ศึกษาและโหลดฟรีเป็นตัวอย่างเกี่ยวกับงานวิจัย all free download research
วันอังคารที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2553
การศึกษาปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาการบริหารงานวิชาการ (ตอนที่ 2)
สรุปว่า งานทะเบียน หมายถึง งานวิชาการที่ต้องเกี่ยวข้องกับครูผู้ดำเนินการ
สอนทุกคน แต่งานทะเบียนไม่ใช่งานที่มีลักษณะของงานประจำอยู่ตลอดเวลา แต่หากเป็นงานที่
ต้องแก้ปัญหา และต้องพัฒนาอยู่เสมอ โดยต้องอยู่ภายใต้กระบวนการจัดการและบริหารงานอย่าง
เป็นระบบ
จากการประมวลเอกสารเกี่ยวกับ การวัดผลและประเมินผลการเรียนและงาน
ทะเบียนนักเรียน หมายถึง การดำเนินการวัดผลและประเมินผลการเรียน การสร้างและปรับปรุง
เครื่องมือการวัดผลการเรียน การจัดให้มีเอกสารและแบบฟอร์มเกี่ยวกับการวัดผลและประเมินผล
การเรียน การดำเนินการเกี่ยวกับหลักฐานการวัดผลและประเมินผลการเรียน งานทะเบียนนักเรียน
3.6 การประเมินผลการจัดการงานวิชาการ
การดำเนินการขององค์กรจะต้องมีการประเมินผลงาน เพื่อจะได้ทราบว่า
การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์หรือไม่ และเพื่อใช้ในการพัฒนา
การเรียนการสอนหรือการบริหารงานวิชาการต่อไป มีผู้ให้แนวคิดเกี่ยวกับการประเมินผล
การจัดการงานวิชาการไว้ดังนี้
กิติมา ปรีดีดิลก (2532 : 321) กล่าวว่าการประเมินผล หมายถึง
การตีค่าผลงานซึ่งดำเนินการไปแล้วว่าบังเกิดผลตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้เพียงใด การประเมินผล
เป็นกระบวนการหลังการวัด
กรมสามัญศึกษา (2540 : 40-41) ได้กำหนดรายละเอียดในการประเมินผลการ
จัดการงานวิชาการ ดังนี้
1) การประเมินผลการจัดการงานวิชาการ
(1) มีการประเมินผลการจัดการงานวิชาการโดยมีหลักฐานให้ตรวจสอบได้
(2) จัดให้มีการประเมินในระดับหน่วยงานย่อย
(3) มีคณะกรรมการวิชาการเป็นผู้ตรวจสอบและประเมินผล
(4) มีการวิเคราะห์ผลการประเมินการดำเนินงานวิชาการ
(5) มีการนำผลการวิเคราะห์ไปใช้ในการปรับปรุงงานวิชาการ
2) การประเมินผลในด้านคุณภาพการจัดการเรียนการสอน
44
กมล ภู่ประเสริฐ (2544 : 90-91) กล่าวว่า การประเมินผลงานวิชาการ
โดยสถานศึกษา เป็นภารกิจที่สถานศึกษาจะต้องปฏิบัติ คือ
1) การสร้างความตระหนักในความจำเป็นที่จะต้องมีการประเมินตนเอง
ในสถานศึกษา ที่เกี่ยวข้องกับบุคลากรทุกคน
2) การวิเคราะห์งานที่จะทำการประเมิน
(1) การประเมินหลักสูตร
(2) การประเมินการเรียนการสอน
(3) การประเมินการนิเทศภายใน
(4) การประเมินการพัฒนาบุคลากร
(5) การประเมินโครงการทางวิชาการ
(6) การประเมินระบบข้อมูลและสารสนเทศ
(7) การประเมินการวิจัย
3) การวางแผนการประเมินผลงานทางวิชาการ
4) การกำหนดวิธีการและเครื่องมือในการประเมินอย่างละเอียด เพื่อ
การเตรียมการจัดทำคู่มือการประเมิน
5) การทำความเข้าใจกับบุคลากรในสถานศึกษาถึงเรื่องจุดมุ่งหมาย
ของการประเมิน
6) การควบคุม กำกับดูแล และติดตามให้มีการดำเนินการประเมินตามแบบ
ที่วางไว้
7) การวิเคราะห์ข้อมูล สรุปผล และเขียนรายงาน เพื่อเตรียมการเผยแพร่
8) การประชุมปรึกษาหารือ เพื่อใช้ประโยชน์จากการประเมินในทุกๆ ด้าน
สรุปว่า การประเมินผลการจัดงานวิชาการ หมายถึง การประเมินผลในด้าน
คุณภาพการจัดการเรียนการสอนหรือการบริหารงานวิชาการ เพื่อใช้ในการพัฒนาให้เป็นไปตาม
เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์
การจัดการศึกษาแบบสหวิทยาเขต
ด้วยกรมสามัญศึกษา (มปป. : 1-5) เห็นสมควรพัฒนาคุณภาพ ด้านการจัดการเรียน
การสอน และสร้างค่านิยม หรือศรัทธาของประชาชนที่มีต่อโรงเรียน อันจะส่งผลต่อการส่งเสริม
ให้นักเรียนได้เรียนในโรงเรียนใกล้บ้านและโรงเรียนทุกโรงเรียนของกรมสามัญศึกษามีมาตรฐาน
และคุณภาพใกล้เคียงกัน จึงได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 32 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติ
45
ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 กรมสามัญศึกษาจึงได้วางระเบียบที่เรียกว่ากรมสามัญ
ศึกษา ว่าด้วยการจัดการศึกษาแบบสหวิทยาเขต พ.ศ. 2542 เพื่อจุดประสงค์ดังกล่าวข้างต้น
ประกอบกับในสภาวะปัจจุบันที่ระบบการจัดระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย 2540 แต่ในปี พ.ศ. 2545 บรรลุเป้าหมายได้ค่อนข้างยากกล่าวคือ
(1) ขาดเอกภาพในการจัดการศึกษาในระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษาเนื่องจากการจัด
การศึกษาแต่ละระดับ มีหน่วยงานรับผิดชอบหลายหน่วยงาน เช่น สำนักงานคณะกรรมการการ
ประถมศึกษาแห่งชาติ เทศบาล กรุงเทพมหานคร ตำรวจตระเวนชายแดน สถาบันอุดมศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน องค์กรการกุศลต่างๆ หน่วยงานเหล่านี้บางครั้งก็รับผิด
ชอบในพื้นที่เดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมืองใหญ่ มีความซ้ำซ้อนเป็นอันมาก ส่งผลให้การจัด
การศึกษาในระดับดังกล่าวมีคุณภาพไม่ทัดเทียมกัน (2) ขาดระบบการเชื่อมโยงในการจัดการศึกษา
แต่ละระดับ ทั้งระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษาทำให้บางคนขาดโอกาสที่จะ
ศึกษาต่อในระดับสูงขึ้นหรือขาดความเสมอภาคที่จะศึกษาต่อในสถานศึกษาใกล้บ้าน (3) ขาด
ระบบการวางแผนในการรับนักเรียนและใช้ทรัพยากรร่วมกัน (4) ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการ
ศึกษาไม่มากเท่าที่ควร เป็นผลทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมทางการศึกษา
สรุปว่า สหวิทยาเขต หมายถึง รูปแบบใหม่ของการจัดการศึกษา เพื่อมุ่งนำมาแก้ปัญหา
ต่างๆ ที่เกิดขึ้น โดยมุ่งหวังที่จะให้เกิดความเชื่อมโยงของการศึกษา ในระดับและประเภทต่างๆ
ทั้งการศึกษาขั้นพื้นฐาน และการศึกษาอื่นๆ เพื่อให้บริการการศึกษาสนองตอบต่อความต้องการได้
อย่างกว้างขวางทั่วถึงและเป็นธรรม และที่สำคัญเพื่อยกระดับให้การศึกษาทั้งระบบมีคุณภาพใกล้
เคียงกัน
1. วัตถุประสงค์ของการจัดการศึกษาแบบสหวิทยาเขต
ในการจัดการศึกษาแบบสหวิทยาเขต กรมสามัญศึกษา (มปป. : 1) มีวัตถุประสงค์
ดังต่อไปนี้
1) เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาให้ทัดเทียมกัน
2) เพื่อให้นักเรียนได้มีโอกาสเรียนในโรงเรียนที่มีคุณภาพและอยู่ใกล้บ้าน
3) เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการจัดการเรียนการสอนของครูและ
นักเรียนระหว่างโรงเรียนในสหวิทยาเขต
4) เพื่อให้มีการใช้ทรัพยากรร่วมกันในสหวิทยาเขต และนำระบบการบริหารจัด
การมาใช้ในการดำเนินงาน
5) เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมรับผิดชอบในการจัดการศึกษา
46
2. แนวทางการดำเนินงานในการจัดการศึกษาแบบสหวิทยาเขต
กรมสามัญศึกษา (มปป. : 2-4) ได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานในการจัดการศึกษา
แบบสหวิทยาเขตไว้ดังตารางที่ 3
ตารางที่ 3 แสดงแนวทางการดำเนินงานในการจัดการศึกษาแบบสหวิทยาเขต
เรื่อง แนวปฏิบัติ
1. การจัดองค์กรสหวิทยาเขต 1) ศึกษาปัจจัยการจัดรวมโรงเรียนเข้าร่วมเป็นสหวิทยาเขต
โดยพิจารณาจากองค์ประกอบดังนี้
-พื้นที่ใกล้เคียง
-การคมนาคม
-ปัจจัยการบริหาร
2) ตั้งชื่อและประกาศจัดตั้งสหวิทยาเขต
3) จัดโครงสร้างและบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการ
บริหารสหวิทยาเขต (ตามข้อ 7 ในระเบียบกรมสามัญ
ศึกษาแบบสหวิทยาเขต พ.ศ. 2542)
4) จัดตั้งคณะกรรมการบริหารสหวิทยาเขต
2. การจัดทำระบบข้อมูลสารสนเทศสหวิทยาเขต 1) วิเคราะห์ รวบรวมและจัดระบบข้อมูลเพื่อการพัฒนา
งานให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ การจัดการศึกษาแบบ
สหวิทยาเขต
2) จัดทำสารสนเทศเกี่ยวกับทรัพยากรทางการศึกษาที่จะ
ใช้ร่วมกัน
3. การกำหนดนโยบายและจัดทำแผน 1) กำหนดนโยบายให้สอดคล้องกับนโยบาย
กรมสามัญศึกษา
2) จัดทำแผนแม่บท (แผนพัฒนาระยะ 3 ปี)
3) จัดทำแผนปฏิบัติการสหวิทยาเขต
4) นำแผนไปใช้ตามที่กำหนดไว้
5) ประเมินผล (กำกับ ติดตาม ตรวจสอบและรายงานผล
การปฏิบัติงานตามแผน)
6) ปรับปรุง พัฒนาแผนให้มีประสิทธิภาพ
4. การใช้ทรัพยากรทางการศึกษาร่วมกัน
4.1 ด้านบุคลากร 1) จัดครู อาจารย์ หรือผู้ที่มีความชำนาญไปปฏิบัติการสอน
หรือปฏิบัติราชการอื่นต่างโรงเรียนในสหวิทยาเขต
47
ตารางที่ 3 (ต่อ)
เรื่อง แนวปฏิบัติ
4. การใช้ทรัพยากรทางการศึกษาร่วมกัน (ต่อ)
4.1 ด้านบุคลากร (ต่อ) 2) จัดลูกจ้างประจำและลูกจ้างชั่วคราวไปปฏิบัติราชการ
ในโรงเรียนอื่นในสหวิทยาเขตที่ขาดแคลนและจำเป็น
4.2 ด้านการเงินและพัสดุ 1) ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการและคำสั่ง มอบ
อำนาจของกรมสามัญศึกษาเกี่ยวกับการเงินการพัสดุ
เพื่อใช้จ่ายในสหวิทยาเขต
4.3 ด้านอาคารสถานที่ 1) ประสาน และอำนวยความสะดวกในการใช้อาคาร
สถานที่ร่วมกัน
4.4 ด้านสื่อและนวัตกรรม 1) ประสานและอำนวยความสะดวกในการใช้สื่อและ
นวัตกรรม เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาร่วมกัน
5. การรับนักเรียน 1) แต่งตั้งคณะกรรมการรับนักเรียนของสหวิทยาเขต
2) กำหนดพื้นที่บริการของโรงเรียนและสหวิทยาเขต
3) กำหนดแผนการรับนักเรียนของโรงเรียนและ
สหวิทยาเขต
4) กำหนดวิธีการรับนักเรียนให้สอดคล้องกับแนวปฏิบัติ
การรับนักเรียนของกรมสามัญศึกษา
5) ประชาสัมพันธ์การรับนักเรียนให้ทั่วถึง
6) สรุปและรายงานผลการรับนักเรียนต่อสำนักงานสามัญ
ศึกษาจังหวัด/สำนักงานสามัญศึกษากรุงเทพมหานคร
6. การกำกับ ติดตาม ประเมินผล และรายงานผล 1) จัดทำตัวบ่งชี้ (Indicator) และเครื่องมือในการติดตาม
ประเมินผล การดำเนินงาน
2) ประเมินผล และรายงานต่อผู้บังคับบัญชา ตามสายงาน
3) สรุปและประเมินผลเพื่อพัฒนาและปรับปรุง
การดำเนินงานของสหวิทยาเขต
4) เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินงานของ
สหวิทยาเขตต่อสาธารณชนอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
ทั้งนี้ ให้มีการประชุมสัมมนาผู้เกี่ยวข้องเพื่อกำกับ
ติดตามการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ
ที่มา : กรมสามัญศึกษา (มปป. : 2-4)
48
จากตารางที่ 3 สามารถสรุปเป็นแนวทางการดำเนินงานของสหวิทยาเขตได้ดังแผนภาพที่ 3
แผนภาพที่ 3 แสดงแนวทางการดำเนินงานในการจัดการศึกษาแบบสหวิทยาเขต
ที่มา : กรมสามัญศึกษา (มปป. : 5)
3. โครงสร้างคณะกรรมการสหวิทยาเขต
สหวิทยาเขตกรุงธนบุรี 3 (2541 : 8) การจัดองค์กรบริหารสหวิทยาเขต
แบ่งคณะกรรมการเป็น 7 คณะ คือ
1) คณะกรรมการอำนวยการสหวิทยาเขต
2) คณะกรรมการที่ปรึกษาสหวิทยาเขต
3) คณะกรรมการวิชาการสหวิทยาเขต
4) คณะกรรมการธุรการสหวิทยาเขต
5) คณะกรรมการปกครองสหวิทยาเขต
6) คณะกรรมการบริการสหวิทยาเขต
7) คณะกรรมการแผนงานสหวิทยาเขต
การจัดองค์กร
การจัดทำระบบข้อมูล
สารสนเทศ
การกำกับ ติดตาม
ประเมินผลและรายงาน
สหวิทยาเขต
การรับนักเรียน
การใช้ทรัพยากรทางการ
ศึกษาร่วมกัน
การกำหนดนโยบายและ
จัดทำแผน
49
สหวิทยาเขตกรุงธนบุรี 3 (2541 : 17) กรอบภารกิจของคณะอนุกรรมการวิชาการ
สหวิทยาเขต
1) กลุ่มงานบริหารงานวิชาการ
(1) งานแผนงานวิชาการ
(2) งานสารสนเทศวิชาการ
(3) งานวิจัยและพัฒนาวิชาการ
(4) งานพัสดุวิชาการ
(5) งานสารบรรณวิชาการ
(6) งานอัตรากำลัง
2. กลุ่มงานจัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษา
(1) งานจัดการเรียนการสอน
(2) งานทะเบียน
(3) งานวัดผล
(4) งานหมวดวิชา
(5) งานห้องสมุด
(6) งานแนะแนว
(7) งานนักศึกษาวิชาทหาร
3. กลุ่มงานปรับปรุงคุณภาพการศึกษา
(1) งานนิเทศ และพัฒนาการศึกษา
(2) งานศูนย์วิชาการ
(3) งานพัฒนาบุคลากร
(4) งานคอมพิวเตอร์
สรุปว่า การจัดการศึกษาแบบสหวิทยาเขต หมายถึง การจัดการรวมโรงเรียนในพื้นที่
ใกล้เคียงกันเข้าด้วยกัน โดยมีการบริหารจัดการร่วมกัน เพื่อให้ทุกโรงเรียนมีมาตรฐานและคุณภาพ
ใกล้เคียงกัน
50
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
1. งานวิจัยในประเทศ
ดำรงค์ ภุมมา (2540 : บทคัดย่อ) ได้ทำการศึกษางานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา
สังกัดกรมสามัญศึกษา : ศึกษาเฉพาะกรณีโรงเรียนสตรีสิริเกศ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ
โดยใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารโรงเรียน ผู้ช่วยผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าหมวดและหัวหน้างาน
พบว่า (1) การวางแผนงานวิชาการ ทำโครงการเหมือนเดิม การปฏิบัติงานไม่เป็นไปตามโครงการ
และขาดการติดตาม การประเมินผลโครงการบางโครงการ (2) การปฏิบัติวิชาการ การจัดทำ
แผนภูมิไม่เป็นปัจจุบัน ไม่สามารถเปิดแผนการเรียนตามความต้องการของท้องถิ่นได้ ไม่สามารถ
จัดครูเข้าสอนแทนได้ครบ (3) ด้านการพัฒนาและส่งเสริมด้านวิชาการ นักเรียนมีส่วนร่วม
ในกิจกรรมน้อย ครูมีคาบสอนมาก ขาดทักษะความรู้ความเข้าใจ และขาดงบประมาณในการทำผล
งานทางวิชาการ (4) ด้านการจัดการเรียนการสอน ครูนำแผนการสอนมาใช้ในกิจกรรมการเรียน
การสอนน้อยมาก (5) ด้านการวัดประเมินผลการเรียนและงานทะเบียนนักเรียน ครูมีชั่วโมงสอน
มากทำให้ไม่มีเวลาในการออกข้อสอบ มีการนำผลการวัดประเมินผลมาวิเคราะห์ปรับปรุงการ
เรียนการสอนน้อยมาก การดำเนินงานทะเบียนล่าช้า (6) ด้านการประเมินผลงานด้านวิชาการ
การวิเคราะห์ผลการประเมินผลงานด้านวิชาการไม่ชัดเจนและไม่นำผลการวิเคราะห์มาปรับปรุง
และพัฒนางาน
รุจิรา ผดุงแผ้ว (2541 : บทคัดย่อ) ได้ทำการศึกษาปัญหาการปฏิบัติงานวิชาการ
โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยใช้กลุ่มตัวอย่างเป็น ผู้บริหาร
โรงเรียน ผู้ช่วยผู้บริหารโรงเรียน และหัวหน้าหมวดวิชา พบว่า การดำเนินงานในโรงเรียนมัธยม
ศึกษาโดยภาพรวมมีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง และพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีปัญหาอยู่ใน
ระดับปานกลาง โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากสูงไปหาต่ำ คือ ด้านการประเมินผลการจัดการงานวิชา
การ ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านวัดผลและประเมินผลการเรียนและทะเบียนนักเรียน
ด้านการพัฒนาและส่งเสริมงานวิชาการ ด้านการปฏิบัติงานวิชาการ และด้านการวางแผนงาน
วิชาการ ตามลำดับ
เจริญ ชาเรืองเดช (2542 : บทคัดย่อ) ได้ทำการศึกษาปัญหาการปฏิบัติงานวิชาการใน
โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดนครพนม โดยใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหาร
โรงเรียน และผู้ช่วยผู้บริหารโรงเรียน พบว่า ปัญหาการปฏิบัติงานวิชาการอยู่ในระดับปานกลาง
เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่ามีปัญหาอยู่ในระดับน้อย 1 ด้าน คือ การวางแผนงานวิชาการ
นอกนั้นอยู่ในระดับปานกลาง เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการวัดผลและ
ประเมินผลการเรียน และงานทะเบียนนักเรียนมีปัญหา คือ การจัดสอนแทน โดยการคำนึงถึง
51
ความรู้ความสามารถและความถนัด และพบว่าโรงเรียนขนาดใหญ่ มีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง
ค่อนข้างมากในเรื่องการจัดกลุ่มการเรียน โดยให้นักเรียนมีโอกาสเลือกเรียนตามต้องการ
ตามความถนัด ตามความสนใจ เพื่อการศึกษาต่อและประกอบอาชีพโรงเรียนขนาดเล็กมีปัญหาอยู่
ในระดับน้อยที่สุดในเรื่องการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดตารางสอน
ทวีศักดิ์ หงส์อารยะชน (2542 : บทคัดย่อ) ได้ทำการวิจัยเรื่องการศึกษาสภาพและ
ปัญหางานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร สังกัดกรมสามัญศึกษา
กรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพการบริหารงานวิชาการ พบว่าโรงเรียนส่วนใหญ่ได้
จัดสายงานและกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของบุคลากรตามสายงานวิชาการไว้คล้ายคลึงกัน
ด้านการสอนเน้นกระบวนการ การจัดทำแผนการสอนตามคู่มือของ สสวท. จัดให้มีการวิเคราะห์
ข้อสอบ การประเมินโครงการเมื่อสิ้นสุดโครงการ (2) ปัญหาที่สำคัญ คือ บุคลากรขาดความรู้
ความเข้าใจในการวางแผนงานวิชาการขาดบุคลากรที่ถนัดในด้านวิชาชีพ ขาดงบประมาณ อาคาร
สถานที่ไม่เพียงพอ การจัดครูเข้าสอนไม่สามารถเฉลี่ยคาบสอนให้ใกลเ้ คียงกัน ในด้านกิจกรรม
ครูไม่เห็นความสำคัญ ด้านแผนการสอนครูขาดทักษะในการทำแผนและแผนของกลุ่มในโรงเรียน
ไม่เหมาะสมกับสภาพของแต่ละโรงเรียน การวัดผลประเมินผล การนิเทศติดตาม ระบบ
การติดตามในการประเมินผลงานวิชาการยังไม่เหมาะสม
ศรีวรรณ ปินใจ (2542 : บทคัดย่อ) ได้ทำการศึกษาปัญหาการใช้หลักสูตรมัธยมศึกษา
ตอนต้น พุทธศักราช 2521 ในทรรศนะของผู้ปฏิบัติงานวิชาการ และผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา
สังกัดกรมสามัญศึกษา ในจังหวัดเชียงราย โดยใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารงานวิชาการและ
ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา พบว่า (1) ปัญหาด้านบุคลากร ปรากฏว่า มีปัญหาอยู่ในระดับมาก
คือ ขาดงบประมาณในการส่งบุคลากรเข้ารับการฝึกอบรมหรือประชุมทางวิชาการ นอกจากนี้
หัวหน้าฝ่ายแนะแนว หัวหน้าฝ่ายทะเบียนวัดผล และประชากรในโรงเรียนขนาดเล็ก ต่างก็เห็นว่า
มีปัญหาอยู่ในระดับมากในเรื่องความเพียงพอของบุคลากรในการปฏิบัติงาน (2) ปัญหาด้าน
การจัดการเรียนการสอน ปรากฏว่า ปัญหามีอยู่ในระดับมาก คือการนำวิทยากรและแหล่งวิชาการ
ในท้องถิ่นมาเป็นประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอน ในเรื่องการจัดสอนซ่อมเสริมให้ถูกต้อง
ตามหลักการสอนซ่อมเสริม และเรื่องการได้รับงบประมาณเพื่อการเรียนการสอน (3) ปัญหาด้าน
สื่อการเรียนการสอน ปรากฏว่า ปัญหาอยู่ในระดับมาก คือการขาดแหล่งที่จะจัดฝึกอบรมครูในการ
ใช้อุปกรณ์การสอน การขาดงบประมาณในการจัดส่งครูเข้ารับการฝึกอบรมในการใช้อุปกรณ์การ
สอน และความไม่เพียงพอของหนังสือประกอบการค้นคว้าในห้องสมุด การได้รับคู่มือ อุปกรณ์
การเรียนการสอนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทันต่อการใช้ การจัดให้มีโสตทัศนูปกรณ์ได้ครบถ้วน
และเรื่องการบริการสื่อการเรียนการสอนของฝ่ายโสตทัศนศึกษา และเรื่องการบำรุงรักษาซ่อมแซม
สื่อการเรียนการสอนให้อยู่ในสภาพที่ใช้ได้ (4) ปัญหาด้านการวัดผลประเมินผลการเรียน
52
ปรากฏว่าปัญหาอยู่ในระดับมาก คือ ความสามารถของครูในการสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดผล
ด้านจิตพิสัยและเรื่องการติดตามนักเรียนที่ได้ระดับผลการเรียน “0” “ร” และ “มส”
สนั่น เมตุลา (2542 : บทคัดย่อ) ได้ทำการศึกษาปัญหาการใช้หลักสูตรด้วยตนเองของ
โรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดนครพนม โดยใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหาร
โรงเรียน หัวหน้าหมวดวิชา และครูอาจารย์ในหมวดวิชาที่เปิดสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
ปีการศึกา 2541 พบว่า ปัญหาการใช้หลักสูตรด้วยตนเองของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญ
ศึกษา จังหวัดนครพนม มีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง
สุมาลี สังขะไชย (2542 : บทคัดย่อ) ได้ทำการศึกษาการปฏิบัติงานของผู้บริหาร
โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษาเขตการศึกษา 4 โดยใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหาร
โรงเรียน พบว่า (1) การปฏิบัติงานวิชาการโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณา
เป็นรายองค์ประกอบพบว่า ปฏิบัติงานวิชาการด้านการพัฒนาและส่งเสริมทางด้านวิชาการ
ด้านการวัดผลและประเมินผลการเรียนและงานทะเบียนนักเรียน และด้านการประเมินผล
การจัดการงานวิชาการอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนด้านการวางแผนงานวิชาการ ด้านการบริหาร
งานวิชาการ และด้านการจัดการเรียนการสอนอยู่ในระดับมาก (2) โรงเรียนที่มีขนาดต่างกัน
โดยภาพรวมการปฏิบัติงานไม่แตกต่างกัน
ถาวร กันเมล์ (2542 : บทคัดย่อ) ได้ทำการศึกษาปัญหาการบริหารงานวิชาการของ
โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี พบว่า (1) โรงเรียน
มัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี มีปัญหาการบริหารงานวิชาการ
โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน คือ ด้านการวางแผนงานวิชาการ
ด้านการบริหารงานวิชาการ ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการพัฒนาและส่งเสริมทางด้าน
วิชาการ ด้านการวัดผลและประเมินผลการเรียนและงานทะเบียนนักเรียน และด้านการประเมิน
ผลการจัดการงานวิชาการ พบว่า เมื่อจำแนกตามขนาดโรงเรียน โรงเรียนขนาดใหญ่ โรงเรียน
ขนาดกลางและขนาดเล็ก มีปัญหาการบริหารงานวิชาการในระดับปานกลางทุกด้าน แต่เมื่อ
จำแนกตามสถานภาพตำแหน่ง พบว่า หัวหน้าหมวดวิชาและครูผู้สอน มีปัญหาการบริหารงาน
วิชาการในระดับปานกลาง ส่วนผู้บริหารโรงเรียนมีปัญหาในระดับน้อยทุกรายการ ยกเว้นด้าน
การจัดการเรียนการสอนมีปัญหาในระดับปานกลางเช่นเดียวกัน (2) โรงเรียนขนาดใหญ่ โรงเรียน
ขนาดกลางและขนาดเล็กมีปัญหาการบริหารงานวิชาการทั้งโดยภาพรวมและเป็นรายด้าน ไม่แตก
ต่างกัน (3) ผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าหมวดวิชา และครูผู้สอน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหา
การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา โดยภาพรวมและเป็นรายด้าน 2 ด้าน คือ ด้าน
การวางแผนงานวิชาการ และด้านการวัดผลและประเมินผลการเรียนและงานทะเบียนนักเรียน
แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยครูผู้สอนมีปัญหามากกวาผู้บริหารโรงเรียน
53
และหัวหน้าหมวดวิชามีปัญหาด้านการวัดผลและประเมินผลการเรียนและงานทะเบียนนักเรียน
มากกว่าผู้บริหารโรงเรียน
จากผลการศึกษางานวิจัยในประเทศ สรุปว่า ปัญหาการบริหารงานวิชาการ ส่วนใหญ่
มักจะพบปัญหาด้านการจัดการเรียนการสอนซึ่งเกิดจากปัญหาบุคลากร เอกสารประกอบการสอน
อุปกรณ์และสื่อการสอน การจัดกิจกรรมนักเรียน อาคารสถานที่ การวางแผน การวัดผลและ
ประเมินผลและงานทะเบียนนักเรียน
2. งานวิจัยต่างประเทศ
มินูดิน (Minudin, 1987 : 2403-A) ได้ทำการวิจัยบทบาททางวิชาการของผู้บริหาร
โรงเรียน รัฐซาบาห์ มาเลเซีย พบว่า ส่วนใหญ่ผู้บริหารเป็นหลักในการประเมินผลโครงการ
ของโรงเรียนสนับสนุนให้ผู้ร่วมงานมีการศึกษาและประสบการณ์เพิ่มขึ้น กำหนดวัตถุประสงค์
ของโรงเรียนอย่างชัดเจน ควบคุมโครงการและกิจกรรมอื่นๆ ทั้งหมดของโรงเรียน สอนในระดับ
ขั้นรู้และเข้าใจกฎข้อบังคับในการเรียนรายวิชาต่างๆ
แมททอกซ์ (Mattox, 1987 : 6061-A) ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับเรื่องความต้องการในการ
ปฏิบัติงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนในรัฐอิลลินอยส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า
ความต้องการอยู่ในระดับสูงของผู้บริหารโรงเรียน หรือผู้ช่วยผู้บริหารฝ่ายวิชาการ คือ
มีความต้องการที่จะมีความสามารถในการปฏิบัติงานด้านนิเทศ การประเมินผลการปรับปรุง
การเรียนการสอน และการพัฒนาหลักสูตร
อาร์มาสตรอง (Armstrong, 1997 : 121) ได้ทำการวิจัยเรื่อง ผลกระทบของเทคนิค
การเรียนรู้แบบร่วมมือที่มีการจัดแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มตามผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (STAD)
ต่อผลสัมฤทธิ์ทางวิชาสังคมศึกษา และเจตคติต่อการเรียนวิชาสังคมศึกษาของนักเรียนระดับชั้น
เกรด 12 จำนวน 2 ห้องเรียน โดยห้องควบคุมเรียนโดยการบรรยาย ใช้ตำราและแบบฝึกหัด
ส่วนกลุ่มทดลองเรียนโดยการร่วมมือแบบ STAD ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนทั้ง 2 กลุ่ม
มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และเจตคติต่อการเรียนวิชาสังคมศึกษาไม่แตกต่างกัน แต่จากการสำรวจ
ความคิดเห็น พบว่าทั้งครูและนักเรียน วิธีการจัดกลุ่มแบบ STAD ทำให้นักเรียนเรียนด้วยความ
สนุกสนาน ครูสามารถจัดการเรียนการสอนได้ง่าย และสะดวก กว่าการสอนแบบบรรยาย
มานิรากัวห์ (Mairaguha, 1997 : 218) ได้ทำการวิจัยเรื่อง ปัจจัยบางประการ
ที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จทางวิชาการของนักเรียนชั้นปีที่ 1 ในโรงเรียนมัธยมศึกษาที่เปิดสอน
หลักสูตรวันอาทิตย์ ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยทางด้านภูมิหลังของครอบครัว ได้แก่ ระดับ
การศึกษาของพ่อ แม่ อาชีพของพ่อ และขนาดของครอบครัว ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับความสำเร็จทาง
54
การเรียนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 (2) คุณลักษณะของโรงเรียน เช่น รูปแบบ
การปกครอง ขนาดของโรงเรียน ขนาดของชั้นเรียน และสาขาที่ทำการศึกษา ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ
ความสำเร็จทางการเรียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (3) คุณลักษณะของนักเรียน
เฉพาะในเรื่องพฤติกรรมของนักเรียน และปัจจัยเฉพาะด้านภูมิหลังทางวิชาการ เช่น ผลการเรียน
ในระดับประถมศึกษา ได้แก่ วิชาคณิตศาสตร์ ภาษาฝรั่งเศส ศาสนาและสิ่งแวดล้อมศึกษา
รวมทั้งคะแนนเฉลี่ยสะสมที่สำเร็จการศึกษา และคะแนนสอบเข้าศึกษาต่อ มีส่วนสัมพันธ์กับ
ความสำเร็จทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
จากผลการวิจัยต่างประเทศ สรุปว่า การบริหารงานวิชาการ เน้นการประเมินผล
โครงการ ปรับปรุงการเรียนการสอน พัฒนาหลักสูตรและด้านการนิเทศ
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าจากงานวิจัยทั้งในประเทศและงานวิจัยต่างประเทศเกี่ยวกับ
งานวิชาการมีลักษณะคล้ายคลึงกันในหัวข้อ ด้านกระบวนการเรียนการสอน ด้านการประเมินผล
ด้านการพัฒนาทางด้านวิชาการ ด้านการนิเทศติดตามผล แต่งานวิจัยต่างประเทศจะเน้นด้านการ
จัดทำหลักสูตรให้สอดคล้องกับท้องถิ่น การจัดกระบวนการเรียนรู้โดยเน้นนักเรียนเป็นสำคัญ
และการประเมินผลเพื่อการพัฒนา
บทที่ 3
วิธีดำเนินการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาการบริหารงานวิชาการ
โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในสหวิทยาเขตกรุงธนบุรี 3 กรุงเทพมหานคร
ทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ ด้านการวางแผนงานวิชาการ ด้านการบริหารงานวิชาการ ด้านการจัดการเรียน
การสอน ด้านการพัฒนาและส่งเสริมทางด้านวิชาการ ด้านวัดผลและประเมินผลและงานทะเบียน
นักเรียน และด้านการประเมินผลการจัดการงานวิชาการ โดยกำหนดขั้นตอนดังนี้
1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
2. ตัวแปรที่ศึกษา
3. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
4. วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
5. การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิจัย
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากร ได้แก่ ข้าราชครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในสหวิทยาเขต
กรุงธนบุร ี 3 กรุงเทพมหานคร ประจำปีการศึกษา 2545 จาํ นวน 5 โรงเรยี นประกอบดว้ ย
ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 5 คน ผู้ช่วยผู้บริหารฝ่ายวิชาการ จำนวน 5 คน และครู-อาจารย์ผู้สอน
จำนวน 392 คน
กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ 1) ครู-อาจารย์ผู้สอนจำนวน 196 คน โดยใช้ตารางของ เครซี่
และ มอร์แกน (R.C. Krejcie and D.W. Morgan อ้างใน พวงรัตน์ ทวีรัตน์, 2540 : 303) และ
กำหนดตามสัดส่วนกลุ่มตัวอย่างในแต่ละโรงเรียนโดยทำการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random
Sampling) 2) ผู้บริหารโรงเรียน ผู้ช่วยผู้บริหารฝ่ายวิชาการ จำนวน 10 คน ในกลุ่มนี้ได้ศึกษาจาก
ประชากรทั้งหมดเพราะแต่ละโรงเรียนมีผู้บริหารโรงเรียน ผู้ช่วยผู้บริหารโรงเรียนฝ่ายวิชาการ
เพียง 1 คนดังรายละเอียดแสดงในตารางที่ 4
56
ตารางที่ 4 จำนวนประชากรและกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามโรงเรียน
โรงเรียนในสหวิทยาเขต ผู้บริหาร ผู้ช่วยฝ่ายวิชาการ ครู-อาจารย์
กรุงธนบุรี 3 ประชากร ประชากร ประชากร กลุ่ม
ตัวอย่าง
1. มัธยมวัดสิงห์ 1 1 126 63
2. รัตนโกสินทร์สมโภช
บางขุนเทียน 1 1 120 60
3. ศึกษานารีวิทยา 1 1 110 55
4. ทวีธาภิเศก 2 1 1 27 14
5. พิทยาลงกรณ์พิทยาคม 1 1 9 4
รวม 5 5 392 196
ตัวแปรที่ศึกษา
ตัวแปรที่ศึกษา ได้แก่ ปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาในการบริหารงานวิชาการ
โรงเรียนมัธยมศึกษา ทั้ง 6 ด้าน ได้แก่
1. ด้านการวางแผนงานวิชาการ
2. ด้านการบริหารงานวิชาการ
3. ด้านการจัดการเรียนการสอน
4. ด้านการพัฒนาและส่งเสริมทางด้านวิชาการ
5. ด้านวัดผลและประเมินผลการเรียนและงานทะเบียนนักเรียน
6. ด้านการประเมินผลการจัดการงานวิชาการ
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. ลักษณะของเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ซึ่งศึกษาจากทฤษฎี
และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยแบบสอบถามแบ่งออกเป็น 2 ตอนคือ
ตอนที่ 1 แบบสอบถามสถานภาพของผู้ตอบเป็นแบบเลือกตอบ เกี่ยวกับ
ตำแหน่งหน้าที่ และโรงเรียนที่สังกัด
57
ตอนที่ 2 แบบสอบถามแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. ปัญหาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา ทั้ง 6 ด้าน ได้แก่
ด้านการวางแผนงานวิชาการ ด้านการบริหารงานวิชาการ ด้านการจัดการเรียนการสอน
ด้านการพัฒนาและส่งเสริมทางด้านวิชาการ ด้านวัดผลและประเมินผลการเรียนและงานทะเบียน
นักเรียน และด้านการประเมินผลการจัดการงานวิชาการ ลักษณะของแบบสอบถามเป็น
แบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับโดยมีเกณฑ์การแบ่งความหมาย ดังนี้
5 หมายถึง มีปัญหา มากที่สุด
4 หมายถึง มีปัญหา มาก
3 หมายถึง มีปัญหา ปานกลาง
2 หมายถึง มีปัญหา น้อย
1 หมายถึง มีปัญหา น้อยที่สุด
2. แนวทางการแก้ปัญหาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา ทั้ง 6
ด้าน ได้แก่ ด้านการวางแผนงานวิชาการ ด้านการบริหารงานวิชาการ ด้านการจัดการเรียน
การสอน ด้านการพัฒนาและส่งเสริมทางด้านวิชาการ ด้านวัดผลและประเมินผลการเรียนและ
งานทะเบียนนักเรียน และด้านการประเมินผลการจัดการงานวิชาการ โดยให้เสนอแนวทาง
การแก้ปัญหาเฉพาะด้านที่มีปัญหาอยู่ในระดับมาก และมากที่สุด
2. การสร้างและการหาประสิทธิภาพของเครื่องมือ
ผู้วิจัยได้ดำเนินการสร้างเครื่องมือตามขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาเอกสาร ตำรา แนวคิดทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องการบริหาร
งานวิชาการ ทั้ง 6 ด้าน (1) ด้านการวางแผนงานวิชาการ (2) ด้านการบริหารงานวิชาการ
(3) ด้านการจัดการเรียนการสอน (4) ด้านการพัฒนาและส่งเสริมงานด้านวิชาการ (5) ด้านการวัด
ผลและประเมินผลการเรียนและงานทะเบียนนักเรียน และ (6) ด้านการประเมินผลการ
จัดการงานวิชาการ เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการสร้างแบบสอบถาม
ขั้นตอนที่ 2 นำแบบสอบถามที่สร้างขึ้น ไปให้อาจารย์ที่ปรึกษาตรวจสอบความตรง
ตามโครงสร้างของเนื้อหา ความถูกต้องเหมาะสมของภาษา และความครอบคลุมทางเนื้อหา
ขั้นตอนที่ 3 นำแบบสอบถามที่ปรับปรุงแล้ว ไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ
ความถูกต้อง และความครอบคลุมของเนื้อหา เพื่อให้ได้ข้อคำถามมีความเที่ยงตรงและสมบูรณ์
โดยมีผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่านดังต่อไปนี้
58
ดร. สาธิต สันนะกิจ ผู้อำนวยการระดับ 9 โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภช
บางขุนเทียน
ดร.วิโรจน วัฒนานิมิตกูล ประธานกรรมการบรหิ ารหลักสตู รครศุ าสตรมหาบณั ฑติ
(หลักสูตรและการสอน)
สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
นายประสาร อุตมางคบวร อดีตผู้อำนวยการระดับ 9 โรงเรียนทวีธาภิเศก
นายทวีศักดิ์ จงประดับเกียรติ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ โรงเรียนสาธิตมัธยม
สถาบันราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
นายเกษม แย้มศิริ ผู้อำนวยการโรงเรียนแหลมบัววิทยา
ขั้นตอนที่ 4 นำแบบสอบถามที่ปรับปรุงแก้ไขแล้วไปทดลองใช้ กับผู้บริหารและครู
โรงเรียนแจงร้อนวิทยา จำนวน 30 ฉบับ
ขั้นตอนที่ 5 นำแบบสอบถามที่ได้มาหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) โดยใช้
สัมประสิทธิ์แอลฟา (Alpha-Coefficient) ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.97
ขั้นตอนที่ 6 นำแบบสอบถามที่หาค่าความเชื่อมั่นแล้วไปดำเนินการจัดพิมพ์เป็น
แบบสอบถามฉบับสมบูรณ์เพื่อใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลต่อไป
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้ดำเนินการดังนี้
1. ติดต่อขอความอนุเคราะห์จากโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา
ในสหวิทยาเขตกรุงธนบุรี 3 กรุงเทพมหานคร โดยมีหนังสือจากบัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏ
บ้านสมเด็จเจ้าพระยา เพื่อขอความอนุเคราะห์กลุ่มตัวอย่างไปยังโรงเรียนดังกล่าว
2. เพื่อให้ช่วยดำเนินการแจกแบบสอบถามไปยังกลุ่มตัวอย่าง โดยกำหนดวันส่งคืนแก่
ผู้วิจัย
3. ติดตาม และรับคืนแบบสอบถามให้ครบตามจำนวนที่ส่งไปจำนวน 206 ฉบับ และ
ได้รับแบบสอบถามที่ตอบสมบูรณ์ครบถ้วน จำนวน 206 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100 ของจำนวน
แบบสอบถามทั้งหมดที่ส่งไป
59
การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิจัย
ผู้วิจัยดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถาม ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรม
สำเร็จรูป SPSS for Windows โดยแบ่งการวิเคราะห์เป็นดังนี้
1. วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม โดยการแจกแจงความถี่
(Frequency) และหาค่าร้อยละ (Percentage)
2. วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา ทั้ง 6 ด้าน
โดยการหาค่าเฉลี่ย (X ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
การแปลความหมายของปัญหาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา กำหนดเกณฑ์
คะแนนเฉลี่ยไว้ดังนี้ (ประคอง กรรณสูตร, 2528 : 70)
ช่วงคะแนน การแปลความหมาย
4.50 – 5.00 มีปัญหา มากที่สุด
3.50 – 4.49 มีปัญหา มาก
2.50 – 3.49 มีปัญหา ปานกลาง
1.50 – 2.49 มีปัญหา น้อย
1.00 – 1.49 มีปัญหา น้อยที่สุด
3. วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางการแก้ปัญหาบริหารงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา
โดยการสังเคราะห์เนื้อหา
บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูล และการแปลผลข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาปัญหาและแนวทาง
การแก้ปัญหาการบริหารงานวิชาการ โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในสหวิทยาเขต
กรุงธนบุรี 3 กรุงเทพมหานคร
ในการวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูล ผู้วิจัยใช้โปรมแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows เพื่อวิเคราะห์
ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถาม โดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( X )
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการสังเคราะห์เนื้อหา พร้อมกับนำเสนอในรูปตารางประกอบคำบรรยายตาม
ลำดับดังนี้
1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถามโดยการแจกแจงความถี่และหาค่าร้อย
ละ
2. ผลการวิเคราะห์ปัญหาการบริหารงานวิชาการ โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา
ในสหวิทยาเขตกรุงธนบุรี 3 กรุงเทพมหานคร โดยใช้ค่าเฉลี่ย ( X ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
3. ผลการวิเคราะห์แนวทางการแก้ปัญหาการบริหารงานวิชาการ โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรม
สามัญศึกษา ในสหวิทยาเขตกรุงธนบุรี 3 กรุงเทพมหานคร โดยการสังเคราะห์เนื้อหา
ข้อมูลสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม
ผู้ตอบแบบสอบถามเพื่อการวิจัยครั้งนี้คือ ผู้บริหารโรงเรียน ผู้ช่วยผู้บริหารโรงเรียน
ฝ่ายวิชาการ และครู-อาจารย์ผู้สอน โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในสหวิทยาเขตกรุงธนบุรี 3
กรุงเทพมหานคร ดังรายละเอียดในตารางที่ 5
ตารางที่ 5 แสดงข้อมูลสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม
สถานภาพผู้ตอบ จำนวนคน ร้อยละ
ผู้บริหารโรงเรียน 5 2.43
ผู้ช่วยผู้บริหารโรงเรียนฝ่ายวิชาการ 5 2.43
ครู-อาจารย์ผู้สอน 196 95.14
รวม 206 100.00
จากตารางที่ 5 พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นครู-อาจารย์ ร้อยละ 95.14 ส่วนผู้บริหาร
โรงเรียน และผู้ช่วยผู้บริหารโรงเรียนฝ่ายวิชาการ ร้อยละ 2.43
61
ผลการวิเคราะห์ปัญหาการบริหารงานวิชาการ โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญ
ศึกษา ในสหวิทยาเขตกรุงธนบุรี 3 กรุงเทพมหานคร
ผลการวิเคราะห์ปัญหาการบริหารงานวิชาการ โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา
ในสหวิทยาเขตกรุงธนบุรี 3 กรุงเทพมหานคร โดยภาพรวม และรายด้าน รวมทุกข้อ ปรากฎผลดังแสดงไว้ในตา
รางที่ 6 ถึงตารางที่ 12
ตารางที่ 6 แสดงค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของปัญหาการบริหารงานวิชาการ โรงเรียน
มัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญ ศึกษา ในสหวิทยาเขตกรุงธนบุรี 3 กรุงเทพมหานคร
เป็นรายด้านและรวมทุกด้าน
ข้อที่ ปัญหาการบริหารงานวิชาการ X S.D. ระดับปัญหา
1. ด้านการวางแผนงานวิชาการ 3.04 0.80 ปานกลาง
2. ด้านการบริหารงานวิชาการ 2.99 0.75 ปานกลาง
3. ด้านการจัดการเรียนการสอน 3.00 0.73 ปานกลาง
4. ด้านการพัฒนาและส่งเสริมทางด้านวิชาการ 2.98 0.72 ปานกลาง
5. ด้านการวัดผลและประเมินผลการเรียน
และงานทะเบียนนักเรียน 2.90 0.77 ปานกลาง
6. ด้านการประเมินผลการจัดงานวิชาการ 2.89 0.79 ปานกลาง
รวม 2.97 0.66 ปานกลาง
จากตารางที่ 6 พบว่า ปัญ ห าการบริหารงานวิชาการ โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัด
กรมสามัญศึกษา ในสหวิทยาเขตกรุงธนบุรี 3 กรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง
( X = 2.97) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าทุกด้านมีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีปัญหา ด้านการ
วางแผนงานวิชาการ มากเป็นอันดับที่ 1 ( X = 3.04) รองลงมาคือ ปัญหาด้านการจัดการเรียนการสอน ( X
= 3.00) และปัญหาด้านการบริหารงานวิชาการ ( X = 2.99) ตามลำดับ
62
ตารางที่ 7 แสดงค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของปัญหาการบริหารงานวิชาการ โ ร ง เรี ย น
มัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในสหวิทยาเขตกรุงธนบุรี 3 กรุงเทพมหานคร ด้านการวางแผนงานวิชา
การ โดยภาพรวมและรายข้อ
ข้อที่ ปัญหาด้านการวางแผนงานวิชาการ X S.D. ระดับปัญหา
1. บุคลากรผู้รับผิดชอบในการเก็บรวบรวมข้อมูลระเบียบ
และแนวปฏิบัติทางราชการเกี่ยวกับงานวิชาการ
3.08 0.93 ปานกลาง
2. การเก็บรวบรวมข้อมูลระเบียบและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับ
งานวิชาการอย่างเป็นระบบและสะดวกในการนำไปใช้ 3.11 0.99 ปานกลาง
3. การจัดทำเอกสารคู่มือครูหรือคู่มือนักเรียน 2.96 1.04 ปานกลาง
4. การเผยแพร่เอกสารเกี่ยวกับงานวิชาการให้ผู้เกี่ยว
ข้องทราบ 3.07 0.95 ปานกลาง
5. การจัดทำแผนงานวิชาการเป็นลายลักษณ์อักษร 3.04 1.10 ปานกลาง
6. การดำเนินการตามแผนงานหรือโครงการ 2.98 0.99 ปานกลาง
7. การประเมินผลเพื่อปรับปรุงและพัฒนางานวิชาการ 3.10 0.92 ปานกลาง
8. การจัดทำฐานข้อมูลเกี่ยวกับงานวิชาการ 2.99 0.97 ปานกลาง
รวม 3.04 0.80 ปานกลาง
จากตารางที่ 7 พบว่า ปัญหาการบริหารงานวิชาการ ด้านการวางแผนงานวิชาการ โดยภาพรวม
อยู่ในระดับปานกลาง ( X = 3.04) และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าทุกข้ออยู่ในระดับปานกลาง โดยมีปัญหา
ในการเก็บรวบรวมข้อมูลระเบียบและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับงานวิชาการอย่างเป็นระบบและสะดวกในการนำไปใช้
มากเป็นอันดับที่ 1 ( X = 3.11) รองลงมาคือปัญหาการประเมินผลเพื่อปรับปรุงและพัฒนางานวิชาการ ( X =
3.10) และปัญหาบุคลากรผู้รับผิดชอบในการเก็บรวบรวมข้อมูลระเบียบและแนวปฏิบัติทางราชการเกี่ยวกับงาน
วิชาการ ( X = 3.08) ตามลำดับ
ตารางที่ 8 แสดงค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของปัญหาการบริหารงานวิชาการ โรงเรียน
มัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในสหวิทยาเขตกรุงธนบุรี 3 กรุงเทพมหานคร ด้านการ
บริหารงานวิชาการ โดยภาพรวมและรายข้อ
ข้อที่ ปัญหาด้านการบริหารงานวิชาการ X S.D. ระดับปัญหา
63
1. การกำหนดหน้าที่รับผิดชอบของสายงานวิชาการ 2.92 0.97 ปานกลาง
2. การจัดกลุ่มการเรียนตามโครงสร้างของหลักสูตร 3.05 1.05 ปานกลาง
3. การจัดกลุ่มการเรียนสอดคล้องกับความพร้อม
ด้านอาคารสถานที่บุคลากรและวัสดุอุปกรณ์ 3.03 0.98 ปานกลาง
4. การจัดกลุ่มการเรียนให้นักเรียนเลือกเรียนตามความต้องการ
ความถนัดและความสนใจเพื่อการศึกษาต่อหรือการประกอบ
อาชีพ
3.15 1.02 ปานกลาง
5. การจัดตารางเรียน ตารางสอนรายบุคคลและตาราง
การใช้ห้องเรียน 3.00 1.09 ปานกลาง
6. การติดตามการใช้ตารางเรียนและตารางสอน 2.88 1.05 ปานกลาง
7. การจัดครูเข้าสอนตรงตามความรู้ความสามารถและ
ความถนัดในวิชาที่สอน 2.81 1.10 ปานกลาง
8. การจัดครูเข้าสอนแทนในกรณีที่ครูขาดสอน 2.93 1.09 ปานกลาง
9. การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในการดำเนินงานวิชา
การ
2.94 0.91 ปานกลาง
10. บุคลากรผู้รับผิดชอบในการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีใน
การดำเนินงานวิชาการ
3.16 0.95 ปานกลาง
11. การจัดทำข้อมูลสถิติและการประเมินผลเพื่อปรับปรุงและ
พัฒนาการเรียนการสอน
3.02 0.99 ปานกลาง
รวม 2.99 0.75 ปานกลาง
จากตารางที่ 8 พบว่า ปัญ หาการบริหารงานวิชาการ ด้านการบริหารงานวิชาการ
โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 2.99) และเ X มื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าทุกข้ออยู่ในระดับปาน
ก ล า ง โ ด ย มี ปั ญ ห า บุ ค ล า ก ร ผู้ รั บ ผิ ด ช อ บ ใ น ก า ร ใ ช้ น วั ต ก ร ร ม แ ล ะ เท ค โ น โ ล ยี ใ น
การดำ เนินงานวิชาการ มากเป็นอันดับที่ 1 ( X = 3.16) รองลงมาคือ ปัญหาการจัดกลุ่มการเรียน
64
= 3.15) และปัญหาการจัX ดกลุ่มการเรียนตามโครงสร้างของหลักสูตร ( X= 3.05
)ตามลำดับ
ตารางที่ 9 แสดงค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของปัญหาการบริหารงานวิชาการ โ ร ง เรี ย น
มัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในสหวิทยาเขตกรุงธนบุรี 3 กรุงเทพมหานคร ด้านการจัดการ
เรียนการสอน โดยภาพรวมและรายข้อ
ข้อที่ ปัญหาด้านการจัดการเรียนการสอน X S.D. ระดับปัญหา
1. ครูขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดทำแผน
การสอนและวิธีการเขียนแผนการสอนที่ถูกต้อง 3.06 0.96 ปานกลาง
2. การกระตุ้นและส่งเสริมให้ครูปรับปรุงและพัฒนา
แผนการสอน 3.03 0.97 ปานกลาง
3. การจัดทำแผนการสอนครบทุกรายวิชา 2.89 0.99 ปานกลาง
4. การจัดทำสื่อและอุปกรณ์การเรียนการสอน 2.99 0.93 ปานกลาง
5. การนำสื่อและอุปกรณ์การเรียนการสอนไปใช้ 2.93 0.89 ปานกลาง
6. งบประมาณสำหรับจัดทำ จัดหา สื่อการเรียนการสอน 3.04 1.02 ปานกลาง
7. การเก็บ บำรุงและรักษาสื่อและอุปกรณ์การเรียน
การสอนอย่างเป็นสัดส่วน 2.92 0.92 ปานกลาง
8. บุคลากรที่จะให้ความรู้แก่ครูในการผลิตสื่อ
และอุปกรณ์ใช้ประกอบการเรียนการสอน 3.17 1.05 ปานกลาง
รวม 3.00 0.73 ปานกลาง
จากตารางที่ 9 พบว่า ปัญหาการบริหารงานวิชาการ ด้านการจัดการเรียนการสอน โดยภาพ
รวมอยู่ในระดับปานกลาง ( X = 3.00) และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าทุกข้ออยู่ในระดับปานกลาง โดยมี
ปัญหาบุคลากรที่จะให้ความรู้แก่ครูในการผลิตสื่อและอุปกรณ์ใช้ประกอบการเรียนการสอน มากเป็นอันดับที่ 1
( X = 3.17) รองลงมาคือปัญหาครูขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดทำแผนการสอนและวิธีการเขียนแผน
การสอนที่ถูกต้อง ( X = 3.06) และ ปัญหางบประมาณสำหรับจัดทำ จัดหา สื่อการเรียนการสอน ( X =
3.04) ตามลำดับ
ตารางที่ 10 แสดงค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของปัญหาการบริหารงานวิชาการ โรงเรียน
มัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในสหวิทยาเขตกรุงธนบุรี 3 กรุงเทพมหานคร ด้านการ
พัฒนาและส่งเสริมทางด้านวิชาการ โดยภาพรวมและ รายข้อ
65
ข้อที่ ปัญหาด้านการพัฒนาและส่งเสริมทางด้านวิชาการ X S.D. ระดับปัญหา
1. ครูไม่เข้าใจกระบวนการจัดการเรียนการสอน
แบบต่างๆ 2.99 1.03 ปานกลาง
2. การสนับสนุนและส่งเสริมให้มีการจัดกระบวน
การเรียนการสอนแบบต่างๆ 3.00 0.95 ปานกลาง
3. การใช้สื่อและนวัตกรรมทางการศึกษาใหม่ๆ 3.04 0.94 ปานกลาง
4. การใช้แหล่งการเรียนรู้ภายนอกโรงเรียน 3.04 1.02 ปานกลาง
5. การพัฒนาการเรียนอย่างต่อเนื่อง 2.98 0.90 ปานกลาง
6. แนวปฏิบัติในการจัดสอนซ่อมเสริม 2.91 0.97 ปานกลาง
7. การนำผลการสอนซ่อมเสริมมาวิเคราะห์และรายงาน 2.96 1.03 ปานกลาง
8. การนำผลการวิเคราะห์มาปรับปรุงและพัฒนา
การสอนซ่อมเสริม 2.93 0.95 ปานกลาง
9. การจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนการสอน 2.88 0.98 ปานกลาง
10. การมีส่วนร่วมของนักเรียนในการจัดกิจกรรมการเรียนการ
สอน
2.97 0.95 ปานกลาง
11. การจัดกิจกรรมนักเรียนตามโครงสร้างของหลักสูตร 2.97 0.98 ปานกลาง
12. การประเมินผลเพื่อปรับปรุงการจัดกิจกรรมนักเรียน
ให้เหมาะสม 2.94 0.92 ปานกลาง
13. การจัดโครงการพัฒนาครูด้านวิชาการ 3.00 0.98 ปานกลาง
14. การประเมินผลการดำเนินการตามแผนหรือโครงการพัฒนาครู
ด้านวิชาการ
3.09 0.95 ปานกลาง
15. การนำผลประเมินไปใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนา
ครูอย่างต่อเนื่อง 3.02 0.99 ปานกลาง
16. การจัดบรรยากาศทางวิชาการไม่เอื้อประโยชน์ต่อกระบวนการ
เรียนการสอน
3.04 0.95 ปานกลาง
17. การให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดบรรยากาศ
ทางวิชาการ 2.87 0.90 ปานกลาง
ตารางที่ 10 (ต่อ)
ข้อที่ ปัญหาด้านการพัฒนาและส่งเสริมทางด้านวิชาการ X S.D. ระดับปัญหา
18. การประเมินผลการจัดบรรยากาศทางวิชาการ 3.00 0.95 ปานกลาง
19. การนำผลการประเมินการจัดบรรยากาศทางวิชาการ
ไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 2.89 1.00 ปานกลาง
20. การส่งเสริมให้ครู-อาจารย์มีความรู้ในการวิเคราะห์วิจัย
เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน 3.05 1.02 ปานกลาง
66
21. การเผยแพร่ผลการวิเคราะห์และวิจัยในชั้นเรียน 3.08 1.02 ปานกลาง
รวม 2.98 0.72 ปานกลาง
พบว่า ปัญ หากาจากตารางที่ 10 รบริหารงานวิชาการ ด้านการ พัฒ นาและส่งเสริม
ทางด้านวิชาการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( X = 2.98) และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ
พบว่าทุกข้ออยู่ในระดับปานกลาง โดยมีปัญหาการประเมินผลการดำเนินการตามแผนหรือ โครงการพัฒนา
ครูด้านวิชาการ มากเป็นอันดับที่ 1 ( X = 3.09) รองลงมาคือปัญหาการเผยแพร่ผลการวิเคราะห์และวิจัยใน
ชั้นเรียน ( X = 3.08) และปัญหาการส่งเสริมให้ครู-อาจารย์มีความรู้ในการวิเคราะห์วิจัยเพื่อพัฒนาการเรียน
การสอน ( X = 3.05) ตามลำดับ
ตารางที่ 11 แสดงค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของปัญหาการบริหารงานวิชาการ โ ร งเรี ย น มั ธ ย ม
ศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในสหวิทยาเขตกรุงธนบุรี 3 กรุงเทพมหานคร ด้านการวัดผลและประเมินผล
การเรียนและงานทะเบียนนักเรียน โดยภาพรวมและรายข้อ
ปัญหาด้านการวัดผลและประเมินผลการเรียนและ
งานทะเบียนนักเรียน
ข้อที่ X S.D. ระดับปัญหา
1. การรวบรวมระเบียบและวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการวัดผล
และประเมินผลการเรียน 2.97 1.01 ปานกลาง
2. การกำหนดแนวปฏิบัติและจัดทำปฏิทินปฏิบัติงานเกี่ยวกับการ
วัดผลและประเมินผลการเรียนเป็น
ลายลักษณ์อักษร 2.87 1.00 ปานกลาง
3. การปฏิบัติตามแนวปฏิบัติและปฏิทินปฏิบัติงานตามระเบียบว่า
67
ด้วยการวัดผลและประเมินผลการเรียน 2.78 0.96 ปานกลาง
4. การนำผลการประเมินมาปรับปรุงการเรียนการสอน 2.93 0.92 ปานกลาง
5. การสร้างเครื่องมือในการวัดผลเป็นไปตามจุดประสงค์
การเรียนรู้ของรายวิชา 2.92 0.93 ปานกลาง
6. การวิเคราะห์และปรับปรุงเครื่องมือในการวัดผล 2.84 0.92 ปานกลาง
7. การจัดให้มีคลังข้อสอบครบทุกรายวิชา 3.08 1.01 ปานกลาง
8. การจัดให้มีเอกสารและแบบฟอร์มเกี่ยวกับการวัดผลและ
ประเมินผลการเรียนอย่างมีระบบและสะดวกต่อการใช้
2.90 0.98 ปานกลาง
9. การปรับปรุงเอกสารและแบบฟอร์มที่ใช้ในการวัดผลและ
ประเมินผลการเรียนให้เหมาะสมและสะดวกต่อการใช้
2.90 0.99 ปานกลาง
10. การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการดำเนินการเกี่ยวกับการวัดผล
และประเมินผล
2.95 1.00 ปานกลาง
11. การรายงานผลการเรียนตามระเบียบว่าด้วยการวัดผลและ
ประเมินผลการเรียน
2.79 0.97 ปานกลาง
ตารางที่ 11 (ต่อ)
ปัญหาด้านการวัดผลและประเมินผลการเรียนและ
งานทะเบียนนักเรียน
ข้อที่ X S.D. ระดับปัญหา
12. การจัดเก็บรักษาหลักฐานการวัดผลและประเมินผล
การเรียนอย่างเรียบร้อยปลอดภัย 2.88 1.01 ปานกลาง
13. ทะเบียนนักเรียนหรือหลักฐานงานทะเบียนนักเรียน
ขาดความครบถ้วนถูกต้องชัดเจนและเป็นปัจจุบัน 2.77 0.96 ปานกลาง
รวม 2.89 0.77 ปานกลาง
จากตารางที่ 11 พบว่า ปัญหาการบริหารงานวิชาการ ด้านการวัดผลและประเมินผลการเรียนและ
งานทะเบียนนักเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( X = 2.89) และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าทุกข้อ
อยู่ในระดับปานกลาง โดยมีปัญหาการจัดให้มีคลังข้อสอบครบทุกรายวิชา มากเป็นอันดับที่ 1 ( X = 3.08) รอง
ลงมาคือปัญหาการรวบรวมระเบียบและวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการวัดผลและประเมินผลการเรียน ( X = 2.97)
และปัญหาการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการดำเนินการเกี่ยวกับการวัดผลและประเมินผล ( X = 2.95) ตาม
ลำดับ
68
ตารางที่ 12 แสดงค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของปัญหาการบริหารงานวิชาการ โรงเรียน
มัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในสหวิทยาเขตกรุงธนบุรี 3 กรุงเทพมหานคร
ด้านการประเมินผลการจัดการงานวิชาการ โดยภาพรวมและ รายข้อ
ข้อที่ ปัญหาด้านการประเมินผลการจัดการงานวิชาการ X S.D. ระดับปัญหา
1. การดำเนินการประเมินผลการจัดการงานวิชาการ 2.89 0.91 ปานกลาง
2. การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล 2.89 0.91 ปานกลาง
3. หลักฐานการประเมินผลการดำเนินงานวิชาการ 2.83 0.93 ปานกลาง
4. การวิเคราะห์ผลการประเมินการดำเนินงานวิชาการ 2.85 0.85 ปานกลาง
5. การนำผลการวิเคราะห์ไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาการ
ดำเนินงานวิชาการ
2.95 0.92 ปานกลาง
รวม 2.89 0.79 ปานกลาง
จ าก ต าร าง ที่ 12 พ บ ว่ า ปั ญ ห าก าร บ ริ ห าร ง าน วิ ช าก าร ด้ าน ก าร ป ร ะ เมิ น ผ ล
การจัดการงานวิชาการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( X = 2.89) และเมื่อพิจารณ าเป็น
ร าย ข้ อ พ บ ว่ า ทุ ก ข้ อ อ ยู่ ใน ร ะ ดั บ ป าน ก ล าง โ ด ย มี ปั ญ ห าก าร นํ าผ ล ก าร วิ เค ร าะ ห์ ไ ป ใ ช้
ในการปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงานวิชาการ มากเป็นอันดับที่ 1 ( X = 2.95) รองลงมาคือปัญหาการ
ดำเนินการประเมินผลการจัดการงานวิชาการ และปัญหาการนำเทคโนโลยีมาใช้ ในการเก็บและวิเคราะห์
ข้อมูล ( X = 2.89) ตามลำดับ
ผลการวิเคราะห์แนวทางการแก้ปัญหาการบริหารงานวิชาการ โรงเรียนมัธยมศึกษา
สังกัดกรมสามัญศึกษา ในสหวิทยาเขตกรุงธนบุรี 3 กรุงเทพมหานคร
ผู้บ ริห ารโรงเรียน ผู้ช่ วยผู้บ ริห ารโรงเรียน ฝ่ายวิช าก าร แล ะค รู-อ าจารย์ผู้ ส อ น
ได้เสนอแนวทางการแก้ปัญหาการบริหารงานวิชาการ โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในสห
วิทยาเขตกรุงธนบุรี 3 กรุงเทพมหานคร ดังรายละเอียดในตารางที่ 13-18
ตารางที่ 13 แสดงค่าความถี่แนวทางการแก ้ปัญหาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา
สั งกั ด ก รม ส ามั ญ ศึ ก ษ า ใน ส ห วิท ยาเข ต ก รุง ธ น บุ รี 3 ด้ าน ก ารวางแ ผ น งาน วิช าก าร
กรุงเทพมหานคร
ข้อที่ แนวทางการแก้ปัญหาการบริหารงานวิชาการ ความถี่
ควรจัดให้มีระบบฐานข้อมูลร่วมกันระหว่างโรงเรียนในสห
วิทยาเขตกรุงธนบุรี 3 และจัดให้มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบด้าน
การจัดทำฐานข้อมูลโดยตรง
1.
14
69
2. ควรกำหนดแบบฟอร์มที่ใช้สำหรับการจัดเก็บข้อมูลร่วมกัน
เพื่อให้เกิดความสะดวกในการป้อนข้อมูล
ลงบนฐานข้อมูล
11
3 ควรจัดให้มีการเผยแพร่เอกสารและประชาสัมพันธ์ ข้อมูลข่าว
สารร่วมกัน โดยจัดทำ เว็บไซต์ของโรงเรียนในสหวิทยาเขต
กรุงธนบุรี 3
9
4 ควรจัดทำแผนงานวิชาการที่เป็นลายลักษณ์อักษรและสามารถ
ใช้ปฏิบัติงานร่วมกันได้อย่างจริงจัง
7
จากตารางที่ 13 พบว่า ด้านการวางแผนงานวิชาการ
1. ควรจัดให้มีระบบฐานข้อมูลร่วมกันระหว่างโรงเรียนในสหวิทยาเขตกรุงธนบุรี 3 และจัดให้
มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบด้านการจัดทำฐานข้อมูลโดยตรง
2. ควรกำหนดแบบฟอร์มที่ใช้สำหรับการจัดเก็บข้อมูลร่วมกัน เพื่อให้เกิดความสะดวกในการ
ป้อนข้อมูลลงบนฐานข้อมูล
3. ค วรจัด ให้ มี การเผยแพ ร่เอ กส ารแล ะป ระช าสั ม พั น ธ์ข้ อมู ลข่ าวส ารร่วม กั น
โดยจัดทำ เว็บไซต์ของโรงเรียนในสหวิทยาเขตกรุงธนบุรี 3
4. ควรจัดทำ แผน งานวิชาการที่เป็น ลายลักษณ์ อักษ รและสามารถใช้ปฏิบัติงาน
ร่วมกันได้อย่างจริงจัง
ตารางที่ 14 แสดงค่าความถี่แนวทางการแก ้ปัญหาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา
สังกั ดกรมสามัญศึกษา ในสหวิทยาเขต กรุงธนบุรี 3 กรุงเทพมหานคร ด้านการริหาร
งานวิชาการ
ข้อที่ แนวทางการแก้ปัญหาการบริหารงานวิชาการ ความถี่
1. ควรจัดให้มีบุคลากรผู้รับผิดชอบในการใช้นวัตกรรม และ
เทคโนโลยีในการดำเนินงานวิชาการ
11
2. ควรจัดกลุ่มการเรียนตามความถนัด และตามความสามารถของ
ผู้เรียน
9
3. ควรมีบุคลากรที่ทำหน้าที่ในการรับผิดชอบทางด้านการจัดตา
รางเรียน ตารางสอน รวมทั้งการใช้ห้องเรียน ซึ่งก่อให้เกิด
ประโยชน์ทั้งต่อครูผู้สอนและนักเรียน
ให้มากที่สุด
7
70
4. โรงเรียนในสหวิทยาเขตกรุงธนบุรี 3 ควรมีการนำเอารายวิชาที่
ขาดแคลนบุคลากรในการสอน จัดทำเป็นแบบเรียนสำเร็จรูป
และนำเสนอไว้ในเว็บไซต์ของ
โรงเรียนในสหวิทยาเขตกรุงธนบุรี 3 เพื่อสะดวกต่อการนำไป
ใช้ในการบริหารงานวิชาการ
6
จากตารางที่ 14 พบว่า ด้านการบริหารงานวิชาการ
1. ควรจัดให้มีบุคลากรผู้รับผิดชอบในการใช้นวัตกรรม และเทคโนโลยีในการดำเนินงานวิชา
การ
2. ควรจัดกลุ่มการเรียนตามความถนัด และตามความสามารถของผู้เรียน
3. ควรมีบุคลากรที่ทำหน้าที่ในการรับผิดชอบทางด้านการจัดตารางเรียน ตารางสอน รวมทั้ง
การใช้ห้องเรียน ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อครูผู้สอนและนักเรียนให้มากที่สุด
4. โรงเรียนในสหวิทยาเขตกรุงธนบุรี 3 ควรมีการนำเอารายวิชาที่ขาดแคลนบุคลากรในการ
สอน จัดทำเป็นแบบเรียนสำเร็จรูปและนำเสนอไว้ในเว็บไซต์ของโรงเรียนใน สหวิทยาเขตกรุงธนบุรี 3 เพื่อ
สะดวกต่อการนำไปใช้ในการบริหารงานวิชาการ
ตารางที่ 15 แสดงค่าความถี่แนวทางการแก้ปัญหาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรม
สามัญศึกษา ในสหวิทยาเขตกรุงธนบุรี 3 กรุงเทพมหานคร
ด้านการจัดการเรียนการสอน
ข้อที่ แนวทางการแก้ปัญหาการบริหารงานวิชาการ ความถี่
1. ควรจัดให้มีการอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อให้ครูผู้สอนได้มี
ความรู้และความเข้าใจในการผลิตสื่อ และอุปกรณ์ประกอบ
การเรียนการสอน
17
71
2.
3.
ควรจัดให้มีการอบรมเชิงปฏิบัติการในการจัดทำแผนการเรียน
รู้อย่างต่อเนื่องภายในโรงเรียนที่อยู่ใน
สหวิทยาเขตกรุงธนบุรี 3 เพื่อให้ครูผู้สอนได้มีความรู้ความเข้า
ใจในเรื่องการจัดทำแผนการเรียนรู้
ควรส่งเสริมและให้การสนับสนุนด้านงบประมาณในการจัด
ทำสื่อ มีการประกวดการจัดทำสื่อและอุปกรณ์การเรียนการ
สอน โดยจัดให้มีเวทีในการนำเสนอ
ผลงาน ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้จัดทำสื่อและอุปกรณ์การ
เรียนการสอนได้เผยแพร่และแสดงผลงานของตนด้วย
14
7
4. โรงเรียนในกลุ่มสหวิทยาเขตกรุงธนบุรี 3 ควรส่งเสริมและ
แลกเปลี่ยนบุคลากรเพื่อให้ความรู้ในการผลิตสื่อและอุปกรณ์ที่
ใช้ประกอบการเรียนการสอนร่วมกัน
5
จากตารางที่ 15 พบว่า ด้านการจัดการเรียนการสอน
1. ควรจัดให้มีการอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อให้ครูผู้สอนได้มีความรู้และความเข้าใจในการผลิต
สื่อ และอุปกรณ์ประกอบการเรียนการสอน
2. ควรจัดให้มีการอบรมเชิงปฏิบัติการในการจัดทำแผนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ภายในโรง
เรียนที่อยู่ในสหวิทยาเขตกรุงธนบุรี 3 เพื่อให้ครูผู้สอนได้มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการจัดทำแผนการเรียนรู้
3. ควรส่งเสริมและให้การสนับสนุนด้านงบประมาณในการจัดทำสื่อ มีการประกวดการจัดทำ
สื่ อ แ ล ะ อุ ป ก ร ณ์ ก า ร เรี ย น ก า ร ส อ น โ ด ย จั ด ใ ห้ มี เว ที ใ น ก า ร นํ า เส น อ ผ ล ง า น ซึ่ ง เป็ น
การเปิดโอกาสให้ผู้จัดทำสื่อและอุปกรณ์การเรียนการสอนได้เผยแพร่และแสดงผลงานของตนด้วย
4. โรงเรียนในกลุ่มสหวิทยาเขตกรุงธนบุรี 3 ควรส่งเสริมและแลกเปลี่ยนบุคลากรเพื่อให้ความ
รู้ในการผลิตสื่อและอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการเรียนการสอนร่วมกัน
ตารางที่ 16 แสดงค่าความถี่แนวทางการแก้ปัญหาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรม
สามัญศึกษา ในสหวิทยาเขตกรุงธนบุรี 3 กรุงเทพมหานคร
ด้านการพัฒนาและส่งเสริมทางวิชาการ
ข้อที่ แนวทางการแก้ปัญหาการบริหารงานวิชาการ ความถี่
1. ควรจัดให้มีการประเมินผลการดำเนินงานตามแผน หรือโครง
การพัฒนาครูด้านวิชาการ
9
72
2.
3.
ควรจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อส่งเสริมให้มีการวิจัยในชั้น
เรียน
ควรจัดทำทะเบียนแหล่งเรียนรู้ภายนอกที่สอดคล้องกับหลัก
สูตร มีการประสานงานและขอความร่วมมือกับหน่วยงานที่
เกี่ยวข้องในการนำนักเรียนเข้าไปศึกษา
6
4
4. ควรจัดทำแผนงานเพื่อให้มีการนิเทศการสอนโดย
ตนเอง หรือโดยเพื่อนครู และผู้บริหารอย่างต่อเนื่อง
2
จากตารางที่ 16 พบว่า ด้านการพัฒนาและส่งเสริมทางวิชาการ
1. ควรจัดให้ มีการป ระเมิน ผลการดำ เนิ น งาน ตามแผน ห รือโครงการพั ฒ น าครู
ด้านวิชาการ
2. ควรจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อส่งเสริมให้มีการวิจัยในชั้นเรียน
3. ค ว ร จั ด ทํ าท ะ เบี ย น แ ห ล่ ง เรี ย น รู้ ภ าย น อ ก ที่ ส อ ด ค ล้ อ ง กั บ ห ลั ก สู ต ร แ ล ะ
มีการประสานงานและขอความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการนำนักเรียนเข้าไปศึกษา
4. ควรจัดทำแผนงานเพื่อให้มีการนิเทศการสอนโดยตนเอง หรือโดยเพื่อนครูและผู้บริหาร
อย่างต่อเนื่อง
ตารางที่ 17 แสดงค่าความถี่แนวทางการแก้ปัญหาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรม
สามัญศึกษา ในสหวิทยาเขตกรุงธนบุรี 3 กรุงเทพมหานคร
ด้านการวัดผลและประเมินผลการเรียนและงานทะเบียนนักเรียน
ข้อที่ แนวทางการแก้ปัญหาการบริหารงานวิชาการ ความถี่
1. ควรจัดทำคลังข้อสอบโรงเรียนในสหวิทยาเขต
กรุงธนบุรี 3 ทุกรายวิชาเพื่อช่วยให้ครูผู้สอนสามารถนำเอาข้อ
สอบเก่ามาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
7
73
2.
3.
โรงเรียนในสหวิทยาเขตกรุงธนบุรี 3 ควรมีการจัดตั้งหน่วย
งานกลางเพื่อทำหน้าที่ในการเก็บรวบรวมระเบียบและวิธี
ปฏิบัติเกี่ยวกับการวัดผลและประเมินผลการเรียนขึ้นมา โดย
ให้มีการกำหนดระเบียบ
และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการวัดผลและประเมินผลการเรียนที่
สามารถใช้ร่วมกัน
ฝ่ายบริหารควรให้การสนับสนุน ติดตาม และอำนวยความ
สะดวกให้มีการนำเอาเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้ในการวัดผลและ
ประเมินผลให้มากยิ่งขึ้น เช่น โปรแกรมใหม่และการปรับปรุง
ประสิทธิภาพของ
เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้สามารถรองรับกับ
โปรแกรมที่นำมาใช้
6
4
4. ฝ่ายบริหารควรจัดให้มีการสรุปงานเป็นรายภาคเรียน หรือราย
ปี โดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจ
หลักฐาน เพื่อความถูกต้องของทะเบียนนักเรียน และมีการ
ปรับปรุงข้อมูลทะเบียนนักเรียนให้เป็นปัจจุบัน
2
จากตารางที่ 17 พบว่า ด้านการวัดผลและประเมินผลการเรียนการสอนและงานทะเบียนนักเรียน
1. ควรจัดทำคลังข้อสอบโรงเรียนในสหวิทยาเขตกรุงธนบุรี 3 ทุกๆรายวิชาเพื่อช่วยให้ครูผู้สอน
สามารถนำเอาข้อสอบเก่ามาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. โรงเรียนในสหวิทยาเขตกรุงธนบุรี 3 ควรมีการจัดตั้งหน่วยงานกลางเพื่อทำ หน้าที่
ในการเก็บรวบรวมระเบียบและวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการวัดผลและประเมินผลการเรียนขึ้นมา โดยให้มีการกำหนด
ระเบียบและวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการวัดผลและประเมินผลการเรียนที่สามารถใช้ร่วมกัน
3. ฝ่ายบริหารควรให้การสนับสนุน ติดตาม และอำนวยความสะดวกให้มีการนำเอาเทคโนโลยี
ต่ า ง ๆ ม า ใ ช้ ใ น ก า ร วั ด ผ ล แ ล ะ ป ร ะ เมิ น ผ ล ใ ห้ ม า ก ยิ่ ง ขึ้ น เช่ น โ ป ร แ ก ร ม ใ ห ม่ แ ล ะ
การปรับปรุงประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้สามารถรองรับกับโปรแกรมที่นำมาใช้
4. ฝ่ายบริหารควรจัดให้มีการสรุปงานเป็นรายภาคเรียน หรือรายปี โดยมีการแต่งตั้งคณะ
ก ร ร ม ก าร ต ร ว จ ห ลั ก ฐ าน เพื่ อ ค ว าม ถู ก ต้ อ งข อ งท ะ เบี ย น นั ก เรี ย น แ ล ะ มี ก าร ป รั บ ป รุ ง
ข้อมูลทะเบียนนักเรียนให้เป็นปัจจุบัน
74
ตารางที่ 18 แสดงค่าความถี่แนวทางการแก้ปัญหาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรม
สามัญศึกษา ในสหวิทยาเขตกรุงธนบุรี 3 กรุงเทพมหานคร
ด้านการประเมินผลการจัดการงานวิชาการ
ข้อที่ แนวทางการแก้ปัญหาการบริหารงานวิชาการ ความถี่
1. ควรนำเอาผลที่ได้จากการวิเคราะห์ สังเคราะห์มาใช้ในการ
พัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงานทางวิชาการทุกๆ ครั้ง
8
2. ควรมีการนำเอาโปรแกรมสำเร็จรูปทางคอมพิวเตอร์มาช่วยใน
การจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล มีการจัดทำสถิติต่างๆ เพื่อใช้
เป็นข้อมูลในการตัดสินใจ
5
3. ควรจัดให้มีหน่วยกลางเพื่อทำหน้าที่และรับผิดชอบเกี่ยวกับ
การประเมินผลการดำเนินงานขึ้นภายใน
โรงเรียน ซึ่งอาจจัดตั้งในรูปแบบของหน่วยงาน
ตรวจสอบคุณภาพภายใน
4
4. ควรจัดให้มีการประเมินผลการดำเนินงานทุกภาคเรียน เพื่อนำ
ผลการประเมินดังกล่าวมาใช้ในการปรับปรุงและพัฒนางาน
วิชาการเพื่อให้งานวิชาการ
มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
2
จากตารางที่ 18 พบว่า ด้านการประเมินผลการจัดการงานวิชาการ
75
1. ควรนำเอาผลที่ได้จากการวิเคราะห์ สังเคราะห์มาใช้ในการพัฒนาและปรับปรุงการดำเนิน
งานทางวิชาการทุกๆ ครั้ง
2. ควรมีการนำเอาโปรแกรมสำเร็จรูปทางคอมพิวเตอร์มาช่วยในการจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล
มีการจัดทำสถิติต่างๆ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจ
3. ควรจัดให้มีหน่วยงานกลางเพื่อทำหน้าที่และรับผิดชอบเกี่ยวกับการประเมินผลการดำเนิน
งานขึ้นภายในโรงเรียน ซึ่งอาจจัดตั้งในรูปแบบของหน่วยงานตรวจสอบคุณภาพภายใน
4. ควรจัดให้มีการประเมินผลการดำ เนินงานทุกภาคเรียน เพื่อนำ ผลการประเมิน
ดังกล่าวมาใช้ในการปรับปรุงและพัฒนางานวิชาการเพื่อให้งานวิชาการมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
บทที่ 5
สรุปผลการวิจัย อภิปราย และข้อเสนอแนะ
การวิจัยเรื่อง “การศึกษาปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาการบริหารงานวิชาการ
โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในสหวิทยาเขตกรุงธนบุรี 3 กรุงเทพมหานคร”
ในบทนี้ ผู้วิจัยได้ดำเนินการสรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ ไว้ดังต่อไปนี้
1. วัตถุประสงค์ของการวิจัย
2. วิธีดำเนินการวิจัย
3. สรุปผลการวิจัย
4. อภิปรายผล
5. ข้อเสนอแนะ
1. วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1.1 เพื่อศึกษาระดับปัญหาการบริหารงานวิชาการ โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรม
สามัญศึกษา ในสหวิทยาเขตกรุงธนบุรี 3 กรุงเทพมหานคร
1.2 เพื่อศึกษาแนวทางการแก้ปัญหาการบริหารงานวิชาการ โรงเรียนมัธยมศึกษา
สังกัดกรมสามัญศึกษา ในสหวิทยาเขตกรุงธนบุรี 3 กรุงเทพมหานคร
2. วิธีดำเนินการวิจัย
2.1 ประชากรกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เป็นผู้บริหารโรงเรียนจำนวน
5 คน ผู้ช่วยผู้บริหารฝ่ายวิชาการจำนวน 5 คน และครู-อาจารย์ผู้สอนจำนวน 196 คน รวมทั้งสิ้น
จำนวน 206 คน
2.2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยศึกษาจาก
ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง มีจำนวน 2 ตอน คือ (1) ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบสอบถาม
(2) ปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาการบริหารงานวิชาการ ผู้วิจัยได้นำแบบสอบถามฉบับที่
สร้างขึ้นมาให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน ทำการตรวจสอบ ความถูกต้อง และความครอบคลุมของ
เนื้อหา เพื่อให้ได้ข้อคำถามที่มีความเที่ยงตรงและความสมบูรณ์ แล้วจึงนำแบบสอบถามฉบับ
สมบูรณ์ไปทำการทดลองใช้กับผู้บริหารและครูโรงเรียนแจงร้อนวิทยา จำนวน 30 คน เพื่อหา
77
ค่าความเชื่อมั่นโดยใช้วิธีการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา ของ ครอนบาค (Cronbach)ได้ค่า
สัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่น = 0.97
2.3 การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง และ
ได้รับแบบสอบถามที่ตอบสมบูรณ์ครบถ้วน จำนวน 206 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100.00
2.4 การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์
โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows ซึ่งได้ดำเนินการวิเคราะห์ค่าสถิติ ค่าร้อยละ
ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการสังเคราะห์เนื้อหา แล้วจึงนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ในรูปตารางประกอบคำบรรยาย
3. สรุปผลการวิจัย
3.1 ผลการศึกษาระดับปัญหาการบริหารงานวิชาการ โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัด
กรมสามัญศึกษา ในสหวิทยาเขตกรุงธนบุรี 3 กรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง
และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าทุกด้าน มีปัญหาอยู่ในระดับปานกลางเช่นเดียวกัน โดยเรียง
ลำดับของระดับปัญหาด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย ได้แก่ (1) ด้านการวางแผน
งานวิชาการ (2) ด้านการจัดการเรียนการสอน (3) ด้านการบริหารงานวิชาการ (4) ด้านการพัฒนา
และส่งเสริมทางด้านวิชาการ (5) ด้านการวัดผลและประเมินผลการเรียนและงานทะเบียนนักเรียน
และ (6) ด้านการประเมินผลการจัดงานวิชาการ ตามลำดับ
เมื่อพิจารณารายละเอียดของแต่ละด้านเป็นรายข้อ พบว่า
1) ด้านการวางแผนงานวิชาการ มีปัญหาในภาพรวมและรายข้ออยู่ในระดับ
ปานกลางเช่นเดียวกัน และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า การเก็บรวบรวมข้อมูลระเบียบและ
แนวปฏิบัติเกี่ยวกับงานวิชาการอย่างเป็นระบบและสะดวกในการนำไปใช้ มีปัญหาอยู่ในระดับ
มาก เป็นอันดับที่ 1 รองลงมาคือ การประเมินผลเพื่อปรับปรุงและพัฒนางานวิชาการ และบุคลากร
ผู้รับผิดชอบในการเก็บรวบรวมข้อมูล ระเบียบและแนวปฏิบัติทางราชการเกี่ยวกับงานวิชาการ
ตามลำดับ
2) ด้านการบริหารงานวิชาการ มีปัญหาในภาพรวมและรายข้ออยู่ในระดับ
ปานกลางเช่นเดียวกัน และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า บุคลากรผู้รับผิดชอบในการใช้
นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการดำเนินงานวิชาการ มีปัญหาอยู่ในระดับมาก เป็นอันดับที่ 1 รอง
ลงมาคือ การจัดกลุ่มการเรียนให้นักเรียนเลือกเรียนตามความต้องการ ความถนัดและความสนใจ
เพื่อการศึกษาต่อหรือการประกอบอาชีพ และ การจัดกลุ่มการเรียนตามโครงสร้างของหลักสูตร
ตามลำดับ
78
3) ด้านการจัดการเรียนการสอน มีปัญหาในภาพรวมและรายข้ออยู่ในระดับ
ปานกลางเช่นเดียวกัน และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า บุคลากรที่จะให้ความรู้แก่ครูในการ
ผลิตสื่อและอุปกรณ์ใช้ประกอบการเรียนการสอน มีปัญหาอยู่ในระดับมาก เป็นอันดับที่ 1
รองลงมาคือ ครูขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดทำแผนการสอนและวิธีการเขียน
แผนการสอนที่ถูกต้อง และ งบประมาณสำหรับจัดทำ จัดหา สื่อการเรียนการสอน ตามลำดับ
4) ด้านการพัฒนาและส่งเสริมทางด้านวิชาการ มีปัญหาในภาพรวมและ
รายข้ออยู่ในระดับปานกลางเช่นเดียวกัน และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าการประเมินผล
การดำเนินการตามแผนหรือโครงการพัฒนาครูด้านวิชาการ มีปัญหาอยู่ในระดับมาก เป็นอันดับที่
1 รองลงมาคือ การเผยแพร่ผลการวิเคราะห์และวิจัยในชั้นเรียน และ การส่งเสริมให้ครู-อาจารย์
มีความรู้ในการวิเคราะห์วิจัย เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน ตามลำดับ
5) ด้านการวัดผลและประเมินผลการเรียนและงานทะเบียนนักเรียน มีปัญหาใน
ภาพรวมและรายข้ออยู่ในระดับปานกลางเช่นเดียวกัน และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า การจัด
ให้มีคลังข้อสอบครบทุกรายวิชา มีปัญหาอยู่ในระดับมาก เป็นอันดับที่ 1 รองลงมาคือ การรวบรวม
ระเบียบและวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการวัดผลและประเมินผลการเรียน และ การนำเทคโนโลยีมาใช้ใน
การดำเนินการเกี่ยวกับการวัดผลและประเมินผล ตามลำดับ
6) ด้านการประเมินผลการจัดงานวิชาการ มีปัญหาในภาพรวมและรายข้ออยู่ใน
ระดับปานกลางเช่นเดียวกัน และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า การนำผลการวิเคราะห์ไปใช้ใน
การปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงานวิชาการ มีปัญหาอยู่ในระดับมาก เป็นอันดับที่ 1 รองลงมา
คือ การดำเนินการประเมินผลการจัดการงานวิชาการ และ การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเก็บและ
วิเคราะห์ข้อมูล ตามลำดับ
3.2 ผลการศึกษาแนวทางการแก้ปัญหาการบริหารงานวิชาการ โรงเรียนมัธยมศึกษา
สังกัดกรมสามัญศึกษา ในสหวิทยาเขตกรุงธนบุรี 3 กรุงเทพมหานคร พบว่า
1) ด้านการวางแผนงานวิชาการ (1) ควรจัดให้มีระบบฐานข้อมูลร่วมกัน
ระหว่างโรงเรียนในสหวิทยาเขตกรุงธนบุรี 3 และจัดให้มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบด้านการจัดทำฐาน
ข้อมูลโดยตรง (2) ควรกำหนดแบบฟอร์มที่ใช้สำหรับการจัดเก็บข้อมูลร่วมกัน เพื่อให้เกิดความ
สะดวกในการป้อนข้อมูลลงบนฐานข้อมูล
2) ด้านการบริหารงานวิชาการ (1) ควรจัดให้มีบุคลากรผู้รับผิดชอบในการใช้
นวัตกรรม และเทคโนโลยีในการดำเนินงานวิชาการ (2) ควรจัดกลุ่มการเรียนตามความถนัด และ
ตามความสามารถของผู้เรียน
79
3) ด้านการจัดการเรียนการสอน (1) ควรจัดให้มีการอบรมเชิงปฏิบัติการ
เพื่อให้ครูผู้สอนได้มีความรู้และความเข้าใจในการผลิตสื่อ และอุปกรณ์ประกอบการเรียนการสอน
(2) ควรจัดให้มีการอบรมเชิงปฏิบัติการในการจัดทำแผนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องภายในโรงเรียนที่
อยู่ในสหวิทยาเขตกรุงธนบุรี 3 เพื่อให้ครูผู้สอนได้มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการจัดทำแผน
การเรียนรู้
4) ด้านการพัฒนาและส่งเสริมทางวิชาการ (1) ควรจัดให้มีการประเมินผลการ
ดำเนินงานตามแผน หรือโครงการพัฒนาครูด้านวิชาการ (2) ควรจัดอบรมเชิงปฎิบัติการ เพื่อส่ง
เสริมให้มีการทำวิจัยในชั้นเรียน
5) ด้านการวัดผลและประเมินผลการเรียนการสอนและงานทะเบียนนักเรียน
(1) ควรจัดทำคลังข้อสอบโรงเรียนในสหวิทยาเขตกรุงธนบุรี 3 ทุกรายวิชา เพื่อช่วยให้ครูผู้สอน
สามารถนำเอาข้อสอบเก่ามาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (2) โรงเรียนในสหวิทยาเขตกรุงธนบุรี 3
ควรมีจัดตั้งหน่วยงานกลางเพื่อทำหน้าที่ในการเก็บรวบรวมระเบียบและวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการวัด
ผลและประเมินผลการเรียนขึ้นมา โดยให้มีการกำหนดระเบียบและวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการวัดผล
และประเมินผลการเรียนที่สามารถใช้ร่วมกัน
6) ด้านการประเมินผลการจัดการงานวิชาการ (1) ควรนำเอาผลที่ได้จาก
การวิเคราะห์ สังเคราะห์มาใช้ในการพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงานทางวิชาการทุกๆ ครั้ง
(2) ควรนำเอาโปรแกรมสำเร็จรูปทางคอมพิวเตอร์มาช่วยในการจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล
มีการจัดทำสถิติต่างๆ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจ
4. อภิปรายผล
จากผลการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยพบประเด็นที่สำคัญและสามารถนำมาอภิปรายได้ดังนี้
4.1 การศึกษาปัญหาการบริหารงานวิชาการ โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรม
สามัญศึกษา ในสหวิทยาเขตกรุงธนบุรี 3 กรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมและรายด้าน พบว่า มี
ระดับปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง โดยด้านการวางแผนงานวิชาการ เป็นปัญหาอยู่ในระดับ
ปานกลางที่ค่อนข้างมาก ซึ่งผลการวิจัยที่พบในครั้งนี้สอดคล้องกับผลวิจัยของรุจิรา
ผดุงแผ้ว (2541 : บทคัดย่อ) ซึ่งศึกษาปัญหาการปฏิบัติงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรม
สามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยภาพรวมและรายด้านพบว่ามีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง
โดยด้านการวางแผนงานวิชาการ เป็นปัญหาอยู่ในระดับปานกลางค่อนข้างน้อย นอกจากนี้
ผลการวิจัยที่ผู้วิจัยพบในครั้งนี้ยังสอดคล้องกับผลการวิจัยของ เจริญ ชาเรืองเดช (2542 : บทคัดย่อ)
ซึ่งพบว่า ปัญหาการปฏิบัติงานวิชาการในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา
80
จังหวัดนครพนม มีปัญหาการปฏิบัติงานวิชาการโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง แต่เมื่อ
พิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีปัญหาอยู่ในระดับน้อยเพียง 1 ด้าน คือ การวางแผนงานวิชาการ
และสอดคล้องกับผลการวิจัยของ สุมาลี สังขะไชย (2542 : บทคัดย่อ) พบว่า การปฏิบัติงานของ
ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 4 การปฏิบัติงานวิชาการโดย
ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบพบว่า การปฏิบัติงานวิชาการด้าน
การวางแผนงานวิชาการ มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก และยังสอดคล้องกับผลการวิจัยของ
ถาวร กันเมล์ (2542 : บทคัดย่อ) ซึ่งได้ทำการศึกษาปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน
มัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี โดยผลการวิจัยพบว่า ด้านการ
วางแผนงานวิชาการเป็นปัญหามากกว่าทุกด้าน ผู้วิจัยมีความเห็นว่าการที่ผลการวิจัยเป็นเช่นนี้อาจ
เกิดเนื่องมาจากการศึกษาในระดับมัธยมศึกษากำลังอยู่ในช่วงของการปฏิรูปการศึกษา จึงส่งผลให้
เกิดปัญหาด้านการวางแผนงานวิชาการอยู่ในระดับที่มากกว่าปัญหาด้านอื่นๆ เนื่องจากครูที่ต้อง
ปฏิบัติงานในส่วนของการวางแผนงานวิชาการยังขาดความร ู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการวางแผนงาน
วิชาการส่วนหนึ่ง ประกอบกับภาระกิจหลักของครู คือ งานสอน จึงทำให้ครูมีปัญหาทางด้าน
การวางแผนงานวิชาการอยู่ในระดับที่น่าเป็นห่วง
ถ้าพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า
1) ด้านการวางแผนงานวิชาการ มีปัญหาในภาพรวมและรายข้ออยู่ในระดับ
ปานกลาง ส่วนเรื่อง การเก็บรวบรวมข้อมูลระเบียบและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับงานวิชาการอย่างเป็น
ระบบและสะดวกในการนำไปใช้ มีปัญหาอยู่ในระดับมาก ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะว่าโรงเรียนมัธยม
ศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ส่วนใหญ่มักจะพบปัญหาในเรื่องของการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นผล
เนื่องมาจาก ขาดการตรวจสอบและติดตาม อีกทั้งยังขาดความร่วมมือกันของโรงเรียนที่อยู่ในสห
วิทยาเขต เดียวกัน โดยเฉพาะการนำเอาระบบฐานข้อมูลหรือโปรแกรมทางคอมพิวเตอร์มาใช้งาน
ร่วมกัน
2) ด้านการบริหารงานวิชาการ มีปัญหาในภาพรวมและรายข้ออยู่ในระดับ
ปานกลาง ส่วนเรื่อง บุคลากรผู้รับผิดชอบในการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการดำเนินงาน
วิชาการ มีปัญหาอยู่ในระดับมาก ผลการวิจัยครั้งนี้สอดคล้องกับผลการวิจัยของ ทวีศักดิ์
หงส์อารยะชน (2542 : บทคัดย่อ) ซึ่งได้ทำการศึกษาเรื่อง การศึกษาสภาพและปัญหางานวิชาการ
ของโรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร สังกัดกรมสามัญศึกษา กรุงเทพมหานคร สิ่งที่เป็น
ปัญหาสำคัญที่สุดก็คือ เรื่อง การขาดบุคลากรที่มีถนัดในด้านวิชาชีพ ขาดแคลนงบประมาณ
อาคารสถานที่ไม่เพียงพอ ผู้วิจัยมีความเห็นว่า หากโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ได้
นำเอาแนวคิดการจัดการศึกษาแบบสหวิทยาเขต กรมสามัญศึกษา (มปป. : 1) โดยมีวัตถุประสงค์
เพื่อให้มีการใช้ทรัพยากรร่วมกันในสหวิทยาเขต มาใช้จะทำให้ปัญหาข้างต้นสามารถลดลงไปได้
81
3) ด้านการจัดการเรียนการสอน มีปัญหาในภาพรวมและรายข้ออยู่ในระดับ
ปานกลาง ส่วนเรื่อง บุคลากรที่จะให้ความรู้แก่ครูในการผลิตสื่อและอุปกรณ์ใช้ประกอบการเรียน
การสอน มีปัญหาอยู่ในระดับมาก ผลการวิจัยครั้งนี้สอดคล้องกับผลการวิจัยของ ทวีศักดิ์
หงส์อารยะชน (2542 : บทคัดย่อ) ซึ่งได้ทำการศึกษาเรื่อง การศึกษาสภาพและปัญหางานวิชาการ
ของโรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร สังกัดกรมสามัญศึกษา กรุงเทพมหานคร สิ่งที่เป็น
ปัญหาสำคัญที่สุดก็คือ เรื่องของบุคลากร ยังขาดความรู้ ความเข้าใจ การผลิตสื่อและอุปกรณ์เพื่อ
ใช้สำหรับประกอบการเรียนการสอน ซึ่งจะส่งผลต่อการจัดการเรียนการสอนในระดับมัธยมศึกษา
เป็นอย่างมาก
4) ด้านการพัฒนาและส่งเสริมทางด้านวิชาการ มีปัญหาในภาพรวมและ
รายข้ออยู่ในระดับปานกลาง ส่วนเรื่อง การประเมินผลการดำเนินการตามแผนหรือโครงการ
พัฒนาครูด้านวิชาการ มีปัญหาอยู่ในระดับมาก ผลการวิจัยครั้งนี้สอดคล้องกับผลการวิจัยของ
ศรีวรรณ ปินใจ (2542 : บทคัดย่อ) ซึ่งได้ทำการศึกษาเรื่อง การศึกษาปัญหาการใช้หลักสูตรมัธยม
ศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2521 ในทรรศนะของผู้ปฏิบัติงานวิชาการ และผู้บริหารโรงเรียนมัธยม
ศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในจังหวัดเชียงราย สิ่งที่เป็นปัญหามากที่สุด คือ ด้านบุคลากร
ขาดงบประมาณในการส่งบุคลากรเข้ารับการฝึกอบรมหรือประชุมทางวิชาการ เป็นผลให้บุคลากร
ขาดความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับระบบการประเมินผลการดำเนินการตามแผนหรือโครงการพัฒนา
ครูด้านวิชาการ
5) ด้านการวัดผลและประเมินผลการเรียนและงานทะเบียนนักเรียน มีปัญหาใน
ภาพรวมและรายข้ออยู่ในระดับปานกลาง ส่วนเรื่อง การจัดให้มีคลังข้อสอบครบทุกรายวิชา
มีปัญหาอยู่ในระดับมาก ผลการวิจัยครั้งนี้สอดคล้องกับผลการวิจัยของดำรงค์ ภุมมา (2542 :
บทคัดย่อ) ซึ่งได้ทำการศึกษาเรื่อง การศึกษางานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญ
ศึกษา : ศึกษาเฉพาะกรณีโรงเรียนสตรีสิริเกศ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ โดยสิ่งที่เป็นปัญหา
มากที่สุดคือ ครูมีชั่วโมงสอนมาก ทำให้ไม่มีเวลาออกข้อสอบ ทั้งนี้ผู้วิจัยมีความเห็นว่า ในการจัด
ทำคลังข้อสอบของโรงเรียนในสหวิทยาเขตกรุงธนบุรี 3 มีความจำเป็นและเป็นปัญหาที่ควรได้รับ
การแก้ไขอย่างเร่งด่วน
6) ด้านการประเมินผลการจัดงานวิชาการ มีปัญหาในภาพรวมและรายข้ออยู่ใน
ระดับปานกลาง ส่วนเรื่อง การนำผลการวิเคราะห์ไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงาน
วิชาการ มีปัญหาอยู่ในระดับมาก ผลการวิจัยครั้งนี้สอดคล้องกับผลการวิจัยของ ดำรงค์ ภุมมา
(2542 : บทคัดย่อ) ซึ่งได้ทำการศึกษาเรื่อง การศึกษางานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัด
กรมสามัญศึกษา : ศึกษาเฉพาะกรณีโรงเรียนสตรีสิริเกศ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ และพบว่า
นอกจากปัญหาด้านการออกข้อสอบของครูแล้ว ยังพบประเด็นที่เป็นปัญหาคือ การวิเคราะห์
82
ผลการประเมินผลงานด้านวิชาการไม่ชัดเจนและไม่นำผลการวิเคราะห์มาปรับปรุง และพัฒนางาน
วิชาการ
4.2 แนวทางการแก้ปัญหาการบริหารงานวิชาการ โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรม
สามัญศึกษา ในสหวิทยาเขตกรุงธนบุรี 3 กรุงเทพมหานคร สรุปได้ดังนี้
1) ด้านการวางแผนงานวิชาการ (1) ควรจัดให้มีระบบฐานข้อมูลร่วมกันระหว่าง
โรงเรียนในสหวิทยาเขตกรุงธนบุรี 3 และจัดให้มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบด้านการจัดทำฐานข้อมูล
โดยตรง (2) ควรกำหนดแบบฟอร์มที่ใช้สำหรับการจัดเก็บข้อมูลร่วมกันเพื่อให้เกิดความสะดวก
ในการป้อนข้อมูลลงบนฐานข้อมูล และ (3) ควรจัดให้มีการเผยแพร่เอกสารและประชาสัมพันธ์
ข้อมูลข่าวสารร่วมกัน โดยจัดทำ เว็บไซต์ของโรงเรียนในสหวิทยาเขตกรุงธนบุรี 3
2) ด้านการบริหารงานวิชาการ (1) ควรจัดให้มีบุคลากรผู้รับผิดชอบในการใช้
นวัตกรรม และเทคโนโลยีในการดำเนินงานวิชาการ (2) ควรจัดกลุ่มการเรียนตามความถนัด และ
ตามความสามารถของผู้เรียน และ (3) ควรมีบุคลากรที่ทำหน้าที่ในการรับผิดชอบทางด้านการจัด
ตารางเรียน ตารางสอน รวมทั้งการใช้ห้องเรียนซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อครูผู้สอนและนักเรียน
ให้มากที่สุด
3) ด้านการจัดการเรียนการสอน (1) ควรจัดให้มีการอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อให้
ครูผู้สอนได้มีความรู้และความเข้าใจในการผลิตสื่อ และอุปกรณ์ประกอบการเรียนการสอน
(2) ควรจัดให้มีการอบรมเชิงปฏิบัติการในการจัดทำแผนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องภายในโรงเรียนที่
อยู่ในสหวิทยาเขตกรุงธนบุรี 3 เพื่อให้ครูผู้สอนได้มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการจัดทำแผนการ
เรียนรู้ และ (3) ควรส่งเสริมและให้การสนับสนุนด้านงบประมาณในการจัดทำสื่อ มีการประกวด
การจัดทำสื่อและอุปกรณ์การเรียนการสอน โดยจัดให้มีเวทีในการนำเสนอผลงาน ซึ่งเป็นการเปิด
โอกาสให้ผู้จัดทำสื่อและอุปกรณ์การเรียนการสอนได้เผยแพร่และแสดงผลงานของตนด้วย
4) ด้านการพัฒนาและส่งเสริมทางวิชาการ (1) ควรจัดให้มีการประเมินผลการ
ดำเนินงานตามแผน หรือโครงการพัฒนาครูด้านวิชาการ (2) ควรจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อส่ง
เสริมให้มีการทำวิจัยในชั้นเรียน และ (3) ควรจัดทำทะเบียนแหล่งเรียนรู้ภายนอกที่สอดคล้องกับ
หลักสูตรและมีการประสานงานขอความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการนำนักเรียนเข้าไป
ศึกษา
5) ด้านการวัดผลและประเมินผลการเรียนการสอนและงานทะเบียนนักเรียน
(1) ควรจัดทำคลังข้อสอบในสหวิทยาเขตกรุงธนบุรี 3 ทุกรายวิชาเพื่อช่วยให้ครูผู้สอนสามารถนำ
เอาข้อสอบเก่ามาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (2) โรงเรียนในสหวิทยาเขตกรุงธนบุรี 3 ควรมีการจัด
ตั้งหน่วยงานกลางเพื่อทำหน้าที่ในการเก็บรวบรวมระเบียบและวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการวัดผลและ
ประเมินผลการเรียนขึ้นมา โดยให้มีการกำหนดระเบียบและวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการวัดผลและ
83
ประเมินผลการเรียนที่สามารถใช้ร่วมกัน และ (3) ฝ่ายบริหารควรให้การสนับสนุน ติดตาม และ
อำนวยความสะดวกให้มีการนำเอาเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้ในการวัดผลและประเมินผลให้มาก
ยิ่งขึ้น เช่น โปรแกรมใหม่และการปรับปรุงประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้สามารถ
รองรับกับโปรแกรมที่นำมาใช้
6) ด้านการประเมินผลการจัดการงานวิชาการ (1) ควรนำเอาผลที่ได้จากการ
วิเคราะห์ สังเคราะห์มาใช้ในการพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงานทางวิชาการทุกๆ ครั้ง
(2) ควรมีการนำเอาโปรแกรมสำเร็จรูปทางคอมพิวเตอร์มาช่วยในการจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล
มีการจัดทำสถิติต่างๆเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจ และ (3) ควรจัดให้มีหน่วยงานกลางเพื่อทำ
หน้าที่และรับผิดชอบเกี่ยวกับการประเมินผลการดำเนินงานขึ้นภายในโรงเรียน ซึ่งอาจจัดตั้งในรูป
แบบของหน่วยงานตรวจสอบคุณภาพภายใน
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอสำหรับโรงเรียนในสหวิทยาเขตกรุงธนบุรี 3
1) ด้านการวางแผนงานวิชาการ
(1) ควรจัดให้มีระบบฐานข้อมูลร่วมกันระหว่างโรงเรียนในสหวิทยาเขต
กรุงธนบุร ี 3 และจดั ใหม้ เี จา้ หนา้ ทรี่ บั ผดิ ชอบดา้ นการจดั ทาํ ฐานขอ้ มลู โดยตรง
(2) ควรกำหนดแบบฟอร์มที่ใช้สำหรับการจัดเก็บข้อมูลร่วมกันเพื่อให้เกิดความ
สะดวกในการป้อนข้อมูลลงบนฐานข้อมูล
2) ด้านการบริหารงานวิชาการ
(1) ควรจัดให้มีบุคลากรผู้รับผิดชอบในการใช้นวัตกรรม และเทคโนโลยีในการ
ดำเนินงานวิชาการ
(2) ควรจัดกลุ่มการเรียนตามความถนัด และตามความสามารถของผู้เรียน
3) ด้านการจัดการเรียนการสอน
(1) ควรจัดให้มีการอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อให้ครูผู้สอนได้มีความรู้ ความเข้าใจ
ในการผลิตสื่อ และอุปกรณ์ประกอบการเรียนการสอน
(2) ควรจัดให้มีการอบรมเชิงปฏิบัติการในการจัดทำแผนการเรียนรู้อย่างต่อ
เนื่องภายในโรงเรียนที่อยู่ในสหวิทยาเขตกรุงธนบุรี 3 เพื่อให้ครูผู้สอนได้มีความรู้ ความเข้าใจใน
เรื่องการจัดทำแผนการเรียนรู้
84
4) ด้านการพัฒนาและส่งเสริมทางวิชาการ
(1) ควรจัดให้มีการประเมินผลการดำเนินงานตามแผน หรือโครงการพัฒนาครู
ด้านวิชาการ
(2) ควรจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมให้มีการทำวิจัยในชั้นเรียน
5) ด้านการวัดผลและประเมินผลการเรียนการสอนและงานทะเบียนนักเรียน
(1) ควรจัดทำคลังข้อสอบโรงเรียนในสหวิทยาเขตกรุงธนบุรี 3 ทุกรายวิชา เพื่อ
ช่วยให้ครูผู้สอนสามารถนำเอาข้อสอบเก่ามาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(2) โรงเรียนในสหวิทยาเขตกรุงธนบุรี 3 ควรมีจัดตั้งหน่วยงานกลางเพื่อทำหน้าที่
ในการเก็บรวบรวมระเบียบและวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการวัดผลและประเมินผลการเรียนขึ้นมา โดยให้
มีการกำหนดระเบียบและวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการวัดผลและประเมินผลการเรียนที่สามารถใช้ร่วมกัน
6) ด้านการประเมินผลการจัดการงานวิชาการ
(1) ควรนำเอาผลที่ได้จากการวิเคราะห์ สังเคราะห์มาใช้ในการพัฒนาและ
ปรับปรุงการดำเนินงานทางวิชาการทุกๆ ครั้ง
(2) ควรมีการนำเอาโปรแกรมสำเร็จรูปทางคอมพิวเตอร์มาช่วยในการจัดเก็บ
และวิเคราะห์ข้อมูล มีการจัดทำสถิติต่างๆ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจ
2. ข้อเสนอสำหรับการวิจัยครั้งต่อไป
ควรมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการวางแผนงานวิชาการในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัด
กรมสามัญศึกษาหรือหน่วยงานทางการศึกษาอื่น การวางแผนงานเป็นการกำหนดนโยบายและ
ทิศทางในการพัฒนาโรงเรียนมัธยมศึกษา เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงแก้ไข
การดำเนินงานทางด้านวิชาการให้มีความเหมาะสมและสามารถปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพและ
ประสิทธิผลต่อไปในอนาคต
บรรณานุกรม
ภาษาไทย
กรมวิชาการ. (2533). หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533). กรุงเทพฯ :
โรงพิมพ์การศาสนา.
________. (2543). คู่มือครู แนวการจัดทำแผนการสอนพัฒนาศักยภาพ. กรุงเทพฯ :
โรงพิมพ์ชวนพิมพ์.
________. (2543). รายงานผลการประเมินโครงการประเมินคุณภาพการศึกษาของผู้เรียนระดับ
ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ปีการศึกษา 2543. กรุงเทพฯ : สำนักงานทดสอบทางการศึกษา
กรมสามัญศึกษา. (2535). เอกสารประกอบการฝึกอบรมหลักสูตรผู้บริหารสถานศึกษาระดับสูง:
การบริหารงานวิชาการในโรงเรียนมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ : กองการมัธยมศึกษากรม
สามัญศึกษา.
________. (2540). เกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนมัธยมศึกษา พ.ศ. 2539. กรุงเทพฯ :
กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.
________. (2541). แผนพัฒนาการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ระยะที่ 8 (พ.ศ.2540-2544).
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
________. (2543). เอกสารวิชาการประการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ประธานการบริหาร
กลุ่มโรงเรียน สังกัดกรมสามัญศึกษา ส่วนกลาง ประธานกรรมการการบริหาร
สหวิทยาเขต กรุงเทพมหานคร. ระหว่างวันที่ 27-28 มกราคม ณ บ้านผู้หว่าน สามพราน
จังหวัดนครปฐม. กรุงเทพฯ : กองการมัธยมศึกษา.
________. (2544). แนวทางการจัดทำธรรมนูญโรงเรียน. กรุงเทพฯ : หน่วยศึกษานิเทศก์ กรม
สามัญศึกษา.
________. (มปป.). เอกสารชุดแนวทางปฏิรูปการศึกษาในโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา
การจัดการศึกษาแบบสหวิทยาเขต. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา.
กิติมา ปรีดีดิลก. (2532). การบริหารและการนิเทศการศึกษาเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : อักษราพิพัฒน์.
กมล ภู่ประเสริฐ. (2544). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : บริษัท ทิปส์พับบลิเคชั่น
จำกัด.
คณะกรรมการปฏิรูประบบบริหารการศึกษาในกระทรวงศึกษาธิการ. (2543). รายงานการปฏิรูป
ระบบบริหารการศึกษาในกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา.
86
คมสันต์ ถานกางสุ่น. (2545). การพัฒนาโปรแกรมระบบจัดการฐานข้อมูลด้านงานทะเบียนวัดผล
และประเมินผล โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดอุดรธานี. ปริญญา
การศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ฉัตรศิริ ปิยะพิมลสิทธิ์. (เมษายน 2544). การวัดผลและประเมินผล : ความหมายและประเภท.
วารสารรายสะดวก. (http://www.watpon.com/Elearning/mea1.htm)
เจริญ ชาเรืองเดช. (2542). ปัญหาการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญ
ศึกษาจังหวัดนครพนม. รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาการศึกษาศาสตร
มหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ชัยพจน์ รักงาม.(2543). “การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัย”. วารสารข้าราชการครู.
ปีที่ 20 ฉบับที่ 6 สิงหาคม-กันยายน.
ชาญชัย อาจินสมาจาร. (2540). การบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ : ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.
ดำรงค์ ภุมมา. (2540). การศึกษางานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา : ศึกษา
เฉพาะกรณีโรงเรียนสตรีสิริเกศ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์ ปริญญา
การศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ถาวร กันเมล์. (2542). ปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญ
ศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ ปริญญาการศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ทวีศักดิ์ หงส์อารยะชน. (2542). การศึกษาสภาพและปัญหางานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา
สังกัดกรมสามัญศึกษา ในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ประคอง กรรณสูตร. (2530). สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ :
บริษัทศูนย์หนังสือ ดร.ศรีสง่า จำกัด.
ประเสริฐ เชษฐพันธ์. (2542). การบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ : ภาควิชาการบริหารการศึกษา
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒบางเขน.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน. (2545). การบรหิ ารงานวชิ าการ. กรุงเทพฯ : ศนู ยส์ อื่ เสรมิ กรงุ เทพ.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 7.
กรุงเทพฯ : สำนักทดสอบการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ประสานมิตร.
87
รุจิรา อุดรแผ้ว. (2541). ปัญหาการดำเนินงานวิชาการในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญ
ศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์. รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาการศึกษาศาสตร
มหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2543). เทคนิคการวัดผลการเรียนรู้. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ :
สำนักพิมพ์ชมรมเด็ก.
วินิจ เกตุขำ. (มปป). เอกสารประกอบการเรียนรายวิชา AAA152512 การบริหารงานวิชาการ.
สาขาการบรหิ ารการศกึ ษา ภาควิชาศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร.์
ศรีวรรณ ปินใจ. (2542). ปัญหาการใช้หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2521 ใน
ทรรศนะของผู้บริหารงานวิชาการและผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญ
ศึกษาในจังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สนั่น เมตุลา. (2542). ปัญหาการใช้หลักสูตรด้วยตนเองของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรม
สามัญศึกษา จังหวัดนครพนม. รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาการศึกษา
ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สมนึก ภัททิยธนี. (2541). การวัดผลการศึกษา. กรุงเทพฯ : ประสานการพิมพ์.
สหวิทยาเขตกรุงธนบุรี 3 (2541). แผนแม่บทการจัดตั้ง สหวิทยาเขตกรุงธนบุรี 3. กรุงเทพฯ :
ฝ่ายแผนงานโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียน.
สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (กรกฎาคม 2546). แผนพัฒนา
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549). (http://www.nesab.go.th).
สุมาลี สังขะไชย. (2542). ศึกษาการปฏิบัติงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรมสามัญ
ศึกษาเขตการศึกษา 4. วิทยานิพนธ์ ปริญญาการศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ.
อนศุ กั ด์ ิ สมิตสันต. (2540). การบรหิ ารวชิ าการ. กรุงเทพฯ : ภาควิชาการบริหารการศึกษา
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒบางเขน.
อาคม จันทสุนทร. (2543). “ทำไมต้องวิจัยและพัฒนา”. วารสารนิเทศการศึกษา. ปีที่ 1 ฉบับที่ 1
เมษายน-มิถุนายน.
อำภา บุญช่วย. (2537). การบริหารงานวิชาการในโรงเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์
โอ เอสพริ้นติ้งเฮ้าส์.
88
ภาษาอังกฤษ
Armstrong, D. S., (1997). The Effect of Student Team Achievement Divisions Cooperative
Learning Technique on Upper Secondary Social Studies Student’s Academic
Achievement and Attitude Towards Social Studies Class (Block Scheduling, Twelfthgrade,
High School Students), Dissertation Abstracts International. 59(2) : 121 ; July.
Gerlach, V.S. and Ely. D.P., (1980). Teaching and Media : A Systematic Approach. (2d ed.)
Englewood Cliffs, New Jersey : Prentice-Hall, Inc
Glickman, C.D., (1981). Developmental Supervision : Alternative Practice For Helping
Teachers Improve Instruction. (Washington D.C. : Association for Supervision and
Curriculum Development).
Goldhammer R., and Others 2 nd.ed. (1980). Clinical Supervision. (New York : Holt Rinehart
and Winston.
Kimbrough, R. B. and Nunnery, M.Y., (1976). Educational Administration.
New York : Macmillan.
Maniraguha, S. S., (1998). Selected Factor Influencing Academic Success of First-Year Students
in Rwanda, Dissertation Abstracts International. 58(11) : 2189 ; May.
Mattox, D. D., (1987). A Study of In-Service Needs of Illinois Public School Elementary
Principals, Dissertation Abstracts International. 12(1) : 6061-A ; June.
McCarthy, W. M., (1971). The Role of the Secondary School Principal in New Jersey,
Dissertation Abstracts International. 32(2) : 705-A ; August.
Minudin, O.B., (1987). The Role of the Secondary School Principal in Satan, Malaysia,
Dissertation Abstracts International. 47(7) : 2403-A ; January.
ภาคผนวก
ภาคผนวก ก
แบบสอบถามเพื่อการวิจัย
ภาคผนวก ข
รายชื่อผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเครื่องมือ
รายชื่อผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบเครื่องมือมีดังนี้
ดร. สาธิต สันนะกิจ ผู้อำนวยการระดับ 9 โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภช
บางขุนเทียน
ดร.วิโรจน วัฒนานิมิตกูล ประธานกรรมการบรหิ ารหลักสตู รครศุ าสตรมหาบณั ฑติ
(หลักสูตรและการสอน)
สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
นายประสาร อุตมางคบวร อดีตผู้อำนวยการระดับ 9 โรงเรียนทวีธาภิเศก
นายทวีศักดิ์ จงประดับเกียรติ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ โรงเรียนสาธิตมัธยม
สถาบันราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
นายเกษม แย้มศิริ ผู้อำนวยการโรงเรียนแหลมบัววิทยา จังหวัดนครปฐม
101
ภาคผนวก ค
หนังสือราชการที่เกี่ยวข้อง
แบบสอบถามเพื่อการวิจัย
เรื่อง
การศึกษาปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา
สังกัดกรมสามัญศึกษา ในสหวิทยาเขตกรุงธนบุรี 3 กรุงเทพมหานคร
**********************************************
ตอนที่ 1 สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม
คำชี้แจง โปรดทำเครื่องหมาย ลงใน ( ) หน้าข้อความที่ตรงกับสภาพความเป็นจริง
1. ปัจจุบันท่านดำรงตำแหน่ง
( ) ผู้บริหารโรงเรียน
( ) ผู้ช่วยผู้บริหารฝ่ายวิชาการ
( ) ครู-อาจารย์ผู้สอน
2. ปัจจุบันท่านสังกัดโรงเรียน
( ) โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์
( ) โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียน
( ) โรงเรียนศึกษานารีวิทยา
( ) โรงเรียนทวีธาภิเศก 2
( ) โรงเรียนพิทยาลงกรณ์พิทยาคม
ตอนที่ 2 ปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในสหวิทยาเขตกรุงธนบุรี 3 กรุงเทพมหานคร
คำชี้แจง โปรดทำเครื่องหมาย ลงในช่องที่ตรงกับความเป็นจริง และข้อใดที่ท่านคิดว่ามีปัญหามาก และมากที่สุด โปรดเสนอแนวทางการแก้ปัญหาด้วย
ระดับปัญหา
ข้อ ปัญหาการบริหารงานวิชาการ มาก
ที่สุด
มาก ปาน
กลาง
น้อย น้อย
ที่สุด
แนวทางการแก้ปัญหา
1.
ด้านการวางแผนงานวิชาการ
บุคลากรผู้รับผิดชอบในการเก็บรวบรวมข้อมูลระเบียบ
และแนวปฏิบัติทางราชการเกี่ยวกับงานวิชาการ
2. การเก็บรวบรวมข้อมูล ระเบียบและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับ
งานวิชาการอย่างเป็นระบบและสะดวกในการนำมาใช้
3. การจัดทำเอกสารคู่มือครูหรือคู่มือนักเรียน
4. การเผยแพร่เอกสารเกี่ยวกับงานวิชาการให้ผู้เกี่ยวข้อง
ทราบ
5. การจัดทำแผนงานวิชาการเป็นลายลักษณ์อักษร
6. การดำเนินการตามแผนงานหรือโครงการ
7. การประเมินผลเพื่อปรับปรุงและพัฒนางานวิชาการ
8. การจัดทำฐานข้อมูลเกี่ยวกับงานวิชาการ
92
ระดับปัญหา
ข้อ ปัญหาการบริหารงานวิชาการ มาก
ที่สุด
มาก ปาน
กลาง
น้อย น้อย
ที่สุด
แนวทางการแก้ปัญหา
9.
ด้านการบริหารงานวิชาการ
การกำหนดหน้าที่รับผิดชอบของสายงานวิชาการ
10. การจัดกลุ่มการเรียนตามโครงสร้างของหลักสูตร
11. การจัดกลุ่มการเรียนสอดคล้องกับความพร้อมด้าน
อาคารสถานที่บุคลากรและวัสดุอุปกรณ์
12. การจัดกลุ่มการเรียนให้นักเรียนเลือกเรียนตามความ
ต้องการ ความถนัดและความสนใจ เพื่อการศึกษาต่อ
หรือการประกอบอาชีพ
13. การจัดตารางเรียน ตารางสอนรายบุคคลและตาราง
การใช้ห้องเรียน
14. การติดตามการใช้ตารางเรียนและตารางสอน
15. การจัดครูเข้าสอน ตรงตามความรู้ความสามารถและ
ความถนัดในวิชาที่สอน
16. การจัดครูเข้าสอนแทนในกรณีที่ครูขาดสอน
93
ระดับปัญหา
ข้อ ปัญหาการบริหารงานวิชาการ มาก
ที่สุด
มาก ปาน
กลาง
น้อย น้อย
ที่สุด
แนวทางการแก้ปัญหา
17. การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในการดำเนินงาน
วิชาการ
18. บุคลากรผู้รับผิดชอบในการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยี
ในการดำเนินงานทางวิชาการ
19. การจัดทำข้อมูลสถิติและการประเมินผลเพื่อปรับปรุง
และพัฒนาการเรียนการสอน
20.
ด้านการจัดการเรียนการสอน
ครูขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดทำแผนการสอน
และวิธีการเขียนแผนการสอนที่ถูกต้อง
21. การกระตุ้นและส่งเสริมให้ครูปรับปรุงและพัฒนา
แผนการสอน
22. การจัดทำแผนการสอนครบทุกรายวิชา
23. การจัดทำสื่อและอุปกรณ์การเรียนการสอน
24. การนำสื่อและอุปกรณ์การเรียนการสอนไปใช้
25. งบประมาณสำหรับจัดทำ จัดหา สื่อการเรียนการสอน
94
ระดับปัญหา
ข้อ ปัญหาการบริหารงานวิชาการ มาก
ที่สุด
มาก ปาน
กลาง
น้อย น้อย
ที่สุด
แนวทางการแก้ปัญหา
26. การเก็บ บำรุงและรักษาสื่อ และอุปกรณ์การเรียน
การสอนอย่างเป็นสัดส่วน
27. บุคลากรที่จะให้ความรู้แก่ครูในการผลิตสื่อและอุปกรณ์
ใช้ประกอบการเรียนการสอน
28.
ด้านการพัฒนาและส่งเสริมทางด้านวิชาการ
ครูไม่เข้าใจกระบวนการจัดการเรียนการสอนในแบบ
ต่าง ๆ
29. การสนับสนุนและส่งเสริมให้มีการจัดกระบวนการเรียน
การสอนแบบต่าง ๆ
30. การใช้สื่อและนวัตกรรมทางการศึกษาใหม่ๆ
31. การใช้แหล่งการเรียนรู้ภายนอกโรงเรียน
32. การพัฒนาการเรียนอย่างต่อเนื่อง
33. แนวปฏิบัติในการจัดสอนซ่อมเสริม
34. การนำผลการสอนซ่อมเสริมมาวิเคราะห์และรายงาน
95
ระดับปัญหา
ข้อ ปัญหาการบริหารงานวิชาการ มาก
ที่สุด
มาก ปาน
กลาง
น้อย น้อย
ที่สุด
แนวทางการแก้ปัญหา
35. การนำผลการวิเคราะห์มาปรับปรุงและพัฒนา
การจัดสอนซ่อมเสริม
36. การจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนการสอน
37. การมีส่วนร่วมของนักเรียนในการจัดกิจกรรมการเรียน
การสอน
38. การจัดกิจกรรมนักเรียนตามโครงสร้างของหลักสูตร
39. การประเมินผลเพื่อปรับปรุงการจัดกิจกรรมนักเรียน
ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
40. การจัดโครงการพัฒนาครูด้านวิชาการ
41. การประเมินผลการดำเนินการตามแผนหรือโครงการ
พัฒนาครูด้านวิชาการ
42. การนำผลการประเมินไปใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนาครู
อย่างต่อเนื่อง
43. การจัดบรรยากาศทางวิชาการไม่เอื้อประโยชน์ต่อ
กระบวนการเรียนการสอน
96
ระดับปัญหา
ข้อ ปัญหาการบริหารงานวิชาการ มาก
ที่สุด
มาก ปาน
กลาง
น้อย น้อย
ที่สุด
แนวทางการแก้ปัญหา
44. การให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดบรรยากาศ
ทางวิชาการ
45. การประเมินผลการจัดบรรยากาศทางวิชาการ
46. การนำผลการประเมินการจัดบรรยากาศทางวิชาการ
ไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
47. การส่งเสริมให้ครู-อาจารย์ มีความรู้ในการวิเคราะห์ วิจัย
เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
48. การเผยแพร่ผลการวิเคราะห์และวิจัยในชั้นเรียน
49.
ด้านการวัดผลและประเมินผลการเรียนและ
งานทะเบียนนักเรียน
การรวบรวมระเบียบและวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการวัดผลและ
ประเมินผลการเรียน
50. การกำหนดแนวปฏิบัติและจัดทำปฏิทินปฏิบัติงานเกี่ยว
กับการวัดผลและประเมินผลการเรียนเป็นลายลักษณ์
อักษร
97
ระดับปัญหา
ข้อ ปัญหาการบริหารงานวิชาการ มาก
ที่สุด
มาก ปาน
กลาง
น้อย น้อย
ที่สุด
แนวทางการแก้ปัญหา
51. การปฏิบัติตามแนวปฏิบัติและปฏิทินปฏิบัติงานตาม
ระเบียบว่าด้วยการวัดผลและประเมินผลการเรียน
52. การนำผลการประเมินมาปรับปรุงการเรียนการสอน
53. การสร้างเครื่องมือ ในการวัดผลเป็นไปตามจุดประสงค์
การเรียนรู้ของรายวิชา
54. การวิเคราะห์และปรับปรุงเครื่องมือในการวัดผล
55. การจัดให้มีคลังข้อสอบครบทุกรายวิชา
56. การจัดให้มีเอกสารและแบบฟอร์มเกี่ยวกับการวัดผลและ
ประเมินผลการเรียนอย่างมีระบบและสะดวกต่อการใช้
57. การปรับปรุงเอกสารและแบบฟอร์มที่ใช้ในการวัดผล
และประเมินผลการเรียนให้เหมาะสมและสะดวกต่อ
การใช้
58. การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการดำเนินการเกี่ยวกับ
การวัดผลและประเมินผล
98
ระดับปัญหา
ข้อ ปัญหาการบริหารงานวิชาการ มาก
ที่สุด
มาก ปาน
กลาง
น้อย น้อย
ที่สุด
แนวทางการแก้ปัญหา
59. การรายงานผลการเรียนตามระเบียบว่าด้วยการวัดผลและ
ประเมินผลการเรียน
60. การจัดเก็บรักษาหลักฐานการวัดผลและประเมินผล
การเรียนอย่างเรียบร้อยปลอดภัย
61. ทะเบียนนักเรียนหรือหลักฐานงานทะเบียนนักเรียน
ขาดความครบถ้วนถูกต้องชัดเจนและเป็นปัจจุบัน
62.
ด้านการประเมินผลการจัดการงานวิชาการ
การดำเนินการประเมินผลการจัดการงานวิชาการ
63. การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล
64. หลักฐานการประเมินผลการดำเนินงานวิชาการ
65. การวิเคราะห์ผลการประเมินการดำเนินงานวิชาการ
66. การนำผลการวิเคราะห์ไปใช้ในการปรับปรุงและ
พัฒนาการดำเนินงานวิชาการ
ขอขอบพระคุณท่านที่ให้ข้อมูลเป็นวิทยาทานในการวิจัยเพื่อการศึกษา
99
ภาคผนวก ง
ประวัติผู้วิจัย
106
ประวัติส่วนตัว
ชื่อ นางสาวจิรพร เตียวิรัตน์
วันเกิด 18 กุมภาพันธ์ 2499
สถานที่เกิด 183 ถนนจนั ทนาราม ตำบลวัดสิงห อาํ เภอวดั สงิ ห จังหวัดชัยนาท
สถานที่อยู่ปัจจุบัน 88/565 ถนนพระราม 2 แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ
ตำแหน่งหน้าที่การงาน อาจารย์ 2 ระดับ 7 สอนวิชาคณิตศาสตร์
สถานที่ทำงานปัจจุบัน โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียน 88/2527 ถนนพระราม 2
แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ 10150
ประวัติการศึกษา
พ.ศ. 2516 มัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนเบญจมราชูทิศ อำเภอเมือง
จังหวัดอุทัยธานี
พ.ศ. 2518 ประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา (ป.กศ.) วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
พ.ศ. 2520 ประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง (ป.กศ.สูง) วิชาเอกคณิตศาสตร์
วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
พ.ศ. 2524 ปริญญาการศึกษาบัณฑิต วิชาเอกคณิตศาสตร คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (บางแสน) จังหวัดชลบุรี
พ.ศ. 2546 ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา
สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
การศึกษาปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาการบริหารงานวิชาการ (ตอนที่ 1)
การศึกษาปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาการบริหารงานวิชาการ (ตอนที่ 2)
การศึกษาประสิทธิภาพการดำเนินงานของสำนักวิทยบริการนักเรียนประถมศึกษาปีที่๖ (ตอนที่ 3)
16.1 ระดับการแสวงหาแหล่งสารสนเทศจำแนกตามรายได้ครอบครัว
ระดับการแสวงหาแหล่งสารสนเทศจำแนกตามรายได้ครอบครัว จากตารางที่ 16 สามารถ
สรุปได้ ดังนี้
1) แหล่งสารสนเทศสถานที่ ในกลุ่มนี้มีระดับปัญหาในการแสวงหาแหล่งสารสนเทศ
สถานที่ที่นักเรียนแสวงหาตามรายได้ครอบครัว ได้แก่ ห้องสมุดหมวดวิชา โดยผู้ที่มารายได้
ครอบครัวน้อยกว่า 9,000 บาทจะมีระดับปัญหาในการแสวงหาโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.30 ผู้ที่มี
รายได้ 9,001 – มากกว่า 20,000 บาทมีระดับปัญหาในการแสวงหาสารสนเทศ ได้แก่ ห้องสมุด
ประชาชน โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.68, 2.67 ในกลุ่มนี้มีระดับปัญหาในการแสวงหาสารสนเทศมี
ความแตกต่าง กันที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
2) แหล่งสารสนเทศบุคคล กลุ่มนี้มีระดับปัญหาในการแสวงหาแหล่งสารสนเทศสถานที่
นักเรียนแสวงหาตามรายได้ครอบครัว ได้แก่ อาจารย์ท่านอื่นในโรงเรียน โดยผู้ที่มารายได้
ครอบครัวน้อยกว่า 9,000 – มากกว่า 20,000 จะมีระดับปัญหาในการแสวงหามากโดยมีค่าเฉลี่ย
เท่ากับ 2.33, 2.36, 2.64 จากผลการวิเคราะห์ในกลุ่มนี้ไม่มีความแตกต่างกัน ที่ระดับความเชื่อมั่น
95%
111
3) แหล่งสารสนเทศวัสดุ ในกลุ่มนี้มีระดับปัญหาในการแสวงหาแหล่งสารสนเทศวัสดุ
ผู้ปกครองนักเรียนที่มีรายได้ครอบครัวน้อยกว่า 9,000 มีระดับปัญหาในการแสวงหา ได้แก่ จากวีดี
ทัศน์โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.36 ผู้ปกครองนักเรียนที่มีรายได้ครอบครัว 9,001 – 20,000 มีระดับ
ปัญหาในการแสวงหา ได้แก่ จากคอมพิวเตอร์โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.33 ผู้ปกครองนักเรียนที่มี
รายได้ครอบครัวมากกว่า 20,000 มีระดับปัญหาในการแสวงหาแหล่งสารสนเทศวัสดุ จากวารสาร
และนิตยสารโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.20 จากผลการวิเคราะห์การแสวงหาแหล่งสารสนเทศสถานที่ที่
แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ประเภททรัพยากรสารสนเทศ
1) ทรัพยากรสารสนเทศประเภทวัสดุตีพิมพ์ ผู้ปกครองนักเรียนที่มีรายได้ครอบครัวน้อย
กว่า 9,000 ระดับปัญหาในการแสวงหาแหล่งสารสนเทศประเภทวัสดุตีพิมพ์ ได้แก่ จุลสารทาง
วิชาการ โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.24 ผู้ปกครองนักเรียนที่มีรายได้ครอบครัว 9,001 – 20,000 มีระดับ
ปัญหาในการแสวงหาแหล่งสารสนเทศประเภทวัสดุตีพิมพ์ ได้แก่ หนังสืออ้างอิง โดยมีค่าเฉลี่ย
เท่ากับ 2.34 ผู้ปกครองนักเรียนที่มีรายได้ครอบครัวมากกว่า 20,000 มีระดับปัญหาในการแสวงหา
แหล่งสารสนเทศประเภทวัสดุตีพิมพ์ ได้แก่ วารสารและนิตยสาร โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.17 โดยจะ
พบว่านักเรียนในกลุ่มนี้มีค่าเฉลี่ยระดับปัญหาในการแสวงหาแหล่งสารสนเทศประเภทวัสดุสิ่ง
ตีพิมพ์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
2) ทรัพยากรสารสนเทศประเภทวัสดุไม่ตีพิมพ์ ผู้ปกครองนักเรียนที่มีรายได้ครอบครัวน้อย
กว่า 9,000 มีระดับปัญหาในการแสวงหาแหล่งสารสนเทศประเภทวัสดุไม่ตีพิมพ์ที่นักเรียนมี
ปัญหาในการแสวงหาได้แก่คอมพิวเตอร์ โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.60 ผู้ปกครองนักเรียนที่มีรายได้
ครอบครัว 9,001 - 20,000 มีระดับการแสวงหาแหล่งสารสนเทศประเภทวัสดุไม่ตีพิมพ์ได้แก่แหล่ง
สารสนเทศจากคอมพิวเตอร์ โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.45 ผู้ปกครองนักเรียนที่มีรายได้ครอบครัว
มากกว่า 20,000 มีระดับปัญหาในการแสวงหาแหล่งสารสนเทศประเภทวัสดุตีพิมพ์ ได้แก่ วีดีทัศน์
โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.29 จากผลการวิเคราะห์ระดับปัญหาในการแสวงหาสารสนเทศของนักเรียน
ในกลุ่มนี้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
78
ตารางที่ 8 แสดงระดับการแสวงหาแหล่งสารสนเทศจำแนกตามระดับรายได้
ระดับการแสวงหา
น้อยกว่า 9,000 9,001-20,000 มากกว่า 20,000
แหล่งสารสนเทศ
2
X SD.
2
X SD.
2
X SD.
F Sig.
แหล่งสารสนเทศสถานที่
จากห้องสมุดโรงเรียน 3.22 0.92 3.70 1.06 4.1 0.83 17.07 0.00**
จากห้องสมุดประชาชน 2.71 1.11 2.74 1.05 2.61 1.07 0.21 0.80
จากห้องสมุดหมวดวิชาต่างๆ 2.73 1.05 2.94 1.18 3.26 1.08 3.42 0.03*
จากห้องสมุดมหาวิทยาลัย 2.40 1.11 2.42 1.24 2.85 1.41 1.98 0.13
จากหอสมุดแห่งชาติ 2.43 1.21 2.87 1.34 3.44 1.48 9.90 0.00**
จากห้องแนะแนว 2.74 1.19 2.97 1.22 2.50 1.26 2.96 0.05*
อื่น ๆ . . . . . .
แหล่งสารสนเทศบุคคล
จากพ่อ แม่ ผู้ปกครอง 4.08 1.04 4.09 1.24 4.00 0.81 0.10 0.90
จากเพื่อน 4.06 1.00 3.84 0.95 3.52 1.05 4.70 0.00**
จากอาจารย์ที่ปรึกษา 3.64 0.85 3.58 1.19 3.82 0.86 0.80 0.44
จากบรรณารักษ์ห้องสมุด 2.93 1.01 3.23 1.21 3.35 1.12 3.76 0.02*
จากอาจารย์ท่านอื่นใน
โรงเรียน
3.04 1.056 3.10 1.26 3.88 2.54 5.50 0.00**
อื่น ๆ 2.00 0.00 . . . .
แหล่งสารสนเทศวัสดุ
จากการชมรายการโทรทัศน์ 4.02 1.19 3.90 1.19 3.35 0.91 4.45 0.01**
จากการฟังวิทยุ 3.77 1.26 3.57 1.17 3.79 0.72 1.39 0.24
จากการอ่านหนังสือตำรา 3.26 1.39 3.29 1.14 3.58 1.04 0.98 0.37
จากการอ่านหนังสือพิมพ์ 3.64 1.15 3.30 1.05 3.55 1.05 4.42 0.01**
จากการอ่านวารสาร
นิตยสาร
3.00 1.17 3.47 1.09 3.85 0.78 12.04 0.00**
จากจุลสารทางวิชาการ 2.81 1.11 3.11 0.91 2.79 1.06 4.26 0.00**
จากวีดีทัศน์ประกอบการ
เรียน
2.99 1.18 3.20 1.22 2.94 0.85 1.78 0.16
79
ระดับการแสวงหา
น้อยกว่า 9,000 9,001-20,000 มากกว่า 20,000
แหล่งสารสนเทศ
2
X SD.
2
X SD.
2
X SD.
F Sig.
จากการชมนิทรรศการทาง
วิชาการ
3.14 0.98 3.04 1.19 3.41 0.85 1.67 0.18
จากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 3.49 1.06 3.77 1.00 3.76 1.01 3.27 0.03*
จากสารสนเทศบน
อินเทอร์เน็ต
3.20 1.14 3.89 0.88 3.55 1.25 19.69 0.00**
อื่น ๆ . . . . . .
ประเภททรัพยากร
สารสนเทศทรัพยากร
สารสนเทศประเภทวัสดุ
ตีพิมพ์
หนังสือทั่วไป 3.68 0.96 3.78 0.81 3.97 0.52 1.67 0.18
หนังสืออ้างอิง 3.15 1.01 3.22 1.07 3.55 0.99 2.01 0.13
วารสารหรือนิตยสาร 3.16 0.96 3.45 0.90 3.85 0.82 9.10 0.00**
หนังสือพิมพ์ 3.51 0.99 3.54 1.22 3.52 0.96 0.03 0.96
จุลสาร 2.55 1.02 3.15 1.02 3.11 1.00 15.42 0.00**
กฤตภาค 2.33 1.13 2.85 1.11 2.97 0.90 10.80 0.00**
ทรัพยากรสารสนเทศ
ประเภทวัสดุไม่ตีพิมพ์
วิทยุ 3.83 1.19 3.97 1.15 3.82 1.05 0.67 0.50
โทรทัศน์ 4.18 1.05 4.14 0.98 4.08 0.99 0.15 0.86
คอมพิวเตอร์ 3.86 1.26 4.02 0.98 4.23 1.10 1.82 0.16
วีดีทัศน์ 3.40 1.26 3.52 1.07 3.67 0.87 0.99 0.37
แผนที่ 3.06 1.10 3.41 0.93 3.14 0.78 5.54 0.00**
หุ่นจำลอง 273 1.23 3.16 1.07 3.29 0.62 7.54 0.00**
อื่น ๆ . . 2.00 0.00 . .
* มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ** มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
80
8.1 ระดับการแสวงหาแหล่งสารสนเทศจำแนกตามรายได้ครอบครัว
ระดับการแสวงหาแหล่งสารสนเทศจำแนกตามรายได้ครอบครัว จากตารางที่ 8 สามารถ
สรุปได้ ดังนี้
1.) แหล่งสารสนเทศสถานที่ ในกลุ่มนี้มีระดับการแสวงหาแหล่งสารสนเทศสถานที่ที่
นักเรียนแสวงหาตามรายได้ครอบครัว มากที่สุดได้แก่ ห้องสมุดโรงเรียน โดยผู้ที่มารายได้
ครอบครัวมากกว่า 20,000 บาทจะมีการแสวงหามากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.17 รองลงมาได้แก่
ผู้ที่มีรายได้ 9,001 – 20,000 บาท โดยมีค่าเฉลี่ย 3.70 การแสวงหาสารสนเทศของผู้ที่มีรายได้
มากกว่า 20,000 บาทและผู้ที่มีรายได้ 9,001 - 2 0,000 บาทไม่มีความแตกต่างกัน ที่ระดับความ
เชื่อมั่น 95%
2.)แหล่งสารสนเทศบุคคล กลุ่มนี้มีระดับการแสวงหาแหล่งสารสนเทศสถานที่ที่นักเรียน
แสวงหาตามรายได้ครอบครัว มากที่สุดได้แก่ พ่อแม่ ผู้ปกครอง โดยผู้ที่มารายได้ครอบครัวน้อยกว่า
9,000 - มากกว่า 20,000 บาทจะมีการแสวงหามากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.08, 4.09, 4.00 จาก
ผลการวิเคราะห์ในกลุ่มนี้ไม่มีความแตกต่างกัน ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
3.)แหล่งสารสนเทศวัสดุ ในกลุ่มนี้มีระดับการแสวงหาแหล่งสารสนเทศวัสดุผู้ปกครอง
นักเรียนที่มีรายได้ครอบครัวน้อยกว่า 9,000 - 20,000 มีการแสวงหามากที่สุดได้แก่ จากการชม
รายการโทรทัศน์ โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.02 และ 3.90 ตามลำดับ ผู้ปกครองนักเรียนที่มีรายได้
ครอบครัวมากกว่า 20,000 มีการแสวงหาแหล่งสารสนเทศวัสดุ จากวารสารและนิตยสารโดยมี
ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.85 จากผลการวิเคราะห์การแสวงหาแหล่งสารสนเทศสถานที่ที่แตกต่างกัน อย่างมี
นัยสำคัญ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ประเภทของสารสนเทศ
1.) ทรัพยากรสารสนเทศประเภทวัสดุตีพิมพ์ ผู้ปกครองนักเรียนที่มีรายได้ครอบครัวน้อย
กว่า 9,000 ถึงมากกว่า 20,000 ระดับการแสวงหาแหล่งสารสนเทศประเภทวัสดุตีพิมพ์ มากที่สุด
ได้แก่ หนังสือทั่วไป โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.68, 3.78 และ 3.97 โดยจะพบว่ามีคะแนนการแสวงหา
แหล่งสารสนเทศประเภทวัสดุสิ่งตีพิมพ์ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
2.) ทรัพยากรสารสนเทศประเภทวัสดุไม่ตีพิมพ์ ผู้ปกครองนักเรียนที่มีรายได้ครอบครัว
น้อยกว่า 9,000 - 20,000 มีระดับการแสวงหาแหล่งสารสนเทศประเภทวัสดุไม่ตีพิมพ์ที่นักเรียน
แสวงหามากที่สุดได้แก่ โทรทัศน์ โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.18 และ 4.14 ผู้ปกครองนักเรียนที่มีรายได้
ครอบครัวมากกว่า 20,000 มีระดับการแสวงหาแหล่งสารสนเทศประเภทวัสดุไม่ตีพิมพ์ได้แก่
แหล่งสารสนเทศจากคอมพิวเตอร์ โดยจะพบว่านักเรียนที่ผู้ปกครองนักเรียนที่มีรายได้ครอบครัว
81
น้อยกว่า 9,000 - 20,000 และผู้ปกครองที่มีรายได้ครอบครัวมากกว่า 20,000 มีระดับการแสวงหา
แหล่งสารสนเทศประเภทวัสดุมีตีพิมพ์ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ปัญหาในการแสวงหา
ตารางที่ 9 แสดงปัญหาในการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศจำแนกตามเพศ
ปัญหาในการแสวงหา
เพศหญิง เพศชาย
เนื้อหาสารสนเทศ
2
X SD.
2
X SD.
t Sig.
(2-tailed)
กลุ่มสาระคณิตศาสตร์
สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ 2.14 0.99 2.24 0.85 -0.97 0.32
สาระที่ 2 การวัด 2.04 0.96 2.28 0.92 -2.53 0.01**
สาระที่ 3 เรขาคณิต 2.10 0.98 2.24 0.86 -1.48 0.13
สาระที่ 4 พีชคณิต 2.31 1.08 2.44 0.97 -1.27 0.20
สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความ
น่าจะเป็น
2.30 1.15 2.51 0.94 -1.96 0.05*
สาระที่ 6 ทักษะ/กระบวนการทาง
คณิตศาสตร์
2.14 1.05 2.27 0.93 -1.27 0.20
กลุ่มสาระภาษาไทย
สาระที่ 1 การอ่าน 2.01 1.16 2.15 1.08 -1.20 0.22
สาระที่ 2 การเขียน 2.13 1.25 2.29 1.24 -1.25 0.21
สาระที่ 3 การฟัง ดู พูด 2.19 1.13 2.33 1.07 -1.26 0.20
สาระที่ 4 หลักการใช้ภาษา 2.22 1.14 2.37 1.11 -1.31 0.18
สาระที่ 5 วรรณคดีและวรรณกรรม 2.40 1.09 2.53 1.08 -1.18 0.23
กลุ่มวิทยาศาสตร์
สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการ
ดำรงชีวิต
2.19 1.10 2.49 1.11 -2.62 0.00**
สาระที่ 2 ชีวิตและสิ่งแวดล้อม 2.22 1.17 2.55 1.10 -2.89 0.00**
สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร 2.45 1.25 2.58 1.09 -1.12 0.26
สาระที่ 4 แรงและการเคลื่อนที่ 2.36 1.25 2.50 1.08 -1.15 0.25
สาระที่ 5 พลังงาน 2.38 1.05 2.56 0.93 -1.74 0.08
สาระที่ 6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของ
โลก
2.49 1.08 2.66 1.03 -1.60 0.10
82
ปัญหาในการแสวงหา
เพศหญิง เพศชาย
เนื้อหาสารสนเทศ
2
X SD.
2
X SD.
t Sig.
(2-tailed)
สาระที่ 7 ดาราศาสตร์และอวกาศ 2.58 1.88 2.49 1.07 0.54 0.58
สาระที่ 8 ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี
2.47 1.17 2.66 1.21 -1.56 0.11
กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและ
วัฒนธรรม
สาระที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม 2.10 1.02 2.27 0.93 -1.70 0.08
สาระที่ 2 หน้าที่พล เมือง วัฒนธรรมและ
การดำเนินชีวิตในสังคม
2.12 1.07 2.29 1.04 -1.57 0.11
สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ 2.26 0.99 2.36 1.00 -0.92 0.35
สาระที่ 4 ประวัติศาสตร์ 2.29 1.07 2.49 1.01 -1.93 0.05*
สาระที่ 5 ภูมิศาสตร์ 2.37 1.07 2.49 1.02 -1.18 0.23
กลุ่มสาระศิลปะ
สาระที่ 1 ทัศนศิลป์ 2.28 1.17 2.35 1.00 -0.70 0.48
สาระที่ 2 ดนตรี 2.18 1.08 2.20 1.06 -0.13 0.89
สาระที่ 3 นาฏศิลป์ 2.39 1.18 2.34 1.08 0.45 0.64
กลุ่มสาระวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี
สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว 2.13 1.26 2.13 1.11 -0.00 0.99
สาระที่ 2 การอาชีพ 2.21 1.21 2.29 1.19 -0.61 0.54
สาระที่ 3 การออกแบบเทคโนโลยี 2.51 1.21 2.63 1.04 -1.06 0.28
สาระที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศ 2.37 1.11 2.45 1.01 -0.74 0.45
สาระที่ 5 เทคโนโลยีเพื่อการทำงานและ
อาชีพ
2.34 1.16 2.54 1.08 -1.69 0.09
กลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษา
สาระที่ 1 การเจริญเติบโตและพัฒนาการ
ของมนุษย์
2.25 1.18 2.37 1.09 -1.07 0.28
สาระที่ 2 ชีวิตและครอบครัว 2.29 1.27 2.40 1.22 -0.85 0.39
สาระที่ 3 การเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย
การเล่นเกม
2.20 1.20 2.20 1.17 0.05 0.95
83
ปัญหาในการแสวงหา
เพศหญิง เพศชาย
เนื้อหาสารสนเทศ
2
X SD.
2
X SD.
t Sig.
(2-tailed)
สาระที่ 4 การสร้างเสริมสุขภาพ
สมรรถภาพ และการป้องกันโรค
2.26 1.19 2.30 1.17 -0.31 0.75
สาระที่ 5 ความปลอดภัยในชีวิต 2.34 1.29 2.44 1.27 -0.70 0.48
กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ
สาระที่ 1 ภาษาเพื่อการสื่อสาร 2.48 1.23 2.62 1.08 -1.21 0.22
สาระที่ 2 ภาษาและวัฒนธรรม 2.52 1.21 2.62 1.07 -0.82 0.41
สาระที่ 3 ภาษากับความสัมพันธ์กับกลุ่ม
สาระการเรียนรู้อื่น
2.40 1.19 2.43 1.06 -0.29 0.77
สาระที่4 ภาษากับความสัมพันธ์ กับชุมชน
โลก
2.38 1.28 2.43 1.17 -0.35 0.72
9.1 ปัญหาในการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศจำแนกตามเพศ
ปัญหาในการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศจำแนกตามเพศ จากตารางที่ 9 สามารถแยกเป็น
กลุ่มต่างๆ ดังนี้
1) กลุ่มสาระคณิตศาสตร์ ผลปรากฏว่านักเรียนหญิงและนักเรียนชายมีระดับปัญหาในการ
แสวงหาเนื้อหาสารสนเทศในกลุ่มสาระคณิตศาสตร์สูงที่สุดในสาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและ
ความน่าจะเป็น คะแนนของนักเรียนหญิงและนักเรียนชายโดยมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 2.37 และ 2.49
ตามลำดับ รองลงมาคือสาระที่ 4 พืชคณิตค่าเฉลี่ยของนักเรียนหญิงและนักเรียนชาย โดยมีค่าเฉลี่ย
เท่ากับ 2.29 และ 2.49 ตามลำดับ และเมื่อมีการเปรียบเทียบระดับปัญหาในการแสวงหาเนื้อหา
สารสนเทศจำแนกตามเพศ พบว่าเพศชายมีระดับปัญหาในการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศมากกว่า
เพศหญิง โดยเฉพาะในเรื่องการวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น นักเรียนชายมีระดับปัญหาใน
การแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศมากกว่านักเรียนหญิงอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
(พิจารณาจากค่า Sig. (2-tailed) ในตาราง มีค่าน้อยกว่า 0.05)
2) กลุ่มสาระภาษาไทย ผลปรากฏว่านักเรียนชายและนักเรียนหญิงมีระดับปัญหาในการ
แสวงหาเนื้อหาสารสนเทศในกลุ่มสาระภาษาไทยด้านวรรณคดีและวรรณกรรมสูงที่สุด รองลงมา
คือ ด้านหลักการใช้ภาษา นักเรียนชายและนักเรียนหญิงมีปัญหาในการแสวงหาสารสนเทศที่ ไม่มี
ความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
84
3) กลุ่มวิทยาศาสตร์ ในกลุ่มนี้นักเรียนหญิงมีระดับปัญหาในการแสวงหาเนื้อหา
สารสนเทศสูงสุดในกลุ่มวิทยาศาสตร์คือ สาระที่ 7 เรื่องดาราศาสตร์และอวกาศ โดยมีค่าเฉลี่ย
เท่ากับ 2.58 รองลงมาคือสาระที่ 6 คือกระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ
2.49 ส่วนนักเรียนชายมีระดับปัญหาในการแสวงหาสารสนเทศในสาระที่ 8 ธรรมชาติของ
วิทยาศาสตร์ โดยมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 2.66 รองลงมาคือสาระที่ 6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
ระดับปัญหาในการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศกลุ่มวิทยาศาสตร์ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่
ระดับความเชื่อมั่น 95%
4) กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ในกลุ่มนี้นักรียนหญิงและนักเรียนชายมี
ระดับปัญหาในการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศสูงสุดเหมือนกันคือ ในสาระที่ 5 ภูมิศาสตร์ โดยมี
ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.37 และ 2.34 สำหรับกลุ่มนี้นักเรียนหญิงและนักเรียนชายมีระดับปัญหาในการ
แสวงหาเนื้อหาสารสนเทศกลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมไม่แตกต่างกันอย่างมี
นัยสำคัญ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
5) กลุ่มสาระศิลปะ ในกลุ่มนี้นักเรียนหญิงและนักเรียนชายมีระดับปัญหาในการแสวงหา
เนื้อหาสารสนเทศสูงสุดเหมือนกันคือ ในสาระที่ 3 นาฏศิลป์ โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.39 และ 2.34
ตามลำดับ ในกลุ่มนี้นักเรียนหญิงและนักเรียนชายมีระดับปัญหาในการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศ
ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
6) กลุ่มสาระวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนกลุ่มนี้ พบว่านักเรียนหญิง
และนักเรียนชายมีระดับปัญหาในการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศสูงสุดเหมือนกันคือ สาระที่ 3 การ
ออกแบบเทคโนโลยี โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.51 และ 2.63 ตามลำดับ รองลงมาคือ สาระที่ 5
เทคโนโลยีเพื่อการทำงานและอาชีพ กลุ่มนี้นักเรียนหญิงและนักเรียนชายมีระดับปัญหาในการ
แสวงหาเนื้อหาสารสนเทศไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
7) กลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับกลุ่มนี้ พบว่านักเรียนหญิงและนักเรียนชายมี
ระดับปัญหาในการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศสูงสุดคือ สาระที่ 5 ความปลอดภัยในชีวิต โดยมี
ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.34 และ 2.44 กลุ่มนี้นักเรียนหญิงและนักเรียนชาย มีระดับปัญหาในการแสวงหา
เนื้อหาสารสนเทศมีระดับปัญหาในการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ที่
ระดับความเชื่อมั่น 95%
8) กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ พบว่านักเรียนหญิงและนักเรียนชายมีระดับปัญหาในการ
แสวงหาเนื้อหาสารสนเทศสูงสุดเหมือนกันคือ สาระที่ 2 ภาษาและวัฒนธรรม โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ
2.52 และ 2.62 ตามลำดับ รองลงมาคือ สาระที่ 1 ภาษาเพื่อการสื่อสาร โดยมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 2.48
85
และ 2.62 ตามลำดับ ในกลุ่มนี้นักเรียนหญิงและนักเรียนชายมีระดับปัญหาในการแสวงหาเนื้อหา
สารสนเทศไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ตารางที่ 10 แสดงปัญหาในการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศจำแนกตามเพศ
ปัญหาในการแสวงหา
เพศหญิง เพศชาย
แหล่งสารสนเทศ
2
X SD.
2
X SD.
t Sig.
(2-tailed)
แหล่งสารสนเทศสถานที่
จากห้องสมุดโรงเรียน 1.97 1.04 2.17 1.05 -1.92 0.05*
จากห้องสมุดประชาชน 2.29 1.16 2.40 0.98 -0.99 0.32
จากห้องสมุดหมวดวิชาต่าง ๆ 2.30 0.97 2.44 0.97 -1.45 0.14
จากห้องสมุดมหาวิทยาลัย 2.37 1.11 2.53 1.17 -1.39 0.16
จากหอสมุดแห่งชาติ 2.42 1.33 2.54 1.29 -0.89 0.37
จากห้องแนะแนว 2.11 1.05 2.33 1.06 -2.00 0.04*
อื่น ๆ
แหล่งสารสนเทศบุคคล
จากพ่อ แม่ ผู้ปกครอง 2.25 1.49 2.32 1.38 -0.43 0.66
จากเพื่อน 1.92 1.18 2.11 1.27 -1.53 0.12
จากอาจารย์ที่ปรึกษา 2.16 1.27 2.20 1.11 -0.25 0.80
จากบรรณารักษ์ห้องสมุด 2.16 0.97 2.34 0.94 -1.77 0.07
จากอาจารย์ท่านอื่นในโรงเรียน 2.45 1.40 2.51 1.21 -0.43 0.66
อื่น ๆ 2.00 0.00 2.00 0.00
แหล่งสารสนเทศวัสดุ
จากการชมรายการโทรทัศน์ 1.96 1.21 2.18 1.20 -1.79 0.07
จากการฟังวิทยุ 2.12 1.27 2.29 1.25 -1.31 0.18
จากการอ่านหนังสือตำรา 1.91 1.03 1.96 1.00 -0.51 0.60
จากการอ่านหนังสือพิมพ์ 1.85 1.00 1.89 0.93 -0.40 0.68
จากการอ่านวารสาร นิตยสาร 2.09 1.11 2.26 1.19 -1.40 0.16
จากจุลสารทางวิชาการ 2.15 1.00 2.30 1.01 -1.39 0.16
จากวีดีทัศน์ประกอบการเรียน 2.12 1.01 2.22 1.05 -0.88 0.37
จากการชมนิทรรศการทางวิชาการ 1.94 1.07 2.25 1.11 -2.77 0.00**
86
ปัญหาในการแสวงหา
เพศหญิง เพศชาย
แหล่งสารสนเทศ
2
X SD.
2
X SD.
t Sig.
(2-tailed)
จากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เช่น โปรแกรม 2.15 1.14 2.40 1.10 -2.18 0.02*
จากสารสนเทศบน อินเทอร์เน็ต 2.12 1.15 2.26 1.20 -1.16 0.24
อื่น ๆ . . . .
ประเภททรัพยากรสารสนเทศ
ทรัพยากรสารสนเทศประเภทวัสดุตีพิมพ์
หนังสือทั่วไป 1.99 1.09 2.10 1.17 -0.97 0.32
หนังสืออ้างอิง 2.00 1.19 2.29 1.14 -2.44 0.01**
วารสารหรือนิตยสาร 2.08 1.10 2.14 1.10 -0.52 0.60
หนังสือพิมพ์ 1.98 1.12 2.15 1.08 -1.54 0.12
จุลสาร 2.17 1.18 2.36 1.10 -1.62 0.10
กฤตภาค 2.05 1.15 2.28 1.17 -1.92 0.05*
ทรัพยากรสารสนเทศประเภทวัสดุไม่
ตีพิมพ์
วิทยุ 2.03 1.28 2.24 1.34 -1.51 0.12
โทรทัศน์ 1.98 1.30 2.13 1.32 -1.06 0.28
คอมพิวเตอร์ 2.25 1.30 2.40 1.24 -1.12 0.26
วีดีทัศน์ 2.18 1.16 2.24 1.14 -0.47 0.63
แผนที่ 2.15 1.11 2.23 1.03 -0.70 0.48
หุ่นจำลอง 2.27 1.23 2.44 1.28 -1.33 0.18
อื่น ๆ 1.50 0.92 1.22 0.66 0.71 0.48
** มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 * มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
10.2 ระดับปัญหาในการแสวงหาแหล่งสารสนเทศจำแนกตามเพศ
ระดับปัญหาในการแสวงหาแหล่งสารสนเทศจำแนกตามเพศ จากตารางที่ 10 สามารถสรุป
ได้ ดังนี้
1) แหล่งสารสนเทศสถานที่ ระดับปัญหาในการแสวงหาแหล่งสารสนเทศสถานที่ที่
นักเรียนมีปัญหามากที่สุดได้แก่ หอสมุดแห่งชาติ โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.42 และ 2.54 ในนักเรียน
หญิงและนักเรียนชายตามลำดับ แหล่งสารสนเทศสถานที่นักเรียนหญิงและนักเรียนชายมีปัญหา
87
เป็นอันดับสองได้แก่ ห้องสมุดมหาวิทยาลัย โดยจะพบว่านักเรียนหญิงกับนักเรียนชายมีคะแนน
ปัญหาในการแสวงหาแหล่งสารสนเทศสถานที่ไม่แตกต่างกันมีนัยสำคัญ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
2) แหล่งสารสนเทศบุคคล ระดับปัญหาในการแสวงหาแหล่งสารสนเทศบุคคลที่นักเรียน
หญิงและนักเรียนชายมีปัญหามากที่สุดได้แก่ จากอาจารย์ท่านอื่นในโรงเรียนโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ
2.45 และ 2.51 ตามลำดับ จะพบว่านักเรียนหญิงกับนักเรียนชายมีปัญหาในการแสวงหาแหล่ง
สารสนเทศบุคคลไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
3) แหล่งสารสนเทศวัสดุ ระดับปัญหาในการแสวงหาแหล่งสารสนเทศวัสดุที่นักเรียน
หญิงและนักเรียนชายมีปัญหาในการแสวงหามากที่สุดได้แก่ จากจุลสาร โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ2.15
และ 2.30 ในนักเรียนหญิงและนักเรียนชายตามลำดับ โดยจะพบว่านักเรียนหญิงกับนักเรียนชายมี
ปัญหาในการแสวงหาแหล่งสารสนเทศสถานที่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับความเชื่อมั่น
95%
ประเภททรัพยากรสารสนเทศ
1. ทรัพยากรสารสนเทศประเภทวัสดุตีพิมพ์ ระดับปัญหาในการแสวงหาแหล่งสารสนเทศ
ประเภทวัสดุตีพิมพ์ที่นักเรียนหญิงมีปัญหาในการแสวงหามากที่สุดได้แก่ จุลสาร โดยมีค่าเฉลี่ย
2.05 และ 2.36 รองลงมาได้แก่แหล่งสารสนเทศจากกฤตภาค โดยจะพบว่านักเรียนหญิงกับนักเรียน
ชายมีปัญหาในการแสวงหาแหล่งสารสนเทศประเภทวัสดุสิ่งตีพิมพ์ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ
ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
2. ทรัพยากรสารสนเทศประเภทวัสดุไม่ตีพิมพ์ ระดับปัญหาในการแสวงหาแหล่ง
สารสนเทศประเภทวัสดุไม่ตีพิมพ์ที่นักเรียนมีปัญหาในการแสวงหามากที่สุดได้แก่ หุ่นจำลอง โดย
มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.27 และ 2.446 ในนักเรียนหญิงและนักเรียนชายตามลำดับ รองลงมาได้แก่แหล่ง
สารสนเทศจาก แผนที่ โดยจะพบว่านักเรียนหญิงกับนักเรียนชายมีปัญหาในการแสวงหาแหล่ง
สารสนเทศประเภทวัสดุไม่ตีพิมพ์ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
88
ตารางที่ 11 แสดงปัญหาในการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศจำแนกตามขนาดโรงเรียน
ปัญหาในการแสวงหา
เนื้อหาสารสนเทศ ขนาดใหญ่พิเศษ ขนาดใหญ่
X SD. X SD.
t Sig. (2-
tailed)
กลุ่มสาระคณิตศาสตร์
สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ 2.19 0.92 2.19 0.93 0.05 0.95
สาระที่ 2 การวัด 2.17 0.96 2.14 0.93 0.32 0.74
สาระที่ 3 เรขาคณิต 2.23 0.94 2.08 0.90 1.54 0.12
สาระที่ 4 พีชคณิต 2.36 1.00 2.39 1.06 -0.27 0.78
สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น 2.44 1.05 2.35 1.07 0.86 0.38
สาระที่ 6 ทักษะ/กระบวนการทางคณิตศาสตร์ 2.24 0.97 2.17 1.02 0.65 0.51
กลุ่มสาระภาษาไทย
สาระที่ 1 การอ่าน 2.12 1.16 2.03 1.06 0.77 0.43
สาระที่ 2 การเขียน 2.27 1.30 2.13 1.16 1.09 0.27
สาระที่ 3 การฟัง ดู พูด 2.28 1.11 2.24 1.09 0.36 0.71
สาระที่ 4 หลักการใช้ภาษา 2.32 1.15 2.26 1.09 0.50 0.61
สาระที่ 5 วรรณคดีและวรรณกรรม 2.54 1.10 2.35 1.05 1.63 0.10
กลุ่มวิทยาศาสตร์
สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต 2.36 1.12 2.31 1.10 0.46 0.64
สาระที่ 2 ชีวิตและสิ่งแวดล้อม 2.42 1.17 2.34 1.11 0.66 0.50
สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร 2.55 1.16 2.48 1.19 0.58 0.55
สาระที่ 4 แรงและการเคลื่อนที่ 2.46 1.17 2.38 1.17 0.69 0.48
สาระที่ 5 พลังงาน 2.49 0.96 2.44 1.04 0.45 0.65
สาระที่ 6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก 2.60 1.03 2.54 1.11 0.54 0.58
สาระที่ 7 ดาราศาสตร์และอวกาศ 2.54 1.72 2.52 1.17 0.14 0.88
สาระที่ 8 ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี
2.59 1.23 2.54 1.14 0.37 0.70
89
ปัญหาในการแสวงหา
เนื้อหาสารสนเทศ ขนาดใหญ่พิเศษ ขนาดใหญ่
X SD. X SD.
t Sig. (2-
tailed)
กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
สาระที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม 2.18 0.98 2.20 0.99 -0.20 0.83
สาระที่ 2 หน้าที่พล เมือง วัฒนธรรมและการ
ดำเนินชีวิตในสังคม
2.24 1.09 2.17 1.02 0.61 0.53
สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ 2.28 0.95 2.37 1.06 -0.87 0.38
สาระที่ 4 ประวัติศาสตร์ 2.38 1.02 2.41 1.08 -0.22 0.82
สาระที่ 5 ภูมิศาสตร์ 2.43 1.04 2.43 1.06 -0.01 0.98
กลุ่มสาระศิลปะ
สาระที่ 1 ทัศนศิลป์ 2.31 1.05 2.32 1.14 -0.09 0.92
สาระที่ 2 ดนตรี 2.21 1.05 2.16 1.09 0.48 0.62
สาระที่ 3 นาฏศิลป์ 2.40 1.12 2.32 1.15 0.70 0.48
กลุ่มสาระวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี
สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว 2.14 1.21 2.12 1.17 0.22 0.82
สาระที่ 2 การอาชีพ 2.31 1.25 2.17 1.13 1.10 0.27
สาระที่ 3 การออกแบบเทคโนโลยี 2.60 1.12 2.52 1.14 0.71 0.47
สาระที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศ 2.43 1.07 2.39 1.05 0.39 0.69
สาระที่ 5 เทคโนโลยีเพื่อการทำงานและอาชีพ 2.47 1.12 2.41 1.12 0.54 0.58
กลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษา
สาระที่ 1 การเจริญเติบโตและพัฒนาการของ
มนุษย์
2.33 1.15 2.29 1.12 0.32 0.74
สาระที่ 2 ชีวิตและครอบครัว 2.38 1.27 2.30 1.20 0.56 0.56
สาระที่ 3 การเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย
การเล่นเกม
2.23 1.17 2.15 1.21 0.66 0.50
สาระที่ 4 การสร้างเสริมสุขภาพ สมรรถภาพ
และการป้องกันโรค
2.31 1.20 2.23 1.15 0.63 0.52
90
ปัญหาในการแสวงหา
เนื้อหาสารสนเทศ ขนาดใหญ่พิเศษ ขนาดใหญ่
X SD. X SD.
t Sig. (2-
tailed)
สาระที่ 5 ความปลอดภัยในชีวิต 2.43 1.31 2.33 1.22 0.79 0.42
กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ
สาระที่ 1 ภาษาเพื่อการสื่อสาร 2.57 1.15 2.51 1.18 0.49 0.62
สาระที่ 2 ภาษาและวัฒนธรรม 2.54 1.12 2.60 1.18 -0.50 0.61
สาระที่ 3 ภาษากับความสัมพันธ์กับกลุ่มสาระ
การเรียนรู้อื่น
2.41 1.12 2.42 1.14 -0.14 0.88
สาระที่4 ภาษากับความสัมพันธ์ กับชุมชน
โลก
2.42 1.24 2.38 1.20 0.32 0.74
* มีนัยสำคัญทางสถิติ ระดับ .01 ** มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
11.1 ระดับปัญหาในการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศจำแนกตามขนาดโรงเรียน
ระดับปัญหาในการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศจำแนกตามขนาดโรงเรียน จากตารางที่ 11
สามารถแยกเป็นกลุ่มต่างๆ ดังนี้
1) กลุ่มสาระคณิตศาสตร์ ผลปรากฏว่าโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษและโรงเรียนขนาดใหญ่มี
ระดับปัญหาในการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศในกลุ่มสาระคณิตศาสตร์สูงที่สุดในสาระที่ 5 การ
วิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น ค่าเฉลี่ยของโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษและโรงเรียนขนาดใหญ่
โดยมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 2.44 และ 2.35 ตามลำดับ รองลงมาคือสาระที่ 4 พีชคณิต โดยมีค่าเฉลี่ย
เท่ากับ ของโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษและโรงเรียนขนาดใหญ่ โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.36 และ 2.39
ตามลำดับ โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษและโรงเรียนขนาดใหญ่มีระดับปัญหาในการแสวงหาเนื้อหา
สารสนเทศไม่ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่น 95% (พิจารณาจากค่า Sig. (2-tailed) ใน
ตาราง มีค่าน้อยกว่า 0.05)
2) กลุ่มสาระภาษาไทย ผลปรากฏว่าโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษและโรงเรียนขนาดใหญ่มี
ระดับปัญหาในการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศในกลุ่มสาระภาษาไทย ด้านสาระที่ 5 วรรณคดีและ
วรรณกรรม โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.54 และ 2.35 โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษและโรงเรียนขนาดใหญ่
ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่น 95% (พิจารณาจากค่า Sig. (2-tailed) ใน
ตาราง มีค่ามากกว่า 0.05 ในทุกสาระของกลุ่มนี้)
91
3) กลุ่มวิทยาศาสตร์ ในกลุ่มนี้โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษและโรงเรียนขนาดใหญ่มีระดับ
ปัญหาในการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศสูงสุดในกลุ่มวิทยาศาสตร์เหมือนกันคือ สาระที่ 8
ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.59 และ 2.54 กลุ่มนี้โรงเรียน
ขนาดขนาดใหญ่พิเศษและโรงเรียนขนาดใหญ่มีปัญหาในการแสวงหาสารสนเทศไม่แตกต่างกัน
อย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
4) กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ในกลุ่มนี้โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษและ
โรงเรียนขนาดใหญ่มีระดับปัญหาการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศสูงสุดเหมือนกันคือ ในสาระที่ 5
ภูมิศาสตร์ โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.43 และ 2.43 สำหรับกลุ่มนี้โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษและโรงเรียน
ขนาดใหญ่มีระดับปัญหาในการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศกลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและ
วัฒนธรรมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
5) กลุ่มสาระศิลปะ ในกลุ่มนี้โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษและโรงเรียนขนาดใหญ่มีระดับ
ปัญหาในการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศสูงสุดเหมือนกันคือ ในสาระที่ 3 นาฏศิลป์ โดยมีค่าเฉลี่ย
เท่ากับ 2.40 และ 2.32 ตามลำดับ ในกลุ่มนี้โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษและโรงเรียนขนาดใหญ่มีระดับ
การแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
6) กลุ่มสาระวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับโรงเรียนกลุ่มนี้ พบว่าโรงเรียน
ขนาดใหญ่พิเศษและโรงเรียนขนาดใหญ่มีระดับปัญหาในการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศสูงสุด
เหมือนกันคือ สาระที่ 5 เทคโนโลยีเพื่อการทำงานและอาชีพ โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.43 และ 2.33
โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษและโรงเรียนขนาดใหญ่มีระดับปัญหาในการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศ
ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
7) กลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับโรงเรียนกลุ่มนี้ พบว่าโรงเรียนขนาดใหญ่
พิเศษระดับการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศสูงสุดคือ สาระที่ 5 ความปลอดภัยในชีวิต โดยมีค่าเฉลี่ย
เท่ากับ 2.43 , 2.33 กลุ่มนี้โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษและโรงเรียนขนาดใหญ่มีระดับปัญหาในการ
แสวงหาเนื้อหาสารสนเทศไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
8) กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ พบว่าโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษมีปัญหาในการแสวงหา
สารสนเทศสาระที่ 1 ภาษาเพื่อการสื่อสาร โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.57 และโรงเรียนขนาดใหญ่มี
ปัญหาในการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศสูงสุดเหมือนกันคือ สาระที่ 2 ภาษาและวัฒนธรรม โดยมี
ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.60 ในกลุ่มนี้โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษและโรงเรียนขนาดใหญ่มีระดับปัญหาใน
การแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
92
ตารางที่ 12 แสดงปัญหาในการแสวงหาแหล่งสารสนเทศจำแนกตามขนาดโรงเรียน
ปัญหาในการแสวงหา
แหล่งสารสนเทศ ขนาดใหญ่พิเศษ ขนาดใหญ่
X SD. X SD.
t Sig. (2-
tailed)
แหล่งสารสนเทศสถานที่
จากห้องสมุดโรงเรียน 2.09 1.08 2.05 1.01 0.41 0.68
จากห้องสมุดประชาชน 2.42 1.06 2.23 1.08 1.74 0.08
จากห้องสมุดหมวดวิชาต่าง ๆ 2.42 0.97 2.30 0.98 1.22 0.22
จากห้องสมุดมหาวิทยาลัย 2.50 1.14 2.37 1.13 1.15 0.24
จากหอสมุดแห่งชาติ 2.56 1.34 2.36 1.27 1.46 0.14
จากห้องแนะแนว 2.25 1.07 2.17 1.05 0.71 0.47
อื่น ๆ 9.00 0.00 9.00 0.00
แหล่งสารสนเทศบุคคล
จากพ่อ แม่ ผู้ปกครอง 2.32 1.47 2.24 1.39 0.54 0.58
จากเพื่อน 2.07 1.27 1.93 1.16 1.08 0.27
จากอาจารย์ที่ปรึกษา 2.14 1.16 2.23 1.23 -0.70 0.47
จากบรรณารักษ์ห้องสมุด 2.32 0.95 2.16 0.96 1.53 0.12
จากอาจารย์ท่านอื่นในโรงเรียน 2.53 1.30 2.41 1.30 0.91 0.35
อื่น ๆ 2.00 0.00 2.00 0.00
แหล่งสารสนเทศวัสดุ
จากการชมรายการโทรทัศน์ 2.11 1.23 2.02 1.18 0.73 0.46
จากการฟังวิทยุ 2.29 1.30 2.08 1.21 1.58 0.11
จากการอ่านหนังสือตำรา 1.95 1.00 1.92 1.04 0.20 0.83
จากการอ่านหนังสือพิมพ์ 1.89 0.98 1.85 0.94 0.41 0.67
93
ปัญหาในการแสวงหา
แหล่งสารสนเทศ ขนาดใหญ่พิเศษ ขนาดใหญ่
X SD. X SD.
t Sig. (2-
tailed)
จากการอ่านวารสาร นิตยสาร 2.26 1.18 2.05 1.10 1.71 0.08
จากจุลสารทางวิชาการ 2.28 1.02 2.14 0.98 1.35 0.17
จากวีดีทัศน์ประกอบการเรียน 2.21 1.03 2.10 1.03 1.02 0.30
จากการชมนิทรรศการทางวิชาการ 2.17 1.14 1.99 1.02 1.62 0.10
จากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 2.30 1.15 2.24 1.10 0.53 0.59
จากสารสนเทศบน อินเทอร์เน็ต 2.28 1.21 2.07 1.12 1.66 0.09
อื่น ๆ . . . .
ประเภททรัพยากรสารสนเทศ
ทรัพยากรสารสนเทศประเภทวัสดุตีพิมพ์
หนังสือทั่วไป 2.04 1.17 2.06 1.07 -0.17 0.86
หนังสืออ้างอิง 2.17 1.16 2.11 1.20 0.45 0.65
วารสารหรือนิตยสาร 2.11 1.15 2.11 1.02 -0.01 0.99
หนังสือพิมพ์ 2.10 1.15 2.01 1.04 0.78 0.43
จุลสาร 2.29 1.17 2.24 1.10 0.45 0.64
กฤตภาค 2.18 1.17 2.15 1.15 0.28 0.77
ทรัพยากรสารสนเทศประเภทวัสดุไม่ตีพิมพ์
วิทยุ 2.20 1.38 2.05 1.21 1.09 0.27
โทรทัศน์ 2.10 1.37 2.00 1.24 0.68 0.49
คอมพิวเตอร์ 2.36 1.29 2.26 1.24 0.74 0.45
วีดีทัศน์ 2.23 1.19 2.18 1.08 0.38 0.69
แผนที่ 2.21 1.08 2.16 1.07 0.39 0.69
หุ่นจำลอง 2.37 1.27 2.34 1.24 0.20 0.83
อื่น ๆ 1.00 0.00 2.00 1.09 -3.11 0.00**
* มีนัยสำคัญทางสถิติ ระดับ .01 ** มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
94
12.1ระดับปัญหาในการแสวงหาแหล่งสารสนเทศจำแนกตามขนาดโรงเรียน
ระดับปัญหาในการแสวงหาแหล่งสารสนเทศจำแนกตามขนาดโรงเรียน จากตารางที่ 12
สามารถสรุปได้ ดังนี้
1.)แหล่งสารสนเทศสถานที่ ระดับปัญหาในการแสวงหาแหล่งสารสนเทศสถานที่ที่
นักเรียนในโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษที่มีปัญหาในการแสวงหามากที่สุดได้แก่ หอสมุดแห่งชาติ โดย
มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.56 ส่วนนักเรียนในโรงเรียนขนาดใหญ่มีระดับปัญหาในการแสวงหาแหล่ง
สารสนเทศสถานที่มากที่สุดได้แก่ ห้องสมุดมหาวิทยาลัย โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.37 โดยจะพบว่า
โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษกับโรงเรียนขนาดใหญ่มีระดับปัญหาในการแสวงหาสารสนเทศสถานที่
แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
2.)แหล่งสารสนเทศบุคคล ระดับปัญหาในการแสวงหาแหล่งสารสนเทศบุคคลที่นักเรียน
ในโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษและโรงเรียนขนาดใหญ่มีปัญหาในการแสวงหามากที่สุดได้แก่ จาก
อาจารย์ท่านอื่นในโรงเรียนโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.53 และ 2.41 ในโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษและ
โรงเรียนขนาดใหญ่ตามลำดับ โดยจะพบว่านักเรียนในโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษกับนักเรียนใน
โรงเรียนขนาดใหญ่มีค่าเฉลี่ย การแสวงหาแหล่งสารสนเทศบุคคลไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญ
ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
3.)แหล่งสารสนเทศวัสดุ ระดับปัญหาในการแสวงหาแหล่งสารสนเทศวัสดุที่นักเรียนใน
โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษและโรงเรียนขนาดใหญ่มีปัญหาในการแสวงหามากที่สุดได้แก่ จาก
โปรแกรมคอมพิวเตอร์โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.30 และ 2.24 ตามลำดับ แหล่งสารสนเทศวัสดุที่
นักเรียนในโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษและขนาดใหญ่มีปัญหาในการแสวงหาแหล่งสารสนเทศ
สถานที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ประเภททรัพยากรสารสนเทศ
1.ทรัพยากรสารสนเทศประเภทวัสดุตีพิมพ์ ระดับปัญหาในการแสวงหาแหล่งสารสนเทศ
ประเภทวัสดุตีพิมพ์ที่นักเรียนในโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษและโรงเรียนขนาดใหญ่มีปัญหาในการ
แสวงหามากที่สุดได้แก่ จุลสาร โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.29 และ 2.24 โดยจะพบว่านักเรียนใน
โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษกับนักเรียนในโรงเรียนขนาดใหญ่มีปัญหาในการแสวงหาแหล่ง
สารสนเทศประเภทวัสดุสิ่งตีพิมพ์ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
95
2.)ทรัพยากรสารสนเทศประเภทวัสดุไม่ตีพิมพ์ ระดับปัญหาในการแสวงหาแหล่ง
สารสนเทศประเภทวัสดุไม่ตีพิมพ์ที่นักเรียนในโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษและโรงเรียนขนาดใหญ่มี
ปัญหาในการแสวงหามากที่สุดได้แก่ หุ่นจำลอง โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.37 และ 2.34 ตามลำดับ
โดยจะพบว่านักเรียนโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษและโรงเรียนขนาดใหญ่มีปัญหาในการแสวงหา
แหล่งสารสนเทศประเภทวัสดุไม่ตีพิมพ์ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
96
ตารางที่ 13 แสดงปัญหาในการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศจำแนกตามผลการศึกษา
ระดับการแสวงหา
เนื้อหาสารสนเทศ 1.00-2.50 2.51-3.50 3.51-4.00
X SD. X SD. X SD.
F Sig.
กลุ่มสาระคณิตศาสตร์
สาระที่ 1 จำนวนและการ
ดำเนินการ
2.50 0.52 2.16 0.89 2.21 0.98 0.66 0.51
สาระที่ 2 การวัด 2.70 0.48 2.26 0.94 1.99 0.95 5.37 0.00**
สาระที่ 3 เรขาคณิต 2.80 0.42 2.20 0.98 2.07 0.85 3.28 0.03*
สาระที่ 4 พีชคณิต 2.90 0.73 2.48 1.11 2.20 0.88 4.75 0.00**
สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูล
และความน่าจะเป็น
2.70 0.48 2.29 1.08 2.55 1.02 3.08 0.04*
สาระที่ 6 ทักษะ/กระบวนการ
ทางคณิตศาสตร์
3.70 0.48 2.14 0.98 2.21 0.95 12.39 0.00*
กลุ่มสาระภาษาไทย
สาระที่ 1 การอ่าน 2.70 0.48 2.25 1.18 1.81 0.99 8.79 0.00**
สาระที่ 2 การเขียน 3.30 0.82 2.37 1.28 1.92 1.14 9.98 0.00**
สาระที่ 3 การฟัง ดู พูด 2.90 1.10 2.41 1.20 2.01 0.88 7.67 0.00**
สาระที่ 4 หลักการใช้ภาษา 2.10 0.73 2.48 1.17 2.05 1.03 6.86 0.00**
สาระที่ 5 วรรณคดีและ
วรรณกรรม
2.50 0.52 2.46 1.10 2.47 1.09 0.00 0.99
กลุ่มวิทยาศาสตร์
สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับ
กระบวนการดำรงชีวิต
2.80 1.31 2.44 1.12 2.17 1.07 3.54 0.02
สาระที่ 2 ชีวิตและสิ่งแวดล้อม 2.50 0.52 2.53 1.10 2.18 1.21 4.41 0.01**
สาระที่ 3 สารและสมบัติของ
สาร
2.30 0.82 2.61 1.26 2.40 1.05 1.55 0.21
97
ระดับการแสวงหา
เนื้อหาสารสนเทศ 1.00-2.50 2.51-3.50 3.51-4.00
X SD. X SD. X SD.
F Sig.
สาระที่ 4 แรงและการเคลื่อนที่ 2.60 0.84 2.46 1.22 2.37 1.10 0.37 0.68
สาระที่ 5 พลังงาน 2.30 0.82 2.36 0.99 2.64 0.99 3.63 0.02*
สาระที่ 6 กระบวนการ
เปลี่ยนแปลงของโลก
2.60 0.84 2.40 0.98 2.82 1.14 7.10 0.00**
สาระที่ 7 ดาราศาสตร์และ
อวกาศ
2.30 0.82 2.30 1.00 2.89 2.03 7.25 0.00**
สาระที่ 8 ธรรมชาติของ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2.30 0.82 2.51 1.14 2.67 1.28 1.09 0.33
กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนา
และวัฒนธรรม
สาระที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม
จริยธรรม
2.50 0.52 2.21 0.98 2.14 1.00 0.73 0.48
สาระที่ 2 หน้าที่พล เมือง
วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิต
ในสังคม
2.90 1.10 2.10 1.05 2.32 1.05 4.15 0.01**
สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ 2.30 0.82 2.25 0.91 2.41 1.11 1.24 0.28
สาระที่ 4 ประวัติศาสตร์ 3.10 1.19 2.25 0.93 2.55 1.14 6.13 0.00**
สาระที่ 5 ภูมิศาสตร์ 2.60 0.84 2.37 1.01 2.50 1.10 0.81 0.44
กลุ่มสาระศิลปะ
สาระที่ 1 ทัศนศิลป์ 3.50 0.52 2.23 0.97 2.36 1.21 6.82 0.00**
สาระที่ 2 ดนตรี 3.10 0.73 2.07 0.83 2.29 1.32 5.72 0.00**
สาระที่ 3 นาฏศิลป์ 2.30 0.82 2.39 0.99 2.34 1.33 0.09 0.90
กลุ่มสาระวิชาการงานอาชีพ
และเทคโนโลยี
สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและ
ครอบครัว
2.50 0.52 2.01 0.97 2.28 1.45 2.77 0.06
สาระที่ 2 การอาชีพ 2.90 1.10 2.23 1.11 2.24 1.32 1.47 0.23
98
ระดับการแสวงหา
เนื้อหาสารสนเทศ 1.00-2.50 2.51-3.50 3.51-4.00
X SD. X SD. X SD.
F Sig.
สาระที่ 3 การออกแบบเทค
โนโลย
3.30 0.48 2.40 1.15 2.76 1.08 6.79 0.00**
สาระที่ 4 เทคโนโลยี
สารสนเทศ
2.80 0.42 2.27 1.09 2.59 1.01 4.69 0.00**
สาระที่ 5 เทคโนโลยีเพื่อการ
ทำงานและอาชีพ
2.70 0.48 2.36 1.17 2.55 1.07 1.53 0.21
กลุ่มสาระสุขศึกษาและพล
ศึกษา
สาระที่ 1 การเจริญเติบโตและ
พัฒนาการของมนุษย์
2.80 0.42 2.28 1.13 2.33 1.17 0.98 0.37
สาระที่ 2 ชีวิตและครอบครัว 2.70 0.48 2.37 1.17 2.29 1.37 0.55 0.57
สาระที่ 3 การเคลื่อนไหว การ
ออกกำลังกาย การเล่นเกม
2.80 1.31 2.19 1.13 2.18 1.26 1.29 0.27
สาระที่ 4 การสร้างเสริม
สุขภาพ สมรรถภาพ และการ
ป้องกันโรค
2.80 0.42 2.19 1.19 2.37 1.19 2.04 0.13
สาระที่ 5 ความปลอดภัยใน
ชีวิต
2.50 0.52 2.38 1.34 2.40 1.22 0.04 0.95
กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ
สาระที่ 1 ภาษาเพื่อการสื่อสาร 2.60 0.84 2.39 1.21 2.77 1.07 5.03 0.00**
สาระที่ 2 ภาษาและวัฒนธรรม 3.30 0.48 2.38 1.11 2.79 1.16 7.98 0.00**
สาระที่ 3 ภาษากับ
ความสัมพันธ์กับกลุ่มสาระการ
เรียนรู้อื่น
2.30 0.48 2.28 1.11 2.62 1.14 4.26 0.01**
สาระที่4 ภาษากับความสัมพันธ์
กับชุมชนโลก
1.80 0.42 2.22 1.22 2.70 1.19 8.56 0.00**
* มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ** มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
99
13.1 ระดับปัญหาในการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศจำแนกตามผลการศึกษา
ระดับปัญหาในการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศจำแนกตามขนาดผลการศึกษา จากตารางที่
13 สามารถแยกเป็นกลุ่มต่างๆ ดังนี้
1) กลุ่มสาระคณิตศาสตร์ ผลปรากฏว่านักเรียนมีระดับผลการศึกษาเฉลี่ย 3.51 – 4.00 มี
ระดับปัญหาในการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศในกลุ่มสาระคณิตศาสตร์สูงที่สุดในสาระที่ 5 การ
วิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็นโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.55 นักเรียนมีระดับผลการศึกษาเฉลี่ย
1.00 – 3.00 มีปัญหาในการแสวงหาสารสนเทศสูงสุดในสาระที่ 4 พีชคณิต เมื่อเปรียบเทียบระดับ
ปัญหาในการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศจำแนกตามระดับผลการเรียนพบว่าระดับปัญหาในการ
แสวงหาเนื้อหาสารสนเทศของนักเรียนที่มีผลการเรียนระดับ 3.51 – 4.00 และนักเรียนที่มีระดับผล
การศึกษาเฉลี่ย 1.00 – 3.00 มีระดับปัญหาในการแสวงหาสารสนเทศ ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ
ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
2) กลุ่มสาระภาษาไทย ผลปรากฏว่านักเรียนที่มีผลการศึกษา 1.00 –2.50มีระดับปัญหาใน
การแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศในกลุ่มสาระภาษาไทย ด้านสาระที่ 2 การเขียนสูงที่สุด โดยมี
ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.30 นักเรียนที่มีผลการเรียน 2.51 –3.50 มีปัญหาในการแสวงหาสารสนเทศในกลุ่ม
สาระที่ 4 คือ ด้านหลักการใช้ภาษา โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ2.84 และนักเรียนที่มีผลการเรียน 3.51 –
4.00 มีปัญหาในการแสวงหาสารสนเทศ ในกลุ่มสาระที่ 5 วรรณคดีและวรรณกรรม จากผลการ
วิเคราะห์ระดับปัญหาในการแสวงหาสารสนเทศเนื้อหาสารสนเทศด้านผลการศึกษา มีความ
แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
3) กลุ่มวิทยาศาสตร์ ในกลุ่มนี้นักเรียนที่มีผลการศึกษา 1.00 –2.50 มีระดับปัญหาในการ
แสวงหาเนื้อหาสารสนเทศสูงสุดในกลุ่มวิทยาศาสตร์ คือ สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการ
ดำรงชีวิตโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.80 นักเรียนที่มีผลการเรียน 2.51 –3.50 มีระดับปัญหาในการ
แสวงหาสารสนเทศในกลุ่มสาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.61 และ
นักเรียนที่มีผลการเรียน 3.51–4.00 มีปัญหาในการแสวงหาสารสนเทศในกลุ่มสาระที่ 7 ดารา
ศาสตร์และอวกาศ นักเรียนที่มีผลการเรียน 1.00 – 4.00 มีระดับปัญหาในการแสวงหาสารสนเทศ
โดยมีคะแนนด้านเนื้อหาสารสนเทศกลุ่มวิทยาศาสตร์ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับความ
เชื่อมั่น 95%
100
4).กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ในกลุ่มนี้นักเรียนที่มีผลการศึกษา 1.00–
2.50 และนักเรียนที่มีผลการเรียน 3.51 – 4.00 มีระดับปัญหาในการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศ
สูงสุดในกลุ่มสาระที่ 4 ประวัติศาสตร์โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.10 , 2.55 นักเรียนที่มีผลการศึกษา
เฉลี่ย 2.51 – 3.50 มีระดับปัญหาในการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศสูงสุด ในสาระที่ 5 ภูมิศาสตร์
โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.37 สำหรับกลุ่มนี้มีระดับปัญหาในการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศกลุ่ม
สาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
5) กลุ่มสาระศิลปะ ในกลุ่มนี้นักเรียนที่มีผลการศึกษา 1.00 –3.50 และนักเรียนที่มีผล
การศึกษา 3.51 – 4.00 มีระดับปัญหาในการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศสูงสุดในกลุ่มสาระที่ 1 โดยมี
ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.50, 2.36 นักเรียนที่มีผลการศึกษา 2.51 – 3.50มีรับปัญหาในการแสวงหาเนื้อหา
สารสนเทศมากที่สุดในกลุ่มสาระที่ 3 นาฏศิลป์ โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.39 พบว่านักเรียนที่มีผล
การศึกษา1.00 –2.50 และนักเรียนที่มีผลการเรียน 3.51 – 4.00 และนักเรียนที่มีผลการศึกษา 2.51 –
3.50 มีปัญหาในการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับความเชื่อมั่น
95%
6) กลุ่มสาระวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับโรงเรียนกลุ่มนี้ พบว่านักเรียนที่มี
ผลการศึกษา 1.00 – 4.00 มีปัญหาในการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศสูงสุดในกลุ่มสาระที่ 3 การ
ออกแบบเทคโนโลยี โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.30, 2.40, 2.76 ตามลำดับ สำหรับกลุ่มนี้มีระดับปัญหา
ในการแสวงหาสารสเทศที่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
7) กลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนที่มีผลการศึกษา 1.00 – 2.50 มีระดับ
ปัญหาในการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศสูงสุดคือ สาระที่ 1 การเจริญเติบโตและพัฒนาการของ
มนุษย์ โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.80 นักเรียนที่มีผลการศึกษา 2.51 – 4.00 มีปัญหาในการแสวงหา
เนื้อหาสารสนเทศสูงสุดโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.38, 2.40 จากผลการวิเคราะห์พบว่านักเรียนที่มีผล
การเรียน 1.00 – 2.50 และนักเรียนที่มีผลการเรียน 2.51 – 4.00มีระดับปัญหาในการแสวงหา
สารสนเทศที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
8) กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ พบว่านักเรียนที่มีผลการศึกษา1.00 – 3.50 มีปัญหาในการ
แสวงหาเนื้อสารสนเทศสูงสุดในกลุ่มสาระที่ 1 ภาษเพื่อการสื่อสาร โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.60, 2.39
และนักเรียนที่มีผลการศึกษา 3.51 – 4.00 มีระดับปัญหาในการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศสูงสุดใน
สาระที่ 2 ภาษาและวัฒนธรรม โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.79 ในกลุ่มนี้พบว่านักเรียนที่มีผลการศึกษา
1.00 – 3.50 และนักเรียนที่มีผลการเรียน 3.51 – 4.00 มีระดับปัญหาในการแสวงหาเนื้อหา
สารสนเทศที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
101
ตารางที่ 14 แสดงปัญหาในการแสวงหาแหล่งสารสนเทศจำแนกตามผลการศึกษา
ระดับการแสวงหา
แหล่งสารสนเทศ 1.00-2.50 2.51-3.50 3.51-4.00
X SD. X SD. X SD.
F Sig.
แหล่งสารสนเทศสถานที่
จากห้องสมุดโรงเรียน 2.60 0.96 2.15 1.02 1.92 1.08 3.46 0.03*
จากห้องสมุดประชาชน 2.10 0.73 2.30 1.04 2.42 1.13 0.80 0.44
จากห้องสมุดหมวดวิชาต่าง ๆ 2.00 0.00 2.30 0.92 2.49 1.06 2.38 0.09
จากห้องสมุดมหาวิทยาลัย 2.10 0.73 2.54 1.12 2.35 1.18 1.74 0.17
จากหอสมุดแห่งชาติ 2.40 1.17 2.52 1.28 2.43 1.38 0.22 0.80
จากห้องแนะแนว 2.40 1.17 2.19 1.00 2.26 1.13 0.36 0.69
อื่น ๆ
แหล่งสารสนเทศบุคคล
จากพ่อ แม่ ผู้ปกครอง 2.30 0.82 2.18 1.31 2.44 1.62 1.55 0.21
จากเพื่อน 2.30 0.48 2.08 1.28 1.90 1.17 1.28 0.27
จากอาจารย์ที่ปรึกษา 3.50 0.52 2.10 1.14 2.21 1.25 6.81 0.00**
จากบรรณารักษ์ห้องสมุด 2.10 0.73 2.27 0.90 2.24 1.05 0.20 0.81
จากอาจารย์ท่านอื่นในโรงเรียน 2.70 0.82 2.22 1.02 2.84 1.58 10.88 0.00**
อื่น ๆ . . 2.00 0.00 . .
แหล่งสารสนเทศวัสดุ
จากการชมรายการโทรทัศน์ 2.90 0.73 2.24 1.32 1.79 0.98 9.04 0.00**
102
ระดับการแสวงหา
แหล่งสารสนเทศ 1.00-2.50 2.51-3.50 3.51-4.00
X SD. X SD. X SD.
F Sig.
จากการฟังวิทยุ 3.00 1.05 2.26 1.31 2.08 1.18 2.95 0.05*
จากการอ่านหนังสือตำรา 2.10 0.73 2.00 1.09 1.85 0.92 1.08 0.33
จากการอ่านหนังสือพิมพ์ 2.20 0.42 1.86 0.97 1.87 0.97 0.57 0.56
จากการอ่านวารสาร นิตยสาร 2.40 1.17 2.23 1.08 2.08 1.26 0.96 0.38
จากจุลสารทางวิชาการ 1.80 0.42 2.25 1.05 2.22 0.97 0.99 0.36
จากวีดีทัศน์ประกอบการเรียน 2.10 0.73 2.26 1.07 2.05 0.97 1.93 0.14
จากการชมนิทรรศการทาง
วิชาการ
2.20 0.42 2.08 1.20 2.12 0.97 0.08 0.91
จากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 2.50 0.52 2.32 1.21 2.20 1.03 0.65 0.51
จากสารสนเทศบน
อินเทอร์เน็ต
1.80 0.42 2.14 1.23 2.29 1.12 1.35 0.26
อื่น ๆ . . . . . .
ประเภททรัพยากรสารสนเทศ
ทรัพยากรสารสนเทศประเภท
วัสดุตีพิมพ์
หนังสือทั่วไป 3.10 0.73 2.03 1.13 2.00 1.13 4.49 0.01**
หนังสืออ้างอิง 1.80 0.42 2.19 1.12 2.11 1.28 0.65 0.51
วารสารหรือนิตยสาร 2.10 0.73 2.07 1.01 2.16 1.24 0.31 0.73
หนังสือพิมพ์ 2.70 0.48 2.04 0.96 2.07 1.30 1.70 0.18
จุลสาร 2.40 1.17 2.37 1.19 2.12 1.06 2.30 0.10
กฤตภาค 2.10 0.73 2.38 1.23 1.87 1.01 9.03 0.00**
ทรัพยากรสารสนเทศประเภท
วัสดุไม่ตีพิมพ์
วิทยุ 3.00 0.00 2.27 1.33 1.88 1.28 6.25 0.00**
โทรทัศน์ 3.20 0.42 2.15 1.28 1.86 1.36 6.11 0.00**
คอมพิวเตอร์ 2.70 0.48 2.45 1.25 2.12 1.32 3.33 0.03*
103
ระดับการแสวงหา
แหล่งสารสนเทศ 1.00-2.50 2.51-3.50 3.51-4.00
X SD. X SD. X SD.
F Sig.
วีดีทัศน์ 2.80 0.42 2.39 1.23 1.91 0.99 9.55 0.00**
แผนที่ 1.80 0.42 2.28 1.15 2.09 0.97 2.12 0.12
หุ่นจำลอง 2.10 0.73 2.49 1.24 2.18 1.28 2.94 0.05*
อื่น ๆ . . 3.00 0.00 1.00 0.00
** มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 *มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
14.1ระดับปัญหาในการแสวงหาแหล่งสารสนเทศจำแนกตามระดับผลการศึกษา
ระดับปัญหาในการแสวงหาแหล่งสารสนเทศจำแนกระดับผลการศึกษา จากตารางที่ 14
สามารถสรุปได้ ดังนี้
1.)แหล่งสารสนเทศสถานที่ นักเรียนมีระดับปัญหาในการแสวงหาแหล่งสารสนเทศ
สถานที่ที่นักเรียนแสวงหาตามระดับผลการศึกษาเฉลี่ย 1.00 – 2.50 ที่นักเรียนมีปัญหาในการ
แสวงหามากที่สุดได้แก่ ห้องสมุดโรงเรียน โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.60 นักเรียนที่มีผลการศึกษา
เฉลี่ย 2.51 – 3.50 มีระดับปัญหาในการแสวงหาสารสนเทศสถานที่ได้แก่ ห้องสมุดมหาวิทยาลัย
โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.54 นักเรียนที่มีผลการศึกษาเฉลี่ย 3.51 – 4.00 มีระดับปัญหาในการแสวงหา
แหล่งสารสนเทศสถานที่ ได้แก่ ห้องสมุดหมวดวิชาต่าง ๆ จากผลการวิเคราะห์จำแนกตามระดับผล
การศึกษาปัญหาในการแสวงหาสารสนเทศสถานที่มีแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับความ
เชื่อมั่น 95%
2.)แหล่งสารสนเทศบุคคล นักเรียนที่มีระดับปัญหาในการแสวงหาสารสนเทศบุคคล
นักเรียนที่มีผลการศึกษาเฉลี่ย 1.00 – 2.50 มีระดับปัญหาในการแสวงหาสารสนเทศบุคคลได้แก่
จากอาจารย์ที่ปรึกษาโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.5000 นักเรียนที่มีผลการศึกษาเฉลี่ย 2.51 – 3.50 มีระดับ
ปัญหาในการแสวงหาสารสนเทศบุคคลได้แก่ บรรณารักษ์ห้องสมุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.27
นักเรียนที่มีผลการศึกษาเฉลี่ย 3.51 – 4.00 มีระดับปัญหาในการแสวงหาสารสนเทศบุคคล ได้แก่
จาก อาจารย์ท่านอื่นในโรงเรียนโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.84 โดยจะพบว่านักเรียนมีระดับปัญหาใน
การแสวงหาสารสนเทศบุคคลแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
3.)แหล่งสารสนเทศวัสดุ นักเรียนที่มีระดับปัญหาในการแสวงหาแหล่งสารสนเทศวัสดุ
นักเรียนมีผลการศึกษาเฉลี่ย 1.00 – 2.50 มีระดับปัญหาในการแสวงหา ได้แก่ จากการฟังวิทยุ โดยมี
104
คะแนนเท่ากับ 3.0000 นักเรียนมีผลการศึกษาเฉลี่ย 2.51 – 3.50 มีระดับปัญหาในการแสวงหา ได้แก่
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.32 นักเรียนมีผลการศึกษาเฉลี่ย 3.51 – 4.00 นักเรียน
มีระดับปัญหาในการแสวงหาสารสนเทศวัสดุที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับความเชื่อมั่น
95%
ประเภททรัพยากรสารสนเทศ
1.)ทรัพยากรสารสนเทศประเภทวัสดุตีพิมพ์ นักเรียนที่มีระดับปัญหาในการแสวงหาแหล่ง
สารสนเทศวัสดุนักเรียนที่มีผลการศึกษาเฉลี่ย 1.00 – 2.50 มีระดับปัญหาในการแสวงหา ได้แก่ จาก
หนังสือทั่วไป โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.10 นักเรียนมีผลการศึกษาเฉลี่ย 2.51 – 3.50 มีระดับปัญหาใน
การแสวงหา ได้แก่ จากกฤตภาค โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.38 นักเรียนที่มีผลการศึกษาเฉลี่ย 3.51 –
4.00 ได้แก่ วารสารและนิตยสาร โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.16 จากการวิเคราะห์พบว่าระดับปัญหาใน
การแสวงหาสารสนเทศประเภทวัสดุสิ่งตีพิมพ์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับความเชื่อมั่น
95%
2.)ทรัพยากรสารสนเทศประเภทวัสดุไม่ตีพิมพ์ นักเรียนมีระดับปัญหาในการแสวงหา
แหล่งสารสนเทศวัสดุนักเรียนที่มีผลการศึกษาเฉลี่ย 1.00 – 2.50 มีระดับปัญหาในการแสวงหา
ได้แก่ จากโทรทัศน์ โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.2000 นักเรียนที่มีผลการศึกษาเฉลี่ย 2.51 – 4.00 มีระดับ
ปัญหาในการแสวงหามากที่สุดได้แก่ หุ่นจำลอง โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.49 และ 2.18 โดยในกลุ่มนี้
พบว่ามีระดับปัญหาในการแสวงหาแหล่งสารสนเทศประเภทวัสดุไม่ตีพิมพ์แตกต่างกันอย่างมี
นัยสำคัญ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
105
ตารางที่ 15 แสดงระดับการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศจำแนกตามระดับรายได้
ปัญหาในการแสวงหา
เนื้อหาสารสนเทศ น้อยกว่า 9,000 9,001-20,000 มากกว่า 20,000
X SD. X SD. X SD.
F Sig.
กลุ่มสาระคณิตศาสตร์
สาระที่ 1 จำนวนและการ
ดำเนินการ
1.91 0.89 2.35 0.88 2.44 1.05 11.70 0.00**
สาระที่ 2 การวัด 2.04 0.98 2.23 0.94 2.23 0.85 1.80 0.16
สาระที่ 3 เรขาคณิต 2.04 0.95 2.28 0.87 2.02 1.08 3.18 0.04*
สาระที่ 4 พีชคณิต 2.44 1.07 2.30 0.98 2.55 1.10 1.28 0.27
สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูล
และความน่าจะเป็น
2.53 1.15 2.35 1.00 2.20 0.88 1.85 0.15
สาระที่ 6 ทักษะ/กระบวนการ
ทางคณิตศาสตร์
2.09 1.06 2.36 0.95 1.79 0.72 6.62 0.00**
กลุ่มสาระภาษาไทย
สาระที่ 1 การอ่าน 2.09 0.98 2.06 1.22 2.14 1.04 0.08 0.92
สาระที่ 2 การเขียน 2.20 1.14 2.22 1.29 2.26 1.42 0.04 0.95
106
ปัญหาในการแสวงหา
เนื้อหาสารสนเทศ น้อยกว่า 9,000 9,001-20,000 มากกว่า 20,000
X SD. X SD. X SD.
F Sig.
สาระที่ 3 การฟัง ดู พูด 2.21 1.06 2.26 1.05 2.52 1.52 1.12 0.32
สาระที่ 4 หลักการใช้ภาษา 2.10 0.98 2.41 1.13 2.47 1.54 3.77 0.02*
สาระที่ 5 วรรณคดีและ
วรรณกรรม
2.37 0.84 2.54 1.18 2.41 1.37 1.13 0.32
กลุ่มวิทยาศาสตร์
สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับ
กระบวนการดำรงชีวิต
2.48 1.09 2.24 1.09 2.38 1.25 1.97 0.14
สาระที่ 2 ชีวิตและสิ่งแวดล้อม 2.40 1.07 2.41 1.16 2.23 1.39 0.35 0.70
สาระที่ 3 สารและสมบัติของ
สาร
2.46 1.11 2.54 1.13 2.67 1.60 0.50 0.60
สาระที่ 4 แรงและการเคลื่อนที่ 2.34 1.21 2.53 1.11 2.23 1.25 1.63 0.19
สาระที่ 5 พลังงาน 2.48 1.01 2.45 0.91 2.52 1.37 0.09 0.91
สาระที่ 6 กระบวนการ
เปลี่ยนแปลงของโลก
2.57 0.92 2.62 1.12 2.29 1.24 1.44 0.23
สาระที่ 7 ดาราศาสตร์และ
อวกาศ
2.73 2.01 2.43 1.10 2.35 1.27 1.89 0.15
สาระที่ 8 ธรรมชาติของ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2.50 1.16 2.62 1.17 2.55 1.48 0.43 0.64
กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนา
และวัฒนธรรม
สาระที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม
จริยธรรม
2.16 0.88 2.20 1.04 2.23 1.04 0.10 0.90
สาระที่ 2 หน้าที่พล เมือง
วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิต
ในสังคม
2.10 1.07 2.28 1.02 2.23 1.18 1.28 0.27
สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ 2.17 0.76 2.38 1.07 2.52 1.33 2.78 0.06
สาระที่ 4 ประวัติศาสตร์ 2.26 1.08 2.42 0.91 2.76 1.45 3.44 0.03*
107
ปัญหาในการแสวงหา
เนื้อหาสารสนเทศ น้อยกว่า 9,000 9,001-20,000 มากกว่า 20,000
X SD. X SD. X SD.
F Sig.
สาระที่ 5 ภูมิศาสตร์ 2.51 0.95 2.40 1.09 2.32 1.17 0.67 0.50
กลุ่มสาระศิลปะ
สาระที่ 1 ทัศนศิลป์ 2.19 1.13 2.33 0.97 2.79 1.40 4.27 0.01**
สาระที่ 2 ดนตรี 1.93 0.87 2.26 1.03 2.88 1.60 12.46 0.00**
สาระที่ 3 นาฏศิลป์ 2.22 1.07 2.39 1.09 2.85 1.45 4.32 0.01**
กลุ่มสาระวิชาการงานอาชีพ
และเทคโนโลยี
สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและ
ครอบครัว
1.94 1.01 2.12 1.19 3.05 1.45 12.77 0.00**
สาระที่ 2 การอาชีพ 2.14 1.21 2.23 1.16 2.85 1.30 4.91 0.00**
สาระที่ 3 การออกแบบ
เทคโนโลยี
2.51 1.18 2.59 1.03 2.76 1.43 0.72 0.48
สาระที่ 4 เทคโนโลยี
สารสนเทศ
2.44 1.13 2.34 0.94 2.73 1.37 2.11 0.12
สาระที่ 5 เทคโนโลยีเพื่อการ
ทำงานและอาชีพ
2.47 1.22 2.34 0.94 2.97 1.50 4.71 0.00**
กลุ่มสาระสุขศึกษาและพล
ศึกษา
สาระที่ 1 การเจริญเติบโตและ
พัฒนาการของมนุษย์
2.28 1.19 2.23 1.04 2.97 1.29 6.34 0.00**
สาระที่ 2 ชีวิตและครอบครัว 2.27 1.20 2.31 1.22 2.88 1.45 3.47 0.03*
สาระที่ 3 การเคลื่อนไหว การ
ออกกำลังกาย การเล่นเกม
2.08 1.18 2.19 1.12 2.76 1.47 4.60 0.01**
สาระที่ 4 การสร้างเสริม
สุขภาพ สมรรถภาพ และการ
ป้องกันโรค
2.18 1.22 2.23 1.09 3.00 1.32 7.09 0.00**
สาระที่ 5 ความปลอดภัยใน
ชีวิต
2.12 1.06 2.44 1.30 3.23 1.55 11.32 0.00**
108
ปัญหาในการแสวงหา
เนื้อหาสารสนเทศ น้อยกว่า 9,000 9,001-20,000 มากกว่า 20,000
X SD. X SD. X SD.
F Sig.
กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ
สาระที่ 1 ภาษาเพื่อการสื่อสาร 2.26 1.02 2.62 1.14 3.32 1.42 12.97 0.00**
สาระที่ 2 ภาษาและวัฒนธรรม 2.50 1.05 2.51 1.13 3.23 1.41 6.37 0.00**
สาระที่ 3 ภาษากับ
ความสัมพันธ์กับกลุ่มสาระการ
เรียนรู้อื่น
2.23 0.89 2.38 1.12 3.41 1.51 16.34 0.00**
สาระที่4 ภาษากับความสัมพันธ์
กับชุมชนโลก
2.13 1.16 2.41 1.10 3.50 1.54 18.60 0.00**
** มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 * มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
15.1 ระดับการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศจำแนกตามรายได้
ระดับการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศจำแนกตามรายได้ จากตารางที่ 15 สามารถแยกเป็น
กลุ่มต่างๆ ดังนี้
1).กลุ่มสาระคณิตศาสตร์ ผลปรากฏว่านักเรียนที่ผู้ปกครองมีรายได้น้อยกว่า9,000 มีระดับ
ปัญหาในการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศในกลุ่มสาระคณิตศาสตร์ ในกลุ่มสาระที่ 5 การวิเคราะห์
ข้อมูลและความน่าจะเป็น โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.53 นักเรียนที่ผู้ปกครองมีรายได้ 9,001 – 20,000
มีระดับปัญหาในการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศในกลุ่มสาระคณิตศาสตร์ ในกลุ่มสาระที่ 6 ทักษะ/
กระบวนการทางคณิตศาสตร์โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.36 นักเรียนที่ผู้ปกครองที่มีรายได้ มากกว่า
20,000 มีระดับปัญหาในการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศในกลุ่มสาระที่ 4 พีชคณิตโดยมีค่าเฉลี่ยคือ
2.5588 เมื่อเปรียบเทียบระดับการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศจำแนกตามรายได้ของผู้ปกครองพบว่า
นักเรียนที่ผู้ปกครองมีรายได้ต่างกันมีระดับปัญหาในการแสวงหาสารสนเทศต่างกันอย่างมี
นัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
2) กลุ่มสาระภาษาไทย ผลปรากฏว่านักเรียนที่ผู้ปกครองมีรายได้น้อยกว่า 9,000 – 20,000
มีระดับปัญหาในการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศในกลุ่มสาระภาษาไทย ด้านสาระที่ 5 วรรณคดีและ
วรรณกรรมโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.37 ,2.54 ผู้ปกครองนักเรียนที่มีรายได้ มากกว่า 20,000 บาทมี
109
ระดับปัญหาในการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศในกลุ่มสาระภาษาไทย ด้านสาระที่ 3 การฟัง การดู
และการพูด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.52 จากผลการวิเคราะห์ระดับปัญหาในการแสวงหาเนื้อหา
สารสนเทศด้านรายได้ครอบครัว มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
3) กลุ่มวิทยาศาสตร์ ในกลุ่มนี้นักเรียนที่ผู้ปกครองมีรายได้น้อยกว่า 9,000 – 20,000 มี
ระดับปัญหาในการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศในกลุ่มวิทยาศาสตร์ คือ สาระที่ 6 กระบวนการ
เปลี่ยนแปลงของโลก โดยมีระดับค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.57, 2.62 นักเรียนที่ผู้ปกครองมีรายได้มากกว่า
20,000 มีระดับปัญหาในการแสวงหาสารสนเทศในกลุ่มสาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร จากผล
การวิเคราะห์ระดับปัญหาในการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศในกลุ่มวิทยาศาสตร์มีความแตกต่างกัน
อย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
4). สาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ในกลุ่มนี้นักเรียนที่ผู้ปกครองที่มีรายได้น้อย
กว่า 9,000 มีระดับปัญหาในการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศ ในกลุ่มสาระที่ 5 ภูมิศาสตร์ โดยมี
ระดับค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.51 นักเรียนที่ผู้ปกครองที่มีรายได้ 9,001 - 20,000 คือมีระดับปัญหาในการ
แสวงหาเนื้อหาสารสนเทศในกลุ่มสาระที่ 4 ประวัติศาสตร์ โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.42, 2.76
สำหรับกลุ่มนี้มีระดับปัญหาในการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศกลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและ
วัฒนธรรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
5) กลุ่มสาระศิลปะ ในกลุ่มนี้นักเรียนที่ผู้ปกครองที่มีรายได้น้อยกว่า 9,000 – 20,000 มี
ระดับปัญหาในการแสวงหาสารสนเทศในกลุ่มสาระที่ 3 นาฏศิลป์โดยมีระดับค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.22,
2.39 นักเรียนที่ผู้ปกครองที่มีรายได้มากกว่ากว่า 20,000 มีระดับปัญหาในการแสวงหาสารสนเทศ
ในกลุ่มสาระที่ 2 ทัศนศิลป์โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.88 จากผลการวิเคราะห์ในกลุ่มนี้ มีระดับปัญหา
ในการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
6) กลุ่มสาระวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี ในกลุ่มนี้นักเรียนที่ผู้ปกครองที่มีรายได้
น้อยกว่า 9,000 – 20,000 มีระดับปัญหาในการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศในกลุ่มสาระที่ 3 การ
ออกแบบและเทคโนโลยี โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.51, 2.59 นักเรียนที่ผู้ปกครองที่มีรายได้ มากกว่า
20,000 มีระดับปัญหาในการแสวงหาสารสนเทศในกลุ่มสาระที่ 5 เทคโนโลยีเพื่อการทำงานและ
อาชีพ โดยมีระดับค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.97 จากผลการวิเคราะห์ ในกลุ่มนี้ มีระดับปัญหาในการ
แสวงหาเนื้อหาสารสนเทศที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
7) กลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษา ในกลุ่มนี้นักเรียนที่ผู้ปกครองที่มีรายได้น้อยกว่า
9,000 มีระดับปัญหาในการแสวงหาสารสนเทศในกลุ่มสาระที่ 1 การเจริญเติบโตและพัฒนาการ
ของมนุษย์ โดยมีระดับค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.28 นักเรียนที่ผู้ปกครองที่มีรายได้ 9,001 - มากกว่า 20,000
มีระดับปัญหาในการแสวงหาสารสนเทศในกลุ่มสาระที่ 5 โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.44, 3.23 จากผล
110
การวิเคราะห์พบว่านักเรียนในกลุ่มนี้ มีระดับปัญหาในการแสวงหาสารสนเทศที่แตกต่างกันอย่างมี
นัยสำคัญ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
8) กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศในกลุ่มนี้นักเรียนที่ผู้ปกครองที่มีรายได้น้อยกว่า 9,000 มี
ระดับปัญหาในการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศ ในกลุ่ม สาระที่ 2 ภาษาและวัฒนธรรม โดยมีค่าเฉลี่ย
เท่ากับ 2.50 นักเรียนที่ผู้ปกครองที่มีรายได้ 9,001 - 20,000 มีระดับปัญหาในการแสวงหาเนื้อหา
สารสนเทศในกลุ่ม สาระที่ 1 ภาษาเพื่อการสื่อสาร โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.62 นักเรียนที่ผู้ปกครองมี
รายได้มากกว่า 20,000 มีระดับปัญหาในการแสวงเนื้อหาสารสนเทศในกลุ่มสาระที่ 4 ภาษากับ
ความสัมพันธ์กับชุมชนและโลก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.50 จากผลการวิเคราะห์นักเรียนในกลุ่มนี้ มี
ระดับปัญหาในการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับความเชื่อมั่น
95%
ตารางที่ 16 แสดงระดับการแสวงหาแหล่งสารสนเทศจำแนกตามระดับรายได้
ปัญหาในการแสวงหา
แหล่งสารสนเทศ น้อยกว่า 9,000 9,001-20,000 มากกว่า 20,000
X SD. X SD. X SD.
F Sig.
แหล่งสารสนเทศสถานที่
จากห้องสมุดโรงเรียน 1.95 0.93 2.12 1.03 2.35 1.49 2.39 0.09
จากห้องสมุดประชาชน 2.04 1.16 2.55 0.97 2.41 0.98 10.06 0.00**
จากห้องสมุดหมวดวิชาต่าง ๆ 2.30 0.99 2.41 0.96 2.41 0.98 0.62 0.53
จากห้องสมุดมหาวิทยาลัย 2.20 0.97 2.60 1.20 2.58 1.28 5.52 0.00**
จากหอสมุดแห่งชาติ 2.15 1.09 2.68 1.39 2.67 1.42 7.69 0.00**
จากห้องแนะแนว 2.20 0.99 2.28 1.08 1.94 1.17 1.59 0.20
111
ปัญหาในการแสวงหา
แหล่งสารสนเทศ น้อยกว่า 9,000 9,001-20,000 มากกว่า 20,000
X SD. X SD. X SD.
F Sig.
อื่น ๆ . .
แหล่งสารสนเทศบุคคล
จากพ่อ แม่ ผู้ปกครอง 2.08 1.27 2.45 1.54 2.17 1.33 3.03 0.04*
จากเพื่อน 1.97 1.23 2.04 1.21 2.02 1.31 0.16 0.84
จากอาจารย์ที่ปรึกษา 2.16 0.92 2.16 1.30 2.38 1.49 0.50 0.60
จากบรรณารักษ์ห้องสมุด 2.26 0.90 2.21 0.93 2.50 1.30 1.28 0.27
จากอาจารย์ท่านอื่นในโรงเรียน 2.30 0.88 2.36 1.05 4.00 2.64 28.74 0.00**
อื่น ๆ 2.00 0.00 . . . .
แหล่งสารสนเทศวัสดุ
จากการชมรายการโทรทัศน์ 1.99 1.10 2.15 1.29 2.02 1.14 0.75 0.47
จากการฟังวิทยุ 2.15 1.24 2.25 1.25 2.20 1.43 0.30 0.74
จากการอ่านหนังสือตำรา 1.90 0.98 1.96 1.06 1.97 0.96 0.17 0.84
จากการอ่านหนังสือพิมพ์ 1.98 1.02 1.80 0.92 1.82 0.96 1.47 0.22
จากการอ่านวารสาร นิตยสาร 2.30 1.02 2.08 1.22 2.20 1.27 1.48 0.22
จากจุลสารทางวิชาการ 2.14 0.84 2.33 1.07 2.00 1.20 2.44 0.08
จากวีดีทัศน์ประกอบการเรียน 2.36 1.01 2.07 0.99 1.94 1.20 4.30 0.01**
จากการชมนิทรรศการทาง
วิชาการ
1.89 1.01 2.28 1.15 1.91 0.96 5.92 0.00**
จากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 2.24 1.16 2.33 1.12 2.14 1.01 0.53 0.58
จากสารสนเทศบน
อินเทอร์เน็ต
2.23 1.09 2.21 1.26 1.94 0.91 0.89 0.40
อื่น ๆ . . . . . .
ประเภททรัพยากรสารสนเทศ
ทรัพยากรสารสนเทศประเภท
วัสดุตีพิมพ์
หนังสือทั่วไป 2.01 1.05 2.07 1.19 2.05 1.09 0.13 0.87
112
ปัญหาในการแสวงหา
แหล่งสารสนเทศ น้อยกว่า 9,000 9,001-20,000 มากกว่า 20,000
X SD. X SD. X SD.
F Sig.
หนังสืออ้างอิง 1.90 1.06 2.34 1.23 2.00 1.07 6.46 0.00**
วารสารหรือนิตยสาร 1.99 0.92 2.19 1.17 2.17 1.33 1.41 0.24
หนังสือพิมพ์ 1.91 0.80 2.20 1.27 1.94 1.04 3.40 0.03*
จุลสาร 2.24 1.27 2.33 1.04 2.02 1.16 1.11 0.32
กฤตภาค 2.11 1.30 2.26 1.08 1.85 0.95 2.14 0.11
ทรัพยากรสารสนเทศประเภท
วัสดุไม่ตีพิมพ์
วิทยุ 2.16 1.36 2.13 1.26 2.05 1.49 0.09 0.91
โทรทัศน์ 1.91 1.23 2.13 1.35 2.29 1.40 1.77 0.17
คอมพิวเตอร์ 2.15 1.23 2.45 1.23 2.26 1.60 2.41 0.09
วีดีทัศน์ 2.16 1.21 2.23 1.04 2.29 1.46 0.24 0.78
แผนที่ 2.24 1.10 2.22 1.06 1.76 0.95 3.00 0.05*
หุ่นจำลอง 2.62 1.36 2.28 1.17 1.73 0.93 7.96 0.00**
อื่น ๆ . . 1.35 0.78 . .
** มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 * มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
16.1ระดับการแสวงหาแหล่งสารสนเทศจำแนกตามรายได้ครอบครัว
ระดับการแสวงหาแหล่งสารสนเทศจำแนกตามรายได้ครอบครัว จากตารางที่ 16 สามารถ
สรุปได้ ดังนี้
1.)แหล่งสารสนเทศสถานที่ ในกลุ่มนี้มีระดับปัญหาในการแสวงหาแหล่งสารสนเทศ
สถานที่ที่นักเรียนแสวงหาตามรายได้ครอบครัว ได้แก่ ห้องสมุดหมวดวิชา โดยผู้ที่มารายได้
ครอบครัวน้อยกว่า 9,000 บาทจะมีระดับปัญหาในการแสวงหาโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.30 ผู้ที่มี
รายได้ 9,001 – มากกว่า 20,000 บาทมีระดับปัญหาในการแสวงหาสารสนเทศ ได้แก่ ห้องสมุด
ประชาชน โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.68, 2.67 ในกลุ่มนี้มีระดับปัญหาในการแสวงหาสารสนเทศมี
ความแตกต่าง กันที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
113
2.)แหล่งสารสนเทศบุคคล กลุ่มนี้มีระดับปัญหาในการแสวงหาแหล่งสารสนเทศสถานที่
นักเรียนแสวงหาตามรายได้ครอบครัว ได้แก่ อาจารย์ท่านอื่นในโรงเรียน โดยผู้ที่มารายได้
ครอบครัวน้อยกว่า 9,000 – มากกว่า 20,000 จะมีระดับปัญหาในการแสวงหามากโดยมีค่าเฉลี่ย
เท่ากับ 2.33, 2.36, 2.64 จากผลการวิเคราะห์ในกลุ่มนี้ไม่มีความแตกต่างกัน ที่ระดับความเชื่อมั่น
95%
3.)แหล่งสารสนเทศวัสดุ ในกลุ่มนี้มีระดับปัญหาในการแสวงหาแหล่งสารสนเทศวัสดุ
ผู้ปกครองนักเรียนที่มีรายได้ครอบครัวน้อยกว่า 9,000 มีระดับปัญหาในการแสวงหา ได้แก่ จากวีดี
ทัศน์โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.36 ผู้ปกครองนักเรียนที่มีรายได้ครอบครัว 9,001 – 20,000 มีระดับ
ปัญหาในการแสวงหา ได้แก่ จากคอมพิวเตอร์โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.33 ผู้ปกครองนักเรียนที่มี
รายได้ครอบครัวมากกว่า 20,000 มีระดับปัญหาในการแสวงหาแหล่งสารสนเทศวัสดุ จากวารสาร
และนิตยสารโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.20 จากผลการวิเคราะห์การแสวงหาแหล่งสารสนเทศสถานที่ที่
แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ประเภททรัพยากรสารสนเทศ
1.)ทรัพยากรสารสนเทศประเภทวัสดุตีพิมพ์ ผู้ปกครองนักเรียนที่มีรายได้ครอบครัวน้อย
กว่า 9,000 ระดับปัญหาในการแสวงหาแหล่งสารสนเทศประเภทวัสดุตีพิมพ์ ได้แก่ จุลสารทาง
วิชาการ โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.24 ผู้ปกครองนักเรียนที่มีรายได้ครอบครัว 9,001 – 20,000 มีระดับ
ปัญหาในการแสวงหาแหล่งสารสนเทศประเภทวัสดุตีพิมพ์ ได้แก่ หนังสืออ้างอิง โดยมีค่าเฉลี่ย
เท่ากับ 2.34 ผู้ปกครองนักเรียนที่มีรายได้ครอบครัวมากกว่า 20,000 มีระดับปัญหาในการแสวงหา
แหล่งสารสนเทศประเภทวัสดุตีพิมพ์ ได้แก่ วารสารและนิตยสาร โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.17 โดยจะ
พบว่านักเรียนในกลุ่มนี้มีค่าเฉลี่ยระดับปัญหาในการแสวงหาแหล่งสารสนเทศประเภทวัสดุสิ่ง
ตีพิมพ์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
2.)ทรัพยากรสารสนเทศประเภทวัสดุไม่ตีพิมพ์ ผู้ปกครองนักเรียนที่มีรายได้ครอบครัวน้อย
กว่า 9,000 มีระดับปัญหาในการแสวงหาแหล่งสารสนเทศประเภทวัสดุไม่ตีพิมพ์ที่นักเรียนมี
ปัญหาในการแสวงหาได้แก่คอมพิวเตอร์ โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.60 ผู้ปกครองนักเรียนที่มีรายได้
ครอบครัว9,001 - 20,000 มีระดับการแสวงหาแหล่งสารสนเทศประเภทวัสดุไม่ตีพิมพ์ได้แก่แหล่ง
สารสนเทศจากคอมพิวเตอร์ โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.45 ผู้ปกครองนักเรียนที่มีรายได้ครอบครัว
มากกว่า 20,000 มีระดับปัญหาในการแสวงหาแหล่งสารสนเทศประเภทวัสดุตีพิมพ์ ได้แก่ วีดีทัศน์
โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.29 จากผลการวิเคราะห์ระดับปัญหาในการแสวงหาสารสนเทศของนักเรียน
ในกลุ่มนี้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
บทที่ 5
สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเกี่ยวกับการแสวงหาสารสนเทศเพื่อการศึกษาต่อของนักเรียนที่
สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สรุปผลได้ตามลำดับดังนี้
1. ความมุ่งหมายของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาการแสวงหาและปัญหาในการแสวงหาสารสนเทศ ในการศึกษาต่อของ
นักเรียนที่สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้น
พื้นฐาน กรุงเทพมหานคร
2. เพื่อเปรียบเทียบการแสวงหาสารสนเทศในการศึกษาต่อ ของนักเรียนที่สำเร็จการศึกษา
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน กรุงเทพมหานคร
2. สมมติฐานของการวิจัย
1. นักเรียนที่มีเพศต่างกันมีการแสวงหาสารสนเทศเพื่อการศึกษาต่อแตกต่างกัน
2. นักเรียนที่มีผลการเรียนต่างกันมีการแสวงหาสารสนเทศเพื่อการศึกษาต่อแตกต่างกัน
3. นักเรียนที่มาจากครอบครัวที่มีรายได้ดีมีการแสวงหาสารสนเทศเพื่อการศึกษาต่อ
แตกต่างจากนักเรียนที่มาจากครอบครัวที่มีรายได้น้อย
4. นักเรียนที่มาจากโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษและโรงเรียนขนาดใหญ่มีการแสวงหา
สารสนเทศเพื่อการศึกษาต่อที่แตกต่างกัน
3. วิธีดำเนินการวิจัย
1. ลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สังกัด
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรุงเทพมหานคร ซึ่งได้มาโดยวิธีสุ่มแบบหลาย
ขั้นตอน ( Multi sampling) โดยแบ่งประชากรออกเป็นกลุ่มใหญ่แล้วแบ่งเป็นกลุ่มย่อยโดยการสุ่ม
อย่างง่าย ( Simplerandom sampling)
2. เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจำนวน 1 ชุด
แบ่งเป็น 3 ตอนคือ
ตอนที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับสถานภาพส่วนตัวของผู้ตอบแบบสอบถาม
113
ตอนที่ 2 แบบสอบถามเรื่อง การแสวงหาสารสนเทศและปัญหาในการแสวงหา
สารสนเทศเพื่อการศึกษาต่อของนักเรียนของนักเรียนที่สำเร็จชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ตอนที่ 3 ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ
3. การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยเก็บข้อมูลด้วยตัวเองโดยส่งแบบสอบถามไปจำนวน 500
ฉบับได้รับคืนเป็นฉบับที่สมบูรณ์ จำนวน 400 ฉบับ ซึ่งมากกว่าจำนวนขั้นต่ำของกลุ่มตัวอย่างที่
กำหนดไว้จำนวน 394 คน
4. การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยนำแบบสอบถามที่สมบูรณ์มาวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการทาง
สถิติด้วยคอมพิวเตอร์ตามโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS – X เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลต่อไปนี้
4.1 ข้อมูลเกี่ยวกับรายละเอียดส่วนตัวนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6
วิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย
4.2 ข้อมูลเกี่ยวกับการแสวงหาสารสนเทศและปัญหาในการแสวงหาสารสนเทศของ
นักเรียนที่สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 คำนวณค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
4.3 เปรียบเทียบความแตกต่างในการแสวงหาสารสนเทศ และปัญหาในการแสวงหา
สารสนเทศของนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีเพศต่างกัน เกรดเฉลี่ยต่างกัน
รายได้ครอบครัวต่างกันและขนาดโรงเรียนต่างกัน โดยใช้ T – TEST, F - TEST
4. สรุปผลการวิจัย
จากผลการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้นำมาอภิปรายผลดังต่อไปนี้
1. นักเรียนมีความเห็นว่าการเรียนในกลุ่มสาระต่าง ๆ เป็นประโยชน์ต่อการสอบเข้าศึกษา
ต่อของนักเรียน
2. การแสวงหาสารสนเทศเพื่อการศึกษาต่อของนักเรียนที่สำเร็จการศึกษา ชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 6 แยกตามเพศ พบว่า ในกลุ่มสาระวิชาคณิตศาสตร์นักเรียนหญิงและนักเรียนชาย มีการ
แสวงหามากที่สุดในสาระที่ 3 เรขาคณิต ในกลุ่มสาระภาษาไทยนักเรียนหญิงมีการแสวงหามาก
ที่สุดในสาระที่ 1 การอ่าน นักเรียนชายมีการแสวงหามากที่สุดในสาระที่ 3 การฟัง ดู พูด ในกลุ่ม
สาระวิชาวิทยาศาสตร์นักเรียนหญิงและนักเรียนชายมีการแสวงหามากที่สุดในสาระที่ 2 ชีวิตและ
สิ่งแวดล้อม ในกลุ่มสาระวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมนักเรียนหญิงและนักเรียนชาย
มีการแสวงหามากที่สุดในสาระที่ 2 หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม ในกลุ่ม
สาระวิชาศิลปะนักเรียนหญิงและนักเรียนชายมีการแสวงหามากที่สุดในสาระที่ 2 ดนตรี ในกลุ่ม
สาระวิชาสุขศึกษาและพลศึกษานักเรียนหญิงมีการแสวงหามากที่สุดในสาระที่ 5 ความปลอดภัยใน
ชีวิตนักเรียนชายมีการแสวงหามากที่สุด ในสาระที่ 3 การเคลื่อนไหว การออกกำลังกายและการเล่น
114
เกม ในกลุ่มสาระวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยีนักเรียนหญิงและนักเรียนชายมีการแสวงหามาก
ที่สุดในสาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว ในกลุ่มสาระวิชาภาษาต่างประเทศนักเรียนหญิงและ
นักเรียนชายมีการแสวงหามากที่สุดในสาระที่ 2 ภาษาและวัฒนธรรม
3. การแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศจำแนกตามขนาดโรงเรียน กลุ่มสาระคณิตศาสตร์ ผล
ปรากฏว่าโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษและโรงเรียนขนาดใหญ่ มีระดับการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศ
ในกลุ่มสาระคณิตศาสตร์สูงที่สุดในสาระที่ 3 เรขาคณิต กลุ่ม สาระภาษาไทย ผลปรากฏว่าโรงเรียน
ขนาดใหญ่พิเศษมีระดับการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศในกลุ่มสาระภาษาไทย ด้านสาระที่ 1 การ
อ่านสูงที่สุด คือ โรงเรียนขนาดใหญ่มีระดับการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศ ในสาระด้านสาระที่ 3
การฟัง ดู พูดสูงที่สุด กลุ่มวิทยาศาสตร์ ในกลุ่มนี้โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษและโรงเรียนขนาดใหญ่
มีระดับการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศสูงสุดในกลุ่มวิทยาศาสตร์เหมือนกันคือ สาระที่ 2 ชีวิตและ
สิ่งแวดล้อม กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ในกลุ่มนี้โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษและ
โรงเรียนขนาดใหญ่มีระดับการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศสูงสุดเหมือนกันคือ ในสาระที่ 2 หน้าที่
พลเมืองวัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม กลุ่มสาระศิลปะ ในกลุ่มนี้โรงเรียนขนาดใหญ่
พิเศษและโรงเรียนขนาดใหญ่มีระดับการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศสูงสุดเหมือนกันคือ ในสาระที่
2 ดนตรี กลุ่มสาระวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับโรงเรียนกลุ่มนี้ พบว่าโรงเรียนขนาด
ใหญ่พิเศษและโรงเรียนขนาดใหญ่มีระดับการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศสูงสุดเหมือนกันคือ สาระ
ที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว กลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับโรงเรียนกลุ่มนี้ พบว่า
โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษมีระดับการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศสูงสุดคือ สาระที่ 5 ความปลอดภัย
ในชีวิตโรงเรียนขนาดใหญ่มีระดับการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศสูงสุดคือ สาระที่ 3 การ
เคลื่อนไหว การออกกำลังกาย การเล่นเกม กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ พบว่าโรงเรียนขนาดใหญ่
พิเศษและโรงเรียนขนาดใหญ่มีระดับการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศสูงสุดเหมือนกันคือ สาระที่ 2
ภาษาและวัฒนธรรม
4. ระดับการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศจำแนกตามผลการศึกษา กลุ่มสาระคณิตศาสตร์
ผลปรากฏว่านักเรียนมีระดับผลการศึกษาเฉลี่ย 3.51 – 4.00 มีระดับการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศ
ในกลุ่มสาระคณิตศาสตร์สูงที่สุดในสาระที่ 3 เรขาคณิต เมื่อเปรียบเทียบระดับการแสวงหาเนื้อหา
สารสนเทศจำแนกตามระดับผลการศึกษา พบว่า ระดับการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศของนักเรียน
ที่มีผลการศึกษาระดับ 3.51 – 4.00 ดีกว่านักเรียนที่มีผลการเรียน 1.00 – 3.50 กลุ่มสาระภาษาไทย
ผลปรากฏว่า นักเรียนที่มีผลการศึกษา 1.00 – 4.00 มีระดับการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศในกลุ่ม
สาระภาษาไทย ด้านสาระที่ 1 การอ่านสูงที่สุด กลุ่มวิทยาศาสตร์ ในกลุ่มนี้นักเรียนที่มีผลการศึกษา
3.51 – 4.00 มีระดับการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศสูงสุดในกลุ่มวิทยาศาสตร์ คือ สาระที่ 2 ชีวิตและ
115
สิ่งแวดล้อม กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ในกลุ่มนี้นักเรียนที่มีผลการศึกษา 3.51 –
4.00 และนักเรียนที่มีผลการเรียนเฉลี่ย 2.51 – 3.50 มีระดับการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศสูงสุด
เหมือนกันคือ ในสาระที่ 2 หน้าที่พลเมืองวัฒนธรรมและการดำเนินชีวิต กลุ่มสาระศิลปะ ในกลุ่มนี้
นักเรียนที่มีผลการศึกษา 1.00 –3.50 และนักเรียนที่มีผลการศึกษา 3.51 – 4.00 มีระดับการแสวงหา
เนื้อหาสารสนเทศ กลุ่มสาระวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับโรงเรียนกลุ่มนี้ พบว่า
นักเรียนที่มีผลการศึกษา 1.00 – 3.50 และนักเรียนที่มีผลการศึกษา 3.51 – 4.00 มีระดับการแสวงหา
เนื้อหาสารสนเทศ กลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนที่มีผลการเรียน 3.51 – 4.00
มีระดับการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศสูงสุดคือ สาระที่ 3 การเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย การ
เล่นเกม กีฬาไทยและกีฬาสากล กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ พบว่านักเรียนที่มีผลการศึกษา 2.51 –
3.50 และนักเรียนที่มีผลการศึกษา 3.51 – 4.00 มีระดับการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศสูงสุด
เหมือนกันคือ สาระที่ 2 ภาษาและวัฒนธรรม
5. ระดับการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศจำแนกตามรายได้ กลุ่มสาระคณิตศาสตร์ ผล
ปรากฏว่านักเรียนที่ผู้ปกครองมีรายได้ 9,001 – 20,000 มีระดับการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศใน
กลุ่มสาระคณิตศาสตร์สูงที่สุดในสาระที่ 6 ทักษะ / กระบวนการทางคณิตศาสตร์ นักเรียนที่
ผู้ปกครองที่มีรายได้ น้อยกว่า 9,000 และมากกว่า20,000 บาทขึ้นไป มีระดับการแสวงหาเนื้อหา
สารสนเทศสูงสุดในกลุ่มสาระที่ 3 เรขาคณิต เมื่อเปรียบเทียบระดับการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศ
จำแนกตามรายได้ของผู้ปกครอง พบว่า ระดับการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศของนักเรียนที่
ผู้ปกครองมีรายได้ 9,001 – 20,000 บาท มีระดับการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศดีกว่านักเรียนที่
ผู้ปกครองมีรายได้น้อยกว่า 9,000 และ 20,000 บาทขึ้นไป กลุ่มสาระภาษาไทย ผลปรากฏว่า
นักเรียนที่ผู้ปกครองมีรายได้น้อยกว่า 9,000 และรายได้มากกว่า 20,000 มีระดับการแสวงหาเนื้อหา
สารสนเทศในกลุ่มสาระภาษาไทย ด้านสาระที่ 3 การฟัง การดูการพูดสูงที่สุด ผู้ปกครองนักเรียนที่
มีรายได้ 9,001 – 20,000 บาทมีระดับการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศในกลุ่มสาระภาษาไทย ด้าน
สาระที่ 1 การอ่าน กลุ่มวิทยาศาสตร์ ในกลุ่มนี้นักเรียนที่ผู้ปกครองมีรายได้น้อยกว่า 9,000 มีระดับ
การแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศสูงสุดในกลุ่มวิทยาศาสตร์ คือ สาระที่ 2 ชีวิตและสิ่งแวดล้อม
ผู้ปกครองมีรายได้มากกว่า 20,000 มีระดับการแสวงหาสารสนเทศสูงสุดในกลุ่มสาระที่ 8
ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นักเรียนที่ผู้ปกครองที่มีรายได้น้อยกว่า 9,001 – 20,000
บาทมีระดับการแสวงหาสารสนเทศสูงสุดใน สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต สาระ
สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ในกลุ่มนี้นักเรียนที่ผู้ปกครองที่มีรายได้น้อยกว่า 9,000 – 20,000
บาท มีระดับการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศสูงสุดเหมือนกันคือ ในกลุ่มสาระที่ 2 หน้าที่พลเมือง
วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคมนักเรียนที่ผู้ปกครองที่มีรายได้มากกว่า 20,000 คือ สาระที่ 4
116
ประวัติศาสตร์ กลุ่มสาระศิลปะ ในกลุ่มนี้นักเรียนที่ผู้ปกครองที่มีรายได้น้อยกว่า 9,001 – 20,000
บาทมีระดับการแสวงหาสารสนเทศสูงสุดในกลุ่มสาระที่ 1 ทัศนศิลป์ ผู้ปกครองที่มีรายได้น้อยกว่า
9,000 และนักเรียนที่ผู้ปกครองที่มีรายได้มากกว่า 20,000 มีระดับการแสวงหาสารสนเทศสูงสุด ใน
กลุ่มสาระที่ 2 ทัศนศิลป์ กลุ่มสาระวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี ในกลุ่มนี้นักเรียนที่ผู้ปกครอง
ที่มีรายได้น้อยกว่า 9,001 มีการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศสูงสุดในสาระที่ 1 การดำรงชีวิตและ
ครอบครัว นักเรียนที่ผู้ปกครองที่มีรายได้ 9,001 – 20,000 มีระดับการแสวงหาสารสนเทศสูงสุด
ในกลุ่มสาระที่ 2 การอาชีพ นักเรียนที่ผู้ปกครองที่มีรายได้มากกว่า 20,000 มีระดับการแสวงหา
สารสนเทศสูงสุดในกลุ่มสาระที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศ กลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษา ใน
กลุ่มนี้นักเรียนที่ผู้ปกครองที่มีรายได้น้อยกว่า 9,000 และ มากกว่า 20,000 มีระดับการแสวงหา
สารสนเทศสูงสุดในกลุ่มสาระที่ 3 การเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย การเล่นเกม กีฬาไทยและกีฬา
สากล ผู้ปกครองที่มีรายได้ 9,001 – 20,000 มีระดับการแสวงหาสารสนเทศสูงสุดใน สาระที่ 5
เทคโนโลยีเพื่อการทำงานและอาชีพ กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศในกลุ่มนี้นักเรียนที่ผู้ปกครองที่มี
รายได้น้อยกว่า 9,000 - 20,000 มีระดับการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศสูงสุดเหมือนกันคือ สาระที่
2 ภาษาและวัฒนธรรม นักเรียนที่ผู้ปกครองที่มีรายได้มากกว่า 20,000 มีระดับการแสวงหาเนื้อหา
สารสนเทศสูงสุด คือ สาระที่ 4 ภาษากับความสัมพันธ์กับชุมชนและโลก
6. ปัญหาในการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศจำแนกตามเพศ กลุ่มสาระคณิตศาสตร์ ผล
ปรากฏว่า นักเรียนหญิงและนักเรียนชายมีระดับปัญหาในการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศในกลุ่ม
สาระคณิตศาสตร์สูงที่สุดในสาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น กลุ่มสาระภาษาไทย
ผลปรากฏว่านักเรียนชายและนักเรียนหญิง มีระดับปัญหาในการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศในกลุ่ม
สาระที่ 5 ด้านวรรณคดีและวรรณกรรมสูงที่สุด กลุ่มวิทยาศาสตร์ ในกลุ่มนี้นักเรียนหญิงมีระดับ
ปัญหาในการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศสูงสุดในกลุ่มวิทยาศาสตร์คือ สาระที่ 7 เรื่องดาราศาสตร์
และอวกาศ รองลงมาคือสาระที่ 6 คือกระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก นักเรียนชายมีระดับปัญหา
ในการแสวงหาสารสนเทศในสาระที่ 8 ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนา
และวัฒนธรรม ในกลุ่มนี้นักเรียนหญิงและนักเรียนชายมีระดับปัญหาในการแสวงหาเนื้อหา
สารสนเทศสูงสุดเหมือนกันคือ ในสาระที่ 5 ภูมิศาสตร์ กลุ่มสาระศิลปะ ในกลุ่มนี้นักเรียนหญิงและ
นักเรียนชายมีระดับปัญหาในการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศสูงสุดเหมือนกันคือ ในสาระที่ 3
นาฏศิลป์ กลุ่มสาระวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนกลุ่มนี้ พบว่านักเรียนหญิง
และนักเรียนชายมีระดับปัญหาในการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศสูงสุดเหมือนกันคือ สาระที่ 3 การ
ออกแบบเทคโนโลยี กลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับกลุ่มนี้ พบว่านักเรียนหญิงและ
นักเรียนชายมีระดับปัญหาในการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศสูงสุดคือ สาระที่ 5 ความปลอดภัยใน
117
ชีวิต กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ พบว่านักเรียหญิงและนักเรียนชายมีระดับปัญหาในการแสวงหา
เนื้อหาสารสนเทศสูงสุดเหมือนกันคือ สาระที่ 2 ภาษาและวัฒนธรรม
7. ระดับปัญหาในการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศจำแนกตามขนาดโรงเรียน กลุ่มสาระ
คณิตศาสตร์ ผลปรากฏว่าโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษและโรงเรียนขนาดใหญ่มีระดับปัญหาในการ
แสวงหาเนื้อหาสารสนเทศในกลุ่มสาระคณิตศาสตร์สูงที่สุดในสาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและ
ความน่าจะเป็น กลุ่มสาระภาษาไทย ผลปรากฏว่า โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษและโรงเรียนขนาด
ใหญ่ มีระดับปัญหาในการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศในกลุ่มสาระภาษาไทย ด้านสาระที่ 5
วรรณคดีและวรรณกรรม กลุ่มวิทยาศาสตร์ ในกลุ่มนี้โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษและโรงเรียนขนาด
ใหญ่มีระดับปัญหาในการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศสูงสุดในกลุ่มวิทยาศาสตร์เหมือนกันคือ สาระ
ที่ 8 ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ใน
กลุ่มนี้โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษและโรงเรียนขนาดใหญ่ มีระดับปัญหาการแสวงหาเนื้อหา
สารสนเทศสูงสุดเหมือนกันคือ ในสาระที่ 5 ภูมิศาสตร์ กลุ่มสาระศิลปะ ในกลุ่มนี้โรงเรียนขนาด
ใหญ่พิเศษและโรงเรียนขนาดใหญ่ มีระดับปัญหาในการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศสูงสุด
เหมือนกันคือ ในสาระที่ 3 นาฏศิลป์ กลุ่มสาระวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับโรงเรียน
กลุ่มนี้ พบว่า โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษและโรงเรียนขนาดใหญ่ มีระดับปัญหาในการแสวงหา
เนื้อหาสารสนเทศสูงสุดเหมือนกันคือ สาระที่ 5 เทคโนโลยีเพื่อการทำงานและอาชีพ กลุ่มสาระ
สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับโรงเรียนกลุ่มนี้ พบว่าโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษมีระดับปัญหาในการ
แสวงหาเนื้อหาสารสนเทศสูงสุดคือ สาระที่ 5 ความปลอดภัยในชีวิต กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ
พบว่าโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษมีปัญหาในการแสวงหาสารสนเทศสาระที่ 1 ภาษาเพื่อการสื่อสาร
โรงเรียนขนาดใหญ่มีปัญหาในการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศสูงสุดเหมือนกันคือ สาระที่ 2 ภาษา
และวัฒนธรรม
8. ระดับปัญหาในการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศจำแนกตามผลการศึกษา กลุ่มสาระ
คณิตศาสตร์ ผลปรากฏว่านักเรียนมีระดับผลการศึกษาเฉลี่ย 3.51 – 4.00 มีระดับปัญหาในการ
แสวงหาเนื้อหาสารสนเทศในกลุ่มสาระคณิตศาสตร์สูงที่สุดในสาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและ
ความน่าจะเป็น นักเรียนมีระดับผลการศึกษาเฉลี่ย 1.00 – 3.00 มีปัญหาในการแสวงหาสารสนเทศ
สูงสุดในสาระที่ 4 พีชคณิต เมื่อเปรียบเทียบระดับปัญหาในการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศจำแนก
ตามระดับผลการเรียนพบว่าระดับปัญหาในการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศของนักเรียนที่มีผลการ
เรียนระดับ 3.51 – 4.00 และนักเรียนที่มีระดับผลการศึกษาเฉลี่ย 1.00 – 3.00 มีระดับปัญหาในการ
แสวงหาสารสนเทศ ที่แตกต่างกัน กลุ่มสาระภาษาไทย ผลปรากฏว่านักเรียนที่มีผลการเรียน 1.00 –
2.50 มีระดับปัญหาใน การแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศในกลุ่มสาระภาษาไทย ด้านสาระที่ 2 การ
118
เขียนสูงที่สุด นักเรียนที่มีผลการเรียน 2.51 –3.50 มีปัญหาในการแสวงหาสารสนเทศในกลุ่มสาระ
ที่ 4 คือ ด้านหลักการใช้ภาษานักเรียนที่มีผลการเรียน 3.51 – 4.00 มีปัญหาในการแสวงหา
สารสนเทศ ในกลุ่มสาระที่ 5 วรรณคดีและวรรณกรรม กลุ่มวิทยาศาสตร์ ในกลุ่มนี้นักเรียนที่มีผล
การเรียน 1.00 –2.50 มีระดับปัญหาในการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศสูงสุดในกลุ่มวิทยาศาสตร์ คือ
สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต นักเรียนที่มีผลการเรียน 2.51 –3.50 มีระดับปัญหาใน
การแสวงหาสารสนเทศในกลุ่มสาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร นักเรียนที่มีผลการเรียน 3.51–
4.00 มีปัญหาในการแสวงหาสารสนเทศในกลุ่มสาระที่ 7 ดาราศาสตร์และอวกาศ กลุ่มสาระสังคม
ศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ในกลุ่มนี้นักเรียนที่มีผลการเรียน 1.00– 2.50 และนักเรียนที่มีผล
การเรียน 3.51 – 4.00 มีระดับปัญหาในการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศสูงสุดในกลุ่มสาระที่ 4
ประวัติศาสตร์ นักเรียนที่มีผลการเรียนเฉลี่ย 2.51 – 3.50 มีระดับปัญหาในการแสวงหาเนื้อหา
สารสนเทศสูงสุด ในสาระที่ 5 ภูมิศาสตร์ กลุ่มสาระศิลปะ ในกลุ่มนี้นักเรียนที่มีผลการเรียน 1.00
–3.50 และนักเรียนที่มีผลการเรียน 3.51 – 4.00 มีระดับปัญหาในการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศ
สูงสุดในกลุ่มสาระที่ 1 ทัศนศิลป์ นักเรียนที่มีผลการเรียน 2.51 – 3.50 มีระดับปัญหาในการ
แสวงหาเนื้อหาสารสนเทศมากที่สุดในกลุ่มสาระที่ 3 นาฏศิลป์ กลุ่มสาระวิชาการงานอาชีพและ
เทคโนโลยี สำหรับโรงเรียนกลุ่มนี้ พบว่านักเรียนที่มีผลการเรียน 1.00 – 4.00 มีปัญหาในการ
แสวงหาเนื้อหาสารสนเทศสูงสุดในกลุ่มสาระที่ 3 การออกแบบเทคโนโลยี กลุ่มสาระสุขศึกษา
และพลศึกษา สำหรับนักเรียนที่มีผลการเรียน 1.00 – 2.50 มีระดับปัญหาในการแสวงหาเนื้อหา
สารสนเทศสูงสุดคือ สาระที่ 1 การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ นักเรียนที่มีผลการเรียน
2.51 – 4.00 มีปัญหาในการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศสูงสุดในกลุ่มสาระที่ 5 ความปลอดภัยในชีวิต
กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ พบว่านักเรียนที่มีผลการเรียน1.00 – 3.50 มีปัญหาในการแสวงหาเนื้อ
สารสนเทศสูงสุดในกลุ่มสาระที่ 1 ภาษเพื่อการสื่อสาร นักเรียนที่มีผลการเรียน 3.51 – 4.00 มีระดับ
ปัญหาในการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศสูงสุดใน สาระที่ 2 ภาษาและวัฒนธรรม
9. ระดับการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศจำแนกตามรายได้ กลุ่มสาระคณิตศาสตร์ ผล
ปรากฏว่านักเรียนที่ผู้ปกครองมีรายได้น้อยกว่า 9,000 มีระดับปัญหาในการแสวงหาเนื้อหา
สารสนเทศในกลุ่มสาระคณิตศาสตร์ ในกลุ่มสาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
นักเรียนที่ผู้ปกครองมีรายได้ 9,001 – 20,000 มีระดับปัญหาในการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศใน
กลุ่มสาระคณิตศาสตร์ ในกลุ่มสาระที่ 6 ทักษะ/กระบวนการทางคณิตศาสตร์ นักเรียนที่ผู้ปกครอง
ที่มีรายได้ มากกว่า 20,000 มีระดับปัญหาในการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศในกลุ่มสาระที่ 4
พีชคณิต กลุ่มสาระภาษาไทย ผลปรากฏว่านักเรียนที่ผู้ปกครองมีรายได้น้อยกว่า 9,000 – 20,000 มี
ระดับปัญหาในการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศในกลุ่มสาระภาษาไทย ด้านสาระที่ 5 วรรณคดีและ
119
วรรณกรรม ผู้ปกครองนักเรียนที่มีรายได้ มากกว่า 20,000 บาทมีระดับปัญหาในการแสวงหา
เนื้อหาสารสนเทศในกลุ่มสาระภาษาไทย ด้านสาระที่ 3 การฟัง การดู และการพูด กลุ่ม
วิทยาศาสตร์ ในกลุ่มนี้นักเรียนที่ผู้ปกครองมีรายได้น้อยกว่า 9,000 – 20,000 มีระดับปัญหาในการ
แสวงหาเนื้อหาสารสนเทศในกลุ่มวิทยาศาสตร์ คือ สาระที่ 6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
นักเรียนที่ผู้ปกครองมีรายได้มากกว่า 20,000 มีระดับปัญหาในการแสวงหาสารสนเทศในกลุ่มสาระ
ที่ 3 สารและสมบัติของสาร กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ในกลุ่มนี้นักเรียนที่
ผู้ปกครองที่มีรายได้น้อยกว่า 9,000 มีระดับปัญหาในการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศ ในกลุ่มสาระ
ที่ 5 ภูมิศาสตร์ นักเรียนที่ผู้ปกครองมีรายได้ 9,001 - 20,000 คือมีระดับปัญหาในการแสวงหา
เนื้อหาสารสนเทศในกลุ่มสาระที่ 4 ประวัติศาสตร์ กลุ่มสาระศิลปะ ในกลุ่มนี้นักเรียนที่ผู้ปกครอง
ที่มีรายได้น้อยกว่า 9,000 – 20,000 มีระดับปัญหาในการแสวงหาสารสนเทศในกลุ่มสาระที่ 3
นาฏศิลป์ นักเรียนที่ผู้ปกครองที่มีรายได้มากกว่ากว่า 20,000 มีระดับปัญหาในการแสวงหา
สารสนเทศ ในกลุ่มสาระที่ 2 ทัศนศิลป์ กลุ่มสาระวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี ในกลุ่มนี้
นักเรียนที่ผู้ปกครองที่มีรายได้น้อยกว่า 9,000 – 20,000 มีระดับปัญหาในการแสวงหาเนื้อหา
สารสนเทศในกลุ่มสาระที่ 3 การออกแบบและเทคโนโลยี นักเรียนที่ผู้ปกครองที่มีรายได้ มากกว่า
20,000 มีระดับปัญหาในการแสวงหาสารสนเทศในกลุ่มสาระที่ 5 เทคโนโลยีเพื่อการทำงานและ
อาชีพ กลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษา ในกลุ่มนี้นักเรียนที่ผู้ปกครองที่มีรายได้น้อยกว่า 9,000
มีระดับปัญหาในการแสวงหาสารสนเทศในกลุ่มสาระที่ 1 การเจริญเติบโตและพัฒนาการของ
มนุษย์ นักเรียนที่ผู้ปกครองที่มีรายได้ 9,001 - มากกว่า 20,000 มีระดับปัญหาในการแสวงหา
สารสนเทศในกลุ่มสาระที่ 5 ความปลอดภัยในชีวิต กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศในกลุ่มนี้นักเรียนที่
ผู้ปกครองที่มีรายได้น้อยกว่า 9,000 มีระดับปัญหาในการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศ ในกลุ่ม
สาระที่ 2 ภาษาและวัฒนธรรม นักเรียนที่ผู้ปกครองที่มีรายได้ 9,001 - 20,000 มีระดับปัญหาใน
การแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศในกลุ่ม สาระที่ 1 ภาษาเพื่อการสื่อสาร นักเรียนที่ผู้ปกครองมี
รายได้มากกว่า 20,000 มีระดับปัญหาในการแสวงเนื้อหาสารสนเทศในกลุ่มสาระที่ 4 ภาษากับ
ความสัมพันธ์กับชุมชนและโลก
สรุปผลการวิจัยตามแหล่งสารสนเทศ
1. ระดับการแสวงหาแหล่งสารสนเทศจำแนกตามเพศ แหล่งสารสนเทศสถานที่นักเรียน
หญิงและนักเรียนชายแสวงหามากที่สุดได้แก่ ห้องสมุดโรงเรียน แหล่งสารสนเทศบุคคลที่นักเรียน
หญิงและนักเรียนชาย แสวงหามากที่สุดได้แก่ จากพ่อ แม่ แหล่งสารสนเทศวัสดุที่นักเรียนหญิง
และนักเรียนชายแสวงหามากที่สุดได้แก่ จากการชมรายการโทรทัศน์
120
2. แหล่งสารสนเทศสถานที่จำแนกตามขนาดโรงเรียน ระดับการแสวงหาแหล่งสารสนเทศ
สถานที่นักเรียนในโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษและโรงเรียนขนาดใหญ่ แสวงหามากที่สุดได้แก่
ห้องสมุดโรงเรียน แหล่งสารสนเทศบุคคล ที่นักเรียนในโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษและโรงเรียน
ขนาดใหญ่แสวงหามากที่สุดได้แก่ จากพ่อ แม่ แหล่งสารสนเทศวัสดุ ที่นักเรียนในโรงเรียนขนาด
ใหญ่พิเศษและโรงเรียนขนาดใหญ่แสวงหามากที่สุดได้แก่ จากการชมรายการโทรทัศน์
3. ระดับการแสวงหาแหล่งสารสนเทศจำแนกตามระดับผลการศึกษาแหล่งสารสนเทศ
สถานที่ ระดับการแสวงหาแหล่งสารสนเทศสถานที่นักเรียนที่มีผลการศึกษาเฉลี่ย 1.00 – 4.00
แหล่งสารสนเทศที่นักเรียนแสวงหาตามระดับผลการศึกษามากที่สุดได้แก่ ห้องสมุดโรงเรียน
แหล่งสารสนเทศบุคคล นักเรียนที่มีผลการศึกษาเฉลี่ย 1.00 – 4.00 มีระดับการแสวงหาแหล่ง
สารสนเทศบุคคลมากที่สุดได้แก่ จากพ่อ แหล่งสารสนเทศวัสดุ นักเรียนที่มีผลการศึกษาเฉลี่ย 2.51
– 4.00 มีระดับการแสวงหาแหล่งสารสนเทศวัสดุที่มากที่สุดได้แก่ จากการชมรายการโทรทัศน์
4. ระดับการแสวงหาแหล่งสารสนเทศจำแนกตามรายได้ครอบครัว แหล่งสารสนเทศ
สถานที่ ในกลุ่มนี้ผู้ปกครองที่มารายได้ครอบครัวน้อยกว่า 9,000 - มากกว่า 20,000 บาทมีระดับการ
แสวงหาแหล่งสารสนเทศ มากที่สุดได้แก่ ห้องสมุดโรงเรียน แหล่งสารสนเทศบุคคล กลุ่มนี้
ผู้ปกครองที่มีรายได้ครอบครัวน้อยกว่า 9,000 - มากกว่า 20,000 บาทมีระดับการแสวงหาแหล่ง
สารสนเทศสถานที่ มากที่สุดได้แก่ พ่อแม่ ผู้ปกครอง แหล่งสารสนเทศวัสดุ ในกลุ่มนี้ผู้ปกครองที่มี
รายได้ครอบครัวน้อยกว่า 9,000 - มากกว่า 20,000 บาทมีระดับการแสวงหาแหล่งสารสนเทศวัสดุ
มากที่สุดได้แก่ จากการชมรายการโทรทัศน์
สรุปผลการวิจัยตามประเภทสารสนเทศ
1. ทรัพยากรสารสนเทศประเภทวัสดุตีพิมพ์ จำแนกตามเพศ แหล่งสารสนเทศประเภทวัสดุ
ตีพิมพ์ที่นักเรียนหญิงและนักเรียนชายแสวงหามากที่สุดได้แก่ หนังสือทั่วไป ทรัพยากรสารสนเทศ
ประเภทวัสดุตีพิมพ์ จำแนกตามขนาดโรงเรียนโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษและโรงเรียนขนาดใหญ่
แสวงหามากที่สุดได้แก่ หนังสือทั่วไป ทรัพยากรสารสนเทศประเภทวัสดุตีพิมพ์จำแนกตามผล
การศึกษานักเรียนที่มีผลการศึกษา 1.00 - 4.00 มีการแสวงหาทรัพยากรสารสนเทศประเภทวัสดุ
ตีพิมพ์แสวงหามากที่สุดได้แก่ หนังสือทั่วไป ทรัพยากรสารสนเทศประเภทวัสดุตีพิมพ์ จำแนก
ตามรายได้ผู้ปกครองผู้ปกครองที่มีรายได้ 9,000 - มากกว่า 20,000 แสวงหาสารสนเทศมากที่สุด
ได้แก่ หนังสือทั่วไป
2. ทรัพยากรสารสนเทศประเภทวัสดุไม่ตีพิมพ์ จำแนกตามเพศ นักเรียนหญิงและนักเรียน
ชายมีระดับการแสวงหาแหล่งสารสนเทศประเภทวัสดุไม่ตีมากที่สุดได้แก่ โทรทัศน์ ทรัพยากร
121
สารสนเทศประเภทวัสดุไม่ตีพิมพ์ จำแนกตามขนาดโรงเรียนโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษและโรงเรียน
ขนาดใหญ่แสวงหามากที่สุดได้แก่ โทรทัศน์ ทรัพยากรสารสนเทศประเภทวัสดุไม่ตีพิมพ์จำแนก
ตามผลการศึกษานักเรียนที่มีผลการศึกษา 1.00 - 4.00 มีการแสวงหาทรัพยากรสารสนเทศประเภท
วัสดุไม่ตีพิมพ์แสวงหามากที่สุดได้แก่ หนังสือทั่วไป ทรัพยากรสารสนเทศประเภทวัสดุไม่ตีพิมพ์
จำแนกตามรายได้ครอบครัวผู้ปกครองที่มีรายได้ น้อยกว่า 9,000 – มากกว่า 20,00 แสวงหามากที่สุด
ได้แก่ โทรทัศน์
5. การอภิปรายผลการวิจัย
1 .การแสวงหาสารสนเทศเพื่อการศึกษาต่อของนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 6 พบว่าการจัดการเรียนการสอนตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่มสาระนักเรียนมีความเห็นว่า
การจัดการเรียนการสอนที่มีเนื้อหาตามกลุ่มสาระดีอยู่แล้วและเป็นประโยชน์ต่อนักเรียนมาก
2. การใช้แหล่งสารสนเทศ แหล่งสารสนเทศสถานที่ ที่นักเรียนใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหา
ความรู้เพื่อการศึกษาต่อนั้นจากห้องสมุดโรงเรียน ห้องสมุดหมวดวิชาต่าง ๆ รับการแสวงหาอยู่ใน
ระดับมาก แหล่งสารสนเทศบุคคล พบว่านักเรียนส่วนใหญ่แสวงหาความรู้แหล่งสารสนเทศบุคล
และเพื่อนอยู่ในระดับมาก แหล่งสารสนเทศวัสดุ พบว่านักเรียนส่วนใหญ่แสวงหาสารสนเทศจาก
แหล่งสารสนเทศวัสดุคือรายการโทรทัศน์ ฟังวิทยุ และจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ระดับการ
แสวงหาแหล่งสารสนเทศวัสดุอยู่ในระดับมาก
3. ประเภททรัพยากรสารสนเทศประเภทวัสดุตีพิมพ์ ระดับการแสวงหาแหล่งสารสนเทศ
ประเภทวัสดุตีพิมพ์พบว่านักเรียนมีการแสวงหามากคือ หนังสือทั่วไป และหนังสือพิมพ์มีการ
แสวงหาสารสนเทศอยู่ในระดับมากทรัพยากรสารสนเทศประเภทวัสดุไม่ตีพิมพ์ที่นักเรียนแสวงหา
มากได้แก่ โทรทัศน์และคอมพิวเตอร์ที่นักเรียนแสวงหาอยู่ในระดับมาก
4. ปัญหาในการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศ พบว่า นักเรียนมีปัญหาในการแสวงหา
สารสนเทศในกลุ่มสาระคณิตศาสตร์คือสาระที่ การวัดและกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ สาระที่ 1 และ
สาระที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญที่ 0.01 และสาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น อย่างมี
นัยสำคัญที่ 0.05
5. ปัญหาในการแสวงหาสารสนเทศด้านแหล่งสารสนเทศ แหล่งสารสนเทศสถานที่ ที่
นักเรียนมีปัญหาในการแสวงหามากได้แก่หอสมุดแห่งชาติ และหอสมุดมหาวิทยาลัย แหล่ง
สารสนเทศบุคคลที่นักเรียนพบปัญหามากที่สุดได้แก่ อาจารย์ท่านอื่นในโรงเรียน แหล่งสารสนเทศ
วัสดุที่นักเรียนมีปัญหาในการแสวงหามากที่สุดได้แก่ โปรแกรมคอมพิวเตอร์
122
6. ข้อเสนอแนะ
จากผลการวิจัยครั้งนี้พบว่านักเรียนที่สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีการแสวงหา
สารสนเทศแยกเป็นรายด้านดังนี้
ด้านเนื้อหาสารสนเทศ ควรจัดสารสนเทศในการศึกษาต่อของนักเรียนไว้มากๆ
ด้านแหล่งสารสนเทศ ควรให้ความช่วยเหลือและชี้แนะแนวทางที่ถูกต้องให้กับนักเรียน
ด้านประเภทสารสนเทศ ควรจัดหาสารสนเทศประเภทหนังสืออ่านทั่วไปเพิ่มขึ้น
ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งต่อไป
ควรศึกษาเปรียบเทียบการแสวงหาสารสนเทศเพื่อการศึกษาต่อของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ตอนปลาย ในโรงเรียนมัธยมศึกษาทั่วประเทศ
บรรณานุกรม
กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ :
องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
กรุงเทพมหานคร. ประกาศกรุงเทพมหานครเรื่องแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการรับนักเรียนของโรงเรียน
ในสังกัดกรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2548.
ก่อเกียรติ ขวัญสกุล. (2547). สารสนเทศเพื่อการค้นคว้า. กรุงเทพฯ : ภาควิชาสารสนเทศศาสตร์
บรรณารักษศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2546). การใช้ SPSS for window ในการวิเคราะห์ข้อมูล (พิมพ์ครั้งที่ 6).
กรุงเทพฯ : ภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2545). หลักสถิติ. (พิมพ์ครั้งที่7). กรุงเทพฯ : ภาควิชาสถิติ คณะพาณิชย
ศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
คณาจารย์ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์. (2546). สารนิเทศและการศึกษาค้นคว้า. (พิมพ์ครั้งที่ 5).
กรุงเทพฯ : ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์. คณะมนุษยศาสตร์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
ครรชิต มาลัยวงศ์. (2543). บรรณารักษ์ ศูนย์บริการและการสืบค้นสารสนเทศในปี 2000.
(พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : งานประชาสัมพันธ์และมัลติมิเดียศูนย์เทคโนโลยี
อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและ
สิ่งแวดล้อม.
จิรวรรณ ภักดีบุตร. (2532). วิวัฒนาการความต้องการและพฤติกรรมการค้นหาสารนิเทศ.
ใน เอกสารการสอนชุดวิชาสารนิเทศศาสตร์เบื้องต้น หน่วยที่ 1-7. (หน้า 173-181).
นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
เจริญ คุ้มอักษร. (2543). ความต้องการสารสนเทศในชีวิตประจำวันของนักเรียนระดับมัธยม
ศึกษาตอนต้น ในจังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์ คณะศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ฉันทนา ชาญพาณิชย์. (2537). เอกสารคำสอนวิชาสารนิเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้า. กรุงเทพฯ :
ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฏ
บ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
124
ชัชวาลย์ วงษ์ประเสริฐ. (2537). บริการสารนิเทศ. ปทุมธานี. สาขาวิชาสารนิเทศ.
คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต.
ชัยพจน์ รักงาม. (2542). แหล่งเรียนรู้เพื่อเป็นคนรอบรู้ ในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน.
(หน้า72 – 75). ราชบุรี : หน่วยศึกษานิเทศ กรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 5.
ชุติมา สัจจานันท์. (2530). สารนิเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. นนทบุรี : มหาวิทยาลัย
สุโขทัยธรรมาธิราช.
นงลักษณ์ ไม่หน่ายกิจ. (2526). บริการสารสนเทศ : ความหมายและประเภท.
บรรณารักษศาสตร์. 3 (หน้า 26).
นันทา วิทวุฒิศักดิ์. (2542). การสืบค้นและสื่อสารสารสนเทศ. กรุงเทพฯ : โปรแกรมบรรณารักษ
ศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฏ
บ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
________. (2540). สารนิเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้า. กรุงเทพฯ, ดี.ดี.บุ๊คสโตร์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2535). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ, สุวีริยาสาส์น.
ประภาวดี สืบสนธิ์. (2532). การศึกษาความต้องการของผู้ใช้สารนิเทศ. วารสาร
บรรณารักษศาสตร์, 9, 12-28.
________. (2530). การใช้และการแสวงหาสารนิเทศของเกษตรอำเภอขามจังหวัด
จันทบุรี. กรุงเทพฯ : ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
ประสานสุข ละม่อม. (2540). เอกสารคำสอนสารนิเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้า. กรุงเทพฯ : ภาควิชา
บรรณารักษศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จ
เจ้าพระยา.
พยอม ยุวสุต. (2541). การใช้ห้องสมุดและสารสนเทศของนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
ในอำเภอเมืองเขตการศึกษา 5. วิทยานิพนธ์ คณะศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย
รามคำแหง.
พวา พันธุ์เมฆา. (2541). สารนิเทศกับการศึกษาค้นคว้า. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ
พิกุล วงศ์ก้อม. (2539). กลวิธีการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนมัธยมศึกษา
ในกรุงเทพมหานคร และเขตการศึกษา 9. วิทยานิพนธ์ คณะศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
125
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2546). แนวการสึกษาชุดวิชาการจัดเก็บและการค้นคืน
สารสนเทศ = Information Storage and retrieval. หน่วยที่ 5. (พิมพ์ครั้งที่ 2).
นนทบุรี : สาขาวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
แม้นมาส ชวลิต. (2533) สารนิเทศและสารนิเทศศาสตร์ ใน เอกสารการสอนชุดวิชา
13201 สารนิเทศศาสตร์เบื้องต้น หน่วยที่ 1-7. (หน้า 1-38). (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี :
สาขาวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
แม้นมาส ชวลิต. (2532) สารนิเทศและสารนิเทศศาสตร์ ใน เอกสารชุดวิชา นิเทศศาสตร์เบื้องต้น
หน่วยที่ 1-7. (หน้า10-12). นนทบุรี : สาขาวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัย
ธรรมาธิราช.
รัตนา หันจางสิทธิ์. (2543). ความต้องการสารสนเทศของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา โรงเรียน
โสตศึกษา จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ คณะศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัย
ขอนแก่น.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542. กรุงเทพฯ
: นามมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.
สมาน ลอยฟ้า. (2544). การรู้สารสนเทศ: ทักษะที่จำเป็นสำหรับสังคมสารสนเทศ. คณะมนุษย์
ศาสตร์และสังคมศาสตร์. 19 (1), 1-5.
สำนักนายกรัฐมนตรี, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (ม.ป.ป.). แผนพัฒนาการศึกษา
แห่งชาติ ฉบับที่ 7 พ.ศ. 2535 – 2539. ม.ป.ท.
สุกานดา ดีโพธิ์กลาง และคณะ. (2544). ทรัพยากรสารสนเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้า.
ศูนย์หนังสือ, 19 (1), 1-5.
สุขุม เฉลยทรัพย์. (2532). คุณค่าของสารนิเทศต่อบุคคล : กรณีเกย์ (Gay). ห้องสมุด. 33 (4), 41.
สุจริต บัวพิมพ์. (2533) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสารสนเทศ ในห้องสมุดกับสารนิเทศเพื่อการ
พัฒนาคุณภาพชีวิตในเอกสารการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2533. สมาคมห้องสมุดแห่ง
ประเทศไทย. กรุงเทพฯ.
อมรรัตน์ ถาวรานุรักษ์. (2539). การใช้สารสนเทศเพื่อการเตรียมตัวสอบเข้ามหาวิทยาลัยของนัก
เรียนที่จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์คณะศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทร์วิโรฒประสานมิตร .
เอกสารประกอบการอบรมครูและบรรณารักษ์ห้องสมุดโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดนครปฐม
ระหว่างวันที่ 9 – 10 พฤษภาคม 2539. นครปฐม : หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์
มหาวิทยาลัยศิลปากร.
126
เอื้อมพร ทัศนประสิทธิผล. (2542). สารนิเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้า. ฉะเชิงเทรา: โปรแกรมวิชา
บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันราช
ภัฏราชนครินทร์.
ภาษาอังกฤษ
Chen, Ching-Chih ; and Hernon,Peter. (1982 , July ) Information seeking : Anticipation for
Librarians Special Libraries. 73 : 5 : 53-53.
Ford, Geoffreg. (1973, March ) Progress in doccumentation research in user behavior in
universityLibraries. Journal of Education. 2: 85.
Grogan, Denis. (1982). Science and Technology and Introduction to Literature. Pp.73.
Lodon :Clive Bingley.
Harrod, Leonard Montage. (1984). Harrod’s Librarians’ Glossarry. 3rd ed. Gower : A
Grafton Book.
Karadima, Oscar. (1984). Management Information System for Faculty Allocation
Instiution of Higher Education. A Case Study for the Universidad de santiago de Chile
(USACH), Dessertation Abstract International. 45(8) : 2411 – A.
Krikelas, J. (1983) Information-seeking Behavior : Patherns and concepts. Drexel Library
Quarcerly 19 (Spring) : 5.
Kulthau, Carol Collier. (1988) Perceptions of the Information Search Process in Libraries :
A study of changes from high school through colleage. Internatio
Peocessing And Managerment. 24.: 419.
Mancall, Jacqueline Cooper. (1978). “Resources Used by High School Students in Perparing.
Independent Study Project: A Bibliometric Approach,” Dissertation Abstracts
International. 38(9) : 5193A; March.
Taylor, Robert S. (1968). “ Question – Negotiation and Information Seeking in Libraries,”
College & Rearch Libraries. 29(1) : 178 – 194; January.
ภาคผนวก ก
รายนามผู้เชี่ยวชาญผู้ตรวจสอบความตรงเชิง
เนื้อหาเครื่องมือในการทำวิทยานิพนธ์
128
รายนามผู้เชี่ยวชาญผู้ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาเครื่องมือในการทำวิทยานิพนธ์
รองศาสตราจารย์หรรษา ศิวรักษ์
รองศาสตราจารย์จุมพจน์ วนิชกุล
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ศิริจันทร์ ศิริปทุมานันท์
ผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์จิราภรณ์ หนูสวัสดิ์
134
ภาคผนวก ข
แบบสอบถามที่ใช้ในการวิจัย
135
แบบสอบถามเพื่อการวิจัย
การแสวงหาสารสนเทศเพื่อการศึกษาต่อของนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรุงเทพมหานคร
............................................................................................................................................................
คำชี้แจง 1. แบบสอบถามชุดนี้จัดทำขึ้นเพื่อสำรวจการแสวงหาสารสนเทศเพื่อเตรียมตัวสอบของ
นักเรียน ทั้งนี้แบบสอบถามชุดนี้จะไม่มีผลใดๆ ทั้งสิ้นต่อตัวนักเรียน
2. แบบสอบถามชุดนี้แบ่งออกเป็น 2 ตอน
ตอนที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับสถานภาพส่วนตัวของผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่
เพศ ระดับผลการเรียน รายได้ครอบครัว ขนาดโรงเรียน
ตอนที่ 2 แบบสอบถามเรื่อง การแสวงหาสารสนเทศเพื่อการศึกษาต่อของนักเรียนแบ่ง
ออกเป็น 3 ด้าน คือ ด้านเนื้อหาสารสนเทศ ด้านแหล่งสารสนเทศ และด้านประเภทสารสนเทศซึ่ง
แบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ดังนี้คือ
ระดับ 5 หมายถึง แสวงหามากที่สุด
ระดับ 4 หมายถึง แสวงหามาก
ระดับ 3 หมายถึง แสวงหาปานกลาง
ระดับ 2 หมายถึง แสวงหาน้อย
ระดับ 1 หมายถึง แสวงหาน้อยที่สุด
ตอนที่ 3 ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ
ตอนที่ 1 สถานภาพส่วนบุคคล
1. เพศ
�� เพศชาย
�� เพศหญิง
2. ระดับผลการเรียนของนักเรียนที่สำเร็จชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
�� ระดับผลการเรียนเฉลี่ย 1.00 – 2.50
�� ระดับผลการเรียนเฉลี่ย 2.51 – 3.50
�� ระดับผลการเรียนเฉลี่ย 3.51 – 4.00
3. รายได้ครอบครัว
�� รายได้น้อยกว่า 9,000 บาท
�� รายได้ 9,001 – 20,000 บาท
�� รายได้มากกว่า 20,000 บาท
136
4. ขนาดโรงเรียน
�� โรงเรียนขนาดใหญ่ มีนักเรียน 1,500 – 2,499 คน
�� โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ มีนักเรียน 2,500 คนขึ้นไป
ตอนที่ 2 แบบสอบถามการแสวงหาสารสนเทศเพื่อการศึกษาต่อของนักเรียนเป็นแบบสอบถามแบบ
มาตราส่วนประมาณค่าเกี่ยวกับการแสวงหาสารสนเทศเพื่อการศึกษาต่อของนักเรียน
คำชี้แจง ให้นักเรียนอ่านข้อความในแบบสอบถามทีละข้อแล้วพิจารณาว่านักเรียนมีระดับการ
แสวงหาสารสนเทศในแต่ละข้อมากน้อยเพียงใดรวมทั้งนักเรียนมีระดับปัญหาในการแสวงหา
สารสนเทศในแต่ละข้อมากน้อยเพียงใด จากนั้นทำเครื่องหมาย / ลงในช่องที่ตรงกับความเป็นจริง
มากที่สุด
137
ลำดับ ระดับการแสวงหา ปัญหาในการแสวงหา
ที่
เนื้อหาสารสนเทศที่นักเรียนแสวงหา
5 4 3 2 1 5 4 3 2 1
กลุ่มสาระคณิตศาสตร์
สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
สาระที่ 2 การวัด
สาระที่ 3 เรขาคณิต
สาระที่ 4 พีชคณิต
สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
1.
สาระที่ 6 ทักษะ/กระบวนการทางคณิตศาสตร์
กลุ่มสาระภาษาไทย
สาระที่ 1 การอ่าน
สาระที่ 2 การเขียน
สาระที่ 3 การฟัง ดู พูด
สาระที่ 4 หลักการใช้ภาษา
2.
สาระที่ 5 วรรณคดีและวรรณกรรม
กลุ่มวิทยาศาสตร์
สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
สาระที่ 2 ชีวิตและสิ่งแวดล้อม
สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร
สาระที่ 4 แรงและการเคลื่อนที่
สาระที่ 5 พลังงาน
สาระที่ 6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
สาระที่ 7 ดาราศาสตร์และอวกาศ
3.
สาระที่ 8 ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี
กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
สาระที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม
สาระที่ 2 หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการ
ดำเนินชีวิตในสังคม
สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์
สาระที่ 4 ประวัติศาสตร์
4.
สาระที่ 5 ภูมิศาสตร์
138
ลำดับ ระดับการแสวงหา ปัญหาในการแสวงหา
ที่
ด้านเนื้อหาสารสนเทศ
5 4 3 2 1 5 4 3 2 1
กลุ่มสาระศิลปะ
สาระที่ 1 ทัศนศิลป์
สาระที่ 2 ดนตรี
5.
สาระที่ 3 นาฏศิลป์
กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี
สาระที่ 1 การดำรงชีวิต
สาระที่ 2 การอาชีพ
สาระที่ 3 การออกแบบเทคโนโลยี
สาระที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศ
6.
สาระที่ 5 เทคโนโลยีเพื่อการทำงานและอาชีพ
กลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษา
สาระที่ 1 การเจริญเติบโตและพัฒนาการของ
มนุษย์
สาระที่ 2 ชีวิตและครอบครัว
สาระที่ 3 การเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย
การเล่นเกม
สาระที่ 4 การสร้างเสริมสุขภาพ สมรรถภาพ
และการป้องกันโรค
7.
สาระที่ 5 ความปลอดภัยในชีวิต
กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ
สาระที่ 1 ภาษาเพื่อการสื่อสาร
สาระที่ 2 ภาษาและวัฒนธรรม
สาระที่ 3 ภาษากับความสัมพันธ์กับกลุ่มสาระ
การเรียนรู้อื่น
8.
สาระที่ 4 ภาษากับความสัมพันธ์กับชุมชนโลก
139
ลำดับ ระดับการแสวงหา ปัญหาในการแสวงหา
ที่
ด้านแหล่งสารสนเทศ
5 4 3 2 1 5 4 3 2 1
1. แหล่งสารสนเทศสถานที่
จากห้องสมุดโรงเรียน
2. จากห้องสมุดประชาชน
3. จากห้องสมุดหมวดวิชาต่าง ๆ
4. จากห้องสมุดมหาวิทยาลัย
5. จากหอสมุดแห่งชาติ
6. จากห้องแนะแนว
7. อื่น ๆ โปรดระบุ.......................................
8. แหล่งสารสนเทศบุคคล
จาก พ่อ แม่ ผู้ปกครอง
9. จากเพื่อน
10. จากอาจารย์ที่ปรึกษา
11. จากบรรณารักษ์ห้องสมุด
12. จากอาจารย์ท่านอื่นในโรงเรียน
13. อื่น ๆ โปรดระบุ.......................................
14. แหล่งสารสนเทศวัสดุ
จากการชมรายการโทรทัศน์
15. จากการฟังวิทยุ
16. จากการอ่านหนังสือตำรา
17. จากการอ่านหนังสือพิมพ์
18. จากการอ่านวารสาร นิตยสาร
19. จากจุลสารทางวิชาการ
20. จากวีดีทัศน์ประกอบการเรียน
21. จากการชมนิทรรศการทางวิชาการ
22. จากโปรแกรมคอมพิวเตอร์
23. จากสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ต
24. อื่น ๆ โปรดระบุ...........................................
140
ลำดับ ระดับการแสวงหา ปัญหาในการแสวงหา
ที่
ประเภททรัพยากรสารสนเทศ
5 4 3 2 1 5 4 3 2 1
1. ทรัพยากรสารสนเทศประเภทวัสดุตีพิมพ์
หนังสือทั่วไป
2. หนังสืออ้างอิง
3. วารสารหรือนิตยสาร
4. หนังสือพิมพ์
5. จุลสาร
6. กฤตภาค
7. ทรัพยากรสารสนเทศประเภทวัสดุไม่ตีพิมพ์
วิทยุ
8. โทรทัศน์
9. คอมพิวเตอร์
10. วีดีทัศน์
11. แผนที่
12. หุ่นจำลอง
13. อื่น ๆ โปรดระบุ......................................
ตอนที่ 3 ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ
โปรดแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการแสวงหาสารสนเทศและปัญหาในการแสวงหา
สารสนเทศของนักเรียน
............................................................................................................................................................
............................................................................................................................................................
............................................................................................................................................................
............................................................................................................................................................
............................................................................................................................................................
............................................................................................................................................................
............................................................................................................................................................
141
ภาคผนวก ค
รายชื่อโรงเรียนที่ใช้เก็บข้อมูล
142
ตารางที่ 1 กลุ่มตัวอย่างโรงเรียนขนาดใหญ่
เขตพื้นท ี่ โรงเรียน กลุ่มประชากร กลุ่มตัวอย่าง
ชาย หญิง รวม ชาย หญิง รวม
โรงเรียนราชวินิตมัธยม 227 210 437 9 9 18
โรงเรียนมัธยมวัดมกุฏกษัตริย์ 247 141 388 10 6 16
เขตพื้นที่
การศึกษาเขต 1
โรงเรียนวชิรธรรมสาธิ 285 265 316 12 11 23
โรงเรียนพิบูลอุปถัมภ์ 99 67 166 4 3 7
โรงเรียนบางกะปิขุนนวพันธ์
อุปภัมภ์
251 240 491 11 10 21
เขตพื้นที่
การศึกษาเขต 2
โรงเรียนบดินทร์เดชา
(สิง สิงหเสนี) 4
190 162 352 8 7 15
โรงเรียนมัธยมวัดดุสิตาราม 211 227 438 10 18 28
เขตพื้นที่ โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง 117 84 201 5 5 10
การศึกษาเขต 3
โรงเรียนราชวินิตบางแคปานขำ 231 187 418 10 18 28
รวม 1,874 1.794 2,980 79 87 166
143
ตารางที่ 2 กลุ่มตัวอย่างโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ
เขตพื้นที่ โรงเรียน กลุ่มประชากร กลุ่มตัวอย่าง
ชาย หญิง รวม ชาย หญิง รวม
โรงเรียนสตรีวิทยา - 625 625 - 26 26
โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย 589 - 589 25 - 25
เขตพื้นที่
การศึกษาเขต 1
โรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย 294 313 607 12 13 25
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
พัฒนาการ
375 357 732 15 15 30
โรงเรียนเทพลีลา 251 265 516 10 11 21
เขตพื้นที่
การศึกษาเขต 2
โรงเรียนหอวัง 334 340 674 14 14 28
โรงเรียนศึกษานารีวิทยา 332 300 632 14 13 27
โรงเรียนจันทร์ประดิษฐาราม
วิทยาคม
เขตพื้นที่ 295 284 579 12 12 24
การศึกษาเขต 3
โรงเรียนสุวรรณารามวิทยา 238 291 529 10 12 22
รวม 2,708 2.775 5,483 112 116 228
144
ภาคผนวก ง
ประวัติย่อของผู้วิจัย
145
ประวัติย่อผู้วิจัย
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อ – สกุล นางกัลยา แทนเอี่ยม
วัน เดือน ปีเกิด 27 มีนาคม 2503
สถานที่เกิด จังหวัดปราจีนบุรี
ประวัติการศึกษา ระดับปริญญาตรี สาขาบรรณารักษศาสตร์ วิทยาลัยครู
เพชรบุรีวิทยาลงกรณ์
ตำแหน่งและสถานที่ทำงาน ผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่โรงเรียนวัดทองใน สำนักงานเขตสวนหลวง
กรุงเทพมหานคร
การศึกษาประสิทธิภาพการดำเนินงานของสำนักวิทยบริการนักเรียนประถมศึกษาปีที่๖ (ตอนที่ 1)
การศึกษาประสิทธิภาพการดำเนินงานของสำนักวิทยบริการนักเรียนประถมศึกษาปีที่๖ (ตอนที่ 2)
การศึกษาประสิทธิภาพการดำเนินงานของสำนักวิทยบริการนักเรียนประถมศึกษาปีที่๖ (ตอนที่ 3)
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)