วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2552

การศึกษาปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาการบริหารงานวิชาการ (ตอนที่ 1)



การศึกษาปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาการบริหารงานวิชาการ
โรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดกรมสามัญศึกษา
ในสหวิทยาเขตกรุงธนบุรี 3 กรุงเทพมหานคร
นางสาวจิรพร เตียวิรัตน์
วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาการบริหารการศึกษา
ปีการศึกษา 2546
ISBN : 974 – 373 – 257 - 8
ลิขสิทธ์ของสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
A Study of Problems and Guideline to Solve Problems for
Academic Administration in Secondary Schools under the
Department of
Region Krungthonburi 3 in Bangkok
MISS. JIRAPORN TEAVIRAT
A Thesis Submitted in partial Fulfillment of the Requirements
for the Master of Education (Educational Administration)
at Rajabhat Institute Bansomdejchaopraya
Academic Year 2003
ISBN : 974 – 373 – 257 – 8
วิทยานิพนธ์ การศึกษาปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาการบริหารงานวิชาการ
โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษาในสหวิทยาเขตกรุงธนบุรี 3
กรุงเทพมหานคร
โดย นางสาวจิรพร เตียวิรัตน์
สาขา การบริหารการศึกษา
ประธานกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ ดร.สรายุทธ์ เศรษฐขจร
กรรมการ รองศาสตราจารย์เกริก วยัคฆานนท์
กรรมการ ดร.เปรมสุรีย์ เชื่อมทอง
บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา อนุมัติให้วิทยานิพนธ์นี้เป็น
ส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต
…………………………………………….. คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
(รองศาสตราจารย์ ดร. นันทา วิทวุฒิศักดิ์)
คณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์
…………………………………………….. ประธานกรรมการ
(ศาสตราจารย์ ดร. สายหยุด จำปาทอง)
…………………………………………….. กรรมการ
(ดร. สรายุทธ์ เศรษฐขจร)
…………………………………………….. กรรมการ
(รองศาสตราจารย์เกริก วยัคฆานนท์)
…………………………………………….. กรรมการ
(ดร. เปรมสุรีย์ เชื่อมทอง)
………………………………………….. กรรมการ
(ผู้ช่วยศาสตราจารย์อินทิรา บุณยาทร)
…………………………………………….. กรรมการและเลขานุการ
(รองศาสตราจารย์สมชาย พรหมสุวรรณ)

ประกาศคุณูปการ
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้สำเร็จได้ด้วยความกรุณาอย่างยิ่งจาก ดร.สรายุทธ์ เศรษฐขจร
ประธานผู้ควบคุมวิทยานิพนธ์ที่ได้สละเวลาอันมีค่าให้การแนะนำช่วยเหลือและตรวจสอบแก้ไข
ข้อบกพร่องต่างๆ ด้วยความเอาใจใส่อย่างดียิ่งมาโดยตลอด รวมทั้ง รองศาสตราจารย์เกริก
วยัคฆานนท์ ดร.เปรมสุรีย์ เชื่อมทอง และ ดร.ชอบ ลีซอ ที่ได้กรุณาให้คำแนะนำและตรวจแก้ไข
เพื่อให้วิทยานิพนธ์มีความถูกต้อง ผู้วิจัยขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงไว้ ณ โอกาสนี้
ขอขอบพระคุณ ศาสตราจารย์ ดร. สายหยุด จำปาทอง ประธานกรรมการตรวจสอบ
วิทยานิพนธ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์อินทิรา บุณยาทร และ รองศาสตราจารย์สมชาย พรหมสุวรรณ
กรรมการสอบวิทยานิพนธ์ ที่ได้กรุณาให้คำแนะนำและข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ และตรวจ
แก้ไขวิทยานิพนธ์ให้ถูกต้องสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ขอขอบพระคุณผู้เชี่ยวชาญทั้ง 5 ท่านที่ได้กรุณา
ในการตรวจสอบเครื่องมือ ให้คำแนะนำและข้อเสนอแนะในการสร้างเครื่องมือในการวิจัย
ขอขอบพระคุณบุคคลซึ่งอยู่เบื้องหลังที่สนับสนุนให้การทำวิทยานิพนธ์ครั้งนี้
สำเร็จลุล่วงด้วยดี คือ ผู้บริหารโรงเรียนและคณะครู อาจารย์ โรงเรียนมัธยมศึกษา ในสหวิทยาเขต
กรุงธนบุร ี 3 กรุงเทพมหานคร ทุกท่านที่ให้ความอนุเคราะห์ในการเก็บข้อมูลและเป็นกลุ่มตัวอย่าง
ในการตอบแบบสอบถามครั้งนี้เป็นอย่างดี และขอขอบคุณนางสาววชิราภรณ์ สุรธนะสกุล ซึ่งให้
คำปรึกษาและแนะนำแนวทางในการจัดทำวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
คุณค่าและประโยชน์อันพึงมีจากวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ผู้วิจัยขอมอบเป็นเครื่องบูชา
พระคุณบุพการีผู้ให้กำเนิด ตลอดจนคณาจารย์ทุกท่านที่ประสิทธ์ประสาทความรู้ให้แก่ผู้วิจัยด้วยดี
เสมอมา
จิรพร เตียวิรัตน์

จิรพร เตียวิรัตน์. (2546). การศึกษาปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาการบริหารงานวิชาการ
โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษาในสหวิทยาเขตกรุงธนบุรี 3
กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย
สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. คณะกรรมการควบคุม ดร.สรายุทธ์ เศรษฐขจร
รองศาสตราจารย์เกริก วยัคฆานนท์ ดร.เปรมสุรีย์ เชื่อมทอง
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาการ
บริหารงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษาในสหวิทยาเขตกรุงธนบุรี 3
กรุงเทพมหานคร ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยนี้ คือ ผู้บริหารโรงเรียน
ผู้ช่วยผู้บริหารโรงเรียนฝ่ายวิชาการ ครู-อาจารย์ผู้สอน ในสหวิทยาเขตกรุงธนบุรี 3 จำนวน 206 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยยึดขอบเขตการปฏิบัติงานวิชาการ
ของโรงเรียนมัธยมศึกษาใน 6 ด้าน คือ (1) ด้านการวางแผนงานวิชาการ (2) ด้านการบริหาร
งานวิชาการ (3) ด้านการจัดการเรียนการสอน (4) ด้านการพัฒนาและส่งเสริมทางด้านวิชาการ
(5) ด้านวัดผลและประเมินผลการเรียนและงานทะเบียนนักเรียน และ (6) ด้านการประเมินผลการ
จัดการงาน วิชาการ แบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบเลือกตอบ และมาตรประมาณค่า ผู้วิจัย
ได้รับแบบสอบถามกลับคืนมาจำนวน 206 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100.00 วิเคราะห์ข้อมูล
ด้วยคอมพิวเตอร์โปรแกรม SPSS for Windows เพื่อหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
และการสังเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ปัญหาของการบริหารงานวิชาการ โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษาใน
สหวิทยาเขตกรุงธนบุรี 3 กรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมและรายด้านมีปัญหาอยู่ในระดับ
ปานกลางทุกด้าน คือ ด้านการวางแผนงานวิชาการ ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการบริหาร
งานวิชาการ ด้านการพัฒนาและส่งเสริมทางด้านวิชาการ ด้านการวัดผลและประเมินผลการเรียน
และงานทะเบียนนักเรียน และด้านการประเมินผลการจัดการงานวิชาการ
2. แนวทางการแก้ปัญหาของการบริหารงานวิชาการ โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัด
กรมสามัญศึกษาในสหวิทยาเขตกรุงธนบุรี 3 กรุงเทพมหานคร
1) ควรจัดให้มีระบบฐานข้อมูลร่วมกันระหว่างโรงเรียนในสหวิทยาเขต
กรุงธนบุร ี 3 และจดั ใหม้ เี จา้ หนา้ ทรี่ บั ผดิ ชอบดา้ นการจดั ทาํ ฐานขอ้ มลู โดยตรง
2) ควรจัดให้มีบุคลากรผู้รับผิดชอบในการใช้นวัตกรรม และเทคโนโลยี
ในการดำเนินงานวิชาการ

3) ควรจัดให้มีการอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อให้ครูผู้สอนได้มีความรู้และความ
เข้าใจในการผลิตสื่อ และอุปกรณ์ประกอบการเรียนการสอน
4) ควรจัดให้มีการประเมินผลการดำเนินงานตามแผน หรือโครงการพัฒนาครู
ด้านวิชาการ
5) ควรจัดทำคลังข้อสอบในสหวิทยาเขตกรุงธนบุรี 3 ทุกๆรายวิชาเพื่อช่วยให้ครู
ผู้สอนสามารถนำเอาข้อสอบเก่ามาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6) ควรนำเอาผลที่ได้จากการวิเคราะห์ สังเคราะห์มาใช้ในการพัฒนาและปรับปรุง
การดำเนินงานทางวิชาการทุกๆ ครั้ง

Jiraporn Teavirat. (2003). A Study of Problems and Guidelines to Solve Problems for Academic
Administration in Secondary Schools under the Department of General Education
in Region Krungthonburi 3 Bangkok : Graduate School, Rajabhat Institute
Bansomdejchaopraya. Advisor Committee: Dr. Sarayuth Sethakhajorn;
Assoc. Prof. Krerk Wayakanon; Dr.Premsuree Chuamthong
The purposes of the research study were to investigate the level problems and
guidelines to solve the problems for academic administration in secondary schools under the
Department of General Education in Region Krungthonburi 3 Bangkok. The sampling group
consisted of 206 administrators, assistant administrators and teachers in Region Krungthonburi3.
The questionnaire used in the research covered six areas of academic administration (1)
academic planning; (2) academic management; (3) instructional development; (4) academic
promotion and development; (5) measurement and evaluation and students’ registration; and (6)
academic evaluation. The questionnaire was in the form of choices and five point rating scale.
All 206 or 100% completed questionnaires were returned. The data were analyzed by SPSS for
Windows program to find percentage, means, standard deviation and content synthesis.
Findings of the study revealed the following :
1. The problems of academic administration in secondary schools under the
Department of General Education in Region Krungthonburi 3 Bangkok for overall and each
aspect were at medium level.
2. Six guidelines to solve problems for academic administration were proposed.
1) Provide joint database among the schools in Region Krungthonburi 3 and
assign an authority to be responsible for the database.
2) Provide personnel responsible for the innovation and technology
implementation of academic administration.
3) Provide workshop to enhance the teachers’ knowledge in producing
instructional media and teaching materials.
4) Set up the evaluation of output of the plan or provide a project on teaching
staff development in academic administration.

5) Provide a store of examination papers of all subjects in Region
Krungthonburi 3, so the previous examination can be reused effectively by the teachers.
6) Utilize the analysed and synthesized results to develop and improve the
academic administration.

สารบัญ
หน้า
บทคัดย่อภาษาไทย……………………………………………………………………..……….. ง
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ………………………………………………………………….………. ฉ
ประกาศคุณูปการ………………………………………………………………………………. ซ
สารบัญ…………………………………………………………………………………………. ฌ
สารบัญตาราง…………………………………………………………………………………. . ฎ
สารบัญแผนภาพ……………………………………………………………………………….. ฐ
บทที่ 1 บทนำ
1. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา…………………………………………… 1
2. วัตถุประสงค์ของการวิจัย………………………………………………………….. 3
3. ประโยชน์ของการวิจัย…………………………………………………………….. 3
4. ขอบเขตของการวิจัย……………………………………………………………….. 3
5. นิยามศัพท์เฉพาะ…………………………………………………………………… 4
6. กรอบแนวคิดในการวิจัย……………………………………………………….….. 5
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
1. การบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา……………………………………………………. 7
2. การบริหารงานวิชาการ……………………………………………………………... 13
3. การจัดการศึกษาแบบสหวิทยาเขต………………………………………………….. 44
4. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง………………………………………………………………..….50
บทที่ 3 วิธีดำเนินงานวิจัย
1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง…………………………………………………………..55
2. ตัวแปรที่ศึกษา……………………………………………………………………….56
3. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย……………………………………………………………..56

สารบัญ (ต่อ)
หน้า
4. วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย……………………………….. 58
5. การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิจัย…………………………………….….. 59
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
1. ข้อมูลสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม…………………………………….…… 60
2. ผลการวิเคราะห์ปัญหาการบริหารงานวิชาการ โรงเรียนมัธยมศึกษา
สังกัดกรมสามัญศึกษา ในสหวิทยาเขตกรุงธนบุรี 3 กรุงเทพมหานคร…………….. 61
3. ผลการวิเคราะห์แนวทางการแก้ปัญหาการบริหารงานวิชาการ
โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา
ในสหวิทยาเขตกรุงธนบุรี 3 กรุงเทพมหานคร…………………………..……….. .. 69
บทที่ 5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
1. วัตถุประสงค์ของการวิจัย…………………………………………………………… 76
2. วิธีดำเนินการวิจัย………………………………………………………………….. 76
3. สรุปผลการวิจัย…………………………………………………………….………... 77
4. อภิปรายผล……………………………………………………………………….. .. 79
5. ข้อเสนอแนะ………………………………………………………………….. ……. 83
บรรณานุกรม……………………………………………………………………………………. 85
ภาคผนวก
ภาคผนวก ก แบบสอบถามเพื่อการวิจัย………………………………………….. …….. 90
ภาคผนวก ข รายชื่อผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเครื่องมือ……………………………………. 100
ภาคผนวก ค หนังสือราชการที่เกี่ยวข้อง……………………………………………….. 102
ภาคผนวก ง ประวัติผู้วิจัย………………………………………………………….…… 105

สารบัญตาราง
หน้า
ตารางที่ 1 แสดงการวิเคราะห์แนวคิดเกี่ยวกับขอบเขตการบริหารงานวิชาการ………………. 22
ตารางที่ 2 แสดงการเปรียบเทียบข้อแตกต่างระหว่างการประเมินผลแบบอิงกลุ่ม
และอิงเกณฑ์……………………………………………………………………… 41
ตารางที่ 3 แสดงแนวทางการดำเนินงานในการจัดการศึกษาแบบสหวิทยาเขต………………. 46
ตารางที่ 4 แสดงจำนวนประชากรและกลุ่มตัวอย่าง จำแนกตามโรงเรียน……………………. 56
ตารางที่ 5 แสดงข้อมูลสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม……………………………….….. 60
ตารางที่ 6 แสดงค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของปัญหาการบริหารงานวิชาการ
โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในสหวิทยาเขตกรุงธนบุรี 3
กรุงเทพมหานคร เป็นรายด้านและรวมทุกด้าน……………………………….…… 61
ตารางที่ 7 แสดงค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของปัญหาการบริหารงานวิชาการ
โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในสหวิทยาเขตกรุงธนบุรี 3
กรุงเทพมหานคร ด้านการวางแผนงานวิชาการ โดยภาพรวมและรายข้อ………….. 62
ตารางที่ 8 แสดงค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของปัญหาการบริหารงานวิชาการ
โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในสหวิทยาเขตกรุงธนบุรี 3
กรุงเทพมหานคร ด้านการบริหารงานวิชาการ โดยภาพรวมและรายข้อ…………. ….63
ตารางที่ 9 แสดงค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของปัญหาการบริหารงานวิชาการ
โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในสหวิทยาเขตกรุงธนบุรี 3
กรุงเทพมหานคร ด้านการจัดการเรียนการสอน โดยภาพรวมและรายข้อ……..……. 64
ตารางที่ 10 แสดงค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของปัญหาการบริหารงานวิชาการ
โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในสหวิทยาเขตกรุงธนบุรี 3
กรุงเทพมหานคร ด้านการพัฒนาและส่งเสริมทางด้านวิชาการ
โดยภาพรวมและรายข้อ…………………………………………………………... 65

สารบัญตาราง (ต่อ)
หน้า
ตารางที่ 11 แสดงค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของปัญหาการบริหารงานวิชาการ
โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในสหวิทยาเขตกรุงธนบุรี 3
กรุงเทพมหานคร ด้านการวัดผลและประเมินผลและงานทะเบียนนักเรียน
โดยภาพรวมและรายข้อ…………………………………………………………... 67
ตารางที่ 12 แสดงค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของปัญหาการบริหารงานวิชาการ
โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในสหวิทยาเขตกรุงธนบุรี 3
กรุงเทพมหานคร ด้านการประเมินผลการจัดการงานวิชาการ
โดยภาพรวมและรายข้อ…………………………………………………….…….. 68
ตารางที่ 13 แสดงค่าความถี่แนวทางการแก้ปัญหาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา
สังกัดกรมสามัญศึกษา ในสหวิทยาเขตกรุงธนบุรี 3 กรุงเทพมหานคร
ด้านการวางแผนงานวิชาการ……………..…………………………………………. 69
ตารางที่ 14 แสดงค่าความถี่แนวทางการแก้ปัญหาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา
สังกัดกรมสามัญศึกษา ในสหวิทยาเขตกรุงธนบุรี 3 กรุงเทพมหานคร
ด้านการบริหารงานวิชาการ ……………………………………………………….. 70
ตารางที่ 15 แสดงค่าความถี่แนวทางการแก้ปัญหาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา
สังกัดกรมสามัญศึกษา ในสหวิทยาเขตกรุงธนบุรี 3 กรุงเทพมหานคร
ด้านการจัดการเรียนการสอน ………………..…………………………………….. 71
ตารางที่ 16 แสดงค่าความถี่แนวทางการแก้ปัญหาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา
สังกัดกรมสามัญศึกษา ในสหวิทยาเขตกรุงธนบุรี 3 กรุงเทพมหานคร
ด้านการพัฒนาและส่งเสริมทางด้านวิชาการ ………………..……………………… 72
ตารางที่ 17 แสดงค่าความถี่แนวทางการแก้ปัญหาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา
สังกัดกรมสามัญศึกษา ในสหวิทยาเขตกรุงธนบุรี 3 กรุงเทพมหานคร
ด้านการวัดผลและประเมินผลการเรียนและงานทะเบียนนักเรียน………………….. 73
ตารางที่ 18 แสดงค่าความถี่แนวทางการแก้ปัญหาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา
สังกัดกรมสามัญศึกษา ในสหวิทยาเขตกรุงธนบุรี 3 กรุงเทพมหานคร
ด้านการประเมินผลการจัดการงานวิชาการ….……………………………….. 75

สารบัญแผนภาพ
หน้า
แผนภาพที่ 1 แสดงกรอบความคิดในการวิจัย…………………………………………………. 6
แผนภาพที่ 2 แสดงขอบเขตการบริหารงานวิชาการ…………..……………………………… 20
แผนภาพที่ 3 แสดงแนวทางการดำเนินงานในการจัดการศึกษาแบบสหวิทยาเขต…………… 48
บทที่ 1
บทนำ
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
การเปลี่ยนแปลงต่างๆ ของสังคมได้ส่งผลกระทบต่อการศึกษาและก่อให้เกิดความ
เคลื่อนไหวทางการศึกษาขึ้น ในการที่จะทำหน้าที่ผลิตกำลังคน เพื่อตอบสนองและรองรับงาน
และโครงการต่างๆ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวย่อมต้องอาศัยกำลังคนที่มีความรู้ ความสามารถ
มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในระดับมัธยมศึกษาและสูงกว่านั้น เพื่อการพัฒนาประเทศให้ก้าวหน้า
การพัฒนาประเทศจะไม่เกิดขึ้นถ้าขาดทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพ การที่จะได้ทรัพยากรบุคคลที่มี
คุณภาพต้องอาศัยการศึกษา เพราะการศึกษามีหน้าที่พัฒนาคน และผลิตกำลังคน ดังแนวคิดที่
ปรากฎในหน้าคำนำ กรมวิชาการ กล่าวไว้ในประกาศใช้หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น (ฉบับปรับ
ปรุง พ.ศ. 2533) ว่า “หลักสูตรยังไม่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสภาพ
เศรษฐกิจ สังคม และความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในการพัฒนาคนใน
สังคมให้มีความรู้มีคุณธรรม สามารถพึ่งตนเอง และนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมใช้ในการพัฒนา
คุณภาพชีวิต(กรมวิชาการ, 2533 : คำนำ)
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2535-2539) ได้มีการประเมิน
และทบทวนคุณภาพของคนไทย โดยเปรียบเทียบศักยภาพของประชากรไทยกับประเทศอื่นๆ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศเพื่อนบ้าน ในปี พ.ศ. 2540 พบว่าความสามารถของประชากรไทยเมื่อ
เปรียบเทียบกับประเทศต่างๆ อยู่ในอันดับที่ 37 ขณะที่สิงคโปร์อยู่อันดับที่ 5 เกาหลีใต้อยู่
อันดับที่ 22 และมาเลเซียอยู่อันดับที่ 33 (คณะกรรมการปฏิรูประบบบริหารการศึกษาในกระทรวง
ศึกษาธิการ, 2543 : 37-38) ดังนั้นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540-
2544) จึงได้เน้นเรื่องการพัฒนาคนโดยเชื่อว่าคนเมื่อได้รับการพัฒนา จะสามารถช่วยพัฒนา
เศรษฐกิจสังคมการเมืองและประเทศชาติในที่สุด นอกจากนี้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549) ได้กำหนดแผนยุทธศาสตร์ที่ชี้กรอบทิศทางการพัฒนา
ประเทศในระยะปานกลางที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ระยะยาว และมีการดำเนินการต่อเนื่องจาก
พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 ในด้านแนวคิดที่ยึด “คนเป็นศูนย์กลางของการ
พัฒนา” ในทุกมิติอย่างเป็นองค์รวมและให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่สมดุล ทั้งด้านตัวคน สังคม
เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างระบบบริหารจัดการภายในที่ดีให้เกิดขึ้นใน
2
ทุกระดับอันจะทำให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนที่มี “คน” เป็นศูนย์กลางได้อย่างแท้จริง (สำนักงาน
คณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2546 : ข)
การจัดการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาเป็นการศึกษาที่มีความสำคัญ เพราะเป็นการผลิต
กำลังคนระดับกลาง เพื่อการพัฒนาประเทศ แนวทางการจัดการศึกษาของกรมสามัญศึกษาซึ่งมี
หน้าที่รับผิดชอบต่อการจัดการศึกษา ระดับมัธยมศึกษา ตามแผนพัฒนาการศึกษา ศาสนา และ
วัฒนธรรม ระยะที่ 8 (พ.ศ. 2540 - 2544) กล่าวว่า “เพื่อพัฒนาการศึกษาให้มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ
และส่งผลให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายความเป็นเลิศทางการศึกษาในปี พ.ศ. 2550 โดยมีวัตถุประสงค์
ที่จะให้การศึกษาเป็นกลไกในการพัฒนาผู้เรียนให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ มีสุขภาพดีทั้งกายและ
จิตใจมีลักษณะนิสัยและทักษะความสามารถที่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพในอนาคต
รักและภาคภูมิใจในความเป็นไทย รู้ เข้าใจ และมีลักษณะประชาธิปไตย รักและหวงแหน
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสามารถร่วมมือกันในการพัฒนาความเจริญก้าวหน้า
ให้กับท้องถิ่นและประเทศชาติและร่วมมือแข่งขันกันในประชาคมโลกได้อย่างเหมาะสม มั่นคง
และยั่งยืน” (กรมสามัญศึกษา, 2541 : 173) แต่ปัญหาคุณภาพการจัดการศึกษาของประเทศไทย ยัง
ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ ทั้งในด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการแข่งขันด้าน
การศึกษากับประชาคมโลก ในปีการศึกษา 2540 พบว่านักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 และมัธยมศึกษา
ปีที่ 6 มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาต่างๆ ต่ำกว่า 50 คะแนน จากคะแนนเต็ม 100
คะแนน ยกเว้นวิชาภาษาไทยในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และวิชาสังคมศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
ที่มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ 59 และ 55 คะแนนตามลำดับ ในการแข่งขันกับประชาคมโลก
ด้านศักยภาพและความสามารถ พบว่า ด้านวิทยาศาสตร์ของประเทศไทย อยู่ในอันดับที่ 40
ส่วนระบบการศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการทางเศรษฐกิจอยู่ในอันดับที่ 41 จากจำนวน
ประเทศที่เข้าแข่งขันทั้งหมด 46 ประเทศ (คณะกรรมการปฏิรูประบบบริหารการศึกษาใน
กระทรวงศึกษาธิการ, 2543 : 3-4)
จากการศึกษาเอกสารรายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาของนักเรียน ระดับมัธยม
ศึกษาตอนต้น ปีการศึกษา 2543 ในเขตกรุงเทพมหานคร มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย
วิชาวิทยาศาสตร์ วิชาคณิตศาสตร์ และวิชาภาษาอังกฤษ คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 55.91, 43.63, 37.89
และ 46.58 ตามลำดับ (สำนักงานทดสอบทางการศึกษา กรมวิชาการ, 2543 : ภาคผนวก) การที่จะ
ทำให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถและมีคุณลักษณะที่ประเทศชาติต้องการนั้น เป็นงานที่เกี่ยวข้อง
กับงานวิชาการโดยตรง เพราะงานวิชาการเกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน การใช้สื่อและอุปกรณ์
การสอน การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร และการวัดผลประเมินผล
ปัญหาดังกล่าวผู้วิจัยจึงได้นำเอาแนวคิดและทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับงานด้าน
บริหารการศึกษาทางวิชาการมาเป็นกรอบในการศึกษาปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหา
3
การบริหารงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในสหวิทยาเขตกรุงธนบุรี 3
กรุงเทพมหานคร ด้วยเหตุผลที่ว่า ครู ผู้สอน และผู้บริหารสถานศึกษา เป็นกลไกสำคัญ ในการใช้
กระบวนการจัดการศึกษา เพื่อพัฒนางานวิชาการในสหวิทยาเขตกรุงธนบุรี 3 ให้มีคุณภาพและ
ประสิทธิภาพที่ใกล้เคียงกัน
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาระดับปัญหาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญ
ศึกษา ในสหวิทยาเขตกรุงธนบุรี 3 กรุงเทพมหานคร
2. เพื่อศึกษาแนวทางการแก้ปัญหาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัด
กรมสามัญศึกษา ในสหวิทยาเขตกรุงธนบุรี 3 กรุงเทพมหานคร
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ได้ข้อมูลสารสนเทศเพื่อให้โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา
ในสหวิทยาเขตกรุงธนบุรี 3 กรุงเทพมหานคร ได้แนวทางปรับปรุงและพัฒนาด้านการบริหารงาน
วิชาการของโรงเรียนในสังกัด
2. ได้แนวทางให้โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในสหวิทยาเขต
กรุงธนบุรี 3 กรุงเทพมหานคร ได้ปรับปรุงและพัฒนาการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนให้
มีประสิทธิภาพ
ขอบเขตของการวิจัย
1. ประชากร ได้แก่ ข้าราชการครูที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญ
ศึกษา ในสหวิทยาเขตกรุงธนบุรี 3 กรุงเทพมหานคร ในปีการศึกษา 2545
2. การวิจัยครั้งนี้ได้ศึกษาปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาการบริหารงานวิชาการ
โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในสหวิทยาเขตกรุงธนบุรี 3 กรุงเทพมหานครใน 6
ด้านคือ ด้านการวางแผนงานวิชาการ ด้านการบริหารงานวิชาการ ด้านการจัดการเรียนการสอน
ด้านการพัฒนาและส่งเสริมทางด้านวิชาการ ด้านวัดผลและการประเมินผลการเรียนและ
งานทะเบียนนักเรียน และด้านการประเมินผลการจัดการงานวิชาการ
4
นิยามศัพท์เฉพาะ
การบริหารงานวิชาการ หมายถึง การกำหนดหน้าที่ทุกชนิดในโรงเรียนที่เกี่ยวข้องกับ
การปรับปรุงพัฒนาการเรียนการสอนให้ได้ผลดี และมีประสิทธิภาพสูงสุด
ปัญหาการบริหารงานวิชาการ หมายถึง อุปสรรคหรือข้อขัดข้องต่างๆ ในการปฏิบัติงาน
ด้านใดด้านหนึ่ง หรือรวมหมดทุกด้านของการบริหารงานวิชาการ ประกอบด้วย
1. การวางแผนงานวิชาการ หมายถึง การรวบรวมข้อมูลและจัดทำระเบียบแนวปฏิบัติ
ที่เกี่ยวกับงานวิชาการ การทำแผนงานวิชาการ
2. การบริหารงานวิชาการ หมายถึง การกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ การจัดกลุ่ม
การเรียน การจัดตารางสอน การจัดครูเข้าสอนตามตารางสอน การจัดครูเข้าสอนแทน
การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในการดำเนินงานวิชาการ
3. การจัดการเรียนการสอน หมายถึง การจัดทำ การใช้ การปรับปรุงแผนการสอน
รายวิชา การจัดหา การบำรุงรักษา และส่งเสริมการผลิตสื่อการเรียนการสอน และวิธีการสอน
4. การพัฒนาและส่งเสริมทางด้านวิชาการ หมายถึง การพัฒนากระบวนการเรียน
การสอน การจัดสอนซ่อมเสริม การจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการเรียนการสอน การจัดกิจกรรม
นักเรียนตามหลักสูตร การพัฒนาครูทางด้านวิชาการ การนิเทศการสอน ฝึกอบรม การสร้าง
บรรยากาศทางวิชาการในโรงเรียน การส่งเสริมการวิเคราะห์วิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
5. การวัดผลและประเมินผลการเรียน และงานทะเบียนนักเรียน หมายถึง การดำเนิน
การวัดผลและประเมินผลการเรียน การสร้างและปรับปรุงเครื่องมือการวัดผลการเรียน การจัดให้มี
เอกสารและแบบฟอร์มเกี่ยวกับการวัดผลและประเมินผลการเรียน การดำเนินการเกี่ยวกับ
หลักฐานการวัดผลและประเมินผลการเรียน งานทะเบียนนักเรียน
6. การประเมินผลการจัดการงานวิชาการ หมายถึง การประเมินผลในด้าน
คุณภาพการจัดการเรียนการสอนหรือการบริหารงานวิชาการ เพื่อใช้ในการพัฒนาให้เป็นไปตาม
เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์
สหวิทยาเขตกรุงธนบุรี 3 หมายถึง โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา
กรุงเทพมหานคร จำนวน 5 โรงเรียน ประกอบด้วยโรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ โรงเรียนรัตนโกสินทร์
สมโภชบางขุนเทียน โรงเรียนศึกษานารีวิทยา โรงเรียนทวีธาภิเศก 2 และโรงเรียนพิทยาลงกรณ์
พิทยาคม
ข้าราชการครู หมายถึง ข้าราชการครูที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัด
กรมสามัญศึกษา สหวิทยาเขตกรุงธนบุรี 3 ในปีการศึกษา 2545 โดยจำแนกข้าราชการครู
ออกเป็น 3 สถานภาพ ประกอบด้วย
5
1. ผู้บริหารโรงเรียน ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน อาจารย์ใหญ่ รวมทั้งผู้รักษาการ
ในตำแหน่ง ผู้อำนวยการ อาจารย์ใหญ่
2. ผู้ช่วยผู้บริหารฝ่ายวิชาการ ได้แก่ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ ผู้ช่วยอาจารย์
ใหญ่ฝ่ายวิชาการ หัวหน้าฝ่ายวิชาการ หรือผู้รักษาการในตำแหน่งดังกล่าว
3. ครู-อาจารย์ผู้สอน ได้แก่ ครูที่ปฏิบัติการสอนในโรงเรียนมัธยมศึกษา
ในสหวิทยาเขตกรุงธนบุรี 3 กรุงเทพมหานคร
กรอบแนวคิดในการวิจัย
ผู้วิจัยได้ยึดขอบเขตการปฏิบัติงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาใน 6 ด้าน
(กรมสามัญศึกษา, 2540 : 5) และแนวทางในการดำเนินงานสหวิทยาเขต (2541 : 17) ประกอบ
เข้ากับแนวคิดการบริหารงานวิชาการของ กมล ภู่ประเสริฐ (2544 : 9-17) และปรียาพร
วงศ์อนุตรโรจน์ (2545 : 3-4) เพื่อใช้เป็นกรอบแนวคิดในการวิจัยในครั้งนี้ ดังได้แสดง
กรอบแนวคิดไว้ในแผนภาพที่ 1
6
การบริหารงานวิชาการกมล ภู่ประเสริฐ (2544 : 9-17)
1. การบริหารหลักสูตร
2. การบริหารการเรียนการสอน
3. การบริหารการประเมิน ผลการเรียน
4. การบริหารการนิเทศภายในสถานศึกษา
5. การบริหารการพัฒนาบุคลากรทางวิชาการ
6. การบริหารการวิจัยและพัฒนา
7. การบริหารโครงการทางวิชาการอื่นๆ
8. การบริหารระบบข้อมูลและสารสนเทศทางวิชาการ
9. การบริหารการประเมินผลงานทางวิชาการของ
สถานศึกษา
การบริหารงานวิชาการของปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์
(2545 : 3-4)
1. การวางแผนเกี่ยวกับงานวิชาการ
2. การจัดดำเนินงานเกี่ยวกับการเรียนการสอน
3. การจัดบริหารเกี่ยวกับการเรียนการสอน
4. การวัดและประเมินผล
การบริหารงานวิชาการของ
สหวิทยาเขตกรุงธนบุรี 3 (2541 : 17)
1. กลุ่มงานบริหารงานวิชาการ
1.1 งานแผนงานวิชาการ
1.2 งานสารสนเทศวิชาการ
1.3 งานวิจัยและพัฒนาวิชาการ
1.4 งานพัสดุวิชาการ
1.5 งานสารบรรณวิชาการ
1.6 งานอัตรากำลัง
2. กลุ่มงานจัดการศึกษาระดับ
มัธยมศึกษา
2.1 งานจัดการเรียนการสอน
2.2 งานทะเบียน
2.3 งานวัดผล
2.4 งานหมวดวิชา
2.5 งานห้องสมุด
2.6 งานแนะแนว
2.7 งานนักศึกษาวิชาการทหาร
3. กลุ่มงานปรับปรุงคุณภาพการศึกษา
3.1 งานนิเทศ และพัฒนาการศึกษา
3.2 งานศูนย์วิชาการ
3.3 งานพัฒนาบุคลากร
3.4 งานคอมพิวเตอร์
ปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาการบริหารงานวิชาการ
ของโรงเรียนมัธยมศึกษา
1. ด้านการวางแผนงานวิชาการ
2. ด้านการบริหารงานวิชาการ
3. ด้านการจัดการเรียนการสอน
4. ด้านการพัฒนาและส่งเสริมทางด้านวิชาการ
5. ด้านการวัดผลและประเมินผลการเรียนและงานทะเบียนนักเรียน
6. ด้านการประเมินผลการจัดการงานวิชาการ
แผนภาพที่ 1 แสดงกรอบแนวคิดในการวิจัย
บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
การวิจัยเกี่ยวกับปัญหา และแนวทางการแก้ปัญหาการบริหารงานวิชาการของ
โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา สหวิทยาเขตกรุงธนบุรี 3 กรุงเทพมหานคร
ผู้ศึกษาค้นคว้าได้กำหนดหัวข้อในการเสนอเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องดังนี้
1. การบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา
2. การบริหารงานวิชาการ
3. การจัดการศึกษาแบบสหวิทยาเขต
4. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
การบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา
การบริหารโรงเรียน นับว่าเป็นภารกิจหลักของผู้บริหารโรงเรียนที่จะต้องกำหนด
แบบแผน วิธีการ และขั้นตอนต่างๆ ในการปฏิบัติงานอย่างมีระบบ เพราะถ้าระบบการบริหารงาน
ไม่ดีจะกระทบกระเทือนต่อส่วนอื่นของหน่วยงาน ผู้บริหารที่ดีต้องรู้จักเลือกวิธีการบริหารที่
เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ เพื่อที่จะให้งานบรรลุจุดมุ่งหมายที่วางไว้ การบริหารงานนั้น
จะต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ เพราะว่า การดำเนินงานต่างๆ มิใช่กิจกรรมที่ผู้บริหารจะกระทำเพียง
ลำพังคนเดียว แต่ยังมีผู้ร่วมงานอีกหลายคนที่มีส่วนร่วมทำให้งานนั้นประสบผลสำเร็จได้แก่
ผู้ช่วยผู้บริหารโรงเรียนซึ่งแต่ละคนมีความรู้ความสามารถแตกต่างกัน ทั้งในด้านสติปัญญา
ความถนัด และความต้องการที่ไม่เหมือนกัน จึงเป็นหน้าที่ของผู้บริหารโรงเรียนที่จะนำเอาเทคนิค
วิธีการ และกระบวนการบริหารที่เหมาะสมมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพ และบรรลุเป้าหมายของ
โรงเรียน
ความหมายของการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา
มีนักวิชาการได้ให้ความหมายเกี่ยวกับการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาดังนี้
กิติมา ปรีดีดิลก (2532 : 4) ให้ความหมายของการบริหารโรงเรียนว่า คือความพยายามที่
จัดดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องของการศึกษา ได้แก่โรงเรียน หลักสูตร ครู นักเรียน วัสดุอุปกรณ์ ตำรา
เรียน และอาคารสถานที่เป็นต้น ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ
ความพยายามที่จะจัดดำเนินงานทุกอย่างที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษา โดยให้ผลผลิตคือ ผู้เรียน
มีคุณภาพที่สุด
8
ประเสริฐ เชษฐพันธ์ (2542 : 88) กล่าวว่า การบริหารโรงเรียนเป็นภารกิจของผู้บริหาร
จะต้องบริหารคน เงิน วัสดุอุปกรณ์
ชาญชัย อาจิณสมาจาร (2540 : 39) ได้ให้ความหมายของการบริหารโรงเรียนว่า
คือ การทำงานร่วมกัน การช่วยให้ตระหนักในเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของการศึกษา
การให้บริการแก่สังคม การเข้าเกี่ยวข้องกับมนุษย์ เช่น ครู นักเรียน ผู้ปกครอง ประชาชน
และให้เกิดความร่วมมือระหว่างบุคคลเหล่านี้ การใช้ทรัพยากรให้ได้ประโยชน์มากที่สุด
จากความหมายการบริหารโรงเรียนสรุปว่า การบริหารโรงเรียนเป็นกิจกรรม
ที่จะต้องกำหนดนโยบาย และจัดวิธีการหรือกระบวนการทุกอย่างในองค์กรให้เป็นระบบ
และเลือกใช้วิธีการที่ก่อให้เกิดประสิทธิผล เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้
ส่วนหลักการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษานั้นประเสริฐ เชษฐพันธ์ (2542 : 51-52)
กล่าวว่า การบริหารโรงเรียนจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาคุณภาพการศึกษาได้นั้น ผู้บริหารโรงเรียน
ควรคำนึงถึงหลักการบริหาร ดังนี้
1. มีเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของโรงเรียนที่ชัดเจน ผู้บริหารโรงเรียน
ต้องเข้าใจถึงเป้าหมายของโรงเรียนว่าเน้นทิศทางใด จึงจะจัดงาน จัดคน จัดเงิน จัดวัสดุอุปกรณ์
ได้อย่างเหมาะสม
2. ต้องมีเทคนิควิธีการในการบริหาร การบริหารงานทุกประเภทย่อมต้องมีเทคนิค
วิธีการ ขั้นตอน และกระบวนการ งานที่ทำต้องมีระบบ มีความรอบคอบ จึงจะทำให้งานดำเนิน
ไปได้ด้วยดี
3. ควรจะมีการประเมินและติดตามผล เพื่อจะได้เป็นแนวทางในการปรับปรุง
งานให้ดีขึ้น
ขอบเขตการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา นักวิชาการเสนอแนวความคิดไว้ดังนี้
คิมบรอค และนันเนอรี (Kimbrough and Nunnery, 1976 : 164) ได้แบ่งงานบริหาร
โรงเรียนออกเป็น 8 งาน ดังนี้
1. งานพัฒนาองค์การ และธำรงไว้ซึ่งองค์การ
2. งานบริหารหลักสูตร และการสอน
3. งานบริหารเศรษฐกิจการศึกษา
4. งานธุรการ
5. งานบริหารบุคลากร
6. งานกิจการนักเรียน
7. งานสร้างภาวะผู้นำในด้านความสัมพันธ์กับชุมชน
8. งานด้านการประเมินผล การวิจัย และสร้างความเชื่อถือจากประชาชน
9
กรมสามัญศึกษา (2540 : 1-10) กำหนดเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนมัธยมศึกษา
โดยมีสาระสำคัญประกอบด้วยงานต่างๆ 7 งาน ได้แก่ (1) การบริหารงานทั่วไป (2) งานธุรการ
(3) งานวิชาการ (4) งานปกครองนักเรียน (5) งานบริการ (6) งานโรงเรียนกับชุมชน
และ (7) การบริหารอาคารสถานที่ ซึ่งงานของโรงเรียนมัธยมศึกษาตามเกณฑ์มาตรฐาน
ของกรมสามัญศึกษาทั้ง 7 งานนั้น มีขอบเขตดังนี้
1. การบริหารงานทั่วไป มีการปฏิบัติงานดังนี้
1) การวางแผนปฏิบัติการของโรงเรียน โดยดำเนินการกำหนดนโยบายและ
เป้าหมายของโรงเรียน และจัดทำแผนปฏิบัติการของโรงเรียน
2) การจัดองค์การ โดยดำเนินการจัดทำแผนภูมิการบริหารโรงเรียน และกำหนด
หน้าที่ความรับผิดชอบและมอบหมายงาน
3) การจัดระบบสารสนเทศ โดยการดำเนินการด้านระบบสารสนเทศ
และการพัฒนาระบบสารสนเทศ
4) การบริหารงานบุคคล โดยการดำเนินการพัฒนาบุคลากร การประเมินผล
การปฏิบัติงานของบุคลากร การบำรุงขวัญและให้กำลังใจ
5)การสื่อสารคมนาคมและการประชาสัมพันธ์ โดยดำเนินการจัดการสื่อสาร
คมนาคม ในส่วนของมาตรฐานด้านปริมาณของอุปกรณ์สื่อสารคมนาคม และการจัด
การประชาสัมพันธ์
6) การบริหารการเงิน
7) การประเมินผลงานการบริหารงานทั่วไป
2. งานธุรการ มีการปฏิบัติงานดังนี้
1) การวางแผนงานธุรการ โดยดำเนินการรวบรวมข้อมูล ระเบียบและแนวปฏิบัติ
เกี่ยวกับงานธุรการ และการทำแผนงานธุรการ
2)การบริหารงานธุรการ โดยดำเนินการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ
การจัดบุคลากร และการจัดสถานที่
3) การบริหารงานสารบรรณ โดยดำเนินการลงทะเบียนรับ-ส่งเอกสาร
และหนังสือราชการ การโต้ตอบหนังสือราชการ การเก็บรักษาและทำลายหนังสือราชการ
และการบริการเกี่ยวกับงานสารบรรณ
4) การบริหารการเงินและการบัญชี โดยดำเนินการทำหลักฐานการเงิน
และการบัญชี การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การควบคุม การตรวจสอบ
และการประเมินผลการใช้จ่ายเงินตามแผนการใช้จ่าย
10
5) การบริหารงานพัสดุ โดยดำเนินการจัดซื้อ จัดจ้าง การจัดทำบัญชีวัสดุ
และทะเบียนครุภัณฑ์ การบำรุงรักษาพัสดุประจำปี การจำหน่ายพัสดุ และการจัดทำทะเบียน
ที่ราชพัสดุ
6) การบริหารงานทะเบียนและสถิติข้าราชการครูและลูกจ้าง โดยดำเนิน
การจัดทำทะเบียนประวัติข้าราชการและลูกจ้าง การจัดทำหลักฐานการปฏิบัติราชการ
7) การประเมินผลงานธุรการ
3. งานวิชาการ มีการปฏิบัติงานดังนี้
1) การวางแผนงานวิชาการ โดยดำเนินการรวบรวมข้อมูลและจัดทำระเบียบ
แนวปฏิบัติที่เกี่ยวกับงานวิชาการ และการทำแผนงานวิชาการ
2)การบริหารงานวิชาการ โดยดำเนินการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ
การจัดกลุ่มการเรียน การจัดตารางสอน การจัดครูเข้าสอนตามตาราง การจัดครูสอนแทน
การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในการดำเนินงานวิชาการ
3)การจัดการเรียนการสอน โดยดำเนินการจัดทำ การใช้ การปรับปรุง
แผนการสอนรายวิชา การจัดหา จัดทำ ใช้ บำรุงรักษา และส่งเสริมการผลิตสื่อการเรียนการสอน
4) การพัฒนาและส่งเสริมทางด้านวิชาการ โดยดำเนินการพัฒนากระบวน
การเรียนการสอน การจัดสอนซ่อมเสริม การจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการเรียนการสอน
การจัดกิจกรรมนักเรียนตามหลักสูตร การพัฒนาครูทางด้านวิชาการ จำนวนครูที่ผ่านการอบรม
หรือฝึกอบรมทางด้านวิชาการในรอบ 2 ปี การสร้างบรรยากาศทางวิชาการในโรงเรียน
การส่งเสริม การวิเคราะห์ วิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
5) การวัดผลและประเมินผลการเรียน และงานทะเบียนนักเรียน โดยดำเนินการ
วัดผลและประเมินผลการเรียน การสร้างและปรับปรุงเครื่องมือการวัดผลการเรียน การจัดให้มี
เอกสารและแบบฟอร์มเกี่ยวกับการวัดผลและประเมินผลการเรียน การดำเนินการเกี่ยวกับหลักฐาน
การวัดผลและประเมินผลการเรียน งานทะเบียนนักเรียน
6) การประเมินผลการจัดการงานวิชาการ โดยการประเมินผลการจัดการงาน
วิชาการ การประเมินผลในด้านคุณภาพการจัดการเรียนการสอน
4. งานปกครองนักเรียน มีการปฏิบัติงานดังนี้
1) การวางแผนงานปกครองนักเรียน โดยดำเนินการรวบรวมและจัดทำระเบียบ
ข้อบังคับเกี่ยวกับงานปกครองนักเรียน การทำแผนงานปกครอง
2) การบริหารงานปกครองนักเรียน โดยดำเนินการกำหนดหน้าที่
ความรับผิดชอบและการประสานงานปกครอง
11
3)การส่งเสริมพัฒนาให้นักเรียนมีวินัย คุณธรรม จริยธรรม โดยดำเนินการ
จัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาด้านความประพฤติ ระเบียบวินัย ด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านความ
รับผิดชอบต่อสังคม ด้านการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ และการยกย่องให้กำลังใจแก่นักเรียน
ผู้ประพฤติดี
4)การป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของนักเรียน โดยดำเนินการ
ป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในโรงเรียนป้องกัน
และแก้ไขปัญหาโรคเอดส์ในโรงเรียน
5) การดำเนินการส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน
6) การประเมินผลงานปกครองนักเรียน
5. งานบริการ มีการปฏิบัติงานดังนี้
1) การวางแผนงานบริการ โดยดำเนินการรวบรวมข้อมูล จัดทำระเบียบและ
แนวปฏิบัติที่เกี่ยวกับงานบริการ และการทำแผนงานบริการ
2)การบริหารงานบริการ โดยดำเนินการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ
การจัดบุคลากรให้เหมาะสมกับลักษณะงาน การจัดสถานที่เหมาะสมกับงานบริการ
การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารงานบริการ
3) การจัดบริการด้านสาธารณูปโภค
4) การจัดบริการน้ำดื่ม น้ำใช้
5) การจัดบริการโภชนาการ
6) การจัดบริการสุขภาพอนามัย
7) การจัดบริการห้องสมุด
8) การจัดบริการโสตทัศนูปกรณ์
9) การจัดบริการแนะแนว
10) การจัดกิจกรรมสหกรณ์ในสถานศึกษา
11) การประเมินผลงานบริการ
6. งานโรงเรียนกับชุมชน มีการปฏิบัติงานดังนี้
1) การวางแผนงานสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
โดยดำเนินการรวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลของชุมชน การทำแผนงานสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง
โรงเรียนกับชุมชน
2) การสร้างและเผยแพร่เกียรติประวัติของโรงเรียน โดยดำเนินการกำหนด
อุดมการณ์ของโรงเรียน เพื่อสร้างเสริมคุณธรรมลักษณะนิสัยและความประพฤติ
12
การสร้างและเผยแพร่เกียรติประวัติทางด้านวิชาการ ด้านจริยธรรม คุณธรรม ด้านกีฬา
และด้านอื่นๆ
3) ก า รให้บริ ก า รชุมชน โดยดำเนินการให้บริการด้านข่าวสา ร
ด้านส่งเสริมสุขภาพอนามัย ด้านนันทนาการ ด้านอาคารสถานที่และวัสดุครุภัณฑ์
4) การมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน โดยดำเนินการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนา
ชุมชนและการให้ความร่วมมือในการพัฒนาชุมชน
5) การได้รับความสนับสนุนจากชุมชน โดยดำเนินการจัดตั้งองค์กร
เพื่อสนับสนุนโรงเรียน ด้านวิชาการ ด้านทรัพย์สิน ด้านบริการ
6) การประเมินผลงานสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
7. การบริหารอาคาร สถานที่ มีการปฏิบัติงานดังนี้
1) การบริหารบริเวณโรงเรียน โดยดำเนินการจัดบรรยากาศบริเวณโรงเรียน
2) การบริหารอาคารเรียน โดยดำเนินการจัดบรรยากาศภายในอาคารเรียน
การใช้ประโยชน์จากอาคารเรียน การดูแลและบำรุงรักษาอาคารเรียน และการรักษาความปลอดภัย
ในอาคารเรียน
3) การบริหารห้องเรียน โดยดำเนินการจัดบรรยากาศในห้องเรียน การใช้และ
ดูแลรักษาห้องเรียน
4) การบริหารห้องพิเศษ โดยดำเนินการด้านคุณภาพ ด้านปริมาณ การใช้และ
การดูแลรักษาห้องพิเศษ
5) การบริหารห้องบริการ โดยดำเนินการด้านคุณภาพ ด้านปริมาณการใช้และ
การบำรุงรักษาห้องบริการ
6) การบริหารอาคารโรงฝึกงาน โดยดำเนินการด้านปริมาณและด้าน
คุณภาพการใช้และการดูแลรักษาโรงฝึกงาน
7) การบริหารอาคารโรงอาหาร โดยดำเนินการด้านปริมาณและด้าน
คุณภาพการใช้และการดูแลรักษาโรงอาหาร
8) การบริหารอาคารหอประชุม โดยดำเนินการด้านปริมาณและคุณภาพ
การใช้และการดูแลรักษาหอประชุม
9) การบริหารอาคารห้องน้ำ-ห้องส้วม โดยดำเนินการด้านปริมาณและ
คุณภาพการใช้และการดูแลรักษาห้องน้ำ - ห้องส้วม
10) การบริหารอาคารพลศึกษา โดยดำเนินการด้านปริมาณและคุณภาพ
การใช้และการดูแลรักษาอุปกรณ์อาคารพลศึกษา
13
สรุปว่า การบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษานั้น มีการแบ่งงาน
รับผิดชอบออกเป็นหมวดงาน และมีการจัดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ มีความเหมาะสมใน
การปฏิบัติงานตามหมวดที่รับผิดชอบ ทั้งนี้จะต้องยึดนโยบายของหน่วยงานเป็นหลัก
ซึ่งแต่ละหมวดงานจะต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความรู้ความสามารถจึงจะทำให้การบริหารงาน
ของโรงเรียนประสบผลสำเร็จ และมีประสิทธิภาพได้
การบริหารงานวิชาการ
1. ความหมายของการบริหารงานวิชาการ
จากการศึกษาการบริหารงานวิชาการ มีผู้ให้ความหมายของการบริหารงานวิชาการ
ไว้หลายแนวคิดดังนี้
วินิจ เกตุขำ (มปป. : 1) กล่าวว่า การบริหารงานวิชาการ หมายถึง การบริหาร
กิจกรรมทุกชนิด ที่เกี่ยวกับ การเรียนการสอนในโรงเรียนหรือสถานศึกษา เพื่อให้การเรียน
การสอนเกิดผลดีมีประสิทธิภาพ
กมล ภู่ประเสริฐ (2544 : 6) กล่าวว่า การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา
หมายถึง การบริหารที่เกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษา อันเป็นเป้าหมายสูงสุดของภารกิจ
ของสถานศึกษา
ส่วนปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน  (2545 : 7) กล่าวว่า การบรหิ ารงานวชิ าการ หมายถึง
การจัดการศึกษา คุณภาพและมาตรฐานของสถานศึกษา ประกอบด้วยงานด้านหลักสูตรและ
การจัดการเรียนการสอน การจัดบุคลากรที่เกี่ยวข้อง การจัดสิ่งส่งเสริมงานด้านวิชาการ
และงานด้านการวัดและประเมินผล
จากความหมายของการบริหารงานวิชาการที่กล่าวมาแล้ว สรุปว่า การบริหาร
งานวิชาการ หมายถึงกระบวนการบริหารกิจกรรมทุกอย่างในโรงเรียนซึ่งเกี่ยวข้องกับ
การปรับปรุง พัฒนาการเรียนการสอนให้ได้ผลดีและมีประสิทธิภาพสูงสุด
2. ความสำคัญของงานวิชาการ
ซึ่งมีนักวิชาการหลายท่านได้ให้ความสำคัญของงานวิชาการไว้ดังนี้
วินิจ เกตุขำ (มปป. : 4) กล่าวไว้ว่า การบริหารงานวิชาการเป็นหัวใจของการบริหาร
งานโรงเรียน เพราะงานวิชาการครอบคลุมด้วยการเรียนของนักเรียนและการสอนของครูทุกเรื่องที่
เกี่ยวข้องกับการเรียนและการสอนจึงเป็นงานวิชาการ มีข้อสรุปเกี่ยวกับงานวิชาการว่าเวลา
14
ใน 1 สัปดาห์ (35 ชั่วโมง) ใช้ 12-13 ชั่วโมง ในการบริหารงานวิชาการหรือผู้บริหารโรงเรียนต้อง
ใช้เวลา 35-40% (22-23 ชั่วโมง) ของเวลาที่ใช้ในการบริหารงานทั้งหมดมาบริหารงานวิชาการ
กิติมา ปรีดีดิลก (2532 : 48) กล่าวว่า งานวิชาการเป็นงานหลักของโรงเรียน ไม่ว่าจะ
เป็นโรงเรียนประเภทใด มาตรฐานหรือคุณภาพมักจะได้รับพิจารณาจากผลงานวิชาการเป็นสำคัญ
อำภา บุญช่วย (2537 : 3) กล่าวว่า ผู้บริหารและครูอาจารย์ในโรงเรียน ควรจัดการ
บริหารงานวิชาการให้สมดุลเกื้อกูลส่งเสริมซึ่งกันและกัน และที่สำคัญคือไม่เน้นงานด้านใดด้าน
หนึ่งเพียงด้านหนึ่งหรือหลายด้านจนละเลยงานวิชาการทั้งนี้ เพราะข้อผูกพันของโรงเรียนที่มีต่อ
สังคมก็คือ จัดการศึกษาให้แก่เด็กมีคุณภาพและประสิทธิภาพ โรงเรียนใดจะมีมาตรฐานดีเพียงใด
คงไม่เน้นเฉพาะด้านบริเวณอาคารสถานที่ วัสดุ ครุภัณฑ์ อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ เท่านั้น
แต่ต้องรวมถึงงานอื่นๆ โดยเฉพาะงานวิชาการเป็นสำคัญ
กรมสามัญศึกษา (2543 : 16) กล่าวว่า งานวิชาการ ถือเป็นหัวใจสำคัญของบริหาร
กิจกรรมในโรงเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน งานวิชาการเป็นงานหลักของโรงเรียนทั้งใน
แง่การบริหารและการปฏิบัติงานของครู ผลงานทางวิชาการที่ได้รับผิดชอบ เป็นผู้นำของครูใน
ด้านวิชาการเป็นอันดับแรกเพราะหน้าที่ของโรงเรียน คือการให้ความรู้ด้านวิชาการแก่นักเรียน
งานวิชาการมีขอบข่ายงานครอบคลุมถึงการพัฒนาและส่งเสริมงานวิชาการ ทั้งนี้ต้องจัดทำเอกสาร
หลักฐานที่เป็นปัจจุบัน ตรวจสอบได้ มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการดำเนินการ ตลอดจนต้องมี
การดำเนินงานประเมินและติดตามการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ
สรุปว่า การบริหารงานวิชาการถือเป็นงานหลักที่มีความสำคัญของโรงเรียน ซึ่งมี
ขอบเขตงานอย่างกว้างขวาง จำเป็นที่ผู้บริหารโรงเรียนต้องกระจายอำนาจในการบริหารงาน
วิชาการอย่างชัดเจน มีการวางแผนในการทำงานอย่างเป็นระบบ ผู้บริหารต้องทำงานให้เป็นตัว
อย่างที่ดีต่อครู อาจารย์และเป็นผู้นำทางวิชาการ ปฏิบัติงานร่วมกันในการปรับปรุงพัฒนาการเรียน
การสอนให้ได้ผลดี และมีประสิทธิภาพสูงสุด
3. ขอบเขตการบริหารงานวิชาการ
ขอบเขตการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนได้มีนักวิชาการเสนอไว้ดังนี้
วินิจ เกตุขำ (มปป. : 1-2) ได้กำหนดขอบเขตของานวิชาการไว้ 6 ด้าน คือ
1) งานเกี่ยวกับการบริหารครูอาจารย์ ได้แก่
(1) งานจัดครูอาจารย์
(2) งานพัฒนาครูอาจารย์
(3) งานบำรุงขวัญครูอาจารย์
15
2) งานที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร ได้แก่
(1) งานพัฒนาหลักสูตร
(2) งานทำแผนการสอน
(3) งานเลือกหนังสือและแบบเรียน
(4) งานจัดตารางสอน
(5) งานพัฒนาหลักสูตรสำหรับชุมชน
3) งานที่เกี่ยวกับการเรียนการสอน ได้แก่
(1) งานเตรียมการสอน
(2) งานพัฒนาเทคนิคการจัดการเรียนการสอน
(3) งานนิเทศการเรียนการสอน
4) งานที่เกี่ยวข้องกับการสนับสนุนการเรียนการสอน ได้แก่
(1) งานทะเบียนนักเรียน
(2) งานห้องสมุด
(3) งานแนะแนวการศึกษา
(4) งานบริหารสื่อและเทคโนโลยีการสอน
5) งานที่เกี่ยวข้องกับการวัดและประเมินผลการศึกษา ได้แก่
(1) งานข้อสอบมาตรฐานและคลังข้อสอบ
(2) งานวัดและประเมินผลการเรียน
(3) งานประเมินโครงการ/การประเมินคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน/สถานศึกษา
(4) งานประกันคุณภาพการศึกษา
6) งานที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์กับชุมชน ได้แก่
(1) งานการใช้แหล่งทรัพยากรชุมชน
(2) งานบริการทางวิชาการแก่ชุมชน
กิติมา ปรีดีดิลก (2532 : 58) ได้กำหนดขอบเขตงานวิชาการไว้ 6 ด้าน คือ
1) แผนปฏิบัติงานด้านวิชาการ
2) หลักสูตรการเรียนการสอน
3) การจัดการเรียนการสอน
4) สื่อการสอน
5) การปรับปรุงการเรียนการสอน
6) วัดและประเมินผล
16
กรมสามัญศึกษา (2540 : 3-10) กำหนดขอบเขตงานวิชาการตามเกณฑ์มาตรฐาน
โรงเรียนมัธยมศึกษา ไว้ 6 ด้าน คือ
1) การวางแผนงานวิชาการ
(1) การรวบรวมข้อมูล จัดทำระเบียบและแนวปฏิบัติของทางราชการที่เกี่ยว
กับงานวิชาการ
(2) การทำแผนงานวิชาการ
2) การบริหารงานวิชาการ
(1) การกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ
(2) การจัดกลุ่มการเรียน
(3) การจัดตารางสอน
(4) การจัดครูเข้าสอนตามตารางสอน
(5) การจัดครูสอนแทน
(6) การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในการดำเนินงานวิชาการ
3) การจัดการเรียนการสอน
(1) การจัดทำ การใช้ การปรับปรุงแผนการสอนรายวิชา
(2) การจัดหา จัดทำ ใช้ บำรุงรักษาและส่งเสริมการผลิตสื่อการเรียนการสอน
4) การพัฒนาและส่งเสริมทางด้านวิชาการ
(1) การพัฒนากระบวนการเรียนการสอน
(2) การจัดสอนซ่อมเสริม
(3) การจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการเรียนการสอนโรงเรียนมีการจัดกิจกรรม
เพื่อส่งเสริมการเรียนการสอน ดังนี้
ก. การค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม
ข. การให้นักเรียนช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
ค. การประกวด การแข่งขัน
ง. การจัดนิทรรศการ
จ. การฝึกงาน
ฉ. การศึกษานอกสถานที่
ช. การให้นักเรียนผลิตผลงาน
ซ. การแสดงหรือจำหน่ายผลผลิตของนักเรียน
ฌ. การจัดกิจกรรมสหกรณ์
ญ. การหารายได้ของนักเรียนระหว่างเรียน
17
ฎ. กิจกรรมอื่นๆ ที่ส่งเสริมการเรียนการสอน
(4) การจัดกิจกรรมนักเรียนตามหลักสูตร
(5) การพัฒนาครูทางด้านวิชาการ มีรายละเอียดดังนี้
ก. การนิเทศภายใน
ข. การจัดหา จัดทำเอกสารความรู้ทางวิชาการ
ค. การอบรม หรือฝึกอบรม
ง. การประชุมสัมมนา
จ. การศึกษาดูงาน หรือการศึกษาต่อ
ฉ. การประชุมปฏิบัติการ การเชิญวิทยากรมาให้ความรู้
ช. การจัดพัฒนาครูทางด้านวิชาการด้วยวิธีอื่นๆ
(6) การสร้างบรรยากาศทางวิชาการในโรงเรียนโรงเรียนดำเนินการในการจัด
บรรยากาศดังนี้
ก. การจัดป้ายนิเทศ
ข. การจัดห้องวิชา
ค. การจัดพื้นที่ที่จัดเป็นแหล่งความรู้
ง. การจัดห้องพิพิธภัณฑ์
จ. การจัดนิทรรศการ
ฉ. การจัดกิจกรรม
ช. การจัดศูนย์วิชา
ซ. การจัดศูนย์สื่อ/ศูนย์ทรัพยากร
ฌ. การจัดศูนย์การเรียน
ญ. การจัดบรรยากาศทางวิชาการอื่นๆ
(7) การส่งเสริมการวิเคราะห์ วิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
5) การวัดผลและประเมินผลการเรียน และงานทะเบียนนักเรียน
(1) การดำเนินการวัดผลและประเมินผลการเรียน
(2) การสร้างและปรับปรุงเครื่องมือการวัดผลการเรียน
(3) การจัดให้มีเอกสารและแบบฟอร์มเกี่ยวกับการวัดผลและประเมินผล
การเรียน
(4) การดำเนินการเกี่ยวกับหลักฐานการวัดผลและประเมินผลการเรียน
(5) งานทะเบียนนักเรียน
18
6) การประเมินผลการจัดการงานวิชาการ
(1) การประเมินผลการจัดงานวิชาการ
(2) การประเมินผลในด้านคุณภาพการจัดการเรียนการสอน
อนศุ กั ด์ ิ สมิตสันต  (2540 : 20) กำหนดขอบเขตงานวิชาการไว้ 7 ดา้ นคอื
1) งานพัฒนาหลักสูตร หรือการดำเนินงานเพื่อนำหลักสูตรมาใช้
2) งานนิเทศการศึกษา
3) งานประเมินผลการศึกษา
4) งานจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อช่วยส่งเสริมการศึกษาของนักเรียน
5) งานแนะแนว
6) งานติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน
7) งานประชุมเพื่อประสานแผนการทำงานและการปรับปรุงปฏิบัติงาน
กมล ภู่ประเสริฐ (2544 : 9-17) กำหนดขอบเขตงานวิชาการไว้ 9 ด้านคือ
1) การบริหารหลักสูตร
(1) การวิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางระดับประเทศ
(2) การกำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ และสาระการเรียนรู้
(3) การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา
(4) การจัดทำหน่วยการเรียนรู้
2) การบริหารการเรียนการสอน
(1) การรวบรวม วิเคราะห์ และกำหนดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เหมาะสม
กับหน่วยการเรียนรู้
(2) การกำหนด การเตรียมการ และการจัดหาสื่อการเรียนการสอน
(3) การกำหนดวิธีการประเมินผลการเรียนในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ หรือรายวิชา
(4) การจัดทำแผนการสอน หรือแผนการจัดการเรียนรู้
(5) การควบคุม ดูแล และส่งเสริมให้มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตาม
แผนการสอน
(6) การร่วมมือกันแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการเรียนการสอน โดยการนิเทศภายใน
3) การบริหารการประเมินผลการเรียน
(1) การวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้
(2) การกำหนดวิธีการ และเครื่องมือที่จะใช้ในการวัด และประเมินผลการเรียนรู้
(3) การควบคุมดูแลและส่งเสริมให้มีการประเมินผลการเรียน
(4) การจัดทำหลักฐานการศึกษา
19
(5) การนำผลการประเมินไปใช้ในการแก้ไขข้อบกพร่องของผู้เรียน
(6) การกำหนดรูปแบบ ระยะเวลาการรายงานผลการเรียนรู้
4) การบริหารการนิเทศภายในสถานศึกษา
(1) การทำความเข้าใจเกี่ยวกับการนิเทศภายใน
(2) การกำหนดวิธีการ และระยะเวลาการนิเทศภายใน
(3) การควบคุมดูแลและส่งเสริมให้มีการดำเนินการนิเทศภายใน
(4) การร่วมกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
5) การบริหารการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา
(1) การวิเคราะห์ปัญหาร่วมกันเกี่ยวกับความรู้ ความสามารถของบุคลากร
(2) การควบคุมดูแล การดำเนินงานพัฒนาบุคลากร
6) การบริหารการวิจัย และพัฒนา
(1) การทำความเข้าใจ และส่งเสริมให้มีการวิจัยในชั้นเรียน
(2) การร่วมกันกำหนดประเด็นปัญหา ที่ควรพัฒนาร่วมกัน
(3) การควบคุมดูแล และส่งเสริมการวิจัย
7) การบริหารโครงการทางวิชาการอื่นๆ
(1) การกำหนดหัวข้อเรื่องทางวิชาการ
(2) การกำหนดวิธีการดำเนินการ
(3) การควบคุมดูแล และส่งเสริม
8) การบริหารระบบข้อมูล และสารสนเทศทางวิชาการ
(1) การกำหนดข้อมูล และสารสนเทศทางวิชาการ
(2) การกำหนดเวลาในการรวบรวมข้อมูล และสารสนเทศ
(3) การควบคุมดูแล และส่งเสริมการจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศ
(4) การนำข้อมูลและสารสนเทศไปใช้
9) การบริหารการประเมินผลงานทางวิชาการของสถานศึกษา
(1) การกำหนดหัวข้อประเมินผลงาน
(2) การกำหนดวิธีการ และเครื่องมือในการประเมิน
(3) การควบคุมดูแล และส่งเสริมให้มีการดำเนินการประเมินการสรุปผล
และเขียนรายงานประจำปี
20
ภาพแผนที่ 2 แสดงขอบเขตการบริหารงานวิชาการ
ที่มา : กมล ภู่ประเสริฐ (2544 :17)
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน  (2545 : 3-4) กำหนดขอบเขตงานวิชาการไว  4 ดา้ นคอื
1) การวางแผนเกี่ยวกับงานวิชาการ เป็นการวางแผนเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตร
และการนำหลักสูตรไปใช้ การจัดการล่วงหน้าเกี่ยวกับการเรียนการสอน ได้แก่
(1) แผนปฏิบัติงานวิชาการ ได้แก่ การประชุมเกี่ยวกับหลักสูตร การจัดปฏิทิน
การศึกษา ความรับผิดชอบงานตามภาระหน้าที่ การจัดขั้นตอนและเวลาในการทำงาน
(2) โครงการสอน เป็นการจัดรายละเอียดเกี่ยวกับวิชาที่ต้องสอนตามหลักสูตร
(3) บันทึกการสอน เป็นการแสดงรายละเอียดของการกำหนดเนื้อหาที่จะสอน
ในแต่ละคาบเวลาของแต่ละวันหรือสัปดาห์ โดยการวางแผนไว้ล่วงหน้าและยึดโครงการสอนหลัก
การบริหาร
งานวิชาการ
การบริหาร
การเรียนการสอน
การบริหารหลักสูตร
การบริหารการ
ประเมินผล
การเรียน
การบริหารโครงการ
ทางวิชาการอื่นๆ
การบริหาร
การนิเทศ
ภายใน
การบริหาร
การพัฒนาบุคลากร
การบริหาร
การวิจัยและพัฒนา
การบริหาร
การประเมินผล
ทางวิชาการ
21
2)การจัดดำเนินงานเกี่ยวกับการเรียนการสอน เพื่อให้การสอนในสถานศึกษา
ดำเนินไปด้วยดี และสามารถปฏิบัติได้ จึงต้องมีการจัดเกี่ยวกับการเรียนการสอน ดังนี้
(1) การจัดชั้นเรียน เป็นงานที่ฝ่ายวิชาการต้องประสานกับฝ่ายอาคารสถานที่
รวมทั้งการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆในห้องเรียน
(2) การจัดครูเข้าสอน การจัดครูเข้าสอนต้องพิจารณาถึงความพร้อมของสถาน
ศึกษา และความพร้อมของบุคลากร รวมถึงการเชิญวิทยากรภายนอกมาช่วยสอน
(3) การจัดแบบเรียน โดยปกติสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการจะใช้
แบบเรียนที่กระทรวงกำหนด นอกจากนั้น ครูอาจใช้หนังสืออื่นเป็นหนังประกอบ หรือเอกสารที่
ครูเตรียมเอง
(4) การปรับปรุงการเรียนการสอน เป็นการพัฒนาครูผู้สอนให้ก้าวทัน
วิทยาการเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการ
ความก้าวหน้าของสังคม ธุรกิจ อุตสาหกรรม เป็นต้น
(5) การฝึกงาน จุดมุ่งหมายของการฝึกงาน เป็นการให้นักเรียนนักศึกษา
รู้จักนำเอาทฤษฎีมาประยุกต์ใช้กับชีวิตจริง ทั้งยังมุ่งให้ผู้เรียนได้เห็นปัญหาที่แท้จริงในสาขาวิชา
และอาชีพนั้น เพื่อให้โอกาสผู้เรียนได้เตรียมตัวที่จะออกไปเผชิญกับชีวิตจริงต่อไป
3) การจัดบริหารเกี่ยวกับการเรียนการสอน เป็นการจัดสิ่งอำนวยความสะดวก และ
ส่งเสริมการจัดหลักสูตร และโปรมแกรมการศึกษาให้มีประสิทธิภาพและคุณภาพ ได้แก่
(1) การจัดสื่อการเรียนการสอน เป็นสิ่งที่เอื้อต่อการศึกษาของนักเรียน
นักศึกษา เน้นเครื่องมือและกิจกรรมให้ครูได้เลือกใช้ในการสอน
(2) การจัดห้องสมุด เป็นที่รวมหนังสือ เอกสาร สิ่งพิมพ์ และวัสดุอุปกรณ์ที่
เป็นแหล่งวิทยาการ ให้นักเรียนนักศึกษาได้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม
(3) การนิเทศการสอน เป็นการช่วยเหลือแนะแนวครูให้เกิดการปรับปรุงแก้ไข
ปัญหาการเรียนการสอน
4) การวัดและประเมินผล กระบวนการเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในด้านการตรวจสอบ
และวิเคราะห์ผลการเรียน
22
ตารางที่ 1 แสดงการวิเคราะห์แนวคิดของนักวิชาการเกี่ยวกับขอบเขตการบริหารวิชาการ
ขอบเขตงานวิชาการ วินิจ
เกตุขำ
กิติมา
ปรีดีดิลก
กรมสามัญ
ศึกษา
อนุศักดิ์
สมิตสันต์
กมล
ภู่ประเสริฐ
ปรียาพร
วงศ์อนุตรโรจน์
การวางแผน
งานวิชาการ
การบริหาร
งานวิชาการ
การจัดการเรียน
การสอน
การพัฒนา
และส่งเสริม
ทางด้านวิชาการ
การวัดผลและ
ประเมินผลและงาน
ทะเบียนนักเรียน
การประเมินผล
การจัดงานวิชาการ
จากตารางแสดงขอบเขตการบริหารงานวิชาการดังกล่าวจะเห็นได้ว่าส่วนใหญ่กำหนด
ขอบเขตการบริหารงานวิชาการคล้ายคลึงกัน สำหรับการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ผู้วิจัยมุ่งศึกษาปัญหา
และแนวทางการแก้ปัญหาการบริหารงานวิชาการ ตามกรอบความคิดใน 6 ด้าน คือ
3.1 การวางแผนงานวิชาการ
3.2 การบริหารงานวิชาการ
3.3 การจัดการเรียนการสอน
3.4 การพัฒนาและส่งเสริมทางด้านวิชาการ
3.5 การวัดผลและประเมินผลการเรียนและงานทะเบียนนักเรียน
3.6 การประเมินผลการจัดการงานวิชาการ
23
3.1 การวางแผนงานวิชาการ
การวางแผนงานเป็นกิจกรรมการบริหาร เป็นกระบวนการเตรียมการทำงานไว้
ล่วงหน้า เพื่อให้งานเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้
ความจำเป็นของการวางแผนงานวิชาการ ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน  (2545 : 95)
กล่าวว่า สถานศึกษาจำเป็นต้องมีการวางแผนงานวิชาการ โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญ 2 ประการ
คือ องค์ประกอบภายนอกสถานศึกษา และองค์ประกอบภายในสถานศึกษา
1) การวางแผนงานวิชาการและองค์ประกอบภายนอกสถานศึกษาที่มีผล
กระทบต่องานวิชาการ ดังนี้
(1) การเปลี่ยนแปลงและความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ทำให้เกิดนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆขึ้น งานวิชาการของสถานศึกษา จำเป็นต้องปรับปรุง
เปลี่ยนแปลงให้ทันกับความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยเฉพาะด้านหลักสูตรและ
การสอนเนื้อหาวิชาใหม่ๆ การนำนวัตกรรมมาใช้ในการเรียนการสอน เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
เครื่องมือและอุปกรณ์การสอน เป็นต้น
(2) การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม ความเป็นตัวเมืองเพิ่มขึ้น
สภาพแวดล้อมก่อให้เกิดปัญหา หลักสูตรและการสอนจำเป็นต้องเพิ่มเติมเกี่ยวกับ การรักษา
สภาพแวดล้อม การป้องกันไม่ให้เกิดมลภาวะเป็นพิษ
(3) การเปลี่ยนแปลงทางด้านการใช้พลังงาน สถานศึกษาต้องมีการเรียน
การสอนให้รู้จักการใช้พลังงานที่ถูกต้อง การประหยัดพลังงาน การหาทางได้ใช้พลังงานทดแทน
น้ำมัน
(4) การเปลี่ยนแปลงจากสังคมเกษตรสู่สังคมอุตสาหกรรมและการ
ก้าวไปสู่สังคมข่าวสาร สถานศึกษาจำเป็นต้องวางแผนเกี่ยวกับหลักสูตร และการสอนเพื่อให้
ผู้เรียนสามารถปรับตัวและดำเนินชีวิตได้ในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลง
2) การวางแผนงานวิชาการภายในสถานศึกษา สถานศึกษาจำเป็นต้อง
มีการวางแผนเพื่อการบริหารงานวิชาการ คือ
(1) ต้องกำหนดจุดมุ่งหมายและเป้าหมายของสถานศึกษาเพื่อเป็น
ทิศทางในการทำงานผู้บริหารและครูต้องมีจุดมุ่งหมายร่วมกันเพื่อจะได้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายได้
(2) ต้องการประเมินผลงาน ในการทำงานนั้น บุคคลต้องทราบผลสำเร็จ
ของงาน การวางแผนจะเป็นตัวกำหนดทั้งเป้าหมายระยะสั้น และระยะยาว จึงจำเป็นต้องมีวิธีการ
ในการวัดและประเมินการปฏิบัติงานของทั้งนักเรียนนักศึกษา ครูอาจารย์ และผู้บริหาร
24
(3) ต้องการความร่วมมือในการทำงาน สถานศึกษาจะดำเนินการไปได้ต้อง
อาศัยความร่วมมือจากบุคลากรหลายฝ่าย การวางแผนจะช่วยรวมกลุ่มพลังภายในสถานศึกษา
เพื่อการทำงานร่วมกัน โดยช่วยกันคิดช่วยกันแก้ปัญหาต่างๆ
นอกจากนี้ ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน  (2545 : 97) ยังกล่าวว่าการวางแผนงาน
วิชาการเป็นสิ่งสำคัญและมีประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในสถานศึกษา ดังนี้
1) สถานศึกษามีงบประมาณและทรัพยากรจำกัด การวางแผนจะช่วย
ให้ใช้งบประมาณและทรัพยากรได้อย่างประหยัดและเกิดประโยชน์สูงสุด
2) การวางแผนจะเป็นตัวกำหนดกิจกรรมที่จะทำในอนาคตไว้ล่วงหน้า
เตรียมพร้อมที่จะแก้ปัญหาและอุปสรรคที่อาจจะเกิดขึ้น
3) สถานศึกษาประกอบด้วยงานต่างๆ เช่น งานวิชาการ งานกิจการนักเรียน
งานธุรการ ซึ่งแต่ละงานมีภาระหน้าที่และแผนการดำเนินงานของตนเอง การสามารถจัดแผน
ร่วมกันระหว่างงานต่างๆ จะทำให้สถานศึกษาสามารถดำเนินงานไปตามจุดมุ่งหมายที่วางไว้ได้
และช่วยเหลือกันได้
4) การวางแผนทำให้สามารถพัฒนาสถานศึกษาไปตามทิศทางที่กำหนดไว้
และสามารถคงอยู่ในสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ
กิติมา ปรีดีดิลก (2532 : 86-88) ได้เสนอแนวคิดในการวางแผนงานวิชาการไว้ว่า
1) ให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าร่วมเกี่ยวกับ การวางแผนวิชาการของโรงเรียน
เช่น ผู้ช่วยฝ่ายวิชาการ หัวหน้าหมวดวิชา หัวหน้าสายวิชา และครูผู้สอน เพื่อแผนงานจะได้เป็น
แผนที่มีความคิดกว้างขวาง
2) จัดแบ่งงานวิชาการออกเป็นด้านๆ ตามภาระหน้าที่ของงานวิชาการ
ของโรงเรียน เช่น งานหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน การบริการสื่อการเรียนการสอน
การปรับปรุงการเรียนการสอน การวัดผลและประเมินผล เป็นต้น
3) ศึกษาจุดมุ่งหมายของหลักสูตรและหลักสูตรที่จะใช้สอนในระดับ
ที่เกี่ยวข้อง เช่น หลักสูตรระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษา
ตอนปลาย เป็นต้น
4) จัดวางแนวปฏิบัติเกี่ยวกับภาระหน้าที่ทางด้านวิชาการในแต่ละเรื่อง เช่น
ภาระหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติอยู่เป็นประจำ หรือภาระหน้าที่ใหม่ที่คิดขึ้น เพื่อจะช่วยในการดำเนินงาน
ของโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
5) จัดทำปฏิทินปฏิบัติงาน เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานให้เกิดผลดี และ
มีประสิทธิภาพ
25
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน  (2545 : 100) กล่าวว่างานของฝ่ายวิชาการมีหลาย
ประเภท โดยทั่วไปงานสำคัญด้านวิชาการที่ดีควรวางแผนมีดังนี้
1) การวางแผนจำนวนนักเรียนนักศึกษาที่จะลงทะเบียนเรียน เป็นสิ่งจำเป็น
สำหรับการเตรียมการในด้านอื่นๆ เช่นการจัดอาจารย์เข้าสอน การจัดตารางสอน เป็นต้น
2) การวางแผนด้านครูอาจารย์ ความพร้อมในการทำงานของครูอาจารย์เป็น
เรื่องสำคัญเพราะงานหลักของสถานศึกษาคือ การเรียนการสอน ความสำเร็จของโปรแกรมการ
ศึกษา จึงขึ้นอยู่กับคุณภาพของครูอาจารย์ การมอบหมายงานให้ครูอาจารย์จึงเป็นงานของการวาง
แผน เทคนิคที่ใช้มอบหมายงานให้ครูอาจารย์ อาศัยหลักความสอดคล้องระหว่างความสามารถและ
ความสนใจของครูอาจารย์แต่ละคนกับหน้าที่นั้นๆ
3) การวางแผนทรัพยากรกายภาพ ทรัพยากรทางกายภาพ ได้แก่ ตึกอาคาร
ครุภัณฑ์และวัสดุภัณฑ์
กรมสามัญศึกษา (2540 : 31) กล่าวว่า การวางแผนงานวิชาการ จะดำเนินไป
ด้วยดีมีประสิทธิภาพ และผลสัมฤทธิ์สูง จะต้องมีการวางแผนไว้ล่วงหน้าก่อน ดังนี้
1) การรวบรวมข้อมูล และจัดทำระเบียบแนวปฏิบัติที่เกี่ยวกับงานวิชาการ
(1) ต้องมีผู้รับผิดชอบในการรวบรวมข้อมูล ระเบียบ และแนวปฏิบัติ
ทางราชการ เกี่ยวกับงานวิชาการให้เป็นระบบ และสะดวกในการนำไปใช้
(2) มีการจัดทำระเบียบ และแนวปฏิบัติขึ้นใช้ในโรงเรียน
(3) จัดทำเอกสาร คู่มือครู คู่มือนักเรียน
(4) เผยแพร่ให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ
2) การจัดทำแผนงานวิชาการ
(1) จัดทำแผนงานวิชาการเป็นลายลักษณ์อักษร
(2) ตั้งคณะทำงานรับผิดชอบให้ปฏิบัติตามแผน
(3) ดำเนินการตามแผน
(4) มีการติดตาม และการประเมินผล
(5) นำผลการประเมินไปปรับปรุง และพัฒนา
สรุปว่า การวางแผนงานวิชาการ คือ การรวบรวมข้อมูล และจัดทำระเบียบ
แนวปฏิบัติที่เกี่ยวกับงานวิชาการ การทำแผนงานวิชาการ
26
3.2 การบริหารงานวิชาการ
การบริหารงานวิชาการ จัดว่าเป็นการบริหารกิจกรรมทุกชนิดที่เกี่ยวข้อง
กับหลักสูตร การเรียนการสอน เพื่อให้การเรียนของนักเรียน และการสอนของครูประสบผลสำเร็จ
ตามเป้าหมายที่โรงเรียนหรือสถานศึกษากำหนดไว ้ มีผู้ให้แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการ
ไว้ด้วย
กิติมา ปรีดีดิลก (2532 : 48) กล่าวว่า หลักสำคัญของการบริหาร
งานวิชาการ ประกอบด้วย
1) จัดทำแผนงานวิชาการ ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์หรือนโยบายหลัก
2) การบริหารงานวิชาการมุ่งการร่วมมือกันทำ
3) การกระจายอำนาจ และความรับผิดชอบไปสู่ผู้ปฏิบัติ
4) ควรส่งเสริมผู้ร่วมงานให้ปรับปรุงตนเองด้านวิชาการ
5) ริเริ่มสร้างสรรค์ในการปรับปรุงงานวิชาการ
6) ผู้บริหารควรใช้เทคนิคการส่งเสริมคนอื่น มากกว่าทำด้วยตนเอง
7) ให้ขวัญและกำลังใจในการทำงาน
8) ควรมีคณะกรรมการที่ปรึกษาทางวิชาการ
9) ให้ครูเข้าใจวัตถุประสงค์ และจุดมุ่งหมายของการสอนทุกวิชาที่รับผิดชอบ
10) ติดตามและประเมินผลงาน
กรมสามัญศึกษา (2540 : 31-34) กล่าวถึง งานที่เกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการ
ประกอบด้วย
1) กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบงานวิชาการ
(1) จัดทำแผนภูมิสายงานบริหาร
(2) พรรณางานสายงานวิชาการ
(3) กำหนดขอบข่ายงานวิชาการอย่างครอบคลุม และกำหนดบุคลากร
รับผิดชอบงานตามแผนภูมิของโรงเรียน
(4) มีการประชาสัมพันธ์เผยแพร่
2) การจัดแผนการเรียน
(1) จัดให้มีแผนการเรียน
(2) จัดแผนการเรียนเป็นไปตามโครงสร้างของหลักสูตร
(3) จัดให้มีความพร้อมทางด้านอาคารสถานที่ บุคลากร และวัสดุอุปกรณ์
27
(4) จัดให้มีแผนการเรียนมากพอให้นักเรียนเลือกเรียนตามความต้องการ
ความถนัด และความสนใจเพื่อการศึกษาต่อ และประกอบอาชีพ การประเมินและปรับปรุงการจัด
แผนการเรียน
3) การจัดตารางสอน
(1) จัดให้มีตารางสอนรวม
(2) จัดให้มีตารางสอนประจำหมวดวิชา
(3) จัดให้มีตารางการใช้ห้อง
(4) จัดให้มีคณะกรรมการจัดตารางสอน
(5) มีการติดตามการใช้ตารางสอนเพื่อมาปรับปรุงและพัฒนา
(4) นำนวัตกรรม และเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดตารางสอน
4) การจัดครูเข้าสอนตามตารางสอน
(1) จัดครูเข้าสอนโดยคำนึงถึงความรู้ ความสามารถ และความถนัด
ในวิชาที่สอนนั้น
(2) จัดทำข้อมูลสถิติและการประเมินผลเพื่อปรับปรุงพัฒนา การจัดครูเข้าสอน
5) การจัดครูเข้าสอนแทน
(1) มีการจัดครูเข้าสอนแทนครูขาด ครูลา
(2) มีแนวปฏิบัติในการจัดครูเข้าสอนแทนที่แน่นอนและเหมาะสม
(3) จัดครูเข้าสอนแทนโดยคำนึงถึงความรู้ความสามารถ และความถนัด
(4) จัดทำข้อมูลสถิติและการประเมินผลเพื่อปรับปรุงพัฒนาการจัดครู
เข้าสอนแทน
6) การนำนวัตกรรม และเทคโนโลยีมาใช้ในการดำเนินงานทางวิชาการ
(1) มีผู้รับผิดชอบ ในการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการดำเนินงาน
ทางวิชาการ
(2) มีระเบียบและแนวปฏิบัติการ ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยี ในการ
ดำเนินงานวิชาการ
(3) จัดระบบการใช้และ//หรือเครือข่ายการนำนวัตกรรม และเทคโนโลยี
มาใช้ในการดำเนินงานทางวิชาการ
(4) มีการประเมินผลและพัฒนาการใช้นวัตกรรม และเทคโนโลยี
ในการดำเนินงานทางวิชาการ
28
จัดแผนการเรียน
กิติมา ปรีดีดิลก (2532 : 62) กล่าวว่า แผนการเรียนเป็นการกำหนดรายวิชา
ต่างๆ ให้ผู้เรียนเรียนอย่างมีเป้าหมาย เป็นการกำหนดแผนไว้ล่วงหน้าว่า ตลอดระยะเวลา
ของการศึกษา จะต้องศึกษาอะไรบ้าง มากน้อยเพียงใดโดยคำนึงถึงเนื้อหาสาระที่ประกอบ
อยู่ในหลักสูตร วิธีการจัดแผนการเรียนต้องคำนึงถึงผู้เรียน ให้ผู้เรียนมีโอกาสเลือกเรียน
ตามความถนัด ความสนใจ และความสามารถ จากภาคปฏิบัติที่โรงเรียนมักจัดแผนการเรียน
โดยไม่คำนึงถึง ความสนใจ และความสามารถควบคู่ไปกับการคำนึงถึงเฉพาะทรัพยากรที่มีอยู่
เช่น ครู เครื่องมือและอุปกรณ์มีอย่างไร ก็จัดอย่างนั้น และจัดตามความเห็นชอบของโรงเรียน
และคณะครู-อาจารย์
กรมสามัญศึกษา (2540 : 32) ได้กำหนดรายละเอียดด้านการจัดแผนการเรียน
ว่า แผนการเรียน หมายถึง การกำหนดรายวิชาเรียนไว้ล่วงหน้า โดยให้ผู้เรียนได้มีโอกาส
เลือกตามความถนัด ความสามารถ เหมาะสมกับผู้เรียน และสถาบันการศึกษานั้นๆ รวมทั้งเป็นไป
ที่หลักสูตรกำหนดไว้ โดยมีหลักการดำเนินงานดังนี้
1) การจัดแผนการเรียนให้สนองจุดมุ่งหมายของหลักการและโครงสร้าง
ของหลักสูตร
2) จัดแผนการเรียนโดยคำนึงถึงความพร้อมด้านอาคารสถานที่ บุคลากร และ
วัสดุอุปกรณ์
3) จัดแผนการเรียนให้นักเรียนได้มีโอกาสเลือกตามความต้องการความถนัด
และความสนใจ เพื่อการศึกษาต่อ หรือการประกอบอาชีพ
4) จัดให้มีการประเมิน และปรับปรุงการจัดแผนการเรียน
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน  (2545 : 153) สถานศึกษาต้องจัดแผนการเรียนให้
สอดคล้องกับหลักสูตร เพื่อให้ผู้เรียนมีโอกาสเลือกเรียนได้ตามความถนัด ตามความสนใจ
และความสามารถ แผนการเรียนเป็นการกำหนดรายวิชาให้เรียนมีวิชาบังคับ วิชาเลือก และวิชา
เลือกเสรีอย่างมีจุดมุ่งหมายเป็นหน้าที่ของฝ่ายวิชาการที่จะต้องศึกษาโครงสร้างของหลักสูตร
รายวิชาต่างๆ ในหลักสูตรให้เข้าใจโดยละเอียด การจัดแผนการเรียนควรอาศัยข้อมูลดังต่อไปนี้
1) มีการสำรวจสภาพท้องถิ่น อุตสาหกรรม และความต้องการของ
ผู้ปกครอง
2) มีการสำรวจความต้องการของนักเรียนนักศึกษา
3) มีการสำรวจความต้องการของสถานประกอบการอุตสาหกรรม
4) มีการสำรวจความพร้อมของสถานศึกษาในด้านต่างๆ เช่น วัสดุอุปกรณ์
เครื่องจักร เครื่องมือ ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ แปลงสาธิต โรงประลอง เป็นต้น
29
5) มีการนำผลการสรุปมาสรุปวิเคราะห์ เพื่อนำไปสู่การจัดแผนการเรียนของ
นักเรียน นักศึกษา
6) แผนการเรียนที่เปิดสอน จากการประชุมพิจารณาปรับเปลี่ยน
แผนการเรียนได้เหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียน
การจัดแผนการเรียนนี้ สถานศึกษาแต่ละแห่งจะจัดแตกต่างกันไปตามสภาพ
ความพร้อมในด้านอาคารสถานที่ วัสดุอุปกรณ์ ตลอดจนครูอาจารย์ สถานศึกษาขนาดใหญ่
จะสามารถจัดแผนการเรียนได้มากกว่าสถานศึกษาขนาดเล็ก
สรุปว่า การจัดแผนการเรียน หมายถึง การกำหนดรายวิชาในหลักสูตรไว้
เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนได้ตามความถนัด ความสามารถของผู้เรียน โดยเหมาะสม
กับผู้เรียน สถาบันศึกษา และสภาพของชุมชนนั้น ๆ
การจัดตารางสอน
กิติมา ปรีดีดิลก (2532 : 62) กล่าวว่า การจัดตารางสอน เป็นหน้าที่ของ
ผู้บริหารสถานศึกษา หรือผู้ช่วยผู้บริหารฝ่ายวิชาการจะจัดทำขึ้น โดยกิจกรรมที่กำหนดนั้นจะต้อง
สัมพันธ์กับเวลาในหลักสูตร และหลักสูตรพัฒนาผู้เรียน การบริหารวิชาการจะบรรลุผลสำเร็จมาก
น้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับการจัดตารางสอนด้วย เพราะถ้าตารางสอนไม่ถูกจัดอย่างถูกต้องครบถ้วน
เนื้อหาในหลักสูตร ผลเสียก็จะเกิดตกแก่ผู้เรียน นั่นคือ ผู้เรียนจะได้ความรู้ไม่ครบตามหลักสูตร
หรือหากมีการจัดเนื้อหาได้ครบตามกำหนดเวลาที่กำหนด แต่วิธีการจัดไม่ถูกต้อง เช่น นำวิชา
ที่มีความสำคัญต้องการสมาธิในการเรียน ไปจัดไว้ในเวลาที่ร่างกายล้ามาจากการเรียน
ทั้งวัน เป็นต้น ก็จะทำให้ผลการเรียนได้ไม่ดีเท่าที่ควร ดังนั้น ในการจัดทำตารางสอน ผู้บริหาร
โรงเรียนหรือผู้ช่วยผู้บริหารฝ่ายวิชาการ ควรคำนึงถึงหลักในการจัดดังนี้
1) จะต้องบรรจุวิชาเรียนและเวลาเรียนให้ครบตามหลักสูตรที่กำหนดไว้
2) กำหนดเวลาเรียนโดยแบ่งเป็นจำนวนคาบอิสระแต่ละวิชาและแต่ละระดับ
หากวิชาใดมีความสำคัญที่จะจัดจำนวนคาบมากกว่าบางวิชาย่อมเป็นไปได้
3) กำหนดวิชาที่เรียนลงในแต่ละคาบวิชา โดยคำนึงถึงความเหมาะสมของ
แต่ละวิชา เช่น คณิตศาสตร์ ควรอยู่ตอนเช้า หรือคาบแรกของตอนบ่าย วิชาการงานอาชีพ
ควรอยู่คาบสุดท้ายของตอนเช้าหรือตอนบ่าย
4) วิชาที่ใช้ความคิดมาก ไม่ควรอยู่ซับซ้อนกันหลายคาบวิชาในวันเดียวกัน
5) วิชาที่มีการปฏิบัติมากๆ ควรจัดเป็น 2 คาบติดต่อกัน เช่น วิทยาศาสตร์
หรือวิชาการงานอาชีพ เป็นต้น
6) ควรจัดจำนวนคาบ หรือเวลาเรียนตอนเช้าให้มากกว่าตอนบ่าย
เพราะตอนบ่ายอาจมีอากาศร้อน หรือเคร่งเครียดในตอนเช้ามากพอแล้ว
30
7) การจัดวางวิชาในแต่ละคาบ แต่ละวัน ต้องสัมพันธ์กับเวลาของผู้สอนด้วย
8) ควรเฉลี่ยปริมาณชั่วโมงของครูผู้สอนให้ทัดเทียมกัน เช่น ตามระเบียบ
กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน ในสัญญาว่าจ้างครู กำหนดไว้ว่า
ชั่วโมงของครูระดับมัธยมศึกษาตอนต้นไม่เกิน 22 ชั่วโมง ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายไม่เกิน
20 ชั่วโมง และครูต้องใช้ชั่วโมงว่างเพื่อเตรียมการสอนตรวจงาน และทำงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับ
นักเรียน
อำภา บุญช่วย (2537 : 68) กล่าวว่า การจัดตารางสอน คือตารางกำหนด
วัน เวลา สถานที่ วิชา และกลุ่มผู้เรียน ที่จะทำการเรียนการสอน ปกติตารางจะจัดไว้เป็นสัปดาห์
การจัดตารางสอนเป็นการวางแผนงานส่วนหนึ่งของโรงเรียนที่จำเป็นยิ่งเพราะถา้ ไม่มีการกาํ หนด
ตารางไว้ จะทำให้การเรียนการสอนดำเนินไปไม่ราบรื่น การจัดตารางสอนเพื่อให้นักเรียน
ได้เนื้อหาวิชาการต่างๆ ครบตรงตามหลักสูตรนั้น เป็นงานละเอียดประณีต ผู้จัดจะต้องเป็น
ผู้ที่เข้าใจจุดมุ่งหมายของหลักสูตรดีพอควร จะต้องรู้เนื้อหาวิชา อีกทั้งจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับวัย
และพัฒนาการของเด็กในแต่ละระดับชั้นเป็นอย่างดีเพื่อจะได้จัดเนื้อหาวิชาและคาบเวลา
ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์ (2545 : 153-155) กล่าวว่า ตารางสอนเป็น
การกำหนดวิชา และเวลาที่จะเรียนโดยละเอียดประจำวันตลอดสัปดาห์ โดยมีหลักใน
การจัดตารางสอน ดังนี้
1) จัดให้ครบตามโครงสร้างของหลักสูตร เพื่อให้นักเรียนนักศึกษา
ได้ลงทะเบียนและเรียนได้ตามหลักสูตร
2) มีการพิจารณาการจัดตารางสอนตามธรรมชาติของแต่ละรายวิชา
เพื่อเอื้ออำนวยต่อการเรียนของนักเรียนนักศึกษา ไม่เกิดความเครียดหรือเหนื่อยเกินไป
และไม่ให้ผลของวิชาหนึ่งกระทบกับอีกวิชาหนึ่ง เช่น วิชาภาคปฏิบัติ ควรจะจัดควบคู่กับ
ทฤษฎีของวิชานั้น และไม่ควรเป็น 2 รายวิชาหนึ่งวัน
3) จัดให้มีเวลาที่นักเรียนนักศึกษาสามารถศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
4) จัดวิชาที่เป็นทฤษฎีและมีการคำนวณไว้ในภาคเช้ามากกว่าภาคบ่าย
5) ควรพิจารณาถึงครูอาจารย์ เช่น ความสะดวกที่จะสอน การมีเวลาว่าง
ตรงกันเพื่อการประชุมหารือในภาควิชาหรือแผนกวิชา
สรุปว่า การจัดตารางสอน ให้มีประสิทธิภาพ มีความจำเป็นต้องคำนึงถึง
สิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้ เนื้อหาและกิจกรรมตามธรรมชาติของรายวิชา ช่วงเวลาที่เหมาะสมของ
แต่ละรายวิชา สภาพห้องเรียน และต้องเหมาะสมกับความพร้อมของนักเรียน และครู-อาจารย์
ในการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาต่าง ๆ
31
การจัดครูเข้าสอน
กิติมา ปรีดีดิลก (2532 : 65) กล่าวว่า การจัดครูเข้าสอนเป็นหน้าที่
อันสำคัญอย่างหนึ่งของผู้บริหารที่จะรู้จักเลือกจัดครูผู้สอน ได้เหมาะสมกับแต่ละวิชา แต่ละ
ระดับชั้น และแต่ละความสามารถของผู้เรียน นอกจากผู้สอนจะมีความรู้ความสามารถ
ในวิชาที่สอนแล้ว เทคนิควิธีการสอนก็เป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้บริหารจะต้องติดตามดูอย่างใกล้ชิด
ตลอดจนความสามารถในการปกครองดูแลเด็กให้อยู่ในกรอบหรือแนวทางที่ต้องการ
วินิจ เกตุขำ (มปป : 50) กล่าว่า วิธีการจัดครูเข้าสอน การจัดครูเข้าสอน
ที่ได้ผลดี เมื่อมีครูพอเพียง มีการจัดแบบใหญ่อยู่ 2 แบบ ดังนี้
1) การจัดครูสอนตามแนวตั้ง ได้แก่ การจัดครูสอนในวิชาหนึ่งๆ หลายระดับชั้น
2) การจัดครูเข้าสอนตามแนวนอน คือ การจัดครูสอนวิชาหนึ่งในระดับเดียว
นอกจากการจัดครูเข้าสอนแบบแนวตั้งและแนวนอนที่กล่าวมาแล้ว
มีข้อเสนอแนะการจัดครูเข้าสอนสำหรับผู้บริหารไว้พิจารณา ซึ่งอาจทำได้หลายวิธี เช่น
(1) ให้ทุกคนพิจารณาเข้าสู่สายงานเองด้วยความสมัครใจ
(2) ผู้บริหารจัดครูเข้าสอน โดยพิจารณาถึงความรู้ ความสามารถและ
ประสบการณ์ของบุคลากร
(3) วิธีผสมจากวิธีที่ 1 และ 2 กล่าวคือ ผู้บริหารจัดครูเข้าสอนก่อน และ
ให้ทุกคนช่วยพิจารณาถ้าหากบางคนต้องการสับเปลี่ยน
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์ (2545 : 156-157) กล่าวว่า การจัดครูอาจารย์
เข้าสอนเป็นงานของฝ่ายวิชาการการพิจารณาความเหมาะสมและถูกต้องจึงเป็นสิ่งจำเป็น
การดำเนินงานของการจัดครูอาจารย์เข้าสอนมีดังนี้
1) การสำรวจความพร้อมของบุคลากรด้านครูอาจารย์ ก่อนเปิดหลักสูตรใหม่
หรือเปิดแผนการสอนเพิ่ม
2) สำรวจภาระงานของครูอาจารย์
3) สำรวจคุณสมบัติของครูอาจารย์ เช่น วุฒิ ประสบการณ์ ความชำนาญ
ในด้านการสอนของแต่ละวิชา
4) จัดตามความพร้อมของครูผู้สอน เช่น ความถนัด และความต้องการ
ในการสอน ได้แก่ จัดตามวุฒิทางการศึกษา จัดตามความสนใจและความถนัด จัดตาม
ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์
สรุปว่า การจัดครูเข้าสอน ควรจะได้คำนึงถึงหลักใหญ่ๆ ดังนี้ คือ การสำรวจ
ความพร้อมของบุคลากรครูในโรงเรียนก่อนเปิดแผนการเรียน การกำหนดคุณสมบัติของครูผู้สอน
การจัดตามความถนัดและความต้องการของครูผู้สอน
32
การจัดครูเข้าสอนแทน
การจัดการเรียนการสอน เป็นกิจกรรมที่สำคัญที่สุดเป็นการดำเนินงาน
เพื่อให้เกิดการเรียนการสอนตามหลักสูตร มีนักการศึกษากล่าวว่า
อำภา บุญช่วย (2537 : 77) กล่าวว่า นอกจากจัดครูเข้าสอนในชั้นเรียน
ก่อนเปิดภาคเรียน ซึ่งต้องทำเป็นประจำทุกภาคเรียน การจัดสอนแทน ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
ที่ทำความยุ่งยากมาให้กับผู้บริหาร โรงเรียนขนาดใหญ่ การจัดสอนแทนทำได้ลำบาก
เพราะครูมีจำนวนเป็นร้อย ย่อมมีการลาป่วย ไปราชการเป็นประจำ
กรมสามัญศึกษา (2540 : 33) ได้กำหนดรายละเอียดการจัดครูเข้าสอน ดังนี้
1) มีแนวในการจัดครูเข้าสอนแทนที่แน่นอนและเหมาะสม
2) ปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนดไว้อย่างสม่ำเสมอ
3) การจัดครูเข้าสอนแทน ต้องคำนึงถึงความรู้ความสามารถและความถนัดใน
สาขาวิชานั้น หรือการใช้อุปกรณ์ เช่น ชุดการสอน บทเรียนสำเร็จรูปแทนครูที่ขาด
4) มีการจัดทำข้อมูลสถิติจำนวนคาบสอนแทน และจำนวนคาบที่ไม่ได้ทำ
การสอนของครูอาจารย์
5) มีการประเมินผลเพื่อปรับปรุงพัฒนาการจัดครูเข้าสอนแทน
สรุปว่า การจัดครูเข้าสอนแทน เป็นการแก้ปัญหาของครูอาจารย์ และการจัด
เข้าสอนแทนเมื่อครูไม่มาทำการสอน เพื่อให้การดำเนินการจัดการเรียนการสอนเป็นไปด้วยความ
มีประสิทธิภาพ และเกิดผลดีแก่นักเรียนทุกคนในโรงเรียน
จากที่ได้กล่าวมาข้างต้น การบริหารงานวิชาการ คือการกำหนดหน้าที่
ความรับผิดชอบ การจัดกลุ่มการเรียน การจัดตารางสอน การจัดครูเข้าสอนตามตาราง การจัดครู
เข้าสอนแทน การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในการดำเนินงานวิชาการ
3.3 การจัดการเรียนการสอน
การจัดการเรียนการสอน เป็นกิจกรรมที่สำคัญที่สุด เป็นการดำเนินงานเพื่อให้
เกิดการเรียนการสอนตามหลักสูตร
วินิจ เกตุขำ (มปป : 47-48) การทำแผนการสอนรายวิชาคือ การนำเนื้อหา
รายวิชานั้น หรือกลุ่มประสบการณ์จะต้องทำการสอนตลอดภาคเรียน นำมาสร้างเป็นแผนการจัด
กิจกรรม การเรียนการสอน มีการกำหนดจุดประสงค์ การเรียนรู้ สาระสำคัญของเนื้อหา กำหนด
กิจกรรมการเรียนการสอนตามลำดับขั้นตอนการสอน กำหนดสื่อการวัดและการประเมินผลการทำ
แผนการสอน เป็นการเตรียมการสอนล่วงหน้า โดยผสมผสานเนื้อหาวิชาศาสตร์ว่าด้วยทฤษฎี
33
การเรียนรู้ ทฤษฎีการเรียนการสอนสภาพของผู้เรียน ความพร้อมของโรงเรียน เขียนเป็นลายลักษณ์
อักษรเป็นการวางแผนการสอนล่วงหน้านั่นเอง
แผนการสอนรายวิชา เป็นเอกสารการบริหารหลักสูตรที่สำคัญที่สุดของครู
ผู้สอน เพราะในแผนการสอนรายวิชาจะมี (1) การกำหนดเวลาเรียน (2) จุดประสงค์ของการเรียนรู้
(3) เนื้อหาวิชาที่เรียน (4) กิจกรรมการเรียนการสอน (5) สื่อการสอน และ (6) การประเมินผลครู
ผู้สอนทุกคนจะต้องมีแผนการสอนรายวิชาทุกวิชาที่สอนเป็นของตนเองเพราะทุกคาบการสอน ครู
จะต้องเปิดแผนการสอนรายวิชาตรวจสอบการวางแผนการสอนเพื่อสอนให้ได้ตามจุดประสงค์
ความสำคัญของแผนการสอนรายวิชา
1) ครูสอนได้วางแผนการสอน ทำให้เกิดความมั่นใจในการสอน
2) ครูผู้สอนจะสอนได้ตามจุดประสงค์ (Teaching by Objectives = TBO)
3) นักเรียนผู้เรียนจะได้เรียนตามจุดประสงค์การเรียนรู้
4) ครูผู้สอนได้มีเวลา มีโอกาสพิจารณา "จุดประสงค์การเรียน" "วิธีสอนแบบ
ต่าง ๆ" สื่อการสอนที่จำเป็น" "กิจกรรมที่จะมอบให้" "วิธีการจัดประเมินผล" ฯลฯ
กิติมา ปรีดีดิลก (2532 : 61) ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับการบันทึกการสอน
ดังนี้ การบันทึกการสอนเป็นการแสดงรายละเอียดของการกำหนดเนื้อหาที่จะสอนในแต่ละคาบ
แต่ละวันหรือสัปดาห์ โดยการวางแผนไว้ล่วงหน้า โดยยึดโครงการสอนเป็นหลักในการจัดทำ
บันทึกการสอนจะต้องทำการสอนให้เป็นประจำ จุดมุ่งหมาย เพื่อเป็นคู่มือการสอนในแต่ละวัน
แต่ละคาบเวลา และให้เป็นไปตามแบบที่วางไว้ล่วงหน้า ถือเป็นการเตรียมบันทึกการสอนของ
ผู้สอน บันทึกการสอนประกอบด้วย จุดมุ่งหมาย เนื้อหาวิชา กิจกรรมและประสบการณ์
ในการเรียนรู้ วัสดุอุปกรณ์ และการประเมินผล
อำภา บุญช่วย (2537 : 71-72) กล่าวว่า การจัดทำแผนการสอน เป็นการขยาย
รายละเอียดของหลักสูตรให้ไปสู่ภาคปฏิบัติ โดยการกำหนดกิจกรรมและเวลาได้อย่างชัดเจน
สามารถนำไปปฏิบัติได้ การจัดทำแผนการสอนจะทำเป็นรายวิชา หรือเป็นรายชั้นเรียนแผน
การสอนควรแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรกเป็นแผนการสอนระยะยาว และอีกส่วนเป็น
การสอนระยะสั้น ซึ่งนำเอาแผนการสอนระยะยาวมาขยายเป็นรายละเอียดสำหรับการสอนในแต่
ละครั้ง
กรมสามัญศึกษา (2540 : 34) ได้กำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดทำ
แผนการสอน และบันทึกการสอน ดังนี้
1) จัดทำแผนการสอนหรือบันทึกการสอน
2) มีแผนการสอนหรือบันทึกการสอนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของรายวิชาที่
เปิดสอน
34
3) มีแผนการสอนหรือบันทึกการสอนครบทุกหมวดวิชา
4) มีหลักฐานการนำไปใช้อย่างสม่ำเสมอตรวจสอบได้
5) มีการดำเนินการปรับปรุงมีแผนการสอนหรือบันทึกการสอน
กรมวิชาการ (2543 : 5-6) กล่าวว่า แผนการสอน คือ การนำวิชาหรือ
กลุ่มประสบการณ์ที่จะต้องทำการสอนตลอดภาคเรียนมาสร้างเป็นแผนการจัดกิจกรรมการเรียน
การสอน การใช้สื่อและอุปกรณ์ การวัดและประเมินผล สำหรับเนื้อหาสาระ และจุดประสงค์
การเรียนรู้ย่อยๆ ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ หรือจุดเน้นของหลักสูตร สภาพของผู้เรียน
ความพร้อมของโรงเรียนในด้านวัสดุ อุปกรณ์ และตรงกับสภาพที่เป็นจริงในท้องถิ่น
กมล ภู่ประเสริฐ (2544 : 54) ได้กล่าวว่า การจัดทำแผนการสอนหรือ
แผนการจัดการเรียนรู้ของผู้สอนแต่ละคนซึ่งรูปแบบโดยทั่วไปที่ใช้กันอยู่ ประกอบด้วย
องค์ประกอบสำคัญ 5 ส่วน คือ จุดประสงค์สาระการเรียนรู้ (เนื้อหาและกระบวนการ) กิจกรรม
สื่อ และการประเมินผล ผู้สอนสามารถกำหนดแบบอย่างใดก็ได้ ขอแต่เขียนให้มีสาระสำคัญ
ที่จะทำให้รู้ว่าการเรียนการสอน หน่วยการเรียนรู้รายวิชานั้น จะต้องเตรียมการอะไร
และจะดำเนินการอย่างไร
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์ (2545 : 53-55) กล่าวว่าการวางแผนการสอน
สามารถ ใช้วิธีการแก้ปัญหาแบบวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการวางแผนการสอนดังนี้
1) กำหนดวัตถุประสงค์ของการสอนให้ชัดเจน สามารถปฏิบัติได้ และวัดผลได้
2) กำหนดเนื้อหาและประสบการณ์ และจัดลำดับประสบการณ์ที่จะสอน
3) เลือกวิธีสอนและสื่อการสอนที่เหมาะสม
4) ดำเนินการสอนด้วยกิจกรรมการสอน
5) วัดและประเมินผลเพื่อจะได้นำไปพิจารณาปรับปรุงการสอนให้ได้ผลดียิ่งขึ้น
สรุปว่า แผนการสอน หมายถึง การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนการสอน
การจัดทำแผนการสอนหรือบันทึกการสอนของครู การนำแผนการสอนและบันทึกการสอน
ของครูไปใช้ และการปรับปรุงแผนการสอนหรือบันทึกการสอน
35
สื่อการเรียนการสอน
สื่อการเรียนรู้ เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่จะช่วยให้สถานศึกษาจัดการเรียนรู้
ให้บรรลุ ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร ผู้สอนมีบทบาทสำคัญในการสร้าง /เลือกสื่อการเรียนรู้
ให้สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้ และกิจกรรมการเรียนรู้
เกอร์ลาซ และอีลี (Gerlach และ Ely ,1980 : 282) กล่าวว่า สื่อการสอนเป็น
กุญแจสำคัญในการสอนเชิงระบบ สื่อเป็นคำที่มีความหมายกว้างขวางมาก ไม่ว่าจะเป็นบุคคล
วัสดุอุปกรณ์ หรือเหตุการณ์ที่สร้างเงื่อนไขซึ่งสามารถนำมาใช้สอน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้
ทักษะ ตลอดจนเจตคติ โดยนัยนี้ ครู ตำรา และสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนต่างเป็นสื่อการสอนทั้งสิ้น
กิติมา ปรีดีดิลก (2532 : 69) ได้ให้หลักเกณฑ์ในการเลือกใช้สื่อการสอนดังนี้
1) เลือกสื่อการสอนให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน
2) เลือกสื่อให้เหมาะกับเนื้อหาวิชา
3) เลือกให้เหมาะกับเทคนิคและวิธีการสอน
4) เลือกสื่อให้เหมาะกับวัยและความสนใจของผู้เรียน
5) เลือกสื่อให้เหมาะกับเครื่องมือและสิ่งอำนวยความสะดวก
6) เลือกสื่อที่พอจะหามาได้ และคำนึงถึงความสะดวกสบายในการนำมาใช้
ไม่จำเป็นต้องใช้สื่อราคาแพง
7) เลือกสื่อคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
อำภา บุญช่วย (2537 : 109) กล่าวว่าสื่อการเรียนการสอน เป็นอุปกรณ์และ
วิธีการที่ช่วยให้ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ สนุกและน่าสนใจ ซึ่งอาจ
เรียกได้ว่า สื่อการเรียนการสอนเป็นมือที่สามของครู การใช้สื่อการเรียนการสอนให้ได้ผล
สื่อนั้นต้องตรงกับจุดประสงค์ เนื้อหา และกิจกรรมของบทเรียนอีกทั้งยังต้องใช้อย่างประหยัด
และคุ้มค่า สื่อการเรียนการสอนนี้มีอยู่มากมายหลายชนิดซึ่งครูสามารถสร้าง และจัดทำสื่อได้จาก
สภาพแวดล้อมในท้องถิ่น หรือการนำเศษวัสดุเหลือใช้มาดัดแปลงทำเป็นสื่อการเรียนการสอนได้
การเก็บรักษาสื่ออย่างถูกหลักวิธี จะช่วยให้การใช้สื่อมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์คุ้มค่า
การเก็บรักษาจึงควรจัดทำอย่างเป็นระบบ
การบริหารสื่อการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพนั้นขึ้นอยู่กับบทบาท 4
ประการของผู้บริหาร คือ เป็นผู้ริเริ่ม เป็นผู้สนับสนุน เป็นผู้ประสานงาน และเป็นผู้ประเมินผล
หากผู้บริหารรู้บทบาทของตนเองแล้ว ก็ย่อมจะช่วยให้การบริหารงานวิชาการในภาพรวมเป็นไป
ด้วยดี
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน  (2545 : 207) ได้กล่าวว่า งานสื่อการสอนหมายถึง
งานบริการที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อจัดหาประสบการณ์ การเรียนที่ดี โดยการบริการทางด้านวัสดุ
36
เครื่องมืออุปกรณ์ ตลอดจนกิจกรรมต่างๆ ให้กับนักเรียนนักศึกษา ครูอาจารย์ที่มีความประสงค์จะ
ใช้โสตทัศนูปกรณ์เหล่านี้ และยังรวมงานด้านการวางแผน การผลิต การทดลองใช้ การประเมินผล
วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ด้วย
สรุปว่า สื่อการสอน หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่ผู้สอนนำมาใช้ประกอบในการสอน
เพื่อให้เป็นสื่อกลางในการสื่อความหมายที่ผู้สอนประสงค์จะส่งหรือถ่ายทอดไปยังผู้เรียน เพื่อที่
การสอนจะบรรลุถึงจุดประสงค์ที่ต้องการ ซึ่งอาจจะเป็นวัสดุ อุปกรณ์ กิจกรรม และตลอดจน
เทคนิคหรือวิธีการต่าง ๆ
จากที่ได้กล่าวมาข้างต้น การจัดการเรียนการสอน คือการจัดทำ การใช้ การ
ปรับปรุงแผนการสอนรายวิชา การจัดหา การบำรุงรักษา และส่งเสริมผลิตสื่อการเรียนการสอน
และวิธีการสอน
3.4 การพัฒนาและส่งเสริมทางด้านวิชาการ
การพัฒนาและส่งเสริมทางด้านวิชาการ ผู้บริหารต้องให้การสนับสนุนอย่าง
จริงจัง เพื่อให้การปฏิบัติงานวิชาการมีประสิทธิภาพตามจุดมุ่งหมายที่คาดไว้ ซึ่งมีผู้ให้แนวคิดดังนี้
กิติมา ปรีดีดิลก (2532 : 111) ให้ความหมายของการพัฒนาครูว่าเป็นการ
เอาใจใส่ช่วยเหลือให้ครูได้รับการพัฒนามีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานในหน้าที่อันเกิด
ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลมีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน โดยการจัดกิจกรรมต่าง ๆ
เพื่อเสริมให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
กรมสามัญศึกษา (2540 : 34-38) ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนา
และส่งเสริมทางด้านวิชาการเพื่อให้เป็นเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนมัธยมศึกษาไว้ดังนี้
1) จัดการพัฒนาและส่งเสริมการเรียนการสอนแบบต่างๆ ทั้งในด้านการใช้
วัสดุอุปกรณ์ การเรียนการสอน การให้นักเรียนมีส่วนรวมในการเรียนการสอนเปิดโอกาสให้
นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง และการใช้ทรัพยากรจากแหล่งวิทยาการ สถานประกอบการ
ในท้องถิ่นให้มีประโยชน์ต่อการเรียนการสอน
2) จัดสอนซ่อมเสริม มีตารางสอนซ่อมเสริม มีการดำเนินการสอนซ่อมเสริม
จัดแบ่งกลุ่มนักเรียนตามระดับความสามารถ และปัญหาด้านการเรียน
3) การจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการเรียนการสอน ได้แก่ การค้นคว้าหาความรู้
เพิ่มเติม การให้นักเรียนช่วยเหลือซึ่งกันและกัน การประกวดและแข่งขัน การจัดนิทรรศการ
การฝึกงาน การศึกษานอกสถานที่ การให้นักเรียนผลิตผลงานการแสดงหรือจำหน่ายผลผลิต
37
ของนักเรียน การจัดกิจกรรมสหกรณ์การหารายได้ระหว่างการเรียน และกิจกรรมอื่นๆ
ที่ส่งเสริมการเรียนการสอน
4) การจัดกิจกรรมนักเรียนตามหลักสูตร โดยให้สอดคล้องตามหลักสูตร
การจัดกิจกรรมนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ตามความสนใจ ความถนัด และความต้องการของ
นักเรียน
5) การพัฒนาครูทางด้านวิชาการ ได้แก่ การนิเทศภายใน การจัดทำเอกสาร
ความรู้ทางวิชาการ การอบรมหรือฝึกอบรม การประชุมสัมมนา การศึกษาดูงานหรือการศึกษาต่อ
เป็นต้น
กมล ภู่ประเสริฐ (2544 : 55) ได้กล่าวว่า การแก้ข้อบกพร่องในการเรียนการ
สอนโดยการนำผลการประเมินไปใช้พัฒนาผู้เรียน และกระบวนการเรียนการสอน ซึ่งอาจต้องมี
การซ่อมเสริม การทำโครงการทางวิชาการ เพื่อให้ผู้เรียนปรับปรุงตนเอง รวมทั้งการแก้ไข
ปรับปรุงกิจกรรมการเรียนการสอนที่จะใช้ต่อเนื่องไป
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน  (2545 : 157-158) กล่าวว่า การสอนซ่อมเสรมิ
เป็นการสอนกรณีพิเศษ นอกเหนือไปจากการสอนตามแผนปรกติ เพื่อแก้ไขข้อบกพร่องของ
นักเรียน การสอนซ่อมเสริมมี 4 ลักษณะ คือ (1) สอนซ่อมเสริมก่อนการเรียนการสอน
เป็นการสอนปรับพื้นฐานความรู้ของนักเรียนนักศึกษาก่อนจะเข้าสู่หลักสูตร มักจะนำมาใช้เมื่อได้
รับนักเรียนนักศึกษาใหม่ จากสถานศึกษาแตกต่างกัน ทำให้พื้นความรู้เดิมแตกต่างกันไป
จึงจำเป็นต้องสอนซ่อมเสริมมักจะเป็นการเรียนในหมวดวิชาบังคับที่ต้องเรียนร่วมกัน
(2) สอนซ่อมเสริมขณะที่ทำการสอน เป็นการพบข้อบกพร่องของนักเรียนนักศึกษาที่ไม่เข้าใจ
บทเรียนบางตอน จึงทำการสอนซ่อมเสริมเพื่อจะได้ติดตามการเรียนต่อไปได้ทันและเข้าใจเนื้อหา
วิชาที่สอน (3) สอนซ่อมเสริมรายวิชาเพื่อสอบแก้ตัวเมื่อมีการวัดผลในวิชาแล้วปรากฏว่าไม่ผ่าน
เกณฑ์ที่กำหนด มีจุดประสงค์บางจุดประสงค์ที่ไม่ผ่านจึงจำเป็นต้องสอนซ่อมเสริมเพื่อจะได้
สอบแก้ตัวใหม่ และ (4) สอนซ่อมเสริมสำหรับนักเรียนที่ฉลาด หรือเรียนเร็ว นักเรียนบางคน
มีสติปัญญาสูง ควรสอนซ่อมเสริมเพื่อจะได้ไม่เกิดความเบื่อหน่ายในการเรียน
การนิเทศภายใน
โกลแฮมเมอร์ และคณะ (Goldhammer and Others , 1980 : 13) ได้สรุป
จากคำจำกัดความการนิเทศว่า เป็นลักษณะงานที่มอบหมายให้ครูหรือผู้นิเทศที่จะกระตุ้นให้ครู
หรือครูแนะแนวในสถานศึกษาได้มีการพัฒนาในการที่จะนำวิธีการสอน สื่อการเรียนการสอน
มาใช้โดยเน้นถึงทักษะในการติดต่อสื่อสารปัจจุบัน การนิเทศการศึกษาเป็นความพยายาม
ที่จะช่วยเหลือครูแก้ปัญหา ช่วยเหลือครูในด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และการสร้าง
บรรยากาศที่ดีระหว่างครูและนักเรียน
38
กลิคแมน (Glickman, 1981 : 6) ให้ความคิดเกี่ยวกับการนิเทศว่า เป็นแนวคิด
ที่เกี่ยวกับงานและหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงการเรียนการสอน ซึ่งเป็นการสอนในเรื่อง
หลักการการจัดครูเข้าสอน การจัดสื่อการสอน สิ่งอำนวยความสะดวก การเตรียมและพัฒนาครู
รวมทั้งการประเมินผลการเรียนการสอน
อำภา บุญช่วย (2537 : 110) ได้กล่าวว่า การนิเทศภายใน หมายถึง ความ
พยายามทุกสิ่งทุกอย่างของผู้ที่อยู่ในโรงเรียนตั้งแต่ผู้บริหารลงไป ในอันที่จะปรับปรุงส่งเสริม
ประสิทธิภาพในการเรียนการสอน ภายในโรงเรียนให้ดีขึ้น
กมล ภู่ประเสริฐ (2544 : 59) ได้กล่าวว่า การนิเทศภายในเป็นการช่วยกันดึง
เอาความสามารถพิเศษของแต่ละคนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อบุคคลอื่นในหมู่คณะ ซึ่งจะก่อให้เกิด
พลังทางความคิดและยังเป็นพลังที่ช่วยผลักดันให้กิจกรรมต่างๆ ภายในโรงเรียน พัฒนาไป
สู่คุณภาพทางการศึกษาต่อไป
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน  (2545 : 223) ได้ให้ความหมายการนิเทศภายในว่า
เป็นกระบวนการการจัดการบริหารการศึกษาเพื่อชี้แนะ ให้ความช่วยเหลือและความร่วมมือกับคร ู
และบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา เพื่อปรับปรุงการเรียนการสอนของครู และเพิ่มคุณภาพ
ของบทเรียนให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายของการศึกษา
สรุปว่า การนิเทศภายใน หมายถึง กิจกรรมที่ผู้บริหารโรงเรียนและบุคลากร
ผู้เกี่ยวข้อง กับการจัดการเรียนการสอนได้กำหนดขึ้นมาเพื่อที่จะปรับปรุง และพัฒนางาน
การสอนของครูทั้งในและนอกชั้นเรียน ช่วยเหลือให้ครูสามารถทำหน้าที่ได้เต็มศักยภาพ
ช่วยให้ครูพัฒนาคุณภาพการสอนได้อย่างมีคุณภาพ
การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
พวงรัตน์ ทวีรัตน์ (2540 : 11-12) กล่าวว่า การวิจัยคือ การค้นคว้าหาความรู้
ความจริงที่เชื่อถือได้ โดยวิธีการที่มีระบบแบบแผน เพื่อนำความรู้ที่ได้นั้นไปสร้างกฏเกณฑ์ทฤษฎี
ต่างๆ เพื่อไว้ใช้ในการอ้างอิงอธิบายปรากฎการณ์เฉพาะเรื่อง และปรากฏการณ์ทั่วไป ผลการวิจัย
ทำให้ (1) สามารถปรับปรุงหลักสูตร (2) ปรับปรุงการเรียนการสอนได้ (3) เป็นแนวทาง
ในการแก้ปัญหา (4) ช่วยให้ผู้บริหารสามารถกำหนดนโยบาย และตัดสินใจในการสั่งงาน
ได้ถูกต้องแม่นยำ ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อาคม จันทสุนทร (2543 : 4) กล่าวว่า การวิจัยและพัฒนาคือ การนำ
ประดิษฐกรรมที่มีผู้คิดขึ้นไปทดลอง เพื่อพิสูจน์ว่าประดิษฐกรรมนั้นสามารถใช้ได้จริง และโดย
เฉพาะสิ่งประดิษฐ์คิดค้นที่จะเป็นผลผลิตเพื่อออกสู่ตลาดนั้น การวิจัยและพัฒนา จะเป็นเครื่องมือ
ที่จะพิสูจน์ว่าประดิษฐกรรมนั้นสามารถจะออกสู่ตลาดได้อย่างแท้จริง การวิจัยและพัฒนาสำหรับ
39
ผู้บริหาร มี 2 ลักษณะ คือ (1) การวิจัยและพัฒนาในเทคนิค หรือกลวิธีในการบริหาร
เช่น การคิดกลวิธีการนิเทศภายในโรงเรียนโดยใช้กลุ่มสร้างคุณภาพงาน (Q.C.C.) หรือ
การใช้คอมพิวเตอร์สำหรับการสั่งงาน เป็นต้น (2) การวิจัยและพัฒนา ในประดิษฐกรรมที่บุคลากร
ของหน่วยงาน คิดขึ้นเพื่อสร้างประสิทธิภาพในการทำงานให้สูงขึ้น เช่น การคิดเครื่องมืออุปกรณ์
ใหม่ๆ
ชัยพจน์ รักงาม (2543 : 11) กล่าวว่า การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ เป็นเรื่อง
ของการทำงานเชิงระบบ ท้าทายทั้งครูผู้สอนและนักเรียน ซึ่งสามารถนำไปใช้ในกิจกรรม
โครงงานได้อย่างดี เพราะเป็นการเริ่มต้นจากความอยากรู้ ใช้วิธีการที่เป็นวิทยาศาสตร์
ในการหาคำตอบ และสรุปลงอย่างมีเหตุผล น่าเชื่อถือ เพราะการได้ข้อค้นพบที่ชัดเจน
จะบ่มเพาะนิสัยที่ดีมีเหตุผลและไม่เชื่ออะไรง่ายๆ แต่จะสร้างกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ
ใช้การสังเกต การจดบันทึกและการวิเคราะห์ปัญหา จนได้ข้อมูลที่ยืนยันได้ว่าเป็นปัญหาที่แท้จริง
ก่อนจะดำเนินการแก้ปัญหาและสามารถพิสูจน์ได้ภายหลังการทดลองแล้ว
กมล ภู่ประเสริฐ (2544 : 82) กล่าวว่า การวิจัยและพัฒนาในระดับ
สถานศึกษา จะมุ่งเน้นเกี่ยวกับการแสวงหาวิธีการ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และ
การแสวงหาสื่อการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ กระบวนการในการวิจัยในสถานศึกษา
อาจไม่สมบูรณ์เท่ากับการวิจัยของนักวิจัยทั่วไป เพราะบุคลากรทางการศึกษามีงานในหน้าที่
มากอยู่แล้วไม่สามารถปลีกตัวไปดำเนินการโดยเฉพาะได้ ซึ่งอาจหย่อนในเรื่องคุณภาพ
ของการวิจัย แต่ก็มีประโยชน์ต่อการปรับปรุงคุณภาพของสถานศึกษาได้เป็นอย่างดี
สรุปว่า การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน คือการนำกระบวนการวิจัยไป
ประยุกต์ใช้ในการเรียนรู้ การทำงานและการพัฒนางานของนักเรียน ครูอาจารย์ และผู้บริหาร
สถานศึกษาเป็นการเรียนรู้ การทำงาน และการพัฒนางานโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก การเรียนรู้
ที่จะแก้ปัญหาจากสภาพจริง และได้ผลงานที่สร้างสรรค์เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม
จากที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น สามารถสรุปได้ว่าการพัฒนาและส่งเสริมทาง
ด้านวิชาการ หมายถึง การพัฒนากระบวนการเรียนการสอน การจัดสอนซ่อมเสริม การจัด
กิจกรรมเพื่อส่งเสริมการเรียน การสอน การจัดกิจกรรมนักเรียนตามหลักสูตร การพัฒนาครูทาง
ด้านวิชาการ การอบรมหรือฝึกอบรมทางด้านวิชาการ การสร้างบรรยากาศทางวิชาการใน
โรงเรียนการส่งเสริมการวิเคราะห์วิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
40
3.5 การวัดผลและประเมินผลการเรียน และงานทะเบียนนักเรียน
ในกระบวนการบริหารงานวิชาการด้านการวัดผลประเมินผลการเรียน
ได้มีนักการศึกษาหลายท่าน ให้คำจำกัดความเกี่ยวกับการวัดผลไว้ดังต่อไปนี้
สมนึก ภัททิยธนี (2541 : 3) กล่าวว่า การวัดผลเป็นกระบวนการหาปริมาณ
ความสามารถเกี่ยวกับพฤติกรรมความต้องการอันสืบเนื่องจากการเรียนการสอน โดยใช้เครื่องมือ
ทางการศึกษาอย่างใดอย่างหนึ่งมาวัด ผลจากการวัดจะออกมาเป็นคะแนน หรือข้อมูล
ล้วนและอังคณา สายยศ (2543 : 3) กล่าวว่า การวัดผลเป็นกระบวนการ
กำหนดตัวเลขให้แก่สิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อจุดประสงค์ที่จะชี้ให้เห็นความแตกต่างของคุณลักษณะ
ที่ต้องการวัดอยู่ 2 อย่าง คือ (1) การวัดผลโดยทางตรง และ (2) การวัดผลทางอ้อม
ฉัตรศิริ ปิยะพิมลสิทธิ์ (2544 : 1) กล่าวว่า การวัดผล คือ การกำหนด
สัญลักษณ์หรือตัวเลขให้กับวัตถุ สิ่งของ เหตุการณ์ ปรากฏการณ์ หรือพฤติกรรมต่างๆ
เช่น กำหนดตัวเลข 1 ให้กับเพศชาย และเลข 2 ให้กับเพศหญิง หรืออาจใช้เครื่องมือ
ไปวัดเพื่อให้ได้ตัวเลขแทนคุณลักษณะต่างๆ เช่น ใช้ไม้บรรทัดวัดความกว้างของหนังสือได้
3.5 นิ้ว ใช้เครื่องชั่งวัดน้ำหนักของเนื้อหมูได้ 0.5 กิโลกรัม ใช้แบบทดสอบวัดความรอบรู้ในวิชา
ภาษาไทยของเด็กชายแดงได้ 42 คะแนน และในการวัดผลมีอยู่ 2 ประเภท คือ (1) วัดทางตรง
วัดคุณลักษณะที่ต้องการโดยตรง เช่น ส่วนสูง น้ำหนัก และ (2) วัดทางอ้อม วัดคุณลักษณะที่
ต้องการโดยตรงไม่ได้ ต้องวัดโดยผ่านกระบวน การทางสมอง เช่น วัดความรู้ วัดเจตนคติ
วัดบุคลิกภาพ
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน  (2545 : 166) กล่าวว่า การวัดผลเป็นกระบวนการ
ที่กำหนดตัวเลขให้กับวัตถุสิ่งของหรือบุคคลตามความมุ่งหมายและเปรียบเทียบลักษณะ
ความแตกต่างที่ปรากฏอยู่ในสิ่งที่จะวัดนั้นๆ เช่น การวัดความสามารถทางสมองด้านต่างๆ
การวัดคุณสมบัติทางกายภาพ เช่นน้ำหนัก ขนาดของวัตถุ ผลที่ได้จากการวัดจะเป็นจำนวนตัวเลข
เช่น เด็กชายไก่ ได้คะแนนวิชาคณิตศาสตร์ 65 คะแนน เป็นการวัดในเชิงปริมาณ
สรุปว่า การวัดผล หมายถึง กระบวนการในการกำหนดหรือหาจำนวนปริมาณ
อันดับ หรือรายละเอียดของคุณลักษณะ หรือพฤติกรรมความสามารถของบุคคล โดยใช้เครื่องมือ
เป็นหลักในการวัด
สมนึก ภัททิยธนี (2541 :3) กล่าวว่าการประเมินผลเป็นการตัดสินหรือวินิจฉัย
สิ่งต่างๆ ที่ได้จากการวัดผลโดยอาศัยเกณฑ์การพิจารณาอย่างใดอย่างหนึ่ง
ล้วนและอังคณา สายยศ (2543 : 3) กล่าวว่า การประเมินผลเป็นกระบวนการ
ที่นำผลการวัดไปเทียบกับเกณฑ์ที่ตั้งไว้แล้วตัดสินใจอย่างมีคุณธรรมว่าสิ่งนั้นดีหรือเลว เก่งหรือ
41
ไม่เก่ง ผ่านหรือไม่ผ่านในการประเมินผลนั้นก็จะแบ่งเป็น 2 อย่างคือ (1) การประเมินผลย่อย
และ (2) การประเมินผลรวม
ฉัตรศิริ ปิยะพิมลสิทธิ์ (2544 : 1) กล่าวว่า การประเมินผล หมายถึง การนำ
เอาข้อมูลต่างๆ ที่ได้จากการวัดรวมกับการใช้วิจารณญาณของผู้ประเมินมาใช้ในการตัดสินใจ
โดยการเปรียบเทียบกับเกณฑ์ เพื่อให้ได้ผลเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เนื้อหมูชิ้นนี้หนัก
0.5 กิโลกรัมเป็นเนื้อหมูชิ้นที่เบาที่สุดในร้าน (เปรียบเทียบกันภายในกลุ่ม) เด็กชายแดงได้คะแนน
วิชาภาษาไทย 42 คะแนนซึ่งไม่ถึง 50 คะแนนถือว่าสอบไม่ผ่าน (ใช้เกณฑ์ที่ครูสร้างขึ้น) โดยใน
การประเมินผลมีอยู่ 2 ประเภทคือ (1) การประเมินแบบอิงกลุ่มและ (2) การประเมินแบบอิงเกณฑ์
ซึ่งในการประเมินผลทั้ง 2 ประเภทมีข้อแตกต่างกันดังแสดงไว้ในตารางที่ 2
ตารางที่ 2 การเปรียบเทียบข้อแตกต่างระหว่างการประเมินผลแบบอิงกลุ่มและอิงเกณฑ์
การประเมินผลแบบอิงกลุ่ม การประเมินผลแบบอิงเกณฑ์
1. เป็นการเปรียบเทียบคะแนนที่ได้กับคะแนน
ของคนอื่นๆ
1. เป็นการเปรียบเทียบคะแนนที่ได้กับเกณฑ์ที่ได้
กำหนดไว้
2. นิยมใช้ในการสอบแข่งขัน 2. สำหรับการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนหรือ
เพื่อปรับปรุงการเรียนการสอน
3. คะแนนจะถูกนำเสนอในรูปของร้อยละหรือ
คะแนนมาตรฐาน
3. คะแนนจะถูกนำเสนอในรูปของผ่าน-ไม่ผ่าน
ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
4. ใช้แบบทดสอบเดียวกันสำหรับผู้เรียนทั้งกลุ่ม
หรืออาจใช้แบบทดสอบคู่ขนานเพื่อให้สามารถ
เปรียบเทียบกันได้
4. ไม่ได้เปรียบเทียบกับคนอื่นๆ จึงไม่จำเป็นต้อง
ใช้แบบทดสอบฉบับเดียวกันกับผู้เรียนทั้งชั้น
5. แบบทดสอบมีความยากง่ายพอเหมาะ มีอำนาจ
จำแนกสูง
5. ไม่เน้นความยากง่าย แต่อำนาจจำแนกควรมีพอเหมาะ
6. เน้นความเที่ยงตรงทุกชนิด 6. เน้นความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา
ที่มา : ฉัตรศิริ ปิยะพิมลสิทธิ์ (2544 : 1-2)
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์ (2545 : 166) กล่าวว่า การประเมินผลเป็น
การพิจารณาตัดสินเกี่ยวกับคุณภาพ คุณค่า ความจริงและการกระทำ บางทีขึ้นอยู่กับการวัด
เพียงอย่างเดียว เช่น คะแนนสอบ แต่โดยทั่วไปจะเป็นการรวมการวัดหลายๆ ทาง โดยอาศัย
ข้อมูลหรือรายละเอียดจากการสังเกต การตรวจผลงาน การสัมภาษณ์ หรือการทดสอบประกอบ
42
การพิจารณา การประเมินผลแต่ละครั้ง จะต้องอาศัยสิ่งต่างๆ ประกอบได้แก่ (1) ผลการวัดที่ได้
จากกระบวนการต่างๆ เช่น จากการสังเกต การตรวจผลงาน การสัมภาษณ์ หรือการทดสอบ
(2) เกณฑ์การพิจารณา เพื่อจะใช้เป็นแนวทางหรือหลักในการพิจารณาว่า เก่ง อ่อน พอใจ ไม่พอ
ใจ ผ่าน ไม่ผ่าน โดยนำผลที่วัดได้มาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และ (3) การตัดสินใจ
เป็นการชี้วัดหรือสรุปผลการเปรียบเทียบระหว่างผลของการวัดกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้
สรุปว่า การประเมินผล หมายถึง การนำเอาผลที่ได้จากการวัดมาทำการ
ตัดสินใจ โดยทำการเปรียบเทียบกับเกณฑ์เพื่อให้ได้ผลตามที่ผู้สอนต้องการ ซึ่งในการประเมินผล
นั้นกระทำได้ทั้ง 2 แบบคือ (1) การประเมินแบบอิงกลุ่ม เป็นการเปรียบเทียบคะแนนจาก
แบบทดสอบหรือผลงานของบุคคลใดบุคคลหนึ่งกับบุคคลอื่น ๆ ที่ได้ทำแบบทดสอบเดียวกันหรือ
ได้ทำงานอย่างเดียวกัน นั่นคือเป็นการใช้เพื่อจำแนกหรือจัดลำดับบุคคลในกลุ่ม การประเมินแบบ
นี้มักใช้กับการประเมินเพื่อคัดเลือกเข้าศึกษาต่อ หรือการสอบชิงทุนต่างๆ และ (2) การประเมิน
แบบอิงเกณฑ์ เป็นการเปรียบเทียบคะแนนจากแบบทดสอบหรือผลงานของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง
กับเกณฑ์หรือจุดมุ่งหมายที่ได้กำหนดไว้ เช่น การประเมินระหว่างการเรียนการสอนว่าผู้เรียนได้
บรรลุวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่ได้กำหนดไว้หรือไม่
งานทะเบียนนักเรียน
กรมสามัญศึกษา (2540 : 46) กล่าวว่า งานทะเบียนนักเรียนจะต้องมีหน้าที่
คือ (1) มีทะเบียนนักเรียนเพื่อเป็นหลักฐานทางทะเบียนเกี่ยวกับตัวนักเรียน (2) ดำเนินการกรอก
ข้อความที่ถูกต้องชัดเจน และสมบูรณ์ (3) จัดทำข้อมูลทะเบียนนักเรียนให้เป็นปัจจุบัน (4) จัดหา
เจ้าหน้าที่เพื่อทำหน้าที่รับผิดชอบและให้บริการงานทะเบียนต่อผู้เกี่ยวข้อง และ (5) ต้องจัดเก็บ
หลักฐานงานทะเบียนไว้ในที่เหมาะสมและปลอดภัย สามารถหยิบใช้ได้สะดวก
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน  (2545 : 194) กล่าวว่า งานทะเบียนนักเรียน
เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับงานวิชาการและการบริการการศึกษา โดยมีขอบเขตของงานตั้งแต่การรับ
นักเรียน การขึ้นทะเบียน การเพิ่ม และการถอนวิชาเรียน ตลอดจนการจัดการสอบวัดผลการเรียน
นอกจากนี้ งานทะเบียนนักเรียน ยังต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับทะเบียนนักเรียน การออกใบรับรอง
และหลักฐานอื่นๆ เกี่ยวกับตัวผู้เรียน ดังนั้นงานทะเบียนนักเรียนจึงต้องเกี่ยวข้องกับทั้งครูและ
นักเรียนเป็นหลัก
คมสันต์ ถานกางสุ่ย (2545 : 6) กล่าวว่า งานทะเบียนวัดผลและประเมินผล
หมายถึง หน่วยงานที่รับผิดชอบงานด้านวัดผลการเรียนของผู้เรียนและทำการประเมินผล
เพื่อหาประสิทธิภาพของกระบวนการจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ โดยระบบของงาน
ทะเบียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษามีอยู่ 7 ระบบ ซึ่งได้แก่ (1) ระบบงาน
ทะเบียนนักเรียน (2) ระบบงานทะเบียนรายวิชา (3) ระบบงานจัดแผนการเรียน (4) ระบบงาน
43
ตารางสอน (5) ระบบงานลงทะเบียนเรียน (6) ระบบงานประมวลผลการเรียน และ (7) ระบบงาน
รายงานผลการเรียน

การศึกษาปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาการบริหารงานวิชาการ (ตอนที่ 1)
การศึกษาปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาการบริหารงานวิชาการ (ตอนที่ 2)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น