วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2552

การศึกษาประสิทธิภาพการดำเนินงานของสำนักวิทยบริการนักเรียนประถมศึกษาปีที่๖ (ตอนที่ 1)



การแสวงหาสารสนเทศเพื่อการศึกษาต่อของนักเรียนที่สำเร็จ
การศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กรุงเทพมหานคร
นางกัลยา แทนเอี่ยม
วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
ปีการศึกษา 2548
ISBN : 974–373–527–5
ลิขสิทธิ์มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
INFORMATION SEEKING FOR FURTHER EDUCATION
OF GRADE 6 GRADUATES UNDER THE OFFICE OF
BASIC EDUCATION COMMISSION :
BANGKOK METROPOLITAN
MRS. KANLAYA TANIAM
A Thesis Submitted in Partial Fulfillment of the Requirements
For the Master of Art Program in Library and Information Science
Rajabhat Institute Bansomdejchaopraya
Acadenic Year 2005
ISBN : 974–373–527–5

ประกาศคุณูประการ
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ สำเร็จได้ด้วยความกรุณาเป็นอย่างยิ่งจากรองศาสตราจารย์ฉวีวรรณ
คูหาภินันทน์ อาจารย์ที่ปรึกษาและผู้ช่วยศาสตราจารย์ชลลดา พงศ์พัฒนโยธิน ที่ได้เอาใจใส่ให้
คำแนะนำ และตรวจสอบแก้ไข เพื่อให้วิทยานิพนธ์มีความถูกต้อง ผู้วิจัยขอกราบขอบพระคุณเป็น
อย่างสูงไว้ ณ โอกาสนี้
ขอขอบพระคุณ กรรมการสอบวิทยานิพนธ์ที่ได้กรุณาให้คำแนะนำและข้อคิดเห็นที่เป็น
ประโยชน์ ตลอดจนช่วยแก้ไขวิทยานิพนธ์ให้มีความสมบูรณ์ถูกต้องยิ่งขึ้น
ขอขอบพระคุณคณาจารย์สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ บัณฑิต
วิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาทุกท่านที่ได้ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้แก่
ผู้วิจัย
ขอขอบพระคุณคณะผู้บริหารโรงเรียน คณะครูและนักเรียนโรงเรียนในสังกัดสำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรุงเทพมหานคร ที่ให้ความอนุเคราะห์ในการเก็บข้อมูลและ
ตอบแบบสอบถาม
ขอขอบพระคุณ คุณนารายณ์ แทนเอี่ยม ที่ให้ความช่วยเหลือทั้งด้านกำลังใจและกำลัง
ทรัพย์ ญาติพี่น้องและเพื่อน ๆที่เป็นกำลังใจและช่วยเหลือในการทำวิจัยครั้งนี้ด้วยดีเสมอมา
คุณความดีของวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ขอมอบให้บุพการีและคณาจารย์ทุกท่านที่ประสิทธิ์
ประสาทวิชาให้กับผู้วิจัย
นางกัลยา แทนเอี่ยม

กัลยา แทนเอี่ยม. (2548) การแสวงหาสารสนเทศเพื่อการศึกษาต่อของนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาชั้น
ประถมศึกษา ปีที่ 6 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรุงเทพมหานคร.
วิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จ
เจ้าพระยา.
คณะกรรมการควบคุม : รองศาสตราจารย์ฉวีวรรณ คูหาภินันทน์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชลลดา พงศ์พัฒนโยธิน
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการแสวงหาสารสนเทศในการศึกษาต่อ และ
เปรียบเทียบการแสวงหาสารสนเทศและปัญหาในการแสวงหาสารสนเทศของนักเรียนที่สำเร็จ
การศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำ นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กรุงเทพมหานคร โดยมีกลุ่มประชากร คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สังกัดสำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรุงเทพมหานคร 3 เขต ปีการศึกษา 2548 จำนวน 9,151 คน
กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้น
พื้นฐาน กรุงเทพมหานคร 3 เขต ปีการศึกษา 2548 จำนวน 384 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ
แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้วิธีหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า T-test และค่า F-test
ผลการวิจัยพบว่า การแสวงหาสารสนเทศด้านเนื้อหาสารสนเทศโดยรวม ไม่แตกต่างกัน
ยกเว้นกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ที่มีการแสวงหาสารสนเทศแตกต่างกัน การแสวงหา
สารสนเทศด้านแหล่งสารสนเทศโดยรวม ไม่แตกต่างกัน ยกเว้น การแสวงหาสารสนเทศด้าน
สถานที่ที่แตกต่างกัน ส่วนการแสวงหาสารสนเทศด้านทรัพยากรสารสนเทศโดยรวม พบว่า มีการ
แสวงหาสารสนเทศไม่แตกต่างกัน ปัญหาในการแสวงหาสารสนเทศด้านเนื้อหาสารสนเทศ
โดยรวม ในกลุ่มสาระต่าง ๆ มีปัญหาในการแสวงหาสารสนเทศไม่แตกต่างกัน ยกเว้นกลุ่มสาระ
วิทยาศาสตร์ มีปัญหาในการแสวงหาสารสนเทศแตกต่างกัน ด้านแหล่งสารสนเทศมีปัญหาในการ
แสวงหาสารสนเทศแตกต่างกัน ยกเว้นแหล่งสารสนเทศบุคคล และแหล่งสารสนเทศวัสดุ มีปัญหา
ในการแสวงหาสารสนเทศไม่แตกต่างกัน ในด้านการแสวงหาสารสนเทศ ประเภททรัพยากร
สารสนเทศ วัสดุตีพิมพ์ และวัสดุไม่ตีพิมพ์ มีปัญหาในการแสวงหาสารสนเทศที่ไม่แตกต่างกัน

Kanlaya Taniam. (2005) The search of information for further studies of the accomplished student
of Mathayom 6, under the basic study committee, Bangkok.
Thesis for Master Degree. Bangkok : Graduate school
University of Rachapat Ban SomDej Choapraya.
Thesis Committee : Associated Professor Chaveevorn Kuhapinan,
Assistant Professor Chollada Pongpipatthanayothin.
The objectives of this research are to study about the search of information for further
studies, and to compare of the search of the information and the problem in the search of
information of the accomplished student of Mathayom 6, under the basic study committee,
Bangkok. The sample masses of the research are the 9,151 student of Mathayom 1 in under the
basic study committee of zone 3 Bangkok in the year 2005. The group samples of the research are
384 student of Mathayom 1 in under the basic study committee of zone 3 Bangkok in the year
2005. The equipment used in the research is questionnaire; data analysis by using mean, standard
deviation, T-test and F-test.
The result of the research on the search of information in the aspect on content of the
information show that there is no difference among the sample in searching of the content of
information, except the group of learning Thai language. There is no difference among the sample
in the searching of information source, except the place of searching. There is no difference on
searching of information resource. There are no differences in problem of searching of
information of each group of learning except group of science learning, there are difference
problems in searching of information. There are difference problems in searching of information
sources, except personnel source and information source of material. There is no difference in
problem in searching of information of information resource, printed material and unprinted
material.

สารบัญ
หน้า
ประกาศคุณูปการ.................................................................................................................... ง
บทคัดย่อภาษาไทย.................................................................................................................. จ
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ............................................................................................................. ฉ
สารบัญ................................................................................................................................... ช
สารบัญตาราง.......................................................................................................................... ฌ
บทที่ 1 บทนำ
1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา......................................................... 1
2 วัตถุประสงค์ของการวิจัย............................................................................... 3
3 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ............................................................................ 3
4 กรอบแนวคิดในการวิจัย................................................................................ 4
5 ขอบเขตการวิจัย............................................................................................. 5
6 นิยามศัพท์เฉพาะ............................................................................................ 7
7 สมมติฐานของการวิจัย................................................................................... 7
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
1 หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน....................................................................... 8
2 สารสนเทศและแหล่งสารสนเทศ................................................................... 19
3 การแสวงหาสารสนเทศ................................................................................. 34
4 การวิจัยที่เกี่ยวข้อง......................................................................................... 41
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย
1 การกำหนดกลุ่มประชากรและการเลือกกลุ่มตัวอย่าง.................................... 45
2 การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย................................................................. 47
3 การเก็บรวบรวมข้อมูล................................................................................... 48
4 การจัดกระทำข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล.................................................. 48

สารบัญ (ต่อ)
หน้า
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
1 สัญลักษณ์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล............................................................ 50
2 การเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล.................................................................... 50
3 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล................................................................................... 50
บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
1 ความมุ่งหมายของการวิจัย............................................................................. 112
2 สมมติฐานการวิจัย......................................................................................... 112
3 วิธีดำเนินการวิจัย........................................................................................... 112
4 สรุปผลการวิจัย.............................................................................................. 113
5 การอภิปรายผลการวิจัย................................................................................. 121
6 ข้อเสนอแนะ.................................................................................................. 122
บรรณานุกรม.......................................................................................................................... 123
ภาคผนวก
ภาคผนวก ก. รายนามผู้เชี่ยวชาญผู้ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาเครื่องมือใน
การทำวิทยานิพนธ์........................................................................
127
ภาคผนวก ข. แบบสอบถาม............................................................................... 134
ภาคผนวก ค. รายชื่อโรงเรียนที่ใช้เก็บข้อมูล..................................................... 141
ภาคผนวก ง. ประวัติย่อผู้วิจัย............................................................................. 144

สารบัญตาราง
ตารางที่ หน้า
1 แสดงระดับการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศจำแนกตามเพศ........................................ 50
2 แสดงระดับการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศจำแนกตามขนาดโรงเรียน....................... 55
3 แสดงระดับการแสวงหาแหล่งสารสนเทศจำแนกตามเพศ.......................................... 58
4 แสดงระดับการแสวงหาแหล่งสารสนเทศจำแนกตามขนาดโรงเรียน........................ 62
5 แสดงระดับการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศจำแนกตามผลการศึกษา.......................... 65
6 แสดงระดับการแสวงหาแหล่งสารสนเทศจำแนกตามผลการศึกษา............................ 70
7 แสดงระดับการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศจำแนกตามรายได้.................................... 73
8 แสดงระดับการแสวงหาแหล่งสารสนเทศจำแนกตามรายได้..................................... 78
9 แสดงปัญหาในการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศจำแนกตามเพศ................................... 81
10 แสดงปัญหาในการแสวงหาแหล่งสารสนเทศจำแนกตามเพศ.................................... 85
11 แสดงปัญหาในการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศจำแนกตามขนาดโรงเรียน................. 88
12 แสดงปัญหาในการแสวงหาแหล่งสารสนเทศจำแนกตามรายได้................................ 92
13 แสดงปัญหาในการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศจำแนกตามผลการศึกษา..................... 95
14 แสดงปัญหาในการแสวงหาแหล่งสารสนเทศจำแนกตามผลการศึกษา...................... 100
15 แสดงระดับการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศจำแนกตามรายได้.................................... 103
16 แสดงระดับการแสวงหาแหล่งสารสนเทศจำแนกตามขนาดโรงเรียน........................ 108
บทที่ 1
บทนำ
1. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
การจัดการศึกษาในประเทศไทยตามหลักสูตรการศึกษาที่ใช้อยู่ คือหลักสูตรประถมศึกษา
พุทธศักราช 2521 และ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533) หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น ซึ่ง
กระทรวงศึกษาธิการ โดยกรมวิชาการ ได้ติดตามผลและดำเนินการวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักสูตร
ตลอดมา ผลการศึกษาพบว่า หลักสูตรที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนานกว่า 10 ปี มีข้อจำกัดอยู่หลาย
ประการที่ไม่สามารถส่งเสริมให้สังคมไทยก้าวหน้าไปสู่สังคมได้ทันต่อเหตุการณ์ และใน
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มีข้อกำหนดให้บุคคลมีสิทธิเสมอภาคกันใน
การรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี ที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่
เก็บค่าใช้จ่าย การจัดการศึกษาอบรมของรัฐ ต้องคำนึงถึงการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่นและชุมชน ประกอบกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้กำหนดให้
การศึกษาเป็นกระบวนการเรียนรู้ เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคม การศึกษาใน
ประเทศไทยมีหลายระดับ ดังนี้ การศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา ระดับประถมศึกษา ระดับ
มัธยมศึกษา และระดับอุดมศึกษา โดยมีหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลักสูตรแกนกลาง
ของประเทศ เป็นกรอบทิศทางในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
จนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สามารถนำไปใช้จัดการศึกษาทั้งในระบบ นอกระบบและการศึกษา
ตามอัธยาศัย โดยมีมาตรฐานการเรียนรู้เป็นข้อกำหนดคุณภาพของผู้เรียน (หลักสูตรการศึกษาขั้น
พื้นฐาน พุทธศักราช 2544 :1-2)
การศึกษาระดับประถมศึกษาเน้นทักษะกระบวนการ โดยเน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง ด้าน
การเรียนการสอนและส่งเสริมให้นักเรียน คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็นและเลือกเรียนตาม
ความสามารถ ความถนัด และความสนใจ เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
(เอกสารประกอบการอบรมครูและบรรณารักษ์ห้องสมุดโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดนครปฐม,
2539) การจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน ไม่จำเป็นต้องได้รับความรู้จากครูในห้องเรียนเท่านั้น
ผู้เรียนสามารถเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่รอบตัว พ่อแม่ เพื่อน ชุมชนที่รู้เรื่องเฉพาะ สถาบัน
ศาสนา การเรียนด้วยตนเองจากการอ่านหนังสือ หนังสือพิมพ์ ดูโทรทัศน์ หรือการใช้คอมพิวเตอร์
ในระบบอินเทอร์เน็ตแล้วได้รับความรู้ตามความต้องการ (ชัยพจน์ รักงาม. 2542 : 10)
2
เนื่องจากกรุงเทพมหานครเป็นเมืองหลวง ผู้คนจำนวนมากต่างมุ่งหน้าเข้ามาหางานทำใน
กรุงเทพมหานคร และนำบุตรหลานของตนเข้ามาอยู่ด้วย บางคนไม่ได้อาศัยอยู่ใน
กรุงเทพมหานคร แต่มีความตั้งใจที่จะส่งบุตรหลานของตน เข้ามาศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มี
ชื่อเสียงในกรุงเทพมหานคร จึงทำให้มีการแข่งขันที่สูงมาก สำหรับโรงเรียนที่มีชื่อเสียงในแต่ละปี
จะมีนักเรียนที่จบการศึกษาในระดับประถมศึกษาเป็นจำนวนมาก ฉะนั้นนักเรียนจึงต้องขวนขวาย
ที่จะแสวงหาสารสนเทศในการศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษา เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ใน แต่ละปีของนักเรียนทั้งหมด ซึ่งส่วนใหญ่มุ่งที่จะเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนมัธยมที่มีชื่อเสียง แต่
โรงเรียนมัธยมที่มีชื่อเสียงมีสถานที่ไม่เพียงพอที่จะรับนักเรียน จึงต้องมีการสอบเข้าเพื่อศึกษาต่อ
ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 นักเรียนจึงต้องแสวงหาสารสนเทศเพื่อการสอบแข่งขัน เพื่อที่จะศึกษาต่อ
ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เพราะมีนักเรียนบางส่วนที่มีสิทธิในการจับฉลาก แต่ก็ไม่แน่ว่านักเรียนจะ
จับฉลากได้ทุกคน นอกจากนั้นนักเรียนต้องมีการแสวงหาสารสนเทศ เพื่อเตรียมตัวสอบของ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เพื่อสอบเข้าศึกษาต่อนั้นอาจจะแสวงหาจากการเรียนพิเศษ การ
กวดวิชา การค้นหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต และการศึกษาข้อมูลจากเอกสาร ฯลฯ
ในการแสวงหาความรู้เพื่อที่จะศึกษาต่อนั้น นักเรียนต้องรู้สารสนเทศเพื่อเป็นพื้นฐาน
สำหรับการศึกษาต่อ การสร้างความรู้ใหม่ จำเป็นสำหรับความสำเร็จในอนาคต การรับรู้ตลอดชีวิต
การแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง ในด้านการเรียนการสอนการรู้สารสนเทศเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับ
การศึกษาทุกระดับ และทุกสภาพการเรียนรู้ตลอดชีวิต ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง ช่วยให้
ครูมีอิสระจากบทบาทของการเป็นผู้เชี่ยวชาญและผู้รอบรู้ในทุกครั้งไป เป็นการเรียนรู้ที่อาศัย
ทรัพยากรเป็นสำคัญ (Resourec - Based Learning) (สมาน ลอยฟ้า. 2544 :4)
การแสวงหาสารสนเทศของกลุ่มบุคคล จะช่วยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มบุคคลนั้น
ๆ ทราบวัตถุประสงค์ ลักษณะของสารสนเทศและการบริการสารสนเทศ ที่กลุ่มบุคคลนั้นต้องการ
อย่างแท้จริง ซึ่งเป็นประโยชน์ในการเลือกและจัดสรรสารสนเทศ ตลอดจนบริการสารสนเทศให้
ตอบสนองความต้องการสารสนเทศของกลุ่มบุคคลนั้น ๆ จากการแสวงหาสารสนเทศของกลุ่ม
บุคคลย่อมทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สามารถนำข้อมูลไปพิจารณาแก้ไข ปรับปรุงส่งเสริมและ
พัฒนาการแสวงหาสารสนเทศและแหล่งสารสนเทศ (จิรวรรณ ภักดีบุตร, 2532 :18)
จากเหตุผลดังกล่าวผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาการแสวงหาสารสนเทศเพื่อการศึกษาต่อของ
นักเรียนที่สำเร็จชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กรุงเทพมหานคร
3
2. วัตถุประสงค์การวิจัย
2.1 เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการแสวงหาสารสนเทศ ในการศึกษาต่อของนักเรียนที่
สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กรุงเทพมหานคร
2.2 เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบปัญหาในการแสวงหาสารสนเทศ ของนักเรียนที่สำเร็จ
การศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำ นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กรุงเทพมหานคร
3. ประโยชน์ของการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้จะทำให้ทราบการแสวงหาและปัญหาในการแสวงหาสารสนเทศใน
การศึกษาต่อของนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน กรุงเทพมหานคร และเป็นแนวทางในการนำมาปรับปรุงการเรียนการสอน
ของครูและการให้บริการสารสนเทศเพื่อการศึกษาต่อ แก่นักเรียนที่สำเร็จการศึกษาชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 6 สำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
4
4. กรอบแนวคิดการวิจัย
กรอบแนวคิด การแสวงหาสารสนเทศของนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่
6 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรุงเทพมหานคร มีดังนี้
แผนภูมิกรอบแนวคิด “การแสวงหาสารสนเทศเพื่อการศึกษาต่อของนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 6” กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544.
กระบวนการในการแสวงหาสารสนเทศเพื่อการศึกษาต่อ
1. ด้านเนื้อหาสารสนเทศ
1.1 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
1.2 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
1.3 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
1.4 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
1.5 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
1.6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
1.7 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานพื้นฐานอาชีพและ
เทคโนโลยี
1.8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
2. ด้านแหล่งสารสนเทศ
2.1 แหล่งสารสนเทศสถานที่
2.2 แหล่งสารสนเทศบุคคล
2.3 แหล่งสารสนเทศวัสดุ
3.ด้านประเภททรัพยากรสารสนเทศ
3.1 ทรัพยากรประเภทวัสดุตีพิมพ์
3.2 ทรัพยากรประเภทวัสดุไม่ตีพิมพ์
กระบวนการในการแสวงหา
สารสนเทศเพื่อการศึกษาต่อ
- ด้านเนื้อหาสารสนเทศ
- ด้านแหล่งสารสนเทศ
- ด้านของทรัพยากรสารสนเทศ
ภูมิหลังของนักเรียน
- เพศ
- ระดับผลการเรียน
- รายได้ของครอบครัว
- ขนาดของโรงเรียน
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2544
นโยบายการรับนักเรียน
- วิธีการรับ
- เนื้อหาวิชาที่สอบ
5
5. ขอบเขตการวิจัย
ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ศึกษาการแสวงหาสารสนเทศและปัญหาในการแสวงหา
สารสนเทศเพื่อการเตรียมตัวเข้าศึกษาต่อชั้นมัธยมศึกษาของนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 6
5.1 ประชากร
ได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กรุงเทพมหานคร 3 เขต รวมประชากรทั้งหมด 3 เขต จำนวน 9,151 คน
เขตพื้นที่การศึกษา 1 จำนวน 6 โรงเรียน แบ่งเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ 3 โรงเรียน ได้แก่
โรงเรียนสตรีวิทยา 625 คน โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย 589 คน โรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย
607 คน รวม 1,821 คน โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ 3 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนราชวินิตมัธยม
437 คน โรงเรียนวัดมกุฏกษัตริย์ 388 คน โรงเรียนวชิรธรรมสาธิต 550 คน
รวม 1,375 คน
เขตการศึกษาที่ 2 จำนวน 6 โรงเรียน แบ่งเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ 3 โรงเรียน ได้แก่
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ 732 คน โรงเรียนเทพลีลา 516 คน โรงเรียนหอวัง 574 คนรวม
1,922 คน โรงเรียนขนาดใหญ่ 3 โรงเรียน ได้แก่โรงเรียนพิบูลอุปถัมภ์ 491 คน โรงเรียนบางกะปิ
สุขุมนวพันธ์อุปถัมภ์ 491 คน โรงเรียนบดินทร์เดชา (สิง สิงหเสนีย์) 4 352 คน รวม 1,009 คน
เขตพื้นที่การศึกษาที่ 3 จำนวน 6 โรงเรียน แบ่งเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ 3 โรงเรียน
ได้แก่ โรงเรียนศึกษานารี 632 คน โรงเรียนวัดจันทร์ประดิษฐาราม 579 คน โรงเรียนสุวรรณา
ราม 529 คน รวม 1,740 คน โรงเรียนขนาดใหญ่ 3 โรงเรียน ได้แก่โรงเรียนวัดดุสิตาราม 665 คน
โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง 201 คน โรงเรียนราชวินิตบางแคปานขำ 418 คนรวม 1,284 คน
5.2 กลุ่มตัวอย่าง
ได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กรุงเทพมหานครปีการศึกษา 2548 จำนวน 3 เขต รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 394 คน
เขตพื้นที่การศึกษา 1 จำนวน 6 โรงเรียน แบ่งเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ 3 โรงเรียน ได้แก่
โรงเรียนสตรีวิทยาเป็นหญิง 26 คน โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยเป็นชาย 25 คน โรงเรียนสันติ
ราษฎร์วิทยาลัยเป็นชาย 12 คน เป็นหญิง 13 คน โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ 3 โรงเรียน ได้แก่
โรงเรียนราชวินิตมัธยมเป็นชาย 9 คน เป็นหญิง 9 คน โรงเรียนวัดมกุฏกษัตริย์เป็นชาย 10 คน เป็น
หญิง 6 คน โรงเรียนวชิรธรรมสาธิตเป็นชาย 12 คน เป็นหญิง 11 คน รวม 1,375 คน
เขตการศึกษาที่ 2 จำนวน 6 โรงเรียน แบ่งเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ 3 โรงเรียน ได้แก่
6
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการเป็นชาย 15 คน เป็นหญิง 15 คน โรงเรียนเทพลีลาเป็นชาย 10
คน หญิง 11 คน โรงเรียนหอวัง เป็นชาย 11 คน เป็นหญิง 14 คน โรงเรียนขนาดใหญ่ 3 โรงเรียน
ได้แก่โรงเรียนพิบูลอุปถัมภ์เป็นชาย 4 คน เป็นหญิง 3 คน โรงเรียนบางกะปิสุขุมนวพันธ์อุปถัมภ์
เป็นชาย 11 คนเป็นหญิง 10 คน โรงเรียนบดินทร์เดชา (สิง สิงหเสนีย์) 4 เป็นชาย 8 คน เป็นหญิง
7 คน
เขตพื้นที่การศึกษาที่ 3 จำนวน 6 โรงเรียน แบ่งเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ 3 โรงเรียน
ได้แก่ โรงเรียนศึกษานารี เป็นชาย 14 คนเป็นหญิง 13 คน โรงเรียนวัดจันทร์ประดิษฐารามเป็น
ชาย 12 คนเป็นหญิง 12 คนโรงเรียนสุวรรณาราม เป็นชาย10 คนเป็นหญิง12 คน โรงเรียนขนาด
ใหญ่ 3 โรงเรียน ได้แก่โรงเรียนวัดดุสิตารามเป็นชาย 10 คนเป็นหญิง 18 คน โรงเรียนมัธยมวัดนาย
โรงเป็นชาย5คนเป็นหญิง5คนโรงเรียนราชวินิตบางแคปานขำเป็นชาย10 คนเป็นหญิง 8 คน
การกำหนดกลุ่มตัวอย่างใช้สูตร Taro yamana และใช้วิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi -
sampling)โดยการแบ่งประชากรกลุ่มใหญ่เป็นกลุ่มย่อยแยกเป็นชายและหญิงโดยการสุ่มอย่างง่าย
(Simple random sampling) โดยวิธีจับฉลาก
5.3 ตัวแปรที่ศึกษา
5.3.1 ตัวแปรอิสระ ประกอบด้วย
5.3.1.1. เพศ จำแนกเป็น
1) เพศชาย
2) เพศหญิง
5.3.1.2 ระดับผลการเรียนของนักเรียนที่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 แบ่งเป็น 3
ระดับคือ
1. ระดับผลการเรียนเฉลี่ย 1.00 – 2.50
2. ระดับผลการเรียนเฉลี่ย 2.51 – 3.50
3 .ระดับผลการเรียนเฉลี่ย 3.51 – 4.00
5.3.1.3 รายได้ครอบครัว
1. รายได้ต่ำกว่า 9,000 บาท
2 . รายได้ 9,001 - 20,000 บาท
3. รายได้มากกว่า 20,000 บาท
5.3.1.4 ขนาดของโรงเรียน
1. โรงเรียนขนาดใหญ่
2. โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ
7
5.4 ตัวแปรตามประกอบด้วย
5.4.1 ระดับการแสวงหาสารสนเทศของนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
5.4.2 ระดับของปัญหาในการแสวงหาสารสนเทศของนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 6
6. นิยามศัพท์เฉพาะ
สารสนทศหมายถึง ข่าวสาร ข้อมูล ข้อเท็จจริง ความรู้ ที่มีการบันทึกไว้ในรูปแบบต่างๆ
การแสวงหาสารสนเทศ หมายถึง กระบวนการที่นักเรียนที่สำ เร็จการศึกษาชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 6 กระทำเพื่อให้ได้สารสนเทศที่จะตอบสนองความต้องการเพื่อการศึกษาต่อของ
นักเรียน
นักเรียน หมายถึง นักเรียน ที่กำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 สังกัดสำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรุงเทพมหานคร
ระดับผลการเรียน หมายถึง ผลที่ได้จากการศึกษาหาความรู้ของนักเรียนในขณะที่กำลัง
ศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
โรงเรียนมัธยมศึกษา หมายถึง โรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นที่เปิดสอนในสังกัดสำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรุงเทพมหานคร
รายได้ของครอบครัว หมายถึง เงินที่ผู้นำครอบครัวและสมาชิกในครอบครัวหามาได้เพื่อ
การใช้จ่าย
โรงเรียนขนาดใหญ่ หมายถึง โรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีนักตั้งแต่ 1,500 -2.499 คน
โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษหมายถึง โรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีนักเรียนตั้งแต่ 2.500 คน ขึ้นไป
7. สมมติฐานของการวิจัย
1. นักเรียนที่มีเพศต่างกันมีการแสวงหาสารสนเทศเพื่อการศึกษาต่อแตกต่างกัน
2. นักเรียนที่มีผลการเรียนต่างกันมีการแสวงหาสารสนเทศเพื่อการศึกษาต่อแตกต่างกัน
3. นักเรียนที่มาจากครอบครัวที่มีรายได้ดี มีการแสวงหาสารสนเทศเพื่อการศึกษาต่อแตกต่าง
จากนักเรียนที่มาจากครอบครัวที่มีรายได้น้อย
4. นักเรียนที่มาจากโรงเรียนขนาดใหญ่และโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษมีการแสวงหา
สารสนเทศเพื่อการศึกษาต่อที่แตกต่างกัน
บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง กับการแสวงหาสารสนเทศที่ได้ทำการศึกษาค้นคว้า
สามารถนำเสนอโดยมีสาระดังนี้
1. หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2. สารสนเทศและแหล่งสารสนเทศ
2.1 ความหมายของสารสนเทศ
2.2 ความสำคัญของสารสนเทศ
2.3 แหล่งสารสนเทศ
2.4 ทรัพยากรสารสนเทศ
3. การแสวงหาสารสนเทศ
4. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
4.1 งานวิจัยในประเทศ
4.2 งานวิจัยต่างประเทศ
1. หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ได้กำหนดหลักการไว้ดังนี้เป็นการศึกษา
เพื่อเป็นเอกภาพของชาติ มุ่งเน้นความเป็นไทยคู่กับความเป็นสากล เป็นการศึกษาเพื่อปวงชนที่
ประชาชนจะได้รับการศึกษาอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน โดยสังคมมีส่วนร่วมในการจัด
การศึกษา ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาและเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยถือว่า
ผู้เรียนสำคัญที่สุด สามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ เป็นหลักสูตรที่มีโครงสร้าง
ยืดหยุ่น ทั้งด้านสาระ เวลา และการจัดการเรียนรู้เป็นหลักสูตรที่จัดการศึกษาได้ทุกรูปแบบ
ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย สามารถเทียบโอนผลการเรียนรู้ และประสบการณ์
1.1 จุดมุ่งหมายของหลักสูตร
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นคนดี มีปัญญา
มีความสุข และมีความเป็นไทย มีศักยภาพในการศึกษาต่อ และประกอบอาชีพ จึงกำหนดจุดหมาย
ซึ่งถือเป็นมาตรฐานการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเกิดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ดังต่อไปนี้
9
1. เห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัยในตนเอง ปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพุทธศาสนาหรือ
ศาสนาที่ตนนับถือ มีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมอันพึงประสงค์
2. มีความคิดสร้างสรรค์ ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน รักการอ่าน รักการเขียนและรักการค้นคว้า
3. มีความรู้อันเป็นสากล รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงและความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการ
มีทักษะและศักยภาพในการจัดการ การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยี ปรับวิธีการคิด วิธีการทำงาน
ได้เหมาะสมกับสถานการณ์
4. มีทักษะและกระบวนการ โดยเฉพาะทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ทักษะการคิด การ
สร้างปัญญา และทักษะในการดำเนินชีวิต
5. รักการออกกำลัง ดูแลตนเองให้มีสุขภาพและบุคลิกภาพที่ดี
6. มีประสิทธิภาพในการผลิตและการบริโภค มีค่านิยมเป็นผู้ผลิตมากกว่าผู้บริโภค
7. เข้าใจในประวัติศาสตร์ของชาติไทย ภูมิใจในความเป็นไทย เป็นพลเมืองดี ยึดมั่นในวิถี
ชีวิต และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
8. มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ภาษาไทย ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี กีฬา ภูมิปัญญาให้การ
จัดการศึกษา ทรัพยากรธรรมชาติและพัฒนาสิ่งแวดล้อม
8. รักประเทศชาติและท้องถิ่น มุ่งทำประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามให้สังคม
1.2 โครงสร้างของหลักสูตร
เพื่อให้การจัดการศึกษาเป็นไปตามหลักการจุดหมาย และมาตรฐานการเรียนรู้ ที่กำหนด
ไว้ให้สถานศึกษาและผู้ที่เกี่ยวข้อง มีแนวปฏิบัติในการจัดหลักสูตรสถานศึกษา จึงกำหนด
โครงสร้าง ของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานดังนี้
1. ระดับช่วงชั้น
การกำหนดหลักสูตรเป็น 4 ช่วงชั้น ตามระดับพัฒนาการของผู้เรียน ดังนี้
1. ช่วงชั้นที่ 1 ชั้นประถมศึกษาปีท่ ี 1-3
2. ช่วงชั้นที่ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6
3. ช่วงชั้นที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3
4. ช่วงชั้นที่ 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6
2. สาระการเรียนรู้
กำหนดสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตร ซึ่งประกอบด้วยองค์ความรู้ ทักษะหรือ
กระบวนการ เรียนรู้ และคุณลักษณะหรือค่านิยม คุณธรรม จริยธรรมของผู้เรียนเป็น 8 กลุ่ม ดังนี้
10
1. ภาษาไทย
1.1 สาระที่ 1 การอ่าน
1.2 สาระที่ 2 การเขียน
1.3 สาระที่ 3 การฟัง การดู และการพูด
1.4 สาระที่ 4 หลักการใช้ภาษา
1.5 สาระที่ 5 วรรณคดี และวรรณกรรม
2. คณิตศาสตร์
2.1 สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
2.2 สาระที่ 2 การวัด
2.3 สาระที่ 3 เรขาคณิต
2.4 สาระที่ 4 พีชคณิต
2.5 สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
2.6 สาระที่ 6 ทักษะ/ กระบวนการทางคณิตศาสตร์
3. วิทยาศาสตร์
3.1 สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
3.2 สาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
3.3 สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร
3.4 สาระที่ 4 แรงและการเคลื่อนที่
3.5 สาระที่ 5 พลังงาน
3.6 สาระที่ 6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
3.7 สาระที่ 7 ดาราศาสตร์และอวกาศ
3.8 สาระที่ 8 ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
4. สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
4.1 สาระที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม
4.2 สาระที่ 2 หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำรงชีวิตในสังคม
4.3 สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์
4.4 สาระที่ 4 ประวัติศาสตร์
4.5 สาระที่ 5 ภูมิศาสตร์
5. สุขศึกษาและพลศึกษา
5.1 สาระที่ 1 การเจริญเติบโตและพัฒนาการมนุษย์
11
5.2 สาระที่ 2 ชีวิตและครอบครัว
5.4 สาระที่ 3 การเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย การเล่นเกม กีฬาไทยและกีฬาสากล
5.5 สาระที่ 4 การสร้างเสริมสุขภาพ สมรรถภาพและการป้องกันโรค
5.6 สาระที่ 5 ความปลอดภัยในชีวิต
6. ศิลปะ
6.1 สาระที่ 1 ทัศนศิลป์
6.2 สาระที่ 2 ดนตรี
6.3 สาระที่ 3 นาฏศิลป์
7. การงานอาชีพและเทคโนโลยี
7.1 สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว
7.2 สาระที่ 2 การอาชีพ
7.3 สาระที่ 3 การออกแบบและเทคโนโลยี
7.4 สาระที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศ
7.5 สาระที่ 5 เทคโนโลยีเพื่อการทำงานและอาชีพ
8. ภาษาต่างประเทศ
8.1 สาระที่ 1 ภาษาเพื่อการสื่อสาร
8.2 สาระที่ 2 ภาษาและวัฒนธรรม
8.3 สาระที่ 3 ภาษากับความสัมพันธ์กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น
8.4 สาระที่ 4 ภาษากับความสัมพันธ์กับชุมชนและโลก
สาระการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่มสาระ เป็นพื้นฐานสำคัญที่ผู้เรียนทุกคนต้องเรียนรู้ โดยอาจจัด
แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มแรกประกอบด้วย ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสังคมศึกษา
ศาสนา และวัฒนธรรม เป็นสาระการเรียนรู้ที่สถานศึกษาต้องใช้เป็นหลักในการจัดการเรียนการ
สอน เพื่อสร้างพื้นฐานการคิด และเป็นกลยุทธ์ในการแก้ปัญหาและวิกฤตของชาติ กลุ่มที่ 2
ประกอบด้วย สุขศึกษาและพลศึกษา ศิลปะ การงานพื้นฐานอาชีพและเทคโนโลยี และ
ภาษาต่างประเทศ เป็นสาระการเรียนรู้ ที่เสริมสร้างพื้นฐานความเป็นมนุษย์และสร้างศักยภาพ ใน
การคิดและการทำงานอย่างสร้างสรรค์
12
1.3 กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
เป็นกิจกรรมที่จัดให้ผู้เรียนได้พัฒนาความสามารถของตนเองตามศักยภาพ มุ่งเน้นเพิ่มเติม
จากกิจกรรมที่ได้จัดให้เรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่มสาระ การเข้าร่วมและปฏิบัติ
กิจกรรมที่เหมาะจิตสำนึกร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุขกับกิจกรรม ที่เลือกด้วยตนเองตามความถนัด
และความสนใจอย่างแท้จริง การพัฒนาที่สำคัญได้แก่ การพัฒนาองค์รวมของการเป็นมนุษย์ให้ครบ
ทุกด้าน ทั้งร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม โดยอาจจัดเป็นแนวทางหนึ่งที่จะสนองนโยบาย
ในการสร้างเยาวชนของชาติให้เป็นผู้มีศีลธรรม จริยธรรม มีระเบียบวินัย มีคุณภาพ เพื่อพัฒนาองค์
รวมของการเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ปลูกฝังและสร้างจิตสำนึกของการทำประโยชน์เพื่อสังคม ซึ่ง
สถานศึกษาจะต้องดำเนินการอย่างมีเป้าหมายมีรูปแบบและวิธีการที่เหมาะสม กิจกรรมพัฒนา
ผู้เรียนแบ่งเป็น 2 ลักษณะคือ
1.3.1 กิจกรรมแนะแนว เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมและพัฒนาความสามารถของผู้เรียนให้
เหมาะสมตามความแตกต่างระหว่างบุคคล สามารถค้นพบและพัฒนาศักยภาพของตน เสริมสร้าง
ทักษะชีวิต วุฒิภาวะทางอารมณ์ การเรียนรู้ในเชิงพหุปัญญา และการสร้างสัมพันธภาพที่ดีซึ่งผู้สอน
ทุกคนต้องทำหน้าที่แนะแนวให้คำปรึกษาด้านชีวิต การศึกษาต่อและการพัฒนาตนเองสู่โลกอาชีพ
และการมีงานทำ
1.3.2 กิจกรรมนักเรียน เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนเป็นผู้ปฏิบัติด้วยตนเองอย่างครบวงจร ตั้งแต่
ศึกษา วิเคราะห์ วางแผน ปฏิบัติตามแผน ประเมินและปรังปรุงการทำงาน โดนเน้นการทำงาน
ร่วมกันเป็นกลุ่ม เช่น ลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด และผู้บำเพ็ญประโยชน์ เป็นต้น
1.4 มาตรฐานการเรียนรู้
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่ม
ที่เป็นข้อกำหนดคุณภาพผู้เรียนด้านความรู้ ทักษะ กระบวนการ คุณภาพ จริยธรรม และค่านิยมของ
แต่ละกลุ่ม เพื่อใช้เป็นจุดมุ่งหมายในการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ซึ่งกำหนดเป็น
2 ลักษณะ คือ
1.4.1 มาตรฐานการเรียนรู้การศึกษาขั้นพื้นฐาน
เป็นมาตรฐานการเรียนรู้ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ เมื่อผู้เรียนเรียนจบการศึกษาขั้น
พื้นฐาน
1.4.2 มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น
เป็นมาตรฐานการเรียนรู้ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ เมื่อ ผู้เรียนเรียนจบในแต่ละช่วงชั้น
คือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 6 และชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 6
13
มาตรฐานการเรียนรู้ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนดไว้เฉพาะมาตรฐานการ
เรียนรู้ที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนทุกคนเท่านั้น สำหรับมาตรฐานการเรียนรู้ที่
สอดคล้องกับสภาพปัญหาในชุมชนและสังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณลักษณะอันพึงประสงค์
ตลอดจนมาตรฐานการเรียนรู้ที่เข้มข้นตามความสามารถ ความถนัด และความสนใจของผู้เรียน ให้
สถานศึกษาพัฒนาเพิ่มเติมได้
1.5 เวลาเรียน
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดเวลาในการจัดการเรียนรู้และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
ไว้ดังนี้
ช่วงชั้นที่ 1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3
มีเวลาเรียนประมาณปีละ 800-1,000 ชั่วโมง โดยเฉลี่ยวันละ 4-5 ชั่วโมง
ช่วงชั้นที่ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6
มีเวลาเรียนประมาณปีละ 800-1,000 ชั่วโมง โดยเฉลี่ยวันละ 4-5 ชั่วโมง
ช่วงชั้นที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3
มีเวลาเรียนประมาณปีละ 800-1,200 ชั่วโมง โดยเฉลี่ยวันละ 5-6 ชั่วโมง
ช่วงชั้นที่ 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6
มีเวลาเรียนประมาณปีละ 1,200 ชั่วโมง โดยเฉลี่ยวันละ 4-5 ชั่วโมง
14
โครงสร้างหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาพรวมแสดงไว้ในตารางต่อไปนี้
โครงสร้างหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ประถมศึกษา มัธยมศึกษา
ช่วงชั้นที่ 1
(ป1.-ป.3)
ช่วงชั้นที่ 2
(ป4.-ป.6)
ช่วงชั้นที่ 3
(ม1.-ม.3)
ช่วงชั้นที่ 4
(ม.4.-ม.6)
การศึกษาภาคบังคับ
ช่วงชั้น
การศึกษาขั้นพื้นฐาน
กลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่ม
ภาษาไทย
คณิตศาสตร์
วิทยาศาสตร์
สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
สุขศึกษาและพลศึกษา
ศิลป
การงานอาชีพและเทคโนโลยี
ภาษาต่างประเทศ
��
��
��
��
��
��
��
��
��
��
��
��
��
��
��
��
��
��
��
��
��
��
��
��
��
��
��
��
��
��
��
��
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน �� �� �� ��
เวลาเรียน
ประมาณปีละ
800-1,000ชม.
ประมาณปีละ
800-1,000ชม.
ประมาณปีละ
1,000-1,200ชม.
ไม่น้อยกว่าปีละ
800-1,000ชม.
หมายเหตุ
�� สาระการเรียนรู้ที่สถานศึกษาต้องใช้เป็นหลัก เพื่อสร้างพื้นฐานการคิด การเรียนรู้และการแก้ปัญหา
�� สาระการเรียนรู้ที่เสริมสร้างการเป็นมนุษย์ และศักยภาพพื้นฐานในการคิด และการทำงาน
�� กิจกรรมที่เสริมสร้างการเรียนรู้นอกจากสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระ และการพัฒนาตนตามศักยภาพ
1.6 นโยบายการรับนักเรียนเข้าศึกษาต่อในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
นโยบายการรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีดังนี้
1.6.1 ส่งเสริมให้เด็กทุกคนได้เข้าเรียนในโรงเรียนที่มีคุณภาพ ด้วยกระบวนการรับ
นักเรียนที่โปร่งใส ตรวจสอบได้ เป็นธรรม และเสมอภาคศึกษาเพื่อเป็นเอกภาพ
1.6.2 สนับสนุนให้เด็กที่อยู่ในเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับ ได้รับการศึกษาภาคบังคับทุก
คน
1.6.3 ส่งเสริมและสนับสนุนให้คนพิการและผู้ด้อยโอกาส ได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง
และได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ
15
1.6.4 ส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษด้านต่าง ๆ ให้เข้าในโรงเรียนที่มีความพร้อมต่อ
การจัดการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษ
1.6.5 ส่งเสริมให้เด็กได้รับการศึกษาตามความถนัด ความสนใจ และเต็มตามศักยภาพ
1.6.6 มอบหมายให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประสานการรับนักเรียนระหว่าง
หน่วยงานที่บทบาทในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานทุกสังกัด และสนับสนุนให้สถานศึกษาเอกชนมี
ส่วนร่วมในการจัดการศึกษาอย่างกว้างขวาง ทั้งนี้ในการกำหนดแผนการรับนักเรียนของรัฐบาล ให้
คำนึงถึงผลกระทบต่อสถานศึกษาเอกชนหรือสถานศึกษาของหน่วยงานอื่นด้วย
1.6.7 ให้คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กำหนด
แนวปฏิบัติการรับนักเรียนภายในจังหวัดร่วมกัน และดูแลการรับนักเรียนให้เป็นไปด้วยความ
เรียบร้อยรวมทั้งกำหนดแนวทางรณรงค์ให้เด็กที่อยู่ในเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับ ให้เข้าเรียนได้เข้า
เรียนการศึกษาภาคบังคับครบทุกคน
1.6.8 ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแจ้งเด็ก เยาวชน และผู้ปกครองที่นักเรียนจะเข้า
เรียนในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้นทราบเกี่ยวกับสถานที่เรียนล่วงหน้า
1.6.9 ติดตามและดูแลให้จำนวนนักเรียนต่อห้องมีความเหมาะสม ไม่เป็นอุปสรรคต่อ
การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและมีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ
1.6.10 ส่งเสริมให้มีการประชาสัมพันธ์การรับนักเรียนอย่างหลากหลาย และเชิญชวน
เด็ก ผู้ปกครอง สื่อมวลชนและผู้เกี่ยวข้อง เยี่ยมชมโรงเรียนก่อนการรับนักเรียน เพื่อประชาสัมพันธ์
จุดเด่นของแต่ละโรงเรียน
วิธีการรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีดังนี้
ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งคณะกรรมการรับนักเรียนของจังหวัด ซึ่งประกอบด้วยผู้แทน
จากหน่วยงานที่มีสถานศึกษาภายในจังหวัดเพื่อทำหน้าที่ประสานการรับนักเรียนและกำกับดูแลให้
เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
คณะกรรมการรับนักเรียนของจังหวัด โดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจะต้องกำหนดแนว
ปฏิบัติการรับนักเรียนของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร่วมกันทั้งจังหวัด และดำเนินการให้
โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานรับนักเรียน ปีการศึกษา 2548 ในแต่
ละระดับ
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
16
1.ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสำรวจรายชื่อนักเรียนที่อยู่ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ภายในเขตพื้นที่การศึกษา และจำนวนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่โรงเรียนทุกสังกัดในเขตพื้นที่
การศึกษาจะประกาศรับในปีการศึกษา 2548 เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการรับนักเรียนของจังหวัด
พิจารณาจัดหาที่เรียนที่เหมาะสมให้กับนักเรียนทุกคนในเขตพื้นที่การศึกษา โดยคำนึงถึงหลักการ
ให้นักเรียนได้เรียนใกล้บ้าน
2.ให้โรงเรียนที่ได้รับการประกาศชื่อ ในการจัดสรรโอกาสทางการศึกษาของโรงเรียนเปิด
โอกาสให้นักเรียนและผู้ปกครองเยี่ยมชมโรงเรียน เพื่อประกอบการตัดสินใจและรับนักเรียนทุกคน
ที่ได้รับการจัดสรรโอกาส โดยไม่มีการคัดเลือก
3.ให้โรงเรียนกำหนดเขตพื้นที่บริการของโรงเรียน สัดส่วนจำนวนนักเรียนในเขตพื้นที่
บริการที่จะเปิดโอกาสให้มีการจับฉลาก และสัดส่วนจำนวนนักเรียนที่จะรับจากการคัดเลือก ทั้งนี้
จะต้องเสนอสัดส่วนและวิธีการต่อคณะกรรมการรับนักเรียนของโรงเรียน และคณะกรรมการรับ
นักเรียนของจังหวัด โดยโรงเรียนสามารถเลือกสัดส่วนได้ดังนี้
3.1 โรงเรียนในกรุงเทพมหานคร 2 ส่วน ดังนี้
3.1.1 70:30
3.1.1.1 ให้รับนักเรียนในเขตพื้นที่บริการไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 หรือหาก
โรงเรียนใดมีนักเรียนในเขตพื้นที่บริการไม่ถึงร้อยละ 70 ให้นำสัดส่วนที่เหลือไปพิจารณารับ
นักเรียนได้ตามความเหมาะสม
3.1.1.2 ให้รับนักเรียนโดยการคัดเลือกไม่เกินร้อยละ 30 โดยให้รับนักเรียน
จากการสอบวัดความพร้อมพื้นฐานทางการเรียน หรือผลการประเมินด้วยวิธีการอื่น ๆ โดยใช้
แบบทดสอบของโรงเรียนไม่เกินร้อยละ 20 นักเรียนที่มีความสามรถพิเศษไม่เกินร้อยละ 5 และ
นักเรียนที่มีเงื่อนไขพิเศษในการรับเข้าเรียนไม่เกินร้อยละ 5
3.1.2 60:30:10
3.1.2.1 ให้รับนักเรียนในเขตพื้นที่บริการไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 หรือหาก
โรงเรียนใดมีนักเรียนในเขตพื้นที่บริการไม่ถึงร้อยละ 60 ให้นำสัดส่วนที่เหลือไปพิจารณารับ
นักเรียนได้ตามความเหมาะสม
3.1.2.2 ให้รับนักเรียนโดยการคัดเลือกไม่เกินร้อยละ 30 โดยให้รับนักเรียน
จากการสอบวัดความพร้อมพื้นฐานทางการเรียน หรือผลการประเมินผู้เรียนด้วยวิธีการอื่น ๆ โดยใช้
แบบทดสอบของโรงเรียน โดยใช้แบบทดสอบของโรงเรียนไม่เกินร้อยละ 20 นักเรียนที่มี
ความสามารถพิเศษไม่เกินร้อยละ 5 และนักเรียนที่มีเงื่อนไขพิเศษในการรับเข้าเรียนไม่เกินร้อยละ 5
17
3.1.2.3 ให้รับนักเรียนนอกเขตพื้นที่บริการไม่เกินร้อยละ 10 กรณีที่มี
ผู้สมัครเกินจำนวนที่รับได้ ให้ใช้วิธีการจับฉลาก หากคณะกรรมการรับนักเรียนของโรงเรียนมี
ความประสงค์จะเพิ่มหลักเกณฑ์อื่นใด ให้เสนอคณะกรรมการรับนักเรียนของจังหวัดพิจารณา และ
ประกาศให้สาธารณชนทราบ
3.2 โรงเรียนในส่วนภูมิภาค ให้กำหนดสัดส่วนเป็น 60:20:20 ดังนี้
3.2.1 การรับนักเรียนร้อยละ 60
3.2.1.1 ให้รับนักเรียนในเขตพื้นที่บริการไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 หรือหาก
โรงเรียนใดมีนักเรียนในเขตพื้นที่บริการไม่ถึงร้อยละ 50 ให้นำสัดส่วนที่เหลือไปพิจารณารับ
นักเรียนตามความเหมาะสม โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการรับนักเรียนของจังหวัด
3.2.1.2 ให้รับนักเรียนที่มีความสามรถพิเศษไม่เกินร้อยละ 5 และรับนักเรียนที่
มีเงื่อนไขพิเศษในการรับเข้าเรียนไม่เกินร้อยละ 5
3.2.2 การรับนักเรียนร้อยละ 20
ให้รับนักเรียนทั่วประเทศ โดยการคัดเลือกจากการสอบวัดความพร้อมพื้นฐานทางการ
เรียน หรือผลการประเมินผู้เรียนด้วยวิธีการอื่น ๆ โดยใช้แบบทดสอบของโรงเรียนไม่เกินร้อยละ 20
3.2.3 การรับนักเรียนนอกเขตพื้นที่บริการร้อยละ 20
ให้รับนักเรียนนอกเขตพื้นที่บริการแต่มีทะเบียนบ้านอยู่ในจังหวัดนั้นไม่เกินร้อยละ 20
กรณีที่มีผู้สมัครเกินจำนวนที่รับได้ให้ใช้วิธีการจับฉลาก หากคณะกรรมการรับนักเรียนของ
โรงเรียนมีความประสงค์จะเพิ่มหลักเกณฑ์อื่นใด ให้เสนอคณะกรรมการรับนักเรียนของจังหวัด
พิจารณา แต่ต้องใช้วิธีการจับฉลากไม่น้อยร้อยละ 15 และประกาศให้สาธารณชนทราบ
3.2.3.1 กรณีมีการสอบคัดเลือกนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้โรงเรียน
ดำเนินการดังนี้
3.2.3.1.1 โรงเรียนต้องออกข้อสอบให้อยู่ในกรอบเนื้อหาของ
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ช่วงชั้นที่ 2 ใน 4 วิชาหลัก คือ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาไทย
และสังคมศึกษา และมีระดับความอยากง่ายพอเหมาะสำหรับเด็กทั่วไปจะสามารถทำได้ โดยไม่
จำเป็นต้องกวดวิชาเพิ่มเติม รวมทั้งให้ประกาศผลการคัดเลือกเรียงตามลำดับคะแนนรวมใน 4 วิชา
หลัก
3.2.3.1.2โ รงเรียนต้องส่งข้อสอบ พร้อมแผ่นดิสเก็ต แสดงผลการ
สอบให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อตรวจสอบว่าผลการดำเนินงานเป็นไป
ด้วยความถูกต้อง ยุติธรรม
18
3.2.3.1.3สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจะกำหนด
รูปแบบลักษณะของกระดาษคำตอบ เพื่อให้โรงเรียนใช้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ และอาจ
ขอให้โรงเรียนส่งกระดาษคำตอบของนักเรียน เพื่อตรวจสอบ ในกรณีมีความจำเป็น
3.2.3.2 ในการดำเนินงานตามแนวทางข้างต้น ให้ดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
3.2.3.2.1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแจ้งชื่อโรงเรียนที่ได้จัดที่
เรียนให้กับนักเรียนที่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้ผู้ปกครองทราบภายในวันที่ 15 มีนาคม 2547
3.2.3.2.2 นักเรียนสามารถเลือกที่จะรายงานตัวเพื่อเรียนที่
โรงเรียนที่ได้รับการจัดสรรโอกาส หรือสมัครเรียนที่โรงเรียนอื่นโดยวิธีจับฉลาก หรือคัดเลือกจาก
วิธีการอื่น ๆวิธีการละ 1 โรงเรียน
3.2.3.2.3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิจารณาจัดระบบให้
นักเรียนสามารถยื่นใบสมัครสำหรับทางเลือกทุกทางได้พร้อมกันที่โรงเรียนประถมศึกษาที่นักเรียน
ศึกษาอยู่ หรือโรงเรียนมัธยมศึกษาที่ได้รับการจัดสรรโอกาส ทั้งนี้ให้เป็นไปตามความพร้อมและ
ความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักเรียน
3.2.3.2.4 นักเรียนที่พลาดจากการคัดเลือกและการจับฉลาก
สามารถกลับไปเรียนในโรงเรียนที่ได้รับการประกาศชื่อในการจัดสรรของนักเรียนตามข้อ 1 หรือ
เสนอชื่อให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอำนวยความสะดวกในการจัดหาโรงเรียนอื่นให้ตามความ
เหมาะสม แต่ไม่ผูกพันที่จะต้องจัดหาที่เรียนเฉพาะในโรงเรียนที่พึงประสงค์เท่านั้น
การรับนักเรียนสังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร สำนักงานคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ประจำปี 2548
การรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1
ต้องสำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการหรือเทียบเท่า
หรือกำลังศึกษาอยู่ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
วิธีการรับสมัคร 4 ทางเลือก ดังนี้
1.ห้องเรียนพิเศษคือโรงเรียนที่เปิดรับสมัครนักเรียนที่ต้องการเข้าศึกษาในวิชา
วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คอมพิวเตอร์, EP/English Program
2. นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ คือ โรงเรียนที่เปิดรับนักเรียนที่มีความสามรถพิเศษ
ในด้าน ศิลปะ
3. สอบคัดเลือก คือโรงเรียนที่เปิดรับสมัครนักเรียนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านทั้งในเขต
และนอกเขตพื้นที่บริการ สามารถสมัครสอบคัดเลือกได้ โดยจะสอบใน 4 วิชา ได้แก่ วิทยาศาสตร์
ภาษาไทย คณิตศาสตร์ สังคม มีโรงเรียนที่เปิดรับสมัครสอบคัดเลือกจำนวน 36 โรงเรียน
19
4. จับฉลาก นักเรียนที่มีสิทธิ์ในการจับฉลากในเขตพื้นที่บริการต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียน
บ้านในเขตพื้นที่บริการของโรงเรียนไม่น้อยกว่า 2 ปี (นับถึงวันที่ 16 พฤษภาคม 2548)
หลักฐานการสมัครในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 (นำฉบับจริงมาแสดงด้วย)
1. ใบสมัคร 2. สำเนาทะเบียนบ้าน 3. หลักฐานการจบการศึกษาชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 6 หรือเทียบเท่า 4. รูปถ่ายขนาด 2 นิ้ว จำนวน 2 รูป (แต่งเครื่องแบบนักเรียน) 5. หลักฐานอื่น
ๆ ที่โรงเรียนกำหนด
สัดส่วนในการรับสมัครนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขต
พื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดสัดส่วน 2
ประเภท
สัดส่วน 70:30
พื้นที่บริการไม่น้อยกว่า 70% โดยวิธีจับฉลาก
คัดเลือกไม่เกิน 30% (โรงเรียนจัดสอบไม่เกิน 20% + ความสามารถพิเศษไม่เกิน 5% +
นักเรียนเงื่อนไขพิเศษไม่เกิน 5%)
สัดส่วน 60:30:10
พื้นที่บริการไม่น้อยกว่า 60% (โดยวิธีจับฉลาก)
คัดเลือกไม่เกิน 30% (โรงเรียนจัดสอบไม่เกิน 20% +ความสามารถพิเศษไม่เกิน 5% +
นักเรียนเงื่อนไขพิเศษไม่เกิน 5%)
จับฉลากนอกเขตพื้นที่ 10%
2. สารสนเทศและแหล่งสารสนทศ
2.1 ความหมายของสารสนเทศ
ครรชิต มาลัยวงศ์และคณะ. ( 2543 : 71 ) ได้ให้ความหมายของสารสนเทศ คือผลสรุปที่
ได้จากการนำข้อมูลมาประมวลด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่นการสรุปผลทางสถิติ การเปรียบเทียบ การ
จำแนก หรือการจัดกลุ่ม นันทา วิทวุฒิศักดิ์. ( 2540 : 2 ) ได้ให้ความหมายของสารสนเทศดังนี้
สารนิเทศ ตรงกับคำว่า Information ซึ่งมีความหมายที่ใช้ในภาษาไทย เป็น 2 คำคือ สารนิเทศ กับ
สารสนเทศ ในกลุ่มผู้มีอาชีพทางด้านบรรณารักษ์ส่วนใหญ่ใช้คำว่า สารนิเทศ สรุปสั้น ๆ หมายถึง
ข้อมูล (Data) ที่ผ่านการประมวลผลแล้วด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง นงลักษณ์ ไม่หน่ายกิจ. (2526 :
23) สารสนเทศ หมายถึง การนำข้อมูลต่าง ๆ หลาย ๆ กลุ่มมาวิเคราะห์แจกแจงรวมกันเพื่อให้ได้มา
ซึ่งข้อความที่ถูกต้อง เที่ยงตรงและเชื่อถือได้ มากที่สุดและสามารถนำมาประกอบการตัดสินใจได้
20
แฮรอด ( Harrod. 1990 : 307 ) ได้ให้ความหมายของสารสนเทศว่าหมายถึง คือ ความรู้
ข้อมูล ข่าวสาร เรื่องราวซึ่งมีการบันทึกและจัดการตามหลักวิชาเพื่อเผยแพร่และเพื่อใช้ประโยชน์ใน
การพัฒนาด้านต่าง ๆ ทั้งในส่วนบุคคลและสังคม พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. ( 2542 :
768 ) กล่าวว่า สนเทศ หมายถึง การชี้แจง แนะนำ เกี่ยวกับข่าวสารหรือข้อมูลต่าง ๆ แม้นมาส
ชวลิต. ( 2528 : 5 ) สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ข้อสนเทศ ทั้งในรูปแบบของ
สิ่งพิมพ์ โสตทัศนวัสดุ และวัสดุย่อส่วน เพื่อใช้ประโยชน์ทางการสื่อสาร และการพัฒนาด้านต่าง ๆ
ทั้งส่วนบุคคลและสังคม
สรุปจากความหมายที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นสารนิเทศ หรือสารสนเทศ ( Information )
หมายถึง ความรู้ เรื่องราว ข้อมูล ข่าวสาร ข้อเท็จจริง ข้อสนเทศ การชี้แจง แนะนำ การนำข้อมูล
ต่าง ๆ หลาย ๆ กลุ่มมาวิเคราะห์แจกแจงรวมกันเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อความที่ถูกต้อง เที่ยงตรงและ
เชื่อถือได้ หรือผลสรุปที่ได้จากการนำข้อมูลมาประมวลด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่นการสรุปผลทางสถิติ
การเปรียบเทียบ การจำแนก หรือการจัดกลุ่ม และความรู้ที่ผ่านกระบวนการ ประมวลผล ซึ่งมีการ
บันทึกและจัดการตามหลักวิชาการเพื่อเผยแพร่ และเพื่อใช้ประโยชน์ในการพัฒนาด้านต่าง ๆ ทั้งใน
แง่ของบุคคลและสังคม เป็นต้น
2.2 ความสำคัญของสารสนเทศ
“ Information is power “ เป็นคำกล่าวที่มาแทนคำว่า “ Knowledge is power “ คำกล่าวนี้จะ
เป็นจริงก็ต่อเมื่อผู้ใช้สารสนเทศมีความรู้ที่จะใช้หรือประยุกต์ใช้สารสนเทศได้เหมาะสมกับความ
เปลี่ยนแปลง ความสามารถในการเลือก รวบรวมข้อมูลซึ่งตรงกับความต้องการออกจากเรื่องอื่นที่
ไม่ต้องการได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์ ต่อเนื่อง รวดเร็ว ทันการณ์ จะเสริมสร้างวิสัยทัศน์ที่
กว้างไกลให้กับผู้ใช้ในการคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจ วางแผน ฯลฯ ได้ถูกต้อง ล้ำหน้าผู้อื่น สารสนเทศ
ทั้งในแง่ของความรู้เก่าที่เคยมีการศึกษาและบันทึกกันมาก่อนกับความรู้ใหม่ ๆ ที่เพิ่งมีการ
พัฒนาขึ้นมา หากรู้จัก เลือก ใช้ คิดวิเคราะห์ได้อย่างเหมาะสมก็จะมีความสำคัญและเกิดคุณค่าต่อ
สังคมและมนุษยชาติ (นันทา วิทวุฒิศักดิ์. 2542 : 3 )
กล่าวได้ว่านับแต่ปี ค.ศ. 1980 (พ.ศ. 2523) เป็นต้นมาผู้คนในโลกได้ยอมรับถึงการขยายตัว
ของความรู้ว่าเป็นไปอย่างรวดเร็ว มีผู้ใช้คำเรียกยุคสมัยนั้นว่า ยุคข่าวสารข้อมูล (Information age)
และได้ตระหนักถึงความสำคัญของสารสนเทศว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศบาง
คนถึงกับยอมรับว่า สารสนเทศคืออำนาจ ผู้ใดมีสารสนเทศอยู่ในมือมากเท่าใดก็ย่อมได้เปรียบมาก
เท่านั้น ลูอิส (Lewis. 1993 : 49) กล่าวว่าในการเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 โลกของเราจะเป็นโลกของสังคม
ข่าวสาร (Information Society) เพราะในแต่ละวันมีข่าวสารความรู้ หรือสารนิเทศ แพร่กระจาย
ออกมามากมายและรวดเร็ว หน่วยงาน องค์กรต่าง ๆ ทั้งของรัฐและเอกชน ตลอดจนบุคคลในทุก
21
สาขาวิชาชีพจำเป็นต้องใช้สารสนเทศอยู่ตลอดเวลา แต่จะเป็นสารสนเทศด้านใด มีความลึกซึ้ง
เพียงใดนั้นก็ขึ้นอยู่กับลักษณะหน้าที่ ภารกิจของหน่วยงานหรือบุคคลนั้น ๆ (พวา พันธุ์เมฆา. 2541
: 2-3 )
ปัจจุบันโลกอยู่ในยุคข่าวสาร (Information age) ถึงกับมีคำเปรียบเทียบว่า สารนิเทศคือ
อำนาจ (Information is power) ที่กล่าวเช่นนี้ก็เนื่องมาจากเหตุผลที่แสดงถึงความสำคัญของ
สารนิเทศดังนี้
1. ทำให้ดำรงชีพในสิ่งแวดล้อมได้อย่างปลอดภัย รู้จักนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ เช่น ใช้
สมุนไพรรักษาโรค เป็นต้น
2. ทำให้มีความรู้ มีเหตุมีผล เข้าใจในปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ไม่เชื่อถืองมงาย เช่น การ
เกิดพายุฝนดาวตก เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2541 สามารถอธิบายมูลเหตุที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์
ดังกล่าวได้
3. ทำให้สามารถเผชิญหน้าปัญหา และหาวิธีแก้ไขอย่างดีที่สุดเพราะเป็นผู้รู้ข้อมูลข่าวสาร
เช่นมีความรู้เรื่องตลาดหลักทรัพย์ ก็จะทราบได้ว่าควรเล่นลงทุนในตลาดหลักทรัพย์หรือไม่ เมื่อไร
ควรซื้อ เมื่อไรควรขาย เป็นต้น
4. ทำให้เป็นผู้ฉลาดรอบรู้ สามารถใช้สารนิเทศช่วยตนเอง ช่วยสังคมอันจะส่งผลต่อการ
พัฒนาประเทศโดยรวมด้วย
5.เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้วิทยาการเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็วเกิดความรู้ใหม่ ๆ ตลอดเวลา
6. เป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงรักษา และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม (เอื้อมพร ทัศนประเสริฐ
ผล. 2542 : 11-12)
ทรัพยากรสารสนเทศมีความสำคัญอยู่ 3 ประการคือ
1. สำคัญต่อบุคคล ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ เกิดความคิด มีสติปัญญาใช้ทรัพยากรสารนิเทศ
แก้ปัญหาในสิ่งที่ตนไม่รู้และเป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต
2. สำคัญต่อสถาบัน ทั้งที่เป็นสถาบันสังคมและสถาบันการศึกษา พัฒนาศักยภาพของคน
ในสังคมให้เป็นผู้ที่รู้จักคิด มีความรู้ความสามารถ ใช้เหตุผลในการตัดสินใจ เพื่อช่วยพัฒนา
เศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
3. สำคัญต่อสังคม เป็นการถ่ายทอดความรู้ ความเชื่อ ประสบการณ์ เหตุการณ์ต่าง ๆ ไปสู่
คนรุ่นต่อ ๆ ไป ( คณะอาจารย์ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์. 2542 : 2-3 )
ปัจจุบันมีข่าวสารหรือสารสนเทศ เผยแพร่ออกมาอย่างมากมายและรวดเร็วก็เนื่องจาก
วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีมีความก้าวหน้า และเปลี่ยนแปลงไปมาก จึงเกิดสารนิเทศในสาขาวิชา
ต่าง ๆ เพิ่มขึ้นอย่างมากมายและรวดเร็ว ซึ่งสารสนเทศเหล่านี้มีบทบาทและมีความสำคัญต่อการ
22
เจริญก้าวหน้าของมนุษย์ สังคมและโลกเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะนักวิชาการ นักวิจัย นักบริหาร
จำเป็นที่จะต้องได้สารสนเทศ เพื่อทราบพัฒนาการใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นในสาขาวิชาของตนโดยเฉพาะ
นักบริหาร ต้องนำสารสนเทศมาใช้ประกอบการพิจารณาตัดสินใจ เพื่อให้การปฏิบัติงานของตน
บรรลุตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ (นวนิตย์ อินทรามะ. 2526 : 66)
2.3 แหล่งสารสนเทศ
แหล่งสารสนเทศอาจเป็นสถาบัน บุคคล หรือสถานที่ ห้องสมุดเป็นแหล่งสารสนเทศที่รู้จัก
กันแพร่หลายที่สุดในบรรดาแหล่งสารสนเทศที่เป็นสถาบัน เป็นที่รวมของสรรพวิชา ห้องสมุดหรือ
หอสมุดในภาษาอังกฤษใช้คำว่า Library ซึ่งมาจากภาษาละติน Libraria แปลว่า ที่เก็บหนังสือ
(รากศัพท์มาจากคำว่า Liber แปลว่า หนังสือ) พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช
2542 ให้ความหมายไว้ว่า ห้องสมุด หอสมุด (คำนาม) หมายถึง ห้องหรืออาคารที่มีระบบจัดเก็บ
รวบรวมรักษาหนังสือประเภทต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมทั้งต้นฉบับ ลายมือเขียน ไมโครฟิมล์ เป็นต้น เพื่อ
ใช้เป็นที่ค้นคว้าหาความรู้ ห้องสมุดเป็นแหล่งรวบรวมทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่าง ๆ ไว้อย่าง
เป็นระบบระเบียบโดยผู้ศึกษาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์มีกระบวนการคัดเลือก
จัดหา จัดหมวดหมู่ บันทึก จัดเก็บและให้บริการอย่างเป็นระบบมีแบบแผน ใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหา
ความรู้แก่ผู้ใช้ ห้องสมุดสามารถจำแนกออกเป็น 5 ประเภท คือ
2.3.1 ห้องสมุดโรงเรียน (School Libraries) คือแหล่งวิทยาการที่จัดตั้งขึ้นใน
โรงเรียนเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมายของหลักสูตร เป็น
แหล่งปลูกฝังนิสันรักการอ่านและการใฝ่หาความรู้ได้ด้วยตนเองให้แก่เยาวชน
2.3.2 ห้องสมุดวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย (College and University Libraries)
คือหัวใจของการศึกษาระดับอุดมศึกษา คุณภาพของห้องสมุดจะเป็นเครื่องกำหนดคุณภาพทางการ
ศึกษาของวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย เป็นเสมือนเครื่องมือในการเรียนการสอนและการค้นคว้าวิจัย
เป็นแหล่งเพิ่มพูนความรู้ด้วยตัวเองให้กว้างขวางยิ่งขึ้น เพื่อเป็นพื้นฐานของการประกอบอาชีพใน
อนาคต กลุ่มผู้ใช้หลัก ได้แก่ นิสิต นักศึกษา อาจารย์ และนักวิจัย
2.3.3 ห้องสมุดเฉพาะ (Special Libraries) คือ แหล่งสะสมสารนิเทศเฉพาะ
สาขาวิชาให้บริการแก่ผู้ใช้เฉพาะกลุ่มหรือบางกลุ่ม เช่น ห้องสมุดธนาคารแห่งประเทศไทย
ห้องสมุดกรมวิทยาศาสตร์บริการ (กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม) ห้องสมุด
ธนาคารกรุงเทพ จำกัด เป็นต้น
2.3.4 ห้องสมุดประชาชน (Public Libraries) คือ ห้องสมุดที่มีหน้าที่จัดบริการ
โดยไม่คิดมูลค่าแก่ประชาชนในชุมชนใดชุมชนหนึ่งหรือเขตใดเขตหนึ่ง และมีลักษณะสำคัญ 3
ประการ คือ รัฐบาลเป็นเจ้าของหรือเป็นผู้ควบคุม ได้รับเงินอุดหนุนจากภาษีของประชาชน และ
23
ให้บริการแก่ประชาชนโดยทั่วไป เช่น ห้องสมุดประชาชนซอยพระนาง สังกัดกรุงเทพมหานคร
ห้องสมุดประชาชน สังกัดกรมการศึกษานอกโรงเรียนที่มีอยู่ในจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ
2.3.5 หอสมุดแห่งชาติ (National Libraries) อาจจัดเป็นห้องสมุดประชาชน
ประเภทหนึ่งเพราะให้บริการแก่ผู้ใช้โดยทั่วไป ไม่จำกัด เพศ วัย เชื้อชาติ หรือศาสนา เป็นแหล่ง
รวมสารสนเทศที่สำคัญของประเทศชาติ เช่น เอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์ ศิลาจารึก
พงศาวดาร เอกสารจดหมายเหตุ ต้นฉบับตัวเขียน ฯลฯ และเป็นแหล่งเก็บสิ่งพิมพ์ที่ผลิตในประเทศ
ซึ่งได้มาตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ สำหรับประเทศไทยกำหนดให้ผู้ผลิตสิ่งพิมพ์ใด ๆ
ภายในประเทศต้องส่งให้หอสมุดแห่งชาติ ชื่อเรื่องละ 2 เล่ม นอกจากนี้แล้วหอสมุดแห่งชาติยังมี
หน้าที่ในการกำหนดเลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ (International Standard Book Number-
ISBN) แก่หนังสือที่ผลิตในประเทศ ตั้งอยู่ที่ท่าวาสุกรี ถนนสามเสน กรุงเทพมหานคร และยังมี
หอสมุดแห่งชาติสาขาอยู่ในจังหวัดต่าง ๆ เช่น จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดชลบุรี เป็นต้น ( คณะ
อาจารย์ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ ,2543 : 3-4 )
แหล่งสารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลสารสนเทศ แหล่งเกิดข้อมูลสารสนเทศ แหล่งผลิต
สารสนเทศ และแหล่งบุคคล ( สุขุม เฉลยทรัพย์. 2531 : 72 )
แหล่งสารสนเทศถือเป็นองค์ประกอบหนึ่งในระบบสารสนเทศและผู้ใช้สารสนเทศ
(ประภาวดี สืบสนธิ์. 2532 : 27-29) ได้แบ่งแหล่งสารสนเทศไว้ดังนี้
1.แหล่งสารสนเทศภายในตัวบุคคล หมายถึงสารนิเทศซึ่งเกิดขึ้นโดยการประมวลความคิด
ความรู้ ใช้ความจำ ใช้ประสบการณ์ตนเอง หรืออาจแสวงหาสารสนเทศโดยการสังเกต อาจเป็นการ
สังเกตอย่างมีระบบ มีเป้าหมายของการสังเกตอย่างเด่นชัด หรืออาจสังเกตโดยไม่มีระบบ ไม่ได้
คาดการณ์ก่อนว่าจะสังเกตเรื่องใด แล้วแต่ว่าสังเกตเห็นอะไรแล้วจึงนำผลจากการสังเกต มา
ประมวลภายหลัง นอกจากนี้ยังหาได้จากแฟ้มข้อมูล เอกสารที่ได้รวบรวม เก็บสะสมไว้เพื่อใช้
ประโยชน์ส่วนตัว
2. แหล่งสารสนเทศภายนอก หมายถึง แหล่งสารสนเทศที่ไม่ใช่ตัวผู้แสวงหาสารสนเทศ
ซึ่งจำแนกเป็น
2.1 แหล่งสารสนเทศบุคคล บุคคลเป็นช่องทางการสื่อสาร และการแสวงหาข้อมูล
อย่างไม่เป็นทางการ บุคคลที่เป็นแหล่งสารสนเทศได้แก่ เพื่อนร่วมงาน เพื่อนร่วมอาชีพเดียวกัน
เพื่อนบ้าน สมาชิกในครอบครัว บุคคลที่เป็นผู้รู้ ที่ปรึกษา ตัวแทนจำหน่าย ฯลฯ แหล่งบุคคลหรือ
การติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคล เป็นแหล่งสารสนเทศภายนอกที่เป็นที่นิยมใช้เพื่อหาสารสนเทศที่
ต้องการมากเป็นอันดับแรก และเป็นอันดับสองรองจาก การใช้ประสบการณ์ความคิดของตนเอง
24
2.2 แหล่งสารสนเทศสถาบัน หมายถึง สถาบันต่าง ๆที่ให้บริการสารสนเทศ ทั้งที่
จัดตั้งขึ้นโดยจุดมุ่งหมาย เพื่อดำเนินการและให้บริการอย่างเป็นทางการ ได้แก่ ห้องสมุด ศูนย์
เอกสาร ศูนย์สารสนเทศ และตั้งขึ้นเพื่อดำเนินงานเฉพาะด้าน สามารถให้บริการข้อมูลข่าวสารที่
เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานที่เป็นที่ต้องการได้ เช่นสำนักงานส่งเสริมการเกษตร สำนักงาน
สาธารณสุข หน่วยสารนิเทศของรัฐบาล สำนักงานบ้านและที่ดิน ฯลฯ แหล่งสารสนเทศประเภทนี้
รวมถึงตัวบุคคลที่ทำหน้าที่รับผิดชอบและเกี่ยวข้องกับสถาบัน เช่น ครู บรรณารักษ์ พัฒนากร พระ
ทนายความ
2.3 แหล่งสารสนเทศสื่อมวลชน เป็นแหล่งสารสนเทศที่บุคคลจะเข้าถึงได้โดย
ผ่านสื่อมวลชน เช่น ดูโทรทัศน์ ฟังวิทยุ หรืออ่านหนังสือพิมพ์ วารสาร เป็นต้น
ลักษณะของแหล่งสารสนเทศและลักษณะของสารสนเทศเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ผู้ใช้ควร
ต้องคำนึงถึง ได้แก่
1. ความสะดวกในการเข้าถึง เลือกใช้แหล่งนั้นเพราะสะดวกในการเข้าถึงแหล่ง เสียเวลา
แรงงานน้อยที่สุด แม้ว่าแหล่งนั้นจะไม่ใช่แหล่งที่ดีที่สุดที่จะให้สารสนเทศที่ต้องการก็ตาม
2. ค่าใช้จ่าย ค่าใช้จ่ายถือเป็นองค์ประกอบสำคัญ ผู้ใช้บางคนเมื่อมีความต้องการ
สารสนเทศ จะแสวงหาสารสนเทศโดยเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด แต่การคำนึงถึงค่าใช้จ่ายที่เสียไปนั้น
ขึ้นกับคุณภาพของสารสนเทศ และผลประโยชน์ที่จะได้รับกลับมาเมื่อนำสารสนเทศไปใช้งาน บาง
สถานการณ์อาจต้องยอมเสียค่าใช้จ่าย เงิน เวลา และแรงงานเพื่อให้ได้สารสนเทศที่ถูกต้อง มี
คุณภาพ และโดยเร็วที่สุด
3. คุณภาพของสารสนเทศ สารสนเทศที่มีคุณภาพได้แก่ สารสนเทศที่มีความทันสมัย ทัน
เหตุการณ์ ถูกต้อง น่าเชื่อถือ อ่านเข้าใจง่าย มีเนื้อหาครอบคลุมและเกี่ยวข้องกับเรื่องที่ต้องการ มี
ความใหม่คือเป็นสารสนเทศที่ยังไม่เคยรู้มาก่อน ไม่ซ้ำกับสารสนเทศที่เคยได้รับก่อนหน้านี้เป็นต้น
ตามแนวคิดของ ฟอร์ด และ โกแกน ซึ่งมีแหล่งสารสนเทศแตกต่างกัน ดังนี้
ฟอร์ด (Ford 1973 : 85) จำแนกแหล่งสารสนเทศเป็น
1. แหล่งสารสนเทศที่เป็นทางการได้แก่ หนังสือ วารสาร รายงายวิจัย สไลด์ เทป และวัสดุ
บันทึกเสียง
2. แหล่งสารสนเทศที่ไม่เป็นทางการ เช่น การอภิปราย/การประชุมร่วมกับเพื่อนร่วมงาน
และการติดต่อทางจดหมาย
โกแกน (Gogan 1982 : 73) จำแนกแหล่งสารสนเทศไว้ดังนี้
1. สารสนเทศทางการ เช่น หน่วยงานรัฐบาล องค์การวิจัย มหาวิทยาลัยและวิทยาลัย
25
2. แหล่งสารสนเทศไม่เป็นทางการ เช่น การอภิปรายกับเพื่อนร่วมงาน และการประชุมสัมมนา
ร่วมกันกับผู้ร่วมงาน/ผู้อื่น
พวา พันธุ์เมฆา (2541 : 4-5) ได้แบ่งแหล่งสารสนเทศย่อยไปตามลักษณะของตัวแหล่งได้
ดังนี้
1. หอสมุด หรือห้องสมุด ห้องสมุดเป็นแหล่งสารนิเทศที่สำคัญยิ่งต่อสังคม และ
สถาบันการศึกษาซึ่งรายละเอียดหัวข้อนี้จะครอบคลุมถึงห้องสมุดประเภทต่าง ๆ
2. ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของหน่วยงานของทั้งภาครัฐและเอกชน ในปัจจุบันหน่วยงานใหญ่ ๆ
ของทั้งภาครัฐและเอกชน ได้ตระหนักถึงความสำคัญของข้อมูลข่างสาร สารนิเทศต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
กับภารกิจในหน่วยงานของตน จึงได้มีการจัดตั้งหน่วยงานย่อยขึ้นมาจัดเก็บข้อมูลข่าวสารนั้นให้
เป็นระบบ พร้อมที่จะสืบค้น นำออกมาใช้ประโยชน์ได้ทันทีที่ต้องการ บางแห่งใช้คอมพิวเตอร์เข้า
มาเป็นอุปกรณ์ดำเนินการ หน่วยงานพวกนี้มักจะมีชื่อขึ้นต้นว่า “ศูนย์ข้อมูล” หรือ “ศูนย์สารนิเทศ”
บางหน่วยงานได้เปิดโอกาสให้ผู้สนใจที่เป็นบุคคลภายนอกเข้าสืบค้นข้อมูล หรือขอทราบข้อมูล
ข่าวสารที่หน่วยงานของตนเก็บรวบรวมและสามารถเปิดเผยได้ ตัวอย่างหน่วยงานดังกล่าว เช่น
ศูนย์บริการเอกสารและค้นคว้า สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ; ศูนย์ข้อมูลยาเสพติด สำนักงาน
คณะกรรมการปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) ; ศูนย์สารนิเทศการงบประมาณ สำนักงบประมาณ ;
ศูนย์สถิติการเกษตร สำนักเศรษฐกิจการเกษตร ; ศูนย์บริการข้อมูล กรมวิชาการเกษตร ; ศูนย์
เอกสารธุรกิจ กรมทะเบียนการค้า ; ศูนย์บริการข้อมูลทั่วไป กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เป็นต้น
3. องค์กรเอกชนที่มีบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์ ปัจจุบันวงการธุรกิจและอุตสาหกรรม มี
ความต้องการสารสนเทศเฉพาะด้านที่ทันสมัย รวดเร็ว ถูกต้อง มากขึ้น บริษัทธุรกิจอุตสาหกรรม
ต่าง ๆ ยินดีที่จะเสียค่าบริการต่อการได้รับสารสนเทศที่ต้องการ จึงเกิดบริษัทหรือองค์กรเอกชนที่
ดำเนินธุรกิจเพื่อขายสารสนเทศ หรือ ให้บริการสารสนเทศตามความต้องการของลูกค้าขึ้น ใน
ประเทศไทยขณะนี้ได้มีบริษัทที่ดำเนินกิจการในลักษณะดังกล่าวแล้วหลายบริษัท เช่น
บริษัท เครือธนไทย จำกัด รับจ้างให้ข้อมูลทางคอมพิวเตอร์
บริษัท ชินวัตร คอมพิวเตอร์ จำกัด ให้บริการด้านคอมพิวเตอร์
4. บุคคล บุคคลก็เป็นแหล่งสารนิเทศที่สำคัญอีกแหล่งหนึ่ง ได้แก่ผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชา
การต่าง ๆ ถ้าเป็นนักวิชาการหรือนักวิจัย จะมีหน่วยงานบางแห่งได้รวบรวมชื่อบุคคลเหล่านั้นไว้ให้
เป็นแหล่งค้นได้ เช่น ทำเนียบนักวิจัย ของศูนย์ข้อสนเทศการวิจัย สภาวิจัยแห่งชาติ หรือ หนังสือ
รวบรวมประวัตินักวิจัยแห่งชาติ แหล่งสารนิเทศบุคคลจะเป็นแหล่งที่ให้ความรู้ในเชิงทฤษฎีและ
ปฏิบัติอย่างดียิ่ง
26
5. สถานที่ สถานที่ก็เป็นแหล่งสารสนเทศที่มีคุณค่ามากอีกประเภทหนึ่ง ทั้งที่เป็นสถานที่
จริง เช่น อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย พระปฐมเจดีย์ เขื่อนศรีนครินทร์ หรือสถานที่จำลองมา
เพื่อให้สะดวกแก่การชมในครั้งเดียว เช่นเมืองโบราณที่จังหวัดสมุทรปราการ หรือ อุทยานวิจัยและ
วิชาการในงานเกษตรแห่งชาติ อย่างไรก็ดีแหล่งสารสนเทศที่สำคัญที่นักเรียนจะใช้เป็นแหล่ง
ค้นคว้าอย่างมากก็คือ
หอสมุด หรือ ห้องสมุด
มอริสและเอลคินส์ (Morris and Elkins 1978 : 17-18) ได้แบ่งแหล่งทรัพยากรสารสนเทศ
(sources) ที่เผยแพร่สารเสนทศเป็น 4ประการ ดังนี้
1.แหล่งปฐมภูมิ (Primary Sources) หมายถึงแหล่งที่เผยแพร่ความรู้เป็นครั้งแรก ซึ่งมี
หลาย รูปแบบ ได้แก่ เอกสาร (Monographs) ศิลาจารึก วารสารรายงานการประชุมทางวิชาการ
สิทธิบัตร ปริญญานิพนธ์ ตลอดจนวัสดุที่ไม่ได้ตีพิมพ์ เช่น จดหมายโต้ตอบ สมุดบันทึกผลการ
ทดลอง ฯลฯ
2. แหล่งทุติยภูมิ (Secondary Sources) หมายถึงแหล่งที่เป็นคู่มือนำผู้ใช้ไปยังแหล่งปฐม
ภูมิ เช่นบทความที่แปล หรือวิจารณ์สารนิเทศที่ปรากฏในแหล่งปฐมภูมิ ได้แก่ สิ่งพิมพ์ใช้ชื่อ
Review Journals, Annual Review of,.Advances in และหนังสืออ้างอิงบางประเภท เช่น สารานุกรม
พจนานุกรม คู่มือ ตาราง ดรรชนี และ สาระสังเขป เป็นต้น
3. แหล่งตติยภูม ิ (Tertiary Sources) หมายถึงแหล่งที่ทาํ หน้าที่ชี้นำผู้ใช้ไปยังแหล่งปฐม
ภูมิและทุติยภูมิ ได้แก่ นามานุกรม บรรณานุกรม คู่มือแนะนำวรรณกรรม คู่มือห้องสมุด และคู่มือ
แนะนำ องค์กรต่าง ๆ
4. แหล่งที่ไม่ใช่เอกสาร (Nondocumentry Sources) หมายถึง แหล่งที่ก่อให้เกิดแหล่ง
ปฐมภูมิ เพราะมีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน แบ่งได้เป็น 2 ลักษณะคือ
4.1 แหล่งที่เป็นทางการ (Formal Sources) ได้แก่องค์กรวิจัย องค์กรวิชาชีพ โรงงาน
อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยและผู้ให้คำปรึกษา
4.2 แหล่งที่ไม่เป็นทางการ (Information Sources) ได้แก่การสนทนากับเพื่อนร่วมงาน
การสนทนาหรือปรึกษากันในการประชุมวิชาการ
2.3.1 แหล่งสารสนเทศภายใน
แหล่งสารสนเทศภายในได้แก่ห้องสมุด (Library) เป็นแหล่งสารสนเทศหรือสถานที่
รวบรวมความรู้ทั้งหลายของมนุษย์ไว้ในบันทึกรูปแบบและลักษณะต่าง ๆ เช่น หนังสือ วารสาร
สิ่งพิมพ์ อื่น ๆ ต้นฉบับตัวเขียน สมุดข่อย และโสตทัศนวัสดุ ซึ่งมีการจัดเก็บและบริหารงานเพื่อ
27
อำนวยความสะดวกในการค้นหาความรู้ที่รวบรวมไว้ให้บริการแก่ผู้ใช้ห้องสมุดโดยมีบรรณารักษ์
วิชาชีพเป็นผู้ดำเนินงานและเป็นผู้ให้บริการเพื่อการศึกษา แหล่งสารสนเทศภายในคือ คือ
2.3.1.1 ห้องสมุดโรงเรียน (School libraries) คือ แหล่งวิทยาการที่จัดตั้งขึ้นใน
โรงเรียนเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมายของหลักสูตร เป็น
แหล่งปลูกฝังนิสัยรักการอ่านและการใฝ่หาความรู้ได้ด้วยตนเองให้เยาวชน
2.3.1.2 แหล่งสารสนเทศบุคคล บุคคลเป็นช่องทางการสื่อสาร และการแสวงหา
ข้อมูลอย่างไม่เป็นทางการ บุคคลที่เป็นแหล่งสารสนเทศได้แก่ เพื่อนร่วมงาน เพื่อนร่วมอาชีพ
เดียวกัน เพื่อนบ้าน สมาชิกในครอบครัว บุคคลที่เป็นผู้รู้ ที่ปรึกษา ตัวแทนจำหน่าย ฯลฯ แหล่ง
บุคคลหรือการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคล เป็นแหล่งสารสนเทศภายนอกที่เป็นที่นิยมใช้เพื่อหา
สารสนเทศที่ต้องการมากเป็นอันดับแรก และเป็นอันดับสองรองจาก การใช้ประสบการณ์ความคิด
ของตนเอง
2.3.2 แหล่งสารสนเทศภายนอก
แหล่งสารสนเทศภายนอก หมายถึง แหล่งสารสนเทศที่ไม่ใช่ตัวผู้แสวงหาสารสนเทศ
ซึ่งจำแนกเป็น
2.3.2.1 แหล่งสารสนเทศสถาบัน หมายถึง สถาบันต่าง ๆที่ให้บริการ
สารสนเทศ ทั้งที่จัดตั้งขึ้นโดยจุดมุ่งหมาย เพื่อดำเนินการและให้บริการอย่างเป็นทางการ ได้แก่
ห้องสมุด ศูนย์เอกสาร ศูนย์สารสนเทศ และตั้งขึ้นเพื่อดำเนินงานเฉพาะด้าน สามารถให้บริการ
ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานที่เป็นที่ต้องการได้ เช่นสำนักงานส่งเสริมการเกษตร
สำนักงานสาธารณสุข หน่วยสารนิเทศของรัฐบาล สำนักงานบ้านและที่ดิน ฯลฯ แหล่งสารสนเทศ
ประเภทนี้รวมถึงตัวบุคคลที่ทำหน้าที่รับผิดชอบและเกี่ยวข้องกับสถาบัน เช่น ครู บรรณารักษ์
พัฒนากร พระ ทนายความ
2.3.2.2 ห้องสมุดเฉพาะ (Special Libraries) คือ แหล่งสะสมสารสนเทศเฉพาะ
สาขาวิชาให้บริการแก่ผู้ใช้เฉพาะกลุ่มหรือบางกลุ่ม เช่น ห้องสมุดธนาคารแห่งประเทศไทย
ห้องสมุดกรมวิทยาศาสตร์บริการ ห้องสมุดธนาคารกรุงเทพ จำกัด เป็นต้น
2.3.2.3 ห้องสมุดประชาชน (Public Libraries) คือ ห้องสมุดที่มีหน้าที่
จัดบริการโดยไม่คิดมูลค่าแก่ประชาชนในชุมชนใดชุชนหนึ่งหรือเขตใดเขตหนึ่ง และมีลีกษณะ
สำคัญ 3 ประการ คือ รัฐบาลเป็นเจ้าของหรือเป็นผู้ควบคุม ได้รับเงินอุดหนุนจากภาษีของประชาชน
และให้บริการแก่ประชาชนโดยทั่วไป เช่นห้องสมุดประชาชนซอยพระนาง สังกัดกรุงเทพมหานคร
ห้องสมุดประชาชน สังกัดกรมการศึกษานอกโรงเรียนที่อยู่ในจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ
28
2.3.2.4 หอสมุดแห่งชาติ (National Libraries) เป็นแหล่งรวมสารสนเทศที่
สำคัญของประเทศชาติ เช่น เอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์ ศิลาจารึก พงศาวดาร เอกสารจดหมาย
เหตุ ต้นฉบับตัวเลข ฯลฯ และเป็นแหล่งเก็บสิ่งพิมพ์ผลิตในประเทศซึ่งได้มาตามพระราชบัญญัติ
ลิขสิทธิ์อาจจัดเป็นห้องสมุดประชาชนประเภทหนึ่งเพราะให้บริการแก่ผู้ใช้โดยทั่วไป ไม่จำกัดเพศ
วัย เชื้อชาติ หรือศาสนา
2.3.2.5 แหล่งสารสนเทศสื่อมวลชน เป็นแหล่งสารสนเทศที่บุคคลจะเข้าถึงได้โดย
ผ่านสื่อมวลชน เช่น ดูโทรทัศน์ ฟังวิทยุ หรืออ่านหนังสือพิมพ์ วารสาร เป็นต้น
2.4 ทรัพยากรสารสนเทศ
ทรัพยากรสารสนเทศ (Information Resources) หมายถึงสารสนเทศที่มีคุณค่า ซึ่งเป็น
การบันทึกข้อมูล ข่าวสาร เรื่องราว และความรู้โดยใช้อักษร ภาพ สัญลักษณ์ รหัส หรือเสียงซึ่ง
สามารถปรากฏให้เห็น หรือได้ยิน หรือสัมผัสได้โดยวิธีใดวิธีหนึ่ง วัสดุส่วนใหญ่ของห้องสมุด
มักจะเห็นในรูปเล่มของหนังสือ นิตยสาร และหนังสือพิมพ์ วัสดุสารสนเทศจำแนกได้เป็น 2
ประเภทใหญ่ ๆ คือวัสดุตีพิมพ์ และวัสดุไม่ตีพิมพ์ ซึ่งแต่ละประเภทยังแบ่งย่อยได้อีก ดังนี้
1. วัสดุตีพิมพ์ (Printed Materials) หมายถึง สารสนเทศทุกชนิดที่ตีพิมพ์ลงกระดาษ
ห้องสมุดจัดจำแนกวัสดุตีพิมพ์ดังนี้
1.1 หนังสือ (Books) พิจารณาตามลักษณะให้บริการเป็น 3 ประเภท คือ
1.1.1 หนังสือทั่วไป (General Books ) หมายถึงหนังสือทุกชนิดที่ให้บริการยืม
ได้ระยะยาวกว่าหนังสือสงวน และยืมให้ได้มากเล่มกว่า ผู้ใช้บริการสามารถเลือกหยิบหนังสือได้
จากชั้นแล้วนำไปยืมที่เคาน์เตอร์บริการ
1.1.2 หนังสือสงวน (Reserved Books) ห้องสมุดบางแห่งเรียกหนังสือจอง หรือ
หนังสือสำรอง เนื่องจากเป็นหนังสือที่มีน้อยไม่เพียงพอ ถ้าจะบริการอย่างหนังสือทั่วไป จึงกำหนด
ให้ยืมในระยะสั้นและยืมได้น้อยเล่ม การยืมต้องบอกชื่อหนังสือที่ต้องการกับเจ้าหน้าที่บริการให้
หยิบจากชั้นปิด ซึ่งมักอยู่บริเวณเคาน์เตอร์
1.1.3 หนังสืออ้างอิง (Reference Books) เป็นหนังสือพิเศษที่มีลักษณะไม่
สะดวกที่จะนำ ออกจากห้องสมุด เช่น ขนาดใหญ่ หรือมีเหตุผลอื่น อาจเป็นหนังสือหายาก ราคาสูง
จึงจัดแยกออกจากหนังสือประเภทอื่น และให้บริการค้นคว้าภายในห้องสมุดเท่านั้น
1.1.4 วารสารและนิตยสาร (Journals and Magazines) เป็นวัสดุตีพิมพ์ที่มี
กำหนดออกแน่นอนและต่อเนื่อง แตกต่างกันที่วัตถุประสงค์ในการจัดทำ คือวารสารมุ่งเสนอ
ความรู้ ส่วนนิตยสารมุ่งให้ความบันเทิง
29
1.1.5 หนังสือพิมพ์ (Newspapers) เป็นสิ่งพิมพ์ที่ออกตามกำหนดติดต่อกัน
อาจออกรายวัน รายสัปดาห์รายปักษ์ หรือรายเดือนก็ได้ มีรูปเล่มขนาดใหญ่เป็นแผ่นพับไม่เย็บเล่ม
และมุ่งเสนอข่าว หรือข้อมูลที่ต้องการความรวดเร็ว เช่นเสนอผลการออกสลากกินแบ่งรัฐบาล เป็น
ต้น ห้องสมุดจะจัดหนังสือพิมพ์แยกบริการจากวัสดุอื่น เนื่องจากขนาดและการจัดวางที่แตกต่างกัน
1.1.6 จุลสารหรืออนุสาร (Pamphlets) เป็นสิ่งพิมพ์ขนาดเล็ก ความหนา
โดยประมาณตั้งแต่ 1- 60- 80 หน้าไม่เกิน 100 หน้า มุ่งเสนอเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ ดังที่
พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ได้ให้ความหมายว่า สิ่งตีพิมพ์ที่บอกเรื่องราวต่าง ๆที่
น่าสนใจออกมาเป็นคราว ๆ ไม่มีกำหนดเวลาแน่นอน (ราชบัณฑิตยสถาน 2546 : 319) ส่วนใหญ่จะ
พิมพ์เผยแพร่ให้เปล่า เพื่อต้องการให้ทราบทั่วกัน เช่น จุลสารเรื่องโรคเอดส์ จุลสารเอเชี่ยนเกม เป็น
ต้น เนื่องจากจุลสารมีขนาดค่อนข้างเล็ก จึงแยกเก็บไว้ในกล่อง หรือใส่แฟ้มไว้ในลิ้นชักเหล็ก
ตามลำดับหัวเรื่อง
1.1.7 กฤตภาค (Clippings) เป็นวัสดุตีพิมพ์ที่เกิดจากการคัดเลือกเรื่องจาก
สิ่งพิมพ์ที่ไม่ต้องการเก็บทั้งเล่ม เช่น จากวาสาร หรือหนังสือพิมพ์ ปกติจะตัดออกมาผนึกใน
กระดาษขนาด กว้าง 8.5 นิ้ว ยาว 11.5 นิ้ว (กระดาษ A4) แล้วใส่แฟ้มตามลำดับหัวเรื่องเก็บไว้ใน
ลิ้นชักเหล็กเช่นเดียวกับจุลสาร
2. วัสดุไม่ตีพิมพ์ ( Nonprinted Materials) หมายถึง สารสนสนเทศที่บันทึกลงในวัสดุ
อื่นใดนอกเหนือจากกระดาษ (เช่น บันทึกในฟิล์ม พลาสติก แผ่นโลหะ ซึ่งอาจจำแนกวัสดุไม่
ตีพิมพ์ได้ดังนี้
2.1 โสตวัสดุ คือวัสดุสารสนเทศที่ใช้เสียงเป็นสื่อในการถ่ายทอดข้อมูล เช่น
แผ่นเสียง (Phonodisc) แถบบันทึกเสียง (Phototape) แผ่นดิสก์ (Disc) เป็นต้น
2.2 ทัศนวัสดุ เป็นวัสดุที่ผู้รับสารสนเทศต้องใช้ตารับรู้ อาจเห็นด้วยตาเปล่า เช่น
รูปภาพ แผนผัง แผนภูมิ หรือต้องรับข้อมูลโดยใช้เครื่องฉาย เช่น ภาพนิ่ง (Slides) ภาพเลื่อน
(Filmsrips) แผ่นใส (Transparency)
2.3 โสตทัศนวัสดุ (Audio – Visual Materiais) เป็นวัสดุสารสนเทศที่มีทั้งภาพและ
เสียง เช่น ภาพยนตร์ (Motion pictures) สไลด์ประกอบเสียง (Slide multivisions) โทรทัศน์ เป็น
ต้น
2.4 วัสดุอิเล็กทรอนิกส์ เป็นทรัพยากรสารสนเทศที่มีการแปลงสารสนเทศเป็น
สัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ เวลาใช้ต้องมีเครื่องมือที่จะแปลงสัญญาณกลับคืนเป็นภาพหรือเสียง เช่น
วีดิทัศน์ (Videotape) ซีดี – รอม (CD – ROM) จานวีดิทัศน์ (Videodisc) เป็นต้น
30
2.5 วัสดุย่อส่วน (Microforms) เป็นคำรวม หมายถึงรูปแบบของสื่อบันทึกสารนิเทศ
ใด ๆ ซึ่งบรรจุภาพถ่ายของวัสดุตีพิมพ์หรือภาพถ่าย ต่าง ๆ ในขนาดที่เล็กมากจนไม่สามารถอ่าน
ด้วยตาเปล่า เมื่อต้องการข้อมูลต้องใช้เครื่องอ่าน เช่น ไมโครฟิล์ม (Microfilm)ไมโครคาร์ด
(Microcard)ไมโครฟิช (Microfiche) วัสดุประเภทนี้บางตำราใช้คำว่า “จุลรูป” หรือ ไมโครเล็ก
คอร์ด (Microrecord)
นอกจากวัสดุตีพิมพ์และไม่ตีพิมพ์ดังกล่าวแล้ว ห้องสมุดบางแห่งมีวัสดุอื่นแสดงเป็น
ตัวอย่างหรือจำลองของจริง เช่น ตัวอย่าง แร่ธาตุ หุ่นจำลอง ปราสาทหิน พระบรมรูป
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นต้น และปัจจุบันมีคำใช้เรียกวัสดุห้องสมุดทุกชนิดว่า วัสดุ
สารนิเทศ หรือ ทรัพยากรสารนิเทศ (เอื้อมพร ทัศนประสิทธิผล. 2542 :14-18)
ทรัพยากรสารสนเทศ วัสดุห้องสมุด วัสดุสารนิเทศ หรือสื่อการศึกษา อาจเรียกคำใดคำ
หนึ่งก็ได้ซึ่งมีความหมายรวมในทำนองเดียวกัน จะแตกต่างก็เป็นเพียงรายละเอียดปลีกย่อยเท่านั้น
ทรัพยากรสารนิเทศที่มีบริการในห้องสมุดอาจแบ่งกว้าง ๆ ได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ สื่อสิ่งพิมพ์
(Printed Media) และสื่อไม่ตีพิมพ์ (Nonprinted Media)
สื่อสิ่งพิมพ์คือ หนังสือและเอกสารสิ่งพิมพ์ชนิดต่าง ๆ อาจแบ่งเป็น 4 ประเภท ได้แก่
1. ต้นฉบับตัวเขียนและจดหมายเหตุ เป็นสิ่งพิมพ์ที่บันทึกข้อมูล ความคิด ความเชื่อ
เหตุการณ์ในสมัยต่าง ๆ ด้วยการเขียนบนวัสดุประเภทต่าง ๆ ถือเป็นแหล่งสะสมข้อมูลชั้นปฐมภูมิที่
มีคุณค่าโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการศึกษาเชิงประวัติศาสตร์
2. หนังสือ คือ บันทึกความรู้ ความคิด ความเชื่อ เหตุการณ์เรื่องราว และประสบการณ์ของ
มนุษย์ ที่เป็นรูปเล่มถาวร ซึ่งอาจแบ่งตามเนื้อหาได้ 2 ลักษณะ คือหนังสือตำราและสารคดี และ
หนังสือบันเทิงคดี
3. สิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง คือ สิ่งพิมพ์ที่เสนอข่าวความเคลื่อนไหวเหตุการณ์หรือเรื่องราวที่
น่าสนใจ เนื้อหาสาระต่าง ๆ ในรูปของบทความ มีกำหนดออกเป็นระยะ ๆ และมีจุดมุ่งหมายที่จะ
ออกต่อเนื่องกันไป เช่น หนังสือพิมพ์ วารสาร และนิตยสาร
4. จุลสาร เป็นสิ่งพิมพ์ขนาดเล็ก มีความหนาไม่มากนัก (ความยาวไม่เกิน 60 หน้า) มีเนื้อหา
สาระให้ความรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งและจบสมบูรณ์ในตัวเอง ให้ข้อมูลที่ทันสมัยสั้น ๆ โดยเขียนให้
อ่านง่าย สำหรับบุคคลทั่วไป
สื่อไม่ตีพิมพ์ คือ สื่อที่บันทึกความรู้ ข่าวสาร สารนิเทศต่าง ๆ ในรูปแบบอื่น
นอกเหนือไปจากหนังสือหรือการพิมพ์ซึ่งบางครั้งจะต้องใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ชนิดต่าง ๆ ช่วย
ในการเรียกใช้ข้อมูลที่บันทึกไว้ในสื่อนั้น ๆ ออกมา เช่น เครื่องฉายภาพนิ่ง เครื่องอ่านไมโครชิฟ
และคอมพิวเตอร์ เป็นต้น อาจแบ่งเป็น 7 ประเภท คือ
31
1. วัสดุกราฟิก (Graphic Materials) คือ ทัศนวัสดุที่แสดงความรู้ หรือ เนื้อหา
ออกมาในลักษณะของรูปภาพ ภาพวาด สัญลักษณ์ ประกอบคำหรือข้อความ เช่น รูปภาพ ภาพถ่าย
ภาพพิมพ์ ภาพจำลอง แผนภูมิ แผ่นภาพโปร่งใส และภาพนิ่ง เป็นต้น
2. วัสดุแผนที่ (Cartographic Materials) คือ ทัศนวัสดุที่แสดงให้เห็นถึงรูปร่าง
ลักษณะของพื้นผิวโลก ลักษณะภูมิประเทศ อาณาเขต ทิศ ฯลฯ ที่ปรากฏบนพื้นผิวโลกตาม
ธรรมชาติ โดยการย่อส่วน นำมาแสดงโดยการใช้ภาพ เส้น สี สัญลักษณ์ และเครื่องหมายต่าง ๆ เช่น
แผนที่ (Maps) ลูกโลก (Globe) หุ่นจำลองที่ย่นย่อขนาดของโลก
3. วัสดุบันทึกเสียง (Sound Recordings) เป็นสื่อประเภทโสตทัศนวัสดุหรือประเภท
ฟัง มี 2 ประเภทคือ แผ่นเสียงและแถบบันทึกเสียง
4. ภาพยนตร์ โทรทัศน์ และวีดิทัศน์ เป็นสื่อโสตทัศนศึกษาที่มีทั้งภาพและเสียง
5. วัสดุสามมิติและของจริง เป็นผลงานทางศิลปะหรือสิ่งต่าง ๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อ
เลียนแบบของจริงมีลักษณะเป็น 3 มิติ ใช้สีแสดงส่วนต่าง ๆ ได้ตามความเป็นจริง เช่น ภาพจำลอง
หุ่นจำลอง (Model) เป็นตัวแทนของวัสดุสามมิติที่เป็นของจริง อาจย่อส่วนให้มีขนาดเล็กลงหรือ
ขยายใหญ่กว่าของจริง ของตัวอย่าง
6.วัสดุย่อส่วน (Microform) เป็นวัสดุสารนิเทศที่ได้จากการถ่ายภาพสิ่งพิมพ์
ต้นฉบับโดยย่อส่วนให้มีขนาดเล็กลงจนไม่สามารถอ่านได้ด้วยตาเปล่า ต้องใช้เครื่องอ่านวัสดุ
ย่อส่วนที่ใช้อัตราการย่อและขยายตั้งแต่ 10 – 12 เท่า เช่น ไมโครฟิล์ม ไมโครฟิช
7. สารนิเทศอิเล็กทรอนิกส์ เป็นสื่อที่เก็บข้อมูลบันทึกและค้นคืนด้วยระบบ
คอมพิวเตอร์ เช่น ฐานข้อมูลซีดี – รอม ฐานข้อมูลออนไลน์ ซีดี – ไอ (Compact disc –
Interactive) และแผ่นวีดิทัศน์ระบบเลเซอร์ (Laser Videodisc) ฯลฯ
เนื่องจากสารสนเทศมีหลายลักษณะ หลายรูปแบบและหลายประเภท นับตั้งแต่ที่
มนุษย์เริ่มมีการบันทึก จนถึงปัจจุบันเพื่อที่จะทำการค้นคว้า เผยแพร่ และเก็บรักษาทรัพยากร
สารสนเทศไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาต่อไป ปัจจุบันสมมารถแบ่งทรัพยากรสารสนเทศออกเป็น
4 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. สารสนเทศในรูปของวัสดุสิ่งพิมพ์ (Printed Materials) ได้แก่หนังสือ (Books,
Monographs) หนังสืออ้างอิง (Reference books) หนังสือพิมพ์ (Newspapers) จุลสาร (Pamphlets)
กฤตภาค (Cliping)
2. สารสนเทศในรูปของสิ่งไม่ตีพิมพ์หรือโสตทัศนวัสดุ (Non-Printed Materials or
Audioviual Materials) ได้แก่ รูปภาพ (Pictures) แผนที่ (Maps) ภาพนิ่งและภาพเลื่อน (Slides and
Filmstrips) ภาพยนตร์ (Motion Pictures or Films) เทปโทรทัศน์ (Video Tapes) แผ่นเสียง (Discs
32
and Tapes) ลูกโลก (Globes) หุ่นจำลอง (Models) ไมโครฟิล์ม (Microfilms) ไมโครฟิช
(Microfiches) ของตัวอย่าง (Specimens)
3. ฐานข้อมูล (Database) คือแหล่งสารสนเทศที่เก็บไว้ในรูปของ อิเล็กทรอนิกส์ โดย
อาศัยระบบจัดการฐานข้อมูลและระบบคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือทำให้การประมวลสารสนเทศมี
ความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน ฐานข้อมูลสามารถแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ คือ
3.1 ฐานข้อมูลแบบออนไลน์ (Online Databases) เป็นฐานข้อมูลที่บริษัทต่าง ๆ ทำ
ขึ้นมาในรูปของธุรกิจมีการจัดหาและจัดเก็บข้อมูลต่าง ๆ ไว้ แล้วนำไปเสนอบริการแก่องค์กรต่าง ๆ
ที่มีความเกี่ยวข้องกับข้อมูล หรือที่คาดว่าองค์กรเหล่านั้นอาจจำเป็นต้องใช้ข้อมูลเหล่านั้น เมื่อมีการ
เรียกใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูล ทางบริษัทก็จะเก็บค่าบริการตามอัตราที่กำหนดไว้ ปัจจุบันนี้มี
ฐานข้อมูลแบบออนไลน์มากมายและอยู่ในหลายรูปแบบ เช่น บรรณานุกรม ดรรชนีและ
สาระสังเขป รายงานการประชุม ตารางสถิติ เป็นต้น ตัวอย่างของฐานข้อมูล เช่น ฐานข้อมูล
DIALOG, MEDLINE, AGRIS เป็นต้น (ละออง แก้วเกาะจาก : 64-65)
3.2 ฐานข้อมูลแบบซีดี-รอม (CD-ROM) เป็นฐานข้อมูลสำเร็จรูปที่บันทึกข้อมูลได้
ทั้งตัวอักษร ตัวเลข ข้อความ ภาพ สัญลักษณ์ และเสียง มีคุณสมบัติเป็นสื่อจัดเก็บข้อมูลเพื่อการอ่าน
เพียงอย่างเดียว สามารถค้นข้อมูลจากแผ่น ซีดี-รอม ได้ในเวลาอันรวดเร็วเพียง 1-2 วินาที และใน
การค้นข้อมูลก็ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายด้านการสื่อสารตามระยะเวลา และสามารถค้นซ้ำ ๆ ได้ ตามที่
ต้องการ ฐานข้อมูลแบบซีดี-รอม แบ่งได้เป็น 5 ประเภท
3.2.1 ฐานข้อมูลแบบบรรณานุกรม (Bibliographic Database) เป็นฐานข้อมูลที่
ให้รายละเอียดทางบรรณานุกรมของเอกสารสิ่งพิมพ์ หรือวัสดุไม่ตีพิมพ์อาจมีสาระสังเขป
ประกอบด้วยหรือไม่ก็ได้ ใช้เป็นคู่มือช่วยค้นคว้าแหล่งข้อมูลในสาขาวิชาต่าง ๆ เช่น Cancer CDROM
เป็นฐานข้อมูลทางการแพทย์
Environment Library เป็นฐานข้อมูลทางเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม Humanities
Index-HUM เป็นฐานข้อมูลบรรณานุกรมบทความและบทวิจารณ์ ของวารสารด้านมนุษย์ศาสตร์
3.2.2 ฐานข้อมูลเพื่อการอ้างอิง (Reference Database) เป็นฐานข้อมูลที่ให้
รายละเอียดเพื่อการนำไปอ้างอิงประกอบการค้นคว้า เหมือนการใช้หนังสืออ้างอิง เช่น
Million Dollar Directory เป็นฐานข้อมูลนามานุกรมบริษัทธุรกิจ
Oxford English Dictionary on Computer Disc-OCD on CD-ROM เป็นฐานข้อมูลพจนานุกรม
Oxford English Dictionary
Electronic Encyclopedia of Arts เป็นฐานข้อมูลสารานุกรมด้านศิลปะ
33
3.2.3 ฐานข้อมูลสถิติตัวเลข (Demographic or Numeric Database) เป็น
ฐานข้อมูลที่ให้สถิติตัวเลขที่ใช้ประโยชน์ในด้านการตัดสินในชีวิต ประจำวัน หรือ ใช้เพื่อการ
วินิจฉัยและปฏิบัติงาน เช่น
Population Statistics เป็นฐานข้อมูลสถิติ ประชากรที่อาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกา
Business Indicators เป็นฐานข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทธุรกิจในสหรัฐอเมริกา
Telerom เป็นฐานข้อมูลโทรศัพท์ของประเทศสวิตเซอร์แลนด์
3.2.4 ฐานข้อมูลเต็มรูปแบบ (Full-Text Database) เป็นฐานข้อมูลที่ใช้แทน
ต้นฉบับเดิมได้ทั้งหมดโดยมีข้อมูล เนื้อหาสาระเต็มรูปแบบหรือครบถ้วน รวมทั้งแหล่งข้อมูล
เกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆเหมือนต้นฉบับเดิมทุกประการ เช่น
Daily Oklahoman เป็นฐานข้อมูลหนังสือพิมพ์รายวัน ซึ่งผลิตโดยบริษัท Datatext Corporation
World Factbook – QH-8901 เป็นฐานข้อมูลหนังสือรายปีที่จัดพิมพ์ตัวเล่มโดย GPO
U.S. History เป็นฐานข้อมูลหนังสือประวัติศาสตร์จัดพิมพ์โดย Bureau of Electronic
Puhlishing มีเนื้อหาหนังสือเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา
Sherlock Homes on Disc เป็นฐานข้อมูลหนังสือนวนิยายแนวสืบสวนของ Sherlock Homes
3.2.5 ฐานข้อมูลภาพ (Graphic Database) เป็นฐานข้อมูลที่มีทั้งภาพ และ
รายละเอียดเกี่ยวกับภาพกราฟิค ภาพถ่าย ภาพวาดหรือภาพแผนที่ เช่น
Electronic Map Cabinet เป็นฐานข้อมูลภาพแผนที่ ของสหรัฐอเมริกา
Art Index-ART เป็นฐานข้อมูลภาพศิลปะ บทความด้านศิลปะ จากวารสาร หนังสือและสิ่งพิมพ์
จากพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ
3.3 ฐานข้อมูลที่ห้องสมุดจัดทำขึ้นเอง โดยห้องสมุดแต่ละห้องจัดทำฐานข้อมูลขึ้นมา
เอง ส่วนมากจะอยู่ในรูปของบรรณานุกรมของทรัพยากรสารนิเทศที่มีอยู่ในห้องสมุดนั้น ๆเช่น
ฐานข้อมูลของสำนักวิทยบริการ สถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราช ประกอบด้วยฐานข้อมูล 3 ฐานคือ
3.3.1 ฐานข้อมูล NTC เป็นฐานข้อมูลรวมทรัพยากรสารนิเทศทั้งหมดของ
ห้องสมุด
3.3.2 ฐานข้อมูล BK เป็นฐานข้อมูลสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือ
3.3.3 ฐานข้อมูล SERT เป็นฐานข้อมูลบทความจากวารสาร
4.อินเทอร์เน็ต (Internet) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีการเชื่อมต่อกันทั่วโลก เป็น
เครือข่ายสากล (International Network) ที่มีผู้ใช้มากที่สุด ประกอบด้วย เครือข่ายย่อย ๆ จำนวน
มากกว่า 30,000 เครือข่าย ซึ่งกระจายอยู่ในประเทศต่าง ๆ มากกว่า 90 ประเทศทั่วโลก แต่ละ
เครือข่ายย่อยของอินเทอร์เน็ตประกอบด้วยคอมพิวเตอร์ที่เป็นแหล่งทรัพยากรสารนิเทศ ที่ให้ข้อมูล
34
ทุกประเภท ทั้งข้อมูลทางการศึกษา การบันเทิง ธุรกิจและการค้า เป็นต้น อินเตอร์เน็ตจึงเป็น
ทรัพยากรสารนิเทศที่ให้ความสะดวกในการแสวงหาสารนิเทศโดยช่วยลดอุปสรรคขจัดปัญหาใน
เรื่องข้อจำกัดทางด้านเวลา ระยะทาง และสภาพทางภูมิศาสตร์ ในการติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยน
สารนเทศของคนทั่วโลก (คณะอาจารย์ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์. 2543 :5-7)
สรุปได้ว่า ทรัพยากรสารสนเทศทั้งในรูปของสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อไม่ตีพิมพ์ มีบทบาท
สำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาบุคคล สังคม และประเทศชาติ กล่าวคือ หากเราสามารถพัฒนาบุคคลแต่
ละคนได้โดยการส่งเสริมให้เขาได้รับความรู้ สารนิเทศ ข่าวสารต่าง ๆ จากสื่อเหล่านี้ให้ตรงกับ
ความต้องการของแต่ละบุคคลอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ประชาชนแต่ละคนจะมีความรู้
ความคิด มีสุขภาพดีและมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สังคมโดยส่วนรวมก็ย่อมจะพัฒนาเจริญก้าวหน้าขึ้น
ด้วย
3. การแสวงหาสารสนเทศ
3.1 พฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศ
ความหมายของพฤติกรรมสารสนเทศ “พฤติกรรมสารสนเทศ” (Information Behaviour)
หมายถึง พฤติกรรมทั้งมวลของบุคคลหนึ่ง ซึ่งเชื่อมโยงบุคคลผู้นั้นให้เข้าถึงแหล่งสารสนเทศต่าง ๆ
โดยใช้ช่องทางในการเผยแพร่และในการได้สารสนเทศมาโดยอาจอยู่ในรูปการสื่อสารแบบ
เผชิญหน้า และการได้รับสารสนเทศจากสิ่งต่างๆ เช่นการดูรายการสารคดีทางโทรทัศน์ ทั้งที่ไม่มี
เจตนาจะรับสารสนเทศจากรายการนั้น เป็นต้น (Willson 2000 : 50) ดังนั้นพฤติกรรมสารสนเทศจึง
เป็นคำที่มีความหมายกว้าง และเป็นการมองกิจกรรมของมนุษย์ในระดับมหภาคโดยครอบคลุม
กิจกรรม 2 กิจกรรม คือ การค้นหาสารสนเทศที่ต้องการด้วยวิธีใด ๆก็ตาม และการใช้สารสนเทศ
หรือการส่งสารสนเทศนั้น ๆ ไปยังผู้อื่นต่อไป
วิลสันศึกษาความต้องการสารสนเทศ และพฤติกรรมอันเกิดจากความต้องการสารสนเทศ
ของบุคคล โดยมีฐานแนวคิดว่า ความต้องการสารสนเทศของแต่ละบุคคลนั้นนำไปสู่พฤติกรรม
ต่างกัน หรืออีกนัยหนึ่ง เขาไม่เห็นด้วยกับนักวิจัยด้านสารสนเทศศาสตร์จำนวนหนึ่งที่ว่า ผู้มีความ
ต้องการสารสนเทศต้องแสวงหาสารสนเทศเสมอไป เพราะอาจเกิดภาวะที่ขัดขวางหรือเป็น
อุปสรรค อันทำให้ผู้ใช้สามารถแสวงหาสารสนเทศที่สนองตอบความต้องการของตนได้ ดังนั้น
การศึกษาพฤติกรรมจึงไม่สามารถจะมองเพียงเฉพาะที่ผู้ใช้หรือผู้แสวงหาสารสนเทศมีปฏิสัมพันธ์
กับระบบสารสนเทศนั่นคือการศึกษาพฤติกรรมสารสนเทศนั้นไม่ควรเน้นเฉพาะจากแง่มุมของ
ระบบ แต่ควรหันมาสู่การศึกษาที่มีผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง
35
วิลสันได้ให้ความหมายของพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องไว้ดังนี้
1. พฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศ (Information-seeking Behaviour) คือการแสวงหา
สารสนเทศอย่างมีวัตถุประสงค์ โดยเป็นผลมาจากความต้องการใดความต้องการหนึ่ง ทั้งนี้ใน
ระหว่างแสวงหาสารสนเทศ บุคคลผู้นั้นจึงต้องปฏิสัมพันธ์กับระบบสารสนเทศ ซึ่งอาจเป็นระบบ
สารสนเทศโดยมนุษย์ เช่นห้องสมุด หนังสือพิมพ์ หรือระบบสารสนเทศด้วยคอมพิวเตอร์ เช่น
เวิลด์ไวด์เว็บ เป็นต้น (Willson 2000 : 50)
2. พฤติกรรมการค้นหาสารสนเทศ (Information Search Behaviour) เป็นพฤติกรรมระดับ
จุลภาคที่ผู้คนปฏิสัมพันธ์กับระบบสารสนเทศ ไม่ว่าจะเป็นระดับปฏิบัติ อาทิ การใช้เมาส์ หรือใน
ระดับการใช้ความคิด สติปัญญาและความรู้ เช่น การใช้ตรรกบูเลี่ยน หรือการตัดสินใจเลือกว่า
หนังสือที่พบ 2 เล่มนั้น เล่มใดมีประโยชน์มากกว่ากัน หรือพิจารณาว่าสารสนเทศที่ค้นคืนได้นั้น
ตรงกับความต้องการของตนหรือไม่ อย่างไร (Wilson 2000 ; 50)
ตัวแบบพฤติกรรมสารสนเทศ
ตัวแบบพฤติกรรมสารสนเทศตามแนวคิดของวิลสันมีความสำคัญดังนี้
1. พฤติกรรมสารสนเทศครอบคลุมพฤติกรรมหรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง 2 ด้านคือ
พฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศ และพฤติกรรมการใช้สารสนเทศ
2. พฤติกรรมการสารสนเทศของผู้ใช้นั้นมีจุดผลักดันมาจากความต้องการสารสนเทศ
(Information Need) ซึ่งในตัวแบบเรียกอย่างย่อว่า “ความต้องการ”
3. เมื่อเกิดความต้องการ ผู้ใช้จึงต้องแสวงหาสารสนเทศ โดยใช้ระบบหรือบริการ
สารสนเทศต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบอย่างเป็นทางการหรือแหล่งสารสนเทศที่ไม่เป็นทางการ
4. ในกระบวนการแสวงหาสารสนเทศ นอกจากระบบหรือบริการสารเทศแล้ว ผู้ใช้หรือผู้
แสวงหาสารสนเทศยังอาจได้รับสารสนเทศด้วยการแลกเปลี่ยนกับผู้อื่น (Information Exchange)
และยังสามารถส่งหรือถ่ายโอนสารสนเทศสารสนเทศที่ได้ไปให้ผู้อื่นด้วยเช่นกัน (Information
Transfer)
5. ผลที่ได้จากการแสวงหาสารสนเทศจากระบบหรือบริการสารสนเทศอาจเป็นความสำเร็จ
หรือความล้มเหลว นั่นคือ สามารถหาสารสนเทศที่ตอบสนองความต้องการของตนหรือหาไม่พบ
หากหาไม่พบ อาจต้องย้อนกลับไปค้นหาสารสนเทศอีกครั้ง
6. หลังจากนั้น เมื่อได้สารสนเทศแล้ว จะนำสารสนเทศที่ได้ไปใช้ตามวัตถุประสงค์ ไม่ว่า
จะเป็นสารสนเทศที่ได้จากระบบ บริการหรือแหล่งสารสนเทศใดก็ตาม
36
เชนท์และเฮอร์นอน (Chen and Hernon1982 : 5) ได้ให้ความหมายไว้ว่า พฤติกรรมการ
แสวงหาสารสนเทศ หมายถึง การกระทำหรือการปฏิบัติใด ๆก็ตามของบุคคลในอันที่จะค้นหา
ข้อมูลที่จะสนองตอบความต้องการการแสวงหาสารสนเทศนั้นอาจกล่าวได้ว่า เป็นแนวทางปฏิบัติที่
บุคคลได้กระทำเพื่อสนองความต้องการของตน
คริกีลาส (Krikelas 1983 : 5) อธิบายพฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศว่า คือ กิจกรรมที่
บุคคลใดบุคคลหนึ่งกระทำเพื่อให้ได้สารสนเทศ ข้อมูล และข่าวสารที่จะสนองความต้องการของ
ตนทั้งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความในใจส่วนตัว หน้าที่การงาน การเรียนรู้ พฤติกรรมเช่นนี้เริ่มขึ้น
เมื่อบุคคลนั้นต้องการรู้ ศึกษา และวิเคราะห์เรื่องราว หรือปัญหาใดปัญหาหนึ่ง และพบว่าความรู้ที่
ตนมีอยู่นั้นไม่เพียงพอจึงต้องการความรู้เพิ่มเติม
ตัวแบบทั่วไปของพฤติกรรมสารสนเทศ
ค.ศ. 1997 วิลสัน (Willson 20 : 5 )ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ผลการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรม
สารสนเทศ ซึ่งได้นำทฤษฎีและแนวคิดของสาขาวิช่าง ๆ เช่น นิเทศศาสตร์ จิตวิทยา การวิจัย
ผู้บริโภค เป็นต้น มาปรับปรุงตัวแบบพฤติกรรมสารสนเทศของเขา โดยได้ขยายและอธิบาย
พฤติกรรมสารสนเทศเพิ่มขึ้นจากเดิม เขาเรียกตัวแบบใหม่นี้ว่า “ตัวแบบทั่วไปของพฤติกรรม
สารสนเทศ” (The general Model of Information Behaviour) เพื่อให้เป็นตัวแบบของพฤติกรรม
สารสนเทศในเชิงมหภาคและอธิบายการค้นหาสารสนเทศทั้งจากระบบสารสนเทศในสถาบัน
บริการสารสนเทศ และจากแหล่งอื่น เช่น การได้รับสารสนเทศจากสื่อมวลชน เป็นต้น
ตัวแบบทั่วไปของพฤติกรรมสารสนเทศมีลักษณะสำคัญคือ
1. จุดเริ่มต้นที่นำไปสู่พฤติกรรมสารสนเทศ คือ “ความต้องการ” โดยเน้นความต้องการของ
บุคคลผู้แสวงหาสารสนเทศนั้น ๆ หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นความต้องการสารสนเทศในบริบทของผู้
แสวงหาสารสนเทศ (Person-in-Context)
2. ความแตกต่างระหว่างตัวแบบทั่วไปและตัวแบบเดิมของวิลสัน ที่สำคัญประการหนึ่ง คือ
ตัวแบบทั่วไประบุถึง “ตัวแปรแทรกซ้อน” (Intervening Variable) โดยถือว่าตัวแปรเหล่านี้อาจ
สนับสนุนหรือเป็นอุปสรรคต่อการแสวงหาสารสนเทศก็ได้ ตัวแปรแทรกซ้อนแบ่งออกเป็นหลาย
ด้านคือ
2.1 คุณลักษณะเฉพาะบุคคล (Personal Characteristic) เช่นปัจจัยหรือคุณลักษณะด้าน
อารมณ์ ด้านพุทธิพิสัยหรือปัญญา (Cognitive) ระดับการศึกษา และพื้นความรู้ของผู้แสวงหา
สารสนเทศเป็นต้น
2.2 ตัวแปรด้านประชากร (Demographic Variable) เช่น อายุ เพศ เป็นต้น
37
2.3 ตัวแปรเชิงสังคมหรือระหว่างบุคคล (Social/interpersonal Variable) ซึ่งมัก
เกี่ยวข้องกับการแสวงหาสารสนเทศจากบุคคลอื่นในสังคม เช่น ทัศนคติของผู้ให้บริการสารสนเทศ
ลักษณะการทำงานที่มีการแข่งขันระหว่างเพื่อนร่วมงาน เป็นต้น
2.4 ตัวแปรด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Variable) เช่น เวลาที่ใช้ในการแสวงหา
สารสนเทศ วัฒนธรรมซึ่งสะท้อนความเชื่อพื้นฐานของบุคคล เป็นต้น
2.5 คุณลักษณะของแหล่งสารสนเทศ (Information Source Characteristic) เช่น การ
เข้าถึงแหล่งสารสนเทศ ความน่าเชื่อถือของแหล่งสารสนเทศ เป็นต้น
3. การนำทฤษฎีด้านจิตวิทยาและพฤติกรรมศาสตร์ที่สำคัญ 3 ด้านมาอธิบายกลไกในการ
ก่อหรือกระตุ้นให้เกิดการแสวงหาสารสนเทศ (Activating Mechanism) ทฤษฎีนี้ได้แก่ ทฤษฎีด้าน
ความเครียดและการเผชิญปัญหา (Stress/Coping Theory) ทฤษฎีความเสี่ยงและรางวัล
(Risk/Reward Theory) และทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม (Social Learning Theory)
3.1 ทฤษฎีด้านความเครียดและการเผชิญปัญหา เกี่ยวข้องกับความต้องการ
สารสนเทศ ความเครียดอาจเป็นภาวะที่สัมพันธ์กับความต้องการสารสนเทศ เช่น ความเครียดที่เกิด
จากการไม่สามารถอธิบายเหตุแห่งความเจ็บป่วยของตนนับเป็นสิ่งผลักดันให้บุคคลต้องเผชิญ
ปัญหา นั่นคือต้องแสวงหาสารสนเทศเพื่ออธิบายความเจ็บป่วยของตนและสาเหตุของความเจ็บป่วย
ให้ได้
3.2 ทฤษฎีความเสี่ยงและรางวัล เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศ เช่น
ในการแสวงหาสารสนเทศ มีค่าใช้จ่ายในการแสวงหาสารสนเทศซึ่งนับเป็นความเสี่ยงประเภทหนึ่ง
บุคคลจึงต้องประเมินว่าค่าใช้จ่ายนั้น “คุ้ม” กับรางวัลหรือประโยชน์ที่จะได้รับหรือไม่ อย่างไร
3.3 ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศ
เช่นกัน โดยเฉพาะการรับรู้สมรรถนะของตนเอง (Perceived Self-Efficacy) ซึ่งสัมพันธ์กับการเผชิญ
ปัญหา บุคคลหนึ่งจะสามารถเผชิญปัญหาได้ดีเพียงไรขึ้นกับการรับรู้สมรรถนะของตนเอง เช่น เมื่อ
เกิดเจ็บป่วย จะสามารถแสวงหาสารสนเทศเกี่ยวกับความเจ็บป่วยของตนด้วยวิธีต่าง ๆ และจาก
แหล่งต่าง ๆ ได้อย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการแสวงหาสารสนเทศด้วยตนเอง การเรียนรู้การแสวงหา
สารสนเทศจากผู้อื่น หรือการเรียนรู้ด้วยตนเองก็ตาม
4. พฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศ พฤติกรรมนี้ครอบคลุมทั้งการแสวงหาสารสนเทศที่
ตนริเริ่มเอง (Active) เช่นการค้นหาสารสนเทศบนอินเตอร์เน็ต และที่ตนริเริ่มเอง (Passive) โดย
แบ่งพฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศออกเป็น 4 ประเภทคือ
38
4.1 การตั้งใจที่ตนมิได้ริเริ่ม (Passive Attention) เช่นการได้รับสารสนเทศจาก
รายการสารคดีทางวิทยุที่ตนฟังอยู่ แม้ว่าอาจไม่มีเจตนาที่จะแสวงหาสารสนเทศ แต่ถือว่าเกิดการ
ได้รับสารสนเทศขึ้น
4.2 การค้นโดยตนมิได้ริเริ่ม (Passive Search) หมายถึงการที่บุคคลหนึ่งได้รับ
สารสนเทศเรื่องหนึ่ง ในขณะที่กำลังค้นหาสารสนเทศอีกเรื่องหนึ่ง ดังนั้น สารสนเทศที่ได้รับไม่ใช่
ที่ตนตั้งใจไว้แต่ถือว่าได้รับสารสนเทศเช่นกัน
4.3 การค้นที่ตนริเริ่ม (Active Search) หมายถึงการที่บุคคลหนึ่งมุ่งค้นหา
สารสนเทศจากระบบสารสนเทศในสถาบันบริการหรือจากบริการสารสนเทศต่าง ๆ โดยทั่วไปการ
ศึกษาวิจัยในสาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์นั้นให้ความสนใจที่การแสวงหาสารสนเทศประเภทนี้
เพราะถือว่าเป็นพฤติกรรมสำคัญในการใช้ระบบสารสนเทศหรือบริการในสถาบันบริการ
สารสนเทศ
4.4 การค้นที่ดำเนินการอยู่ (Ongoing Search) เป็นการค้นหาสารสนเทศในเรื่องที่
ผู้ค้นหรือผู้แสวงหาสารสนเทศมีความรู้หรือมีสารสนเทศอยู่แล้ว เพียงแต่ต้องการแสวงหาเพิ่มเติม
เฉพาะด้าน เช่น เฉพาะเรื่องใหม่ หรือรายละเอียดเฉพาะเจาะจงที่ขาดหายไปเพิ่มเติมเท่านั้น
5. การประมวลและการใช้สารสนเทศ (Information Processing and Use) คือการนำ
สารสนเทศที่ค้นคืนได้มาคัดเลือก รวบรวม จัดเรียง หรือกระทำด้วยวิธีใด วิธีหนึ่ง เพื่อให้สามารถ
นำสารสนเทศนั้นมาผนวกเข้าเป็นความรู้ของผู้แสวงหาสารสนเทศ เช่น การขีดเส้นใต้ข้อความ
สำคัญในเอกสารที่ค้นคืนได้ เพื่อระบุความสำคัญและทำให้สามารถนำข้อความนั้นไปใช้ในรายงาน
ที่จะจัดทำขึ้นต่อไป
ทรัพยากรสารสนเทศมีความสำคัญต่อบุคคลในสังคมปัจจุบันซึ่งมีความจำเป็นที่จะนำ
สารสนเทศไปใช้ในการดำเนินงานให้เกิดประสิทธิภาพ และการดำรงชีวิตได้อย่างเหมาะสม การที่
จะแสวงหาหรือได้มาซึ่งสารสนเทศที่ต้องการจึงมีความสำคัญยิ่ง
การแสวงหาสารสนเทศจึงเป็นกระบวนการที่บุคคลค้นหาเพื่อให้ได้สารสนเทศที่ตน
ต้องการ ได้แสดงขั้นตอนการแสวงหาสารสนเทศไว้ว่า เมื่อบุคคลรู้ความต้องการสารสนเทศของ
ตน ขั้นตอนแรกของการแสวงหาสารสนเทศ คือ การสอบถามบุคคลที่สนิท เพื่อทราบแหล่ง
สารสนเทศที่เกี่ยวข้อง ขั้นต่อมาเป็นการแสวงหาสารสนเทศจากเอกสารส่วนตัวและ/หรือเข้าใช้
ห้องสมุด พฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศอาจแบ่งเป็น 2 กรณี คือ ถามหาสารสนเทศจาก
บรรณารักษ์และการแสวงหาสารสนเทศด้วยตนเอง โดยแสดงได้ดังภาพ
39
ความต้องการสารสนเทศ
การทดลอง ค้นหาวรรณกรรม ถามบุคคลที่สนิท
คำตอบ
เอกสารส่วนตัว ห้องสมุด
คำตอบ ถามบรรณารักษ์ ค้นด้วยตนเอง
กระบวนการ สร้างแผนการค้น
ภาพประกอบ 1 ขั้นตอนการแสวงหาสารสนเทศของผู้ที่รู้ความต้องการ (Taylor. 1968 : 181)
กระบวนการแสวงหาสารสนเทศนั้น เทเลอร์ ได้อธิบายเรื่องการตระหนักถึงความต้องการ
สารสนเทศของบุคคลว่า แบ่งออกได้ 4 ระดับคือ
1. ระดับกว้างสุด ( Visceral Level)) คือ ระดับความต้องการที่อยู่ภายใต้จิตสำนึกผู้ใช้
สารสนเทศไม่รู้ว่าตนต้องการอะไร ระบุได้เพียงความไม่ชอบ ความไม่พึงพอใจอย่างกว้าง ๆ
2. ระดับรู้ความต้องการ (Conscious Level) ผู้ใช้สารนิเทศทราบว่าตนต้องการอะไร แต่ไม่
สามรถอธิบายได้ชัดเจน
3. ระดับบอกความต้องการได้ (Formal Level) ผู้ใช้สารสนเทศสามารถระบุความต้องการ
ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรได้หรือสามารถอธิบายคำถามหรือความต้องการได้ชัดเจน
4. ระดับรู้แจ้ง (Compromised Level) ผู้ใช้สารสนเทศสามารถบอกความต้องการหรือ
กำหนดแหล่งสารสนเทศได้เองจากระบบสารสนเทศที่มีบริการ
40
โกรเวอร์ (Krover 1933 : 95) กล่าวถึงกระบวนการแสวงหาสารสนเทศว่า มีขั้นตอนดังนี้
1. ตระหนักถึงความต้องการสารสนเทศ บุคคลต้องการสารสนเทศเพื่อประกอบการงาน
ด้านการศึกษา การสร้างสรรค์ การตัดสินใจ หรืองานวิจัย บุคคลรู้ว่าต้องการสารนิเทศอะไร
2. ตัดสินใจเกี่ยวกับกิจกรรมในการแสวงหาสารสนเทศ
3. เลือกหนทางในการแสวงหาสารสนเทศ ในขั้นนี้กิจกรรมการแสวงหาสารสนเทศที่ใช้จะ
เป็นไปอย่างไม่เป็นทางการ
4. การแสวงหาสารสนเทศโดยแสดงวิธีเด่นชัด เช่นการค้นดรรชนี ปรึกษาบรรณารักษ์ หรือ
ถามบุคคลที่สนิท
5. ประเมินผล บุคคลจะประเมินผลการแสวงหาสารสนเทศของตนว่าควรกระทำต่อหรือยุติ
การกระทำ
6. การยอมรับ ถ้าผลการแสวงหาสารสนเทศเป็นที่พอใจ บุคคลอาจรับสารสนเทศนั้นเข้าสู่
ระบบสารสนเทศของตน เช่น โน้ต ถ่ายเอกสาร หรือเก็บเข้าสู่ระบบการประมวลคำ ถ้าหากเป็น
สารสนเทศที่ตรงกับความต้องการ บุคคลอาจจำสารนิเทศนั้นไว้ ซึ่งจะกลายเป็นความรู้ของบุคคล
นั้นต่อไป
7. ประโยชน์ ถ้าบุคคลเกิดการเรียนรู้สารสนเทศอาจทำให้บุคคลเปลี่ยนพฤติกรรมในการ
แสวงหาสารสนเทศ
ประภาวดี สืบสนธิ์ (2532 : 24) ให้ความหมายการแสวงหาสารสนเทศไว้ว่า เป็น
กระบวนการซึ่งเริ่มจากเมื่อบุคคลเล็งเห็นว่า สภาพความรู้ที่ตนมีอยู่ด้อยกว่าที่ตนต้องการไม่ว่าจะ
เพื่อการตอบคำถามที่ตนสงสัย อยากรู้ เพื่อแก้ปัญหา หรือการตัดสินใจจกระบวนการนี้จะ
ประกอบด้วย
1. การตระหนักถึงหรือเล็งเห็นความต้องการสารสนเทศ
2. การพิจารณาถึงแหล่งสารสนเทศ
3. การเลือกหนทางแสวงหาสารสนเทศ
โดยความต้องการสารสนเทศมีระดับของความต้องการขึ้นอยู่กับแต่ละสถานการณ์เริ่ม
ตั้งแต่ความต้องการที่รีบด่วน ไม่รีบด่วนมีความสัมพันธ์กับการเล็งเห็นว่าเรื่องนั้นเป็นเรื่องสำคัญ
หรือไม่ นับตั้งแต่ถ้ารู้ก็ดี จนถึงต้องรู้ ต้องได้
สารสนเทศนั้น
41
4. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
4.1 งานวิจัยในประเทศ
พิกุล วงศ์ก้อม (2539) ได้ศึกษา กลวิธีการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ของ
โรงเรียนมัธยมศึกษา ในกรุงเทพมหานคร และเขตการศึกษา 9 ผลการศึกษาพบว่า
1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในกรุงเทพมหานคร และเขตการศึกษา 9 ส่วนใหญ่มี
กลวิธีการเรียนทุกด้านในระดับกลาง และกลวิธีการเรียนที่นักเรียนใช้มากที่สุด คือ การจดบันทึก
รองลงมาคือการอ่านและการทบทวน
2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง และนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนต่ำมีกลวิธีทางการเรียนแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในกรุงเทพมหานคร และเขตการศึกษา 9 มีกลวิธีการเรียน
แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยนักเรียนในเขตการศึกษา 9 มีกลวิธีการเรียน
มากกว่านักเรียนในกรุงเทพมหานคร
4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงในเขตกรุงเทพมหานคร และ
เขตการศึกษา 9 มีกลวิธีการเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยนักเรียนใน
เขตการศึกษา 9 มีกลวิธีการเรียนมากกว่านักเรียนในกรุงเทพมหานคร
5. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำในกรุงเทพมหานครและเขต
การศึกษา 9 มีกลวิธีการเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยนักเรียนในเขต
การศึกษา 9 มีกลวิธีมากกว่านักเรียนในกรุงเทพมหานคร
อมรรัตน์ ถาวรานุรักษ์ (2539) การใช้สารนิเทศเพื่อการเตรียมตัวสอบเข้ามหาวิทยาลัย
ของนักเรียนที่จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ผลการศึกษาพบว่า
1. นักเรียนมีความเห็นว่า การเรียนรายวิชาต่าง ๆจากโรงเรียนเป็นประโยชน์ต่อการสอบ
เข้ามหาวิทยาลัยในระดับมาก
2. นักเรียนที่จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ใช้แหล่งความรู้ (สารนิเทศ) เพื่อการเตรียมตัวสอบ
เข้ามหาวิทยาลัยในระดับมาก ได้แก่ ซื้อหนังสือคู่มือเฉลยข้อสอบเก่ามาศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
ทบทวนวิชาที่สอบเข้ามหาวิทยาลัยจากหนังสือหรือตำราที่เรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
ด้วยตนเอง
3. เปรียบเทียบความคิดเห็นของนักเรียนที่จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เกี่ยวกับประโยชน์ของ
การเรียนวิชาต่าง ๆ จากโรงเรียนที่มีต่อการสอบเข้ามหาวิทยาลัย จำแนกตามตัวแปร พบว่านักเรียน
หญิงและนักเรียนชายที่มีระดับคะแนนสูงเห็นว่า มีประโยชน์มากกว่านักเรียนชาย และนักเรียนที่มี
42
ระดับคะแนนต่ำ ส่วนนักเรียนที่มีกลุ่มวิชาด้านสังคมศาสตร์และด้านมนุษยศาสตร์ กับด้าน
วิทยาศาสตร์และนักเรียนที่เรียนจบจากในเขตกรุงเทพมหานครกับนอกเขตกรุงเทพมหานคร มี
ความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน
พยอม ยุวสุต (2541) การใช้ห้องสมุดและสารสนเทศของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา
ตอนปลาย ในอำเภอเมือง เขตการศึกษา 5 ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้
1. นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสังกัดกรมสามัญศึกษาในอำเภอเมือง เขตการศึกษา
5 ปีการศึกษา 2541 มีความเห็นว่า สภาพห้องสมุดอยู่ในระดับกลาง และมีการใช้สารสนเทศอยู่ใน
ระดับปานกลางเช่นกัน นอกจากนี้ ยังพบว่าความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพห้องสมุดและการใช้
สารสนเทศของนักเรียนไม่มีความแตกต่างกันตามขนาดของโรงเรียน
2. นักเรียนมีพฤติกรรมการใช้ห้องสมุดและสารสนเทศอยู่ในระดับปานกลาง และพบ
พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของผู้อื่นอยู่ในระดับน้อย นักเรียนมีผลการเรียนต่างกัน มีพฤติกรรมการใช้
ห้องสมุดไม่แตกต่างกัน
เจริญ คุ้มอักษร (2543) ความต้องการสารสนเทศในชีวิตประจำวันของนักเรียนระดับ
มัธยมศึกษาตอนต้นในจังหวัดกาฬสินธุ์ ผลการศึกษาพบว่า
1. นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น มีความต้องการสารสนเทศในชีวิตประจำวันโดยภาพรวม
และรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยมีด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเรียงจากมากไปน้อยคือ ด้านแหล่ง
สารสนเทศ ด้านเนื้อหาสารสนเทศ และด้านรูปแบบสารสนเทศ
2. นักเรียนชายและนักเรียนหญิงมีความต้องการสารสนเทศในชีวิตประจำวัน โดยรวมไม่
แตกต่างกัน แต่นักเรียนชายมีความต้องการสารสนเทศในหมวดศิลปกรรมมากกว่านักเรียนหญิง
และนักเรียนหญิงมีความต้องการสารสนเทศทุกประเภทและทุกข้อมากกว่า แต่มีความต้องการ
สารสนเทศน้อยกว่านักเรียนชาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
รัตนา หันจางสิทธิ์. (2543). ความต้องการสารสนเทศของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา
โรงเรียนโสตศึกษา จังหวัดขอนแก่น ผลการศึกษาปรากฏดังนี้
1. นักเรียนโดยส่วนรวมและจำแนกตามเพศ มีความต้องการสารสนเทศโดยส่วนรวม เป็น
รายด้าน 2 ด้านอยู่ในระดับปานกลางและมีความต้องการด้านแหล่งและสารสนเทศอยู่ในระดับมาก
ยกเว้นนักเรียนหญิงมีความต้องการสารสนเทศด้านแหล่งสารสนเทศอยู่ในระดับปานกลาง
2. นักเรียนโดยส่วนรวมมีความต้องการสนเทศเป็นรายข้ออยู่ในระดับมาก 3 อันดับแรกคือ
ด้านเนื้อหาสารสนเทศได้แก่กลุ่มวิชาภาษาไทย เกม และการเพาะปลูก ด้านรูปแบบสารสนเทศ
43
ได้แก่ หนังสือพิมพ์ รายการโทรทัศน์ และรูปภาพต่าง ๆ ด้านแหล่งสารสนเทศได้แก่ เพื่อนหรือบุ
คลทั่วไป โทรทัศน์และห้องสมุดนอกจากนี้ นักเรียนชายมีความต้องการสารสนเทศเป็นรายข้อ อยู่
ในระดับมาก 3 อันดับแรก คือ ด้านเนื้อหาสารสนเทศ ได้แก่ เกม ชมภาพยนต์และการซื้อสินค้า
ด้านรูปแบบสารสนเทศได้แก่ รายการโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ และวีดีโอ ด้านแหล่งสารสนเทศ
ได้แก่ โทรทัศน์ ครู-อาจารย์และญาติพี่น้อง ส่วนนักเรียนหญิงมีความต้องการสารสนเทศด้าน
เนื้อหาสารสนเทศได้แก่ กลุ่มวิชาภาษาไทย การเพาะปลูก และการทำอาหาร ด้านรูปแบบ
สารสนเทศได้แก่ หนังสือตำรา หนังสือพิมพ์ และรูปภาพต่าง ๆ ด้านแหล่งสารสนเทศได้แก่ เพื่อน
หรือบุคลทั่วไป ห้องสมุด และโทรทัศน์
สรุป จะเห็นได้ว่าจากผลการศึกษาเกี่ยวกับการแสวงหาสารสนเทศ ของนักเรียนพบว่าเมื่อ
นักเรียนแสวงหาสารสนเทศนักเรียน จะมีวิธีการแสวงหาสารสนเทศที่แตกต่างกัน และส่วนใหญ่
นักเรียนจะแสวงหาสารสนเทศเป็นรายด้านแบ่งเป็น 3 ด้านคือ ด้านเนื้อหาสารสนเทศ รูปแบบ
สารสนเทศ และแหล่งสารสนเทศ และในการแสวงหาสารสนเทศของนักเรียนใช้วิธีในการแสวงหา
สารสนเทศที่แตกต่างกัน
4.2 งานวิจัยในต่างประเทศ
แมนคอล (Mancall. 1978:5193 – A) ได้ศึกษาถึงการใช้แหล่งความรู้นักเรียนระดับ
มัธยมศึกษาตอนปลายในโครงการเรียนรู้ด้วยตนเอง ผลการวิจัยมีดังนี้
1. นักเรียนสามารถค้นหาสารสนเทศได้จากห้องสมุดหลาย ๆ ประเภท
2. นักเรียนส่วนใหญ่เห็นว่าห้องสมุดเป็นสถานที่ให้ความช่วยเหลือได้
3. การใช้ห้องสมุดบ้านให้ผลต่อโครงการศึกษาห้องสมุดสำหรับบ้านและโรงเรียน
4. นักเรียนส่วนมากต้องการใช้หนังสือที่เป็นเล่ม มากกว่าวารสารหรือสิ่งพิมพ์อื่น
5. หนังสืออ้างอิงและวารสารอ้างอิงส่วนมากมีเนื้อหาล้าสมัย
6. นักเรียนยังประสบปัญหาในการค้นหาชื่อเรื่องจากการอ่านวารสาร
คัลเทรา (Kulthau,1988 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษากระบวนการค้นคว้าภายในห้องสมุดของ
นักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อเสนอรูปแบบของการค้นคว้าที่
แสดงถึงความคิดการกระทำ และความรู้สึกที่เกิดขึ้นในขณะค้นคว้า พบว่า กระบวนการค้นคว้าของ
นักศึกษา แบ่งเป็น 6 ขั้น คือ 1. ขั้นริเริ่มการปฏิบัติงาน (Task Initation) 2. ขั้นเลือกหัวข้อการทำ
รายงาน (Topic Selection) 3. ขั้นสำรวจประเด็นสำคัญของเนื้อหา (Prefocus Exploration) 4. ขั้นวาง
ประเด็นสำคัญของเนื้อหา (Focus Formulation) 5. ขั้นรวบรวมข้อมูล (Information Collection)
44
6. ขั้นสรุปและตรวจสอบข้อมูลที่ได้จากการค้นคว้า (Search Close) ในแต่ละขั้นตอนดังกล่าว
นักศึกษามีพฤติกรรมในการแสวงหาสารสนเทศ การใช้แหล่งสารสนเทศ และประเภทของ
สารสนเทศต่าง ๆ กันคือ ในด้านวิธีการแสวงหาสารสนเทศนักศึกษาใช้วิธีพูดคุยกับบุคคล ต่าง
ปรึกษาผู้รู้อย่างไม่เป็นทางการ แหล่งสารสนเทศที่นักศึกษาใช้ส่วนใหญ่เป็นห้องสมุด หรือสอบถาม
แหล่งที่เฉพาะเจาะจงกับรายงานที่นักศึกษาต้องการจากบรรณารักษ์ ส่วนประเภทของสารสนเทศที่
นักศึกษาใช้คือ ทรัพยากรต่างๆ ในห้องสมุด ส่วนมากจะเป็นหนังสืออ้างอิง ที่เป็นบรรณานุกรม
ท้ายเล่มของหนังสือเอกสาร และหนังสืออ้างอิงประเภทต่าง ๆ
ดู แคท (Ducat: 1990) ได้ศึกษาการใช้ห้องสมุดโรงเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาจำนวน 3
แห่ง ในสหรัฐอเมริกา ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนร้อยละ 40 ที่ใช้ห้องสมุด นอกนั้นจะใช้ห้องสมุด
น้อย นักเรียนที่เรียนดีจะใช้ห้องสมุดมากกว่านักเรียนที่เรียนอ่อน โดยมีวัตถุประสงค์ในการค้นคว้า
เพิ่มเติม แต่นักเรียนที่เรียนอ่อนขึ้นอยู่กับสิ่งอำนวยความสะดวกของห้องสมุด
ลาโทรบ (Latrobe, 1997 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาการสำรวจพฤติกรรมการแสวงหาสารนิเทศ
ของนักศึกษาทุนระดับมัธยมศึกษา โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาว่านักศึกษาที่ได้รับทุน มีความ
ต้องการสารนิเทศอย่างไรและนักศึกษาที่ได้รับทุน พบสารนิเทศที่เขาต้องการที่ไหน และเพื่อเป็น
แบบอย่างในการพัฒนาการศึกษาการค้นหาสารนิเทศ รวมทั้งข้อเสนอแนะสำหรับบรรณารักษ์ ใน
การให้บริการสารนิเทศแก่นักศึกษาระดับมัธยมศึกษา โดยวิธีการสำรวจโดยการออกแบบสอบถาม
และการสัมภาษณ์นักศึกษา ซึ่งในแบบสอบถาม คือ ความต้องการสารนิเทศ แหล่งค้นหาสารนิเทศ
ของนักศึกษา คือ 1) กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสารนิเทศ 2) วิธีการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน 3) แผนงาน
ในอนาคต 4) ความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น 5) สุขภาพ 6) สารนิเทศทั่ว ๆ ไป ซึ่งผลการศึกษาที่ได้เป็น
ข้อมูลเชิงคุณภาพของนักศึกษาแต่ละบุคคล ในการแสวงหาสารนิเทศ
สรุป จะเห็นได้ว่างานวิจัยของต่างประเทศที่ศึกษาเกี่ยวกับการแสวงหาสารสนเทศ พบว่า
เมื่อนักเรียนนักศึกษาต้องการแสวงหาสารสนเทศ จะมีพฤติกรรมในการแสวงหาสารสนเทศ การใช้
แหล่งสารสนเทศ และประเภทของสารสนเทศที่ต่างกันและการแสวงหาสารสนเทศของนักเรียน
นักศึกษาจะแสวงหาจากแหล่งสารสนเทศภายในโรงเรียน และจากแหล่งอื่น ๆ ด้วย
บทที่ 3
วิธีดำเนินการวิจัย
ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
1. ศึกษาเอกสาร ความสำคัญปัญหาและรวบรวมข้อมูล เพื่อกำหนดหัวข้อในการทำวิจัย
2. การกำหนดประชากรและการเลือกลุ่มตัวอย่าง
3. การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
4. การเก็บรวบรวมข้อมูล
5. การจัดกระทำและการวิเคราะห์ข้อมูล
1. การกำหนดประชากรและการเลือกกลุ่มตัวอย่าง
1. ประชากร
ได้แกน่ ักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท่ ี 1สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพนื้ ฐาน
กรุงเทพมหานคร 3 เขต รวมประชากรทั้งหมด 3 เขต จำนวน 9,151 คน
เขตพื้นที่การศึกษา 1 จำนวน 6 โรงเรียน แบ่งเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ 3 โรงเรียน ได้แก่
โรงเรียนสตรีวิทยา 625 คน โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย 589 คน โรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย
607 คน รวม 1,821 คน โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ 3 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนราชวินิตมัธยม 437
คน โรงเรียนวัดมกุฏกษัตริย์ 388 คน โรงเรียนวชิรธรรมสาธิต 550 คน รวม 1,375 คน
เขตพื้นที่การศึกษาที่ 2จำนวน6โรงเรียนแบ่งเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ 3โรงเรียน ได้แก่
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ 732 คน โรงเรียนเทพลีลา 516 คน โรงเรียนหอวัง 574 คน รวม
1,922 คน โรงเรียนขนาดใหญ่ 3 โรงเรียน ได้แก่โรงเรียนพิบูลอุปถัมภ์ 491 คน โรงเรียน บางกะปิ
สุขุมนวพันธ์อุปถัมภ์ 491 คน โรงเรียนบดินทร์เดชา (สิง สิงหเสนีย์) 4 352 คน รวม 1,009 คน
เขตพื้นที่การศึกษาที่ 3จำนวน 6 โรงเรียน แบ่งเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ 3 โรงเรียน
ได้แก่ โรงเรียนศึกษานารี 632 คน โรงเรียนวัดจันทร์ประดิษฐาราม 579 คน โรงเรียนสุวรรณา
ราม 529 คน รวม 1,740 คน โรงเรียนขนาดใหญ่ 3 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนวัดดุสิตาราม 665 คน
โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง 201 คน โรงเรียนราชวินิตบางแคปานขำ 418 คน รวม 1,284 คน
46
2. กลุ่มตัวอย่าง
การกำหนดกลุ่มตัวอย่างกำหนดโดยใช้สูตรของ Taro Yamane ในการหาจำนวนกลุ่ม
ประชากรกลุ่มตัวอย่าง สูตรที่ใช้คือ
n หมายถึง จำนวนกลุ่มตัวอย่าง
N E
N
1 + 2
n =
N หมายถึง จำนวนกลุ่มประชากร
E หมายถึง ค่าความเชื่อมั่นในที่นี้ใช้ที่ระดับ 95
E จึงมีค่าเท่ากับ 0.05
ในที่นี้ใช้กลุ่มตัวอย่าง 394 คน เพื่อความเชื่อมั่นที่เชื่อถือได้ การสุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่ม
แบบหลายขั้นตอน (Multi - sampling) โดยการแบ่งประชากรกลุ่มใหญ่เป็นกลุ่มย่อยและแยกเป็น
หญิง ชาย แล้วจึงคำนวณหากลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) ซึ่งกลุ่ม
ตัวอย่างที่ได้จากการคำนวณ เป็นดังนี้
ตารางที่ 1 กลุ่มตัวอย่างโรงเรียนขนาดใหญ่
กลุ่มประชากร กลุ่มตัวอย่าง
ลำดับที่ โรงเรียน
รวม ชาย หญิง รวม ชาย หญิง
โรงเรียนราชวินิตมัธยม 437 227 210 18 9 9
โรงเรียนมัธยมวัดมกุฏกษัตริย์ 388 247 141 16 10 6
เขตพื้นที่
การศึกษาที่
1 โรงเรียนวชิรธรรมสาธิต 316 285 265 23 12 11
โรงเรียนพิบูลอุปถัมภ์ 166 99 67 7 4 3
โรงเรียนบางกะปิขุนนวพันธ์อุปภัมภ์ 491 251 240 21 11 10
เขตพื้นที่
การศึกษาที่
2 โรงเรียนบดินทร์เดชา(สิง สิงหเสนี)4 352 190 162 15 8 7
โรงเรียนมัธยมวัดดุสิตาราม 438 211 227 28 10 18
โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง 201 117 84 10 5 5
เขตพื้นที่
การศึกษาที่
3 โรงเรียนราชวินิตบางแคปานขำ 418 231 187 28 10 18
รวม 2,980 1,874 1,794 166 79 87
47
ตารางที่ 2 กลุ่มตัวอย่างโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ
ลำดับที่ โรงเรียน กลุ่มประชากร กลุ่มตัวอย่าง
รวม ชาย หญิง รวม ชาย หญิง
โรงเรียนสตรีวิทยา 625 - 625 26 - 26
โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย 589 589 - 25 25 -
เขตพื้นที่
การศึกษาที่
1 โรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย 607 294 313 25 12 13
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ 732 375 357 30 15 15
โรงเรียนเทพลีลา 516 251 265 21 10 11
เขตพื้นที่
การศึกษาที่
2 โรงเรียนหอวัง 674 334 340 28 14 14
โรงเรียนศึกษานารี 632 332 300 27 14 13
โรงเรียนจันทร์ประดิษฐารามวิทยาคม 579 295 284 24 12 12
เขตพื้นที่
การศึกษาที่
3 โรงเรียนสุวรรณราม 529 238 291 22 10 12
รวม 5,483 2,708 2,775 228 112 116
2. การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถามการแสวงหาสารสนเทศเพื่อการศึกษาต่อ
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรุงเทพมหานคร
1. ศึกษาค้นคว้าจากหนังสือ เอกสาร วารสาร และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการแสวงหา
สารสนเทศเพื่อการศึกษาต่อ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 นอกจากนี้ผู้วิจัยได้ศึกษาค้นคว้าจาก
หนังสือ และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียนประถมศึกษาของกรุงเทพมหานคร เพื่อเป็นกรอบใน
การสร้างแบบสอบถามการแสวงหาสารสนเทศ เพื่อการศึกษาต่อของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรุงเทพมหานคร
2. สร้างแบบสอบถามจากข้อมูลที่ได้ศึกษาให้สอดคล้องกับข้อ 1 โดยนำข้อมูลที่ได้จากข้อ
1 มาสร้างแบบสอบถามการแสวงหาสารสนเทศ เพื่อการศึกษาต่อของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรุงเทพมหานคร
3. นำแบบสอบถามที่สร้างขึ้นเสนอคณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ เพื่อตรวจสอบ
ความถูกต้องของเนื้อหาและความเหมาะสมในการใช้ถ้อยคำ แล้วนำมาแก้ไขปรับปรุงให้ถูกต้อง
ยิ่งขึ้น
48
4. นำแบบสอบถามการแสวงหาสารสนเทศ เพื่อการศึกษาต่อของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี
ที่ 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรุงเทพมหานคร ที่ปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำ
ของคณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์นิพนธ์เรียบร้อยแล้ว เสนอต่อคณะกรรมการควบคุม
วิทยานิพนธ์เพื่อขอความเห็นชอบ ให้นำแบบสอบถามไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี
ที่ 1 โรงเรียนเบญจมราชาลัย
5. นำแบบสอบถามที่ทดลองใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเบญมราชาลัย
มาปรับปรุงแก้ไข ให้ข้อคำถามมีความชัดเจนยิ่งขึ้น แล้วนำเสนอต่อคณะกรรมการควบคุม
วิทยานิพนธ์เพื่อตรวจสอบอีกครั้งหนึ่ง จากนั้นนำแบบสอบถามที่ได้ปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำ
ของคณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ เสนอต่อคณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ เพื่อขอความ
เห็นชอบให้นำแบบสอบถามไปใช้ในการเก็บข้อมูล
6. นำแบบสอบถามการแสวงหาสารสนเทศเพื่อการศึกษาต่อ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี
ที่ 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรุงเทพมหานคร ที่ผ่านการพิจารณาจาก
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์แล้ว มาให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นผู้ตอบ
3. การเก็บรวบรวมข้อมูล
1. ผู้วิจัยทำหนังสือจากมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา นำไปขออนุญาต
ผู้อำนวยการโรงเรียน เพื่อขอความร่วมมือในการตอบแบบสอบถามและแนบหนังสือแนะนำตัว
พร้อมทั้งแบบสอบถามด้วยนำไปด้วยตนเอง
2. เก็บแบบสอบถามด้วยตนเองคืนจากโรงเรียนต่าง ๆ โดยได้ส่งแบบสอบถามไป 500
ชุด ได้รับกลับคืนมา 400 ชุด ซึ่งมากกว่าจำนวนกลุ่มตัวอย่างที่กำหนดไว้
4. การจัดกระทำข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล
เมื่อได้แบบสอบถามกลับคืนมาทั้งหมด ผู้วิจัยจะทำการตรวจสอบความสมบูรณ์ของ
แบบสอบถามและทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติสำหรับการวิจัยทาง
สังคมศาสตร์ SPSS/PC+ ( The Statistical Package for the Social Sciences / Personal Computer
Plus ) ตามขั้นตอนดังนี้
1. นำข้อมูลจากแบบสอบถามตอนที่ 1 เกี่ยวกับสถานภาพส่วนตัว ระดับผลการเรียน
รายได้ครอบครัว ของผู้ตอบแบบสอบถาม โดยการหาค่า (Mean)จากจำนวนผู้ตอบแบบสอบถามใน
ส่วนที่เกี่ยวข้อง
49
2. นำข้อมูลจากแบบสอบถามตอนที่ 2 เกี่ยวกับการแสวงหาสารสนเทศเพื่อการศึกษาต่อ
ของนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เป็นข้อคำถามแบบประมาณค่า 5 ระดับ
คำนวณหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานโดยกำหนดคะแนนคำตอบในแต่ละระดับ ดังนี้
แสวงหามากที่สุด มีค่าเท่ากับ 5 คะแนน
แสวงหามาก มีค่าเท่ากับ 4 คะแนน
แสวงหาปานกลาง มีค่าเท่ากับ 3 คะแนน
แสวงหาน้อย มีค่าเท่ากับ 2 คะแนน
แสวงหาน้อยที่สุด มีค่าเท่ากับ 1 คะแนน
ในการแปรผลข้อมูลใช้เกณฑ์ดังนี้
ค่าเฉลี่ย 4.50 – 5.00 หมายความว่า ระดับการแสวงหา / ปัญหาในการแสวงหา มากที่สุด
ค่าเฉลี่ย 3.50 – 4.49 หมายความว่า ระดับการแสวงหา / ปัญหาในการแสวงหา มาก
ค่าเฉลี่ย 2.50 – 3.49 หมายความว่า ระดับการแสวงหา / ปัญหาในการแสวงหา ปานกลาง
ค่าเฉลี่ย 1.50 – 2.49 หมายความว่า ระดับการแสวงหา / ปัญหาในการแสวงหา น้อย
ค่าเฉลี่ย 1.00 – 1.49 หมายความว่า ระดับการแสวงหา / ปัญหาในการแสวงหา น้อยที่สุด
3. สถิติที่ใช้หาคุณภาพเครื่องมือ
3.1 หาค่าอำนาจจำแนกของแบบสอบถามรายข้อ โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหพันธ์อย่าง
ง่ายแบบเพียร์สัน ระหว่างคะแนนรายข้อกับผลรวมทั้งฉบับ ( บุญชม ศรีสะอาด. 2535 : 106 – 108 )
3.2 หาความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม โดยใช้ค่าสัมประสิทธ์แอลฟา ตามวิธีของ
ครอนบาค ( บุญชม ศรีสะอาด. 2535 : 96 – 98 )
4. สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล เปรียบเทียบพฤติกรรม การแสวงหาสารสนเทศเพื่อการศึกษา
ต่อและปัญหาในการแสวงหาสารสนเทศเพื่อการศึกษาต่อโดยจำแนกดังนี้
4.1 ตัวแปรเพศใช้สถิติ T- Test
4.2 ตัวแปรระดับผลการเรียนใช้สถิติ F-Test
4.3 ตัวแปรรายได้ครอบครัวใช้สถิติ F-Test
4.4 ตัวแปรขนาดโรงเรียนใช้สถิติ T- Test
บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
1. สัญลักษณ์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันในการเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยได้ใช้สัญลักษณ์ต่าง
ๆในการแปลความหมายในการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้
X แทน คะแนนเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง
S.D แทน ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน
t แทน ค่าทดสอบนัยสำคัญคะแนนเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง
2. การเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ผู้วิจัยเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล ตามลำดับ ดังนี้
1. ข้อมูลส่วนตัวของผู้ตอบแบบสอบถาม
2. การแสวงหาสารสนเทศเพื่อการศึกษาต่อของนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 6
3. ปัญหาในการแสวงหาสารสนเทศเพื่อการศึกษาต่อของนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 6
3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ตารางที่ 1 แสดงระดับการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศจำแนกตามเพศ
ปัญหาในการแสวงหา
เพศหญิง เพศชาย
เนื้อหาสารสนเทศ
2
X SD.
2
X SD.
t Sig.
(2-tailed)
กลุ่มสาระคณิตศาสตร์
สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ 3.24 0.62 2.89 0.67 5.32 0.00**
สาระที่ 2 การวัด 3.34 0.82 3.09 0.82 3.01 0.00**
สาระที่ 3 เรขาคณิต 3.61 0.82 3.29 0.86 3.79 0.00**
สาระที่ 4 พีชคณิต 2.97 0.84 2.87 0.79 1.22 0.22
51
ปัญหาในการแสวงหา
เพศหญิง เพศชาย
เนื้อหาสารสนเทศ
2
X SD.
2
X SD.
t Sig.
(2-tailed)
สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความ
น่าจะเป็น
3.27 0.96 3.07 0.92 2.12 0.03*
สาระที่ 6 ทักษะ/กระบวนการทาง
คณิตศาสตร์
3.40 0.96 3.26 1.01 1.40 0.16
กลุ่มสาระภาษาไทย
สาระที่ 1 การอ่าน 3.66 0.88 3.54 0.88 1.31 0.19
สาระที่ 2 การเขียน 3.56 0.95 3.44 0.94 1.18 0.23
สาระที่ 3 การฟัง ดู พูด 3.61 0.82 3.62 0.92 -0.13 0.89
สาระที่ 4 หลักการใช้ภาษา 3.40 0.81 3.34 0.81 0.76 0.44
สาระที่ 5 วรรณคดีและวรรณกรรม 3.31 0.94 3.13 0.95 1.79 0.07
กลุ่มวิทยาศาสตร์
สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการ
ดำรงชีวิต
3.59 0.77 3.38 0.92 2.51 0.01**
สาระที่ 2 ชีวิตและสิ่งแวดล้อม 3.68 0.78 3.40 0.79 3.44 0.00**
สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร 3.20 0.94 3.00 0.96 2.12 0.03*
สาระที่ 4 แรงและการเคลื่อนที่ 3.25 0.81 3.13 0.84 1.42 0.15
สาระที่ 5 พลังงาน 3.22 0.87 3.16 0.86 0.65 0.51
สาระที่ 6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของ
โลก
2.96 0.93 2.93 1.03 0.24 0.80
สาระที่ 7 ดาราศาสตร์และอวกาศ 3.05 1.14 2.94 1.17 0.96 0.33
สาระที่ 8 ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี
3.30 0.98 3.23 1.07 0.72 0.46
กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและ
วัฒนธรรม
สาระที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม 3.19 0.94 3.13 0.98 0.58 0.56
สาระที่ 2 หน้าที่พล เมือง วัฒนธรรมและ
การดำเนินชีวิตในสังคม
3.52 0.92 3.43 0.96 0.91 0.36
สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ 3.03 0.90 3.16 0.97 -1.44 0.14
52
สาระที่ 4 ประวัติศาสตร์ 3.13 0.95 3.33 1.00 -1.96 0.05*
ปัญหาในการแสวงหา
เพศหญิง เพศชาย
เนื้อหาสารสนเทศ
2
X SD.
2
X SD.
t Sig.
(2-tailed)
สาระที่ 5 ภูมิศาสตร์ 3.24 0.94 3.37 1.01 -1.31 0.18
กลุ่มสาระศิลปะ
สาระที่ 1 ทัศนศิลป์ 3.57 0.85 3.42 0.78 1.74 0.08
สาระที่ 2 ดนตรี 3.62 0.80 3.50 0.84 1.46 0.14
สาระที่ 3 นาฏศิลป์ 3.29 1.14 3.02 1.01 2.35 0.01**
กลุ่มสาระวิชาการงานอาชีพและ
เทคโนโลยี
สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว 3.75 0.83 3.69 0.83 0.69 0.48
สาระที่ 2 การอาชีพ 3.69 0.89 3.52 1.00 1.75 0.07
สาระที่ 3 การออกแบบเทคโนโลยี 3.19 1.00 3.16 1.00 0.30 0.75
สาระที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศ 3.21 1.08 3.05 1.12 1.42 0.15
สาระที่ 5 เทคโนโลยีเพื่อการทำงานและ
อาชีพ
3.19 0.96 3.20 0.94 -0.09 0.92
กลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษา
สาระที่ 1 การเจริญเติบโตและพัฒนาการ
ของมนุษย์
3.52 1.01 3.60 1.07 -0.71 0.47
สาระที่ 2 ชีวิตและครอบครัว 3.80 0.96 3.86 0.97 -0.52 0.59
สาระที่ 3 การเคลื่อนไหว การออกกำลัง
กาย การเล่นเกม
3.894 0.99 3.90 1.02 -0.13 0.89
สาระที่ 4 การสร้างเสริมสุขภาพ
สมรรถภาพ และการป้องกันโรค
3.64 0.93 3.62 0.95 0.15 0.88
สาระที่ 5 ความปลอดภัยในชีวิต 3.92 1.00 3.78 0.99 1.28 0.20
กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ
สาระที่ 1 ภาษาเพื่อการสื่อสาร 3.28 0.87 3.35 0.89 -0.86 0.38
สาระที่ 2 ภาษาและวัฒนธรรม 3.55 0.90 3.54 0.84 0.13 0.89
สาระที่ 3 ภาษากับความสัมพันธ์กับกลุ่ม
สาระการเรียนรู้อื่น
3.21 1.00 3.20 1.04 0.11 0.91
สาระที่4 ภาษากับความสัมพันธ์ กับชุมชนโลก 3.16 0.94 3.21 1.11 -0.43 0.66
53
* มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ** มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
1.1 ระดับการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศจำแนกตามเพศ
ระดับการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศจำแนกตามเพศ จากตารางที่ 1 สามารถแยกเป็นกลุ่ม
ต่างๆ ดังนี้
1) กลุ่มสาระคณิตศาสตร์ ผลปรากฏว่านักเรียนทั้งนักเรียนหญิงและนักเรียนชายมีระดับ
การแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศในกลุ่มสาระคณิตศาสตร์สูงที่สุดในสาระที่ 3 เรขาคณิต ค่าเฉลี่ยของ
นักเรียนหญิงและนักเรียนชายโดยมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.61 และ 3.29 ตามลำดับ รองลงมาคือสาระที่
6 ทักษะ/กระบวนการทางคณิตศาสตร์ ค่าเฉลี่ยของนักเรียนหญิงและนักเรียนชายโดยมีค่าเฉลี่ย
เท่ากับ 3.40 และ 3.26 ตามลำดับ และเมื่อมีการเปรียบเทียบระดับการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศ
จำแนกตามเพศ พบว่าเพศหญิงมีระดับการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศดีกว่าเพศชาย โดยเฉพาะใน
เรื่องจำนวนและการดำเนินการ การวัด เรขาคณิต และการวิเคราะห์ข้อมูลความน่าจะเป็น นักเรียน
หญิงมีระดับการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศดีกว่านักเรียนชายอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่น
95% (พิจารณาจากค่า Sig. (2-tailed) ในตาราง มีค่าน้อยกว่า 0.05)
2) กลุ่มสาระภาษาไทย ผลปรากฏว่านักเรียนหญิงมีระดับการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศ
ในกลุ่มสาระภาษาไทยด้านสาระการอ่านสูงที่สุด รองลงมาคือ ด้านสาระการฟัง ดู พูด ส่วนนักเรียน
ชายมีระดับการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศในสาระด้านการอ่านสูงที่สุด รองลงมาคือสาระด้านการ
ฟัง ดู พูด ในกลุ่มสาระภาษาไทยนี้นักเรียนหญิงและนักเรียนชาย ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ
ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% (พิจารณาจากค่า Sig. (2-tailed) ในตาราง มีค่ามากกว่า 0.05 ในทุกสาระ
ของกลุ่มนี้)
3) กลุ่มวิทยาศาสตร์ ในกลุ่มนี้นักเรียนหญิงและนักเรียนชายมีระดับการแสวงหาเนื้อหา
สารสนเทศสูงสุดในกลุ่มวิทยาศาสตร์เหมือนกันคือ สาระที่ 2 ชีวิตและสิ่งแวดล้อมโดยมีค่าเฉลี่ย
เท่ากับ 3.68 และ 3.40 ตามลำดับ รองลงมาคือสาระที่ 1 สิ่งมีชีวิต กับกระบวนการดำรงชีวิตโดยมี
ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.59 และ 3.37 ตามลำดับ สำหรับกลุ่มนี้นักเรียนหญิงและนักเรียนชายมีระดับการ
แสวงหาเนื้อหาสารสนเทศกลุ่มวิทยาศาสตร์ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญในด้านชีวิตและ
สิ่งแวดล้อม ด้านสิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต และด้านสารและสมบัติของสาร ที่ระดับความ
เชื่อมั่น 95%
4) กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ในกลุ่มนี้นักเรียนหญิงและนักเรียนชายมี
ระดับการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศสูงสุดเหมือนกันคือ ในสาระที่ 2 หน้าที่พลเมืองวัฒนธรรมและ
การดำเนินชีวิตในสังคมโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.50 และ 3.43 ตามลำดับ รองลงมาคือ สาระที่ 5
ภูมิศาสตร์ โดย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.24 และ 3.37 ตามลำดับ สำหรับกลุ่มนี้นักเรียนหญิงและนักเรียน
54
ชายมีระดับการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมไม่แตกต่าง
กันอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
5) กลุ่มสาระศิลปะ ในกลุ่มนี้นักเรียนหญิงและนักเรียนชายมีระดับการแสวงหาเนื้อหา
สารสนเทศสูงสุดเหมือนกันคือ ในสาระที่ 2 ดนตรี โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.53 และ 3.61 ตามลำดับ
ในกลุ่มนี้โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษและโรงเรียนขนาดใหญ่มีระดับการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศ
ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
6) กลุ่มสาระวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนกลุ่มนี้ พบว่านักเรียนหญิง
และนักเรียนชายมีระดับการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศสูงสุดเหมือนกันคือ สาระที่ 1 การดำรงชีวิต
และครอบครัว โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.76 และ 3.66 ตามลำดับ รองลงมาคือ สาระที่ 2 การอาชีพ
กลุ่มนี้นักเรียนหญิงและนักเรียนชายมีระดับการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศไม่แตกต่างกันอย่างมี
นัยสำคัญ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
7) กลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนกลุ่มนี้ พบว่านักเรียนหญิงมีระดับการ
แสวงหาเนื้อหาสารสนเทศสูงสุดคือ สาระที่ 5 ความปลอดภัยในชีวิต โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.92
รองลงมาคือ สาระที่ 3 การเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย การเล่นเกม โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.89
สำหรับนักเรียนชายมีระดับการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศสูงสุดคือ สาระที่ 3 การเคลื่อนไหว การ
ออกกำลังกาย การเล่นเกมโดยมีค่าเฉลี่ยกับ 3.90 รองลงมาคือ สาระที่ 2 ชีวิตและครอบครัว มี
ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.86 แต่กลุ่มนี้นักเรียนหญิงและนักเรียนชายมีระดับการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศ
ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
8) กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ พบว่านักเรียนหญิงและนักเรียนชายมีระดับการแสวงหา
เนื้อหาสารสนเทศสูงสุดเหมือนกันคือ สาระที่ 2 ภาษาและวัฒนธรรม โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.5 และ
3.52 ตามลำดับ รองลงมาคือ สาระที่ 1 ภาษาเพื่อการสื่อสาร โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.28 และ 3.35
ตามลำดับ ในกลุ่มนี้นักเรียนหญิงและนักเรียนชายมีระดับการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศไม่
แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
55
ตารางที่ 2 แสดงระดับการแสวงหาแหล่งสารสนเทศจำแนกตามเพศ
ปัญหาในการแสวงหา
เพศหญิง เพศชาย
แหล่งสารสนเทศ
2
X SD.
2
X SD.
t Sig.
(2-tailed)
แหล่งสารสนเทศสถานที่
จากห้องสมุดโรงเรียน 3.67 0.99 3.45 1.06 2.04 0.04*
จากห้องสมุดประชาชน 2.74 1.10 2.69 1.06 0.44 0.66
จากห้องสมุดหมวดวิชาต่าง ๆ 2.87 1.11 2.91 1.15 -0.35 0.69
จากห้องสมุดมหาวิทยาลัย 2.41 1.21 2.50 1.22 -0.72 0.47
จากหอสมุดแห่งชาติ 2.81 1.37 2.70 1.30 0.78 0.43
จากห้องแนะแนว 2.87 1.19 2.81 1.24 0.46 0.64
แหล่งสารสนเทศบุคคล
จากพ่อ แม่ ผู้ปกครอง 4.13 1.17 4.03 1.09 0.92 0.35
จากเพื่อน 3.98 0.93 3.81 1.03 1.72 0.08
จากอาจารย์ที่ปรึกษา 3.69 1.01 3.55 1.08 1.34 0.17
จากบรรณารักษ์ห้องสมุด 3.25 1.07 3.00 1.18 2.19 0.02*
จากอาจารย์ท่านอื่นในโรงเรียน 3.26 1.44 3.03 1.28 1.67 0.09
อื่น ๆ 2.00 0.00 2.00 0.00
แหล่งสารสนเทศวัสดุ
จากการชมรายการโทรทัศน์ 4.04 1.05 3.75 1.28 2.40 0.01**
จากการฟังวิทยุ 3.79 1.16 3.54 1.18 2.04 0.04*
จากการอ่านหนังสือตำรา 3.50 1.15 3.11 1.29 3.16 0.00**
จากการอ่านหนังสือพิมพ์ 3.56 1.09 3.35 1.09 1.84 0.06
จากการอ่านวารสาร นิตยสาร 3.44 1.11 3.21 1.14 1.98 0.04*
จากจุลสารทางวิชาการ 3.11 1.00 2.83 1.02 2.66 0.00**
จากวีดีทัศน์ประกอบการเรียน 3.13 1.14 3.07 1.22 0.54 0.58
จากการชมนิทรรศการทางวิชาการ 3.17 1.03 3.05 1.15 1.10 0.27
จากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เช่น
โปรแกรม
3.70 0.99 3.63 1.07 0.64 0.52
จากสารสนเทศบน อินเทอร์เน็ต
3.57 1.11 3.63 1.03 -0.45 0.62
56
ปัญหาในการแสวงหา
เพศหญิง เพศชาย
แหล่งสารสนเทศ
2
X SD.
2
X SD.
t Sig.
(2-tailed)
ประเภททรัพยากรสารสนเทศ
ทรัพยากรสารสนเทศประเภทวัสดุตีพิมพ์
หนังสือทั่วไป 3.83 0.83 3.68 0.87 1.70 0.08
หนังสืออ้างอิง 3.32 1.06 3.14 1.03 1.67 0.09
วารสารหรือนิตยสาร 3.45 0.87 3.31 0.99 1.47 0.13
หนังสือพิมพ์ 3.65 1.12 3.40 1.10 2.20 0.02*
จุลสาร 2.98 1.05 2.86 1.06 1.08 0.27
กฤตภาค 2.75 1.15 2.59 1.10 1.35 0.17
ทรัพยากรสารสนเทศประเภทวัสดุไม่
ตีพิมพ์
วิทยุ 3.96 1.16 3.84 1.16 1.02 0.30
โทรทัศน์ 4.20 0.96 4.10 1.05 0.95 0.33
คอมพิวเตอร์ 4.09 1.02 3.88 1.18 1.88 0.06
วีดีทัศน์ 3.56 1.13 3.41 1.13 1.30 0.19
แผนที่ 3.32 0.90 3.20 1.08 1.24 0.21
หุ่นจำลอง 3.08 1.01 2.94 1.21 1.27 0.20
อื่น ๆ 2.00 0.00 2.00 0.00
* มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ** มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
1.2 ระดับการแสวงหาแหล่งสารสนเทศจำแนกตามเพศ
ระดับการแสวงหาแหล่งสารสนเทศจำแนกตามเพศ จากตารางที่ 2 สามารถสรุปได้ ดังนี้
1) แหล่งสารสนเทศสถานที่ ระดับการแสวงหาแหล่งสารสนเทศสถานที่ที่นักเรียนหญิง
และนักเรียนชายแสวงหามากที่สุดได้แก่ ห้องสมุดโรงเรียน โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.67 และ 3.45 ใน
นักเรียนหญิงและนักเรียนชายตามลำดับ แหล่งสารสนเทศสถานที่ที่นักเรียนหญิงแสวงหาเป็น
อันดับสองได้แก่ จากห้องแนะแนว นักเรียนชายได้แก่ จากห้องสมุดหมวดวิชาต่าง ๆ โดยจะพบว่า
นักเรียนหญิงกับนักเรียนชาย มีค่าเฉลี่ยจากการแสวงหาแหล่งสารสนเทศสถานที่แตกต่างกันอย่างมี
นัยสำคัญ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
57
2) แหล่งสารสนเทศบุคคล ระดับการแสวงหาแหล่งสารสนเทศบุคคลที่นักเรียนหญิงและ
นักเรียนชายแสวงหามากที่สุดได้แก่ จากพ่อ แม่โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.13 และ 4.03 ในนักเรียน
หญิงและนักเรียนชายตามลำดับ แหล่งสารสนเทศบุคคลที่นักเรียนหญิงและนักเรียนชายแสวงหา
เป็นอันดับสองได้แก่ จากเพื่อน โดยจะพบว่านักเรียนหญิงกับนักเรียนชายมีคะแนนการแสวงหา
แหล่งสารสนเทศบุคคลไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
3) แหล่งสารสนเทศวัสดุ ระดับการแสวงหาแหล่งสารสนเทศวัสดุที่นักเรียนหญิงและ
นักเรียนชายแสวงหามากที่สุดได้แก่ จากการชมรายการโทรทัศน์ โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.04 และ
3.75 ในนักเรียนหญิงและนักเรียนชายตามลำดับ แหล่งสารสนเทศวัสดุที่นักเรียนหญิงแสวงหาเป็น
อันดับสองได้แก่ จากการฟังวิทยุ นักเรียนชายได้แก่ จากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยจะพบว่า
นักเรียนหญิงกับนักเรียนชายมีคะแนนการแสวงหาแหล่งสารสนเทศสถานที่แตกต่างกันจากการ
อ่านหนังสือตำรา จากการชมรายการโทรทัศน์ จากการฟังวิทยุอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับความเชื่อมั่น
95%
ประเภททรัพยากรสารสนเทศ
1. ทรัพยากรสารสนเทศประเภทวัสดุตีพิมพ์ ระดับการแสวงหาแหล่งสารสนเทศประเภท
วัสดุตีพิมพ์ที่นักเรียนหญิงและนักเรียนชายแสวงหามากที่สุดได้แก่ หนังสือทั่วไป โดยมีค่าเฉลี่ย
เท่ากับ 3.83และ 3.68 ในนักเรียนหญิงและนักเรียนชายตามลำดับ รองลงมาได้แก่แหล่งสารสนเทศ
จากหนังสือพิมพ์ โดยจะพบว่านักเรียนหญิงกับนักเรียนชายมีคะแนนการแสวงหาแหล่งสารสนเทศ
ประเภทวัสดุสิ่งตีพิมพ์ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
2. ทรัพยากรสารสนเทศประเภทวัสดุไม่ตีพิมพ์ ระดับการแสวงหาแหล่งสารสนเทศ
ประเภทวัสดุไม่ตีพิมพ์ที่นักเรียนหญิงและนักเรียนชายแสวงหามากที่สุดได้แก่ โทรทัศน์ โดยมี
ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.83 และ 3.68 ในนักเรียนหญิงและนักเรียนชายตามลำดับ รองลงมาได้แก่แหล่ง
สารสนเทศจากคอมพิวเตอร์ โดยจะพบว่านักเรียนหญิงกับนักเรียนชายมีคะแนนการแสวงหาแหล่ง
สารสนเทศประเภทวัสดุไม่ตีพิมพ์ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
58
ตารางที่ 3 แสดงระดับการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศจำแนกตามขนาดโรงเรียน
ระดับการแสวงหา
ขนาดใหญ่พิเศษ ขนาดใหญ่
เนื้อหาสารสนเทศ
2
X SD.
2
X SD.
t Sig.
(2-tailed)
กลุ่มสาระคณิตศาสตร์
สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ 3.00 0.64 3.16 0.69 -2.31 0.02*
สาระที่ 2 การวัด 3.14 0.83 3.32 0.81 -2.04 0.04*
สาระที่ 3 เรขาคณิต 3.39 0.85 3.54 0.86 -1.73 0.08
สาระที่ 4 พีชคณิต 2.86 0.78 3.00 0.85 -1.55 0.11
สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความ
น่าจะเป็น
3.10 0.94 3.26 0.93 -1.67 0.09
สาระที่ 6 ทักษะ/กระบวนการทาง
คณิตศาสตร์
3.26 0.99 3.43 0.95 -1.64 0.10
กลุ่มสาระภาษาไทย
สาระที่ 1 การอ่าน 3.57 0.88 3.64 0.87 -0.84 0.39
สาระที่ 2 การเขียน 3.47 0.98 3.54 0.88 -0.72 0.47
สาระที่ 3 การฟัง ดู พูด 3.60 0.85 3.64 0.91 -0.39 0.69
สาระที่ 4 หลักการใช้ภาษา 3.33 0.81 3.42 0.80 -1.06 0.28
สาระที่ 5 วรรณคดีและวรรณกรรม 3.17 0.92 3.30 0.99 -1.31 0.18
กลุ่มวิทยาศาสตร์
สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการ
ดำรงชีวิต
3.48 0.84 3.48 0.88 -0.00 0.99
สาระที่ 2 ชีวิตและสิ่งแวดล้อม 3.53 0.80 3.54 0.79 -0.06 0.94
สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร 3.04 0.95 3.17 0.95 -1.32 0.18
สาระที่ 4 แรงและการเคลื่อนที่ 3.14 0.81 3.26 0.85 -1.49 0.13
สาระที่ 5 พลังงาน 3.16 0.86 3.23 0.86 -0.83 0.40
สาระที่ 6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของ
โลก
2.95 0.96 2.93 1.00 0.15 0.87
สาระที่ 7 ดาราศาสตร์และอวกาศ 2.96 1.11 3.04 1.21 -0.70 0.48
สาระที่ 8 ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี
3.24 1.05 3.29 0.98 -0.50 0.61
59
ระดับการแสวงหา
ขนาดใหญ่พิเศษ ขนาดใหญ่
เนื้อหาสารสนเทศ
2
X SD.
2
X SD.
t Sig.
(2-tailed)
กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและ
วัฒนธรรม
สาระที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม 3.17 0.95 3.14 0.98 0.34 0.73
สาระที่ 2 หน้าที่พล เมือง วัฒนธรรมและ
การดำเนินชีวิตในสังคม
3.50 0.91 3.43 0.97 0.65 0.51
สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ 3.11 0.90 3.07 0.97 0.44 0.65
สาระที่ 4 ประวัติศาสตร์ 3.26 0.94 3.17 1.03 0.86 0.38
สาระที่ 5 ภูมิศาสตร์ 3.35 0.95 3.25 1.00 0.99 0.32
กลุ่มสาระศิลปะ
สาระที่ 1 ทัศนศิลป์ 3.46 0.83 3.53 0.79 -0.78 0.43
สาระที่ 2 ดนตรี 3.53 0.79 3.61 0.85 -0.94 0.34
สาระที่ 3 นาฏศิลป์ 3.14 1.06 3.16 1.11 -0.19 0.84
กลุ่มสาระวิชาการงานอาชีพและ
เทคโนโลยี
สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว 3.76 0.82 3.66 0.84 1.18 0.23
สาระที่ 2 การอาชีพ 3.60 0.94 3.61 0.96 -0.05 0.95
สาระที่ 3 การออกแบบเทคโนโลยี 3.11 1.01 3.27 0.97 -1.55 0.12
สาระที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศ 3.05 1.12 3.25 1.07 -1.77 0.07
สาระที่ 5 เทคโนโลยีเพื่อการทำงานและ
อาชีพ
3.16 0.97 3.25 0.93 -0.83 0.40
กลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษา
สาระที่ 1 การเจริญเติบโตและพัฒนาการ
ของมนุษย์
3.53 1.04 3.60 1.03 -0.72 0.47
สาระที่ 2 ชีวิตและครอบครัว 3.84 0.94 3.82 1.00 0.15 0.88
สาระที่ 3 การเคลื่อนไหว การออกกำลัง
กาย การเล่นเกม
3.89 1.00 3.90 1.01 -0.04 0.96
สาระที่ 4 การสร้างเสริมสุขภาพ
สมรรถภาพ และการป้องกันโรค
3.63 0.92 3.63 0.97 -0.03 0.97
60
ระดับการแสวงหา
ขนาดใหญ่พิเศษ ขนาดใหญ่
เนื้อหาสารสนเทศ
2
X SD.
2
X SD.
t Sig.
(2-tailed)
สาระที่ 5 ความปลอดภัยในชีวิต 3.84 0.99 3.86 1.01 -0.18 0.85
กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ
สาระที่ 1 ภาษาเพื่อการสื่อสาร 3.29 0.86 3.35 0.92 -0.58 0.55
สาระที่ 2 ภาษาและวัฒนธรรม 3.56 0.85 3.52 0.89 0.44 0.65
สาระที่ 3 ภาษากับความสัมพันธ์กับกลุ่ม
สาระการเรียนรู้อื่น
3.16 1.03 3.28 1.00 -1.12 0.26
สาระที่4 ภาษากับความสัมพันธ์ กับชุมชน
โลก
3.20 1.05 3.17 1.01 0.20 0.83
* มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ** มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.1 ระดับการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศจำแนกตามขนาดโรงเรียน
ระดับการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศจำแนกตามขนาดโรงเรียน จากตารางที่ 3 สามารถ
แยกเป็นกลุ่มต่างๆ ดังนี้
1) กลุ่มสาระคณิตศาสตร์ ผลปรากฏว่าโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษและโรงเรียนขนาดใหญ่มี
ระดับการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศในกลุ่มสาระคณิตศาสตร์สูงที่สุดในสาระที่ 3 เรขาคณิต
คะแนนของโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษและโรงเรียนขนาดใหญ่โดยมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.39 และ 3.54
ตามลำดับ รองลงมาคือสาระที่ 6 ทักษะ/กระบวนการทางคณิตศาสตร์ ค่าเฉลี่ยของโรงเรียนขนาด
ใหญ่พิเศษและโรงเรียนขนาดใหญ่โดยมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.26 และ 3.43 ตามลำดับ และเมื่อมีการ
เปรียบเทียบระดับการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศจำแนกตามขนาดโรงเรียน พบว่าโรงเรียนขนาด
ใหญ่มีระดับการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศดีกว่าโรงเรียนขนาดใหญ่พิดศษ โดยเฉพาะในเรื่อง
จำนวนและการดำเนินการ การวัด เรขาคณิต และการวิเคราะห์ข้อมูลความน่าจะเป็น โรงเรียนขนาด
ใหญ่มีระดับการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศดีกว่าโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ
ความเชื่อมั่น 95% (พิจารณาจากค่า Sig. (2-tailed) ในตาราง มีค่าน้อยกว่า 0.05)
2) กลุ่มสาระภาษาไทย ผลปรากฏว่าโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษมีระดับการแสวงหาเนื้อหา
สารสนเทศในกลุ่มสาระภาษาไทย ด้านสาระที่ 1 การอ่านสูงที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.64
รองลงมาคือ ด้านสาระที่ 3 การฟัง ดู พูด โดยมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.60 ส่วนโรงเรียนขนาดใหญ่มี
61
ระดับการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศในสาระด้านการฟัง ดู พูดสูงที่สุด รองลงมาคือสาระด้านการ
อ่าน ในกลุ่มสาระภาษาไทยนี้โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษและโรงเรียนขนาดใหญ่ มีการแสวงหาไม่มี
ความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่น 95% (พิจารณาจากค่า Sig. (2-tailed) ในตาราง มี
ค่ามากกว่า 0.05 ในทุกสาระของกลุ่มนี้)
3) กลุ่มวิทยาศาสตร์ ในกลุ่มนี้โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษและโรงเรียนขนาดใหญ่มีระดับ
การแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศสูงสุดในกลุ่มวิทยาศาสตร์เหมือนกันคือ สาระที่ 2 ชีวิตและ
สิ่งแวดล้อมโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.68 และ 3.40 ตามลำดับ รองลงมาคือสาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับ
กระบวนการดำรงชีวิตมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.59 และ 3.37 ตามลำดับ สำหรับกลุ่มนี้โรงเรียนขนาดใหญ่
พิเศษและโรงเรียนขนาดใหญ่มีระดับการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศกลุ่มวิทยาศาสตร์ที่แตกต่างกัน
อย่างมีนัยสำคัญในด้านชีวิตและสิ่งแวดล้อม ด้านสิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต และด้านสาร
และสมบัติของสาร ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
4) กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ในกลุ่มนี้โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษและ
โรงเรียนขนาดใหญ่มีระดับการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศสูงสุดเหมือนกันคือ ในสาระที่ 2 หน้าที่
พลเมืองวัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคมโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.51 และ 3.43 ตามลำดับ
รองลงมาคือสาระที่ 5 ภูมิศาสตร์ โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.24 และ 3.37 ตามลำดับ สำหรับกลุ่มนี้
โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษและโรงเรียนขนาดใหญ่มีระดับการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศกลุ่มสาระ
สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
5) กลุ่มสาระศิลปะ ในกลุ่มนี้โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษและโรงเรียนขนาดใหญ่มีระดับ
การแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศสูงสุดเหมือนกันคือ ในสาระที่ 2 ดนตรี โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.62
และ 3.50 ตามลำดับ ในกลุ่มนี้โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษและโรงเรียนขนาดใหญ่มีระดับการ
แสวงหาเนื้อหาสารสนเทศไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
6) กลุ่มสาระวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับโรงเรียนกลุ่มนี้ พบว่าโรงเรียน
ขนาดใหญ่พิเศษและโรงเรียนขนาดใหญ่มีระดับการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศสูงสุดเหมือนกันคือ
สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.76 และ 3.66 ตามลำดับ รองลงมาคือ
สาระที่ 2 การอาชีพ กลุ่มนี้โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษและโรงเรียนขนาดใหญ่มีระดับการแสวงหา
เนื้อหาสารสนเทศไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
7) กลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับโรงเรียนกลุ่มนี้ พบว่าโรงเรียนขนาดใหญ่
พิเศษระดับการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศสูงสุดคือ สาระที่ 5 ความปลอดภัยในชีวิต โดยมีค่าเฉลี่ย
เท่ากับ 3.92 รองลงมาคือ สาระที่ 3 การเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย การเล่นเกม โดยมีค่าเฉลี่ย
เท่ากับ 3.89 สำหรับโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษมีระดับการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศสูงสุดคือ สาระ
62
ที่ 3 การเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย การเล่นเกมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.90 รองลงมาคือ สาระที่ 2 ชีวิต
และครอบครัว มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.86 แต่กลุ่มนี้โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษและโรงเรียนขนาดใหญ่มี
ระดับการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
8) กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ พบว่าโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษและโรงเรียนขนาดใหญ่มี
ระดับการแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศสูงสุดเหมือนกันคือ สาระที่ 2 ภาษาและวัฒนธรรม โดยมี
ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.56 และ 3.52 ตามลำดับ รองลงมาคือ สาระที่ 1 ภาษาเพื่อการสื่อสาร โดยมีค่าเฉลี่ย
เท่ากับ 3.28 และ 3.35 ตามลำดับ ในกลุ่มนี้โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษและโรงเรียนขนาดใหญ่มีระดับ
การแสวงหาเนื้อหาสารสนเทศไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ตารางที่ 4 แสดงระดับการแสวงหาแหล่งสารสนเทศจำแนกตามขนาดโรงเรียน
ระดับการแสวงหา
ขนาดใหญ่พิเศษ ขนาดใหญ่
แหล่งสารสนเทศ
2
X SD.
2
X SD.
t Sig.
(2-tailed)
แหล่งสารสนเทศสถานที่
จากห้องสมุดโรงเรียน 3.57 1.04 3.55 1.02 0.17 0.86
จากห้องสมุดประชาชน 2.75 1.04 2.67 1.13 0.62 0.53
จากห้องสมุดหมวดวิชาต่าง ๆ 2.81 1.10 3.01 1.17 -1.67 0.09
จากห้องสมุดมหาวิทยาลัย 2.46 1.20 2.44 1.23 0.12 0.89
จากหอสมุดแห่งชาติ 2.69 1.31 2.85 1.37 -1.11 0.26
จากห้องแนะแนว 2.85 1.19 2.82 1.26 0.30 0.75
อื่น ๆ . . . .
แหล่งสารสนเทศบุคคล
จากพ่อ แม่ ผู้ปกครอง 4.10 1.11 4.04 1.16 0.54 0.58
จากเพื่อน 3.92 0.99 3.85 0.98 0.68 0.49
จากอาจารย์ที่ปรึกษา 3.60 1.07 3.64 1.01 -0.34 0.73
จากบรรณารักษ์ห้องสมุด 3.10 1.16 3.17 1.10 -0.60 0.54
จากอาจารย์ท่านอื่นในโรงเรียน 3.10 1.39 3.21 1.33 -0.79 0.42
อื่น ๆ 2.00 0.00 2.00 0.00
แหล่งสารสนเทศวัสดุ
จากการชมรายการโทรทัศน์ 3.86 1.22 3.95 1.12 -0.73 0.46
63
ระดับการแสวงหา
ขนาดใหญ่พิเศษ ขนาดใหญ่
แหล่งสารสนเทศ
2
X SD.
2
X SD.
t Sig.
(2-tailed)
จากการฟังวิทยุ 3.61 1.20 3.74 1.14 -1.02 0.30
จากการอ่านหนังสือตำรา 3.22 1.26 3.42 1.18 -1.60 0.10
จากการอ่านหนังสือพิมพ์ 3.45 1.10 3.46 1.09 -0.08 0.93
จากการอ่านวารสาร นิตยสาร 3.30 1.13 3.35 1.14 -0.44 0.65
จากจุลสารทางวิชาการ 2.94 1.00 3.00 1.05 -0.55 0.57
จากวีดีทัศน์ประกอบการเรียน 3.15 1.20 3.02 1.15 1.07 0.28
จากการชมนิทรรศการทางวิชาการ 3.13 1.13 3.08 1.04 0.40 0.68
จากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เช่น
โปรแกรม
3.60 1.03 3.75 1.03 -1.36 0.17
จากสารสนเทศบน อินเทอร์เน็ต 3.59 1.03 3.62 1.13 -0.26 0.79
อื่น ๆ . . . .

การศึกษาประสิทธิภาพการดำเนินงานของสำนักวิทยบริการนักเรียนประถมศึกษาปีที่๖ (ตอนที่ 1)
การศึกษาประสิทธิภาพการดำเนินงานของสำนักวิทยบริการนักเรียนประถมศึกษาปีที่๖ (ตอนที่ 2)
การศึกษาประสิทธิภาพการดำเนินงานของสำนักวิทยบริการนักเรียนประถมศึกษาปีที่๖ (ตอนที่ 3)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น