วันเสาร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2554

วัฒนธรรมโรงเรียนที่ส่งผลต่อบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหาร (ตอนที่ 1)



วัฒนธรรมโรงเรียนที่ส่งผลต่อบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหาร
โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา
จังหวัดนครปฐม
นางมาลี ควรคนึง
วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาการบริหารการศึกษา
ปีการศึกษา 2545
ISBN : 974-373-179-2
ลิขสิทธิ์ของสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
วัฒนธรรมโรงเรียนที่ส่งผลต่อบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหาร
โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา
จังหวัดนครปฐม
บทคัดย่อ
ของ
นางมาลี ควรคนึง
เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัยสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา
ตามหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา
พ.ศ. 2545
วิทยานิพนธ์
เรื่อง
วัฒนธรรมโรงเรียนที่ส่งผลต่อบทบาทที่ปฏิบัติจริงของ
ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา
จังหวัดนครปฐม
ของ
นางมาลี ควรคนึง
ได้รับอนุมัติจากบัณฑิตวิทยาลัยให้นับเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร
ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา
สถาบันราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
..........................................................คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
(รองศาสตราจารย์นันทา วิทวุฒิศักดิ์)
วันที่ ............. เดือน .................................... พ.ศ. 2545
คณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์
...........................................................................ประธาน
(ศาสตราจารย์ ดร.สายหยุด จำปาทอง)
........................................................................... กรรมการ
(ดร.บุญลือ ทองอยู่)
...........................................................................กรรมการ
(ดร.เปรมสุรีย์ เชื่อมทอง)
...........................................................................กรรมการ
(ดร.อรรณพ จีนะวัฒน์)
...........................................................................กรรมการ
(นายทวีศักดิ์ จงประดับเกียรติ)
...........................................................................กรรมการและเลขานุการ
(ผู้ช่วยศาตราจารย์สมชาย พรหมสุวรรณ)
THE EFFECTS OF SCHOOL CULTURE ON THE ROLE
OF SECONDARY SCHOOL PRINCIPALS UNDER
THE DEPARTMENT OF GENERAL EDUCATION
IN NAKHON PATHOM PROVINCE
AN ABSTRACT
BY
MRS.MALEE KHUANKHANUENG
Presented in partial fulfillment of the requirements
For the Master of Education (Educational Administration)
At Rajabhat Institute Bansomdejchaopraya
2002

มาลี ควรคนึง. (2545). วัฒนธรรมโรงเรียนที่ส่งผลต่อบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหาร
โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์
ระดับมหาบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร : บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏ
บ้านสมเด็จเจ้าพระยา . คณะกรรมการควบคุม : ดร.บุญลือ ทองอยู่
ดร.เปรมสุรีย์ เชื่อมทอง ดร.อรรณพ จีนะวัฒน์.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและเปรียบเทียบระดับวัฒนธรรมโรงเรียนและ
ระดับบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัด
นครปฐม 2) ศึกษาวัฒนธรรมโรงเรียนที่ส่งผลต่อบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยม
ศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดนครปฐม
กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารโรงเรียนและครูปฏิบัติการสอนในโรงเรียนมัธยมศึกษา 29
โรงเรียน กำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจากผู้บริหารโรงเรียนจำนวน 29 คนและครูปฏิบัติ
การสอนได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบมีชั้นภูมิจำนวน 326 คน รวมทั้งสิ้น 355 คน เครื่องมือที่ใช้
ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้นเอง ในส่วนที่เกี่ยวกับวัฒนธรรม
โรงเรียนได้ยึดทฤษฎีวัฒนธรรมโรงเรียนตามแนวคิดของแพตเตอร์สัน (Patterson) และบทบาทที่
ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ยึดเนื้อหาจากเกณฑ์มาตรฐาน
การบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ
(Percentage) คา่ เฉลยี่ (x ) คา่ ความเบยี่ งเบนมาตรฐาน (S.D.) การหาคา่ ANOVA คา่ สมั ประสทิ ธิ์
สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s product moment correlation Coefficient) การวิเคราะห์การ
ถดถอยเชิงเส้นอย่างง่าย (Simple linear Regression analysis) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
(Multiple Regression analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับวัฒนธรรมโรงเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาพรวมในโรงเรียนมัธยมศึกษาทุก
ขนาดอยู่ในระดับมาก เมื่อพจิ ารณาเปน็ รายดา้ นพบวา่ อยูใ่ นระดับมาก 8 ดา้ น คอื การยอมรบั นบั ถือ
การมอบอำนาจ ความมีคุณภาพ เป้าหมายของโรงเรียน ความซื่อสัตย์สุจริต ความเอื้ออาทร ความ
หลากหลายของบุคลากรตามลำดับและอยใู่ นระดับปานกลาง 2 ด้าน คือ ความไว้วางใจและการ
ตัดสินใจตามลำดับ
ระดับวัฒนธรรมโรงเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีขนาดต่างกันมีความแตกต่างกันอย่าง
ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าวัฒนธรรมโรงเรียนด้านเป้าหมายของ
โรงเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่มากกว่าในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง และด้าน
ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียนพบว่าในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กมากกว่าในโรงเรียน
มัธยมศึกษาขนาดใหญ่และขนาดกลาง
2. ระดับบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาพรวมในโรงเรียน
มัธยมศึกษาทุกขนาดพบว่าอยู่ในระดับมาก 7 ด้าน คือ ด้านการบริหารงานธุรการ ด้านการบริหาร
งานปกครองนักเรียน ด้านการบริหารทั่วไป ด้านการบริหารงานวิชาการ ด้านการบริหารงานบริการ
ด้านการบริหารงานโรงเรียนกับชุมชนและด้านการบริหารงานอาคารสถานที่ตามลำดับ
ระดับบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มี
ขนาดต่างกันมีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าบทบาท
ที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการบริหารทั่วไปในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาด
ใหญ่มากกว่าในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง ด้านการบริหารงานบริการในโรงเรียนมัธยมศึกษา
ขนาดเล็กมากกว่าในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง ด้านการบริหารงานโรงเรียนกับชุมชนใน
โรงเรียนขนาดเล็กมากกว่าในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง และด้านการบริหารงานอาคาร
สถานที่โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กมากกว่าในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่และขนาดกลาง
3. วัฒนธรรมโรงเรียนที่ส่งผลต่อบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา
ในภาพรวมในโรงเรียนมัธยมศึกษาทุกขนาดมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง (R = 0.87) และมีนัยสำคัญ
ทางสถิติที่ระดับ 0.01 เขียนสมการถดถอยพหุคูณดังนี้
ŷ = 0.49+ 0.17x1+ 0.11x2+ 0.09x3+ 0.19x8+ 0.19x9+ 0.13x10
X1 แทน วัฒนธรรมโรงเรียนด้านเป้าหมายของโรงเรียน
X2 แทน วัฒนธรรมโรงเรียนด้านการมอบอำนาจ
X3 แทน วัฒนธรรมโรงเรียนด้านการตัดสินใจ
X8 แทน วัฒนธรรมโรงเรียนด้านความเอื้ออาทร
X9 แทน วัฒนธรรมโรงเรียนด้านความซื่อสัตย์สุจริต
X10 แทน วัฒนธรรมโรงเรียนด้านความหลากหลายของบุคลากร

Malee Khuankhanueng. (2002). Master thesis, The Effects of School Culture on the role
of Secondary School Principals under the Department of General Education in
Nakhon Pathom Province. Bangkok: Graduate School, Rajabhat Institute
Bansomdejchaopraya. Advisor Committee : Boonlue Tongyoo,Ed.D. ;
Premsuree Chuamthong,Ed.D. ; Annop Jeenawathana,Ed.D.
The purposes of the research were to (1) study and compare the levels of school culture
and practical roles. (2) study the school culture which has effects on the practical roles.
The samplings were secondary school principals and teachers of whom 29 specified
principals and 326 stratified random sampling teachers respectively. The researcher used her own
created questionnaire and Patterson’s questionnaire on school culture. She used the administrative
standard on the practical roles of secondary school principals, Department of General Education.
Statistical analysis was accomplished by percentage, mean, standard deviation, ANOVA,
Pearson’s product moment correlation Coefficient, Simple linear Regression analysis and Multiple
Regression analysis.
Results of the study were found as follow :
1) The level of school culture in all secondary school sizes as a whole was at the high
level when considering individual aspects, it was found that other eight aspects were also at high
which were : acceptance, authorization, being qualified, school goal, honesty, hospitality,
personnel diversification respectively. Two aspects were at moderate level which were
trustworthy and decision making respectively.
It was found that the level of school culture in each size was different at nonstatistical
significance. After studying each aspect, it was found that the school culture in the area of goal
of the big secondary schools was higher than that of the medium secondary schools. The
principals and teachers in small secondary schools had a higher degree of being part of the school
than those in the medium and big schools.

2) The level of the practical roles of principals was at high in 7 administrative aspects
which were administration, disciplines, general administration, academics, services, school and
community, and buildings and land area respectively. The level of practical roles of each size was
at non-statistical significance. The practical roles in the area of general administration in big
secondary schools were higher than those in medium ones. The services were higher in small
secondary schools than the medium ones. In the area of school and community were higher in
small secondary schools than the medium ones. The practical roles of buildings and land were
higher in small secondary schools than the medium and big ones.
3) The school culture which had the effect on the practical roles was high (R = 0.87) at
statistical significance 0.01 and could be written in the multiple regression equation as
ŷ = 0.49 + 0.17x1+ 0.11x2+ 0.09x3+ 0.19x8+ 0.19x9+ 0.13x10
X1 represented the school culture in the aspect of school goal.
X2 represented the school culture in the aspect of authorization.
X3 represented the school culture in the aspect of decision making.
X8 represented the school culture in the aspect of hospitality.
X9 represented the school culture in the aspect of honesty.
X10 represented the school culture in the aspect of diversification.
สารบัญ
หน้า
ประกาศคุณูปการ ค
บทคัดย่อภาษาไทย ง - ฉ
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ ช – ฌ
สารบัญเรื่อง ญ – ฎ
สารบัญตาราง ฏ – บ
สารบัญแผนภาพ ป
บทที่ 1 บทนำ 1
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา 1
วัตถุประสงค์ของการวิจัย 5
ความสำคัญของการวิจัย 5
ขอบเขตของการวิจัย 5
นิยามศัพท์เฉพาะ 7
กรอบความคิดในการวิจัย 10
สมมติฐานในการวิจัย 11
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 12
วัฒนธรรมและวัฒนธรรมโรงเรียน 12
บทบาทการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา 37
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 50
บทที่ 3 วิธีการดำเนินการวิจัย 56
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 56
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล 58
วิธีสร้างเครื่องมือและการหาคุณภาพเครื่องมือ 59
การเก็บรวบรวมข้อมูล 60
การวิเคราะห์ข้อมูล 60
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 62

สารบัญ (ต่อ)
หน้า
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล 63
ตอนที่ 1 การวิเคราะห์สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม 63
ตอนที่ 2 การวิเคราะห์ระดับวัฒนธรรมโรงเรียนและระดับบทบาทที่ปฏิบัติจริง
ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาจำแนกตามขนาดโรงเรียน 65
ตอนที่ 3 การวิเคราะห์เปรียบเทียบวัฒนธรรมโรงเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา
จำแนกตามขนาดโรงเรียน 74
ตอนที่ 4 การวิเคราะห์เปรียบเทียบบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียน
มัธยมศึกษาจำแนกตามขนาดโรงเรียน 79
ตอนที่ 5 การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมโรงเรียนกับบทบาท
ที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา 84
สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูล 137
บทที่ 5 สรุปผลการวิจัย อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ 144
สรุปผลการวิจัย 144
อภิปรายผล 147
ข้อเสนอแนะของการวิจัย 156
ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป 158
บรรณานุกรม 159
ภาคผนวก
ภาคผนวก ก รายนามผู้เชี่ยวชาญ 169
ภาคผนวก ข เอกสารขอความร่วมมือในการวิจัย 171
ภาคผนวก ค แบบสอบถามเพื่อการวิจัย 180
ประวัติผู้วิจัย 209
สารบัญแผนภาพ
หน้า
แผนภาพที่ 1 กรอบความคิดในการวิจัย 11
แผนภาพที่ 2 แสดงวัฒนธรรมองค์การสองระดับ 17
แผนภาพที่ 3 แสดงปัจจัยหรือตัวแปรของบุคคลที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินงาน 30
สารบัญตาราง
หน้า
ตารางที่ 1 แสดงจำนวนประชากรและกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามขนาดและโรงเรียน 57
ตารางที่ 2 จำนวนและร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถามที่ส่งไปได้รับคืนและฉบับที่สมบูรณ์
จำแนกตามขนาดโรงเรียน 60
ตารางที่ 3 สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม 64
ตารางที่ 4 คา่ เฉลยี่ คา่ ความเบีย่ งเบนมาตรฐาน คา่ ระดบั ของวฒั นธรรมโรงเรยี นในภาพรวม
ในโรงเรียนมัธยมศึกษาทุกขนาด 66
ตารางที่ 5 คา่ เฉลยี่ ค่าความเบีย่ งเบนมาตรฐาน ค่าระดบั ของวฒั นธรรมโรงเรยี นในภาพรวม
ในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก 67
ตารางที่ 6 คา่ เฉลยี่ ค่าความเบีย่ งเบนมาตรฐาน ค่าระดบั ของวฒั นธรรมโรงเรยี นในภาพรวม
ในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง 68
ตารางที่ 7 คา่ เฉลยี่ ค่าความเบีย่ งเบนมาตรฐาน ค่าระดบั ของวฒั นธรรมโรงเรยี นในภาพรวม
ในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ 69
ตารางที่ 8 ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าระดับของบทบาทที่ปฏิบัติจริง
ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาพรวมในโรงเรียนมัธยมศึกษาทุกขนาด 70
ตารางที่ 9 ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าระดับของบทบาทที่ปฏิบัติจริงของ
ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาพรวมในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก 71
ตารางที่ 10 ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าระดับของบทบาทที่ปฏิบัติจริงของ
ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาพรวมในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง 72
ตารางที่ 11 ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าระดับของบทบาทที่ปฏิบัติจริงของ
ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาพรวมในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ 73
ตารางที่ 12 การเปรียบเทียบวัฒนธรรมโรงเรียนจำแนกตามขนาดโรงเรียน 74
ตารางที่ 13 การเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยวัฒนธรรมโรงเรียน
ด้านเป้าหมายของโรงเรียนตามขนาดของโรงเรียนเป็นรายคู่ 76
ตารางที่ 14 การเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยวัฒนธรรมโรงเรียน
ด้านความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียนตามขนาดของโรงเรียนเป็นรายคู่ 77

สารบัญตาราง (ต่อ)
หน้า
ตารางที่ 15 การเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยและค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน
วัฒนธรรมโรงเรียนตามความเห็นของผู้บริหารและคณะครู 78
ตารางที่ 16 การเปรียบเทียบบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา
จำแนกตามขนาดโรงเรียน 79
ตารางที่ 17 การเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหาร
โรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการบริหารทั่วไปตามขนาดของโรงเรียนเป็นรายคู่ 81
ตารางที่ 18 การเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหาร
โรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการบริหารงานบริการตามขนาดของโรงเรียนเป็นรายคู่ 81
ตารางที่ 19 การเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของบทบาทที่ปฏิบัติจริงของ
ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการบริหารงานโรงเรียนกับชุมชนตามขนาด
ของโรงเรียนเป็นรายคู่ 82
ตารางที่ 20 การเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของบทบาทที่ปฏิบัติจริงของ
ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการบริหารงานอาคารสถานที่ตามขนาด
ของโรงเรียนเป็นรายคู่ 82
ตารางที่ 21 การเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยและค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน
บทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามความเห็น
ของผู้บริหารและคณะครู 83
ตารางที่ 22 ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมโรงเรียนกับบทบาทที่ปฏิบัติจริง
ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาพรวมในโรงเรียนมัธยมศึกษาทุกขนาด 84
ตารางที่ 23 การวิเคราะห์ความแปรปรวนของการถดถอยพหุคูณของวัฒนธรรมโรงเรียน
ด้านความซื่อสัตย์สุจริต เป้าหมายของโรงเรียน ความเอื้ออาทร การตัดสินใจ
การมอบอำนาจและความหลากหลายของบุคลากรกับบทบาทที่ปฏิบัติจริง
ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาทุกด้านในโรงเรียนมัธยมศึกษาทุกขนาด 86
ตารางที่ 24 การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณตัวแปรวัฒนธรรมโรงเรียนในแต่ละด้าน 86

สารบัญตาราง (ต่อ)
หน้า
ตารางที่ 25 การวิเคราะห์ความแปรปรวนของการถดถอยพหุคูณของวัฒนธรรมโรงเรียน
ด้านความเอื้ออาทร การมอบอำนาจ ความซื่อสัตย์สุจริต การยอมรับนับถือ
เป้าหมายของโรงเรียน ความไว้วางใจและความหลากหลายของบุคลากร
กับบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการบริหารทั่วไป
ในโรงเรียนมัธยมศึกษาทุกขนาด 87
ตารางที่ 26 การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณตัวแปรวัฒนธรรมโรงเรียนด้านความเอื้ออาทร
การมอบอำนาจ ความซื่อสัตย์สุจริต การยอมรับนับถือ เป้าหมายของโรงเรียน
ความไว้วางใจและความหลากหลายของบุคลากรกับบทบาทที่ปฏิบัติจริงของ
ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการบริหารทั่วไปในโรงเรียนมัธยมศึกษา
ทุกขนาด 88
ตารางที่ 27 การวิเคราะห์ความแปรปรวนของการถดถอยพหุคูณของวัฒนธรรมโรงเรียน
ด้านความซื่อสัตย์สุจริต เป้าหมายของโรงเรียน การมอบอำนาจและความ
หลากหลายของบุคลากรกับบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยม
ศึกษาด้านการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนมัธยมศึกษาทุกขนาด 89
ตารางที่ 28 การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณตัวแปรวัฒนธรรมโรงเรียนด้านความซื่อสัตย์
สุจริต เป้าหมายของโรงเรียน การมอบอำนาจและความหลากหลายของบุคลกร
กับบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการบริหารงาน
วิชาการในโรงเรียนมัธยมศึกษาทุกขนาด 89
ตารางที่ 29 การวิเคราะห์ความแปรปรวนของการถดถอยพหุคูณของวัฒนธรรมโรงเรียน
ด้านความซื่อสัตย์ การยอมรับนับถือ เป้าหมายของโรงเรียน ความหลากหลาย
ของบุคลากรและการมอบอำนาจกับบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียน
มัธยมศึกษาด้านการบริหารงานธุรการในโรงเรียนมัธยมศึกษาทุกขนาด 90
ตารางที่ 30 การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณตัวแปรวัฒนธรรมโรงเรียนด้านความซื่อสัตย์
การยอมรับนับถือ เป้าหมายของโรงเรียน ความหลากหลายของบุคลากร และ
การมอบอำนาจกับบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้าน
การบริหารงานธุรการในโรงเรียนมัธยมศึกษาทุกขนาด 91

สารบัญตาราง (ต่อ)
หน้า
ตารางที่ 31 การวิเคราะห์ความแปรปรวนของการถดถอยพหุคูณของวัฒนธรรมโรงเรียน
ด้านความซื่อสัตย์ เป้าหมายของโรงเรียน การตัดสินใจ และความเอื้ออาทร
กับบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการบริหารงาน
ปกครองนักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษาทุกขนาด 92
ตารางที่ 32 การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณตัวแปรวัฒนธรรมโรงเรียนด้านความซื่อสัตย์
สุจริต เป้าหมายของโรงเรียน การตัดสินใจและความเอื้ออาทรกับบทบาทที่
ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการบริหารงานปกครอง
นักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษาทุกขนาด 92
ตารางที่ 33 การวิเคราะห์ความแปรปรวนของการถดถอยพหุคูณของวัฒนธรรมโรงเรียน
ด้านความเอื้ออาทร เป้าหมายของโรงเรียน ความหลากหลายของบุคลากร
และการมอบอำนาจกับบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา
ด้านการบริหารงานบริการในโรงเรียนมัธยมศึกษาทุกขนาด 93
ตารางที่ 34 การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณตัวแปรวัฒนธรรมโรงเรียนด้านความเอื้ออาทร
เป้าหมายของโรงเรียน ความหลากหลายของบุคลากรและการมอบอำนาจกับ
บทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการบริหารงาน
บริการในโรงเรียนมัธยมศึกษาทุกขนาด 94
ตารางที่ 35 การวิเคราะห์ความแปรปรวนของการถดถอยพหุคูณของวัฒนธรรมโรงเรียน
ด้านความเอื้ออาทร เป้าหมายของโรงเรียน ความหลากหลายของบุคลากร
และการมอบอำนาจกับบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา
ด้านการบริหารงานโรงเรียนกับชุมชนในโรงเรียนมัธยมศึกษาทุกขนาด 95
ตารางที่ 36 การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณตัวแปรวัฒนธรรมโรงเรียนด้านความเอื้ออาทร
เป้าหมายของโรงเรียน ความหลากหลายของบุคลากรและการมอบอำนาจกับ
บทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการบริหารงาน
โรงเรียนกับชุมชนในโรงเรียนมัธยมศึกษาทุกขนาด 95

สารบัญตาราง (ต่อ)
หน้า
ตารางที่ 37 การวิเคราะห์ความแปรปรวนของการถดถอยพหุคูณของวัฒนธรรมโรงเรียน
ด้านความซื่อสัตย์สุจริต เป้าหมายของโรงเรียน การตัดสินใจ และความ
เอื้ออาทรกับบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการ
บริหารงานอาคารสถานที่ในโรงเรียนมัธยมศึกษาทุกขนาด 96
ตารางที่ 38 การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณตัวแปรวัฒนธรรมโรงเรียนด้านซื่อสัตย์สุจริต
เป้าหมายของโรงเรียน การตัดสินใจและความเอื้ออาทรกับบทบาทที่ปฏิบัติ
จริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการบริหารงานอาคารสถานที่
ในโรงเรียนมัธยมศึกษาทุกขนาด 97
ตารางที่ 39 ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมโรงเรียนในภาพรวมกับบทบาท
ที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา
ขนาดเล็ก 98
ตารางที่ 40 การวิเคราะห์ความแปรปรวนของการถดถอยเชิงเส้นอย่างง่ายของวัฒนธรรม
โรงเรียนในภาพรวมกับบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา
ทุกด้านในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก 99
ตารางที่ 41 การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นอย่างง่ายตัวแปรวัฒนธรรมโรงเรียนในภาพรวม
ในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก 100
ตารางที่ 42 การวิเคราะห์ความแปรปรวนของการถดถอยพหุคูณของวัฒนธรรมโรงเรียน
ด้านความหลากหลายของบุคลากรและความไว้วางใจกับบทบาทที่ปฏิบัติจริง
ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาทุกด้านในโรงเรียนมัธยมขนาดเล็ก 100
ตารางที่ 43 การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณตัวแปรวัฒนธรรมโรงเรียนในด้านความ
หลากหลายของบุคลากรและความไว้วางใจในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก 101
ตารางที่ 44 การวิเคราะห์ความแปรปรวนของการถดถอยพหุคูณของวัฒนธรรมโรงเรียน
ด้านความหลากหลายของบุคลากรและความซื่อสัตย์สุจริตกับบทบาทที่ปฏิบัติ
จริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการบริหารทั่วไปในโรงเรียน
มัธยมศึกษาขนาดเล็ก 101

สารบัญตาราง (ต่อ)
หน้า
ตารางที่ 45 การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณตัวแปรวัฒนธรรมโรงเรียนในด้านความ
หลากหลายของบุคลากรและความซื่อสัตย์สุจริตในโรงเรียนมัธยมศึกษา
ขนาดเล็ก 102
ตารางที่ 46 การวิเคราะห์ความแปรปรวนของการถดถอยพหุคูณของวัฒนธรรมโรงเรียน
ด้านความไว้วางใจกับบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา
ด้านการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก 103
ตารางที่ 47 การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ตัวแปรวัฒนธรรมโรงเรียนด้านความไว้วางใจ
ในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก 103
ตารางที่ 48 การวิเคราะห์ความแปรปรวนของการถดถอยพหุคูณของวัฒนธรรมโรงเรียน
ด้านความไว้วางใจ ความซื่อสัตย์สุจริตและความมีคุณภาพกับบทบาทที่ปฏิบัติ
จริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการบริหารงานธุรการในโรงเรียน
มัธยมศึกษาขนาดเล็ก 104
ตารางที่ 49 การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณตัวแปรวัฒนธรรมโรงเรียนในด้านความไว้วางใจ
ความซื่อสัตย์สุจริต และความมีคุณภาพในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก 104
ตารางที่ 50 การวิเคราะห์ความแปรปรวนของการถดถอยพหุคูณของวัฒนธรรมโรงเรียน
ด้านความหลากหลายของบุคลากรและการมอบอำนาจกับบทบาทที่ปฏิบัติจริง
ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการบริหารงานปกครองนักเรียนใน
โรงเรียนมัธยมขนาดเล็ก 105
ตารางที่ 51 การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณตัวแปรวัฒนธรรมโรงเรียนในด้านความ
หลากหลายของบุคลากรและการมอบอำนาจในโรงเรียนมัธยมศึกษา
ขนาดเล็ก 105
ตารางที่ 52 การวิเคราะห์ความแปรปรวนของการถดถอยพหุคูณของวัฒนธรรมโรงเรียน
ด้านความไว้วางใจกับบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา
ด้านการบริหารงานบริการโรงเรียนมัธยมขนาดเล็ก 106
ตารางที่ 53 การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ตัวแปรวัฒนธรรมโรงเรียนในด้านความไว้วางใจ
ในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก 106

สารบัญตาราง (ต่อ)
หน้า
ตารางที่ 54 การวิเคราะห์ความแปรปรวนของการถดถอยพหุคูณของวัฒนธรรมโรงเรียน
ด้านการตัดสินใจกับบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้าน
การบริหารงานโรงเรียนกับชุมชนในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก 107
ตารางที่ 55 การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณตัวแปรวัฒนธรรมโรงเรียนในด้านการตัดสินใจ
ในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก 107
ตารางที่ 56 การวิเคราะห์ความแปรปรวนของการถดถอยพหุคูณของวัฒนธรรมโรงเรียน
ด้านความหลากหลายของบุคลากรและความเอื้ออาทรกับบทบาทที่ปฏิบัติจริง
ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการบริหารงานอาคารสถานที่ในโรงเรียน
มัธยมศึกษาขนาดเล็ก 108
ตารางที่ 57 การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณตัวแปรวัฒนธรรมโรงเรียนในด้านความ
หลากหลายของบุคลากรและความเอื้ออาทรในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก 109
ตารางที่ 58 ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมโรงเรียนในภาพรวมกับบทบาท
ที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา
ขนาดกลาง 110
ตารางที่ 59 การวิเคราะห์ความแปรปรวนของการถดถอยเชิงเส้นอย่างง่ายของวัฒนธรรม
โรงเรียนในภาพรวมกับบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา
ทุกด้านในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง 111
ตารางที่ 60 การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นอย่างง่ายตัวแปรวัฒนธรรมโรงเรียนในภาพรวม
ในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง 112
ตารางที่ 61 การวิเคราะห์ความแปรปรวนของการถดถอยพหุคูณของวัฒนธรรมโรงเรียน
ด้านความซื่อสัตย์สุจริต เป้าหมายของโรงเรียน การยอมรับนับถือและความ
หลากหลายของบุคลากรกับบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยม
ศึกษาทุกด้านในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง 112
ตารางที่ 62 การวิเคราะห์การถดถอยพหคุ ณู ตวั แปรวฒั นธรรมโรงเรยี นในดา้ นความซือ่ สตั ย์
สุจริต เป้าหมายของโรงเรียน การยอมรับนับถือและความหลากหลายของ
บุคลากรในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง 113

สารบัญตาราง (ต่อ)
หน้า
ตารางที่ 63 การวิเคราะห์ความแปรปรวนของการถดถอยพหุคูณของวัฒนธรรมโรงเรียน
ด้านความซื่อสัตย์สุจริต การมอบอำนาจ ความไว้วางใจและความมีคุณภาพกับ
บทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการบริหารทั่วไปใน
โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง 114
ตารางที่ 64 การวิเคราะห์การถดถอยพหคุ ณู ตวั แปรวฒั นธรรมโรงเรยี นในดา้ นความซือ่ สตั ย์
สุจริต การมอบอำนาจ ความไว้วางใจและความมีคุณภาพในโรงเรียนมัธยม
ศึกษาขนาดกลาง 114
ตารางที่ 65 การวิเคราะห์ความแปรปรวนของการถดถอยพหุคูณของวัฒนธรรมโรงเรียน
ด้านความซื่อสัตย์สุจริต เป้าหมายของโรงเรียนและการมอบอำนาจกับบทบาท
ที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการบริหารงานวิชาการใน
โรงเรียนมัธยมขนาดกลาง 115
ตารางที่ 66 การวเิ คราะหก์ ารถดถอยพหคุ ณู ตวั แปรวฒั นธรรมโรงเรยี นในดา้ นความซือ่ สตั ย์
สุจริต เป้าหมายของโรงเรียนและการมอบอำนาจในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาด
กลาง 115
ตารางที่ 67 การวิเคราะห์ความแปรปรวนของการถดถอยพหุคูณของวัฒนธรรมโรงเรียน
ด้านความซื่อสัตย์สุจริต การยอมรับนับถือและเป้าหมายของโรงเรียนกับบทบาท
ที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการบริหารงานธุรการใน
โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง 116
ตารางที่ 68 การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณตัวแปรวัฒนธรรมโรงเรียนในด้านความซื่อสัตย์
สุจริต การยอมรับนับถือและเป้าหมายของโรงเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา
ขนาดกลาง 117
ตารางที่ 69 การวิเคราะห์ความแปรปรวนของการถดถอยพหุคูณของวัฒนธรรมโรงเรียน
ด้านความซื่อสัตย์สุจริต เป้าหมายของโรงเรียนและการยอมรับนับถือกับบทบาท
ที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการบริหารงานปกครอง
นักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง 118

สารบัญตาราง (ต่อ)
หน้า
ตารางที่ 70 การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณตัวแปรวัฒนธรรมโรงเรียนในด้านความซื่อสัตย์
สุจริต เป้าหมายของโรงเรียนและการยอมรับนับถือในโรงเรียนมัธยมศึกษา
ขนาดกลาง 118
ตารางที่ 71 การวิเคราะห์ความแปรปรวนของการถดถอยพหุคูณของวัฒนธรรมโรงเรียน
ด้านความซื่อสัตย์สุจริตและเป้าหมายของโรงเรียนกับบทบาทที่ปฏิบัติจริงของ
ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการบริหารงานบริการในโรงเรียนมัธยม
ศึกษาขนาดกลาง 119
ตารางที่ 72 การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณตัวแปรวัฒนธรรมโรงเรียนในด้านความซื่อสัตย์
สุจริตและเป้าหมายของโรงเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง 119
ตารางที่ 73 การวิเคราะห์ความแปรปรวนของการถดถอยพหุคูณของวัฒนธรรมโรงเรียน
ด้านความซื่อสัตย์สุจริต เป้าหมายของโรงเรียนและความหลากหลายของ
บุคลากรกับบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการ
บริหารงานโรงเรียนกับชุมชนในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง 120
ตารางที่ 74 การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณตัวแปรวัฒนธรรมโรงเรียนในด้านความซื่อสัตย์
สุจริต เป้าหมายของโรงเรียนและความหลากหลายของบุคลากรในโรงเรียน
มัธยมศึกษาขนาดกลาง 121
ตารางที่ 75 การวิเคราะห์ความแปรปรวนของการถดถอยพหุคูณของวัฒนธรรมโรงเรียน
ด้านความเป้าหมายของโรงเรียน การยอมรับนับถือและความหลากหลายของ
บุคลากรกับบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการ
บริหารงานอาคารสถานที่ในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง 122
ตารางที่ 76 การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณตัวแปรวัฒนธรรมโรงเรียนในด้านเป้าหมาย
ของโรงเรียน การยอมรับนับถือและความหลากหลายของบุคลากรในโรงเรียน
มัธยมศึกษาขนาดกลาง 122
ตารางที่ 77 ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมโรงเรียนในภาพรวมกับบทบาท
ที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา
ขนาดใหญ่ 123

สารบัญตาราง (ต่อ)
หน้า
ตารางที่ 78 การวิเคราะห์ความแปรปรวนของการถดถอยเชิงเส้นอย่างง่ายของวัฒนธรรม
โรงเรียนในภาพรวมกับบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา
ทุกด้านในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ 124
ตารางที่ 79 การวเิ คราะหก์ ารถดถอยเชงิ เสน้ อยา่ งงา่ ยตวั แปรวฒั นธรรมโรงเรยี นในภาพรวม
ในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ 125
ตารางที่ 80 การวิเคราะห์ความแปรปรวนของการถดถอยพหุคูณของวัฒนธรรมโรงเรียน
ด้านความความเอื้ออาทร การมอบอำนาจ ความหลากหลายของบุคลากร การ
ตัดสินใจและเป้าหมายของโรงเรียนกับบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียน
มัธยมศึกษาทุกด้านในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ 125
ตารางที่ 81 การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณตัวแปรวัฒนธรรมโรงเรียนในด้านความความ
เอื้ออาทร การมอบอำนาจ ความหลากหลายของบุคลากร การตัดสินใจและ
เป้าหมายของโรงเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ 126
ตารางที่ 82 การวิเคราะห์ความแปรปรวนของการถดถอยพหุคูณของวัฒนธรรมโรงเรียน
ด้านการยอมรับนับถือ ความหลากหลายของบุคลากร การมอบอำนาจและ
ความเอื้ออาทรกับบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้าน
การบริหารทั่วไปในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ 127
ตารางที่ 83 การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณตัวแปรวัฒนธรรมโรงเรียนในด้านการยอมรับ
นับถือ ความหลากหลายของบุคลากร การมอบอำนาจและความเอื้ออาทรใน
โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ 127
ตารางที่ 84 การวิเคราะห์ความแปรปรวนของการถดถอยพหุคูณของวัฒนธรรมโรงเรียน
ด้านความซื่อสัตย์สุจริต การมอบอำนาจ เป้าหมายของโรงเรียน การตัดสินใจ
และความหลากหลายของบุคลากรกับบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหาร
โรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนมัธยมศึกษา
ขนาดใหญ่ 128
ตารางที่ 85 การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณตัวแปรวัฒนธรรมโรงเรียนในด้านความซื่อสัตย์
สจุ รติ การมอบอาํ นาจ เปา้ หมายของโรงเรยี น การตดั สินใจและความหลากหลาย
ของบุคลากร ในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ 129

สารบัญตาราง (ต่อ)
หน้า
ตารางที่ 86 การวิเคราะห์ความแปรปรวนของการถดถอยพหุคูณของวัฒนธรรมโรงเรียน
ด้านการยอมรับนับถือ การมอบอำนาจและความเอื้ออาทรกับบทบาทที่ปฏิบัติ
จริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการบริหารงานธุรการในโรงเรียน
มัธยมศึกษาขนาดใหญ่ 130
ตารางที่ 87 การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณตัวแปรวัฒนธรรมโรงเรียนในด้านการยอมรับ
นับถือ การมอบอำนาจและความเอื้ออาทรในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ 130
ตารางที่ 88 การวิเคราะห์ความแปรปรวนของการถดถอยพหุคูณของวัฒนธรรมโรงเรียน
ด้านความซื่อสัตย์สุจริต การมอบอำนาจและการตัดสินใจกับบทบาทที่ปฏิบัติ
จริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการบริหารงานปกครองนักเรียน
โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ 131
ตารางที่ 89 การวิเคราะห์การถดถอยพหคุ ณู ตวั แปรวฒั นธรรมโรงเรยี นในดา้ นความซือ่ สตั ย์
สจุ รติ การมอบอำนาจและการตัดสินใจในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ 132
ตารางที่ 90 การวิเคราะห์ความแปรปรวนของการถดถอยพหุคูณของวัฒนธรรมโรงเรียน
ดา้ นความเอ้อื อาทร การมอบอาํ นาจ ความหลากหลายของบคุ ลากรและเปา้ หมาย
ของโรงเรียนกับบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการ
บริหารงานบริการในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ 133
ตารางที่ 91 การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณตัวแปรวัฒนธรรมโรงเรียนในด้านความเอื้ออาทร
การมอบอำนาจ ความหลากหลายของบุคลากรและเป้าหมายของโรงเรียนใน
โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ 133
ตารางที่ 92 การวิเคราะห์ความแปรปรวนของการถดถอยพหุคูณของวัฒนธรรมโรงเรียน
ด้านความเอื้ออาทร การมอบอำนาจ ความหลากหลายของบุคลากรและการ
ตัดสินใจกับบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการ
บริหารงานโรงเรียนกับชุมชนในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ 134
ตารางที่ 93 การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณตัวแปรวัฒนธรรมโรงเรียนในด้านความ
เอื้ออาทร การมอบอำนาจ ความหลากหลายของบุคลากรและการตัดสินใจใน
โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ 135

สารบัญตาราง (ต่อ)
หน้า
ตารางที่ 94 การวิเคราะห์ความแปรปรวนของการถดถอยพหุคูณของวัฒนธรรมโรงเรียน
ด้านความซื่อสัตย์สุจริต การตัดสินใจและความเอื้ออาทรกับบทบาทที่ปฏิบัติ
จริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการบริหารงานอาคารสถานที่ใน
โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ 136
ตารางที่ 95 การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณตัวแปรวัฒนธรรมโรงเรียนในด้านความซื่อสัตย์
สุจริต การตัดสินใจ และความเอื้ออาทร ในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ 136
ประกาศคุณูปการ
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้สำเร็จได้ด้วยดีเพราะได้รับความอนุเคราะห์อย่างดียิ่งจากรองปลัด
กระทรวงศึกษาธิการ ดร.บุญลือ ทองอยู่ ดร.เปรมสุรีย์ เชื่อมทอง และ ดร.อรรณพ จีนะวัฒน์ ซึ่ง
เป็นประธานและกรรมการผู้ควบคุมวิทยานิพนธ์ ดร.สายหยุด จำปาทอง ประธานคณะกรรมการ
สอบวิทยานิพนธ์ อาจารย์ทวีศักดิ์ จงประดับเกียรติ ผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้กรุณาให้คำปรึกษาแนะนำ
แนวทางที่ถูกต้องมาปรับแก้ไขให้ถูกต้องเป็นอย่างดีตลอดมา ผู้วิจัยรู้สึกซาบซึ้งในความกรุณา
จึงขอกราบขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้
ขอขอบคุณผู้เชี่ยวชาญซึ่งประกอบด้วย อาจารย์วิชัย เวียงสงค์ อาจารย์ชำนาญ สอนซื่อ
อาจารย์สุทธิศักดิ์ เฟื่องเกษม ดร.บัณฑิต แท่นพิทักษ์และอาจารย์ทวีศักดิ์ จงประดับเกียรติ ที่
กรุณาให้คำปรึกษาตรวจสอบแก้ไขปรับปรุงเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
ขอขอบคุณอาจารย์ชำนาญ สอนซื่อ ผู้อำนวยการสามัญศึกษาจังหวัดนครปฐม ผู้บริหาร
โรงเรียน อาจารย์โรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดนครปฐมและกรุงเทพมหานครและเจ้าหน้าที่ใน
สำนักงานสามัญศึกษาจังหวัดนครปฐม ผู้ให้ความอนุเคราะห์ช่วยเหลือให้ข้อมูลในโรงเรียนที่เป็น
กลุ่มตัวอย่างและโรงเรียนที่ทดลองใช้เครื่องมือในการทำวิจัย
ขอขอบคุณคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย รองศาสตราจารย์นันทา วิทวุฒิศักดิ์ อาจารย์ผู้สอน
เพื่อน ๆ อาจารย์ในโรงเรียนจันทร์หุ่นบำเพ็ญ โรงเรียนวัดไร่ขิงวิทยา และคุณยุวดี ภูริโภไคยที่ให้
กาํ ลงั ใจ ขอขอบคุณอาจารยพ์ วงกาญจน ์ กรงุ กาญจนา อาจารยม์ นัส พทุ ธคณุ คุณกมลวรรณ ชมภูนุช
และคุณปณิธี บัวประชา ที่ให้ความช่วยเหลือด้านการใช้โปรแกรมประมวลผลข้อมูล การจัดพิมพ์
และจัดรูปเล่ม ขอขอบคุณบิดาและญาติพี่น้องที่ห่วงใยและให้กำลังใจ คุณความดีของวิทยานิพนธ์
เล่มนี้ขออุทิศแด่บิดา มารดา และคณาจารย์ที่ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ให้จนมีวันนี้
นางมาลี ควรคนึง


บทที่ 1
บทนำ
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
ปัจจุบันมีการยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่า การพัฒนาคนเป็นหัวใจสำคัญในกระบวนการ
พัฒนาทุกๆ ด้าน โดยกำลังคนเหล่านั้นต้องเป็นคนที่มีคุณภาพ และกำลังคนจะมีคุณภาพเพียงใด
ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพในการจัดการศึกษา ดังนั้นการศึกษาจึงเป็นเครื่องมือที่มีบทบาทสำคัญที่สุด
ประการหนึ่งในการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศไทยจะต้องมีการพัฒนาการศึกษา
ให้มีประสิทธิภาพสูงยิ่งขึ้น เพื่อทำให้ศักยภาพที่มีอยู่ในตัวคนได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่ ทำให้คน
รู้จักคิด วิเคราะห์ รู้จักแก้ปัญหา มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. 2542 มาตรา 6 ระบุไว้ว่า “การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์
ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรง
ชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข” (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
2542 : 5)
ผลจากการที่มีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 43 ที่ว่า
“บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้
อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย” และมาตรา 81 ที่ว่า “รัฐต้องจัดการศึกษาอบรม
และสนับสนุนให้เอกชนจัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้คู่คุณธรรม จัดให้มีกฎหมายเกี่ยวกับ
การศึกษาแห่งชาติ…” ประเทศไทยจึงมีพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ประกอบด้วย
สาระ 9 หมวด 78 มาตรา โดยเฉพาะในหมวดที่ 5 มาตราที่ 31 ระบุให้กระทรวงมีอำนาจหน้าที่
กำกับดูแลการศึกษาทุกระดับและทุกประเภท ซึ่งกระทรวงตามมาตรา 4 คือ กระทรวงการศึกษา
ศาสนาและวัฒนธรรม (กรมสามัญศึกษา 2542 : 5) ผู้บริหารโรงเรียนจึงเป็นบุคคลสำคัญในการ
ดำเนินงานที่จะนำโรงเรียนไปสู่ความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพจะต้องปรับบทบาทที่ปฏิบัติจริงเพื่อ
จัดการศึกษาให้มีคุณภาพได้ตามความคาดหวังของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาต ิ พ.ศ. 2542
บทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา เมื่อพิจารณา
ตามตำแหน่งของผู้บริหารโรงเรียนโดยเฉพาะผู้บริหารในยุคปฏิรูปการศึกษา ยุคปัจจุบันพบว่า
บทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารมี 7 ด้าน ได้แก่ บทบาทด้านการบริหารทั่วไป บทบาทด้าน
การบริหารงานวิชาการ บทบาทด้านการบริหารงานธุรการ บทบาทด้านการบริหารงานปกครอง
นักเรียน บทบาทด้านการบริหารงานบริการ บทบาทด้านการบริหารโรงเรียนกับชุมชนและบทบาท
2
ด้านการบริหารอาคารสถานที่ บทบาทที่ต้องปฏิบัติจริงทั้ง 7 ด้านต้องสอดคล้องกับภารกิจของ
โรงเรียนซึ่งปรากฏในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ได้แก่ การจัดการศึกษาในสถานศึกษา
ทั้งรูปแบบในระบบ นอกระบบและตามอัธยาศัย จัดทำสาระของหลักสูตรให้สอดคล้องกับสภาพใน
ชุมชน สังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของการเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว
ชุมชน สังคมและประเทศชาติ จัดการเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาทั้งการประกันภายใน
และภายนอกโดยถือว่าการประกันคุณภาพภายในเป็นกระบวนการหนึ่งของการบริหารการศึกษา
ผู้บริหารสถานศึกษาต้องทำหน้าที่เป็นเลขานุการคณะกรรมการสถานศึกษาและอยู่ภายใต้ข้อกำหนด
ขององค์กรวิชาชีพที่ต้องรับใบประกอบวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา เตรียมรับการกระจายอำนาจ
ผู้เรียนมีสิทธิได้รับการพัฒนาตามขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เพื่อให้มีความรู้ ทักษะพอที่
จะใช้เทคโนโลยีเพื่อการแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง เน้นการพัฒนาผู้เรียนเป็นรายบุคคลมากกว่า
การพัฒนาโดยรวม เมื่อพิจารณาสภาพการดำเนินงานตามบทบาทหน้าที่และโครงสร้างการบริหาร
งานตามที่กรมสามัญศึกษากำหนดและจากผลการประเมินมาตรฐานโรงเรียนมัธยมศึกษา พ.ศ. 2541
ในภาพรวมพบว่าโรงเรียนส่วนใหญ่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานกลางอยู่ในระดับดีคิดเป็นร้อยละ 94.04
และมีโรงเรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานกลางคิดเป็นร้อยละ 5.96 ถ้าพิจารณาตามขนาดโรงเรียน
พบว่าโรงเรียนขนาดใหญ่ที่ได้ค่าเฉลี่ยรวมสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานกลางคิดเป็นร้อยละ 99.39
โรงเรียนขนาดกลางที่ได้ค่าเฉลี่ยรวมสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานกลางคิดเป็นร้อยละ 98.64 และโรงเรียน
ขนาดเล็กที่ได้ค่าเฉลี่ยรวมสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานกลางคิดเป็นร้อยละ 84.12 (กองการมัธยมศึกษา
2542 : 6) จะเห็นได้ว่าการบริหารงานของโรงเรียนมัธยมศึกษามีมาตรฐานไม่ทัดเทียมกันทุกขนาด
เพื่อเร่งรัดให้โรงเรียนดำเนินการให้ได้มาตรฐานและคุณภาพจะต้องคำนึงถึงบทบาทที่ปฏิบัติจริง
ของผู้บริหารโรงเรียน ในการบริหารโรงเรียนให้ประสบผลสำเร็จต้องอาศัยองค์ประกอบ
หลายประการ เช่น พฤติกรรมความเป็นผู้นำ แรงจูงใจ เซอร์จิโอแวนนี่ (Sergiovanni 1998 : 183)
ได้ศึกษาเกี่ยวกับสิ่งที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริหารหรือต่อตัวผู้นำพบว่าวัฒนธรรมเป็นตัวการ
ที่มีอิทธิพลมากที่สุดต่อพฤติกรรมการบริหาร ทำให้ผู้วิจัยมีความเห็นว่าบทบาทที่ปฏิบัติจริงของ
ผู้บริหารในการบริหารงานโรงเรียนมัธยมศึกษาให้ความสำคัญต่อการบริหารงานโรงเรียนแต่ละด้าน
ไม่เท่ากัน ส่วนหนึ่งน่าจะมาจากค่านิยม ความเชื่อของผู้บริหารและบุคลากรในโรงเรียนที่มีอิทธิพล
ต่อกันและกันซึ่งเรียกว่า “วัฒนธรรมโรงเรียน”
จากแนวคิดดังกล่าวจะเห็นว่าวัฒนธรรมองค์การจะเป็นตัวชี้ให้เห็นถึงลักษณะที่เป็น
บุคลิกภาพขององค์การ อันเป็นกระบวนการที่นำไปสู่ความเป็นสถาบันในลักษณะการก่อตั้งและ
การเสริมสร้างองค์การนั้น ๆ โรงเรียนในฐานะเป็นองค์การหนึ่งที่ทำหน้าที่ให้การศึกษาแก่คนใน
สังคมก็ย่อมจะมีวัฒนธรรมเป็นของตนเองซึ่งเซอร์จิโอแวนนี่ (Sergiovanni 1998 : 191) ได้กล่าวถึง
3
การก่อตัวของวัฒนธรรมโรงเรียนแต่ละโรงเรียนว่าก่อจากสิ่งต่าง ๆ สำคัญ 5 ประการ ได้แก่
1. ประวัติโรงเรียน (The School ’s history) 2. ความเชื่อ(Beliefs) 3. ค่านิยม(Values) 4. บรรทัดฐาน
และมาตรฐาน(Norms and Standards) 5. รูปแบบพฤติกรรม(Patterns of behavior) ทั้ง 5 ประการ
มีอิทธิพลต่อกันเป็นทอด ๆ คือ ประวัติและประเพณีของโรงเรียนที่สืบทอดกันมามีอิทธิพลต่อ
ความเชื่อของบุคลากรในโรงเรียน ความเชื่อของบุคลากรมีอิทธิพลต่อค่านิยม ค่านิยมมีอิทธิพลต่อ
บุคลากรในโรงเรียน ค่านิยมมีอิทธิพลต่อบรรทัดฐานและมาตรฐานของโรงเรียน บรรทัดฐานและ
มาตรฐานของโรงเรียนมีอิทธิพลต่อรูปแบบของพฤติกรรมที่บุคลากรยึดถือปฏิบัติในโรงเรียนและ
การก่อตัวของวัฒนธรรมโรงเรียน (นงลักษณ์ เรือนทอง 2535 : 58) มีลักษณะที่เห็นเด่นชัดเพราะ
เป็นฐานที่มาแห่งความเข้าใจร่วมกันและแบบแผนพฤติกรรมที่เป็นไปในแนวเดียวกันด้วยการผสม
ผสานเป็นภาพรวมแห่งวัฒนธรรมที่แตกต่างกันในแต่ละโรงเรียน
ฉะนั้นจึงเป็นปัญหาว่า ผู้บริหารโรงเรียนจะแสดงพฤติกรรมการบริหารซึ่งเป็นบทบาทที่
ปฏิบัติจริงของตนอย่างไรให้การบริหารงานของตนมีประสิทธิภาพมีหลายประการ ได้แก่ ด้านการ
จัดการซึ่งประกอบด้วยบุคคล วัสดุอุปกรณ์ งบประมาณและการดำเนินงานตามขั้นตอนในการ
ทำงานร่วมกันระหว่างผู้บริหารและบุคลากรในโรงเรียนซึ่งประกอบด้วยกระบวนการต่าง ๆ ได้แก่
การวางแผน การจัดหน่วยงาน การช่วยเหลือ การสนับสนุน การพัฒนาและการประเมินผลเป็นต้น
และต้องคำนึงถึงตัวการสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อบุคลากรในโรงเรียนเพราะครอบคลุมถึงแนวคิด
ความรู้สึกและรับรู้ปัญหาต่าง ๆ ของบุคลากรซึ่งเรียกว่าวัฒนธรรมโรงเรียน (สุรศักดิ์ หลาบมาลา
2531 : 40)
แพตเตอร์สัน (Patterson 1986 : 50-51) ได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับวัฒนธรรมโรงเรียนที่มีส่วน
เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของบุคลากรในโรงเรียน 10 ประการ ได้แก่ 1. เป้าหมายของโรงเรียน
2. การมอบอำนาจ 3. การตัดสินใจ 4. ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียน 5. ความไว้วางใจ
6. ความมีคุณภาพ 7. การยอมรับนับถือ 8. ความเอื้ออาทร 9. ความซื่อสัตย์สุจริต 10. ความ
หลากหลายของบุคลากร
เทพพนม เมืองแมน และสวิง สุวรรณ (2540 : 157) กล่าวว่า ถ้าสมาชิกในองค์กรมี
ความเชื่อ ค่านิยมและเจตคติที่เหมือนกันจะทำให้ง่ายต่อการทำความตกลงเข้าใจกัน ปัญหาความ
ขัดแย้งก็จะมีน้อยกิจกรรมต่าง ๆ ก็จะผสมผสานสอดคล้องเป็นแนวทางเดียวกัน ในการพัฒนาคร ู
ให้มีความเข้าใจในการปฏิบัติงานถ้าบุคลากรได้ปรับความเข้าใจให้ตรงกันจะทำให้การดำเนินงาน
เป็นไปด้วยความเรียบร้อยมีพลังก่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามมา อีกทั้งการพัฒนา
บุคลากร พัฒนาคุณภาพการศึกษาของนักเรียนจะช่วยสนับสนุนการบริหารงานของผู้บริหาร
โรงเรียน ให้มีประสิทธิภาพอย่างเต็มที่ ถ้าผู้บริหารสามารถนำประโยชน์จากแนวคิดเกี่ยวกับ
4
วัฒนธรรมโรงเรียนไปใช้กับการปฏิบัติจริงในการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา วัฒนธรรมโรงเรียน
จะเป็นสิ่งที่ช่วยพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารโรงเรียนได้ เนื่องจากวัฒนธรรมโรงเรียนเป็นส่วน
สำคัญที่ทำให้บุคลากรมีค่านิยมและความเชื่อในการบริหารโรงเรียนร่วมกัน
ผลการวิจัยของดาวเนอร์ (Downer 1989 : 3136-A) พบว่าประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน
ของโรงเรียนมีส่วนเกี่ยวข้องกับรูปแบบพฤติกรรมที่ดีของครู การให้ความสำคัญทางวิชาการ
วิธีการเรียนการสอนสัมพันธภาพที่ดีระหว่างทางบ้านและทางโรงเรียนและที่สำคัญที่สุด คือ
วัฒนธรรมโรงเรียนซึ่งประกอบด้วยความมุ่งประสงค์ที่ชัดเจนและความร่วมมือของบุคลากรใน
โรงเรียน และพาร์กินสัน (Parkinson 1990 : 2343-A) ได้ศึกษาพบว่าวัฒนธรรมโรงเรียนมีส่วน
สัมพันธ์กับการปฏิบัติงานภายในโรงเรียนมาก ได้แก่ งานการเรียนการสอน งานนิเทศการศึกษา
งานประเมินผลการสอน และงานพัฒนาความร่วมมือในการทำงานเป็นหมู่คณะของบุคลากร
ในโรงเรียน
บทบาทการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาพรวมที่ได้ศึกษาจากผลงาน
วิจัยของหลายๆ ท่าน เช่น เพ็ญศักดิ์ เรือนใจมั่น (2519 : บทคัดย่อ) นพชัย รู้ธรรม(2523 : บทคัดย่อ)
เฉลิม บึงไสย (2531 : บทคัดย่อ) นงลักษณ์ เรือนทอง (2535 : บทคัดย่อ) พิมล รอดเรืองศรี (2535 :
บทคัดย่อ) ประเสริฐ บุญฤทธิ์ (2536 : บทคัดย่อ) สมบูรณ์ ธุวสินธุ์(2539 : บทคัดย่อ) และ รุ่งเรือง
รัศมีโกเมน (2541 : บทคัดย่อ) พบว่าการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัด
กรมสามัญศึกษา มีปัญหาในการปฏิบัติงานดังนี้
1. โรงเรียนยึดหลักเกณฑ์ของกรมสามัญศึกษาจัดโครงสร้างการบริหารแต่ไม่บรรยาย
ลักษณะงานเป็นลายลักษณ์อักษร ปัญหาเกี่ยวกับโครงสร้างระบบบริหารของโรงเรียนคือการ
สื่อความเข้าใจไม่ชัดเจนบุคลากรไม่เข้าใจโครงสร้างของการบริหารเกิดการปฏิบัติงานซ้ำซ้อน
ก้าวก่ายกัน นักเรียนประพฤติไม่เรียบร้อย ความยุ่งยากในงานธุรการ
2. ปัญหาและอุปสรรคในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาพบว่าไม่มีอำนาจในการ
ตัดสินใจสั่งการในการบริหารงานบุคคลและงานการเงิน งบประมาณไม่เพียงพอ ขาดบุคลากร
ขาดการประสานงาน ขาดการควบคุมติดตามดูแลการปฏิบัติงาน ขาดยานพาหนะ ไม่มีเวลาเพียงพอ
ที่จะปฏิบัติงานให้ได้ผลอย่างเต็มที่
3. การปฏิบัติงานของผู้บริหารโรงเรียนที่มีประสบการณ์ต่างกันมีการบริหารงานโดยรวม
ไม่แตกต่างกัน ขนาดของโรงเรียนทำให้การบริหารงานวิชาการมีความแตกต่างกัน และปัญหาที่พบ
เหมือนกัน คือ การบริหารงานด้านการสร้างความสัมพันธ์ของโรงเรียนกับชุมชน
จากแนวคิดและสภาพปัญหาดังกล่าว ทำให้ผู้วิจัยสนใจศึกษาวัฒนธรรมโรงเรียนที่ส่งผลต่อ
บทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดนครปฐม
5
โดยมุ่งศึกษาว่าวัฒนธรรมโรงเรียนด้านใดที่ส่งผลต่อบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนเพื่อ
นำผลวิจัยไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดต่อการบริหารงาน
ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ตั้งวัตถุประสงค์ไว้ดังนี้
1. เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระดับวัฒนธรรมโรงเรียนและระดับบทบาทที่ปฏิบัติจริงของ
ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดนครปฐม
2. เพื่อศึกษาวัฒนธรรมโรงเรียนที่ส่งผลต่อบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียน-
มัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดนครปฐม
3
ความสำคัญของการวิจัย
ผลการศึกษาครั้งนี้จะทำให้ทราบวัฒนธรรมโรงเรียนที่ส่งผลต่อบทบาทที่ปฏิบัติจริงของ
ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดนครปฐมเพื่อผู้บริหารโรงเรียน
จะได้ใช้ในการวางแผนปรับปรุงและพัฒนาประสิทธิภาพประสิทธิผลสูงสุดต่อการบริหารโรงเรียน
มัธยมศึกษาและเป็นข้อเสนอแนะแก่สำนักงานสามัญศึกษาจังหวัดนครปฐม กรมสามัญศึกษา
ในการบริหารงานที่จะส่งเสริมการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพอันจะส่งผล
ให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงขึ้น
ขอบเขตของการวิจัย
1. ขอบเขตของเนื้อหา
การวิจัยครั้งนี้มีขอบเขตของการวิจัยดังนี้
1.1 ศึกษาเฉพาะวัฒนธรรมโรงเรียนตามแนวคิดของแพตเตอร์สันที่ส่งผลต่อ
บทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดนครปฐม
1.2 ศึกษาบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษามี 7 ด้านตามที่
กรมสามัญศึกษากำหนดไว้ คือ บทบาทด้านการบริหารทั่วไป บทบาทด้านการบริหารงานวิชาการ
บทบาทด้านการบริหารงานธุรการ บทบาทด้านการบริหารงานปกครองนักเรียน บทบาทด้านการ
บริหารงานบริการ บทบาทด้านการบริหารโรงเรียนกับชุมชนและบทบาทด้านการบริหารอาคาร
สถานที่
6
2. ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
2.1 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย
ประชากร คือ ผู้บริหารโรงเรียน และครูปฏิบัติการสอนในโรงเรียนมัธยมศึกษา
สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดนครปฐม ปีการศึกษา 2544 จำนวน 29 โรงเรียน โดยมีผู้บริหาร
29 คน ครูปฏิบัติการสอน จำนวน 1,759 คนรวมทั้งหมด 1,788 คน
2.2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารโรงเรียน และครูปฏิบัติการสอนในโรงเรียนมัธยมศึกษา
สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดนครปฐม ปีการศึกษา 2544 จำนวน 29 โรงเรียน ได้มาจากการสุ่ม
ตัวอย่างแบบมีชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 โดยใช้ขนาด
ของโรงเรียนเป็นระดับชั้น (Strata) โดยมีผู้บริหาร 29 คน และครูปฏิบัติการสอนจำนวน 326 คน
รวมทั้งหมด 355 คน
3. ตัวแปรที่ศึกษา
ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ มีรายละเอียดดังนี้
3.1 ตัวแปรพื้นฐาน เป็นตัวแปรที่เกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่
เพศ อายุ ระดับการศึกษา การอบรมหลักสูตรผู้บริหารสถานศึกษาระดับสูง ประสบการณ์การทำงาน
ปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่ และขนาดของโรงเรียน
3.2 ตัวแปรอิสระ ได้แก่ ตัวแปรที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมโรงเรียน ประกอบด้วย
ตัวแปรย่อย 10 ตัว ได้แก่
3.2.1 เป้าหมายของโรงเรียน
3.2.2 การมอบอำนาจ
3.2.3 การตัดสินใจ
3.2.4 ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียน
3.2.5 ความไว้วางใจ
3.2.6 ความมีคุณภาพ
3.2.7 การยอมรับนับถือ
3.2.8 ความเอื้ออาทร
3.2.9 ความซื่อสัตย์สุจริต
3.2.10 ความหลากหลายของบุคลากร
7
3.3 ตัวแปรตาม ได้แก่ ตัวแปรที่เกี่ยวกับบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียน
มัธยมศึกษา ประกอบด้วยตัวแปรย่อย 7 ตัว ได้แก่
3.3.1 บทบาทด้านการบริหารทั่วไป
3.3.2 บทบาทด้านการบริหารงานวิชาการ
3.3.3 บทบาทด้านการบริหารงานธุรการ
3.3.4 บทบาทด้านการบริหารงานปกครองนักเรียน
3.3.5 บทบาทด้านการบริหารงานบริการ
3.3.6 บทบาทด้านการบริหารโรงเรียนกับชุมชน
3.3.7 บทบาทด้านการบริหารอาคารสถานที่
นิยามศัพท์เฉพาะ
เพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้จึงกำหนดนิยามศัพท์เฉพาะดังนี้
1. วัฒนธรรมโรงเรียน หมายถึง แบบแผนการประพฤติ ปฏิบัติ ค่านิยม ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง
กับการปฏิบัติงานของบุคลากรในโรงเรียน 10 ประการ ได้แก่
1.1 เป้าหมายของโรงเรียน คือ การประชาสัมพันธ์การชี้แจงให้บุคลากรในโรงเรียน
เข้าใจ เห็นคุณค่า และความสำคัญเกี่ยวกับเป้าหมายของโรงเรียน เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงาน
ไปสู่จุดหมายปลายทาง (goal) และประเมินผลร่วมกัน คำนึงถึงการตัดสินใจที่มีผลต่อเป้าหมายของ
โรงเรียน
1.2 การมอบอำนาจ คือ การให้ความสำคัญ การมอบอำนาจในการตัดสินใจที่มอบหมาย
ให้ครูนำไปปฏิบัติ รวมทั้งการรับรู้ข่าวสาร ข้อมูล และการใช้ทรัพยากรของโรงเรียนอย่าง
เท่าเทียมกัน
1.3 การตัดสินใจ คือ การคำนึงถึงความเป็นไปได้ในการตัดสินใจที่สอดคล้องกับ
การปฏิบัติงาน และผู้ทำหน้าที่ตัดสินใจบางครั้งอาจเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากเรื่องนั้น ๆ
หรืออาจเป็นผู้เชี่ยวชาญที่รู้สถานการณ์และปัญหาเป็นอย่างดีโดยไม่จำเป็นต้องเป็นหัวหน้าเท่านั้น
1.4 ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียน คือ การที่บุคลากรทุกคนมีความเป็นเจ้าของ
มีความผูกพัน รู้จักรับผิดชอบ ช่วยเหลือ และพัฒนางานโรงเรียนร่วมกัน
1.5 ความไว้วางใจ คือ การให้โอกาสครูเลือกทำงานตามความต้องการและไว้วางใจว่า
ครูทุกคนจะสามารถตัดสินใจได้อย่างดี
1.6 ความมีคุณภาพ คือ การให้โรงเรียนเห็นคุณค่าและคาดหวังให้ครูปฏิบัติงานอย่างมี
คุณภาพและมาตรฐาน เชื่อมั่นในประสิทธิภาพการทำงานของครูและความสามารถของนักเรียน
8
รวมทั้งความสำคัญในการสร้างบรรยากาศของความเห็นอกเห็นใจและความร่วมมือของทุกคนใน
โรงเรียน
1.7 การยอมรับนับถือ คือ การเข้าใจรับรู้และรู้ความหมายหรือเป็นเรื่องที่โรงเรียน
เปิดโอกาสและให้การยอมรับความคิดเห็นที่ดีของครู รวมทั้งการยอมรับในความสำเร็จและผลงาน
ของครูและนักเรียน
1.8 ความเอื้ออาทร คือ การที่โรงเรียนเอาใจใส่ดูแลความเป็นอยู่ การปฏิบัติงานของครู
สนับสนุนให้มีความก้าวหน้าในหน้าที่
1.9 ความซื่อสัตย์สุจริต คือ การที่โรงเรียนเห็นคุณค่าของความซื่อสัตย ์ ความมานะ
พยายามของครูที่ปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ และกำหนดแนวทางให้ครูทุกคนปฏิบัติงานโดยยึดมั่น
จริยธรรมเป็นหลัก
1.10 ความหลากหลายของบุคลากร คือ การที่โรงเรียนให้ความสำคัญในความแตกต่าง
ในเรื่องของปรัชญา ความเชื่อ บุคลิกภาพ วิธีสอนที่แตกต่างกันของครูแต่ละคน การรู้จักยืดหยุ่น
ในการจัดการเรียนการสอนโดยคำนึงถึงธรรมชาติความแตกต่างของนักเรียนแต่ละคนและหล่อ
หลอมความแตกต่างระหว่างบุคคลให้มีความสอดคล้องกันอย่างดี
2. บทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา หมายถึง การปฏิบัติงาน
ในการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามที่กรมสามัญศึกษากำหนดเพื่อเป็นบรรทัดฐานให้ผู้บริหาร
โรงเรียนถือปฏิบัติ 7 ด้าน ได้แก่
2.1 ด้านการบริหารทั่วไป หมายถึง การจัดการ การสั่งการ การอำนวยการ ด้าน
การวางแผน การจัดองค์การ การจัดระบบสารสนเทศ การบริหารงานบุคคล การสื่อสารคมนาคม
และการประชาสัมพันธ์ การบริหารการเงินและการประเมินผลงานการบริหารทั่วไป
2.2 ด้านการบริหารงานวิชาการ หมายถึง การจัดการ การสั่งการ การอำนวยการ
ด้านการวางแผนงานวิชาการ การบริหารงานวิชาการ การจัดการเรียนการสอน การพัฒนาและ
ส่งเสริมทางด้านวิชาการ การวัดและประเมินผลการเรียน งานทะเบียนนักเรียนและการประเมินผล
การจัดงานวิชาการ
2.3 ด้านการบริหารงานธุรการ หมายถึง การจัดการ การสั่งการ การอำนวยการ
การวางแผนงานธุรการ การบริหารงานธุรการ การบริหารงานสารบรรณ การบริหารงานการเงิน
และการบัญชี การบริหารงานพัสดุ การบริหารงานทะเบียนและสถิติข้าราชการครูและลูกจ้างและ
การประเมินผลการจัดงานธุรการ
2.4 ด้านการบริหารงานปกครองนักเรียน หมายถึง การจัดการ การสั่งการ การอำนวย
การด้านการวางแผนงานปกครองนักเรียน ด้านการบริหารงานปกครองนักเรียน ด้านการส่งเสริม
9
พัฒนาให้นักเรียนมีวินัย คุณธรรมจริยธรรม การป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
ของนักเรียน การดำเนินการส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียนและการประเมินผลงานปกครอง
นักเรียน
2.5 ด้านการบริหารงานบริการ หมายถึง การจัดการ การสั่งการ การอำนวยการ
ด้านการวางแผนการบริหารงานบริการ การจัดการด้านสาธารณูปโภค การจัดบริการน้ำดื่ม น้ำใช้
การจัดบริการโภชนาการ การจัดบริการสุขภาพพลานามัย การจัดบริการห้องสมุด การจัดบริการ
โสตทัศนูปกรณ์ การจัดบริการแนะแนว การจัดกิจกรรมสหกรณ์ในสถานศึกษาและการประเมินผล
งานบริการ
2.6 ด้านการบริหารโรงเรียนกับชุมชน หมายถึง การจัดการ การสั่งการ การอำนวย
การด้านการวางแผนสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน การสร้างและเผยแพร่เกียรติ
ประวัติของโรงเรียน การให้บริการชุมชน การมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน การได้รับการ
สนับสนุนจากชุมชนและการประเมินผลงานสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
2.7 ด้านการบริหารอาคารสถานที่ หมายถึง การจัดการ การสั่งการ การอำนวยการ
ด้านการบริหารบริเวณโรงเรียน การบริหารอาคารเรียน การบริหารห้องเรียน การบริหารห้องพิเศษ
การบริหารห้องบริการ การบริหารอาคารโรงฝึกงาน การบริหารอาคารหอประชุม การบริหาร
อาคารห้องน้ำ-ห้องส้วม และการบริหารอาคารพลศึกษา
3. โรงเรียนมัธยมศึกษา หมายถึง สถานศึกษาที่จัดการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษา
ตอนต้นและตอนปลาย สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดนครปฐม
4. ขนาดของโรงเรียน หมายถึง โรงเรียนมัธยมศึกษาที่กำหนดขนาดของโรงเรียนโดย
พิจารณาจากจำนวนนักเรียนตามเกณฑ์ของกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ พุทธศักราช
2539 (กรมสามัญศึกษา 2539 : 82)
4.1 โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก ได้แก่ โรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียนน้อยกว่า 500 คน
4.2 โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง ได้แก ่ โรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียนตั้งแต  500 คน
ถึง 1,499 คน
4.3 โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ ได้แก่ โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่และขนาด
ใหญ่พิเศษซึ่งหมายถึงโรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียนตั้งแต่ 1,500 คนขึ้นไป
5. ครูปฏิบัติการสอน หมายถึง ข้าราชการครูที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการสอนในวิชาสามัญ
และวิชาชีพในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย และหมายรวมถึงผู้ช่วยผู้บริหารโรงเรียน
และหัวหน้าหมวดวิชาในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดนครปฐม
10
6. ผู้บริหารโรงเรียน หมายถึง ครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่ ผู้อำนวยการโรงเรียน หรือผู้รักษาการ
ในตำแหน่งนั้น ๆ
กรอบความคิดในการวิจัย
กรอบความคิดในการวิจัยนี้ ผู้วิจัยได้นำแนวคิดเกี่ยวกับวัฒนธรรมโรงเรียนของ
แพตเตอร์สัน (Patterson 1986 : 50-51 ) 10 ประการ ได้แก่ 1. เป้าหมายของโรงเรียน 2. การมอบ
อำนาจ 3. การตัดสินใจ 4. ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียน 5. ความไว้วางใจ 6. ความมี
คุณภาพ 7. การยอมรับนับถือ 8. ความเอื้ออาทร 9. ความซื่อสัตย์สุจริต 10. ความหลากหลายของ
บุคลากรและบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามมาตรฐานโรงเรียน
มัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา (กรมสามัญศึกษา 2539 : 3-9) ซึ่งกรมสามัญศึกษากำหนด
ไว้ 7 ด้าน ได้แก่ ด้านการบริหารทั่วไป ด้านการบริหารงานวิชาการ ด้านการบริหารงานธุรการ
ด้านการบริหารงานปกครองนักเรียน ด้านการบริหารงานบริการ ด้านการบริหารโรงเรียนกับชุมชน
และด้านการบริหารอาคารสถานที่ มาเป็นกรอบความคิดทางทฤษฎีที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ซึ่งมี
ลักษณะดังแผนภาพที่ 1
11
วัฒนธรรมโรงเรียนที่ส่งผลต่อบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา
วัฒนธรรมโรงเรียน บทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหาร
โรงเรียนมัธยมศึกษา
1. เป้าหมายของโรงเรียน 1. บทบาทด้านการบริหารทั่วไป
2. การมอบอำนาจ 2. บทบาทด้านการบริหารงานวิชาการ
3. การตัดสินใจ 3. บทบาทด้านการบริหารงานธุรการ
4. ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่ง 4. 4. บทบาทด้านการบริหารงานปกครอง
ของโรงเรียน นักเรียน
5. ความไว้วางใจ 5. บทบาทด้านการบริหารงานบริการ
6. ความมีคุณภาพ 6. บทบาทด้านการบริหารโรงเรียนกับ
7. การยอมรับนับถือ ชุมชน
8. ความเอื้ออาทร 7. บทบาทด้านการบริหารอาคารสถานที่
9. ความซื่อสัตย์สุจริต
10. ความหลากหลายของบุคลากร
แผนภาพที่ 1 กรอบความคิดในการวิจัย
สมมติฐานในการวิจัย
1. วัฒนธรรมโรงเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีขนาดแตกต่างกันมีความแตกต่างกัน
2. บทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีขนาดแตกต่างกันมีความ
แตกต่างกัน
3. วัฒนธรรมโรงเรียนส่งผลต่อบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา
สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดนครปฐม
บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาวัฒนธรรมโรงเรียนที่ส่งผลต่อบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหาร
โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดนครปฐม เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ
เรื่องนี้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องดังนี้
1. วัฒนธรรมและวัฒนธรรมโรงเรียน
2. บทบาทการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา
3. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
วัฒนธรรมและวัฒนธรรมโรงเรียน
วัฒนธรรม ได้แก่ การดำเนินชีวิตของกลุ่มคนซึ่งรวมถึงขนบธรรมเนียมประเพณี ความ
เคยชิน ความเชื่อ ค่านิยม เราถ่ายทอดวัฒนธรรมโดยอาศัยภาษา (ยุทธ ศักดิ์เดชยนต์ 2522 : 45)
วัฒนธรรมประกอบด้วยสิ่งที่ปฏิบัติจนคุ้นเคยเป็นนิสัย นอกจากนี้แล้วสมาชิกของสังคมยังเคารพ
กฎหมาย จารีตประเพณีร่วมกัน สังคมมนุษย์จะอยู่โดยไม่มีการสื่อสารและมีกฎหมายประเพณีที่
ไม่สอดคล้องกันย่อมไม่ได้
สังคมและวัฒนธรรม มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันอย่างลึกซึ้ง วัฒนธรรมเกิดขึ้นเพื่อ
ตอบสนองความต้องการทางสังคมและจิตใจของมนุษย์ เป็นสิ่งที่ทำให้โครงสร้างของสังคมคงอยู่
เพราะเป็นการเสริมสร้างความผูกมัดทางจิตใจของคนหลายคนเข้าไว้ด้วยกัน (อมรา พงศาพิชญ์
2526 : 75) มีผู้ให้คำนิยามคำว่า วัฒนธรรมไว้ ได้แก่ คูน (Coon 1954 : 5) ให้ความหมายว่า
วัฒนธรรม คือ ผลรวมทั้งหมดของวิธีต่างๆ ที่ทำให้มนุษย์มีชีวิตอยู่ได้และถ่ายทอดโดยการเรียนรู้
ไพฑูรย์ เครือแก้ว (2518 :40) ให้ข้อคิดเห็นว่าวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ทำให้มนุษย์มีความแตกต่างออก
ไปจากสัตว์ และเป็นลักษณะที่มนุษย์มีนอกเหนือไปจากลักษณะทางร่างกายและชีวภาพลักษณะ
พิเศษหรือวัฒนธรรมที่มนุษย์ร่วมกันคิดค้นสร้างสรรค์และสะสมถือปฏิบัติเป็นแบบแผนแห่ง
พฤติกรรมในชีวิตมาเป็นเวลาช้านาน
จึงสรุปได้ว่าวัฒนธรรม คือ คุณลักษณะที่เกิดจากการเรียนรู้และปลูกฝังทางกระบวนการ
สังคม(Socialization) ซึ่งสามารถเลือกสรรค์ สร้างความเชื่อ ความคิด ถ่ายทอดทางสังคมโดยอาศัย
สัญลักษณ์หรือเป็นแบบของความเชื่อและสิ่งที่คาดหมายต่าง ๆ ที่มีอยู่ร่วมกันในบรรดาสมาชิกของ
องค์การและความเชื่อจะกลายเป็นกฎระเบียบของพฤติกรรมการปฏิบัติ เรียกว่า บรรทัดฐาน
วัฒนธรรมจึงเป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา
13
ลักษณะของวัฒนธรรม
สิ่งที่จะช่วยให้เข้าใจวัฒนธรรมดีขึ้น คือ ลักษณะบางประการเกี่ยวกับวัฒนธรรม
ประสาท หลักศิลา (2528 : 10) แสดงทัศนะว่าวัฒนธรรมมีลักษณะสำคัญ ดังนี้
1. เป็นพฤติกรรมที่เกิดด้วยการเรียนรู้ เป็นมรดกทางสังคม
2. เป็นพฤติกรรมที่คนอื่น ๆ ในสังคมเดียวกันปฏิบัติเหมือนกัน คนในสังคมเดียวกันย่อม
ปฏิบัติเหมือนกันไปในแนวเดียวกันจึงคาดหมายล่วงหน้าได้ว่าในกรณีที่มีการกระทำอย่างนี้ผู้อื่นจะ
มีปฏิกิริยาโต้ตอบอย่างไร
3. เป็นผลของการที่คนอยู่ร่วมกันเป็นสังคม
4. เป็นสิ่งที่ถ่ายทอดได้ด้วยระบบสัญลักษณ์ ได้แก่ ภาษา
5. มีลักษณะเป็นบูรณภาพ คือ เป็นส่วนใหญ่ซึ่งประกอบด้วยส่วนย่อยทั้งหลายที่เกี่ยวโยง
กันอย่างซับซ้อน
จุมพล หนิมพานิช (2530 : 131) กล่าวว่า ลักษณะของวัฒนธรรมประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้
1. วัฒนธรรมเป็นสิ่งจำเป็นในการดำเนินชีวิตในสังคม
2. วัฒนธรรมไม่ใช่สิ่งที่ติดตัวมนุษย์มาแต่กำเนิดส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการเรียนรู้
3. วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่อาจเปลี่ยนแปลงได้
4. วัฒนธรรมแต่ละสังคมมีความแตกต่างกัน มีความเหมาะสมถูกต้องตามสภาพ แวดล้อม
ของแต่ละสังคม
5. วัฒนธรรมเป็นผลของหลาย ๆ สิ่ง (integrative) วัฒนธรรมของสังคมหนึ่งเป็นผลรวม
ของแบบแผนหรือแนวทางการดำเนินชีวิตของหลายๆ อย่างเข้าด้วยกัน ส่วนต่าง ๆ หรือวัฒนธรรม
แต่ละแขนงหรือแต่ละสาขาเหล่านี้ได้รวมกันเป็นวัฒนธรรมที่สมบูรณ์แบบของแต่ละสังคม สมาชิก
ในสังคมยึดถือแบบเดียวกันเรียกว่า วัฒนธรรมใหญ่ หรือวัฒนธรรมรวม (total culture) และถ้ามี
แบบคล้ายๆ กันและมีแดนต่อเนื่องกันเรียกว่า วัฒนธรรมแดน(culture area) และแปลงเป็น
วัฒนธรรมย่อย (subculture) มีลักษณะแตกต่างกันในรายละเอียด
สุพิศวง ธรรมพันทา (2533 : 165) กล่าวว่า วัฒนธรรมมีลักษณะดังนี้
1. แบบพฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้ พฤติกรรมของมนุษย์ส่วนใหญ่เกิดจากการเรียนรู้
เมื่อดำรงอยู่ในสังคม ได้มีการติดต่อสมาคมกับสมาชิกอื่นในสังคมนั้น การเรียนรู้ เกิดขึ้นทั้งโดยรู้ตัว
และไม่รู้ตัว
2. ผลิตผลของพฤติกรรมมนุษย์ผลิตหรือสร้างสรรค์ผลผลิตต่างๆ เพื่อดำรงชีวิตอยู่ทั้งในรูป
วัตถุสิ่งของ (Material objects) ค่านิยม (Values) ความเชื่อ (beliefs) และความรู้ (knowledge)
14
3. มรดกแห่งสังคมการส่งต่อและสืบทอดวัฒนธรรมได้อาศัยภาษาเป็นสัญลักษณ์ใน
การสืบทอดวัฒนธรรมจากคนรุ่นเก่ามาสู่คนรุ่นใหม่
4. มีลักษณะเป็นสิ่งที่เหนืออินทรีย์ เหนือธรรมชาติ มนุษย์นำมาประยุกต์ใช้ในลีลาและ
เทคนิคต่างกันในแต่ละสังคม
5. การสะสมและการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ วัฒนธรรมต้องมีการเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสม
กับสมัย เป็นไปตามลักษณะทางชีววิทยาของมนุษย์ อาจเปลี่ยนแปลงเร็วหรือช้าหรือติดต่อกันโดย
ไม่หยุด
6. วิถีชีวิตของมนุษย์ วัฒนธรรมเป็นระบบแบบแผนการดำเนินชีวิตของมนุษย์ที่ให้ทุกคน
ต้องปฏิบัติตามอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เป็นตัวกำหนดกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตของมนุษย์
วัฒนธรรมเป็นของร่วมกัน สร้างขึ้นโดยการรวมกลุ่มจึงไม่มีผู้ใดสร้างและเรียนรู้วัฒนธรรม
ได้ทั่วทั้งหมด
สุพัตรา สุภาพ (2534 : 37-38) กล่าวว่า ลักษณะของวัฒนธรรมประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้
1. เป็นสิ่งที่ได้มาโดยการเรียนรู้
2. เป็นมรดกทางสังคม มนุษย์มีภาษาเป็นสื่อกลางในการถ่ายทอด
3. เป็นวิถีชีวิตหรือแบบของการดำรงชีวิต
4. เป็นสิ่งที่ไม่คงที่ มนุษย์คิดค้นสิ่งใหม่ ปรับปรุงของเดิมให้เหมาะสมกับสถานการณ์
ที่เปลี่ยนแปลงไปจึงทำให้วัฒนธรรมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
สรุปได้ว่า วัฒนธรรม มีลักษณะสำคัญ คือ เป็นแบบแผนของพฤติกรรมที่มนุษย์สร้างขึ้น
ก็จะเรียนรู้วัฒนธรรมที่กลุ่มยอมรับและยึดถือร่วมกัน เป็นสิ่งที่ไม่คงที่เปลี่ยนแปลงตามกาลเวลาที่
เหมาะสม ถ่ายทอดได้โดยการใช้ภาษาเป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดวัฒนธรรมจากคนรุ่นเก่าสู่คน
รุ่นใหม่
ประเภทของวัฒนธรรม
นักสังคมวิทยาแบ่งประเภทของวัฒนธรรมไว้หลายลักษณะ ได้แก่ ฮอร์ธอนและฮันท์
(Horton and Hunt 1980 : 60 - 61) แบ่งวัฒนธรรมเป็น 2 ประเภท คือ
1. วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับวัตถุ (material culture) วัฒนธรรมประเภทนี้จะเน้นสิ่งที่เป็น
รูปธรรม (Concrete) ได้แก่ สิ่งของหรือวัตถุที่มนุษย์สร้างขึ้นมา เช่น เครื่องมือ โทรศัพท์ รถยนต์
อาคารบ้านเรือน
2. วัฒนธรรมที่ไม่เกี่ยวข้องกับวัตถุ (non-material culture) วัฒนธรรมประเภทนี้เน้นสิ่งที่
เป็นนามธรรม(abstract) ได้แก่ ภาษาถ้อยคำที่ใช้พูด ความคิด ค่านิยม ประเพณี ความเชื่อที่มนุษย์
ยึดถือเกี่ยวกับศาสนา ลัทธิการเมืองและอาจรวมกติกาการแข่งขันกีฬาไว้ด้วย
15
เบียร์สเต๊ท (Bierstedt 1970 : 194) เห็นว่าแนวคิดเกี่ยวกับประเภทของวัฒนธรรมที่ไม่
เกี่ยวข้องกับวัตถุ (non-material culture) นั้นคลุมเครือจึงน่าจะแบ่งวัฒนธรรมเป็น 3 ประเภท คือ
1. วัฒนธรรมด้านวัตถุ (material) คือ สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น
2. วัฒนธรรมด้านความคิด(idea) คือ ความจริงทางวิทยาศาสตร์ ความเชื่อทางศาสนา
เรื่องลึกลับ นิยายปรัมปรา วรรณคดี สุภาษิต
3. วัฒนธรรมทางด้านบรรทัดฐาน คือ เรื่องที่ประพฤติปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนที่ได้มี
การวางไว้ ทั้งลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
สรุปได้ว่า วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่สะท้อนถึงระบบแห่งความคิด ความเชื่อและเจตคติร่วมกัน
ของคนในแต่ละสังคม ซึ่งแสดงออกมาทั้งในรูปธรรมและนามธรรม
องค์ประกอบของวัฒนธรรม
ไพบูลย์ ช่างเรียน (2532 : 14) ได้กล่าวถึงองค์ประกอบที่สำคัญของวัฒนธรรมไว้ดังนี้
1. องค์ประกอบเกี่ยวกับความคิด(concepts) ได้แก่ ความเชื่อ ความเข้าใจ เจตคติ ตลอดจน
อุดมการณ์ต่างๆ เช่น ความเชื่อในเรื่องของพระเจ้าองค์เดียวหรือหลายองค์ ความคิดเห็นหรือ
อุดมการณ์ในทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง การบริหาร ความเข้าใจในเรื่องมนุษย์
การยอมรับว่าสิ่งใดควรหรือไม่ควร ถูกหรือผิด ซึ่งจะเป็นเครื่องวัดหรือมาตรฐานในการตัดสินใจ
ของคน ตลอดจนเป็นเครื่องวัดเกี่ยวกับสภาวะแวดล้อมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม
2. องค์ประกอบทางพิธีการ (usage) เป็นเรื่องเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณี พิธีกรรม
ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์สร้างขึ้น
3. องค์ประกอบทางวัตถุ (in-strumental and symbolic objects) คือ วัฒนธรรมทางวัตถุที่
สามารถจับต้องได้และมีรูปร่าง เช่น เครื่องมือเครื่องใช้ บ้าน โรงเรียน วัด และภาษาเขียน
สัญลักษณ์ในการสื่อความหมาย มาตรการต่าง ๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้นมา
4. องค์ประกอบเกี่ยวกับองค์การ (organization of association) เป็นการมองในลักษณะของ
สถาบันหรือองค์การ สมาคมต่างๆ ในสังคม ซึ่งหมายถึง กลุ่มที่มีการจัดอย่างเป็นระบบมีโครงสร้าง
และหน้าที่อย่างเป็นทางการ มีการวางกฎเกณฑ์ ระเบียบ ข้อบังคับตลอดจนจุดประสงค์ไว้ใน
องค์การ ซึ่งจะมีตั้งแต่ระดับเล็กที่สุด คือ ครอบครัวจนถึงระดับใหญ่ที่สุด คือ องค์การสหประชาชาติ
วัฒนธรรมองค์การ
วัฒนธรรมองค์การเป็นสิ่งที่เห็นได้ไม่ชัดเจนเสมือนระบบที่ไม่เป็นทางการ องค์การที่
มีวัฒนธรรมแข็งแกร่งจะมีผลต่อการปฏิบัติงานอย่างน่าประหลาดจะเห็นบุคลากรทำงานด้วยความ
มั่นใจ เต็มใจ องค์การที่อ่อนแอจะมีปัญหาด้านความสามัคคี พฤติกรรมกระจัดกระจายไม่มีทิศทาง
มีความตึงเครียดในกลุ่ม จะเห็นว่าวัฒนธรรมองค์การอาจกลายเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานหรือ
16
มีคุณค่าที่สามารถเป็นพลังส่งเสริมให้องค์การประสบความสำเร็จได้มาก ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้นำที่
จะต้องรู้จักเสริมสร้างวัฒนธรรมที่ดีให้เป็นเครื่องสร้างสรรค์ความสำเร็จให้กับองค์การมากขึ้น
ในอนาคต (สุวิทย์ บุญช่วย 2535 : 69) วัฒนธรรมองค์การจะเกิดขึ้นจากองค์ประกอบ 5 ประการ
ดังนี้ 1. สภาพแวดล้อม 2. ความเชื่อและค่านิยม 3. ผู้นำ ผู้ก่อตั้งหรือวีรบุรุษขององค์การ
4. เหตุการณ์สำคัญและประเพณีปฏิบัติในองค์การ 5. เครือข่ายทางสังคมและการติดต่อสื่อสาร
ในองค์การ วัฒนธรรมองค์การจะมีอิทธิพลต่อการแสดงออกของทุกองค์การ โดยจะเป็นพื้นฐานใน
ความสำเร็จหรือความล้มเหลวขององค์การ (มัลลิกา ต้นสอน 2544 : 157)
ความหมายของวัฒนธรรมองค์การ
กริช สืบสนธ์ (2538 : 5) ได้รวบรวมคำจำกัดความของคำว่า วัฒนธรรมองค์การไว้ดังนี้
1. วัฒนธรรมองค์การ คือ ระบบความหมายที่กลุ่มยอมรับในช่วงเวลาหนึ่งซึ่งรวมถึงความเชื่อ ภาษา
ประเพณีปฏิบัติ 2. วัฒนธรรมองค์การ คือ ค่านิยมของสมาชิกในองค์การ พิธีการและพฤติกรรม
การแก้ไขปัญหาของคนในองค์การ 3. วัฒนธรรมไม่ใช่พฤติกรรมหรือสิ่งของเครื่องใช้แต่เป็น
ข้อตกลงที่อยู่ใต้ค่านิยมและกำหนดรูปแบบของพฤติกรรมตลอดจนสิ่งของเครื่องใช้ สถาปัตยกรรม
การจัดที่ทำงาน การแต่งกาย เป็นต้น
สมยศ นาวีการ (2533 : 92) กล่าวว่า วัฒนธรรมองค์การ คือ ค่านิยม ความเชื่อ ความเข้าใจ
และบรรทัดฐานร่วมกันของบรรดาสมาชิกภายในองค์การ วัฒนธรรมจะเป็นบรรทัดฐานที่ไม่เป็น
ทางการ และไม่เป็นลายลักษณ์อักษรที่ผูกสมาชิกองค์การเข้าด้วยกัน ส่วนสุวิทย์ บุญช่วย
(2535 : 39) และธงชัย สันติวงษ์ (2539 : 238-242) มีความเห็นว่าวัฒนธรรมองค์การ หมายถึง
ความรู้สึกที่เป็นอารมณ์ร่วมที่ช่วยในการประสานองค์การให้อยู่ร่วมกันเป็นอันเดียวกัน ความเชื่อ
จะกลายเป็นกฎระเบียบของพฤติกรรมการปฏิบัติหรือบรรทัดฐาน ซึ่งมีอิทธิพลอย่างมากในการ
กำกับพฤติกรรมของบุคคลและของกลุ่มในองค์การ หรือเป็นปัจจัยเอื้ออำนวยในการปฏิบัติงาน
เป็นเครื่องสร้างสรรค์ความสำเร็จ
สรุปได้ว่า วัฒนธรรมองค์การ หมายถึง ค่านิยม ความเชื่อ สิ่งที่คาดหมายต่าง ๆ สัญลักษณ์
ที่อยู่ร่วมกันพัฒนาจนกลายเป็นบรรทัดฐานให้สมาชิกทุกคนปฏิบัติตามเพื่อให้บรรลุจุดประสงค์
ที่เป็นเป้าหมายแห่งความสำเร็จ
ลักษณะของวัฒนธรรมองค์การ
ปัจจัยสังคมที่มีความสำคัญต่อการบริหาร คือ วัฒนธรรมองค์การเพราะวัฒนธรรมองค์การ
เป็นมรดกสังคมที่มีอิทธิพลต่อการประพฤติปฏิบัติและพฤติกรรมของมนุษย์ วัฒนธรรมองค์การมี
ลักษณะที่สังเกตได้ ตามที่มีผู้กล่าวไว้ดังนี้
17
มัลลิกา ต้นสอน (2544 : 157) กล่าวว่า ลักษณะวัฒนธรรมองค์การจะเกิดขึ้นจาก
องค์ประกอบ 5 ประการ ต่อไปนี้
1. สภาพแวดล้อม
2. ความเชื่อและค่านิยม
3. ผู้นำ ผู้ก่อตั้งหรือวีรบุรุษขององค์การ
4. เหตุการณ์สำคัญและประเพณีปฏิบัติในองค์การ
5. เครือข่ายทางสังคมและการติดต่อสื่อสารในองค์การ
สมยศ นาวีการ (2533 : 92-93) แบ่งวัฒนธรรมองค์การ 2 ระดับ ดังนี้
1. วัฒนธรรมองค์การระดับพื้นผิว ได้แก่ วัฒนธรรมที่มองเห็นได้ รวมทั้งลักษณะ
ของเครื่องแต่งกาย เรื่องราว สัญลักษณ์ งานพิธี การวางผังสำนักงาน เป็นวัฒนธรรมองค์การที่มอง
เห็นได้ภายในองค์การ
2. วัฒนธรรมองค์การระดับลึก ได้แก่ ค่านิยมและบรรทัดฐานที่ควบคุมพฤติกรรม ค่านิยม
ที่ไม่สามารถมองเห็นได้โดยตรง สามารถแปลความได้จากเรื่องราว ภาษา สัญลักษณ์ที่เป็นตัวแทน
ค่านิยมเหล่านี้จะถูกยึดถือโดยสมาชิกขององค์การที่เข้าใจความสำคัญของมันร่วมกัน
วัฒนธรรมสามารถมองเห็นได้จากระดับพื้นผิว
วัตถุที่มองเห็นได้ เช่น
เครื่องแต่งกาย การวางผังสำนักงาน
สัญลักษณ์ คำขวัญ งานพิธี
ค่านิยมที่อยู่ข้างใต้
แสดงค่านิยมและความเข้าใจร่วมกัน
ที่ลึกกว่าของสมาชิกภายในองค์การ
แผนภาพที่ 2 แสดงวัฒนธรรมองค์การสองระดับ
18
สรุปได้ว่า ลักษณะวัฒนธรรมองค์การเป็นแบบแผนเกณฑ์ในการสร้างกฎระเบียบปฏิบัติ
ของบุคคลในแต่ละองค์การที่ประพฤติปฏิบัติไปในแนวเดียวกัน ซึ่งกำหนดตามความเชื่อและ
ค่านิยมของบุคคลในองค์การช่วยให้องค์การบรรลุเป้าหมาย
วัฒนธรรมโรงเรียน
วัฒนธรรมโรงเรียนเป็นตัวการให้บุคลากรในโรงเรียนเข้าใจถึงลักษณะการทำงานและการ
เลือกแนวทางที่ถูกต้องในการแก้ปัญหาและการปฏิบัติงานร่วมกัน จึงจำเป็นต้องทำความเข้าใจถึง
ความสำคัญของวัฒนธรรมโรงเรียนที่เกี่ยวข้องกับความคิด ความเชื่อ การประพฤติของบุคลากรใน
โรงเรียน ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อการบริหารงานและพัฒนาโรงเรียน ถ้าสามารถเข้าใจถึงวัฒนธรรม
โรงเรียน และใช้ให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและเทคโนโลยีในสังคมปัจจุบันแล้ว จะส่งผลให้การ
บริหารงานของโรงเรียนประสบผลสำเร็จ
ความหมายของวัฒนธรรมโรงเรียน
วัฒนธรรมโรงเรียนมีความหมายลึกซึ้งมาก มีนักการศึกษาได้ให้ความหมายของวัฒนธรรม
โรงเรียนไว้หลายท่าน ได้แก่
โอเวน (Owens 1987 : 17) กล่าวว่า วัฒนธรรมโรงเรียนเป็นแนวปฏิบัติที่เกิดขึ้นทีละเล็ก
ทีละน้อยสม่ำเสมอและกลายเป็นสิ่งหล่อหลอมพฤติกรรมของบุคคลอย่างมีประสิทธิภาพ ส่วน
เซอร์จิโอแวนนี่ (Sergiovanni 1998 : 103) กล่าวว่า วัฒนธรรมโรงเรียนเป็นตัวกำหนดสัญลักษณ์
กฎเกณฑ์ของพฤติกรรม พิธีการ เรื่องราวที่เล่าสู่กันมานานซึ่งเน้นถึงค่านิยม ความเชื่อว่าสมาชิก
ขององค์การจะต้องมีส่วนร่วมด้วย สำหรับ สุรศักดิ์ หลาบมาลา (2531 : 40) ให้ความหมายของ
วัฒนธรรมโรงเรียนว่า หมายถึง แนวปฏิบัติในการแก้ปัญหาทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน ซึ่งเคย
ใช้ปฏิบัติติดต่อกันมาเป็นเวลานานได้รับการถ่ายทอดสู่สมาชิกของโรงเรียนเพื่อเป็นแนวปฏิบัติ
อันเป็นที่ยอมรับซึ่งครอบคลุมถึงแนวความคิดความรู้สึกและการรับรู้ปัญหาต่าง ๆ
จึงอาจกล่าวได้ว่า วัฒนธรรมโรงเรียน หมายถึง ค่านิยม ความเชื่อและบรรทัดฐานซึ่งเป็น
ปัจจัยในการทำงานของบุคคลในโรงเรียน
ลักษณะของวัฒนธรรมโรงเรียน
ในการปฏิบัติงานบริหารโรงเรียนนั้น ลักษณะของวัฒนธรรมโรงเรียนแต่ละโรงเรียนเป็น
อีกประการหนึ่งที่ผู้บริหารโรงเรียนควรศึกษาให้เข้าใจด้วยเพราะเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับค่านิยม
ความเชื่อและบรรทัดฐานของครูแต่ละคน ได้มีผู้กล่าวถึงวัฒนธรรมโรงเรียนไว้ดังนี้
19
เซอร์จิโอแวนนี่(Sergiovanni 1998 : 104 -105)ได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับลักษณะของวัฒนธรรม
โรงเรียนว่าประกอบด้วยลักษณะ 4 ประการ ดังนี้
1. สามารถสัมผัสและสังเกตได้ ได้แก่ คำพูด วิธีการประพฤติปฏิบัติ และสิ่งที่ปรากฏ
แก่สายตา เช่น ระเบียบแบบแผน พิธีการ เป็นต้น
2. ทัศนะของบุคลากร เป็นส่วนของวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับระเบียบปฏิบัติงานร่วมกัน
และบรรทัดฐานที่บุคลากรยอมรับ
3. ค่านิยม เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นข้อตกลงร่วมของครูปรากฏให้เห็นอยู่ในลักษณะที่เป็น
นโยบายหรือปรัชญาของโรงเรียน
4. สมมติฐานมีลักษณะเป็นนามธรรมมากกว่าระดับอื่นๆ เพราะเป็นลักษณะเฉพาะที่
แอบแฝงหรือปรากฏให้เห็นก็ได้
ชนิดา รักษ์พลเมือง (2533 : 75) ได้สรุปลักษณะของวัฒนธรรมโรงเรียนไว้ดังนี้
1. วัฒนธรรมโรงเรียนเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมสังคมซึ่งเรียกว่าวัฒนธรรมย่อย
(sub culture) มีวิถีแห่งการดำเนินงานในโรงเรียนมีวัฒนธรรมที่เป็นวัตถุ (material culture) ได้แก่
อาคารเรียน สิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียน กระบวนการเรียนการสอน ทั้งยังมีวัฒนธรรมที่ไม่ใช่วัตถุ
(non-material culture) คือ การปฏิบัติของครูพึงปฏิบัติต่อนักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน ผู้บริหารและ
ระหว่างครูด้วยกัน การทำตามกฎและระเบียบตลอดจนจรรยาบรรณที่ยึดถือทำให้ครูมีความรู้สึก
เป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียนและผูกมัดสมาชิกให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในโรงเรียน
2. ขนบประเพณีและพิธีกรรมในรูปแบบต่างๆ ได้แก่ คณะกรรมการบริหารโรงเรียน คณะ
กรรมการนักเรียน สัญลักษณ์หรือเครื่องหมายประจำโรงเรียน การจัดชั้นเรียน การจัด เวลาเรียน
การจัดครูเข้าสอน
3. มีความสัมพันธ์กับการเรียนร ู้ โดยปกติการเรียนรู้มักจะเกิดได้ดีถ้าสิ่งที่เรียนร ู้ เป็นสิ่งที่
พอใจมักจะปรากฏอยู่ในวัฒนธรรมโรงเรียนในแบบต่างๆ ได้แก่ เจตคติเกี่ยวกับคำสั่งอำนาจของครู
คำนิยามในสิ่งที่ผิดสิ่งที่ถูก
4. วัฒนธรรมเป็นกระบวนการ (process) ที่มีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา เขาจึงสามารถ
ถ่ายทอดสะสม (accumulate) และแพร่กระจาย (diffuse)
สรุปได้ว่า วัฒนธรรมโรงเรียนถ่ายทอดให้สมาชิกตลอดเวลาแบ่งได้เป็นหลายลักษณะ
ได้แก่ วัฒนธรรมที่สามารถสัมผัสและสังเกตเห็นได้ประกอบด้วยคำพูด ระเบียบปฏิบัติ พิธีการและ
สัญลักษณ์อื่นๆ และวัฒนธรรมที่ไม่สามารถสัมผัสได้ ได้แก่ ค่านิยม ความเชื่อ และบรรทัดฐาน
20
ข้อกำหนดวัฒนธรรมโรงเรียน
เซอร์จิโอแวนนี่ (Sergiovanni 1998 : 187-195) ได้กล่าวว่าวัฒนธรรมโรงเรียนได้ก่อตัวขึ้น
มาจากสิ่งต่อไปนี้
1. ประวัติความเป็นมาของโรงเรียน (the school’s history) ได้แก่ อดีตของโรงเรียนที่
สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน เช่น รูปแบบของพฤติกรรมที่ปฏิบัติต่อๆ กันมา การกล่าวถึงพฤติกรรม
ของผู้ที่เป็นวีรสตรีของครูและนักเรียนในโรงเรียน
2. ความเชื่อ (belief) เป็นสมมติฐานและความเข้าใจที่ครูและบุคลากรอื่นๆ ได้กระทำร่วม
กันและมีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงสร้างของโรงเรียน การเรียนการสอน บทบาทของครูและนักเรียน
ระเบียบวินัย ความสัมพันธ์กับผู้ปกครอง บางครั้งสมมติฐานและความตั้งใจอยู่ในรูปของปรัชญา
และข้อกำหนดอื่น ๆ
3. ค่านิยม (values) คือ สิ่งที่โรงเรียนให้ความสำคัญเกี่ยวกับการประเมินค่าสิ่งต่าง ๆ ที่
ปรากฏ
4. บรรทัดฐานและมาตรฐาน (norms and standards) ได้แก่ สิ่งที่ควรปฏิบัติและไม่ควร
ปฏิบัติ สำหรับควบคุมพฤติกรรมของครูอาจารย์ในโรงเรียนจะก่อให้เกิดพฤติกรรมที่ควรชมเชย
ยกย่องหรือลงโทษ
5. รูปแบบของพฤติกรรม (pattern of behavior) คือ สิ่งที่ยอมรับและเป็นแนวทางในการ
ปฏิบัติงานที่สม่ำเสมอภายในโรงเรียน
การก่อตัวของวัฒนธรรมโรงเรียนจะเกิดขึ้นจากประวัติความเป็นมาของโรงเรียนซึ่งจะมี
อิทธิพลต่อความเชื่อ ความเชื่อมีอิทธิพลต่อค่านิยม ค่านิยมมีอิทธิพลต่อบรรทัดฐานและมาตรฐาน
บรรทัดฐานและมาตรฐานมีอิทธิพลต่อรูปแบบของพฤติกรรม
ส่วนประกอบของวัฒนธรรมโรงเรียน
แพตเตอร์สัน (Patterson 1986 : 50-51) ได้กล่าวถึงวัฒนธรรมโรงเรียนว่ามีส่วนเกี่ยวข้อง
กับพฤติกรรมของบุคลากรในโรงเรียน 10 ประการได้แก่ 1. เป้าหมายของโรงเรียน 2. การมอบ
อำนาจ 3. การตัดสินใจ 4. ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียน 5. ความไว้วางใจ 6. ความมี
คุณภาพ 7. การยอมรับนับถือ 8. ความเอื้ออาทร 9. ความซื่อสัตย์สุจริต 10. ความหลากหลายของ
บุคลากร ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
1. เป้าหมายของโรงเรียน ภายในโรงเรียนควรประชาสัมพันธ์ชี้แจงให้บุคลากรใน
โรงเรียนเข้าใจเห็นคุณค่าและความสำคัญเกี่ยวกับเป้าหมายของโรงเรียนเพื่อเป็นแนวทางในการ
ดำเนินการและประเมินผลร่วมกัน รวมทั้งคำนึงถึงการตัดสินใจที่มีผลต่อเป้าหมายของโรงเรียนด้วย
21
ความสำคัญของเป้าหมายของโรงเรียน
องค์การใดหรือโรงเรียนใดจะอยู่รอดและมีความเจริญรุ่งเรืองนั้น ความสำคัญอยู่ที่ตัวบุคคล
ที่ทำงานร่วมอยู่ในองค์การนั้นๆ นับตั้งแต่ผู้บริหารลงไปถึงผู้ปฏิบัติงานในระดับต่ำจะสามารถ
ทำงานให้มีประสิทธิภาพเพียงใดนั้น ควรคำนึงถึงเป้าหมายของโรงเรียนเป็นสำคัญ ดังที่วิโรจน์
สารรัตนะ (2532 : 121) กล่าวไว้ดังนี้
1. เป้าหมายเป็นตัวการที่จะนำไปสู่การกำหนดนโยบาย แนวทางการปฏิบัติ กฎและ
ระเบียบในการปฏิบัติงานให้ถูกต้องตามความเหมาะสม
2. เป้าหมายเป็นตัวชี้นำองค์การ ถึงแม้ว่าบุคคลแต่ละคนในองค์การจะมีความคิดเห็นที่
แตกต่างกันแต่เป้าหมายขององค์การจะเป็นหลักชัยที่จะทำให้ทุกคนมีเหตุผล มีความสามัคคีมีความ
เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มีการร่วมแรงร่วมใจกันที่จะปฏิบัติงานเพื่อให้บังเกิดผลตามเป้าหมายของ
องค์การนั้น
3. เป้าหมายเป็นเกณฑ์มาตรฐานที่ใช้ในการควบคุมการดำเนินงานขององค์การและเป็นสิ่ง
ที่จะช่วยจูงใจให้บุคคลในองค์การปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้จะมีปัญหาขึ้นจากการ
ทำงานก็สามารถจะยึดเป้าหมายนั้นเป็นหลักในการพิจารณาแก้ปัญหาด้วยตนเอง
4. เป้าหมายเป็นพื้นฐานของการกระจายอำนาจ เนื่องจากเมื่อผู้ปฏิบัติงานได้ทราบเข้าใจ
และยอมรับเป้าหมายแล้วจะสามารถทำงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบได้อย่างเต็มที่
ลักษณะการกำหนดเป้าหมาย
การกำหนดเป้าหมายเป็นขั้นตอนต่อเนื่องจากการกำหนดสภาพปัจจุบันและปัญหาหากไม่
ทราบสภาพปัจจุบันและปัญหาก่อนย่อมไม่สามารถกำหนดเป้าหมายที่ดีได้แม้จะกำหนดขึ้นคงจะได้
เป้าหมายที่ไม่สอดคล้องกับปัญหาหรือความต้องการที่แท้จริงขององค์การ ดังท ี่ (วิโรจน  สารรตั นะ
2532 : 123) ให้แนวคิดในการกำหนดเป้าหมายว่า ควรคำนึงถึงลักษณะดังต่อไปนี้
1. ควรมีความสัมพันธ์กับความต้องการขององค์การและควรจะสอดคล้องกับเป้าหมายใน
ระดับที่สูงกว่า
2. ต้องได้รับการยอมรับและเห็นด้วยจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ต้องมีความเป็นไปได้สามารถ
ปฏิบัติบรรลุผลตามเป้าหมายไม่ได้กำหนดขึ้นมาอย่างเลื่อนลอยหรือเป็นอุดมคติ
3. ควรมีลักษณะท้าทาย เป้าหมายต้องไม่ยากจนเกินไปจนเกิดความท้อถอยหรือไม่ง่าย
จนเกินไป ควรให้มีความสมเหตุสมผลในลักษณะที่ยากพอสมควรเพื่อให้เป็นที่น่าท้าทายและจูงใจ
ผู้ปฏิบัติงาน
4. เป้าหมายที่ดีควรระบุไว้อย่างชัดเจนและเข้าใจง่ายเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานมีหลักยึดถือและ
ปฏิบัติงานไปในแนวทางเดียวกัน
22
สรุปได้ว่าในการกำหนดเป้าหมายของโรงเรียนควรคำนึงถึงสภาพปัญหาของโรงเรียนและ
ให้คณะครูมีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมายเพื่อจูงใจให้คณะครูทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
2. การมอบอำนาจ ในโรงเรียนผู้บริหารเป็นผู้มีและเป็นผู้ใช้อำนาจได้ตามตำแหน่ง
แต่ในการปฏิบัติราชการในโรงเรียนผู้บริหารมีภาระมากจึงต้องแบ่งอำนาจไปยังผู้ใต้บังคับบัญชา
ผู้รับผิดชอบรองลงไป ทั้งนี้ผู้ใช้อำนาจต้องใช้โดยไม่ขัดกับเป้าหมายของโรงเรียน ในบาง
สถานการณ์เมื่อผู้บริหารมอบหมายงานให้ครูนำไปปฏิบัติควรเห็นความสำคัญของการมอบอำนาจ
ในการตัดสินใจแก่ครูผู้นั้นด้วย นอกจากนี้ผู้บริหารควรให้โอกาสในการรับรู้ข่าวสารและการได้รับ
ปัจจัยต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานแก่บุคลากรในโรงเรียนอย่างเท่าเทียมกัน
ความจำเป็นในการมอบอำนาจ
การมอบอำนาจให้หัวหน้าชั้นรองลงไปมีความจำเป็นอย่างยิ่งดังที่ พนัส หันนาคินทร์
(2530 : 35) กล่าวไว้ว่า ประการแรก การมีแต่ความรับผิดชอบโดยไม่มีอำนาจที่จะกระทำย่อมเป็น
สิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ประการที่สอง หากไม่มีการมอบอำนาจไป หมายความว่า ผู้บริหารสูงสุดควรจะ
เป็นผู้ทำงานเพียงคนเดียวย่อมเป็นไปไม่ได้ถ้าหน่วยงานนั้นใหญ่เกินกว่าที่คนเดียวจะสามารถ
ควบคุมดูแลได้ทั้งหมดในขณะเดียวกัน ประการที่สาม การมอบอำนาจเป็นการเตรียมผู้น้อยให้กลาย
เป็นผู้ใหญ่หรือผู้บังคับบัญชาในวันข้างหน้าเป็นการเตรียมงานไว้ให้แก่ผู้ที่จะมารับช่วงการ
บริหารงานต่อไปเพื่อให้หน่วยงานนั้นๆ ดำเนินงานไปได้โดยราบรื่นไม่สะดุดหรือเสียหาย
หลักเกณฑ์ในการมอบอำนาจหน้าที่
อำนาจที่จะมอบให้ผู้บังคับบัญชาชั้นรองลงไปย่อมขึ้นอยู่กับขนาดของงานที่จะรับผิดชอบ
ตามปกติจะกำหนดขอบเขตของอำนาจเป็นลายลักษณ์อักษรดังที่ พนัส หันนาคินทร์ (2530 : 36)
กล่าวถึงหลักเกณฑ์ในวิธีการมอบอำนาจสรุปได้ดังนี้
1. ให้ผู้รับมอบอำนาจมีความรู้สึกมั่นคงในงานที่เขาจะทำต่อไป ผู้บังคับบัญชาต้องให้
เกียรติและยกย่องเท่าที่ควร
2. ผู้บังคับบัญชาต้องพยายามช่วยเหลือผู้ได้รับมอบอำนาจให้ทำงานได้อย่างดี เมื่อมอบ
อำนาจไปแล้วผู้บังคับบัญชาต้องคอยดูแลช่วยเหลือให้เขาสามารถตั้งตัวได้ไม่ใช่ให้เผชิญชะตากรรม
ด้วยตนเอง
3. กำหนดงานและรับผิดชอบที่จะมอบงานให้ชัดเจนโดยกำหนดทั้งหน้าที่ความรับผิดชอบ
วิธีรายงานผลการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานอื่น ๆ ตลอดจนระบบที่จะใช้ในการตรวจสอบ
ควบคุมและเครื่องมือเครื่องใช้ที่จะกำหนดให้ด้วย
4. การมอบอำนาจให้บุคคลอื่นไปปฏิบัตินั้นผลเสียหรือผลดีย่อมขึ้นกับบุคคลผู้มอบอำนาจ
ดังนั้นก่อนที่จะมีการมอบอำนาจต้องเลือกเฟ้นหาบุคคลที่สามารถจะทำงานได้เป็นอย่างดีและจะต้อง
23
แน่ใจว่าคนนั้นมีคุณสมบัติอันเป็นที่พึงประสงค์ของงานที่กระทำ
5. ผู้มอบอำนาจควรมีคุณธรรมสูงพอที่จะไม่เอางานที่ตนไม่ปรารถนาด้วยประการต่าง ๆ
ไปมอบให้ผู้อื่นทำทั้ง ๆ ที่งานนั้นเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบโดยเฉพาะของตนเอง
กล่าวได้ว่า การมอบอำนาจเป็นสิ่งสำคัญในหน่วยงานเป็นการโอนอำนาจความรับผิดชอบ
ต่อการปฏิบัติงานให้ผู้อื่นและเป็นการให้อำนาจเพียงชั่วคราวชั่วระยะเวลาหนึ่งที่จะปฏิบัติงานที่ได้
รับมอบหมายให้สำเร็จได้เท่านั้น มีประโยชน์ต่อผู้บังคับบัญชา ช่วยลดภาระในเรื่องหยุมหยิมลง
มีเวลาเอาใจใส่ในการวางแผน การประเมินงาน การควบคุมการดำเนินงานและการบริหารงานอื่น ๆ
ได้มากขึ้น
3. การตัดสินใจ ในการตัดสินใจผู้บริหารควรคำนึงถึงความเป็นไปได้และผลกระทบ
หนึ่งที่เกิดขึ้นแก่โรงเรียน พร้อมทั้งการมีข้อมูลที่เป็นองค์ประกอบในการตัดสินใจมากที่สุด
การตัดสินใจถือว่าเป็นสิ่งสำคัญยิ่งของกระบวนการบริหารเป็นพฤติกรรมหลักของการบริหาร
เป็นเสมือนเครื่องมือทดสอบความสามารถของผู้บริหารและเป็นพฤติกรรมที่นักบริหารได้นำไป
เป็นองค์ประกอบที่เป็นตัวชี้ถึงความมีประสิทธิภาพของการบริหาร (ชวนชม ชินะตังกูร 2524 : 6-7)
ดังนั้นผู้บริหารจำเป็นต้องตัดสินใจเกือบทุกเรื่องภายในองค์การหากผู้บริหารตัดสินใจไม่ถูกต้อง
ย่อมหมายถึงอนาคตขององค์การ
ความหมายของการตัดสินใจ
มีผู้ให้ความหมายคำว่า การตัดสินใจ ไว้ต่าง ๆ กันดังนี้ ไซมอน (Simon 1977 : 40 - 41)
ให้ความหมายของการตัดสินใจเชิงกระบวนการว่าการตัดสินใจเป็นกระบวนการของกิจกรรมต่างๆ
3 ประการ คือ 1. กิจกรรมด้านเชาวน์ปัญญา ซึ่งจะเน้นการรวบรวมข้อมูลและสารสนเทศที่จะนำมา
ใช้ประกอบการตัดสินใจ 2. กิจกรรมด้านการออกแบบ คือ การนำข้อมูลวิเคราะห์หาแนวทางที่จะ
นำไปสู่การปฏิบัติ 3. กิจกรรมเกี่ยวกับการเลือกทางเลือกที่เหมาะสมที่จะนำไปปฏิบัติ ส่วน ฮอย
และมิสเกล (Hoy And Miskel 1982 : 112 อ้างถึงในมารศรี สุธานิธิ 2540 : 71) ให้ความหมาย
ว่าการตัดสินใจ คือ การตกลงใจที่ผู้บริหารตัดสินใจว่าจะทำการหรือละเว้นการกระทำใดๆ
การตัดสินใจเป็นความรับผิดชอบหลักของนักบริหารทุกคนและเป็นกระบวนการที่การตัดสินใจจะ
ได้รับการปฏิบัติกระบวนการตัดสินใจจะไม่สิ้นสุดจนกว่าการตัดสินใจจะได้รับการดำเนินการ
ปฏิบัติเป็นที่เรียบร้อย ซีเลนี (Zeleny 1982 : 84 - 86) ให้ความหมายว่า การตัดสินใจเป็นกระบวน
การพลวัตที่เกี่ยวข้องซึ่งกันและกันระหว่างการเตรียมก่อนการตัดสินใจ การตัดสินใจ และผลลัพธ์
ของการตัดสินใจ
24
สรุปได้ว่า การตัดสินใจเป็นกระบวนการที่ใช้เหตุผลในการพิจารณา วิเคราะห์และหา
แนวทางเลือกเพื่อนำไปสู่ขั้นของการปฏิบัติ การตัดสินใจ จึงต้องเป็นไปตามขั้นตอนของ
กระบวนการอย่างรอบคอบเพื่อประสิทธิภาพของการบริหารองค์การ
กระบวนการตัดสินใจ
การตัดสินใจเป็นกระบวนที่สำคัญและเป็นศูนย์กลางของการบริหาร หน้าที่หลักของการ
บริหาร คือ การสั่งการและควบคุมกระบวนการตัดสินใจ กริฟฟิทส์ (Griffiths 1967 : 94 อ้างถึงใน
เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์ 2525 : 122) ได้ให้ข้อเสนอแนะว่า กระบวนการตัดสินใจควรมีขั้นตอนดังนี้
1. ศึกษาดูว่าปัญหาคืออะไรและวางขอบเขตของปัญหานั้นๆ 2. วิเคราะห์และประเมินผลปัญหา
นั้นๆ 3. สร้างเกณฑ์และมาตรฐานเพื่อประเมินผลทางเลือกหรือการตัดสินใจ 4. รวบรวมข้อมูล
5. หาทางเลือกหรือวิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุด 6. ลงมือปฏิบัติตามทางเลือกที่ดีกว่า โดยวางโปรแกรม
แก้ปัญหาควบคุมกิจกรรมในโปรแกรมประเมินผลที่ได้ตามกระบวนการที่ทำไป
กระบวนการตัดสินใจข้างต้นสรุปได้ว่า การตัดสินใจต้องอาศัยสารสนเทศและถ้าจะให้
เกิดประสิทธิภาพในการปฏิบัติแล้วการตัดสินใจจะต้องมีรูปแบบ ขั้นตอนและกระบวนการอย่างมี
ระบบ
สมยศ นาวีการ (2524 : 236) ได้เสนอแนวความคิดเชิงพัฒนาการเกี่ยวกับพฤติกรรมการ
ตัดสินใจออกเป็น 2 แนวทางคือ 1. ทฤษฏีการตัดสินใจสมัยเดิม (classical decision theory) ต้องการ
ข้อมูล (ทางเลือก) ผลลัพธ์ที่เป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นภายใต้การตัดสินใจและความน่าจะเป็นแล้ว
ผู้บริหารต้องมีพื้นฐานบางอย่างในการพิจารณาถึงคุณค่าของแต่ละทางเลือกโดยต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับ
เป้าหมาย ความพึงพอใจ การแลกเปลี่ยนที่องค์การต้องการก่อนที่จะระบุถึงคุณค่าของทางเลือกได้
2 ทฤษฎีการตัดสินใจเชิงพฤติกรรม (behavioral decision theory) เป็นการประสานระหว่างทฤษฎี
การตัดสินใจและทฤษฎีพฤติกรรมองค์การเข้าไว้ด้วยกันเป็นการตัดสินใจของบุคคล กลุ่มและ
องค์การ โดยมีสมมติฐานที่สำคัญ คือ การตัดสินใจเป็นกระบวนการพื้นฐานของพฤติกรรมและ
การปฏิบัติภายในองค์การ เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์ (2525 : 120 - 121) ได้จำแนกแบบของ
การตัดสินใจออกเป็น 3 แบบ คือ 1. การตัดสินใจโดยบัญชาหรือคำสั่งของผู้มีอำนาจเหนือกว่าเป็น
การตีความของคำสั่ง การนำข้อเสนอแนะไปใช้หรือแจกจ่ายคำแนะนำของผู้บังคับบัญชา
การตัดสินใจชนิดนี้ ผู้นำจะหลีกเลี่ยงไม่ได้แต่อาจมอบหมายความรับผิดชอบให้เพื่อนร่วมงานหรือผู้
ใต้บังคับบัญชาช่วย ทำการตัดสินใจจะลำบาก ถ้าคำสั่งหรือคำขอร้องของผู้บังคับบัญชาเป็นสิ่งที่
ปฏิบัติไม่ได้ 2. การตัดสินใจโดยผู้บังคับบัญชาเสนอขึ้นมาซึ่งอาจเกิดได้จากเหตุผลหลายประการ
เช่น การหย่อนสมรรถภาพของผู้ใต้บังคับบัญชา คำสั่งไม่ชัดเจน หรือผู้ใต้บังคับบัญชาไม่มีอำนาจ
25
พอที่จะตัดสินใจในกรณีที่จำเป็น หรือไม่สามารถมอบหมายให้บุคคลอื่นตัดสินใจแทนได้ 3. การ
ตัดสินใจที่เกิดจากความคิดริเริ่มของผู้บริหารเอง ผู้บริหารที่ดีมิใช่แต่เป็นเพียงผู้ปฏิบัติตามคำสั่งแต่
ต้องมีความตื่นตัว มีความคิดริเริ่มกล้าคิด กล้าตัดสินใจในสิ่งที่ตนคิด อาจเป็นการเสียหายถ้าผู้นำคิด
แต่ตัดสินใจไม่ดี ดังนั้นจึงมีแนวโน้มว่าผู้บริหารมักจะหลีกเลี่ยงการตัดสินใจแบบนี้
จากแนวคิดดังกล่าวสรุปได้ว่ารูปแบบของการตัดสินใจอาจแบ่งได้เป็น 4 ลักษณะ คือ
1. แบ่งตามการใช้อำนาจหน้าที่ประกอบด้วยการตัดสินใจโดยผู้บริหารในระดับสูงการ
ตัดสินใจโดยผู้บริหารระดับกลางและการตัดสินใจของผู้ปฏิบัติ
2. แบ่งตามจำนวนของผู้ทำการตัดสินใจอาจจำแนกเป็นการตัดสินใจโดยบุคคลเพียง
คนเดียวและการตัดสินใจโดยกลุ่มบุคคล
3. แบ่งตามสถานการณ์ของการตัดสินใจ
4. แบ่งตามลักษณะวิธีการตัดสินใจอาจจำแนกเป็นการตัดสินใจโดยไม่ใช้เครื่องมือและ
ข้อมูล การตัดสินใจโดยอาศัยข้อมูลและเครื่องมือประกอบการตัดสินใจ
ผู้บริหารกับการตัดสินใจ
ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องแสดงบทบาทของผู้นำในการตัดสินใจ ต้องตัดสินใจด้วย
ความรอบคอบ ไม่โลเล และรับผิดชอบในการตัดสินใจของตนเองในเรื่องต่างๆ ได้แก่ งานวิชาการ
งานธุรการและพัฒนางานบริหารกิจการนักเรียน งานความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน และ
การตัดสินใจนั้นควรระลึกว่าจะตัดสินใจอย่างไร ทำอย่างไร จึงทำให้การตัดสินใจดีขึ้น
ลิฟามและโฮท์ (Lipham and Hoeh 1974 : 163 - 164) กล่าวว่า การตัดสินใจของผู้บริหาร
มี 3 แบบ ดังนี้
1. การตัดสินใจเกี่ยวกับงานประจำ (routine decision-making) การตัดสินใจของผู้บริหาร
ส่วนใหญ่จะเป็นการตัดสินใจแบบนี้อาจเป็นการตัดสินใจที่เป็นผลมาจากผู้บังคับบัญชาหรือผู้ใต้
บังคับบัญชาก็ได้
2. การตัดสินใจเกี่ยวกับการสร้างสรรค์ (heuristic decision-making) ผู้บริหารต้องให้
เสรีภาพแก่เพื่อนร่วมงานที่จะแสดงออกเปิดโอกาสและส่งเสริมให้เกิดผู้นำแบบฉุกเฉินขึ้นในการ
ทำงานร่วมกับนักเรียนและคณะครู ผู้บริหารควรสร้างบรรยากาศให้มีโอกาสในการตัดสินใจทาง
สร้างสรรค์เกิดขึ้น
3. การตัดสินใจเกี่ยวกับการประนีประนอม (compromise decision - making) ผู้บริหาร
ต้องหายุทธวิธีในการแก้ปัญหาข้อขัดแย้งซึ่งอาจเกิดจากความแตกต่างในค่านิยมและวัฒนธรรม
ความคาดหวังในบทบาทที่ต้องแสดงหรือข้อขัดแย้งที่เกิดจากความสนใจเฉพาะบุคคล ผู้บริหาร
26
จำเป็นต้องพัฒนาทักษะตนเองในการตัดสินใจด้านนี้เพราะถ้าความขัดแย้งเกิดขึ้นบ่อยๆ ใน
หน่วยงานการสร้างประสิทธิภาพในหน่วยงานจะทำได้ลำบาก
การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
ถวิล เกื้อกูลวงศ์ (2530 : 203 – 212) ได้กล่าวถึงการมีส่วนร่วมของครูในการตัดสินใจ
ไว้ดังนี้
1. การมีส่วนร่วมในการวางนโยบาย เป็นองค์ประกอบที่สำคัญในด้านขวัญกำลังใจของครู
และความกระตือรือร้นของครูในโรงเรียน
2. การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับความพึงพอใจของครูแต่ละคน
ในด้านอาชีพสอนหนังสือ
3. ครูใหญ่หรืออาจารย์ใหญ่เปิดโอกาสให้ครูเข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจจะเป็นที่รัก
ของครูมากกว่า โดยไม่คำนึงถึงว่า ครู อาจารย์ผู้นั้นจะมีความต้องการพึ่งพาอาศัยครูใหญ่หรือ
อาจารย์ใหญ่มากน้อยเพียงใด
4. ครูไม่ได้คาดหวังหรือต้องการเข้าร่วมในการตัดสินใจทุกครั้งเพราะถ้าเข้าร่วมมาก
เกินไปสามารถสร้างผลลัพธ์ในทางลบได้
5. บทบาทและหน้าที่ของครูและผู้บริหารในการตัดสินใจต้องผันแปรไปตามปัญหา
6. องค์ประกอบภายในและองค์ประกอบภายนอกมีผลกระทบต่อปริมาณความมากน้อย
ของการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจของครู
7. เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดของการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและเกิดผลลัพท์ในทางลบ
น้อยที่สุด ผู้บริหารต้องคำนึงถึงว่าภายใต้สถานการณ์เช่นไรที่ครูควรจะเข้าไปมีส่วนร่วมในการ
ตัดสินใจ ครูควรจะเข้าไปมีส่วนร่วมมากน้อยแค่ไหน อย่างไร คณะผู้ทำการตัดสินใจควรสร้างขึ้นมา
อย่างไรและโดยวิธีไหน บทบาทอะไรที่จะมีประสิทธิผลมากที่สุดสำหรับผู้บริหาร
การตัดสินใจโดยกลุ่ม
ส่วนใหญ่แล้วผู้บริหารไม่ได้ตัดสินใจโดยลำพังแต่จะปรึกษากับบุคคลอื่นๆ เพื่อหาข้อมูล
หรือความเห็นก่อนที่จะมีการตัดสินใจอยู่เสมอ สมยศ นาวีการ (2533 :119 - 122) กล่าวถึงข้อดีและ
ข้อเสียในการตัดสินใจโดยกลุ่มสรุปได้ดังนี้
ข้อดีของการตัดสินใจโดยกลุ่ม
1. กลุ่มสามารถรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ในการตัดสินใจมากกว่าบุคคลเพียงคนเดียว
บุคคลต่างๆ จะมีข้อมูล ความเห็น และทัศนะที่แตกต่างกัน ถ้าสิ่งเหล่านี้ถูกใช้ประโยชน์อย่างมี
ประสิทธิภาพแล้ว การตัดสินใจโดยกลุ่มย่อมจะดีกว่าบุคคล
27
2. การอภิปรายโดยกลุ่มจะช่วยเพิ่มความคิดสร้างสรรค์ให้มากขึ้นในการตัดสินใจบุคคลใด
บุคคลหนึ่งอาจแสดงความเห็นที่อาจจุดชนวนความเห็นของบุคคลอื่นได้
3. การตัดสินใจโดยกลุ่มจะนำไปสู่การยอมรับการตัดสินใจที่เกิดขึ้นผลที่ตามมาคือการ
ดำเนินการตัดสินใจจะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ถ้าหากว่าบุคคลเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
แล้วจะมีแนวโน้มผูกมัดเข้ากับการตัดสินใจและมีแรงจูงใจนำการตัดสินใจไปปฏิบัติมากขึ้นในกรณี
ดังกล่าวจะมีความสำคัญเมื่อการยอมรับมีความสำคัญต่อการดำเนินการตัดสินใจอย่างมีคุณภาพ
ข้อเสียของการตัดสินใจโดยกลุ่ม
1. กลุ่มใช้เวลาการตัดสินใจมากกว่าบุคคลใดบุคคลหนึ่งซึ่งบุคคลสามารถรวบรวมข้อมูล
วิเคราะห์ปัญหาและเลือกทางเลือกได้เร็วกว่ากลุ่ม
2. เมื่อบุคคลมีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มที่มีความยึดเหนี่ยวสูงอย่างลึกซึ้งแล้ว สมาชิกของกลุ่ม
จะพยายามรักษาความสัมพันธ์ที่เป็นมิตรภาพไว้เป็นอย่างมาก ความขัดแย้งจะถูกหลีกเลี่ยงเสมอ
ความสุขของกลุ่มจะมีความสำคัญมากกว่าการตัดสินใจที่ดี การให้ความสำคัญกับความสามัคคีของ
กลุ่มจะก่อให้เกิดความคิดของกลุ่มดังต่อไปนี้
2.1 การอภิปรายของกลุ่มจะจำกัดอยู่ที่ทางเลือกให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
2.2 กลุ่มไม่ได้พิจารณาถึงความเสี่ยงภัยและข้อเสียของทางเลือกที่ริเริ่มขึ้นอย่าง
รอบคอบ
2.3 กลุ่มไม่ได้พิจารณาถึงข้อดีของทางเลือกที่ไม่เห็นด้วยที่ริเริ่มขึ้นมาอย่างรอบคอบ
2.4 กลุ่มจะให้ความพยายามน้อยมากในการหาข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญภายนอก
2.5 กลุ่มจะแสดงความสนใจและอภิปรายความเห็นต่าง ๆ ที่สนับสนุนทางเลือกที่กลุ่ม
พอใจ กลุ่มจะละเลยข้อเท็จจริงและความเห็นที่ขัดแย้ง
จึงสรุปได้ว่า การให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อปรับปรุงคุณภาพของการ
ตัดสินใจและลดการต่อต้านของผู้ใต้บังคับบัญชาต่อการตัดสินใจของผู้นำให้น้อยลงโดยให้มีการ
ยอมรับมากขึ้น
4. ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียน โรงเรียนมีหน้าที่ให้ความช่วยเหลือ และ
พัฒนาบุคลากรพร้อมทั้งกระตุ้นให้บุคลากรทุกคนเป็นเจ้าของมีความผูกพัน รู้จักรับผิดชอบ
ช่วยเหลือและพัฒนาโรงเรียนร่วมกัน บุคลากรแต่ละคนต้องการเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มที่ทำงานด้วย
การได้รับความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียนจะมีอิทธิพลต่อสภาวะการทำงานมากกว่าเงินเดือนที่
ได้รับ และจะทำให้เกิดความพึงพอใจในงานเกิดขึ้น วิธีสร้างความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียน
ทำได้โดย
28
1. ให้บุคลากรในโรงเรียนมีความผูกพันซึ่งกันและกันและเกี่ยวข้องกันตลอดจนรู้จักอุทิศ
เสียสละเวลาให้กับงาน
2. ให้ครูแต่ละคนมีความรู้สึกว่าเขาเป็นคนสำคัญคนหนึ่งในโรงเรียน การขอความ
ช่วยเหลือในงานกิจกรรมเน้นถึงความสามารถพิเศษและความมีคุณค่าในแต่ละบุคคลให้การ
สนับสนุนช่วยเหลือเมื่อมีโอกาสจำเป็น ไม่แก่งแย่งอิจฉาริษยากัน
3. ส่งเสริมความก้าวหน้าของสมาชิกครูแต่ละคนในโรงเรียน ร่วมกิจกรรมด้วยกันใน
วันหยุดสุดสัปดาห์
นอกจากนี้ ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียนเกี่ยวข้องกับขวัญและกำลังใจในการ
ปฏิบัติงานด้วย ผู้บริหารซึ่งรับผิดชอบในโรงเรียนจะต้องสำรวจขวัญและกำลังใจของผู้ปฏิบัติงาน
เสมอและพึงตระหนักเสมอว่า ขวัญและกาํ ลังใจเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการสร้างความรู้สึกเป็น
ส่วนหนึ่งของโรงเรียน
5. ความไว้วางใจ ผู้บริหารควรให้โอกาสครูเลือกทำงานตามความต้องการและให้ความ
ไว้วางใจว่าครูจะสามารถตัดสินใจได้เป็นอย่างดี
ความหมายของความไว้วางใจ
นิพนธ์ ไทยพานิช (2527 : 119) กล่าวว่า ความไว้วางใจที่จะให้และรับซึ่งกันและกันเป็น
พฤติกรรมสัมพันธภาพที่พัฒนาให้กระบวนการของความช่วยเหลือมีประสิทธิผลสูง มนุษย์ยอมรับ
ความช่วยเหลือจากบุคคลที่เขาไว้วางใจเชื่อถือ ถ้าสัมพันธภาพที่เกิดขึ้นนั้นมาจากความไว้วางใจและ
ยอมรับนับถือซึ่งกันและกันการให้ความช่วยเหลือจะเกิดความซาบซึ้งขึ้น ผู้รับจะยอมรับความ
ช่วยเหลือจากบุคคลที่เขามองว่ามีแรงจูงใจที่คล้ายคลึงกับตัวของเขาเอง เขามีแนวโน้มที่จะปฏิเสธ
รับความช่วยเหลือจากบุคคลอื่นที่มีลักษณะระบุให้เห็นว่าจะทำการควบคุมทำการเปลี่ยนแปลง
แก้ไขหรือหวังที่จะมีอิทธิพลและอำนาจเหนือตัวเขา แต่ถ้ามนุษย์เกิดความกลัวและไม่ไว้วางใจ
ซึ่งกันและกันถึงแม้ว่าจะมีการจัดสร้างกระบวนการของการให้ความช่วยเหลืออย่างมีประสิทธิภาพก็
ไม่สามารถที่จะขจัดความรู้สึกที่ไม่ยอมรับซึ่งกันและกันที่ฝังลึกอยู่ในใจได้ซึ่งเป็นผลทำให้การ
ช่วยเหลือไม่เป็นการช่วยเหลือที่แท้จริง
จินดาลักษณ์ วัฒนสินธุ์ (2532 : 732 - 733) กล่าวว่า ความไว้วางใจ คือ การยอมรับของ
บุคคลอื่นเป็นการลดความกระวนกระวายและความกลัวสร้างขึ้นมาได้โดยการยอมรับของบุคคลอื่น
การติดต่อสื่อสารแบบเปิดเผยระหว่างบุคคลในองค์การการทำงานกันจะมีความหมายน้อยมาก
ถ้าหากขาดความไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกัน การสร้างบรรยากาศของการไว้เนื้อเชื่อใจกันจึงเป็น
สิ่งสำคัญที่สุดในการพัฒนาองค์การ คนอย่างน้อย 2 คนขึ้นไปเมื่อมีการสัมพันธ์กันและกันนอกจาก
29
จะต้องเชื่อตนเองแล้วการไว้วางใจกันและกันมีความสำคัญมาก และการพัฒนาความสัมพันธ์
ระหว่างบุคคล 2 ฝ่ายจำเป็นต้องอาศัยการเปิดเผยความรู้สึกระหว่างกันพอสมควร การไม่เปิดเผย
ความรู้สึกจะทำให้ผู้พบเห็นขาดความนับถือหรือไม่ยอมรับได้โดยง่าย
สรุปได้ว่า เมื่อคนเรามีความไว้วางใจซึ่งกันและกันจะเกิดความรู้สึกเชื่อมั่น อบอุ่น ยอมรับ
ในค่าแห่งความเป็นมนุษย์ซึ่งกันและกัน การปฏิบัติงานต่าง ๆ ภายในโรงเรียนจะดำเนินไป
อย่างสะดวกราบรื่นยิ่งขึ้น
หลักในการสร้างสัมพันธภาพที่ไว้วางใจระหว่างผู้บริหารและผู้ใต้บังคับบัญชา
กรมวิชาการ (2534 : 26) ให้แนวคิดเกี่ยวกับหลักการสำคัญที่เป็นพื้นฐานสำคัญในการที่จะ
มุ่งพัฒนาสัมพันธภาพในเชิงไว้วางใจกันดังนี้
1. ต้องมีการเปิดเผยและความซื่อสัตย์ต่อกันระหว่างผู้บริหารและผู้ใต้บังคับบัญชา
2. ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติตามคำสั่งมิใช่เพราะถูกกำหนดให้ปฏิบัติตามแต่เป็นเพราะ
ผู้ใต้บังคับบัญชารู้สึกว่าผู้บริหารเข้าใจตนและตนเข้าใจปัญหา
3. ผู้ใต้บังคับบัญชาแสวงหาสิทธิที่จะตัดสินใจด้วยตนเอง ผู้ใต้บังคับบัญชาไม่พอใจ
ที่ถูกจัดการถูกบังคับหรือถูกชักจูงให้ตัดสินใจ
4. ผู้บริหารควรชี้ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเห็นปัญหาอย่าเป็นผู้แก้ปัญหาเสียเองปล่อยให้
ผู้ใต้บังคับบัญชาแก้ปัญหาของตนเองโดยมีผู้บริหารคอยให้ความช่วยเหลือ
6. ความมีคุณภาพ ความมีคุณภาพเกี่ยวข้องกับคุณค่าและการคาดหวังให้ครูปฏิบัติงาน
อย่างมีคุณภาพและมาตรฐาน เชื่อมั่นในประสิทธิภาพการทำงานของครูและความสามารถของ
นักเรียน รวมทั้งให้ความสำคัญในการสร้างบรรยากาศของความเห็นอกเห็นใจและความร่วมมือของ
ทุกคนในโรงเรียน
พฤติกรรมการทำงานของบุคคล
องค์การของรัฐหรือเอกชนต่างมีเป้าหมายที่จะให้การผลิตหรือการบริการมีประสิทธิภาพ
เกิดประสิทธิผลและประหยัดทั้งแรงงาน เงิน และวัสดุอุปกรณ์ทั้งปวง ความปรารถนาดังกล่าว
จะประสบผลสำเร็จได้มากน้อยเพียงใดต้องขึ้นอยู่กับคุณภาพของบุคคล ฮันท์ (Hunt 1979 : 1)
กล่าวว่าอิทธิพลที่มีผลต่อคุณลักษณะของตัวบุคคล คือ ความสามารถและสิ่งจูงใจ คุณลักษณะของ
ตัวบุคคลนี้จะมีส่วนเกี่ยวข้องกับผลงานขององค์การซึ่งจะดีหรือไม่ดีอย่างไรขึ้นอยู่กับความสามารถ
และสิ่งจูงใจของตัวบุคคลภายในองค์การ
30
วิเนเก้ (Vinake 1962 : 1 - 49) กล่าวถึงตัวแปรต่างๆที่มีผลกระทบต่อปริมาณและคุณภาพ
ของผลงานของตัวบุคคลคือ ความสามารถและประวัติ ประสบการณ์ในอดีตและการจูงใจ
ความสัมพันธ์ดังกล่าวแสดงได้ดังแผนภาพที่ 3
ตัวกระตุ้นภายนอกที่มีต่อตัวบุคคล ปัจจัยหรือตัวแปรภายในตัวบุคคล ผลลัพธ์ที่ได้
- งานหรือกิจกรรมที่ต้องปฏิบัติ - ความสามารถ ปริมาณและ
- สิ่งจูงใจภายนอก - ประวัติและประสบการณ์ในอดีต คุณภาพ
รวมถึงบุคลิกภาพ ของผลการ
- ประสบการณ์ในการทำงาน ดำเนินงาน
- สิ่งจูงใจในงาน
แผนภาพที่ 3 แสดงปัจจัยหรือตัวแปรของบุคคลที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินงาน
บรรยากาศของโรงเรียน
บรรยากาศของโรงเรียนจะมีผลต่อระดับการทำงานหรือการปฏิบัติงานของบุคลากร
ภายในโรงเรียนและผลการปฏิบัติงานจะมีคุณภาพเพียงไรขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการปฏิบัติงานของ
ผู้ปฏิบัติงานนั้นๆ
ความหมายของบรรยากาศโรงเรียน
ฮาลฟิน (Halpin 1966 : 131 – 135 อ้างถึงใน มารศรี สุทธานิธิ 2540 : 58) ให้ความเห็นว่า
บรรยากาศของโรงเรียน ประกอบขึ้นจากพฤติกรรมผู้บริหาร 4 มิติ ในส่วนที่เกี่ยวกับพฤติกรรม
ผู้บริหารที่มีผลต่อบรรยากาศของโรงเรียน ได้แก่ มิติห่างเหิน มิติมุ่งผลงาน มิติความเป็นแบบอย่าง
และมิติความเมตตากรุณาปราณี และพฤติกรรมครู 4 มิติ คือ มิติแตกแยก มิติอุปสรรค มิติขวัญและ
มิติความสัมพันธ์ ฮอยและมิสเกล (Hoy and Miskel 1982 : 185 – 186 อ้างถึงใน มารศรี สุธานิธิ
2540 : 59) ได้ให้ความหมายของบรรยากาศของโรงเรียนว่า หมายถึง คุณลักษณะเฉพาะที่เกิดขึ้น
ภายในโรงเรียนอันเป็นผลมาจากความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริหารโรงเรียนและกลุ่มบุคคลในโรงเรียน
เป็นผลทำให้โรงเรียนแห่งหนึ่งแตกต่างไปจากโรงเรียนอีกแห่งหนึ่งและมีอิทธิพลต่อพฤติกรรม
ของบุคคลในโรงเรียน บรรยากาศของโรงเรียนเป็นลักษณะเฉพาะภายในโรงเรียนคล้ายคลึง
กับบุคลิกภาพของคน ดังนั้นบรรยากาศของโรงเรียนจึงเป็นเสมือนบุคลิกภาพของโรงเรียน
31
สรุปได้ว่า บรรยากาศของโรงเรียนจะได้รับอิทธิพลมากที่สุดจากสิ่งต่างๆที่มีผลโดยตรงต่อ
ประสบการณ์ในการทำงานของคน นอกจากนี้องค์ประกอบต่างๆ เช่น พฤติกรรมของเพื่อนร่วมงาน
ผลงานที่ทำล้วนมีผลต่อบรรยากาศในโรงเรียนทั้งสิ้นและบรรยากาศของโรงเรียนจะสะท้อนให้เห็น
ถึงประสิทธิภาพของผู้บริหารและความสำเร็จของโรงเรียน
แบบของบรรยากาศโรงเรียน
ฮาลฟิน (Halpin 1966 : 131-135 อ้างถึงใน มารศรี สุธานิธิ 2540 : 59) ได้ศึกษาแบบ
บรรยากาศของโรงเรียนตั้งแต่บรรยากาศที่พึงประสงค์ไปจนถึงบรรยากาศที่ไม่พึงประสงค์พบว่า
บรรยากาศของโรงเรียนมี 6 แบบด้วยกันคือ บรรยากาศแจ่มใส บรรยากาศอิสระ บรรยากาศควบคุม
บรรยากาศสนิทสนม บรรยากาศรวบอำนาจ และบรรยากาศซึมเซา และยังได้ทำการวิเคราะห์
แบบบรรยากาศทั้ง 6 แบบต่อไปอีกและพบว่าบรรยากาศแจ่มใสนับว่าเป็นบรรยากาศที่พึงประสงค์
มากที่สุด ส่วนบรรยากาศแบบซึมเซาเป็นบรรยากาศที่ไม่พึงประสงค์ของโรงเรียนที่สุด โรงเรียนที่มี
บรรยากาศแบบนี้นับได้ว่ามีความบกพร่องทั้งครูและนักเรียนควรรีบแก้ไขโดยด่วน
7. การยอมรับนับถือ การที่โรงเรียนเปิดโอกาสและให้การยอมรับความคิดเห็นที่ดีของ
ครู รวมทั้งยอมรับในความสำเร็จและผลงานของครูและนักเรียน
ความต้องการได้รับการยกย่องนับถือเป็นความต้องการทางสังคมมนุษย์ ความต้องการ
ที่จะให้คนอื่นยอมรับเป็นผลทำให้มนุษย์ต้องเปลี่ยนค่านิยม แนวคิด ตลอดจนเปลี่ยนแปลงรูปแบบ
การแต่งกาย ฯลฯ ความต้องการชนิดนี้ต้องการที่จะเห็นตนเองสำคัญ ได้แก่ ความต้องการที่จะให้
ผู้อื่นยกย่อง สรรเสริญ ชมเชย ความต้องการที่จะควบคุมผู้อื่นใช้อิทธิพลหรือออกคำสั่งให้ผู้อื่น
ปฏิบัติตาม ความต้องการที่จะเป็นอิสระ ความต้องการเสรีภาพจากการกดขี่ทั้งปวง ต้องการที่
จะเป็นตัวของตัวเอง ต้องการที่จะประสบผลสำเร็จ ต้องการที่จะเอาชนะอุปสรรคทั้งปวง ต้องการ
ที่จะเป็นตามที่ตนเองอยากจะเป็น ต้นเหตุแห่งปัญหาและความยุ่งยากในการปฏิบัติงานซึ่งเป็นผล
ทำให้เกิดแนวคิดว่าใคร ๆ ก็อยากเป็นนายไม่มีใครอยากเป็นลูกน้อง ในการทำงานร่วมกับคนอื่นนั้น
ถ้าหากเรารู้จักตัวเองโอกาสที่จะได้รับความร่วมมือร่วมใจและการยอมรับจากคนทั้งหลายคงจะมี
มากแต่ถ้าไม่รู้จักตัวเองโอกาสที่จะทำงานให้สำเร็จได้คงยาก เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์ (2525 : 136 -
138) ได้เสนอแนะบางประการเกี่ยวกับการทำงานกับบุคคลแต่ละประเภทไว้ดังนี้
การทำงานกับผู้บังคับบัญชา เพื่อให้เกิดการยอมรับจากผู้บังคับบัญชาควรคำนึงถึง 1. ควร
ยอมรับการตัดสินใจของผู้บังคับบัญชา 2. การทำงานให้ดีเต็มเวลาเต็มความสามารถและหลีกเลี่ยง
การประจบสอพลอ 3. พยายามหาทางให้ความคิดของผู้บังคับบัญชาเป็นความจริงและเกิดผลดี
4. ควรยกย่องผู้บังคับบัญชาตามควรแก่ฐานะ 5. ไม่ควรเห็นพ้องหรือปฏิเสธผู้บังคับบัญชา
32
ตลอดเวลาถ้าจะคัดค้านควรดูกาลเทศะและมีเหตุผลพอพร้อมทั้งเสนอแนวทางใหม่เพื่อการปฏิบัต ิ
6. ควรเรียนรู้นิสัยการทำงานผู้บังคับบัญชาด้วย 7. ไม่ควรรบกวนผู้บังคับบัญชา 8. ไม่เป็นการ
สมควรที่จะนินทาผู้บังคับบัญชาลับหลัง 9. อย่าโกรธเมื่อผู้บังคับบัญชาไม่เห็นด้วยกับความคิด
ของเรา 10. ไม่ควรบ่นถึงความลำบากในการปฏิบัติงานต่อหน้าผู้บังคับบัญชา 11. ถ้าจะปรึกษา
งานกับผู้บังคับบัญชาควรดูแลให้เหมาะสมกับเวลาและโอกาส 12. หมั่นประเมินผลการทำงาน
ของตนเป็นระยะๆ
การทำงานกับเพื่อน เพื่อให้เกิดการยอมรับจากเพื่อนควรคำนึงถึง 1. พยายามเข้าหา
เพื่อนก่อนให้เห็นว่าเพื่อนเป็นคนสำคัญ 2. มีความจริงใจต่อคนอื่น 3. หลีกเลี่ยงการนินทาเพื่อน
4. อย่าซัดทอดความผิดให้คนอื่น 5. ยกย่องชมเชยและสรรเสริญตามโอกาสอันควร 6. ให้
ความร่วมมือในการทำงานด้วยความจริงใจ 7. รับฟังความคิดเห็นของคนอื่นที่มีค่าแก่การรับฟัง
ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป 8. หลีกเลี่ยงการทำตนเหนือเพื่อน 9. ให้มีความเสมอต้นเสมอ
ปลายคงเส้นคงวากับเพื่อน 10. มีใจกว้างพอประมาณรู้จักที่จะให้บ้าง 11. พบปะสังสรรค์กับ
เพื่อนตามโอกาสอันควร
การทำงานกับผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อให้เกิดการยอมรับจากผู้ใต้บังคับบัญชาควรคำนึงถึง
1. การรู้จักควบคุมตนเอง 2. การรู้จักส่งเสริมกำลังใจผู้ใต้บังคับบัญชา 3. การรู้จักให้รางวัล
4. การรู้จักฟัง การรู้จักวิพากษ์วิจารณ์ 5. ให้งานให้เหมาะสมกับคน 6. ชี้แจงความเคลื่อนไหว
ของหน่วยงาน 7. การรักษาผลประโยชน์ของผู้ใต้บังคับบัญชา 8. ส่งเสริมความก้าวหน้าในอาชีพ
มาสโลว์ (Maslow 1970 : 55-56 อ้างถึงในอ้อยทิพย์ สุทธิเทพ 2543 : 53) สรุปได้ว่าบทบาท
ที่สำคัญอีกประการหนึ่งของผู้บริหารที่จะทำให้งานมีประสิทธิภาพคือการเห็นคุณค่าในความสำเร็จ
และผลงานของบุคลากร โดยการยอมรับและเห็นคุณค่าของการแสวงหาแนวคิดที่ดีของบุคลากรใน
โรงเรียนเพราะมนุษย์ทุกคนต้องการให้ผู้อื่นยอมรับในความสามารถของตนเกี่ยวกับความต้องการ
พื้นฐานของมนุษย์ตามแนวคิดของมาสโลว์ (Maslow’s need hierachy Theory) สรุปว่าการจูงใจของ
มนุษย์ตามลำดับความต้องการของมนุษย์ 5 ประการ คือ ความต้องการ 1. ด้านร่างกาย
(physiological needs) 2. ด้านความปลอดภัยหรือความมั่นคง (security or safety needs)
3. ด้านสังคม (social or belonging needs) 4. ความต้องการการยอมรับในสังคม (esteem or status
needs) 5. ความต้องการความสำเร็จ (Self-actualization or self-realization needs)
กล่าวได้ว่าในโรงเรียนบุคลากรทุกฝ่ายต้องการได้รับการยกย่องนับถือจากผู้อื่นเมื่อได้รับ
การยกย่องนับถือแล้วจะทำให้บุคลากรเหล่านี้มีความภาคภูมิใจในตนเอง มีความเต็มใจที่จะปฏิบัติ
งานอย่างเต็มที่
33
8. ความเอื้ออาทร การที่บุคลากรทำงานสำเร็จได้อย่างมีคุณภาพและให้ความร่วมมือดี
นั้นโรงเรียนควรเอาใจใส่ดูแลและเอื้ออาทรความเป็นอยู่ การปฏิบัติงานของครูและสนับสนุนให้มี
ความก้าวหน้าในหน้าที่
ผู้บังคับบัญชาเป็นบุคคลสำคัญต่อผู้ใต้บังคับบัญชาจะต้องใช้เวลาว่างมาอยู่ใกล้ชิด
ผู้ใต้บังคับบัญชา ให้ความเอาใจใส่ดูแลความเป็นอยู่ การปฏิบัติงานและความก้าวหน้าในอาชีพของ
ผู้ใต้บังคับบัญชาเพื่อเป็นการสร้างความพึงพอใจต่อผู้ใต้บังคับบัญชา ให้ความเอาใจใส่ดูแลความ
เป็นอยู่การปฏิบัติงานและความก้าวหน้าในอาชีพของผู้ใต้บังคับบัญชาเพื่อเป็นการสร้างความ
พึงพอใจต่อผู้ใต้บังคับบัญชา ผู้บังคับบัญชาควรยึดหลักหลายประการ (อรุณ รักธรรม 2527 : 234 –
239) พอสรุปได้ดังนี้
1. ผู้บังคับบัญชาจะต้องให้ผู้ใต้บังคับบัญชารู้ว่าเขาทำงานเพื่ออะไร ผู้อยู่ใต้บังคับ
บัญชาทุกคนควรรู้และเข้าใจงานของตนเพราะเป็นการเพิ่มความเชื่อมั่นให้แก่ตนเอง เขาต้องการ
คำบอกเล่าหรือคำอธิบายต่างๆอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับสิทธิหน้าที่ของเขาและระเบียบข้อบังคับของ
ทางราชการ นอกเหนือจากนั้นเขามีความรู้สึกว่าเขาเป็นเจ้าของหรือเป็นส่วนหนึ่งของงาน
2. ผู้บังคับบัญชาจะต้องให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชารู้หน้าที่ของเขาว่ามีอะไรบ้าง ผู้บังคับ
บัญชาจะต้องชี้แจงขอบเขตหน้าที่ให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาทราบ ตลอดถึงสายการบังคับบัญชา อำนาจ
หน้าที่และความรับผิดชอบของเขาด้วย
3. ผู้บังคับบัญชาจะต้องตั้งมาตรฐานการทำงานไว้ให้สูง ข้าราชการทุกคนย่อมมี
ความภูมิใจในงานที่ปฏิบัติอยู่งานยิ่งสาํ เร็จได้มากเท่าใดเขายิ่งภูมิใจมากเท่านั้น เขาชอบทำงานใน
หน่วยงานที่มีประสิทธิภาพในการทำงาน
4. ผู้บังคับบัญชาจะต้องให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชารู้ว่างานที่เขากำลังทำนั้นควรทำ
อย่างไรเพื่อเป็นเครื่องช่วยให้เขาเกิดความพอใจในผลงานของเขาและเป็นเหตุจูงใจให้เขาปฏิบัติงาน
ได้ดียิ่งขึ้น
5. ผู้บังคับบัญชาจะต้องพัฒนาความสามารถของผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา ผู้บังคับบัญชา
ที่ได้ตั้งมาตรฐานการทำงานไว้สูงและได้แจ้งให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาทราบแล้ว จะต้องส่งเสริม
สมรรถภาพผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาให้ก้าวหน้าอยู่เสมอเพื่อให้บรรลุตามมาตรฐานในการทำงานที่ตั้งไว้
การช่วยผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาให้มีความสามารถความชำนาญเพิ่มขึ้นนับเป็นหน้าที่สำคัญที่สุดของ
ผู้บังคับบัญชา
6. ผู้บังคับบัญชาจะต้องจัดให้มีการฝึกอบรมผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา ผู้บังคับบัญชาที่ดี
จะต้องถือเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบในการฝึกอบรมผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา
34
7. ผู้บังคับบัญชาจะต้องสร้างความเห็นร่วมกันให้เกิดขึ้นในหมู่ผู้ร่วมงานหรือผู้อยู่
ใต้บังคับบัญชา เมื่อผู้บังคับบัญชาและผู้อยู่ใต้บังคับบัญชามีจุดประสงค์ร่วมกันการปฏิบัติงานก็จะ
ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย ความรู้สึกของการอยู่ร่วมกันมีความเห็นร่วมกันเกิดขึ้นได้โดยให้
ผู้ร่วมงานทราบถึงผลสำเร็จของงานในหน่วยงานต่อสู้เพื่อสิทธิต่างๆ ของผู้ร่วมงาน
8. ผู้บังคับบัญชาจะต้องให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาเข้ามามีบทบาทในการแก้ปัญหาต่าง ๆ
เช่น มีการประชุมผู้ร่วมงาน สอบถามความคิดเห็นและให้ช่วยวางแผน
9. การกระทำใด ๆ ที่มีผลต่อผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา ผู้บังคับบัญชาควรบอกกล่าวให 
เขาทราบ
10. ผู้บังคับบัญชาควรตำหนิผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาเป็นรายคนเพราะแต่ละคนจะมี
บุคลิกภาพหรืออุปนิสัยต่างกัน การสรรเสริญคนในเวลาที่เหมาะสมทำให้งานสำเร็จตามเป้าหมาย
การตำหนิผู้อื่นด้วยความยุติธรรมจะไม่ทำให้เขาเสียหน้า เมื่อผู้อยู่ใต้บังคับบัญชามีความรู้สึกว่า
ผู้บังคับบัญชาสนใจแต่เพียงผลงานอย่างเดียวและคิดว่าเขาเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งเขาก็จะไม่สนใจ
ทำงานหรือทำก็ทำไม่ได้ดีไม่เต็มกำลังความสามารถ
11. ผู้บังคับบัญชาควรชมเชยและให้รางวัลแก่ผู้ทำงานดี
12. ผู้บังคับบัญชาควรส่งเสริมผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา ซึ่งปฏิบัติงานไม่ได้ดีให้เกิด
ความกล้าและเปิดโอกาสให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาปรับปรุงตัวเอง
13. ผู้บังคับบัญชาจะต้องสนใจเรื่องส่วนตัวของผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา หากผู้อยู่ใต้
บังคับบัญชามีปัญหาส่วนตัวจะเกี่ยวด้วยงาน ความพอใจงาน ความสำเร็จของงานหรือไม่ก็ตาม
เป็นหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาที่จะต้องให้คำปรึกษาและแนะนำในปัญหาส่วนตัวนั้น ๆ แก่เขา
14. สร้างความเห็นอกเห็นใจเกี่ยวกับเรื่องราวร้องทุกข์ของผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา เมื่อ
ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาได้ร้องทุกข์หรือเล่าเรื่องเดือดร้อนให้ฟังจงรับฟังด้วยความเห็นใจและฟัง
ให้จบเรื่อง
15. ต้องแน่ใจว่าได้บรรจุบุคคลตรงกับตำแหน่งที่ว่างทุกตำแหน่งงานและคนจะต้อง
ควบคู่กันเสมอ ความพอใจของผู้เข้าทำงานใหม่คือการให้ทำงานตรงกับความสามารถ คุณสมบัติ
การเลือกคนให้เหมาะสมกับงานเป็นสิ่งสำคัญมาก
สรุปได้ว่า ผู้บังคับบัญชาควรสนใจเอาใจใส่ดูแลและจัดสวัสดิการที่เหมาะสมแก่บุคลากร
เพื่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการปฏิบัติงานในโรงเรียน
9. ความซื่อสัตย์สุจริต การที่โรงเรียนเห็นคุณค่าของความซื่อสัตย์ ความมานะพยายาม
ของครูที่ปฏิบัติงานสม่ำเสมอและกำหนดแนวทางให้ครูทุกคนปฏิบัติตามโดยยึดมั่นจริยธรรม
เป็นหลัก
35
จะเห็นได้ว่าความซื่อสัตย์สุจริตเป็นวัฒนธรรมโรงเรียนที่เกี่ยวข้องกับการที่โรงเรียนเห็น
คุณค่าในความซื่อสัตย์ของบุคลากรโดยการชมเชยและให้ผลตอบแทน รวมทั้งโรงเรียนกำหนดแนว
ทางที่ควรปฏิบัติเพื่อให้ทุกคนปฏิบัติตามและโรงเรียนเห็นคุณค่าในความมานะพยายามของครูที่
ปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอไม่ย่อท้อ นอกจากนี้การปฏิบัติของโรงเรียนต่อบุคลากรจะยึดมั่นในแนว
ทางแห่งจริยธรรมเป็นหลัก จะเห็นได้ว่าจริยธรรมเป็นสิ่งจำเป็นและมีความสำคัญต่อมนุษย์ทั้งโดย
ส่วนตนและส่วนรวมและเป็นปัจจัยพื้นฐานที่ช่วยให้โรงเรียนมีความสงบเรียบร้อย ได้แก่ เห็นคุณค่า
ของความซื่อสัตย์ในคำพูดและการกระทำ มีการกำหนดมาตรฐานเพื่อเป็นปทัสถาน และคาดหวัง
ให้ทุกคนในโรงเรียนได้ปฏิบัติตาม ยึดมั่นในความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน บุคลากรในโรงเรียนมี
ความผูกพันต่อกันอย่างลึกซึ้ง และถ้าต้องมีการลงโทษก็เป็นไปอย่างยุติธรรม
10. ความหลากหลายของบุคลากร การที่โรงเรียนให้ความสำคัญในความแตกต่าง
เกี่ยวกับปรัชญา ความเชื่อ บุคลิกภาพ วิธีสอนที่แตกต่างของครูแต่ละคน และการรู้จักยืดหยุ่นใน
การจัดการเรียนการสอนโดยคำนึงถึงความแตกต่างของนักเรียน
ในโรงเรียนจะประกอบด้วยครูอาจารย์ร่วมมือกันทำกิจกรรมต่างๆ ในลักษณะของกลุ่มและ
มีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน การมีกิจกรรมร่วมกันก่อให้เกิดเป็นความผูกพันรักใคร่อาทรช่วยเหลือซึ่งกัน
และกัน ซึ่งจะช่วยหล่อหลอมให้ความแตกต่างระหว่างบุคคลกลายเป็นความรู้สึก ความคิดเจตคติ
และค่านิยมของกลุ่มขึ้นมา ซึ่งครูอาจารย์แต่ละคนจะเกิดการเรียนรู้ปรับปรุงและพัฒนาตนเองให้มี
ความเชื่อและพฤติกรรมที่คล้อยตามกลุ่ม ทำให้เกิดความสามัคคียึดเหนี่ยวกันระหว่างสมาชิกทำให้
คงอยู่เป็นกลุ่มต่อไปได้
ความหลากหลายของบุคลากร ค่านิยมในด้านปรัชญาหรือความเชื่อตลอดจนบุคลิกภาพ
ของทุกคนในโรงเรียนที่แตกต่างกัน ครูอาจารย์แต่ละคนมีค่านิยมในวิธีการสอนที่หลากหลาย มีค่า
นิยมที่ยืดหยุ่นในด้านการจัดการเรียนการสอนแกน่ ักเรียนแตกต่างกันตามศักยภาพ วิธีปฏิบัติงานที่
ต่างกันของครูอาจารย์ทุกวิธี การนำไปสู่เป้าหมายและแสดงถึงค่านิยมของโรงเรียน
โดยสรุปสามารถกล่าวได้ว่า วัฒนธรรมโรงเรียนเป็นตัวหล่อหลอมความคิด ความรู้สึกและ
พฤติกรรมของบุคคลที่มีอยู่ในโรงเรียนนั้น วัฒนธรรมดังกล่าวจะถ่ายทอดสืบต่อกันตามประเพณี
โดยโรงเรียนแต่ละแห่งจะมีวัฒนธรรมของตนเองซึ่งอาจจะเหมือนกันหรือแตกต่างกันก็ได้
แนวทางในการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมโรงเรียน
จากแนวคิดที่ว่าวัฒนธรรมโรงเรียนเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้ทั้งนี้เพราะว่าวัฒนธรรม
โรงเรียนเป็นเรื่องของความคิด ความเชื่อ ค่านิยมและวิถีของบุคลากรที่อยู่ในองค์การ สิ่งเหล่านี้
สามารถเปลี่ยนแปลงได้แม้ว่าจะเป็นเรื่องยาก โดยเฉพาะต้องทำให้ผู้บริหารระดับสูงภายในองค์การ
36
เกิดการยอมรับเสียก่อนว่า เขาคือต้นกำเนิดสำคัญของวัฒนธรรมอันไม่พึงประสงค์เมื่อผู้บริหาร
ยอมรับจึงปรับเปลี่ยนเป็นขั้นตอนได้ ซึ่งขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์การควรดำเนินการ
ตามขั้นตอนดังนี้
1. ประเมินความคิดเห็นจากชุมชน ผู้ปกครอง โดยประเมินว่าโรงเรียนมีจุดอ่อน
อย่างไร เรื่องใดควรแก้ไขปรับปรุงเปลี่ยนแปลง
2. ประเมินความคิดเห็นจากบุคลากรภายในโรงเรียน โดยให้บุคลากรของเรา
ประเมินว่า เรื่องใดบ้างควรได้รับการพิจารณา และผู้บริหารต้องยอมรับเป็นผู้ถูกประเมินด้วยเพื่อ
ให้ได้ภาพสะท้อนชัดเจน
3. จัดให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์และพัฒนาองค์การเข้ามาบรรยายในโรงเรียน
เพื่อให้ข้อสังเกตที่ดีว่า โรงเรียนที่ดีควรมีรูปแบบและวัฒนธรรมองค์การอย่างไร
4. จัดให้มีการสัมมนาระดมความคิดว่า วัฒนธรรมใหม่ของโรงเรียนควรเป็น
อย่างไร โดยเน้นให้มีตัวแทนจากหลายกลุ่มได้เข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างวัฒนธรรมใหม่
5. จัดให้มีการระดมความคิดหาวิธีการที่จะนำไปสู่วัฒนธรรมใหม่ที่พึงประสงค์
6. ตระหนักว่าความเห็นพ้องของกลุ่มเพื่อนมีอิทธิพลต่อการยอมรับหรือความ
ความเต็มใจที่จะเปลี่ยนแปลง โดยทั่วไปคนมักต่อต้านการเปลี่ยนแปลงทุกประเภทเพียงเพราะว่า
ขัดแย้งกับวิถีชีวิตของประเพณีปฏิบัติ อย่างไรก็ตามอิทธิพลที่แข็งแกร็งที่สุดคืออิทธิพลความผูกพัน
ระหว่างบุคคลต่อบุคคล การเปลี่ยนแปลงการยอมรับกันและกันจึงเป็นเครื่องหมายของการอยู่ร่วม
กันในวัฒนธรรม
7. สื่อสารและเน้นความไว้วางใจกันทั้งของผู้รับสารและผู้ส่งสารทุกเรื่องที่เกี่ยว
กับการเปลี่ยนแปลง การสื่อสารจะมีประสิทธิภาพถ้าไว้วางใจกัน ความเปิดเผยและความไว้วางใจ
จึงมีอิทธิพลอย่างยิ่งที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
8. ตระหนักว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นการสร้างทักษะและเน้นให้การอบรมเป็น
ส่วนหนึ่งของกระบวนการเปลี่ยนแปลง นั่นคือต้องเห็นความสำคัญของการอบรมว่าสามารถช่วยให้
ปฏิบัติหน้าที่ได้เป็นอย่างดี
9. อดทน ให้เวลากับการเปลี่ยนแปลง หมั่นทบทวน ปรับปรุง พัฒนาจุดบกพร่อง
ต่าง ๆ อย่างเข้มแข็ง ไม่ย่อท้อ
10 กระตุ้นให้บุคลากรประยุกต์ความคิดพื้นฐานของการเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสม
กับบริบทสังคมรอบตัว คือให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและยืดหยุ่นได้
กล่าวโดยสรุป วัฒนธรรมโรงเรียนเป็นเรื่องของความเชื่อ เจตคติ ค่านิยมและวิถีชีวิตของ
คนที่มีอยู่ร่วมกัน ซึ่งส่งผลออกมาเป็นพฤติกรรมของบุคลากรในโรงเรียนในโรงเรียน
37
บทบาทการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา
การมัธยมศึกษามีความจำเป็นและสำคัญอย่างมากในฐานะที่เป็นตัวกำหนดกระบวนการ
หล่อหลอมบุคลิกภาพ ลักษณะนิสัย และระดับสติปัญญาของบุคคลที่มีอายุช่วงวัยรุ่นซึ่งมีความ
อ่อนไหวเปลี่ยนแปลงได้ง่าย พฤติกรรมที่เด็กวัยนี้แสดงออกมามักจะก่อให้เกิดความสับสนวุ่นวาย
และจำนวนในวัยนี้มีมากที่สุดในจำนวนประชากรของประเทศ ดังนั้นถ้าการมัธยมศึกษาประสบ
ความล้มเหลวก็จะเป็นผลสะท้อนไปสู่ระบบการศึกษาของประเทศแน่นอน เป้าหมายของการศึกษา
ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาประเทศจะได้รับความกระทบกระเทือนไปด้วย ผู้ที่เป็นครูผู้สอน
อบรมนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาจะต้องใช้กลวิธีการอบรมสั่งสอนเพื่อที่จะเบี่ยงเบนพฤติกรรม
ของเด็กวัยนี้ให้มีพฤติกรรมไปในทางที่สังคมพึงปรารถนา (พยุงศักดิ์ สนเทศ 2531 : 34) ซึ่ง
สอดคล้องกับ ภิญโญ สาธร (2526 : 303 - 304) ได้กล่าวถึงการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาว่า
สามารถที่จะกล่อมเกลา ปลูกฝังและพัฒนาในด้านต่างๆของเยาวชนให้เป็นไปตามความต้องการ
และจุดมุ่งหมายของสังคมได้อย่างสมบูรณ์ที่สุด อีกประการหนึ่งโรงเรียนมัธยมศึกษายังเป็นสถาน
ศึกษาที่มีเด็กวัยรุ่นเข้าเรียนอยู่มากที่สุดคืออายุระหว่าง 12 - 17 ปี รัฐต้องเตรียมคนเหล่านี้ให้เป็นผู้ที่
ต้องรับผิดชอบต่อบ้านเมืองในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็น
ประมุข
โกวิท วรพิพัฒน์ (2533 : 25 - 26) ได้ระบุทิศทางการจัดการมัธยมศึกษาไว้ดังนี้
1. กรมสามัญศึกษาเชื่อว่านักเรียนเป็นหัวใจของการจัดการศึกษา การมัธยมศึกษา
เป็นการศึกษาหลังจากการประถมศึกษา เป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานของประชาชน
2. กรมสามัญศึกษาเชื่อว่าบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่ดีของโรงเรียนจะมีส่วนใน
การสร้างความคิด จิตใจและคุณธรรมต่างๆ อันพึงประสงค์ได้
3. กรมสามัญศึกษาเชื่อว่าโรงเรียนที่ดีจะต้องไม่แปลกแยกกับชุมชน ฉะนั้น
โรงเรียนจึงต้องมีส่วนร่วมในการพัฒนา ร่วมคิดหรือร่วมแก้ปัญหาของชุมชนด้วย
4. กรมสามัญศึกษาเชื่อว่าการร่วมคิดร่วมให้คำปรึกษาแนะนำ ให้การสนับสนุน
ช่วยเผยแพร่ผลงาน ตลอดจนส่งเสริมให้สวัสดิการจะทำให้ผู้บริหารโรงเรียน ครู อาจารย์และ
นักเรียนมีขวัญกำลังใจอันจะทำให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพสูง
การมัธยมศึกษาเป็นหน่วยงานหลักอันหนึ่งที่ถือว่าเป็นปัจจัยหลักในการพัฒนาคุณภาพของ
ประชากรชาวไทยให้ได้มาตรฐานตามสภาพที่เป็นไปได้โดยเน้นเยาวชนกลับไปพัฒนาท้องถิ่นและ
โรงเรียนจะต้องบริการชุมชน โรงเรียนมัธยมศึกษาจึงควรเป็นผู้นำแห่งการเรียนรู้ตลอดชีพของ
ทุกคนและถ่ายทอดวัฒนธรรมของสังคม
38
บทบาทและหน้าที่ของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา
ภารกิจของโรงเรียนมัธยมศึกษามีหลักสำคัญๆ คือ
1. พัฒนาเชาวน์และสติปัญญา อุปนิสัยและบุคลิกภาพของนักเรียน
2. ให้ความรู้ที่สำคัญและความคิดต่างๆเกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรมของประเทศ
ของตนเองและประเทศอื่นๆ
3. ทำนุบำรุงและรักษายึดมั่นและจงรักภักดีต่อระบบการปกครองและสังคมแบบ
ประชาธิปไตยของประเทศ
4. ให้ความรู้และความชำนาญในการประกอบอาชีพตามความเหมาะสมของบุคคล
และสังคม
5. ส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนทั้งทางร่างกายและจิตใจ
6. ปรับปรุงความคิดในการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ใช้เวลาให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง
และสังคม
เรือง เจริญชัย (2524 : 131 - 133) ได้กล่าวว่าหน้าที่ของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรม
สามัญศึกษา อย่างน้อยที่สุดต้องสอนนักเรียน สอนผู้ปกครอง บริการสังคมและชุมชน
ความหมายของการบริหารโรงเรียน
การบริหารโรงเรียน หมายถึง การดำเนินการต่าง ๆ ของโรงเรียนที่ประกอบด้วยผู้บริหาร
โรงเรียน ครูอาจารย์เพื่อให้การจัดการศึกษาของโรงเรียนเป็นไปตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรโดย
ต้องเกิดการพัฒนาทุกด้าน ด้านปัญญา จิตใจ ร่างกายและสังคม ให้นักเรียนเป็นสมาชิกที่ดีของ
สังคมและสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข (นิพนธ์ กินาวงศ์ 2523 : 18) สำหรับแคมเบลล์
และคนอื่น ๆ (Cambell and others 1974 : 116 – 144) ได้แบ่งการบริหารของโรงเรียนเป็น 6 ด้าน
ได้แก่ ด้านวิชาการ งานบริหารบุคคล งานกิจการนักเรียน งานอาคารสถานที่ งานสัมพันธ์กับชุมชน
และงานงบประมาณ ซึ่งสอดคล้องกับกรมสามัญศึกษาได้แบ่งการบริหารงานโรงเรียนมัธยมศึกษา
ตามเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียน พ.ศ. 2539 (กรมสามัญศึกษา 2539 : 3 – 10 ) มีเนื้อหาสาระสำคัญ
ประกอบด้วยงานต่างๆ 7 หมวด คือ
1. การบริหารทั่วไป
2. งานธุรการ
3. งานวิชาการ
4. งานปกครองนักเรียน
5. งานบริการ
39
6. งานโรงเรียนกับชุมชน
7. งานบริหารอาคารสถานที่
นอกจากนี้ พนัส หันนาคินทร์ (2530 : 81) กล่าวถึงงานโรงเรียนมัธยมศึกษาว่าโดยทั่วไป
จะแบ่งเป็นงานหลัก 3 ด้าน คือ งานด้านวิชาการ งานด้านธุรการ และงานด้านกิจการนักเรียน และ
นพพงษ์ บุญจิตราดุลย์ (2526 : 92) มีความเห็นว่างานโรงเรียนมัธยมศึกษาควรมี 5 ประการ คือ การ
บริหารงานวิชาการ การบริหารงานบุคลากร ความสัมพันธ์กับชุมชนและการประชาสัมพันธ์ การ
บริหารงานธุรการ การเงิน และการบริหารกิจการนักเรียน
การบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาเป็นการเน้นความรับผิดชอบโดยตรงของผู้บริหารโรงเรียน
ในการจัดการ ดูแล จัดการมัธยมศึกษาให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยอาศัยความร่วมมือและ
ศักยภาพของครูและผู้ร่วมงานทั้งหมด ผนวกกับการจัดการกับทรัพยากรที่มีอยู่และแหล่งวิทยาการ
ให้เกิดประโยชน์ตามแผนงานที่กำหนดไว้ กรมสามัญศึกษา (2544 : 1-12) ได้กำหนดวิสัยทัศน์
จุดมุ่งหมาย พันธกิจ กลยุทธ์ และยุทธศาสตร์ในการพัฒนาเป็นนโยบายกรมสามัญศึกษาในแต่ละ
ปีงบประมาณ ให้ผู้บริหารโรงเรียนบริหารงานโรงเรียนมัธยมศึกษาให้เป็นไปตามนโยบายที่สำคัญ
ดังนี้
1. จุดมุ่งหมายให้ประชาชนได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างเสมอภาคและทั่วถึง
ผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมายได้พัฒนาตนเต็มตามศักยภาพมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามมาตรฐาน
การศึกษาแห่งชาติสามารถดำรงชีวิตแบบวิถีไทยในสังคมโลกได้อย่างมีความสุข
2. ยุทธศาสตร์ระดับองค์การ
2.1 พัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยเน้นการให้บริการใน
รูปแบบที่หลากหลายกว้างขวางทั่วถึงและการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย
2.2 ปรับปรุงคุณภาพการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยเน้นการพัฒนา
กระบวนการเรียนรู้ การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา การพัฒนาสื่อและเทคโนโลยีทางการ
ศึกษาและการพัฒนากระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณลักษณะด้านอาชีพ
2.3 ปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารและจัดการให้เข้มแข็งทันสมัยและ
พร้อมต่อการกระจายอำนาจไปยังสถานศึกษาและท้องถิ่น
3. ยุทธศาสตร์ในการพัฒนา
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การรับรองสิทธิและโอกาสทางการศึกษา
ทั้งเด็กปกติ เด็กพิการ เด็กด้อยโอกาสและเด็กที่มีความสามารถพิเศษและพร้อมที่
จะดำเนินการให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
40
และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่กำหนดให้รัฐจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อย
กว่า 12 ปี อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช่จ่าย
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การปฏิรูปการเรียนรู้
เร่งพัฒนาการะบวนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ
โดยเน้นการนำหลักการไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมครบวงจร การแสวงหาและเผยแพร่วิธีการ
ที่ได้ผลโดยอาศัยโรงเรียนแกนนำ สหวิทยาเขต ศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนและอบรมครู
เป็นหน่วยงานและองค์กรหลักในการดำเนินการ

วัฒนธรรมโรงเรียนที่ส่งผลต่อบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหาร (ตอนที่ 1)
วัฒนธรรมโรงเรียนที่ส่งผลต่อบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหาร (ตอนที่ 2)
วัฒนธรรมโรงเรียนที่ส่งผลต่อบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหาร (ตอนที่ 3)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น