วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียน ในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษากรุงเทพมหานคร (ตอนที่ 1)



สภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียน ในโรงเรียนประถมศึกษา
สังกัดสำนักงานการประถมศึกษากรุงเทพมหานคร
นางสาววราภรณ์ ศิริลักษณ์
วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา ตามหลักสูตรปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาการบริหารการศึกษา
ปีการศึกษา 2546
ISBN : 974-373-280-2
ลิขสิทธิ์ของสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
วิทยานิพนธ์ สภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียน ในโรงเรียนประถมศึกษา
สังกัดสำนักงานการประถมศึกษากรุงเทพมหานคร
โดย นางสาววราภรณ์ ศิริลักษณ์
หลักสูตร ครุศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ประธานควบคุมวิทยานิพนธ์ ดร.บัณฑิต แท่นพิทักษ์
กรรมการ รศ.ดร.นันทา วิทวุฒิศักดิ์
กรรมการ ดร.สรายุทธ์ เศรษฐขจร
บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา อนุมัติให้นับวิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นส่วน
หนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต
……….………..……….………….…คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
(ดร.สรายุทธ์ เศรษฐขจร)
คณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์
………….………………………………. ประธานกรรมการ
(ศาสตราจารย์ ดร.สายหยุด จำปาทอง)
……………….…………………………. กรรมการ
(ดร.บัณฑิต แท่นพิทักษ์)
……... ….………………………………..กรรมการ
(รองศาสตราจารย์ ดร.นันทา วิทวุฒิศักดิ์)
…….….….……………………………….กรรมการ
(ดร.สรายุทธ์ เศรษฐขจร)
..…....….…………………………………. กรรมการ
(อาจารย์ทวีศักดิ์ จงประดับเกียรติ์)
……..…….……………………..…………. กรรมการและเลขานุการ
(รองศาสตราจารย์สมชาย พรหมสุวรรณ)
ลิขสิทธิ์ของสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

วราภรณ์ ศิริลักษณ์. (2546) สภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา
สังกัดสำนักงานการประถมศึกษากรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ :
บัณฑิตวิทยาลัยสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. คณะกรรมการควบคุม
ดร.บัณฑิต แท่นพิทักษ์ รศ.ดร.นันทา วิทวุฒิศักดิ์ ดร.สรายุทธ์ เศรษฐขจร.
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนในโรงเรียน
ประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษากรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2545 ซึ่งมีขอบข่าย
งาน 4 ด้าน คือ การจัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ การบริการสุขภาพในโรงเรียน
สุขศึกษาในโรงเรียน และความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและชุมชน
กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงาน
การประถมศึกษากรุงเทพมหานคร จำนวน 38 คน ผู้ช่วยผู้บริหาร 38 คน และครูอนามัยโรงเรียน
38 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบเลือกตอบ แบบมาตรประมาณค่า และคำถามปลายเปิด
วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า สภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัด
สำนักงานการประถมศึกษากรุงเทพมหานคร โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน
พบว่า สภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยมีสภาพการดำเนินงาน
อนามัยโรงเรียนด้านการจัดบริการสุขภาพในโรงเรียนอยู่ในระดับสูงสุด รองลงมา คือ ความ
สัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและชุมชน ด้านการจัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ และ
ด้านสุขศึกษาในโรงเรียน
THE PRESENT OPERATING STATUS OF THE
SCHOOL HEALTH PROGRAM IN PRIMARY
SCHOOLS UNDER THE JURISDICTION
OF THE OFFICE OF BANGKOK
METROPOLITAN PRIMARY
EDUCATION
MISS.WARAPHORN SIRILUKSANA
A Thesis Submitted in Partial Fulfillment of the Requirements
for the Master of Education (Educational Administration)
at Rajabhat Institute Bansomdejchaopraya
Academic Year 2003
ISBN : 974-373-280-2

Waraphorn Siriluksana, 2003. The Present Operating Status of the School Health
Program in Primary Schools under the Jurisdiction of the Office of Bangkok
Metropolitan Primary Education. Master’s Degree Thesis. Bangkok. Graduate
School, Rajabhat Institute Bansomdejchaopraya. Advisory Committee : Dr.Bundit
Tanpithak,. Ass. Prof. Dr.Nanta Witwutisak, Dr.Sarayuth Sethakhajorn.
The purpose of this research was to study the present operating status of the school
health program with in primary schools under the jurisdiction of the office of Bangkok
Metropolitan primary Education in the academic year, 2002.
The study consisted of 4 phases were Healthful School Leaving, School Health
Service, School Health Education and School and Community Relationship.
The population consisted of 38 School administrators, 38 assistant school
administrators and 38 school health teachers of primary schools under the jurisdiction of the
office of Bangkok Metropolitan Primary Education.
The data were collected by using questionnaires which consisted of multiple choices,
rating scales and open forms. They were analyzed by basic statistic, Percentage, Average
and Standard Deviation. One hundred and fourteen, completed questionnaires counted 100
percent.
Research findings indicated as follows :
Most Primary Schools under the Jurisdiction of the office of Bangkok Metropolitan
Primary Education have the present operating status to the high level. The highest level is
the operating status of school health service phase and follow by school and community
relationship phase, healthful school living phase and school heath education phase.
ประกาศคุณูปการ
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้สำเร็จและบรรลุวัตถุประสงค์ได้ด้วยดีเพราะได้รับความอนุเคราะห์จาก
คณาจารณ์ผู้ควบคุมวิทยานิพนธ์ คือ ดร.บัณฑิต แท่นพิทักษ์ รศ.ดร.นันทา วิทวุฒิศักดิ์ และ
ดร.สรายุทธ์ เศรษฐขจร ซึ่งได้ให้คำแนะนำ ตรวจแก้ไข และให้ข้อคิดเห็นต่าง ๆ ด้วยดีตลอดมา
อีกทั้งคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ โดยมี ศ.ดร.สายหยุด จำปาทอง เป็นประธานกรรมการ
คณะกรรมการ ได้แก่ รศ.สมชาย พรหมสุวรรณ อ.ทวีศักดิ์ จงประดับเกียรติ และคณะอาจารย์
ผู้ควบคุมวิทยานิพนธ์ ท่านต่างก็ให้ความเอื้ออาทรและอนุเคราะห์ด้วยความเมตตา ผู้วิจัยมีความ
ซาบซึ้งเป็นอย่างยิ่ง ขอกราบขอบพระคุณไว้ ณ โอกาสนี้
ผู้วิจัยขอขอบพระคุณผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง 5 ท่าน ที่ได้กรุณาตรวจแก้ไขเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
รวมทั้งได้กรุณาให้คำปรึกษาซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการวิจัยครั้งนี้ อีกทั้งพยาบาลกองสุขศึกษา
กระทรวงสาธารณสุขได้บริการจัดหาเอกสารที่ใช้ศึกษาค้นคว้า ตลอดทั้งเจ้าของงานวิจัยและ
เอกสารที่ผู้วิจัยได้นำมาอ้างอิง และขอขอบพระคุณผู้บริหารโรงเรียน ผู้ช่วยผู้บริหารและครูอนามัย
โรงเรียนที่ได้กรุณาให้ข้อมูลด้วยการตอบแบบสอบถาม ขอขอบพระคุณ ผช.ดวงดาว ทองผ่อง
ผช.มาลี ควรคนึง อ.ฐิติพร สงวนสิงห์ และคุณจำนงค์ ตรีนุมิตร ที่ได้กระตุ้นเตือนให้คำแนะนำ
ด้วยความปรารถนาดี เพื่อน ๆ P.N.รุ่นที่ 9 โรงเรียนพยาบาลผดุงครรภ์และอนามัยศิริราชพยาบาล
ทุกคน อีกทั้งคุณแม่สุวรรณ ศิริลักษณ์ และเครือญาติที่ส่งเสริมสนับสนุนให้กำลังใจในการทำ
วิทยานิพนธ์เสมอมา
คุณค่าที่พึงมีจากวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ขอมอบเพื่อระลึกถึงพระคุณบิดา มารดา ครู อาจารย์
ที่ได้ปลูกฝังให้ผู้วิจัยเป็นผู้ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน และมีความรู้คู่คุณธรรมเสมอมา จนสำเร็จการศึกษาครั้งนี้
วราภรณ์ ศิริลักษณ์
สารบัญ
หน้า
บทคัดย่อภาษาไทย ………………………………………………………….…………. ง
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ……………………………………………………….…………. จ
ประกาศคุณูปการ …………………………………………………………….………... ฉ
สารบัญ …………………………………………………………………….…………... ช
สารบัญตาราง ………………………………………………………………….……… ฌ
สารบัญแผนภาพ ……………………………………………………………………… ญ
บทที่ 1 บทนำ
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา…………………………….………. 1
วัตถุประสงค์ของการวิจัย…………………………………………………… 3
ประโยชน์ที่ได้รับ………………..………………………………………….. 4
ขอบเขตของการวิจัย…………………………………………………….….. 4
คำนิยามศัพท์เฉพาะ……………………………………………………….… 4
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
แนวคิดเกี่ยวกับงานอนามัยโรงเรียน………….……………………………... 7
ประวัติการบริการสุขภาพในโรงเรียน………………………………………. 7
ความจำเป็นและความสำคัญของงานอนามัยโรงเรียน………………………. 9
ความหมายของงานอนามัยโรงเรียน……………….………………………... 10
การบริหารงานอนามัยโรงเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา….………………. 12
ภาระหน้าที่และงานของผู้บริหารโรงเรียน………………………………….. 12
ลักษณะของงานอนามัยโรงเรียน…………………………………………… 14
เกณฑ์การปฏิบัติงานตามมาตรฐานโรงเรียนด้านส่งเสริมสุขภาพในโรงเรียน
ประถมศึกษา ……………………………………………………….…. 33
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง…………………………………………………………. 33
งานวิจัยที่เกี่ยวข้องด้านการจัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ... 33
งานวิจัยที่เกี่ยวข้องด้านการบริการสุขภาพในโรงเรียน………………...……. 35
งานวิจัยที่เกี่ยวข้องด้านสุขศึกษาในโรงเรียน………………………………… 37
งานวิจัยที่เกี่ยวข้องด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและชุมชน………..… 40

บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย
ประชากร……….………………………………………………………….. 43
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย…………………………………………………… 43
การเก็บรวบรวมข้อมูล…………………………………………………….. 45
การวิเคราะห์ข้อมูล……………….…………………………………..…….. 45
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ……………………………………………….…….. 47
บทที่ 5 สรุปผลการวิจัย อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
สรุปผลการวิจัย …………………………………………………….……… 59
อภิปรายผล ………………………………………………….…….………. 61
ข้อเสนอแนะ …….……………………………………………….………… 68
บรรณานุกรม …….……….………………………………………………………… 69
ภาคผนวก
ภาคผนวก ก เกณฑ์การปฏิบัติงานตามมาตรฐานโรงเรียน …….….…….. 77
ด้านส่งเสริมสุขภาพในโรงเรียนประถมศึกษา
ภาคผนวก ข รายนามผู้เชี่ยวชาญตรวจเครื่องมือในการวิจัย……….…….. 98
ภาคผนวก ค แบบสอบถาม …….……………………………………….. 105
ภาคผนวก ง หนังสือขอความร่วมมือในการวิจัย….…….……………….. 115
ภาคผนวก จ ประวัติย่อผู้วิจัย…...…………………….………………….. 119
สารบัญตาราง
ตารางที่ หน้า
1 สถานภาพของประชากร …………………………………………………..… 48
2 สภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา ……….…… 49
สังกัดสำนักงานการประถมศึกษากรุงเทพมหานคร จำแนกเป็นรายด้านและ
รวมทุกด้าน
3 สภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา ………….… 50
สังกัดสำนักงานการประถมศึกษากรุงเทพมหานคร ด้านการจัดสิ่งแวดล้อม
ในโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ
4 สภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา ………...….. 52
สังกัดสำนักงานการประถมศึกษากรุงเทพมหานคร ด้านการบริการสุขภาพ
ในโรงเรียน
5 สภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา ………..….. 54
สังกัดสำนักงานการประถมศึกษากรุงเทพมหานคร ด้านสุขศึกษาในโรงเรียน
6 สภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา ……….…... 55
สังกัดสำนักงานการประถมศึกษากรุงเทพมหานคร ด้านความสัมพันธ์
ระหว่างโรงเรียนและชุมชน
7 การศึกษาความคิดเห็นและข้อเสนอแนะการดำเนินงานอนามัยโรงเรียน……. 56
ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษากรุงเทพมหานคร
ด้านการจัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ
8 การศึกษาความคิดเห็นและข้อเสนอแนะการดำเนินงานอนามัยโรงเรียน…..… 57
ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษากรุงเทพมหานคร
ด้านการบริการสุขภาพในโรงเรียน
9 การศึกษาความคิดเห็นและข้อเสนอแนะการดำเนินงานอนามัยโรงเรียน.……. 58
ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษากรุงเทพมหานคร
ด้านสุขศึกษาในโรงเรียน
10 การศึกษาความคิดเห็นและข้อเสนอแนะการดำเนินงานอนามัยโรงเรียน……. 59
ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษากรุงเทพมหานคร
ด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและชุมชน
สารบัญแผนภาพ
หน้า
แผนภาพที่ 1 กรอบแนวคิดในการวิจัยเรื่อง สภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียน ….. 6
ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา
กรุงเทพมหานคร
บทที่ 1
บทนำ
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
สุขภาพกับการศึกษานั้นมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน นักการศึกษาต่างเล็งเห็นความสำคัญ
ของการศึกษาและสุขภาพเป็นอย่างยิ่ง เยาวชนที่มีสุขภาพกายและจิตที่สมบูรณ์จะนำไปสู่การพัฒนา
เต็มศักยภาพ
สุชาติ โสมประยูร (2542 : 1) กล่าวว่า “อริสโตเติล และเพลโต มีแนวคิดสอดคล้องกันว่า
การที่จะให้การศึกษาทางด้านอื่น ๆ นั้น สมควรที่จะให้เด็กมีสุขภาพดีเสียก่อน” ทั้งนี้หมายความว่า
หากเด็กมีสุขภาพไม่ดีเสียแล้ว แม้จะให้การศึกษาอบรมดีวิเศษอย่างไร การเล่าเรียนย่อมจะไม่ได้
รับผลเต็มเม็ดเต็มหน่วยหรืออาจจะไร้ผลก็เป็นได้ สุขภาพอนามัยของประชากรจึงมีความสำคัญต่อ
การพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ ปัญหาด้านสุขภาพอนามัยของประชาชนมีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ
ของประเทศ พลเมืองของประเทศจะมีคุณภาพดีจำเป็นต้องมีสุขภาพอนามัยดี (พัชรา กาญจนรัณย์.
2522 : 2) สำหรับประชากรวัยเรียนนั้นความบกพร่องทางด้านสุขภาพกาย จะนำไปสู่ความบกพร่อง
ทางด้านการเรียนรวมทั้งความบกพร่องด้านอารมณ์และสังคมซึ่งเป็นเหตุให้เข้ากับคนอื่นในสังคม
ได้ยาก (ธรี วฒุ ิ ประทุมนพรัตน. 2534 : 115) ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของกองอนามัยโรงเรียน
กระทรวงสาธารณสุข (มปป. : 17) ที่ว่า “การดูแลสุขภาพอนามัยของเด็กวัยเรียนให้แข็งแรง ทั้งด้าน
ร่างกาย จิตใจ และปรับตัวเข้าสู่สังคมได้ จัดเป็นงานสาธารณสุขขั้นพื้นฐานประการหนึ่ง ซึ่งต้องให้
การบริการอนามัยนักเรียนอย่างทั่วถึง” และสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542
มาตรา 6 ซึ่งบัญญัติไว้ว่า การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้ง
ร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตสามารถ
อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
สุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจของเยาวชน นำไปสู่การพัฒนาเต็มศักยภาพ
ส่งเสริมสติปัญญาและความกระตือรือร้น ก่อให้เกิดคุณธรรมและจริยธรรมซึ่งเป็นบุคคลที่พึงประสงค์
ที่เอื้ออาทรต่อสังคม พัฒนาตนเองและสังคมอย่างต่อเนื่องบนพื้นฐานที่มั่นคง จากเหตุผลดังกล่าว
ผู้บริหารโรงเรียนควรมีแนวทางในการดำเนินงานอนามัยโรงเรียน งานอนามัยโรงเรียนนี้ นอกจาก
ผู้บริหารโรงเรียนเป็นผู้กำกับดูแลให้บุคลากรปฏิบัติงานตามแผนแล้วยังต้องประสานงานกับเจ้าหน้าที่
สาธารณสุข เพื่อมาให้บริการด้านสุขภาพแก่นักเรียนทุกภาคเรียนของแต่ละปีการศึกษา
ดังนั้น สถานศึกษาทุกระดับโดยเฉพาะโรงเรียนระดับประถมศึกษาซึ่งเป็นตัวจักรที่สำคัญใน
การปลูกฝังค่านิยมและวางพื้นฐานด้านสุขภาพอนามัยที่ถูกต้องให้นักเรียน ผู้รับผิดชอบงานอนามัย
โรงเรียน ควรได้รับการสนับสนุนให้มีความชำนาญด้านการปฐมพยาบาล มีความรู้ทั้งเรื่องร่างกาย
และจิตใจ เพื่อนำมาพัฒนาตนเอง พัฒนางาน พัฒนาเยาวชน และบุคลากรในสถานศึกษา
2
ปัญหาทางด้านสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย คือ การขาดแคลนแพทย์ โดยมีอัตรา
แพทย์ต่อประชากร 1 : 3,394 คน ในขณะที่ประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ มีแพทย์ 1 : 465 และ 1.731
ตามลำดับ (นโยบายและแผนสาธารณสุข 2544 : 143) จากปัญหานี้การดูแลสุขภาพอนามัยตนเอง
เป็นสิ่งจำเป็น โดยเฉพาะในเยาวชนและโรงเรียนควรมีบทบาททางด้านการส่งเสริมสุขภาพมากขึ้น
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (2545 : 5) ปัจจุบันคนส่วนใหญ่ป่วยและตายด้วยโรค
ไร้เชื้อ หรือโรคไม่ติดต่อ เช่น ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคมะเร็ง และอุบัติเหตุ
ซึ่งมีสาเหตุจากพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้เนื่องจากการศึกษา อบรม ชี้แนะ ตลอดทั้งการถ่าย
ทอดวิถีชีวิต ค่านิยม และวัฒนธรรมไม่เหมาะสม
สำนักนโยบายและแผนสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข (2541 : 13) พฤติกรรม
การบริโภคอาหารของคนไทยนิยมบริโภคอาหารสำเร็จรูป (Fast Food) ซึ่งนำไปสู่ภาวะทุพโภชนาการ
ทั้งขาดและเกิน ทารกและเด็กมีปัญหาการขาดอาหารร้อยละ 10.62 เด็กอายุ 6 – 19 ปี เป็นโรคอ้วน
ร้อยละ 9-19 วัยรุ่นอายุ 15 ปี ขึ้นไป บริโภคอาหารเร่งด่วนร้อยละ 42 พฤติกรรมการบริโภคดังกล่าว
มีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยอย่างชัดเจนและมีแนวโน้มทวีความ รุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะ
โรคหัวใจและหลอดเลือด
กระทรวงสาธารณสุขและแผนพัฒนาสุขภาพในประเทศไทย (ม.ป.ป. : 25) (Ministry of
public Health and Health Development Plan in Thailand) ในปี พ.ศ.2537 ได้มีการสำรวจด้าน
ทันตสุขภาพ ครั้งที่ 4 มีรายงานว่า เด็กอายุ 3 – 5 ปี มีฟันน้ำนมผุ ร้อยละ 97 เฉลี่ย 3 – 7 ซี่ต่อคน
ส่วนใหญ่ไม่ได้รับการรักษา เด็กอายุ 6 ปี ร้อยละ 11 ฟันกรามแท้ผุ เด็กอายุ 6 –12 ปี ร้อยละ 53.9 มี
ฟันผุ ฟันหัก หรืออุดฟัน เฉลี่ย 1.6 ซี่ต่อคน และจากผลการวิจัยของ อารยา พงษ์หาญยุทธ และ
คณะ (2545 : 17) พบว่า เด็กอายุ 18 – 72 เดือน ในคลีนิคทันตสุขภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล
จากการตอบแบบสอบถามของผู้ปกครอง 104 ราย ตรวจฟันเด็ก พบว่า ร้อยละ 26 มีค่าเฉลี่ย ฟันผุ
ถอน อุด ประมาณ 6 – 10 ซี่ต่อคน
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (2527 : 66) ปัญหาจากการสูญเสียฟัน
คือ ทำให้ระบบการย่อยอาหารขั้นต้นถูกทำลาย ส่วนฟันและเหงือกที่เป็นโรค เชื้อโรคจะแพร่
กระจายไปสู่อวัยวะอื่นทางเส้นเลือดและเส้นน้ำเหลืองที่ไหลเวียนไปสู่ปอดและหัวใจ อาจนำไปสู่
การเกิดโรคต่าง ๆ เช่น ฝีในปอด เกิดการอักเสบที่เยื่อบุหัวใจ เยื่อหุ้มสมอง ตา โพรงจมูก ตับ
ฯลฯ เมื่อเป็นรุนแรงอาจถึงแก่ชีวิตได้
กองส่งเสริมสุขภาพ กรุงเทพมหานคร (ม.ป.ป : 5) สรุปผลการตรวจสุขภาพนักเรียนประจำ
ปีการศึกษา 2545 อัตราการตรวจพบโรคและความผิดปกติ 5 อันดับ คือ ฟันผุ ร้อยละ 66.95 โรค
ระบบทางเดินหายใจ ร้อยละ 14.55 โรคเหา ร้อยละ 10.46 โรคอ้วน ร้อยละ 10.29 และผอม
ร้อยละ 8.29
กองควบคุมโรค (2543 : 5) มีรายงานว่ามีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในกรุงเทพมหานคร จำนวน
5,241 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 92.25 ต่อประชากรหนึ่งแสนคน เสียชีวิต 6 ราย โรคไข้เลือดออกเป็น
3
โรคติดต่อรุนแรงที่มักเกิดกับเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กในระดับอนุบาลและประถมศึกษา (สำนัก
อนามัยกรุงเทพมหานคร. ม.ป.ป. : 25)
ปัญหาด้านสุขภาพอนามัยของนักเรียนมีมากมายซึ่งโรคบางโรคเกิดจากการไม่รักษาอนามัย
ส่วนบุคคล วัฒนธรรมความเป็นอยู่ไม่เหมาะสม สิ่งแวดล้อมไม่ดี รวมทั้งมีการบริโภคอาหารที่ไม่มี
คุณค่าทางโภชนาการ เครื่องปรุงที่ไม่ปลอดภัยและไม่สะอาด (กระทรวงสาธารณสุขและแผนพัฒนา
สุขภาพในประเทศไทย. ม.ป.ป : 26 , กิติศักดิ์ กลับดี และคณะ. 2536 : บทคัดย่อ) นอกจากนี้มี
นักเรียนจำนวนไม่น้อยที่เจ็บป่วยจากบ้านแต่ผู้ปกครองให้มาโรงเรียนด้วยเหตุผลสองประการคือ
ประการแรกเกรงว่าบุตรหลานจะเรียนไม่ทันเพื่อน ประการที่สอง ด้วยสาเหตุที่ตนต้องไปประกอบ
อาชีพนอกบ้านไม่มีใครดูแลนักเรียน (จินตนา สรายุทธพิทักษ์. 2541:14) การปล่อยให้บุตรหลานอยู่
ตามลำพังที่บ้าน นอกจากจะเกรงอันตรายจากอาการของโรคแล้ว สภาพสังคมปัจจุบันสร้างความ
ห่วงใย วิตกกังวลให้ผู้ปกครองเป็นอย่างยิ่ง การนำบุตรหลานมาฝากที่โรงเรียนอย่างน้อยจะมีครูและ
ครูอนามัยโรงเรียนให้การปฐมพยาบาล มีอาหารและยาสามัญประจำบ้านรับประทาน ตลอดทั้งมีห้อง
พยาบาลที่สะอาดเหมาะสมไว้ให้นอนพักผ่อน นอกจากการเจ็บป่วยจากโรคต่าง ๆ แล้ว การเกิดอุบัติ
เหตุในโรงเรียนนั้นมีเกิดขึ้นเสมอ อุบัติเหตุบางประเภท หากปฐมพยาบาลไม่ถูกต้อง ล่าช้า
ขาดประสิทธิภาพ อาจเพิ่มปัญหาให้กับผู้ป่วย ดังนั้นผู้บริหารต้องกำกับดูแล แนะนำให้ครูอนามัย
โรงเรียนพึงตระหนักและดำเนินการแก้ปัญหาร่วมกับผู้ปกครองนักเรียน
จากความสำคัญและปัญหาดังกล่าว แสดงให้เห็นว่างานอนามัยโรงเรียนเป็นกลจักรที่สำคัญ
ในการสร้างเสริมสุขภาพอนามัย ซึ่งเป็นปัจจัยในการพัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม
และสติปัญญา จึงเป็นสาเหตุให้ผู้วิจัยมีความสนใจจะศึกษาสภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนใน
โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษากรุงเทพมหานคร
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียน ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงาน
การประถมศึกษากรุงเทพมหานคร
ประโยชน์ที่ได้รับ
ผลการวิจัยครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ดังนี้
1. ครูและอาจารย์ผู้รับผิดชอบงานอนามัยโรงเรียนได้นำไปใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุง
และพัฒนาการดำเนินงานอนามัยโรงเรียน
2. ผู้บริหารโรงเรียนจะได้นำไปใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงาน
อนามัยโรงเรียน
3. ผู้อำนวยการการประถมศึกษากรุงเทพมหานครได้นำไปใช้เป็นข้อมูลสารสนเทศในการ
4
กำหนดนโยบายและวางแผนพัฒนางานอนามัยโรงเรียนของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงาน
การประถมศึกษากรุงเทพมหานคร
ขอบเขตของการวิจัย
1. การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาสภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียน ในโรงเรียนประถมศึกษา
สังกัดสำนักงานการประถมศึกษากรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2545 ประชากรที่ใช้ในการศึกษา
ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน ผู้ช่วยผู้บริหาร และครูอนามัยโรงเรียน จำนวน 114 คน จาก 38 โรงเรียน
2. ศึกษาสภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนซึ่งมีขอบข่ายของงาน 4 ด้าน คือ
2.1 การจัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ (Healthful School Living)
2.2 การบริการสุขภาพในโรงเรียน (School Health Service)
2.3 สุขศึกษาในโรงเรียน (School Health Education)
2.4 ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและชุมชน (School and Community
Relationship)
นิยามศัพท์เฉพาะ
1. โรงเรียน หมายถึง โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา
กรุงเทพมหานคร สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (ปัจจุบันสังกัดสำนักงานเขต
พื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร)
2. ผู้บริหารโรงเรียน หมายถึง อาจารย์ใหญ่ ผู้อำนวยการโรงเรียน หรือผู้รักษาการใน
ตำแหน่งดังกล่าว ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา
กรุงเทพมหานคร
3. ผู้ช่วยผู้บริหารโรงเรียน หมายถึง ผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่หรือผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียน
ฝ่ายบริการ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบกำกับติดตามการปฏิบัติงานอนามัยโรงเรียน
4. ครูอนามัยโรงเรียน หมายถึง ครูหรือบุคลากรทางการแพทย์ที่ได้รับมอบหมายจาก
ผู้บริหารโรงเรียนให้มีหน้าที่รับผิดชอบงานอนามัยโรงเรียน
5. งานอนามัยโรงเรียนหรือโครงการอนามัยโรงเรียน หมายถึง กิจกรรมหรือ
การดำเนินงาน เพื่อช่วยให้เกิดความเข้าใจ ดำรงรักษาและปรับปรุง ส่งเสริมสุขภาพนักเรียนและ
บุคลากรในโรงเรียนรวมทั้งการจัดสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมและประชาสัมพันธ์ให้ผู้ปกครองรับรู้
6. สภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียน หมายถึง ลักษณะที่รับรู้ได้ถึงการจัดการ
5
ให้มีการปฏิบัติงานอนามัยโรงเรียนบนพื้นฐานของทรัพยากรที่มีอยู่ ได้แก่ บุคลากรในโรงเรียน
หรือผู้เกี่ยวข้อง งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ เวชภัณฑ์และยา โดยงานอนามัยโรงเรียนแบ่งเป็น 4
ด้านคือ
6.1 การจัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ หมายถึง การจัดหรือ
ดำเนินการเกี่ยวกับสิ่งก่อสร้าง อาคารสถานที่ การควบคุมดูแลรักษา และการพัฒนาอาคารสถานที่
การตกแต่งบริเวณโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ ในการส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้ รวมทั้งการที่
ผู้บริหารและครูสามารถเป็นตัวอย่างที่ดีด้านสุขภาพอนามัยแก่นักเรียนและชุมชน
6.2 การบริการสุขภาพในโรงเรียน หมายถึง การบริการด้านสุขภาพอนามัยแก่
นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนเมื่อเจ็บป่วยหรือได้รับอุบัติเหตุโดยการปฐมพยาบาล การส่งต่อ
ศูนย์บริการสาธารณสุขหรือโรงพยาบาลตามความเหมาะสม ตลอดทั้งมีการตรวจสุขภาพและให้
ภูมิคุ้มกันโรคแก่นักเรียน โดยประสานงานกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ส่งเสริมโภชนาการในโรงเรียน
และการออกกำลังกาย รวมทั้งการติดตามผลการให้การพยาบาลรักษานักเรียน
6.3 สุขศึกษาในโรงเรียน หมายถึง การถ่ายทอดความรู้ การจัดการเรียน
การสอน อำนวยความสะดวก ส่งเสริม กระตุ้นให้ครูและนักเรียนเกิดการเรียนรู้เรื่องสุขภาพอนามัย
การฝึกทักษะและสร้างเจตคติด้านสุขภาพอนามัยที่จะทำให้นักเรียนมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
สุขภาพและนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
6.4 ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและชุมชน หมายถึง การประชาสัมพันธ์
ให้ข้อมูลแก่ผู้ปกครองนักเรียนและชุมชน โดยให้รับรู้นโยบายด้านการบริการสุขภาพ เพื่อให้
ผู้ปกครองนักเรียนและชุมชนให้ความร่วมมือสนับสนุน ช่วยเหลือกิจการอนามัยโรงเรียน การ
ประสานงานติดตามผลการรักษา นักเรียนที่เจ็บป่วยหรือมีปัญหาทางด้านสุขภาพ ตลอดจนการร่วม
มือกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและชุมชนในการแก้ปัญหาสุขภาพอนามัยนักเรียน
แผนภาพที่ 1 กรอบแนวคิดในการวิจัย เรื่อง สภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียน ในโรงเรียนประถมศึกษา
สังกัดสำนักงานการประถมศึกษากรุงเทพมหานคร
6
งานอนามัยโรงเรียนตามแนวคิดของ นีเมอร์ (Nemir 1970
: 268)
1. การจัดสิ่งแวดล้อมให้ถูกสุขลักษณะ
1.1 การก่อสร้างอาคารถูกสุขลักษณะ
- การปลูกต้นไม้
- สถานที่เหมาะสมเป็นสถานศึกษา สามารถ
ประยุกต์ใช้ มีความสะดวกสบาย
- การระบายอากาศและแสงสว่างเพียงพอ
- ความปลอดภัย
- สุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
1.2 บรรยากาศในโรงเรียน
- กิจกรรมพิเศษ
- สวัสดิศึกษา
- โครงการอาหารกลางวัน
1.3 อนามัยส่วนบุคคล
- สถานที่ออกกำลังกาย
2. การบริการสุขภาพในโรงเรียน
2.1 ประเมินสุขภาพกายและจิต
- การซักประวัติ ตรวจร่างกาย และบันทึก
- การทดสอบสมรรถภาพ
2.2 การติดตามประเมินผล
- การส่งไปรักษา
- การจัดห้องเรียน
- โครงการพิเศษ สุขภาพจิต
- การให้การพยาบาล
- การให้คำปรึกษา
2.3 อนามัยส่วนบุคคล
- การตรวจสุขภาพครูและบุคลากร
3. สุขศึกษาในโรงเรียน
3.1 การสอนตามความสนใจและความต้องการของ
นักเรียน
- การใช้สื่อ
- การสอนในห้องวิทยาศาสตร์สุขภาพ
3.2 การบูรณาการ
- การสร้างทัศนคติที่ดี
- การฝึกปฏิบัติและนำไปใช้
3.3 ข้อเสนอแนะ
- ให้คำปรึกษารายกลุ่ม / รายบุคคล
งานอนามัยโรงเรียนตามแนวคิดของ : สำนักงานคณะกรรมการ
การประถมศึกษาแห่งชาติ (2540 : 4)
1. อนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน
- การปรับปรุงสภาพแวดล้อม
- ความปลอดภัยจากโรคและอุบัติเหตุ
- การส่งเสริมสุขภาพกายและจิต
- การเป็นตัวอย่างที่ดีต่อนักเรียนและชุมชน
2. การบริการอนามัยโรงเรียน
- การมีบัตรสุขภาพ
- การตรวจสุขภาพ / ให้การพยาบาลผู้ป่วย
- การสร้างภูมิคุ้มกันโรค
- การติดตามผลการรักษา
- โภชนาการในโรงเรียน
- การออกกำลังกาย
3. สุขศึกษาในโรงเรียน
- การถ่ายทอดความรู้
- การฝึกทักษะ และสร้างเจตนคติ
- การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพ
4. ความสัมพันธ์ระหว่างบ้านและโรงเรียน
- การสร้างความเข้าใจ ให้ชุมชนมีส่วนร่วม
- การรับรู้ปัญหาและร่วมแก้ปัญหา
- การปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างโรงเรียนและเจ้าหน้าที่
สาธารณสุข
สภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนของโรงเรียนประถมศึกษา
สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร
ประกอบด้วย การจัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ
การบริการสุขภาพในโรงเรียน สุขศึกษาในโรงเรียน และความ
สัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและชุมชน
บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาเรื่อง สภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียน ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนัก
งานการประถมศึกษากรุงเทพมหานคร ผู้วิจัยจะนำเสนอเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในเรื่องต่อไปนี้
1. แนวคิดเกี่ยวกับงานอนามัยโรงเรียน
1.1 ประวัติงานอนามัยโรงเรียน
1.2 ความจำเป็นและความสำคัญของงานอนามัยโรงเรียน
1.3 ความหมายของงานอนามัยโรงเรียน
2. การบริหารงานอนามัยโรงเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา
2.1 ภาระหน้าที่และงานของผู้บริหารโรงเรียน
2.2 ลักษณะของงานอนามัยโรงเรียน
2.3 เกณฑ์การปฏิบัติงานตามมาตรฐานโรงเรียนด้านส่งเสริมสุขภาพ
3. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
3.1 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องด้านการจัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ
3.2 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องด้านการบริการสุขภาพในโรงเรียน
3.3 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องด้านสุขศึกษาในโรงเรียน
3.4 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและชุมชน
1. แนวคิดเกี่ยวกับงานอนามัยโรงเรียน
1.1 ประวัติงานอนามัยโรงเรียน
ความเป็นมาของงานอนามัยโรงเรียนเริ่มในทวีปยุโรป ที่ประเทศบาวาเรีย (Bavaria)
เมื่อ พ.ศ. 2333 โดยมีการให้อาหารกลางวันแก่นักเรียนยากจนและขณะนั้นมีนักจิตศาสตร์ชื่อ แฟรงค์
(Frank) เขียนหนังสือเกี่ยวกับอนามัยโรงเรียนขึ้นเป็นครั้งแรก
ในปี พ.ศ. 2376 ประเทศฝรั่งเศส ได้ออกกฎหมายคุ้มครองสุขภาพนักเรียนขึ้น
โรงเรียนทุกแห่งต้องควบคุมดูแลสุขาภิบาลในโรงเรียน จัดให้มีแพทย์ประจำโรงเรียนทุกแห่งใน
กรุงปารีส
ในปี พ.ศ.2411 ประเทศสวีเดน เริ่มให้มีแพทย์ประจำโรงเรียน
8
ในปี พ.ศ.2417 ประเทศเบลเยี่ยมที่กรุงปรัสเซลมีการจัดให้แพทย์ตรวจสุขภาพนักเรียน
มีการตรวจฟันและตา เนื่องจากเป็นโรคที่พบมากในโรงเรียน
ในปี พ.ศ.2438 เริ่มที่รัฐชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา
ในปี พ.ศ.2444 สมาคมส่งเสริมสุขภาพนักเรียนได้ก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกที่กรุงนิวยอร์ค
ประเทศสหรัฐอเมริกา หลังจากนั้นมีการตั้งองค์การต่าง ๆ ขึ้นมีทั้งของรัฐและเอกชน ซึ่งมีความเจริญ
ก้าวหน้ามาก
ในปี พ.ศ.2461 องค์การสงเคราะห์อนามัยเด็กแห่งสหรัฐอเมริกาได้กำหนดให้มีการ
เผยแพร่โฆษณาความสำคัญของงานอนามัยโรงเรียน
ในประเทศไทย งานอนามัยโรงเรียนได้เริ่มจัดตั้งขึ้น เมื่อ พ.ศ.2468 โดยพระราชดำริ
ของสมเด็จพระบรมราชชนก เจ้าฟ้ากรมหลวงสงขลานครินทร์ คือ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศอดุลยเดช
วิกรมบรมราชชนก พระองค์ทรงเล็งเห็นความสำคัญของการบริการสุขภาพในโรงเรียนว่าเป็น
งานสาธารณสุขขั้นพื้นฐาน ให้จัดตั้งแผนกสุขาภิบาลโรงเรียนในกระทรวงธรรมการ ทรงวางแนวทาง
ปฏิบัติด้านการสุขศึกษา การสุขาภิบาลและควบคุมดูแลสุขภาพของนักเรียน
ในปี พ.ศ. 2476 ได้มีประกาศพระราชกฤษฎีกาปรับปรุงยกฐานะ แผนกสุขาภิบาล
โรงเรียนขึ้นเป็นกองสุขาภิบาลโรงเรียน สังกัดกรมพลศึกษา กระทรวงธรรมการ
ในปี พ.ศ. 2485 ได้มีการโอนกองสุขาภิบาลโรงเรียน จากกรมพลศึกษาไปอยู่กับ
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขและเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นกองอนามัยโรงเรียน มีหน้าที่ดำเนินงาน
ควบคุมและจัดการงานอนามัยโรงเรียนทั่วราชอาณาจักร
ในปี พ.ศ. 2495-2497 กรมอนามัยได้รับการช่วยเหลือจากองค์การบริหารวิเทศกิจแห่ง
สหรัฐอเมริกาในด้านเครื่องมือแพทย์ เวชภัณฑ์และยานพาหนะ มีการขยายงานบริการจากส่วนกลาง
ไปสู่ส่วนภูมิภาค โดยตั้งหน่วยอนามัยโรงเรียนขึ้นที่จังหวัดนครราชสีมาเป็นอันดับแรก ต่อมาขยายไป
ที่จังหวัดเชียงใหม่ อุบลราชธานี สงขลาและราชบุรี ต่อมาขยายงานขึ้นทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
ในปี พ.ศ.2504 ได้มีการปรับปรุงงานอนามัยโรงเรียนอยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่ง
ชาติ ฉบับที่ 1 โดยคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้แต่งตั้งคณะกรรมการอนามัยโรงเรียนขึ้น เรียกว่า
“คณะกรรมการอนามัยโรงเรียนระดับชาติ”
ในปี พ.ศ. 2511 – 2514 ได้รับความช่วยเหลือจากองค์การทุนสงเคราะห์เด็ก
ยามฉุกเฉินสหประชาชาติ(UNICEF)ในการฝึกอบรมสนับสนุนทางด้านวิชาการได้มีการอบรมเจ้าหน้าที่
และครู จำนวน 20 จังหวัด การดำเนินงานดังกล่าวได้จัดทำเป็นโครงการขึ้นเรียกว่า “โครงการอนามัย
โรงเรียน ร่วมกับองค์การกองทุนสงเคราะห์เด็กยามฉุกเฉินแห่งสหประชาชาติ”
ในปี พ.ศ. 2517 กองสุขศึกษา กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดตั้งฝ่ายสุขศึกษา
ในโรงเรียน ในกองสุขศึกษา
9
กระทรวงศึกษาธิการ มีการเปิดรับครูอนามัยโรงเรียน เรียกว่า ครูพยาบาลโรงเรียน
ซึ่งมีหน้าที่ดูแลสุขภาพนักเรียน บุคลากรกลุ่มนี้อยู่ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ (ฉัตรสุดา
ชินประสาทศักดิ์ 2540 : 18)
ในปี พ.ศ. 2520 ได้มีการจัดตั้งอนุกรรมการสุขศึกษา สายการศึกษาขึ้น เพื่อทำหน้าที่
กำหนดนโยบายควบคุม และให้ความช่วยเหลือเกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการสุขภาพในโรงเรียน
ในปี พ.ศ.2525 กองอนามัยโรงเรียน กระทรวงสาธารณสุขมีโครงการอบรมงาน
อนามัยโรงเรียนแก่ครูประถมศึกษาและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
ปัจจุบันมีหน่วยงานหลายแห่งที่มีส่วนรับผิดชอบงานอนามัยโรงเรียน ได้แก่ ฝ่าย
สุขศึกษาในโรงเรียน กองสุขศึกษา กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข กองส่งเสริมสุขภาพ กรม
พลศึกษา (ม.ล. มยุเรศ พูลศิริ. 2535 : 1, จินตนา สรายุทธพิทักษ์. 2541 : 10-11, ทวีสิทธิ์ สิทธิกร.
2531 : 25-31)
1.2 ความจำเป็นและความสำคัญของงานอนามัยโรงเรียน
องค์การอนามัยโลก (1996 : 31) ได้จัดประชุมเรื่องสภาพงานอนามัยโรงเรียน (The
Status of School Health) ชี้แจงถึงเหตุผลการลงทุนในการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับงานอนามัยโรงเรียน
ว่าผู้ดำเนินนโยบายในระดับประเทศและระดับท้องถิ่นต้องนำโครงการอนามัยโรงเรียนไปปฏิบัติให้
คุ้มค่าต่อการลงทุนให้มากที่สุด โดยการทำให้สุขภาพของนักเรียนดีขึ้น ดังนั้นโรงเรียนจึงควรดำเนิน
งานโครงการอนามัยโรงเรียน เพราะเป็นการให้การศึกษาที่มีคุณค่า ครูเป็นบุคลากรที่ทำให้เกิดผล
กระทบต่อสุขภาพนักเรียนเป็นอย่างมาก การดำเนินโครงการอนามัยโรงเรียนต้องมีการประสานงาน
ทั้งภายนอกและภายใน เพื่อตระเตรียมปัจจัยหลายปัจจัยในการส่งเสริมสุขภาพ
สำนักงานคณะกรรมการ การประถมศึกษาแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ (2540 : 3)
มีแนวความคิดเกี่ยวกับงานอนามัยโรงเรียนว่า เด็กนักเรียนทุกคนมีสิทธิได้รับการบริการอนามัยเท่า
เทียมกัน การให้บริการด้านนี้จึงควรคำนึงถึงความครอบคลุมและทั่วถึง
สุขภาพที่ดีย่อมเป็นพื้นฐานที่สำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะสำหรับเด็ก
ในวัยกำลังเจริญเติบโต ดังนั้น การมุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กในวัยนี้จึงต้องให้ทั้งความรู้ ความเข้าใจ
ประสบการณ์ การฝึกปฏิบัติในด้านสุขภาพอนามัยที่ถูกต้อง และการให้บริการที่เหมาะสมเพื่อให้เกิด
เป็นสุขนิสัย สามารถลดปัญหาด้านสุขภาพอนามัยของนักเรียน จนมีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์มีความ
สามารถที่จะพัฒนาด้านอื่น ๆ ดังนั้น การดำเนินงานอนามัยโรงเรียนให้ได้ผลอย่างจริงจัง จึงต้องให้
ความรู้ความเข้าใจและจัดประสบการณ์ตรงให้แก่นักเรียน รวมทั้งการจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้
ฝึกปฏิบัติอย่างต่อเนื่องเป็นนิจจนเกิดเป็นสุขนิสัย
10
สมศักดิ์ อัมพรต (2538 : 15) ได้กล่าวว่า การจัดโครงการสุขภาพในโรงเรียนหรือ
งานอนามัยโรงเรียนนั้นมีความจำเป็นและสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินการอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
เพื่อให้นักเรียนและบุคลากรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องมีสุขภาพและพลานามัยที่แข็งแรงสมบูรณ์ พร้อมที่จะ
ศึกษาเล่าเรียนได้จนจบหลักสูตรหรือปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพรวมทั้งเพื่อให้มี
สุขนิสัยที่ดีในการที่จะสร้างเสริมสุขภาพอนามัยของตนเอง ของครอบครัวและของชุมชน และเป็น
ประชากรที่มีคุณภาพในอันที่จะช่วยพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น
ทวีสิทธิ์ สิทธิกร (2531 : 15) ได้กล่าวถึง ความสำคัญและความจำเป็นของโครงการ
สุขภาพในโรงเรียนไว้ว่า โรงเรียนเป็นสถานที่รวมของเด็กในชุมชนจำนวนมาก ซึ่งเด็กเหล่านี้กำลังอยู่
ในวัยกำลังเจริญเติบโตและจะเป็นพลเมืองอันเป็นกำลังของชาติ สมควรที่โรงเรียนจะต้องให้ความคุ้ม
ครองต่อเด็กเพื่อให้ปลอดภัยจากการเจ็บป่วยและอุบัติเหตุต่าง ๆ พร้อมทั้งช่วยให้มีสุขภาพดีทั้งร่างกาย
และจิตใจ และความเจริญงอกงามในด้านอื่น ๆ ให้สมบูรณ์ตามความมุ่งหมายของการศึกษาด้วย ดังนั้น
การดำเนินงานโครงการสุขภาพในโรงเรียนจึงมีความสำคัญมาก
ธรี วฒุ ิ ประทุมนพรัตน  (2534 :116) ได้กล่าวถึง ความสำคัญของงานอนามัยโรงเรียน
ว่า การจัดบริการสุขภาพอนามัยช่วยให้บิดามารดามีความสบายใจขึ้น เพราะเกิดมั่นใจว่า นอกจากส่ง
นักเรียนมาไว้ในโรงเรียนอยู่ร่วมกับนักเรียนอื่นๆ ภายในสิ่งแวดล้อมที่แปลกใหม่ ยังเชื่อมั่นว่า นักเรียน
ได้รับการดูแลด้านสุขภาพด้วย บิดามารดาสามารถประกอบอาชีพได้อย่างสุขใจ เมื่อบุตรหลานของตน
ไม่เจ็บป่วย และเรียนรู้เรื่องการป้องกันรักษาตนเองอย่างถูกต้อง กรณีที่เกิดเจ็บป่วย พลัดตกหกล้ม
ฉุกเฉิน งานบริการสุขภาพในโรงเรียนสามารถช่วยได้เป็นอย่างดี
สรุปว่า งานอนามัยโรงเรียนเป็นงานที่จำเป็นและสำคัญ เป็นงานที่องค์การอนามัยโลก
ได้เข้ามาสนับสนุนและประสานความเข้าใจเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติทั้งในระดับประเทศและท้องถิ่น
โรงเรียนเป็นที่รวมของเด็กจากชุมชนต่าง ๆ ที่มีความหลากหลาย เด็กเหล่านี้กำลังเจริญเติบโต กำลัง
ศึกษาเล่าเรียน และอยู่ในวัยที่สามารถส่งเสริมพัฒนาการด้านต่าง ๆ ได้ สมควรได้รับการดูแลคุ้มครอง
ให้ปลอดภัยจากการเจ็บป่วย อุบัติเหตุ และได้รับการส่งเสริมการเรียนรู้และฝึกทักษะด้านสุขภาพ
อนามัย ให้มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตตนเอง ครอบครัว
และชุมชน ให้มีความสมบูรณ์ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญาและปรับตัวสู่สังคมได้ดี เป็นประชากร
ที่มีคุณภาพในอันที่จะช่วยพัฒนาประเทศชาติต่อไป
1.3 ความหมายของงานอนามัยโรงเรียน
งานอนามัยโรงเรียน (School Health Program) มีชื่อเรียกต่างกัน เช่น โครงการ
อนามัยโรงเรียน หรือโครงการสุขภาพในโรงเรียน (ทวีสิทธิ์ สิทธิกร. 2531 : 12) มีผู้ให้ความหมาย
ของงานอนามัยโรงเรียนไว้ดังนี้
11
กระทรวงสาธารณสุข (2539 : 30) ให้ความหมายว่า โครงการสุขภาพในโรงเรียน
(งานอนามัยโรงเรียน) หมายถึง การจัดดำเนินการที่มุ่งสร้างเสริมป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพเด็ก
วัยเรียนให้มีความสมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา ตลอดทั้งมีการพัฒนาตามวัยอย่างเหมาะสม
โดยมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและครูช่วยกันดำเนินงาน อันจะส่งผลต่อการศึกษาเล่าเรียนและเพื่อให้
นักเรียนได้รับความรู้ เกิดทัศนคติ มีประสบการณ์ด้านอนามัยที่ถูกต้องเป็นตัวอย่างแก่ครอบครัวของ
ตนเองและชุมชน
ทวีสิทธิ์ สิทธิกร (2531: 2) ให้ความหมายของโครงการสุขภาพในโรงเรียนว่าเป็น
โครงการที่จะปรับปรุงส่งเสริมสุขภาพเป็นเป้าหมายซึ่งเป็นวัตถุประสงค์ที่สาํ คัญอย่างหนึ่งของการจัด
การศึกษา ฉะนั้นการที่โรงเรียนจะช่วยส่งเสริมความเป็นผู้มีสุขภาพดีทั้งร่างกาย จิตใจและสังคมให้กับ
นักเรียนจึงเป็นสิ่งดีงาม สอดคล้องกับหลักการศึกษาที่ถูกต้องอย่างยิ่ง
พรณี พันมา (2540 : 8) ให้ความหมายว่า โครงการสุขภาพในโรงเรียน หมายถึง
งานที่กระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า งานอนามัยโรงเรียน เป็นงานที่ครอบคลุมงานด้านการจัดสิ่งแวดล้อม
ในโรงเรียน การบริการสุขภาพในโรงเรียน การให้สุขศึกษาในโรงเรียน ซึ่งมีจุดมุ่งหมายให้นักเรียน
เกิดความสมบูรณ์แข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจและอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข
Good (1973 : 277) ให้ความหมายว่า งานอนามัยโรงเรียนหมายถึง การวางโครงการ
ใช้แหล่งทรัพยากรของโรงเรียน บ้านและชุมชน เพื่อส่งเสริมสุขภาพ โดยการให้ความรู้ สร้างเจตคติ
และการปฏิบัติที่ถูกต้องแก่นักเรียน จัดสภาวะสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน รวมทั้งการดำเนินการให้มี
การตรวจสุขภาพ การจัดการเรียนการสอนเรื่องสุขภาพ โภชนาการและการวางหลักการปฏิบัติเกี่ยวกับ
การส่งเสริมสุขภาพในโรงเรียน
จากที่กล่าวมาสรุปได้ว่า ความหมายของงานอนามัยโรงเรียนหรือ โครงการสุขภาพ
ในโรงเรียน ตามแนวคิดของหลายท่านที่กล่าวมามีลักษณะคล้ายคลึงและสอดคล้องกัน กล่าวคือ
งานอนามัยโรงเรียน หมายถึง การดำเนินงานด้านสุขภาพอนามัยโดยหน่วยงานสาธารณสุขและ
โรงเรียน เพื่อส่งเสริม ป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพนักเรียน เพื่อให้มีความสมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ
และสติปัญญา ปรับตัวอยู่ในสังคมอย่างปกติสุข มีทัศนคติที่ดีและมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง เป็น
ตัวอย่างที่ดีต่อครอบครัวและชุมชน
12
2. การบริหารงานอนามัยโรงเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา
2.1 ภาระหน้าที่และงานของผู้บริหารโรงเรียน
สมเดช สีแสง (2539 : 123) กล่าวว่า งานบริหารโรงเรียนประถมศึกษาประกอบด้วย
งาน 6 งาน คือ งานวิชาการ งานบุคลากร งานกิจการนักเรียน งานธุรการและการเงิน งานอาคาร
สถานที่และงานความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน งานทั้ง 6 งานนี้มีเป้าหมายหลักร่วมกัน คือ
ให้นักเรียนมีความรู้ ความสามารถและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามจุดหมายของหลักสูตร โดยมีงาน
วิชาการเป็นหลัก ส่วนงานอื่นๆ เป็นงานสนับสนุนส่งเสริมงานวิชาการให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
อุลิต ลียะวณิช และคณะ (2527 : 28 – 29) กล่าวว่า การบริหารงานในโรงเรียน
ประถมศึกษาตามหลักวิชาการศึกษาส่วนใหญ่แบ่งเป็น 6 งาน คือ
1. งานด้านวิชาการ ได้แก่ กิจกรรมที่เกี่ยวกับการเรียนการสอน ส่วนใหญ่จะมุ่งเน้น
ในเรื่องหลักสูตร การจัดโปรแกรมการเรียนการสอน การจัดโครงการสอน การเตรียมการสอน
สื่อการเรียน วิธีสอน การนิเทศ ตลอดจนการประเมินผลการเรียนของนักเรียน
2. งานบุคลากร ได้แก่ กิจกรรมที่เกี่ยวกับการให้บุคลากรในโรงเรียนซึ่งได้แก่
ข้าราชการครูและคนงานภารโรงได้ปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การพัฒนาบุคลากรให้เป็นผู้มี
ความรู้ สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างขวัญกำลังใจ ช่วยเหลือแนะนำ ให้ความ
เป็นธรรมในการพิจารณาความดีความชอบ ฯลฯ
3. งานกิจการนักเรียน ได้แก่ กิจกรรมที่เกี่ยวกับการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติ
ประถมศึกษา เช่น การสำรวจจำนวนนักเรียนที่เข้าเรียน การเกณฑ์นักเรียนเข้าเรียน ยกเว้นการ
เข้าเรียน เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีงานอื่น ๆ อีกมาก เช่น การปฐมนิเทศ การบริการด้านสุขภาพอนามัย
โครงการอาหารกลางวัน การแนะแนว เป็นต้น
4. งานธุรการ ได้แก่ งานสารบรรณ งานสถิติและข้อมูล งานทะเบียน การจัดตั้ง
งบประมาณการจัดซื้อและจัดซื้อจัดจ้าง
5. งานอาคารสถานที่ ได้แก่ กิจกรรมที่เกี่ยวกับการวางแผนความต้องการอาคารเรียน
และอาคารประกอบ การตกแต่งสถานที่ การดูแลรักษาอาคารบริเวณโรงเรียน ตลอดจนการดูแลรักษา
ซ่อมแซมครุภัณฑ์ของโรงเรียน
6. งานความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ได้แก่ กิจกรรมการศึกษาของ
โรงเรียนกับหน่วยงานอื่น ๆ เช่น สมาคมศิษย์เก่า สมาคมครูผู้ปกครอง การประชาสัมพันธ์ให้ชุมชน
ได้ทราบกิจกรรมของโรงเรียน รวมถึงกิจกรรมที่โรงเรียนสามารถช่วยเหลือชุมชนได้
กล่าวโดยสรุปได้ว่า ผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ต้องรับผิดชอบปฏิบัติภารกิจ
หน้าที่งานบริหาร 6 งาน ได้แก่ งานวิชาการ งานบุคลากร งานกิจการนักเรียน งานธุรการ งานอาคาร
สถานที่และงานความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
13
นพพงษ์ บุญจิตราดุลย์ (2534 : 37) ได้กำหนดขอบเขตของกิจการนักเรียนไว้ดังนี้
1. การสำรวจนักเรียนที่มีอายุอยู่ในเกณฑ์บังคับ ที่เรียกว่าทำสำมะโนนักเรียน
2. การรับเด็กเข้าเรียน
3. การลงทะเบียนเรียน
4. การแบ่งกลุ่มแบ่งชั้นเรียน
5. การปฐมนิเทศ
6. การจัดให้ทุนการศึกษา
7. การจัดกิจกรรมนักเรียนหรือกิจกรรมเสริมหลักสูตร
8. การจัดบริการและสวัสดิการต่าง ๆ
8.1 บริการเรื่องอาหารกลางวัน
8.2 บริการสุขภาพอนามัย
8.3 บริการหอพัก
8.4 บริการให้คำปรึกษาหารือหรือแนะแนว
8.5 บริการให้ทำงานเพื่อหารายได้พิเศษ
8.6 บริการสอนซ่อมเสริม
9. การรักษาวินัยและความประพฤติของนักเรียน
10. การทำระเบียนสะสม เก็บหลักฐานและประวัตินักเรียน
11. การวิจัยประเมินผลและติดตามผลเมื่อนักเรียนสำเร็จไปแล้ว
สรุปว่า การบริหารกิจการนักเรียนเป็นการเตรียมการเพื่อให้เยาวชนได้เข้ารับการศึกษา
เมื่อเข้าสู่ระบบโรงเรียนแล้วได้รับการดูแลโดยการอำนวยความสะดวก ช่วยเหลือ สนับสนุน มีการ
จัดบริการด้านต่าง ๆ รวมทั้งด้านสุขภาพอนามัย เพื่อให้มีสุขภาพที่ดีและมีการพัฒนาเต็มศักยภาพ มี
การติดตามประเมินผลเมื่อนักเรียนเรียนจบหลักสูตรแล้ว ซึ่งกิจกรรมที่มีค่าเหล่านี้หากได้รับการบริหาร
จัดการอย่างถูกต้องครบถ้วนและต่อเนื่องจะเกิดการพัฒนางาน ผลดีย่อมเกิดแก่เยาวชนอย่างแท้จริง
สำหรับงานโครงการสุขภาพในโรงเรียนหรืองานอนามัยโรงเรียนนั้น อาจจัดอยู่ใน
งานกิจการนักเรียนหรืองานบริการด้านต่าง ๆ ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้บริหารโรงเรียนจะต้องดำเนินการด้วย
นอกจากนี้งานอนามัยโรงเรียนยังมีความสัมพันธ์และเกี่ยวข้องกับงานทุกงานอีกด้วยโดยเฉพาะงาน
วิชาการ งานอาคารสถานที่และงานความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน (สมศักดิ์ อัมพรต. 2538
: 10)
14
2.2 ลักษณะของงานอนามัยโรงเรียน
ลักษณะของงานอนามัยโรงเรียนหรือโครงการสุขภาพในโรงเรียน จำเป็นต้องอาศัย
เจ้าหน้าที่หลายฝ่ายดำเนินการ เช่น ฝ่ายครูผู้สอน ฝ่ายผู้บริหารโรงเรียน ฝ่ายนิเทศทางวิชาการ
ฝ่ายเจ้าหน้าที่อนามัย เป็นต้น และกระบวนการดำเนินงานจะได้ผลนั้นจำเป็นต้องดำเนินการพร้อมกัน
หลาย ๆ ด้าน เช่น การบริการสุขภาพและความสัมพันธ์ระหว่างบ้านและโรงเรียน (ทวีสิทธิ์ สิทธิกร.
2531 : 2)
การดำเนินงานอนามัยโรงเรียน หรือโครงการสุขภาพในโรงเรียน ประกอบด้วย
ลักษณะงานสำคัญ 4 ประการคือ การจัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนที่ถูกสุขลักษณะ การจัดบริการสุขภาพ
การจัดการเรียนการสอนสุขศึกษา และการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบ้าน โรงเรียนและชุมชน
(สมศักดิ์ อัมพรต. 2538 : 15)
สรุปว่า ลักษณะงานอนามัยโรงเรียน เป็นงานที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากบุคลากร
ทางการศึกษา บุคลากรทางการแพทย์และการมีส่วนร่วมของชุมชน กระบวนการปฏิบัติงานต้องมีการ
ประสานงานให้สอดคล้องกัน มีลักษณะงานที่สำคัญ 4 ประการคือ
1. การจัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ
2. การบริการสุขภาพในโรงเรียน
3. สุขศึกษาในโรงเรียน
4. ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและชุมชน
ลักษณะงานอนามัยโรงเรียน มีรายละเอียดดังนี้
1. การจัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ
การจัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ หมายถึง การจัดการควบคุมดูแลการ
ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ในโรงเรียนให้อยู่ในสภาพที่ดีและถูกสุขลักษณะ เพื่อช่วยให้สามารถป้อง
กันโรคติดต่อ และช่วยลดอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น ทั้งยังช่วยส่งเสริมให้นักเรียนมีสุขภาพดี ตลอดจน
เกิดสุขนิสัยที่ดี (จรินทร์ ธานีรัตน์. 2529 : 6)
จินตนา สรายุทธพิทักษ์ (2541 : 28) การจัดโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ หมายถึง การ
จัดการควบคุมดูแลปรับปรุงสภาพสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้อยู่ในสภาพที่สามารถป้องกันโรคภัย
ไข้เจ็บและช่วยลดอุบัติเหตุ เพื่อช่วยส่งเสริมให้นักเรียนมีสุขภาพอนามัยด ี ตลอดจนเกิดสุขนิสัยที่ดี
ประสิทธิ์ สาระสันต์ (2536 : 11) การจัดสิ่งแวดล้อมให้ถูกสุขลักษณะ เป็นการจัด
ให้โรงเรียนมีสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยและถูกสุขลักษณะ ได้แก่ สถานที่ตั้งโรงเรียน อาคารเรียน
แสงสว่างและการทาสี การจัดระบบเสียง การระบายอากาศ โต๊ะเรียนและม้านั่ง อุปกรณ์และครุภัณฑ์
การศึกษา อาคารประกอบ น้ำดื่มน้ำใช้ การกำจัดขยะและน้ำโสโครก สนามและรั้วโรงเรียน การปลูก
ต้นไม้ โครงการสวัสดิการในโรงเรียน และกิจกรรมการพัฒนาโรงเรียน
15
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (2523 : 3) ได้เสนอแนะเกี่ยวกับหลักการจัดสิ่ง
แวดล้อมในโรงเรียนไว้ดังนี้
(1) ต้องจัดให้ปลอดภัยจากอุบัติเหตุและภัยอันตราย
(2) ต้องจัดให้ปลอดภัยจากโรคติดต่อ
(3) ต้องจัดให้เป็นที่น่าสบายใจ เพื่อส่งเสริมสุขภาพจิตและอารมณ์ในวัยที่เด็กได้รับ
การศึกษาอย่างเต็มที่
(4) ต้องจัดให้เหมาะสมกับสภาพทางสรีระวิทยาของร่างกายเด็กที่กำลังเจริญเติบโต
การจัดสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน คณะกรรมการสุขศึกษาแห่งชาติ (2525 : 9
- 11) กำหนดไว้ว่า โรงเรียนควรมีแผนงานการก่อสร้างปรับปรุงและการกระทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยว
ข้องกับสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนรอบ ๆ ตัวนักเรียน เพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่นักเรียนอันก่อให้เกิด
ความรู้ ความเข้าใจและประสบการณ์ที่ดี ช่วยให้ปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
โดยการจัดการ ปรับปรุงและส่งเสริมในเรื่องต่อไปนี้
1. การรักษาความสะอาด ควรมีคณะกรรมการควบคุมความสะอาดซึ่งประกอบด้วย
ครู ภารโรงและนักเรียน กำหนดหน้าที่และเวรในการทำความสะอาดแก่ภารโรง กำหนดให้ครูรับผิด
ชอบควบคุมดูแล แบ่งตามอาคารเรียนและห้องเรียน
2. สนาม ควรมีพื้นที่อย่างน้อยขนาดสนามฟุตบอล เป็นสนามที่นักเรียนใช้เล่นได้
อย่างปลอดภัยจากอุบัติเหต ุ พื้นสนามเรียบ สะอาด ปราศจากก้อนหิน อฐิ หรอื ตอไม  รอบสนามปลูก
ไม้ยืนต้น จัดให้มีอุปกรณ์การเล่น ที่นั่งพักและมีถังขยะ มีทางระบายน้ำกันน้ำท่วม นอกจากนี้ควรมี
ครูควบคุมดูแลการเล่นเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ
3. ห้องเรียน ควรจัดให้มีแสงสว่างเพียงพอ โดยสังเกตว่าถ้าสามารถอ่านหนังสือ
พิมพ์ขนาดตัวเล็กได้โดยที่ไม่ต้องเพ่งสายตาก็ใช้ได้ หากแสงสว่างไม่พอ ควรหาทางแก้ไขเท่าที่
สามารถทำได  เชน่ ติดตั้งไฟฟ้า ตัดกิ่งไม้ที่บังแสงออก เปดิ ประตหู นา้ ตา่ ง เปน็ ตน้
4. โต๊ะ ม้านั่ง ต้องมีขนาดพอเหมาะกับส่วนสูงของนักเรียน โต๊ะ ม้านั่ง จัดวางให้
เป็นระเบียบ โต๊ะเรียนแถวหน้าสุดควรห่างกระดานดำอย่างน้อย 2 เมตร เพราะถ้านั่งชิดกระดานดำเกิน
ไปสายตาของเด็กอาจเกิดความผิดปกติได้
5. กระดานชอล์ค ควรใช้สีดำหรือสีเขียวไม่สะท้อนแสงอยู่ในสภาพที่ใช้ได้ดีอยู่เสมอ
6. น้ำดื่ม ควรจัดหาน้ำดื่มที่สะอาดให้แก่นักเรียนอย่างเพียงพอ ตลอดทั้งมีการจัดหา
ภาชนะสำหรับรองรับน้ำดื่ม เช่น แทงค์น้ำ คูลเลอร์ เป็นต้น ให้นักเรียนจัดหาภาชนะที่รองน้ำดื่ม
ประจำตัวทุกคน
7. ส้วม จัดส้วมให้นักเรียนใช้ในอัตราส่วนดังต่อไปนี้
ส้วมหญิง 1 ที่ ต่อนักเรียนหญิง 35 คน
16
ส้วมชาย 1 ที่ ต่อนักเรียนชาย 40 คน
ที่ปัสสาวะ 1 ที่ ต่อนักเรียนชาย 50 คน
ภายในส้วมต้องจัดให้มีภาชนะใส่น้ำ ภาชนะตักน้ำและควรมีที่สำหรับล้างมือ เช่น
ก๊อกน้ำ นอกจากนี้ครูต้องให้ความรู้ในการใช้ส้วม รวมทั้งการดูแลรักษาความสะอาดภายหลังการใช้
8. การกำจัดขยะมูลฝอย จัดให้มีที่รองรับขยะมูลฝอยไว้ในห้องเรียนและในบริเวณ
โรงเรียนเป็นระยะ ๆ มีการกำจัดขยะทุกวัน ต้องเก็บกวาดทันทีเมื่อมีเศษขยะบนพื้น
9. สุขาภิบาลอาหารในโรงเรียน จัดให้มีการควบคุมความสะอาดของอาหาร ภาชนะ
อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ผู้ขาย การเสริฟ การล้างภาชนะ ภาชนะปกปิด เป็นต้น ไม่มีสารที่อาจเป็นพิษ
และไม่ปลอดภัยจำหน่วยในโรงเรียน เช่น อาหารที่ผสมสีฉูดฉาด น้ำส้มสายชูที่ไม่มีทะเบียนอาหาร
หรือน้ำส้มสายชูบรรจุในภาชนะพลาสติก ชามพลาสติก ใส่อาหารร้อน ๆ เป็นต้น จัดให้มีสถานที่
สำหรับจำหน่วยอาหาร เช่น ในโรงอาหาร ควรจัดที่จำหน่วยให้เป็นสัดส่วนและจัดที่สำหรับนักเรียน
รับประทานอาหาร เช่น ในโรงอาหาร บริเวณระเบียง หรือในห้องเรียน เป็นต้น
10. การป้องกันอุบัติเหตุในโรงเรียน สนามต้องสะอาดและปลอดภัยจากอุบัติเหตุ
อุปกรณ์การเล่นควรตรวจให้อยู่ในสภาพดี แข็งแรงและมั่นคงเสมอ เพื่อป้องกันอันตรายแก่นักเรียน
หน้าต่างและประตูมีขอสับมั่นคง พื้นห้องควรเรียบ ไม่ชำรุด หรือลื่น บริเวณระเบียงอาคารเรียนชั้น
บนหรือตามบันไดห้ามนักเรียนเล่น บริเวณที่อาจเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย ควรมีเครื่องหมายเตือนไว้อย่าง
เด่นชัดหรือปิดประกาศไว้ในที่ที่เหมาะสม
สถาบันการจัดทรัพยากรบุคคลเพื่อการเพิ่มผลผลิต (2542 : 1 - 23) ได้เสนอแนะแนวทางเบื้อง
ต้นในการนำกิจกรรม 5 ส ไปใช้ในหน่วยงาน ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในงานอนามัยโรงเรียนได้
เป็นอย่างดี กิจกรรม 5 ส ประกอบด้วย
1. สะสาง คือ การแยกให้ชัดเจนระหว่างของที่จำเป็นกับของที่ไม่จำเป็นต้องใช้ ของที่ไม่
จำเป็นให้ขจัดออกไป แต่การสะสางต้องแน่ใจก่อนว่าไม่ขัดต่อกฎระเบียบ ข้อบังคับของหน่วยงานนั้น
2. สะดวก คือ การจัดวางของที่จำเป็นให้ง่ายต่อการนำไปใช้ การเก็บของต้องคำนึงถึงความ
ปลอดภัย คุณภาพและประสิทธิภาพ กำหนดจำนวนของใช้ในสำนักงานซึ่งควรมีประจำโต๊ะทำงาน
ของแต่ละคน
3. สะอาด คือ การทำความสะอาดสถานที่ อุปกรณ์ เครื่องใช้ให้น่าดูอยู่เป็นนิจทุกซอกมุม
4. สุขลักษณะ คือ สภาพหมดจดสะอาดตา โดยรักษา “3 ส” แรก ให้คงสภาพหรือทำให้ดีขึ้น
อยู่เสมอ ควรจัดสิ่งแวดล้อมให้เอื้ออำนวยต่อสุขภาพกายและจิต
5. สร้างนิสัย คือ การปฏิบัติถูกต้องและติดเป็นนิสัย ซึ่งเป็นจุดสำคัญที่สุดของกิจกรรม 5 ส
เพราะกิจกรรมนี้จะดีหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับคนนำกิจกรรมไปใช้อย่างต่อเนื่อง
17
สรุปว่า การจัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะเป็นวิธีการควบคุมดูแลและ
ปรับปรุงสภาพแวดล้อม ตลอดทั้งสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ให้สะอาดเรียบร้อยอยู่ในสภาพดี ไม่มีส่วนใดก่อ
ให้เกิดอันตรายหรือเสี่ยงต่ออุบัติเหตุ อาคารสถานที่ควรทาสีอ่อนเย็นตา มีแสงสว่างและทางระบาย
อากาศที่ดี บรรยากาศส่งเสริมจิตวิทยาการเรียนรู้ ไม่มีมลภาวะจากสิ่งปฏิกูลหรือเสียงรบกวน พื้นที่
สนามควรจัดให้กว้างขวางเพียงพอสำหรับให้นักเรียนออกกำลังกาย น้ำดื่มน้ำใช้ตลอดทั้งห้องส้วมมี
เพียงพอ นอกจากนี้ควรจัดให้มีที่นั่งพักผ่อนตามใต้ต้นไม้บริเวณขอบสนามเป็นระยะและมีรั้วล้อมรอบ
โรงเรียน
2. การบริการสุขภาพในโรงเรียน
การบริการสุขภาพในโรงเรียนเป็นกิจกรรมที่ดำเนินการต่อนักเรียนโดยตรงเพื่อให้
นักเรียนมีสุขภาพอนามัยแข็งแรง สมบูรณ์ เรียนรู้การป้องกันโรค รับการพยาบาลรักษาเบื้องต้น เมื่อ
เจ็บป่วยหรือได้รับอุบัติเหตุ มีการส่งต่อแพทย์และฟื้นฟูสภาพตามความเหมาะสม มีการติดตามผล
การรักษา ซึ่งเป็นการกระตุ้นผู้ป่วยตลอดทั้งผู้ปกครองให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ นอกจากนี้
ต้องมีการประสานงานกับเจ้าหน้าที่พยาบาลสาธารณสุขร่วมดำเนินการให้นักเรียนได้รับการตรวจ
สุขภาพและรับการฉีดวัคซีนตามกำหนดช่วงอายุ การบริการสุขภาพในโรงเรียนต้องให้บริการครอบ
คลุมถึงบุคลากรอื่น ๆ ในโรงเรียนด้วย เมื่อการปฏิบัติงานสิ้นสุดลงควรสรุปและบันทึกไว้ เพื่อเก็บเป็น
ข้อมูลในการพัฒนางานต่อไป
สำหรับการบริการสุขภาพในโรงเรียนได้มีผู้รู้ได้กล่าวให้ความหมาย หลักการ แนวคิด
และข้อเสนอแนะที่น่าสนใจเกี่ยวกับการจัดบริการสุขภาพในโรงเรียนไว้ ดังต่อไปนี้
ทวีสิทธิ์ สิทธิกร (2531 : 33) ได้กล่าวว่า การบริการสุขภาพในโรงเรียน หมายถึง
วิธีการต่าง ๆ ที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายสาธารณสุข ได้แก่ แพทย์ พยาบาล ทันตแพทย์และเจ้าหน้าที่
ฝ่ายโรงเรียน ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน ครูและบุคลากรอื่น ๆ ดำเนินการเพื่อประเมินสถานการณ์ด้าน
สุขภาพ เพื่อป้องกันโรคและส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนและบุคลากรต่าง ๆ ในโรงเรียน โดยจัด
บริการในรูปกิจกรรม
พรณี พันมา (2540 : 8) กล่าวว่า การบริการสุขภาพในโรงเรียน หมายถึง กิจกรรมที่
มีความมุ่งหมายเพื่อดำรงรักษาไว้และปรับปรุงส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนและทุกคนในโรงเรียนให้อยู่
ในสภาพที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (2540:4) ได้ให้หลักการการบริการ
อนามัยโรงเรียน (School Health Program) ไว้ว่า เป็นกิจกรรมที่ดำเนินการต่อนักเรียนโดยตรง
ในอันที่จะช่วยให้นักเรียนได้รับการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค รักษาพยาบาลและฟื้นฟูสภาพ โดยมี
จุดมุ่งหมายเพื่อให้นักเรียนได้รับบริการตามกิจกรรมอนามัยโรงเรียน ได้แก่ การจัดให้นักเรียนทุกคนมี
18
บัตรบันทึกสุขภาพ การสร้างภูมิคุ้มกันโรค การตรวจสุขภาพ การรักษานักเรียนที่เจ็บป่วย การติดตาม
ผลการรักษา การส่งเสริมโภชนาการในโรงเรียน และการส่งเสริมการออกกำลังกาย เป็นต้น
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ตามแผนพัฒนาสาธารณสุข ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540
– 2544) ได้กำหนดเกณฑ์มาตรฐานการบริการสุขภาพในโรงเรียน สรุปได้ดังนี้
นักเรียนระดับก่อนประถม และชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ได้รับการตรวจสุขภาพโดย
เจ้าหน้าที่สาธารณสุขมาดำเนินการที่โรงเรียน มีการเจาะเลือดในรายที่มีภาวะโลหิตจางและได้รับการ
บำบัดโรคหนอนพยาธิลำไส้ ตามแผนดำเนินงานของกรมควบคุมโรคติดต่อ มีการบริการฉีดวัคซีนขั้น
พื้นฐานครบตามเกณฑ์ของกองควบคุมโรคติดต่อ โดยโรงเรียนต้องทำหนังสือแจ้งผู้ปกครองเพื่อชี้แจง
และขออนุญาต นอกจากนี้นักเรียนทุกคนต้องได้รับการตรวจตาปีละ 1 ครั้ง โดยโรงเรียนและเจ้าหน้าที่
สาธารณสุขร่วมดำเนินการ ส่วนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 4 ได้รับการตรวจและทดสอบ
การได้ยินปีละ 1 ครั้ง นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ขึ้นไป โรงเรียนจัดให้มีบริการให้คำปรึกษา
ปัญหาสุขภาพวัยรุ่นแก่นักเรียนและผู้ปกครอง
ทางด้านทันตสุขภาพ มีการเฝ้าระวังและส่งเสริมทันตสุขภาพ โดยครูดำเนินการตรวจ
สุขภาพในช่องปากนักเรียน และบันทึกในแบบบันทึก ทส001 และ ทส002 รวมทั้งวิเคราะห์ปัญหา
ทุกระดับ ในกรณีที่มีปัญหาโรงเรียนต้องแจ้งผู้ปกครองและประสานงานกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้ได้รับการรักษาและติดตามผลต่อไป
สำหรับนักเรียนที่เจ็บป่วย ได้รับอุบัติเหตุหรือมีปัญหาด้านสุขภาพต้องได้รับการปฐม
พยาบาล และส่งต่อศูนย์บริการสาธารณสุขหรือโรงพยาบาลตามความจำเป็น นอกจากนี้ต้องจัดบริการ
อาหารกลางวันและอาหารเสริม นม แก่นักเรียนทุกคน ส่งเสริมให้นักเรียนออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
อย่างน้อยวันละ 20 นาที นักเรียนทุกคนได้รับการวัดน้ำหนัก ส่วนสูง ภาคเรียนละ 1 ครั้ง และเทียบ
ตามเกณฑ์มาตรฐาน เมื่อพบว่านักเรียนมีน้ำหนักส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์หรือเกินเกณฑ์ มีแนวโน้มจะเป็น
โรคอ้วนหรืออ้วน ต้องขอคำปรึกษาจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขแจ้งให้ผู้ปกครองทราบเพื่อร่วมกันแก้
ปัญหา
บาวทรี (Bowntree. 1981 : 267) กล่าวว่า การบริการสุขภาพในโรงเรียน (School
Health Service) ในอังกฤษและเวลส์การบริการสุขภาพในโรงเรียนเป็นส่วนหนึ่งของการบริการสุขภาพ
ระดับชาติ โดยการทำงานร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและเจ้าหน้าที่การศึกษาในท้องถิ่น โดย
ปกตินักเรียนจะได้รับการตรวจสุขภาพที่โรงเรียนและนอกเวลาเรียนหากมีความประสงค์ การตรวจ
สุขภาพฟันได้ปฏิบัติมากกว่างานอื่นๆ หากจำเป็นต้องรักษาอาจดำเนินการโดยแพทย์ คลินิคทันตแพทย์
ในโรงเรียน ศูนย์บริการสาธารณสุขในชุมชนหรือโรงพยาบาล
ฮิลส์ (Hills. 1982 : 242) ได้อธิบายเกี่ยวกับการบริการสุขภาพในโรงเรียน (School
Health Service) ว่าเมื่อ ค.ศ. 1974 ได้มีการจัดวางนโยบายการบริการสุขภาพในโรงเรียนขึ้นใหม่
19
โดยโอนความรับผิดชอบและบริการสุขภาพในโรงเรียนจากบุคลากรทางการศึกษาในท้องถิ่นไปให้
เจ้าหน้าที่อนามัยเขต จุดมุ่งหมาย คือ จัดเตรียมการบริการที่สมบูรณ์แบบสำหรับเด็ก การบริการ
สุขภาพในโรงเรียน ดำเนินการโดยโรงเรียนบูรณาการกับโรงพยาบาล ผู้ชำนาญการพิเศษและแพทย์
เจ้าหน้าที่อนามัยเขตดูแลครอบคลุมทุกปัจจัยในการให้บริการด้านสุขภาพอนามัยแก่นักเรียนเช่นเดียว
กับบุคลากรด้านการศึกษาในท้องถิ่น
กลจักรที่สำคัญคือ กุมารแพทย์ ผู้ชำนาญการประจำท้องถิ่น ทันตแพทย์และพยาบาล
เหล่านี้รับผิดชอบทั้งด้านงานบริการสุขภาพในโรงเรียนและบุคลากรทางการศึกษา การบริการรวมทั้ง
การเตรียมแพทย์พยาบาลและนักกายวิภาคบำบัด รวมทั้งการฝึกพูดให้เด็กที่มีปัญหาการพูดไม่ชัด
ทุกโรงเรียนจัดให้มีการตรวจสุขภาพร่างกายพร้อมทั้งให้ภูมิคุ้มกันโรค วัดสายตาและทดสอบการได้ยิน
ตรวจหาโรคติดเชื้อและการระบาด ภาพรวมเป็นการดูแลสุขภาพเด็กรวมถึงการดูแลทันตสุขภาพใน
โรงเรียน ยิ่งกว่านั้นได้มีการให้คำแนะนำแก่นักเรียนที่มีความต้องการดูแลพิเศษในบรรดาโรงเรียนการ
ศึกษาพิเศษอีกโสตหนึ่งด้วย
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (2540 : 158 – 168) ได้กำหนด
การบริการสุขภาพขั้นพื้นฐานเพื่อใช้เป็นแนวทางในการบริการสุขภาพในโรงเรียนและยังใช้เป็น
มาตรฐานในการจัดระดับบริการอนามัยโรงเรียนโดยกำหนดกิจกรรมอนามัยโรงเรียนในโรงเรียน
ประถมศึกษา ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข ตามหลักการดังต่อไปนี้
กิจกรรมอนามัยโรงเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา
กิจกรรมอนามัยโรงเรียนระดับประถมศึกษาประกอบด้วย กิจกรรม 9 ประการ คือ
1) นักเรียนทุกคนมีบัตรบันทึกสุขภาพประจำตัว 2) จัดโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ 3) นักเรียนได้รับ
การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค 4) ส่งเสริมสุขศึกษา 5) นักเรียนได้รับการตรวจสุขภาพ 6) นักเรียนที่
เจ็บป่วยได้รับการรักษา 7) มีการติดตามผลการรักษา 8) มีการจัดหาน้ำดื่ม น้ำใช้ 9) โภชนาการใน
โรงเรียน โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. นักเรียนทุกคนมีบัตรบันทึกสุขภาพประจำตัว
บัตรบันทึกสุขภาพประจำตัวนักเรียน ใช้สำหรับบันทึกประวัติข้อมูลสุขภาพและ
บริการสาธารณสุขต่าง ๆ ที่นักเรียนได้รับ เพื่อใช้เป็นหลักฐานด้านสุขภาพอนามัยของนักเรียนทั้งใน
อดีตและปัจจุบันทำให้เกิดความสะดวกแก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและครูที่จะนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์
ในการให้บริการสุขภาพอย่างเหมาะสม
บัตรบันทึกสุขภาพประจำตัวนักเรียนนั้น เป็นหน้าที่ของฝ่ายการศึกษาเป็นผู้จัดหาไว้
ตั้งแต่ต้นปีการศึกษา ตามจำนวนนักเรียนเข้าใหม่ของปีการศึกษาแต่ละปี โดยเริ่มใช้เมื่อนักเรียนเข้า
เรียนในชั้นต้นและมอบให้นักเรียนเมื่อจบชั้นเรียนหรือย้ายโรงเรียน เพื่อให้นักเรียนนำไปมอบให้
20
ครูประจำชั้นใหม่ หรือครูอาจารย์ใหญ่ของโรงเรียนใหม่ที่นักเรียนเข้าศึกษาต่อจนจบระดับมัธยมศึกษา
โดยไม่ต้องมีการจัดหารบัตรบันทึกสุขภาพใหม่
2. จัดโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ
การจัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ เป็นกิจกรรมสำคัญอย่างหนึ่งที่ครู
และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขควรร่วมกันดำเนินการเพื่อให้เด็กนักเรียนอยู่ในโรงเรียนอย่างปลอดภัยจาก
โรคและอุบัติเหตุ รวมทั้งเป็นการส่งเสริมสุขภาพกายและจิต ตลอดจนเป็นตัวอย่างที่ดีแก่นักเรียนและ
ชุมชน การดำเนินงานเพื่อจัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะเแบ่งออกเป็น 2 อย่างคือ
2.1 การจัดหาหรือจัดสร้าง เช่น การสร้างอาคารเรียนและสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ การจัดหา
สิ่งของเครื่องใช้ในห้องเรียนให้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล
2.2 การควบคุม ดูแลและปรับปรุง เช่น การปรับปรุงบริเวณโรงเรียนให้สะอาด
ปลอดภัย และเป็นระเบียบสวยงาม การรวบรวมและกำจัดขยะมูลฝอย การควบคุมดูแลการใช้ส้วมให้
สะอาดและถูกต้อง
การดำเนินงานทั้งสองอย่างดังกล่าว เป็นบทบาทหน้าที่ของโรงเรียนโดยตรง เช่น
การจัดหาจัดสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ของโรงเรียน หน่วยงานต้นสังกัดได้ให้การสนับสนุน
อยู่แล้ว ส่วนการควบคุม ดูแล ปรับปรุงสภาพแวดล้อมในโรงเรียนซึ่งไม่ต้องใช้งบประมาณ ผู้บริหาร
โรงเรียนและคณะครูเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการอย่างต่อเนื่องโดยประสานงานกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
3. นักเรียนได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค เป็นการดำเนินงานโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อให้
นักเรียนได้รับวัคซีนป้องกันโรคที่จำเป็นและเหมาะสมกับช่วงอายุ ตามนโยบายของกรมควบคุมโรค
ติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข
4. ส่งเสริมสุขศึกษา
การส่งเสริมสุขศึกษา คือ การส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจด้านอนามัย
เห็นความสำคัญ ยอมรับและปฏิบัติตนจนเป็นสุขนิสัย ก่อให้เกิดพฤติกรรมอนามัยที่ดี
5. นักเรียนได้รับการตรวจสุขภาพ
การตรวจสุขภาพเป็นกิจกรรมเพื่อค้นหาความบกพร่องของสุขภาพในระยะเริ่มแรก
เพื่อดำเนินการช่วยเหลือ แก้ไขหรือส่งต่อเพื่อขอคำแนะนำหรือบำบัดรักษา ป้องกันมิให้ความบกพร่อง
นั้น ๆ ลุกลามเป็นผลร้ายแรง ป้องกันการแพร่กระจายของโรค ช่วยจูงใจนักเรียนให้เกิดความสนใจที่
จะดูแลสุขภาพตนเอง ซึ่งเป็นการสร้างสุขนิสัยที่ดี
6. นักเรียนที่เจ็บป่วยได้รับการรักษา
การรักษา เป็นกิจกรรมที่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขให้การรักษา แก้ไขปัญหาสุขภาพของ
21
นักเรียนที่ตรวจสุขภาพพบโรค หรือความบกพร่องของสุขภาพ ภายในขอบเขตความสามารถของ
เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และถ้าเกินขอบเขตความสามารถให้ใช้ระบบการส่งต่อเพื่อรับการบำบัดรักษา
หรือช่วยเหลือแก้ไข
7. มีการติดตามผลการรักษา
การติดตามการรักษา เป็นกิจกรรมที่ต่อเนื่องจากการรักษา เพื่อติดตามดูผลการรักษา
ความเปลี่ยนแปลงของโรคหรือปัญหาสุขภาพของนักเรียนภายหลังจากที่ได้การรักษาหรือแก้ไขไปแล้ว
ไม่เกิน 1 เดือน ระหว่างนั้นครูจะเป็นผู้ทำหน้าที่ติดตามเมื่อพบความผิดปกติใด ๆ ให้แจ้งเจ้าหน้าที่
สาธารณสุข
8. มีการจัดหาน้ำดื่ม น้ำใช้
การจัดหาน้ำดื่ม น้ำใช้ เป็นการดำเนินการเพื่อให้นักเรียนมีน้ำดื่ม น้ำใช้ที่สะอาดอย่าง
เพียงพอตลอดปี ซึ่งจะช่วยป้องกันโรคที่เกิดจากน้ำเป็นสื่อ รวมทั้งช่วยให้การดูแลรักษาความสะอาด
สิ่งต่าง ๆ ภายในโรงเรียนดีขึ้น นอกจากนั้นโรงเรียนควรดูแลให้นักเรียนได้ดื่มน้ำอย่างถูกสุขลักษณะ
เช่น การมีภาชนะดื่มน้ำประจำตัว ซึ่งเป็นการปลูกฝังสุขนิสัยที่ดีให้แก่นักเรียน
9. โภชนาการโรงเรียน
เป็นการสนับสนุนส่งเสริมให้นักเรียนได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
เพื่อให้นักเรียนมีภาวะการเจริญเติบโตที่เหมาะสมวัย โดยมีหลักในการดำเนินงานที่สำคัญคือ นักเรียน
ทุกคนควรได้รับประทานอาหารกลางวันที่มีคุณค่าทางโภชนาการทุกวัน ให้โภชนาศึกษาเพื่อส่งเสริม
บริโภคนิสัยและมีการประเมินภาวะการเจริญเติบโต
สรุปว่า การบริการสุขภาพในโรงเรียนเป็นการปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างโรงเรียน
เจ้าหน้าที่สาธารณสุข โดยมีผู้ปกครองนักเรียนและชุมชนให้การสนับสนุน การบริการนี้จัดให้กับ
นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียน ในภาพรวมนักเรียนจะได้รับประโยชน์จากกิจกรรมนี้โดยตรง เพราะ
มีการตรวจสุขภาพและให้ภูมิคุ้มกันโรคตามกำหนด เน้นการป้องกันโรคตลอดทั้งดูแลด้านทันตสุขภาพ
ส่งเสริมการออกกำลังกาย รับประทานอาหารกลางวันและดื่มนม เพื่อการเจริญเติบโตสมวัย มีการเฝ้า
ระวังติดตามประเมินผล นักเรียนที่มีน้ำหนัก ส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์ และนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการ
เกิน (โรคอ้วน)
สำหรับนักเรียนที่เกิดอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วย จะได้รับการปฐมพยาบาล หรือส่งไป
รักษาตามความจำเป็น นอกจากนี้ยังมีบริการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพอนามัยแก่นักเรียนและผู้ปกครอง
และมีการติดตามประเมินผลการรักษาตลอดทั้งการแก้ปัญหาสุขภาพ
ห้องพยาบาลและมุมพยาบาล การบริการด้านสุขภาพอนามัยในโรงเรียนนั้น จำเป็น
ต้องมีห้องพยาบาลหรือมุมพยาบาลที่เหมาะสม เพื่อให้การปฐมพยาบาลแก่นักเรียนเจ็บป่วยหรือได้รับ
อุบัติเหตุอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (2540 : 23 – 25)
22
กล่าวว่า “ห้องพยาบาลหรือมุมพยาบาล เป็นสถานที่สำหรับให้การปฐมพยาบาลแก่นักเรียนเจ็บป่วยหรือ
ได้รับอุบัติเหตุ ซึ่งมีเกิดขึ้นเสมอ ดังนั้นโรงเรียนต้องมีแผนงานดำเนินการจัดเตรียมสถานที่เพื่อให้การ
บริการด้านสุขภาพในโรงเรียน เป็นไปอย่างถูกต้องเหมาะสม” และมีข้อเสนอแนะในการจัดห้อง
พยาบาลหรือมุมพยาบาล ดังนี้
การจัดห้องพยาบาลหรือมุมพยาบาล ของโรงเรียนย่อมขึ้นอยู่กับข้อจำกัดด้านอาคาร
สถานที่ แต่หากไม่มีข้อจำกัดดังกล่าว ควรถือจำนวนนักเรียนแต่ละโรงเรียนเป็นสำคัญ คือ
1. มุมพยาบาล โรงเรียนมีนักเรียนจำนวนไม่เกิน 450 คน จะต้องมีมุมพยาบาล 1 แห่ง
มีขนาด 1.5 X 3.5 เมตร เป็นอย่างต่ำ ประกอบด้วยอุปกรณ์เครื่องใช้ที่จำเป็นดังนี้
เตียงพยาบาลพร้อมเครื่องนอน 1 ชุด
โต๊ะหัวเตียง 1 ชุด
อ่างล้างมือแบบง่าย ๆ 1 ใบ
เครื่องชั่งน้ำหนักและสายวัดระยะหรือเครื่องวัดความสูง 1 ชุด
กระโถนหัวเตียงคนไข้ 1 ใบ
แผ่นป้ายวัดสายตา 1 แผ่น
ตู้ยา (ขนาดกว้าง 60 ซม. สูง 107 ซม. ลึก 45 ซม. แบ่งเป็น 3 ชั้น 1 ตู้
และมีตู้ทึบชั้นล่าง)
เก้าอี้นั่งทำแผล 1 ตัว
ถังน้ำพร้อมไม้พาด (สำหรับนักเรียนวางเท้า เวลาทำแผลบริเวณเท้า) 1 ใบ
กรรไกร 1 อัน
คีมโลหะ 1 อัน
ตลับหรือกล่องอลูมิเนียมเล็ก ๆ สำหรับใส่สำลี 1 ใบ
ชามรูปไต หรือชามเคลือบ หรืออะลูมิเนียมขนาดเล็ก 1 ใบ
ปรอทวัดไข้ 1 อัน
กระเป๋าน้ำร้อน 1 ใบ
กระเป๋าน้ำแข็ง 1 ใบ
แก้วล้างตา 1 ใบ
แก้วกินยา
ผ้าพันแผล
พลาสเตอร์
สำลี
แอลกอฮอล์ 70 %
23
ยาตำราหลวง หรือยาสามัญประจำบ้าน เพื่อใช้ในการปฐมพยาบาล
ฉากหรือแผนกั้นห้องเป็นมุมพยาบาล
สมุดบันทึกรายชื่อนักเรียนเจ็บป่วยและให้การรักษาพยาบาล
2. ห้องพยาบาล ในโรงเรียนที่มีนักเรียนจำนวน 450 คน ขึ้นไปอย่างน้อยควรมีห้อง
พยาบาลขนาด 3.5 X 6 เมตร โดยกั้นเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่วางเตียงพยาบาลมีขนาด 2.5 X 3.5 เมตร
และอีกส่วนใช้เป็นที่ทำการปฐมพยาบาล
อุปกรณ์ประจำห้องพยาบาลเหมือนมุมพยาบาล มีเปลี่ยนแปลงและเพิ่มเติมจากมุม
พยาบาล ดังนี้
เตียงพยาบาลพร้อมเครื่องนอน 2 ชุด
ตู้ยาขนาดกว้าง 105 ซม. สูง 150 ซม. ลึก 40 ซม. 1 ตู้
อุปกรณ์ประจำตู้ยาเพิ่มจากมุมพยาบาล คือ
กระเป๋าน้ำร้อน 1 ใบ
กระเป๋าน้ำเย็น 1 ใบ
สำหรับอุปกรณ์เครื่องใช้ในห้องพยาบาลหรือมุมพยาบาลนั้นเป็นสิ่งจำเป็น
โดยเฉพาะตู้ยามีความสำคัญมากเพราะการเก็บอุปกรณ์เครื่องใช้และเวชภัณฑ์ต่าง ๆ โดยปกติเก็บในตู้ยา
ซึ่ง ทวีสิทธิ สิทธิกร (2531 : 198 – 201) ได้เสนอแนะเรื่องตู้ยา, การจัดตู้ยาและการใช้ยาปฐมพยาบาล
ประจำโรงเรียน ดังนี้
ตู้ยา ปกติควรเป็นตู้ไม้ 4 ชั้น สามชั้นบนเป็นกระจก ชั้นล่างสุดเป็นตู้ไม้ทึบปิดเปิดได้
ขนาดของตู้ยาใช้เกณฑ์จำนวนนักเรียนในโรงเรียนมี 3 ขนาด ดังต่อไปนี้
1. โรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียนไม่เกิน 1,000 คน ควรมีตู้ยาขนาดกว้าง 60 เซนติเมตร
ลึก 35 เซนติเมตร และสูง 115 เซนติเมตร
2. โรงเรียนที่มีนักเรียนเกิน 1,000 คน ควรใช้ตู้ยาขนาดกว้าง 100 เซนติเมตร ลึก 45
เซนติเมตร สูง 150 เซนติเมตร
3. โรงเรียนที่มีนักเรียนน้อยประมาณ 100 – 300 คน ควรลดขนาดของตู้ยาตามกำลัง
งบประมาณของโรงเรียน
การจัดตู้ยา ควรมีการจัดดังนี้
1. ชั้นบน เป็นที่ไว้ยารับประทานและติดป้ายสีขาว เขียนว่า “ยารับประทาน” ไว้ใน
ที่เห็นชัดเจน
2. ชั้นกลาง เป็นที่วางเครื่องมือปัจจุบันพยาบาล เช่น กรรไกร ปากคีบ (forcepts)
แก้วยา เป็นต้น
24
3. ชั้นล่าง เป็นที่ไว้ยาใช้ภายนอกห้ามรับประทานและติดป้ายสีแดง “ยาใช้ภายนอก”
เก็บไว้ในที่เห็นชัดเจน
4. ชั้นล่างสุด ซึ่งเป็นตู้ทึบ ใช้เก็บวัสดุอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น ผ้าปูที่นอน ม้วนสำลี
กระเป๋าน้ำร้อน กระเป๋าน้ำแข็ง ฯลฯ
การใช้ยาปฐมพยาบาลประจำโรงเรียน
การเจ็บป่วยเล็กน้อยหรือเจ็บป่วยอย่างกระทันหันของนักเรียนอาจมีขึ้นได้ ดังนั้นครู
ควรทราบอาการของโรค และการติดต่อของโรคบางอย่าง เพื่อให้การปฐมพยาบาลถูกต้องและแนะนำ
ผู้ปกครองถึงวิธีปฏิบัติต่อเด็ก ในรายทมี่ อี าการรนุ แรงควรรบี ปรกึ ษาแพทย  นอกจากนี้ในห้องพยาบาล
ควรระมัดระวังในเรื่องต่อไปนี้
1. ครูหรือพยาบาลประจำโรงเรียน ควรเป็นผู้หยิบยาให้นักเรียน เมื่อหยิบยาอ่าน
ฉลากยาและวิธีใช้ให้เข้าใจและแน่ใจว่าเป็นยาที่ต้องการ เมื่อจะเก็บยาเข้าที่ต้องอ่านสลากยาซ้ำอีกครั้ง
2. ยาบางอย่างเมื่อใช้แล้ว บางรายอาจมีอาการแพ้ได้ ฉะนั้นต้องสังเกตอาการภาย
หลังใช้ยาแล้วด้วย หากมีอาการผิดปกติต้องหยุดใช้ยาทันทีและปรึกษาแพทย์
3. พึงระลึกเสมอว่า ยาเหล่านี้ช่วยบำบัดอาการเจ็บป่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ และจะใช้ใน
การพยาบาลเบื้องต้นเท่านั้น ในกรณีที่ผู้ป่วยอาการไม่ดีขึ้นหรือเรื้อรังควรปรึกษาแพทย์
3. สุขศึกษาในโรงเรียน
สุขศึกษาในโรงเรียนนั้นประกอบด้วย การสอนสุขศึกษา และการให้สุขศึกษาใน
โรงเรียน (School Health Education) การให้สุขศึกษาในโรงเรียน มีความหมายค่อนข้างกว้าง คือ
ไม่เพียงแต่หมายถึงการสอนสุขศึกษาตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเท่านั้น แต่หมายถึง การจัด
โอกาสในการเรียนรู้เกี่ยวกับสุขภาพให้แก่นักเรียนทุกคน โดยให้นักเรียนแต่ละคนเกิดความร ู้ ทัศนคติ
และการปฏิบัติเกี่ยวกับสุขภาพไปในทางที่ถูกต้องเหมาะสม (สุชาติ โสมประยูร. 2525 : 10)
ฉัตรสุดา ชินประสาทศักดิ์ (2540 : 27) กล่าวว่า การให้สุขศึกษาในโรงเรียน
(School Health Education) ควรเน้นที่
- พฤติกรรมสำคัญและภาวะที่จะส่งเสริมสุขภาพหรือป้องกันความเสี่ยงของโรค
- ทักษะในการปฏิบัติพฤติกรรม
- ความร ู้ ทัศนคต ิ ความเชื่อ และค่านิยมต่อพฤติกรรมและสถานการณ์
- เรียนรู้จากประสบการณ์โดยให้นักเรียนฝึกปฏิบัติจนเกิดทักษะ
การดำเนินงานสุขภาพ ควรดำเนินการอย่างมากในเวลาเรียนและห้องเรียน ผู้บริหาร
โรงเรียนควรสนับสนุน ครูควรมีการเตรียมการสอนและชักจูงให้เกิดการปฏิบัติ ผู้บริหารควรพัฒนา
หลักสูตร ข้อกำหนดของการให้บริการ ทำให้สิ่งแวดล้อมในโรงเรียนดีขึ้นและจัดให้มีการฝึกอบรมครู
กันยา กาญจนบุรานนท์ (2527 : 924) ได้กล่าวว่า การเรียนการสอนสุขศึกษาใน
25
โรงเรียนที่จะก่อให้เกิดผลดีต่อสุขภาพนักเรียนนั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับครูผู้สอนหรือหลักสูตรการสอน
เท่านั้น แต่ยังขึ้นอยู่กับฐานะทางเศรษฐกิจ สภาพแวดล้อม สังคม วัฒนธรรม พฤติกรรมสุขภาพและ
พันธุกรรมของนักเรียนอีกด้วย
สมศักดิ์ อัมพรต (2538 : 25) กล่าวว่า การจัดการสอนสุขศึกษาในโรงเรียนเป็นส่วน
หนึ่งของการดำเนินโครงการสุขภาพในโรงเรียน กล่าวคือ เป็นกระบวนการที่ก่อให้เกิดประสบการณ์
อันจะมีผลทำให้บุคคลหรือชุมชนได้รับความรู้มีเจตนคติและการปฏิบัติการเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยของ
ตนเองและบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องได้ถูกต้องและเหมาะสม
สำนักงานคณะกรรมการ การประถมศึกษาแห่งชาติ (2540 : 4) ได้กล่าวว่า สุขศึกษา
ในโรงเรียนเป็นการถ่ายทอดความรู้เรื่องสุขภาพอนามัยไปสู่นักเรียนโดยกระบวนการต่าง ๆ เพื่อให้เกิด
ประสบการณ์มีเจตนคติที่ดี ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในแนวทางที่จะนำไปสู่สุขภาพที่ดี
นีเมอร์ อัลมา (Nemir Alma. 1970 : 268) กล่าวว่า การให้สุขศึกษา (Health
Education) เป็นการพัฒนาความนึกคิดด้านสุขภาพ โดยการวางแผนการสอนให้ตรงกับเนื้อหาใน
หลักสูตรให้เป็นไปตามความต้องการและความสนใจของนักเรียน เป็นที่ต้องการของชุมชนและกลุ่ม
คนที่หลากหลาย จัดให้เข้าเรียนในห้องวิทยาศาสตร์สุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม ใช้สื่อการสอน
ห้องสมุด และเครื่องอำนวยความสะดวกในชุมชนให้เกิดประโยชน์
สรุปว่า สุขศึกษาในโรงเรียน หมายถึง การจัดประสบการณ์การเรียนรู้เรื่องสุขภาพ
อนามัย ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติแก่นักเรียนตามความต้องการและความสนใจของนักเรียนโดย
ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนรับรู้ ร่วมมือ สนับสนุนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ ทำให้เกิดความรู้ความ
เข้าใจสามารถปฏิบัติได้ มีเจตคติที่ดีและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพโดยนำความรู้ที่ได้รับไปพัฒนา
คุณภาพชีวิตตนเองตลอดทั้งผู้เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง
กรมพลศึกษา (2538 : 42- 43) กล่าวถึง สุขศึกษาในโรงเรียนควรคำนึงถึงวิธีการสอน
โดยทั่วไปแบ่งเป็น 2 ประเภท
1. วิธีการสอนประเภทให้ครูเป็นศูนย์กลาง (Teacher – Centered Method) ได้แก่
การบรรยาย การถามตอบ การให้การบ้าน การจดบันทึก และท่องจำ วิธีการสอนแบบนี้ เหมาะสม
สำหรับถ่ายทอดวิชา ครูมีบทบาทมาก นักเรียนมีส่วนร่วมในบทเรียนน้อย
2. วิธีการสอนประเภทให้นักเรียนเป็นศูนย์กลาง (Child Centered Method) ได้แก่
การอภิปราย การสาธิต การแสดงบทบาทสมมติ การแสดงละคร การแบ่งกลุ่มศึกษาค้นคว้า รายงาน
วิธีการสอนประเภทนี้ นักเรียนจะมีส่วนร่วมในกิจกรรมมากที่สุด เด็กมีโอกาสแสดงออกและได้รับ
ประสบการณ์ตรง ทำให้บรรยากาศในห้องเรียนน่าสนใจ ครูเป็นเพียงผู้อำนวยการความสะดวกเพื่อให้
กิจกรรมดำเนินไปด้วยดีและเสริมความรู้ การสอนวิธีนี้ช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้และเปลี่ยนแปลง
พฤติกรรมสุขภาพ
26
ในเรื่องวิธีการสอน เกอร์ทิส และพาเพนฟัส (Gurtis and Papenfuss. 1980 : 129)
ได้ให้หลักเกณฑ์ในการเลือกวิธีการสอนไว้ดังนี้
1. กระบวนการสอนต้องเป็นเครื่องมือทางการศึกษา ซึ่งก่อให้เกิดการเรียนรู้มิใช่เพื่อ
เพียงความสนุกสนาน
2. วิธีการสอนควรคำนึงถึงความพร้อม ความสนใจ และความต้องการของผู้เรียน
3. วิธีการสอนต้องสอดคล้องกับจุดประสงค์รายวิชา จุดประสงค์ของโรงเรียนและ
ปรัชญาการศึกษาสากล
4. วิธีการสอนต้องมีประสิทธิภาพเหมาะสมกับเวลา สถานที่และอุปกรณ์ที่มีอยู่
5. ครูควรต้องได้รับการอบรมเกี่ยวกับเทคนิคการสอนและการใช้โสตทัศนอุปกรณ์
6. วิธีการสอนที่ดีต้องทำให้นักเรียนเกิดการเรียนร ู้ มีการเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
ชาญชัย ศรีไชยเพชร (2522 : 256) ได้เสนอแนะถึงคุณสมบัติของครูผู้สอนสุขศึกษา
ว่าควรเป็นผู้ที่ได้รับการฝึกอบรมหรือจบหลักสูตรสุขศึกษามาโดยตรง และผู้บริหารโรงเรียนไม่ควรจัด
ให้ครูที่สอนอะไรไม่ได้ทำการสอนวิชาสุขศึกษาเป็นอันขาด เพราะจะทำให้เกิดผลเสียตามมา
ทวีสิทธิ์ สิทธิกร (2531 : 316 – 317) ได้กล่าวถึง หลักการในการสอนสุขศึกษาที่ถูก
ต้องและเหมาะสม ดังต่อไปนี้
1. การสอนสุขศึกษา เป็นกระบวนการต่อเนื่องและสัมพันธ์กันเนื่องจากสุขภาพมี
ความเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันและชีวิตความเป็นอยู่ของเราตลอดเวลา ดังนั้น เด็ก ๆ จึงควรได้เรียนรู้
เกี่ยวกับวิชาสุขศึกษาให้ต่อเนื่องสัมพันธ์กันตลอดชีวิต การเรียน การจัดหลักสูตรหรือเนื้อหาที่สอนเด็ก
ก็ควรจัดให้เหมาะสม เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดี เข้าใจง่ายและสะดวกในการนำไปปฏิบัติ
2. การสอนสุขศึกษาควรเน้นถึงเรื่องการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพให้ครบทุก ๆ
ด้าน คือ ด้านความรู้ เจตคติ การปฏิบัติและทักษะ
3. ครูผู้สอนจำเป็นต้องศึกษาหาความรู้ให้ทันสมัยอยู่เสมอเพราะความรู้และข้อเท็จจริง
ต่าง ๆ ในวิชาสุขศึกษาจะต้องได้มาจากการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง หรือวิเคราะห์วิจัยของนักเรียนและ
นักวิทยาศาสตร์ในสาขาต่าง ๆ
4. การสอนสุขศึกษา ครูจะต้องเน้นเกี่ยวกับประสบการณ์ของชีวิตจริงในปัจจุบัน ซึ่ง
มีความหมายต่อตัวนักเรียน เมื่อนักเรียนได้เรียนแล้วสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ทันที
5. กิจกรรมในห้องเรียนบางอย่างครูควรละเว้นหรือนำไปใช้น้อยที่สุด เพราะนอก
จากจะเกิดประโยชน์น้อยแล้วบางครั้งยังอาจให้โทษอีกด้วย เช่น การยกตัวอย่างนักเรียนที่พิการใน
ห้องเรียนประกอบการสอน การสอนโดยยกตัวอย่างมาตรฐานที่ไม่เป็นความจริงและไม่มีทางเป็นไปได้
สอนเรื่องยากที่เกินความรู้ความสามารถของนักเรียน การสอนที่เคร่งขรึมหรือตลกจบขันจนเกินไป
27
การลงโทษนักเรียนโดยให้ปฏิบัติในสิ่งที่ผิดสุขลักษณะ เช่น ยืนกางแขนเป็นเวลานาน ๆ หรือให้คาบ
ไม้บรรทัด เป็นต้น รวมทั้งครูไม่ควรแสดงสุขนิสัยที่ผิดสุขลักษณะให้นักเรียนเห็น เช่น สูบบุหรี่ กัดเล็บ
คาบดินสอ และการวางท่าทางที่ผิดสุขลักษณะ เป็นต้น
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (2540 : 44) ได้กล่าวถึง การจัด
กิจกรรมการเรียนการสอนสุขศึกษาไว้ดังนี้
1. สอนให้ได้ผลตามวัตถุประสงค์ของรายวิชาและเนื้อหาที่สอนโดยศึกษาเนื้อหาว่า
ต้องการพัฒนานักเรียนในเรื่องใดและต้องหาวิธีสอนที่จะทำให้นักเรียนเกิดพฤติกรรมตามวัตถุประสงค์
2. คำนึงถึงธรรมชาติของแต่ละวิชา และเนื้อหาธรรมชาติของวิชาสุขศึกษา เป็นเรื่อง
ที่เกี่ยวกับชีวิตและความเป็นอยู่ของบุคคล สังคมและสิ่งแวดล้อม เน้นด้านวิทยาศาสตร์ ดังนั้น
กิจกรรมที่จะจัดจะต้องจัดกระบวนการเรียนให้นักเรียนรู้จักสังเกต คิดและกระทำอย่างมีเหตุผล
3. ต้องสอนให้นักเรียนรู้จักคิด รู้จักแก้ปัญหา รู้จักทำ รู้จักพัฒนาและมีค่านิยมที่
ดีงาม ความสามารถให้นักเรียนรู้จักคิด รู้จักทำ เป็นความสามารถที่ครูจะต้องสร้างให้เกิดขึ้นกับ
นักเรียนและติดตัวไป เพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
สำหรับครูสอนสุขศึกษา นอกจากมีความรู้ความสามารถสอนเนื้อหาตามหลักสูตร
แล้ว ควรเป็นผู้ทันต่อเหตุการณ์ โดยเฉพาะเรื่องสุขภาพอนามัยและเรียนรู้วิธีป้องกันและการรักษาโรค
บราวน์ เพริลมัทเธอร์ และแม็คเดอร์มอทท (Brown, PerlMutte and McDermott. 2000
: 355) เสนอบทความเรื่องสิ่งที่ครูอนามัยควรรู้ : “วัยรุ่นกับการสักผิว”
ปัจจุบันศิลปะการสักผิวได้ย้อนยุคมาอีกครั้งหนึ่งและได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง
เรื่องนี้สร้างความวิตกกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยจากการติดเชื้อ กลยุทธ์ในเรื่องนี้ คือ ผู้ที่สักให้เพื่อน
ต้องได้รับการสอนสุขศึกษา และครูอนามัยโรงเรียนต้องแสดงบทบาทหน้าที่ของตน
แม็คเกอร์ (McGuire. 1996 : 191) ได้นำเสนอเทคนิคการสอน หน่วยการสอน
สภาพของโลก แผนการสอนประกอบด้วย เรื่อง สิ่งแวดล้อมที่ดี
จุดประสงค์ของการเรียนรู้
1. การมีวัน “คุ้มครองโลก” (Eart Day) และทำไมจึงจัดตั้งวันนี้ขึ้น
2. ความก้าวหน้าตั้งแต่เริ่มจัดตั้งวันคุ้มครองโลก
3. ทราบสาเหตุใหญ่ ๆ ของปัญหาสิ่งแวดล้อม
4. เสนอทางเลือก การเป็นนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
เกณฑ์การประเมิน คือ ผลของการอภิปรายเรื่องสิ่งแวดล้อม และการสร้างแนวทาง
เพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อม
กิจกรรมและยุทธศาสตร์การสอน มีดังนี้
1. ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม ๆ ละ 4- 5 คน
28
2. เขียนวันสำคัญที่เป็นวันหยุดในรอบ 1 ปี เริ่ม 15 มกราคม, 14 กุมภาพันธ์, 13
มีนาคม ฯลฯ
3. กระตุ้นให้นักเรียนอภิปรายว่าทำไมจึงจัดให้วันนั้นเป็นวันสำคัญ
4. ภายหลังได้คำตอบที่ถูกต้องจากนักเรียน ครูเขียนคำว่า 22 เมษายน บนกระดาน
แล้วให้นักเรียนแต่ละกลุ่มตอบว่าเป็นวันอะไร
5. หากนักเรียนตอบไม่ได้ ให้เฉลยว่า “วันคุ้มครองโลก”
6. ให้ความรู้พื้นฐาน ประวัติ “วันคุ้มครองโลก” และสภานิติบัญญัติของประเทศสหรัฐ
อเมริกา ออกกฎหมายมากกว่า 40 ข้อ ที่เจาะจงเรื่องความสะอาดของอากาศ อนุรักษ์พลังงาน การกำจัด
ของเสียที่เต็มไปด้วยอันตราย การขยายสวนสาธารณะแห่งชีวิตและพื้นที่ป่า
7. ให้แต่ละกลุ่มอภิปราย สรุปและให้เหตุผลว่าทำไมสิ่งแวดล้อมเกิดปัญหา ภายหลัง
จากนั้นสรุปและจดบันทึกว่าขณะนี้โลกมีปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมจากสาเหตุ 3 ประการ คือ
1. ประชากรโลกเพิ่ม เป็นปัญหาอันดับแรก
2. เกิดจากน้ำมือของมนุษย์
3. ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี
เมื่อการอภิปรายสิ้นสุดให้นักเรียนแต่ละกลุ่มจัดอันดับกิจกรรม 10 อย่าง ที่ตัวเขาเอง
สามารถปฏิบัติได้แบบนักอนุรักษ์ธรรมชาติ โครงการนี้อยู่นอกเหนือบทเรียน เช่น การนำของมาใช้ซ้ำ
การซ่อมแซมของใช้ การจำกัดน้ำใช้ในครัวเรือนและส่วนตัว ปิดไฟ ใช้ผ้าเช็ดจานแทนกระดาษ
ใช้ผงซักฟอกที่ไม่ผสมเกลือฟอสเฟส รับประทานอาหารสดที่ไม่ต้องผ่านขบวนการมากมาย ฯลฯ
ขณะที่นักเรียนเลือกเรื่องที่ตนเองสนใจ ครูนัดแนะนักเรียนแต่ละกลุ่มนอกเวลาเรียน
เพื่อซักถามปัญหาที่ถกเถียงกันถึงเรื่องดังกล่าว รวมถึงเรื่องที่เรียน เช่น น้ำเสีย ของเสียจากโรงงาน
อุตสาหกรรม ฯลฯ
ระดับชั้น นักเรียนเกรด 7 – 9
วิชา สุขศึกษา / สังคมศึกษา
แหล่งศึกษาข้อมูลและอุปกรณ์ หนังสืออ้างอิงต่าง ๆ
ซินโนวิทส์ (Synovitz. 1999 : 145) ได้เขียนบทความเรื่องการใช้ศิลปะเชิดหุ่นในงาน
อนามัยโรงเรียนในโรงเรียนสหศึกษา
นักการศึกษาและบุคลากรในคลินิคสุขภาพกำลังพินิจพิเคราะห์อย่างต่อเนื่อง สำหรับ
วิธีการเปลี่ยนแปลงและสนับสนุนให้เกิดพฤติกรรมสุขภาพที่ดีตามอายุและความเหมาะสมในการ
พัฒนาและกิจกรรมเหล่านั้นควรเป็นสิ่งสนุกสนาน ศิลปะการเชิดหุ่นอยู่ในเกณฑ์เหล่านี้ การใช้ศิลปะ
การเชิดหุ่นเป็นการสร้างสรรค์ วิธีการเรียนชี้ชัดว่ามีผลสะท้อนจากการเล่นไปสู่การเรียนรู้ หุ่นมีหลาก
หลายชนิด บางชนิดเป็นที่กล่าวขวัญถึง และเป็นหนทางที่สรุปได้ว่าหุ่นเชิดชนิดต่าง ๆ เป็นประโยชน์
29
เหมาะที่จะนำมาใช้ในงานอนามัยโรงเรียนในโรงเรียนสหศึกษา การส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพโดยใช้
ศิลปะการเชิดหุ่น ได้ถูกแนะนำในขณะที่แต่ละคนได้พิสูจน์คุณค่า การใช้หุ่นเชิดชนิดต่าง ๆ การวิจัย
ควรประเมินผลสำเร็จการใช้ศิลปะการเชิดหุ่นในการให้ความรู้เรื่องสุขภาพอนามัยอย่างจริงจัง
โรงเรียนวัดหนัง สังกัดสำนักงานการประถมศึกษากรุงเทพมหานคร ได้สำรวจพบว่า
นักเรียนมีน้ำหนักส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 4.4 มีภาวะโภชนาการเกิน (โรคอ้วน) ร้อยละ 10.02
(วราภรณ  ศิริลักษณ์. 2544 : 67) ซึ่งในเรื่องนี้ มาโลนีย  (Maloney. 2000 : 18) มีข้อเสนอแนะ
กลยุทธในการป้องกันการบริโภคอาหารที่นำไปสู่ปัญหาในเด็กและวัยรุ่นโดยใช้กรอบงานส่งเสริม
สุขภาพในโรงเรียนอย่างได้ผลและปลอดภัย แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ
1. หลักสูตรการเรียนการสอน
2. ทัศนคติของสมาชิกในโรงเรียน สิ่งแวดล้อมและการจัดการ
3. ชุมชนมีส่วนร่วมกับโรงเรียนรวมทั้งการให้บริการต่าง ๆ
จากการศึกษาเรื่องสุขศึกษาในโรงเรียน จากหลากหลายแหล่งข้อมูลรวมทั้งข้อมูลจาก
ต่างประเทศ สรุปได้ว่า สุขศึกษาในโรงเรียนจะบังเกิดผลดีได้นั้นต้องคำนึงถึงความสนใจของนักเรียน
บุคลิกภาพของครู วิธีการสอน เทคนิคการสอน โสตทัศนอุปกรณ์ ต้องดึงดูดความสนใจและมีทักษะ
การใช้ สำหรับเนื้อหาควรเหมาะสมกับวัยของนักเรียนและทันต่อเหตุการณ์ ไม่ยากเกินไปและควร
ฝึกปฏิบัติ เช่น การทำอาหารตามหลักโภชนาการ อนามัยส่วนบุคคลรักษาสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์
พลังงาน การกำจัดของเสีย ฯลฯ แต่ถึงอย่างไรก็ตามสถานภาพทางครอบครัว ตลอดทั้งพันธุกรรม
ของนักเรียนยังเป็นตัวแปรสำคัญต่อการสอนสุขศึกษา เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ คือ นักเรียนเกิด
การเรียนรู้และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพ
4. ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและชุมชน
ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและชุมชน คือ ความผูกพันที่โรงเรียนและชุมชนมีต่อ
กันโดยมีความเอื้ออาทรสนับสนุนในกิจการที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาเยาวชนและชุมชน
ธำรงรักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรม คุณธรรมและจริยธรรมที่ดีงาม ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและชุมชน
เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะโรงเรียนรับผิดชอบเยาวชนมากมายหลากหลายสถานภาพ จำเป็นต้องมี
กฎระเบียบที่ใช้ร่วมกัน มีการสื่อสารประชาสัมพันธ์ให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเข้าใจตรงกัน
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ (2540 : 4)
กล่าวว่า ความสัมพันธ์ระหว่างบ้านและโรงเรียนเป็นกระบวนการสองทาง ในอันที่จะสร้างความเข้าใจ
และความร่วมมือในการดูแลสุขภาพอนามัยของเด็ก เพื่อมุ่งให้ผู้ปกครองตระหนักถึงความสำคัญและให้
ความร่วมมือในการดำเนินงานสุขภาพ รับรู้ปัญหาและร่วมมือแก้ไข โดยมีครูและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
เป็นผู้ประสานงานให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างบ้านและโรงเรียน
30
วิมลศรี อุปรมัย และคณะ (2528 : 138) ให้ความหมายของการสร้างความสัมพันธ์
ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนไว้ว่า เป็นการสร้างสัมพันธภาพอันดีต่อกันระหว่างโรงเรียนกับชุมชน เพื่อ
ให้โรงเรียนรู้จักชุมชนดีขึ้นในแง่ที่สามารถค้นหา และใช้แหล่งทรัพยากรในชุมชนให้เกิดประโยชน์ต่อ
การศึกษา ในเวลาเดียวกันก็ให้ชุมชนมีความรู้สึกที่ดีต่อโรงเรียน ถ้าจะให้ถึงจุดสูงสุดของการสร้าง
ความสัมพันธ์ก็คือ “ทำให้ชุมชนรู้สึกว่าโรงเรียนเป็นสมบัติของชุมชน” ผู้คนในชุมชน ย่อมจะได้ช่วย
กันดูแลรักษาทรัพย์สินของโรงเรียนตลอดจนเอื้ออำนวยความสะดวกให้ความช่วยเหลือโรงเรียนในด้าน
ต่าง ๆ เช่น ช่วยสละทรัพย์สินซื้ออุปกรณ์ที่โรงเรียนยังขาดแคลน ช่วยซ่อมแซมวัสดุอุปกรณ์
อาคารเรียน โดยไม่คิดค่าตอบแทน ช่วยออกเงินจ้างครูช่วยสอนให้กับโรงเรียน รวมถึงช่วยวางแผนใน
การพัฒนาโรงเรียน
องค์การอนามัยโลก (1996 ; อ้างถึงใน ฉัตรสุดา ชินประสาทศักดิ์. 2540 : 28)
กล่าวถึง ความสัมพันธ์ระหว่างบ้านและโรงเรียน ควรให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการวางแผนจนถึงขั้นตอน
สุดท้ายของโครงการ คือ การประเมินผลเพื่อเป็นการเสริมความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองและโรงเรียน
จุดมุ่งหมายของการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและชุมชน
พนิจดา วีระชาติ (2542 : 51 – 52) กล่าวถึง ความมุ่งหมายของการสร้างความ
สัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ดังนี้คือ
1. เพื่อสร้างเสริมสัมพันธภาพระหว่างโรงเรียนกับชุมชน เพราะสัมพันธภาพจะเป็น
เครื่องมือเชื่อมโยงระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ให้มาร่วมมือกันปฏิบัติการต่าง ๆ ที่มีอยู่ให้บรรลุจุด
มุ่งหมายอันเดียวกันตามที่กำหนด
2. เพื่อสร้างเสริมความรู้สึกเป็นเจ้าของให้แก่ชุมชน เนื่องจากโรงเรียนเป็น
สาธารณสมบัติที่ชุมชนเป็นเจ้าของอยู่แล้ว หากแต่มอบหมายให้คณะครูเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ
ซึ่งมี ครูใหญ่เป็นหัวหน้า
3. เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในกิจการของโรงเรียน กิจการต่าง ๆ ของโรงเรียน อาจ
แบ่งเป็นหลายประเภท เช่น การกำหนดความมุ่งหมาย และนโยบาย กิจการเกี่ยวกับการบริหารโรงเรียน
กิจการเกี่ยวกับการพัฒนาอาคารสถานที่ ตลอดจนการพัฒนาด้านวิชาการ เช่น หลักสูตร เป็นต้น ทั้งนี้
ทำให้การดำเนินงานของโรงเรียนสอดคล้องกับความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง ในอันที่จะพัฒนา
บุตรหลานของเขา
4. เพื่อฟื้นฟูและรักษาวัฒนธรรมของชุมชน ในชุมชนมีวัฒนธรรมประจำท้องถิ่นทั้งที่
เป็นขนบธรรมเนียบประเพณีและศาสนา วัฒนธรรมเหล่านี้เป็นเครื่องมือสร้างสรรค์ความดีของชุมชน
เป็นเครื่องยึดเหนี่ยว เป็นศูนย์รวมทางจิตใจและเป็นสัญลักษณ์ของชุมชน ชุมชนจะรักษาและหวงแหน
31
อย่างยิ่ง หากโรงเรียนทำการฟื้นฟูและถ่ายทอดให้แก่เยาวชน ชุมชนจะให้ความร่วมมือทุกประการ
เพราะชุมชนมองเห็นว่าโรงเรียนกระทำการเพื่อชุมชนอย่างแท้จริง
5. เพื่อสร้างความกลมกลืนระหว่างบ้านกับโรงเรียน เป็นที่ยอมรับว่าโรงเรียนเป็น
หน่วยงานของชุมชน ดำเนินงานพัฒนาคนสำหรับชุมชน โรงเรียนกับชุมชน จึงมีการปฏิบัติไปในทิศ
ทางเดียวกันในทุกกรณี การดำรงชีพในชุมชนควรจะเป็นหลักสูตรของโรงเรียน ปฏิบัติการต่าง ๆ ควร
เป็นของชุมชน โรงเรียนเป็นเพียงสถานฝึกหัดให้เท่านั้น
จากการที่จะนำไปสู่จุดหมายปลายทางของการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับชีวิตจริง
ของชุมชนหรือเป็น “การศึกษาเพื่อชีวิต” แต่วิธีดำเนินการนั้นย่อมแตกต่างกัน
เริงชัย หมื่นชนะ (2535 : 91) ได้กล่าวถึง การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียน
กับชุมชนไว้ดังนี้
1. สนับสนุนและหาทางให้ผู้ปกครองร่วมเป็นสมาชิกของสมาคมครูและผู้ปกครอง
2. พยายามประชาสัมพันธ์กิจกรรมที่โรงเรียนจัดขึ้นอยู่เสมอเป็นระยะ
3. รับฟังความคิดเห็นของนักเรียน ผู้ปกครองและพร้อมที่จะปรับปรุงอย่างมีหลักการ
4. เข้าใจความต้องการของชุมชนและสังคม
5. มีความตื่นตัวที่จะพัฒนาโรงเรียนและพัฒนาท้องถิ่นอยู่เสมอ
6. พัฒนาบุคลากรในโรงเรียนอยู่เสมอ
7. พยายามใช้ทรัพยากรที่อยู่ในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์แก่โรงเรียน
8. ศึกษาความเปลี่ยนแปลงของสังคมและสิ่งแวดล้อม ลดความขัดแย้งระหว่างบ้าน
วัดและโรงเรียน
พนิจดา วีระชาติ (2542 : 55 –56) มีแนวดำเนินการในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง
บ้านและโรงเรียนดังต่อไปนี้
1. จัดให้มีการปฐมนิเทศผู้ปกครองของนักเรียนในวันเปิดภาคเรียนโดยชี้แจงถึงวัตถุ
ประสงค์ของการศึกษา และดำเนินงานของโรงเรียนทั้งด้านการสอน การอบรมบ่มนิสัย และการพัฒนา
ด้านต่าง ๆ
2. วิธีการที่โรงเรียนจะสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนนั้น มีอยู่หลายขั้นตอนโดยอาจ
เริ่มจากการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับบ้านหรือผู้ปกครอง แล้วจึงขยายความร่วมมือไปสู่
หน่วยงานและสถาบันอื่น ๆ ในชุมชน การสร้างความสัมพันธ์กับผู้ปกครองนั้นโรงเรียนสามารถดำเนิน
การได้ดังนี้
2.1 จัดให้มีการปฐมนิเทศผู้ปกครองของนักเรียน โดยชี้แจงถึงวัตถุประสงค์
ของการศึกษาและการดำเนินงานของโรงเรียนทั้งด้านการสอน การอบรมบ่มนิสัย และการพัฒนาด้าน
ต่าง ๆ
32
2.2 เชิญผู้ปกครองมาเยี่ยมชมโรงเรียน เช่น มาชมการเรียนการสอน
ชมการแสดงของนักเรียน ชมนิทรรศการที่โรงเรียนจัดขึ้น เป็นต้น
2.3 เชิญผู้ปกครองมาร่วมแก้ไขปัญหาบางอย่างเกี่ยวกับตัวเด็ก เช่น
เด็กก้าวร้าว เด็กติดยาเสพติด ฯลฯ
2.4 ให้ครูไปเยี่ยมผู้ปกครองและนักเรียนที่บ้าน เพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดี
ต่อกันและมีความสนิทสนมซึ่งกันและกัน
2.5 ให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในกิจกรรมของโรงเรียน เช่น เชิญมาเป็น
วิทยากรในเรื่องที่เขามีความถนัดและชำนาญการ เชิญมาเป็นกรรมการในงานที่โรงเรียนจัดขึ้น ไม่ว่า
จะเป็นการแข่งกีฬา การจัดงานประเพณีหรือกิจกรรมอื่น ๆ ที่สนใจร่วมกัน ถ้าเป็นไปได้อาจเชิญ
ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนงานของโรงเรียนทั้งในด้านหลักสูตร อาคารสถานที่และ
วัสดุอุปกรณ์ของโรงเรียน
2.6 จัดตั้งสมาคมครูและผู้ปกครองขึ้น เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่าง
บ้านและโรงเรียนให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น
สรุปว่า ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและชุมชน คือ ความผูกพันที่โรงเรียนและ
ชุมชนมีต่อกัน โดยมีความเอื้ออาทร สนับสนุนในกิจการที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเยาวชนและชุมชน
ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและชุมชนเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง เพราะโรงเรียนมีนักเรียนมากมาย
หลากหลายสถานภาพที่อยู่ในความรับผิดชอบ รวมทั้งด้านสุขภาพอนามัย จำเป็นต้องขอความร่วมมือ
จากผู้ปกครองนักเรียนและชุมชนให้เข้ามาสนับสนุนกิจการของโรงเรียนทางด้านวิชาการ ทุนทรัพย์
และการสอดส่องดูแล เอื้ออาทรต่อนักเรียนตามสมควร โดยเฉพาะงานอนามัยโรงเรียนซึ่งต้องทำงาน
ประสานกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เมื่อให้บริการด้านสุขภาพอนามัยและให้สุขศึกษาแล้ว นักเรียนต้อง
นำไปปฏิบัติจึงสามารถแก้ปัญหาสุขภาพได้และผู้ที่สามารถกระตุ้นให้เขาปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง นอกจาก
ตัวนักเรียนเองแล้ว ผู้ปกครองนักเรียนซึ่งรับรู้ในเรื่องนั้นเป็นแรงเสริมที่จะนำไปสู่การปฏิบัติตนตาม
หลักสุขอนามัยส่วนบุคคลอย่างมีประสิทธิภาพและมีความต่อเนื่อง บรรลุวัตถุประสงค์ของงานอนามัย
โรงเรียน
สำหรับการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนนั้น ผู้บริหารโรงเรียน ครูอนามัยโรงเรียน
และบุคลากรซึ่งทำหน้าที่บริการด้านสุขภาพ ควรสร้างมนุษยสัมพนธ์กับนักเรียน ผู้ปกครองและชุมชน
ให้ความเอื้ออาทรและดูแลรักษาอย่างเหมาะสม ตลอดทั้งการแสดงออกในความรักในเพื่อนมนุษย์เป็น
ส่วนหนึ่งที่จะทำให้การปฏิบัติงานอนามัยโรงเรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์
33
2.3 เกณฑ์การปฏิบัติงานตามมาตรฐานโรงเรียนด้านส่งเสริมสุขภาพใน
โรงเรียนประถมศึกษา
ในแผนพัฒนาสาธารณสุข ฉบับที่ 8 (พ.ศ.2540 – 2544) กรมอนามัยได้ปรับปรุง
เกณฑ์การดำเนินงานอนามัยโรงเรียนที่ใช้อยู่เดิมให้สอดคล้องกับสภาวะการณ์และทิศทางใหม่ของแผน
งานส่งเสริมสุขภาพ ในส่วนของกลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน ได้กำหนดให้ได้รับการพัฒนาสุขภาพ
โดยการส่งเสริม ป้องกัน รักษา และแก้ปัญหาให้มีสุขภาพสมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา
มีการพัฒนาการสมวัย และปรับตัวสู่สังคมได้อย่างเหมาะสม เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว
กรมอนามัยจึงกำหนดยุทธศาสตร์ โดยสนับสนุนให้โรงเรียนต่าง ๆ มีการดำเนินกิจกรรมพัฒนาสุขภาพ
นักเรียนตามเกณฑ์มาตรฐานของกรมอนามัย ร้อยละ 95 ของโรงเรียนทั้งหมด โรงเรียนด้านส่งเสริม
สุขภาพของโรงเรียนประถมศึกษา มีองค์ประกอบ 4 ด้าน คือ ด้านการบริการอนามัยโรงเรียน ด้านการ
ส่งเสริมการให้สุขศึกษา ด้านการจัดสิ่งแวดล้อมและป้องกันอุบัติภัย และการมีส่วนร่วมของครู
ผู้ปกครองและชุมชน เพื่อให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล กรมอนามัย กระทรวง
สาธารณสุข ได้กำหนดเกณฑ์การปฏิบัติงานตามมาตรฐานโรงเรียนด้านส่งเสริมสุขภาพ สำหรับ
โรงเรียนประถมศึกษาขึ้น ซึ่งมีรายละเอียดในภาคผนวก
3. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
3.1 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องด้านการจัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ
สมศักดิ์ อัมพรต (2538 : 176 – 177 และ 193) ได้ทำการวิจัยเรื่อง การบริหารงานสุขภาพ
อนามัยในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดนนทบุรี ผลการวิจัยพบว่า
ด้านการจัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียน ผู้บริหารโรงเรียนส่วนใหญ่มีความเห็นว่า การจัดสภาพ
แวดล้อมในโรงเรียนมีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง คือ ขาดแคลนบ่อบำบัดน้ำเสีย ความไม่เพียงพอ
ของอาคารเรียนและห้องเรียน ความคับแคบของเนื้อที่และบริเวณโรงเรียน ความทรุดโทรมของอาคาร
เรียนและอาคารประกอบ และมีสภาพบางเรื่องที่ยังไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำ คือ ขาดแคลน
รั้วโรงเรียน บริเวณโรงเรียนมีน้ำท่วมขังตามฤดูกาล มีฝุ่นและเสียงรบกวน สภาพสนามไม่ดีพอ
สนามเด็กเล่นขาดแคลนเครื่องเล่นประจำสนาม
ตวงพร โต๊ะนาค (2533 : 115 – 116) ได้ทำการวิจัยเรื่อง บทบาทของผู้บริหารและครูในการ
พัฒนาพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยพบ
ว่า การพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพนักเรียน ด้านการจัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน เรื่องการควบคุมและ
34
กำจัดสัตว์อันเป็นพาหะของโรคหรือมีพิษที่เป็นอันตรายต่อนักเรียน และการจัดห้องน้ำห้องส้วม
ไม่เพียงพอกับจำนวนนักเรียน ซึ่งผู้บริหารปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง
ฉัตรสุดา ชินประสาทศักดิ์ (2540 : 117) ศึกษาวิจัยเรื่อง การรับรู้บทบาทครูอนามัยโรงเรียน
ในโครงการสุขภาพของผู้บริหาร ครูประจำชั้นและครูอนามัยโรงเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา
สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดลพบุรี ผลการวิจัย พบว่า ความคิดเห็นที่พบมากที่สุดใน
ผู้บริหารโรงเรียน คือ โรงเรียนควรจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนการสอน โดยสร้างความเข้าใจ
ให้ตรงกันในครูทุกคน ผู้บริหารโรงเรียน ผู้ปกครองและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทำให้มีการวางแผนร่วม
กันอย่างเป็นรูปธรรมและให้นักเรียนมีส่วนร่วมดำเนินการด้วย
ประสิทธิ์ สาระสันต์ (2536 : บทคัดย่อ) ได้ทำการวิจัยเรื่อง การบริหารโครงการสุขภาพใน
โรงเรียนของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผลการวิจัย
พบว่าการบริหารโครงการสุขภาพในโรงเรียนของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษามีการดำเนินงานอยู่ใน
ระดับปานกลาง จัดบริการสุขภาพในโรงเรียนได้เป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาเป็นการจัดสิ่งแวดล้อมใน
โรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ มีข้อเสนอแนะว่า ผู้บริหารจะต้องไม่มุ่งจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพ
มากกว่าสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อสุขภาพจิตนักเรียนและจะต้องถือเป็นหน้าที่ที่จะต้องรณรงค์ให้คณะครู
ถือเป็นหน้าที่จะต้องดูแลสุขภาพและสร้างสุขนิสัยที่ดีเป็นตัวอย่างแก่นักเรียน
พรณี พันมา (2540 : 139) ได้ทำการวิจัยเรื่อง การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงาน
อนามัยโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา กรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาในการ
บริหารงานอนามัยโรงเรียนด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมยังทำได้ไม่เต็มที่ รองลงมา คือ การจัดสวัสดิการ
แก่บุคลากรยังทำได้ไม่เต็มที่และบางส่วนของแผนงานซึ่งวางไว้ไม่สามารถปฏิบัติได้จริง
สนั่น พรหมสุวรรณ (2536 : 93) ได้ทำการวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่ส่งเสริมโรงเรียนประถมศึกษาให้
ได้เข้ารับการคัดเลือกเป็นโรงเรียนดีเด่นในจังหวัดฉะเชิงเทรา ผลการวิจัยพบว่า โรงเรียนที่ได้รับคัด
เลือกเป็นโรงเรียนดีเด่น มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนดีกว่าโรงเรียนที่มิได้คัดเลือกเป็นโรงเรียนดี
เด่น มีข้อเสนอแนะว่าผู้บริหารโรงเรียน ควรดำเนินการ คือ การศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการตกแต่ง
บริเวณโรงเรียน การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนการสอน โดยการจัดสัมมนากลุ่มย่อย ๆ
ระหว่างโรงเรียนภายในกลุ่มอำเภอหรือจังหวัด ไปเยี่ยมชมโรงเรียนดีเด่น จัดบรรยายพิเศษโดยครูใหญ่
โรงเรียนดีเด่น อ่านตำราหรือบทความจากวารสารต่าง ๆ ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการตกแต่งบริเวณ เพื่อจะ
ได้ทราบหลักเกณฑ์และแนวทางดำเนินการ
กริฟฟิธ (Griffith 2000 : 194) ได้ทำการวิจัยเรื่อง บรรยากาศในโรงเรียนเปรียบเสมือนผล
สรุปการประเมินคุณค่าและเป็นภาพรวมของโรงเรียน : มุมมองของนักเรียนและผู้ปกครองต่อ
สิ่งแวดล้อมในโรงเรียนประถมศึกษา ผลการวิจัยพบว่า ผู้ปกครองและนักเรียนมีมุมมองที่สอดคล้อง
35
ต้องกันว่า สิ่งแวดล้อมในโรงเรียน คือ นัยสำคัญและสัมพันธ์อย่างแท้จริงกับการตัดสินว่าโรงเรียนดี
หรือไม่ ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อม
จากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ด้านการจัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียนให้ถูก
สุขลักษณะ สรุปได้ว่า สิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียนเป็นสิ่งแสดงภาพรวมของโรงเรียนว่าเป็นอย่างไร
ปัญหาที่พบ ได้แก่ บุคลากรไม่ได้รับการพัฒนาให้เหมาะสมกับงาน สถานที่ตั้งของโรงเรียนไม่
เหมาะสม บริเวณคับแคบ การสุขาภิบาลไม่ดี ไม่มีบ่อบำบัดน้ำเสีย นอกจากนี้ยังมีสัตว์นำโรคและ
มีพิษ อาคารเรียนและห้องเรียนไม่เพียงพอ สิ่งก่อสร้างชำรุด มีข้อเสนอแนะว่า การสร้างอาคารเรียน
และจัดสภาพแวดล้อมไม่ควรเน้นเฉพาะด้านกายภาพ ควรคำนึงถึงผลทางจิตวิทยาและส่งเสริมการเรียน
รู้ควบคู่ไปด้วย และควรให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการรักษาสภาพแวดล้อม ควรจัดสัมมนาบุคลากรให้
ทราบแนวทางและหลักเกณฑ์การจัดตกแต่งบริเวณโรงเรียน
3.2 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องด้านการบริการสุขภาพในงานอนามัยโรงเรียน
พรณี พันมา (2540 : 139) ได้ทำการวิจัย เรื่อง การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงาน
อนามัยโรงเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา กรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยพบว่า
ปัญหาการบริหารงานอนามัยโรงเรียนด้านการบริการสุขภาพ คือ การสรรหาบุคลากรให้เหมาะสมกับ
งานด้านการบริการสุขภาพยังไม่ดีเท่าที่ควร รองลงมา คือ การประสานงานภายในหน่วยงานยังไม่ดีเท่า
ที่ควร และบางส่วนของแผนงานที่วางไว้ไม่สามารถปฏิบัติได้จริง
สมศักดิ์ อัมพรต (2538 : 194) วิจัยเรื่อง การบริหารงานสุขภาพอนามัยในโรงเรียนประถม
ศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดนนทบุรี ผลการวิจัยพบว่า การบริหารงานด้านการ
จัดบริการสุขภาพอนามัยโรงเรียนผู้รับผิดชอบ ห้องพยาบาลหรือมุมพยาบาลมีชั่วโมงสอนมากเกินไป
จนไม่มีเวลาที่จะดูแลห้องพยาบาลให้บังเกิดผลดี การขาดแคลนบุคลากรที่จะมาดูแลรับผิดชอบงาน
ด้านสุขภาพอนามัย การขาดแคลนเงินทุนหรือ งบประมาณที่จะสนับสนุนการจัดโครงการอาหาร
กลางวันให้มีคุณภาพ
ศิริพร พุทธรังษี (2530 : 97 – 100) วิจัยเรื่อง สภาพและปัญหาการบริการสุขภาพใน
ห้องพยาบาล โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยพบว่า บุคลากรที่ดูแลรับ
ผิดชอบการบริการสุขภาพในโรงเรียนส่วนใหญ่ไม่ได้ระบุว่าเป็นครูมีวุฒิใด โดยเฉพาะวุฒิทางพยาบาล
ไม่มีเลยและไม่ได้อยู่ประจำห้องพยาบาลตลอดเวลา ทางด้านอุปกรณ์ที่โรงเรียนส่วนใหญ่ขาด คือ
เฝือกไม้ ทั้งนี้อาจเนื่องจากครูในโรงเรียน ขาดความรู้และประสบการณ์ด้านการปฐมพยาบาล ซึ่งไม่
เห็นความสำคัญของเฝือกไม้ เมื่อเกิดอุบัติเหตุกับนักเรียนมักจะนำส่งโรงพยาบาลทันที การทดสอบ
การได้ยินของนักเรียน โรงเรียนส่วนใหญ่มิได้จัดทำเพราะขาดแคลนบุคลากรและเครื่องมือ การตรวจ
36
สุขภาพครูหรือเจ้าหน้าที่อื่น ๆ โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขมีการตรวจสุขภาพน้อยที่สุด คิดเป็นร้อยละ
30.3 ส่วนการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในโรงเรียนเกี่ยวกับการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค ส่วน
ใหญ่จัดอยู่ในเกณฑ์ดี คือ เกือบร้อยละ 100
ตวงพร โต๊ะนาค (2533 : 114) วิจัยเรื่อง บทบาทของผู้บริหารและครูในการพัฒนาพฤติกรรม
สุขภาพของนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยพบว่า งานในบทบาท
การบริการสุขภาพที่ทำได้น้อยมาก คือ การจัดครูพยาบาลประจำห้องพยาบาลและการวิเคราะห์
พัฒนาการของนักเรียน ซึ่งผู้บริหารและครูหากมิได้ฝึกอบรมสมรรถภาพในด้านนี้โดยตรงจึงเป็นการ
ยากที่จะปฏิบัติภารกิจดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะมีข้อจำกัดด้านความรู้และความพร้อม
เพียงเพ็ญ ธัญญะตุลย์ (2533 : 87) วิจัยเรื่อง การดูแลสุขภาพตนเองของอาสาสมัครสาธารณสุข
ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยพบว่า การดูแลสุขภาพตนเองของอาสา
สมัครสาธารณสุขในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานครอยู่ที่ระดับดี อาสาสมัครนักเรียน
หญิงมีการดูแลตนเองดีกว่าอาสาสมัครนักเรียนชาย มีข้อเสนอแนะว่าครู ผู้ปกครองและคณะกรรมการ
จัดโครงการอาสาสมัครสาธารณสุขควรให้การดูแลเอาใจใส่อาสาสมัครนักเรียนชายให้มากกว่าเดิม
และควรมีการบรรจุตำแหน่งครูอนามัยโรงเรียนไว้ในโรงเรียนประถมศึกษา เพราะครูอนามัยโรงเรียนมี
ความสำคัญมากในการที่จะติดตามประเมินผลและประสานงานให้โครงการต่าง ๆ ดำเนินไปด้วยดี
การใช้ครูอื่นมาทำหน้าที่แทนนั้นก็ย่อมทำได้แต่ผลที่ออกมาอาจไม่ดีเท่าที่ควร
กรีฟฟิธ และฮวิชเชอร์ (Griffith and Whicker 1981:428 – 432) วิจัยเรื่อง “การสังเกต สุขภาพ
นักเรียนโดยครู” ผลการวิจัยพบว่า ครูส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยที่มอบหมายให้ตนเป็นผู้ตรวจสุขภาพ
นักเรียนและผู้บริหารโรงเรียนก็ไม่เห็นด้วยเช่นกัน จึงทำให้บรรดาครูไม่ต้องการเข้าไปเกี่ยวข้องกับ
การตรวจสุขภาพนักเรียน ซึ่งสอดคล้องกับการวิจัยของ ฉัตรสุดา ชินประสาทศักดิ์ (2540 : 111) วิจัย
เรื่อง การรับรู้บทบาทครูอนามัยโรงเรียนในโครงการสุขภาพของผู้บริหาร ครูประจำชั้นและครูอนามัย
โรงเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดลพบุรี พบว่า ผู้บริหาร
โรงเรียน ครูประจำชั้นและครูอนามัยโรงเรียนส่วนหนึ่งมีความเห็นว่างานหลักของครูคือหน้าที่การสอน
ซึ่งเป็นภาระหนักอยู่แล้ว งานโครงการสุขภาพจึงควรเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ต้องมาให้
บริการแก่นักเรียนโดยตรง
ไครคูฟเฟอร์ พไรซ และเท็ลโจฮาน (Kirchofer, Price, Telljohnn 2001 : 448) ทำการวิจัย
เรื่อง ความรู้และการรับรู้ของครูประถมศึกษาเรื่องเหาบนศีรษะ การศึกษาครั้งนี้เพื่อตรวจสอบความรู้
ของครูประถมศึกษาเรื่องเหาบนศรีษะ ความเข้าใจอย่างถ่องแท้เรื่องเหาและแหล่งข้อมูลที่ครูมีความ
ประสงค์มากที่สุดที่จะศึกษาหาความรู้เพิ่ม ผลการวิจัย พบว่า ครูต้องการมีความรู้เรื่องการตรวจเหา
มากและมีนัยว่าประสบการณ์การสอนมากยิ่งรู้มากขึ้น ร้อยละ 46 คาดการว่าหากครูช่วยกันระวังจะช่วย
37
ควบคุมโรคเหา ร้อยละ 71 รายงานว่าได้รับข่าวสารจากครูอนามัยโรงเรียน ร้อยละ 63 ต้องการวีดีทัศน์
ร้อยละ 51 ต้องการแผ่นพับ และร้อยละ 23 ให้มีการตรวจเหาทุกปี
พิงคนี แคโรล อาโนลต์ (Pinckney Carole Arnold, 1996 : 151) วิจัยเรื่อง การวิเคราะห์การรับรู้
บทบาทหน้าที่ครูพยาบาลโรงเรียนในรัฐแมรีแลนด์ระหว่างครูพยาบาลและผู้บริหารโรงเรียน จุดมุ่ง
หมายของการศึกษาเพื่อตรวจสอบและบรรยายถึงบทบาทหน้าที่ของครูพยาบาลโรงเรียนและการรับรู้
ของครูพยาบาลและผู้บริหารโรงเรียน มีการเก็บข้อมูลโดยส่งแบบสอบถามไปยังผู้เกี่ยวข้องจากแมรี่
แลนด์จำนวน 2 เมือง ผลการวิจัยพบว่า ครูพยาบาลและผู้บริหารโรงเรียนมีการรับรู้บทบาทหน้าที่ครู
พยาบาลโรงเรียนแตกต่างกัน ปัญหาและอุปสรรคด้านการบริการสุขภาพ สรุปได้ดังนี้ คือ ไม่มีเวลา
ให้การพยาบาลนักเรียน ไม่เห็นความสำคัญของสุขภาพและขาดเงินกองทุน
คราเมอร์และไอเวอร์สัน (Cramer Iverson 1999 : 170) ได้วิจัยเรื่อง ความคาดหวังของ
ผู้ปกครองนักเรียนต่องานอนามัยโรงเรียนในรัฐเนบราสกา ผลการวิจัยพบว่าผู้ปกครองนักเรียนร้อยละ
92 มองงานอนามัยโรงเรียนเป็นหัวใจทางการศึกษา ร้อยละ 64 มีความประสงค์ให้มีพยาบาล 1 คน ต่อ
นักเรียน 500 คน ร้อยละ 89 เชื่อว่านักเรียนต้องการพยาบาลมาทำหน้าที่ครูอนามัยโรงเรียน สรุป มี
รายงานว่า รัฐสภาเนบราสกา จะให้ความช่วยเหลือโดยใช้เงินกู้ของรัฐเพื่อให้มีพยาบาลประจำโรงเรียน

สภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียน ในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษากรุงเทพมหานคร (ตอนที่ 1)
สภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียน ในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษากรุงเทพมหานคร (ตอนที่ 2)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น