วันเสาร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2554

รูปแบบศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงาน (ตอนที่ 1)



ประกาศคุณูปการ
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ สำเร็จลงได้ด้วยความกรุณาของรองศาสตราจารย์ฉวีวรรณ คูหาภินันทน์ และรองศาสตราจารย์จุมพจน์ วนิชกุล อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ชลลดา พงศ์พัฒนโยธิน ที่ชี้แนะ ชี้แนวทาง ได้ให้กำลังใจ ได้ตรวจทานแก้ไขข้อบกพร่องต่าง ๆ และได้ให้คำแนะนำด้านวิชาการที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง ผู้วิจัยซาบซึ้งในพระคุณของท่านอาจารย์และขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงไว้ ณ ที่นี้
ขอขอบพระคุณผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่านที่กรุณาสละเวลาช่วยเหลือ และให้คำแนะนำในการแก้ไขเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยจนเสร็จสมบูรณ์ รวมทั้งขอขอบพระคุณผู้อำนวยการสถานศึกษาและรองผู้อำนวยการสถานศึกษา ฝ่ายบริหารวิชาการ โรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดสมุทรปราการที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในระหว่างการวิจัย
คุณค่าและประโยชน์ใดๆ ของวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ผู้วิจัยขอมอบเป็นเครื่องบูชาพระคุณบิดา มารดา และครูอาจารย์
จิตราพรรณ์ ฉัตรสถานนท์
วิทยานิพนธ์ รูปแบบศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ
โดย นางสาวจิตราพรรณ์ ฉัตรสถานนท์
สาขา บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
ประธานกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ รองศาสตราจารย์ฉวีวรรณ คูหาภินันทน์
กรรมการ รองศาสตราจารย์จุมพจน์ วนิชกุล
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา อนุมัติให้นับวิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
...................................................... ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายงานบัณฑิตศึกษา
(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สรายุทธ์ เศรษฐขจร)
คณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์
.................................................................ประธานกรรมการ
(รองศาสตราจารย์ ดร.วราภรณ์ บวรศิริ)
.................................................................กรรมการ
(รองศาสตราจารย์ฉวีวรรณ คูหาภินันทน์)
.................................................................กรรมการ
(รองศาสตราจารย์จุมพจน์ วนิชกุล)
.................................................................กรรมการ
(รองศาสตราจารย์หรรษา ศิวรักษ์)
.................................................................กรรมการ
(อาจารย์มนต์ฤดี วัชรประทีป)
ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
วิทยานิพนธ์ รูปแบบศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ
โดย นางสาวจิตราพรรณ์ ฉัตรสถานนท์
สาขา บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
ประธานกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ รองศาสตราจารย์ฉวีวรรณ คูหาภินันทน์
กรรมการ รองศาสตราจารย์จุมพจน์ วนิชกุล
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา อนุมัติให้นับวิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
...................................................... ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายงานบัณฑิตศึกษา
(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สรายุทธ์ เศรษฐขจร)
คณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์
.................................................................ประธานกรรมการ
(รองศาสตราจารย์ ดร.วราภรณ์ บวรศิริ)
.................................................................กรรมการ
(รองศาสตราจารย์ฉวีวรรณ คูหาภินันทน์)
.................................................................กรรมการ
(รองศาสตราจารย์จุมพจน์ วนิชกุล)
.................................................................กรรมการ
(รองศาสตราจารย์หรรษา ศิวรักษ์)
.................................................................กรรมการ
(อาจารย์มนต์ฤดี วัชรประทีป)
ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
จิตราพรรณ์ ฉัตรสถานนท์. (2548). รูปแบบศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. คณะกรรมการควบคุม รองศาสตราจารย์ฉวีวรรณ คูหาภินันทน์
รองศาสตราจารย์จุมพจน์ วนิชกุล
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดรูปแบบของศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียน มัธยมศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ ในด้านความร่วมมือระหว่างห้องสมุดและข่ายงานห้องสมุด
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจประชากรที่ใช้ศึกษา คือ ผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษาและครูบรรณารักษ์ห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 66 คน โดยใช้แบบสอบถามในการรวบรวมข้อมูลสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยสรุปได้ว่า รูปแบบศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ ควรร่วมมือในระดับจังหวัด ควรเป็นหน่วยงานเฉพาะมีสำนักงานโดยตรงที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการติดต่อ และมีหัวหน้างานรับผิดชอบปฏิบัติงานเต็มเวลา ด้านงบประมาณควรมีการจัดสรรให้โดยเฉพาะ ศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา มีความสำคัญต่อการพัฒนาห้องสมุดโรงเรียนให้ได้มาตรฐานทัดเทียมกัน ทำให้ห้องสมุดเป็นศูนย์รวมสารนิเทศ สามารถขยายงานบริการให้กับผู้ใช้มากยิ่งขึ้น และส่งเสริมการค้นคว้าหาความรู้ของนักเรียนเพิ่มมากขึ้น และมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันจัดกระบวนการปฏิบัติงานต่างๆ ให้มีมาตรฐานเดียวกัน เป็นศูนย์ข้อมูลทางวิชาการ และเพื่อใช้สารนิเทศร่วมกัน มีหน้าที่กำหนดมาตรฐานในการปฏิบัติงานร่วมกัน และพัฒนา ปรับปรุงระบบความร่วมมือและข่ายงานห้องสมุด รวมทั้งกิจกรรมที่ได้จัดทำขึ้นโดยมีเป้าหมายของข่ายงานห้องสมุดเพื่อให้สามารถติดต่อสื่อสารในระบบออนไลน์ได้ มีฐานข้อมูลที่ใช้สืบค้นสารนิเทศร่วมกัน ส่วนโครงสร้างของข่ายงานห้องสมุดผู้บริหารเห็นว่าโครงสร้างแบบผสมผสานเหมาะสม ส่วนบรรณารักษ์เห็นว่าควรเป็นโครงสร้างแบบกระจาย ในด้านกิจกรรมความร่วมมือระหว่างห้องสมุด บรรณารักษ์ต้องการมากที่สุดในแต่ละด้าน ได้แก่ งานด้านห้องสมุด งานด้านวิชาการ และงานด้านการสอน ส่วนกิจกรรมของข่ายงานของศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียนที่ต้องการ คือ การพัฒนาทรัพยากรห้องสมุด การส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับข่ายงานให้กับบุคลากรห้องสมุด และการจัดหมู่และทำรายการ
ABSTRACT
Jitrapan Chatsatanon. (2005). The model for secondary school libraries development
Center in Samutprakan education service. The Master Degree thesis Bangkok: Graduate school of Bansomdej Chaopraya Rajabhat University.
The counselor committee: Associate professor Chaweewan Khuhapinant.
Associate professor Jumpot Vanichakul.
The objectives of this research are to study the model for secondary school libraries development center in Samutprakan education service in the cooperation among the libraries and library network.
This is the survey research. The studied populations in this research are the secondary school administrators and librarians in Samutprakan education service for 66 persons. The method in collecting data is questionnaire. The data is analyzed for the statistics by means of percentage, and standard deviation.
The results of the research can be summarized as; the foundation of the library work development center in the secondary school libraries development
center in Samutprakan education service has to cooperate altogether among the libraries in secondary schools in the province. The library work development center has to have the special service with the office that is the center of connection. The full time work director is responsible for the extra budget of the library work development center. This center is essentially in developing the school libraries to the same standard, the school library will be the center to gather all information of the secondary school of the Samutprakan province and to encourage the students in searching for knowledge. The foundation of the library work development center in the secondary school is the objective of upgrading the standard of searching information database of all school libraries, the cooperative of libraries is necessary in Samutprakan province to be in the

similar quality. This can reduce the budget of the working process at the end. It means all school libraries can link all information together.

The duties of this center are: set up work standard in cooperation among libraries, develop and reform cooperative system and library networking including the activities that have been set up.
There are different ideas in the structure of library networks between administrators and librarians. Administrators prefer the structure of composited network of all libraries but librarians prefer distributed network of the duty among libraries. The activities in cooperation of the school libraries which the librarians need most are library work , technical work, and teaching. The activities in networking of the library work development center in the secondary school which the librarians need are library resource improvement, the promotion of knowledge on networking for the librarians, items collecting, and listing.
บทที่ 1
บทนำ
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 (2542 : 32) บัญญัติไว้ในมาตรา 81 ให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาแห่งชาติ เพื่อปรับปรุงการศึกษาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งนำไปสู่การประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่2) พ.ศ.2545 ที่มีบทบัญญัติหลายมาตราในการจัด พัฒนา และปฏิรูปการศึกษาที่มุ่งประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทุกด้าน สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข โดยรัฐต้องจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีให้อย่างทั่วถึง และมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย มีการจัดการศึกษาสามรูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
สำหรับสถานศึกษาต้องจัดทำสาระหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2542 ตามความต้องการของท้องถิ่น โดยเน้นกระบวนการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ ส่งเสริมตาม ความถนัด ความสนใจของผู้เรียน ให้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติที่พัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ มีทักษะในกระบวนการคิด การแสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย รักการอ่าน ใฝ่รู้ใฝ่เรียนอย่างต่อเนื่อง สามารถเผชิญสถานการณ์และนำกระบวนการเรียนรู้ไปใช้ในการแก้ปัญหาชีวิตประจำวันได้ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ 2542 : 5 – 15) สอดคล้องกับแผนพัฒนาการศึกษาระยะที่ 9 พ.ศ. 2545 – 2549 ซึ่งเป็นแผนกลยุทธ์ของ กรมสามัญศึกษา คือ ส่งเสริมให้ครูใช้แหล่งการเรียนรู้ สื่อ เทคโนโลยีในการจัดและพัฒนากระบวนการเรียนการสอน ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากสื่อ และแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น (กรมสามัญศึกษา 2545 : 14 – 37)
ห้องสมุดโรงเรียนเป็นแหล่งสำคัญที่จะให้ความรู้ และวิทยาการต่างๆ ที่มีบทบาทต่อกระบวนการเรียนรู้ นักการศึกษาหลายท่านได้ชี้ให้เห็นบทบาทของห้องสมุดโรงเรียนไว้ ดังนี้
ฉวีลักษณ์ บุญยะกาญจน (2528 : 57) กล่าวว่าห้องสมุดโรงเรียนเป็นแหล่งที่จะช่วยยกสภาพสังคม อีกทั้งยังช่วยเป็นแหล่งค้นคว้าหาความรู้ที่ต้องการเพื่อยกระดับอาชีพ และคุณค่าทางวัฒนธรรมให้แก่ชุมชน เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าตลอดชีวิตของชุมชนและสังคม ชุติมา สัจจานันท์ (2544 : 18– 23) กล่าว่าห้องสมุดเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญและเกี่ยวกับการจัดการศึกษาทุกรูปแบบในการปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ห้องสมุด
2
และบรรณารักษ์ต้องสร้างวิสัยทัศน์ และกลยุทธ์เพื่อตอบรับกระแสแห่งการเปลี่ยนแปลงร่วมกันในการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ใหม่ ตลอดจนการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อจรรโลงสังคมไทยไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ ประพัฒน์พงศ์ เสนาฤทธิ์ (2544 : 23) กล่าวว่าพระราชบัญญัติการศึกษา แห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงการจัดการศึกษาโดยต้องจัดให้มีการเรียนที่หลากหลาย ห้องสมุดเป็นส่วนหนึ่งในระบบการศึกษาจะต้องมีการปรับเปลี่ยน ห้องสมุดจะมิใช่สถานที่ที่จัดเก็บหนังสืออย่างเดียว หากจะต้องจัดการให้เป็นศูนย์การเรียนหรือแหล่งรวบรวมทรัพยากรหลายประเภทและให้ความสำคัญกับการให้บริการเป็นเครือข่าย เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารนิเทศในห้องสมุดได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด รวมทั้งการยกระดับคุณภาพการศึกษา โดยการจัดระบบการประกันคุณภาพการศึกษาที่ให้สถานศึกษาประเมินคุณภาพภายในและต้องได้รับการประเมินคุณภาพ ภายนอก ซึ่งกำหนดเกณฑ์มาตรฐานและดัชนีชี้วัดที่ว่าโรงเรียนต้องมีสื่อการเรียนการสอนและผู้เรียนต้องมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักการอ่าน สามารถใช้ห้องสมุด และแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา รักการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ 2544 : 96,101) ดังที่ วันชัย ศิริชนะ (2541 : 37- 38) และอภัย ประกอบผล (2541 : 51 - 52) กล่าวว่า องค์ประกอบหนึ่งที่มีผลต่อการประกัน คุณภาพการศึกษา คือ ห้องสมุด เพราะมีบทบาทในฐานะเป็นแหล่งรวมองค์ความรู้ ส่งเสริมพัฒนาการทางวิชาการ และเป็นแหล่งสร้างเสริมลักษณะนิสัยการค้นคว้าตนเองให้แก่ ผู้เรียน ดังนั้นโรงเรียนจึงจำเป็นต้องจัดห้องสมุดให้มีองค์ประกอบตามเกณฑ์มาตรฐานทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ
ปัจจุบันความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีสารนิเทศ และเทคโนโลยีคมนาคมส่งผลให้โลกมีลักษณะแคบลงหรือเป็นโลกที่ไร้พรมแดนรวมทั้งการผลิตเอกสารสิ่งพิมพ์และข้อมูลข่าวสารเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมีการจัดเก็บในรูปของสื่อแบบต่างๆกัน เนื้อหาที่หลากหลายและมาก มายนี้ ทำให้เกินกำลังที่ห้องสมุดหนึ่งห้องสมุดใดจะรวบรวมไว้ให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสนองตอบความต้องการของผู้ใช้ได้ ตลอดจนงบประมาณในการจัดซื้อทรัพยากรสารนิเทศเข้า ห้องสมุดอยู่ในวงจำกัด อันก่อให้เกิดผลกระทบอย่างยิ่งต่อการดำเนินภารกิจของห้องสมุดแต่ ห้องสมุดจะต้องพัฒนาไปโดยไม่หยุดยั้ง ทางออกที่จำเป็น คือ การสร้างความร่วมมือ เพื่อนำไปสู่การเชื่อมโยงห้องสมุดทุกประเภทให้เป็นเครือข่าย อันจะเกื้อกูลต่อการให้บริการ เพื่อการเรียนรู้และการศึกษาได้อย่างแท้จริง (ชุติมา สัจจานันท์ 2542 : 74) จากปัญหาดังกล่าว ในปี พ.ศ.2540กลุ่มครูบรรณารักษ์ห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ ได้จัดตั้ง ศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียน สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ
3
จำนวน 22 โรงเรียน ขึ้นโดยใช้ยุทธศาสตร์กรมสามัญศึกษา ที่ให้โรงเรียนมัธยมศึกษาส่งเสริม และประสานความร่วมมือในการใช้ทรัพยากรร่วมกัน เช่น การใช้สื่อ เทคโนโลยี และแหล่งเรียนรู้ส่งเสริมการจัดเครือข่ายอินเทอร์เน็ตระหว่างโรงเรียนกับองค์กรอื่นๆ เพื่อยกระดับคุณภาพ การศึกษา และรักษามาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนภายในกลุ่มโรงเรียน และสหวิทยาเขตหรือเขตพื้นที่การศึกษาให้เท่าเทียมกัน ที่เน้นการบริหารงานวิชาการที่ใช้ศูนย์พัฒนาวิชาการเป็นหน่วยปฏิบัติ มีหน้าที่เป็นศูนย์กลางทางวิชาการในด้านการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการจัดการเรียนการสอน จัดอบรมสัมมนา ประชุมเชิงวิชาการและการจัดกิจกรรมทางวิชาการและจัดสรรเงินงบประมาณให้ดูแลโรงเรียนในกลุ่มดำเนินงานทางวิชาการด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพซึ่งงานห้องสมุดเป็นส่วนหนึ่งของงานส่งเสริมงานวิชาการ (กรมสามัญศึกษา 2542 ก : 54 - 58) ศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียน จึงสร้างความร่วมมือของครูบรรณารักษ์ในการดำเนินกิจกรรม ร่วมประชุมทางวิชาการแลกเปลี่ยนความรู้ใหม่ ๆ ความคิดเห็นประสบการณ์ซึ่งกันและกัน รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือโรงเรียนขนาดเล็ก ต่อมาในปีพ.ศ. 2542 ศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ ได้ยกเลิกไป เนื่องจากการประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ปีพุทธศักราช 2542 ทำให้ความร่วมมือระหว่างครูบรรณารักษ์ขาดการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง การอบรมทางวิชาการ และการให้ความช่วยเหลือระหว่างห้องสมุดโรงเรียน ซึ่งมีผลต่อการพัฒนาห้องสมุดโรงเรียนให้สอดคล้องกับการปฏิรูปการศึกษา เช่น ในด้านการทำกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ขาดการแลกเปลี่ยนความรู้และความร่วมมือในการจัดกิจกรรมให้กับนักเรียน และครูบรรณารักษ์ส่วนใหญ่ไม่มีโอกาสที่จะได้พบและแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในงานห้องสมุด ร่วมทั้งห้องสมุดโรงเรียนขนาดเล็กจะขาดการพัฒนาและความช่วยเหลือจากโรงเรียนที่มีความพร้อมมากกว่า จึงเห็นควรว่าศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียนควรจะดำรงอยู่เพื่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างห้องสมุดโรงเรียน และร่วมกันพัฒนางานห้องสมุดโรงเรียนให้มีมาตรฐานเดียวกัน และสนับสนุนการเรียนการสอนให้รองรับการปฏิรูปการศึกษา
ดังนั้นห้องสมุดโรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ส่งเสริมการเรียนการสอนตามแนวทาง ปฏิรูปการศึกษา ความเจริญทางด้านเทคโนโลยีที่ไม่หยุดนิ่ง โลกที่ไร้พรมแดน ทำให้รูปแบบและขอบเขตการให้บริการของห้องสมุดต้องมีการพัฒนา แต่การที่ห้องสมุดพัฒนาระบบสารสนเทศเพียงลำพัง ต้องใช้งบประมาณจำนวนมหาศาล ความร่วมมือระหว่างห้องสมุดจึงต้องเกิดขึ้นในการดำเนินงานร่วมกันเพื่อให้บริการสารสนเทศแก่ผู้ใช้ห้องสมุดได้อย่างเพียงพอรวดเร็ว และมี ประสิทธิภาพ มีความร่วมมือกันในการจัดระบบให้สามารถถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนสารนิเทศซึ่งกันและกันให้เกิดประโยชน์สูงสุดและสร้างมาตรฐานการปฏิบัติงานให้เป็นรูปแบบเดียวกันในการ
4
แบ่งปันการใช้ทรัพยากรของแต่ละห้องสมุด ลดการซ้ำซ้อนในการปฏิบัติงานของห้องสมุด ผู้วิจัยจึงต้องการศึกษา รูปแบบ และการดำเนินงานความร่วมมือของห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อเป็นแนวทางการสร้างความร่วมมือให้แก่ห้องสมุดโรงเรียนต่อไป
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ
2. เพื่อกำหนดรูปแบบของศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดสมุทรปราการในด้านความร่วมมือระหว่างห้องสมุด และข่ายงานห้องสมุด
นิยามศัพท์เฉพาะ
ศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียน หมายถึง ศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียน มัธยมศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อความร่วมมือระหว่างห้องสมุด
รูปแบบ หมายถึง แนวทางความร่วมมือระหว่างห้องสมุดโรงเรียน และลักษณะข่ายงานห้องสมุดโรงเรียนเพื่อดำเนินกิจกรรมร่วมกันระหว่างห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ
ความร่วมมือระหว่างห้องสมุด หมายถึง การดำเนินกิจกรรมร่วมกันของกลุ่ม ครูบรรณารักษ์โรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ
ข่ายงานห้องสมุด หมายถึง การดำเนินงานร่วมกันระหว่างห้องสมุดรูปแบบภาคี ห้องสมุดเพื่อเชื่อมโยงอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน โดยใช้เทคโนโลยีโทรคมนาคมเป็นเครื่องมือปฏิบัติงานในลักษณะของเครือข่าย มาจัดระบบให้สามารถถ่ายโอนและแลกเปลี่ยนสารนิเทศซึ่งกันและกันระหว่างห้องสมุดโรงเรียนได้
ผู้บริหารสถานศึกษา หมายถึง ผู้อำนวยการสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษาและผู้ช่วยผู้อำนวยการสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษาฝ่ายบริหารวิชาการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ (ไม่รวมโรงเรียนขยายโอกาสและโรงเรียนเอกชน)
หัวหน้างานห้องสมุดและบรรณารักษ์ห้องสมุดโรงเรียน หมายถึง ครูบรรณารักษ์ที่เป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารงานห้องสมุดโรงเรียน และปฏิบัติงานห้องสมุดโรงเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ (ไม่รวมโรงเรียนขยายโอกาสและโรงเรียนเอกชน)
5
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย
1. เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานของศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา ในด้านความร่วมมือระหว่างห้องสมุดโรงเรียน และการสร้างข่ายงานห้องสมุด ให้สอดคล้องกับความต้องการของสมาชิก
2. เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงานของศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียนจังหวัดอื่นๆ ต่อไป
ขอบเขตของการวิจัย
ประชากรที่ใช้ในการวิจัย
1. ผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
จังหวัดสมุทรปราการ
2. หัวหน้างานห้องสมุดโรงเรียนหรือครูบรรณารักษ์ห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ
3. โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ
ยกเว้นโรงเรียนขยายโอกาสและโรงเรียนเอกชน
กรอบแนวคิดในการวิจัย
การศึกษาทฤษฎีความร่วมมือระหว่างห้องสมุด และความร่วมมือลักษณะข่ายงาน ห้องสมุด
จากขอบข่ายแนวคิดทฤษฎีดังกล่าวข้างต้น สามารถแสดงเป็นแผนภูมิกรอบแนวคิดทางการวิจัย ได้ตามแผนภาพที่ 1 ดังนี้
6
กรอบแนวคิดในการวิจัย
เรื่อง รูปแบบศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ
มาตรฐานห้องสมุดโรงเรียน
การดำเนินงานของศูนย์พัฒนางาน
ห้องสมุดโรงเรียน สังกัดกรมสามัญศึกษา
จังหวัดสมุทรปราการ มี 3 ด้าน คือ
1. งานด้านห้องสมุด
2. งานด้านวิชาการ
3. งานด้านการสอน
ความร่วมมือระหว่างห้องสมุด
(Library Cooperation)
1. รูปแบบของความร่วมมือระหว่างห้องสมุด
2. ลักษณะของความร่วมมือระหว่างห้องสมุด
3. ระดับความร่วมมือระหว่างห้องสมุด
4. ประเภทของความร่วมมือ
5. ลักษณะกิจกรรมของความร่วมมือ
ความร่วมมือลักษณะข่ายงานห้องสมุด
(Network)
1. พื้นฐานการดำเนินข่ายงานห้องสมุด
2. โครงสร้างของข่ายงาน
3. หน้าที่และกิจกรรมของข่ายงานห้องสมุด
รูปแบบของศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ
7
บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับห้องสมุดโรงเรียนและความร่วมมือระหว่างห้องสมุดโดยนำเสนอผลของการศึกษาไว้ 3 ตอน ดังนี้
ตอนที่ 1 ประกอบด้วยประเด็นการศึกษา คือ
1. ความหมายของห้องสมุดโรงเรียน
2. บทบาทและความสำคัญของห้องสมุดโรงเรียน
2. วัตถุประสงค์ของห้องสมุดโรงเรียน
3. มาตรฐานห้องสมุดโรงเรียน
ตอนที่ 2 ประกอบด้วยประเด็นการศึกษา คือ
1. ความร่วมมือระหว่างห้องสมุด
2. ข่ายงานห้องสมุดและสารนิเทศ
3. ความร่วมมือระหว่างห้องสมุดและเครือข่ายสารนิเทศในประเทศไทย
3.1 ความร่วมมือระหว่างห้องสมุดของสถาบันอุดมศึกษา
3.2 ความร่วมมือระหว่างห้องสมุดระหว่างห้องสมุดโรงเรียน
3.3 ความร่วมมือระหว่างข่ายงานสารนิเทศระดับชาติในประเทศไทย
4. ความร่วมมือระหว่างข่ายงานห้องสมุดระหว่างต่างประเทศ
ตอนที่ 3 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ตอนที่ 1
ความหมายของห้องสมุดโรงเรียน
ความหมายของห้องสมุดโรงเรียนมีผู้ให้ไว้ดังนี้
รัญจวน อินทรกำแหง และนวลจันทร์ รัตนากร (2531 : 17) ให้ความหมายไว้ว่า ห้องสมุดโรงเรียน หมายถึง สถาบันการศึกษาต่ำกว่าอุดมศึกษาได้แก่ห้องสมุดโรงเรียนอนุบาล โรงเรียนประถมศึกษา โรงเรียนมัธยมศึกษาและโรงเรียนอาชีวศึกษา ห้องสมุดโรงเรียนจะมีหนังสือเอกสารสิ่งพิมพ์และวัสดุอุปกรณ์ตาง ๆ ทุกสาขาวิชาในหลักสูตรระดับการศึกษาของโรงเรียนนั้นตั้งอยู่ มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมการเรียนของนักเรียนและการสอนของครู ดังนั้น ห้องสมุดโรงเรียน
8
จึงทำหน้าที่เป็นศูนย์การเรียนรู้ (Learning Resource Center) และเป็นองค์ประกอบสำคัญของโรงเรียนในการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการศึกษา
เฉลียว พันธุ์สีดา (2539 : 10) ให้ความหมายว่า ห้องสมุดโรงเรียนคือสถาบันการศึกษาที่ผู้บริหารโรงเรียนจัดเป็นแหล่งรวมทรัพยากรเพื่อการศึกษา ซึ่งมีทั้งวัสดุตีพิมพ์ และวัสดุไม่ตีพิมพ์ เป็นศูนย์วิชาการสำหรับครูและนักเรียนใช้ศึกษาหาความรู้ เพื่อประกอบการเรียนการสอน อาจจัดเป็นอาคารเอกเทศหรือห้องใดห้องหนึ่งในอาคารเรียนก็ได้ มีครูบรรณารักษ์ที่มีความรู้ ทางบรรณารักษศาสตร์ หรือ ครูที่คิดว่าเหมาะสมเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารงาน เช่น จัดหาทรัพยากรสารสนเทศ จัดหมู่หนังสือตามระบบสากลและมีการจัดทำเครื่องมือช่วยค้นหาเรื่องราว ข่าวสาร ข้อมูล อาทิ บัตรรายการ บรรณานุกรมเฉพาะเรื่อง ดรรชนีวารสาร เป็นต้น สำหรับให้ครู อาจารย์ และนักเรียนได้มีโอกาสเข้าถึงทรัพยากรการเรียนการสอนทุกชนิดได้สะดวกรวดเร็ว
นาวา วงษ์พรม (2547 : ออนไลน์) ให้ความหมายว่า ห้องสมุดโรงเรียนคือสถานที่ รวบรวมสรรพวิทยาการต่าง ๆ ทั้งในรูปวัสดุตีพิมพ์ และวัสดุไม่ตีพิมพ์ เพื่อใช้ประกอบหลักสูตรและส่งเสริมการเรียนการสอนในสถาบันการศึกษาในระบบโรงเรียนทุกระดับ โดยมีการบริหารและดำเนินการต่าง ๆ เพื่อตอบสนองแก่บุคลากรในโรงเรียนเป็นหลัก
เชิดชู กาฬวงศ์ (2545 : 55) มีความเห็นที่สอดคล้องกันว่าห้องสมุดโรงเรียนเป็นงานที่สำคัญเพราะเป็นแหล่งส่งเสริมความรู้ ให้แก่นักเรียน ครูและอาจารย์ ตลอดจนบริการความรู้ แก่ชุมชน ถ้าจะเปรียบห้องสมุดเสมือนขุมทรัพย์ก็ไม่ผิดนัก หนังสือเปรียบเหมือนกุญแจที่จะไขไปสู่ความเป็นปัญญาชนของคน
จากความหมายของห้องสมุดโรงเรียนดังกล่าว สรุปได้ว่า ห้องสมุดโรงเรียนหมายถึง ห้องสมุดในสถานศึกษาที่ต่ำกว่าระดับอุดมศึกษา เป็นแหล่งรวบรวมทรัพยากรในการศึกษา ที่มีทั้งวัสดุตีพิมพ์และวัสดุไม่ตีพิมพ์ ที่ส่งเสริมการเรียนการสอนตามหลักสูตรเพื่อให้ครูและนักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ ได้อย่างกว้างขวาง สนองความต้องการและความแตกต่างระหว่างบุคคล มีครูบรรณารักษ์ที่มี ความรู้ทางบรรณารักษศาสตร์ หรือครูที่เหมาะสมเป็นผู้บริหารงานในการ จัดหา จัดหมวดหมู่ทรัพยากรสารนิเทศ ตามระบบสากลและให้บริการโดยการจัดหาหรือจัดทำเครื่องมือช่วยค้นให้ผู้ใช้เข้าถึงทรัพยากรการเรียนการสอนทุกชนิดได้สะดวกรวดเร็ว
9
บทบาทและความสำคัญของห้องสมุด
ความสำคัญของห้องสมุดโรงเรียนมีผู้ให้ไว้ดังนี้
ทรรศนียา กัลยาณมิตร (2530 : 33) กล่าวว่า ห้องสมุดโรงเรียนจะเป็นแหล่งความรู้ที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นที่รวบรวมแหล่งความรู้ทั้งหลาย และเป็นศูนย์กลางของกิจกรรม การเรียนรู้ที่ทั้งหลายของโรงเรียนเป็นขุมทรัพย์ทางปัญญา
เฉลียว พันธุ์สีดา (2539 : 18) สรุปความสำคัญของห้องสมุดโรงเรียนได้กว้าง ๆ 2 ประการ คือ เป็นศูนย์ทรัพยากรการศึกษา ในการเป็นศูนย์กลางในด้านวัสดุอุปกรณ์การสอน การอ่าน การศึกษา ค้นคว้าที่ส่งเสริมการอ่านอย่างเสรี และเป็นศูนย์ช่วยส่งเสริมการศึกษาของนักเรียน ทักษะการอ่านที่มีสื่อการเสริมความรอบรู้ และการใช้ห้องสมุดรวมทั้งส่งเสริมอาชีพ งานอดิเรก ความคิดสร้างสรรค์ และความเข้าใจตนเอง เพื่อก้าวไปสู่โลกกว้าง
ภิญญาพร นิตยะประภา (2534 : 16) กล่าวว่า ห้องสมุดเป็นหัวใจของการศึกษาเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการเรียนรู้โดยใช้ห้องสมุดจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่คงทนถาวร เกิดนิสัยรักการเรยนรู้ สนใจใคร่ศึกษาอย่างสม่ำเสมอ เป็นการปลูกฝังเกิดนิสัยรักการศึกษาด้วยตนเองไปจนตลอดชีวิต
เชิดชู กาฬวงศ์ (2545 : 55) มีความเห็นที่สอดคล้องกันว่าห้องสมุดโรงเรียนเป็นงานที่สำคัญเพราะเป็นแหล่งส่งเสริมความรู้ให้แก่นักเรียน ครูและอาจารย์ ตลอดจนบริการความรู้แก่ ชุมชนถ้าจะเปรียบห้องสมุดเสมือนขุมทรัพย์ก็ไม่ผิดนัก หนังสือเปรียบเหมือนกุญแจที่จะไขไปสู่ความเป็นปัญญาชนของคน
จากบทบาทและความสำคัญของห้องสมุดโรงเรียน ดังกล่าวสรุปได้ว่าห้องสมุดโรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียนและเป็นองค์ประกอบสำคัญของการเรียนการสอนในหลักสูตรใหม่ ที่มุ่งให้ผู้เรียนรู้จักศึกษาค้นคว้าเกิดนิสัยรักการเรียนรู้ด้วยตนเองตลอดชีวิต
วัตถุประสงค์ของห้องสมุดโรงเรียน
ห้องสมุดโรงเรียนทำหน้าที่เป็นศูนย์การเรียนรู้ (Learning Resource Center) และเป็นองค์ประกอบสำคัญของโรงเรียนในการเป็นศูนย์กลางของการเรียนการสอน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการศึกษา (กรมวิชาการ 2543 : 14) คุณรัญจวน อินทรกำแหง (2531 : 20 – 21)
กล่าวว่าวัตถุประสงค์และหน้าที่ของห้องสมุดโรงเรียนมีดังนี้
10
1. เตรียมหนังสือและโสตทัศนวัสดุเพื่อส่งเสริมหลักสูตร นโยบายและโครงการของ โรงเรียนให้บรรลุหลักการและจุดมุ่งหมายที่วางไว้
2. เปิดโอกาสให้นักเรียนเลือกศึกษาค้นคว้าตามความสนใจ ความต้องการและความสามารถของแต่ละบุคคลเพื่อความเจริญงอกงามของสติปัญญาและจิตใจ
3. ส่งเสริมและแนะแนวการอ่านแก่นักเรียนให้นักเรียนสามารถหาความสุขความเพลิดเพลินจากการอ่าน รวมทั้งมีวิจารณญาณในการอ่าน
4. เตรียมนักเรียนให้มีประสบการณ์ในการใช้ห้องสมุดเพื่อสร้างนิสัยรักการอ่านและการค้นคว้าเพื่อการศึกษาตลอดชีวิต
5. ให้นักเรียนเกิดทักษะในการใช้หนังสือ และโสตทัศนวัสดุเพื่อประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้า
6. ให้บริการและความสะดวกแก่ครูในการเลือกใช้หนังสือและวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ใน ห้องสมุดเพื่อประโยชน์ในการสอน
7. ให้ความร่วมมือกับครูและผู้บริหารในทุกวิถีทางเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตาม วัตถุประสงค์ของห้องสมุด
8. ให้ความร่วมมือกับบรรณารักษ์และอื่นๆ ในชุมชนเดียวกันเพื่อช่วยสร้างสรรค์งาน ห้องสมุดของชุมชนให้เจริญก้าวหน้า
สมจิต พรหมเทพ (2542 : 2) กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของห้องสมุดโรงเรียนดังนี้
1. ส่งเสริมสนับสนุนนโยบายและหลักสูตรการเรียนการสอนของโรงเรียน
2. เป็นแหล่งส่งเสริมการค้นคว้าหาความรู้ของนักเรียน ตามความสนใจและความสามารถของนักเรียนเพื่อพัฒนาความเจริญงอกงามทางสติปัญญา
3. เป็นแหล่งปลูกฝังและส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน การค้นคว้าหาความรู้ของนักเรียนตลอดชีวิต
4. เป็นแหล่งแนะแนวการอ่าน สร้างความสามารถในการอ่านรวมทั้งส่งเสริมให้มี วิจารณญาณในการอ่านแก่นักเรียน
5. ทำให้นักเรียนมีความรู้ ความสามารถและทักษะในการใช้ห้องสมุด เพื่อเข้าใจในวิธีการใช้ห้องสมุดแหล่งอื่น เพื่อประโยชน์ทางการศึกษาและความเจริญก้าวหน้าแห่งตนเอง
6. ให้นักเรียนเกิดทักษะในการใช้หนังสือ เอกสารสื่อสิ่งพิมพ์อื่น ๆ รวมทั้งโสตทัศนวัสดุเพื่อประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้า
11
7. เป็นแหล่งบริการเลือกและใช้หนังสือและวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ในห้องสมุดเพื่อประโยชน์ต่อการสอนของครู โดยความร่วมมือระหว่างครูผู้สอนและบรรณารักษ์
8. ให้ความร่วมมือกับห้องสมุดโรงเรียนในชุมชนเดียวกัน ในอันที่จะพัฒนาปรับปรุงงานห้องสมุดและงานวิชาชีพ ให้มีการพัฒนางาน สร้างสรรค์งานเพื่อประโยชน์ต่อผู้ใช้และชุมชนให้กว้างขวางขึ้น
9. ให้ความร่วมมือกับผู้บริหารและครูผู้สอน ในการส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าทาง การศึกษา และความเจริญงอกงามทางสติปัญญาของผู้ใช้ทุกระดับ
มาตรฐานห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา พ.ศ. 2533 (กรมวิชาการ 2543 : 323) ในหมวด ก. มาตรฐานทั่วไป ตอนที่ 1 เรื่องหน้าที่และความรับผิดชอบ ได้กำหนดให้ห้องสมุด โรงเรียนมัธยมศึกษา มีหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังนี้
1. สนับสนุนและส่งเสริมการเรียนการสอนตามหลักสูตร ตลอดจนนโยบายและโครงการของโรงเรียน
2. ส่งเสริมให้นักเรียนมีทักษะในการใช้วัสดุสารนิเทศ เพื่อประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าประกอบการเรียน และรู้จักอ่านเพื่อความเพลิดเพลิน ความจรรโลงใจ และปรับปรุงรสนิยมในการอ่านให้ดีขึ้น
3. เตรียมนักเรียนให้มีประสบการณ์ในการใช้ห้องสมุดและแหล่งวิทยาการต่างๆ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษาและความเจริญก้าวหน้าในด้านอื่น ในอนาคต
4. ให้บริการและอำนวยความสะดวกแก่ครูอาจารย์ในการเลือกและใช้วัสดุสารนิเทศเพื่อประโยชน์ในการสอน
5. ส่งเสริมและแนะแนวการอ่านให้นักเรียนได้พัฒนานิสัยการอ่าน
6. ให้บริการชุมชนในท้องถิ่นที่โรงเรียนตั้งอยู่
สรุปได้ว่าวัตถุประสงค์ของห้องสมุดโรงเรียน คือ
1. ส่งเสริมและสนับสนุนนโยบายโครงการและหลักสูตรการเรียนการสอนของโรงเรียน
2. เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองของนักเรียน สร้างและพัฒนานิสัย รักการอ่านการค้นคว้าตลอดชีวิตของนักเรียน และแนะแนวการอ่าน ส่งเสริมการอ่านอย่าง มีวิจารณญาณ
3. ทำให้นักเรียนมีทักษะในการสืบค้นสารนิเทศและใช้ทรัพยากรสารนิเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้า
12
4. ให้ความร่วมมือกับห้องสมุดโรงเรียนในชุมชนเดียวกันเพื่อช่วยพัฒนาปรับปรุงงาน ห้องสมุด ให้เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้และชุมชน
5. ให้ความร่วมมือกับผู้บริหารและครูผู้สอนในการให้บริการทรัพยากรสารนิเทศเพื่อ เอื้อต่อการเรียนการสอนตามนโยบายของโรงเรียน
มาตรฐานการดำเนินงานห้องสมุดโรงเรียน
งานห้องสมุดเป็นงานบริการทางวิชาการ ครูบรรณารักษ์จะต้องปฏิบัติและรับผิดชอบการดำเนินงานของห้องสมุดให้เป็นแหล่งสนับสนุนการเรียนการสอนในโรงเรียน เป็นแหล่งความรู้และบริการแก่ชุมชน โดยแบ่งงานเป็น 5 งาน ( กรมวิชาการ 2536 : 16 ) คือ
1. งานบริหาร เป็นงานที่ต้องนำเอาหลักการบริหารงานทั่วไปมาใช้ เพื่อดำเนินงานห้องสมุดให้บรรลุเป้าหมาย งานบริหาร ได้แก่ การจัดดำเนินงานเกี่ยวกับนโยบาย บุคคลกร อาคารสถานที่ ครุภัณฑ์ การเงิน งานธุรการ งานเก็บสถิติห้องสมุด รายงานและงานประชาสัมพันธ์
2. งานเทคนิค เป็นงานที่จัดขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ในการค้นคว้า วัสดุสารนิเทศจากห้องสมุด ได้แก่ การเลือกและจัดหา การวิเคราะห์หมวดหมู่และ ทำบัตรรายการ การจัดเตรียมเพื่อให้บริการ การระวังรักษาทรัพยากรสารนิเทศ การสำรวจและจำหน่ายออก
3. งานบริการ เป็นงานที่อำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ในด้านการอ่าน การค้นคว้าหาความรู้และการส่งเสริมการอ่านให้กว้างขวางและทั่วถึง งานบริการแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ งานบริการห้องสมุด และงานกิจกรรมห้องสมุด
4. งานสนับสนุนการเรียนการสอน เป็นงานที่สนับสนุนการเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการในวิชาต่าง ๆ ตามหลักสูตร และส่งเสริมให้นักเรียนมีทักษะในการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
5. งานกิจกรรมนักเรียนและงานสอนรายวิชาที่เกี่ยวกับห้องสมุด งานกิจกรรม นักเรียนเป็นงานที่จะช่วยเสริมสร้างประสบการณ์ให้แก่นักเรียนให้มีความรู้นอกเหนือจากที่ หลักสูตรกำหนดเนื้อหาวิชาไว้ ส่วนรายวิชาที่สอนเกี่ยวกับห้องสมุดเป็นวิชาเลือกเสรีในกลุ่ม วิชาอาชีพ กลุ่มที่ 2 งานบริการ
13
ไชยา ภาวะบุตร ( 2542 : 19 , 55, 117, 159 ) กล่าวถึงลักษณะงานห้องสมุดโรงเรียนโดยแบ่งเป็น 4 งาน คือ
1. การบริหารงานห้องสมุด เป็นการวางนโยบายของห้องสมุด ที่กำหนดทิศทางและเป้าหมายในการปฏิบัติงานของบรรณารักษ์ โดยแบ่งงาน ดังนี้
1.1 งานนโยบายและแผน
1.2 งานบุคลากร
1.3 งานอาคารสถานที่
1.4 งานธุรการ
1.5 งานการเงิน
1.6 งานประชาสัมพันธ์
1.7 งานสถิติ
1.8 การทำรายงาน
2. งานเทคนิคห้องสมุด เป็นงานที่ต้องใช้ความรู้ทางด้านวิชาบรรณารักษศาสตร์ โดยตรง ซึ่งจะต้องดำเนินงานเกี่ยวกับการเลือก การจัดซื้อ จัดหาสิ่งพิมพ์และโสตทัศนวัสดุเข้าห้องสมุด แล้วจัดเตรียมเพื่อให้บริการ เช่น การลงทะเบียน การจัดชั้น การจัดหมู่หนังสือ การทำบัตรรายการ การจัดซื้อ การซ่อมหนังสือ การสำรวจและจำหน่ายหนังสือ การทำดรรชนี วารสาร และรวบรวมบรรณานุกรม
3. งานบริการและกิจกรรมห้องสมุด งานบริการนับเป็นหัวใจของห้องสมุด ทำให้เกิดความเคลื่อนไหวในด้านต่าง ๆ เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้มีผู้ใช้วัสดุสารสนเทศมากขึ้นงานบริการที่จัดอย่างมีประสิทธิภาพเป็นการประชาสัมพันธ์ที่ดีที่สุด ทำให้ผู้ใช้บริการเห็นความสำคัญ ครูและนักเรียนควรได้รับบริการเพื่อส่งเสริมการเรียนการสอนให้ตรงตามจุดหมายของหลักสูตร
4. การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ห้องสมุด ครูบรรณารักษ์ต้องศึกษาหลักสูตรเพื่อจัดหาหนังสือ สิ่งพิมพ์ ตลอดจนสื่อต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับรายวิชาที่เปิดสอนในโรงเรียน พร้อมทั้งจัดเตรียมให้พร้อมที่จะบริการก่อนเปิดภาคเรียนของปีการศึกษา และจัดทำบรรณานุกรมมอบให้กับหมวดวิชาต่าง ๆ เพื่อตรวจสอบรายชื่อหนังสือที่ประกอบการเรียนการสอน รวมทั้งต้องเป็นผู้ประสานงานระหว่างครูผู้สอน กับห้องสมุดในการนำนักเรียนเข้าใช้ห้องสมุด
14
มาตรฐานห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา พ.ศ. 2533 (สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ฯ 2537 : 26) ในหมวด ก. มาตรฐานทั่วไปตอนที่ 3 เรื่องบริการและความร่วมมือระหว่างห้องสมุด ได้กำหนดห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษาควรให้บริการอย่างครบถ้วน ถูกต้องรวดเร็ว โดยคำนึงถึงความสะดวกของผู้ใช้เป็นสำคัญและมีการร่วมมือกันระหว่างห้องสมุด เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการดำเนินงานบริการและกิจกรรมของห้องสมุด ควรประกอบด้วย
1. บริการต่าง ๆ ซึ่งจัดขึ้นทั้งในโรงเรียนและชุมชน เช่น บริการให้อ่าน บริการยืม – คืนบริการหนังสือจอง บริการแนะนำการใช้ห้องสมุด บริการยืมระหว่างห้องสมุด บริการชุมชน ฯลฯ
2. กิจกรรมส่งเสริมการอ่านและกิจกรรมเพื่อการเรียนการสอน เช่น เล่านิทาน จัดนิทรรศการ การค้นคว้าและทำรายงาน และกิจกรรมอื่น ๆ
3. ความร่วมมือระหว่างห้องสมุด ซึ่งสามารถดำเนินการได้ คือ
3.1 หน่วยงานต้นสังกัดควรจัดให้มีหน่วยส่งเสริม และประสานงานห้องสมุดขึ้นเพื่อนิเทศ จัดอบรม ประชุมสัมมนา และเพิ่มพูนความรู้แก่บุคลากรห้องสมุด
3.2 ห้องสมุดโรงเรียนควรดำเนินการให้เกิดความร่วมมือระหว่างห้องสมุดเพื่อให้มีการใช้ทรัพยากรและเทคโนโลยีใหม่ ๆ ร่วมกันในงานทุกด้าน โดยคำนึงถึงความประหยัดและประสิทธิภาพของบริการ
ดังนั้น ลักษณะงานของห้องสมุดที่ต้องสร้างความร่วมมือระหว่างห้องสมุด สรุปได้ดังนี้
1. งานด้านห้องสมุดโรงเรียน คือ ความร่วมมือระหว่างห้องสมุดเพื่อให้มีการใช้ทรัพยากรและเทคโนโลยีใหม่ ๆ ร่วมกันในงานทุกด้าน ได้แก่ งานบริหาร งานเทคนิค งานบริการ งานสนับสนุนการเรียนการสอน งานกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและงานประชาสัมพันธ์ห้องสมุด
2. งานด้านวิชาการ คือ ความร่วมมือระหว่างห้องสมุดที่ส่งเสริม เพิ่มพูนความรู้แก่ครูบรรณารักษ์ในด้านวิชาชีพ และด้านวิชาการ ได้แก่ การนิเทศ จัดอบรม ประชุม สัมมนาศึกษาดูงานห้องสมุดต่าง ๆ
3. งานด้านการสอน คือ ความร่วมมือระหว่างห้องสมุดโรงเรียนในการจัดทำสื่อนวัตกรรม ที่เกี่ยวกับการสอนรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับห้องสมุด เช่น การใช้ห้องสมุดโรงเรียนและการสอนวิชางานหองสมุด หรือรายวิชากลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี และกลุ่มกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ตามพระราชบัญญัติหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544
15
ความร่วมมือระหว่างห้องสมุดและการใช้ทรัพยากรสารสนเทศร่วมกัน
ความหมาย
ความร่วมมือระหว่างห้องสมุด (Library Cooperation) และการใช้ทรัพยากรร่วมกันระหว่างห้องสมุด (Library Resource Sharing) กล่าวได้ว่ามีความหมายในแนวทางเดียวกันโดยมีผู้ให้คำจำกัดความทั้งในแนวแคบและแนวกว้างหลากหลาย ดังนี้
พาลเมอร์และร็อดเดอเริกซ์ (Palmour and Roderer 1978 : 140 – 177) ให้ความหมายไว้ว่าความร่วมมือระหว่างห้องสมุดอาจมีความหมายเป็น 3 ระดับ คือ
ระดับที่ 1 ความร่วมมือระหว่างห้องสมุด (Library Cooperation) หมายถึง กิจกรรมที่ห้องสมุดตั้งแต่สองห้องขึ้นไปร่วมมือกัน เพื่ออำนวยส่งเสริม และเพิ่มพูนประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรร่วมมือกันหรือการให้บริการแก่ผู้ใช้
ระดับที่ 2 ภาคีห้องสมุด (Library Consortium) หมายถึง ความร่วมมือในการดำเนินงานของกลุ่มห้องสมุดประเภทหนึ่ง ส่วนใหญ่เป็นห้องสมุดที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคเดียวกัน ประเภทเดียวกัน หรือกลุ่มที่เน้นวิชาสาขาเดียวกันและต้องจัดระบบบริหารงานนี้ขึ้นในระดับใดระดับหนึ่งเพื่อดำเนินงานตามวัตถุประสงค์
ระดับที่ 3 ข่ายงานห้องสมุด หมายถึง ความร่วมมือกันซึ่งต้องจัดตั้งหน่วยงานกลางขึ้นทำหน้าที่และให้บริการ ความร่วมมือระดับนี้จำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีโทรคมนาคมและคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วย ในการดำเนินงานต้องมีสำนักงานและเจ้าหน้าที่ประจำดำเนินงาน กิจกรรมจึงจะสามารถบรรลุวัตถุประสงค์
A.L.A. World Encyclopedia of Library and Information Services (1980 : 302) กล่าวว่า Resource Sharing หมายถึง การแลกเปลี่ยนทรัพยากร นั้นเกิดขึ้นจากปัญหาเรื่อง งบประมาณและพื้นที่ ที่นับวันจะมีข้อจำกัดเพิ่มขึ้นจึงส่งผลให้ไม่สามารถมี ห้องสมุดใด ๆ ที่ดำเนินงานได้เพียงลำพัง
เค้นท์ (Kent 1981 : 293) ได้ให้คำจำกัดความของคำว่าการใช้ทรัพยากรสารนิเทศร่วมกัน ว่าหมายถึง การมีส่วนร่วม ความร่วมมือ และการสนับสนุนซึ่งกันและกันของสมาชิก เป็นการสร้างให้เกิดผลประโยชน์ร่วมกัน นอกจากนี้ยังหมายความถึงวิธีการจัดการหรือการดำเนินการของห้องสมุดที่เป็นสมาชิกเพื่อวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ และการใช้บริการต่าง ๆ
2. เพื่อเป็นการลดงบประมาณและค่าใช้จ่าย เป็นการเพิ่มการบริการให้มากและ หลากหลายขึ้น
16
แฮร์รอด (Harrod 1990 : 167) ได้ให้ความหมายของ Library Cooperation ไว้ว่าการร่วมมือระหว่างห้องสมุดต่าง ๆ เพื่อทำให้การทำงานในส่วนต่าง ๆ เป็นไปด้วยดี เช่น การให้ยืมระหว่างห้องสมุด การประสานงานด้านการจัดการร่วมกัน การจัดการเกี่ยวกับบัตรรายการ รวมถึงอุปกรณ์ต่าง ๆ ของห้องสมุดอัตโนมัติ การเข้าถึงเครือข่าย การติดต่อระหว่างผู้ใช้งาน แต่ละงาน การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ห้องสมุด และการจัดสถานที่ในห้องสมุด
สมาคมห้องสมุดอเมริกัน(American Library Association 1994 : 22) ให้ความหมายของความร่วมมือระหว่างห้องสมุด (Consortium) ว่าหมายถึงห้องสมุดตั้งแต่สองแห่งขึ้นไปได้ ตกลงร่วมกันในการประสานงานและร่วมมือกันทำงานอย่างเป็นทางการ ความร่วมมือนี้อาจตั้งอยู่บนพื้นฐาน ของสภาพทางภูมิศาสตร์ หน้าที่หรือสาขาวิชาก็ได้
สำหรับความร่วมมือระหว่างห้องสมุด (Library Cooperation หรือCooperative System) หมายถึง การที่สถาบันบริการสารนิเทศตั้งแต่ 2 แห่งขึ้นไปซึ่งอยู่ต่างสังกัด และมี งบประมาณของตนเองเป็นเอกเทศ ร่วมมือกันอย่างเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการ ในการดำเนิน งานด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายด้านเพื่อประโยชน์ต่อการบริการและการดำเนินงานของสถาบัน
ส่วนการใช้ทรัพยากรร่วมกัน (Resource Sharing) หมายถึง การที่สถาบันบริการสารนิเทศตั้งแต่สองแห่งขึ้นไปร่วมกันในการใช้ทรัพยากรสารนิเทศ บุคคลหรือดำเนินกิจกรรม ร่วมกันเมื่อมีความจำเป็นเกิดขึ้น จุดมุ่งหมายสำคัญในการใช้ทรัพยากรร่วมกันนั้น ถือเป็นเงื่อนไขในการแลกเปลี่ยน ทรัพยากรซึ่งกันและกันถือว่าสมาชิกทุกคนเป็นหุ้นส่วนในการใช้ทรัพยากรสามารถใช้ประโยชน์ได้เมื่อมีความต้องการ (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 2533 : 589)
สรุปได้ว่า ความร่วมมือระหว่างห้องสมุด หมายถึง ห้องสมุดตั้งแต่สองแห่งขึ้นไปทำความตกลงที่จะร่วมมือ ในการทำกิจกรรมใดอย่างเป็นทางการ หรือไม่เป็นทางการก็ได้หากมีการตกลงร่วมมืออย่างเป็นทางการและเป็นความร่วมมือในการดำเนินงานของห้องสมุด เป็นกลุ่มมักจะเป็นห้องสมุดที่อยู่ในสภาพพื้นที่ภูมิศาสตร์เดียวกัน เราเรียกความร่วมมือในระดับนี้ว่า “ภาคีห้องสมุด” หากมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้เป็นเครื่องมือเราเรียกความร่วมมือในระดับนี้ว่า “ข่ายงานห้องสมุด”
ความสำคัญของความร่วมมือระหว่างห้องสมุด
ความจำเป็นในการร่วมมือกันระหว่างห้องสมุด คือ มีการผลิตสารนิเทศในสาขาวิชาต่างๆ อย่างมากมายและเผยแพร่อย่างกว้างขวาง สารนิเทศกลายเป็นปัจจัยสำคัญของโลกในการกำหนดแนวทางการพัฒนาการเมือง เศรษฐกิจ สังคม รวมทั้งพัฒนามนุษย์ทุกระดับแนวคิดหรือปรัชญา
17
ในการบริการสารนิเทศ ที่คำนึงถึงการบริการผู้ใช้เป็นปัจจัยสำคัญจะต้องบริการ ทุกวิถีทาง ให้ ผู้ใช้ได้เข้าถึงทรัพยากรสารนิเทศอย่างกว้างและลึกที่สุด สภาวการณ์ดังกล่าว ทำให้เพิ่มปริมาณ ผู้ใช้สารนิเทศเกิดความต้องการใช้สารนิเทศในลักษณะเฉพาะเจาะจง ลุ่มลึก กว้าง ถูกต้องครบถ้วนและทันสมัยในขณะเดียวกัน เพื่อให้การบริการของห้องสมุดมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การสร้างความร่วมมือจึงเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งในสังคมยุคสารนิเทศทั้งที่ผ่านมาปัจจุบันและอนาคตดังที่ ( มาลินี ศรีพิสุทธิ์ และสมพิศ คูศรีพิทักษ์ 2534 : 632 ) กล่าวสรุปได้ดังนี้
1. ปริมาณการผลิตทรัพยากรสารนิเทศเพิ่มขึ้นสูง และรวดเร็วในทุกพื้นที่ของโลกไม่มีห้องสมุดบริการสารนิเทศใด สามารถรวบรวมได้ทั้งหมดแม้จะมีงบประมาณมากมายเพียงใดก็ตาม
2. งบประมาณไม่เพียงพอ ห้องสมุดไม่สามารถจัดงบประมาณได้เพียงพอที่จะจัดหาและดำเนินการให้บริการทรัพยากรสารนิเทศได้ ทำให้เกิดความขาดแคลนทรัพยากรสารนิเทศทรัพยากรบุคคล อุปกรณ์เครื่องมือ เครื่องใช้และอาคารสถานที่
3. การทำงานซ้ำซ้อน ในสถาบันบริการสารนิเทศต่าง ๆ มีการทำงานซ้ำซ้อนกันหลายอย่างโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านเทคนิค เช่น การทำรายการทรัพยากรสารนิเทศชั้นเดียวกัน สถาบันแต่ละแห่งต่างทำและไม่มีมาตรฐาน ซึ่งหากร่วมมือกันแล้วจะลดความสิ้นเปลืองจากการทำงานซ้ำซ้อนกัน
4. ผู้ใช้ต้องการสารนิเทศที่มีลักษณะหลากหลาย ลุ่มลึก เฉพาะเจาะจง ถูกต้อง ครบถ้วน และทันสมัย
5. ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และโทรคมนาคมทำให้การติดต่อเชื่อมโยงระหว่างสถาบันบริการสารนิเทศสะดวก รวดเร็ว เป็นการส่งเสริมการทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างสถาบันบริการสารนิเทศมากยิ่งขึ้น
6. จำนวนประชากรเพิ่มขึ้น ทำให้การใช้และความต้องการในการใช้สารนิเทศเพิ่มมากขึ้นตามมาด้วย การจัดบริการสารนิเทศให้ทั่วถึงจึงเป็นไปได้ยาก
7. การใช้ทรัพยากรของสถาบันบริการสารนิเทศไม่คุ้มค่า ทรัพยากรทุกอย่างจะคุ้มค่าเมื่อมีการใช้ และยิ่งใช้มากค่าใช้จ่ายต่อรายการจะลดลง บางครั้งทรัพยากรสารนิเทศชั้นหนึ่งอาจไม่เหมาะสมกับสมาชิกสถาบันหนึ่งแต่เป็นที่ต้องการใช้ของสมาชิกสถาบันอื่น ๆ
18
วัตถุประสงค์ของความร่วมมือระหว่างห้องสมุด
วัตถุประสงค์ของความร่วมมือระหว่างห้องสมุดมีดังนี้
1. เพื่อหลีกเลี่ยงและลดการทำงานซ้ำซ้อน
2. เพื่อแบ่งปันและร่วมใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และคุ้มค่าการลงทุน
3. เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาที่เป็นอุปสรรคในการดำเนินการของห้องสมุด
4. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพของห้องสมุดให้พร้อมและบริการแก่ผู้ใช้
ประโยชน์ของความร่วมมือระหว่างห้องสมุด
ความร่วมมือระหว่างห้องสมุดมีประโยชน์ต่อการดำเนินงานและการบริการ ดังนี้
1. ผู้ใช้ได้มีโอกาสเข้าถึงสารนิเทศตามความต้องการและสิ่งที่ควรจะได้รับอย่างครบถ้วน ถูกต้อง ลุ่มลึก และทันสมัยเท่าเทียมกัน
2. ทรัพยากรของห้องสมุดได้นำมาใช้คุ้มค่าต่อการลงทุน และเกิดประโยชน์สูงสุด
3. ลดการทำงานซ้ำซ้อน ลดค่าใช้จ่าย เวลาและแรงงาน
4. ทำให้เกิดมีมาตรฐานในการทำงาน การทำงานร่วมกันระหว่างห้องสมุดมีความจำเป็นต้องมีการปรับระบบงาน เข้ามาตรฐานเดียวกันและเป็นแนวทางที่จะมีมาตรฐานในการทำงานเป็นสากลต่อไป
5. เป็นการเผยแพร่สารนิเทศเข้าถึงผู้ใช้ โดยเฉพาะกรณีที่ผู้ใช้บริการในห้องสมุดที่มีทรัพยากรไม่ครบถ้วนและเทคโนโลยียังไม่สมบูรณ์ (มาลินี ศรีพิสุทธิ์ และสมพิศ คูศรีพิทักษ์ 2534 : 634)
สำหรับ มะลิวัลย์ น้อยบัวทิพย์ (2545 : 4) กล่าวว่าความร่วมมือระหว่างห้องสมุดมีความสำคัญและเป็นที่ต้องการของห้องสมุดและศูนย์สารสนเทศทุกระดับ ทั้งขนาดใหญ่ ขนาดกลางและขนาดเล็ก เนื่องจากต้องการพัฒนาการให้บริการสารสนเทศ และความต้องการใช้สารนิเทศ ของผู้ใช้บริการมีหลากหลาย จึงก่อให้เกิดประโยชน์ ได้ดังนี้
1. ช่วยให้เกิดการใช้ทรัพยากรร่วมกัน ให้ความสะดวกด้านบริการยืมระหว่างห้องสมุด
2. หลีกเลี่ยงความซ้ำซ้อนในการจัดซื้อเอกสาร ทำให้ช่วยประหยัดงบประมาณในการ จัดซื้อทรัพยากรประเภทต่าง ๆ ได้เป็นจำนวนมาก
3. ช่วยในการพัฒนาทรัพยากรของห้องสมุด
19
4. ลดความซ้ำซ้อนในการทำงานวิเคราะห์หมวดหมู่และทำรายการ ทำให้ช่วยประหยัดเวลาค่าใช้จ่าย และใช้บุคลากรน้อยลง
5. ทำให้มีฐานข้อมูลบรรณานุกรม ซึ่งเป็นประโยชน์ด้านแหล่งสารสนเทศของประเทศ
รูปแบบของความร่วมมือระหว่างห้องสมุด
วู๊ดส์เวิร์ธ (Woodsworth 1991 : 25) ได้แบ่งความร่วมมือของห้องสมุดตามประเภทของห้องสมุด คือ
1. ความร่วมมือระหว่างห้องสมุดประเภทเดียวกัน ซึ่งมีทรัพยากรห้องสมุดกลุ่มผู้ใช้ระบบการทำงานและประสบปัญหาในการทำงานใกล้เคียงกัน
2. ความร่วมมือระหว่างห้องสมุดมากกว่า 1 ประเภทขึ้นไป
ห้องสมุดประเภทต่างๆ ในต่างประเทศ มีโครงการความร่วมมือกันหลากรูปแบบและหลายระดับ ซึ่งอาจแตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์ของแต่ละโครงการ สรุปได้ดังนี้
1. ความร่วมมือในระดับกลุ่ม เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างห้องสมุดที่มีสมาชิกตั้งแต่สองหน่วยหรือสองสถาบันขึ้นไปโดยมีจุดประสงค์ตรงกัน เช่น เป็นความร่วมมือในการให้บริการสารสนเทศในสาขาวิชาเดียวกัน การจัดหาทรัพยากรร่วมกัน จัดหาทรัพยากรประเภทเดียวกัน หรือการใช้ทรัพยากรร่วมกัน ซึ่งทรัพยากรอาจเป็น วัสดุตีพิมพ์ วัสดุไม่ตีพิมพ์ รวมทั้งสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ต่าง ๆ โครงการความร่วมมือแบบกลุ่มเล็ก ๆ มีความเป็นไปได้ง่าย
2. ความร่วมมือในระดับภูมิภาค (Regional Cooperation) เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างห้องสมุดที่อยู่ในภูมิภาคเดียวกันหรืออยู่ในแถบใกล้เคียงกัน
3. ความร่วมมือระดับชาติ (National Cooperation) เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างห้องสมุด สมาชิกในประเทศโดยไม่จำกัดภูมิภาค
4. ความร่วมมือระดับชาติและระดับนานาชาติ (International Cooperation) นับเป็น โครงการขนาดใหญ่ มีความซับซ้อน ซึ่งต้องอาศัยกลไกการจัดการระบบ และความร่วมมือจากคณะผู้ก่อตั้งรวมทั้งความร่วมมือจากมวลสมาชิกเป็นปัจจัยสำคัญ (มะลิวัลย์ น้อยบัวทิพย์ 2545 : 2 – 3)
ชุติมา สัจจานันท์ (2546 : 52) กล่าวถึง รูปแบบความร่วมมือระหว่างห้องสมุด ว่ามีรูปแบบการแลกเปลี่ยน (Exchange Model) รูปแบบรวมศูนย์ (Pooling Model) รูปแบบการบริการสองทาง (Dual Service) และรูปแบบศูนย์กลางการบริการ (Service Center)
20
ลักษณะของความร่วมมือระหว่างห้องสมุด
ชุติมา สัจจานันท์ ( 2546 : 50 - 51 ) กล่าวสรุปได้ว่า
ความร่วมมือระหว่างห้องสมุดมีหลายลักษณะ อาจจำแนกได้ดังนี้
1. ความร่วมมือตามสังกัดของหน่วยงาน เช่น ความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ความร่วมมือระหว่างห้องสมุดประชาชนสังกัด กรุงเทพมหานคร
2. ความร่วมมือตามประเภทของสถาบัน ความร่วมมือระหว่างห้องสมุดประเภทเดียวกันมีวัตถุประสงค์ และลักษณะการดำเนินงานเหมือนกัน มีความสะดวกและความคล่องตัวในการดำเนินงาน เช่น ความร่วมมือระหว่างห้องสมุดโรงเรียน ความร่วมมือระหว่างห้องสมุดประชาชน
3. ความร่วมมือตามสาขาวิชา เกิดจากกลุ่มห้องสมุดร่วมมือกันพัฒนาทรัพยากร สารนิเทศเฉพาะสาขาวิชา โดยแบ่งกันตามความเชี่ยวชาญหรือจุดเน้นของแต่ละห้องสมุด และมีบริการยืมระหว่างห้องสมุด ห้องสมุดเฉพาะทางการเกษตร เน้นการพัฒนาทรัพยากรสารนิเทศทางการเกษตร ห้องสมุดธนาคารเป็นการพัฒนาทรัพยากรสารนิเทศทางเศรษฐศาสตร์และธุรกิจ ห้องสมุดที่เข้าร่วมโครงการสามารถให้บริการแก่ผู้ใช้ได้อย่างสมบูรณ์ ด้วยความร่วมมือระหว่างห้องสมุดทั้งสองแห่ง
4. ความร่วมมือตามพื้นที่ภูมิศาสตร์ แบ่งกว้าง ๆ เป็นความร่วมมือในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ ระดับภูมิภาคหรือทวีป และระดับนานาชาติ ตัวอย่าง ภาคีห้องสมุดในมลรัฐบอสตัน ( Boston Library Consortium ) เป็นความร่วมมือของห้องสมุดหลายประเภทในมลรัฐบอสตัน สหรัฐอเมริกา
5. ความร่วมมือตามประเภทของงาน โดยจัดกลุ่มตามประเภทของงานสารนิเทศ อาจแบ่งอย่างกว้างๆ เป็นความร่วมมือในการจัดหาทรัพยากรสารนิเทศ การวิเคราะห์สารนิเทศ การบริการและเผยแพร่สารนิเทศ และอาจแบ่งย่อยตามประเภทของงานในการจัดซื้อ การแลกเปลี่ยน เป็นต้น
6. ความร่วมมือตามประเภทของทรัพยากรสารนิเทศ เช่น ความร่วมมือพัฒนาทรัพยากรสารนิเทศเฉพาะหนังสือ วัสดุหายาก วัสดุราคาแพง สิ่งพิมพ์รัฐบาล วารสาร สื่อโสตทัศน์ เป็นต้น
21
มาลินี ศรีพิสุทธิ์ และสมพิศ คูศรีพิทักษ์ (2534 : 632 – 634) กล่าวถึงลักษณะความร่วมมือระหว่างห้องสมุด ดังนี้
1. ความร่วมมือตามประเภทของห้องสมุด เช่น ความร่วมมือระหว่างศูนย์เอกสาร
2. ความร่วมมือตามสาขาวิชา หรือเฉพาะเรื่อง เช่น ความร่วมมือระหว่างสถาบันบริการสารนิเทศสาขาเกษตรศาสตร์
3. ความร่วมมือตามพื้นที่ภูมิศาสตร์ ซึ่งแบ่งกว้าง ๆ เป็นความร่วมมือในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ ระดับภูมิภาค (ทวีป) และระดับนานาชาติ
4. ความร่วมมือตามสังกัดของหน่วยงาน เช่น การจัดตั้งข่ายงานโดยความร่วมมือของหน่วยงานพาณิชย์
5. ความร่วมมือเฉพาะงาน โดยห้องสมุดที่จะร่วมมือเฉพาะงานจะเข้าร่วมกิจกรรมใด กิจกรรมหนึ่งที่โครงการความร่วมมือระหว่างห้องสมุด มีอยู่หลายกิจกรรม เช่น โครงการรวบรวมรายชื่อวารสารในประเทศไทยด้วยคอมพิวเตอร์ เป็นกิจกรรมหนึ่งของโครงการความร่วมมือระหว่างสถาบันบริการสารนิเทศ สถาบันอุดมศึกษา สังกัดทบวงมหาวิทยาลัยที่เปิดให้สถาบันบริการสารนิเทศต่าง ๆ ภายนอกโครงการเข้าร่วมเป็นกิจกรรมนี้ได้
ลักษณะกิจกรรมของความร่วมมือระหว่างห้องสมุด
แม็คโดเกล (MacDougal 1991 : 9 – 10) กล่าวว่า แนวคิดของความร่วมมือระหว่างห้องสมุดในปัจจุบันไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะห้องสมุดเท่านั้นแต่ยังครอบคลุมไปถึงทุกหน่วยงานที่ให้บริการสารนิเทศในทุกระดับ โดยกิจกรรมที่สำคัญของความร่วมมือมี 3 ประการ คือ
1. การแลกเปลี่ยนทั้งทรัพยากรสารนิเทศสำหรับผู้ใช้และผู้ทำงาน ตลอดจนการ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้ทำงานด้วยกัน ซึ่งเป็นผลสำคัญของการเห็นแก่ประโยชน์ของ ผู้อื่น
2. การทำงานร่วมกัน เช่น การร่วมมือกันพัฒนาทรัพยากรสารนิเทศ การฝึกงาน การวิจัยด้านความร่วมมือ ความร่วมมือในการผลิตผลงานในรูปสิ่งพิมพ์ออกเผยแพร่
3. การจัดการด้านการตลาด ซึ่งเป็นผลที่ได้จากความร่วมมือและกิจกรรมที่ทำร่วมกัน ตัวอย่างที่เห็นได้ คือ BLCMP (British Library Document Supply Centre and Regional Library System)
22
มาลินี ศรีพิสุทธิ์ ( 2533 : 591 – 622 ) กล่าวว่า ความร่วมมือระหว่างห้องสมุดโดยทั่วไปแบ่งตามลักษณะงานได้เป็น 3 ประเภท สรุปได้ดังนี้
1. การจัดหาทรัพยากรสารนิเทศร่วมกัน (Cooperative Acquisition)
การจัดหาทรัพยากรสารนิเทศร่วมกัน หมายถึง ความพยายามของห้องสมุดต่าง ๆ ที่มีความสนใจร่วมกันในด้านการจัดหาทรัพยากรสารนิเทศให้มีขอบข่ายกว้างขวางที่สุดตามลักษณะของกลุ่มห้องสมุด อาจจะจำกัดอยู่เฉพาะด้านหรือเฉพาะสาขาวิชา
แนวทางดำเนินการจัดหาทรัพยากรสารนิเทศร่วมกัน ซึ่งห้องสมุดสามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมและความพร้อมของห้องสมุด ดังนี้
1. จัดตั้งศูนย์กลางการจัดหา ศูนย์กลางนี้อาจเป็นเอกเทศหรือขึ้นอยู่กับห้องสมุดใดในโครงการก็ได้ เพื่อทำหน้าที่จัดหาทรัพยากรสารนิเทศให้กับห้องสมุด ในโครงการการดำเนินงาน
ในรูปแบบนี้เป็นรูปแบบที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด สามารถสนองวัตถุประสงค์ของการจัดหา ร่วมกันได้อย่างดียิ่ง
2. แบ่งหน้าที่ในการจัดหาทรัพยากรสารนิเทศตามสาขาวิชา มีวัตถุประสงค์ให้ ห้องสมุดในโครงการมีทรัพยากรสารนิเทศในขอบเขตกว้างขวางขึ้น และให้แต่ละแห่งมีมวลทรัพยากรสารนิเทศในสาขาใดสาขาหนึ่งครบถ้วนมากที่สุด โดยแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบตามสาขาวิชา ซึ่งมิได้มุ่งเน้นการประหยัดงบประมาณ รูปแบบไม่ยุ่งยาก จึงมีการจัดตั้งโครงการลักษณะนี้มากขึ้น
3. ร่วมมือในการเก็บรักษาทรัพยากรสารนิเทศ คือ การที่ห้องสมุดแต่ละแห่งนำทรัพยากรสารนิเทศ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหนังสือที่มีผู้ใช้น้อย หรือมีซ้ำจำนวนมากมาเก็บรวบรวมไว้ที่ใดที่หนึ่งเพื่อประหยัดเนื้อที่การจัดเก็บ โดยศูนย์จัดเก็บนี้มีลักษณะเป็นคลังทรัพยากรสารนิเทศ ( Storage Library , Storage Center , Deposit Library หรือ Reservoir Library ) ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนทรัพยากรสารนิเทศ อีกด้วย
4. ร่วมมือในการแลกเปลี่ยนและบริจาคทรัพยากรสารนิเทศ เป็นวิธีการจัดหาทรัพยากรสารนิเทศที่ประหยัดที่สุด ในลักษณะของความร่วมมือจะทำให้ทราบว่าห้องสมุดแห่งใดมีทรัพยากรสารนิเทศอะไรให้แลกเปลี่ยนหรือบริจาคบ้าง
5. ร่วมมือในการจัดหาทรัพยากรสารนิเทศราคาแพง เพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณให้ห้องสมุด มีโอกาสได้จัดหาทรัพยากรสารนิเทศได้หลากหลายมากขึ้นจึงมีความร่วมมือในการจัดหาทรัพยากรสารนิเทศราคาแพง โดยห้องสมุดที่อยู่ในโครงการร่วมกันจัดซื้อ
23
2. ความร่วมมือในการทำรายการทรัพยากรสารนิเทศ (Cooperative Cataloguing)
ความร่วมมือในการจัดทำรายการทรัพยากรสารนิเทศ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ความร่วมมือในการทำบัตรรายการ (Cooperative Cataloguing หรือ Shared Cataloguing) หมายถึง การที่ห้องสมุดตั้งแต่สองแห่งขึ้นไปร่วมมือในการทำรายการทรัพยากรสารนิเทศ ซึ่งอาจอยู่ในรูปบัตรรายการรูปเล่ม หรือเฉพาะข้อมูลทางบรรณานุกรมในลักษณะแบ่งงานกันทำโดยมี ผลประโยชน์ร่วมกัน
รูปแบบของความร่วมมือในการจัดทำรายการทรัพยากรสารนิเทศ มีรูปแบบต่างๆดังนี้
1. ห้องสมุดแต่ละแห่งจัดทำรายการทรัพยากรสารนิเทศที่มีอยู่ในห้องสมุดของตนแล้วนำมาแลกเปลี่ยนกัน
2. จัดตั้งศูนย์กลางการทำรายการทรัพยากรสารนิเทศโดยจัดตั้งขึ้นใหม่หรือให้ ห้องสมุดใดห้องสมุดหนึ่งเป็นศูนย์กลางการผลิต และการแจกจ่ายแก่สมาชิกในโครงการการบริการของศูนย์กลางการทำรายการที่นิยมกันได้แก่ บริการรายการทรัพยากรสารนิเทศในรูปแบบต่าง ๆ เช่น บัตรรายการสำเร็จรูป รายการในสิ่งพิมพ์ (Cataloguing in Publication หรือ CIP) และในสื่อรูปอื่น เช่น ฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ วัสดุย่อส่วน เป็นต้น
3. ความร่วมมือในการให้บริการสารนิเทศ (Cooperative Service)
ความร่วมมือในการบริการและเผยแพร่สารนิเทศมีกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้
3.1 การยืมระหว่างสถาบันบริการสารนิเทศ เป็นกิจกรรมความร่วมมือในการให้
บริการที่สำคัญที่สุด
3.2 ความร่วมมือในการให้บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า
ห้องสมุดทุกแห่งต้องมีบริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า เพื่อให้ผู้ใช้เข้าถึงสารนิเทศที่ต้องการมากที่สุด ไม่ว่าสารนิเทศนั้นจะมีอยู่ในห้องสมุดของตนหรือที่อื่นๆ ก็ตาม ซึ่งมีกิจกรรมในด้านต่าง ๆ ได้แก่ บริการแนะแหล่งสารนิเทศ บริการรวบรวมบรรณานุกรม การใช้ คู่มือสืบค้น ค้นคืนร่วมกัน บริการแปล บริการเลือกสรรสารนิเทศเฉพาะบุคคล บริการสารนิเทศทันสมัย บริการสาระสังเขปและดรรชนี และบริการตอบคำถามทางวิชาการ
3.3 การอนุญาตให้เข้าใช้บริการ
โดยปกติแล้วห้องสมุดทุกแห่งนอกจากจะบริการสมาชิกของตนแล้ว ยังเอื้อเฟื้อให้สมาชิกของสถาบันอื่นมาใช้บริการได้ซึ่งมีประโยชน์ในด้านที่ให้ผู้ใช้ได้เข้าถึงทรัพยากรสารนิเทศตามต้องการได้มากกว่า รวดเร็วกว่าและประหยัดการบริการด้านการยืมระหว่างห้องสมุดแต่ไม่
24
สามารถเปิดกว้างได้ทั้งหมด เพราะมีความจำกัดในเรื่องสถานที่และจำนวนทรัพยากรสารนิเทศจึงจำกัดบุคคลภายนอกที่เข้าใช้บริการ ซึ่งมีรูปแบบดังนี้
3.3.1 อนุญาตให้เข้าใช้เช่นเดียวกับสมาชิกของสถาบัน โดยสมาชิกสถาบันหนึ่งสามารถเข้าใช้และยืมทรัพยากรสารนิเทศจากห้องสมุดในโครงการได้ โดยใช้บัตรหลักฐานของสถาบันตน
3.3.2 อนุญาตให้เข้าใช้บางส่วน เป็นการอนญาตให้เข้าใช้บริการบางประเภทส่วนใหญ่จะให้ใช้บริการต่างๆ ยกเว้นการยืมความร่วมมือลักษณะนี้อาจให้ใช้บัตร หลักฐานของสถาบันตนมาแสดง หรืออาจให้ทำบัตรอนุญาตใหม่
3.3.3 อนุญาตให้เข้าใช้เฉพาะราย ในกรณีนี้เป็นการคัดเลือกผู้ที่จะเข้าใช้บริการที่มีความจำเป็นต้องใช้บริการของห้องสมุดแห่งอื่นเป็นพิเศษ เช่น นักวิจัย ซึ่งห้องสมุด ผู้รับผิดชอบควรต้องพิจารณาความเหมาะสมก่อนจึงจะติดต่อขออนุญาตจากสถาบันอื่นให้เข้าใช้เป็นกรณีพิเศษเฉพาะราย
3.4 ความร่วมมือในการใช้วัสดุอุปกรณ์ร่วมกัน มีดังนี้
3.4.1 การจัดนิทรรศการ เป็นการเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการเพื่อสนับสนุนการใช้สารนิเทศ ให้ความรู้แก่ผู้ใช้และเป็นการกระตุ้นให้ผู้ใช้สนใจที่จะมาใช้ แต่การจัดนิทรรศการต้องใช้ทั้งกำลังคน วัสดุอุปกรณ์และเวลาในการดำเนินการ ทำให้ไม่สามารถจัดได้สม่ำเสมอ ดังนั้นห้องสมุดประเภทเดียวกันหรือที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกันควรร่วมมือกันจัดนิทรรศการ โดยแบ่งความรับผิดชอบในการดำเนินงานแต่ละเรื่องและเวียนแสดง
3.4.2 การจัดกิจกรรมพิเศษต่าง ๆ เพื่อเป็นการเผยแพร่งานของสถาบันและส่งเสริมการใช้บริการ เช่น การจัดงานสัปดาห์ห้องสมุด การจัดห้องสมุดเคลื่อนที่ การจัดบริการพิเศษต่าง ๆ
3.4.3 การใช้โสตทัศนูปกรณ์ ที่ส่วนใหญ่มีราคาแพง และมีความจำเป็นต้องมีไว้สำรองในกรณีเกิดชำรุด จึงเป็นภาระที่หนักแก่ห้องสมุดที่จะจัดหามาให้บริการได้ครบถ้วนและพอเพียงหรือบางแห่งที่จัดหามาอาจใช้ไม่คุ้มค่าเพราะบริการน้อยซึ่งสามารถทำได้ใน 2 ลักษณะดังนี้
3.4.3.1 ห้องสมุดที่มีความพร้อมให้ห้องสมุดที่ขาดแคลนมาใช้ ร่วมด้วย
3.4.3.2 ห้องสมุดแต่ละแห่งตกลงร่วมมือในการจัดหาและบริการโสตทัศนูปกรณ์โดยรับผิดชอบร่วมกัน
25
3.4.4 การใช้เทคโนโลยีสารนิเทศ ปัจจุบันเทคโนโลยีสารนิเทศมีความจำเป็นต่อการบริการสารนิเทศแต่ต้องใช้งบประมาณในการจัดหาและการดำเนินงานสูง ห้องสมุดควร ร่วมมือในการจัดหา และใช้บริการให้คุ้มค่า ประหยัดบุคลากรในการดำเนินงาน สามารถจัดหาได้หลายประเภท และรูปแบบหลากหลาย ทั้งยังช่วยให้มีโอกาสจัดหาเพิ่มได้ตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี
3.4.5 การใช้อุปกรณ์อื่น ๆ ห้องสมุดบางแห่งขาดแคลนอุปกรณ์พื้นฐาน ในการจัดบริการสารนิเทศ เช่น เครื่องเย็บเล่มทำปกสิ่งพิมพ์ เครื่องอัดสำเนาบัตรรายการ เครื่องถ่ายเอกสาร ความร่วมมือในการใช้ทรัพยากรร่วมกันจะช่วยแก้ปัญหาได้
3.5 ความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ทางวิชาชีพ การดำเนินการบริการสารนิเทศจำเป็นต้องพัฒนาตามความเจริญก้าวหน้าของวิทยาการทุกด้าน ซึ่งขึ้นอยู่กับบุคลากรผู้จัดดำเนินการและให้บริการเป็นสำคัญ ไม่ว่าจะมีทรัพยากรสารนิเทศ มากมายและทันสมัยอย่างไร หากผู้จัดดำเนินการไม่มีความรู้ ความคิด พัฒนาตามความก้าวหน้าของทรัพยากรเหล่านั้น ย่อมไม่สามารถดำเนินการบริการได้อย่างเต็มที่ตามศักยภาพของทรัพยากรที่มีอยู่ การพัฒนาผู้บริการสารนิเทศจึงเป็นความจำเป็นอย่างยิ่ง แนวทางการพัฒนาบุคลากรผู้บริการสารนิเทศที่ใช้กันอยู่นั้น นอกจากการให้คำแนะนำและฝึกอบรมภายในสถาบันของตนแล้วยังสามารถร่วมมือกับสถาบันอื่น ๆ ในการพัฒนาบุคลากรได้ดังนี้
3.5.1 การจัดประชุมหารือของบุคลากรระหว่างสถาบันบริการสารนิเทศเป็นการให้โอกาสแก่บุคลากรในวงวิชาชีพให้ได้รับความรู้ใหม่ ๆ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน และเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในวงวิชาชีพเดียวกัน
3.5.2 การจัดประชุมหรือสัมมนาทางวิชาการ เป็นการเปิดกว้างกว่าการ
ประชุมหารือระหว่างห้องสมุดในโครงการ การประชุมหรือสัมมนาทางวิชาการจะให้โอกาสแก่ผู้อยู่ในวงวิชาชีพได้มีโอกาสมาร่วมให้หรือรับความรู้ ความก้าวหน้าทางวิชาการในวิชาชีพ การจัดประชุมหรือสัมมนาทางวิชาการมักเน้นในเรื่องที่เป็นความก้าวหน้าใหม่ ๆ
3.5.3 การจัดฝึกอบรม เพื่อให้ความรู้แก่บุคลากรในห้องสมุดต่างสถาบันให้สามารถจัดบริการสารนิเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.5.4 การฝึกงาน ห้องสมุดขนาดเล็ก มักมีทรัพยากรไม่พอเพียงที่จะฝึกงานให้กับบุคลากรของตน จำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยสถาบันที่มีความพร้อมหรือชำนาญการ ช่วยฝึกให้วิธีนี้เป็นการให้ความรู้และประสบการณ์ที่มีประสิทธิภาพที่สุด
26
3.5.5 การดูงาน การจัดให้บุคลากรของห้องสมุดไปดูงานของห้องสมุดอื่น ๆ เป็นความร่วมมือที่จะพัฒนาบุคลากรให้มีประสบการณ์และความรู้ที่กว้างขวางมากยิ่งขึ้น
3.5.6 การให้คำปรึกษาทางวิชาการ ความร่วมมือในการให้คำปรึกษาทางวิชาการ มักกระทำในรูปแบบที่ไม่เป็นทางการ ผู้ชำนาญการจะให้คำปรึกษาทางวิชาการในการปฏิบัติงานวิชาชีพได้
3.5.7 การแลกเปลี่ยนบุคลากร เป็นการแลกเปลี่ยนชั่วคราวครั้งละคนหรือหลายคนก็ตาม เป็นการให้ความร่วมมือทางวิชาชีพที่ทำให้ได้ผู้เชี่ยวชาญ หรือบุคคลที่เหมาะสมกับหน่วยงานนั้น ๆ จากสถาบันอื่นมาช่วยทำงานหรือฝึกงานให้เจ้าหน้าที่ในสถาบันของตน
3.5.8 การเผยแพร่ความรู้และประสบการณ์ทางวิชาการ ห้องสมุดแต่ละแห่งจะมีผู้มีความชำนาญ หรือความสนใจทางวิชาการในวิชาชีพแตกต่างกัน ดังนั้นควรมีความร่วมมือในการเผยแพร่ความรู้และประสบการณ์ทางวิชาการ เช่น การเขียนบทความทางวิชาการลงใน จุลสาร หรือวารสาร
ข่ายงานห้องสมุดและสารนิเทศ (Library and Information Network) หรือเครือข่ายห้องสมุด (Library Network)
ความหมาย
ข่ายงาน หมายถึง การรวบรวมกลุ่มของระบบสารนิเทศที่มีอยู่เข้าด้วยกัน (Becker and Oslen 1969 : 209) ส่วน วิลเลียมส์ และฟลีนน์ (Williams and Flynn 1979 : 49) กล่าวว่า ข่ายงานเป็นสายโซ่ที่มีความเกี่ยวพันระหว่างกัน พยายามให้บรรลุวัตถุประสงค์เฉพาะที่จะทำให้สำเร็จ หรือเกิดผลประโยชน์ร่วมกัน
ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานห้องสมุด เครือข่าย (ข่ายงาน) หมายถึง ระบบที่ประกอบด้วยห้องสมุดโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะให้เข้าถึงแหล่งทรัพยากรสารนิเทศที่แบ่งปันกันใช้และโดยนัยแห่งคำทำให้เข้าใจว่าต้องเป็นระบบคอมพิวเตอร์แต่อาจไม่จำเป็นเสมอไป (Gilmer 1994 : 40)
สำหรับข่ายงานห้องสมุด มีผู้ให้ความหมายไว้ดังนี้
ข่ายงานห้องสมุด หมายถึง ห้องสมุดสองแห่งหรือมากกว่าร่วมมือกันอย่างเป็นทางการในการแลกเปลี่ยนสารนิเทศโดยการสื่อสาร เพื่อความมุ่งหมายทางด้านกิจกรรมที่ขึ้นอยู่ซึ่งกันและกัน (Becker 1979 : 88)
27
บัทเลอร์ (Butler 1976 : 2) ได้ให้ความหมายว่า ข่ายงานห้องสมุดเป็นองค์กรที่เป็นอิสระที่ให้บริการแก่ห้องสมุดมากกว่า 1 แห่งขึ้นไป โดยใช้เทคโนโลยีการสื่อสารและเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์บางอย่างเข้ามาช่วยปฏิบัติงาน เพื่อให้สามารถกระจายบริการไปยังผู้ใช้บริการจาก ผู้ใช้ได้อีกด้วย ซึ่งเป็นผลมาจากการใช้ทรัพยากรห้องสมุดร่วมกันของห้องสมุดต่าง ๆ
เคนต์ (Kent 1977 : 15) กล่าวว่า ข่ายงานการใช้ทรัพยากรร่วมกัน (Resource Sharing Network) หมายถึง การร่วมมือกันระหว่างห้องสมุดเพื่อแลกเปลี่ยนทรัพยากรสารนิเทศซึ่งผู้ใช้จะได้รับบริการที่มากขึ้น เมื่อห้องสมุดหลายๆ แห่งร่วมมือกันแลกเปลี่ยนทรัพยากรสารนิเทศมาก ๆ ขึ้นจึงเกิดเป็นข่ายงานการใช้ทรัพยากรร่วมกันในที่สุด
สตีเวนส์ (Stevens 1980 : 405) กล่าวว่า ข่ายงานห้องสมุด หมายถึง กลุ่มห้องสมุดของรัฐหรือหลาย ๆ รัฐ หรือองค์กรห้องสมุดในระดับชาติที่ได้รับการควบคุมและสนับสนุนจาก รัฐบาลสูงเพื่อการบริหารห้องสมุดให้มีส่วนร่วมในข่ายงานห้องสมุด โดยเป็นหนึ่งในสมาชิกทั้งหมด ซึ่งมีการเชื่อมโยงกันระหว่างห้องสมุดด้วยการสื่อสารโทรคมนาคม และร่วมมือกันสร้างเครื่องมือในการใช้ทรัพยากรห้องสมุดร่วมกัน เช่น ฐานข้อมูลทางบรรณานุกรม ที่สามารถสืบค้นได้ด้วยคอมพิวเตอร์โดยมีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานรับผิดชอบข่ายงานห้องสมุดเต็มเวลา
สำหรับ นงลักษณ์ ไม่หน่ายกิจ (2543 : 86) ได้ให้ความหมายไว้ว่า ข่ายงานห้องสมุดและสารนิเทศหมายถึง ห้องสมุด 2 แห่ง หรือมากกว่า หรือองค์กรที่เกี่ยวกับสารนิเทศอื่น ๆ เข้าร่วมในกิจกรรมแลกเปลี่ยนสารนิเทศระหว่างกัน โดยมีการสื่อสารเชื่อมโยง เพื่อวัตถุประสงค์หน้าที่บางประการ
ชุติมา สัจจานันท์ (2546 : 47) กล่าวว่า ข่ายงานห้องสมุดหรือเครือข่ายห้องสมุดเป็นความร่วมมือในลักษณะการรวมตัวกันในวงกว้างในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ หรือระดับนานาชาติโดยมักใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นพื้นฐาน
สอางค์ อิศรางกูร ณ อยุธยา (2534 : 17) ให้ความหมายของข่ายงานสารนิเทศ หมายถึง การจัดทำหรือการจัดระบบสารนิเทศ โดยถือหลักการเชื่อมโยง ระหว่างบุคคลหรือสถาบันภายในกลุ่มให้มีการยอมรับข้อตกลงในการทำงานและแสวงผลประโยชน์ร่วมกันในเรื่องการสะสมและใช้ทรัพยากรสารนิเทศ เพื่อสนับสนุนงานด้านบริหารและงานด้านวิชาการของ องค์กรที่เป็นสมาชิกข่ายงานสารนิเทศ และเพื่อใช้เป็นเครื่องมือสนับสนุนการบริการสารนิเทศและกระจายการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างสมาชิกในข่ายงานให้เป็นไปอย่างทั่วถึง
28
จากความหมายข่ายงานห้องสมุดและสารนิเทศที่กล่าวมาข้างต้นสรุปได้ว่า เป็นความ ร่วมมือระหว่างห้องสมุดหรือองค์กรที่ให้บริการสารนิเทศตั้งแต่ 2 แห่งขึ้นไป ร่วมมือกันให้บริการเพื่อการใช้ทรัพยากรสารนิเทศและบริการร่วมกัน ต่างมีวัตถุประสงค์ที่เหมือนกัน คือ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์การใช้ทรัพยากรสารนิเทศและบริการต่าง ๆ ร่วมกัน โดยการเชื่อมโยงกันนี้จะใช้ระบบโทรคมนาคมช่วยให้การติดต่อระหว่างกันสะดวกและรวดเร็วขึ้น
ความสำคัญของข่ายงานห้องสมุดและสารนิเทศ
มาลินี ศรีพิสุทธิ์ และสมพิศ คูศรีพิทักษ์ (2534 : 632 – 634) สรุปได้ในยุคสังคม สารนิเทศหรือสังคมข่าวสาร เช่น ปัจจุบันการสร้างข่ายงานห้องสมุดและสารนิเทศมีความสำคัญยิ่งช่วยลดปัญหาของห้องสมุดและหน่วยงานสารนิเทศ อันเนื่องมาจากปัจจัยต่อไปนี้
1. ปริมาณการผลิตทรัพยากรสารนิเทศเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ห้องสมุดไม่สามารถรวบรวมทรัพยากรสารนิเทศได้ทั้งหมด
2. ปัญหางบประมาณ ห้องสมุดเกือบทุกแห่งประสบปัญหางบประมาณไม่เพียงพอต่อการจัดหาทรัพยากรสารนิเทศ
3. ความเจริญก้าวหน้าของวิทยาการสมัยใหม่ เป็นไปอย่างกว้างขวาง รวดเร็วและเกิดการผสมผสานกันมากขึ้น
4. ความต้องการของผู้ใช้สารนิเทศ มีลักษณะหลากหลาย ลุ่มลึกและเฉพาะเจาะจงซึ่งผู้ใช้มีวัตถุประสงค์ในการใช้สารนิเทศแตกต่างกัน
5. จำนวนประชากรเพิ่มขึ้น ซึ่งหมายถึง จำนวนผู้ใช้และผู้อาจจะใช้สารนิเทศเพิ่มตามมาด้วย
6. การใช้ทรัพยากรสารนิเทศไม่คุ้มค่า เนื่องจากเหตุผลและปัจจัยต่างๆ เช่น การไม่สามารถคาดคะเนความต้องการของผู้ใช้ล่วงหน้าได้อย่างถูกต้อง ไม่สนองความต้องการของผู้ใช้จึงเกิดความสูญเปล่า
วัตถุประสงค์ของข่ายงานห้องสมุดและสารนิเทศ
ในการสร้างข่ายงานห้องสมุดและสารนิเทศ จำเป็นต้องกำหนดวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานในข่ายงานและผู้ใช้ข่ายงานมีความเข้าใจตรงกัน ข่ายงานห้องสมุดและ สารนิเทศมีวัตถุประสงค์ดังนี้
1. เพื่อหลีกเลี่ยงและลดการทำงานซ้ำซ้อนกัน ซึ่งเป็นปัญหาความสูญเปล่าและการ สิ้นเปลืองแรงงานและงบประมาณ ตลอดจนทรัพยากรอื่น ๆ ซึ่งห้องสมุดมีจำกัด
29
2. เพื่อแบ่งปันและร่วมกันใช้ทรัพยากรสารนิเทศ ประสบการณ์ ความชำนาญการและความเฉพาะเจาะจงของแต่ละสถาบันให้เกิดประโยชน์สูงสุดและคุ้มค่ากับการลงทุน
3. เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอันเป็นอุปสรรคในการดำเนินงานห้องสมุด เช่น ปัญหางบประมาณ บุคลากร การขาดแคลนทรัพยากรสารนิเทศ
4. เพื่อเสริมสร้างขีดความพร้อมและความสามารถของห้องสมุดแต่ละแห่ง ในการดำเนินงานและบริการแก่ผู้ใช้อย่างกว้างขวางและมีประสิทธิภาพตามภารกิจหน้าที่ของห้องสมุดแต่ละแห่งให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้อย่างสมบูรณ์
5. เพื่อสร้างมาตรฐานการปฏิบัติงาน ซึ่งส่วนใหญ่อิงมาตรฐานที่ใช้ในระดับประเทศและระดับนานาชาติที่ได้มีการจัดทำขึ้นไว้เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นมาตรฐานเดียวกันอันจะทำให้ความร่วมมือกันทำได้โดยสะดวก (ชุติมา สัจจานันท์ 2542 : 76) เช่น มาตรฐานในเรื่องการควบคุมทางบรรณานุกรม เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ (ISBN) มาตรฐานระหว่างชาติ ว่าด้วยการลงรายการทางบรรณานุกรม (International Standard Bibliographic Description – ISBD)
พื้นฐานของการดำเนินข่ายงานห้องสมุดและสารนิเทศ
เพื่อให้การจัดตั้งข่ายงานของห้องสมุด บรรลุวัตถุประสงค์ในการร่วมมือกันระหว่าง ห้องสมุดควรมีพื้นฐานของการดำเนินข่ายงานห้องสมุดดังนี้
1. วัตถุประสงค์และรูปแบบของข่ายงาน จะต้องคำนึงถึงสมาชิกทุกห้องสมุดว่าควรจะได้รับผลตามวัตถุประสงค์จากการเข้าร่วมในข่ายงาน
2. โครงสร้างของข่ายงาน การศึกษาโครงสร้างข่ายงานห้องสมุดและสารนิเทศเป็นปัจจัยพื้นฐานของการสร้างข่ายงานห้องสมุด และสารนิเทศให้ประสบผลสำเร็จ(Martin 1986 : 2) เพราะโครงสร้างข่ายงานห้องสมุดและสารนิเทศจะทำให้ทราบว่าแต่ละแห่งจะติดต่อสื่อสารกันอย่างไรการไหลเวียนของสารนิเทศจะมีลักษณะอย่างไร โครงสร้างข่ายงานห้องสมุดและสารนิเทศจะทำให้เห็นถึงความคล่องตัวของการสื่อสาร แลกเปลี่ยนสารนิเทศที่ร่วมมือกัน เพื่อทำให้บรรลุเป้าหมายที่ได้วางไว้ร่วมกันได้ ซึ่ง นงลักษณ์ ไม่หน่ายกิจ (2543 : 90 – 92) ได้กล่าวถึง โครงสร้างข่ายงานที่นิยม มีดังนี้
30
2.1 แบบศูนย์รวมหรือแบบดาว (Centralized or Star Network Structure)
หมายถึง มีสมาชิกข่ายงานแห่งหนึ่งที่มีทรัพยากรทุกอย่างพร้อม แล้วให้สมาชิกอื่น ๆ ใช้ทรัพยากรเหล่านั้น ข่ายงานที่มีโครงสร้างแบบนี้ จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีระดับสูงเพื่ออำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานและบริการ
ข้อดีในด้านการบริหาร คือ มีการรวบรวมทุกอย่างเป็นศูนย์กลาง ไม่มีความซ้ำซ้อนกัน แต่ในแง่ของผู้ใช้ข่ายงานแบบศูนย์รวมขาดประสิทธิภาพ เพราะเสียเวลาที่ผู้ใช้ที่อยู่ในห้องสมุดสมาชิกต้องรอคอยจากศูนย์กลาง แต่ก็เป็นภาระหนักของสมาชิกที่เป็นศูนย์กลาง
F
E
G
A
H
D
I
C
B
แผนภาพที่ 1 แบบศูนย์รวมหรือแบบดาว (Centralized or Star Network)
ที่มา : นงลักษณ์ ไม่หน่ายกิจ (2543 : 90 – 92)
31
2.2 แบบลดหลั่นลำดับชั้น (Hierarchical Network Structure) หมายถึงสมาชิกข่ายงานในระดับเดียวกันใช้ทรัพยากรร่วมกัน ถ้าหากทรัพยากรในระดับนั้นไม่มี จึงขอใช้บริการจากศูนย์ทรัพยากรชั้นต่อไป หากยังไม่ได้จึงขอใช้บริการจากชั้นสุดท้ายต่อไป ซึ่งอาจต้องตรวจสอบกับศูนย์อื่น ๆ เพื่อให้ได้วัสดุที่ต้องการ การสื่อสารในโครงสร้างแบบนี้มักจะใช้ระบบโทรศัพท์ติดต่อระหว่างผู้ให้บริการในระดับเดียวกัน
โครงสร้างแบบลดหลั่นนี้สามารถกระจายกิจกรรมโดยอาศัยข้อพิจารณา เช่น ความสำคัญก่อนหลังด้านองค์กรหรือกิจกรรมที่ทำ เป็นการบริหารแบบศูนย์รวมแต่มีหลายระดับ การบริหารในระดับสูงกระจายอำนาจไปยังลำดับชั้นต่ำกว่า การบริหารระดับสูงจะไม่ติดต่อโดยตรงกับการบริหารในระดับล่าง แบบนี้ใช้ได้ดีกับงานซึ่งสิ่งแวดล้อมข่ายงานมีขนาดใหญ่และครอบคลุมพื้นที่กว้างขวางเป็นโครงสร้างที่ยืดหยุ่นและกระจายอำนาจ
A
B2
B3
B1
C1
C2
C3
C4
C5
C6
C7
C8
C9
แผนภาพที่ 2 แบบลดหลั่นลำดับชั้น ( Hierarchical Network Structure )
ที่มา : นงลักษณ์ ไม่หน่ายกิจ (2543 : 90 – 92)
32
2.3 แบบกระจาย (Distributed Network Structure) หมายถึง สมาชิกข่ายงานแต่ละแห่ง โดยทฤษฎีแล้วมีทรัพยากรต่างกัน แต่มีการใช้ร่วมกัน
เทคโนโลยีที่ใช้ในโครงสร้างแบบกระจายนี้ไม่ต้องการเทคโนโลยีสูง โครงสร้างแบบนี้ตรงกันข้ามกับโครงสร้างแบบศูนย์รวม เพราะสมาชิกแต่ละแห่งจะติดต่อกันเอง ไม่มีศูนย์กลางการบริหารและการตัดสินใจขึ้นอยู่กับความยินยอมพร้อมใจของสมาชิกที่ร่วมในข่ายงาน แต่มีข้อเสีย คือ ในการประเมินผลกิจกรรมทั้งหมดของข่ายงานทำได้ลำบาก เพราะสมาชิกจะมองข่ายงานจากทัศนะของตนเองที่เป็นเฉพาะแห่งเท่านั้น
D
C
B
E
A
แผนภาพที่ 3 แบบกระจาย (Distributed Network Structure)
ที่มา : นงลักษณ์ ไม่หน่ายกิจ (2543 : 90 – 92)
33
2.4 แบบลักษณะผสมผสาน (Composited Network) เป็นข่ายงานที่มีโครงสร้างผสมระหว่าง แบบศูนย์รวมหรือแบบดาว แบบลดหลั่นลำดับชั้น และแบบกระจาย คือ มีศูนย์รวมแห่งหนึ่ง และสมาชิกอื่น ๆ สามารถติดต่อใช้ทรัพยากรสารนิเทศทั้งจากศูนย์รวมระหว่างสมาชิกได้ ซึ่งเป็นรูปแบบที่นิยมกันมาก
ศูนย์รวม
แผนภาพที่ 4 แบบลักษณะผสมผสาน (Composited Network)
ที่มา : นงลักษณ์ ไม่หน่ายกิจ (2543 : 90 – 92)
3. กลไกในการเชื่อมโยงกิจกรรมของข่ายงาน
3.1 ห้องสมุด สมาชิกกับทรัพยากร ห้องสมุดทุกแห่งที่เข้าร่วมข่ายงานจะต้องมีความเข้าใจเป้าหมายที่จะทำให้ข่ายงานดำเนินไปสู่ความสำเร็จร่วมกันได้
3.2 วิธีการก่อตั้ง จะต้องมีการตกลงเกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรร่วมกันและระเบียบข้อบังคับ รวมทั้งงบประมาณ
3.3 ระบบการติดต่อสื่อสาร
34
3.4 กิจกรรมที่ทำร่วมกัน
3.5 การฝึกอบรมและการศึกษาต่อ
4. หน้าที่และความรับผิดชอบจะต้องแบ่งงานกันทำอย่างชัดเจน
5. การติดต่อประสานงานกับข่ายงานควรมีการติดต่อกับข่ายงานสากลอื่นๆ (อุทัย ทุติยะโพธิ 2532 : 30 – 32)
ลักษณะของข่ายงานห้องสมุดและสารนิเทศ
ข่ายงานห้องสมุดและสารนิเทศมีหลายลักษณะ ห้องสมุดแต่ละแห่งอาจมีเครือข่ายในลักษณะใดลักษณะหนึ่งหรือหลายลักษณะรวมกัน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นประการหลัง ลักษณะของเครือข่ายห้องสมุดและสารนิเทศโดยทั่วไปอาจจัดกลุ่มได้ดังนี้
1. ข่ายงานตามประเภทของสถาบัน ห้องสมุดประเภทเดียวกันจะมีวัตถุประสงค์ลักษณะการดำเนินงานเหมือนกันและลักษณะความต้องการเหมือนกันจึงมีความสะดวกในการดำเนินงาน
2. ข่ายงานตามสังกัดของหน่วยงาน เช่น ข่ายงานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของรัฐห้องสมุดประชาชนสังกัดกรุงเทพมหานคร หรืออาจเป็นสถาบันต่างประเภทในสังกัดเดียวกัน เช่น ห้องสมุดกับสถาบันวิจัย มีข้อดีคือ ความสะดวกและความรวดเร็วในการดำเนินงาน โดยเฉพาะการปฏิบัติตามกฎระเบียบเดียวกัน
3. ข่ายงานตามสาขาวิชาเกิดจากกลุ่มห้องสมุดเดียวกัน โดยแบ่งกันตามความ เชี่ยวชาญหรือจุดเน้นของห้องสมุดแต่ละแห่ง โดยห้องสมุดที่เข้าร่วมโครงการสามารถให้บริการแก่ผู้ใช้ได้อย่างสมบูรณ์ ด้วยความร่วมมือระหว่างห้องสมุดทั้งสองแห่ง
4. ข่ายงานตามพื้นที่ภูมิศาสตร์ แบ่งกว้าง ๆ เป็นเครือข่ายในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ ระดับภูมิภาคหรือทวีป และระดับนานาชาติ
5. ข่ายงานตามประเภทของงาน โดยจัดกลุ่มตามลักษณะของงาน เช่น งานจัดหา ทรัพยากรสารนิเทศ งานวิเคราะห์สารนิเทศ งานบริการสารนิเทศ และอาจแบ่งย่อยตามประเภทของงาน (ชุติมา สัจจานันท์ 2542 : 79) เช่น งานจัดหาทรัพยากรสารนิเทศจำแนกย่อยเป็นความร่วมมือในการจัดซื้อ การแลกเปลี่ยน เป็นต้น
องค์ประกอบหน้าที่ของข่ายงานห้องสมุดและสารนิเทศ
สุชัญญา จีระพันธุ์และปฤชญีณ นาครทรรพ (2532 : 9) ได้กล่าวถึงองค์ประกอบสำคัญที่เป็นพื้นฐานของการจัดทำข่ายงานห้องสมุด ดังนี้
35
1. ทรัพยากรห้องสมุด ทั้งสิ่งพิมพ์ โสตทัศนูปกรณ์ และฐานข้อมูลที่ห้องสมุดสร้างขึ้นเองหรือจัดซื้อสำเร็จรูป
2. ประเภทของกิจกรรมที่จะร่วมมือกัน โดยกำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ หน้าที่อย่างชัดเจน และต้องมีการแบ่งความรับผิดชอบในการจัดกิจกรรมอย่างทั่วถึงและเหมาะสม
3. มาตรฐานการลงรายการ สำหรับการสร้างและแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกัน
4. ข้อตกลงร่วมกัน เพื่อเป็นกรอบในการดำเนินงาน
5. ผู้ปฏิบัติงานต้องมีความรู้ ความเข้าใจสอดคล้องกันทั้งในระดับนโยบายและการปฏิบัติงาน ซึ่งต้องอาศัยความพยายาม อุดมการณ์ ความตั้งใจจริง และต้องมีความประนีประนอมของสมาชิก โดยมีผู้บริหารคอยแนะนำ ติดตาม สอบถามอย่างสม่ำเสมอ
6. ความร่วมมือควรเริ่มจากจุดย่อย หรือความต้องการเร่งด่วนเป็นอันดับแรกและขยายตามขีดความสามารถ หรือตามความพร้อมเพื่อความต้องการ
เจทญา มีลาภ ( 2539 : 22 ) ได้ศึกษาหน้าที่ของข่ายงานห้องสมุดและสารนิเทศ ว่าการกำหนดหน้าที่ของข่ายงานห้องสมุดและสารนิเทศในขั้นต้นจะต้องคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1. สามารถสนับสนุนการบริการของห้องสมุด หรือองค์กรที่เกี่ยวข้องกับสารนิเทศโดยตรง
2. สามารถให้บริการกับสมาชิกของห้องสมุด หรือ องค์กรที่เกี่ยวข้องกับสารนิเทศได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม
3. สอดคล้องกับโครงสร้างของข่ายงานนั้น ๆ
ส่วน มาลินี ศรีพิสุทธิ์ และสมพิศ คูศรีพิทักษ์ ( 2534 : 635 – 636 ) กล่าวถึงองค์ประกอบพื้นฐานของการจัดทำข่ายงานห้องสมุด ดังนี้
1. ทรัพยากรห้องสมุด ทั้งสิ่งพิมพ์ โสตทัศนูปกรณ์ และฐานข้อมูลที่ห้องสมุดสร้างขึ้นเองหรือจัดซื้อสำเร็จรูป
2. ประเภทของกิจกรรมที่จะร่วมมือกัน โดยกำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ หน้าที่อย่างชัดเจน และการแบ่งความรับผิดชอบในการจัดกิจกรรมอย่างทั่วถึงและเหมาะสม
3. มาตรฐานการลงรายการ สำหรับการสร้างและแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกัน
4. ข้อตกลงร่วมกัน เพื่อเป็นกรอบในการดำเนินงาน
5. ผู้ปฏิบัติงานต้องมีความรู้ ความเข้าใจสอดคล้องกันทั้งในระดับนโยบายและการปฏิบัติงาน โดยมีผู้บริหารคอยแนะนำ ติดตามสอบถามอย่างสม่ำเสมอ
36
6. ความร่วมมือควรเริ่มจากจุดย่อย หรือความต้องการเร่งด่วนเป็นอันดับแรกและขยายตามขีดความสามารถ เพื่อให้เป็นไปตามแผนรวมต่อไป
วิลเลียมส์ และฟลีนน์ (Williams and Flynn 1979 : 49 – 83) จากมหาวิทยาลัยพิตสเบอร์ก ได้สำรวจข่ายงานห้องสมุดในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา พบว่า โดยทั่วไปข่ายงานห้องสมุดจะมีหน้าที่เรียงตามลำดับความถี่จากมากไปหาน้อย 21 รายการ ดังนี้
1. การยืมระหว่างห้องสมุด ( Interlibrary Loan )
2. การบริการอ้างอิง ( Reference )
3. การจัดส่งเอกสาร ( Document Delivery )
4. การจัดหา ( Acquisitions )
5. การทำสหรายชื่อ ( Union Lists )
6. การศึกษาต่อเนื่อง ( Continuing Education )
7. บรรณานุกรม ( Bibliographic )
8. การทำสำเนาเอกสาร ( Photocopying)
9. การบริการยืม – คืน ( Circulation )
10. การสื่อสาร ( Communications )
11. การจัดสิ่งพิมพ์ ( Publications )
12. การทำรายการ ( Cataloging )
13. การประมวลผล/งานเทคนิค ( Processing )
14. การจัดเก็บ ( Storage )
15. การค้นวรรณกรรม ( Literature Searching )
16. การพัฒนาทรัพยากร ( Collections Development )
17. การทำสาระสังเขป/ดรรชนี ( Abstracting / Indexing )
18. การแนะนำแหล่งอ้างอิง อื่น ๆ ( Referral )
19. การให้คำปรึกษา ( Consulting )
20. การบัญชีและการจัดการ ( Accounting and Management )
21. การทำไมโครฟิล์ม ( Microfilming )
เมื่อนำหน้าที่ทั้ง 21 ข้อดังกล่าวมาจัดกลุ่ม สามารถจัดกลุ่มได้ 17 กลุ่มดังนี้
37
1. การจัดการ เป็นการควบคุมและประเมินผลการปฏิบัติงานในข่ายงานห้องสมุดและรวมไปถึงการควบคุมงบประมาณในข่ายงาน 9 ด้าน
2. การบริหาร เป็นกิจกรรมที่สนับสนุนใหกิจกรรมที่มีในข่ายงานทั้งหมดดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย (เช่น ความร่วมมือระหว่างกัน การจัดสรรทรัพยากร การวางแผน การกำหนดนโยบาย การจัดหาเงินทุนเหมาะสมกับโครงสร้างของข่ายงานสามารถทำให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างต่อเนื่อง)
3. การจัดหา คือ การจัดหาสารนิเทศและสื่อต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อความต้องการของ ผู้ใช้โดยการจัดหาสารนิเทศนั้นต้องคำนึงถึงความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของข่ายงาน
4. การทำรายการและผลิตผลของการทำรายการ การทำรายการแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ รายการแสดงรายละเอียด และลักษณะของสารนิเทศ (Descriptive Cataloging) และรายการหัวเรื่อง (Subject Cataloging) ส่วนผลิตผลของการทำรายการอาจมีรูปแบบเป็นบัตรรายการ หรือ บันทึกในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อทำให้การค้นคืนสารนิเทศทำได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น นอกจากนี้การจัดทำอาจทำเฉพาะในห้องสมุดของตนหรือเป็นบัตรรายการที่ใช้ร่วมกับห้องสมุดอื่นด้วย
5. กระบวนการจัดเตรียมสารนิเทศ เป็นกิจกรรมการจัดเตรียมสารนิเทศออกบริการให้กับผู้ใช้ เช่น การประทับตราห้องสมุด การจัดทำบัตรหนังสือ เพื่อให้ผู้ใช้ได้ยืมออกนอกห้องสมุด และการจัดหนังสือขึ้นชั้น เป็นต้น
6. การค้นคืนสารนิเทศ เป็นกิจกรรมการสืบค้นสารนิเทศจากฐานข้อมูล โดยใช้ชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง หัวเรื่องหรือเลขหมู่หนังสือในการค้นสารนิเทศที่ผู้ใช้ต้องการ
7. การยืม – คืน เป็นกิจกรรมที่ควบคุมการจ่าย – รับสารนิเทศ สถิติที่ได้จากกิจกรรมนี้สามารถนำไปเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจในกิจกรรมอื่น ๆ ได้ เช่น การจัดหา เป็นต้น
8. การควบคุมวารสาร เป็นกิจกรรมที่ควบคุมการสั่งซื้อวารสาร ได้แก่ การตรวจรับ วารสารที่สั่งซื้อ การทวงถามวารสารที่จัดส่งล่าช้า และการจัดระบบให้สามารถตรวจสอบวารสารแต่ละฉบับว่าขณะนี้กำลังอยู่ในสถานะใด เช่น กำลังสั่งซื้อ หรือ ทวงถาม เป็นต้น
9. การยืมระหว่างห้องสมุด เป็นกิจกรรมที่ให้บริการยืมสารนิเทศแก่ผู้ใช้ระหว่าง ห้องสมุดและแหล่งสารนิเทศอื่น ๆ แลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน
10. การนำส่งสารนิเทศ เป็นการจัดส่งสารนิเทศที่ผู้ใช้ต้องการจากห้องสมุดถึงตัวผู้ใช้
11. การจัดเก็บสารนิเทศ เป็นกิจกรรมที่จัดระบบการจัดเก็บสารนิเทศให้สามารถสืบค้นได้สะดวกรวดเร็ว ตามความต้องการของผู้ใช้
38
12. การชี้แนะแหล่งสารนิเทศ เป็นบริการที่แนะนำว่าสารนิเทศที่ผู้ใช้ต้องการนั้นมีอยู่ที่แหล่งสารนิเทศแหล่งใด ทั้งภายในห้องสมุดเองและจากห้องสมุดอื่น ๆ
13. การสื่อสาร เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการอำนวยความสะดวกให้ห้องสมุดมีช่องทางการติดต่อสื่อสารกับห้องสมุด และแหล่งสารนิเทศอื่น ๆ ที่เป็นสมาชิกในข่ายงาน เช่น การติดตั้งเครื่องมือการสื่อสารต่าง ๆ เช่น โทรศัพท์ เครือข่ายโทรคมนาคม หรือระบบทางไปรษณีย์เป็นต้น
14. การศึกษา อบรม เป็นกิจกรรมที่ฝึกอบรมผู้ใช้ หรือเจ้าหน้าที่ห้องสมุดให้รู้จักวิธีการใช้ประโยชน์จากข่ายงานในหน้าที่และบริการที่จะได้รับ ตลอดจนการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการติดต่อกับห้องสมุดอื่น โดยวิธีการเผยแพร่ในลักษณะต่าง ๆ เช่น จดหมายข่าวหรือคอมพิวเตอร์ช่วยในการสอน เป็นต้น
15. การทำมาตรฐาน เป็นการจัดทำมาตรฐานการปฏิบัติงานในกิจกรรมต่าง ๆ ที่ทำในข่ายงาน
16. การตลาด กิจกรรมนี้ทำหน้าที่ส่งเสริมให้สมาชิกในข่ายงานได้ทราบถึงกิจกรรมและบริการต่าง ๆ ที่จะได้รับ รวมทั้งมีการประเมินผลการบริการในปัจจุบันและสำรวจความต้องการของผู้ใช้ต่อบริการใหม่ ๆ เพื่อนำมาปรับปรุงบริการให้ดีขึ้น
17. การพัฒนาและการสนับสนุนระบบ เป็นกิจกรรมที่พัฒนาระบบของข่ายงานว่าในแต่ละหน้าที่ หรือกิจกรรมต่าง ๆ สามารถเอื้อประโยชน์ต่อผู้ใช้ตลอดเวลา การปฏิบัติงานในข่ายงานจำเป็นที่จะต้องมีการวิเคราะห์ระบบการปฏิบัติงานของแต่ละกิจกรรมและออกแบบระบบให้ ส่งเสริมกิจกรรมต่าง ๆ ในข่ายงานตลอดจนมีการทดสอบระบบและอุปกรณ์การปฏิบัติงานอื่น ๆ อยู่เสมอเพื่อให้การปฏิบัติงานในข่ายงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ความร่วมมือระหว่างห้องสมุดและเครือข่ายสารนิเทศในประเทศไทย
ความร่วมมือระหว่างห้องสมุดในประเทศไทยอย่างเป็นทางการมีความร่วมมือที่สำคัญ และมีบทบาทในการพัฒนาห้องสมุดในประเทศไทย ดังต่อไปนี้
ความร่วมมือระหว่างห้องสมุดของสถาบันอุดมศึกษา
ทบวงมหาวิทยาลัยมีสถาบันอุดมศึกษาในสังกัด ทั้งในส่วนกลาง และส่วนภูมิภาครวม 48 แห่ง แยกเป็นสถาบันอุดมศึกษาในสังกัดของรัฐ 19 แห่ง และมีสถาบันอุดมศึกษาของเอกชนในสังกัด 29 แห่ง (ทบวงมหาวิทยาลัย 2536 : 15) ความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบัน อุดมศึกษาของรัฐ แบ่งออกเป็น 2 โครงการที่สำคัญ คือ ข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วน
39
ภูมิภาค และโครงการพัฒนาห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนกลาง ซึ่งคาดว่า พ.ศ. 2540 ทั้ง 2 ข่ายงานจะเชื่อมต่อกันด้วยระบบคอมพิวเตอร์ได้อย่างสมบูรณ์
ความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา เริ่มขึ้นเมื่อ พ.ศ.2519 ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยต่างๆ ได้มาประชุมกันเพื่อยกระดับมาตรฐานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา และพัฒนาห้องสมุด โดยการใช้ทรัพยากรทางวิชาการร่วมกัน เพื่อความประหยัด และให้บริการได้อย่าง มีประสิทธิภาพในพ.ศ.2522 ได้มีการสัมมนาเรื่องความร่วมมือระหว่างห้องสมุดมหาวิทยาลัย เป็นครั้งแรก ปีถัดมาทบวงมหาวิทยาลัยได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการพัฒนาห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาขึ้นและได้จัดสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเป็นประจำทุกปีความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษามีคณะทำงาน 6 คณะ ค
1. คณะทำงานกลุ่มพัฒนาทรัพยากรสารนิเทศ ผลงานสำคัญ คือ ได้จัดทำบรรณานุกรมและสร้างฐานข้อมูลบรรณานุกรม
2. คณะทำงานกลุ่มวิเคราะห์ทรัพยากรสารนิเทศ ผลงานสำคัญ คือ ได้จัดทำหัวเรื่องสำหรับหนังสือภาษาไทย และหลักเกณฑ์การลงรายการในบัตรรายการ
3. คณะทำงานกลุ่มวารสารและเอกสาร ผลงานสำคัญ คือ ได้รวบรวมรายชื่อวารสารในประเทศไทย ร่วมมือกันจัดทำและแลกเปลี่ยนดรรชนีวารสาร
4. คณะทำงานกลุ่มบริการสารนิเทศ
5. คณะทำงานกลุ่มเทคโนโลยีการศึกษา มีผลงานสำคัญ คือ ได้จัดทำหนังสือ “การทำบัตรรายการโสตทัศนวัสดุ รวบรวมและจัดพิมพ์แหล่งจำหน่ายและให้บริการสำเนาสื่อโสตทัศนวัสดุ
6. คณะทำงานกลุ่มเทคโนโลยีสารนิเทศ
ในการดำเนินงานนั้น ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาที่เป็นสมาชิกจะส่งผู้แทนเข้าร่วมกับคณะทำงานตามความสามารถ เพื่อร่วมมือกันทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีการประชุมของคณะทำงานแต่ละคณะประมาณปีละ 4 – 7 ครั้ง มีสถาบันอุดมศึกษาของรัฐเป็นสมาชิกจำนวน 19 แห่งทั่วประเทศความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษามีการดำเนินงานร่วมกันมาเป็นเวลากว่า 16 ปี กลุ่มผู้บริหารและบรรณารักษ์ต่างเห็นด้วยกับความร่วมมือ การดำเนินงานต่างๆ ของคณะทำงานแต่ละกลุ่มประสบความสำเร็จในการทำงาน (อัมพร ปั้นศรี และวิลัย อัคคชิยา, 2529 : 1) อาทิ คณะทำงานฝ่ายเทคโนโลยีการศึกษาต่างเห็นด้วยที่จะร่วมมือต่อไปในอนาคต เนื่องจากได้รับประโยชน์จากความร่วมมือ และผู้บริหารให้การสนับสนุน (เกื้อกูล วิชชจุฑากุล, 2535 : 25)
40
กมเลศน์ สันติเวชชกุล (2542 : 147 – 154) กล่าวถึงการพัฒนาระบบเครือข่ายห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐในประเทศไทย ได้เริ่มตั้งแต่ปีพ.ศ. 2527 จนถึงปัจจุบัน โดยใช้ระบบเครือข่ายระหว่างมหาวิทยาลัยผ่านระบบ UniNet ในโครงการเครือข่ายเพื่อการพัฒนาการศึกษาของทบวงมหาวิทยาลัย ดังนี้
1. เครือข่ายห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค (Provincial University Library and Information Network – PULINET)
เครือข่ายห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค หรือ พูลิเน็ต เกิดจากในปีพ.ศ. 2527การที่ห้องสมุด มหาวิทยาลัยของรัฐในส่วนภูมิภาค 12 แห่งประกอบด้วย มหาวิทยาลัยขอนแก่นมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาลัยเขตหาดใหญ่ และวิทยาเขตปัตตานี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และมหาวิทยาลัยทักษิณ ได้รับความช่วยเหลือจาก IDP (International Development Program of Australia Universities and Colleges) เพื่อมุ่งเน้นให้ห้องสมุดสามารถให้บริการถ่ายทอดสื่อสาร และสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานในและต่างประเทศ
ต่อมามติที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค ในการประชุมครั้งที่ 2 / 2528 เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2528 ได้มอบหมายให้ห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค คิดรูปแบบ โครงการความร่วมมือที่เหมาะสม เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้อย่างรวดเร็ว โดยสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นผู้ริเริ่มในการจัดตั้งข่ายงานในการรับผิดชอบการดำเนินงาน ห้องสมุด และเอกสารสนเทศในระยะแรกและได้ตกลงให้หมุนเวียนกันเป็นประจำทุก 2 ปี และในปีพ.ศ.2536ได้จัดทำเป็นโครงการพัฒนาระบบห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาคขึ้นซึ่งมีเป้าหมายโครงการ คือ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดซื้อ – จัดหาเอกสาร การค้นข้อมูลบนจอเทอร์มินัล เพิ่มศักยภาพการใช้ทรัพยากรร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัย รวมทั้งเรื่องการบริการยืมระหว่างห้องสมุด และพัฒนาให้ห้องสมุดในแต่ละภูมิภาคเป็นศูนย์ข้อมูลประจำภาคได้ สามารถออนไลน์กับฐานข้อมูลพาณิชย์ในต่างประเทศได้ เช่น Dialog BRS และ OCLC และเริ่มดำเนินการติดตั้งโครงสร้างพื้นฐาน โดยเน้นไฟเบอร์ออฟติก เพื่อเตรียมการให้บริการข้อมูลที่เป็นมัลติมีเดีย ไฮเปอร์เท็กซ์ เสียงและภาพ มีศูนย์ข้อมูลประจำภูมิภาค 3 แห่ง ได้แก่ ศูนย์ข้อมูลภาคเหนือ ศูนย์ข้อมูลภาคตะวันออก และศูนย์ข้อมูลภาคใต้
41
ผลการดำเนินการโดยรวมมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในส่วนภูมิภาคได้พัฒนาห้องสมุดของมหาวิทยาลัยเพื่อเข้าสู่ระบบการเชื่อมโยงเครือข่ายได้เป็นผลสำเร็จช่วยเพิ่มศักยภาพของระบบงานด้านต่าง ๆ ของห้องสมุดมหาวิทยาลัย สามารถรองรับการพัฒนาด้านวิชาการและข้อมูลข่าวสารของโลกสมัยใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเอื้ออำนวยต่อการใช้ทรัพยากรร่วมกันอย่างคุ้มค่า
2. เครือข่ายพัฒนาระบบห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนกลาง (Thai Academic Library Network : Metropolitan – THAILINET M)
เครือข่ายพัฒนาระบบห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนกลาง เป็นเครือข่ายห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐในส่วนกลางจำนวน 12 แห่ง ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สถาบันบัณฑิต พัฒนบริหารศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือและมหาวิทยาลัยศิลปากร โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญ เพื่อพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติ สร้างเครือข่ายสารนิเทศห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนกลางและส่วนภูมิภาคเข้าเป็นระบบเดียวกันและสามารถเชื่อมโยงกับระบบ เครือข่ายอื่น ๆ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
3. ความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
เมื่อปีพ.ศ. 2528 ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชนได้เริ่มต้นร่วมมือระหว่างห้องสมุดใช้ชื่อในปัจจุบันว่า คณะอนุกรรมการพัฒนาห้องสมุด สถาบันอุดมศึกษาเอกชน มีชื่อย่อว่า อพห. คณะอนุกรรมการดังกล่าวประกอบ ผู้อำนวยการห้องสมุดและหัวหน้าห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน 52 แห่ง
มีวัตถุประสงค์ คือ ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในด้านการพัฒนาห้องสมุด การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และพัฒนาความก้าวหน้าของบุคลากรห้องสมุด การใช้ทรัพยากรร่วมกัน ตลอดจนการหาแนวทางเพื่อให้เกิดความร่วมกันในการศึกษาค้นคว้า วิจัย อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนา สถาบันอุดมศึกษาเอกชน
ผลงานของ อพห. ที่ผ่านมา ได้มีการประชุมวิชาการและสัมมนาเพื่อส่งเสริมด้านการพัฒนา บุคลากร นอกจากนี้การดำเนินงานของ อพห. ได้มีการแบ่งกลุ่มการทำงานร่วมกันตามลักษณะงานของห้องสมุด คือ กลุ่มงานวารสาร กลุ่มงานเทคนิค กลุ่มงานบริการ และกลุ่มงานโสตทัศนบริการ โดยแต่ละงานล้วนแต่มีแนวทางเพื่อให้เกิดความร่วมมือในการปฏิบัติงาน
42
ร่วมกันเพื่อลดขั้นตอนการทำงานที่ซ้ำซ้อนและเพื่อให้ห้องสมุดแต่ละแห่งมีหนทางที่จะสามารถใช้ ทรัพยากรห้องสมุดร่วมกันได้ ( น้ำทิพย์ วิภาวิน 2536 : 32 – 34 )
4. โครงการเครือข่ายสารนิเทศเพื่อพัฒนาศึกษา
โครงการเครือข่ายสารนิเทศเพื่อการพัฒนาการศึกษา หรือที่เรียกกันย่อๆว่าโครงการ IT Campus เป็นโครงการที่ทบวงมหาวิทยาลัยริเริ่มขึ้น เป็นโครงการระยะยาวมีระยะเวลาดำเนินงาน 3 ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2539 – 2541 ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 3,000 ล้านบาท เพื่อดำเนินการสร้างทางด่วน สารนิเทศทางการศึกษาและติดตั้งระบบการเรียนการสอนทางไกลในมหาวิทยาลัย / สถาบันหลักที่เป็นแม่ข่ายให้ครบทั้ง 22 แห่ง และในวิทยาเขตลูกข่าย 33 จังหวัดโดยใช้เครือข่ายใยแก้วนำแสงและปรับปรุงเครือข่ายในมหาวิทยาลัยให้สามารถสื่อสารกันได้ระหว่างคณะ ภาควิชาด้วยเครือข่ายใยแก้วนำแสง เพื่อให้ติดต่อสื่อสารข้อมูลวิชาการและการวิจัยรวมทั้งการใช้ทรัพยากรห้องสมุดร่วมกันของหน่วยงานต่างๆ (วุฒิพงศ์ เตชะดำรงสิน 2539 : 196 – 197)
ความร่วมมือระหว่างห้องสมุดโรงเรียน
1. กลุ่มครูบรรณารักษ์ห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร
ความร่วมมือระหว่างห้องสมุดโรงเรียนเริ่มต้นอย่างเป็นทางการจากการกระตุ้นของหน่วยศึกษานิเทศน์ กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ โดยจัดให้มีการประชุมกลุ่มครูบรรณารักษ์ในส่วนกลางเป็น 15 กลุ่ม ๆ ละประมาณ 6 – 8 โรงเรียน โดยยึดตามสภาพภูมิศาสตร์เป็นเกณฑ์ในการแบ่ง เริ่มต้นตั้งแต่ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2536 โดยมีการพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็น จัดทำโครงการและปฏิบัติงานร่วมกันผลงานของกลุ่มบรรณารักษ์ที่ได้ดำเนินการไปแล้ว สรุปได้ดังนี้
1. รวบรวมบรรณานุกรมหนังสือประกอบการค้นคว้าหมวดวิชาต่าง ๆ ของโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย
2. จัดทำดรรชนีวารสาร โดยให้หน่วยศึกษานิเทศก์เป็นผู้จัดพิมพ์แล้วให้โรงเรียนต่าง ๆ นำบัตรเปล่ามาแลก
3. ปรับปรุงมาตรฐานโรงเรียนและส่งให้สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศพิจารณาและนำเสนอต่อกระทรวงศึกษาธิการ
43
4. จัดทำคำถามและคำตอบจากหนังสือในเลขหมู่ต่าง ๆ ของดิวอี้และหนังสืออ้างอิงเพื่อจัดแข่งขันตอบคำถามกับนักเรียนในการจัดกิจกรรมห้องสมุด เมื่อกลุ่มต่าง ๆ ได้รวบรวมคำถามคำตอบ ให้ศึกษานิเทศก์เป็นผู้จัดพิมพ์และแจกให้โรงเรียนต่าง ๆ
5. จัดทำเอกสารคู่มือนักเรียนช่วยงานห้องสมุดโดยให้ศึกษานิเทศก์เป็นผู้พิมพ์แจก
6. ดำเนินการวิจัยความต้องการใช้ห้องสมุดของนักเรียน(เกษร บัวทอง 2532 : 25–35)
ประโยชน์ที่ได้รับจากความร่วมมือ ได้แก่ ช่วยเสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์ในระหว่าง ครูบรรณารักษ์ทำให้ไม่รู้สึกโดดเดี่ยว ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และผลิตผลงานร่วมกันทำให้ ลดความซาซ้อนประหยัดเวลาและงบประมาณในการทำงาน นอกจากนี้การที่มีโอกาสไปดูงาน ห้องสมุดอื่นๆ ทำให้ได้รับความคิดใหม่ๆ มาใช้ในการทำงานได้มากยิ่งขึ้น(เกษร บัวทอง 2535:68)
2. โครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย (SchoolNet Thailand)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(เนคเทค) ได้ริเริ่มโครงการอินเทอร์เน็ตในโรงเรียนขึ้นในปีพ.ศ. 2538 ซึ่งในปีนั้นเป็นปีแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศไทย ต่อมาในปีพ.ศ.2539 เนคเทคได้รับมอบหมายจากกระทรวงวิทยาศาสตร์ให้ทำโครงการนำร่องด้วยการพัฒนากำลังคนที่มีความรู้ความสามารถด้านเทคโนโลยีจึงขยายขอบเขตโครงการอินเทอร์เน็ตออกไปและเรียกชื่อใหม่ว่า“โครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย”หรือ SchoolNet Thailand เพื่อเป็นเครือข่ายที่เปิดโอกาสให้โรงเรียนทั่วประเทศไทยได้เข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อเป็นการใช้เทคโนโลยีสารนิเทศมาช่วยยกระดับการศึกษาให้แก่เยาวชนไทยในปีพ.ศ. 2541 โครงการ SchoolNet ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี พระราชทานพระราชานุญาตให้ใช้ระบบเครือข่ายกาญจนาภิเษก ซึ่งมีศูนย์บริการทั่วประเทศเพื่อให้โรงเรียนเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่าย SchoolNet ในมิติใหม่ “SchoolNet @ 1509 ” ทำให้ 1500 โรงเรียนมัธยมศึกษาทั่วประเทศสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยการหมุนโทรศัพท์ผ่านเลขหมายพระราชทาน 1509 เสียเพียงค่าโทรศัพท์ในอัตรา 3 บาท ต่อครั้งเท่านั้น การดำเนินโครงการ SchoolNet สามารถสรุปผลงานได้ดังนี้
1. การให้บริการเครือข่าย SchoolNet แก่สถานศึกษาทุกสังกัด ทุกระดับการศึกษาทุกจังหวัดทั่วประเทศโดยมีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการถึงจำนวน 4,889 โรงเรียน
2. เว็บไซต์โครงการ SchoolNet เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ทางด้านการศึกษาให้แก่โรงเรียน ครู อาจารย์ นักเรียนและบุคคลทั่วไป และเนคเทคกระตุ้นให้โรงเรียนพัฒนาเว็บไซต์ของโรงเรียนแล้วจัดให้มีการจัดทำศูนย์กลางเชื่อมโยง
44
เว็บไซต์ของโรงเรียนประมาณ 1,377 โรงเรียนและมี SchoolNet Webboard เป็นชุมชนบน เครือข่ายที่มีผู้เข้ามาแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์เพื่อช่วยเหลือครูให้สามารถประยุกต์ใช้ อินเทอร์เน็ต และจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้นักเรียนได้ตามความเหมาะสมกับทรัพยากรของโรงเรียน
3. เนคเทคได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และสสวท. พัฒนาห้องสมุดดิจิทัล หรือ Digital Library for SchoolNet ขึ้นเป็นต้นแบบของเนื้อหาความรู้บนเครือข่ายเป็นแหล่งข้อมูลความรู้ที่เป็นภาษาไทย ครอบคลุมเนื้อหากว่า 1,000 เรื่อง เพื่อให้เยาวชน ได้ใช้ประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้า และร่วมกันพัฒนาเนื้อหาความรู้บนเครือข่ายแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน นอกจากนี้ยังได้พัฒนาเครื่องมือสร้างเว็บเพจอย่างง่าย หรือ Digital Library Toolkit ช่วยให้ผู้ที่ไม่มีความรู้ทางคอมพิวเตอร์ในระดับสูง สามารถนำเนื้อหาที่มีอยู่ มาสร้างเป็นเว็บเพจได้ด้วยตนเอง ซึ่งปัจจุบันมีครู นักเรียน และบุคคลทั่วไปได้ใช้เครื่องมือนี้สร้างเนื้อหาความรู้ลงใน Digital Library แล้วจำนวนกว่า 7,142 เรื่อง
4. การนำระบบปฏิบัติการลินุกซ์ (Linux) และซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สสู่ห้องเรียนเนคเทคได้ส่งเสริมให้โรงเรียนได้นำระบบปฏิบัติการลินุกซ์และซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สมาใช้งานในห้องเรียนเพื่อช่วยลดต้นทุนทางด้านซอฟต์แวร์ในการเรียนการสอนของโรงเรียน
ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2546 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ส่งมอบโครงการ เครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย (SchoolNet Thailand) ต่อกระทรวงศึกษาธิการโดยมีศูนย์สารสนเทศของสำนักงานปลัดกระทรวง เป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงการ ในการถ่ายโอนเนคเทคจะโอนภารกิจของโครงการทั้งหมดที่ได้ดำเนินงานได้แก่
(1) การบริหารเว็บไซต์ SchoolNet (http : // SchoolNet.net.th) และกิจกรรมภายใต้ชื่อโดเมน SchoolNet.net.th ที่เป็นสื่อกลางแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสารและความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ทางการศึกษาของครู และนักเรียนจากโรงเรียนทั่วประเทศตลอดจนเป็นศูนย์กลางของกิจกรรมบนเครือข่าย อินเทอร์เน็ตทั้งในและต่างประเทศ
(2) การให้บริการและบริหารเครือข่าย SchoolNet @ 1509 แก่โรงเรียนทั่วประเทศ
(3) การให้บริการเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงเว็บไซต์ของโรงเรียนทุกสังกัดทั่วประเทศ (http:// SchoolNet.net.th/ thaischool) และให้บริการเนื้อที่บนเครื่องคอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ของโรงเรียน (www. SchoolNet.net.th 2546 : ออนไลน์)
45
3. โครงการจัดหาระบบคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในงานตามโครงการยกระดับ มาตรฐานคุณภาพของโรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานครและส่วนภูมิภาค ของกรมสามัญศึกษา
กรมสามัญศึกษาได้จัดทำโครงการ RESOURCE CENTER เป็นโครงการจัดหาระบบคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในงาน ตามโครงการยกระดับมาตรฐานคุณภาพของโรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานครและส่วนภูมิภาค เพื่อพัฒนาเยาวชนให้ได้ศักยภาพที่พึ่งประสงค์ได้ดังนั้น จึงต้องพัฒนาโรงเรียนมัธยมศึกษาให้มีคุณภาพสูงขึ้นทัดเทียมกันมีสภาพแวดล้อมต่างๆ ที่ เอื้ออำนวยต่อการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ ทัดเทียมกับโรงเรียนขนาดใหญ่ที่ได้รับความนิยมและมีชื่อเสียงทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ซึ่งมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. เพื่อให้โรงเรียนมีแหล่งบริการด้านการอ่านและการค้นคว้าหาความรู้ที่เป็นปัจจุบันของนักเรียนและครู อาจารย์
2. เพื่อพัฒนาให้ครูในโรงเรียนมีความรู้ ความสามารถในการใช้ และผลิตสื่อ การสอน โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย
3. เพื่อพัฒนาปรับปรุงรูปแบบการสอนให้มีมาตรฐานสูงขึ้น ทัดเทียมโรงเรียนที่มี ชื่อเสียงในความนิยมของผู้ปกครอง
เป้าหมายในการดำเนินงาน
1. ด้านมีปริมาณ
1.1 ติดตั้งเครือข่ายคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต โดยใช้การเชื่อมต่อสายโทรศัพท์โรงเรียน 344 แห่ง
1.2 ติดตั้งเครือข่ายคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต โดยใช้การเชื่อมต่อด้วยสายสัญญาณแบบวงจรเช่า ความเร็วไม่น้อยกว่า 64 Kbpsทุกจังหวัดไม่น้อยกว่าจังหวัดละ 1 โรงเรียน
2. ด้านคุณภาพ
2.1 นักเรียน ครู อาจารย์ สามารถเรียนข้อมูลจากระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีความถูกต้องเป็นปัจจุบัน ทันสมัย และสะดวกรวดเร็ว
2.2 ครู อาจารย์ สามารถพัฒนาการเรียนการสอนได้ดียิ่งขึ้น สามารถผลิตและใช้สื่อการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.3 ใช้ข่ายในการสื่อสาร และเปลี่ยนข้อมูลกันได้ระหว่างหน่วยงานครู
2.4 ในด้านการบริหารงานโรงเรียน จังหวัด กรม สามารถสื่อสารผ่าน เครือข่ายโดยการส่ง E-mail ถึงกันได้โดยประหยัดกว่าการส่งโทรสารและโทรศัพท์
46
ขั้นตอนการดำเนินงาน
1. วางแผนดำเนินการในการในกรอบที่กำหนดไว้ และให้สอดคล้องกับองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น จำนวนโรงเรียนตามรายชื่อที่กำหนด
2. ประสานงานกับหน่วยงานที่มีศักยภาพในการให้บริการเชื่อมต่อเครือข่าย อินเทอร์เน็ต
3. ออกแบบระบบการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตให้สอดคล้องกับหน่วยงานที่ให้บริการ
4. ดำเนินการจัดซื้อและติดตั้งอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ให้โรงเรียนในโครงการ
5. จัดตั้งกรรมการพัฒนาการใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ต่อการเรียนการสอนของโรงเรียนในโครงการและสามารถใช้เป็นประโยชน์ต่อการศึกษา
ประเภทการจัดซื้อ
1. จัดซื้อระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ให้กับโรงเรียนที่เข้าโครงการยกระดับมาตรฐานคุณภาพของโรงเรียนมัธยมศึกษา ในกรุงเทพมหานคร และส่วนภูมิภาค ของกรมสามัญศึกษาจำนวน 420 โรงเรียน
2. การวิเคราะห์และออกแบบระบบ เนื่องจากปัจจุบันมีการนำคอมพิวเตอร์เข้าไปใช้กันอย่างแพร่หลาย ดังนั้น เพื่อให้การใช้คอมพิวเตอร์ในโรงเรียนเกิดประโยชน์สูงสุด จึงได้จัดคอมพิวเตอร์เป็นระบบเครือข่ายเพราะสามารถใช้ทรัพยากรทั้งทาง ฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ ที่มีอยู่ร่วมกันได้ รวมทั้งการจัดการแฟ้มข้อมูล การใช้โปรแกรมร่วมกัน การใช้อุปกรณ์ภายนอกร่วมกันและสามารถติดต่อกับผู้ใช้คนอื่น ๆ ในเครือข่ายด้วยกัน
ลักษณะงานและปริมาณงานที่จะดำเนินการ
1. การสืบค้นข้อมูลจากระบบอินเทอร์เน็ต เพื่อให้เกิดการค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองอย่างอิสระ และนำความรู้ที่ได้มาแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน กับเพื่อนครู และอินเทอร์เน็ตยังมีประโยชน์ในการเรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อนักเรียน ที่มีความสนใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นพิเศษ ซึ่งครูอาจไม่มีความเชี่ยวชาญหรือมีเวลาพอที่จะให้คำแนะนำเป็นการเฉพาะตัว การใช้งานอินเทอร์เน็ตภายในโรงเรียนจะมีการเก็บข้อมูลของเว็บไซต์ ที่มีผู้ที่ใช้งานเรียกไว้ในตัวบริการแทน (proxy server) เพื่อช่วยลดการสื่อสารของสายสัญญาณการเชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ต นอกจากนี้สามารถนำระบบข้อมูลของโรงเรียนไปใช้ในเครือข่ายได้ เพื่อความสะดวกในการใช้งาน เช่น กรมสามัญศึกษาต้องการเรียกใช้ข้อมูลของโรงเรียน การใช้ข้อมูลร่วมกันภายในโรงเรียน
47
2. การสร้างและการใช้สื่อการสอนที่หลากหลายรูปแบบ ใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีในการเรียนการสอน เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความสนใจในการเรียนรู้ และครูตื่นตัวในการแสวงหาความรู้ และพยายามสร้างสรรค์ สื่อการเรียนการสอนแบบใหม่ ๆ ทั้งในด้าน
2.1. เนื้อหาวิชาการที่ใช้สอนนักเรียน
2.2 แบบฝึกหัดจากครูที่สะสมทำเป็นคลังข้อสอบ การออกข้อสอบร่วมกันและใช้ข้อสอบร่วมกันในโรงเรียน
2.3 การสอบวัดผล วิธีการตรวจให้คะแนน ซึ่งได้ผลการสอบที่รวดเร็ว และถูกต้องทำให้การเรียนการสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
3. มีการสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างหน่วยงาน ครูและนักเรียน การใช้แบบสอบถามส่งไปยังกลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ที่ติดต่ออยู่เป็นประจำจะทำให้ได้รับข้อมูลต่าง ๆ ที่ต้องการอย่างมากมาย และสามารถนำไปใช้ในการเรียนของตนได้ในการศึกษาด้านภาษา นักเรียนสามารถที่จะติดต่อกับเพื่อน ๆ จากสถานที่อื่น ๆ ที่มีการใช้ภาษาต่างกัน และสามารถเรียนรู้ทักษะกับประสบการณ์สอนกับเพื่อนครูจากทั่วโลก และสามารถที่จะประชาสัมพันธ์แลกเปลี่ยน สื่อการเรียนการสอนที่ตนเองสร้างขึ้น ให้กับครูในโรงเรียนอื่น ๆ ได้ใช้ร่วมกัน
ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับของข่ายงานโครงการ RESOURCE CENTER
จังหวัดสมุทรปราการ มีโรงเรียนเข้าร่วมในโครงการเป็นโรงเรียนพี่ข่ายจำนวน 1 โรง คือ
โรงเรียนป้อมนาคราชสวาทยานนท์ อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการและมีโรงเรียนที่เป็นลูกข่าย จำนวน 3 โรง คือ
1. โรงเรียนหาดอมราอักษรลักษณ์วิทยา อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ
2. โรงเรียนหลวงพ่อปานคลองด่านอนุสรณ์ อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ
3. โรงเรียนบางแก้วประชาสรรค์ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
(Resource Center” 2545, ออนไลน์ )
4. ศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ
ในปี พ.ศ. 2540 นางสุรีย์ แก้วเศษ หัวหน้าหน่วยศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ และนางฉวีวรรณ บุญรัตน์ หัวหน้างานห้องสมุทรปราการ ได้ร่วมกันออกนิเทศงานห้องสมุดให้กับโรงเรียนภายใน จังหวัดสมุทรปราการ ได้มีแนวคิดจัดตั้งศูนย์พัฒนางานห้องสมุด เช่นเดียวกับศูนย์พัฒนาวิชาการอื่น ๆ เพื่อเป็นแนวทางพัฒนาห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา ในจังหวัดสมุทรปราการ ให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น และให้สอดรับกับ
48
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และนโยบายของกรมสามัญศึกษา จึงเสนอคณะกรรมการบริหารกลุ่มโรงเรียน ขอจัดตั้งเป็น ศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียน กรมสามัญศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2540 โดยมีโรงเรียนสมุทรปราการ เป็นที่ตั้งศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียน และมีประธานศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียน ดังนี้ (สำนักงานสามัญศึกษาจังหวัดสมุทรปราการ คำสั่งที่ 1478/2540)
พ.ศ. 2540 – 2542 ประธานศูนย์ฯ นายสันติ คงทน
ผู้อำนวยการโรงเรียนสมุทรปราการ
พ.ศ. 2543 ประธานศูนย์ฯ นายสำอางค์ คำหริ่ม
ผู้อำนวยการโรงเรียนสมุทรปราการ
พ.ศ. 2544 ประธานศูนย์ฯ นายสมบัติ คุ้มภู
ผู้อำนวยการโรงเรียนสมุทรปราการ พ.ศ. 2545 ประธานศูนย์ฯ นายอดุล อนุชปรีดา
ผู้อำนวยการโรงเรียนสมุทรปราการการดำเนินงานของศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียน สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ
ศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียน มีสมาชิกประกอบด้วยโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 22 โรงเรียน ดังนี้
1. โรงเรียนสมุทรปราการ
2. โรงเรียนสตรีสมุทรปราการ
3. โรงเรียนบางเมืองเขียนผ่องอนุสรณ์
4. โรงเรียนหาดอมราอักษรลักษณ์วิทยา
5. โรงเรียนวัดทรงธรรม
6. โรงเรียนบางหัวเสือบุญแจ่มเนียมนิล
7. โรงเรียนมัธยมด่านสำโรง
8. โรงเรียนเปร็งวิสุทธาธิบดี
9. โรงเรียนหลวงพ่อปานคลองด่านอนุสรณ์
10. โรงเรียนวิสุทธิกษัตรี
11. โรงเรียนป้อมนาคราชสวาทยานนท์
49
12. โรงเรียนราชประชาสมาสัย ฝ่ายมัธยม รัชดาภิเษก ในพระบรมราชูปถัมภ์
13. โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว ในพระบรมราชูปถัมภ์
14. โรงเรียนพูลเจริญวิทยาคม
15. โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ บางบ่อ
16. โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย สมุทรปราการ
17. โรงเรียนสมุทรพิทยาคม
18. โรงเรียนบางพลีราษฎร์บำรุง
19. โรงเรียนมัธยมวัดใหม่สมุทรกิจวิทยาคม
20. โรงเรียนบางบ่อวิทยาคม
21. โรงเรียนบางแก้วประชาสรรค์
22. โรงเรียนสาขลาสุทธีราอุปถัมภ์
โดยมี ประธานศูนย์ฯ ผู้อำนวยการโรงเรียนสมุทรปราการ
รองประธานศูนย์ ผู้ช่วยอำนวยการ ฝ่ายวิชาการโรงเรียนสมุทรปราการ
คณะกรรมการที่ปรึกษา
- หัวหน้าหน่วยนิเทศก์ กรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 1
- ศึกษานิเทศก์ทางด้านห้องสมุด เขตการศึกษา 1
- หัวหน้าหน่วยนิเทศก์ จังหวัดสมุทรปราการ
กรรมการ หัวหน้างานห้องสมุดโรงเรียนหรือครูบรรณารักษ์ห้องสมุด
โรงเรียน สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ
ทั้ง 22 โรงเรียน
เลขานุการศูนย์ฯ หัวหน้างานห้องสมุดโรงเรียนสมุทรปราการ
การปฏิบัติงานของศูนย์พัฒนางานห้องสมุด
จากเอกสารผลงานปฏิบัติงาน โครงการ/กิจกรรมของศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียนปีงบประมาณ 2540 – 2545 สรุปได้ว่า งานที่ศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียน ต้องปฏิบัติร่วมกันแบ่งออกเป็น 3 ด้าน คือ
1. งานด้านห้องสมุดโรงเรียน ได้แก่
1.1 การประชุมคณะกรรมการบริหารศูนย์พัฒนางานห้องสมุด ภาคเรียนละ 1 ครั้ง ใช้เวลาในการประชุมครั้งละครึ่งวัน สถานที่ประชุมส่วนใหญ่จะประชุมที่ โรงเรียนสมุทรปราการที่ตั้ง
50
ศูนย์ฯ บางครั้งก็จะหมุนเวียนไปประชุมตามโรงเรียนต่าง ๆ และร่วมกันจัดทำแผนปฏิบัติการ โครงการของศูนย์ฯ ให้สอดคล้องกับนโยบายของกรมสามัญศึกษา
1.2 จัดทำรายงานประจำปีของศูนย์ฯ เสนอต่อคณะกรรมการบริหารกลุ่มโรงเรียน
1.3 คัดเลือกห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา ในจังหวัดสมุทรปราการ ส่งเข้าประกวดห้องสมุดดีเด่นของกรมสามัญศึกษา และสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย
1.4 การนำอุปกรณ์การซ่อมหนังสือไปบริจาคให้กับโรงเรียนเปร็งวิสุทธาธิบดี และโรงเรียนมัธยมวัดใหม่สมุทรกิจวิทยาคม ที่เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก และสอนการซ่อมหนังสือให้กับบรรณารักษ์ห้องสมุดโรงเรียนทั้ง 2 โรงเรียน
1.5 จัดโครงการค่ายผู้นำเยาวชนรักการอ่าน
1.6 จัดโครงการศิลปะเพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้
1.7 จัดทำหัวข้อรายงานประจำปี และการจัดทำสารสนเทศงานห้องสมุดโรงเรียน
1.8 จัดทำแบบฟอร์มการเก็บสถิติต่าง ๆ ของห้องสมุด
1.9 จัดอบรมนักเรียนช่วยงานห้องสมุด (บรรณารักษ์อาสา) ให้กับโรงเรียนต่าง ๆ
1.10 จัดอบรมปฏิบัติการ เรื่อง คอมพิวเตอร์กับการบริหารงานห้องสมุด
1.11 การจัดทำนิทรรศการร่วมกันเกี่ยวกับหนังสือดีเด่น หนังสือรางวัลซีไรท์ ฯลฯ
2. งานด้านวิชาการ ได้แก่
2.1 จัดอบรมการพัฒนาห้องสมุดโรงเรียนให้แก่ครูบรรณารักษ์ และบรรณารักษ์หมวดวิชาของโรงเรียนต่าง ๆ
2.2 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องพัฒนาแหล่งเรียนรู้ กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ฯลฯ
2.3 เชิญวิทยากรมาบรรยายเพิ่มพูนความรู้ให้แก่ครูบรรณารักษ์ ในเรื่องการทำผลงานวิชาการเพื่อขอตำแหน่งอาจารย์ 3
2.4 ศึกษา และดูงานห้องสมุดเพอให้บรรณารักษ์ได้มีโอกาสพบ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์กับเพื่อร่วมอาชีพ
2.5 โครงการ “พี่ช่วยน้อง” คือ การนำบรรณารักษ์จากโรงเรียนที่มีความพร้อมไปช่วยจัดห้องสมุด และแนะนำบรรณารักษ์โรงเรียนเล็กที่มีปัญหา เนื่องจากบรรณารักษ์ไม่ได้จบด้านบรรณารักษศาสตร์
51
3. งานด้านการสอน ได้แก่
3.1 การจัดทำแผนการสอนรายวิชา ช 0245 (ห้องสมุด 1) ช 0246(ห้องสมุด 2)ในการสอนระดับม.ต้น และรายวิชา ช 05247 (ห้องสมุด 1) ช 0248 (ห้องสมุด 2)ในการสอนระดับ ม.ปลาย
3.2 การจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการทำสาระการเรียนรู้ วิชาการใช้ห้องสมุด และวิชางานห้องสมุด
3.3 การสาธิต และเผยแพร่การทำสื่อการสอนกิจกรรมห้องสมุด
3.4 เผยแพร่เอกสารการประกวดการสอนกิจกรรมห้องสมุดโรงเรียน กรมสามัญศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ 2544 : เอกสารอัดสำเนา)
ความร่วมมือระหว่างข่ายงานสารนิเทศระดับชาติในประเทศไทย
1. ระบบสารนิเทศแห่งชาติ (Thai National Information System – THAINATIS)
เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2529 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติตั้งระบบสารนิเทศแห่งชาติ ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ โดยคณะกรรมการระบบสารนิเทศวิทยาศาสตร์สากล (UNISIST) เสนอโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อจัดระบบสารนิเทศทางวิชาการ เพื่อสนองประโยชน์ในการพัฒนาประเทศของไทย อันจะทำให้มีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรสารนิเทศที่มีอยู่แล้วให้เกิดประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น สรุปได้ว่า แหล่งสารนิเทศที่มีอยู่บ้างแล้ว เช่น ห้องสมุด ศูนย์เอกสาร หอจดหมายเหตุ ฯลฯ ได้รับการสนับสนุนจากรัฐไม่มากพอที่จะสามารถดำเนินการได้ โดยมีประสิทธิภาพตามมาตรฐานขาดการประสานงานระหว่างแหล่งผลิต แหล่งประมวลและจัดเก็บ และผู้ใช้สารนิเทศเพื่อใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่เต็มที่ ขาดกำลังเงินที่จะจัดบริการสารนิเทศอย่างกว้างขวางและมีประสิทธิภาพ บริการที่มีอยู่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ตามสมควรข้อสนเทศที่นำมาใช้ส่วนมากได้มาจากต่างประเทศ ข้อสนเทศที่มีอยู่ในประเทศยังไม่สมบูรณ์
โครงการระบบสารนิเทศแห่งชาติประกอบด้วย แหล่งผลิตความรู้ ข้อมูล และข่าวสารแหล่งรวบรวมวัสดุสารนิเทศ แหล่งฝึกอบรมบุคลากรที่เกี่ยวกับสารนิเทศ ผู้ใช้ และการเงิน
การบริหารงานระบบสารนิเทศแห่งชาติในการอำนวยการของคณะกรรมการ อำนวยการและประสานงานระบบสารนิเทศทางวิชาการแห่งชาติมีรองนายกรัฐมนตรีฯ พณฯนายกรัฐมนตรีมอบหมายให้เป็นประะธานกรรมการหอสมุดแห่งชาติเป็นสำนักงานเลขานุการ
52
และมีคณะอนุกรรมการศูนย์ประสานงานสารนิเทศสาขาต่าง ๆ (ชุติมา สัจจานันท์ 2542 : 81 – 82 )ดังนี้
ศูนย์ประสานงานสารนิเทศสาขาเกษตรศาสตร์ ได้แก่ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ศูนย์ประสานงานสารนิเทศสาขาแพทยศาสตร์ ได้แก่ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยมหิดล
ศูนย์ประสานงานสารนิเทศสาขามนุษยศาสตร์ ได้แก่ กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร
ศูนย์ประสานงานสารนิเทศสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ กองสนเทศวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี กรมวิทยาศาสตร์บริการ
ศูนย์ประสานงานสารนิเทศสาขาเศรษฐศาสตร์ ได้แก่ ห้องสมุดธนาคารแห่ง ประเทศไทย
ศูนย์ประสานงานสารนิเทศสาขาสังคมศาสตร์ ได้แก่ สำนักบรรณสารการพัฒนาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
วัตถุประสงค์ ระบบสารนิเทศแห่งชาติ มีดังนี้
1. เพื่อให้มีแหล่งรวบรวมและให้บริการสารนิเทศแก่หน่วยราชการ องค์กรและ องค์การต่าง ๆ ทั้งของรัฐและเอกชน เพื่อประโยชน์แก่การพัฒนาบุคคล และพัฒนาประเทศ
2. เพื่อให้สามารถจัดระบบและบริการที่มีมาตรฐาน เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาประเทศให้ทัดเทียมกับประเทศที่พัฒนาแล้ว
3. เพื่อขจัดปัญหาแหล่งสารนิเทศซ้ำซ้อน
4. เพื่อให้มีแหล่งสารนิเทศครบถ้วนทุกสาขา เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาประเทศ
5. เพื่อให้เกิดความร่วมมือ ประสานงาน และแลกเปลี่ยนข้อสนเทศข่าวสารใน ระดับชาติ และในระดับระหว่างประเทศ โดยรักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์ของชาติ
(บุณฑริกา แสงอรุณ 2539 : 31 )
2. เครือข่ายไทยสาร (ThaiSARN)
ThaiSARN ย่อมาจาก The Social / Scientific,Academic and Research Network
เป็นเครือข่ายทางการศึกษาและวิจัยของกลุ่มสถาบันการศึกษาของไทยเริ่มดำเนินการเมื่อ พ.ศ. 2535 โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ThaiSARN ได้ดำเนินการ
53
เชื่อมโยงเครือข่ายของมหาวิทยาลัยต่างๆ เข้าด้วยกัน ต่อมา พ.ศ. 2539 มีโรงเรียนหลายแห่งประกอบด้วยเครือข่ายย่อยๆ จำนวนมากในองค์การต่างๆ ที่เป็นสมาชิก เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนงานด้านวิชาการ การศึกษา ค้นคว้าวิจัย ประกอบด้วยสถาบันอุดมศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน และหน่วยงานของรัฐและรัฐวิสาหกิจ ได้แก่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หาดใหญ่ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยรามคำแหง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ มหาวิทยาลัยเซนจอห์น มหาวิทยาลัยศรีปทุม มหาวิทยาลัยศิลปากร โรงเรียนนายร้อย พระจุลจอมเกล้าฯ สถาบันเทคโนโลยีมหาราชมงคล ทบวงมหาวิทยาลัย กระทรวงสาธารณสุข สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ การสื่อสารแห่งประเทศไทย ธนาคารแห่งประเทศไทย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ศูนย์บริการสารสนเทศทางเทคโนโลยี ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
ในระยะแรก ThaiSARN ได้ให้บริการแก่มหาวิทยาลัยและหน่วยงานของรัฐเป็นหลัก โดยในเดือนธันวาคม 2536 มีสถาบันเข้าร่วมเครือข่าย 19 แห่ง และเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วซึ่งต่อมา เนคเทค ได้ขยายการให้บริการไปยังภาคเอกชนด้วย โดยได้ร่วมมือกับการสื่อสารและองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย จัดตั้งศูนย์บริการอินเตอร์เน็ตประเทศไทย(Internet Thailand Services) ขึ้นเพื่อให้บริการการใช้อินเตอร์เน็ตในเชิงพาณิชย์
นอกจาก ThaiSARN แล้วประเทศไทยยังมีเครือข่ายไปยังอินเตอร์เน็ตอีก 2 แห่ง คือจาก THAInet ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ComNet (ชุติมา สัจจานันท์ 2542 : 82) ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญและบริษัทอินเทอร์เน็ตเคเอสซี
ความร่วมมือระหว่างข่ายงานห้องสมุดระหว่างต่างประเทศ
การจัดตั้งข่ายงานระหว่างประเทศ ได้จัดตั้งขึ้นเพื่อรวบรวมสารนิเทศทางด้านต่างๆ ที่ ทันสมัยเพื่อให้เชื่อมโยงกับสมาชิก และสะดวกในการติดต่อรับข้อมูล ในที่นี้จะนำเสนอข่ายงานระหว่างประเทศ ดังนี้
54
1. โอซีแอลซี (Online Computer Library Center , Incorporated - OCLC)
เริ่มก่อตั้งขึ้นในรัฐโอไฮโอในปี ค.ศ. 1967 เป็นองค์กรนานาชาติที่ไม่แสวงหากำไรจุดเริ่มต้นมาจากความคิดในการทำรายการร่วมกัน ( Shared Catologing ) ของห้องสมุด ทั้งนี้เนื่องมาจากการทำรายการเอกสาร ต้องอาศัยบรรณารักษ์ที่มีความชำนาญและต้องใช้เวลามากในการทำรายการ ห้องสมุดส่วนใหญ่จึงมีหนังสือค้างจำนวนมากที่ไม่ได้ทำรายการ และเนื่องด้วยในปีค.ศ.1970 เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็วจึงมีการนำระบบอัตโนมัติมาใช้ในงาน ห้องสมุดและได้นำเทคโนโลยีคมนาคมเข้ามาใช้ทำให้เกิดระบบเครือข่ายต่อมาในปี ค.ศ.1971 โอซีแอลซี ได้เปิดตัวระบบการทำรายการร่วมกันแบบออนไลน์สำหรับห้องสมุดซึ่งห้องสมุดทั่วโลกได้ร่วมใช้บริการจนถึงทุกวันนี้ ในด้านบริการยืมระหว่างห้องสมุด (Interlibrary Loan Service) ได้เริ่มใช้ในปี ค.ศ. 1979 มีห้องสมุดร่วมใช้บริการประมาณ 6,928 แห่งจากทั่วโลก ในปี ค.ศ. 1991 ได้เริ่มใช้บริการ First Search เป็นฐานข้อมูลเครื่องมืออ้างอิง ปัจจุบันมีห้องสมุดที่ร่วมใช้บริการ 19,246 แห่ง
ตั้งแต่ ค.ศ. 1980 เป็นต้นมา ความร่วมมือระหว่างห้องสมุดได้แผ่ขยายเป็นความร่วมมือนานาชาติ มีการสร้างฐานข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการทำรายการร่วมกัน และลดต้นทุนในการดำเนินงาน การดำเนินงานนี้เรียกว่า Bibliographic Utilities 4 แห่ง คือ
1. Online computer Library Center ( OCLC )
2. The Research Library Information Network ( RLIN )
3. The Western Library Network ( WLN )
4. Utlas International ( UTLAS )
เครือข่ายทั้ง 4 แห่งนี้ โอซีแอลซี (Online Computer Library Center) เป็น Bibliographic Utilities ที่มีฐานข้อมูลขนาดใหญ่ที่สุดและเป็นเครือข่ายที่ใหญ่ที่สุดในโลกกล่าวคือในปี ค.ศ. 1999 โอซีแอลซี มีจำนวนระเบียนบรรณานุกรมประมาณ 40 ล้านระเบียนที่ให้บริการแก่ห้องสมุดที่เป็นสมาชิก
วัตถุประสงค์ของโอซีแอลซี
โอซีแอลซี จัดตั้งขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์การดำเนินงาน 4 ประการดังต่อไปนี้
1. เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการเข้าถึงสารนิเทศจากห้องสมุดต่าง ๆ ทั่วโลก
2. เพื่อสร้างฐานข้อมูลบรรณานุกรมโดยความร่วมมือของสมาชิก
3. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการทำรายการและใช้ทรัพยากรร่วม
4. เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการเข้าถึงสารนิเทศ
55
สมาชิก
สมาชิกโดยทั่วไปของโอซีแอลซี ประกอบไปด้วยสมาชิกจากสถาบันและหน่วยงานต่าง ๆ ในสหรัฐอเมริกาและประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ซึ่งขยายกว้างและเพิ่มขึ้นทุกปี ในปี ค.ศ. 2002 มีสมาชิก42,489 แห่งใน 86 ประเทศทั่วโลก ประกอบด้วยองค์กรต่าง ๆ ได้แก่ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา สถาบันวิจัย หน่วยงานสาธารณะ หน่วยงานรัฐบาล ศูนย์ข้อมูล หน่วยงานด้านกฎหมาย หน่วยงานด้านการแพทย์ องค์กรความร่วมมือ หน่วยงานด้านศาสนา วิทยาลัยชุมชน ห้องสมุดโรงเรียน ฯลฯ
การให้บริการของโอซีแอลซี
โอซีแอลซี ได้ดำเนินการจัดบริการต่าง ๆ ขึ้นเพื่อให้ผู้ใช้สามารถเลือกใช้บริการต่าง ๆ ของ โอซีแอลซี ตามความต้องการและงบประมาณของผู้ใช้ โดยมีบริการดังนี้
1. บริการด้านงานเทคนิคในการทำรายการร่วมกัน
2. บริการการใช้ทรัพยากรร่วมกัน
3. บริการอ้างอิง OCLC ได้จัดบริการอ้างอิง ให้แก่ผู้ใช้ดังนี้
3.1 OCLC First Search
3.2 OCLC First Search Electronic Collections Online ( ECO )
3.3 OCLC Site Search Suite Of Software
3.4 บริการอื่น ๆ
3.4.1 OCLC Promptcat Service
3.4.2 OCLC Authority Control Service
3.4.3 Bibliographic Record Notification Service
3.4.4 OCLC Selection Service
จุดเด่นของโอซีแอลซี
โอซีแอลซี เป็นองค์กรเครือข่ายห้องสมุดระดับนานาชาติที่ใหญ่ที่สุด และนับว่าเป็นเครือข่ายความร่วมมือระหว่างห้องสมุดที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงสุด หากวิเคราะห์ถึงจุดเด่นของความสำเร็จดังกล่าวแล้วจะพบว่ามีสิ่งที่น่าสนใจและนำไปเป็นแบบอย่างแก่องค์กรที่มีจุดประสงค์จะจัดตั้งเป็นเครือข่ายต่าง ๆ ได้ดังนี้
1. โอซีแอลซี มีองค์กรกลางที่ทำหน้าที่ในการดำเนินการบริหารและการจัดกลางจึงทำให้สามารถดำเนินงานได้ด้วยความคล่องตัว และประสบความสำเร็จในที่สุด
56
2. มีการออกแบบโครงสร้างฐานข้อมูลสำหรับการค้นคืนที่ดี สามารถสืบค้นได้โดยใช้คำสำคัญทั้งที่เป็นศัพท์ควบคุมและศัพท์ไม่ควบคุม จึงทำให้เป็นที่นิยมใช้อย่างกว้างขวาง
3. มีการออกแบบฐานข้อมูลงานบริการค้นคว้าอ้างอิง ที่เรียกว่า The First Search Catalog สำหรับผู้ใช้ทั่วไปที่ไม่ต้องมีความชำนาญด้านการค้นคืนก็สามารถค้นคืนรายการได้โดยง่าย
4. พัฒนาระบบยืมระหว่างห้องสมุด ( InterLibrary Loan/ILL ) ให้สามารถเชื่อมต่อได้กับระบบ EPIC Service และสามารถใช้ได้อย่างสมบูรณ์ตั้งแต่ ปี ค.ศ.1992 ซึ่งเป็นการส่งเสริมและพัฒนาระบบการบริการคอมพิวเตอร์
5. มีบริการจัดส่งเอกสาร (Document Delivery / DD) และบริการเลือกสรรสารนิเทศเฉพาะเรื่อง ( Selective Dissemination Service / SDI ) ได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว ทันต่อความต้องการ โดยเน้นการได้รับข่าวสารให้ทันเวลาจึงทำให้เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย
6. การมีบริการนามานุกรมชื่อและที่อยู่ของห้องสมุดในเครือข่าย ที่สามารถตรวจสอบได้ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ซึ่งห้องสมุดต่างๆ สามารถค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายการ ให้ยืมและสถิติการยืมของห้องสมุดที่เป็นสมาชิกในเครือข่ายโอซีแอลซี ได้ด้วยซึ่งห้องสมุดสามารถติดต่อขอสำเนาเอกสารจากห้องสมุดที่มีเอกสารที่ต้องการได้โดยตรง บริการด้านการใช้ทรัพยากรร่วมกันโดยวิธีการนี้ทำให้ห้องสมุดต่าง ๆ สามารถประหยัดงบประมาณในการจัดซื้อหนังสือและวารสารที่มีการใช้น้อย และที่ไม่จำเป็นต้องซื้อไว้ประจำห้องสมุดได้อย่างมาก
7. การมีบริการด้านการปรับเปลี่ยนฐานข้อมูลที่มีอยู่เดิมของห้องสมุดสมาชิกในการปรับเปลี่ยนเข้าสู่การใช้บริการของคอมพิวเตอร์ออนไลน์โอซีแอลซี อย่างเต็มรูปแบบ จึงทำให้ OCLCสมาชิกจำนวนมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง
8. การบริการซีดีรอม คือ OCLC Cat CD for Windows ทำให้ห้องสมุดที่อยู่ ห่างไกลเช่น พื้นที่เอเชียและแปซิฟิก ซึ่งไม่สามารถรับภาระค่าใช้จ่ายทางออนไลน์ก็สามารถใช้บริการ CD-ROM แทนได้จึงทำให้มีสมาชิกจากหลายประเทศในภาคพื้นดังกล่าวด้วย
9. การดำเนินงานของโอซีแอลซี ที่มีการเก็บค่าบริการต่าง ๆ โดยเป็นอัตราค่าบริการที่ไม่หวังผลกำไร แต่ทำให้องค์กรสามารถหาเงินมาสนับสนุนกิจการ และทำให้สามารถดำเนินอยู่ได้ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งนั้นแสดงให้เห็นว่าโอซีแอลซี เป็นองค์กรที่มีงบประมาณและการจัดการที่ดีจึงสามารถดำรงอยู่ได้ อีกทั้งมีความก้าวหน้าในการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง นับได้ว่าเป็นตัวอย่างที่ดีของเครือข่ายห้องสมุดที่มีความร่วมมือกันระหว่างสถาบันบริการสารนิเทศในการใช้ทรัพยากรร่วมกัน ( มะลิวัลย์ น้อยบัวทิพย์ 2545 : 48 – 52 )
57
ความร่วมมือระหว่างภาคีห้องสมุดนานาชาติ หรือ International Coalition of Library Consortia (ICOLC) เป็นองค์กรนานาชาติแบบไม่เป็นทางการ การรวมตัวของภาคีความร่วมมือระหว่างห้องสมุดนานาชาติมีการประชุมอย่างไม่เป็นทางการครั้งแรกในปี ค.ศ.1997 เรียกว่า Consortium of consortia (COC) การรวมกลุ่มนี้ประกอบด้วยภาคีความร่วมมือระหว่างห้องสมุดประมาณ 150 ภาคีจากทั่วโลก (นับถึง กันยายน 2000) จากประเทศต่าง ๆ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา แคนาดา อังกฤษ เนเธอร์แลนด์ เยอรมัน อิสราเอล และ ออสเตรเลียa มีสมาชิกมากกว่า 5,000 ห้องสมุด
จุดมุ่งหมายแรกของกลุ่ม ICOLC เพื่อให้บริการแก่สถาบันอุดมศึกษาโดยจัดให้มีการอภิปรายระหว่างสมาชิกภาคีความร่วมมือตามหัวข้อเรื่องที่สนใจ ในปีหนึ่งๆ ICOLC อาจจัดประชุมสำหรับกลุ่มผู้อำนวยการและคณะผู้บริหารของภาคีในเรื่องต่างๆ เช่น new electronic information resources หรือ pricing practices of electronic providers and vendors และอื่น ในระหว่างการประชุมเหล่านี้ ICOLC อาจจัดให้ ภาคีพบปะกับมวลสมาชิกของ the information provider community ซึ่งจัดช่วงพิเศษ (Forum) สำหรับอภิปรายถึงข้อเสนอที่จัดให้รวมทั้งส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องแก่ผู้นำของภาคีความร่วมมือ ภาคีความร่วมมือจากทั่วโลกสามารถเข้าร่วมกลุ่มได้โดยติดต่อไปที่เว็บไซด์ของ ICOLC ( มะลิวัลย์ น้อยบัวทิพย์ 2545 : 55 – 56 )
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
งานวิจัยในประเทศไทย
ปัญญา สุขแสน (2516 : 119 –224) ได้ศึกษาเรื่องแนวทางการจัดตั้งศูนย์จัดหาห้องสมุดวิทยาลัยครูทั่วประเทศในปีการศึกษา 2515 พบว่าบรรณารักษ์และผู้ช่วยบรรณารักษ์ต้องการให้ทำหน้าที่ในด้านการติดตามบรรณานุกรมและรายชื่อวัสดุใหม่ๆ ที่เหมาะสมกับหลักสูตรโดย ทำหน้าที่ให้บริการตามนโยบายที่ได้ตกลงร่วมกันไว้ ศูนย์ควรมีที่ตั้งเป็นสำนักงานเอกเทศขึ้นอยู่กับกรมการฝึกหัดครู บรรณารักษ์และผู้ช่วยบรรณารักษ์เห็นว่าศูนย์ดังกล่าวจะช่วยให้การดำเนินงานด้านการสั่งซื้อรวดเร็วได้วัสดุที่ทันสมัยประหยัดงบประมาณและมีอำนาจในการสั่งซื้อสูง
ลอง ใจชื่น (2520 : 117 – 120) ได้ศึกษาการจัดตั้งศูนย์บริการงานเทคนิคของห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษาแบบประสมพบว่า บรรณารักษ์ อาจารย์ใหญ่และศึกษานิเทศก์มีความต้องการจัดตั้งศูนย์บริการงานเทคนิคขึ้นในกรุงเทพฯ โดยให้มีสถานที่เป็นเอกเทศ มีบุคลากรเฉพาะ
58
โดยมีศึกษานิเทศก์ฝ่ายห้องสมุดเป็นผู้ดำเนินงานและได้รับงบประมาณในการดำเนินงานจากกระทรวงศึกษาธิการ
จีระ อินทะโกสุม (2524 : ง) ศึกษาความต้องการใช้ทรัพยากรห้องสมุดร่วมกันในการดำเนินงานห้องสมุดมหาวิทยาลัย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสำรวจทรัพยากรห้องสมุดการใช้ทรัพยากรห้องสมุดในการบริหารต่าง ๆ ของห้องสมุดมหาวิทยาลัยแต่ละแห่งจนถึงการประสานเป็นเครือข่ายงานพบว่าห้องสมุดกลางเป็นห้องสมุดที่มีทรัพยากรและบุคลากรมากที่สุด ห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่มีความร่วมมือในการใช้ทรัพยากรร่วมกันในด้านการยืมระหว่างห้องสมุดและบริการตอบคำถามช่วยการค้นคว้าทางโทรศัพท์ปัญหาที่พบมาก คือ ให้บริการไม่ทันกับจำนวนผู้ใช้ ปัญหาส่วนใหญ่ของความร่วมมือ คือ ขาดทรัพยากร ยานพาหนะและงบประมาณ
ปานใจ จิรวัชรเดช (2527 : 120 - 125) ศึกษาความคิดเห็นของบรรณารักษ์ห้องสมุด โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษาเขต 11 ที่มีต่อการจัดตั้งศูนย์บัตรรายการหนังสือในด้านสภาพปัญหาการทำบัตรรายการ ความต้องการและแนวทางในการจัดตั้งศูนย์ทำบัตรรายการหนังสือ พบว่า ปัญหาในการจัดทำบัตรรายการ คือ ขาดเจ้าหน้าที่พิมพ์ดีดและทำบัตรรายการไม่ทันกับหนังสือที่เข้ามาใหม่ บรรณารักษ์ต้องการให้จัดตั้งศูนย์ทำบัตรรายการโดยให้ห้องสมุดนำบัตรเปล่าไปแลกกับบัตรครบชุด
บุญสม อาสราวิริยะ (2528 : 145 - 146) ศึกษาความต้องการในการจัดตั้งศูนย์บริการงานเทคนิคห้องสมุดในสังกัดสำนักงานการศึกษากรุงเทพมหานคร พบว่าครูบรรณารักษ์ ศึกษานิเทศก์และคณะกรรมการคัดเลือกหนังสือต้องการให้มีการจัดตั้งศูนย์บริการงานเทคนิค โดยมีเจ้าหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่ห้องสมุดโรงเรียน เป็นสื่อกลางในการขอรับแลกเปลี่ยนและจัดทำดรรชนีวารสารให้ห้องสมุดโรงเรียนโดยให้ครูบรรณารักษ์ และศูนย์ฯมีส่วนร่วมในการจัดซื้อหนังสือและทำบัตรรายการโดยเป็นหน่วยงานเฉพาะหรือขึ้นอยู่กับกองวิชาการ สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร
ไกรลาส สุทธิเกิด (2530 : ง) ศึกษาทัศนะของผู้บริหารโรงเรียน ครูบรรณารักษ์ และ ครูโสตทัศนศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในกรุงเทพมหานคร ต่อการจัดตั้งศูนย์สื่อการศึกษาโดยสำรวจจากทรัพยากรห้องสมุดและแผนกโสตทัศนศึกษาในปัจจุบันและความคิดเห็นของบุคคล 3 ฝ่าย ที่มีต่อการบริหาร การดำเนินงาน ปัญหาและอุปสรรคพบว่ามีความเป็นไปได้ในการจัดตั้งในด้านสถานที่และงบประมาณจะเป็นปัญหาสำคัญ
กลิ่นประทุม ทองนาค (2530 : 145 - 148) ศึกษาเรื่องรูปแบบของห้องสมุดวิทยาลัยครูในอนาคต (พ.ศ. 2529) โดยวิจัยแบบเดลฟายเทคนิค พบว่าห้องสมุดวิทยาลัยครูในอนาคตจะ
59
รวมตัวกันเป็นห้องสมุดสหวิทยาลัย มีการบริหารงานแบบกระจายอำนาจแบบประสานงานกัน โดยรวมห้องสมุดกับฝ่ายโสตทัศนศึกษาและฝ่ายผลิตตำรา ทำหน้าที่เป็นศูนย์สื่อการเรียนการสอน มีฐานะเทียบเท่าคณะในด้านการบริหาร ทำหน้าที่เป็นศูนย์วิชาการท้องถิ่น มีบุคลากรและทำวิจัยในด้านทรัพยากรต้องมีการใช้ทรัพยากรร่วมกันระหว่างห้องสมุดโรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัยในภูมิภาคเดียวกัน โดยห้องสมุดที่มีความพร้อมทำหน้าที่เป็นศูนย์กลาง รูปแบบความร่วมมือเป็นไปในลักษณะข่ายงานและมีศูนย์กลางในการทำงาน
ประเสริฐ กัลยาประสิทธิ์ (2531 : 123 - 125) ศึกษาเรื่องความต้องการของบรรณารักษ์และผู้บริหารห้องสมุดโรงเรียน และบรรณารักษ์และผู้บริหารห้องสมุดประชาชนประจำอำเภอในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีต่อห้องสมุดแห่งความร่วมมือพบว่า มีความต้องการร่วมมือกันในด้านงบประมาณ บุคลากรและการใช้ทรัพยากรร่วมกันในระดับปานกลาง ผู้บริหารห้องสมุดประชาชนต้องการในระดับปานกลาง
พัชรพร เปรมสมิทธิ์ (2537 : บทคัดย่อ) ศึกษาเรื่อง แนวคิดในการจัดตั้งข่ายงานห้องสมุดทหารพบว่า ห้องสมุดทหารเป็นประเภทห้องสมุดเฉพาะ บรรณารักษ์มีวุฒิบรรณารักษศาสตร์ มีงบประมาณแผ่นดินนำมาจัดหาวารสารภาษาอังกฤษเป็นจำนวนสูงสุดในงานเทคนิคมีการจัดหมวดหมู่ตามมาตรฐานสากลและจัดทำบัตรรายการ ส่วนบริการจะเป็นบริการยืม – คืนหนังสือ ทรัพยากรสารนิเทศที่มีจำนวนสูงสุด คือ หนังสือภาษาไทยซึ่งประเมินตามเกณฑ์ของ RLG Conspectus พบว่าอยู่ในระดับต่ำและระดับข้อมูลพื้นฐานห้องสมุดส่วนน้อย มีการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ มีปัญหาและอุปสรรค คือ งบประมาณและทรัพยากรสารนิเทศไม่เพียงพอ ห้องสมุดทหาร 52 แห่ง มีความพร้อมร่วมมือระหว่างห้องสมุดทหารจำนวน 29 แห่ง จัดกิจกรรมร่วมมือกันในการจัดทำสหรายการ รายชื่อ หนังสือ วารสาร และโสตทัศนวัสดุ ห้องสมุดทหารทุกแห่งจะเข้าร่วมจัดตั้งข่ายงานห้องสมุด ตามความคิดเห็นของบรรณารักษ์ได้เสนอ แบบจำลองข่ายงานห้องสมุดทหารที่ครอบคลุมถึง วัตถุประสงค์ โครงสร้าง หน้าที่และกิจกรรมลักษณะความร่วมมือ ลำดับงานในข่ายงาน บุคลากร การดำเนินงาน สถานที่ งบประมาณ
จักชาญศรี ชูศร (2539 : บทคัดย่อ) ศึกษาเรื่องความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการจัดตั้งศูนย์การสื่อการสอนจากงานห้องสมุดและงานโสตทัศนศึกษา กลุ่มโรงเรียนกรมสามัญศึกษาในกรุงเทพมหานคร กลุ่มที่ 4 พบว่า หัวหน้างานห้องสมุดและหัวหน้างานโสตทัศนศึกษา ผู้บริหารโรงเรียนและครู – อาจารย์ในโรงเรียนมัธยมศึกษากรมสามัญศึกษาในกรุงเทพมหานคร ต้องการให้มีการจัดตั้งศูนย์สื่อการสอนเพื่อให้บริการและสนับสนุนการใช้สื่อการสอนของครู – อาจารย์และนักเรียน ในด้านการบริหารงานเห็นว่าควรรวมงานและบุคลากรของงานห้องสมุดและงาน
60
โสตทัศนศึกษาเข้าด้วยกันและให้อยู่ในการดูแลของศูนย์สื่อการสอน รวมทั้งควรเพิ่มงบประมาณ ในด้านคุณสมบัติของผู้บริหารศูนย์สื่อการสอนควรจะต้องมีความรู้ในขอบข่ายงานห้องสมุด งานโสตทัศนศึกษา และหลักการบริหารงาน ส่วนการจัดงานห้องสมุดและงานโสตทัศนศึกษา ทั้งสองหน่วยงานมีการจัดเก็บสื่อการสอนอย่างเป็นหมวดหมู่และให้บริการครู – อาจารย์ และนักเรียนในโรงเรียน ซึ่งส่วนใหญ่ต้องใช้สื่อประเภทสำเร็จรูปเช่นบทเรียนสำเร็จรูป ชุดการสอนและบทเรียนคอมพิวเตอร์สถานที่ตั้งของศูนย์สื่อการสอนควรอยู่ศูนย์กลางของโรงเรียน มีอาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกเพียงพอต่อการบริหารงาน และควรมีการอบรมและให้ข้อมูล ข่าวสารแก่ครู – อาจารย์ และนักเรียนอย่างต่อเนื่อง
นวรัตน์ รอดแก้ว (2544 : บทคัดย่อ) ศึกษาเรื่อง การศึกษาความต้องการ การจัดตั้งศูนย์สื่อการศึกษาสำหรับโรงเรียนในกลุ่มสหวิทยาเขตสมุทรปราการ 37 แก้วปราการ พบว่า ผู้บริหาร ครู – อาจารย์ผู้สอนและเจ้าหน้าที่โสตทัศนศึกษามีความต้องการให้จัดตั้งศูนย์ สื่อการศึกษา โดยรวมกันจัดตั้งในระดับสหวิทยาเขตที่โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว มีประธาน สหวิทยาเขต และตัวแทนบุคลากรทุกโรงเรียนเป็นผู้บริหารและให้บริการหัวหน้าศูนย์สื่อการศึกษา ควรมีคุณสมบัติจบการศึกษาสาขาวิชาโสตทัศนศึกษาหรือเทคโนโลยีการศึกษา ด้านงบประมาณในการจัดตั้งและดำเนินงานจัดสรรจากสถานศึกษาที่รวมกันจัดตั้ง ครู – อาจารย์ผู้สอนมีความต้องการสื่อการเรียนการสอนประเภทวัสดุประเภทเอกสารตำราเรียนมากที่สุด ส่วนประกอบอุปกรณ์ต้องการเครื่องเล่นเทปวีดีทัศน์ ด้านสภาพปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานด้านสื่อการเรียนการสอนพบว่าสื่อการสอนมีจำนวนไม่เพียงพอกับความต้องการ
งานวิจัยต่างประเทศ
ฮัมฟรีย์ (Humphry) (1963 : 6 – 7) ได้ศึกษาถึงความร่วมมือระหว่างห้องสมุดมหาวิทยาลัย ห้องสมุดโรงเรียนและห้องสมุดประชาชนในรัฐโรดส์ ไอร์แลนด์ ซึ่งมหาวิทยาลัย บราวน์ได้ทำการศึกษาไว้ 129 แห่ง พบว่า สถานศึกษาทุกแห่งต้องการให้ห้องสมุดเป็นศูนย์กลางในการสอนนอกจากนี้ยังได้ชี้ให้เห็นจุดดีและจุดอ่อนของห้องสมุดแต่ละประเภท รวมทั้งได้เสนอหลักการและมาตรฐานที่ห้องสมุดเป็นที่ยอมรับ เช่น ให้ห้องสมุดที่มีความพร้อมมากกว่าทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางทรัพยากรจัดหาที่มีความรู้ออกไปแนะนำและให้ความช่วยเหลือห้องสมุดอื่น เป็นต้น
ออยเล่อร์ (Oyler) (1978 : 1173 – A) ได้ศึกษาเรื่องมูลฐานเบื้องต้นของการพัฒนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดในประเทศสวีเดน โดยศึกษาจากประวัติความเป็นมา การจัดและดำเนินงานห้องสมุดในปัจจุบัน เน้นการใช้ประโยชน์ร่วมกันจากทรัพยากรห้องสมุด อาทิ การจัดทำบรรณานุกรมแห่งชาติ การให้ความร่วมมือในด้านงานเทคนิค ผลการวิจัยพบว่า
61
ความสำเร็จของความร่วมมือระหว่างห้องสมุดในประเทศสวีเดนเกิดจากความร่วมมือของบุคลากร สภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมและสนับสนุนความร่วมมือระหว่างห้องสมุดและภาวะทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการด้านความร่วมมือระหว่างห้องสมุด เช่น การพิมพ์ การคมนาคม
ทูร็อค (Turock) (1981 : 117 - 154) ได้ศึกษาเรื่อง หน้าที่ องค์กร ทัศนคติและปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานห้องสมุดต่างประเทศ ได้แก่ ห้องสมุดโรงเรียน ห้องสมุดประชาชน ห้องสมุดเฉพาะและห้องสมุดมหาวิทยาลัย การแลกเปลี่ยนทรัพยากรระหว่างห้องสมุดในด้านการจัดองค์กร การวางแผน การควบคุม งบประมาณ การสื่อสาร โครงสร้างและบริหารพบว่าความสำเร็จของ ข่ายงานมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับตัวแปรอิสระ 5 ประการ คอ งบประมาณ การประเมินผล การส่งสาร การวางแผนและการควบคุมในด้านทัศนคติจากการวิเคราะห์พบว่า ผู้ร่วมงานรู้สึก พอใจกับการทำงานในระบบ
คิม (Kim) (1984) ได้ศึกษาข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยในประเทศเกาหลี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานภาพปัจจุบันของห้องสมุดมหาวิทยาลัยและแบบจำลองและแนวทางพัฒนาข่ายงานระบบคอมพิวเตอร์ของห้องสมุดมหาวิทยาลัยในประเทศเกาหลี ซึ่งผู้วิจัยได้เสนอแบบจำลองในการตั้งข่ายงาน โดยดัดแปลงจากโครงสร้างข่ายงานรูปดาว (Star) และแบบตาข่าย ( Mesh ) เพื่อให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อม และสภาพการเมืองของประเทศเกาหลี
อากามิดี ( Alghamidi) (1988) ได้ศึกษาการวางแผนข่ายงานห้องสมุดอัตโนมัติในประเทศซาอุดิอาระเบีย โดยศึกษากลุ่มห้องสมุดมหาวิทยาลัย 7 แห่งพบว่าห้องสมุดมีขีดความสามารถในการเข้าร่วมกับระบบอัตโนมัติในระดับสูง
ฮาฟรีซ ( Hafez) (1989 : 6 - 7) ได้ศึกษาเรื่องแบบจำลองการวางแผนการใช้ทรัพยากรร่วมกันในระบบข่ายงานสารนิเทศ กลุ่มห้องสมุดมหาวิทยาลัยประเทศซาอุดิอาระเบีย พบว่า แบบจำลองข่ายงานจะเป็นแบบกระจาย ห้องสมุดทุกแห่งมีความเท่าเทียมกัน การติดต่อซึ่งกันและกันทำได้โดยตรง รวมทั้งทราบถึงวัตถุประสงค์ จุดมุ่งหมายของข่ายงาน และการจัดระบบองค์การใหม่ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของข่ายงาน
62
บทที่ 3
วิธีดำเนินการวิจัย
ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
1. การกำหนดประชากร
2. การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
3. การเก็บรวบรวมข้อมูล
4. การจัดกระทำและการวิเคราะห์ข้อมูล
การกำหนดประชากร
การวิจัยครั้งนี้ศึกษากลุ่มประชากร ประกอบด้วย
1. ผู้อำนวยการสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 22 คน
2. ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษาฝ่ายบริหารวิชาการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 22 คน
3. หัวหน้างานห้องสมุดหรือบรรณารักษ์ห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 22 คน
การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามซึ่งสร้างขึ้นตามลำดับขั้นตอน ดังนี้
1.1 ศึกษาข้อมูลจากหนังสือ บทความ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของ ห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา การดำเนินงานของศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียน สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ ความร่วมมือระหว่างห้องสมุด ข่ายงานห้องสมุด เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างแบบสอบถาม
1.2 สร้างแบบสอบถามให้ครอบคลุมตามกรอบแนวคิดเกี่ยวกับ ความร่วมมือระหว่างห้องสมุด และข่ายงานห้องสมุด
1.3 นำแบบสอบถามที่สร้างเสร็จแล้วไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน ตรวจสอบแบบสอบถามเพื่อหาความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา
63
1.4 นำแบบสอบถามที่ได้จากวิเคราะห์ของผู้ทรงคุณวุฒิมาแก้ไขปรับปรุงเป็นฉบับที่มีความเที่ยงตรง แล้วนำไปให้ผู้บริหารสถานศึกษาและบรรณารักษ์ที่ไม่ไช่กลุ่มตัวอย่างจริงจำนวน 30 คน ทดลองตอบแบบสอบถามเพื่อตรวจสอบความน่าเชื่อถือได้ของเครื่องมือแล้วนำมาวิเคราะห์ความเชื่อถือ (Reliability) ของแบบสอบถามจากค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า (⍺- Coefficient) ตามสูตรของครอนบาค (Cronbach) ได้ค่า ⍺ = 0.95
1.5 เมื่อเครื่องมือมีความเที่ยงตรงและเชื่อถือได้ แล้วนำไปใช้ในการเก็บข้อมูล
2. ลักษณะของแบบสอบถามแบ่งเป็น 2 ชุด คือ แบบสอบถามสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา และแบบสอบถามสำหรับบรรณารักษ์ ในแต่ละชุดแบ่งออกเป็น 3 ตอน ดังนี้
ตอนที่ 1 ข้อมูลเกี่ยวกับสถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม เป็นคำถามเกี่ยวกับรายละเอียดส่วนตัวเกี่ยวกับ เพศ อายุ ตำแหน่ง วุฒิการศึกษา ระยะเวลาการทำงาน ขนาดของโรงเรียนซึ่งเป็นคำถามแบบให้เลือกตอบ สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 6ข้อ และบรรณารักษ์ จำนวน 7 ข้อ
ตอนที่ 2 แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างห้องสมุดของศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ สำหรับผู้บริหารสถานศึกษาเป็นคำถามให้เลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อ จำนวน 6 ข้อ และบรรณารักษ์เป็นคำถามให้เลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อและคำถามแบบวัดระดับความต้องการโดยใช้มาตรประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 6 ข้อ
ตอนที่ 3 แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับข่ายงานห้องสมุดของศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ เป็นคำถามให้เลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อ สำหรับผู้บริหารสถานศึกษาและบรรณารักษ์จำนวน 12 ข้อ
การเก็บรวบรวมข้อมูล
1. ผู้วิจัยขอหนังสือจากบัณฑิตวิทยาลัย ขอความอนุเคราะห์ในการตอบแบบสอบถามจาก
ผู้บริหารสถานศึกษา และครูบรรณารักษ์ทั้ง 22 แห่ง
2. ส่งแบบสอบถาม และจดหมายขอความร่วมมือไปยังผู้บริหารสถานศึกษาทั้ง 22 แห่ง
ที่จะทำการวิจัย โดยให้แต่ละโรงเรียนตอบแบบสอบถามส่งคืนทางไปรษณีย์ภายใน 1 เดือน
3. นำแบบสอบถามที่ได้รับคืนมาตรวจสอบความสมบูรณ์ ฉบับใดไม่สมบูรณ์ก็จะขอความ
ร่วมมือจากโรงเรียนนั้นๆ ให้ตอบแบบสอบถามอีกครั้ง และส่งกลับมาอีกครั้ง
พบว่า ได้รับแบบสอบถามคืนทั้งหมด 66 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100 ของมวลประชากร
64
การจัดกระทำและการวิเคราะห์ข้อมูล
เมื่อได้รับแบบสอบถามคืนมาแล้ว ผู้วิจัยดำเนินการดังนี้
1. ตรวจสอบคุณภาพของแบบสอบถามที่ได้รับคืน
2. นำแบบสอบถามที่สมบูรณ์มาวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้
2.1 แบบสอบถามตอนที่ 1 คำนวณค่าร้อยละจากจำนวนผู้ตอบแบบสอบถาม
ทั้งหมดในส่วนที่เกี่ยวกับสถานภาพของประชากร

รูปแบบศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงาน (ตอนที่ 1)
รูปแบบศูนย์พัฒนางานห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงาน (ตอนที่ 2)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น