วันเสาร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2554

รูปแบบเว็บไซต์ฐานข้อมูลท้องถิ่นมหาวิทยาลัยราชภัฏ (ตอนที่ 1)



รูปแบบเว็บไซต์ฐานข้อมูลท้องถิ่นมหาวิทยาลัยราชภัฏ
A MODEL OF R LOCAL DATABASE ON
WEBSITE OF RAJABHAT UNIVERSITY
นางสาวอภิญญา สงเคราะห์สุข
วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
ปีการศึกษา 2549
ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
วิทยานิพนธ์ รูปแบบเว็บไซต์ฐานข้อมูลท้องถิ่นมหาวิทยาลัยราชภัฏ
โดย นางสาวอภิญญา สงเคราะห์สุข
หลักสูตร ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
สาขา บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
ประธานกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ รองศาสตราจารย์หรรษา ศิวรักษ์
กรรมการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชลลดา พงศ์พัฒนโยธิน
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา อนุมัติให้นับวิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของ
การศึกษาตามหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
........................................................... ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายงานบัณฑิตศึกษา
(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สรายุทธ์ เศรษฐขจร)
คณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์
.................................................... ประธานกรรมการ
(รองศาสตราจารย์ ดร.ดิลก บุญเรืองรอด)
.................................................... กรรมการ
(รองศาสตราจารย์หรรษา ศิวรักษ์)
.................................................... กรรมการ
(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชลลดา พงศ์พัฒนโยธิน)
.................................................... กรรมการ
(รองศาสตราจารย์ฉวีวรรณ คูหาภินันทน์)
.................................................... กรรมการและเลขานุการ
(ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุนิตย์ เย็นสบาย)
ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ประกาศคุณูปการ
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้สำเร็จลงด้วยดี เพราะได้รับความกรุณาอย่างยิ่งจากอาจารย์ที่ปรึกษา
วิทยานิพนธ์ คือ รองศาสตราจารย์หรรษา ศิวรักษ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชลลดา พงศ์พัฒนโยธิน ที่
ได้ให้คำแนะนำ และให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์แก่ผู้วิจัย ตลอดจนตรวจแก้ไขวิทยานิพนธ์ให้
ถูกต้องสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ทำให้งานวิจัยชิ้นนี้สำเร็จลุล่วงด้วยดี ขอขอบพระคุณ รองศาสตราจารย์
ฉวีวรรณ คูหาภินันทน์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุนิตย์ เย็นสบาย กรรมการสอบวิทยานิพนธ์ทุกท่าน ที่ได้
กรุณาให้คำแนะนำและข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ ขอขอบพระคุณรองศาสตราจารย์จุมพจน์
วนิชกุล ดร.สุดารัตน์ ชาญเลขา ดร.ทวิช บุญธิรัศมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สรายุทธ์ เศรษฐขจร
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธนา จารุพันธุเศรษฐ์ และอาจารย์ทวีศักดิ์ จงประดับเกียรติ ผู้เชี่ยวชาญในการ
ตรวจสอบเครื่องมือทุกท่าน ที่ได้กรุณาให้คำแนะนำและข้อเสนอแนะในการสร้างเครื่องมือในการ
วิจัย
ขอขอบพระคุณ คุณพ่อ คุณแม่ อาจารย์จันทนา รังรักษ์ และบุคคลซึ่งอยู่เบื้องหลังที่สนับสนุน
ให้การทำวิทยานิพนธ์ครั้งนี้สำเร็จลุล่วงด้วยดี และขอระลึกถึงรองศาสตราจารย์ ดร. นันทา วิทวุฒิศักดิ์
ที่กรุณาให้คำแนะนำตลอดมา
อภิญญา สงเคราะห์สุข

อภิญญา สงเคราะห์สุข. (2549). รูปแบบเว็บไซต์ฐานข้อมูลท้องถิ่นมหาวิทยาลัยราชภัฏ.
วิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ : บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ
บ้านสมเด็จเจ้าพระยา. คณะกรรมการควบคุม : รองศาสตราจารย์หรรษา ศิวรักษ์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชลลดา พงศ์พัฒนโยธิน
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นทั่วไปที่มีต่อลักษณะของข้อมูลท้องถิ่น
2) ศึกษารูปแบบและเนื้อหาเว็บไซต์ฐานข้อมูลท้องถิ่นมหาวิทยาลัยราชภัฏ 3) ตรวจสอบความ
เหมาะสมและเป็นไปได้ของรูปแบบเว็บไซต์ฐานข้อมูลท้องถิ่นมหาวิทยาลัยราชภัฏ จากผู้บริหารและ
ผู้ใช้เว็บไซต์ฐานข้อมูลท้องถิ่นในมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มรัตนโกสินทร์ จำนวน 60 คน เครื่องมือที่
ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างโดยใช้ค่าสถิติที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ลักษณะของข้อมูลท้องถิ่นโดยรวมเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น องค์ความรู้ของชาวบ้าน
ที่สั่งสมกันมาตั้งแต่อดีตและพัฒนาสืบทอดจนถึงปัจจุบันที่มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตและผู้คน
ในท้องถิ่น
2. ความเหมาะสมของเนื้อหาเว็บไซต์ฐานข้อมูลท้องถิ่นในมหาวิทยาลัยราชภัฏ
โดยรวม และด้านสถานที่สำคัญ ด้านบุคคลสำคัญและปราชญ์ชาวบ้าน ด้านวิถีชีวิต ด้านภูมิปัญญา
ด้านของดีท้องถิ่น ด้านเอกสารสำคัญ ด้านธรรมชาติวิทยา ด้านข้อมูลจังหวัด ด้านฐานข้อมูล และ
ด้านเว็บไซต์แนะนำ ควรมีในเว็บไซต์ฐานข้อมูลท้องถิ่นมหาวิทยาลัยราชภัฏในระดับมากและมากที่สุด
แต่มีปรากฏจริงในเว็บไซต์ฐานข้อมูลท้องถิ่นมหาวิทยาลัยราชภัฏในระดับปานกลางและระดับมาก
เท่านั้น เมื่อนำความคิดเห็นที่มีต่อระดับที่ควรมีกับระดับที่ปรากฏมาเปรียบเทียบ พบว่าทุกรายการควร
มีในเว็บไซต์ฐานข้อมูลท้องถิ่นมหาวิทยาลัยราชภัฏมากกว่าระดับที่ปรากฏ
3. ความเหมาะสมของรูปแบบเว็บไซต์ฐานข้อมูลท้องถิ่นในมหาวิทยาลัยราชภัฏ
โดยรวม และด้านเนื้อหา ด้านรูปแบบการนำเสนอ และด้านระบบการสื่อสาร ควรมีในเว็บไซต์
ฐานข้อมูลท้องถิ่นมหาวิทยาลัยราชภัฏในระดับมาก แต่มีปรากฏจริงในเว็บไซต์ฐานข้อมูลท้องถิ่น
มหาวิทยาลัยราชภัฏในระดับมากเช่นเดียวกัน เมื่อนำความคิดเห็นที่มีต่อระดับที่ควรมีกับระดับที่
ปรากฏมาเปรียบเทียบ พบว่าทุกรายการควรมีในเว็บไซต์ฐานข้อมูลท้องถิ่นมหาวิทยาลัยราชภัฏ
มากกว่าระดับที่ปรากฏ
4. รูปแบบเว็บไซต์ฐานข้อมูลท้องถิ่นมหาวิทยาลัยราชภัฏในด้านเนื้อหาที่พึงประสงค์
ได้แก่ ด้านสถานที่สำคัญ ประกอบด้วย โบราณสถาน โบราณวัตถุ วัด แหล่งท่องเที่ยว ข้อมูลการ

ท่องเที่ยว แผนที่ท่องเที่ยว ปฏิทินท่องเที่ยว ด้านบุคคลสำคัญและปราชญ์ชาวบ้าน ประกอบด้วย
ผู้บริหารจังหวัดในอดีต,ปัจจุบัน บุคคลสำคัญในด้านต่างๆ ของท้องถิ่น ผู้ว่าราชการจังหวัด ด้านวิถีชีวิต
ประกอบด้วย วิถีชาวบ้าน การละเล่นพื้นบ้าน ประเพณีและวัฒนธรรม ประเพณีพื้นบ้าน เอกลักษณ์
ทางวัฒนธรรม ด้านภูมิปัญญา ประกอบด้วย เกษตรกรรม พืช สมุนไพรบำบัด สมุนไพรกับสุขภาพ
ประเพณี ด้านของดีท้องถิ่น ประกอบด้วย อาหารพื้นบ้าน อาหารและของฝาก หนึ่งตำบล
หนึ่งผลิตภัณฑ์ของไทย หัตถกรรมพื้นบ้าน โภชนาการ ด้านข้อมูลจังหวัด ประกอบด้วย ประวัติ
สภาพโดยทั่วไปของจังหวัด ต้นไม้ประจำจังหวัด เพลงประจำจังหวัด ตราและคำขวัญประจำจังหวัด
แผนที่ ที่ตั้ง และขนาดจังหวัด สำนักงานและหน่วยงานในจังหวัด ข้อมูลจำนวนประชากร ข้อมูล
อำเภอ - ตำบล ด้านฐานข้อมูล ประกอบด้วย ฐานข้อมูลจังหวัด ฐานข้อมูลในประเทศไทย ฐานข้อมูล
หนังสือ ด้านเว็บไซต์แนะนำ ประกอบด้วย เว็บไซต์หน่วยงานต่างๆ อีเมล์หน่วยงานต่างๆ แนะนำ
อินเทอร์เน็ตตำบล Web Link กระทรวงต่างๆ
5. รูปแบบเว็บไซต์ฐานข้อมูลท้องถิ่นมหาวิทยาลัยราชภัฏในด้านรูปแบบที่พึงประสงค์
ได้แก่ ด้านเนื้อหา ประกอบด้วย เนื้อหามีความชัดเจน เนื้อหาครบถ้วนสมบูรณ์ เนื้อหาเข้าใจง่าย
เนื้อหามีความน่าสนใจ เนื้อหาตรงตามวัตถุประสงค์ เนื้อหาเหมาะสมกับเว็บเพจในแต่ละหน้า เนื้อหา
มีการจัดหมวดหมู่ความรู้ ด้านรูปแบบการนำเสนอ ประกอบด้วย รูปแบบของเครื่องมือช่วยค้น ความ
เหมาะสมของฉากหลัง และภาพประกอบของ Homepage ความเหมาะสมของสีของ Homepage ความ
เหมาะสมของตัวอักษรของ Homepage ความเหมาะสมของรายการเมนูในการแสดงข้อมูลท้องถิ่น
รูปแบบโดยรวมของ Homepage ความเหมาะสมของรายการเมนูใน Homepage ความสะดวก และง่าย
ต่อการใช้งาน Homepage รูปแบบโดยรวมของการแสดงข้อมูลท้องถิ่น ความเหมาะสมของสี ของการ
แสดงข้อมูลท้องถิ่น ความเหมาะสมของตัวอักษรของการแสดงข้อมูลท้องถิ่น ความสะดวกในการ
เจาะค้นข้อมูลท้องถิ่น ความสะดวกในการเชื่อมโยงข้อมูลท้องถิ่น ด้านระบบการสื่อสาร ประกอบด้วย
ความรวดเร็วในการเข้าถึงเว็บไซต์ ความต่อเนื่องและชัดเจน การเชื่อมโยงข้อมูลไป page อื่นใน Web site
เดียวกัน การเชื่อมโยงไปเว็บไซต์อื่นในระบบ

APINYA SONGKRORSOOK (2549). A MODEL OF R LOCAL DATABASE ON WEBSITE OF
RAJABHAT UNIVERSITY. GRADUATE SCHOOL, BANSOMDEJCHAOPRAYA
RAJABHAT UNIVERSITY. ADVISOR : ASSOCIATE PROFESSOR HANSA
SIVARAKS, ASSISTANT PROFESSOR CHOLLADA PONGPATTANAYOTHIN
The purposes of this research are 1) to study general view towards characteristics
of local data 2) to study pattern and content of local database website of Rajabhat University and 3)
to monitor appropriation and feasibility of local database website of Rajabhat University. The data
are collected from 60 users and executives’ local database website pattern of Rattanakosin Rajabhat
University Group. Questionnaire is used as research instrument. Data is analyzed in percentage,
mean, standard deviation, and t-test.
The results reveal as follows;
1. In general, the characteristic of local data is in form of local wisdom; body of
local knowledge that has continuously been accumulated, inherited until the present time, has
influenced local people's life.
2. The survey shows that fundamental content in database website of Rajabhat
University; such as, site, Import figures and philosophers, way of life, wisdom, local product,
manuscripts, natural history, province information, database and recommended websites should be
obtained through the local database website of the Rajabhat University at high and the highest
necessary level. However, it merely either meets the average or high level. comparing to the
authentic account, it is suggested that all contents referred above appear much more in the website.
3 The appropriation of local database website pattern of Rajabhat University in
overview, namely content, presentation, and communication system may be available in the website
at the high necessary level which is nearly identical to the existential condition. Nevertheless,
Comparing the authentic account, it is suggested that all contents referred above appear much more
in the website.
4 The local database website of Rajabhat University of the populations in terms
of favourable content is what to present the following details; site composed of historical
monuments, artifacts, monastery, tourist attractions, tourism information, tourism map, tourism
schedule Import figures and philosophers composed of former and current provincial governors,

including other local figures in various aspects; way of life composed of folkways, folk
amusements, traditions and cultures and cultural uniqueness wisdom composed of agriculture, plant
or herbal therapy; local product composed of folk dished, OTOP souvenirs and specialties,
handicrafts province information composed of local background, the overview of the province,
symbolic tree and song of the province, province slogan, location, size and map site, provincial
offices and agencies, demographic trends, data of districts and sub-districts; database composed of
provincial or domestic database, book database; recommended websites composed of necessary
websites and e-mails of various agencies, recommendation of local internet, web link of Ministries.
5. The local database website of Rajabhat University of the populations in terms
of favourable pattern is what to possess the following qualifications; content characterized by its
clarity, completion, accessible and interesting data, objective correspondence, webpage matching,
categorization of content presentation style characterized by its search tool, design of webpage
background, homepage illustrations, colours, font use, menu of local data, convenience and ease of
homepage operation, search for local data, and data transfers communication system
characterized by its rapid accessibility of website, succession and clarity, webpage and website
interlink

สารบัญ
หน้า
ประกาศคุณูปการ …........................................................................................................................
บทคัดย่อภาษาไทย ..........................................................................................................................
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ .....................................................................................................................
สารบัญ ...........................................................................................................................................
สารบัญตาราง .................................................................................................................................
สารบัญแผนภาพ .............................................................................................................................






1
2
3
5
6
7
9
9
10
13
18
19
20
21
บทที่ 1 บทนำ
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา .............................................................................
วัตถุประสงค์ ......................................................................................................................
นิยามศัพท์เฉพาะ ...............................................................................................................
ขอบเขตการวิจัย ................................................................................................................
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย.............................................................................
กรอบแนวคิดในการวิจัย ....................................................................................................
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ภูมิปัญญาท้องถิ่น................................................................................................................
ความหมายของภูมิปัญญาท้องถิ่น.........................................................................
ความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่น........................................................................
ประเภทของภูมิปัญญาท้องถิ่น.............................................................................
ลักษณะสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่น...................................................................
แนวคิดเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น........................................................................
หลักการและทฤษฏีเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น.....................................................
สภาพทั่วไปของภูมิปัญญาท้องถิ่นในปัจจุบัน.....................................................

สารบัญ (ต่อ)
หน้า
ทฤษฎีสื่อปฏิสัมพันธ์วัฒนธรรมของชาติ........................................................................ 23
25
25
31
46
53
55
55
58
60
61
62
62
65
67
69
ฐานข้อมูลท้องถิ่น...........................................................................................................
เว็บไซต์ เว็บเพจ และโฮมเพจ...........................................................................
แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนาเว็บไซต์.........................................................
แนวคิดทฤษฎีของการออกแบบเว็บเพจ............................................................
รูปแบบเว็บไซต์ฐานข้อมูลท้องถิ่นมหาวิทยาลัยราชภัฏ....................................
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง .........................................................................................................
งานวิจัยในประเทศ...........................................................................................
งานวิจัยต่างประเทศ..........................................................................................
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย
ประชากร.......................................................................................................................
การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ................................................................................
การเก็บรวบรวมข้อมูล ..................................................................................................
การวิเคราะห์ข้อมูล .......................................................................................................
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ตอนที่ 1 สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม ..............................................................
ตอนที่ 2 ความคิดเห็นทั่วไปที่มีต่อลักษณะของข้อมูลท้องถิ่น ซึ่งประกอบด้วย
ภูมิปัญญาท้องถิ่น และแหล่งทรัพยากรในท้องถิ่น..........................................
ตอนที่ 3 ความเหมาะสมของเนื้อหาเว็บไซต์ฐานข้อมูลท้องถิ่นในมหาวิทยาลัยราชภัฏ
จากผู้ตอบแบบสอบถาม................................................................................

สารบัญ (ต่อ)
หน้า
ตอนที่ 4 ความเหมาะสมของรูปแบบเว็บไซต์ฐานข้อมูลท้องถิ่นในมหาวิทยาลัยราชภัฏ
จากผู้ตอบแบบสอบถาม...................................................................................
ตอนที่ 5 แนวทางปรับปรุงเว็บไซต์ฐานข้อมูลท้องถิ่นตามความความเห็นของผู้ตอบ
80
85
86
94
100
103
105
107
109
115
117
126
128
133
แบบสอบถาม...................................................................................................
ตอนที่ 6 ความเหมาะสมของเนื้อหาเว็บไซต์ฐานข้อมูลท้องถิ่นมหาวิทยาลัยราชภัฏ
จากผู้ทรงคุณวุฒิ...............................................................................................
ตอนที่ 7 ความเหมาะสมของรูปแบบเว็บไซต์ฐานข้อมูลท้องถิ่นมหาวิทยาลัยราชภัฏ
จากผู้ทรงคุณวุฒิ...............................................................................................
ตอนที่ 8 สรุปรูปแบบที่เหมาะสมและเป็นไปได้ของเว็บไซต์ฐานข้อมูลท้องถิ่น
มหาวิทยาลัยราชภัฏ.........................................................................................
บทที่ 5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
สรุปผลการวิจัย ..............................................................................................................
อภิปรายผลการวิจัย ........................................................................................................
ข้อเสนอแนะจากการวิจัย ...............................................................................................
บรรณานุกรม ..............................................................................................................................
ภาคผนวก
ภาคผนวก ก รายนามผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเครื่องมือวิจัย..............................................
ภาคผนวก ข แบบสอบถาม............................................................................................
ภาคผนวก ค รายนามผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบรูปแบบเว็บไซต์ฐานข้อมูลท้องถิ่น
มหาวิทยาลัยราชภัฏ...................................................................................
ภาคผนวก ง แบบสอบถามเพื่อตรวจสอบรูปแบบเว็บไซต์ฐานข้อมูลท้องถิ่น
มหาวิทยาลัยราชภัฏ..................................................................................
ภาคผนวก จ ประวัติผู้วิจัย..............................................................................................

สารบัญตาราง
หน้า
66
67
69
71
72
73
74
75
76
76
77
78
79
81
82
ตารางที่ 1 สถานภาพผู้ตอบแบบสอบถาม............................................................................
ตารางที่ 2 ความคิดเห็นทั่วไปที่มีต่อลักษณะของข้อมูลท้องถิ่น...........................................
ตารางที่ 3 ความเหมาะสมของเนื้อหาเว็บไซต์ฐานข้อมูลท้องถิ่นในมหาวิทยาลัยราชภัฏ
โดยรวม...............................................................................................................
ตารางที่ 4 ความเหมาะสมของเนื้อหาเว็บไซต์ฐานข้อมูลท้องถิ่นในมหาวิทยาลัยราชภัฏ
ด้านสถานที่สำคัญ.................................................................................................
ตารางที่ 5 ความเหมาะสมของเนื้อหาเว็บไซต์ฐานข้อมูลท้องถิ่นในมหาวิทยาลัยราชภัฏ
ด้านบุคคลสำคัญและปราชญ์ชาวบ้าน.................................................................
ตารางที่ 6 ความเหมาะสมของเนื้อหาเว็บไซต์ฐานข้อมูลท้องถิ่นในมหาวิทยาลัยราชภัฏ
ด้านวิถีชีวิต..........................................................................................................
ตารางที่ 7 ความเหมาะสมของเนื้อหาเว็บไซต์ฐานข้อมูลท้องถิ่นในมหาวิทยาลัยราชภัฏ
ด้านภูมิปัญญา.....................................................................................................
ตารางที่ 8 ความเหมาะสมของเนื้อหาเว็บไซต์ฐานข้อมูลท้องถิ่นในมหาวิทยาลัยราชภัฏ
ด้านของดีท้องถิ่น...............................................................................................
ตารางที่ 9 ความเหมาะสมของเนื้อหาเว็บไซต์ฐานข้อมูลท้องถิ่นในมหาวิทยาลัยราชภัฏ
ด้านเอกสารสำคัญ...............................................................................................
ตารางที่ 10 ความเหมาะสมของเนื้อหาเว็บไซต์ฐานข้อมูลท้องถิ่นในมหาวิทยาลัยราชภัฏ
ด้านธรรมชาติวิทยา............................................................................................
ตารางที่ 11 ความเหมาะสมของเนื้อหาเว็บไซต์ฐานข้อมูลท้องถิ่นในมหาวิทยาลัยราชภัฏ
ด้านข้อมูลจังหวัด..............................................................................................
ตารางที่ 12 ความเหมาะสมของเนื้อหาเว็บไซต์ฐานข้อมูลท้องถิ่นในมหาวิทยาลัยราชภัฏ
ด้านฐานข้อมูล..................................................................................................
ตารางที่ 13 ความเหมาะสมของเนื้อหาเว็บไซต์ฐานข้อมูลท้องถิ่นในมหาวิทยาลัยราชภัฏ
ด้านเว็บไซต์แนะนำ..........................................................................................
ตารางที่ 14 ความเหมาะสมของรูปแบบเว็บไซต์ฐานข้อมูลท้องถิ่นในมหาวิทยาลัยราชภัฏ
โดยรวม............................................................................................................
ตารางที่ 15 ความเหมาะสมของรูปแบบเว็บไซต์ฐานข้อมูลท้องถิ่นในมหาวิทยาลัยราชภัฏ
ด้านเนื้อหา......................................................................................................

หน้า
ตารางที่ 16 ความเหมาะสมของรูปแบบเว็บไซต์ฐานข้อมูลท้องถิ่นในมหาวิทยาลัยราชภัฏ
83
84
87
88
88
89
90
91
92
93
93
95
95
97
99
ด้านรูปแบบการนำเสนอ.....................................................................................
ตารางที่ 17 ความเหมาะสมของรูปแบบเว็บไซต์ฐานข้อมูลท้องถิ่นในมหาวิทยาลัยราชภัฏ
ด้านระบบการสื่อสาร...... ...................................................................................
ตารางที่ 18 ความเหมาะสมและเป็นไปได้ของเนื้อหาเว็บไซต์ฐานข้อมูลท้องถิ่น
มหาวิทยาลัยราชภัฏโดยรวมในรูปแบบที่สร้าง....................................................
ตารางที่ 19 ความเหมาะสมและเป็นไปได้ของเนื้อหาเว็บไซต์ฐานข้อมูลท้องถิ่น
มหาวิทยาลัยราชภัฏด้านสถานที่สำคัญในรูปแบบที่สร้าง.....................................
ตารางที่ 20 ความเหมาะสมและเป็นไปไดข้ องเนื้อหาเว็บไซต์ฐานข้อมูลท้องถิ่น
มหาวิทยาลัยราชภัฏด้านบุคคลสำคัญและปราชญ์ชาวบ้านในรูปแบบที่สร้าง......
ตารางที่ 21 ความเหมาะสมของเนื้อหาเว็บไซต์ฐานข้อมูลท้องถิ่น
มหาวิทยาลัยราชภัฏด้านวิถีชีวิตในรูปแบบที่สร้าง..............................................
ตารางที่ 22 ความเหมาะสมและเป็นไปได้ของเนื้อหาเว็บไซต์ฐานข้อมูลท้องถิ่น
มหาวิทยาลัยราชภัฏ ด้านภูมิปัญญาในรูปแบบที่สร้าง........................................
ตารางที่ 23 ความเหมาะสมและเป็นไปได้ของเนื้อหาเว็บไซต์ฐานข้อมูลท้องถิ่น
มหาวิทยาลัยราชภัฏด้านของดีท้องถิ่นในรูปแบบที่สร้าง.....................................
ตารางที่ 24 ความเหมาะสมและเป็นไปได้ของเนื้อหาเว็บไซต์ฐานข้อมูลท้องถิ่น
มหาวิทยาลัยราชภัฏด้านข้อมูลจังหวัดในรูปแบบที่สร้าง.....................................
ตารางที่ 25 ความเหมาะสมและเป็นไปได้ของเนื้อหาเว็บไซต์ฐานข้อมูลท้องถิ่น
มหาวิทยาลัยราชภัฏด้านฐานข้อมูลในรูปแบบที่สร้าง..........................................
ตารางที่ 26 ความเหมาะสมและเป็นไปได้ของเนื้อหาเว็บไซต์ฐานข้อมูลท้องถิ่น
มหาวิทยาลัยราชภัฏด้านเว็บไซต์แนะนำในรูปแบบที่สร้าง..................................
ตารางที่ 27 ความเหมาะสมและเป็นไปได้ของรูปแบบเว็บไซต์ฐานข้อมูลท้องถิ่น
มหาวิทยาลัยราชภัฏโดยรวมในรูปแบบที่สร้าง…………....................................
ตารางที่ 28 ความเหมาะสมและเป็นไปได้ของรูปแบบเว็บไซต์ฐานข้อมูลท้องถิ่น
มหาวิทยาลัยราชภัฏด้านเนื้อหาในรูปแบบที่สร้าง..............................................
ตารางที่ 29 ความเหมาะสมและเป็นไปได้ของรูปแบบเว็บไซต์ฐานข้อมูลท้องถิ่น
มหาวิทยาลัยราชภัฏด้านรูปแบบการนำเสนอในรูปแบบที่สร้าง........................
ตารางที่ 30 ความเหมาะสมและเป็นไปได้ของรูปแบบเว็บไซต์ฐานข้อมูลท้องถิ่น
มหาวิทยาลัยราชภัฏด้านระบบการสื่อสารในรูปแบบที่สร้าง.............................

สารบัญแผนภูมิ
หน้า
7
35
43
43
44
47
53
54
แผนภาพที่ 1 กรอบแนวคิดในการวิจัย ................................. .................................................
แผนภาพที่ 2 กระบวนการ 13 ขั้นตอนในการพัฒนาเว็บไซต์.................................................
แผนภาพที่ 3 การออกแบบ และพัฒนาเว็บไซต์ แบบลำดับขั้น...............................................
แผนภาพที่ 4 การออกแบบ และพัฒนาเว็บไซต์ แบบเชิงเส้น..................................................
แผนภาพที่ 5 การออกแบบ และพัฒนาเว็บไซต์ แบบผสม......................................................
แผนภาพที่ 6 กระบวนการออกแบบเว็บเพจ............................................................................
แผนภาพที่ 6 รูปแบบเว็บไซต์ฐานข้อมูลท้องถิ่นมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา...
แผนภาพที่ 7 รูปแบบเว็บไซต์ฐานข้อมูลท้องถิ่นมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.................
บทที่ 1
บทนำ
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local wisdom) คือ ความรู้ ความสามารถของชุมชนและแหล่งทรัพยากร
ในท้องถิ่นที่สืบทอดต่อกันมาเป็นมรดกของชาติ สืบทอดกันต่อมาเพื่อพัฒนาการดำเนินชีวิตในสังคม
ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ปัญหาวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองที่เกิดขึ้นในประเทศไทยอย่าง
ต่อเนื่องจนถึงป ัจจุบันมิได้เป็นเพียงปัญหาเฉพาะด้านเท่านั้น แต่สะท้อนให้เห็นถึงความอ่อนแอและ
ขาดความเป็นตัวของตัวเองของสังคมไทย อันเป็นผลมาจากการขาดความสมดุลแห่งการเรียนรู้
ภูมิปัญญาไทยและภูมิปัญญาสากล เพราะการครอบงำของภูมิปัญญาสากลได้มีผลชี้นำความคิดในการ
พัฒนาประเทศมาเป็นเวลายาวนานเกือบครึ่งศตวรรษ(สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ,
2541 : ฉ) จากการศึกษาพบว่า ปัญหาด้านภูมิปัญญาไทยที่สำคัญที่สุด คือภูมิปัญญาไทยได้สูญหายไป
จากสังคมไทยเป็นอันมากเกือบจะหมดสิ้น โดยมีภูมิปัญญาสากลที่ไม่เหมาะสมกับสังคมไทยเข้ามา
แทนที่ภูมิปัญญาไทย จะเห็นได้อย่างชัดเจนจากเนื้อหาการจัดการศึกษาในปัจจุบัน โดยเฉพาะการจัด
การศึกษาในระบบมีเนื้อหาด้านภูมิปัญญาสากลมากกว่าภูมิปัญญาไทย จึงทำให้ภูมิปัญญาไทยไม่ได้
รับการฟื้นฟูและนำคุณค่ามาปรับใช้ในการจัดการศึกษาและวิถีชีวิตไทยในปัจจุบัน ทำให้การถ่ายทอด
ภูมิปัญญาไทยลดน้อยลง (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2541 : ฉ)
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.
2542 แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 (2547 : 33-34) มาตรา 57 บัญญัติว่าให้หน่วยงานทางการ
ศึกษาระดมทรัพยากรบุคคลในชุมชนให้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา โดยนำประสบการณ์ ความ
รอบรู้ ความชำนาญ และภูมิปัญญาท้องถิ่นของบุคคลดังกล่าวมาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ทางการศึกษา
และยกย่องเชิดชูผู้ที่ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษา “ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย คือ
รากฐานของชีวิตความเป็นอยู่ของประเทศไทยของคนไทยเป็นแกนหลักในการพัฒนาอย่างยั่งยืน
สถาบันอุดมศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาบันราชภัฏซึ่งมีภารกิจด้านการพัฒนาท้องถิ่น จึงควรอย่างยิ่ง
ที่จะต้องรวบรวมภูมิปัญญาชาวบ้านซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นภูมิปัญญาที่อยู่ในตัวคนที่จะสูญหายไป
พร้อมๆ กับการจากไปของบุคคลที่เป็นเจ้าของหรือผู้สืบทอดภูมิปัญญา” ภูมิปัญญาชาวบ้านที่อยู่ใน
ตัวคนมีอยู่มากมาย มากกว่าภูมิปัญญาที่เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ จึงควรตระหนักในภารกิจรวบรวม
จัดเก็บ อนุรักษ์ให้คงไว้ซึ่งภูมิปัญญาให้เป็นฐานและบูรณาการกับภูมิปัญญาที่ดีงามของตะวันตก
เพื่อให้เหมาะสมกับยุคสมัยอย่างมีคุณค่ายิ่ง สอดคล้องกับกระแสการปฏิรูปการอุดมศึกษาโลกที่เน้น
2
ให้มีการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือที่เรียกว่า “กระแสท้องถิ่นอภิวัฒน์” (นันทา วิทวุฒิศักดิ์, 2546 :
105)
อินเทอร์เน็ตเป็นทางเลือกใหม่ทางการศึกษาในทุกระดับชั้น สถาบันการศึกษาต่างๆ พยายาม
ที่จะนำเอาความสามารถของอินเทอร์เน็ตมาประยุกต์ใช้ในหลักสูตร การนำอินเทอร์เน็ตมาใช้ในการ
เรียนการสอนมีมากมายหลายรูปแบบ เวิลด์ไวด์เว็บเป็นรูปแบบหนึ่งที่นิยมใช้กันมากในอินเทอร์เน็ต
ขณะนี้ เนื่องจากอินเทอร์เน็ตสามารถให้ข้อมูลสารสนเทศในลักษณะสื่อหลายมิติที่มีประสิทธิภาพ
มาก ผู้ใช้สามารถมีการโต้ตอบกับสื่อได้ทันที และรับข้อมูลได้ทั้งตัวอักษร ภาพกราฟิก
ภาพเคลื่อนไหว และเสียง จึงเหมาะที่จะนำมาใช้ในวงการศึกษาทั้งในวงกว้าง และในด้านการเรียน
การสอน โดยอาจเป็นลักษณะของการศึกษาทางไกลเต็มรูปแบบหรือจะใช้เสริมในชั้นเรียนปกติก็ได้
เช่นกัน (กิดานันท์ มลิทอง, 2543)
มหาวิทยาลัยราชภัฏตระหนักถึงความสำคัญของข้อมูลท้องถิ่น ดังนั้นสำนักวิทยบริการอัน
เป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญที่สุด จึงเห็นความจำเป็นในการสร้างฐานข้อมูลท้องถิ่น และสังคมการเรียนรู้
เพื่อให้สำนักวิทยบริการเป็นแหล่งข้อมูลข่าวสาร ขจัดอุปสรรคที่ขวางกั้นความสามารถที่จะ
ติดต่อสื่อสารและศึกษาด้วยตนเอง ก่อให้เกิดความเสมอภาคในการรับบริการ เปิดรับความคิดอิสระ
โดยปราศจากอคติ เป็นแหล่งหล่อเลี้ยงสร้างสรรค์ชุมชน สร้างความใกล้ชิดสนิทสนมกันของ
ครอบครัว เป็นตัวแทนแห่งความสงบสุข อนุรักษ์อดีต อีกทั้งยังก่อให้เกิดความร่วมมือกันทำงานของ
สำนักวิทยบริการกับสถาบันอื่นๆ ในท้องถิ่น และเพื่อขยายงานบริการฐานข้อมูลท้องถิ่นของ
สำนักวิทยบริการ ให้เป็นสำนักวิทยบริการที่เป็นศูนย์กลางของสังคมการเรียนรู้ ประกอบกับโปรแกรม
ฐานข้อมูลท้องถิ่นสามารถใช้ได้กับทุกๆ มหาวิทยาลัยราชภัฏ เพื่อวางรากฐานงานเครือข่ายสารนิเทศ
ท้องถิ่นร่วมกัน สำนักวิทยบริการทุกแห่งที่ร่วมโครงการสามารถให้บริการแก่บุคลากรของสถาบัน
และท้องถิ่นได้อย่างกว้างขวาง จากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องยังไม่มีการศึกษาเกี่ยวกับ
รูปแบบเว็บไซต์ฐานข้อมูลท้องถิ่นมหาวิทยาลัยราชภัฏ จึงทำให้ผู้วิจัยสนใจที่จะศึกษาถึงเว็บไซต์
ฐานข้อมูลท้องถิ่นมหาวิทยาลัยราชภัฏ ทั้งนี้ผลการวิจัยที่ได้รับจะเป็นแนวทางในการปรับปรุงและ
พัฒนาการจัดทำเว็บไซต์ต่อไป
วัตถุประสงค์การวิจัย
1. ศึกษาความคิดเห็นทั่วไปที่มีต่อลักษณะของข้อมูลท้องถิ่น
2. ศึกษารูปแบบและเนื้อหาเว็บไซต์ฐานข้อมูลท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏ
3. ตรวจสอบความเหมาะสมและเป็นไปได้ของรูปแบบเว็บไซต์ฐานข้อมูลท้องถิ่นของ
มหาวิทยาลัยราชภัฏ
3
นิยามศัพท์เฉพาะ
รูปแบบ
หมายถึง ตัวแทนของจริงหรือตัวแทนของโฮมเพจที่ สามารถอธิบายลักษณะสำคัญเฉพาะและ
ครอบคลุมเรื่องข้อมูลท้องถิ่น จนทำให้มองสถานการณ์ต่างๆ ในปัจจุบันได้ชัดเจนและคาดการณ์ผลที่
จะเกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง
เว็บไซต์
หมายถึง ที่ตั้งหรือที่อยู่ในระบบ World Wide Web ประกอบด้วยโฮมเพจและเว็บเพจที่แสดง
รายละเอียดข้อมูลข่าวสารต่างๆ ของเว็บไซต์ฐานข้อมูลท้องถิ่นมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มรัตนโกสินทร์
เนื้อหาของเว็บไซต์
หมายถึง การนำเสนอเนื้อหาของภูมิปัญญาไทย จำแนกเป็น 7 ด้าน คือ สถานที่สำคัญ บุคคล
สำคัญและปราชญ์ชาวบ้าน วิถีชีวิต ภูมิปัญญา ของดีของท้องถิ่น เอกสารสำคัญธรรมชาติวิทยา ตาม
แนวคิดของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
เว็บไซต์ที่พึงประสงค์
หมายถึง เว็บไซต์ฐานข้อมูลท้องถิ่นที่สามารถเข้าสู่โฮมเพจของเว็บไซต์ได้ทันที สามารถ
ค้นหาข้อมูลได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว และเชื่อมโยงไปสู่เว็บไซต์อื่นๆ ได้ ข้อมูลต่างๆ บนเว็บไซต์
ทันสมัย น่าเชื่อถือ มีประโยชน์สามารถใช้อ้างอิงได้ มีจุดดึงดูดความสนใจและชวนติดตาม
โฮมเพจ
หมายถึง หน้าจอหน้าแรกของเว็บไซต์ฐานข้อมูลท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่ม
รัตนโกสินทร์
รูปแบบของโฮมเพจ
หมายถึง รูปแบบของการออกแบบเว็บเพจที่ปรากฎให้เห็นทางหน้าจอตั้งแต่การใช้ภาพกราฟิก
ส่วนประกอบนำทางเสียง ภาพเคลื่อนไหว และการสร้างการปฏิสัมพันธ์ เป็นต้น
เว็บเพจ
หมายถึง หน้าจอที่แสดงรายละเอียดต่างๆ ของเว็บไซต์ฐานข้อมูลท้องถิ่นมหาวิทยาลัยราชภัฏ
กลุ่มรัตนโกสินทร์
ยูอาร์แอล (URL)
หมายถึง ตำแหน่งของเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละตัวที่ทำการเชื่อมต่อกับเว็บ ซึ่งจะอนุญาตให้
โปรแกรมเว็บบราวเซอร์เข้าถึงไฟล์บนเว็บเซิร์ฟเวอร์แต่ละตัว
4
โปรแกรมระบบฐานข้อมูลท้องถิ่น
หมายถึง โปรแกรมที่สร้างขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์สำหรับจัดเก็บรวบรวมข้อมูลบริบทชุมชน
พัฒนาขึ้นโดยใช้โปรแกรมภาษา PHP และใช้ MySQL เป็น Database ในการจัดการข้อมูล โดยที่ทั้ง
สองโปรแกรมที่ใช้ในการพัฒนาเป็นโปรแกรมประเภทฟรีแวร์สามารถ Download ได้จาก Homepage
ของผู้สร้าง
ข้อมูลท้องถิ่น
หมายถึง ข้อมูลทางด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือภูมิปัญญาชาวบ้านในแต่ละท้องถิ่น ซึ่ง
ประกอบไปด้วย ภูมิปัญญาท้องถิ่นและแหล่งทรัพยากรในท้องถิ่น ที่อยู่ภายในพื้นที่ของมหาวิทยาลัย
ราชภัฏกลุ่มรัตนโกสินทร์
ภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือภูมิปัญญาชาวบ้าน
หมายถึง องค์ความรู้ความสามารถของชาวบ้านที่สั่งสมสืบทอดกันมา อันเป็นศักยภาพหรือ
ความสามารถที่จะใช้แก้ปัญหา ปรับตัว เรียนรู้ และมีการสืบทอดไปสู่คนรุ่นใหม่หรือคือแก่นของ
ชุมชนที่จรรโลงชุมชนให้อยู่รอดจนถึงปัจจุบัน
มหาวิทยาลัยราชภัฏ
หมายถึงสถาบันอุดมศึกษา สังกัดกระทรวงศึกษาธิการในกลุ่มรัตนโกสินทร์ ประกอบด้วย
มหาวิทยาลัยราชภัฏต่างๆ 6 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา มหาวิทยาลัยราชภัฏ
ธนบุรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา มหาวิทยาลัยราชภัฏ
จันทรเกษม และมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
ทฤษฎีสื่อปฏิสัมพันธ์วัฒนธรรมของชาติ
หมายถึง หลักฐาน หรือสาระต่างๆ ที่มีอยู่ในธรรมชาติ หรือที่มนุษย์สร้างขึ้นอย่างดีงามและมี
คุณค่าเป็นที่ยอมรับของสังคม และมีการสืบต่อโดยการปฏิบัติหรือแสดงออกมาช้านาน หลักฐานหรือ
สาระเหล่านี้มีการเกี่ยวพันกันอย่างเป็นระบบ และแสดงถึงวัฒนธรรมของชาติ สื่อปฏิสัมพันธ์
วัฒนธรรมของชาติตามแนวพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เน้น
การทำนุบำรุงรักษาด้วยการรวบรวมเผยแพร่ และพัฒนา หลักฐานหรือสาระทั้ง 7 ประเภท
1. สถานที่สำคัญ ประกอบด้วย แหล่งโบราณคดี สถานที่สำคัญทางศาสนา
สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ แหล่งท่องเที่ยว แหล่งที่มาแห่งการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม
และแหล่งธรรมชาติ
2. บุคคลสำคัญและปราชญ์ชาวบ้าน ประกอบด้วย พระมหากษัตริย์ เจ้าผู้ครองนคร
วีรบุรุษ บุคคลสำคัญด้านวัฒนธรรม ผู้นำทางศาสนา ผู้นำท้องถิ่น และปราชญ์ชาวบ้าน
5
3. วิถีชีวิต ประกอบด้วย ประเพณีท้องถิ่น พิธีกรรม ความเชื่อ การละเล่น
พื้นบ้าน ตำนานและนิทาน และกลุ่มชาติพันธุ์
4. ภูมิปัญญา ประกอบด้วย ภูมิปัญญาด้านการเกษตร ด้านสุขภาพอนามัย และ
ด้านเทคโนโลยีพื้นบ้าน
5. ของดีของท้องถิ่น ประกอบด้วย อาหาร (อาหารคาว อาหารหวาน ผัก ผลไม้
การถนอมอาหาร) เครื่องนุ่งห่ม เครื่องประดับ และหัตถกรรม
6. เอกสารสำคัญ ประกอบด้วย เอกสารสำคัญ สมุดไทย สมุดข่อย หนังสือบุด
พับสา จารึกใบลาน และภาพเขียนสี
7. ธรรมชาติวิทยา ประกอบด้วย ซากใบไม้และพืชที่ทับถมกัน สัตว์เลี้ยงลูกด้วย
นม นก แมลง สัตว์ครึ่งบก ครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน ปลา สัตว์ทะเล แร่ธาตุ หิน ป่าไม้ น้ำมันและก๊าซ
ธรรมชาติ สมุนไพรพื้นบ้านและพืชเศรษฐกิจ
ระดับที่ปรากฏ
หมายถึง ระดับที่มีรูปแบบและเนื้อหาของข้อมูลท้องถิ่นปรากฏอยู่จริงในเว็บไซต์ฐานข้อมูล
ท้องถิ่นมหาวิทยาลัยราชภัฏ
ระดับที่ควรมี
หมายถึง ระดับที่ควรมีรูปแบบและเนื้อหาของข้อมูลท้องถิ่นปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ฐานข้อมูล
ท้องถิ่นมหาวิทยาลัยราชภัฏ
ระดับความเหมาะสม
หมายถึง ระดับที่รูปแบบและเนื้อหาของข้อมูลท้องถิ่นมีความเหมาะสมที่จะปรากฏในเว็บไซต์
ฐานข้อมูลท้องถิ่นมหาวิทยาลัยราชภัฏ
ระดับความเป็นไปได้
หมายถึง ระดับที่รูปแบบและเนื้อหาของข้อมูลท้องถิ่นมีความเป็นไปได้ที่จะปรากฏในเว็บไซต์
ฐานข้อมูลท้องถิ่นมหาวิทยาลัยราชภัฏจริง
ขอบเขตการวิจัย
1. ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม ได้แก่
1.1 ผู้อำนวยการสำนักศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มรัตนโกสินทร์
1.2 ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่ม
รัตนโกสินทร์
1.3 ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มรัตนโกสินทร์
6
1.4 อาจารย์ผู้สอนในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลท้องถิ่นมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่ม
รัตนโกสินทร์
1.5 ผู้จัดทำเว็บไซต์ฐานข้อมูลท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏที่มีการจัดทำเว็บไซต์
ฐานข้อมูลท้องถิ่น
1.6 นักศึกษาระดับปริญญาโทสาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาและสาขาบรรณารักษศาสตร์
และสารสนเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มรัตนโกสินทร์
2. การศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษารูปแบบและเนื้อหาเว็บไซต์ฐานข้อมูลท้องถิ่นมหาวิทยาลัยราชภัฏ
ตามแนวพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จำแนกเป็น 7 ด้าน คือ
2.1 สถานที่สำคัญ
2.2 บุคคลสำคัญและปราชญ์ชาวบ้าน
2.3 วิถีชีวิต
2.4 ภูมิปัญญา
2.5 ของดีของท้องถิ่น
2.6 เอกสารสำคัญ
2.7 ธรรมชาติวิทยา
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย
1. ทราบถึงความต้องการรูปแบบและเนื้อหาของเว็บไซต์ฐานข้อมูลท้องถิ่นของ
มหาวิทยาลัยราชภัฏ
2. ได้แนวทางในการปรับปรุงและพัฒนารูปแบบเว็บไซต์ฐานข้อมูลท้องถิ่นของ
มหาวิทยาลัยราชภัฏที่พึงประสงค์
3. ผลการวิจัยสามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับผู้จัดทำเว็บไซต์ เพื่อเป็นแนวทางที่จะ
นำไปใช้ในการพัฒนารูปแบบเว็บไซต์ฐานข้อมูลท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏให้ตรงกับความ
ต้องการของผู้ใช้บริการ
7
กรอบแนวคิดในการวิจัย
ผู้วิจัยได้ทำการวิจัยเรื่องรูปแบบเว็บไซต์ฐานข้อมูลท้องถิ่นมหาวิทยาลัยราชภัฏโดยมี
กรอบแนวคิดในการทำการวิจัย ดังนี้
ฐานข้อมูลท้องถิ่น
1. เว็บไซต์ เว็บเพจ และโฮมเพจ (กิดานันท์ มลิทอง, 2542) โดยทั่วไป
แล้วแต่ละเว็บไซต์จะมีโฮมเพจ หรือหน้าต้อนรับ ซึ่งปรากฏเป็นหน้าแรกเมื่อเปิด
เว็บไซต์นั้นขึ้นมา เปรียบเสมือนกับสารบัญและคำนำ ที่เจ้าของเว็บไซต์สร้างขึ้น
เพื่อใช้ประชาสัมพันธ์องค์กรของตนว่าให้บริการในสิ่งใดบ้าง
2. แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนาเว็บไซต์ (Marry Haggard, 2000)
ได้แก่ แนวทางในการพัฒนาเว็บไซต์ แกนหลักของการพัฒนาเว็บไซต์
กระบวนการพัฒนาเว็บไซต์ การพัฒนาเว็บไซต์ การออกแบบและการสร้าง
เว็บไซต์ ปัญหาในการพัฒนาเว็บไซต์ การวางแผนออกแบบเนื้อหา กำหนดว่า
ข้อความที่เราจะสื่อสารคืออะไร การพิจารณาถึงการนำเสนอเนื้อหาของเว็บไซต์
3. แนวคิดทฤษฎีของการออกแบบเว็บเพจ (Clement Mok ) ประกอบด้วย
Definition Architecture Design Implementation (กิดานันท์ มลิทอง, 2542) การ
ออกแบบเว็บประกอบด้วย ขนาดเว็บเพจ การจัดหน้า พื้นหลัง ศิลปะการใช้
ตัวพิมพ์
4. รูปแบบเว็บไซต์ฐานข้อมูลท้องถิ่นมหาวิทยาลัยราชภัฏที่คัดสรร
รูปแบบเว็บไซต์
ฐานข้อมูลท้องถิ่น
มหาวิทยาลัยราชภัฏ
- เนื้อหาเว็บไซต์
- รูปแบบเว็บไซต์
แผนภูมิที่1 กรอบแนวคิดทางการวิจัย
ตัวแปรที่น่าจะมีอิทธิพลต่อรูปแบบเว็บไซต์
1. ระดับที่ปรากฏและระดับที่ควรมี
2. ระดับความเหมาะสมและระดับความเป็นไปได้
ทฤษฎีสื่อปฏิสัมพันธ์วัฒนธรรมของชาติ
1. สถานที่สำคัญ
2. บุคคลสำคัญและปราชญ์ชาวบ้าน
3. วิถีชีวิต
4. ภูมิปัญญา
5. ของดีของท้องถิ่น
6. เอกสารสำคัญ
7. ธรรมชาติวิทยา
8
บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบเว็บไซต์ฐานข้อมูล
ท้องถิ่นมหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยนำเสนอผลของการศึกษาไว้ 3 ตอน ดังนี้
ตอนที่ 1 ข้อมูลท้องถิ่น
1. ภูมิปัญญาท้องถิ่น
1.1 ความหมายของภูมิปัญญาท้องถิ่น
1.2 ความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่น
1.3 ประเภทของภูมิปัญญาท้องถิ่น
1.4 ลักษณะสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่น
1.5 แนวคิดเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น
1.6 หลักการและทฤษฎีเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น
1.7 สภาพทั่วไปของภูมิปัญญาท้องถิ่นในปัจจุบัน
2. ทฤษฎีสื่อปฏิสัมพันธ์วัฒนธรรมของชาติ
ตอนที่ 2 ฐานข้อมูลท้องถิ่น
1. เว็บไซต์ เว็บเพจ และโฮมเพจ
2. แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนาเว็บไซต์
3. แนวคิดทฤษฎีของการออกแบบเว็บเพจ
4. รูปแบบเว็บไซต์ฐานข้อมูลท้องถิ่นมหาวิทยาลัยราชภัฏ
ตอนที่ 3 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
1. งานวิจัยในประเทศ
2. งานวิจัยต่างประเทศ
9
ตอนที่ 1 ข้อมูลท้องถิ่น
1. ภูมิปัญญาท้องถิ่น
1.1 ความหมายของภูมิปัญญาท้องถิ่น
คำว่า ภูมิปัญญา ตรงกับคำศัพท์ภาษาอังกฤษว่า wisdom ซึ่งมีความหมายว่า
ความรู้ ความสามารถ ความเชื่อ ความสามารถทางพฤติกรรม และความสามารถในการแก้ไขปัญหา
ของมนุษย์ ส่วนคำว่า ท้องถิ่น (Local) หมายถึง ท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่งโดยเฉพาะ ไม่สามารถกำหนด
ได้ว่ามีขนาดของพื้นที่หรือจำนวนประชากรหรือสิ่งต่างๆ ได้ว่าเป็นเท่าใด ดังนั้น ภูมิปัญญาท้องถิ่น
(Local wisdom) หรือภูมิปัญญาชาวบ้าน (Folk wisdom) หรือ ภูมิปัญญาไทย (Thai wisdom) มี
นักวิชาการได้ให้ความหมายไว้แตกต่างกันดังนี้
สุดารัตน์ ชาญเลชา (2545 : 72) กล่าวว่าสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยาม
บรมราชกุมารี ทรงมีแนวคิดในการรวบรวม พัฒนา และเผยแพร่ โดยเน้นการทำนุบำรุงรักษาด้วยการ
รวบรวมเผยแพร่ และพัฒนา หลักฐานหรือเอกสารทั้ง 7 ประเภท คือ สถานที่สำคัญ บุคคลสำคัญ
และปราชญ์ชาวบ้าน วิถีชีวิต ภูมิปัญญา ของดีของท้องถิ่น เอกสารสำคัญ ธรรมชาติวิทยา
เสรี พงศ์พิศ (2529 : 145) กล่าวว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือภูมิปัญญาชาวบ้าน คือ
ทุกสิ่งทุกอย่างที่ชาวบ้านคิดได้เอง ที่นำมาใช้ในการแก้ปัญหาเป็นสติปัญญาหรือองค์ความรู้ทั้งหมด
ของชาวบ้านทั้งกว้าง ทั้งลึก ที่ชาวบ้านสามารถคิดเอง ทำเอง โดยอาศัยศักยภาพที่มีอยู่แก้ปัญหาการ
ดำเนินชีวิตในท้องถิ่นได้อย่างสมสมัย
รัตนะ บัวสนธิ์ (2535 : 9) ให้ทัศนะว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือภูมิปัญญาชาวบ้าน
คือ กระบวนทัศน์ของบุคคลที่มีต่อตนเอง ต่อโลก และสิ่งแวดล้อมที่ได้รับการถ่ายทอดสั่งสมสืบเนื่อง
กันมา ปรับปนเข้ากับบริบททางสังคมที่เปลี่ยนแปลงแต่ละสมัย โดยสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างสงบสุข
เสน่ห์ จามริก (2539 : 6-7) ได้ให้ความเห็นไว้ว่าภูมิปัญญาชาวบ้าน ภูมิปัญญา
ไทยไม่ใช่เรื่องชาตินิยม ไม่ใช่กลับไปหาอดีต แต่หมายถึงการแสวงหามิติที่กว้างขวางโดยศึกษา
ประสบการณ์จากประวัติศาสตร์ด้วยกันว่า “ภูมิปัญญาไทย” นั้น ด้านหนึ่งนอกจากจะเป็นเรื่องพื้นภูมิ
ธรรมดาแล้วยังหมายถึงศักยภาพในการประสานความรู้ใหม่ๆ มาใช้ประโยชน์ด้วย ซึ่งเอื้ออำนวยให้
เกิดทางเลือกใหม่ที่มีลักษณะสากลและมีลักษณะเฉพาะของเราเอง
กองวิจัยทางการศึกษา (2540 ก. : 3) ได้ให้ความเห็นไว้ว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่น
หมายถึง ความรู้และประสบการณ์ทั้งหลายของชาวบ้านในท้องถิ่นที่ใช้แก้ปัญหา หรือดำเนินชีวิต โดย
ได้รับการถ่ายทอดกลั่นกรองกันมายาวนาน
10
กองวิจัยทางการศึกษา (2540 ข. : 4) ได้ให้ความเห็นไว้ว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่น
หรือภูมิปัญญาชาวบ้าน หมายถึง ความรู้และประสบการณ์ทั้งหลายของชาวบ้านที่ใช้แก้ปัญหา หรือ
ดำเนินชีวิต โดยได้รับการถ่ายทอดสั่งสมกันมาผ่านกระบวนการพัฒนาให้เหมาะสมกับกาลสมัย
ธวัช ปุณโณธก (2531 : 40) กล่าวว่า ภูมิปัญญาชาวบ้าน หมายถึง ความรอบรู้
ของชาวบ้านที่เรียนรู้จากประสบการณ์สืบต่อกันมาทั้งทางตรงและทางอ้อม คือ ประสบด้วยตนเอง
หรือเรียนรู้จากผู้ใหญ่ หรือความรู้ที่สะสมต่อกันมา ภูมิปัญญาไม่ได้หมายถึงแต่ในอดีต แต่หมายถึง
ศักยภาพในการสานความรู้ใหม่ๆ นั่นคือ ภูมิปัญญายุคหนึ่งสมัยหนึ่งย่อมมีการเปลี่ยนแปลงไปตาม
การพัฒนาความรู้ของสังคม
ประเวศ วะสี (2534 : 82) กล่าวว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่น หมายถึง ความรู้ ความคิด
ความเชื่อ ความสัมพันธ์ที่ท้องถิ่นได้สะสม ถ่ายทอด ปรับปรุงสืบต่อกันมา ปรากฏเป็นความสามารถ
วิธีการ เครื่องมือ สามารถใช้ควบคุมสังคม แก้ปัญหาหรืออำนวยความสะดวกแก่บุคคลและท้องถิ่นโดย
ตลอดมา
เอกวิทย์ ณ ถลาง (2540 : 11) กล่าวว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่น หมายถึง ความรู้
ความสามารถ ความคิด ความเชื่อ ความชัดเจนที่กลุ่มชนได้จากประสบการณ์ที่สั่งสมไว้ในการปรับตัว
และดำรงชีพอยู่ในระบบนิเวศน์ หรือสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมทางสังคม วัฒนธรรม
ที่ได้มีการพัฒนาสืบสานกันมา
จากความหมายของภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่นักวิชาการได้ให้ไว้ข้างต้น สามารถ
สรุปได้ว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่น หมายถึง องค์ความรู้ของชาวบ้านที่สะสมจากประสบการณ์และถ่ายทอด
สืบต่อกันมาจนเป็นมรดกของชาติที่นำมาพัฒนาเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาในการดำเนินชีวิต
1.2 ความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่น
ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นเรื่องที่มีความสำคัญต่อชีวิตของชาวบ้านในท้องถิ่น
นักวิชาการหลายท่านได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่นไว้ดังนี้
สำเนียง สร้อยนาคพงษ์ ( 2535 : 25-26) กล่าวว่า ภูมิปัญญาเป็นเรื่องที่สั่งสมกัน
มาแต่อดีตและเป็นเรื่องของการจัดความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน คนกับธรรมชาติแวดล้อม คนกับ
สิ่งเหนือธรรมชาติ โดยผ่านกระบวนการทางจารีตประเพณี วิถีชีวิต การทำมาหากินและพิธีกรรมต่างๆ
ทุกอย่าง เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างความสัมพันธ์เหล่านี้ เป้าหมายก็คือเพื่อให้เกิดความสงบสุข
ทั้งในส่วนที่เป็นชุมชนหมู่บ้านและในส่วนที่เป็นตัวปัจเจกชนของชาวบ้านเอง การฟื้นฟูศักยภาพของ
ชุมชนเพื่อนำไปสู่การพึ่งตนเองของชุมชนนั้นมิได้จำกัดขอบเขตไว้เฉพาะการพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจ
หากแต่ครอบคลุมถึงมิติแห่งการพึ่งตนเองทางด้านวัฒนธรรม ประเพณี และสติปัญญาหรือภูมิปัญญา
11
ของชุมชน การจัดกิจกรรมต้องควบคู่กันไปเพื่อให้มีศูนย์กลาง การเสริมสร้างภูมิปัญญาของชุมชนให้
เป็นภูมิต้านทานต่อกระแสแห่งการครอบงำที่เข้ามาทำลายล้างระบบการพึ่งตนเองของชุมชนจาก
สังคมภายนอก
วิชัย ตันศิริ (2536 : 5) กล่าวว่า มนุษย์จัดระบบการเรียนรู้ของสมาชิกในสังคม
ด้วยสติปัญญาอันล้ำเลิศของมนุษย์ สังคมในยุคต่างๆ ได้สร้างขนบธรรมเนียม ประเพณี แนวประพฤติ
ปฏิบัติ วิถีชีวิต และทักษะของการหาเลี้ยงชีพตลอดจนความเชื่อถือทางศาสนาเพื่อสั่งสอนเยาวชน
เพื่อสืบทอดวัฒนธรรมของแต่ละสังคม กระบวนการเรียนรู้ของคนในสังคมสมัยก่อนจึงแทรกซึมอยู่
กับวิถีชีวิตประจำวัน และสอดแทรกในพิธีการต่างๆ เช่น พิธีการโกนจุก พิธีการสมรส พิธีการ
บรรพชา พิธีสงกรานต์ พิธีกรรมทางศาสนาและพิธีงานศพ เป็นแนวประพฤติปฏิบัติที่ผู้ใหญ่จงใจ
สั่งสอนผู้น้อยและเป็นพลังจิตที่หลอมรวมผู้คนในสังคมให้อยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข
เอนก นาคะบุตร (2536 : 82-83) กล่าวว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่นมีความสำคัญต่อการ
พัฒนาท้องถิ่น ที่อาศัยภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นองค์ประกอบมีลักษณะ ดังนี้
1) มีความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เอื้ออำนวยชี้นำ และเป็นทางเลือกที่
เหมาะสมต่อสภาวะท้องถิ่นและเงื่อนไขการเปลี่ยนแปลงจากภายนอกที่เข้ามากระทบ
2) ความรู้ ภูมิปัญญา และระบบคุณค่าต่างๆ ได้รับการประยุกต์ และ
สืบสานอย่างต่อเนื่อง โดยสมาชิกของชุมชน ด้วยกระบวนการเรียนรู้หลายรูปลักษณะ ผ่านประเพณี
พิธีกรรม ตัวบุคคล และการปฏิบัติซ้ำ มีการเลือกสรรและผสมผสานกับความรู้ที่เข้ามาจากภายนอก
3) ผู้นำ ปัญญาชนชาวบ้าน นักเทคนิคพื้นบ้าน เครือข่ายของกลุ่มบุคคล
และองค์กรชุมชนในรูปต่างๆ ซึ่งมีบทบาทในการพัฒนาการพิทักษ์ปกป้องชุมชนและขยายแนวร่วม
ในการพัฒนาชุมชน
ทัศนีย์ ทองไชย (2542 : 124) ได้กล่าวถึงความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่นไว้
ดังนี้
1. ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นเรื่องที่สั่งสมกันมาแต่อดีต
2. ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นเรื่องของการจัดความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน
คนกับธรรมชาติแวดล้อม และคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ
3. ภูมิปัญญาท้องถิ่นจะถ่ายทอดโดยผ่านกระบวนการทางจารีตประเพณี
วิถีชีวิตของการทำมาหากินและพิธีกรรมต่างๆ ทำให้เกิดความสมดุลระหว่างความสัมพันธ์ของสิ่ง
ต่างๆ
4. ภูมิปัญญาท้องถิ่นทำให้เกิดความสงบสุขทั้งในชุมชน หมู่บ้าน หรือใน
ส่วนตัวของชาวบ้านเอง
12
5. ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทำให้คนในชุมชนพึ่งตนเองได้ไม่ว่าจะเป็นทางด้าน
เศรษฐกิจ วัฒนธรรม ประเพณี หรือภูมิปัญญาของชุมชน ในการลดการพึ่งพาตนเองจากสังคม
ภายนอก
6. ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการชุมชนของตนแล้ว
จะทำให้คนในชุมชนนั้นๆ ทราบถึงความต้องการของตนเอง จะเป็นการทำให้บุคคลเหล่านั้นเข้าใจ
ตนเองและเป็นการปลูกสำนึกในการรับรู้ในคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่น
7. นโยบายการศึกษา หลักสูตรได้เปิดโอกาสให้ท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วม
ในการจัดทำหลักสูตรในการพัฒนาหลักสูตร โดยการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาส่งเสริมการเรียนการ
สอน และพัฒนาเนื้อหาสาระ กระบวนการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้ครอบคลุมความรู้
เป็นวิทยาการสมัยใหม่
8. ภูมิปัญญาท้องถิ่นทำให้ผู้เรียนสามารถพัฒนา และนำเทคโนโลยีที่
เหมาะสมมาใช้ ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงการเรียนรู้ระหว่างภาคทฤษฎี ด้วยการนำเอาวัฒนธรรม และ
เทคโนโลยีเข้ามาใช้ เป็นการถ่ายโยงความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นกับความรู้สมัยใหม่
9. ในภาวะปัจจุบันโลกเข้าสู่ยุคเทคโนโลยีแห่งข่าวสาร ผู้มีหน้าที่จัด
การศึกษาจะต้องมีความสามารถที่จะกล้าเผชิญกับสิ่งต่างๆ ที่จะทำให้ผู้เรียนได้รับการบริการทาง
การศึกษาอย่างสมบูรณ์ สามารถทำงานกับเทคโนโลยีได้บนพื้นฐานของภูมิปัญญาท้องถิ่น เพราะอดีต
ที่ผ่านมามุ่งให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจที่เน้นด้านปริมาณของผลผลิตเพียงอย่างเดียว จนลืมไปว่าผู้ที่
อยู่เบื้องหลังแห่งความสำเร็จคือ ภูมิปัญญาของคนในสังคมหรือท้องถิ่นนั้นเอง
ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีความเจริญทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และ
วัฒนธรรมมาเป็นเวลานาน ซึ่งความเจริญต่างๆ เหล่านั้นล้วนเกิดจากการที่ประเทศไทยมีภูมิปัญญา
ท้องถิ่น หรือปราชญ์ชาวบ้านอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ปัจจุบันกระแสความเป็นตะวันตกได้หลั่งไหล
เข้าสู่ประเทศไทยอย่างรุนแรง และรวดเร็ว จนทำให้คนไทยส่วนใหญ่หันไปนิยมและให้ความสำคัญ
กับความเป็นตะวันตก จนลืมสิ่งดีๆ ที่มีคุณค่าของไทย และประเทศไทยก็ต้องเข้าไปอยู่ในวังวนของ
การแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจตามแบบตะวันตกในที่สุด ทั้งที่การแข่งขันอย่างรุนแรงในระบบการค้า
เสรี ก็คือลักษณะของการที่ “มือใครยาวสาวได้สาวเอา” ใครอ่อนแอกว่าก็เสียเปรียบ และประเทศไทย
ก็เป็นหนึ่งในผู้เสียเปรียบจนต้องประสบปัญหาต่างๆ มากมาย
แต่บัดนี้คนไทยจำนวนมากได้ตระหนักรู้แล้วว่า ความรู้จากภูมิปัญญาไทย
สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับประเทศไทยได้ แม้แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ยังทรงเคยมี
พระราชดำรัสแก่นักพัฒนาทั้งหลายว่า “ ประชาชนนั่นแหละ เขามีความรู้ เขาทำงานมาหลายชั่วคน
แล้ว เขาทำกันอย่างดี เขามีความเฉลียวฉลาด เขารู้ว่าตรงไหนควรทำกสิกรรม เขารู้ว่าตรงไหนควรเก็บ
รักษาไว้ แต่ที่เสียไปก็เพราะพวกไม่รู้เรื่อง ไม่ได้ทำนานแล้ว เลยทำให้ลืมว่า ชีวิตมันเป็นไปได้โดยการ
13
ทำกสิกรรมที่ถูกต้อง” ซึ่งพระราชดำรัสดังกล่าว ทรงต้องการเตือนให้นักพัฒนาหันหน้ามาให้การ
ยอมรับนับถือภูมิปัญญาท้องถิ่น ก่อนที่จะคิดอ่านเข้าไปช่วยเหลือชนบท ( เดลินิวส์, 2544 : 10)
จะเห็นว่าภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นองค์ความรู้ของชาวบ้านจำนวนมากที่สั่งสมกันมา
แต่อดีตและได้มีการพัฒนาสืบทอดต่อกันมาถึงปัจจุบัน ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำเนินชีวิต
และความอยู่รอดของผู้คนในท้องถิ่น และสามารถนำความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ได้มาพัฒนา
ท้องถิ่นเพื่อเป็นฐานแห่งการปรับเปลี่ยนและใช้ในการแก้ไขปัญหาต่างๆ อันจะนำมาซึ่งประโยชน์และ
ลดปัญหาในสังคม ชุมชนและหมู่บ้าน อีกทั้งยังเป็นความภาคภูมิใจของคนไทยและประเทศในมรดก
วัฒนธรรมอันล้ำค่าของชุมชน
1.3 ประเภทของภูมิปัญญาท้องถิ่น
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (2536 : 23) ได้จำแนกภูมิปัญญา
ท้องถิ่นออกเป็น 5 ด้าน คือ
1. ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการเกษตร หมายถึง การผสมผสานการเกษตร
และเทคโนโลยีการพัฒนาบนพื้นฐานคุณค่าดั้งเดิม ซึ่งคนสามารถพึ่งพาตนเองในกรณีต่างๆ ได้ใน
เบื้องต้น เช่น การทำการเกษตรแบบผสมผสาน การแก้ปัญหาการเกษตรด้านการตลาด การแก้ปัญหา
ด้านการผลิต เช่น การแก้ไขโรคแมลง และการรู้จักปรับใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม
2. ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการผลิตและการบริโภค คือ การรู้จัก
ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ในการแปรรูปผลผลิต เพื่อชะลอการนำเข้าตลาด เพื่อการแก้ปัญหา
ด้านบริโภคอย่างปลอดภัย ประหยัด และเป็นธรรม อันเป็นกระบวนการที่จะให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถ
พึ่งตนเองทางเศรษฐกิจได้ เช่น การใช้เครื่องมือ และครกตำข้าว
3. ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการรักษาโรคและการป้องกันโรค โดยการ
สืบทอดความรู้ดั้งเดิมและรู้จักประยุกต์ความเชื่อของท้องถิ่น เพื่อให้ชุมชนสามารถพึ่งตนเองด้าน
สุขภาพอนามัย เช่น หมอธรรม และผู้รอบรู้เรื่องสมุนไพร
4. ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสิ่งแวดล้อม หมายถึง การอนุรักษ์ทั้งทางด้าน
ธรรมชาติและศิลปวัฒนธรรม การอนุรักษ์ป่าไม้ การรักษา การถ่ายทอดความรู้ดั้งเดิมด้านการอนุรักษ์
เช่น การเคารพแม่น้ำ พืชพันธุ์ธัญญาหาร และโบราณวัตถุ
5. ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการจัดการ สวัสดิการ และธุรกิจชุมชน ให้
พิจารณาด้านคุณธรรม จริยธรรม เป็นหลัก เช่น กองทุนต่างๆ ในชุมชน สหบาลข้าว (ธนาคารข้าว)
สหกรณ์ร้านค้า กลุ่มสัจจะออมทรัพย์ การจัดการผลิต กลุ่มแม่บ้าน และเยาวชน
14
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2544 : 8-9) ได้กำหนดภูมิปัญญา
ไทยด้านต่างๆ ไว้ 9 ด้าน ได้แก่
1. ด้านเกษตรกรรม หมายถึง ความสามารถในการผสมผสาน องค์ความรู้
ทักษะและเทคนิคด้านการเกษตรกับเทคโนโลยี โดยการพัฒนาบนพื้นฐานคุณค่าดั้งเดิม ซึ่งคนสามารถ
พึ่งพาตนเองในภาวการณ์ต่างๆ ได้ เช่น การทำเกษตรแบบผสมผสาน การแก้ปัญหาการเกษตรด้าน
การตลาด การแก้ปัญหาด้านการผลิต และการรู้จักปรับใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับการเกษตร เป็นต้น
2. ด้านอุตสาหกรรมและหัตถกรรม ได้แก่ การรู้จักประยุกต์ใช้เทคโนโลยี
สมัยใหม่ในการแปรรูปผลผลิตเพื่อการบริโภคอย่างปลอดภัย ประหยัด และเป็นธรรม อันเป็น
กระบวนการให้ชุมชนท้องถิ่น สามารถพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจได้ ตลอดทั้งการผลิตและการจำหน่าย
ผลผลิตทางหัตถกรรม เช่น การรวมกลุ่มของกลุ่มโรงงานยางพารา กลุ่มโรงสี กลุ่มหัตถกรรม เป็นต้น
3. ด้านการแพทย์แผนไทย หมายถึง ความสามารถในการจัดการป้องกัน
และรักษาสุขภาพของคนในชุมชน โดยเน้นให้ชุมชนสามารถพึ่งตนเองทางด้านสุขภาพและอนามัยได้
4. ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้แก่
ความสามารถเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งการอนุรักษ์ การพัฒนา การใช้
ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน เช่น การบวชป่า การสืบชะตา
แม่น้ำ การทำแนวปะการังเทียม การอนุรักษ์ป่าชายเลน การจัดการป่าต้นน้ำ และป่าชุมชน เป็นต้น
5. ด้านกองทุนและธุรกิจชุมชน หมายถึง ความสามารถในด้านการสะสม
และบริหารกองทุนและสวัสดิการชุมชน ทั้งที่เป็นเงินตราและโภคทรัพย์ เพื่อเสริมสร้างความมั่นคง
ให้แก่ชีวิต ความเป็นอยู่ของสมาชิกในกลุ่ม เช่น การจัดการกองทุนของชุมชนในรูปของสหกรณ์
ออมทรัพย์ รวมถึงความสามารถในการจัดสวัสดิการในการประกันคุณภาพชีวิตของคนให้เกิดความ
มั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม โดยการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลของชุมชน
และการจัดระบบสวัสดิการบริการชุมชน
6. ด้านศิลปกรรม ได้แก่ ความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงานทางด้าน
ศิลปะสาขาต่างๆ เช่น จิตรกรรม ประติมากรรม นาฏศิลป์ ดนตรี ทัศนศิลป์ คีตศิลป์ การละเล่น
พื้นบ้าน และนันทนาการ
7. ด้านภาษาและวรรณกรรม ได้แก่ ความสามารถในการอนุรักษ์และ
สร้างสรรค์ผลงานด้านภาษาวรรณกรรมท้องถิ่นและการจัดทำสารานุกรมภาษาถิ่น การปริวรรต
หนังสือโบราณ การฟื้นฟูการเรียนการสอนภาษาถิ่นของท้องถิ่นต่างๆ
8. ด้านปรัชญา ศาสนา และประเพณี ได้แก่ ความสามารถในการประยุกต์
และปรับใช้หลักธรรม คำสอนทางศาสนา ปรัชญาความเชื่อและประเพณีดั้งเดิมที่มีคุณค่าให้เหมาะสม
15
ต่อบริบททางเศรษฐกิจ เช่น การถ่ายทอดวรรณกรรม คำสอน การบวชป่า การประยุกต์ประเพณี
บุญประทายข้าว
9. ด้านโภชนาการ ได้แก่ ความสามารถในการเลือกสรร ประดิษฐ์และ
ปรุงแต่งอาหารและยาให้เหมาะสมกับความต้องการของร่างกายในสภาวการณ์ต่างๆ ตลอดจนผลิต
เป็นสินค้าและบริการส่งออกที่ได้รับความนิยมแพร่หลายมาก รวมถึงการขยายคุณค่าเพิ่มของ
ทรัพยากรด้วย
รุ่ง แก้วแดง (2541 : 208-209) ได้จำแนกภูมิปัญญาท้องถิ่นออกเป็น 11 สาขา
ดังนี้
1. สาขาเกษตรกรรม หมายถึง ความสามารถในการผสมผสานองค์ความรู้
ทักษะ และเทคนิคด้านการเกษตรกับเทคโนโลยีโดยการพัฒนาบนพื้นฐานคุณค่าดั้งเดิม ซึ่งคนสามารถ
พึ่งพาตนเองในภาวการณ์ต่างๆ ได้ เช่น การทำเกษตรแบบผสมผสาน การแก้ปัญหาการเกษตรด้าน
การตลาด การแก้ปัญหาด้านการผลิต การแก้ไขโรคและแมลง และการรู้จักปรับใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม
กับการเกษตร เป็นต้น
2. สาขาอุตสาหกรรมและหัตถกรรม (ด้านการผลิตและการบริโภค)
หมายถึง การรู้จักประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการแปรรูปผลผลิต เพื่อแก้ปัญหาด้านการบริโภค
อย่างปลอดภัย ประหยัด และเป็นธรรม อันเป็นกระบวนการให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถพึ่งตนเองทาง
เศรษฐกิจได้ ตลอดทั้งการผลิตและการจำหน่ายผลผลิตทางหัตถกรรม
3. สาขาการแพทย์แผนไทย หมายถึง ความสามารถในการจัดการป้องกัน
และรักษาสุขภาพของคนในชุมชน โดยเน้นให้ชุมชนสามารถพึ่งตนเองทางด้านสุขภาพและอนามัย
4. สาขาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งการอนุรักษ์
การพัฒนา การใช้ประโยชน์จากคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน
5. สาขากองทุนและธุรกิจชุมชน หมายถึง การจัดการด้านสมทบและ
บริการกองทุน ในการประกันคุณภาพชีวิตของคน ให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคม และ
วัฒนธรรม
6. สาขาศิลปกรรม หมายถึงความสามารถในการผลิตผลงานทางด้าน
ศิลปะสาขาต่างๆ เช่น จิตรกรรม ประติมากรรม วรรณกรรม ทัศนศิลป์ คีตศิลป์ เป็นต้น
7. สาขาการจัดการองค์กร หมายถึง ความสามารถในการบริหารจัดการ
ดำเนินงานขององค์กรชุมชนต่างๆ ให้สามารถพัฒนาและบริหารองค์กรของตนเองได้ตามบทบาท
หน้าที่ขององค์กร เช่น การจัดการองค์กรของกลุ่มแม่บ้าน เป็นต้น
16
8. สาขาภาษาและวรรณกรรม หมายถึงความสามารถในการผลิต
ผลงานเกี่ยวกับภาษา ทั้งภาษาถิ่น ภาษาโบราณ ภาษาไทย และการใช้ภาษา ตลอดทั้งด้านวรรณกรรม
ทุกประเภท
9. สาขาศาสนาและประเพณี หมายถึง ความสามารถในการประยุกต์และ
ปรับใช้หลักธรรม คำสอนทางศาสนา ความเชื่อ และประเพณีดั้งเดิมที่มีคุณค่าให้เหมาะสมต่อการ
ประพฤติปฏิบัติให้บังเกิดผลดีต่อบุคคลและสิ่งแวดล้อม เช่น การถ่ายทอดหลักธรรมทางศาสนา การ
บวชป่า การประยุกต์ประเพณีบุญประทายข้าว เป็นต้น
10. สาขากองทุนและสวัสดิการ หมายถึง การจัดการด้านสมทบและ
บริการกองทุนในการประกันคุณภาพชีวิตของคน ให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคม และ
วัฒนธรรม
11. สาขาการศึกษา หมายถึง ความสามารถในการถ่ายทอด การอบรมเลี้ยงดู
การบ่มเพาะ การสอนสั่ง การสร้างสื่อและอุปกรณ์ การวัดความสำเร็จ
ประกอบ ใจมั่น (2547 : 95-98) ได้ศึกษาข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นของ
มหาวิทยาลัยราชภัฏ พบว่ามหาวิทยาลัยราชภัฏแต่ละแห่งได้ดำเนินการรวบรวมข้อมูลของท้องถิ่นและ
ภูมิปัญญาท้องถิ่นในจำนวน 10 สาขา ในเขตพื้นที่ให้บริการ แต่ละสาขาดังนี้
1. สาขาเกษตรกรรม หมายถึง ความสามารถในการผสมผสานองค์ความรู้
ทักษะ และเทคนิคด้านการเกษตรกับเทคโนโลยี โดยการพัฒนาบนพื้นฐานคุณค่าดั้งเดิม ซึ่งคน
สามารถพึ่งพาตนเองในสภาวการณ์ต่างๆ ได้ เช่น การทำการเกษตรแบบผสมผสาน การแก้ปัญหา
การเกษตรด้านการตลาด การแก้ปัญหาด้านการผลิต (เช่น การแก้ไขโรคและแมลง) และการรู้จักปรับ
ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับการเกษตร เป็นต้น
2. สาขาอุตสาหกรรม และหัตถกรรม (ด้านการผลิตและการบริโภค)
หมายถึง การรู้จักประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการแปรรูปผลผลิต เพื่อชะลอการนำเข้าตลาด เพื่อ
แก้ปัญหาด้านการบริโภคอย่างปลอดภัย ประหยัด และเป็นธรรมอันเป็นขบวนการให้ชุมชนท้องถิ่น
สามารถพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจ ตลอดทั้งการผลิตและการจำหน่ายผลผลิตทางหัตถกรรม เช่น การ
รวบรวมกลุ่มของกลุ่มโรงงานยางพารา กลุ่มโรงสี กลุ่มหัตถกรรม เป็นต้น
3. สาขาการแพทย์แผนไทย หมายถึง ความสามารถในการจัดการป้องกัน
และรักษาสุขภาพของคนในชุมชน โดยเน้นให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองทางด้านสุขภาพและอนามัยได้
4. สาขาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม หมายถึง
ความสามารถเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งการอนุรักษ์ พัฒนาและใช้
ประโยชน์จากคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน
17
5. สาขากองทุนและธุรกิจชุมชน หมายถึง ความสามารถในด้านบริหาร
จัดการด้านการสะสมและบริหารกองทุน ธุรกิจในชุมชน ทั้งที่เป็นเงินตราและโภคทรัพย์เพื่อเสริม
ชีวิตความเป็นอยู่ของสมาชิกในชุมชน
6. สาขาศิลปกรรม หมายถึง ความสามารถในการผลิตผลงานทางด้าน
ศิลปะสาขาต่างๆ เช่น จิตรกรรม ประติมากรรม วรรณกรรม ทัศนศิลป์ คีตศิลป์ เป็นต้น
7. สาขาภาษาและวรรณกรรม หมายถึง ความสามารถผลิตผลงานเกี่ยวกับ
ด้านภาษา ทั้งภาษาถิ่น ภาษาโบราณ ภาษาไทย และการใช้ภาษา ตลอดทั้งด้านวรรณกรรมทุกประเภท
8. สาขาศาสนาและประเพณี หมายถึง ความสามารถประยุกต์ และปรับใช้
หลักธรรม คำสอนทางศาสนา ความเชื่อและประเพณีดั้งเดิมที่มีคุณค่าให้เหมาะสมต่อการประพฤติ
ปฏิบัติ ให้บังเกิดผลดีต่อบุคคลและสิ่งแวดล้อม เช่น การถ่ายทอดหลักธรรมทางศาสนา การบวชป่า
การประยุกต์ประเพณีบุญประทายข้าว เป็นต้น
9. โภชนาการ หมายถึง การรู้จักประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการ
แปรรูปผลผลิตเพื่อชะลอการนำเข้าตลาด เพื่อแก้ปัญหาด้านการโภชนาการอย่างปลอดภัย ประหยัด
และเป็นธรรมอันเป็นขบวนการที่จะให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจได้ เช่น การ
แปรรูปผลิตผลทางการเกษตร ให้สามารถบริโภคได้โดยตรง
10. องค์กรชุมชน หมายถึง ความสามารถในการบริหารจัดการดำเนินงาน
ด้านต่างๆ ทั้งขององค์กรชุมชน องค์กรทางศาสนา องค์กรทางการศึกษาตลอดทั้งองค์กรทางสังคม
อื่นๆ ในท้องถิ่น ด้านบริหารจัดการ ด้านการสะสมและบริหารกองทุน ธุรกิจในชุมชน ทั้งที่เป็น
เงินตราและโภคทรัพย์เพื่อเสริมชีวิตความเป็นอยู่ของสมาชิกในชุมชน
ประเภทของภูมิปัญญาท้องถิ่นนั้นได้มีหน่วยงานหรือบุคคลต่างๆ ได้ศึกษาและ
จำแนกประเภทไว้แตกต่างกัน ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้
1. ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการนำความรู้เดิมที่ถือปฏิบัติสืบทอดต่อกันมา ซึ่ง
เกิดจากการใช้สติปัญญาที่มีความเป็นเหตุเป็นผล มีการนำมาปรับใช้และได้กำหนดเป็นแบบแผนเพื่อ
สามารถใช้ในการบริหารจัดการด้านต่างๆ ขององค์กรและชุมชน
2. ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการผสมผสานความรู้ความสามารถนำเทคโนโลยี
ใหม่มาประยุกต์ใช้เพื่อแก้ปัญหาในด้านต่างๆ
3. ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านความสามารถในการศึกษา ความสามารถในสิ่งที่
มนุษย์แสดงออกเพื่อสนองความต้องการทางด้านร่างกาย ความสามารถเกี่ยวกับการจัดการ
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการจัดสวัสดิการ และความสามารถการผลิตผลงาน
เกี่ยวกับภาษา
18
1.4 ลักษณะสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่น
ภูมิปัญญาท้องถิ่นจำแนกได้ 2 ลักษณะ คือ
1. คติความเชื่อ อันเป็นลักษณะนามธรรม ได้แก่ ความคิดความเชื่อในรูป
ของศาสนา การดำเนินชีวิตของคนในสังคมนั้น ที่ทุกคนในสังคมนั้นยอมรับและถือปฏิบัติต่อๆ กันมา
2. วัตถุและประสบการณ์ในการประกอบอาชีพ การเล่าเรียน เช่น การที่
ชาวบ้านรู้จักวิธีการทำนา การไถนา เป็นต้น
ภูมิปัญญาท้องถิ่นจำแนกเป็น 2 ลักษณะ คือ
1. ลักษณะที่เป็นนามธรรม ได้แก่ ความคิด ความเชื่อ และคุณค่าปัจเจกชน
ซึ่งจะปรากฏในรูปของศาสนา พิธีกรรม นิทาน เพลง สุภาษิต การสั่งสอน เป็นต้น
2. ลักษณะที่เป็นวัตถุ ได้แก่ อุปกรณ์ เครื่องมือ สิ่งปลูกสร้าง อาชีพต่างๆ
เป็นต้น
ภูมิปัญญาชาวบ้านจำแนกได้เป็น 4 กลุ่ม คือ (อังกูล สมคะเนย์, 2535 : 37)
กลุ่มที่ 1 เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความคิด ความเชื่อ และหลักการที่เป็น
พื้นฐานขององค์แห่งความรู้ที่เกิดจากการสั่งสมถ่ายทอดกันมา
กลุ่มที่ 2 เป็นเรื่องของศิลปะ วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณี
กลุ่มท ี่ 3 เป็นเรื่องของการประกอบอาชีพในแต่ละท้องถิ่นที่ได้รับการ
พัฒนาให้เหมาะกับสมัย
กลุ่มที่ 4 เป็นเรื่องของแนวความคิด หลักปฏิบัติ และเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่
ชาวบ้านนำมาใช้ในชุมชน ซึ่งเป็นอิทธิพลของความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ลักษณะสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่น คือ (กองวิจัยทางการศึกษา, 2540 ก : 5)
1. มีวัฒนธรรมเป็นพื้นฐาน ไม่ใช่วิทยาศาสตร์
2. มีบูรณาการสูง
3. มีความเชื่อมโยงไปสู่นามธรรมที่ลึกซึ้งสูงส่ง
4. เน้นความสำคัญของจริยธรรมมากกว่าวัตถุธรรม
ภูมิปัญญากำหนดได้ 5 ลักษณะ คือ (กองวิจัยทางการศึกษา, 2542 : 11-12)
1. ภูมิปัญญาด้านความรู้ เป็นข้อมูล เป็นเนื้อหาสาระ เช่น ความรู้เกี่ยวกับ
ครอบครัว ความรู้เกี่ยวกับมนุษย์ เกี่ยวกับผู้หญิง ผู้ชาย และประเภทครอบครัว
2. ภูมิปัญญาด้านความเชื่อของสังคม โดยอาจยังไม่มีข้อพิสูจน์ยืนยันว่า
ถูกต้อง เช่น เรื่องนรก สวรรค์ ตายแล้วไปไหน เป็นต้น
3. ภูมิปัญญาด้านความสามารถ หรือแนวทางในการแก้ปัญหา หรือป้องกัน
ปัญหา เช่น ความสามารถในการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นในครอบครัว
19
4. ภูมิปัญญาด้านวัตถุ เช่น เรือนชานบ้านช่อง เครื่องใช้ไม้สอยในครอบครัว
เพื่อทำให้ครอบครัวมีความสะดวกสบายตามสภาพ
5. ภูมิปัญญาด้านพฤติกรรม เช่น การกระทำ ความประพฤติ การปฏิบัติตัว
ของคนในครอบครัว จนทำให้ครอบครัวดำรงอยู่ได้
ลักษณะสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่นนั้นได้มีนักวิชาการจำแนกไว้หลายลักษณะ
พอสรุปว่า ลักษณะสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่นแบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ
1. ด้านความคิด คติ ความเชื่อของสังคม หลักปฏิบัติ และเทคโนโลยี
สมัยใหม่ที่นำมาประยุกต์ใช้ให้ครอบครัวดำรงอยู่ได้
2. ด้านความรู้ความสามารถและการประกอบอาชีพในแต่ละท้องถิ่น
3. ด้านวัตถุ ได้แก่ อุปกรณ์ เครื่องมือต่างๆ ที่นำมาใช้เพื่อให้ครอบครัว
ดำรงอยู่ได้
4. ด้านศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณี
1.5 แนวคิดเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น
ความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่น ในสภาพปัจจุบันสภาวะของโลกเข้าสู่ยุค
เทคโนโลยีแห่งข่าวสาร ผู้ที่มีหน้าที่จัดการศึกษาต้องมีความสามารถในการท้าทายต่อการสวนกระแส
กล้าเผชิญกับสิ่งต่างๆ ที่จะทำให้ผู้เรียนได้รับบริการทางการศึกษาอย่างสมบูรณ์ สามารถทำงานกับ
เทคโนโลยีได้บนพื้นฐานของภูมิปัญญา เพราะในอดีตที่ผ่านมามุ่งให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจที่เน้น
ด้านปริมาณของผลผลิตเพียงอย่างเดียว จนลืมไปว่าผู้ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จนั่นคือ ภูมิปัญญาของ
คนในสังคมหรือท้องถิ่น (Brent, 1996 : 11-16)
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มิใช่เป็นการนำเอาภาคเกษตรกรรมในชนบทเพื่อไปสู่
ชีวิตที่ดีกว่าดังในเมืองและภาคธุรกิจ การพัฒนามนุษย์ต้องควบคู่ไปกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพ
สังคมและวัฒนธรรม การหวนกลับคืนสู่วัฒนธรรมและภูมิปัญญานั้น ทำให้รู้จักตัวเองและโลกของ
ตัวเองอย่างเท่าทัน (เสน่ห์ จามริก, 2532 : 20-32) คนที่รู้ปัญหาเท่านั้นจึงจะแก้ปัญหาได้ คนที่เข้าถึง
ธรรมจึงจะเห็นแสงสว่าง การที่คนในท้องถิ่นเป็นผู้มีภูมิปัญญาย่อมให้แสงสว่างแก่ชาวชนบท ดังนั้น
ภูมิปัญญาท้องถิ่นจึงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งที่ควรศึกษา เพราะการศึกษาเป็นบ่อเกิดแห่งปัญญา แสง
สว่างเสมอดังปัญญาไม่มี “พระอาทิตย์นั้นให้แสงสว่างเวลากลางวัน พระจันทร์ให้แสงสว่างเวลา
กลางคืน แต่ปัญญาส่องสว่างทั้งกลางวันและกลางคืน” และปัญญาพาตนให้พ้นผิด รู้จักคิดเหตุผลพ้น
ปัญหา ทำอะไรเหมาะเจาะเพราะปัญญา ช่วยรักษาปกครองเจ้าของมัน (บัวศรี ศรีสูง, 2534 : 48) ดังนั้น
ภูมิปัญญาท้องถิ่นจึงเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง
20
1.6 หลักการและทฤษฎีเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น
ภูมิปัญญา (Wisdom) นับเป็นความคิดทางสังคม (Social Thought) ที่สำคัญ
อย่างหนึ่งซึ่งสังคมขนาดใหญ่พอควร และดำรงอยู่ได้ยาวนานขนาดหนึ่ง ย่อมจะต้องมีด้วยกันทุก
สังคม สังคมไทยเป็นสังคมเก่าแก่สังคมหนึ่ง จึงปรากฏมีภูมิปัญญาเช่นนี้อยู่เป็นจำนวนมาก ภูมิปัญญา
เหล่านี้นอกจากจะแสดงความเป็นไทย เป็นเอกลักษณ์ไทยที่สำคัญอย่างหนึ่งแล้ว ยังเป็นเครื่องชี้ระดับ
ความเจริญของสังคมไทยที่เป็นมาในประวัติศาสตร์อีกด้วย โดยเฉพาะนับถึงช่วงที่วัฒนธรรม
ตะวันตกเริ่มไหลบ่าเข้าสู่ประเทศไทยอย่างหนักในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นๆ
ภูมิปัญญามักจะหมายถึงสิ่งที่เป็นนามธรรมส่วนยอดส่วนปลายสูงสุดของ
สถาบันสังคม (Social Institution) ซึ่งเป็นส่วนประกอบของวัฒนธรรมของแต่ละสังคม หากเราให้
ความหมายของสถาบันสังคมว่าหมายถึง แบบในการคิดกระทำเรื่องสำคัญ เช่นว่านั่นคือ ครอบครัว
การศึกษา ศาสนา เศรษฐกิจ การเมือง นันทนาการและศิลปะ ภาษาและการสื่อสาร การคมนาคม
ขนส่ง อนามัยและสาธารณสุข และวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เอ่ยชื่อเฉพาะที่สำคัญ ขยายความ
ต่อไปได้ว่า สถาบันสังคมด้านครอบครัว สถาบันสังคมด้านศาสนา หรือสถาบันสังคมด้านการศึกษา
คือ แบบแผนหรือระเบียบแบบแผนแบบฉบับ กฎเกณฑ์สำหรับมนุษย์กลุ่มหนึ่งหรือสังคมหนึ่ง (เช่น
คนไทย คนจีน คนญี่ปุ่น) จะเป็นแนวทางในการคิดถึงเรื่องนั้นๆ ปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องนั้น
เมื่อรวมสถาบันสังคมทั้งหมดในแต่ละสังคมเข้าด้วยกัน ผลรวมนั้นก็เรียกว่า
วัฒนธรรม (Culture) ของสังคมนั่นเอง
สถาบันสังคมนั้น เนื่องจากเป็นระเบียบแบบแผนดังกล่าวจึงไม่สามารถดำรงตน
อยู่ได้โดยตัวของมันเอง จะต้องดำรงอยู่ควบคู่กับกลุ่มคน ซึ่งทางวิชาการเรียกว่าองค์การทางสังคม
(Social Organization) แท้จริงแล้วองค์การทางสังคมนี้ก็ดำรงตนเป็นเอกเทศไม่ได้ จำต้องมีสถาบัน
สังคมเป็นองค์ประกอบที่เหนียวแน่น สถาบันสังคมและองค์การสังคมเมื่อผนึกเข้าด้วยกันเป็นหน่วย
รวมอันเดียวกันแล้ว มีชื่อเรียกว่า โครงสร้างทางสังคม (Social Organization) แท้จริงแล้วองค์การทาง
สังคมนี้ก็ดำรงตนเป็นเอกเทศไม่ได้ จำต้องมีสถาบันสังคมเป็นองค์ประกอบที่เหนียวแน่น สถาบัน
สังคมและองค์การสังคมเมื่อผนึกเข้าด้วยกันเป็นหน่วยรวมอันเดียวกันแล้ว มีชื่อเรียกว่า โครงสร้าง
ทางสังคม (Social Structure) ซึ่งสามารถแยกเป็นส่วนต่างๆ ตามหน้าที่เฉพาะได้สิบอย่างตามชื่อ
สถาบันสังคมที่กล่าวมาแล้วข้างต้น แต่ละส่วนที่มีหน้าที่เฉพาะเหล่านี้เรียกชื่อเสียใหม่ว่า “โครงสร้าง
ทางสังคม (Social Unit) ดังนั้น แต่ละหน่วยสังคมจึงประกอบด้วยทั้งสถาบันสังคม และองค์การสังคม
หรือพูดอีกนัยหนึ่งว่า แต่ละหน่วยสังคมประกอบด้วยคน (หลายคน) และระเบียบแบบแผนสำหรับ
เป็นแนวปฏิบัติของคนเหล่านั้น หากจะทำให้ชัดเจนขึ้น แต่ละหน่วยสังคมประกอบด้วยองค์ประกอบ
4 ประการ (สัญญา สัญญาวิวัฒน์ 2534 : 1-3) คือ
21
1. ตำแหน่งทางสังคม (Social Position) ตัวอย่างหน่วยครอบครัว เช่น พ่อ
แม่ ลูก ญาติ ปู่ ย่า ตา ยาย
2. หน้าที่ (Function) เช่น ครอบครัวมีหน้าที่เพิ่มสมาชิก เลี้ยงดูสมาชิกใน
ครอบครัว อบรมสั่งสอน และให้ความรักความอบอุ่นแก่สมาชิกในครอบครัว
3. แบบแผนพฤติกรรม (Pattern of Behavior) ประกอบด้วย ความเชื่อ
ความรู้ ค่านิยม อุดมการณ์ และบรรทัดฐานทางสังคม ตัวอย่างครอบครัวต่อไป คือ ความเชื่อเกี่ยวกับ
เรื่องของหน่วยครอบครัวว่า พ่อแม่ต้องรักและทะนุถนอมลูก ไม่ฆ่าลูก หรือเกลียดลูก ความรู้เกี่ยวกับ
ครอบครัว เช่น ครอบครัวเกิดจากชายหญิงที่รักใคร่กัน ปลงใจแต่งงานกันตามประเพณีของสังคม แล้ว
ดำรงตนเป็นสามีภรรยากัน พอใจแต่ในสามีภรรยาของตน เป็นต้น ค่านิยมเกี่ยวกับครอบครัวสมัยใหม่
ชายหญิงนิยมเลือกคู่ครองเอง เลือกคนที่เสมอกับตนในฐานะเศรษฐกิจ สังคม หรือระดับสติปัญญา
เป็นต้น อุดมการณ์เกี่ยวกับครอบครัว เช่น ครอบครัวที่ดีจะต้องเป็นครอบครัวที่รักใคร่สมัครสมานกัน
สามีภรรยามีฐานะเสมอกัน ชีวิตแต่ละครอบครัวเป็นอิสระจากครอบครัวอื่น เป็นต้น บรรทัดฐาน
เกี่ยวกับครอบครัวสมัยใหม่ เช่น สามีต้องรับฟังความคิดเห็นของภรรยา ภรรยาต้องเอาใจใส่ดูแล
บ้านเรือนเป็นพิเศษมากกว่าสามีซึ่งมีหน้าที่หลักต้องหารายได้มาเลี้ยงครอบครัว พ่อแม่ต้องหารายได้
มาเลี้ยงครอบครัว พ่อแม่ต้องให้อิสระหรือรับฟังความต้องการของลูกพอสมควร เป็นต้น
4. องค์วัตถุ (Material Component) ตัวอย่างหน่วยครอบครัวต่อองค์วัตถุก็
คือ บ้าน เครื่องมือ เครื่องใช้ในบ้าน เช่น ตู้เสื้อผ้า ตู้กับข้าว หม้อ ไห ถ้วย ชาม เตาไฟ โต๊ะ เก้าอี้
กระจกเงา ฯลฯ
1.7 สภาพทั่วไปของภูมิปัญญาท้องถิ่นในปัจจุบัน
อังกูล สมคะเนย์ (2535 : 26-39) ได้นำผลสรุปจากการสัมมนาเรื่อง “ภูมิปัญญา
ท้องถิ่นมิติจรัสแสงต่อการจัดการเรียนการสอนในระดับประถมศึกษา” ของนิสิตภาควิชาบริหาร
การศึกษา สาขานิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร รุ่นที่ 28 คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ได้จัดกลุ่มภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็น 4 กลุ่ม สรุปได้ดังนี้
กลุ่มที่ 1 เป็นเรื่องเกี่ยวกับคติ ความคิด ความเชื่อ และหลักการที่เป็นพื้นฐาน
ขององค์แห่งความรู้ที่เกิดจากการสั่งสมถ่ายทอดกันมา
สภาพของภูมิปัญญากลุ่มนี้ ได้แก่ แนวความคิด ความเชื่อต่างๆ ที่ปฏิบัติ
และยึดถือสืบทอดกันมา เพื่อการดำเนินชีวิตสงบสุขในแต่ละท้องถิ่น เช่น
1. ความเชื่อแบบพุทธ ได้แก่ พิธีสวดมนต์ไหว้พระ พิธีฟังเทศน์ใน
วันสำคัญทางศาสนา พิธีเข้าวัดจำศีล การอบรมจริยธรรมและศีลธรรม
2. ความเชื่อแบบพราหมณ์ ได้แก่ พิธีสู่ขวัญต่างๆ
22
3. ความเชื่อแบบผี ได้แก่ พระภูมิเจ้าที่ พระภูมินา พิธีเลิ้งดอนปู่ตา
พิธีบูชามเหศักดิ์หลักเมือง และการบวงสรวงต่างๆ
4. ความเชื่อแบบบุคคล ได้แก่ การเคารพบรรพบุรุษ ผู้อาวุโส
พระสงฆ์และผู้นำทางศาสนาต่างๆ
กลุ่มที่ 2 เป็นเรื่องของศิลปะ วัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณี
สภาพของภูมิปัญญาท้องถิ่นในกลุ่มนี้ ได้แก่
1. ศิลปะการละเล่นพื้นบ้าน ได้แก่ หมอลำกลอน หมอลำกลอน
ประยุกต์ (หมอลำซิ่ง) หมอลำหมู่ และการรำเซิ้งต่างๆ
2. ศิลปะดนตรีพื้นบ้าน ได้แก่ การเป่าแคน การดีดพิณ วงกลองยาว
3. งานแกะสลัก งานหล่อ ได้แก่ แกะสลักบานประตู หน้าต่าง
โบสถ์ และแกะสลักต้นเทียน การหล่อใบระกา ช่อฟ้า คันทวย บัวหัวเสาของศาลาและโบสถ์
4. ศิลปะดนตรีไทย ได้แก่ ขลุ่ย ซอ พิณ ระนาด ฆ้อง กลอง ฉิ่ง ฉาบ
5. ประเพณีในสิบสองเดือน “ฮีดสิบสอง” ได้แก่ บุญเข้ากรรม
บุญคุณลาน บุญข้าวจี่ บุญพระเวส บุญสรงน้ำ บุญบั้งไฟ บุญเบิกฟ้า บุญเข้าพรรษา บุญข้าวประดับดิน
บุญข้าวสาก บุญออกพรรษา บุญกฐิน บุญผ้าป่า และบุญกองบอช
กลุ่มที่ 3 เป็นเรื่องของการประกอบอาชีพในแต่ละท้องถิ่นที่ได้รับการพัฒนา
ให้เหมาะสมกับสมัย
สภาพภูมิปัญญาท้องถิ่นกลุ่มนี้ จากการสำรวจพบว่าเป็นส่วนหนึ่งของสภาพ
ของภูมิปัญญาท้องถิ่นในกลุ่มที่ 2 คือ งานศิลปกรรมพื้นบ้าน แต่เนื่องจากบุคคลในท้องถิ่นได้นำมาใช้
ประกอบอาชีพ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
1. การทอผ้าไหม ได้แก่ ผ้าทอไหมพื้น ไหมมัดหมี่
2. การทอผ้าด้วยกี่กระตุก ได้แก่ ทอผ้าฝ้าย ทอผ้าลายน้ำไหล ทอผ้า
ฝ้ายผ้าขาวม้า
3. ทอผ้าขิดด้วยกี่พื้นเมือง ได้แก่ ทอผ้าขิดตัดเสื้อ ทอผ้าขิดทำหมอน
ทอผ้าห่มลายขิด
4. ทำหมอนขิด ได้แก่ หมอนขิดลายสามเหลี่ยม ทำเบาะนั่ง
5. การจักสานไม้ไผ่ ได้แก่ สานตระกร้า สานหวด สานมวย สาน
กระติบข้าว สานขันโตก สานกระด้ง สานกระบุง สานข้อง สานไซ สานสุ่ม
6. การทำไม้กวาด ได้แก่ ไม้กวาดดอกหญ้า ไม้กวาดทางมะพร้าว
7. การทอเสื่อ ได้แก่ ทอเสื่อกก ทอเสื่อใหล ทอเสื่อผือ ทอเสื่อเตย
8. การสาน ได้แก่ หมวกกก หมวกใบตาล หมวกผักตบชวา กระเป๋ากก
23
9. เครื่องปั้นดินเผา ได้แก่ อิฐมอญ โอ่ง ไห กระถาง หม้อดิน เตา
10. การเกษตร ได้แก่ การทำเกษตรผสมผสาน การทำไร่ ทำนา ทำสวน
การเลี้ยงสัตว์
กลุ่มที่ 4 เป็นเรื่องของแนวความคิด หลักปฏิบัติ และเทคโนโลยีสมัยใหม่
ที่ชาวบ้านนำมาใช้ในท้องถิ่น ซึ่งเป็นอิทธิพลของความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
สภาพของภูมิปัญญาท้องถิ่นในกลุ่มนี้ จากการสำรวจเท่าที่พบมีดังนี้
1. การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ มีทั้งการเลี้ยงและการผลิตลูกปลาเพื่อการ
จำหน่าย พื้นที่ที่มีการเลี้ยงมากตามลำดับ คือ อำเภอเมือง อำเภอท่าบ่อ อำเภอโพนพิสัย อำเภอโซ่พิสัย
อำเภอศรีเชียงใหม่ และอำเภอบึงกาฬ
2. การทำกล้วยตากอบน้ำผึ้ง ของอำเภอสังคม
3. การทำดอกไม้ประดิษฐ์จากใบยางพารา ของอำเภอโพนพิสัย
เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเริ่มเปลี่ยนจากสังคม
เกษตรกรรมไปสู่สังคมอุตสาหกรรม ทำให้การดำเนินชีวิตค่อยๆ เปลี่ยนจากสภาพพอกินไปสู่การ
ประกอบอาชีพเพื่อหารายได้ให้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น สามารถอยู่ในสังคมที่เปลี่ยนไปได้อย่างเป็นสุข
จึงได้เกิดการนำแนวความรู้และหลักการที่เคยปฏิบัติกันมา นำมาผสมผสานกับเทคโนโลยีสมัยใหม่
เพื่อนำมาใช้ในการเพิ่มผลผลิตหรือประกอบกิจกรรมในการดำเนินชีวิตในครอบครัวและชุมชน ซึ่ง
นับว่าบุคคลเหล่านี้เป็นภูมิปัญญาอีกกลุ่มหนึ่ง มีความรู้ความสามารถในการพัฒนาตนเองและ
ช่วยเหลือต่อสังคม
ภูมิปัญญาท้องถิ่นทั้ง 4 กลุ่มนี้ จะปรากฏให้เห็นได้ในเรื่องของการประกอบ
อาชีพ ศิลปะวัฒนธรรม ประเพณีต่างๆ และทางด้านการอบรมสั่งสอนถ่ายทอดให้ชนรุ่นหลังๆ ที่ยัง
ปรากฏอยู่จนทุกวันนี้
2. ทฤษฎีสื่อปฏิสัมพันธ์วัฒนธรรมของชาติ (สำนักงานคณะกรรมการแห่งชาติ, 2542 :
อ้างถึงใน สุดารัตน์ ชาญเลขา, 2545 : 72)
สื่อปฏิสัมพันธ์วัฒนธรรมของชาติเป็นหลักฐาน หรือสาระต่างๆ ที่มีอยู่ในธรรมชาติ หรือ
ที่มนุษย์สร้างขึ้นอย่างดีงาม และมีคุณค่าเป็นที่ยอมรับของสังคม มีการสืบต่อโดยการปฏิบัติหรือ
แสดงออกมาช้านาน หลักฐานหรือสาระเหล่านี้มีการเกี่ยวพันกันอย่างเป็นระบบ และแสดงถึง
วัฒนธรรมของชาติ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชดำริให้สำนักงาน
คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ร่วมกับสมาคมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
24
ร่วมกันรับผิดชอบ โครงการสื่อปฏิสัมพันธ์วัฒนธรรมของชาติ ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการพระราชดำริ
เนื่องในปีแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศ 2538 ซึ่งโครงการสื่อปฏิสัมพันธ์วัฒนธรรมของชาติตาม
พระราชดำริฯ นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดระบบข้อมูลวัฒนธรรมของชาติให้สามารถใช้ประโยชน์ร่วมกัน
ได้อย่างเป็นระบบทั่วประเทศ ให้บริการระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต รวมทั้งจดบันทึกข้อมูลลงซีดี – รอม
เพื่อให้ผู้ใช้สะดวกในการศึกษาค้นคว้าและมีอายุการทำงานได้นานโดยจะเผยแพร่ความรู้ในสาขา
ชาติพันธุ์วิทยามานุษยวิทยา หน่วยงานที่เข้าร่วมงาน ได้แก่ ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัด 75 จังหวัด และ
ศูนย์วัฒนธรรมในกรุงเทพฯ จำนวน 19 ศูนย์ เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการรวบรวม เผยแพร่ และพัฒนา
ตามกรอบเนื้อหาการจัดระบบทั้งสิ้น 7 หัวข้อ ได้แก่
1. สถานที่สำคัญ (Site) ประกอบด้วย แหล่งโบราณคดี สถานที่สำคัญทาง
ศาสนา สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ แหล่งท่องเที่ยว แหล่งที่มาแห่งการพัฒนาทางเศรษฐกิจและ
สังคม และแหล่งธรรมชาติ
2. บุคคลสำคัญและปราชญ์ชาวบ้าน ( Import figures and philosophers)
ประกอบด้วย พระมหากษัตริย์ เจ้าผู้ครองนครวีรบุรุษ บุคคลสำคัญด้านวัฒนธรรม ผู้นำทางศาสนา
ผู้นำท้องถิ่น และปราชญ์ชาวบ้าน
3. วิถีชีวิต (Way of life) ประกอบด้วย ประเพณีท้องถิ่น พิธีกรรม ความเชื่อ
การละเล่นพื้นบ้าน ตำนานและนิทาน และกลุ่มชาติพันธุ์
4. ภูมิปัญญา (Wisdom) ประกอบด้วย ภูมิปัญญาด้านการเกษตร ด้าน
สุขภาพอนามัย และด้านเทคโนโลยีพื้นบ้าน
5. ของดีของท้องถิ่น (Local product) ประกอบด้วย อาหาร (อาหารคาว
อาหารหวาน ผัก ผลไม้ การถนอมอาหาร) เครื่องนุ่งห่ม เครื่องประดับ และหัตถกรรม
6. เอกสารสำคัญ ( Manuscripts) ประกอบด้วย เอกสารสำคัญ สมุดไทย
สมุดข่อย หนังสือบุด พับสา จารึกใบลาน และภาพเขียนสี
7. ธรรมชาติวิทยา (Natural history) ประกอบด้วย ซากใบไม้และพืชที่
ทับถมกัน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นก แมลง สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน ปลา สัตว์ทะเล แร่ธาตุ
หิน ป่าไม้ น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ สมุนไพรพื้นบ้านและพืชเศรษฐกิจ
จะเห็นได้ว่าทฤษฎีสื่อปฏิสัมพันธ์ของชาตินั้นได้รวบรวมศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณี
ด้านต่างๆ ของท้องถิ่น เอาไว้อย่างดียิ่งซึ่งควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้สืบต่อไป
25
ตอนที่ 2 ฐานข้อมูลท้องถิ่น
1. เว็บไซต์ เว็บเพจ และโฮมเพจ
เว็บไซต์ เว็บเพจและโฮมเพจ ถือเป็นองค์ประกอบหนึ่งของเว็บ เนื่องจากเมื่อเข้าไปใน
เว็บแล้วสารสนเทศหรือข้อมูลต่างๆ ที่ต้องการสืบค้นก็คือหน้าของเอกสารที่ปรากฏบน
จอคอมพิวเตอร์ ซึ่งรายละเอียดของแต่ละส่วนมีดังนี้
1.1 เว็บไซต์ (Web site)
เว็บไซต์เป็นกลุ่มของเว็บเพจที่สร้างขึ้นโดยบุคคลหรือองค์กร แต่ละเว็บเพจ
สามารถเชื่อมถึงกันได้ และสามารถเชื่อมจากเว็บไซต์หนึ่งไปยังอีกเว็บไซต์หนึ่งด้วยการคลิกที่คำหรือ
รูปภาพ โดยข้อมูลสามารถเชื่อมโยงไปยังข้อมูลชุดอื่นที่มีความสัมพันธ์กันได้ทั้งข้อมูลที่อยู่ภายใน
เว็บไซต์เดียวกันหรือการเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์อื่นๆ
ต้น ตันฑ์สุทธิวงศ์, สุพจน์ ปุณณชัยยะ และสุวัฒน์ ปุณณชัยยะ (2539 : 212-213)
ได้สรุปไว้ว่า ในการจัดตั้งเว็บไซต์ขึ้นมาเพื่อใช้สำหรับเก็บรวบรวมข้อมูลหรือประชาสัมพันธ์กิจกรรม
ต่างๆ ของไซต์นั้นๆ เพื่อให้ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตอื่นๆ ได้เข้ามาดูโดยแสดงข้อมูลในรูปของเว็บเพจ คำว่า
เว็บไซต์ คือเครื่องคอมพิวเตอร์ระบบหนึ่งที่อาจจะใช้ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์หรือวินโดวส์เอ็นทีก็ได้
และมีโปรแกรมจัดการทำให้เครื่องดังกล่าวทำหน้าที่เป็นเว็บเซิร์ฟเวอร์คอยให้บริการให้ข้อมูลกับผู้ที่
ติดต่อขอข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ตเข้ามาที่เครื่องที่เป็นเว็บเซิร์ฟเวอร์นี้จะมีข้อมูลที่เป็นเว็บเพจต่างๆ ที่
เจ้าของระบบได้จัดเตรียมไว้และจะต้องเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ตตลอดเวลา
เบญจวรรณ หมั่นเจริญ และพุทธิชา ขุนหอม (2543 : 20) ให้ความหมายของ
เว็บไซต์ คือ การรวมหน้าเอกสารหลายๆ หน้าเข้าไว้ด้วยกัน หรือการรวมเว็บเพจที่มีอยู่ทั้งหมด
บันทึกไว้ภายใต้ชื่อแอดเดรสเดียวกัน ภายในหนึ่งเว็บไซต์นั้นสามารถที่จะมีเว็บเพจกี่หน้าก็ได้ไม่
จำกัดจำนวน
ดวงพร เกี๋ยงคำ และวงศ์ประชา จันทร์สมวงศ์ (2546 : 25) ให้ความหมายของ
เว็บไซต์ หมายถึง กลุ่มของเว็บเพจที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน เช่น กลุ่มของเว็บเพจที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ
ประวัติ บริการขององค์กร ในการอ้างถึงเว็บไซต์จะใช้อยู่บนอินเทอร์เน็ตสามารถระบุในบราวเซอร์
เพื่อเปิดเข้ามาดูเว็บไซต์ได้ ภายในเว็บไซต์นอกจากเว็บเพจหรือไฟล์ HTML แล้ว ยังประกอบด้วย
ไฟล์ชนิดอื่นๆ เช่น รูปภาพ, ไฟล์มัลติมีเดีย, ไฟล์ Style Sheet และอื่นๆที่จำเป็นในการสร้างเป็นหน้า
เว็บเพจ
26
สิทธิชัย ประสานวงศ์ (2546 : 4) ให้ความหมายของเว็บไซต์ เป็นเครื่องที่ใช้
ในการจัดเก็บเว็บเพจแต่ละองค์กรที่จะนำเสนอข้อมูลของตนในรูปของเว็บนี้มักจะมีเว็บไซต์เป็นของ
ตนเอง และมักใช้ชื่อองค์กรเป็นชื่อเว็บไซต์ เพื่อให้ผู้ที่สนใจสามารถจดจำได้ง่าย
คณิต ศาตะมาน (2541 : 19) กล่าวไว้ว่า เว็บไซต์ หมายถึง คอมพิวเตอร์ระบบ
หนึ่งที่อาจจะใช้ระบบปฏิบัติการยูนิกส์ หรือ WindowNT ก็ได้ และมีโปรแกรมจัดการทำให้
คอมพิวเตอร์ดังกล่าวทำหน้าที่เป็นเว็บเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งจะเก็บรวบรวมเว็บเพจหรือเอกสารต่างๆ บน
โฮสต์ ที่คอยบริการให้ข้อมูลกับผู้ติดต่อขอข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต โดยที่เครื่องนั้นจะต้องเชื่อมต่อเข้า
กับอินเทอร์เน็ตตลอดเวลา ซึ่งเว็บเพจเหล่านี้จะแสดงข้อมูลต่างๆ ที่เจ้าของระบบ เช่น กลุ่มคน บริษัท
สถาบันการศึกษา และองค์กรต่างๆ เป็นต้น ได้จัดเตรียมไว้เพื่อเผยแพร่ข้อมูลให้บุคคลภายนอก ทั้งนี้
เว็บไซต์หนึ่งๆ อาจมีเว็บเพจเพียง 2-3 หน้า ไปจนถึงพันๆ หน้าก็ได้
จากที่กล่าวมาข้างต้นสรุปได้ว่าเว็บไซต์ หมายถึง คอมพิวเตอร์ระบบหนึ่ง ซึ่งมี
โปรแกรมจัดการที่สามารถทำให้คอมพิวเตอร์มีหน้าที่เป็นเว็บเซิร์ฟเวอร์ เพื่อเก็บรวบรวมเว็บเพจหรือ
เอกสารต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน และบันทึกเข้าไว้ในแอดเดรสเดียวกันภายในเว็บไซต์นั้น สามารถมี
จำนวนเว็บเพจกี่หน้าก็ได้โดยไม่จำกัดจำนวน
เว็บไซต์โดยทั่วไปมีองค์ประกอบ ดังนี้ (สมนึก คีรีโต, สุรศักดิ์ สงวนพงษ์ และ
สมชาย นำประเสริฐ, 2538 : 117)
1. ชื่ออินเทอร์เน็ตหรือชื่อของเว็บไซต์ การเตรียมจัดตั้งเว็บไซต์ซึ่งเป็น
เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งเพื่อเชื่อมต่อเข้าไปในระบบอินเทอร์เน็ตต้องมีหมายเลขไอพี (IP
address) สำหรับอ้างอิง และผู้ที่จัดตั้งเว็บไซต์ต้องขอลงทะเบียนชื่อเว็บไซต์ของตนคือ Domain Name
สำหรับใช้อ้างอิงแทนหมายเลขไอพี เนื่องจากหมายเลขไอพีประจำเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นหมายเลขที่
จดจำได้ยาก ทำให้การอ้างถึงคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยหมายเลขไอพีไม่สะดวกต่อ
ผู้ใช้บริการคอมพิวเตอร์ ดังนั้นจึงมีการสร้างระบบคอมพิวเตอร์มาตรฐานในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่มี
ชื่อว่า ดีเอ็นเอส (DNS : Domain Name System) อาจกล่าวได้ว่าการจัดตั้งชื่อโดเมนมีความสำคัญ
เนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งของข้อมูล URL ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ 1 (ก่อนเครื่องหมาย //) ส่วนที่ใช้บอกวิธีการในการเข้าถึงข้อมูลหรือ
เข้าใช้บริการ เช่น http หมายถึงการเข้าใจบริการเวิลด์ไวด์เว็บเซิร์ฟเวอร์ โดยใช้โปรแกรมโปรโตคอล
ส่วนที่ 2 คือส่วนที่เป็นชื่อโดเมน หรือเรียกว่าชื่อตำแหน่งของข้อมูล
ส่วนที่ 3 ชื่อไฟล์หรือชื่อพอร์ตที่ต้องการติดต่อ ซึ่งอาจเป็นชื่อข้อความที่
ต้องการค้นหาในฐานข้อมูล และอาจมีหรือไม่มีก็ได้
27
ตัวอย่าง URL ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา คือ
http://www.bsru.ac.th แสดงว่าหากต้องการดูข้อมูลเว็บเพจของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จ
เจ้าพระยาหน้าแรกได้นั้น ระบบต้องไปหาโดเมนที่ชื่อ 1www.bsru.ac.th
bsru หมายถึง เครือข่ายท้องถิ่น
ac หมายถึง สถานศึกษา
th หมายถึง ประเทศ
ดังนั้นชื่อโดเมนจึงเป็นส่วนประกอบสำคัญของ URL ชื่อโดเมนเป็นชื่อย่อ
ประเภทขององค์กรและชื่อประเทศ ซึ่งการกำหนดชื่อโดเมนระดับบนสุดนั้น มีกำเนิดมาจากเครือข่าย
ในประเทศสหรัฐอเมริกา ดังตัวอย่างต่อไปนี้
ตัวอย่างที่ 1 ชื่อโดเมนที่เป็นชื่อย่อประเภทขององค์กรในประเทศสหรัฐอเมริกา
ชื่อโดเมน ประเภทขององค์กร
com (commercial) สำหรับกลุ่มองค์กรการค้าหรือเพื่อธุรกิจ
edu (education) สำหรับกลุ่มสถาบันการศึกษา
gov (governmental) สำหรับกลุ่มหน่วยงานราชการ
org (other organizations) สำหรับกลุ่มองค์กรที่ไม่หวังผลกำไร
mil (military) สำหรับกลุ่มองค์กรทหาร
net (network services) สำหรับกลุ่มองค์กรบริการเครือข่าย
ตัวอย่างที่ 2 ชื่อโดเมนที่เป็นชื่อย่อประเทศ
ชื่อโดเมน ชื่อประเทศ
au Australia (ประเทศออสเตรเลีย)
fr France (ประเทศฝรั่งเศส)
jp Japan (ประเทศญี่ปุ่น)
th Thailand (ประเทศไทย)
uk United Kingdom (ประเทศอังกฤษ)
28
ตัวอย่างที่ 3 ชื่อโดเมนในประเทศไทย
ชื่อโดเมน คำอธิบาย ตัวอย่าง
ac Academic (สถาบันการศึกษา) bsru.ac.th
co Commercial (ธุรกิจการค้า) ksc.co.th
go Government (หน่วยงานราชการ) mis.mua.go.th
net Network (องค์กรที่ให้บริการเครือข่าย) ksc.net.th
or Organization (องค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร) nwg.nectec.or.th
in Individual/Incorporation (หน่วยงานอิสระ) e-jobs.in.th
2. โฮมเพจหรือเวลคัมเพจ (homepage/welcome page) เป็นหน้าแรกที่ให้
ข้อมูลเกี่ยวกับเว็บไซต์นั้นๆ ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นของเว็บไซต์ต่างๆ โฮมเพจนี้ทำหน้าที่เหมือนกับประตู
หน้าบ้านของเว็บไซต์แต่ละแห่ง ซึ่งถือได้ว่าเป็นที่แรกที่คนเข้าไปเยี่ยมชมเว็บไซต์จะต้องผ่าน และยัง
เป็นตัวเชื่อมโยงไปยังเว็บต่างๆ ต่อไป ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมโยงโดยตรงหรือเชื่อมโยงผ่านเว็บเพจอื่นๆ
ก็ตาม (คณิต ศาตะมาน, 2541 : 24) เว็บไซต์จะต้องประกอบด้วยเว็บเพจแสดงรายละเอียด โดย
รายละเอียดหน้าแรกเรียกว่าโฮมเพจ โฮมเพจเป็นทางเข้าออก (gatewary) ไปสู่ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่
เก็บไว้ในฮาร์ดดิสก์ของคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถเชื่อมโยงไปยังรายละเอียดอื่นๆ ที่อยู่บนเว็บไซต์อื่นได้
3. เว็บเพจ (webpage) เป็นหน้าเอกสารของเว็บไซต์หนึ่งๆ ซึ่งมีตั้งแต่ 2-3
หน้าถึงเป็นพันๆ หน้า เว็บเพจมีลักษณะเป็นสื่อประสมและเอกสาร ในหน้าหนึ่งๆ มีเนื้อหาเกี่ยวข้อง
กัน โดยมีการเชื่อมโยงไปอีกหน้าหนึ่งที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกันโดยการเชื่อมข้อมูลแบบไฮเปอร์เท็กซ์
(สมนึก คีรีโต, 2538 : 11) การเชื่อมโยงบนเว็บเพจแต่ละเพจนั้นจะมีให้เลือกเป็นลักษณะหัวข้อ
(headline) และรูปภาพ (Waltz, 1995 : 14)
1.2 เว็บเพจ (Web page)
เว็บเพจเป็นไฟล์ข้อมูลซึ่งประกอบด้วย ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง และ
ตัวอักษร มีลักษณะเป็นมัลติมีเดีย สามารถเชื่อมโยงข้อมูลแบบไฮเปอร์เท็กซ์ หรือไฮเปอร์ลิงค์ ภายใต้
เครือข่ายใยแมงมุมหรือเวิล์ดไวด์เว็บ ที่จัดสร้างขึ้นโดยภาษาคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่าเอชทีเอ็มแอล
กิตติ ภักดีวัฒนกุล (2541 : 7) ได้กล่าวไว้ว่าเว็บเพจ คือเอกสารที่นำเสนอบน
อินเทอร์เน็ต เขียนด้วยภาษา เอชทีเอ็มแอล เมื่อเขียนเสร็จแล้วก็นำข้อมูลเหล่านั้นไปใส่ไว้ใน
เซิร์ฟเวอร์ของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ซึ่งเอกสารดังกล่าวจะต้องใช้เครื่องมือหรือโปรแกรมสำหรับดู
ซึ่งเรียกสั้นๆ ว่าบราวเซอร์
วิทยา เรืองพรวิสุทธิ์ (2539 : 53) ได้กล่าวถึงเว็บเพจว่า เวิล์ดไวด์เว็บเพจ หรือ
เว็บเพจเป็นไฟล์ข้อมูลเอชทีเอ็มแอล (HTML) หรือเป็นข้อมูลในระบบเวิล์ดไวด์เว็บ (world wide web)
29
ประกอบด้วย คำ หรือข้อความพิเศษที่เรียกว่า ไฮเปอร์เท็กซ์ หรือเป็นการเชื่อมโยงแบบไฮเปอร์ลิงค์
ทั้งไฮเปอร์เท็กซ์ และไฮเปอร์ลิงค์เป็นการเชื่อมโยงเพื่อติดต่อไปยังเวิล์ดไวด์เว็บเซิร์ฟเวอร์แหล่งต่างๆ
ที่ได้รับการกำหนดไว้บนเวิล์ดไวด์เว็บเพจนั้นๆ
กิตติ สูงสว่าง และสมชัย ชัยสกุลสุรินทร์ (2542 : 72) ให้ความหมายว่าเว็บเพจ
คือ เอกสารที่ปรากฏในเว็บไซต์ ซึ่งเป็นเอกสารที่ประกอบด้วยข้อความ หรืออาจจะมีการตกแต่ง
รูปภาพ หรือมีแบล็คกราวนด์ หรือตาราง เว็บเพจนี้ถูกสร้างขึ้นโดยการใช้ภาษาคอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่ง
เรียกว่า เอชทีเอ็มแอล (HTML = Hypetex Markup Language) ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้ในการจัดหน้าตาของ
ข้อมูลที่จะนำเสนอ
ดวงจันทร์ พยัคพันธุ์ (2542 : 2) ให้คำจำกัดความอย่างสั้นๆ ของเว็บเพจว่า “เว็บเพจ
คือ เอกสารที่สร้างขึ้นบนเว็บ สามารถเปิดดูทาง www และเป็นส่วนที่เชื่อมต่อกับ page อื่นๆ”
องค์ประกอบของเว็บเพจสามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ ส่วนของ
โฮมเพจ คือ หน้าแรกหรือสารบัญของเว็บเพจ และส่วนที่เป็นข้อมูล วิทยา เรืองพรวิสุทธิ์ (2540 : 49)
กล่าวถึงในส่วนของโฮมเพจว่ามีองค์ประกอบดังนี้
1) ส่วนของรูปภาพ หรือโลโก้แสดงความเป็นเจ้าของ ของโฮมเพจ
เป็นรูปภาพที่มีขนาดความจำไม่มากนัก เพื่อง่ายต่อการโอนย้ายข้อมูลนอกเครือข่ายคอมพิวเตอร์
2) ส่วนหัวเรื่องของข้อมูล เป็นหัวข้อของข่าวสาร หรือเป็นชื่อของ
บริษัท องค์กร หรือสถาบันที่เป็นเจ้าของโฮมเพจนั้น
3) ส่วนเนื้อหาข้อมูล และการเชื่อมโยงไปยังเพจที่เกี่ยวข้อง เป็นส่วน
ของข่าวสารที่เป็นเนื้อความที่แสดงรายละเอียด หรือเป็นเนื้อความแบบคัดย่อที่สามารถเชื่อมโยงไปยัง
ข้อมูลแบบแสดงรายละเอียดของโฮมเพจที่เกี่ยวข้องโดยผ่านไฮเปอร์เทกซ์ โดยทั่วไปแล้วส่วนของ
เนื้อหาเป็นส่วนของการบรรยาย เช่นเดียวกับบทความปกติอื่นๆ แต่มีรูปแบบของการนำเสนอที่
แตกต่างออกไปตามความคิดของผู้สร้างโฮมเพจ
ในส่วนของเว็บเพจที่เป็นข้อมูล กิตติ ภักดีวัฒนกุล (2540 : 2) ได้กล่าวว่ามี
องค์ประกอบดังนี้
1. Text เป็นข้อความปกติ โดยเราสามารถตกแต่งให้สวยงามและมี
ลูก เล่นต่างๆ ดังเช่นโปรแกรมประมวลคำ
2. Graphic ประกอบด้วยรูปภาพ ลายเส้น ลายพื้น ต่างๆ มากมาย
3. Multimedia ประกอบด้วยรูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว และแฟ้มเสียง
4. Counter ใช้นับจำนวนผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บเพจของเรา
5. Cool Links ใช้เชื่อมโยงไปยังเว็บเพจของตนเองหรือเว็บเพจของคนอื่น
30
6. Forms เป็นแบบฟอร์มที่ให้ผู้เข้าเยี่ยมชม กรอกรายละเอียด แล้วส่ง
ให้กับผู้ดูแลเว็บเพจ
7. Frames เป็นการแบ่งจอภาพเป็นส่วนๆ แต่ละส่วนก็จะแสดงข้อมูล
ที่แตกต่างกันและเป็นอิสระจากกัน
8. Image Maps เป็นรูปภาพขนาดใหญ่ ที่กำหนดส่วนต่างๆ บนรูป
เพื่อเชื่อมโยง ไปยังเว็บเพจอื่นๆ
9. Java Applets เป็นโปรแกรมสำเร็จรูปเล็กๆ ที่ใส่ลงในเว็บเพจ
เพื่อให้การใช้งานเว็บเพจมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
นอกจากส่วนประกอบดังกล่าวแล้ว องค์ประกอบที่นิยมใส่ไว้ในเว็บเพจอีก 2
ส่วน ได้แก่ 1) สมุดเยี่ยม (Guestbook) และ 2) เว็บบอร์ด (Webboard) ที่ช่วยให้เว็บเพจกลายเป็นสื่อที่
มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้กับผู้สร้าง และระหว่างผู้ใช้ด้วยกันเอง โดยอาศัยหลักการที่เรียกว่า Common
Gateway Interface หรือ เรียกสั้นๆ ว่า CGI โดยมีรายละเอียดดังนี้
Common Gateway Interface (CGI)
เป็นมาตรฐานที่ผู้ที่เข้าไปใช้ข้อมูลในเครื่องบริการเว็บในอินเทอร์เน็ต
สามารถสืบค้นข้อมูลในฐานข้อมูลเช่น หัวข้อข่าวต่างๆ หรือบทความทางวิชาการ รายชื่อหนังสือ หรือ
การสมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับบริการต่างๆทางอินเทอร์เน็ต ซึ่ง CGI จะทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลที่ได้
จากการพิมพ์ข้อมูลของผู้เยี่ยมชมและแสดงผลออกมาทางเว็บเพจ ตัวอย่างเว็บไซต์ที่มีระบบการใช้
งาน CGI ที่เป็นที่รู้จักกันทั่วโลก คือ 2Hhttp://www.yahoo.com
สมุดเยี่ยม (Guestbook)
สมุดเยี่ยม ทำหน้าที่คล้ายๆ กับสมุดบันทึก เมื่อมีผู้เข้ามาเยี่ยมและเมื่อผู้ชม
ได้เขียนคำติ-ชม หรือความคิดเห็นต่างๆ ลงในแบบฟอร์มที่ได้จัดทำไว้ โปรแกรมก็จะทำการ
ประมวลผลโดย CGI และแสดงผลที่ผู้เขียนได้บันทึกไว้ออกมาทางเว็บเพจที่เรากำหนดไว้
เว็บบอร์ด (Webboard)
เว็บบอร์ด เป็นส่วนประกอบหนึ่งที่ทำให้เว็บกลายเป็นที่นิยม โดยเว็บ
บอร์ดทำหน้าที่คล้ายๆ กับการให้ผู้เข้าเยี่ยมชมร่วมแสดงความคิดเห็น ทัศนะต่างๆ ตามที่มีการตั้ง
หัวข้อหรือกระทู้เอาไว้ ตัวอย่างเว็บบอร์ดที่เป็นที่นิยมมากที่สุดของไทยคือเว็บไซต์
3Hhttp://www.pantip.com/ ซึ่งในแต่ละวันจะมีผู้เข้าใช้บริการราวประมาณ 30,000 คน
31
1.3 โฮมเพจ (Home page)
จิตเกษม พัฒนาศิริ (2539 : 25) กล่าวว่า โฮมเพจเป็นผลผลิตของไฮเปอร์เท็กซ์ที่
ผู้เข้าไปใช้บริการบนอินเทอร์เน็ตพบเห็นกันได้มากที่สุด และเป็นจุดเด่นให้ผู้ใช้บริการเกิดความสนใจ
ที่จะใช้อินเทอร์เน็ตมากขึ้น นอกเหนือจากบริการพื้นฐานทั่วไป
ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) และศูนย์บริการเว็บทุกแห่ง มีโฮมเพจเป็นของ
ตนเอง เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นที่แสดงให้ผู้ใช้บริการทราบว่าในสถานีนั้นๆ ให้บริการสิ่งใดบ้าง และ
เมื่อเข้าสู่โฮมเพจนั้นๆ แล้วเราจะเดินทางไปยังแห่งใดได้ ทำหน้าที่เป็นจุดรวมของการเดินทางเข้าไปสู่
ดินแดนแห่งใหม่ นับได้ว่าโฮมเพจเป็นหน้าตา เป็นการประชาสัมพันธ์ของสถานีหรือองค์กรนั้นและ
เราเรียกข้อมูลอื่นๆ ซึ่งอาจเชื่อมโยงต่อจากโฮมเพจว่า “เว็บเพจ” รูปร่างหน้าตาของโฮมเพจแต่ละแห่ง
จะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับประเภทและรูปแบบขององค์กรนั้น โฮมเพจที่ดีไม่ควรมีรูปภาพมาก
เกินไป เนื่องจากจะทำให้การทำงานช้าลง ไม่ควรมีหลายหน้าและควรมีส่วนแสดงให้ผู้ใช้ทราบว่าใน
สถานีนั้นมีบริการอะไรอยู่บ้าง
จากที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นพอสรุปได้ว่าเว็บไซต์เป็นศูนย์รวมข้อมูลข่าวสาร
ของหน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ ซึ่งภายในเว็บไซต์จะประกอบด้วยเว็บเพจที่นำเสนอข้อมูลต่างๆ ที่
น่าสนใจให้ผู้ชมได้รับทราบ โดยมีโฮมเพจเป็นหน้าแรกของเอกสารทั้งหมดของเว็บไซต์ทำหน้าที่
เหมือนสารบัญของหนังสือ เพื่อบอกกล่าวผู้ชมให้ทราบว่าข้อมูลต่างๆ ที่ต้องการนั้นอยู่ส่วนไหนของ
เว็บไซต์
2. แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนาเว็บไซต์
เว็บไซต์ คือ ลักษณะในการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งที่อาจจะใช้
ระบบปฏิบัติการ Unix หรือ Windows NT และมีโปรแกรมจัดการทำให้เครื่องดังกล่าวทำหน้าที่เป็น
เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web Server) คอยบริการให้ข้อมูลกับผู้ใช้ที่ติดต่อผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเข้า
มา และสามารถบริการให้กับผู้ที่เข้ามาใช้บริการได้หลายๆ คนพร้อมกัน ซึ่งเว็บไซต์แต่ละแห่งจะ
เป็นแหล่งที่เก็บรวบรวมเอกสารข้อมูลต่างๆ ซึ่งประกอบไปด้วยโฮมเพจ (Home Page) และเว็บเพจ
(Web Page) หลายๆ หน้า ซึ่งเป็นข้อมูลที่เจ้าของระบบได้เตรียมไว้เพื่อให้บริการ และเผยแพร่ให้แก่
บุคคลทั่วไปได้รับรู้ (ต้น ตัณฑ์สุทธิวงศ์, สุพจน์ ปุณณชัยยะ และสุวัฒน์ ปุณณชัยยะ, 2539 : 213)
โดยที่ โฮมเพจ หมายถึงหน้าแรกของเอกสารทั้งหมดของเว็บไซต์แห่งนั้นคอยทำหน้าที่
เหมือนกับหน้าสารบัญของหนังสือ เพื่อคอยชี้ทางและเป็นแหล่งเชื่อมโยงไปยังเว็บเพจหน้าต่อไป
ส่วนเว็บเพจนั้นหมายความถึงหน้าของเอกสารแต่ละหน้า ซึ่งเว็บไซต์แห่งหนึ่งอาจจะมีเว็บเพจเพียง
ไม่กี่หน้าจนถึงหลายพันหน้า และในเอกสารแต่ละหน้าก็สามารถเชื่อมโยงไปยังอีกหน้าหนึ่งได้ใน
ลักษณะของเอกสารไฮเปอร์เท็กซ์ (Hypertext) ซึ่งการเชื่อมโยงข้อมูลของเว็บเพจในแต่ละหน้านั้น
32
อาจจะถูกกำหนดหรือออกแบบให้อยู่ในลักษณะของตัวอักษร รูปภาพ หรือสัญลักษณ์อื่นๆ ก็ได้
(กิตติ ภักดีวัฒนะกุล, 2541 : 7 ; สุรเดช พรประภา,2541 : 25)
สำหรับเว็บเพจแต่ละหน้าที่มีการนำเสนอนั้น จะถูกเขียนขึ้นด้วยภาษาที่เรียกว่าเอชทีเอ็มแอล
(HTML : Hyper Text Markup Language) และไฟล์โค้ดของภาษาเหล่านี้จะนำไปเก็บไว้ที่เครื่อง
คอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นเว็บเซิร์ฟเวอร์ เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยผ่านระบบ
เวิลด์ไวด์เว็บ โดยวิธีการเรียกใช้บริการนั้นจะต้องมีโปรแกรมที่สามารถอ่านภาษาเอชทีเอ็มแอลที่เก็บ
ไว้ในเว็บเซิร์ฟเวอร์ได้ ซึ่งโปรแกรมเหล่านี้เรียกว่าเว็บบราวเซอร์ (Web Browser) (พงษ์ระพี เดชพาหพงษ์,
2539 : 24)
โดยที่องค์ประกอบพื้นฐานที่มีความสำคัญ และมีส่วนช่วยให้เว็บไซต์น่าสนใจ
สามารถแยกออกได้เป็น 2 ประเด็นหลักๆ คือ (พันธุ์ปิติ เปี่ยมสง่า, 2543 : 166-168)
1. ความสมบูรณ์ของเว็บไซต์ เว็บไซต์ที่สมบูรณ์ควรประกอบไปด้วยสองส่วนหลัก
คือ ข้อมูล และเครื่องมือ เว็บไซต์ที่ดีต้องมีข้อมูลให้พร้อมทั้งข้อมูลที่ผู้ใช้ต้องอ่าน และข้อมูลที่ทาง
ผู้จัดทำต้องการให้อ่าน ส่วนเครื่องมือต่างๆ ที่ควรมีในเว็บไซต์ ยกตัวอย่างเช่น Search Engine เพื่อช่วย
ในการค้นหาข้อมูลในเว็บไซต์ ซึ่งมีความสำคัญมาก นอกจากนี้เครื่องมือที่มีความสำคัญรองลงมาก็
ได้แก่ กระดานข่าวสนทนา (Web Board) จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) การรับสมัครสมาชิกเพื่อแจ้ง
ข้อมูลข่าวสารเฉพาะเรื่อง (Mailing List) สุดท้ายอาจมีบริการให้ถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล (Download)
โปรแกรมต่างๆ ที่ผู้ใช้จำเป็นต้องนำไปใช้งาน
2. วิธีการนำเสนอข้อมูล ควรมีการใช้ความสามารถของระบบไฮเปอร์เท็กซ์ เพื่อ
เชื่อมโยงไปยังแหล่งข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและมีการอ้างถึงในข้อมูลที่นำเสนอ มีการนำเสนอข้อมูล
ในลักษณะ Real-time คือปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยตลอดเวลา
สำหรับการติดต่อสื่อสารกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการในระบบเครือข่าย
อินเทอร์เน็ต ผู้ใช้จำเป็นต้องทราบหมายเลขไอพี (IP Number) ของเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นๆ
เสียก่อน ซึ่งหมายเลขไอพีจะประกอบไปด้วยกลุ่มตัวเลข 4 จำนวน ในแต่ละจำนวนมีค่าตั้งแต่ 1 ถึง
255 และคั่นด้วยเครื่องหมายมหัพภาค ( , ) โดยที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับระบบเครือข่าย
อินเทอร์เน็ตทุกเครื่องจะต้องมีหมายเลขไอพีไม่ซ้ำกัน ผู้ใช้จะต้องทราบหมายเลขไอพีของเครื่อง
คอมพิวเตอร์ที่จะติดต่อไปเสมอ แต่จากการที่หมายเลขไอพีประจำตัวเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องใน
ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ประกอบไปด้วยตัวเลขหลายจำนวน แต่ละจำนวนมีค่าคล้ายๆ กัน ยากแก่
การจดจำ จึงมีการกำหนดระบบชื่ออินเทอร์เน็ตในเครือข่ายให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยใช้ระบบ
โดเมน หรือดีเอ็นเอส (DNS : Domain Name Server) ซึ่งชื่อดีเอ็นเอสจะเป็นชื่อที่สอดคล้องกับ
หมายเลขไอพีและสามารถใช้แทนกันได้ โดยในการใช้บริการระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้ต้องจำ
ชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะติดต่อให้ได้ชื่อใดชื่อหนึ่ง ระหว่างหมายเลขไอพี และดีเอ็นเอส
33
ในการติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยใช้บริการ
Telnet หรือ Gopher และบริการอื่นๆ ผู้ใช้จำเป็นต้องทราบหมายเลขไอพี หรือดีเอ็นเอสในการติดต่อ
กับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดดังที่กล่าวมานั้น แต่สำหรับการใช้บริการเวิลด์ไวด์เว็บ ผู้ใช้จะต้อง
สืบค้นข้อมูลโดยใช้รหัสที่เรียกว่ารหัสสืบค้นยูอาร์แอล (URL : Uniform Resource Location) โดย
โครงสร้างของรหัสสืบค้นยูอาร์แอลมีส่วนประกอบ 4 ส่วน คือ (ชุน เทียมทินกฤต, 2542 : 16)
1. ชนิดของบริการ (Type) มี 4 ชนิด ได้แก่
1.1 เวิลด์ไวด์เว็บ ใช้สัญลักษณ์ http
1.2 โกเฟอร์ ใช้สัญลักษณ์ gopher
1.3 การโอนย้ายแฟ้มข้อมูล ใช้สัญลักษณ์ file
1.4 ข่าว ใช้สัญลักษณ์ news
2. ชื่อของคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการ (Host) และหมายเลขพอร์ตของคอมพิวเตอร์
3. ไดเรกทอรี่ เป็นการกำหนดเส้นทางสำหรับการค้นหาแฟ้มข้อมูลในระบบยูนิกซ์
4. ชื่อแฟ้มข้อมูลที่ต้องการโอนย้ายมา
2.1 แนวทางในการพัฒนาเว็บไซต์
เดโบร่าห์ ลินน์ ไวเลย์ (Deborah Lynne Wiley ; 1998 : 7) มีแนวความคิด
เกี่ยวกับแนวทางในการพัฒนาเว็บไซต์ 3 แนวทาง คือ
การพัฒนาเว็บไซต์ที่เกิดขึ้นโดยมิได้ตั้งใจ เป็นการพัฒนาเว็บไซต์ในระยะแรกที่
มีการใช้ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งเกิดจากการที่ผู้พัฒนาได้มีประสบการณ์ในการใช้ประโยชน์จาก
อินเทอร์เน็ต และเกิดความประสงค์ที่จะนำเสนอสารสนเทศของตน จึงได้พัฒนาเว็บไซต์ขึ้น
การพัฒนาเว็บไซต์ตามความต้องการของผู้บริหารหรือตามความก้าวหน้าของ
เทคโนโลยีเป็นการพัฒนาเว็บไซต์ในระยะที่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้รับความนิยมแล้ว องค์กรต่างๆ ที่
พัฒนาเว็บไซต์ขึ้นตามแนวทางนี้มีความต้องการเพียงการนำเสนอสารสนเทศขององค์กรผ่านเครือข่าย
อินเทอร์เน็ตเท่านั้น
การพัฒนาเว็บไซต์อย่างมีแบบแผน เป็นการพัฒนาเว็บไซต์ที่ผู้พัฒนาตระหนัก
ถึงประโยชน์ของเว็บไซต์ในการนำเสนอสารสนเทศ มีการวางแผน การออกแบบ และการพัฒนาตาม
วัตถุประสงค์ขององค์กรอย่างเป็นกิจลักษณะ
2.2 แกนหลักของการพัฒนาเว็บไซต์
แฮคการ์ด (Haggard ; 2000 : 10) ได้กล่าวไว้ว่า เวลาที่ผู้ใช้เปิดดูเว็บไซต์ แสดงว่า
เขากำลังต้องการค้นหาข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นการค้นคว้าวิจัยบางเรื่อง การซื้อสินค้าและบริการ การอ่าน
34
ข่าวล่าสุด การเล่นเกมหรือถามคำถามบางอย่าง ในปัจจุบันนี้เว็บไซต์กำลังมีประโยชน์มากขึ้นเรื่อยๆ
เพราะเนื้อหาที่อยู่ในเว็บกำลังเพิ่มมากขึ้นและมีความสมบูรณ์มากขึ้น
อย่างไรก็ตาม เมื่อข้อมูลในเว็บมีเนื้อหามากขึ้น ก็อาจสร้างความสับสนในการ
ใช้งานได้ เพราะว่าแต่ละเว็บไซต์ก็มีวิธีใช้งานที่แตกต่างกัน หรือเมื่อใช้ Search engine ก็จะได้ผลลัพธ์
ทีละมากๆ เมื่อมีการค้นหาข้อมูลหลายครั้งกว่าที่ผู้ใช้จะพบข้อมูลที่ต้องการก็อาจจะพบว่าข้อมูลนั้นไม่
ทันสมัยหรือไม่ใช่ข้อมูลที่ต้องการก็ได้
เพราะฉะนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุดที่เราต้องทำในการออกแบบเว็บไซต์ช่วงแรกก็คือ
จะต้องตัดสินใจก่อนว่าจะเผยแพร่ข้อมูลอะไร จะจัดการข้อมูลเหล่านั้นได้อย่างไร และเราจะมั่นใจได้
อย่างไรว่าข้อมูลนั้นสมบูรณ์และทันสมัยที่สุด โดยการวางแผนอย่างรอบคอบจะทำให้เราพัฒนา
เว็บไซต์ที่ประสบความสำเร็จ และเป็นประโยชน์สำหรับกลุ่มเป้าหมายของเราได้
2.3 กระบวนการพัฒนาเว็บไซต์
เมื่อเริ่มต้นสร้างเว็บไซต์ขึ้นมา การพัฒนาเว็บไซต์อย่างมีหลักการ ดำเนินการ
ตามขั้นตอนที่ชัดเจน จะช่วยให้สามารถทราบรายละเอียดที่จำเป็น ในแต่ละขั้นตอนของการ
ออกแบบ ซึ่งจะช่วยป้องกันข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น และลดความเสี่ยงที่จะทำให้เว็บประสบความ
ล้มเหลว ซึ่งในที่สุดจะได้เว็บที่ตรงกับเป้าหมายตามความต้องการ มีประโยชน์ และให้ความสะดวก
แก่ผู้ที่เข้ามาใช้บริการ
การจัดระบบโครงสร้างข้อมูล (Information Architecture) คือ การพิจารณาว่า
เว็บไซต์ควรจะมีข้อมูลและการทำงานใดบ้าง ด้วยการสร้างเป็นแผนผังโครงสร้างก่อนที่จะเริ่มลงมือ
พัฒนาเว็บเพจ โดยเริ่มจากการกำหนดเป้าหมายของเว็บไซต์ และกลุ่มผู้ใช้เป้าหมาย
35
1. แนวทางการออกแบบเว็บไซต์
2. ขอบเขตเนื้อหาและการใช้งาน
3. ข้อมูลที่ถูกจัดอย่างเป็นระบบ
1. เป้าหมายหลักของเว็บไซต์
2. ความต้องการของผู้ใช้
3. กลยุทธ์ในการแข่งขัน
1. เว็บไซต์ที่สมบูรณ์
2. เปิดตัวเว็บไซต์และทำให้เป็นที่รู้จัก
3. แนวทางการดูแลและพัฒนาต่อไป
Phase 5 : พัฒนาและดำเนินการ (Production and Operation)
11. จัดระบบข้อมูล
12. จัดทำโครงสร้างข้อมูล
13. พัฒนาระบบเนวิเกชัน
Phase 3 : พัฒนาโครงสร้างเว็บไซต์ (Site Structure)
6. จัดระบบข้อมูล
7. จัดทำโครงสร้างข้อมูล
8. พัฒนาระบบเนวิเกชัน
Phase 1 : สำรวจปัจจัยสำคัญ (Research)
1. รู้จักตัวเอง – กำหนดเป้าหมายและสำรวจความพร้อม
2. เรียนรู้ผู้ใช้ – ระบุกลุ่มผู้ใช้และศึกษาความต้องการ
3. ศึกษาคู่แข่ง – สำรวจการแข่งขันและเรียนรู้คู่แข่ง
Phase 2 : พัฒนาเนื้อหา (Stie Content)
4. สร้างกลยุทธ์การออกแบบ
5. หาข้อสรุปขอบเขตเนื้อหา
1. แผนผังโครงสร้างข้อมูล
2. แนวทางการท่องเว็บ
3. ระบบเนวิเกชัน
Phase 4 : ออกแบบและพัฒนาหน้าเว็บ (Visual design) 1. ลักษณะหน้าตาของเว็บไซต์
9. ออกแบบลักษณะหน้าตาเว็บเพจ 2. เว็บเพจต้นแบบที่จะใช้ในการพัฒนา
10. พัฒนาเว็บต้นแบบและข้อกำหนดสุดท้าย 3. รูปแบบโครงสร้างของเว็บไซต์
4. ข้อกำหนดในการพัฒนาเว็บไซต์
รูปที่ 1 แสดงกระบวนการในการพัฒนาเว็บไซต์
ที่มา : ธวัชชัย ศรีสุเทพ, 2544. 29-45.
กระบวนการ 13 ขั้นตอนในการพัฒนาเว็บไซต์
36
ต่อมาควรพิจารณาถึงเนื้อหาและการใช้งานที่จำเป็น แล้วนำมาจัดกลุ่มให้เป็น
ระบบ จากนั้นก็ถึงเวลาในการออกแบบโครงสร้างข้อมูลในหน้าเว็บให้พร้อมที่จะนำไปออกกราฟิก
และหน้าตาให้สมบูรณ์ต่อไป
ขั้นตอนกระบวนการพัฒนาเว็บไซต์ มี 13 กระบวนการ 5 ช่วง ดังนี้ คือ
ช่วงที่ 1 การสำรวจปัจจัยสำคัญ (Research)
ในขั้นตอนแรก จะเน้นถึงการสำรวจข้อมูลของปัจจัยหลัก 3 ประการที่เป็น
พื้นฐานในการออกแบบเว็บไซต์ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการกำหนดแนวทางและกลยุทธ์ในการ
ออกแบบเว็บไซต์ให้มีประสิทธิภาพและได้เปรียบในการแข่งขัน
1. รู้จักตัวเอง
มีเว็บไซต์จำนวนมากที่ล้มเหลว เพราะว่าขาดเป้าหมายที่ชัดเจน ผลที่ได้
คือ เว็บนั้นมีประโยชน์เพียงเล็กน้อย เนื่องจากไม่มีการตั้งเป้าหมายที่แท้จริงของเว็บไซต์
1.1 กำหนดเป้าหมายหลักของเว็บไซต์
1.2 กำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน
1.3 ระบุวิธีการวัดความสำเร็จ
1.4 พิจารณาทรัพยากรที่มี ทรัพยากรในที่นี้ หมายถึง องค์ประกอบ
หลักในการพัฒนาเว็บไซต์ ซึ่งได้แก่ บุคลากร,เงินทุน,ระยะเวลา และเนื้อหา
2. เรียนรู้ผู้ใช้
ในทางปฏิบัติ จะไม่สามารถสร้างเว็บให้มีคุณสมบัติทุกอย่างตามที่
ทุกคนต้องการได้ จึงต้องเลือกเจาะจงถึงผู้ใช้เฉพาะกลุ่ม เพื่อจะได้ศึกษาถึงลักษณะการตอบสนอง
ความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างถูกต้อง ดังรายละเอียดต่อไปนี้
2.1 กำหนดกลุ่มผู้ใช้เป้าหมาย
2.2 ค้นหาสิ่งที่ผู้ใช้ต้องการ
2.3 สร้างประโยชน์ต่อผู้ใช้
2.4 เรียนรู้ประสบการณ์ของผู้ใช้
2.5 จำลองสถานการณ์
3. สำรวจการแข่งขันและคู่แข่ง
โดยสำรวจตลาดการแข่งขันของเว็บที่มีเป้าหมายเช่นเดียวกัน ค้นหา
จำนวนเว็บที่อยู่ในประเภทเดียวกัน และต้องรู้ว่าผู้ใช้กำลังให้ความสนใจกับเรื่องอะไร แนวโน้มข้างหน้า
จะเป็นอย่างไร
3.1 สำรวจบรรยากาศการแข่งขัน
3.2 เรียนรู้จากคู่แข่ง
37
ช่วงที่ 2 พัฒนาเนื้อหา(Site Content)
4. สร้างกลยุทธ์การออกแบบ
เมื่อเข้าใจถึงสิ่งที่ต้องการนำเสนอในเว็บไซต์และที่จะเข้ามาใช้บริการ
แล้วขั้นตอนต่อไปคือสร้างกลยุทธ์สำหรับใช้ในการออกแบบที่สื่อความหมายและในการนำเสนอ
เนื้อหาต่อผู้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ใช้จะได้รับข้อความที่ต้องการสื่อและตอบสนอง
ต่อสิ่งที่ได้รับตามเป้าหมาย
4.1 สร้างแนวทางให้ผู้ใช้ได้รับข้อความที่จะสื่อ
4.2 ประยุกต์เนื้อหาจากสื่ออื่น ๆ
4.3 เนื้อหาเสริมคุณค่า
4.4 เลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม
5. หาข้อสรุปของเขตเนื้อหา
จากที่ได้ศึกษามาแล้ว ก็คือ เป้าหมายของเว็บไซต์ ความต้องการของ
ผู้ใช้และข้อมูลของเว็บคู่แข่ง โดยนำข้อมูลเหล่านี้มาพิจารณาถึงเนื้อหาที่จำเป็นในการสื่อถึงผู้ใช้
พร้อมกับเพิ่มเติมสิ่งอื่น ๆ ที่คุณคิดว่าเหมาะสม เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมาย จากนั้นจึงแยกข้อมูล
ออกเป็น 2 ประเภท คือ เนื้อหา(Content requirements) กับการใช้งาน (Function requirements) โดยที่
เนื้อหาหมายถึงข้อมูลโดยทั่วไปที่อ่านในหน้าเว็บเพจ ส่วนในงานก็คือระบบที่ผู้ใช้สามารถใช้งานได้
เช่น การส่งอีเมล์ , การส่งข้อความไปยังเพจเจอร์ , การส่งอิเล็กทรอนิกการ์ด, การส่งข้อมูลผ่าน
แบบฟอร์ม , การเล่นเกมส์ หรือการพูดคุยผ่านระบบแชท
5.1 กำหนดเนื้อหาและการใช้งานที่จำเป็น
5.2 เก็บรวบรวมและพัฒนาข้อมูล
ช่วงที่ 3 พัฒนาโครงสร้างเว็บไซต์ (Site structure)
6. จัดระบบข้อมูล
เมื่อมีข้อมูลจำนวนมากที่จะนำมาใช้ในเว็บไซต์ก็ถึงคราวที่จะต้องนำ
ข้อมูลเหล่านั้นมาจัดให้เป็นระบบ เพื่อให้ได้เป็นร่างแผนผังโครงสร้าง (Draft arcthitecture plan) ด้วย
การทดลองใช้แนวคิดหลาย ๆ แบบมาใช้เป็นเกณฑ์ในการจัดกลุ่ม และลองตั้งชื่อกลุ่มข้อมูลเหล่านั้น
จากนั้นเปรียบเทียบแนวทางการจัดกลุ่มข้อมูลของผู้เกี่ยวข้องทุกคน เพื่อหาข้อสรุปที่คนส่วนใหญ่เข้าใจ
ได้ง่าย ระบบโครงสร้างข้อมูลที่ดีมีส่วนช่วยให้ผู้ใช้เข้าใจภาพรวมของเนื้อหาได้ดีขึ้น โดยการจัดกลุ่ม
และระบุชื่อเนื้อหา
38
7. จัดทำโครงสร้างข้อมูล
เมื่อมีข้อมูลเกี่ยวกับเนื้อหาและการใช้งานพร้อมแล้ว ก็มาถึงการกำหนด
โครงสร้างหลักของเว็บไซต์ ซึ่งเป็นพื้นฐานให้กับสิ่งที่คุณจะพัฒนาต่อไป เพื่อให้ได้โครงสร้างที่เป็น
ระบบและง่ายต่อการใช้
7.1 จัดทำรายการโครงสร้างของเว็บไซต์
7.2 จัดทำแผนผังโครงสร้างเว็บไซต์
นอกจากนี้ ยังมีแผนผังโครงสร้างเว็บไซต์อีกรูปแบบที่เรียกว่า Site map
ซึ่งแสดงถึงภาพรวมของเนื้อหาหลัก ๆ ภายในเว็บไซต์ แต่ไม่มีรายละเอียดมากเท่ากับ แผนผัง
โครงสร้างเว็บไซต์ แผงผังชนิดนี้เหมาะที่จะนำไปแสดงบนเว็บไซต์เพื่อให้ผู้ใช้เข้าใจถึงโครงสร้าง
เนื้อหาของเว็บไซต์ได้ง่ายขึ้น
8. พัฒนาระบบเนวิเกชัน
การวางแนวทางเคลื่อนที่ภายในไซต์ เป็นการกำหนดเขตของข้อมูล
ส่วนต่าง ๆ ร่วมกับการสร้างทางเชื่อมโยงถึงกัน โดยเริ่มพิจารณาจากหน้าโฮมเพจ แล้วถึงกำหนด
แนวทางการเข้าถึงข้อมูลย่อยในส่วนต่าง ๆ การเคลื่อนที่จากส่วนหนึ่งไปอีกส่วนหนึ่งและวิธีการใช้งาน
ของระบบต่าง ๆ โดยคาดการณ์ว่าผู้ใช้จะท่องเว็บในลักษณะใด ทำอย่างไรจึงจะไม่ให้ผู้ใช้หลงทางอยู่ใน
เว็บ ระบบเนวิเกชันหรือระบบนำทางเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะนำผู้ใช้ไปยังส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้
8.1 วางแนวทางการเคลื่อนที่ภายในไซต์
8.2 สร้างระบบเนวิเกชัน
ช่วงที่ 4 ออกแบบและพัฒนาหน้าเว็บ(Visual Degign)
9. ออกแบบลักษณะหน้าตาเว็บเพจ
ขั้นตอนต่อไป คือการเริ่มออกแบบหน้าตาของเว็บไซต์ ซึ่งจะเป็นการ
นำโครงสร้างข้อมูลมาพัฒนาให้เป็นรูปร่างอย่างสื่อความหมาย โดยอาจจะต้องอาศัยผู้มีความชำนาญ
ในการออกแบบกราฟิกเข้ามาช่วย เริ่มจากการจัดโครงสร้างหน้า แล้วออกแบบลักษณะหน้าตาเว็บก็จะ
ได้เป็นหน้าตัวอย่างเพื่อนำไปสร้างเป็นหน้าต้นแบบต่อไป
9.1 สร้างแบบจำลองรายละเอียดข้อมูลในหน้าเว็บ
9.2 จัดแบ่งพื้นที่ในหน้าเว็บ
9.3 ออกแบบโครงร่างของหน้าเว็บเพจ
10. พัฒนาเว็บต้นแบบและโครงสร้างเว็บไซต์ขั้นสุดท้าย
หลังจากตัดสินใจเลือกรูปแบบของเว็บเพจที่ต้องการได้แล้ว จึงนำไป
สร้างเป็นเว็บไซต์ต้นแบบขึ้น ซึ่งจะประกอบด้วยตัวอักษร ลิงค์ และองค์ประกอบหลัก ๆ ที่จำเป็นเพื่อ
นำไปทดสอบการใช้งานกับตัวอย่างกลุ่มผู้ใช้หลาย ๆ คน โดยสังเกตแนวทางการเรียกดูข้อมูลและการ
39
ใช้งานระบบต่าง ๆ โดยอาจบอกให้พวกเขาลองค้นหาข้อมูลบางอย่างที่สนใจ สร้างและทดสอบ
เว็บเพจต้นแบบ
10.1 ออกแบบโครงร่างของหน้าเว็บเพจ
10.2 สรุปแผนผังโครงสร้างเว็บไซต์ขั้นสุดท้าย
10.3 ระบุข้อกำหนดในการพัฒนาเว็บไซต์
10.4 กำหนดรูปแบบมาตรฐาน
ช่วงที่ 5 พัฒนาและดำเนินการ(Production & Operation)
11. ลงมือพัฒนาเว็บเพจ
จากขั้นตอนที่ผ่านมาทั้งหมด จะได้รูปแบบและแนวทางการพัฒนา
เว็บไซต์เรียบร้อยแล้ว พร้อมที่จะลงมือสร้างเว็บไซต์จริงในขั้นตอนนี้ โดยการรวมเทคโนโลยีและการ
ออกแบบเข้าด้วยกัน เพื่อให้ได้เว็บไซต์ที่สมบูรณ์ในที่สุด
11.1 เรียบเรียงและตรวจสอบข้อมูล
11.2 ตกแต่งหน้าตาเว็บเพจให้สมบูรณ์
11.3 สร้างเทมเพลตสำหรับหน้าเว็บ
11.4 พัฒนาเว็บเพจ
11.5 พัฒนาระบบการใช้งานของเว็บ
12. เปิดตัวเว็บไซต์
ก่อนที่จะเปิดตัวนั้นควรทดสอบการใช้งานเพื่อค้นหาข้อผิดพลาดที่อาจ
เกิดขึ้นเสียก่อน จากนั้นเมื่อพร้อมเปิดตัวแล้วก็ต้องดำเนินการประชาสัมพันธ์ทำให้เว็บไซต์เป็นที่รู้จัก
ต่อไป
12.1 ทดสอบคุณภาพ การใช้งาน และความถูกต้อง
12.2 ทำให้เว็บไซต์เป็นที่รู้จัก
13. ดูแลและพัฒนาต่อเนื่อง
เนื่องจากเว็บไซต์ยังคงต้องมีการพัฒนาปรับปรุง เพิ่มเติมเนื้อหาอยู่
เสมอ อาจจะเพิ่มเมื่อพบว่ามีข้อมูลส่วนสำคัญที่จำเป็นต้องเพิ่มเติมเข้าไปหรือมีความจำเป็นต้อง
ปรับปรุงลักษณะต่างๆ เพื่อให้เหมาะสมกับผู้ใช้
13.1 เพิ่มข้อมูลใหม่โดยยึดรูปแบบมาตรฐาน
13.2 วิเคราะห์สถิติการใช้บริการในเว็บไซต์
13.3 ตรวจสอบความถูกต้องของลิงค์
13.4 ตรวจสอบเนื้อหาการใช้งานให้ถูกต้อง ทันสมัย และตรง
กับความต้องการของผู้ใช้อยู่เสมอ
40
2.4 การพัฒนาเว็บไซต์
การพัฒนาเว็บไซต์ที่ดีต้องมีการวางแผน และออกแบบในรายละเอียดต่างๆ
เพื่อให้การพัฒนาเว็บไซต์เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ซึ่งต้องอาศัยทฤษฎี และหลักการต่างๆ เข้ามาช่วย
โดยในหัวข้อการพัฒนาเว็บไซต์นี้จะกล่าวถึงหลักการ แนวคิด และวิธีในการพัฒนาเว็บไซต์ ซึ่งมี
รายละเอียดดังต่อไปนี้
2.4.1 แนวคิดและหลักการออกแบบเว็บไซต์และโฮมเพจ
การพัฒนาเว็บไซต์ที่ดีควรมีการวางแผนก่อนเสมอ เพื่อให้การทำงาน
ของเว็บไซต์ถูกต้องตรงกับความต้องการ นักพัฒนาเว็บไซต์ควรจะศึกษาถึงข้อกำหนดพื้นฐานที่ควร
ทราบก่อน อันได้แก่ การกำหนดชื่อโฟลเดอร์ ไฟล์เอกสารเว็บ ไฟล์ภาพกราฟิก ตลอดจนไฟล์อื่นๆ ที่
จะนำมาใช้ในการทำเว็บไซต์ เว็บไซต์ที่นำเสนอเอกสารเป็นภาษาไทยมักจะเกิดปัญหาด้านการ
แสดงผลภาษาไทยผ่านบราวเซอร์ ดังนั้นในการพัฒนาเว็บไซต์ที่เป็นภาษาไทย จึงควรระมัดระวังเรื่อง
นี้ด้วย
ทรงศักดิ์ ลิ้มบรรจงมณี (2542 : 105) กล่าวถึงหลักการออกแบบ
เว็บไซต์ ไว้ 10 ประการดังนี้
1. การใช้ฉากหลัง
การใช้ฉากหลังควรใช้ฉากหลังที่เหมาะสมกับข้อมูลที่นำเสนอ มี
ความเรียบง่ายไม่ก่อให้เกิดลวดลายที่ทำให้ลายตา ทำให้อ่านข้อความได้ยาก และใช้เวลาในการ
แสดงผลนานขึ้น
2. การใช้ Effect
Effect ควรจะช่วยส่งเสริมเนื้อหาสาระ ไม่ควรเด่นกว่าเนื้อหา การ
ใช้ Effect มากทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ต้องเสียเวลาในการคำนวณ ทำให้ช้าเสียเวลาของผู้เข้าชมโดย
ใช่เหตุ จำนวนของ Effect โดยรวมไม่ควรน้อยเกินไป และมากเกินไปจนน่าเบื่อ และควรใช้ Effect ที่
เข้ากันได้ โดยพิจารณารูปแบบ และความเหมาะสม
3. การใช้ตัวอักษร
ตัวอักษรที่เลือกใช้ควรตรวจดูก่อนว่ามีรูปแบบครบทั้งตัวปกติ
ตัวหนา ตัวเอียง ตัวขีดเส้นใต้ และควรเป็นตัวหนังสือที่อ่านง่ายดูสบายตา
4. การออกแบบกราฟิก
ในการนำภาพเข้ามาใช้งานควรจะคำนึงถึงหน้าที่ของภาพเป็น
สำคัญ ขนาดของภาพที่เล็กจะทำให้บริหารได้ง่าย และทำให้เกิดความรวดเร็วทั้งการ Upload และ
41
Download ไม่ควรนำภาพ หรือข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องเข้ามาแสดง ซึ่งจะทำให้ผิดจุดประสงค์ของ
เว็บไซต์ และทำให้ผู้ใช้งานเสียเวลาในการเรียกใช้ข้อมูล
5. การควบคุมขนาดของเว็บไซต์
การตรวจสอบความกว้างยาวของเว็บไซต์ และการนำเว็บไซต์ไป
ทดสอบกับเว็บบราวเซอร์ที่มีการกำหนดขนาดจอภาพแตกต่างกันจะช่วยลดปัญหาเรื่องการแสดงผล
นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงการกำหนดความละเอียดในการแสดงผลของเครื่อง และระบบคอมพิวเตอร์
ที่แตกต่างกันอีกด้วย เนื่องจากผู้ชมอาจเข้ามาใช้เว็บไซต์จากระบบปฏิบัติการ และคอมพิวเตอร์ที่
แตกต่างกัน การวางรูปแบบโครงร่างที่ใหญ่เกินไปทำให้ผู้ใช้ต้องใช้แถบเลื่อนอาจทำให้ผู้ใช้เบื่อหน่าย
และอาจพลาดข้อมูลสำคัญได้
6. วางแผน และออกแบบก่อนลงมือสร้าง
การออกแบบสร้างเว็บไซต์ต้องวางแผนในการจัดการบริหาร
เว็บไซต์ทั้งหมด นอกจากนี้การเพิ่มแผนที่ของไซท์ (Site Map) ยังช่วยให้ผู้ชมไปยังส่วนต่างๆ และทำ
ความเข้าใจกับโครงสร้างของเว็บไซต์ได้ง่ายขึ้น
7. การชี้นำผู้ใช้ด้วยวิธีง่ายๆ
สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่ไม่ควรลืม คือ การดำเนินการตามจุดประสงค์
ของเว็บไซต์ ที่สร้างขึ้นโดยวางรูปแบบเนื้อหา และออกแบบกราฟิกสำหรับนำทางด้วยวิธีการที่ง่าย
และสอดคล้องกับจุดประสงค์ เพื่อที่จะสร้างความประทับใจแก่ผู้เข้าชม
8. การใช้เทคโนโลยี
ไม่ควรสร้างเว็บไซต์ด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำยุค ซึ่งผู้คนส่วนใหญ่ไม่
สามารถสัมผัสได้ เนื่องจากเทคโนโลยีเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตมีการพัฒนา และปรับปรุงอย่างรวดเร็ว การวิ่ง
ตามเทคโนโลยีที่เกิดใหม่ และยังไม่เป็นที่ยอมรับอาจทำให้เสียเวลาโดยไม่เกิดประโยชน์
9. มีความจริงใจต่อผู้ชม
ผู้ชมเปรียบเสมือนแขกที่เข้ามาเยี่ยมบ้าน ดังนั้นการสร้างเว็บไซต์
ต้องทำให้ผู้ใช้งานมีความรู้สึกสบายๆ เป็นกันเอง ควรนำเสนอข้อมูลอย่างยืดหยุ่น และให้ผู้ใช้เข้าใจ
ง่าย กำหนดให้มีการโต้ตอบระหว่างผู้ชม และผู้ออกแบบตามสมควร ให้ส่วนแสดงผลและตอบรับ
ใช้งานได้ง่าย
10. ทำการปรับปรุงให้ทันสมัยเสมอ
การนำสิ่งที่น่าสนใจมาสู่ผู้ชมอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งแสดงวัน
เวลา หรือจำนวนครั้งที่มีการปรับปรุง และไม่ละเลยต่อผลตอบรับของผู้ชม ซึ่งเป็นกระจกสะท้อนของ
เว็บไซต์
42
โฮมเพจเป็นส่วนหนึ่งของเว็บไซต์ ซึ่งนับว่ามีความสำคัญกับองค์กรเป็น
อย่างมาก เนื่องจากเป็นหน้าแรกของเว็บไซต์ที่จะถูกนำเสนอสู่สายตาผู้เข้าชม ดังนั้นก่อนที่จะลงมือสร้าง
โฮมเพจ ผู้สร้างจะต้องคำนึงถึงข้อมูลพื้นฐานต่อไปนี้ก่อน (งามนิจ อาจอินทร์, 2542 :69-70)
1. เลือกข้อมูลที่จะนำเสนอให้ครอบคลุม
2. เลือกหัวข้อเรื่องที่เหมาะสม ถ้าหัวข้อเรื่องเป็นรูปภาพ ไม่ควรใช้ภาพที่
ใหญ่เกินไป
3. โฮมเพจ ควรจะมีรายการสารบัญที่แสดงถึงหัวข้อของข้อมูลต่างๆ ที่มี
ในเว็บไซต์นั้นเพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลในหัวข้อที่ผู้อ่านสนใจ
4. ควรมีปุ่มเชื่อมโยง หรือปุ่มที่ผู้ใช้สามารถคลิก เพื่อย้อนกลับหรือ
กลับไปยังหน้าแรกเพื่อป้องกันการหลงทางของผู้อ่านได้
5. เนื้อหาของเอกสารไม่ควรยาวเกินไป เนื่องจากเนื้อหาที่ยาวมากๆ จะ
ทำให้ผู้ใช้งานไม่มีความสะดวก เนื่องจากต้องเลื่อนดูเอกสารทั้งหน้านั้น
6. โดยทั่วไปเนื้อหาที่เป็นโฮมเพจ ไม่ควรเกิน 1 หน้า และควรสั้น
กระทัดรัด
7. ต้องระวังตัวสะกด และไวยากรณ์ของภาษาที่ใช้
8. ต้องระวังรูปภาพที่มีขนาดใหญ่ หรือมีภาพเป็นจำนวนมาก เนื่องจากจะ
ทำให้เอกสารนั้นใช้เวลานานในการเปิด
9. ถ้าจำเป็นต้องใช้รูปภาพขนาดใหญ่ควรทำเป็นจุดเชื่อมโยงไว้ และมี
ข้อความบ่งบอกถึงขนาดของรูปภาพ และอาจใช้เวลาในการเปิดภาพนั้น
10. เลือกใช้รูปแบบของกราฟิกให้ถูก เช่น JPEG เหมาะกับภาพที่มีความ
ละเอียดสูง ส่วน GIF เหมาะกับรูปที่เป็นลาย เช่น ตราสัญลักษณ์ หรือภาพเคลื่อนไหว เป็นต้น
11. กรณีที่มีข้อมูลข่าวสารอื่นควรจะมีการสร้างจุดเชื่อมไปยังแหล่งข้อมูล
นั้นด้วย เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถค้นหาข้อมูลได้อย่างกว้างขวาง
12. กรณีที่มีเนื้อหาตอนใดที่อ้างถึงข้อมูลที่มีในเว็บไซต์ควรจะทำจุด
เชื่อมโยงไปยังข้อมูลนั้นด้วย เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าไปยังข้อมูลนั้นได้โดยตรง
13. การใช้เทคโนโลยีประเภทมัลติมีเดีย เช่น การสร้างภาพเคลื่อนไหว
เสียง และการแสดงผลด้วย Plugins ต่างๆ เป็นต้น ต้องคำนึงถึงผู้เรียกดูด้วยว่าจะสามารถเรียกดูได้
หรือไม่ โดยมีวิธีแนะนำหรือสนับสนุนให้ผู้ใช้งานทราบด้วย
14. ถ้าต้องการใช้ฉากหลัง ต้องแน่ใจว่าฉากหลังนั้นจะไม่ทำให้ตัวอักษร
หรือรูปภาพที่ต้องการนำมาแสดงบนเพจมองเห็นไม่ชัดเจน
15. สีพื้นฉากหลังควรเป็นสีที่นุ่มนวล แต่เป็นจุดดึงดูดความสนใจดูแล้วสบายตา
43
16. ควรมีการแจ้งชื่อ ที่อยู่ หรือ E-Mail ของผู้สร้างไว้ในโฮมเพจด้วย
17. ควรมีการระบุวันปรับปรุงครั้งล่าสุดด้วย และควรหมั่นปรับปรุงเนื้อหา
ให้ทันเหตุการณ์ หรือเพิ่มหัวข้อใหม่ๆ เพื่อความน่าสนใจ
18. ควรตรวจสอบเอกสารให้ละเอียดก่อนนำเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต
2.4.2 หลักการออกแบบเว็บไซต์
การออกแบบ และพัฒนาเว็บไซต์สามารถทำได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับ
ลักษณะของข้อมูล ความชอบของผู้พัฒนา ตลอดจนกลุ่มเป้าหมาย ที่ต้องการนำเสนอ
หลักการออกแบบเว็บไซต์ สามารถแบ่งได้ 3 ลักษณะ ดังนี้ (ศูนย์
เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ, 2545) [ออนไลน์]
1. แบบลำดับขั้น (Hierarchy) เป็นการจัดแสดงหน้าเว็บเพจเรียงลำดับ
กิ่งก้าน แตกแขนงต่อเนื่องไปเหมือนต้นไม้กลับหัว
Home
page
รูปที่ 2 การออกแบบ และพัฒนาเว็บไซต์ แบบลำดับขั้น
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ, 2545 [ออนไลน์]
2. แบบเชิงเส้น (Linear) เป็นการจัดแสดงหน้าเว็บเพจเรียงต่อเนื่องไปใน
ทิศทางเดียว
Home
Page
รูปที่ 3 การออกแบบ และพัฒนาเว็บไซต์แบบเชิงเส้น
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ, 2545 [ออนไลน์]
44
Home
page
3. แบบผสม (Combinaton) เป็นการจัดหน้าเว็บเพจชนิดผสมระหว่าง
แบบลำดับขั้นและแบบเชิงเส้น
รูปที่ 4 การออกแบบ และพัฒนาเว็บไซต์ แบบผสม
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ, 2545 [ออนไลน์]
2.5 องค์ประกอบของการออกแบบเว็บเพจที่มีประสิทธิภาพ
ธวัชชัย ศรีสุเทพ (2544 : 16-18) กล่าวว่า องค์ประกอบพื้นฐานที่สำคัญของเว็บเพจ
มีดังนี้
1. ความเรียบง่าย (Simplicity) รูปแบบเว็บที่มีความเรียบง่าย ไม่
ซับซ้อน และใช้งานได้อย่างสะดวก แม้ว่าจะมีข้อมูลในเว็บเพจอยู่มากมายแต่ไม่มีโอกาสเห็นกราฟิก
หรือตัวอักษรที่เคลื่อนไหวตลอดเวลา ซึ่งจะรบกวนสายตาและสร้างความรำคาญต่อผู้ใช้ นอกจากนี้ยัง
ใช้ชนิดและสีของตัวอักษรไม่มากจนเกินไปทำให้วุ่นวาย ในส่วนเนื้อหาก็ใช้ตัวอักษรสีดำบนพื้นหลัง
สีขาวตามปกติ และไม่มีการเปลี่ยนแปลงลิงค์ให้สับสนแต่อย่างใด สรุปว่า หลักที่สำคัญของความ
เรียบง่ายคือ การสื่อสารเนื้อหาถึงผู้ใช้โดยจำกัดองค์ประกอบเสริมที่เกี่ยวข้องกับการนำเสนอให้เหลือ
เฉพาะสิ่งที่จำเป็นเท่านั้น
2. ความสม่ำเสมอ (Consistency) รูปแบบเดียวกันตลอด เนื่องจากผู้ใช้
รู้สึกกับเว็บเพจว่าเป็นเสมือนสถานที่จริง ถ้าลักษณะของแต่ละหน้าในเว็บเพจเดียวกันนั้นแตกต่างกัน
มาก ผู้ใช้ก็จะเกิดความสับสนและไม่แน่ใจว่ากำลังอยู่ในเว็บเพจเดิมหรือไม่ ดังนั้นรูปแบบของหน้า
สไตล์ของกราฟิก ระบบเนวิเกชัน และโทนสีที่ใช้ควรจะมีความคล้ายคลึงกันตลอดทั้งเว็บเพจ
3. ความเป็นเอกลักษณ์ (Identity) การออกแบบต้องคำนึงถึงลักษณะ
ขององค์กร เนื่องจากรูปแบบของเว็บสามารถสะท้อนถึงเอกลักษณ์และลักษณะขององค์กรนั้นได้
เช่น เว็บไซต์ของธนาคารจึงไม่ควรจะดูเหมือนกับสวนสนุก การใช้ชุดสี ชนิดตัวอักษร รูปภาพและ
45
กราฟิกจะมีผลต่อรูปแบบของเว็บเพจอย่างมาก ผู้ออกแบบจึงต้องเลือกใช้องค์ประกอบเหล่านี้อย่าง
เหมาะสม
4. เนื้อหาที่มีประโยชน์ (Useful content) เนื้อหาถือเป็นสิ่งที่สำคัญ
ที่สุดในเว็บเพจ ดังนั้นในเว็บเพจควรจัดเตรียมเนื้อหาและข้อมูลที่ผู้ใช้ต้องการให้ถูกต้องและสมบูรณ์
โดยมีการปรับปรุงและเพิ่มเติมให้ทันต่อเหตุการณ์อยู่เสมอ เนื้อหาที่สำคัญที่สุดคือ เนื้อหาที่สร้าง
ขึ้นมาเองโดยทีมงานและไม่ซ้ำกับเว็บอื่น เพราะจะเป็นสิ่งที่ดึงดูดผู้ใช้ให้เข้ามาในเว็บไซต์อยู่เสมอ
ต่างจากเนื้อหาที่ลิงค์ไปยังเว็บไซต์อื่น ซึ่งเมื่อผู้ใช้รู้ถึงแหล่งข้อมูลจริงๆ แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องกลับมาที่
ลิงค์เหล่านั้นอีก
5. ระบบเนวิเกชันที่ใช้งานง่าย (User-friendly navigation) ระบบ
เนวิเกชันเป็นองค์ประกอบที่สำคัญมากของเว็บเพจ คุณจึงต้องออกแบบให้ผู้ใช้เข้าใจได้ง่ายและใช้
งานสะดวกใช้กราฟิกที่สื่อความหมายร่วมกับคำอธิบายที่ชัดเจน รวมทั้งมีรูปแบบและลำดับของ
รายการที่สม่ำเสมอ เช่น วางไว้ในตำแหน่งเดียวกันของทุกๆ หน้า นอกจากนั้นถ้าเนวิเกชันแบบ
กราฟิกในส่วนบนของหน้าแล้วอาจเพิ่มเติมเนวิเกชันที่เป็นตัวอักษรไว้ที่ตอนท้ายของหน้า เพื่อช่วย
อำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ที่สั่งให้บราวเซอร์ไม่แสดงรูปภาพกราฟิก
6. มีลักษณะที่น่าสนใจ (Visual appeal) เป็นเรื่องยากที่จะตัดสินว่า
ลักษณะของเว็บเพจจะน่าสนใจหรือไม่ เพราะเกี่ยวข้องกับความชอบของแต่ละบุคคล อย่างไรก็ดี
หน้าตาของเว็บเพจจะมีความสัมพันธ์กับคุณภาพขององค์ประกอบต่างๆ เช่น คุณภาพของกราฟิกที่
จะต้องสมบูรณ์ไม่มีร่องรอยของความเสียหายเป็นจุดด่างหรือมีขอบเป็นขั้นบันไดให้เห็น การใช้ชนิด
ตัวอักษรที่อ่านง่าย สบายตา และการใช้โทนสีที่เข้ากันอย่างสวยงาม เป็นต้น
7. การใช้งานอย่างไม่จำกัด (Compatibility) ควรออกแบบให้ผู้ใช้ส่วน
ใหญ่เข้าถึงได้มากที่สุด โดยไม่มีการบังคับให้ผู้ใช้ต้องติดตั้งโปรแกรมใดๆ เพิ่มเติม หรือต้องเลือกใช้
บราวเซอร์ชนิดใด ชนิดหนึ่งจึงจะสามารถเข้าถึงเนื้อหาได้ สามารถแสดงผลได้ในระบบปฏิบัติการ
และที่ความละเอียดหน้าจอต่างๆ กันอย่างไม่มีปัญหา สิ่งเหล่านี้จะยิ่งมีความสำคัญมากขึ้น สำหรับ
เว็บไซต์ที่มีผู้ใช้บริการจำนวนมากหรือมีกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย
8. คุณภาพในการออกแบบ (Design stability) ถ้าอยากให้ผู้ใช้มี
ความรู้สึกว่าเว็บมีคุณภาพถูกต้องและเชื่อถือได้ ก็ควรให้ความสำคัญกับการออกแบบอย่างมาก
เช่นเดียวกับสื่อประเภทอื่นๆ ที่ต้องออกแบบและเรียบเรียงเนื้อหาอย่างรอบคอบ เว็บที่ทำขึ้นอย่าง
ลวกๆ ไม่มีมาตรฐานการออกแบบและการจัดระบบข้อมูลนั้น เมื่อมีข้อมูลเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ก็จะเกิด
ปัญหา และไม่สามารถสร้างความน่าเชื่อถือจากผู้ใช้ได้
9. ระบบการใช้งานที่ถูกต้อง (Functional stability) ระบบการทำงาน
ต่างๆ ในเว็บจะต้องมีความแน่นอนและทำหน้าที่ได้อย่างถูกต้อง ตัวอย่างเช่น ฟอร์มนั้นสามารถ
46
ใช้การได้จริงหรืออย่างง่ายที่สุดคือ ลิงค์ต่างๆ ที่มีอยู่นั้นจะต้องเชื่อมโยงไปยังหน้าที่มีปรากฏอยู่จริง
และถูกต้องด้วย ความรับผิดชอบของคุณคือการทำให้ระบบเหล่านั้นใช้งานได้ตั้งแต่แรกและยังต้อง
คอยตรวจเช็คอยู่เสมอเพื่อให้แน่ใจว่าสิ่งเหล่านั้นยังทำงานได้ดี โดยเฉพาะลิงค์ที่เชื่อมไปยังเว็บอื่น
2.6 ปัญหาในการพัฒนาเว็บไซต์
ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในการพัฒนาเว็บไซต์ สามารถสรุปปัญหาในด้าน
ต่างๆ ได้ดังนี้
1) ปัญหาด้านบุคลากร เช่น จำนวนบุคลากรในการพัฒนาเว็บไซต์มี
จำนวนไม่เพียงพอ บุคลากรไม่มีเวลาพัฒนาความรู้ความสามารถในการพัฒนาเว็บไซต์ และบุคลากร
ต้องรับผิดชอบงานมากกว่า 1 อย่าง
2) ปัญหาด้านเทคนิค เช่น มีรูปภาพมากและแฟ้มข้อมูลมีขนาดใหญ่ ทำให้
เข้าถึงสารสนเทศได้ช้า การจัดทำเว็บไซต์ไม่มีมาตรฐานเนื่องจากต่างฝ่ายต่างรับผิดชอบในการทำเว็บไซต์
ของตนเอง
3) ปัญหาด้านงบประมาณ เช่น ขาดแคลนงบประมาณสนับสนุนการ
พัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากร
3. แนวคิดทฤษฎีของการออกแบบเว็บเพจ
การออกแบบเว็บเพจเป็นพัฒนาการของสื่อแบบดิจิตอลยุคใหม่ โดยการรวมตัวของ
ความคิดสร้างสรรค์ด้านการออกแบบและเทคโนโลยี โดยต้องเกิดจากการทำงานร่วมกันของวิศวกร
คอมพิวเตอร์ นักเขียน นักออกแบบกราฟิก ช่างเสียงเทคนิค นักตัดต่อวีดีโอ นักแต่งเพลง ผู้ผลิต
ภาพยนตร์ ผู้สร้างภาพยนตร์การ์ตูน และอีกหลายด้านที่จำเป็นเฉพาะสำหรับการผลิตสื่อใหม่ ดังนั้น
ในการออกแบบเว็บเพจจึงมีกระบวนการที่ต่อเนื่องและเป็นเหตุผลซึ่งกันและกัน ซึ่งมิใช่ความเข้าใจ
และความชำนาญในการออกแบบ กราฟิกที่เป็นลักษณะ 2 มิติ เหมือนกับการออกแบบสิ่งพิมพ์ที่เป็น
การจัดวางตัวหนังสือ การจัดวางภาพ ออกแบบกราฟิกหรือการใส่สีสันลงไปเท่านั้น ซึ่งมีคุณลักษณะ
ที่สำคัญ 2 ประการ คือ
1. ควรมีการออกแบบที่ต้องทำให้เกิดการปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกัน มิใช่หน้า
นิตยสารธรรมดา
2. การออกแบบเป็นส่วนเสริมสร้างให้ผู้รับสารเกิดแรงดึงดูดใจที่จะทำการ
โต้ตอบ ในขณะเดียวกันผู้รับสารก็ต้องการได้รับความพึงพอใจในการเปิดรับสารนั้นด้วย ดังแผนภูมิ
47
D
Definition
A
Architecture
D
Design
I
Implementation
รูปที่ 5 แผนภูมิกระบวนการออกแบบเว็บเพจ
ที่มา : Gassaway and Mok, 1997 : 10 – 20
D = Definition การกำหนดนิยาม หมายถึงการวางแผนเพื่อนำมาถ่ายทอดความคิด
รวบยอดที่ต้องนำมาเป็นหลักในการออกแบบเว็บเพจ โดยต้องทำสิ่งต่างๆ เหล่านี้
1. การกำหนดเป้าหมาย ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สุดของการออกแบบเว็บไซต์ ต้องการ
สื่อสารอะไร ให้กับใคร และอย่างไร โดยต้องผ่านการอนุมัติของเจ้าของโครงการ ยกตัวอย่างเช่น
ต้องการให้เป็นเว็บไซต์ที่เสริมสร้างภาพลักษณ์ให้กับองค์กร หรือเน้นย้ำให้เกิดการจดจำชื่อสินค้า
หรือตรายี่ห้อของบริษัท
2. กำหนดเนื้อหา และจุดเด่นที่สร้างแรงดึงดูดใจ ด้วยการวิเคราะห์ถึงเนื้อหาที่
ต้องการนำมาเป็นจุดเด่นพิเศษ ที่ต้องการสื่อไปยังผู้รับสารให้ตรงกับเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ อาจต้อง
รวบรวมข้อมูลและเนื้อหาที่มีอยู่ในสื่ออื่นๆ ขององค์กร และเน้นคำนึงถึงจุดเด่นที่จะทำให้เนื้อหามี
ความแปลกใหม่
3. กำหนดผู้รับสาร ซึ่งต้องพิจารณาถึงเทคโนโลยีของผู้รับสารด้วย ซึ่งอาจได้แก่
บุคคลเหล่านี้
3.1 นักเรียน นักศึกษา
3.2 ลูกค้าที่มีประสิทธิภาพในการซื้อ หรือมีแนวโน้มในการซื้อ
3.3 นักลงทุน
สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งในการกำหนดผู้รับสารนี้ ไม่ว่าผู้รับสารจะเป็นใคร ผู้ออกแบบ
ต้องคำนึงถึงความแตกต่างของเครื่องคอมพิวเตอร์ ต้องไม่ทำให้เกิดข้อจำกัดในการเข้าเยี่ยมชมของ
ผู้รับสาร รวมไปถึง Browser ที่ผู้รับสารใช้ โดยคำนึงว่าเทคนิค และเทคโนโลยีที่ใช้ในเว็บไซต์เพื่อ
การสร้างจุดเด่นนั้น ต้องไม่ทำให้เกิดข้อจำกัดในการเข้าเยี่ยมชมของผู้รับสาร
4. กำหนดระยะเวลาในการออกแบบทั้งหมด
5. กำหนดงบประมาณ
A = Architecture การกำหนดโครงสร้าง หมายถึง การพิจารณาออกแบบข้อมูลให้ตรง
กับวัตถุประสงค์ ซึ่งต้องเรียงลำดับความสำคัญ และกำหนดให้แน่ชัดว่าจะนำข้อมูลใดจัดไว้ใน
โครงสร้างส่วนใด และใช้สื่อใดในการจำแนกแบ่งแยกเนื้อหานั้นให้อยู่ในโครงสร้างเป็นสัดเป็นส่วน
48
ซึ่งโครงสร้างนี้เป็นภาพรวมของโครงการทั้งหมดตั้งแต่ต้นจนจบ ซึ่งอาจอยู่ในภาพร่าง หรือ สตอรี่บอร์ด
ซึ่งโครงสร้างต้องได้รับการอนุมัติจากเจ้าของโครงการเสียก่อน จึงดำเนินการในขั้นตอนต่อไป
รายละเอียดที่ต้องพิจารณาในการกำหนดโครงสร้างมีดังนี้
1. พิจารณาใจความสำคัญหลักที่ต้องการสื่อ (Key Message) ซึ่งได้มาจากการ
กำหนดนิยาม
2. การกำหนดจำแนกลักษณะและประเภทของข้อมูล และวิธีการที่จะแสดงให้
เห็นถึงความแตกต่าง ของข้อมูล
3. การกำหนดความสัมพันธ์ของข้อมูล
4. กำหนดวิธีการเชื่อมโยงข้อมูลที่แตกต่างกัน
5. รวบรวมแนวความคิด และกำหนดความคิดรวบยอดที่ใช้ในการออกแบบเว็บไซต์
6. นำโครงสร้างมาทดสอบการเปิดเข้าไปในแต่ละส่วน
7. กำหนดจุดเด่นพิเศษเพื่อให้โครงการมีความสมบูรณ์
D = Design การออกแบบ หมายถึง การนำโครงสร้างที่ผ่านการอนุมัติแล้วมาทำการ
ออกแบบเป็นรูปลักษณ์บนหน้าจอเว็บไซต์ ซึ่งแสดงภาพลักษณ์ขององค์กร เพื่อให้เกิดความรู้สึกร่วม
และเกิดการจดจำในภาพลักษณ์นั้น (Design look and feel) โดยเน้นในเรื่องการสร้างสรรค์ภาพ
สร้างสรรค์สัญลักษณ์เพื่อการเชื่อมโยงต่างๆ (Interface design) ไปจนถึงการสร้างมัลติมีเดีย แล้วนำ
ทุกๆ ส่วนมาประกอบกันเป็นงาน 4 มิติ โดยต้องทำสิ่งต่างๆ เหล่านี้
1. เลือกกลุ่มของสีที่จะใช้ในเว็บเพจ
2. เลือกรูปแบบของตัวหนังสือ
3. กำหนดความกว้างของหน้ากระดาษ และขนาดของฉากหลัง
4. สร้างภาพประกอบด้วยการใช้ภาพถ่าย หรือภาพวาด รวมไปถึงภาพเคลื่อนไหว
และเสียง
5. กำหนดแนวทางการออกแบบ และส่วนที่สร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยง
6. กำหนดชื่อของเนื้อหาหลัก และกำหนดลักษณะพิเศษให้กับชื่อของเนื้อหา
หลักนี้ให้โดดเด่นออกมา
7. สร้างกราฟิกที่นำไปหาข้อมูลและสร้างปุ่มสัญลักษณ์พิเศษ เช่น ปุ่มสัญลักษณ์
Help, Sitemap, Index
8. สร้างหน้าที่แสดงการจัดวางของหน้าหลัก
9. นำเนื้อหามาออกแบบแต่ละหน้า โดยเฉพาะหน้าหลัก
10. เตรียมสคริปต์ เตรียมระบบข้อมูล และเทคนิคพิเศษอื่นๆ
49
นอกจากการออกแบบภาพแล้ว คำพูดที่ใช้ในเนื้อหาก็ต้องแสดงความรู้สึกเช่นเดียวกับ
รูปลักษณ์ของเพจนั้นด้วย เพื่อให้ภาพและเนื้อหาสร้างอารมณ์และความรู้สึกเช่นเดียวกัน การแต่งคำนำ
สำหรับส่วนต่างๆ ของไซต์บางไซต์ มีการเล่นคำ ใช้คำนำเพื่อดึงดูดใจ และเป็นส่วนเสริมให้กับภาพที่
นำมาใช้ การใช้ภาพทุกภาพ และคำพูดทุกคำพูดต้องเป็นการใช้อย่างมีเหตุผลและส่งเสริมซึ่งกันและกัน
ซึ่งในการออกแบบเว็บเพจจะมีหน้าหลัก (Key Page) ต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. หน้าที่เป็นหน้าเปิดของเว็บไซต์ (Entrance or Splash Page) อาจเรียกว่าโฮมเพจ
2. หน้าข้อมูลหลัก (Core Page)
3. หน้าเปิดส่วนต่างๆ
4. หน้าใหม่ที่เพิ่มเข้ามา (ถ้ามี)
5. หน้าที่เป็นหน้านำเสนอ, หน้าสำหรับค้นหา หรือหน้าที่เป็นแผนที่ของไซต์
I = Implementation การทำให้สมบูรณ์ ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนการนำส่วนประกอบต่างๆ
ที่ได้จากการออกแบบในขั้นตอนที่ 3 มาประกอบกันด้วยโปรแกรมสร้างเว็บไซต์ และทดสอบด้วย
กรรมวิธีของการทำเว็บเพจโดยใช้ภาษา HTML และทดสอบการเปิดเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ด้วยการใช้
Prototype สิ่งที่ต้องปฏิบัติในขั้นตอนนี้มีดังนี้
1. นำส่วนประกอบของภาพ ตัวหนังสือ และมัลติมีเดียมาประกอบกัน
2. ทดสอบการเข้าเว็บไซต์จากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่างกัน และการใช้ Browser
ที่ต่างกัน
3. ตรวจสอบความถูกต้องของภาษาที่ใช้ โดยการพิสูจน์อักษร
4. เตรียม HTML Templates
5. สร้างหน้าหลักขึ้นมา รวมทั้งหน้าอื่นๆ ด้วย
เมื่อผ่านการทำทุกขั้นตอนแล้ว เว็บไซต์ก็พร้อมที่จะออนไลน์ได้ แต่อย่างไรก็ตาม เพื่อให้
เว็บไซต์มีความทันสมัยอยู่เสมอนั้น ต้องหมั่นตรวจสอบคุณภาพอย่างสม่ำเสมอ รวมไปถึงการปรับปรุง
ในเรื่องการออกแบบเป็นประจำ และยิ่งกว่านั้น เนื้อหาในเว็บไซต์จะต้องมีความใหม่ ทันเหตุการณ์อยู่
เสมอ จึงจะเป็นเว็บไซต์ที่มีประสิทธิภาพ
กิดานันท์ มลิทอง (2542 : 21-23) กล่าวถึงการออกแบบเว็บเพจว่า องค์ประกอบของการ
ออกแบบหน้าเว็บ จะเกี่ยวเนื่องถึงการออกแบบเว็บเพจ การจัดหน้า พื้นหลัง ศิลปะการใช้ตัวพิมพ์ และ
โปรแกรมที่ใช้ในการออกแบบ โดยมีแนวทางในการออกแบบดังนี้
1. ขนาดเว็บเพจ ควรจำกัดขนาดของแฟ้มแต่ละหน้าไม่ให้มากเกินไป ถ้าไม่ต้องการ
จะสูญเสียผู้อ่าน นักออกแบบควรละภาพกราฟิกขนาดใหญ่ให้เหลือเพียงภาพง่ายๆ
2. การจัดหน้า กำหนดความยาวของหน้าให้สั้น โดยการกำหนดจำนวนของข้อความ
ที่จะบรรจุในแต่ละหน้าควรมีความยาวระหว่าง 200 - 500 คำ ในแต่ละหน้า คำในแต่ละหน้าควรใส่
50
สารสนเทศที่สำคัญที่สุดในส่วนบนของหน้าและใช้ตารางช่วยจัดระเบียบหน้า เช่น แบ่งแยก
ภาพกราฟิก หรือเครื่องมือนำทางออกจากข้อความ หรือการจัดแบ่งข้อความออกเป็นคอลัมน์ เป็นต้น
3. พื้นหลัง พื้นหลังที่มีลวดลายและใช้สีร้อนมากจะทำให้หน้าเว็บมีความยากลำบาก
ในการอ่านและทำให้ไม่สบายตาในการอ่านเช่นกัน ดังนั้นจึงไม่ควรใช้พื้นหลังที่มีลวดลายเกินความ
จำเป็น และควรใช้สีเย็นเป็นพื้นหลังจะทำให้เว็บเพจนั้นน่าอ่านมากกว่า
4. ศิลปะการใช้ตัวพิมพ์ เว็บจะถูกจำกัดในเรื่องของศิลปะการใช้ตัวพิมพ์มากกว่าใน
สื่อสิ่งพิมพ์ แต่โปรแกรมค้นผ่านรุ่นใหม่จะสามารถใช้แบบตัวอักษรอื่นๆ ได้มากขึ้นแต่อาจให้การ
แสดงผลหน้าจอไม่เหมือนกันนัก เช่น ขนาดตัวอักษร ดังนั้นสิ่งที่นักออกแบบสามารถทำได้คือดูว่า
โปรแกรมและระบบใดที่ผ่านการใช้มากที่สุดแล้วออกแบบให้เข้ากับระบบนั้น
5. ซอฟต์แวร์โปรแกรม นักออกแบบสามารถใช้ซอฟต์แวร์โปรแกรมในการสร้าง
หน้าเว็บได้ โดยขึ้นอยู่กับลักษณะของงานว่าจะง่ายหรือซับซ้อนมากน้อยเพียงใด เช่น โปรแกรม
ฟร้อนท์เพจ (Front Page) โปรแกรมตกแต่งภาพโฟโต้ชอพ (Photo Shop) หรือโปรแกรมวาดภาพ
(Illustator) หรือโปรแกรมจัดหน้า (PageMaker)
6. รูปแบบหน้าเว็บ ลักษณะสำคัญยิ่งที่สุดอย่างหนึ่งการออกแบบหน้าเว็บ คือ การ
วางหน้าเว็บในแนวนอนจะเป็นสิ่งที่เหมาะสมและสมเหตุสมผลมากกว่าเนื่องจากจอมอนิเตอร์มี
ส่วนกว้างมากกว่าส่วนสูง นอกจากนี้ เนื้อที่เสนอเนื้อหาบางส่วนยังบรรจุแถบเครื่องมือของโปรแกรม
ค้นผ่าน ซึ่งจะปรากฏอยู่ตลอดเวลาในเนื้อที่แนวนอนของหน้าเว็บ
7. การสำรวจขนาดเดียว ถ้าให้หน้าโฮมเพจเป็นแบบการสำรวจขนาดเดียวโดยไม่
ต้องใช้แถบเลื่อนได้จะเป็นการช่วยให้ผู้ชมไม่เบื่อที่จะใช้แถบเลื่อนดูรายละเอียดหน้าอื่น เมื่อเริ่มจะคิด
ออกแบบหน้าเว็บจึงมีข้อแนะนำว่าให้คิดเฉพาะในรูปแบบแนวนอนขนาด 800x60 จุดภาพเท่านั้น
เพราะผู้อ่านส่วนมากจะใช้จอมอนิเตอร์ขนาด 15-17 นิ้ว ที่มีขนาด 800x600 จุดภาพ จุดภาพส่วนหนึ่ง
จะใช้ในการเสนอแถบเครื่องมือไปแล้ว ดังนั้นจึงเหลือเนื้อที่ไม่เต็มในการเสนอหน้าเว็บและควร
ออกแบบหน้าเว็บให้เป็นมาตรฐานเท่ากันทุกหน้า
จะเห็นได้ว่าการออกแบบเว็บเพจที่ดีต้องมีสิ่งอำนวยความสะดวกในการค้นหา โดยอาจเป็น
คำอธิบายสั้นๆ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถค้นหาได้อย่างรวดเร็ว และถูกต้องกับวัตถุประสงค์ของการใช้งาน
ซึ่งขั้นตอนการออกแบบเว็บเพจที่ดี มีดังนี้
1. ควรมีรายการสารบัญแสดงรายละเอียดของเว็บเพจนั้น
การทำสารบัญหรือแนะนำหัวข้อให้เว็บเพจนั้น จะทำให้ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บ ได้
รู้ว่ามีหัวข้ออะไรบ้างและหัวข้อนั้นมีลักษณะเนื้อหาอย่างไร ทำให้เว็บน่าสนใจมากขึ้น และจะช่วยให้
ผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูลภายในเว็บเพจได้อย่างรวดเร็ว
51
2. เชื่อมโยงข้อมูลไปยังเป้าหมายให้ตรงกับความต้องการให้มากที่สุด
การเชื่อมโยงข้อมูลในเว็บเพจ จะทำให้เว็บเพจมีความหลากหลายและทำให้ผู้อ่าน
ได้เข้าใจในเนื้อหามากยิ่งขึ้น ตรงไหนที่มีความสัมพันธ์กันควรลิงค์ไปที่นั้นๆ ด้วย การลิงค์นั้นไม่
จำเป็นว่าจะเป็นแบบตัวหนังสือหรือ รูปภาพ แล้วแต่ความสะดวกและความสวยงาม นอกจากนี้ในแต่
ละเว็บเพจที่สร้างขึ้นมาควรมีจุดเชื่อมโยงกลับมายังหน้าแรกของเว็บไซต์ที่กำลังใช้งานอยู่ด้วย ทั้งนี้
หากผู้ใช้เกิดหลงทางและไม่ทราบว่าจะทำอย่างไรต่อไปดี จะได้มีหนทางกลับมาสู่จุดเริ่มต้นใหม่
3. สั้นกระชับ สั้นและทันสมัย
เนื้อหาที่นำเสนอกับผู้ใช้ควรเป็นเรื่องที่กำลังมีความสำคัญ อยู่ในความสนใจของ
ผู้คนหรือเป็นเรื่องที่ต้องการให้ผู้ใช้ทราบ และควรปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ ถ้าเนื้อหายาวมาก ควร
ย่อให้เหลือแต่ใจความสำคัญของเนื้อหา และข้อความทันยุค ทันสมัย แต่ไม่มากจนเกินไปและใช้ภาษา
ให้เข้ากับคนทุกวัย
4. สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ได้อย่างทันท่วงที
ควรกำหนดจุดที่ผู้ใช้สามารถแสดงความคิดเห็น หรือให้คำแนะนำกับผู้สร้างได้
เช่น ใส่อีเมล์ของผู้จัดทำลงในเว็บเพจ หรือใช้เว็บบอร์ดให้แสดงความคิดเห็น เพื่อให้ผู้ใช้สามารถ
ติดต่อกับเราได้ ตำแหน่งที่เขียนควรเป็นส่วนบนสุดหรือส่วนล่างสุดของเว็บเพจนั้นๆ ไม่ควรเขียน
แทรกไว้ในตำแหน่งใดๆ ที่หายาก เพราะผู้ใช้อาจหาไม่พบก็ได้
5. การใส่ภาพประกอบ
รูปภาพที่ใช้ไม่ควรมากเกินไป ขนาดของภาพก็ไม่ควรใหญ่มากจนเกินไป เพราะ
อาจจะทำให้เนื้อหาสาระของเว็บเพจนั้นถูกลดความสำคัญลง ควรใช้ภาพที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา ควรใช้
รูปภาพที่สามารถสื่อความหมายกับผู้ใช้ได้ตรงตามวัตถุประสงค์ การใช้รูปภาพเพื่อเป็นพื้นหลัง ไม่
ควรเน้นสีฉูดฉาดมากนัก เพราะอาจจะไปลดความเด่นชัดของเนื้อหา ควรใช้ภาพที่มีสีอ่อน ไม่สว่าง
จนเกินไป ตัวอักษรที่นำมาแสดงบนจอภาพ ควรเลือกขนาดที่อ่านง่าย ไม่มีสีสันและลวดลายเกินความ
จำเป็น
6. เข้าสู่กลุ่มเป้าหมายได้อย่างถูกต้อง
การสร้างเว็บเพจ สิ่งที่ต้องคำนึงมากที่สุดคือกลุ่มเป้าหมาย การกำหนด
กลุ่มเป้าหมายอย่างชัดเจนย่อมทำให้ผู้สร้างสามารถกำหนดเนื้อหา และเรื่องราวเพื่อให้ตรงกับความ
ต้องการของผู้ใช้ได้มากกว่า
52
7. ใช้งานง่าย
สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งของการสร้างเว็บเพจก็คือ จะต้องง่ายต่อการใช้งาน อะไรก็
ตามถ้ามีความง่ายต่อการใช้งานแล้ว โอกาสที่จะประสบความสำเร็จย่อมสูงขึ้นตามลำดับ ซึ่งการสร้าง
เว็บเพจให้ง่ายต่อการใช้งานนั้น ขึ้นอยู่กับเทคนิค และประสบการณ์ของผู้สร้างแต่ละคน
8. เป็นมาตรฐานเดียวกัน
เว็บเพจที่ถูกสร้างขึ้นมานั้น อาจมีข้อมูลมากมายหลายหน้า การทำให้ผู้ใช้งานไม่
เกิดความสับสนกับข้อมูล จำเป็นต้องกำหนดข้อมูลให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยอาจแบ่งเนื้อหา
ออกเป็นส่วนๆ หรือจัดเป็นกลุ่ม เป็นหมวดหมู่ เพื่อความเป็นระเบียบและง่ายต่อการใช้งาน
3.1 หลักการออกแบบหน้าเว็บเพจ
การออกแบบหน้าเว็บนับเป็นสิ่งแรกที่ผู้ใช้จะได้เห็น ขณะที่เปิดเข้าสู่เว็บไซต์
และยังเป็นสิ่งแรกที่แสดงถึงประสิทธิภาพในการออกแบบเว็บไซต์อีกด้วย หน้าเว็บจึงเป็นสิ่งสำคัญ
มากในช่วงเวลาแรกเมื่อผู้ใช้เข้ามาถึง เพราะมีหน้าที่เป็นสื่อกลางให้ผู้เข้าชมสามารถใช้ประโยชน์จาก
ข้อมูลและระบบงานของเว็บไซต์นั้นได้ ธวัชชัย ศรีสุเทพ (2544 : 125) กล่าวว่า โดยปกติแล้วหน้า
เว็บจะประกอบด้วยรูปภาพ ตัวอักษร สีพื้น ระบบเนวิเกชัน และองค์ประกอบอื่นที่ช่วยสื่อความหมาย
ของเนื้อหาและอำนวยความสะดวกต่อการใช้งาน
นอกจากนั้น กิดานันท์ มลิทอง (2542 : 23-25) ได้กล่าวถึงการออกแบบหน้าเว็บ
เพจว่า องค์ประกอบของการออกแบบหน้าเว็บเพจควรมีการออกแบบ การจัดหน้า พื้นหลัง ศิลปะการ
ใช้ตัวพิมพ์ และโปรแกรมที่ใช้ในการออกแบบ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของ ธวัชชัย (2544 : 133-136)
คือ การออกแบบเว็บเพจนั้นควรออกแบบให้มีความสม่ำเสมอตลอดทั่วทั้งไซต์ ส่วนที่สำคัญของเว็บ
ควรไว้ในส่วนบนของหน้า จัดแต่งหน้าเว็บให้เป็นระเบียบและเรียบง่าย ใช้กราฟิกอย่างเหมาะสม
กำหนดความยาวที่เหมาะสมหรือมีขนาดพอดีกับกระดาษมาตรฐาน A4 เมื่อพิมพ์ออกมา
53
4. รูปแบบเว็บไซต์ฐานข้อมูลท้องถิ่นมหาวิทยาลัยราชภัฏ
1. รูปแบบเว็บไซต์ฐานข้อมูลท้องถิ่นมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
54
2. รูปแบบเว็บไซต์ฐานข้อมูลท้องถิ่นมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
3. รูปแบบเว็บไซต์ฐานข้อมูลท้องถิ่นมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
ไม่ได้จัดทำฐานข้อมูล
4. รูปแบบเว็บไซต์ฐานข้อมูลท้องถิ่นมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
ไม่ได้จัดทำฐานข้อมูล
5. รูปแบบของเว็บไซต์ฐานข้อมูลท้องถิ่นมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ไม่ได้จัดทำฐานข้อมูล
6. รูปแบบเว็บไซต์ฐานข้อมูลท้องถิ่นมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ไม่ได้จัดทำฐานข้อมูล
55
ตอนที่ 3 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
3.1 งานวิจัยในประเทศ
งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาในครั้งนี้ ยังมีค่อนข้างน้อย ผู้วิจัยจึงได้รวบรวม
งานวิจัยที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์รูปแบบและเนื้อหาที่ใกล้เคียงที่สุด ดังนี้
มาลินี สวยค้าข้าว (2538 : บทคัดย่อ) ได้ทำการศึกษาวิจัยเรื่อง “การใช้ภูมิปัญญา
ท้องถิ่นในการเรียนการสอนวิชาสังคมศึกษา ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา เขต
การศึกษา โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง ตัวอย่างประชากรที่ใช้
ในการวิจัยคือ ครูสังคมศึกษา จำนวน 26 คน เลือกโดยการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง วิเคราะห์
ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ผลการวิจัยปรากฏว่า ด้านการเตรียมการสอนครูสังคมศึกษาส่วนใหญ่
ศึกษาหลักสูตร คำอธิบายรายวิชา และจุดประสงค์รายวิชาที่สอดคล้องกัน จัดซื้อขอยืม และขอบริจาค
สื่อการเรียนการสอนจากแหล่งวิทยาการในท้องถิ่น และจัดทำเอกสารประกอบการเรียนการสอนขึ้น
ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนใช้การบรรยายประกอบการซักถาม อธิบายและใช้สื่อประกอบ
และสอดแทรกภูมิปัญญาท้องถิ่นในเนื้อหาที่สอน ด้านการจัดกิจกรรมหลักสูตร ให้นักเรียนจัดป้าย
นิเทศในชั้นเรียนและบริเวณโรงเรียน และให้นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมที่จัดขึ้นในท้องถิ่น
ประกอบ ใจมั่น (2539 : บทคัดย่อ ) ทำการวิจัยเรื่อง “การศึกษา สภาพ ปัญหาและ
ความต้องการเกี่ยวกับการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการเรียนการสอน ในโรงเรียนโครงการขยายโอกาส
ทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ตอนล่าง” มีกลุ่มตัวอย่างคือ ครูผู้สอน 30 คน และภูมิปัญญาท้องถิ่น 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เป็นแบบสอบถาม แบบสังเกต และแบบสัมภาษณ์อย่างมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหา
ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสรุปได้ว่า การเลือกภูมิปัญญาท้องถิ่นได้
คำนึงถึงผู้เรียน หลักสูตร ภูมิปัญญาท้องถิ่น สื่อการเรียนการสอน และเตรียมการเรียนการสอน
ล่วงหน้าก่อนการเรียนการสอน มีการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในขั้นตอนดำเนินการสอน โดยมีการสาธิต
แบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติ ส่วนการประเมินการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น มีการประเมินผู้เรียน และภูมิปัญญา
ท้องถิ่นโดยการสังเกตระหว่างการเรียนการสอน ด้านปัญหาการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่พบ คือ ขาดแคลน
วัสดุ-อุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกปฏิบัติงาน งบประมาณไม่เพียงพอ การเบิกจ่ายค่าตอบแทนยุ่งยากล่าช้า
ภูมิปัญญาท้องถิ่นไม่ค่อยมีเวลาว่างและภูมิปัญญาท้องถิ่นขาดทักษะประสบการณ์ในการถ่ายทอด
ความรู้ และครูผู้สอนมีความต้องการงบประมาณในการจัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกปฏิบัติงาน
ภูมิปัญญาท้องถิ่นมีความรู้ความชำนาญในเรื่องที่สอนและต้องการที่จะเข้ารับการอบรมการใช้
ภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างมีประสิทธิภาพ
56
กรมวิชาการ กองวิจัยทางการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (2540 ก : บทคัดย่อ)
ได้ทำการวิจัยเรื่อง ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการจัดการเรียนการสอนในระดับประถมศึกษา และ
มัธยมศึกษา ซึ่งผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา และผู้บริหารโรงเรียน
มัธยมศึกษาทั่วไป พบว่า ปัญหาและอุปสรรคของการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นไปใช้ในการจัดการเรียน
การสอน คือ ขาดการสนับสนุนด้านวัสดุ อุปกรณ์ ขาดงบประมาณ ครูผู้สอนมีความเข้าใจในการนำ
ความรู้ และประสบการณ์ของชาวบ้านมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนค่อนข้างน้อย และวิทยากร
ท้องถิ่นบางคนมีความเข้าใจในการถ่ายทอดความรู้ยังไม่เพียงพอ
กรมวิชาการ กองวิจัยทางการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (2540 ข : บทคัดย่อ)
ได้ทำการวิจัยเรื่อง ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน ผู้ให้ข้อมูล
ได้แก่ ผู้บริหาร ครูผู้สอน นักเรียนระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ระดับมัธยมศึกษา
ตอนปลาย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ และสังกัดกรมสามัญศึกษา และ
ผู้รู้ในท้องถิ่น ผลการศึกษาพบว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการนำผู้รู้ในท้องถิ่นมาร่วมในการจัดการเรียน
การสอน คือ ผู้รู้บางคนไม่มีความมั่นใจในความรู้ของตนเอง ผู้รู้บางคนต้องไปประกอบอาชีพ ทำให้
เวลาที่สอนไม่ตรงกับเวลาที่โรงเรียนกำหนดให้ และงบประมาณของโรงเรียนที่จะนำมาใช้ดำเนินการ
ในเรื่องนี้ค่อนข้างน้อย
ปราณี พุ่มบางป่า (2543 : บทคัดย่อ) ศึกษาเรื่อง การวิเคราะห์เนื้อหาเว็บไซต์
วาไรตี้ในด้านสังคมประกิต จากการศึกษาพบว่า เว็บไซต์วาไรตี้มีรูปแบบของเว็บท่า (Portal Site) ซึ่ง
เป็นศูนย์รวมข้อมูลข่าวสารและบริการในด้านต่างๆ เนื้อหาที่ปรากฏบนเว็บไซต์วาไรตี้มีความ
หลากหลายเนื่องจากมุ่งตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายหลายกลุ่ม โดยมีเนื้อหาที่ส่งเสริม
กระบวนการสังคมประกิตด้านสติปัญญามากที่สุด รองลงมาคือด้านจิตใจ และเนื้อหาสังคมประกิต
ด้านพฤติกรรมปรากฏน้อยที่สุด
อาภรณ์ ลบแย้ม (2543 : บทคัดย่อ) ศึกษาเรื่อง การวิเคราะห์รูปแบบและ
เนื้อหาของ Web Site ภาพยนตร์ฮอลลีวูดแนวแอ็คชั่นและแนวตลกบนสื่ออินเทอร์เน็ต” จากการศึกษา
พบว่า โดยภาพรวมแล้วแบบและเนื้อหาของ Website ภาพยนตร์ฮอลลีวูดแนวแอคชั่นและแนวตลก
ประกอบไปด้วย 4 ส่วนที่สำคัญคือ
1. ข้อมูลเชิงการค้า คือ นักแสดง ผู้ถ่ายทำภาพยนตร์ การถ่ายทำ
ภาพยนตร์ หรือเบื้องหลังการถ่ายทำภาพยนตร์และเนื้อเรื่องภาพยนตร์
2. การโฆษณาเชิงบันเทิง คือ เกมส์การแข่งขัน รูปภาพนักแสดง
รูปภาพสถานที่ถ่ายทำหรือสิ่งของที่ใช้ในการแสดง ไปรษณียบัตรอิเล็กทรอนิกส์ วีดีโอคลิปบท
สัมภาษณ์ แฟ้มเอกสารให้ Download ข้อมูลสินค้าหรือบริการที่เกี่ยวกับภาพยนตร์ ตัวอย่าง
ภาพยนตร์ มิวสิควีดีโอ และซาวด์แทร็ค
57
3. ข้อมูลข่าวสารจากสตูดิโอ คือคำเตือนลิขสิทธิ์ โลโก้สตูดิโอผู้สร้าง
หรือจำหน่ายภาพยนตร์ สถานที่แลกเปลี่ยนความคิดเห็น แบบฟอร์มให้แสดงคำติชม แบบฟอร์มขอรับ
ข่าวแจก และส่วนเสนอความคิดเห็นด้านการขาย
4. การเชื่อมต่อกับ Web Site อื่น มีการนำ Web Site อื่นที่มีข้อมูล
เกี่ยวข้องกับภาพยนตร์เชื่อมต่อกับ Web Site ภาพยนตร์
นิทัศน์ อิทธิพงษ์ (2544 : บทคัดย่อ) ได้ทำการวิจัยเรื่อง การพัฒนาหลักการ
ออกแบบเว็บเพจ การศึกษารูปแบบเว็บไซต์ยอดนิยมของไทย พบว่าหลักการออกแบบเว็บเพจการ
ศึกษาตามคุณลักษณะเว็บไซต์ยอดนิยมจะมีคุณลักษณะที่เหมือนกัน คือ เน้นการออกแบบให้ใช้งาน
ได้นาน มีเนื้อหาตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย มีความสวยงามในการออกแบบ สามารถ
ตอบสนองและดาวน์โหลดได้อย่างรวดเร็ว และมีการปรับปรุงเนื้อหารวมทั้งรูปแบบให้ทันสมัยอยู่
เสมอ นอกจากการให้ข้อมูลหรือเนื้อหาวิชาที่จะให้กับผู้เรียนซึ่งเป็นส่วนหลักแล้ว เว็บการศึกษาควร
จะให้บริการเสริมที่เป็นที่ต้องการ หรือเป็นสิ่งที่น่าสนใจเพิ่มเติมกับผู้เรียน เช่น ข่าวการศึกษาที่
น่าสนใจ ห้องสมุดเชื่อมตรง
จิตรา วิจิตรช่าง (2544 : บทคัดย่อ) ได้ทำการวิจัยเรื่องการออกแบบและ
พัฒนาเว็บเพจเพื่อการส่งเสริมสมุนไพรไทย พบว่าผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมีความคิดเห็นต่อการออกแบบ
และพัฒนาเว็บเพจดังนี้ ด้านเนื้อหาอยู่ในระดับมากที่สุด คือ เนื้อหามีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์
มีความถูกต้องครอบคลุมเนื้อหาตามลำดับ ด้านการออกแบบ ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมีความคิดเห็นด้าน
เทคนิคการผลิตอยู่ในระดับมากที่สุด คือ ตัวอักษรที่ใช้มีความชัดเจน รูปภาพมีความสอดคล้องกับ
เนื้อหา การเชื่อมโยงจากข้อความมีความถูกต้องเหมาะสม ด้านโครงสร้างเว็บเพจ มีความสวยงาม
ตามลำดับ ด้านการเข้าถึงข้อมูล ผู้ใช้อินเทอร์เน็ต มีความคิดเห็นด้านการเข้าถึงข้อมูล อยู่ในระดับมาก
ที่สุด คือ ความรวดเร็วในการเข้าถึงข้อมูลภายในเว็บและความเร็วในการโหลดข้อมูล และด้าน
ประโยชน์ และคุณค่าอยู่ในระดับมากที่สุด คือ ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตได้รับความรู้ เพิ่มเติมจากข้อมูลบน
เว็บ และข้อมูลที่ได้รับมีประโยชน์ต่อผู้ใช้
นิภาพร ยิ้มสร้อย (2545 : บทคัดย่อ ) ได้ทำการวิจัยเรื่อง การออกแบบ
เว็บเพจเพื่อการประชาสัมพันธ์กองบัญชาการศึกษา พบว่า การประเมินประสิทธิภาพเว็บเพจโดย
ผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับดีมาก และความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างในประเด็นเนื้อหาและการออกแบบอยู่
ในระดับดี ในด้านเนื้อหาสอดคล้องกับภาพ ความชัดเจนของตัวอักษร ภาพช่วยสื่อความหมายให้
เข้าใจเนื้อหาได้ดียิ่งขึ้น ข้อมูลมีความเชื่อมโยง ต่อเนื่องและชัดเจน นอกจากนี้ในการนำเสนอมีการจัด
องค์ประกอบของภาพและข้อมูล
สุกัญญา ตั้งเรืองเกียรติ (2545 : บทคัดย่อ ) ศึกษาเรื่อง การวิเคราะห์รูปแบบ
และเนื้อหาของนิทานไทยบนสื่ออินเตอร์เน็ต ได้ใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา เพื่อให้ทราบถึง
58
รูปแบบการนำเสนอนิทานไทยบนสื่ออินเทอร์เน็ตตลอดจนเนื้อหาของนิทานไทยที่นำเสนอบนสื่อ
อินเทอร์เน็ต
สุดารัตน์ ชาญเลขา (2545 : บทคัดย่อ) ศึกษาเรื่อง รูปแบบความสัมพันธ์
ระหว่างสถาบันราชภัฏกับชุมชนเพื่อพัฒนาด้านวัฒนธรรม ซึ่งวัตถุประสงค์ของการศึกษาในครั้งนี้คือ
(1) ศึกษาแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันอุดมศึกษากับชุมชนในการมีส่วนร่วม
เพื่อการวางแผนพัฒนาด้านวัฒนธรรม (2) พัฒนารูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันราชภัฏกับ
ชุมชนเพื่อพัฒนาด้านวัฒนธรรม (3) ตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่าง
สถาบันราชภัฏกับชุมชนในฝั่งธนบุรี จากการศึกษาพบว่า
1. สถาบันอุดมศึกษาควรสนองรับนโยบายของรัฐจากข้อกำหนดตาม
กฎหมายให้สถาบันการศึกษากระจายอำนาจให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการบริหารงานด้านวัฒนธรรม
จัดการศึกษา จัดกระทำสื่อปฏิสัมพันธ์วัฒนธรรมของชาติ ดำเนินการตามยุทธศาสตร์การพัฒนาด้าน
วัฒนธรรมด้วยกระบวนการพลังร่วม
2. ค่าความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันราชภัฏกับชุมชนเพื่อพัฒนาด้าน
วัฒนธรรมตามสภาพที่ปรากฏในปัจจุบันกับสภาพที่ต้องการให้เกิดในอนาคต ทั้งในระดับนโยบาย
และระดับปฏิบัติการมีความแตกต่างกันและความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันราชภัฏกับชุมชนจาก
ภาพรวมในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติการพบว่าไม่มีความแตกต่างกัน
3. การศึกษาเปรียบเทียบจากสถาบันราชภัฏ 5 กลุ่ม พบว่าความสัมพันธ์
ระหว่างสถาบันราชภัฏกับชุมชนจากภาพรวมในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติการพบว่าไม่มีความ
แตกต่าง
4. ชุมชนฝั่งธนบุรีเห็นด้วยในการนำรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่าง
สถาบันราชภัฏกับชุมชนมาใช้กับโครงการจัดตั้งศูนย์ กรุงธนบุรีศึกษา
3.2 งานวิจัยในต่างประเทศ
เอสรอคและเลอตี (Esrock and Leichty 1999 : บทคัดย่อ) ศึกษาเรื่อง “Corporate
Wold Wide Web Pages: Serving the News Media And Other Publics” ผลการวิเคราะห์เนื้อหาพบว่า
เว็บเพจขององค์กรธุรกิจมีจุดประสงค์เพื่อให้บริการแก่แหล่งข่าว ลูกค้า และชุมชนซึ่งเกี่ยวข้องกับ
องค์กรในด้านการเงิน แต่ยังไม่ได้มีการนำเว็บไซต์เพื่อสื่อสารกับผู้รับสารอย่างเต็มที่นัก ผลการวิจัย
พบว่าหนึ่งในสามของเว็บไซต์ที่ศึกษาจำนวน 100 เว็บไซต์มีจุดประสงค์เพื่อสื่อสารกับผู้รับสารหลาย
กลุ่มและมีรูปแบบการสื่อสารแตกต่างกันออกไป เว็บไซต์ที่มีกลุ่มเป้าหมายหลายกลุ่มจะยิ่งมีข้อมูล
หลากหลายด้าน
59
แมคมิลแลน (McMillan 2000 : บทคัดย่อ) ได้ทำการวิจัยเรื่อง The Microscope
and the Moving Target : The Challenge of Applying Content Analysis to the World Wide Web จาก
การวิเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวกับเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเครือข่ายเวิลด์ไวด์เว็บ จำนวน 19 ชิ้นงาน
พบว่าเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาสามารถนำมาใช้กับสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงและเติบโต
อย่างมาก อย่างไรก็ตามนักวิจัยในปัจจุบันใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหาในการศึกษาแนวคิดหลัก เช่น ความ
หลากหลาย การทำเว็บไซต์ในเชิงพาณิชย์ และการใช้เทคโนโลยีบนเครือข่ายเวิลด์ไวด์เว็บ นอกจากนี้
ยังมีข้อเสนอแนะสำหรับการทำวิจัยเกี่ยวกับเว็บไซต์โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา ได้แก่ การ
กำหนดคำถาม / สมมติฐานในการวิจัย การสุ่มตัวอย่าง การเก็บข้อมูล การลงรหัส การฝึกอบรมผู้ลง
รหัส และการวิเคราะห์ / ตีความข้อมูล
60
บทที่ 3
วิธีดำเนินการวิจัย
ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ดำเนินงานดังนี้
1. กำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
2. การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
3. การเก็บรวบรวมข้อมูล
4. การวิเคราะห์ข้อมูล
1. ประชากร
ในการทำวิจัยครั้งนี้กลุ่มประชากร ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสำนักศิลปวัฒนธรรม
ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการ อาจารย์ผู้สอนใน
สาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลท้องถิ่น ผู้จัดทำเว็บไซต์ฐานข้อมูลท้องถิ่นมหาวิทยาลัยราชภัฏ นักศึกษา
ระดับปริญญาโทสาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา และสาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มรัตนโกสินทร์ที่ใช้เว็บไซต์ฐานข้อมูลท้องถิ่น จำนวน 60 คน ดังนี้
ประเภทประชากร จำนวน
ประชากร
ใช้เว็บไซต์
ผู้อำนวยการสำนักศิลปและวัฒนธรรม 6 2
ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน 3 2
ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการ 6 4
อาจารย์ผู้สอนในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลท้องถิ่น 5 2
ผู้จัดทำเว็บไซต์ฐานข้อมูลท้องถิ่นมหาวิทยาลัยราชภัฏ 4 3
นักศึกษาระดับปริญญาโทสาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา 57 30
นักศึกษาระดับปริญญาโทสาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ 19 17

รูปแบบเว็บไซต์ฐานข้อมูลท้องถิ่นมหาวิทยาลัยราชภัฏ (ตอนที่ 1)
รูปแบบเว็บไซต์ฐานข้อมูลท้องถิ่นมหาวิทยาลัยราชภัฏ (ตอนที่ 2)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น