วันเสาร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2554

รูปแบบศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงาน (ตอนที่ 2)



2.2 แบบสอบถามตอนที่ 2 ของผู้บริหาร ข้อ 1 ถึง ข้อ 6 หาค่าร้อยละ ของคำตอบเกี่ยวกับ ความสำคัญ วัตถุประสงค์ รปแบบ หน้าที่ และกิจกรรมของความร่วมมือระหว่างห้องสมุดต่อศูนย์พัฒนางานห้องสมุด โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ รวมทั้งแหล่งงบประมาณสนับสนุนของศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา
ส่วนแบบสอบถามของบรรณารักษ์ ข้อ1 ถึง ข้อ 5 หาค่าร้อยละ ของคำตอบเกี่ยวกับ ความสำคัญ วัตถุประสงค์ รูปแบบ หน้าที่ ของความร่วมมือระหว่างห้องสมุดต่อศูนย์พัฒนางานห้องสมุด โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ และแหล่งงบประมาณสนับสนุนของศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา ส่วนข้อที่ 6 หาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคำตอบที่เกี่ยวกับความต้องการกิจกรรมความร่วมมือสำหรับศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ ในส่วนที่เป็นมาตราส่วนประมาณค่า โดยถือเกณฑ์ ดังนี้
ความต้องการใช้น้อยที่สุด มีค่าเท่ากับ 1 คะแนน
ความต้องการใช้น้อย มีค่าเท่ากับ 2 คะแนน
ความต้องการใช้ปานกลาง มีค่าเท่ากับ 3 คะแนน
ความต้องการใช้มาก มีค่าเท่ากับ 4 คะแนน
ความต้องการใช้มากที่สุด มีค่าเท่ากับ 5 คะแนน
ค่าเฉลี่ยที่ได้แล้วนำมาแปลงความหมายตามเกณฑ์ของบุญชม ศรีสะอาด (2535 : 113) ดังนี้
ค่าเฉลี่ยระหว่าง 4.51-5.00 หมายความว่า ต้องการ มากที่สุด
ค่าเฉลี่ยระหว่าง 3.51-4.50 หมายความว่า ต้องการ มาก
ค่าเฉลี่ยระหว่าง 2.51-3.50 หมายความว่า ต้องการ ปานกลาง
ค่าเฉลี่ยระหว่าง 1.51-2.50 หมายความว่า ต้องการ น้อย
ค่าเฉลี่ยระหว่าง 0.51-1.50 หมายความว่า ต้องการ น้อยที่สุด
65
2.3 แบบสอบถามตอนที่ 3 ข้อ 1 ถึง ข้อ 12 หาค่าร้อยละ ของคำตอบเกี่ยวกับ ความสำคัญ วัตถุประสงค์ รูปแบบ หน้าที่ และกิจกรรมของข่ายงานห้องสมุดของศูนย์พัฒนางานห้องสมุด โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ
3. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล (พวงรัตน์ ทวีรัตน์, 2538: 145, 151, 172)
3.1 ค่าร้อยละ = 100Nn×
3.2 ค่าเฉลี่ย (−X) = NfXΣ
3.3 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) =)1N(N)X(XN22−−ΣΣ
บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
เพื่อให้การดำเนินการวิจัยครั้งนี้ เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย เรื่องรูปแบบศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ ผู้วิจัยนำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์และเสนอผลการวิเคราะห์ ดังนี้
ตอนที่ 1 ข้อมูลเกี่ยวกับสถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
ตอนที่ 2 ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสำหรับศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ
ตอนที่ 3 ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับข่ายงานห้องสมุดของศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ
ตอนที่ 1 สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม
ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นผู้บริหารสถานศึกษาได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษา และผู้ช่วยผู้อำนวยการสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษา ฝ่ายบริหารวิชาการ จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 44 คน และหัวหน้างานห้องสมุดหรือบรรณารักษ์ โรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 22 คน รวม 66 คน ได้รับแบบสอบถามคืนทั้งหมด 66 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลได้แสดงในรูปตารางดังนี้
ตารางที่ 1 จำนวนและอัตราส่วนร้อยละของผู้บริหารและบรรณารักษ์จำแนกตามเพศชายและหญิง
ผู้บริหาร
บรรณารักษ์
เพศ
จำนวน(คน)
ร้อยละ (%)
จำนวน(คน)
ร้อยละ (%)
ชาย
22
50.00
3
13.64
หญิง
22
50.00
19
86.36
67
จากตารางที่ 1 พบว่าผู้บริหารเพศชาย และเพศหญิงมีจำนวนเท่ากัน (ร้อยละ 50) สำหรับบรรณารักษ์พบว่าส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 86.36) รองลงมาคือเพศชาย (ร้อยละ 13.64)
ตารางที่ 2 แสดงจำนวนและอัตราส่วนร้อยละของผู้บริหารและบรรณารักษ์จำแนกตามอายุ
ผู้บริหาร
บรรณารักษ์
อายุ
จำนวน(คน)
ร้อยละ (%)
จำนวน(คน)
ร้อยละ (%)
26 – 30 ปี
0
0
1
4.55
31 – 35 ปี
0
0
1
4.55
36 – 40 ปี
1
2.27
3
13.64
41 – 45 ปี
7
15.91
8
36.36
46 – 50 ปี
13
29.55
6
27.27
51 – 55 ปี
15
34.09
3
13.64
56 – 60 ปี
8
18.18
0
0
จากตารางที่ 2 พบว่าผู้บริหารมีอายุมากว่า 35 ปี ส่วนใหญ่มีช่วงอายุระหว่าง 51 – 55 ปี (ร้อยละ 34.09) และรองลงมามีช่วงอายุระหว่าง 46 – 50 ปี (ร้อยละ 29.55) ช่วงอายุระหว่าง 56 – 60 ปี (ร้อยละ 18.18) ช่วงอายุระหว่าง 41 – 45 ปี และช่วงอายุระหว่าง 36 – 40 ปี มีจำนวนน้อยที่สุด (ร้อยละ 2.27) ส่วนบรรณารักษ์พบว่ามีอายุระหว่าง 26 – 55 ปี ส่วนใหญ่มีช่วงอายุระหว่าง 41 – 45 ปี (ร้อยละ 36.36) และรองลงมามีช่วงอายุระหว่าง 46 – 50 ปี (ร้อยละ 27.27)
68
ตารางที่ 3 แสดงจำนวนและอัตราส่วนร้อยละของผู้บริหารและบรรณารักษ์จำแนกตามวุฒิการศึกษา
ผู้บริหาร
บรรณารักษ์
วุฒิการศึกษา
จำนวน(คน)
ร้อยละ (%)
จำนวน(คน)
ร้อยละ (%)
ปริญญาตรี
11
25.00
22
100
ปริญญาโท
32
72.73
0
0
ปริญญาเอก
1
2.27
0
0
ตารางที่ 3.1 แสดงจำนวนและอัตราส่วนร้อยละของบรรณารักษ์จำแนกวุฒิการศึกษาตามสาขาวิชา
วุฒิการศึกษา
จำนวน(คน)
ร้อยละ (%)
สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์
17
77.27
สาขาวิชาอื่นๆ
5
22.73
จากตารางที่ 3 พบว่าผู้บริหารส่วนใหญ่มีการศึกษาระดับปริญญาโท (ร้อยละ 72.73) และ
รองลงมาในระดับปริญญาตรี (ร้อยละ 25.00) ส่วนบรรณารักษ์ ทั้งหมดมีการศึกษาระดับปริญญาตรี (ร้อยละ100) ส่วนมากจบสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์ (ร้อยละ 77.27)
69
ตารางที่ 4 แสดงจำนวนและอัตราส่วนร้อยละของผู้บริหารและบรรณารักษ์จำแนกตามตำแหน่งงาน
และระยะเวลาในการทำงาน
ผู้บริหาร
บรรณารักษ์
ระยะเวลา
จำนวน(คน)
ร้อยละ (%)
จำนวน(คน)
ร้อยละ (%)
ต่ำกว่า 5 ปี
4
9.09
2
9.09
5 – 10 ปี
12
27.27
3
13.64
11 – 15 ปี
8
18.18
3
13.64
มากกว่า 15 ปี
20
45.45
14
63.64
จากตารางที่ 4 พบว่าผู้บริหารส่วนใหญ่อยู่ในตำแหน่งมามากกว่า 15 ปี (ร้อยละ 45.45) รองลงมา 5 – 10 ปี (ร้อยละ 27.27) บรรณารักษ์ส่วนใหญ่อยู่ในตำแหน่งมามากกว่า 15 ปี (ร้อยละ 63.64) รองลงมา คือ ช่วง 5 – 10 ปี และ11 – 15 ปี (ร้อยละ 13.64)
ตารางที่ 5 แสดงจำนวนและอัตราส่วนร้อยละของผู้บริหารและบรรณารักษ์จำแนกตามขนาดของ
ห้องสมุดโรงเรียน
ผู้บริหาร
บรรณารักษ์
ขนาดของโรงเรียน
จำนวน(คน)
ร้อยละ (%)
จำนวน(คน)
ร้อยละ (%)
ขนาด 1 ห้องเรียน
1
4.55
1
4.55
ขนาด 2 ห้องเรียน
2
9.09
2
9.09
ขนาด 4 ห้องเรียน
8
36.36
8
36.36
ขนาด 5 ห้องเรียน
4
18.18
4
18.18
อาคารเอกเทศ
7
31.82
7
31.82
จากตารางที่ 5 พบว่าห้องสมุดโรงเรียนส่วนใหญ่มีขนาด 4 ห้องเรียน จำนวน 8 แห่ง (ร้อยละ 36.36) รองลงมาจะเป็นอาคารเอกเทศ จำนวน 7 แห่ง (ร้อยละ 31.82)
70
ตอนที่ 2 ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสำหรับศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ
1. การวิเคราะห์ความคิดเห็นเกี่ยวกับความสำคัญของความร่วมมือระหว่างห้องสมุดต่อศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ โดยวิเคราะห์เป็นค่าร้อยละ ได้ผลดังแสดงในตารางที่ 6
ตารางที่ 6 แสดงความสำคัญของความร่วมมือระหว่างห้องสมุดต่อศูนย์พัฒนางานห้องสมุด
โรงเรียนมัธยมศึกษา ฯ
ผู้บริหาร
บรรณารักษ์
รายการ
จำนวน(คน)
ร้อยละ (%)
จำนวน(คน)
ร้อยละ (%)
1. ทำให้สามารถลดขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ซ้ำซ้อนกัน
ในห้องสมุดแต่ละแห่ง
14
31.82
15
68.18
2. ทำให้ประหยัดงบประมาณในส่วนที่ไม่ต้องปฏิบัติ
งานซ้ำซ้อนกัน
19
43.18
15
68.18
3. ทำให้บรรณารักษ์ขยายงานบริการห้องสมุดให้กับผู้ใช้ได้มากขึ้น
19
43.18
15
68.18
4. ทำให้ห้องสมุดได้รับการพัฒนาให้ได้มาตรฐาน
ทัดเทียมกันทุกแห่ง
38
86.36
22
100.00
5. ทำให้ผู้ใช้ได้รับสารนิเทศในจำนวนที่เพิ่มมากขึ้น
14
31.82
15
68.18
6. ทำให้ห้องสมุดโรงเรียนมีแหล่งข้อมูลที่เป็นศูนย์รวม
สารนิเทศของห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัด
สมุทรปราการ
38
86.36
22
100.00
7. ทำให้สามารถส่งเสริมการค้นคว้าหาความรู้
ด้วยตนเองของนักเรียนเพิ่มมากขึ้น
34
77.27
22
100.00
8. เป็นศูนย์ข้อมูลของผู้บริหารสถานศึกษา
21
47.73
11
50.00
71
จากผลที่แสดงในตารางที่ 6 การศึกษากลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่เป็นผู้บริหารและบรรณารักษ์ พบว่า มีความคิดเห็นเกี่ยวกับความสำคัญของความร่วมมือระหว่างห้องสมุดต่อศูนย์พัฒนางานห้องสมุด โรงเรียนมัธยมศึกษา ฯ ที่สอดคล้องกันที่มากที่สุดคือ ทำให้ห้องสมุดได้รับการพัฒนาให้ได้มาตรฐานทัดเทียมกันทุกแห่ง คิดเป็นร้อยละของผู้บริหารและบรรณารักษ์ และทำให้ห้องสมุดโรงเรียนมีแหล่งข้อมูลที่เป็นศูนย์รวมสารนิเทศของห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ คิดเป็นร้อยละของผู้บริหารและบรรณารักษ์ (86.36 % ,100 %) และทำให้สามารถส่งเสริมการค้นคว้าหาความรู้ ด้วยตนเองของนักเรียนเพิ่มมากขึ้น คิดเป็นร้อยละของผู้บริหารและบรรณารักษ์ (77.27 %, 100 %) รองลงมาคือ ทำให้ประหยัดงบประมาณในส่วนที่ไม่ต้องปฏิบัติงานซ้ำซ้อนกัน และทำให้บรรณารักษ์ขยายงานบริการห้องสมุดให้กับผู้ใช้ได้มากขึ้นคิดเป็นร้อยละของผู้บริหารและบรรณารักษ์ (43.18 %, 68.18 %) ทำให้สามารถลดขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ซ้ำซ้อนกันในห้องสมุดแต่ละแห่ง
และทำให้ผู้ใช้ได้รับสารนิเทศในจำนวนที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ผู้ใช้ได้รับสารนิเทศในจำนวนที่เพิ่มมากขึ้นคิดเป็น ร้อยละของผู้บริหารและบรรณารักษ์ (31.82 %, 68.18 %) และลำดับสุดท้ายคือ เป็นศูนย์ข้อมูลของผู้บริหารสถานศึกษาคิดเป็นร้อยละของบรรณารักษ์ (50.00 %)
2. การวิเคราะห์ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของความร่วมมือระหว่าง ห้องสมุดต่อศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ โดยวิเคราะห์เป็นค่าร้อยละ ได้ผลดังแสดงในตารางที่ 7
72
ตารางที่ 7 แสดงวัตถุประสงค์ของความร่วมมือระหว่างห้องสมุดต่อศูนย์พัฒนางานห้องสมุด
โรงเรียนมัธยมศึกษา ฯ
ผู้บริหาร
บรรณารักษ์
รายการ
จำนวน(คน)
ร้อยละ (%)
จำนวน(คน)
ร้อยละ (%)
1. เพื่อร่วมมือกันจัดกระบวนการปฏิบัติงานต่างๆ ให้มี
มาตรฐานเดียวกัน
39
88.64
22
100.00
2. เพื่อขจัดความซ้ำซ้อนในการดำเนินงานห้องสมุด
โรงเรียนมัธยมศึกษา
14
31.82
15
68.18
3. เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงานที่ซ้ำซ้อน
19
43.18
11
50.00
4. เพื่อใช้สารนิเทศร่วมกัน
26
59.09
19
86.36
5. เพื่อร่วมกันให้บริการต่างๆ แก่ผู้ใช้ได้มากขึ้น
34
77.27
18
81.82
6. เพื่อการใช้บุคลากรของห้องสมุดร่วมกัน
14
31.82
11
50.00
7. เพื่อเป็นศูนย์ข้อมูลทางวิชาการของห้องสมุดโรงเรียน
มัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
จังหวัดสมุทรปราการ
38
86.36
18
81.82
จากผลที่แสดงในตารางที่ 7 การศึกษากลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่เป็นผู้บริหารและบรรณารักษ์ พบว่า มีความคิดเห็นเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของความร่วมมือระหว่างห้องสมุดต่อศูนย์พัฒนางานห้องสมุด โรงเรียนมัธยมศึกษา ฯ ที่สอดคล้องกันที่มากที่สุดคือ เพื่อร่วมมือกันจัดกระบวนการปฏิบัติงานต่างๆ ให้มีมาตรฐานเดียวกัน คิดเป็นร้อยละของผู้บริหารและบรรณารักษ์ (88.64 %,100%) และเพื่อ วัตถุประสงค์อื่นต่างกันออกไป คือ เพื่อเป็นศูนย์ข้อมูลทางวิชาการของห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ คิดเป็นร้อยละของผู้บริหารและบรรณารักษ์ (86.36 %, 81.82 %) เพื่อร่วมกันให้บริการต่างๆ แก่ผู้ใช้ได้มากขึ้นคิดเป็นร้อยละของผู้บริหารและบรรณารักษ์ (77.27 %, 81.82 %) และเพื่อใช้สารนิเทศร่วมกันคิดเป็น ร้อยละของผู้บริหารและบรรณารักษ์ (59.09 %, 86.36 %) เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงานที่ซ้ำซ้อนคิดเป็นร้อยละของผู้บริหารและบรรณารักษ์ (43.18 %, 50.00 %)เพื่อขจัดความซ้ำซ้อนในการดำเนินงานห้องสมุด
73
โรงเรียนมัธยมศึกษา คิดเป็นร้อยละของผู้บริหารและบรรณารักษ์ (31.82 %, 68.18 %) เพื่อการใช้บุคลากรของห้องสมุดร่วมกัน คิดเป็นร้อยละของผู้บริหารและบรรณารักษ์ (31.82 %, 50.00 %)
3. การวิเคราะห์ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับความร่วมมือของศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ โดยวิเคราะห์เป็นค่าร้อยละ ได้ผลดังแสดงในตารางที่ 8
ตารางที่ 8 แสดงระดับความร่วมมือของศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา ฯ
ผู้บริหาร
บรรณารักษ์
รายการ
จำนวน(คน)
ร้อยละ (%)
จำนวน(คน)
ร้อยละ (%)
1. ระดับสถานศึกษา
14
31.82
3
13.64
2. ระดับจังหวัด
25
56.82
12
54.55
3. ระดับเขตพื้นที่การศึกษา
5
11.36
7
31.82
จากผลที่แสดงในตารางที่ 8 การศึกษากลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่เป็นผู้บริหารและบรรณารักษ์ พบว่า มีความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับความร่วมมือของศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา ฯ ที่สอดคล้องกันที่มากที่สุดคือ ระดับจังหวัด คิดเป็นร้อยละของผู้บริหารและบรรณารักษ์ (56.82 %, 54.55 %) ระดับสถานศึกษา คิดเป็นร้อยละของผู้บริหารและบรรณารักษ์ (31.82 %, 13.64 %) และระดับเขตพื้นที่การศึกษา คิดเป็นร้อยละของผู้บริหารและบรรณารักษ์ (11.36 %, 31.82 %)
4. การวิเคราะห์ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับหน้าที่ของศูนย์พัฒนางานห้องสมุด โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ โดยวิเคราะห์เป็นค่าร้อยละ ได้ผลดังแสดงในตารางที่ 9
74
ตารางที่ 9 แสดงหน้าที่ของศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา ฯ
ผู้บริหาร
บรรณารักษ์
รายการ
จำนวน(คน)
ร้อยละ (%)
จำนวน(คน)
ร้อยละ (%)
1. กำหนดมาตรฐานในการปฏิบัติงานร่วมกัน
34
77.27
22
100.00
2. กำหนดแนวทางในการจัดหาทรัพยากรร่วมกัน
24
54.55
14
63.64
3. จัดทำรายการทรัพยากรสารนิเทศร่วมกัน
38
86.36
3
13.64
4. บริหารและส่งเสริมกิจกรรมต่างๆของความร่วมมือ
28
63.64
18
81.82
5. ส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ทางวิชาชีพ
21
47.73
18
81.82
6. ควบคุมและประเมินผลความร่วมมือที่ได้สร้างขึ้น
21
47.73
15
68.18
7. พัฒนาและปรับปรุงความร่วมมือและกิจกรรมที่ได้จัด
ทำขึ้น
37
84.09
22
100.00
จากผลที่แสดงในตารางที่ 9 การศึกษากลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่เป็นผู้บริหารและบรรณารักษ์ พบว่า มีความคิดเห็นเกี่ยวกับหน้าที่ของศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษาฯ คือ พัฒนาและปรับปรุงความร่วมมือและกิจกรรมที่ได้จัดทำขึ้น คิดเป็นร้อยละของผู้บริหารและบรรณารักษ์ (84.09 %, 100 %) หน้าที่รองลงมา คือ กำหนดมาตรฐานในการปฏิบัติงานร่วมกันคิดเป็นร้อยละของผู้บริหารและบรรณารักษ์ (77.27%,100%) กำหนดแนวทางในการจัดหาทรัพยากรร่วมกัน คิดเป็นร้อยละของผู้บริหารและบรรณารักษ์ (54.55%,63.64 %) จัดทำรายการทรัพยากรสารนิเทศร่วมกัน คิดเป็นร้อยละของผู้บริหารและบรรณารักษ์ (86.36 %, 13.64%) บริหารและส่งเสริมกิจกรรมต่างๆของความร่วมมือ คิดเป็นร้อยละของผู้บริหารและบรรณารักษ์ (63.64%, 81.82%) ส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ทางวิชาชีพ คิดเป็นร้อยละของผู้บริหารและบรรณารักษ์ (47.73 %, 81.82 %) ควบคุมและประเมินผลความร่วมมือที่ได้สร้างขึ้น คิดเป็นร้อยละของผู้บริหารและบรรณารักษ์ (47.73 %, 68.18 %)
5. การวิเคราะห์ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดสรรงบประมาณของศูนย์พัฒนางาน
ห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ โดยวิเคราะห์เป็นค่าร้อยละ ได้ผลดังแสดงในตารางที่ 10
75
ตารางที่ 10 แสดงลักษณะการจัดสรรงบประมาณศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา ฯ
ผู้บริหาร
บรรณารักษ์
รายการ
จำนวน(คน)
ร้อยละ (%)
จำนวน(คน)
ร้อยละ (%)
1. ควรจัดสรรงบประมาณให้โดยเฉพาะ
39
88.64
18
81.82
2. ควรจัดหางบประมาณจากเงินผลประโยชน์ เงิน
บริจาคและอื่นๆ
8
18.18
4
18.18
3. ควรจัดตั้งกองทุนบริจาคเพื่อใช้จ่ายในการดำเนินงาน
0
0.00
0
0
4. ควรจัดสรรงบประมาณจากสถานศึกษาที่รวมกัน
จัดตั้ง
13
29.55
0
0
จากผลที่แสดงในตารางที่ 10 การศึกษากลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่เป็นผู้บริหารและบรรณารักษ์ พบว่า มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดสรรงบประมาณศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา ฯ ที่สอดคล้องกันมาก คือ ควรจัดสรรงบประมาณให้โดยเฉพาะ คิดเป็นร้อยละของผู้บริหารและบรรณารักษ์ (88.64 %, 81.82 %) ควรจัดหางบประมาณจากเงินผลประโยชน์ เงินบริจาคและอื่นๆ คิดเป็นร้อยละของผู้บริหารและบรรณารักษ์ (18.18 %, 18.18 %) และผู้บริหาร 29.55 %เห็นว่าควรจัดสรรงบประมาณจากสถานศึกษาที่รวมกันจัดตั้ง
6. การวิเคราะห์ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมของศูนย์พัฒนางาน
ห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ โดยวิเคราะห์เป็นค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ได้ผลดังแสดงในรูปตารางดังนี้
76
ตารางที่ 11 แสดงความต้องการให้มีการจัดกิจกรรมด้านต่าง ๆ ของผู้บริหาร
การจัดกิจกรรม
จำนวน คน)
ร้อยละ (%)
1. งานด้านห้องสมุด
1.1 งานบริหาร
31
70.45
1.2 งานเทคนิค
26
59.09
1.3 งานบริการ
39
88.64
1.4 งานกิจกรรม
21
47.73
1.5 งานประชาสัมพันธ์
0
0
2. งานด้านวิชาการ
44
100.00
3. งานด้านการสอน
34
77.27
ผู้บริหาร
จากผลที่แสดงในตารางที่ 11 พบว่ากลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่เป็นผู้บริหาร มีความคิดเห็นเกี่ยวกับ
การจัดกิจกรรมความร่วมมือระหว่างห้องสมุดของศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา ฯ คือ
งานด้านห้องสมุด มีความต้องการให้มีการจัดกิจกรรมในงานบริการมากที่สุด (ร้อยละ 88.64)รองลงมาคือ งานบริหาร (ร้อยละ 70.45 ) งานเทคนิค (ร้อยละ 59.09) งานกิจกรรม (ร้อยละ 47.73) และสำหรับงานด้านประชาสัมพันธ์ผู้บริหารไม่ได้ให้ความคิดเห็น
งานด้านวิชาการ มีความต้องการให้มีการจัดกิจกรรมด้านวิชาการมากที่สุด (ร้อยละ 100)
งานด้านการสอน มีความต้องการให้มีการจัดกิจกรรมด้านการสอนร้อยละ 77.27
บรรณารักษ์
จากการศึกษากลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่เป็นบรรณารักษ์ พบว่า มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดกิจกรรม
ของศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา ฯ คือ
งานด้านห้องสมุด บรรณารักษ์มีความต้องการให้งานด้านห้องสมุด มีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ แบ่งออกเป็นการจัดกิจกรรมตามงานต่าง ๆ ดังนี้
77
- งานบริหาร ความต้องการในกิจกรรมงานบริหารของบรรณารักษ์ ดังแสดงในตารางที่ 12
ตารางที่ 12 แสดงระดับความต้องการในกิจกรรมงานบริหารของบรรณารักษ์
การจัดกิจกรรมด้านงานบริหาร
−X
S.D.
สรุปผล
1. แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ด้านงานบริหาร
ห้องสมุด
4.64
0.48
มากที่สุด
2. จัดทำหัวข้อรายงานประจำปี
3.95
0.82
มาก
3. จัดทำแบบฟอร์มเก็บสถิติต่างๆ ของห้องสมุด
4.32
0.46
มาก
4. จัดทำคู่มือการปฏิบัติงานห้องสมุด
4.45
0.49
มาก
5. จัดอบรมนักเรียนช่วยงานห้องสมุด
4.27
0.44
มาก
6. จัดทำคู่มือนักเรียนช่วยงานห้องสมุด
3.77
0.66
มาก
7. กำหนดรูปแบบการเสนอโครงการของห้องสมุดโรงเรียน
ให้เป็นแนวเดียวกัน
4.45
0.78
มาก
8. เชิญผู้บริหารโรงเรียนของสมาชิกมาร่วมประชุมกับครู
บรรณารักษ์ในเรื่องเกี่ยวกับการดำเนินงานห้องสมุด
4.50
0.50
มาก
จากผลที่แสดงในตารางที่ 12 พบว่า ระดับความต้องการของบรรณารักษ์ ในกิจกรรมงานบริหาร กิจกรรมที่ต้องการมากที่สุด คือ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ด้านงานบริหารห้องสมุด (−X= 4.64 , S.D. = 0.48) และระดับมาก ทุกรายการ (−X= 3.77 ถึง 4.50) กิจกรรมที่ต้องการในระดับแรก ๆ ได้แก่ เชิญผู้บริหารโรงเรียนของสมาชิกมาร่วมประชุมกับครู บรรณารักษ์ในเรื่องเกี่ยวกับการดำเนินงานห้องสมุด จัดทำคู่มือการปฏิบัติงานห้องสมุดและกำหนดรูปแบบการเสนอโครงการของห้องสมุดโรงเรียนให้เป็นแนวเดียวกัน
- งานเทคนิค ความต้องการในกิจกรรมงานเทคนิคของบรรณารักษ์ ดังแสดงในตารางที่ 13
78
ตารางที่ 13 แสดงระดับความต้องการในกิจกรรมงานเทคนิคของบรรณารักษ์
การจัดกิจกรรมด้านงานเทคนิค
−X
S.D.
สรุปผล
1. แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ด้านงานเทคนิค
4.50
0.50
มาก
2. จัดทำและแลกเปลี่ยนรายการหนังสือและวารสารใหม่
4.09
0.66
มาก
3. จัดทำกฤตภาคให้แก่ห้องสมุดสมาชิก
3.91
1.16
มาก
4. เสนอรายชื่อหนังสือที่ควรจัดซื้อ
3.82
0.64
มาก
5. ฝึกซ่อมหนังสือ
3.82
0.64
มาก
6. ดูงานซ่อมหนังสือของห้องสมุดสมาชิก
3.50
0.50
ปานกลาง
7. รวบรวมรายชื่อวารสารที่สมาชิกห้องสมุดโรงเรียนได้รับ
อภินันทนาการ
3.64
0.71
มาก
8. รวบรวมรายชื่อหน่วยงานและสถาบันที่จัดเป็นแหล่ง
วัสดุได้เปล่า
3.82
0.64
มาก
จากผลที่แสดงในตารางที่ 13 พบว่า ระดับความต้องการของบรรณารักษ์ ในกิจกรรมงานเทคนิค ในภาพรวมต้องการมากทุกรายการ (−X= 3.64 ถึง 4.50) กิจกรรมที่ต้องการในระดับแรก ๆ ได้แก่ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ด้านงานเทคนิค จัดทำและแลกเปลี่ยนรายการหนังสือและวารสารใหม่ จัดทำกฤตภาคให้แก่ห้องสมุดสมาชิก ยกเว้นกิจกรรมดูงานซ่อมหนังสือของห้องสมุดสมาชิกระดับความต้องการอยู่ในระดับปานกลาง (−X= 3.50 ,S.D. = 0.50)
- งานบริการ ความต้องการในกิจกรรมงานบริการของบรรณารักษ์ ดังแสดงในตารางที่ 14
79
ตารางที่ 14 แสดงระดับความต้องการในกิจกรรมงานบริการของบรรณารักษ์
การจัดกิจกรรมด้านงานบริการ
−X
S.D.
สรุปผล
1. แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ด้านงานบริการ
4.32
0.46
มาก
2. จัดทำบรรณานุกรมประกอบการค้นคว้ารายวิชาต่างๆ
4.14
0.34
มาก
3. จัดทำรายชื่อหนังสือใหม่ของห้องสมุดสมาชิก
4.14
0.34
มาก
4. รวบรวมรายชื่อและบรรณนิทัศน์หนังสือที่ชนะการประกวด
4.68
0.46
มากที่สุด
5. จัดทำดรรชนีวารสาร
3.77
0.66
มาก
6. รวบรวมเรื่องน่ารู้จากห้องสมุด
4.14
0.69
มาก
7. ให้ยืมโสตทัศนวัสดุไปอัดสำเนา
4.14
0.69
มาก
8. รวบรวมและจัดพิมพ์รายชื่อโสตทัศนวัสดุของห้องสมุดสมาชิก
3.95
0.56
มาก
9. ให้บริการยืมระหว่างห้องสมุด
4.64
0.48
มากที่สุด
10. จัดทำหนังสือเกมส่งเสริมการอ่าน
4.64
0.48
มากที่สุด
จากผลที่แสดงในตารางที่ 14 พบว่า ระดับความต้องการของบรรณารักษ์ ในกิจกรรมงานบริการ ระดับความต้องการมากที่สุด ในกิจกรรมการรวบรวมรายชื่อและบรรณนิทัศน์หนังสือที่ชนะการประกวด (−X= 4.68 ,S.D. = 0.46) ให้บริการยืมระหว่างห้องสมุด (−X= 4.64 ,S.D. = 0.48) และ จัดทำหนังสือเกมส่งเสริมการอ่าน (−X= 4.64 ,S.D. = 0.48) ส่วนรายการอื่นๆ อยู่ในระดับมากทุกรายการ (−X= 3.77 ถึง 4.32)
- งานกิจกรรม ความต้องการในการจัดกิจกรรมงานด้านห้องสมุดของบรรณารักษ์ ดังแสดงในตารางที่ 15
80
ตารางที่ 15 แสดงระดับความต้องการในการจัดกิจกรรมงานด้านห้องสมุดของบรรณารักษ์
การจัดกิจกรรมด้านงานกิจกรรม
−X
S.D.
สรุปผล
1. แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์เกี่ยวกับการจัด
กิจกรรมของห้องสมุด
4.64
0.48
มากที่สุด
2. จัดทำปัญหาจากหนังสือเพื่อไว้จัดกิจกรรม
4.18
0.38
มาก
3. จัดทำนิทรรศการหมุนเวียน
4.64
0.48
มากที่สุด
4. จัดนิทรรศการร่วมกันในบางโอกาส
4.50
0.50
มาก
5. ผลิตเอกสารการจัดกิจกรรมในสัปดาห์ห้องสมุด
4.32
0.76
มาก
จากผลที่แสดงในตารางที่ 15 พบว่า ระดับความต้องการของบรรณารักษ์ ในกิจกรรมงาน กิจกรรม ระดับความต้องการมากที่สุดในระดับเท่ากัน คือกิจกรรมการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมของห้องสมุด และกิจกรรมการจัดทำนิทรรศการหมุนเวียน (−X= 4.64 ,S.D. = 0.48) และในระดับมาก ทุกรายการ (−X= 4.18 ถึง 4.50)
- งานประชาสัมพันธ์ ความต้องการในกิจกรรมงานประชาสัมพันธ์ของบรรณารักษ์ ดังแสดงในตารางที่ 16
ตารางที่ 16 แสดงระดับความต้องการในการจัดกิจกรรมงานประชาสัมพันธ์ของบรรณารักษ์
การจัดกิจกรรมด้านงานประชาสัมพันธ์
−X
S.D.
สรุปผล
1. แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ด้านงาน
ประชาสัมพันธ์
4.50
0.50
มาก
2. รวบรวมเพลงและคำขวัญของห้องสมุดเพื่อจัดกิจกรรมของ
ห้องสมุด
3.82
0.64
มาก
3. ผลิตเอกสารเผยแพร่ความรู้แจกผู้ใช้ห้องสมุด
4.18
0.64
มาก
4. จัดทำจดหมายข่าวของกลุ่มครูบรรณารักษ์
4.18
0.64
มาก
81
จากผลที่แสดงในตารางที่ 16 พบว่า ระดับความต้องการของบรรณารักษ์ ในกิจกรรมงาน ประชาสัมพันธ์ ในภาพรวมมีระดับความต้องการมาก ทุกรายการ (−X= 3.82 ถึง 4.50) กิจกรรมที่ต้องการในระดับแรกๆ ได้แก่ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ด้านงานประชาสัมพันธ์ ผลิตเอกสารเผยแพร่ความรู้แจกผู้ใช้ห้องสมุด และจัดทำจดหมายข่าวของกลุ่มครูบรรณารักษ์
งานด้านวิชาการ บรรณารักษ์มีความต้องการในกิจกรรมงานด้านวิชาการ ดังแสดงใน ตารางที่ 17
ตารางที่ 17 แสดงระดับความต้องการในการจัดกิจกรรมงานด้านวิชาการของบรรณารักษ์
การจัดกิจกรรมด้านวิชาการ
−X
S.D.
สรุปผล
1. แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ด้านงาน
วิชาการ
4.32
0.46
มาก
2. จัดทำสิ่งพิมพ์เผยแพร่ความรู้ทางวิชาการแก่ครูบรรณารักษ์
4.50
0.50
มาก
3. เชิญวิทยากรมาบรรยาย
4.50
0.50
มาก
4. จัดอบรมระยะสั้นเพื่อเพิ่มพูนความรู้แก่ครูบรรณารักษ์
4.50
0.50
มาก
5. ศึกษาและดูงานห้องสมุดที่ได้มาตรฐาน
4.32
0.46
มาก
จากผลที่แสดงในตารางที่ 17 พบว่า ในภาพรวมมีระดับความต้องการมาก ทุกรายการ
(−X=4.32 ถึง4.50) กิจกรรมที่ต้องการในระดับแรกๆ ที่เท่ากัน ได้แก่ จัดทำสิ่งพิมพ์เผยแพร่ความรู้ทางวิชาการแก่ครูบรรณารักษ์ เชิญวิทยากรมาบรรยาย และจัดอบรมระยะสั้นเพื่อเพิ่มพูนความรู้แก่ครูบรรณารักษ์
งานด้านการสอน บรรณารักษ์มีความต้องการในกิจกรรมงานด้านการสอน ดังแสดงใน ตารางที่ 18
82
ตารางที่ 18 แสดงระดับความต้องการในการจัดกิจกรรมงานด้านการสอนของบรรณารักษ์
การจัดกิจกรรมด้านการสอน
−X
S.D.
สรุปผล
1. แลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นและประสบการณ์ด้าน
การสอน
4.50
0.50
มาก
2. จัดทำเอกสารประกอบการสอนกิจกรรมห้องสมุดและ
รายวิชาห้องสมุด
4.32
0.46
มาก
3. จัดทำสื่อประกอบการสอนรายวิชาห้องสมุด
4.32
0.46
มาก
จากผลที่แสดงในตารางที่ 18 พบว่า ในภาพรวมมีระดับความต้องการมาก ทุกรายการ(−X= 4.32 ถึง4.50) กิจกรรมที่ต้องการในระดับแรก ได้แก่ แลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นและประสบการณ์ด้านการสอน
ตอนที่ 3 ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับข่ายงานห้องสมุดของศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ
1. การวิเคราะห์ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับความสำคัญของข่ายงานห้องสมุดต่อศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ โดยวิเคราะห์เป็นค่าร้อยละ ได้ผลดังแสดงในตารางที่ 19
83
ตารางที่ 19 แสดงความสำคัญของข่ายงานห้องสมุดต่อศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียน
มัธยมศึกษา ฯ
ผู้บริหาร
บรรณารักษ์
รายการ
จำนวน(คน)
ร้อยละ (%)
จำนวน(คน)
ร้อยละ (%)
1. ทำให้สามารถลดขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ซ้ำซ้อนกัน
ในห้องสมุดแต่ละแห่ง
13
29.55
15
68.18
2. ทำให้ประหยัดงบประมาณในส่วนที่ไม่ต้องปฏิบัติ
งานซ้ำซ้อนกัน
13
29.55
15
68.18
3. ทำให้บรรณารักษ์ขยายงานบริการห้องสมุดให้
กับผู้ใช้ได้มากขึ้น
22
50.00
18
81.82
4. ทำให้บรรณารักษ์มีความกระตือรือร้นในการปฏิบัติ
งานมากขึ้น
20
45.45
11
50.00
5. ทำให้ห้องสมุดได้รับการพัฒนาให้ได้มาตรฐาน
ทัดเทียมกันทุกแห่ง
39
88.64
13
59.09
6. ทำให้ผู้ใช้ได้รับสารนิเทศในจำนวนที่เพิ่มมากขึ้น
26
59.09
15
68.18
7. ทำให้ผู้ใช้ได้รับบริการต่าง ๆ จากห้องสมุดสมาชิกใน
ข่ายงานเพิ่มมากขึ้น
21
47.73
15
68.18
8. ทำให้ห้องสมุดโรงเรียนมีแหล่งข้อมูลที่เป็นศูนย์รวม
สารนิเทศของห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัด
สมุทรปราการ
33
75.00
22
100.00
9. ทำให้สามารถส่งเสริมการค้นคว้าหาความรู้ ด้วย
ตนเองของนักเรียนเพิ่มมากขึ้น
33
75.00
15
68.18
10. เป็นศูนย์ข้อมูลของผู้บริหารสถานศึกษา
21
47.73
11
50.00
จากผลที่แสดงในตารางที่ 19 พบว่า การศึกษากลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่เป็นผู้บริหารและบรรณารักษ์ มีความแตกต่างกัน ดังนี้
84
ผู้บริหาร พบว่า มีความคิดเห็นเกี่ยวกับความสำคัญของข่ายงานห้องสมุดต่อศูนย์
พัฒนางานห้องสมุด โรงเรียนมัธยมศึกษา ฯ โดยให้ความสำคัญเป็นลำดับแรก คือทำให้ห้องสมุดได้รับการพัฒนาให้ได้มาตรฐานทัดเทียมกันทุกแห่ง (ร้อยละ 88.64) รองลงมาในลำดับที่เท่ากัน คือ ทำให้ห้องสมุดโรงเรียนมีแหล่งข้อมูลที่เป็นศูนย์รวมสารนิเทศของห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ และ ทำให้สามารถส่งเสริมการค้นคว้าหาความรู้ ด้วยตนเองของนักเรียนเพิ่มมากขึ้น (ร้อยละ 75.00)
บรรณารักษ์ พบว่า มีความคิดเห็นเกี่ยวกับความสำคัญของข่ายงานห้องสมุดต่อศูนย์
พัฒนางานห้องสมุด โรงเรียนมัธยมศึกษา ฯ โดยให้ความสำคัญเป็นลำดับแรก คือ ทำให้ห้องสมุด โรงเรียนมีแหล่งข้อมูลที่เป็นศูนย์รวมสารนิเทศของห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ ร้อยละ 100 รองลงมา คือ ทำให้บรรณารักษ์ขยายงานบริการห้องสมุดให้กับผู้ใช้ได้มากขึ้น (ร้อยละ 81.82)
2. การวิเคราะห์ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับความเป้าหมายของข่ายงานห้องสมุดต่อ
ศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ โดยวิเคราะห์เป็นค่าร้อยละ ได้ผลดังแสดงในตารางที่ 20
ตารางที่ 20 แสดงเป้าหมายของข่ายงานห้องสมุดต่อศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา ฯ
ผู้บริหาร
บรรณารักษ์
รายการ
จำนวน(คน)
ร้อยละ (%)
จำนวน(คน)
ร้อยละ (%)
1. เพื่อยกระดับมาตรฐานห้องสมุดโรงเรียนให้มีความ
ทัดเทียมกัน
33
75.00
22
100.00
2. เพื่อให้ผู้ใช้ได้รับบริการต่างๆ ของห้องสมุดได้
มากขึ้น
27
61.36
11
50.00
3. เพื่อให้ห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 1 และเขต 2 จังหวัด
สมุทรปราการมีฐานข้อมูลที่ใช้สืบค้นสารนิเทศได้
33
75.00
19
86.36
85
ตาราง 20 (ต่อ)
ผู้บริหาร
บรรณารักษ์
รายการ
จำนวน(คน)
ร้อยละ (%)
จำนวน(คน)
ร้อยละ (%)
4. เพื่อให้ห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 1 และเขต 2 จังหวัด
สมุทรปราการ สามารถติดต่อสื่อสารกันในระบบ
ออนไลน์
39
88.64
22
100.00
5. เพื่อสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกับข่ายงานอื่นๆ ได้
28
63.64
15
68.18
จากผลที่แสดงในตารางที่ 20 การศึกษากลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่เป็นผู้บริหาร และบรรณารักษ์ พบว่า มีความคิดเห็นเกี่ยวกับเป้าหมายของข่ายงานห้องสมุดต่อศูนย์พัฒนางานห้องสมุด โรงเรียนมัธยมศึกษา ฯ ที่สอดคล้องกัน โดยมีเป้าหมายในลำดับแรก คือ เพื่อให้ห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ สามารถติดต่อสื่อสารกันในระบบออนไลน์ ร้อยละ 88.64 ของผู้บริหาร และร้อยละ 100 ของบรรณารักษ์ รองลงมา คือ เพื่อยกระดับมาตรฐานห้องสมุดโรงเรียนให้มีความทัดเทียมกัน ร้อยละ 75.55 ของผู้บริหาร และร้อยละ 100 ของบรรณารักษ์ และเพื่อให้ห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดสมุทรปราการมีฐานข้อมูลที่ใช้สืบค้นสารนิเทศได้ ร้อยละ 75.00 ของผู้บริหาร และร้อยละ 86.36 ของบรรณารักษ์
3. การวิเคราะห์ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของข่ายงานห้องสมุดต่อ ศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ โดยวิเคราะห์เป็นค่าร้อยละ ได้ผลดังแสดงในตารางที่ 21
86
ตารางที่ 21 แสดงวัตถุประสงค์ของข่ายงานห้องสมุดต่อศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียน มัธยมศึกษาฯ
ผู้บริหาร
บรรณารักษ์
รายการ
จำนวน(คน)
ร้อยละ (%)
จำนวน(คน)
ร้อยละ (%)
1. เพื่อร่วมมือกันจัดกระบวนการปฏิบัติงานต่างๆ ให้มี
มาตรฐานเดียวกัน
34
77.27
22
100.00
2. เพื่อขจัดความซ้ำซ้อนในการดำเนินงานห้องสมุด
โรงเรียนมัธยมศึกษา
21
47.73
11
50.00
3. เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงานที่ซ้ำซ้อน
38
86.36
11
50.00
4. เพื่อใช้สารนิเทศร่วมกัน
38
86.36
15
68.18
5. เพื่อร่วมกันให้บริการต่างๆ แก่ผู้ใช้ได้มากขึ้น
28
63.64
19
86.36
6. เพื่อการใช้บุคลากรของห้องสมุดร่วมกัน
26
59.09
15
68.18
7. เพื่อเป็นศูนย์ข้อมูลทางวิชาการของห้องสมุดโรงเรียน
มัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
จังหวัดสมุทรปราการ
28
63.64
18
81.82
จากผลที่แสดงในตารางที่ 21 การศึกษากลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่เป็นผู้บริหารและบรรณารักษ์ พบว่า มีความคิดเห็นเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของความร่วมมือระหว่างห้องสมุดต่อศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา ฯ ที่แตกต่างกัน คือ
ผู้บริหาร พบว่า มีความคิดเห็นเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของข่ายงานห้องสมุดต่อ ศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา ฯ โดยวัตถุประสงค์ลำดับแรกที่เท่ากัน คือ เพื่อ ลดค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงานที่ซ้ำซ้อน และ เพื่อใช้สารนิเทศร่วมกัน (ร้อยละ 86.36) รองลงมาคือ เพื่อร่วมมือกันจัดกระบวนการปฏิบัติงานต่างๆ ให้มีมาตรฐานเดียวกัน (ร้อยละ 77.27)
บรรณารักษ์ พบว่า มีความคิดเห็นเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของข่ายงานห้องสมุดต่อ ศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา ฯ โดยวัตถุประสงค์ลำดับแรก คือ เพื่อร่วมมือกันจัดกระบวนการปฏิบัติงานต่างๆ ให้มีมาตรฐานเดียวกัน (ร้อยละ 100) รองลงมา คือ เพื่อร่วมกันให้บริการต่างๆ แก่ผู้ใช้ได้มากขึ้น (ร้อยละ 86.36) และ เพื่อเป็นศูนย์ข้อมูลทางวิชาการของห้องสมุดโรงเรียน
มัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ (ร้อยละ 81.82)
87
4. การวิเคราะห์ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบโครงสร้างการติดต่อสื่อสาร เชื่อมโยงระหว่างห้องสมุดต่อศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ โดยวิเคราะห์เป็นค่าร้อยละ ได้ผลดังแสดงใน ตารางที่ 22
ตารางที่ 22 แสดงรูปแบบโครงสร้างการติดต่อสื่อสารเชื่อมโยงระหว่างห้องสมุดต่อศูนย์พัฒนางาน
ห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา ฯ
ผู้บริหาร
บรรณารักษ์
รูปแบบโครงสร้าง
จำนวน(คน)
ร้อยละ (%)
จำนวน(คน)
ร้อยละ (%)
1. โครงสร้างข่ายงานแบบศูนย์รวมหรือแบบดาว
16
36.36
0
0.00
2. โครงสร้างข่ายงานแบบลดหลั่นลำดับชั้น
7
15.91
7
31.82
3. โครงสร้างข่ายงานแบบกระจาย
0
0.00
8
36.36
4. โครงสร้างข่ายงานแบบลักษณะผสมผสาน
21
47.73
7
31.82
จากผลที่แสดงในตารางที่ 22 การศึกษากลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่เป็นผู้บริหารและบรรณารักษ์ พบว่า มีความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบโครงสร้างการติดต่อสื่อสารเชื่อมโยงระหว่างห้องสมุดต่อศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา ฯ ที่แตกต่างกัน คือ
ผู้บริหาร พบว่า มีความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบโครงสร้างการติดต่อสื่อสารเชื่อมโยง
ระหว่างห้องสมุดต่อศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา ฯ รูปแบบลำดับแรก คือ โครงสร้างข่ายงานแบบลักษณะผสมผสาน (ร้อยละ 47.73) รองลงมาคือ โครงสร้างข่ายงานแบบศูนย์รวมหรือ แบบดาว (ร้อยละ 36.36) และไม่ได้เลือก คือ โครงสร้างข่ายงานแบบกระจาย
บรรณารักษ์ พบว่า มีความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบโครงสร้างการติดต่อสื่อสาร
เชื่อมโยง ระหว่างห้องสมุดต่อศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษาฯ รูปแบบลำดับแรก คือโครงสร้างข่ายงานแบบกระจาย (ร้อยละ 36.36) และที่ไม่ได้เลือก คือ โครงสร้างข่ายงานแบบศูนย์รวมหรือแบบดาว
สรุปว่าควรเป็นโครงสร้างแบบผสมผสาน เพราะเป็นโครงสร้างที่ผสมระหว่างแบบศูนย์รวมหรือแบบดาว แบบลดหลั่นลำดับชั้น และแบบกระจาย คือมีศูนย์รวมแห่งหนึ่งและสมาชิกอื่นๆ สามารถติดต่อใช้ทรัพยากรสารนิเทศทั้งจากศูนย์รวมระหว่างสมาชิกได้
88
5. การวิเคราะห์ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับหน้าที่ของข่ายงานห้องสมุดของศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ โดยวิเคราะห์เป็นค่าร้อยละ ได้ผลดังแสดงในตารางที่ 23
ตารางที่ 23 แสดงระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับหน้าที่ของข่ายงานของศูนย์พัฒนางานห้องสมุด
โรงเรียนมัธยมศึกษา ฯ
ผู้บริหาร
บรรณารักษ์
รายการ
จำนวน(คน)
ร้อยละ (%)
จำนวน(คน)
ร้อยละ (%)
1. กำหนดมาตรฐานในการปฏิบัติงานร่วมกัน
39
88.64
22
100.00
2. จัดทำสหรายการหนังสือ สหรายชื่อวารสารร่วมกัน
20
45.45
11
50.00
3. จัดทำฐานข้อมูล
26
59.09
15
68.18
4. กำหนดแนวทางในการจัดหาทรัพยากรร่วมกัน
13
29.55
10
45.45
5. บริหารและส่งเสริมกิจกรรมต่างๆ ในข่ายงานฯ
19
43.18
7
31.82
6. ประสานงานเพื่อการเข้าถึงสารนิเทศในห้องสมุด
โรงเรียนที่เป็นสมาชิก
33
75.00
15
68.18
7. ส่งเสริมพัฒนาบุคลากร
26
59.09
14
63.64
8. ควบคุมและประเมินผลข่ายงานฯ ที่ได้สร้างขึ้น
21
47.73
11
50.00
9. พัฒนาและปรับปรุงระบบข่ายงานฯและกิจกรรมที่ได้
จัดทำขึ้น
39
88.64
22
100.00
จากผลที่แสดงในตารางที่ 23 การศึกษากลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่เป็นผู้บริหารและบรรณารักษ์ พบว่า มีความคิดเห็นเกี่ยวกับหน้าที่ของข่ายงานห้องสมุดของศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา ฯ ที่สอดคล้องกัน ในลำดับแรกที่เท่ากันคือ กำหนดมาตรฐานในการปฏิบัติงานร่วมกัน และพัฒนาและปรับปรุงระบบข่ายงานฯและกิจกรรมที่ได้จัดทำขึ้น ร้อยละ 88.64 ของผู้บริหาร และ ร้อยละ 100.00 ของบรรณารักษ์ รองลงมา คือ ประสานงานเพื่อการเข้าถึงสารนิเทศในห้องสมุด โรงเรียนที่เป็นสมาชิก ร้อยละ 75.00 ของผู้บริหาร และร้อยละ68.18 ของบรรณารักษ์
89
6. การวิเคราะห์ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมของข่ายงานห้องสมุดของศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ โดยวิเคราะห์เป็นค่าร้อยละ ได้ผลดังแสดงในตารางที่ 24
ตารางที่ 24 แสดงระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมของข่ายงานของศูนย์พัฒนางาน
ห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา ฯ
ผู้บริหาร
บรรณารักษ์
การจัดกิจกรรมของข่ายงาน ฯ
จำนวน(คน)
ร้อยละ (%)
จำนวน(คน)
ร้อยละ (%)
1. การพัฒนาทรัพยากรห้องสมุด
1.1 จัดทำฐานข้อมูลการจัดหาหนังสือ
31
70.45
19
86.36
1.2 จัดทำฐานข้อมูลการจัดหาวารสาร
26
59.09
19
86.36
1.3 จัดทำฐานข้อมูลการจัดหาโสตทัศนวัสดุร่วมกัน
39
88.64
18
81.82
1.4 จัดทำและแลกเปลี่ยนรายการหนังสือ และ
รายชื่อวารสารใหม่
21
47.73
22
100.00
2. การจัดหมู่และทำรายการ
2.1 จัดทำฐานข้อมูลการจัดหมู่และทำรายการ
หนังสือ
26
59.09
18
81.82
2.2 จัดทำฐานข้อมูลการจัดหมู่และทำรายการสื่อ
โสตทัศนวัสดุ
28
63.64
18
81.82
2.3 จัดทำฐานข้อมูลดรรชนีวารสาร
21
47.73
14
63.64
2.4 จัดตั้งศูนย์กลางการจัดหมู่และทำรายการ
26
59.09
15
68.18
2.5 แลกเปลี่ยนการจัดหมู่และทำรายการทรัพยากร
สารนิเทศที่ได้รับมอบหมายระหว่างห้องสมุด
สมาชิกฯ
21
47.73
15
68.18
90
ตารางที่ 24 (ต่อ)
ผู้บริหาร
บรรณารักษ์
การจัดกิจกรรมของข่ายงาน ฯ
จำนวน(คน)
ร้อยละ (%)
จำนวน(คน)
ร้อยละ (%)
3. การยืมระหว่างห้องสมุด
3.1 การยืมหนังสือระหว่างห้องสมุดสมาชิกใน
ข่ายงานฯ
26
59.09
22
100.00
3.2 การยืมวารสารระหว่างห้องสมุดสมาชิกใน
ข่ายงานฯ
13
29.55
22
100.00
3.3 การยืมโสตทัศนวัสดุระหว่างห้องสมุดสมาชิก
ในข่ายงานฯ
33
75.00
22
100.00
3.4 การถ่ายสำเนาเอกสาร วารสาร หนังสือตามคำขอ
22
50.00
15
68.18
4. บริการต่าง ๆ
4.1บริการรวบรวมบรรณานุกรมแต่ละกลุ่มสาระวิชา
33
75.00
15
68.18
4.2 บริการดรรชนีและสาระสังเขป
33
75.00
10
45.45
4.3 บริการข่าวสารทันสมัย/ กิจกรรมส่งเสริม
การอ่าน
28
63.64
22
100.00
4.4 บริการเผยแพร่ข่าวสารในข่ายงานฯ ของศูนย์
พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัด
สมุทรปราการ
34
77.27
18
81.82
5. การส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับข่ายงาน ให้กับบุคลากร
ห้องสมุด
5.1 ทัศนศึกษา และดูงานข่ายงานฯ อื่นๆ
28
63.64
22
100.00
5.2 ฝึกอบรมเรื่องความรู้เกี่ยวกับข่ายงานฯ
39
88.64
22
100.00
5.3 ฝึกอบรมเรื่องการใช้เทคโนโลยีสารนิเทศใน
ข่ายงานฯ
33
75.00
18
81.82
91
จากผลที่แสดงในตารางที่ 24 การศึกษากลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่เป็นผู้บริหารและบรรณารักษ์ พบว่า มีความคิดเห็นเกี่ยวกับหน้าที่ของข่ายงานห้องสมุดของศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา ฯ ตามกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้
- การพัฒนาทรัพยากรห้องสมุด พบว่า ผู้บริหารและบรรณารักษ์มีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน คือ
ผู้บริหาร พบว่า ต้องการให้มีกิจกรรมลำดับแรก คือ จัดทำฐานข้อมูลการจัดหาโสตทัศนวัสดุร่วมกัน (ร้อยละ 88.64) รองลงมา คือ จัดทำฐานข้อมูลการจัดหาหนังสือ (ร้อยละ 70.45)
บรรณารักษ์ พบว่า ต้องการให้มีกิจกรรมลำดับแรก ค จัดทำและแลกเปลี่ยนรายการหนังสือ และรายชื่อวารสารใหม่ (ร้อยละ 100) รองลงมา ที่ต้องการเท่ากัน คือ จัดทำฐานข้อมูลการจัดหาหนังสือ และ จัดทำฐานข้อมูลการจัดหาวารสาร (ร้อยละ 86.36)
- การจัดหมู่และทำรายการ จากการศึกษากลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่เป็นผู้บริหารและบรรณารักษ์ พบว่า มีความคิดเห็นที่สอดคล้องกัน โดยลำดับแรก ๆ ของกิจกรรม ที่ต้องการ คือ จัดทำฐานข้อมูลการจัดหมู่และทำรายการสื่อโสตทัศนวัสดุ ร้อยละ 63.64 ของผู้บริหาร และร้อยละ 81.82 ของบรรณารักษ์ รองลงมา คือ จัดทำฐานข้อมูลการจัดหมู่และทำรายการหนังสือ ร้อยละ 59.09 ของผู้บริหาร และร้อยละ 81.82 ของบรรณารักษ์
- การยืมระหว่างห้องสมุด จากการศึกษากลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่เป็นผู้บริหารและบรรณารักษ์ พบว่า มีความคิดเห็นที่สอดคล้องกัน โดยลำดับแรก ๆ ของกิจกรรม ที่ต้องการ คือ การยืมโสตทัศนวัสดุระหว่างห้องสมุดสมาชิกในข่ายงานฯ ร้อยละ 75.00 ของผู้บริหาร และร้อยละ 100 ของบรรณารักษ์ รองลงมาคือ การยืมหนังสือระหว่างห้องสมุดสมาชิกใน ร้อยละ 59.09 ของผู้บริหาร และร้อยละ 100 ของบรรณารักษ์
- บริการต่าง ๆ พบว่า มีความคิดเห็นที่สอดคล้อง เกี่ยวกับบริการเผยแพร่ข่าวสารในข่ายงานฯ ของศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ ร้อยละ 77.27 ของ ผู้บริหาร และร้อยละ 81.82 ของบรรณารักษ์ และที่แตกต่าง กัน กล่าวคือ บริการข่าวสารทันสมัย/ กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ร้อยละ 63.64 ของผู้บริหาร และร้อยละ 100 ของบรรณารักษ์
- การส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับข่ายงาน ให้กับบุคลากรห้องสมุด พบว่า มีความคิดเห็นที่สอดคล้อง กันในลำดับแรก ๆ คือ กิจกรรมการฝึกอบรมเรื่องความรู้เกี่ยวกับข่ายงานฯ ร้อยละ88.64 ของผู้บริหาร และร้อยละ 100 ของบรรณารักษ์ รองลงมาคือ ฝึกอบรมเรื่องการใช้เทคโนโลยีสารนิเทศในข่ายงานฯ ร้อยละ ( 75.00% ) ของผู้บริหาร และร้อยละ 81.82 ของบรรณารักษ์
92
7. การวิเคราะห์ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับลำดับความสำคัญและจำเป็นของการจัด
กิจกรรมของข่ายงานระหว่างห้องสมุดของศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ โดยวิเคราะห์เป็นค่าร้อยละ ได้ผลดังแสดงในตารางที่ 25
ตารางที่ 25 แสดงการจัดลำดับความสำคัญและจำเป็นเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมของข่ายงานของศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา ฯ
ผู้บริหาร
บรรณารักษ์
การจัดกิจกรรมของข่ายงาน ฯ
จำนวน(คน)
ร้อยละ (%)
จำนวน(คน)
ร้อยละ (%)
1. ดำเนินงานทุกกิจกรรมไปพร้อมๆ กัน
14
31.82
5
22.73
2. ควรเลือกกิจกรรมที่สำคัญและจำเป็นก่อน
30
68.18
17
77.27
จากผลที่แสดงในตารางที่ 25 การศึกษากลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่เป็นผู้บริหารและบรรณารักษ์ พบว่า มีความคิดเห็นเกี่ยวกับลำดับความสำคัญและจำเป็นของการจัดกิจกรรมของข่ายงานห้องสมุดของศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา ฯ ที่สอดคล้องกัน คือ ต้องการให้มีการเลือก กิจกรรมที่สำคัญและจำเป็นก่อน ในระดับที่มาก คิดเป็นร้อยละ 68.18 ของผู้บริหาร และ ร้อยละ 77.27 ของบรรณารักษ์ และให้ดำเนินงานทุกกิจกรรมไปพร้อม ๆ กัน รองลงมา คิดเป็นร้อยละ 31.82 ของ ผู้บริหาร และร้อยละ 22.73 ของบรรณารักษ์
93
ตารางที่ 25.1 แสดงการจัดลำดับความสำคัญของกิจกรรมของข่ายงานของศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา ฯ
ผู้บริหาร
ลำดับที่
บรรณารักษ์
ลำดับที่
กิจกรรมในข่ายงาน ฯ
−X
S.D.
−X
S.D.
1. การพัฒนาทรัพยากรห้องสมุด
3.73
0.73
2
4.18
0.62
2
2. การจัดหมู่และทำรายการ
2.9
0.91
3
2.53
0.85
3
3. การยืมระหว่างห้องสมุด
2.9
0.91
3
1.35
0.59
5
4. งานบริการ
2.53
1.09
5
2.53
0.98
3
5. การส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับ
ข่ายงานฯ ให้กับบุคลากรห้องสมุด
4
1.51
1
4.41
1.03
1
จากผลที่แสดงในตารางที่ 25.1 สำหรับการจัดลำดับความสำคัญ และจำเป็นของกิจกรรม พบว่า กลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่เป็นผู้บริหารและบรรณารักษ์ มีความคิดเห็นที่ตรงกัน ในการจัดลำดับความสำคัญของกิจกรรม โดยเรียงตามลำดับความสำคัญจากลำดับที่ 1 ถึง 5 ของกิจกรรมที่ให้ความสำคัญและจำเป็น ดังนี้ การส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับข่ายงานฯ ให้กับบุคลากรห้องสมุด การพัฒนาทรัพยากรห้องสมุด การจัดหมู่และทำรายการ งานบริการ และการยืมระหว่างห้องสมุด ตามลำดับ
8. การวิเคราะห์ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการในด้านบุคลากรระดับ
บริหาร บุคลากรระดับปฏิบัติ การดำเนินงาน สถานที่ และงบประมาณ ของข่ายงานระหว่างห้องสมุดของศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ โดยวิเคราะห์เป็นค่าร้อยละ ได้ผลดังแสดงในตารางที่ 26
94
ตารางที่ 26 แสดงข้อมูลการบริหารจัดการในด้านบุคลากร การดำเนินงาน สถานที่ และงบประมาณของข่ายงานของศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา ฯ
ผู้บริหาร
บรรณารักษ์
การบริหารจัดการของข่ายงาน ฯ
จำนวน(คน)
ร้อยละ (%)
จำนวน(คน)
ร้อยละ (%)
1. บุคลากรระดับผู้บริหารของข่ายงาน
1.1 หัวหน้ารับผิดชอบเต็มเวลา
8
18.18
14
63.64
1.2 ตัวแทนจากห้องสมุดสมาชิก มาทำงานและ
กิจกรรมร่วมกัน
18
40.91
4
18.18
1.3 ผู้แทนห้องสมุดสมาชิกที่ได้รับการเลือกตั้ง
18
40.91
4
18.18
2. บุคลากรระดับปฏิบัติงานควรใช้ระยะเวลาในการ
ปฏิบัติงานในข่ายงาน ฯ
2.1 ปฏิบัติงานเต็มเวลาในข่ายงาน
21
47.73
14
63.64
2.2 ปฏิบัติงานบางเวลาโดยทำงานในห้องสมุดที่
ตนสังกัดอยู่ด้วย
23
52.27
8
36.36
3. การดำเนินงานของข่ายงานห้องสมุดควรมี
หน่วยงานเฉพาะ
3.1 มี
44
100.00
22
100.00
3.2 ไม่มี
0
0.00
0
0.00
4. ข่ายงานควรมีสถานที่ที่เป็นศูนย์กลางการติดต่อ
4.1 มี
44
100.00
22
100.00
ถ้ามี ควรมีลักษณะ
- มีสำนักงานโดยตรง
19
43.18
15
68.18
- ตั้งอยู่ในห้องสมุดแห่งหนึ่งที่เป็นสมาชิกของ
ข่ายงาน
25
56.82
7
31.82
4.2 ไม่มี
0
0.00
0
0.00
95
ตารางที่ 26 (ต่อ)
ผู้บริหาร
บรรณารักษ์
การบริหารจัดการของข่ายงาน ฯ
จำนวน(คน)
ร้อยละ (%)
จำนวน(คน)
ร้อยละ (%)
5. แหล่งที่มาของงบประมาณของข่ายงาน ฯ
5.1 ควรจัดสรรงบประมาณให้โดยเฉพาะ
33
75.00
22
100.00
5.2 ควรจัดหางบประมาณจากเงินผลประโยชน์
เงินบริจาคและอื่นๆ
0
0.00
0
0.00
5.3 ควรจัดตั้งกองทุนบริจาค เพื่อใช้จ่ายในการ
ดำเนินงาน
0
0.00
0
0.00
5.4 ควรจัดสรรงบประมาณจากสถานศึกษาที่รวม
กันจัดตั้ง
11
25.00
0
0.00
จากผลที่แสดงในตารางที่ 26 แยกตามรายละเอียด ต่าง ๆ ดังนี้
- บุคลากรระดับผู้บริหารของข่ายงาน จากการศึกษากลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่เป็นผู้บริหาร
และบรรณารักษ์ พบว่า มีความคิดเห็นที่ต่างกัน คือ
ผู้บริหาร มีความคิดเห็นที่ต้องการให้บุคลากรระดับผู้บริหารควรเป็นตัวแทนจาก ห้องสมุดสมาชิก มาทำงานและกิจกรรมร่วมกัน และผู้แทนห้องสมุดสมาชิกที่ได้รับการเลือกตั้ง
ในระดับที่เท่ากัน ร้อยละ 40.91
บรรณารักษ์ มีความคิดเห็นที่ต้องการให้บุคลากรระดับผู้บริหารควรเป็นหัวหน้า รับผิดชอบเต็มเวลา ร้อยละ 63.64
- บุคลากรระดับปฏิบัติงานควรใช้ระยะเวลาในการปฏิบัติงานในข่ายงาน พบว่า
จากการศึกษากลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่เป็นผู้บริหารและบรรณารักษ์ พบว่า มีความคิดเห็นที่ต่างกัน คือ
ผู้บริหาร ต้องการให้มีการปฏิบัติงานบางเวลาโดยทำงานในห้องสมุดที่ตนสังกัดอยู่ด้วย ร้อยละ 52.27
บรรณารักษ์ ต้องการให้มีการปฏิบัติงานเต็มเวลาในข่ายงาน ร้อยละ 63.64
- การดำเนินงานของข่ายงานห้องสมุดควรมีหน่วยงานเฉพาะ พบว่า ผู้ให้ข้อมูลที่เป็น
ผู้บริหารและบรรณารักษ์ พบว่า มีความคิดเห็นที่สอดคล้องกัน คือต้องการให้มีสถานที่เฉพาะ ร้อยละ 100.00
96
- ข่ายงานควรมีสถานที่ที่เป็นศูนย์กลางการติดต่อ พบว่า ผู้ให้ข้อมูลที่เป็นผู้บริหารและ
บรรณารักษ์ มีความคิดเห็นที่สอดคล้องกัน คือต้องการให้มีสถานที่ที่เป็นศูนย์กลางการติดต่อ ร้อยละ 100.00 แต่บรรณารักษ์ต้องการให้มีสำนักงานโดยตรง ร้อยละ 68.18 ส่วนผู้บริหารต้องการให้สถานที่ตั้งอยู่ในห้องสมุดแห่งหนึ่งที่เป็นสมาชิกของ ร้อยละ 56.82
- แหล่งที่มาของงบประมาณ พบว่า ผู้ให้ข้อมูลที่เป็นผู้บริหารและบรรณารักษ์ มี
ความคิดเห็นที่สอดคล้องกัน คือต้องการให้มีการจัดสรรงบประมาณให้โดยเฉพาะ ร้อยละ 75.00 ของ ผู้บริหาร และร้อยละ 100.00 ของบรรณารักษ์ รองลงมา คือ จัดสรรงบประมาณจากสถานศึกษาที่รวมกันจัดตั้งร้อยละ 25.00 ของผู้บริหาร
รูปแบบของศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา ควรเป็นความร่วมมือในระดับจังหวัด เป็นหน่วยงานเฉพาะ มีหัวหน้างานรับผิดชอบปฏิบัติงานเต็มเวลา และมีสำนักงานทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการติดต่อโดยตรง งบประมาณมีการจัดสรรให้โดยเฉพาะ ความสำคัญของศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษาเพื่อพัฒนาห้องสมุดโรงเรียนให้ได้มาตรฐานทัดเทียมกัน และเป็นศูนย์รวมสารนิเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันจัดกระบวนการปฏิบัติงานต่างๆ ให้มีมาตรฐานเดียวกัน และเป็นศูนย์ข้อมูลทางวิชาการ ทำหน้าที่กำหนดมาตรฐานในการปฏิบัติงานร่วมกัน และพัฒนา ปรับปรุงระบบความร่วมมือและข่ายงานห้องสมุด ส่วนความร่วมมือของข่ายงานห้องสมุดมีเป้าหมายเพื่อให้สามารถติดต่อสื่อสารในระบบออนไลน์ได้ มีฐานข้อมูลสารนิเทศร่วมกัน ซึ่งมีโครงสร้างแบบผสมผสาน ส่วนกิจกรรมที่ได้จัดทำขึ้น ในด้านกิจกรรมความร่วมมือระหว่างห้องสมุด ได้แก่ งานด้านห้องสมุด งานด้านวิชาการ และงานด้านการสอน ส่วนกิจกรรมข่ายงานห้องสมุด ได้แก่ การพัฒนาทรัพยากรห้องสมุด และการส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับข่ายงานห้องสมุดให้กับบุคลากรห้องสมุด
บทที่ 5
สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
ในการวิจัยเรื่อง รูปแบบศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ ผู้วิจัยได้สรุปโดยกล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการวิจัย ขอบเขตของการวิจัย วิธีดำเนินการวิจัย สรุปผลการวิจัยโดยสังเขป และผลงานวิจัยที่มีมาก่อน และในท้ายสุดได้เสนอแนะเพื่อการวิจัยและการประยุกต์เพื่อสร้างองค์ความรู้ และพัฒนาให้เกิดประโยชน์ต่อไป
1. วัตถุประสงค์ของการวิจัย
เพื่อศึกษาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ และกำหนดรูปแบบของศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดสมุทรปราการในด้านความร่วมมือระหว่างห้องสมุด และข่ายงานห้องสมุด
2. วิธีดำเนินการวิจัย
1. ประชากรที่ใช้ศึกษา ผู้วิจัยได้เลือกศึกษาจากประชากรโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ ยกเว้นโรงเรียนขยายโอกาสและโรงเรียนเอกชน จำนวน 2 กลุ่ม ได้แก่
(1) ผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 44 คน
(2) หัวหน้างานห้องสมุดโรงเรียนหรือครูบรรณารักษ์ห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 22 คน
2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างห้องสมุดและข่ายงานห้องสมุดในเรื่อง ความสำคัญ วัตถุประสงค์ รูปแบบ หน้าที่ กิจกรรมและแหล่งงบประมาณของศูนย์พัฒนางานห้องสมุด เป็นข้อมูลพื้นฐานในการสร้างแบบสอบถาม และตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน แล้วนำมาปรับปรุงแก้ไขและทำการทดสอบความเที่ยงได้ค่าสัมประสิทธิแอลฟ่าเท่ากับ .95
98
3. วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้ส่งแบบสอบถามและจดหมายขอความร่วมมือไปยัง ผู้บริหารสถานศึกษา ทั้ง 22 โรงเรียน จำนวน 44 คน และครูบรรณารักษ์ จำนวน 22 คนโดยผู้วิจัยได้เก็บแบบสอบถามด้วยตัวเองได้แบบสอบถามกลับมาครบจำนวน 66 ฉบับ
3. การวิเคราะห์ข้อมูล
วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติในการวิจัย คือ สถิติเชิงบรรยาย เช่น ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ซึ่งใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับผู้ใช้แต่ละกลุ่ม ดังนี้
ตอนที่ 1 วิเคราะห์สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม ใช้ ค่าร้อยละ
ตอนที่ 2 วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับ ความสำคัญ วัตถุประสงค์ รูปแบบ หน้าที่ และกิจกรรมของความร่วมมือระหว่างห้องสมุดของศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา ใช้ ค่าร้อยละ ส่วนข้อที่ 6 เกี่ยวกับความต้องการกิจกรรมความร่วมมือของครูบรรณารักษ์ สำหรับศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา วิเคราะห์โดยใช้ ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ตอนที่ 3 วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับเกี่ยวกับ ความสำคัญ วัตถุประสงค์ รูปแบบ หน้าที่ และกิจกรรมของข่ายงานห้องสมุดของศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา ใช้ค่าร้อยละ
4.สรุปการวิจัย
รูปแบบศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา ซึ่งกลุ่มผู้บริหารสถานศึกษา และครูบรรณารักษ์ ตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างห้องสมุดและข่ายงานห้องสมุด ของศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ โดยภาพรวม พบว่า รูปแบบของศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา ควรเป็นความร่วมมือระดับจังหวัด มีลักษณะเป็นหน่วยงานเฉพาะ มีสถานที่ที่เป็นศูนย์กลางเป็น สำนักงานโดยตรง ในการบริหารจัดการนั้น บุคลากรควรเป็นบุคคลที่เป็นตัวแทนจากห้องสมุดสมาชิก และมีหัวหน้ารับผิดชอบ ผู้บริหารเห็นว่าควรมาปฏิบัติงานบางเวลาโดยทำงานในห้องสมุดที่ตนสังกัดอยู่ด้วย ส่วนครูบรรณารักษ์เห็นว่าควรปฏิบัติงานเต็มเวลา เงินงบประมาณของศูนย์พัฒนางานห้องสมุดฯ ควรมีการจัดสรรงบประมาณให้โดยเฉพาะ ศูนย์พัฒนางานห้องสมุดฯ มีความสำคัญต่อการพัฒนาห้องสมุดโรงเรียน โดยทำให้ห้องสมุดได้รับการพัฒนาให้ได้มาตรฐาน
99
ทัดเทียมกันทุกแห่ง เป็นศูนย์รวมสารนิเทศของห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ การขยายงานบริการให้กับผู้ใช้มากยิ่งขี้น และส่งเสริมนักเรียนให้สามารถศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองเพิ่มมากขึ้น มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้สารนิเทศร่วมกัน และร่วมกันจัดกระบวนการปฏิบัติงานต่างๆ ให้มีมาตรฐานเดียวกัน เป็นศูนย์ข้อมูลทางวิชาการ รวมทั้งให้บริการแก่ผู้ใช้ได้มากขึ้น โดยมีเป้าหมายของข่ายงานห้องสมุดเพื่อให้สามารถติดต่อสื่อสารกันในระบบออนไลน์ได้ มีฐานข้อมูลที่ใช้สืบค้นสารนิเทศร่วมกัน ควรมีหน้าที่ในการกำหนดมาตรฐานในการปฏิบัติงานร่วมกัน บริหารและส่งเสริมกิจกรรมต่างๆ ของความร่วมมือ และมีหน้าที่พัฒนาและปรับปรุงความร่วมมือและระบบข่ายงานห้องสมุด ส่วนโครงสร้างข่ายงานห้องสมุดของศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียนฯ ผู้บริหารเห็นว่าควรเป็นโครงสร้างแบบผสมผสาน เพราะเป็นโครงสร้างที่ผสมระหว่างแบบศูนย์รวมหรือแบบดาว แบบลดหลั่นลำดับชั้น และแบบกระจาย คือมีศูนย์รวมแห่งหนึ่งและสมาชิกอื่นๆ สามารถติดต่อใช้ทรัพยากรสารนิเทศทั้งจากศูนย์รวมระหว่างสมาชิกได้ ซึ่งมีข้อดี คือ มีลักษณะของการขยายงานหรือกิจกรรมต่างๆออกเป็นกลุ่มได้ตามความสนใจของสมาชิก ส่วนบรรณารักษ์เห็นว่าควรเป็นโครงสร้างแบบกระจาย เป็นโครงสร้างที่ไม่ต้องการเทคโนโลยีสูง สมาชิกแต่ละแห่งจะติดต่อกันเอง ไม่มีศูนย์กลางการบริหารและการตัดสินใจขึ้นอยู่กับความยินยอมพร้อมใจของสมาชิกที่ร่วมในข่ายงาน มีข้อดี คือ เป็นข่ายงานที่กระจายอำนาจโดยสมบูรณ์ ลดขั้นตอนการติดต่อระหว่างห้องสมุดทำให้ใช้บริการได้อย่างรวดเร็ว ในด้านกิจกรรมความร่วมมือระหว่างห้องสมุด แบ่งตามลักษณะงานได้ ดังนี้
งานด้านห้องสมุด กิจกรรมที่ต้องการคือให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ในงานบริหาร งานเทคนิค งานกิจกรรม และงานประชาสัมพันธ์ รวมทั้งการเชิญผู้บริหารสถานศึกษามาร่วมประชุมกับครูบรรณารักษ์เกี่ยวกับการดำเนินงานของห้องสมุด และต้องการให้มีกิจกรรมการจัดทำและแลกเปลี่ยนรายการหนังสือ วารสารใหม่ ให้รวบรวมรายชื่อและบรรณนิทัศน์หนังสือที่ชนะการประกวด การจัดนิทรรศการหมุนเวียน จัดทำหนังสือเกมส่งเสริมการอ่าน และมีจดหมายข่าวของกลุ่มครูบรรณารักษ์ติดต่อกัน
งานด้านวิชาการ ต้องการให้มีกิจกรรมในการจัดทำสิ่งพิมพ์เผยแพร่ความรู้ทางวิชาการแก่ครูบรรณารักษ์ การเชิญวิทยากรมาให้ความรู้ และการจัดอบรมระยะสั้นเพื่อเพิ่มพูนความรู้
งานด้านการสอน ต้องการให้มีกิจกรรมการจัดทำเอกสารประกอบการสอนรายวิชา ห้องสมุดและกิจกรรมห้องสมุด และจัดทำสื่อประกอบการสอน
ส่วนกิจกรรมของข่ายงานห้องสมุด ต้องการให้มีการพัฒนาทรัพยากรห้องสมุดในการจัดทำฐานข้อมูลหนังสือ วารสารและสื่อโสตทัศนวัสดุร่วมกัน จัดทำและแลกเปลี่ยนรายการหนังสือและ
100
รายชื่อวารสารใหม่ การจัดทำฐานข้อมูลการจัดหมู่และทำรายการหนังสือ สื่อโสตทัศนวัสดุ การยืมระหว่างห้องสมุดควรมีการยืมหนังสือ วารสาร โสตทัศนวัสดุ ระหว่างห้องสมุดสมาชิกในข่ายงาน และต้องการให้มีการทัศนศึกษา ดูงาน และอบรมในเรื่องความรู้เกี่ยวกับข่ายวานห้องสมุด รวมทั้งต้องการให้มีบริการข่าวสารเกี่ยวกับห้องสมุดและกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน และบริการเผยแพร่ข่าวสารในข่ายงานห้องสมุดของศูนย์พัฒนางานห้องสมุดด้วย
5.อภิปรายผลการวิจัย
จากผลการวิจัยรูปแบบศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งสามารถนำมาอภิปรายผลการวิจัยได้ดังนี้
รูปแบบพัฒนางานห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ ที่เป็นความร่วมมือระหว่างห้องสมุดนั้นมีความสำคัญเพื่อให้ห้องสมุดโรงเรียนได้มาตรฐานทัดเทียมกันทุกแห่ง และให้ห้องสมุดมีแหล่งข้อมูลที่เป็นศูนย์รวมสารนิเทศ อีกทั้งส่งเสริมการค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองของนักเรียนเพิ่มมากขึ้น วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งศูนย์ฯ เพื่อความร่วมมือกันจัดกระบวนการปฏิบัติงานต่าง ๆ ให้มีมาตรฐานเดียวกันเป็นศูนย์ข้อมูลทางวิชาการของห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ และเพื่อใช้สารนิเทศร่วมกัน การจัดตั้งศูนย์พัฒนาและปรับปรุงความร่วมมือและกิจกรรมที่ได้จัดทำขึ้น และการกำหนดมาตรฐานในการปฏิบัติงานร่วมกัน จัดทำรายการทรัพยากรสารนิเทศร่วมกัน เมื่อพิจารณาถึงงานในกิจกรรมความร่วมมือ สรุปได้ว่า
งานด้านห้องสมุด ทุกกิจกรรมอยู่ในเกณฑ์ที่ต้องการ ดังนี้
งานบริหารควรมีกิจกรรมในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ด้านงานบริหารห้องสมุด กิจกรรมการเชิญผู้บริหารโรงเรียนของสมาชิกมาร่วมประชุมกับครูบรรณารักษ์ในเรื่องเกี่ยวกับการดำเนินงานห้องสมุด กิจกรรมการจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานห้องสมุด และ กิจกรรมการกำหนดรูปแบบการเสนอโครงการของห้องสมุดโรงเรียนให้เป็นไปในแนวเดียวกัน สอดคล้องกับการวิจัยของ เกษร บัวทอง (2532 : 72)
งานเทคนิค ควรมีกิจกรรมที่มีการแลกเปลี่ยนความคิกเห็นและประสบการณ์ด้านงานเทคนิค กิจกรรมการจัดทำและแลกเปลี่ยนรายการหนังสือและวารสารใหม่ และกิจกรรมจัดทำ กฤตภาคให้แก่ห้องสมุดสมาชิก ซึ่งสอดคล้องกับการวิจัยของ พัชรพร เปรมสมิทธิ์ (2537 : บทคัดย่อ)
งานบริการ ควรมีกิจกรรมต่าง ๆ กิจกรรม การรวบรวมรายชื่อและบรรณานิทัศน์หนังสือที่ชนะการประกวด การให้บริการยืมระหว่างห้องสมุด การจัดทำหนังสือเกมส่งเสริมการอ่าน
101
งานกิจกรรม ควรมีกิจกรรมการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมของห้องสมุด กิจกรรมการจัดทำนิทรรศการหมุนเวียนและกิจกรรมการจัดทำปัญหาจากหนังสือเพื่อไว้จัดกิจกรรม
งานประชาสัมพันธ์ ควรมีกิจกรรมการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ด้านงานประชาสัมพันธ์ สอดคล้องกับการวิจัยของ เกษร บัวทอง (2532 : 72) กิจกรรมการผลิตเอกสารเผยแพร่ความรู้แจกผู้ใช้ห้องสมุด และกิจกรรมการจัดทำจดหมายข่าวของกลุ่มครูบรรณารักษ์
งานด้านวิชาการ งานวิชาการก็เช่นเดียวกันที่ต้องการกิจกรรมทั้งหมดในระดับมากจึงขอเสนอกิจกรรมที่ต้องการมากในระดับต้น ๆ คือ กิจกรรมการจัดทำสิ่งพิมพ์เผยแพร่ความรู้ทางวิชาการแก่ครูบรรณารักษ์ กิจกรรมการเชิญวิทยากรมาบรรยาย และกิจกรรมการจัดอบรมระยะสั้นเพื่อเพิ่มพูนความรู้แก่ครูบรรณารักษ์
งานด้านการสอน กิจกรรมที่ต้องการมากคือ กิจกรรมการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นและประสบการณ์ด้านการสอน ซึ่งสอดคล้องกับการวิจัยของ เกษร บัวทอง (2532 : 73)กิจกรรมการจัดทำเอกสารประกอบการสอน กิจกรรมห้องสมุดและรายวิชาห้องสมุด และกิจกรรมการจัดทำสื่อประกอบการสอนรายวิชาห้องสมุด
รูปแบบศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ ที่เป็นความร่วมมือลักษณะข่ายงานห้องสมุด นั้นมีความสำคัญเพื่อจะทำให้ห้องสมุดโรงเรียนมีแหล่งข้อมูลที่เป็นศูนย์รวมสารนิเทศของห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา ทำให้ห้องสมุดได้รับการพัฒนาให้ได้มาตรฐานทัดเทียมกันทุกแห่ง และทำให้สามารถส่งเสริมการค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองของนักเรียนเพิ่มมากขึ้น มีเป้าหมายเพื่อให้ห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ สามารถติดต่อสื่อสารกันในระบบออนไลน์ เพื่อให้มีฐานข้อมูลที่ใช้สืบค้นสารนิเทศได้ และเพื่อยกระดับมาตรฐานห้องสมุดโรงเรียนให้มีความทัดเทียมกัน วัตถุประสงค์ของข่ายงานห้องสมุดเพื่อจัดกระบวนการปฏิบัติงานต่าง ๆ ให้มีมาตรฐานเดียวกัน เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงานที่ซ้ำซ้อน เพื่อใช้สารนิเทศร่วมกัน และเพื่อร่วมกันให้บริการต่าง ๆ แก่ผู้ใช้ได้มากขึ้น โครงสร้างของข่ายงานห้องสมุดของศูนย์พัฒนางานห้องสมุด โรงเรียนมัธยมศึกษา จากการศึกษา พบว่าโครงสร้างที่ถูกเลือกมี 2 โครงสร้าง คือ ฝ่ายผู้บริหาร เลือกโครงสร้างแบบผสมผสาน ซึ่งมีข้อดี คือมีลักษณะของการขยายงานหรือกิจกรรมต่าง ๆ ออกเป็นกลุ่มได้ตามความสนใจของสมาชิก ให้บริการอย่างรวดเร็ว และครูบรรณารักษ์เลือก โครงสร้างแบบกระจาย สอดคล้องการวิจัยของเจทญา มีลาภ (2539 : 213) ซึ่งมีข้อดี คือเป็นข่ายงานที่กระจายอำนาจโดยสมบูรณ์ ลดขั้นตอนการติดต่อระหว่างห้องสมุดทำให้ใช้บริการได้
102
อย่างรวดเร็ว ข่ายงานห้องสมุดของศูนย์พัฒนางานห้องสมุด โรงเรียนมัธยมศึกษาฯ ควรมีหน้าที่ในการกำหนดมาตรฐานในการปฏิบัติงานร่วมกัน มีหน้าที่พัฒนาและปรับปรุงระบบข่ายงานฯ และกิจกรรมที่ได้จัดทำขึ้น และประสานงานเพื่อการเข้าถึงสารนิเทศในห้องสมุดโรงเรียนที่เป็นสมาชิก ในส่วนของกิจกรรมของข่ายงานห้องสมุดของ รูปแบบศูนย์พัฒนางานห้องสมุด ดังนี้
การพัฒนาทรัพยากรห้องสมุดควรมีกิจกรรมในการจัดทำฐานข้อมูลการจัดหาโสตทัศนวัสดุร่วมกัน และกิจกรรมการจัดทำฐานข้อมูลการจัดหาหนังสือ
การจัดหมู่และรายการ ควรมีกิจกรรมในการจัดทำฐานข้อมูลการจัดหมู่และทำรายการสื่อโสตทัศนวัสดุ กิจกรรมการจัดทำฐานข้อมูลการจัดหมู่และทำรายการหนังสือ และกิจกรรมจัดตั้งศูนย์กลางการจัดหมู่และทำรายการหนังสือ และกิจกรรมจัดตั้งศูนย์กลางการจัดหมู่และทำรายการ
การยืมระหว่างห้องสมุด ควรมีกิจกรรมในการยืมโสตทัศนวัสดุระหว่างห้องสมุดสมาชิกในข่ายงานฯ กิจกรรมการยืมหนังสือระหว่างห้องสมุดสมาชิกในข่ายงาน กิจกรรมการยืมวารสารระหว่างห้องสมุดสมาชิกในข่ายงานฯ
บริการต่าง ๆ ควรมีกิจกรรมในการบริการข่าวสารทันสมัย กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมบริการเผยแพร่ข่าวสารในข่ายงานห้องสมุด ของศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดสมุทรปราการ
การส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับข่ายงานฯ ให้กับบุคลากรห้องสมุด ควรมีกิจกรรมการฝึกอบรมเรื่องความรู้เกี่ยวกับข่ายงานห้องสมุดและกิจกรรมการทัศนศึกษา และดูงานข่ายงานห้องสมุดอื่น ๆ
การจัดลำดับกิจกรรมที่สำคัญและจำเป็น จะเห็นได้ว่ากิจกรรมในแต่ละงานมีเป็น กิจกรรมที่น่าสนใจ และน่าทำในทุกกิจกรรม เพื่อให้การจัดกิจกรรมได้โดยเรียงจากตามต้องการลำดับ1ถึง 5 คือ กิจกรรมการส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับข่ายงานฯ ให้กับบุคลากรห้องสมุดกิจกรรมการพัฒนาทรัพยากรห้องสมุด กิจกรรมการจัดหมู่และทำรายการ กิจกรรมงานบริการ และ กิจกรรมการยืมระหว่างห้องสมุด ตามลำดับ
สำหรับพื้นฐานการดำเนินงานข่ายงานห้องสมุดของศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา จะต้องมีการบริหารจัดการในส่วนของบุคลากรระดับบริหารของข่ายงาน พบว่า ในฝ่ายบริหารต้องการให้เป็นบุคคลที่เป็นตัวแทนจากห้องสมุดสมาชิกมาทำงานและกิจกรรมร่วมกัน หรือไม่ก็เป็นผู้แทนห้องสมุดสมาชิกที่ได้รับการเลือกตั้ง ในฝ่ายครูบรรณารักษ์ ต้องการให้เป็นหัวหน้ารับผิดชอบเต็มเวลาสอดคล้องกับ ลอง ใจชื่น (2520 : 117 -120) ระยะเวลาในการปฏิบัติงานของบุคลากรระดับปฏิบัติงานในข่ายงานฯ ควรปฏิบัติงานเต็มเวลา หน่วยงานข่ายงานฯ
103
ควรมีลักษณะเป็นหน่วยงานเฉพาะ มีสำนักงานโดยตรงซึ่งสอดคล้องกับปัญญา สุขแสน (2516 : 119 - 224) และลอง ใจชื่น (2520 : 117 - 120) งบประมาณ ที่ใช้ในการดำเนินการของข่ายงานห้องสมุดของศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ ควรจัดสรรงบประมาณให้โดยเฉพาะ
ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย
1. ผู้บริหารสถานศึกษาควรสนับสนุน ให้ศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ ได้เปิดดำเนินงานอีกครั้งในรูปแบบตามงานวิจัยนี้
2. ครูบรรณารักษ์ ควรร่วมผลักดันให้ศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ ได้ดำเนินงานอีกครั้ง
3. ประสานงานกับหน่วยงานอื่น ๆ ที่มีศักยภาพเกี่ยวกับ สื่อ สิ่งพิมพ์ วารสารหรือแหล่งเงินทุน เพื่อเป็นปัจจัยในการพัฒนาศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ
4. สร้างข่ายงานกับห้องสมุดระดับอื่นๆ นอกเหนือจาก ห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา ภายในจังหวัดสมุทรปราการ
5. ผู้มีอำนาจและผู้บริหารควรให้ความสำคัญต่อการพัฒนาศูนย์พัฒนางานห้องสมุด โรงเรียนมัธยมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ
ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป
1. ควรได้มีการศึกษาถึงความคิดเห็นของผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาต่อความร่วมมือของห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา
2. การศึกษาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอื่น เพื่อนำมาศึกษาวิเคราะห์ร่วมในภาพรวมและหาข้อสรุปที่ชัดเจน เพื่อขยายผลต่อไป
3. การสร้างเครือข่ายห้องสมุดในทุกองค์กร หน่วยงาน และชุมชนใกล้เคียง เพื่อเพิ่มศักยภาพในการดำเนินงานและพัฒนาห้องสมุด
บรรณานุกรม
กมเลศน์ สันติเวชชกุล. (2542). “การพัฒนาระบบเครือข่ายห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐใน
ประเทศไทย,” ใน เอกสารประกอบการสัมมนาเรื่องความร่วมมือระหว่าง
ห้องสมุดการใช้ทรัพยากรร่วมกันและการพัฒนาเครือข่าย. หน้า 147 – 154.
กรุงเทพฯ : สถาบันราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
กลิ่นประทุม ทองนาค. (2530). รูปแบบของห้องสมุดวิทยาลัยครูในอนาคต.
วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.
เกษร บัวทอง. (2532). การปฏิบัติงานของกลุ่มครูบรรณารักษ์ห้องสมุดโรงเรียน
มัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์
ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
. (2535). “ความร่วมมือระหว่างห้องสมุดโรงเรียน,” วารสารห้องสมุด. 36,4
(ตุลาคม - ธันวาคม) : 66 - 69 .
เกื้อกูล วิชชจุฑากุล. (2535). ความร่วมมือของคณะทำงานฝ่ายเทคโนโลยีการศึกษา
ห้องสมุด สถาบันอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ : คณะทำงานฝ่ายเทคโนโลยีการศึกษา
ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา.
ไกลลาศ สุทธิเกิด. (2530). ทัศนะของผู้บริหารโรงเรียน ครูบรรณารักษ์ และครู
โสตทัศนศึกษา ของโงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในกรุงเทพมหานคร
ที่มีต่อการจัดตั้งศูนย์สื่อการศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชา
บรรณารักษศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน. (2546). “มาตรฐานการศึกษาเพื่อการประเมิน
คุณภาพภายนอก : ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน,” ใน เอกสารการประชุมใหญ่
สามัญและประชุมวิชาการประจำปีของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ
เรื่องการพัฒนาห้องสมุดให้เป็นห้องสมุดสมบูรณ์แบบ วันที่ 15 – 18 ธันวาคม 2546 ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ กรุงเทพฯ. หน้า 96,101. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สหธรรมิก.
105
จักชาญศรี ชูศร. (2539). ความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการจัดตั้งศูนย์สื่อการสอนจาก
งานห้องสมุดและงานโสตทัศนศึกษา กลุ่มโรงเรียนกรมสามัญศึกษาใน
กรุงเทพมหานคร กลุ่มที่ 4. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชา
เทคโนโลยีการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
เจทญา มีลาภ. (2539). แบบจำลองข่ายงานห้องสมุดและสารนิเทศสำหรับสถาบัน
เทคโนโลยีราชมงคล. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชา
บรรณารักษศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จีระ อินโกสุม. (2524). การใช้ทรัพยากรร่วมกันในการดำเนินงานห้องสมุด
มหาวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์
บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ฉวีลักษณ์ บุณยะกาญจนะ. (2528). รายงานวิจัยรูปแบบที่ควรจะเป็นของห้องสมุด
โรงเรียนมัธยมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. มหาสารคาม : ภาควิชา
บรรณารักษศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และบรรณารักษ์ มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.
เฉลียว พันธุสีดา. (2539). คู่มือการบริหารงานห้องสมุดโรงเรียน. กรุงเทพฯ : ต้นอ้อ
แกรมมี่.
ชุติมา สัจจานันท์. (2542). “เครือข่าย : ยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาห้องสมุด,” ในเอกสาร
การสัมมนา เรื่อง งานสารสนเทศของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาในภาวะ
วิกฤต. หน้า 74,76,79,81,-82. กรุงเทพฯ : คณะอนุกรรมการพัฒนาห้องสมุด
สถาบันอุดมศึกษาเอกชน.
. (มิถุนายน 2544). “พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 กับผลกระทบต่อห้องสมุดโรงเรียน,” วิทยาจารย์. 100,3 : 18 – 23.
. (กรกฎาคม – ธันวาคม 2546). “ความร่วมมือระหว่างห้องสมุด,”วารสาร
สารสนเทศ สำนักวิทยบริการ สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 4,2 : 47, 50 – 52.
เชิดชู กาฬวงศ์. (สิงหาคม 2545). “ปัญหาคุณภาพห้องสมุดโรงเรียนประถมศึกษา,”
วารสารวิชาการ. 5,8 : 55
106
ไชยา ภาวะบุตร. (2542). เอกสารประกอบการสอนวิชา 1633403 ห้องสมุดโรงเรียน
(SCHOOL LIBRARY). พิมพ์ครั้งที่ 2. สกลนคร : โปรแกรมวิชา
บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
สถาบันราชภัฎสกลนคร.
ทรรศนียา กัลยาณมิตร. (2530). การบริหารวิชาการภายในโรงเรียน. กรุงเทพฯ : คณะ
ครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นงลักษณ์ ไม่หน่ายกิจ. (2543). “ข่ายงานห้องสมุดและสารนิเทศ (Library and Information
Network),” ใน สารนิเทศสาร. หน้า 86,90 - 92. กรุงเทพฯ : ภาควิชา
บรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นวรัตน์ รอดแก้ว. (2544). การศึกษาความต้องการการจัดตั้งศูนย์สื่อการศึกษา สำหรับ
โรงเรียนในกลุ่มสหวิทยาเขตสมุทรปราการ (3) แก้วปราการ. วิทยานิพนธ์
ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
นาวา วงษ์พรม. (2542). องค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์กับการใช้ห้องสมุดของครู
โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดมุกดาหาร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
. (2545). "ห้องสมุดโรงเรียน," [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://els.riudon.ac.th nawawat/
น้ำทิพย์ วิภาวิน. (2536). “ความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน,” ใน
เอกสารประกอบการสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา
ครั้งที่ 11 วันที่ 18 – 20 ตุลาคม 2536. 32 – 34. กรุงเทพฯ : สำนักบรรณาสาร
การพัฒนา สถาบันพัฒนาบัณฑิตบริหารศาสตร์ร่วมกับคณะอนุกรรมการพัฒนา
ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ทบวงมหาวิทยาลัย.
เนคเทค. (2545). “โครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย,” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้
จาก : http://www.school.net.th/schoolnet1509/1509-rule.phps.
บุณฑริกา แสงอรุณ. (2539). บทบาทของชมรมห้องสมุดเชียงใหม่ในการพัฒนา
ห้องสมุด ในจังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชา
บรรณารักษศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
107
บุญสม อาสภวิริยะ. (2528). การศึกษาความต้องการของครูบรรณารักษ์และความคิด
เห็นของเจ้าหน้าที่สำนักงานการศึกษากรุงเทพมหานคร ที่มีต่อศูนย์บริการ
งานเทคนิคห้องสมุด. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชา
บรรณารักษศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
ประพัฒน์พงศ์ เสนาฤทธิ์. (มกราคม – มีนาคม 2543) “สรุปการอภิปรายเรื่อง การจัดการ
บริหารและบริการของห้องสมุดเพื่อดำเนินการตามพระราชบัญญัติการศึกษา
แห่งชาติ,” วารสารห้องสมุด. 44,1 : 22 – 24.
ประเสริฐ กัลยาประสิทธิ์. (2531). ความต้องการของบรรณารักษ์และผู้บริหารโรงเรียน
และบรรณารักษ์และผู้บริหารห้องสมุดประชาชนประจำอำเภอในภาค
ตะวันออก เฉียงเหนือที่มีต่อการจัดตั้งห้องสมุดแห่งความร่วมมือ. วิทยานิพนธ์
ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทร วิโรฒ มหาสารคาม.
ปํญญา สุขแสน. (2531). แนวทางการจัดตั้งศูนย์จัดหาวัสดุวิทยาลัยครู. วิทยานิพนธ์
ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.
ปานใจ จิรวัชรเดช. (2527). ความคิดเห็นของบรรณารักษ์ห้องสมุดโรงเรียนมัธยม ศึกษา
เขตการศึกษา 11 ที่มีต่อการจัดตั้งศูนย์กลางทำบัตรรายการหนังสือ.
วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.
พัชรพร เปรมสมิทธิ์. (2537). ข่ายงานห้องสมุดทหาร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต
ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545. (2547).
กรุงเทพฯ : สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา.
ภิญญาพร นิตยะประภา. (2542). ห้องสมุดโรงเรียน. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
มหาวิทยาลัย, ทบวง. (2536). รายงานประจำปี 2536. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊ฟ.
มะลิวัลย์ น้อยบัวทิพย์. (2545). ความร่วมมือระหว่างห้องสมุด ( Library Cooperation)
มหาสารคาม : กลุ่มงานส่งเสริมการใช้บริการ สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัย
มหาสารคาม.
108
มาลินี ศรีพิสุทธิ์. (2533). “ความร่วมมือในการให้บริการและเผยแพร่สารนิเทศ,” ใน
เอกสารการสอนชุดวิชา การบริการและเผยแพร่สารนิเทศ (Information
Services and Dissemination) หน่วยที่ 8 – 15. หน้า 591 – 622. นนทบุรี :
สาขาวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
และสมพิศ คูศรีพิทักษ์. (2534). “ความรู้พื้นฐานและแนวทางการดำเนินงาน
ความร่วมมือระหว่างสถาบันบริการสารนิเทศ,” ใน เอกสารการสอนชุดวิชา
ประสบการณ์วิชาชีพ สารนิเทศศาสตร์ (Professtion Experience
Information Science) หน่วยที่ 8 – 15. หน้า 631 – 634. นนทบุรี : สาขา
ศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช.
รัญจวน อินทรกำแหง และนวลจันทร์ รัตนากร. (2531). ห้องสมุดโรงเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 5.
กรุงเทพฯ : ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัย
รามคำแหง.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540. (2542). กรุงเทพฯ : วิญญูชน.
ลอง ใจชื่น. (2527). การจัดตั้งศูนย์บริการงานเทคนิคห้องสมุดโรงเรียนมัธยมแบบ
ประสม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ บัณฑิต
วิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.
วันชัย ศิริชนะ. (2541). “การประกันคุณภาพการศึกษา,” ใน เอกสารการประชุมวิชาการ
ประจำปีของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ฯ เรื่อง ห้องสมุดในกระแส
แห่งการปรับเปลี่ยน วันที่ 27 – 29 พฤศจิกายน 2541 ณ หอประชุมโรงเรียน
สตรีวิทยา ถนนราชดำเนินกลาง กรุงเทพมหานคร. หน้า 37 – 38.
นนทบุรี : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วิชาการ, กรม. (2536). คู่มือการดำเนินงานห้องสมุดโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา.
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา.
. (2543). คู่มือการดำเนินงานห้องสมุดโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3.
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา.
วุฒิพงศ์ เตชะดำรงสิน. (2539). “สถานภาพและรูปแบบที่เหมาะสมของเครือข่ายห้องสมุดใน
ประเทศไทย,” ใน เอกสารการประชุมวิชาการ ประจำปีของสมาคมห้องสมุด
แห่งประเทศไทยฯ เรื่อง เครือข่ายห้องสมุดเพื่อการพัฒนาที่ต่อเนื่องและ
ยั่งยืน วันที่ 16 -19 ธันวาคม 2539 ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์
กรุงเทพมหานคร หน้า 196 – 197. กรุงเทพฯ : สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย.
109
ศึกษาธิการ, กระทรวง. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่
แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 พร้อมกฏกระทรวงที่เกี่ยวข้อง และ
พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
สมจิตร พรหมเทพ. (2542). ห้องสมุดโรงเรียน. เชียงใหม่ : ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์
คณะวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฎเชียงใหม่.
สอางค์ อิศรางกูร ณ อยุธยา. (2534). ข่ายงานสารนิเทศ. กรุงเทพฯ: ศูนย์ประสานงาน
สารนิเทศ สาขาเศรษฐศาสตร์.
สามัญศึกษา, กรม. (2545). “Resource Center,” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http : //www.
plan.ge.go.th/resource / re1.html.
. เอกสารสรุปการดำเนินงานของศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียน
สมุทรปราการ: กรมสามัญศึกษา ศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียน จังหวัด
สมุทรปราการ. (เอกสารอัดสำเนา)
สุชัญญา จีระพันธุ์และปฤชญีณ นาครทรรพ. (2532). “การจัดทำข่ายงานห้องสมุด”
ข่าวสารห้องสมุดในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 5 , 5 : 9.
“ห้องสมุดโรงเรียน,” (2547). (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก http : // els.riudon.ac.th.
อภัย ประกอบผล. (2541). “ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษากับการประกันคุณภาพการศึกษา,” ใน
เอกสารการประชุมวิชาการ ประจำปีของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ
เรื่องห้องสมุดในกระแสแห่งการปรับเปลี่ยน วันที่ 27 – 29 พฤศจิกายน
2541 ณ หอประชุมโรงเรียนสตรีวิทยา กรุงเทพมหานคร. หน้า 51 – 52.
นนทบุรี : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.
อัมพร ปั้นศรี และวิลัย อัคคชิยา. (2529). รายงานการวิจัยเรื่องสัมฤทธิ์ผลของความ
ร่วมมือระหว่างห้องสมุดมหาวิทยาลัยในประเทศไทย. กรุงเทพฯ :
มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
อุทัย ทุติยะโพธิ์. (2532). “ข่ายงานห้องสมุด : ระดับนานาชาติระดับภูมิภาคและระดับชาติ,”
ใน รายงานการสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา
ครั้งที่ 7 ณ สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยมหิดล. 4 – 6 กรกฎาคม 2532.
โดยคณะอนุกรรมการพัฒนาห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาทบวงมหาวิทยาลัย
ร่วมกับสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยมหิดล. หน้า 30 - 32. กรุงเทพฯ : ม.ป.ท.
110
อุทัย เพชรช่วย. (2529). “จะจัดห้องสมุดอย่างไรจึงจะจูงใจให้เด็กสนใจและเข้าไปใช้,”
ประชาศึกษา. 36 , 5 : 18.
A.L.A. World Encyclopedia of Library an Information Services. (1980).
Chicago : American Library Association.
Alghamidi, Falth A. (1988). Planning for an Automated Cooperative Library
Network of University Libraries in Saudi Arabia : An Exploratory
Study. Ph.D Dissertation, The Florida State University.
American Library Association. (1994). Guide to Cooperative Collective
Deverlopment. Chicago : American Library Association.
Becker, Joseph and Wallace. C. Oslen. (1969). “Information Networks,” In C.A.
Cuadrd ced., Annual Review of Information Science and Technology,
pp. 209 - 291. Chicago : Encyclopedia Britannica.
Backer, J. (1979). “Network Functions : Reactions,” In A Kent and T.J. Galvin
(eds.) The structure and Governance of Library Network. p.88.
New York : Marcel Dekker.
Butler, B. (1976). Library Network Development and The Southern Regional
Educations Broad. New york : อ้างถึงใน วศิน ชูประยูร, แนวทางการสร้าง
ข่ายงานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน. บรรณารักษศาสตร์ มธ. 5 : 2.
Gilmer, Lois C. (1994). Inter - library Loan : Theory and Management. Englewood,
CA : Libraries Unlimited.
Hafez, Abdulrasheed Abdulaziz. (1989). A Prescriptive Model for Planning and
implementing a resource sharing and information networking system
among Saudi University libraries. Ph.D Dissertation, Indiana University.
Harrod, Leonard . (1990). Harrod’s Librarians’s Glossary of Terms Used in
Librarianship, Documentation and the Book Crafts and Reference
Book. 7 th ed. Aldershot : Gower.
Humphry, John A. (1963). Library Cooperation Providence, Rhode Island : Brown
University Press.
111
Kent, Allen. (1977). “The Goals of Resource Sharing in Libraries,” In Library
Resource Sharing. p.15. NewYork : Marcel Dekker.
. (1981). “Resource Sharing in Libraries,” In Encyclopedia of Library
and Information Science. p.293 - 307. NewYork : Marcel Dekker.
Kim, Boo – Ja. (1984). University Library Networks in Korea : A Status Servey
and Guideline for Automations. Ph.D Dissertation University of
Pittsburgh.
MacDougal, Allen. (1991). “Cooperation : a Conceptual framwork for Libraries,”
In Handbook of Library Cooperation. pp. 9 – 14. London ; Gower.
Martin, Susan K. (1986). Library Network, 1986 – 87 : Libraries in Partnership.
New York : Knowledge Industry Publication.
Oyler, Patricia G. (September 1978). “The Basic Element in the Development of
Library Cooperation Programs in Sweden,” Dissertation Abstracts
International 39. p.1173 : A.
Palmour, Vernon E. and Nancy K. Roderer. (1978). “Library Resource Sharing
Through Network,” In Annual Review of Information Science and
Technology. Volume13. pp. 140 – 177. NewYork : Knowledge Industry.
Sinclair, M.P. (April 1973). "A Typology of Library Cooperatives.” Special Libraries 64
p.181 - 186.
Stevens, Norman D. (November 1980). “Library Networks and Resource Sharing in
the United States : An Historical and Philosophical Overviews,” Journal
of the American Society for Information Science. 31 : 405 - 412.
Turock, Betty J. (1981). Performance, Organization and Attitude : Factors in
Multitype Library Networking. Ph.D Dissertation, Rutgers the State
University of New Jersey.
112
Williams, J.G. and Flynn R. (1979). “Network topology : Functions of Existing
Networks,” In A Kent and T.J. Galvin (eds.) The Structure and
Govermance of Library Networks. p.49. NewYork : Marcel Dekker.
Woodsworth, Anne. (1991). Library Cooperation and Networks : A Basic Reader.
New York : Neal - Schuman.

รูปแบบศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงาน (ตอนที่ 1)
รูปแบบศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงาน (ตอนที่ 2)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น