ศึกษาและโหลดฟรีเป็นตัวอย่างเกี่ยวกับงานวิจัย all free download research
วันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2554
ศึกษาสภาพและความต้องการการนิเทศภายในด้านวิชาการของครูประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม (ตอนที่ 1)
การศึกษาสภาพและความต้องการการนิเทศภายในด้านวิชาการ
ของครูประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม ในวิทยาลัยเทคนิค
ของสถาบันอาชีวศึกษาภาคกลาง 6
นายราเมศ จ่างผล
วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาการบริหารการศึกษา
ปีการศึกษา 2546
ISBN : 974–373–262-4
ลิขสิทธิ์ของสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
STATUS AND NEEDS ON ACADEMIC INTERNAL SUPERVISION OF
INDUSTRIAL TEACHERS IN TECHNICAL COLLEGE
OF INDUSTRIAL TRADE OF VOCATIONAL
CENTRAL PART 6
MR. RAMET JANGPON
A Thesis Submitted in Partial Fulfillment of the Requirements
for the Master of Education (Educational Administration)
at Rajabhat Institute Bansomdejchaopraya
Academic Year 2003
ISBN : 974–373–262-4
วิทยานิพนธ์ การศึกษาสภาพและความต้องการการนิเทศภายในด้านวิชาการ ของครูประเภทวิชา
ช่างอุตสาหกรรม ในวิทยาลัยเทคนิค ของสถาบันอาชีวศึกษาภาคกลาง 6
โดย นายราเมศ จ่างผล
สาขา การบริหารการศึกษา
ประธานกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ ดร.สรายุทธ์ เศรษฐขจร
กรรมการ รศ.เกริก วยัคฆานนท์
กรรมการ ดร.เปรมสุรีย์ เชื่อมทอง
บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา อนุมัติให้วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่ง
ของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต
.......................................................... คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
(ดร.สรายุทธ์ เศรษฐขจร)
คณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์
…….................................................. ประธานกรรมการ
(ศาสตราจารย์ ดร.สายหยุด จำปาทอง)
.…..…............................................... กรรมการ
(ดร.สรายุทธ์ เศรษฐขจร)
…..........................................…........ กรรมการ
(รองศาสตราจารย์ เกริก วยัคฆานนท์)
…........................................….......... กรรมการ
(ดร.เปรมสุรีย์ เชื่อมทอง)
....…................................................. กรรมการ
(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อินทิรา บุญยาทร)
...........................................……...... กรรมการและเลขานุการ
(รองศาสตราจารย์ สมชาย พรหมสุวรรณ)
4
นายราเมศ จ่างผล. (2546) การศึกษาสภาพและความต้องการการนิเทศภายในด้านวิชาการ ของครู
ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม ในวิทยาลัยเทคนิค ของสถาบันอาชีวศึกษา ภาคกลาง 6.
วิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัยสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จ
เจ้าพระยา. คณะกรรมการควบคุม : ดร.สรายุทธ์ เศรษฐขจร, รศ.เกริก วยัคฆานนท์,
ดร.เปรมสุรีย์ เชื่อมทอง
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและความต้องการการนิเทศภายใน ด้านวิชาการ
ของครู ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม ในวิทยาลัยเทคนิค ของสถาบันอาชีวศึกษาภาคกลาง 6 ใน 5
ด้านคือ ด้านหลักสูตร ด้านการเรียนการสอน ด้านสื่อการเรียนการสอน ด้านการพัฒนาบุคลากร และ
ด้านการวัดและประเมินผล ประชากรที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ครูผู้สอนประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรมใน
วิทยาลัยเทคนิค รวม 3 แห่ง คือ วิทยาลัยเทคนิคสมุทรสาคร วิทยาลัยเทคนิคสมุทรสงคราม และ
วิทยาลัยเทคนิคนครปฐม จำนวน 189 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถาม
เกี่ยวกับสภาพและความต้องการการนิเทศภายในด้านวิชาการ แบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน
52 ข้อ มีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.94 วิเคราะห์สภาพและความต้องการ
การนิเทศภายในด้านวิชาการ โดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (ℵ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (∅) และการ
แจกแจงความถี่
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพการนิเทศภายในด้านวิชาการ ในวิทยาลัยเทคนิค ของสถาบันอาชีวศึกษาภาคกลาง
6 โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน
เรียงตามลำดับดังนี้ ด้านการวัดและประเมินผล ด้านหลักสูตร ด้านการเรียนการสอน ด้านการพัฒนา
บุคลากร และด้านสื่อการเรียนการสอน
2. ความต้องการการนิเทศภายในด้านวิชาการ ของครูปะเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม
ในวิทยาลัยเทคนิค ของสถาบันอาชีวศึกษาภาคกลาง 6 โดยรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็น
รายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงตามลำดับดังนี้ ด้านหลักสูตร ด้านการพัฒนาบุคลากร
ด้านการเรียนการสอน ด้านสื่อการเรียนการสอน และด้านการวัดและประเมินผล
5
RAMET JANGPON (2003) : STATUS AND NEEDS ON ACADEMIC INTERNAL
SUPERVISION OF INDUSTRIAL TEACHERS IN TECHNICAL COLLEGE
OF INDUSTRIAL TRADE OF VOCATIONAL CENTRAL PART 6 : GRADUATE
SCHOOL, RAJABHAT INSTITUTE BANSOMDEJ CHAO PRAYA. ADVISOR
COMMITTEE : DR.SARAYUTH SETHAKHAJORN ; SST.PROF.KRERK
WAYAKANON ; DR.PREMSUREE CHUAMTHONG
The purposes of the research study were to study the status and needs on
academic internal supervision of industrial teachers in the three technical colleges of
industrial trade of vocational central part 6 in five areas : curriculum, learning and
teaching, teaching aids, personnal development, and measurement and evaluation.
The population in this study consisted of all 189 industrial teachers in three
technical colleges which is the amount of 3 colleges total 189 persons.
Questionnaire was the tool to collect data which analysized by percentage, mean,
standard deviation and frequency.
Findings of the study revealed the following :
1. Levels of academic internal supervision on five areas were the moderate level
: measurement and evaluation, curriculum, learning and teaching, personnal development,
teaching aids.
2. Needs for academic internal supervision in technical college of industrial trade
of vocational central part 6 of all dependent variables and each dependent were found to
be at high level : curriculum, personal development, learning and teaching, teaching
aids, measurement and evaluation.
ฉ
ประกาศคุณูปการ
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้สำเร็จได้ด้วยความกรุณาอย่างยิ่งจาก ดร.สรายุทธ์ เศรษฐขจร ประธาน
ผู้ควบคุมวิทยานิพนธ์ ที่กรุณาให้การแนะนำ ช่วยเหลือ และตรวจสอบแก้ไขข้อบกพร่องต่าง ๆ ด้วย
ความเอาใจใส่อย่างดียิ่งมาโดยตลอด รวมทั้ง รศ.เกริก วยัคฆานนท์ และ ดร.เปรมสุรีย์ เชื่อมทอง
ที่ได้กรุณาให้คำแนะนำและตรวจแก้ไขเพื่อให้วิทยานิพนธ์มีความถูกต้อง ผู้วิจัยขอกราบขอบพระคุณ
เป็นอย่างสูงไว้ ณ โอกาสนี้
ขอขอบพระคุณ ศาสตราจารย์ ดร.สายหยุด จำปาทอง ประธานกรรมการสอบวิทยานิพนธ์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อินทิรา บุญยาทร และ รองศาสตราจารย์ สมชาย พรหมสุวรรณ กรรมการสอบ
วิทยานิพนธ์ ที่ได้กรุณาให้คำแนะนำและข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ และตรวจแก้ไขวิทยานิพนธ์ให้
ถูกต้องสมบูรณ์ยิ่งขึ้น รวมทงั้ ดร.วิโรจน วัฒนานิมิตกูล อาจารยท์ วศี กั ด์ิ จงประดับเกียรติ
ผช.สมศักดิ์ สังข์แก้ว และ อาจารย์เพ็ญศรี วงศ์แสนเจริญดี ผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบเครื่องมือ
ทุกท่าน ที่ได้กรุณาให้คำแนะนำและข้อเสนอแนะในการสร้างเครื่องมือการวิจัย
ขอขอบพระคุณบุคคลซึ่งอยู่เบื้องหลังที่สนับสนุนให้การทำวิทยานิพนธ์ครั้งนี้สำเร็จลุล่วงด้วย
ดี คือเพื่อนร่วมงาน และคณะครูช่างอุตสาหกรรม และเจ้าหน้าที่ ในวิทยาลัยเทคนิค ของสถาบันอาชีว
ศึกษาภาคกลาง 6 ทุกท่านที่ให้ความอนุเคราะห์ในการเก็บข้อมูล และตอบแบบสอบถามเพื่อการวิจัย
ในครั้งนี้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะคุณนิตยา จ่างผล และ ด.ช.จิรเมธ จ่างผล ที่เป็นกำลังใจ และ
สนับสนุนด้วยดีตลอดมา
ราเมศ จ่างผล
7
สารบัญ
หน้า
บทคัดย่อภาษาไทย………………………………………………………………………………… ง
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ……………………………………………………………………………... จ
ประกาศคุณูปการ………………………………………………………………………………..… ฉ
สารบัญ…………………………………………………………………………………………..… ช
สารบัญตาราง……………………………………...…………………………………….………… ญ
สารบัญแผนภาพ………………………………………………………………………………..…. ฎ
บทที่ 1 บทนำ
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา…………………………………………………... 1
วัตถุประสงค์ของการวิจัย………………….……………………………………………… 3
ขอบเขตการวิจัย………………………………………….……………………………….. 3
นิยามศัพท์เฉพาะ………………………………………….………………………………. 4
กรอบแนวคิดในการวิจัย…………………………………….……………………………. 6
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ………………………………………………………………. 8
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
การนิเทศการศึกษา………………………………………………………………………… 9
การนิเทศภายใน………………………………………………………………………….. 16
ขอบเขตของงานนิเทศภายใน…………………………………………………………….. 28
งานหลักสูตร…………………………………………………………………….. 30
งานการเรียนการสอน……………………………………………………………. 32
งานสื่อการเรียนการสอน………………………………………………………… 35
งานพัฒนาบุคลากร………………………………………………………………. 38
งานวัดผลและประเมินผล……………………………………………….………. 40
สถาบันอาชีวศึกษาภาคกลาง 6 …………………………………………………………… 45
การปฏิบัติงานและปัญหาเกี่ยวกับการนิเทศการศึกษาของกรมอาชีวศึกษา……………….. 48
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง…………………………………………………………………………51
8
สารบัญ (ต่อ)
หน้า
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย
ประชากร………………………………………………………………………………….. 56
ตัวแปรที่ศึกษา…………………………………………………………………….………. 57
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย………………………………………………….……….………. 58
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล………………………………………………………………….. 59
การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิจัย………………………………..…………….. 60
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ตอนที่ 1 ข้อมูลเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม ……………………..………. 61
ตอนที่ 2 ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพและความต้องการการนิเทศภายใน ………….……………. 63
ตอนที่ 3 ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ…………………………………..…….…………79
บทที่ 5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
วัตถุประสงค์ของการวิจัย.....................................................………………………………. 84
ประชากรที่ใช้ในการวิจัย.....................................................………………………………. 84
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย.....................................................………………………….……. 85
การเก็บรวบรวมข้อมูล.....................................................…………………………………. 85
การวิเคราะห์ข้อมูล.....................................................…………………………………….. 86
สรุปผลการวิจัย.....................................................………………………………………… 86
อภิปรายผลการวิจัย.....................................................……………………………..……… 89
ข้อเสนอแนะจากการวิจัย.....................................................…………………………….… 96
ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยต่อไป.....................................................…………………………98
บรรณานุกรม……………………………………………………………………………………….. 99
9
สารบัญ (ต่อ)
หน้า
ภาคผนวก
ภาคผนวก ก แบบสอบถามเพื่อการวิจัย .....................................................……………. 106
ภาคผนวก ข รายชื่อผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเครื่องมือ …………………………………….117
ภาคผนวก ค หนังสือราชการที่เกี่ยวข้อง ..............................................………......…… 119
ประวัติผู้วิจัย ...........................................................……….……………………....…… 123
10
สารบัญตาราง
หน้า
ตารางที่ 1 สรุปแนวคิดขอบเขตของการนิเทศภายใน…………………………………..……..… 30
ตารางที่ 2 แสดงจำนวนประชากร........................................................................................…….. 56
ตารางที่ 3 ค่าร้อยละของข้อมูลเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม.……………………. 61
ตารางที่ 4 ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ของสภาพ และความต้องการการนิเทศภาย
ในด้านวิชาการ ……………………………………………………………...….…….. 63
ตารางที่ 5 ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ของสภาพและความต้องการการนิเทศภายใน
ด้านวิชาการ ด้านหลักสูตร…………………………………………..….…………….. 64
ตารางที่ 6 ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของสภาพและความต้องการการนิเทศภายใน
ด้านวิชาการ ด้านการเรียนการสอน………………………………………..…………. 67
ตารางที่ 7 ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของสภาพและความต้องการการนิเทศภายใน
ด้านวิชาการ ด้านสื่อการเรียนการสอน…………………………..……………………. 70
ตารางที่ 8 ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของสภาพและความต้องการการนิเทศภายใน
ด้านวิชาการ ด้านการพัฒนาบุคลากร………………………………………………….. 73
ตารางที่ 9 ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของสภาพและความต้องการการนิเทศภายใน
ด้านวิชาการ ด้านการเรียนการสอน……………………………….………..…………. 76
ตารางที่ 10 แสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับสภาพและความต้องการ
การนิเทศภายใน……………………………………………………………….……… 79
11
สารบัญแผนภาพ
หน้า
แผนภาพที่ 1 กรอบแนวคิดในการวิจัย................................……………..........................……... 7
แผนภาพที่ 2 เครือข่ายสถาบันอาชีวศึกษาภาคกลาง 6………………………………………….. 46
บทที่ 1
บทนำ
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
จากแนวคิดและทิศทางการพัฒนาประเทศ ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540 -2544) ได้มุ่งเน้นการพัฒนาคนเป็นจุดหมายหลักของการพัฒนาประเทศ
เพราะสังคมปัจจุบันกำลังเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม กิจกรรมและผลผลิตด้านอุตสาหกรรมเข้ามามีอิทธิพล
ต่อการดำรงชีวิต กรมอาชีวศึกษาได้กำหนดนโยบายและเป้าหมายการพัฒนาการจัดอาชีวศึกษา เพื่อ
เป็นแนวทางให้สถานศึกษาได้เพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้สำเร็จ
การศึกษามีคุณภาพ ตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคม
โดยได้กำหนดจุดเน้นและเป้าหมายการพัฒนาที่สำคัญคือ สร้างมาตรฐาน และพัฒนาระบบการผลิต
กำลังคนอาชีวศึกษาให้เป็นที่ยอมรับของตลาดแรงงาน ส่งเสริมผลักดันให้ครู – อาจารย์ได้รับการฝึก
อบรมและรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้มากขึ้น ปรับปรุงรูปแบบการเรียนการสอนให้มีความยืดหยุ่น
หลากหลาย มีความเชื่อมโยงระหว่างหลักสูตรในระบบ และนอกระบบ เป็นต้น (กองแผนงาน กรม
อาชีวศึกษา 2543)
การจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ และสามารถผลิตกำลังคนให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายของ
หลักสูตร ตลอดจนสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติได้อย่างแท้จริงนั้นต้องอาศัย
ครู ที่มีคุณธรรม มีความรู้ความสามารถในการสอน หากครูขาดคุณธรรม ขาดความรู้ความสามารถ
และแนวคิดใหม่ ๆในการสอนแล้ว กำลังคนที่เป็นผลผลิตทางการศึกษาก็จะไม่เป็นไปตามจุดมุ่งหมาย
ที่กำหนดไว้ ซึ่งจะส่งผลทำให้การศึกษาขาดประสิทธิภาพ ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นต้องพัฒนาคุณภาพของ
ครูให้มีคุณภาพสูง ซึ่งวิธีการที่จะช่วยพัฒนาครูให้มีความรู้ความสามารถ มีคุณภาพสูง เพื่อที่จะส่งผล
ให้เกิดการพัฒนาการเรียนการสอน ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี สังคม วัฒนธรรม
และกระแสโลกาภิวัตน์ ดังนั้นจึงต้องมีการนิเทศการศึกษา เพราะการนิเทศการศึกษาเป็นงานที่ช่วยแก้
ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ในการเรียนการสอนเพื่อให้การเรียนการสอนพัฒนาขึ้น และระบบการ
นิเทศการศึกษาเป็นกลไกที่จะใช้รักษามาตรฐานการศึกษาของประเทศไว้ได้ (กิติมา ปรีดีดิลก
2532 : 263)
การนิเทศการศึกษาจึงเป็นหัวใจของการพัฒนาครูให้มีคุณภาพและส่งผลให้เกิดการพัฒนา
การเรียนการสอน เป็นการพัฒนาผู้เรียน ซึ่งเป็นผลผลิตทางการศึกษาให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพ การ
นิเทศการศึกษาที่ดีจะก่อให้เกิดประโยชน์กับครูด้านการพัฒนาตนเอง เพราะการนิเทศการศึกษาเป็น
กิจกรรมที่ส่งเสริม เช่นแก้ไขข้อบกพร่องในการจัดการเรียนการสอน ป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาและ
2
อุปสรรคในการบริหารหลักสูตร รู้จักใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ หรือนวัตกรรมทางการศึกษา ส่งเสริมการ
ศึกษาค้นคว้า วิจัย และหาสิ่งที่เหมาะสมในการจัดการเรียนการสอน แต่การนิเทศส่วนใหญ่ยังไม่บรรลุ
ตามเป้าหมายและยังมีปัญหาเกิดขึ้นอยู่เสมอ เช่น ครูผู้สอนมีความรู้สึกว่า การนิเทศเป็นการเพิ่มปัญหา
แก่ครูผู้สอนมากกว่าจะเป็นการช่วยแก้ปัญหา เพราะการนิเทศเป็นลักษณะที่เป็นการวัดผลการสอน
การตรวจดูผลงานมากกว่า ทำให้ครูผู้สอนรู้สึกหวาดกลัว ประหม่า ขาดความเชื่อมั่น ไม่ชอบใจ เพราะ
เกิดความรู้สึกว่าผู้นิเทศก์จะมาจับผิด และความต้องการในการนิเทศโดยทั่ว ๆ ไปนั้นเป็นความ
ต้องการของศึกษานิเทศก์ที่ต้องปฏิบัติงานตามหน้าที่ มากกว่าเป็นความต้องการของคร ู ที่จะขอรับการ
นิเทศการสอน (นิพนธ์ ไทยพานิช 2529 : 13)
แม้ว่ากรมอาชีวศึกษาจะได้พยายามพัฒนาคุณภาพการศึกษาควบคู่ไปกับการขยายด้านปริมาณ
มาตลอด แต่ก็ยังไม่สามารถพัฒนาคุณภาพการศึกษาได้ถึงขั้นมาตรฐานอย่างทั่วถึง จากการศึกษางาน
วิจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพด้านอาชีวศึกษาระหว่างปี พ.ศ. 2530-2536 พบว่า ด้านหลักสูตร มีปัญหา
ด้านการขาดแคลนอัตรากำลังครู ความไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่ และทัศนคติต่อการเป็นครู บางรายวิชา
ยังไม่สามารถจัดให้เหมาะสมกับความสามารถของผู้สอนได้ ด้านการเรียนการสอน ครูยังใช้วิธีการ
สอนแบบบรรยาย ครูยังมีความรู้ ความสามารถในวิชาการสอนและการวางแผนการสอนอยู่ในระดับ
ปานกลาง ด้านสื่อการเรียนการสอน ครูมีความสามารถในการใช้สื่อและอุปกรณ์การสอนอยู่ในระดับ
ปานกลางและมีปัญหาในการจัดทำสื่อการเรียนการสอน ด้านการวัดผลและประเมินผล ครูไม่สามารถ
ดำเนินการวัดผลตรงตามจุดประสงค์ของหลักสูตรอย่างครบถ้วน และด้านการพัฒนาบุคลากร ครูได้
รับข่าวสารเป็นไปอย่างล่าช้า มีภาระการสอนมากทำให้ไม่มีเวลาพอในการเข้าร่วมการพัฒนาวิชาชีพ
ได้อย่างสม่ำเสมอ (รายงานการศึกษาสภาพการจัดอาชีวศึกษา 2543 : 45-52)
สภาพปัจจุบันและปัญหาของการนิเทศการศึกษาของกรมอาชีวศึกษา ด้านการนิเทศภายในยัง
ไม่มีรูปแบบที่ชัดเจน ซึ่งเกิดจากสาเหตุหลายประการ เช่น ผู้บริหารและครู-อาจารย์ไม่เห็นความสำคัญ
และความจำเป็นของการนิเทศการศึกษา ผู้นิเทศก์จัดโครงการนิเทศไม่สอดคล้องกับความจำเป็นและ
ความต้องการของผู้รับการนิเทศในด้านต่าง ๆ ผู้รับการนิเทศมีปัญหาเกี่ยวกับการเข้ารับการนิเทศใน
ด้านต่าง ๆ นโยบายและแผนงานด้านการนิเทศไม่ได้กำหนดไว้ในแผนงานอย่างชัดเจน
(บุญเลิศ ภพลาภ ม.ป.ป. : 41 - 43) และเป็นที่ทราบกันดีว่าการนิเทศภายในจะช่วยปรับปรุงสถาน
ศึกษาให้ดียิ่งขึ้น ช่วยให้ครูเข้าใจในวัตถุประสงค์ของการศึกษา และพัฒนาการสอนของตนอีกทั้งช่วย
ชี้แนวทางให้ครูมีความพร้อมอยู่เสมอรวมทั้งช่วยให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาทำงานร่วมกันเพื่อ
ก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการจัดการศึกษา จึงเป็นการสมควรอย่างยิ่งที่นักบริหาร นักวิชาการ
ด้านอาชีวศึกษาจะต้องร่วมมือกันเพื่อช่วยแก้ปัญหาดังกล่าว ทั้งนี้เพื่อพัฒนาการศึกษา ด้านอาชีวศึกษา
ให้มีคุณภาพและมีมาตรฐานสูงขึ้นเพื่อบรรลุตามจุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษา โดยเฉพาะในสาขา
การผลิต ด้านอุตสาหกรรม ที่มีการขยายตัวอย่างมาก และมีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น ดังนั้นการผลิต
3
แรงงานเพื่อสนองต่อความต้องการของตลาดแรงงาน จะต้องมิใช่เพียงการเรียนรู้ทฤษฎีและพอจะ
ทำงานได้เท่านั้นแต่จะต้องเป็นแรงงานที่สามารถทำงานได้และสามารถนำความรู้ทางวิชาการไป
พัฒนางานทางด้านอุตสาหกรรมได้ (รายงานการศึกษาสภาพการจัดอาชีวศึกษา 2543 : 60) ซึ่งผู้วิจัย
นอกจากเป็นครูผู้สอนประจำวิชา ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม แล้วยังปฏิบัติงานอยู่ในสายงานของ
ฝ่ายวิชาการจึงมีความสนใจที่จะศึกษาสภาพและความต้องการการนิเทศภายใน ด้านวิชาการของครู
ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม ในวิทยาลัยเทคนิค ของสถาบันอาชีวศึกษาภาคกลาง 6 เพื่อจะได้นำข้อ
มูลไปใช้ประโยชน์ในการวางแผน ปรับปรุงและพัฒนางานนิเทศภายใน สำหรับผู้บริหารวิทยาลัย
เทคนิค ของสถาบันอาชีวศึกษาภาคกลาง 6 และเป็นข้อมูลสำหรับกรมอาชีวศึกษา ในการวางแผน
ปรับปรุง และพัฒนาเพื่อส่งเสริมการนิเทศภายในของวิทยาลัยเทคนิคต่อไป
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาสภาพการนิเทศภายในด้านวิชาการ ของครูประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม
ในวิทยาลัยเทคนิค ของสถาบันอาชีวศึกษาภาคกลาง 6
2. เพื่อศึกษาความต้องการการนิเทศภายในด้านวิชาการ ของครูประเภทวิชาช่าง
อุตสาหกรรม ในวิทยาลัยเทคนิค ของสถาบันอาชีวศึกษาภาคกลาง 6
ขอบเขตของการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาสภาพและความต้องการการนิเทศภายใน ดา้ นวชิ าการของคร ู ประเภท
วิชาช่างอุตสาหกรรม ในวิทยาลัยเทคนิค ของสถาบันอาชีวศึกษาภาคกลาง 6 ที่เปิดสอนระดับ
ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) โดยมีขอบเขตของ
การวิจัยดังนี้
1. ประชากร ได้แก่ ครูผู้สอน ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม ในวิทยาลัยเทคนิค ของสถาบัน
อาชีวศึกษาภาคกลาง 6 รวม 3 วิทยาลัย คือ วิทยาลัยเทคนิคสมุทรสาคร วิทยาลัยเทคนิคสมุทรสงคราม
และวิทยาลัยเทคนิคนครปฐม จำนวน 189 คน
2. ตัวแปรที่ศึกษาได้แก่ สภาพและความต้องการการนิเทศภายในด้านวิชาการของครู
ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม 5 ด้าน คือ
4
2.1 ด้านหลักสูตร
2.2 ด้านการเรียนการสอน
2.3 ด้านสื่อการเรียนการสอน
2.4 ด้านการพัฒนาบุคลากร
2.5 ด้านการวัดและประเมินผล
นิยามศัพท์เฉพาะ
ผู้วิจัยนิยามศัพท์เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยเพื่อความเข้าใจตรงกันดังนี้
ครูประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม หมายถึง ผู้ที่ทำหน้าที่สอนในวิทยาลัยเทคนิค สถานศึกษา
ในสังกัดกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งได้รับการบรรจุแต่งตั้งให้เป็นครูถูกต้องตามระเบียบ
ของกระทรวงศึกษาธิการ และมีหน้าที่สอนประจำวิชา ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม ในวิทยาลัย
เทคนิคสมุทรสาคร วิทยาลัยเทคนิคนครปฐม และวิทยาลัยเทคนิคสมุทรสงคราม ซึ่งเป็นสถานศึกษาที่
อยู่ในกลุ่มของ สถาบันอาชีวศึกษาภาคกลาง 6
วิทยาลัยเทคนิค หมายถึง สถานศึกษา ที่เปิดสอนในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม คือ วิทยาลัยเทคนิค
สมุทรสาคร วิทยาลัยเทคนิคนครปฐม วิทยาลัยเทคนิคสมุทรสงคราม ซึ่งเป็นสถานศึกษาที่อยู่ในกลุ่ม
ของ สถาบันอาชีวศึกษาภาคกลาง 6
สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 6 หมายถึง กลุ่มของสถานศึกษา หน่วยงานที่จัดการศึกษา
ด้านอาชีวศึกษาและฝึกอบรมวิชาชีพทั้งภาครัฐ เอกชน และสถานประกอบการเพื่อสร้างความเข้มแข็ง
และความมีเอกภาพในการบริหารจัดการ การระดมทรัพยากร รวมทั้งการประสานความร่วมมือในการ
สร้างมาตรฐาน การพัฒนาบุคลากรด้านวิชาชีพให้มีคุณภาพ
การนิเทศภายใน หมายถึง กระบวนการในการปฏิบัติงานที่ผู้บริหารและครูร่วมมือกันจัดทำ
ขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดการเรียนการสอนอันนำมาซึ่งประสิทธิผลทาง
การเรียนของนักเรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมากยิ่งขึ้น
การนิเทศภายในด้านวิชาการ หมายถึง การทำงานร่วมกันของบุคลากรในสถานศึกษา โดย
การแนะนำ ช่วยเหลือ สนับสนุนการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนของครู และกิจกรรม
สนับสนุนต่าง ๆ เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้มีประสิทธิผล ส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการ
เรียนสูง และมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรกำหนด ในการศึกษาครั้งนี้มุ่งศึกษาการนิเทศ
ภายใน ด้านวิชาการ 5 ด้านคือ ด้านหลักสูตร ด้านการเรียนการสอน ด้านสื่อการเรียนการสอน ด้าน
การพัฒนาบุคลากร และ ด้านการวัดผลและประเมินผล
5
สภาพการนิเทศภายในด้านวิชาการ หมายถึง สิ่งที่เป็นอยู่หรือเกิดขึ้นในปัจจุบันของการนิเทศ
ภายในด้านวิชาการ ในปัจจุบันของครูผู้สอนประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม ในวิทยาลัยเทคนิค ของ
สถาบันอาชีวศึกษาภาคกลาง 6
ความต้องการการนิเทศภายในด้านวิชาการ หมายถึง สิ่งที่ปรารถนาให้เป็นหรือเกิดขึ้นของครู
ผู้สอนประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม ในวิทยาลัยเทคนิค ของสถาบันอาชีวศึกษาภาคกลาง 6 จะได้รับ
การนิเทศภายในด้านวิชาการ จากผู้มีหน้าที่ในการนิเทศภายในด้านวิชาการ ด้านต่าง ๆ ดังนี้
ด้านหลักสูตร หมายถึง สำรวจปัญหาการใช้หลักสูตร การแนะนำในด้านการใช้และการ
พัฒนาหลักสูตร การวิเคราะห์หลักสูตร การสร้างความเข้าใจให้แก่ครูเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของหลัก
สูตร แนะนำการใช้เอกสารหลักสูตรและการปรับปรุงใบงาน การจัดทำแผนการสอนและบันทึกการ
สอนให้ตรงตามหลักสูตร การควบคุมการสอนให้ตรงตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร การส่งเสริม
กิจกรรมเสริมหลักสูตร การวัดผลและการประเมินผลการใช้หลักสูตร
ด้านการเรียนการสอน หมายถึง การจัดประชุมครูเพื่อวางแผนการเรียนการสอน ส่งเสริม
การทำโครงการสอน/แผนการสอนและบันทึกการสอน การพัฒนาการสอนด้านเทคนิคและวิธีการ
สอน การบริการเอกสารทางวิชาการ การจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือและเครื่องจักร การจัดสภาพ
ห้องเรียน/อาคารเรียน และการติดตามดูแลการเรียนการสอน
ด้านสื่อการเรียนการสอน หมายถึง การจัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้สร้างสื่อการเรียนการสอน
ส่งเสริมการใช้อุปกรณ์/สื่อการสอนให้เหมาะสมกับเนื้อหาวิชา ส่งเสริมการสร้างสื่อการเรียนการสอน
การจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้วัสดุอุปกรณ์/โสตทัศนูปกรณ์ จัดอบรมด้านเทคโนโลยีที่ใช้
สร้างสื่อการเรียนการสอน การแนะนำให้ครูใช้ห้องสมุดเป็นสื่อในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
การประเมินผลการใช้สื่อการเรียนการสอน
ด้านการพัฒนาบุคลากร หมายถึง การสำรวจความต้องการเข้ารับการอบรม การส่งเสริม
ให้ผู้ผ่านการอบรมนำความรู้มาเผยแพร่ การจัดทัศนศึกษา การส่งเสริมให้ครูศึกษาต่อ การเสริม
ประสบการณ์ทางวิชาชีพแก่ครู ส่งเสริมการพัฒนาผลงานทางวิชาการ การมีส่วนร่วมและบริการ
ชุมชน การติดตามและประเมินผลการฝึกอบรม
ด้านการวัดผลและประเมินผล หมายถึง การจัดทำปฏิทิน/แผนการการวัดผลประจำปี การ
แนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการวัดผลและประเมินผล การจัดทำเอกสารความรู้ด้าน
การวัดผลเผยแพร่แก่ครูผู้สอน จัดให้มีการวิเคราะห์ข้อสอบ การจัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นในการ
วัดผล การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับวิธีการสร้างเครื่องมือวัดผลให้ตรงจุดประสงค์การเรียนรู้
การติดตามและประเมินผลการวัดผลการเรียนการสอนของครู
6
กรอบแนวคิดในการวิจัย
จากการศึกษาแนวคิดของนักการศึกษา เกี่ยวกับงานการนิเทศภายในสถานศึกษา ที่มีลักษณะ
ที่ครอบคลุมงานการนิเทศภายในด้านวิชาการ ซึ่งมีนักการศึกษาเช่น แฮร์ริส (Harris. 1985 : 10-12)
กล่าวถึงงานนิเทศที่ปฏิบัติอยู่มี 10 ประการคือ 1)การพัฒนาหลักสูตร 2)การจัดระบบการสอน
3)การคัดเลือกบุคลากรผู้สอน 4)การจัดสิ่งอำนวยความสะดวก 5)การจัดวัสดุอุปกรณ์การสอน
6)การจัดอบรมครูประจำการ 7)การปฐมนิเทศครูใหม่ 8)การจัดบริการด้านอื่น ๆ 9)การสร้างความ
สัมพันธ์กับชุมชน 10)การประเมินผล สำหรับ กลิ๊คแมน (Clickman. 1985 : 255) ได้กล่าวถึงงาน
นิเทศไว้ 5 งานดังนี้ 1)การให้ความช่วยเหลือแก่ครูโดยตรง 2)การเสริมสร้างประสบการณ์ทาง
วิชาชีพ 3)การพัฒนาทักษะการทำงานกลุ่ม 4)การพัฒนาหลักสูตร 5)การวิจัยเชิงปฏิบัติการใน
ชั้นเรียน และผู้วิจัยได้นำ มาปรับให้เหมาะสมกับการปฏิบัติงานนิเทศภายใน ด้านวิชาการ ในวิทยาลัย
เทคนิค 5 ด้านคือ ด้านหลักสูตร ด้านการเรียนการสอน ด้านสื่อการเรียนการสอน ด้านการพัฒนา
บุคลากร ด้านการวัดผลและประเมินผล ดังแสดงไว้ในแผนภาพที่ 1
7
แผนภาพที่ 1 กรอบแนวคิดในการวิจัย
สภาพและความต้องการการ
นิเทศภายในด้านวิชาการของครู
ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม 5 ด้าน
- ด้านหลักสูตร
- ด้านการเรียนการสอน
- ด้านสื่อการเรียนการสอน
- ด้านการพัฒนาบุคลากร
- ด้านการวัดผลและประเมินผล
การนิเทศภายในตามแนวคิดของ
เบน เอ็ม ฮาริส (Ben M. Harris)
- การพัฒนาหลักสูตร
- การจัดระบบการสอน
- การคัดเลือกบุคลากรผู้สอน
- การจัดสิ่งอำนวยความสะดวก
- การจัดวัสดุอุปกรณ์การสอน
- การจัดอบรมครูประจำการ
- การปฐมนิเทศครูใหม่
- การจัดบริการด้านอื่น ๆ
- การสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน
- การประเมินผล
การนิเทศภายในโรงเรียน 5 ด้าน ตาม
แนวคิดของ กลิ๊คแมน กอร์ดอน และ
โรส กอร์ดอน (Glickman, Gordon
and Rose-Gordon)
- การให้ความช่วยเหลือแก่ครูโดยตรง
- การเสริมสร้างประสบการณ์ทาง
วิชาชีพ
- การพัฒนาทักษะการทำงานกลุ่ม
- การพัฒนาหลักสูตร
- การวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน
8
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เป็นข้อมูลให้ผู้บริหารและผู้นิเทศก์ได้พัฒนา ปรับปรุง และดำเนินการ การนิเทศภายใน
ด้านวิชาการ ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม ในวิทยาลัยเทคนิค ของสถาบันอาชีวศึกษาภาคกลาง 6 ให้
เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและตามความต้องการของผู้สอน
2. เป็นแนวทางสำหรับผู้นิเทศก์ภายใน เพื่อที่จะช่วยให้ผู้สอนได้ปรับปรุงการสอนให้บรรลุ
ตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร และเป็นไปตามมาตรฐานอาชีวศึกษา
บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาสภาพและความต้องการการนิเทศภายในด้านวิชาการของครูประเภท
วิชาช่างอุตสาหกรรม 5 ด้าน คือ ด้านหลักสูตร ด้านการเรียนการสอน ด้านสื่อการเรียนการสอน ด้าน
การพัฒนาบุคลากร ด้านการวัดผลและประเมินผล ซึ่งผู้วิจัยได้ทำการศึกษาเอกสาร ทฤษฎี และผลงาน
วิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาใช้ประกอบการศึกษาครั้งนี้ โดยนำเสนอเนื้อหาตามลำดับดังนี้
1. การนิเทศการศึกษา
2. การนิเทศภายใน
3. สถาบันอาชีวศึกษาภาคกลาง 6
4. การปฏิบัติงานและปัญหาเกี่ยวกับการนิเทศการศึกษาของกรมอาชีวศึกษา
5. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
1. การนิเทศการศึกษา
1.1 ความหมายของการนิเทศการศึกษา
ได้มีนักการศึกษาและผู้ทรงคุณวุฒิ ให้ความหมายของการนิเทศการศึกษาไว้ดังนี้
กู๊ด (Good. 1973 : 539) ได้ให้ความหมายของ การนิเทศการศึกษาไว้ว่า เป็นความพยายาม
ทุกอย่างของเจ้าหน้าที่ผู้จัดการศึกษา ในการแนะนำครูหรือบุคคลอื่นที่ทำงานเกี่ยวกับการศึกษาให้รู้วิธี
การเกี่ยวกับการปรับปรุงงานสอน การนิเทศการศึกษาจะช่วยให้เกิดความงอกงามในวิชาชีพการศึกษา
และช่วยพัฒนาครู ช่วยในการเลือกและปรับปรุงวัตถุประสงค์ทางการศึกษาช่วยเลือกและปรับปรุง
เนื้อหาของการสอน ช่วยเลือกและปรับปรุงวิธีสอนและช่วยเลือกและปรับปรุงการประเมินการสอน
กลิ๊คแมน กอร์ดอนและโรส กอร์ดอน (Glickman Gordon and Ross Gordon. 1998 : 295) ได้
ให้ความหมายของการนิเทศการศึกษาว่า หมายถึง หน้าที่ของทางโรงเรียนที่จะต้องปรับปรุงการสอน
รวมทั้งให้ความช่วยเหลือแก่ครูโดยตรง การเสริมสร้างประสบการณ์ทางวิชาชีพ การพัฒนาทักษะการ
ทำงานกลุ่ม การพัฒนาหลักสูตร การวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน
แฮร์ริส (Harris. 1975 : 13) กล่าวถึงความหมายของการนิเทศการศึกษาว่า หมายถึง สิ่ง
ที่บุคลากรในโรงเรียนกระทำต่อบุคคล หรือสิ่งหนึ่งสิ่งใดโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อจะคงไว้หรือ
เปลี่ยนแปลงปรับปรุงการดำเนินการเรียนการสอนในโรงเรียน มุ่งให้เกิดประสิทธิภาพในด้านการ
สอนเป็นสำคัญ
10
กิติมา ปรีดีดิลก (2532 : 262) กล่าวว่า การนิเทศการศึกษาหมายถึง กระบวนการชี้แนะ
แนะนำ และให้ความร่วมมือต่อกิจกรรมของครู ในการปรับปรุงการเรียนการสอน เพื่อให้ได้ผลตาม
จุดมุ่งหมายที่วางไว้
สนอง เครือมาก และวิสิฐ วงศ์จิตรทร (2532 : 276) ได้ให้ความหมายของการนิเทศการ
ศึกษาว่า หมายถึง การร่วมมือของบุคลากรในโรงเรียน ในอันที่จะปรับปรุง แก้ไข หรือพัฒนาการสอน
ของครู เพื่อให้การเรียนการสอนมีคุณภาพ
สงัด อุทรานันท์ (2530 : 12) กล่าวว่า การนิเทศการศึกษาคือกระบวนการทำงานร่วมกับครู
และบุคลากรทางการศึกษา เพื่อให้ได้มาซึ่งผลสัมฤทธิ์สูงสุดในการเรียนของนักเรียน
สนั่น มีสัตย์ธรรม (2538 : 198) ให้ความหมายว่า การนิเทศการศึกษา หมายถึง กระบวนการ
ทำงานร่วมกันระหว่างผู้นิเทศก์ กับผู้รับการนิเทศ เพื่อพัฒนาคุณภาพของนักเรียน โดยผ่านตัวกลางคือ
ครูและบุคลากรทางการศึกษา
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน (2536 : 3) ให้ความเห็นว่าเป็นกระบวนการของผู้นิเทศก์ที่มุ่งจะ
ปรับปรุง และพัฒนาการสอนในสถานศึกษา โดยมุ่งที่พฤติกรรมของครูที่จะส่งผลต่อพฤติกรรมของ
ผู้เรียน
จากความหมายของ การนิเทศการศึกษาที่นักการศึกษาได้แสดงทัศนะไว้ดังกล่าว พอสรุปได้
ว่าการนิเทศการศึกษาหมายถึง ความร่วมมือหรือประสานงานกันของบุคลกากรที่เกี่ยวข้องกับการ
ศึกษา ในอันที่จะพัฒนาหรือปรับปรุงคุณภาพการจัดการเรียนการสอนของครูให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
อันจะส่งผลไปถึงคุณภาพของการจัดการศึกษาให้บังเกิดผลสัมฤทธิ์ แก่ตัวนักเรียนและนักศึกษา
1.2 ความมุ่งหมายของการนิเทศการศึกษา
นักการศึกษาหลายท่านได้แสดงความเห็นและได้กำหนดความมุ่งหมาย ของการนิเทศการ
ศึกษาไว้ดังนี้
กู๊ด (Good. 1973 : 539) ได้กล่าวว่า การนิเทศการศึกษามีจุดม่งหมายเพื่อช่วยให้มีความ
เจริญงอกงามทางวิชาชีพ ช่วยพัฒนาความสามารถของครู ช่วยให้เลือกและปรับปรุงวัตถุประสงค์ของ
การศึกษา ช่วยเหลือและจัดสรรเครื่องอุปกรณ์การศึกษา ช่วยเหลือและปรับปรุงวิธีสอน
วิโรจน์ ศรีโภคา (2536 : 417) ได้เสนอความมุ่งหมายของการนิเทศการศึกษาไว้ 4 ประการ
1. เพื่อพัฒนาคน การนิเทศการศึกษาเป็นการให้คำแนะนำช่วยเหลือให้คนในองค์กรนั้น ๆ มี
ความรู้ ความสามารถในการทำงานให้มากขึ้น
2. เพื่อพัฒนางาน การนิเทศการศึกษาเพื่อการสร้างวิธีการทำงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
11
3. เพื่อประสานสัมพันธ์ การนิเทศการศึกษา เพื่อการสร้างความร่วมมือ สร้างความเข้าใจใน
การทำงานร่วมกัน ตลอดจนความเข้าใจระหว่างกลุ่มคนกับสังคมโดยส่วนรวม
4. เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจ การนิเทศการศึกษาเป็นการสร้างความมั่นใจ ความสบายใจ
และมีกำลังใจในการทำงาน
ครุรักษ์ ภิรมย์รักษ์ (2538 : 14) กล่าวโดยสรุปว่า การนิเทศการสอนเป็นกระบวนการที่มุ่งให้
ความช่วยเหลือครูในการปรับปรุงการสอน เพื่อให้เกิดความเจริญงอกงามแก่นักศึกษา และสังคม ซึ่ง
ในปัจจุบันสังคม และเทคโนโลยีได้มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็วและสม่ำเสมอ ประกอบกับมีโรงเรียน
เพิ่มมากขึ้น จึงเป็นสาเหตุประการหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาในเรื่องของความต้องการในสิ่งต่าง ๆ ที่มี
ความแตกต่างกัน การนิเทศการสอนเป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถแก้ปัญหา และสนองความต้องการได้
ในขณะที่มีโรงเรียนเพิ่มมากขึ้น ครูมีจำนวนมากขึ้น ผู้นิเทศก์ที่เป็นศึกษานิเทศก์ก็มีจำนวนไม่เพียงพอ
ต่อจำนวนครู ดังนั้นทางโรงเรียนจึงต้องจัดดำเนินการนิเทศการสอนกันเอง เพื่อให้มีความสอดคล้อง
และทันท่วงทีต่อสภาพปัญหาในสถานการณ์นั้น ๆ โดยนำครูผู้สอนที่มีวุฒิสูงขึ้น มีความรู้และทักษะ
เฉพาะสาขาวิชามาช่วยเหลือ แนะนำซึ่งกันและกัน
สุกานดา ตปนียางกูร (2537 : 6) ได้กล่าวถึงความมุ่งหมายของการนิเทศไว้ดังนี้
1. ช่วยให้ครูเห็นและเข้าใจในวัตถุประสงค์ของการศึกษา
2. ช่วยให้ครูเห็นและเข้าใจในความต้องการ และปัญหาต่าง ๆ ของเยาวชน เพื่อจะได้วัด
สนองความต้องการของเยาวชนอย่างดีที่สุด
3. ช่วยส่งเสริมให้ครูมีลักษณะแห่งความเป็นผู้นำ และมีความรู้ในด้านต่าง ๆ เช่น ปรัชญา
การศึกษา หลักสูตรและการประมวลการสอน การประเมินผล เป็นต้น
4. ช่วยเสริมสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่คณะครู
5. ช่วยเสริมสร้างและนำศักยภาพของครูมาใช้ให้มากที่สุด
6. ช่วยเหลือครูใหม่ให้เข้าใจงานในโรงเรียน เพื่อให้เกิดความมั่นใจยิ่งขึ้นในการปฏิบัติงาน
เพื่อให้ความช่วยเหลือและประสานงานในทางวิชาการแก่กรมเจ้าสังกัด โดยความมุ่งหมาย
ของงานนิเทศการศึกษาตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยศึกษานิเทศก์ กรมอาชีวศึกษา พ.ศ.
2533 กำหนดไว้ว่า
1. เพื่อพัฒนา และควบคุมมาตรฐานทางบริหาร และวิชาการของ สถานศึกษาตามที่กรม
อาชีวศึกษากำหนด
2. เพื่อให้การบริการทางวิชาการแก่สถานศึกษา สังกัดกรมอาชีวศึกษา และหน่วยงานที่
เกี่ยวข้อง
3. เพื่อสำรวจ วิเคราะห์ วิจัย ติดตาม และประเมินผลเพื่อปรับปรุงคุณภาพ และมาตรฐาน
กรมอาชีวศึกษา
12
4. เพื่อพัฒนาหลักสูตร และสื่อการเรียนการสอนให้ได้มาตรฐาน และเอกสารทางวิชาการ
ให้มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับความต้องการและความจำเป็น
5. เพื่อพัฒนาบุคลการในสถานศึกษาให้มีความรู้ ทักษะ และประสบการณ์อันจำเป็นที่จะ
นำไปใช้ในการเรียนการสอน การจัดการศึกษาทั้งให้สามารถแก้ปัญหาเหล่านั้นได้โดยประสานงาน
กับหน่วยงานทางการศึกษาอื่น ๆ ของกรมอาชีวศึกษาเพื่อมิให้ทำงานซ้ำซ้อนกัน
6. เพื่อประสานงานทางวิชาการ จริยธรรม วัฒนธรรม การบริการชุมชนระหว่าง สถาน
ศึกษา กลุ่มสถานศึกษา กรมอาชีวศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนหน่วยงานหรือองค์การ
ระหว่างประเทศ
กิติมา ปรีดีดิลก (2532 : 265) มีความเห็นว่า การนิเทศการศึกษามุ่งที่จะช่วยเหลือ และ
ประสานงานในด้านวิชาการในโรงเรียนเพื่อพัฒนาหลักสูตร ปรับปรุงการเรียนการสอนของครูให้มี
ประสิทธิภาพ ส่งเสริมและรักษาคุณภาพของการศึกษาของโรงเรียน ปรับปรุงและประเมินผลการ
เรียนการสอน ตลอดจนช่วยให้เกิดความงอกงามทางวิชาชีพครู และสร้างความสัมพันธ์อันดีกับชุมชน
สงัด อุทรานันท์ (2530 : 6) ได้สรุปจุดมุ่งหมายของการนิเทศการศึกษาไว้ดังนี้
1) เพื่อพัฒนาคน
2) เพื่อพัฒนางาน
3) เพื่อประสานสัมพันธ์
4) เพื่อสร้างขัวญและกำลังใจ
สรุปว่า การนิเทศการศึกษามีความมุ่งหมาย เพื่อพัฒนาหลักสูตร เพื่อปรับปรุงการเรียนการ
สอนของคร ู เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา รวมทั้งแก้ไข ป้องกันปัญหาทางการศึกษา เพอื่ เสรมิ สรา้ ง
ความเชื่อมั่นและกำลังใจให้แก่ครู และมีความสำคัญและมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้สอน ผู้ซึ่ง
ต้องการปรับปรุง พัฒนาการเรียนการสอนให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม ทั้งนี้เพื่อตอบสนอง
ความต้องการของสังคมได้ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการนิเทศการสอน
1.3 ความจำเป็นของการนิเทศการศึกษา
ได้มีนักการศึกษาและผู้ทรงคุณวุฒิ กล่าวถึงความจำเป็นของการนิเทศการศึกษาไว้ เช่น
ชาญชัย อาจินสมาจาร (2531 : 5) ให้ความเห็นเกี่ยวกับความจำเป็นในการนิเทศการศึกษาไว้
ดังนี้
1. มีความจำเป็นในการให้บริการทางวิชาการแก่ครูจำนวนมาก ที่มีความรู้ความสามารถต่าง
กัน ซึ่งต่างก็ต้องอาศัยความช่วยเหลือกัน
2. การนิเทศการศึกษา มีความจำเป็นต่อความเจริญงอกงามของครูแม้ว่าครูจะได้รับการฝึกฝน
มาแล้วเป็นอย่างดีก็ตาม แต่ครูก็จะต้องปรับปรุงฝึกฝนอยู่เสมอในขณะทำงานในสถานการณ์จริง
13
3. การนิเทศการศึกษา มีความจำเป็นต่อการช่วยเหลือครูในการเตรียมการสอน
4. การนิเทศการศึกษามีความจำเป็นต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมที่มีอยู่ ทำให้เกิดการ
พัฒนา การทางการศึกษา ทางทฤษฎีและทางปฏิบัติ
5. การนิเทศการศึกษา มีความจำเป็นต่อภาวะผู้นำทางวิชาชีพแบบประชาธิปไตย จะได้
ประโยชน์ทางสร้างสรรค์
อุทัย ธรรมเดโช (2531 : 80) ได้กล่าวถึงความจำเป็นของการนิเทศการศึกษาไว้ดังนี้
ปัจจุบัน สภาพแวดล้อมทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมได้มีการเปลี่ยนแปลงไป
อย่างรวดเร็ว ดังนั้นการศึกษาย่อมมีการเปลี่ยนแปลงไปด้วย เช่น การเปลี่ยนแปลงด้านหลักสูตร
เนื้อหาและวิธีการสอน วัสดุอุปกรณ์ (สื่อการสอน) และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ทางการศึกษา เมื่อมีการ
เปลี่ยนแปลงเช่นนี้ ถึงแม้ว่าครูจะมีประสบการณ์ในการสอนมานานปีก็ตาม ถ้าไม่มีความสนใจใฝ่หา
ความรู้และประสบการณ์เพิ่มเติมอยู่เสมอ ก็อาจจะส่งผลให้ประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอน
ต่ำลง ดังนั้นการนิเทศการศึกษาจึงมีความจำเป็น และมีบทบาทอันสำคัญที่จะเป็นตัวแนะนำ กระตุ้น
ให้มีความตื่นตัวให้ทันต่อภาวะการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ นอกจากนี้ยังทำให้ครูรู้ถึงกลวิธีการสอน
เพื่อนำเอาเทคนิควิธีการใหม่ ๆ ไปใช้ปรับปรุงการสอนให้ดีขึ้น และการนิเทศการศึกษายังทำให้
ผู้บริหารได้รู้สภาพการเรียนการสอนว่าเป็นอย่างไร รู้ว่าโรงเรียนหรือครูต้องการอะไร และถ้ามีปัญหา
หรือ อุปสรรคอะไรจะได้หาทางแก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้น
สรุปว่า การนิเทศการศึกษามีความจำเป็นในด้าน การปรับปรุง การพัฒนาการเรียนการสอน
ให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม ทั้งนี้การสอนของผู้สอนจะสนองตอบ หรือสอดคล้องกับความ
ต้องการของสังคมได้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการนิเทศการศึกษา
1.4 หลักการนิเทศการศึกษา
ในการปฏิบัติงานนอกจากจะมีจุดมุ่งหมายแล้ว ยังจะต้องมีหลักการอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อยึด
เป็นแนวปฏิบัติ การนิเทศการศึกษาเป็นงานที่มุ่งพัฒนาความเจริญงอกงามในทุก ๆ ด้าน จึงจำเป็นต้อง
มีหลักการปฏิบัติงานและคำว่าหลักการในที่นี้ หมายถึง การสรุปข้อความโดยทั่วไปซึ่งเป็นที่ยอมรับ
กันในลักษณะของข้อเท็จจริงพื้นฐานหรืออาจจะหมายถึง กฎเกณฑ์พื้นฐาน คำสั่ง นโยบาย หรือความ
เชื่อ ซึ่งควบคุมการกระทำในรูปแบบต่าง ๆ ของมนุษย์ สำหรับเรื่องการศึกษาโดยเฉพาะหลักการน่าจะ
หมายถึงปรัชญา ซึ่งเป็นเครื่องกำหนดและประเมินค่าจุดหมาย ทัศนคติการปฏิบัติและผลิตผล
ยังมีการอ้างคำกล่าวของ เบอตั้น และ บรัคเนอร์ (Burton and Bruckner. 1965) ซึ่งได้กำหนด
หลักการนิเทศการศึกษาไว้ 4 ประการ คือ
1. การนิเทศการศึกษาควรมีความถูกต้องตามหลักวิชา
1.1 การนิเทศการศึกษาควรจะเป็นไปตามค่านิยม วัตถุประสงค์ และนโยบายซึ่งเกี่ยวข้อง
อยู่กับการนั้นโดยเฉพาะ
14
1.2 การนิเทศการศึกษา ควรจะเป็นไปตามความเป็นจริง และตามกฎเกณฑ์ของเรื่อง
นั้น ๆ มีเป้าหมายและนโยบายที่แน่นอน
2. การนิเทศการศึกษาควรจะเป็นวิทยาศาสตร์
2.1 การนิเทศการศึกษา ควรเป็นไปอย่างมีลำดับ มีระเบียบ และวิธีการในการศึกษา
ปรับปรุงและประเมินผลสิ่งต่าง ๆ ภายในขอบเขตของงานนั้นรวมทั้งด้านกระบวนการนิเทศและ
อุปกรณ์ที่ใช้ในการนิเทศ
2.2 การนิเทศการศึกษา ควรได้มาจากการรวบรวมและสรุปผล จากข้อมูลอย่างเป็น
ปรนัยมีความถูกต้องแน่นอนเป็นที่เชื่อถือได้
3. การนิเทศการศึกษา ควรเป็นประชาธิปไตย
การนิเทศการศึกษาจะต้องเคารพในบุคคล และความแตกต่างของแต่ละบุคคล และ
พยายามส่งเสริมการแสดงออกของแต่ละบุคคลอย่างเต็มที่
4. การนิเทศการศึกษา ควรจะเป็นการสร้างสรรค์
4.1 การนิเทศการศึกษาควรจะแสวงหาความสามารถพิเศษของแต่ละบุคคล แล้วเปิด
โอกาสให้ได้แสดงออกและพัฒนาความสามารถนั้นอย่างสูงสุด
4.2 การนิเทศการศึกษา ควรจะมีส่วนในการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม เพื่อ
ให้เกิดความคล่องตัวในการทำงานให้มากที่สุด
จากหลักการนิเทศการศึกษาดังที่กล่าวมาแล้ว พอสรุปได้ว่าหลักการนิเทศการศึกษานั้น ควร
จะตั้งอยู่บนหลักการที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ มีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน มีลักษณะเป็นวิทยาศาสตร์ หรือ
ทำงานเป็นขั้นตอนมีการวางแผนงานอย่างเป็นระบบ มีความเป็นประชาธิปไตย และเปิดโอกาสให้
ทุกคนได้แสดงความสามารถในการสร้างสรรค์ได้อย่างเต็มที่ทั้งด้านความคิดเห็นและการกระทำ ส่ง
เสริมบำรุงขวัญและมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีแก่ผู้ปฏิบัติ
1.5 กระบวนการนิเทศการศึกษา
กิติมา ปรีดีดิลก (2532 : 265) หมายถึง การดำเนินการในการนิเทศให้ได้รับความสำเร็จ และ
มีขั้นตอนของกระบวนการนิเทศการศึกษาดังนี้
1. ขั้นวางแผน ได้แก่ ความคิด การตั้งวัตถุประสงค์ การคาดการณ์ล่างหน้า การกำหนด
ตารางงาน การค้นหาวิธีปฏิบัติงาน และการวางโปรแกรมงาน
2. ขั้นการจัดโครงการ ได้แก่ การตั้งเกณฑ์มาตรฐาน การรวบรวมทรัพยากรที่มีอยู่ทั้งคน
และวัสดุปกรณ์ ความสัมพันธ์แต่ละชั้น การมอบหมายงาน การประสานงาน การกระจายอำนาจตาม
หน้าที่ โครงสร้างขององค์การ และการพัฒนานโยบาย
15
3. ขั้นการนำเข้าสู่การปฏิบัติ ได้แก่ การตัดสินใจ การเลือกสรรบุคคล การจูงใจให้มีกำลังใจ
คิดริเริ่มอะไรใหม่ ๆ การสาธิต และให้คำแนะนำ การสื่อสาร การกระตุ้นส่งเสริมกำลังใจ การแนะนำ
นวัตกรรมใหม่ ๆ และให้ความสะดวกในการทำงาน
4. ขั้นการควบคุม ได้แก่ การสั่งการ การลงโทษ การให้โอกาส การตำหนิ การไล่ออก และ
การบังคับให้กระทำการ
5. ขั้นประเมินผล ได้แก่ การตัดสินการปฏิบัติงาน การวิจัย และการวัดผลการปฏิบัติงาน
สงัด อุทรานันท์ (2530 : 87-91) ได้เสนอแนะไว้โดย 5 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้
ขั้นที่ 1 วางแผนการนิเทศ (Planning-P)
ขั้นที่ 2 ให้ความรู้ความเข้าใจในการทำงาน (Informing-I)
ขั้นที่ 3 ลงมือปฏิบัติงาน (Doing-D)
ขั้นที่ 4 สร้างเสริมกำลังใจ (Reinforcing-R)
ขั้นที่ 5 ประเมินผลการนิเทศ (Evaluating-E)
สรุปว่า กระบวนการการนิเทศการศึกษา เป็นการทำงานอย่างมีแผนโดยเริ่มจากการวิเคราะห์
งานการเรียนการสอนของครู เพื่อจะได้ทราบถึงปัญหา จัดลำดับความสำคัญของปัญหาที่จะต้องรีบ
แก้ไขปรับปรุงก่อนหลัง แล้ววางแผนที่จะดำเนินการโดยหาทางเลือกที่จะแก้ปัญหาที่ดีที่สุด ต่อจาก
นั้นก็ดำเนินการตามลำดับ จนถึงขั้นการประเมินผลการปฏิบัติงาน แล้วจึงนำผลการปฏิบัติไปปรับปรุง
แก้ไขต่อไป
1.6 รูปแบบของการนิเทศการศึกษา
บุญเลิศ ภพลาภ (ม.ป.ป : 24) ได้อธิบายว่า การนิเทศการศึกษาระดับกรมเป็นหน้าที่ของ
ศึกษานิเทศก์ ที่จัดนิเทศผู้บริหารและครู-อาจารย์ในสถานศึกษา แบ่งเป็น 2 แบบคือ การนิเทศโดยตรง
และการนิเทศทางอ้อม เพื่อให้เกิดการนิเทศในสถานศึกษา การนิเทศทั้ง 2 แบบ มีเทคนิควิธีการนิเทศ
ที่เหมาะสมหลายวิธี การนิเทศการศึกษาระดับสถานศึกษาเป็นการนิเทศภายในสถานศึกษา ผู้รับการ
นิเทศ และผู้นิเทศก์อยู่ในสถานศึกษาเดียวกัน ยกเว้นในบางกรณีสถานศึกษาอาจเชิญบุคคลภายนอกมา
เป็นผู้นิเทศก์ก็ได้ รูปแบบการนิเทศเป็นการนิเทศโดยตรง
หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน (2531 : 3) ได้ พิจารณาแบ่ง
ลักษณะของการนิเทศออกเป็น 2 ประการ คือ
1. พิจารณาในแง่ผู้นิเทศก์ แบ่งเป็น 2 แบบ ได้แก่
1.1 การนิเทศทางตรง ผู้นิเทศก์ดำเนินการโดยตรงกับครูไม่ผ่านสื่อนิเทศ เช่น การสังเกต
การสอน และการให้คำปรึกษา เป็นต้น
1.2 การนิเทศทางอ้อม ผู้นิเทศก์ดำเนินการนิเทศโดยผ่านสื่อนิเทศ เช่น การใช้วิทยุ
เอกสาร และเทปบันทึกเสียง เป็นต้น
16
2. พิจารณาในแง่ของผู้รับการนิเทศ แบ่งเป็น 2 แบบ ได้แก่
2.1 การนิเทศเป็นรายบุคคล ผู้รับการนิเทศจะอยู่กับผู้นิเทศก์ทีละคน เช่น การสังเกต
การสอนของครู และการให้คำปรึกษา เป็นต้น
1.2 การนิเทศเป็นกลุ่ม ผู้รับการนิเทศจะอยู่กับผู้นิเทศก์ทีละกลุ่ม เช่นการประชุม
การปฐมนิเทศ และการประชุมเชิงปฏิบัติการ เป็นต้น
สรุปว่า รูปแบบของการนิเทศการศึกษา แบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ คือการนิเทศการศึกษาระดับ
กรม ซึ่งเป็นหน้าที่ของศึกษานิเทศก์ และการนิเทศการศึกษาระดับสถานศึกษา หรือการนิเทศภายใน
สถานศึกษาด้วยกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การนิเทศทางตรง การนิเทศทางอ้อม การนิเทศเป็นรายบุคคล
การนิเทศเป็นกลุ่มชี้แนะให้คำแนะนำ และการให้ความช่วยเหลือแก่ครู ในการปรับปรุงการสอนให้มี
ประสิทธิภาพสูงขึ้น เป็นต้น
2. การนิเทศภายใน
ปัจจุบันงานนิเทศการศึกษามีความสำคัญมากขึ้น เพราะความเปลี่ยนแปลงและความก้าวหน้า
ทางการศึกษา การขยายตัวในด้านจำนวนสถานศึกษาและขนาดของสถานศึกษา ทำให้จำนวนบุคลากร
ในสถานศึกษาเพิ่มมากขึ้นดังนั้นจึงต้องอาศัยวิธีการนิเทศการศึกษาอีกแบบหนึ่ง การนิเทศงานวิชาการ
ภายในสถานศึกษา ซึ่งเป็นวิธีการที่บุคลากรในสถานศึกษาคิดขึ้นเพื่อพัฒนาความรู้ทักษะ ในด้านต่าง
ๆ จึงจำเป็นต้องศึกษา ค้นคว้าให้ทราบในรายละเอียดที่นักการศึกษาได้กล่าวไว้ในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
2.1 ความหมายของการนิเทศภายใน
ได้มีนักการศึกษาให้ความหมายไว้หลายแนวคิดดังนี้
กู๊ด (Good. 1973 : 539) ได้กล่าวว่า การนิเทศภายในคือ ความพยายามทุกชนิดของเจ้าหน้า
ที่ฝ่ายการศึกษาที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่นิเทศการศึกษา ในการแนะนำครู หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับ
การศึกษาให้สามารถปรับปรุงการสอนของตนให้ดีขึ้น ช่วยให้เกิดความเจริญงอกงามในด้านวิชาชีพ
และช่วยพัฒนาความสามารถของครู
จุรี จันทร์เจริญ (2539 :17) ได้กล่าวไว้ว่า การนิเทศภายใน หมายถึง การทำงานร่วมกัน
ของ บุคลากรในโรงเรียน โดยการแนะนำ ช่วยเหลือ สนับสนุนการปฏิบัติงาน เกี่ยวกับการจัดการ
เรียนการสอนของครู และกิจกรรมสนับสนุนต่าง ๆ เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ
ส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงและมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่หลักสูตรกำหนด
จินตนา สวินทร (2536 : 11) กล่าวว่า การนิเทศภายในเป็นการดำเนินงานร่วมกันระหว่าง
บุคลากรทางการศึกษาภายในโรงเรียน โดยเน้นงานวิชาการเป็นหลักเพื่อพัฒนาการสอนของครูให้
ดีขึ้นซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพทางการศึกษาของนักเรียนให้สูงขึ้น
17
จุลมาศ จำปา (2542 : 16) ได้ให้ความหมายการนิเทศภายในว่า หมายถึง กระบวนการทำงาน
ร่วมกันระหว่างผู้บริหารโรงเรียนและคณะครูทุกคนในโรงเรียน ในการพัฒนาการเรียนการสอนให้
เกิดประสิทธิภาพอันจะส่งผลต่อคุณภาพของนักเรียน
วไลรัตน์ บุญสวัสดิ์ (2530 : 1) การนิเทศการภายใน คือการที่ผู้บริหารสถานศึกษา ซึ่งได้แก่
ผู้อำนวยการ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ หัวหน้าคณะวิชา หัวหน้างาน หรือหัวหน้าแผนกวิชาต่าง ๆ โดยความ
ร่วมมือกับคณะครูภายในปรึกษาหารือ เพื่อทำการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล วางแผนการ
ปรับปรุงการเรียนการสอน ซึ่งทางสถานศึกษาอาจเชิญวิทยากรและศึกษานิเทศก์ร่วมมือด้วย
สงัด อุทรานันท์ (2530 : 118) ได้กล่าวว่า การนิเทศภายใน เป็นกระบวนการทำงานของ
ผู้บริหาร เพื่อผู้ที่ได้รับมอบหมายในการพัฒนาคุณภาพการทำงานของบุคลากรในโรงเรียนเพื่อให้ได้
มาซึ่งสัมฤทธิ์ผลสูงสุดในการเรียนของนักเรียน
สรุปว่า การนิเทศภายใน หมายถึง กระบวนการการทำงานร่วมกันของผู้บริหารหรือผู้ที่ได้รับ
มอบหมายหน้าที่แทนและครูผู้สอนภายในโรงเรียนเพื่อหาข้อบกพร่องในการทำงานของแต่ละคนเพื่อ
จะหาทางแก้ไขปรับปรุงให้การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลแก่นักเรียน
มากที่สุด โดยมีการดำเนินการเป็นขั้นตอนเพื่อการพัฒนาในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเรียน
การสอนภายในโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
2.2 ความมุ่งหมายของการนิเทศภายใน
อำภา บุญช่วย (2537 : 111) ได้เสนอความมุ่งหมายของการนิเทศภายในไว้หลายประการ
ดังนี้
1. เพื่อช่วยให้ทราบถึงสภาพปัญหาปัจจุบัน และความต้องการของโรงเรียน เพื่อเป็นข้อมูล
ในการวางแผนพัฒนางานบริหารและงานวิชาการ
2. เพื่อให้ผู้สอนได้จัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนได้ถูกต้อง ตามจุดมุ่งหมายที่วางไว้
3. เพื่อให้ผู้สอนได้ตระหนักถึงปัญหาในการจัดประสบการณ์ ทั้งให้สามารถแก้ปัญหาได้
4. เพื่อสนับสนุน ส่งเสริม และให้กำลังใจแก่ผู้สอน
5. เพื่อมุ่งให้เกิดความร่วมมือ และประสานงานกันเป็นอย่างดีภายในระบบงาน
6. เพื่อควบคุมมาตรฐาน และพัฒนางานด้านการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
วิโรจน์ ศรีโภคา (2536 : 417) ได้เสนอความมุ่งหมายไว้ 4 ประการ ดังนี้
1. เพื่อพัฒนาคน การนิเทศภายในเป็นการให้คำแนะนำ ช่วยเหลือให้คนในองค์การนั้น ๆ มี
ความรู้ ความสามารถในการทำงานให้มากขึ้น
2. เพื่อพัฒนางาน การนิเทศภายในเป็นการสร้างวิธีทำงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
3. เพื่อประสานสัมพันธ์ การนิเทศภายในเป็นการสร้างความร่วมมือ สร้างความเข้าใจในการ
ทำงานร่วมกัน ตลอดจนความเข้าใจระหว่างกลุ่มคนกับสังคมส่วนรวม
18
4. เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจ การนิเทศภายในเป็นการสร้างความมั่นใจ ความสบายใจ และ
มีกำลังใจในการทำงาน
วไลรัตน์ บุญสวัสดิ์ (2530 : 3) กำหนดความมุ่งหมายของ การนิเทศภายใน เพื่อให้ผู้นิเทศ
ได้ยึดเป็นแนวทางในการปฏิบัติที่ถูกต้องไว้ว่า เป็นการช่วยเหลือครูในการพัฒนา ปรับปรุงตนเอง
ส่งเสริมให้มีการปรับปรุงพัฒนาหลักสูตร ให้ครูมีความสนใจในอุปกรณ์การสอน ช่วยครูในการทำ
ความเข้าใจกับเด็กให้ดีขึ้น และช่วยให้ครูประสบความสำเร็จ มีความรู้สึกมั่นคงในอาชีพ
กิติมา ปรีดีดิลก (2532 : 306) กล่าวว่า การนิเทศภายในเมื่อนิเทศแล้วจะต้องได้ผลตามจุด
มุ่งหมายของการนิเทศ ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจของการนิเทศ 4 ประการคือ
1. พัฒนาคน การนิเทศเป็นการให้คำแนะนำช่วยเหลือเมื่อนิเทศแล้วบุคลากรในหน่วยงาน
ได้รับความรู้ และมีความสามารถในการปฏิบัติงานมากยิ่งขึ้น
2. พัฒนางาน การนิเทศเป็นการสร้างสรรค์วิธีการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
3. ประสานสัมพันธ์ การนิเทศเป็นการร่วมมือ สร้างความเข้าใจในการทำงานร่วมกัน
4. การสร้างขวัญและกำลังใจ การนิเทศเป็นการสร้างความมั่นใจ ความสบายใจ และมี
กำลังใจในการทำงาน
จากแนวความคิดที่กล่าวมานี้สรุปได้ว่า ความมุ่งหมายหลักของการนิเทศภายใน คือ มุ่งที่จะ
ช่วยเหลือ และประสานงานในด้านวิชาการภายในโรงเรียน เพื่อพัฒนาหลักสูตร ปรับปรุงการเรียนการ
สอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ส่งเสริมและรักษาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน ประเมินผลการเรียน
การสอน ตลอดจนช่วยให้เกิดความงอกงามทางวิชาชีพครู ฉะนั้นการนิเทศภายในจึงต้องปฏิบัติอย่างมี
ขั้นตอนอาศัยความร่วมมือจากบุคคลหลายฝ่าย เพื่อต้องการจะพัฒนาพฤติกรรมของครูผู้สอน และ
บุคลากรในโรงเรียนให้ทำงานประสบผลสำเร็จ ในด้านการเรียนการสอนและการทำงานอย่างมี
ประสิทธิภาพ
2.3 ความจำเป็นของการนิเทศภายใน
สงัด อุทรานันท์ (2530 : 116-117) ได้เน้นให้เห็นถึงความจำเป็นของการนิเทศภายในไว้ดังนี้
1. ศึกษานิเทศก์โดยตำแหน่งมีจำนวนจำกัด จึงไม่สามารถสนองความต้องการทางการนิเทศ
การศึกษาของโรงเรียนต่าง ๆ ได้อย่างทั่วถึง
2. สภาพปัญหาและความต้องการของโรงเรียนแต่ละแห่งไม่เหมือน กันจึงเป็นการยากที่
ศึกษานิเทศก์ซึ่งอยู่ภายนอกจะรู้สภาพปัญหา และความต้องการที่แท้จริงของโรงเรียนได้ การสนอง
ความต้องการจึงเป็นไปได้ยาก
3. สภาพปัจจุบัน บุคลากรในโรงเรียนส่วนใหญ่มีความรู้ความสามารถเพียงพอ และบางคน
ยังมีความชำนาญในเฉพาะสาขาอีกด้วย จึงควรจะใช้ทรัพยากรเหล่านี้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด และ
ยังเป็นการสร้างการยอมรับซึ่งกันและกันอีกด้วย
19
4. เป็นการสอดคล้องกับปรัชญา หลักการ และวิธีการนิเทศสมัยใหม่ที่สุด ที่ว่าการนิเทศ
สมัยใหม่จะเกิดขึ้นโดยความร่วมมือและช่วยเหลือกันและกัน ไม่ใช่จะต้องมีคนคอยชี้แนะให้ทำงาน
อยู่ตลอดเวลา
กิติมา ปรีดีดิลก (2532 : 306-317) กล่าวว่า การนิเทศภายในเป็นเรื่องที่มีความจำเป็นและ
ต้องจัดให้มีขึ้นภายในโรงเรียน จะช่วยให้เกิดผลดีในการดำเนินงานหลายประการคือ
1. เป็นการช่วยเหลือส่งเสริมกำลังของศึกษานิเทศก์และผู้บริหาร
2. การนิเทศโดยบุคลากรในโรงเรียน ทำให้บรรยากาศในการนิเทศเป็นไปแบบกันเอง
3. สามารถรับรู้ปัญหา และแก้ไขปัญหาได้ตรงจุดกว่าคนภายนอกมานิเทศ
4. สามารถติดตามการปฏิบัติงานหรือผลการนิเทศได้ตลอดเวลา
5. สภาพปัจจุบัน ความเข้าใจเกี่ยวกับการนิเทศการศึกษา และเจตคติหรือท่าทีต่อการนิเทศ
ของบุคคลต่าง ๆ อยู่ในระดับดีขึ้น
สุเทพ เมฆ (2541 : 38-39) ได้กล่าวถึงความจำเป็นของการนิเทศภายในว่า มีความจำเป็น
ต่อการจัดการศึกษาภายในโรงเรียนให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคม เพราะถ้าผู้บริหารและ
ครูไม่ดำเนินการนิเทศเพื่อพัฒนาความรู้ ความสามารถ การปฏิบัติหน้าที่ในการจัดการศึกษาก็ไม่อาจ
ทันต่อการปรับเปลี่ยนของเศรษฐกิจ และสังคมได้ โดยเฉพาะการจัดการศึกษาในยุคปัจจุบันต้อง
ดำเนินการให้นักเรียนสามารถเผชิญกับสถานการณ์ด้านต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปได้ตลอดเวลา เพราะ
ฉะนั้น การนิเทศภายในจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพราะเป็นสิ่งที่สามารถพัฒนาครูผู้สอนให้เกิดการศึกษาและ
พัฒนางานด้านการวิเคราะห์หลักสูตร การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน พัฒนาให้เกิดนวัตกรรม และ
เทคโนโลยีทางการศึกษาขึ้น และยังเป็นการรักษามาตรฐานคุณภาพทางการศึกษา อันเนื่องมาจากครู
ผู้สอนได้รับการพัฒนาด้วยกระบวนการนิเทศอย่างต่อเนื่องจนมีความร ู้ ความสามารถช่วยให้การ
ปฏิบัติหน้าที่มีศักยภาพขึ้นมา
ตลอดจนการนิเทศภายในยังสามารถทำให้ผู้บริหารและครูผู้สอนมีความรู้ในสาขาวิชาการต่าง ๆ เพิ่ม
ขึ้น เพราะต้องศึกษาวิชาการใหม่ ๆ เพื่อนำไปจัดการเรียนการสอนให้ทันกับวิชาการใหม่ ๆ
สรุปว่า การนิเทศภายในมีความจำเป็นต่อการศึกษาเพราะจะเห็นได้ว่า ระบบการศึกษาได้มี
การเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นหลักสูตร เนื้อหาหรือวิธีการสอน ดังนั้นจึงควรให้ครูได้มีการ
ปรับปรุงการเรียนการสอนของตนเองให้เหมาะสมกับความเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา โดยมีการชี้
แนะจากผู้นิเทศก์ในส่วนที่บกพร่อง เพื่อจะได้นำไปปรับปรุง และพัฒนาตนเอง
2.4 หลักการนิเทศภายใน
สงัด อุทรานันท์ (2530 : 120-121) ได้อธิบายถึงหลักการสำคัญสำหรับการจัดการนิเทศภาย
ในไว้ในสภาพรวมว่าการนิเทศภายในจะสำเร็จได้ต้องอาศัยความร่วมมือจาก 3 ฝ่าย ได้แก่ ผู้บริหาร
20
ผู้นิเทศก์ และผู้รับการนิเทศ ซึ่งทุกฝ่ายต้องตระหนักถึงความเข้าใจว่าการนิเทศภายเป็นการพัฒนา
เพื่อนร่วมงานให้มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานสูงขึ้น ต้องยอมรับและให้เกียรติซึ่งกันและ
กัน เข้าใจตรงกันว่า การนิเทศเกิดขึ้นจากความจำเป็นในการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการในการ
ยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน นอกจากนี้ การสร้างเสริมกำลังใจโดยผู้บริหารจะส่งผลต่อ
สัมฤทธิ์ผลของการนิเทศภายในอีกด้วย
สมาน อัศวภูมิ (ม.ป.ป : 3-6) ได้เสนอหลักการที่นำมาใช้กับการนิเทศภายใน ดังนี้
1. ใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ มีการดำเนินงานอย่างมีระบบ วิธีการ และอาศัยข้อมูล
2. เป็นประชาธิปไตย
3. ให้ความสำคัญในความแตกต่างระหว่างบุคคล
4. เริ่มจากสภาพปัญหาปัจจุบัน
5. สร้างความรู้สึกมั่นคง ให้ความเชื่อมั่นในตนเองแก่ครู
6. ตั้งอยู่บนรากฐานของการพัฒนาวิชาชีพมากกว่าความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
7. สร้างบรรยากาศที่เป็นกันเอง รวมทั้งความเข้าใจและความไว้วางใจ
8. เป็นการดำเนินงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน
9. ยึดหลักการสร้างสรรค์และให้อิสระในการปฏิบัติงานภายใน นโยบาย และเป้าหมายของ
โรงเรียน
ไฉน ยังละออ (2540 : 18) ได้กล่าวว่า การนิเทศภายในมีหลักการ คือต้องยึดหลักความ
ถูกต้องตามหลักวิชาการ มีหลักการวางแผนในการดำเนินงานอย่างเป็นลำดับขั้นตอน มุ่งบรรยากาศที่
เป็นกันเองตามหลักประชาธิปไตย ให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานโดยส่งเสริม บำรุงขวัญให้
บุคลากรมีความก้าวหน้าในอาชีพ และเกิดความเชื่อมั่นในการปฏิบัติงาน
หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา (2529 : 4-5) ได้กล่าวถึงการนิเทศภายในว่ามีหลักการที่
ใช้ยึดในการปฏิบัติ 7 ประการดังนี้
1. มีความถูกต้องตามหลักวิชาการ หมายถึง ควรเป็นไปตามวัตถุประสงค์ และนโยบายที่
วางไว้ตลอดถึงสภาพปัญหาที่เป็นอยู่ปัจจุบันควรเป็นไปตามความจริงตามกฏเกณฑ์ที่แน่นอน
2. เป็นวิทยาศาสตร์ หมายถึง การทำงานอย่างมีระบบ มีวิธีการ มีการศึกษาปรับปรุง และ
ประ เมินผล โครงการนิเทศภายในจะเกิดมาจากการวิเคราะห์ การรวบรวมข้อมูลและสรุปผลอย่างมี
ประสิทธิภาพเป็นที่เชื่อถือได้
3. เป็นประชาธิปไตย หมายถึง จะต้องเคารพในความแตกต่างระหว่างบุคคล เน้นความร่วม
มือในการทำงาน และรู้จักใช้ความสามารถในการปฏิบัติงาน เพื่อให้งานนั้นดำเนินไปสู่เป้าหมายที่
ต้องการ
21
4. เป็นการสร้างความเชื่อมั่นในความสามารถของครู และนำไปสู่การเพิ่มพูนประสิทธิภาพ
ในการทำงานของครูให้สูงขึ้น
5. เป็นการสร้างสรรค์ หมายถึง เป็นการแสวงหาความสามารถพิเศษของแต่ละบุคคล แล้ว
เปิดโอกาสให้ได้แสดงออก และพัฒนาความสามารถเหล่านั้นอย่างเต็มที่
6. เป็นการตั้งอยู่บนรากฐานของการพัฒนาวิชาชีพมากกว่าที่จะเป็นความสัมพันธ์ ในแต่ละ
บุคคล
7. มุ่งสร้างบรรยากาศที่เป็นกันเอง การกระตุ้นให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกัน และช่วยให้ครู
เกิดความรู้สึกว่าพบวิธีที่ดีกว่าเดิมในการทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์
สตูปส์ (Stoops. 1978 : 5-6) ได้กำหนดหลักการเบื้องต้นของการนิเทศภายในไว้ดังนี้
1. การนิเทศภายใน ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่รับผิดชอบ
2. การนิเทศภายใน เป็นการปรับปรุง ซึ่งผู้สอนหรือผู้รับการนิเทศเป็นผู้รับใช้บริการ
3. การนิเทศภายใน ต้องสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของครูและโรงเรียน
4. การนิเทศภายใน ควรเป็นการสร้างสรรค์ความคิด เจตคติ และความสัมพันธ์ระหว่าง
ผู้นิเทศก์กับผู้รับการนิเทศ
5. การนิเทศภายใน ควรเน้นให้เห็นความสำคัญของงานวิจัย และจะต้องพยายามหาแนวทาง
ให้ครูผู้เกี่ยวข้องศึกษางานวิจัย และนำมาใช้ให้มากขึ้น
6. การนิเทศภายใน ควรยึดหลักการประเมินผลการนิเทศอย่างต่อเนื่อง ทั้งผู้นิเทศก์และผู้รับ
การนิเทศ
สรุปว่า หลักการนิเทศภายในจะสำเร็จได้ต้องอาศัยความร่วมมือจากทั้ง 3 ฝ่ายได้แก่ ผู้บริหาร
ผู้นิเทศก์ และผู้รับการนิเทศ ซึ่งจะต้องยึดหลักการนิเทศภายใน คือ จะต้องเป็นวิธีการทางวิทยาศาสตร์
เป็นประชาธิปไตย ส่งเสริมความเชื่อมั่นให้แก่ครู อยู่บนรากฐานของการพัฒนาวิชาชีพมากกว่าความ
สัมพันธ์ระหว่างบุคคล มีบรรยากาศเป็นกันเอง ปฏิบัติงานตามนโยบายและเป้าหมายของโรงเรียน
และเพิ่มประสิทธิภาพทางการเรียนการสอน
2.5 ลักษณะการนิเทศภายใน
กลิ๊คแมน (Glickman. 1985 : 254-255) ได้เสนองานนิเทศภายในโรงเรียนไว้ 5 ด้าน คือ
1. การช่วยเหลือครูโดยตรง เป็นงานเกี่ยวกับการสังเกต การให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ครูโดย
ตรงในการปรับปรุงการสอน การช่วยเหลือครูเกี่ยวกับการเรียนการสอนภายในชั้นเรียน
2. การพัฒนาหลักสูตร เป็นงานเกี่ยวกับการพิจารณา ทบทวน และปรับปรุงเนื้อหาสาระใน
บทเรียน การวางแผนการเรียนการสอน การจัดวัสดุอุปกรณ์ในชั้นเรียน
22
3. การฝึกอบรมครูประจำการ เป็นงานบริการเกี่ยวกับการสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้
แก่คณะครูในโรงเรียน เพื่อจัดหาคณะทำงานที่เหมาะสม รวมถึงการให้โอกาสแก่คณะครูในการรับรู้
เกี่ยวกับการลงโทษ การสนับสนุนตามกฎ ระเบียบของโรงเรียน
4. การพัฒนากลุ่ม เป็นงานเกี่ยวกับให้คณะครูได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับการเรียน
การสอนในโรงเรียน การทดสอบความรู้ รวมทั้งทักษะต่าง ๆ เพื่อพัฒนาวิชาชีพครูและการฝึกให้รู้จัก
การทำงานกลุ่มอย่างมีประสิทธิภาพ
5. การวิจัยเชิงปฏิบัติการ เป็นงานเกี่ยวกับการศึกษาเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชั้นเรียนและ
โรงเรียนอย่างเป็นระบบ โดยคณะทำงาน เพื่อนำไปสู่จุดประสงค์ในการเรียนการสอน และการมี
ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของโรงเรียน
สมาน อัศวภูมิ (ม.ป.ป. : 8) ได้แบ่งลักษณะของการนิเทศภายในโรงเรียนออกเป็น
2 ลักษณะ ได้แก่ การนิเทศแบบเป็นทางการ หมายถึง การจัดทำโครงการและแผนปฏิบัติงานไว้
ล่วงหน้าอย่างชัดเจนว่าจะมีการทำอะไร เมื่อไร อย่างไร นับเป็นการดำเนินงานเพื่อแก้ปัญหาทาง
วิชาการที่เกิดขึ้นกับบุคลากรส่วนใหญ่ของโรงเรียน หรือหมวดวิชาโดยส่วนรวม ในการดำเนินงาน
นั้นผู้นิเทศก์ต้องพิจารณาเลือกสรรกิจกรรมการนิเทศที่ตอบสนองความต้องการ ความจำเป็น และ
เป้าหมายในการพัฒนาบุคลากรในแต่ละเรื่อง นำเทคนิคการนิเทศมาบรรจุลงในกิจกรรมที่นำมาใช้ให้
เหมาะสมต่อไป อีกประการหนึ่ง คือ การนิเทศแบบไม่เป็นทางการจะเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ โดยไม่มี
โครงการเป็นการดำเนินงานอย่างกระทันหันตามโอกาส และปัญหาการดำเนินงานนั้นผู้นิเทศก์ต้อง
นึกและเลือกเทคนิคที่เหมาะสมในการดำเนินงานร่วมกับผู้รับการนิเทศในการแก้ปัญหา หรือพัฒนา
ครูในแต่ละด้านให้เหมาะสม
หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน (ม.ป.ป. : 3) ได้พิจารณาแบ่ง
ลักษณะของการนิเทศออกเป็น 2 ประการ คือ
1. พิจารณาในแง่ผู้นิเทศก์ แบ่งเป็น 2 แบบได้แก่
1.1 การนิเทศทางตรง ผู้นิเทศก์ดำเนินการโดยตรงกับครูไม่ผ่านสื่อนิเทศ เช่น การ
สังเกตการสอน และการให้คำปรึกษา เป็นต้น
1.2 การนิเทศทางอ้อม ผู้นิเทศก์ดำเนินการนิเทศโดยผ่านสื่อนิเทศ เช่น การใช้วิทยุ
เอกสาร และเทปบันทึกเสียง เป็นต้น
2. พิจารณาในแง่ของผู้รับการนิเทศ แบ่งเป็น 2 แบบได้แก่
2.1 การนิเทศเป็นรายบุคคล ผู้รับการนิเทศจะอยู่กับผู้นิเทศก์ทีละคน เช่นการสังเกต
การสอนของครู และการให้คำปรึกษา เป็นต้น
2.2 การนิเทศเป็นกลุ่ม ผู้รับการนิเทศจะอยู่กับผู้นิเทศก์ทีละกลุ่ม เช่น การประชุม
การปฐมนิเทศ และการประชุมเชิงปฏิบัติการ เป็นต้น
23
สรุปว่า รูปแบบของการนิเทศการศึกษา แบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ คือ การนิเทศการศึกษาระดับ
กรม ซึ่งเป็นหน้าที่ของศึกษานิเทศก์ และการนิเทศการศึกษาระดับสถานศึกษา หรือการนิเทศภายใน
สถานศึกษาด้วยกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การนิเทศทางตรง การนิเทศทางอ้อม การนิเทศเป็นรายบุคคล
การนิเทศเป็นกลุ่มชี้แนะให้คำแนะนำ และการให้ความช่วยเหลือแก่ครูในการปรับปรุงการสอนให้มี
ประสิทธิภาพสูงขึ้น เป็นต้น
2.6 กิจกรรมการนิเทศภายใน
แฮร์ริส (Harris. 1975 : 70-80) กล่าวว่ากิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งเป็นยุทธวิธีที่สำคัญต่อการนิเทศ
เพื่อการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการสอนของผู้สอนได้ดังนี้ 1)การบรรยาย เป็นกิจกรรมที่ใช้
อย่างกว้างขวาง ใช้สำหรับการถ่ายทอดความรู้ให้แก่สมาชิกทั้งที่เป็นกลุ่มเล็กและกลุ่มใหญ่ 2)การใช้
สื่อประกอบการบรรยาย เป็นวิธีการหนึ่งที่ใช้โสตทัศนูปกรณ์ต่าง ๆ มาช่วยให้การบรรยายดีขึ้น เพราะ
จะช่วยให้ครูผู้สอนได้รับประสบการณ์ด้านการสอนสูงขึ้น 3)การสังเกตการสอนในชั้นเรียน เป็นการ
สังเกตการสอนที่มีระบบ ผู้สังเกตควรมีการบันทึกข้อมูลเหตุการณ์ต่าง ๆ ในชั้นเรียน เพื่อนำข้อมูลมา
วิเคราะห์ข้อดี และข้อบกพร่องแล้วร่วมกันพิจารณาปรับปรุงแก้ไข 4)การเยี่ยมเยียน และการสาธิต
เป็นกิจกรรมที่มีการกระทำเช่นเดียวกับการสังเกตการสอนในชั้นเรียน 5)การใช้เครื่องมือการทดสอบ
เป็นกิจกรรมที่ใช้แบบสอบถาม แบบสำรวจ แบบแสดงความคิดเห็น เพื่อให้ได้ข้อมูลในสถานการณ์
ต่าง ๆ
อาคม จันทสุนทร (ม.ป.ป. : 42) กล่าวว่า ผู้นิเทศก์งานวิชาการภายในโรงเรียน จำเป็นต้อง
เลือกกิจกรรมที่ดีและเหมาะสมสำหรับผู้รับการนิเทศ เพื่อให้ผู้รับการนิเทศได้มีแนวคิด และสามารถ
พัฒนากระบวนการเรียนการสอนได้เต็มความสามารถ การวางแผนงานิเทศจะต้องเป็นกระบวนการที่
ผสมผสาน ระหว่างจุดประสงค์ในการจัดประสบการณ์ที่ต้องการ และจำนวนบุคลากรในกลุ่มกับ
กิจกรรมที่จัดให้กลมกลืนกันมากที่สุด สิ่งที่ยังจำเป็นต้องคำนึงถึงการกำหนดทรัพยากรและเวลาการ
จัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของแต่ละโรงเรียน จึงจะบรรลุเป้าหมายของกิจกรรมการ
นิเทศตามที่กำหนด
สงัด อุทรานันท์ (2530 : 125-131) กล่าวว่า การจัดการนิเทศภายในสามารถดำเนินการได้
อย่างเป็นขั้นตอน 5 ขั้น ดังนี้
ขั้นที่ 1 การวางแผนการนิเทศ เริ่มจากการรับรู้สภาพปัจจุบัน ปัญหา ความต้องการร่วมกัน
ของบุคลากรภายในโรงเรียน จากนั้นก็นำเอาปัญหามาวิเคราะห์หาสาเหตุกำหนดจุดประสงค์ กำหนด
ทางเลือกในการแก้ปัญหาและมอบหมายงานให้บุคลากรฝ่ายต่าง ๆ รับผิดชอบ
ขั้นที่ 2 การให้ความรู้ก่อนดำเนินการนิเทศ อาจดำเนินการโดยบุคลากรภายในโรงเรียนที่
มีความรู้ในเรื่องนั้น ๆ หรืออาจจะเชิญวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานภายนอก
24
ขั้นที่ 3 ดำเนินการปฏิบัติงานนิเทศการศึกษา ในขณะที่ผู้รับการนิเทศได้ลงมือปฏิบัติงาน
ตามที่ได้รับความรู้มาแล้ว ผู้นิเทศก์ก็จะทำหน้าที่นิเทศการปฏิบัติงานตามหน้าที่ของตนส่วนผู้บริหาร
ก็จะคอยสนับสนุนการปฏิบัติงานนิเทศให้มีประสิทธิภาพ
ขั้นที่ 4 การสร้างเสริมกำลังใจให้แก่ผู้ปฏิบัติงานนิเทศ ผู้มีบทบาทสำคัญในการสร้างเสริม
กำลังใจ คือ ผู้นิเทศก์จะทำการสร้างเสริมกำลังใจแก่ผู้รับการนิเทศ และอีกผู้หนึ่งคือ ผู้บริหารซึ่ง
จะต้องสร้างกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงานนิเทศทั้งผู้ให้และผู้รับ
ขั้นที่ 5 การประเมินผลการนิเทศ การดำเนินการประเมินผลผลิต กระบวนการและปัจจัย
ป้อนเข้า โดยให้ความสำคัญมากที่สุดในผลผลิต กระบวนการทำงาน และปัจจัยป้อนเข้าตามลำดับ
อาคม จันทสุนทร. (ม.ป.ป.. : 42-43) กล่าวว่า กิจกรรมการนิเทศมีดังต่อไปนี้ การบรรยาย
การบรรยายโดยใช้สื่อประกอบ การประชุมกลุ่ม การดูภาพยนตร์หรือโทรทัศน์ การฟังเทป วิทยุ
หรือเครื่องบันทึกเสียง การจัดนิทรรศการ อุปกรณ์ และสื่อต่าง ๆ การสังเกตการสอนในชั้นเรียนการ
สาธิต การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง การสัมภาษณ์ทางอ้อม การอภิปราย การอ่าน การวิเคราะห์
และการคาดคะเน การระดมสมอง การบันทึกวีดีทัศน์และการถ่ายภาพ การใช้เครื่องมือทดสอบ
การประชุม ทัศนศึกษา การเยี่ยมเยือน การแสดงบทบาทสมมติ การเขียน การฝึกปฏิบัติจริง
สรุปว่าการนิเทศภายในโรงเรียนต้องมีลักษณะเป็นกระบวนการที่เริ่มจากการสำรวจหรือ
ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการของโรงเรียนครู และนักเรียนมีสภาพเป็นอย่างไรบ้าง
เพื่อให้ข้อมูลประกอบการวางแผนและตัดสินใจกำหนดทางเลือก จากนั้นก็หาวิธีที่จะนิเทศที่ดีมาใช้ได้
ตรงกับสภาพปัญหา การสร้างสื่อและเครื่องมือที่จะใช้นิเทศการปฏิบัติการนิเทศอย่างถูกต้อง และ
ต่อเนื่อง ติดตามผลโดยตรง ในชั้นสุดท้ายสามารถประเมินผลการปฏิบัติงานและสรุปผลที่เกิดว่า
สำเร็จหรือมีปัญหาอย่างไรหรือไม่
2.7 ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการนิเทศภายใน
หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา (2530 : 3) ได้อธิบายไว้ว่า ผู้เกี่ยวข้องการนิเทศงาน
วิชาการภายในโรงเรียน หมายถึง บุคลากรที่อยู่ภายในโรงเรียน เช่นผู้บริหารโรงเรียน ผู้ช่วยฝ่าย
วิชาการ หัวหน้าหมวดวิชาต่าง ๆ รวมไปถึงครูผู้สอนที่มีความรู้ความสามารถ ความชำนาญและ
ประสบการณ์ในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งที่โรงเรียนให้คัดเลือกหรือแต่งตั้ง เพื่อทำหน้าที่ช่วยเหลือครู
ในการพัฒนาการสอนให้ดีขึ้น ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 3 ลักษณะ ดังนี้
1. ผู้ให้การนิเทศ หมายถึง ผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาวิชาที่มีความสามารถพัฒนา ความรู้เกี่ยว
กับการเรียนการสอนให้แก่ครู
2. ผู้รับการนิเทศ หมายถึง ครูในโรงเรียนซึ่งรวมทั้งครูปฏิบัติการสอน ครูสนับสนุนการ
สอน และครูที่ปฏิบัติงานบริหารธุรการทุกคน
25
3. ผู้สนับสนุนการนิเทศ หมายถึง หัวหน้าสถานศึกษา และบุคลากรภายนอก เช่น
ศึกษานิเทศก์ กลุ่มโรงเรียน สำนักงานศึกษานิเทศจังหวัด และแหล่งวิทยากร
2.8 บทบาทและหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้องในการนิเทศภายใน
ในการจัดการนิเทศการศึกษาภายในโรงเรียนจะประสบผลสำเร็จได้นั้น ต้องอาศัยความ
ร่วมมือจากบุคลากรหลายฝ่าย คือ ผู้บริหารโรงเรียน ผู้ช่วยผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าหมวดวิชา และ
ครู - อาจารย์ ซึ่งบุคลากรดังกล่าวควรมีบทบาทเป็นผู้สนับสนุนการนิเทศ ผู้ให้การนิเทศและ ผู้รับ
การนิเทศ ตามลำดับ
จากการสัมมนาของนิสิตปริญญาโท สาขาวิชานิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตรปีการศึกษา
2527 ได้กล่าวถึงบทบาทและหน้าที่ของบุคคลดังกล่าวได้ดังต่อไปนี้
ผู้บริหาร ในฐานะหัวหน้าสถานศึกษามีหน้าที่และบทบาท ดังนี้
1. ส่งเสริมให้ครูมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการนิเทศการศึกษาภายในโรงเรียนอย่างแท้จริง
2. เป็นผู้ประสานงานระหว่างผู้นิเทศก์ภายในโรงเรียนกับครู
3. เป็นผู้ให้การสนับสนุนทั้งด้านงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์
4. ติดตามและประเมินผลการจัดการนิเทศการศึกษาภายในโรงเรียน
5. เป็นผู้นิเทศก์ภายในโรงเรียน
6. ให้คำแนะนำและให้คำปรึกษาแก่ผู้นิเทศก์ภายในโรงเรียนและครู
7. ร่วมประชุมวางแผนการจัดการนิเทศภายในโรงเรียนกับผู้นิเทศก์ภายในโรงเรียนและครู
ผู้นิเทศก์ภายใน ประกอบด้วย ผู้บริหาร ผู้ช่วยผู้บริหาร หัวหน้าหมวด และครูอื่นที่มีความรู้
ความสามารถ มีประสบการณ์ ซึ่งผู้บริหารแต่งตั้งบุคลากรดังกล่าวมีบทบาทเป็นผู้นิเทศก์ภายในซึ่ง
ทำหน้าที่ดังต่อไปนี้
1. ให้คำปรึกษาแก่ครูผู้สอนเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และการจัดทำ
สื่อการสอน
2. นิเทศติดตามผลการปฏิบัติงานของครู
3. ส่งเสริมให้ครูศึกษา และทำความเข้าใจหลักสูตรให้ถ่องแท้ เพื่อที่ครูจะได้จัดกิจกรรม
การเรียนการสอนได้ตรงจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
4. เผยแพร่ความรู้ทางวิชาและเทคโนโลยีทางการศึกษาให้แก่ครูอยู่เสมอ
5. กระตุ้นให้ครูมีความตื่นตัวอยู่เสมอในด้านวิชาการ เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนให้ดี
ยิ่งขึ้น
6. ประสานงานเพื่อให้เกิดความร่วมมือทางด้านวิชาการระหว่างหมวดวิชาต่าง ๆ ภายใน
โรงเรียน
7. ประสานงานกับคณะกรรมการนิเทศของกลุ่มโรงเรียน
26
8. ร่วมประชุมวางแผนกับคณะครูในโรงเรียน เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของ
โรงเรียน
ครู-อาจารย์ ในฐานะผู้รับการนิเทศจึงมีบทบาทสำคัญต่อการจัดการนิเทศภายในโรงเรียนเป็น
อย่างยิ่ง การนิเทศการศึกษาภายในโรงเรียนจะไม่ประสบความสำเร็จ ถ้าผู้รับการนิเทศไม่รู้บทบาท
หน้าที่ของตนเอง
2.9 บทบาทและหน้าที่ของผู้รับการนิเทศภายใน
1. ยอมรับบทบาทของผู้นิเทศก์ โดยรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ให้ความเชื่อถือ
มีเหตุผลเพียงพอ ไม่ยึดถือแต่ความเชื่อของตนเองเป็นใหญ่
2. ร่วมปรึกษากับผู้บริหารและผู้นิเทศก์งานภายใน ในเรื่องของการเลือกปัญหาทางการ
จัดการศึกษาภายในโรงเรียน โดยแสดงความคิดเห็นและอภิปรายในเรื่องดังกล่าวอย่างเต็มที่
3. ปฏิบัติงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายด้วยความจริงจัง
4. ให้ความร่วมมือกับผู้นิเทศก์เป็นอย่างดีในการติดตามประเมินผลและการปฏิบัติงาน
5. เมื่อพบปัญหาในการปฏิบัติงาน ควรร่วมปรึกษากับครูอื่น ๆ และผู้นิเทศก์ เพื่อหาทาง
แก้ไข (นิสิตปริญญาโท สาขานิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร. 2527 : 37-38)
ดังนั้น ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการนิเทศงานวิชาการภายในโรงเรียนไม่ว่าจะเป็นผู้ให้การนิเทศ
ผู้รับการนิเทศ และผู้สนับสนุนการนิเทศต่างก็มีหน้าที่และบทบาท และจำเป็นต้องศึกษาและฝึกฝน
เพื่อจะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานด้านการนิเทศภายในโรงเรียนให้ได้ผลดียิ่งขึ้น และผู้เกี่ยวข้อง
ในทุกหน้าที่ต้องรับผิดชอบงานตามความสามารถเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของโรงเรียน
2.10 ความรู้และทักษะของผู้นิเทศก์ภายใน
ในการนิเทศภายในสถานศึกษา บุคคลผู้ทำหน้าที่นิเทศควรจะมีคุณสมบัติพิเศษแตกต่างจาก
บุคคลอื่น โดยคุณสมบัติของผู้ทำหน้าที่นิเทศภายในสถานศึกษาควรมีดังนี้
1. มีความรู้ และมีความเข้าใจตัวนักเรียนและนักศึกษาเป็นอย่างดี
2. มีความรู้ และมีความเข้าใจวิธีให้ความรู้แก่นักเรียนและนักศึกษาเป็นอย่างดี
3. มีความรู้ และมีความเข้าใจสภาพสังคมของสถานศึกษา ครู นักเรียนและนักศึกษาที่ตน
รับหน้าที่ไปนิเทศเป็นอย่างดี
4. มีความรับผิดชอบต่องานนิเทศการศึกษา ซึ่งมีความมุ่งหมายสำคัญที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้
อย่างกว้างขวาง และอย่างถ่องแท้ในหมู่นักเรียนและนักศึกษา
5. ใช้วิธีนิเทศด้วยเหตุผล และสติปัญญาที่ปฏิบัติจริงได้ และผู้ทำการนิเทศยังควรเป็นผู้ที่
มีลักษณะตามแนวความคิดของบุคคลต่าง ๆ คือ ทักษะความเป็นผู้นำ ทักษะในด้านมนุษย์สัมพันธ์
ทักษะในด้านกระบวนการหมู่พวก และทักษะในด้านการประเมินผล
27
นอกจากนั้น ผู้ทำหน้าที่เป็นผู้นิเทศก์ควรเป็นผู้มีความรู้ความสามารถในเชิงวิชาการสูง ความ
เข้าใจในพฤติกรรมมนุษย์ พฤติกรรมองค์การ และมีมนุษยสัมพันธ์ ดังนั้นผู้นิเทศก์จึงควรเป็นผู้ที่มี
ทักษะ 4 ประการ ได้แก่ ทักษะเชิงธุรการ ทักษะเชิงวิชาการ ทักษะเชิงมนุษย์ และทักษะเชิงบริหาร
(หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา, 2530)
ทักษะเชิงธุรการ ผู้นิเทศก์ภายในจะต้องเก่งงานจัดการทางธุรการเป็นพื้นฐานไว้ก่อนงาน
ธุรการคือ การทำทุกสิ่งให้มีความถูกต้อง รัดกุม ถูกแบบแผน มีหลักฐานทำแล้วมีระเบียบ เช่น จะจัด
อบรมก็ต้องรู้จัก จัดพิมพ์โครงการ การบันทึกเสนอขออนุญาต ผู้บังคับบัญชาให้จัดดำเนินการเป็น
หลักฐานถูกต้อง เป็นไปตามขั้นตอน การแต่งตั้งคนปฏิบัติงานก็ต้องจัดทำคำสั่งให้ถูกต้องตามระเบียบ
งานสารบรรณการทำหนังสือราชการเชิญคนเป็นวิทยากรการแจ้งผู้เข้าอบรมการเบิกจ่ายเงิน การเขียน
รายงานผล สิ่งเหล่านี้เป็นงานธุรการซึ่งเป็นพื้นฐานทำให้การทำงานเกิดความรัดกุมถูกต้องและมี
ระเบียบ คนซึ่งเป็นผู้นิเทศก์จึงต้องเรียนรู้และสร้างทักษะพวกนี้ ให้เกิดขึ้นในตนถึงแม้ว่าทักษะเชิง
ธุรการจะไม่ใช่ทักษะที่ส่งผลต่อเนื้องาน แต่ก็มีความสำคัญและการเรียนรู้ทักษะนี้ก็ไม่ใช่เรื่องยากนัก
ไม่ต้องใช้ความคิดมากเพียงแต่ทำตามระเบียบแบบแผนที่มีอยู่บ่อย ๆ ก็จะเก่งไปเอง นอกจากทักษะ
ด้านงานหนังสือราชการตามระเบียบแล้ว ยังหมายถึง งานธุรการที่เกี่ยวกับการจัดพิมพ์ อัดสำเนา การ
ทำเอกสาร การใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ ในงานธุรการ รวมทั้งความคล่องตัวที่จะรู้ในขั้นตอน
การปฏิบัติตามระเบียบแบบแผน เช่น รู้ว่าการพาครูหรือนักเรียนไปศึกษาดูงานนอกสถานศึกษาจะทำ
อย่างไรบ้าง การจัดอบรมจะทำอย่างไร มีงานและขั้นตอนอะไรบ้าง การดำเนินการเพื่อให้มาซึ่งวัสดุ
อุปกรณ์ของหมวดจะต้องทำอย่างไรบ้าง เป็นต้น ผู้นิเทศก์ซึ่งมีทักษะด้านนี้จึงนับว่าเป็นผู้มีความ
สามารถที่จะทำงานได้รัดกุมมีระเบียบแบบแผนและจะทำให้งานคล่องตัวขึ้น
ทักษะเชิงวิชาการ ได้แก่ ความเก่ง ความสามารถในเรื่องที่จะให้ครูจัดการเรียนการสอนหรือ
นักเรียนให้รับการศึกษาให้เป็นไปตามหลักสูตร ผู้นิเทศก์จึงต้องมีความสามารถที่จะจัดการในเรื่อง
ของหลักสูตร คู่มือครู แผนการสอน แบบเรียนอุปกรณ์เครื่องมือและสื่อการเรียนการสอน รวมทั้งเรื่อง
ของเนื้อหาวิชาและการประเมินผลผู้มีทักษะจะต้องเป็นผู้ที่
1. มีความรอบรู้และความเข้าใจอย่างถ่องแท้ลึกซึ้งในเรื่องนี้
2. จัดดำเนินการในเรื่องเหล่านี้ได้คล่องตัวและถูกต้อง
ดังนั้น ผู้นิเทศก์จึงต้องเรียนรู้และฝึกฝนเรื่องเหล่านี้ให้มาก เพราะเป็นเนื้องานนิเทศโดยตรง
ผู้นิเทศก์จะต้องมีความสามารถในวงกว้างและครอบคลุมงานวิชาการดังกล่าวแล้ว
ทักษะเชิงมนุษย์ คือ ความสามารถที่ผู้นิเทศก์จะทำตนเองให้เป็นคนดี คนน่านับถือและ
ศรัทธาคนที่บุคลิกภาพส่วนตัวดี และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี เป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพ จูงใจคนให้
ทำงานได้ผล มีมนุษยสัมพันธ์ การทำงานกลุ่ม หรือสามารถทำให้คนใช้ศักยภาพการทำงาน จนเกิด
ประโยชน์สูงสุด รวมทั้งทำบรรยากาศของการทำงานร่วมกันของบุคคลในหน่วยงานเป็นไปในทางที่
28
น่าชื่นชมยินดี คนร่วมมือร่วมใจกันทำงานดี เราอาจจำแนกเป็น ทักษะในการเป็นผู้นำ ทักษะในด้าน
มนุษยสัมพันธ์ ทักษะในการจูงใจ ทักษะในการทำงานกลุ่ม ทักษะในการสื่อข้อความ
ผู้นิเทศก์ที่มีทักษะเชิงมนุษย์จะสามารถในการนำบุคลากรผู้รับการนิเทศให้ทำงานได้ผล และ
บรรยากาศการทำงานหรือกระบวนการทำงานก็เป็นไปในทางบวกน่ายินดี และร่วมมือร่วมใจกัน
ทักษะในด้านนี้นับว่าสำคัญมาก และฝึกฝนสร้างสรรค์เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ทั้งในด้านความรู้สึก จิตใจ
และบุคลิกภาพต้องเกิดแนวการปรับตัวและปรับพฤติกรรมให้ได้ผลซึ่งยากกว่าการเรียนรู้ในทักษะเชิง
ธุรการและวิชาการที่ได้กล่าวมาแล้ว
ทักษะเชิงบริหาร คือ ความสามารถที่จะดำเนินการในหน่วยงานของตน ในลักษณะกว้าง
ครอบคลุม และมีระบบ คือ ความสามารถที่จะจัดระบบหน่วยงานที่ผู้นิเทศก์รับผิดชอบนิเทศอยู่นั้นให้
ดีดำเนินงานของหน่วยงานไปอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น หัวหน้าคณะวิชาบริหารคณะวิชาของตนให้
ได้ผลดีทักษะเชิงบริหาร ประกอบด้วยความสามารถในด้านต่าง ๆ คือ
1. ความสามารถในการวางแผน มองภาพรวมของงานที่จะปฏิบัติล่างหน้าอย่างมีระบบรัดกุม
2. ความสามารถในการจัดองค์การ คือ สามารถจัดสายปฏิบัติงานในหน่วยงาน ของตนได้
เหมาะสม จัดคนเข้าทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดแบ่งงาน กำหนดหน้าที่ความสัมพันธ์ในงาน
ต่าง ๆ เป็นไปได้ดี
3. ความสามารถในการประสานงานและอำนวยการคือ การจัดให้คนในองค์การดำเนินงาน
ตามหน้าที่และแผนงานอย่างได้ผล
4. ความสามารถในการประเมิน ติดตามผลงานของหน่วยงานว่า เป็นไปตามวัตถุประสงค์
และแผนงานหรือไม่เพียงใด
ผู้นิเทศก์ซึ่งมีทักษะในด้านนี้ จะสามารถทำให้หน่วยงาน และองค์การที่ตนเองเป็นผู้นิเทศก์
นั้นทำงานได้ดี และทำให้มองภาพการทำงานที่มีระบบ เห็นงานครอบคลุมและดำเนินงานอย่างมี
หลักการได้ผลชัดเจน
สรุปว่าความรู้และทักษะของผู้นิเทศก์ นับว่าเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่จะส่งผลให้ผู้รับการ
นิเทศให้ความร่วมมือร่วมใจ เชื่อถือศรัทธา และนำข้อนิเทศไปปฏิบัติให้เกิดผลตามความมุ่งหมาย
อย่างมีประสิทธิภาพ
2.11 ขอบเขตของงานนิเทศภายใน
แฮร์ริส (Harris. 1975 : 13-14) เสนอขอบเขตของการนิเทศภายในไว้ดังนี้
1. การพัฒนาหลักสูตร เป็นงานเกี่ยวกับการออกแบบหลักสูตรหรือ ปรับปรุงหลักสูตรที่
จะนำมาสอนให้เหมาะสมโดยคำนึงถึงบุคลากร การจัดทำมาตรฐานทางวิชาการ การพัฒนาแผนการ
สอนและบทเรียน การจัดหาเอกสารและบรรจุหน่วยกิตวิชาต่าง ๆ
29
2. การจัดระบบการสอน เป็นการการวางแผน วิธีการสอน การจัดระบบการเรียนการสอน
ให้เหมาะสมกับการนำหลักสูตรไปใช้ การแบ่งกลุ่มนักเรียน การจัดตารางสอน
3. การคัดเลือกบุคลากรผู้สอน เป็นการเลือกสรรครูผู้สอนให้เหมาะกับรายวิชา การสรรหา
การคัดเลือก และการเก็บทะเบียนเกี่ยวกับตัวบุคลากร
4. การจัดสิ่งอำนวยความสะดวก เช่นการออกแบบ และจัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกให้
แก่ผู้สอน ระบบการติดต่อสื่อสาร การจัดวางแผนอาคารเรียนที่ถูกต้อง
5. การจัดวัสดุอุปกรณ์การสอน การตรวจและเลือกวัสดุ / อุปกรณ์ที่จะนำไปใช้ให้เพียงพอ
ส่งเสริมการผลิตอุปกรณ์ และสื่อการสอน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนการสอน
6. การจัดอบรมครูประจำการ เป็นการจัดกิจกรรมเพื่อเพิ่มพูนความรู้ การจัดอบรมสัมมนา
ทางวิชาการ ส่งเสริมความก้าวหน้าเพื่อประสิทธิภาพทางด้านวิชาการ
7. การปฐมนิเทศครูใหม่ การให้ความรู้และให้คำปรึกษา เพื่อให้เข้าใจในสิ่งที่จำเป็นต่อ
การปฏิบัติงาน จัดอบรมสัมมนาทางวิชาการเพื่อลดอุปสรรคและสามารถทำงานให้ได้ผลสำเร็จ
8. การจัดบริการด้านอื่น ๆ การสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน การจัดบริการพิเศษเกี่ยว
กับการสอนรวมทั้งบริการต่าง ๆ จัดให้มีการแลกเปลี่ยนข่าวสารและเผยแพร่ผลงาน
9. การสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน การแจ้งข่าวความเคลื่อนไหวทางการศึกษาให้ชุมชน
ทราบ แสวงหาความช่วยเหลือจากชุมชน ตลอดจนการเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างสถานศึกษา
กับชุมชน
10. การประเมินผล การวางแผนจัดระบบผลการปฏิบัติงาน ความก้าวหน้าทางการเรียน
การสอน การประเมินผลงานโดยการนิเทศการศึกษาภายในและการรายงานผลการดำเนินงานทั้ง
หมดของสถานศึกษา
สงัด อุทรานันท์ (2530 : 34-35) กล่าวว่า งานบริหารการศึกษามีเป้าหมายที่สำคัญอยู่ที่
คุณภาพของนักเรียนซึ่งเป็นผลผลิตของการจัดการศึกษา เพื่อให้ได้มาซึ่งผลผลิตที่มีคุณภาพนั้น
ผู้บริหารจำเป็นจะต้องมีงาน 2 อย่าง คือ งานบริหารและงานนิเทศสำหรับงานนิเทศนั้นยังจำแนกออก
เป็น 2 ลักษณะ คือ งานนิเทศทั่วไป ได้แก่ งานที่เป็นการพัฒนาบุคลากรให้มีความสามารถในการ
ปฏิบัติงานต่าง ๆ ที่ไม่ใช่การเรียนการสอน เช่น การพัฒนาบุคลากรให้มีความสามารถในการจัดห้อง
วิชาการ การพัฒนาบุคลากรให้มีความสามารถในการให้บริการนักเรียน ความสามารถในการทำงาน
ร่วมกับชุมชน ฯลฯ เป็นต้น และงานนิเทศการสอน เป็นการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถ
เกี่ยวกับหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน การใช้สื่อและนวัตกรรมทางการศึกษา การวัดและ
ประเมินผล ซึ่งงานเหล่านี้จะเกี่ยวข้องกับการสอนอันเป็นงานหลักของโรงเรียนนั่นเอง
30
จากแนวคิดของนักการศึกษาที่ได้ให้ขอบเขตของการนิเทศภายในไว้ พอจะสรุปเป็นตารางได้
ดังนี้
ตารางที่ 1 สรุปแนวคิดขอบเขตของการนิเทศภายใน
ลำดับ ขอบเขตการนิเทศภายใน
สงัด
อุทรานันท์
กิติมา
ปรีดีดิลก
แฮร์ริส
(Harris)
กลิ๊คแมน
(Glickman)
1 ด้านหลักสูตร
2 ด้านการเรียนการสอน
3 ด้านสื่อการเรียนการสอน
4 ด้านการพัฒนาบุคลากร
5 ด้านการวัดและประเมินผล
จากขอบเขตของงานนิเทศภายในตามที่นักการศึกษาหลายท่านได้กล่าวถึง และสภาพปัญหา
เกี่ยวกับคุณภาพด้านอาชีวศึกษาศึกษา ของกรมอาชีวศึกษา ผู้วิจัยจึงได้กำหนดขอบเขตของงานนิเทศ
ภายใน เพื่อศึกษาสภาพและความต้องการการนิเทศภายใน ด้านวิชาการของครูช่างอุตสาหกรรม ใน
วิทยาลัยเทคนิค ของสถาบันอาชีวศึกษาภาคกลาง 6 โดยแบ่งออกเป็น 5 ด้าน ได้แก่ ด้านหลักสูตร ด้าน
การเรียนการสอน ด้านสื่อการเรียนการสอน ด้านการพัฒนาบุคลากร และด้านการวัดและประเมินผล
2.11.1 งานหลักสูตร
ความหมายของหลักสูตร
กู๊ด (Good. 1973 : 157) ได้ให้ความหมายของหลักสูตรไว้ 3 นัย ดังนี้
1. หลักสูตร หมายถึง หัวข้อวิชาการต่าง ๆ ที่จัดหมวดหมู่เรียงลำดับจากง่ายไปหายาก
ให้เหมาะสมกับระดับความเจริญงอกงามและสติปัญญาของเด็ก
2. หลักสูตร หมายถึง ประสบการณ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับการศึกษา
3. หลักสูตร หมายถึง เค้าโครงการศึกษาที่ทางโรงเรียนวางไว้อย่างกว้าง ๆ เพื่อจัดสอนให้
เด็กในแต่ละขั้นแต่ละตอน
กิติมา ปรีดีดิลก (2532 : 60) ได้กล่าวว่า หลักสูตรหมายถึง เอกสารที่กำหนดโครงการ
ศึกษาของผู้สอน โดยกำหนดความมุ่งหมายของการศึกษาเนื้อหาของความรู้และประสบการณ์ ที่จะจัด
ให้กับผู้เรียน กระบวนการเรียนการสอน และการประเมินผล
เปรื่อง กิจรัตนี (2536 : 13) ได้กล่าวว่า หลักสูตรมีความสำคัญอย่างยิ่งในการจัดการศึกษา
เพราะหลักสูตรจัดเป็นแนวทางและเกณฑ์มาตรฐานในการจัดการศึกษา เป็นแนวทางและเป็นแผนการ
31
ปฏิบัติงานของครูผู้สอนและผู้บริหาร เพราะหลักสูตรจะระบุจุดมุ่งหมาย เนื้อหาสาระ เวลาเรียน และ
การประเมินผลไว้เป็นแนวทางกว้าง ๆ อยู่แล้ว
พงศ์ หรดาล (2531 : 44) ได้กล่าวว่า หลักสูตรหมายถึง มวลประสบการณ์ต่าง ๆ จัดให้ผู้
เรียนได้เกิดการเรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม เพื่อจะนำประสบการณ์นั้นไปใช้ ให้เป็น
ประโยชน์ต่อไป
อำนาจ จันทร์แป้น (2532 : 3) ได้ให้ความหมายของหลักสูตรไว้ดังนี้
1. หลักสูตรในฐานะที่เป็นวิชาและเนื้อหา หลักสูตรจึงเป็นวิชา และเนื้อหาวิชาที่ครูจะ
ต้องสอนนักเรียนและนักเรียนจะต้องเรียน
2. หลักสูตรในฐานะที่เป็นประสบการณ์ หลักสูตรจึงหมายถึง ประสบการณ์ทั้งมวลที่
ผู้เรียนได้รับภายใต้การแนะแนวของโรงเรียนทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน
3. หลักสูตรในฐานะที่เป็นโอกาสของการเรียนร ู้ หลักสูตรที่สมบูรณ์ควรจะประกอบด้วย
แผนการหรือ เจตนารมย์ ซึ่งจุดเน้นจะไม่จำกัดอยู่เฉพาะที่จุดมุ่งหมาย และวัตถุประสงค์ แต่ยังรวมถึง
องค์ประกอบอื่น ๆ ของหลักสูตร อันได้แก่ การนำหลักสูตรไปใช้ หรือการสอนและการประเมินผล
4. หลักสูตรเป็นศาสตร์สาขาหนึ่ง ซึ่งการนำหลักสูตรไปใช้ต้องดำเนินเป็นกระบวนการ
โดยตระหนักในความสำคัญของผู้เรียน และให้สอดคล้องกับสภาพท้องถิ่นให้มากที่สุด
มนัส สายโกสุม (2541 : 12) ได้ให้ความหมายของการนำหลักสูตรไปใช้ว่า หมายถึงการจัด
ประสบการณ์ต่าง ๆ ขึ้นในโรงเรียน โยครูและผู้บริหารโรงเรียน เพื่อพัฒนาศักยภาพของนักเรียนให้
สูงขึ้น โดยใช้เอกสารหลักสูตรเป็นแม่บท การนำหลักสูตรไปใช้จึงเป็นหน้าที่โดยตรงของโรงเรียน ผู้
ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกคนจึงควรอย่างยิ่งที่จะต้องทราบ และให้ความสำคัญในการนำหลักสูตรไปใช้
เพื่อที่จะนำหลักสูตรไปแปลงเป็นการปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
จากความหมายดังกล่าว สรุปว่า หลักสูตร หมายถึง แผนการจัดประสบการณ์เกี่ยวกับการ
ศึกษาของผู้สอนให้แก่ผู้เรียน ทั้งภายในห้องเรียนและนอกห้องเรียน ซึ่งประกอบไปด้วย การกำหนด
จุดมุ่งหมายของหลักสูตร เนื้อหาสาระ เวลาเรียนและประเมินผล ซึ่งการจัดประสบการณ์เหล่านี้จะจัด
ให้แตกต่างกันตาม ระดับความสนใจของนักเรียนแต่ละคน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของพระราช
บัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
ลักษณะงานหลักสูตร
พงศ์ หรดาล (2531 : 43-44) ครูผู้สอนวิชาอุตสาหกรรมศึกษามีภาระกิจค่อนข้างมาก
นอกจากต้องทำหน้าที่สอนแล้วยังต้องเป็นครูแนะแนวในวิชาชีพ และต้องศึกษาความก้าวหน้าของ
เทคโนโลยีอยู่ตลอดเวลา เพราะงานทางด้านอุตสาหกรรมมีความเจริญอย่างรวดเร็ว ครูผู้สอนจึงต้องมี
การวิเคราะห์หลักสูตร และวางแผนการเรียนการสอนเพื่อให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอยู่
ตลอดเวลา ครูผู้สอนจะต้องเป็นผู้ที่คุ้นเคยและมีประสบการณ์จึงจะสามารถวิเคราะห์ได้เป็นอย่างดี คือ
32
ครูจะต้องทราบว่าเป็นหลักสูตรระดับใด มีจุดมุ่งหมายอย่างไร เนื้อหาควรจะจัดอย่างไร จะใช้ยุทธวิธี
การสอนชนิดใด สิ่งเหล่านี้ครูผู้สอนจะต้องมีการวางแผน เพื่อจะทำให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียน
การสอน
วิชัย แหวนเพชร (2530 : 158) กล่าวว่า ในการศึกษาหลักสูตร ครูผู้สอนควรทำความเข้าใจ
หลักสูตรเสียก่อนที่จะมีการวิเคราะห์เพราะหลักสูตรนั้นถือเป็นว่ากิจกรรมหรือประสบการณ์ทั้งหลาย
ที่โรงเรียนจัดให้ผู้เรียนครูผู้สอนจะต้องผ่านกระบวนการและกิจกรรมต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ ไม่เช่นนั้น
จะทำให้การเรียนการสอนไม่บรรลุจุดประสงค์ของหลักสูตรที่ได้วางไว้ เพื่อให้การเรียนการสอน
สอดคล้องกับหลักสูตร ครูผู้สอนจำเป็นต้องศึกษา ทำความเข้าใจกับหลักสูตรเสียก่อน ดังมีขั้นตอนดัง
ต่อไป
1. ศึกษาองค์ประกอบของหลักสูตร หลักสูตรจะมีส่วนประกอบใหญ่ ๆ 4 ส่วน คือ
1.1 วัตถุประสงค์
1.2 เนื้อหาที่ได้คัดเลือกและจัดระเบียบไว้อย่างเหมาะสม
1.3 มีการจัดการเรียนและบริหารหลักสูตร
1.4 คำแนะนำในการประเมินผล
2. ศึกษารายละเอียดต่าง ๆ ของหลักสูตร เช่น จำนวนหน่วยกิต ระดับชั้นของผู้เรียน
เป็นต้น ในแต่ระดับการศึกษาจะกำหนดจุดมุ่งหมาย รายละเอียดของเนื้อหาวิชาแตกต่างกันออกไป
สรุปว่า งานหลักสูตร ผู้บริหารจะต้องส่งเสริม สนับสนุน ชี้แจง แนะนำ แก่ครูเกี่ยวกับเรื่อง
ทำความเข้าใจกับหลักสูตร การศึกษาองค์ประกอบต่าง ๆ ของหลักสูตร การศึกษารายละเอียดต่าง ๆ
ของหลักสูตร การจัดเตรียมความพร้อมของบุคลากร สถานที่ และการดำเนินการสอนให้ตรงจุด
ประสงค์ของหลักสูตร เป็นต้น
2.11.2 งานการเรียนการสอน
ความหมายของงานการเรียนการสอน
แฮร์ริส (Harris. 1975 : 13) ได้กล่าวถึงการจัดการเรียนการสอนว่า หมายถึง การนำ
หลักสูตรที่วางไว้มาใช้ ได้แก่ การจัดกลุ่มนักเรียน การจัดชั้นเรียน การจัดตารางสอน การจัดครูประจำ
วิชา ผลของการจัดการเรียนการสอนจะเป็นเครื่องชี้ให้เห็นความสำเร็จในการดำเนินงานของโรงเรียน
กิติมา ปรีดีดิลก (2532 : 6) ได้กล่าวว่า การจัดการเรียนการสอน เป็นการเน้นการจัดความรู้
และคุณสมบัติอื่นที่ต้องการให้แกผู้เรียนอย่างถูกต้อง เหมาะสม เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนทั้งภาค
ทฤษฎีและปฏิบัติ เนื้อหาที่สอนยืดหยุ่นตามเหตุการณ์ สภาพท้องถิ่นและความสนใจของผู้เรียน
บุญชม ศรีสะอาด (2535 : 1-2) กล่าวว่าการเรียนการสอนต้องอาศัยการสอน ซึ่งเป็นกิจกรรม
ที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ส่วนการเรียนหมายถึง การจัดดำเนินการของผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิด
การเรียนรู้ โดยที่ผู้เรียนจะต้องทำกิจกรรมด้วยตนเอง
33
สงัด อุทรานันท์ (2530 : 238) ได้ให้ความหมายของงานการเรียนการสอนว่า หมายถึง การ
จัดองค์ประกอบของการเรียนการสอนให้มีความสัมพันธ์กัน เพื่อสะดวกต่อการนำไปสู่จุดหมายปลาย
ทางของการเรียนการสอนที่กำหนดไว้
ในขณะเดียวกัน สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (2534 ข : 19) ได้ชี้จุด
เน้นในการจัดการเรียนการสอนที่เอื้อต่อหลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง
พ.ศ. 2533) ดังนี้
1. ครูเป็นบุคคลสำคัญที่สุดในการนำหลักสูตรไปสู่การปฏิบัติ
2. การจัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และการจัดการเรียนการสอนที่
หลากหลายโดยเน้นกระบวนการเรียนรู้
3. ครูต้องวิเคราะห์จุดประสงค์การสอน และเลือกกระบวนการสอนที่เหมาะสมสอดคล้อง
กับจุดประสงค์การเรียนรู้
4. ครูควรคิด ค้นคว้า และแสวงหาแนวทางวิธีการใหม่ ๆ มาใช้จัดการเรียนการสอน
5. ทักษะกระบวนการเรียนต่าง ๆ เน้นสิ่งที่มุ่งให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติจนเป็นนิสัย และสามารถ
นำไปเป็นเครื่องมือแสวงหาความรู้ต่อไป
วิโรจน์ ศรีโภคา (2536 : 406) ได้กล่าวว่า การเรียนการสอนเป็นกิจกรรมที่ครู และเด็กร่วม
กันทำ ถ้าจะแยกออกเป็น 2 ส่วน คือการเรียน คือ กิจกรรมที่เด็กทำและการสอน คือ กิจกรรมที่ครูทำ
แต่ในทางปฏิบัติแล้ว ทั้งสองอย่างต้องทำไปพร้อม ๆ กัน จึงจะเรียกว่าการเรียนการสอน
พงษ์ศักดิ์ อินทรามะ (2536 : 25) ที่กล่าวไว้ว่า การสอนคือ การจัดให้เกิดการเรียนรู้ตาม
วัตถุประสงค์ที่วางไว้อย่างมีประสิทธิภาพ การสอนเป็นพฤติกรรมของผู้สอน การเรียนเป็นพฤติกรรม
ของผู้เรียน การเรียนอาจจะเกิดขึ้นโดยไม่มีการสอนก็ได้ และการสอนอาจเกิดขึ้นโดยไม่มีการเรียนก็
ได้
สรุปว่า งานการเรียนการสอน หมายถึง กระบวนการจัดประสบการณ์ในการเรียนรู้ของครูให้
แก่ผู้เรียนด้วยวิธีการต่าง ๆ ตามหลักสูตร เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดพัฒนาการไปตามเป้าหมายของหลัก
สูตร และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติเนื้อหาที่สอนยืดหยุ่นตามเหตุการณ์
สภาพท้องถิ่นและความสนใจของผู้เรียน
ลักษณะงานการเรียนการสอน
การนำเอาวิธีการสอนเชิงระบบมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน เป็นการช่วยให้
ระบบการเรียนการสอนของครู-อาจารย์ ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา เพราะว่าองค์ประกอบของระบบมี
ความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ถ้าหากองค์ประกอบส่วนใดมีการเปลี่ยนแปลงก็จะทำให้องค์ประกอบ
ส่วนอื่นเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย การเปลี่ยนแปลงนี้จึงทำให้เกิดความใหม่อยู่เสมอ ด้วยเหตุที่ว่า การ
สอนเชิงระบบนี้เป็นวิธีคล้ายกับวิธีสอนสืบสวนสอบสวนทางวิทยาศาสตร์จำต้องมีการวิเคราะห์
34
คัดเลือกหายุทธวิธีใหม่ ๆ ในการเรียนการสอนที่จะเป็นตัวช่วยในการเตรียมหรือวางแผน เพื่อให้
การเรียนการสอนมีคุณภาพและให้บรรลุจุดประสงค์ตามที่วางไว้ องค์ประกอบที่สำคัญที่จะใช้สำหรับ
การวางแผนเพื่อการเรียนการสอนอุตสาหกรรมศึกษา คือ
1. วิเคราะห์ขอบเขตและข้อจำกัดของแต่ละโปรแกรมการเรียนการสอน
2. พิจารณาเนื้อหา
3. กำหนดจุดประสงค์
4. เทคนิคการสร้างบทเรียน
5. เทคนิควิธีการสอน
6. เทคนิคการทำใบช่วยสอน
7. เทคนิคการทำโครงการสอนและแผนการสอน
8. เทคนิคการเลือกสื่อการสอน
9. เทคนิคการวัดผลและประเมินผล
พงศ์ หรดาล (2531 : 17) ถ้าครู-อาจารย์นำเอาวิธีการสอนเชิงระบบไปใช้จะทำให้การเรียน
การสอน มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น คือ วิธีการนี้สามารถปรับปรุงแก้ไขได้ตลอดเวลา เพื่อให้การเรียน
การสอนทันต่อความต้องการของสังคม ตลาดแรงงาน และเทคโนโลยีได้ตามต้องการในสภาพการ
เรียนการสอนอาชีวศึกษานั้น ผู้บริหารควรที่จะพิจารณาสิ่งต่าง ๆ ที่แตกต่างจากการเรียนในห้องเรียน
โดยทั่ว ๆ ไป เมื่อมาพิจารณาดูแล้วตัวแปรทีสำคัญที่ผู้บริหารควรที่จะต้องนำมาคิดและหาทางช่วย
เหลือ เพื่อให้การเรียนการสอนอาชีวศึกษามีประสิทธิภาพที่ดีจะประกอบไปด้วย 3 ลักษณะ
1. สภาพห้องเรียน ห้องปฏิบัติการทดลอง และโรงฝึกงาน เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้
การเรียนได้ผลดีหรือด้วยกว่าที่ต้องการได้ การจัดวางแผนผังจึงควรพิจารณาอย่างรอบคอบ เพราะ
ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการทดลอง หรือโรงฝึกงาน จะต้องเป็นแหล่งฝึกอบรมนักเรียนจำนวนมาก และ
มีการประกอบกิจกรรมอยู่ภายในนั้นเป็นเวลานานหลาย ๆ ชั่งโมงในแต่ละวัน ฉะนั้น จึงจำเป็นที่
จะต้องคำนึงถึงความสะดวกสบายเป็นสำคัญ เช่น การถ่ายเทของอากาศ การจัดสภาพที่นั่ง และบริเวณ
ปฏิบัติงาน แสงสว่าง และสภาพแวดล้อมต่าง ๆ เป็นต้น
2. เครื่องมือ อุปกรณ์ และวัสดุฝึก เครื่องมือเหล่านี้เป็นอุปกรณ์อันสำคัญที่จำเป็นจะต้องใช้
ในการปฏิบัติงาน ผู้เรียนจำเป็นจะต้องใช้เป็นประจำเพื่อให้เกิดทักษะและความชำนาญ การเรียนการ
สอนและเสียเวลาไปโดยใช่เหตุได้ ถ้าเกิดความบกพร่องในการเตรียมเครื่องมือ ความล่าช้าในการจ่าย
เครื่องมือ โดยเฉพาะยิ่งผู้เรียนมีจำนวนมากด้วยแล้ว ก็จะยิ่งทำให้เกิดการสูญเปล่าของเวลาได้
3. ผู้สอน ผู้สอนที่เตรียมการสอนดี มีบันทึกการสอนเป็นแผนงานในการดำเนินการสอน
จะทำให้ผู้สอนมีความสามารถที่จะทำการสอนอย่างมีประสิทธิภาพได้มาก เพราะมีลำดับขั้นตอน
การสอนตามกำหนดเวลาไว้พอเหมาะ ผู้สอนจะมีความคล่องตัวและรู้วัตถุประสงค์ มีความพร้อม
35
ทุกด้านที่จะทำให้เกิดการเรียนโดยสมบูรณ์ จะเป็นการช่วยให้สภาพการเรียนดีขึ้นมาก ผลสำเร็จใน
การเรียนก็ย่อมจะเกิดกับผู้เรียนอย่างเต็มที่ (พงศ์ หรดาล. 2531 : 107-108)
กิติมา ปรีดีดิลก (2532 : 6) กล่าวว่า การจัดการเรียนการสอนที่ผู้บริหารจะต้องปฏิบัติ ได้แก่
การจัดแผนการเรียน การจัดตารางสอน การจัดชั้นเรียน การจัดครูเข้าสอน การจัดแบบเรียน การจัด
ห้องสมุดและการจัดทำคู่มือครู
สรุปว่า งานการเรียนการสอน ผู้บริหารจะต้องให้ความช่วยเหลือแก่ครูในด้านต่าง ๆ ที่
เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน เช่น มีการวางแผนเกี่ยวกับการเรียนการสอน การส่งเสริมพัฒนา สภาพ
ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ โรงฝึกงาน เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์วัสดุฝึก และการพัฒนาการสอน
ของครู เป็นต้น
2.11.3 งานสื่อการเรียนการสอน
ความหมายของสื่อการเรียนการสอน
กิดานันท์ มลิทอง (2531 : 76) กล่าวว่าสื่อการสอนหมายถึง สิ่งที่ช่วยนำและถ่ายทอด
ความรู้จากครูผู้สอน หรือจากแหล่งความรู้ไปยังผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถบรรลุถึงวัตถุประสงค์
การเรียนที่ตั้งไว้
พงศ์ หรดาล (2531 : 195) กล่าวว่า สื่อการเรียนการสอน คือตัวกลางที่ช่วยให้การนำความรู้
จากผู้สอนหรือแหล่งความรู้ไปยังผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่กำหนดไว้ตามต้องการ
ของครูผู้สอน
วนดิ า จึงประสิทธ ิ์ (2532 : 7) กล่าวว่า สอื่ การสอน หมายถึง สิ่งที่นำความรู้ไปสู่ผู้เรียน อยู่
ในรูปของสิ่งพิมพ์หรือไม่ใช่สิ่งพิมพ์ก็ได้สื่อการสอนที่ไม่ใช่สิ่งพิมพ์ก็คือ สื่อประเภทโสตทัศนูปกรณ์
หมายรวมถึงวัสดุ เครื่องมือ อุปกรณ์ และวิธีการทางโสตทัศนศึกษา
สรุปว่า สื่อการเรียนการสอน หมายถึง สิ่งที่ใช้เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้ ทักษะ
และเจตคติ จากผู้สอนไปยังผู้เรียนอาจจะเป็นสิ่งพิมพ์หรือไม่ใช่สิ่งพิมพ์ก็ได้ เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้
ตามวัตถุประสงค์
ประเภทของสื่อการเรียนการสอน
สื่อการเรียนการสอนประกอบด้วยอุปกรณ์ เครื่องมือ เอกสารตำรา แหล่งวิทยากร
ตลอดจน นวัตกรรมต่าง ๆ อย่างสื่อการสอนในวิชาอุตสาหกรรมศึกษา ได้แก่
1. สถานประกอบการ เช่น การนำนักเรียนเยี่ยมโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งถือว่าเป็น
ประสบการณ์ที่ดีกว่าการบอก อธิบาย ใช้ภาพ หรือแผนภูมิ
2. เครื่องบันทึกเสียง เป็นสื่อการเรียนการสอนที่ช่วยให้นักเรียนได้ฟังทบทวนหรือ
บทเรียนประกอบภาพ
36
3. ของจริงและของตัวอย่าง ครูจะต้องจัดหามาให้เรียนรู้จากของจริง บางครั้งครูไม่
สามารถนำสิ่งนั้นมาได้ก็เพียงเอาของตัวอย่างก็ได้
4. หุ่นจำลอง เป็นสื่อการเรียนการสอนที่มีค่าในวิชาอุตสาหกรรมศึกษาผู้เรียนจะเห็นสิ่ง
ที่เหมือนของจริง หุ่นจำลองบางชนิดย่อส่วนให้เล็กลง เช่น บ้าน รถยนต์ หุ่นจำลอง บางชนิดก็ขยาย
ให้ใหญ่ขึ้น เช่น คอนเดนเซอร์ หลอดไฟ เป็นต้น ลักษณะของหุ่นจำลองที่ดีควรมีลักษณะดังนี้
1.1 เป็นรูปสามมิติ จับต้องได้ และบางชนิดเคลื่อนไหวได้
1.2 มีขนาดตามสัดส่วนไม่ว่าจะย่อหรือขยายส่วน
1.3 หุ่นจำลองสามารถทำงานได ้ เชน่ เดยี วกบั ของจรงิ ในกรณที ตี่ อ้ งใชส้ อื่ การเรยี นรู้
ร่วมกัน
4.4 ถอดชิ้นส่วนประกอบและแยกออกจากกันได้ เพื่อศึกษาระบบการทำงานภายใน
ได้
4.5 การสร้างหุ่นจำลอง เป็นงานที่นักเรียนช่วยกันทำหรือ ต่างคนต่างทำก็ได้ หรือ
ทำให้การเรียนรู้ในเนื้อหาดีขึ้น
5. แผนภูมิแสดงขั้นตอนในการทำงาน จะมีลักษณะเป็นภาพและเส้นเชื่อมโยงประกอบ
ทำให้ผู้เรียนเข้าใจเป็นลำดับขั้น เช่น ลำดับขั้นของการเชื่อมโลหะแผ่นด้วยแก๊ส เป็นต้น
6. โทรทัศน์เพื่อการศึกษา ประกอบไปด้วยโทรทัศน์วงจรปิด เทปโทรทัศน์ แต่สื่อ
ประเภทนี้จะต้องลงทุนสูงเหมาะสมกับโรงเรียนขนาดใหญ่มากกว่าโรงเรียนขนาดเล็ก
7. ภาพยนตร์ ใช้เป็นสื่อการเรียนรู้อย่างแพร่หลาย ครูจะสามารถยืมจากสถาบันหรือ
องค์การ ห้างร้าน เนื้อหาที่ควรเรียนรู้ร่วมกันเป็นอย่างดี ได้แก่ เรื่องความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน
8. สื่อการเรียนการสอนอื่น ๆ ได้แก่ ฟิล์มสตริป สไลด์ เครื่องฉายข้ามศีรษะ ภาพนิ่ง
เครื่องฉายทึบแสง เป็นต้น
นอกจากนั้นแล้ว ครูอุตสาหกรรมศึกษาควรหาทางนำแหล่งวิทยาการมาใช้ประโยชน์ในการ
เรียนการสอนให้มากที่สุด นอกจากสถานประกอบการแล้วก็ยังมีสถาบันและองค์การต่าง ๆ ตลอดจน
บุคคลที่มีความรู้ในชุมชน เป็นต้น (เปรื่อง กิจรัตนี. 2532 : 94-95)
ลักษณะงานสื่อการเรียนการสอน
กิติมา ปรีดีดิลก (2532 : 69) ได้กล่าวว่า ผู้บริหารจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ ส่งเสริมและ
สนับสนุนให้มีการใช้สื่อการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ แนวทางในการจัดสื่อการสอนในโรงเรียนให้
ได้ผลดีควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
1. ควรจัดตั้งศูนย์บริการสื่อการสอน เพื่อช่วยให้การจัดหาและให้ความสะดวกในการใช้
2. แบ่งแยกสื่อเป็นประเภท ๆ และเป็นรายวิชา เพื่อสะดวกแก่การใช้
3. จัดหาสื่อที่ทันสมัย และปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่แล้วให้ใช้การได้
37
4. สำรวจ วิเคราะห์ความต้องการสื่อการสอนของรายวิชาต่าง ๆ
5. ฝึกอบรมครูและนักเรียนสนใจการใช้สื่อเพื่อการเรียนการสอนได้มากยิ่งขึ้น
6. กระตุ้นให้ครูและนักเรียนสนใจการใช้สื่อเพื่อการเรียนการสอนได้มากยิ่งขึ้น
7. สถานที่ควรจัดให้เพียงพอกับประเภทของสื่อ
8. ควรมีสื่อทุกประเภทจัดเตรียมไว้
9. ควรมีบุคลากรเพื่อรับผิดชอบในการจัดหา และบริการให้มีประสิทธิภาพ
10. จัดสอนให้รู้จักทำสื่อการสอนประเภทที่สามารถทำขึ้นเอง
ระเบียบกรมอาชีวศึกษา ว่าด้วยการบริหารสถานศึกษา พ.ศ. 2529 (พัชรี สว่างทรัพย์. ม.ป.ป.
: 23-24) ได้กำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของหัวหน้างานสื่อการเรียนการสอนไว้ดังต่อไปนี้
1. ส่งเสริมสนับสนุนให้ความร่วมมือ และอำนวยความสะดวกแก่ครู - อาจารย์ ที่ประสงค์
จะจัดทำเอกสารประกอบการสอน ตำราเรียน
2. รวบรวมผลงานของแต่ละวิชาให้เป็นรูปเล่ม จัดทำแผ่นปลิวจุลสาร หรือวารสารทาง
วิชาการ เพื่อเป็นการส่งเสริมงานทางด้านวิชาการ และเป็นการเผยแพร่ความรู้และเทคโนโลยีสมัยใหม่
3. เสนอแนะหนังสือที่มีคุณค่าต่อการสอน เผยแพร่เอกสารหรือตำราที่ดีเด่นของผู้สอนแต่ละ
สาขาวิชาให้เป็นที่รู้จักทั่งไป
4. จัดวัสดุ อุปกรณ์ทางการศึกษา โสตทัศนศึกษา เพื่อใช้ในการเรียนการสอนตามความ
เหมาะสม
5. บริการสื่อการเรียนการสอนแก่ครู - อาจารย์ นักเรียน นักศึกษา ตลอดจนกิจกรรมต่าง ๆ
ของสถานศึกษา
6. รับผิดชอบเก็บ รวบรวม ดูแล บำรุงรักษาวัสดุอุปกรณ์โสตทัศนศึกษา
7. ให้คำแนะนำ ข้อคิดเห็น แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการใช้วัสดุอุปกรณ์โสตทัศนศึกษา
8. เสนอโครงการปฏิบัติงานตามลำดับขั้น
9. รายงานการปฏิบัติงานในหน้าที่ตามลำดับขั้น
10. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย
สรุปว่า สื่อการเรียนการสอนเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งในการถ่ายทอดความรู้จากครูแก่ผู้เรียน
ดังนั้นผู้บริหารควรให้ความช่วยเหลือ ส่งเสริมสนับสนุนการใช้สื่อการเรียนการสอน เช่น จัดบริการ
สื่อการเรียนการสอนแก่ครู ให้ความรู้เกี่ยวกับการผลิตและการใช้สื่อการเรียนการสอน มีการศึกษา
ความต้องการใช้สื่อการเรียนการสอนของครู เป็นต้น
38
2.11.4 งานพัฒนาบุคลากร
ความหมายของการพัฒนาบุคลากร
สุเมธ เดียวอิศเรศ (2531 : 144) ได้ให้ความเห็นว่า การพัฒนาบุคลากรเป็นกระบวน
การเพิ่มพูนความรู้ ความสามารถ ความชำนาญ ประสบการณ์ อุปนิสัย ทัศนคติ ในการทำงานอันเป็น
ผลให้การทำงานมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
กิติมา ปรีดีดิลก (2532 : 118) ได้กล่าวว่า การพัฒนาบุคลากรเป็นกรรมวิธีที่มุ่งจะเพิ่มพูน
ความรู้ ความชำนาญ ประสบการณ์ให้กับคุคลากรเป็นกรรมวิธีที่มุ่งจะเพิ่มพูนความรู้ ความชำนาญ
ประสบการณ์ให้กับบุคลากรในองค์การ ตลอดจนพัฒนาทัศนคติของผู้ปฏิบัติงานให้เป็นไปใจทางที่ดี
มีความรับผิดชอบต่องานอันจะทำให้งานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
จิรา อ่อนไสว (2532 : 9) ได้กล่าวว่า การพัฒนาบุคลากรเป็นกระบวนการหรือวิธีการที่หน่วย
งานจัดขึ้นเพื่อให้บุคลากรมีความรู้ ตลอดจนมีทักษะและเจตคติที่ดีต่อการปฏิบัติงาน อันจะส่งผลต่อ
ประสิทธิภาพของงานทั้งในปัจจุบันและอนาคต
สรุปว่า การพัฒนาบุคลากร หมายถึง กระบวนการเพิ่มพูนความร ู้ ความสามารถ ความชำนาญ
ประสบการณ์ อุปนิสัย ทัศนคติของผู้ปฏิบัติงานให้เป็นไปทางที่ดีอันจะส่งผลต่อประสิทธิภาพของ
งานทั้งในปัจจุบันและอนาคต
คุณลักษณะของครูอุตสาหกรรม
เปรื่อง กิจรัตนี (2536 : 52-53) ได้สรุปผลการศึกษาคุณลักษณะของครูอุตสาหกรรม
ศึกษาที่แตกต่างไปจากครูวิชาอื่น ๆ ดังนี้
1. เข้าใจบทบาทของอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี และนำมาช่วยพัฒนาการเรียนการสอนใน
โปรแกรมวิชาต่าง ๆ ของสาขาอุตสาหกรรมศึกษาได้เหมาะสม
2. มีอุดมการณ์และปรัชญาของตนเกี่ยวกับการเรียนการสอนอุตสาหกรรมศึกษา เพื่อ
ประโยชน์ในการพัฒนาหลักสูตรและเพิ่มพูนทักษะการสอนให้ดีขึ้น
3. เข้าใจบทบาทของสถาบันอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงชีวิตของ
มนุษย์และสังคม
4. มีความสัมพันธ์อันดีกับชุมชนและหน่วยงานอุตสาหกรรม
5. มีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนในการจัดเนื้อหาความรู้ใหม่ ๆ สามารถออกแบบประสบการณ์การ
เรียนรู้ และใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์มากที่สุด
6. ต้องวางแผนและทำสอนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้วิธีสอนหลาย ๆ แบบ และใช้
กิจกรรมหลาย ๆ ชนิด
7. ประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ และยังทำหน้าที่ปฏิบัติการงาน
วิจัยได้ด้วย
39
8. รักษาความปลอดภัยและมีความสามารถทางช่างเทคนิคเป็นอย่างดี
9. มีความรู้สึกในสาขาวิชาที่ตนสอนและจะต้องหาความรู้เพิ่มเติมในสาขาที่ตนสอนอยู่
เสมอ
นอกจากคุณลักษณะของครูอุตสาหกรรมดังที่กล่าวมาแล้ว คุณสมบัติของครูอุตสาหกรรม
ศึกษาควรจะประกอบไปด้วยคุณลักษณะกว้าง ๆ 2 ประการ คือ เข้าใจในกระบวนการศึกษา และเข้าใจ
ในกระบวนการอุตสาหกรรม ความเข้าใจในกระบวนการอุตสาหกรรม เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับครู
อุตสาหกรรมศึกษา ทั้งนี้ เพราะว่าเนื้อหาความรู้ในหลักสูตรจะเกี่ยวข้างกับอุตสาหกรรม นอกจากนี้
ครูอุตสาหกรรมศึกษาจะต้องมีความรู้เฉพาะทางด้าน ช่างที่สอดคล้องกับเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ปัจจุบัน สำหรับความเข้าใจในกระบวนการศึกษาที่สำคัญเช่นกัน เพราะครูอุตสาหกรรมศึกษาที่ดี
จะต้องเป็นผู้มีความรู้ดีเลิศ ทั้งเนื้อหาและประสบการณ์ เป็นผู้มีคุณธรรมซึ่งรวมทั้งความรู้ผิดชอบใน
หน้าที่ ความเป็นผู้มีน้ำใจ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี เป็นนักพัฒนาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นแก่ผู้เรียน
และสังคม เป็นผู้มีความคิดริเริ่มที่ดี ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับนักเรียน เป็นผู้ประสานงาน
บุคคลทุกระดับได้ดี และเป็นผู้มีเจตคติที่ดีต่ออาชีพของตน ตลอดจนหาทางพัฒนาอาชีพการสอนให้มี
คุณภาพอยู่เสมอ
สรุปว่า ในการพัฒนาครูช่างอุตสาหกรรมจะต้องคำนึงถึงความเปลี่ยนแปลงทางอุตสาหกรรม
และ เทคโนโลยี ทั้งนี้ เพื่อครูช่างอุตสาหกรรมจะได้นำความรู้ ความเข้าใจมาใช้จัดการเรียนการสอน
ให้สอดคล้องกับสภาพที่เป็นจริง
ลักษณะงานพัฒนาบุคลากร
กิติมา ปรีดีดิลก (2532 : 118-119) ในการพัฒนาบุคลากรมีจุดมุ่งหมายที่จะเพิ่มพูนและ
ปรับปรุงคุณภาพของผู้ปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพอย่างเต็มที่ เพื่อผลงานของสถาบันและเพื่อสนอง
ความต้องการที่จะก้าวหน้าของผู้ปฏิบัติงาน จึงเป็นหน้าที่โดยตรงของผู้บริหารที่จะต้องพยายามหา
ทางให้ผู้ปฏิบัติงานได้เจริญก้าวหน้าไม่เท่าที่ความสามารถจะอำนวยประโยชน์ทำกระบวนการพัฒนา
บุคลากรตามขั้นตอน ดังนี้
1. กำหนดขอบเขตและทิศทางของการพัฒนาบุคลากรเพื่อจะได้พัฒนาได้ตรงตามจุดมุ่งหมาย
2. วางแผนพัฒนาบุคลากรตามกำหนดขอบเขต หรือนโยบายของหน่วยงานนั้น ๆ
3. จัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาบุคคลในทางปฏิบัติ ได้แก่
3.1 การปฐมนิเทศ
3.2 การสอนงาน
3.3 การมอบอำนาจให้ปฏิบัติงาน ให้รู้จักรับผิดชอบ
3.4 การสับเปลี่ยนโยกย้ายหน้าที่
3.5 การหาพี่เลี้ยงเพื่อช่วยสอนงานได้
40
3.6 ให้ทำหน้าที่ผู้ช่วยงาน
3.7 การให้รักษาการแทน
3.8 พาไปสังเกตการณ์ทำงานในบางโอกาส
3.9 ส่งไปศึกษาดูงาน
3.10 จัดประชุมสัมมนาและฝึกอบรม
3.11 ส่งเข้าประชุมเรื่องที่เกี่ยวกับงาน
3.12 จัดเอกสารทางวิชาการให้เพียงพอ
3.13 การอ่านแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ฟังปาฐกถาทางวิชาการ
3.14 ให้ทำการทอลอง วิจัย โดยเฉพาะวิจัยในงานที่ทำอยู่เป็นประจำ
3.15 ให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชน
3.16 ให้มีการปรึกษางานก่อนเปิดโรงเรียน
3.17 การนิเทศของครูใหญ่
4. ประเมินผลการพัฒนาบุคลากร โดยพิจารณาดูผลของการปฏิบัติงานว่า มีประสิทธิภาพ
เพียงใด โดยดูจากผลที่เกิดแก่ผู้รับการฝึกอบรมว่ามีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปมากน้อยเพียงใด
ดูผลที่เกิดแก่ตำแหน่งงานว่าทางปฏิบัติงานของผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่กลับไปทำงานในตำแหน่งเดิม
ของคนนั้นดีขึ้นเพียงไร และผลที่เกิดขึ้นแก่โรงเรียนว่าการฝึกอบรมนั้นทำให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถ
ปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายขององค์การนั้น ๆ ดีขึ้นเพียงไร คุ้มกับค่าใช้จ่ายและทุนที่ลงไปแล้วเพียงใด
สรุปว่า งานพัฒนาบุคลากรเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้บริหารควรจะให้ความสำคัญต่อการ
พัฒนาครูให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านวิชาการและทางด้านเทคโนโลยี ดังนั้น ผู้บริหารควร
จะมีการสนับสนุนส่งเสริมการพัฒนาครูด้วยกิจกรรมต่าง ๆ ตามความเหมาะสมและโอกาสที่จะ
กระทำได้ เพื่อความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิชาการ
2.11.5 งานวัดผลและประเมินผล
ความหมายของการวัดผลและประเมินผล
กู๊ด (Good. 1973 : 338) ได้ให้คำจำกัดความของการวัดผลการศึกษาว่า หมายถึงการ
ศึกษาค้นคว้าโดยทั่วไปด้วยการทดสอบมาตราส่วนประเมินค่า การตีค่ากระบวนการที่วัดได้ รวม
ทั้งทฤษฏีของข้อทดสอบและการสร้างมาตราส่วนประเมินค่า การทำให้มีเหตุผลใช้ได้ และการทำให้
เป็นมาตรฐาน การแปลความหมายผลของการทดสอบ รวมทั้งการใช้วิธีการทางสถิติ เพื่อแปล
ความหมายผลจากการวัดแล้วนำผลชิ้นสุดท้ายที่ได้จากการนำเอาปริมาณการวัดไปใช้กับกระบวนการ
ทำงานทางการศึกษา หรือกับบุคคลที่ถูกวัด
พนัส หันนาคินทร์ (2529 : 199-200) ได้เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างการประเมินผล
การวัดผล ว่าการวัดผล หมายถึง การเปรียบเทียบผลที่ได้จากการเรียนกับมาตรฐานอันหนึ่งที่ยึดถือกัน
41
อยู่ การวัดผลมีลักษณะเป็นรูปธรรมมักแสดงผลออกมาเป็นตัวเลข ส่วนการประเมินผล หมายถึง การ
พิจารณากำหนดคุณค่าจากคะแนนที่เราได้จากการวัดนั้น เช่น ดีหรือไม่ดี เก่งหรือไม่เก่ง การประเมิน
ผลมีลักษณะเป็นปรัชญา
กิติมา ปรีดีดิลก (2532 : 72) ได้ให้คำนิยามว่า การวัดผลเป็นการเปรียบเทียบผลที่ได้จากการ
เรียนกับมาตรฐานอันหนึ่งที่ยึดถืออยู่ ซึ่งมีลักษณะเป็นรูปธรรม คือจะแสดงผลของการวัดออกมาเป็น
ตัวเลข เพื่อแสดงให้รู้ว่านักเรียนมีความรู้มากน้อยเพียงใด และอาจบอกได้ว่านักเรียนได้คะแนนเท่าไร
โดยนำผลที่นักเรียนทำได้ไปเปรียบเทียบกับคำตอบที่ครูทำไว้ ส่วนการประเมินผลเป็นการกำหนดค่า
หรือคะแนนที่เราได้จากการวัดผลนั้น เช่น เก่งหรือไม่เก่ง ดีหรือไม่ดี โดยเปรียบเทียบกับคนอื่น ๆ ใน
ห้องเดียวกัน
เสริม ทัศศรี (2536 : 9) กล่าวว่า การวัดผล หมายถึง กระบวนการกำหนดจำนวนหรือ
สัญลักษณ์ให้กับคุณลักษณะของสิ่งที่ต้องการจะจัด อย่างมีกฎเกณฑ์ที่เชื่อถือได้ โดยใช้เครื่องมือเป็น
หลักในการวัด และการประเมินผล หมายถึง กระบวนการในการตัดสินใจ ตีราคา ลงสรุปหรือหา
คุณค่าของคุณลักษณะ โดยใช้ข้อมูลที่ได้จากการวัดมาเปรียบเทียบกับเกณฑ์และใช้วิจารณาญาณ
ประกอบการพิจารณา
สรุปว่า การวัดผล หมายถึง กระบวนการกำหนดจำนวนหรือสัญลักษณ์ซึ่งมีลักษณะเป็น
รูปธรรม ให้กับคุณลักษณะของสิ่งที่ต้องการจะวัด โดยเปรียบเทียบกับมาตรฐานอันหนึ่งที่ยึดถืออยู่
และการประเมินผล หมายถึง กระบวนการพิจารณากำหนดคุณค่า ลงสรุปหรือหาคุณค่าของสิ่งที่
ต้องการจะวัด
ลักษณะงานวัดผลและประเมินผล
การเรียนการสอนในสาขาวิชาอุตสาหกรรมศึกษาก็เหมือน ๆ กับการเรียนการสอนใน
วิชาอื่น ๆ นั่นคือ เมื่อมีการเรียนการสอนก็ต้องมีการประเมินผลการเรียนการสอน เช่นกัน แต่อาจจะ
แตกต่างกันที่วัตถุประสงค์และวิธีการดำเนินการ
การประเมินผลนั้นมีความสำคัญต่อการปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอนมาก เนื่องจากผล
ของการประเมินนั้นจะให้ข้อมูลต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ทั้งต่อตัวครู และต่อผู้เรียนด้วยเหตุนี้ การ
ประเมินผลจึงได้มองเป็น 2 ลักษณะ คือ
1. การประเมินผลการสอน ได้แก่ การประเมินตัวผู้สอน
2. การประเมินผลการเรียน ได้แก่ การประเมินความรู้ ความสามารถของผู้เรียน
การประเมินผลผู้สอนนั้น ต้องอาศัยพฤติกรรมการสอนของครูมาเป็นตัวบ่งชี้ โดย
เฉพาะอย่างยิ่งด้านบุคลิกภาพในการเป็นครู แต่นั้นเป็นเพียงตัวประกอบหนึ่ง เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ดีขึ้น
ตัวบ่งชี้จึงมีหลายทางดังนี้
42
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
2. เทคนิควิธีการสอน
3. บุคลิกลักษณะของผู้สอน
4. บรรยากาศภายในห้องเรียน
5. ความสนใจและเจตคติของผู้เรียน
สำหรับผู้ประเมินผลการสอนนั้นควรจะได้ข้อมูลมาจากบุคคลเหล่านี้
1. ตัวนักเรียน
2. ตัวครู
3. เพื่อนครู และผู้บริหาร
4. ศิษย์เก่า
ในด้านเทคนิควิธีการที่จะได้ข้อมูลนั้นอาจจะใช้เทคนิคต่อไปนี้
1. การสังเกต
2. การสัมภาษณ์
3. การใช้แบบสอบถาม
การประเมินผลการเรียน ถือว่าเป็นกระบวนการต่อเนื่องจากการสอน จำไว้เสมอว่าเมื่อ
สอนแล้วต้องมีการประเมินผลผู้เรียน ไม่เช่นนั้นไม่เรียกว่า การเรียนการสอน เป้าหมายของการ
ประเมินผลการเรียนนั้นก็เพื่อ
1. วัดความก้าวหน้าของผู้เรียน
2. ดูความสนใจ ความถนัดของผู้เรียนเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการแนะแนว
3. เพื่อช่วยหาข้อบกพร่องและหาทางแก้ไขได้ตรงจุด
4. ต้องการรายงานผลการเรียน
สิ่งที่ครูต้องวัดผลประเมินผลในตัวผู้เรียนนั้น ได้แก่
1. ความรู้หรือทฤษฎีทางช่าง
2. ความสามารถและทักษะทางช่าง
ในการรวบรวมข้อมูลนั้นจะรวบรวม 2 ระยะ คือในระหว่างภาคเรียน และ ตอนปลาย
ภาคเรียน
สำหรับเทคนิคการวิเคราะห์คะแนนเพื่อรายงานผลนั้นนิยมใช้กัน คือ มี 2 เทคนิควิธี ได้แก่
1. การประเมินผลแบบอิงกลุ่ม
2. การประเมินผลแบบอิงเกณฑ์
ซึ่งครูผู้สอนสามารถนำไปใช้ได้ทั้ง 2 วิธีการ ขึ้นอยู่กับลักษณะเนื้อหาวิชา และลักษณะ
ของผู้เรียนด้วย (วิชัย แหวนเพชร. 2530 : 339-340)
43
ชารี มณีศรี (ม.ป.ป. : 67-68) ได้เสนอวิธีการประเมินผลที่ผู้บริหารโรงเรียนอาจทำได้คือ
1. จัดทำตู้หรือกล่องรับฟังความคิดเห็นของครูภายในโรงเรียน
2. จัดให้นักเรียนอภิปรายปัญหาต่าง ๆ ของโรงเรียน
3. จัดกล่องรับฟังความคิดเห็นของนักเรียน
4. ทำการวิจัยเชิงปฏิบัติเป็นเรื่อง ๆ ไป เช่น วิจัยผลการปฏิบัติงานของฝ่ายบริหาร วิจัย
ประมวลการสอนที่ใช้อยู่ในโรงเรียนและหาทางปรับปรุง
5. ช่วยครูให้ประเมินผลการสินของตนเอง อาจทำให้ด้วยการสังเกต การเรียนการสอน
ของนักเรียน พฤติกรรมของนักเรียนใช้แบบสอบถาม ให้นักเรียนตอบ ให้นักเรียนเขียนแสดงความ
คิดเห็นเมื่อเรียนวิชาต่าง ๆ ในภาคเรียนหนึ่ง ๆ แล้ว
6. ช่วยครูให้รู้จักประเมินผลการเรียนและความก้าวหน้าของนักเรียน เช่น ครูควรจะ
ได้ทราบหลักเกณฑ์และความมุ่งหมายในการประเมินผล การเตรียมโครงการประเมินผล การสร้าง
ข้อสอบต่าง ๆ และเทคนิคในการประเมินผลอื่น ๆ
อุทัย บุญประเสริฐ และชโลมใจ ภิงคารวัฒน์ (2528 : 40) ได้กล่าวว่า การนิเทศงาน
วิชาการด้านการวัดผลประเมินผลในโรงเรียนควรจะนิเทศในเรื่องต่อไปนี้
1. จัดให้มีการติดตาม ตรวจสอบผลการเรียนของเด็กนอกเหนือไปจากการวัด และ
ประเมินผลตามปกติตามระเบียบ เพื่อจะได้ทราบระดับมาตรฐานและสถานภาพทางวิชาการของ
โรงเรียน
2. จัดให้มีการประเมินผลการจัดกิจกรรมนักเรียน ว่าส่งผลต่อการพัฒนาเด็ก ตามหลัก
การศึกษามากน้อยเพียงใด
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์ (2536 : 200-201) กล่าวว่า ผู้บริหารโรงเรียนมีหน้าที่รับผิด
ชอบในการวัดผลประเมินผล คือ
1. กำหนดนโยบายทั่วไปเกี่ยวกับการวัดผลและการเมินผลในเรื่อง
1.1 ประเภทของข้อสอบที่ใช้วัดผล
1.2 ระยะเวลาที่ใช้ในการสอบจำนวนครั้งที่สอบและการเก็บคะแนนสอบแต่
ละครั้ง
1.3 มาตรฐานในการวัดผล
1.4 การเตรียมแบบฟอร์มสำหรับรายงานผลการสอนแก่ผู้ปกครอง
2. จัดหาวัสดุอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นในการสอน เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่อง
โรเนียว ตลอดจนเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวก
44
3. พยายามส่งเสริมครู - อาจารย์ให้มีความรู้ทางการวัดผลและประเมินผลโดยการจัดฝึก
อบรม การประชุมปฏิบัติการในด้านเทคนิค การออกข้อสอบ การให้คะแนน การประเมินผลข้อสอบ
ตลอดจนการรายงานผลการสอบ
4. การจัดตารางสอน ห้องสอบ และระเบียบในการสอนและการคุมสอบ
5. ควรมีการประเมินผลการสอน หากมีการบกพร่องจะได้หาทางแก้ไขต่อไป หรือ
เสนอแนวทางในกานำไปปรับใช้ต่อไป
ระเบียบกรมอาชีวศึกษา ว่าด้วยการบริหารสถานศึกษา พ.ศ. 2529 (พัชรี สว่างทรัพย์. ม.ป.ป.
: 24) กำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของหัวหน้างานวัดผลและประเมินผลไว้ดังต่อไปนี้
1. จัดหาแบบพิมพ์ที่เกี่ยวข้องกับการวัดผลและประเมินผลการเรียน
2. จัดหาเอกสาร จัดหาข่าวสารที่เป็นความรู้เกี่ยวกับการวัดผล และประเมินผล
การเรียน เพื่อเผยแพร่ให้ครู-อาจารย์ได้ทราบทั่วกัน
3. ศึกษาระเบียบ คำถาม ความเคลื่อนไหว ความก้าวหน้าทางวิชาการเกี่ยวกับ
การวัดผลและประเมินผลการเรียนอยู่เสมอ
4. ดูแลให้ครู - อาจารย์ปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการวัดผลและประเมินผลการเรียน
5. พิจารณาตัดสินปัญหาเกี่ยวกับการโอนผลการเรียน การวัดผลและประเมินผล
การเรียน
6. ส่งเสริมให้คร-ู อาจารย์ที่ผ่านการอบรมหรือศึกษามาทางการวัดผล และประเมินผล
การเรียนได้มีบทบาทในการพัฒนาการวัดผลและประเมินผลการเรียน
7. ตรวจสอการให้ระดับคะแนนของครู-อาจารย์ ก่อนที่จะส่งไปยังผู้บริหารสถาน
ศึกษาเพื่ออนุมัติผลการสอน
8. ดำเนินการวิเคราะห์ข้อทดสอบและจัดทำข้อสอบมาตรฐาน
9. เก็บรักษาเอกสารและหลักฐานการประเมินผลการเรียน และเอกสารอื่นตามความ
จำเป็นที่ต้องใช้เกี่ยวกับงานวัดผลและประเมินผลการเรียน
10. ดำเนินการเกี่ยวกับการทำลายเอกสาร การวัดผลและประเมินผลที่หมดความจำเป็น
11. ดูแล บำรุงรักษา และรับผิดชอบทรัพย์สินของสถานศึกษาที่ได้รับมอบหมาย
12. เสนอโครงการปฏิบัติงานตามลำดับชั้น
13. รายงานการปฏิบัติงานในหน้าที่ตามลำดับชั้น
14. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย
45
สรุปว่า งานวัดผลและประเมินผลจะต้องบ่งชี้ถึงคุณภาพของการเรียนการสอนของครู
และผู้เรียน ดังนั้น ผู้บริหารควรมีการสนับสนุน ส่งเสริม ชี้แจงแนะนำเกี่ยวกับเรื่องการวัดผลและ
ประเมินผล เช่น การให้ความรู้เกี่ยวกับการวัดผลและประเมินผล การจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือที่
ใช้ในการวัดผลและประเมินผล มีการติดตามและประเมินผลของครูและผู้เรียน เป็นต้น
3. สถาบันอาชีวศึกษาภาคกลาง 6
3.1 ความเป็นมา
ด้วยร่างพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษาอยู่ระหว่าง การนำเสนอเพื่อพิจารณาตามขั้นตอนซึ่ง
ได้มีการกำหนดให้ปรับเปลี่ยน โครงสร้าง ระบบบริหารจัดการอาชีวศึกษาที่สำคัญคือ การจัดให้
สถานศึกษาในสังกัด กรมอาชีวศึกษา รวมกลุ่มกันเป็น สถาบันการอาชีวศึกษา โดยเบื้องต้นได้กำหนด
ไว้ 28 สถาบัน ทั้งนี้เพื่อให้มีการประสานงานกันระหว่างสถานศึกษา ในการดำเนินงานให้มีคุณภาพ
และประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเรื่องของ การใช้ทรัพยากรร่วมกัน การเกื้อกูล ความเชี่ยวชาญ
ด้านวิชาการ การสร้างความต่อเนื่อง เชื่อมโยงกันของการอาชีวศึกษา เพื่อให้สามารถเปิดสอนได้ถึง
ระดับปริญญาสายปฏิบัติ หรือเทคโนโลยี ดังนั้น เพื่อสนับสนุนแนวคิดการรวมกลุ่มสถานศึกษาเพื่อ
จัดตั้งเป็นสถาบันการอาชีวศึกษา จึงได้กำหนดให้สถานศึกษาเร่งรัดดำเนินงาน ในรูปสถาบันการ
อาชีวศึกษาขึ้น 28 แห่ง ทั่วประเทศ โดยให้มีการทบทวน และดำเนินการอย่างจริงจัง ต่อเนื่องนับตั้งแต่
ปี พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป
สถาบันอาชีวศึกษาภาคกลาง 6 ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาค เขตภาคกลางประกอบด้วยสถาน
ศึกษาของ กองวิทยาลัยเทคนิค กองการศึกษาอาชีพ วิทยาลัยสารพัดช่าง และวิทยาลัยอาชีวศึกษา ซึ่ง
เป็นสถานศึกษาในสังกัด กรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ รวมสถานศึกษาทั้ง หมด 11 แห่ง
ครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัด คือ จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดนครปฐม และจังหวัดสมุทรสงคราม ดัง
แผนภูมิแสดงเครือข่ายของสถาบันอาชีวศึกษาภาคกลาง 6
46
คณะ ก ร ร มก า ร
ส ถ า บัน ก า ร อ า ชี ว
ส ถ า บัน ก า ร อ า
นค ร ป ส มุท ร ส มุท
วิ ท ย า ลั
ิ
วิ ท ย า ลั
ย เ ทคนิค
วิ ท ย า ลั
ย เ ทคนิค
วิ ท ย า ลั
ย อ า ชีว
ศึก ษ า
วิ ท ย า ลั
ย ก า ร
วิ ท ย า ลั
ย ส า ร พัด
ช่่่่า ง
วิ ท ย า ลั
ย ก า ร
อ า ชี พ
วิ ท ย า ลั
ย ส า ร พัด
ช่่่่า ง
วิ ท ย า ลั
ย ก า ร
วิ ท ย า ลั
ย ก า ร
วิ ท ย า ลั
ย ก า ร
47
แผนภาพที่ 3 เครือข่ายสถาบันอาชีวศึกษาภาคกลาง 6
3.2 หลักการของสถาบัน
3.2.1 เพื่อสร้างคุณภาพมาตรฐานการอาชีวศึกษา
การอาชีวศึกษามุ่งที่จะจัดการศึกษาให้มีมาตรฐาน สอดคล้องกับความต้องการของตลาด
แรงงาน และการประกอบอาชีพอิสระ จึงมีการกำหนดมาตรฐานการอาชีวศึกษาขึ้นโดยมีความหมาย
ดังนี้ กรมอาชีวศึกษา (มาตรฐานการอาชีวศึกษา ฉบับปรับปรุง 2545 : บทนำ)
มาตรฐานการอาชีวศึกษาหมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ กระบวนการ
ดำเนินงานของสถานศึกษา และปัจจัยสนับสนุนที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษา เพื่อพัฒนาผู้เรียน
ให้มีความรู้ ความสามารถ ทักษะ และประสบการณ์ในงานอาชีพตามที่กำหนดในหลักสูตร และ
มาตรฐานวิชาชีพในสาขาที่เรียน และเพื่อให้เป็นหลักในการเทียบเคียงสำหรับการตรวจประเมิน การ
กำกับดูแล และส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้านวิชาชีพ ประกอบด้วย 12 มาตรฐาน จำแนก
เป็น มาตรฐานด้านผู้จบการศึกษาและผู้เรียน 3 มาตรฐาน มาตรฐานด้านกระบวนการ 5 มาตรฐาน และ
มาตรฐานด้านปัจจัย 4 มาตรฐาน (มาตรฐานการอาชีวศึกษา ฉบับปรับปรุง 2545 : บทนำ)
3.2.2 เพื่อขยายโอกาสการอาชีวศึกษาที่มีคุณภาพ ให้เข้าถึงกลุ่มบุคคลได้กว้างขวางขึ้น
จัดสรรโอกาสให้บุคคลที่มีความถนัด ความสนใจ และความสามารถ ได้รับการศึกษาทางด้านวิชาชีพ
อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ การจัดสรรโอกาสด้านอาชีวศึกษา ต้องให้ความช่วยเหลือเป็นพิเศษแก่
บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม โดยคำนึงถึงความสามารถ
ของแต่ละบุคคล มีวัตถุประสงค์ในการจัดการอาชีวศึกษาสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ ทำการ
สอน ทำการวิจัย และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
3.2.3 ร่วมมือกันระหว่างสถานศึกษาด้านทรัพยากร วิชาการ เพื่อเตรียมความพร้อมใน
การเปิดสอนระดับปริญญาตรี
มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรร่วมกัน โดยประสานความร่วมมือ ในการใช้ทรัพยากรให้เกิด
ประโยชน์สูงสุด การเกื้อกูล ความเชี่ยวชาญด้านวิชาการ การระดมสรรพกำลัง เพื่อคุณภาพและความ
เป็นเลิศทางวิชาชีพ ส่งเสริมวิชาการและวิชาชีพการอาชีวศึกษาชั้นสูง สรา้ งความร่วมมือกับภาค
เอกชนให้เข้มแข็งให้บริการทางวิชาการแก่สังคม ยกระดับมาตรฐานการอาชีวศึกษาเพื่อคุณภาพและ
ความเป็นเลิศทางวิชาชีพ ที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน การประกอบอาชีพอิสระ
การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยีสร้างความต่อเนื่องเชื่อมโยงของ
กรมอาชีวศึกษา ให้สามารถเปิดสอนได้ถึงระดับปริญญาในสายปฏิบัติการหรือเทคโนโลยี
48
4. การปฏิบัติงานและปัญหาเกี่ยวกับการนิเทศการศึกษาของกรมอาชีวศึกษา
4.1 สถานการณ์ปัจจุบันเกี่ยวกับตัวผู้รับการนิเทศ ตัวผู้นิเทศก์ และระบบการนิเทศของ
กรมอาชีวศึกษา
สภาพการเรียนการสอนตามหลักสูตร ในระบบประกอบด้วยหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชา
ชีพ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง และหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิคนั้น ครู -
อาจารย์แต่ละคนมีชั่วโมงสอนเป็นสองเท่าของการสอนตามปกติ ในสัปดาห์หนึ่ง ครู-อาจารย์คนหนึ่ง
จะมีชั่วโมงสอนระหว่าง 30 - 36 ชั่วโมง ในขณะที่เกณฑ์ของคุรุสภากำหนดให้สอนสัปดาห์ละ 15
ชั่วโมง และจะต้องช่วยทำงานด้านธุรการ เช่น งานการเงิน การบัญชี การพัสดุ และงานกิจกรรม
อื่น ๆ ที่สถานศึกษามอบหมาย นอกจากนั้น ยังมีปัญหาการขาดครู – อาจารย์ เนื่องจากลาออกจาก
ราชการไปประกอบอาชีพอื่น ซึ่งมีรายได้ดีกว่า จึงมีผลกระทบโดยตรงต่อการนิเทศการศึกษาของ
กรมอาชีวศึกษาทั้งระดับกรมและระดับสถานศึกษา ซึ่งสรุปได้ 3 ประเด็นดังต่อไปนี้
4.1.1 ผลกระทบเกี่ยวกับตัวผู้รับการนิเทศการศึกษา
ผลกระทบมีทั้งระดับกรม และระดับสถานศึกษานั้นมีหลายวิธีแล้วแต่ผู้นิเทศก์จะเลือกใช้
ให้เหมาะสมกับจุดประสงค์และเนื้อหาการนิเทศ บางเรื่องกิจกรรมการนิเทศจะจัดอยู่ในสถานศึกษา
ของผู้รับการนิเทศ แต่ในบางเรื่องผู้รับการนิเทศจะต้องเดินทางไปเข้าร่วมในโครงการนิเทศนอก
สถานศึกษา เช่น โรงแรม สถานศึกษาแห่งอื่นหรือสถานที่อื่น ๆ ที่เจ้าของโครงการกำหนด บางครั้งก็
ตั้งอยู่ในจังหวัดเดียวกับสถานศึกษาอยู่ บางครั้งก็เดินทางไปไกลข้ามจังหวัดข้ามภาคก็มีปัจจัยสำคัญที่
เข้ามาเกี่ยวข้อง ได้แก่ เวลา และค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ยิ่งเดินทางไกลมากเท่าใด จะเสียเวลาและ
ค่าใช้จ่ายมากขึ้นเป็นเงาตามตัว ผลที่เกิดตามมาจะเกี่ยวข้องกับการสอนของครู – อาจารย์นั้น นักเรียน
ที่ครู – อาจารย์ผู้นั้นสอนจะไม่ได้เรียน เมื่อครู - อาจารย์ผู้นั้นกลับจากเข้ารับการนิเทศจะต้องสอน
ชดเชย เป็นภารกิจที่ครู-อาจารย์ส่วนใหญ่ไม่ชอบนักเพราะต้องหาเวลานอกไปสอนบางครั้งจึงไม่สอน
ชดเชย ผลเสียจึงตกอยู่กับนักเรียน - นักศีกษาที่ไม่ได้เรียนตรงตามหลักสูตร สถานศึกษาจึงมักส่ง
ครู-อาจารย์ที่ไม่ได้สอนไปเข้ารับการนิเทศแทน ส่วนประเด็นที่เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการเดินทางไป
เข้ารับการนิเทศนั้น มักจะมีผลกระทบต่อสถานศึกษาที่มีขนาดเล็ก ซึ่งได้รับงบประมาณน้อย เมื่อมี
โครงการนิเทศให้ครู - อาจารย์ ผู้บริหารอาจจะไม่ส่งครู-อาจารย์เข้าไปรับการอบรม
4.1.2 ผลกระทบเกี่ยวกับตัวผู้นิเทศก์
ปัจจุบันมีแนวโน้มว่าจะหาผู้สมัครใจมาเป็นศึกษานิเทศก์น้อยลง นอกจากผู้ที่มีความ
49
จำเป็นในทางส่วนตัวหรือทางราชการส่งมาให้เป็นศึกษานิเทศก์ เหตุผลสำคัญที่ ครู - อาจารย์ ไม่นิยม
มาเป็นศึกษานิเทศก์ เนื่องจากแรงจูงใจในการเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งสู่ตำแหน่งครู - อาจารย์ ได้ และ
ไม่มีเงินค่าสอนพิเศษเหมือนครู – อาจารย์ที่ได้ค่าสอนพิเศษตามเกณฑ์ที่ทางราชการกำหนดให้
นอกจากนั้นอัตรากำลังของศึกษานิเทศก์ก็มีจำนวนน้อย ไม่ได้สัดส่วนกับจำนวนคร–ู อาจารยท์ เี่ พมิ่ ขนึ้
ทุกปี จำนวนศึกษานิเทศก์ที่มีอยู่ยังถูกมอบหมายให้ไปทำงานในหน้าที่อื่น ๆ ของกรม เช่น ตำแหน่ง
ผู้ตรวจราชการกรม ตำแหน่งที่ปรึกษากรมและงานโครงการพิเศษ เป็นต้น จึงมีศึกษานิเทศก์ประจำ
การน้อยลงไปอีก
4.1.3 ผลกระทบต่อระบบการนิเทศ
ระบบการนิเทศการศึกษาในกรมอาชีวศึกษาประกอบด้วย การนิเทศการศึกษาระดับกรม
ดำเนินการโดยศึกษานิเทศก์ มีหน่วยศึกษานิเทศก์กรมเป็นองค์กรรับผิดชอบ แบ่งเป็นหน่วยงานย่อย
ในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เพื่อร่วมมือกันจัดการนิเทศการศึกษาให้ทั่วถึงทั่วประเทศ หน่วยงาน
ย่อยในส่วนกลางมีสำนักงานอยู่ในกรมส่วนหนึ่ง ทำหน้าที่เป็นฝ่ายส่งเสริมการศึกษา และอีกส่วน
หนึ่งรับผิดชอบในการนิเทศวิชาสามัญและสัมพันธ์หน่วยงานที่ตั้งอยู่นอกกรม ทำหน้าที่เป็นศูนย์วิจัย
และพัฒนา แบ่งเป็น 5 ศูนย์ ตามประเภทวิชา คือ ช่างอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม ศิลปหัตถกรรม
คหกรรม และเกษตรกรรมในส่วนภูมิภาคมีศูนย์นิเทศอาชีวศึกษาประจำภาคทั้ง 5 ภาค ภาคละ 1 ศูนย์
มีหน้าที่เผยแพร่ผลการวิจัยและพัฒนาของศูนย์พัฒนาทั้ง 5 ศูนย์ และขยายผลการประชุมอบรมการ
นิเทศระดับกรมให้มีสัมมนาของฝ่ายส่งเสริมการศึกษาและคณะวิชา สามัญสัมพันธ์ ไปสู่การปฏิบัติ
ของ ครู-อาจารย์ ประสิทธิภาพและประสิทธิผล จะต้องได้รับความร่วมมือและประสานการนิเทศกับ
ระดับสถานศึกษาอย่างใกล้ชิด
สรุปว่า ปัจจุบันการจัดการนิเทศในระดับสถานศึกษา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบการนิเทศ
การศึกษาของกรมอาชีวศึกษา ยังมีรูปแบบและองค์กรรับผิดชอบในสถานศึกษาไม่ชัดเจน และไม่มี
กระบวนการนิเทศภายในสถานศึกษาอย่างจริงจัง ปัญหาที่สำคัญในการนิเทศการศึกษาภายในสถาน
ศึกษาอีกประการหนึ่ง คือ การมีเวลาจำกัดและผู้รับการนิเทศไม่ศรัทธา ผู้นิเทศก์ซึ่งเป็นเพื่อนครู
โรงเรียนเดียวกันจึงทำให้ระบบการนิเทศภายในสถานศึกษาของกรมอาชีวศึกษาไม่สามารถสนับสนุน
ส่งเสริมการนิเทศการศึกษาระดับกรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.2 ปัญหาเกี่ยวกับการนิเทศการศึกษาของกรมอาชีวศึกษา
สถาพปัจจุบันและปัญหาของการนิเทศการศึกษา ของกรมอาชีวศึกษา ซึ่งอาจแบ่งได้เป็น 2
ระดับ คือ การนิเทศการศึกษาระดับกรมและการนิเทศภายในสถานศึกษานั้น ประเด็นหลัก ได้แก่ การ
นิเทศการศึกษาระดับกรม หน่วยศึกษานิเทศก์ไม่มีศักยภาพที่จะทำการนิเทศคร ู - อาจารย์ได้ทั่วถึง
ทุกคน และทุกเรื่องที่เป็นความจำเป็นและความต้องการของสถานศึกษา ส่วนการนิเทศภายใน
50
สถานศึกษายังไม่มีรูปแบบที่ชัดเจนต่างคนต่างทำขาดประสิทธิภาพ ปัญหาเหล่านี้เกิดจากสาเหตุหลาย
ประการ อาจสรุปได้ดังนี้
4.2.1 ผู้บริหารการศึกษาและครู-อาจารย์ ไม่เห็นความสำคัญและความจำเป็นของการ
นิเทศการศึกษา จึงไม่ได้ให้การสนับสนุนอย่างจริงจังในการ วางแผนอัตรากำลังของศึกษานิเทศก์
แผนการสรรหา บรรจุและแต่งตั้งศึกษานิเทศก์ แผนการพัฒนา และส่งเสริมคุณภาพมาตรฐานและ
ความก้าวหน้าของศึกษานิเทศก์ การจัดสรรงบประมาณที่เหมาะสมเพียงพอ จึงมีผลกระทบต่อ
จำนวนอัตราของศึกษานิเทศก์ไม่ได้เพิ่มขึ้นตามอัตราส่วนของครู-อาจารย์ที่เพิ่มขึ้น ศึกษานิเทศก์ไม่ได้
รับการพัฒนาความรู้ ความสามารถเท่าที่ควร และไม่ได้รับแรงจูงใจในการเป็นศึกษานิเทศก์ ตลอดจน
ไม่ได้รับงบประมาณการนิเทศที่จะทำการนิเทศการศึกษาได้ทั่วถึงเพียงพอ
4.2.2 ผู้นิเทศก์จัดโครงการนิเทศไม่สอดคล้องกับความจำเป็นและความต้องการของผู้รับ
ศึกษาสภาพและความต้องการการนิเทศภายในด้านวิชาการของครูประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม (ตอนที่ 1)
ศึกษาสภาพและความต้องการการนิเทศภายในด้านวิชาการของครูประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม (ตอนที่ 2)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น