วันเสาร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2554

วัฒนธรรมโรงเรียนที่ส่งผลต่อบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหาร (ตอนที่ 2)



ยุทธศาสตร์ที่ 3 การประกันคุณภาพการศึกษา
เร่งปรับแนวทางการประกันคุณภาพการศึกษาให้สอดคล้องกับแนวทาง
ของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาโดยมุ่งเน้นให้โรงเรียนทุกโรงเรียน
ประเมินเพื่อพัฒนาตนเองและรายงานผลการประเมินมาตรฐานตามแบบรายงานของสำนักงาน
รับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
เร่งขยายเครือข่ายศูนย์วิทยบริการ (Resource Center) เครือข่ายคอมพิวเตอร์และ
ระบบการศึกษาทางไกลให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การปรับปรุงโครงสร้างเพื่อรองรับการกระจายอำนาจ
เร่งเตรียมความพร้อมด้านโครงสร้างและระบบบริหารการศึกษาเพื่อรองรับ
การกระจายอำนาจไปสู่เขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. 2542
ยุทธศาสตร์ที่ 6 การมีส่วนร่วม
ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษา
ขั้นพื้นฐาน กรรมการนักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน สถานประกอบการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
และกรมพัฒนาฝีมือแรงงานตลอดจนหน่วยงานและองค์การอื่น ๆ
ยุทธศาสตร์ที่ 7 การระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา
เร่งระดมทรัพยากรจากบุคคล ชุมชน ท้องถิ่น หน่วยงานและองค์กรทั้งภาครัฐ
และเอกชนมาใช้ในการจัดและพัฒนาการศึกษา
ยุทธศาสตร์ที่ 8 การพัฒนาบุคลากร
เร่งพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาทุกระดับให้มีความพร้อมและมีศักยภาพ
เพียงพอต่อการปฏิบัติงานและส่งเสริมสนับสนุนการปฏิรูปการศึกษา
ยุทธศาสตร์ที่ 9 การพิจารณากฎหมายและแนวปฏิบัติ
41
เร่งรัดปรับปรุงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ฯลฯ ที่สามารถดำเนินการได้ให้เอื้อต่อการ
บริหารงานแบบกระจายอำนาจในจังหวัด สหวิทยาเขตและโรงเรียน
ยุทธศาสตร์ที่ 10 การสื่อสารเพื่อการปฏิรูปการศึกษา
เร่งประชาสัมพันธ์การดำเนินงานและผลงานของกรมสามัญศึกษา หน่วยงาน
โรงเรียนในรูปแบบที่หลากหลายเหมาะสมทันเวลาและเข้าถึงทุกกลุ่มเป้าหมาย
ขอบเขตและบทบาทของการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา
1. ด้านการบริหารทั่วไป การบริหารงานทั่วไป นิพนธ์ กินาวงศ์ (2523 : 12) ได้
ให้ความเห็นว่ามีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริการทางการศึกษาแก่สมาชิก การดำเนินงานต่างๆ จะต้อง
เป็นไปตามระบบที่สังคมกำหนดไว้ กรมสามัญศึกษา (2539 : 3) ได้กำหนดเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียน
มัธยมศึกษาไว้ทั้งหมด 7 หัวข้อ ได้แก่
1.1 วางแผนปฏิบัติการของโรงเรียน โรงเรียนดำเนินการดังนี้
1.1.1 การกำหนดนโยบายและเป้าหมายของโรงเรียน
1.1.2 แผนปฏิบัติการของโรงเรียน
1.2 การจัดองค์การ โรงเรียนดำเนินการดังต่อไปนี้
1.2.1 การจัดแผนภูมิการบริหารโรงเรียน
1.2.2 การกำหนดหน้าที่และการมอบหมายงาน
1.3 การจัดระบบสารสนเทศ โรงเรียนดำเนินการต่อไปนี้
1.3.1 การจัดระบบสารสนเทศ
1.3.2 การพัฒนาระบบงานสารสนเทศ
1.4 การบริหารงานบุคคล โรงเรียนดำเนินการดังต่อไปนี้
1.4.1 การพัฒนาบุคลากร
1.4.2 การประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร
1.4.3 การบำรุงขวัญและให้กำลังใจ
1.5 การบริหารการเงิน โรงเรียนดำเนินการดังต่อไปนี้
1.5.1 การควบคุมและการตรวจสอบการรับ – การจ่ายเงิน
1.5.2 การประเมินผลการใช้จ่ายเงินตามแผนการใช้จ่าย
1.6 การสื่อสารคมนาคมและการประชาสัมพันธ์ โรงเรียนดำเนินการต่อไปนี้
1.6.1 การจัดการสื่อสารคมนาคม
1.6.2 การจัดการประชาสัมพันธ์
42
1.7 การประเมินผลงานการบริหารทั่วไป โรงเรียนดำเนินการประเมินผลงาน
การบริหารทั่วไปอย่างมีประสิทธิภาพ
สรุปได้ว่า งานบริหารทั่วไปเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการทางการศึกษาแก่สมาชิก
โดยมีการดำเนินงานต่าง ๆ อย่างมีระบบและระเบียบตามแบบแผนของทางราชการ เพื่อให้การจัด
องค์การ การจัดระบบสารสนเทศ แผนปฏิบัติการของโรงเรียนสู่การปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ
งานบุคลากร การเงิน การสื่อสาร การประชาสัมพันธ์และการประเมินผลงานเป็นไปตามเป้าหมาย
ของโรงเรียนเพื่อเป็นการส่งเสริมการจัดการศึกษาในโรงเรียนให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
2. ด้านการบริหารงานธุรการ การบริหารงานธุรการ แคสเชย์ (Casey 1974 : 1 – 5
อ้างถึงใน สมบูรณ์ ธุวสินธุ์ 2539 : 27) ได้กล่าวว่างานธุรการเป็นเรื่องของการให้บริการต่างๆของ
โรงเรียนซึ่งจะส่งผลในการเรียนการสอนให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ พนัส หันนาคินทร์
(2530 : 37) กล่าวว่างานธุรการเป็นการบริการหน่วยต่าง ๆ ในโรงเรียนให้ดำเนินไปตามความ
คาดหมายที่วางไว้หรือที่ต้องการ ได้แก่ งานสารบรรณ งานการเงินและบัญชี งานพัสดุ ครุภัณฑ์
งานอาคารสถานที่และงานประชาสัมพันธ์ ศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา (2531 : 5 - 6) กล่าวว่า
งานธุรการ ได้แก่ การดำเนินงานเกี่ยวกับงานสารบรรณ งานการเงินและบัญชี งานพัสดุ
งานทะเบียนสถิติและรายงาน งานบุคลากรและงานอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นไปตามระเบียบ
แบบแผน กรมสามัญศึกษา (2539 : 4) ให้แนวทางเกี่ยวกับการบริหารโรงเรียนทั่วไปว่าเป็นการจัด
ระบบการบริหารงานโรงเรียนให้เหมาะสมกับสภาพของโรงเรียน ด้านการกำหนดแผนงาน
การบริหารโรงเรียน การแจกแจงงานในโรงเรียน การมอบหมายงานให้กับบุคลากร การเตรียมงาน
ทั้งระยะสั้นและระยะยาว การติดตามและการประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปี กรมสามัญศึกษา
(2539 : 4) ได้กำหนดเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนมัธยมศึกษาไว้ทั้งหมด 7 หัวข้อ ได้แก่
1.1 การวางแผนงานธุรการ โรงเรียนดำเนินการดังต่อไปนี้
1.1.1 การรวบรวมและจัดทำระเบียบและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับงานธุรการ
1.1.2 การทำแผนงานธุรการ
1.2 การบริหารงานธุรการ โรงเรียนดำเนินการต่อไปนี้
1.2.1 การกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ
1.2.2 การจัดบุคลากรเหมาะสมกับลักษณะงาน
1.2.3 การจัดสถานที่เหมาะสมและปลอดภัย
1.3 การบริหารงานสารบรรณ โรงเรียนดำเนินการดังต่อไปนี้
1.3.1 การลงทะเบียนรับ-ส่งเอกสารและหนังสือราชการ
1.3.2 การโต้ตอบหนังสือราชการ
43
1.3.3 การเก็บรักษาและทำลายหนังสือราชการ
1.3.4 การจัดการบริการเกี่ยวกับงานสารบรรณ
1.4 การบริหารงานการเงินและการบัญชี โรงเรียนดำเนินการดังต่อไปนี้
1.4.1 การทำหลักฐานการเงินและบัญชี
1.4.2 การรับเงิน
1.4.3 การจ่ายเงิน
1.4.4 การเก็บรักษาเงินและเอกสารการเงิน
1.5 การบริหารงานพัสดุ โรงเรียนดำเนินการดังต่อไปนี้
1.5.1 การจัดซื้อจัดจ้าง
1.5.2 การจัดทำบัญชีพัสดุและทะเบียนครุภัณฑ์
1.5.3 การปรับซ่อมและบำรุงรักษาพัสดุ
1.5.4 การตรวจสอบพัสดุประจำปีและการจำหน่ายพัสดุ
1.5.5 การจัดทำทะเบียนที่ราชพัสดุ
1.6 การบริหารงานทะเบียนและสถิติข้าราชการครูและลูกจ้าง โรงเรียน
ดำเนินการดังต่อไปนี้
1.6.1 การจัดทำทะเบียนประวัติข้าราชการครูและลูกจ้าง
1.6.2 การจัดทำหลักฐานการปฏิบัติราชการ
1.7 การประเมินผลงานธุรการ โรงเรียนดำเนินการประเมินผลงานธุรการอย่าง
มีประสิทธิภาพ
สรุปได้ว่า งานธุรการเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการต่างๆ ของโรงเรียนทั้งในด้าน
งานสารบรรณ การเงินและบัญช ี พัสด ุ ทะเบียนสถิติและรายงานซึ่งจะส่งผลในการเรียนการสอน
ให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
3. ด้านการบริหารงานวิชาการ การบริหารงานวิชาการ นิพนธ์ กินาวงศ์ (2523 : 61)
กล่าวว่างานวิชาการเป็นหัวใจของสถานศึกษาเป็นการให้ความรู้ทางวิชาการแก่นักเรียนเป็นสำคัญ
งานสำคัญคืองานด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน งานด้านปรับปรุงการเรียนการสอน
และการวัดผล และงานประเมินผลระดับมัธยมศึกษา ได้แก่ งานเกี่ยวกับหลักสูตร สื่อการเรียน
การสอน การประเมินผล การควบคุมและส่งเสริมให้โรงเรียนได้ปฏิบัติตามหลักการและจุด
มุ่งหมายของหลักสูตร การดำเนินการตามหลักสูตรให้ได้ประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลมาก
ที่สุด สมบูรณ์ ธุวสินธุ์ (2539 : 29) ได้กล่าวถึง งานบริหารงานวิชาการที่ผู้บริหารจะต้องปฏิบัติคือ
การวางโครงการด้านการเรียนการสอนด้านกิจการนักเรียน ด้านบุคลากรในโรงเรียนด้านอาคาร
44
สถานที่ พัสดุ อุปกรณ์ การเงินและงานธุรการ ประชาสัมพันธ์ การวางแผนและการประสานงาน
ด้านกิจการนักเรียน ภิญโญ สาธร (2526 : 324) ได้ระบุว่าเป็นการบริหารกิจกรรมทุกชนิดใน
โรงเรียนที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงพัฒนาการเรียนการสอนนักเรียนให้ได้ผลดีและมีประสิทธิภาพ
มากที่สุด กรมสามัญศึกษา (2539 : 5) ได้กำหนดมาตรฐานโรงเรียนมัธยมศึกษาไว้ทั้งหมด 6 หัวข้อ
ได้แก่
3.1 การวางแผนงานวิชาการ โรงเรียนดำเนินการดังต่อไปนี้
3.1.1 การรวบรวมข้อมูลและจัดทำระเบียบ แนวปฏิบัติเกี่ยวกับงาน
วิชาการ
3.1.2 การทำแผนงานวิชาการ
3.2 การบริหารงานวิชาการ โรงเรียนดำเนินการดังต่อไปนี้
3.2.1 การกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ
3.2.2 การจัดกลุ่มการเรียน
3.2.3 การจัดตารางสอน
3.2.4 การจัดครูเข้าสอนตามตารางสอน
3.3.5 การจัดครูสอนแทน
3.3.6 การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในการดำเนินงาน
ทางวิชาการ
3.3 การพัฒนาและส่งเสริมทางด้านวิชาการ โรงเรียนดำเนินการดังต่อไปนี้
3.3.1 การพัฒนาและส่งเสริมการเรียนการสอนแบบต่างๆ
3.3.2 การจัดสอนซ่อมเสริม
3.3.3 การจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการเรียนการสอน
3.3.4 การจัดกิจกรรมนักเรียนตามหลักสูตร
3.3.5 การพัฒนาหลักสูตรครูทางด้านวิชาการ
3.3.6 จำนวนครูที่ผ่านการอบรมหรือฝึกอบรมทางด้านวิชาการใน
รอบ 2 ปี
3.3.7 การสร้างบรรยากาศทางวิชาการในโรงเรียน
3.3.8 การส่งเสริมการวิเคราะห์วิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
3.4 การจัดการเรียนการสอน โรงเรียนดำเนินการดังต่อไปนี้
3.4.1 การจัดทำ การใช้และการปรับปรุงแผนการสอนรายวิชาและบันทึก
การสอน
45
3.4.2 การจัดหา จัดทำ ใช้ บำรุงรักษา และส่งเสริมการผลิตสื่อการเรียน
การสอน
3.5 การวัดผลและประเมินผลการเรียนและงานทะเบียนนักเรียน โรงเรียน
ดำเนินการดังต่อไปนี้
3.5.1 การดำเนินการวัดผลและประเมินผลการเรียน
3.5.2 การสร้างและปรับปรุงเครื่องมือการวัดผลการเรียน
3.5.3 การจัดให้มีเอกสารและแบบฟอร์มเกี่ยวกับการวัดผลและประเมิน
ผลการเรียน
3.5.4 การดำเนินการเกี่ยวกับหลักฐานการวัดผล และประเมินผลการเรียน
3.5.5 งานทะเบียนนักเรียน
3.6 การประเมินผลงานวิชาการ โรงเรียนดำเนินการดังต่อไปนี้
3.6.1 การประเมินผลการจัดการงานวิชาการ
3.6.2 การประเมินผลในด้านคุณภาพการจัดการเรียนการสอน
สรุปได้ว่างานวิชาการเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมดูแลเกี่ยวกับการปรับปรุง
และพัฒนาการเรียนการสอนทั้งในด้านหลักสูตร อุปกรณ์การสอน ห้องสมุด การวิจัยค้นคว้า
แผนการสอนและการวัดผลประเมินผล
4. ด้านการบริหารงานปกครองนักเรียน การบริหารงานปกครองนักเรียน ศึกษา
นิเทศก์ กรมสามัญศึกษา (2531 : 9) ให้แนวคิดว่างานปกครองนักเรียน ได้แก่ งานควบคุมและ
ป้องกันความประพฤติของบุคลากร งานส่งเสริมความประพฤติและระเบียบวินัยและงานแก้ไข
ความประพฤติและระเบียบวินัย กรมสามัญศึกษา (2539 : 6) ระบุไว้ในเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียน
มัธยมศึกษาเกี่ยวกับงานปกครองนักเรียนไว้ว่างานปกครองนักเรียน ได้แก่ การส่งเสริมพัฒนา
นักเรียนให้มีวินัย คุณธรรมจริยธรรม การแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของนักเรียนและการ
ส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน กรมสามัญศึกษา (2539 : 6) ได้กำหนดเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียน
มัธยมศึกษาไว้ทั้งหมด 6 หัวข้อได้แก่
4.1 การวางแผนงานปกครองนักเรียน โรงเรียนดำเนินการดังต่อไปนี้
4.1.1 การรวบรวมและจัดทำระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับระเบียบวินัย
ที่เกี่ยวกับงานปกครองนักเรียน
4.1.2 การวางแผนงานงานปกครอง
4.2 การบริหารงานปกครองนักเรียน โรงเรียนดำเนินการดังต่อไปนี้
4.2.1 การกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ
46
4.2.2 การประสานงานปกครอง
4.3 การส่งเสริมพัฒนาให้นักเรียนมีวินัย คุณธรรม จริยธรรม โรงเรียน
ดำเนินการดังต่อไปนี้
4.3.1 การจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาความประพฤติและระเบียบวินัย
4.3.2 การจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาด้านคุณธรรมจริยธรรม
4.3.3 การจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาด้านความรับผิดชอบต่อสังคม
4.3.4 การจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาด้านการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
4.3.5 การยกย่องให้กำลังใจแก่นักเรียนผู้ประพฤติดี
4.4 การป้องกันและการแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของนักเรียน โรงเรียน
ดำเนินการดังต่อไปนี้
4.4.1 การป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
4.4.2 การดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในโรงเรียน
4.4.3 การดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคเอดส์ในโรงเรียน
4.5 การดำเนินการส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน โรงเรียนดำเนินการ
ส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
4.6 การประเมินผลงานปกครองนักเรียน โรงเรียนดำเนินการประเมินผลงาน
ปกครองนักเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
สรุปได้ว่างานปกครองนักเรียนเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมและป้องกันความ
ประพฤติทั้งในด้านการส่งเสริมความประพฤติ ระเบียบวินัยและการแก้ไขความประพฤติ ระเบียบ
วินัยซึ่งโรงเรียนจะต้องจัดให้ดีถูกต้องเหมาะสมกับวัยและความต้องการของนักเรียนจนสามารถ
ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
5. ด้านการบริหารงานบริการ การบริหารงานบริการ ศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา
(2531 : 10-13) ให้แนวความคิดว่างานบริการ ได้แก่ การดำเนินงานเกี่ยวกับงานสาธารณูปโภคและ
อาคารสถานที่ งานสื่อสารและคมนาคม งานรักษาความปลอดภัย งานห้องสมุด งานโสตทัศนศึกษา
งานอนามัยโรงเรียน งานโภชนาการ งานแนะแนว งานกิจกรรมนักเรียน และงานประชาสัมพันธ์
กรมสามัญศึกษา (2539 : 7) ระบุไว้ในเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนมัธยมศึกษาเกี่ยวกับการบริการไว้ว่า
งานบริการ ได้แก่ การจัดระเบียบและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับงานบริการต่าง ๆ เช่น การจัดบริการน้ำดื่ม
น้ำใช้ การจัดบริการโภชนาการ การจัดบริการสุขภาพอนามัย การจัดบริการห้องสมุด การจัด
บริการโสตทัศนูปกรณ์และการจัดบริการแนะแนว กรมสามัญศึกษาได้กำหนดเกณฑ์มาตรฐาน
โรงเรียนมัธยมศึกษาไว้ทั้งหมด 11 หัวข้อได้แก่
47
5.1 การวางแผนงานบริการ โรงเรียนดำเนินการดังต่อไปนี้
5.1.1 การรวบรวมและจัดทำระเบียบและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับงานบริการ
5.1.2 การทำแผนงานงานบริการ
5.2 การบริการงานบริการ โรงเรียนดำเนินการดังต่อไปนี้
5.2.1 การกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ
5.2.2 การจัดบุคลากรให้เหมาะสมกับลักษณะงาน
5.2.3 การจัดสถานที่เหมาะสมกับงานบริการ
5.2.4 การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารงานบริการ
5.3 การจัดบริการน้ำดื่มน้ำใช้ โรงเรียนดำเนินการจัดบริการน้ำดื่มน้ำใช้อย่าง
มีประสิทธิภาพ
5.4 การจัดบริการโภชนาการ โรงเรียนดำเนินการจัดบริการโภชนาการอย่างมี
ประสิทธิภาพ
5.5 การจัดบริการสุขภาพอนามัย โรงเรียนดำเนินการจัดบริการสุขภาพอนามัย
อย่างมีประสิทธิภาพ
5.6 การจัดบริการห้องสมุด โรงเรียนดำเนินการจัดบริการห้องสมุดอย่างมี
ประสิทธิภาพ
5.7 การจัดบริการโสตทัศนูปกรณ์ โรงเรียนดำเนินการจัดบริการ
โสตทัศนูปกรณ์อย่างมีประสิทธิภาพ
5.8 การจัดบริการแนะแนว โรงเรียนดำเนินการจัดบริการแนะแนวอย่างมี
ประสิทธิภาพ
5.9 การจัดบริการด้านสาธารณูปโภค โรงเรียนดำเนินการจัดบริการอย่างมี
ประสิทธิภาพ
5.10 การจัดกิจกรรมสหกรณ์ในสถานศึกษา โรงเรียนดำเนินการจัดบริการ
อย่างมีประสิทธิภาพ
5.11 การประเมินผลงานบริการ โรงเรียนดำเนินการประเมินผลงานบริการ
อย่างมีประสิทธิภาพ
สรุปได้ว่างานบริการเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดระเบียบและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการ
ดำเนินงานต่างๆ ทั้งในด้านสาธารณูปโภค อาคารสถานที่ สื่อสารคมนาคม รักษาความปลอดภัย
ห้องสมุด โสตทัศนศึกษา อนามัยโรงเรียน โภชนาการและแนะแนว
48
6. ด้านการบริหารงานโรงเรียนกับชุมชน การบริหารงานโรงเรียนกับชุมชน นิพนธ์
กินาวงศ์ (2523 : 78) กล่าวว่างานโรงเรียนกับชุมชนเป็นการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนในการ
ออกข่าวสารประชาสัมพันธ์โรงเรียน การส่งเสริมการจัดตั้งสมาคมศิษย์เก่าสมาคมครูผู้ปกครอง
การมีส่วนร่วมในกิจกรรมประเพณีของท้องถิ่น กรมสามัญศึกษา (2539 : 8) ระบุไว้ในเกณฑ์
มาตรฐานโรงเรียนมัธยมศึกษาเกี่ยวกับงานโรงเรียนกับชุมชนได้ว่า งานโรงเรียนกับชุมชนเป็นการ
สร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนโดยการสร้างและเผยแพร่เกียรติประวัติโรงเรียน
การให้บริการชุมชน การร่วมมือในการพัฒนาชุมชน การได้รับการสนับสนุนจากชุมชน กรม
สามัญศึกษา (2539 : 8) ได้กำหนดเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนมัธยมศึกษาไว้ทั้งหมด 6 หัวข้อได้แก่
6.1 การวางแผนงานสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน โรงเรียน
ดำเนินการดังต่อไปนี้
6.1.1 การศึกษารวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลชุมชน
6.1.2 การทำแผนงานสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
6.2 การสร้างและเผยแพร่เกียรติประวัติของโรงเรียน โรงเรียนดำเนินการ
ดังต่อไปนี้
6.2.1 การกำหนดอุดมการณ์ของโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างคุณธรรม
ลักษณะนิสัยและความประพฤติ
6.2.2 การสร้างและเผยแพร่เกียรติประวัติทางด้านวิชาการ
6.2.3 การสร้างและเผยแพร่เกียรติประวัติทางด้านจริยธรรมและคุณธรรม
6.2.4 การสร้างและเผยแพร่เกียรติประวัติทางด้านกีฬา
6.2.5 การรวบรวมและเผยแพร่เกียรติประวัติของโรงเรียนด้านอื่น ๆ
6.3 การให้บริการชุมชน โรงเรียนดำเนินการดังต่อไปนี้
6.3.1 การให้บริการข่าวสาร
6.3.2 การให้บริการด้านส่งเสริมสุขภาพอนามัย
6.3.3 การให้บริการด้านส่งเสริมอาชีพ
6.3.4 การให้บริการนันทนาการ
6.3.5 การให้บริการอาคารสถานที่และวัสดุครุภัณฑ์
6.3.6 การให้บริการด้านวิชาการ
6.4 การมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน โรงเรียนดำเนินการดังต่อไปนี้
6.4.1 การจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาชุมชน
6.4.2 การให้ความร่วมมือในการพัฒนาชุมชน
49
6.5 การได้รับความสนับสนุนจากชุมชน โรงเรียนดำเนินการดังต่อไปนี้
6.5.1 การจัดตั้งองค์กรเพื่อสนับสนุนโรงเรียน
6.5.2 การสนับสนุนด้านวิชาการ
6.5.3 การสนับสนุนด้านทุนทรัพย์
6.5.4 การสนับสนุนด้านบริการ
6.6 การประเมินผลงานสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน โรงเรียน
ดำเนินการประเมินผลงานสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ
สรุปได้ว่างานโรงเรียนกับชุมชนเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อประสานร่วมกันระหว่าง
โรงเรียนกับชุมชนโดยการให้บริการชุมชน การร่วมมือในการพัฒนาชุมชน การได้รับสนับสนุนจาก
ชุมชน
7. ด้านการบริหารงานอาคารสถานที่ การบริหารงานอาคารสถานที่ กรมสามัญ
ศึกษา (2539 : 9) ได้ระบุไว้ในมาตรฐานโรงเรียนมัธยมศึกษาเกี่ยวกับการบริการไว้ทั้งหมด 10
หัวข้อได้แก่
7.1 การบริหารบริเวณโรงเรียน โรงเรียนดำเนินการดังต่อไปนี้
7.1.1 การจัดบรรยากาศบริเวณโรงเรียน
7.1.2 การจัดการตกแต่งบริเวณโรงเรียน
7.2 การบริหารอาคารเรียน โรงเรียนดำเนินการดังต่อไปนี้
7.2.1 การจัดบรรยากาศภายในอาคารเรียน
7.2.2 การใช้ประโยชน์จากอาคารเรียน
7.2.3 การดูแลบำรุงรักษาอาคารเรียน
7.2.4 การรักษาความปลอดภัยในอาคารเรียน
7.3 การบริหารห้องเรียน โรงเรียนดำเนินการดังต่อไปนี้
7.3.1 การจัดบรรยากาศในห้องเรียน
7.3.2 การใช้และการดูแลรักษาห้องเรียน
7.4 การบริหารห้องพิเศษ โรงเรียนดำเนินการดังต่อไปนี้
7.4.1 เกณฑ์ด้านปริมาณ
7.4.2 เกณฑ์ด้านคุณภาพ
7.4.3 การใช้และการดูแลรักษาห้องพิเศษ
7.5 การบริหารห้องบริการ โรงเรียนดำเนินการดังต่อไปนี้
7.5.1 เกณฑ์ด้านปริมาณ
50
7.5.2 เกณฑ์ด้านคุณภาพ
7.5.3 การใช้และการดูแลรักษาห้องบริการ
7.6 การบริหารอาคารโรงอาหาร โรงเรียนดำเนินการดังต่อไปนี้
7.6.1 เกณฑ์ด้านปริมาณและคุณภาพ
7.6.2 การใช้และการดูแลรักษาโรงอาหาร
7.7 การบริหารอาคารโรงฝึกงาน โรงเรียนดำเนินการดังต่อไปนี้
7.7.1 เกณฑ์ด้านปริมาณและคุณภาพ
7.7.2 การใช้และการดูแลรักษาโรงฝึกงาน
7.8 การบริหารอาคารหอประชุม โรงเรียนดำเนินการดังต่อไปนี้
7.8.1 เกณฑ์ด้านปริมาณและคุณภาพ
7.8.2 การใช้และการดูแลรักษาหอประชุม
7.9 การบริหารอาคารห้องน้ำ – ห้องส้วม โรงเรียนดำเนินการดังต่อไปนี้
7.9.1 เกณฑ์ด้านปริมาณและคุณภาพ
7.9.2 การใช้และการดูแลรักษาห้องน้ำ – ห้องส้วม
7.10 การบริหารอาคารพลศึกษา โรงเรียนดำเนินการดังต่อไปนี้
7.10.1 เกณฑ์ด้านปริมาณและด้านคุณภาพ
7.10.2 การใช้และการดูแลรักษาอุปกรณ์อาคารพลศึกษา
สรุปจากที่กล่าวมาทั้ง 7 งานข้างต้นนี้จำเป็นที่ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาจะต้องมีความรู้
และความสามารถปฏิบัติให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายอย่างมีประสิทธิภาพสอดคล้องกับนโยบายและ
ยุทธศาสตร์ของกรมสามัญศึกษาทุกยุทธศาสตร์
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
งานวิจัยด้านวัฒนธรรมโรงเรียนและการบริหารงานโรงเรียนมัธยมศึกษาของผู้บริหาร
โรงเรียน ผู้วิจัยศึกษาพบว่ามีผู้ทำการวิจัยเกี่ยวข้องกับการวิจัยในเรื่องดังกล่าวดังนี้
งานวิจัยในประเทศ
เพ็ญศักดิ์ เรือนใจมั่น (2519 : 130) ได้ทำการวิจัยเรื่อง งานบริหารการศึกษาของโรงเรียน
มัธยมศึกษา ในเขตการศึกษา 5 ผลการวิจัยพบว่าครูยังใช้วิธีสอนแบบเก่าไม่นำเอาเทคโนโลยีใหม่ ๆ
มาใช้ในการสอน ขาดการอบรมวิธีสอนแบบใหม่ๆ ผู้บริหารไม่ได้สังเกตติดตามการสอนของครู
ไม่มีการประชุมเพื่ออภิปรายเกี่ยวกับการสอนของครูในโรงเรียน ขาดการสอนซ่อมเสริม การ
แนะนำให้รู้จักแหล่งความรู้ วารสารห้องสมุดมีน้อย
51
อดิเรก รัตนธัญญา (2520 : 64) ได้ทำการวิจัยเรื่อง การบริหารการศึกษาของโรงเรียน
มัธยมศึกษา เขตการศึกษา 10 ผลการวิจัยพบว่าโรงเรียนขาดเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชีกลาง ความ
ล่าช้าในการเบิกจ่ายเงินบำรุงการศึกษาและเงินงบประมาณ อัตราการเรียกเก็บเงินบำรุงการศึกษา
ต่ำไปและปัญหาเกี่ยวกับความรับผิดชอบทางการเงินโดยเฉพาะเกี่ยวกับเงินบำรุงการศึกษาผู้บังคับ
บัญชาจะต้องรับผิดชอบโดยตรงแต่เพียงผู้เดียวทำให้เกิดความหนักใจ ผู้บริหารส่วนใหญ่เห็นว่า
ในการรับผิดชอบเรื่องการเงินน่าจะให้มีการแบ่งเบาโดยการแต่งตั้งตำแหน่งการเงินของโรงเรียน
ร่วมรับผิดชอบด้วย
นิพนธ์ รอดภัย (2524 : บทคัดย่อ) ได้ทำการวิจัยเรื่อง โครงสร้างและกระบวนการบริหาร
โรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดปราจีนบุรี ผลการวิจัยพบว่าสาเหตุมาจากผู้บริหารโรงเรียนยังขาด
ความรู้และประสบการณ์ในงานวิชาการทำให้ไม่สามารถควบคุมและให้การนิเทศงานวิชาการให้
ครูอาจารย์ได้ดีพอและให้ความพอใจในด้านนี้น้อย การบริหารงานยังขาดการกระจายอำนาจและ
ประสานงานระหว่างผู้บริหารและครูอาจารย์ทำให้ครูอาจารย์ขาดความจริงใจในการให้ความ
ร่วมมือในการปฏิบัติงานและแก้ปัญหาอย่างจริงจัง นอกจากนี้โรงเรียนยังไม่ได้รับความร่วมมือจาก
ชุมชนเท่าที่ควร
ไพศาล ไกรสิทธิ์ (2524 : 118-149) ได้ศึกษาพฤติกรรมการทำงานของคนไทยพบว่า
วัฒนธรรมการทำงานของคนไทยส่วนใหญ่นิยมการทำงานที่ไม่ต้องเสี่ยงและต้องการทำงานที่
มีอิสระเป็นงานที่ส่งเสริมตัวของตัวเองทำงานตามใจชอบและไม่ผูกพันกับระเบียบ กฎเกณฑ์หรือ
ถูกบังคับควบคุมมากนัก
ประกอบ คุณารักษ์ และคณะ (2530 : 6) ได้ศึกษาตัวการทางวัฒนธรรมที่นำไปสู่
พฤติกรรมการตัดสินใจของหัวหน้าสถาบันการประถมศึกษาไทย โดยศึกษาตัวการทางวัฒนธรรม
เกี่ยวกับ 1. แบบการบริหาร ได้แก่ แบบที่มุ่งยึดกฎระเบียบ แบบที่มุ่งประสิทธิผลของงานและแบบ
ที่มุ่งประสิทธิภาพของงาน 2. คุณลักษณะเฉพาะบุคคล ได้แก่ ลักษณะอนุรักษ์นิยม ลักษณะ
ประนีประนอมและลักษณะพัฒนาหรือก้าวหน้า 3. ระดับปริมาณการใช้แบบการบริหารและ
คุณลักษณะเฉพาะของบุคคลเหล่านั้น 4. เรื่องส่วนบุคคลของผู้บริหาร 5. ขั้นตอนต่างๆ 5 ประการ
ในกระบวนการตัดสินใจ คือ การนิยามปัญหา การศึกษาทางเลือก การคัดเลือกทางเลือก การปฏิบัติ
ตามทางเลือกและการประเมินผล ซึ่งได้ศึกษากับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา
สังกัดสำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติที่ตั้งอยู่ในภาคตะวันตกจำนวน 258 คนพบว่า
แบบการบริหารกับคุณลักษณะเฉพาะบุคคลของผู้บริหารพร้อมทั้งระดับปริมาณการใช้ตัวการทาง
วัฒนธรรมทั้งสองต่างมีแรงส่งต่อกันและส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจในทุกขั้นตอน
52
นงลักษณ์ เรือนทอง (2535 : บทคัดย่อ) ได้ทำการวิจัยเรื่อง วัฒนธรรมองค์การที่มี
อิทธิพลต่อการปฏิบัติงานในสำนักงานศึกษาธิการอำเภอ ผลการวิจัยพบว่าดัชนีของวัฒนธรรม
องค์การที่ส่งผลหรือมีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานของสำนักงานศึกษาธิการอำเภอมี 5 ด้าน คือ ด้าน
บูรณาภาพ คุณภาพ ความไว้วางใจ ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์การและนานาคติเมื่อแยก
วิเคราะห์เป็นรายด้านพบว่าดัชนีของวัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลหรือมีอิทธิพลต่อการปฏิบัติ
งานบริหารทั่วไปมี 2 ด้าน คือ บูรณภาพและคุณภาพ งานแผนงานและพัฒนาชนบทมี 5 ด้าน คือ
ด้านคุณภาพ บูรณภาพ ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์การ ความไว้วางใจและนานาคต ิ สำหรับ
งานส่งเสริมการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมมี 4 ด้าน คือ ด้านคุณภาพ ความไว้วางใจ บูรณภาพ
และการมอบอำนาจ
พิมล รอดเรืองศรี (2535 : บทคัดย่อ) ได้ทำการวิจัยเรื่อง การบริหารงานวิชาการของ
ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ ผลการวิจัยเพื่อ
เปรียบเทียบความเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอนที่มีประสบการณ์และขนาดของโรงเรียนต่างกันต่อ
การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโดยศึกษากับผู้บริหารและครูผู้สอนจำนวน 377 คน เครื่องมือที่
ใช้เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารชนิดมาตราส่วน
ประมาณค่า ผลการวิจัยพบว่าผู้บริหารและครูผู้สอนที่ประสบการณ์ต่างกันและอยู่ในโรงเรียนขนาด
ต่างกันมีความคิดเห็นต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารในแต่ละด้านและโดยรวมทุกด้านไม่
แตกต่างกัน
ณรงค์ศักดิ์ ถนอมศรี (2538 : บทคัดย่อ) ได้ทำการวิจัยเรื่อง ปัจจัยทางวัฒนธรรม
โรงเรียนที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานด้านโรงเรียนกับชุมชนของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญ
ศึกษา เขตการศึกษา 6 ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยทางวัฒนธรรมที่ส่งผลกับการปฏิบัติงานด้านโรงเรียน
กับชุมชน ได้แก่ ความมุ่งประสงค์ของโรงเรียน ความมีคุณภาพและความหลากหลายของบุคลากร
สมบูรณ์ ธุวสินธุ์ (2539 : บทคัดย่อ) ได้ทำการวิจัยเรื่อง การบริหารงานตามเกณฑ์
มาตรฐานโรงเรียนมัธยมศึกษาของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 12 เพื่อ
ศึกษาเปรียบเทียบการบริหารงานตามมาตรฐานโรงเรียนมัธยมศึกษาจำแนกตามประสบการณ์ใน
การดำรงตำแหน่งและขนาดของโรงเรียนโดยศึกษากับผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรม
สามัญศึกษา เขตการศึกษา 12 จำนวน 131 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามชนิดมาตรประมาณ
ค่าที่วัดการบริหารงานตามเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนมัธยมศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนที่มี
ประสบการณ์และขนาดของโรงเรียนต่างกัน พบว่าผู้บริหารโรงเรียนที่มีประสบการณ์ในการดำรง
ตำแหน่งต่างกันมีการบริหารงานตามมาตรฐานโรงเรียนมัธยมศึกษาโดยรวมทุกด้านไม่แตกต่างกัน
ยกเว้นด้านงานวิชาการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และพบว่าผู้บริหารโรงเรียน
53
ที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนขนาดต่างกันมีการบริหารงานตามเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนมัธยมศึกษา
โดยรวมทุกงานและในแต่ละงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นงานด้าน
โรงเรียนกับชุมชนไม่แตกต่างกัน
รุ่งเรือง รัศมีโกเมน (2541 : บทคัดย่อ) ได้ทำการวิจัยเรื่องการใช้เวลาในการบริหารงาน
ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยพบว่า
การใช้เวลาในการบริหารทั้ง 5 ด้านของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา
กรุงเทพมหานครพบว่าผู้บริหารใช้เวลาการบริหารงานด้านวิชาการเป็นอันดับแรก รองลงมาคือ
ด้านบุคลากร ด้านธุรการ การเงิน อาคารสถานที่ ด้านภารกิจนักเรียน และลำดับสุดท้ายคือด้าน
ความสัมพันธ์กับชุมชน การใช้เวลาในการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรม
สามัญศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานครได้รับความนิยมต่างกัน ใช้เวลาในการบริหารงานแตกต่างกัน
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทั้ง 5 ด้านและการให้ความสำคัญในการบริหารงานของ
ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ที่ได้รับความนิยมต่างกันให้ความสำคัญใน
การบริหารงานต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ในด้านบุคลากร ด้านกิจการนักเรียน
ด้านธุรการ การเงินและอาคารสถานที่และด้านความสัมพันธ์กับชุมชน ส่วนงานวิชาการพบว่า
แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
อ้อยทิพย์ สุทธิเทพ (2543 : บทคัดย่อ) ได้ทำการวิจัยเรื่อง วัฒนธรรมโรงเรียนที่ส่งผลต่อ
การปฏิบัติงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยพบว่า
วัฒนธรรมโรงเรียนส่งผลต่อการปฏิบัติงานด้านวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัด
กรุงเทพมหานคร คือ ความมีคุณภาพและความซื่อสัตย์สุจริต
งานวิจัยต่างประเทศ
งานวิจัยต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมโรงเรียนกับการบริหารงานโรงเรียนมัธยม
ศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ผู้วิจัยศึกษาพบว่ามีผู้ทำการวิจัยเกี่ยวข้องกับการวิจัยในเรื่อง
ดังกล่าวดังนี้
สเตรียร์ส (Steers 1976 : 2) ได้ศึกษาพบว่าองค์การที่มีการรวมอำนาจมีการใช้กฎ
ระเบียบแบบแผนข้อบังคับมากเท่าใดบุคลากรในองค์การมักรับรู้เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมในองค์การ
อย่างหวาดกลัว ส่วนองค์การที่ฝ่ายบริหารยินยอมให้บุคลากรมีอิสระนั้นจะใช้ดุลยพินิจของตนใน
การตัดสินใจวินิจฉัยสั่งการได้และถ้าฝ่ายบริหารแสดงความสนใจต่อบุคลากรมากเท่าใด
บรรยากาศขององค์การแสดงออกด้วยบรรยากาศที่เปิดเผยไว้เนื้อเชื่อใจกันและมีความรับผิดชอบสูง
เอแดร์ (Adair 1982 : 4645-A) ได้ศึกษาทัศนะของครูใหญ่โรงเรียนมัธยมศึกษาในมลรัฐ
ไอโดวาในประเด็นเกี่ยวกับความสำคัญของภารกิจและความชำนิชำนาญที่ใช้จัดการกับภารกิจนั้นๆ
54
ผลการวิจัยพบว่าครูใหญ่ส่วนมากมีความชำนาญเป็นพิเศษในการจัดการกับปัญหาอาคารสถานที่
การประเมินผล การประชุมครู การเป็นประธาน ประสบการณ์การเป็นครูใหญ่และขนาดของโรง
เรียนไม่เป็นตัวแปรที่ส่งผลในระดับนัยสำคัญกับความชำนาญป็นพิเศษในการจัดการแก้ปัญหาใดๆ
อีกลอฟ (Egloff 1982 : 317-A) ได้ศึกษาถึงการขยายหน้าที่การงานของบุคลากรใน
โรงเรียนเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น ได้แก ่ การมอบหมายหน้าที่ของบุคลากร
ฝ่ายประจำและฝ่ายชั่วคราว ความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ฝ่ายนิเทศ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหาร
การศึกษาในท้องถิ่นเมืองเจเนสี รัฐมิซิแกน สหรัฐอเมริกา สรุปให้เห็นความต้องการอันเป็นปัญหา
เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลโดยโรงเรียนในท้องถิ่นต้องการความช่วยเหลือในเรื่องดังต่อไปนี้คือ
กระบวนการจัดกำลังคน กระบวนการรวมอำนาจต่อรอง กระบวนการความยุติธรรมในองค์การ
กระบวนการปูนบำเหน็จ กระบวนการประเมินผลและกระบวนการปฏิบัติงานทั่วๆ ไป
ตาเตอร์และฮอย (Tarter and Hoy 1988 : 17 - 24) ได้ทำวิจัยเกี่ยวกับความสัมพันธ์ด้าน
ความไว้วางใจในการทำงานระหว่างผู้บริหารโรงเรียนและครูจำนวน 1,983 คนในโรงเรียนมัธยม
ศึกษา ประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่าการส่งเสริมสุขภาพและความไว้วางใจเป็นสิ่งสำคัญต่อสภาพ
ความเป็นอยู่ในโรงเรียน สภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมสุขภาพจะทำให้องค์การมีบรรยากาศที่นำไปสู่
สัมพันธภาพของระบบสังคม และความสัมพันธ์ที่ดีของสังคมภายในโรงเรียนจะนำไปสู่ความสำเร็จ
ในการบริหารงาน
ดาวเนอร์ (Downer 1989 : 3136 – A) ได้ศึกษาเรื่องการเปรียบเทียบโครงสร้างทาง
ทัศนคติของชุมชนแห่งนิวฟันแลนด์ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับปัจจัยและตัวกำหนดประสิทธิภาพของ
โรงเรียนพบว่าประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของโรงเรียนจะมีส่วนเกี่ยวข้องกัน การให้ความ
สำคัญทางวิชาการ การอบรมสั่งสอน แบบพฤติกรรมที่ดีของครู วิธีการในการเรียนการสอน
สัมพันธภาพที่ดีระหว่างทางบ้านและทางโรงเรียนและที่สำคัญคือตัวการทางวัฒนธรรมโรงเรียน
ด้านความมุ่งประสงค์ที่ชัดเจนของโรงเรียน การร่วมมือกันและความตั้งใจอย่างสูงส่งของครูและ
นักเรียน
จอห์นสัน (Johnson 1990: 1494 - A) ได้ทำการวิจัยเรื่อง บทบาทของโรงเรียนในการ
พัฒนาทีมงานเพื่อเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมโรงเรียน จุดประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาบทบาท
ของการจัดการเป็นกลุ่มเพื่อเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมโรงเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา มลรัฐแมรี่
แลนด์ โดยใหัโรงเรียนตัวอย่างได้เข้าร่วมในแผนงานการจัดการทำงานเป็นกลุ่มซึ่งเป็นการพัฒนา
ตัดสินใจร่วมกัน วิธีวางแผนการฝึกภาวะผู้นำและการเป็นผู้ช่วยผู้นำ เทคนิควิธีที่ใช้ในการศึกษา
ครั้งนี้ คือ การสัมภาษณ์สมาชิกในคณะทำงาน การสังเกตและการรวบรวมสิ่งประดิษฐ์จากฝีมือของ
สมาชิก จากการศึกษาครั้งนี้พบว่าได้เกิดการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมโรงเรียนหลายๆ ด้าน ได้แก่
55
1. การร่วมมือกันในระหว่างสมาชิก 2. ผู้ปกครองและสมาชิกของชุมชนมีความสมสัมพันธ์กัน
มากขึ้น 3. การมีส่วนร่วมในกิจกรรมของสมาชิกเพิ่มขึ้น 4. การปรับปรุงชุมชน 5. การปรับปรุง
สัจจธรรมของตนเอง การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีองค์ประกอบมาจากการมีส่วนร่วมในการจัดการ
ของบุคลากร การวางแผน การปฏิบัติงานและการประชุมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาความก้าวหน้า
ทางวิชาชีพ การได้รับความช่วยเหลือหรือสนับสนุนในด้านการบริหารของโรงเรียน
พาร์กินสัน (Parkinson 1990 : 2343 - A) ศึกษาเรื่องการทดสอบความเชื่อมั่นและ
โครงสร้างทางปัจจัยของวัฒนธรรมโรงเรียนพบว่าวัฒนธรรมโรงเรียนมีส่วนสัมพันธ์กับการ
ปฏิบัติงานในโรงเรียนหลายประการ ได้แก่ งานการเรียนการสอน งานนิเทศการศึกษา งาน
ประเมินผลและงานพัฒนาความร่วมมือกันในการทำงานเป็นหมู่คณะของบุคลากรในโรงเรียน
ในการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ให้ได้
มาตรฐานตามที่กรมสามัญศึกษากำหนดขอบข่ายงานไว้มีองค์ประกอบสำคัญหลายประการ คือ
แบบแผนการประพฤติปฏิบัติ ค่านิยมและความเชื่อร่วมกันของบุคลากรในโรงเรียนที่เกี่ยวข้อง
สัมพันธ์กับการปฏิบัติงานที่เรียกว่า วัฒนธรรมโรงเรียน ซึ่งการปฏิบัติจริงของผู้บริหารในการ
บริหารงานโรงเรียนจะดำเนินไปได้ด้วยดีเพียงใดนั้นวัฒนธรรมโรงเรียนต้องมีลักษณะสอดคล้อง
หรือเป็นไปในทางที่สนับสนุนจึงจะทำให้เกิดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานในโรงเรียนได้
บทที่ 3
วิธีดำเนินการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยศึกษาวัฒนธรรมโรงเรียนที่ส่งผลต่อบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยม
ศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดนครปฐม โดยดำเนินการวิจัยตามลำดับดังนี้
1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
2. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
3. วิธีสร้างเครื่องมือและการหาคุณภาพของเครื่องมือ
4. การเก็บรวบรวมข้อมูล
5. การวิเคราะห์ข้อมูล
6. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
1. ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารโรงเรียนและครูปฏิบัติการสอนใน โรงเรียนมัธยม
ศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดนครปฐม ปีการศึกษา 2544 จำแนกเป็นผู้บริหารโรงเรียนจำนวน 29 คนและ
ครูปฏิบัติการสอนจำนวน 1,759 คน รวม 1,788 คน
2. กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างสำหรับการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยกำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจากผู้บริหาร โรงเรียน
ทุกคนจำนวน 29 คนและกำหนดกลุ่มตัวอย่างสำหรับครูปฏิบัติการสอนได้มาจากการสุ่มแบบมีชั้นภูมิ (Stratified
Random Sampling) และใช้ขนาดของโรงเรียนเป็นระดับชั้น (Strata) จำแนกได้ 3 ขนาด คือ ขนาดใหญ่ ขนาด
กลางและขนาดเล็ก กำหนดผู้ให้ข้อมูลของแต่ละโรงเรียนเป็นผู้ช่วยผู้บริหารโรงเรียนหรือผู้ทำหน้าที่ผู้ช่วยผู้
บริหารโรงเรียน โรงเรียนละ 1 คน หัวหน้าหมวดวิชาโรงเรียนละ 1 คน และครูปฏิบัติการสอนในแต่ละโรงเรียน
ตามจำนวนจากประชากรครูปฏิบัติการสอนของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดนครปฐม ปี
การศึกษา 2544 ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 โดยใช้สูตรของยามาเน่ (Yamane 1970 : 887 อ้างถึงในประคอง
กรรณสูต 2540 : 10 – 11) ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 326 คน จากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling)
รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 355 คน ดังรายละเอียดตามตารางที่ 1
57
ตารางที่ 1 แสดงจำนวนประชากรและกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามขนาดและโรงเรียน
ประชากร กลุ่มตัวอย่าง
ที่
โรงเรียน
ผู้บริหาร ครูผู้ปฏิบัติ
การสอน ผู้บริหาร ครูผู้ปฏิบัติ
การสอน
รวม
โรงเรียนขนาดใหญ่
1 พระปฐมวิทยาลัย 1 173 1 32 33
2 ราชินีบูรณะ 1 143 1 27 28
3 ศรีวิชัยวิทยา 1 147 1 27 28
4 วัดห้วยจรเข้วิทยาคม 1 88 1 16 17
5 สิรินธรราชวิทยาลัย 1 96 1 18 19
6 มัธยมฐานบินกำแพงแสน 1 90 1 17 18
7 วัดไร่ขิงวิทยา 1 131 1 24 25
โรงเรียนขนาดกลาง
8 พระปฐมวิทยาลัย 2
(หลวงพ่อเงินอนุสรณ์)
1 28 1 5 6
9 สระกะเทียมวิทยาคม 1 42 1 8 9
10 โพรงมะเดื่อวิทยาคม 1 62 1 11 12
11 กำแพงแสนวิทยา 1 74 1 14 15
12 ศาลาตึกวิทยา 1 21 1 4 5
13 งิ้วรายบุญมีรังสฤษดิ์ 1 26 1 5 6
14 ภัทรญาณวิทยา 1 68 1 13 14
15 แหลมบัววิทยา 1 30 1 5 6
16 คงทองวิทยา 1 63 1 12 13
17 บ้านหลวงวิทยา 1 29 1 5 6
18 บางเลนวิทยา 1 55 1 10 11
19 สามพรานวิทยา 1 52 1 10 11
20 ภ.ป.ร.ราชวิทยาลัย
ในพระบรมราชูปถัมภ์
1
110
1
20
21
58
ตารางที่ 1 (ต่อ)
ประชากร กลุ่มตัวอย่าง
ที่
โรงเรียน
ผู้บริหาร ครูผู้ปฏิบัติ
การสอน ผู้บริหาร ครูผู้ปฏิบัติ
การสอน
รวม
21 รัตนโกสินทร์สมโภชบวรนิเวศศาลา
ยาในพระสังฆราชูปถัมภ์
1
57
1
11
12
22 กาญจนาภิเษกวิทยาลัย 1 60 1 11 12
โรงเรียนขนาดเล็ก
23 ปรกแก้ววิทยา 1 16 1 3 4
24 พลอยจาตุรจินดา 1 16 1 3 4
25 เพิ่มวิทยา 1 19 1 4 5
26 บางหลวงวิทยา 1 17 1 3 4
27 สถาพรวิทยา 1 17 1 3 4
28 บัวปากท่าวิทยา 1 13 1 2 3
29 ปรีดารามวิทยา 1 16 1 3 4
รวมทั้งสิ้น 29 1,759 29 326 355
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเองจำนวน 2 ฉบับ สำหรับผู้
บริหารโรงเรียนและครูปฏิบัติการสอนซึ่งมีความแตกต่างกันในด้านถ้อยคำที่ใช้เหมาะสมตามตำแหน่งคือฉบับ
ของผู้บริหารโรงเรียนใช้สำนวนถ้อยคำเชิงการบริหาร ส่วนฉบับของครูปฏิบัติการสอนใช้ถ้อยคำสำนวนง่ายต่อ
การสื่อสารที่เข้าใจในลักษณะผู้ปฏิบัติการ แบบสอบถามแต่ละฉบับแบ่งเป็น 3 ตอน คือ
ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบให้เลือก
ตอบจำนวน 6 ข้อ ซึ่งถามรายละเอียดเกี่ยวกับ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ การทำงาน การอบรม
หลักสูตรผู้บริหารสถานศึกษาระดับสูงและขนาดของโรงเรียนที่ปฏิบัติงานอยู่ โดยใช้วัดค่าด้วยมาตรานามบัญญัติ
(Nominal scale)
ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับวัฒนธรรมโรงเรียนเป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า
(Rating Scale) ตามวิธีของลิเคิร์ท (Likert อ้างถึงในพวงรัตน์ ทวีรัตน์ 2540 : 107)จำนวน 50 ข้อ แต่ละข้อมีตัว
เลือก 5 ระดับ
ตอนที่ 3 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนเป็นแบบสอบถามแบบ
มาตรประมาณค่าตามวิธีของลิเคิร์ทจำนวน 52 ข้อ แต่ละข้อมีตัวเลือก 5 ระดับ
59
วิธีสร้างเครื่องมือและการหาคุณภาพเครื่องมือ
ผู้วิจัยได้สร้างแบบสอบถามที่ใช้เป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลโดยยึดเนื้อหาภายใต้ทฤษฎีวัฒน
ธรรมโรงเรียนตามแนวคิดของแพตเตอร์สัน (Patterson) 10 ข้อและการบริหารงาน โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัด
กรมสามัญศึกษา ตามเกณฑ์มาตรฐานที่กรมสามัญศึกษากำหนด 7 ด้าน มีขั้นตอนในการสร้างดังนี้
1. ศึกษาเอกสารทฤษฎีและตำราวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมโรงเรียนและการบริหารงานโรง
เรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ตามเกณฑ์มาตรฐานที่กรมสามัญศึกษากำหนด รวมทั้งความรู้และประสบ
การณ์การทำงานของผู้วิจัยเอง
2. วิเคราะห์วัฒนธรรมโรงเรียนตามทฤษฎีของแพตเตอร์สันและบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรง
เรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา
3. ผู้วิจัยสร้างแบบสอบถามวัฒนธรรมโรงเรียนตามทฤษฎีแพตเตอร์สันและบทบาทที่ปฏิบัติจริงของ
ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาโดยกำหนดเนื้อหาตามทฤษฎี เกณฑ์มาตรฐาน เนื้อหาตามขอบข่ายและนิยามศัพท์
4. นำแบบสอบถามที่สร้างเสร็จทั้งฉบับปรึกษาคณะกรรมการควบคุมการทำปริญญานิพนธ์เพื่อตรวจ
สอบและเสนอแนะ ปรับปรุงตามคำแนะนำของคณะกรรมการควบคุมการทำปริญญานิพนธ์ นำเสนอผู้เชี่ยวชาญ
ด้านวัฒนธรรมโรงเรียน ด้านภาษา ด้านการวิจัยและด้านการศึกษา จำนวน 5 ท่านเพื่อพิจารณาตรวจสอบความ
เที่ยงตรงเชิงเนื้อหาและโครงสร้างพร้อมทั้งขอรับคำแนะนำ เพื่อปรับปรุงแบบสอบถามให้ถูกต้องสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
5. นำแบบสอบถามที่ได้ปรับปรุงแล้วไปทดลองใช้ (Try out) กับประชากรโรงเรียน มัธยมศึกษา
สังกัดกรมสามัญศึกษา กรุงเทพมหานคร ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างจำนวน 3 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนฤทธิณรงค์รอน
โรงเรียนสวนอนันต์และโรงเรียนมัธยมวัดหนองแขม เป็นผู้บริหาร โรงเรียนและครูปฏิบัติการสอนโรงเรียน
ละ 16 คน รวมทั้งสิ้น 48 คน
6. นำแบบสอบถามที่ได้รับคืนจากการทดลองใช้ทุกฉบับไปหาความเชื่อมั่นเป็นรายด้านโดยใช้สูตร
สัมประสิทธิ์แอลฟา ( ∝ - Coefficient) ของครอนบัค (Cronbach อ้างถึงใน พวงรัตน์ ทวีรัตน์ 2540 : 125)
ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทางด้านวัฒนธรรมโรงเรียนเท่ากับ 0.94 และด้านบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้
บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาเท่ากับ 0.98
การเก็บรวบรวมข้อมูล
ผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยขอหนังสือเรื่องขอความร่วมมือในการวิจัยจากคณบดีบัณฑิต
วิทยาลัยสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาถึงผู้อำนวยการสามัญศึกษาจังหวัดนครปฐม ขอหนังสือเรื่องขอความ
อนุเคราะห์เพื่อทำการเก็บข้อมูลในการทำวิจัยจากผู้อำนวยการสามัญศึกษาจังหวัดนครปฐมถึงผู้บริหารโรงเรียน
มัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดนครปฐมทุกโรงเรียน ส่งถึงผู้บริหารโรงเรียนทุกโรงเรียนเพื่อขอความ
อนุเคราะห์นำแบบสอบถามให้ผู้บริหารโรงเรียนและครูปฏิบัติการสอนช่วยตอบแบบสอบถาม
การเก็บรวมรวมข้อมูล ผู้วิจัยนำแบบสอบถามไปส่งและเก็บคืนด้วยตนเอง แบบสอบถามจัดส่งไป 355
ฉบับ ได้รับคืน 355 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100.00 และเป็นฉบับที่สมบูรณ์ 315 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 88.73 ดังราย
ละเอียดตามตารางที่ 2
60
ตารางที่ 2 จำนวนและร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถามที่ส่งไป ได้รับคืนและฉบับที่สมบูรณ์จำแนกตามขนาดโรง
เรียน
ขนาดของโรงเรียน
จำนวน
ที่ส่งไป
(ฉบับ)
จำนวน
ที่ได้รับคืน
(ฉบับ)
ร้อยละของ
แบบสอบถาม
ที่ได้รับคืน
จำนวน
ฉบับที่สมบูรณ์
(ฉบับ)
ร้อยละของ
แบบสอบถาม
ฉบับที่สมบูรณ์
โรงเรียนขนาดใหญ่ 168 168 100.00 168 100.00
โรงเรียนขนาดกลาง 159 159 100.00 121 76.10
โรงเรียนขนาดเล็ก 28 28 100.00 26 92.86
รวม 355 355 100.00 315 88.73
จากตารางที่ 2 พบว่ามีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่จัดส่งไป 355 ฉบับ ได้รับคืน
355 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100.00 และมีผู้ตอบแบบสอบถามครบทุกข้อเป็นแบบสอบถามฉบับที่สมบูรณ์จำนวน
315 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 88.73
การวิเคราะห์ข้อมูล
ผู้วิจัยนำแบบสอบถามที่ได้รับคืนทั้งหมดมาดำเนินการตามลำดับดังนี้
1. นำแบบสอบถามที่ได้รับคืนมาตรวจสอบความสมบูรณ์ของแบบสอบถามโดยตรวจสอบว่าแบบสอบ
ถามแต่ละฉบับผู้ตอบตอบครบทุกข้อและตรงกับข้อที่กำหนดในแบบสอบถามหร ือไม่ปรากฏว่ามีแบบสอบถาม
สมบูรณ์ถูกต้องจำนวน 315 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 88.73 จึงจำแนก แบบสอบถามดังกล่าวตามตัวแปรพื้นฐาน
2. หาค่าร้อยละสำหรับข้อมูลที่ได้มาจากแบบสอบถามในตอนที่ 1 คือ สถานภาพของ ผู้ตอบแบบ
สอบถาม
3. ตรวจให้คะแนนแบบสอบถามตอนที่ 2 ตามเกณฑ์ที่กำหนดดังนี้
การให้คะแนนของแบบสอบถามและการแปลความหมายของระดับความคิดเห็น เกี่ยวกับวัฒน
ธรรมโรงเรียน ผู้วิจัยกำหนดการให้คะแนนเพื่อสะดวกในการวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับคำถามแต่ละข้อเพื่อหา
คะแนนรวมสรุปว่าวัฒนธรรมโรงเรียนมีระดับการปฏิบัติของโรงเรียนระดับใดดังนี้
5 หมายถึง โรงเรียนมีการปฏิบัติสิ่งนั้นมากที่สุด
4 หมายถึง โรงเรียนมีการปฏิบัติสิ่งนั้นมาก
3 หมายถึง โรงเรียนมีการปฏิบัติสิ่งนั้นปานกลาง
2 หมายถึง โรงเรียนมีการปฏิบัติสิ่งนั้นน้อย
1 หมายถึง โรงเรียนมีการปฏิบัติสิ่งนั้นน้อยที่สุด
4. ตรวจให้คะแนนแบบสอบถามตอนที่ 3 ตามเกณฑ์ที่กำหนดดังนี้
การให้คะแนนของแบบสอบถามและการแปลความหมายของระดับความคิดเห็น เกี่ยวกับบทบาท
ที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียน ผู้วิจัยกำหนดให้คะแนนเพื่อสะดวกในการวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับคำถามแต่ละ
ข้อเพื่อหาคะแนนรวมสรุปว่าบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมีระดับการปฏิบัติระดับใดดังนี้
5 หมายถึง ผู้บริหารมีการปฏิบัติจริงในสิ่งนั้นมากที่สุด
61
4 หมายถึง ผู้บริหารมีการปฏิบัติจริงในสิ่งนั้นมาก
3 หมายถึง ผู้บริหารมีการปฏิบัติจริงในสิ่งนั้นปานกลาง
2 หมายถึง ผู้บริหารมีการปฏิบัติจริงในสิ่งนั้นน้อย
1 หมายถึง ผู้บริหารมีการปฏิบัติจริงในสิ่งนั้นน้อยที่สุด
4. การวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับวัฒนธรรมโรงเรียนที่ส่งผลต่อบทบาทที่ปฏิบัติจริงของ ผู้บริหารโรง
เรียน ใช้วิธีการทางสถิติ คือ หาค่าเฉลี่ย ( X ) และหาค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ทั้งนี้ผู้วิจัยได้กำหนดเกณฑ์
ในการแปลความหมายค่าเฉลี่ยดังนี้
4.50 – 5.00 หมายถึง วัฒนธรรมโรงเรียนหรือบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหาร
โรงเรียนมัธยมศึกษา อยู่ในระดับมากที่สุด
3.50 – 4.49 หมายถึง วัฒนธรรมโรงเรียนหรือบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหาร
โรงเรียนมัธยมศึกษาอยู่ในระดับมาก
2.50 – 3.49 หมายถึง วัฒนธรรมโรงเรียนหรือบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหาร
โรงเรียนมัธยมศึกษาอยู่ในระดับปานกลาง
1.50 – 2.49 หมายถึง วัฒนธรรมโรงเรียนหรือบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหาร
โรงเรียนมัธยมศึกษาอยู่ในระดับน้อย
1.00 – 1.49 หมายถึง วัฒนธรรมโรงเรียนหรือบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหาร
โรงเรียนมัธยมศึกษาอยู่ในระดับน้อยที่สุด
5. ทดสอบสมมติฐาน โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวน(ANOVA) และการวิเคราะห์การถดถอย
พหุคูณ (Multiple Regression)
6. การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/PC+(Statistical Package for The Social
Science/Personal Computer plus)
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
1. สถิติที่ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ
หาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามวัฒนธรรมโรงเรียนและแบบสอบถามบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้
บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาโดยใช้วิธีสัมประสิทธิ์แอลฟา (∝ − Coefficient) ของครอนบัค (Cronbach อ้างถึง
ใน พวงรัตน์ ทวีรัตน์ 2540 : 125)
2. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
2.1 หาค่าร้อยละ (Percentage)
2.2 หาค่าเฉลี่ย (Arithmetic Mean)
2.3 หาค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
2.4 หาค่า ANOVA เปรียบเทียบข้อมูล ถ้ามีนัยสำคัญทางสถิติ ทดสอบเป็นรายคู่โดยวิธีการของ
Scheffe’s S.test
2.5 วิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นอย่างง่าย (Simple linear Regression analysis)
2.6 วิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression analysis)
บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
การนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเรื่อง วัฒนธรรมโรงเรียนที่ส่งผลต่อบทบาทที่
ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดนครปฐม เพื่อตอบ
วัตถุประสงค์ของการวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้แบ่งการนำเสนอออกเป็น 5 ตอนรายละเอียดดังต่อไปนี้
ตอนที่ 1 การวิเคราะห์สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม
ตอนที่ 2 การวิเคราะห์ระดับวัฒนธรรมโรงเรียนและระดับบทบาททปี่ ฏบิ ตั จิ รงิ ของผบู้ ริหาร
โรงเรียนมัธยมศึกษาจำแนกตามขนาดโรงเรียน
ตอนที่ 3 การวิเคราะห์เปรียบเทียบวัฒนธรรมโรงเรียนใน โรงเรียนมัธยมศึกษาจำแนกตาม
ขนาดโรงเรียน
ตอนที่ 4 การวิเคราะห์เปรียบเทียบบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา
จำแนกตามขนาดโรงเรียน
ตอนที่ 5 การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมโรงเรียนกับบทบาทที่ปฏิบัติจริง
ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา
3
ตอนที่ 1 การวิเคราะห์สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม
สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถามซึ่งเป็นผู้บริหารและครูปฏิบัติการสอนในโรงเรียน
มัธยมศึกษา 29 โรงเรียน จำนวน 315 คน เมื่อแยกพิจารณาตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา
ประสบการณ์การทำงาน การอบรมหลักสูตรผู้บริหารสถานศึกษาระดับสูง ขนาดของโรงเรียนและ
การปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่ดังรายละเอียดตามตารางที่ 3
64
ตารางที่ 3 สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม
สถานภาพ จำนวน ร้อยละ
1. เพศ
ชาย
หญิง
109
206
34.60
65.40
2. อายุ
ต่ำกว่า 30 ปี
31 – 45 ปี
45 ปีขึ้นไป
10
148
157
3.20
47.00
49.80
3. ระดับการศึกษา
ต่ำกว่าปริญญาตรี
ปริญญาตรี
สูงกว่าปริญญาตรี
8
252
55
2.50
80.00
17.50
4. ประสบการณ์การทำงาน
ต่ำกว่า 10 ปี
10 – 20 ปี
20 ปีขึ้นไป
24
105
186
7.60
33.30
59.10
5. การอบรมหลักสูตรผู้บริหารสถานศึกษาระดับสูง
เคย
ไม่เคย
41
274
13.00
87.00
6. ขนาดของโรงเรียนที่ท่านปฏิบัติงาน
ขนาดเล็ก
ขนาดกลาง
ขนาดใหญ่
26
121
168
8.30
38.40
53.30
7. ปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่
ผู้บริหารโรงเรียน
ครูปฏิบัติการสอน
29
286
9.20
90.80
65
จากตารางที่ 3 พบว่าในการวิจัยครั้งนี้ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงคิดเป็น
ร้อยละ 65.40 และมีอายุ 45 ปีคิดเป็นร้อยละ 49.80 จบการศึกษาในระดับปริญญาตรีคิดเป็นร้อยละ
80.00 มีประสบการณ์การทำงาน 20 ปีขึ้นไปคิดเป็นร้อยละ 59.10 ส่วนใหญ่เป็นครูปฏิบัติการสอน
คิดเป็นร้อยละ 90.80 ไม่เคยผ่านการอบรมหลักสูตรผู้บริหารสถานศึกษาระดับสูงคิดเป็นร้อยละ
87.00 และปฏิบัติงานอยู่ในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่คิดเป็นร้อยละ 53.30
ตอนที่ 2 การวิเคราะห์ระดับวัฒนธรรมโรงเรียนและระดับบทบาทที่ปฏิบัติจริงของ
ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาจำแนกตามขนาดโรงเรียน
2.1 ในการวิเคราะห์ระดับวัฒนธรรมโรงเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา ผู้วิจัยได้วิเคราะห์
ค่าเฉลี่ยและค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานของวัฒนธรรมโรงเรียนในแต่ละด้านและในภาพรวมและ
แปลผลตามเกณฑ์ระดับคุณภาพที่กำหนดไว้ดังรายละเอียดตามตารางที่ 4
66
ตารางที่ 4 ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าระดับของวัฒนธรรมโรงเรียนในภาพรวมใน
โรงเรียนมัธยมศึกษาทุกขนาด
วัฒนธรรมโรงเรียน ค่าเฉลี่ย
( )
ค่าความเบี่ยงเบน
มาตรฐาน( S.D.)
ค่าระดับ ลำดับที่
1. เป้าหมายของโรงเรียน 3.70 0.70 มาก 4
2. การมอบอำนาจ 3.71 0.73 มาก 2
3. การตัดสินใจ 3.47 0.70 ปานกลาง 10
4. ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่ง ของโรงเรียน 3.53 0.79 มาก 8
5. ความไว้วางใจ 3.49 0.99 ปานกลาง 9
6. ความมีคุณภาพ 3.70 0.67 มาก 3
7. การยอมรับนับถือ 3.77 0.69 มาก 1
8. ความเอื้ออาทร 3.62 0.77 มาก 6
9. ความซื่อสัตย์สุจริต 3.63 0.74 มาก 5
10. ความหลากหลายของบุคลากร 3.55 0.70 มาก 7
รวม 3.62 0.64 มาก
จากตารางที่ 4 พบว่าวัฒนธรรมโรงเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา
จังหวัดนครปฐม ในโรงเรียนมัธยมศึกษาทุกขนาดในภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ( =
3.62 S.D. = 0.64 ) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่ามีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก 8 ด้านและระดับ
ปานกลาง 2 ด้าน การปฏิบัติอยู่ในระดับมากเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อยดังนี้ (1) ด้านการ
ยอมรับนับถือ ( = 3.77 S.D. = 0.69) (2) ด้านการมอบอำนาจ ( = 3.71 S.D. = 0.73) (3) ด้าน
ความมีคุณภาพ ( = 3.70 S.D. = 0.67 ) (4) ด้านเป้าหมายของโรงเรียน ( = 3.70 S.D. = 0.70 )
(5) ด้านความซื่อสัตย์สุจริต ( = 3.63 S.D. = 0.74 ) (6) ด้านความเอื้ออาทร ( = 3.62 S.D. =
0.77 ) (7) ด้านความหลากหลายของบุคลากร ( = 3.55 S.D. = 0.70 ) และการปฏิบัติที่อยู่ระดับ
ปานกลาง 2 ด้าน เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย ดังนี้ (1) ด้านความไว้วางใจ ( =3.49 S.D.
= 0.99 ) (2) ด้านการตัดสินใจ ( x = 3.47 S.D. = 0.70)
x
x x
x
x x
x
x
x
x
67
ตารางที่ 5 ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าระดับของวัฒนธรรมโรงเรียนในภาพรวมใน
โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก
วัฒนธรรมโรงเรียน ค่าเฉลี่ย
( )
ค่าความเบี่ยงเบน
มาตรฐาน( S.D.)
ค่าระดับ ลำดับที่
1. เป้าหมายของโรงเรียน 3.74 0.60 มาก 7
2. การมอบอำนาจ 3.76 0.59 มาก 6
3. การตัดสินใจ 3.67 0.65 มาก 10
4. ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียน 3.88 0.66 มาก 4
5. ความไว้วางใจ 3.70 0.71 มาก 9
6. ความมีคุณภาพ 3.95 0.52 มาก 2
7. การยอมรับนับถือ 3.96 0.60 มาก 1
8. ความเอื้ออาทร 3.90 0.63 มาก 3
9. ความซื่อสัตย์สุจริต 3.77 0.64 มาก 5
10. ความหลากหลายของบุคลากร 3.72 0.59 มาก 8
รวม 3.81 0.54 มาก
จากตารางที่ 5 พบว่าวัฒนธรรมโรงเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา
จังหวัดนครปฐม ในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กในภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ( =
3.81 S.D. = 0.54 ) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าทุกด้านอยู่ในระดับมากเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยมาก
ไปหาน้อยดังนี้ (1) ด้านการยอมรับนับถือ ( = 3.96 S.D. = 0.60 ) (2) ด้านความมีคุณภาพ
( = 3.95 S.D. = 0.52 ) (3) ด้านความเอื้ออาทร ( = 3.90 S.D. = 0.63 ) (4) ด้านความรู้สึก
เป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียน ( = 3.88 S.D. = 0.66 ) (5) ด้านความซื่อสัตย์สุจริต ( = 3.77 S.D.
= 0.64 ) (6) ด้านการมอบอำนาจ ( = 3.76 S.D. = 0.59 ) (7) ด้านเป้าหมายของโรงเรียน ( =
3.74 S.D. = 0.60 ) (8) ด้านความหลากหลายของบุคลากร ( = 3.72 S.D. = 0.59) (9) ด้านความ
ไว้วางใจ ( = 3.70 S.D. = 0.71 ) (10) ด้านการตัดสินใจ ( = 3.67 S.D. = 0.65 )
x
x
x
x
x x
x
x
x
x x
x
68
ตารางที่ 6 ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าระดับของวัฒนธรรมโรงเรียนในภาพรวมใน
โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง
วัฒนธรรมโรงเรียน ค่าเฉลี่ย
( )
ค่าความเบี่ยงเบน
มาตรฐาน( S.D.)
ค่าระดับ ลำดับที่
1. เป้าหมายของโรงเรียน 3.55 0.71 มาก 6
2. การมอบอำนาจ 3.67 0.72 มาก 3
3. การตัดสินใจ 3.44 0.69 ปานกลาง 10
4. ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียน 3.50 0.73 มาก 8
5. ความไว้วางใจ 3.58 1.28 มาก 4
6. ความมีคุณภาพ 3.67 0.66 มาก 2
7. การยอมรับนับถือ 3.73 0.63 มาก 1
8. ความเอื้ออาทร 3.54 0.73 มาก 7
9. ความซื่อสัตย์สุจริต 3.58 0.72 มาก 5
10. ความหลากหลายของบุคลากร 3.48 0.68 ปานกลาง 9
รวม 3.57 0.64 มาก
จากตารางที่ 6 พบว่าวัฒนธรรมโรงเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา
จังหวัดนครปฐม ในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง ในภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ( =
3.57 S.D. = 0.64 ) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านที่มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก 8 ด้าน และ
ระดับปานกลาง 2 ด้าน ด้านที่มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยดังนี้ (1) ด้านการ
ยอมรับนับถือ ( = 3.73 S.D. = 0.63 ) (2) ด้านความมีคุณภาพ ( = 3.67 S.D. = 0.66 ) (3)
ด้านการมอบอำนาจ ( = 3.67 S.D. = 0.72 ) (4) ด้านความไว้วางใจ ( = 3.58 S.D. = 1.28 )
(5 ) ด้านความซื่อสัตย์สุจริต ( = 3.58 S.D. = 0.72 ) (6) ด้านเป้าหมายของโรงเรียน ( =
3.55 S.D. = 0.70 ) (7 ) ด้านความเอื้ออาทร ( = 3.54 S.D. = 0.73 ) (8) ด้านความรู้สึกเป็น
ส่วนหนึ่งของโรงเรียน ( = 3.50 S.D. = 0.73 ) และการปฏิบัติที่อยู่ในระดับปานกลาง 2 ด้าน
เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยมากไปน้อยดังนี้ (1) ด้านความหลากหลายของบุคลากร ( = 3.48 S.D. =
0.68 ) (2) ด้านการตัดสินใจ ( = 3.44 S.D. = 0.69 )
x
x
x
x
x
x x
x
x x
x
x
69
ตารางที่ 7 ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าระดับของวัฒนธรรมโรงเรียนในภาพรวมใน
โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่
วัฒนธรรมโรงเรียน ค่าเฉลี่ย
( )
ค่าความเบี่ยงเบน
มาตรฐาน( S.D.)
ค่าระดับ ลำดับที่
1. เป้าหมายของโรงเรียน 3.80 0.70 มาก 1
2. การมอบอำนาจ 3.73 0.76 มาก 3
3. การตัดสินใจ 3.45 0.72 ปานกลาง 9
4. ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียน 3.49 0.84 ปานกลาง 8
5. ความไว้วางใจ 3.39 0.77 ปานกลาง 10
6. ความมีคุณภาพ 3.69 0.69 มาก 4
7. การยอมรับนับถือ 3.76 0.75 มาก 2
8. ความเอื้ออาทร 3.63 0.81 มาก 6
9. ความซื่อสัตย์สุจริต 3.65 0.76 มาก 5
10. ความหลากหลายของบุคลากร 3.58 0.73 มาก 7
รวม 3.62 0.65 มาก
จากตารางที่ 7 พบว่าวัฒนธรรมโรงเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา
จังหวัดนครปฐม ในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ ในภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ( =
3.61 S.D. = 0.65 ) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านที่มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก 7 ด้าน และอยู่
ในระดับปานกลาง 3 ด้าน ด้านที่มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยดังนี้ (1) ด้าน
เป้าหมายของโรงเรียน ( =3.80 S.D. = 0.70) (2) ด้านการยอมรับนับถือ ( = 3.76 S.D. = 0.75 )
(3 ) ด้านการมอบอำนาจ ( = 3.73 S.D. = 0.76 ) (4) ด้านความมีคุณภาพ ( = 3.69 S.D. =
0.69 ) (5) ด้านความซื่อสัตย์สุจริต ( = 3.65 S.D. = 0.76 ) (6) ด้านความเอื้ออาทร ( =
3.63 S.D. = 0.81 ) (7) ด้านความหลากหลายของบุคลากร ( = 3.58 S.D. = 0.73 ) และอยู่ใน
ระดับปานกลาง 3 ด้านเรียงตามลำดับดังนี้ (1) ด้านความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียน ( = 3.49
S.D. = 0.84 ) (2) ด้านการตัดสินใจ ( = 3.45 S.D. = 0.72) (3) ด้านความไว้วางใจ ( = 3.39
S.D. = 0.77 )
x
x
x
x
x
x
x
x
x
x
x
x
76
จากตารางที่ 12 พบว่าวัฒนธรรมโรงเรียนในภาพรวมในโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีขนาด
ต่างกันมีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และเมื่อพิจารณาวัฒนธรรมโรงเรียนเป็น
รายด้านพบว่าวัฒนธรรมโรงเรียนด้านเป้าหมายของโรงเรียนและความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของ
โรงเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีขนาดต่างกันมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่
ระดับ 0.05 เพื่อให้ทราบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของวัฒนธรรมโรงเรียนตามขนาดโรงเรียนเป็น
รายคู่จึงได้ทำการทดสอบโดยใช้ วิธีการของ Scheffe’s S.test
3.2 นำผลค่าเฉลี่ยของวัฒนธรรมโรงเรียนด้านเป้าหมายของโรงเรียนและความรู้สึกเป็น
ส่วนหนึ่งของโรงเรียนมาทดสอบเป็นรายคู่ดังรายละเอียดตามตารางที่ 13 และ 14
ตารางที่ 13 การเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยวัฒนธรรมโรงเรียนด้านเป้าหมายของ
โรงเรียนตามขนาดของโรงเรียนเป็นรายคู่
ขนาดโรงเรียน
ขนาดโรงเรียน
Mean
Difference (1-1)
Std. Error
p
ใหญ่ กลาง 0.24 0.08 0.02
ใหญ่ เล็ก 0.06 0.15 0.93
เล็ก กลาง 0.18 0.15 0.47
* มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
จากตารางที่ 13 เมื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของวัฒนธรรมโรงเรียนด้าน
เป้าหมายของโรงเรียนตามขนาดโรงเรียนทีละคู่แล้วพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทาง
สถิติที่ระดับ 0.05 คือ วัฒนธรรมโรงเรียนด้านเป้าหมายของโรงเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาด
ใหญ่ มีการปฏิบัติมากกว่าในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง
77
ตารางที่ 14 การเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยวัฒนธรรมโรงเรียนด้านความรู้สึก
เป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียนตามขนาดของโรงเรียนเป็นรายคู่
ขนาดโรงเรียน ขนาดโรงเรียน Mean
Difference (1-1)
Std. Error
p
เล็ก กลาง 0.38 0.17 0.05
เล็ก ใหญ่ 0.40 0.16 0.05
กลาง ใหญ่ 0.02 0.09 0.99
* มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
จากตารางที่ 14 เมื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของวัฒนธรรมโรงเรียนด้าน
ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียนตามขนาดโรงเรียนทีละคู่แล้วพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ วัฒนธรรมโรงเรียนด้านความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียน
ในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กมีการปฏิบัติมากกว่าในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลางและ
ขนาดใหญ่
3.3 ผลการทดสอบ t – test เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยวัฒนธรรมโรงเรียน
ตามความเห็นของผู้บริหารและคณะครูดังรายละเอียดตามตารางที่ 15
78
ตารางที่ 15 การเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยและค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานวัฒนธรรม
โรงเรียนตามความเห็นของผู้บริหารและคณะครู
ค่าเฉลี่ยและค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานวัฒน
ธรรม
โรงเรียนตามความเห็นผู้บริหารและคณะครู
ผู้บริหาร คณะครู
วัฒนธรรมโรงเรียน
X S.D. X S.D.
t p
1. เป้าหมายของโรงเรียน 4.06 0.41 3.66 0.72 4.48 0.00
2. การมอบอำนาจ 4.32 0.48 3.65 0.72 6.89 0.00
3. การตัดสินใจ 4.17 0.49 3.39 0.68 6.00 0.00
4. ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่ง
ของโรงเรียน
4.12
0.47
3.47
0.79
6.56
0.00
5. ความไว้วางใจ 4.50 2.15 3.39 0.72 2.76 0.01
6. ความมีคุณภาพ 4.23 0.46 3.65 0.66 4.60 0.00
7. การยอมรับนับถือ 4.25 0.43 3.72 0.69 5.86 0.00
8. ความเอื้ออาทร 4.08 0.47 3.57 0.78 5.18 0.00
9. ความซื่อสัตย์สุจริต 4.01 0.54 3.59 0.74 3.86 0.00
10. ความหลากหลายของ
บุคลากร
3.97
0.45
3.51
0.71
4.97
0.00
รวม 4.17 0.47 3.56 0.63 5.08 0.00
จากตารางที่ 15 พบว่าค่าเฉลี่ยวัฒนธรรมโรงเรียนในภาพรวมของโรงเรียนมัธยมศึกษาตาม
ความเห็นของผู้บริหารและคณะครูมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับทางสถิติ
0.01 และเมื่อพิจารณาวัฒนธรรมโรงเรียนเป็นรายด้านพบว่าทุกด้านตามความเห็นของผู้บริหารและ
คณะครูมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยผู้บริหารมีความเห็นเกี่ยวกับ
วัฒนธรรมโรงเรียนมากกว่าคณะครู
79
ตอนที่ 4 การวิเคราะห์เปรียบเทียบบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา
จำแนกตามขนาดโรงเรียน
ผู้วิจัยได้วิเคราะห์เปรียบเทียบโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว ( One –
Way Anova )
4.1 ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของ
บทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษาตามขนาดโรงเรียน
ดังรายละเอียดตามตารางที่ 16
ตารางที่ 16 การเปรียบเทียบบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาจำแนกตามขนาด
โรงเรียน
วัฒนธรรมโรงเรียน df SS. MS. F p
1. ด้านการบริหารทั่วไป
Between Groups 2 3.43 1.72 3.36 0.04
Within Groups 312 159.10 0.51
Total 314 162.53
2. ด้านการบริหารงานวิชาการ
Between Groups 2 2.25 1.12 2.49 0.08
Within Groups 312 140.43 0.45
Total 314 142.68
3. ด้านการบริหารงานธุรการ
Between Groups 2 2.53 1.27 2.64 0.07
Within Groups 312 149.65 0.48
Total 314 152.18
4. ด้านการบริหารงานปกครองนัก
เรียน
Between Groups 2 2.92 1.46 2.67 0.07
Within Groups 312 170.97 0.55
Total 314 173.89
80
ตารางที่ 16 (ต่อ)
วัฒนธรรมโรงเรียน df SS. MS. F
p
5. ด้านการบริหารงานบริการ
Between Groups 2 3.35 1.68 3.49 0.03
Within Groups 312 149.55 0.48
Total 314 152.90
6. ด้านบริหารงานโรงเรียนกับชุม
ชน
Between Groups 2 3.59 1.79 3.65 0.02
Within Groups 312 153.21 0.49
Total 314 156.80
7. ด้านการบริหารงานอาคาร
สถานที่
Between Groups 2 4.19 2.10 3.82 0.02
Within Groups 312 171.01 0.55
Total 314 175.20
รวม
Between Groups 2 2.31 1.16 2.84 0.06
Within Groups 312 127.14 0.41
Total 314 129.45
จากตารางที่ 16 พบว่าบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาจำแนกตาม
ขนาดโรงเรียนมีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และเมื่อพิจารณาบทบาทที่ปฏิบัติจริง
ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาเป็นรายด้านพบว่าบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยม
ศึกษาด้านการบริหารทั่วไป การบริหารงานบริการ การบริหารงานโรงเรียนกับชุมชนและการ
บริหารงานอาคารสถานที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เพื่อให้ทราบ
82
ความแตกต่างของบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามขนาดของโรงเรียนเป็น
รายคู่จึงได้ทำการทดสอบต่อโดยใช้วิธีการของ Scheffe’s S.test
4.2 นำผลค่าเฉลี่ยของบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ด้านการ
บริหารทั่วไป การบริหารงานบริการ การบริหารงานโรงเรียนกับชุมชนและการบริหารงานอาคาร
สถานที่มาทดสอบเป็นรายคู่ดังรายละเอียดตามตารางที่ 17 , 18 , 19 และ 20
ตารางที่ 17 การเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหาร
โรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการบริหารทั่วไปตามขนาดของโรงเรียนเป็นรายคู่
ขนาดโรงเรียน ขนาดโรงเรียน Mean
Difference (1-1)
Std. Error
p
ใหญ่ กลาง 0.22 0.09 0.04
ใหญ่ เล็ก 0.02 0.15 0.99
เล็ก กลาง 0.19 0.15 0.46
* มีค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
จากตารางที่ 17 เมื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของบทบาทที่ปฏิบัติจริงของ
ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการบริหารทั่วไปตามขนาดโรงเรียนทีละคู่แล้วพบว่ามีความ
แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ บทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียน
มัธยมศึกษาด้านการบริหารทั่วไปในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่มากกว่าในโรงเรียนมัธยมศึกษา
ขนาดกลาง
83
ตารางที่ 18 การเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหาร
โรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการบริหารงานบริการตามขนาดของโรงเรียนเป็นรายคู่
ขนาดโรงเรียน ขนาดโรงเรียน Mean
Difference (1-1)
Std. Error
p
เล็ก ใหญ่ 0.26 0.15 0.22
เล็ก กลาง 0.38 0.15 0.04
ใหญ่ กลาง 0.12 0.08 0.32
* มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
จากตารางที่ 18 เมื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของบทบาทที่ปฏิบัติจริงของ
ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการบริหารงานบริการตามขนาดโรงเรียนทีละคู่แล้วพบว่ามีความ
แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ บทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียน
มัธยมศึกษาด้านการบริหารงานบริการในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กมากกว่าในโรงเรียนมัธยม
ศึกษาขนาดกลาง
ตารางที่ 19 การเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหาร
โรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการบริหารงานโรงเรียนกับชุมชนตามขนาดของโรงเรียน
เป็นรายคู่
ขนาดโรงเรียน ขนาดโรงเรียน Mean
Difference (1-1)
Std. Error
p
เล็ก ใหญ่ 0.23 0.15 0.29
เล็ก กลาง 0.38 0.15 0.04
ใหญ่ กลาง 0.15 0.08 0.22
* มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
84
จากตารางที่ 19 เมื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของบทบาทที่ปฏิบัติจริงของ
ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการบริหารงานโรงเรียนกับชุมชนตามขนาดโรงเรียนทีละคู่แล้ว
พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ บทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้
บริหาร โรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการบริหารงานโรงเรียนกับชุมชนในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาด
เล็ก มากกว่าในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง
ตารางที่ 20 การเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียน
มัธยมศึกษาด้านการบริหารงานอาคารสถานที่ตามขนาดของโรงเรียนเป็นรายคู่
ขนาดโรงเรียน ขนาดโรงเรียน Mean
Difference (1-1)
Std. Error
p
เล็ก กลาง 0.36 0.16 0.05
เล็ก ใหญ่ 0.43 0.16 0.02
กลาง ใหญ่ 0.07 0.09 0.73
* มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
จากตารางที่ 20 เมื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของบทบาทที่ปฏิบัติจริงของ
ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการบริหารงานอาคารสถานที่ตามขนาดโรงเรียนทีละคู่แล้วพบว่า
มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ บทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหาร
โรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการบริหารงานอาคารสถานที่ในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กมากกว่าใน
โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่และขนาดกลาง
4.3 ผลการทดสอบ t – test เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยบทบาทที่ปฏิบัติจริง
ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามความเห็นของผู้บริหารและคณะครู
84
ตารางที่ 21 การเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยและค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานบทบาทที่
ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามความเห็นของผู้บริหารและคณะครู
ค่าเฉลี่ยและค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน
บทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหาร
ตามความเห็นของผู้บริหาร และคณะครู
ผู้บริหาร คณะครู
บทบาทที่ปฏิบัติจริงของ
ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา
X S.D. X S.D.
t
p
1. ด้านการบริหารทั่วไป 4.19 0.50 3.73 0.73 4.59 0.00
2. ด้านการบริหารงานวิชาการ 4.07 0.58 3.64 0.67 3.29 0.00
3. ด้านการบริหารงานธุรการ 4.24 0.62 3.79 0.69 3.35 0.00
4. ด้านการบริหารงานปกครองนัก
เรียน
4.27 0.53 3.74 0.75 3.70 0.00
5. ด้านการบริหารงานบริการ 4.08 0.49 3.59 0.70 4.85 0.00
6. ด้านการบริหารงานโรงเรียนกับชุม
ชน
4.05 0.57 3.54 0.70 4.31 0.00
7. ด้านการบริหารงานอาคารสถานที่ 4.12 0.61 3.51 0.74 4.31 0.00
รวม 4.14 0.50 3.65 0.64 4.06 0.00
จากตารางที่ 21 พบว่าบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาพรวม
ตามความเห็นของผู้บริหารและคณะครูมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
และเมื่อพิจารณาบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาเป็นรายด้านพบว่าทุกด้าน
ตามความเห็นของผู้บริหารและคณะครูมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
โดยผู้บริหารมีความเห็นเกี่ยวกับบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษามีมากกว่า
ความเห็นของคณะครู
ตอนที่ 5 การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมโรงเรียนกับบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้
บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา
85
ในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมโรงเรียนกับบทบาทที่ปฏิบัติจริงของ
ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ทั้งในภาพรวมและแยกวิเคราะห์เป็นรายด้านตาม
ขนาดของโรงเรียน
5.1 การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมโรงเรียนกับบทบาทที่ปฏิบัติจริง
ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาทุกขนาดดังรายละเอียดตามตารางที่ 22
ตารางที่ 22 ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมโรงเรียนกับบทบาทที่ปฏิบัติจริงของ
ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาพรวมในโรงเรียนมัธยมศึกษาทุกขนาด
ตัวแปร
ด้านการ
บริหาร
ทั่วไป
ด้านการ
บริหาร
งาน
วิชาการ
ด้านการ
บริหาร
งาน
ธุรการ
ด้านการ
บริหาร
งาน
ปกครอง
นักเรียน
ด้านการ
บริหาร
งาน
บริการ
ด้านการ
บริหาร
งาน
โรงเรียน
กับชุมชน
ด้านการ
บริหาร
งาน
อาคาร
สถานที่
รวม
1. เป้าหมายของโรงเรียน 0.69** 0.71** 0.64** 0.64** 0.67** 0.66** 0.64** 0.74**
2. การมอบอำนาจ 0.72** 0.70** 0.66** 0.63** 0.66** 0.67** 0.62** 0.74**
3. การตัดสินใจ 0.70** 0.69** 0.66** 0.65** 0.66** 0.67** 0.65** 0.74**
4. ความรู้สึกเป็นส่วน
หนึ่งของโรงเรียน
0.69**
0.67**
0.65**
0.63**
0.67**
0.63**
0.64**
0.72**
5. ความไว้วางใจ 0.53** 0.53** 0.51** 0.48** 0.52** 0.54** 0.50** 0.57**
6. ความมีคุณภาพ 0.76** 0.70** 0.68** 0.63** 0.68** 0.69** 0.67** 0.76**
7. การยอมรับนับถือ 0.81** 0.71** 0.73** 0.68** 0.72** 0.69** 0.69** 0.80**
8. ความเอื้ออาทร 0.81** 0.73** 0.74** 0.69** 0.74** 0.73** 0.71** 0.81**
9. ความซื่อสัตย์สุจริต 0.80** 0.75** 0.75** 0.72** 0.79** 0.72** 0.73** 0.83**
10.ความหลากหลาย
ของบุคลากร
0.74**
0.72**
0.70**
0.67**
0.71**
0.71**
0.67**
0.78**
รวม 0.84** 0.80** 0.78** 0.74** 0.78** 0.78** 0.76** 0.87**
** มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
จากตารางที่ 22 ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมโรงเรียนกับบทบาทที่
ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาทุกขนาดพบว่าในภาพรวมวัฒนธรรมโรงเรียนมีความ
สัมพันธ์กับบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาทุกขนาดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ 0.01 โดยความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง ( R = 0.87 )
86
เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมโรงเรียนแต่ละด้านกับบทบาทที่ปฏิบัติจริง
ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาทุกขนาดพบว่าวัฒนธรรมโรงเรียนแต่ละด้านมีความสัมพันธ์กับ
บทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาทุกด้านในโรงเรียนมัธยมศึกษาทุกขนาด
อยู่ในระดับสูงตามลำดับดังนี้ ความซื่อสัตย์สุจริต (R = 0.83 ) ความเอื้ออาทร (R = 0.81 )การยอมรับ
นับถือ (R = 0.80 ) ความหลากหลายของบุคลากร (R = 0.78 ) ความมีคุณภาพ (R = 0.76 ) การตัดสิน
ใจ (R = 0.74 ) เป้าหมายของโรงเรียน (R = 0.74 ) การมอบอำนาจ (R = 0.74) ความรู้สึกเป็นส่วน
หนึ่งของโรงเรียน (R = 0.72 ) ความไว้วางใจ (R = 0.57 )
เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมโรงเรียนในภาพรวมกับบทบาทที่ปฏิบัติจริง
ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาแต่ละด้านในโรงเรียนมัธยมศึกษาทุกขนาดพบว่าวัฒนธรรม
โรงเรียนในภาพรวมมีความสัมพันธ์กับบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาแต่ละ
ด้านอยู่ในระดับสูง ตามลำดับดังนี้ ด้านการบริหารทั่วไป (R = 0.84 ) ด้านการบริหารงานวิชาการ
(R = 0.80) ด้านการบริหารงานบริการ (R = 0.78 ) ด้านการบริหารงานธุรการ (R = 0.78 ) ด้านการ
บริหารงานโรงเรียนกับชุมชน (R = 0.78 ) ด้านการบริหารงานอาคารสถานที่ (R = 0.76 ) ด้านการ
บริหารงานปกครองนักเรียน (R = 0.74 )
88
การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณเพื่อศึกษาวัฒนธรรมโรงเรียนที่ส่งผลต่อบทบาทที่ปฏิบัติ
จริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาทุกขนาดดังรายละเอียดตามตารางที่ 23 และ 24
ตารางที่ 23 การวิเคราะห์ความแปรปรวนของการถดถอยพหุคูณของวัฒนธรรมโรงเรียน ด้านความ
ซื่อสัตย์สุจริต เป้าหมายของโรงเรียน ความเอื้ออาทร การตัดสินใจ การมอบอำนาจ
และความหลากหลายของบุคลากรกับบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยม
ศึกษาทุกด้านในโรงเรียนมัธยมศึกษาทุกขนาด
แหล่งความแปรปรวน df SS. MS. F p
Regression 6 101.11 16.85 183.16 0.00
Residual 308 28.34 0.09
สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 0.88
สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์กำลังสอง 0.78
สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์กำลังสองที่ปรับแล้ว 0.78
ความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน 0.30
ตารางที่ 24 การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณตัวแปรวัฒนธรรมโรงเรียนในแต่ละด้าน
ตัวแปร
สัมประสิทธิ์
การถดถอย
SSB t p
ความซื่อสัตย์สุจริต ( X9 ) 0.19 0.06 3.36 0.00
เป้าหมายของโรงเรียน ( X1 ) 0.17 0.04 4.47 0.00
ความเอื้ออาทร ( X8 ) 0.19 0.05 3.67 0.00
การตัดสินใจ ( X3 ) 0.09 0.04 2.12 0.04
การมอบอำนาจ ( X2 ) 0.11 0.04 2.95 0.00
ความหลากหลายของบุคลากร ( X10 ) 0.13 0.05 2.86 0.01
(ค่าคงที่) 0.49 0.10 4.80 0.00
จากตารางที่ 24 ตัวแปรวัฒนธรรมโรงเรียนด้านความซื่อสัตย์สุจริต เป้าหมายของโรงเรียน
ความเอื้ออาทร การตัดสินใจ การมอบอำนาจและความหลากหลายของบุคลากรส่งผลต่อบทบาท
89
ที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาทุกด้านในโรงเรียนมัธยมศึกษาทุกขนาดเขียนเป็น
สมการถดถอยพหุคูณดังนี้
ŷ = 0.49 + 0.17X1 + 0.11X2 + 0.09X3 + 0.19X8 + 0.19X9 + 0.13X10
เมื่อ ŷ แทน ค่าพยากรณ์บทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาทุกขนาด
X1 แทน วัฒนธรรมโรงเรียนด้านเป้าหมายของโรงเรียน
X2 แทน วัฒนธรรมโรงเรียนด้านการมอบอำนาจ
X3 แทน วัฒนธรรมโรงเรียนด้านการตัดสินใจ
X8 แทน วัฒนธรรมโรงเรียนด้านความเอื้ออาทร
X9 แทน วัฒนธรรมโรงเรียนด้านความซื่อสัตย์สุจริต
X10 แทน วัฒนธรรมโรงเรียนด้านความหลากหลายของบุคลากร
การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณเพื่อศึกษาวัฒนธรรมโรงเรียนด้านที่ส่งผลต่อบทบาทที่
ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการบริหารทั่วไปในโรงเรียนมัธยมศึกษาทุกขนาด
ดังรายละเอียดตามตารางที่ 25 และ 26
ตารางที่ 25 การวิเคราะห์ความแปรปรวนของการถดถอยพหุคูณของวัฒนธรรมโรงเรียนด้านความ
เอื้ออาทร การมอบอำนาจ ความซื่อสัตย์สุจริต การยอมรับนับถือ เป้าหมายของ
โรงเรียน ความไว้วางใจและความหลากหลายของบุคลากรกับบทบาทที่ปฏิบัติจริง
ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการบริหารทั่วไปในโรงเรียนมัธยมศึกษา
ทุกขนาด
แหล่งความแปรปรวน df SS. MS. F
p
Regression 7 121.22 17.32 128.67 0.00
Residual 307 41.32 0.14
สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 0.86
สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์กำลังสอง 0.75
สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์กำลังสองที่ปรับแล้ว 0.74
ความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน 0.37
90
ตารางที่ 26 การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณตัวแปรวัฒนธรรมโรงเรียนด้านความเอื้ออาทร
การมอบอำนาจ ความซื่อสัตย์สุจริต การยอมรับนับถือ เป้าหมายของโรงเรียน
ความไว้วางใจและความหลากหลายของบุคลากรกับบทบาทที่ปฏิบัติจริงของ
ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการบริหารทั่วไปในโรงเรียนมัธยมศึกษาทุกขนาด
ตัวแปร
สัมประสิทธิ์
การถดถอย
SSB t p
ความเอื้ออาทร (X8) 0.17 0.07 2.36 0.02
การมอบอำนาจ (X2) 0.16 0.05 3.36 0.00
ความซื่อสัตย์สุจริต (X9) 0.20 0.07 2.87 0.00
การยอมรับนับถือ (X7) 0.27 0.07 3.77 0.00
เป้าหมายของโรงเรียน (X1) 0.11 0.07 2.28 0.02
ความไว้วางใจ (X5) 0.07 0.03 2.44 0.02
ความหลากหลายของบุคลากร(X10) 0.13 0.06 2.34 0.02
(ค่าคงที่) 0.22 0.13 1.76 0.08
จากตารางที่ 26 ตัวแปรวัฒนธรรมโรงเรียนด้านความเอื้ออาทร การมอบอำนาจ ความ
ซื่อสัตย์สุจริต การยอมรับนับถือ เป้าหมายของโรงเรียน ความไว้วางใจและความหลากหลายของ
บุคลากรส่งผลต่อบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการบริหารทั่วไปใน
โรงเรียนมัธยมศึกษาทุกขนาด เขียนเป็นสมการถดถอยพหุคูณดังนี้
ŷ = 0.22 + 0.11X1 + 0.16X2 + 0.07X5 + 0.27X7 + 0.17X8 + 0.20X9 + 0.13X10
เมื่อ ŷ แทน ค่าพยากรณ์บทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้าน การ
บริหารทั่วไป ในโรงเรียนมัธยมศึกษาทุกขนาด
X1 แทน วัฒนธรรมโรงเรียนด้านเป้าหมายของโรงเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษาทุกขนาด
X2 แทน วัฒนธรรมโรงเรียนด้านการมอบอำนาจในโรงเรียนมัธยมศึกษาทุกขนาด
X5 แทน วัฒนธรรมโรงเรียนด้านความไว้วางใจในโรงเรียนมัธยมศึกษาทุกขนาด
X7 แทน วัฒนธรรมโรงเรียนด้านการยอมรับนับถือในโรงเรียนมัธยมศึกษาทุกขนาด
X8 แทน วัฒนธรรมโรงเรียนด้านความเอื้ออาทรในโรงเรียนมัธยมศึกษาทุกขนาด
X9 แทน วัฒนธรรมโรงเรียนด้านความซื่อสัตย์สุจริตในโรงเรียนมัธยมศึกษาทุกขนาด
X10 แทน วัฒนธรรมโรงเรียนด้านความหลากหลายของบุคลากรในโรงเรียนมัธยม
91
การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณเพื่อศึกษาวัฒนธรรมโรงเรียนด้านที่ส่งผลต่อบทบาทที่
ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนมัธยมศึกษา
ทุกขนาดดังรายละเอียดตามตารางที่ 27 และ 28
ตารางที่ 27 การวิเคราะห์ความแปรปรวนของการถดถอยพหุคูณของวัฒนธรรมโรงเรียนด้าน
ความซื่อสัตย์สุจริต เป้าหมายของโรงเรียน การมอบอำนาจและความหลากหลายของ
บุคลากรกับบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการบริหารงาน
วิชาการในโรงเรียนมัธยมศึกษาทุกขนาด
แหล่งความแปรปรวน df SS. MS. F p
Regression 4 94.77 23.69 153.32 0.00
Residual 310 47.90 0.16
สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 0.82
สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์กำลังสอง 0.66
สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์กำลังสองที่ปรับแล้ว 0.66
ความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน 0.39
ตารางที่ 28 การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณตัวแปรวัฒนธรรมโรงเรียนด้านความซื่อสัตย์สุจริต
เป้าหมายของโรงเรียน การมอบอำนาจและความหลากหลายของบุคลกรกับบทบาท
ที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน
มัธยมศึกษาทุกขนาด
ตัวแปร
สัมประสิทธิ์
การถดถอย
SSB t p
ความซื่อสัตย์สุจริต (X9) 0.29 0.06 4.49 0.00
เป้าหมายของโรงเรียน (X1) 0.23 0.05 4.64 0.00
การมอบอำนาจ (X2) 0.20 0.05 4.31 0.00
ความหลากหลายของบุคลากร (X10) 0.18 0.06 3.23 0.00
(ค่าคงที่) 0.52 0.13 3.99 0.00
92
จากตารางที่ 28 ตัวแปรวัฒนธรรมโรงเรียนด้านความซื่อสัตย์สุจริต เป้าหมายของโรงเรียน
การมอบอำนาจและความหลากหลายของบุคลากรส่งผลต่อบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหาร
โรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนมัธยมศึกษาทุกขนาดเขียนเป็นสมการ
ถดถอยพหุคูณดังนี้
ŷ = 0.52 + 0.23X1 + 0.20X2 + 0.29X9 + 0.18X10
เมื่อ ŷ แทน ค่าพยากรณ์บทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมด้านการบริหาร
งานวิชาการในโรงเรียนมัธยมศึกษาทุกขนาด
X1 แทน วัฒนธรรมโรงเรียนด้านเป้าหมายของโรงเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา
ทุกขนาด
X2 แทน วัฒนธรรมโรงเรียนด้านการมอบอำนาจในโรงเรียนมัธยมศึกษาทุกขนาด
X9 แทน วัฒนธรรมโรงเรียนด้านความซื่อสัตย์สุจริตในโรงเรียนมัธยมศึกษาทุกขนาด
X10 แทน วัฒนธรรมโรงเรียนด้านความหลากหลายของบุคลากรในโรงเรียนมัธยมศึกษา
ทุกขนาด
การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณเพื่อศึกษาวัฒนธรรมโรงเรียนด้านที่ส่งผลต่อบทบาทที่
ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการบริหารงานธุรการในโรงเรียนมัธยมศึกษา
ทุกขนาดดังรายละเอียดตามตารางที่ 29 และ 30
ตารางที่ 29 การวิเคราะห์ความแปรปรวนของการถดถอยพหุคูณของวัฒนธรรมโรงเรียนด้าน
ความซื่อสัตย์สุจริต การยอมรับนับถือ เป้าหมายของโรงเรียน ความหลากหลายของ
บุคลากรและการมอบอำนาจ กับบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยม
ศึกษาด้านการบริหารงานธุรการในโรงเรียนมัธยมศึกษาทุกขนาด
แหล่งความแปรปรวน df SS. MS. F p
Regression 5 90.11 19.22 105.94 0.00
Residual 309 56.06 0.18
สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 0.80
สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์กำลังสอง 0.63
สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์กำลังสองที่ปรับแล้ว 0.63
ความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน 0.43
93
ตารางที่ 30 การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณตัวแปรวัฒนธรรมโรงเรียนด้านความซื่อสัตย์สุจริต
การยอมรับนับถือ เป้าหมายของโรงเรียน ความหลากหลายของบุคลากร และการ
มอบอำนาจกับบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการบริหาร
งานธุรการในโรงเรียนมัธยมศึกษาทุกขนาด
ตัวแปร
สัมประสิทธิ์
การถดถอย
SSB t p
ความซื่อสัตย์สุจริต (X9) 0.25 0.07 3.45 0.00
การยอมรับนับถือ (X7) 0.23 0.07 3.24 0.00
เป้าหมายของโรงเรียน (X1) 0.12 0.05 2.31 0.02
ความหลากหลายของบุคลากร (X10) 0.15 0.06 2.41 0.02
การมอบอำนาจ (X2) 0.12 0.06 2.19 0.03
(ค่าคงที่) 0.64 0.15 4.36 0.00
จากตารางที่ 30 ตัวแปรวัฒนธรรมโรงเรียนด้านความซื่อสัตย์สุจริต การยอมรับนับถือ
เป้าหมายของโรงเรียน ความหลากหลายของบุคลากรและการมอบอำนาจส่งผลต่อบทบาทที่ปฏิบัติ
จริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการบริหารงานธุรการการในโรงเรียนมัธยมศึกษา
ทุกขนาด เขียนเป็นสมการถดถอยพหุคูณดังนี้
ŷ = 0.64 + 0.12X1 + 0.12X2 + 0.23X7 + 0.25X9 + 0.15X10
เมื่อ ŷ แทน ค่าพยากรณ์บทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมด้านการบริหาร
งานธุรการในโรงเรียนมัธยมศึกษาทุกขนาด
X1 แทน วัฒนธรรมโรงเรียนด้านเป้าหมายของโรงเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา
ทุกขนาด
X2 แทน วัฒนธรรมโรงเรียนด้านการมอบอำนาจในโรงเรียนมัธยมศึกษาทุกขนาด
X7 แทน วัฒนธรรมโรงเรียนด้านการยอมรับนับถือในโรงเรียนมัธยมศึกษาทุกขนาด
X9 แทน วัฒนธรรมโรงเรียนด้านความซื่อสัตย์สุจริตในโรงเรียนมัธยมศึกษาทุกขนาด
X10 แทน วัฒนธรรมโรงเรียนด้านความหลากหลายของบุคลากรในโรงเรียนมัธยมศึกษา
ทุกขนาด
94
การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณเพื่อศึกษาวัฒนธรรมโรงเรียนด้านที่ส่งผลต่อบทบาทที่
ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการบริหารงานปกครองนักเรียนในโรงเรียนมัธยม
ศึกษาทุกขนาดดังรายละเอียดตามตารางที่ 31 และ 32
ตารางที่ 31 การวิเคราะห์ความแปรปรวนของการถดถอยพหุคูณของวัฒนธรรมโรงเรียนด้าน
ความซื่อสัตย์สุจริต เป้าหมายของโรงเรียน การตัดสินใจและความเอื้ออาทรกับบท
บาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการบริหารงานปกครองนัก
เรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษาทุกขนาด
แหล่งความแปรปรวน df SS. MS. F p
Regression 4 100.94 25.24 107.23 0.00
Residual 310 72.96 0.24
สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 0.76
สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์กำลังสอง 0.58
สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์กำลังสองที่ปรับแล้ว 0.58
ความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน 0.49
ตารางที่ 32 การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณตัวแปรวัฒนธรรมโรงเรียนด้านความซื่อสัตย์สุจริต
เป้าหมายของโรงเรียน การตัดสินใจและความเอื้ออาทรกับบทบาทที่ปฏิบัติจริงของ
ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการบริหารงานปกครองนักเรียนในโรงเรียนมัธยม
ศึกษาทุกขนาด
ตัวแปร
สัมประสิทธิ์
การถดถอย
SSB t p
ความซื่อสัตย์สุจริต (X9) 0.31 0.09 3.63 0.00
เป้าหมายของโรงเรียน (X1) 0.22 0.06 3.72 0.00
การตัดสินใจ (X3) 0.19 0.06 3.10 0.00
ความเอื้ออาทร (X8) 0.16 0.08 2.02 0.05
(ค่าคงที่) 0.65 0.16 4.08 0.00
95
จากตารางที่ 32 ตัวแปรวัฒนธรรมโรงเรียนด้านความซื่อสัตย์สุจริต เป้าหมายของโรงเรียน
การตัดสินใจและความเอื้ออาทรส่งผลต่อบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา
ด้านการบริหารงานปกครองนักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษาทุกขนาดเขียนเป็นสมการถดถอย
พหุคูณดังนี้
ŷ = 0.65 + 0.22X1 + 0.19X3 + 0.16X8 + 0.31X9
เมื่อ ŷ แทน ค่าพยากรณ์บทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมด้านการบริหาร
งานปกครองนักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษาทุกขนาด
X1 แทน วัฒนธรรมโรงเรียนด้านเป้าหมายของโรงเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา
ทุกขนาด
X3 แทน วัฒนธรรมโรงเรียนด้านการตัดสินใจในโรงเรียนมัธยมศึกษาทุกขนาด
X8 แทน วัฒนธรรมโรงเรียนด้านความเอื้ออาทรในโรงเรียนมัธยมศึกษาทุกขนาด
X9 แทน วัฒนธรรมโรงเรียนด้านความซื่อสัตย์สุจริตในโรงเรียนมัธยมศึกษาทุกขนาด
การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณเพื่อศึกษาวัฒนธรรมโรงเรียนด้านที่ส่งผลต่อบทบาทที่
ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการบริหารงานบริการในโรงเรียนมัธยมศึกษาทุก
ขนาดดังรายละเอียดตามตารางที่ 33 และ 34
ตารางที่ 33 การวิคราะห์ความแปรปรวนของการถดถอยพหุคูณของวัฒนธรรมโรงเรียนด้านความ
เอื้ออาทร เป้าหมายของโรงเรียน ความหลากหลายของบุคลากรและการมอบอำนาจ
กับบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการบริหารงานบริการใน
โรงเรียนมัธยมศึกษาทุกขนาด
แหล่งความแปรปรวน df SS. MS. F p
Regression 4 96.80 24.20 133.72 0.00
Residual 310 56.10 0.18
สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 0.80
สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์กำลังสอง 0.63
สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์กำลังสองที่ปรับแล้ว 0.63
ความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน 0.43
96
ตารางที่ 33 การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณตัวแปรวัฒนธรรมโรงเรียนด้านความเอื้ออาทร เป้าหมาย
ของโรงเรียน ความหลากหลายของบุคลากรและการมอบอำนาจกับบทบาทที่ปฏิบัติ
จริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการบริหารงานบริการในโรงเรียนมัธยม
ศึกษาทุกขนาด
ตัวแปร
สัมประสิทธิ์
การถดถอย
SSB t p
ความเอื้ออาทร (X8) 0.30 0.06 5.30 0.00
เป้าหมายของโรงเรียน (X1) 0.22 0.05 4.27 0.00
ความหลากหลายของบุคลากร (X10) 0.22 0.06 3.65 0.00
การมอบอำนาจ (X2) 0.12 0.05 2.33 0.02
(ค่าคงที่) 0.51 0.14 3.59 0.00
จากตารางที่ 34 ตัวแปรวัฒนธรรมโรงเรียนด้านความเอื้ออาทร เป้าหมายของโรงเรียน
ความหลากหลายของบุคลากรและการมอบอำนาจส่งผลต่อบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียน
มัธยมศึกษาด้านการบริหารงานบริการในโรงเรียนมัธยมศึกษาทุกขนาดเขียนเป็นสมการถดถอยพหุคูณ
ดังนี้
ŷ = 0.51 + 0.22X1 + 0.12X2 + 0.30X8 + 0.22X10
เมื่อ ŷ แทน ค่าพยากรณ์บทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมด้านการบริหาร
งานบริการในโรงเรียนมัธยมศึกษาทุกขนาด
X1 แทน วัฒนธรรมโรงเรียนด้านเป้าหมายของโรงเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา
ทุกขนาด
X2 แทน วัฒนธรรมโรงเรียนด้านการมอบอำนาจในโรงเรียนมัธยมศึกษาทุกขนาด
X8 แทน วัฒนธรรมโรงเรียนด้านความเอื้ออาทรในโรงเรียนมัธยมศึกษาทุกขนาด
X10 แทน วัฒนธรรมโรงเรียนด้านความหลากหลายของบุคลากรในโรงเรียนมัธยมศึกษา
ทุกขนาด
95
การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณเพื่อศึกษาวัฒนธรรมโรงเรียนด้านที่ส่งผลต่อบทบาทที่
ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการบริหารงานโรงเรียนกับชุมชนดังรายละเอียด
ตามตารางที่ 35 และ 36
ตารางที่ 35 การวิเคราะห์ความแปรปรวนของการถดถอยพหุคูณของวัฒนธรรมโรงเรียนด้านความ
เอื้ออาทร เป้าหมายของโรงเรียน ความหลากหลายของบุคลากรและการมอบอำนาจ
กับบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการบริหารงานโรงเรียน
กับชุมชนในโรงเรียนมัธยมศึกษาทุกขนาด
แหล่งความแปรปรวน df SS. MS. F p
Regression 4 98.07 24.52 129.42 0.00
Residual 310 58.73 0.19
สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 0.79
สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์กำลังสอง 0.63
สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์กำลังสองที่ปรับแล้ว 0.62
ความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน 0.44
ตารางที่ 36 การวเิ คราะห์การถดถอยพหคุ ณู ตัวแปรวัฒนธรรมโรงเรยี นดา้ นความเอือ้ อาทร เปา้ หมาย
ของโรงเรียน ความหลากหลายของบุคลากรและการมอบอำนาจกับบทบาทที่ปฏิบัติ
จริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการบริหารงานโรงเรียนกับชุมชนใน
โรงเรียนมัธยมศึกษาทุกขนาด
ตัวแปร สัมประสิทธิ์
การถดถอย SSB t p
ความเอื้ออาทร (X8) 0.26 0.06 4.46 0.00
เป้าหมายของโรงเรียน (X1) 0.20 0.05 3.70 0.00
ความหลากหลายของบุคลากร (X10) 0.25 0.06 4.13 0.00
การมอบอำนาจ (X2) 0.16 0.05 3.10 0.00
(ค่าคงที่) 0.41 0.15 2.85 0.01
96
จากตารางที่ 36 ตัวแปรวัฒนธรรมโรงเรียนด้านความเอื้ออาทร เป้าหมายของโรงเรียน
ความหลากหลายของบคุ ลากรและการมอบอาํ นาจสง่ ผลตอ่ บทบาททปี่ ฏบิ ตั จิ รงิ ของผบู้ รหิ ารโรงเรยี น
มัธยมศึกษาด้านการบริหารงานโรงเรียนกับชุมชนในโรงเรียนมัธยมศึกษาทุกขนาดเขียนเป็นสมการ
ถดถอยพหุคูณดังนี้
ŷ = 0.41 + 0.20X1 + 0.16X2 + 0.26X8 + 0.25X10
เมื่อ ŷ แทน ค่าพยากรณ์บทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมด้านการบริหาร
งานโรงเรียนกับชุมชนในโรงเรียนมัธยมศึกษาทุกขนาด
X1 แทน วัฒนธรรมโรงเรียนด้านเป้าหมายของโรงเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา
ทุกขนาด
X2 แทน วัฒนธรรมโรงเรียนด้านการมอบอำนาจในโรงเรียนมัธยมศึกษาทุกขนาด
X8 แทน วัฒนธรรมโรงเรียนด้านความเอื้ออาทรในโรงเรียนมัธยมศึกษาทุกขนาด
X10 แทน วัฒนธรรมโรงเรียนด้านความหลากหลายของบุคลากรในโรงเรียนมัธยมศึกษา
ทุกขนาด
การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณเพื่อศึกษาวัฒนธรรมโรงเรียนด้านที่ส่งผลต่อบทบาทที่
ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการบริหารงานอาคารสถานที่ในโรงเรียนมัธยม
ศึกษาทุกขนาดดังรายละเอียดตามตารางที่ 37 และ 38
ตารางที่ 37 การวิเคราะห์ความแปรปรวนของการถดถอยพหุคูณของวัฒนธรรมโรงเรียนด้าน
ความซื่อสัตย์สุจริต เป้าหมายของโรงเรียน การตัดสินใจและความเอื้ออาทรกับ
บทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการบริหารงานอาคาร
สถานที่ในโรงเรียนมัธยมศึกษาทุกขนาด
แหล่งความแปรปรวน df SS. MS. F p
Regression 4 103.95 25.99 113.07 0.00
Residual 310 71.25 0.23
สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 0.77
สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์กำลังสอง 0.59
สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์กำลังสองที่ปรับแล้ว 0.59
ความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน 0.48
97
ตารางที่ 38 การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณตัวแปรวัฒนธรรมโรงเรียนด้านซื่อสัตย์สุจริต
เป้าหมายของโรงเรียน การตัดสินใจและความเอื้ออาทรกับบทบาทที่ปฏิบัติจริงของ
ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการบริหารงานอาคารสถานที่ในโรงเรียนมัธยม
ศึกษาทุกขนาด
ตัวแปร สัมประสิทธิ์
การถดถอย SSB t p
ความซื่อสัตย์สุจริต (X9) 0.31 0.09 3.67 0.00
เป้าหมายของโรงเรียน (X1) 0.20 0.06 3.48 0.00
การตัดสินใจ (X3) 0.16 0.06 2.70 0.01
ความเอื้ออาทร (X8) 0.21 0.08 2.66 0.01
(ค่าคงที่) 0.39 0.16 2.52 0.01
จากตารางที่ 38 ตัวแปรวัฒนธรรมโรงเรียนด้านซื่อสัตย์สุจริต เป้าหมายของโรงเรียน
การตัดสินใจและความเอื้ออาทรส่งผลต่อบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้าน
การบริหารงานอาคารสถานที่ในโรงเรียนมัธยมศึกษาทุกขนาดเขียนเป็นสมการถดถอยพหุคูณดังนี้
ŷ = 0.39 + 0.20X1 + 0.16X3 + 0.21X8 + 0.31X9
เมื่อ ŷ แทน ค่าพยากรณ์บทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมด้านการบริหาร
งานอาคารสถานที่ในโรงเรียนมัธยมศึกษาทุกขนาด
X1 แทน วัฒนธรรมโรงเรียนด้านเป้าหมายของโรงเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษาทุกขนาด
X3 แทน วัฒนธรรมโรงเรียนด้านการตัดสินใจในโรงเรียนมัธยมศึกษาทุกขนาด
X8 แทน วัฒนธรรมโรงเรียนด้านความเอื้ออาทรในโรงเรียนมัธยมศึกษาทุกขนาด
X9 แทน วัฒนธรรมโรงเรียนด้านความซื่อสัตย์สุจริตในโรงเรียนมัธยมศึกษาทุกขนาด
98
5.2 การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมโรงเรียนกับบทบาทที่ปฏิบัติจริงของ
ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กดังรายละเอียดตามตารางที่ 39
ตารางที่ 39 ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมโรงเรียนในภาพรวมกับบทบาท
ที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก
ตัวแปร
ด้านการ
บริหาร
ทั่วไป
ด้านการ
บริหาร
งาน
วิชาการ
ด้านการ
บริหาร
งาน
ธุรการ
ด้านการ
บริหาร
งาน
ปกครอง
นักเรียน
ด้านการ
บริหาร
งาน
บริการ
ด้านการ
บริหาร
งาน
โรงเรียน
กบั ชมุ ชน
ด้านการ
บริหาร
งาน
อาคาร
สถานที่
รวม
1. เป้าหมายของโรงเรียน 0.62** 0.64** 0.54** 0.72** 0.53** 0.78** 0.64** 0.69**
2. การมอบอำนาจ 0.64** 0.50** 0.46** 0.77** 0.53** 0.52** 0.68** 0.63**
3. การตัดสินใจ 0.69** 0.72** 0.67** 0.79** 0.60** 0.87** 0.75** 0.79**
4. ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่ง
ของโรงเรียน 0.65** 0.68** 0.63** 0.72** 0.73** 0.71** 0.69** 0.75**
5. ความไว้วางใจ 0.80** 0.83** 0.80** 0.81** 0.78** 0.77** 0.78** 0.86**
6. ความมีคุณภาพ 0.77** 0.64** 0.65** 0.80** 0.61** 0.59** 0.72** 0.74**
7. การยอมรับนับถือ 0.74** 0.61** 0.57** 0.70** 0.74** 0.66** 0.76** 0.74**
8. ความเอื้ออาทร 0.80** 0.68** 0.66** 0.76** 0.65** 0.69** 0.84** 0.78**
9. ความซื่อสัตย์สุจริต 0.78** 0.72** 0.77** 0.73** 0.60** 0.65** 0.76** 0.77**
10.ความหลากหลาย
ของบุคลากร 0.82** 0.81** 0.78** 0.90** 0.68** 0.81** 0.85** 0.87**
รวม 0.84* 0.79** 0.75** 0.88** 0.74** 0.81** 0.86** 0.88**
** มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
จากตารางที่ 39 ในภาพรวมวัฒนธรรมโรงเรียนมีความสัมพันธ์กับบทบาทที่ปฏิบัติจริงของ
ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
โดยความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง ( R = 0.88 )
เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมโรงเรียนแต่ละด้านกับบทบาทที่ปฏิบัติจริง
ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กพบว่าวัฒนธรรมโรงเรียนแต่ละ
ด้านมีความสัมพันธ์กับบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในโรงเรียนมัธยม
ศึกษาขนาดเล็กอยู่ในระดับสูง ตามลำดับดังนี้ ความหลากหลายของบุคลากร (R = 0.87 ) ความ
99
ไว้วางใจ (R = 0.86 ) การตัดสินใจ (R = 0.79 ) ความเอื้ออาทร (R = 0.78 ) ความซื่อสัตย์สุจริต
(R = 0.77 ) ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียน (R = 0.75 ) การยอมรับนับถือ (R = 0.74 )
ความมีคุณภาพ (R = 0.74 ) เป้าหมายของโรงเรียน (R = 0.69) การมอบอำนาจ (R = 0.63 )
เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมโรงเรียนในภาพรวมกับบทบาทที่ปฏิบัติจริง
ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก พบว่าวัฒนธรรมโรงเรียนในภาพรวมมีความสัมพันธ์กับ
บทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาแต่ละด้านในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก
ในระดับสูงตามลำดับดังนี้ ด้านการบริหารงานปกครองนักเรียน ( R = 0.88 ) ด้านการบริหารงาน
อาคารสถานที่ (R = 0.86 ) ด้านการบริหารทั่วไป (R = 0.84 ) ด้านการบริหารงานโรงเรียนกับชุมชน
(R = 0.81 ) ด้านการบริหารงานวิชาการ (R = 0.79 ) ด้านการบริหารงานธุรการ (R = 0.75) ด้านการ
บริหารงานบริการ (R = 0.74 )
การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นอย่างง่ายเพื่อศึกษาวัฒนธรรมโรงเรียนในภาพรวมกับ
บทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาทุกขนาดในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กดัง
รายละเอียดตามตารางที่ 40 และ 41
ตารางที่ 40 การวิเคราะห์ความแปรปรวนของการถดถอยเชิงเส้นอย่างง่ายของวัฒนธรรมโรงเรียน
ในภาพรวมกับบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาทุกด้านใน
โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก
แหล่งความแปรปรวน df SS. MS. F p
Regression 1 4.87 4.87 79.66 0.00
Residual 24 1.47 0.06
สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 0.88
สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์กำลังสอง 0.77
สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์กำลังสองที่ปรับแล้ว 0.76
ความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน 0.25
100
ตารางที่ 41 การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นอย่างง่ายตัวแปรวัฒนธรรมโรงเรียนในภาพรวมใน
โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก
ตัวแปร สัมประสิทธิ์
การถดถอย SSB t p
วัฒนธรรมโรงเรียน 0.82 0.09 8.93 0.00
(ค่าคงที่) 0.77 0.35 2.18 0.04
จากตารางที่ 41 ตัวแปรวัฒนธรรมโรงเรียนในภาพรวมในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก
เขียนเป็นสมการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นอย่างง่ายดังนี้
ŷ = 0.77 + 0.82X
เมื่อ ŷ แทน ค่าพยากรณ์ของบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา
ทุกด้าน ในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก
X แทน ภาพรวมของวัฒนธรรมโรงเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก
การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณเพื่อศึกษาวัฒนธรรมโรงเรียนด้านที่ส่งผลต่อบทบาท
ที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กดังรายละเอียดตาม
ตารางที่ 42 และ 43
ตารางที่ 42 การวิเคราะห์ความแปรปรวนของการถดถอยพหุคูณของวัฒนธรรมโรงเรียนด้าน
ความหลากหลายของบุคลากรและความไว้วางใจกับบทบาทที่ปฏิบัติจริงของ
ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาทุกด้านในโรงเรียนมัธยมขนาดเล็ก
แหล่งความแปรปรวน df SS. MS. F p
Regression 2 5.10 2.55 47.48 0.00
Residual 23 1.24 0.05
สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 0.90
สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์กำลังสอง 0.81
สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์กำลังสองที่ปรับแล้ว 0.79
ความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน 0.23
101
ตารางที่ 43 การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณตัวแปรวัฒนธรรมโรงเรียนในด้านความหลากหลาย
ของบุคลากรและความไว้วางใจในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก
ตัวแปร สัมประสิทธิ์
การถดถอย SSB t p
ความหลากหลายของบุคลากร ( X10 ) 0.43 0.16 2.62 0.02
ความไว้วางใจ ( X5 ) 0.30 0.14 2.20 0.04
(ค่าคงที่) 1.17 0.30 3.91 0.00
จากตารางที่ 43 ตัวแปรวัฒนธรรมโรงเรียนด้านความหลากหลายของบุคลากรและความ
ไว้วางใจส่งผลต่อบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาทุกด้านในโรงเรียนมัธยม
ศึกษาขนาดเล็กเขียนเป็นสมการถดถอยพหุคูณดังนี้
ŷ = 1.17 + 0.30X5 + 0.43X10
เมื่อ ŷ แทน ค่าพยากรณ์บทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในโรงเรียน
มัธยมศึกษาขนาดเล็ก
X5 แทน วัฒนธรรมโรงเรียนด้านความไว้วางใจในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก
X10 แทน วัฒนธรรมโรงเรียนด้านความหลากหลายของบุคลากรในโรงเรียนมัธยมศึกษา
ขนาดเล็ก
การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณเพื่อศึกษาวัฒนธรรมโรงเรียนด้านที่ส่งผลต่อบทบาทที่
ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการบริหารทั่วไปในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก
ดังรายละเอียดตามตารางที่ 44 และ 45
ตารางที่ 44 การวิเคราะห์ความแปรปรวนของการถดถอยพหุคูณของวัฒนธรรมโรงเรียนด้าน
ความหลากหลายของบุคลากรและความซื่อสัตย์สุจริตกับบทบาทที่ปฏิบัติจริงของ
ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการบริหารทั่วไปในโรงเรียนมัธยมศึกษา
ขนาดเล็ก
แหล่งความแปรปรวน df SS. MS. F p
Regression 2 4.45 2.23 31.46 0.00
Residual 23 1.63 0.07
102
สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 0.86
สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์กำลังสอง 0.73
สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์กำลังสองที่ปรับแล้ว 0.71
ความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน 0.27
ตารางที่ 45 การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณตัวแปรวัฒนธรรมโรงเรียนในด้านความหลากหลาย
ของบุคลากรและความซื่อสัตย์สุจริตในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก
ตัวแปร สัมประสิทธิ์
การถดถอย SSB t p
ความหลากหลายของบุคลากร ( X10 ) 0.45 0.13 3.33 0.00
ความซื่อสัตย์สุจริต ( X9) 0.30 0.12 2.39 0.03
(ค่าคงที่) 1.05 0.35 2.97 0.01
จากตารางที่ 45 ตัวแปรวัฒนธรรมโรงเรียนด้านความหลากหลายของบุคลากรและความ
ซื่อสัตย์สุจริตส่งผลต่อบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการบริหารทั่วไป
ในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กเขียนเป็นสมการถดถอยพหุคูณดังนี้
ŷ = 1.05 + 0.30X9 + 0.45X10
เมื่อ ŷ แทน ค่าพยากรณ์บทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการ
บริหารทั่วไปในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก
X9 แทน วัฒนธรรมโรงเรียนด้านความซื่อสัตย์สุจริตในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก
X10 แทน วัฒนธรรมโรงเรียนด้านความหลากหลายของบุคลากรในโรงเรียนมัธยม
ศึกษาขนาดเล็ก
การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณเพื่อศึกษาวัฒนธรรมโรงเรียนด้านที่ส่งผลต่อบทบาทที่
ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนมัธยมศึกษา
ขนาดเล็กดังรายละเอียดตามตารางที่ 46 และ 47
103
ตารางที่ 46 การวิเคราะห์ความแปรปรวนของการถดถอยพหุคูณของวัฒนธรรมโรงเรียนด้าน
ความไว้วางใจกับบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการ
บริหารงานวิชาการในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก
แหล่งความแปรปรวน df SS. MS. F p
Regression 1 6.39 6.39 54.72 0.00
Residual 24 2.81 0.12
สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 0.83
สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์กำลังสอง 0.70
สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์กำลังสองที่ปรับแล้ว 0.68
ความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน 0.34
ตารางที่ 47 การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณตัวแปรวัฒนธรรมโรงเรียนในด้านความไว้วางใจใน
โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก
ตัวแปร สัมประสิทธิ์
การถดถอย SSB t p
ความไว้วางใจ ( X5) 0.72 0.10 7.40 0.00
(ค่าคงที่) 1.15 0.36 3.15 0.00
จากตารางที่ 47 ตัวแปรวัฒนธรรมโรงเรียนด้านความไว้วางใจส่งผลต่อบทบาทที่ปฏิบัติจริง
ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก
เขียนเป็นสมการถดถอยพหุคูณดังนี้
ŷ = 1.15 + 0.72X5
เมื่อ ŷ แทน ค่าพยากรณ์บทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการ
บริหารงานวิชาการในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก
X5 แทน วัฒนธรรมโรงเรียนด้านความไว้วางใจในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก
การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณเพื่อศึกษาวัฒนธรรมโรงเรียนด้านที่ส่งผลต่อบทบาท
ที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการบริหารงานธุรการในโรงเรียนมัธยมศึกษา
ขนาดเล็กดังรายละเอียดตามตารางที่ 48 และ 49
104
ตารางที่ 48 การวิเคราะห์ความแปรปรวนของการถดถอยพหุคูณของวัฒนธรรมโรงเรียนด้าน
ความไว้วางใจ ความซื่อสัตย์สุจริตและความมีคุณภาพกับบทบาทที่ปฏิบัติจริงของ
ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการบริหารงานธุรการในโรงเรียนมัธยมศึกษา
ขนาดเล็ก
แหล่งความแปรปรวน Df SS. MS. F p
Regression 3 5.35 1.78 25.86 0.00
Residual 22 1.52 0.07
สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 0.88
สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์กำลังสอง 0.78
สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์กำลังสองที่ปรับแล้ว 0.75
ความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน 0.26
ตารางที่ 49 การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณตัวแปรวัฒนธรรมโรงเรียนในด้านความไว้วางใจ
ความซื่อสัตย์สุจริตและความมีคุณภาพในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก
ตัวแปร สัมประสิทธิ์
การถดถอย SSB t p
ความไว้วางใจ ( X5) 0.53 0.12 4.31 0.00
ความซื่อสัตย์สุจริต ( X9) 0.56 0.15 3.98 0.00
ความมีคุณภาพ ( X6) 0.49 0.22 2.23 0.04
(ค่าคงที่) 1.80 0.41 4.40 0.00
จากตารางที่ 49 ตัวแปรวัฒนธรรมโรงเรียนด้านความไว้วางใจ ความซื่อสัตย์สุจริตและ
ความมีคุณภาพส่งผลต่อบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการบริหาร
งานธุรการในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กเขียนเป็นสมการถดถอยพหุคูณดังนี้
ŷ = 1.80 + 0.53X5 + 0.49X6 + 0.56X9
เมื่อ ŷ แทน ค่าพยากรณ์บทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการ
บริหารงานธุรการในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก
X5 แทน วัฒนธรรมโรงเรียนด้านความไว้วางใจในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก
105
X6 แทน วัฒนธรรมโรงเรียนด้านความมีคุณภาพในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก
X9 แทน วัฒนธรรมโรงเรียนด้านความซื่อสัตย์สุจริตในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก
การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณเพื่อศึกษาวัฒนธรรมโรงเรียนด้านที่ส่งผลต่อบทบาทที่
ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการบริหารงานปกครองนักเรียนในโรงเรียนมัธยม
ศึกษาขนาดเล็กดังรายละเอียดตามตารางที่ 50 และ 51
ตารางที่ 50 การวิเคราะห์ความแปรปรวนของการถดถอยพหุคูณของวัฒนธรรมโรงเรียนด้าน
ความหลากหลายของบุคลากรและการมอบอำนาจกับบทบาทที่ปฏิบัติจริงของ
ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการบริหารงานปกครองนักเรียนในโรงเรียน
มัธยมศึกษาขนาดเล็ก
แหล่งความแปรปรวน df SS. MS. F p
Regression 2 5.87 2.94 58.97 0.00
Residual 23 1.15 0.05
สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 0.92
สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์กำลังสอง 0.84
สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์กำลังสองที่ปรับแล้ว 0.82
ความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน 0.22
ตารางที่ 51 การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณตัวแปรวัฒนธรรมโรงเรียนในด้านความหลากหลาย
ของบุคลากรและการมอบอำนาจในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก
ตัวแปร สัมประสิทธิ์
การถดถอย SSB t p
ความหลากหลายของบุคลากร ( X10) 0.63 0.11 5.89 0.00
การมอบอำนาจ ( X2) 0.24 0.11 2.27 0.03
(ค่าคงที่) 0.64 0.31 2.07 0.05
จากตารางที่ 51 ตัวแปรวัฒนธรรมโรงเรียนด้านความหลากหลายของบุคลากรและการมอบ
อำนาจส่งผลต่อบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการบริหารงานปกครอง
นักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กเขียนเป็นสมการถดถอยพหุคูณดังนี้
ŷ = 0.64 + 0.24X2 + 0.63X10
106
เมื่อ ŷ แทน ค่าพยากรณ์บทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการ
บริหารงานปกครองนักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก
X2 แทน วัฒนธรรมโรงเรียนด้านการมอบอำนาจในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก
X10 แทน วัฒนธรรมโรงเรียนด้านความหลากหลายของบุคลากรในโรงเรียนมัธยมศึกษา
ขนาดเล็ก
การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณเพื่อศึกษาวัฒนธรรมโรงเรียนด้านที่ส่งผลต่อบทบาทที่
ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการบริหารงานบริการในโรงเรียนมัธยมศึกษา
ขนาดเล็กดังรายละเอียดตามตารางที่ 52 และ 53
ตารางที่ 52 การวิเคราะห์ความแปรปรวนของการถดถอยพหุคูณของวัฒนธรรมโรงเรียนด้าน
ความไว้วางใจกับบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการ
บริหารงานบริการโรงเรียนมัธยมขนาดเล็ก
แหล่งความแปรปรวน df SS. MS. F p
Regression 1 5.83 5.83 56.70 0.00
Residual 24 3.81 0.16
สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 0.78
สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์กำลังสอง 0.61
สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์กำลังสองที่ปรับแล้ว 0.59
ความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน 0.40
ตารางที่ 53 การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณตัวแปรวัฒนธรรมโรงเรียนในด้านความไว้วางใจใน
โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก
ตัวแปร สัมประสิทธิ์
การถดถอย SSB t p
ความไว้วางใจ ( X5) 0.68 0.11 6.06 0.00
(ค่าคงที่) 1.39 0.42 3.28 0.00
107
จากตารางที่ 53 ตัวแปรวัฒนธรรมโรงเรียนด้านความไว้วางใจส่งผลต่อบทบาทที่ปฏิบัติจริง
ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการบริหารงานบริการในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก
เขียนเป็นสมการถดถอยพหุคูณดังนี้
ŷ = 1.39 + 0.68X5
เมื่อ ŷ แทน ค่าพยากรณ์บทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการ
บริหารงานบริการในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก
X5 แทน วัฒนธรรมโรงเรียนด้านความไว้วางใจในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก
การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณเพื่อศึกษาวัฒนธรรมโรงเรียนด้านที่ส่งผลต่อบทบาทที่
ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการบริหารงานโรงเรียนกับชุมชนในโรงเรียนมัธยม
ศึกษาขนาดเล็กดังรายละเอียดตามตารางที่ 54 และ 55
ตารางที่ 54 การวิเคราะห์ความแปรปรวนของการถดถอยพหุคูณของวัฒนธรรมโรงเรียนด้านการ
ตัดสินใจกับบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการบริหาร
งานโรงเรียนกับชุมชนในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก
แหล่งความแปรปรวน df SS. MS. F p
Regression 1 5.39 5.39 72.00 0.00
Residual 24 1.80 0.08
สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 0.87
สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์กำลังสอง 0.75
สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์กำลังสองที่ปรับแล้ว 0.74
ความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน 0.27
ตารางที่ 55 การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณตัวแปรวัฒนธรรมโรงเรียนในด้านการตัดสินใจใน
โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก
ตัวแปร สัมประสิทธิ์
การถดถอย SSB t p
การตัดสินใจ ( X3) 0.71 0.08 8.49 0.00
(ค่าคงที่) 1.25 0.31 4.02 0.00
108
จากตารางที่ 55 ตัวแปรวัฒนธรรมโรงเรียนด้านการตัดสินใจส่งผลต่อบทบาทที่ปฏิบัติจริง
ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการบริหารงานโรงเรียนกับชุมชนในโรงเรียนมัธยมศึกษา
ขนาดเล็กเขียนเป็นสมการถดถอยพหุคูณดังนี้
ŷ = 1.25 + 0.71X3
เมื่อ ŷ แทน ค่าพยากรณ์บทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการ
บริหารงานโรงเรียนกับชุมชนในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก
X3 แทน วัฒนธรรมโรงเรียนด้านการตัดสินใจในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก
การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณเพื่อศึกษาวัฒนธรรมโรงเรียนด้านที่ส่งผลต่อบทบาทที่
ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการบริหารงานอาคารสถานที่ในโรงเรียนมัธยม
ศึกษาขนาดเล็กดังรายละเอียดตามตารางที่ 56 และ 57
ตารางที่ 56 การวิเคราะห์ความแปรปรวนของการถดถอยพหุคูณของวัฒนธรรมโรงเรียนด้าน
ความหลากหลายของบุคลากรและความเอื้ออาทรกับบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหาร
โรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการบริหารงานอาคารสถานที่ในโรงเรียนมัธยมศึกษา
ขนาดเล็ก
แหล่งความแปรปรวน df SS. MS. F p
Regression 2 5.31 2.66 43.47 0.00
Residual 23 1.41 0.06
สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 0.89
สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์กำลังสอง 0.79
สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์กำลังสองที่ปรับแล้ว 0.77
ความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน 0.25
109
ตารางที่ 57 การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณตัวแปรวัฒนธรรมโรงเรียนในด้านความหลากหลาย
ของบุคลากร และความเอื้ออาทรในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก
ตัวแปร สัมประสิทธิ์
การถดถอย SSB t p
ความหลากหลายของบุคลากร ( X10) 0.45 0.14 3.12 0.01
ความเอื้ออาทร( X8) 0.35 0.13 2.63 0.01
(ค่าคงที่) 0.89 0.33 2.71 0.01
จากตารางที่ 57 ตัวแปรวัฒนธรรมโรงเรียนความหลากหลายของบุคลากรและความ
เอื้ออาทรส่งผลต่อบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการบริหารงานอาคาร
สถานที่ในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กเขียนเป็นสมการถดถอยพหุคูณดังนี้
ŷ = 0.89 + 0.35X8 + 0.45X10
เมื่อ ŷ แทน ค่าพยากรณ์บทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการ
บริหารงานอาคารสถานที่ในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก
X5 แทน วัฒนธรรมโรงเรียนด้านความเอื้ออาทรในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก
X10 แทน วัฒนธรรมโรงเรียนด้านความหลากหลายของบุคลากรในโรงเรียนมัธยม
ศึกษาขนาดเล็ก
5.3 การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมโรงเรียนกับบทบาทที่ปฏิบัติจริง
ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลางดังรายละเอียดตามตารางที่ 58
110
ตารางที่ 58 ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมโรงเรียนในภาพรวมกับบทบาท
ที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง
ตัวแปร
ด้านการ
บริหาร
ทั่วไป
ด้านการ
บริหาร
งาน
วิชาการ
ด้านการ
บริหาร
งาน
ธุรการ
ด้านการ
บริหาร
งาน
ปกครอง
นักเรียน
ด้านการ
บริหาร
งาน
บริการ
ด้านการ
บริหาร
งาน
โรงเรียน
กบั ชมุ ชน
ด้านการ
บริหาร
งาน
อาคาร
สถานที่
รวม
1. เป้าหมายของโรงเรียน 0.70** 0.73** 0.68** 0.71** 0.71** 0.68** 0.72** 0.78**
2. การมอบอำนาจ 0.74** 0.70** 0.69** 0.62** 0.64** 0.65** 0.63** 0.74**
3. การตัดสินใจ 0.73** 0.68** 0.68** 0.70** 0.68** 0.63** 0.64** 0.75**
4. ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่ง
ของโรงเรียน 0.61** 0.66** 0.67** 0.65** 0.65** 0.60** 0.56** 0.71**
5. ความไว้วางใจ 0.41** 0.46** 0.45** 0.44** 0.43** 0.46** 0.35** 0.48**
6. ความมีคุณภาพ 0.75** 0.70** 0.69** 0.63** 0.64** 0.65** 0.63** 0.75**
7. การยอมรับนับถือ 0.76** 0.69** 0.74** 0.72** 0.68** 0.62** 0.63** 0.77**
8. ความเอื้ออาทร 0.79** 0.72** 0.74** 0.70** 0.72** 0.68** 0.63** 0.79**
9. ความซื่อสัตย์สุจริต 0.82** 0.76** 0.78** 0.76** 0.77** 0.72** 0.68** 0.84**
10. ความหลากหลาย
ของบุคลากร 0.70** 0.70** 0.70** 0.68** 0.70** 0.70 ** 0.65** 0.77**
รวม 0.81* 0.78** 0.78** 0.76** 0.76** 0.74** 0.70** 0.85**
** มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
จากตารางที่ 58 พบว่าในภาพรวมวัฒนธรรมโรงเรียนมีความสัมพันธ์กับบทบาทที่ปฏิบัติ
จริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่
ระดับ 0.01 โดยความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง ( R = 0.85 )
เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมโรงเรียนแต่ละด้านกับบทบาทที่ปฏิบัติจริง
ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลางพบว่าวัฒนธรรมโรงเรียน
แต่ละด้านมีความสัมพันธ์กับบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในโรงเรียน
มัธยมศึกษาขนาดกลางอยู่ในระดับสูงตามลำดับดังนี้ ความซื่อสัตย์สุจริต (R = 0.84 ) ความเอื้ออาทร
(R = 0.79 ) เป้าหมายของโรงเรียน (R = 0.78 ) การยอมรับนับถือ (R = 0.77 ) ความหลากหลายของ
บุคลากร (R = 0.77) การตัดสินใจ (R = 0.75 ) ความมีคุณภาพ (R = 0.75 ) การมอบอำนาจ(R = 0.74 )
ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียน (R = 0.71 ) ความไว้วางใจ (R = 0.48 )
111
เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมโรงเรียนในภาพรวมกับบทบาทที่ปฏิบัติจริง
ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลางพบว่าวัฒนธรรมโรงเรียนใน
ภาพรวมมีความสัมพันธ์กับบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาแต่ละด้านใน
โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลางอยู่ในระดับสูงตามลำดับดังนี้ ด้านการบริหารทั่วไป (R = 0.81) ด้าน
การบริหารงานวิชาการ (R = 0.78 ) ด้านการบริหารงานธุรการ (R = 0.78 ) ด้านการบริหารงาน
ปกครองนักเรียน (R = 0.76 ) ด้านการบริหารงานบริการ (R = 0.76 ) ด้านการบริหารงานโรงเรียนกับ
ชุมชน (R = 0.74 ) และด้านการบริหารงานอาคารสถานที่ (R = 0.70 )
การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นอย่างง่ายเพื่อศึกษาวัฒนธรรมโรงเรียนในภาพรวมกับ
บทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาทุกด้านในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง
ดังรายละเอียดตามตารางที่ 59 และ 60
ตารางที่ 59 การวิเคราะห์ความแปรปรวนของการถดถอยเชิงเส้นอย่างง่ายของวัฒนธรรมโรงเรียน
ในภาพรวมกับบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาทุกด้านใน
โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง
แหล่งความแปรปรวน df SS. MS. F p
Regression 1 35.05 35.05 300.73 0.00
Residual 119 13.87
สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 0.85
สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์กำลังสอง 0.72
สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์กำลังสองที่ปรับแล้ว 0.71
ความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน 0.34
112
ตารางที่ 60 การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นอย่างง่ายตัวแปรวัฒนธรรมโรงเรียนในภาพรวมใน
โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง
ตัวแปร สัมประสิทธิ์
การถดถอย SSB t p
วัฒนธรรมโรงเรียน 0.85 0.05 17.34 0.00
(ค่าคงที่) 0.58 0.18 3.25 0.00
จากตารางที่ 60 ตัวแปรวัฒนธรรมโรงเรียนในภาพรวมในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง
เขียนเป็นสมการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นอย่างง่ายดังนี้
ŷ = 0.58 + 0.85X
เมื่อ ŷ แทน ค่าพยากรณ์ของบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา
ทุกด้าน ในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง
X แทน ภาพรวมของวัฒนธรรมโรงเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง
การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณเพื่อศึกษาวัฒนธรรมโรงเรียนด้านที่ส่งผลต่อบทบาทที่
ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลางดังรายละเอียดตาม
ตารางที่ 61 และ 62
ตารางที่ 61 การวิเคราะห์ความแปรปรวนของการถดถอยพหุคูณของวัฒนธรรมโรงเรียนด้าน
ความซื่อสัตย์สุจริต เป้าหมายของโรงเรียน การยอมรับนับถือและความหลากหลาย
ของบุคลากรกับบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาทุกด้านใน
โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง
แหล่งความแปรปรวน df SS. MS. F p
Regression 4 38.49 9.62 107.04 0.00
Residual 116 10.43 0.09
สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 0.89
สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์กำลังสอง 0.79
สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์กำลังสองที่ปรับแล้ว 0.78
ความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน 0.30
113
ตารางที่ 62 การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณตัวแปรวัฒนธรรมโรงเรียนในด้านความซื่อสัตย์สุจริต
เป้าหมายของโรงเรียน การยอมรับนับถือและความหลากหลายของบุคลากรใน
โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง
ตัวแปร สัมประสิทธิ์
การถดถอย SSB t p
ความซื่อสัตย์สุจริต ( X9 ) 0.27 0.09 3.03 0.00
เป้าหมายของโรงเรียน ( X1 ) 0.28 0.06 4.77 0.00
การยอมรับนับถือ ( X7 ) 0.22 0.08 2.78 0.01
ความหลากหลายของบุคลากร ( X10 ) 0.15 0.07 2.11 0.04
(ค่าคงที่) 0.30 0.18 1.69 0.10
จากตารางที่ 62 ตัวแปรวัฒนธรรมโรงเรียนด้านความซื่อสัตย์สุจริต เป้าหมายของโรงเรียน
การยอมรับนับถือและความหลากหลายของบุคลากรสง่ ผลตอ่ บทบาททีป่ ฏิบัติจริงของผูบ้ ริหารโรงเรียน
มัธยมศึกษาทุกด้านในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลางเขียนเป็นสมการถดถอยพหุคูณดังนี้
ŷ = 0.30 + 0.28 X1 + 0.22X7 + 0.27X9 + 0.15X10
เมอื่ ŷ แทน คา่ พยากรณ์บทบาทที่ปฏิบัติจริงของผบู้ รหิ ารโรงเรยี นมธั ยมศึกษาในโรงเรยี น
มัธยมศึกษาขนาดกลาง
X1 แทน วัฒนธรรมโรงเรียนด้านเป้าหมายของโรงเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา
ขนาดกลาง
X7 แทน วฒั นธรรมโรงเรยี นดา้ นการยอมรบั นบั ถอื ในโรงเรยี นมธั ยมศกึ ษาขนาดกลาง
X9 แทน วัฒนธรรมโรงเรียนด้านความซื่อสัตย์สุจริตในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง
X10 แทน วัฒนธรรมโรงเรียนด้านความหลากหลายของบุคลากรในโรงเรียนมัธยมศึกษา
ขนาดกลาง
การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณเพื่อศึกษาวัฒนธรรมโรงเรียนด้านที่ส่งผลต่อบทบาทที่
ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการบริหารทั่วไปในโรงเรียนมัธยมศึกษา
ขนาดกลางดังรายละเอียดตามตารางที่ 63 และ 64
114
ตารางที่ 63 การวิเคราะห์ความแปรปรวนของการถดถอยพหุคูณของวัฒนธรรมโรงเรียนด้านความ
ซื่อสัตย์สุจริต การมอบอำนาจ ความไว้วางใจและความมีคุณภาพกับบทบาทที่ปฏิบัติ
จริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการบริหารทั่วไปในโรงเรียนมัธยมศึกษา
ขนาดกลาง
แหล่งความแปรปรวน df SS. MS. F p
Regression 4 48.45 12.11 79.30 0.00
Residual 116 17.72 0.15
สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 0.86
สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์กำลังสอง 0.73
สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์กำลังสองที่ปรับแล้ว 0.72
ความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน 0.39
ตารางที่ 64 การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณตัวแปรวัฒนธรรมโรงเรียนในด้านความซื่อสัตย์สุจริต
การมอบอำนาจ ความไว้วางใจและความมีคุณภาพ ในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง
ตัวแปร สัมประสิทธิ์
การถดถอย SSB t p
ความซื่อสัตย์สุจริต ( X9) 0.60 0.09 6.71 0.00
การมอบอำนาจ ( X2) 0.23 0.09 2.70 0.01
ความไว้วางใจ ( X5) 0.09 0.04 2.47 0.02
ความมีคุณภาพ ( X6) 0.03 0.10 2.23 0.03
(ค่าคงที่) 0.13 0.21 0.62 0.54
จากตารางที่ 64 ตัวแปรวัฒนธรรมโรงเรียนด้านความซื่อสัตย์สุจริต การมอบอำนาจ ความ
ไว้วางใจและความมีคุณภาพส่งผลต่อบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการ
บริหารทั่วไปในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลางเขียนเป็นสมการถดถอยพหุคูณดังนี้
ŷ = 0.13 + 0.23 X2 + 0.09X5 + 0.03X6 + 0.60X9
เมื่อ ŷ แทน ค่าพยากรณ์บทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการ
บริหารทั่วไปในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง
115
X2 แทน วัฒนธรรมโรงเรียนด้านการมอบอำนาจในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง
X5 แทน วัฒนธรรมโรงเรียนด้านความไว้วางใจในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง
X6 แทน วัฒนธรรมโรงเรียนด้านความมีคุณภาพในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง
X9 แทน วัฒนธรรมโรงเรียนด้านความซื่อสัตย์สุจริตในโรงเรียนมัธยมศึกษา
ขนาดกลาง
การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณเพื่อศึกษาวัฒนธรรมโรงเรียนด้านที่ส่งผลต่อบทบาทที่
ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนมัธยมศึกษา
ขนาดกลางดังรายละเอียดตามตารางที่ 65 และ 66
ตารางที่ 65 การวิเคราะห์ความแปรปรวนของการถดถอยพหุคูณของวัฒนธรรมโรงเรียนด้านความ
ซื่อสัตย์สุจริต เป้าหมายของโรงเรียนและการมอบอำนาจกับบทบาทที่ปฏิบัติจริงของ
ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนมัธยมศึกษา
ขนาดกลาง
แหล่งความแปรปรวน df SS. MS. F P
Regression 3 36.71 12.24 74.24 0.00
Residual 117 19.28 0.17
สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 0.81
สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์กำลังสอง 0.66
สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์กำลังสองที่ปรับแล้ว 0.65
ความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน 0.41
ตารางที่ 66 การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ตัวแปรวัฒนธรรมโรงเรียนในด้านความซื่อสัตย์สุจริต
เป้าหมายของโรงเรียนและการมอบอำนาจในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง
ตัวแปร สัมประสิทธิ์
การถดถอย SSB t P
ความซื่อสัตย์สุจริต ( X9) 0.38 0.09 4.29 0.00
เป้าหมายของโรงเรียน ( X1) 0.30 0.08 3.63 0.00
การมอบอำนาจ ( X2) 0.17 0.08 2.07 0.04
(ค่าคงที่) 0.53 0.21 2.55 0.01
116
บทที่ 5
สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเพื่อมุ่งศึกษาวัฒนธรรมโรงเรียนที่ส่งผลต่อบทบาทที่ปฏิบัติจริง
ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดนครปฐม โดยใช้แนวคิดของ
แพตเตอร์สัน(Patterson) และการบริหารงานโรงเรียนมัธยมศึกษาตามเกณฑ์มาตรฐาน
กรมสามัญศึกษา 7 ด้าน เพื่อนำผลจากการวิจัยไปใช้วางแผนปรับปรุงพัฒนาประสิทธิภาพ
การบริหารงานโรงเรียนมัธยมศึกษาให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารโรงเรียนและ
ครูปฏิบัติการสอนในโรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 29 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 355 คน
กำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจากผู้บริหารโรงเรียน 29 คน และครูปฏิบัติการสอนได้มาจากการ
สุ่มตัวอย่างแบบมีชั้นภูมิโดยใช้ขนาดของโรงเรียนเป็นชั้นมีจำนวน 326 คน จากการสุ่มอย่างง่าย
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้นเองในส่วนที่เกี่ยวกับ
วัฒนธรรมโรงเรียนได้ยึดทฤษฎีวัฒนธรรมโรงเรียนตามแนวคิดของแพตเตอร์สัน และบทบาทที่
ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาได้ยึดเนื้อหาจากเกณฑ์มาตรฐานการบริหารงานของ
ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นค่าร้อยละ
(Percentage) ค่าเฉลี่ย ( x) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การหาค่า ANOVA
ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s product moment correlation Coefficient)
การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงเส้นอย่างง่าย (Simple linear Regression analysis) และการวิเคราะห์
การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression analysis)
สรุปผลการวิจัย
จากการวิเคราะห์ข้อมูลผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมีอายุมากกว่า 45 ปีขึ้นไป
การศึกษาระดับปริญญาตรี ประสบการณ์ทำงานมากกว่า 20 ปีขึ้นไป ไม่เคยผ่านการอบรม
หลักสูตรผู้บริหารสถานศึกษาระดับสูงจำนวนมาก ปฏิบัติงานอยู่ในตำแหน่งครูปฏิบัติการสอน
มากที่สุดและอยู่ในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่จำนวนมากที่สุด
2. ระดับวัฒนธรรมโรงเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัด
นครปฐม ในภาพรวมในโรงเรียนมัธยมศึกษาทุกขนาดอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน
พบว่ามีระดับมาก 8 ด้าน เรียงตามลำดับมากไปหาน้อย คือ การยอมรับนับถือ การมอบอำนาจ
ความมีคุณภาพ เป้าหมายของโรงเรียน ความซื่อสัตย์สุจริต ความเอื้ออาทร ความหลากหลายของ
145
บุคลากรตามลำดับและมีระดับปานกลาง 2 ด้านเรียงตามลำดับมากไปหาน้อย คือ ความไว้วางใจ
และการตัดสินใจ
เมื่อพิจารณาตามขนาดของโรงเรียนในภาพรวมพบว่าระดับวัฒนธรรมโรงเรียนในโรงเรียน
มัธยมศึกษาขนาดเล็กมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก 10 ด้าน ลำดับที่ 1 คือ การยอมรับนับถือโรงเรียน
มัธยมศึกษาขนาดกลางมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก 8 ด้าน ลำดับที่ 1 คือ การยอมรับนับถือและมี
การปฏิบัติอยู่ในปานกลาง 2 ด้าน โรงเรียนขนาดใหญ่มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก 7 ด้านลำดับ 1
คือ เป้าหมายของโรงเรียนและปานกลาง 3 ด้าน
เมื่อพิจารณาถึงค่าเฉลี่ยของวัฒนธรรมโรงเรียนในแต่ละขนาดพบว่ามีความแตกต่างกัน
อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติซึ่งสอดคล้องกับสมมุติฐาน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าวัฒนธรรม
โรงเรียนด้านเป้าหมายของโรงเรียนพบว่าในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่มีการปฏิบัติมากกว่า
โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลางและด้านความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียนพบว่าในโรงเรียน
มัธยมศึกษาขนาดเล็กมีการปฏิบัติมากกว่าในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่และขนาดกลาง
3. ระดับของบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาโดยภาพรวมใน
โรงเรียนมัธยมศึกษาทุกขนาดพบว่าอยู่ระดับมาก 7 ด้าน เรียงตามลำดับมากไปหาน้อย คือ ด้านการ
บริหารงานธุรการ ด้านการบริหารงานปกครองนักเรียน ด้านการบริหารทั่วไป ด้านการบริหารงาน
วิชาการ ด้านการบริหารงานบริการ ด้านการบริหารงานโรงเรียนกับชุมชนและด้านการบริหารงาน
อาคารสถานที่
เมื่อพิจารณาตามขนาดโรงเรียนโดยภาพรวมพบว่าระดับของบทบาทที่ปฏิบัติจริงของ
ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก 7 ด้าน
ลำดับที่ 1 คือ ด้านการบริหารงานธุรการ โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลางมีการปฏิบัติอยู่ในระดับ
มาก 6 ด้าน ลำดับที่ 1 คือ ด้านการบริหารงานธุรการและปานกลาง 1 ด้าน โรงเรียนขนาดใหญ่
มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก 7 ด้าน ลำดับที่ 1 คือ ด้านการบริหารงานธุรการ
เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยของบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาแต่ละขนาด
พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติซึ่งสอดคล้องกับสมมุติฐาน เมื่อพิจารณาเป็น
รายด้านพบว่าบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการบริหารทั่วไปโรงเรียน
มัธยมศึกษาขนาดใหญ่มีการปฏิบัติมากกว่าในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง ด้านการบริหารงาน
บริการในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กมีการปฏิบัติมากกว่าในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง
ด้านการบริหารงานโรงเรียนกับชุมชนในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กมีการปฏิบัติมากกว่าใน
โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลางและด้านการบริหารงานอาคารสถานที่โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาด
เล็กมากกว่าโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลางและขนาดใหญ่
146
4. ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมโรงเรียนกับบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหาร
โรงเรียนมัธยมศึกษาทุกขนาดอยู่ในระดับสูง ( R = 0.87 ) และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมโรงเรียนเป็นรายด้านกับบทบาทการปฏิบัติ
จริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาทุกด้านของโรงเรียนมัธยมศึกษาทุกขนาดพบว่าความซื่อสัตย์
สุจริตอยู่ในระดับสูงสุด ( R = 0.83 ) เขียนสมการถดถอยพหุคูณดังนี้
ŷ = 0.49 + 0.17x1+ 0.11x2+ 0.09x3+ 0.19x8+ 0.19x9+ 0.13x10
สำหรับสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมโรงเรียนเป็นรายด้านที่ส่งผลต่อบทบาทที่ปฏิบัติจริงของ
ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาทุกขนาดที่อยู่ในระดับสูงสุดพบว่าด้านความเอื้ออาทรกับด้านการ
บริหารทั่วไปเขียนสมการถดถอยพหุคูณดังนี้
ŷ = 0.22 + 0.20x9
5. ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมโรงเรียนที่ส่งผลต่อบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหาร
โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กอยู่ในระดับสูง ( R = 0.88 ) และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
เขียนสมการถดถอยเชิงเส้นอย่างง่ายดังนี้
ŷ = 0.77 + 0.82x
6. ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒธรรมโรงเรียนที่ส่งผลต่อบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหาร
โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลางอยู่ในระดับสูง ( R = 0.85 ) และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
เขียนสมการถดถอยเชิงเส้นอย่างง่ายดังนี้
ŷ = 0.58 + 0.85x
7. ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมโรงเรียนที่ส่งผลต่อบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหาร
โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่อยู่ในระดับสูง ( R = 0.88 ) และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
เขียนสมการถดถอยเชิงเส้นอย่างง่ายดังนี้
ŷ = 0.55 + 0.88x
สรุปได้ว่าวัฒนธรรมโรงเรียนที่ส่งผลต่อบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยม
ศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดนครปฐม มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง ( R = 0.83 ) คือ ด้าน
116
จากตารางที่ 66 ตัวแปรวัฒนธรรมโรงเรียนด้านความความซื่อสัตย์สุจริต เป้าหมายของ
โรงเรียนและการมอบอำนาจส่งผลต่อบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้าน
การบริหารงานวิชาการในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลางเขียนเป็นสมการถดถอยพหุคูณดังนี้
ŷ = 0.53 + 0.30X1 + 0.17X2+ 0.38X9
เมื่อ ŷ แทน ค่าพยากรณ์บทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการ
บริหารงานวิชาการในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง
X1 แทน วัฒนธรรมโรงเรียนด้านความเป้าหมายในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง
X2 แทน วัฒนธรรมโรงเรียนด้านการมอบอำนาจในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง
X9 แทน วัฒนธรรมโรงเรียนด้านความซื่อสัตย์สุจริตในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง
การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณเพื่อศึกษาวัฒนธรรมโรงเรียนด้านที่ส่งผลต่อบทบาทที่
ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลางดังรายละเอียดตาม
ตารางที่ 67 และ 68
ตารางที่ 67 การวิเคราะห์ความแปรปรวนของการถดถอยพหุคูณของวัฒนธรรมโรงเรียนด้านความ
ซื่อสัตย์สุจริต การยอมรับนับถือและเป้าหมายของโรงเรียนกับบทบาทที่ปฏิบัติจริง
ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการบริหารงานธุรการในโรงเรียนมัธยมศึกษา
ขนาดกลาง
แหล่งความแปรปรวน df SS. MS. F p
Regression 3 42.40 14.13 75.61 0.00
Residual 117 21.87 0.19
สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 0.81
สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์กำลังสอง 0.66
สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์กำลังสองที่ปรับแล้ว 0.65
ความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน 0.43
117
ตารางที่ 68 การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณตัวแปรวัฒนธรรมโรงเรียนในด้านความซื่อสัตย์สุจริต
การยอมรับนับถือและเป้าหมายของโรงเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง
ตัวแปร สัมประสิทธิ์
การถดถอย SSB t p
ความซื่อสัตย์สุจริต ( X9) 0.40 0.11 3.54 0.00
การยอมรับนับถือ ( X7) 0.34 0.11 3.06 0.00
เป้าหมายของโรงเรียน ( X1) 0.21 0.08 2.54 0.01
(ค่าคงที่) 0.28 0.25 1.12 0.26
จากตารางที่ 68 ตัวแปรวัฒนธรรมโรงเรียนด้านความซื่อสัตย์สุจริต การยอมรับนับถือและ
เป้าหมายของโรงเรียนส่งผลต่อบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการ
บริหารงานธุรการในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลางเขียนเป็นสมการถดถอยพหุคูณดังนี้
ŷ = 0.28 + 0.21 X1 + 0.34X7 + 0.40X9
เมื่อ ŷ แทน ค่าพยากรณ์บทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการ
บริหารงานธุรการในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง
X1 แทน วัฒนธรรมโรงเรียนด้านเป้าหมายของโรงเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา
ขนาดกลาง
X7 แทน วัฒนธรรมโรงเรียนด้านการยอมรับนับถือในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง
X9 แทน วัฒนธรรมโรงเรียนด้านความซื่อสัตย์สุจริตในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาด
กลาง
การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณเพื่อศึกษาวัฒนธรรมโรงเรียนด้านที่ส่งผลต่อบทบาทที่
ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการบริหารงานปกครองนักเรียนในโรงเรียนมัธยม
ศึกษาขนาดกลางดังรายละเอียดตารางที่ 69 และ 70
118
ตารางที่ 69 การวิเคราะห์ความแปรปรวนของการถดถอยพหุคูณของวัฒนธรรมโรงเรียนด้านความ
ซื่อสัตย์สุจริต เป้าหมายของโรงเรียนและการยอมรับนับถือกับบทบาทที่ปฏิบัติจริงของ
ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการบริหารงานปกครองนักเรียนในโรงเรียนมัธยม
ศึกษาขนาดกลาง
แหล่งความแปรปรวน Df SS. MS. F p
Regression 3 40.65 13.55 70.23 0.00
Residual 117 22.57 0.19
สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 0.80
สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์กำลังสอง 0.64
สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์กำลังสองที่ปรับแล้ว 0.64
ความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน 0.44
ตารางที่ 70 การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณตัวแปรวัฒนธรรมโรงเรียนในด้านความซื่อสัตย์สจุ ริต
เป้าหมายของโรงเรียนและการยอมรับนับถือในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง
ตัวแปร สัมประสิทธิ์
การถดถอย SSB t p
ความซื่อสัตย์สุจริต ( X9) 0.31 0.11 2.73 0.01
เป้าหมายของโรงเรียน ( X1) 0.31 0.09 3.69 0.00
การยอมรับนับถือ ( X7) 0.31 0.11 2.77 0.01
(ค่าคงที่) 0.28 0.25 1.11 0.27
จากตารางที่ 70 ตัวแปรวัฒนธรรมโรงเรียนด้านความซื่อสัตย์สุจริต เป้าหมายของโรงเรียน
และการยอมรับนับถือส่งผลต่อบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาด้านการ
บริหารงานปกครองนักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลางเขียนเป็นสมการถดถอยพหุคูณ
ดังนี้


วัฒนธรรมโรงเรียนที่ส่งผลต่อบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหาร (ตอนที่ 1)
วัฒนธรรมโรงเรียนที่ส่งผลต่อบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหาร (ตอนที่ 2)
วัฒนธรรมโรงเรียนที่ส่งผลต่อบทบาทที่ปฏิบัติจริงของผู้บริหาร (ตอนที่ 3)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น