วันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ศึกษาสภาพและความต้องการการนิเทศภายในด้านวิชาการของครูประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม (ตอนที่ 2)



การนิเทศในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. หลักสูตรวิธีการและเวลาในการนิเทศไม่ตรงกับความต้องการของผู้รับการนิเทศ
2. กระบวนการและวิธีการนิเทศเน้นเนื้อหาสาระมากกว่ากระบวนการเชิงระบบที่มุ่ง
ให้รับการนิเทศ คิดและวิเคราะห์แก้ปัญหาด้วยตนเอง
3. กระบวนการนิเทศไม่ได้เน้นการมีส่วนร่วมของผู้รับการนิเทศ ทำให้ผู้รับการ
นิเทศและสถานศึกษาไม่สนใจที่จะเข้าโครงการโดยไม่ส่งครู-อาจารย์ เข้ารับการนิเทศหรือส่งตัวแทน
ที่ไม่เกี่ยวข้องเข้ารับการนิเทศแทน
4. ผู้รับการนิเทศมีปัญหาเกี่ยวกับการเข้ารับการนิเทศในด้านต่าง ๆ ดังนี้
5. มีภารกิจการสอนและงานด้านอื่น ๆ ของถานศึกษามาก จึงไม่มีเวลาที่เข้ารับ
การนิเทศ หรือเมื่อเข้ารับการนิเทศแล้ว แต่ไม่มีเวลาเตรียมการในการพัฒนางานตามที่ได้รับการนิเทศ
6. สถานศึกษาขาดงบประมาณส่งครู-อาจารย์ เข้ารับการนิเทศ
7. ผู้บังคับบัญชาของตัวผู้รับการนิเทศไม่เห็นความสำคัญของการนิเทศการศึกษา จึง
ไม่ส่งครู-อาจารย์เข้ารับการนิเทศหรือส่งตัวแทนซึ่งไม่ตรงกับงานที่จะพัฒนา
8. ตัวผู้รับการนิเทศมักจะคิดว่าตนเองมีความผิดหรือบกพร่องในหน้าที่ จึงถูกบังคับ
หรือเรียกเข้ารับการนิเทศ จึงไม่เต็มใจที่จะเข้าโครงการพิเศษ
9. นโยบายและแผนงานด้านการนิเทศการศึกษาไม่ได้กำหนดไว้ในแผนอย่างชัดเจน
เป็นเหตุให้รูปแบบการจัดระบบและองค์กรการบริหารไม่ชัดเจน ไม่มีกฎหมายรองรับจึงมีผลกระทบ
ต่อการบริหารบุคลากร การเงินและการพัสดุ
10. รูปแบบการประสานงานของฝ่ายต่าง ๆที่ร่วมกันจัดการนิเทศการศึกษาไม่ชัดเจน
51
เช่น การประสานงาน การนิเทศระหว่างหน่วยศึกษานิเทศก์กรม กับสถานศึกษาผู้จัดการนิเทศภายใน
สถานศึกษา (บุญเลิศ ภพลาภ, ม.ป.ป. : 37-42)
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
งานวิจัยในประเทศ
พัชรินทร์ ชั้นบุญ (2542 : 74-77) วิจัยเรื่องความต้องการการนิเทศการสอนของครูโรงเรียน
เอกชนอาชีวศึกษา ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม ในกรุงเทพมหานคร มีผลดังนี้ 1)ด้านหลักสูตรและ
เนื้อหาวิชา พบว่าครูมีความต้องการการนิเทศการสอนด้านหลักสูตรและเนื้อหาวิชา ลำดับแรกคือ
แนะนำชี้แจงเกี่ยวกับจุดมุ่งหมาย หลักการ และโครงสร้างของหลักสูตรที่กำลังใช้อยู่แก่ครูผู้สอน เพื่อ
ให้มีความเข้าใจตรงกัน ร้อยละ 52.16 ลำดับที่สอง คือ แนะนำให้ครูผู้สอนจัดทำจุดประสงค์การเรียนรู้
ในแต่ละรายวิชาให้สัมพันธืกับเนื้อหา ร้อยละ 35.98 และลำดับสาม คือ แนะนำให้ครูผู้สอนวิเคราะห์
หลักสูตรก่อนทำการสอนเพื่อให้ทราบจุดมุ่งหมายและแนวทางในการปฏิบัติ ร้อยละ 26.62 นอกจาก
นี้ยังพบว่าครูประเภทช่างอุตสาหกรรมไม่มีวุฒิทางครูถึง ร้อยละ 51.44 ซึ่งขาดความรู้เกี่ยวกับหลัก
สูตรและการสอน จึงทำให้ครูมีความต้องการด้านการนิเทศด้านหลักสูตรมาก 2)ด้านวิธีการสอนและ
บรรยากาศการเรียนการสอน พบว่า ครูมีความต้องการการนิเทศการสอนด้านวิธีการสอนและ
บรรยากาศการเรียนการสอน ลำดับแรก คือ จัดประชุมครูผู้สอนเพื่อเตรียมงานด้านการสอนก่อนเปิด
ภาคเรียน ร้อยละ 43.16 ลำดับที่สอง คือ จัดประชุมชี้แจงวิธีการทำแผนการสอน บันทึกการสอน
การจัดตารางสอน ร้อยละ 38.85 และลำดับที่สาม คือ จัดโครงการให้ครูผู้สอนใช้วิธีการสอนและ
การทดลองการสอนแบบใหม่ ๆ ร้อยละ 37.41 นอกจากนี้ยังพบว่าครูส่วนใหญ่ในโรงเรียนเอกชน
อาชีวศึกษา ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม มีประสบการณ์ในการเป็นครูน้อยกว่า 5 ปี มีถึงร้อยละ
47.76 3)ด้านสื่อการเรียนการสอน พบว่าครูมีความต้องการการนิเทศการสอนด้านสื่อการเรียนการ
สอน ลำดับแรกคือ แนะนำการใช้เครื่องมือช่างในการสอนภาคปฏิบัติ ร้อยละ 43.16 ลำดับที่สองคือ
แนะนำการใช้อุปกรณ์สื่อการเรียนการสอนประเภทชุดสาธิตต่าง ๆ ร้อยละ 20.50 และลำดับที่สาม
คือ การชี้แนะการทำสื่อเป็นตัวอย่าง ร้อยละ 34.53 เนื่องจากการสอนด้านสาขาช่างอุตสาหกรรม ใน
ส่วนของอาคารสถานที่ เครื่องจักร เครื่องมือ และสื่อการเรียนการสอน ต้องมีการลงทุนค่อนข้างสูงทำ
ให้เกิดปัญหาไม่เพียงพอส่งผลให้สัดส่วนของจำนวนนักศึกษาต่อเครื่องมือ เครื่องจักร ไม่เหมาะสม
4)ด้านการวัดและประเมินผล พบว่า ครูมีความต้องการการนิเทศการสอนด้านการวัดและประเมินผล
ลำดับแรก คือ จัดอบรมวิธีการวัดผลและประเมินผลให้ถูกต้องเหมาะสมกับเรื่องที่สอน ร้อยละ 50.72
ลำดับที่สอง คือ จุดมุ่งหมายของการวัดผลและประเมินผล ร้อยละ 37.05 และลำดับสาม คือ ชี้แจง
หลักการและระเบียบการประเมินผลการเรียน ร้อยละ 32.37 ทั้งนี้เป็นเพราะว่าการวัดผลและ
52
ประเมินผลตามหลักสูตรใหม่ แตกต่างไปจากหลักสูตรเดิมครูจึงมักจะประสบปัญหาในการวัดและ
ประเมินผล
เกรียงศักดิ์ ปานคล้าย (2539 : 174 - 180) ได้ศึกษาเรื่อง ความต้องการการนิเทศภายในของ
ครูช่างอุตสาหกรรม วิทยาลัยเทคนิค สังกัดกรมอาชีวศึกษา เขตการศึกษา 12 ผลการวิจัยพบว่า ความ
ต้องการการนิเทศภายในของครูช่างอุตสาหกรรม จำแนกตามวุฒิการศึกษาและคณะวิชาโดยส่วนรวม
ของทุกงาน พบว่า ครูช่างอุตสาหกรรมที่ปฏิบัติการสอนในคณะวิชาช่างก่อสร้าง คณะวิชาเทคโนโลยี
อุตสาหกรรม คณะวิชาช่างยนต์ คณะวิชาช่างกล และคณะวิชาช่างไฟฟ้ามีความต้องการการนิเทศ
ภายในอยู่ในระดับมากทุกงาน เมื่อพิจารณาตามลำดับความต้องการการนิเทศภายในตามขอบเขตของ
งานนิเทศภายในพบว่า ทุกวุฒิการศึกษา และทุกคณะวิชา มีความต้องการการนิเทศภายในด้านงาน
หลักสูตรเป็นอันดับแรก และงานวัดผลและประเมินผลเป็นอันดับสุดท้าย ส่วนงานอื่น ๆ ให้ลำดับ
ความต้องการแตกต่างกันไป ส่วนความต้องการและผลการเปรียบเทียบความต้องการการนิเทศภายใน
ของครูช่างอุตสาหกรรม จำแนกตามวุฒิการศึกษา และคณะวิชา มีผลดังนี้ 1)งานหลักสูตร พบว่าครู
ช่างอุตสาหกรรมที่มีวุฒิปริญญาตรีหรือสูงกว่า และวุฒิต่ำกว่าปริญญาตรี ครูช่างอุตสาหกรรมที่ปฏิบัติ
การสอนในคณะวิชาช่างก่อสร้าง คณะวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม คณะวิชาช่างยนต์ คณะวิชาช่างกล
และคณะวิชาช่างไฟฟ้า มีความต้องการการนิเทศภายใน ด้านงานหลักสูตร โดยส่วนรวมอยู่ในระดับ
มาก และมีความต้องการไม่แตกต่างกัน 2)งานการเรียนการสอน พบว่าครูช่างอุตสาหกรรมที่มีวุฒิ
ปรญิ ญาตรหี รอื สงู กวา่ และวุฒิต่ำกว่าปริญญาตร ี ครูช่างอุตสาหกรรมที่ปฏิบัติการสอนในคณะวิชา
ช่างก่อสร้าง คณะวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม คณะวิชาช่างยนต์ คณะวิชาช่างกล และคณะวิชาช่าง
ไฟฟ้า มีความต้องการการนิเทศภายใน ด้านงานการเรียนการสอน โดยส่วนรวมอยู่ในระดับมาก และมี
ความต้องการไม่แตกต่างกัน 3) งานสื่อการเรียนการสอน พบว่าครูช่างอุตสาหกรรมที่มีวุฒิปริญญาตรี
หรอื สงู กวา่ และวุฒิต่ำกว่าปริญญาตร ี ครูช่างอุตสาหกรรมที่ปฏิบัติการสอนในคณะวิชาช่างก่อสร้าง
คณะวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม คณะวิชาช่างยนต์ คณะวิชาช่างกล และคณะวิชาช่างไฟฟ้า มีความ
ต้องการการนิเทศภายใน ด้านงานสื่อการเรียนการสอน โดยส่วนรวมอยู่ในระดับมาก และครูที่มีวุฒิ
ต่างกัน มีความต้องการการนิเทศภายในด้านการเรียนการสอนไม่แตกต่างกัน 4) งานวัดผลและ
ประเมนิ ผล พบว่าครูช่างอุตสาหกรรมที่มีวุฒิปริญญาตรีหรือสูงกว่า และวุฒิต่ำกว่าปริญญาตร ี ครชู า่ ง
อุตสาหกรรมที่ปฏิบัติการสอนในคณะวิชาช่างก่อสร้าง คณะวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม คณะวิชา
ช่างยนต์ คณะวิชาช่างกล และคณะวิชาช่างไฟฟ้า มีความต้องการการนิเทศภายใน ด้านงานวัดผลและ
ประเมินผล โดยส่วนรวมอยู่ในระดับมาก และมีความต้องการไม่แตกต่างกัน 5) งานพัฒนาบุคลากร
พบว่า ครูช่างอุตสาหกรรมที่มีวุฒิปริญญาตรีหรือสูงกว่าและวุฒิต่ำกว่าปริญญาตร ี ครูช่างอุตสาหกรรม
ที่ปฏิบัติการสอนในคณะวิชาช่างก่อสร้าง คณะวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม คณะวิชาช่างยนต์ คณะ
53
วิชาช่างกล และคณะวิชาช่างไฟฟ้า มีความต้องการการนิเทศภายใน ด้านงานพัฒนาบุคลากร โดยส่วน
รวมอยู่ในระดับมาก และมีความต้องการไม่แตกต่างกัน
กิตติมา เฉลิมพงษ  (2543 : 59) ได้ศึกษาเรื่อง การศึกษาสภาพและความต้องการการนิเทศ
การสอน ในโรงเรียนเอกชนอาชีวศึกษา เขตกรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อ
ศึกษา และเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อสภาพ และความต้องการการนิเทศการสอน 6 ด้าน คือด้าน
หลักสูตร ด้านเนื้อหาวิชา ด้านกิจกรรมการเรียนการสอนและเทคนิคการสอน ด้านสื่อการเรียน
การสอน ด้านการวัดผลและประเมินผล และด้านการฝึกงานอาชีพ ผลการวิจัยพบว่า 1) ทั้งผู้บริหาร
โรงเรียนและผู้สอนมีความคิดเห็นต่อสภาพการนิเทศการสอน ทั้ง 6 ด้านโดยรวมอยู่ในระดับปาน
กลาง เมื่อพิจารณารายด้าน สรุปได้ดังนี้ ด้านหลักสูตร ด้านเนื้อหาวิชา และด้านการฝึกงานอาชีพ
ผู้บริหารมีความคิดเห็นต่อสภาพการนิเทศการสอนอยู่ในระดับมาก ส่วนผู้สอนมีความคิดเห็น อยู่ใน
ระดับปานกลาง ส่วนด้านกิจกรรมการเรียนการสอน และเทคนิคการสอน ด้านสื่อการเรียนการสอน
และด้านการวัดผลและประเมินผล ผู้บริหารมีความคิดเห็น อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนผู้สอนมีความ
คิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง 2) พบว่าผู้บริหารโรงเรียนและผู้สอนมีความต้องการการนิเทศการสอน
ที่สอดคล้องกันนั้ง 6 ด้าน อยู่ในระดับมาก 3) ผู้สอนที่มีวุฒิทางการศึกษาแตกต่างกัน และผู้สอนใน
โรงเรียนขนาดต่างกัน มีความต้องการการนิเทศการสอนที่สอดคล้องกันในทุก ๆ ด้าน คืออยู่ในระดับ
มาก ส่วนผู้สอนที่มีประสบการณ์ด้านการสอนต่างกัน ได้แก่ ผู้สอน 0-5 ปี มีความต้องการการนิเทศ
การสอน อยู่ในระดับปานกลางทั้ง 6 ด้าน ส่วนผู้สอนตั้งแต่ 6-10 ปี และมากกว่า 10 ปี มีความต้องการ
การนิเทศการสอนที่อยู่ในระดับมากทุกด้าน
สุธาทิพย์ เจริญสุข (2536 : 140) วิจัยเรื่อง “ความต้องการการนิเทศการสอนของครูโรงเรียน
เอกชน อาชีวศึกษา ประเภทพาณิชยกรรม ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความ
ต้องการในการนิเทศการสอนของครูโรงเรียนเอกชน อาชีวศึกษา ประเภทพาณิชยกรรม ในเขต
กรุงเทพมหานคร และเปรียบเทียบความต้องการการนิเทศการสอนของครูโรงเรียนเอกชน อาชีวศึกษา
ทางวุฒิวิชาชีพครู อายุ และประสบการณ์ในการสอน ซึ่งผลการวิจัยพบว่า ครูโรงเรียนเอกชน
อาชีวศึกษา ประเภทพณิชยกรรม มีความต้องการการนิเทศการสอน ด้านหลักสูตรมาก คือ การจัดหา
คู่มือครูให้กับผู้สอนทุกรายวิชาก่อนเปิดภาคเรียน ชี้แจงให้ครูเข้าใจจุดมุ่งหมายของหลักสูตร และการ
จัดหาเอกสารหลักสูตรเพื่อการค้นคว้า ผลการวิจัยนี้มีความสอดคล้องกับการวิจัยของ สมศร ี มัชฌ
เศรษฐ์ (2538 : 2) ซึ่งทำการวิจัยเรื่อง การศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารและครูอาจารย์ เกี่ยวกับการ
พัฒนาบุคลากรในโรงเรียนเอกชนอาชีวศึกษา ประเภทพณิชยกรรม ในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งมี
วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารและครูอาจารย์ เกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากร ด้านการ
พัฒนาคุณภาพตนเอง ด้านการพัฒนาทักษะและความสามารถเฉพาะหน้าที่ และด้านการพัฒนาเจตคติ
ท่าที และพฤติกรรม ผลการวิจัยสรุปได้ว่า โรงเรียนส่วนใหญ่มีเอกสารประกอบการสอนไม่เพียงพอ
54
จากผลการศึกษางานวิจัยในประเทศ สรุปได้ว่า การศึกษาสภาพและความต้องการการนิเทศ
การสอนในโรงเรียนส่วนใหญ่สภาพของการนิเทศภายใน พบว่าด้านหลักสูตร ด้านเนื้อหาวิชา และ
ด้านการฝึกงานอาชีพ ผู้บริหารมีความคิดเห็นต่อสภาพการนิเทศการสอนอยู่ในระดับมาก ส่วนผู้สอน
มีความคิดเห็น อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน และผู้สอนต่อความ
ต้องการการนิเทศการสอน สรุปได้ว่า ผู้บริหารโรงเรียนและผู้สอนมีความต้องการการนิเทศการสอนที่
สอดคล้องกันทุกด้านอยู่ในระดับมาก
งานวิจัยต่างประเทศ
ทิลาฮัน (สมจิตร อุดม. 2532 : 44 ;อ้างอิงมาจาก Tilahun. 1983 : 2168-A) ได้ทำการวิจัย
เรื่อง การจัดกิจกรรมการนิเทศภายในโรงเรียนที่พึงประสงค์ของการพัฒนาประเทศ เอธิโอเปีย กลุ่ม
ตัวอย่างได้แก่ ครู ศึกษานิเทศก์ นักวิชาการ ผลจากการวิจัยสรุปได้ว่า
1. ครู ศึกษานิเทศก์ และนักวิชาการ มีความเห็นสอดคล้องกันว่า กิจกรรมที่ใช้นิเทศภายใน
โรงเรียน เรียงลำดับจากมากไปหาน้อยดังนี้ การฝึกอบรมแนะนำ การฝึกอบรมปฏิบัติการ การสาธิต
การสอนโดยศึกษานิเทศก์ การประชุมกลุ่มย่อยของครู การเยี่ยมชั้นเรียน และสังเกตการสอน
2. ครู ศึกษานิเทศก์ และนักวิชาการ มีความเห็นสอดคล้องกันว่า การจัดกิจกรรมการนิเทศ
ภายในโรงเรียนอยู่ในระดับปานกลาง
3. ครู ศึกษานิเทศก์ และนักวิชาการ มีความเห็นสอดคล้องกันว่า การนิเทศในลักษณะร่วมมือ
กันปฏิบัติงานนิเทศการศึกษา จะก่อให้เกิดผลดีกว่าการนิเทศการศึกษาในลักษณะที่ใช้อำนาจและการ
บังคับ
แอนเดอร์สัน และดีบรา (Anderson and Debra. 1992 : Abstract) ได้ศึกษาเรื่อง การ
วิเคราะห์คุณภาพของรูปแบบการนิเทศการสอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ ครูในสถาบันการศึกษา
จำนวน 197 คนผลการวิจัยพบว่า ส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 86.8 ของสถาบันการศึกษามีการเปลี่ยน
แปลงรูปแบบการนิเทศการสอนประมาณร้อยละ 16.8 ของสถาบันการศึกษามีการเปลี่ยนแปลง
รูปแบบการนิเทศทุก 5 ปีในเรื่องของกฏระเบียบของการนิเทศการศึกษาในมหาวิทยาลัยยังคงปฏิบัติ
กันสืบเนื่องมาตลอด
แวมบอลดท์ และคนอื่น ๆ (Wamboldt and Others. 1993 : Abstract) ได้ศึกษาเรื่อง การ
สำรวจปีแรกและปีที่สามของครูและศึกษานิเทศก์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ ครูจำนวน 830 คน ศึกษา
55
นิเทศก์จำนวน 1,049 คน โดยศึกษาในด้าน ความรู้ของเนื้อหาวิชา ความรู้และประโยชน์ของการสอน
ทฤษฎีการเรียนรู้ การวางแผนและการจัดการของหลักสูตรและการสอน การจัดชั้นเรียน เทคนิคการ
สอนและติดต่อ วัสดุการสอน การให้ความช่วยเหลือ การติดต่อและความร่วมมือกับผู้ปกครองและ
ทีมงาน ผลการวิจัยพบว่า มากกว่าร้อยละ 90 ของครูอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานทุกด้าน ยกเว้นด้านการจัด
ชั้นเรียน ครูจำนวนมากยังไม่มีการเตรียมความพร้อมที่เพียงพอ
สรุปได้ว่า ความต้องการที่อยู่ในระดับมากคือ ความต้องการที่จะมีความสามารถในการ
ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการนิเทศ และการประเมินผล ตลอดจนความต้องการปรับปรุงการจัดการเรียน
การสอนและการพัฒนาหลักสูตร และจากผลการวิจัยยังพบว่า ผู้นิเทศก์การศึกษาไม่ได้ปฏิบัติงาน
นิเทศด้านการเรียนการสอนอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการติดต่อสื่อสาร การ
เผยแพร่ข่าวสารแก่ครู ช่วยเหลือในการตัดสินใจของครู ไม่ใช่ผู้ตรวจตราคอยจับผิดครูแต่เพื่อให้เกิด
การพัฒนา ด้านความรู้ ความเข้าใจ และทักษะ เกิดการปรับปรุงด้านการสอนให้ทันสมัย ทันต่อ
สภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งในด้าน สังคม เศรษฐกิจและเทคโนโลยีที่กำลังเจริญก้าวหน้าไปอย่าง
รวดเร็ว
บทที่ 3
วิธีดำเนินการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาสภาพและความต้องการการนิเทศภายในด้านวิชาการของครูประเภท
วิชาช่างอุตสาหกรรม ในวิทยาลัยเทคนิค ของสถาบันอาชีวศึกษาภาคกลาง 6 รวมทั้งหมด 5 ด้าน
คือ ด้านหลักสูตร ด้านการเรียนการสอน ด้านสื่อการเรียนการสอน ด้านการพัฒนาบุคลากร และด้าน
การวัดและประเมินผลนั้น ผู้วิจัยได้ดำเนินการดังนี้
1. ประชากร
2. ตัวแปรที่ศึกษา
3. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
4. วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
5. การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิจัย
ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูผู้สอนในวิทยาลัยเทคนิค ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม
ของสถาบันอาชีวศึกษาภาคกลาง 6 รวม 3 วิทยาลัย คือ
1. วิทยาลัยเทคนิคสมุทรสาคร
2. วิทยาลัยเทคนิคสมุทรสงคราม
3. วิทยาลัยเทคนิคนครปฐม
รวมจำนวนทั้งสิ้น 189 คน ซึ่งในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยทำการศึกษากับประชากรทั้งหมด
ดังรายละเอียดในตารางที่ 2 ตารางแสดงจำนวนประชากรแยกตามวิทยาลัย
ที่ สถานศึกษา แผนก ประชากร
1 วิทยาลัยเทคนิคสมุทรสาคร ช่างยนต์ 11
ช่างกลโรงงาน 10
ช่างเชื่อมโลหะ 7
ช่างไฟฟ้ากำลัง 8
ช่างอิเล็กทรอนิกส์ 14
ช่างก่อสร้าง 5
เทคนิคพื้นฐาน 5
57
ที่ สถานศึกษา แผนก ประชากร
2 วิทยาลัยเทคนิคสมุทรสงคราม ช่างยนต์ 10
ช่างกลโรงงาน 11
ช่างเขียนแบบเครื่องกล 4
ช่างเชื่อมโลหะ 8
ช่างไฟฟ้ากำลัง 11
ช่างอิเล็กทรอนิกส์ 13
ช่างก่อสร้าง 7
เทคนิคพื้นฐาน 5
3 วิทยาลัยเทคนิคนครปฐม ช่างยนต์ 11
ช่างกลโรงงาน 9
ช่างเชื่อมโลหะ 8
ช่างไฟฟ้ากำลัง 10
ช่างอิเล็กทรอนิกส์ 11
ช่างก่อสร้าง 6
เทคนิคพื้นฐาน 5
รวม 189
ตารางที่ 2 แสดงจำนวนประชากร
ตัวแปรที่ศึกษา
ได้แก่ สภาพและความต้องการการนิเทศภายในด้านวิชาการของครู ประเภทวิชาช่าง
อุตสาหกรรม 5 ด้าน คือ
1. ด้านหลักสูตร
2. ด้านการเรียนการสอน
3. ด้านสื่อการเรียนการสอน
4. ด้านการพัฒนาบุคลากร
5. ด้านการวัดและประเมินผล
ตารางที่ 2 (ต่อ)
58
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
ลักษณะของเครื่องมือ
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
เพื่อศึกษาสภาพ และความต้องการการนิเทศภายในด้านวิชาการของครู ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม
ในวิทยาลัยเทคนิค ของสถาบันอาชีวศึกษาภาคกลาง 6 โดยแบ่งออกเป็น 3 ตอน คือ
ตอนที่ 1 เป็นแบบเลือกตอบ เพื่อสอบถามสถานภาพและข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบ
ถาม
ตอนที่ 2 เป็นแบบมาตรประมาณค่า แบ่งเป็นระดับการนิเทศภายในด้านวิชาการที่ปฏิบัติ
และระดับการนิเทศภายในด้านวิชาการที่ต้องการ ซึ่งแบ่งเป็น 5 ด้าน ได้แก่
1. ด้านหลักสูตร
2. ด้านการเรียนการสอน
3. ด้านสื่อการเรียนการสอน
4. ด้านการพัฒนาบุคลากร
5. ด้านการวัดผลและประเมินผล
ตอนที่ 3 เป็นความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่าง ๆ เกี่ยวกับสภาพและความต้องการการ
นิเทศภายในด้านวิชาการของครู ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม ที่ต้องการจะเพิ่มเติมในแต่ละด้าน มี
ลักษณะเป็นคำถามปลายเปิด
การสร้างเครื่องมือ
ในการสร้างเครื่องมือผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
1. ศึกษาขั้นตอน ศึกษาทฤษฎี ทบทวนวรรณกรรม และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสภาพและ
ความต้องการการนิเทศภายในด้านวิชาการเพื่อเป็นแนวทางในการสร้างคำถามในแบบสอบถาม
2. กำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย และนิยามความหมาย โดยแยกออกเป็นด้านต่าง ๆ ได้แก่
ด้านหลักสูตร ด้านการเรียนการสอน ด้านสื่อการเรียนการสอน ด้านการพัฒนาบุคลากร และด้านการ
วัดและประเมินผล
3. สร้างเครื่องมือในการวิจัย โดยการศึกษาค้นคว้าจากตำรา เอกสารและงานวิจัยต่าง ๆ ที่
เกยี่ วขอ้ ง ตลอดจนข้อคิดเห็นของบุคคลที่มีความร ู้ ความสามารถและประสบการณ์เกี่ยวกับการนิเทศ
ภายใน อีกทั้งอาศัยประสบการณ์ในการทำงานของผู้วิจัยเอง โดยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับระดับ
การนิเทศที่ปฏิบัติ และระดับการนิเทศที่ต้องการ ซึ่งมีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ คือ
มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด
59
เกณฑ์การให้คะแนนแบ่งเป็น 5 ระดับ ดังนี้
5 หมายถึง ระดับการนิเทศที่ปฏิบัติ และระดับการนิเทศที่ต้องการมากที่สุด
4 หมายถึง ระดับการนิเทศที่ปฏิบัติ และระดับการนิเทศที่ต้องการมาก
3 หมายถึง ระดับการนิเทศที่ปฏิบัติ และระดับการนิเทศที่ต้องการปานกลาง
2 หมายถึง ระดับการนิเทศที่ปฏิบัติ และระดับการนิเทศที่ต้องการน้อย
1 หมายถึง ระดับการนิเทศที่ปฏิบัติ และระดับการนิเทศที่ต้องการน้อยที่สุด
4. นำแบบสอบถามเสนออาจารย์ที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน เพื่อ
ตรวจสอบและให้คำแนะนำต่าง ๆ แล้วนำมาปรับปรุง เพื่อให้แบบสอบถามมีความชัดเจน ถูกต้อง
สมบูรณ์ และ ตรงตามวัตถุประสงค์มากที่สุด
5. นำแบบสอบถามไปตรวจสอบคุณภาพ โดยนำไปทดลองใช้กับครูผู้สอนในสถานศึกษา
ที่เปิดสอนประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม ที่ไม่ใช่กลุ่มประชากร เพื่อนำมาหาค่าความเชื่อมั่น
(Reliability) โดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟา (Alpha Coefficient) ของ Cronbach ได้ค่าความเชื่อมั่นของ
แบบสอบถามโดยแยกเป็น สภาพของการนิเทศ ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .96 และ ความต้องการ
การนิเทศ ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .98 ส่วนค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ .94
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้
1. ขอหนังสือจากบัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ถึงอธิบดี
กรมอาชีวศึกษา เพื่อขอความอนุเคราะห์ในการแจกแบบสอบถาม และเก็บข้อมูลในการทำ
วิทยานิพนธ์
2. ขอหนังสืออนุญาตจาก อธิบดีกรมอาชีวศึกษา ไปถึง ผู้อำนวยการของวิทยาลัยเทคนิคที่
อยู่ในสถาบันอาชีวศึกษาภาคกลาง 6 ทั้ง 3 วิทยาลัย เพื่อขออนุญาตและขอความร่วมมือในการตอบ
แบบสอบถาม และการเก็บรวบรวมข้อมูล
3. นำแบบสอบถามฉบับสมบูรณ์ที่ได้รับอนุญาตจาก กรมอาชีวศึกษาและผ่านการ
ตรวจสอบคุณภาพแล้ว จำนวน 189 ฉบับ ส่งไปยังกลุ่มประชากร คือครูที่สอนประเภทวิชาช่าง
อุตสาหกรรม ในวิทยาลัยเทคนิค ของสถาบันอาชีวศึกษาภาคกลาง 6 คือ วิทยาลัยเทคนิคสมุทรสาคร
วิทยาลัยเทคนิคสมุทรสงคราม และวิทยาลัยเทคนิคนครปฐม ซึ่งผู้วิจัยเดินทางไปเก็บรวบรวมข้อมูล
ด้วยตัวเอง โดยได้รับแบบสอบถามกลับคืนมาทั้งสิ้น 189 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100 ของประชากร
4. นำแบบสอบถามที่ได้รับคืนมาตรวจสอบความสมบูรณ์ก่อนนำไปวิเคราะห์ข้อมูลตาม
ขั้นตอนทางสถิติต่อไป
60
การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิจัย
ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยจะทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยนำแบบสอบถามจากประชากรที่ได้รับ
กลับคืนมาทั้งหมด มาวิเคราะห์แบบสอบถามแต่ละตอน ดังนี้
1. การจัดกระทำข้อมูล
1.1 ตรวจสอบความสมบูรณ์ของแบบสอบถามได้รับกลับคืนมา แล้วคัดเลือกเอาเฉพาะ
แบบสอบถามที่สมบูรณ์ตามเกณฑ์ มาวิเคราะห์ข้อมูล
1.2 นำข้อมูลที่ได้ ไปวิเคราะห์ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อวิเคราะห์หาค่าสถิติตาม
วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
2. การวิเคราะห์ข้อมูล
2.1 วิเคราะห์สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม โดยการแจกแจงความถี่ (Frequency)
และหาค่าร้อยละ (Percentage)
2.2 วิเคราะห์สภาพการนิเทศภายในด้านวิชาการของคร ู ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม
ในวิทยาลัยเทคนิค ของสถาบันอาชีวศึกษาภาคกลาง 6 โดยการหาค่าเฉลี่ย (ℵ) และส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน (∅)
2.3 วิเคราะห์ความต้องการการนิเทศภายในด้านวิชาการของครู ประเภทวิชาช่าง
อุตสาหกรรม ในวิทยาลัยเทคนิค ของสถาบันอาชีวศึกษาภาคกลาง 6 โดยการหาค่าเฉลี่ย (ℵ) และ
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (∅)
การแปลความค่าเฉลี่ย ระดับของสภาพการนิเทศ และความต้องการการนิเทศภายใน โดย
กำหนดเกณฑ์ของคะแนนเฉลี่ยไว้ดังนี้ (ประคอง กรรณสูตร, 2538 : 70)
ค่าเฉลี่ย 4.50 – 5.00 หมายถึง ระดับการนิเทศที่ปฏิบัติ และระดับการนิเทศที่ต้องการมากที่สุด
ค่าเฉลี่ย 3.50 – 4.49 หมายถึง ระดับการนิเทศที่ปฏิบัติ และระดับการนิเทศที่ต้องการมาก
ค่าเฉลี่ย 2.50 – 3.49 หมายถึง ระดับการนิเทศที่ปฏิบัติ และระดับการนิเทศที่ต้องการปานกลาง
ค่าเฉลี่ย 1.50 – 2.49 หมายถึง ระดับการนิเทศที่ปฏิบัติ และระดับการนิเทศที่ต้องการน้อย
ค่าเฉลี่ย 1.00 – 1.49 หมายถึง ระดับการนิเทศที่ปฏิบัติ และระดับการนิเทศที่ต้องการน้อยที่สุด
61
บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
การศึกษาสภาพ และความต้องการการนิเทศภายใน ดา้ นวชิ าการของคร ู ประเภทวิชาช่าง
อุตสาหกรรมในวิทยาลัยเทคนิค ของสถาบันอาชีวศึกษาภาคกลาง 6 ครั้งนี้ ผู้วิจัยได้แจกแบบสอบถาม
จำนวน 189 ฉบับ ไปยังครูผู้สอนประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม และได้รับแบบสอบถามกลับคืนมา
จำนวน 189 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100 และนำฉบับที่สมบูรณ์ มาวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป
SPSS/PC+ ซึ่งผู้วิจัยได้นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลออกเป็น 3 ตอนดังนี้
ตอนที่ 1 ข้อมูลเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถามโดยการแจกแจงความถี่
(Frequency) และหาค่าร้อยละ (Percentage)
ตอนที่ 2 ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพ และความต้องการการนิเทศภายในด้านวิชาการ ด้านหลักสูตร
ด้านการเรียนการสอน ด้านสื่อการเรียนการสอน ด้านการพัฒนาบุคลากร และด้านการวัดและประเมิน
ผล ด้วยการหาค่าเฉลี่ย (ℵ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (∅)
ตอนที่ 3 ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่าง ๆ เกี่ยวกับสภาพและความต้องการการนิเทศ
ภายในด้านวิชาการของครู ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม ด้วยการแจกแจงความถี่ (Frequency) และ
การสังเคราะห์
ตอนที่ 1 ข้อมูลเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม
วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าร้อยละได้ผลการวิเคราะห์ดังตารางที่ 3
ตารางที่ 3 ค่าร้อยละของข้อมูลเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม
สถานภาพ จำนวน (คน) ร้อยละ
ชาย 168 88.89
เพศ หญงิ 21 11.11
รวม 189 100.00
ต่ำกว่า 30 ปี 41 21.69
30 – 40 ปี 53 28.04
41 – 50 ปี 81 42.86
51 – 60 ปี 14 7.41
อายุ
รวม 189 100.00
62
สถานภาพ จำนวน (คน) ร้อยละ
ต่ำกว่าปริญญาตรี 6 3.17
ปริญญาตรีหรือเทียบเท่า 165 87.30
สูงกว่าปริญญาตรี 18 9.52
วุฒิการศึกษาสูงสุด
หรือเทียบเท่า
รวม 189 100.00
มี 167 88.36
ไม่มี 22 11.64
มีวุฒิทางวิชาชีพครู
(ทางการศึกษา)
รวม 189 100.00
น้อยกว่า 5 ปี 31 16.40
5 – 10 ปี 47 24.87
11 – 15 ปี 16 8.47
มากกว่า 15 ปี 95 50.26
ประสบการณ์การ
สอนในประเภทวิชา
ช่างอุตสาหกรรม
รวม 189 100.00
จากตารางที่ 3 แสดงให้เห็นว่าประชากรทั้งหมด 189 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ
88.89 มีอายุระหว่าง 41-50 ปี ร้อยละ 42.86 และรองลงมาอายุระหว่าง 30-40 ปี ร้อยละ 7.41 มี
วุฒิการศึกษาในระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 87.30 รองลงมาเป็นวุฒิในระดับสูงกว่า
ปริญญาตรี ร้อยละ 9.52 และมีวุฒิทางวิชาชีพครู ร้อยละ 88.36 และส่วนใหญ่ มีประสบการณ์การ
สอนในประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม มากกว่า 15 ปี ร้อยละ 50.26 รองลงมาคือ 5 - 10 ปี
ตารางที่ 3 (ต่อ)
63
ตอนที่ 2 ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพ และความต้องการการนิเทศภายในด้านวิชาการ ด้านหลักสูตร ด้านการ
เรียนการสอน ด้านสื่อการเรียนการสอน ด้านการพัฒนาบุคลากร และด้านการวัดและประเมินผล
วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย (ℵ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (∅) ได้ผลการวิเคราะห์
ดังตารางที่ 4 - 9 ดังนี้
ตารางที่ 4 แสดงค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ของ สภาพและความต้องการการนิเทศภายใน
ด้านวิชาการ ในวิทยาลัยเทคนิค ของสถาบันอาชีวศึกษาภาคกลาง 6 โดยรวมทุกด้าน
ที่ การนิเทศภายในด้านวิชาการ สภาพของการนิเทศ ความต้องการการนิเทศ
ℵ ∅ ระดับ ℵ ∅ ระดับ
1 ด้านหลักสูตร 2.88 1.02 ปานกลาง 4.15 0.85 มาก
2 ด้านการเรียนการสอน 2.85 1.10 ปานกลาง 4.12 0.85 มาก
3 ด้านสื่อการเรียนการสอน 2.70 1.10 ปานกลาง 4.08 0.87 มาก
4 ด้านการพัฒนาบุคลากร 2.76 1.10 ปานกลาง 4.13 0.88 มาก
5 ด้านการวัดและประเมินผล 2.96 1.09 ปานกลาง 4.06 0.85 มาก
รวม 2.83 1.08 ปานกลาง 4.10 0.86 มาก
จากตารางที่ 4 แสดงให้เห็นว่า สภาพของการนิเทศภายในด้านวิชาการโดยภาพรวม อยู่ใน
ระดับปานกลาง (ℵ = 2.83, ∅ = 1.08) ส่วนความต้องการการนิเทศภายในด้านวิชาการโดยภาพรวม
อยู่ในระดับมาก (ℵ = 4.10, ∅ = 0.86)
เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า สภาพของการนิเทศภายในด้านวิชาการ อยู่ในระดับปานกลาง
ทุกด้าน โดยเรียงตามลำดับดังนี้ ด้านการวัดและประเมินผล ด้านหลักสูตร ด้านการเรียนการสอน
ด้านการพัฒนาบุคลากร และ ด้านสื่อการเรียนการสอน
ส่วนความต้องการการนิเทศภายในด้านวิชาการ อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงตามลำดับ
ดังนี้ ด้านหลักสูตร ด้านการพัฒนาบุคลากร ด้านการเรียนการสอน ด้านสื่อการเรียนการสอน และ
ด้านการวัดและประเมินผล
64
ตารางที่ 5 แสดงค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ของสภาพและความต้องการการนิเทศภายใน ด้าน
วิชาการ ในวิทยาลัยเทคนิค ของสถาบันอาชีวศึกษาภาคกลาง 6 ด้านหลักสูตร
ที่ การนเิ ทศภายใน สภาพของการนิเทศ ความต้องการการนิเทศ
ด้านหลักสูตร ℵ ∅ ระดับ ℵ ∅ ระดับ
1. การสำรวจความต้องการและ
ปัญหาเกี่ยวกับงานด้านหลักสูตร
2.87 0.97 ปานกลาง 4.10 0.88 มาก
2. แนะนำให้ครูผู้สอนวิเคราะห์หลัก
สูตรก่อนทำการสอนเพื่อให้ทราบ
จุดมุ่งหมายและแนวทางในการ
ปฏิบัติ
2.99 1.01 ปานกลาง 4.19 0.82 มาก
3. การสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับจุด
มุ่งหมาย/หลักการและโครงสร้าง
ของหลักสูตร
2.85 0.94 ปานกลาง 4.08 0.86 มาก
4. แนะนำให้ครูปรับปรุงหลักสูตร คู่
มือการเรียนการสอน ใบงาน และ
เอกสารประกอบการสอน ให้มี
ความทันสมัย
2.93 1.08 ปานกลาง 4.23 0.88 มาก
5. แนะนำด้านการจัดกิจกรรมเสริม
หลักสูตรการเรียนการสอนด้าน
วิชาชีพ
2.79 0.99 ปานกลาง 4.12 0.85 มาก
6. จัดเตรียม และแนะนำการใช้
เอกสารประกอบหลักสูตรและคู่
มือครู เพื่อให้สามารถจัดการเรียน
การสอนได้อย่างเหมาะสม
2.94 1.05 ปานกลาง 4.20 0.80 มาก
7. การตรวจสอบและควบคุมการ
เรียนการสอนให้ตรงตามวัตถุ
ประสงค์ของหลักสูตร
2.98 1.00 ปานกลาง 4.11 0.87 มาก
65
ตารางที่ 5 (ต่อ)
ที่ การนเิ ทศภายใน สภาพของการนิเทศ ความต้องการการนิเทศ
ด้านหลักสูตร ℵ ∅ ระดับ ℵ ∅ ระดับ
8. จัดการสัมมนา/อบรมให้ความรู้
เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรให้
ตรงตามความต้องการของตลาด
แรงงาน
2.79 1.07 ปานกลาง 4.29 0.79 มาก
9. จัดประชุมกรรมการของวิทยาลัย
เพื่อติดตามและประเมินผลการใช้
หลักสูตรอย่างต่อเนื่อง
2.78 1.04 ปานกลาง 4.02 0.90 มาก
รวม 2.88 1.02 ปานกลาง 4.15 0.85 มาก
จากตารางที่ 5 แสดงให้เห็นว่าเมื่อพิจารณาโดยภาพรวม พบว่าสภาพของการนิเทศภายใน
ด้านหลักสูตร อยู่ในระดับปานกลาง (ℵ = 2.88, ∅ = 1.02) ส่วนความต้องการการนิเทศภายใน ด้าน
หลักสูตร อยู่ในระดับมาก (ℵ = 4.15, ∅ = 0.85)
เมื่อพิจารณาสภาพของการนิเทศภายใน ด้านหลักสูตร เป็นรายข้อพบว่าอยู่ในระดับปานกลาง
ทั้งหมดทุกข้อ โดยเรียงตามลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยดังนี้
1. แนะนำให้ครูผู้สอนวิเคราะห์หลักสูตรก่อนทำการสอนเพื่อให้ทราบจุดมุ่งหมายและแนว
ทางในการปฏิบัติ
2. การตรวจสอบและควบคุมการเรียนการสอนให้ตรงตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
3. จัดเตรียม และแนะนำการใช้เอกสารประกอบหลักสูตรและคู่มือครู เพื่อให้สามารถ
จัดการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสม
4. แนะนำให้ครูปรับปรุงหลักสูตร คู่มือการเรียนการสอน ใบงาน และเอกสารประกอบการ
สอน ให้มีความทันสมัย
5. การสำรวจความต้องการและปัญหาเกี่ยวกับงานด้านหลักสูตร
6. การสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับจุดมุ่งหมาย/หลักการและโครงสร้างของหลักสูตร
7. แนะนำด้านการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรการเรียนการสอนด้านวิชาชีพ
66
8. จัดการสัมมนา/อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรให้ตรงตามความต้องการของ
ตลาดแรงงาน
9. จัดประชุมกรรมการของวิทยาลัย เพื่อติดตามและประเมินผลการใช้หลักสูตรอย่างต่อ
เนื่อง
ส่วนความต้องการการนิเทศภายใน ด้านหลักสูตร เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าอยู่ในระดับ
มากทุกข้อ โดยเรียงตามลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยดังนี้
1. จัดการสัมมนา/อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรให้ตรงตามความต้องการของ
ตลาดแรงงาน
2. แนะนำให้ครูปรับปรุงหลักสูตร คู่มือการเรียนการสอน ใบงาน และเอกสารประกอบการ
สอน ให้มีความทันสมัย
3. จัดเตรียม และแนะนำการใช้เอกสารประกอบหลักสูตรและคู่มือครู เพื่อให้สามารถจัด
การเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสม
4. แนะนำให้ครูผู้สอนวิเคราะห์หลักสูตรก่อนทำการสอนเพื่อให้ทราบจุดมุ่งหมายและแนว
ทางในการปฏิบัติ
5. แนะนำด้านการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรการเรียนการสอนด้านวิชาชีพ
6. การตรวจสอบและควบคุมการเรียนการสอนให้ตรงตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
7. การสำรวจความต้องการและปัญหาเกี่ยวกับงานด้านหลักสูตร
8. การสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับจุดมุ่งหมาย/หลักการและโครงสร้างของหลักสูตร
9. จัดประชุมกรรมการของวิทยาลัย เพื่อติดตามและประเมินผลการใช้หลักสูตรอย่างต่อ
เนื่อง
67
ตารางที่ 6 แสดงค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ของสภาพและความต้องการการนิเทศภายใน ด้าน
วิชาการ ในวิทยาลัยเทคนิค ของสถาบันอาชีวศึกษาภาคกลาง 6 ด้านการเรียนการสอน
ที่ การนเิ ทศภายใน สภาพของการนิเทศ ความต้องการการนิเทศ
ด้านการเรียนการสอน ℵ ∅ ระดับ ℵ ∅ ระดับ
1. จัดประชุมครูผู้สอนเพื่อเตรียม
งานด้านการสอนก่อนเปิดภาค
เรียน
2.97 1.02 ปานกลาง 4.07 0.83 มาก
2. บริการด้านคู่มือ/ เอกสารทางวิชา
การ และหนังสือที่ใช้ประกอบ
การเรียนการสอนให้แก่ครูผู้สอน
อย่างเพียงพอ
2.86 1.22 ปานกลาง 4.36 0.73 มาก
3. การให้บริการ/จัดเก็บ และบำรุง
รักษาสื่อการเรียนการสอน
2.85 1.13 ปานกลาง 4.04 0.96 มาก
4. การแนะนำให้ใช้วิธีสอนที่เน้น
ทักษะ/กระบวนการ เพื่อให้นัก
เรียนเกิดการเรียนรู้ ความเข้าใจที่
แท้จริง
2.89 1.02 ปานกลาง 4.15 0.78 มาก
5. การส่งเสริมให้ครูผู้สอนจัดทำ
โครงการสอน/แผนการสอน และ
บันทึกการสอน
3.51 1.03 มาก 4.07 0.85 มาก
6. มีการชี้แนะให้จัดสภาพแวดล้อม
ภายในห้องเรียนและพื้นที่ฝึก
ปฏิบัติ ให้เอื้อต่อการจัดกิจ
กรรมการเรียนการสอน
2.94 1.02 ปานกลาง 4.02 0.82 มาก
7. จัดให้มีการเข้าเยี่ยมชั้นเรียนและ
แนะนำเทคนิคการสอนเป็นราย
บุคคล
2.50 1.08 ปานกลาง 3.97 0.84 มาก
68
ที่ การนเิ ทศภายใน สภาพของการนิเทศ ความต้องการการนิเทศ
ด้านการเรียนการสอน ℵ ∅ ระดับ ℵ ∅ ระดับ
8. จัดวิทยากรหรือผู้เชี่ยวชาญมา
สาธิตวิธีการสอนและเทคนิคการ
สอนแบบใหม่
2.54 1.25 ปานกลาง 4.22 0.90 มาก
9. ได้รับการแนะนำให้จัดทำแฟ้มข้อ
มูลประจำตัวนักเรียนเป็นราย
บุคคล เพื่อประโยชน์ในการจัดกิจ
กรรมการเรียนการสอน
2.77 1.06 ปานกลาง 3.97 0.93 มาก
10. จัดหาวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ และ
เครื่องจักรที่จำเป็นต้องใช้ในการ
เรียนการสอน
2.96 1.17 ปานกลาง 4.37 0.80 มาก
11. ส่งเสริมให้ครูผู้สอนมีการประชุม
แลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางวิชา
การและประสบการณ์การสอน
2.68 1.17 ปานกลาง 4.16 0.86 มาก
12. มีการติดตามดูแล และประเมินผล
การสอนของครูผู้สอน
2.78 1.00 ปานกลาง 4.06 0.86 มาก
รวม 2.85 1.10 ปานกลาง 4.12 0.85 มาก
จากตารางที่ 6 แสดงให้เห็นว่าเมื่อพิจารณาโดยภาพรวมพบว่า สภาพของการนิเทศภายใน
ด้านการเรียนการสอน อยู่ในระดับปานกลาง (ℵ = 2.85, ∅ = 1.10) ส่วนความต้องการการนิเทศ
ภายใน ด้านการเรียนการสอน อยู่ในระดับมาก (ℵ = 4.12, ∅ = 0.85)
เมื่อพิจารณาสภาพของการนิเทศภายใน ด้านการเรียนการสอนเป็นรายข้อพบว่า อยู่ในระดับ
มากจำนวน 1 ข้อได้แก่ การส่งเสริมให้ครูผู้สอนจัดทำโครงการสอน/แผนการสอน และบันทึก
การสอน (ℵ = 3.51, ∅ = 1.03) ส่วนข้ออื่นที่เหลือทั้ง 11 ข้อ อยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงตามลำดับ
คะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยดังนี้
1. การส่งเสริมให้ครูผู้สอนจัดทำโครงการสอน/แผนการสอน และบันทึกการสอน
2. จัดประชุมครูผู้สอนเพื่อเตรียมงานด้านการสอนก่อนเปิดภาคเรียน
ตารางที่ 6 (ต่อ)
69
3. จัดหาวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ และเครื่องจักรที่จำเป็นต้องใช้ในการเรียนการสอน
4. มีการชี้แนะให้จัดสภาพแวดล้อมภายในห้องเรียนและพื้นที่ฝึกปฏิบัติ ให้เอื้อต่อการจัดกิจ
กรรมการเรียนการสอน
5. การแนะนำให้ใช้วิธีสอนที่เน้นทักษะ/กระบวนการ เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ ความ
เข้าใจที่แท้จริง
6. บริการด้านคู่มือ/ เอกสารทางวิชาการ และหนังสือที่ใช้ประกอบการเรียนการสอนให้แก่
ครูผู้สอน
7. การให้บริการ/จัดเก็บ และบำรุงรักษาสื่อการเรียนการสอน
8. มีการติดตามดูแล และประเมินผลการสอนของครูผู้สอน
9. ได้รับการแนะนำให้จัดทำแฟ้มข้อมูลประจำตัวนักเรียนเป็นรายบุคคล เพื่อประโยชน์ใน
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
10. ส่งเสริมให้ครูผู้สอนมีการประชุม แลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางวิชาการและประสบการณ์
การสอน
11. จัดวิทยากรหรือผู้เชี่ยวชาญมาสาธิตวิธีการสอนและเทคนิคการสอนแบบใหม่
12. จัดให้มีการเข้าเยี่ยมชั้นเรียนและแนะนำเทคนิคการสอนเป็นรายบุคคล
ส่วนความต้องการการนิเทศภายใน ด้านการเรียนการสอน เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าอยู่
ในระดับมากทุกข้อ โดยเรียงตามลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยดังนี้
1. จัดหาวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ และเครื่องจักรที่จำเป็นต้องใช้ในการเรียนการสอน
2. บริการด้านคู่มือ/ เอกสารทางวิชาการ และหนังสือที่ใช้ประกอบการเรียนการสอนให้แก่
ครูผู้สอน
3. จัดวิทยากรหรือผู้เชี่ยวชาญมาสาธิตวิธีการสอนและเทคนิคการสอนแบบใหม่
4. จัดวิทยากรหรือผู้เชี่ยวชาญมาสาธิตวิธีการสอนและเทคนิคการสอนแบบใหม่
5. ส่งเสริมให้ครูผู้สอนมีการประชุม แลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางวิชาการและประสบการณ์
การสอน
6. การแนะนำให้ใช้วิธีสอนที่เน้นทักษะ/กระบวนการ เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ ความ
เข้าใจที่แท้จริง
7. จัดประชุมครูผู้สอนเพื่อเตรียมงานด้านการสอนก่อนเปิดภาคเรียน
8. การส่งเสริมให้ครูผู้สอนจัดทำโครงการสอน/แผนการสอน และบันทึกการสอน
9. มีการติดตามดูแล และประเมินผลการสอนของครูผู้สอน
10. การให้บริการ/จัดเก็บ และบำรุงรักษาสื่อการเรียนการสอน
70
11. มีการชี้แนะให้จัดสภาพแวดล้อมภายในห้องเรียนและพื้นที่ฝึกปฏิบัติ ให้เอื้อต่อการจัดกิจ
กรรมการเรียนการสอน
12. ได้รับการแนะนำให้จัดทำแฟ้มข้อมูลประจำตัวนักเรียนเป็นรายบุคคล เพื่อประโยชน์ใน
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
ตารางที่ 7 แสดงค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ของสภาพและความต้องการการนิเทศภายใน ด้าน
วิชาการในวิทยาลัยเทคนิค ของสถาบันอาชีวศึกษาภาคกลาง 6 ด้านสื่อการเรียนการสอน
ที่ การนเิ ทศภายใน สภาพของการนิเทศ ความต้องการการนิเทศ
ด้านสื่อการเรียนการสอน ℵ ∅ ระดับ ℵ ∅ ระดับ
1. การสำรวจความต้องการใช้วัสดุ/
อุปกรณ์ในการสร้างสื่อการเรียน
การสอน
2.76 1.16 ปานกลาง 4.24 0.86 มาก
2. การบริการจัดหาวัสดุเพื่อนำไป
สร้างสื่อการเรียนการสอน
2.83 1.19 ปานกลาง 4.26 0.83 มาก
3. จัดให้มีโครงการแลกเปลี่ยน ยืม
สื่อ วัสดุอุปกรณ์การสอนระหว่าง
สถานศึกษา
2.43 1.19 น้อย 3.69 1.08 มาก
4. ส่งเสริมให้ครูมีการจัดหาหรือจัด
สร้างสื่อด้วยตนเองเพื่อใช้ในการ
เรียนการสอนทุกรายวิชา
2.76 1.04 ปานกลาง 4.11 0.87 มาก
5. แนะนำและให้คำปรึกษา ในการ
ผลิตสื่อการเรียนการสอนให้สอด
คล้องกับกิจกรรมการเรียนการ
สอนตามแผนการสอน
2.68 1.03 ปานกลาง 4.13 0.79 มาก
6. แนะนำให้ใช้ห้องสมุดเป็นสื่อใน
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
2.71 1.09 ปานกลาง 3.96 0.87 มาก
7. ให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้วัสดุ/
อุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์ในวิชา
ช่างอุตสาหกรรม
2.72 1.08 ปานกลาง 4.08 0.85 มาก
71
ที่ การนเิ ทศภายใน สภาพของการนิเทศ ความต้องการการนิเทศ
ด้านสื่อการเรียนการสอน ℵ ∅ ระดับ ℵ ∅ ระดับ
8. จัดอบรมการสร้างสื่อการเรียน
การสอนโดยใช้เทคโนโลยี และ
นวัตกรรมใหม่ ๆ เช่น
คอมพิวเตอร์ วีดีโอ ฯ
2.81 1.11 ปานกลาง 4.20 0.86 มาก
9. มีการแนะนำหนังสือ วารสารทาง
วิชาการ และเทคโนโลยีใหม่ เพื่อ
เป็นการเผยแพร่ความรู้
2.62 1.11 ปานกลาง 4.10 0.83 มาก
10. ติดตามและประเมินผลการใช้สื่อ
การเรียนการสอนของครูผู้สอน
2.65 0.98 ปานกลาง 4.02 0.84 มาก
รวม 2.70 1.10 ปานกลาง 4.08 0.87 มาก
จากตารางที่ 7 แสดงให้เห็นว่าเมื่อพิจารณาโดยภาพรวมพบว่า สภาพของการนิเทศภายใน
ด้านสื่อการเรียนการสอน อยู่ในระดับปานกลาง (ℵ = 2.70, ∅ = 1.10) ส่วนความต้องการการนิเทศ
ภายใน ด้านสื่อการเรียนการสอน อยู่ในระดับมาก (ℵ = 4.08, ∅ = 0.87)
เมื่อพิจารณาสภาพของการนิเทศภายใน ด้านสื่อการเรียนการสอน เป็นรายข้อพบว่าอยู่ใน
ระดับน้อยจำนวน 1 ข้อได้แก่ จัดให้มีโครงการแลกเปลี่ยน ยืมสื่อ วัสดุอุปกรณ์การสอนระหว่างสถาน
ศึกษา (ℵ = 2.43, ∅ = 1.19) ส่วนข้ออื่นที่เหลือทั้ง 9 ข้อ อยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงตามลำดับ
คะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยดังนี้
1. การบริการจัดหาวัสดุเพื่อนำไปสร้างสื่อการเรียนการสอน
2. จัดอบรมการสร้างสื่อการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยี และนวัตกรรมใหม่ ๆ เช่น
คอมพิวเตอร์ วีดีโอ ฯ
3. การสำรวจความต้องการใช้วัสดุ/อุปกรณ์ในการสร้างสื่อการเรียน
4. ส่งเสริมให้ครูมีการจัดหาหรือจัดสร้างสื่อด้วยตนเองเพื่อใช้ในการเรียนการสอน
ทุกรายวิชา
5. ให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้วัสดุ/อุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์ในวิชาช่างอุตสาหกรรม
6. แนะนำให้ใช้ห้องสมุดเป็นสื่อในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
ตารางที่ 7 (ต่อ)
72
7. แนะนำและให้คำปรึกษา ในการผลิตสื่อการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับกิจกรรมการ
เรียนการสอนตามแผนการสอน
8. ติดตามและประเมินผลการใช้สื่อการเรียนการสอนของครูผู้สอน
9. มีการแนะนำหนังสือ วารสารทางวิชาการ และเทคโนโลยีใหม่ เพื่อเป็นการเผยแพร่
ความรู้
10. จัดให้มีโครงการแลกเปลี่ยน ยืมสื่อ วัสดุอุปกรณ์การสอนระหว่างสถานศึกษา
ส่วนความต้องการการนิเทศภายใน ด้านสื่อการเรียนการสอน เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า
อยู่ในระดับมากทุกข้อ โดยเรียงตามลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยดังนี้
1. การบริการจัดหาวัสดุเพื่อนำไปสร้างสื่อการเรียนการสอน
2. การสำรวจความต้องการใช้วัสดุ/อุปกรณ์ในการสร้างสื่อการเรียน
3. จัดอบรมการสร้างสื่อการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยี และนวัตกรรมใหม่ ๆ เช่น
คอมพิวเตอร์ วีดีโอ ฯ
4. แนะนำและให้คำปรึกษา ในการผลิตสื่อการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับกิจกรรมการ
เรียนการสอนตามแผนการสอน
5. ส่งเสริมให้ครูมีการจัดหาหรือจัดสร้างสื่อด้วยตนเองเพื่อใช้ในการเรียนการสอนทุกราย
วิชา
6. มีการแนะนำหนังสือ วารสารทางวิชาการ และเทคโนโลยีใหม่ เพื่อเป็นการเผยแพร่
ความรู้
7. ให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้วัสดุ/อุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์ในวิชาช่างอุตสาหกรรม
8. ติดตามและประเมินผลการใช้สื่อการเรียนการสอนของครูผู้สอน
9. แนะนำให้ใช้ห้องสมุดเป็นสื่อในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
10. จัดให้มีโครงการแลกเปลี่ยน ยืมสื่อ วัสดุอุปกรณ์การสอนระหว่างสถานศึกษา
73
ตารางที่ 8 แสดงค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ของสภาพและความต้องการการนิเทศภายใน ด้าน
วิชาการ ในวิทยาลัยเทคนิค ของสถาบันอาชีวศึกษาภาคกลาง 6 ด้านการพัฒนาบุคลากร
ที่ การนเิ ทศภายใน สภาพของการนิเทศ ความต้องการการนิเทศ
ด้านการพัฒนาบุคลากร ℵ ∅ ระดับ ℵ ∅ ระดับ
1. ส่งเสริมครูช่างอุตสาหกรรมใน
การศึกษาต่อ
2.89 1.21 ปานกลาง 4.31 0.85 มาก
2. จัดสำรวจความต้องการของครูใน
การเข้ารับการอบรม เพื่อพัฒนา
เกี่ยวกับกลุ่มประสบการณ์วิชาชีพ
ในรายวิชาชีพเฉพาะสาขาวิชา
2.99 1.13 ปานกลาง 4.33 0.78 มาก
3. ส่งเสริมครูช่างอุตสาหกรรมใน
การฝึกอบรม หรือการประชุมเชิง
ปฏิบัติการ และดูงานนอกสถานที่
2.83 1.23 ปานกลาง 4.34 0.83 มาก
4. การส่งครูผู้สอนไปฝึกงาน/อบรม
ในสถานประกอบการ เพื่อนำ
ความรู้ และทักษะที่ได้รับมา
พัฒนาการเรียนการสอน
2.62 1.12 ปานกลาง 4.28 0.83 มาก
5. ส่งเสริมครูช่างอุตสาหกรรมให้มี
ส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชน
2.90 1.00 ปานกลาง 3.92 0.87 มาก
6. ส่งเสริมให้ครูช่างอุตสาหกรรมทำ
การทดลอง การวิจัยเกี่ยวกับงาน
ช่างอุตสาหกรรม
2.62 1.05 ปานกลาง 4.17 0.83 มาก
7. การแนะนำให้จัดทำผลงานทาง
วิชาการเพื่อความก้าวหน้าใน
อาชีพครู
2.81 1.09 ปานกลาง 4.19 0.90 มาก
8. ส่งเสริมผลงานของครูช่างอุตสาห
กรรมโดยการเผยแพร่ผลงานแก่
บุคคลทั่วไป
2.75 1.07 ปานกลาง 4.12 0.87 มาก
74
ที่ การนเิ ทศภายใน สภาพของการนิเทศ ความต้องการการนิเทศ
ด้านการพัฒนาบุคลากร ℵ ∅ ระดับ ℵ ∅ ระดับ
9. จัดให้มีการโยกย้าย/สับเปลี่ยน
หน้าที่เพื่อเป็นการเพิ่มประสบ
การณ์ในการทำงาน
2.54 1.08 ปานกลาง 3.76 1.05 มาก
10. การแนะนำให้นำความรู้ที่ได้จาก
การประชุม/อบรมมา เผยแพร่แก่
ครูในวิทยาลัยอย่างสม่ำเสมอ
2.67 1.10 ปานกลาง 4.06 0.92 มาก
11. การแนะนำให้นำความรู้ที่ได้จาก
การประชุมอบรมมาใช้เป็นข้อมูล
ปรับปรุงและพัฒนาการเรียนการ
สอน
2.75 1.08 ปานกลาง 4.10 0.88 มาก
12. ติดตามและประเมินผลการพัฒนา
ของครูช่างอุตสาหกรรม
2.70 1.04 ปานกลาง 3.95 0.92 มาก
รวม 2.76 1.10 ปานกลาง 4.13 0.88 มาก
จากตารางที่ 8 แสดงให้เห็นว่าเมื่อพิจารณาโดยภาพรวมพบว่า สภาพของการนิเทศภายใน
ด้านการพัฒนาบุคลากร อยู่ในระดับปานกลาง (ℵ = 2.76, ∅ = 1.10) ส่วนความต้องการการนิเทศ
ภายใน ด้านการพัฒนาบุคลากร อยู่ในระดับมาก (ℵ = 4.13, ∅ = 0.88)
เมื่อพิจารณาสภาพของการนิเทศภายใน ด้านการพัฒนาบุคลากร เป็นรายข้อพบว่าอยู่ใน
ระดับปานกลางทั้งหมดทุกข้อ โดยเรียงตามลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยดังนี้
1. จัดสำรวจความต้องการของครูในการเข้ารับการอบรม เพื่อพัฒนาเกี่ยวกับกลุ่มประสบ
การณ์วิชาชีพในรายวิชาชีพเฉพาะสาขาวิชา
2. ส่งเสริมครูช่างอุตสาหกรรมให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชน
3. ส่งเสริมครูช่างอุตสาหกรรมในการศึกษาต่อ
4. ส่งเสริมครูช่างอุตสาหกรรมในการฝึกอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการ และดูงาน
นอกสถานที่
5. การแนะนำให้จัดทำผลงานทางวิชาการเพื่อความก้าวหน้าในอาชีพครู
ตารางที่ 8 (ต่อ)
75
6. ส่งเสริมผลงานของครูช่างอุตสาหกรรมโดยการเผยแพร่ผลงานแก่บุคคลทั่วไป
7. การแนะนำให้นำความรู้ที่ได้จากการประชุมอบรมมาใช้เป็นข้อมูลปรับปรุงและ
พัฒนาการเรียนการสอน
8. ติดตามและประเมินผลการพัฒนาของครูช่างอุตสาหกรรม
9. การแนะนำให้นำความรู้ที่ได้จากการประชุม/อบรมมา เผยแพร่แก่ครูในวิทยาลัยอย่าง
สม่ำเสมอ
10. การส่งครูผู้สอนไปฝึกงาน/อบรม ในสถานประกอบการ เพื่อนำความรู้ และทักษะที่ได้
รับมาพัฒนาการเรียนการสอน
11. ส่งเสริมให้ครูช่างอุตสาหกรรมทำการทดลอง การวิจัยเกี่ยวกับงานช่างอุตสาหกรรม
12. จัดให้มีการโยกย้าย/สับเปลี่ยนหน้าที่เพื่อเป็นการเพิ่มประสบการณ์ในการทำงาน
ส่วนความต้องการการนิเทศภายใน ด้านการพัฒนาบุคลากร เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า
อยู่ในระดับมากทุกข้อโดยเรียงตามลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยดังนี้
1. ส่งเสริมครูช่างอุตสาหกรรมในการฝึกอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการ และดูงาน
นอกสถานที่
2. จัดสำรวจความต้องการของครูในการเข้ารับการอบรม เพื่อพัฒนาเกี่ยวกับกลุ่มประสบ
การณ์วิชาชีพในรายวิชาชีพเฉพาะสาขาวิชา
3. ส่งเสริมครูช่างอุตสาหกรรมในการศึกษาต่อ
4. การส่งครูผู้สอนไปฝึกงาน/อบรม ในสถานประกอบการ เพื่อนำความรู้ และทักษะที่ได้
รับมาพัฒนาการเรียนการสอน
5. การแนะนำให้จัดทำผลงานทางวิชาการเพื่อความก้าวหน้าในอาชีพครู
6. ส่งเสริมให้ครูช่างอุตสาหกรรมทำการทดลอง การวิจัยเกี่ยวกับงานช่างอุตสาหกรรม
7. ส่งเสริมผลงานของครูช่างอุตสาหกรรมโดยการเผยแพร่ผลงานแก่บุคคลทั่วไป
8. การแนะนำให้นำความรู้ที่ได้จากการประชุมอบรมมาใช้เป็นข้อมูลปรับปรุงและ
พัฒนาการเรียนการสอน
9. การแนะนำให้นำความรู้ที่ได้จากการประชุม/อบรมมา เผยแพร่แก่ครูในวิทยาลัยอย่าง
สม่ำเสมอ
10. ติดตามและประเมินผลการพัฒนาของครูช่างอุตสาหกรรม
11. ส่งเสริมครูช่างอุตสาหกรรมให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชน
12. จัดให้มีการโยกย้าย/สับเปลี่ยนหน้าที่เพื่อเป็นการเพิ่มประสบการณ์ในการทำงาน
76
ตารางที่ 9 แสดงค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ของสภาพและความต้องการการนิเทศภายใน ด้าน
วิชาการ ในวิทยาลัยเทคนิค ของสถาบันอาชีวศึกษาภาคกลาง 6 ด้านการวัดและประเมินผล
ที่ การนเิ ทศภายใน สภาพของการนิเทศ ความต้องการการนิเทศ
ด้านการวัดและประเมินผล ℵ ∅ ระดับ ℵ ∅ ระดับ
1. มีการกำหนดปฏิทินปฏิบัติงาน
การวัดผลตลอดภาคเรียนและแจ้ง
ให้ครูผู้สอนทราบ
3.30 1.01 ปานกลาง 4.00 0.86 มาก
2. ชี้แจง และแนะนำเกี่ยวกับการ
ปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการวัด
ผลและประเมินผลการเรียนของ
กรมอาชีวศึกษา
3.25 1.08 ปานกลาง 4.04 0.83 มาก
3. จัดทำเอกสาร ข่าวสาร ที่เป็น
ความรู้เกี่ยวกับการวัดผลและ
ประเมินผลเพื่อเผยแพร่แก่ครูผู้
สอน
3.03 1.13 ปานกลาง 4.04 0.84 มาก
4. การแนะนำการประเมินผลก่อน
เรียน ระหว่างเรียน และหลังจบ
บทเรียน
3.08 1.12 ปานกลาง 4.06 0.85 มาก
5. การแนะนำวิธีการสร้างเครื่องมือ
วัดผลทั้งรายวิชาในภาคทฤษฎี
และรายวิชาในภาคปฏิบัติ
2.88 1.02 ปานกลาง 4.01 0.83 มาก
6. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ สร้าง
เครื่องมือวัดจุดประสงค์การเรียน
รู้
2.80 1.11 ปานกลาง 4.08 0.86 มาก
7. จัดให้มีการวิเคราะห์ข้อสอบ และ
จัดทำข้อสอบมาตรฐาน
2.69 1.15 ปานกลาง 4.13 0.90 มาก
8. จัดหาวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ ที่จำ
เป็นในการประเมินผล
2.76 1.13 ปานกลาง 4.16 0.84 มาก
77
ที่ การนเิ ทศภายใน สภาพของการนิเทศ ความต้องการการนิเทศ
ด้านการวัดและประเมินผล ℵ ∅ ระดับ ℵ ∅ ระดับ
9. ติดตามและประเมินผลการวัดผล
และประเมินผลการเรียนการสอน
ของครูผู้สอนอย่างต่อเนื่อง
2.82 1.10 ปานกลาง 4.07 0.86 มาก
รวม 2.96 1.09 ปานกลาง 4.06 0.85 มาก
จากตารางที่ 9 แสดงให้เห็นว่าเมื่อพิจารณาโดยภาพรวมพบว่า สภาพของการนิเทศภายใน
ด้านการวัดและประเมินผล อยู่ในระดับปานกลาง (ℵ = 2.96, ∅ = 1.09) ส่วนความต้องการการนิเทศ
ภายใน ด้านการวัดและประเมินผล อยู่ในระดับมาก (ℵ = 4.06, ∅ = 0.85)
เมื่อพิจารณาสภาพของการนิเทศภายใน ด้านการวัดและประเมินผล เป็นรายข้อพบว่าอยู่ใน
ระดับปานกลางทั้งหมดทุกข้อ โดยเรียงตามลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยดังนี้
1. มีการกำหนดปฏิทินปฏิบัติงานการวัดผลตลอดภาคเรียนและแจ้งให้ครูผู้สอนทราบ
2. ชี้แจง และแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการวัดผลและประเมินผล
การเรียนของกรมอาชีวศึกษา
3. การแนะนำการประเมินผลก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังจบบทเรียน
4. จัดทำเอกสาร ข่าวสาร ที่เป็นความรู้เกี่ยวกับการวัดผลและประเมินผลเพื่อเผยแพร่แก่ครู
ผู้สอน
5. การแนะนำวิธีการสร้างเครื่องมือวัดผลทั้งรายวิชาในภาคทฤษฎี และรายวิชาในภาค
ปฏิบัติ
6. ติดตามและประเมินผลการวัดผลและประเมินผลการเรียนการสอนของครูผู้สอนอย่าง
ต่อเนื่อง
7. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ สร้างเครื่องมือวัดจุดประสงค์การเรียนรู้
8. จัดหาวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ ที่จำเป็นในการประเมินผล
9. จัดให้มีการวิเคราะห์ข้อสอบ และจัดทำข้อสอบมาตรฐาน
ตารางที่ 9 (ต่อ)
78
ส่วนความต้องการการนิเทศภายใน ด้านการวัดและประเมินผล เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า
อยู่ในระดับมากทุกข้อ โดยเรียงตามลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยดังนี้
1. จัดหาวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ ที่จำเป็นในการประเมินผล
2. จัดให้มีการวิเคราะห์ข้อสอบ และจัดทำข้อสอบมาตรฐาน
3. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ สร้างเครื่องมือวัดจุดประสงค์การเรียนรู้
4. ติดตามและประเมินผลการวัดผลและประเมินผลการเรียนการสอนของครูผู้สอนอย่างต่อ
เนื่อง
5. การแนะนำการประเมินผลก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังจบบทเรียน
6. ชี้แจง และแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการวัดผลและประเมิน
ผลการเรียนของกรมอาชีวศึกษา
7. จัดทำเอกสาร ข่าวสาร ที่เป็นความรู้เกี่ยวกับการวัดผลและประเมินผลเพื่อเผยแพร่แก่ครู
ผู้สอน
8. การแนะนำวิธีการสร้างเครื่องมือวัดผลทั้งรายวิชาในภาคทฤษฎี และรายวิชาในภาค
ปฏิบัติ
9. มีการกำหนดปฏิทินปฏิบัติงานการวัดผลตลอดภาคเรียนและแจ้งให้ครูผู้สอนทราบ
79
ตอนที่ 3 ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่าง ๆ เกี่ยวกับสภาพและความต้องการการนิเทศภายในด้าน
วิชาการของครู ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม
ก า ร นิ เ ท ศ ง า น วิ ช า ก า ร เ ป็ น ภ า ร กิ จ
อ ย่ า ง ห นึ่ ง ข อ ง ผู้ บ ริ ห า ร โ ร ง เ รี ย น ใ น ก า ร
ที่ จ ะ พัฒ น า แ ล ะ ส่ ง เ ส ริ ม ใ ห้ก า ร จั ด ก า ร
เ รี ย น ก า ร ส อนมีป ร ะ สิท ธิ ภ า พ ทั้ ง นี้
เ พ ร า ะ ผู้ บ ริ ห า ร โ ร ง เ รี ย น อ ยู่ ใ ก ล้ ชิ ด
กั บ ค รู แ ล ะ นั ก เ รี ย น ย่ อ ม เ ข้ า ใ จ ส ภ า พแ ล ะ
ส า เ หตุ ข อ ง ปัญ ห า ไ ด้ ดี ก ว่ า บุ ค ค ล ภ า ย นอ ก
แ ต่ เ มื่ อ นํ า ไ ป ป ฏิ บั ติ แ ล้ ว ป ร า ก ฏ ว่ า ยั ง
มี ปั ญ ห า อุ ป ส ร ร ค อ ยู่ ม า ก จ า ก ก า ร ไ ด้ รั บ
ก า ร นิ เ ท ศ ภ า ย ใ น ดั ง นั้ น ค รู จึ ง ต้ อ ง ก า ร
ที่ จ ะ ไ ด้ รั บ ค ว า ม ช่ ว ย เ ห ลื อ แ ล ะ แ ก้ ไ ข ใ น
ด้ า น ต่ า ง ๆ ดังนี้
ตารางที่ 10 แสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับสภาพและความต้องการการนิเทศภายใน
ข้อเสนอแนะ ความถี่
ด้านหลักสูตร
1. ปัจจุบัน หลักสูตรไม่สอดคล้องกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยี 17
2. ควรมีการปรับปรุงเนื้อหารายวิชาให้มีความสอดคล้องกับกระบวนการผลิตใน
โรงงานอุตสาหกรรมให้มากขึ้น
9
3. ควรปรับหลักสูตรให้เหมาะสมกับสภาพการทำงานจริง ๆ ในแต่ละสาขาวิชา 15
4. ควรปรับหลักสูตรให้สอดคล้องกับสภาพในปัจจุบันและอนาคต ไม่ควรปรับ
เปลี่ยนเร็วจนเกินไป บางหลักสูตรไม่เอื้ออำนวย หรือไม่สอดคล้องกับการ
ศึกษาต่อ และน่าจะจัดหลักสูตรให้ใกล้เคียงกับสถาบันต่าง ๆ
21
5. ควรปรับให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ. การศึกษา 2542 และควรมีเครือข่าย ที่ช่วยกัน
ทำหลักสูตรเพื่อความเป็นมาตรฐาน
6
6. หลักสูตรควรปรับให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ และมีความยืดหยุ่น 13
7. ต้องการให้ปรับปรุงหลักสูตร คู่มือการเรียนการสอนใบงาน และเอกสาร
ประกอบการสอนให้มีความทันสมัย
16
80
8. มีการประชุมชี้แจง แก่ครูผู้สอนก่อนเปิดภาคเรียน 8
9. จัดหลักสูตร เพื่อพัฒนา ด้านทักษะ ความรู้ ความสามารถ ความคิดรวบยอด 5
10. ควรมีการศึกษาวิจัยหลักสูตรก่อนจัดทำ และไม่ควรเปลี่ยนหลักสูตรบ่อย ๆ 13
11. เนื้อหาวิชาค่อนข้างมาก ทำให้สอนไม่ทัน 7
12. ควรมีผู้ชำนาญจริง ๆ มาช่วยในการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่น 4
13. จัดทำคู่มือ หลักสูตร และแผนการเรียน เป็นรูปเล่มและเป็นระบบ 8
ข้อเสนอแนะ ความถี่
14. หลักสูตรควรมีความยืดหยุ่น หลากหลาย และเลือกให้เหมาะสมกับท้องถิ่น
และความต้องการของชุมชน
12
15. ควรจัดหลักสูตรให้มีความสอดคล้องกับทรัพยากรที่มี 18
16. ควรอ้างอิงหลักสูตรของกรมอื่นบ้าง เช่น หลักสูตรของ ราชมงคล หรือ หลัก
สูตรของพระจอมเกล้า
5
17. รายวิชามีการแยกออกมากเกินไป ทำให้มีความซ้ำซ้อนกัน 8
18. ควรมีการนิเทศหลักสูตร เป็นระยะและต่อเนื่อง ตลอดภาคเรียน 6
ด้านการเรียนการสอน
19. ควรเร่งรัดจัดการอบรมเสริมความรู้ให้แก่บุคลากร และแนะแนวทางการสอน
เพื่อให้ทันเทคโนโลยี
10
20. การเรียนในบางวิชาไม่มีเอกสารประกอบ หาหนังสือไม่ได้ เพราะการจัดทำ
แผนการเรียนบางครั้งไม่ตรงกับหลักสูตร และเนื้อหาบางวิชามีการซ้ำซ้อนกัน
ควรมีการจัดทำแผนการเรียนให้เหมือนกันทุกสถาบัน
6
21. ควนเน้นด้านกระบวนการสอน โดยการจัดการเรียนการสอน ที่พิจารณาผู้สอน
เป็นสำคัญ เช่น ผู้สอนต้องมีการพัฒนาผู้สอนอย่างต่อเนื่อง และการสร้าง
บรรยากาศ การจูงใจต่อผู้เรียน
7
22. เสนอให้มีการเรียนในสถานประกอบการจริง เพื่อเพิ่มความเข้าใจในบทเรียน
ให้มากยิ่งขึ้น
8
23. กิจกรรมการเรียนการสอนไม่จำเป็นต้องอยู่ในห้องเรียนเสมอไป 5
24. อัตราส่วนระหว่าง ครู-นักเรียน ควรมีความเหมาะสม และชั่วโมงสอนของครู
ควรปรับให้มีความเหมาะสม
13
25. ควรมีคณะกรรมการ ด้านการจัดการเรียนการสอน เพื่อกำหนดวิธีการเรียนการ 3
ตารางที่ 10 (ต่อ)
81
สอนไปแนวทางเดียวกัน
26. ควรใช้วิธีการสอนที่เน้นทักษะ กระบวนการ เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้
ความเข้าใจที่แท้จริง
15
27. ส่งเสริมให้ครูจัดทำแผนการสอน ภาคเรียนละ 1 วิชา 5
28. จัดการเรียนการสอนให้มีความหลากหลาย เพื่อให้ครูมีทักษะในหลาย ๆ ด้าน 11
.
ข้อเสนอแนะ ความถี่
29. ควรมีทีมงานหรือคณะกรรมการของวิทยาลัย เพื่อทำหน้าที่นิเทศ และคอย
กำกับติดตามดูแล
8
30. จัดครูให้สอนตรงตามความถนัด 11
31. ควรจัดให้นักศึกษามีโอกาสดูงานนอกสถานศึกษา 7
32. ควรปรับลดเวลาเรียน / ชั่วโมง ลง 6
33. จัดให้บุคลากรมีการออกไปศึกษาดูงาน สถานศึกษาที่มีการจัดการเรียน ที่มี
คุณภาพ
5
34. ขาดเอกสารอ้างอิง เช่น คู่มือ ตำรา เครื่องมือ เครื่องจักรชำรุดไม่เพียงพอ 12
35. จัดให้มีการพัฒนารูปแบบ และวิธีการสอน ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง
ทางเทคโนโลยี
17
36. เผยแพร่วิธีการสอน หรือเทคนิคการสอนของครูต้นแบบ หรือครูตัวอย่างให้ครู
ได้ศึกษาหาความรู้
5
37. ผู้บริหารควรติดตามดูแลอย่างจริงจัง และต่อเนื่องอีกทั้งต้องมีรายการติดตาม
และประเมินผลที่เป็นแบบแผนแน่นอน
6
38. จัดวิทยากร / ผู้เชียวชาญสาธิตวิธีการสอน เทคนิควิธีการสอน แบบใหม่ ๆ 10
ด้านสื่อการเรียนการสอน
39. ควรมีหน่วยงานรับผิดชอบทำสื่อการเรียนการสอนโดยเฉพาะเพื่อให้มีมาตร
ฐานเท่าเทียมกัน
5
40. ควรมีสื่อให้เพียงพอ (ทุกห้องเรียน) 21
41. ควรมีเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ ทุกห้องเรียน และสามารถเบิกวัสดุที่ใช้ทำสื่อ
เช่น แผ่นใส, ปากกาเขียนแผ่นใส, รวมทั้งมีเครื่องขยายเสียงที่ช่วยในการสอน
ด้วย
11
ตารางที่ 10 (ต่อ)
82
42. ควรให้มีการพัฒนาความรู้ให้ตรงกับวิชาที่สอน อย่างต่อเนื่อง และพัฒนาไปสู่
ความเป็นมาตรฐานการศึกษา
5
43. สื่อควรมีความทันสมัย เช่นการใช้บทเรียน คอมพิวเตอร์ 13
44. ควรจัดพื้นที่ในการเรียนการสอนให้ชัดเจน และจัดทำสื่อโมเดล และอื่น ๆ ที่
เกี่ยวข้องไว้ในพื้นที่เดียวกัน
5
ข้อเสนอแนะ ความถี่
45. ควรมีหน่วยงานกลางที่รับผิดชอบ เพื่อวิจัย พัฒนา สร้างและเผยแพร่สื่อการ
เรียนการสอน ไม่ควรให้ครูซึ่งมีชั่งโมงสอนมากมาทำการพัฒนาสื่อ
5
46. จัดอบรมการสร้างสื่อการเรียนการสอน โดยใช้เทคโนโลยี และนวัฒกรรม
ใหม่ ๆ
17
47. สนับสนุนด้านงบประมาณในการสร้างสื่อ และจัดอบรมการสร้างสื่อ 16
48. ควรส่งเสริมให้ครูทำสื่อเอง และจัดฝึกอบรมการผลิตสื่อก่อนเปิดภาคเรียน 9
49. ควรมีการจัดตั้งศูนย์ สื่อการเรียนการสอนที่สามารถเบิกสื่อไปใช้ได้ 6
50. ควรมีสื่อที่เน้นของจริง เช่น โมเดล 8
ด้านการพัฒนาบุคลากร
51. มีการเปิดอบรมอย่างต่อเนื่อง 15
52. ควรมีการพัฒนาแบบยังยืน ไม่ควรพัฒนาแบบเป็นช่วง ๆ 11
53. ควรจัดให้มีศึกษาต่อ และอบรมเกี่ยวกับวิชาการด้านการเรียนการสอนทั้งทาง
ด้านทฤษฏีและปฏิบัติ
12
54. ส่งครูผู้สอนไปอบรมในรายวิชาที่สอนอย่างต่อเนื่อง และพยายามส่งเสริมให้
ครูไปศึกษาต่อ
18
55. ควรมีการอบรมการใช้ Computer และการใช้ Internet และให้ครูสามารถสร้าง
บทเรียนคอมพิวเตอร์ได้
15
56. ควรจัดชั่วโมงสอน / สัปดาห์ ให้เหมาะสมเพื่อให้ครูสามารถแบ่งเวลาเพื่อค้น
คว้า และการออกนอกสถานที่ควรแก้ไขให้มีความคล่องตัว
14
57. จัดฝึกอบรมหรือประชุมเชิงปฏิบัติการ และดูงานนอกสถานที่ 16
58. ควรส่ง บุคลากร เข้าฝึกงานในสถานประกอบการ 6
59. ควรมีการประเมินความสามารถของครูผู้สอนในสาขาวิชาที่ตนเองสอน 4
ตารางที่ 10 (ต่อ)
83
60. ควรพัฒนาผู้บริหารทางด้านวิชาการ 8
61. ส่งเสริมให้ครูศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น และควรปรับปรุงด้านค่าใช้จ่ายในการ
ศึกษา
14
62. จัดหาทุนการศึกษาให้แก่ ครู ที่ต้องการศึกษาต่อ เพราะกรมอาชีวศึกษา ขาด
แคลนนักวิชาการ
6
ข้อเสนอแนะ ความถี่
63. มีการประเมินคุณภาพครูผู้สอน อย่างเคร่งครัด 8
64. มีการอบรมเกี่ยวกับเทคโนโลยี สมัยใหม่ที่ใช้ในการเรียนการสอน 14
65. ส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนบุคลากร 6
ด้านการวัดและประเมินผล
66. มีการอบรบเรื่องการวิเคราะห์ข้อสอบ และจัดทำข้อสอบมาตรฐานให้มากขึ้น 11
67. ควรจัดให้มีการวัดผลและประเมินผลให้มีมาตรฐานเดียวกัน ทั้งด้านทฤษฏี
และ ปฏิบัติ และให้มีความชัดเจนมากขึ้น
17
68. เน้นการประเมิน ตามสภาพจริง ให้ตรงจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ และสร้างความเข้า
ใจและความชัดเจนของการประเมินให้แก่ผู้ประเมิน
18
69. ควรกำหนดมาตรฐาน วิธีการวัดผลที่ชัดเจน ไม่ควรเปลี่ยนไปมา ทำให้เกิด
ความสับสน
15
70. ควรมีแบบทดสอบมาตรฐาน เพื่อประเมินในแต่ละสาขาวิชา และนำผลมา
ประเมินประสิทธิภาพ
8
71. ควรมีระบบการ Retry 12
72. ควรมีการจัดทำคู่มือให้เป็นแนวทางปฏิบัติเดียวกัน 7
73. จัดให้มีการวิเคราะห์ข้อสอบ 10
จากตารางที่ 10 แสดงให้เห็นว่า ครูประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม ในวิทยาลัยเทคนิค ของ
สถาบันอาชีวศึกษาภาคกลาง 6 มีข้อเสนอแนะในแต่ละด้าน มากที่สุดดังนี้ 1) ด้านหลักสูตร คือ ควร
ปรับหลักสูตรให้สอดคล้องกับสภาพในปัจจุบันและอนาคต ไม่ควรปรับเปลี่ยนเร็วจนเกินไป บาง
หลักสูตรไม่เอื้ออำนวย หรือไม่สอดคล้องกับการศึกษาต่อ และน่าจะจัดหลักสูตรให้ใกล้เคียงกับ
สถาบันต่าง ๆ 2) ด้านการเรียนการสอน คือ จัดให้มีการพัฒนารูปแบบ และวิธีการสอน ให้สอดคล้อง
กับการเปลี่ยนแปลง ทางเทคโนโลยี 3) ด้านสื่อการเรียนการสอน คือ ควรใช้วิธีการสอนที่เน้นทักษะ
กระบวนการ เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ ความเข้าใจที่แท้จริง 4) ด้านการพัฒนาบุคลากร คือ ส่งครู
ตารางที่ 10 (ต่อ)
84
ผู้สอนไปอบรมในรายวิชาที่สอนอย่างต่อเนื่อง และพยายามส่งเสริมให้ครูไปศึกษาต่อ 5) ด้านการวัด
และประเมินผล คือ เน้นการประเมิน ตามสภาพจริง ให้ตรงจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ และสร้างความเข้าใจ
และความชัดเจนของการประเมินให้แก่ผู้ประเมิน
บทที่ 5
สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาสภาพและความต้องการการนิเทศภายในด้านวิชาการของครูประเภท
วิชาช่างอุตสาหกรรม ในวิทยาลัยเทคนิค ของสถาบันอาชีวศึกษาภาคกลาง 6 รวมทั้งหมด 5 ด้านคือ
ด้านหลักสูตร ด้านการเรียนการสอน ด้านสื่อการเรียนการสอน ด้านการพัฒนาบุคลากร และ
ด้านการวัดและประเมินผล ผู้วิจัยสรุปผลการวิจัย ตามลำดับหัวข้อดังนี้
1. วัตถุประสงค์ของการวิจัย
2. ประชากรที่ใช้ในการวิจัย
3. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
4. การเก็บรวบรวมข้อมูล
5. การวิเคราะห์ข้อมูล
6. สรุปผลการวิจัย
7. อภิปรายผลการวิจัย
8. ข้อเสนอแนะจากการวิจัย
9. ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยต่อไป
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาสภาพการนิเทศภายในด้านวิชาการ ของครูประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม
ในวิทยาลัยเทคนิค ของสถาบันอาชีวศึกษาภาคกลาง 6
2. เพื่อศึกษาความต้องการการนิเทศภายในด้านวิชาการ ของครู ประเภทวิชาช่าง
อุตสาหกรรม ในวิทยาลัยเทคนิค ของสถาบันอาชีวศึกษาภาคกลาง 6
ประชากรที่ใช้ในการวิจัย
ได้แก่ ครูผู้สอนในวิทยาลัยเทคนิค ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม ของสถาบันอาชีวศึกษา
ภาคกลาง 6 รวม 3 วิทยาลัย คือ วิทยาลัยเทคนิคสมุทรสาคร วิทยาลัยเทคนิคสมุทรสงคราม
และวิทยาลัยเทคนิคนครปฐม จำนวน 189 คน
85
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
เพื่อศึกษาความคิดเห็นของครูผู้สอน เกี่ยวกับสภาพ และความต้องการการนิเทศภายในด้านวิชาการ
ของครู ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม ในวิทยาลัยเทคนิค ของสถาบันอาชีวศึกษาภาคกลาง 6 โดย
แบ่งออกเป็น 3 ตอน คือ
ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับ สถานภาพและข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
ได้แก ่ เพศ อายุ วุฒิการศึกษา วุฒิทางวิชาชีพคร ู ประสบการณ์การสอน จาํ นวน 5 ข้อ โดยเป็นแบบ
เลือกตอบ
ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับ ระดับการนิเทศที่ปฏิบัติ และระดับการนิเทศที่ต้องการ
ในด้านวิชาการ จำนวน 52 ข้อ โดยเป็นแบบมาตรประมาณค่า
ตอนที่ 3 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่าง ๆ เกี่ยวกับสภาพและ
ความต้องการการนิเทศภายในด้านวิชาการของครู ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม ที่ต้องการจะเพิ่มเติม
ในแต่ละด้าน มีลักษณะเป็นคำถามปลายเปิด
การเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้
1. ขอหนังสือจากบัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ถึงอธิบดีกรม
อาชีวศึกษา เพื่อขอความอนุเคราะห์ในการแจกแบบสอบถาม และเก็บข้อมูลในการทำวิทยานิพนธ์
2. ขอหนังสืออนุญาตจาก อธิบดีกรมอาชีวศึกษา ไปถึง ผู้อำนวยการของวิทยาลัยเทคนิคที่อยู่
ในสถาบันอาชีวศึกษาภาคกลาง 6 ทั้ง 3 วิทยาลัย เพื่อขออนุญาตและขอความร่วมมือในการตอบแบบ
สอบถาม และการเก็บรวบรวมข้อมูล
3. นำแบบสอบถามฉบับสมบูรณ์ที่ได้รับอนุญาตจาก กรมอาชีวศึกษาและผ่านการตรวจ
สอบคุณภาพแล้ว จำนวน 189 ฉบับ ส่งไปยังกลุ่มประชากร คือครูที่สอนประเภทวิชาช่าง
อุตสาหกรรม ในวิทยาลัยเทคนิค ของสถาบันอาชีวศึกษาภาคกลาง 6 คือ วิทยาลัยเทคนิคสมุทรสาคร
วิทยาลัยเทคนิคสมุทรสงคราม และวิทยาลัยเทคนิคนครปฐม ซึ่งผู้วิจัยเดินทางไปเก็บรวบรวมข้อมูล
ด้วยตัวเอง โดยได้รับแบบสอบถามกลับคืนมาทั้งสิ้น 189 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100 ของประชากร
4. นำแบบสอบถามที่ได้รับคืนมาตรวจสอบความสมบูรณ์ก่อนนำไปวิเคราะห์ข้อมูลตาม
ขั้นตอนทางสถิติต่อไป
86
การวิเคราะห์ข้อมูล
ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยจะทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยนำแบบสอบถามจากประชากรที่ได้รับ
กลับคืนมาทั้งหมด มาวิเคราะห์แบบสอบถามแต่ละตอน ดังนี้
1. วิเคราะห์สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม โดยการแจกแจงความถี่ (Frequency) และ
หาค่าร้อยละ (Percentage)
2. วิเคราะห์สภาพการนิเทศภายในด้านวิชาการของคร ู ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม
ในวิทยาลัยเทคนิค ของสถาบันอาชีวศึกษาภาคกลาง 6 โดยการหาค่าเฉลี่ย (ℵ) และส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน (∅)
3. วิเคราะห์ความต้องการการนิเทศภายในด้านวิชาการของครู ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม
ในวิทยาลัยเทคนิค ของสถาบันอาชีวศึกษาภาคกลาง 6 โดยการหาค่าเฉลี่ย (ℵ) และส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน (∅)
สรุปผลการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาสภาพและความต้องการการนิเทศภายในด้านวิชาการของครูประเภท
วิชาช่างอุตสาหกรรม ในวิทยาลัยเทคนิค ของสถาบันอาชีวศึกษาภาคกลาง 6 รวมทั้งหมด 5 ด้านคือ
ด้านหลักสูตร ด้านการเรียนการสอน ด้านสื่อการเรียนการสอน ด้านการพัฒนาบุคลากร และด้านการ
วัดและประเมินผล ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. สภาพการนิเทศภายในด้านหลักสูตร ของครูประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม พบว่า อยู่ใน
ระดับปานกลางทั้งหมดทุกข้อ และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ในข้อของการแนะนำให้ครูผู้สอน
วิเคราะห์หลักสูตรก่อนทำการสอนเพื่อให้ทราบจุดมุ่งหมาย และแนวทางในการปฏิบัติ มีการปฏิบัติ
มากกว่า ในข้ออื่น ๆ และในข้อ จัดประชุมกรรมการของวิทยาลัย เพื่อติดตามและประเมินผลการใช้
หลักสูตรอย่างต่อเนื่อง มีการปฏิบัติน้อยกว่าข้ออื่น ๆ
ส่วนความต้องการการนิเทศภายในด้านวิชาการ ด้านหลักสูตร ของครูประเภทวิชาช่าง
อุตสาหกรรมพบว่า อยู่ในระดับมากทุกข้อ และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ในข้อ จัดการสัมมนา/
อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรให้ตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน มีความ
ต้องการได้รับการนิเทศมากกว่าข้ออื่น ๆ และในข้อ จัดประชุมกรรมการของวิทยาลัย เพื่อติดตามและ
ประเมินผลการใช้หลักสูตรอย่างต่อเนื่อง มีความต้องการได้รับการนิเทศน้อยกว่าข้ออื่น ๆ
เมื่อพิจารณาโดยรวมพบว่า สภาพของการนิเทศภายในด้านวิชาการ ด้านหลักสูตรอยู่ในระดับ
ปานกลาง และมีความต้องการการนิเทศภายใน ด้านหลักสูตรอยู่ในระดับมาก
87
2. สภาพการนิเทศภายใน ด้านการเรียนการสอน ของครูประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม
เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าอยู่ในระดับมากจำนวน 1 ข้อได้แก่ การส่งเสริมให้ครูผู้สอนจัดทำโครง
การสอน/แผนการสอน และบันทึกการสอน และเป็นข้อที่มีการปฏิบัติมากกว่า ข้ออื่น ๆ ส่วนข้ออื่นที่
เหลืออยู่ในระดับปานกลาง และข้อ จัดให้มีการเข้าเยี่ยมชั้นเรียนและแนะนำเทคนิคการสอนเป็น
รายบุคคล มีการปฏิบัติน้อยกว่าข้ออื่น ๆ
ส่วนความต้องการการนิเทศภายในด้านวิชาการ ด้านการเรียนการสอน พบว่า อยู่ในระดับ
มากทุกข้อ และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ในข้อ จัดหาวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ และเครื่องจักรที่
จำเป็นต้องใช้ในการเรียนการสอน มีความต้องการได้รับการนิเทศมากกว่าข้ออื่น ๆ และในข้อ ได้รับ
การแนะนำให้จัดทำแฟ้มข้อมูลประจำตัวนักเรียนเป็นรายบุคคล เพื่อประโยชน์ในการจัดกิจกรรม
การเรียนการสอน มีความต้องการได้รับการนิเทศน้อยกว่าข้ออื่น ๆ
เมื่อพิจารณาโดยรวม พบว่าสภาพของการนิเทศภายในด้านวิชาการ ด้านการเรียนการสอน
อยู่ในระดับปานกลาง และมีความต้องการการนิเทศภายใน ด้านการเรียนการสอนอยู่ในระดับมาก
3. สภาพการนิเทศภายในด้านสื่อการเรียนการสอน พบว่าอยู่ในระดับน้อยจำนวน 1 ข้อได้
แก่ จัดให้มีโครงการแลกเปลี่ยน ยืมสื่อ วัสดุอุปกรณ์การสอนระหว่างสถานศึกษา และเป็นข้อที่มี
การปฏิบัติน้อยกว่าข้ออื่น ๆ ส่วนข้ออื่นที่เหลืออยู่ในระดับปานกลาง ทั้งหมดทุกข้อ และเมื่อพิจารณา
เป็นรายข้อพบว่า ข้อที่ การบริการจัดหาวัสดุเพื่อนำไปสร้างสื่อการเรียนการสอน มีการปฏิบัติมากกว่า
ในข้ออื่น ๆ
ส่วนความต้องการการนิเทศภายในด้านวิชาการ ด้านสื่อการเรียนการสอน พบว่า อยู่ในระดับ
มากทุกข้อ และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ในข้อ การบริการจัดหาวัสดุเพื่อนำไปสร้างสื่อการเรียน
การสอน มีความต้องการได้รับการนิเทศมากกว่าข้ออื่น ๆ และในข้อ จัดให้มีโครงการแลกเปลี่ยน ยืม
สื่อ วัสดุอุปกรณ์การสอนระหว่างสถานศึกษา มีความต้องการได้รับการนิเทศน้อยกว่าข้อ อื่น ๆ
เมื่อพิจารณาโดยรวม พบว่า สภาพของการนิเทศภายในด้านวิชาการ ด้านสื่อการเรียนการ
สอน อยู่ในระดับปานกลาง และมีความต้องการการนิเทศภายใน ด้านสื่อการเรียนการสอนอยู่ในระดับ
มาก
4. สภาพการนิเทศภายในด้านการพัฒนาบุคลากร พบว่าอยู่ในระดับปานกลางทั้งหมดทุกข้อ
และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ในข้อ จัดสำรวจความต้องการของครูในการเข้ารับการอบรม เพื่อ
พัฒนาเกี่ยวกับกลุ่มประสบการณ์วิชาชีพในรายวิชาชีพเฉพาะสาขาวิชา มีการปฏิบัติมากกว่า ในข้ออื่น
ๆ และในข้อ จัดให้มีการโยกย้าย/สับเปลี่ยนหน้าที่เพื่อเป็นการเพิ่มประสบการณ์ในการทำงาน มีการ
ปฏิบัติน้อยกว่าข้ออื่น ๆ
88
ส่วนความต้องการการนิเทศภายในด้านวิชาการ ด้านการพัฒนาบุคลากร พบว่า อยู่ในระดับ
มากทุกข้อ และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ในข้อ ส่งเสริมครูช่างอุตสาหกรรมในการฝึกอบรม
หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการ และดูงานนอกสถานที่ มีความต้องการได้รับการนิเทศมากกว่าข้ออื่น ๆ
และในข้อ จัดให้มีการโยกย้าย/สับเปลี่ยนหน้าที่เพื่อเป็นการเพิ่มประสบการณ์ในการทำงาน มีการ
ปฏิบัติน้อยกว่าข้ออื่น ๆ
เมื่อพิจารณาโดยรวม พบว่า สภาพของการนิเทศภายในด้านวิชาการ ด้านการพัฒนาบุคลากร
อยู่ในระดับปานกลาง และมีความต้องการการนิเทศภายใน ด้านการพัฒนาบุคลากร อยู่ในระดับมาก
5. สภาพการนิเทศภายในด้านการวัดและประเมินผล พบว่า อยู่ในระดับปานกลางทั้งหมด
ทุกข้อ และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ในข้อ มีการกำหนดปฏิทินปฏิบัติงานการวัดผลตลอดภาค
เรียนและแจ้งให้ครูผู้สอนทราบ มีการปฏิบัติมากกว่า ในข้ออื่น ๆ และในข้อ จัดให้มีการวิเคราะห์
ข้อสอบ และจัดทำข้อสอบมาตรฐาน มีการปฏิบัติน้อยกว่าข้ออื่น ๆ
ส่วนความต้องการการนิเทศภายในด้านวิชาการ ด้านการวัดและประเมินผล พบว่า อยู่ใน
ระดับมากทุกข้อ และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ในข้อ จัดหาวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ ที่จำเป็นใน
การประเมินผล มีความต้องการได้รับการนิเทศมากกว่าข้ออื่น ๆ และในข้อ มีการกำหนดปฏิทินปฏิบัติ
งานการวัดผลตลอดภาคเรียน และแจ้งให้ครูผู้สอนทราบ มีความต้องการได้รับการนิเทศน้อยกว่าข้อ
อื่น ๆ
เมื่อพิจารณาโดยรวม พบว่า สภาพของการนิเทศภายในด้านวิชาการ ด้านการวัดและประเมิน
ผล อยู่ในระดับปานกลาง และมีความต้องการการนิเทศภายใน ด้านการวัดและประเมินผล อยู่ใน
ระดับมาก
สรุปสภาพการนิเทศภายใน ด้านวิชาการ ในวิทยาลัยเทคนิค ของสถาบันอาชีวศึกษาภาคกลาง
6 ในแต่ละด้าน พบว่าอยู่ในระดับปานกลางทุกด้านและเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านแล้วพบว่า ในด้าน
การวัดและประเมินผลมีการปฏิบัติมากกว่าด้านอื่น ๆ และด้านสื่อการเรียนการสอนมีการปฏิบัติน้อย
กว่าด้านอื่น ๆ
ส่วนความต้องการการนิเทศภายใน ด้านวิชาการ ในวิทยาลัยเทคนิค ของสถาบันอาชีวศึกษา
ภาคกลาง 6 ในแต่ละด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านแล้วพบว่า ด้าน
หลักสูตร มีความต้องการได้รับการนิเทศ มากกว่าข้ออื่น ๆ และด้านการวัดและประเมินผล มีความ
ต้องการได้รับการนิเทศน้อยกว่าข้ออื่น ๆ
และเมื่อพิจารณาในภาพรวมของทุกด้านแล้วพบว่า สภาพของการนิเทศภายในด้านวิชาการ
อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนความต้องการการนิเทศภายในด้านวิชาการ อยู่ในระดับมาก
89
อภิปรายผลการวิจัย
การอภิปรายผลการวิเคราะห์ที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยขอเสนอประเด็นที่ควรนำมา
อภิปรายผล ดังนี้
1. ด้านหลักสูตร เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า สภาพของการปฏิบัติการนิเทศด้าน
หลักสูตร มีการปฏิบัติในระดับปานกลางทุกข้อ เมื่อเรียงลำดับจากสภาพที่มีการปฏิบัติมากที่สุดลงมา
3 ลำดับ ดังนี้ ลำดับแรก คือ แนะนำให้ครูผู้สอนวิเคราะห์หลักสูตรก่อนทำการสอนเพื่อให้ทราบ
จุดมุ่งหมาย และแนวทางในการปฏิบัติ ลำดับที่สอง คือ การตรวจสอบและควบคุมการเรียนการสอน
ให้ตรงตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร ลำดับที่สาม คือ จัดเตรียม และแนะนำการใช้เอกสารประกอบ
หลักสูตรและคู่มือครู เพื่อให้สามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสม ทั้งนี้จะเห็นได้ว่า ครูผู้
ปฏิบัติหน้าที่การสอนได้รับการนิเทศจากผู้นิเทศก์ในด้านหลักสูตรอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งอาจเป็น
เพราะผู้นิเทศก์คิดว่าได้ปฏิบัติในระดับสูงแล้ว ดังที่ จุรี จันทร์เจริญ. (2539 : 76) ได้กล่าวถึง ความ
แตกต่างระหว่างทัศนะของผู้บริหารกับครูมักเป็นสิ่งปกติที่ความคิดในการปฏิบัติงานของผู้บริหารกับ
ครูมักแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งพบว่าการนิเทศภายในส่วนใหญ่เป็นการนิเทศแบบไม่เป็น
ทางการ (Informal) แต่จะเป็นลักษณะของการชี้แจงให้คำแนะนำกันเองกับครู เช่นการตรวจสอบและ
ควบคุมการเรียนการสอน ครูมักจะมองว่าเป็นการไปจับผิด จึงอาจทำให้ครูผู้สอนไม่รู้ตัวว่านั่นคือการ
นิเทศ และอีกประการหนึ่งในสถานศึกษาส่วนใหญ่ผู้บริหารหรือผู้มีหน้าที่ในการนิเทศภายใน ไม่เห็น
ความสำคัญของงานวิชาการในสถานศึกษา ซึ่งเป็นหัวใจหลักในการจัดการศึกษาของสถานศึกษา แต่
มุ่งเน้นไปจัดการบริหารงานด้านอาคารสถานที่ งานธุรการและการเงิน เป็นส่วนใหญ่ ดังจะเห็นจาก
ข้อ การจัดประชุมกรรมการของวิทยาลัย เพื่อติดตามและประเมินผลการใช้หลักสูตรอย่างต่อเนื่อง จะ
มีระดับของการปฏิบัติน้อยกว่าข้ออื่น
ส่วนความต้องการการนิเทศภายในด้านวิชาการ ด้านหลักสูตร เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า
อยู่ในระดับมากทุกข้อเมื่อเรียงลำดับจากความต้องการมากที่สุดลงมา 3 ลำดับ ดังนี้ ลำดับแรก คือ จัด
การสัมมนา/อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรให้ตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน
ลำดับที่สอง คือ แนะนำให้ครูปรับปรุงหลักสูตร คู่มือการเรียนการสอน ใบงาน และเอกสารประกอบ
การสอน ให้มีความทันสมัย ลำดับที่ 3 คือ จัดเตรียม และแนะนำการใช้เอกสารประกอบหลักสูตรและ
คู่มือครู เพื่อให้สามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสม ทั้งนี้จะเห็นได้ว่า ครูผู้ปฏิบัติหน้าที่การ
สอนมีความต้องการที่จะได้รับการนิเทศจากผู้นิเทศก์ในด้านหลักสูตรอยู่ในระดับมาก ซึ่งเป็นเพราะว่า
ครูผู้สอนต้องการพัฒนาทางด้านหลักสูตรเพื่อให้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน เพื่อให้
90
สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ และสังคมตลอดจนความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป
ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยของ พัชรินทร์ ชั้นบุญ (2542 : 74-77) วิจัยเรื่อง ความต้องการการนิเทศ
การสอนของครูโรงเรียนเอกชนอาชีวศึกษา ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม ในกรุงเทพมหานคร พบว่า
ครูมีความต้องการการนิเทศการสอนด้านหลักสูตรอยู่ในระดับมาก นอกจากนี้แล้ว
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน  (2542 : 72-74) ได้กล่าวถึงบทบาทที่สำคัญของผู้บริหารว่า เปน็ ผนู้ าํ ทางดา้ น
วิชาการ จัดการเรียนการสอน และบริหารหลักสูตรในสถานศึกษา นำเทคนิคต่าง ๆ มาใช้ในการ
ปรับปรุงการทำงานให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง และความก้าวหน้าทางสังคม และเศรษฐกิจ เพราะหลัก
สูตรจัดเป็นแนวทางและเกณฑ์มาตรฐานในการจัดการศึกษา เป็นแนวทางและเป็นแผนการปฏิบัติงาน
ของครูผู้สอนและผู้บริหารเพราะหลักสูตรจะระบุ จุดหมาย เนื้อหาสาระ เวลาเรียน และการประเมิน
ผลไว้เป็นแนวทางกว้าง ๆ นอกจากนี้แล้วงานทางด้านอุตสาหกรรมที่มีความเจริญอย่างรวดเร็ว ครูที่
สอนประเภทวิชาอุตสาหกรรมจะต้องศึกษาความก้าวหน้า ของเทคโนโลยีอุตสาหกรรมอยู่ตลอดเวลา
วิเคราะห์หลักสูตรและวางแผนการเรียนการสอน ดังนั้นผู้บริหาร และครู ควรมีความเข้าใจอย่าง
ถ่องแท้ในเรื่องของหลักสูตร
2. ด้านการเรียนการสอน เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า สภาพของการปฏิบัติการนิเทศด้าน
การเรียนการสอน มีการปฏิบัติในระดับมากจำนวน 1 ข้อ ได้แก่ การส่งเสริมให้ครูผู้สอนจัดทำ
โครงการสอน/แผนการสอน และบันทึกการสอน ส่วนข้ออื่นที่เหลืออยู่ในระดับปานกลาง เมื่อเรียง
ลำดับจากสภาพที่มีการปฏิบัติมากที่สุดลงมา 3 ลำดับ ดังนี้ ลำดับแรก คือการส่งเสริมให้ครูผู้สอนจัด
ทำโครงการสอน/แผนการสอน และบันทึกการสอน ลำดับที่สอง คือ จัดประชุมครูผู้สอนเพื่อเตรียม
งานด้านการสอนก่อนเปิดภาคเรียน ลำดับที่สาม คือ จัดหาวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ และเครื่องจักรที่
จำเป็นต้องใช้ในการเรียนการสอน ทั้งนี้จากผลการวิจัยเห็นว่าในข้อ การส่งเสริมให้ครูผู้สอนจัดทำ
โครงการสอน/แผนการสอน และบันทึกการสอน มีระดับการปฏิบัติมากกว่าข้ออื่น เพราะในปัจจุบัน
ผู้บริหารได้ให้ความสำคัญต่องานวิชาการโดยเน้นให้ครูเตรียมการสอน เช่น การวิเคราะห์หลักสูตร
การจัดทำแผนการสอน การเตรียมเครื่องมือ วัสดุฝึก ครุภัณฑ์ ที่จำเป็นต้องใช้ในการเรียนการสอน
และเพื่อให้มีความสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่ผู้สอนจะต้องจัด
กิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และ บูรณาการตามความเหมาะสมของผู้เรียน
โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการ
ปฏิบัติ ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง ส่วนข้อที่มีสภาพของการ
ปฏิบัติในระดับที่น้อยกว่าข้ออื่น ๆ คือ จัดให้มีการเข้าเยี่ยมชั้นเรียน และแนะนำเทคนิคการสอนเป็น
รายบุคคล เนื่องจาก ผู้นิเทศก์ขาดการวางแผนการนิเทศอย่างเป็นทางการ และครูผู้สอนให้การยอมรับ
ต่อผู้นิเทศก์น้อย เนื่องจากผู้นิเทศก์ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง และขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ
91
การนิเทศการสอนซึ่งมีความสอดคล้องกับข้อ มีการติดตามดูแล และประเมินผลการสอนของครู
ผู้สอน ที่มีสภาพของการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง
ส่วนความต้องการการนิเทศภายในด้านวิชาการ ด้านการเรียนการสอน เมื่อพิจารณาเป็น
รายข้อ พบว่าอยู่ในระดับมากทุกข้อ เมื่อเรียงลำดับจากความต้องการมากที่สุดลงมา 3 ลำดับ ดังนี้
ลำดับแรก คือ จัดหาวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ และเครื่องจักรที่จำเป็นต้องใช้ในการเรียนการสอน ลำดับ
ที่สอง คือ บริการด้านคู่มือ/ เอกสารทางวิชาการ และหนังสือที่ใช้ประกอบการเรียนการสอนให้แก่ครู
ผู้สอน ลำดับที่สาม คือ จัดวิทยากรหรือผู้เชี่ยวชาญมาสาธิตวิธีการสอนและเทคนิคการสอนแบบใหม่
ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพด้านอาชีวศึกษาในส่วนหนึ่งที่พบว่า ครูส่วนใหญ่ยัง
ใช้วิธีการสอนแบบบรรยาย มีอยู่บ้างที่ใช้วิธีการสอนแบบสาธิต และทดลอง โดยเฉพาะรายวิชาชีพ
ภาคปฏิบัติที่มีความจำเป็นต้องใช้ วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ และเครื่องจักรที่มีความทันสมัย และการ
วางแผนการสอนอยู่ในระดับปานกลาง (กรมอาชีวศึกษา 2537 : 56) และสอดคล้องกับผลการวิจัยของ
ศิขริน กนะกาศัย (2542 : บทคัดย่อ) ที่วิจัยเรื่อง สภาพและความต้องการนิเทศภายในของครูผู้สอน
โรงเรยี นพณชิ ยการเชยี งใหม ่ ที่พบว่า ครูมีความต้องการในเรื่องของการเชิญวิทยากรมาให้ความร ู้ และ
การสาธิตการสอน อยู่ในระดับมาก ดังนั้น การปรับปรุงการเรียนการสอนเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งใน
การบริหารการศึกษา เพราะในปัจจุบันโลกได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว มีทั้งวิทยาการและ
เทคโนโลยีใหม่ ๆ เกิดขึ้น ในด้านการศึกษาก็เช่นเดียวกัน เช่น หลักสูตร เนื้อหา วิธีการสอน และ
เทคโนโลยีใหม่ ๆ ทางการศึกษาก็เปลี่ยนแปลงไป ทำให้เกิดความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงและพัฒนา
สิ่งเหล่านี้ให้ทันกับวิทยาการที่ก้าวหน้า ดังนั้นผู้บริหารในฐานะที่รับผิดชอบด้านการจัดการศึกษาจึง
จำเป็นต้องพิจารณาปรับปรุงการเรียนการสอนให้ดีขึ้น นอกจากนี้แล้วในการพัฒนาการเรียนการสอน
ให้มีประสิทธิภาพที่ดี ผู้บริหารควรที่จะพิจารณาสิ่งต่าง ๆ ที่แตกต่างจากการเรียนในห้องเรียนโดย
ทั่ว ๆ ไป เมื่อมาพิจารณาดูแล้วตัวแปรที่สำคัญที่ผู้บริหารควรที่จะต้องนำมาคิดและหาทางแนะนำ
ช่วยเหลือจะประกอบไปด้วย 1) สภาพห้องเรียน ห้องปฏิบัติการทดลอง และโรงฝึกงาน 2) เครื่องมือ
อุปกรณ์ และวัสดุฝึก 3) ครูผู้สอน ส่วนข้อที่ผู้ตอบแบบสอบถามมีความต้องการได้รับการนิเทศใน
ระดับที่น้อยกว่าข้ออื่น ๆ คือ ได้รับการแนะนำให้จัดทำแฟ้มข้อมูลประจำตัวนักเรียนเป็นรายบุคคล
เพื่อประโยชน์ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าผู้บริหารไม่ได้ชี้แจง ทำความ
เข้าใจ หรือจัดอบรมให้ครูผู้สอนเห็นถึงความสำคัญของการจัดทำแฟ้มข้อมูลประจำตัวนักเรียนเป็น
รายบุคคล เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
92
3. ด้านสื่อการเรียนการสอน เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า สภาพของการปฏิบัติการนิเทศ
ด้านสื่อการเรียนการสอน มีการปฏิบัติในระดับน้อยจำนวน 1 ข้อได้แก่ จัดให้มีโครงการแลกเปลี่ยน
ยืมสื่อ วัสดุอุปกรณ์การสอนระหว่างสถานศึกษา ส่วนข้ออื่นที่เหลืออยู่ในระดับปานกลาง เมื่อเรียง
ลำดับจากสภาพที่มีการปฏิบัติมากที่สุดลงมา 3 ลำดับ ดังนี้ ลำดับแรก การบริการจัดหาวัสดุเพื่อนำไป
สร้างสื่อการเรียนการสอน ลำดับที่สอง คือ จัดอบรมการสร้างสื่อการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยี
และนวัตกรรมใหม่ ๆ เช่น คอมพิวเตอร์ วีดีโอ ฯ ลำดับที่สาม คือ การสำรวจความต้องการใช้วัสดุ/
อุปกรณ์ในการสร้างสื่อการเรียน จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าในปัจจุบันครูยังขาดการสนับสนุน
ทางด้าน วัสดุ/อุปกรณ์ และความรู้ทางด้านเทคโนโลยีที่ใช้ในการสร้างสื่อการเรียนการสอน ทั้งนี้
เพราะว่าวิทยาลัยเทคนิคแต่ละแห่งเปิดสอนหลายสาขาวิชา และหลายระดับ จึงทำให้มีสื่อการเรียน
การสอนหลากหลายประเภท และในขณะเดียวกันวิทยาลัยเทคนิคแต่ละแห่งมีบุคลากรที่จบด้านสื่อ
การเรียนการสอนโดยตรงน้อยมาก หรือบางวิทยาลัยไม่มีเลย ดังนั้นผู้ที่ทำหน้าที่หัวหน้างานสื่อ
การเรียนการสอนซึ่งต้องทำหน้าที่สอนด้วยทำให้ไม่มีเวลาในการให้คำแนะนำแก่ครู และติดตาม
ประเมินผลการใช้สื่อการสอนเท่าที่ควรนอกจากเรื่องการขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ
ด้านสื่อการเรียนการสอนแล้ว อีกประการคือครูไม่ได้รับการอบรมเรื่องการสร้างสื่อการเรียนการสอน
ด้วยวิธีการหรือเทคโนโลยีใหม่ ๆ จึงทำให้สื่อการเรียนการสอนที่มีอยู่ล้าสมัยไม่สามารถส่งเสริมการ
เรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนได้ซึ่งสอดคล้องกับผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพด้านอาชีวศึกษาในส่วนหนึ่งที่
พบว่า ครูมีปัญหาในการจัดทำสื่อการเรียนการสอน ในการสอนของครูจะใช้สื่อประเภทเอกสาร ตำรา
ซึ่งต้องจัดหาด้วยตัวเอง (กรมอาชีวศึกษา. 2537 : 56) ส่วนข้อที่มีสภาพของการปฏิบัติในระดับที่น้อย
กว่าข้ออื่น ๆ คือ จัดให้มีโครงการแลกเปลี่ยน ยืมสื่อ วัสดุอุปกรณ์การสอนระหว่างสถานศึกษา เนื่อง
จากทางวิทยาลัยเทคนิคยังขาดการขอยืมสื่อการเรียนการสอนระหว่างวิทยาลัย หรือทางวิทยาลัยไม่
ทราบแหล่งที่จะให้ยืมสื่อ วัสดุอุปกรณ์ได้ ซึ่งการขอยืมสื่อนั้นเป็นการจัดหาสื่อการเรียนการสอน เพื่อ
ให้มีสื่อใช้ประกอบการเรียนการสอน และทำให้ผลของการเรียนการสอนบรรลุตามเป้าหมายอย่างมี
ประสิทธิภาพ
ส่วนความต้องการการนิเทศภายในด้านวิชาการ ด้านสื่อการเรียนการสอน เมื่อพิจารณาเป็น
รายข้อพบว่า อยู่ในระดับมากทุกข้อ เมื่อเรียงลำดับจากความต้องการมากที่สุดลงมา 3 ลำดับ ดังนี้
ลำดับแรก คือ การบริการจัดหาวัสดุเพื่อนำไปสร้างสื่อการเรียนการสอน ลำดับที่สอง คือ จัดอบรมการ
สร้างสื่อการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยี และนวัตกรรมใหม่ ๆ เช่น คอมพิวเตอร์ วีดีโอ ฯ ลำดับที่
สาม คือ การสำรวจความต้องการใช้วัสดุ/อุปกรณ์ในการสร้างสื่อการเรียน ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัย
ผลการวิจัยของ ศิรินันท์ ชลินทุ (2538 : 182) ที่ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับสภาพและความต้องการ
การนิเทศการศึกษาภายในโรงเรียนเอกชนอาชีวศึกษา ประเภทพณิชยการ เขตกรุงเทพมหานคร ผล
การวิจัยพบว่าครูมีความต้องการ วัสดุ/อุปกรณ์ และความรู้ในการสร้างสื่อการเรียนการสอนด้วย
93
เทคโนโลยีอยู่ในระดับมาก เนื่องจากในปัจจุบันการเรียนการสอนด้านอาชีวศึกษามุ่งที่จะให้ผู้เรียนมี
ส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อให้เกิดทักษะและประสบการณ์ตรงทางด้านวิชาชีพมากที่สุด สื่อการสอนจึงมี
บทบาทสำคัญที่จะช่วยครูในการจัดกิจกรรมได้อย่างกว้างขวางและมีประสิทธิภาพ ช่วยประหยัดเวลา
ในการสอน และทำให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจบทเรียนได้ดีขึ้น ดังนั้นการเรียนการสอนด้านช่าง
อุตสาหกรรมที่ต้องใช้ทั้ง อาคารสถานที่ เครื่องจักร เครื่องมือ และสื่อการเรียนการสอนเป็นส่วน
สำคัญที่ช่วยสนับสนุนทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธภาพ แต่การลงทุนทางด้านเครื่องจักร
เครื่องมือ และสื่อการเรียนการสอนบางประเภทราคาค่อนข้างสูง ทำให้เกิดปัญหาไม่พอเพียง ส่งผลให้
สัดส่วนของจำนวนผู้เรียนต่อเครื่องมือ เครื่องจักรไม่เหมาะสม ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของกอง
แผนงาน กรมอาชีวศึกษา (2543 : 37) ส่วนข้อที่มีความต้องการได้รับการนิเทศในระดับที่น้อยกว่าข้อ
อื่น ๆ คือ จัดให้มีโครงการแลกเปลี่ยน ยืมสื่อ วัสดุอุปกรณ์การสอนระหว่างสถานศึกษา เนื่องจากการ
ยืมเครื่องมือ เครื่องจักร ค่อนข้างทำได้ยาก เพราะเครื่องจักรส่วนใหญ่มีขนาดใหญ่ และมีความยุ่งยาก
ในการติดตั้ง อีกทั้ง เป็นการยืมชั่วคราวทำให้ไม่คุ้มค่า ดังที่ ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์ (2535 : 251)
กล่าวว่า การขอยืมสื่อนั้นเป็นการจัดหาสื่อการสอน เพื่อให้มีสื่อใช้เป็นครั้งคราว ในกรณีที่ทาง
โรงเรียนขาดงบประมาณ หรือสื่อชนิดนั้นหาได้ยาก
4. ด้านการพัฒนาบุคลากร เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า สภาพของการปฏิบัติการนิเทศ
ด้านการพัฒนาบุคลากร มีการปฏิบัติในระดับปานกลางทุกข้อ เมื่อเรียงลำดับจากสภาพที่มีการปฏิบัติ
มากที่สุดลงมา 3 ลำดับ ดังนี้ ลำดับแรก คือ จัดสำรวจความต้องการของครูในการเข้ารับการอบรม เพื่อ
พัฒนาเกี่ยวกับกลุ่มประสบการณ์วิชาชีพในรายวิชาชีพเฉพาะสาขาวิชา ลำดับที่สอง คือ ส่งเสริมครู
ช่างอุตสาหกรรมให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชน ลำดับที่สาม คือ ส่งเสริมครูช่างอุตสาหกรรมใน
การศึกษาต่อ จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าการส่งเสริมให้ครูได้มีโอกาสพัฒนาตนเองในด้านความรู้
ความสามารถ ทักษะทางวิชาชีพเฉพาะสาขายังมีสภาพที่มีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง ทั้งนี้เพราะ
ว่าครูผู้สอนในวิทยาลัยเทคนิคมีชั่วโมงสอนค่อนข้างมาก มีจำนวนครูไม่เพียงพอ ได้รับข่าวสารล่าช้า
และขาดการสนับสนุนงบประมาณในการส่งครูเข้ารับการอบรมที่สถานประกอบการ สอดคล้องกับ
รายงานการศึกษาสภาพการจัดอาชีวศึกษา กองแผนงาน กรมอาชีวศึกษา (2543 : 45) ที่กล่าวว่า
จำนวนชั่วโมงการสอนของครู ในวิทยาลัยเทคนิค อยู่ระหว่าง 30-60 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เนื่องจากมี
จำนวนนักศึกษามาก โดยทอี่ ตั ราคร-ู อาจารยม์ ไิ ดข้ ยายเพมิ่ เตมิ นอกจากนี้ ครู-อาจารย์ ส่วนใหญ่รับ
ผิดชอบการสอน 3–4วิชาส่วนข้อที่มีสภาพของการปฏิบัติในระดับที่น้อยกว่าข้ออื่น ๆ คือ จัดให้มีการ
โยกย้าย/สับเปลี่ยนหน้าที่เพื่อเป็นการเพิ่มประสบการณ์ในการทำงาน ซึ่งการพัฒนาบุคลากรเป็น
กระบวนการที่สำคัญยิ่งงานหนึ่งของการบริหารงานบุคลากร เพราะเมื่อได้เลือกสรรคนที่มีความรู้
94
ความสามารถเข้าทำงานแล้ว เมื่อเวลาผ่านไป วิทยาการต่าง ๆ และเทคนิควิธีการทำงานได้เปลี่ยนไป
จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาบุคลากร เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถเหมาะสมกับ
เหตุการณ์ปัจจุบัน และตำแหน่งหน้าที่ เพื่อความก้าวหน้าของสถานศึกษา และความต้องการที่จะก้าว
หน้าของบุคลากรจึงเป็นหน้าที่โดยตรงของผู้บริหาร ที่จะต้องพยายามหาทางให้บุคลากรได้เจริญก้าว
หน้าไปเท่าที่ความสามารถจะอำนวย (กิติมา ปรีดีดิลก. 2532 : 118)
ส่วนความต้องการการนิเทศภายในด้านวิชาการ ด้านการพัฒนาบุคลากร เมื่อพิจารณาเป็นราย
ข้อพบว่า อยู่ในระดับมากทุกข้อ เมื่อเรียงลำดับจากความต้องการมากที่สุดลงมา 3 ลำดับ ดังนี้ ลำดับ
แรก คือ ส่งเสริมครูช่างอุตสาหกรรมในการฝึกอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการ และดูงานนอก
สถานที่ ลำดับที่สอง คือ จัดสำรวจความต้องการของครูในการเข้ารับการอบรม เพื่อพัฒนาเกี่ยวกับ
กลุ่มประสบการณ์วิชาชีพในรายวิชาชีพเฉพาะสาขาวิชา ลำดับที่สาม คือ ส่งเสริมครูช่างอุตสาหกรรม
ในการศึกษาต่อ ซึ่งสอดคล้องกับผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพด้านอาชีวศึกษาในส่วนหนึ่งที่พบ
ว่า ครูได้รับข่าวสารที่ล่าช้า มีภาระมากทำให้ไม่มีเวลาพอที่จะเข้ารับการพัฒนาวิชาชีพได้อย่าง
สม่ำเสมอ (กรมอาชีวศึกษา. 2537 : 56) จากผลการวิจัยดังกล่าวพบว่าครูต้องการที่จะพัฒนาตนเองทั้ง
การเข้ารับการอบรมทางวิชาชีพ และการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากจำนวนครูผู้สอนด้าน
ช่างอุตสาหกรรมในปัจจุบันเกือบทุกสาขามีจำนวนไม่เพียงพอ ถึงแม้ว่ากรมอาชีวศึกษา จะมีนโยบาย
ส่งเสริมให้คร ู - อาจารย์ได้ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นดังจะเห็นได้จากโครงการความร่วมมือระหว่าง
กรมอาชีวศึกษากับสถาบันที่จัดการเรียนการสอนด้านอาชีวศึกษาในระดับปริญญาตรี และปริญญาโท
เพื่อส่งครูผู้สอนไปศึกษาต่อ แต่ก็ทำได้ในขอบเขตจำกัด เพราะจำนวนครูผู้สอนและงบประมาณไม่
เพียงพอ ซึ่งถือว่าเป็นอุปสรรคสำคัญในการพัฒนาครูช่างอุตสาหกรรม ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัย
ของ ทรงสวัสดิ์ ทิพย์คงคา (2535 : 73) ส่วนข้อที่ผู้ตอบแบบสอบถามมีความต้องการได้รับการนิเทศ
ในระดับที่น้อยกว่าข้ออื่น ๆ คือ จัดให้มีการโยกย้าย/สับเปลี่ยนหน้าที่เพื่อเป็นการเพิ่มประสบการณ์ใน
การทำงาน เนื่องจากครูมีภาระชั่วโมงสอนมากอยู่แล้ว และยังต้องทำหน้าที่พิเศษที่นอกเหนือจากการ
สอน จึงไม่ต้องการสับเปลี่ยนหน้าที่เพื่อเป็นการเพิ่มภาระงานอีก
5. ด้านการวัดและประเมินผล เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า สภาพของการปฏิบัติการนิเทศ
ด้านการวัดและประเมินผล มีการปฏิบัติในระดับปานกลางทุกข้อ เมื่อเรียงลำดับจากสภาพที่มีการ
ปฏิบัติมากที่สุดลงมา 3 ลำดับ ดังนี้ ลำดับแรก คือ มีการกำหนดปฏิทินปฏิบัติงานการวัดผลตลอดภาค
เรียนและแจ้งให้ครูผู้สอนทราบ ลำดับที่สอง คือ ชี้แจง และแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบว่า
ด้วยการวัดผลและประเมินผลการเรียนของกรมอาชีวศึกษา ลำดับที่สาม คือ การแนะนำการประเมิน
ผลก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังจบบทเรียน จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า การปฏิบัติการนิเทศ
ด้านการวัดและประเมินผลอยู่ในระดับปานกลาง เนื่องจากส่วนใหญ่แล้ว ครูจะได้รับการแจ้งหรือ
95
แนะนำในเรื่องการวัดผลก่อนเปิดภาคเรียน หรือสัปดาห์แรกของภาคเรียน แต่ในระหว่างภาคเรียนจะ
ไม่ได้รับการแจ้งหรือแนะนำอีกครั้ง จึงทำให้ครูปฏิบัติการวัดผลผิดพลาดและไม่ตรงวัตถุประสงค์
ของหลักสูตรได้ ทั้งนี้เป็นเพราะว่าการวัดผลและประเมินผลตามหลักสูตรใหม่ จะวัดตามจุดประสงค์
การเรียนรู้ โดยจะมีการสอบขณะเรียนหรือหลังเรียนแต่ละจุดประสงค์แทนการสอบรวบยอดปลาย
ภาคเรียน จากการเปลี่ยนแปลงระเบียบและวิธีการวัดผลตามหลักสูตรใหม่นี้เอง ครูจึงมักจะประสบ
ปัญหาในการวัดและประเมินผล เพราะครูไม่เข้าใจหลักการและวิธีการวัดผลที่ถูกต้อง ส่วนข้อที่มี
สภาพของการปฏิบัติในระดับที่น้อยกว่าข้ออื่น ๆ คือ จัดให้มีการวิเคราะห์ข้อสอบ และจัดทำข้อสอบ
มาตรฐาน เนื่องมาจากรายวิชาชีพของช่างอุตสาหกรรมมีความหลากหลายและกระบวนการวิเคราะห์
ข้อสอบต้องใช้เวลา และทางวิทยาลัยยังไม่ได้นำผลที่ได้จากการวัดผลและประเมินผลมาใช้ปรับปรุง
การสอนอย่างเป็นระบบ ดังนั้นผู้บริหารและครูยังไม่เห็นความสำคัญของการวิเคราะห์ข้อสอบเท่า
ที่ควร ซึ่งเรื่องนี้จะมีผลโดยตรงต่อการจัดการเรียนการสอนโดยตรง
ส่วนความต้องการการนิเทศภายในด้านวิชาการด้านการวัดและประเมินผล เมื่อพิจารณาเป็น
รายข้อพบว่า อยู่ในระดับมากทุกข้อ เมื่อเรียงลำดับจากความต้องการมากที่สุดลงมา 3 ลำดับ ดังนี้
ลำดับแรก คือ จัดหาวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ ที่จำเป็นในการประเมินผล ลำดับที่สอง คือ จัดให้มีการ
วิเคราะห์ข้อสอบ และจัดทำข้อสอบมาตรฐาน ลำดับที่สาม คือ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ สร้างเครื่อง
มือวัดจุดประสงค์การเรียนรู้ ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยของ ศิรินันท์ ชลินทุ (2538 : 210) ที่พบว่า
ผู้สอนมีความต้องการการนิเทศด้านการวัดและประเมินผลในระดับมากและเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ
พบว่ามีความต้องการในเรื่องของการอบรม สัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องเทคนิคการสร้าง วิเคราะห์ข้อ
สอบมาตรฐานอยู่ในระดับมาก และสอดคล้องกับผลการวิจัยของ สุรพงษ์ ศรีวินิจ (2539 : 79) ที่
ผู้สอนมีความต้องการการนิเทศเกี่ยวกับระเบียบการวัดผลและประเมินผล ซึ่งจากผลการวิจัยครั้งนี้ยัง
พบว่า ครูยังขาดแคลนวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ ที่จำเป็นในการประเมินผล และต้องการวิเคราะห์
ข้อสอบและสร้างเครื่องมือการวัดผลที่มีประสิทธิภาพ เพราะข้อสอบเป็นเครื่องชี้ถึงคุณภาพการสอน
และพัฒนาการของผู้เรียน เพื่อให้ผู้สอนรู้ว่าผลการสอนของตนเป็นอย่างไร สอนดีหรือไม่ ผู้เรียน
รู้เรื่องหรือไม่ และควรปรับปรุงการเรียนการสอนในส่วนใดบ้าง เพราะการวัดผลการศึกษานั้นเราไม่
ได้วัดหรือประเมินผลส่วนต่าง ๆ ของตัวบุคคลหรือตัวนักเรียนแต่เราวัดเกี่ยวกับความรู้ความสามารถ
ความสนใจ เจตคติ ตลอดจนทักษะต่าง ๆ ของผู้เรียน ดังนั้นครูเป็นผู้ที่ทำหน้าที่ในการถ่ายทอดความรู้
ไปสู่ผู้เรียนโดยตรง และจะต้องทำหน้าที่ในการวัดและประเมินผลการเรียนการสอนด้วย รวมทั้ง
ผู้บริหารจะต้องมีส่วนรับผิดชอบในเรื่องการวัดผลและประเมินผลด้วย และจะต้องคอยดูแล ส่งเสริม
ให้การวัดผลและประเมินผลเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร ส่วนข้อที่ผู้ตอบแบบสอบถามมี
ความต้องการได้รับการนิเทศในระดับที่น้อยกว่าข้ออื่น ๆ คือ มีการกำหนดปฏิทินปฏิบัติงานการวัดผล
96
ตลอดภาคเรียนและแจ้งให้ครูผู้สอนทราบ เนื่องจากส่วนใหญ่แล้ว ครูจะได้รับการแจ้งหรือแนะนำใน
เรื่องการวัดผลก่อนเปิดภาคเรียน หรือสัปดาห์แรกของภาคเรียนอยู่แล้ว
ข้อเสนอแนะจากการวิจัย
จากการศึกษาสภาพและความต้องการการนิเทศภายในด้านวิชาการของครูประเภทวิชาช่าง
อุตสาหกรรม ในวิทยาลัยเทคนิค ของสถาบันอาชีวศึกษาภาคกลาง 6 ผู้วิจัยได้สังเคราะห์ข้อเสนอแนะ
ที่ได้จากการวิจัย โดยแยกแต่ละด้านดังนี้
ด้านหลักสูตร
1. ควรปรับหลักสูตรให้สอดคล้องกับสภาพปัจจุบันคือมีความยืดหยุ่น หลากหลาย
เหมาะสมตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น และรองรับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีในอนาคต
นอกจากนั้นควรให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และสอดคล้องกับมาตรฐาน
อาชีวศึกษา เพื่อให้เอื้ออำนวยในการศึกษาต่อ
2. ในการจัดทำหลักสูตรควรให้ผู้ที่มีความร ู้ ความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์การสอน
และควรมีการศึกษา วิจัยหลักสูตร หรือการทดลองใช้หลักสูตรก่อนการนำมาใช้จริง อีกทั้งควรมีการ
สร้างเครือข่ายในการศึกษา และจัดทำหลักสูตร ระหว่างกรม เช่นจัดโครงการความร่วมมือระหว่าง
กรมอาชีวศึกษากับสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล หรือหรือสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เพื่อเป็น
การแลกเปลี่ยน และให้เกิดความสอดคล้องกันในการจัดการศึกษา
3. ควรปรับปรุงด้านเนื้อหาวิชา เช่นยุบรวมรายวิชาที่มีเนื้อหาคล้ายคลึงกันให้เป็นรายวิชาใน
หมวดวิชาสัมพันธ์ หรือปรับปรุงเนื้อหาในรายวิชาที่มีเนื้อหามากเกินความจำเป็นจนทำให้สอนไม่ทัน
และควรปรับปรุงเนื้อหาให้สอดคล้องกับทัพยากรที่มี เช่นเครื่องมือ เครื่องจักร
ด้านการเรียนการสอน
1. ควรจัดอบรม เสริมความรู้ให้แก่บุคลากรในเรื่องกระบวนการเรียนการสอนโดยผู้เรียน
เป็นสำคัญ และเน้นการสร้างบรรยากาศและแรงจูงใจให้ผู้เรียนมีความสนใจใฝ่รู้ และควรจัดให้ครู
สอนตรงกับความร ู้ ความสามารถ และตามความถนัด หรอื การเผยแพร ่ วธิ กี ารสอนหรอื เทคนคิ
การสอนของครูต้นแบบให้แก่บุคลากรในสถานศึกษา เพื่อจะได้นำไปใช้หรือประยุกต์ใช้ให้เกิด
ประโยชน์ต่อการเรียนการสอน
3. ควรส่งเสริมให้ครูผู้สอนในรายวิชาชีพได้มีโอกาสออกไปศึกษาดูงาน หรือฝึกงานใน
สถานประกอบการที่ตรงกับสาขาวิชาที่สอน เพื่อให้ครูได้รับประสบการณ์ตรง และนำความรู้และ
ประสบการณ์ที่ได้มาพัฒนาการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับสภาพการณ์จริงในสถานประกอบการ
และเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี
97
3. ผู้บริหารควรติดตามดูแลการเรียนการสอนอย่างจริงจังและต่อเนื่อง อีกทั้งต้องมีระบบการ
ติดตาม และประเมินผลที่เป็นแบบแผนเดียวกันทุกสถานศึกษา หรือการแต่งตั้งคณะกรรมการที่มี
ความรู้ความสามารถให้เป็นคณะกรรมการของสถาบันอาชีว ฯ เพื่อทำหน้าที่ในการนิเทศการสอน
อย่างเป็นระบบ และต่อเนื่อง
ด้านสื่อการเรียนการสอน
1. ควรจัดอบรม และสนับสนุนงบประมาณให้ครูในเรื่องของการสร้างสื่อการเรียนการสอน
ด้วยนวัตกรรมใหม่ ๆ และการสร้างสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น การสร้างบทเรียนด้วยตนเองโดยใช้
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือการสร้างแผ่นใสด้วยคอมพิวเตอร์ รวมทั้งเทคนิคและวิธีการสร้างสื่อ
เสมือนจริง เช่น โมเดลจำลอง หรือการสร้างภาพเสมือนจริง (3D Model) โดยสนับสนุนให้ครูเป็นผู้
ผลิตสื่อได้ด้วยตนเอง
2. ควรมีหน่วยงานกลางรับผิดชอบจัดทำ และพัฒนาสื่อการสอน โดยเฉพาะเพื่อให้สื่อการ
สอนมีคุณภาพ ได้มาตรฐานเท่าเทียมกัน และควรจัดตั้งศูนย์สื่อการสอน เพื่อทำหน้าที่ในการเก็บรักษา
และซ่อมบำรุงสื่อที่ชำรุด รวมทั้งมีสื่อการสอนหรืออุปกรณ์ที่ช่วยในการสอนเช่น เครื่องขยายเสียง
ไมโครโฟน เครื่องฉายข้ามศีรษะ ปากกาเขียนแผ่นใส แผ่นใส ไว้ให้ครูสามารถเบิกไปใช้ได้ และให้
เพียงพอต่อจำนวนห้องเรียน
ด้านการพัฒนาบุคลากร
1. ควรมีการจัดอบรมครู และบุคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง และเน้นผลสำฤทธิ์ของ
การอบรมที่สามารถนำมาใช้ได้จริง โดยเน้นให้ตรงกับสาขาวิชาที่สอน หรือสอดคล้องกับรายวิชาที่
เปิดสอนตามแผนการเรียนของหลักสูตร และสามารถนำความรู้ที่ได้จากการอบรมมาใช้ในการสอน
ได้ พร้อมทั้งส่งเสริม และสนับสนุนด้านงบประมาณให้ครูได้ศึกษาต่อ โดยเฉพาะในสาขาวิชาที่สอน
และการพัฒนาครูให้มีความรู้ ความสามารถทางด้านการใช้คอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ต เพื่อนำมาใช้
ให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนการสอน
2. ควรมีการประเมินมาตรฐานของครูผู้สอนอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง เพื่อกระตุ้นให้ครู
พัฒนาตนเอง และรักษามาตรฐานการสอนของตน และควรมีการใช้ทรัพยากรบุคคลอย่างคุ้มค่าโดยมี
โครงการแลกเปลี่ยนบุคลากรระหว่างสถานศึกษา หรือการยืมตัวบุคลากรที่มีความสามารถไปช่วย
ราชการยังสถานศึกษาที่ขาดแคลน
ด้านการวัดและประเมินผล
1. ควรกำหนดหลักการ เกณฑ์ และวิธีการวัดผลให้ชัดเจนและเป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยยึด
ถือปฏิบัติเหมือนกันทั้งสถาบัน ทั้งรายวิชาในภาคทฤษฎี และปฏิบัติ พร้อมทั้งชี้แจง และจัดทำคู่มือ
การวัดผลเผยแพร่ให้ครูทราบก่อนเปิดภาคเรียน
98
2. ควรจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การออกข้อสอบให้ครอบคลุมวัตถุประสงค์ โดย
เน้นการประเมินตามสภาพจริง และวิเคราะห์ข้อสอบ พร้อมกับจัดทำชุดข้อสอบมาตรฐาน และมี
ศูนย์เก็บข้อสอบหรือคลังข้อสอบมาตรฐาน เพื่อให้สามารถใช้ข้อสอบมาตรฐานร่วมกันได้ระหว่าง
สถานศึกษา
ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป
1. ควรมีการวิจัยในเรื่องสภาพและความต้องการการนิเทศภายใน ด้านวิชาการของครู
ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม ในวิทยาลัยเทคนิค ในสถาบันอาชีวศึกษาภาคอื่น ๆ เพื่อเปรียบเทียบ
2. ควรมีการวิจัยศึกษาเปรียบเทียบความต้องการการนิเทศภายใน ระหว่างครูประเภทวิชา
ช่างอุตสาหกรรมกับผู้บริหาร ในวิทยาลัยเทคนิค
3. ควรมีการวิจัยในเรื่องสภาพ และความต้องการการนิเทศภายในด้านอื่น ๆ ของครู
ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม ในวิทยาลัยเทคนิค
ภาคผนวก
ภาคผนวก ก
แบบสอบถามเพื่อการวิจัย
107
แบบสอบถามเพื่อการวิจัย
เรื่อง การศึกษาสภาพและความต้องการการนิเทศภายใน ด้านวิชาการของครู
ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม ในวิทยาลัยเทคนิค ของสถาบันอาชีวศึกษาภาคกลาง 6
คำชี้แจง แบบสอบถามนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสภาพและความต้องการการนิเทศภายใน
ด้านวิชาการของครู ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม ในวิทยาลัยเทคนิค ของสถาบันอาชีวศึกษาภาค
กลาง 6 จึงใคร่ขอความกรุณาท่านโปรดตอบแบบสอบถามให้ครบทุกข้อตามความเป็นจริง คำตอบ
ของท่านจะมีคุณค่าอย่างยิ่ง เพราะจะทำให้ทราบว่าสภาพและความต้องการการนิเทศภายในปัจจุบัน
อยู่ในระดับใด เพื่อเป็นแนวทางแก่สถานศึกษาเพื่อพัฒนาทางด้านการบริหารงานวิชาการ ให้มีประ
สิทธิภาพ และการตอบแบบสอบถามนี้จะไม่มีผลกระทบใด ๆ ต่อการปฏิบัติงานของท่าน ซึ่งแบบ
สอบถามชุดนี้มีทั้งหมด 3 ตอน คือ
ตอนที่ 1 เป็นแบบเลือกตอบ เพื่อสอบถามสถานภาพและข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบ
สอบถาม
ตอนที่ 2 เป็นแบบมาตรประมาณค่า แบ่งเป็นระดับการนิเทศภายในด้านวิชาการที่ปฏิบัติ
และระดับการนิเทศภายในด้านวิชาการที่ต้องการ ซึ่งแบ่งเป็น 5 ด้าน ได้แก่
1. ด้านหลักสูตร
2. ด้านการเรียนการสอน
3. ด้านสื่อการเรียนการสอน
4. ด้านการพัฒนาบุคลากร
5. ด้านการวัดผลและประเมินผล
ตอนที่ 3 เป็นความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่าง ๆ เกี่ยวกับสภาพและความต้องการการ
นิเทศภายในด้านวิชาการของครู ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม ที่ต้องการจะเพิ่มเติมในแต่ละด้าน มี
ลักษณะเป็นคำถามปลายเปิด
108
ตอนที่ 1 สถานภาพและข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
คำชี้แจง โปรดทำเครื่องหมาย  ลงใน  หน้าข้อความที่ตรงกับความเป็นจริงเกี่ยวกับตัวท่าน
1. เพศ
 1) ชาย  2) หญิง
2. อายุ
 1) ต่ำกว่า 30 ปี  2) 30 - 40 ปี
 3) 41 - 50 ปี  4) 51 - 60 ปี
3. วุฒิการศึกษาสูงสุดหรือเทียบเท่า
 1) ต่ำกว่าปริญญาตรี  2) ปริญญาตรี หรือเทียบเท่า
 3) สูงกว่าปริญญาตรี
4. ท่านมีวุฒิทางวิชาชีพคร ู (ทางการศึกษา) หรือไม่
 1) มี  2) ไม่มี
5. ระยะเวลาที่ท่านมีประสบการณ์การสอนในประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม
 1) น้อยกว่า 5 ปี  2) 5-10 ปี
 3) 11-15 ปี  4) มากกว่า 15 ปี
109
ตอนที่ 2 สภาพความเป็นจริงของการนิเทศภายในและความต้องการการนิเทศภายใน ด้านวิชาการ
คำชี้แจง โปรดทำเครื่องหมาย  ลงในช่อง สภาพที่เป็นจริงของการนิเทศ และความต้องการการ
นิเทศ ภายในสถานศึกษาของท่านทั้ง 5 ด้าน โดยขอให้ท่านอ่านข้อความในแต่ละข้อแล้วพิจารณา
ตามความคิดเห็นที่เหมาะสม โดยให้ค่าน้ำหนักการประเมิน 5 ระดับดังนี้
5 หมายถึง ระดับการนิเทศที่ปฏิบัติ และระดับการนิเทศที่ต้องการมากที่สุด
4 หมายถึง ระดับการนิเทศที่ปฏิบัติ และระดับการนิเทศที่ต้องการมาก
3 หมายถึง ระดับการนิเทศที่ปฏิบัติ และระดับการนิเทศที่ต้องการปานกลาง
2 หมายถึง ระดับการนิเทศที่ปฏิบัติ และระดับการนิเทศที่ต้องการน้อย
1 หมายถึง ระดับการนิเทศที่ปฏิบัติ และระดับการนิเทศที่ต้องการน้อยที่สุด
110
สภาพของการนิเทศ ความต้องการนิเทศ ลำดับ รายการนิเทศ 5 4 3 2 1 5 4 3 2 1
ด้านหลักสูตร
1. การสำรวจความต้องการและปัญหาเกี่ยวกับงาน
ด้านหลักสูตร
2. แนะนำให้ครูผู้สอนวิเคราะห์หลักสูตรก่อนทำ
การสอนเพื่อให้ทราบจุดมุ่งหมายและแนวทาง
ในการปฏิบัติ
3. การสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับจุดมุ่งหมาย/หลัก
การและโครงสร้างของหลักสูตร
4. แนะนำให้ครูปรับปรุงหลักสูตร คู่มือการเรียน
การสอน ใบงาน และเอกสารประกอบการสอน
ให้มีความทันสมัย
5. แนะนำด้านการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรการ
เรียนการสอนด้านวิชาชีพ
6. จัดเตรียม และแนะนำการใช้เอกสารประกอบ
หลักสูตรและคู่มือครู เพื่อให้สามารถจัดการ
เรียนการสอนได้อย่างเหมาะสม
7. การตรวจสอบและควบคุมการเรียนการสอนให้
ตรงตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
8. จัดการสัมมนา/อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการ
พัฒนาหลักสูตรให้ตรงตามความต้องการของ
ตลาดแรงงาน
9. จัดประชุมกรรมการของวิทยาลัย เพื่อติดตาม
และประเมินผลการใช้หลักสูตรอย่างต่อเนื่อง
ด้านการเรียนการสอน
10. จัดประชุมครูผู้สอนเพื่อเตรียมงานด้านการสอน
111
ก่อนเปิดภาคเรียน
สภาพของการนิเทศ ความต้องการนิเทศ ลำดับ รายการนิเทศ 5 4 3 2 1 5 4 3 2 1
11. บริการด้านคู่มือ/ เอกสารทางวิชาการ และ
หนังสือที่ใช้ประกอบการเรียนการสอนให้แก่ครู
ผู้สอนอย่างเพียงพอ
12. การให้บริการ/จัดเก็บ และบำรุงรักษาสื่อการ
เรียนการสอน
13. การแนะนำให้ใช้วิธีสอนที่เน้นทักษะ/กระบวน
การ เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ ความเข้าใจที่
แท้จริง
14. การส่งเสริมให้ครูผู้สอนจัดทำโครงการสอน/
แผนการสอน และบันทึกการสอน
15. มีการชี้แนะให้จัดสภาพแวดล้อมภายในห้อง
เรียนและพื้นที่ฝึกปฏิบัติ ให้เอื้อต่อการจัดกิจ
กรรมการเรียนการสอน
16. จัดให้มีการเข้าเยี่ยมชั้นเรียนและแนะนำเทคนิค
การสอนเป็นรายบุคคล
17. จัดวิทยากรหรือผู้เชี่ยวชาญมาสาธิตวิธีการสอน
และเทคนิคการสอนแบบใหม่
18. ได้รับการแนะนำให้จัดทำแฟ้มข้อมูลประจำตัว
นักเรียนเป็นรายบุคคล เพื่อประโยชน์ในการจัด
กิจกรรมการเรียนการสอน
19. จัดหาวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ และเครื่องจักรที่จำ
เป็นต้องใช้ในการเรียนการสอน
20. ส่งเสริมให้ครูผู้สอนมีการประชุม แลกเปลี่ยน
ความคิดเห็นทางวิชาการและประสบการณ์การ
สอน
112
21. มีการติดตามดูแล และประเมินผลการสอนของ
ครูผู้สอน
สภาพของการนิเทศ ความต้องการนิเทศ ลำดับ รายการนิเทศรายการนิเทศ 5 4 3 2 1 5 4 3 2 1
ด้านสื่อการเรียนการสอน
22. การสำรวจความต้องการใช้วัสดุ/อุปกรณ์ในการ
สร้างสื่อการเรียนการสอน
23. การบริการจัดหาวัสดุเพื่อนำไปสร้างสื่อการ
เรียนการสอน
24. จัดให้มีโครงการแลกเปลี่ยน ยืมสื่อ วัสดุอุปกรณ์
การสอนระหว่างสถานศึกษา
25. ส่งเสริมให้ครูมีการจัดหาหรือจัดสร้างสื่อด้วย
ตนเองเพื่อใช้ในการเรียนการสอนทุกรายวิชา
26. แนะนำและให้คำปรึกษา ในการผลิตสื่อการ
เรียนการสอนให้สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียน
การสอนตามแผนการสอน
27. แนะนำให้ใช้ห้องสมุดเป็นสื่อในการจัดกิจ
กรรมการเรียนการสอน
28. ให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้วัสดุ/อุปกรณ์โสต
ทัศนูปกรณ์ในวิชาช่างอุตสาหกรรม
29. จัดอบรมการสร้างสื่อการเรียนการสอนโดยใช้
เทคโนโลยี และนวัตกรรมใหม่ ๆ เช่น
คอมพิวเตอร์ วีดีโอ ฯ
30. มีการแนะนำหนังสือ วารสารทางวิชาการ และ
เทคโนโลยีใหม่ เพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้
31. ติดตามและประเมินผลการใช้สื่อการเรียนการ
สอนของครูผู้สอน
ด้านการพัฒนาบุคลากร
32. ส่งเสริมครูช่างอุตสาหกรรมในการศึกษาต่อ
113
33. จัดสำรวจความต้องการของครูในการเข้ารับการ
อบรม เพื่อพัฒนาเกี่ยวกับกลุ่มประสบการณ์วิชา
ชีพในรายวิชาชีพเฉพาะสาขาวิชา
สภาพของการนิเทศ ความต้องการนิเทศ
ลำดับ รายการนิเทศ 5 4 3 2 1 5 4 3 2 1
34. ส่งเสริมครูช่างอุตสาหกรรมในการฝึกอบรม
หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการ และดูงานนอก
สถานที่
35. การส่งครูผู้สอนไปฝึกงาน/อบรม ในสถาน
ประกอบการ เพื่อนำความรู้ และทักษะที่ได้รับ
มาพัฒนาการเรียนการสอน
36. ส่งเสริมครูช่างอุตสาหกรรมให้มีส่วนร่วมในกิจ
กรรมของชุมชน
37. ส่งเสริมให้ครูช่างอุตสาหกรรมทำการทดลอง
การวิจัยเกี่ยวกับงานช่างอุตสาหกรรม
38. การแนะนำให้จัดทำผลงานทางวิชาการเพื่อ
ความก้าวหน้าในอาชีพครู
39. ส่งเสริมผลงานของครูช่างอุตสาหกรรมโดยการ
เผยแพร่ผลงานแก่บุคคลทั่วไป
40. จัดให้มีการโยกย้าย/สับเปลี่ยนหน้าที่เพื่อเป็น
การเพิ่มประสบการณ์ในการทำงาน
41. การแนะนำให้นำความรู้ที่ได้จากการประชุม/อบ
รมมา เผยแพร่แก่ครูในวิทยาลัยอย่างสม่ำเสมอ
42. การแนะนำให้นำความรู้ที่ได้จากการประชุมอบ
รมมาใช้เป็นข้อมูลปรับปรุงและพัฒนาการเรียน
การสอน
43. ติดตามและประเมินผลการพัฒนาของครูช่าง
อุตสาหกรรม
ด้านการวัดและประเมินผล
44. มีการกำหนดปฏิทินปฏิบัติงานการวัดผลตลอด
114
ภาคเรียนและแจ้งให้ครูผู้สอนทราบ
สภาพของการนิเทศ ความต้องการนิเทศ ลำดับ รายการนิเทศ 5 4 3 2 1 5 4 3 2 1
45. ชี้แจง และแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตาม
ระเบียบว่าด้วยการวัดผลและประเมินผลการ
เรียนของกรมอาชีวศึกษา
46. จัดทำเอกสาร ข่าวสาร ที่เป็นความรู้เกี่ยวกับการ
วัดผลและประเมินผลเพื่อเผยแพร่แก่ครูผู้สอน
47. การแนะนำการประเมินผลก่อนเรียน ระหว่าง
เรียน และหลังจบบทเรียน
48. การแนะนำวิธีการสร้างเครื่องมือวัดผลทั้งราย
วิชาในภาคทฤษฎี และรายวิชาในภาคปฏิบัติ
49. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ สร้างเครื่องมือวัดจุด
ประสงค์การเรียนรู้
50. จัดให้มีการวิเคราะห์ข้อสอบ และจัดทำข้อสอบ
มาตรฐาน
51. จัดหาวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ ที่จำเป็นในการ
ประเมินผล
52. ติดตามและประเมินผลการวัดผลและประเมิน
ผลการเรียนการสอนของครูผู้สอนอย่างต่อเนื่อง
115
ตอนที่ 3 ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่าง ๆ เกี่ยวกับสภาพและความต้องการการนิเทศภายในด้าน
วิชาการของครู ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม ที่ต้องการจะเพิ่มเติมในด้านต่าง ๆ ดังนี้
ด้านหลักสูตร…………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………
………………………………
ด้านการเรียนการสอน…………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………
………………………………
ด้านสื่อการเรียนการสอน……………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………
………………………………
116
ด้านการพัฒนาบุคลากร………………………………………………..………………….…
…………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………
………………………………
ด้านการวัดและประเมินผล……………………………………………...……………………
…………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………
………………………………
ขอบคุณที่กรุณาตอบแบบสอบถาม
ภาคผนวก ข
รายชื่อผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเครื่องมือ
117
รายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่ตรวจความตรงในเนื้อหา และการใช้ภาษาของแบบสอบถาม
1. ดร.วิโรจน  วัฒนานิมิตกูล
ประธานกรรมการบริหารหลักสูตร ครุศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน)
2. นายทวีศักดิ์ จงประดับเกียรติ
รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ โรงเรียนสาธิตมัธยม สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
3. นายสมศักดิ์ สังข์แก้ว
ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ วิทยาลัยเทคนิคสมุทรสาคร
4. นางเพ็ญศรี วงศ์แสนเจริญดี
หัวหน้างานวัดผลและประเมินผล วิทยาลัยเทคนิคสมุทรสาคร
ภาคผนวก ค
หนังสือราชการที่เกี่ยวข้อง
ประวัติผู้วิจัย
124
ประวัติผู้วิจัย
ชื่อ นายราเมศ จ่างผล
เกิดวันที่ 5 กันยายน พุทธศักราช 2516
สถานที่เกิด ตำบลโพธิ์ม่วงพันธ์ อำเภอสามโก้ จังหวัดอ่างทอง
ที่อยู่ปัจจุบัน 8/14 หมู่ 4 ตำบลท่าจีน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร
เริ่มรับราชการ 9 พฤษภาคม พุทธศักราช 2539 วิทยาลัยเทคนิคสมุทรสาคร
อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร
ตำแหน่งหน้าที่ปัจจุบัน อาจารย์ 1 ระดับ 5
สถานที่ทำงานปัจจุบัน วิทยาลัยเทคนิคสมุทรสาคร อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร
โทรศัพท์ 0-3441-1248
ประวัติการศึกษา พ.ศ. 2528 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลบ้านกล้วย
ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท
พ.ศ. 2531 ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนชัยนาทพิทยาคม
ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท
พ.ศ. 2534 ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาช่างกลโรงงาน
วิทยาลัยเทคนิคชัยนาท อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท
พ.ศ. 2537 ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาเทคนิคการผลิต
วิทยาลัยเทคนิคนครสวรรค์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์
พ.ศ. 2539 หลักสูตรประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.)
สาขาเครื่องมือกล วิทยาลัยเทคนิคพิษณุโลก อำเภอเมือง
จังหวัดพิษณุโลก
พ.ศ. 2546 หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา
(ค.ม.) สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา


ศึกษาสภาพและความต้องการการนิเทศภายในด้านวิชาการของครูประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม (ตอนที่ 1)

ศึกษาสภาพและความต้องการการนิเทศภายในด้านวิชาการของครูประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม (ตอนที่ 2)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น