วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียน ในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษากรุงเทพมหานคร (ตอนที่ 2)



จากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องด้านการบริการสุขภาพในโรงเรียน สรุปได้ว่า โรงเรียนส่วน
ใหญ่ขาดแคลนครูที่มีวุฒิทางการพยาบาลและสุขศึกษา ครูอนามัยโรงเรียนมีชั่วโมงสอนมากจนไม่มี
เวลาปฏิบัติงานในบทบาทหน้าที่ของตน การตรวจสุขภาพนักเรียนโดยครูเวลาเช้ามีการตรวจเป็นบาง
วัน การวัดสายตามีการวัดเป็นส่วนน้อย การทดสอบการได้ยินมิได้ปฏิบัติ โครงการอาหารกลางวันยัง
ไม่ถูกหลักโภชนาการ นอกจากนี้ยังขาดเงินกองทุน การประสานงานกับบุคลากรภายนอกยังต้องปรับ
ปรุง อุปกรณ์ในการปฐมพาบาล ขาดเฝือกไม้ เมื่อนักเรียนได้รับอุบัติเหตุจะนำส่งโรงพยาบาลทันที
โดยมิได้เข้าเฝือกชั่วคราว ผู้บริหารโรงเรียน ครูบางส่วนทั้งในประเทศและต่างประเทศไม่เห็นด้วยที่
ตอ้ งใหค้ รรู บั หนา้ ทตี่ รวจสขุ ภาพนกั เรยี น การแสดงความต้องการเรียนรู้ของคร ู มิใช่จะคาดหวังได้ว่า
จะแก้ปัญหาสุขภาพนักเรียนได้ เพราะบางครั้งมิได้นำไปสู่การปฏิบัติ สำหรับความต้องการให้พยาบาล
มารับหน้าที่ครูอนามัยโรงเรียนนั้นมีความเห็นสอดคล้องกันทั้งงานวิจัยในประเทศและต่างประเทศ
3.3 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องด้านสุขศึกษาในโรงเรียน
อารมณ์ อิทธิธรรมวินิจ (2528 : บทคัดย่อ อ้างใน สมศักดิ์ อัมพรต. 2538 : 54) วิจัยเรื่อง
ศึกษาการบริหารงานสุขภาพในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดชลบุรี
ฉะเชิงเทราและระยอง ผลการวิจัย พบว่า ปัญหาต่าง ๆ ที่โรงเรียนประถมศึกษาระบุไว้มากที่สุด ได้แก่
38
การขาดบุคลากรทางสุขศึกษา เช่น ครูสุขศึกษา ครูพยาบาล หรือครูอนามัยโรงเรียน รองลงมาได้แก่
การขาดอุปกรณ์หรือสื่อประกอบการสอน รวมทั้งเครื่องมือที่ใช้ในห้องพยาบาล
สมศักดิ์ อัมพรต (2538:195) วิจัยเรื่อง การบริหารงานสุขภาพอนามัยในโรงเรียนประถมศึกษา
สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดนนทบุรี ผลการวิจัยพบว่า โรงเรียนส่วนใหญ่มีสภาพการ
บริหารงานสุขภาพอนามัยในโรงเรียนถึงเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำของงานสุขศึกษาในสถานศึกษา แต่มี
ปัญหาและอุปสรรคด้านการจัดการเรียนการสอนสุขศึกษา พบว่า ผู้บริหารโรงเรียนส่วนใหญ่มีความ
คิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาด้านนี้อยู่ในระดับปานกลางที่ตรงกัน คือ การขาดแคลนบุคลากรทางสุขศึกษา
การขาดแคลนสื่อการเรียนการสอน และขาดการนิเทศให้ครูเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการสอนจากที่มุ่ง
ให้เด็กท่องจำมาให้เด็กปฏิบัติจริง
นงรัตน์ สุขสม (2540 : บทคัดย่อ) วิจัยเรื่อง การประเมินผลหลักสูตรประถมศึกษาพุทธ-
ศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533) กลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต (สุขศึกษา) ชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดนครศรีธรรมราช ผลการวิจัยพบว่า ควรปรับปรุงในด้านเนื้อหาวิชาสุขศึกษา
ให้เหมาะสมกับสภาพปัจจุบันในเรื่องการปฐมพยาบาล ตลอดทั้งนำเนื้อหาวิชาสุขศึกษาไปประยุกต์
ใช้ในชีวิตประจำวัน
ฉัตรสุดา ชินประสาทศักดิ์ (2540 : 27, 120) วิจัยเรื่อง การรับรู้บทบาทครูอนามัยโรงเรียนใน
โครงการสุขภาพของผู้บริหาร ครูประจำชั้นและครูอนามัยโรงเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัด
สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดลพบุรี มีข้อเสนอแนะว่า การให้สุขศึกษาในโรงเรียนควรเน้นที่
การเรียนรู้จากประสบการณ์ โดยให้นักเรียนฝึกปฏิบัติจนเกิดทักษะ ครูควรเตรียมการสอนและชักจูงให้
เกิดการปฏิบัติ
ศิริมา แสงอรุณ (2544 : 98) วิจัยเรื่อง สุขภาพส่วนบุคคลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร เขตราษฏร์บูรณะ ผลการวิจัยพบว่า ครูสอนสุขศึกษานอกจากสอน
ให้นักเรียนได้รับความรู้ถูกต้องแล้วยังต้องปลูกฝังเจตนคติที่ดี ก่อให้เกิดการปรับปรุงเปลี่ยนพฤติกรรม
สุขภาพ
สมพงษ์ เรืองศรี (2530 : บทคัดย่อ) วิจัยเรื่อง ปัญหาการวัดผลประเมินผลวิชาสุขศึกษา ใน
โรงเรียนมัธยมศึกษา เขตการศึกษา 3 ผลการวิจัยพบว่า ครูสุขศึกษามีปัญหาขาดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ด้านการวัดผลประเมินผลกับครูในโรงเรียนและกลุ่มโรงเรียน ซึ่งถ้าขาดการประสานงานภายนอก
หน่วยงานจะทำให้การดำเนินงานอนามัยโรงเรียนไม่ราบรื่น
ตวงพร โต๊ะนาค (2533 : 111) วิจัยเรื่อง บทบาทของผู้บริหารและครูในการพัฒนาพฤติกรรม
สุขภาพของนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร จากการศึกษาพบว่า ผู้บริหารยัง
มิได้เปิดโอกาสให้ครูร่วมศึกษาและวิเคราะห์เนื้อหาที่เกี่ยวกับสุขศึกษาก่อนนำไปใช้ในการสอน การ
จัดกิจกรรมส่งเสริมหลักสูตร เพื่อส่งเสริมอนามัยที่ดี ส่วนทางด้านครูก็ปรากฏชัดว่า ยังมิได้มีส่วนร่วม
39
ในการจัดทำแผนการสอนในเนื้อหาวิชานี้ จากผลการวิจัยนี้กล่าวได้ว่า ผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา
ยังขาดความรู้ ความเข้าใจ ในการบริหารจัดการการเรียนการสอนสุขศึกษา
ฟาลแมน ซิงเกลอตัน และคลิบเบอร์ (Fahlman, Singleton and Kliber 2002 : 19) ได้ทำการ
วิจัยเรื่อง ผลการสอนสุขศึกษาในชั้นเรียนต่าง ๆ โดยครูมีการเตรียมการสอนอย่างดี ผลการวิจัย พบว่า
วิชาโทสุขศึกษาได้มีการเตรียมการสอนมากกว่าวิชาเอกหรือโทอื่น ๆ แต่ถึงอย่างไรก็ตามวิชาเอกและ
โทในโรงเรียนประถมศึกษาทำคะแนนได้น้อยกว่าชั้นมัธยมศึกษาในด้านความสามารถทางการสอน
ซึ่งทั้งนี้เนื่องจากครูที่สอนสุขศึกษาในระดับประถมศึกษามีเพียงแต่ครูประจำชั้นเท่านั้น นอกจากนี้
หัวข้อการสอนที่ได้รับความสนใจลงชื่อเป็นสมาชิกจำนวนน้อย คือ การที่นักเรียนต้องยืมเครื่องมือจาก
ห้องเรียนอื่น
เมอเรย์, โรเนลด์ โทมัส (Murray, Ronald Thomas 1997 : 173) ได้ทำการวิจัยเรื่อง การรับฟัง
ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นต่อสุขศึกษาในโรงเรียน ผลการวิจัยพบว่า วัยรุ่นมีการ
เปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย สังคมและการเรียนรู้ดีขึ้น การให้สุขศึกษาแก่พวกเขาเกิดความล้มเหลว
หลายปัจจัย เช่น ความสามารถของครู เวลาที่ใช้สอน สภาพครอบครัว ความเข้าใจในงานอนามัย
โรงเรียนและการสนับสนุนจากชุมชน พวกเขาเน้นเรื่องการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรและเสนอแนะว่าผู้
ทำหลักสูตรควรมีความรู้ความเข้าใจเรื่องงานอนามัยโรงเรียนเป็นพื้นฐานมาก่อน
คิงและเคิท (King, Keith. 1998 : 248) ได้ทำการวิจัยเรื่อง การรับรู้ของครูอนามัยโรงเรียนและ
ครูแนะแนว เรื่องการฆ่าตัวตายของวัยรุ่น ศึกษาโดยการสุ่มตัวอย่างจากครูอนามัยโรงเรียนและครูแนะ
แนวในโรงเรียนมัธยมศึกษา ตามแนวคิดที่ว่า หากวัยรุ่นเข้าใจว่าการฆ่าตัวตายเป็นอันตรายและน่าอด
สูใจ การฆ่าตัวตายคงลดลงและเชื่อว่าครูอนามัยโรงเรียนและครูแนะแนวเป็นบุคลากรที่สำคัญยิ่งที่จะ
ป้องกันปัญหานี้ได้ ผลการวิจัยพบว่า ครูอนามัยโรงเรียนร้อยละ 9 เห็นด้วย ครูแนะแนวในโรงเรียน
ร้อยละ 39 เห็นด้วย จากการวิเคราะห์ที่หลากหลายในปัญหานี้ สรุปว่า มีการสอนถึงเรื่องดังกล่าวให้
กับนักเรียนแล้ว โดยสอดแทรกอยู่ในหลักสูตรเรื่องการป้องกันการฆ่าตัวตายของวัยรุ่น มีการเฝ้า
ระวังและ เอาอกเอาใจกันมากอยู่แล้วแต่ไม่ประสบผลสำเร็จ และมีข้อเสนอแนะว่า การศึกษาอย่างเดียว
ไม่สามารถลดจำนวนการฆ่าตัวตายของนักเรียนวัยรุ่นได ้ อาจเกดิ ประโยชนห์ ากจดั หลกั สตู รเพอื่ ให้
ความรู้แก่ครูอนามัยโรงเรียนและครูแนะแนวให้เวลาในการพัฒนาความรู้เพื่อความสันทัดกรณีในการ
แก้ปัญหาเรื่องนี้ นอกจากนี้เพื่อเห็นแก่สาธารณประโยชน์ โครงการนี้ควรชักชวนให้โรงเรียนมัธยม
ศึกษาทุกโรงเรียนให้การสนับสนุน
จากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องทางด้านสุขศึกษาในโรงเรียนสรุปได้ว่า โรงเรียนต่าง ๆ ขาด
ครูพยาบาล ครูสุขศึกษา และครูวิทยาศาสตร์สุขภาพ บรรดาครูไม่มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งใน
โรงเรียนและกลุ่มโรงเรียน ขาดการนิเทศติดตาม ครูมิได้ร่วมกันทำแผนการสอน การสอนมิได้เน้นให้
นักเรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพ ผู้บริหารไม่เปิดโอกาสให้ครูร่วมวิเคราะห์เนื้อหาเกี่ยวกับ
40
สุขศึกษาก่อนนำไปใช้ ผู้บริหารขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องการสอนสุขศึกษา จากการวิจัยในสหรัฐ-
อเมริกา ในปี พ.ศ. 2545 พบว่า โรงเรียนประถมศึกษา ครูมีการเตรียมการสอนอย่างดี แต่เมื่อเปรียบ
เทียบการสอนกับครูมัธยมศึกษาความสามารถทางการสอนของครูประถมศึกษาด้อยกว่ามัธยมศึกษา
ทั้งนี้เพราะโรงเรียนประถมศึกษาทุกโรงเรียนผู้สอนสุขศึกษา คือ ครูประจำชั้น ส่วนโรงเรียนมัธยม-
ศึกษา ประสบปัญหานักเรียนฆ่าตัวตายทั้งที่มีการให้สุขศึกษา แนะแนวและติดตามผลอย่างดีแล้ว มี
ข้อเสนอแนะจากกลุ่มตัวอย่างให้เปิดการอบรมครูผู้มีหน้าที่ รับผิดชอบเรื่องนี้เพื่อเพิ่มความสามารถ
ในการแก้ปัญหา นอกจากนี้ปัญหาการสอนสุขศึกษาเกิดจากความสามารถของครูเวลาที่ใช้สอน สภาพ
ครอบครัว การสนับสนุนของชุมชน มีการขอร้องให้เปลี่ยนหลักสูตร เสนอแนะให้ผู้ทำหลักสูตรเรื่อง
งานอนามัยโรงเรียนควรมีความรู้และประสบการณ์งานด้านนี้
3.4 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและชุมชน
ตวงพร โต๊ะนาค (2533 : 113) วิจัยเรื่อง บทบาทของผู้บริหารและครูในการพัฒนาพฤติกรรม
สุขภาพของนักเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยพบว่า การประชาสัมพันธ์
กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพอนามัยของทางราชการและของโรงเรียน การแนะนำให้ผู้ปกครองรู้จักวิธีการ
ดูแลนักเรียนที่เจ็บป่วยยังทำได้ไม่มากนัก และในบางเรื่องทำได้ค่อนข้างน้อย เมื่อพิจารณาปัญหา
การดำเนินงานในด้านนี้ควบคู่ไปด้วย ก็จะเห็นได้ชัดเจนว่าอุปสรรคในการพัฒนาสุขภาพอนามัยโดย
การให้ข่าวสารแก่ชุมชนอยู่ที่ผู้ปกครองไม่สนใจข่าวสารจากทางโรงเรียน เพราะข่าวสารไม่ทันสมัย
และไม่ค่อยเพียงพอ ประกอบกับมีความเชื่อไม่ถูกต้อง หรือยึดขนบธรรมเนียมประเพณีมากเกินไป
จึงทำให้ความพยายามด้านนี้ของผู้บริหารและครูไม่สัมฤทธิ์ผลเท่าที่ควร
ฉัตรสุดา ชินประสาทศักดิ์ (2540 : 120) วิจัยเรื่อง การรับรู้บทบาทของครูอนามัยโรงเรียน
ในโครงการสุขภาพของผู้บริหาร ครูประจำชั้นและครูอนามัยโรงเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัด
สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดลพบุรี ผลการวิจัยพบว่า ครูอนามัยโรงเรียนส่วนใหญ่เป็นผู้รับ
ผิดชอบการดำเนินงานโครงการสุขภาพเพียงคนเดียว ดังนั้น หน่วยการศึกษาจึงควรกำหนดนโยบายใน
การจัดตั้งคณะกรรมการดำเนินการสุขภาพโรงเรียน ซึ่งประกอบด้วยครูฝ่ายต่าง ๆ ในโรงเรียนร่วมกับ
เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่รับผิดชอบโรงเรียนและผู้นำชุมชน โดยมีคำสั่งแต่งตั้งและกำหนดบทบาทหน้าที่
ให้ชัดเจน
สุวรรณา รุทธนานุรักษ์ (2540 : 88) วิจัยเรื่อง การบริหารเวลาของผู้บริหารโรงเรียนประถม
ศึกษาดีเด่น สังกัดกรุงเทพมหานคร พบว่า ผู้บริหารส่วนใหญ่มีสัดส่วนการใช้เวลาด้านต่าง ๆ ในลำดับ
แตกต่างกัน แต่งานที่ปฏิบัติน้อยที่สุด พบว่าสอดคล้องกันคือ งานความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับ
ชุมชน
41
ณรงค์ เจริญผล (2543 : 84) วิจัยเรื่อง แนวทางการดำเนินงานโครงการอาหารกลางวันใน
โรงเรียน สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผลการวิจัยพบว่า แนวทาง
การดำเนินงานโครงการอาหารกลางวันในด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน มีระดับ
คะแนนที่ต่ำสุด นอกจากนี้ยังพบในงานวิจัยของ นวลสมร ธนสุนทร (2531) ศึกษาพบว่า ความ
ร่วมมือของชุมชนที่มีต่อโครงการอาหารกลางวันอยู่ในระดับกลาง ๆ เท่านั้น
ประเวศ สิทธิกูล (2539 : 121) วิจัยเรื่องปัญหาการปฏิบัติงานกิจการนักเรียนโรงเรียนประถม
ศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดสระบุรี ผลการวิจัยพบว่า ตามทัศนะของผู้บริหารใน 4
ด้าน คือ ด้านนักเรียน ด้านกิจกรรมที่ส่งเสริมให้มีขึ้นในโรงเรียน ด้านกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์
ระหว่างโรงเรียนกับศิษย์เก่า มีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายกิจกรรม ปรากฏว่ามี
ปัญหาอยู่ในระดับปานกลางทุกกิจกรรม และมีข้อเสนอแนะสิ่งที่น่าจะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงาน
กิจการนักเรียนโรงเรียนประถมศึกษาว่า ผู้บริหารสถานศึกษาหาสาเหตุของปัญหาการปฏิบัติงานกิจการ
นักเรียนด้านกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับศิษย์เก่า เพื่อหาทางป้องกันและแก้ไข
ปัญหาซึ่งเกิดขึ้นให้ลดน้อยลง โดยการนิเทศ กำกับ และติดตามการปฏิบัติงานของครูผู้สอนที่รับผิด
ชอบงานกิจการนักเรียนอยู่ตลอดเวลา
ลอเรนส์ คาร์เมนลีน (Lawrence Carmen Leanne. 1998 : 512) วิจัยเรื่อง เพื่อนบ้านดูแลรักษา
เพื่อนบ้าน การส่งเสริมสุขภาพในโรงเรียนขั้นพื้นฐานเป็นส่วนหนึ่งของโบสถ์แคธอริค ภาพรวมของ
โรงเรียนแห่งสุขภาพ แสดงให้เห็นปรัชญาการสนับสนุนงานอนามัยโดยใช้โรงเรียนเป็นศูนย์กลาง ซึ่ง
สนับสนุนการรวมตัวกันของชุมชนให้เป็นหนึ่งเหมือนหน่วยหนึ่งของการปกครองในอังกฤษ มีการ
สนับสนุนอนามัยชุมชน การวิจัยใช้วิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการ จากสมาชิกของโบสถ์ในชุมชนและโรงเรียน
ที่ทำงานร่วมกันมา พวกเขาได้เป็นผู้ตอบคำถามการวิจัย “ชุมชนคริสเตียนในท้องถิ่นเข้าไปมีส่วนร่วม
สนับสนุนด้านสุขภาพอนามัยและทำให้เด็ก ๆ มีสุขภาพดี และชุมชนต้องการโรงเรียนประถมศึกษา
มากใช่หรือไม่” มีการใช้เทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพมาวิเคราะห์คำตอบ คือ ชุมชนคริสเตียนในท้องถิ่น
เข้าไปมีส่วนร่วมในขบวนการสนับสนุนการปฏิบัติการด้านสุขภาพอนามัย เปรียบเสมือนเพื่อนบ้าน
ดูแลรักษาเพื่อนบ้านกันเอง สิ่งที่ค้นพบในการวิจัยครั้งนี้มีนัยว่าชุมชนเป็นพื้นฐานในการให้การ
พยาบาล
จากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและชุมชนสรุปได้ว่า
ผู้บริหารโรงเรียนใช้เวลาบริหารงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและชุมชนเป็นอันดับสุดท้าย
การประชาสัมพันธ์ด้านสุขภาพอนามัยยังทำได้ไม่ดี เอกสารเผยแพร่ไม่น่าสนใจ ล้าสมัย ผู้ปกครอง
นักเรียนไม่สนใจเรื่องสุขภาพอนามัย ไม่สนับสนุนโครงการอาหารกลางวันเท่าที่ควร มีข้อเสนอแนะ
จากงานวิจัยว่า ให้มีการประสานงานกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและมีการประชุมร่วมกัน นอกจากนี้
ควรสร้างมนุษยสัมพันธ์กับบรรดาศิษย์เก่าและศึกษาปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น สำหรับในต่างประเทศ
42
พบว่า ได้ใช้โรงเรียนเป็นศูนย์กลางแห่งสุขภาพ ชุมชนดูแลเพื่อนบ้านกันเองและเข้ามาช่วยเหลือ
สนับสนุนงานอนามัยโรงเรียน
จากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนทั้งในประเทศและ
ต่างประเทศ สรุปได้ว่า สภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนยังไม่สามารถดำเนินการให้เป็นไปตาม
มาตรฐานที่ดีได้ บางโรงเรียนผู้บริหารโรงเรียนและครูไม่เห็นความสำคัญของงานอนามัยโรงเรียน
ทางด้านบุคลากร ขาดครูพยาบาล ครูสอนสุขศึกษา และผู้สำเร็จการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ
สถานที่ก่อสร้างอาคารไม่เหมาะสมคับแคบ อาคารเรียนไม่เพียงพอ บางครั้งชำรุดและไม่ถูกสุขลักษณะ
ทางด้านการบริการสุขภาพ ครูอนามัยมีชั่วโมงสอนมากจนไม่มีเวลาทำงานอนามัยโรงเรียนตามบทบาท
หน้าที่ของตน นอกจากนี้อุปกรณ์ด้านปฐมพยาบาลยังไม่ครบถ้วน การบริการด้านโภชนาการ
ต้องปรับปรุงด้านคุณภาพ การสอนสุขศึกษาไม่มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างครูในโรงเรียนกลุ่ม
โรงเรียน และขาดการนิเทศติดตามการสอน มิได้เน้นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพ นอกจากนี้
นักเรียนยังมีความกังวลเรื่องรูปแบบพฤติกรรมสุขภาพของครูและมีความต้องการให้พยาบาลมาทำ
หน้าที่ครูอนามัยโรงเรียน สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างบ้านและโรงเรียนนั้น ผู้ปกครองไม่ให้ความ
สนใจเรื่องข่าวสารเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยเท่าที่ควร อีกประการหนึ่งผู้บริหารโรงเรียนให้เวลากับ
การบริหารงานความสัมพันธ์ระหว่างบ้านและโรงเรียนอยู่ในระดับสุดท้าย ซึ่งสาเหตุดังกล่าวเป็น
อุปสรรคต่อการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนและยากในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียน
ดังนั้นหากมีการศึกษาวิจัยและค้นพบสภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา
สังกัดสำนักงานการประถมศึกษากรุงเทพมหานคร จะได้มีข้อมูลและเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหา
อุปสรรคต่าง ๆ เพื่อพัฒนางานอนามัยโรงเรียนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ต่อไป
บทที่ 3
วิธีดำเนินการวิจัย
การวิจัยเรื่อง สภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียน ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงาน
การประถมศึกษากรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยมีวัตถุประสงค์ใน
การวิจัย คือ เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียน ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงาน
การประถมศึกษากรุงเทพมหานคร ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังนี้
1. ประชากร
2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
3. การเก็บรวบรวมข้อมูล
4. การวิเคราะห์ข้อมูล
ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา
กรุงเทพมหานคร จำนวน 38 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน ผู้ช่วยผู้บริหาร และ
ครูอนามัยโรงเรียน โรงเรียนละ 3 คน รวมทั้งสิ้น 114 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. ลักษณะของเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลครั้งนี้เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นสอบถามเกี่ยวกับ
สภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียน ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา
กรุงเทพมหานคร ซึ่งแบ่งคำถามเป็น 3 ตอน คือ
ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม เป็นแบบเลือกตอบ
ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียน เป็นแบบ
มาตรประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับสภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียน
ได้แก่ การจัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ การบริการสุขภาพในโรงเรียน สุขศึกษาใน
โรงเรียน และความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและชุมชน
44
โดยใช้เกณฑ์ในการให้คะแนนและความหมายกำหนดน้ำหนักของตัวเลือก 1 – 5 ดังนี้
- 5 หมายถึง มีสภาพการดำเนินงานมากที่สุด
- 4 หมายถึง มีสภาพการดำเนินงานมาก
- 3 หมายถึง มีสภาพการดำเนินงานปานกลาง
- 2 หมายถึง มีสภาพการดำเนินงานน้อย
- 1 หมายถึง มีสภาพการดำเนินงานน้อยที่สุด
ตอนที่ 3 สอบถามความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ เป็นคำถามปลายเปิด จำนวน 4 ข้อ จาก
งานอนามัยโรงเรียน 4 ด้าน คือ
- การจัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ
- การบริการสุขภาพในโรงเรียน
- สุขศึกษาในโรงเรียน
- ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและชุมชน
2. ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้นมาจากการศึกษาขอบเขต
เนื้อหาของงานอนามัยโรงเรียนและเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยมีขั้นตอนในการสร้างเครื่องมือวิจัย
ดังนี้
1. ศึกษาหลักเกณฑ์และวิธีการสร้างแบบสอบถามจากเอกสารต่าง ๆ
2. ศึกษาขอบเขตเนื้อหาของงานอนามัยโรงเรียน จากหนังสือคู่มือครูอนามัยโรงเรียน ตำรา
และศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งศึกษาสภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียน ในโรงเรียน
ประถมศึกษา มัธยมศึกษา และเกณฑ์การปฏิบัติงานด้านส่งเสริมสุขาภาพ แล้วนำมาสรุปเป็นคำถาม
ในการสร้างเครื่องมือ
3. ร่างแบบสอบถามตามหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ให้ครอบคลุมขอบเขตเนื้อหาตามวัตถุประสงค์ของ
การวิจัย นำเสนออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติมและปรับปรุงแก้ไข
4. หาคุณภาพของเครื่องมือ
4.1 หาความเที่ยงตรง (Validity) โดยให้ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน พิจารณาตรวจสอบความ
เที่ยงตรงของเนื้อหา (Content Validity) แล้วนำเสนออาจารย์ที่ปรึกษา ตรวจสอบเพื่อปรับปรุงให้
สมบูรณ์อีกครั้งหนึ่ง
4.2 หาความเชื่อมั่น (Reliability) นำแบบทดสอบที่ปรับปรุงแล้วไปทดลองใช้
(Try Out) กับกลุ่มตัวอย่างที่มิใช่กลุ่มประชากรในการวิจัย โดยใช้แบบสอบถามกับผู้บริหาร ผู้ช่วย
ผู้บริหารโรงเรียน และครูอนามัยโรงเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน
45
30 คน จาก 10 โรงเรียน แล้วนำมาวิเคราะห์หาความเชื่อมั่นโดยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟา (Alpha
Coefficient) ของ ครอนบาค (Cronbach, 1970 : 161) ได้ค่าความเชื่อมั่นเป็น 0.97
5. คัดเลือกแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นสูงและจัดพิมพ์แบบสอบถาม เพื่อนำไปใช้ในการ
เก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บรวบรวมข้อมูล
วิธีดำเนินการรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้ดำเนินการดังนี้
1. ติดต่อขอหนังสือแนะนำจากบัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เพื่อขอ
ความช่วยเหลือในการเก็บรวบรวมข้อมูลไปยังผู้อำนวยการสำนักงานการประถมศึกษากรุงเทพมหานคร
และผู้อำนวยการโรงเรียน หรืออาจารย์ใหญ่และผู้เกี่ยวข้องทุกโรงเรียน เพื่อขอความร่วมมือในการ
ตอบแบบสอบถาม
2. ผู้วิจัยรวบรวมข้อมูล โดยการส่งแบบสอบถามและรับแบบสอบถามด้วยตนเองและจัดส่ง
ทางไปรษณีย์ โดยส่งแบบสอบถามไปทั้งสิ้น 114 ฉบับ ได้รับคืนที่เป็นฉบับสมบูรณ์ 114 ฉบับ คิด
เป็นร้อยละ 100
3. ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามที่ได้รับคืน
การวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามลำดับ ดังนี้
1. นำแบบสอบถามไปวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์โดยใช้โปรแกรม
SPSS FOR WINDOWS เพื่อคำนวณหาค่าสถิติ
2. แบบสอบถามตอนที่ 1 ข้อมูลเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล
โดยใช้การหาค่าร้อยละ นำเสนอในรูปตารางและแปลผลโดยการบรรยาย
3. แบบสอบถามตอนที่ 2 ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียน วิเคราะห์ข้อมูล
โดยการหาค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) นำเสนอในรูปตาราง
และแปลผลโดยการบรรยาย ผลการวิเคราะห์ข้อมูลใช้เกณฑ์การกำหนดคะแนนเฉลี่ยโดยใช้เกณฑ์ของ
วิเชียร เกตุสิงห์ (2538 : 9) ดังนี้
4.50 – 5.00 หมายถึง มีสภาพการดำเนินงานมากที่สุด
3.50 – 4.49 หมายถึง มีสภาพการดำเนินงานมาก
2.50 – 3.49 หมายถึง มีสภาพการดำเนินงานปานกลาง
46
1.50 – 2.49 หมายถึง มีสภาพการดำเนินงานน้อย
1.00 – 1.49 หมายถึง มีสภาพการดำเนินงานน้อยที่สุด
4. แบบสอบถามตอนที่ 3 ข้อมูลเกี่ยวกับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการ
ดำเนินงานอนามัยโรงเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา เป็นแบบคำถามปลายเปิด วิเคราะห์โดยการ
จัดกลุ่มคำตอบ แจกแจงความถี่และหาค่าร้อยละ นำเสนอในรูปของตารางและแปลผลโดยการบรรยาย
บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
จากการวิจัยเรื่อง “สภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัด
สำนักงานการประถมศึกษากรุงเทพมหานคร” ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัย ดังกล่าวไว้ใน
บทที่ 3 โดยเริ่มจากการวิเคราะห์สาระจากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดกรอบแนวความคิด
ในการวิจัย และเป็นฐานในการสร้างเครื่องมือสอบถามความคิดเห็นต่อสภาพการดำเนินงานอนามัย
โรงเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษากรุงเทพมหานคร
ผู้วิจัยขอนำเสนอผลการวิจัยในลักษณะความเรียงประกอบตารางโดยนำเสนอเป็น 4 ตอน
ดังนี้
ตอนที่ 1 ข้อมูลสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม
ตอนที่ 2 สภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียน ในโรงเรียนประถมศึกษา
สังกัดสำนักงานการประถมศึกษากรุงเทพมหานคร
ตอนที่ 3 การศึกษาความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินงานอนามัยโรงเรียน
ในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษากรุงเทพมหานคร
ผู้วิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบน
มาตรฐาน แล้วนำเสนอข้อมูลในตารางประกอบความเรียงดังแสดงในตารางต่อไปนี้
48
ตอนที่ 1 สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม
สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถามจำแนกตามเพศ ตำแหน่ง ประสบการณ์ทำงานใน
ตำแหน่งปัจจุบัน และวุฒิทางการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ และ
นำเสนอข้อมูลในตารางประกอบความเรียง ดังนี้
ตารางที่ 1 สถานภาพของประชากร
ตัวแปรที่ศึกษา จำนวน ร้อยละ
1. เพศ
1.1 หญิง
1.2 ชาย
2. ตำแหน่ง
2.1 ผู้บริหาร
2.2 ผู้ช่วยผู้บริหาร
2.3 ครูอนามัยโรงเรียน
3. ประสบการณ์ทำงานในตำแหน่งปัจจุบัน
3.1 มากกว่า 10 ปี
3.2 น้อยกว่า 5 ปี
3.3 5 – 10 ปี
4. วุฒิทางการศึกษา
4.1 ปริญญาตรี
4.2 ปริญญาโท
4.3 สูงกว่าปริญญาโท
66
48
38
38
38
61
32
21
68
45
1
57.89
42.11
33.33
33.33
33.33
53.51
28.07
18.42
59.65
39.47
0.88
จากตารางที่ 1 พบว่า ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็น
ร้อยละ 57.89 ประสบการณ์ทำงานในตำแหน่งปัจจุบันมากกว่า 10 ปี คิดเป็นร้อยละ 53.51 และ
มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 59.65
49
ตอนที่ 2 สภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงาน
การประถมศึกษากรุงเทพมหานคร จำแนกเป็นรายด้านและรวมทุกด้าน
ตารางที่ 2 สภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงาน
การประถมศึกษากรุงเทพมหานคร จำแนกเป็นรายด้านและรวมทุกด้าน
สภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา
สังกัดสำนักงานการประถมศึกษากรุงเทพมหานคร
↑ ≥ การแปลผล
1. ด้านการจัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ
2. ด้านการจัดบริการสุขภาพในโรงเรียน
3. ด้านสุขศึกษาในโรงเรียน
4. ด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและชุมชน
3.90
4.03
3.76
3.93
0.89
0.89
0.81
0.84
มาก
มาก
มาก
มาก
รวม 3.91 0.87 มาก
จากตารางที่ 2 พบว่า สภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา
สังกัดสำนักงานการประถมศึกษากรุงเทพมหานคร โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( ↑ = 3.91,
≥ = 0.87) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า สภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนอยู่ในระดับมาก
ทุกด้าน โดยมีสภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนด้านการจัดบริการสุขภาพในโรงเรียนอยู่ใน
ระดับสูงสุด ( ↑ = 4.03, ≥ = 0.89) รองลงมา คือ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและชุมชน
( ↑ = 3.93, ≥ = 0.84) ด้านการจัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ ( ↑ = 3.90, ≥
= 0.89) และด้านสุขศึกษาในโรงเรียน ( ↑ = 3.76, ≥ = 0.81) ตามลำดับ
50
ตารางที่ 3 สภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงาน
การประถมศึกษากรุงเทพมหานคร ด้านการจัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ
ด้านการจัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ ↑ ≥ การแปลผล
1. มีการวางแผนอาคารสถานที่อย่างถูกสุขลักษณะ 3.98 0.73 มาก
2. สถานที่ตั้งโรงเรียนห่างไกลแหล่งอบายมุขเสียงรบกวน สิ่งปฏิกูล
รวมทั้งมลพิษต่าง ๆ
3.36 0.95 ปานกลาง
3.มีการปลูกไม้ดอกไม้ประดับและตกแต่งสถานที่ เพื่อสร้าง
บรรยากาศการเรียนรู้
4.18 0.70 มาก
4. มีที่นั่งพักสำหรับนักเรียนได้พักผ่อนหรืออ่านหนังสืออย่างพอเพียง 3.83 0.88 มาก
5. มีสนามที่เล่นอย่างเพียงพอและปลอดภัย 3.47 1.01 ปานกลาง
6. มีเครื่องดับเพลิงตามจุดต่าง ๆ ของโรงเรียนอย่างเหมาะสม 3.73 0.93 มาก
7. ห้องเรียนมีสีสันเย็นตา มีแสงสว่างเพียงพอ มีโต๊ะเก้าอี้พอเพียง
และเหมาะสมกับนักเรียน
4.00 0.69 มาก
8. มีน้ำดื่ม น้ำใช้ที่สะอาดเพียงพอ 4.10 0.80 มาก
9. มีห้องส้วมและที่ปัสสาวะตามเกณฑ์มาตรฐานและถูกสุขลักษณะ 3.92 0.88 มาก
10. มีโรงอาหารที่เหมาะสมและพอเพียงกับจำนวนนักเรียน 3.78 0.94 มาก
11. โรงเรียนมีรั้วกั้นและอยู่ในสภาพดี 4.53 0.64 มากที่สุด
12. นำกิจกรรม “5 ส ” มาใช้อย่างต่อเนื่อง 3.75 0.95 มาก
13. มีการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงและสัตว์นำโรค 4.06 0.83 มาก
14. มีการประเมินผลการจัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน 3.80 0.92 มาก
15.ผู้บริหารและครูสามารถเป็นตัวอย่างด้านสุขภาพอนามัยที่ดีแก่
นักเรียนและชุมชน
4.08 0.73 มาก
รวม 3.90 0.89 มาก
จากตารางที่ 3 พบว่า สภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา ด้าน
การจัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( ↑ = 3.90, ≥
= 0.89) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่สภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนด้านการจัดสิ่ง
แวดล้อมในโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะอยู่ในระดับสูงสุด คือ โรงเรียนมีรั้วกั้นและอยู่ในสภาพดีและ
ข้อที่สภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนอยู่ในระดับปานกลาง คือ สถานที่ตั้งโรงเรียนห่างไกล
51
แหล่งอบายมุข เสียงรบกวน สิ่งปฏิกูล รวมทั้งมลพิษต่าง ๆ และมีสนามที่เล่นอย่างเพียงพอและ
ปลอดภัย ส่วนข้ออื่นๆ มีสภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนอยู่ในระดับมาก
ตารางที่ 4 สภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงาน
การประถมศึกษากรุงเทพมหานคร ด้านการจัดบริการสุขภาพในโรงเรียน
ด้านการจัดบริการสุขภาพในโรงเรียน ↑ ≥ การแปลผล
1. ส่งเสริมครูให้มีความรู้เกี่ยวกับหลักการจัดบริการสุขภาพในโรงเรียน 3.95 0.75 มาก
2.ดำเนินการให้ครูได้เข้ารับการอบรมทางด้านสุขภาพอนามัยและ
การปฐมพยาบาล รวมทั้งการเรียนรู้เทคนิคใหม่ ๆ
3.83 0.90 มาก
3.สนับสนุนให้ครูในโรงเรียนมีบทบาทร่วมวางแผนเกี่ยวกับการจัด
บริการสุขภาพ
3.91 0.79 มาก
4.มีการประสานงานระหว่างเจ้าหน้าที่สาธารณสุขกับโรงเรียนเป็นอย่างดี 4.27 0.64 มาก
5. ครูในโรงเรียนให้ความร่วมมือเกี่ยวกับการบริการสุขภาพเป็นอย่างดี 4.18 0.74 มาก
6.โรงเรียนมีครูอนามัยโรงเรียนหรือพยาบาลโรงเรียนอยู่ประจำตลอด
เวลา
3.75 1.10 มาก
7.มีการจัดห้องพยาบาลหรือมุมพยาบาลเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานของ
กระทรวงสาธารณสุข
3.89 1.01 มาก
8.โรงเรียนมีอุปกรณ์ เวชภัณฑ์และยาตามที่กำหนดของทางราชการอย่าง
เพียงพอ
3.96 0.90 มาก
9. มีการจัดบัตรบันทึกสุขภาพให้เป็นระเบียบและสะดวกแก่การค้นหา 4.13 0.79 มาก
10.โรงเรียนมีการติดตามผลการให้การพยาบาลรักษานักเรียนที่เจ็บป่วย
จากผู้ปกครองเด็กอยู่เสมอ
4.08 0.72 มาก
11.โรงเรียนมีโครงการอาหารกลางวัน จัดตามหลักโภชนาการอย่าง
เหมาะสม
4.24 0.67 มาก
12. โรงเรียนจัดให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 6 ได้รับภูมิคุ้มกัน
โรคตามกำหนด
4.56 0.56 มากที่สุด
13. นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 6 ได้รับการ
ตรวจสุขภาพโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
4.58 0.58 มากที่สุด
14. มีการตรวจตาและวัดสายตานักเรียนทุกปี 3.89 0.99 มาก
15. มีการตรวจหูเพื่อทดสอบความผิดปกติของการได้ยินทุกปี 3.47 1.10 ปานกลาง
52
ตารางที่ 4 (ต่อ)
ด้านการจัดบริการสุขภาพในโรงเรียน ↑ ≥ การแปลผล
16.มีการตรวจฟันนักเรียนทุกคนและบันทึกในแบบบันทึกปีละ
2 ครั้ง
4.00 0.94 มาก
17.มีสถานที่สำหรับให้นักเรียนแปรงฟันอย่างเพียงพอและถูก
สุขลักษณะ
4.00 0.91 มาก
18.มีการตรวจความสะอาดและสุขภาพร่างกายก่อนการเรียนการ
สอนเป็นประจำ
3.83 0.76 มาก
19. มีการชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูงนักเรียนทุกคนภาคเรียนละ 2 ครั้ง 4.58 0.58 มากที่สุด
20. มีการแก้ไขนักเรียนที่มีน้ำหนักและส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์ 4.02 0.85 มาก
21. มีการแก้ไขนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกิน (โรคอ้วน) 3.47 1.10 ปานกลาง
รวม 4.03 0.89 มาก
จากตารางที่ 4 พบว่า สภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา ด้าน
การจัดบริการสุขภาพในโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( ↑ = 4.03 , ≥ = 0.89) เมื่อ
พิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่สภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนอยู่ในระดับสูงสุด ตามลำดับ
คือ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 6 ได้รับการตรวจสุขภาพโดยเจ้าหน้าที่
สาธารณสุข มีการชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูงนักเรียนทุกคนภาคเรียนละ 2 ครั้ง และโรงเรียนจัดให้
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 6 ได้รับภูมิคุ้มกันโรคตามกำหนด และข้อที่สภาพการดำเนิน
งานอนามัยโรงเรียนอยู่ในระดับปานกลาง คือ มีการตรวจหูเพื่อทดสอบความผิดปกติของการได้
ยินทุกปี และมีการแก้ไขนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกิน (โรคอ้วน) ส่วนข้ออื่น ๆ มีสภาพ
การดำเนินงานอนามัยโรงเรียนอยู่ในระดับมาก
53
ตารางที่ 5 สภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงาน
การประถมศึกษากรุงเทพมหานคร ด้านสุขศึกษาในโรงเรียน
ด้านสุขศึกษาในโรงเรียน ↑ ≥ การแปลผล
1. โรงเรียนมีการฝึกทักษะและสร้างเจตคติด้านสุขภาพอนามัยให้
นักเรียน
4.02 0. 72 มาก
2. มีสื่อการเรียนการสอนและเอกสารทางด้านสุขศึกษาที่จะให้ครู
และนักเรียนอ่านอย่างเพียงพอ
3.84 0.75 มาก
3. นักเรียนสามารถนำความรู้ด้านสุขศึกษาไปใช้ในชีวิตประจำวัน 3.96 0.70 มาก
4. นักเรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพภายหลังการให้ความรู้
ทางด้านสุขศึกษา
3.80 0.75 มาก
5. มีการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรทางด้านสุขศึกษา 3.75 0.77 มาก
6. มีการเผยแพร่ความรู้ด้านสุขภาพในรูปแบบใหม่ ๆ แก่นักเรียน
และผู้ปกครอง
3.69 0.74 มาก
7. โรงเรียนจัดโอกาสให้นักเรียนหรือผู้นำนักเรียนผลิตสื่อสุขภาพ
ด้วยความคิดของตนเองและมีการเผยแพร่ความรู้แก่นักเรียนด้วยกัน
3.43 0.87 ปานกลาง
8. ครูสอนสุขศึกษามีบุคลิกภาพและพฤติกรรมสุขภาพที่ดี 3.88 0.67 มาก
9. ปัจจุบันมีผู้นำนักเรียนด้านส่งเสริมสุขภาพโดยเฉพาะ 3.57 1.10 มาก
10. ครูสอนสุขศึกษามีแผนการสอนและแบบประเมินผล 3.62 0.81 มาก
รวม 3.76 0.81 มาก
จากตารางที่ 5 พบว่า สภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา ด้าน
สุขศึกษาในโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( ↑ = 3.76, ≥ = 0.81) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ
พบว่า ข้อที่สภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนอยู่ในระดับปานกลาง คือ โรงเรียนจัดโอกาสให้
นักเรียนหรือผู้นำนักเรียนผลิตสื่อสุขภาพด้วยความคิดของตนเองและมีการเผยแพร่ความรู้แก่นัก
เรียนด้วยกัน ส่วนข้ออื่น ๆ มีสภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนอยู่ในระดับมาก โดยมีสภาพ
การดำเนินงานอนามัยโรงเรียนเกี่ยวกับโรงเรียนมีการฝึกทักษะและสร้างเจตคติด้านสุขภาพอนามัย
ให้นักเรียนอยู่ในระดับสูงสุด ( ↑ = 4.02, ≥ = 0.72)
54
ตารางที่ 6 สภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงาน
การประถมศึกษากรุงเทพมหานคร ด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและชุมชน
ด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและชุมชน ↑ ≥ การแปลผล
1.โรงเรียนมีการประชาสัมพันธ์เรื่องการบริการสุขภาพในโรงเรียนเป็น
ลายลักษณ์อักษร
3.74 0.91 มาก
2. ผู้ปกครองให้ความร่วมมือในการประเมินผลการรักษานักเรียนเจ็บป่วย 3.65 0.92 มาก
3. ผู้ปกครองสนใจเรื่องสุขภาพอนามัยนักเรียน 3.71 0.88 มาก
4.โรงเรียนทำหนังสือขออนุญาตและให้ผู้ปกครองตอบรับก่อนการที่เจ้า
หน้าที่สาธารณสุขมาบริการฉีดวัคซีน
4.39 0.78 มาก
5. ผู้ปกครองสนับสนุนเรื่องสุขภาพอนามัยของนักเรียน 3.94 0.82 มาก
6.โรงเรียนมีการประชุมชี้แจงนโยบายการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนให้
ผู้ปกครองทราบทุกปีการศึกษา
3.79 0.81 มาก
7.เมื่อมีโรคระบาดหรือโรคที่มีผลกระทบต่อนักเรียนโรงเรียนได้ทำ
เอกสารแจ้งผู้ปกครอง
3.84 0.84 มาก
8.โรงเรียนได้ติดตามผลการรักษานักเรียนที่เจ็บป่วยหรือมีปัญหาสุขภาพ
อย่างต่อเนื่อง
4.04 0.68 มาก
9.โรงเรียนและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขร่วมกันพัฒนาสุขภาพอนามัย
นักเรียนและชุมชน
4.23 0.69 มาก
10. โรงเรียนและชุมชนร่วมกันแก้ปัญหาสุขภาพอนามัยนักเรียน 4.00 0.75 มาก
รวม 3.93 0.84 มาก
จากตารางที่ 6 พบว่า สภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา ด้าน
ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและชุมชน โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( ↑ = 3.93, ≥ = 0.84) เมื่อ
พิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า สภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรง
เรียนและชุมชนอยู่ในระดับมากทุกข้อ โดยมีสภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนเกี่ยวกับ
โรงเรียนทำหนังสือขออนุญาตและให้ผู้ปกครองตอบรับก่อนการที่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขมาบริการ
ฉีดวัคซีนอยู่ในระดับสูงสุด ( ↑ = 4.39, ≥ = 0.78) ส่วนข้ออื่นมีสภาพการดำเนินงานอนามัย
โรงเรียนอยู่ในระดับมาก
55
ตอนที่ 3 การศึกษาความคิดเห็นและข้อเสนอแนะการดำเนินงานอนามัยโรงเรียน
ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษากรุงเทพมหานคร
ตารางที่ 7 การศึกษาความคิดเห็นและข้อเสนอแนะการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนในโรงเรียน
ประถมศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษากรุงเทพมหานคร ด้านการจัดสิ่งแวดล้อม
ในโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ
รายการ จำนวน ร้อยละ
1. ควรดูแลความสะอาดบริเวณมุมอับ ห้องน้ำ ห้องส้วม และท่อระบายน้ำ
ในโรงเรียน
34 29.82
2. ควรจัดมุมสงบ จัดสวนหย่อมปลูกไม้ดอกไม้ประดับ เพื่อความสวยงาม
เสริมสร้างบรรยากาศการเรียนรู้
11 9.65
3. ควรจัดแนวทางป้องกันมลภาวะเป็นพิษทางอากาศและเสียง 9 7.89
4. ควรจัดกิจกรรมรณรงค์การทิ้งขยะและทำลายแหล่งพาหนะนำโรคต่าง ๆ 7 6.14
5. ควรขยายพื้นที่บริเวณสนามในโรงเรียน 4 3.51
6. ควรนำกิจกรรม 5 ส มาใช้ในการพัฒนาโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง 3 2.63
7. ควรใช้อาคารสถานที่ต่าง ๆ อย่างคุ้มค่าและพัฒนาอยู่เสมอ 2 1.75
8. ควรจัดศูนย์การออกกำลังกายในโรงเรียนและบริการชุมชน 2 1.75
9. พันธุ์ไม้ที่นำมาปลูก ควรปลูกในสถานที่และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
เพื่อการเจริญเติบโตให้ได้ดอกผลเต็มศักยภาพ
2 1.75
จากตารางที่ 7 พบว่า ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนใน
โรงเรียนประถมศึกษา ด้านการจัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ มากที่สุด คือ ควรดูแล
ความสะอาดบริเวณมุมอับ ห้องน้ำ ห้องส้วม และท่อระบายน้ำในโรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 29.82
รองลงมา คือ ควรจัดมุมสงบ จัดสวนหย่อมปลูกไม้ดอกไม้ประดับ เพื่อความสวยงามเสริมสร้าง
บรรยากาศการเรียนรู้ คิดเป็นร้อยละ 9.65 และควรจัดแนวทางป้องกันมลภาวะเป็นพิษทางอากาศ
และเสียง คิดเป็นร้อยละ 7.89
56
ตารางที่ 8 การศึกษาความคิดเห็นและข้อเสนอแนะการดำเนินงานอนามัยโรงเรียน
ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษากรุงเทพมหานคร
ด้านการบริการสุขภาพในโรงเรียน
ด้านการบริการสุขภาพในโรงเรียน จำนวน ร้อยละ
1. ควรมีพยาบาลรับผิดชอบหน้าที่ครูอนามัยโรงเรียน 23 20.17
2. ครูอนามัยโรงเรียนควรมีชั่วโมงสอนน้อยกว่าปัจจุบัน เพื่อให้มีเวลาทำหน้า
ที่ครูอนามัยโรงเรียน
9 7.89
3. เวชภัณฑ์และยาที่ทางราชการจัดสรรให้บางอย่างไม่เพียงพอ แต่บางอย่างได้
รับมากเกินความจำเป็น
6 5.26
4. ควรมีแพทย์ตรวจสุขภาพครูและบุคลากรในโรงเรียนปีละ 1 ครั้ง 5 4.39
5. ควรตรวจสอบอาหารและเครื่องดื่มให้ถูกสุขลักษณะ 5 4.39
6. ควรจัดกิจกรรมเพื่อกระตุ้นให้นักเรียนเห็นความสำคัญและรักษาสุขภาพ 4 3.51
7. ควรตรวจผม เล็บ และฟันของนักเรียนก่อนเข้าเรียนสัปดาห์ละ 2 ครั้ง 1 0.88
จากตารางที่ 8 พบว่า ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนใน
โรงเรียนประถมศึกษา ด้านการบริการสุขภาพในโรงเรียน มากที่สุด คือ ควรมีพยาบาลรับผิดชอบ
หน้าที่ครูอนามัยโรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 20.17 รองลงมา คือ ครูอนามัยโรงเรียนควรมีชั่วโมงสอน
น้อยกว่าปัจจุบัน เพื่อให้มีเวลาทำหน้าที่ครูอนามัยโรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 7.89 และเวชภัณฑ์และ
ยาที่ทางราชการจัดสรรให้บางอย่างไม่เพียงพอ แต่บางอย่างได้รับมากเกินความจำเป็น คิดเป็น
ร้อยละ 5.26
57
ตารางที่ 9 การศึกษาความคิดเห็นและข้อเสนอแนะการดำเนินงานอนามัยโรงเรียน
ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษากรุงเทพมหานคร
ด้านสุขศึกษาในโรงเรียน
ด้านสุขศึกษาในโรงเรียน จำนวน ร้อยละ
1. การสอนสุขศึกษาควรเน้นให้นักเรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพ 12 9.24
2. ควรพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน สื่อ ตลอดทั้งอุปกรณ์การกระจาย
เสียง และแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ ในวิชาสุขศึกษา
10 8.77
3. ควรจัดประชุมสัมมนาแก่คร ู ผู้ที่เกี่ยวข้องในเรื่องสุขภาพ โภชนาการ และ
พฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้อง
9 7.89
4. ครูสอนสุขศึกษาควรจบการศึกษาทางด้านสุขศึกษาโดยตรง 6 5.26
5. โรงเรียนและผู้ปกครอง ควรคำนึงถึงสุขภาพร่างกายและจิตใจของนักเรียน 5 4.39
6.ควรขอความร่วมมือจากศูนย์บริการสาธารณสุขมาตรวจสุขภาพนักเรียน
ทุกคนและเป็นวิทยากร
4 3.51
7. ควรส่งเสริมกิจกรรมการออกกำลังกาย 2 1.75
8. ควรส่งเสริมให้ความรู้แก่นักเรียนเรื่องโทษและประโยชน์ของการใช้ยา 1 0.88
จากตารางที่ 9 พบว่า ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนใน
โรงเรียนประถมศึกษา ด้านสุขศึกษาในโรงเรียน มากที่สุด คือ การสอนสุขศึกษาควรเน้นให้
นักเรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพ คิดเป็นร้อยละ 9.24 รองลงมา คือ ควรพัฒนาหลักสูตร
การเรียนการสอน สื่อ ตลอดทั้งอุปกรณ์การกระจายเสียงและแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ ในวิชาสุขศึกษา
คิดเป็นร้อยละ 8.77 และควรจัดประชุมสัมมนาแก่ครู ผู้ที่เกี่ยวข้องในเรื่องสุขภาพโภชนาการและ
พฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้อง คิดเป็นร้อยละ 7.89
58
ตารางที่ 10 การศึกษาความคิดเห็นและข้อเสนอแนะการดำเนินงานอนามัยโรงเรียน
ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษากรุงเทพมหานคร
ด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและชุมชน
ด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและชุมชน จำนวน ร้อยละ
1. ควรให้โรงเรียน ครู ผู้ปกครอง และผู้ที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการดูแล
เรื่องสุขภาพอนามัยของนักเรียนอย่างสม่ำเสมอ
25 21.93
2. ควรมีการประชาสัมพันธ์ จัดทำสารสัมพันธ์ เพื่อให้ข้อมูลด้านสุขภาพ
อนามัยแก่นักเรียน บุคลากร และชุมชน
10 8.77
3. ควรให้ผู้ปกครองดูแลเรื่องพฤติกรรมการบริโภค เพื่อแก้ปัญหาเด็กเป็น
โรคอ้วน
5 4.39
4. ควรตรวจสอบร้านค้าในชุมชนที่จำหน่ายอาหาร และของเล่นที่ไม่มี
ประโยชน์แก่นักเรียน
3 2.63
5. ชุมชนควรพัฒนาสิ่งแวดล้อมโดยกำจัดขยะ ที่น้ำขัง และกำจัดสัตว์
นำโรค รวมทั้งควบคุมสัตว์เลี้ยงไม่ได้เข้ามาในโรงเรียน
2 1.75
6. ควรจัดให้โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ในเรื่องสุขภาพอนามัยของชุมชน 1 0.88
จากตารางที่ 10 พบว่า ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนใน
โรงเรียนประถมศึกษา ด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและชุมชนมากที่สุด คือ ควรให้
โรงเรียนครู ผู้ปกครอง และผู้ที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการดูแลเรื่องสุขภาพอนามัยของนักเรียน
อย่างสม่ำเสมอ คิดเป็นร้อยละ 21.93 รองลงมา คือ ควรมีการประชาสัมพันธ์ จัดทำสารสัมพันธ์
เพื่อให้ข้อมูลด้านสุขภาพอนามัยแก่นักเรียน บุคลากร และชุมชน คิดเป็นร้อยละ 8.77 และควรให้
ผู้ปกครองดูแลเรื่องพฤติกรรมการบริโภค เพื่อแก้ปัญหาเด็กเป็นโรคอ้วน คิดเป็นร้อยละ 4.39
บทที่ 5
สรุปผลการวิจัย อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณด้วยการสำรวจความคิดเห็นเพื่อศึกษาสภาพการดำเนิน
งานอนามัยโรงเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษากรุงเทพมหานคร โดย
มีวัตถุประสงค์ ขอบเขต วิธีดำเนินการวิจัย สรุปอภิปรายผลและข้อเสนอแนะตามลำดับดังนี้
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
ในการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนในโรงเรียน
ประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษากรุงเทพมหานคร
ขอบเขตของการวิจัย
1. การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาสภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัด
สำนักงานการประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2545 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่
ผู้บริหารโรงเรียน ผู้ช่วยผู้บริหารโรงเรียน และครูอนามัยโรงเรียน
2. ศึกษาสภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา ซึ่งมีขอบข่ายของงาน
4 ด้านดังนี้
2.1 การจัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ
2.2 การบริการสุขภาพในโรงเรียน
2.3 สุขศึกษาในโรงเรียน
2.4 ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและชุมชน
วิธีดำเนินการวิจัย
1. ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา
กรุงเทพมหานคร จำนวน 38 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน ผู้ช่วยผู้บริหาร และ
ครูอนามัยโรงเรียน โรงเรียนละ 3 คน รวมทั้งสิ้น 114 คน
2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพ
การดำเนินงานอนามัยโรงเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา
กรุงเทพมหานคร ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้น ลักษณะของแบบสอบถาม แบ่งออกเป็น 3 ตอน คือ
60
ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป เป็นแบบสอบถามให้เลือกตอบโดยจะถามเกี่ยวกับสถานภาพ
ของผู้ตอบแบบสอบถาม
ตอนที่ 2 สอบถามเกี่ยวกับสภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนในโรงเรียนประถม-
ศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษากรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นแบบมาตรประมาณค่า (Rating Scale)
ตอนที่ 3 สอบถามเกี่ยวกับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการดำเนินงานอนามัย
โรงเรียน โดยใช้ข้อคำถามปลายเปิด
การเก็บรวบรวมข้อมูล
ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลแบบสอบถามด้วยตนเองและมีบางส่วนที่ผู้ตอบแบบสอบถามส่ง
คืนทางไปรษณีย์ โดยส่งแบบสอบถามไปทั้งสิ้น 114 ฉบับ ได้รับคืนที่เป็นฉบับสมบูรณ์ 114 ฉบับ
คิดเป็นร้อยละ 100
การวิเคราะห์ข้อมูล
ใช้สถิติพื้นฐาน คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยการใช้โปรแกรม
SPSS FOR WINDOW ในการวิเคราะห์ข้อมูล แล้วนำเสนอข้อมูลในตารางประกอบความเรียง
สรุปผลการวิจัย
จากการวิจัยเรื่องสภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนัก
งานการประถมศึกษากรุงเทพมหานคร ในขอบข่ายงาน 4 ด้าน คือ การจัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้
ถูกสุขลักษณะ การบริการสุขภาพในโรงเรียน สุขศึกษาในโรงเรียน และความสัมพันธ์ระหว่าง
โรงเรียนและชุมชน ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า
สภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถม
ศึกษากรุงเทพมหานคร พบว่า
1. สภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็น
รายด้านพบว่า สภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยมีสภาพการดำเนินงาน
อนามัยโรงเรียนด้านการบริการสุขภาพในโรงเรียนอยู่ในระดับสูงสุด รองลงมาคือ ด้านความสัมพันธ์
ระหว่างโรงเรียนและชุมชน ด้านการจัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ และด้านสุขศึกษา
ในโรงเรียนตามลำดับ
61
2. สภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการ
ประถมศึกษากรุงเทพมหานคร ด้านการจัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ โดยรวมอยู่ใน
ระดับมากและข้อที่สภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนด้านการจัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้ถูก
สุขลักษณะอยู่ในระดับมากที่สุด คือ โรงเรียนมีรั้วกั้นและอยู่ในสภาพดี แต่ข้อที่สภาพการดำเนินงาน
อนามัยโรงเรียนอยู่ในระดับปานกลาง คือ ข้อที่สถานที่ตั้งโรงเรียนห่างไกลแหล่งอบายมุข เสียงรบกวน
สิ่งปฏิกูล รวมทั้งมลพิษต่าง ๆ และมีสนามที่เล่นอย่างเพียงพอและปลอดภัย ส่วนข้ออื่น ๆ มีสภาพ
การดำเนินงานอยู่ในระดับมาก
3. สภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการ
ประถมศึกษากรุงเทพมหานคร ด้านการจัดบริการสุขภาพในโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก ข้อที่
สภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนอยู่ในระดับสูงสุด คือ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 ประถมศึกษาปีที่
1 และ 6 ได้รับการตรวจสุขภาพโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข มีการชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูง นักเรียน
ทุกคนภาคเรียนละ 2 ครั้ง และโรงเรียนจัดให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 6 ได้รับภูมิคุ้มกัน
โรคตามกำหนด และข้อที่สภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนอยู่ในระดับปานกลาง คือ มีการตรวจ
หูเพื่อดูความผิดปกติและทดสอบการได้ยินทุกปีการศึกษา และมีการแก้ไขนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการ
เกิน (โรคอ้วน) ส่วนข้ออื่น ๆ มีสภาพการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก
4. สภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงาน
การประถมศึกษากรุงเทพมหานคร ด้านสุขศึกษาในโรงเรียน พบว่า สภาพการดำเนินงานด้าน
สุขศึกษาในโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีสภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนข้อที่
โรงเรียนมีการฝึกทักษะและสร้างเจตคติด้านสุขภาพอนามัยให้นักเรียนอยู่ในระดับสูงสุด ข้อที่สภาพ
การดำเนินงานอนามัยโรงเรียนอยู่ในระดับปานกลาง คือ โรงเรียนจัดโอกาสให้นักเรียนหรือผู้นำ
นักเรียนผลิตสื่อสุขภาพด้วยความคิดของตนเองและมีการเผยแพร่ความรู้แก่นักเรียนด้วยกัน ส่วนข้อ
อื่น ๆ มีสภาพการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก
5. สภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงาน
การประถมศึกษากรุงเทพมหานคร ด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและชุมชน พบว่า สภาพการ
ดำเนินงานอนามัยโรงเรียนด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและชุมชนโดยรวมทุกข้ออยู่ในระดับ
มากโดยมีสภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนเกี่ยวกับโรงเรียนทำหนังสือขออนุญาตและให้ผู้ปกครอง
ตอบรับก่อนการที่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขมาบริการฉีดวัคซีนอยู่ในระดับสูงสุด รองลงมา คือ โรงเรียน
และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขร่วมกันพัฒนาสุขภาพอนามัยนักเรียนและชุมชน และโรงเรียนได้ติดตามผล
การรักษานักเรียนที่เจ็บป่วยหรือมีปัญหาสุขภาพอย่างต่อเนื่อง
62
อภิปรายผล
จากการวิเคราะห์ข้อมูลสามารถสรุปผลและอภิปรายข้อค้นพบต่าง ๆ ที่ได้จากงานวิจัย โดย
แยกอภิปรายเป็น 5 ส่วน คือ สภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนโดยรวม ด้านการจัดสิ่งแวดล้อม
ในโรงเรียนได้ถูกสุขลักษณะ การบริการสุขภาพในโรงเรียน สุขศึกษาในโรงเรียน และความ
สัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและชุมชน ดังมีรายละเอียดดังนี้
1. สภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถม
ศึกษากรุงเทพมหานคร สภาพการดำเนินงานโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน
พบว่า สภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยมีสภาพการดำเนินงานอนามัย
โรงเรียน ด้านการบริการสุขภาพในโรงเรียนอยู่ในระดับสูงสุด รองลงมา คือ ความสัมพันธ์ระหว่าง
โรงเรียนและชุมชน ด้านการจัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ และด้านสุขศึกษาใน
โรงเรียน แต่งานวิจัยนี้ไม่สอดคล้องกับงานวิจัยของ ฉัตรสุดา ชินประสาทศักดิ์ (2540 : 117) พบว่า
มีการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนอยู่ในระดับปานกลาง และการปฏิบัติตามบทบาทในแต่ละด้านอยู่ใน
ระดับปานกลางทุกด้าน และการวิจัยครั้งนี้ไม่สอดคล้องกับงานวิจัยของ ประสิทธิ์ สาระสันต์ (2536
: 70) ผลการวิจัย พบว่า ภาพรวมของการดำเนินการโครงการสุขภาพในโรงเรียนดำเนินการได้ใน
ระดับปานกลางเท่านั้น เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน การดำเนินการอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน จาก
การศึกษาผลการวิจัยที่ไม่สอดคล้องกัน ทั้งนี้น่าจะเป็นผลมาจากมีบริบทแวดล้อมที่แตกต่างกัน และ
หรือสถานภาพทางด้านงบประมาณอยู่ในวงเงินจำกัดหรือบุคลากรไม่เหมาะสมกับงาน ส่วนโรงเรียน
ในสังกัดสำนักงานการประถมศึกษากรุงเทพมหานครนั้นคงมีความพร้อมด้านปัจจัยสนับสนุนมากกว่า
และมีครูอนามัยโรงเรียนรับผิดชอบงานโดยเฉพาะ จึงมีการดำเนินงานในระดับมากทุกด้าน
2. สภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา ด้านการจัดสิ่งแวดล้อมใน
โรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ
2.1 สภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียน ด้านการจัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้ถูก
สุขลักษณะภาพรวมอยู่ในระดับมาก และข้อที่การดำเนินงานอนามัยโรงเรียนด้านการจัดสิ่งแวดล้อม
ในโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะมีการดำเนินการในระดับสูงสุด คือ โรงเรียนมีรั้วกั้นและอยู่ในสภาพดี ซึ่ง
งานวิจัยนี้ไม่สอดคล้องกับงานวิจัยของ สมศักดิ์ อัมพรต (2538 : 177) ผลการวิจัยพบว่า โรงเรียนร้อย
ละ 50 ยังไม่มีรั้ว ที่เป็นดังนี้อาจเนื่องจาก โรงเรียนส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเขตวัด เมื่อต้องการก่อสร้างสิ่ง
ใดคงต้องได้รับอนุญาตก่อน และการสร้างรั้วโรงเรียนต้องใช้งบประมาณมาก
2.2 ข้อที่สภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียน ด้านการจัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียนให้
ถูกสุขลักษณะดำเนินการได้ในระดับปานกลาง ซึ่งควรปรับปรุง คือ ข้อที่สถานที่ตั้งโรงเรียนห่างไกล
แหล่งอบายมุข เสียงรบกวน สิ่งปฏิกูล รวมทั้งมลพิษต่าง ๆ และข้อที่มีสนามที่เล่นอย่างเพียงพอและ
63
ปลอดภัย ซึ่งในข้อดังกล่าวสอดคล้องกับงานวิจัยของ สมศักดิ์ อัมพรต (2538 : 177) การดำเนินการ
จัดสิ่งแวดล้อมในข้อนี้ไม่ดีพอ อาจเนื่องจากโรงเรียนบางส่วนตั้งอยู่ในที่ลุ่ม ในฤดูน้ำหลากหรือช่วง
ฤดูฝนน้ำจะท่วม ทำให้สภาพสนามชำรุดเป็นหลุมเป็นบ่อและไม่ปลอดภัย อีกประการหนึ่งเป็นการ
ยากที่จะดำเนินการให้โรงเรียนห่างไกลแหล่งอบายมุข มลพิษจากเสียงและสิ่งปฏิกูล แต่ถึงอย่างไร
ก็ตามโรงเรียนควรแก้ไขเพราะสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนมีนัยสำคัญและสัมพันธ์กับการตัดสินของ
ผู้ปกครองและนักเรียนว่าโรงเรียนดีหรือไม่ (กริฟฟิท. 2000 : 114)
จากการศึกษาความคิดเห็นและข้อเสนอแนะการดำเนินงานอนามัยโรงเรียน ด้านการจัด
สิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ พบว่า ควรดูแลความสะอาดบริเวณมุมอับ ห้องน้ำ ห้องส้วม
และท่อระบายน้ำในโรงเรียน ซึ่งสอดคล้องกับสำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข (2542 :
28) สอดคล้องกับงานวจิ ยั ของสมศกั ด ์ิ อมั พรต (2538 : 80 – 81) และสอดคล้องกับงานวิจัยของ
พรณี พันมา (2540 : 104)
3. สภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนในโรงเรียนประถมศึกษาด้านการบริการสุขภาพใน
โรงเรียน
3.1 สภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนภาพรวมอยู่ในระดับมาก และข้อที่การดำเนิน
งานอนามัยโรงเรียนดำเนินงานอยู่ในระดับสูงสุด คือ โรงเรียนจัดให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
และ 6 ได้รับภูมิคุ้มกันโรคตามกำหนด ข้อนี้สอดคล้องกับงานวิจัยของ ศิริพร พุทธรังษี (2530 : 101
และสอดคล้องกับ ฮิลส์ (Hills. 1982 : 242)
การที่โรงเรียนจัดให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 6 ได้รับภูมิคุ้มกันโรคตามกำหนด
จากผลการวิจัยพบว่าคงเป็นการดำเนินการตามนโยบายของกรมควบคุมโรคติดต่อกระทรวงสาธารณสุข
ซึ่งกระทรวงคงมีนโยบายสอดคล้องกับประเทศอื่น ๆ ในเรื่องนี้กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
(มปป : 108) กำหนดว่าเด็กทุกคนในประเทศไทยควรได้รับวัคซีนขั้นพื้นฐานครบทุกชนิดตามกำหนด
ของกระทรวงสาธารณสุข รวมทั้งได้รับวัคซีนกระตุ้นตามกำหนดที่เหมาะสมสำหรับวัคซีนแต่ละชนิด
ตามกลุ่มเป้าหมายดังต่อไปนี้
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 (อายุ 6 ปี) วัคซีนที่ได้รับ คือ บีซีจี (ป้องกันโรควัณโรค)
คอตีบ บาดทะยัก ไอกรน โปลิโอ หัด คางทูม
หัดเยอรมัน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (อายุ 12 ปี) วัคซีนที่ได้รับ คือ วัคซีนคอตีบและบาดทะยัก
นอกจากนี้ในข้อที่นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 ประถมศึกษาปีที่ 1 และ 6 ได้รับการตรวจสุขภาพ
โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ ศิริพร พุทธรังษี (2530 :
93) ซึ่งการจัดบริการได้มากนี้คงเนื่องจากเป็นแนวคิดในการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนของสำนักงาน
คณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (2540 : 3) ที่ว่า “เด็กนักเรียนทุกคนมีสิทธิ์ได้รับการบริการ
64
อนามัยโดยเท่าเทียมกัน การให้บริการทางด้านอนามัยโรงเรียนจึงควรคำนึงถึงความครอบคลุมและทั่ว
ถึง” และยังเป็นกลวิธีในการดำเนินงานโดยการขยายและปรับปรุง คุณภาพในการจัดกิจกรรมส่งเสริม
สุขภาพป้องกันโรคและรักษาพยาบาล ตลอดจนบริการสุขภาพ เพื่อให้เด็กวัยเรียนได้รับประโยชน์จาก
การบริการสุขภาพของรัฐโดยเท่าเทียมกัน (กระทรวงสาธารณสุข : ม.ป.ป. 13) และสอดคล้องกับ
แนวความคิดของ บาวทรี (Bowntree. 1981 : 267) ได้กล่าวว่า การบริการสุขภาพในโรงเรียน
เปน็ สว่ นหนงึ่ ของการบรกิ ารระดบั ชาต ิ โดยการทำงานร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่อนามัยสาธารณสุข
และเจ้าหน้าที่การศึกษาในท้องถิ่น โดยปกตินักเรียนจะได้รับการตรวจ สุขภาพที่โรงเรียนและ
นอกเวลาเรียนหากมีความประสงค์ นอกจากนี้คงเป็นเพราะความตระหนักในความสำคัญของงานและ
ปฏิบัติงานด้วยความรับผิดชอบของพยาบาลสาธารณสุข
3.2 สภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนด้านบริการสุขภาพในโรงเรียนในข้อที่มีการดำเนิน
งานมากที่สุดอีกข้อหนึ่ง คือ มีการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงนักเรียนทุกคนภาคเรียนละ 2 ครั้ง ซึ่งผลการ
วิจัยนี้สอดคล้องกับงานวิจัยของ สมศักดิ์ อัมพรต (2538 : 184)
การชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงมีการดำเนินการมากที่สุดคงด้วยเหตุผลที่ครูประจำชั้นต้องบันทึก
น้ำหนักส่วนสูงลงในสมุด ป 01 ซึ่งเป็นสมุดประจำตัวนักเรียน ภาคเรียนละ 2 ครั้ง นอกจากนี้
การบริโภคอาหารเสริมนม ซึ่งต้องมีการบันทึกเก็บข้อมูลการจ่ายนมโรงเรียน พร้อมน้ำหนักและ
ส่วนสูงของนักเรียนผู้ดื่มนม ภาคเรียนละ 2 ครั้ง
3.3 สภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา ด้านบริการสุขภาพใน
โรงเรียนซึ่งมีการดำเนินการได้ในระดับปานกลางควรปรับปรุง คือ ข้อที่มีการตรวจหูเพื่อทดสอบ
ความ ผิดปกติของการได้ยิน ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ ศิริพร พุทธรังษี (2530 : 93) และฮิลส
(Hills. 1982 : 242) แต่ไม่สอดคล้องกับงานวิจัยของ สมศักดิ์ อัมพรต (2538 : 145) ผลการวิจัยพบว่า
โรงเรียนส่วนใหญ่มีการทดสอบการได้ยินอยู่ในเกณฑ์ดี
จากผลการศึกษาเรื่องการทดสอบการได้ยิน ในแนวทางปฏิบัติโรงเรียนไม่มีเครื่องมือและ
เวลาในการทดสอบนักเรียนให้ครอบคลุม แต่ก็มีโรงเรียนอีกส่วนหนึ่งมีการดำเนินการในเกณฑ์ดี
สภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนด้านบริการสุขภาพในโรงเรียน มีการปฏิบัติได้ในระดับปานกลาง
อกี ขอ้ หนงึ่ คือ มีการแก้ไขนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกิน (โรคอว้ น) ซึ่งในเรื่องนี้ กองสุขาภิบาล
อาหาร กระทรวงสาธารณสุข (2544 : บทนำ) แนะนำว่า “โรคอ้วนเกิดขึ้นรวดเร็วในทุกกลุ่มอายุ
อันเป็นสาเหตุของโรคเรื้อรังหลายชนิด ทั้งเบาหวาน หัวใจ ซึ่งในรอบ 13 ปี มีอัตราความชุกเพิ่มขึ้น”
ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยของกองโภชนาการ กรมอนามัย (2533 ; อ้างใน โสภณ รอดชู 2536 :
118) พบว่านักเรียนในกรุงเทพมหานคร ส่วนใหญ่บริโภคอาหารมื้อเย็นมากกว่ามื้ออื่น ๆ และนิสัย
การบริโภคอาหารนี้มีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการเกิน (โรคอ้วน) ของนักเรียน นอกจากนี้
กูบิค มาธา วายและคณะ (Kubik Martha Y. and others 2002 : 339) ได้วิจัยเรื่องความเชื่อต่าง ๆ
65
เกี่ยวกับการบริโภคอาหาร พฤติกรรมการบริโภคและการให้นักเรียนฝึกทำอาหารในชั้นเรียน ของครู
มัธยมศึกษา ผลการวิจัยพบว่า
1. ครูร้อยละ 52 อนุญาตให้นักเรียนรับประทานอาหารในชั่วโมงฝึกทำอาหาร
2. รางวัลที่ครูมอบให้แก่นักเรียนที่ทำงานดี คือ ท็อฟฟี่ ร้อยละ 73 รองลงมา ได้แก่ โดนัท
และคุ๊กกี่ ร้อยละ 37
3. ครูมีพฤติกรรมการบริโภคไม่ถูกต้อง คือ รับประทานอาหารไขมันสูง ร้อยละ 69
4. สิ่งแวดล้อมด้านอาหาร รอบตัวนักเรียนไม่ถูกต้อง
จากการศึกษาความคิดเห็นและข้อเสนอแนะการดำเนินงานอนามัยโรงเรียน ด้านการบริการ
สุขภาพในโรงเรียน พบว่า มีข้อเสนอแนะมากที่สุด คือ ควรมีพยาบาลรับผิดชอบหน้าที่ครูอนามัย
โรงเรียน ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ ยานี ทิพย์ประภา (2527 : 166) สุกิจ ไชยนวล (2528 : 48)
เพียงเพ็ญ ธัญญตุลย์ (2533 : 87) และสอดคล้องกับงานวิจัยของ คราเมอร์และไอเวอร์สัน (Cramer,
Iverson 1999 : 170)
4. สภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา ด้านสุขศึกษาในโรงเรียน
4.1 สภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนด้านสุขศึกษาในโรงเรียนโดยภาพรวมอยู่ใน
ระดับมากและข้อที่โรงเรียนมีการฝึกทักษะและสร้างเจตนคติด้านสุขภาพอนามัยให้นักเรียนมี
การดำเนินการในระดับมากที่สุด ผลการวิจัยนี้สอดคล้องกับแนวความคิดของ สุชาติ โสมประยูร และ
เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์ (2542 : 7) สอดคล้องกับแนวความคิดของ จินตนา สรายุทธพิทักษ์ (2541 :
7) และสอดคล้องกับงานวิจัยของ ฉัตรสุดา ชินประสาทศักดิ์ (2540 : 27)
4.2 สภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนด้านสุขศึกษาในโรงเรียนมีการดำเนินการ
อยู่ในระดับปานกลางซึ่งควรปรับปรุงแก้ไข คือ โรงเรียนจัดโอกาสให้นักเรียนหรือผู้นำนักเรียนผลิตสื่อ
สุขภาพด้วยความคิดของตนเองและมีการเผยแพร่ความรู้แก่นักเรียนด้วยกัน ซึ่งผลการวิจัยนี้สอดคล้อง
กับงานวิจัยของ สมศักดิ์ อัมพรต (2538 : 195) และสอดคล้องกับแนวคิดของ สุชาติ โสมประยูร
และเอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์ (2542 : 17 แต่ไม่สอดคล้องกับงานวิจัยของ นงรัตน์ สุขสม (2542 :
บทคัดย่อ)
จากผลการศึกษาพบว่า การที่โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา
กรุงเทพมหานครมีการดำเนินการในข้อที่โรงเรียนจัดโอกาสให้นักเรียนหรือผู้นำนักเรียนผลิตสื่อ
สุขภาพด้วยตนเองและมีการเผยแพร่ความรู้แก่นักเรียนด้วยกันอยู่ในระดับปานกลางคงเป็นเพราะความ
เคยชินที่ครูจะต้องเตรียมสื่อการสอนด้วยตนเองให้ตรงตามแผนการสอนและมีข้อจำกัดเรื่องเวลา
ต่อไปครูคงต้องปรับวิธีการสอนมาเป็นที่ปรึกษาชี้แนะและกระตุ้นนักเรียน ให้นักเรียนมีส่วนร่วมมาก
ขึ้น มีการฝึกปฏิบัติจนเกิดการเรียนรู้ เปิดโอกาสให้นักเรียนผลิตสื่อนำมาใช้ในการเรียนการสอนและ
คัดกรองสื่อที่ดีมาเผยแพร่ คงต้องเน้นให้นักเรียนมีความรับผิดชอบแบบขบวนการกลุ่ม
66
จากการศึกษาความคิดเห็นและข้อเสนอแนะการดำเนินงานอนามัยโรงเรียน ด้านสุขศึกษาใน
โรงเรียน พบว่า มีความคิดเห็นและข้อเสนอแนะมากที่สุด คือ การสอนสุขศึกษาควรเน้นให้นักเรียน
เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ สมศักดิ์ อัมพรต (2538 : 201) ฉัตรสุดา
ชินประสาทศักดิ์ (2540 : 27) เย็นจิตร ไชยฤกษ์ (2542 : 94) ศิริมา แสงอรุณ (2544 : 98) และสอด
คล้องกับแนวคิดของ สุชาติ โสมประยูร และเอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์ (2542 : 8)
5. สภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา ด้านความสัมพันธ์ระหว่าง
โรงเรียนและชุมชน
5.1 สภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา ด้านความสัมพันธ์
ระหว่างโรงเรียนและชุมชน ภาพรวมและรายข้ออยู่ในระดับมากและข้อที่การดำเนินงานอนามัย
โรงเรียนมีการดำเนินการในระดับสูงสุดคือ โรงเรียนทำหนังสือขออนุญาตและขอให้ผู้ปกครองตอนรับ
ก่อนการที่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขมาบริการฉีดวัคซีน ซึ่งผลการวิจัยนี้สอดคล้องกับแนวความคิดของ
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (2540 : 163-164) ที่กำหนดบทบาทของครูอนามัย
โรงเรียนหรือครูพยาบาลต้องปฏิบัติตามภารกิจ คือ การสร้างภูมิคุ้มกันโรค ครูอนามัยโรงเรียนหรือครู
พยาบาล ต้องแจ้งผู้ปกครองเพื่อขออนุญาตก่อนการให้ภูมิคุ้มกันโรค ทั้งนี้พิจารณาตามความเหมาะสม
และสอดคล้องกับงานวิจัยของ ตวงพร โต๊ะนาค (2533 : 107)
การที่โรงเรียนทำหนังสือและขอให้ผู้ปกครองตอบรับก่อนการที่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขมา
บริการฉีดวัคซีน ประการสำคัญเป็นการให้ผู้ปกครองรับรู้และพิจารณาว่าเด็กพร้อมในการรับวัคซีน
หรือไม่ บางรายอาจมีโรคประจำตัว แพ้ยา หรือขณะนั้นเจ็บป่วยอยู่ ซึ่งนักเรียนกลุ่มนี้ต้องได้รับการ
ดูแลเป็นพิเศษ
5.2 สภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียน ด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและ
ชุมชน ข้อที่สภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียน มีการดำเนินการในระดับมาก รองลงมา คือ ข้อที่
โรงเรียนและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขร่วมกันพัฒนาสุขภาพอนามัยนักเรียนและชุมชน ผลการวิจัยนี้สอด
คล้องกับงานวิจัยของ สมศักดิ์ อัมพรต (2538 : 183) สอดคล้องกับงานวิจัยของ ศิริพร พุทธรังษี
(2530 : 93) และสอดคล้องกับงานวิจัยของ ตวงพร โต๊ะนาค (2533 : 107) แต่ไม่สอดคล้องกับงาน
วิจัยของ ประสิทธิ์ สาระสันต์ (2536 : 70) และวิลาวัลย์ วรรณศรี (2528 : 76)
จากผลการศึกษาพบว่า การที่โรงเรียนและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขร่วมกันพัฒนาอนามัยนักเรียน
และชุมชนอย่างมากนั้น เพราะบุคลากรทางการแพทย์และครูอนามัยโรงเรียนมีความรับผิดชอบงานใน
หน้าที่สูง เช่น มีการตรวจสุขภาพนักเรียนทุกชั้น มีการแยกนักเรียนป่วยเป็นโรคติดต่อออกจาก
ชั้นเรียน ส่งเสริมการพัฒนาทางด้านร่างกายของนักเรียนให้เจริญเติบโตสมวัย มีพฤติกรรมการ
บริโภคที่เหมาะสม มีการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ฯลฯ ซึ่งกิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้ได้มีการปฏิบัติ
สืบทอดมานาน แต่ยังมีบางโรงเรียนดำเนินการได้ในระดับปานกลางเท่านั้น
67
จากการศึกษาความคิดเห็นและข้อเสนอแนะการดำเนินงานอนามัยโรงเรียน ด้านความสัมพันธ์
ระหว่างโรงเรียนและชุมชน พบว่า มีความคิดเห็นและข้อเสนอแนะมากที่สุด คือ ควรให้โรงเรียน ครู
ผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการดูแลเรื่องสุขภาพอนามัยนักเรียนอย่างสม่ำเสมอ
ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ สมศักดิ์ อัมพรต (2538 : 201) ฉัตรสุดา ชินประสาทศักดิ์ (2540 : 115)
สอดคล้องกับกรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข (2540 : 1) และสอดคล้องกับงานวิจัยของ ลอเรน์และ
คาร์เมนลีน (Lawrence Carmen Leanne. 1998 : 512)
68
ข้อเสนอแนะ
1. คณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ควรมีมาตรการควบคุมหรือกำจัดต้นเหตุของมลภาวะต่าง ๆ
และขอความร่วมมือจากองค์กรของรัฐและเอกชนให้จัดสภาพแวดล้อมในหน่วยงานให้ถูกสุขลักษณะ
2. ผู้บริหารโรงเรียน ควรดำเนินการจัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียนให้ร่มรื่นสวยงาม เพื่อ
เสริมสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ เน้นด้านประโยชน์ใช้สอยและความสะอาดเป็นสำคัญ
3. ครูอนามัยโรงเรียน ควรบูรณาการวิชาสุขศึกษากับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ ส่งเสริม
ให้นักเรียนมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อให้มีการพัฒนาเต็มศักยภาพ และควรหาแนวทาง
แก้ไขนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกิน (โรคอ้วน) โดยประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
4. ควรมีการพิจารณารับบรรจุผู้ที่มีความรู้ทางด้านสุขศึกษา หรือการพยาบาลมาทำหน้าที่ครู
อนามัยโรงเรียน
ข้อเสนอแนะสำหรับงานวิจัยครั้งต่อไป
1. ควรศึกษาการรับรู้บทบาทครูอนามัยโรงเรียน ในโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ของ
ผู้บริหารโรงเรียน ครูอนามัยโรงเรียน และครูประจำชั้นในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขต
พื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร
2. ควรศึกษาสภาพการดำเนินงานโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพในโรงเรียนประถมศึกษา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร
3. ควรศึกษาสภาพเด็กวัยเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกินและแนวทางการแก้ปัญหาในโรงเรียน
ประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร
4. ควรศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดำเนินงานโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพใน
โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร
5. ควรศึกษาการรับรู้ของผู้ปกครองนักเรียนเกี่ยวกับโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ใน
โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร
บรรณานุกรม
กรุงเทพมหานคร. แผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2540 – 2544). กรุงเทพมหานคร :
โรงพิมพ์คุรุสภา, 2540.
กองทุนสนับสนุนการวิจัย, สำนักงาน. บทบาทการวิจัย : การท้าทายของทศวรรษใหม่.
เอกสารประกอบการประชุม ครั้งที่ 1, 18 – 20 พฤศจิกายน 2537, ม.ป.ท., 2537.
กันยา กาญจนบุรานนท์. “อนามัยโรงเรียน” ในเอกสารการสอนวิชาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสาธารณสุข
หน้า 8 – 15. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2537.
การจัดการทรัพยากรบุคคลเพื่อการเพิ่มผลผลิต, สถาบัน. “5 ส มุ่งบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพ.”
นนทบุรี : สถาบันการจัดการทรัพยากรบุคคลเพื่อการเพิ่มผลผลิต, 2542.
กิตติศักดิ์ กลับดี และคณะ. การศึกษาเปรียบเทียบภาวะสุขภาพและพฤติกรรมของนักเรียนในโรง
เรียนที่มีระดับบริการอนามัยโรงเรียนแตกต่างกัน. กรุงเทพฯ : กองอนามัยโรงเรียน กรม
อนามัย กระทรวงสาธารณสุข, 2536.
คณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน. การใช้เวลาของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา
สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. กรุงเทพฯ : คุรุสภา, 2535.
_______ . คู่มือการจัดกิจกรรมโครงการส่งเสริมทันตสุขภาพในโรงเรียนประถมศึกษา. กรุงเทพฯ :
โรงพิมพ์สามเจริญพานิช, 2527.
_______ . คู่มือครูอนามัยโรงเรียน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2540.
ควบคุมโรค, กอง. รายงานการเฝ้าระวังโรคประจำปี 2543. สำนักอนามัย กรุงเทพฯ : บริษัท
ธรรมดาการพิมพ์, มปป..
จรินทร์ ธานีรัตน์. อนามัยส่วนบุคคล. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์โอเอสพรินติ้ง, 2529.
จินตนา สรายุทธพิทักษ์. การบริการสุขภาพในโรงเรียน. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541.
ฉัตรสุดา ชินประสาทศักดิ์. การรับรู้บทบาทครูอนามัยโรงเรียนในโครงการสุขภาพของผู้บริหาร
ครูประจำชั้น และครูอนามัยโรงเรียน ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถม
ศึกษา จังหวัดลพบุรี. ปริญญานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
ชาญชัย ศรีชัยเพชร. โครงการสุขภาพในโรงเรียน. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร, 2522.
ณรงค์ เจริญผล. แนวทางการดำเนินงานโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียน สังกัดสำนักงาน
การประถมศึกษา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. ปริญญานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต :
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร, 2543.
71
ตวงพร โต๊ะนาค. บทบาทของผู้บริหารและครูในการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียนในโรงเรียน
ประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร, 2533.
ทวีสิทธิ์ สิทธิกร. หลักและการจัดโครงการสุขภาพในโรงเรียน. กรุงเทพฯ : อักษรบัณฑิต, 2531.
ธรี วฒุ ิ ประทุมนพรัตน. การบรหิ ารกจิ การนกั เรยี น. กรุงเทพฯ : โอเอสพรนิ้ ตงิ้ เฮา้ ส, 2534.
นโยบายและแผนการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม, สำนัก. แผนพัฒนการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
ระยะที่ 8 (2540 – 2544). กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ, ม.ป.ป.
นโยบายและแผนสาธารณสุข, สำนัก. การประเมินผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์เพื่อสุขภาพดี
ถ้วนหน้าในปี 2543. กระทรวงสาธารณสุข กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหาร
ผ่านศึก, 2541.
นโยบายและแผนสาธารณสุข, วารสารนโยบายและแผนสาธารณสุข 4, 3 – 4 (กรกฎาคม – ธันวาคม
2544)
นงรัตน์ สุขสม. การประเมินผลหลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533)
กลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต (สุขศึกษา) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดนครศรีธรรมราช.
ปริญญานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร, 2540.
นพพงษ์ บุญจิตราดุลย์. หลักการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ : บพิธการพิมพ์, 2534.
ประยุทธ์ ตรีชัย. การศึกษาการมีส่วนร่วมของครูในการบริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงาน
การประถมศึกษาจังหวัดสระบุรี. ปริญญานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร, 2544.
ประเวศ สิทธิกุล. ปัญหาการปฏิบัติงานกิจการนักเรียนโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการ
ประถมศึกษาจังหวัดสระบุรี. ปริญญานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร, 2539.
ประสิทธิ์ สาระสันต์. การบริหารโครงการสุขภาพในโรงเรียนของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงาน
การประถมศึกษา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. ปริญญานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต :
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร, 2536.
พรณี พันมา. การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานอนามัยโรงเรียน ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัด
กรมสามัญศึกษา กรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต : จุฬาลงกรณ์-
มหาวิทยาลัย, 2540.
พลศึกษา, กรม. โครงการสุขภาพในโรงเรียน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา, 2538.
พนจิ ดา วรี ะชาติ. การสรา้ งความสมั พนั ธร์ ะหวา่ งโรงเรยี นกบั ชุมชน. กรุงเทพฯ : พิมพ์โอเดียนสโตร,
2542.
72
พัชรา กาญจนรัณย์. สวัสดิศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์บรรณกิจ, 2522.
เพียงเพ็ญ ธัญญะตุลย์. การดูแลสุขภาพตนเองของอาสาสมัครสาธารณสุขในโรงเรียนประถมศึกษา
สังกัดกรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
2533.
มยุเรศ พูลศิริ, ม.ล.. วิวัฒนาการของงานอนามัยโรงเรียน. จุลสารอนามัยโรงเรียน 1.1 (ตุลาคม 2534-
มกราคม 2535) : 1.
ยานี ทิพย์ประภา. สภาพทั่วไปและปัญหาในการจัดบริการสุขภาพในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัด
สำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดพิษณุโลก. ปริญญานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต :
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒพิษณุโลก, 2527.
เย็นจิตร ไชยฤกษ์. พฤติกรรมทันตสุขภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในโรงเรียนมัธยมศึกษา
สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดปทุมธานี. ปริญญานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร, 2542.
รวีวรรณ ชินะตระกูล. คู่มือการทำการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์,
2533.
เริงชัย หมื่นชนะ. มนุษยสัมพันธ์สำหรับครู. กรุงเทพฯ : โอเอสพริ้นติ่งเฮาส์, 2535.
วราภรณ์ ศิริลักษณ์. “โครงการพัฒนาและเสริมสร้างสุขภาพอนามัยนักเรียน.” ในแผนปฏิบัติงาน
ประจำปีการศึกษา 2544 โรงเรียนวัดหนัง สำนักงานการประถมศึกษากรุงเทพมหานคร. หน้า
62. กรุงเทพฯ : ม.ป.ท., 2544.
วิมลศรี อุปรมัย และคณะ. การศึกษากับการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เจริญผล, 2528.
วิเชียร เกตุสิงห์. “ค่าเฉลี่ยกับการแปลความหมาย : เรื่องง่าย ๆ ที่บางครั้งก็พลาดได้.” ข่าวสารวิจัย
การศึกษา 18, 3. (กุมภาพันธ์ – มีนาคม 2538) : 8 – 11
วิลาวัลย์ วรรณศรี. การบริการสุขภาพในโรงเรียนประถมศึกษา ในเขตการศึกษา 8. ปริญญานิพนธ์
การศึกษามหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร, 2528.
วิลาส จันทรัตน์. การบริหารงานสุขภาพอนามัยในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถม
ศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาแห่งชาติ จังหวัดสงขลา. ปริญญานิพนธ์
การศึกษามหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร, 2524.
ศิริมา แสงอรุณ. สุขภาพส่วนบุคคลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร
เขตราษฎร์บูรณะ. ปริญญานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ-
ประสานมิตร, 2544.
73
ศิริพร พุทธรังษี. สภาพและปัญหาการบริการสุขภาพในห้องพยาบาลโรงเรียนประถมศึกษา สังกัด
กรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ-
ประสานมิตร, 2530.
ศึกษาธิการ, กระทรวง. แผนพัฒนาการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ระยะที่ 8 (พ.ศ.2540 – 2544).
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2541.
สถิติแห่งชาติ, สำนักงาน. ประมวลข้อมูลสถิติสำคัญของประเทศไทย พ.ศ. 2538. กรุงเทพฯ :
อรุณการพิมพ์, 2538.
สนั่น พรหมสุวรรณ. ปัจจัยที่ส่งเสริมโรงเรียนประถมศึกษาให้ได้เข้ารับการคัดเลือกเป็นโรงเรียนดีเด่น
ในจังหวัดฉะเชิงเทรา. ปริญญนิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ-
ประสานมิตร, 2536.
สมเดช สีแสง. คู่มือบริหารโรงเรียนประถมศึกษา. นครสวรรค์ : ริมปิงการพิมพ์, 2539.
สมพงษ์ เรืองศรี. ปัญหาการวัดผลและประเมินผลวิชาสุขศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา เขตการศึกษา 3.
วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530.
สมศักดิ์ อัมพรต. การบริหารงานสุขภาพอนามัยในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถม
ศกึ ษา จังหวัดนนทบุร.ี ปริญญานิพนธ  การศึกษามหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยศรีนครินทร-
วิโรฒประสานมิตร, 2538.
สาธารณสุข, กระทรวง. คู่มือปฏิบัติงานอนามัยโรงเรียนสำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข. นนทบุรี :
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, 2539.
สุวรรณา รุทธานุรักษ์. การบริหารเวลาของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาดีเด่น
สังกัดกรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยศรีนครทรวิโรฒ
ประสานมิตร, 2540.
สุกิจ ไชยนวล. ความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีต่อบทบาทของครูอนามัยโรงเรียน.
ปริญญานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร, 2528.
สุขศึกษาแห่งชาติ, คณะกรรมการ. คู่มือการปฏิบัติงานสุขศึกษาในสถานศึกษา : โครงการสุขศึกษา
สายการศึกษา ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ระยะที่ 5 (พ.ศ. 2525 – 2529).
กรุงเทพฯ : กองสุขศึกษา กระทรวงสาธารณสุข, 2525.
สุขาภิบาลอาหาร, กอง. คู่มือการดำเนินงานเฝ้าระวังทางสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ.
กระทรวงสาธารณสุข :โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์, 2544.
สุชาติ โสมประยูร. การสอนสุขศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช, 2525.
_______ . การบริหารสุขศีกษาในโรงเรียน. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช, 2526.
สุชาติ โสมประยูร และเอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์. การสอนสุขศึกษา. กรุงเทพฯ : เอมี่เทรดดิ้ง, 2542.
74
สุนันท์ เจียรกุล. สภาพและปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินงานสุขศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา
กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535.
สุวรรณา รุทธานุรักษ์. การบริหารเวลาของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาดีเด่น สังกัด
กรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ประสานมิตร, 2540.
อนามัย, กรม. คู่มือการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ. กระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพฯ :
โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์, 2544.
_______ . แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร
แห่งประเทศไทย จำกัด, 2545.
_______ . เอกสารการอบรมงานอนามัยโรงเรียนสำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและคร.ู กรุงเทพฯ :
กระทรวงสาธารสุข, 2523.
_______ , สำนัก. คู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อป้องกันและควบคุมไข้เลือดออกใน
โรงเรียน. กรุงเทพฯ : สำนักอนามัย, ม.ป.ป.
อนามัยโรงเรียน, กอง. การศึกษาภาวะสุขภาพของนักเรียนในประเทศไทย ปีการศึกษา 2533 – 2534.
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก, 2534.
อนามัยโรงเรียน, กอง. คู่มือวิทยากรอบรมงานอนามัยโรงเรียนเด็กวัยเรียน. กรมอนามัย
กระทรวงสาธารณสุข : ม.ป.ป.
อนามัยสิ่งแวดล้อม, สำนัก. คู่มืออนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์
องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก : 2542
อารยา พงษ์หาญยุทธ และคณะ. “สถานภาพของโรคฟันผุและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของเด็กวัย 18–72เดือน
ที่เข้ารับการรักษาที่มหาวิทยาลัยมหิดล,” วิทยาสารทันตแพทย์ศาสตร์. เล่มที่ 1 : 17, 2545.
อุลิต สียะวณิช และคนอื่น ๆ. “การบริหารงานอนามัยโรงเรียน” ในเอกสารประกอบการเรียน
การสอนความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการสาธารณสุข หน่วยที่ 8 – 15 กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัย
สุโขทัยธรรมาธิราช.
Bowntree Derek.. A Dictionary of Education. London : Harper & Row Ltd Publishers, 1981.
Cramer, Mary W., Iveson Caral. “Parent expectation of the School Health Program in Nebraska,”
Journal of School Health. 69, 3 (March 1999) : 107.
Fahlman Mariane M, Steven P.Singleton and Amy Kliber. The Effects of Health Education Classes
on Teaching Self-Efficacy in Preservice Teachers. American Journal of Health Education.
33, 2 (March / April 2002) 101.
75
Good, Carter V. Dictionary of Education. Newyork. McGraw-Hill Book Co., 1973.
Griffith, Betty B and Pansy H. Whicker. “Teacher observer of Student Health Problem,”
Journal of School Health. (August, 1981).
Griffith, James. “School Climate as Group Evaluation and Group Consensus : Student and
Parent Perception of the Elementary School Environment,” The Elementary School
Journal 101, (2000) :
Gurtis. John D. and Papenfuss. Richard L. Health Instruction a Task Approach. Miniapolis
Minesota. Burgess Publishing Company, 1980.
Hill, P.J. A Dictionary of Education. London : Routge and Paul Ltd Publishers, 1982.
King, Keith Allen, Hight School Health Teachers’ and Hight School Counselor’s perception of
Adolescent Suicide. The University of Toledo, 1998 : 248.
Kirchofer, Gregg M., James H. Price and Susan K. Telljhann “Primary Grade Teachers’ knowledge
and Perception of Head Lice” Journal of School Health. 71, 9 (November 2001) : 448.
Kubik Martha Y. and other. “Food-Related Beliefs, Eating Behavior and Classroom Food
Practices of Middle School Teachers” Journal of School Health. 72, 8 (October, 2002) :
339.
McCormack, Brown Kelli, Panla Permutter, McDermot Robert., “Youth and Tattoos, What School
Health Personnel Should Know.” Journal of School Health. 70, 9 (November, 2000) : 355.
McGuirc James G. “What is the world ?” Journal of School Health. 66, 5 (May 1996) : 191-192.
Murray, Ranald Thomas. Listening to their Voice Middle School Students’ views on
School Health Education. University of Virginia. 1997 : 173.
Nemir Alma. The School Health Program. 13rd ed. Philadenphia : WB Souders Company, 1970.
O’Dea Jennifer, Danielle Maloney. “Preventing Eating and body Image Problems in Children
and Adolescents Using. The Health Promoting School Fram work,” Journal of School
Health. 70, 1 (January 2000) : 18.
Perry, Chery L. and others “Evaluation of a theater Production About Eating Behavior of
Children.” Journal of School Health. 72, 6 (August, 2002) : 256.
Pinckney, Carole Arnold. Analysis of the Role Perception of School Health Nurse in Maryland
between School Nurses and School Administrators. Gearge Mason University. 1996 :
181.
76
Synovitz Linda Baily. “Using Puppetry in a Coordinated School Health Program,” Journal of
School Health. 69, 4 (April 1999) : 145.
Veugelers Wiel E Would De Kat. “Student voice in School leadership Promoting Dialogue about
Student’s View on Teaching.” Journal of School Leadership. 12 (January 2002) : 97-103.
WHO. The status of school health : The WHO Expert committee on comprehensive school
health education and promotion. Geneva, 1996.
ภาคผนวก
ภาคผนวก ก
เกณฑ์การปฏิบัติงานตามมาตรฐานโรงเรียนด้านส่งเสริมสุขภาพในโรงเรียนประถมศึกษา
ภาคผนวก ข
รายนามผู้เชี่ยวชาญตรวจเครื่องมือในการวิจัย
รายนามผู้เชี่ยวชาญตรวจเครื่องมือสำหรับการวิจัย
รศ.เกริก วยัคฆานนท์
ตำแหน่ง คณบดีคณะวิทยาการจัดการ สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
รศ.สมชาย พรหมสุวรรณ
ตาํ แหนง่ ผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบด ี สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ผศ.เครือวัลย์ โพธิพันธ์
ตำแหน่ง หัวหน้าโปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์ความปลอดภัย
สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
อาจารย์ทวีศักดิ์ จงประดับเกียรติ
ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการโรงเรียนมัธยมสาธิตบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
อาจารย์ธวัช พงษ์ศิริ
ตำแหน่ง ผู้ช่วยผู้อำนวยโรงเรียนฝ่ายบริการ โรงเรียนวัดหนัง จอมทอง กรุงเทพฯ
สังกัดสำนักงานการประถมศึกษากรุงเทพมหานคร
(ปัจจุบันสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3)
ประวัติย่อผู้วิจัย
ชื่อ นางสาววราภรณ์ นามสกุล ศิริลักษณ์
วัน เดือน ปีเกิด 1 มิถุนายน 2487
สถานที่เกิด แขวงบางมด เขตบางขุนเทียน ธนบุรี
สถานที่อยู่ปัจจุบัน เลขที่ 62 หมู่ 3 ถนนพุทธบูชา แขวงบางมด
เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร 10140
ตำแหน่งหน้าที่การงานปัจจุบัน อาจารย์ 2 ระดับ 7
สถานที่ทำงานปัจจุบัน โรงเรียนวัดหนัง เลขที่ 200 แขวงบางค้อ เขตจอมทอง
กรุงเทพมหานคร 10150 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
กรุงเทพมหานคร เขต 3
ประวัติการศึกษา
2498 ประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนตันเปาว์วิทยาคาร บางมด ธนบุรี
2508 มัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดสิงห์ บางขุนเทียน ธนบุรี
2511 ประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล โรงเรียนพยาบาลผดุงครรภ์และอนามัย
ศิริราชพยาบาล
2514 ประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา วิทยาลัยครูธนบุรี ธนบุรี
2517 ประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
กรุงเทพฯ
2527 ศึกษาศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง กรุงเทพฯ
2546 ครุศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กรุงเทพฯ
ประวัติการทำงาน
16 ธันวาคม 2511 – 28 กุมภาพันธ์ 2529 ผู้ช่วยพยาบาล แผนกสูตินรีเวช โรงพยาบาลศิริราช
มหาวิทยาลัยมหิดล สำนักนายกรัฐมนตรี
1 มีนาคม 2529 - ปัจจุบัน ครูอนามัยโรงเรียน โรงเรียนวัดหนัง จอมทอง
กรุงเทพฯ 10150 สำนักงานการประถมศึกษา
กรุงเทพมหานคร (ปัจจุบันสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3)
ภาคผนวก ค
แบบสอบถาม
แบบสอบถามเพื่อการวิจัย
เรื่อง สภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียน ในโรงเรียนประถมศึกษา
สังกัดสำนักงานการประถมศึกษากรุงเทพมหานคร
คำชี้แจง
1. แบบสอบถามชุดนี้ จัดทำขึ้นเพื่อสอบถามสภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียน ในโรงเรียน
ประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษากรุงเทพมหานคร ขอให้ท่านตอบคำถามทุกข้อตามความ
เป็นจริง คำตอบของท่านเมื่อวิเคราะห์ทางสถิติแล้วจะเป็นประโยชน์ในการกำหนดนโยบายและเป็น
แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพ
2. ข้อมูลที่ท่านตอบแบบสอบถามครั้งนี้ จะรักษาไว้เป็นความลับไม่มีผลกระทบต่อท่านแต่
ประการใด ผู้วิจัยจะนำเสนอในภาพรวมและกรุณาตอบแบบสอบถามทุกข้อ เพราะคำตอบทุกคำตอบของ
ท่านมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการวิจัยครั้งนี้
3. แบบสอบถาม แบ่งออกเป็น 3 ตอน ดังนี้
ตอนที่ 1 สอบถามเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม เป็นแบบเลือกตอบ
จำนวน 4 ข้อ คือ เพศ ประสบการณ์ ตำแหน่งหน้าที่ และวุฒิทางการศึกษา
ตอนที่ 2 สอบถามเกี่ยวกับสภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียน เป็นแบบมาตรประมาณ
ค่า (Rating Scale) ตามหลักการดำเนินงานอนามัยโรงเรียน 4 ด้าน คือ การจัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน
ให้ถูกสุขลักษณะ การบริการสุขภาพในโรงเรียน สุขศึกษาในโรงเรียน และความสัมพันธ์ระหว่างโรง
เรียนและชุมชน จำนวน 56 ข้อ
ตอนที่ 3 สอบถามเกี่ยวกับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับสภาพการดำเนินงาน
อนามัยโรงเรียน โดยใช้ข้อคำถามปลายเปิด ตามหลักการดำเนินงานอนามัยโรงเรียน 4 ด้าน คือ การ
จัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ การบริการสุขภาพในโรงเรียน สุขศึกษาในโรงเรียน และ
ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและชุมชน จำนวน 4 ข้อ
107
ตอนที่ 1 สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม
คำชี้แจง โปรดทำเครื่องหมาย  ใน  หน้าข้อความที่ตรงกับความเป็นจริง
1. เพศ  1. ชาย
 2. หญิง
2. ตำแหน่ง  1. ผู้บริหาร
 2. ผู้ช่วยผู้บริหาร
 3. ครูอนามัยโรงเรียน
3. ประสบการณ์ทำงานในตำแหน่งปัจจุบัน
 1. น้อยกว่า 5 ปี
 2. 5 – 10 ปี
 3. มากกว่า 10 ปี
4. วุฒิทางการศึกษา  1. ปริญญาตรี
 2. ปริญญาโท
 3. สูงกว่าปริญญาโท
 4. อื่น ๆ โปรดระบุ …………………….
108
ตอนที่ 2 สภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียน
คำชี้แจง โปรดทำเครื่องหมาย  ในช่องที่ตรงกับสภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนในโรงเรียนของท่าน
ระดับของสภาพการดำเนินงาน
สภาพการดำเนินงาน มากที่สุด
(5)
มาก
(4)
ปานกลาง
(3)
น้อย
(2)
น้อยที่สุด
(1)
การจัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ
1. มีการวางแผนอาคารสถานที่อย่างถูกสุขลักษณะ
2. สถานที่ตั้งโรงเรียนห่างไกลแหล่งอบายมุข เสียง
รบกวน สิ่งปฏิกูล รวมทั้งมลพิษต่าง ๆ
3. มีการปลูกไม้ดอกไม้ประดับและตกแต่งสถานที่
เพื่อสร้างบรรยากาศการเรียนรู้
4. มีที่นั่งพักสำหรับให้นักเรียนได้พักผ่อนหรืออ่าน
หนังสืออย่างพอเพียง
5. มีสนามที่เล่นอย่างเพียงพอและปลอดภัย
6. มีเครื่องดับเพลิงตามจุดต่าง ๆ ของโรงเรียนอย่าง
เหมาะสม
7. ห้องเรียนมีสีสันเย็นตา มีแสงสว่างเพียงพอ มีโต๊ะ
เก้าอี้พอเพียงและเหมาะสมกับนักเรียน
8. มีน้ำดื่ม น้ำใช้ที่สะอาดและเพียงพอ
9. มีห้องส้วมและที่ปัสสาวะตามเกณฑ์มาตรฐานและ
ถูกสุขลักษณะ
10. มีโรงอาหารที่เหมาะสมและพอเพียงกับจำนวน
นักเรียน
109
ระดับสภาพการดำเนินงาน
สภาพการดำเนินงาน มากที่สุด
(5)
มาก
(4)
ปานกลาง
(3)
น้อย
(2)
น้อยที่สุด
(1)
การจัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ (ต่อ)
11. โรงเรียนมีรั้วกั้นและอยู่ในสภาพดี
12. นำกิจกรรม “5 ส” มาใช้อย่างต่อเนื่อง
13. มีการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงและสัตว์นำโรค
14. มีการประเมินผลการจัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน
อย่างจริงจังทุกปี
15. ผู้บริหารและครูสามารถเป็นตัวอย่างด้านสุขภาพ
อนามัยที่ดีแก่นักเรียนและชุมชน
การจัดบริการสุขภาพในโรงเรียน
16. ส่งเสริมครูให้มีความรู้เกี่ยวกับหลักการจัดบริการ
สุขภาพในโรงเรียน
17. ดำเนินการให้ครูได้เข้ารับการอบรมทางด้าน
สุขภาพอนามัยและการปฐมพยาบาล รวมทั้งเรียนรู้
เทคนิคใหม่ ๆ
18. สนับสนุนให้ครูในโรงเรียนมีบทบาทร่วมวางแผน
เกี่ยวกับการจัดบริการสุขภาพ
19. มีการประสานงานระหว่างเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
กับโรงเรียนเป็นอย่างดี
20. ครูในโรงเรียนให้ความร่วมมือเกี่ยวกับการบริการ
สุขภาพเป็นอย่างดี
110
ระดับสภาพการดำเนินการ
สภาพการดำเนินงาน มากที่สุด
(5)
มาก
(4)
ปานกลาง
(3)
น้อย
(2)
น้อยที่สุด
(1)
การจัดบริการสุขภาพในโรงเรียน (ต่อ)
21. โรงเรียนมีครูอนามัยโรงเรียนหรือพยาบาล
โรงเรียนอยู่ประจำตลอดเวลา
22. มีการจัดห้องพยาบาลหรือมุมพยาบาลเป็นไปตาม
เกณฑ์มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข
23. โรงเรียนมีอุปกรณ์ เวชภัณฑ์และยา ตามที่กำหนด
ของทางราชการอย่างเพียงพอ
24. มีการจัดบัตรบันทึกสุขภาพให้เป็นระเบียบและ
สะดวกแก่การค้นหา
25. โรงเรียนมีการติดตามผลการให้การพยาบาลรักษา
นักเรียนที่เจ็บป่วยกับผู้ปกครองเด็กอยู่เสมอ
26. โรงเรียนมีโครงการอาหารกลางวันจัดตามหลัก
โภชนาการอย่างเหมาะสม
27. โรงเรียนจัดให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ
6 ได้รับภูมิคุ้มกันโรคตามกำหนด
28. นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
และ 6 ได้รับการตรวจสุขภาพจากเจ้าหน้าที่
สาธารณสุข
29. มีการตรวจตาและวัดสายตานักเรียนทุกปี
30. มีการตรวจหูเพื่อดูความผิดปกติและทดสอบการ
ได้ยินทุกปี
111
ระดับสภาพการดำเนินงาน
สภาพการดำเนินงาน มากที่สุด
(5)
มาก
(4)
ปานกลาง
(3)
น้อย
(2)
น้อยที่สุด
(1)
การจัดบริการสุขภาพในโรงเรียน (ต่อ)
31. มีการตรวจฟันนักเรียนทุกคนและบันทึกในแบบ
บันทึกปีละ 2 ครั้ง
32. มีสถานที่สำหรับให้นักเรียนแปรงฟันอย่าง
เพียงพอและถูกสุขลักษณะ
33. มีการตรวจความสะอาดและสุขภาพร่างกายก่อน
การเรียนการสอนเป็นประจำ
34. มีการชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูงนักเรียนทุกคนภาค
เรียนละ 2 ครั้ง
35. มีการแก้ไขนักเรียนที่มีส่วนสูงและน้ำหนักต่ำกว่า
เกณฑ์
36. มีการแก้ไขนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกิน
(โรคอ้วน)
สุขศึกษาในโรงเรียน
37. โรงเรียนมีการฝึกทักษะและสร้างเจตคติด้าน
สุขภาพอนามัยให้นักเรียน
38. มีสื่อการเรียนการสอนและเอกสารทางด้าน
สุขศึกษาที่จะให้ครูและนักเรียนอ่านอย่างเพียงพอ
39. นักเรียนสามารถนำความรู้ด้านสุขศึกษาไปใช้ใน
ชีวิตประจำวัน
40. นักเรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพภายหลัง
การให้ความรู้ทางด้านสุขศึกษา
112
ระดับสภาพการดำเนินงาน
สภาพการดำเนินงาน มากที่สุด
(5)
มาก
(4)
ปานกลาง
(3)
น้อย
(2)
น้อยที่สุด
(1)
สุขศึกษาในโรงเรียน (ต่อ)
41. มีการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรทางด้านสุขศึกษา
42. มีการเผยแพร่ความรู้ด้านสุขภาพในรูปแบบใหม่ ๆ
แก่นักเรียนและผู้ปกครอง
43. โรงเรียนจัดโอกาสให้นักเรียนหรือผู้นำนักเรียน
ผลิตสื่อสุขภาพด้วยความคิดของตนเองและมีการ
เผยแพร่ความรู้แก่นักเรียนด้วยกัน
44. ครูสอนสุขศึกษามีบุคลิกภาพและพฤติกรรม
สุขภาพที่ดี
45. ปัจจุบันมีผู้นำนักเรียนด้านส่งเสริมสุขภาพโดย
เฉพาะ
46. ครูสอนสุขศึกษามีแผนการสอนและแบบประเมินผล
ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและชุมชน
47. โรงเรียนมีการประชาสัมพันธ์เรื่องการบริการ
สุขภาพในโรงเรียนเป็นลายลักษณ์อักษร
48. ผู้ปกครองให้ความร่วมมือในการประเมินผลการ
รักษานักเรียนเจ็บป่วย
49. ผู้ปกครองสนใจเรื่องสุขภาพอนามัยนักเรียน
50. โรงเรียนทำหนังสือขออนุญาตและให้ผู้ปกครอง
ตอบรับก่อนการที่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขมาบริการ
ฉีดวัคซีน
113
ระดับสภาพการดำเนินงาน
สภาพการดำเนินงาน มากที่สุด
(5)
มาก
(4)
ปานกลาง
(3)
น้อย
(2)
น้อยที่สุด
(1)
ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและชุมชน (ต่อ)
51. ผู้ปกครองสนับสนุนเรื่องสุขภาพอนามัยของ
นักเรียน
52. โรงเรียนมีการประชุมชี้แจงนโยบายการดำเนินงาน
อนามัยโรงเรียนให้ผู้ปกครองทราบทุกปีการศึกษา
53. เมื่อมีโรคระบาดหรือโรคที่มีผลกระทบต่อนักเรียน
โรงเรียนได้ทำเอกสารแจ้งผู้ปกครอง
54. โรงเรียนได้ติดตามผลการรักษานักเรียนที่เจ็บป่วย
หรือมีปัญหาสุขภาพอย่างต่อเนื่อง
55. โรงเรียนและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขร่วมกันพัฒนา
สุขภาพอนามัยนักเรียนและชุมชน
56. โรงเรียนและชุมชนร่วมกันแก้ปัญหาสุขภาพ
อนามัยนักเรียน
114
ตอนที่ 3 ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะการดำเนินงานอนามัยโรงเรียน
คำชี้แจง โปรดแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของท่านต่อการดำเนินงานอนามัยโรงเรียน
ที่ท่านต้องการให้มีการปรับปรุงหรือพัฒนา
1. การจัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ เห็นควรปรับปรุงด้านใดบ้าง
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
2. การจัดบริการสุขภาพในโรงเรียน เห็นควรปรับปรุงด้านใดบ้าง
……………………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………………..
3. สุขศึกษาในโรงเรียน เห็นควรปรับปรุงด้านใดบ้าง
……………………………………………………………………………………………………..
…………………………………………………………………………………………………….
…………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………………..
4. ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและชุมชน เห็นควรปรับปรุงด้านใดบ้าง
……………………………………………………………………………………………………..
…………………………………………………………………………………………………….
…………………………………………………………………………………………………….
…………………………………………………………………………………………………….
…………………………………………………………………………………………………….
ขอขอบพระคุณที่ท่านให้ความร่วมมือตอบแบบสอบถามนี้เป็นอย่างดี
////////////////////////////
รายนามผู้เชี่ยวชาญตรวจเครื่องมือสำหรับการวิจัย
รศ.เกริก วยัคฆานนท์
ตำแหน่ง คณบดีคณะวิทยาการจัดการ สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
รศ.สมชาย พรหมสุวรรณ
ตาํ แหนง่ ผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบด ี สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ผศ.เครือวัลย์ โพธิพันธ์
ตำแหน่ง หัวหน้าโปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์ความปลอดภัย
สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
อาจารย์ทวีศักดิ์ จงประดับเกียรติ
ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการโรงเรียนมัธยมสาธิตบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
อาจารย์ธวัช พงษ์ศิริ
ตำแหน่ง ผู้ช่วยผู้อำนวยโรงเรียนฝ่ายบริการ โรงเรียนวัดหนัง จอมทอง กรุงเทพฯ
สังกัดสำนักงานการประถมศึกษากรุงเทพมหานคร
(ปัจจุบันสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3)
ภาคผนวก จ
ประวัติย่อผู้วิจัย
ประวัติย่อผู้วิจัย
ชื่อ นางสาววราภรณ์ นามสกุล ศิริลักษณ์
วัน เดือน ปีเกิด 1 มิถุนายน 2487
สถานที่เกิด แขวงบางมด เขตบางขุนเทียน ธนบุรี
สถานที่อยู่ปัจจุบัน เลขที่ 62 หมู่ 3 ถนนพุทธบูชา แขวงบางมด
เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร 10140
ตำแหน่งหน้าที่การงานปัจจุบัน อาจารย์ 2 ระดับ 7
สถานที่ทำงานปัจจุบัน โรงเรียนวัดหนัง เลขที่ 200 แขวงบางค้อ เขตจอมทอง
กรุงเทพมหานคร 10150 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
กรุงเทพมหานคร เขต 3
ประวัติการศึกษา
2498 ประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนตันเปาว์วิทยาคาร บางมด ธนบุรี
2508 มัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดสิงห์ บางขุนเทียน ธนบุรี
2511 ประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล โรงเรียนพยาบาลผดุงครรภ์และอนามัย
ศิริราชพยาบาล
2514 ประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา วิทยาลัยครูธนบุรี ธนบุรี
2517 ประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
กรุงเทพฯ
2527 ศึกษาศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง กรุงเทพฯ
2546 ครุศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กรุงเทพฯ
ประวัติการทำงาน
16 ธันวาคม 2511 – 28 กุมภาพันธ์ 2529 ผู้ช่วยพยาบาล แผนกสูตินรีเวช โรงพยาบาลศิริราช
มหาวิทยาลัยมหิดล สำนักนายกรัฐมนตรี
1 มีนาคม 2529 - ปัจจุบัน ครูอนามัยโรงเรียน โรงเรียนวัดหนัง จอมทอง
กรุงเทพฯ 10150 สำนักงานการประถมศึกษา
กรุงเทพมหานคร (ปัจจุบันสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3)

สภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียน ในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษากรุงเทพมหานคร (ตอนที่ 1)
สภาพการดำเนินงานอนามัยโรงเรียน ในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษากรุงเทพมหานคร (ตอนที่ 2)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น