ศึกษาและโหลดฟรีเป็นตัวอย่างเกี่ยวกับงานวิจัย all free download research
วันเสาร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2554
รูปแบบการบริหารสถาบันวิชาชีพการประกอบอาหารโดยอาศัยความ ร่วมมือร่วมใจเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง (ตอนที่ 3)
1) การสอนแบบบรรยายเพื่ออธิบายขั้นตอน วิธีการ หรือเหตุผลในการปฏิบัติ หรือข้อควรระวังในการปฏิบัติ
2) การสอนรายบุคคล การรับรู้ หรือทักษะการปฏิบัติงานของผู้เรียนแตกต่างกัน บางครั้งอาจารย์จะต้องไปสอนผู้เรียนทีละคน เพราะปัญหาแต่ละคนอาจจะแตกต่างกันไป อาจารย์จึงต้องอธิบายรายบุคคลเพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจและปฏิบัติได้ 3) การสาธิตในการสอน ผู้สอนจะต้องทำตัวอย่างให้ผู้เรียนดู การทำตัวอย่างจึงจำเป็นต้องมีผู้เรียนน้อย เพราะถ้ามีมากจะทำให้ต้องสาธิตหลายครั้ง ทำให้เวลาเรียนไม่พอ ถ้าสาธิตน้อยครั้งผู้เรียนเห็นไม่ชัดเจนก็ทำให้ไม่สามารถลงมือปฏิบัติได้ด้วยตนเองได้
51
4) การสอนโดยให้ประสบการณ์ตรง ผู้สอนอาจกำหนดให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติงาน ณ สถานประกอบการ เพื่อให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ตรงในการปฏิบัติงาน เช่น ผู้สอนสาขาวิทยุและโทรทัศน์ได้ไปฝึกงานที่สถานีวิทยุหรือโทรทัศน์ ก็จะทำให้ผู้เรียนรู้การปฏิบัติงานจาก
ประสบการณ์ตรง
5) การสร้างสถานการณ์จำลอง บางกรณีวิธีการสอนก็ใช้สถานการณ์จำลอง เพื่อให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติได้ เช่น ผายปอดคนไข้ ผู้เรียนจะเรียนวิธีการผายปอดจากหุ่นคนจำลอง ที่ทำขึ้นมาเป็นอุปกรณ์ให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติ
6) การสอนโดยใช้กรณีศึกษา ผู้สอนอาจจะมอบกรณศึกษาให้ผู้เรียนสังเกต บันทึก เช่น การศึกษาพฤติกรรมของคนไข้ที่เป็นโรคความจำเสื่อม ผู้เรียนจะศึกษาจากการสังเกต การพูดกับผู้ป่วย การซักถามญาติผู้ป่วย และบันทึกข้อมูลจากกรณีที่อาจารย์มอบให้ศึกษา ผู้สอนอาจจะเตรียมการณ์ไว้หลายกรณีเป็นชุดการสอนไว้ เพื่อจะได้นำมาใช้ได้ทันต่อเหตุการณ์
7) การสอนโดยห้องปฏิบัติการ การเรียนสาขาทางวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่มีการให้เรียนในห้องปฏิบัติการด้วย หลังจากที่เรียนทฤษฎีแล้ว ผู้เรียนจะต้องปฏิบัติด้วยตนเอง เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนและเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ ได้ดีขึ้น ส่วนทางสาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ ก็มีห้องปฏิบัติการทางภาษา เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนการออกเสียงและการฟังให้ถูกต้อง
8) การสอนโดยการฝึก บางกรณีผู้เรียนจะต้องฝึกฝนการออกเสียงจากการสอนแบบฝึกหัด เช่น ฝึกการกระโดดสูง ฝึกว่ายน้ำ ฝึกยิงปืน ฝึกวิชาทหาร และฝึกร้องเพลง เล่นดนตรี นาฏศิลป์ วาดรูปและงานศิลปะ ผู้เรียนจะปฏิบัติซ้ำเพื่อให้เกิดความชำนาญ หรือทักษะในด้านนั้นให้ดียิ่งขึ้น โดยผู้สอนต้องช่วยชี้แนะ ดูแล แนะนำ ทำให้ดูและให้ทำซ้ำจนผู้เรียนปฏิบัติได้อย่าง
ถูกต้อง
5.6.2 ข้อดีและข้อด้อย
การสอนภาคปฏิบัติมีข้อดีข้อเด่นและข้อเสีย ดังนี้ (ไพฑูรย์ สินลารัตน์ 2542)
ข้อดีหรือข้อเด่น
1) เป็นการพิสูจน์หลักการ ทฤษฎีและรูปแบบต่าง ๆ
2) เป็นการเชื่อมโยงสิ่งที่สอนและเรียนไปสัมพันธ์กับสภาพจริงและสังคม
3) เป็นการเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์นอกเหนือจากที่สอน
4) เป็นการประยุกต์ใช้สิ่งที่เรียนให้เกิดประโยชน์
5) เป็นการสร้างและพัฒนาสิ่งใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้น
ข้อเสียหรือข้อด้อย
1) การสอนแบบนี้ในบางสาขาของสถาบัน
2) การสอนแบบนี้ต้องมีการเตรียมตัวมากและใช้เวลามาก
52
3) ใช้วิธีการสอนไม่ได้ทุกวิชาที่เสมอไป
4) รูปแบบและวิธีการมีความหลากหลายในการสอนจะเลือกเฉพาะอย่างได้ยาก
เราจะเห็นได้ว่าการสอนแบบภาคปฏิบัติจะสนองต่อจุดมุ่งหมายทางด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) คือมุ่งให้เห็น เข้าใจ สัมผัส และปฏิบัติได้ ดังนั้นรูปแบบการเรียน การสอนเชิงประสบการณ์ จึงเป็นรูปแบบที่เหมาะสมที่จะใช้การสอนภาคปฏิบัติ โดยมุ่งที่จะให้ ผู้เรียนเห็นทำตามและปฏิบัติได้ จึงควรใช้วิธีการฝึกปฏิบัติจะเหมาะสมที่สุด
5.6.3 ขั้นตอนการดำเนินการสอนภาคปฏิบัติ การดำเนินการสอนภาคปฏิบัติ ควรมีขั้นตอนการดำเนินงาน สรุปได้ดังนี้ 1) การเตรียมการสอน ผู้สอนต้องกำหนดจุดมุ่งหมายให้ชัดเจนก่อนว่าจะใช้การสอนนั้นเพื่อประโยชน์อะไร เพราะการดำเนินการจะต้องสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายที่วางไว้ ต่อจากนั้นต้องเตรียมคู่มือ เอกสารประกอบ และเอกสารแนะนำอื่น ๆ เพื่อให้
ผู้เรียนได้เข้าใจเนื้อหาหรือเรื่องราวที่จะทำการฝึก นอกจากนี้ควรเตรียมสถานที่ซึ่งต้องเหมาะสมกับจุดมุ่งหมายเฉพาะของการฝึกปฏิบัตินั้น 2) การดำเนินการในการสอนภาคปฏิบัติ ขั้นแรกต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับ จุดมุ่งหมายและการดำเนินงาน ให้ผู้เรียนเข้าใจตรงกันทุกคนก่อนพร้อมทั้งตรวจสอบ ซักซ้อมว่า
ผู้เรียนได้ศึกษาได้อ่านเอกสารประกอบและเข้าใจในเรื่องที่จะดำเนินการอย่างดีพอและพร้อมพอ เช่น โครงการต่าง ๆ ต้องตรวจสอบว่าดำเนินการตามขั้นตอน และคอย
ตรวจสอบทุกระยะว่า มีการพัฒนาในเรื่องอะไรบ้าง หลักสำคัญของการดำเนินการคือ การทำตาม
ขั้นตอนต่าง ๆ ที่ได้วางไว้ตั้งแต่ต้น และคอยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา
3) การประเมิน การประเมินการสอนแบบฝึกปฏิบัตินั้นจะต้องดูกระบวนการและผลลัพธ์เป็นสำคัญด้วย นั่นคือ ดูว่าผู้เรียนดำเนินการได้ตามขั้นตอนที่วางไว้มากน้อยแค่ไหน เพียงไร และได้ผลงานตามที่ตั้งเป้าหมายไว้มากน้อยเพียงไร ในการประเมินควรจะต้องประเมินร่วมกันทั้งสามฝ่าย คือฝ่ายผู้สอน ผู้เรียน และผู้ดูแลช่วยเหลือการฝึก (ไพฑูรย์ สินลารัตน์, 2542)
5.7 แนวคิดเกี่ยวกับทักษะการปฏิบัติ
Dills และ Romiszowski (1997) ได้อธิบายเกี่ยวกับทฤษฎี การเรียนรู้ และ
การเรียนการสอน ทักษะปฏิบัติสามารถรวบรวมเป็นกลุ่มและหลักการได้ 2 กลุ่ม คือ 1) ทฤษฎีการเรียนรู้ทั่ว ๆ ไป ซึ่งสามารถนำมาใช้อธิบายวิธีการจัดการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติได้
2) แนวคิดหลักการจัดการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติ ดังรายละเอียดดังนี้ทฤษฎีการเรียนรู้ทั่ว ๆ ไป ซึ่งสามารถนำมาใช้อธิบายวิธีการจัดการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติได้ ทฤษฎี
53
การเรียนรู้ที่จะกล่าวในที่นี้ ได้แก่ ทฤษฎีในกลุ่มพฤติกรรมนิยม ทฤษฎีของนักจิตวิทยากลุ่ม
เกสตอลท์ ทฤษฎีประมวลสารสนเทศ แนวคิดทฤษฎีของนักจิตวิทยากลุ่มสาชาไซเบอร์เนติค ทฤษฎีการเรียนรู้ อย่างมีลำดับขั้นตอน และทฤษฎีการเรียนรู้การเชื่อมโยงอย่างต่อเนื่อง ของกานเย่ (Gagne)
โดยสรุปทฤษฎีการเรียนรู้ดังกล่าวมีประเด็นสำคัญ และการนำมาสู่การประยุกต์สอนทักษะปฏิบัติได้ ดังรายละเอียดดังต่อไปนี้
ตาราง ที่ 1 สรุปทฤษฎีการเรียนรู้ที่ใช้ในการจัดประสบการณ์ตรงแก่ผู้เรียน
(Dills and Romiszowski, 1997)
ทฤษฎี
ประเด็นสำคัญ
การประยุกต์สู่การสอนทักษะปฏิบัติ
ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม
1. การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยง สิ่งเร้ากับการตอบสนองที่เหมาะสม
1. ผู้สอนสามารถทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ทักษะปฏิบัติได้ โดยการจัดสภาพการณ์ที่
เหมาะสม คือ สภาพการณ์ที่ใกล้เคียงกับการ
ทำงานในโรงงาน หรือสถานประกอบอาชีพโดยใช้วัสดุอุปกรณ์ที่ใกล้เคียงกับการทำงานในการประกอบอาชีพจริง ๆ
2. การเรียนรู้เกิดได้จากการวางเงื่อนไขและการให้การเสริมแรงแบบต่าง ๆ
2. การเรียนรู้ทักษะปฏิบัติเกิดขึ้นได้เมื่อผู้เรียนได้เห็นแบบอย่างการปฏิบัติงานนั้น ๆ และได้รับการเสริมแรงภายหลังจากที่ผู้เรียนมี พฤติกรรมเลียนแบบอย่างนั้น
3. การเรียนรู้จะเกิดได้ดีและมีการจดจำได้นานเมื่อผู้เรียนได้มีโอกาสได้ทำพฤติกรรมนั้นซ้ำ ๆ หลาย ๆ ครั้ง
3. ผู้สอนสามารถทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติได้ดี และความคงทนของการเรียนรู้สูง เมื่อผู้สอนเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ฝึกทำงานทักษะปฏิบัตินั้นซ้ำ ๆ หลาย ๆ ครั้ง
54
ทฤษฎี
ประเด็นสำคัญ
การประยุกต์สู่การสอนทักษะปฏิบัติ
ทฤษฎีของ
นักจิตวิทยา
เกสตอล์ท
1. ประสิทธิภาพของการเรียนรู้อยู่กับธรรมชาติของการเรียนรู้ส่วนบุคคล
1. การสอนทักษะปฏิบัติ จะให้ความสำคัญกับการกระทำรายบุคคลมากกว่าการทำงานเป็นกลุ่ม ดังนั้นผู้สอนจะต้องจัดสภาพการเรียนการสอนโดยคำนึงถึงความแตกต่างเฉพาะของผู้เรียนเป็นรายบุคคล
2. การเรียนรู้เกิดจากกระบวน การเกี่ยวกับความตั้งใจ ความจำและกระบวนการภายในอื่น ๆ เชื่อมโยงกับการจัดระบบและการให้ความหมายของข่าวสาร
2. ผู้สอนต้องให้ความสนใจกับวิธีการเสนอเทคนิค การจัดระบบข้อมูลให้กับผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความคิด
รวบยอดเกี่ยวกับการทำงาน
ทฤษฎีของ
นักจิตวิทยา สาขาไซ –เบอร์เนติก
การให้ผลย้อนกลับมีอิทธิพล
การฝึกฝนการทำงานทักษะปฏิบัติได้รับข้อมูลย้อนกลับเป็นระยะ ๆ จะทำให้ผู้เรียนเกิดความชำนาญในการทำงาน ดังนั้น ผู้สอนจะต้องจัด
กิจกรรมให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนงานที่ได้รับการสอนโดยครูจะต้องจัดการให้ข้อมูลย้อนกลับเป็นระยะ และฝึกให้ผู้เรียนรู้จักการสังเกตและให้ผล
ย้อนกลับด้วยตนเองเพื่อนำไปปรับปรุงการทำงานในครั้งต่อไปจนสามารถ ทำงานได้อย่างชำนาญ
ทฤษฎีการเรียนรู้อย่าง
มีลำดับขั้น
การทำงานที่เป็นทักษะชั้นสูง ต้องเกิดจากการได้เรียนรู้
การทำงานทักษะพื้นฐานแล้ว
รู้จักเลือกเอาทักษะพื้นฐานที่
รู้แล้วมาปรับเพื่อการทำงานในทักษะขั้นสูงต่อไป
ในการสอนทักษะปฏิบัติ ผู้สอนต้องวิเคราะห์งาน โดยแตกรายละเอียดของงานที่จะให้เรียนปฏิบัติออกเป็นงานทักษะย่อย แล้วเรียงลำดับงานทักษะย่อยที่ง่ายก่อน และการประเมินผลการปฏิบัติทักษะย่อยของผู้เรียนยังไม่ประสบผลสำเร็จ ให้ผู้เรียนกลับไปฝึกใหม่จนประสบผลสำเร็จก่อน
55
ทฤษฎี
ประเด็นสำคัญ
การประยุกต์สู่การสอนทักษะปฏิบัติ
ทฤษฎีการเรียนรู้ของ
Gange
ทักษะการเคลื่อนไหวประกอบตามขั้นตอนลำดับต่อเนื่องในแต่ละขั้นตอน
ต้องใช้ทักษะย่อยเป็นจำนวนมาก การเรียนรู้ทักษะการเคลื่อนไหวจะเกิดขึ้นได้ง่ายและรวดเร็วเมื่อองค์ประกอบทักษะรวมเป็นสิ่งที่ผู้เรียนได้เรียนรู้แล้วเป็นอย่างดี
ในการสอนทักษะปฏิบัติ ผู้สอนต้องวิเคราะห์
งานย่อยและเรียงลำดับงานย่อยเหล่านั้นตามลำดับ
ขั้นตอน ในขณะสอนจะต้องสอนให้งานมีความสัมพันธ์สอดคล้องกับความรู้งานเดิมที่ผู้เรียนมีอยู่ และผู้สอนควรตรวจสอบระดับความรู้พื้นฐานที่
ผู้เรียนมีอยู่ก่อนทำการสอน
Hammick (1995) ได้ให้หลักการจัดดำเนินการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติ และการได้รู้ถึงความสำคัญ หรือประโยชน์ของสิ่งที่เรียน ก่อนจะทำให้ผู้เรียนเกิดความสนใจและกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ในการทำงานต่อไป ดังนั้น ผู้สอนจึงควรชี้แจงให้ผู้เรียนรู้ถึงความสำคัญและประโยชน์ที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนก่อนที่จะลงมือสอน
1) การเรียนรู้ทักษะที่เกิดขึ้นได้ดีเมื่อผู้เรียนได้เห็นแบบอย่าง และได้รับการ
เสริมแรงภายหลังผู้เรียนมีพฤติกรรมเลียนแบบแบบอย่างนั้น และได้กระทำซ้ำ ๆ หลาย ๆ ครั้ง (ทฤษฎีนักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยม) ดังนั้นผู้สอนจะสามารถสอนงานทักษะปฏิบัติได้โดยแสดง แบบอย่างให้ผู้เรียนดูและปฏิบัติตามและปล่อยให้ผู้เรียนมีโอกาสได้ฝึกฝนการทำงานด้วยตนเอง ซ้ำ ๆ หลาย ๆ ครั้ง
2) การฝึกฝนโดยได้รับผลย้อนกลับเป็นระยะ ๆ จะทำให้ผู้เรียนเกิดความชำนาญในการทำงาน ดังนั้นผู้สอนจะต้องจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนงานที่ได้รับการสอน โดยผู้สอนจะต้องจัดการให้ข้อมูลย้อนกลับเป็นระยะ ๆ และฝึกให้ผู้เรียนรู้จักการสังเกตและได้ผลย้อนกลับด้วยตนเอง 3) ความสามารถในการเรียนรู้ ทักษะปฏิบัติของผู้เรียนจะเกิดขึ้นได้เมื่อผู้เรียนได้ฝึกฝนทักษะนั้นอย่างเพียงพอ และจะมีการพัฒนาการถึงขั้นสามารถแสดงทักษะปฏิบัตินั้น
ได้โดยอัตโนมัติ
4) การฝึกทักษะปฏิบัติจะต้องได้รับการพัฒนาและฝึกฝนไปทีละน้อยโดยอาศัยเวลาทักษะที่ดีไม่อาจฝึกฝนให้เกิดได้ด้วยเวลาอันสั้น
Gagne (1970) (อ้างใน Jackson, 1989) ได้อธิบายว่าการเรียนรู้ของผู้เรียนจะเกิดขึ้นได้เป็นอย่างดีนั้น จะต้องจัดสภาพการเรียนการสอนตามลำดับขั้น ซึ่งมี 9 ขั้นคือ
56
1. ขั้นการสร้างความตั้งใจ ในขั้นนี้จะเป็นขั้นการของระบบการเรียนการสอนในขั้นนี้จะมีสถานการณ์ หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ช่วยสร้างความตั้งใจและความสนใจให้แก่ผู้เรียนได้ เช่น
การเปลี่ยนสิ่งเร้าซึ่งอาจใช้คำถามทำให้ผู้เรียนเกิดความอยากรู้อยากเห็น
2. ขั้นการแจ้งวัตถุประสงค์ให้ผู้เรียนทราบ เมื่อสร้างความตั้งใจให้เกิดขึ้นแก่ตัวผู้เรียนแล้ว ก็ถึงขั้นการแจ้งวัตถุประสงค์ในการเรียนครั้งนั้นให้ผู้เรียนทราบ เพื่อผู้เรียนจะได้รู้ว่าเขาทำอะไรได้
3. ขั้นการส่งเสริมการระลึกพื้นฐานความรู้เดิม ในขั้นนี้ผู้สอนควรจะได้เชื่อมโยงความรู้ใหม่ให้เข้ากับความรู้เดิม ให้ได้โดยให้ผู้เรียนระลึกถึงกฎเกณฑ์และสิ่งต่าง ๆ มาเกี่ยวโยงกัน
4. ขั้นการเสนอบทเรียนใหม่เพื่อกระตุ้น เมื่อเห็นว่าผู้เรียนสามารถที่จะเชื่อมโยงความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ได้แล้วก็รับเสนอบทเรียนใหม่เลย ในการเสนอ บทเรียนใหม่ควรมีสื่อวัสดุการเรียนเพื่อเป็นสิ่งเร้าสื่อหรือวัสดุการเรียนการสอน ที่ใช้ขึ้นอยู่กับลักษณะของเนื้อหาวิชา
5. ขั้นการจัดแนวทางเพื่อการเรียนรู้ เป็นขั้นการแนะแนว หรือชี้แนวทางให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์
6. ขั้นการก่อให้เกิดการปฏิบัติ การก่อให้เกิดการปฏิบัติงานโดยใช้ความสามารถที่มีอยู่ภายใน บางครั้งผู้เรียนจะต้องหน้าดำคร่ำเครียด หรือหน้านิ่วคิ้วขมวด เพราะทำไม่ได้ดังใจ หรือบางครั้งจะยิ้มเพราะเคยเห็นตัวอย่างมาแล้ว 7. ขั้นการแจ้งผลการปฏิบัติ การแจ้งผลการปฏิบัติงานของผู้เรียนให้เขาได้ทราบ จะเป็นการช่วยให้เขาได้รู้สิ่งบกพร่องที่เขาควรจะแก้ไขปรับปรุงได้ถูกต้อง เพื่อให้เกิดการเรียนรู้เต็มที่
การแจ้งผลการปฏิบัติควรจะแจ้งทันที่ทีผู้เรียนทำงานเสร็จ
8. ขั้นการประเมินผลการปฏิบัติงาน ในขั้นนี้เป็นการประเมินผลการปฏิบัติงานของ
ผู้เรียน เพื่อจะได้ทราบว่าได้ผลการเรียนรู้ตามที่ต้องการหรือไม่เพียงใด นี้ 9. ขั้นการเสริมความแม่นยำและการถ่ายโยง ในขั้นผู้สอนจะทำการเสริมความแม่นยำให้เกิดขึ้นแก่ผู้เรียน อีกทั้งจะช่วยให้ผู้เรียนได้รู้จักถ่ายโยงความรู้นั้นไปใช้กับสิ่งต่าง ๆ ได้
การวัดทักษะการปฏิบัติ สามารถแยกออกเป็น 3 ระยะ คือ ระดับพฤติกรรม (Behavior) ระดับผลลัพธ์ (Outcome) และระดับประสิทธิผล (Effectiveness) (Chapman, 1986)
ระดับพฤติกรรม หมายถึง การวัด หรือการสังเกตจากพฤติกรรมในขณะปฏิบัติงาน
ระดับผลลัพธ์ หมายถึง การวัดผลของพฤติกรรมในกระบวนการทำงาน
ระดับประสิทธิผล หมายถึง การวัดประสิทธิภาพของงานให้ตรงกับวัตถุประสงค์ ของงาน
57
6. ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
งานวิจัยในต่างประเทศ
งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนเชิงประสบการณ์ที่เสริมสร้างทักษะการทำงานเป็นทีมและการแก้ปัญหาในต่างประเทศ มีดังนี้ Henry , J (1977) ศึกษาเรื่อง การจัดอบรมพิเศษและการจัดโรงงาน ผลการวิจัยพบว่า วิธีการเรียนรู้เชิงประสบการณ์โดยการใช้กิจกรรมเป็นหลักดีกว่าวิธีการเรียนการสอนแบบเดิมซึ่งมีลักษณะเป็นท่องจำจากทฤษฎีโดยเฉพาะวิธีการสอนของอาจารย์ที่ใช้วิธีการบรรยายและ การอภิปราย แต่การเรียนรู้โดยผ่านประสบการณ์ นักศึกษาได้ประจักษ์และเห็นถึงความสัมพันธ์ใน แนวทางของวิถีชีวิตของแต่ละบุคคลได้เรียนรู้ถึงกระบวนการทำงาน การฝึกการเป็นผู้นำ ผู้ตาม ฝึกความสามารถในการเสาะแสวงหาข้อมูล ฝึกการคิดวิเคราะห์แก้ปัญหาร่วมกับผู้อื่น
Ewert, Alan (1991) ศึกษาเรื่องการพัฒนากลุ่มผ่านการศึกษาเชิงประสบการณ์ ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนากลุ่มผ่านการศึกษาเชิงประสบการณ์สามารถพัฒนาผู้เรียนได้ 4 ด้าน คือ
พัฒนาการสื่อสารแบบเปิด การทำงานเป็นทีม การจัดการ และการแก้ปัญหา ซึ่งช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจว่าจะต้องทำอย่างไรบ้างจึงจะทำงานได้ประสบความสำเร็จ
Eisner, E. W. (1993) ศึกษาเรื่องการสร้างรูปแบบการประเมินการศึกษา: ดัชนีที่ เกี่ยวกับการปฏิบัติ ผลการวิจัยพบว่า การเรียนรู้ที่เกิดจากการเรียนผ่านประสบการณ์สามารถช่วยให้ผู้เรียนทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ช่วยให้นักศึกษาเข้าใจกระบวนการเรียนการสอนทั้งกระบวนการไม่ใช่เพียงบางส่วนและสามารถเลือกการตอบสนองกลับได้หลากหลายวิธี นอกจากนี้เป็นการฝึกความสามารถในการแก้ปัญหาและทักษะการตีความ
Jakson (1989) ศึกษาเรื่องผลประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียนเชิงประสบการณ์ตามการรับรู้ของนักศึกษาผลการวิจัยพบว่า การเข้าร่วมกิจกรรมนอกชั้นเรียนของนักศึกษา นักศึกษาได้ฝึกทักษะการอยู่ร่วมกัน ทักษะการทำงานเป็นทีม ทักษะการแก้ปัญหา ทักษะการเป็นผู้นำ และฝึกความไว้ใจซึ่งกันและกัน
งานวิจัยในประเทศ
กนกอร ชาวเวียง (2538) ศึกษาผลของการใช้กรณีศึกษาในการสอนภาคปฏิบัติวิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช ที่มีต่อความรู้เจตคติต่อการดูแลผู้ป่วยจิตเวชของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ชั้นปีที่ 3 จำนวน 34 คน โดยกลุ่มทดลองจะได้รับการฝึกดังนี้ ขั้นที่ 1 ให้ศึกษาวิดีทัศน์กรณีศึกษา ขั้นที่ 2 ผู้สอนใช้คำถามกระตุ้นให้ผู้เรียนมีการคิดวิเคราะห์ วิจารณ์ในกรณีศึกษา ขั้นที่ 3 ผู้เรียนร่วมกันสรุปถึงความรู้ที่ได้รับจากการศึกษา
58
ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการสอนตามปกติโดยใช้วิดีทัศน์ที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับการพยาบาลจิตเวชพบว่า ความรู้และเจตคติต่อการดูแลผู้ป่วยจิตเวชของนักศึกษาพยาบาลหลังใช้กรณีศึกษาในการสอนสูงกว่าก่อนใช้กรณีศึกษาในการสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และนักศึกษาพยาบาลที่ผ่านการใช้กรณีศึกษาในการสอนมีความรู้และเจตคติต่อการดูแลผู้ป่วยจิตเวชสูงกว่านักศึกษาพยาบาลที่ผ่านการสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
จิรภรณ์ วสุวัต (2540)
ศึกษาเรื่องการพัฒนาโปรแกรมการส่งเสริมจริยธรรมทางสังคมของเด็กวัยอนุบาล ตามแนวคิดคอนสตาร์คติวิส โดยใช้การจุดประสบการณ์แบบโครงการผลการวิจัยมีดังต่อไปนี้ คือ (1) หลักการทดลองใช้โปรแกรมฯ กลุ่ทดลองมีคะแนนจริยธรรมทางสังคมด้านกลวิธีการเจรจา
เพื่อหาข้อตกลงร่วมกันระดับ 2 สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (2) หลังการทดลองใช้โปรแกรมฯ กลุ่มทดลองมีคะแนนจริยธรรมทางสังคมด้านการให้การรับ
ประสบการณ์ร่วมกันระดับ 2 สูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
(3) หลังการทดลองใช้โปรแกรมฯ กลุ่มทดลองมีคะแนนจริยธรรมทางสังคมด้านกลวิธีการเจรจาเพื่อหาข้อตกลงร่วมกันระดับ 2 สูงกว่าก่อนการทดลองใช้โปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (4) หลังการทดลองใช้โปรแกรมฯ กลุ่มทดลองมีคะแนนจริยธรรมทางสังคมด้านการให้และการรับประสบการณ์ร่วมกันระดับ 2 สูงกว่าก่อนการทดลองใช้โปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (5) ผลการสัมภาษณ์ชีวิตในชั้นเรียนของกลุ่มทดลองสะท้อนให้เห็นถึงบรรยากาศในชั้นเรียนที่ส่งเสริมจริยธรรมทางสังคมสูงกว่ากลุ่มควบคุม และ (6) ผู้ประเมิน
ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าโปรแกรมฯ มีความเหมาะสมระดับมากที่สุด
โปรแกรมฯ ที่ปรับปรุงแล้ว จะนำเสนอประกอบด้วยหลักการของโปรแกรมฯ
วัตถุประสงค์ กลุ่มเป้าหมาย สาระสำคัญของโปรแกรมฯ การดำเนินกิจกรรมในโปรแกรมฯ
และการประเมินผลการดำเนินกิจกรรมในโปรแกรมฯ แบ่งเป็น 4 ระยะคือ (1) ระยะเตรียมการ
วางแผนเข้าสู่โครงการ (2) ระยะเริ่มต้นโครงการ (3) ระยะพัฒนาโครงการ (4) ระยะสรุปและอภิปรายผลโครงการ
วัฒนา มัคคสมัน (2539)
วิจัยเรื่องการพัฒนรูปแบบการเรียนการสอนตามหลักการสอนแบบโครงการเพื่อเสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเองของเด็กวัยอนุบาลพบว่า การจัดประสบการณ์แบบโครงการเป็นรูปแบบการสอนที่มุ่งการให้ความสำคัญกับความต้องการและความสนใจของผู้เรียน โดยผู้เรียนจะเป็นผู้มีบทบาทในการเลือกเรื่องที่จะเรียน เลือกวิธีการที่จะศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง และมีผู้สอนที่ยอมรับความคิดเห็นของผู้เรียน แสดงให้ผู้เรียนเห็นว่า ผู้สอนให้ความสนใจ เชื่อมั่นในความคิดของผู้เรียน และให้โอกาสผู้เรียนที่จะเรียนรู้ตามความคิดและวิธีการของตนเอง
59
เปรมวดี คฤหเดช (2540)
ศึกษาเรื่องการพัฒนาชุดฝึกอบรมเชิงประสบการณ์เพื่อพัฒนาการทำงานเป็นทีมสำหรับนักศึกษาพยาบาล ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษามีความเข้าใจในการทำงานทีม มีทักษะในการทำงานเป็นทีม มีกระบวนการทำงานร่วมกันเป็นทีม มีผลการปฏิบัติในการแก้ปัญหาร่วมกันเป็นทีม และมีความพึงพอใจในการทำงานเป็นทีมภายหลังการฝึกอบรมดีกว่าก่อนการฝึกอบรม
ธนพร แย้มสุดา (2542)
วิจัยเรื่องการพัฒนาระบบการเรียนการสอนทางพยาบาลศาสตร์ที่เน้นการเรียนรู้ทางปัญญาสังคมโดยใช้พอร์ทโฟลิโอ ผลการวิจัยพบว่า ระบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น สามารถพัฒนาความสามารถของนักศึกษาพยาบาลด้วยการให้นักศึกษากำหนดจุดมุ่งหมายในการเรียนรู้ การเรียนรู้ด้วยตนเองและกลุ่ม การสะท้อนแนวคิดในกระบวนการเรียนรู้และการสร้างผลงาน และพัฒนาพอร์ทโฟลิโอเพื่อการประเมินกระบวนการเรียนรู้และความสามารถที่แท้จริงจากผลงาน นอกจากนี้ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาพยาบาลกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในด้านทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ คุณลักษณะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ทักษะในการปฏิบัติการทำงานอย่างเป็นระบบและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ภายหลังการสอบสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างเป็นนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่มีการรับรู้สมรรถนะแห่งตนไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ภายหลังการสอบนักศึกษาพยาบาลกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในด้านทักษะ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ คุณลักษณะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ การทำงานอย่างเป็นระบบ และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนสูงกว่าก่อนการสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
7. การพัฒนารูปแบบ
ลักษณะที่เป็นสาระสำคัญของรูปแบบคือ โครงสร้าง ซึ่งนำเสนอขึ้นเพื่อใช้ในการสืบค้นความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ
Chapman (1986) ได้ให้นิยามของโมเดลว่า เป็นระบบสัญลักษณ์ที่อ้างถึงความมี นัยสำคัญของโครงสร้างหนึ่งหรือระบบซึ่งก่อให้เกิดการหาความเห็นพ้องต้องกันที่ชัดเจนจากการพิจารณาจากจุดใหญ่ไปสู่จุดเล็ก คุณค่าของรูปแบบอยู่ในความตรงตามเนื้อหา ซึ่งสามารถจะ ตีความได้หลายอย่างและบ่งชี้ให้เห็นความคล้ายคลึงที่มิได้คาดหมายมาก่อน คุณค่านี้ปรากฏใน
สารบบ ความสามารถซึ่งสรุปจากจุดใหญ่ไปสู่จุดย่อยของรูปแบบ เพื่อให้ผลที่มิได้คาดหวังไว้
ล่วงหน้าอาจทำนายและทดสอบได้โดยการสังเกตผลการทดลอง
รูปแบบจะมีคุณประโยชน์ต้องเป็นไปตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
1. รูปแบบนำไปสู่การทำนายผลที่สามารถจะพิสูจน์ได้โดยการสังเกต
60
2. โครงสร้างของรูปแบบควรจะแสดงถึงขบวนการที่ให้เป็นเหตุผลอันสัมพันธ์กับเรื่องที่กำลังวิจัยอยู่
3. รูปแบบที่ดำเนินการอธิบายและก่อให้เกิดจินตนาการในการสร้างมโนทัศน์หรือความสัมพันธ์ใหม่ ๆ อันเป็นผลจากการวิจัย
4. รูปแบบควรมีความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างมากกว่าจะมีความสัมพันธ์เชิง ความสัมพันธ์
คีฟส์ (Keeves)สรุปว่า รูปแบบนั้นจำเป็นจะต้องชัดเจนและมีนิยามความหมาย รูปแบบอาจจะสร้างขึ้นมาทดสอบได้ และอาจจะมีการสร้างใหม่ในกระบวนการวิจัย รูปแบบสามารถสัมพันธ์กับทฤษฎีและอาจจะเกิดมาจากทฤษฎี แต่ในเชิงมโนทัศน์แตกต่างจากทฤษฎี เพราะ
รูปแบบมีลักษณะเป็นรูปแบบ (Keeves, 1997)
การทดสอบรูปแบบในการพัฒนาการศึกษาปัจจุบันเน้นในการสร้างและพัฒนารูปแบบ
ต่าง ๆ เพื่อพัฒนาประสบการณ์ทางการศึกษา ความจำเป็นในการทดสอบรูปแบบโดยการหา
หลักฐานในการทดสอบรูปแบบทางสังคมและพฤติกรรมศาสตร์ เน้นการใช้การทดสอบทางสถิติเพื่อหานัยสำคัญ โดยมิได้นึกถึงความคงเส้นคงวาและกระบวนของผลมากนัก (Pillement, 1990) นอกจากนั้นในปัจจุบันการวิจัยทางการศึกษายังเน้นเรื่องของความแข็งแกร่งของความสัมพันธ์
มากกว่าความน่าจะเป็นที่ความสัมพันธ์นั้นจะเกิดขึ้น (Mohr, 1990) คีฟส์ได้เน้นว่าการสร้างรูปแบบควรจะต้องมีการทดสอบรูปแบบโดยข้อมูลเชิงประจักษ์และการทดสอบนั้นจะต้องข้ามกาลเทศะ กระบวนการสร้างและทดสอบรูปแบบประกอบการสร้าง การเก็บข้อมูล และการทดสอบในฐานะที่เป็นพฤติกรรมและบูรณาการร่วมเป็นหนึ่งเดียวในครั้งนี้ การทดสอบรูปแบบ ถือว่าเป็นการหาความตรงของรูปแบบที่เสนอขึ้นนั่นเอง
ประเภทของโมเดล (Keeves, 1997) ได้แยกประเภทของรูปแบบไว้ทั้งสิ้น 4 ประเภท คือ
1. รูปแบบเสมือน (Analogue Model)
2. รูปแบบเชิงความหมาย (Semantic Model)
3. รูปแบบระบบ (Schematic Model)
4. รูปแบบคณิตศาสตร์ (Mathematical Model)
ในการวิจัยเรื่องนี้จะเป็นการสร้างรูปแบบประเภท Semantic Model หรือ รูปแบบทางภาษา ในการปฏิบัติจริงขอกล่าวเฉพาะลักษณะของรูปแบบนี้โดยละเอียด ลักษณะหลักของรูปแบบเชิงความหมาย (Semantic Model)คือ รูปแบบนี้แสดงในรูปของภาษา แบ่งเป็นการใช้หลักภาษาต่าง ๆ กัน หรือใช้คำที่เป็นคำหลัก ขั้นตอนและวิธีการ
61
แยกประเภทของศัพท์ต่าง ๆ เป็นสารบบ นั่นคือ การสร้างมโนทัศน์ Conceptual Analogue ของเรื่องที่กำลังศึกษาอยู่มากกว่าที่จะสร้างกายภาพ (Physical Analogue)
รูปแบบเชิงความหมาย (Semantic Model) ใช้กันมากในการวิจัยทางการศึกษา
องค์ประกอบในการพัฒนารูปแบบ
1) ระดับเอกัตบุคคล (Individual) ในระดับนี้ การตรวจสอบอาศัยการจัดกระทำ
2 ประเภท คือ
1.1) การโค้ช (Couching) หมายถึง การออกแบบการพัฒนาและฝึกให้เอกัตบุคคลสามารถปฏิบัติงานได้ตามลักษณะที่กำหนดไว้ในรูปแบบ เช่น การใช้เทคนิค การสอนแบบใหม่ ๆ การนำหลักสูตรต่อเนื่องจากมัธยมศึกษาไปสัมพันธ์กับ หลักสูตรในมหาวิทยาลัยเป็นต้น
1.2) การทำให้ค่านิยมชัดเจน (Values Classification) หมายถึง การจัดกระทำที่มี วัตถุประสงค์ ให้สามารถประเมินและกำหนดค่านิยมของเอกัตบุคคลเกี่ยวกับ กลยุทธ์ในการก่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างโรงเรียนมัธยมศึกษาและมหาวิทยาลัยได้
2) ระดับทีม (Team) ในระดับนี้ การตรวจสอบรูปแบบอาศัยการจัดกระทำ 2 ประเภท คือ
2.1) การพัฒนาระหว่างองค์กร (Interorganizational Development) หมายถึงการจัดกระทำให้กลุ่ม 2 กลุ่ม หรือองค์กร 2 องค์กร ทำงานร่วมกันเพื่อสร้างและรักษาความสัมพันธ์ในการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
2.2) การฝึกการปฏบัติหน้าที่โดยการแลกเปลี่ยนกัน (Cross-Functional Training) หมายถึง การจัดกระทำที่มีแผนให้เอกัตบุคคล หรือกลุ่มต่าง ๆ มีความรู้ที่จำเป็นในการปฏิบัติร่วมกับหน่วยงานหรือองค์อื่น
3) ระดับองค์กร (Organization) ในระดับนี้ การตรวจสอบรูปแบบอาศัยการจัดกระทำ 2ประเภท คือ
3.1) การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม ( Culture Transformation) หมายถึง การจัดกระทำที่ ออกแบบให้มีการเปลี่ยนข้อตกลงเบื้องต้น (Assumptions) เกี่ยวกับวิธีการที่ “ถูก” หรือ “ผิด” ในการปฏิบัติงาน
3.2 การวางรูปแบบงานใหม่ (Work Redesign) หมายถึง การจัดกระทำที่ทำให้การทำงานเปลี่ยนแปลงไป
62
8. แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการวิเคราะห์องค์ประกอบ
ในการพัฒนาตัวบ่งชี้นั้นสามารถสังเคราะห์ตัวแปรได้โดยอาศัยข้อมูลเชิงประจักษ์ แล้วนำ
มาจัดกลุ่มตัวแปรโดยใช้หลักการทางสถิติ คือ การวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor Analysis)
การวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor Analysis) หรือการวิเคราะห์ปัจจัยเป็นเทคนิคทางสถิติที่ใช้ในการลดปริมาณข้อมูลให้น้อยลง เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจและทำให้ทราบถึงโครงสร้างและแบบแผน กล่าวคือ เมื่อผู้วิจัยมีจำนวนตัวแปรหลายตัว และมีความไม่สะดวกในการที่จะใช้ตัวแปร จำนวนมากดังกล่าวมาวิเคราะห์ เทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบจะลดจำนวนตัวแปรเหล่านั้นให้เหลือน้อยลง และสามารถเลือกเอาเฉพาะบางตัวแปรไปอธิบายสิ่งต่าง ๆ ได้ โดยอาศัยโครงสร้างและแบบแผนของความสัมพันธ์ที่มีอยู่ในข้อมูลหรือระหว่างตัวแปร และเมื่อจำนวนตัวแปรน้อยลง ก็ทำให้ง่ายต่อการเข้าใจและทุ่นแรงงานไปได้มาก (นงลักษณ์ วิรัชชัย, 2542)
ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์องค์ประกอบ
องค์ประกอบ (Factor) อาจให้คำจำกัดความได้ต่างกัน (อุทุมพร จามรมาน, 2532) ดังนี้ คือ
1. ในทางคณิตศาสตร์ องค์ประกอบ คือ แบบ หรือมิติในอวกาศที่บอกความสัมพันธ์ของ สัญลักษณ์
2. ในทางทฤษฎี องค์ประกอบ คือ แกน หรือมิติในอวกาศที่บอกความสัมพันธ์และ
สัญลักษณ์
3. ในทางประจักษ์ องค์ประกอบ คือ ผลการจัดกลุ่มของสิ่งของ เหตุการณ์ หรือวิธีการที่ได้ออกมาให้เห็นจริง
แนวคิดพื้นฐานของการวิเคราะห์องค์ประกอบ
นงลักษณ์ วิรัชชัย (2542) ได้กล่าวถึงแนวคิดพื้นฐานของการวิเคราะห์องค์ประกอบไว้ว่า การวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ นักวิจัยต้องการศึกษาคุณลักษณะภายในตัวบุคคลที่เป็นตัวแปรแฝง ไม่สามารถสังเกตได้โดยตรง และต้องศึกษาคุณลักษณะดังกล่าวนั้นจากกิจกรรม การแสดงออกของบุคคล โดยการวัดหรือการสังเกตพฤติกรรมเหล่านั้นแทนคุณลักษณะของการศึกษา ในทางปฏิบัติ นักวิจัยจะเก็บรวบรวมข้อมูลได้เป็นตัวแปรสังเกตได้หลายตัว และใช้วิเคราะห์องค์ประกอบมาวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้ได้องค์ประกอบอันเป็นคุณลักษณะของบุคคลที่ต้องการศึกษา กล่าวได้ว่า วิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบเป็นวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติที่นักวิจัยสร้าง
63
องค์ประกอบจากตัวแปรหลาย ๆ ตัวแปร โดยรวมกลุ่มตัวแปรที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์ในองค์ประกอบเดียวกัน และแต่ละองค์ประกอบ คือ ตัวแปรแฝงอันเป็นคุณลักษณะที่นักวิจัยทำการศึกษา
วัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์องค์ประกอบมีอยู่ 2 ประการ คือ ประการแรก เป็นการใช้วิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบเพื่อสำรวจและระบุองค์ประกอบร่วมที่สามารถอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบช่วยให้นักวิจัยลดจำนวนตัวแปรลง และได้องค์ประกอบ ซงทำให้เข้าใจลักษณะของข้อมูลได้ง่าย และสะดวกในการแปลความหมาย รวมทั้งได้ทราบแบบแผน (Pattern) และโครงสร้าง (Structure) ความสัมพันธ์ของข้อมูลด้วย วัตถุประสงค์ประการที่สอง เป็นการใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเพื่อทดสอบสมมุติฐานเกี่ยวกับแบบแผนและ โครงสร้างความสัมพันธ์ของข้อมูล กรณีนี้นักวิจัยต้องมีสมมุติฐานอยู่ก่อนแล้ว และใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเพื่อตรวจสอบว่าข้อมูลเชิงประจักษ์มีความสอดคล้องกลมกลืนกับสมมุติฐานเพียงใด จากวัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์องค์ประกอบดังกล่าว นำไปสู่เป้าหมายของการใช้การวิเคราะห์ องค์ประกอบในฐานะที่เป็นเครื่องมือที่สำคัญสำหรับการวิจัย เช่น นักวิจัยอาจใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเป็นเครื่องมือวัด (Measurement Device) อย่างหนึ่งในการวัดองค์ประกอบ ซึ่งเป็นตัวแปรแฝง โดยการนำผลการวิเคราะห์องค์ประกอบมาสร้างตัวแปรแฝงและนำตัวแปรนี้ไปใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลต่อไป อีกทั้งนักวิจัยอาจใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเป็นเครื่องมือตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้าง (Construct Validity Tool) ของตัวแปรว่า มีโครงสร้างตามนิยามทางทฤษฎี (Constitutive Devfinition) หรือไม่ และสอดคล้องกลมกลืนกับสภาพที่เป็นจริงหรือไม่
เทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบ มีขั้นตอนสำคัญ 2 ขั้นตอน ดังนี้ (อุทุมพร จามรมาน, 2532)
1. การสกัดองค์ประกอบ (Factor Extraction) สามารถทำได้หลายวิธี ในคอมพิวเตอร์
โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS* มีวิธีที่สำคัญ ๆ และนิยมกัน ดังนี้
1) วิธีองค์ประกอบสำคัญ (Principal Component Method, PC or PA1) วิธีการนี้อาศัย
หลักความสัมพันธ์เชิงเส้นระหว่างตัวแปรที่ใช้เป็นข้อมูลองค์ประกอบหลักของตัวแปร คือ การผสมเชิงเส้นของตัวแปรที่อธิบายการผันแปรของข้อมูลได้มากที่สุด จากนั้นหาการผสมที่สองที่สามารถอธิบายการผันแปรได้มากที่สุดเป็นอันดับสอง โดยที่ไม่สัมพันธ์กับการผสมแรก ทำเช่นนี้เรื่อยไป
2) วิธีแกนหลัก (Principal Factor Analysis, PAF or PA2) เป็นเทคนิคเพื่อลดจำนวน
ตัวแปรที่เป็นอิสระต่อกันให้เหลือน้อยลงหรือเพื่อทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับแหล่งความแปรปรวนร่วมสำคัญ โดยเริ่มคำนวณหาองค์ประกอบทีละตัว พิจารณาจากค่าไอเกน และเวคเตอร์ไอเกน เมื่อได้องค์ประกอบตัวที่หนึ่ง นำน้ำหนักองค์ประกอบมาคูณภายใน เพื่อให้ได้เมทริกซ์ที่สัมพันธ์ แล้ว
64
นำไปลบจากเมทริกซ์สหสัมพันธ์เดิม จะได้เมตริกซ์ค่าเหลือ แล้วจึงสกัดองค์ประกอบตัวที่สองจากเมทริกซ์ค่าเหลือ ทำเช่นนี้เรื่อย ๆ ไป จนเมทริกซ์ค่าเหลือมีค่าใกล้ศูนย์
3) วิธีความเป็นไปได้น้อยที่สุด (Maximum Likehood, ML) วัตถุประสงค์นี้ คือ
การหาองค์ประกอบของข้อมูลทั้งหมดของประชากร ซึ่งเมื่อนำไปใช้คำนวณหาเมทริกซ์ค่า
สัมประสิทธิ์แล้ว มีโอกาสมากที่จะได้เมทริกซ์ที่สอดคล้องกับเมทริกซ์ข้อมูล วิธีการนี้ให้สถิติทดสอบไคสแควร์ เพื่อใช้ทดสอบในกรณีที่ใช้ข้อมูลจากตัวอย่าง ขนาด 1,500 ถึง 5,999 ราย ถ้า
ข้อมูลมีมากกว่านี้จะมีปัญหา เพราะไคสแควร์ไม่เหมาะกับตัวอย่างที่มากกว่านี้ เนื่องจากข้อมูลเป็นตัวอย่างซึ่งมีการผันแปรของตัวอย่างเมทริกซ์ที่คำนวณได้จากข้อมูล อาจไม่ตรงกับประชากร จึงต้องใช้ไคสแควร์ทดสอบว่าความแตกต่างที่พบไม่มากจนเกินค่าที่คาดหวังอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
4) วิธีกำลังสองน้อยที่สุดไม่ปรับน้ำหนัก (Unweighted Least Squares, ULS) เป็นวิธีการสกัดองค์ประกอบโดยกำหนดจำนวนไว้ตายตัว และพยายามหาเมทริกซ์แบบแผนขององค์ ประกอบ (Factor Pattern Matrix) ที่ทำให้ผลรวมของความแตกต่างกำลังสองระหว่างเมทริกซ์ความสัมพันธ์ที่สร้างขึ้นใหม่ และเมทริกซ์ความสัมพันธ์เดิมของตัวแปรที่มีค่าน้อยที่สุด
5) วิธีกำลังสองน้อยที่สุดทั่วไป (Generalized Least Squares, GLS) เป็นวิธีการที่ใช้หลักเกณฑ์อย่างเดียวกันกับวิธีการอื่น ๆ ที่นอกเหนือไปจากวิธีองค์ประกอบหลัก เพียงแต่มีการถ่วงน้ำหนักความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรในเชิงปฏิภาคกลับกันกับความเด่นเฉพาะ (Uniqueness) ของตัวแปรนั้น โดยให้ค่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่มีความเด่นเฉพาะมาก มีน้ำหนักน้อยกว่า ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่มีความเด่นเฉพาะตัวต่ำ
6) วิธีอัลฟ่า (Alpha) ใช้หลักเช่นเดียวกับการแยกปัจจัยแบบอื่น ๆ คือ มีการตั้งสมมติฐานไว้ว่า ตัวแปรแต่ละตัวมีส่วนประกอบ 2 ส่วน คือ องค์ประกอบร่วม และองค์ประกอบเฉพาะ แต่ที่แตกต่างจากวิธีการอื่น ๆ คือ แทนที่จะถือว่าจำนวนกรณีที่จะใช้ในการวิเคราะห์เป็นจำนวนตัวอย่าง กลับถือว่า จำนวนตัวแปรนั้นเป็นตัวอย่างของคุณสมบัติของประชากร จึงหาองค์ประกอบที่เป็นตัวแทนของคุณสมบัติของประชากร
7) วิธีภาพพจน์ หรือวิธีเงา (Image) เป็นวิธีซึ่งสมมติว่าตัวแปรแต่ละตัวแบ่งออกเป็น 2 ส่วน สัดส่วนของทั้ง 2 ส่วนนี้คำนวณได้จากการประมาณโดยอาศัยเมทริกซ์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทฤษฎี ซึ่ง กัทแมนเป็นผู้พัฒนา ส่วนที่เป็นส่วนร่วมของตัวแปรคาดประมาณได้จาก ความสัมพันธ์เชิงเส้นของตัวแปรนั้นกับตัวแปรที่เหลือทั้งหมด ส่วนที่เรียกว่าเงาของตัวแปร และส่วนเฉพาะของตัวแปร คือ ส่วนที่ไม่สามารถประมาณได้จากความสัมพันธ์เชิงเส้น กับตัวแปรอื่น ส่วนนี้เรียกว่า ด้านเงา (Anti-Image) ค่าของเงาที่หาได้จะใกล้เคียงกับอัตราการรวมที่แท้จริงหรือไม่ขึ้นอยู่กับว่าตัวแปรที่มีอยู่นั้นแทนประชากรของตัวแปรทั้งหมดได้หรือไม่ ถ้าเรามีตัวแปรทุกตัว ค่า กำลังสองของเงาของตัวแปรจะเท่ากับอัตราส่วนความเท่ากันของตัวแปร และถ้ากำลังสองของส่วนที่ด้านเงาของตัวแปรจะเท่ากับค่าผันแปรของปัจจัยเฉพาะ
65
ในการสกัดองค์ประกอบ มักจะพยายามที่จะให้ได้ความแปรปรวนมากที่สุดสำหรับองค์ ประกอบแต่ละตัว หลังจากที่สกัดองค์ประกอบร่วมของตัวแปรต่าง ๆ ได้แล้ว ก็จะทราบว่าตัวแปรใดมีองค์ประกอบร่วมกับตัวแปรใด โดยดูจากเมทริกซ์น้ำหนักองค์ประกอบ ซึ่งชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบแต่ละตัวกับตัวแปรต่าง ๆ เหล่านั้น องค์ประกอบที่สกัดได้ด้วยการหมุนแกน ในบางครั้งก็ยากแก่การอ่านและการตีความ วัตถุประสงค์ที่สำคัญประการหนึ่งของการ วิเคราะห์องค์ประกอบก็คือ การหาองค์ประกอบที่มีความหมาย องค์ประกอบที่ได้จะมีความหมาย ชัดเจนก็ต่อเมื่อประกอบด้วยตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กันมากที่สุด และมีน้ำหนักมากต่อองค์ประกอบหนึ่งเป็นพิเศษ
การหมุนแกนองค์ประกอบ (Factor Rotation) หลังจากสกัดตัวแปร มักพบว่า องค์ประกอบ แรกที่หาได้จะอธิบายความแปรปรวนร่วมระหว่างตัวแปรได้มากกว่าองค์ประกอบตัวต่อมาตามลำดับ องค์ประกอบที่สองจะอธิบายความแปรปรวนที่เหลือจาการอธิบายด้วยองค์ประกอบ 2 ตัวแรก เช่นนี้เรื่อยไป จากผลการสกัดองค์ประกอบในบางครั้งพบความสลับซับซ้อนขององค์ประกอบ ในกรณีที่องค์ประกอบตัวหนึ่งมีน้ำหนัก (Factor Loading) บนองค์ประกอบ 1 ตัว ยิ่งมีความสลับ ซับซ้อนขององค์ประกอบมากเท่าใด ความยุ่งยากในการแปลความหมายขององค์ประกอบและตัวแปรก็มากเท่านั้น ดังนั้นจึงต้องลดความสลับซับซ้อนของตัวแปรให้ต่ำลง เพื่อตัวแปรแต่ละตัวจะได้มีน้ำหนักบนองค์ประกอบเพียงตัวเดียว ซึ่งการลดความซับซ้อนของตัวแปรลงทำได้โดยการหมุนแกนนั่นเอง
ลักษณะการหมุนแกน ที่ใช้กันทั่วไปมี 2 แบบ คือ (อุทุมพร จามรมาน, 2532)
1. การหมุนแกนแบบออโธกอนอล (Orthogonal) เป็นการให้แกนองค์ประกอบตั้งฉากกัน
มีลักษณะที่สำคัญดังนี้
1.1 ผลคูณภายในของน้ำหนักองค์ประกอบเป็นศูนย์
1.2 คะแนนองค์ประกอบเป็นอิสระเชิงเส้นตรงและไม่สัมพันธ์กัน นั่นคือเมทริกซ์
สหสัมพันธ์ขององค์ประกอบ คือ ไอเดนติตี้เมทริกซ์ (Identity Matrix)
1.3 ลำดับขององค์ประกอบที่หมุนแกนแล้ว อาจแตกต่างจากที่ยังไม่ได้หมุนแกน
1.4 ผลคูณภายในเมทริกซ์องค์ประกอบที่หมุนแกนแล้ว มีค่าเท่ากับผลคูณภายใน
ของเมทริกซ์องค์ประกอบที่ยังไม่ได้หมุนแกน
การหมุนแกนแบบออโธกอนอล มีเทคนิคที่สำคัญ คือ
1. วิธีควาติแมกซ์ (Quartimax) เป็นการลดความซับซ้อนเชิงองค์ประกอบขององค์
ประกอบของตัวแปรให้น้อยลงที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยการทำน้ำหนักองค์ประกอบให้มีค่า
66
ปานกลาง แล้วลดจำนวนตัวแปรลง ซึ่งเป็นวิธีที่ทำให้ได้องค์ประกอบทั่วไป (เป็นวิธีลดจำนวน องค์ประกอบให้น้อยลง)
2. วิธีวาริแมกซ์ (Varimax) เป็นวิธีที่ทำให้ค่าความแปรปรวนของน้ำหนักมาสร้างองค์ ประกอบสูงสุด โดยพิจารณาเฉพาะตัวแปรที่มีน้ำหนักสูงเท่านั้น (เป็นวิธีลดจำนวนตัวแปรลง)
3. วิธีอิควาแมกซ์ (Equamax) เป็นวิธีผสมผสานระหว่างวิธีวาริแมกซ์กับอิควาแมกซ์ เป็นการลดทั้งจำนวนตัวแปรและจำนวนองค์ประกอบ
สรุปความแตกต่างทั้ง 3 วิธีได้ ดังแสดงในตาราง ดังนี้
ตารางที่ 2 สรุปความแตกต่างของการหมุนแกนออโธกอนอล (Orthogonal)
(อุทุมพร จามรมาน, 2532)
การหมุนแกนแบบอิสระ (Orthogonal)
ความแตกต่าง
Varimax
ทำค่าความแปรปรวนของน้ำหนักระหว่างตัวแปรให้สูงสุด พิจารณา
เฉพาะตัวแปรที่มีน้ำหนักสูงเท่านั้น (ลดจำนวนตัวแปร)
Quartimax
ทำน้ำหนักองค์ประกอบให้มีค่าสูงปานกลาง และลดจำนวนองค์ประกอบลง วิธีนี้ทำให้ได้องค์ประกอบทั่วไป (ลดจำนวนองค์ประกอบ)
Equamax
เป็นวิธีประนีประนอมระหว่าง Varimax กับ Quartimax (ลดทั้งจำนวน
ตัวแปรและองค์ประกอบ)
2. การหมุนแกนแบบออบลีค (Oblique) เป็นการหมุนแกนโดยที่แกนองค์ประกอบไม่ต้องตั้งฉาก เพราะในความเป็นจริง องค์ประกอบอาจมีความสัมพันธ์กันก็ได้ ซึ่งจะทำให้ผลที่ได้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากกว่า ลักษณะการหมุนแกนแบบออบลีค มีดังนี้ คือ
1) คะแนนองค์ประกอบมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
2) มีเมทริกซ์ใหม่ที่แยกออกจากกัน คือ เมทริกซ์โครงสร้างองค์ประกอบกับ
เมทริกซ์แบบแผนองค์ประกอบ
3) น้ำหนักองค์ประกอบมีความหมาย คือ สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรกับองค์ประกอบในเมทริกซ์แบบแผนของแกนอ้างอิง
67
4) น้ำหนักขององค์ประกอบมีความหมาย คือ สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรกับองค์ประกอบในเมทริกซ์แบบแผนของแกนอ้างอิง
5) ค่าความร่วมกันไม่สามารถคำนวณจากน้ำหนักในองค์ประกอบได้โดยตรง
6) ไม่สามารถคำนวณความแปรปรวนอันหนึ่งมาจากองค์ประกอบได้โดยตรง
การหมุนแกนแบบออบลีค มี 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ วิธีการหมุนแกนที่อาศัยแกน
อ้างอิง (Reference Axis) และวิธีการหมุนแกนที่อาศัยเมทริกซ์แบบแผน (Factor Pattern)
1) แบบควาติมิน
2) แบบโควาริมิน หรือไบควาติมิน (Covaarimin or Biquartimin)
3) แบบออบลิมิน (Oblimin)
บทที่ 3
วิธีดำเนินการวิจัย
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจและพัฒนา โดยใช้แบบสอบถามผู้บริหารและอาจารย์ในสถาบันวิชาชีพประกอบอาหารและผู้บริหารสถานประกอบการ โดยมีกระบวนการวิจัย ดังนี้
1. ประชากร
ประชากรแบ่งเป็น 2 ประเภท รวม 518 ราย ดังนี้
1.1 ผู้บริหารสถาบันวิชาชีพการประกอบอาหารในประเทศไทย ได้แก่
สถาบันศิลปศาสตร์การอาหาร
ผู้บริหาร 64 คน
ครู/อาจารย์ 112 คน
รวม 176 คน
1.2 สถานประกอบการเบเกอรี่ขนาดใหญ่ทั่วราชอาณาจักร ซึ่งอยู่ในกลุ่มชมรมฯ
ได้แก่ ผประกอบการ จำนวน 342 คน จำแนกตามภูมิภาค ดังนี้
ภาคเหนือ 36 คน
ภาคกลาง 54 คน
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 46 คน
ภาคใต้ 79 คน
กรุงเทพฯ 127 คน
รวม 342 คน
2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามในลักษณะแบบพิจารณาตัดสิน
องค์ประกอบที่เหมาะสมของการบริหารสถาบันวิชาชีพการประกอบอาหาร โดยอาศัย
ความร่วมมือร่วมใจเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้จากประสบการณ์ ซึ่งผู้วิจัยได้พัฒนาด้วยตนเองจาก
หลักการ ทฤษฎีและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ที่ปรากฏในกรอบแนวคิดของการวิจัย
71
แบบสอบถามมีลักษณะเป็นเครื่องมือพิจารณาตัดสินความเหมาะสมขององค์ประกอบรูปแบบการบริหารสถาบันวิชาชีพการประกอบอาหาร โดยอาศัยความร่วมมือร่วมใจเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง เครื่องมือนี้ประกอบด้วย คำแนะนำ และ คำถาม 2 ตอน
ตอนที่ 1 เกี่ยวกับภูมิหลังของผู้ตอบ ด้านอายุ เพศ การศึกษา ประสบการณ์ ตำแหน่งงาน
และสังกัด รวมทั้งสิ้น 8 ข้อ
ตอนที่ 2 ผู้วิจัยนำหลักการและทฤษฎีในกรอบแนวคิดของการวิจัยมาพัฒนาเครื่องมือ
ตัดสิน 5 กลุ่มตัวแปร รวม 40 ข้อ ดังนี้
1. การบริหารสถาบันการศึกษาแบบทวิภาคีกับสถานประกอบการ 10 ข้อ
2. การบริหารโดยอาศัยความร่วมมือร่วมใจแบบทวิภาคี 4 ข้อ
3. การเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง 10 ข้อ
4. ยุทธศาสตร์ในการบริหารความร่วมมือแบบทวิภาคีในหลักสูตร
การสอน 9 ข้อ
5. วิชาชีพผู้ประกอบอาหาร 7 ข้อ
การตรวจสอบเครื่องมือ
ผู้วิจัยได้นำเครื่องมือที่พัฒนาขั้นต้นไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์ทางด้านคหกรรมศาสตร์ การริหารการศึกษา และการสอนโดยประสบการณ์ตรง ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา
7 ท่าน ดังนี้
1. ดร. สุนันทา สุวรรณศิลป์
รองผู้อำนวยการ วิทยาลัยบรมราชชนนี ราชบุรี
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ปานจิต โรจนวณิชชากร
สถาบันราชภัฏราชนครินทร์
3. อาจารย์เพียงพร กันหารี
ศูนย์อบรมสาธารณสุขมูลฐานภาคกลาง
4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สมชาย พรหมสุวรรณ
สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทวีศักดิ์ จงประดับเกียรติ์
สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
6. อาจารย์นิตยา คมธรรม
สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
7. อาจารย์วิมล สุเสวี
สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
72
ผลการตรวจสอบ ผู้ทรงคุณวุฒิมีความเห็นสอดคล้องกันว่า ครบถ้วน ถูกต้องดีแล้ว มีเพียงการแก้ไข สำนวนบ้างเล็กน้อยเท่านั้น จึงถือว่าเป็นความตรงตามเนื้อหา (Content Validity) โดยอาศัยการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ
การเก็บข้อมูล
ผู้วิจัยดำเนินการเก็บข้อมูลด้วยตนเองใน 4 ลักษณะ คือ
1. ด้วยตนเอง
2. ทางโทรสาร
3. ทางไปรษณีย์
4. e-mail
จากการส่งแบบพิจารณาตัดสินไปยังประชากรทั้งหมด 524 ฉบับ ได้รับกลับคืนมาเป็น
แบบสอบถามที่สมบูรณ์ 518 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 98.9 ของประชากร
การวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูลโดย SPSS-x ดังนี้
1. ข้อมูลภูมิหลัง แสดงสถิติบรรยายในรูปจำนวนและร้อยละ
2. ข้อมูลการพิจารณาตัดสินเกี่ยวกับองค์ประกอบของรูปแบบการบริหารสถาบันวิชาชีพ
การประกอบอาหาร โดยอาศัยความร่วมมือ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง จะแสดงในรูปค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พร้อมทั้งแปลผลค่าเฉลี่ยโดยใช้เกณฑ์ดังนี้
- ค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 1.00 – 1.50 หมายถึง เหมาะสมน้อยที่สุด
- ค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 1.51 – 2.50 หมายถึง เหมาะสมน้อย
- ค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 2.51– 3.50 หมายถึง เหมาะสมปานกลาง
- ค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 3.51 – 4.50 หมายถึง เหมาะสมมาก
- ค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 4.51 – 5.00 หมายถึง เหมาะสมมากที่สุด
3. การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยองค์ประกอบของรูปแบบการบริหารสถาบันวิชาชีพการ
ประกอบอาหาร โดยอาศัยความร่วมมือเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง จำแนกตามภูมิหลัง 4 ตัวแปร คือ
3.1 ระยะเวลาการฝึกฝนในวิชาชีพการประกอบอาหาร
3.2 ประสบการณ์ในการทำงานในวิชาชีพการประกอบอาหาร
3.3 ประสบการณ์ในการสอนวิชาชีพการประกอบอาหาร
3.4 สังกัด
73
4. การวิเคราะห์ตัวประกอบ (Factor Analysis)
ผู้วิจัยลดทอนตัวแปรองค์ประกอบของการบริหารฯ ในแบบพิจารณาตัดสิน โดยการ
วิเคราะห์ตัวประกอบ แบบ orthogonal และหมุนแกนแบบ varimax
5. การพัฒนารูปแบบการบริหารสถาบันวิชาชีพการประกอบอาหาร โดยอาศัยความ
ร่วมมือร่วมใจเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้จากประสบการณ์
ผู้วิจัยสกัดประเด็นหลัก อันเป็นข้อสรุปจากการเปรียบเทียบการพิจารณาตัดสินระหว่างกลุ่ม ตามภูมิหลังที่ต่างกัน และผลการลดทอนตัวแปรองค์ประกอบของรูปแบบการบริหารจากแบบสอบถาม 40 ข้อ ให้ได้ตัวประกอบตามข้อมูลเชิงประจักษ์ อันเป็นความเห็นร่วมของประชากรในการวิจัยครั้งนี้
สรุปขั้นตอนในการดำเนินการวิจัย
ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาเอกสารเกี่ยวกับเรื่องต่อไปนี้
1.1) การบริหารสถาบันการศึกษา
1.2) การจัดกลุ่มสถาบันการศึกษาเพื่อความร่วมมือ
1.3) การบริหารโดยอาศัยความร่วมมือร่วมใจ
1.4) การเรียนรู้จากประสบการณ์
1.5) การพัฒนารูปแบบ
ขั้นตอนที่ 2 สร้างเครื่องมือวิจัย โดยผู้วิจัยจะนำกรอบแนวคิดมากำหนดประเด็นคำถาม
เพื่อสร้างแบบสอบถาม
ขั้นตอนที่ 3 นำเครื่องมือไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา และปรับปรุง
แก้ไขตามข้อเสนอแนะเพื่อให้ได้เครื่องมือที่มีคุณภาพ
ขั้นตอนที่ 4 ดำเนินการเก็บรวมรวบข้อมูล โดยการส่งแบบสอบถามไปยังประชากร ทั้งหมด และเก็บข้อมูลกลับคืนมาด้วยตัวผู้วิจัยเอง จัดส่งทางไปรษณีย์ โทรสารและ e-mail
ขั้นตอนที่ 5 วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS โดยนำเสนอค่าสถิติบรรยาย และจัดกลุ่มองค์ประกอบโดยการวิเคราะห์ตัวประกอบ (Factor Amalysis)
ขั้นตอนที่ 6 พัฒนารูปแบบการบริหารสถาบันวิชาชีพการประกอบอาหารโดยอาศัย ความร่วมมือร่วมใจ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้จากประสบการณ์
บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
การวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบการบริหารสถาบันวิชาชีพการประกอบอาหาร โดยอาศัยความร่วมมือร่วมใจเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง โดยได้ส่งแบบสอบถามไปยัง ผู้บริหารและอาจารย์ในสถาบันวิชาชีพประกอบอาหาร และผู้บริหารสถานประกอบการ ซึ่งเป็นกลุ่มประชากรทั้งหมด 524 คน และได้รับแบบสอบถามกลับคืนมา โดยเป็นแบบสอบถามที่สมบูรณ์จำนวน 518 คน คิดเป็นร้อยละ 98.9 ของประชากร
การวิเคราะห์ข้อมูลนี้จะนำเสนอข้อมูลตามลำดับดังต่อไปนี้
1. ข้อมูลภูมิหลัง จะแสดงในรูปจำนวนและร้อยละ
2. ข้อมูลความคิดเห็น องค์ประกอบของรูปแบบการบริหารสถาบันวิชาชีพ
การประกอบอาหาร โดยอาศัยความร่วมมือ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง จะแสดงในรูปค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พร้อมทั้งแปลผลค่าเฉลี่ยโดยใช้เกณฑ์ดังนี้
- ค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 1.00 – 1.50 หมายถึง เหมาะสมน้อยที่สุด
- ค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 1.51 – 2.50 หมายถึง เหมาะสมน้อย
- ค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 2.51 – 3.50 หมายถึง เหมาะสมปานกลาง
- ค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 3.51 – 4.50 หมายถึง เหมาะสมมาก
- ค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 4.51 – 5.00 หมายถึง เหมาะสมมากที่สุด
3. การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยองค์ประกอบของรูปแบบการบริหารสถาบันวิชาชีพการ
ประกอบอาหาร โดยอาศัยความร่วมมือเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง จำแนกตามภูมิหลัง 4 ตัวแปร คือ
3.1 ระยะเวลาการฝึกฝนในวิชาชีพการประกอบอาหาร
3.2 ประสบการณ์ในการทำงานในวิชาชีพการประกอบอาหาร
3.3 ประสบการณ์ในการสอนวิชาชีพการประกอบอาหาร
3.4 สังกัด
4. การวิเคราะห์ตัวประกอบ (Factor Analysis)
5. การพัฒนารูปแบบการบริหารสถาบันวิชาชีพการประกอบอาหาร โดยอาศัยความ
ร่วมมือร่วมใจเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง
77
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้
1. ข้อมูลภูมิหลัง ดังแสดงในตารางที่ 1
ตารางที่ 1.1 แสดงภูมิหลังของผู้ตอบแบบสอบถาม
ภูมิหลัง
จำนวน
ร้อยละ
1. อายุ
1.1 น้อยกว่า 30 ปี
167
32.2
1.2 31 – 40 ปี
200
38.6
1.3 41 – 50 ปี
115
22.3
1.4 มากกว่า 50 ปี
36
6.9
2. เพศ
2.1 ชาย
164
31.7
2.2 หญิง
354
68.3
3. การศึกษาสูงสุด
3.1 ไม่ตอบ
7
1.4
3.2 ประกาศนียบัตร
46
8.9
3.3 ประกาศนียบัตรชั้นสูงหรืออนุปริญญา
60
11.6
3.4 ปริญญาตรี
335
64.7
3.5 ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (สูงกว่าปริญญาตรี)
40
7.7
3.6 ปริญญาโทหรือสูงกว่า
30
5.8
4. ระยะเวลาการฝึกฝนในวิชาชีพการประกอบอาหาร
4.1 ไม่ได้ฝึกฝน
223
43.1
4.2 1 – 5 ปี
153
29.5
4.3 6 – 10 ปี
73
14.1
4.4 มากกว่า 10 ปี
69
13.3
5. ประสบการณ์ในการทำงานในวิชาชีพการประกอบอาหาร
5.1 ไม่มีประสบการณ์
182
35.1
5.2 1 – 5 ปี
163
31.5
5.3 6 – 10 ปี
114
22.0
5.4 มากกว่า 10 ปี
59
11.4
78
ตารางที่ 1.1 แสดงภูมิหลังของผู้ตอบแบบสอบถาม (ต่อ)
ภูมิหลัง
จำนวน
ร้อยละ
7. ตำแหน่งปัจจุบัน
7.1 ผู้บริหาร
64
12.4
7.2 ครู / อาจารย์
112
21.6
7.3 ผู้ประกอบการ
314
60.6
7.4 ไม่ตอบ
28
5.4
8. สังกัด
8.1 สถาบันศิลปศาสตร์การอาหาร
40
7.7
8.2 สถานประกอบการภาคเหนือ
36
6.9
8.3 สถานประกอบการภาคกลาง
55
10.6
8.4 สถานประกอบการภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
48
9.3
8.5 สถานประกอบการภาคใต้
76
14.7
8.6 สถานประกอบการในกรุงเทพมหานคร
263
50.8
รวม
518
100.0
ตารางที่ 1 แสดงว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีภูมิหลัง ดังนี้
1. อายุ ส่วนใหญ่มีอายุอยู่ระหว่าง 31-40 ปี จำนวน 200 คน คิดเป็นร้อยละ 38.6 รองลงมามีอายุน้อยกว่า 30 ปี จำนวน 167 คน คิดเป็นร้อยละ 32.2
2. เพศ ส่วนใหญ่เป็นหญิง จำนวน 354 คน คิดเป็นร้อยละ 68.3 และชาย จำนวน
164 คน คิดเป็นร้อยละ 31.7
3. การศึกษา ส่วนใหญ่มีวุฒิทางการศึกษาในระดับปริญญาตรี จำนวน 335 คน คิดเป็น
ร้อยละ64.7 รองลงมามีวุฒิทางการศึกษาอยู่ในระดับประกาศนียบัตรชั้นสูง หรืออนุปริญญา จำนวน 60 คน คิดเป็นร้อยละ 11.6
4. ระยะเวลาการฝึกฝนในวิชาชีพการประกอบอาหาร ส่วนใหญ่ไม่ได้รับการฝึกฝนมา
จำนวน 223 คน คิดเป็นร้อยละ 43.1 รองลงมาได้รับการฝึกฝนในวิชาชีพการประกอบอาหาร 1-5 ปี จำนวน 153 คน คิดเป็นร้อยละ 29.5
5. ประสบการณ์ในการทำงานในวิชาชีพการประกอบอาหาร ส่วนใหญ่ไม่มี
ประสบการณ์ในการทำงานในวิชาชีพการประกอบอาหาร จำนวน 182 คน คิดเป็นร้อยละ 35.1 รองลงมามีประสบการณ์ 1-5 ปี จำนวน 163 คน คิดเป็นร้อยละ 31.5
79
6. ประสบการณ์ในการสอนวิชาชีพการประกอบอาหาร ส่วนใหญ่ไม่มีประสบการณ์ในการสอนวิชาชีพการประกอบอาหาร จำนวน 386 คน คิดเป็นร้อยละ 74.5 รองลงมามีประสบการณ์ 1-5 ปี จำนวน 60 คน คิดเป็นร้อยละ 11.6
7. ตำแหน่งปัจจุบัน ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการ จำนวน 314 คน คิดเป็นร้อยละ 60.6
รองลงมาเป็นครู/อาจารย์ จำนวน 112 คน คิดเป็นร้อยละ 21.6
8. สังกัด ส่วนใหญ่สังกัดอยู่ในสถานประกอบการในกรุงเทพมหานคร จำนวน 263 คน
คิดเป็นร้อยละ 50.8 รองลงมาสังกัดในสถานประกอบการภาคใต้ จำนวน 76 คน คิดเป็นร้อยละ 14.7
2. ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน องค์ประกอบของรูปแบบการบริหารสถาบัน
วิชาชีพการประกอบอาหาร โดยอาศัยความร่วมมือเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้จากประสบการณ์
ดังแสดงในตารางที่ 2.1 – 2.5
ตารางที่ 2.1 ความคิดเห็นการบริหารสถาบันวิชาชีพการประกอบอาหารเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้จาก
ประสบการณ์ตรง ด้านการบริหารสถาบันการศึกษาแบบทวิภาคีกับสถานประกอบการ
รายการ
X
S.D
แปลผล
อันดับ
ก. การบริหารสถาบันการศึกษาแบบ
ทวิภาคีกับสถานประกอบการ
1. ร่วมกันพัฒนาจุดมุ่งหมายของการ
จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาวิชาชีพ
การประกอบอาหาร
3.97
0.62
มาก
1
2. สร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน เพื่อพัฒนา
ประสบการณ์ตรงแก่ผู้เรียน
3.88
0.61
มาก
4
3. นำกรณีศึกษาจากปัญหาการ
ปฏิบัติการมาใช้ในการสอนทั้งใน
สถาบันและสถานประกอบการ
3.87
0.67
มาก
4
4. พัฒนาโครงสร้างในการตัดสินใจ
ร่วมกัน
3.78
0.68
มาก
7
5. นำภูมิปัญญาท้องถิ่นของแต่ละภาค
ภูมิศาสตร์มาใช้ในการวัด
ประสบการณ์ตรงแก่ผู้เรียน
3.90
0.74
มาก
2
6. มีการดำเนินการต่อเนื่องของ
ทวิภาคี อย่างน้อย 1 ปีหรือมากกว่า
3.78
0.76
มาก
9
7. พัฒนาระบบการสื่อสารระหว่าง
สถาบันสถานประกอบการและ ผู้เรียน
3.90
0.74
มาก
2
8. กำหนดระยะเวลาในการฝึก
ประสบการณ์ตรงให้เพียงพอ
ต่อการทำงานจริงโดยผู้เรียน
3.83
0.77
มาก
6
ม
ตารางที่ 2.1 ความคิดเห็นการบริหารสถาบันวิชาชีพการประกอบอาหารเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้จาก
ประสบการณ์ตรง ด้านการบริหารสถาบันการศึกษาแบบทวิภาคีกับสถานประกอบการ (ต่อ)
รายการ
X
S.D
แปลผล
อันดับ
9. ร่วมกันจัด แลกเปลี่ยนทรัพยากรทั้ง
งบประมาณ บุคลากร สถานที่และองค์ควา
3.78
0.75
มาก
5
10. ดำเนินการพัฒนาวิชาชีพร่วมกัน
3.84
0.72
มาก
5
รวมเฉลี่ย
3.86
0.74
มาก
ตารางที่ 2.1 แสดงว่า ค่าเฉลี่ยความคิดเห็นองค์ประกอบการบริหารสถาบันวิชาชีพการ
ประกอบอาหาร โดยอาศัยความร่วมมือ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง ด้านการบริหาร
สถาบันการศึกษาแบบทวิภาคี กับสถานประกอบการ ในภาพรวมและรายข้อย่อยทุกข้อมีความเหมาะสม
อยู่ในระดับมาก ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 2 อันดับแรก ได้แก่ การร่วมกันพัฒนาจุดมุ่งหมายการจัด
การศึกษาเพื่อพัฒนาวิชาชีพการประกอบอาหาร (X = 3.97) และการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นของแต่ละ
ภาคภูมิศาสตร์มาใช้ในการจัดประสบการณ์ตรงแก่ผู้เรียน (X = 3.90)
ตารางที่ 2.2 ความคิดเห็นการบริหารสถาบันวิชาชีพการประกอบอาหารโดยอาศัยความร่วมมือเพื่อ
ส่งเสริมการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง ด้านการบริหารโดยอาศัยความร่วมมือแบบทวิภาคี
รายการ
X
S.D
แปลผล
อันดับ
ข. การบริหารโดยอาศัยความร่วมมือ
แบบทวิภาคี
11. รูปแบบการปรึกษา คือให้สถาน
ประกอบการสวมบทบาทผู้ให้
คำปรึกษา (Consultant) ในด้าน
หลักสูตรการจัดประสบการณ์ตรง
การประเมินผลและการพัฒนาวิชาชีพฯ
3.90
0.70
มาก
1
12. รูปแบบหน้าที่ คือ ให้สถาน
ประกอบการร่วมปฏิบัติหน้าที่
พัฒนาวิชาชีพแก่ผู้เรียน โดยเป็น
"พี่เลี้ยง" หรือ "ต้นแบบ" ในการ
พัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อวิชาชีพ
โดยการให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติใน
สถานประกอบการระยะหนึ่ง
3.87
0.69
มาก
2
13. รูปแบบปฏิบัติการ คือ ให้สถาน
ประกอบการปฏิบัติต่อผู้เรียนที่มา
ฝึกงานเสมือนหนึ่งเป็น "พนักงาน"
คนหนึ่งในสถานประกอบการ
โดยให้ลงมือปฏิบัติงานและ
รับผิดชอบตาม "ตำแหน่งงาน"
อย่างแท้จริง ทั้งนี้ให้อาจารย์จาก
สถาบันดูแลในฐานะ
"อาจารย์นิเทศ"
3.87
0.70
มาก
3
ตารางที่ 2.2 ความคิดเห็นการบริหารสถาบันวิชาชีพการประกอบอาหารโดยอาศัยความร่วมมือเพื่อ
ส่งเสริมการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง ด้านการบริหารโดยอาศัยความร่วมมือแบบ
ทวิภาคี (ต่อ)
รายการ
X
S.D
แปลผล
อันดับ
14. รูปแบบบูรณาการ คือ ให้สถาน
ประกอบการผสมผสานรูปแบบ
การปรึกษา รูปแบบหน้าที่และ
รูปแบบการปฏิบัติการ โดยการ
ออกแบบการจัดประสบการณ์
ร่วมกัน แต่ละช่วงเวลา ตาม
แนวโน้มของวิชาชีพฯ
3.85
0.67
มาก
4
รวมเฉลี่ย
3.87
0.57
มาก
ตารางที่ 2.2 แสดงว่า ค่าเฉลี่ยความคิดเห็นองค์ประกอบการบริหารสถาบันวิชาชีพ
การประกอบอาหาร โดยอาศัยความร่วมมือเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง ด้านการบริหาร
โดยอาศัยความร่วมมือแบบทวิภาคี ในภาพรวมและรายข้อย่อยทุกข้อมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 2 อันดับแรก ได้แก่ รูปแบบการปรึกษา (X = 3.90) และรูปแบบหน้าที่
(X = 3.87)
ตารางที่ 2.3 ความคิดเห็นการบริหารสถาบันวิชาชีพการประกอบอาหาร โดยอาศัยความร่วมมือเพื่อ
ส่งเสริมการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง ด้านการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง
รายการ
X
S.D
แปลผล
อันดับ
ค. การเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง
15. การสร้างประสบการณ์โดยการลงมือ
ปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการ
3.88
0.69
มาก
2
16. การสะท้อนโดยไตร่ตรองในสิ่งที่ปฏิบัติ
3.83
0.64
มาก
6
17. เกิดทักษะการวิเคราะห์ความ
เหมือนความต่างจากประสบการณ์
3.83
0.64
มาก
6
18. เกิดทักษะการสื่อสารกับผู้อื่นด้าน
ค่านิยม ทัศนคติ และความเชื่อ
3.81
0.68
มาก
8
19. ยืนยันทฤษฎีและหลักการที่ศึกษา
จากสถาบัน
3.82
0.69
มาก
7
20. เกิดความเข้าใจมโนทัศน์และศัพท์
หลักในวิชาชีพ
3.85
0.65
มาก
5
21. เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างกรอบ
แนวคิดทางทฤษฎีกับการปฏิบัติ
3.81
0.65
มาก
22. มีความสามารถในการวางแผนเพื่อ
ช่วยให้เข้าใจสิ่งใหม่ ๆ และพัฒนา
องค์ความรู้และทักษะใหม่ในวิชาชีพต่อไป
3.87
0.68
มาก
4
23. หลักสูตรและการสอน ยึดงานเป็นหลัก
(Work-based Learning)
3.90
0.69
มาก
1
ตารางที่ 2.3 ความคิดเห็นการบริหารสถาบันวิชาชีพการประกอบอาหาร โดยอาศัยความร่วมมือเพื่อ
ส่งเสริมการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง ด้านการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง (ต่อ)
รายการ
X
S.D
แปลผล
อันดับ
24. การปลูกฝัง บ่มเพาะความภาคภูมิใจและ
จรรยาบรรณในวิชาชีพการประกอบอาหาร
3.87
0.63
มาก
3
รวมเฉลี่ย
3.85
0.47
มาก
ตารางที่ 2.3 แสดงว่า การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความคิดเห็นองค์ประกอบการบริหาร
สถาบันวิชาชีพการประกอบอาหาร โดยอาศัยความร่วมมือเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง
ด้านการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง ในภาพรวมและรายข้อย่อยทุกข้อมีความเหมาะสมอยู่ในระดับ
มาก ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 2 อันดับแรก ได้แก่ หลักสูตรและการสอน ยึดงานเป็นหลัก (X = 3.90)
และการสร้างประสบการณ์โดยการลงมือปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการ (X = 3.88)
ตารางที่ 2.4 ความคิดเห็นการบริหารสถาบันวิชาชีพการประกอบอาหาร โดยอาศัยความร่วมมือเพื่อ
ส่งเสริมการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง ด้านยุทธศาสตร์ในการบริหารความร่วมมือ
แบบทวิภาคี หลักสูตรการสอน
รายการ
X
S.D
แปลผล
อันดับ
ง. ยุทธศาสตร์ในการบริหารความร่วมมือ
แบบทวิภาคี หลักสูตรการสอน
25. ร่วมพัฒนารายวิชาให้เหมาะสมกับท้องถิ่น
3.82
0.70
มาก
5
26. กำหนดหน่วยกิตเพื่อการฝึกงานใน
สถานประกอบการให้มีสัดส่วนเท่ากับ
การเรียนภาคทฤษฎีในสถาบัน
3.80
0.70
มาก
7
27. ร่วมพัฒนาหลักสูตรให้มีสาระ
สัมพันธ์ (Interrelated Content)
ระหว่างสถาบันกับสถานประกอบการ
3.83
0.68
มาก
4
28. ร่วมพัฒนาหลักสูตรให้มีลักษณะท้องถิ่น
อภิวัฒน์ บนรากฐานของโลกาภิวัฒน์
3.79
0.69
มาก
8
29. ร่วมพัฒนาหลักสูตรโดยเชื่อมโยง
ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ
3.85
0.67
มาก
2
30. ร่วมติดตามประเมินผลผู้เรียน
3.85
0.71
มาก
3
31. ร่วมจัดการเรียนการสอนเพื่อเอื้อต่อการ
ถ่ายโอนระหว่างสถาบันสู่สถานประกอบก
3.87
0.71
มาก
1
32. ร่วมจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยยึด
การปฏิบัติงานของผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
3.78
0.69
มาก
9
33. แลกเปลี่ยนทรัพยากรทางการศึกษา
ระหว่างกัน
3.81
0.69
มาก
6
รวมเฉลี่ย
3.82
0.52
มาก
ตารางที่ 2.4 แสดงว่า การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความคิดเห็นองค์ประกอบการบริหาร
สถาบันวิชาชีพการประกอบอาหาร โดยอาศัยความร่วมมือเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง
ด้านยุทธศาสตร์ในการบริหาร ความร่วมมือแบบทวิภาคี ในการจัดหลักสูตรการสอน ในภาพรวมและ
รายข้อย่อยมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 2 อันดับแรก ได้แก่ การร่วมจัด
การเรียนการสอนเพื่อเอื้อต่อการถ่ายโอนระหว่างสถาบันสู่สถานประกอบการ (X = 3.87) และ
การร่วมพัฒนาหลักสูตร โดยเชื่อมโยงทฤษฎีสู่การปฏิบัติ (X = 3.85)
ป
ตารางที่ 2.5 ความคิดเห็นการบริหารสถาบันวิชาชีพการประกอบอาหาร โดยอาศัยความร่วมมือเพื่อ
ส่งเสริมการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง ด้านวิชาชีพผู้ประกอบอาหาร
รายการ
X
S.D
แปลผล
อันดับ
จ. วิชาชีพผู้ประกอบอาหาร
34. บูรณาการความผูกพันทาง
จรรยาบรรณวิชาชีพร่วมกัน
3.85
0.63
มาก
1
35. ควบคุมและทบทวนประสิทธิภาพ
ซึ่งกันและกัน
3.83
0.69
มาก
4
36. ควบคุมมาตรฐานวิชาชีพในการ
ผลิตบัณฑิตร่วมกัน
3.82
0.69
มาก
6
37. ส่งเสริมสนับสนุนซึ่งกันและกัน
ในการพัฒนาความชำนาญพิเศษ
3.85
0.71
มาก
2
38. ร่วมพัฒนาบทบาทนักวิชาชีพตาม
ลักษณะงาน โดยไม่จำเป็นต้อง
เตรียมบัณฑิตเข้าสู่งานหลังจบการศึกษา
3.82
0.73
มาก
7
39. ร่วมพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่าง
กลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัด
ประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียน
3.83
0.68
มาก
3
40. ทบทวนผลของความร่วมมือทุกสิ้นปี
การศึกษา เพื่อปรับปรุงในปีการศึกษาต่อไ
3.83
0.73
มาก
5
รวมเฉลี่ย
3.84
0.54
มาก
ตารางที่ 2.5 แสดงว่าค่าเฉลี่ยความคิดเห็น องค์ประกอบการบริหารสถาบันวิชาชีพการ
ประกอบอาหาร โดยอาศัยความร่วมมือเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง ด้านวิชาชีพ
ผู้ประกอบอาหาร ในภาพรวมและรายข้อย่อย มีความเหมาสมอยู่ในระดับมาก ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ย
สูงสุด 2 อันดับแรก ได้แก่ การบูรณาการความผูกพันทางจรรยาบรรณวิชาชีพร่วมกัน (X = 3.85)
และการส่งเสริมสนับสนุนซึ่งกันและกันในการพัฒนาความชำนาญพิเศษ (X = 3.85)
า
ป
ตารางที่ 3.1 ความคิดเห็นการบริหารสถาบันวิชาชีพการประกอบอาหารโดยอาศัยความร่วมมือร่วมใจเพื่อส่งเสริม
การเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง ด้านการบริหารสถาบันการศึกษาแบบทวิภาคี กับสถานประกอบการ
จำแนกตามระยะเวลาฝึกฝนวิชาชีพประกอบอาหาร
1)ไม่ได้ฝึกฝน
2) 1-5 ปี
3) 6-10 ปี
4) มากกว่า10
ค่าเอฟี
คู่ที่แตกต่าง
รายการ
X
S.D.
X
S.D.
X
S.D.
X
S.D.
F
ก. การบริหารสถาบันการศึกษาแบบ
ทวิภาคีกับสถานประกอบการ
1. ร่วมกันพัฒนาจุดมุ่งหมายของการ
จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาวิชาชีพ
การประกอบอาหาร
4.13
0.58
3.82
0.63
2.88
0.58
3.91
0.66
9.02*
(1, 2) (1,3)
2. สร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน เพื่อพัฒนา
ประสบการณ์ตรงแก่ผู้เรียน
3.93
0.59
3.80
0.64
3.86
0.58
3.90
0.62
1.56
3. นำกรณีศึกษาจากปัญหาการ
ปฏิบัติการมาใช้ในการสอนทั้งใน
สถาบันและสถานประกอบการ
3.94
0.65
3.79
0.74
3.86
0.56
3.81
0.67
1.54
4. พัฒนาโครงสร้างในการตัดสินใจ
ร่วมกัน
3.86
0.66
3.63
0.74
3.77
0.61
3.87
0.67
3.78*
(1, 2)
5. นำภูมิปัญญาท้องถิ่นของแต่ละภาค
ภูมิศาสตร์มาใช้ในการวัด
ประสบการณ์ตรงแก่ผู้เรียน
4.01
0.74
3.76
0.75
3.9O
0.66
3.86
0.75
3.49*
(1, 2)
6. มีการดำเนินการต่อเนื่องของ
ทวิภาคี อย่างน้อย 1 ปีหรือมากกว่
3.85
0.77
3.56
0.79
3.85
0.66
3.85
0.7O
5.41**
(1, 2)
7. พัฒนาระบบการสื่อสารระหว่าง
สถาบันสถานประกอบการและ
ผู้เรียน
4.02
0.75
3.76
0.71
3.95
0.62
3.80
0.80
4.23**
(1, 2)
8. กำหนดระยะเวลาในการฝึก
ประสบการณ์ตรงให้เพียงพอ
ต่อการทำงานจริงโดยผู้เรียน
3.93
0.79
3.74
0.78
3.84
0.69
3.71
0.75
2.50
ป
ตารางที่ 3.1 ความคิดเห็นการบริหารสถาบันวิชาชีพการประกอบอาหารโดยอาศัยความร่วมมือร่วมใจเพื่อส่งเสริม
การเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง ด้านการบริหารสถาบันการศึกษาแบบทวิภาคี กับสถานประกอบการ
จำแนกตามระยะเวลาฝึกฝนวิชาชีพประกอบอาหาร (ต่อ)
1)ไม่ได้ฝึกฝน
2) 1-5 ปี
3) 6-10 ปี
4) มากกว่า10
ค่าเอฟี
คู่ที่แตกต่าง
รายการ
X
S.D.
X
S.D.
X
S.D.
X
S.D.
F
9. ร่วมกันจัด แลกเปลี่ยนทรัพยากรทั้ง
งบประมาณ บุคลากร สถานที่และ
องค์ความรู้
3.85
0.75
3.63
0.72
3.86
0.73
3.8O
0.8O
3.14*
(1, 2)
10. ดำเนินการพัฒนาวิชาชีพร่วมกัน
3.94
0.69
3.72
0.76
3.84
0.71
3.83
0.69
2.83*
(1, 2)
รวมเฉลี่ย
3.96
0.49
3.73
0.52
3.85
0.41
3.84
0.46
6.58**
(1, 2)
*p < 0.05 **p < 0.01 ตารางที่ 3.1 แสดงว่า การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความคิดเห็นองค์ประกอบการบริหารสถาบันวิชาชีพ การประกอบอาหาร โดยอาศัยความร่วมมือเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง ด้านการบริหารสถาบัน การศึกษาแบบทวิภาคีกับสถานประกอบการ ระหว่างระยะเวลาฝึกฝนในวิชาชีพประกอบอาหาร ในภาพรวมมี ความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติด้วยความเชื่อมั่น 99% (F = 6.58) ส่วนในรายข้อย่อย มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ด้วยความเชื่อมั่น 99% มี 3 ข้อ ได้แก่ ข้อ 1, 6 และ 7 และมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ ด้วยความเชื่อมั่น 95% มี 4 ข้อเช่นกัน ได้แก่ ข้อ 4, 5, 9 และ 10 มีอยู่เพียง 2 ข้อ ที่ไม่มีความแตกต่างกันอย่าง มีนัยสำคัญ ได้แก่ ข้อ 2 และ 8 ป ตารางที่ 3.2 ความคิดเห็นการบริหารสถาบันวิชาชีพการประกอบอาหารโดยอาศัยความร่วมมือร่วมใจเพื่อ ส่งเสริมการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง ด้านการบริหาร โดยอาศัยความร่วมมือแบบทวิภาคี จำแนกตามระยะเวลาฝึกฝนในวิชาชีพประกอบอาหาร 1)ไม่ได้ฝึกฝน 2) 1-5 ปี 3) 6-10 ปี 4) มากกว่า10 ค่าเอฟี คู่ที่แตกต่าง รายการ X S.D. X S.D. X S.D. X S.D. F ข. การบริหารโดยอาศัยความร่วมมือ แบบทวิภาคี 11. รูปแบบการปรึกษา คือให้สถาน ประกอบการสวมบทบาทผู้ให้ คำปรึกษา (Consultant) ในด้าน หลักสูตรการจัดประสบการณ์ตรง การประเมินผลและการพัฒนา วิชาชีพฯ 4.03 0.66 3.79 0.74 3.84 0.67 3.78 0.66 4.87** (1, 2) 12. รูปแบบหน้าที่ คือ ให้สถาน ประกอบการร่วมปฏิบัติหน้าที่ พัฒนาวิชาชีพแก่ผู้เรียน โดยเป็น "พี่เลี้ยง" หรือ "ต้นแบบ" ในการ พัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อวิชาชีพ โดยการให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติใน สถานประกอบการระยะหนึ่ง 4.01 0.65 3.70 0.73 3.89 0.64 3.78 0.68 6.74** (1, 2) 13. รูปแบบปฏิบัติการ คือ ให้สถาน ประกอบการปฏิบัติต่อผู้เรียนที่มา ฝึกงานเสมือนหนึ่งเป็น "พนักงาน" คนหนึ่งในสถานประกอบการ โดยให้ลงมือปฏิบัติงานและ รับผิดชอบตาม "ตำแหน่งงาน" อย่างแท้จริง ทั้งนี้ให้อาจารย์จาก สถาบันดูแลในฐานะ ป "อาจารย์นิเทศ" 4.00 0.67 3.70 0.79 3.88 0.60 3.84 0.61 5.82** (1, 2) ตารางที่ 3.2 ความคิดเห็นการบริหารสถาบันวิชาชีพการประกอบอาหารโดยอาศัยความร่วมมือร่วมใจเพื่อ ส่งเสริมการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง ด้านการบริหาร โดยอาศัยความร่วมมือแบบทวิภาคี จำแนกตามระยะเวลาฝึกฝนในวิชาชีพประกอบอาหาร (ต่อ) 1)ไม่ได้ฝึกฝน 2) 1-5 ปี 3) 6-10 ปี 4) มากกว่า10 ค่าเอฟี คู่ที่แตกต่าง รายการ X S.D. X S.D. X S.D. X S.D. F 14. รูปแบบบูรณาการ คือ ให้สถาน ประกอบการผสมผสานรูปแบบ การปรึกษา รูปแบบหน้าที่และ รูปแบบการปฏิบัติการ โดยการ ออกแบบการจัดประสบการณ์ ร่วมกัน แต่ละช่วงเวลา ตาม แนวโน้มของวิชาชีพฯ 4.01 0.65 3.71 0.7O 3.77 0.61 3.75 0.65 7.66** (1, 2) (1, 4) รวมเฉลี่ย 4.01 0.55 3.72 0.62 3.84 0.58 3.79 0.49 8.75** (1, 2) (1, 4) **p < 0.01 ตารางที่ 3.2 แสดงว่า การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความคิดเห็นองค์ประกอบการบริหารสถาบันวิชาชีพ การประกอบอาหาร โดยอาศัยความร่วมมือเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง ด้านการบริหารโดยอาศัย ความร่วมมือแบบทวิภาคี ระหว่างระยะเวลาการฝึกฝนในวิชาชีพประกอบอาหาร ในภาพรวมมีความแตกต่างอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติ ด้วยความเชื่อมั่น 99% (F = 8.75) ส่วนในรายข้อย่อยทุกข้อมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ ด้วยความเชื่อมั่น 99% เช่นกัน ป ตารางที่ 3.3 ความคิดเห็นการบริหารสถาบันวิชาชีพการประกอบอาหารโดยอาศัยความร่วมมือร่วมใจเพื่อส่งเสริม การเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง ด้านการบริหาร โดยอาศัยความร่วมมือแบบทวิภาคี จำแนกตาม ระยะเวลาฝึกฝนในวิชาชีพประกอบอาหาร 1)ไม่ได้ฝึกฝน 2) 1-5 ปี 3) 6-10 ปี 4) มากกว่า10 ค่าเอฟี คู่ที่แตกต่าง รายการ X S.D. X S.D. X S.D. X S.D. F ค. การเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง 15. การสร้างประสบการณ์โดยการ ลงมือปฏิบัติงานจริงในสถาน ประกอบการ 3.97 0.67 3.80 0.77 3.84 0.65 3.8O 0.61 2.41 16. การสะท้อนโดยไตร่ตรองใน สิ่งที่ปฏิบัติ 3.88 0.65 3.71 0.65 3.89 0.59 3.84 0.58 2.54 17. เกิดทักษะการวิเคราะห์ความ เหมือนความต่างจาก ประสบการณ์ 3.95 0.65 3.69 0.67 3.81 0.57 3.78 0.57 5.45** (1, 2) 18. เกิดทักษะการสื่อสารกับผู้อื่นด้าน ค่านิยม ทัศนคติ และความเชื่อ 3.91 0.68 3.66 0.67 3.9O 0.64 3.74 0.68 4.76** (1, 2) 19. ยืนยันทฤษฎีและหลักการที่ศึกษา จากสถาบัน 3.90 0.69 3.65 0.71 3.92 0.68 3.81 0.62 4.51** (1, 2) 20. เกิดความเข้าใจมโนทัศน์และ ศัพท์หลักในวิชาชีพ 3.98 0.68 3.67 0.71 3.92 0.66 3.80 0.65 6.42** (1, 2) 21. เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างกรอบ แนวคิดทางทฤษฎีกับการปฏิบัติ 3.93 0.69 3.64 0.63 3.79 0.55 3.80 0.58 6.05** (1, 2) 22. มีความสามารถในการวางแผนเพื่อ ช่วยให้เข้าใจสิ่งใหม่ ๆ และพัฒนา องค์ความรู้และทักษะใหม่ใน วิชาชีพต่อไป 3.96 0.65 3.78 0.72 3.89 0.64 3.82 0.65 3.09* (1, 2) * ป 23. หลักสูตรและการสอน ยึดงานเป็น หลัก (Work-based Learning) 4.10 0.63 3.77 0.72 3.86 0.58 3.58 0.72 13.92* (1, 4) (1, 2) ตารางที่ 3.3 ความคิดเห็นการบริหารสถาบันวิชาชีพการประกอบอาหารโดยอาศัยความร่วมมือร่วมใจเพื่อส่งเสริม การเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง ด้านการบริหาร โดยอาศัยความร่วมมือแบบทวิภาคี จำแนกตาม ระยะเวลาฝึกฝนในวิชาชีพประกอบอาหาร (ต่อ) 1)ไม่ได้ฝึกฝน 2) 1-5 ปี 3) 6-10 ปี 4) มากกว่า10 ค่าเอฟี คู่ที่แตกต่าง รายการ X S.D. X S.D. X S.D. X S.D. F 24. การปลูกฝัง บ่มเพาะความ ภาคภูมิใจและจรรยาบรรณใน วิชาชีพการประกอบอาหาร 3.91 0.62 3.74 0.69 3.93 0.56 3.75 0.56 3.41* ไม่มี รวมเฉลี่ย 3.95 0.48 3.71 0.5O 3.87 0.42 3.8O 0.33 8.73** (1, 2) *p < 0.05 **p < 0.01 ตารางที่ 3.3 แสดงว่า การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความคิดเห็นองค์ประกอบการบริหารสถาบันวิชาชีพ การประกอบอาหาร โดยอาศัยความร่วมมือเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง ด้านการเรียนรู้จาก ประสบการณ์ตรง ระหว่างระยะเวลาการฝึกฝนในวิชาชีพประกอบอาหาร ในภาพรวมมีความแตกต่างอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติด้วยความเชื่อมั่น 99% (F = 8.73) ส่วนในรายข้อย่อย มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติด้วยความเชื่อมั่น 99% มี 5 ข้อ ได้แก่ จ้อ 17, 18, 19, 20, 21 และ 23 และมีความแตกต่างกันอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติด้วยความเชื่อมั่น 95% มี 2 ข้อ ได้แก่ ข้อ 22 และ 24 มีอยู่เพียง 2 ข้อที่ไม่มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ข้อ 15 และ 16 ป ตารางที่ 3.4 ความคิดเห็นการบริหารสถาบันวิชาชีพการประกอบอาหารโดยอาศัยความร่วมมือร่วมใจ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง ด้านยุทธศาสตร์ในการบริหารความร่วมมือ แบบทวิภาคี หลักสูตรการสอน จำแนกตามระยะเวลาฝึกฝนในวิชาชีพประกอบอาหาร 1)ไม่ได้ฝึกฝน 2) 1-5 ปี 3) 6-10 ปี 4) มากกว่า10 ค่าเอฟี คู่ที่แตกต่าง รายการ X S.D. X S.D. X S.D. X S.D. F ง. ยุทธศาสตร์ในการบริหารความ ร่วมมือแบบทวิภาคี หลักสูตร การสอน 25. ร่วมพัฒนารายวิชาให้เหมาะสม กับท้องถิ่น 3.89 0.71 3.74 0.71 3.97 0.71 3.61 0.60 4.57** (1, 4) (3, 4) 26. กำหนดหน่วยกิตเพื่อการฝึกงาน ในสถานประกอบการให้มีสัดส่วน เท่ากับการเรียนภาคทฤษฎีใน สถาบัน 3.87 0.71 3.66 0.72 3.88 0.71 3.76 0.52 3.15* (1, 2) 27. ร่วมพัฒนาหลักสูตรให้มีสาระ สัมพันธ์ (Interrelated Content) ระหว่างสถาบันกับสถาน ประกอบการ 3.94 0.66 3.73 0.77 3.79 0.60 3.70 0.58 3.97** (1, 2) 28. ร่วมพัฒนาหลักสุตรให้มีลักษณะ ท้องถิ่นอภิวัฒน์ บนรากฐานของ โลกาภิวัฒน์ 3.91 0.69 3.65 0.74 3.74 0.58 3.73 0.62 4.70** (1, 2) 29. ร่วมพัฒนาหลักสูตรโดยเชื่อมโยง ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ 3.93 0.69 3.72 0.7O 3.97 0.67 3.75 0.56 4.30** (1, 2) 30. ร่วมติดตามประเมินผลผู้เรียน 3.90 0.73 3.7 0.75 3.94 0.65 3.90 0.61 3.13* ไม่มี * ป 31. ร่วมจัดการเรียนการสอนเพื่อเอื้อ ต่อการถ่ายโอนระหว่างสถาบัน สู่สถานประกอบการ 4.05 0.68 3.66 0.72 3.95 0.64 3.71 0.71 11.18* (2,3) (1,2) (1,4) 32. ร่วมจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยยึดการปฏิบัติงานของผู้เรียน เป็นศูนย์กลาง 3.90 0.69 3.62 0.74 3.85 0.59 3.68 0.61 5.80** (1, 2) ตารางที่ 3.4 ความคิดเห็นการบริหารสถาบันวิชาชีพการประกอบอาหารโดยอาศัยความร่วมมือร่วมใจ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง ด้านยุทธศาสตร์ในการบริหารความร่วมมือ แบบทวิภาคี หลักสูตรการสอน จำแนกตามระยะเวลาฝึกฝนในวิชาชีพประกอบอาหาร (ต่อ) 1)ไม่ได้ฝึกฝน 2) 1-5 ปี 3) 6-10 ปี 4) มากกว่า10 ค่าเอฟี คู่ที่แตกต่าง รายการ X S.D. X S.D. X S.D. X S.D. F 33. แลกเปลี่ยนทรัพยากรทาง การศึกษาระหว่างกัน 3.91 0.68 3.62 0.71 3.89 0.66 3.79 0.66 5.69** (1, 2) รวมเฉลี่ย 3.93 0.53 3.68 0.56 3.88 0.46 3.74 0.38 7.71** (1, 2) *p < 0.05 **p < 0.01 ตารางที่ 3.4 แสดงว่า การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความคิดเห็นองค์ประกอบการบริหารสถาบันวิชาชีพ การประกอบอาหาร โดยอาศัยความร่วมมือเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง ด้านยุทธศาสตร์ในการ บริหารความร่วมมือแบบทวิภาคี หลักสูตรการสอนระหว่างระยะเวลาการฝึกฝนในวิชาชีพประกอบอาหาร ในภาพรวมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ด้วยความเชื่อมั่น 99% (F = 7.71) ส่วนในรายข้อย่อย มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติด้วยความเชื่อมั่น 99% เกือบทุกข้อ มีเพียง 2 ข้อที่มีความแตกต่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติด้วยความเชื่อมั่น 95% ได้แก่ข้อ 26 และ 30 * ป ตารางที่ 3.5 ความคิดเห็นการบริหารสถาบันวิชาชีพการประกอบอาหารโดยอาศัยความร่วมมือร่วมใจ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง ด้านวิชาชีพผู้ประกอบอาหาร จำแนกตามระยะ เวลาฝึกฝนในวิชาชีพประกอบอาหาร 1)ไม่ได้ฝึกฝน 2) 1-5 ปี 3) 6-10 ปี 4) มากกว่า10 ค่าเอฟี คู่ที่แตกต่าง รายการ X S.D. X S.D. X S.D. X S.D. F จ. วิชาชีพผู้ประกอบอาหาร 34. บูรณาการความผูกพันทาง จรรยาบรรณวิชาชีพร่วมกัน 3.91 0.68 3.81 0.70 3.92 0.66 3.71 0.62 2.11 35. ควบคุมและทบทวนประสิทธิภาพ ซึ่งกันและกัน 3.95 0.71 3.68 0.68 3.88 0.62 3.73 0.64 5.28** (1, 2) 36. ควบคุมมาตรฐานวิชาชีพในการ ผลิตบัณฑิตร่วมกัน 3.96 0.67 3.67 0.69 3.77 0.61 3.72 6.22 6.45** (1, 2) 37. ส่งเสริมสนับสนุนซึ่งกันและกัน ในการพัฒนาความชำนาญพิเศษ 3.95 0.71 3.72 0.75 3.86 0.63 3.79 0.70 3.30* (1, 2) 38. ร่วมพัฒนาบทบาทนักวิชาชีพตาม ลักษณะงาน โดยไม่จำเป็นต้อง เตรียมบัณฑิตเข้าสู่งานหลังจบ การศึกษา 3.97 0.71 3.65 0.76 3.76 0.64 3.79 0.72 6.22** (1, 2) 39. ร่วมพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่าง กลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัด ประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียน 4.00 0.69 3.61 0.68 3.82 0.56 3.78 0.67 10.06* (1, 2) 40. ทบทวนผลของความร่วมมือทุก สิ้นปีการศึกษา เพื่อปรับปรุงในปี การศึกษาต่อไป 3.93 0.70 3.66 0.78 3.85 0.71 3.84 0.70 4.10** (1, 2) รวมเฉลี่ย 3.97 0.54 3.69 0.56 3.84 0.47 3.78 0.48 8.01** (1, 2) *p < 0.05 **p < 0.01 ตารางที่ 3.5 แสดงว่า การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความคิดเห็นองค์ประกอบการบริหารสถาบันวิชาชีพ การประกอบอาหาร โดยอาศัยความร่วมมือเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง ด้านวิชาชีพผู้ประกอบอาหา ระหว่างระยะเวลาการฝึกฝนในวิชาชีพประกอบอาหาร ในภาพรวมมีคามแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ด้วยความเชื่อมั่น 99% (F = 0.01) ส่วนในรายข้อย่อย มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติด้วยความ เชื่อมั่น 99% เช่นกันยกเว้นข้อ 34 ที่ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ตารางที่ 6.1 ความคิดเห็นการบริหารสถาบันวิชาชีพการประกอบอาหารโดยอาศัยความร่วมมือเพื่อส่งเสริม การเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงการบริหารสถาบันการศึกษาแบบทวิภาคีกับสถานประกอบการ จำแนกตามสังกัด 1) สถาบัน 2) สถาน 3) สถาน 4) สถาน 5) สถาน 6) สถาน รายการ ศิลปศาสตร์ ประกอบการ ประกอบการ ประกอบการภาค ประกอบการ ปรร ค่าเอฟะกอบกา คู่ที่แตกต่าง ภาคเหนือ ภาคกลาง ตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ กทม. F X S.D. X S.D. X S.D. X S.D. X S.D. X S.D. ก. การบริหารสถาบันการศึกษาแบบ ทวิภาคีกับสถานประกอบการ 1. ร่วมกันพัฒนาจุดมุ่งหมายของการ จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาวิชาชีพ (2,6)(2,3) การประกอบอาหาร 3.75 0.71 3.61 0.49 4.22 0.77 3.82 0.49 3.96 0.34 4.04 0.63 6.94** (1,3)(4,3) 2. สร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน เพื่อพัฒนา (4,6)(3,4)(3,4) ประสบการณ์ตรงแก่ผู้เรียน 3.75 0.67 3.67 0.48 4.22 0.66 3.56 0.74 4.01 0.35 3.87 0.60 8.57** (2,3)(1,3)(3,6) 3. นำกรณีศึกษาจากปัญหาการ ปฏิบัติการมาใช้ในการสอนทั้งใน (4,6)(3,4) สถาบันและสถานประกอบการ 3.80 0.56 3.58 0.55 3.96 0.84 3.50 0.65 4.09 0.40 3.90 0.69 6.63** (4,5)(2,5) 4. พัฒนาโครงสร้างในการตัดสินใจ (4,6)(1,4)(3,4) ร่วมกัน 3.92 0.53 3.50 0.56 4.00 0.77 3.33 0.63 4.00 0.44 3.78 0.72 8.91** (4,5)(2,3)(2,5) 5. นำภูมิปัญญาท้องถิ่นของแต่ละ ภาคภูมิศาสตร์มาใช้ในการวัด (4,6)(3,4) ประสบการณ์ตรงแก่ผู้เรียน 4.05 0.60 3.83 0.65 3.94 0.84 3.42 0.68 4.14 0.56 3.90 0.77 6.54** (1,4)(4,5) 6. มีการดำเนินการต่อเนื่องของ ทวิภาคี อย่างน้อย 1 ปีหรือมากกว่า 4.00 0.55 3.53 0.61 4.02 0.97 3.35 0.60 3.76 0.71 3.78 0.77 5.73** (1,4)(3,4)(4,6) 7. พัฒนาระบบการสื่อสารระหว่าง สถาบันสถานประกอบการและ (1,4)(3,4)(4,5) ผู้เรียน 4.03 0.53 3.75 0.55 4.00 0.90 3.36 0.53 4.16 0.63 3.91 0.76 8.16** (4,6) 8. กำหนดระยะเวลาในการฝึก ประสบการณ์ตรงให้เพียงพอ ต่อการทำงานจริงโดยผู้เรียน 3.85 0.48 3.83 0.65 3.98 รูปแบบการบริหารสถาบันวิชาชีพการประกอบอาหารโดยอาศัยความ ร่วมมือร่วมใจเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง (ตอนที่ 1)
รูปแบบการบริหารสถาบันวิชาชีพการประกอบอาหารโดยอาศัยความ ร่วมมือร่วมใจเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง (ตอนที่ 2)
รูปแบบการบริหารสถาบันวิชาชีพการประกอบอาหารโดยอาศัยความ ร่วมมือร่วมใจเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง (ตอนที่ 3)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น