ศึกษาและโหลดฟรีเป็นตัวอย่างเกี่ยวกับงานวิจัย all free download research
วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2554
การบริหารจัดการด้านการเรียนการสอนบนอินเทอร์เน็ต ของสถาบันอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร (ตอนที่ 2)
การเรียน เช่น เว็บเพจ รูปภาพ ไฟล์เสียง แยกออกเป็นส่วน ๆ แล้วนำทรัพยากรการเรียนนี้มาประกอบ
กันเป็นบทเรียนและหลักสูตร ซึ่งจากการทำงานดังกล่าวทำให้สามารถสร้างบทเรียนขึ้นมาใหม่จาก
ทรัพยากรที่มีอยู่เดิม เช่น มีบทเรียนวิชาสถิติสำหรับงานวิเคราะห์ทดสอบและวิจัยอยู่แล้ว ต้องการ
จะสร้างบทเรียนวิชาการตรวจสอบความใช้ได้ของวิธี ก็สามารถนำทรัพยากรการเรียนที่มีอยู่ใน
บทเรียนของวิชาสถิติสำหรับงานวิเคราะห์ทดสอบและวิจัยในส่วนที่เกี่ยวข้องมาใช้ได้ ไม่ต้องสร้าง
ขึ้นมาใหม่ เป็นการสนับสนุนความสามารถการนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดเก็บ
เนื้อหา แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ Content Model, Meta-data และ Content packaging
1.1 Content Model คือองค์ประกอบของเนื้อหาการเรียนที่ใช้ในการสร้างทรัพยากร
การเรียน ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ คือ Assets, Sharable Content Object (SCO) และ Content
Aggregations
1.1.1 Assets เป็นทรัพยากรการเรียนที่มีหน่วยเล็กที่สุดประกอบด้วยสื่อ
อิเล็กทรอนิกส์ ข้อความ รูปภาพ เสียง หรือเว็บเพจ ซึ่งสามารถส่งไปยังผู้เรียนได้
1.1.2 SCO เป็นกลุ่มของ assets เป็นทรัพยากรการเรียนที่สามารถติดตามได้โดย LMS
ดังนั้นในการออกแบบเนื้อหาและกิจกรรมต่าง ๆ ควรจะให้ SCO มีขนาดเล็กที่สุด เพื่อให้สามารถใช้
ร่วมกันได้ระหว่างการเรียนที่มีวัตถุประสงค์ต่างกัน และเพื่อให้สามารถจัดการโดย LMS ได้อย่างไรก็
ตามไม่ได้มีการบังคับเกี่ยวกับขนาดของ SCO แต่การกำหนดขนาดของ SCO ขึ้นอยู่กับ
ผู้พัฒนาเนื้อหาว่าต้องการเนื้อหามากน้อยเพียงใด และขึ้นกับระดับความต้องการนำกลับมาใช้ใหม่
1.1.3 Content Aggregations คือแผนที่หรือโครงสร้างของเนื้อหาที่ประกอบเป็น
เนื้อหาการเรียนการสอน (เช่น หลักสูตร บทเรียน หรือส่วนหนึ่งของบทเรียน) การกำหนดลำดับใน
การแสดงเนื้อหาให้กับผู้เรียน
1.2 Meta-Data คือการอธิบายทรัพยากรการเรียนโดยการอ้างอิงมาตรฐานขององค์กร
IEEE และองค์กร IMS การกำหนดมาตรฐานของ Meta-Data เพื่อให้มีชื่อที่ใช้ในการอธิบายทรัพยากร
การเรียนรูปแบบเดียวกัน ทำให้การสร้างเนื้อหาการเรียนจากระบบหนึ่งสามารถทำงานร่วมกับระบบ
อื่นได้ และนอกจากนี้ยังเป็นการอำนวยความสะดวกในการสืบค้นเนื้อหาบทเรียนที่ต้องการได้อย่าง
รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
1.3 Content Packaging คือการนำทรัพยากรการเรียนมารวมและจัดโครงสร้างเพื่อให้เกิด
มาตรฐานในการแลกเปลี่ยนทรัพยากรการเรียนระหว่างระบบการจัดการเรียนการสอน ซึ่ง LMS มี
หน้าที่ในการแปลลำดับของทรัพยากรการเรียน ซึ่งถูกอธิบายอยู่ในโครงสร้างเนื้อหานี้ และควบคุมให้
ลำดับของทรัพยากรเกิดขึ้นจริงในขณะใช้งาน
2) การติดต่อระหว่างระบบการจัดการและเนื้อหาการเรียน การจัดการข้อมูลของผู้เรียน โดย
LMS จะทำหน้าที่เปรียบเสมือนเป็นศูนย์กลางการเรียนตั้งแต่ผู้เรียนเริ่มลงทะเบียนเรียนและนำส่ง
เนื้อหาบทเรียนไปยังผู้เรียน จากนั้นระบบจะติดตามบันทึก และประเมินความก้าวหน้าพร้อมทั้ง
47
48
รายงานผลการเรียนได้เริ่มลงทะเบียนเรียนจนกระทั่งจบหลักสูตร LMS จะถูกออกแบบโดยอิงกับ
มาตรฐาน SCORM/AICC เพื่อที่จะสามารถนำเข้าเนื้อหาที่ถูกสร้างขึ้นจากเครื่องมือที่แตกต่างกัน
ได้ ในปัจจุบันยังไม่มีองค์กรใดทำการกำหนดมาตรฐานกลางในการทำงานของ LMS ดังนั้นบริษัท
ผู้ผลิต LMS ที่แตกต่างกันออกไป ทำให้เกิดจุดเด่นและจุดด้อยในการเปรียบเทียบการทำงานของแต่ละ
ผลิตภัณฑ์ ซึ่งแต่ละผลิตภัณฑ์จะมีฟังก์ชัน การทำงานพื้นฐานที่เหมือนกัน รวมทั้งการสนับสนุน
มาตรฐานต่าง ๆ เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกับเนื้อหาจากระบบอื่นได้
สรุปได้ว่า มาตรฐาน SCORM เกิดขึ้นจากความร่วมมือจากหน่วยงานหลายฝ่ายดังนี้ ฝ่ายรัฐบาล
ภาคเอกชน และภาคการศึกษาร่วมกันจัดตั้งสถาบันที่ทำหน้าที่รวบรวมวิจัยวิเคราะห์เฉพาะด้าน
Advanced Distributed Learning (ADL) ซึ่งปัจจุบัน ADL ได้ออกเวอร์ชันของ SCORM ล่าสุดที่
SCORM Version 2004 SCORM ได้ออกมาตรฐานโดยแบ่งเป็น 3 ด้าน ดังนี้ 1) การกำหนดคำอธิบาย
ข้อมูลที่ใช้ในการสร้างเนื้อหา (Meta-Data) 2) การบรรจุหีบห่อเนื้อหา (Content Packaging)
3) ข้อกำหนดของวิธีติดต่อสื่อสารกันระหว่างเนื้อหาและระบบการจัดการ LMS สถาบันการศึกษาของ
ไทยบางส่วนได้พยายามพัฒนาระบบ LMS ขึ้นใช้เองเนื่องจาก Free ware เช่น Atutor , Moodle นั้นไม่
สามารถตอบสนองความต้องการในบางส่วน ขณะที่บางส่วนได้จัดซื้อ Software จากบริษัทเอกชนมา
ใช้ และบางส่วนได้นำ Free ware ที่เป็น Open Source เช่น Atutor, Moodle, TCU (Thai Cyber Thai
University) หรือ Free LMS จากมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มาทดลองใช้งาน ซึ่งไม่ว่าจะเป็น LMS ตัวใด
ต่างมีความพยายามที่จะปรับให้เข้ากับมาตรฐาน SCORM ซึ่งจะทำให้การโอนย้ายข้อมูลระหว่าง
ระบบจะทำได้ง่ายลดเวลาในการทำงานได้มาก
2.6 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
จากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องสามารถสรุปได้ดังนี้
2.6.1 การจัดการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ตและสื่ออิเล็กทรอนิกส์
บุญเรือง เนียมหอม [37] ได้ศึกษาเรื่อง การพัฒนาระบบการเรียนการสอนทางอินเทอร์เน็ตในระดับ
อุดมศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและพัฒนาระบบการเรียนการสอนทางอินเทอร์เน็ต
รวมทั้งเพื่อประเมินระบบการเรียนการสอนทางอินเทอร์เน็ตที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ผลการวิจัยสรุปได้ว่า
สภาพการจัดการเรียนการสอนเน้นกิจกรรมและบริการของอินเทอร์เน็ต ผู้สอนเป็นผู้ควบคุม ติดตาม
ผลการเรียน เตรียมความพร้อมทางด้านทรัพยากร สนับสนุนการเรียน ทางอินเทอร์เน็ต อีกทั้งมีการใช้
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์และ WWW ในการเรียนการสอนมากที่สุด นอกจากนี้ จากการประเมิน
รูปแบบกระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น พบว่า ผู้สอนส่วนใหญ่เห็นว่า ระบบการเรียนการสอน
48
49
มีความเหมาะสม ทุกองค์ประกอบมีความจำเป็น สามารถนำระบบไปใช้ในการออกแบบและพัฒนา
ระบบการเรียนการสอนทางอินเทอร์เน็ตได้ ส่วนปัญหาการนำไปใช้งานจริง คือ ความล่าช้าใน
การรับข้อมูลจากแหล่งทรัพยากรภายนอกและระบบการสื่อสารทางอินเทอร์เน็ต
กนกวรรณ จันทร์สว่าง [38] ได้ศึกษาระดับความคิดเห็น ความพร้อม การยอมรับการเรียนการสอน
ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และความสัมพันธ์ระหว่างการยอมรับการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
ของอาจารย์สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ สังกัดทบวงมหาวิทยาลัยในเขตกรุงเทพมหานคร กับตัวแปร
ด้านสถานภาพของอาจารย์ ด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับ การเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และ
ด้านความพร้อมในการจัดการเรียนการสอน ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของอาจารย์สถาบันอุดมศึกษาของ
รัฐ สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 275 คน
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) อาจารย์สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย ในเขต
กรุงเทพมหานคร ส่วนมากมีความคิดเห็นด้านการรับรู้คุณลักษณะและด้านประโยชน์ของ
การเรียนการสอนแบบ e-Learning ในระดับเห็นด้วยมาก 2) อาจารย์สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ สังกัด
ทบวงมหาวิทยาลัยในเขตกรุงเทพมหานคร ส่วนมากมีความพร้อมด้านบุคลากร ด้านงบประมาณ
ด้านโครงสร้างพื้นฐานและอุปกรณ์ ด้านความรู้ความสามารถของอาจารย์ผู้สอน และด้านเนื้อหา
หลักสูตร อยู่ในระดับปานกลาง 3) อาจารย์สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ สังกัดทบวงมหาวิทยาลัยในเขต
กรุงเทพมหานคร ส่วนมากมีการยอมรับการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ อยู่ในระดับ
ปานกลาง
ฮาร์ดเลย์ (Hadley) [39] ได้ศึกษาการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนของผู้สอน
โดยศึกษาปฏิสัมพันธ์ในการมีส่วนร่วมในการใช้ e-Mail ห้องสนทนา และเว็บไซต์ ที่เกี่ยวข้อง
ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน ผู้เรียนกับผู้เรียน และผู้เรียนกับแหล่งข้อมูล พบว่า e-Mail ใช้ใน
การสนับสนุนการตอบคำถามและเป็นการเพิ่มโอกาสให้ผู้สอนและผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้น
มีความเข้ากันได้ดีขึ้น ลดความเกรงกลัวของผู้เรียนที่มีต่อผู้สอน ห้องสนทนา ช่วยขยายขอบเขต
ในการสนทนาโต้ตอบ และขอบเขตของข้อคำถาม ช่วยลดข้อจำกัดในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ
บทเรียนและความล่าช้าในการสนทนา ส่วนปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับแหล่งข้อมูลจาก WWW
ช่วยเพิ่มความสนใจ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ทำให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึง
แหล่งข้อมูลได้ทุกเวลา
สรุปงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ตและสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พบว่า
การพัฒนาระบบการเรียนการสอนทางอินเทอร์เน็ตในระดับ อุดมศึกษาพบว่า รูปแบบกระบวน
การเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น พบว่า ผู้สอนส่วนใหญ่เห็นว่า ระบบการเรียนการสอนมีความเหมาะสม
49
50
ทุกองค์ประกอบมีความจำเป็น สามารถนำระบบไปใช้ในการออกแบบและพัฒนาระบบการเรียน
การสอนทางอินเทอร์เน็ตได้ ส่วนปัญหาการนำไปใช้งานจริง คือ ความล่าช้าในการรับข้อมูลจาก
แหล่งทรัพยากรภายนอกและระบบการสื่อสารทางอินเทอร์เน็ต ส่วน ระดับความคิดเห็น ความพร้อม
การยอมรับการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และความสัมพันธ์ระหว่างการยอมรับการเรียน
การสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของอาจารย์สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ สังกัดทบวงมหาวิทยาลัยในเขต
กรุงเทพมหานคร พบว่า 1) อาจารย์ส่วนมากมีความคิดเห็นด้านการรับรู้คุณลักษณะและด้านประโยชน์
ของ การเรียนการสอนแบบ e-Learning ในระดับเห็นด้วยมาก 2) อาจารย์ ส่วนมากมีความพร้อมด้าน
บุคลากร ด้านงบประมาณ ด้านโครงสร้างพื้นฐานและอุปกรณ์ ด้านความรู้ความสามารถของอาจารย์
ผู้สอน และด้านเนื้อหา หลักสูตร อยู่ในระดับปานกลาง 3) ส่วนมากมีการยอมรับการเรียนการสอน
ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ อยู่ในระดับปานกลาง และการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับการเรียน
การสอนของผู้สอนพบว่าพบว่า e-Mail ใช้ในการสนับสนุนการตอบคำถามและเป็นการเพิ่มโอกาส
ให้ผู้สอนและผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้น มีความเข้ากันได้ดีขึ้น ลดความเกรงกลัวของผู้เรียนที่มี
ต่อผู้สอน ห้องสนทนา ช่วยขยายขอบเขตในการสนทนาโต้ตอบ และขอบเขตของข้อคำถาม ช่วยลด
ข้อจำกัดในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทเรียนและความล่าช้าในการสนทนา ส่วนปฏิสัมพันธ์
ระหว่างผู้เรียนกับแหล่งข้อมูลจาก WWW ช่วยเพิ่มความสนใจ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับความนิยม
มากที่สุด ทำให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลได้ทุกเวลา
2.6.2 การจัดการเรียนการสอนผ่านห้องเรียนเสมือนจริง
อัญชนา จันทรสุข [40]ได้วิจัยเรื่อง การนำเสนอรูปแบบการจัดการห้องเรียนเสมือนบนเครือข่าย
อินเทอร์เน็ต สำหรับนิสิตนักศึกษา ในสถาบันอุดมศึกษา สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย ผลการวิจัยพบว่า
1) การจัดสภาพแวดล้อมและสิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน ควรคำนึงถึงคุณสมบัติของ
อุปกรณ์และโปรแกรม เครื่องมือพัฒนารายวิชา และระบบบริหารการเรียนการสอน แหล่งทรัพยากร
สนับสนุนการเรียน เว็บเพจห้องเรียนเสมือนรายวิชาที่สอน กลุ่มสนทนา อภิปราย และให้คำปรึกษา
และควรคำนึงถึงการจัดตั้งที่ตั้งเว็บ (Web Server) และสถานที่ที่ติดตั้งชุดอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
2) นโยบายสถาบัน ควรให้สอดคล้องกันทั้งด้านนโยบาย ทิศทาง เป้าหมาย งบประมาณ
การวางแผนและการจัดบุคลากร
3) ผู้สอนควรคำนึงถึงความรู้ด้านการใช้งานภาษาอังกฤษ วิธีการสอน การใช้งานคอมพิวเตอร์
การใช้งานอินเทอร์เน็ต การใช้งานซอฟท์แวร์พัฒนาบทเรียน และควรมีคุณธรรม จริยธรรม
4) ผู้เรียนควรคำนึงถึงความรู้ด้านการใช้งานภาษาอังกฤษ การใช้งานคอมพิวเตอร์และการใช้
งานอินเทอร์เน็ต ควรมีความพร้อมทางเศรษฐกิจและการสร้างทักษะการเรียนด้วยการอ่าน และ
การวิเคราะห์ด้วยตนเอง
50
51
5) วิธีการเรียน ควรคำนึงถึงประเภทของกิจกรรมให้สอดคล้องกับบริการบนอินเทอร์เน็ต และ
สื่อการสอนที่เหมาะสม ควรเป็นสื่อที่สามารถโต้ตอบได้ และ Slide พร้อมคำบรรยาย
สุวิชัย พรรษา [2] ได้วิจัยเรื่อง การศึกษาปัญหาการเรียนรู้ของนักศึกษาจากห้องเรียนเสมือนจริง
: สภาพปัจจุบัน สภาพที่ยอมรับได้ และความคาดหวัง ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัญหาการเรียนรู้ของ
นักศึกษาจากห้องเรียนเสมือนจริง จัดอยู่ในระดับค่อนข้างมาก ได้แก่ ทัศนคติต่อการยอมรับนวัตกรรม
ใหม่ๆ การทำแบบทดสอบออนไลน์ได้ตลอดเวลา การเรียนและทำงานร่วมกัน การรับทราบ
ความก้าวหน้าของตนเอง การขอดูบทเรียนที่เรียนไปแล้ว 2) จากการเปรียบเทียบ
สภาพปัจจุบัน สภาพที่ยอมรับได้ และความคาดหวัง เกี่ยวกับปัญหาของการเรียนรู้ของนักศึกษาจาก
ห้องเรียนเสมือนจริง พบว่า ความแตกต่างระหว่างความคาดหวัง สภาพที่ยอมรับได้ และสภาพปัจจุบัน
ได้แก่ การใฝ่รู้
หทัยชนก ผลาวรรณ์ [3] ได้วิจัยเรื่อง การวิเคราะห์องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการจัดการเรียน
การสอนในห้องเรียนเสมือนจริง ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการจัดการเรียน
การสอนในห้องเรียนเสมือนจริง มี 7 องค์ประกอบ คือ
1) สภาพทั่วไปของสถานศึกษาและความรู้ ความสามารถของบุคลากร
2) การจัดการรายวิชา
3) ระบบการวัดผลและประเมินผล
4) ระบบการติดต่อสื่อสาร
5) โปรแกรมประยุกต์
6) รูปแบบของสื่อ
7) การบริหารจัดการของผู้ใช้ สำหรับองค์ประกอบสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการจัดการเรียน
การสอนในห้องเรียนเสมือนจริง สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 85.830 ของ
ความแปรปรวนทั้งหมด โดยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ขององค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการจัด
การเรียนการสอนในห้องเรียนเสมือนจริง ระหว่าง 7 องค์ประกอบกับ 57 ตัวแปร มีค่าเท่ากับ
0.557-0.942 และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่าง 7 องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการจัดการเรียน
การสอนในห้องเรียนเสมือนจริง มีค่าเท่ากับ 0.455-0.792 ซึ่งมีความสัมพันธ์กันในระดับสูง ในขณะที่
สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรภายในมีค่าเท่ากับ 0.048-0.133 ซึ่งมีความสัมพันธ์กันใน
ระดับต่ำ
สรุปการจัดการเรียนการสอนผ่านห้องเรียนเสมือนจริงพบว่า รูปแบบการจัดการห้องเรียนเสมือน
บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตควรคำนึงถึงส่วนประกอบต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ 1) การจัดสภาพแวดล้อม และ
51
52
สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน 2) นโยบายสถาบัน ควรให้สอดคล้องกันทั้งด้านนโยบาย ทิศทาง
เป้าหมาย งบประมาณ การวางแผนและการจัดบุคลากร 3) ความพร้อมของผู้สอน 4) ความพร้อมของ
ผู้เรียน 5) การจัดวิธีการเรียน ส่วนปัญหาการเรียนรู้ของนักศึกษาจากห้องเรียนเสมือนจริง พบว่า
ปัญหาการเรียนรู้ของนักศึกษาอยู่ในระดับค่อนข้างมาก ได้แก่ ทัศนคติต่อการยอมรับนวัตกรรมใหม่ ๆ
การทำแบบทดสอบออนไลน์ได้ตลอดเวลา การเรียนและทำงานร่วมกัน การรับทราบความก้าวหน้า
ของตนเอง การขอดูบทเรียนที่เรียนไปแล้ว และองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการจัดการเรียน
การสอนในห้องเรียนเสมือนจริงมี 7 องค์ประกอบ คือ 1) สภาพทั่วไปของสถานศึกษาและความรู้
ความสามารถของบุคลากร 2) การจัดการรายวิชา 3) ระบบการวัดผลและประเมินผล 4) ระบบ
การติดต่อสื่อสาร 5) โปรแกรมประยุกต์ 6) รูปแบบของสื่อ 7) การบริหารจัดการของผู้ใช้
2.7 บทสรุป
แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาฉบับที่ 9 คือ แผนพัฒนาการศึกษาที่ใช้ในระดับอุดมศึกษา
โดยมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชนจะต้องนำแผนดังกล่าวไปปรับใช้เพื่อให้ผลการดำเนินการ
เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพทันต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม เทคโนโลยี
และวัฒนธรรม สอดคล้องกับช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ การวางแผนการพัฒนา
ฉบับนี้ จะเน้นให้ประชาชนและผู้เกี่ยวข้องต่าง ๆได้มีส่วนร่วมในการกำหนด เสนอความคิดเห็น
ทำให้ได้ความคิดเห็นที่หลากหลายครอบคลุม โดยการสรุปความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ จากบุคคล
หลายฝ่ายทั้งจากประชาชน บุคคลที่เกี่ยวข้อง หน่วยงานต่าง ๆ เพื่อมุ่งเน้นให้อุดมศึกษาไทย
เป็นสถานที่ผลิตบุคลากรเพื่อให้ได้คนที่ดีมีคุณภาพ อีกทั้งมุ่งเน้นการกระจายการศึกษาให้ทั่วถึงคน
ทุกระดับในสังคม เริ่มจากพัฒนาคนให้มีความรู้ความสามารถ มีความรู้ควบคู่คุณธรรม จริยธรรม
สามารถพึ่งตนเองได้ ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างประหยัดสุด ประโยชน์สูง ใช้เทคโนโลยีต่าง ๆอย่าง
รู้เท่าทัน มุ่งสร้างพัฒนา บุคลากรให้มีคุณภาพ ในสาขาอาชีพต่างๆอย่างเพียงพอ ต่อความต้องการ รู้จัก
ใช้ภูมิปัญญา ไทยในการคิดค้น พัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ ไปพร้อมกับการ ปกป้องสิทธิทรัพย์สิน
ทางปัญญา มีการบริหารจัดการที่ดี พร้อมที่จะปรับเปลี่ยนตามสภาพการณ์
การเรียนการสอนผ่านเวิลด์ไวด์เว็บนั้นเป็นความพยายาม ในการถ่ายทอดความรู้จากต้นทางสู่
ปลายทางโดยอาศัยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร โดยสามารแบ่งประเภท
ของการเรียนการสอนผ่านเว็บ ได้หลากหลายลักษณะขึ้นอยู่กับ รูปแบบของการนำเสนอ การสื่อสาร
ข้อมูล วัตถุประสงค์การใช้งาน รูปแบบการออกแบบ การเรียนการสอน การเรียนการสอนผ่านเว็บ นั้น
ทำให้การเรียนการสอนเกิดความคล่องตัว โดยมีส่วนประกอบคือ ประมวลรายวิชา เนื้อหาใน
หลักสูตร รายชื่อแหล่งเนื้อหาเสริม กิจกรรมระหว่าง ผู้เรียนผู้สอน คำแนะนำและการให้ผลป้อนกลับ
การนำเสนอในลักษณะมัลติมีเดีย
52
53
e-Learning เป็นการถ่ายทอดความรู้จากผู้สอนไปสู่ผู้เรียน โดยอาศัยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบ
ต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์ ดาวเทียม คอมพิวเตอร์ หรือบทเรียนในรูปแผ่นซีดี e-Learning เป็นการผนวก
ความสามารถทางเครือข่าย อินเทอร์เน็ต เข้ากับระบบการเรียนการสอน ผู้สอนมีความคล่องตัวใน
การ ปรับปรุง เนื้อหาให้ทันสมัย การออกข้อสอบ และวัดผลสามารถทำได้ง่าย ผู้เรียนมีความเป็น
ส่วนตัวมีอิสระทางการเรียน เนื้อหาการเรียนการสอนมีประกอบไปด้วย มัลติมีเดีย มีส่วนกระตุ้นให้
ผู้เรียนไม่เกิดความเบื่อหน่าย เกิดความใฝ่รู้อยากเรียนมากขึ้น ส่วนประโยชน์ของ e-Learning นั้นมี
มากมายหลายประการ คือ ความยืดหยุ่นสำหรับ ผู้เรียน กล่าวคือ ผู้เรียนสามารถเลือกวันเวลา สถานที่
เองได้ สามารถเรียนซ้ำๆในเนื้อหาที่ต้องการ ประหยัดค่าใช้จ่ายในด้านต่าง ๆ สำหรับผู้สอนจะได้
ประโยชน์ในด้าน ไม่เกิดความซ้ำซากจำเจ ในการสอนเนื้อหาซ้ำ ๆ มีความคล่องตัวสูงทั้งในด้าน
การจัดทำเนื้อหา ข้อสอบ ใช้เวลาในการประมวลผลสอบน้อยลง ทั้งผู้เรียน และผู้สอนมีเครื่องมือที่
หลากหลายในการอำนวยความสะดวกในการติดต่อ สื่อสารทั้งที่เป็นแบบ ประสานเวลา และแบบ
ไม่ประสานเวลานอกจากนี้ e-Learning นั้นประกอบ ไปด้วยส่วนสำคัญหลักดังต่อไปนี้ 1) เนื้อหาของ
บทเรียน 2) ระบบบริหารจัดการเรียน หรือ LMS (Learning Management System) 3) ระบบ
การติดต่อสื่อสาร 4) ด้านการทดสอบและวัดผล นอกจากนี้บุคคลที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของ
e-Learning นั้นประกอบได้ด้วยบุคคลหลายฝ่ายคือ ผู้เชี่ยวชาญหลักสูตร ผู้เชี่ยวชาญเนื้อหา ผู้เชี่ยวชาญ
ด้านการสอนผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อและโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันการนำ e-Learning ไปใช้งานนั้น
สามารถแบ่งเป็น สามระดับดังต่อไปนี้ 1) ระดับสื่อเสริม 2) ระดับสื่อเพิ่มเติม 3) ระดับสื่อหลัก หรือ
แบบทดแทนโดยสมบูรณ์ ทั้งนี้ในแต่ละสถานการศึกษา มีระดับการนำไปใช้ที่ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับ
ความพร้อมของแต่ละสถานที่ e-Learning นั้นได้เปรียบการเรียนการสอนในรูปแบบอื่นอยู่หลาย
ประการและนับวันจะส่งผลให้การเรียนการสอนในรูปแบบอื่น ๆ ล้าสมัยและหมดความนิยมไปใน
ที่สุด กล่าวคือ e-Learning นั้นมีโครงสร้างเป็นเครือข่ายใยแมงมุม ซึ่งคล้ายกับวิธีที่มนุษย์จัดระบบ
ความคิด ซึ่งทำให้ผู้เรียนมีการคิดและจดจำได้ดีกว่า สื่อในการจัดสร้างนั้นประกอบด้วยเทคโนโลยี
หลายมิติ ทำให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นในการเรียน ก่อเกิดให้การเรียนมีประสิทธิภาพมากกว่า
ผู้เรียนสามารถควบคุม จังหวะการเรียนตามที่ตัวเองต้องการไม่จำเป็นต้องรอคนอื่นอยากเรียนซ้ำ
เนื้อหาเดิมได้ตามต้องการ
ระบบบริหารการเรียนการสอน (Learning Management System) เป็นระบบจัดการการเรียนการสอน
ออนไลน์ซึ่งมีซอฟท์แวร์บริหารจัดการรายวิชา และ/หรือ เป็นระบบที่รวบรวมเครื่องมือซึ่งออกแบบ
ไว้เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้งาน 4 กลุ่ม คือ ผู้เรียน (Student) ผู้สอน (Instructor) เจ้าหน้าที่
ทะเบียน(Registration) และผู้ดูแลระบบ (Administrator) ซอฟท์แวร์นี้พัฒนาขึ้นเพื่อกิจกรรมใน
การเรียนการสอน การประเมินผล การทดสอบ การติดตามผลการเรียน และเว็บบอร์ดแสดง
ความคิดเห็นต่อรายวิชาและอื่น ๆ องค์ประกอบของระบบบริหารการเรียนการสอน ประกอบด้วย 5
53
54
ส่วน คือ 1) ระบบจัดการหลักสูตร (Course Management) 2) ระบบการสร้างบทเรียน (Content
Management) 3) ระบบการทดสอบและประเมินผล 4) ระบบส่งเสริมการเรียน และ 5) ระบบจัดการ
ข้อมูลลักษณะทั่วไปของระบบบริหารการเรียนการสอน ประกอบด้วย 1) การใช้งานได้โดยไม่จำกัด
จำนวนผู้ใช้ 2) การแสดงผลภาษาไทย 3) การสร้างแหล่งความรู้หรือเนื้อหาวิชาและสร้างจุดเชื่อมโยง
ไปยังเว็บไซต์ของแหล่งข้อมูลภายนอกได้ 4) ระบบรองรับมาตรฐาน SCORM 5) การเลือกดูส่วนที่
สนใจของรายวิชา และ 6) การจัดการกับเนื้อหา การจัดการเว็บไซต์ การบริหารจัดการของผู้ใช้ และ
การประเมินผล ลักษณะเฉพาะส่วนของโปรแกรมระบบบริหารการเรียนการสอน ประกอบด้วย 5
ส่วนคือ 1) การจัดการรายวิชา 2) ระบบการสื่อสาร 3) ระบบการวัดผลและประเมินผล 4) ระบบ
การควบคุม และ 5) การจัดการเว็บไซต์ ลักษณะของโปรแกรมในส่วนของผู้ใช้ ประกอบด้วย 1)
ผู้เรียนที่สามารถเข้าไปอ่านประกาศดาวน์โหลดงานที่ผู้สอนมอบหมายแสดงความคิดเห็นและ/หรือตั้ง
กระทู้ ส่งงานและการบ้าน ทำแบบทดสอบ และตรวจสอบผลได้ 2) ผู้สอนสามารถสร้างแบบทดสอบ
และตรวจสอบคะแนนผู้เรียน ตรวจสอบสถิติการใช้งานของผู้เรียน เขียนคำประกาศ นัดหมายหรือ
มอบหมายงานบรรจุเนื้อหาของรายวิชาลงระบบได้ โดยป้อนผ่านแบบฟอร์มของระบบหรืออาจทำ
การดาวน์โหลดไฟล์มาเก็บไว้ได้ และสามารถรองรับสื่อประสมได้ และ 3) ผู้ดูแลระบบสามารถ
กำหนดสถานะ เพิ่ม ลบ และแก้ไขข้อมูล กำหนดขีดความสามารถการใช้งาน เรียกดูสถิติ การเข้าใช้
งานของผู้ใช้ เปลี่ยนแปลงชื่อ และสัญลักษณ์บนเว็บไซต์ และจัดการกับทุกรายวิชาที่อยู่บนระบบได้
มาตรฐาน SCORM เกิดขึ้นจากความร่วมมือจากหน่วยงานหลายฝ่ายดังนี้ ฝ่ายรัฐบาล ภาคเอกชน และ
ภาคการศึกษาร่วมกันจัดตั้งสถาบันที่ทำหน้าที่รวบรวมวิจัยวิเคราะห์เฉพาะด้าน Advanced Distributed
Learning (ADL) ซึ่งปัจจุบัน ADL ได้ออกเวอร์ชั่นของ SCORM ล่าสุดที่ SCORM Version 2004
SCORM ได้ออกมาตรฐานโดยแบ่งเป็น 3 ด้านดังนี้ 1) การกำหนดคำอธิบายข้อมูล ที่ใช้
ในการสร้างเนื้อหา (Meta-Data) 2) การบรรจุหีบห่อเนื้อหา (Content Packaging) 3) ข้อกำหนดของ
วิธีติดต่อสื่อสารกันระหว่างเนื้อหาและระบบการจัดการ LMS สถาบันการศึกษาของไทยบางส่วนได้
พยายามพัฒนาระบบ LMS ขึ้นใช้เองเนื่องจาก Free Ware เช่น Atutor, Moodle นั้นไม่สามารถ
ตอบสนองความต้องการในบางส่วน ขณะที่บางส่วนได้จัดซื้อ Software จากบริษัทเอกชนมาใช้ และ
บางส่วนได้นำ Free Ware ที่เป็น Open Source เช่น Atutor, Moodle, TCU (Thai Cyber Thai
University) หรือ Free LMS จากมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มาทดลองใช้งาน ซึ่งไม่ว่าจะเป็น LMS ตัวใด
ต่างมีความพยายามที่จะปรับให้เข้ากับมาตรฐาน SCORM ซึ่งจะทำให้การโอนย้ายข้อมูลระหว่าง
ระบบจะทำได้ง่ายลดเวลาในการได้มาก
ด้านงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง พบว่า การพัฒนาระบบการเรียนการสอนทางอินเทอร์เน็ตในระดับอุดมศึกษา
พบว่า รูปแบบกระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น พบว่า ผู้สอนส่วนใหญ่เห็นว่า ระบบการเรียน
54
55
การสอนมีความเหมาะสม ทุกองค์ประกอบมีความจำเป็น สามารถนำระบบไปใช้ในการออกแบบและ
พัฒนาระบบการเรียนการสอนทางอินเทอร์เน็ตได้ ส่วนปัญหาการนำไปใช้งานจริง คือ ความล่าช้าใน
การรับข้อมูลจากแหล่งทรัพยากรภายนอกและระบบการสื่อสารทางอินเทอร์เน็ต ส่วนระดับ
ความคิดเห็น ความพร้อม การยอมรับการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และความสัมพันธ์
ระหว่างการยอมรับการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของอาจารย์สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ
สังกัดทบวงมหาวิทยาลัยในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่า 1) อาจารย์ส่วนมากมีความคิดเห็นด้าน
การรับรู้คุณลักษณะและด้านประโยชน์ของ การเรียนการสอนแบบ e-Learning ในระดับเห็นด้วยมาก
2) อาจารย์ ส่วนมากมีความพร้อมด้านบุคลากร ด้านงบประมาณ ด้านโครงสร้างพื้นฐานและอุปกรณ์
ด้านความรู้ความสามารถของอาจารย์ผู้สอน และด้านเนื้อหา หลักสูตร อยู่ในระดับปานกลาง 3)
ส่วนมากมีการยอมรับการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ อยู่ในระดับปานกลาง และการนำ
เทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนของผู้สอนพบว่าพบว่า e-Mail ใช้ในการสนับสนุน
การตอบคำถามและเป็นการเพิ่มโอกาสให้ผู้สอนและผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้น มีความเข้ากันได้
ดีขึ้น ลดความเกรงกลัวของผู้เรียนที่มีต่อผู้สอน ห้องสนทนา ช่วยขยายขอบเขตในการสนทนาโต้ตอบ
และขอบเขตของข้อคำถาม ช่วยลดข้อจำกัดในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทเรียนและความล่าช้า
ในการสนทนา ส่วนปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับแหล่งข้อมูลจาก WWW ช่วยเพิ่มความสนใจ ซึ่งเป็น
เทคโนโลยีที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ทำให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลได้ทุกเวลา ส่วนรูปแบบ
การจัดการห้องเรียนเสมือนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตควรคำนึงถึงส่วนประกอบต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1) การจัดสภาพแวดล้อมและสิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน 2) นโยบายสถาบัน ควรให้สอดคล้อง
กันทั้งด้านนโยบาย ทิศทาง เป้าหมาย งบประมาณ การวางแผนและการจัดบุคลากร 3) ความพร้อมของ
ผู้สอน 4) ความพร้อมของผู้เรียน 5) การจัดวิธีการเรียน ส่วนปัญหาการเรียนรู้ของนักศึกษาจาก
ห้องเรียนเสมือนจริง พบว่าปัญหาการเรียนรู้ของนักศึกษา อยู่ในระดับค่อนข้างมาก ได้แก่ ทัศนคติต่อ
การยอมรับนวัตกรรมใหม่ ๆ การทำแบบทดสอบออนไลน์ได้ตลอดเวลา การเรียนและทำงานร่วมกัน
การรับทราบความก้าวหน้าของตนเอง การขอดูบทเรียนที่เรียนไปแล้ว และองค์ประกอบที่มีอิทธิพล
ต่อการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนเสมือนจริงมี 7 องค์ประกอบ คือ 1) สภาพทั่วไปของ
สถานศึกษาและความรู้ ความสามารถของบุคลากร 2) การจัดการรายวิชา 3) ระบบการวัดผลและ
ประเมินผล 4) ระบบการติดต่อสื่อสาร 5) โปรแกรมประยุกต์ 6) รูปแบบของสื่อ 7) การบริหารจัดการ
ของผู้ใช้
55
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย
ในการดำเนินการวิจัยเรื่อง “การศึกษารูปแบบการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอน (Learning
Management System: LMS) ของสถาบันอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร” ผู้วิจัยใช้วิธีวิจัย
เชิงสำรวจ (Survey Research) โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวม
ข้อมูล และได้ดำเนินการวิจัยตามลำดับขั้นตอนการวิจัยดังนี้ คือ
3.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
3.2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
3.2.1 การสร้างเครื่องมือ
3.2.2 ลักษณะของเครื่องมือ
3.3 การเก็บรวบรวมข้อมูล
3.4 การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้
3.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
การศึกษารูปแบบการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอน (Learning Management System: LMS)
ของสถาบันอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร ผู้วิจัยได้กำหนดการเลือกกลุ่มประชากรและกลุ่ม
ตัวอย่างดังนี้
3.1.1 ประชากร ประกอบด้วย ผู้ดูแลระบบการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอนของ
สถาบันอุดมศึกษา
3.1.2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยจะใช้วิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) ซึ่ง
ประกอบด้วย ผู้ดูแลระบบการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอน (Learning Management System:
LMS) ของสถาบันอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 23 ท่าน แบ่งออกเป็น
สถาบันอุดมศึกษาของรัฐบาล จำนวน 15 ท่าน และสถาบันอุดมศึกษาของเอกชน จำนวน 8 ท่าน
รายละเอียดปรากฏดังตารางที่ 3.1
56
57
ตารางที่ 3.1 แสดงจำนวนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยจำแนกตามประเภทสถานศึกษา
ผู้ดูแลระบบการบริหารจัดการดา้ นการเรียนการสอน จำนวน (คน)
จำนวน คิดเป็นร้อยละ
1. สถาบันอุดมศึกษาของรัฐบาล 15 63.6
2. สถาบันอุดมศึกษาของเอกชน 8 36.4
รวมทั้งสิ้น 23 100
จากตารางที่ 3.1 พบว่า จำนวนกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้มีจำนวนทั้งสิ้น 23 ท่าน ประกอบด้วย
ผู้ดูแลระบบของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐบาลมากที่สุดจำนวน 15 ท่าน คิดเป็นร้อยละ 63.6
3.2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้เพื่อการวิจัยในครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม (Questionnaire) ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นตาม
กระบวนการวิจัยดังนี้
3.2.1 การสร้างเครื่องมือ
การสร้างเครื่องมือในการวิจัย ได้ดำเนินการเป็นขั้นตอนดังต่อไปนี้
1) ศึกษาข้อมูล และเอกสารเกี่ยวกับรูปแบบระบบการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอน
(Learning Management System: LMS) ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
2) นำข้อมูลที่ศึกษามาทำการวิเคราะห์และจัดรูปแบบระบบการบริหารจัดการด้านการเรียน
การสอน ใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อสร้างแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง
3) สร้างแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง (A Structure Interview) ภายใต้การแนะนำของอาจารย์
ที่ปรึกษา
4) ผู้วิจัยนำแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างไปให้ผู้เชี่ยวชาญ ตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา
(Content Validity) ผู้เชี่ยวชาญ คือ ผศ.ดร. ธีรณี อจลากุล อาจารย์ผู้ควบคุมโครงการ KMUTT-LCMS
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
5) ปรับปรุงและแก้ไขเครื่องมือตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ
6) นำแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างไปสัมภาษณ์ผู้ดูแลระบบการบริหารจัดการด้านการเรียน
การสอน (Learning Management System: LMS) ทั้ง 23 ท่าน
57
58
7) วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการตอบของผู้ดูแลระบบการบริหารจัดการด้านการเรียน
การสอน (Learning Management System: LMS)
3.2.2 ลักษณะของเครื่องมือ
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย สัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง (A Semi-Structured
Interview) มีลักษณะดังนี้
1) ขั้นระดมสมอง (Brainstorming) เพื่อเก็บรวบรวมความคิดเห็นของผู้ดูแลระบบ
การบริหารจัดการด้านการเรียนการสอน (Learning Management System: LMS) เกี่ยวกับรูปแบบของ
ระบบที่มีอยู่ในปัจจุบัน และแนวโน้มของระบบที่จะมีในอนาคต ซึ่งประกอบด้วย ระบบการจัดการ
ผู้ใช้และการจัดการรายวิชา (User and Course Management) ระบบการสื่อสาร (Communication
System) ระบบติดตามการเรียนการสอน (Course Tracking) ระบบการวัดผลประเมินผล
(Assessments) และระบบการจัดการเนื้อหารายวิชา (Content Management) ลักษณะเครื่องมือเป็น
แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง
2) ขั้นประเมินความคิดเห็น (Evaluation of Ideas) เพื่อรวบรวมและจัดความคิดเห็นของ
ผู้ดูแลระบบหรือคำตอบที่ได้จากการตอบแบบสัมภาษณ์ ลักษณะการประเมินค่า (Rating Scales)
ของระบบการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอน (Learning Management System: LMS) 3 ระดับ
ดังนี้ คือ
8-10 หมายถึง ระบบมีความสมบูรณ์มากที่สุด
4-7 หมายถึง ระบบมีความสมบูรณ์ปานกลาง
1-3 หมายถึง ระบบมีความสมบูรณ์น้อยที่สุด
3) ขั้นสรุปและสร้างรูปแบบระบบการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอน (Learning
Management System: LMS) ของสถาบันอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร ลักษณะการสรุป และ
การสร้างรูปแบบระบบ โดยเขียนแผนภูมิโครงสร้างเนื้อหา (Content Network Chart)
3.3 การเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บรวมรวมข้อมูลเพื่อสร้างรูปแบบระบบการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอน (Learning
Management System: LMS) ของสถาบันอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครของผู้วิจัยได้ดำเนินการ
ดังต่อไปนี้
3.3.1 ติดต่อเรียนเชิญผู้เชี่ยวชาญ เพื่อเป็นผู้เชี่ยวชาญในการตอบแบบสอบถาม
58
59
3.3.2 ขอหนังสือเรียนเชิญผู้เชี่ยวชาญ เพื่อขอความอนุเคราะห์ในการตอบแบบสัมภาษณ์
กึ่งโครงสร้าง เพื่อการวิจัยจากงานบัณฑิตศึกษาประจำคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
3.3.3 นำแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างเพื่อศึกษารูปแบบระบบการบริหารจัดการด้านการเรียน
การสอน (Learning Management System: LMS) ของสถาบันอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร
ที่สร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว ไปทำการแจกแบบสัมภาษณ์ผู้ดูแลระบบ จำนวน 25 ท่านและรวบรวม
เก็บแบบสัมภาษณ์ด้วยตนเอง
3.3.4 นำคำตอบที่ได้จากแบบสัมภาษณ์ มาจัดกลุ่มและนำมาเรียบเรียง เพื่อประเมินความคิดเห็น
แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scales) 3 ระดับ เพื่อให้ลำดับความสมบูรณ์ของรูปแบบระบบ
การบริหารจัดการด้านการเรียนการสอน (Learning Management System: LMS) ของสถาบัน
อุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร
3.3.5 นำผลที่ได้จากข้อ 3.3.4 มาวิเคราะห์ สรุปผลสร้างเป็นรูปแบบระบบการบริหารจัดการ ด้าน
การเรียนการสอน (Learning Management System: LMS) ของสถาบันอุดมศึกษาในเขต
กรุงเทพมหานคร และอภิปรายผลต่อไป
3.4 การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้
การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยได้นำข้อมูลซึ่งเก็บรวบรวมมาได้จากกลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 23 ฉบับ มา
ประมวลผลตามระเบียบวิธีทางสถิติ มีขั้นตอนในการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้
3.4.1 ตรวจสอบความสมบูรณ์ของแบบสอบถามที่ได้รับกลับคืนมาทุกฉบับ เพื่อคัดเลือกฉบับ
ที่สมบูรณ์ถูกต้อง ซึ่งในการนี้ พบว่า จากจำนวนแบบสอบถามจำนวนทั้งสิ้น 23 ฉบับ ได้กลับคืนมา
จำนวน 23 ฉบับ เมื่อพิจารณาจำนวนแบบสอบถามที่ได้รับกลับคืนมาและมีความสมบูรณ์ ซึ่งนำมาใช้
เป็นกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาจำนวนรวมทั้งสิ้น 23 ฉบับ หรือคิดเป็นร้อยละ 100
3.4.2 วิเคราะห์ข้อมูลคำนวณเพื่อหาค่าสถิติจากการแจกแจงความถี่ และค่าร้อยละ (%) ดังนี้
1) ข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะทั่วไปของระบบการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอน
(Learning Management System: LMS) ของสถาบันอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร จะนำมา
วิเคราะห์โดยแจกแจงความถี่ และหาค่าร้อยละของแต่ละข้อ แล้วนำเสนอและแปลผลด้วยตาราง
59
60
2) ข้อมูลที่นำมาสร้างรูปแบบระบบการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอน (Learning
Management System: LMS) ของสถาบันอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร ผู้วิจัยจะทำการเลือก
คำตอบที่ผู้ดูแลระบบมีสวนร่วมในการให้ความคิดเห็นทั้งหมดมาจัดทำเป็นรูปแบบระบบการบริหาร
จัดการด้านการเรียนการสอน (Learning Management System: LMS) ของสถาบันอุดมศึกษาในเขต
กรุงเทพมหานคร
60
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการศึกษาข้อมูลการวิจัยเรื่อง “การบริหารจัดการด้านการเรียนการสอนบนอินเทอร์เน็ตของ
สถาบันอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร” สามารถนำเสนอผลการศึกษาข้อมูลการวิจัยได้ดังนี้ คือ
4.1 ลักษณะทั่วไปของระบบการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอนบนอินเทอร์เน็ตของสถาบัน
อุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร
4.2 การบริหารจัดการด้านการเรียนการสอนบนอินเทอร์เน็ตของสถาบันอุดมศึกษาในเขต
กรุงเทพมหานคร
4.3 การศึกษาการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอนบนอินเทอร์เน็ตของสถาบันอุดมศึกษาในเขต
กรุงเทพมหานคร
4.4 ผลการวิเคราะห์ขั้นตอนการทำงานของระบบการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอนบน
อินเทอร์เน็ตของสถาบันอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร
4.1 ลักษณะทั่วไปของระบบการจัดการบริหารการเรียนการสอนบนอินเทอร์เน็ต
ของสถาบันอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร
จากการสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับลักษณะทั่วไปของระบบการจัดการบริหารการเรียนการสอน
ของสถาบันอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร จากกลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 23 คน สามารถสรุปได้
ตามตารางที่ 4.1-4.3 ดังนี้
1) เครื่องมือที่ใช้สำ หรับการพัฒนาระบบการจัดการบริหารการเรียนการสอนของ
สถาบันอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร
ตารางที่ 4.1 แสดงจำนวน และค่าร้อยละของสถาบันการศึกษา/มหาวิทยาลัยที่ใช้เครื่องมือสำหรับ
การพัฒนาระบบการจัดการบริหารการเรียนการสอน
เครื่องมือที่ใช้สำหรับ
การพัฒนาระบบการจัดการบริหารการเรียนการสอน จำนวน ร้อยละ
1. เครื่องมือที่พัฒนาขึ้นเองจะใช้
1.1 ภาษา PHP ร่วมกับฐานข้อมูล MySQL
1.2 ภาษา ASP ร่วมกับฐานข้อมูล Microsoft SQL
6
1
27.3
4.5
61
62
ตารางที่ 4.1 (ต่อ)
เครื่องมือที่ใช้สำหรับ
การพัฒนาระบบการจัดการบริหารการเรียนการสอน จำนวน ร้อยละ
2. เครื่องมือที่ใช้จะนำมาจากต้นแบบ เช่น
2.1 Moodle
2.2 ATutor
2.3 Blackboard
3. เครื่องมือที่นำต้นแบบมาปรับร่วมกับระบบที่พัฒนาขึ้นเองจะใช้
ภาษา PHP กับฐานข้อมูล MySQL
2
3
2
8
9.1
13.6
9.1
36.4
รวมทั้งสิ้น 23 100.0
จากตารางที่ 4.1 พบว่า เครื่องมือที่ใช้ในระบบ LMS คือ การนำต้นแบบมาปรับร่วมกับการพัฒนา
ระบบขึ้นเองโดยใช้ภาษา PHP กับฐานข้อมูล MySQL รองลงมา คือ การพัฒนาขึ้นเองด้วยภาษา PHP
ร่วมกับฐานข้อมูล MySQL การนำมาจากต้นแบบ เช่น ATutor
2) ระยะเวลาการเปิดให้บริการระบบการจัดการบริหารการเรียนการสอนของสถาบัน
อุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร
ตารางที่ 4.2 แสดงจำนวน และค่าร้อยละของระยะเวลา (ปี) ที่สถาบันการศึกษา/มหาวิทยาลัยเปิด
ให้บริการระบบการจัดการบริหารการเรียนการสอน
ระยะเวลาการเปิดให้บริการ
ระบบการจัดการบริหารการเรียนการสอน จำนวน ร้อยละ
น้อยกว่า 1 ปี
1-2 ปี
3-4 ปี
มากกว่า 4 ปีขึ้นไป
2
8
4
8
9.1
36.4
18.2
36.4
รวมทั้งสิ้น 23 100.0
จากตารางที่ 4.2 พบว่า ระยะเวลาการเปิดให้บริการระบบ LMS คือ 1-2 ปี และมากกว่า 4 ปีขึ้นไป
รองลงมาคือ 3-4 ปี
62
63
3) จำ นวนวิชาที่เปิดให้บริการระบบการจัดการบริหารการเรียนการสอนของ
สถาบันอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร
ตารางที่ 4.3 แสดงจำนวน และค่าร้อยละ ของวิชาที่สถาบันการศึกษา/มหาวิทยาลัยเปิดให้บริการ
ระบบการจัดการบริหารการเรียนการสอน
จำนวนวิชาที่เปิดให้บริการปัจจุบันใน
ระบบการจัดการบริหารการเรียนการสอน จำนวน ร้อยละ
1-3 วิชา
4-6 วิชา
7-10 วิชา
มากกว่า 10 วิชา
4
2
3
13
18.2
9.1
13.6
59.1
รวมทั้งสิ้น 23 100.0
จากตารางที่ 4.3 พบว่า จำนวนวิชาที่เปิดให้บริการในปัจจุบันมากกว่า 10 วิชา รองลงมาคือ 1-3 วิชา
ลักษณะทั่วไปของระบบการจัดการบริหารการเรียนการสอนบนอินเทอร์เน็ตของสถาบันอุดมศึกษาใน
เขตกรุงเทพมหานครจำนวน 23 แห่ง มีดังนี้ คือ
1) เครื่องมือที่ใช้ในระบบ LMS คือ การนำต้นแบบมาปรับร่วมกับการพัฒนาระบบขึ้นเอง
โดยใช้ภาษา PHP กับฐานข้อมูล MySQL รองลงมา คือ การพัฒนาขึ้นเองด้วยภาษา PHP ร่วมกับ
ฐานข้อมูล MySQL การนำมาจากต้นแบบ เช่น ATutor
2) ระยะเวลาการเปิดให้บริการระบบ LMS คือ 1-2 ปี และมากกว่า 4 ปีขึ้นไป รองลงมาคือ
3-4 ปี
3) จำนวนวิชาที่เปิดให้บริการในปัจจุบันมากกว่า 10 วิชา รองลงมาคือ 1-3 วิชา
4.2 การบริหารจัดการด้านการเรียนการสอนบนอินเทอร์เน็ตของสถาบัน
อุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร
การศึกษาระบบบริหารจัดการด้านการเรียนการสอนของสถาบันอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร
เป็นรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร และเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อกับสถาบันการศึกษา/มหาวิทยาลัยที่มีระบบ
การบริหารจัดการด้านการเรียนการสอนใช้อยู่ในปัจจุบัน จำนวน ทั้งสิ้น 23 แห่ง แบ่งเป็นสถาบัน
การศึกษา/มหาวิทยาลัยของรัฐบาล จำนวน 15 แห่ง และสถาบันการศึกษา/มหาวิทยาลัยของเอกชน
จำนวน 8 แห่ง ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ คือ
63
64
4.2.1 สถาบันอุดมศึกษาของรัฐบาล
จากการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับระบบการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอนของสถาบันการศึกษา/
มหาวิทยาลัยของรัฐบาลทั้งหมดจำนวน 15 แห่ง มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ คือ
1) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
การ Login เข้าสู่ระบบการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอนจะแบ่งลักษณะของ
ผู้ใช้งานออกเป็น 3 สถานะคือ 1) ผู้สอน (Instructor) 2) ผู้เรียน (Student) และ 3) ผู้ดูแลระบบ (Admin)
โดยที่ ผู้สอน และผู้เรียน จะใช้ Username และ Password ที่เป็นของสำนักคอมพิวเตอร์ ดังแสดงใน
รูปที่ 4.1
รูปที่ 4.1 แสดงการ Login เข้าสู่ระบบการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอนของ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
จากรูปที่ 4.1 แสดงหน้าจอการ Login เข้าสู่ระบบการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอนของ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เมื่อผู้ใช้ระบบป้อน Username และ Password ของตนเอง
ลงไปแล้ว ระบบจะทำการตรวจสอบสิทธิการใช้งานของผู้ใช้ว่าอยู่ในสถานะใด ซึ่งระบบจะแบ่งผู้ใช้
เป็น 2 สถานะ คือ 1) ผู้สอน (Instructor) และ 2) ผู้เรียน (Student) หน้าจอหลักในการทำงานแต่ละ
ส่วนจะแตกต่างกันไปตามสถานะผู้ใช้ ดังแสดงในรูปที่ 4.2-4.3 ดังนี้ คือ
64
65
รูปที่ 4.2 แสดงการหน้าจอหลักของการทำงานระบบการบริหารจัดการ
ด้านการเรียนการสอนส่วนของผู้สอน
จากรูปที่ 4.2 แสดงหน้าจอหลักของการทำงานในส่วนของผู้สอน (Instructor) ซึ่งจะมี Instructor
Home เป็นส่วนประกอบในหน้าจอหลัก ประกอบด้วย Inbox (แสดงจำนวนของจดหมายที่เข้ามาใหม่
และจำนวนจดหมายทั้งหมดของผู้ใช้) Calendar (เป็นการเตือนผู้ใช้ ถ้าผู้ใช้ได้ทำการเพิ่มเหตุการณ์ไว้
ใน Calendar โดยจะแสดงเหตุการณ์ทั้งหมดเป็นรายวัน รายสัปดาห์ และรายเดือน) Profile (เป็น
การแสดงรายละเอียดของผู้ใช้งาน เช่น User ID, Name, E-mail, Homepage) Announcement (ในส่วน
ของ Announcement จะแสดงประกาศในทุกรายวิชาของผู้สอนท่านนั้น ๆ โดยจะมีรหัสวิชาและวันที่
ประกาศแสดงให้เห็น ผู้สอนสามารถเพิ่มประกาศ (Add new announcement ) ได้ในแต่ละรายวิชา โดย
ประกาศนี้จะไปแสดงผลในหน้าจอของนักศึกษาด้วย) Course (ในส่วนของ Course จะแสดงรายชื่อ
วิชาทั้งหมดของผู้สอนท่านนั้น ๆ โดยเมื่อ Login เข้ามาเป็นครั้งแรกจะยังไม่มีรายชื่อวิชาใด ๆ แสดง
ต้องทำการเพิ่มรายชื่อวิชาก่อน (Add new course) และผู้สอนสามารถ เลือกดูรายวิชาในเทอม
การศึกษาที่ต้องการได้จาก ) Schedule (จะแสดงตารางการสอนของผู้สอนในแต่ละ
สัปดาห์) Edit (แก้ไข) Delete (ลบ) File Manager (แสดงรายละเอียดของไฟล์ต่าง ๆ ที่ผู้สอนได้ทำ
การ Upload ไว้ในระบบ)
1/2547
65
66
รูปที่ 4.3 แสดงการหน้าจอหลักของการทำงานระบบการบริหารจัดการ
ด้านการเรียนการสอนส่วนของผู้เรียน
จากรูปที่ 4.3 แสดงหน้าจอหลักของการทำงานในส่วนของผู้เรียน (Student) ซึ่งจะมี Student Home
เป็นหน้าจอเริ่มต้นการเข้าสู่ระบบ หลังจากนักศึกษาทำการ Login เข้าสู่ระบบ หน้าจอหลักของระบบ
จะประกอบไปด้วยเครื่องมือต่าง ๆ ที่คอยอำนวยความสะดวกให้กับนักศึกษา เช่น Inbox (แสดง
จำนวนของจดหมายที่เข้ามาใหม่ และจำนวนจดหมายทั้งหมดของผู้ใช้) Calendar (เป็นการเตือนผู้ใช้
ถ้าผู้ใช้ได้ทำการเพิ่มเหตุการณ์ไว้ใน Calendar โดยจะแสดงเหตุการณ์ทั้งหมดเป็นรายวัน รายสัปดาห์
และรายเดือน) Profile (เป็นการแสดงรายละเอียดของผู้ใช้งาน เช่น User ID, Name, e-Mail,
Homepage) Announcement (ในส่วนของ Announcement จะแสดงประกาศในทุกรายวิชาของ
นักศึกษาท่านนั้น ๆ โดยจะมีรหัสวิชาและวันที่ประกาศแสดงให้เห็น โดยนักศึกษาสามารถเข้าไปดู
ประกาศของแต่ละรายวิชาได้ในวิชานั้น ๆ เช่นเดียวกัน) Course (ในส่วนของ Course จะแสดงรายชื่อ
วิชาทั้งหมดของนักศึกษาท่านนั้น ๆ ที่ลงทะเบียนไว้ในปีการศึกษานั้น) Schedule (จะแสดงตาราง
การเรียนของนักศึกษาในแต่ละสัปดาห์) Home, File Manager, Help
2) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
การเข้าใช้ระบบการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอนของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สามารถรองรับผู้ใช้ (User) ทั่วประเทศไทยโดยไม่จำกัดจำนวน ซึ่งจะมีลักษณะของการ Login เข้าสู่
ระบบดังแสดงในรูปที่ 4.4
66
67
รูปที่ 4.4 แสดงการ Login เข้าสู่ระบบการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอน
ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จากรูปที่ 4.4 แสดงหน้าจอการ Login เข้าสู่ระบบการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอนของ
มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ ผู้ใช้ที่เป็นนักศึกษาสามารถ Login เข้าสู่ระบบด้วย Username และ Password
ที่ทางมหาวิทยาลัยส่งให้ ส่วนผู้ใช้ทั่วไป สามารถลงทะเบียนใหม่โดยคลิกที่ปุ่ม ลงทะเบียนใหม่
เพื่อขอ Username และ Password ในการ Login เข้าสู่ระบบ เมื่อเข้าสู่ระบบแล้วจะมีรายละเอียด
ดังแสดงในรูปที่ 4.5
67
68
รูปที่ 4.5 แสดงหน้าจอหลักการทำงานในส่วนของผู้เรียนระบบการบริหารจัดการ
ด้านการเรียนการสอนของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จากรูปที่ 4.5 แสดงหน้าจอหลักการทำงานในส่วนของผู้เรียนที่มีการลงทะเบียน และเข้าสู่ระบบ
ได้สำเร็จ การทำงานประกอบไปด้วย 1) การตรวจสอบเวลาเรียน 2) ข้อมูลการเรียน 3) บทเรียน
4) เปลี่ยน password และ 5) การออกจากระบบ
3) มหาวิทยาลัยรามคำแหง
การ Login เข้าสู่ระบบการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย
รามคำแหงจะรองรับบริการใช้งานของผู้ใช้ 2 กลุ่ม คือ 1) นักศึกษาของมหาวิทยาลัยรามคำแหง และ
2) บุคคลทั่วไป โดยที่นักศึกษาของมหาวิทยาลัยรามคำแหงจะสามารถเข้าเรียนตามรายวิชา
ที่ลงทะเบียนเรียนไว้ ส่วนบุคคลทั่วไปสามารถลงทะเบียนผ่านทางระบบ e-Learning โดยไปที่ส่วน
ของ New User เมนู Please Register และทำการกรอกรายละเอียดต่าง ๆ จากนั้นจะได้ Username และ
Password เพื่อ Login เข้าสู่ระบบ ดังแสดงในรูปที่ 4.6-4.7
68
69
รูปที่ 4.6 แสดงหน้าจอหลักการ Login เข้าสู่ระบบการบริหารจัดการ
ด้านการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยรามคำแหง
จากรูปที่ 4.6 แสดงหน้าจอหลักของการ Login เข้าสู่ระบบการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอน
ของมหาวิทยาลัยรามคำแหงสำหรับนักศึกษาและบุคคลที่มี Username และ Password แล้ว สามารถใส่
Username และ Password ลงในช่อง และกดปุ่ม “Enter” เพื่อเข้าสู่ระบบ ส่วนบุคคลที่ยังไม่มี
Username และ Password ให้กดปุ่ม “กรุณาลงทะเบียน” เพื่อทำการลงทะเบียนและขอ Username และ
Password สำหรับ Login เข้าสู่ระบบ รายละเอียดดังแสดงในรูปที่ 4.7
รูปที่ 4.7 แสดงการลงทะเบียนผู้ใช้ใหม่สำหรับการ Login เข้าสู่ระบบการบริหารจัดการ
ด้านการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยรามคำแหง
69
70
จากรูปที่ 4.7 แสดงหน้าจอการลงทะเบียนเข้าสู่ระบบของผู้ใช้งาน เมื่อผู้ใช้คลิกที่ปุ่ม
จากหน้าจอแรกเพื่อเข้าไปทำการลงทะเบียนผู้ใช้ โดยจะปรากฏหน้าจอสำหรับ
การป้อนข้อมูลมาให้ รายละเอียดดังแสดงในรูปที่ 4.8
รูปที่ 4.8 แสดงหน้าจอการกรอกข้อมูลรายละเอียดการลงทะเบียนผู้ใช้งานใหม่
สำหรับการ Login เข้าสู่ระบบ LMS ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง
จากรูปที่ 4.8 แสดงหน้าจอการกรอกข้อมูลรายละเอียดการลงทะเบียนผู้ใช้งานใหม่ ผู้ใช้งาน
จำเป็นต้องกรอกข้อมูลให้ถูกต้องและครบถ้วน โดยเฉพาะช่องที่มีเครื่องหมาย * เมื่อใส่ข้อมูลครบแล้ว
ให้กดปุ่ม จะปรากฏหน้าจอแสดงข้อมูลที่ลงทะเบียนไป เพื่อเป็นการยืนยันว่าได้ทำ
การลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว
70
71
4) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
การเข้าใช้ระบบการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยศรีนครินทร-
วิโรฒ จะต้องทำการลงทะเบียนเพื่อใช้ระบบก่อนโดยระบบจะให้กรอก Login Name, Password และ
Email Address ซึ่งจำเป็นต้องกรอก ส่วนข้อมูลส่วนตัวอื่น ๆ ของผู้ใช้ระบบจะกรอกหรือไม่ก็ได้
ส่วนบุคลากรของ มศว. และนิสิตของ มศว. ไม่ต้องลงทะเบียนเพื่อใช้ระบบ สำนักคอมพิวเตอร์
ลงทะเบียนให้อัตโนมัติแล้ว โดยนำข้อมูลจากระบบ SUPREME 2004 เข้าระบบ
รูปที่ 4.9 แสดงการ Login เข้าสู่ระบบ LMS ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
จากรูปที่ 4.9 แสดงหน้าจอหลักของการ Login เข้าสู่ระบบการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอน
ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จะมีเมนูกลางให้เลือก 4 เมนู คือ 1) Browse Courses 2) Login
3) Search และ 4) Help อยู่มุมบนขวา โดยผู้ใช้สามารถดำเนินการได้ 4 อย่างคือ 1) Login เพื่อเข้าใช้
ระบบ 2) Register เพื่อลงทะเบียนเป็นสมาชิกของระบบ 3) Browse Courses เพื่อดูรายวิชาที่อยู่ใน
ระบบ และ 4) Password Reminder เพื่อให้ระบบส่ง Login และ Password มาให้ทาง e-Mail สำหรับ
หน้าจอหลักของการทำงานในส่วนของผู้สอน (Instructor) และผู้เรียน (Student) รายละเอียดแสดง
ดังรูปที่ 4.10-4.11
71
72
รูปที่ 4.10 แสดงหน้าจอหลักของการทำงานระบบ LMS ของมหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒในส่วนของผู้สอน
จากรูปที่ 4.10 เป็นการแสดงหน้าจอหลักสำหรับการทำงานในส่วนของผู้สอน เมื่อ Login เข้าสู่ระบบ
สำเร็จจะเข้าสู่หน้าจอ My Start Page ซึ่งจะแสดงรายวิชาทั้งหมดของผู้ Login (My Courses) ได้แก่วิชา
ที่สอน (Instructor) และวิชาที่ลงทะเบียนเรียน (Student) โดยมีเมนูกลางของ ATutor ให้ใช้ ได้แก่
Inbox | Search | Logout อยู่มุมบนขวา โดยให้สังเกตทางซ้ายของเมนูจะเป็น Login Name และถัดมา
ทางซ้ายจะเป็น Jump เมนู My Start Page และมีเมนูให้ดำเนินการ 3 อย่าง ได้แก่ - My Courses แสดง
วิชาของผู้ใช้ โดยมีเมนูย่อยให้ใช้คือ Browse Courses และ Create Course - Profile แสดงรายละเอียด
ข้อมูลของผู้ใช้ (เป็นข้อมูลตอนลงทะเบียน) - Preferences สำหรับปรับแต่งระบบตามความชอบ
รูปที่ 4.11 แสดงหน้าจอหลักของการทำงานระบบ LMSของมหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒในส่วนของผู้เรียน
72
73
จากรูปที่ 4.11 เป็นการแสดงหน้าจอหลักสำหรับการทำงานในส่วนของผู้เรียน เมื่อ Login เข้าสู่ระบบ
ได้ ผู้เรียนจะสามารถลงทะเบียนเรียนและจะมีเมนูวิชา แล้วเลือกเมนู Manage > Enrollment
> Pending Enrollment สำหรับการทำงานเกี่ยวกับเนื้อหาวิชาเรียนมีดังต่อไปนี้
1) เมื่อ Login เข้ามาครั้งแรกระบบจะแสดง My Start Page ซึ่งแสดงวิชาทั้งหมดของผู้นั้น
(My Courses) ได้แก่ วิชาที่ลงทะเบียนเรียน (Student) และวิชาที่เป็นเจ้าของ (Instructor) ซึ่งจะ
เหมือนกับรายชื่อวิชาใต้ Courses Below ของ Jump เมนู ให้เลือกวิชาที่ลงทะเบียนเรียนเพื่อดู
เนื้อหาวิชาจาก Jump เมนู (ใต้ Courses Below) เช่น วิชา IT Tools: Information Technology Tools for
Research
2) เมื่อเข้ามาที่วิชา จะเข้ามาที่ Home ของวิชา ซึ่งมีเมนูให้เลือกเพิ่มอีก 2 เมนูคือ Forum และ
Glossary (หากเป็นวิชาที่เป็น Instructor จะมีเมนู Manage เพิ่ม) โดยในทุก ๆ หน้าของวิชาจะมีเมนู
หลัก ได้แก่ เมนูเนื้อหา (Content Navigation) และเมนูอื่น ๆ เช่น Related Topics, User Online,
Glossary, Search, Polls, Forum Posts ให้เลือกใช้ ซึ่งผู้ใช้สามารถที่จะซ่อน/แสดง (Hide/Show) เมนู
หลักนี้ได้
3) ในหน้า Home จะมีเมนูที่ผู้เรียนจะสามารถใช้ได้ ได้แก่ Forum, Glossary, Chat, TILE
Repository Search, Links, Tests & Surveys, Site-map, Export Content, My Tracker, Polls, Directory
และตามด้วยที่ประกาศข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ของวิชา (Announcement)
5) มหาวิทยาลัยศิลปากร
สำหรับการกลุ่มผู้ใช้ที่สามารถเข้าใช้ระบบการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอน
ของมหาวิทยาลัยศิลปากรได้นั้น มี 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) ผู้สอน 2) นักศึกษาระดับปริญญาตรี และ 3) ผู้ดูแล
ระบบ ซึ่งส่วนของการ Login เข้าสู่ระบบของผู้สอนและผู้ดูแลระบบจะเป็นหน้าจอเดียวกัน ดัง
รูปที่ 4.10 สำหรับหน้าจอการเข้าสู่ระบบการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอนของนักศึกษาจะ
แสดงรายละเอียดดังรูปที่ 4.12
73
74
รูปที่ 4.12 แสดงการ Login เข้าสู่ระบบการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอน
ส่วนของผู้สอนและผู้ดูแลระบบของมหาวิทยาลัยศิลปากร
จากรูปที่ 4.12 เป็นแสดงหน้าจอการ Login เข้าสู่ระบบการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอนของ
มหาวิทยาลัยศิลปากร หากผู้ใช้เป็นผู้ดูแลระบบ ให้คลิกเลือก webmaster/course admin หรือหาก
ผู้เข้าใช้ระบบเป็นผู้สอน ให้คลิกเลือก Instructor และทำการป้อน Username และ Password ของ
ตนเองเพื่อเข้าสู่หน้าจอการทำงานหลักได้
รูปที่ 4.13 แสดงหน้าจอหลักของการทำงานระบบ LMS ของมหาวิทยาลัยศิลปากร
ส่วนของผู้สอน
74
75
จากรูปที่ 4.13 แสดงหน้าจอการ Login เข้าสู่ระบบของผู้เรียน ซึ่ง Username และ Password จะได้มา
จากฝ่ายสารสนเทศการศึกษา เป็นชุดเดียวกับระบบทะเบียน
รูปที่ 4.14 แสดงหน้าจอหลักของการทำงานระบบ LMS ของมหาวิทยาลัยศิลปากร
ส่วนของผู้เรียน
จากรูปที่ 4.14 แสดงหน้าจอหลักในส่วนของผู้เรียนหลังจากทำการ Login โดยใช้ Username และ
Password ที่มีอยู่ ในหน้าจอหลักจะมีการทำงานเกี่ยวกับ 1) Personal Info (เป็นข้อมูลส่วนตัวผู้ใช้
ระบบ ประกอบด้วย Change Password (การเปลี่ยนรหัสผ่าน) View My Course (แสดงจำนวนวิชา
ที่เรียน) View Course Online (แสดงวิชาที่เรียนอยู่ในปัจจุบัน) Logout (ออกจากระบบ)) และ
2) Enrollment (ผลการลงทะเบียน) ซึ่งจะแสดง Enroll New Course ที่เปิดให้ลงทะเบียนใหม่
6) มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
การทำงานของระบบการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยราชภัฏ
บ้านสมเด็จเจ้าพระยา จากรูปที่ 4.15 ระบบรองรับการเข้าใช้งานจากผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนแล้ว หรือ
ยังไม่ได้ทำการลงทะเบียน
75
76
รูปที่ 4.15 แสดงการ Login เข้าสู่ระบบ LMS ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
จากรูปที่ 4.15 แสดงให้เห็นถึงหน้าจอหลักของระบบการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอนของ
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ผู้ที่ยังไม่เคยลงทะเบียนสามารถลงทะเบียนได้โดยปุ่ม
ทางด้านขวา เริ่มต้นสมัครเป็นสมาชิกตอนนี้จะได้หน้าจอดังแสดงในรูปที่ 4.16 ส่วนผู้ที่ลืมรหัสผ่าน
ให้ทำการเลือกปุ่ม ส่งรายละเอียดผ่านอีเมล์
76
77
รูปที่ 4.16 แสดงหน้าจอการลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ LMS ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ
บ้านสมเด็จเจ้าพระยา ในส่วนของผู้เรียน
จากรูปที่ 4.16 แสดงให้เห็นถึงหน้าจอการสมัครเพื่อเป็นสมาชิกเพื่อเข้าสู่การใช้งานระบบของผู้เรียน
ผู้เรียนต้องทำการกรอกข้อมูลให้ครบถ้วนทุกช่องหลังจากนั้นให้ทำการเลือกที่ปุ่ม สร้าง account ใหม่
รูปที่ 4.17 แสดงหน้าจอหลักหลังการ Login เข้าใช้งานระบบ LMS ของมหาวิทยาลัย
ราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาในส่วนของผู้เรียน
77
78
จากรูปที่ 4.17 แสดงให้เห็นถึงหน้าจอหลักหลังการ Login ของผู้ใช้งาน โดยต้องรอให้ผู้สอนทำ
การให้สิทธิ์ในแต่ละวิชาเพื่ออนุญาตให้เข้าเรียนก่อน รายชื่อวิชานั้นๆจึงจะมาปรากฏภายใต้หัวข้อ
คอร์สทั้งหมด ผู้เรียนสามารถอ่านข่าวที่มีการประกาศไว้ได้โดยเลือกที่หัวข้อข่าวและประกาศ
นอกจากนี้ผู้เรียนยังสามารถสมัครเป็นสมาชิกกระดานข่าวได้เพื่อรับรู้ข่าวสารที่มากขึ้น โดยให้ทำ
การเลือกยังส่วนหัวข้อ สมัครเป็นสมาชิกกระดาน ทางด้านขวามือบน
7) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
การทำงานของระบบการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอนผู้ใช้งานสามารถ Login
เข้าสู่ระบบภายใต้หัวข้อ Login สำหรับผู้ที่ยังไม่มี User id และ Password สามารถที่จะสมัคเข้าใช้งาน
ระบบได้ภายใต้หัวข้อ New User ในกรณีที่ผู้ใช้งานลืม Password ผู้ใช้งานสามารถขอความช่วยเหลือ
ภายใต้หัวข้อ Password Reminder ดังแสดงดังรูปที่ 4.18
รูปที่ 4.18 แสดงการ Login เข้าสู่ระบบการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอน
ของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
จากรูปที่ 4.18 แสดงหน้าจอหลักของระบบการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอนของสถาบัน
เทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ผู้ใช้งานสามารถเลือกให้หน้าจอแสดงผลเป็น
ภาษาไทยได้โดยเลือกตัวเลือกด้านล่างหน้าจอภายใต้หัวข้อ Translate to ผู้ใช้งานสามารถทำการขอดู
รายวิชาที่ทำการเปิดสอนออนไลน์อยู่ในขณะนี้ได้โดยเลือกที่หัวข้อ Browse Courses (สำรวจรายวิชา)
ดังรูปที่ 4.19
78
79
รูปที่ 4.19 แสดงรายวิชาที่เปิดสอนแบบออนไลน์ที่มีในระบบ LMS ของสถาบัน
เทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
จากรูปที่ 4.19 แสดงหน้าจอรายการวิชาที่ทำการเปิดสอนออนไลน์ผู้ใช้สามารถทำการเลือกรายการ
วิชาที่ต้องการเรียนได้กรณีที่ผู้ใช้ยังไม่ได้ลงทะเบียนระบบจะนำผู้ใช้เข้าสู่การลงทะเบียนก่อน ดังรูปที่
4.20 ส่วนผู้ที่ลงทะเบียนแล้วรายวิชาที่ได้เลือกไว้จะเข้าไปสู่รายการที่พร้อมจะเริ่มเรียน
79
80
รูปที่ 4.20 แสดงหน้าจอการกรอกข้อมูลเพื่อลงทะเบียนผู้ใช้งานใหม่ เพื่อใช้ Login เข้าสู่
ระบบ LMS ของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
จากรูปที่ 4.20 แสดงหน้าจอการลงทะเบียนผู้ใช้งานใหม่สำหรับการ Login เข้าสู่ระบบผู้ใช้งานต้อง
ทำการกรอกข้อมูลให้ครบถ้วนตามที่ระบบต้องการโดยสังเกตได้จากส่วนใดที่มีสัญลักษณ์ * สีแดง
นั่นแสดงว่าผู้ใช้งานต้องทำการกรอกข้อมูลให้ครบถ้วนผู้ใช้งานสามารถเลือกที่ปุ่ม “ยกเลิก” เมื่อ
ไม่ต้องการทำงานต่อหรือเลือกปุ่ม “บันทึก” เมื่อต้องการทำงานต่อไป
80
81
รูปที่ 4.21 แสดงหน้าจอหลักการทำงานในส่วนของผู้เรียนของสถาบันเทคโนโลยี
พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
จากรูปที่ 4.21 แสดงหน้าจอการเข้าใช้งานหลังจากทำการ Login เข้าสู่ระบบเป็นที่เรียบร้อยแล้วจากนี้
ผู้เรียนสามารถทำการเลือกวิชาที่ต้องการเรียนได้โดยทำการเลือกที่หัวข้อ วิชาของฉัน (My Courses)
จากนั้นทำการเลือก สำรวจรายวิชา เพื่อเลือกวิชาที่ต้องการเรียนกรณีที่วิชาที่เลือกเปิดโอกาสให้บุคคล
ทั่วไปเรียนฟรี ส่วนกรณีที่วิชานั้นเป็นวิชาสงวนผู้เรียนต้องรอสิทธิ์จากผู้สอนเพื่ออนุญาตให้ผู้เรียน
มีสิทธิ์ที่จะเรียนก่อนถึงจะสามารถเพิ่มรายวิชาได้ นอกจากนี้ผู้เรียนสามารถทำการเปลี่ยนแปลงข้อมูล
ส่วนตัวได้โดยเลือกหัวข้อ ข้อมูลส่วนตัว และสามารถปรับแต่งรูปแบบการใช้งานหน้าจอในรูปแบบที่
ตนเองต้องการโดยเลือกหัวข้อ ปรับแต่งรูปแบบ ภายในมีตัวเลือกการรับส่งข้อความ แสดงลำดับเลข
ของรายวิชาที่มีอยู่ การเปิดปิดความสามารถ ไปที่ การเข้าสู่ระบบอัตโนมัติ การโหลดฟอร์มอัตโนมัติ
ภาษาที่เลือกใช้เป็นต้น
81
82
8) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สำหรับการ Login เข้าสู่ระบบการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์สามารถทำได้จากหน้าจอด้านล่าง โดยมีการแบ่งแยกอย่างชัดเจนระหว่างผู้ใช้งาน
ระบบภายใน (ผู้สอน ผู้เรียน เจ้าหน้าที่) และผู้เข้าอบรมจากภายนอกดังแสดงในรูปที่ 4.22
รูปที่ 4.22 แสดงการ Login เข้าสู่ระบบการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอน
ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
จากรูปที่ 4.22 แสดงหน้าจอหลักของระบบการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์ จากรูปด้านซ้ายจะเป็นส่วนของการ Login เข้าสู่ระบบ การรายงานสถิติในรูปแบบ
ต่าง ๆ ด้านกลางหน้าจอจะเป็นการประชาสัมพันธ์รายวิชาต่าง ๆ โดยประกอบด้วยรหัสวิชา เนื้อหาที่
ต้องการประชาสัมพันธ์ ชื่อผู้ประกาศ วันที่ประกาศ โดยจะแบ่งเป็นคณะ เพื่อความเป็นระเบียบและ
ง่ายในการค้นหา ด้านบนของหน้าจอเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการรายวิชาต่าง ๆ เช่น Available
Courses (รายวิชาที่เปิดสอน), News Courses (ข่าวประชาสัมพันธ์), statistics (สถิติการใช้งาน
รายวิชา), Contact us และ Help
82
83
รูปที่ 4.23 แสดงหน้าจอหลังจากทำการเลือก Available Courses ในส่วนของผู้เรียน
ระบบ LMS ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
จากรูปที่ 4.23 แสดงหน้าจอหลังจากทำการเลือก Available Courses ในส่วนของผู้เรียนระบบ
การบริหารจัดการด้านการเรียนการสอนมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อผู้ใช้งานทำการเลือกส่วน
Available Courses หน้าจอจะแสดงรายการวิชาที่ทำการเปิดสอนทั้งหมดของมหาวิทยาลัยโดย
จะทำการแสดง 20 วิชาต่อหนึ่งหน้าจอ ซึ่งในเวลานี้วิชาที่เปิดทำการสอนออนไลน์ทั้งสิ้น 1,740 วิชา
ผู้ใช้งานสามารถใส่รหัสวิชาที่ต้องการค้นหาได้ในช่องด้านบน โดยสามารถเลือกได้ว่าจะทำการค้นหา
วิชาโดย รหัสวิชา, ชื่อวิชา หรือ ชื่อผู้สอน ในแต่ละรายวิชา ผู้ใช้งานสามารถที่จะเลือกที่ชื่อผู้สอน หรือ
View เพื่อทำการดูรายละเอียดที่เตรียมเอาไว้ ในส่วนของ Statistics จะเป็นส่วนที่แสดงรายละเอียด
ทั้งหมดของสถิติการเข้าใช้งานจากผู้ใช้โดยภายในจะทำการสรุปเป็นรายวิชาว่า มีการเข้าใช้งานแล้ว
กี่ครั้ง ชื่อผู้สอน ชื่อวิชา รหัสวิชา ซึ่งการแสดงผลจะคล้ายกับในส่วนของ การแสดงรายการวิชาที่มี
การเปิดสอน
83
84
9) มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
การ Login เข้าสู่ระบบการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยราชภัฏ
สวนสุนันทาผู้ใช้งานสามารถทำการ Login เข้าใช้งาน ดูประกาศรายวิชาต่าง ๆ หรือประกาศจากทาง
คณะ ดังแสดงในรูปที่ 4.24
รูปที่ 4.24 แสดงหน้าจอหลักการ Login เข้าสู่ระบบการบริหารจัดการ
ด้านการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
จากรูปที่ 4.24 แสดงหน้าจอหลักการ Login เข้าสู่ระบบการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอนของ
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาจากรูปจะเป็นส่วนสำหรับให้ผู้ใช้งานได้ทำการ Login เข้าสู่ระบบ
โดยทำการใส่ User id และ Password ถัดลงมาด้านล่างจะเป็นปฏิทินสำหรับผู้ใช้งานได้ทำ
การตรวจเช็ควัน เมื่อทำการอ่านข่าวประชาสัมพันธ์ต่างได้โดยสะดวก ส่วนด้านกลางของหน้าจอจะ
เป็นเนื้อที่ใช้สำหรับประชาสัมพันธ์ข่าวสารทั้งจากทางคณะถึงผู้สอน และผู้เรียนหรือจะเป็น
การประกาศจากผู้สอนถึงผู้เรียน ส่วนด้านขวาสุดจะเป็นการประชาสัมพันธ์ถึงรายวิชาที่เพิ่งจะเปิดทำ
การเรียนการสอนออนไลน์รายการชื่อวิชาจะถูกใส่ไว้ในกล่อง New Courses ส่วนวิชาไหนที่เป็นที่
สนใจของบุคคลทั่วไปรายชื่อวิชาจะถูกใส่ไว้ในกล่อง Courses Promotion
84
85
10) มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
การ Login เข้าสู่ระบบการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยราชภัฏ
ธนบุรี จะใช้หน้าจอเดียวกันทั้งของผู้สอนและผู้เรียน จากรูปที่ 4.25 การ Login เข้าสู่ระบบของ
ผู้ใช้งานสามารถทำได้ที่หน้าจอนี้โดย Login และ Password ผู้ใช้งานจะได้จากทางเจ้าหน้าที่ดูแล
ระบบ
รูปที่ 4.25 แสดงหน้าจอหลักการ Login เข้าสู่ระบบการบริหารจัดการ
ด้านการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
จากรูปที่ 4.25 แสดงหน้าจอหลักของระบบการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอนหรือที่ทาง
มหาวิทยาลัยเรียกว่า ilms (Internet Learning Menagement System) ภายในประกอบด้วยส่วนหลัก ๆ
3 ส่วนคือ 1) Main Menu เป็นส่วนที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อไปยังส่วนต่าง ๆ ภายในระบบ เช่น เกี่ยวกับ
สถาบัน หลักสูตรที่เปิดสอน กระดานสนทนา และ บริการฟรีอีเมล์ 2) เป็นส่วนที่ใช้สำหรับ
ประชาสัมพันธ์ข้อมูลต่างๆตามต้องการ 3) เป็นส่วนที่ใช้สำหรับการ Login เข้าสู่ระบบ สำหรับ
ผู้ใช้งานที่ยังไม่ได้ทำการลงทะเบียนสามารถทำการลงทะเบียนได้ที่ด้านล่างของการ Login นอกจากนี้
ยังมีส่วนย่อย ๆ เช่น ปฏิทิน รายงานสถานะว่าตอนนี้ผู้ใช้งานเข้าสู่ระบบด้วยสถานะใด
85
86
รูปที่ 4.26 แสดงหน้าจอหลักการทำงานในส่วนของผู้ใช้งานระบบการบริหารจัดการ
ด้านการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
จากรูปที่ 4.26 แสดงหน้าจอการทำงานของผู้ใช้งานหลังจากที่ได้ผ่านการ Login เข้าสู่ระบบเป็นที่
เรียบร้อยจากรูปแสดงให้เห็นว่าผู้ใช้งานยังไม่ได้ทำการลงทะเบียนเรียนวิชาใดไว้ ผู้เรียนสามารถ
ทำการสมัครเรียนวิชาได้สองประเภทคือ 1) ประเภท Course Opening ซึ่งจะเป็นวิชาที่เปิดให้ผู้สนใจ
ทั่วไปทำการเรียนฟรี 2) เป็นการเรียนวิชาที่มีผลต่อการเรียนผู้สอนต้องทำการอนุญาตให้ผู้เรียนมีสิทธิ์
เข้าเรียนก่อนจากนั้นรายชื่อวิชาดังกล่าวจึงจะมาปรากฏในรายการวิชาเพื่อทำการเลือกที่จะเรียนต่อไป
จอกจากนี้ทางด้านซ้ายมือของหน้าจอจะเป็นส่วนที่คอยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เรียนจะเป็น
ศูนย์รวม Link ต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับผู้เรียน เช่น การแก้ไขข้อมูลส่วนตัว เข้าสู่บทเรียน ตรวจสอบ
การเข้าเรียน แลกเปลี่ยนซอสโค้ด บริการฟรีอีเมล์ และ แบบทดสอบ ส่วนล่างสุดของหน้าจอจะเป็น
ส่วนรายงานสถิติต่าง ๆ เช่น รายงานจำนวนผู้เข้าใช้งานระบบ ณ เวลานั้นมีจำนวนกี่คน
11) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
การเข้าใช้งานระบบการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอนของสถาบันเทคโนโลยี
พระจอมเกล้าพระนครเหนือนั้น ผู้สอนและผู้เรียนจะใช้หน้าจอการ Login เดียวกัน ดังแสดงดัง
รูปที่ 4.27
86
87
รูปที่ 4.27 แสดงหน้าจอหลักการ Login เข้าสู่ระบบการบริหารจัดการด้านการเรียน
การสอนของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
จากรูปที่ 4.27 แสดงหน้าจอหลักของระบบการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอนหลังจากที่ทำ
การใส่ User ID และ Password ที่ได้จากทางผู้ดูแลระบบแล้ว ผู้ใช้งานจำเป็นที่จะต้องทำการเปลี่ยน
รหัสผ่านทันทีเพื่อความปลอดภัยของข้อมูล จากรูปด้านซ้ายระบบจะแสดง สถิติการเข้าเรียนของ
ผู้เรียนโดยเรียงลำดับจากจำนวนครั้งที่มากที่สุดเป็นรายวิชา ถัดลงมาด้านล่างเป็นการแสดงรายวิชาที่
เปิดสอนอยู่ซึ่งเมื่อผู้ใช้งานทำการเลือกตรงส่วน more… ข้อมูลรายวิชาทั้งหมดจะไปปรากฏ
ตรงส่วนกลางหน้าจอโดยจะแสดง รหัสวิชา ชื่อวิชา ชื่อผู้สอน ผู้ใช้งานสามารถทำการเลือกตรงรหัส
วิชาเพื่อเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ตามต้องการ ถัดไปทางด้านขวาของหน้าจอจะเป็นรายงานสถิติ
จำนวนผู้เข้าใช้งานระบบ โดยแบ่งเป็นนักเรียน และอาจารย์
87
88
รูปที่ 4.28 แสดงหน้าจอหลักการทำงานในส่วนของผู้สอนระบบการบริหารจัดการ
ด้านการเรียนการสอนของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
รูปที่ 4.29 แสดงหน้าจอการจัดการรายวิชาในส่วนของผู้สอนระบบการบริหารจัดการ
ด้านการเรียนการสอนของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
จากรูปที่ 4.28 และ 4.29 แสดงหน้าจอหลังจากผู้สอนทำการ Login เข้าสู่ระบบแล้ว ภายในหน้าจอจะ
มีข่าวประกาศประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ ทางด้านซ้ายจะแสดงรายการวิชาที่มีการเปิดสอนซึ่งรายชื่อวิชาจะ
ปรากฏได้ผู้สอนต้องทำการแจ้งผู้ดูแลระบบก่อน จากนั้นผู้สอนทำการเลือกรหัสวิชาเพื่อทำ
การกำหนดค่าต่าง ๆ เพื่อสร้างรายวิชาใหม่ หลังจากนั้นผู้สอนจะได้หน้าจอ ภายในจะประกอบด้วย
88
89
เครื่องมือทางด้านซ้ายมือเป็นเครื่องมือในการสร้าง วิชาที่ต้องการขึ้นใหม่ ส่วนตรงกลางหน้าจอ
จะประกอบไปด้วย icon ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ทำการแก้ไขส่วนประกอบต่าง ๆ ของวิชานั้น เช่น
การสร้างแบบฝึกหัด หรือข้อสอบเพื่อสร้างคำถามคำตอบการกำหนดคะแนน การกำหนดวันเวลาใน
การส่งงาน นอกจากนี้ยังมีเครื่องมือเพื่อสร้างประกาศต่างๆสำหรับรายวิชา การกำหนดรายชื่อผู้เรียน
ที่มีสิทธิ์เข้าเรียน การกำหนดกิจกรรมที่ต้องการในรายวิชา การใช้ทรัพยากรที่ระบบเตรียมไว้ให้
12) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ วิทยาเขตพระนครใต้
การเข้าใช้งานระบบการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
ราชมงคลกรุงเทพ วิทยาเขตพระนครใต้ ผู้สอน และผู้เรียนจะใช้หน้าจอเดียวกันเพื่อทำการ Login
เข้าสู่ระบบ ดังรูปที่ 4.30
รูปที่ 4.30 แสดงหน้าจอหลักการทำงานในส่วนของผู้เรียนระบบการบริหารจัดการ
ด้านการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
วิทยาเขตพระนครใต้
89
90
จากรูปที่ 4.30 แสดงหน้าจอหลักของระบบการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอนทางด้านขวาบน
ของหน้าจอเป็นส่วนสำหรับผู้ใช้งานทำการ Login เข้าสู่ระบบ กรณีที่ไม่เคยเป็นสมาชิกมาก่อน
ผู้ใช้งานสามารถเลือกที่ส่วน สมัครสมาชิก หรือกรณีที่ลืมรหัสผ่านสามารถเลือกส่วน Lost Password
ถัดมาทางด้านล่างจะเป็นส่วนของข่าว Link ที่เกี่ยวข้อง ปฏิทิน และ รายงานสถิติรายงานจำนวน
ผู้ใช้งานระบบแบบ real time ทางด้านซ้ายของหน้าจอเป็นส่วนของเครื่องมือต่างๆที่ผู้ใช้งานสามารถ
เลือกได้ตามความต้องการเช่น การดูประกาศข่าวต่าง ๆ การดูหลักสูตร การเข้าห้องสนทนา
Web board และ คำศัพท์ ถัดไปทางด้านล่างผู้ใช้งานสามารถเลือกดูรายวิชาที่เปิดทำการสอนแบบ
ออนไลน์ได้ทั้งหมด หรือดูเป็นตามประเภทของวิชา ส่วนทางด้านกลางของหน้าจอเป็นการประกาศ
ข่าวต่าง ๆ แบบคร่าว ๆ ซึ่งผู้ใช้งานสามารถเลือกในส่วนของหัวข้อเพื่อทำการโต้ตอบ หรือดู
รายละเอียดที่มากกว่าได้
13) มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
การเข้าใช้งานระบบการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยราชภัฏ
พระนคร ผู้สอนและผู้เรียนสามารถทำการ Login เข้าสู่ระบบจากหน้าจอหลักของระบบดังแสดงดัง
รูปที่ 4.31
รูปที่ 4.31 แสดงหน้าจอหลักการ Login เข้าสู่ระบบการบริหารจัดการ
ด้านการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
90
91
จากรูปที่ 4.31 แสดงหน้าจอหลักของระบบทางด้านบนของหน้าจอเป็นชุดของเครื่องมือใช้เพื่ออำนวย
ความสะดวกแก่ผู้ใช้งานโดยเป็นการรวบรวมเครื่องมือต่าง ๆ เช่น ประกาศต่าง ๆ จากผู้สอนถึงผู้เรียน
Knowledge Bank เป็นการรวบรวมแหล่งความรู้จากแหล่งต่าง ๆ Edutainment เป็นส่วนที่รวบรวม
แหล่งของหนัง เพลง เกมส์ News เป็นการรวบรวมข่าวที่ต้องการประกาศให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ
เป็นต้น ทางด้านซ้ายมือเป็นการรวบรวมเรื่องต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์กับผู้เรียน เช่น คู่มือการใช้งาน
การแจ้งปัญหาในการใช้งาน การเข้าใช้งานระบบนั้นผู้เรียนต้องทำการชำระค่าลงทะเบียนที่จำนวน
170 บาท ผู้เรียนจะได้รับ User ID และหนังสือรายวิชาที่ขึ้นทะเบียน
รูปที่ 4.32 แสดงหน้าจอหลักการทำงานในส่วนของผู้เรียนระบบการบริหารจัดการ
ด้านการเรียนการสอนมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
จากรูปที่ 4.32 แสดงหน้าจอหลังจากที่ผู้เรียน Login เข้าสู่ระบบแล้วทางด้านซ้ายของหน้าจอเป็นส่วน
ของเมนูสารบัญ เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการแสดงส่วนการทำงานต่าง ๆ ที่สำคัญของผู้เรียนซึ่ง
ประกอบด้วยปุ่มต่าง ๆ คือ ปุ่มลงทะเบียนวิชาเรียน ปุ่มรายงานใช้สำหรับตรวจสอบรายงานคะแนน
แบบฝึกหัดและแบบทดสอบของแต่ละรายวิชา ปุ่มข้อมูลส่วนตัวใช้สำหรับแก้ไข เพิ่มเติมประวัติ
ส่วนตัว ปุ่มเปลี่ยนรหัสผ่านใช้สำหรับเปลี่ยนรหัสผ่าน ปุ่มบันทึกใช้สำหรับบันทึกช่วยจำ ปุ่มข้อความ
ใช้สำหรับเปิดข้อความที่ผู้สอนส่งมาให้ ปุ่ม Portfolio ใช้สำหรับเปิดแฟ้มสะสมผลงาน
4.2.2 สถาบันอุดมศึกษาของเอกชน
จากการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับระบบการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอนของสถาบันการศึกษา/
มหาวิทยาลัยของเอกชนทั้งหมดจำนวน 8 แห่ง มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ คือ
91
92
1) มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
การ Login เข้าสู่ระบบการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ
จะใช้หน้าจอเดียวกันทั้งของผู้สอนและของผู้เรียนโดย Username และ Password จะได้มาจาก
เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลระบบ ดังรูปที่ 4.33
รูปที่ 4.33 แสดงการ Login เข้าสู่ระบบ LMS ของผู้สอนและผู้เรียน
ของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ
จากรูปที่ 4.33 แสดงหน้าจอการ Login เข้าสู่ระบบการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอนโดยเมื่อ
หลังจากผู้สอนหรือผู้เรียนทำการ Login เข้าสู่ระบบแล้วผู้สอนและผู้เรียนจะได้หน้าจอการใช้งาน
ที่ต่างกัน
92
93
รูปที่ 4.34 แสดงหน้าจอหลักการทำงานระบบ LCMS ของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ
จากรูปที่ 4.34 แสดงหน้าจอ Knowledge Center หรือที่เรียกว่า Bangkok University Knowledge
Center “BUKC” เป็นหน้าจอที่เป็นศูนย์รวมข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับวิชาที่เปิดสอน โดยที่ผู้สอนและ
ผู้เรียนสามารถทำการเช็ครายการวิชาที่ได้มีการออนไลน์ไว้แล้ว ผู้สอนสามารถดูรายการวิชาที่ตนเอง
ได้ทำการสร้างหรือผู้สอนบางท่านอาจจะเข้ามาตรวจสอบดูว่าวิชาที่ตนกำลังจะเปิดสอนนั้นซ้ำกับ
ผู้สอนท่านอื่นหรือไม่ ด้านผู้เรียนสามารถเข้ามาทำการตรวจเช็ครายละเอียดรายการวิชาที่ต้องการ
เข้าเรียนได้
2) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
การ Login เข้าสู่ระบบการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอนจะแบ่งลักษณะของ
ผู้ใช้งานออกเป็น 2 สถานะคือ 1) ผู้สอน (Instructor) และ 2) ผู้เรียน (Student) โดยที่ผู้สอนและผู้เรียน
สามารถ Login เข้าสู่ระบบด้วย URL (Universal Resource Locator) ที่ต่างกัน ผู้สอนและผู้เรียนต้องใช้
Username และ Password ที่ได้รับจากผู้ดูแลระบบเพื่อเข้าสู่ระบบได้อย่างถูกต้อง รายละเอียดดังแสดง
ในรูปที่ 4.35-4.398
93
94
รูปที่ 4.35 แสดงหน้าจอหลักการ Login เข้าสู่ระบบ LMS ของผู้สอน
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
จากรูปที่ 4.35 แสดงให้เห็นถึงหน้าจอหลังจากที่ผู้สอนเข้าสู้หน้าจอ Web Browser ด้วย URL ดังนี้
http://elearning2.dpu.ac.th/instructor/ ระบบจะนำเข้าสู่การ Login ของผู้สอนโดยให้ผู้สอนใส่
Username และ Password ที่ได้รับลงในช่อง “ชื่อล็อกอิน” (Username) และ “รหัสผ่าน” (Password)
และคลิกที่ปุ่ม “Login” เพื่อเข้าสู่ระบบ
รูปที่ 4.36 แสดงหน้าจอหลักการทำงานในส่วนของผู้สอนระบบ LMS
ของมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
จากรูปที่ 4.36 แสดงให้เห็นหลังจากผู้สอนทำการล็อกอินเข้าสู่ระบบแล้ว ผู้สอนจะเข้าสู่หน้า
"Instructor's Home" ซึ่งเป็นหน้าที่แสดงจำนวน และรายชื่อวิชาที่อาจารย์แต่ละท่านได้ทำการสอน
โดยในหน้า "Instructor's Home" จะแสดงรายการวิชาต่าง ๆ ที่อาจารย์ได้ทำการสอนไว้ อาจารย์
สามารถเลือกรายวิชาที่จะทำการสอนโดยคลิกที่ “รหัส” ของวิชานั้น ๆ เพื่อเข้าสู่บทเรียน
94
95
รูปที่ 4.37 แสดงหน้าจอหลักการ Login เข้าสู่ระบบ LMS ของผู้เรียน
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
จากรูปที่ 4.37 แสดงให้เห็นถึงหน้าจอหลังจากที่ผู้เรียนเข้าสู้หน้าจอ Web Browser ด้วย URL ดังนี้
http://elearning2.dpu.ac.th ระบบจะนำเข้าสู่การ Login ของผู้เรียนโดยให้ผู้เรียนใส่ Username และ
Password ที่ได้รับลงในช่อง "ชื่อล็อกอิน" (Username) และ "รหัสผ่าน" (Password) และคลิกที่ปุ่ม
"Login" เพื่อเข้าสู่ระบบ
รูปที่ 4.38 แสดงหน้าจอหลักการทำงานในส่วนของผู้เรียนระบบ LMS
ของมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
จากรูปที่ 4.38 หลังจากผู้เรียนทำการล็อกอินเข้าสู่ระบบแล้ว ผู้เรียนจะเข้าสู่หน้า "Student's Home" ซึ่ง
เป็นหน้าที่แสดงจำนวน และรายชื่อวิชาที่ผู้เรียนแต่ละท่านได้ลงทะเบียนเรียนไว้ (ถ้าหากผู้ที่ยังไม่ได้
ลงทะเบียนเรียน หน้า Student's Home นี้ จะแสดงรายการเป็นรายการว่าง) * และจะมีหน้าต่าง
(Window) ที่แสดงรายละเอียดของการเข้าเรียนครั้งล่าสุด "Sum Last Learning" ปรากฏขึ้นทับบนหน้า
Student's Home ผู้เรียนสามารถปิดหน้าต่างนี้ หลังจากที่ดูรายละเอียดต่าง ๆ เรียบร้อยแล้ว ในหน้า
"Student's Home" จะแสดงรายการวิชาต่าง ๆ ที่ผู้เรียนได้ลงทะเบียนเรียนไว้ ผู้เรียนสามารถเลือก
รายวิชาที่จะเข้าเรียนโดยคลิกที่ "รหัส" ของวิชานั้น ๆ เพื่อเข้าสู่บทเรียนเมื่อเข้ามาครั้งแรกต้องเลือก
Confirm เพื่อยืนยันการใช้ระบบ
95
96
3) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
การ Login เข้าสู่ระบบการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอน หรือที่ทางมหาวิทยาลัย
หอการค้าไทยเรียกว่า ระบบ “LCMS” นั้น ผู้สอนและผู้เรียนสามารถใช้หน้าจอเดียวกันในการเข้าใช้
งานดังแสดงในรูปที่ 4.39
รูปที่ 4.39 แสดงหน้าจอหลักการ Login เข้าสู่ระบบ LMS
ของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
จากรูปที่ 4.39 แสดงให้เห็นถึง หน้าจอการรับการ Login เข้าสู่ระบบ ในกรณีที่เป็นผู้ที่ไม่เคยใช้ระบบ
มาก่อน สามารถสมัครเข้าใช้ระบบด้วยการเลือกส่วน “สมัครสร้างบทเรียน” (สำหรับผู้สอน) และ
“สมัครเรียน” (สำหรับผู้เรียน) โดยระบบจะนำเข้าสู่ขั้นตอนการลงทะเบียนเข้าใช้งาน นอกจากนี้ในรูป
ยังแสดงถึงระบบการให้ความช่วยเหลือในกรณีผู้ใช้งานต้องการรายละเอียดที่มากขึ้น หรือ การแสดง
รายวิชาที่มีการเปิดการเรียนการสอนแล้ว “Course Online” อีกทั้งยังมีส่วนที่ให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ
ระบบ e-Learning ระบบ LMS และความรู้ด้านอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
96
97
รูปที่ 4.40 แสดงการลงทะเบียนผู้สอนสำหรับการ Login เข้าสู่ระบบ LMS
ของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
จากรูปที่ 4.40 แสดงหน้าจอการลงทะเบียนเพื่อเข้าใช้งานของผู้สอน สำหรับผู้สอนที่มีความประสงค์
จะใช้งานระบบ LCMS เพื่อสร้าง Course ware และแบบทดสอบ หลังจากที่ได้ทำการลงทะเบียนแล้ว
ผู้สอนจะได้สิทธิ์ในการเข้าใช้ระบบภายใน 2 วัน จากรูปผู้ลงทะเบียนต้องทำการใส่ข้อมูลให้ครบถ้วน
ตามที่ระบบต้องการจะสังเกตได้จากช่องที่มีสัญลักษณ์ ** หลังจากใส่ข้อมูลครบถ้วนแล้วให้ทำ
การกดปุ่ม “ส่งข้อมูล” เพื่อระบบจะทำการประมวลผลต่อไป
97
98
รูปที่ 4.41 แสดงการลงทะเบียนผู้เรียนสำหรับการ Login เข้าสู่ระบบ LMS
ของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
จากรูปที่ 4.41 แสดงหน้าจอการลงทะเบียนเพื่อเข้าใช้งานของผู้เรียน สำหรับผู้เรียนที่มีความประสงค์
จะใช้งานระบบ LCMS ผู้เรียนต้องทำการลงทะเบียนก่อน โดยใช้ User ID เป็นรหัสนักศึกษาเอง
จากรูปผู้ลงทะเบียนต้องทำการใส่ข้อมูลให้ครบถ้วนตามที่ระบบต้องการจะสังเกตได้จากช่องที่มี
สัญลักษณ์ ** หลังจากใส่ข้อมูลครบถ้วนแล้วให้ทำการกดปุ่ม “ส่งข้อมูล” เพื่อระบบจะทำ
การประมวลผลต่อไป
รูปที่ 4.42 แสดงหน้าจอหลักการทำงานในส่วนของผู้ใช้งานระบบ LMS
ของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
98
99
จากรูปที่ 4.42 แสดงหน้าจอการหลังการที่ผู้สอนหรือผู้เรียนทำการ Login เข้าสู่ระบบสำเร็จแล้วซึ่ง
ทางมหาวิทยาลัยเรียกว่าหน้า “สารบัญ” โดยที่หน้าจอนี้จะประกอบไปด้วยส่วนสำคัญสองส่วน คือ
1) Courses Management 2) Account Management ในส่วนของ Courses Management นั้นจะประกอบ
ไปด้วยส่วนย่อยอีกสองส่วนคือ 1) Courses for Study และ 2) Web Board (All Your Questions)
ส่วนของ Account Management นั้นจะประกอบไปด้วยสามส่วนย่อยคือ 1) Modify User Information
2) Change Password 3) Check Login Date ดังรูปที่ 4.43-4.47
รูปที่ 4.43 แสดงหน้าจอ Courses for Study ในส่วนของผู้สอนระบบ LMS
ของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
จากรูปที่ 4.43 แสดงหน้าจอ Courses for Study ซึ่งเป็นการทำงานในการค้นหาวิชาที่ต้องการภายในมี
เครื่องมือที่คอยอำนวยความสะดวกในการค้นหาวิชามากมาย เช่น สามารถค้นหาโดยใช้ วันที่สร้าง ชื่อ
Course, รหัส Course, ประเภทวิชา, คณะ, ผู้สอน, Keywords ของ Course ถ้าตัวเลือกที่ระบบเตรียมให้
ยังไม่สามารถค้นหาได้ เราสามารถใส่ข้อความที่คิดว่าเกี่ยวข้องเข้าไปช่อง “ค้นหา” นอกจากนี้ยัง
สามารถตั้งค่าให้เรียงผลที่ได้จากการค้นหาให้เรียงตาม วันที่สร้าง Course (มากไปน้อย), ชื่อ Course,
รหัส Course, ประเภทวิชา, คณะ, ผู้สอน ซึ่งเราสามารถเลือกได้ว่าต้องการให้เรียงจากมากไปน้อย
หรือน้อยไปมากตามต้องการ
99
100
รูปที่ 4.44 แสดงหน้าจอ Web Board (All your Question) ในส่วนของผู้สอนระบบ
LMS ของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
จากรูปที่ 4.44 แสดงหน้าจอ Web Board (All Your Questions) ในส่วนนี้จะเป็นการแสดงคำถามที่
ผู้ใช้งานคนนั้นได้มีการส่งคำถามไปยังผู้ดูแลระบบ ภายในมีเครื่องมือที่ช่วยในการค้นหาข้อมูล เช่น
ค้นหาโดยเลือกหมวดหมู่เป็นการค้นหาคำในประโยคคำถาม, ค้นหาตามวันเดือนปีที่ถามเป็นต้น ผลที่
ได้จากการค้นหายังสามารถตั้งตัวกรองในการเรียงลำดับผลที่ได้โดยเลือกที่ช่องเรียงตาม ได้ตาม
ความต้องการ
รูปที่ 4.45 แสดงหน้าจอ Modify User Information ในส่วนของผู้สอนระบบ
LMS ของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
100
101
จากรูปที่ 4.45 แสดงหน้าจอ Modify User Information ในส่วนนี้เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ใช้งาน
สามารถทำการแก้ไขข้อมูลส่วนตัวได้ โดยสามารถทำได้ตลอดเวลาหลังจากที่ผู้ใช้งานทำการแก้ไข
ข้อมูลเสร็จเรียบร้อยแล้วให้ทำการ Click ที่ปุ่ม “ส่งข้อมูล” เพื่อเป็นการยืนยันข้อมูลที่ได้มีการแก้ไข
เข้าสู่ระบบต่อไป
รูปที่ 4.46 แสดงหน้าจอ Change Password ในส่วนของผู้ใช้งานระบบ LMS
ของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
จากรูปที่ 4.46 แสดงหน้าจอ Change Password ในส่วนนี้เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานสามารถ
ทำการเปลี่ยน Password ได้เองตามความต้องการและบ่อยได้เท่าที่ต้องการ
รูปที่ 4.47 แสดงหน้าจอ Check Login Date ในส่วนของผู้สอนระบบ LMS
ของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
101
102
จากรูปที่ 4.47 แสดงหน้าจอ Check Login Date ในส่วนนี้เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานสามารถ
ทำการเช็คประวัติการเข้ามาใช้งานระบบได้ โดยผู้ใช้สามารถกำหนดวันที่แบบเฉพาะเจาะจง เพียง
ทำการใส่วันที่ที่ต้องการลงในช่อง ค้นหาวันที่ Logo นอกจากนี้ยังสามารถใช้ตัวกรองโดยเลือกเป็น
เรียงตามลำดับจากวันที่ Login ล่าสุด ไปจนกระทั้งวัน Login นานที่สุด
4) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
การ Login เข้าสู่ระบบการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอน หรือที่ทางมหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีมหานคร เรียกว่า ระบบ “e-Classroom” นั้น ผู้สอนและผู้เรียนสามารถใช้หน้าจอเดียวกัน
ในการเข้าใช้งานดังแสดงในรูปที่ 4.48
รูปที่ 4.48 แสดงหน้าจอหลักการ Login เข้าสู่ระบบ LMS
ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
จากรูปที่ 4.48 แสดงหน้าจอการทำงานหลักของระบบ LMS ภายในประกอบด้วยส่วนใหญ่ ๆ
4 หัวข้อหลักดังต่อไปนี้ 1) สถิติการใช้งานรายวิชา จะเป็นส่วนที่แสดงลำดับรายวิชาที่เปิดสอน
ออนไลน์อยู่โดยจัดเรียงลำดับจากอัตราการเข้าใช้งานจากมากไปหาน้อย ผู้ใช้งานสามารถที่จะเข้าไปดู
รายละเอียดภายในแต่ละรายวิชาได้ 2) แสดงรายวิชาที่เปิดสอนออนไลน์ทั้งหมดทั้งมหาวิทยาลัย
102
103
3) News : ประชาสัมพันธ์ เป็นส่วนที่คอยประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารจากผู้สอนถึงผู้เรียน เช่น
ประกาศการเปลี่ยนห้องเรียน หรือเวลาเรียน ประกาศนัดสอนชดเชย ประกาศรับสมัครการอบรม
หัวข้อต่าง ๆ 4) การ Login เข้าสู่ระบบผู้ใช้งาน ทั้งผู้สอนและผู้เรียนสามารถ Login เข้าสู่ระบบ จาก
หน้าจอเดียวกันนี้ นอกจากนี้ยังมีส่วนข้อมูลเสริมคือ ประกาศข่าวต่าง ๆ และ รายงานจำนวนผู้เข้า
มาใช้งานระบบแบบ real time โดยแบ่งเป็นส่วนของผู้สอน และผู้เรียน
รูปที่ 4.49 แสดงหน้าจอรายละเอียดแต่ละรายวิชาระบบ LMS
ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
103
104
จากรูปที่ 4.49 แสดงหน้าจอการแสดงรายละเอียดเป็นรายวิชา หลังจากที่ผู้ใช้งานทำการเลือกรายวิชา
จากหัวข้อ “สถิติการใช้งานรายวิชา” ระบบจะแสดงรายละเอียดทั้งหมดของรายวิชา เช่น ชื่อผู้สอน
คณะ ภาควิชา รหัสวิชา เนื้อหารายวิชา เป็นต้น
5) มหาวิทยาลัยศรีปทุม
การ Login เข้าสู่ระบบการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอน ที่ทางมหาวิทยาลัยจัดไว้
ให้นั้นจะอยู่ในหน้าจอเดียวกันกับหน้าจอส่วนกลางของระบบ e-Learning ซึ่งจะมีข้อมูลในส่วนอื่น ๆ
แสดงรวมอยู่ด้วยกันดังรูปที่ 4.50
รูปที่ 4.50 แสดงหน้าจอหลักการ Login เข้าสู่ระบบ LMS
ของมหาวิทยาลัยศรีปทุม
จากรูปที่ 4.50 แสดงหน้าจอการ Login เข้าสู่ระบบในหน้าจอเดียวนี้กันยังมีข้อมูลในส่วนอื่น ๆ ที่
น่าสนใจให้ผู้สอน และผู้เรียนได้ใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่โดยถือได้ว่าเป็นศูนย์รวมข้อมูลกิจกรรม
ต่าง ๆ ของระบบ e-Learning ของมหาวิทยาลัย ด้านบนจะเป็นเมนูให้ผู้ใช้งานได้เลือก เช่น การเข้าสู่
ห้องสมุดดิจิตอล การเข้าสู่ความบันเทิง (Edutainment) เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีส่วนของปฏิทิน
104
105
การสำรวจความคิดเห็นความพึงพอใจในการใช้งานระบบ ข่าวประชาสัมพันธ์ การแจ้งปัญหา
การใช้งาน การเช็ค Homepage รายวิชา โดยผู้ใช้งานสามารถเข้าไปดูได้เป็นรายคณะ จากนั้นสามารถดู
รายชื่อวิชาที่มีการเปิดสอนได้ตามความต้องการ
รูปที่ 4.51 แสดงหน้าจอการกรอกข้อมูลรายละเอียดการลงทะเบียนผู้ใช้งานใหม่
สำหรับการ Login เข้าสู่ระบบ LMS ของมหาวิทยาลัยศรีปทุม
105
106
จากรูปที่ 4.51 แสดงหน้าจอการกรอกข้อมูลเพื่อลงทะเบียนสำหรับเข้าใช้งานระบบ ก่อนที่จะได้
หน้าจอดังรูปผู้ใช้งานต้องทำการเลือกไปที่ปุ่ม “NEWUSER” ในส่วนของ Member Login จากนั้นให้
ผู้ใช้งานทำการกรอกข้อมูลผู้ใช้งานต้องทำการกรอกข้อมูลที่จำเป็นตามที่ระบบต้องการโดยสังเกตได้
จากในช่องใดที่มีสัญลักษณ์เป็นอักษร * นั่นแสดงว่าผู้ใช้งานต้องใส่ข้อมูลลงในช่องนั้นไม่สามารถ
ละเลยได้หลังจากกรอกข้อมูลครบถ้วนแล้วให้ทำการเลือกที่ปุ่ม “ตกลง” หลังจากนั้นระบบจะส่ง
UserID กลับมายังผู้ใช้งานผ่านทาง e-mail address
รูปที่ 4.52 แสดงหน้าจอหลักการทำงานในส่วนของผู้ใช้งานระบบ LMS
ของมหาวิทยาลัยศรีปทุม
จากรูปที่ 4.52 แสดงหน้าจอเมื่อผู้ใช้งานทำการ Login เข้าสู่ระบบแล้วภายในจะประกอบด้วยปฏิทิน
กิจกรรม ผู้ใช้งานสามารถเลือกวันที่ต้องการได้หลังจากนั้นระบบจะแสดงรายละเอียดกำหนดการของ
กิจกรรมต่าง ๆ ที่จะมีขึ้นในมหาวิทยาลัย นอกจากนี้ยังมีข้อมูลอีกสามส่วนที่น่าสนใจ คือ ข้อมูล
ผู้ใช้งานระบบ จะเป็นข้อมูลสั้นเกี่ยวกับตัวผู้ใช้งาน เช่น ชื่อ นามสกุล ถัดมาเป็นส่วนของข้อมูลการเข้า
ใช้งานระบบ จะมีการรายงานสถิติการเข้าใช้งานระบบโดยจะแสดงจำนวนครั้งที่เข้าระบบ วันและ
เวลาที่เข้าใช้งาน แต้มการใช้งาน ส่วนสุดท้ายเป็นการเข้าสู่ห้องเรียน
106
107
รูปที่ 4.53 แสดงหน้าจอการเข้าสู่บทเรียนในส่วนของผู้ใช้งานระบบ LMS
ของมหาวิทยาลัยศรีปทุม
จากรูปที่ 4.53 แสดงหน้าจอเมื่อผู้ใช้งานทำการเลือกที่ปุ่ม “เข้าสู่บทเรียน” ภายในหน้าจอ
จะประกอบด้วยสองส่วนหลักคือด้านบนจะเป็น เมนูที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งาน เช่น
ห้องเรียน ลงทะเบียนรายวิชา รายงาน ข้อมูลส่วนตัว เปลี่ยนรหัสผ่าน บันทึก ข้อความ Portfolio ส่วน
ด้านล่างจะเป็นรายการแสดงรายวิชาที่ผู้ใช้งานได้ทำการลงทะเบียนเรียนไว้ หรือได้ทำการเลือก
รายวิชาว่าต้องการจะเรียนโดยผู้เรียนสามารถทำการเพิ่มหรือลดรายวิชาได้ตามความต้องการโดย
การเลือกที่ปุ่ม “เลือกวิชาออกจากหน้าหลัก” เพื่อทำการลบวิชาออกจากหน้าหลัก ส่วนปุ่ม
“ลงทะเบียนรายวิชา” ใช้เพื่อเพิ่มรายวิชาที่ต้องการเข้าสู่หน้าจอหลัก
รูปที่ 4.54 แสดงหน้าจอการเข้าเรียนรายวิชาในส่วนของผู้ใช้งานระบบ LMS
ของมหาวิทยาลัยศรีปทุม
107
108
จากรูปที่ 4.54 แสดงหน้าจอเมื่อผู้ใช้งานทำการเลือกเพื่อที่จะทำการเริ่มเรียนวิชาใดวิชาหนึ่ง (จากรูป
เป็นการเข้าเรียนวิชา คอมพิวเตอร์เบื้องต้น) จากรูปวิชานี้จะมีแปดหน่วยการเรียนใหญ่ (ดูจากสารบัญ
ด้านบน) ภายในแต่ละหน่วยการเรียนจะมีบทเรียนย่อย ๆ แตกต่างกันไปผู้เรียนสามารถเลือกเรียน
หน่วยการเรียนใดก่อนหลังได้ตามต้องการ นอกจากนี้ ไอคอน ทางด้านซ้ายมือจะคอย
อำนวยความสะดวกอื่น ๆ เช่น เมนู กิจกรรมการเรียนการสอน แผนการจัดการเรียนรู้ บทเรียน
แบบฝึกหัด เกมส์ กระดานข่าว แบบสำรวจรายวิชา อภิธานศัพท์ หน้าต่างสนทนา และ เกี่ยวกับผู้สอน
6) มหาวิทยาลัยสยาม
การ Login เข้าสู่ระบบการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอน ที่ทางมหาวิทยาลัยจัดไว้
ให้นั้นจะอยู่ในหน้าจอเดียวกันกับหน้าจอส่วนกลางของระบบ Siam e-Learning ซึ่งจะมีข้อมูลในส่วน
อื่น ๆ แสดงรวมอยู่ด้วยกันดังรูปที่ 4.55
รูปที่ 4.55 แสดงหน้าจอหลักการ Login เข้าสู่ระบบ LMS ของมหาวิทยาลัยสยาม
จากรูปที่ 4.55 แสดงหน้าจอการ Login เข้าสู่ระบบโดยผู้ใช้งานต้องใส่ User Password ที่ทาง
มหาวิทยาลัยเตรียมไว้ให้ภายใต้หัวข้อ Member Zone กรณีที่ยังไม่เคยเป็นสมาชิกมาก่อนให้ผู้ใช้งาน
ทำการเลือกที่ “สมัครสมาชิก” นอกจากนี้ทางเมนูด้านบนของหน้าจอยังมีเครื่องมือที่คอย
108
109
อำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้งานถัดลงมาด้านล่างจะเป็นส่วนประชาสัมพันธ์ข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับ
รายวิชาที่เปิดสอน ถัดลงมาด้านล่างจะเป็นส่วนของ Webboard ถามตอบทั้งจากผู้เรียน ผู้สอน ผู้ดูแล
ระบบ ด้านซ้ายมือของหน้าจอจะเป็นรายการวิชาที่มีการเปิดสอนอยู่ในขณะนี้ ส่วนสุดท้ายด้านล่าง
จะเป็นรายงานสถิติต่าง ๆ ของทาง เว็บไซต์
รูปที่ 4.56 แสดงหน้าจอการกรอกข้อมูลรายละเอียดการลงทะเบียนผู้เรียน
สำหรับการ Login เข้าสู่ระบบ LMS ของมหาวิทยาลัยสยาม
109
110
รูปที่ 4.57 แสดงหน้าจอการกรอกข้อมูลรายละเอียดการลงทะเบียนผู้สอน
สำหรับการ Login เข้าสู่ระบบ LMS ของมหาวิทยาลัยสยาม
จากรูปที่ 4.56 และ 4.57 แสดงหน้าจอการลงทะเบียนเรียนของผู้เรียนและผู้สอนสำหรับผู้เรียน
ที่ต้องการลงทะเบียนเรียนให้ทำการเลือกที่ “สมัคสมาชิก” ส่วนผู้สอนให้ทำการเลือกที่ “สำหรับ
อาจารย์เลือกที่นี่” ผู้สอนจะได้หน้าจอการทำงานเพื่อทำการ Login หรือลงทะเบียนดังรูปที่ 4.57
ให้ทำการใส่ข้อมูลที่จำเป็นโดยสังเกตได้จากหลังช่องจะมีสัญลักษณ์ * ซึ่งแสดงถึงผู้ใช้งานต้องทำ
การกรอกข้อมูลนั้น ๆ ไม่สามารถละเลยได้เมื่อทำการกรอกข้อมูลเรียบร้อยให้เลือกที่ปุ่ม “ยืนยัน
ข้อมูล”
110
111
รูปที่ 4.58 แสดงหน้าจอหลักการทำงานในส่วนของผู้เรียนระบบ LMS
ของมหาวิทยาลัยสยาม
จากรูปที่ 4.58 แสดงหน้าจอหลังจากที่ผู้เรียนผ่านการ Login เข้าสู่ระบบเป็นที่เรียบร้อยแล้วภายใน
หน้าจอจะประกอบไปด้วยส่วนสำคัญ สี่ส่วนคือ 1) ส่วน Main Menu จะประกอบไปด้วยเมนูคอย
อำนวยความสะดวกต่าง ๆ ให้แก่ผู้เรียนเช่น e-Learning Download About us Contact us Teacher
และ Link ถัดลงมาด้านล่างซ้ายจะเป็นส่วนที่ให้สำหรับจัดการเพิ่มลดวิชาเรียน แก้ไขข้อมูลส่วนตัว
แก้ไขรหัสผ่าน ถัดไปทางด้านขวาจะเป็นส่วนที่แสดงรายวิชาที่ได้ผ่านการลงทะเบียนแล้วโดยผู้เรียน
สามารถเลือกวิชาเพื่อทำการเข้าเรียนหรือเข้าสอบได้ทันที
7) มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
การเข้าใช้งานระบบการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอนนั้นผู้เรียนสามารถเข้าใช้งาน
ได้โดยไม่ต้องใส่ UserID และ Password หลังจากเข้าสู่หน้าจอหลักของทางมหาวิทยาลัยให้ทำ
การเลือกที่ e-Learning จากนั้นจะได้หน้าจอดังรูปที่ 4.59
111
112
รูปที่ 4.59 แสดงการเข้าสู่ระบบ LMS ของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
รูปที่ 4.60 แสดงหน้าจอรายการวิชาที่เปิดสอนของระบบ LMS
ของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
จากรูปที่ 4.59 และ 4.60 แสดงหน้าจอหลังจากที่ผู้เรียนเข้าสู่หน้าจอ e-Learning ภายในประกอบด้วย 3
ส่วนหลักคือ 1) “เข้าสู่บทเรียน” เป็นส่วนที่เข้าสู่การเลือกวิชาที่ต้องการเรียนหลังจากผู้เรียนเลือกส่วน
เข้าสู่บทเรียนภายในจะมีรายการวิชาให้เลือกเรียนโดยแบ่งตามคณะซึ่งแต่ละคณะจะมีวิชาที่เปิดเรียน
ออนไลน์ ไม่เท่ากันซึ่งปัจจุบันมีคณะที่ทำการเปิดการเรียนการสอนแบบออนไลน์อยู่ 6 คณะ ผู้เรียน
สามารถเลือกวิชาที่ต้องการเรียนได้ทันทีโดยแต่ละวิชาจะมีรหัสวิชา และชื่ออธิบายไว้อย่างคร่าว ๆ
112
113
8) มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์
การเข้าใช้งานระบบการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอนนั้นหลังจากเข้าสู่หน้าจอ
หลักของทางมหาวิทยาลัยแล้วให้ผู้ใช้งานทำการเลือก “โฮมเพจรายวิชา” ผู้ใช้งานจะเข้าสู่หน้าจอหลัก
ของระบบดังรูปที่ 4.61
รูปที่ 4.61 แสดงหน้าจอหลักการ Login เข้าสู่ระบบ LMS ของมหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์
จากรูปที่ 4.61 เป็นหน้าจอหลักหลังจากผู้เรียนเลือก โฮมเพจรายวิชา แล้ว ภายในผู้เรียนต้องทำการใส่
UserID และ Password เพื่อทำการ Login เข้าสู่ระบบ กรณีที่ยังไม่มี UserID ผู้ใช้งานสามารถทำ
การเลือกในส่วน สร้างบัญชีผู้ใช้ได้ที่นี่ จากนั้นผู้ใช้งานจะเข้าสู่ขั้นตอนการลงทะเบียนดังรูปที่ 4.62
113
114
รูปที่ 4.62 แสดงหน้าจอการกรอกข้อมูลลงทะเบียนผู้ใช้งานใหม่สำหรับการ Login
เข้าสู่ระบบ LMS ของมหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์
จากรูปที่ 4.62 เป็นหน้าจอเพื่อทำการลงทะเบียนโดยการกรอกข้อมูลจะแบ่งเป็น 2 ส่วนหลัก คือ
ส่วนที่จำเป็น หมายถึงผู้ใช้เรียนต้องทำการกรอกข้อมูลทุกช่องให้ครบถ้วน ส่วนที่สองคือส่วน ควรจะ
กรอก หมายถึงผู้ใช้งานสามารถตัดสินใจได้ว่าจะกรอกหรือไม่กรอกข้อมูลโดยระบบไม่บังคับแต่
ควรที่จะกรอกหลังจากกรอกข้อมูลครบถ้วนแล้วให้ผู้เรียนเลือกที่ปุ่ม “ตกลง” ระบบจะทำการเก็บ
ข้อมูลทั้งหมดไว้ที่ฐานข้อมูลหลังจากนั้นผู้เรียนจะเข้าสู่หน้าจอการทำงานส่วนบุคคลดังรูปที่ 4.63
114
115
รูปที่ 4.63 แสดงหน้าจอวิชาที่ผู้เรียนได้ลงทะเบียนเรียนแล้วของระบบ LMS
ของมหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์
จากรูปที่ 4.63 เป็นหน้าจอหลังจากที่ผู้ใช้งานทำการสมัครเข้าใช้งานเข้าสู่ระบบและได้ทำการเลือก
รายวิชาที่มีการเปิดสอนออนไลน์อยู่จากรูปผู้เรียนทำการสมัครเรียนทั้งหมด 3 วิชา โดยบางวิชายังไม่
สามารถเข้าไปเรียนได้ในทันทีต้องรอการอนุมัติจากผู้สอนซึ่งผู้เรียนสามารถติดต่อกับผู้สอนได้
โดยตรงหรือทำการส่งข้อความเพื่อขออนุมัติเข้าเรียนได้โดยผ่านตัวระบบเอง นอกจากนี้ระบบยังได้
เตรียมเครื่องมือซึ่งเป็น Tools bar ด้านบนเอาไว้ให้เพื่ออำนวยความสะดวกในด้านต่าง ๆ เช่น วิชาของ
ฉัน จะเป็นดังรูปที่ได้อธิบายไว้แล้วด้านบน ปรับแต่งรูปแบบ เป็นการเลือกการวางตำแหน่งต่าง ๆ
ของหน้าจอโดยสามารถปรับแต่งตามตัวเลือกที่ระบบจัดไว้ให้ ข้อมูลส่วนตัว ผู้ใช้สามารถเปลี่ยน
รหัสผ่าน ชื่อ นามสกุล หรือข้อมูลส่วนตัวต่าง ๆ ได้ สำรวจรายวิชา เป็นส่วนที่แสดงรายการวิชาที่มี
การเปิดสอนออนไลน์ของมหาวิทยาลัย ค้นหา เป็นการค้นหาวิชาที่เปิดสอนออนไลน์ โดยสามารถใส่
ชื่อวิชา รหัสวิชา ชื่อผู้สอน เพื่อทำการค้นหา กล่องจดหมายเข้า ผู้ใช้สามารถส่งข้อความถึงผู้เรียน
คนอื่น ๆได้ และระบบช่วยเหลือ
115
116
4.3 การศึกษาการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอนบนอินเทอร์เน็ตของ
สถาบันอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร
การศึกษาระบบการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอนของสถาบันอุดมศึกษาในเขต
กรุงเทพมหานคร ผู้วิจัยได้วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการตอบแบบสอบถามของ
ผู้เชี่ยวชาญของสถาบันการศึกษา/มหาวิทยาลัยที่ใช้ระบบการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอน
เกี่ยวกับสภาพปัจจุบันของระบบการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอน และสภาพที่คาดหวังใน
อนาคต ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ คือ
4.3.1 สภาพปัจจุบันของระบบการจัดการบริหารการเรียนการสอนของสถาบันอุดมศึกษา
ในเขตกรุงเทพมหานคร
สำหรับการศึกษาถึงสภาพปัจจุบันของระบบการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอนของ
สถาบันการศึกษา/มหาวิทยาลัย โดยจำแนกตามส่วนของผู้ใช้ระบบซึ่งประกอบไปด้วย 2 ส่วน ได้แก่
1) ส่วนของผู้สอน และ 2) ส่วนของผู้เรียน ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ คือ
1) ส่วนของผู้สอน
ระบบการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอนของสถาบันการศึกษา/มหาวิทยาลัยใน
ส่วนของผู้สอน (Teacher or Instructor) ซึ่งประกอบด้วยการทำงานของระบบย่อย 5 ระบบ ได้แก่
1) ระบบการจัดการเนื้อหารายวิชา (Content Management System) 2) ระบบการจัดการผู้ใช้ และ
การจัดการรายวิชา (User and Course Management System) 3) ระบบติดตามการเรียนการสอน
(Course Tracking System) 4) ระบบการวัดผลประเมินผล (Assessments System) และ 5) ระบบ
การสื่อสาร (Communication System) โดยทำงานสัมพันธ์และเชื่อมโยงกัน ซึ่งมีรายละเอียด
ดังต่อไปนี้ คือ
1.1 ระบบการจัดการเนื้อหารายวิชา (Content Management System) เป็นระบบการ
สร้าง การจัดทำเนื้อหาของผู้สอนเอง และ/หรือมีการเชื่อมโยงเนื้อหารายวิชาจากแหล่งต่าง ๆ มาใช้
งานในระบบได้ รายละเอียดดังแสดงในรูปที่ 4.64
1. Content
Management
System
1.3 การเชื่อมต่อกับ Courseware จากห้องสมุดของสถาบัน
1.2 การนำเนื้อหาบทเรียนผู้อื่นสร้างมาใช้งานภายในระบบ
1.1 การสร้างและแทรกเนื้อหาบทเรียนภายในระบบได้เอง
รูปที่ 4.64 แสดงองค์ประกอบการทำงานภายในระบบย่อยที่ 1 ระบบการจัดการ
เนื้อหารายวิชา (Content Management System) ของระบบการจัดการ
บริหารการเรียนการสอนส่วนของผู้สอน
116
117
158
ย่อยนี้ติดต่อกับฐานข้อมูลสี่ตัวคือ ฐานข้อมูลเนื้อหารายละเอียดรายวิชา ฐานข้อมูลปฏิทิน ฐานข้อมูล
ผู้ใช้ระบบ ฐานข้อมูลแหล่งเนื้อหาวิชาภายนอกระบบ ระบบย่อยที่ 3 คือระบบติดตามการเรียน
การสอน (Course Tracking System) ระบบนี้จะทำการเชื่อมต่อกับอีกสองระบบย่อยคือ ระบบ
การจัดการผู้ใช้และการจัดการรายวิชา และระบบติดตามการเรียนการสอน ตัวระบบย่อยที่สามนี้ติดต่อ
กับฐานข้อมูลสองตัวคือ ฐานข้อมูลการเข้าใช้งานระบบ และฐานข้อมูลผู้ใช้ระบบ ระบบย่อยที่ 4 คือ
ระบบการวัดผลประเมินผล เป็นระบบที่ติดต่อกับระบบย่อย ระบบติดตามการเรียนการสอน และ
ระบบการสื่อสาร ระบบย่อยที่สี่นี้ติดต่อกับฐานข้อมูลสามตัวคือ ฐานข้อมูลผู้ใช้ระบบ ฐานข้อมูล
การเข้าใช้งานระบบ และฐานข้อมูลแบบฝึกหัด คลังข้อสอบ คะแนน ระบบย่อยที่ 5 คือระบบ
การสื่อสาร เป็นระบบที่ติดต่อกับระบบย่อย การวัดผลประเมินผล ระบบย่อยที่ห้านี้ติดต่อกับ
ฐานข้อมูลสองตัวคือ ฐานข้อมูลการติดต่อสื่อสาร และ ฐานข้อมูลผู้ใช้ระบบ
158
บทที่ 5 สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
การวิจัยเรื่อง “การบริหารจัดการด้านการเรียนการสอนบนอินเทอร์เน็ตของสถาบันอุดมศึกษา
ในเขตกรุงเทพมหานคร” สามารถสรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะได้ดังต่อไปนี้
5.1 วัตถุประสงค์ของการวิจัย
วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาระบบการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอนบนอินเทอร์เน็ต
ของสถาบันอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร
5.2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ผู้ดูแลระบบการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอน
บนอินเทอร์เน็ตของสถาบันอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 23 ท่าน แบ่งออกเป็น
ผู้ดูแลระบบการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอนบนอินเทอร์เน็ตของสถาบันอุดมศึกษา
ของรัฐบาล จำนวน 15 ท่าน และผู้ดูแลระบบการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอนบนอินเทอร์เน็ต
ของสถาบันอุดมศึกษาของเอกชน จำนวน 8 ท่าน
5.3 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลมีลักษณะเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารจัดการด้าน
การเรียนการสอนบนอินเทอร์เน็ตของสถาบันอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย
5.3.1 ลักษณะทั่วไปของระบบการจัดการบริหารการเรียนการสอน (Learning Management
System: LMS) ภายในสถาบันอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร
5.3.2 องค์ประกอบของระบบการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอน (Learning Management System:
LMS) ของสถาบันอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งประกอบไปด้วย
1) ระบบการจัดการเนื้อหารายวิชา (Content Management System)
2) ระบบการจัดการผู้ใช้และการจัดการรายวิชา (User and Course Management System)
3) ระบบติดตามการเรียนการสอน (Course Tracking System)
4) ระบบการวัดผลประเมินผล (Assessment System)
5) ระบบการสื่อสาร (Communication System)
159
160
5.4 สรุปผลการวิจัย
สำหรับการศึกษาค้นคว้า และวิเคราะห์ข้อมูล สามารถสรุปผลการวิจัยเกี่ยวกับการบริหารจัดการด้าน
การเรียนการสอนบนอินเทอร์เน็ตของสถาบันอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครได้ดังต่อไปนี้ คือ
5.4.1 ลักษณะทั่วไปของระบบการจัดการบริหารการเรียนการสอนภายในสถาบัน
อุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร
ลักษณะทั่วไปของระบบการจัดการบริหารการเรียนการสอนบนอินเทอร์เน็ตของสถาบันอุดมศึกษา
ในเขตกรุงเทพมหานครจำนวน 23 แห่ง มีดังนี้ คือ
1) เครื่องมือที่ใช้ในระบบ LMS คือ การนำต้นแบบมาปรับร่วมกับการพัฒนาระบบขึ้นเอง
โดยใช้ภาษา PHP กับฐานข้อมูล MySQL รองลงมา คือ การพัฒนาขึ้นเองด้วยภาษา PHP ร่วมกับ
ฐานข้อมูล MySQL การนำมาจากต้นแบบ เช่น ATutor
2) ระยะเวลาการเปิดให้บริการระบบ LMS คือ 1-2 ปี และมากกว่า 4 ปีขึ้นไป รองลงมา
คือ 3-4 ปี
3) จำนวนวิชาที่เปิดให้บริการในปัจจุบันมากกว่า 10 วิชา รองลงมาคือ 1-3 วิชา
5.4.2 การบริหารจัดการด้านการเรียนการสอนบนอินเทอร์เน็ตของสถาบันอุดมศึกษา
ในเขตกรุงเทพมหานคร
การศึกษาระบบการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอนบนอินเทอร์เน็ตของสถาบันอุดมศึกษาในเขต
กรุงเทพมหานคร ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาถึงสภาพปัจจุบันและความคาดหวังในอนาคตซึ่งมีจำนวน
ระบบย่อยทั้งสิ้นจำนวน 5 ระบบ แต่ละระบบประกอบด้วยองค์ประกอบ ต่าง ๆ ดังนี้ คือ
ก. สภาพปัจจุบันของระบบการจัดการบริหารการเรียนการสอนของสถาบันอุดมศึกษาใน
เขตกรุงเทพมหานคร
สำหรับการศึกษาถึงสภาพปัจจุบันของระบบการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอนของ
สถาบันการศึกษา/มหาวิทยาลัย โดยจำแนกตามส่วนของผู้ใช้ระบบซึ่งประกอบไปด้วย 2 ส่วน ได้แก่
1) ส่วนของผู้สอน และ 2) ส่วนของผู้เรียน ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ คือ
1) ส่วนของผู้สอน
1. ระบบการจัดการเนื้อหารายวิชา (Content Management System)
1.1 การสร้างและแทรกเนื้อหาบทเรียนภายในระบบได้เอง
1.2 การนำเนื้อหาบทเรียนที่ผู้อื่นสร้างขึ้นแล้วนำมาใช้งานภายในระบบ
1.3 การเชื่อมต่อเข้ากับ Courseware จากห้องสมุดของสถาบัน
160
161
2. ระบบการจัดการผู้ใช้และการจัดการรายวิชา (User and Course Management System)
2.1 การใช้ระบบ Login/Logout
2.2 การอัพโหลดและดาวน์โหลดไฟล์ (Multimedia File) เช่น Microsoft Office,
Adobe Acrobat PDF, HTML, Image
2.3 การเพิ่ม/ลดรายวิชา (Course)
2.4 การเพิ่ม/ลดรายละเอียดรายวิชา (Course)
2.5 การควบคุมสิทธิ์การใส่เกรดแต่ละวิชา
2.6 การสร้างปฏิทินการทำงานรายสัปดาห์
2.7 การบันทึกรายละเอียดของผู้สอน/ผู้ช่วยสอน
2.8 คู่มือการใช้ระบบออนไลน์
2.9 การแทรกวิดีโอในเนื้อหาบทเรียน
2.10 การป้อนข้อมูลประกาศผลคะแนน
2.11 การสร้างตารางสอน
2.12 การเพิ่ม/ลบรายชื่อผู้เรียน
3. ระบบติดตามการเรียนการสอน (Course Tracking System)
3.1 การตรวจสอบการเข้าเรียนของผู้เรียน
4. ระบบการวัดผลประเมินผล (Assessment System)
4.1 การตรวจสอบสถิติและความคืบหน้าด้านการเรียนของผู้เรียน
4.2 การสร้างแบบฝึกหัดออนไลน์
4.3 การสร้างคลังข้อสอบออนไลน์
4.4 ข้อกำหนดการทำแบบฝึกหัดออนไลน์
4.5 ข้อกำหนดการทำข้อสอบออนไลน์
5. ระบบการสื่อสาร (Communication System)
5.1 การรับ-ส่งเมลล์ถึงผู้เรียน
5.2 การป้อนข้อมูลโต้ตอบในกระดานข่าว
5.3 การป้อนข้อมูลประกาศข่าวสารแต่ละรายวิชา
2) ส่วนของผู้เรียน
1. ระบบการจัดการเนื้อหารายวิชา (Content Management System)
161
162
1.1 การเข้าสู่เนื้อหาบทเรียนที่ผู้สอนสร้างขึ้นเองภายในระบบ
1.2 การเข้าสู่เนื้อหาบทเรียนที่ผู้สอนนำมาจากผู้อื่น
1.3 การใช้ Courseware จากห้องสมุดของสถาบัน
2. ระบบการจัดการผู้ใช้และการจัดการรายวิชา (User and Course Management System)
2.1 การใช้ระบบ Login/Logout
2.2 การอัพโหลดและดาวน์ โหลดไฟล์ (Multimedia File) เช่น Microsoft Office,
Adobe Acrobat PDF, HTML, Image
2.3 การเลือกลงทะเบียนรายวิชา (Course)
2.4 การแสดงรายละเอียดของแต่ละรายวิชา
2.5 การตรวจสอบเกรดแต่ละรายวิชา
2.6 การสร้างปฏิทินการทำงานรายสัปดาห์
2.7 การบันทึกรายละเอียดของผู้เรียน
2.8 คู่มือการใช้ระบบออนไลน์
2.9 การรับชมวิดีโอประกอบบทเรียน
2.10 การตรวจสอบผลคะแนนแบบฝึกหัด/ผลสอบ
2.11 การตรวจสอบตารางเรียน
3. ระบบติดตามการเรียนการสอน (Course Tracking System)
3.1 การตรวจสอบการเข้าเรียนของตนเอง
4. ระบบการวัดผลประเมินผล (Assessment System)
4.1 การตรวจสอบสถิติและความคืบหน้าด้านการเรียนของตนเอง
4.2 การทำแบบฝึกหัดออนไลน์
4.3 การทำข้อสอบออนไลน์
4.4 ข้อกำหนดการทำแบบฝึกหัดออนไลน์
4.5 ข้อกำหนดการทำข้อสอบออนไลน์
5. ระบบการสื่อสาร (Communication System)
5.1 การรับ-ส่งเมล์ถึงผู้สอน
5.2 การป้อนข้อมูลโต้ตอบในกระดานข่าว
5.3 การตรวจสอบข่าวสารแต่ละรายวิชา
162
163
สรุปผลการวิจัย พบว่าสภาพปัจจุบันของ สถาบันอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครที่มีรูปแบบ
การบริหารจัดการด้านการเรียนการสอนส่วนของผู้สอนที่มีความสมบูรณ์แบบที่สุด ได้แก่
1) มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร มีระดับคะแนน 25 คะแนน 2) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
เจ้าคุณทหารลาดกระบัง มีระดับคะแนน 24 3) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีระดับคะแนน 23
4) มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี มีระดับคะแนน 23 5) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ มีระดับคะแนน 23
ข. ความคาดหวังในอนาคตของระบบการจัดการบริหารการเรียนการสอนของ สถาบัน
อุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร
สำหรับการศึกษาถึงความคาดหวังในอนาคตของระบบการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอนของ
สถาบันการศึกษา/มหาวิทยาลัย โดยจำแนกตามส่วนของผู้ใช้ระบบซึ่งประกอบไปด้วย 2 ส่วน ได้แก่
1) ส่วนของผู้สอน และ 2) ส่วนของผู้เรียน ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ คือ
1) ส่วนของผู้สอน
1. ระบบการจัดการเนื้อหารายวิชา (Content Management)
1.1 การสร้างและแทรกเนื้อหาบทเรียนภายในระบบได้เอง
1.2 การนำเนื้อหาบทเรียนที่ผู้อื่นสร้างแล้วนำมาใช้ในระบบ
1.3 การเชื่อมต่อกับ Courseware จากห้องสมุดของสถาบัน
1.4 การเชื่อมต่อกับ Courseware จากเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
1.5 ผู้สอนสามารถโอนย้ายเนื้อหาบทเรียนที่ทำไว้แล้วได้เอง เช่น ย้ายจาก LMS
ตัวหนึ่งไปยัง LMS อีกตัวหนึ่ง
2. ระบบการจัดการผู้ใช้และการจัดการรายวิชา (User and Course Management System)
2.1 การใช้ระบบ Login/Logout
2.2 การอัพโหลดและดาวน์โหลดไฟล์ (Multimedia File) เช่น Microsoft Office,
Adobe Acrobat PDF, HTML, Image
2.3 การเพิ่ม/ลดรายวิชา (Course)
2.4 การเพิ่ม/ลดรายละเอียดรายวิชา (Course)
2.5 การควบคุมสิทธิ์การใส่เกรดแต่ละวิชา
2.6 การสร้างปฏิทินการทำงานรายสัปดาห์
2.7 การบันทึกรายละเอียดของผู้สอน/ผู้ช่วยสอน
2.8 คู่มือการใช้ระบบออนไลน์
2.9 การแทรกวิดีโอในเนื้อหาบทเรียน
163
164
2.10 การป้อนข้อมูลประกาศคะแนน
2.11 การสร้างตารางสอน
2.12 การเพิ่ม/ลบรายชื่อผู้เรียน
2.13 การเชื่อมต่อระบบบริหารจัดการด้านการเรียนการสอนเข้ากับระบบทะเบียน/
ประเมินผลของสถาบัน
2.14 ระบบ Web Service สำหรับให้บริการ Download/Upload Software ได้ไม่จำกัด
3. ระบบติดตามการเรียนการสอน (Course Tracking System)
3.1 การตรวจสอบการเข้าเรียนของผู้เรียน
3.2 ตรวจสอบเวลาเข้าเรียนตามหัวข้อการเรียนหรือบทเรียน
3.3 สรุปการตรวจสอบการเข้าเรียน
4. ระบบการวัดผลประเมินผล (Assessments System)
4.1 การตรวจสอบสถิติและความคืบหน้าด้านการเรียนของผู้เรียน
4.2 การสร้างแบบฝึกหัดออนไลน์
4.3 การสร้างคลังข้อสอบออนไลน์
4.4 ข้อกำหนดการทำแบบฝึกหัดออนไลน์
4.5 ข้อกำหนดการทำข้อสอบออนไลน์
5. ระบบการสื่อสาร (Communication System)
5.1 การรับ-ส่งเมลล์ถึงผู้เรียน
5.2 การป้อนข้อมูลโต้ตอบในกระดานข่าว
5.3 การป้อนข้อมูลประกาศข่าวสารแต่ละรายวิชา
5.4 การสร้าง Post Board ต่าง ๆ
5.5 การเปิดห้อง Chat ภายในรายวิชา
สรุปผลการวิจัย พบว่าในอนาคตสถาบันอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครส่วนใหญ่ต้องการพัฒนา
ระบบจัดการบริหารการเรียนการสอนบนอินเทอร์เน็ตในส่วนของผู้สอนให้มีความสมบูรณ์ และ
เปิดให้บริการเต็มรูปแบบทุกระบบ สถาบันอุดมศึกษาที่คาดว่าจะพัฒนาระบบให้เต็มรูปแบบมากที่สุด
ได้แก่ 1) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 2) มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
3) มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
164
165
2) ส่วนของผู้เรียน
1. ระบบการจัดการเนื้อหารายวิชา (Content Management System)
1.1 การเข้าสู่เนื้อหาบทเรียนที่ผู้สอนสร้างขึ้นเองภายในระบบ
1.2 การเข้าสู่เนื้อหาบทเรียนที่ผู้สอนนำมาจากผู้อื่น
1.3 การเข้าสู่ Courseware จากห้องสมุดของสถาบัน
1.4 การเข้าสู่ Courseware จากเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
2. ระบบการจัดการผู้ใช้และการจัดการรายวิชา (User and Course Management System)
2.1 การใช้ระบบ Login/Logout
2.2 การอัพโหลดและดาวน์ โหลดไฟล์ (Multimedia File) เช่น Microsoft Office,
Adobe Acrobat PDF, HTML, Image
2.3 การเลือกลงทะเบียนรายวิชา (Course)
2.4 การแสดงรายละเอียดของแต่ละรายวิชา
2.5 การตรวจสอบเกรดแต่ละรายวิชา
2.6 การสร้างปฏิทินการทำงานรายสัปดาห์
2.7 การบันทึกรายละเอียดของผู้เรียน
2.8 คู่มือการใช้ระบบออนไลน์
2.9 การรับชมวิดีโอประกอบบทเรียน
2.10 การตรวจสอบผลคะแนนแบบฝึกหัด/ผลสอบ
2.11 การตรวจสอบตารางเรียน
3. ระบบติดตามการเรียนการสอน (Course Tracking System)
3.1 การตรวจสอบการเข้าเรียนของผู้เรียน
3.2 ตรวจสอบเวลาเข้าเรียนตามหัวข้อการเรียนหรือบทเรียน
3.3 สรุปการตรวจสอบการเข้าเรียน
4. ระบบการวัดผลประเมินผล (Assessment System)
4.1 การตรวจสอบสถิติและความคืบหน้าด้านการเรียนของตนเอง
4.2 การทำแบบฝึกหัดออนไลน์
4.3 การทำข้อสอบออนไลน์
4.4 ข้อกำหนดการทำแบบฝึกหัดออนไลน์
4.5 ข้อกำหนดการทำข้อสอบออนไลน์
165
166
170
1) ระบบการจัดการเนื้อหารายวิชา (Content Management System) จากผลการศึกษาพบว่า
ระบบการจัดการเนื้อหารายวิชาประกอบไปด้วย 1) การจัดการเชื่อมต่อกับ Courseware ที่สร้างผ่าน
เครือข่ายของห้องสมุดได้ 2) การนำเนื้อหาที่สร้างมาจากโปรแกรมตัวอื่นมาใช้งานได้ และ
3) การเชื่อมต่อกับ Courseware ที่สร้างผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยกันได้ ซึ่งผู้เรียนจะเป็นผู้ที่
สามารถเข้ามาใช้งานได้ ทั้งการค้นหา และดาวน์โหลดข้อมูลจากระบบได้
จากผลการวิจัยข้างต้น ผู้วิจัยจึงขอเสนอแนะให้สถานศึกษามีระบบการเข้าถึงข้อมูลเนื้อหารายวิชาได้
จากหลายแหล่ง ทั้งภายในห้องสมุดของมหาวิทยาลัยเอง และในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ตลอดจนมีสิทธิ์
ในการเข้าถึงข้อมูลเหล่า ได้จากการค้นหา และดาวน์โหลดมาเก็บไว้อ่านทบทวนได้ทุกเวลา
2) ระบบการจัดการผู้ใช้และการจัดการรายวิชา (User and Course Management System)
จากผลการศึกษาพบว่าระบบการจัดการผู้ใช้และการจัดการรายวิชาประกอบไปด้วย 1) การใช้ระบบ
Login/Logout 2) การอัพโหลดและดาวน์โหลดไฟล์ (Multimedia File) เช่น Microsoft Office, Adobe
Acrobat PDF, HTML, Image 3) การเลือกลงทะเบียนรายวิชา (Course) 4) การแสดงรายละเอียด
ของแต่ละรายวิชา 5) การตรวจสอบเกรดแต่ละรายวิชา 6) การสร้างปฏิทินการทำงานรายสัปดาห์
7) การบันทึกรายละเอียดของผู้เรียน 8) คู่มือการใช้ระบบออนไลน์ 9) การรับชมวิดีโอประกอบ
บทเรียน 10) การตรวจสอบผลคะแนนแบบฝึกหัด/สอบ และ 11) การตรวจสอบตารางเรียน ซึ่ง
ผลการวิจัยนี้สอดคล้องกับผลการวิจัยของ หทัยชนก ผลาวรรณ์ [3] ที่กล่าวว่า องค์ประกอบที่มี
อิทธิพลต่อการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนเสมือนจริงจะเกี่ยวข้องกับการจัดการรายวิชา เช่น
การมีแผนการสอน การมีชื่อผู้เรียน (Students’ Names) การมีคำอธิบายรายวิชา การ Download ข้อมูล
การมีเค้าโครงรายวิชา (Course Outline) การสร้างวิชาใหม่ (Create a New Course) การมีรายชื่อ
ผู้สอนและผู้ช่วยสอน (Instructor and Teacher’s Assistant) การมีชื่อวิชา (Course Title) การ Upload
ข้อมูล และการ Link ข้อมูล ผลการศึกษาดังกล่าวนี้แสดงว่า การจัดการเรียนการสอนในห้องเรียน
เสมือนจริงนั้น ควรจะมีดาวน์โหลดการจัดการรายวิชา การแสดงภาพรวมโครงสร้างของรายวิชา
การมีคำอธิบายสั้น ๆ เกี่ยวกับหน่วยการเรียน วิธีการเรียน วัตถุประสงค์ และเป้าหมายของวิชา
รวมทั้ง การมีแหล่งอ้างอิง ข้อมูลที่ใช้ศึกษาเพิ่มเติม รวมทั้ง เอกสารประกอบการสอน เหมือนกับ
การเรียนการสอนแบบปกติ เพียงแต่ข้อมูลทั้งหมดจะอยู่ในรูปแบบสื่อออนไลน์
จากผลการวิจัยข้างต้น ผู้วิจัยจึงขอเสนอแนะให้สถานศึกษามีช่องทางเลือกระบบจัดการหลักสูตร
(Course Management) อาทิเช่น ห้องสนทนา (Chat room) หัวข้อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น (Discussion
Forum) พื้นที่เก็บสื่อประกอบการเรียน การสอน (Workshop Area) การชี้แนะเว็บไซต์ที่ผู้เรียน
สามารถเข้าไปค้นคว้าหาความรู้ใหม่ ๆ ได้ทันเหตุการณ์ และทันเวลา
170
171
3) ระบบติดตามการเรียนการสอน (Course Tracking System) จากผลการศึกษาพบว่า ระบบ
ติดตามการเรียนการสอนประกอบไปด้วย 1) การตรวจสอบการเข้าเรียนของผู้เรียน และ
2) การตรวจสอบเวลาได้เป็นหัวข้อการเรียน หรือบทเรียน
จากผลการวิจัยข้างต้น ผู้วิจัยจึงขอเสนอแนะให้สถานศึกษามีระบบสถิติการใช้งานของผู้ใช้ระบบ
มากมายโดยมีการนำเสนอทั้งตัวเลขสถิติและนำเสนอด้วยกราฟ
4) ระบบการวัดและประเมินผล (Assessments System) จากผลการศึกษาพบว่า ระบบ
การวัดและประเมินผล ประกอบไปด้วย 1) การตรวจสอบสถิติและความคืบหน้าด้านการเรียนของ
ตนเอง 2) การทำแบบฝึกหัดออนไลน์ 3) การทำข้อสอบออนไลน์ 4) ข้อกำหนดการทำแบบฝึกหัด
ออนไลน์ และ 5) ข้อกำหนดการทำข้อสอบออนไลน์
จากผลการวิจัยข้างต้น ผู้วิจัยจึงขอเสนอแนะให้สถานศึกษามีระบบการสร้างแบบทดสอบออนไลน์
ของแต่ละวิชาได้โดยเลือกเมนู ซึ่งมีรูปแบบข้อคำถามให้เลือก 3 แบบ คือ Multiple Choice, True or
False, Open Ended ระบบจะมีการตั้งค่าว่าจะให้สอบได้ตั้งแต่ วัน-เวลาใด ถึงเวลาใด เมื่อผู้เรียนทำ
ข้อสอบแล้วผู้สอนสามารถเข้าไปตรวจข้อสอบได้ โดยถ้าเป็นแบบ Multiple Choice หรือ True or
False ระบบจะตรวจให้อัตโนมัติ
5) ระบบการสื่อสาร (Communication System) จากผลการศึกษาพบว่า ระบบการสื่อ
สารประกอบไปด้วย 1) การรับ-ส่งเมลล์ถึงผู้สอน 2) การป้อนข้อมูลโต้ตอบในกระดานข่าว
3) การตรวจสอบข่าวสารแต่ละรายวิชา และ 4) การ สร้าง Post Board ต่าง ๆ และการเปิดห้อง Chat
ภายในรายวิชา หรือสามารถแทรกภาพและภาพเคลื่อนไหว สอดคล้องกับ สุณี รักษาเกียรติศักดิ์ [35]
ที่กล่าวว่า ระบบการสื่อสารทั้งแบบ asynchronous (ผู้ส่งกับผู้รับไม่ต้องสื่อสารในเวลาเดียวกัน) ได้แก่
Forums (ซึ่งก็คือ Web board นั่นเอง) Inbox (ซึ่งก็คือ e-mail นั่นเอง) และแบบ synchronous
(ผู้ส่งกับผู้รับต้องอยู่เวลาเดียวกัน) ได้แก่ Chat
จากผลการวิจัยข้างต้น ผู้วิจัยจึงขอเสนอแนะให้สถานศึกษามีระบบการสื่อสารทั้งแบบ asynchronous
(ผู้ส่งกับผู้รับไม่ต้องสื่อสารในเวลาเดียวกัน) ได้แก่ Forums (ซึ่งก็คือ Web board นั่นเอง), Inbox
(ซึ่งก็คือ e-mail นั่นเอง) และแบบ synchronous (ผู้ส่งกับผู้รับต้องอยู่เวลาเดียวกัน) ได้แก่ Chat
171
172
5.6 ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป
ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป มีดังนี้
5.6.1 การวิเคราะห์องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนตามรูปแบบการจัดการบริหาร
การเรียนการสอนบนอินเทอร์เน็ตของสถาบันอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร
5.6.2 การศึกษาเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ของนักศึกษาจากการเรียนรู้ในรูปแบบการจัดการบริหาร
การเรียนการสอนบนอินเทอร์เน็ตกับการเรียนแบบปกติ
5.6.3 การศึกษาปัญหาและอุปสรรค์ของเรียนรู้ในรูปแบบการจัดการบริหารการเรียนการสอน
บนอินเทอร์เน็ต
5.6.4 การพัฒนาระบบจัดการบริหารการเรียนการสอนบนอินเทอร์เน็ตให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
172
173
เอกสารอ้างอิง
1. ชัยวรัตน์ ไชยพจน์พานิช และ ปัทมา จันทวิมล, 2546, ระบบการเรียนการสอนผ่านเครือข่าย
VClass, เอกสารประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการการดำเนินกิจกรรมบนเครือข่ายสารสนเทศ
เพื่อพัฒนาการศึกษา ครั้งที่ 10, [Online], Available: http://www.ait.ac.th, [2006, Feb 15].
2. สุวิชัย พรรษา, 2547, การศึกษาปัญหาการเรียนรู้ของนักศึกษาจากห้องเรียนเสมือนจริง:
สภาพปัจจุบัน สภาพที่ยอมรับได้ และ ความคาดหวัง, วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต ภาควิชา
คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
ธนบุรี, หน้า บทคัดย่อ.
3. หทัยชนก ผลาวรรณ์, 2547, การวิเคราะห์องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการจัดการเรียนการสอนใน
ห้องเรียนเสมือนจริง, วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา บัณฑิต
วิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, หน้า บทคัดย่อ.
4. กัลยา วานิชย์บัญชา, 2546, การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล เวอร์ชัน 7-10.
กรุงเทพฯ : ซี เค แอนด์ เอส โฟโต้สตูดิโอ.
การบริหารจัดการด้านการเรียนการสอนบนอินเทอร์เน็ต ของสถาบันอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร (ตอนที่ 1)
การบริหารจัดการด้านการเรียนการสอนบนอินเทอร์เน็ต ของสถาบันอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร (ตอนที่ 2)
การบริหารจัดการด้านการเรียนการสอนบนอินเทอร์เน็ต ของสถาบันอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร (ตอนที่ 3)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น