วันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ศึกษาสภาพการปฏิบัติและปัญหาด้านกระบวนการประกันคุณภาพ (ตอนที่ 1)



ศึกษาสภาพการปฏิบัติและปัญหาด้านกระบวนการประกันคุณภาพ
ภายในสถานศึกษาสังกัดกองการศึกษาอาชีพ กลุ่มสถานศึกษาภาคกลาง
กรมอาชีวศึกษา
A STUDY OF INTERNAL QUALITY ASSURANCE PROBLEMS IN
INDUSTRIAL AND COMMUNITY EDUCATION COLLEGES IN THE
CENTRAL REGION GROUP, VOCATIONAL EDUCATION
DEPARTMENT,MINISTRY OF EDUCATION
นางสมมนา สุวรรณนที
วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา ตามหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาการบริหารการศึกษา
ปีการศึกษา 2545
ISBN : 974 - 373 - 195 - 4
ลิขสิทธิ์ของสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

A STUDY OF INTERNAL QUALITY ASSURANCE PROBLEMS IN
INDUSTRIAL AND COMMUNITY EDUCATION COLLEGES IN THE
CENTRAL REGION GROUP, VOCATIONAL EDUCATION
DEPARTMENT,MINISTRY OF EDUCATION
Mrs. Sommana Suwannatee
A Thesis Submitted In Partial Fulfillment of the Requirments
for the Master of Education (Educational Administration)
at Rajabhat Institute Bansomdejchaopraya
Academic Year 2002
ISBN : 974 - 373 - 195 - 4

นางสมมนา สุวรรณนที (2545)ศึกษาสภาพการปฎิบัติและปัญหาด้านกระบวนการประกันคุณภาพ
ภายในสถานศึกษา สังกัดกองการศึกษาอาชีพ กลุ่มสถานศึกษาภาคกลาง กรมอาชีวศึกษา.
วิทยาพนธ์ระดับมหาบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร. บัณฑิตวิทยาลัยสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จ
เจ้าพระยา. คณะกรรมการควบคุม : ดร. คมศร วงษ์รักษา รองศาสตราจารย์หรรษา ศิวรักษ์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุภรณ์ ลิ้มบริบูรณ์
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1.สภาพการปฏิบัติด้านกระบวนการประกันคุณภาพ ภาย
ในสถานศึกษา สังกัดกองการศึกษาอาชีพ กลุ่มสถานศึกษาภาคกลาง กรมอาชีวศึกษา 2.ปัญหาจากการ
ปฏิบัติด้านกระบวนการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดกองการศึกษาอาชีพ กลุ่มสถานศึกษาภาค
กลาง กรมอาชีวศึกษา 3.สภาพการปฏิบัติและปัญหาจากการปฏิบัติด้านกระบวนการประกัน คุณภาพภาใน
สถานศึกษาสังกัดกองการศึกษาอาชีพ กลุ่มสถานศึกษาภาคกลาง กรมอาชีวศึกษา ระหว่างตัวแปรสถาน
ภาพ เพศ ระดับการศึกษาและประสบการณ์การทำงาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพการปฏิบัติด้านกระบวนการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดกองการศึกษาอาชีพ
กลุ่มสถานศึกษาภาคกลาง กรมอาชีวศึกษา อยู่ในระดับปานกลางทั้ง 4 ด้าน
2. ปัญหาจากการปฏิบัติด้านกระบวนการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดกองการศึกษา
อาชีพ กลุ่มสถานศึกษาภาคกลาง กรมอาชีวศึกษา อยู่ในระดับปานกลางทั้ง 4 ด้าน
3 พิจารณาตามตัวแปรที่ศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นผู้บริหารและครู-อาจารย์มีความคิด
เห็นต่อสภาพปฏิบัติด้านกระบวนการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทาง
สถิติที่ระดับ 0.01 ทั้ง 4 ด้าน อาจารย์ชายและอาจารย์หญิงหญิงมีความคิดเห็นต่อสภาพปฏิบัติด้านกระบวน
การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ในด้านการวาง
แผน การดำเนินการตามแผน และการตรวจสอบประเมินผล ส่วนด้านการนำผลการประเมินมาปรับปรุงงาน
อาจารย์ชายและอาจารย์หญิง มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 อาจารย์ที่มี
ระดับการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อสภาพปฏิบัติด้านกระบวนการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และอาจารย์ที่มีประสบการณ์การทำงานต่างกัน มีความคิดเห็นต่อ
สภาพปฏิบัติด้านกระบวนการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่
ระดับ 0.01 ในด้านการวางแผน ส่วนด้านการตรวจสอบประเมินผลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่
ระดับ 0.05 นอกจากนี้พบว่าด้านการดำเนินการตามแผนและการนำผลการประเมินมาปรับปรุงงานแตกต่าง
กันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อพิจารณาตามตัวแปรสถานภาพ เพศ ระดับการศึกษา และประสบการณ์
การทำงาน พบว่า มีความคิดเห็นต่อสภาพปัญหาจากการปฏิบัติตามกระบวนการประกันคุณภาพภายใน
สถานศึกษาแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

Sommana Suwanatee , (2002) A Study of Internal Quality Assurance Problems in Industrial and Community
Education Colleges in the Central Region Group, Vocational Education Deparment, Ministry of Education.
Thesis in Master Degree. Bangkok : Thesis Supervisory Committee : Dr. Komsorn Wongruksa ; Associate
Professor Hansa Siwaruk ; Assistant Professor Suporn Limboriboon.
The Purpose of this research was to 1) study the internal quality assurance performing in the Industrial
And community Education Colleges in the Central Region Career’s Educational division of Vocational Education
Department. 2) study the internal quality assurance problems in the Industrial and community Education Colleges
in the Central Region Carreer’s Educational Division of Vocational Education Department. 3) compare the
conditions of performing and the problems occured according to the internal quality assurance process in the
Center Region Coreer’s Educational Division of Vocation Education Department among the variables : status,
sex , educational level and working experiment
The results were as follows :
1. The situation of performing according to as the Internal Quality Assurance and
Problems in The Industrial And Community Education Colleges in The Central Region Career’s Educational
Division of Vocational Education Department were middle all 4 sides.
2. The problems from the performing as the Internal Quality Assurance and Problems in The Industrial
And Community Education Colleges in The Central Region Career’s Educational Division of Vocational
Education Department were middle level all 4 side.
3. When considering as the variables were found the adminstrators and the instructors answering the
questionnairs thought about the performing in the internal quality assurance processes different in the statistic
significant level at 0.01 all 4 sides. Males and females answering the questionairs thought about the performing in
the internal quality assurance processes in colleges different in the statistic significant level at 0.01 in the
planning,the following up the plan and the evaluation. For taking the results to improve the work,males and
females thought different in the stistic significant level at 0.05. The persons having the different studying level
had the ideas about the internal quality assurance process different in the non statistic significant at 0.05. The
persons with the different working experiment had the ideas to the performing in the internal quality assurance
processes different in the statistic significant level at 0.01 in the planning and at 0.05 in the evaluation. Besides it
was found the acting as follow the planning and taking the results to improve the work different in the non
statistic significant . When considering as the variables : status,sex,educational level and workihg experiment
were found they had the ideas to the condition of the problems by acting as the internal quality assurance process
different in the statistic non significant .

กิตติกรรมประกาศ
การศึกษาเป็นการเพิ่มพูนความรู้ ประสบการณ์ให้ผู้เรียนได้เป็นบุคคลที่ทันต่อการเปลี่ยน
แปลงของสังคมโลก ไม่มีการศึกษาใดที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้ทั้งหมด จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้
เรียนจะต้องมีครู – อาจารย์เป็นผู้ชี้นำและให้คำปรึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระบวนการวิจัยในวิทยา
นิพนธ์ฉบับนี้ สำเร็จลุล่วงด้วยดี ก็เพราะได้รับการแนะนำอย่างดียิ่ง จาก ดร.คมศร วงษ์รักษา
ประธานกรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ รศ.หรรษา ศิวรักษ์ และ ผศ.สุภรณ์ ลิ้มบริบูรณ์ กรรมการที่
ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ผู้วิจัย กราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงไว้ ณ โอกาสนี้
ขอขอบพระคุณศาสตราจารย์ ดร.สายหยุด จำปาทอง รศ.ดร.นันทา วิทวุฒิศักดิ์ คณบดี
บัณฑิตวิทยาลัย ผศ.บุบผา แช่มประเสริฐ และอาจารย์ทวีศักดิ์ จงประดับเกียรติ กรรมการสอบวิทยา
นิพนธ์ที่กรุณาให้คำแนะนำ และข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ ตลอดจนช่วยแก้ไขวิทยานิพนธ์ให้มีความ
สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ขอขอบพระคุณคณาจารย์สาขาบริหารหารศึกษาทุกท่านที่ได้ประสิทธิ์ประสาทความรู้
แก่ผู้วิจัย ขอขอบพระคุณผู้เชี่ยวชาญทุกท่านที่ได้กรุณาให้คำแนะนำ และข้อเสนอแนะในการสร้าง
เครื่องมือในการวิจัย ขอขอบพระคุณผู้บริหาร – ครู อาจารย์ในวิทยาลัยการอาชีพ กลุ่มสถานศึกษา
ภาคกลาง สังกัดกองการศึกษาอาชีพ ที่ให้ความอนุเคราะห์ในการเก็บข้อมูลและเป็นกลุ่มประชากรใน
การตอบแบบสอบถาม ขอขอบคุณอาจารย์นิศากร เจริญดี ที่ช่วยจัดพิมพ์รูปเล่มวิทยานิพนธ์
คุณประโยชน์ อันพึงมีจากวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ผู้วิจัยขอมอบเป็นสิ่งบูชาพระคุณบิดา– มารดา
ครู อาจารย์ทั้งในอดีตและปัจจุบันทุกท่าน
สมมนา สุวรรณนที

สารบัญ
หน้า
บทคัดย่อภาษาไทย………………..........................………………………………………ค
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ…………….........................………………………………………ง
กิตติกรรมประกาศ……......................…………………………………………………….จ
สารบัญ…….……………………………………….........………............................……...ฉ
สารบัญตาราง..…………………………………………….………............................……ซ
สารบัญแผนภูมิ………………………….......................……………....…………………..ฎ
บทที่ 1 บทนำ
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา…….…...........…………...……………..1
วัตถุประสงค์ของการวิจัย..……………………..…….................………………..3
ขอบเขตของการวิจัย.…………………………………………….................……3
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ...…………….................……………………………4
คำนิยามศัพท์เฉพาะ...………………………………........................……………4
กรอบแนวความคิด........…………………………………………...............……..5
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ความหมายและความสำคัญของการประกันคุณภาพ…….…...………………….6
การประกันคุณภาพภายในตามสาระบัญญัติของ พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ…....10
ปัญหาการประกันคุณภาพการศึกษา…………………………………………....21
การประกันคุณภาพด้านอาชีวศึกษา……………………………………….…....23
มาตรฐานอาชีวศึกษา……………………………………………………….…..28
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง…………………………………………………………..... 31
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย
ประชากร…………………………………………………………………..…..43
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย……………………………….…….………………..44
การเก็บรวบรวมข้อมูล………………………………….……….…………….46
วิเคราะห์ข้อมูล……………………………………..…………………………46

สารบาญ (ต่อ)
หน้า
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม…………………………….........................49
ผลการศึกษาสภาพการปฏิบัติตามกระบวนการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
สังกัดกองการศึกษาอาชีพ กลุ่มสถานศึกษาภาคกลาง กรมอาชีวศึกษา…....50
ผลการศึกษาปัญหาจากการปฏิบัติตามกระบวนการประกันคุณภาพใน
สถานศึกษา สังกัดกองการศึกษาอาชีพ กลุ่มสถานศึกษาภาคกลาง
กรมอาชีวศึกษา………………………………………………………........55
ผลการเปรียบเทียบสภาพการปฏิบัติตามกระบวนการประกันคุณภาพภายใน
สถานศึกษาตามตัวแปรสถานภาพ เพศ ระดับการศึกษา
และประสบการณ์การทำงาน………………………………………….......60
ผลการเปรียบเทียบปัญหาจากการปฏิบัติตามกระบวนการประกันคุณภาพภายใน
สถานศึกษาตามตัวแปรสถานภาพ เพศ ระดับการศึกษา และประสบการณ์
การทำงาน….............................…………………………………………...66
บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
วัตถุประสงค์…………………………………………………………………….70
วิธีการดำเนินการวิจัย……………………………………………………………70
สรุปผลการวิจัย…………………………………………………………………..71
อภิปรายผล………………………………………………………………………73
ข้อเสนอแนะ……………………………………………………………………..75
บรรณานุกรม……………………………………………………………………………...77
ภาคผนวก
ภาคผนวก ก แบบสอบถามเพื่อการวิจัย..…………………………….................83
ภาคผนวก ข หนังสือราชการที่เกี่ยวข้องและรายชื่อผู้เชี่ยวชาญ………......…….92
ภาคผนวก ค ประวัติผู้วิจัย…………………………………………………......100

สารบาญตาราง
หน้า
ตารางที่ 1 การกำหนดกรอบการประเมิน……………………………………………
ตารางที่ 2 ตัวอย่างแนวทางการเก็บรวบรวมข้อมูล…………………………………
ตารางที่ 3 ตัวอย่างการวิเคราะห์ข้อมูลของผู้เรียน…………………………………
ตารางที่ 4 แสดงจำนวนครู-อาจารย์ในวิทยาลัยการอาชีพ กองการศึกษาอาชีพ
กลุ่มสถานศึกษาภาพกลาง กรมอาชีวศึกษา……………………………
ตารางที่ 5 ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม……………………………………….
ตารางที่ 6 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม…………………………………….
ตารางที่ 7 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของสภาพการปฏิบัติตามกระบวน
การ ประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดกองการศึกษาอาชีพ กลุ่ม
สถานศึกษาภาคกลาง กรมอาชีวศึกษา ในภาพรวม…………………….
ตารางที่ 8 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของสภาพการปฏิบัติตามกระบวน
การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดกองการศึกษาอาชีพ กลุ่ม
สถานศึกษาภาคกลาง กรมอาชีวศึกษา ด้านการวางแผน………………..
ตารางที่ 9 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของสภาพการปฏิบัติตามกระบวน
การ ประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดกองการศึกษาอาชีพ
กลุ่มสถานศึกษาภาคกลาง กรมอาชีวศึกษา ด้านการดำเนินการตามแผน.
ตารางที่ 10 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของสภาพการปฏิบัติตามกระบวน
การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดกองการศึกษาอาชีพ
กลุ่มสถานศึกษาภาคกลางกรมอาชีวศึกษา ด้านการตรวจสอบประเมินผล
ตารางที่ 11 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของสภาพการปฏิบัติตามกระบวน
การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดกองการศึกษาอาชีพ กลุ่ม
สถานศึกษาภาคกลาง กรมอาชีวศึกษา ด้านการนำผลการประเมินมาปรับ
ปรุงงาน…………………………………………………………………..
15
17
18
43
46
49
50
51
52
53
54

สารบาญตาราง (ต่อ)
หน้า
ตารางที่ 12 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของสภาพปัญหาจากการปฏิบัติตาม
กระบวนการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดกองการศึกษา
อาชีพ กลุ่มสถานศึกษาภาคกลาง กรมอาชีวศึกษา ในภาพรวม.................
ตารางที่ 13 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของสภาพปัญหาจากการปฏิบัติตาม
กระบวนการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดกองการศึกษา
อาชีพ กลุ่มสถานศึกษาภาคกลาง กรมอาชีวศึกษา ด้านการวางแผน…...
ตารางที่ 14 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของสภาพปัญหาจากการปฏิบัติตาม
กระบวนการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดกองการศึกษา
อาชีพ กลุ่มสถานศึกษาภาคกลาง กรมอาชีวศึกษา ด้านการดำเนินการ
ตามแผน…………………………………………..
ตารางที่ 15 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของสภาพปัญหาจากการปฏิบัติตาม
กระบวนการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดกองการศึกษา
อาชีพ กลุ่มสถานศึกษาภาคกลาง กรมอาชีวศึกษา ด้านการตรวจสอบ
ประเมินผล…………………………………………
ตารางที่ 16 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของสภาพปัญหาจากการปฏิบัติตาม
กระบวนการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดกองการศึกษา
อาชีพ กลุ่มสถานศึกษาภาคกลาง กรมอาชีวศึกษา ด้านการนำผลการ
ประเมินมาปรับปรุงงาน………………………………
ตารางที่ 17 ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของสภาพการปฏิบัติตามกระบวนการ
ประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดกองการศึกษาอาชีพ กลุ่มสถาน
ศึกษาภาคกลาง กรมอาชีวศึกษา ตามตัวแปรสถานภาพ…………
ตารางที่ 18 ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของสภาพการปฏิบัติตามกระบวนการประกัน
คุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดกองการศึกษาอาชีพ กลุ่มสถานศึกษา
ภาคกลาง กรมอาชีวศึกษา ตามตัวแปรเพศ…………………
ตารางที่ 19 ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบสภาพการปฏิบัติตามกระบวนการประกัน
คุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดกองการศึกษาอาชีพ กลุ่มสถานศึกษา
ภาคกลาง กรมอาชีวศึกษา ตามตัวแปรระดับการศึกษา
55
56
57
58
59
60
61
62

สารบาญตาราง (ต่อ)
หน้า
ตารางที่ 20 ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบสภาพการปฏิบัติตามกระบวนการประกัน
คุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดกองการศึกษาอาชีพ กลุ่มสถานศึกษา
ภาคกลาง กรมอาชีวศึกษา ตามตัวแปรประสบการณ์การทำงาน...……
ตารางที่ 21 ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่สภาพการปฏิบัติตามกระบวนการ
ประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาด้านการวางแผน ตามตัวแปรประสบ
การณ์การทำงาน………………………………………………………
ตารางที่ 22 ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่สภาพการปฏิบัติตามกระบวนการ
ประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาด้านการตรวจสอบประเมินผล ตามตัว
แปรประสบการณ์การทำงาน…………………………………………
ตารางที่ 23 ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของปัญหาจากการปฏิบัติตามกระบวนการ
ประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดกองการศึกษาอาชีพ กลุ่มสถาน
ศึกษาภาคกลาง กรมอาชีวศึกษา ตามตัวแปรสถานภาพ…………..
ตารางที่ 24 ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของปัญหาจากการปฏิบัติตามกระบวนการ
ประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดกองการศึกษาอาชีพ กลุ่มสถาน
ศึกษาภาคกลาง กรมอาชีวศึกษา ตามตัวแปรเพศ…………………
ตารางที่ 25 ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบสภาพปัญหาจากการปฏิบัติตามกระบวน
การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดกองการศึกษาอาชีพ กลุ่ม
สถานศึกษาภาคกลาง กรมอาชีวศึกษา ตามตัวแปรระดับการศึกษา……
ตารางที่ 26 ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบปัญหาจากการปฏิบัติตามกระบวนการ
ประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดกองการศึกษาอาชีพ กลุ่มสถาน
ศึกษาภาคกลาง กรมอาชีวศึกษา ตามตัวแปรประสบการณ์การทำงาน…
63
64
65
66
67
68
69

สารบาญแผนภูมิ
หน้า
แผนภูมิที่ 1 กรอบแนวความคิดในการวิจัย…………………………………………… 5
แผนภูมิที่ 1 วงจร PDCA…………………………………….…..…………………… 12
แผนภูมิที่ 2 ความสัมพันธ์เชื่อมโยงของแผนต่าง ๆ ที่สถานศึกษาควรจัดทำ….……… 13
แผนภูมิที่ 3 กิจกรรมการตรวจสอบประเมินผลภายใน………..……..……………….. 15
แผนภูมิที่ 4 การจัดหา / การจัดทำเครื่องมือ..………………………….………………. 16
แผนภูมิที่ 5 ขั้นตอนการแปลความหมาย.…………………………………………….. 19
บทที่ 1
บทนำ
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
ปัจจุบันนี้ จัดอยู่ในยุคโลกาภิวัฒน์ มีความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีการ
สื่อสาร ส่งผลถึงแนวคิดในด้านการบริหารจัดการแบบใหม่ที่เน้นการพัฒนาและยกระดับคุณภาพ
การดำเนินงานขององค์กร ให้เป็นที่ยอมรับในประสิทธิภาพ และมีความโปร่งใส เพื่อให้สอดคล้อง
และทันต่อความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ยิ่งไปกว่านั้นยุคนี้เป็นยุคที่มีการแข่งขันสูงทั้งในระดับ
ประเทศและต่างประเทศ ดังนั้นคุณภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญและเป็นเป้าหมายสำคัญในทุกองค์กร ซึ่ง
Josepth Juran (อ้างใน สุวิมล ราชบริบาล : 2541 : 1 ได้เรียกศตวรรษที่ 21 นี้ว่า ศตวรรษแห่งคุณภาพ
สิ่งที่ควบคู่กับคุณภาพก็คือ การประเมินผลการดำเนินงาน เพราะเป็นตัวบ่งชี้สภาพปัจจุบันขององค์
การว่า ต้องปรับปรุงและพัฒนาในด้านใด ในทุกองค์กร ทั้งธุรกิจการค้า และสถานศึกษาต่าง ๆ ซึ่ง
ต่างก็มุ่งหาแนวทางพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ การจัดการศึกษาไทยจึงต้องมีคุณภาพตามมาตรฐานการ
ศึกษาทั้งในส่วนที่เป็นปัจจัยกระบวนการ และผลผลิต เพื่อเตรียมคนให้มีคุณลักษณะ “มองกว้าง
คิดไกล ใฝ่ดี” (บุญทิพย์ สุริยวงศ์ 2544 : 11) นั้นคือ การจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ และคุณภาพจะ
ต้องได้มาตรฐานขั้นต่ำทัดเทียมกันทั่วประเทศ แต่จากอดีตถึงปัจจุบัน คุณภาพการจัดการศึกษาของ
ไทย มีโรงเรียนบางโรงเรียนเท่านั้นที่ได้รับความนิยมจาก ผู้ปกครอง เนื่องจากมีความเชื่อด้าน
คุณภาพของแต่ละโรงเรียน การจัดศึกษาจึงต้องเร่งพัฒนาให้มีคุณภาพทัดเทียมกัน เพื่อพัฒนา
ศักยภาพของโรงเรียนให้มีความเชื่อมั่น ความศรัทธาแก่ผู้ปกครอง (สัมฤทธิ์ กางเพ็ง 2544 : 34) ด้วย
เหตุนี้สถานศึกษาทุกแห่งจึงจำเป็นต้องคำนึงถึงการพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษา ซึ่งมีภาระงานที่
ต้องใช้ความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการด้วยวิธีต่าง ๆ ที่สำคัญคือการจัดให้มีกระบวนการ
บริหารจัดการควบคุมคุณภาพขึ้นภายในสถานศึกษาก่อน เพื่อนำไปสู่การได้รับการรับรองมาตรฐาน
จากเกณฑ์ภายนอก ความต้องการการศึกาษที่มีคุณภาพจากอดีตจนถึงปัจจุบันมีมาตลอดทุกยุค ทุก
สมัยได้เพิ่มความรุนแรง และเข้มขันมากขึ้น ซึ่งเกิดจากกระแสผลักดันจากสภาวะโลกาภิวัฒน์ ความ
ต้องการและกระแสเรียกร้องจากผู้รับผลจากการจัดการศึกษา เช่น ผู้เรียน ผู้ปกครอง ชุมชน สังคม
เป็นต้น บุคคลในวงการศึกษาจึงต้องแสวงหาวิธีการต่าง ๆ ที่จะสร้างความมั่นใจในคุณภาพของการ
จัดการศึกษา โดยเน้นการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่รับ
ผิดชอบต่อผู้รับบริการทางการศึกษาโดยตรง ให้มีการดำเนินการทั้งด้านปัจจัย กระบวนการ และ
ผลผลิต ให้มีมาตรฐานการศึกษาตามที่กำหนด ซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นการให้ความสำคัญกับการประกัน
2
คุณภาพการศึกษา แต่จากสภาพในปัจจุบัน พบว่ายังประสบปัญหาต่างๆ เช่น นักเรียนที่จบการศึกษา
มีคุณภาพยังไม่เป็นที่พึงพอใจของสังคม ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ยังไม่เชื่อมั่น ศรัทธา และยอมรับใน
คุณภาพการศึกษา ความไม่ทัดเทียมกันในคุณภาพการศึกษา ขาดระบบการการตรวจสอบภายใน
ขาดแรงจูงใจให้โรงเรียนมีการพัฒนา การประกันคุณภาพจึงเป็นมาตรการหนึ่งที่จะทำให้เกิดความ
เชื่อมั่น และแก้ไขปัญหาที่กล่าวมาได้ ซึ่งเป็นเหตุจำเป็นที่ทั่วโลกให้ความสำคัญต่อการประกัน
คุณภาพในสถานศึกษา กรมอาชีวศึกษา เป็นสถาบันหนึ่งที่สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นสถาน
ศึกษาที่มีหน้าที่ผลิตนักเรียนนักศึกษาทางด้านอาชีพออกไปสู่สังคม โดยเฉพาะวิทยาลัยการอาชีพ
ต่าง ๆ ที่เปิดสอนในสาขาช่างอุตสาหกรรม เช่น ช่างยนต์ ช่างกลโรงงาน ช่างเชื่อมโลหะแผ่น
ช่างไฟฟ้ากำลัง ช่างอิเลคทรอนิกส์ ช่างก่อสร้าง พาณิชยการ คหกรรม ฯลฯ จากที่ผ่านมามีนักเรียน/
นักศึกษาบางส่วนไม่เป็นที่ยอมรับของสังคม เพื่อเปลี่ยนแปลงวิธีการเรียนการสอนใหม่ จึงควรมี
การปรับปรุงคุณภาพทางการศึกษา ในทุกสถานศึกษา จากสภาพปัญหาดังกล่าว รัฐบาลโดย
กระทรวงศึกษาธิการจึงมีนโยบายที่จะให้มีการประกันคุณภาพการศึกษาในทุกสถานศึกษาทั้งภาค
รัฐบาลและภาคเอกชน เพื่อความเป็นเลิศและมีคุณภาพทางการศึกษาของเยาวชนไทย นั่นก็คือการ
ประกัน คุณภาพการศึกษา ซึ่งสถานศึกษาจะต้องปฏิบัติด้วยความเร่งด่วน โดยเริ่มจากการประกัน
คุณภาพภายในสถานศึกษาซึ่งจะทำการประเมินกันเองในสถานศึกษา จากนั้นก็ทำการประกัน
คุณภาพภายนอกสถานศึกษา ซึ่งสถาบันส่งเสริมการประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาแห่ง
ชาติ(สมศ.) จะเป็นผู้ทำการประเมิน เมื่อประเมินผ่านสถานศึกษาก็จะได้รับใบรับรองคุณภาพ
ฉะนั้นสถานศึกษาจึงต้องรีบดำเนินการจัดทำการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ซึ่งในการจัดทำ
การประกันคุณภาพของสถานศึกษาไม่ใช่เรื่องที่ทำกันได้ง่าย ๆ จะต้องมีปัญหาและอุปสรรคในการ
จัดทำ เช่น การสร้างเครื่องมือมากเกินไป ไม่มีการหลอมรวมให้เป็นฉบับเดียวกันทำให้ไม่ประหยัด
มีการต่อต้านจากครูบางคนที่ไม่ใช่แกนนำ ยังไม่เห็นคุณค่าของการประเมินภายใน การทำงานไม่
เป็นทีม และไม่สามารถกระจายงานได้ นอกจากนี้ยังมีปัญหาการไม่ยอมรับในการถูกประเมิน
จากสภาพปัญหาที่กล่าวมาแล้ว ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาถึงสภาพการปฏิบัติและ
ปัญหาด้านกระบวนการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาในวิทยาลัยการอาชีพ สังกัดกองการ
ศึกษาอาชีพ กลุ่มสถานศึกษาภาคกลาง กรมอาชีวศึกษา ซึ่งสถานศึกษาดังกล่าว เป็นสถานศึกษาที่
ผลิตนักเรียนนักศึกษาออกสู่สังคมได้โดยตรง ถ้านักเรียนนักศึกษาที่จบการศึกษาออกไปแบบไม่มี
คุณภาพก็จะทำให้นักเรียนนักศึกษาไม่สามารถประกอบอาชีพตามที่ได้เรียนมา ดังนั้นการศึกษาถึง
สภาพการปฏิบัติและปัญหาด้านกระบวนการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา จึงเป็นการศึกษา
เพื่อนำผลที่ได้มาใช้แก้ไข หรือปรับปรุงข้อบกพร่องของวิธีการดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน
สถานศึกษา
3
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1.เพื่อศึกษาสภาพการปฏิบัติด้านกระบวนการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัด
กองการศึกษาอาชีพ กลุ่มสถานศึกษาภาคกลาง กรมอาชีวศึกษา
2.เพื่อศึกษาปัญหาจากการปฏิบัติด้านกระบวนการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
สังกัดกองการศึกษาอาชีพ กลุ่มสถานศึกษาภาคกลาง กรมอาชีวศึกษา
3. เพื่อเปรียบเทียบสภาพการปฏิบัติและปัญหาจากการปฏิบัติด้านกระบวนการประกัน
คุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดกองการศึกษาอาชีพ กลุ่มสถานศึกษาภาคกลาง กรมอาชีวศึกษา
ตามตัวแปรสถานภาพ เพศ ระดับการศึกษาและประสบการณ์การทำงาน
ขอบเขตการวิจัย
1.ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาปัญหากระบวนการประกันคุณภาพภายในซึ่ง
ประกอบด้วย 4 ด้าน คือ ร่วมกันวางแผน (P) ร่วมกันปฏิบัติตามแผน (D) ร่วมกันตรวจสอบ (C) และ
ร่วมกันปรับปรุง (A) ตามทฤษฏีของเดมมิ่ง (สถาบันส่งเสริมการประเมินคุณภาพและมาตรฐานการ
ศึกษาแห่งชาติ : 2544 หน้า 12)
2. ผู้วิจัยได้ศึกษาจากประชากรในสถานศึกษา สังกัดกองการศึกษาอาชีพ กลุ่มสถานศึกษา
ภาคกลาง จำนวน 20 แห่ง
3. ตัวแปรที่ศึกษา
3.1 ตัวแปรอิสระ ได้แก่
1) ตำแหน่งของผู้ตอบแบบสอบถาม
2) เพศ
3) ระดับการศึกษาสูงสุด
4) ประสบการณ์การทำงาน
3.2 ตัวแปรตาม ได้แก่ สภาพการปฏิบัติด้านกระบวนการประกันคุณภาพภายใน
และสภาพปัญหาจากการปฏิบัติด้านกระบวนการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ทั้ง 4 ด้าน
ดังนี้
1) ด้านการวางแผน ( P )
2) ด้านการดำเนินการตามแผน ( D )
3) ด้านการตรวจสอบการประเมินผล ( C )
4) ด้านการนำผลการประเมินมาปรับปรุงงาน ( A )
4
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ทราบถึงสภาพการปฏิบัติด้านกระบวนการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ใน
วิทยาลัยการอาชีพ สังกัดกองการศึกษาอาชีพ กลุ่มสถานศึกษาภาคกลาง กรมอาชีวศึกษา
2. ทราบปัญหาจากการปฏิบัติด้านกระบวนการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
ในวิทยาลัยการอาชีพ สังกัดกองการศึกษาอาชีพ กลุ่มสถานศึกษาภาคกลาง กรมอาชีวศึกษา
3. ทราบสภาพการปฏิบัติและปัญหาจากการปฏิบัติด้านกระบวนการประกันคุณภาพภายใน
สถานศึกษา สังกัดกองการศึกษาอาชีพ กลุ่มสถานศึกษาภาคกลาง กรมอาชีวศึกษาระหว่างตัวแปร
สถานภาพ เพศ ระดับการศึกษาและประสบการณ์การทำงาน
4. เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาด้านกระบวนการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
สังกัดกองการศึกษาอาชีพ กลุ่มสถานศึกษาภาคกลาง กรมอาชีวศึกษา
คำนิยามศัพท์เฉพาะ
การประกันคุณภาพการศึกษา หมายถึง กิจกรรมหรือแนวปฏิบัติใด ๆ ที่หากได้ดำเนินการ
ตามระบบและแผนที่ได้วางไว้แล้ว จะทำให้เกิดความมั่นใจว่า จะได้ผลผลิตของการศึกษาที่มี
คุณภาพตามลักษณะอันพึงประสงค์
การประกันคุณภาพภายใน หมายถึง การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและ
มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายใน โดยบุคลากรของสถานศึกษานั้นเอง หรือโดยหน่วย
งานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถานศึกษานั้น
กระบวนการประกันคุณภาพการศึกษา หมายถึง กรอบความคิดในด้านหลักการโครงสร้าง
การบริหาร ซึ่งมี 4 ขั้นตอน
การวางแผน(P) หมายถึง การกำหนดภาระงานที่จะดำเนินงานตามขั้นตอนในอนาคต
การดำเนินการตามแผน (D) หมายถึง การทำงานตามแผนงานที่กำหนดไว้
การตรวจสอบ (C) หมายถึง การตรวจสอบดูว่างานที่ผ่านมามีอะไรที่ต้องปรับปรุง
การปรับปรุง (A) หมายถึง การนำผลการตรวจสอบในส่วนที่ต้องปรับปรุงมาทำการ
แก้ไขปรับปรุง
สภาพกการปฏิบัติ หมายถึง การจัดการหรือการกระทำใด ๆ ด้านกระบวนการประกัน
คุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา สังกัดกองการศึกษาอาชีพ กลุ่มสถานศึกษาภาคกลาง กรม
อาชีวศึกษา
ปัญหา หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นในระหว่างการปฏิบัติงานซึ่งส่งผลให้งานไม่สำเร็จไปได้ตาม
วัตถุประสงค์ที่วางไว้
5
ผู้บริหาร หมายถึง ผู้ที่ดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าสถานศึกษาวิทยาลัยการอาชีพ สังกัดกอง
การศึกษาอาชีพ กลุ่มสถานศึกษาภาคกลาง กรมอาชีวศึกษา ได้แก่ ผู้อำนวยการ รวมทั้งผู้ที่รักษา
การในตำแหน่งผู้อำนวยการปฏิบัติหน้าที่ในสถานศึกษาปัจจุบัน
ครู-อาจารย์ หมายถึง ข้าราชการครู-อาจารย์ ที่ปฏิบัติหน้าที่ในสถานศึกษาวิทยาลัยการ
อาชีพ สังกัดกองการศึกษาอาชีพ กลุ่มสถานศึกษาภาคกลาง กรมอาชีวศึกษา
สถานศึกษา หมายถึง วิทยาลัยที่เปิดสอนในระดับ ปวช. และปวส. สังกัดกองการศึกษา
อาชีพ กลุ่มสถานศึกษาภาคกลาง กรมอาชีวศึกษา
กรอบแนวความคิดในการวิจัย
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยกำหนดกรอบความคิดในการวิจัยซึ่งเกี่ยวข้องกับการศึกษาวิจัย
ตามตัวแปรอิสระ และตัวแปรตามดังนี้
แผนภูมิที่ 1 กรอบแนวความคิดในการวิจัย
พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ
การจัดการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา
สภาพการปฏิบัติ สภาพปัญหา
กระบวนการประกันคุณภาพ ประกอบด้วย
1. ด้านการวางแผน (P)
2. ด้านการดำเนินการตามแผน (D)
3. ด้านการตรวจสอบประเมิน ( C )
4. ด้านการนำผลการประเมินมาปรับปรุงงาน ( A )
แนวทางการแก้ไขปัญหาในการจัดทำประกันคุณภาพภายใน
6
บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ศึกษาข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยนำเสนอตาม
หัวข้อดังต่อไปนี้
1. ความหมายและความสำคัญของการประกันคุณภาพ
2. การประกันคุณภาพภายในตามสาระบัญญัติของพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ.2542
3. ปัญหาการประกันคุณภาพการศึกษา
4. การประกันคุณภาพด้านอาชีวศึกษา
5. มาตรฐานอาชีวศึกษา
6. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ความหมายและความสำคัญของการประกันคุณภาพ
ไครเยอร์ (Cryer, 1993 : 78) ให้ความหมายว่า “การประกันคุณภาพ” คือ แผนและการ
ปฏิบัติการทั้งหลายที่เป็นระบบเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าการศึกษาจะสนองตอบต่อคุณภาพที่
กำหนด เมื่อประมวลมุมมองทั้งหลายจากสถานการณ์กำหนดกิจกรรม และกระบวนการให้เป็นไป
เพื่อบรรลุถึงการสร้างปัญญา (Intellect) ความเชี่ยวชาญ (Professionallzation) และการมีจรรยา
บรรณ (Code of Ethics) การประกันคุณภาพจึงหมายถึง ปฏิบัติการทั้งหลายที่มีแผนและเป็นระบบ
เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า การให้การศึกษาจะได้คุณภาพตามปรัชญาที่กำหนด
สำหรับประเทศไทย ได้มีการให้ความหมายของการประกันคุณภาพการศึกษา ตามคู่มือการ
พัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาสำหรับสภาบันอุดมศึกษา ดังนี้ (สำนักมาตรฐานอุดม
ศึกษา สำนักงานปลัดทบวงมหาวิทยาลัย, 2539) การประกันคุณภาพการศึกษา หมายถึง กิจกรรม
หรือการปฏิบัติการใด ๆ ที่หากได้ดำเนินการตามระบบและแผนที่ได้วางไว้แล้ว จะทำให้เกิดความ
เชื่อมั่นได้ว่าจะได้บัณฑิตที่มีคุณภาพตามคุณลักษณะที่ประสงค์ และการประกันคุณภาพจะมี
ประสิทธิผลก็ต่อเมื่อได้มีการประเมินผลการดำเนินการของระบบการผลิตบัณฑิต และปัจจัยที่มีผล
ต่อคุณภาพของบัณฑิตอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งได้มีการทบทวนและติดตามกระบวนการผลิตได้โดย
ใกล้ชิด
7
เข็มทอง ศิริแสงเลิศ (2540 : 13) กล่าวว่า ระบบการประกันคุณภาพการศึกษา หมายถึง
ระบบการบริหารงานของโรงเรียน ที่ทำให้โรงเรียนสามารถบรรลุถึงมาตรฐานคุณภาพที่กำหนดไว้
ตลอดเวลา เพื่อให้ผู้รับบริการเกิดความเชื่อมั่นในคุณภาพของโรงเรียน ระบบดังกล่าวประกอบด้วย
3 ระบบย่อย คือ ระบบการวางแผน ระบบการควบคุมคุณภาพ และระบบการทบทวนและปรับปรุง
การปฏิบัติงาน
สยาม สุ่มงาม (2541 : 12 ) กล่าวว่า การประกันคุณภาพการศึกษา หมายถึง การให้หลัก
ประกัน และความเชื่อมั่นของสถานศึกษากับผู้ปกครอง ชุมชน และนักเรียน ว่าเมื่อนักเรียนได้เข้าสู่
ระบบการศึกษา ผู้จบการศึกษามีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด ไว้ในหลักสูตรและตรงตามความ
ต้องการของสังคม
อำรุง จันทวานิช (2542 : 79) ให้ความหมายของการประกันคุณภาพการศึกษา หมายถึง
วิธีการหรือกลยุทธ์ ที่กำหนดแนวปฏิบัติหรือแนวทางในการดำเนินงานในการจัดการศึกษาที่เป็น
หลักประกันว่านักเรียนมีคุณภาพ ตามมาตรฐานการศึกษาและเป็นที่ยอมรับของสังคม
สมศักดิ์ สินธุระเวชญ์ (2544 : 1-2) ได้ให้ความหมายว่า การประกันคุณภาพการศึกษา
คือการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเพื่อสร้างความมั่นใจในคุณภาพของการจัดการศึกษา
โรงเรียนจะต้องแสดงภาระหน้าที่ความรับผิดชอบ (Accountability) ต่อนักเรียนและผู้ปกครอง นั่น
คือ ผลผลิต(นักเรียน) ต้องตอบสนองต่อลูกค้า และเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด ในด้านผู้
ปกครองต้องเปิดโอกาสให้ผู้ปกครอง ชุมชน ได้มีส่วนร่วมรับผิดชอบ ร่วมตัดสินใจในรูปของคณะ
กรรมการโรงเรียน โรงเรียนต้องแสดงภาระหน้าที่ มีความรับผิดชอบต่อมาตรฐานที่กำหนด ซึ่งรวม
ทั้งมาตรฐานด้านผลผลิต ด้านปัจจัย และด้านกระบวนการ ในด้านผลผลิตโรงเรียนจะต้องกำหนด
มาตรฐานโดยคณะกรรมการโรงเรียน เมื่อได้มีการจัดการศึกษาจนนักเรียนมีคุณภาพตามมาตรฐาน
ที่ตั้งไว้ ก็จะมีการกำหนดมาตรฐานให้สูงขึ้น และดำเนินการพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียน
อย่างต่อเนื่องปราศจากความไม่พึงพอใจ มาตรฐานด้านผลิผลิตจะถูกยกระดับให้สูงขึ้นเรื่อย ๆ จน
ถึงมาตรฐานระดับจังหวัดและมาตรฐานระดับชาติ
อุทุมพร จารมรมาน (2543 : 9) ให้ความหมาย การประกันคุภาพการศึกษา (Quality
Assurance) หมายถึง การสร้างความมั่นใจให้กับประชาชน (เจ้าของภาษี) ว่าทุกคนในสถานศึกษา
ปฏิบัติงานอย่างเต็มความสามรถ เพื่อผลผลิตจะได้มีคุณภาพ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2543 : 7) ให้ความหมายว่า การประกัน
คุณภาพทางการศึกษา หมายถึง การบริหารจัดการและการดำเนินกิจกรรมภารกิจปกติของสถาน
ศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นการสร้างความมั่นใจ ให้ผู้รับบริการ
ทางการศึกษาทั้งผู้รับบริการโดยตรง ได้แก่ ผู้เรียนและผู้ปกครอง และผู้รับบริการทางอ้อม ได้แก่
8
สถานประกอบการ ประชาชนและสังคมโดยรวมว่าการดำเนินงานของสถานศึกษาจะมีประสิทธิ
ภาพ และทำให้ผู้เรียนมีประสิทธิภาพ และทำให้ผู้เรียนมีคุณภาพหรือคุณลักษณะที่พึงประสงค์
ตามมาตรฐานการศึกษาที่กำหนด การประกันคุณภาพมีแนวคิดอยู่บนพื้นฐานของการ “ป้องกัน”
ไม่ให้เกิดการทำงานที่ไม่มีประสิทธิภาพและผลผลิตไม่มีคุณภาพ
สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (2543 : 60) ได้ให้ความหมายว่า การประกันคุณภาพการ
ศึกษา เป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา เพราะเป็นระบบที่สร้างความมั่นใจว่า สถาน
ศึกษาสามารถจัดการศึกษาได้คุณภาพตามมาตรฐาน ผู้สำเร็จการศึกษาต้องมีความรู้ความสามารถ
มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่หลักสูตรกำหนด และสังคมต้องการ และสืบเนื่องจากการที่
กระทรวงศึกษาธิการได้กระจายบทบาทการจัดการศึกษาให้สถานศึกษาเป็นหน่วยรับผิดชอบ และ
พัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เป็นที่เชื่อมั่นและพอใจของผู้เรียนผู้ปกครองชุมชนและสังคม ดังนั้น
หน่วยงานและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายจะต้องมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ตั้งแต่การวางแผน การดำเนิน
งานและตรวจสอบผลการดำเนินงานตามภาระรับผิดชอบอย่างเป็นระบบ และมีประสิทธิภาพเพื่อ
ให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามาตรฐานที่กำหนดไว้
สรุป
การประกันคุณภาพการศึกษา หมายถึง การบริหารจัดการและการดำเนินกิจกรรมตาม
ภารกิจปกติของสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นการสร้างความ
มั่นใจให้ผู้รับบริการทางการศึกษาทั้งผู้รับบริการโดยตรงได้แก่ ผู้เรียน และผู้ปกครอง และผู้รับ
บริการทางอ้อม ได้แก่ สถานประกอบการ ประชาชน และสังคมโดยรวมว่าการดำเนินงานของสถาน
ศึกษาจะมีประสิทธิภาพ และทำให้ผู้เรียนมีคุณภาพหรือคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามมาตรฐานการ
ศึกษาที่กำหนด การประกันคุณภาพมีแนวคิดอยู่บนพื้นฐานของการ “ป้องกัน” ไม่ให้เกิดการทำงาน
ที่ไม่มีประสิทธิภาพและผลผลิตไม่มีคุณภาพ
ความสำคัญของปัญหา
นับแต่ยุคก่อกำเนิดสถาบันอุดมศึกษาเป็นต้นมา ได้มีการเน้นในเรื่องมาตรฐานการศึกษา
มาโดยตลอด และปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้สถาบันอุดมศึกษามีมาตรฐานการศึกษาสูงเพียงใด
หรือไม่ก็คือ “คณาจารย์” จนถึงกับมีคำกล่าวว่า “คณาจารย์ที่เก่งกล้าสามารถ” คือ จุดเริ่มต้นของการ
พัฒนามหาวิทยาลัย ดังนั้น การวัดมาตรฐานการศึกษาของมหาวิทยาลัย จึงมักจะถือเกณฑ์ว่า ถ้ามี
อาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิทั้งด้านปริมาณ และคุณภาพแล้ว เป็นที่เชื่อถือได้ว่า มาตรฐานการศึกษาจะดี
ตามไปด้วย (วิจิตร ศรีสอ้าน, 2518 อ้างในสุวิมล ราชธนบริบาล 2541 : 8) จึงเป็นที่ยอมรับกันโดย
กว้างขวางและสืบต่อกันมาจนทุกวันนี้ว่า นักศึกษามักจะให้ความนิยมกับสถาบันอุดมศึกษาที่มีชื่อ
9
เสียงและจะต้องเกี่ยวพันกับคุณภาพของอาจารย์ด้วยเสมอ ดังนั้นมหาวิทยาลัยในยุโรปซึ่งถือกำเนิด
และเติบโตมาจาก “จารีต” ของความรักในความรู้” และเป็นแรงหนุนให้ใฝ่หาความเป็นเลิศโดยไม่
ต้องมีใครมาบังคับ โดยเฉพาะเรื่องอิสรภาพของมหาวิทยาลัย (Autonomy) และเสรีภาพทางวิชาการ
ของอาจารย์ (Academic Freedom) ในสถาบันอุดมศึกษา แต่ในปัจจุบันระบบอุดมศึกษามีความซับ
ซ้อนมากขึ้น ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ ซึ่งประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกกำลังมีการเปลี่ยนแปลงทาง
เศรษฐกิจและสังคมอย่างรวดเร็ว และก้าวหน้าเข้าสู่ยุคเทคโนโลยีการสื่อสาร ทำให้มีการแข่งขัน
ทางเศรษฐกิจที่สร้างแรงกดดันทางสังคมและการเมือง ดังนั้น สถาบันอุดมศึกษาจึงจำเป็นต้องมีการ
ตื่นตัวที่จะต้องสร้างความเชื่อมั่นและศรัทธาต่อประชาชน ในการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม
(อมรวิชช์ นาครทรรพ, 2540 : 12) โดยที่สถาบันอุดมศึกษาต้องแสดงความรับผิดชอบที่จะต้อง
แสดงให้ประจักษ์แก่สังคม ว่าได้ใช้อำนาจหน้าที่และอิสระในการบริหารงานได้อย่างถูกต้อง
เหมาะสมกับทรัพยากรที่ได้รับจากแหล่งต่างๆ และเป็นประโยชน์แก่สังคมตามภารกิจที่ได้รับ
มอบหมาย เพื่อความคงอยู่ของมหาวิทยาลัยในระยะยาว นั่นก็คือ การให้ความสำคัญและประกาศตัว
ในเรื่องของการประกันคุณภาพการศึกษาอย่างเป็นรูปธรรมและเผยแพร่ข่าวสารข้อมูลให้แก่
ประชาชนได้รับทราบ และเข้าใจ ตลอดจนการเข้ามามีส่วนร่วมของลูกค้า คือ นิสิต นักศึกษา พ่อแม่
ผู้ปกครอง หรือผู้ใช้บัณฑิต ซึ่งอุดมศึกษามีระบบการควบคุมคุณภาพหรือมาตรฐานทางวิชาการใน
รูปแบบหรือวิธีการอื่น ๆ ซึ่งระบบที่สำคัญอีกระบบหนึ่งคือ “การรับรองวิทยฐานะ” (Accreditation)
ที่หลายประเทศใช้เป็นระบบหลัก ในการประกันคุณภาพทางวิชาการของสถาบันอุดมศึกษา ของตน
มาเป็นระยะเวลานาน จุดต่างอันสำคัญของ 2 ระบบ/รูปแบบนี้ คือ การรับรองวิทยฐานะ
(Accreditation) เป็นการประกันคุณภาพทางการศึกษาโดยองค์กรภายนอก (External Review) ขณะ
ที่การประกันคุณภาพ (Quality Assurance)เป็นการประกันคุณภาพการศึกษาภายในหรือโดยสถาบัน
(สุภาพ ดวงไสว 2539 : 16)
สรุป
สถาบันการศึกษาที่มีมาตรฐานการศึกษาสูงเพียงใดขึ้นอยู่กับคณาจารย์ผู้สอนในสถาบัน
นั้น ๆ เพราะว่า อาจารย์ที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ จะมีส่วนทำให้มาตรฐานการ
ศึกษาดีตามไปด้วย ดังนั้นสถาบันการศึกษาจึงมีการตื่นตัวที่จะสร้างความเชื่อมั่นและศรัทธาให้กับ
ชุมชน โดยมุ่งพัฒนาสถาบันการศึกษาให้มีมาตรฐานการศึกษา จนได้รับการประกันคุณภาพการ
ศึกษาภายนอก ซึ่งเริ่มจากการได้รับการประกันคุณภาพการศึกษาภายในก่อน ฉะนั้นการประกันคุณ
ภาพการศึกษา จึงหมายถึง การสร้างความมั่นใจว่าสถานศึกษาที่ได้รับรองมาตรฐานสามารถจัดการ
ศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ และผู้ที่จบการศึกษามีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนดไว้และเป็นที่ยอมรับ
10
ของสังคม ซึ่งมีกิจกรรมหรือแนวปฏิบัติเพื่อความคุมคุณภาพการศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพและ
มาตรฐานการศึกษา
การประกันคุณภาพภายในตามสาระบัญญัติของ พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542
จากความจำเป็นของการประกันคุณภาพภายใน เพื่อพัฒนาคุณภาพทางการศึกษาซึ่งเป็น
เรื่องที่มีความสำคัญต่อการปฏิรูปการศึกษาของไทย จึงได้มีสาระบัญญัติใน พ.ร.บ.การศึกษาแห่ง
ชาติ พ.ศ.2542 (พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 2542 : 24-26) ที่กำหนดให้สถานศึกษาทุกแห่ง
ต้องดำเนินการเกี่ยวกับการประกันคุณภาพภายในไว้ดังนี้
หมวด 6 มาตรา 48 ให้หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษาจัดให้มีระบบการประกัน
คุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องโดยมี
การจัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเปิดเผยต่อ
สาธารณชนเพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา และเพื่อรองรับการประกัน
คุณภาพภายนอก สาระบัญญัติดังกล่าว เป็นสิ่งที่สถานศึกษาทุกแห่งจะต้องนำไปปฏิบัติ เพื่อให้
บรรลุเจตนารมณ์ในการพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษา ซึ่งจะเป็นการสร้างความมั่นใจแก่พ่อแม่
และประชาชน ว่าลูกหลานจะได้รับการศึกษา ที่มีคุณภาพ ซึ่งการประกันคุณภาพภายใน จะทำให้
สถานศึกษามีระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ มีการทำงานที่มีเป้าหมายและแผนการ
ดำเนินงานที่ชัดเจนโดยในการดำเนินการตามแผนเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายนั้น ก็จะต้องมีการ
ประเมินคุณภาพภายในหรือการประเมินตนเอง เพื่อตรวจสอบและพัฒนาปรับปรุงให้เป็นไปตาม
เป้าหมายอยู่ตลอดเวลา โดยผู้บริหารและครูในสถานศึกษาเป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิด และมีอิทธิพลต่อการ
หล่อหลอมให้เด็กเป็นคนดี มีความสามารถ และมีความสุข ถ้าสถานศึกษาไม่มีการมองตนเองและ
พัฒนาตนเองแล้ว ก็เป็นไปได้ยากที่การศึกษาและเยาวชนจะได้รับการพัฒนาให้มีคุณภาพ จึงมีความ
จำเป็นที่ผู้บริหารและครูจะต้องร่วมกันประเมินตนเอง และดำเนินการประกันคุณภาพภายใน โดยมี
เป้าหมายและแผนการดำเนินงานที่ผู้บริหารและครูร่วมกันคิดและร่วมกันทำเพือ่พัฒนาคุณภาพทาง
การศึกษา และนำไปสู่อนาคตที่ดีของประเทศชาติ และประชาชนชาวไทยต่อไป
ดังนั้นการประกันคุณภาพภายในจึงเป็นสิ่งที่สถานศึกษาทุกแห่งจะต้องปฏิบัติเพื่อ
พัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา และเพื่อให้เป็นไปตามสาระใน พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ
สถานศึกษาควรดำเนินการให้ครอบคลุมแนวทางหลักดังต่อไปนี้ (สถาบันส่งเสริมการประเมิน
คุณภาพและมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ สมศ. 2543 : 6)
1. สถานศึกษาจะต้องดำเนินการประกันคุณภาพภายในเป็นประจำทุกปี โดยควรเริ่ม
ดำเนินการตั้งแต่ปีการศึกษา 2543
11
2.ให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษา ที่
สถานศึกษาทุกแห่งต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง อันประกอบด้วยการวางแผนการดำเนินงาน การ
ประเมินผลและการปรับปรุงการดำเนินงาน โดยสถานศึกษาต้องจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาที่
สอคดล้องกับความมุ่งหมายและหลักการตามที่กำหนดใน พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ มาตรฐานการ
ศึกษา และเป้าหมาย/ปรัชญา/ธรรมนูญสถานศึกษา กำหนดระยะเวลาในการดำเนินการที่ชัดเจน
ติดตามประเมินผลการทำงานของตนเองอย่างต่อเนื่องและนำผลการประเมินมาใช้ปรับปรุงและ
พัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
3. การดำเนินการประกันคุณภาพภายในทุกขั้นตอน ควรเน้นการประสานงานและการมี
ส่วนร่วมของทุกกลุ่มทุกฝ่ายที่เก่ยวข้อง ได้แก่ บุคลากรในสถานศึกษา กรรมการสถานศึกษา ผู้
ปกครอง บุคลากรของหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ ในชุมชน และเขตพื้นที่การศึกษาและภูมิภาค
เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการที่ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาตามมาตรา 8 ของ พ.ร.บ.การ
ศึกษาแห่งชาติ
4. สถานศึกษาควรจัดทำรายงานผลการประเมินคุณภาพภายใน ให้เรียบร้อยก่อนเริ่มปี
การศึกษาใหม่ของทุกปี โดยแสดงผลการประเมินคุณภาพการศึกษา แนวทางหรือแผนงานในการ
ปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษาในปีการศึกษาต่อไป แล้วเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามที่กระทรวงกำหนด และสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพ
การศึกษา ตลอดจนสาธารณชน โดยจัดทำรายงานโดยสรุปปิดประกาศไว้ที่สถานศึกษา แจ้งให้ผู้
ปกครอง และเผยแพร่ต่อสาธารณชนได้รับทราบ รวมทั้งมีรายงานที่มีรายละเอียดครบถ้วนที่พร้อม
จะให้ผู้ที่สนใจขอดูได้ตลอดเวลา
กระบวนการพัฒนาคนในสถานศึกษาก็เหมือนกับการสร้างบ้าน เพียงแต่การสร้าง
บ้านนั้นต้องใช้สถาปนิก ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมาดำเนินการ และเมื่อสร้างเสร็จแล้วก็เสร็จเลย ไม่
ต้องทำต่อ แต่กระบวนการสร้างคนนั้น ผู้ที่เป็นสถาปนิกคือ ครู และผู้บริหารซึ่งเป็นบุคลากรภายใน
จะต้องร่วมกันพัฒนาเด็กให้มีคุณภาพดีและจะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องโดยไม่หยุด ผู้บริหาร
และครูในสถานศึกษามีการร่วมกันกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน ว่าต้องการพัฒนาเด็กให้มี คุณสมบัติ
เป็นอย่างไร และถ้าจะให้เด็กมีคุณสมบัติดังกล่าวแล้ว ก็ต้องช่วยกันคิด และช่วยกัน วางแผน (Plan)
ว่าจะต้องทำอย่างไร แล้วช่วยกันทำ (Do) ช่วยกันตรวจสอบ (Check) และปรับปรุงแก้ไขข้อบก
พร่อง (Action) เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาปรับปรุงคุณภาพให้ดี
ขึ้นอยู่ตลอดเวลา โดยร่วมกันทำงานเป็นทีม ซึ่งเป็นหลักการบริหารที่เป็นระบบตามวงจร PDCA
ดังแผนภูมิที่ 2
12
แผนภูมิที่ 2 วงจร PDCA ของเดมมิ่ง
ที่มา : แนวทางการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา: เพื่อพร้อมรับการประเมินภายนอก :
สถาบันส่งเสริมการประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ (สมศ.)
1. การวางแผน (Plan)
เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
(2543:18)เสนอว่าสถานศึกษาควรมีการจัดทำแผนต่าง ๆ คือ 1) แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของ
สถานศึกษา 2) แผนปฏิบัติการประจำปี 3) แผนการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตร และสอด
คล้องกับเป้าหมายของสถานศึกษา และ 4) แผนงบประมาณทั้งรายรับและรายจ่ายของสถานศึกษา
ซึ่งแผนต่าง ๆ มีความเชื่อมโยงกันดังแผนภูมิที่ 3
ร่วมกันวางแผน
ร่วมกันตรวจสอบ
รว่ มกนั ปรบั ปรงุ รว่ มกนั ปฏิบตั ิ
การตรวจสอบและ
ประเมินคณภาพ
P
A D
C
การควบคุมคุณภาพ
13
แผนภูมิที่ 3 ความสัมพันธ์เชื่อมโยงของแผนต่าง ๆ ที่สถานศึกษาควรจัดทำ
ที่มา : สุภาณี แสงอินทร์ : 39
2.การปฏิบัติตามแผน (DO)
เมื่อสถานศึกษาได้วางแผนการปฏิบัติงานเสร็จเรียบร้อยแล้ว บุคลากรก็ร่วมกันดำเนิน
งานตามแผนที่จัดทำไว้ โดยในระหว่างการดำเนินงาน ผู้บริหารสถานศึกษาควรจะส่งเสริมและ
สนับสนุนให้บุคลากรทุกคนทำงานอย่างมีความสุข
2.1 จัดสิ่งอำนวยความสะดวก สนับสนุนทรัพยากร เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไป
อย่างมีประสิทธิภาพ
2.2 กำกับ ติดตาม (Monitoring) ทั้งระดับรายบุคคล รายกลุ่ม รายหมวด/ฝ่ายเพื่อ
กระตุ้นและส่งเสริมให้มีการดำเนินงานตามแผน
2.3 ให้การนิเทศ ในระหว่างการปฏิบัติงาน ผู้บริหารต้องกำกับและติดตามว่าเป็น
ไปตามเป้าหมายหรือแผนที่กำหนดไว้ หรือมีปัญหาหรือไม่ หากไม่เป็นไปตามแผนหรือมีปัญหาจะ
ได้ให้การนิเทศเพื่อปรับปรุงแก้ไข การกำกับและติดตามการปฏิบัติงานมีหลายวิธี ซึ่งจะขอยกมา
เป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้นคือ ผู้บริหารอาจติดตามด้วยการสอบถามเป็นรายบุคล จัดประชุมกลุ่ม/
แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา
แผนปฏิบัติการประจำปี
แผนการจัดการเรียนการสอน
ตามหลักสูตร
แผนการประเมินคุณภาพการศึกษา
แผนงบประมาณ
14
หมวด/ฝ่าย หรือให้แต่ละบุคล/กลุ่ม/หมวด/ฝ่ายรายงานความก้าวหน้าของการทำงานเป็นรายสัปดาห์
หรือรายเดือน โดยอาจรายงานปากเปล่า หรือจัดทำรายงานเสนอ เพื่อให้ข้อเสนอแนะในการปรับ
ปรุงการปฏิบัติงานของแต่ละบุคคล/กลุ่ม/หมวด/ฝ่าย และในแต่ละเดือนอาจมีการพิจารณาว่าบุคคล/
กลุ่ม/หมวด/ฝ่ายใดมีผลการดำเนินงานดีเยี่ยม เป็นไปตามเป้าหมายหรือแผนที่กำหนดซึ่งอาจมีการ
ให้รางวัลเล็ก ๆ น้อย ๆ เป็นการให้กำลังใจ
3. การตรวจสอบประเมินผล (Check)
การประเมินผล เป็นกลไกสำคัญที่จะกระตุ้นให้เกิดการพัฒนา เพราะจะทำให้ได้ข้อมูล
ย้อนกลับที่จะสะท้อนให้เห็นถึงการดำเนินงานที่ผ่านมาว่า บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้เพียงใด ต้อง
ปรับปรุงแก้ไขในเรื่องใดบ้าง ผู้บริหารและครูที่เข้าใจระบบการประกันคุณภาพอย่างถูกต้อง จะ
ตระหนักถึงความสำคัญของการประเมินผล ไม่กลัวการประเมินผล โดยเฉพาะการประเมินตนเอง
ซึ่งเป็นการประเมินที่มุ่งเพื่อการพัฒนาไม่ใช่การตัดสินถูก ผิด ไม่ใช่การประเมินเพื่อประเมิน และ
ไม่ใช่เรื่องที่ทำยาก ไม่ต้องคิดเครื่องมือหรือแบบประเมินมากมาย แต่เป็นการประเมินในงานที่ทำ
อยู่เป็นประจำ เครื่องมือที่ใช้อาจเป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วโดยไม่ต้องสร้างขึ้นใหม่ เช่น สถิติที่เป็นข้อมูล
พื้นฐานทั่วไปของฝ่ายบริหาร ผลงาน หรือการบ้าน ตลอดจนการทดสอบย่อยของผู้เรียนในชั้น
เรียน ซึ่งเป็นข้อมูลที่ครูมีอยู่แล้ว เพียงแต่จัดเก็บให้เป็นระบบมากขึ้นเท่านั้น
ในระหว่างที่สถานศึกษาดำเนินการตามแผนปฏิบัติการควรมีการตรวจสอบประเมินผล
เป็นระยะ เพื่อพิจารณาว่า การดำเนินการเป็นไปไปในทิศทางที่จะนำไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมาย
หรือมาตรฐาน และตัวบ่งชี้ที่กำหนดในแผนพัฒนาและแผนปฏิบัติการหรือไม่ เพียงใดมีจุดอ่อน
จุดแข็งประการใด มีส่วนใดที่จะต้องปรับปรุงเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย หรือมาตรฐานและตัวบ่งชี้ที่
กำหนดมากที่สุด และเมื่อสิ้นภาคเรียนหรือสิ้นปีการศึกษาก็จะต้องมีการประเมินสรุปรวมเพื่อนำ
ผลมาพิจารณาแก้ไข ปรับปรุงการดำเนินการในระยะต่อไป
จากการสรุปสังเคราะห์กิจกรรมการตรวจสอบประเมินผลภายใน ตามพื้นฐาน แนวคิด
ของการประเมินที่ใช้ในโรงเรียนเป็นฐาน (School Base Evaluation) มีกิจกรรมที่ต้องดำเนินการ
ประกอบด้วย การวางกรอบการประเมิน การจัดหา/จัดทำเครื่องมือ การเก็บรวบรวมข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูล การแปลความหมาย และการตรวจสอบ/ปรับปรุงคุณภาพการประเมิน
ดังแผนภูมิที่ 4
15
แผนภูมิที่ 4 กิจกรรมการตรวจสอบประเมินผลภายใน
ที่มา : สุภาณี แสงอินทร์ : 41
โดยมีรายละเอียดในการดำเนินงาน ดังนี้
3.1 การวางกรอบการประเมิน
คณะกรรมการควรประชุมร่วมกันกับผู้เกี่ยวข้อง ในการวางกรอบการประเมินเพื่อ
กำหนดแนวทางในการประเมินว่าจะประเมินอะไร ใครเป็นผู้ประเมิน และมีรูปแบบในการประเมิน
เป็นอย่างไร โดยในการกำหนดกรอบการประเมินอาจจะพิจารณาประเด็น ดังตารางที่ 1
ตารางที่ 1 การกำหนดกรอบการประเมิน
เป้าหมาย ตัวบ่งชี้ เครื่องมือ แหล่งข้อมูล
ผู้ให้ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อ
มูล
เกณฑ์การ
ประเมิน
ช่วงเวลา
ที่ประเมิน
ผู้
รับผิดชอบ
ประเมิน
………
ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ “แนวทางการประกันคุณภาพภายใน
สถานศึกษา : เพื่อพร้อมรับการประเมินภายนอก” 2543 : 31
วางกรอบการประเมิน
แปลความหมายของข้อมูล
จัดหา/จัดทำ
เครื่องมือ
ตรวจสอบ/ปรับปรุงคุณภาพ
วิเคราะห์ข้อมูล
เก็บรวบรวมข้อมูล
16
3.2 การจัดหา/จัดทำเครื่องมือ
คณะกรรมการควรประชุมร่วมกับผู้เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดเครื่องมือที่จะใช้ในการ
เก็บรวบรวมข้อมูลว่า จะใช้เครื่องมือชนิดใด หลังจากนั้นก็จัดหา/จัดทำเครื่องมือโดยมีขั้นตอนดังที่
นำเสนอในแผนภูมิที่ 5
แผนภูมิที่ 5 การจัดหา/จัดทำเครื่องมือ
ที่มา : สุภาณี แสงอินทร์ : 42
การกำหนดประเด็นที่จะใช้เป็นหลักในการวิเคราะห์และประเมิน ควรที่ครู ผู้สอน
จะช่วยกันคิดและใช้ร่วมกัน เพื่อให้มีแนวทางในการวิเคราะห์และประเมินเหมือนกันแล้วจัดทำ
แบบบันทึกสำหรับบันทึกผลการประเมิน
3.3 การเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บรวบรวมข้อมูล อาจพิจารณาจากประเด็นและแนวทางการเก็บดังตัวอย่าง
ในตารางที่ 2
ไม่ได้มาตรฐาน
ได้มาตรฐาน
กำหนดเครื่องมือที่จะใช้
สำรวจเครื่องมือ
นำไปใช้
ยังไม่มี มีอยู่แล้ว
สร้างเครื่องมือใหม่ ปรับปรุง/พัฒนา
ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ
- เหมาะสมกับกลุ่มผู้ตอบ
- สั้น เข้าใจง่าย
- มีความเที่ยง ความตรง
17
ตารางที่ 2 ตัวอย่างแนวทางการเก็บรวบรวมข้อมูล
การรวบรวมข้อมูล 1. ใช้ข้อมูลที่สถานศึกษามีอยู่แล้ว
2. เก็บข้อมูลใหม่ (ถ้ายังไม่มีข้อมูลที่ต้องการ)
3. เก็บจากหลาย ๆ แหล่ง เพื่อตรวจสอบความน่าเชื่อถือ
ช่วงเวลาที่เก็บข้อมูล 1. เก็บตามเวลาที่สอดคล้องกับการทำงานปกติ
- ข้อมูลที่เก็บได้ตลอดเวลา เช่น พฤติกรรมของผู้เรียน
- ข้อมูลที่เก็บเป็นระยะ ๆ เช่น น้ำหนัก ส่วนสูง เก็บภาคเรียนละ
ครั้ง หรืออาชีพ และรายได้ของผู้ปกครอง เก็บปีละครั้ง
2. ในช่วงเวลาเดี่ยวกัน ไม่ควรระดมเก็บข้อมูลทุกอย่างพร้อมกัน
จำนวนมาก
ช่วงเวลาที่เก็บข้อมูล 1. เก็บตามเวลาที่สอดคล้องกับการทำงานปกติ
- ข้อมูลที่เก็บได้ตลอดเวลา เช่น พฤติกรรมของผู้เรียน
- ข้อมูลที่เก็บเป็นระยะ ๆ เช่น น้ำหนัก ส่วนสูง เก็บภาคเรียนละ
ครั้ง หรืออาชีพ และรายได้ของผู้ปกครอง เก็บปีละครั้ง
2. ในช่วงเวลาเดี่ยวกัน ไม่ควรระดมเก็บข้อมูลทุกอย่างพร้อมกัน
จำนวนมาก
ความครอบคลุม
ของกลุ่มเป้าหมาย
1. ข้อมูลพัฒนาปรับปรุงเป็นรายบุคคล ต้องเก็บข้อมูลทุกคน
2. ข้อมูลพร้อมรวมของสถานศึกษา หรือข้อมูลจากผู้ปกครองชุมชน
เก็บจากตัวอย่าง
ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ “แนวทางการประกันคุณภาพภายใน
สถานศึกษา : เพื่อพร้อมรับการประเมินภายนอก” 2543 : 36
สถานศึกษาควรวางระบบการเก็บข้อมูลให้ดี ทั้งข้อมูลที่มีอยู่แล้วและข้อมูลที่เก็บใหม่
เพื่อง่ายต่อการนำมาใช้ การเก็บข้อมูลอาจยุ่งยากในปีแรก ๆ แต่ปีต่อ ๆ ไปจะสะดวกขึ้น
3.4 การวิเคราะห์ข้อมูล
ในการวิเคราะห์ข้อมูลของสถานศึกษานั้น ผู้รับผิดชอบควรร่วมกันพิจารณากรอบ
การวิเคราะห์ว่าข้อมูลแต่ละประเด็นจะวิเคราะห์ในระดับใด ระดับบุคคล ระดับห้องเรียน หรือ
ระดับภาพรวมของสถานศึกษา ใครเป็นผู้วิเคราะห์ วิเคราะห์ในช่วงเวลาใดเพื่อจะได้นำผลมาใช้ดัง
18
ตัวอย่างข้อมูลเกี่ยวกับผู้เรียน ซึ่งอาจมีกรอบวิเคราะห์ดังที่นำเสนอในตารางที่ 3 และมีวิธีการ
วิเคราะห์ข้อมูลที่จะกล่าวถึงในระดับต่อไป
ตารางที่ 3 ตัวอย่างการวิเคราะห์ข้อมูลของผู้เรียน
ระดับการวิเคราะห์ ผู้วิเคราะห์ ช่วงเวลาที่วิเคราะห์
รายบุคคล ครูประจำวิชา/ครูประจำชั้น ตลอดเวลา เพื่อปรับปรุงเป็น
รายบุคคล
ระดับชั้น/หมวดวิชา/
กลุ่มประสบการณ์
หัวหน้าระดับชั้น/หมวดวิชา
นำผลการวิเคราะห์
ของครูประจำชั้น/ครูประจำวิชามา
วิเคราะห์รวม
ภาคเรียนละครั้ง
เป็นอย่างน้อย
หรือแล้วแต่จะกำหนด
ระดับภาพรวมของ
สถานศึกษา
คณะกรรมการ/
คณะทำงานที่รับผิดชอบ
ตามที่คณะกรรมการ/
คณะทำงานกำหนด
อาจจะภาคเรียนละครั้ง
หรือปีละครั้ง
ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ “แนวทางการประกันคุณภาพภาย
ในสถานศึกษา : เพื่อพร้อมรับการประเมินภายนอก” 2543 : 38
สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ อาจใช้การวิเคราะห์เนื้อหา เช่น การบรรยายลักษณะ
ของพฤติกรรมการสอนของครูที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และในการประเมินก็อาจจะเปรียบเทียบผล
การดำเนินงานที่ผ่านมากับปัจจุบัน เพื่อดูความก้านหน้าและความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้
การวิเคราะห์ข้อมูลสามารถวิเคราะห์ด้วยมือ หรือด้วยเครื่องคิดเลขธรรมดาสำหรับ
สถานศึกษาที่มีข้อมูลจำนวนมาก และมีเครื่องคอมพิวเตอร์ก็สามารถใช้วิเคราะห์ได้สะดวกและ
รวดเร็ว เพราะปัจจุบันมีโปรแกรมช่วยงานวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างดี เช่น SPSS PC, EXCEL
เป็นต้น
19
3.5 การแปลความหมาย
ข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์จะนำมาใช้ประโยชน์ได้ ก็ต่อเมื่อสถานศึกษาได้
แปลความหมายของข้อมูล โดยมีการเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด ดังขั้นตอนที่นำเสนอใน
แผนภูมิที่ 6
แผนภูมิที่ 6 ขั้นตอนการแปลความหมาย
ที่มา : สุภาณี แสงอินทร์ : 45
ก่อนที่คณะกรรมการจะแปลความหมายของผลการประเมิน จะต้องกำหนดเกณฑ์
ในการตัดสินโดยคณะกรรมการจะต้องร่วมกันกำหนดให้เหมาะสมกับสภาพบริบทของสถานศึกษา
ด้วยการพิจารณาข้อมูลผลการดำเนินการที่ผ่านมาของสถานศึกษา ประกอบกับเกณฑ์ของที่อื่นว่า
เป็นอย่างไร เพื่อกำหนดเกณฑ์ในการตัดสิน และเนื่องจาการประเมินตนเองเป็นการประเมินเพื่อ
พัฒนา ดังเกณฑ์การประเมินควรจะดูพัฒนาการของสถานศึกษาด้วย ในช่วงแรกอาจจะกำหนด
เกณฑ์ที่คิดว่าสถานศึกษาสามารถทำได้ไปก่อนเพื่อให้มีกำลังใจในการทำงาน แล้วค่อย ๆ ปรับให้
สูงขึ้น
พิจารณา
- ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของสถานศึกษา
- เกณฑ์อื่น
กำหนดเกณฑ์การประเมิน
- ระดับบุคคล
- ระดับห้องเรียน/ระดับชั้น/ระดับหมวดวิชา
- ระดับสถานศึกษา
เปรียบเทียบผลการประเมินกับเกณฑ์
แปลความหมายข้อมูล
20
3.6 การตรวจสอบ/ปรับปรุงคุณภาพการประเมิน
เมื่อสถานศึกษาได้ดำเนินการประเมินตามแผนที่กำหนดไว้แล้ว ก็จะต้องมีการ
ตรวจสอบกระบวนการและผลการประเมินว่า มีความเหมาะสม ถูกต้องและน่าเชื่อถือเพียงใดซึ่งผู้
เกี่ยวข้องควรมีการประชุมร่วมกันเป็นระยะ ๆ โดยผู้บริหารควรมีการติดตามตรวจสอบในระหว่าง
การนิเทศ และประชุมร่วมกับคณะกรรมการเพื่อให้คำปรึกษาแนะนำในการปรับปรุงและพัฒนา
กระบวนการประเมินคุณภาพให้มีประสิทธิภาพ มีความถูกต้องและเชื่อถือได้
4. การนำผลการประเมินมาปรับปรุงงาน (Action)
เมื่อบุคลากรแต่ละคนแต่ละฝ่ายมีการประเมินผลเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ส่งผลให้กับ
คณะกรรมการที่รับผิดชอบ ซึ่งจะต้องรวบรวมผลการประเมินมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ แปลผลใน
ภาพรวมทั้งหมด แล้วนำเสนอผลการประเมินต่อผู้เกี่ยวข้อง เช่น ครูประจำชั้น ครูประจำวิชาหัวหน้า
หมวด ผู้บริหาร เพื่อนำผลไปใช้ในการพัฒนางานของตนเองต่อไป
การเผยแพร่ผลการประเมิน อาจใช้วิธีจัดประชุมครูภายในสถานศึกษา จัดบอร์ด
หรือจัดทำรายงานผลการประเมินฉบับย่อแจกบุคลากร
ผลการประเมินสามารถนำไปใช้ เป็นข้อมูลในการปรับปรุงการปฏิบัติงานของผู้
บริหารและบุคลากร และใช้ในการวางแผนต่อไป รวมทั้งจัดทำเป็นข้อมูลสารสนเทศเพื่อใช้
ประกอบการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ
4.1 การปรับปรุงการปฏิบัติงานของผู้บริหารและบุคลากร
ในระหว่างการดำเนินงาน และมีการตรวจสอบประเมินผลทั้งในระดับรายบุคคล
หรือระดับชั้น/หมวดวิชา ผู้บริหารและบุคลากรสามารถนำผลการประเมินไปใช้ปรับปรุงการทำงาน
ของตนเอง และปรับปรุงแผนการดำเนินงานได้เลย เพื่อการดำเนินงานเป็นตามแผนและเป้าหมายที่
กำหนดไว้
4.2 การวางแผนในระยะต่อไป
การนำผลการประเมินไปใช้จัดทำแผนในภาคเรียน หรือปีการศึกษาต่อไปควรมี
การวิเคราะห์จุดเด่น และจุดที่ต้องปรับปรุงของสถานศึกษา หาสาเหตุของปัญหาและแนวทางแก้ไข
โดยให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วม เพื่อนำไปพัฒนาปรับปรุงการจัดการศึกษาของสถาน
ศึกษาต่อไป
21
4.3 การจัดทำข้อมูลสารสนเทศ
ถ้าสถานศึกษานำผลที่ได้จากการประเมินมาพัฒนาเป็นข้อมูลสารสนเทศที่สามารถ
ใช้ได้สะดวก รวดเร็ว และเป็นปัจจุบันก็จะเป็นประโยชน์ในการบริหารงาน และประกอบการตัด
สินใจในเรื่องต่าง ๆ รวมทั้งเมื่อมีหน่วยงานภายนอกเข้ามาประเมินสถานศึกษา ก็พร้อมที่จะนำ
เสนอข้อมูลและสารสนเทศที่ผู้ประเมินต้องการได้ง่ายขึ้นในทุก ๆ ด้าน
การดำเนินงานประเมินผลของสถานศึกษา ไม่ได้สิ้นสุดเพียงแค่ทำการประเมิน
ตนเองเพียงครั้งเดียวแล้วหยุดเลย แต่ต้องทำตลอดเวลา ผลการประเมินที่จัดทำเสร็จแล้วถือเป็น
ข้อมูลที่แสดงถึงสภาพการดำเนินงานในขณะนั้น ซึ่งต้องมีการตรวจสอบใหม่ว่าการดำเนินงานใน
ช่วง ต่อไป สอดคล้องกับเป้าหมายและแนวทางการพัฒนาของสถานศึกษาอย่างไร การพัฒนา
ปรับปรุงตนเองจึงต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องไม่มีสิ้นสุด
สรุป
การประกันคุณภาพภายในจะทำให้สถานศึกษามีระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ โดย
เริ่มจากการทำงานที่มีเป้าหมายและแผนการดำเนินงานที่ชัดเจน จากนั้นก็ดำเนินการตามแผนที่ได้
วางไว้ แล้วทำการประเมินตนเอง เพื่อเป็นการตรวจสอบและพัฒนาปรับปรุงให้เป็นไปตาม
เป้าหมายที่ได้วางไว้ ซึ่งตรงกับหลักการบริหารที่เป็นระบบครบวงจร (PDCA) ของเดมมิ่ง ซึ่ง
ประกอบด้วย การวางแผน (Plan :P) การดำเนินการตามแผน (Do:D) การตรวจสอบประเมินผล
(Check : C) และการนำผลการประเมินมาปรับปรุงงาน (Action : A)
ปัญหาการประกันคุณภาพการศึกษา
เพื่อเป็นการส่งเสริมการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา และช่วยเตรียมความพร้อม
ให้สถานศึกษา ในการที่จะรับการประเมินคุณภาพภายนอก สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา
แห่งชาติ ได้จัดทำโครงการวิจัยและพัฒนาระบบการประเมินผลภายในของสถานศึกษา โดยได้รับ
ความร่วมมือจาก รศ.ดร.สุวิมล ว่องวาณิช และคณะ (2538 : 10) กรรมการดำเนินการวิจัยและ
ทดลองในสถานศึกษานำร่องสังกัดต่าง ๆ รวม 30 แห่ง เพื่อพัฒนาระบบและรูปแบบการประเมินผล
ภายใน ซึ่งเป็นกลไกที่สำคัญของการประกันคุณภาพการศึกษาให้มีประสิทธิภาพเหมาะสมกับ
บริบทของสถานศึกษา รวมทั้งศึกษาปัญหา อุปสรรค และปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนิน
งานของสถานศึกษา
22
สถานศึกษาที่เข้านำร่อง ได้แสดงความคิดเห็น ตลอดจนแสดงความรู้สึกที่ได้รับจากการ
เข้าร่วมโครงการนำร่องที่สะท้อนให้เห็นถึงปัจจัยที่เป็นปัญหาในการทำงาน ปัจจัยที่เป็นเงื่อนไข
ของความสำเร็จ ดังนี้
ช่วงแรกเริ่มโครงการ
ในช่วงแรกที่สถานศึกษานำร่องเริ่มดำเนินการ มีการจัดประชุมสัมมนาเพื่อสร้าง
ความตระหนักในคุณค่าของการประเมินภายในให้แก่บุคลากร มีการศึกษาสภาพการดำเนินงานของ
ตนเอง กำหนดกรอบการประเมิน และสร้างเครื่องมือประเมิน ปัญหาที่พบในช่วงนี้คือ มีการสร้าง
เครื่องมือมากเกินไป ไม่มีการหลอมรวมให้เป็นฉบับเดียวกัน ทำให้ไม่ประหยัด เริ่มที่กระแส
ต่อต้านบ้างจากครูที่ไม่ใช่แกนนำ ยังไม่เห็นคุณค่าของการประเมินภายใน หลายแห่งมีการทำงานไม่
เป็นทีม และไม่สามารถกระจายงานได้ นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องวัฒนธรรมองค์กรที่ไม่ยอมรับการ
ถูกประเมิน
ระยะดำเนินงานในช่วงต่อมา
เมื่อสถานศึกษาเริ่มมีการเก็บข้อมูลในหลายตัวบ่งชี้ ผลการประเมินในบางตัวเริ่ม
ออกมา ประกอบกับเป็นช่วงที่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติได้เริ่มประกาศใช้ และมีสาระ
บัญญัติเกี่ยวกับการประกันคุณภาพภายในและการประกันคุณภาพภายนอก กระแสการต่อต้านเริ่ม
หายไป มีการยอมรับที่จะทำการประเมินคุณภาพภายในมากขึ้น
ปัจจัยที่เป็นเงื่อนไขสู่ความสำเร็จ
1) ภาวะผู้นำของผู้บริหาร เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่ทำให้การประเมินประสบความ
สำเร็จ ผู้บริหารที่ให้ความสนับสนุน บุคลากรรู้สึกอุ่นใจและมีกำลังใจในการทำงาน อีกทั้งยังเป็นผู้
กระตุ้นให้เกิดความร่วมมือในการทำงาน ผู้บริหารควรเข้าใจกระบวนการประเมิน กระจายงานให้
บุคลากรทำงานอย่างทั่วถึง และเป็นที่ปรึกษา สามารถให้คำแนะนำได้เพื่อให้บุคลากรมีความมั่นใจ
ในการทำงาน
2) การเตรียมความพร้อมของบุคลากร การสร้างความตระหนักและการให้ความรู้เกี่ยว
กับการประกันคุณภาพและการประเมินตนเอง เป็นปัจจัยที่เป็นจุดเริ่มต้นให้การดำเนินงานประสบ
ความสำเร็จอย่างดียิ่ง การเตรียมความพร้อม อาจทำได้โดยการจัดประชุมสัมมนา การฝึกอบรม โดย
เชิญวิทยากรจากภายนอก หรือผู้บริหาร ตลอดจนกลุ่มบุคลากรที่เป็นแกนนำของสถานศึกษาเอง
23
3) การทำงานเป็นทีมการประกันคุณภาพ และการประเมินตนเองเป็นงานของ
บุคลากรทุกคนในสถานศึกษาที่ต้องช่วยกันทำ ความร่วมมือของบุคลากรฝ่ายต่าง ๆ ความเข้าใจ
มุ่งมั่นในการทำงานจะช่วยให้ประสบความสำเร็จด้วยดี
4) การนิเทศและกำกับติดตามการทำงาน เป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่จะช่วยให้มี
การทำงานที่มีประสิทธิภาพ สถานศึกษาที่มีระบบการติดตามงานที่ชัดเจน มีการกำหนดระยะเวลาที่
แน่นอน และมีรูปแบบที่แบบเหมาะสม เช่น การประชุมรายงานความก้าวหน้าการทำรายงานเป็น
ลายลักษณ์อักษร ตลอดจนการติดตามอย่างไม่เป็นทางการ จะช่วยให้การดำเนินงานมีความก้าวหน้า
อย่างรวดเร็ว
5) การใช้ข้อมูลที่มีอยู่แล้วจะช่วยให้การทำงานง่ายขึ้น การใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูล
มีอยู่ ทำให้ไม่ต้องสร้างเครื่องมือใหม่ สามารถนำมาใช้ได้ทันที ทำให้ประหยัดเวลาในการเก็บข้อมูล
บางส่วน และบางแห่งยังไม่ได้จัดทำเป็นฐานข้อมูล จึงรวบรวมข้อมูลที่มีอยู่จัดทำเป็นข้อมูลพื้นฐาน
แทนการเก็บข้อมูลใหม่
สรุป
ในการจัดทำการประกันคุณภาพการศึกษาผู้ที่มีบทบาทสำคัญคือ ผู้บริหารและครู-
อาจารย์ ที่อยู่ในสถานศึกษานั้น ๆ ผู้บริหารถือเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด ดังนั้นผู้บริหารจึงต้องเข้าใจ
ถึงกระบวนการปฏิบัติ การกระจายงานให้แก่บุคลากรอย่างทั่วถึง และสามารถให้คำปรึกษาแนะนำ
เพื่อสร้างความมั่นใจในการทำงานของบุคลากรในสถานศึกษา และความร่วมมือของบุคลากรที่จะ
ทำงานเป็นทีม เมื่อบุคลากรเข้าใจถึงกระบวนการปฏิบัติการประกันคุณภาพการศึกษาแล้ว ก็จะทำ
ให้สถานศึกษานั้นได้รับการประกันคุณภาพการศึกษาทั้งภายในและภายนอก
การประกันคุณภาพด้านอาชีวศึกษา
การประกันคุณภาพภายในเป็นสิ่งที่สถานศึกษาทุกแห่งจะต้องปฎิบัติเพื่อพัฒนาคุณภาพ
การศึกษาของสถานศึกษา และเพื่อให้เป็นไปตามสาระใน พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ สถานศึกษา
ควรดำเนินการให้ครอบคลุมแนวทางหลัก
การประกันคุณภาพทางด้านอาชีวศึกษา จะมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างไปจากการศึกษา
สายสามัญ เนื่องจากกรมอาชีวศึกษาเป็นการศึกษาเพื่อประกอบอาชีพ ความสำเร็จของการจัดการ
อาชีวศึกษาจะขึ้นอยู่กับคุณภาพของผลผลิต ซึ่งหมายความว่า บุคคลจะต้องมีสมรรถนะในการ
24
ปฎิบัติงานอย่างเพียงพอสอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการ รวมทั้งผู้จบการศึกษา
ด้านอาชีวศึกษาจะต้องสามารถสร้างงานให้กับตนเองได้
ในการจัดทำ พ.ร.บ. การอาชีวศึกษา ได้กำหนดวิสัยทัศน์ของการอาชีวศึกษาไว้ดังนี้
“การอาชีวศึกษาจะเป็นไปเพื่อพัฒนาบุคคลให้มีความสามารถในการประกอบกิจการ
ของตนเองและมุ่งผลิตกำลังคนให้สนองความต้องการของตลาดแรงงาน ธุรกิจ เอกชน และ
หน่วยงานภาครัฐ อันเป็นการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย ในสภาพเศรษฐกิจ
และสังคมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา”
จากวิสัยทัศน์ดังกล่าว จึงได้กำหนดพันธกิจของการอาชีวศึกษาเพื่อเป็นกรอบแนวทาง
ในการดำเนินงานให้หน่วยงานที่รับผิดชอบ ดังนี้
“การอาชีวศึกษาจะเปิดโอกาสให้แก่ทุกคนที่มีความสนใจ มีความถนัด และมีความ
สามารถได้ศึกษาวิชาชีพอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน โดยมุ่งผลิตบุคลากรที่ได้คุณภาพมาตรฐาน มี
คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณในการทำงาน โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง
เนื้อหาสาระก้าวทันต่อความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีรวมทั้งสืบสาน และประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาไทย
อย่างเหมาะสม เพื่อการประกอบอาชีพในระบบการจ้างงานและอาชีพอิสระ โดยทำงานอย่างมี
ความสุข ทั้งนี้โดยมุ่งเน้นความคล่องตัวในการบริหารจัดการ ความมีอิสระในทางด้านวิชาการ และ
การระดมความร่วมมือระหว่างสถานศึกษา และระหว่างสถานศึกษากับสถานประกอบการ รวมทั้ง
ชุมชนและสถาบันสังคมอื่น โดยมีระบบคุณวุฒิวิชาชีพที่สนับสนุนให้มีการเทียบโอนผลการเรียน
และประสบการณ์การทำงานที่จะส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้และการฝึกอบรมวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
ตลอดชีวิต ”
อย่างไรก็ตามการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาจะต้องมีความสอดคล้องกับ
การประเมินคุณภายนอก และระบบการอาชีวศึกษาในภาพรวม ซึ่งขณะนี้กำลังมีการพัฒนาระบบ
คุณภาพมาตรฐานการอาชีวศึกษา ตาม พ.ร.บ. การอาชีวศึกษา ได้กำหนดให้มีคณะกรรมการการ
อาชีวศึกษาระดับชาติ มีอำนาจหน้าที่ในการเสนอนโยบายและแผนการผลิตและพัฒนากำลังคนด้าน
วิชาชีพ กำหนดกรอบหลักสูตร มาตรฐาน และคุณภาพการอาชีวศึกษา เสนอการจัดสรรงบประมาณ
รวมทั้งติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล ซึ่งองค์ประกอบของคณะกรรมการการอาชีวศึกษาระดับชาติ
นี้ได้ให้ควาสำคัญกับภาคเอกชนเป็นอย่างมาก เพราะถือว่าเอกชนเป็นภาคหลักที่ชับุคลากรที่สำเร็จ
การศึกษาด้านอาชีวศึกษา จึงควรมีบทบาทในการกำหนดนโยบายและทิศทางการพัฒนากำลังคน
ดังนั้นองค์ประกอบของคณะกรรมการฯ จึงมีผู้แทนจากภาคเอกชนเป็นประธานและมีจำนวน
กรรมการที่มาจากภาคเอกชนเกินกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด
25
นอกจากนี้ในด้านการประกันคุณภาพมาตรฐานการอาชีวศึกษา ยังได้กำหนดให้มีคณะ
กรรมการมาตรฐานการอาชีวศึกษาระดับชาติ ในทางปฎิบัติคณะกรรมการชุดนี้จะต้องเป็นส่วนหนึ่ง
ของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา แต่เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่เฉพาะใน
การกำหนดมาตรฐานการอาชีวศึกษาและมาตรฐานวิชาชีพแห่งชาติ ซึ่งจะเป็นเกณฑ์ที่สถานศึกษา
จะต้องนำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดการศึกษาและประกันคุณภาพภายในทางด้านอาชีวศึกษา
การประกันคุณภาพอาชีวศึกษา หมายถึง กิจกรรมหรือการปฏิบัติใด ๆ ที่ได้ดำเนินการ
ตามระบบ และแผนที่วางไว้แล้ว ทำให้เกิดความเชื่อมั่นและการยอมรับว่าผู้สำเร็จการศึกษาจาก
สถานศึกษาสังกัดกรมอาชีวศึกษา มีคุณภาพละคุณลักษณะตรงตามที่พึงประสงค์
กระบวนการหลักของระบบการประกันคุณภาพอาชีวศึกษา
กระบวนการหลักของระบบการประกันคุณภาพอาชีวศึกษา ประกอบด้วย
1. การควบคุมคุณภาพ (Quality Control) โดยการ
- กำหนดมาตรฐานการศึกษา ตัวชี้คุณภาพและเกณฑ์การประเมิน
- พัฒนาเข้าสู่มาตรฐาน ได้แก่ การจัดทำแผนพัฒนา นำแผนพัฒนาไปใช้บริหาร
จัดการและกำกับ ติดตามการดำเนินงานต่าง ๆ ตามแผนอย่างจริงจังต่อเนื่อง
2. การตรวจสอบคุณภาพ (Quality Auditing) โดยการตรวจสอบทบทวนและปรับปรุงผล
การดำเนินงานของการควบคุมคุณภาพของสถานศึกษาโดยสถานศึกษาเอวและโดยหน่วยงานส่งเสริม
สนับสนุน (เช่น ต้นสังกัด)
3. การประกันคุณภาพ (Quality Assessment) ซึ่งเป็นกลไกต่อเนื่อง จากการตรวจสอบ
คุณภาพ เพื่อประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพการศึกษา
แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ การประเมินโดยหน่วยงานที่กำกับดูแล/หน่วยงานต้นสังกัด ถือเป็นการ
ประเมินคุณภาพภายใน และการประเมินโดยสำนักงานรับรองมาตรฐาน และประเมินคุณภาพการ
ศึกษา ซึ่งเป็นหน่วยงานประเมินภายนอกตามกฎหมายการศึกษา ถือเป็นการประเมินคุณภาพ
ภายนอก
การประกันคุณภาพภายใน
การประกันคุณภาพภายในเป็นกระบวนการบริหารและจัดการของสถานศึกษาเพื่อทำ
ให้คุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาเป็นที่ประจักษ์ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับทุกฝ่ายว่าการจัด
การศึกษาของสถานศึกษามีคุณภาพตามมาตรฐานที่ต้องการ
ในการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในมีหลักเกณฑ์ทั่วไปที่ต้องการคำนึงอยู่เสมอว่า
การประกันคุณภาพภายใน
26
- เป็นงานที่ดำเนินการโดยยึดหลักการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายในสถานศึกษา ชุมชน
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาการปรับปรุงคุณภาพ
- เป็นงานที่ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องตามวงจรการบริหารงาน คือ ร่วมกันวางแผน
(Plan) ร่วมกันปฏิบัติงานตามแผน (Do) ร่วมกันตรวจสอบ (Check) และร่วมกันปรับปรุง (Act)
(สำนักงานคณะกรรรมการการศึกษาแห่งชาติ , 2543)
- ต้องมีการกำหนดมาตรฐานการศึกษา เพื่อใช้เป็นหลักในการเทียบเคียงสำหรับ
การตรวจสอบ ประเมินผล และประกันคุณภาพของสถานศึกษา ซึ่งเป็นมาตรฐานที่เขียนในรูปของ
ความคาดหวังที่สถานศึกษาจะต้องบรรลุถึง
หลักเกณฑ์การประเมินภายใน
วิธีการประกันคุณภาพภายใน ที่กระทรวงศึกษาธิการขอประกาศใช้ตามาตรา 47 แห่ง
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ดังนี้
1) มีการจัดระบบบริหารเพื่อการประกันคุณภาพ เป็นการกำหนดให้มีกลไกรับผิด
ชอบดูแลการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาโดยตรงและชัดเจน ซึ่งอาจจะกำหนดในรูปของ
คณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาภายในเป็นการเฉพาะ และสถานศึกษาควรจัดองค์กร
รองรับทุกระดับ เช่น มีคณะทำงานประกันคุณภาพระดับแผนกวิชา/ประเภทวิชา ระดับหลักสูตร
และระดับสถาบัน
2) มีการจัดระบบสารสนเทศ ซึ่งระบบสารสนเทศเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับกระบวนการ
ทำงานประกันคุณภาพการศึกษา เนื่องจากต้องมีการตัดสินใจในทุกระดับที่ต้องอาศัยข้อมูลและ
สารสนเทศเป็นแนวทาง เช่น การตัดสินใจในเรื่องการกำหนดเป้าหมายของการพัฒนาคุณภาพผู้
เรียน จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลผลการเรียนรู้/ผลการปฏิบัติงานในปัจจุบันและอดีตของผู้เรียนรายคน
รายกลุ่ม รวมทั้งความต้องการในอนาคตของผู้เรียน และการกำหนดยุทธศาสตร์เพื่อสนองเป้าหมาย
จำเป็นที่จะต้องอาศัยข้อมูลในเลือกยุทธศาสตร์ต่าง ๆ ด้วยเช่นกัน
3) มีการพัฒนามาตรฐานการศึกษา สถานศึกษาจะต้องกำหนดมาตรฐานระดับสถาน
ศึกษา รวมทั้งตัวบ่งชี้คุณภาพ ให้ครอบคลุมสาระการเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้
ให้เหมาะสมกับสภาพผู้เรียน สถานศึกษา ท้องถิ่น เช่น มาตรฐานวิชาชีพ และมาตรฐานการดำเนิน
งานการบริหารจัดการ โดยให้สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาระดับชาติ/สังกัด ทั้งนี้เพื่อใช้เป็น
เป้าหมายของการพัฒนาคุณภาพ การตรวจสอบ และประเมินผล และเทียบเคียงกับการประเมินจาก
ภายนอก
27
4) มีการจัดทำแผนเพื่อพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษา (Plan) เป็นขั้นตอนแรกของการ
พัฒนาเข้าสู่มาตรฐาน นั่นคือ ในแผนจะต้องมีการกำหนดเป้าหมายและทิศทางในการพัฒนาสถาน
ศึกษาไปสู่เป้าหมายในช่วงระยะเวลาที่กำหนด เช่น ภายใน 3-5 ปี สำหรับระดับการศึกษาขั้นพื้น
ฐานมีการกำหนดหลักเกณฑ์เฉพาะเกี่ยวกับการจัดทำแผนไว้ 7 ประการ ดังนี้
4.1) เป็นแผนยุทธศาสตร์ที่ใช้ข้อมูลจากการวิเคราะห์สภาพปัญหา และความจำเป็น
อย่างเป็นระบบ และมีแผนปฏิบัติการประจำปีรองรับ
4.2) กำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจ เป้าหมายและสภาพความสำเร็จของการพัฒนาไว้อย่าง
ต่อเนื่องชัดเจน และเป็นรูปธรรม
4.3) กำหนดวิธีดำเนินงานที่มีหลักวิชา หรือผลการวิจัย หรือข้อมูลเชิงประจักษ์ที่
อ้างอิงได้ ให้ครอบคลุมการพัฒนาด้านการจัดประสบการณ์เรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ การส่งเสริม
การเรียนรู้ การวัดและการประเมินผลการพัฒนาบุคลากร และการบริหารจัดการเพื่อนำไปสู่
เป้าหมายที่กำหนดไว้
4.4) กำหนดแหล่งวิทยาการภายนอกที่ให้การสนับสนุนทางวิชาการ
4.5) กำหนดบทบาทหน้าที่ให้บุคลากรของสถานศึกษาทุกคนรวมทั้งผู้เรียนรับผิด
ชอบและดำเนินงานตามที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.6) กำหนดบทบาทหน้าที่ และแนวทางให้บิดา มารดา ผู้ปกครอง และบุคลากรใน
ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน
4.7) กำหนดการจัดงบประมาณ และการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
5) การดำเนินงานตามแผน (Do) เป็นขั้นตอนของการปฏิบัติงานตามภาระงาน แผนงาน
โครงการ/กิจกรรม เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในแผน
ในขั้นนี้จึงต้องมีการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี มีการส่งเสริมสนับสนุนและจัดสรรทรัพยากร
เพื่อการปฏิบัติงานตามแผนปฏิบัติการประจำปี รวมทั้งมีการกำกับ ติดตามและนิเทศการดำเนินงาน
6) ตรวจสอบและทบทวนคุณภาพ (Check) เป็นขั้นตอนของการประเมินคุณภาพภายใน
โดยสถานศึกษาเพื่อรายงานการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
ในขั้นตอนนี้สถานศึกษาจึงต้องวางกรอบและกำหนดเครื่องมือเก็บรวบรวมและ
วิเคราะห์ข้อมูล แปลความ สรุปผลการประเมินและเขียนรายงานเป็นรายงานคุณภาพการศึกษา
ประจำปี เพื่อเผยแพร่ให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ พร้อมทั้งเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัดและสาธารณชน
และในขั้นตอนนี้ต้องเป็นการดำเนินงานต่อเนื่องทุกปี
นอกจากนั้น ในขั้นตอนนี้จะมีกิจกรรมการตรวจสอบ ทบทวนคุณภาพของสถานศึกษา
และการประเมินมาตรฐานการศึกษาโดยหน่วยงานต้นสังกัด เพื่อประเมินและรายงานคุณภาพ
28
ภายในของสถานศึกษาโดยภาพรวม (ระดับชาติ) ซึ่งจะมีการดำเนินการเป็นระยะ เช่น สามปีต่อ
หนึ่งครั้ง
7) การนำผลการประเมินมาปรับปรุงงาน (Act) เป็นขั้นตอนของการนำผลการตรวจ
สอบ ทบทวน และประเมินไปใช้ในการปรับปรุงการปฏิบัติงานของผู้บริหารและบุคลากร ใช้ใน
การวางแผนต่อไป และใช้จัดทำเป็นสารสนเทศเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ ได้ต่อไป
สรุป
ประกันคุณภาพภายในเป็นสิ่งที่สถานศึกษาทุกแห่งจะต้องปฏิบัติเพื่อเป็นการพัฒนาคุณ
ภาพการศึกษาของสถานศึกษานั้น ๆ ให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ กรมอาชีวศึกษาจัด
เป็นหน่วยงานของรัฐบาล ที่สอนในระดับอุดมศึกษาอยู่หลายแห่ง ซึ่งมุ่งผลิตบุคลากรที่ได้คุณภาพ
ตามมาตรฐาน มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณในการทำงาน โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้
จากการปฏิบัติจริง มีเนื้อหาสาระที่ก้าวทันต่อความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เพื่อใช้ในการประกอบ
อาชีพ ดังนั้นกรมอาชีวศึกษาจึงควรอย่างยิ่งที่จะต้องมีการจัดทำการประกันคุณภาพการศึกษาตาม
หลักของระบบการประกันคุณภาพอาชีวศึกษา
มาตรฐานอาชีวศึกษา
มาตรฐานอาชีวศึกษา คือ ข้อกำหนดซึ่งเป็นเกณฑ์อย่างหนึ่งที่บอกคุณภาพการจัดการ
อาชีวศึกษา และใช้เป็นหลักในการส่งเสริม การกำกับดูแล การตรวจสอบ การประเมินสถานศึกษา
และสถาบันต่าง ๆ ที่จัดการอาชีวศึกษา ว่า สามารถจัดการอาชีวศึกษาได้คุณภาพตามที่คาดหวังไว้
หรือไม่ การได้มาซึ่งมาตรฐานต้องเป็นที่ยอมของสังคม นักวิชาการ และนักวิชาชีพในสาขานั้น ๆ
มาตรฐานอาชีวศึกษาที่พึงมีตามองค์ประกอบของคุณภาพอาชีวศึกษา จึงประกอบด้วย มาตรฐาน
ด้านผู้เรียน มาตรฐานด้านบริการ และมาตรฐานด้านการบริหารจัดการ
1.มาตรฐานด้านผู้เรียน ถ้าพิจารณาจากหน้าที่ของการอาชีวศึกษา คือ การผลิตกำลังคน
ด้านวิชาชีพให้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน การกำหนดมาตรฐานผลผลิต (มาตรฐานผู้
เรียน) จึงต้องดำเนินการร่วมกันระหว่างสถานศึกษา/สถาบันการศึกษาและผู้ใช้แรงงาน ผู้ทรง
คุณวุฒิในสาขาวิชานั้น ๆ เพื่อนำไปกำหนดเป็นเป้าหมายการศึกษาของชาติ และจุดหมายของ
หลักสูตรระดับต่าง ๆ ซึ่งสถานศึกษา/สถาบันที่จัดการอาชีวศึกษานำไปจัดการเรียนการสอนและ
พัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง ให้บรรลุจุดมุ่งหมายหรือเป้าหมายที่ตั้งไว้ ข้อกำหนดที่เป็น
คุณลักษณะที่พึงประสงค์ กำหนดไว้เป็นมาตรฐาน 2 ด้าน คือ
29
1) คุณลักษณะทั่วไป เพื่อการเป็นคนไทยที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติ ปัญญา ความรู้
และคุณธรรม มีจริยธรรม และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมี
ความสุข (มาตรา 6 พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542)
มาตรฐานด้านคุณลักษณะทั่วไป เป็นมาตรฐานระดับเป้าหมายการศึกษาของชาติ
สำหรับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 กำหนดให้มี
หลักสูตรแกนกลาง เพื่อความเป็นไทย ความเป็นพลเมืองดีของชาติ การดำรงชีวิต และการประกอบ
อาชีพ ตลอดจนการศึกษาต่อ (มาตรา 27) สาระสำคัญของหลักสูตร ทั้งที่เป็นวิชาการ และวิชาชีพ
ต้องมุ่งพัฒนาคนให้มีความสมดุล ทั้งด้านความรุ้ ความคิด ความสามารถ ความดีงาม และความรับ
ผิดชอบต่อสังคม (มาตรา 28)
2) คุณลักษณะด้านวิชาชีพ เป็นมาตรฐานวิชาการ ซึ่งเป็นข้อกำหนดคุณลักษณะที่พึง
ประสงค์ของบุคคลด้านวิชาชีพ ตามาตรฐานวิชาชีพหรือมาตรฐานอาชีพ (Occupational Standards)
ของแต่ละสาขาวิชา ทั้งด้านความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skill) กิจนิสัย (Work habit) และจิตพิสัย
(Attitude) แบ่งได้ 2 ระดับ คือ
2.1) มาตรฐานวิชาชีพ เป็นคุณวุฒิวิชาชีพทั่วไป พัฒนาขึ้นเพื่อให้เยาวชนในสถาน
ศึกษาได้รับการเตรียมสมรรถนะด้านวิชาชีพ ทั้งความรู้ ทักษะ เจตคติ และลักษณะนิสัย เพื่อเข้าสู่
ตลาดแรงงาน หรือเป็นพื้นฐานสำหรับการศึกษาต่อ ปัจจุบันมีการดำเนินการใน 2 ระดับ คือ
2.1.1) ระดับช่างฝีมือ สำหรับผู้เรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
2.1.2) ระดับช่างเทคนิค สำหรับผู้เรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
ชั้นสูง (ปวส.)
2.2)มาตรฐานฝีมือแรงงาน เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับความรู้และความสามารถของ
บุคคลในการปฏิบัติงานอาชีพหนึ่ง ๆ โดยองค์กรที่เชื่อถือได้เป็นผู้กำหนดขึ้น โดยคำนึงถึงเกณฑ์
มาตรฐานสากล และกำหนดให้สอดคล้องกับความต้องการของสังคมในขณะนั้น (แนะนำ ซ มาตร
ฐานฝีมือแรงงาน, หน้า 1)
2.มาตรฐานด้านบริการ สถานศึกษาและสถาบันการศึกษาต้องจัดบริการที่ได้มาตรฐาน
ให้แก่ผู้เรียน ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรและการเรียนการสอน กิจกรรมการพัฒนาผู้เรียน
(นักเรียน / นักศึกษา) การให้บริการและสวัสดิการ งานกิจการนักเรียน/นักศึกษา โดยถือว่าผู้เรียนมี
ความสำคัญที่สุด ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ (มาตรา 22) อำนวยความ
สะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และมีความรอบรู้ รวมทั้งสามารถให้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของ
กระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอน และ
30
แหล่งวิทยาการ ประเภทต่าง ๆ (มาตรา 24) มาตรฐานด้านบริการที่จัดให้นั้นจะต้องส่งเสริมให้
ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ (มาตรา 22) แบ่งได้เป็น
มาตรฐานด้านหลักสูตรและการเรียนการสอน
มาตรฐานด้านปัจจัยเกื้อหนุนการเรียนการสอน
มาตรฐานด้านกิจกรรมพัฒนานักเรียน/นักศึกษา
มาตรฐานด้านการบริการและอำนวยความสะดวก
มาตรฐานด้านงานวิจัยในชั้นเรียน
3.มาตรฐานด้านการบริหารจัดการ การพัฒนากระบวนการบริหารจัดการเพื่อให้อยู่ใน
เกณฑ์มาตรฐานที่พึงประสงค์ จำเป็นต้องพิจารณาบริบทที่เกี่ยวข้องกับการบริหารสถานศึกษา/
สถาบันการศึกษา รวมทั้งหน่วยงานต่าง ๆ ในสถานศึกษา คือ คณะวิชา/ภาควิชา/แผนกวิชา หลาย
องค์ประกอบ อีกทั้งจำเป็นต้องพัฒนาเปลี่ยนแปลงให้ทันกับความเป็นไปได้ของสังคมด้วย
การกำหนดมาตรฐานด้านการบริหารจัดการ หมายถึง การปฏิบัติภารกิจในแง่การ
บริหารและการจัดการ ให้บรรลุวัตถุประสงค์และมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย
1. ปรัชญา วัตถุประสงค์ และป้าหมายของสถานศึกษาและหน่วยงานต่าง ๆ กำหนดเป็น
ลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจน
2. มีการจัดองค์กร / โครงสร้างและการบริหารงานอย่างเป็นระบบครบวงจรให้บรรลุ
เป้าหมายการศึกษา
3. มีแผนการปฏิบัติงานตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่สอดคล้องกับปรัชญา
วัตถุประสงค์ และเป้าหมาย
4. มีระบบการบริหารจัดการภายในที่เอื้อต่อการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนการ
สอนของสถานศึกษา/สถาบันการศึกษา / ภาควิชา / แผนกวิชาอย่างชัดเจน
5. มีแผนงบประมาณที่ชัดเจน
6.ส่งเสริมและพัฒนาบุคลากร / ครู ตามความจำเป็นและเหมาะสมอย่างสม่ำเสมอ
7. มีการจัดระบบและกลไกตรวจสอบภายใน เพื่อการประกันคุณภาพอาชีวศึกษาอย่าง
เป็นระบบ
31
สรุป
ในการประกันคุณภาพการศึกษาของกรมอาชีวศึกษาได้มีการกำหนดมาตรฐานอาชีวศึกษา
ดังนี้คือ มาตรฐานด้านผู้เรียน มาตรฐานด้านบริการ และมาตรฐานด้านการบริหารจัดการ
มาตรฐานด้านผู้เรียน เป็นการผลิตกำลังคนด้านวิชาชีพให้ตรงกับความต้องการของตลาด
แรงงาน
มาตรฐานด้านบริการ สถานศึกษาจะต้องจัดบริการที่ได้มาตรฐานให้แก่ผู้เรียน โดยถือว่าผู้
เรียนมีความสำคัญที่สุด
มาตรฐานด้านการบริหารจัดการ เป็นการพัฒนากระบวนการบริหารจัดการเพื่อให้เป็นไป
ตามเกณฑ์มาตรฐานที่พึงประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาสภาพปฏิบัติและปัญหาด้านกระบวนการประกัน
คุณภาพภายในสถานศึกษา ได้แก่
ผลงานวิจัยในประเทศ
เข็มทอง ศิริแสงเลิศ (2540 : 13) วิเคราะห์ระบบประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน
อาชีวศึกษา เอกชน กรุงเทพมหานคร พบว่า
1. ระบบที่โรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนใช้ประกอบคุณภาพการศึกษา คือ ระบบ
ประกันคุณภาพที่เน้นการควบคุมการปฏิบัติงานตามสายการบังคับบัญชา และใช้ปฏิทินการศึกษา
เป็นเกณฑ์วัดความสำเร็จในการปฏิบัติงาน มีการวางแผนปฏิบัติงานระยะ 1 ปี มากที่สุด ส่วนการ
กำหนดเกณฑ์และมาตรฐานของงาน ตลอดจนการทบทวนและปรับปรุงการปฏิบัติงานยังไม่พบ
แบบแผนที่ชัดเจน
2. ระบบประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนขาดปัจจัยสำคัญ
ตามแนวทางของระบบประกันคุณภาพการศึกษาตามทฤษฏีทั้ง 3 ระบบย่อย คือ (1) ระบบการวาง
แผน (2) ระบบการควบคุมคุณภาพขาดการตรวจสอบจากหน่วยงานภายนอก และ(3) ระบบการ
ทบทวนและปรับปรุงการปฏิบัติงานขึ้นอยู่กับผู้รับใบอนุญาต บุคลากรไม่มีส่วนร่วมในการทบทวน
ผลการปฏิบัติงาน
3. ประสิทธิภาพของระบบประกันคุณภาพการศึกษา 3 ด้าน คือ ด้านคุณภาพของ
กระบวนการบริหารโรงเรียน ด้านคุณภาพของนักเรียน และด้านคุณภาพของการบริการ ไม่พบว่า
โรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนแห่งใดมีประสิทธิผลครบทั้ง 3 ด้าน
32
สยาม สุ่มงาม (2541 : บทคัดย่อ) ได้ทำการวิจัยเรื่อง กระบวนการดำเนินงาน
ปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาการประกันคุณภาพการศึกษา : กรณีศึกษาโรงเรียนนำร่อง สำนัก
งานการประถมศึกษาจังหวัดอุทัยธานี พบว่า กระบวนการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา
เริ่มดำเนินการปีการศึกษา 2541 ระยะเวลาดำเนินงาน 3 ปี โดยขานรับนโยบาย 4 ประกัน มีการ
ดำเนินงานโดยใช้กรอบ ซึ่งสอดคล้องกับ สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ
3 ขั้นตอน คือ 1) การควบคุมคุณภาพการศึกษา 2) การตรวจสอบ และปรับปรุงโรงเรียน และ
3) การประเมินคุณภาพโรงเรียนเพื่อการให้ใบรับรองมาตรฐานการศึกษาในฐานะจังหวัดนำร่อง
สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดอุทัยธานี เข้าสู่ระบบประกันคุณภาพในขั้นตอน การควบคุม
คุณภาพการศึกษา มีการปรับขยายเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนให้เหมาะสมกับท้องถิ่นด้วยการทำ
ประชาพิจารณ์ (ขณะนั้นยังไม่เสร็จ) พร้อมทั้งจัดอบรมบุคลากรจำนวน 5 ครั้ง ซึ่งเป็นผู้บริหาร
และศึกษานิเทศก์ จำนวน 50 คน เพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษา นำไป
ถ่ายทอด และนิเทศ ติดตาม การปฏิบัติงานของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัด จำนวน 260 โรงเรียน
ปัญหาที่พบคือ การนำความรู้ไปถ่ายทอดของศึกษานิเทศก์ให้กันผู้บริหารโรงเรียนส่วนใหญ่ใช้วิธี
การผนวกในงานปกติ คือ การประชุมผู้บริหารประจำเดือน น้อยแห่งที่ใช้การฝึกอบรมพิเศษทำให้
ผู้บริหารโรงเรียยบางคนได้รับความรู้ไม่ชัดเจน เกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษา นอกจากนี้
ยังพบว่า การนิเทศ กำกับ ติดตาม การถ่ายทอดยังไม่เป็นระบบ และยังพบว่า ทัศนคติ และ
พฤติกรรมการทำงานของบุคลากรทางการศึกษาบางคน ยังมิได้มีการเปลี่ยนแปลง ขาดความรู้
ความตระหนักในเรื่องของการมีส่วนร่วมของชุมชน พร้อมทั้งงบประมาณมิได้มีการจัดสรรให้สอด
คล้องกับโครงการประกันคุณภาพการศึกษา
แนวทางการแก้ปัญหาของจังหวัด ด้านการถ่ายทอดความรู้ และการมีส่วนร่วมของ
ชุมชน หน่วยศึกษานิเทศก์ของจังหวัดได้ดำเนินการนิเทศด้วยการให้คำแนะนำด้านวิชาการ กระตุ้น
เตือนการปฏิบัติงานของผู้บริหารโรงเรียน ให้เร่งรีบดำเนินการตามนโยบายการประกันคุณภาพการ
ศึกษา ด้วยการผนวกเข้ากับการประชุมผู้บริหารประจำเดือน และการให้ความช่วยเหลือเป็นราย
กรณี ด้านการขาดงบประมาณ ผู้อำนวยการการประถมศึกษาจังหวัด ได้มีนโยบายดำเนินโครงการ
โดยใช้งบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัด เกิดประโยชน์และประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งการแก้ปัญหา
ดังกล่าวยังไม่ปรากฏผลที่ชัดเจน เนื่องจากอยู่ระหว่างการดำเนินงาน
โอภาส คงทน และคนอื่น ๆ (2541 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาความพร้อมเกี่ยวกับการ
ประกันคุณภาพของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอสรรพยา จังหวัด
ชัยนาท พบว่า โรงเรียนมีความพร้อมเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานของสำนัก
งานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ในภาพรวมทุกด้านมีความพร้อมระดับปานกลาง
33
กาญจนา เวชวิฐาน และคนอื่น ๆ (2543 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาความพร้อมในการ
ประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดสุพรรณบุรี
พบว่า ความพร้อมในการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญ
ศึกษา จังหวัดสุพรรณบุรี มีความพร้อมในระดับปานกลาง
สุวิมล ว่องวานิช (2543 : 25) ได้ทำการวิจัยและพัฒนาระบบการประเมินผลภายใน
ของสถานศึกษาพบว่า
1.ผลการสำรวจมาตรฐานการศึกษาที่มีความจำเป็นและสำคัญที่สถานศึกษา ควร
ทำการประเมิน พบว่ามาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีลำดับความสำคัญ และ
จำเป็นมากที่สุด 9 ตัวแรก ซึ่งสถานศึกษาทุกแห่งควรได้มีการตัวสอบผลการดำเนินงานของตนเอง
ก่อน ได้แก่ 1) ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน 2) สุขภาพกาย สุขภาพจิต สุขนิสัย
ของผู้เรียน 3) ทักษะการทำงานของผู้เรียน 4) คุณธรรม จริยธรรมของผู้เรียน 5) ทักษะการแสวง
หาความรู้ด้วยตนเองของผู้เรียน 6) การเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมและช่วยเหลือสังคมของผู้เรียน
7) คุณธรรม จริยธรรมของครู 8) ภาวะผู้นำของผู้บริหาร และ 9) ความสามารถของครูในการจัด
การเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ
2. สภาพและความพร้อมของสถานศึกษาในการทำการประเมินผลภายใน
จากการสำรวจสภาพการดำเนินงานด้านการประเมินผลภายในของสถานศึกษา
63 แห่ง กลุ่มตัวอย่าง 2,398 คน พบว่า ที่ผ่านมาสถานศึกษาส่วนใหญ่จะทำการประเมินตนเองโดย
ไม่เป็นระบบ บุคลากรภายในไม่ได้มีส่วนร่วมในการประเมินผล และไม่ได้นำผลไปใช้ในการวาง
แผนบริหาร หรือพัฒนาปรับปรุงการจัดการศึกษาตามหลักการที่ควรจะเป็น ผลการวิจัยเกี่ยวกับ
ความพร้อมของบุคลากร ในการทำการประเมินผลภายในพบว่า ครู อาจารย์ ประมาณร้อยละ 88
รับรู้เรื่องร่างมาตรฐานการศึกษาที่จัดทำโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ครู
อาจารย์มากกว่าร้อยละ 95 ยินดีและเต็มใจที่จะมีส่วนร่วมในการประเมินผลภายในและพร้อมที่จะ
เรียนรู้วิธีการทำการประเมินผลภายใน โดยเนื้อหาสาระครูมีความจำเป็นต้องได้รับการพัฒนามากที่
สุด 3 ลำดับแรก คือ การแปลความหมายผลการวิเคราะห์ข้อมูล การสร้างเครื่องมือ และการ
วิเคราะห์ข้อมูล ทั้งนี้กลุ่มครู อาจารย์ เสนอแนะให้มีการจัดฝึกอบรม และจัดเอกสารหรือคู่มือการ
ประเมินผลภายใน นอกจากนี้ยังพบว่า มีครูประมาณร้อยละ 31 รู้สึกกังวลในการทำงานนี้ เนื่อง
จากไม่เคยมีประสบการณ์ในการดำเนินงานมาก่อน
3.ผลผลิตที่ได้จากการพัฒนาความรู้และส่งเสริมการดำเนินงานด้านการประเมิน
ผลภายในแก่สถานศึกษา
34
ผลผลิตที่ได้จากการวิจัย 4 ประการ คือ 1) ระบบการประเมินผลภายในที่ผู้วิจัย
พัฒนาขึ้น 2) หลักสูตรฝึกอบรมเรื่อง “เทคนิควิธีการประเมินผลภายในตามมาตรฐานการศึกษา”
3) คู่มือการประเมินผลภายใน 1 ชุด ประกอบด้วยเอกสาร 4 เล่ม ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับขั้น
ตอนการทำการประเมินภายใน และตัวอย่างของเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลมาตรฐานต่าง ๆ
ทุกมาตรฐานและตัวบ่งชี้ ผลการใช้หลักสูตรและคู่มือการประเมินผลภายใน พบว่า ประสบผล
สำเร็จน่าพอใจ และ 4) ระบบการนิเทศ
4. องค์ประกอบของการทำงานในระบบการประเมินผลภายใน
องค์ประกอบของการทำงานที่สำคัญที่อยู่ในระบบการประเมินผลภายใน ได้แก่
การเตรียมและพัฒนาบุคลากร การกำหนดเป้าหมายของสถานศึกษา การกำหนดมาตรฐานที่
ต้องการประเมิน การวางแผนการประเมิน การออกแบบระบบข้อมูลและการประมวลผล การ
ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของผลการประเมินและคุณภาพของววิธีการประเมิน การออกแบบรูป
แบบการรายงานผลการประเมิน โดยเฉพาะการจัดทำรายงานผลการประเมินตนเอง (Self Study
Report) การออกแบบและการวางแผนการใช้ผลการประเมิน เพื่อพัฒนาปรับปรุงการทำงานของ
สถานศึกษา ทั้งนี้ สถานศึกษาต้องมีการวางระบบการกระตุ้นและกำกับติดตาม และการส่งเสริม
สนับสนุนการทำงาน เพื่อผลักดันให้ระบบการประเมินผลภายในดำเนินได้จนสำเร็จ
5.ผลการประเมินจากการประเมินตนเองของสถานศึกษานำร่อง
จากการประเมินตนเองของสถานศึกษานำร่องพบว่า สถานศึกษาส่วนใหญ่
ดำเนินงานได้คุณภาพตามมาตรฐานในระดับปานกลาง ยกเว้นในมาตรฐานต่อไปนี้ที่ผลการดำเนิน
งานค่อนข้างอยู่ในระดับที่ไม่ดีเท่าที่ควร (เนื่องจากยังเป็นเรื่องใหม่สำหรับสถานศึกษา) โดยมาตร
ฐานด้านผู้เรียนได้แก่ ผู้เรียนมีทักษะการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ผู้เรียนเห็นคุณค่าและภูมิใจใน
ภูมิปัญญาไทย มาตรฐานด้านกระบวนการ ได้แก่ สถานศึกษามีการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่าง
โรงเรียนและชุมชน สถานศึกษาส่งเสริมพัฒนาครูตามความจำเป็นสถานศึกษามีการจัดกิจกรรมการ
เรียนการสอนสอดคล้องกับผู้เรียนและท้องถิ่น มาตรฐานด้านปัจจัย ได้แก่ สถานศึกษามีหลักสูตร
เหมาะสมกับท้องถิ่น ครูสามารถแสวงหาความรู้ และคิดวิเคราะห์ ชุมชน/ผู้ปกครองมีศักยภาพใน
การสนับสนุนการพัฒนาสถานศึกษา
6. ปัญหาของการดำเนินงานปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จและผลกระทบของโครงการ
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพแสดงให้เห็นว่าการทุ่มเทเอาใจใส่ต่อการ
บริหารงานการประเมินผลภายใน การกำกับติดตามการทำงานด้านการประเมินผลอย่างใกล้ชิดและ
จริงจังของผู้บริหารสถานศึกษา ส่งผลต่อความสำเร็จในการทำงานด้านการประเมินผลของสถาน
ศึกษาอย่างมาก
35
7. แนวทางการขยายผล
ข้อเสนอแนะของบุคลากรในสถานศึกษานำร่อง และจากนักวิชาการเกี่ยวกับ
แนวทางการขยายผลการประเมินผลภายในไปยังสถานศึกษาอื่น สามารถสรุปได  ดงั น้ ี 1) ควร
ระบุกรณีตัวอย่างสถานศึกษานำร่องที่ประสบความสำเร็จในการประเมินผลภายใน สำหรับให้
สถานศึกษาอื่นดูงาน 2) ประชาสัมพันธ์การประเมินผลภายในให้เป็นที่ทราบทั่วกัน โดยอาจจัด
นิทรรศการแสดงผลการดำเนินงานของสถานศึกษานำร่อง หรือจัดทำวีดีทัศน์เผยแพร่ให้ความรู้ไป
ยังสถานศึกษาอื่น 3) จัดทำเอกสารคู่มือการประเมินผลภายในแจก เพื่อพัฒนาความรู้บุคลากรใน
สถานศึกษา 4) ควรมีกลุ่มนักวิชาการ หรือบุคคลที่พร้อมเป็นวิทยากร หรือที่ปรึกษาที่สามารถให้
การส่งเสริมสนับสนุนการทำงานแก่สถานศึกษาในภูมิภาคต่าง ๆ โดยอาจเป็นบุคลากรในหน่วยงาน
ต้นสังกัด หรือนักวิชาการในสถานบันอุดมศึกษาที่อยู่ในทองถิ่นนั้น ๆ
8. เกณฑ์การตัดสินคุณภาพสถานศึกษา
จากผลการประชุมสัมมนาในกลุ่มผู้แทนจากสถานศึกษานำร่อง และนักวิชาการ
เกี่ยวกับการกำหนดเกณฑ์การตัดสินคุณภาพของสถานศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่เห็นว่าควรใช้วิธีการ
ประเมินแบบอิงเกณฑ์ และจำแนกคุณภาพของสถานศึกษาออกเป็น 3 ระดับ คือ ดี พอใช้ ต้อง
ปรับปรุง จุดตัดของคะแนนมีความแตกต่างกันตามสังกัด แต่ที่เหมือนกันมี 2 หน่วยงาน คือ
สำนักงานการศึกษาเอกชน และกรมอาชีวศึกษา และยังสอดคล้องกับมุมมองของนักวิชาการ โดย
คุณภาพระดับดี ควรได้คะแนน 80% ขึ้นไป ระดับพอใช้ ควรมีคะแนนระหว่าง 60 - 79% และ
ระดับต้องปรับปรุง ควรได้คะแนนน้อยกว่า 60% สำหรับเกณฑ์ที่ใช้ในการตัดสินคุณภาพสำหรับ
แต่ละมาตรฐาน ยังสรุปไม่ชัดเจนว่าควรเท่ากันหรือไม่เท่ากัน เนื่องจากมีความแตกต่างของความคิด
ของสถานศึกษาที่มาจากสังกัดที่ต่างกัน คะแนนที่ใช้ในการตัดสินคุณภาพนั้น ส่วนใหญ่เห็นว่า
ควร ให  น้ำหนักความสำคัญกับกระบวนการพัฒนาสถานศึกษาด้วย ไม่ควรที่จะพิจารณาแต 
ผลการดำเนินงานอย่างเดียว อัตราส่วนน้ำหนักความสำคัญของกระบวนการต่อผลงาน มีความแตก
ต่างตามสังกัด ยังสรุปแน่นอนไม่ได  สถานศึกษาเกือบทุกสังกัด เหน็ วา่ โดยภาพรวม ผลการ
ประเมินควรสะท้อนผลการดำเนินงานเป็นรายมาตรฐานมากกว่าเสนอผลเป็นรายตัวบ่งชี้แต่อย่าง
เดียว
สุนีย์ บุญทิม (2544 : บทคัดย่อ) ได้ทำการวิจัยเรื่อง การศึกษาสภาพการดำเนินการ
ประเมินผลภายใน และความต้องการรับการสนับสนุนการดำเนินการประเมินผลภายในของสถาน
ศึกษาประเภทอาชีวศึกษา เขตการศึกษา 6 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการดำเนิน
การประเมินผลภายใน และความต้องการรับการสนับสนุนการดำเนินการประเมินผลภายในของ
สถานศึกษา ประเภทอาชีวศึกษา เขตการศึกษา 6 พบว่า
36
1. การวางแผน (Plan)
การปฏิบัติในด้านการวางแผนของสถานศึกษา ประเภทอาชีวศึกษา เขตการศึกษา 6
ในภาพรวม พบว่าผู้ให้ข้อมูลร้อยละ 70.3 ตอบว่ามีการปฏิบัติด้านการวางแผนและเมื่อพิจารณา
เป็นรายข้อ ปรากฏผลดังนี้
1.1 ขั้นตอนความพร้อม
1.1.1 การเตรียมความพร้อมด้านบุคลากรในสถานศึกษา พบว่าผู้ให้ข้อมูลส่วน
ใหญ่ตอบว่ามีการปฏิบัติร้อยละสูงสุดเท่ากัน 3 ข้อรายการ ได้แก่ ข้อรายการที่ 1.2 “การให้ข้อมูล
ข่าวสารและความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวด 6
มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษาแก่ครูทุกคน” ข้อรายการที่ 1.3 “การชี้แจงให้ความรู้
ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานการศึกษา แก่ครูทุกคน เช่นมาตรฐานการศึกษาของคณะกรรมการ
การศึกษาแห่งชาติ มาตรฐานการศึกษาของกรมต้นสังกัด” และข้อรายการที่ 1.5 “การส่งเสริม
สนับสนุนให้ครูและบุคลากรทุกฝ่ายทำงานเป็นทีม” สำหรับข้อรายการที่มีการปฏิบัติร้อยละต่ำสุด
ได้แก่ ข้อรายการที่ 1.4 “การสำรวจความรู้ความสามารถของครูเกี่ยวกับการประเมินผล เช่น การ
ใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร การใช้คอมพิวเตอร์วิเคราะห์ข้อมูลและประมวลผล”
1.1.2 การเตรียมความพร้อมด้านสถานศึกษา วัสดุ อุปกรณ์ และงบประมาณ
พบว่า ผู้ให้ข้อมูลตอบว่ามีการปฏิบัติร้อยละ สูงสุด ได้แก่ ข้อรายการที่ 2.2 “จัดเตรียมวัสดุใช้ใน
การปฏิบัติงานประเมินผล เช่น วัสดุที่ใช้จัดทำเอกสารเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลเอกสารเผยแพร่
ผลการประเมิน” สำหรับข้อรายการที่มี การปฏิบัติร้อยละต่ำสุด เท่ากัน 2 ข้อรายการ ได้แก่
ข้อรายการที่ 2.1 “จัดเตรียมสถานที่สำหรับใช้เป็นห้องปฏิบัติการในการดำเนินงานประเมินผล
ภายใน” และข้อรายการที่ 2.4 “วิเคราะห์แผนงาน/โครงการ เพื่อจัดสรรงบประมาณในการดำเนิน
งานประเมินผลภายใน”
1.2 ขั้นตอนการวางแผน
1.2.1 การวางแผนการประเมินผลภายใน พบว่า ผู้ให้ข้อมูลตอบว่ามีการปฏิบัติ
งาน ร้อยละสูงสุด ได้แก่ ข้อรายการที่ 3.1 “การแต่งตั้งคณะกรรมการแกนนำ ในการวางแผนการ
ประเมนิ ” สำหรับข้อรายการที่มีการปฏิบัติร้อยละต่ำสุด ได้แก่ข้อรายการที่ 3.3 “การให้ผู้ที่มีส่วน
เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ปกครองนักเรียน ชุมชน เข้ามามีส่วนร่วมเป็นกรรมการวางแผนการประเมิน”
1.2.2 การดำเนินการนำข้อมูลต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนการประเมิน พบว่า
ผู้ให้ข้อมูลตอบว่ามีการปฏิบัติร้อยละสูงสุดได้แก่ข้อรายการที่ 4.1 “ประเมินสภาพผลการดำเนิน
งานของสถานศึกษาในระยะที่ผ่านมา” สำหรับข้อรายการที่มีการปฏิบัติร้อยละต่ำสุด ได้แก่ ข้อ
รายการที่ 4.3 “วิเคราะห์และตีความมาตรฐานการศึกษาที่จะทำการประเมิน”
37
1.2.3 ครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมวางแผนการประเมิน พบว่า
ผู้ที่ให้ข้อมูลตอบว่ามีการปฏิบัติร้อยละสูงสุด ได้แก่ ข้อรายการที่ 5.1 “การกำหนดเป้าหมายของ
สถานศึกษา” สำหรับข้อรายการที่มีการปฏิบัติร้อยละต่ำสุด ได้แก่ ข้อรายการที่ 5.4 “การกำหนด
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล”
2. การปฏิบัติตามแผน (Do)
การปฏิบัติในด้านปฏิบัติตามแผน ของสถานศึกษาประเภทอาชีวศึกษาเขตการศึกษา
6 ในภาพรวม พบว่า ผู้ให้ข้อมูลร้อยละ 56.4 ตอบว่า มีการปฏิบัติด้านการปฏิบัติด้านการปฏิบัติ
ตามแผน และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ ปรากฏผล ดังนี้
2.1 กรรมการดำเนินการตามแผนพบว่า ผู้ให้ข้อมูลตอบว่ามีการปฏิบัติร้อยละ
สูงสุด ได้แก่ ข้อรายการที่ 1.3 “ผู้บริหารระดับต่าง ๆ เช่น ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านต่าง ๆ ได้เป็น
กรรมการแกนนำด้วย” สำหรับข้อรายการที่มีการปฏิบัติร้อยละต่ำสุด ได้แก่ ข้อรายการที่ 1.4 “นำผู้
เกี่ยวข้อง เช่น ประธานสมาคมครูและผู้ปกครอง บุคลากรจากหน่วยงานต้นสังกัดแลชุมชนเข้าร่วม
เป็นกรรมการด้วย”
2.2 มาตรฐานการศึกษา/ตัวบ่งชี้ที่ทำการประเมิน พบว่า ผู้ให้ข้อมูลตอบว่ามีการ
ปฏิบัติร้อยละสูงสุด ได้แก่ ข้อรายการที่ 2.2 “ทำการประเมินตามมาตรฐานการศึกษาของกรมต้น
สังกัด” สำหรับข้อรายการที่มีการปฏิบัติร้อยละต่ำสุด ได้แก่ข้อรายการท ี่ 2.3 “ทำการประเมินตาม
มาตรฐานการศึกษาที่สถานศึกษาคิดขึ้นเอง”
2.3 การสร้างเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล พบว่า ผู้ให้ข้อมูลตอบว่ามีการปฏิบัติ
ร้อยละสูงสุดได้แก่ ข้อรายการที่ 3.6 “มีการชี้แจงให้ครูและผู้เกี่ยวข้องฝ่ายต่าง ๆ ได้รับทราบและ
เข้าใจเกี่ยวกับเครื่องมือการเก็บรวบรวมข้อมูล เกณฑ์การประเมิน เพื่อให้แต่ละคนและฝ่ายต่าง ๆ
ได้เตรียมพร้อมที่จะให้ข้อมูลในส่วนที่ตนรับผิดชอบ” สำหรับข้อรายการที่มีการปฏิบัติร้อยละต่ำสุด
ได้แก่ข้อรายการท ี่ 3.4 “เชิญผู้เชี่ยวชาญด้านการประเมินมาเป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนำในการสร้าง
เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล”
3. การตรวจสอบหรือการประเมิน (Check)
การปฏิบัติในด้านการตรวจสอบหรือการประเมินของสถานศึกษาประเภทอาชีวศึกษา
เขตการศึกษา 6 ในภาพรวม พบว่า ผู้ให้ข้อมูลร้อยละ 47.3 ตอบว่ามีการปฏิบัติด้านการตรวจ
สอบหรือประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ ปรากฏผลดังนี้
3.1 การเก็บรวบรวมข้อมูล พบว่า ผู้ให้ข้อมูลตอบว่าการปฏิบัติร้อยละสูงสุด
ได้แก่ ข้อรายการที่ 1.2 “ประเมินจากข้อมูลที่มีอยู่แล้วในระดับชั้นเรียน ปวช., ปวส., ปวท.,
38
แผนกวิชา เชน่ ผลการเรยี น ผลงานครู” สำหรับรายการที่มีการปฏิบัติร้อยละต่ำสุดได้แก  ข้อราย
การที่ 1.1 “จัดเก็บข้อมูลจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งเป็นรายบุคคลและกลุ่ม”
3.2 การวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า ผู้ให้ข้อมูลตอบว่ามีการปฏิบัติร้อยละสูงสุด ได้แก่
ข้อรายการที่ 2.2 “นำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล” สำหรับข้อรายการที่มีการปฏิบัติ
ร้อยละต่ำสุด ได้แก่ ข้อรายการที่ 2.4 “นำข้อมูลจากผลการวิเคราะห์ข้อมูลมาจัดทำฐานข้อมูลให้
สามารถใช้งานได้โดยสะดวก”
3.3 การตรวจสอบผลการประเมิน พบว่า ผู้ให้ข้อมูลตอบว่ามีการปฏิบัติร้อยละ
สูงสุด ได้แก่ข้อรายการที่ 3.1 “ประชุมเพื่อแจ้งการประเมินและตรวจสอบความน่าเชื่อถือของการ
ประเมนิ ” สำหรับข้อรายการที่มีการปฏิบัติร้อยละต่ำสุด ได้แก่ข้อรายการที่ 3.3 “ปรับวิธีการ
ประเมินและเก็บข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อให้ผลลการประเมินมีความน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น”
3.4 การรายงานผลการประเมิน พบว่า ผู้ให้ข้อมูลตอบว่ามีการปฏิบัติร้อยละสูง
สุด ได้แก่ ข้อรายการที่ 4.3 “เสนอผลการประเมินให้ผู้บริหารระดับสูงของสถานศึกษารับทราบ”
สำหรับข้อรายการที่มีการปฏิบัติร้อยละต่ำสุด ได้แก่ ข้อรายการที่ 4.2 “จัดทำรายงานผลการประเมิน
ผลภายในเพื่อเผยแพร่”
4. การแก้ไขและปรับปรุง (Action)
การปฏิบัติในด้านการแก้ไขและปรับปรุงของสถานศึกษา ประเภทอาชีวศึกษาเขต
การศึกษา 6 ในภาพรวม พบว่า ผู้ให้ข้อมูลร้อยละ 41.5 ตอบว่ามีการปฏิบัติในด้านการแก้ไขและ
ปรับปรุง และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ ปรากฏผลดังนี้
4.1 การวิเคราะห์ผลการประเมิน พบว่า ผู้ให้ข้อมูลตอบว่ามีการปฏิบัติร้อยละสูง
สุดใกล้เคียงกันทุกข้อรายการได้แก่ข้อรายการที่ 1.1 “จัดประชุมให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายร่วมกัน
พิจารณาผลการประเมิน วิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อน/จุดที่ต้องพัฒนา” และข้อรายการที่ 1.2 “จัด
ประชุมระดมความคิดเห็นของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อหาสาเหตุของปัญหาและวิธีการแก้ไข
ปรับปรุง”
4.2 จุดอ่อน/จุดที่ต้องพัฒนา : ลงมือแก้ไขและปรับปรุง พบว่า ผู้ให้ข้อมูลตอบ
ว่ามีการปฏิบัติร้อยละสูงสุด ได้แก่ ข้อรายการที่ 2.2 “ร่วนกันดำเนินการแก้ไขปรับปรุงตามแนว
ทางที่ได้ร่วมกันกำหนด ตามบทบาทหน้าที่ของตน” สำหรับข้อรายการที่มีการปฏิบัติร้อยละต่ำสุด
ได้แก่ข้อรายการท ี่ 2.3 “ร่วมกันวางแผนดำเนินการใหม  เพื่อเข้าสู่วงจรคุณภาพ PDCA รอบใหม่”
4.3 จุดแข็ง : กำหนดมาตรฐานการปฏิบัติ พบว่าผู้ให้ข้อมูลตอบว่ามีการปฏิบัติ
ร้อยละสูงสุด ได้แก่ ข้อรายการที่ 3.2 “ประชุมระดมความคิดเห็นจากทุกฝ่าย เพื่อพัฒนามาตร
ฐานการปฏิบัติงานให้สูงขึ้นและให้ทุกฝ่ายปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของตน” สำหรับข้อรายการที่มี
39
การปฏิบัติร้อยละต่ำสุด ได้แก่ ข้อรายการที่ 3.1 “ประชุมชี้แจงให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องรับทราบ
จุดแข็งเพื่อกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงานให้ทุกฝ่ายปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของตน”
สรุปโดยภาพรวมในสภาพการดำเนินการประเมินผลภายในของสถานศึกษา
ประเภทอาชีวศึกษา เขตการศึกษา 6 ภาพรวมทั้ง 4 ด้านพบว่า สถานศึกษามีการปฏิบัติด้านการ
วางแผน (Plan) คิดเป็นร้อยละสูงสุด รองไปได้แก่ด้านการปฏิบัติตามแผน (Do) ด้านการตรวจ
สอบหรือการประเมิน (Check) ตามลำดับ สำหรับด้านที่สถานศึกษามีการปฏิบัติร้อยละต่ำสุด
ได้แก่ ด้านการแก้ไขและปรับปรุง (Action)
หยด คณโฑทอง (2544 : บทคัดย่อ) ได้ทำการวิจัยเรื่อง สภาพและปัญหาการประเมิน
ผลภายในของโรงเรียน สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดลพบุรี การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ
ศึกษาสภาพและปัญหาการประเมินผลภายในของโรงเรียน และเปรียบเทียบสภาพและปัญหาการ
ประเมินผลภายในของโรงเรียน สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดลพบุรีผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพและปัญหาการประเมินผลภายในของโรงเรียน ซึ่งมี 5 ระบบย่อย ได้แก่
ระบบการวางแผนและการปฏิบัติ ระบบข้อมูลและการประมวลผล ระบบการตรวจสอบผลการ
ประเมิน ระบบการรายงานผลการประเมิน และระบบการใช้ผลการประเมิน พบว่า
1.1 โรงเรียนขนาดใหญ่ มีสภาพการประเมินผลภายในด้านระบบการวางแผน
และปฏิบัติ อยู่ในระดับมาก ส่วนสภาพการประเมินผลภายในอีก 4 ระบบ และโดยภาพรวมอยู่
ในระดับปานกลาง
โรงเรียนขนาดเล็ก โรงเรียนขนาดกลาง และโรงเรียนทุกขนาด มีสภาพ
การประเมินผลภายในอยู่ในระดับปานกลาง ทั้งโดยภาพรวมและเป็นรายระบบ
1.2 โรงเรียนขนาดใหญ่ มีปัญหาการประเมินผลภายใน ด้านระบบการราย
งานผลการประเมินและระบบการใช้ผลการประเมินอยู่ในระดับน้อย ส่วนที่เหลืออีก 3 ระบบและ
โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง
โรงเรียนขนาดเล็ก โรงเรียนขนาดกลาง และโรงเรียนทุกขนาด มีปัญหา
การประเมินผลภายในอยู่ในระดับปานกลาง ทั้งโดยภาพรวมและรายงานระบบ
2. การเปรียบเทียบสภาพและปัญหาการประเมินผลภายใน จำแนกตามขนาด
โรงเรียน พบว่า
2.1 โรงเรียนขนาดเล็กและโรงเรียนขนาดใหญ่ มีสภาพการประเมินผล
ภายในโดยภาพรวมและสภาพการประเมินผลภายใน 3 ระบบ คือ ระบบการวางแผนและการ
ปฏิบัติระบบข้อมูลและการประมวลผล และระบบการรายงานผลการประเมิน แตกต่างกันอย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติที่ .05 โดยโรงเรียนขนาดใหญ่มีการดำเนินการมากกว่าโรงเรียนขนาดเล็ก
40
2.2 โรงเรียนขนาดเล็กและโรงเรียนขนาดใหญ่ ประสบปัญหาการประเมิน
ผลภายใน โดยภาพรวมและปัญหาการประเมินผลภายใน 3 ระบบ คือ ระบบข้อมูลและการ
ประมวลผลระบบการรายงานผลการประเมิน และระบบการใช้ผลการประเมิน แตกต่างกันอย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติที่ .05 โดย โรงเรียนขนาดเล็กประสบปัญหาในการดำเนินการมากกว่าโรงเรียน
ขนาดใหญ่
อมรวิชช์ นาครทรรพ (2543 : 89, 107, 125, 143) ได้เสนอรายงานการติดตามผลการ
ประกันคุณภาพและรับรองมาตรฐานการอุดมศึกษา โดยเฉพาะด้านระบบและกลไก ประกัน
คุณภาพของสถานศึกษาสังกัดกรมอาชีวศึกษา พบว่า วิทยาลัยอาชีวศึกษา จำนวนร้อยละของการ
ดำเนินมาตรการประกันคุณภาพด้านระบบและกลไกประกันคุณภาพ พบว่ามีการจัดประชุมระดับ
สถานบันเรื่องการประกันคุณภาพร้อยละ70.6 รองลงไป มีการตั้งคณะกรรมการการประกันคุณภาพ
ระดับสถาบันร้อยละ 67.6 สำหรับการจัดตั้งหน่วยงานรับผิดชอบงานประกันคุณภาพเป็นการเฉพาะ
การจัดทำคู่มือ แนวปฏิบัติในการประเมินคุณภาพระดับสถาบัน การจัดทำดัชนีบ่งชี้ คุณภาพใน
ด้านต่าง ๆ ระดับสถาบันมีการดำเนินการ ร้อยละ 55.9 และที่มีการดำเนินการน้อยคือ การตั้งผู้ทรง
คุณวุฒิภายนอกร่วมในคณะกรรมการประกันคุณภาพ มีเพียงร้อยละ 32.4
จากการสังเคราะห์เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องข้างต้นจะเห็นได้ว่า การประกันคุณภาพ
การศึกษาเข้ามามีบทบาทในโรงเรียน และมีบทบาทสำคัญในการจัดการเรื่องการบริหารของผู้
บริหารสถานศึกษา เพื่อให้เกิดการปฏิบัติงานให้ได้ตามมาตรฐานสร้างความมั่นใจต่อสังคมว่า
โรงเรียนหรือสถานศึกษามีศักยภาพ สถานศึกษาจึงต้องดำเนินการตามระบบการประกันคุณภาพ
ภายใน ดังนั้นผลของการวิจัยครั้งนี้จึงน่าจะมีประโยชน์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงาน
ประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาของกรมอาชีวศึกษาต่อไป
ผลงานวิจัยต่างประเทศ
นิวตัน เจ (Newton J.1999) ทำการวิจัยเรื่อง การประเมินผลกระทบในการตรวจ
สอบคุณภาพภายนอก ของสถาบันอุดมศึกษาในสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปี 1993 ถึง 1998 ผลการ
วิจัย พบว่า การใช้ข้อมูลเชิงปริมาณ ละเชิงคุณภาพที่ได้จากการวัดการปฏิบัติ หรือการดำเนินงาน
โดยองค์กรภายนอก เช่น รายงานการตรวจสอบและการประเมิน Scottish Higher Education
Founding Council (SHEFC) และ Higher Education Quality Council (HEQC) และการตรวจสอบ
และประเมินภายใน โดยคณะกรรมการตามการรับรู้และประสบการณ์ทำให้ทราบถึงผลกระทบที่
เกดิ ขนึ้ ดงั นี้ 1) วัตถุประสงค์ของระบบคุณภาพ และวิธีการที่ใช้ในการตรวจสอบและประเมินชี้ให้
เห็นว่า ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาจำเป็นต้องมีการตรวจสอบและประเมินที่งโดยภายใน
และภายนอก การตรวจสอบและการประเมินสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ เป็นเรื่องที่สามารถทำได้
41
2) การปรับปรุงคุณภาพสำหรับบุคลากร มีขอบเขตที่กว้าง ดังนั้นจึงไม่สามารถแยกส่วนของการ
ปรับปรุงให้เป็นอิสระ ออกจากระบบการประกันคุณภาพได้ 3) การปรับปรุงคุณภาพสำหรับผู้เรียน
เป็นเรื่องที่มีความสำคัญยิ่งกว่าการปรับปรุงและพัฒนาบุคลากร 4) ควรจะมีการเพิ่มหรือการขยาย
การดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพออกไปอย่างกว้างขวางเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของ
หน่วยงานต่าง ๆ
แพททิเซีย (Pattricia 1994) ที่ได้ทำการศึกษาการประเมินการก้าวไปสู่การประกันคุณภาพ
การศึกษา และการควบคุมการปฏิบัติในประเทศเยอรมัน สวีเดน ฝรั่งเศส นิวซีแลนด์ และ
ออสเตรเลีย จากผลการวิจัย พบว่า มีการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจน ในระบบการประกันคุณ
ภาพการศึกษานั้น กลไกทางสังคมช่วยทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ในประเทศเยอรมันมีการเปลี่ยน
แปลงจากจังหวัดหนึ่งไปอีกจังหวัดหนึ่ง การประกันคุณภาพการศึกษาและการควบคุมการประเมิน
ถือว่าเป็นสิ่งสาํ คัญที่ครูต้องรับผิดชอบต่ออาชีพของตนศึ่งต้องดำเนินไปอยา่ งมีเหตุผลและกระบวน
การที่ชัดเจน ในประเทศสวีเดนเกิดการเปลี่ยนแปลงในการประกันคุณภาพการศึกษา จนถึงการ
ประเมินครูในสถานศึกษาจึงเกิดการพัฒนาอย่างชัดเจน ในประเทศฝรั่งเศสให้ความสำคัญ และ
เชื่อถือกับการใช้ข้อสอบภายนอก โรงเรียนมรการควบคุมจากส่วนกลางในประเทศนิวซีแลนด์ให้
ความสำคัญกับการประเมินจากบุคคลภายนอก ที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษา นำเอาระบบการสอบ
มาตรฐานกลางซึ่งอ้างอิงไปสู่การยอมรับที่เป็นมาตรฐาน และในประเทศออสเตรเลียมีการนำเอา
ระบบการประเมินผลโดยการใช้ข้อสอบมาตรฐานมีการเตรียมการอย่างมีแบบแผนสู่การควบคุม
คุณภาพและการประเมินคุณภาพการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาชั้นสูงต่อไป
ไนเลอร์ (Nailor 2000) ทำการศึกษาการพัฒนาโรงเรียนให้เป็นโรงเรียนในอนาคต พบว่า
การปฏิรูปโรงเรียนมรเป้าหมาย เพื่อเพิ่มความสำเร็จแก่นักเรียน ครูแนะแนว ควรใช้ให้เห็นบทบาท
ของการปฏิรูปด้านการศึกษา เพื่อเป็นการช่วยส่งเสริมภูมิศาสตร์การเรียนในโรงเรียน การแสดงการ
ศึกษาของนักเรียน และความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับครอบครัว การบริหารส่วนบุคคลของ
นักเรียนตัวแทนต่าง ๆ
เบอกกัสท์ (Bergguist 1995) ทำการวิจัยเรื่อง การรับรู้ของอาจารย์ต่อการปรับปรุงคุณภาพ
อย่างต่อเนื่อง : การศึกษา 3 สถาบัน หลังระดับมัธยมศึกษาที่มีต่อการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
ที่สถานศึกษาได้บูรณาการใช้ในสถานศึกษา และเพื่อติดตามความสำเร็จด้านกลยุทธ์ของผู้บริหาร
ในการส่งเสริม และสนับสนุนให้อาจารย์ตระหนักถึงความสำคัญของการประกันคุณภาพของ
สถาบัน ผลการวิจัยพบว่า อาจารย์รับรู้ถึงการประกันคุณภาพที่นำมาบูรณาการใช้ในการศึกษาไม่
เหมือนกัน การรับรู้ของผู้บริหาร อาจารย์ ที่ได้ทำสัญญาต่าง ๆ แล้วมีนัยสำคัญ และอาจารย์ที่ใช้
เครื่องมือประกันคุณภาพการศึกษาในการสอนในห้องเรียน มีความพึงพอใจต่อประโยชน์ของการ
42
ประกันคุณภาพมากกว่าอาจารย์ที่ไม่ได้ใช้อย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้อาจารย์มรความพึงพอใจมาก
ที่สุดเกี่ยวกับแนวคิดของการประกันคุณภาพ ในด้านการบริการผู้เรียน โปรแกรมการศึกษาที่จัดใน
สถาบัน คุณภาพในการจัดกิจกรรมและติดต่อสื่อสารของผู้บริหาร อาจารย์มีความพึงพอใจน้อยที่สุด
ต่อหัวข้อการประกันคุณภาพในด้านการใช้แหล่งทรัพยากรมนุษย์ คุณภาพของสารสนเทศ และการ
วิเคราะห์ข้อมูลข่าวสาร นอกจากนี้อาจารย์ที่ผู้หญิงมีความรู้โดยส่วนตัวเกี่ยวกับการประกันคุณภาพ
มากกว่าอาจารย์ผู้ชาย และยังตระหนักถึงความสำคัญ และมีทัศนคติที่ก้าวหน้าของการใช้ระบบการ
ประกันคุณภาพของสถาบัน
จากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องจะเห็นว่า สถานศึกษาที่จะได้รับการประกันคุณภาพ
การศึกษาภายในจะต้องใช้หลักการบริหาร 4 ด้าน คือ ด้านการวางแผน ด้านการดำเนินการตามแผน
ด้านการตรวจสอบประเมินผล และด้านการนำผลการประเมินมาปรับปรุงงาน ซึ่งผู้ที่มีบทบาทก็คือ
บุคลากรในสถานศึกษานั้น ๆ นั่นก็คือ ผู้บริหารและคร-ู อาจารย์ ดังนั้นจึงต้องมีการศึกษาถึงสภาพ
การปฏิบัติ และสภาพปัญหาจากการปฏิบัติตามกระบวนการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของ
กรมอาชีวศึกษาเพื่อนำผลที่ได้ไปใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการปฏิบัติตาม
กระบวนการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

ศึกษาสภาพการปฏิบัติและปัญหาด้านกระบวนการประกันคุณภาพ (ตอนที่ 1)
ศึกษาสภาพการปฏิบัติและปัญหาด้านกระบวนการประกันคุณภาพ (ตอนที่ 2)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น