วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ศึกษาสภาพและปัญหาการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในกรุงเทพมหานคร (ตอนที่ 1)



เรื่อง ศึกษาสภาพและปัญหาการประกันคุณภาพภายใน
โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในกรุงเทพมหานคร
A STUDY OF CONDITION AND PROBLEMS
OPERATION ON THE QUALITY ASSURANCE IN THE
SECONDARY SCHOOLS OF THE GENERAL
EDUCATION DEPARTMENT
IN BANGKOK METROPOLITAN
วิทยานิพนธ์
ของ
นายสมชาย ใจเที่ยง
เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตาม
หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา
ปีการศึกษา 2545
ISBN :
ลิขสิทธิ์เป็นของสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
หัวข้อวิทยานิพนธ์ การศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน
โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในกรุงเทพมหานคร
โดย นายสมชาย ใจเที่ยง
หลักสูตร ครุศาสตรมหาบัณฑิต
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.อรรณพ จีนะวัฒน์
อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม รองศาสตราจารย์เกริก วยัคฆานนท์
บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา อนุมัติให้นับวิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็น
ส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร ครุศาสตรมหาบัณฑิต
………………………………………………คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
(รองศาสตราจารย์นันทา วิทวุฒิศักดิ์)
วันที่………เดือน…………………พ.ศ……………
คณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์
………………………………………………ประธานกรรมการ
(ศาสตราจารย์ ดร.สายหยุด จำปาทอง)
……………………………………………….อาจารย์ที่ปรึกษา
(อาจารย์ ดร.อรรณพ จีนะวัฒน์)
……………….………………………….…...อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม
(รองศาสตราจารย์เกริก วยัคฆานนท์)
…………….…………………………………กรรมการ
(อาจารย์ ดร.เปรมสุรีย์ เชื่อมทอง)
………………………………………….……กรรมการและเลขานุการ
(รองศาสตราจารย์นันทา วิทวุฒิศักดิ์)
การศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในโรงเรียนมัธยมศึกษา
สังกัดกรมสามัญศึกษา ในกรุงเทพมหานคร
บทคัดย่อ
ของ
นายสมชาย ใจเที่ยง
เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา
ตามหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา
ปีการศึกษา 2545
สมชาย ใจเที่ยง.(2545) การศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในโรงเรียน
มัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในกรุงเทพมหานคร วิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต.
กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
คณะกรรมการควบคุม อาจารย์ ดร.อรรณพ จีนะวัฒน์
รองศาสตราจารย์เกริก วยัคฆานนท์
วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้ เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินงานประกันคุณ
ภาพภายใน และเปรียบเทียบสภาพและปัญหาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน โรงเรียนมัธยม
ศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในกรุงเทพมหานคร จำแนกตามขนาดของโรงเรียน ประชากรที่ใช้ใน
การศึกษา ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาทั้งหมดในกรุงเทพมหานคร 116 คน เครื่องมือที่ใช้
ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามแบบเลือกตอบและมาตราส่วนประมาณค่า โดยได้รับแบบสอบถาม
คืนจำนวน 101 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 87.06 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/FW
เพื่อหาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าความแปรปรวน แล้วนำมาประกอบคำ
บรรยาย
ผลการวิจัย
1. สภาพและปัญหาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน ของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัด
กรมสามัญศึกษา ในกรุงเทพมหานคร ตามระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถาน
ศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและปฐมวัย 8 ขั้นตอน คือ 1) การจัดระบบบริหารและสารสนเทศ
2) การพัฒนามาตรฐานการศึกษา 3) การจัดทำแผนพัฒนามาตรฐานการศึกษา 4) การดำเนินงาน
ตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา 5) การตรวจสอบและทบทวนคุณภาพการศึกษา 6) การประเมิน
คุณภาพการศึกษา 7) การรายงานคุณภาพการศึกษาประจำปี 8) การผดุงระบบการประกันคุณ
ภาพการศึกษา ส่วนใหญ่มีสภาพการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก และมีปัญหาการดำเนินงานอยู่ใน
ระดับน้อย
2. เปรียบเทียบสภาพและปัญหาการดำเนินงาน จำแนกตามขนาดของโรงเรียน พบว่า ด้าน
สภาพการดำเนินงาน โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษมีการดำเนินงานมากกว่า โรงเรียนขนาดใหญ  และ
โรงเรียนขนาดกลางและเล็ก ด้านปัญหาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน โดยภาพรวม โรง
เรียนขนาดใหญ่ และโรงเรียนขนาดกลางและเล็กมีปัญหาการดำเนินงานมากกว่าโรงเรียนขนาด
ใหญ่พิเศษ
A SUDY OF CONDITION AND PROBLEM OPERATION ON THE QUALITY
ASSURANCE IN THE SECONDARY SCHOOLS OF THE GENERAL
EDUCATION DEPARTMENT IN BANGKOK METROPOLITAN
AN ABSTRACT
BY
MR.SOMCHAI CHAITHIANG
PRESENTED IN PARTIAL FULFILLMENT OF THE REQUIREMENTS
FOR THE MASTER OF EDUCATIONAL ADMINISTRATION
ATRAJABHAT INSITUTE BANSOMDEJ CHAO PRAYA
2002
Somchai chaithiang.(2002).A Study of Condition and Problem Operation on the Quality
Assurance in the Secondary Schools of the General Education Department in
Bangkok Metropolitan.Master thesis, in Educational Administration Bangkok :
Graduate School,RIB.
Advisor Committee : Dr. Annop Jeenawathana
Associate Professor Krerk Wayakanon
The objectives were to study the condition problem operation on the quality assurance
and compare the condition and problem operation on the quality assurance in the secondary
schools of the General Education Department in Bangkok metropolitan based of school size. The
data were analysed from the questionnaires returned by 101 principals of 87.06 percent of the
population of 116 of the secondary schools of the General Education Department in Bangkok
metropolitan. The mean, percentage, standard deviations and one way ANOVA were analysed by
the SPSS/FW programme. Final results were descriptively presented.
The findings were as follow:
1. The condition and problem operation on the quality assurance in the secondary schools
of the General Education Department in Bangkok metropolitan on the procedures :1) the
management and information system. 2) the standard of education development. 3)the planning of
the standard of education development. 4) the operation according to the plan of education
development. 5) the evaluating and reviewing the quality of education. 6) the quality of education
evaluation. 7) the annual report of the quality of education. 8) the maintaining assurance of
education.
2. The operation in the special size schools is more than the large size schools. Small,
middle and large size schools have more problems than special size schools..
สารบัญ
หน้า
บทคัดย่อภาษาไทย………………………………………………………………………………. ก
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ…………………………………………………………………………… ค
ประกาศคุณูปการ……………………………………………………………………………….. จ
สารบัญ……………….………………………………………………………………………….. ฉ
สารบัญตาราง………….………………………………………………………………………… ฌ
สารบัญภาพ……………………………………………………………………………………... ฐ
บทที่ 1 บทนำ………………………………………………………………………………… 1
1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา………………………………………… 1
1.2 วัตถุประสงค์………………………………………………………………………4
1.3 สมมติฐานในการวิจัย……………………………………………………………. 4
1.4 ขอบเขตการวิจัย………………………………………………………………… 4
1.5 นิยามศัพท์เฉพาะ………………………………………………………………. 5
1.6 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ……………………………………………………… 7
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง……………………………………………………… 9
2.1 การประกันคุณภาพการศึกษา…………………………………………………….. 10
2.2 การประกันคุณภาพการศึกษาของกรมสามัญ…………………………………… 12
2.3 การประกันคุณภาพการศึกษาในระดับโรงเรียน…………………………………. 22
2.4 มาตรฐานระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในโรงเรียน……………………28
2.5 การประเมินผลภายใน………………………………………………………………37
2.6 ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง…………………………………………………………… 40
สารบัญ(ต่อ)
หน้า
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย………………………………………………………………………49
3.1 ประชากร…………………………………………………………………………49
3.2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย………………………………………………………… 51
3.3 การเก็บรวบรวมข้อมูล……………………………………………………………53
3.4 การวิเคราะห์ข้อมูล……………………………………………………………… 54
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์……………………………………………………………………… 55
4.1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม…………………………………………… 56
4.2 ผลการศึกษาสภาพการดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน
โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในกรุงเทพมหานคร…………….… 58
4.3 ผลการศึกษาปัญหาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน โรงเรียนมัธยมศึกษา
สังกัดกรมสามัญศึกษา ในกรุงเทพมหานคร………………………………………68
4.4 ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นสภาพการดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน
โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในกรุงเทพมหานคร
จำแนกตามขนาดโรงเรียน………………………………………………………… 78
4.5 ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นปัญหาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน
โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในกรุงเทพมหานคร
จำแนกตามขนาดโรงเรียน………………………………………………………… 82
4.6 ผลการศึกษาข้อเสนอแนะสภาพและปัญหาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน
โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในกรุงเทพมหานคร ……………….. 85
สารบัญ(ต่อ)
หน้า
บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ………….…………………………………… 86
5.1 วัตถุประสงค์ของการวิจัย………………………………………………………….86
5.2 วิธีดำเนินการวิจัย……………………………………………………………….. 86
5.3 สรุปผลการวิจัย…………………………………………………………………. 87
5.4 อภิปรายผล……………………………………………………………………… 92
5.5 ข้อเสนอแนะ……………………………………………………………………. 96
บรรณานุกรม…………………………………………………………………………………. 97
ภาคผนวก…………………………………………………………………………………….. 101
ภาคผนวก ก. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่องระบบหลักเกณฑ์และวิธีการประกัน
คุณภาพภายในสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและปฐมวัย .. 102
ภาคผนวก ข. - หนังสืออนุมัติให้ดำเนินการทำวิทยานิพนธ์………...………….. 108
- หนังสือเชิญผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาเครื่องมือ
ในการทำวิทยานิพนธ์…………………………………………… 109
- หนังสือขอความอนุเคราะห์เก็บข้อมูลในการทำวิทยานิพนธ์………114
ภาคผนวก ค. แบบสอบถามเพื่อเก็บข้อมูลประกอบการวิจัย……………………….117
ประวัติผู้วิจัย…………………………………………………………………………………….123
สารบัญตาราง
หน้า
ตารางที่ 1 แสดงการเปรียบเทียบสภาพโรงเรียนที่มีระบบประกันคุณภาพ
กับโรงเรียนที่ไม่มีระบบประกันคุณภาพ…………………………….…….. 26
ตารางที่ 2 แสดงลักษณะภาพรวมของระบบสารสนเทศกับการจัดการบริหาร………... 29
ตารางที่ 3 รายชื่อโรงเรียนโดยจำแนกตามขนาดของโรงเรียน……………………...… 49
ตารางที่ 4 แสดงเกณฑ์การให้คะแนนของแบบสอบถามตอนที่ 2…………………..…... 53
ตารางที่ 5 แสดงจำนวนและร้อยละของแบบสอบถามที่ส่งไปและได้รับกลับคืนมา…. 53
ตารางที่ 6 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม……………………………………… 56
ตารางที่ 7 แสดงผลการศึกษาสภาพดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน โรงเรียนมัธยมศึกษา
สังกัดกรมสามัญศึกษา ในกรุงเทพมหานคร……………………………….. 58
ตารางที่ 8 แสดงผลการศึกษาสภาพการดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน
โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในกรุงเทพมหานคร
ตามระบบการประกันคุณภาพภายใน ขั้นตอนที่ 1 การจัดระบบ
บริหารและสารสนเทศ…….………………………….…..………………… 59
ตารางที่ 9 แสดงผลการศึกษาสภาพการดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน
โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในกรุงเทพมหานคร
ตามระบบการประกันคุณภาพภายใน ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนา
มาตรฐานการศึกษา……. …………………………………………………… 60
ตารางที่ 10 แสดงผลการศึกษาสภาพการดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน
โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในกรุงเทพมหานคร
ตามระบบการประกันคุณภาพภายใน ขั้นตอนที่ 3 การจัดทำแผน
พัฒนาคุณภาพการศึกษา…….……………………………………………. 61
ตารางที่ 11 แสดงผลการศึกษาสภาพการดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน
โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในกรุงเทพมหานคร
ตามระบบการประกันคุณภาพภายใน ขั้นตอนที่ 4 การดำเนินงาน
ตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา…………………………………………… 62
สารบัญตาราง (ต่อ)
หน้า
ตารางที่ 12 แสดงผลการศึกษาสภาพการดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน
โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในกรุงเทพมหานคร
ตามระบบการประกันคุณภาพภายใน ขั้นตอนที่ 5 การตรวจสอบ
และทบทวนคุณภาพการศึกษา………………………………………………. 64
ตารางที่ 13 แสดงผลการศึกษาสภาพการดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน
โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในกรุงเทพมหานคร
ตามระบบการประกันคุณภาพภายใน ขั้นตอนที่ 6
การประเมินคุณภาพการศึกษา………………………………………………. 65
ตารางที่ 14 แสดงผลการศึกษาสภาพการดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน
โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในกรุงเทพมหานคร
ตามระบบการประกันคุณภาพภายใน ขั้นตอนที่ 7 การรายงาน
คุณภาพการศึกษาประจำปี …………………………………………………. 66
ตารางที่ 15 แสดงผลการศึกษาสภาพการดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน
โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในกรุงเทพมหานคร
ตามระบบการประกันคุณภาพภายใน ขั้นตอนที่ 8 การผดุงระบบ
การประกันคุณภาพการศึกษา ………………….…………………………… 67
ตารางที่ 16 แสดงผลการศึกษาปัญหาดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน
โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในกรุงเทพมหานคร…………. 68
ตารางที่ 17 แสดงผลการศึกษาปัญหาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน
โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในกรุงเทพมหานคร
ตามระบบการประกันคุณภาพภายใน ขั้นตอนที่ 1 การจัดระบบ
บริหารและสารสนเทศ……….………………………………………… 69
สารบัญตาราง(ต่อ)
หน้า
ตารางที่ 18 แสดงผลการศึกษาปัญหาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน
โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในกรุงเทพมหานคร
ตามระบบการประกันคุณภาพภายใน ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนา
มาตรฐานการศึกษา…………………………………………………………. 70
ตารางที่ 19 แสดงผลการศึกษาปัญหาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน
โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในกรุงเทพมหานคร
ตามระบบการประกันคุณภาพภายใน ขั้นตอนที่ 3 การจัดทำแผน
พัฒนาคุณภาพการศึกษา ………………….………………………………… 71
ตารางที่ 20 แสดงผลการศึกษาปัญหาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน
โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในกรุงเทพมหานคร
ตามระบบการประกันคุณภาพภายใน ขั้นตอนที่ 4 การดำเนินงาน
ตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา…………………………………………… 73
ตารางที่ 21 แสดงผลการศึกษาปัญหาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน
โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในกรุงเทพมหานคร
ตามระบบการประกันคุณภาพภายใน ขั้นตอนที่ 5 การตรวจสอบ
และทบทวนคุณภาพการศึกษา………………………………………………. 74
ตารางที่ 22 แสดงผลการศึกษาปัญหาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน
โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในกรุงเทพมหานคร
ตามระบบการประกันคุณภาพภายใน ขั้นตอนที่ 6 การประเมิน
คุณภาพการศึกษา …………………………………………………………… 75
ตารางที่ 23 แสดงผลการศึกษาปัญหาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน
โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในกรุงเทพมหานคร
ตามระบบการประกันคุณภาพภายใน ขั้นตอนที่ 7 การรายงาน
คุณภาพการศึกษาประจำปี………………..…………………………………. 76
สารบัญตาราง(ต่อ)
หน้า
ตารางที่ 24 แสดงผลการศึกษาปัญหาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน
โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในกรุงเทพมหานคร
ตามระบบการประกันคุณภาพภายใน ขั้นตอนที่ 8 การผดุงระบบ
การประกันคุณภาพการศึกษา………………………………………………. 77
ตารางที่ 25 การวิเคราะห์ความแปรปรวน ความคิดเห็นที่มีต่อสภาพการดำเนินงาน
ประกันคุณภาพภายใน โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา
ในกรุงเทพมหานคร จำแนกตามขนาดโรงเรียน…………………………… 78
ตารางที่ 26 ผลการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างคู่ของสภาพ
การดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน โรงเรียนมัธยมศึกษา
สังกัดกรมสามัญศึกษา ในกรุงเทพมหานคร จำแนกตามขนาดโรงเรียน…… 80
ตารางที่ 27 การวิเคราะห์ความแปรปรวน ความคิดเห็นที่มีต่อปัญหาการดำเนินงาน
ประกันคุณภาพภายใน โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา
ในกรุงเทพมหานคร จำแนกตามขนาดโรงเรียน…………………………… 82
ตารางที่ 28 ผลการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างคู่ของปัญหา
การดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน โรงเรียนมัธยมศึกษา
สังกัดกรมสามัญศึกษา ในกรุงเทพมหานคร จำแนกตามขนาดโรงเรียน……. 84
ตารางที่ 29 ข้อเสนอแนะในการดำเนินการประกันคุณภาพภายใน……………………… 81
สารบัญภาพ
หน้า
ภาพที่ 1 แสดงกรอบแนวคิดที่ใช้ในการวิจัย……………………………………….. 8
ภาพที่ 2 แสดงการควบคุมคุณภาพ การตรวจสอบคุณภาพภายในและจากภายนอก..… 10
ภาพที่ 3 แสดงการประกันคุณภาพ………………………………………….. 25
บทที่ 1
บทนำ
1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
โลกในยุคปัจจุบันเป็นโลกยุคโลกาภิวัตน์ ที่มีความเจริญก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงจำเป็นที่แต่ละประเทศต้องเรียนรู้ที่จะปรับตัวให้ทันกับ
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา และพร้อมที่จะเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงของโลก โดยปัจจัยที่สำคัญ
ที่จะเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว คือ คุณภาพของคน การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคนให้มีคุณภาพ
จึงเป็นเรื่องที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง โดยผ่านกระบวนการศึกษาที่มีคุณภาพ เพื่อทำให้ศักยภาพที่มีอยู่
ในตัวตนได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่
การจัดการศึกษาไทยจึงต้องมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาทั้งในส่วนที่เป็นปัจจัยกระบวน
การ และผลผลิต เพื่อเตรียมคนให้มีคุณลักษณะ "มองกว้าง คิดไกล ใฝ่ดี"(บุญทิพย์ สุริยวงศ์ 2544 : 1)
นั่นคือการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ และคุณภาพจะต้องได้มาตรฐานขั้นต่ำทัดเทียมกันทั่วประเทศ แต่
จากอดีตถึงปัจจุบันคุณภาพการจัดการศึกษาของไทย มีโรงเรียนบางโรงเรียนเท่านั้นที่ได้รับความนิยม
จากผู้ปกครอง เนื่องจากมีความเชื่อด้านคุณภาพของแต่ละโรงเรียน การจัดการศึกษาจึงต้องเร่งพัฒนา
ให้มีคุณภาพทัดเทียมกัน เพื่อพัฒนาศักยภาพของโรงเรียนให้มีความเชื่อมั่น ความศรัทธาแก่ผู้ปกครอง
(สัมฤทธิ์ กางเพ็ง 2544 :34)
กระแสแห่งความต้องการการศึกษาที่มีคุณภาพจากอดีตจนถึงปัจจุบันมีมาตลอดทุกยุคสมัย
เพิ่มความรุนแรง และความเข้มข้นมากขึ้นด้วยกระแสผลักดันจากสภาวะโลกาภิวัตน ์ ความต้องการ
และกระแสเรียกร้องจากผู้รับผลจากการจัดการศึกษา เช่น ผู้เรียน ผู้ปกครอง ชุมชน สังคม เป็นต้น
บุคคลในวงการศึกษาจึงได้แสวงหาวิธีการต่างๆ ที่จะสร้างความมั่นใจในคุณภาพของการจัดการศึกษา
โดยเน้นพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนที่เป็นหน่วยงานที่มีภาระหน้าที่ความรับผิดชอบต่อผู้รับ
บริการทางการศึกษาโดยตรง ให้มีการดำเนินการทั้งด้านปัจจัย กระบวนการและผลผลิต ให้มีมาตร
ฐานการศึกษาตามที่กำหนด ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นการให้ความสำคัญกับของการประกันคุณภาพการ
ศึกษา แต่จากสภาพความเป็นจริงในปัจจุบัน พบว่า ยังมีปัญหาอยู่หลายประการ เช่น นักเรียนที่จบการ
ศึกษามีคุณภาพยังไม่เป็นที่พึงพอใจของสังคม ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ยังไม่เชื่อมั่น ศรัทธา และยอมรับ
ในคุณภาพการศึกษา ความไม่ทัดเทียมกันในคุณภาพการศึกษา ขาดระบบการประเมินมาตรฐาน ขาด
ระบบตรวจสอบภายใน ขาดแรงจูงใจให้โรงเรียนมีการพัฒนา การประกันคุณภาพจึงเป็นมาตรการ
2
หนึ่งที่จะทำให้เกิดความเชื่อมั่น และแก้ไขปัญหาที่กล่าวมาได้ (สมศักดิ์ ดลประสิทธิ์ 2542 : 1) ทั้งนี้
กระทรวงศึกษาธิการ(2542 : 2-4) ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับปัญหาและความจำเป็นที่ต้องมีการประกัน
คุณภาพการศึกษา ไว้ดังนี้
(1) ผู้จบการศึกษายังไม่มีคุณภาพในระดับที่สังคมพอใจ
(2) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการจัดการศึกษา ยังไม่สามารถเข้าไปตรวจสอบการจัดการศึกษาได้
อย่างสะดวกและทั่วถึง
(3) โรงเรียนต่าง ๆ นำหลักสูตรไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนไม่เท่าเทียมกันตามมาตรฐาน
กลาง
(4) ขาดมาตรการที่จะกำกับให้โรงเรียนดำเนินการพัฒนาคุณภาพ การจัดการเตรียมการสอน
ตามแนวทางการใช้หลักสูตรให้ได้ผลสำเร็จอย่างจริงจัง
(5) ขาดแรงจูงใจ และการเสริมแรงเพื่อยกย่องให้เกียรติ ให้รางวัลแก่บุคลากรในโรงเรียน
ที่มีผลปฏิบัติงานสอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐาน
(6) ความสามารถของนักเรียนไทยยังไม่อาจเทียบกับมาตรฐานการเรียนรู้ของนักเรียนชาติ
อื่นๆ ได้
ดังนั้น การประกันคุณภาพการศึกษาถือเป็นมาตรการที่จะนำเอากระบวนการยกมาตรฐาน
ของโรงเรียนที่ยังไม่ได้มาตรฐานผลักดันให้ได้ตามมาตรฐานที่กำหนด
การประกันคุณภาพการศึกษาจึงเป็นวิธีการใหม่ในการปรับปรุง พัฒนาคุณภาพของการศึกษา
อย่างเป็นระบบ เป็นการประกันคุณภาพของกระบวนการบริหาร และการให้บริการทางการศึกษา
เพื่อให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเกิดความมั่นใจในคุณภาพการบริหารการจัดการของหน่วยงานที่จัดการศึกษา
โดยตรง คือ โรงเรียน และส่งผลต่อคุณภาพของผลผลิต คือ นักเรียนที่จบการศึกษา โดยเน้นการกำกับ
ควบคุม การดำเนินงานทุกขั้นตอน มีการปรับปรุงและพัฒนากระบวนการอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นจึงเป็น
ความจำเป็นอย่างยิ่งที่สถานศึกษา รวมทั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบทางการศึกษาจะต้องมีความตระหนัก
และให้ความสำคัญในเรื่องของคุณภาพอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้และนำระบบการประกันคุณภาพการศึกษา
มาปฏิบัติอย่างจริงจัง
หลังจากที่กรมสามัญศึกษาได้กำหนดแนวทางการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาของ
สถานศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ(ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ 2544 : 1) ได้กำหนดระบบประกัน
คุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โดยกำหนดให้หน่วยงานต้นสังกัด และสถานศึกษาจัดให้มีระบบ
การประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้เกี่ยวข้องว่า ผู้เรียนทุกคน
จะได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพจากสถานศึกษา เพื่อการพัฒนาความรู้ ความสามารถและคุณลักษณะที่
3
พึงประสงค์ ตามมาตรฐานการศึกษาที่กำหนดไว้ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างเต็มศักยภาพ
โดยยึดหลักว่า ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา เป็นส่วนหนึ่งของการบริหาร
การศึกษา ซึ่งเป็นกระบวนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วย
(1) การจัดระบบบริหารและสารสนเทศ
(2) การพัฒนามาตรฐานการศึกษา
(3) การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา
(4) การดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา
(5) การตรวจสอบและทบทวนคุณภาพการศึกษา
(6) การประเมินคุณภาพการศึกษา
(7) การรายงานคุณภาพการศึกษาประจำปี
(8) การผดุงระบบการประกันคุณภาพการศึกษา
โดยให้หน่วยงานต้นสังกัดของสถานศึกษา ส่งเสริม สนับสนุน และกำกับดูแลสถานศึกษาใน
สังกัดให้เป็นไปตามกระบวนการพัฒนาคุณภาพดังกล่าว
ระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ก็คืองานที่สถานศึกษาปฏิบัติอยู่นำมาจัดให้เป็น
ระบบที่ชัดเจน เพื่อให้เกิดการปฏิบัติงานที่ได้มาตรฐาน เชื่อถือได้ สม่ำเสมอและต่อเนื่อง สร้าง
ความมั่นใจต่อสังคมได้ว่าสถานศึกษามีศักยภาพในการจัดการศึกษารายงานต่อสาธารณชนได้ว่าผู้เรียน
ทุกคนของสถานศึกษาได้รับการเรียนรู้หรือไม่เพียงใด ใช้วิธีการใดในการพัฒนาผู้เรียน และทราบได้
อย่างไรว่าผู้เรียนทุกคนเกิดการเรียนรู้ ตลอดจนต้องมีการเปลี่ยนแปลงอะไรอีกบ้าง เพื่อให้ผู้เรียน
ทุกคนมีผลสัมฤทธิ์ที่เขยิบสูงขึ้น สามารถบรรลุผลตามมาตรฐานที่สถานศึกษากำหนดให้สูงขึ้นตาม
ศักยภาพของผู้เรียนเช่นกัน
จากข้อมูลข้างต้น แสดงว่าสถานศึกษายังต้องการได้รับการพัฒนาความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับ
การประกันคุณภาพภายใน ซึ่งหน่วยงานต่างๆ จะต้องดำเนินการในเรื่องนี้โดยเร่งด่วนเพื่อให้โรงเรียน
มีการประกันคุณภาพภายในให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาต ิ พ.ศ. 2542 ที่สอดคล้อง
กับประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน
สถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและปฐมวัย ดังนั้นผู้วิจัยในฐานะข้าราชการครู ในสังกัดกรม
สามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการจึงมีความสนใจที่จะศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินงานประกัน
คุณภาพภายใน โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในกรุงเทพมหานคร ตามประกาศ
กระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและปฐมวัย
4
1.2 วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน โรงเรียนมัธยม
ศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในกรุงเทพมหานคร
2. เพื่อศึกษาปัญหาเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัด
กรมสามัญศึกษา ในกรุงเทพมหานคร
3. เพื่อเปรียบเทียบสภาพและปัญหาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน โรงเรียนมัธยม
ศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในกรุงเทพมหานคร โดยเปรียบเทียบตามขนาดของโรงเรียน ซึ่งแบ่ง
เป็น 3 ขนาด คือ โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ โรงเรียนขนาดใหญ่ และโรงเรียนขนาดกลางและเล็ก
1.3 สมมติฐานในการวิจัย
โรงเรียนที่มีขนาดต่างกัน มีสภาพและปัญหาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในต่างกัน
1.4 ขอบเขตการวิจัย
ขอบเขตของเนื้อหา
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินงาน เกี่ยวกับการประกันคุณภาพ
การศึกษาภายใน โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในกรุงเทพมหานคร ตามระบบ
การประกันคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และปฐมวัย ของกระทรวง
ศึกษาธิการ
ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา
1. ตัวแปรอิสระ
- ขนาดของโรงเรียนมัธยมศึกษา ได้แก่ โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ โรงเรียนขนาดใหญ่
และโรงเรียนขนาดกลางและเล็ก
2. ตัวแปรตาม ได้แก่
สภาพและปัญหาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในโรงเรียน ตามระบบ หลักเกณฑ์ และ
วิธีการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และปฐมวัย ของ
กระทรวงศึกษาธิการ 8 ขั้นตอน คือ (ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ, 2544)
1. การจัดระบบบริหารและสารสนเทศ
2. การพัฒนามาตรฐานการศึกษา
5
3. การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา
4. การดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา
5. การตรวจสอบและทบทวนคุณภาพการศึกษา
6. การประเมินคุณภาพการศึกษา
7. การรายงานคุณภาพการศึกษาประจำปี
8. การผดุงระบบการประกันคุณภาพการศึกษา
ประชากร
ประชากรที่นำมาศึกษาในการวิจัยน ี้ เป็นผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดกรมสามัญศึกษา
ในกรุงเทพมหานครจำนวน 116 โรงเรียน ซึ่งในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยศึกษาจากประชากร
1.5 นิยามศัพท์เฉพาะ
การประกันคุณภาพการศึกษา หมายถึง กระบวนการดำเนินงานของสถานศึกษาตามพันธกิจ
ที่ได้ร่วมกันกำหนดขึ้น เพื่อให้ผลผลิตของการจัดการศึกษามีคุณภาพอันพึงประสงค์ตามความคาดหวัง
ของผู้ปกครอง ชุมชน และสังคม
การประกันคุณภาพภายใน หมายถึง การประกันคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษาตาม
กระบวนการและปัจจัยการประกันคุณภาพ โดยมุ่งเน้นการประเมินผล การติดตามตรวจสอบคุณภาพ
และมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายใน โดยบุคลากรของสถานศึกษานั้นเอง หรือโดย
หน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถานศึกษานั้น
สภาพการดำเนินงาน หมายถึง การจัดการหรือการกระทำใด ๆ ตามระบบประกันคุณภาพ
การศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและปฐมวัย ของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่ง
เป็นกระบวนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วย
1. การจัดระบบบริหารและสารสนเทศ หมายถึง การจัดโครงสร้างการบริหาร จัดการให้
เอื้อต่อการดำเนินงานและจัดให้มีข้อมูลที่เพียงพอในการจัดการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อ
นำมากำหนดวิสัยทัศน์ภารกิจ และแผนพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษา
2. การพัฒนามาตรฐานการศึกษา หมายถึง การดำเนินงานของโรงเรียนเพื่อกำหนด
เกี่ยวกับคุณลักษณะ และ/หรือคุณภาพที่พึงประสงค์ที่สถานศึกษาต้องการให้เกิดขึ้น โดยมุ่งเน้น
มาตรฐานด้านผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่สอดคล้องกับจุดประสงค์ที่หลักสูตรกำหนด ตลอดจน
ความต้องการของต้นสังกัดและชุมชนที่โรงเรียนตั้งอยู่
6
3. การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา หมายถึง การดำเนินการจัดทำแผนอย่างเป็น
ระบบบนพื้นฐานข้อมูลของสถานศึกษา ประกอบดว้ ยเปา้ หมาย ยุทธศาสตร  และแนวปฏิบัติที่ชัดเจน
สมบูรณ์ ครอบคลุมการพัฒนาทุกกิจกรรมที่เป็นส่วนประกอบหลักของการจัดการศึกษา และเป็น
ที่ยอมรับร่วมกันจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง นำไปปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุผลตามเป้าหมายของแต่ละกิจกรรม
ที่กำหนดอย่างสอดรับกับวิสัยทัศน์และมาตรฐานหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
4. การดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา หมายถึง การปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตาม
แผนที่กำหนด ตลอดจนการกำกับ ติดตามการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องให้บรรลุเป้าหมายตามแผน
พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาที่กำหนดไว้ โดยจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีที่ชัดเจน ครอบคลุมงาน /
โครงการของสถานศึกษา
5. การตรวจสอบและทบทวนคุณภาพการศึกษา หมายถึง การตรวจสอบและทบทวนภายใน
โดยบุคลากรในสถานศึกษาดำเนินการและการตรวจสอบและทบทวนจากหน่วยงานต้นสังกัด
6. การประเมินคุณภาพการศึกษา หมายถึง การประเมินผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนในระดับชั้นที่
เป็นตัวประโยค ได้แก่ ประถมศึกษาปีที่ 3 และ 6 มัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 6 ในวิชาแกนร่วม โดย
ใช้แบบทดสอบมาตรฐานโดยหน่วยงานส่วนกลางร่วมกับต้นสังกัด (เขตพื้นที่) ดำเนินการ
7. การรายงานคุณภาพการศึกษาประจำปี หมายถึง การนำข้อมูลผลการประเมินมาตรฐาน
คุณภาพการตรวจสอบ และทบทวนภายในและภายนอกมาประมวลรายงานผลการพัฒนาคุณภาพ
ประจำปีการศึกษา ซึ่งจะนำไปใช้เป็นข้อมูลสำหรับการวางแผนพัฒนาคุณภาพต่อไป
8. การผดุงระบบการประกันคุณภาพการศึกษา หมายถึง กลไกส่วนหนึ่งของระบบประกัน
คุณภาพภายใน เพื่อให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อการส่งเสริมพัฒนาและประเมินประสิทธิภาพการดำเนินงาน
ของระบบประกันคุณภาพ
ปัญหาการดำเนินงาน หมายถึง การจัดการ หรือการกระทำใด ๆ ที่ไม่เป็นไปตามนโยบาย
เป้าหมายหรือเกณฑ์ ตามระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้น
ฐานและปฐมวัย ของกระทรวงศึกษาธิการ
ผู้บริหาร หมายถึง ผู้บริหารในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ใน
กรุงเทพมหานคร ซึ่งได้แก่ ตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน ตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ หรือตำแหน่งครูใหญ่
โรงเรียนมัธยมศึกษา หมายถึง โรงเรียนที่เปิดทำการสอนระดับมัธยมศึกษา ที่สังกัดกรม
สามัญศึกษา ในกรุงเทพมหานคร
7
ขนาดของโรงเรียนมัธยมศึกษา หมายถึง โรงเรียนที่จำแนกตามจำนวนนักเรียน โดยแบ่งเป็น
3 ขนาด ตามเกณฑ์ของกรมสามัญศึกษา คือ
โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ มีจำนวนนักเรียนตั้งแต่ 2,499 คนขึ้นไป
โรงเรียนขนาดใหญ่ มีจำนวนนักเรียนตั้งแต่ 1,500 - 2,499 คน
โรงเรียนขนาดกลางและเล็ก มีจำนวนนักเรียนตั้งแต่ 1,499 คนลงมา
1.6 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ทำให้ทราบสภาพการดำเนินงานเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน โรงเรียน
มัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในกรุงเทพมหานคร เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์และใช้
เป็นแนวทางในการพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนต่อไป
2. ทำให้ทราบปัญหา และอุปสรรคในการดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน โรงเรียนมัธยม
ศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในกรุงเทพมหานคร เพื่อให้ได้ข้อมูลนำมาใช้เป็นแนวทางในการแก้
ปัญหาการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน
3. เพื่อให้ผู้บริหาร และบุคลากรที่เกี่ยวข้องนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในด้านการพัฒนา
บุคลากร และใช้วิธีการที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหาพัฒนาประสิทธิภาพ ในการจัดการประกัน
คุณภาพภายใน โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในกรุงเทพมหานคร
8
ภาพที่ 1 กรอบแนวคิดที่ใช้ในการวิจัย
การดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
สภาพการดำเนินงาน ปัญหาการดำเนินงาน
ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน
สถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและ
ปฐมวัย ของกระทรวงศึกษาธิการ
1. การจัดระบบบริหารและสารสนเทศ
2. การพัฒนามาตรฐานการศึกษา
3. การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา
4. การดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพ
การศึกษา
5. การตรวจสอบและทบทวนคุณภาพ
การศึกษา
6. การประเมินคุณภาพการศึกษา
7. การรายงานคุณภาพการศึกษาประจำปี
8. การผดุงระบบการประกันคุณภาพ
การศึกษา
บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาค้นคว้าเอกสารและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นข้อมูล
ประกอบการศึกษาวิเคราะห์ อภิปรายผลการวิจัย จำแนกได้ดังต่อไปนี้
2.1 การประกันคุณภาพการศึกษา
2.2 การประกันคุณภาพการศึกษาของกรมสามัญ
2.3 การประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับโรงเรียน
2.4 ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในโรงเรียน
2.5 การประเมินผลภายใน
2.6 ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
2.1 การประกันคุณภาพการศึกษา
2.1.1 ความหมายของการประกันคุณภาพการศึกษา
สมศักดิ์ ดลประสิทธิ์ (2542 : 2) ได้ให้ความหมายว่า "การประกันคุณภาพการศึกษา"
หมายถึง การประกันคุณภาพของกระบวนการบริหารงานในสถานศึกษาว่า ได้มีการวางแผน
การทำงานและดำเนินกิจกรรมต่างๆ อย่างเป็นระบบ เพื่อให้ผลผลิตของโรงเรียนมีคุณภาพตรงตาม
มาตรฐานการศึกษา และตรงตามความต้องการของผู้รับบริการ หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และผู้รับบริการ
หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความพึงพอใจ
วันชัย ศิริชนะ (2537 : 10) ได้ให้ความหมาย "การประกันคุณภาพการศึกษา" ไว้ว่า
หมายถึง กระบวนการ หรือกลไกใด ๆ ที่เมื่อได้ดำเนินการไปแล้วจะทำให้เกิดการดำรงซึ่งคุณภาพ
การศึกษา ให้ได้มาตรฐานอย่างต่อเนื่อง อันเป็นการป้องกันผลประโยชน์ของผู้เรียน ผู้ปกครอง
นายจ้าง ตลอดจนสังคมโดยส่วนรวม รวมถึงกระบวนการหรือกลไกใด ๆ ที่ริเริ่มขึ้น ภายในสถาน
ศึกษาเองหรือหน่วยงานภายนอก
สัมฤทธิ์ กางเพ็ง (2544 : 35) กล่าวว่า "การประกันคุณภาพการศึกษา" เป็น
กระบวนการวางแผนและกระบวนการจัดการของผู้ที่รับผิดชอบจัดการศึกษา ที่จะรับประกันให้สังคม
เชื่อมั่นว่าจะพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ให้ครบถ้วนตามมาตรฐานคุณภาพที่ระบุไว้ในหลักสูตร
10
และตรงกับความมุ่งหวังของสังคมและชุมชน โดยยึดหลักการสำคัญ 3 ประการ คือ การกระจาย
อำนาจ การมีส่วนร่วม และการควบคุมคุณภาพ
อุทุมพร จามรมาน (2543 : 1) ให้ความหมาย "การประกันคุณภาพการศึกษา"
หมายถึง การควบคุมคุณภาพ การตรวจสอบคุณภาพภายในและจากภายนอก แล้วตัดสินตามเกณฑ์
ซึ่งการประกันคุณภาพการศึกษา เกี่ยวข้องกับคำอีก 4 คำ คือ Quality Control, Quality Audit, Quality
Accreditation และ Quality Assessment ซึ่งจะได้อธิบายความเกี่ยวข้องกันดังเขียนเป็นสมการได้ดังนี้
Quality Assurance = f (Quality Control, Quality Audit, Quality Assessment)
1. การควบคุมคุณภาพ หมายถึง การดำเนินงานตามแผนที่วางไว้อย่างรัดกุมทุก
2. การตรวจสอบคุณภาพ แยกได้เป็น
- การตรวจสอบคุณภาพจากภายใน เป็นการตรวจสอบคุณภาพโดยหน่วยงาน
นั้นเอง ตามเกณฑ์ที่กำหนดขึ้น
- การตรวจสอบคุณภาพจากภายนอก เป็นการตรวจสอบคุณภาพโดยหน่วยงาน/
กลุ่มภายนอกตามเกณฑ์ที่กำหนดขึ้น
3. การรับรองคุณภาพ หมายถึง การรับรองหรือไม่รับรองคุณภาพตามมาตรฐาน
ซึ่งบางครั้งเป็นมาตรฐานทางกายภาพ เช่น พื้นที่ จำนวนอุปกรณ์ ฯลฯ
4. การประเมินคุณภาพ เป็นการหาข้อมูลที่เชื่อถือได้ เพื่อตัดสินใจเกี่ยวกับคุณภาพ
ของผลผลิต/บริการของหน่วยงานตามเกณฑ์ที่กำหนด ในประเทศอังกฤษและสก๊อตแลนด์ หมายถึง
การทบทวนและตัดสินผลโดยหน่วยงาน/กลุ่มภายนอก โดยเน้นเฉพาะด้านการเรียนการสอนเท่านั้น
ภาพที่ 2 การควบคุมคุณภาพ การตรวจสอบคุณภาพภายในและจากภายนอก
ที่มา : เพ็ญศิริ ทานให้.การดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัยในสังกัดสถาบันพระบรม
ราชชนก เครือข่ายภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2544 : 11
การควบคุมและตรวจสอบคุณภาพภายใน
การตรวจสอบคุณภาพโดยภายนอก
การตัดสินผล
การแจ้งสาธารณชน
การประเมินคุณภาพ
การประเมินคุณภาพ
11
กรมการศึกษาและวิทยาศาสตร์ของอังกฤษ(Department of Education and Science
1991 : 16) ให้ความหมายว่า "การประกันคุณภาพการศึกษา" หมายถึง กระบวนการศึกษา หรือกลไก
ใดๆ ที่จะรักษาไว้ซึ่งคุณภาพของการศึกษาให้ได้มาตรฐานและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
คัทแทนซ์ (Cuttance 1993 : 18) กล่าวว่า "การประกันคุณภาพการศึกษา" หมายถึง
กลยุทธ์ที่ได้วางแผนไว้อย่างเป็นระบบ และการปฏิบัติงานที่ได้มีการออกแบบไว้โดยเฉพาะ เพื่อรับ
ประกันว่ากระบวนการได้รับการกำกับดูแล รวมถึงการปฏิบัติงานนั้นไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ตลอดเวลา
"การประกันคุณภาพการศึกษา" เกิดจากการรวมแนวคิด 2 แนวคิด คือ แนวคิด
เกี่ยวกับการประกันคุณภาพ และแนวคิดเกี่ยวกับคุณภาพการศึกษา ประเทศที่ริเริ่มพัฒนาแนวคิด
การประกันคุณภาพการศึกษา คือ ประเทศอังกฤษซึ่งได้เริ่มนำแนวคิดเกี่ยวกับการประกันคุณภาพไป
ใช้ในสถานศึกษา ในปี 1988 และในปี 1992 ได้เริ่มใช้มาตรฐาน BS 5750 หรือ ISO 9000 นี้ ทำให้
เกิดแนวทางสำหรับการปฏิบัติของโรงเรียนเพื่อประกันคุณภาพการศึกษาขึ้นและแนวคิดนี้ได้แพร่หลาย
ไปยังประเทศต่างๆ ในระยะเวลาที่ใกล้เคียงกัน
คุณภาพการศึกษา เน้นการผสมผสานคุณภาพ 3 ส่วน คือ
1) คุณภาพตามมาตรฐานทางการศึกษา
2) คุณภาพตามความต้องการของผู้รับบริการ
3) คุณภาพตามความมุ่งหมายของผู้ให้บริการ
โดยคุณภาพ 2 ส่วนแรกจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อคุณภาพส่วนที่ 3 เกิดขึ้นก่อน ซึ่ง
ได้แก่ กระบวนการบริหารการศึกษามีคุณภาพ ดังนั้น เมื่อนำหลักการของการประกันคุณภาพที่เน้น
การวางแผนและการกระทำอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นว่าผลการปฏิบัติงานจะบรรลุถึง
มาตรฐานที่เป็นข้อกำหนดได้ตลอดเวลา มาใช้กับกระบวนการบริหารการศึกษา
สรุป การประกันคุณภาพการศึกษา หมายถึง กิจกรรมหรือการปฏิบัติการใดๆ ที่หาก
ได้ดำเนินการตามระบบและแผนที่ได้วางไว้แล้ว จะทำให้เกิดความเชื่อมั่นได้ว่าจะได้ผู้เรียนที่มีคุณภาพ
ตามคุณลักษณะที่ประสงค์ และการประกันคุณภาพจะมีประสิทธิภาพก็ต่อเมื่อได้มีการประเมินผล
การดำเนินการของระบบการผลิตผู้เรียน และปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งได้
มีการทบทวน และติดตามกระบวนการผลิตได้โดยใกล้ชิด
12
2.1.2 ความหมายของการประกันคุณภาพภายใน
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา 4 (2542 : 3) ให้ความหมายไว้ว่า
"การประกันคุณภาพภายใน" หมายความว่า การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพ และ
มาตรฐานการศึกษา จากสถานศึกษาภายใน โดยบุคลากรของสถานศึกษานั้นเอง หรือหน่วยงานต้น
สังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถานศึกษานั้น
จุฑา เทียนไทย และจินตนา ชาญชัยศิลป์(2544 : 7) ได้ให้ความหมายว่า "การประกัน
คุณภาพภายใน" หมายถึง กิจกรรมการควบคุมคุณภาพภายในสถานศึกษา โดยการดำเนินการของ
สถานศึกษา เพื่อให้มีความมั่นใจว่าสถานศึกษาดำเนินการตามภารกิจอย่างมีคุณภาพ
สรุป การประกันคุณภาพภายใน หมายถึง การประเมินผล และการติดตามตรวจสอบ
คุณภาพมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายในโรงเรียน โดยบุคลากรของสถานศึกษาหรือ
หน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่ดูแลสถานศึกษานั้นทำหน้าที่ในการประเมินผลและติดตามตรวจสอบเอง
2.2 การประกันคุณภาพการศึกษาของกรมสามัญศึกษา
การประกันคุณภาพการศึกษา เป็นนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานทดสอบ
ทางการศึกษา กรมวิชาการเป็นหน่วยงานในการกำหนดนโยบาย และรูปแบบในการสร้างระบบ
ประกันคุณภาพการศึกษา กรมสามัญศึกษาในฐานะผู้ปฏิบัติได้นำเอานโยบายมาปฏิบัติตาม โดยหน่วย
ศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา ได้กำหนดนโยบายของกรมสามัญศึกษา ( 2542 : 5) ดังนี้
2.2.1 วัตถุประสงค์การประกันคุณภาพการศึกษา
1) เพื่อพัฒนาโรงเรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา ระดับมัธยมศึกษาและ
ได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาจากองค์การประกันคุณภาพการศึกษา
2) เพื่อให้ผู้ปกครอง ชุมชน สังคม เกิดความเชื่อมั่นว่าโรงเรียนสามารถจัดการศึกษา
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และนักเรียนที่จบการศึกษามีคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษา เป็นที่
ยอมรับของสังคม
3) เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนและองค์กรต่าง ๆ มีส่วนร่วมรับผิดชอบในการพัฒนาคุณภาพ
การศึกษาของโรงเรียน
13
2.2.2 เป้าหมาย
1) ในปี 2541 - 2542 สถานศึกษาทุกแห่งมีการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษา
2) ภายในปี 2543 สถานศึกษาที่มีการประกันคุณภาพการศึกษาผ่านการประเมินผล
หรือตรวจสอบและปรับปรุงคุณภาพการศึกษาภายใน
3) ภายในปี 2545 สถานศึกษาที่ดำเนินการจัดการประกันคุณภาพผ่านการประเมิน
คุณภาพและรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษา ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 30
4) ภายในปี 2548 สถานศึกษาที่ดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษา ผ่านการประเมิน
ผลและรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษา ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60
5) ภายในปี 2550 สถานศึกษาที่มีระบบการประกันคุณภาพทุกแห่ง ผ่านการประเมิน
และรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษา
2.2.3 นโยบายและมาตรการในการประกันคุณภาพการศึกษา
1) นโยบาย
(1) เร่งรัดพัฒนาให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาในโรงเรียน เพื่อพัฒนา
คุณภาพการศึกษาให้ได้มาตรฐานเท่าเทียมกัน โดยมุ่งเน้นให้มีการสร้างกลไกควบคุมคุณภาพ
การตรวจสอบคุณภาพ และการประเมินคุณภาพ
(2) ส่งเสริมให้โรงเรียนมีการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาและรักษา
เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนให้สังคมได้ทราบ
(3) ส่งเสริมให้มีการนิเทศ กำกับ ติดตาม ช่วยเหลือ สนับสนุน การพัฒนาคุณภาพ
การศึกษาของโรงเรียนให้เข้าสู่มาตรฐานการศึกษา และสนับสนุนให้โรงเรียนได้รับการประเมินเพื่อ
รับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษา
(4) ขยายการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี และเน้นการสร้างทีมงาน การกระจายอำนาจ
ในการบริหาร
(5) ส่งเสริมให้มีการร่วมคิดร่วมทำ ตลอดจนให้มีการควบคุมคุณภาพทั้งภายใน และ
ภายนอก
2) มาตรการ
(1) จัดตั้งองค์กรเพื่อพัฒนาระบบการประกันคุณภาพทั้งในระดับกรม เขตการศึกษา
จังหวัดและโรงเรียน
14
(2) จัดให้มีมาตรฐานการศึกษาระดับมัธยมศึกษา ด้านปัจจัย กระบวนการ และ
ผลผลิต
(3) พัฒนาครู ผู้บริหารโรงเรียน ศึกษานิเทศก์ และผู้บริหารการศึกษาให้สู่มาตรฐาน
วิชาชีพ
(4) จัดหาและพัฒนาสื่อ เอกสาร คู่มือการจัดการเรียนการสอน การนิเทศ
การบริหารจัดการ และแนวการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษา
(5) ให้โรงเรียน จังหวัด เขตการศึกษา และกรม มีข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษา
ที่มีประสิทธิภาพ
(6) ประชาสัมพันธ์สร้างความร่วมมือให้ชุมชนได้เข้าใจ และมีส่วนร่วมในการจัด
การศึกษาของโรงเรียน
(7) พัฒนาระบบการนิเทศ กำกับ ติดตาม ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยเหลือและสร้าง
ขวัญกำลังใจ ให้โรงเรียนได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษา
(8) ประสานกับหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้อง ให้ดำเนินการประเมินโรงเรียน
ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาแล้ว เพื่อรับรองผลการประกันคุณภาพการศึกษาของ
โรงเรียนจากภายนอก
(9) จัดทำรายงานความก้าวหน้า การประกันคุณภาพการศึกษา เสนอต่อประชาชน
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
(10) จัดให้มีกลไกในการรักษามาตรฐานคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนที่ผ่านการรับ
รองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาแล้ว
(11) จัดให้มีการประเมินผลการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษา และนำผล
มาปรับปรุงแก้ไข
2.2.4 การกำหนดมาตรฐานและตัวชี้วัดกลาง
ในการที่จะให้โรงเรียนต่างๆ จัดการศึกษาให้ได้ผลผลิตตามจุดหมายของหลักสูตรและมี
คุณภาพใกล้เคียงกัน กระทรวงศึกษาธิการจะต้องมีการกำหนดมาตรฐาน และตัวชี้วัดกลางของผลผลิต
ปัจจัย และกระบวนการจัดการศึกษาเพื่อที่จะให้โรงเรียนต่าง ๆ ใช้เป็นแนวทางในการบริหารการศึกษา
ให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานและตัวชี้วัดที่กำหนด ส่วนโรงเรียนใดที่สามารถจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ
สูงกว่ามาตรฐานกลางได้ก็เป็นสิ่งที่ดี หรือโรงเรียนใดเห็นว่าน่าจะเพิ่มเติมมาตรฐานที่มีความสอดคล้อง
กับความต้องการของท้องถิ่นก็สามารถทำได้
15
ในการที่จะให้โรงเรียนจัดการศึกษาให้ได้มาตรฐานผลผลิตตามที่พึ่งประสงค์ โรงเรียน
จำเป็นต้องมีปัจจัยและกระบวนการต่างๆ ดังนี้
1) มาตรฐานด้านผลผลิต (Output)
(1) ผู้เรียนมีความรู้และทักษะพื้นฐานตามหลักสูตรขั้นพื้นฐาน
(2) ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ มีวิจารณญาณ มีความคิด
สร้างสรรค์ และมีวิสัยทัศน์
(3) ผู้เรียนเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้
(4) ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์
(5) ผู้เรียนมีสุนทรียภาพและลักษณะนิสัยด้านศิลปะ ดนตรีและกีฬา
(6) ผู้เรียนรู้จักพึ่งตนเองได้และมีบุคลิกภาพที่ดี
(7) ผู้เรียนมีสุขนิสัย สุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี ปลอดจากสิ่งเสพย์ติดให้โทษ
(8) ผู้เรียนมีทักษะในการจัดการและการทำงาน มีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริตและทำงาน
ร่วมกับผู้อื่นได้
(9) ผู้เรียนเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน และสังคม สามารถดำรงชีวิตในสังคม
อย่างมีความสุข และปฏิบัติตามวิถีประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
(10) ผู้เรียนมีจิตสำนึกที่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม อนุรักษ์ภูมิปัญญาไทย ศิลป
วัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2) มาตรฐานด้านกระบวนการ (Process)
(1) มีการจัดการบริหารและการจัดการอย่างมีระบบ
(2) มีการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับหลักสูตรขั้นพื้นฐาน และความต้องการ
ของผู้เรียนและท้องถิ่น
(3) มีการจัดการเรียนการสอนที่เป็นระบบและมีประสิทธิภาพ
(4) มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
(5) มีการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ส่งเสริมสุขภาพอนามัย ความปลอดภัย
ของผู้เรียน
(6) มีการพัฒนาครูและบุคลากรอื่นให้มีความรู้ความสามารถ มีคุณธรรม จริยธรรม
เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานในหน้าที่ได้เต็มศักยภาพ
(7) มีการส่งเสริมความสัมพันธ์ และความร่วมมือระหว่างโรงเรียน ผู้ปกครอง
ชุมชน องค์กรภาครัฐ และเอกชนในการจัดและพัฒนาการศึกษา
16
3) มาตรฐานด้านปัจจัย (Input) มีดังนี้
(1) ครูมีความรู้ความสามารถและเชี่ยวชาญในการจัดการเรียนการสอนและสามารถ
ปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(2) ครูมีคุณธรรม จริยธรรม คุณลักษณะที่พึงประสงค์
(3) ผู้บริหารสถานศึกษามีความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการ มีภาวะความเป็น
ผู้นำ มนุษยสัมพันธ์ และวิสัยทัศน์
(4) ผู้บริหารมีคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์
(5) หลักสูตรที่ยืดหยุ่นเหมาะสมเอื้อต่อการเรียนรู้ และตอบสนองความต้องการของ
ผู้เรียนและท้องถิ่น
(6) มีเอกสาร สื่อ วัสดุอุปกรณ์ ครุภัณฑ์ นวัตกรรม และเทคโนโลยีที่เอื้อต่อ
การเรียนรู้
(7) มีงบประมาณสนับสนุนอย่างเพียงพอ
(8) มีอาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกเพียงพอ
(9) มีผู้ปกครองและชุมชนให้ความสนับสนุนร่วมมือในการศึกษาของโรงเรียน
2.2.5 กรอบแนวคิดในการประกันคุณภาพการศึกษาของกรมสามัญศึกษา
การประกันคุณภาพการศึกษาเป็นกระบวนการทางการศึกษาที่ช่วยสร้างความพึงพอ
ใจและความเชื่อมั่นให้กับผู้ปกครอง ประชาชน และสังคมว่า นักเรียนที่จบการศึกษาจะมีคุณภาพ
ตามมาตรฐานการศึกษาและเป็นที่ยอมรับของสังคม โดยมีแนวคิดหลักดังนี้
1) การยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา เป็นแนวคิดที่มุ่งให้ผู้เรียนเป็นศูนย์
กลางของการเรียนรู้ทั้งปวง และยึดประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยมีความเชื่อว่า
มนุษย์มีศักยภาพที่จะเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ตลอดชีวิตดังนั้นในการจัดการศึกษาจึงต้องช่วย
กระตุ้น เอื้ออำนวยความสะดวกและส่งเสริมให้ผู้เรียนแต่ละคนได้พัฒนาจนเต็มศักยภาพและมีคุณภาพ
ได้มาตรฐานเพื่อเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมสามารถดำรงตนในสังคมได้อย่าง
มีความสุข และร่วมมือพัฒนาอย่างสร้างสรรค์
2) การใช้โรงเรียนเป็นฐานในการบริหารจัดการ เป็นแนวคิดที่มุ่งให้โรงเรียนมีอำนาจ
ในการตัดสินใจบริหารจัดการศึกษาได้ด้วยตนเอง ซึ่งมีความเชื่อว่าโรงเรียนเป็นศูนย์กลางของการผลิต
มีความสามารถสร้างผลผลิตคือผู้เรียนให้มีคุณภาพได้ การใช้โรงเรียนเป็นฐานในการบริหารจัดการ
จึงเป็นการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการของโรงเรียนที่จะให้เกิดการพัฒนาผลสัมฤทธ์ิทาง
17
การเรยี น เพิ่มความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได  และเป็นการเสริมสร้างพลังให้โรงเรียน ประชาชน
และชุมชนร่วมมือกันจัดการศึกษาให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน
3) การมีส่วนร่วมและการร่วมคิดร่วมทำ เป็นแนวความคิดที่มุ่งเน้นให้การศึกษาเป็น
แหล่งของสาธารณชนที่ทุกคน ทุกส่วนของสังคมเข้ามามีส่วนร่วมรับผิดชอบในการดำเนินการ เพื่อ
ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับบุคคลทุกคน และกับสังคมโดยส่วนรวมการศึกษาจึงเป็นเรื่องของทุกคน
โดยแนวความคิดนี้เชื่อว่า การให้ทุกคน ทุกส่วนของสังคม มีส่วนร่วมคิด และร่วมดำเนินการใน
การจัดการศึกษา ตลอดจนการมีส่วนร่วมในกระบวนการประเมิน และประกันคุณภาพการศึกษา จะ
ทำให้เกิดความรู้สึก "ความเป็นเจ้าของ" ให้การสนับสนุน และร่วมรับผิดชอบต่อการจัดการศึกษายิ่ง
ขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดความมุ่งมั่นร่วมกันพัฒนาการศึกษาให้มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของสังคมได้
4) การกระจายอำนาจทางการศึกษา เป็นแนวความคิดที่มุ่งคืนอำนาจการจัดการศึกษา
ให้กับผู้ที่มีส่วนได้เสียกับการศึกษาซึ่งเป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้เรียนมากที่สุด ได้แก่ โรงเรียน ผู้ปกครอง
และชุมชน แนวความคิดนี้เชื่อว่า การกระจายอำนาจทางการศึกษาให้กับผู้มีส่วนได้เสียกับการศึกษา
มากขึ้นนี้ จะทำให้เกิดความตระหนักในคุณประโยชน์ของการศึกษาและผลกระทบที่จะเกิดขึ้น จึงทำ
ให้เกิดความร่วมมือในการจัดการศึกษาให้ตอบสนองตามความต้องการ และมุ่งมั่นพัฒนาการศึกษา
ให้มีคุณภาพและเป็นที่ยอมรับ ศรัทธาของผู้ปกครอง และชุมชนในที่สุด
5) การแสดงความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ เป็นแนวความคิดที่ทำให้โรงเรียนต้อง
มีความรับผิดชอบต่อภาระหน้าที่ในการจัดการศึกษา ต่อผู้เรียน ผู้ปกครอง มาตรฐานการศึกษาหรือ
ผลลัพธ์อันเกิดจากการตัดสินใจของโรงเรียนเอง ซึ่งสามารถให้ผู้ปกครอง ประชาชน และสังคม
ตรวจสอบได้ เพื่อเป็นหลักประกันและสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้ปกครอง ประชาชนและสังคมอย่าง
แท้จริง
2.2.6 โครงสร้างของระบบการประกันคุณภาพการศึกษา
ระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ประกอบด้วยกลไกของกระบวนการพัฒนาที่
สำคัญ 3 ส่วน ซึ่งมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันคือ ระบบการควบคุมคุณภาพการศึกษา ระบบการตรวจ
สอบและแทรกแซงคุณภาพการศึกษา และระบบการประเมินคุณภาพการศึกษา ซึ่งแต่ละระบบย่อย
มีสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้
1) ระบบการควบคุมคุณภาพการศึกษา เป็นกลไกของกระบวนการพัฒนาหรือแนว
ดำเนินงาน เพื่อการพัฒนาเข้าสู่คุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษา ประกอบด้วยการดำเนินงาน
2 ขั้นตอน คือ
18
(1) การกำหนดมาตรฐานการศึกษา เป็นการดำเนินงานเพื่อให้การจัดการศึกษาได้
มาตรฐานทั้งด้านผลผลิต ปัจจัย และกระบวนการ ซึ่งจะใช้เป็นกรอบแนวทางในการพัฒนาการศึกษา
ให้มีคุณภาพและการประกันคุณภาพการศึกษา
(2) การพัฒนาเข้าสู่มาตรฐานการศึกษา เป็นการดำเนินงานเพื่อพัฒนาปัจจัยทาง
การศึกษาต่างๆ ที่มีผลต่อคุณภาพการศึกษาให้ได้มาตรฐานตามที่กำหนดไว้ ประกอบด้วย การดำเนิน
งานในเรื่องต่อไปนี้ คือ การพัฒนาครูเข้าสู่มาตรฐานวิชาชีพ การพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาเข้าสู่
มาตรฐานวิชาชีพ การพัฒนาศึกษานิเทศเข้าสู่มาตรฐานวิชาชีพ การพัฒนาผู้บริหารการศึกษาเข้าสู่
มาตรฐานวิชาชีพ การพัฒนากระบวนการบริหารจัดการ การพัฒนากระบวนการเรียนการสอน และ
การสนับสนุนปัจจัยที่เอื้ออำนวยต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียน
2) ระบบการตรวจสอบและแทรกแซงคุณภาพการศึกษา หมายถึง กลไกของกระบวน
การพัฒนา หรือแนวดำเนินงานเพื่อให้ได้ข้อมูลสารสนเทศ ในการปรับปรุงคุณภาพการศึกษาตาม
มาตรฐานการศึกษาที่กำหนดไว้ ประกอบด้วยการดำเนินงาน 3 ขั้นตอน คือ
(1) การติดตาม และตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายในของโรงเรียน เป็นการดำเนิน
งานเพื่อประเมินความก้าวหน้าของการจัดการศึกษา โดยให้โรงเรียนประเมินตนเอง เพื่อการปรับปรุง
และพัฒนา แล้วจัดทำรายงานผลการจัดการศึกษา เสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน
(2) การติดตาม และตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายในของหน่วยงานภายนอก เป็น
การดำเนินงานขององค์กร หรือหน่วยงานภายนอกโรงเรียนในระดับจังหวัดร่วมกับเขตการศึกษาเพื่อ
ติดตามตรวจสอบระบบควบคุมคุณภาพการศึกษา และคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาที่
กำหนดแล้วจัดทำรายงานผลการจัดการศึกษาเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน
(3) การกำหนดมาตรฐานการปรับปรุงและแทรกแซงคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน
ที่มีคุณภาพไม่ถึงเกณฑ์มาตรฐานการศึกษา เป็นการดำเนินการของหน่วยงานระดับกรม เขตการศึกษา
เพื่อใช้มาตรการต่างๆ ในการปรับปรุงและแทรกแซงคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนให้เป็นไปตาม
มาตรฐานคุณภาพการศึกษา
3) ระบบการประเมินคุณภาพการศึกษา หมายถึง กลไกของกระบวนการพัฒนาหรือ
แนวดำเนินงานในการประเมินคุณภาพการศึกษา โดยมุ่งเน้นการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษา
ประกอบด้วยการดำเนินงาน 2 ขั้นตอน คือ
19
(1) การทบทวนคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนของหน่วยงานภายนอกเป็นการดำเนิน
งานขององค์กร หรือหน่วยงานภายนอกโรงเรียนในระดับจังหวัดร่วมกับเขตการศึกษา เพื่อตรวจสอบ
คุณภาพการศึกษาของโรงเรียนในแง่จุดเด่นจุดด้อย และความพร้อมก่อนที่จะดำเนินการประเมินเพื่อ
รับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษา
(2) การประเมินเพื่อรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน เป็นการดำเนิน
งานเพื่อให้กระทรวงศึกษาธิการ สถาบันส่งเสริมการประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ
หรือสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนใน
ระดบั กระทรวง ระดบั ชาติ และระดับนานาชาต ิ ตามลำดับ สาํ หรบั โรงเรยี นทผี่ า่ นการประเมนิ จะได้
รับใบรับรองมาตรฐานการศึกษา หรือคุณภาพจากกระทรวงศึกษาธิการสถาบันส่งเสริมการประเมิน
คุณภาพและมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ และสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และให้
โรงเรียนเฝ้าระวังคุณภาพการศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษา ตลอดระยะเวลาที่ให้การรับรอง
มาตรฐานคุณภาพการศึกษา
2.2.7 การบริหารระบบการประกันคุณภาพการศึกษา
เพื่อให้การบริหารระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของกรมสามัญศึกษาเป็นไปอย่าง
มีประสิทธิภาพ จึงได้กำหนดให้มีองค์กรและกำหนดบทบาทหน้าที่ขององค์กร ดังนี้
1) คณะกรรมการอำนวยการประกันคุณภาพการศึกษา กรมสามัญศึกษา มีบทบาท
หน้าที่ ดังนี้
(1) กำหนดนโยบาย มาตรการ แผนการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษา
ของกรมสามัญศึกษา
(2) อำนวยการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา กรมสามัญศึกษา
(3) ส่งเสริม และสนับสนุนให้มีการประสานการใช้ทรัพยากร เพื่อประกัน
คุณภาพการศึกษาของกรมสามัญศึกษา
(4) เสนอแนะให้คำปรึกษาแก้ไขปัญหาต่าง ๆ อันเกิดจากการดำเนินการประกัน
คุณภาพ การศึกษา ของกรมสามัญศึกษา
(5) เร่งรัด กำกับ และติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา
ของกรมสามัญศึกษา
2) ศูนย์อำนวยการประกันคุณภาพการศึกษา กรมสามัญศึกษา มีบทบาทหน้าที่ดังนี้
(1) พัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา กรมสามัญศึกษา
20
(2) จัดทำแผนการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษา กรมสามัญศึกษา
(3) ประสานงาน สนับสนุน เสนอแนะ และให้คำปรึกษาในการดำเนินงานตาม
แผนการประกันคุณภาพการศึกษา ระหว่างเขตการศึกษา จังหวัด และโรงเรียน
(4) เร่งรัด กำกับ ติดตาม ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ เป็นไปตามระบบ
การประกันคุณภาพการศึกษา กรมสามัญศึกษา
(5) ประเมินผลการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษา กรมสามัญศึกษา
(6) รายงานผลการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษา ต่อคณะกรรมการ
อำนวยการการประกันคุณภาพการศึกษา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน
(7) ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานอื่น เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานประกัน
คุณภาพการศึกษา กรมสามัญศึกษา
(8) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษา และหา
มาตรการ ปรับปรุงคุณภาพการศึกษา
(9) ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
3) คณะกรรมการการประกันคุณภาพการศึกษา กรมสามัญศึกษา ระดับเขตการศึกษา
มีบทบาทหน้าที่ ดังนี้
(1) กำหนดแผนงานการนิเทศ สนับสนุน และส่งเสริมการประกันคุณภาพการศึกษา
ของโรงเรียนในเขตการศึกษา
(2) ดำเนินงานให้เป็นไปตามระบบการประกันคุณภาพการศึกษา กรมสามัญศึกษา
(3) นิเทศ กำกับติดตามและประเมินผลการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษา
ของโรงเรียนในเขตการศึกษา
(4) รายงานผลการประกันคุณภาพการศึกษาในภาพรวมของเขตการศึกษา ให้กรม
สามัญศึกษาทราบ
(5) แต่งตั้งคณะทำงานการประกันคุณภาพการศึกษาในระดับเขตการศึกษา
(6) ปฏิบัติงานอื่น ตามที่กรมสามัญศึกษามอบหมาย
4) คณะกรรมการการประกันคุณภาพการศึกษา กรมสามัญศึกษา ระดับจังหวัดมี
บทบาทหน้าที่ดังนี้
(1) กำหนดแผนการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษา โรงเรียนในสังกัด
กรมสามัญศึกษาในจังหวัด ให้สอดคล้องกับระบบการประกันคุณภาพการศึกษา กรมสามัญศึกษา
(2) ดำเนินงานให้เป็นไปตามแผนการประกันคุณภาพการศึกษา กรมสามัญศึกษา
21
(3) ส่งเสริม สนับสนุน ให้มีการประกันคุณภาพการศึกษาในโรงเรียน สังกัดกรม
สามัญศึกษาในจังหวัด
(4) นิเทศ ให้คำปรึกษา และแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวกับการดำเนินงานการประกัน
คุณภาพการศึกษาของโรงเรียน
(5) เร่งรัด กำกับ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานการประกันคุณภาพ
การศึกษาของโรงเรียน
(6) รายงานผล และเผยแพร่การดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาต่อหน่วย
งานต้นสังกัด และสาธารณชน
(7) แต่งตั้งคณะทำงานการประกันคุณภาพการศึกษาในระดับจังหวัด
(8) ปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที่กรมสามัญศึกษามอบหมาย
5) คณะกรรมการการประกันคุณภาพการศึกษา กรมสามัญศึกษากับโรงเรียนมีบทบาท
หน้าที่ดังนี้
(1) กำหนดแผนการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน ให้
สอดคล้องกับระบบการประกันคุณภาพการศึกษา กรมสามัญศึกษา
(2) ดำเนินงานให้เป็นไปตามแผนการประกันคุณภาพการศึกษา กรมสามัญศึกษา
(3) ประสานงาน และระดมความร่วมมือจากชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน
(4) เร่งรัด กำกับ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานการประกันคุณภาพ
การศึกษาของโรงเรียน
(5) รายงานผล และเผยแพร่การดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาต่อ
หน่วยงานต้นสังกัด และสาธารณชน
(6) แต่งตั้งคณะทำงานการประกันคุณภาพการศึกษาในระดับโรงเรียน
(7) ปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที่กรมสามัญศึกษามอบหมาย
สรุปได้ว่า กรมสามัญศึกษากำหนดนโยบายการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อเป็นกรอบให้
หน่วยงานหรือสถานศึกษาในสังกัดใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการ และนำหลักการไปสู่การปฏิบัติ
ด้วยวิธีการที่มีความหลากหลาย การติดตามผลเพื่อแสวงหาวิธีการที่ได้ผล สามารถพัฒนาผู้เรียนตาม
วัตถุประสงค์ และการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้เพื่อขยายผล รวมถึงพัฒนาแนวทางให้เกิดเป็นระบบที่ยั่งยืน
22
2.3 การประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับโรงเรียน
บทบาทของโรงเรียน
สมศักดิ์ สินธุระเวชญ์ (2542, ออนไลน์)ได้กล่าวถึงบทบาทของโรงเรียนในการประกันคุณภาพ
การศึกษาว่า ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน โรงเรียนจะเป็นผู้ดำเนินการ โดยประชาชน
มีส่วนในการพัฒนา และโรงเรียนจะต้องดำเนินการตามภาระงานต่อไปนี้
1. การควบคุมคุณภาพการศึกษา
1.1 การกำหนดมาตรฐาน
1.1.1 จัดทำมาตรฐานการศึกษาให้มีความสอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น จาก
มาตรฐานกลางโดยคณะกรรมการโรงเรียน ซึ่งประกอบด้วยผู้บริหารโรงเรียน ครู ผู้ปกครองและ
ประชาชน
1.1.2 จัดทำข้อมูลพื้นฐานด้านปัจจัย กระบวนการ และผลผลิตของโรงเรียน
1.2 การพัฒนาเข้าสู่มาตรฐานการศึกษา
1.2.1 พัฒนาโรงเรียนให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้และพัฒนา กระตุ้นจูงใจให้ผู้ร่วมงาน
รู้จักและรักการเรียนรู้อยู่เสมอ เน้นให้บุคลากรในองค์กรมีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ปรับปรุงสิ่งต่าง ๆ
ให้ดีขึ้น
1.2.2 มีการสร้างจิตสำนึกของผู้ร่วมงานให้เห็นว่า การปรับปรุงคุณภาพจะต้องปรับปรุง
อยู่ตลอดเวลาและเป็นหน้าที่ของทุกคน
1.2.3 เป็นสมาชิกชมรมทางวิชาการของจังหวัดและเป็นเครือข่ายศูนย์วิทยบริการ
1.2.4 จัดทำธรรมนูญโรงเรียน
1.2.5 พัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นและสื่อการเรียนการสอน
1.2.6 ดำเนินการบริหารคุณภาพโดยมุ่งเน้นผลผลิต(นักเรียน) ที่ตอบสนองด้าน
ความต้องการของลูกค้า ดังนี้
- ควบคุมคุณภาพ และประเมินตนเอง ในทุกๆ กิจกรรมของกระบวนการ
บริหารและกระบวนการเรียนการสอน โดยใช้วงจรคุณภาพ PDCA ของเดมมิ่ง
- มีการทำงานเป็นมาตรฐาน โดยควบคุมกระบวนการตามเอกสารคู่มือ 3 ระดับ
ที่จัดทำขึ้น คือ
- คู่มือนโยบาย
- คู่มือขั้นตอนการทำงาน / แนวปฏิบัติ / วิธีการ
- คู่มือการทำงาน / แผนการสอน
23
- ต้องให้ทุกคนในองค์กรมีส่วนร่วม เพื่อให้พลังงานที่มีอยู่อย่างไม่จำกัดของ
ทุกคนในองค์กรร่วมกันพัฒนาให้ตรงตามความต้องการของลูกค้าและความต้องการที่เปลี่ยนแปลง
- มีการทำงานเป็นทีมในทุกระดับ เน้นให้ทุกคนมีอำนาจตัดสินใจ ซึ่งจะส่งผล
ให้ปรับปรุงและสร้างขวัญกำลังใจและทัศนคติที่ดี
1.2.7 พัฒนาระบบสารสนเทศของโรงเรียน
1.2.8 ระดมความร่วมมือจากชุมชนและเอกชน
2. การตรวจสอบคุณภาพ หรือการทบทวนคุณภาพภายใน
2.1 โรงเรียนต้องดำเนินการทบทวนคุณภาพภายใน ด้านคุณภาพโรงเรียน และคุณภาพ
การสอนทุกปี
2.2 นำผลการทบทวนมาดำเนินการพัฒนา และปรับปรุงให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานที่
กำหนด
3. การประเมินคุณภาพการศึกษา
โรงเรียนควรกำหนดให้มีการประเมินความก้าวหน้า และประเมินเมื่อสิ้นสุดโครงการ
ของโรงเรียนในทุก ๆ แผนงาน แล้วนำผลมาพัฒนาปรับปรุง
ขั้นตอนดำเนินงานระดับโรงเรียน
1. ศึกษารูปแบบการประกันคุณภาพการศึกษา ซึ่งประกอบด้วย
- พัฒนา / กำหนดมาตรฐานคุณภาพการศึกษา ที่มุ่งไปที่ผลการเรียนที่ต้องการ
- พัฒนาระบบการจัดการเพื่อควบคุมให้มีการปฏิบัตินำไปสู่มาตรฐาน
- พัฒนาระบบการวัดการประเมิน การใช้ปัจจัย การจัดกระบวนการ และผลการเรียนรู้
ตามมาตรฐาน
- จัดตั้งองค์กรภายนอกที่จะมาตรวจสอบการจัดการ และการบังเกิดผลตามมาตรฐาน
2. จัดคณะบุคคลในโรงเรียนร่วมกับคณะกรรมการโรงเรียนดำเนินการ
- ศึกษาข้อมูลจากหลักสูตรเพื่อกำหนดมาตรฐานสากล มาตรฐานชาติ และใช้ข้อมูล
ท้องถิ่นกำหนดมาตรฐานท้องถิ่น ใช้กรอบมาตรฐานประเมินสภาพปัจจุบัน ของผลการเรียนการสอน
นำมาใช้เป็นตัวกำหนด จัดทำเป็นลักษณะผลสัมฤทธิ์ที่คาดหวังจะให้เกิดกับนักเรียนชั้น / วิชาต่าง ๆ
ตลอด 200 วัน ทำการที่สอดคล้องกับสภาพโรงเรียน ผลสัมฤทธิ์ที่คาดหวัง ควรแบ่งเป็นระดับคุณภาพ
- วิเคราะห์โอกาสในชุมชน ปัญหาความต้องการของชุมชน ศักยภาพของโรงเรียน
ข้อจำกัดของโรงเรียน กำหนดเป็นแผนนโยบายการจัดการศึกษาเป้าประสงค์ของการจัดการศึกษา
และคุณภาพของนักเรียนที่มุ่งหวังจะเกิดขึ้นในแต่ละชั้น / วิชา แนวดำเนินการจัดการเรียนการสอน
24
จุดเด่น จุดเน้นของโรงเรียนที่ต้องการแสดงความร่วมมือกับโรงเรียนอื่นและแหล่งวิทยาการในท้องถิ่น
ฯลฯ เมื่อคณะกรรมการโรงเรียนยอมรับ และเห็นชอบก็ลงนามประกาศเป็นเอกสาร (ธรรมนูญ
โรงเรียน) ที่เป็นสัญญาประชาคม
3. ผู้บริหารกับคณะครูและการสนับสนุนทางวิชาการจากการศึกษานิเทศก์
ดำเนินการปฏิบัติเพื่อให้เป็นวิถีทาง นำไปสู่การบรรลุเป้าหมายมาตรฐานคุณภาพการศึกษาที่
ระบุไว้ในธรรมนูญโรงเรียน
- ครูวางแผนการสอน
- ผู้บริหารสนับสนุนเป็นที่ปรึกษา และพัฒนาครู
- พัฒนานวัตกรรม และเทคโนโลยีการเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการเรียนรู้ที่นักเรียน
เป็นศูนย์กลาง เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง
- พัฒนาระบบติดตามผลการปฏิบัติของครู และระบบการวัดผลประเมินผลการเรียนรู้ของ
นักเรียนที่จะต้องนำมาใช้อย่างสม่ำเสมอ แล้วให้องค์กรภายนอก เช่น คณะกรรมการของโรงเรียน
รับทราบ ให้ความเห็นชอบต่อแผนเหล่านี้
4. ผบู้ รหิ ารจดั ระบบมอบงาน อาจมีคู่มือการปฏิบัติงานสำหรับคร ู สั่งการให้มีการปฏิบัติ
การจัดการเรียนการสอนตามแผน จุดเน้นคือ
- ทุกครั้งที่มีกิจกรรมการเรียนการสอนจะต้องทราบล่วงหน้าว่าต้องการให้บังเกิดผลการ
เรียนอะไรที่มุ่งต่อมาตรฐานคุณภาพการศึกษา
- กิจกรรมการเรียนการสอนต้องได้รับการออกแบบและปรับปรุง เพื่อเร่งเร้าให้บังเกิดผล
การเรียนรู้อย่างแท้จริงกับนักเรียนทุกคน ซึ่งอาจจะต้องใช้สื่อนวัตกรรมเทคโนโลยีช่วยสนอง
ความแตกต่างระหว่างนักเรียน เน้นการปฏิบัติเป็นกระบวนการ
- เมื่อจัดกิจกรรมการเรียนการสอนครบถ้วน ตามกำหนดเวลาของแต่ละหัวข้อเรื่องในแผน
การสอนจะต้องมีหลักฐานเชิงประจักษ์ว่า นักเรียนบรรลุผลการเรียนรู้เพียงใด และนำผลมาใช้เพื่อ
การพัฒนา การเรียนรู้ ศักยภาพกับนักเรียนทุกคนซึ่งควรใช้การวัดการประเมินในสภาพจริง รวบรวม
ผลการปฏิบัติจริงของนักเรียนลงแฟ้มผลงานอย่างเป็นระบบ
5. ผู้บริหาร คณะครู
คณะกรรมการโรงเรียนติดตามการปฏิบัติงานของครูและผลทีเกิดขึ้น โดยสม่ำเสมอเพื่อ
แก้ไขปรับปรุงและพัฒนาครู พัฒนากระบวนการเรียนการสอน พัฒนาสื่อนวัตกรรมเทคโนโลยีและ
พัฒนาระบบการวัดการประเมินเพิ่มเติม
25
6. องค์กรภายนอก
องค์กรภายนอก เช่น กลุ่มโรงเรียน อำเภอ เขต กรมเจ้าสังกัด ประเมินผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนตามมาตรฐานสม่ำเสมอ เพื่อชี้นำการพัฒนาเพื่อการรับรองมาตรฐานของโรงเรียนเพื่อการ
ให้รางวัลและเพิ่มขวัญกำลังใจ
สามารถสรุปเป็นภาพการแสดงการประกันคุณภาพได้ดังนี้ (นันทนา ศิริทรัพย์, 2543 : 6)
ภาพที่ 3 การประกันคุณภาพ
ที่มา : นันทนา ศิริทรัพย์.การประกันคุณภาพการศึกษา,ในเอกสารประกอบการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ
เรื่อง ระบบการประกันคุณภาพการศึกษา. จัดโดยสำนักมาตรฐานอุดมศึกษา ทบวงมหาวิทยาลัย
ณ โรงแรมผึ้งหวาน จังหวัดกาญจนบุรี วันที่ 15-17 กันยายน 2543,2543 : 6
การประกันคุณภาพภายใน
การตรวจสอบภายใน
- ควบคุม
- ตรวจสอบ
- ประเมิน
การประกันคุณภาพภายนอก
การตรวจสอบภายนอก
- ตรวจสอบ
- ประเมิน
- รับรอง
การตรวจสอบประเมินเทียบกับมาตรฐาน
26
สำหรับโรงเรียนที่มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษากับโรงเรียนที่ไม่มีระบบการประกัน
คุณภาพการศึกษาจะมีสภาพแตกต่างกัน ดังตารางที่ 1
ตารางที่ 1 เปรียบเทียบสภาพโรงเรียนที่มีระบบประกันคุณภาพกับโรงเรียนที่ไม่มีระบบ
ประกันคุณภาพ
โรงเรียนที่ประกันคุณภาพ โรงเรียนที่ไม่ประกันคุณภาพ
1. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทุกด้านสูง 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่แน่นอน สูงต่ำ
ได้มาตรฐานสม่ำเสมอ ผันแปรตามปัจจัยต่างๆ
2. นักเรียนทุกคนได้มาตรฐานสม่ำเสมอ 2. นักเรียนบางคนได้มาตรฐานในบางด้าน
ผันแปรไม่แน่นอน
3. นักเรียนและผู้ปกครองรู้ล่วงหน้าว่าจะได้รับ 3. ไม่รู้ล่วงหน้าชัดเจน แต่คาดการณ์ได้จาก
ผลอะไรจากการเรียนในสถานศึกษาและเป็น ลักษณะของโรงเรียนและจากศิษย์เก่าที่ไป
ผลที่ตรงกับความต้องการ ศึกษาต่อหรือทำงาน
4. ผู้ปกครอง ชุมชน ครู หน่วยจัดการศึกษาใน 4. ครูสอนตามหนังสือมากกว่าการคิดถึง
ท้องถิ่นมีส่วนร่วมกำหนดมาตรฐานคุณภาพ มาตรฐานคุณภาพ
ที่ผสมกลมกลืนระหว่างมาตรฐานสากล
มาตรฐานชาติ และมาตรฐานท้องถิ่น
5. ผู้บริหารโรงเรียนเป็นผู้นำการจัดการเพื่อ 5. ส่วนใหญ่เป็นความสามารถเฉพาะตัวของ
ควบคุมคุณภาพการศึกษา โดยผนึกกำลังกับ ผู้บริหาร และครูบางคนที่จะจัดการเรียน
ครูคณะกรรมการโรงเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน การสอนอย่างมีคุณภาพบ้าง มักไม่สามารถ
วางแผนการยกระดับคุณภาพการจัดการ แสดงแผนการบริหารการจัดการ และแผน-
เรียนการสอน เพื่อให้บังเกิดผลที่เด็กนักเรียน การจัดการเรียนการสอนที่ได้มาตรฐานครบ-
ตามมาตรฐาน มีการตรวจสอบยอมรับใน ถ้วนทั่วถึง ชุมชนไม่มีส่วนร่วม รวมทั้งการ-
แผนดำเนินงานของโรงเรียน วางแผนและการตรวจสอบเห็นชอบกับแผน
27
โรงเรียนที่ประกันคุณภาพ โรงเรียนที่ไม่ประกันคุณภาพ
6. ครูได้รับการพัฒนาและจูงใจให้วางแผนจัด 6. ผู้บริหารและครูไม่สนใจการวางแผนการสอน
การเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง มักสอนโดยยึดเนื้อหาและหนังสือเรียน ครู
เน้นกระบวนการปฏิบัติเพื่อให้ไปสู่การบรรลุ เป็นศูนย์กลาง ครูบางส่วนมีความสามารถ
มาตรฐานคุณภาพการเรียนรู้อย่างครบถ้วน เฉพาะตัวช่วยผู้เรียนบางส่วนที่มีความพร้อม
ให้ผู้เรียนทุกคนเรียนเต็มศักยภาพ ผู้บริหาร มากให้บรรลุมาตรฐาน คุณภาพ การกำกับ
และคณะกรรมการโรงเรียนติดตามตรวจสอบ ติดตาม ตรวจสอบ ไม่ชัดเจน ผู้เรียนแต่ละ
การเรียนการสอนและช่วยให้มีคุณภาพอย่าง บุคคลไม่ได้รับการส่งเสริมให้เรียนรู้เต็ม
เป็นระเบียบระบบ ศักยภาพ ไม่มั่นใจว่าผู้เรียนทุกคนจะบรรลุ
มาตรฐานคุณภาพ
7. มีระบบการวัดผลประเมินผลตามสภาพจริง 7. มีการวัดผลและประเมินผลตามระเบียบไม่ได้
มุ่งตรงต่อการบรรลุมาตรฐานคุณภาพและ มุ่งตรงต่อมาตรฐานคุณภาพตามที่กำหนดไว้
บันทึกลงแฟ้มผลงานที่ผู้บริหารและครู ไม่มีการเอาใจใส่กำกับ พิจารณาผลการ
ตรวจสอบผลการเรียนและบันทึกผล นำผล เรียนรู้ของนักเรียน มักปล่อยปละละเลย
มาใช้เพื่อการพัฒนาและรายงานสู่ชุมชน คุณภาพการเรียนการสอน เมื่อประเมินผล
สม่ำเสมอว่าจัดการเรียนการสอน ทำให้ ปลายภาคเรียนจึงไม่เห็นผลสำเร็จในคุณภาพ
บังเกิดผลตามเป้าหมายคุณภาพการเรียนรู้ที่ การเรียนรู้ตามมาตรฐานที่ต้องการได้ทั่วถึง
กำหนดไว้ล่วงหน้าได้ดีเพียงใด ผู้เรียนทุกคน
8. มีระบบการตรวจสอบจากภายนอก เช่น 8. ไม่มีระบบตรวจสอบอย่างมีระเบียบระบบ
คณะกรรมการโรงเรียน หรือหน่วยงานใน จากภายนอก โรงเรียนจึงปล่อยปละละเลย
อำเภอ จังหวัด เพื่อกำกับการวางแผนการ- ให้จัดการศึกษาอย่างไม่มีคุณภาพก็ได้
จัดการเรียนการสอน การปฏิบัติของครูและ
ผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน ใช้เป็นฐานของการ-
พัฒนา และให้รางวัลหรือลงโทษ
ที่มา : สามัญศึกษา,กรม. กลยุทธ์ ISO 9000 กับการประกันคุณภาพการศึกษา.
กรุงเทพฯ: หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา,2541 : 5-6
28
สรุป การประกันคุณภาพการศึกษาจะต้องดำเนินการที่โรงเรียน โดยต้องศึกษารูปแบบ
กรอบแนวคิดจากมาตรฐานในระดับชาติ จังหวัด และอำเภอ เพื่อนำไปปรับให้เหมาะกับสภาพของ
โรงเรียน และความต้องการของผู้ปกครองและชุมชน โดยกำหนดเป็นสื่อ สัญญา ข้อตกลงในรูปของ
ธรรมนูญโรงเรียน เพื่อนำไปเป็นแนวทางในการพัฒนาการศึกษา จัดตั้งคณะบุคคลในโรงเรียนร่วมกับ
คณะกรรมการโรงเรียน เพื่อดำเนินงานตามเป้าหมาย ได้รับการสนับสนุนด้านวิชาการจากศึกษานิเทศก์
ผู้บริหารจัดระบบมอบงาน จัดกิจกรรม กระบวนการเรียนการสูงตามแผนโดยในแต่ละครั้งที่มีกิจกรรม
จะต้องทราบล่วงหน้าว่าต้องการให้เกิดผลอย่างไรต่อมาตรฐานคุณภาพการศึกษา มีการพัฒนาผู้บริหาร
ครู / อาจารย์ และบุคลากรอย่างสม่ำเสมอ ได้รับการประเมินตรวจสอบและรับรองมาตรฐานการศึกษา
จากองค์กรภายนอก
2.4 ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในโรงเรียน
เพื่อการพัฒนาความรู้ความสามารถและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามมาตรฐานการศึกษาที่
กำหนดในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างเต็มศักยภาพ ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน
สถานศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารการศึกษา ซึ่งเป็นกระบวนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่าง
ต่อเนื่อง ประกอบด้วย (ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ 2544)
2.4.1 การจัดระบบบริหารและสารสนเทศ
"การจัดระบบบริหารและสารสนเทศ" หมายถึง การจัดโครงสร้างการบริหาร จัดการ
ให้เอื้อต่อการดำเนินงานและจัดให้มีข้อมูลที่เพียงพอในการจัดการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพการศึกษา
เพื่อนำมากำหนดวิสัยทัศน์ภารกิจ และแผนพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษา
การจัดระบบบริหาร เป็นการจัดโครงสร้างการบริหาร จัดการให้เอื้อต่อการดำเนิน
งาน ทุกคนมีส่วนร่วม และมีการประสานสัมพันธ์กันทุกฝ่ายทุกคน มีการแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อ
กำหนดแนวทางให้ความเห็น และข้อเสนอแนะ และแต่งตั้งคณะบุคคลทำการตรวจสอบ ทบทวน
และรายงานคุณภาพการศึกษา
การจัดระบบสารสนเทศ (กรมวิชาการ(ลำดับที่ 2) 2544 : 11) คือ การจัดให้มีข้อมูลที่
เพียงพอในการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อนำมากำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจ และแผนพัฒนา
คุณภาพของสถานศึกษา เมื่อวิเคราะห์ภารกิจหลักของสถานศึกษาตามระดับการใช้ จะเห็นได้ว่ามี
สารสนเทศที่หลากหลายสำหรับการพัฒนาคุณภาพของงานให้บรรลุตามเป้าหมาย สารสนเทศทั้งหลาย
มีลักษณะเจาะลึกลงรายละเอียด หรือมีลักษณะเป็นภาพรวมดังตารางที่ 2
29
ตารางที่ 2 ลักษณะภาพรวมของระบบสารสนเทศกับการจัดการบริหาร
ผู้ใช้ระบบสารสนเทศ ระดับการใช้ ภารกิจหลัก
ระดับคณะกรรมการ
สถานศึกษาที่ปรึกษา
- สารสนเทศเพื่อการ
วางแผนยุทธศาสตร์
ข้อมูลภาพรวมการพัฒนาสถานศึกษาทั้งภายใน
และภายนอกสถานศึกษา วิสัยทัศน์ เป้าหมาย
จุดเน้นการพัฒนา ยุทธศาสตร์การพัฒนา
ระดับผู้บริหาร - สารสนเทศเพื่อการ
วางแผนบริหารงาน
ข้อมูลคุณภาพผู้เรียน การบริหารจัดการ และ
วิชาการ วิสัยทัศน์ เป้าหมาย ภารกิจแผน /
นโยบาย / กลยุทธ์
ระดับหัวหน้ากลุ่มวิชา - สารสนเทศเพื่อการ
วางแผนปฏิบัติการ
- หลักสูตรรายวิชา การวิจัยในชั้นเรียน ฯลฯ
- การร่วมกลุ่มจัดทำมาตรฐานการเรียนรู้ ฯลฯ
- เทคนิคการสอน สื่อวัดผล ฯลฯ
- เครื่องมือกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ฯลฯ
- การอบรม นิเทศ ศึกษาดูงาน ฯลฯ
- การปรับปรุงห้องสมุด จำนวนหนังสือ
พัฒนา กิจกรรม ฯลฯ
ระดับผู้ปฏิบัติ
(ผู้สอน/บุคลากร
สนับสนุน)
สารสนเทศเพื่อการวาง
แผนปฏิบัติการสอน
- การเตรียมการสอน การทำแผนการสอน ฯลฯ
- การศึกษาวิเคราะห์หลักสูต การจัดทำหลักสูตร
- การสอนตามแผนการวิจัยในชั้นเรียน
การรวบรวมข้อมูล การสรุป ฯลฯ
- การวิเคราะห์และเข้าใจเด็ก การจัดกิจกรรม
แนะแนว ฯลฯ
- การอบรม การรับรอง นิเทศ ดูงาน ฯลฯ
- การศึกษา/เพิ่มพูนความรู้ การสร้างบรรยากาศ
การเรียนรู้ในและนอกห้องเรียน ฯลฯ
30
2.4.2 การพัฒนามาตรฐานการศึกษา
"การพัฒนามาตรฐานการศึกษา" หมายถึง การดำเนินงานของโรงเรียนเพื่อกำหนด
เกี่ยวกับคุณลักษณะ และ/หรือคุณภาพที่พึงประสงค์ที่สถานศึกษาต้องการให้เกิดขึ้น โดยมุ่งเน้น
มาตรฐานด้านผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่สอดคล้องกับจุดประสงค์ที่หลักสูตรกำหนด ตลอดจน
ความต้องการของต้นสังกัดและชุมชนที่โรงเรียนตั้งอยู่
ควรทำเป็น 2 ระดับ คือ ระดับบุคคล และระดับองค์กร โดยยึดแนวคิดในวิจัย 5
ประการ และเน้นการทำอย่างเป็นระบบ
ระดับบุคคล หมายถึง บุคลากรทุกคนในสถานศึกษา ได้แก่ ผู้บริหาร ครู นักเรียน
และผู้ปกครอง ชุมชน
1. ปลูกฝังทัศนคติและค่านิยมสถานศึกษา ให้ทุกคนรับทราบและเข้าใจในการตัดสิน
ใจครั้งสำคัญ ๆ ทุกครั้งอย่างสม่ำเสมอ
2. พัฒนาทักษะและความสามารถ โดยสถานศึกษาจะต้องพัฒนาทักษะให้สอดคล้อง
กับอาชีพและตำแหน่งงานของบุคลากร
3. ปลูกฝังความภาคภูมิใจ และความเป็นเจ้าของสถานศึกษาที่ต้องร่วมรับผิดชอบต่อ
ผู้เรียนและการบริการ รวมทั้งความรับผิดชอบต่อสังคม
ระดับสถานศึกษา
1. การมีวิสัยทัศน์ของสถานศึกษาที่ชัดเจน ปฏิบัติได้โดยได้รับการยอมรับจากทุกคน
ในสถานศึกษาที่เป็นเหมือนหลักชัยที่ทุกคนมุ่งมั่นไปให้ถึง
2. จัดโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ เครื่องมือ เครื่องใช้ ประกอบการทำงาน และ
สนับสนุนกระบวนการเรียนรู้ในสถานศึกษาที่มีประสิทธิภาพ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ ห้องสมุด
เครือข่ายสื่อสารในสถานศึกษา
3. มีระบบการบริหาร และระบบการทำงานที่ได้มาตรฐานมุ่งเน้นด้านคุณภาพที่จะ
ทำให้สถานศึกษาก้าวหน้าบรรลุวิสัยทัศน์ที่ดีที่กำหนดไว้ เช่น ระบบการวางแผน ระบบการเงิน
ระบบการเรียนการสอน ระบบการพัฒนาบุคลากร ระบบการพัฒนาองค์กรและผู้นำ ระบบการทำงาน
เป็นทีม ระบบการบริหารเชิงคุณภาพรวม
31
2.4.3 การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา
"การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา" หมายถึง การจัดทำแผนอย่างเป็นระบบ
บนพื้นฐานข้อมูลของสถานศึกษา ประกอบด้วยเป้าหมาย ยุทธศาสตร ์ และแนวปฏิบัติที่ชัดเจน
สมบูรณ์ ครอบคลุมการพัฒนาทุกกิจกรรมที่เป็นส่วนประกอบหลักของการจัดการศึกษา และเป็นที่
ยอมรับร่วมกันจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง นำไปปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุผลตามเป้าหมายของแต่ละกิจกรรม
ที่กำหนดอย่างสอดรับกับวิสัยทัศน์และมาตรฐานหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาที่ดีจะสร้างความมั่นใจได้ว่า สถานศึกษา
ได้มีการพัฒนาศักยภาพการจัดการศึกษาให้สามารถดำเนินการได้บรรลุตามเป้าหมาย แผนที่ดีควรมี
ลักษณะสำคัญ 9 ประการ ต่อไปนี้
1. องค์ประกอบต่าง ๆ ในแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา ต้องมีความชัดเจนสอดคล้อง
รับกันอย่างสมเหตุสมผล และเป็นระบบ
- วิสัยทัศน์ และภารกิจต้องมีความชัดเจนเป็นที่เข้าใจ และยอมรับร่วมกันจาก
ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
- การวางแผนและการออกแบบกิจกรรมต่าง ๆ ในสถานศึกษา เช่น การเรียน
การสอน การวัด-ประเมินผล ตลอดจนการบริหารจัดการต้องประสานสัมพันธ์และมีความสอดคล้อง
กัน และต่างมุ่งไปสู่เป้าหมายร่วมกันอย่างเป็นระบบ
2. ระบบการสนับสนุนภายใน ผู้บริหาร คณาจารย์ คลากรทุกฝ่ายในสถานศึกษา และ
บุคคลที่เกี่ยวข้องต้องเห็นชอบกับแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา และให้ความสนับสนุน
และร่วมมืออย่างจริงจัง ในการนำแผนสู่การปฏิบัติ
3. เป้าหมาย วัตถุประสงค์ และตัวบ่งชี้ในแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถาน
ศึกษาต้องเป็นสิ่งที่สังเกตได้และวัดได้ในเชิงบริมาณ
4. ยุทธศาสตร  และเทคนิควิธีต่าง ๆ ที่ใช้ในกระบวนการเรียนการสอน การวัด
และประเมินผล ตลอดจนการบริหารจัดการ ต้องตั้งอยู่บนรากฐานทางทฤษฎี หรือหลักวิชาที่ถูกต้อง
และต้องมีผลการวิจัยเชิงประจักษ์สนับสนุนประสิทธิภาพ และประสิทธิผล
5. แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาต้องกำหนดรูปแบบ และวิธีการ
พัฒนาบุคลากรที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้สามารถปฏิบัติภารกิจตามแผนอย่างได้ผลดี
6. แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ต้องระบุแหล่งวิทยาการภายนอกที่
จะให้ความร่วมมือช่วยเหลือ และสนับสนุนทางวิชาการ
32
7. ผู้ปกครอง และชุมชนต้องมีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วม และรับบทบาทสำคัญใน
กิจกรรมต่าง ๆ ตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
8. ต้องมีการประสานสัมพันธ์และระดมทรัพยากรจากแหล่งต่าง ๆ เช่น หน่วยงาน
ของรัฐ องค์กรเอกชน สถาบันและมูลนิธิต่าง ๆ เพื่อนำมาสนับสนุนการดำเนินงานตามแผนพัฒนา
คุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
9. ต้องมีเครื่องมือและระบบการวัดและประเมินการเรียนรู้ และผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน
ที่สอดคล้องกับมาตรฐานหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2.4.4 การดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา
"การดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา" หมายถึง การกำกับ ติดตามการ
ดำเนินงานอย่างต่อเนื่องให้บรรลุเป้าหมายตามแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาที่กำหนดไว้ โดยจัดทำ
แผนปฏิบัติการประจำปีที่ชัดเจน ครอบคลุมงาน / โครงการของสถานศึกษา
เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาอย่างรอบด้าน
นั้น นอกจากการวางแผนอย่างดี ถูกต้องตามหลักวิชาการ การกำหนดยุทธศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพแล้ว
จะต้องมีการปฏิบัติตามแผน และการประเมินแผน มิฉะนั้นแผนที่จัดทำอย่างดีก็จะไร้ประโยชน์ ดังนั้น
สถานศึกษาควรกำหนดแนวทางในการนำแผนสู่การปฏิบัติ ขั้นตอนนี้จึงเป็นทั้งการสร้างความร่วมมือ
และทิศทางการนำแผนไปปฏิบัติ ซึ่งมีแนวทางในการดำเนินงานได้ ดังนี้
1. การสรา้ งการยอมรบั แผน ในขนั้ ตอนนี้ สถานศึกษาโดยคณะกรรมการวางแผน
ควรนำแผนฉบับร่างสุดท้ายให้บุคลากรของสถานศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชน เขตพื้นที่ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่
สามารถช่วยในการดำเนินงานของสถานศึกษาได้ร่วมให้ข้อเสนอแนะ ข้อคิดเห็น ว่ายังมีส่วนประกอบ
ใดที่ควรจะเพิ่มเติมเพื่อให้การวางแผนเป็นไปด้วยความรอบคอบ รอบรู้ และรอบด้านอย่างแท้จริง
2. การมอบหมายการปฏิบัติอย่างเป็นทางการ ในแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของ
สถานศึกษา ได้ระบุการมอบหมายความรับผิดชอบให้หน่วยงาน/บุคคลแล้ว ฉะนั้น ควรมีการส่งมอบ
แผนให้กับหัวหน้ากลุ่มวิชา หัวหน้าระดับชั้น ตามสายการบังคับบัญชา ตลอดจนทีมงานอย่างเป็น
ทางการด้วย เพื่อผู้ปฏิบัติจักได้ทราบหน้าที่และขอบข่ายงานที่ต้องทำ
3. การทำความเข้าใจแผน ผู้ปฏิบัติทำความเข้าใจส่วนต่าง ๆ ของแผน ได้แก่
1) เจตนารมณ์ของสถานศึกษา : วิสัยทัศน์ ภารกิจ เป้าหมาย
33
2) เป้าหมายการพัฒนา ยุทธศาสตร  เทคนคิ วิธีการใหม่ที่กำหนดไว้ในแผน
ซึ่งหากยากต่อการทำความเข้าใจ และปฏิบัติสถานศึกษาต้องจัดให้มีการอบรม ชี้แจงก็จะช่วยให้
การทำงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
3) แผนปฏิบัติการรายปี ทำความเข้าใจกิจกรรม/ขั้นตอนการดำเนินงาน
แนวทางการประเมินความสำเร็จ และเตรียมขั้นตอนการดำเนินการในรายละเอียดยิ่งขึ้น โดยมุ่งเน้นว่า
ทำอย่างไรจึงจะให้สำเร็จได้ตามกำหนดเวลาที่ระบุในแผน และจะมีการประเมินผลและรายงานผล
การปฏิบัติงาน เป็นระยะอย่างไร
4) การประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุผล
สำเร็จตามแผน
2.4.5 การตรวจสอบและทบทวนคุณภาพการศึกษา
"การตรวจสอบและทบทวนคุณภาพการศึกษา" หมายถึง การตรวจสอบและทบทวน
ภายใน โดยบุคลากรในสถานศึกษาดำเนินการและกาตรวจสอบและทบทวนจากหน่วยงานต้นสังกัด
การตรวจสอบ และทบทวนคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาเป็นกระบวนการ
ประเมินตนเองของสถานศึกษาอย่างเป็นระบบดำนินการอย่างต่อเนื่อง โดยความร่วมมือของบุคลากร
ในสถานศึกษา ผู้ปกครอง และชุมชน ซึ่งสะท้อนให้เห็นเป้าหมาย จุดเน้น และทิศทางการพัฒนาสถาน
ศึกษา โดยจำแนกได้ ดังนี้
1. การตรวจสอบ เป็นการรวบรวมข้อมูลการดำเนินงาน และผลการดำเนินงานของ
สถานศึกษาสำหรับนำไปเป็นข้อมูลประกอบการปรับปรุง และพัฒนาการดำเนินงานตามแผนพัฒนา
คุณภาพอย่างต่อเนื่อง โดยความร่วมมือของบุคลากรในสถานศึกษา
2. การทบทวนเป็นการนำข้อมูลการดำเนินงานและผลการดำเนินงานของสถานศึกษา
ที่ผ่านการตรวจสอบแล้วมาพิจารณาเปรียบเทียบว่า เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้หรือไม่เพียงใด
และหาสาเหตุตลอดจนแนวทางแก้ไข ปรับปรุง และพัฒนา เพื่อให้เกิดความมั่นใจในคุณภาพและ
ประสิทธิภาพของสถานศึกษา
วัตถุประสงค์ของการตรวจสอบและทบทวนคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
1. เพื่อให้สถานศึกษาสามารถติดตามรวบรวมข้อมูลความก้าวหน้าของการดำเนินงาน
และการปฏิบัติงานได้อย่างต่อเนื่อง
2. เพื่อรวบรวมจัดระบบข้อมูลสารสนเทศ และนำไปใช้ในการวางแผนเพื่อพัฒนา
คุณภาพสถานศึกษาให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด
34
3. เพื่อปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษา
และเป็นที่ยอมรับเพื่อสร้างความพึงพอใจแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง
2.4.6 การประเมินคุณภาพการศึกษา
"การประเมินคุณภาพการศึกษา" หมายถึง การประเมินผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนใน
ระดับชั้นที่เป็น ประถมศึกษาปีที่ 3 และ 6 มัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 6 ในวิชาแกนร่วม โดยใช้แบบ
ทดสอบมาตรฐานโดยหน่วยงานส่วนกลางร่วมกับต้นสังกัด (เขตพื้นที่) ดำเนินการ
เป็นการเน้นการประเมินผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนในระดับชั้นที่เป็นตัวประโยค ได้แก่
ประถมศึกษาปีที่ 3 และ 6 มัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 6 ในวิชาแกนร่วม โดยใช้แบบทดสอบมาตรฐาน
โดยหน่วยงานส่วนกลางร่วมกับต้นสังกัด(เขตพื้นที่) ดำเนินการ มีจุดมุ่งหมายเพื่อเทียบเคียงกับเกณฑ์
มาตรฐานกลางและยกระดับคุณภาพของสถานศึกษา
2.4.7 การรายงานคุณภาพการศึกษาประจำปี
"การรายงานคุณภาพการศึกษาประจำปี" หมายถึง การนำข้อมูลผลการประเมิน
มาตรฐานคุณภาพการตรวจสอบ และทบทวนภายใน และภายนอกมาประมวลรายงานผลการพัฒนา
คุณภาพประจำปีการศึกษา ซึ่งจะนำไปใช้เป็นข้อมูลสำหรับการวางแผนพัฒนาคุณภาพต่อไป
วัตถุประสงค์ของการจัดทำรายงานคุณภาพการศึกษาประจำปี
1. เพื่อแสดงภาระความรับผิดชอบในผลการจัดการศึกษา ตามแผนพัฒนาคุณภาพ
การศึกษาของสถานศึกษาต่อหน่วยงานต้นสังกัด สาธารณชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเมื่อสิ้นปี
การศึกษา
2. เพื่อให้สถานศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนพัฒนา
คุณภาพการศึกษาในปีต่อไป
3. เพื่อให้สถานศึกษามีข้อมูลการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
เพื่อเตรียมความพร้อมในการรองรับการประเมิน และรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาของสถาน
ศึกษา โดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา
ขั้นตอนการดำเนินการจัดทำรายงานคุณภาพการศึกษาประจำปี มีดังนี้
1. กำหนดเป้าหมายผู้รับรายงาน วางแผนการจัดทำรายงาน และกำหนดรูปแบบ
การรายงาน ซึ่งประเด็นการกำหนดจะเป็นไปตามนโยบายหรือแนวปฏิบัติของสถานศึกษา ดังนี้
35
1) กลุ่มเป้าหมายผู้รับรายงานให้เป็นไปตามมาตรา 48 แห่งพระราชบัญญัติ
การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ซึ่งประกอบด้วย
√ ผู้บริหาร/กรรมการสถานศึกษา
√ นักเรียน
√ ผู้ปกครอง
√ ชุมชน
√ หน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสาธารณชน
2) วางแผนการจัดทำรายงานคุณภาพการศึกษาประจำปีของ ในเรื่องเกี่ยวกับ
การกำหนดช่วงเวลาจัดทำรายละเอียดการรายงาน ตลอดจนการแสดงความคิดเห็น และข้อเสนอแนะ
ต่าง ๆ
3) กำหนดรูปแบบการรายงานคุณภาพการศึกษาประจำปี ให้เหมาะสมกับ
กลุ่มเป้าหมาย
2. แต่งตั้งคณะทำงานจัดทำรายงานผลคุณภาพการศึกษาประจำปี สถานศึกษาควร
แต่งตั้งคณะทำงานจากบุคคลผู้รับผิดชอบในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาประกอบด้วย
1) ผู้ช่วยผู้บริหารฝ่ายวิชาการ หัวหน้าแผนงาน/งานวิชาการของสถานศึกษา
2) บุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา
3. รวบรวม วิเคราะห์ แปลผล และนำเสนอข้อมูลผลการดำเนินการพัฒนาคุณภาพ
การศึกษาในรอบปี ดังนี้
1) รวบรวมนำข้อมูลสารสนเทศการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพการศึกษา ตาม
แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา(ISP)และแผนปฏิบัติงานประจำปีรวมทั้งนโยบายเร่งด่วน/
พิเศษของหน่วยงานต้นสังกัด และกระทรวงศึกษาธิการ ที่ครอบคลุมผลการตรวจสอบและทบทวน
คุณภาพภายในสถานศึกษา ผลการตรวจสอบและทบทวนคุณภาพการศึกษาโดยเขตพื้นที่ รวมทั้งผล
การประเมินมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนโดยใช้แบบวัดมาตรฐาน ซึ่งสถานศึกษาเก็บไว้ในระบบ
สารสนเทศ
2) ออกแบบการนำเสนอรายงานฯ ตามสาระสำคัญ ให้ครอบคลุมการดำเนิน
งานพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาในรอบปี
3) เขียนรายงานคุณภาพสถานศึกษาประจำปี โดยนำเสนอสภาพการดำเนิน
งานและสรุปผลการดำเนินงานพร้อมแนวทางการพัฒนาในปีการศึกษาต่อไป
4 เขียนรายงานและจัดทำเอกสารรายงานคุณภาพการศึกษาประจำปี
36
5. นำเสนอคณะผู้บริหารสถานศึกษาพิจารณาให้ความเห็นชอบ
6. เผยแพร่สู่กลุ่มเป้าหมายผู้รับรายงานคุณภาพการศึกษาประจำปีของสถานศึกษา
7. ติดตามผล และรับข้อมูลย้อนกลับจากกลุ่มเป้าหมายผู้รับรายงานคุณภาพการศึกษา
ประจำปี ซึ่งได้แก่ นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน หน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสาธารณ
ชนเพื่อรับทราบความคิดเห็น ความพึงพอใจและข้อเสนอแนะที่มีต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนและ
นำผลไปเป็นข้อมูลในการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาต่อไป
2.4.8 การผดุงระบบการประกันคุณภาพการศึกษา
"การผดุงระบบการประกันคุณภาพการศึกษา" หมายถึง กลไกส่วนหนึ่งของระบบ
ประกันคุณภาพภายใน เพื่อให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อการส่งเสริมพัฒนา และประเมินประสิทธิภาพของ
การดำเนินงานของระบบประกันคุณภาพ
เป็นกลไกส่วนหนึ่งของระบบประกันคุณภาพภายใน เพื่อให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อการ
ส่งเสริมพัฒนา และประเมินประสิทธิภาพการดำเนินงานของระบบประกันคุณภาพ เป็นการนำผลจาก
การตรวจสอบและทบทวนคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาไปใช้ ซึ่งมีรายละเอียดของข้อมูล สถาน
ศึกษาโดยภาพรวมในด้านนโยบาย เป้าหมาย จุดเน้น ผลการดำเนินงานในรอบปี จุดเด่นและจุดด้อยของ
สถานศึกษา รวมถึงสรุปผลและข้อเสนอแนะแนวทางวิธีการในการพัฒนา เพื่อเสริมจุดเด่นและแก้ไข
จุดด้อย ซึ่งข้อมูลนี้สามารถนำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อนำเสนอต่อผู้เกี่ยวข้องในระดับต่าง ๆ
สรุป ระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ประกอบด้วย สถานศึกษาทบทวน
การจัดระบบบริหาร ว่าสามารถรองรับการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติหรือไม่
จะต้องมีการปรับเปลี่ยนองค์กรอย่างไรให้เหมาะสมขึ้น การจัดระบบสารสนเทศ เน้นให้เกิดการ
บันทึก การเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบที่สมบูรณ์ ครอบคลุม ตรวจสอบได ้ นำมาใช้ในการ
ตัดสินใจเชิงนโยบายได้ การจัดทำมาตรฐานการศึกษาระดับสถานศึกษา โดยที่การจัดการศึกษาของ
สถานศึกษาจะต้องพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุตามมาตรฐานหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งถือเป็นข้อ
กำหนดที่สถานศึกษาต้องดำเนินการ การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา เป็นหัวใจของการดำเนิน
งานพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษา แผนนี้จะฉายภาพรวมของการดำเนินงานทั้งหมดของสถานศึกษา
ตามช่วงระยะเวลาที่สถานศึกษากำหนด ดังนั้นในขั้นตอนนี้จะต้องมี การกำกับ ติดตาม นิเทศอย่าง
ต่อเนื่อง บันทึกผลการปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ถูกต้องและสมบูรณ์ การตรวจสอบและทบทวนคุณภาพ
การศึกษาของสถานศึกษา เป็นหัวใจของการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของสถานศึกษา โดยมี
จุดมุ่งหมายเพื่อตรวจสอบและทบทวนประสิทธิภาพการดำเนินงานว่าวิธีการต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ในแผน
37
มีการนำมาปฏิบัติ การประเมินคุณภาพการศึกษา เป็นการที่สถานศึกษาจัดให้ผู้เรียนในชั้น ป.3 ป.6 ม.3
และ ม.6 ได้รับการประเมินผลสัมฤทธิ์ในวิชาแกนหลักและคุณลักษณะสำคัญด้วยเครื่องมือมาตรฐานมี
จุดมุ่งหมายเพื่อเทียบเคียงกับเกณฑ์มาตรฐานกลางและยกระดับคุณภาพของสถานศึกษา การรายงาน
คุณภาพการศึกษาประจำปี เป็นการแสดงภาระความรับผิดชอบของสถานศึกษา โดยมีการรายงาน
ความก้าวหน้าผลการปฏิบัติ ผลการพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาตามแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา
ให้ผู้ปกครอง ชุมชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบการผดุงระบบประกันคุณภาพอย่างต่อเนื่องภารกิจ
ข้างต้นเป็นกระบวนการที่เอื้อต่อการผลักดันให้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง
2.5 การประเมินผลภายใน
การประเมินผลภายใน (สุวิมล ว่องวาณิช 2543ก : 10) คือ กระบวนการประเมินผลการ
ดำเนินงานของหน่วยงานที่กระทำโดยบุคลาการในหน่วยงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้
ข้อมูลที่ช่วยในการปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนด ถือเป็นกระบวนการ
ตรวจสอบการทำงานของตนเอง และควรจำเป็นกิจกรรมหนึ่งในขั้นตอนการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง
สรุป ลักษณะสำคัญของการประเมินผลภายในของโรงเรียน คือ โรงเรียนประมินตนเองอย่าง
ต่อเนื่องเพื่อให้ได้ข้อมูลที่นำไปสู่การพัฒนาปรับปรุงตนเอง และพร้อมที่จะได้รับการตรวจสอบจาก
การประเมินภายนอกอีกด้วย
2.5.1 ความสำคัญและจำเป็นของการประเมินตนเอง
1. เพื่อทราบจุดอ่อนจุดแข็งของตนเอง
2. เพื่อนำข้อมูลมาปรับปรุงการดำเนินงานของตนเอง
3. เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อภารกิจที่ได้รับมอบหมายจากชุมชน
4. เพื่อรายงานผลการประเมินให้สาธารณชนทราบ และได้ข้อมูลที่ช่วยในการวางแผน
พัฒนาหน่วยงานต่อไป
2.5.2 มโนทัศน์เกี่ยวกับการประเมินผลภายใน
มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับการประเมินผลภายใน 10 ประการ
1) การประเมินเป็นการจับผิดการทำงานของบุคคลในหน่วยงาน
2) การประเมินเป็นการทำงานเสริมนอกเหนืองานประจำและเพิ่มภาระ
3) การประเมินเป็นการทำงานเฉพาะกิจเพียงครั้งคราว
38
4) การประเมินเป็นการทำงานเพื่อสร้างผลงานของคนใดคนหนึ่ง
5) การประเมินเป็นการทำงานเพื่อหวังผลทางการเมือง
6) การประเมินเป็นการทำงานเพราะถูกบังคับให้ทำ
7) การประเมินเป็นกระบวนการที่ให้ใครมาทำก็ได้
8) การประเมินเป็นการทำงานในกลุ่มคนที่ได้รับมอบหมายโดยเฉพาะ
9) การประเมินเป็นการทำงานที่ไม่ได้หวังเอาผลไปใช้ประโยชน์
10) การประเมินเป็นการทำแล้วเก็บไว้รู้ผลการประเมินเฉพาะในกลุ่มคนทำ
มโนทัศน์ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการประเมินผลภายใน 10 ประการ
1) การประเมินเป็นการให้ข้อมูลที่ช่วยให้มีการปรับปรุงตนเองให้ทำงานได้ดีขี้น
2) การประเมินเป็นงานที่ต้องทำในวงจรการทำงานอยู่แล้ว ไม่ใช่การเพิ่มภาระ
3) การประเมินเป็นงานที่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง
4) การประเมินเป็นงานของทุกคน ไม่ใช่การสร้างผลงานทางวิชาการของใคร
5) การประเมินเป็นงานที่ต้องทำด้วยใจเป็นกลาง สะท้อนผลตามความเป็นจริง
6) การประเมินเป็นงานที่ต้องทำด้วยความเต็มใจและอยากทำ
7) การประเมินเป็นงานที่ต้องทำให้ถูกต้องตามหลักวิธีการ ผู้ทำต้องมีความรู้
ในการประเมิน
8) การประเมินเป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องร่วมมือกันทำให้สำเร็จ
9) งานที่ต้องเอาผลไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาตนเอง
10) การประเมินเป็นงานที่ต้องเผยแพร่ผลการประเมินให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายทราบ
สรุป การประเมินผลภายใน เป็นการประเมินตนเองซึ่งต้องอาศัยบุคลากรในหน่วยงานเป็น
ผู้ร่วมกันดำเนินการ ดังนั้น การมีจิตสำนึกและตระหนักถึงคุณค่าของการประเมินตนเองเป็นสิ่งสำคัญที่
ผู้บริหารสถานศึกษา หรือผู้ที่รับผิดชอบด้านการประเมินผลภายในจะต้องสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้
เกิดขึ้นกับบุคลากรในหน่วยงานทุกฝ่าย ให้ได้รับรู้มโนทัศน์ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการประเมินผลภายใน
2.5.3 ขั้นตอนการประเมินผลภายใน
1) ศึกษาหรือกำหนดนโยบายและทิศทางการดำเนินงานของสถานศึกษา เพื่อใช้เป็น
เป้าหมายของการประเมินผล
39
2) ตั้งคณะกรรมการหรือคณะทำงานด้านการประเมินผลภายใน ซึ่งประกอบด้วย
บุคคลที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษา ได้แก่ ชุมชนบริเวณโรงเรียน ผู้บริหาร บุคลากรในสถานศึกษา
ทั้งครูอาจารย์ และเจ้าหน้าที่ นักเรียน และกำหนดบทบาทหน้าที่ของแต่ละคน
3) วางแผนการประเมินผลภายใน
3.1) กำหนดเป้าหมายของการประเมิน
3.2) กำหนดวิธีการประเมิน
3.3) เตรียมเครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน
3.4) วางแผนการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ สรุปและรายงานผล
4) ลงมือทำการประเมินผล
5) กระตุ้นกำกับการประเมินผลให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้
6) รายงานผลการประเมิน สรุปจุดแข็งและจุดอ่อนของสถานศึกษาและนำมาเผยแพร่
ให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ เช่น ผู้บริหาร ครูอาจารย์ ชุมชนบริเวณโรงเรียน นักเรียน เป็นต้น
7) วางแผนการแก้ไขปรับปรุงการดำเนินงานของสถานศึกษาในส่วนที่เป็นจุดอ่อน
8) ดำเนินการแก้ไขปรับปรุงการดำเนินงานของสถานศึกษาตามแนวทางที่เลือกใช้
9) ตรวจสอบผลการดำเนินงานว่าเป็นไปตามเป้าหมายที่ต้องการบรรลุผลหรือไม่ ซึ่ง
เป็นการย้อนกลับไปทำงานขั้นตอนที่ 3-9 ใหม่
การดำเนินงานในโรงเรียนให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ มีการทำงาน 4 ขั้นตอน คือ การวาง
แผนการทำงา การลงมือปฏิบัติงาน การตรวจสอบผลการปฏิบัติงาน และการแก้ไขปรับปรุงการทำงาน
(วรภัทร์ ภู่เจริญ 2542) ซึ่งในขั้นตอนการตรวจสอบการทำงาน นี้ยังมีวงจรการทำงานที่เป็นแบบ
PDCA คือ มีการวางแผน การประเมิน การลงมือทำการประเมิน การตรวจสอบผลการประเมิน และ
การแก้ไขปรับปรุงผลการดำเนินงานหลังจากรู้ผลการประเมินว่ามีจุดบกพร่องในเรื่องใด
2.5.4 มาตรฐานของการประเมินผลภายใน
การดำเนินการประเมินผลภายในจะต้องมีกระบวนการดำเนินงานที่ได้มาตรฐาน ซึ่ง
ผู้ประเมินต้องออกแบบการประเมินให้ได้คุณภาพตามเกณฑ์ (Stufflebeam 1998, Online)ต่อไปนี้
1) มาตรฐานด้านประโยชน์จากการประเมิน ผลการประเมินต้องให้ข้อมูลตรงตามที่
ผู้ใช้ผลการประเมินอยากรู้ ( เช่น ผู้บริหาร ครูอาจารย์ ผู้ปกครอง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ) และนำไป
ใช้ประโยชน์ในการพัฒนาปรับปรุงการดำเนินงานได้จริง โดยเฉพาะถ้าสามารถให้ข้อมูลมีส่วนช่วย
ในการปรับปรุงตนเองได้ในระดับบุคคล(นักเรียน ครู ผู้บริหาร) ก็จะยิ่งเป็นประโยชน์มากขึ้น
40
2) มาตรฐานด้านความเป็นไปได้ วิธีการที่ใช้ในการประเมินจะต้องมีความเป็นไปได้
ในทางปฏิบัติจริง ประหยัด คุ้มค่าและเหมาะสม
3) มาตรฐานด้านความเหมาะสม วิธีการที่ใช้ในการประเมินต้องไม่ส่งผลกระทบต่อ
ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการประเมิน ไม่ก่อให้เกิดผลเสียหายกับผู้ให้ข้อมูล
4) มาตรฐานด้านความถูกต้อง วิธีการที่ใช้ในการประเมินต้องมีความถูกต้อง ให้ข้อมูล
ที่เชื่อถือได้ เช่น เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินสามารถวัดตัวบ่งชี้ที่ต้องการวัดได้จริง มีความครบถ้วน
สมบูรณ์ตามตัวบ่งชี้ที่ต้องการวัด แหล่งผู้ให้ข้อมูลเชื่อถือได้ ให้ข้อมูลตามความเป็นจริง วิธีการ
วิเคราะห์และการเสนอผลการประเมินมีความเป็นปรนัย
สรุป การประเมินผลภายในหรือการประเมินตนเองเป็นกระบวนการหนึ่งในการบริหารจัดการ
การศึกษา ซึ่งจะทำให้ได้สารสนเทศที่สะท้อนการปฏิบัติงานของสถานศึกษา อันจะนำไปสู่การพัฒนา
และปรับปรุงตนเองให้บรรลุเป้าหมายตามมาตรฐานการศึกษาที่กำหนด ดังนั้นหากสถานศึกษาได้มี
การประเมินผลตนเองครบทุกมาตรฐาน ก็จะได้ข้อมูลเกี่ยวกับผลการปฏิบัติงานของตนเองว่ายังมีจุดที่
ต้องแก้ไขปรับปรุงตนเองในด้านใดบ้าง
2.6 ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน
ได้แก่
ผลงานวิจัยในประเทศ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2531) ได้ศึกษาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน
พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ได้แก่ ปัจจัยเกี่ยวกับการจัดการศึกษา ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง
ได้แก่ การนิเทศ และติดตามผล การใช้เงินนอกงบประมาณ อุปกรณ์การเรียน และการบริหารงาน
ของผู้บริหารโรงเรียน ปัจจัยด้านผู้บริหาร ได้แก่ การปฏิบัติงาน ความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริหารกับผู้อื่น
วยั ประสบการณ์ วฒุ ิ และระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่ง ปัจจัยด้านคร ู ได้แก ่ คุณลักษณะของคร ู (วฒุ ิ
ประสบการณ์) ภารกิจ และการปฏิบัติหน้าที่ (ปริมาณงานในความรับผิดชอบ ทักษะการสอนการใช้
เวลา) ขวัญและกำลังใจ ความสัมพันธ์ของครูกับผู้อื่น ปัจจัยด้านชุมชน ได้แก่ ความเจริญแบบเมือง
บทบาทของผู้นำชุมชน และการให้ความร่วมมือแก่โรงเรียน ปัจจัยด้านผู้ปกครอง และนักเรียน ได้แก่
ค่าใช้จ่าย ทัศนคติและอาชีพ ปัจจัยด้านนักเรียน ได้แก่ พื้นฐานความรู้เดิม การทำการบ้าน และ
การขาดเรียน ปัจจัยด้านการเรียนการสอน และการวัดผล ได้แก่ การเตรียมการสอน เป้าหมายใน
41
การสอน เทคนิคเวลาในการสอน วิธีวัดผล ซึ่งปัจจัยด้านนี้เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนของนักเรียน
จากการศึกษาของ วันชัย ศิริชนะ (2537) ได้ศึกษาการพัฒนารูปแบบการประกันคุณภาพ
การศึกษาระดับอุดมศึกษาสำหรับการศึกษาอุดมศึกษาในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย พบว่า ระบบ
การประกันคุณภาพการศึกษาของทุกประเทศที่ศึกษาได้เน้นถึงหลักการในเรื่องความเป็นอิสระ
(Autonomy) ควบคู่ไปกับความพร้อมที่ได้รับการตรวจสอบจากภายนอก (Accountability) ของ
สถาบันอุดมศึกษา ทั้งนี้โดยแต่ละประเทศมีกลไกการดำเนินการและวิธีการในรายละเอียดที่แตกต่าง
กันออกไปตามประสบการณ  และจารีตนิยมของตน สำหรับรูปแบบการประกันคุณภาพการศึกษา
ในระดับอุดมศึกษาสำหรับสถาบันอุดมศึกษาในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัยที่พัฒนาขึ้น ได้ใช้กระบวน
การรับรองวิทยฐานะ โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 2 แบบ แบบที่ 1 ใช้ระบบการตรวจสอบกลไก
ควบคุมคุณภาพทางวิชาการ ภายในที่สถาบันได้จัดให้มีขึ้น โดยลักษณะนี้จะใช้กับสถาบันอุดมศึกษา
หรือหลักสูตรที่เปิดปิดดำเนินการไปแล้ว และเป็นระยะที่เป็นโดยความสมัครใจ แบบที่ 2 ใช้ระบบ
การตรวจสอบผลการดำเนินการสำหรับสถาบันหรือหลักสูตรที่ขอจัดตั้งหรือเปิดดำเนินการขึ้นใหม่
เมื่อเห็นว่ามาตรการและเกณฑ์การดำเนินการเหมาะสมก็ให้การรับรองวิทยฐานะ ซึ่งทั้งสองระบบ
มุ่งเน้นการกระตุ้นในสถาบันอุดมศึกษามีอิสระในการกำกับดูแลตนเอง โดยการสร้างระบบควบคุม
คุณภาพติดตามตรวจสอบการดำเนินงานของตนด้วยตนเอง
สัมฤทธิ์ วิรัตน์ตนะ (2537)ได้ทำการศึกษามาตรฐานคุณภาพการศึกษาตามสภาพความเป็นจริง
ของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ ่ สังกัดกรมสามัญศึกษา ในเขตการศึกษา
12 ในด้านความพร้อมของทรัพยากรและคุณภาพการจัดการศึกษาโดยตัวชี้มาตรฐานคุณภาพการศึกษา
ประกอบด้วย ตัวบ่งชี้ด้านสถานศึกษา มีปรัชญา/เป้าหมาย ความเชื่อ คติพจน์หรือคำขวัญเขียนไว้
เป็นลายลักษณ์อักษร สถานศึกษามีการจัดชั้นเรียนและจัดกลุ่มวิชาเลือกสนองความต้องการของผู้เรียน
สถานศึกษามีบุคลากรที่มีคุณภาพในการที่จะดำเนินการให้บรรลุเป้าหมาย ความเชื่อ ค่านิยม
ตลอดจนบุคลิกลักษณะของผู้บริหารการศึกษาส่งผลให้บุคลากรในสถานศึกษาปฏิบัติได้สำเร็จ
ผู้บริหารการศึกษาแสดงความสามารถในการนำสถานศึกษาของตน รู้เป้าหมายที่วางไว้ สถานศึกษามี
และใช้หลักสูตรเป็นเครื่องกำหนดการเรียนการสอน สถานศึกษามีหลักสูตร และจัดประสบการณ์ที่
ทำให้เด็กมีทักษะพื้นฐานที่จำเป็น และนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สถานศึกษามีหลักสูตรและจัด
ประสบการณ์ให้นักเรียนเจริญงอกงามในด้านความรู้ ความเข้าใจ และซาบซึ้งในตนเองและผู้อื่น
สถานศึกษามีงบประมาณ และนิเทศการใช้หลักสูตร ครูวางแผน และจัดการสอบอย่างมีประสิทธิภาพ
จนบรรลุความสำเร็จตามเป้าหมายของสถานศึกษา นักเรียนรู้จักเรียนและรู้คุณค่าของการเรียน สถาน
42
ศึกษามีแผนการสอนที่ทำให้เกิดผลในการดำเนินงาน สถานศึกษามีผู้บริหารที่มีคุณวุฒิสูง และปฏิบัติ
งานเต็มเวลา สถานศึกษามีโครงการพัฒนาคณะผู้ร่วมงาน สภาพแวดล้อมของสถานศึกษาเอื้ออำนวย
และมุ่งเน้นที่ความสามารถและคุณค่าของแต่ละบุคคล การใช้ข้อมูลจากการประเมินผล ปรับปรุง
โครงการของสถานศึกษา การจัดและประเมินผลของนักเรียน อาศัยจุดประสงค์การเรียนรู้ของหลัก
สูตรเป็นพื้นฐาน สถานศึกษามีวิธีการติดตามและประเมินผลของครูอย่างเป็นระบบ และยุติธรรม มีวิธี
การติดตาม และประเมินผลงานของผู้บริหารการศึกษาอย่างเป็นระบบ จากตัวอย่างบ่งชี้มาตรฐาน
คุณภาพการศึกษาเหล่านี้ พบว่า โรงเรียนมัธยมศึกษาทั้ง 3 ขนาดปฏิบัติได้ในระดับปรากฏเป็นบางส่วน
ยกเว้นบางข้อในแต่ละด้านที่มีการปฏิบัติได้ในระดับสม่ำเสมอ
สงบ ลักษณะ (2538) ได้ศึกษาเชิงสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการกระจายอำนาจให้จังหวัด
ดำเนินงานพัฒนาและประเมินผลคุณภาพการศึกษา โดยใช้แบบสอบถามกับผู้บริหารหน่วยงานการจัด
การศึกษาในภูมิภาค พบว่า 1) ลักษณะขององค์กรที่ควรรองรับการกระจายอำนาจการพัฒนา และ
ประเมินคุณภาพการศึกษา คือ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด ด้วยเหตุผลว่าตรงกับพระราชกฤษฎีกา
แบ่งส่วนราชการที่กำหนดให้ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเป็นหน่วยงานกลางของกระทรวงศึกษา
ธิการรับผิดชอบประสานงานการจัดการศึกษาของทุกสังกัด ทุกระดับ ทุกประเภทในจังหวัด 2) ด้าน
ศักยภาพของหน่วยงานต่างๆ มีบุคลากรในองค์กรรองรับงานพัฒนาและประเมิน มีความสามารถใน
การวางแผนแบบครบวงจร และมีความสามารถในการระดมทรัพยากรเพื่อการพัฒนาและการประเมิน
มีศักยภาพลดหลั่นกันไปในหน่วยงานต่างๆ โดยสูงสุดในระดับเวลารองลงมาคือสำนักงานการประถม
ศึกษาจังหวัด สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด และต่ำสุดคือ สำนักงานสามัญศึกษาจังหวัด 3)ในสภาพ
ปัจจุบันองค์กรระดับจังหวัดยังไม่สามารถรองรับการดำเนินการประเมินคุณภาพการศึกษาได้ครบถ้วน
ยังคงต้องอาศัยระบบ เครื่องมือประเมินและทรัพยากรจากส่วนกลาง แต่องค์กรระดับจังหวัดสามารถ
รับร่างประสานการดำเนินงานประเมินคุณภาพการศึกษาในขั้นตอนรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล
รายงานและนำผลไปใช้ สำหรับข้อเสนอแนะที่สำคัญคือ 3.1) กรมวิชาการควรรับผิดชอบพัฒนา
เครื่องมือมาตรฐาน เพื่อการวัดการประเมินทั้งระบบร่วมมือกับหน่วยงานในส่วนภูมิภาค ในการวาง
แผนใช้เครื่องมือและเทคนิควิธีการประเมินแบบต่าง ๆ เพื่อให้มีการรวบรวมข้อมูลที่แม่นยำ และ
ครอบคลุมต่อเนื่อง 3.2) มอบอำนาจให้องค์กรในจังหวัด ผนึกกำลังทุกองค์กรในลักษณะคณะ
กรรมการรับผิดชอบวางแผนพัฒนา และประเมินคุณภาพการศึกษาของตนเองตามกรอบมาตรฐาน
คุณภาพโดยกระทรวงสนับสนุนทรัพยากร ให้เน้นการพัฒนาและประเมินที่ตอบสนองต่อลักษณะ
ท้องถิ่น และนำผลการประเมินมาใช้ประโยชน์สูงสุด 3.3) กรมวิชาการประสานงานระบบสารสนเทศ
คุณภาพการศึกษาระดับประเทศต่อเนื่องทุกปีครอบคลุมทุกองค์ ประกอบนำมาใช้เป็นพื้นฐานของ
43
การกำหนดนโยบาย กำหนดมาตรฐาน นวัตกรรม การจัดสรรทรัพยากร และส่งเสริมการปฏิบัติ
เพื่อเพิ่มพูนคุณภาพการจัดการศึกษาในทุกด้าน 3.4)กรมวิชาการและกรมต้นสังกัดของโรงเรียน รวมถึง
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการควรวางแผนพัฒนาศักยภาพความพร้อมขององค์กร และบุคลากร
ในระดับจังหวัดให้สามารถดำเนินงานประเมินคุณภาพการศึกษาได้ด้วยตนเองทั้งระบบทุกขั้นตอน
รวมถึงมีการกำหนดนโยบายและการดำเนินงานด้านการกระจายอำนาจการศึกษาอย่างจริงจัง
จุไรรัตน์ สุดรุ่ง (2539) ทำการศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงาน
วิชาการในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพใน
การดำเนินงานวิชาการในโรงเรียนประกอบด้วย องค์ประกอบ 4 ด้าน คือ องค์ประกอบด้านสภาพ
ทั่วไปของโรงเรียน องค์ประกอบด้านผู้บริหาร องค์ประกอบด้านครู และองค์ประกอบด้านผู้ปกครอง
โดยเฉพาะองค์ประกอบด้านผู้ปกครอง พบว่ามีตัวแปรที่สำคัญ 2 ประการ คือ การให้ความร่วมมือ
ของผู้ปกครองในด้านการเรียนการสอน ทำให้สามารถแก้ปัญหาเรื่องการเรียนของนักเรียนได้ดีขึ้น
ด้วยการร่วมมือกับครู และการให้การสนับสนุนช่วยเหลือของสมาคมผู้ปกครอง และครูได้ให้
การสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียนเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจกรรมวิชาการโดยให้
ความช่วยเหลือทั้งด้านการเงิน วัสดุอุปกรณ์ และการสนับสนุนโครงการต่างๆ ทำให้โรงเรียนสามารถ
พัฒนาไปได้อย่างดี โดยไม่ต้องรองบประมาณจากทางราชการ
ธเนศ คิดรุ่งเรือง (2540) ได้ทำการศึกษาการประกันคุณภาพในการบริหารงานวิชาการของ
โรงเรียนเอกชนที่เข้าร่วมโครงการนำร่องกับโรงเรียนที่ไม่เข้าร่วมโครงการ โดยสอบถามความคิดเห็น
ของผู้บริหารโรงเรียน เกี่ยวกับการจัดหลักสูตร การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การใช้วิธีการสอน
และการใช้สื่อการเรียนการสอน การวัดผลการเรียนการสอน พบว่า โรงเรียนเอกชนที่เข้าร่วมโครงการ
มีการบริหารงานวิชาการในแนวทาง และวิธีการประกันคุณภาพมากกว่าโรงเรียนที่ไม่ได้เข้าร่วม
โครงการ และโรงเรียนจะเน้นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเป็นอันดับแรก และการใช้วิธีการสอน
และการใช้สื่อการสอนเป็นอันดับสุดท้ายโดย เฉพาะโรงเรียนขนาดใหญ่มีการปฏิบัติมากกว่าโรงเรียน
ขนาดกลาง
เข็มทอง ศิริแสงเลิศ (2540) ศึกษาเกี่ยวกับการวิเคราะห์ระบบประกันคุณภาพการศึกษาของ
โรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน กรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยพบว่า 1) ระบบที่โรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน
ใช้ประกันคุณภาพการศึกษา คือระบบประกันคุณภาพที่เน้นการควบคุม การปฏิบัติงานตามสาย
การบังคับบัญชาและใช้ปฏิทินการศึกษาเป็นเกณฑ์วัดความสำเร็จในการปฏิบัติงาน มีการวางแผน
ปฏิบัติงานระยะ 1 ปี มากที่สุด ส่วนการกำหนดเกณฑ์และมาตรฐานของงาน ตลอดจนการทบทวนและ
ปรับปรุงการปฏิบัติงานยังไม่พบแบบแผนที่ชัดเจน 2) ระบบประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน
44
อาชีวศึกษาเอกชนขาดปัจจัยสำคัญตามแนวทางของระบบประกันคุณภาพการศึกษาตามทฤษฎีทั้ง3
ระบบย่อย คือ (1) ระบบการวางแผน บุคลากรมีส่วนร่วมน้อย และไม่มีเป้าหมายมาตรฐาน และ
เกณฑ์การจัดที่ชัดเจน (2) ระบบการควบคุมคุณภาพ ขาดการตรวจสอบจากหน่วยงานภายนอก
(3) ระบบการทบทวนและปรับปรุงการปฏิบัติงานที่ใช้อยู่ บุคลากรไม่มีส่วนร่วมในการทบทวนผล
การปฏิบัติงาน 4) ประสิทธิผลของระบบประกันคุณภาพการศึกษา 3 ด้าน คือ ด้านคุณภาพของ
กระบวนการบริหารโรงเรียน ด้านคุณภาพของนักเรียน และด้านคุณภาพของการบริการ ไม่พบ
ว่า โรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนแห่งใดมีประสิทธิผลครบทั้ง 3 ด้าน
อาภรณ์ พลเยี่ยม (2542) ได้ศึกษาระดับการดำเนินการตามนโยบายการประกันคุณภาพการ
ศึกษาระดับอุดมศึกษา และปัญหาการดำเนินการตามนโยบายการประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดม
ศึกษาของมหาวิทยาลัยขอนแก่น พบว่า ระดับการดำเนินการตามนโยบายการประกันคุณภาพการศึกษา
รวมทุกด้านมีการดำเนินการอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ด้านที่มีการดำเนินการอยู่
ในระดับปานกล่างค่อนข้างมากมี 2 ด้าน คือ ด้านการเรียนการสอนและด้านปรัชญา ปณิธาน วัตถุ
ประสงค์ และแผนการดำเนินงาน ส่วนด้านที่มีการดำเนินงานในระดับปานกลางค่อนข้างน้อยมี 2 ด้าน
คือ ด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และงานระบบกลไกการประกันคุณภาพการศึกษา ส่วนปัญหาใน
การดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษา ปัญหาที่พบคือ 1) ด้านการเรียนการสอน ระบบสรรหา
และการธำรงรักษาไว้ซึ่งอาจารย์ที่มีคุณวุฒิ ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ คุณธรรม จริยธรรม
ยังไม่ดีเท่าที่ควร 2) คณาจารย์ที่ไม่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการสูงขึ้นถึงร้อยละ 52 หน่วยงานที่ให้
ความรับผิดชอบในการให้คำปรึกษาในการประกอบอาชีพยังไม่เพียงพอ 3) การหางานทำให้แก่
นักศึกษานั้นยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ 4) การส่งเสริมการเรียนรู้ของนักศึกษาโดยมีอาคารสถานที่
ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอนแบบศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองไม่เพียงพอ และ 5) ด้านกิจกรรมการ
พัฒนานิสิตนักศึกษา หน่วยงานรับผิดชอบการให้คำปรึกษาไม่เพียงพอ การพัฒนานักศึกษาด้านสังคม
เป็นผู้มีระเบียบวินัย รักประชาธิปไตย รู้จักรักษ์สิ่งแวดล้อม มีคุณธรรม จริยธรรมยังไม่เหมาะสม
นอกจากนี้งานวิจัยของ สัญชาติ ตาลชัย (2542) ได้ทำการศึกษาปัญหาการปฎิบัติงานตาม
เกณฑ์มาตรฐานของโรงเรียนมัธยมศึกษา การวิจัยพบว่า 1) ข้าราชการครู จำแนกตามสถานภาพ
ตำแหน่ง มีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า งานการบริหารทั่วไป
งานธุรการ งานวิชาการ งานบริการโรงเรียนกับชุมชน และการบริหารอาคารสถานที่ มีปัญหาอยู่ใน
ระดับปานกลาง งานปกครองนักเรียนอยู่ในระดับมาก ยกเว้นผู้บริหารมีปัญหางานด้านปกครองอยู่ใน
ระดับปานกลาง 2) เมื่อเปรียบเทียบระดับปัญหาการปฏิบัติงานตามเกณฑ์มาตรฐานของโรงเรียนตาม
ขนาดโรงเรียนต่างกัน มีปัญหาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สอดคล้องกับงานวิจัยของ
45
ทำเนียบ มหาพรหม (2543) ศึกษาเกี่ยวกับการติดตามการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการประกันคุณภาพ
การศึกษา พบว่า สภาพการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษา ด้านผลผลิต
เมื่อนักเรียนจบหลักสูตรแต่ละระดับแล้ว พบว่านักเรียนมีการพัฒนาตนเองอยู่ในระดับปานกลางด้าน
กระบวนการในภาพรวมของการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษา พบว่า มีการ
พัฒนาครูและบุคลากรอื่นได้มีความร ู้ ความสามารถ มคี ณุ ธรรม จรยิ ธรรม เพื่อให้สามารถปฏิบัติงาน
ในหน้าที่ได้เต็มศักยภาพ ด้านปัจจัย ครูมีคุณธรรมและมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ผู้บริหารสถานศึกษา
มีความรู้ ความสามารถในการบริหารจัดการ มีภาวะผู้นำ มนุษยสัมพันธ์และวิสัยทัศน์ ส่วนปัญหา
การปฏิบัติงานตามมาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง
จากการสำรวจความพร้อมของสถานศึกษาในช่วงปลายปี 2541 ของโครงการวิจัยเพื่อพัฒนา
ระบบการประเมินผลภายในสถานศึกษา ที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติได้รับความร่วม
มือจาก รศ.ดร.สุวิมล ว่องวาณิช และคณะ (2543) ในการดำเนินการนั้น ปรากฏว่า จากสถานศึกษา 65
แห่ง มีสถานศึกษามากกว่าครึ่งหนึ่งมิได้รับการประเมินผลภายใน และไม่ได้ใช้การประเมินผลภายใน
ให้เป็นส่วนหนึ่งของการบริหารจัดการ เพื่อพัฒนาคุณภาพให้เป็นไปตามเป้าหมาย และมาตรฐาน
การศึกษา สำหรับสถานศึกษาที่ทำการประเมินผลภายในนั้น ส่วนใหญ่ประเมินผลตามมาตรฐานด้าน
ปัจจัย มากกว่ามาตรฐานด้านกระบวนการและด้านผู้เรียน โดยเฉพาะทักษะการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน
มีการประเมินน้อยมากในด้านความพร้อมของบุคลากรนั้น ถึงแม้ว่าทัศคติและแรงจูงใจในการประเมิน
ผลภายในอยู่ในระดับค่อนข้างสูง โดยครอู าจารยม์ ากกวา่ รอ้ ยละ 95 ยินดีและเต็มใจที่จะเรียนรู้และ
ดาํ เนนิ การในเรอื่ งนี้ แต่ผลจากการวิจัย พบว่า มีครูประมาณร้อยละ 31 ที่รู้สึกกังวลในการทำงานน ี้
ส่วนความรู้และทักษะในการประเมิน มีเพียงร้อยละ 53 ที่เคยผ่านการฝึกอบรมด้านการประเมิน
ร้อยละ 21 คิดว่าสามารถทำการประเมินผลภายในได้ ร้อยละ 11 คิดว่าสามารถสร้างเครื่องมือใน
การเก็บรวบรวมข้อมูลได้ร้อยละ 17 คิดว่ามีความรู้เรื่องการวิเคราะห์ข้อมูล และร้อยละ 32 สามารถใช้
คอมพิวเตอร์ได้
บุญทิพย์ สุริยวงศ์ ( 2544) ได้ศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ ระหว่างการบริหารงานวิชาการกับ
มาตรฐานระบบคุณภาพ ISO 9002 ของโรงเรียนมัธยมศึกษา กรมสามัญศึกษาพบว่า 1) การบริหาร
งานวิชาการมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทุกด้าน คือ ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านแผนปฏิบัติงาน
ด้านวิชาการ ด้านหลักสูตร ด้านการวัดและประเมินผล ด้านการนิเทศและการพัฒนาและด้านสื่อการ
เรียนการสอน 2) มาตรฐานระบบคุณภาพ ISO 9002 มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทุกด้าน คือ
ด้านระบบคุณภาพ ด้านการบันทึกควบคุมคุณภาพ ด้านการทบทวน ข้อตกลงเบื้องต้น ด้านการแสดง
ผลการทดสอบ ด้านความรับผิดชอบ ด้านการบริหาร ด้านการเคลื่อนย้าย การเก็บ การบรรจุ
46
รักษาและการส่งมอบงาน ด้านการติดตามคุณภาพภายใน ด้านการควบคุมผลิตภัณฑ์ ไม่เป็นไปตาม
ข้อกำหนด ด้านการควบคุมผลิตภัณฑ์ที่ส่งมอบโดยลูกค้า ด้านการควบคุมเอกสาร และข้อมูล ด้าน
การควบคุมกระบวนการ ด้านการตรวจสอบ และการทดสอบ ด้านการบ่งชี้และการตอบกลับ ด้าน
การแก้ไข และการป้องกัน ด้านการจัดซื้อ ด้านการฝึกอบรม ด้านการบริการ ด้านเทคนิคการใช้สถิติ
และด้านการควบคุมเครื่องมือตรวจสอบและเครื่องมือทดสอบ เป็นต้น 3) การบริหารงานวิชาการกับ
มาตรฐานระบบคุณภาพ ISO 9002 มีความสัมพันธ์กัน 4) จากการสัมภาษณ์ความคิดเห็นของผู้บริหาร
โรงเรียน ผู้ช่วยฝ่ายวิชาการ หัวหน้างานแผนงาน และหัวหน้าหมวดวิชา พบว่า การบริหารงานวิชาการ
และมาตรฐานระบบคุณภาพ ISO 9002 มาใช้ในโรงเรียนให้ได้ประสิทธิภาพนั้น ผู้บริหารโรงเรียน
ต้องเป็นผู้นำและให้การสนับสนุน ส่วนบุคลากรในโรงเรียนทุกฝ่ายต้องให้ความร่วมมือ และมี
ความรู้ความเข้าใจในระบบงานของมาตรฐานระบบคุณภาพ ISO 9002 ผลดีจากการบริหารงานวิชา
การตามมาตรฐานระบบคุณภาพ ISO 9002 คือ การดำเนินงานเป็นระบบมีความเป็นปัจจุบัน และมี
ความต่อเนื่อง มีการจัดระบบเอกสารเกี่ยวกับงานต่าง ๆ อย่างเป็นระเบียบ และมีการตรวจสอบ
ตลอดระยะเวลา การดำเนินงานเพื่อหาแนวทางแก้ไขปรับปรุง พัฒนางานตามวัตถุประสงค์ หรือตาม
ข้อตกลงที่กำหนดไว้
ผลงานวิจัยต่างประเทศ
อีกลอฟ(Egloff 1982) ได้ศึกษาถึงการขยายหน้าที่การงานของบุคลากรในโรงเรียน
เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น ได้แก่ การมอบหมายหน้าที่ของบุคลากรฝ่ายประจำ
และฝ่ายชั่วคราว ความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ฝ่ายนิเทศ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารการศึกษาใน
ท้องถิ่นเมืองเจเนสัน รัฐมิชิแกน สรุปให้เห็นความต้องการอันเป็นปัญหาเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล
โดยโรงเรียนในท้องถิ่นต้องการความช่วยเหลือในเรื่องต่อไปนี้ คือ กระบวนการปูนบำเหน็จ กระบวน
การประเมินผล และกระบวนการปฏิบัติงานทั่วๆ ไป
แพททิเซีย (Pattricia 1994) ที่ได้ทำการศึกษาการประเมินการก้าวไปสู่การประกันคุณภาพ
การศึกษา และการควบคุมการปฏิบัติในประเทศเยอรมัน สวีเดน ฝรั่งเศส นิวซีแลนด์ และออสเตรเลีย
จากผลการวิจัยพบว่า มีการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจน ในระบบการประกันคุณภาพการศึกษา
นั้น กลไกทางสังคมช่วยทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ในประเทศเยอรมันมีการเปลี่ยนแปลงจากจังหวัด
หนึ่งไปอีกจังหวัดหนึ่ง การประกันคุณภาพการศึกษาและควบคุมการประเมิน ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่
ครูต้องรับผิดชอบต่ออาชีพของตนซึ่งต้องดำเนินไปอย่างมีเหตุผล และกระบวนการที่ชัดเจน ใน
ประเทศสวีเดนเกิดการเปลี่ยนแปลงในการประกันคุณภาพการศึกษา จนถึงการประเมินครูในสถาน
ศึกษาจึงเกิดการพัฒนาอย่างชัดเจน ในประเทศฝรั่งเศสให้ความสำคัญ และเชื่อถือกับการใช้ข้อสอบ
47
ภายนอก โรงเรียนมีการควบคุมจากส่วนกลางในประเทศนิวซีแลนด์ให้ความสำคัญกับการประเมินจาก
บุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษา นำเอาระบบการสอบมาตรฐานกลางซึ่งอ้างอิงไปสู่การยอม
รับที่เป็นมาตรฐาน และในประเทศออสเตรเลียมีการนำเอาระบบการประเมินผลโดยการใช้ข้อสอบ
มาตรฐาน มีการเตรียมการอย่างมีแบบแผนสู่การควบคุมคุณภาพ และการประกันคุณภาพการศึกษา
ในระดับมัธยมศึกษา และการศึกษาชั้นสูงต่อไป
เบอกกัสท์ (Bergguist 1995) ที่ได้ทำการวิจัยเรื่อง การรับรู้ของอาจารย์ต่อการปรับปรุงคุณภาพ
อย่างต่อเนื่อง : การศึกษา 3 สถาบันหลังระดับมัธยมศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามความเข้าใจ
ของอาจารย์ในสถานศึกษาที่มีต่อการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่องที่สถานศึกษาได้บูรณาการใช้ใน
สถานศึกษา และเพื่อติดตามความสำเร็จด้านกลยุทธ์ของผู้บริหารในการส่งเสริมและสนับสนุนให้
อาจารย์ตระหนักถึงความสำคัญของการประกันคุณภาพของสถาบัน ผลการวิจัยพบว่า อาจารย์รับรู้ถึง
การประกันคุณภาพที่นำมาบูรณาการใช้ในสถานศึกษาไม่เหมือนกัน การรับรู้ของผู้บริหาร อาจารย์ ที่
ได้ทำสัญญาต่าง ๆ แล้วมีนัยสำคัญ และอาจารย์ที่ใช้เครื่องมือประกันคุณภาพการศึกษาในการสอน
ในห้องเรียน มีความพึงพอใจต่อประโยชน์ของการประกันคุณภาพมากกว่าอาจารย์ที่ไม่ได้ใช้อย่างมีนัย
สำคัญ นอกจากนี้อาจารย์มีความพึงพอใจมากที่สุดเกี่ยวกับแนวคิดของการประกับคุณภาพในด้าน
การบริการผู้เรียน โปรแกรมการศึกษาที่จัดในสถาบัน คุณภาพในการจัดกิจกรรมและติดต่อสื่อสารของ
ผู้บริหาร อาจารย์มีความพึงพอใจน้อยที่สุดต่อหัวข้อการประเมินคุณภาพในด้านการใช้แหล่งทรัพยากร
มนุษย์ คุณภาพของสารสนเทศ และการวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสาร นอกจากนี้อาจารย์ผู้หญิงมีความรู้
โดยส่วนตัวเกี่ยวกับการประกันคุณภาพมากกว่าอาจารย์ผู้ชายและยังตระหนักถึงความสำคัญ
และมีทัศคติที่ก้าวหน้าของการใช้ระบบการประกันคุณภาพของสถาบัน
บรุคส์ (Brooks 1999) ทำการศึกษาการประกันคุณภาพและการสุ่งเสริมกระบวนการวางแผน
ทางการศึกษาพิเศษ แก่นักเรียนในรัฐอิลินอยส์ พบว่า การศึกษาทดสอบวัตถุประสงค์ของการประกัน
คุณภาพ และการส่งเสริมกระบวนการวางแผนทางการศึกษาพิเศษแก่นักเรียนในรัฐอิลินอยส์โดยมี
วัตถุประสงค์ในการส่งเสริมแผนงานเป็นรูปแบบพิเศษของนักเรียน เพื่อให้ได้ผลด้านการประกัน
คุณภาพ และการส่งเสริมกระบวนการในการวางแผน
นิวตัน เจ (Newton J. 1999) ทำการวิจัยเรื่อง การประเมินผลกระทบในการตรวจสอบคุณภาพ
ภายนอก ของสถาบันอุดมศึกษาในสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปี 1993 ถึง 1998 ผลการวิจัยพบว่า การใช้
ข้อมูลเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพที่ได้จากการวัดการปฏิบัติ หรือการดำเนินงานโดยองค์กรภายนอก
เช่น รายงานการตรวจสอบและการประเมิน Scottish Higher Education Founding Council (SHEFC)
และ Higher Education Quality Council (HEQC) และการตรวจสอบและประเมินภายใน โดยคณะ
48
กรรมการตามการรับรู้และประสบการณ์ทำให้ทราบถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น ดังนี้ 1) วัตถุประสงค์ของ
ระบบคุณภาพ และวิธีการที่ใช้ในการตรวจสอบและประเมินชี้ให้เห็นว่า ระบบการประกันคุณภาพ
การศึกษาจำเป็นต้องมีการตรวจสอบและประเมินทั้งโดยภายในและภายนอก การตรวจสอบและ
ประเมินสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ เป็นเรื่องที่สามารถทำได้ 2) การปรับปรุงคุณภาพสำหรับบุคลากร มี
ขอบเขตที่กว้าง ดังนั้นจึงไม่สามารถแยกส่วนของการปรับปรุงให้เป็นอิสระ ออกจากระบบการประกัน
คุณภาพได้ 3) การปรับปรุงคุณภาพสำหรับผู้เรียนเป็นเรื่องที่มีความสำคัญยิ่งกว่าการปรับปรุงและ
พัฒนาบุคลากร 4) ควรจะมีการเพิ่มหรือขยายการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพออกไปอย่าง
กว้างขวางเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของหน่วยงานต่าง ๆ
ไนเลอร์ (Nailor 2000) ทำการศึกษาการพัฒนาโรงเรียนให้เป็นโรงเรียนในอนาคต พบว่า
การปฏิรูปโรงเรียนมีเป้าหมาย เพื่อเพิ่มความสำเร็จแก่นักเรียน ครูแนะแนว ควรใช้ให้เห็นบทบาทของ
การปฏิรูปด้านการศึกษา เพื่อเป็นการช่วยส่งเสริมภูมิศาสตร์การเรียนในโรงเรียน การแสดงการศึกษา
ของนักเรียน และความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับครอบครัว การบริหารส่วนบุคคลของนักเรียน
ตัวแทนต่าง ๆ
สรุป จากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้อง พบว่า ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องส่วนใหญ่จะเป็นการศึกษา
ด้านรูปแบบ ลักษณะการปฏิบัติงาน และปัจจัยที่ส่งผลต่อการประกันคุณภาพการศึกษา โดยใช้วิธี
การประเมิน และส่วนหนึ่งเป็นการศึกษามาตรฐานการศึกษา แต่สำหรับการวิจัยในเรื่องนี้จะมีความ
แตกต่างจากเรื่องอื่น ๆ ที่เคยศึกษามา เพราะเป็นการศึกษาถึงสภาพและปัญหาการประกันคุณภาพ
ภายใน ตามระบบการประกันคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และปฐมวัย
ของกระทรวงศึกษาธิการ ผลการวิจัยที่ได้รับจึงน่าจะมีประโยชน์สำหรับใช้เป็นแนวทางในการดำเนิน
งานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาต่อไป
บทที่ 3
วิธีดำเนินการวิจัย
การดำเนินการวิจัย เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา
ภายในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษาในกรุงเทพมหานคร มีวิธีการดำเนินการวิจัย
ดังนี้
3.1 ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารโรงเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษาส่วนกลาง
สังกัดกรมสามัญศึกษา ทั้งหมด 116 คน จากจำนวนโรงเรียน 116 โรงเรียน โดยจำแนกตามขนาด
ของโรงเรียน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ 52 โรงเรียน โรงเรียนขนาดใหญ่
39 โรงเรียน และ โรงเรียนขนาดกลางและเล็ก 25 โรงเรียน ประกอบด้วยโรงเรียนต่อไปนี้
ตารางที่ 3 รายชื่อโรงเรียนโดยจำแนกตามขนาดของโรงเรียน
รายชื่อโรงเรียน
โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ โรงเรียนขนาดใหญ่ โรงเรียนขนาดกลางและเล็ก
1. สวนกุหลาบวิทยาลัย
2. สตรีวิทยา
3. เบญจมราชาลัย
4. โยธินบูรณะ
5. มัธยมวัดหนองจอก
6. สตรีวัดมหาพฤตารามใน
พระบรมราชูปถัมภ์
7. บางกะปิ
8. เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า
9. เทพศิรินทร์
10. พระโขนงพิทยาลัย
11. วชิรธรรมสาธิต
12. สตรีเศรษฐบุตรบำเพ็ญ
1. วัดราชาธิวาส
2. วัดราชบพิธ
3. ราชวินิตมัธยม
4. พุทธจักรวิทยา
5. รัตนโกสินทรสมโภชน์
บางเขน
6. เทพลีลา
7. มัธยมวัดบึงทองหลาง
8. สายปัญญาในพระบรม
ราชินูปถัมภ์
9. รัตนโกสินทร์สมโภช
ลาดกระบัง
10. เจ้าพระยาวิทยาคม
1. วัดบวรนิเวศ
2. มัธยมวัดมกุฎกษัตริย์
3. วัดสังเวช
4. วัดเบญจมบพิตร
5. วัดน้อยนพคุณ
6. บดินทรเดชา (สิงห์
สิงหเสนี 4)
7. วัดสระเกศ
8. มัธยมวัดดาวคนอง
9. ฤทธิรงค์รอน
10. สุวรรณพลับพลาพิทยาคม
11. วัดน้อยใน
12. วัดปากน้ำวิทยาคม
50
รายชื่อโรงเรียน
โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ โรงเรียนขนาดใหญ่ โรงเรียนขนาดกลางและเล็ก
13. เศรษฐบุตรบำเพ็ญ
14. พรตพิทยพยัต
15. เทพศิรินทร์ร่มเกล้า
16. นนทรีวิทยา
17. สามเสนวิทยาลัย
18. ศึกษานารี
19. ทวีธาภิเศก
20. ประชาราษฎร์อุปถัมภ์
21. โพธิสารพิทยากร
22. รัตนโกสินทร์สมโภช
บางขุนเทียน
23. วัดนวลนรดิศ
24. สตรีวัดอัปสรสวรรค์
25. มัธยมวัดหนองแขม
26. บางปะกอกวิทยาคม
27. สุรศักดิ์มนตรี
28. นวมินทราขูทิศ
กรุงเทพมหานคร
29. บดินทร์เดชา
(สิงห์ สิงหเสนี2)
30. วัดสุทธิวราราม
31. สตรีศรีสุริโยทัย
32. ยานนาเวศวิทยาคม
33. หอวัง
34. สารวิทยา
35. ราชดำริ
36. สายน้ำผึ้ง
37. เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ
38. มัธยมวัดสิงห์
11. ไตรมิตรวิทยาลัย
12. วัดอินทราราม
13. ธนบุรีวรเทพีพลารักษ์
14. วัดประดู่ในทรงธรรม
15. จันทร์หุ่นบำเพ็ญ
16. ชิโนรสวิทยาลัย
17. สตรีวัดระฆัง
18. สุวรรณารามวิทยาคม
19. มัธยมวัดดุสิตาราม
20. วัดรางบัว
21. จันทร์ประดิษฐารามวิทยาคม
22. วิมุตยารามพิทยากร
23. กุนนทรีรุทธารามวิทยาคม
24. ศีลาจารพิพัฒน์
25. ราชนันทาจารย์สามเสน
วิทยาลัย 2
26. ปทุมคงคา
27. วัดราชโอรส
28. บางมดวิทยา "สีสุกหวาด
จวนอุปถัมภ์"
29. สีกัน (วัฒนานันท์อุปถัมภ์)
30. สันติราษฎร์วิทยาลัย
31. ลาดปลาเค้าพิทยาคม
32. มัธยมวัดธาตุทอง
33. ราชนิวิตบางแคปานขำ
34. ศรีพฤฒา
35. นวมินทราชินูทิศ
เบญจมราชาลัย
13. มหรรณพาราม
14. มัธยมวัดนายโรง
15. สวนอนันต์
16. พิทยาลงกรณ์พิทยาคม
17. ทวีธาภิเศก 2
18. ไชยฉิมพลีวิทยาคม
19. แจงร้อนวิทยา
20. วัดบวรมงคล
21. บางกะปีสุขุมนวพันธ์อุปถัมภ์
22. สุวรรณสุทธารามวิทยา
23. มักกะสันพิทยา
24. ทวีวัฒนา
25. นวลนรดิศวิทยาคม
รัชมังคลาภิเศก
51
รายชื่อโรงเรียน
โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ โรงเรียนขนาดใหญ่ โรงเรียนขนาดกลางและเล็ก
39. ดอนเมืองทหารอากาศบำรุง
40. ดอนเมืองจาตุรจินดา
41. ศรีอยุธยา
42. สตรีวิทยา 2
43. สตรีวิทยา 2 ในพระบรม
ราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรี
นครินทราบรมราชชนนี
44. ปัญญาวรคุณ
45. ราชวินิตบางเขน
46. ฤทธิยวรรณาลัย
47. เตรียมอุดมศึกษา
48. นวมินทราชินูทิศ
เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า
49. บดินทรเดชา(สิงห์ สิงหเสนี)
50. นวมินทราขินูทิศบดินทรเดชา
51. นวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา
พุทธมณฑล
52. ศึกษานารี
36. นวมินทราชินูทิศ สรีวิทยา 2
มีนบุรี
37. วัดพุทธบูชา
38. อิสลามวิทยาลัย
แห่งประเทศไทย
39. สิริรัตนาธร
3.2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
3.2.1 การสร้างและหาประสิทธิภาพของเครื่องมือ
ในการสร้างเครื่องมือผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
1) ศึกษาขั้นตอนการสร้างแบบสอบถามจากตำรา เอกสาร และผลงานวิจัยที่
เกี่ยวข้องกับการประกันคุณภาพการศึกษา
2) กำหนดกรอบแนวคิด และขอบข่ายในการสร้างเครื่องมือให้สอดคล้องกับ
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
3) สร้างเครื่องมือ โดยเขียนเป็นแบบสอบถาม ในส่วนที่ 1 เขียนในลักษณะแบบ
ตรวจตอบ และส่วนที่ 2 เขียนในลักษณะแบบเลือกตอบ
52
4) นำเครื่องมือที่สร้างเสร็จแล้ว เสนออาจารย์ที่ปรึกษา และให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน
5 ท่าน เป็นผู้ตรวจสอบเพื่อหาความเที่ยงตรง ของเครื่องมือ ได้แก่ ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา ของ
แบบสอบถาม ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญดังต่อไปนี้
-อาจารย์ทวีศักดิ์ จงประดับเกียรติ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการโรงเรียน
มัธยมสาธิตสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
- ดร.เปรมสุรีย์ เชื่อมทอง รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะครุศาสตร์สถาบัน
ราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
- ดร.สรายุทธ์ เศรษฐขจร อาจารย์ประจำสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จ
เจ้าพระยา
- ดร.สาธิต สินนะกิจ ผู้อำนวยการอิสลามวิทยาลัยแห่งประเทศไทย
- นายสวัสดิ์ เกิดศรี ผู้อำนวยการโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภช
บางขุนเทียน
5) นำเครื่องมือที่ได้รับการตรวจสอบ และปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยว-
ชาญแล้วเสนอต่ออาจารย์ที่ปรึกษา
6) นำแบบสอบถามไปทดลองใช้ กับประชากรกลุ่มตัวอย่างในกลุ่มที่มีลักษณะ
ใกล้เคียงกับกลุ่มที่จะศึกษา ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน ในโรงเรียนมัธยมศึกษาส่วนกลาง จำนวน
30 ราย หลังจากนั้นนำแบบสอบถามทั้งหมดที่ได้มาทำการวิเคราะห์เพื่อหาความเชื่อมั่นโดยใช้วิธี
การหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า ของ ครอนบาค (Cronbach อ้างใน พวงรัตน์ ทวีรัตน์, 2540 : 125)
ได้ค่าเท่ากับ 0.98
7) นำแบบสอบถามที่หาค่าความเที่ยงตรง และความเชื่อมั่นแล้ว แล้วไป
ดำเนินการจัดพิมพ์เป็นแบบสอบถามฉบับสมบูรณ์เพื่อใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลต่อไป
3.2.2 ลักษณะของเครื่องมือ
เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม ซึ่งผู้วิจัยได้
สร้างขึ้น โดยมีลักษณะของเครื่องมือแบ่งออกเป็น 2 ตอน ดังนี้
ตอนที่ 1 สอบสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม คำถามที่ใช้ครอบคลุมเกี่ยวกับ เพศ
อายุ วุฒิทางการศึกษา ระยะเวลาปฏิบัติงาน และสถานที่ปฏิบัติงาน จำนวน 6 ข้อ
ตอนที่ 2 สอบถามสภาพและปัญหาการดำเนินงาน ตามมาตรฐานการประกันคุณภาพ
การศึกษาภายในโรงเรียน ในช่วงปีการศึกษา 2543 - 2544 ซึ่งมีลักษณะคำถามที่ใช้เป็นแบบมาตร
ประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 49 ข้อ
53
เกณฑ์การให้คะแนน
เกณฑ์ในการให้คะแนนสำหรับแบบสอบถาม ตอนที่ 2 และตอนที่ 3 กำหนดเกณฑ์
การให้คะแนนดังนี้
ความหมาย เกณฑ์
มีการดำเนินงาน/ปัญหาอยู่ในระดับ มากที่สุด 5
มีการดำเนินงาน/ปัญหาอยู่ในระดับ มาก 4
มีการดำเนินงาน/ปัญหาอยู่ในระดับ ปานกลาง 3
มีการดำเนินงาน/ปัญหาอยู่ในระดับ น้อย 2
มีการดำเนินงาน/ปัญหาอยู่ในระดับ น้อยที่สุด 1
ตารางที่ 4 เกณฑ์การให้คะแนนของแบบสอบถามตอนที่ 2
3.3 การเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
1) ขอความร่วมมือจากบัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ทำหนังสือ
ถึงผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ในกรุงเทพมหานคร 116 โรงเรียน ขออนุญาตเก็บข้อมูล
ในการทำวิทยานิพนธ์
2) นำเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยพร้อมสำเนาหนังสืออนุญาตให้เก็บข้อมูลจากคณะบดี ส่ง
ไปยังผู้บริหาร โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 116 ชุด
3) ผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง และทางไปรษณีย์ ได้รับคืน 101 ชุด
คิดเป็นร้อยละ 87.06 ดังตารางที่ 5
ตารางที่ 5 แสดงจำนวนและร้อยละของแบบสอบถามที่ส่งไปและได้รับกลับคืนมา
ลาํ ดบั ที่ โรงเรยี นมธั ยมศกึ ษา จำนวนแบบสอบถาม
จำแนกตามขนาด ส่งไป ได้รับคืน
ร้อยละ
1.
2.
3.
โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ
โรงเรียนขนาดใหญ่
โรงเรียนขนาดกลางและเล็ก
52
39
25
42
35
24
80.77
89.74
96.00
รวม 116 101 87.06
54
4) เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม จัดหมวดหมู่ จำแนกข้อมูล และตรวจสอบข้อมูล
ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยต่อไป
3.4 การวิเคราะห์ข้อมูล
ผู้วิจัยนำแบบสอบถามที่รวบรวมได้มาตรวจสอบขั้นต้น โดยทำการตรวจสอบข้อมูล (Editing)
ตรวจดูความสมบูรณ์ของการตอบแบบสอบถาม และมีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม
คอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS/FW ( Statistical Package for Social Science/ For Windows) ดังนี้
1) วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับผู้ตอบแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่
และค่าร้อยละ
2) วิเคราะห์สภาพและปัญหาการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในโรงเรียน
โดยหาค่าเฉลี่ย และคำนวณหาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยวิเคราะห์ข้อมูลเป็นรายขั้นตอน ได้นำ
เสนอข้อมูลในรูปตารางประกอบคำบรรยาย โดยการกำหนดค่าน้ำหนักของคะแนน จากคำตอบ
มาตรประมาณค่า 5 ระดับ การแปลความหมายของระดับค่าเฉลี่ยตามเกณฑ์การแปลค่า ดังนี้
ค่าเฉลี่ยระหว่าง 4.50 - 5.00 หมายความว่า ระดับการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด
ค่าเฉลี่ยระหว่าง 3.50 - 4.49 หมายความว่า ระดับการประเมินอยู่ในระดับมาก
ค่าเฉลี่ยระหว่าง 2.50 - 3.49 หมายความว่า ระดับการประเมินอยู่ในระดับปานกลาง
ค่าเฉลี่ยระหว่าง 1.50 - 2.49 หมายความว่า ระดับการประเมินอยู่ในระดับน้อย
ค่าเฉลี่ยระหว่าง 1.00 - 1.49 หมายความว่า ระดับการประเมินอยู่ในระดับน้อยที่สุด
3) วิเคราะห์เปรียบเทียบสภาพและปัญหาการดำเนินงานประกันุคณภาพภายใน จำแนก
ตามขนาดของโรงเรียน โดยวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (ANOVA) แยกวิเคราะห์เป็นราย
ข้อทั้ง 8 ขั้นตอน หากพบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทำการทดสอบความ
แตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ จะทำการทดสอบโดยวิธีของ เชฟเฟ่(Scheffe')
4) วิเคราะห์เกี่ยวกับข้อเสนอแนะ วิเคราะห์โดยใช้วิธีสรุป และเรียงลำดับความสำคัญ
ตามความถี่ของความคิดเห็นและข้อเสนอแนะนั้น ๆ
บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูล และการแปลผลข้อมูลเกี่ยวกับสภาพและปัญหาการดำเนินงานประกัน
คุณภาพภายใน โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในกรุงเทพมหานคร
ในการวิเคราะห์ และนำเสนอข้อมูล ผู้วิจัยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/FW(Statistical
Package for Social Sciences For Windows) เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามโดยหาค่า
ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย(Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.) และF-test ในการเปรียบเทียบ
ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยความคิดเห็นตามขนาดของโรงเรียน นำเสนอในรูปตารางประกอบ
คำบรรยาย ตามลำดับดังนี้
4.1 ข้อมูลสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม
4.2 ผลการศึกษาสภาพการดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรม
สามัญศึกษา ในกรุงเทพมหานคร
4.3 ผลการศึกษาปัญหาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรม
สามัญศึกษา ในกรุงเทพมหานคร
4.4 ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นสภาพการดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน โรงเรียน
มัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในกรุงเทพมหานคร จำแนกตามขนาดโรงเรียน
4.5 ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นปัญหาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน โรงเรียน
มัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในกรุงเทพมหานคร จำแนกตามขนาดโรงเรียน
4.6 ผลการศึกษาข้อเสนอแนะสภาพและปัญหาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน
โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในกรุงเทพมหานคร
56
4.1 ข้อมูลสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม
ผู้ตอบแบบสอบถามเพื่อการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญ
ศึกษา ในกรุงเทพมหานคร ดังรายละเอียดในตารางที่ 6 ดังนี้
ตารางที่ 6 ข้อมูลสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม
ข้อที่ ข้อมูลทั่วไป จำนวน
(คน)
ร้อยละ
1 เพศ
1) ชาย
2) หญิง
รวม
68
31
101
67.30
32.70
100.00
2 อายุ
1) 40 - 50 ปี
2) 50 - 60 ปี
3) ไม่ตอบ
รวม
35
65
1
101
34.70
64.30
1.00
100.00
3 วุฒิทางการศึกษา
1) ปริญญาตรี
2) ปริญญาโท
3) ปริญญาเอก
รวม
19
79
3
101
18.80
78.20
3.00
100.00
4 ระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งผู้บริหาร
1) 1 - 10 ปี
2) 10 - 20 ปี
3) 20 ปีขึ้นไป
4) ไม่ระบุ
รวม
61
18
11
11
101
60.40
17.80
10.90
10.90
100.00
57
ตารางที่ 6 (ต่อ)ข้อมูลสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม
ข้อที่ ข้อมูลทั่วไป จำนวน
(คน)
ร้อยละ
5 ระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งผู้บริหารในโรงเรียนปัจจุบัน
1) 1 - 2 ปี
2) 3 - 4 ปี
3) 4 ปีขึ้นไป
4) ไม่ระบุ
รวม
68
18
6
9
101
67.40
17.80
5.90
8.90
100.00
6 ขนาดของโรงเรียนที่สังกัดอยู่
1) ขนาดใหญ่พิเศษ
2) ขนาดใหญ่
3) ขนาดกลางและเล็ก
รวม
42
35
24
101
41.60
34.70
23.80
100.00
จากตารางที่ 6 พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมดจำนวน 101 คน เป็นผู้บริหารเพศชาย
จำนวน 68 คน คิดเป็นร้อยละ 67.30 เป็นผู้บริหารเพศหญิง จำนวน 33 คน คิดเป็นร้อยละ 32.70
ส่วนใหญ่จบการศึกษาสูงสุดระดับปริญญาโท คิดเป็นร้อยละ 78.20 ระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่ง
ผู้บริหาร 1-10 ปี คิดเป็นร้อยละ 60.40 ระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งของผู้บริหารในโรงเรียนปัจจุบัน
1-2 ปี จำนวน 68 คน คิดเป็นร้อยละ 67.40 และขนาดของโรงเรียนที่สังกัดอยู่ส่วนใหญ่เป็นขนาดใหญ่
พิเศษ จำนวน 42 คน คิดเป็นร้อยละ 41.60
58
4.2 ผลการศึกษาสภาพการดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัด
กรมสามัญศึกษา ในกรุงเทพมหานคร
สภาพการดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ใน
กรุงเทพมหานคร ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน โดยภาพรวมและรายขั้นตอน รวมทุกข้อ
ปรากฏผลดังแสดงไว้ในตารางที่ 7 ถึง ตารางที่ 15
ตารางที่ 7 แสดงผลการศึกษาสภาพดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรม
สามัญศึกษา ในกรุงเทพมหานครเป็นรายขั้นตอนและรวมทุกข้อ
ข้อที่ การดำเนินงานตามระบบการประกันคุณภาพภายใน ระดบั การดาํ เนนิ การ
8 ขั้นตอน X SD. การแปลความ
1
2
3
4
5
6
7
8
การจัดระบบบริหารและสารสนเทศ
การพัฒนามาตรฐานการศึกษา
การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา
การดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา
การตรวจสอบและทบทวนคุณภาพการศึกษา
การประเมินคุณภาพการศึกษา
การรายงานคุณภาพการศึกษาประจำปี
การผดุงระบบการประกันคุณภาพการศึกษา
3.79
4.03
3.86
3.91
3.59
3.81
3.67
3.70
.65
.66
.64
.62
.74
.72
.78
.83
มาก
มาก
มาก
มาก
มาก
มาก
มาก
มาก
รวม 3.80 .60 มาก
จากตารางที่ 7 พบว่า การดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน ตามมาตรฐานระบบการประกัน
คุณภาพภายใน 8 ขั้นตอน โดยภาพรวมอยู่ในระดับ "มาก" ( X = 3.80) และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อทุก
ข้ออยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในรายละเอียด ด้านการพัฒนามาตรฐานการศึกษา มากเป็นอันดับที่ 1
( X = 4.03) รองลงมาคือ การดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษามากเป็นอันดับที่ 2 ( X =
3.91) และการตรวจสอบและทบทวนคุณภาพการศึกษา น้อยกว่าอันดับอื่น ๆ ( X = 3.59)
59
ตารางที่ 8 แสดงผลการศึกษาสภาพการดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัด
กรมสามัญศึกษา ในกรุงเทพมหานคร ตามระบบการประกันคุณภาพภายใน ขั้นตอนที่ 1 :การจัดระบบ
บริหารและสารสนเทศ โดยภาพรวมและรายข้อ
ข้อที่ การดำเนินงานตามระบบการประกันคุณภาพภายใน ระดบั การดาํ เนนิ การ
ขั้นตอนที่ 1 การจัดระบบบริหารและสารสนเทศ X SD. การแปลความ
1
2
3
4
5
6
7
8
9
มีการกำหนดโครงสร้างและระบบการบริหารที่สอดคล้อง
กับภารกิจของโรงเรียน
มีการกำหนดอำนาจหน้าที่ และขอบข่ายงานของบุคลากร
แต่ละตำแหน่งอย่างชัดเจน
มีระบบการบริหารโดยใช้แบบโรงเรียนเป็นฐาน(SBM)
มีการจัดวางระบบข้อมูลและสารสนเทศเพื่อใช้ในการวาง
แผนและการตัดสินใจ
มีการจัดระบบสารสนเทศพื้นฐานของสถานศึกษา
มีการจัดระบบสารสนเทศเกี่ยวกับผู้เรียน
มีการจัดระบบสารสนเทศการบริหารวิชาการ
มีการจัดระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ
มีการจัดระบบสารสนเทศเพื่อการรายงาน
4.15
4.21
3.64
3.63
3.78
3.62
3.79
3.75
3.57
.74
.77
.87
.88
.88
.89
.79
.88
.88
มาก
มาก
มาก
มาก
มาก
มาก
มาก
มาก
มาก
รวม 3.79 .65 มาก
จากตารางที่ 8 พบว่า การดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน ตามระบบการประกันคุณภาพ
ขั้นตอนที่ 1 การจัดระบบบริหารและสารสนเทศโดยภาพรวมอยู่ในระดับ"มาก" ( X = 3.79) และเมื่อ
พิจารณาเป็นรายข้อทุกข้ออยู่ในระดับมาก เมื่อพิจาณาในรายละเอียด มีการกำหนดอำนาจหน้าที่และ
ขอบข่ายงานของบุคลากรแต่ละตำแหน่งอย่างชัดเจน อยู่ในระดับ"มาก"( X = 4.21)เป็นอันดับที่ 1 รอง
ลงมา คือ มีการกำหนดโครงสร้างและระบบการบริหารที่สอดคล้องกับภารกิจของโรงเรียนมาก
เป็นอันดับ 2 ( X = 4.15) และมีการจัดระบบสารสนเทศเพื่อการรายงานน้อยกว่าอันดับอื่น ๆ ( X =
3.57)
60
ตารางที่ 9 แสดงผลการศึกษาสภาพการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในโรงเรียนมัธยมศึกษา
สังกัดกรมสามัญศึกษา ในกรุงเทพมหานคร ตามระบบการประกันคุณภาพภายใน ขั้นตอนที่ 2:
การพัฒนามาตรฐานการศึกษา โดยภาพรวมและรายข้อ
ข้อที่ การดำเนินงานตามระบบการประกันคุณภาพภายใน ระดบั การดาํ เนนิ การ
ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนามาตรฐานการศึกษา X SD. การแปลความ
1
2
3
4
5
6
มีการแจ้งให้บุคลากรทุกคนรับทราบและเข้าใจในการตัดสิน
ใจครั้งสำคัญ ๆ ทุกครั้งอย่างสม่ำเสมอ
มีการพัฒนาทักษะ และความสามารถของบุคลากรให้
สอดคล้องกับหน้าที่และตำแหน่ง
มีการปลูกฝังความภาคภูมิใจ และความเป็นเจ้าของสถาน
ศึกษาที่ต้องร่วมรับผิดชอบต่อผู้เรียน และความรับผิดชอบ
ต่อสังคมแก่บุคลากร
มีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน ปฏิบัติได้และได้รับการยอมรับจาก
ทุกคนในโรงเรียน
มีการจัดโครงสร้างพื้นฐาน และสนับสนุนกระบวนการ
เรียนรู้ในโรงเรียน
มีระบบการบริหารและระบบการทำงานที่มุ่งคุณภาพที่จะทำ
ให้ก้าวสู่เป้าหมายในการพัฒนามาตรฐานการศึกษาที่
กำหนดไว้
3.99
3.95
4.13
4.05
4.04
4.08
.85
.84
.86
.88
.76
.76
มาก
มาก
มาก
มาก
มาก
มาก
รวม 4.03 .66 มาก
จากตารางที่ 9 พบว่า การดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน ขั้นตอนที่ 2การพัฒนามาตรฐาน
การศึกษา โดยภาพรวม อยู่ในระดับ"มาก" ( X = 4.03) และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อทุกข้ออยู่ในระดับ
มาก เมื่อพิจารณาในรายละเอียด การดำเนินงานประกันคุณภาพภายในมีการปลูกฝังความภาคภูมิใจ
และความเป็นเจ้าของสถานศึกษาที่ต้องร่วมรับผิดชอบต่อผู้เรียน และความรับผิดชอบต่อสังคมแก่
บุคลากรมากกว่าอันดับอื่น ๆ ( X = 4.13) และมีการพัฒนาทักษะ และความสามารถของบุคลากรให้
สอดคล้องกับหน้าที่และตำแหน่งน้อยกว่าอันดับอื่น ๆ( X = 3.95)
61
ตารางที่ 10 แสดงผลการศึกษาสภาพการดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน โรงเรียนมัธยมศึกษา
สังกัดกรมสามัญศึกษา ในกรุงเทพมหานคร ตามระบบการประกันคุณภาพภายใน ขั้นตอนที่ 3 : การจัด
ทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยภาพรวมและรายข้อ
ข้อที่ การดำเนินงานตามระบบการประกันคุณภาพภายใน ระดบั การดาํ เนนิ การ
ขั้นตอนที่ 3 การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา X SD. การแปลความ
1
2
3
4
5
6
7
การจัดองค์ประกอบต่างๆ ในแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา
ของโรงเรียนมีความชัดเจนสอดคล้องกันอย่างสมเหตุสมผล
มีระบบการสนับสนุนภายใน ผู้บริหาร บุคลากรทุกฝ่าย
ในโรงเรียน และบุคลากรที่เกี่ยวข้องเห็นชอบกับแผน
พัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน
บุคลากรทุกคนให้ความสนับสนุนและร่วมมือในการนำ
แผนสู่การปฏิบัติ
มีการกำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ และตัวบ่งชี้ในแผน
พัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนที่สังเกตและวัดได้ใน
เชิงปริมาณ
มีการใช้ยุทธศาสตร์ และเทคนิควิธีต่าง ๆ ที่ใช้ในกระบวน
การเรียนการสอน การวัดและการประเมิน ตลอดจนการ
บริหารจัดการ ตั้งอยู่บนรากฐานทางทฤษฎีหรือหลักวิชาที่
ถูกต้อง และมีผลการวิจัยเชิงประจักษ์ สนับสนุนประ
สิทธิภาพ และประสิทธิผล
แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนมีการกำหนดรูป
แบบ และวิธีการพัฒนาบุคลากรและสามารถปฏิบัติภารกิจ
ตามแผนอย่างได้ผลดี
แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนระบุแหล่งวิทยา
การภายนอกที่ให้ความร่วมมือช่วยเหลือ สนับสนุนทาง
วิชาการ
4.00
4.07
3.93
4.14
3.73
3.85
3.48
.76
.79
.80
.71
.88
.73
.90
มาก
มาก
มาก
มาก
มาก
มาก
ปานกลาง
62
ตารางที่ 10 (ต่อ) แสดงผลการศึกษาสภาพการดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน โรงเรียนมัธยมศึกษา
สังกัดกรมสามัญศึกษา ในกรุงเทพมหานคร ตามระบบการประกันคุณภาพภายใน ขั้นตอนที่ 3 : การจัด
ทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยภาพรวมและรายข้อ
ข้อที่ การดำเนินงานตามระบบการประกันคุณภาพภายใน ระดบั การดาํ เนนิ การ
ขั้นตอนที่ 3 การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา X SD. การแปลความ
8
9
ผู้ปกครอง และชุมชนมีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมและรับบท
บาทสำคัญในกิจกรรมต่าง ๆ ตามแผนพัฒนาคุณภาพการ
ศึกษาของโรงเรียน
มีการประสานสัมพันธ์และระดมทรัพยากรจากแหล่งต่างๆ
เช่น หน่วยงานของรัฐ องค์กรเอกชน สถาบันและมูลนิธิ
ต่างๆ นำมาสนับสนุนการดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณ
ภาพการศึกษาของโรงเรียน
3.77
3.80
.87
.94
มาก
มาก
รวม 3.86 .64 มาก
จากตารางที่ 10 พบได้ว่าการดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัด
กรมสามัญศึกษา ในกรุงเทพมหานคร ด้านการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยภาพรวมอยู่ใน
ระดับ"มาก"( X = 3.86) และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อทุกข้ออยู่ในระดับมากโดยมี ด้านการกำหนด
เป้าหมาย วัตถุประสงค์ และตัวบ่งชี้ในแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนที่สังเกตและวัดได้
ในเชิงปริมาณมากกว่าอันดับอื่น ๆ ( X = 4.14) ยกเว้นด้านแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน
ระบุแหล่งวิทยาการภายนอก ที่ให้ความร่วมมือช่วยเหลือ สนับสนุนทางวิชาการอยู่ใน อยู่ในระดับ
"ปานกลาง"( X = 3.48)
63
ตารางที่ 11 แสดงผลการศึกษาสภาพการดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน โรงเรียนมัธยมศึกษา
สังกัดกรมสามัญศึกษา ในกรุงเทพมหานคร ตามระบบการประกันคุณภาพภายใน ขั้นตอนที่ 4 :
การดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยภาพรวมและรายข้อ
ข้อที่ การดำเนินงานตามระบบการประกันคุณภาพภายใน ระดบั การดาํ เนนิ การ
ขั้นตอนที่ 4การดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา X SD. การแปลความ
1
2
3
4
5

ศึกษาสภาพและปัญหาการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในกรุงเทพมหานคร (ตอนที่ 1)
ศึกษาสภาพและปัญหาการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในกรุงเทพมหานคร (ตอนที่ 2)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น