปกรณ์และเครื่องมือจำนวนมากที่สามารถที่จะให้
บริการวิชาการแก่สังคมได้
3.6 ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ไม่มีจุดเด่นใดๆ แต่มีข้อสังเกต คือ
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ยังขาดแผนงานและการดำเนินงานทางด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒน
ธรรม
3.7 ด้านการบริหารและจัดการ มีจุดเด่น คือ (1) เนื่องจากคณะวิศวกรรมศาสตร์
อยู่ในระบบการบริหารมหาวิทยาลัยในกำกับจึงทำให้บุคลากรมีความกระตือรือร้น ขยันหมั่น
เพียร มีความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน และได้ผลงานอย่างรวดเร็ว (2) ผู้บริหารเห็นความ
สำคัญและแสดงความพยายามที่จะเข้าถึงบุคลากรทุกระดับ โดยการจัดประชุมร่วมกันระหว่าง
39
บุคลากรทุกระดับเป็นระยะๆ อย่างสม่ำเสมอ (3) คณะวิศวกรรมศาสตร์มีความสามารถในการ
ใช้ระบบเดียวในการประเมินผลการปฎิบัติงานของผู้ปฏิบัติทั้งในและนอกระบบราชการได้อย่าง
มีประสิทธิภาพ (4) คณะวิศวกรรมศาสตร์ มีระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานที่ชัดเจน ตรวจ
สอบได้ และสอดคล้องกับภารกิจของแต่ละบุคคล มีกระบวนการรวบรวมข้อมูลหลายทาง
ทั้งจากผู้บังคับบัญชา และจากการประเมินตนเอง ทั้งสามารถนำระบบนี้มาใช้ในการธำรงรักษา
พัฒนา และให้ความดีความชอบแก่บุคลากร และ (5) มีการกระจายอำนาจการบริหารลงไปถึง
ระดับภาควิชา โดยมีข้อสังเกต คือ (1) ผู้ปฏิบัติควรนำข้อมูลจากการปฏิบัติงานมาใช้ในการ
ปรับปรุงและ / หรือพัฒนากระบวนการปฏิบัติงานอย่างจริงจัง และ (2) ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ
ยังไม่สมบูรณ์และใช้ในวงแคบ ทำให้ผู้บริหารยังไม่ได้ใช้ประโยชน์อย่างครบวงจร
3.8 ด้านการเงินและงบประมาณ มีจุดเด่น คือ การเงินมีแนวโน้มที่จะมีความ
มั่นคงเพิ่มมากขึ้น โดยมีข้อสังเกต คือ (1) การจัดทำงบประมาณแบบแผนงานโครงการ
(PPBS) ยังไม่นำมาใช้ครบทุกหน่วยงาน และ (2) การจัดสรรงบประมาณไปยังบางภาควิชาใน
ระบบปัจจุบัน ทำให้ภาควิชาที่ได้รับงบประมาณน้อยประสบปัญหาในการพัฒนาปรับปรุง
3.9 ด้านระบบและกลไกการประกันคุณภาพ มีจุดเด่น คือ (1) คณะวิศวกรรม
ศาสตร์ มีความพยายามที่จะดำเนินการตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการตรวจสอบ
คุณภาพภายในของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ซึ่งเป็นแนวทางที่ดีในการ
ดำเนินการด้านคุณภาพต่อไปในอนาคต (2) หน่วยงานในคณะวิศวกรรมศาสตร์ มีระบบ
คุณภาพหลากหลาย เช่น ภาควิชาวิศวอุตสาหการ ได้ใช้ระบบ ISO สำนักงานเลขานุการคณะ
ใช้ระบบ TQM และ (3) บุคลากรในสำนักงานมีความเข้าใจ และกระตือรือร้นในการให้ความ
ร่วมมือในการจัดทำระบบประกันคุณภาพ โดยมีข้อสังเกต คือ (1) คณะวิศวกรรมศาสตร์ ยัง
ไม่ได้ทำการตรวจสอบระบบประกันคุณภาพในระดับคณะวิศวกรรมศาสตร์ เพื่อดูความเชื่อม
โยงขององค์ประกอบทั้ง 9 ด้าน (2) เอกสาร SSR ของทั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ และภาควิชา
ควรมีการวิเคราะห์ตนเองอย่างแท้จริงกว่า และ (3) คณะวิศวกรรมศาสตร์ ควรได้นำเอกสารคู่
มื อ
คุณภาพที่มีอยู่มาใช้ประโยชน์ เพื่อใช้เป็นนโยบายและแนวทางในการจัดทำระบบคุณภาพของ
คณะวิศวกรรมศาสตร์
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
เนื่องจากการประกันคุณภาพการศึกษาเป็นเรื่องที่บุคลากรทางการศึกษาได้ให้ความ
สนใจอย่างมากในปัจจุบัน และกำลังอยู่ในระหว่างการศึกษาวิจัยอีกจำนวนหนึ่ง จึงทำให้ผล
งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการประกันคุณภาพการศึกษามีจำนวนพอสมควร ซึ่งผู้วิจัยได้รวบรวม
ไว้มีดังต่อไปนี้
40
ลิม (Lim, 1999 : 379-390) ได้ทำการวิจัยเรื่อง การประกันคุณภาพในระดับอุดม
ศึกษาของประเทศกำลังพัฒนา ผลการวิจัย พบว่า คุณภาพของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศ
กำลังพัฒนาขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพในการจัดบริการสื่อ/อุปกรณ์ ในการเสริมทักษะการเรียน
และการจัดการเรียนการสอนเพื่อผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพ รวมทั้งกระบวนการทางเทคนิคที่
อำนวยความสะดวกในการพัฒนางานวิจัย ตลอดจนความต้องการในเรื่องของระบบการประกัน
คุณภาพที่มีประสิทธิภาพและมีความเหมาะสมในแต่ละสถาบัน ผลการวิจัยดังกล่าวมีความ
สอดคล้องกับที่ เคนจัย (Kanji,1999 : 357-371) ทำการศึกษาเปรียบเทียบการดำเนินงาน
ด้านคุณภาพของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศมาเลเซีย และพบว่า
ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศมาเลเซีย มีการดำเนินงานด้านคุณภาพที่แตกต่างกัน ซึ่งพอ
สรุปได้ดังนี้ (1) สถาบันอุดมศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกามีสัดส่วนการดำเนินงานด้าน
คุณภาพ โดยใช้ระบบ TQM ที่สูงกว่า สถาบันอุดมศึกษาในประเทศมาเลเซีย (2) สถาบัน
อุดมศึกษาทั้งในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศมาเลเซีย ให้ความสำคัญในความคาดหวัง
ของลูกค้าในระดับที่ใกล้เคียงกัน โดยมีลักษณะคล้ายกับองค์กรธุรกิจ (3) สถาบันอุดมศึกษา
ขนาดเล็กถึงระดับปานกลางส่วนใหญ่ สามารถดำเนินการโดยใช้ระบบ TQM ได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ เนื่องจากมีความสะดวกในการบริหารจัดการทั้งองค์กร (4) ในประเทศสหรัฐ
อเมริกามีหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการประเมินคุณภาพและมีคณะกรรมการดำเนินงานด้าน
คุณภาพในสถาบันการศึกษาในสัดส่วนที่สูงกว่าในประเทศมาเลเซีย โดยพบว่า ในประเทศ
สหรัฐอเมริกา สถาบันอุดมศึกษาที่มีการประเมินจากหน่วยงานภายนอกมีอยู่ประมาณร้อยละ
41.5 เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศมาเลเซีย ซึ่งมีอยู่เพียงร้อยละ 20.7 (5) สถาบันอุดมศึกษา
ในประเทศสหรัฐอเมริกา มีการใช้ตัวบ่งชี้สมรรถนะการดำเนินงานมากกว่าสถาบันอุดมศึกษา
ในประเทศมาเลเซีย อย่างไรก็ตามการใช้ตัวบ่งชี้สมรรถนะการดำเนินงานถูกวิจารณ์โดยนัก
วิจัยส่วนใหญ่ว่าเป็นเพียงระดับที่ชี้ให้เห็นคุณภาพว่าอยู่ระดับใด แต่อาจไม่ใช่ตัวบ่งชี้ที่วัด
ร ะ ดั บ
คุณภาพที่แท้จริง (6) ในการพัฒนาโมเดล TQM พบว่ามีองค์ประกอบที่สำคัญอยู่ 48 องค์
ประกอบ ที่ส่งผลต่อการดำเนินงานด้านคุณภาพโดยใช้ระบบ TQM ในขณะที่ผลการศึกษา
ของ ผลการศึกษานี้ยังสอดคล้องกับ วันชัย ศิริชนะ (2537 : ง) ซึ่งได้ทำการศึกษาวิจัยเรื่อง
การพัฒนารูปแบบการประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา สำหรับสถาบันอุดมศึกษาใน
สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย และผลการวิจัยยังพบว่า ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของทุก
ประเทศที่ศึกษาได้เน้นถึงหลักการในเรื่องความเป็นอิสระ ควบคู่ไปกับความพร้อมที่จะรับการ
ตรวจสอบจากภายนอกของสถาบันอุดมศึกษา ทั้งนี้ โดยที่แต่ละประเทศมีกลไกการดำเนินการ
และวิธีการในรายละเอียดที่แตกต่างกันออกไปตามประสบการณ์และจารีตนิยมของตน สำหรับ
รูปแบบการประกันคุณภาพการศึกษาในระดับอุดมศึกษาสำหรับสถาบันอุดมศึกษาในสังกัด
ทบวงมหาวิทยาลัย ที่พัฒนาขึ้น ได้ใช้กระบวนการรับรองวิทยฐานะโดยแบ่งการดำเนินการ
41
ออกเป็น 2 แบบ แบบที่ 1 ใช้ระบบการตรวจสอบกลไกการควบคุมคุณภาพทางวิชาการภาย
ในที่สถาบันได้จัดให้มีขึ้น โดยลักษณะนี้จะใช้กับสถาบันอุดมศึกษาหรือหลักสูตรที่เปิดดำเนิน
การไปแล้ว และเป็นระบบที่ให้เป็นไปโดยความสมัครใจ แบบที่ 2 ใช้ระบบการตรวจสอบผลการ
ดำเนินการสำหรับสถาบันหรือหลักสูตรที่ขอจัดตั้งหรือเปิดดำเนินการใหม่ เมื่อเห็นว่ามาตร
การและเกณฑ์การดำเนินการเหมาะสมก็ให้การรับรองวิทยฐานะ โดยทั้งสองระบบมุ่งเน้นการ
กระตุ้นให้สถาบันอุดมศึกษามีอิสระในการกำกับดูแลตนเอง โดยการสร้างระบบควบคุมคุณภาพ
ติดตามตรวจสอบการดำเนินงานของคนขึ้นด้วยตนเอง ผลการวิจัยดังกล่าวมีสอดคล้องกับการ
ศึกษาของนักวิชาการชาวต่างประเทศอีกท่านหนึ่งคือ นิวตัน (Newton, 1999 : 215-235)
ซึ่งได้ทำการวิจัยเรื่อง การประเมินผลกระทบในการตรวจสอบคุณภาพภายนอกของสถาบัน
อุดมศึกษาในสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปี 1993 ถึง 1998 และผลการวิจัยยังพบว่า การใช้ข้อมูล
เชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพที่ได้จากการวัดการปฏิบัติหรือการดำเนินงานโดยองค์กรภายนอก
เช่น รายงานการตรวจสอบและการประเมินของ Scottish Higher Education Funding Council
(SHEFC) และ Higher Education Quality Council (HEQC) และการตรวจสอบและประเมิน
ภายใน โดยคณะกรรมการตามการรับรู้และประสบการณ์ ทำให้ทราบถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น
ดังนี้ (1) วัตถุประสงค์ของระบบคุณภาพ และวิธีการที่ใช้ในการตรวจสอบและประเมิน ชี้ให้
เห็นว่า ระบบการประกันคุณภาพการศึกษา จำเป็นต้องมีการตรวจสอบและประเมินทั้งโดยภาย
ในและภายนอก การตรวจสอบและประเมินสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ เป็นเรื่องที่สามารถทำได้
(2) การปรับปรุงคุณภาพสำหรับบุคลากร มีขอบเขตที่กว้าง ดังนั้น จึงไม่สามารถแยกส่วนของ
การปรับปรุงให้เป็นอิสระ ออกจากระบบการประกันคุณภาพได้ (3) การปรับปรุงคุณภาพ
สำหรับนักศึกษา เป็นเรื่องที่มีความสำคัญยิ่งกว่าการปรับปรุงและพัฒนาบุคลากร เนื่องจากเป็น
ผลผลิตของสถาบัน (4) ควรจะมีการเพิ่มหรือขยายการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพ
ออกไปอย่างกว้างขวาง เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของหน่วยงานต่างๆ และผลการวิจัย
ดังกล่าวได้เป็นที่มาในงานวิจัยของ สุวิมล ราชธนบริบาล (2541 : ง) ที่ได้ทำการศึกษา
กระบวนการประกันคุณภาพทางการศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ สังกัดทบวง
มหาวิทยาลัย ผลการศึกษาพบว่า สถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งได้มีการเผยแพร่หลักการและ
นโยบายเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถาบัน เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและเห็น
ความสำคัญของการประกันคุณภาพการศึกษา ส่วนใหญ่มีการดำเนินงานที่สอดคล้องกับ
นโยบายของทบวงมหาวิทยาลัย มีรูปแบบกระบวนการการประกันคุณภาพการศึกษา 3
รูปแบบ คือ รูปแบบที่ 1 ประกอบด้วย ระบบกำกับ และระบบตรวจสอบ รูปแบบที่ 2 มี
องค์ประกอบเช่นเดียวกับรูปแบบที่ 1 มีการเน้นที่การพัฒนาบุคลากรภายในสถาบันเพื่อเตรียม
ความพร้อมเข้าสู่การประกันคุณภาพเป็นสิ่งสำคัญ รูปแบบที่ 3 มีการกำหนดกรอบแนวคิดเป็น
ขั้นตอน แบ่งกระบวนการออกเป็น 5 ระยะ คือ ระยะที่ 1 สร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่บุคลากร
ของสถาบัน ระยะที่ 2 จัดตั้งสภาวิชาการขึ้นเป็นองค์กรหลักที่ดูแลเรื่องการประกันคุณภาพการ
42
ศึกษา และมีการตั้งคณะกรรมการอำนวยการการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อทำหน้าที่
ประสานงานนโยบายและจัดทำข้อเสนอเกี่ยวกับหลักเกณฑ์หรือคู่มือสำหรับให้คณะวิชาถือเป็น
แนวปฏิบัติ ระยะที่ 3 การนำนโยบายสู่แนวปฏิบัติและมีการออกเยี่ยมชมหน่วยงานเพื่อดูความ
คืบหน้าของแต่ละคณะและหน่วยงาน ระยะที่ 4 การปรับปรุงระบบ ระยะที่ 5 การดำเนินการ
ประกันคุณภาพการศึกษาทั้งระบบ นอกจากนี้พบว่า สถาบันมีวิธีดำเนินงานในการจัดประชุม
ชี้แจงนโยบายและแนวปฏิบัติในการประกันคุณภาพการศึกษาในสถาบัน จัดตั้งคณะกรรมการ
ประกันคุณภาพของสถาบัน จัดตั้งหน่วยงาน/คณะ/และผู้รับผิดชอบ จัดทำคู่มือการประกัน
คุณภาพ กำหนดนโยบายการประกันคุณภาพการศึกษาและนำนโยบายสู่การปฏิบัติในระดับ
ภาควิชา และกำหนดดัชนีบ่งชี้คุณภาพของมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค ด้านความคิดเห็นของ
ผู้บริหารและอาจารย์ต่อวิธีดำเนินการควบคุมคุณภาพในหน่วยงาน พบว่า ผู้บริหารให้ความ
สำคัญต่อวิธีดำเนินงานด้านหลักสูตรมากที่สุด ส่วนอีก 4 ด้าน ได้แก่ ด้านอาจารย์ ด้านห้อง
สมุด และแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ ด้านการวิจัย และด้านบริการวิชาการ ให้ความสำคัญอยู่ใน
ระดับมาก และผลการศึกษาของ จุฑารัตน์ วิทยาขาว (2541 : ก) ได้ทำการศึกษาด้านการ
ประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา : ศึกษากรณีการนำนโยบายไปปฏิบัติในสถาบัน
เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ โดยพบว่า การปฏิบัติตามนโยบายการประกันคุณภาพ
การศึกษาของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ยังอยู่ในระยะเริ่มต้นของการ
ดำเนินการ และการดำเนินการจะมีผลกระทบโดยตรงต่อบุคลากรของสถาบัน ดังนั้น ปัญหา
และอุปสรรคที่เกิดขึ้นในขณะนี้จึงเกิดจากปัจจัยด้านภาวะผู้นำ ทัศนคติของผู้ปฏิบัติ การสื่อสาร
ภายในองค์การ การขาดแคลนทรัพยากร และลักษณะความแตกต่างของแต่ละหน่วยงาน
นอกจากนั้นยังพบว่ามีปัจจัยอื่นๆ อีก คือ สถาบันยังไม่มีหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการ
ประกันคุณภาพการศึกษาเป็นการเฉพาะ จึงมีปัญหาในเรื่องการประสานงานการติดตามผล
ตลอดจนการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร รวมทั้งมีลักษณะความเป็นธรรมชาติของการติด
องค์การแบบมหาวิทยาลัย ที่มีความเป็นอิสระในการทำงานมากและไม่มีสายการบังคับบัญชา
สำหรับแนวการแก้ไขปัญหานั้น ควรจะเริ่มที่ผู้บริหารทุกระดับของสถาบันต้องปรับบทบาท
โดยการเข้ามามีส่วนร่วมและให้เวลาในการดำเนินการมากขึ้น ควรให้มีการคัดเลือกผู้นำด้าน
การประกันคุณภาพเป็นการเฉพาะ เร่งรัดให้มีการจัดหน่วยงานกลางของสถาบันเพื่อทำหน้าที่
ในการประสานงาน ติดตามผล ตลอดจนประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลให้ทั่วถึงบุคลากรทุก
ระดับ เพื่อลดปัญหาเรื่องทัศนคติของผู้ปฏิบัติ จัดให้มีกลุ่มคนทำงานหรือผู้รับผิดชอบรองรับอยู่
ทุกระดับ เพื่อให้การประสานงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และผู้รับผิดชอบควรได้รับการ
ฝึกอบรมจากผู้เชี่ยวชาญด้าน QA เป็นการเฉพาะ ตลอดจนควรจัดเตรียมงบประมาณเพื่อ
รองรับการขยายผลการดำเนินงานในอนาคต นอกจากนั้นสถาบันควรมีการประเมินผลการ
ดำเนินงานเป็นระยะๆ เพื่อทราบความก้าวหน้าในการดำเนินการของแต่ละคณะอันจะเป็นการ
กระตุ้นให้เกิดความสำเร็จในภาพรวมได้เร็วขึ้น และสุธรรม อารีกุล (2541 : บทความ) ได้ให้
43
ความหมายเกี่ยวกับ คุณภาพของจัดการอุดมศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา จะต้องมีการควบคุม
คุณภาพ เพื่อการตรวจสอบว่าผลผลิตที่ออกมาตรงตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายประกอบเพื่อ
ประเมินคุณภาพเป็นการประกันคุณภาพว่าได้มีการดำเนินการตามวิธีการต่างๆ เพื่อควบคุมคุณ
ภาพนั้นๆ ซึ่งต้องมีการประเมินผลการจัดกิจกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ
นอกจากนี้อาภรณ์ พลเยี่ยม (2542 : ก-ข) ซึ่งศึกษา การดำเนินการตามนโยบาย
การประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษาของมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยผลการศึกษา
ครั้งนี้พบว่า ระดับการดำเนินการตามนโยบายการประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา
ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น รวมทุกด้านมีการดำเนินการอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนปัญหาการ
ดำเนินการ ปัญหาที่สำคัญที่พบคือ ด้านการเรียนการสอน ระบบการสรรหาและการธำรงรักษา
ไว้ซึ่งอาจารย์ที่มีคุณวุฒิ ความรู้ ความสามารถประสบการณ์ คุณธรรม จริยธรรมยังไม่ดีเท่าที่
ควร คณาจารย์ที่ไม่มีตำแหน่งทางวิชาการ สูงถึงร้อยละ 52 หน่วยงานที่รับผิดชอบในการให้คำ
ปรึกษาในการประกอบอาชีพ การหางานทำแก่นักศึกษาไม่เพียงพอ การส่งเสริมการเรียนรู้
ของนักศึกษาโดยมีอาคารสถานที่ ที่เอื้ออำนวยต่อการจัดการเรียนการสอนแบบศึกษาค้นคว้า
ด้วยตนเองไม่เพียงพอ และด้านกิจกรรมการพัฒนานิสิตนักศึกษา หน่วยงานรับผิดชอบการให้
คำปรึกษาในการประกอบอาชีพ การหางานทำแก่นักศึกษาไม่เพียงพอ การพัฒนานักศึกษา
ด้านสังคมเป็นผู้มีระเบียบวินัย รักประชาธิปไตย รู้จักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มีคุณธรรม จริยธรรม
ไม่เหมาะสม
อุทุมพร จามรมาน และคณะ (2544 : ก) ทำการวิจัยเรื่อง ดัชนี เกณฑ์ และวิธีการ
ประเมินคุณภาพการศึกษาภายในและภายนอกสำหรับสถาบันอุดมศึกษาไทย ผลการวิจัยพบ
ว่า (1) ได้จำนวนดัชนีประเมินและเกณฑ์ตัดสินคุณภาพ 5 ระดับ ของมหาวิทยาลัย/วิทยาลัย
คณะวิชา สำนัก และภาควิชา ที่มีลักษณะและจำนวนต่างกันตามบทบาทหน้าที่ของหน่วยงาน
(2) ได้รูปแบบรายงานการประเมินตนเองระดับ มหาวิทยาลัย คณะวิชา สำนัก ภาควิชา และได้
คู่มือประกันคุณภาพ 5 ฉบับ คือ คู่มือประกันคุณภาพ คู่มือปฏิบัติงานของผู้บริหาร คณาจารย์
เจ้าหน้าที่ และคู่มือผู้ประเมิน (3) ได้วิธีประเมินคุณภาพตนเอง (4) ได้ความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธี
ประเมินคุณภาพโดยองค์กรภายนอก ผลการวิจัยดังกล่าวสอดคล้องกับที่ อมรวิชช์
นาครทรรพ (2543 : บทสรุปผู้บริหาร) ซึ่งได้ทำการวิจัยไว้ในเรื่อง บนทางสู่คุณภาพการติด
ตามผลการประกันคุณภาพและรับรองมาตรฐานการอุดมศึกษา ผลการศึกษาพบว่า ในภาพ
รวมสถาบันอุดมศึกษามีความตื่นตัวและเริ่มดำเนินการพัฒนาระบบและกลไกประกันคุณภาพ
ไปบ้างพอสมควร โดยมีข้อแตกต่างระหว่างสถาบันระดับปริญญา และความก้าวหน้าไปกว่า
สถาบันระดับต่ำกว่าปริญญา ส่วนในแง่การดำเนินมาตรการประกันคุณภาพและการใช้
ประโยชน์ข้อมูลบ่งชี้คุณภาพ พบว่า สถาบันโดยรวมมีการดำเนินมาตรการประกันคุณภาพไป
ในระดับปานกลางถึงมากเป็นส่วนใหญ่ โดยด้านที่ย่อหย่อนได้แก่ ด้านการวิจัย ด้านกิจกรรม
และบริการนักศึกษา ด้านห้องสมุดและแหล่งทรัพยากร การเรียนรู้เป็นต้น ส่วนในด้านการใช้
44
ประโยชน์ตัวบ่งชี้คุณภาพนั้น พบว่ามีการใช้ประโยชน์ระดับปานกลางถึงมากเช่นกัน โดยจุดที่
ย่อหย่อนคือ ตัวบ่งชี้เชิงผลลัพธ์ ตัวบ่งชี้เกี่ยวกับบัณฑิตศึกษา ตัวบ่งชี้เกี่ยวกับความพอใจของ
นักศึกษาในการรับบริการด้านต่างๆ ตัวบ่งชี้เกี่ยวกับผลผลิตและความสำเร็จด้านการวิจัย
ตัวบ่งชี้เกี่ยวกับการให้บริการวิชาการของอาจารย์ เป็นต้น ทั้งนี้โดยส่วนรวมอาจกล่าวได้ว่า
ข้อย่อหย่อนเมื่อเปรียบเทียบกันแล้วพบว่า ส่วนใหญ่เป็นเรื่องของการใช้ประโยชน์ตัวบ่งชี้
มากกว่าเรื่องการดำเนินมาตรการประกันคุณภาพ เนื่องจากสถาบันส่วนใหญ่มีฐานะเป็นส่วน
ราชการจึงมีความถนัดในการออกกฎระเบียบแนวปฏิบัติต่างๆ ซึ่งเป็นมาตรการพื้นฐานของ
การประกันคุณภาพ เมื่อดูข้อมูลจากกรณีศึกษาพบว่า ข้อมูลจากการสำรวจดูจะเป็นการ
ประเมินตนเองที่สูงกว่าความเป็นจริงของสถาบันอุดมศึกษา เนื่องจากกรณีศึกษาชี้ชัดว่านอก
จากโครงการนำร่องของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐในสังกัดทบวงมหวิทยาลัย และโครงการนำ
ร่องเรื่องการใช้ระบบ ISO 9002 ของสถาบันอุดมศึกษาในสังกัดอื่นๆ เพียงบางแห่งแล้ว พบว่า
ส่วนใหญ่มีแต่นโยบายและมาตรการที่ยังขาดแรงกระตุ้นและการผลักดันไปสู่การปฏิบัติอย่าง
จริงจัง ทำให้กระแสการประกันคุณภาพในระดับสถาบันยังไม่เป็นกลุ่มเป็นก้อนโดยพร้อม
เพรียงกัน อีกทั้งยังส่งผลต่อแผนการประเมินและรับรองมาตรฐานจากภายนอกที่สถาบันทั้ง
หมดจะต้องทยอยรับการประเมินจากภายนอกให้แล้วเสร็จภายในปี 2547 ด้วย ตลอดจนการที่
สถาบันอุดมศึกษาส่วนใหญ่มีแนวทางการประกันคุณภาพที่คล้ายคลึงกันอีกทั้งยังมีสถาบัน
บางแห่งที่ริเริ่มนวัตกรรมในการประกันคุณภาพด้วยตนเอง จึงน่าจะเป็นโอกาสและข้อได้
เปรียบที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะใช้เป็นปัจจัยผลักดันการดำเนินงานในเรื่องนี้ให้มีเอกภาพ
ประสิทธิภาพ และมีผลที่เป็นรูปธรรมต่อไป นอกจากนี้ยังพบจุดอ่อน นั่นก็คือ ความด้อยใน
เรื่องระบบข้อมูลสารสนเทศรองรับการประกันคุณภาพของสถาบันส่วนใหญ่ อีกทั้งการเสี่ยงการ
ประกันคุณภาพที่ผลผลิต และการนำผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามาอยู่ในกระบวนการการประกัน
คุณภาพ ซึ่งทำให้การประกันคุณภาพในสถาบันอุดมศึกษายังขาดแรงหนุนที่พอเพียง
อมรรัตน์ จิตรังสฤษฏ์ (2545 : 7) ทำการประเมินผลโครงการศึกษาและพัฒนาระบบ
การประกันคุณภาพระดับอุดมศึกษา ผลจากแบบสอบถามสรุปความคิดเห็นได้ดังนี้ (1) การ
สร้างความรู้ความเข้าใจและการเปิดโอกาสแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการประกันคุณภาพภาย
ในของคณะวิชา พบว่า คณะวิชาทุกแห่งได้สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกัน
คุณภาพภายในให้แก่ภาควิชาและบุคลากรในระดับสูงซึ่งสอดคล้องกับความเห็นของกลุ่ม
ผู้บริหาร อาจารย์ เจ้าหน้าที่ประกันคุณภาพและกลุ่มบุคลากรสาย ข ค ในส่วนของการแสดง
ความคิดเห็นเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาภายในคณะวิชาต่อผู้บริหาร/คณะกรรมการ
ประกันคุณภาพน้อยกว่ากลุ่มอื่นๆ (2) ความคิดเห็นเกี่ยวกับความร่วมมือร่วมใจในการดำเนิน
งานประกันคุณภาพและการจัดทำรายงานการศึกษาตนเอง พบว่า กลุ่มสาขาวิชาพยาบาล
ศาสตร์เป็นกลุ่มที่มีความร่วมมือร่วมใจในการดำเนินงานสูงสุด ส่วนกลุ่มสาขาวิชาวิศวกรรม
ศาสตร์มีความร่วมมือร่วมใจในการดำเนินงานประกันคุณภาพต่ำกว่าทุกสาขาวิชา สำหรับ
45
ความคิดเห็นของกลุ่มอาจารย์เกี่ยวกับความร่วมมือร่วมใจในการดำเนินงานประกันคุณภาพ
พบว่า มีความร่วมมือในระดับค่อนข้างน้อยทั้งในด้านความร่วมมือร่วมใจในการดำเนินงาน
ประกันคุณภาพและการมีส่วนร่วมในการจัดทำรายงานการศึกษาตนเอง (3) ผลของการ
ดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน สาขาวิชาแพทยศาสตร์และสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์เป็น
กลุ่มที่คิดว่าการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพทำให้เกิดประโยชน์มากที่สุดในหลายๆ
ด้าน โดยเห็นว่าการประกันคุณภาพทำให้การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้น คุ้ม
ค่ากับเวลาและงบประมาณที่เสียไป การทำงานมีระบบและมีประสิทธิภาพมีการจัดเก็บข้อมูล
อย่างเป็นระบบ มีส่วนส่งเสริมให้ระบบและกลไกการติดตาม ตรวจสอบ และได้แนวทางการ
พัฒนางานของคณะวิชาตามภารกิจ (4) การสนับสนุนและการยอมรับ จากการดำเนินงาน
ด้านการประกันคุณภาพของกลุ่มสาขาวิชาต่างๆ ที่ได้รับการตรวจสอบจากทบวงมหาวิทยาลัย
ที่ผ่านมา ทำให้ทราบว่าปัญหาหนึ่งในการดำเนินงานด้านประกันคุณภาพของแต่ละคณะวิชาที่
เหมือนกัน คือ เมื่อคณะวิชาได้รับการตรวจสอบคุณภาพจากทบวงมหาวิทยาลัยเสร็จสิ้นไป
แล้ว ระหว่างคณะวิชาต่างๆ และมหาวิทยาลัยยังมีการประสานงานหรือให้ความร่วมมือ
สนับสนุนกันในการด้านการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพไม่มากนัก ในส่วนของการยอม
รับ โดยความคิดเห็นส่วนใหญ่เห็นว่าหน่วยงานอื่นทั้งภายใน และภายนอกสถาบันให้การยอม
รับในระบบประกันคุณภาพของคณะวิชาที่ได้ดำเนินงานผ่านมาเป็นที่น่าพึงพอใจ และเป็นตัว
อย่างที่ดีของกลุ่มสาขาวิชาอื่นๆ (5) การเผยแพร่และการนำประโยชน์จากประสบการณ์การ
ประกันคุณภาพภายในไปใช้ประโยชน์ ความคิดเห็นจากแบบสอบถามพบว่า คณะวิชาส่วน
ใหญ่สามารถนำผลการตรวจสอบคุณภาพจากทบวงมหาวิทยาลัยไปใช้ประโยชน์ได้ในระดับ
ค่ อ น ข้ า ง สู ง ทั้ ง นี้
คณะวิชาต่างๆ ได้พยายามนำความรู้ประสบการณ์และแนวทางการประกันคุณภาพไปเผยแพร่
ความรู้ประสบการณ์และแนวทางการประกันคุณภาพต่อหน่วยงานอื่นภายนอกสถาบันนั้น
สามารถกระทำการได้น้อยกว่าภายในสถาบัน
จากการสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา
พบว่าในการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาแต่ละด้านมีความหลากหลาย ดังนั้นผลของ
การวิจัยครั้งนี้ จึงน่าจะเป็นประโยชน์ต่อการกำหนดนโยบายในการพัฒนามหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีต่อไป
บทที่ 3
วิธีดำเนินการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้ มุ่งศึกษาและเปรียบเทียบการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา
ตามความคิดเห็นของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดยจำแนกตาม
ตำแหน่งหน้าที่ และคณะวิชาที่สังกัด โดยผู้วิจัยได้กำหนดวิธีการวิจัยเป็นขั้นตอนดังนี้
1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
2. ตัวแปรที่ศึกษา
3. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
4. วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
5. การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิจัย
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
1. ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ข้าราชการและพนักงานของมหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ซึ่งประกอบด้วย อาจารย์ประจำและเจ้าหน้าที่ประจำ ที่ปฏิบัติ
งานในหน่วยงานหลักที่ทำหน้าที่จัดการเรียนการสอนทั้ง 8 คณะวิชา จำนวนทั้งสิ้น 697 คน
โดยจำแนกเป็นอาจารย์ประจำ จำนวน 476 คน และเจ้าหน้าที่ประจำ จำนวน 221 คน
2. กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ อาจารย์ประจำ และเจ้าหน้าที่ประจำ ซึ่ง
ผู้วิจัยได้อาศัยการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของ Krejcie และ Morgan
(พวงรัตน์ ทวีรัตน์, 2540 : 303) ทำให้ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 248 คน ซึ่งจำแนก
เป็นอาจารย์ประจำ จำนวน 169 คน และเจ้าหน้าที่ประจำ จำนวน 79 คน และเพื่อให้การเก็บ
รวบรวมข้อมูลมีลักษณะเป็นการกระจายให้ทั่วถึงทุกคณะวิชา ผู้วิจัยได้จำแนกกลุ่มตัวอย่าง
ออกเป็น 8 คณะวิชา ดังรายละเอียดที่ปรากฏในตารางที่ 2 ส่วนวิธีการให้ได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่าง
ในแต่ละคณะวิชานั้น ผู้วิจัยได้กำหนดตามสัดส่วนของอาจารย์ประจำและเจ้าหน้าที่ประจำของ
แต่ละคณะวิชา แล้วใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) โดย
กำหนดให้คุณสมบัติของกลุ่มตัวอย่างที่เป็นอาจารย์ประจำและเจ้าหน้าที่ประจำ ต้องมีส่วนร่วม
และหรือได้รับรู้เกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาด้วย
45
ตารางที่ 2 จำนวนประชากรและกลุ่มตัวอย่างของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
พระจอมเกล้าธนบุรี จำแนกตามคณะวิชา
อาจารย์ประจำ เจ้าหน้าที่ประจำ รวม
คณะวิชา ประชากร กลุ่ม
ตัวอย่าง
ประชากร กลุ่ม
ตัวอย่าง
ประชากร กลุ่ม
ตัวอย่าง
1. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม 55 20 27 8 82 28
2. คณะทรัพยากรชีวภาพและ
เทคโนโลยี 24 9 11 4 35 13
3. คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ 21 7 16 6 37 13
4. คณะพลังงานและวัสดุ 36 13 20 7 56 20
5. คณะวิทยาศาสตร์ 82 29 41 15 123 44
6. คณะวิศวกรรมศาสตร์ 202 72 83 30 285 102
7. คณะศิลปศาสตร์ 35 12 14 5 49 17
8. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ 21 7 9 4 30 11
รวม 476 169 221 79 697 248
ตัวแปรที่ศึกษา
1. ตัวแปรอิสระ
ตัวแปรอิสระ ได้แก่ ตำแหน่งหน้าที่ของบุคลากรผู้ตอบแบบสอบถาม
ซึ่งประกอบไปด้วย อาจารย์ประจำ เจ้าหน้าที่ประจำ และคณะวิชาที่สังกัดของผู้ตอบแบบ
สอบถาม ประกอบไปด้วย คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะพลังงานและวัสดุ คณะวิทยาศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์
คณะศิลปศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
2. ตัวแปรตาม
ตัวแปรตาม ได้แก่ การดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาทั้ง 9 ด้าน ดังนี้
2.1 ด้านปรัชญา ปณิธาน วัตถุประสงค์ และแผนการดำเนินงาน
2.2 ด้านการเรียนการสอน
2.3 ด้านกิจกรรมการพัฒนานักศึกษา
2.4 ด้านการวิจัย
2.5 ด้านการบริการทางวิชาการแก่สังคม
2.6 ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
2.7 ด้านการบริหารและจัดการ
2.8 ด้านการเงินและงบประมาณ
2.9 ด้านระบบและกลไกการประกันคุณภาพ
46
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. การสร้างเครื่องมือและการหาประสิทธิภาพของเครื่องมือ
ในการสร้างเครื่องมือผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาถึงขั้นตอนของการสร้างแบบสอบถามจากทฤษฎี หลักการ และ
แนวคิดจากตำรา เอกสาร และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการประกันคุณภาพการศึกษา
ขั้นตอนที่ 2 กำหนดกรอบแนวคิดและงานวิจัยในการสร้างเครื่องมือให้สอดคล้อง
กับวัตถุประสงค์ของการวิจัย
ขั้นตอนที่ 3 สร้างเครื่องมือในงานวิจัย ที่เป็นแบบสอบถามโดยปรึกษาอาจารย์ที่
ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญ
ขั้นตอนที่ 4 นำแบบสอบถามที่เสร็จแล้วเสนอต่ออาจารย์ที่ปรึกษา และ
ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน ให้เป็นผู้ตรวจสอบเพื่อหาความเที่ยงตรง (Validity) ของแบบ
สอบถาม ได้แก่ ความตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) ของแบบสอบถาม ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญ
ดังต่อไปนี้
-รองศาสตราจารย์ ดร.สันทัด ศิริอนันต์ไพบูลย์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและ
วิเทศสัมพันธ์ คณะพลังงานและวัสดุ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
-รองศาสตราจารย์ ดร.สุมาลี จันทร์ชลอ อาจารย์ประจำภาควิชาครุศาสตร์ไฟฟ้า
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
-ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภาณุวัฒน์ สุริยฉัตร ผู้ช่วยรองอธิการบดีอาวุโสฝ่าย
วิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
-นางสมสนิท ศิริไชย หัวหน้างานประกันคุณภาพการศึกษา กองบริการการ
ศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
-นางปรียานุช รัชตะหิรัญ หัวหน้างานบริการงานวิจัยและพัฒนา สำนักงาน
คณบดี คณะพลังงานและวัสดุ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ขั้นตอนที่ 5 ปรับปรุงแก้ไขแบบสอบถามตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ แล้วจึง
จัดพิมพ์แบบสอบถามเพื่อนำไปปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษาก่อนนำไปทดลองใช้
ขั้นตอนที่ 6 นำแบบสอบถามไปทดลองใช้ (Try Out) กับประชากรกลุ่มตัวอย่าง
ในกลุ่มที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกลุ่มที่จะศึกษา ได้แก่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะพลังงาน
และวัสดุของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จำนวน 30 คน ซึ่งเป็นอาจารย์ประจำ
และเจ้าหน้าที่ประจำที่ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีไม่น้อยกว่า 3
ปี โดยมีส่วนร่วมและหรือได้รับรู้เกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาด้วย หลังจากนั้นนำ
แบบสอบถามทั้งหมดที่ได้มาเพื่อตรวจสอบความชัดเจน ความเข้าใจและภาษาที่ใช้ในเครื่องมือ
แล้วนำแบบสอบถามมาหาความเชื่อมั่น (Reliability) โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของ
47
Cronbach (พวงรัตน์ ทวีรัตน์, 2540 : 125) แบบสอบถามทั้งชุดได้ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ
0.9878 ดังรายละเอียดที่ปรากฏในตารางที่ 3
ตารางที่ 3 ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม
ด้านที่ การดำเนินงาน ค่าความเชื่อมั่น
1. ด้านปรัชญา ปณิธาน วัตถุประสงค์ และแผนการดำเนินงาน 0.8866
2. ด้านการเรียนการสอน 0.9380
3. ด้านกิจกรรมการพัฒนานักศึกษา 0.9441
4. ด้านการวิจัย 0.9554
5. ด้านการบริการทางวิชาการแก่สังคม 0.9458
6. ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม 0.9527
7. ด้านการบริหารและจัดการ 0.9300
8. ด้านการเงินและงบประมาณ 0.9342
9. ด้านระบบและกลไกการประกันคุณภาพ 0.9796
รวมทั้งฉบับ 0.9878
การดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ตามความคิดเห็นของ (ตอนที่ 2)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น