วันเสาร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2554

บทบาทเยาวชนดีเด่นอาสาสมัครในงานพัฒนาสังคม (ตอนที่ 1)



บทบาทเยาวชนดีเด่นอาสาสมัครในงานพัฒนาสังคม
ว่าที่ร้อยตรีหญิง น้องนุช ประสมคำ
วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา
ปีการศึกษา 2546
ISBN 974-373-289-6
ลิขสิทธิ์ของสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
The Role of The Outstanding Volunteer Youth in
Social Development
ACT. SUB. LT. Nongnuch Prasomkhum
A thesis Submitted in Partial Fulfillment of the Requirements
For the Master of Arts (Social Sciences for Development)
At Rajabhat Institute Bansomdejchaopraya
Academic Year 2003
ISBN 974-373-289-6

น้องนุช ประสมคำ. 2546. บทบาทเยาวชนดีเด่นอาสาสมัครในงานพัฒนาสังคม
วิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร : บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จ
เจ้าพระยา. คณะกรรมการควบคุม : รองศาสตราจารย์ ดร.นงลักษณ์ เทพสวัสดิ์
รองศาสตราจารย์ ดร.ภิรมย์ จั่นถาวร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ บุปผา แช่มประเสริฐ
วิทยานิพนธ์เรื่อง “บทบาทเยาวชนดีเด่นอาสาสมัครในงานพัฒนาสังคม” นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ
ศึกษาถึงบทบาทของเยาวชนดีเด่นอาสาสมัครในงานพัฒนาสังคม และศึกษาถึงปัจจัยที่ทำให้เยาวชนดีเด่น
เข้ามาทำงานอาสาสมัคร
การศึกษาครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยประชากรที่นำมาศึกษาเป็นเยาวชนดีเด่น
แห่งชาติ ซึ่งคัดเลือกโดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ (ส.ย.ช.)
และเยาวชนดีเด่นของสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งอายุไม่เกิน 25 ปี
ในปี พ.ศ.2546 จำนวนทั้งสิ้น 10 คน
ผลการศึกษาพบว่า บทบาทของเยาวชนดีเด่นอาสาสมัครในงานพัฒนาสังคม มีบทบาทสำคัญใน
6 ด้าน คือ 1) บทบาทต่อตนเอง โดยเยาวชนมีบทบาทในการพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพซึ่งเป็นพื้นฐานใน
การพัฒนาสังคม 2) บทบาทต่อผู้อื่น เป็นบทบาทที่เยาวชนมีต่อผู้ใกล้ชิดและบุคคลทั่วไป ประกอบด้วย
บิดามารดา ครูอาจารย์ ญาติพี่น้อง เพื่อน และบุคคลทั่วไป 3) บทบาทต่อสังคม เยาวชนมีบทบาทในการ
บำเพ็ญประโยชน์ต่อส่วนรวม ประกอบด้วย การสงเคราะห์ การแก้ปัญหา และการพัฒนาสังคม โดยการ
นำเอาความรู้ความสามารถ และเทคโนโลยีที่นำสมัยมาใช้ 4) บทบาทต่อสถาบันชาติ เป็นบทบาทที่
เยาวชนช่วยส่งเสริมความมั่นคงของประเทศ การสืบทอดวัฒนธรรมที่ดีงามและการกีฬา 5) บทบาทต่อ
สถาบันศาสนา ซึ่งเยาวชนมีบทบาทในการรักษาและส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรม และ 6) บทบาทต่อ
สถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นบทบาทที่เยาวชนแสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์
สำหรับปัจจัยที่ทำให้เยาวชนทำงานอาสาสมัคร ในการศึกษาครั้งนี้พบว่ามีปัจจัยหลัก 4 ประการ
คือ ครอบครัว การศึกษา แรงจูงใจ และบทบาทหน้าที่ในการทำกิจกรรมต่างๆ

Nongnuch Prasomkhum. (2003). The Role of the Outstanding Volunteer Youth in Social
Development. Bangkok : Graduate School, Rajabhat Institute Bansomdejchaopraya. Advisor
committee : Assoc. Prof. Dr. Nongluksana Thepsawasdi, Assoc. Prof. Dr. Pirom Junthaworn
and Asst. Prof. Boobpha Champasert.
The study of “The Role of the Outstanding Volunteer Youth in Social Development aimed to
investigate the role of outstanding volunteer youth in social development and their contributing factors.
Ten selected outstanding volunteer youth from the National Youth Bureau and The National Council on
Social Welfare of Thailand in the year 2003 were the population used for the study. All volunteer
youth are under 25 years of age. The tools of data collection included interview, observation and tape
recording. The data were analyzed by simple descriptive type.
The findings revealed that there were 6 major roles of the outstanding volunteer youth in social
development. There were 1) Role in self-development which was an important basis in social
development. 2) Role in helping other people including relatives, friends, neighbor and strangers.
3) Role in community and other social units. 4) Role for Thai Nation. 5) Role for religions and
6) Role for the royal family.
The factors contributed to volunteer youth in performing social development activities were
family, education, motivation and in experiences voluntary activities.
ประกาศคุณูปการ
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้สำเร็จเรียบร้อยได้ด้วยดี เนื่องจากผู้วิจัยได้รับความเมตตาจาก
รองศาสตราจารย ์ ดร.นงลักษณ์ เทพสวัสด ิ์ รองศาสตราจารย ์ ดร.ภิรมย  จั่นถาวร และ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ บุปผา แช่มประเสริญ อาจารย์ที่ปรึกษาทุกท่านได้ให้ความกรุณาสั่งสอน
ให้คำปรึกษา แนะนำแนวทาง ตรวจสอบความถูกต้องและความสมบูรณ์ของเนื้อหาทางวิชาการ
และทั้งกระบวนการวิจัยทุกขั้นตอนมาโดยตลอด รวมทั้งคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ทุกท่าน
ที่ได้ตรวจสอบความสมบูรณ์ของวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ให้มีคุณค่ายิ่งขึ้น จึงขอกราบขอบพระคุณ
ทุกท่านไว้ ณ โอกาสนี้
ขอขอบพระคุณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ บัวรอง ลิ่วเฉลิมวงศ์ ผู้บังคับบัญชาที่ได้กรุณา
สนับสนุนและส่งเสริมให้ผู้วิจัยได้มีโอกาสทำงานวิจัยในครั้งนี้ ขอขอบพระคุณนางสาวกัลยาณี
บุญส่ง นางวิยะดา เรืองฤทธิ์ นางสาวพัชราภรณ์ กระบวนรัตน์ และนางสาวภาวดี ศรีมุกดา ที่ได้
ให้ความเมตตา ช่วยเหลือให้คำแนะนำแนวทางในการทำวิทยานิพนธ์มาโดยตลอด
ขอขอบคุณบรรดาเยาวชนดีเด่นทั้ง 10 กรณีศึกษา ที่ได้ให้ความร่วมมือในการสัมภาษณ์เป็น
อย่างดี จนทำให้งานวิจัยในครั้งนี้สำเร็จลุล่วง ขอขอบคุณพี่ชายและพี่สาวของผู้วิจัยที่ช่วยส่งเสริม
และให้กำลังใจเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบคุณบรรดาเพื่อนๆ ที่ได้ให้กำลังใจอย่างเสมอมา
ท้ายสุดนี้ ขอกราบขอบพระคุณคณาจารย์ทุกท่านที่ได้ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์
ให้แก่ผู้วิจัยมาตลอดระยะเวลาของการศึกษา และผู้ที่มีพระคุณมากที่สุดในชีวิตของผู้วิจัย คือ บิดา
มารดาที่ได้เลี้ยงดู อบรมสั่งสอนมาตลอดชีวิต
น้องนุช ประสมคำ

สารบัญ
หน้า
บทคัดย่อภาษาไทย………………………………………………………………………………ก
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ…………………………………………………………………………...ข
สารบัญ …..……………………………………………………………………………………...ค
สารบัญแผนภาพ………………………………………………………………………………...จ
สารบัญตาราง……………………………………………………………………………………ฉ
บทที่ 1 บทนำ…………………………………………………………………………………...1
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา… …………………………………………….1
วัตถุประสงค์ของการวิจัย……………………………………………………………….4
ขอบเขตของการวิจัย……………………………………………………………………4
นิยามศัพท์เฉพาะ……………………………………………………………………….4
กรอบแนวคิดในการวิจัย………………………………………………………………..6
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ……………………………………………………………..7
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง…………………………………………………………8
แนวคิดเกี่ยวกับเยาวชน…………………………………………………………………8
แนวคิดเกี่ยวกับอาสาสมัคร………………………………………………..…………..18
แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับบทบาท……………………………………………………21
แนวคิดและทฤษฎีด้านความต้องการและแรงจูงใจ……………………………………26
แนวคิดเกี่ยวกับปัจจัยที่ทำให้เยาวชนเข้าสู่งานอาสาสมัคร……………………………34
ทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนาสังคม………………………………………………………..35
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง…………………………………………………………………….37

สารบัญ (ต่อ)
หน้า
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย………………………………………………………………………41
ประชากร ………………..…………………………………………………………….41
กลุ่มตัวอย่าง ……………………..…………………………………………………….42
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย……………………………………………………………….43
การเก็บรวบรวมข้อมูล…………………………………………………………………44
การวิเคราะห์ข้อมูล…………………………………………………………………….44
บทที่ 4 การวิเคราะห์ผลการศึกษา………………………………………………………………45
ผลการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพรรณนาเป็นรายบุคคล………………………………45
ผลการศึกษาวิเคราะห์ตามลักษณะตัวแปร……………………………………………...68
สรุปผลการวิเคราะห์ตามลักษณะตัวแปร…………………………………………….…86
บทที่ 5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ…………………………………………….……...101
สรุปผลการวิจัย………………………………………………………………………...101
สรุปและอภิปรายผลการวิจัย……………………………….………………………….102
ข้อค้นพบจากการวิจัย…………………………………………….……………………106
ข้อเสนอแนะจากการวิจัย…………………………………………….………………...106
ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในการพัฒนาสังคมให้น่าอยู่……………………………………..106
ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป…………………………………………….………107
บรรณานุกรม…………………………………………….……………………………………..108
ภาคผนวก…………………………………………….…………………………………….…..113
แบบสัมภาษณ์…………………………………………….…………………………...114
ประวัติผู้วิจัย…………………………………………….……………………………………...117

สารบัญแผนภาพ
หน้า
แผนภาพที่ 1 กรอบแนวคิดในการวิจัย……………………………………….…………………6
แผนภาพที่ 2 วงจรของแรงจูงใจ……………………………………….………………………32

สารบัญตาราง
หน้า
ตารางที่ 1 เพศ อายุ และศาสนาของกลุ่มตัวอย่าง……………………………………………..56
ตารางที่ 2 สรุปเพศของกลุ่มตัวอย่าง…….……………………………..……………………..57
ตารางที่ 3 สรุปอายุของกลุ่มตัวอย่าง………………………………………………………….57
ตารางที่ 4 สรุปศาสนาของกลุ่มตัวอย่าง………………………...…………………………….57
ตารางที่ 5 ระดับการศึกษา และสถานศึกษาของกลุ่มตัวอย่าง ..………………………………57
ตารางที่ 6 สรุประดับการศึกษาของกลุ่มตัวอย่าง……………………………………………...58
ตารางที่ 7 สรุปสถานศึกษาของกลุ่มตัวอย่าง……………………………..…………………...58
ตารางที่ 8 ภูมิลำเนา และที่อยู่ปัจจุบันของกลุ่มตัวอย่าง……………………………………….59
ตารางที่ 9 สรุปภูมิลำเนาของกลุ่มตัวอย่าง .…………………………………………………..59
ตารางที่ 10 สรุปที่อยู่ปัจจุบันของกลุ่มตัวอย่าง ..……………………………………………….59
ตารางที่ 11 ความเป็นอยู่ในครอบครัวของกลุ่มตัวอย่าง………………………………………..60
ตารางที่ 12 สรุปจำนวนพี่น้องของกลุ่มตัวอย่าง ……………………………………………….61
ตารางที่ 13 สรุปลำดับการเป็นบุตรของกลุ่มตัวอย่าง …..……………………………………...61
ตารางที่ 14 สรุปอาชีพของครอบครัวของกลุ่มตัวอย่าง………………………………………...61
ตารางที่ 15 สรุปฐานะของครอบครัวของกลุ่มตัวอย่าง …..…………………………………….62
ตารางที่ 16 สรุปการได้รับค่าเล่าเรียน…………………………………………………………..62
ตารางที่ 17 ชื่อโครงการและกิจกรรมที่ดำเนินการ …………………………………………….62
ตารางที่ 18 ผลงานหรือรางวัลที่กลุ่มตัวอย่างได้รับ ..…………….………………………….…65
ตารางที่ 19 ผลการศึกษาวิเคราะห์ตามลักษณะตัวแปร…………………….…………………...69
ตารางที่ 20 สรุปบทบาทของเยาวชนในด้านต่างๆ……………………………………………..92
ตารางที่ 21 สรุปปัจจัยที่ส่งผลให้เยาวชนเข้าสู่งานอาสาสมัคร…………………………………96
บทที่ 1
บทนำ
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
“ผู้ที่เป็นเยาวชนที่จะต้องทำหน้าที่สำหรับรักษาบ้านเมืองต่อไปเมื่อเป็นผู้ใหญ่ เมื่ออายุถึงขั้นที่
จะเรียกว่าเป็นผู้ใหญ่ ได้เล่าเรียนมาแล้วเพื่อให้ปฏิบัติงานของชาติได้ต่อไป ก็ต้องเตรียมตัวเพื่อปฏิบัติ
งานนั้น ในเวลานี้ก็จะต้องหาความรู้ใส่ตัวฝึกฝนจิตใจ ฝึกฝนความคิดที่ดี เพื่อให้เข้าใจ ให้มีความคิด
พิจารณาให้มีเหตุผลที่แน่นแฟ้น มีเหตุผลที่จะใช้การได้ เพื่อแยกสิ่งที่ดีที่ควรทำจากสิ่งที่ไม่ดีที่ไม่ควร
ทำ ฉะนั้นหน้าที่ของเยาวชนก็คือเรียนรู้ แล้วก็นอกจากเรียนรู้คือเมื่อเรียนแล้ว ก็เริ่มช่วยกันสร้างความ
มั่นคงแก่บ้านเมือง โดยใช้ความรู้ที่ได้มาให้เป็นประโยชน์พัฒนาบ้านเมืองให้มั่นคง”
พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานแก่
คณะเยาวชน เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2512 (อรสุดา เจริญรัถ 2543 : 172)
จากพระบรมราโชวาทข้างต้น จะเห็นได้ว่า เยาวชนเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีความสำคัญอย่าง
ยิ่งต่อการพัฒนาประเทศจะต้องได้รับการเรียนรู้ฝึกฝนเพื่อจะสามารถทำให้เกิดความคิดที่มี เหตุผลและ
นำความรู้มาให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม ดังแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 ได้
กำหนดวัตถุประสงค์ของแผน โดยเน้นการพัฒนาคน ดังนี้
1. เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจให้มีเสถียรภาพและมีภูมิคุ้มกัน สร้างความเข้มแข็งของภาคการเงิน
ความมั่นคงและเสถียรภาพของฐานะการคลัง ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจเพื่อให้เศรษฐกิจระดับฐานราก
มีความเข้มแข็งและสามารถพึ่งตนเองได้มากขึ้น ตลอดจนเพื่อสมรรถนะของระบบเศรษฐกิจโดยรวม
ให้สามารถแข่งขันได้และก้าวทันเศรษฐกิจยุคใหม่
2. เพื่อวางรากฐานการพัฒนาประเทศให้เข้มแข็งยั่งยืน สามารถพึ่งตนเองได้อย่างรู้เท่าทัน
โลก โดยการพัฒนาคุณภาพคน ปฏิรูปการศึกษา ปฏิรูประบบสุขภาพ สร้างระบบคุ้มครองความมั่นคง
ทางสังคม รวมทั้งการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและเครือข่ายชุมชน ให้เกิดการเชื่อมโยงการ
พัฒนาชนบทและเมืองอย่างยั่งยืน มีการดูแลจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ควบคู่กับการ
พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสังคมไทย
3. เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการที่ดีในสังคมไทยทุกระดับ เป็นพื้นฐานให้การพัฒนาประเทศ
เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มคี วามโปรง่ ใส สามารถตรวจสอบได ้ เน้นการปฏิรูประบบบริหารจัดการ
2
ภาครัฐ การบริการจัดการที่ของภาคธุรกิจเอกชน การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการพัฒนา
การสร้างระบบการเมืองที่รับผิดชอบต่อสังคมและลดการทุจริตประพฤติมิชอบ
4. เพื่อแก้ปัญหาความยากจนและเพิ่มโอกาสของคนไทยในการพึ่งพาตนเอง ให้ได้รับ
โอกาสในการศึกษาและบริการทางสังคมอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง สร้างอาชีพ เพิ่มรายได้ ยกระดับ
คุณภาพชีวิตของประชาชน ให้ชุมชนและประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาและปรับกลไกภาครัฐให้
เอื้อต่อการแก้ปัญหา (ชาชิวัฒน์ ศรีแก้ว 2545 : 6-7)
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 จากวัตถุประสงค์ดังกล่าว ทำให้ทราบถึง
วิสัยทัศน์และทิศทางของแผนตามหลักแนวคิดการพัฒนาแบบองค์รวมที่ยึด “คนเป็นศูนย์กลางของ
การพัฒนา” นอกจากนี้ยังคงใช้การผนึกกำลังร่วมกันของประชาชนทุกภาคส่วน ที่เป็นกระบวนการมี
ส่วนร่วมของประชาชนในทุกระดับ
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เยาวชนซึ่งถือว่าเป็นทรัพยากรที่สำคัญของชาติเป็นผู้ที่พร้อมด้วยคุณภาพ
และคุณธรรม มีความจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ บำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์
แกผ่ อู้ นื่ สังคม และประเทศชาต ิ ย่อมส่งผลให้ประเทศนั้นมีการพัฒนา ไปสู่ความเจริญมั่นคงก้าวหน้า
(สมพร เทพสิทธา 2542 : 7)
เยาวชน นับเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสังคม เป็นพื้นฐานสำคัญของชาติ เป็นผู้ที่มี
พลัง สามารถช่วยกันเสริมสร้างกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศชาติในอนาคต ทั้งนี้ควร
ตระหนักในคุณค่าของบทบาทตนเองที่จะร่วมแรงร่วมใจ สามัคคี เสียสละส่วนตนเพื่อประโยชน์แก่
ส่วนรวม มีคุณธรรมจริยธรรม และสติปัญญาอันชาญฉลาด ในการสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามแก่สังคม
แสดงขอบเขตของอำนาจหน้าที่ในการกระทำทั้งต่อตนเองและผู้อื่น ซึ่งเป็นการสร้างและกำหนด
กระบวนการมีส่วนร่วมของตนเอง ในสถานภาพนั้น เพื่อนำประเทศไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองนอกจาก
เยาวชนจะต้องมีบทบาทต่อตนเองในการพัฒนาแล้ว ยังมีบทบาทอื่นๆ ที่สำคัญ ได้แก่ บทบาทของ
อาสาสมัคร ซึ่งเป็นผู้ที่สมัครใจทำงานเพื่อประโยชน์แก่ประชาชนและสังคม โดยไม่หวังผลตอบแทน
บทบาทของเยาวชน โดยเฉพาะงานอาสาสมัครพัฒนาสังคม นับเป็นบทบาทที่สามารถทำ
กิจกรรมต่างๆ ได้มาก ทำให้เป็นผู้มีโอกาสตัดสินใจในการทำงานตลอดจนปฏิบัติงานต่างๆ ด้วยตนเอง
ได้ตามความสนใจและความต้องการ การได้เข้ามามีส่วนร่วมในโครงการต่างๆ จะทำให้เยาวชนอาสา
สมัครได้มีโอกาสพัฒนาตนเองยิ่งขึ้น (ยุวัฒน์ วุฒิเมธี 2533 : 56)
3
แม้ว่าในปัจจุบันจะพบว่ากำลังเกิดวิกฤติค่านิยมกับเยาวชนไทย แต่ยังมีวิธีที่จะถ่ายทอดอุดม
การณ์อาสาสมัครให้กับเยาวชนด้วยการอาศัยพื้นฐานวัฒนธรรม ค่านิยมที่ดีงามในสังคม การสร้างตัว
อย่างกิจกรรม รูปแบบและระบบที่ดีงาม การให้ปัจจัยเอื้อจากรัฐ ชุมชน และครอบครัว รวมทั้งการ
พัฒนางานอาสาสมัครอย่างต่อเนื่อง (เกษม วัฒนชัย 2545 : 73)
สรุปได้ว่า เยาวชนอาสาสมัคร นับว่ามีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาตนเอง ครอบครัว และ
สังคม การส่งเสริมเยาวชนให้ทำกิจกรรมต่างๆ นอกเหนือจากการส่งเสริมความรู้ในหลักสูตรของ
ระบบการศึกษาตามปกตินั้น จะช่วยเสริมสร้างศักยภาพของเยาวชนจากกิจกรรมต่างๆ ซึ่งจะสอดคล้อง
กับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ที่มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพคน และส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการ
เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคม นำไปสู่การวางรากฐานการพัฒนาประเทศให้เข้มแข็ง
ต่อไป
กอปรกับผู้วิจัยได้มีโอกาสปฏิบัติหน้าที่ในกิจกรรมหรือโครงการเกี่ยวกับการพัฒนาเยาวชน
มีส่วนรับผิดชอบเกี่ยวกับการวางแผนการประสานงานและการดำเนินงานในกิจกรรมหรือโครงการ
ต่างๆ ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้พบเห็นเยาวชนผู้ซึ่งสนใจในงานอาสาสมัครพัฒนาสังคมอยู่มากมายและ
เยาวชนเหล่านั้นส่วนใหญ่ เป็นเยาวชนดีเด่นแห่งชาติ ซึ่งคัดเลือกโดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริม
และประสานงานเยาวชนแห่งชาติ และเยาวชนดีเด่นของสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระ
บรมราชูปถัมภ์ และได้เกิดประจักษ์แก่สายตาต่อความประพฤติปฏิบัติของเยาวชนดีเด่นเหล่านี้ ว่าเป็น
ผู้ที่มีความประพฤติดีมีความรู้ ความสามารถ และเป็นผู้ที่มีจิตสำนึกในการที่จะใช้ความรู้ความสามารถ
นั้นให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมประเทศชาติต่อไป
ด้วยเหตุนี้ ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะทำการศึกษาเรื่อง “บทบาทของเยาวชนดีเด่นอาสาสมัครในงาน
พัฒนาสังคม” เพื่อศึกษาบทบาทของเยาวชนในบทบาทต่างๆ ได้แก่ บทบาทต่อตนเอง บทบาทต่อผู้อื่น
บทบาทต่อสังคม บทบาทต่อสถาบันชาติ บทบาทต่อสถาบันศาสนา และบทบาทต่อสถาบัน
พระมหากษัตริย์ พร้อมทั้งทำการศึกษาปัจจัยที่ส่งเสริมให้เยาวชนเข้าสู่งานอาสาสมัคร ซึ่งจะสามารถ
นำผลที่ได้ไปใช้ในการวางแผนพัฒนาเยาวชนและพัฒนาสังคมต่อไปในอนาคต
4
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาบทบาทของเยาวชนดีเด่นอาสาสมัครในงานพัฒนาสังคม
2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ทำให้เยาวชนทำงานอาสาสมัคร
ขอบเขตของการวิจัย
ในการศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยทำการศึกษาเยาวชนดีเด่นแห่งชาติ สาขาพัฒนาเยาวชน บำเพ็ญ
ประโยชน์ อาสาสมัคร สวัสดิการและประสานงาน ซึ่งคัดเลือกโดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริม
และประสานงานเยาวชนแห่งชาติ (ส.ย.ช.) และเยาวชนดีเด่นของสภาสังคมสงเคราะห์แห่ง
ประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยเป็นผู้ที่ได้รับการคัดเลือกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 – 2545 เนื่องจาก
เยาวชนที่ได้รับการคัดเลือกในปีดังกล่าว จะมีอายุไม่เกิน 25 ปี ในปี พ.ศ. 2546 และได้ทำการสุ่มตัว
อย่างโดยมีเงื่อนไขในการสุ่ม คือ สามารถติดต่อเพื่อดำเนินการสัมภาษณ์เก็บข้อมูลได้ตลอดช่วงระยะ
เวลาของการศึกษาวิจัย มีจำนวน 10 คน โดยได้ทำการศึกษาถึงบทบาทของเยาวชนดังนี้ บทบาทต่อ
ตนเอง บทบาทต่อผู้อื่น บทบาทต่อสังคม บทบาทต่อสถาบันชาติ บทบาทต่อสถาบันศาสนา และ
บทบาทต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ รวมทั้งปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้เยาวชนเข้ามาทำงานอาสาสมัครพัฒนา
สังคม
วิธีการศึกษา ได้ศึกษาข้อมูลจากเอกสารประวัติและผลงานของเยาวชน การสัมภาษณ์และวิธี
การสังเกตในการเข้าร่วมกิจกรรมหรือโครงการที่เยาวชนดำเนินงาน
นิยามศัพท์เฉพาะ
บทบาท หมายถึง การแสดงออกของเยาวชนต่อตนเอง ต่อผู้อื่น ต่อสังคม ต่อสถาบันชาติ ต่อ
สถาบันศาสนา และต่อสถาบันพระมหากษัตริย์
เยาวชน หมายถึง ผู้ที่มีอายุไม่เกิน 25 ปี ในปี พ.ศ.2546
เยาวชนดีเด่น หมายถึง เยาวชนผู้ที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นเยาวชนดีเด่นแห่งชาติ สาขา
พัฒนาเยาวชน บำเพ็ญประโยชน์ อาสาสมัคร สวัสดิการ และประสานงาน ซึ่งคัดเลือกโดยสำนักงาน
คณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ (ส.ย.ช.) และเยาวชนดีเด่นของสภาสังคม
สงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
5
อาสาสมัคร หมายถึง เยาชนดีเด่นแห่งชาติ สาขาพัฒนาเยาวชน บำเพ็ญประโยชน์ อาสาสมัคร
สวัสดิการ และประสานงาน ซึ่งคัดเลือกโดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาว
ชนแห่งชาติ (ส.ย.ช.) และเยาวชนดีเด่นของสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรม
ราชูปถัมภ์ ที่มีอายุไม่เกิน 25 ปี ในปี พ.ศ. 2546 และเป็นผู้ที่สมัครใจทำงานเพื่อประโยชน์แก่ประชา
ชนและสังคม โดยไม่หวังผลตอบแทนเป็นเงิน
งานพัฒนาสังคม หมายถึง กระบวนการที่มุ่งส่งเสริมความเป็นอยู่ของประชาชนในสังคม
ครอบครัว กลุ่ม ชุมชนให้ดีขึ้น
ปัจจัยที่ทำให้เยาวชนทำงานอาสาสมัครพัฒนาสังคม หมายถึง ปัจจัยที่สนับสนุนการเข้าร่วม
งานอาสาสมัครพัฒนาสังคม เช่น ปัจจัยด้านครอบครัว การศึกษา ความต้องการและแรงจูงใจ บทบาท
หน้าที่ในการทำกิจกรรมต่างๆ
6
กรอบแนวคิดในการวิจัย
การศึกษาในครั้งนี้ ได้ทำการศึกษาแนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง มานำมาประกอบ
การศึกษาบทบาทของเยาวชนดีเด่นอาสาสมัครในงานพัฒนาสังคม รวมทั้งการศึกษาปัจจัยที่ทำให้
เยาวชนเข้าสู่งานอาสาสมัครพัฒนาสังคม โดยมีรายละเอียดตามแผนภาพที่ 1 ดังนี้
แผนภาพที่ 1 กรอบแนวคิดในการวิจัย
ปัจจัยที่ส่งเสริมให้ เยาวชน
เข้าสู่งานอาสาสมัคร
- ครอบครัว
- การศึกษา
- ความต้องการและ
แรงจูงใจ
- บทบาทหน้าที่ในการ
ทำกิจกรรมต่างๆ
บทบาทหน้าที่ของเยาวชน
ต่อการพัฒนาสังคม
- บทบาทต่อตนเอง
- บทบาทต่อผู้อื่น
- บทบาทต่อสังคม
- บทบาทต่อสถาบันชาติ
- บทบาทต่อสถาบันศาสนา
- บทบาทต่อสถาบัน
พระมหากษัตริย์
เยาวชนดีเด่น
อาสาสมัคร
ในงานพัฒนาสังคม
7
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ทำให้ทราบบทบาทของเยาวชนดีเด่นอาสาสมัครต่อตนเอง บทบาทต่อผู้อื่น บทบาทต่อสังคม
บทบาทต่อสถาบันชาติ บทบาทต่อสถาบันศาสนา และบทบาทต่อสถาบันพระมหากษัตริย์
2. ทำให้ทราบถึงปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้เยาวชนเข้ามาทำงานอาสาสมัครพัฒนาชุมชน
3. ทำให้ทราบแนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาบทบาทของเยาวชน เพื่อการวางแผนพัฒนา
เยาวชนและการพัฒนาสังคมต่อไป
บทที่ 2
เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาเรื่องบทบาทเยาวชนดีเด่นอาสาสมัครในงานพัฒนาสังคมครั้งนี้ เป็นการศึกษา
บทบาทของเยาวชนในด้านต่างๆ และศึกษาปัจจัยที่ทำให้เยาวชนเข้ามาสู่งานอาสาสมัครพัฒนาสังคม
รวมทั้งการศึกษารูปแบบการดำเนินงาน ปัญหาและอุปสรรค และการได้รับการสนับสนุนที่เกี่ยวกับ
โครงการหรือกิจกรรมของเยาวชน โดยศึกษาจากเยาวชนดีเด่นแห่งชาติ สาขาพัฒนาเยาวชน บำเพ็ญ
ประโยชน์ อาสาสมัคร สวัสดิการและประสานงาน ซึ่งคัดเลือกโดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริม
และประสานงานเยาวชนแห่งชาติ และเยาวชนดีเด่นของสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย
ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในการนี้ผู้วิจัยจึงได้ศึกษาแนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาใช้
ประกอบการวิเคราะห์และอภิปรายผล ดังนี้
1. แนวคิดเกี่ยวกับเยาวชน
2. แนวคิดเกี่ยวกับอาสาสมัคร
3. แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับบทบาท
4. แนวคิดและทฤษฎีด้านความต้องการและแรงจูงใจ
5. แนวคิดเกี่ยวกับปัจจัยที่ทำให้เยาวชนเข้าสู่งานอาสาสมัคร
6. แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนาสังคม
7. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
1. แนวคิดเกี่ยวกับเยาวชน
1.1 ความหมายของเยาวชน
แผนพัฒนาเด็กและเยาวชน ได้ให้ความหมายของเยาวชนไว้ว่า “เยาวชน คือ บุคคลที่มีอายุ
15 - 25 ปี” (สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ 2537 : 50)
พระราชบัญญัติส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ พุทธศักราช 2521 ได้กำหนดความ
หมายว่า “เยาวชน คือ บุคคลซึ่งมีอายุไม่เกิน 25 ปี”
9
1.2 นโยบายเยาวชนแห่งชาติ
คณะรัฐมนตรีได้กำหนดนโยบายเยาวชนแห่งชาติ โดยประกาศ ณ วันที่ 5 พฤษภาคม 2537
เพื่อเป็นแนวทางหลักให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน นำไปใช้ในการดำเนินงานเพื่อพัฒนาเยาวชน
อย่างสอดคล้องและบรรลุจุดมุ่งหมายร่วมกัน ดังนี้ (สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงาน
เยาวชนแห่งชาติ 2537 : 50-51)
1. ปลูกฝังให้เยาวชนตระหนักในความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ยึดมั่นในการปกครอง
ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และมีความสำนึกนิยม ภาคภูมิใจในความเป็น
ไทยร่วมกัน ตลอดจนรักษาและส่งเสริมค่านิยมและวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ
2. เร่งเร้าความปรารถนาอันบริสุทธิ์ใจของเยาวชนให้มีความสำนึกในหน้าที่ มีโอกาสแสดง
ความคิดเห็น และมีส่วนร่วมรับผิดชอบในการพัฒนาสังคมให้บังเกิดประโยชน์สูงสุดต่อส่วนรวม
ลดความขัดแย้งในกลุ่มเยาวชน เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยความสมานฉันท์ เคารพใน
ความคิดเห็น กับไม่ละเมิดในเกียรติและศักดิ์ศรีของผู้อื่น แก้ปัญหาด้วยสติปัญญาอย่างสันติ โดยยึด
ทางสายกลางและการประสานประโยชน์
3. ส่งเสริมสุขภาพพลานามัยทั้งทางกายจิตใจและสติปัญญา ให้การป้องกันโรคติดต่อและไม่
ติดต่อ อุบัติภัยและสารพิษ ปลอดจากภาวะทุพโภชนาการ และลดอุบัติการโรคอันเกิดจากภาวะ
พันธุกรรมผิดปกติ เพื่อให้พร้อมที่จะพัฒนาความสามารถ ทัศนคติ พฤติกรรม และคุณธรรมของ
เยาวชนให้เป็นพลเมืองดี มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น
4. ปลูกฝังให้เยาวชนมีบุคลิกภาพดี มีจิตใจเข้มแข็ง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ รักเหตุผล
ยึดมั่นในระเบียบวินัยและความสามัคคี มีน้ำใจนักกีฬา อดทด เสียสละ เกื้อกูลซึ่งกันและกัน รู้จักการ
ทำงานร่วมกัน ขยันหมั่นเพียร ประหยัด สำนึกในสิทธิหน้าที่และมีความรับผิดชอบที่มีต่อสังคม
มีความเคารพและปฏิบัติตามกฎหมาย
5. ส่งเสริมการดำเนินชีวิตประจำวันของเยาวชนให้อยู่ในศีลธรรมมีคุณธรรมและจริยธรรม
ขั้นพื้นฐานตามหลักศาสนาที่ตนนับถือ มีความสุจริต ยุติธรรม ประพฤติตนตามควรแก่กันเพื่อเป็น
รากฐานแห่งความร่มเย็นเป็นสุขในสังคม
6. กระตุ้นให้เยาวชนเป็นผู้ใฝ่หาความรู้อยู่เสมอ เร่งรัดให้เยาวชนได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
เป็นอย่างน้อย ซาบซึ้งและสรรค์สร้างศิลปะ ส่งเสริมการฝึกอบรมวิชาชีพเพื่อประกอบสัมมาอาชีพตาม
สภาพของท้องถิ่น และความต้องการของตลาดแรงงาน รู้จักใช้และสงวนทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อม รู้จักจัดระบบเศรษฐกิจของตนเอง
10
7. สนับสนุนให้เยาวชนรู้จักคุ้มครองป้องกันตนเองจากอบายมุข สิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม
ต่อชีวิตและเป็นภัยต่อสังคม พร้อมที่จะเผชิญปัญหาสังคม ตลอดจนการเสริมสร้างบรรยากาศ
สิ่งแวดล้อม และสถานพักผ่อนหย่อนใจอันเหมาะสมเป็นการลดปัญหาความตึงเครียดทางจิตใจ
ตลอดจนส่งเสริมให้มีการวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาเยาวชนด้านต่างๆ
8. ให้การสงเคราะห์ ฟื้นฟู พัฒนา และพิทักษ์สิทธิแก่เด็กในสภาวะยากลำบากทุกกลุ่ม ซึ่งมี
ทั้งเด็กที่ถูกละเมิดสิทธิ โสเภณีเด็ก แรงงานเด็ก เด็กถูกปล่อยปละละเลย กำพร้า อนาถาไร้ที่พึ่ง เด็ก
ประพฤติตนไม่สมควร ติดยาเสพติด และพิการ ทุพพลภาพ ไร้หรือเสมือนไร้ความสามารถ ให้สามารถ
เป็นที่พึ่งของตนเองได้ และเป็นพลเมืองดี ให้การอบรมสงเคราะห์และเกื้อกูล ในสิ่งที่ จำเป็นต่อการ
ดำรงชีวิตแก่เยาวชนที่ขาดแคลน คุ้มครองการใช้แรงงานเด็กและเยาวชนสตรี ทั้งในชุมชนเมืองชนบท
และชายแดน ให้บังเกิดผลอย่างจริงจัง
9. ส่งเสริมมิตรภาพและความเข้าใจอันดี ระหว่างเยาวชนในประเทศกับต่างประเทศตาม
นโยบายแห่งรัฐ เพื่อความมั่นคงและก้าวหน้าของภูมิภาค ตลอดจนสร้างสันติสุขของโลก
จากนโยบายเยาวชนแห่งชาติที่กล่าวมาข้างต้นนั้น หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนจึงได้
พยายามดำเนินงานเพื่อส่งเสริมและพัฒนาเยาวชนอย่างเต็มที่ พร้อมทั้งกำหนดคุณลักษณะเด็กและ
เยาวชนไทยที่พึงประสงค์ ดังนี้ (สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ
2541 : 132-133)
1. มีสายใยผูกพันกับสมาชิกในครอบครัว
2. มีสุขภาพดีทั้งร่างกายและจิตใจ เจริญเติบโตสมวัย มีบุคลิกภาพที่เหมาะสมมั่นคง มีความ
เคารพและภาคภูมิใจในตนเอง
3. มีวัฒนธรรมที่ดีงามเข้าใจหลักการที่ถูกต้องของศาสนา สาระแก่นแท้ของชีวิตและคุณค่า
ภูมิปัญญาท้องถิ่น
4. มีความสามารถในการสื่อสารมากกว่า 1 ภาษา รู้จักใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และเข้าใจถึง
สาระประโยชน์เพื่อนำมาประยุกต์ใช้อย่างกลมกลืนกับวัฒนธรรมไทย
5. เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข มีวินัย
มีเหตุผล และพร้อมที่จะเสียสละประโยชน์ส่วนตนเพื่อประโยชน์ส่วนรวม
6. เข้าใจสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน
และการทำงาน รวมถึงการเคารพสิทธิของผู้อื่น
7. รู้จักคิด ไม่งมงาย รู้จักประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการพึ่งตนเอง ตลอดจนเห็นคุณค่าของ
พลังงานและการประหยัดพลังงานทุกประเภท
11
8. มีการดำเนินชีวิตที่เรียบง่าย เป็นผู้ผลิตที่รับผิดชอบต่อสังคม รู้จักสร้างงานและอาชีพอิสระ
ที่มีระบอบการจัดการที่ดี
9. รับผิดชอบการรักษาและพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
10. รู้จักปรับเปลี่ยนแนวคิด และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
ดังที่กล่าวมาแล้วนั้น สรุปได้ว่า ทั้งภาครัฐและเอกชนได้ตระหนักถึงความสำคัญและเห็น
คุณค่าของเยาวชน คณะรัฐมนตรีจึงได้กำหนดนโยบายเยาวชนแห่งชาติ และได้กำหนดคุณลักษณะเด็ก
และเยาวชนไทยที่พึงประสงค์ เพื่อให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนได้ยึดเป็นแนวทางในการดำเนิน
งานพัฒนาเยาวชนต่อไป
1.3 บทบาทของเยาวชน
เยาวชนเป็นพลังสำคัญที่จะเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ในอนาคต หากได้รับการชี้แนะ และปลูกฝัง
อุดมการณ์ต่างๆ ก็จะมีบทบาทตามความคาดหวังที่พึงปฏิบัติต่อบทบาทของเยาวชน แบ่งได้ 7
ประการ ดังนี้ (ปฬาณี ฐิติวัฒนา 2535 : 46-53)
1. เยาวชนไทยมีบทบาทเป็นสมาชิกของครอบครัว ซึ่งต้องมีการปลูกฝังให้รู้จักบทบาท
ของตนในครอบครัว และการบำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่น ทั้งในยามสงบและยามสงคราม
2. เยาวชนไทย เป็นกำลังการปกป้องรักษาบ้านเมือง โดยต้องฝึกอบรมให้มีวินัยและความ
รู้สึกในเรื่องชาตินิยม
3. เยาวชนไทย เป็นพลังในทางเศรษฐกิจ ต้องได้รับการพัฒนาให้เป็นกำลังผลิตที่พอ
เพียงกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยใช้การศึกษาในระบบโรงเรียนเป็นเครื่องมือที่สำคัญ
4. เยาวชนไทย เป็นพลังในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ต้องพัฒนาให้เหมาะสมทั้งใน
คุณภาพและปริมาณ โดยใช้การศึกษาทั้งในและนอกระบบโรงเรียน
5. เยาวชนไทย เป็นผู้สืบทอดวัฒนธรรมทั้งด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ
ไทยและการถ่ายทอดวัฒนธรรม เพื่อความอยู่รอดปลอดภัยของสังคมในอนาคต โดยการเรียนตาม
หลักสูตรกีฬา ศิลปวัฒนธรรม และการบำเพ็ญประโยชน์
6. เยาวชนไทย เป็นผู้รับและเป็นผู้ดำเนินการการพัฒนาด้วย หากได้รับการศึกษาและ
พัฒนาตนเองให้เป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า
12
7. เยาวชนต้องมีความรู้ มีสติปัญญา มีเหตุผล มีคุณธรรมและวัฒนธรรม มีพลานามัยที่
สมบูรณ์ มีทักษะในการประกอบอาชีพ พึ่งตนเองได้ เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม มีความรู้ความ
สามารถในเทคโนโลยีที่เหมาะสม เป็นกำลังในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
สรุปได้ว่า เมื่อเยาวชนสามารถปฏิบัติตนตามความคาดหวังต่อบทบาทได้ บทบาทของ
เยาวชนที่แสดงออกมานั้นจะมีความเหมาะสมและเป็นที่ยอมรับ
นงลักษณ์ เทพสวัสด ิ์ (2536 : 179-181) ได้กล่าวถึงบทบาทของเยาวชนในการพัฒนาสังคม
ไทย ไว้ดังนี้ เยาวชน คนหนุ่มสาว โดยเฉพาะนิสิตนักศึกษามีบทบาทต่อการพัฒนาสังคมเป็นอย่าง
มาก โดยสามารถเข้ามามีส่วนร่วมดังนี้
1. ศึกษาหลักการสำคัญๆ ของการบริหารบ้านเมือง องค์กรต่างๆ ที่ปฏิบัติงานตามความเกี่ยว
ข้องสัมพันธ์ ความรับผิดชอบของบุคลากรในองค์กรต่างๆ ในการศึกษานั้นจำเป็นต้องศึกษาจากตำรา
จากครูอาจารย์ แล้วนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์ให้ถูกต้อง รวมทั้งคิดหาแนวทางในการที่จะวางแผน
เพื่อพัฒนาบทบาทของคนที่จะทำได้
2. เคารพกฎหมาย ระเบียบแบบแผนที่ถูกต้องของสังคมและปฏิบัติตัวเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับ
บุคคลอื่นๆ ในสังคม
3. ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน ได้มีความรู้ความสามารถที่แท้จริง เพื่อจะได้ช่วยกันรับใช้สังคม
ประเทศชาติบ้านเมือง
4. ควรต้องศึกษาพิจารณาปัญหาต่างๆ ในสังคมตามแนวทางที่ถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นปัญหา
เฉพาะหน้า หรือปัญหาที่ติดตามมาในอนาคต เมื่อศึกษาได้ข้อมูลที่ถูกต้องแล้วก็ประมวลเป็นเรื่องราว
เสนอต่อหน่วยงานที่รับผิดชอบในการแก้ปัญหานั้นๆ เพื่อการวางแผนปรับปรุง แก้ไข และพัฒนา
สังคมต่อไป
5. ควรร่วมมือประกอบกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม เพื่อพัฒนาสังคม โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งในยามว่างจากการศึกษาเล่าเรียน เช่น อาจจัดตั้งชมรม กิจกรรมต่างๆ ในสถาบันการศึกษาเพื่อ
ฝึกฝนให้รู้จักหน้าที่และความรับผิดชอบ ช่วยกันแก้ปัญหาสังคมในวิถีทางที่ถูกต้อง
6. ต้องช่วยกันแก้ไขค่านิยมในสังคมไทยเสียใหม่ คือ ต้องนิยมคนดี นิยมคนที่ตั้งใจพัฒนา
สังคมและประเทศชาติ ไม่นิยมยกย่องคนเด่นคนดัง คนร่ำรวย และคนได้ลาภยศมาในทางมิชอบ
สมพร เทพสิทธา (2540 : 24-57) ได้กล่าวถึงบทบาทของเยาวชนควรมีดังต่อไปนี้
1. บทบาทต่อตนเอง คือเป็นผู้ใฝ่พัฒนาอยู่เสมอ เพื่อพัฒนาตนเองไปสู่ความสุข ความสำเร็จ
การมีชีวิตอยู่อย่างมีคุณค่า
13
2. บทบาทต่อผู้อื่น เยาวชนควรมีความเคารพเชื่อฟังและมีความกตัญญูกตเวทีต่อพ่อแม่ ครู
อาจารย์ ผู้มีพระคุณ คบเพื่อนที่ดี ทำตนเป็นมิตรที่ดีของเพื่อน มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
3. บทบาทต่อสังคม เยาวชนควรมีส่วนช่วยในการสงเคราะห์ผู้ตกทุกข์ได้ยาก ผู้ด้อยโอกาส
ช่วยในการแก้ไขปัญหาสังคม เช่น ช่วยในการแก้ไขปัญหายาเสพติด ปัญหาสิ่งแวดล้อม ช่วยในการ
พัฒนาสังคม เช่น พัฒนาชุมชนเมือง ชุมชนชนบท
4. บทบาทต่อสถาบันชาติ เยาวชนควรร่วมกันในการรักษาและส่งเสริมสถาบันชาติให้มี
ความมั่นคงเข้มแข็ง ส่งเสริมและรักษาศิลปวัฒธรรมอันดีงามของชาติ
5. บทบาทต่อสถาบันศาสนา เยาวชนควรช่วยกันในการรักษาและส่งเสริมสถาบันศาสนา ซึ่ง
เป็นหลักยึดเหนี่ยวจิตใจของคน
6. บทบาทต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ เยาวชนควรมีความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหา
กษัตริย์ เทิดทูนและรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มั่นคงสถิตสถาพรตลอดไป
บทบาทของเยาวชน ดังที่กล่าวมานี้ การที่เยาวชนได้แสดงบทบาทดังกล่าวได้ถูกต้องสมบูรณ์
นั้น ครอบครัว สถาบันการศึกษา ครู อาจารย์ และหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนจนต้องการ
สนับสนุนอย่างจริงจัง เพื่อเยาวชนจะได้แสดงททบาทที่จะช่วยพัฒนาสังคมต่อไป
1.4 เยาวชนดีเด่น
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ เป็นหน่วยงานของภาครัฐ
ได้ดำเนินโครงการสรรหาและเชิดชูเยาวชนดีเด่นแห่งชาติ และผู้ทำคุณประโยชน์ต่อเยาวชน ซึ่งมีวัตถุ
ประสงค์ คือ
1. เพื่อประกาศยกย่องเชิดชูผู้กระทำคุณงามความดี เป็นแบบอย่างของสังคม
2. เพื่อสนับสนุนและสร้างแรงจูงใจแก่เยาวชน บุคคล หน่วยงานและองค์การ ที่กระทำ
คุณงามความดี มีความสามารถได้ช่วยเหลือสังคม
3. เพื่อส่งเสริมให้หน่วยงาน สถาบัน และบุคคลให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมและพัฒนา
เยาวชนเพิ่มมากขึ้น โดยกลุ่มเป้าหมายในการสรรหาคือ เยาวชน กลุ่มเยาวชนที่มีอายุระหว่าง 15 – 25 ปี
บุคคล องค์การที่สร้างสรรค์ประโยชน ์ เพื่อการพัฒนาเยาวชนและสังคม 10 สาขากิจกรรม จาํ นวน
ประมาณ 100 ราย/ปี
14
คณะอนุกรรมการสรรหาและเชิดชูเยาวชนดีเด่นแห่งชาติ และผู้ทำคุณประโยชน์ต่อเยาวชน
ได้กำหนดกรอบหลักเกณฑ์การสรรหา พิจารณาคัดเลือกดังนี้
1. ประเภท มี 4 ประเภท ได้แก่
1.1 เยาวชนดีเด่นแห่งชาติ
1.2 กลมุ่ เยาวชนดเี ดน่ แหง่ ชาติ (เยาวชนตั้งแต  2 คนขึ้นไป) ซึ่งเรียกว่ากลุ่ม ชมรม ฯลฯ
1.3 บุคคลผู้ทำคุณประโยชน์ต่อเยาวชน
1.4 องค์กรที่ทำคุณประโยชน์ต่อเยาวชน
2. สาขา จำแนกออกเป็น 10 สาขา ได้แก่
2.1 สาขากฎหมายและการปกป้องคุ้มครองสิทธิเด็กและเยาวชน
2.2 สาขาการศึกษาและวิชาการ
2.3 สาขากีฬาและนันทนาการ
2.4 สาขาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยี และสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยา
ศาสตร์
2.5 สาขาคุณธรรมและจริยธรรม
2.6 สาขาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2.7 สาขาพัฒนาเยาวชน บำเพ็ญประโยชน์ อาสาสมัคร สวัสดิการและประสานงาน
2.8 สาขาศิลปวัฒนธรรม
2.9 สาขาสื่อมวลชนเพื่อเด็กและเยาวชนที่ป้องกันปัญหาสังคม
2.10 สาขาอาชีพ
นอกจากนี้ยังได้กำหนดคุณสมบัติและหลักเกณฑ์ในการพิจารณา คัดเลือกเยาวชนดีเด่นแห่ง
ชาติไว้ดังนี้ คือ
1. สัญชาติไทย
2. อายุระหว่าง 15-25 ปี นับถึงปีที่ประกาศรางวัล
3. มีความประพฤติดี มีคุณธรรม จริยธรรม
4. มีผลงานหรือความสามารถหรือความคิดริเริ่มสร้างสรรค์นวัตกรรมในสาขาใดสาขา
หนึ่งและลักษณะใดลักษณะหนึ่งได้แก่
4.1 ผลงานที่ผ่านการประกวดหรือแข่งขันหรือสร้างชื่อเสียง เป็นรางวัลชนะเลิศ
ระดับชาติขึ้นไปและเป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม (ของปีที่ผ่านมา)
วันที่ 30 เมษายน (ของปีปัจจุบัน) หรือ
15
4.2 ผลงานที่ไม่มีการประกวดหรือแข่งขัน เป็นกิจกรรมหรือพฤติกรรม คุณงาม
ความดี มีประโยชน์ต่อตนเองและสังคมซึ่งเป็นที่ยกย่องชมเชยจากบุคคลทั่วไปอย่างต่อเนื่อง
สำหรับการพิจารณาในกรณีที่ต้องคัดเลือกผลงานที่ใกล้เคียงกัน คณะกรรมการจะพิจารณา
จากมีคุณสมบัติหลักเกณฑ์เปรียบเทียบ ดังนี้
1. เป็นตัวอย่างแก่เยาวชนโดยส่วนรวมทางด้านการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม
2. เป็นสาขากิจกรรมที่ไม่ได้รับการส่งเสริม หรือได้รับการส่งเสริมน้อย
3. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์นวัตกรรม
4. ระดับความยากง่าย ความพยายามฟันฝ่าอุปสรรค ของพฤติกรรมหรือความสามารถ
5. ปริมาณและคุณภาพของความสามารถ หรือพฤติกรรมที่กระทำ
6. ความต่อเนื่องของเวลาที่ปฏิบัติงานเพื่อพัฒนา
7. เป็นการเสียสละ หรือสร้างชื่อเสียงเพื่อประโยชน์ส่วนรวม
ในประเภทของเยาวชนดีเด่นแห่งชาติ สาขาพัฒนาเยาวชน บำเพ็ญประโยชน์ อาสาสมัคร
สวัสดิการและประสานงาน มีขอบเขตของสาขา คือ เป็นพฤติกรรม ความสามารถ หรือการสนับสนุน
สร้างสรรค์กิจกรรมการพัฒนาเยาวชนในลักษณะต่างๆ โดยมีตัวอย่างกิจกรรม ได้แก่ งานต่อต้าน
สารเสพติด งานต่อต้านโรคเอดส์ งานค่ายเยาวชน งานพัฒนาความเป็นผู้นำ งานพัฒนาสังคม งาน
พัฒนาสิ่งสาธารณะ และงานสังคมสงเคราะห์ เป็นต้น
นอกจากหน่วยงานของทางภาครัฐบาลที่ช่วยส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาเด็กและเยาวชน
โดยการดำเนินงานของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติแล้ว ทาง
สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งถือว่าเป็นองค์การพัฒนาเอกชนได้มี
ส่วนช่วยส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาเด็กและเยาวชนด้วย โดยได้กำหนดนโยบายเรื่องการพัฒนาเด็ก
และเยาวชนไว้ ดังนี้ “ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาเด็กและเยาวชน ให้เป็นผู้พร้อมด้วยคุณภาพและ
คณุ ธรรม มีความจงรักภักดีต่อสถาบันชาต ิ ศาสนา และพระมหากษัตริย ์ บำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์
ตอ่ ผอู้ นื่ สังคม และประเทศชาต”ิ
นอกจากนี้ สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ยังได้กำหนดแผน
การดำเนินงานของคณะกรรมการไว้อย่างสอดคล้องกันว่า
16
“ส่งเสริมและสนับสนุนรวมทั้งยกย่องและเชิดชูเกียรติเด็กและเยาวชนที่มีความประพฤติดี
ปฏิบัติตามหลักธรรมของศาสนา มีความรู้ ความสามารถ มีความจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา
พระมหากษัตริย์ บำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น สังคม และประเทศชาติ” (สภาสังคมสงเคราะห์
แห่งประเทศไทยฯ 2545 : 1)
สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยฯ จึงมีโครงการสรรหาหรือคัดเลือกเด็กและเยาวชน
ดีเด่น ในโอกาสวันเด็กแห่งชาติและวันเยาวชนแห่งชาติ โดยมีวัตถุประสงค์ คือ
1. เพื่อร่วมมือกับรัฐบาลในการจัดงานวันเด็กแห่งชาติและวันเยาวชนแห่งชาติ
2. เพื่อสรรหาเด็กและเยาวชนดีเด่น ซึ่งเป็นผู้พร้อมด้วยคุณภาพและคุณธรรม มีความรู้ความ
สามารถ มีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ บำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น สังคม
และประเทศชาติ และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
3. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กและเยาวชน ได้กระทำความดีและบำเพ็ญประโยชน์ต่อ
สังคมให้มากยิ่งขึ้น
4. เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติเด็กและเยาวชนดีเด่น ที่ได้รับการคัดเลือกและเป็นที่ยอมรับแก่
สาธารณชนทั่วไป โดยจัดพิมพ์ทำเนียบจารึกเกียรติประวัติเพื่อเป็นตัวอย่างแก่อนุชนรุ่นต่อไป
5. เพื่อให้การสรรหาหรือคัดเลือกเด็กและเยาวชนดีเด่น เป็นไปโดยหลักเกณฑ์และวิธีการที่
สอดคล้องกันและเป็นที่ยอมรับของสาธารณชนทั่วไป
สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยฯ ได้กำหนดหลักเกณฑ์การสรรหาหรือคัดเลือกเด็ก
และเยาวชนดีเด่น ไว้ดังนี้
1. คุณสมบัติของเด็กและเยาวชนดีเด่น
1.1 เด็ก คือ ผู้ที่มีอายุระหว่าง 5 – 15 ปี
1.2 เยาวชน คือ ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 15 – 25 ปี
1.3 เป็นผู้มีความรู้ความสามารถเหมาะสมแก่อัตภาพ
1.4 เป็นผู้มีกิริยามารยาทเรียบร้อย มีความประพฤติดี อยู่ในโอวาทของผู้ปกครอง และครู
อาจารย์
1.5 มีความขยันหมั่นเพียร เอาใจใส่ต่อการเรียนและมีความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ตนได้
รับมอบหมาย
1.6 ไม่เป็นผู้ที่เคยได้รับการคัดเลือกเป็นเด็กและเยาวชนดีเด่นของสภาสังคมสงเคราะห์ฯ
ในระดับเดียวกัน
17
2. องค์กร หน่วยงานภาครัฐบาลและเอกชนที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับเด็กและเยาวชน มีสิทธิเสนอ
ชื่อเด็กและเยาวชนดีเด่น อนึ่ง องค์การและหน่วยงานในกรุงเทพมหานครขอให้เสนอชื่อเด็กและ
เยาวชนที่มีที่อยู่ปัจจุบันและกำลังศึกษาอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครเท่านั้น
3. หลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกเด็กและเยาวชนดีเด่น
3.1 เป็นตัวอย่างที่ดีทางด้านกิริยามารยาท ความประพฤติ และคุณธรรมในด้านต่างๆ
3.1.1 มีความกตัญญูกตเวที
3.1.2 รู้จักช่วยตนเอง ครอบครัว ช่วยเหลือชุมชนและสังคม และเป็นที่ยอมรับของ
คนทั่วไป
3.1.3 มีจิตใจงาม เสียสละ ขยันและซื่อสัตย์ มีศีลธรรมอันดีงาม และมี
มนุษยสัมพันธ์
3.1.4 มีพฤติการณ์ที่แสดงออกทางด้านคุณธรรมและจริยธรรมดีเด่น
3.1.5 ไม่มัวเมาในอบายมุข
3.1.6 เป็นผู้มีความรักชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์
3.2 เป็นตัวอย่างที่ดีด้านความรู้ความสามารถ เช่น
3.2.1 ลักษณะการเป็นผู้นำ และผู้มีความสามารถ
3.2.2 มีลักษณะพิเศษ มีความรู้ความสามารถดีเด่นเฉพาะตน เช่น ด้านวิชาการ
ดนตรี ภาษา อาชีพ การกีฬา ฯลฯ
3.3 ผลงานด้านการบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ เช่น
3.3.1 ปริมาณงานและคุณภาพของงาน
3.3.2 ความต่อเนื่องของการบำเพ็ญประโยชน์
3.3.3 ความสำเร็จของผลงานและผลประโยชน์ที่เกิดต่อสังคม
3.4 เป็นตัวอย่างที่ดี และเป็นที่ยอมรับและยกย่องเป็นแบบอย่างโดยทั่วไป
จากหลักเกณฑ์การสรรหาคัดเลือกเด็กและเยาวชนดีเด่นดังกล่าว ทำให้ทราบว่า บุคคลที่
ผ่านการคัดเลือกเป็นเยาวชนดีเด่นได้นั้น จะต้องเป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติ ทั้งด้านพฤติกรรม ความ
สามารถ หรือการสนับสนุนสร้างสรรค์กิจกรรมตามเกณฑ์การสรรหาเยาวชน ทั้งนี้ในส่วนเยาวชน
ดีเด่นแห่งชาติ ซึ่งคัดเลือกโดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ จะมี
เกณฑ์การคัดเลือกเป็นสาขาย่อยๆ จึงมีความชัดเจนทางคุณสมบัติเฉพาะด้านในสาขาการพัฒนา
เยาวชน บำเพ็ญประโยชน์ อาสาสมัคร สวัสดิการและประสานงาน แต่ในส่วนของเยาวชนดีเด่นของ
สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จะมีหลักเกณฑ์การพิจารณาครอบคลุม
ทั้งด้านความประพฤติ ความรู้ความสามารถ การบำเพ็ญประโยชน์ และเป็นแบบอย่างที่ยอมรับ
18
สรุปได้ว่า เยาวชน คือบุคคลที่มีอายุไม่เกิน 25 ปี ซึ่งเป็นผู้ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อ
ประเทศชาติ และด้วยการตระหนักถึงความสำคัญของเยาวชน หน่วยงานของรัฐและเอกชนจึงได้
กำหนดนโยบายเยาวชนแห่งชาติ และกำหนดคุณลักษณะเด็กและเยาวชนไทยที่พึงประสงค์ไว้เพื่อเป็น
แนวทางในการพัฒนาบทบาทของเยาวชน ทั้งบทบาทต่อตนเอง บทบาทต่อผู้อื่น บทบาทต่อสังคม
บทบาทต่อสถาบันชาติ และบทบาทต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ นอนจากนี้หน่วยงานของรัฐคือ สำนัก
งานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ ได้ดำเนินโครงการสรรหาและเชิดชู
เยาวชนดีเด่นแห่งชาติ รวมทั้งหน่วยงานของเอกชน คือ สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ใน
พระบรมราชูปถัมภ์ ได้ดำเนินโครงการสรรหาหรือคัดเลือกเด็กและเยาวชนดีเด่น เป็นประจำทุกปี ทั้งนี้
เพื่อเป็นการยกย่องและเชิดชูเยาวชนผู้ซึ่งมีความสามารถ และมีความประพฤติดีรวมทั้งการกระทำ
คุณงามความดีมาโดยตลอด
2. แนวคิดเกี่ยวกับอาสาสมัคร (Volunteer)
2.1 ความหมายของอาสาสมัคร
อาสาสมัคร เป็นคำสองคำมารวมกัน คือ อาสา กับ สมัคร อาสาแปลว่า ทำด้วยความเต็มใจ
หรือแปลได้อีกนัยหนึ่งว่า สมัคร ส่วนคำว่า สมัคร แปลว่า อาสาและเต็มใจ เพราะฉะนั้น คำว่าอาสา
สมัคร จึงเป็นคำที่มีความหมายอย่างเดียวกัน คือ ผู้ทำงานด้วยความเต็มใจ ไม่มีผลประโยชน์ตอบแทน
(ปุ๋ย โรจนะบุรานนท์ 2525 : 1)
2.2 ความสำคัญของของงานอาสาสมัคร
งานอาสาสมัคร คือ การที่ได้ทำงานร่วมกับผู้อื่น และความพึงพอใจในการร่วมงาน จะทำให้
บุคคลบรรลุวัตถุประสงค์ตามต้องการ และก่อให้เกิดคุณค่าการยอมรับในสังคม การช่วยตนเองและ
ช่วยผู้อื่นเหมือนญาติพี่น้อง ทำให้เกิดความผูกพันที่มีต่อกัน และเกิดการร่วมแรงพัฒนาช่วยเหลือกัน
จนเป็นวัฒนธรรมของชาติที่ดีงาม (เสาวนีย์ เสนาสุ 2529 : 13)
จิตและวิญญาณของอาสาสมัคร คือการทำงานด้วยความสมัครใจ เพื่อเห็นแก่ประโยชน์ของผู้
อื่น ประชาชนและสังคม โดยไม่หวังผลตอบแทนที่เป็นเงินหรือวัตถุ เช่นการทำหน้าที่เพื่อหน้าที่โดย
19
ไม่เห็นแก่บำเหน็จรางวัลหรือผลประโยชน์ โดยถือเป็นกรณียกิจ กิจที่ควรทำ ไม่ถือเป็นหน้าที่หรือ
ภารกิจ กิจที่เป็นภาระ
สรุปได้ว่า อาสาสมัคร หมายถึง บุคคลที่สมัครใจทำงาน เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่นโดยไม่หวัง
ผลตอบแทน ซึ่งต้องเป็นบุคคลที่มีอุดมการณ์ในตนเอง และมีความสำคัญต่อการพัฒนาสังคมเป็น
อย่างมากเนื่องจากมีความตั้งใจจริงต่อการทำงานเพื่อสังคม
2.2 อุดมการณ์ของอาสาสมัคร
สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร์ อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก พระบิดาแห่งการแพทย์ไทยและ
พระบิดาแห่งการสังคมสงเคราะห์ได้ทรงสั่งสอนนักเรียนแพทย์ให้ยึดมั่นในอุดมคติดังนี้
“ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตัวเป็นกิจที่สอง ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง ลาภ ทรัพย์
และเกียรติยศ จะตามมาแก่ท่านเอง ถ้าท่านทรงธรรมะแห่งอาชีพไว้ให้บริสุทธิ์” (มหาวิทยาลัยมหิดล
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. 2546, ออนไลน์)
ผู้ที่ปฏิบัติตามรอยพระยุคลบาทและพระบรมราโชวาทของพระบรมราชชนก ต้องปฏิบัติงาน
ด้วยอุดมคติที่ว่า จะต้องถือประโยชน์ของเพื่อมนุษย์และประโยชน์ส่วนรวมเป็นกิจที่หนึ่ง ถือ
ประโยชน์ส่วนตนเป็นกิจที่สอง กล่าวคือ ประโยชน์ส่วนรวมหรือประโยชน์ของประเทศชาติจะต้องอยู่
เหนือประโยชน์ส่วนตน
ในการพัฒนาประเทศ การรักษาและส่งเสริมความมั่นคงของชาติ การปลูกฝังอุดมการณ ์ ของ
ชาติเป็นเรื่องที่มีความสำคัญยิ่ง ประเทศที่ประชาชนในชาติยึดมั่นในอุดมการณ์ร่วมกัน และปฏิบัติตาม
อุดมการณ์อย่างจริงจังและพร้อมเพรียงกัน ย่อมจะรักษาความมั่นคงของชาติไว้ได้ และจะสามารถ
พัฒนาประเทศไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้า คนที่มีอุดมการณ์หรืออุดมคติจะเป็นผู้มีเป้าหมายของ
ชีวิตและจะดำเนินชีวิตด้วยอุดมการณ์หรืออุดมคติคือคุณธรรมความดี ผิดกับผู้ที่ไม่มีอุดมการณ์หรือ
อุดมคติที่จะทำทุกอย่างเพื่อให้ตนได้รับประโยชน์ แม้ว่าการกระทำนั้นจะผิดและไม่ถูกต้องตามศีล
ธรรม อาสาสมัครจึงควรมีอุดมการณ์ในการถือประโยชน์ส่วนรวมหรือประโยชน์ของประเทศชาติ
เหนือกว่าประโยชน์ส่วนตน ทำงานด้วยความกระตือรือร้น บริสุทธิ์ใจ และอุดมคติ ปฏิบัติตาม
พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระราชทานแก่อาสาสมัคร ซึ่งมีข้อความดังนี้
(สมพร เทพสิทธา 2544 : 14)
20
“อาสาสมัครจะต้องระลึกอยู่เสมอว่าศรัทธาในงานอาสาสมัครเพื่อช่วยเหลือผู้อื่นนั้นเกิดขึ้น
ด้วยตนเอง มีความรู้สึกเห็นชอบในงานอาสาสมัคร มีศรัทธาที่จะทำงาน มีเวลาที่จะปฏิบัติงาน และ
พร้อมที่จะเป็นอาสาสมัคร”
2.3 บทบาทของอาสาสมัคร
สมพร เทพสิทธา (2544 : 55-56) ได้กล่าวถึงบทบาทของอาสาสมัคร อาจแบ่งได้เป็น 5 ด้าน
ดังนี้
1. บทบาทของอาสาสมัครในการสังคมสงเคราะห์
อาสาสมัครมีบทบาทที่สำคัญในการสังคมสงเคราะห์ โดยการช่วยเหลือผู้ประสบปัญหา
ความทุกข์ยากเดือดร้อนประเภทต่างๆ เช่น ทหาร ตำรวจ ที่ได้รับบาดเจ็บจากการปฏิบัติ หน้าที่และ
ผู้เจ็บป่วยที่รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล ผู้ประสบสาธารณภัย คนพิการ เด็กเร่ร่อน คนไร้ที่พึ่ง ผู้สูงอายุ
ผู้ประสบปัญหาชีวิตและปัญหาครอบครัว อาสาสมัครจะช่วยในการรักษาพยาบาล ช่วยเป็นเพื่อน ช่วย
ให้คำปรึกษาและกำลังใจ ช่วยให้มีความสุขและความหวัง
2. บทบาทของอาสาสมัครในการแก้ไขปัญหาสังคม
อาสาสมัครมีบทบาทที่สำคัญในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคม เช่น ร่วมในการ
รณรงค์และโครงการเกี่ยวกับการป้องกันแก้ไขปัญหาอาชญากรรม ปัญหายาเสพติด โรคเอดส์ การ
อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
3. บทบาทของอาสาสมัครในการพัฒนาสังคม
อาสาสมัครมีบทบาทที่สำคัญในการพัฒนาคนกลุ่มต่างๆ เช่น เด็ก เยาวชน สตรี รวมทั้ง
ผู้ด้อยโอกาส เช่นคนพิการ ให้เป็นผู้มีคุณภาพและคุณธรรม พัฒนาครอบครัวให้มีความอบอุ่นมั่นคง
พัฒนาชุมชนให้มีความเข้มแข็ง และพัฒนาสังคมให้มีความสงบเรียบร้อย มีความเจริญมั่นคง และ
ก้าวหน้าอย่างสมดุลและยั่งยืน มีความเจริญทั้งในด้านจิตใจ วัฒนธรรม ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ ด้าน
การเมือง ตามอุดมการณ์แผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง
4. บทบาทของอาสาสมัครในการพัฒนาองค์การ
อาสาสมัครมีบทบาทที่สำคัญในการพัฒนาองค์การสาธารณประโยชน์ หรือองค์กรเอกชน
(Non Governmental organization หรือ NGO) ร่วมบริหารงานขององค์การเอกชน เช่น สมาคมและ
มูลนิธิ ด้วยความรู้ ความสามารถ และความเสียสละ ทำให้องค์กรเอกชนมีบทบาทที่สำคัญในการทำ
ประโยชน์ให้แก่ประชาชน สังคม และประเทศชาติ
21
5. บทบาทของอาสาสมัครในการส่งเสริมความมั่นคงของชาติ
อาสาสมัครมีบทบาทที่สำคัญในการที่จะรักษาและส่งเสริมความมั่นคงของสถาบันชาติ
ศาสนา พระมหากษัตริย์ และระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
เสาวนีย์ เสนานุ (2529 : 25) ได้กล่าวถึงบทบาทของอาสาสมัครในด้านการช่วยเหลืองานแก่ผู้
อนื่ นนั้ สามารถจำแนกได  3 ดา้ น ดงั ตอ่ ไปนี้
1. ด้านความคิด คือการทำหน้าที่เป็นผู้วางนโยบาย วางแผนการดำเนินงานของหน่วยงาน
ตลอดจนควบคุมตรวจสอบการบริหารงานของหน่วยงานให้ถูกต้องตรงตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
2. ด้านแรงงาน เป็นการเสียสละแรงงานเพื่อการปฏิบัติงาน การให้บริการโดยตรงแก่
ผู้ต้องการความช่วยเหลือ
3. ด้านกำลังทรัพย์ ได้แก่การบริจาคเงิน บริจาคที่ดิน อาคารบ้านเรือน เครื่องอุปโภคบริโภค
ให้แก่หน่วยงานสับคมสงเคราะห์ต่างๆ เพื่อให้หน่วยงานเป็นตัวกลางนำไปให้แก่ผู้ขอรับบริการ
สรุปได้ว่า อาสาสมัคร คือผู้ที่ทำงานเพื่อประโยชน์แก่ส่วนรวมด้วยความสมัครใจ ไม่ได้หวัง
ผลตอบแทน และเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการสังคมสงเคราะห์ การแก้ไขปัญหาสังคม การพัฒนา
สังคม การพัฒนาองค์การ และการส่งเสริมความมั่นคงของชาติ โดยเป็นผู้ที่ทำงานทางด้านความคิด
ด้านแรงงาน รวมทั้งด้านกำลังทรัพย์
3. แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับบทบาท
3.1 ความหมายของบทบาท
ณรงค์ เส็งประชา (2538 : 17) ได้ให้ความหมายของบทบาทไว้ว่า บทบาทเป็นส่วนหนึ่งของ
โครงสร้างสังคม (Social structure) ที่ช่วยเสริมสร้างและพยุงค้ำจุนกลุ่มสังคมให้มั่นคง และเจริญ
ก้าวหน้า และผู้คนอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข แต่ทั้งนี้หมายถึงว่า ผู้คนเหล่านั้นได้แสดง บทบาทอย่าง
เหมาะสม ไม่เกิดปัญหาการขัดแย้งระหว่างคู่บทที่แสดง ไม่ละเมิดต่อสิทธิและหน้าที่ ที่ควรจะปฏิบัติ
ไม่สร้างอำนาจในบทบาทของตนให้เหนือไปจากบรรทัดฐานของสังคมจนเกิดผลเสียแก่สังคม หรือมี
บทบาทหน้าที่ แต่ไม่แสดงบทบาทตามความรับผิดชอบ
22
เติมศักดิ์ สุวรรณประเทศ (2527 อ้างใน อุบลศรี เสนาะรักษ์ 2544 : 20) ให้ความหมายว่า
บทบาทหมายถึง การปฏิบัติตามสิทธิหน้าที่ของสถานภาพ
สุพัตรา สุภาพ (2539.: 30) อธิบายถึง บทบาทเป็นการปฏิบัติตามสิทธิและหน้าที่ของสถาน
ภาพ (ตำแหน่ง) ของบุคคลนั้น มนุษย์จะมีหลายบทบาทแต่ละบทบาทมีความสมบูรณ์หรือสมดุลกันพอ
สมควร
ภิญโญ สาธร (2519 : 304) ให้ความหมายบทบาทว่า สิ่งที่บุคคลผู้ดำรงตำแหน่งหนึ่ง ถูกผู้อื่น
คาดหวังให้กระทำที่เรียกว่า “บทบาทหน้าที่” ซึ่งกำหนดไว้ควบคู่กับตำแหน่งซึ่งบุคคลผู้นั้นครองอยู่
หรือ หมายถึงหน้าที่ หรือ เงื่อนไขที่ต้องกระทำ
อมรา พงศาพิชญ์ (2521 : 91-92) ได้ให้ทัศนะว่า บทบาทคือสิทธิหน้าที่ในการประพฤติ
ปฏิบัติที่บุคคลหนึ่งมีต่อบุคคลอื่นในสังคมตามสถานภาพของตัว เช่น บทบาทของพ่อก็คือทำหน้าที่
เลี้ยงดูลูกให้เป็นคนดี และบทบาทของลูกก็คือเคารพเชื่อฟังพ่อแม่ และทำตนเป็นคนดี
อุทัย หิรัญโต (2526 : 199) อธิบายว่าบทบาท คือ หน้าที่ (Function) หรือพฤติกรรมอันพึง
คาดหมาย (Expected Behavior) ของบุคคลแต่ละคนในกลุ่ม หรือในสังคมหนึ่งๆ หน้าที่ หรือพฤติ
กรรมดังกล่าวโดยปกติเป็นสิ่งที่กลุ่ม หรือสังคม หรือวัฒนธรรมบางกลุ่มหรือสังคมนั้นกำหนดขึ้น
ฉะนั้นบทบาทจึงเป็นแบบแห่งความประพฤติของบุคคลในสถานะหนึ่งที่พึงมีต่อบุคคลอื่นในสถานะ
อีกอย่างหนึ่งในสังคมเดียวกัน
พัทยา สายหู (2534 : 58-63) ได้อธิบายว่า บทบาทหน้าที่ คือ สิ่งที่ทำให้เกิดเป็นบุคคล และ
เปรียบเสมือนบทของตัวละครที่กำหนดให้ผู้แสดงในบทละครเรื่องนั้นๆ เป็นตัวอะไร มีบทบาทที่ต้อง
แสดงอย่างไร ถ้าแสดงผิดบทหรือไม่สมบทก็อาจถูกเปลี่ยนตัวไม่ให้แสดงไปเลย
ศุภพร อยู่วัฒนา (2536 : 11) บทบาท หมายถึง การปฏิบัติตามสิทธิและหน้าที่ที่มีอยู่ตาม
สถานภาพ
23
จากความหมายดังกล่าวสรุปได้ว่า บทบาท คือ แบบแผนหรือพฤติกรรมของบุคคลที่แสดง
ออกเพื่อการปฏิบัติตามหน้าที่ของแต่ละบุคคลในสถานภาพต่างๆ ซึ่งคนหนึ่งคนจะมีบทบาทได้หลาย
บทบาท
3.2 ประเภทและลักษณะของบทบาท
Hunt (อ้างถึงใน บัณฑิต ชนะชัย 2533 : 9) ได้จำแนกประเภทไว้ 5 ประเภท ดังต่อไปนี้
1. บทบาทที่กำหนดโดยสังคม (Role Prescriptions) เป็นบทบาทที่สังคมกำหนดไว้ว่าบุคคลที่
อยู่ในตำแหน่งจะต้องทำอะไร เช่น สังคมกำหนดไว้ว่าครูจะต้องมีหน้าที่เป็นผู้สอน
2. บทบาทที่กำหนดให้คนเป็นตัวอย่างของสังคม (Role Stereotypes) เช่น การแต่งกาย การพูด
จา ความประพฤติของคนในสังคมใดย่อมบ่งถึงวัฒนธรรมและสังคมของคนนั้น
3. บทบาทที่สังคมคาดหวัง (Role Expectations) เป็นบทบาทที่ผู้อื่นคาดหวังไว้ว่าผู้ที่ดำรง
ตำแหน่งนั้นควรปฏิบัติอย่างไร เช่น ผู้ที่เป็นครูจะต้องมีความรู้ดี ประพฤติดี และมีคุณธรรมของการ
เป็นครูที่ดี
4. บทบาทแสดง (Role Enactments) เป็นบทบาทที่ถูกต้องปฏิบัติตามระเบียบกฎเกณฑ์ และ
หน้าที่ที่กำหนดไว้ เช่น ครูต้องปฏิบัติตามระเบียบข้าราชการครู
5. บทบาทที่ต้องปฏิบัติตามความคาดหวังของผู้ร่วมงานด้วยกัน คือ บุคคลผู้ดำรงตำแหน่งไม่
เพียงแต่จะต้องปฏิบัติตามที่ตนต้องการเท่านั้น แต่ต้องปฏิบัติตามความมุ่งหวังของผู้อื่นด้วย เช่น คน
สองคนทำงานร่วมกันต่างก็มุ่งหวังว่าจะต้องปฏิบัติตามหน้าที่ของตน แต่โดยความเป็นจริงแล้วทั้งสอง
ฝ่ายต้องร่วมมือกันทำ และต้องดูความมุ่งหมายของอีกฝ่ายหนึ่งด้วยว่าต้องการจะให้ทำอย่างไร
Broom and Selznick (อ้างถึงใน ละเอียด วรรณสารเมธา, 2539 : 28) ได้กล่าวถึงบทบาทว่า
ประกอบด้วยลักษณะต่างๆ 3 ประการ ดังนี้
1. บทบาทในอุดมคติ หรือ สิ่งที่สังคมกำหนดไว้ (Ideal Role The Socially Prescribed) เป็น
บทบาทในอุดมคติที่มีการกำหนดหน้าที่ตามตำแหน่งของสังคมไว้
2. บทบาทที่ควรกระทำ (The Percieved Role) เป็นบทบาทที่แต่ละบุคคลเชื่อว่าควรกระทำ
ตามตำแหน่งที่ได้รับ ซึ่งอาจจะไม่เหมือนบทบาทในอุดมคติ และอาจแตกต่างกันในแต่ละบุคคล
3. บทบาทที่กระทำจริง (The Performed Role) เป็นบทบาทที่บุคคลได้กระทำไปจริง ซึ่งจะขึ้น
อยู่กับความเชื่อ ความคาดหวัง และการรับรู้ของแต่ละบุคคล
24
จากประเภทและลักษณะของบทบาท สรุปได้ว่า บทบาททั้ง 3 ลักษณะ คือ บทบาทในอุดมคติ
บทบาทที่ควรกระทำ และบทบาทที่กระทำจริงบทบาท จะเกี่ยวข้องกับสังคม นั่นคือ บทบาทนั้นสังคม
จะเป็นผู้กำหนด สังคมคาดหวัง และต้องเป็นแบบอย่างแก่สังคม
3.3 ทฤษฎีเกี่ยวกับการแสดงบทบาท
Linton (อ้างถึงใน จันทนา เอมมณีรัตน์, 2536 : 26) ซึ่งเป็นนักมานุษยวิทยาคนแรกที่ให้แนว
คิดในเรื่องฐานะตำแหน่ง และบทบาทฐานะตำแหน่งนั้น Linton ถือว่าสังคมตั้งอยู่บนรากฐานของการ
ปฏิบัติตอบโต้ของคนในสังคมนั้น (Reciprocal Behavior) ถ้าหากคนไม่มีการกระจาย ตอบโต้แล้ว
แนวคิดเกี่ยวกับเรื่องฐานะตำแหน่ง และบทบทจะไม่เกิดขึ้น Linton เห็นว่าสถานภาพเป็นนามธรรม ซึ่ง
หมายถึง ตำแหน่งต่าง ๆ ที่มีอยู่ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง (A Particula Partern) ซึ่งจะเป็นเครื่อง
กำหนดบทบาทของตำแหน่งว่า ตำแหน่งนั้นๆ จะมีภารกิจหน้าที่อย่างไรบ้าง ฉะนั้นเมื่อมีตำแหน่งเกิด
ขึ้นสิ่งที่มาควบคู่กับตำแหน่งก็คือบทบาทของตำแหน่งเพราะว่าทุกๆ ตำแหน่งจะต้องมีบทบาทกำกับ
บทบาทและตำแหน่งไม่สามารถแยกออกจากกันได้ จนกล่าวได้ว่าไม่มีบทบาทโดยปราศจากตำแหน่ง
หรือไม่อาจมีตำแหน่งได้โดยปราศจากบทบาท
Allport (อ้างถึงใน ละเอียด วรรณสารเมธา 2539 : 29) ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับการแสดง
บทบาทของบุคคลว่าขึ้นอยู่กับปัจจัย 4 ประการดังนี้
1. ความคาดหวังในบทบาท (Role Expectation) เป็นบทบาทตามความคาดหวังของบุคคลอื่น
หรือเป็นบทบาทที่สถาบัน องค์การ หรือกลุ่มสังคมคาดหวังให้บุคคลปฏิบัติตามสิทธิหน้าที่ ที่บุคคล
นั้นครองตำแหน่งอยู่
2. การรับรู้บทบาท (Role Conception) เป็นการรับรู้ในบทบาทของตนว่าควรจะมีบทบาท
อย่างไร และสามารถมองเห็นบทบาทของตนเองได้ตามการรับรู้นั้น (Perceived Role) ซึ่งเกี่ยวข้อง
สัมพันธ์กับความต้องการของบุคคลนั้นเอง โดยการรับรู้ในบทบาท และความต้องการของบุคคลย่อม
ขึ้นอยู่กับลักษณะพื้นฐานส่วนบุคคลตลอดจนเป้าหมายในชีวิต และค่านิยมของบุคคลที่สวม บทบาท
นั้น
3. การยอมรับบทบาทของบุคคล (Role Acceptance) ซึ่งเกิดขึ้นได้เมื่อมีความสอดคล้องกัน
ของบทบาทตามความคาดหวังของสังคม และบทบาทที่ตนเองรับรู้อยู่นั้นบุคคลสามารถที่จะหลีกเลี่ยง
บทบาทนั้น ถ้ามีความขัดแย้งกับความต้องการหรือค่านิยมของบุคคลนั้น
4. การปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของบุคคล (Role performance) เป็นบทบาทที่เจ้าของสถาน
ภาพแสดงจริง (Actual Role) ซึ่งอาจจะเป็นการแสดงบทบาทตามที่สังคมคาดหวังหรือเป็นการแสดง
25
บทบาทตามการรับรู้ และตามความคาดหวังของตนเอง การที่บุคคลจะปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ได้ดี
เพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับการยอมรับบทบาทนั้นๆ ของบุคคลที่ครองตำแหน่งอยู่ซึ่งเนื่องมาจากความสอด
คล้องกันของบทบาทตามความคาดหวังของสังคม และการรับรู้บทบาทของตนเอง
จากทฤษฎีดังกล่าว อาจสรุปได้ว่า การแสดงบทบาทจะเกิดจากการคาดหวัง มีการรับรู้ ให้การ
ยอมรับ และถือปฏิบัติตามบทบาทนั้น โดยจะมีตำแหน่งหรือหน้าที่เกิดขึ้นควบคู่กันเสมอ
ปัจจัยที่ส่งผลถึงบทบาทของบุคคลนั้น มีผู้ให้ความเห็นไว้หลายประการดังนี้
1. ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่คุณลักษณะเฉพาะตัวของบุคคลนั้นๆ ณรงค์ เส็งประชา (2530 :90)
กล่าวว่าตำแหน่งเดียวกัน ผู้ดำรงตำแหน่งคนละคน อาจมีบทบาทหน้าที่ต่างกันไป เพราะต่างคนต่าง
นิสัย ความคิด ความสามารถ การอบรม กำลังใจ มูลเหตุจูงใจ ความพอใจในสิทธิหน้าที่ สภาพของร่าง
กายและจิตใจไม่เหมือนกัน สุพัตรา สุภาพ (2536 : 30) กล่าวว่า ยิ่งสังคมซับซ้อนขึ้นเท่าใด บทบาทยิ่ง
แตกต่างไปมากขึ้นเท่านั้น
2. ปัจจัยทางสังคม ได้แก่ ปัจจัยที่มาจากการกำหนดและคาดหวัง ของสังคมให้แก่บุคคลที่
ดำรงตำแหน่ง หรือสถานภาพนั้นๆ ได้ปฏิบัติตาม ณรงค์ เส็งประชา (2530 : 90) ได้กล่าวว่า บทบาท
เป็นพฤติกรรมที่สังคมกำหนด และคาดหมายให้บุคคลกระทำ นอกจากนี้แล้วยังขึ้นอยู่กับลักษณะส่วน
บุคคลของผู้นั้นอีกด้วย
ปัจจัยที่ส่งผลต่อบทบาทของบุคคลในสังคม ประกอบด้วยสถานภาพและบทบาท ซึ่งเป็น
ปัจจัยส่งเสริมซึ่งกันและกันในการยกระดับคุณภาพของบุคคลในสังคม กล่าวคือ สถานภาพจะเป็นตัว
กำหนดบทบาทในการแสดงพฤติกรรมของบุคคลในสังคม และผลของการแสดงพฤติกรรมจะช่วย
ส่งผลสะท้อน กลับไปส่งเสริมสถานภาพของบุคคลให้ปรากฏชัดในสังคม
สรุปได้ว่า บทบาท คือ แบบแผนหรือพฤติกรรมของบุคคลที่แสดงออกเพื่อการปฏิบัติตามหน้า
ที่ของแต่ละบุคคลในสถานภาพต่างๆ ซึ่งบทบาทเหล่านั้นจะเกี่ยวข้องกับสังคมโดยสังคมจะกำหนด
บทบาท เพื่อให้คนเป็นตัวอย่างของสังคม เป็นต้น บทบาทเหล่านี้จะมีลักษณะที่เป็นบทบาทในอุดมคติ
บทบาทที่ควรกระทำ และบทบาทที่กระทำจริง การแสดงบทบาทเหล่านั้นจะเกิดจากการคาดหวังมีการ
รับรู้ให้การยอมรับ และถือปฏิบัติตาม โดยมีตำแหน่งหรือหน้าที่เกิดขึ้นควบคู่กันเสมอ สำหรับปัจจัยที่
ส่งผลถึงบทบาทของบุคคลนั้น ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล คือ ลักษณะเฉพาะตัว และปัจจัยทางสังคม คือ
การกำหนดและคาดหวังของสังคมให้แก่บุคคลในสถานภาพนั้นๆ
26
4. แนวคิดและทฤษฎีด้านความต้องการและแรงจูงใจ
4.1 ทฤษฎีด้านความต้องการ
Abraham Maslow (1970 : 1-3) กล่าวถึงทฤษฎีความต้องการของบุคคล โดยเริ่มจากความ
ต้องการขั้นต่ำสุดไปจนกระทั่งถึงความต้องการขั้นสูงสุด รวมทั้งหมด 5 ขั้นตอนด้วยกัน ดังนี้
1. ความต้องการทางด้านร่างกาย (Physiological needs) ได้แก่ ความต้องการที่จะลดความ
กระหาย ความหิว ต้องการพักผ่อนหลับนอน ต้องการทางเพศ
2. ความต้องการทางด้านความปลอดภัย (Safety needs) ได้แก่ ความต้องการความอบ
อุ่น มั่นคง ต้องการความคุ้มครอง ต้องการหนีห่างจากอันตราย ต้องการทราบสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
3. ความต้องการทางด้านสังคม ความรัก ความพอใจ (Belongingness and love needs) ได้
แก่ ความต้องการเพื่อน ต้องการผู้ร่วมงาน ต้องการคู่รักหรือครอบครัว ผู้ที่ไม่ได้รับการสนองความ
ตอ้ งการนอี้ าจแสดงพฤตกิ รรมแปลกๆ โดยที่ใจจริงมิได้ประสงค์ที่จะกระทำเช่นน ี้ แต่ทำเพื่อเรียกร้อง
ความรักและความสนใจจากผู้อื่น
4. ความต้องการด้านชื่อเสียง การยกย่อง (Self esteem needs) ได้แก่ ความต้องการการ
เคารพนับถือ ต้องการความเชื่อมั่นที่จะกระทำสิ่งที่ดีร่วมกับผู้อื่น ต้องการให้ผู้อื่นชมเชยและยินดีใน
การกระทำของตน ต้องการให้ผู้อื่นยอมรับว่าตนมีคุณค่า ต้องการความสำเร็จ อิสรภาพ เสรีภาพ ฯลฯ
การถูกขัดขวางไม่ให้ได้รับการสนองตอบความต้องการชนิดนี้จะมีผลให้เกิดความรู้สึกว่าขาดผู้คอย
ช่วยเหลือค้ำจุน
5. ความต้องการความสมหวังของชีวิต (Self actualization needs) ได้แก่ ความต้องการที่
จะเข้าใจและรู้จักตนเองอย่างถ่องแท้ ต้องการที่จะคิดหรือกระทำในสิ่งที่เป็นจริงให้สอดคล้องกับ
สภาพที่แท้จริงของตนเอง ความต้องการตระหนักในตน จนมีผลให้บุคคลต้องการจะพัฒนาให้เจริญถึง
ขีดสุด ต้องการที่จะช่วยใช้ความสามารถที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์และเหมาะสมแก่ส่วนรวมอย่างแท้จริง
มนูญ ตนะวัฒนา (2532 : 172) ได้วิเคราะห์หลักพื้นฐานของ Maslow มาเป็นความคิด รวบ
ยอดตามลำดับขั้นดังนี้
1. พฤติกรรมของคนจะถูกครอบงำ และกำหนดขึ้นโดยกลุ่มของความต้องการขั้นพื้นฐาน
อันมีอยู่ยังไม่เพียงพอมากที่สุด
2. บุคคลแต่ละคนจะสนองความต้องการต่างๆ ของตนอย่างเป็นระบบเริ่มด้วยความ
ต้องการขั้นพื้นฐานมากที่สุดแล้ว เคลื่อนไปยังขั้นที่สูงขึ้นตามลำดับ
27
3. กลุ่มความต้องการขั้นพื้นฐานที่มีมากกว่านี้ คือ ความเข้มแข็งที่สะสมเอาไว้เพื่อให้คน
ได้มีความต้องการในขั้นที่สูงกว่าขึ้นไปอีก
มธุรส สว่างบำรุง (2542 : 236-250) ได้กล่าวถึง ทฤษฎีความต้องการของ Henry A. Murray
ว่า พฤติกรรมของมนุษย์ถูกจูงใจจากองค์ประกอบของความต้องการ 2 ส่วน ได้แก่ ความต้องการทางส
รีรวิทยา และความต้องการทางด้านสังคม โดยเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนมีความต้องการทางด้านสังคม แต่
ระดับความต้องการของแต่ละบุคคลจะไม่เท่ากัน นอกเหนือไปจากนั้นเหตุการณ์ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นใน
สิ่งแวดล้อมจะมีผลกระทบต่อความต้องการต่างๆ เหล่านี้
4.2 แนวคิดและทฤษฎีแรงจูงใจ
พิสิทธิ์ สารวิจิตร (2523 : 46) ได้ให้ความหมายของแรงจูงใจไว้ว่า หมายถึงการกระตุ้นให้
บุคคลกระทำงาน หรือสิ่งที่ต้องการโดยอาศัยการใช้เครื่องมือลอ่ ภายนอก เชน่ ค่าจ้าง รางวลั ยศ
ตำแหน่ง หรือการกระตุ้นจากภายในโดยอาศัยความต้องการ ความสนใจ และแรงขับของบุคคลเองเป็น
เครื่องกระตุ้น
ถวิล ธาราโภชน์ (2524 : 87) ได้ให้คำจำกัดความของแรงจูงใจว่า หมายถึงพลังที่มีอยู่ในตัว
บุคคลซึ่งพร้อมที่จะกระตุ้น หรือชี้ทางให้อินทรีย์กระทำพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้บรรลุเป้า
หมาย
เดโช สวนานนท์ (2518 : 225) ได้ให้ความหมายของแรงจูงใจว่า หมายถึง แรงผลักดันให้ร่าง
กายกระทำงานเพื่อให้ได้มาซึ่งวัตถุประสงค์
ประพันธ์ สุทธาวาส (2522 : 86) ได้กล่าวถึงแรงจูงใจว่า เป็นสภาวะที่เกี่ยวข้องกับพฤติ
กรรม 3 ทาง คือ
1.สภาวะที่ไปทำให้เกิดพฤติกรรม
2.สภาวะที่ทำให้ยับยั้งพฤติกรรมชนิดใดชนิดหนึ่ง
3.สภาวะที่ทำให้กำหนดแนวทางพฤติกรรมที่จะแสดงออกมา
28
พัชนี วรกวิน (2526 : 93) ได้กล่าวถึงแรงจูงใจซึ่งเป็นองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อพฤติ
กรรมของมนุษย์ มีลักษณะพิเศษ 4 ประการ ดังนี้ คือ
1. พฤติกรรมที่มีแรงจูงใจ เริ่มแรกจะมีแรงขับและก่อให้เกิดการแสวงหาวิธีการลด
แรงขับอันมีเป้าหมาย เมื่อแสดงวิธีการได้ก็สามารถจะลดแรงขับ หรือสนองความต้องการได้
2. แรงจูงใจทำให้เกิดพฤติกรรมที่สามารถเลือกได้
3. พฤติกรรมอาจมีลักษณะว่องไวหรือเฉื่อยชาได้
4. พฤติกรรมที่ไม่ได้รับการตอบสนองความเครียดจะเกิดขึ้น อินทรีย์จะหาทางตอบ
สนองอีกเพื่อลดความเครียดนี้
ดำรงศักดิ์ ชัยสนิท และประสาน หอมมูล (2538 : 69-70) ได้แบ่งแรงจูงใจออกเป็น 2 ประเภท
ได้แก่ แรงจูงใจภายในและแรงจูงใจภายนอก ซึ่งมีองค์ประกอบดังนี้
1. แรงจูงใจภายใน (intrinsic motivation) หมายถึงสภาวะของบุคคลที่มีความต้องการ
จะทำบางสิ่งบางอย่างด้วยจิตใจของตนเอง โดยไม่ต้องใช้สิ่งล่อใดๆ มากระตุ้น แรงจูงใจประเภทนี้มี
คุณค่าต่อการปฏิบัติงานต่างๆ เป็นอย่างยิ่ง แรงจูงใจประเภทนี้ ได้แก่
1.1 ความต้องการ (needs) เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าคนเราทุกคนมี
ความต้องการและความต้องการทำให้เกิดแรงขับ แรงขับทำให้คนเราแสดงพฤติกรรมเพื่อให้บรรลุเป้า
หมายซึ่งจะเกิดผลคือความสบายใจ ความพอใจ เช่น ความต้องการความสำเร็จ ทำให้บุคคลเกิดแรง
จูงใจในการกระทำพฤติกรรมต่างๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งความสำเร็จ
1.2 ความสนใจพิเศษ (special interest) ถ้าผู้ปฏิบัติงานคนใดมีความสนใจ
สิ่งใดเป็นพิเศษจะมีความตั้งใจในการทำงานทำให้งานประสบความสำเร็จได้ในเวลารวดเร็ว
1.3 ทัศนคติหรือเจตคติ (attitude) หมายถึง ความรู้สึกนึกคิดที่บุคคลมีต่อสิ่ง
ใดสิ่งหนึ่งนั้นจัดเป็นแรงจูงใจภายในที่จะกระตุ้นให้บุคคลแสดงพฤติกรรม เช่น ถ้าผู้ปฏิบัติมี ทัศนคติ
ที่ดีต่อหัวหน้างานจะมีผลต่อการทำงานเป็นอย่างยิ่ง
2. แรงจูงใจภายนอก (extrinsic motivation) หมายถึง สภาวะของบุคคลที่ได้รับการ
กระตุ้นจากภายนอกเพื่อนำไปสู่การแสดงพฤติกรรมตามจุดมุ่งหมายของผู้กระตุ้นแรงจูงใจภายนอก
ได้แก่ เป้าหมายหรือการคาดหวังของบุคคล ความก้าวหน้าและเครื่องล่อใจต่างๆ เช่น การชมเชย
การติเตียน การให้รางวัล การประกวด และการแข่งขัน เป็นต้น
29
แรงจูงใจภายในจึงมีคุณค่าดีกว่าแรงจูงใจภายนอก แต่แรงจูงใจภายในปลูกฝังให้เกิดแก่บุคคล
ได้ยากกว่า ดังนั้นการใช้แรงจูงใจในการทำงานมักใช้แรงจูงใจภายนอกเสียก่อนแล้วจึงสร้างให้เกิดแรง
จูงใจภายในภายหลัง
สุภัททา บิณฑะแพทย์ (2532 : 148) ได้กล่าวถึงแรงจูงใจว่าสามารถจำแนกตามธรรมชาติของ
มนุษย์ได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้
1.แรงจูงใจทางสรีรวิทยา เป็นแรงจูงใจเพื่อการมีชีวิตอยู่ซึ่งมีความจำเป็นทางธรรม
ชาติ เช่น ความหิว ความกระหาย การพักผ่อน การปรับอุณหภูมิร่างกาย การขับถ่าย ฯลฯ
2.แรงจูงใจทางจิตวิทยาเป็นแรงจูงใจตามธรรมชาติทางด้านจิตใจของมนุษย์ที่ต้องการ
มีความอยากรู้อยากเห็น ต้องการความรักความเอาใจใส่จากผู้อื่นแรงจูงใจทางสังคม หรือแรงจูงใจที่
เกิดจากการเรียนรู้
3.แรงจูงใจที่เกิดจากประสบการณ์ในอดีตซึ่งเป็นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับกลุ่ม
สังคม การปฏิบัติตนของบุคคลขึ้นอยู่กับแรงจูงใจประเภทต่างๆ
สุชา จันทร์เอม (2543 : 101) ได้กล่าวว่าแรงจูงใจหมายถึงสภาวะที่อินทรีย์ถูกกระตุ้นให้แสดง
พฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อบรรลุสู่จุดหมายปลายทาง (Goal) ที่ตั้งไว้เป็นพฤติกรรมที่สนองความ
ร้องการของมนุษย์ และนำไปสู่จุดหมายปลายทาง พฤติกรรมที่ถูกกระตุ้นโดยแรงขับ (Drive) ของ
แต่ละคนมีแนวโน้มไปสู่จุดหมายปลายทางอย่างใดอย่างหนึ่งและร่างกายอาจจะสมประสงค์ในความ
ปรารถนาอันเกิดจากแรงขับนั้น ๆ ได้
พงษ์พันธ์ พงษ์โสภา (2542 : 137) ได้กล่าวถึงแรงจูงใจว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวโยงถึงความต้องการ
ความปรารถนา แรงกระตุ้นจุดมุ่งหมายและสถานการณ์เฉพาะอย่างที่เกิดขึ้นอยู่กับเรื่องราวสถานการณ์
และตัวบุคคล เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้
พวงเพชร วัชรอยู่ (2537 : 43) ได้กล่าวว่าแรงจูงใจมีจุดมุ่งอยู่ที่สองสิ่งคือความต้องการ (Need)
กับจุดหมายปลายทาง (Goal) ความต้องการหมายถึงการขาดแคลนในบุคคล รวมถึงความบกพร่อง
ต่าง ๆ ความต้องการนี้อาจมีทั้งที่รู้ตัวหรือไม่รู้ตัวหรือความต้องการที่เกิดขึ้นเป็นกระบวนการ เป็นต้น
ว่าความต้องการอาหาร ความต้องการชื่อเสียง ส่วนจุดหมายปลายทางคือผลสุดท้ายที่เกิดขึ้น โดยมี
ภาวะหรือเงื่อนไขเป็นปัจจัยให้เกิด นำไปสู่จุดหมายปลายทาง ซึ่งภาวะเงื่อนไขนี้เองที่ทำให้เกิดพฤติ
กรรมขึ้นนอกจากนี้
30
ประสาน หอมมูล (อ้างถึงในมธุรส สว่างบำรุง 2542 : 217) ได้กล่าวว่า แรงจูงใจเป็นการไม่
อยู่นิ่ง การขาดแคลน ความมีพลัง เมื่อมีการกระตุ้นในครั้งหนึ่ง ๆ ที่จะให้อินทรีย์กระทำบางสิ่งบาง
อย่าง เพื่อที่จะลดความไหยุดนิ่ง และก่อความสมดุลในร่างกายขึ้น และพยอม วงศ์สารศรี (2534 :
210) ให้ความหมายของการจูงใจว่าหมายถึงการนำปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่การทำให้ตื่นตัว (arousal) การ
คาดหวัง (expectancy) การใช้เครื่องล่อ (incentive) และการลงโทษ (punishment) มาเป็นแรงผลักดัน
ให้บุคคลแสดงพฤติกรรมอย่างมีทิศทางเพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายหรือเงื่อนไขที่ต้องการ
ทรงพล ภูมิพัฒน์ (2538 : 99) ได้อธิบายถึงแรงจูงใจว่าเป็นพลังแรงภายในของบุคคล (หรือ
สัตว์) ที่ทำให้คนเรา (หรือสัตว์) เกิดพฤติกรรมและควบคุมแนวทางของพฤติกรรมให้บรรลุจุดหมาย
ส่วนการจูงใจคือกระบวนการชักจูงใจ เร้าใจที่เกิดขึ้นในตัวบุคคล และทำให้อยากทำพฤติกรรมต่าง ๆ
ออกมาตามความปรารถนา
ไพบูลย์ เทวรักษ์ (2537 : 114) ได้กล่าวว่าแรงจูงใหมายถึงองค์ประกอบภายในที่ผลักดันหรือ
กระตุ้นอินทรีย์ให้เกิดพฤติกรรมอย่างมีเป้าหมาย หรือมีทิศทางเพื่อสนองความต้องการของตน แรง
จูงใจนั้นมีท้องพลังและมีเป้าหมายหรือทิศทางมีผู้ใช้คำหลายคำที่บรรยายถึงแรงจูงใจเช่นความต้องการ
แรงขับ แรงผลักดัน ความปรารถนา แต่ที่ใช้กันแพร่หลายคือ แรงขับ (drive)
กันยา สุวรรณแสง (2532 : 104) ได้อธิบายแรงขับและแรงจูงใจว่า แรงขับ (drive) หมายถึง
แรงกระตุ้นให้ทำกิจกรรม ซึ่งเกิดขันภายในตัวคน (push from within) ส่วน “แรงจูงใจ” (motive) เป็น
แรงกระตุ้นให้ทำกิจกรรม ซึ่งเกิดขึ้นภายในตัวคน (push into some relevant direction) เช่นเมื่อเหนื่อย
จะเกิดแรงขับให้พักผ่อนและจะเป็นแรงจูงใจให้อยากนอน
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน  (2535 : 129) และปฐม นคิ มานนท ์ อ้างถึงในถวิล ธาราโรจน์ (2541
: 128) ได้อธิบายว่าแรงจูงใจ (motivation) มาจาก Motivate คือทำให้เคลื่อน (to move) หรือกระตุ้น (to
activate) ให้สภาวะของบุคคล ถูกกระตุ้นให้อินทรีย์เกิดการเคลื่อนไหวและแสดงพฤติกรรมไปยัง
จุดหมายปลายทาง
สุภัททา ปิณฑะแพทย์ (2532 : 143) ได้อธิบายความหมายของแรงจูงใจ (motive) ว่าแรงจูงใจ
หมายถึงแรงผลักดัน ที่ทำให้บุคคลมุ่งที่จะแสดงพฤติกรรม เกิดการเคลื่อนไหวของร่างกายให้ทำ
กิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อตอบสนองความต้องการนั้น แรงจูงใจอาจเกิดจากความต้องการ (need)
31
การตระหนักรู้ (cognitive) และสัญชาตญาณที่มีมาแต่กำเนิด (imnate instinet) และได้กล่าวถึงประเภท
ของแรงจูงใจตามธรรมชาติของมนุษย์ 3 ประเภท ได้แก่แรงจูงใจทางสรีรวิทยา แรงจูงใจทางจิตวิทยา
และแรงจูงใจทางสังคม หรือแรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์ ความต้องการมีสัมพันธไมตรี แรงจูงใจใฝ่อำนาจ
ความต้องการอยู่เหนือผู้อื่น และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ความต้องการความสำเร็จ
ศิริวรรณ เสรีรัตน (อ้างถึงในยงยุทธ เกษสาคร 2541 : 61 –62) ได้ให้ความหมายของแรงจูงใจ
ว่าหมายถึงวิธีการชักนำพฤติกรรมของบุคคลให้ปฏิบัติตามวัตถุประสงค์ ตามความต้องการของมนุษย์
สิ่งจูงใจจะเกิดขึ้นได้จากภายในและภายนอกตัวบุคคล จะเห็นได้ว่าแรงจูงใจเป็นการกระตุ้นให้ปฏิบัติ
ได้ ทำงานด้วยความขยัน มีความการกระตือรือร้นที่จะอุทิศเวลา แรงกาย แรงใจ และสติปัญญาในการ
ปฏิบัติงาน โดยมีความสำนึกในหน้าที่ ความรับผิดชอบควบคู่ไปด้วยเป็นความเต็มใจที่ใช้พลังภายใน
ของตน ปฏิบัติจนงานประสบความสำเร็จตามเป้าหมายโดยความมุ่งหวังที่จะได้รับรางวัลเป็นสิ่งตอบ
แทนและแรงจูงใจเป็นแรงซึ่งควบคุมพฤติกรรมของคนอื่น เกิดจากความต้องการ พลังกดดัน (drive)
หรือความปรารถนา (desires) ที่จะผลักดันให้คนพยายาม วัตถุประสงค์พฤติกรรมของคนถูกำหนดและ
ควบคุมโดยการจูงใจต่าง ๆ แรงจูงใจเหล่านี้ยังมีลักษณะที่แตกต่างกันในแต่ละคนอีกด้วย แรงจูงใจที่
สำคัญต่อพฤติกรรมการบริหารคือความต้องการความรัก ความเอาใจใส่ (affiliative needs) ความ
ต้องการอำนาจ (power needs) และความต้องการความสำเร็จ (achievement needs) นอกจากนั้นแรง
จูงใจว่าเป็นกระบวนการกระตุ้นให้ผู้ปฏิบัติงานปรับปรุง ผลงานให้ดีขึ้น ซึ่งทำให้ได้รับสิ่งตอบแทน
ทางใจ (psyshic income) จากผลงานของตนเพิ่มมากขึ้นด้วย การจูงใจทำให้ปฏิบัติงานทุ่มเทความ
อุตสาหะพยายามอย่างเต็มความสามารถ หากแรงจูงใจน้อยลงความพยายามในการทำงานก็จะลดลง
ด้วย
Lefton (อ้างถึงในมธุรส สว่างบำรุง 2542 : 217-218) ได้ให้ความหมายของแรงจูงใจว่า
เป็นเงื่อนไขอย่างหนึ่งที่เป็นการทำงานภายในอินทรีย์ที่ปรากฎในเบื้องต้นของกิจกรรมต่างๆ หรือเป็น
การดำเนินพฤติกรรมเพื่อไปสู่ทิศทางของเป้าหมาย ด้วยเหตุนี้แรงจูงใจจึงต้องอาศัยองค์ประกอบที่
สำคัญ 4 อย่าง กล่าวคือเงื่อนไขภายใน สิ่งที่สังเกตเห็นได้ จุดเริ่มต้นกิจกรรมต่าง ๆ หรือการดำเนินต่อ
ไปและพฤติกรรมที่มีเป้าหมายใดเป้าหมายหนึ่งโดยเฉพาะ และ Plotnik and Mollenauer ได้กล่าว่าแรง
จูงใจหมายถึงส่วนของการทำงานด้านสรีรวิทยา จิตวิทยาที่ผลักดันและมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของ
บุคคลใน 3 ลักษณะ ที่แตกต่างกันอันได้แก่การเปลี่ยนแปลงของระดับกิจกรรม สิ่งที่กำหนดทิศทาง
พฤติกรรมที่จะไปสู่เป้าหมายโดยเฉพาะ และการตอบสนองมีความสัมพันธ์กับเป้าหมาย ดังนั้นแรงจูง
ใจของบุคคลจึงแสดงถึงการจัดองค์การ ทิศทางรูปแบบของ พฤติกรรม
32
ยงยุทธ เกษสาคร (2541 : 63) ได้กล่าวว่าแรงจูงใจ (motivation) หมายถึงภาวะอินทรีย์ภาย
ในร่างกายของบุคคลถูกระตุ้นจากสิ่งเร้าเรียกว่าสิ่งจูงใจ (motive) ก่อให้เกิดความต้องการอันจะนำไปสู่
แรงขับภายใน (internal drive) ที่จะแสดงพฤติกรรมการทำงานที่มีคุณค่าในทิศทางที่ถูกต้องตรงตาม
เป้าหมายขององค์การ แรงจูงใจึงเป็นการกระทำทุกวีทางที่จะกระตุ้นให้บุคคลในองค์การประพฤติ
ปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ตามเป้าประสงค์ขององค์การ ซึ่งพื้นฐานสำคัญในการกระตุ้นก็ด้วยการสร้าง
อินทรีย์ของบุคคลให้เกิดความต้องการ (drive) ขึ้นก่อนเป็นอันดับแรก จากนั้นบุคคลก็จะเกิดความ
พยายามสืบเสาะแสวงหาสิ่งที่ต้องการนั่นก็คือ การเกิดแรงขับขึ้นภายใน (drives) หากมีสิ่งจูงใจที่
เหมาะสม บุคคลก็จะสนองตอบด้วยการกระทำหรือแสดงพฤติกรรมทุกอย่าง (behavior) ให้ได้มาซึ่ง
ความสำเร็จเป็นเป้าหมายสูงสุด (goals) สามารถอธิบายได้ดังแผนภาพที่ 2
แผนภาพที่ 2 วงจรของแรงจูงใจ (ยงยุทธ เกษสาคร 2541 : 63)
มธุรส สว่างบำรุง (2542 : 236 – 250) ได้กล่าวถึงทฤษฎีเกี่ยวกับแรงจูงใจ ดังนี้
ทฤษฎีสัญชาตญาณ (instinct theory) สัญชาตญาณ (instinct) ไม่สามารถที่จะมองออกเป็น
รูปธรรมได้ชัดเจนในอดีตได้มีการศึกษาในเรื่องสัญชาตญาณ โดยมีความเชื่อว่ามีบางสิ่งบางอย่างที่
ติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่กำเนิด ซึ่งมีนักชาติพันธุ์วิทยาให้แนวคิดเกี่ยวกับสัญชาตญาณว่าเป็นรูปแบบทาง
ด้านพันธุศาสตร์อย่างหนึ่งที่มีผลต่อการปรับตัวของพฤติกรรมมนุษย์ในด้านการอยู่รอดของชีวิตภายใต้
สภาพแวดล้อมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องพร้อมทั้งยังชี้ทิศทางของพฤติกรรมด้วย โดยธรรมชาติแล้วสัญชาต
ญาณจะมีพลบังโดยตัวของมันเอง
ความต้องการ
Need or Desire
แรงขับ
Drive
สิ่งจูงใจ
Motivation
การกระทำ
Behavior
เป้าหมาย
Goals
ทำให้เกิดความพอใจ
(Provides Sattifaction)
เกิดเสริมแรงของความต้องการ
33
ทฤษฎีแรงขับ (drive theory) เป็นทฤษฎีที่มีความก้าวหน้าทางความรู้เกี่ยวกับจิตวิทยา ที่มีการ
พัฒนาความคิดไปสู่ความสนใจในเรื่องความต้องการ (need) ความต้องการนี้เป็นผลมาจากเมื่อร่างกาย
มนุษย์ขาดแคลนสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นระยะเวลานานจึงก่อให้เกิคดวามขาดแคลนขึ้น ความต้องการนี้จะ
กระตุ้นให้เกิดความตึงเครียด ตราบใดที่ร่างกายยังมิได้รับการตอบสนอง จึงก่อให้เกิดแรงขับ (drive)
ซึ่งจะมีบทบาทในการบังคับให้ร่างกายแสวงหาความพึงพอใจในการตอบสนองเมื่อความต้องการได้
รับความพึงพอใจแล้วจะทำให้แรงขับของบุคคลลดลงเป็นเหตุให้แรง จูงใจนั้นใช้ระยะเวลาไม่นาน
ทฤษฎีเครื่องล่อ (incentive theory) สืบเนื่องมากจากทฤษฎีแรงขับ จึงได้เกิดทฤษฎีเครื่องล่อ
ขึ้นมา เพื่ออธิบายถึงพฤติกรรมที่เกิดจากแรงจูงใจมากขึ้น ทั้งนี้มีเหตุผลที่น่าศึกษาว่าแรงจูงใจทั้งหมด
มิใช่จะถูกระตุ้นจากสภาพภายในแต่เพียงพอย่างเดียว สิ่งเร้าภายนอกก็มีส่วนสำคัญที่จะทำให้เกิดแรง
จูงใจได้เช่นกัน สิ่งเร้าภายนอกหรือสถานการณ์ต่าง ๆ ล้วนแต่ส่งผลให้เกิดแรงจูงใจในตัวมนุษย์มาก
สิ่งเร้าภายนอกที่สำคัญแลชะมีอิทธิพลต่อการจูงใจของมนุย์ได้แก่ตัวล่อ หรือเครื่องล่อ (incentive) ที่อยู่
ภายนอกกระตุ้นให้อินทรีย์จูงใจแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ และถ้ามองในทฤษฎีนี้แล้ว จะทำให้เกิดความ
เข้าใจในแรงจูงใจของมนุษย์ยิ่งขึ้นว่า เกิดขึ้นได้ทั้งจากสิ่งเร้าภายในหรือสิ่งเร้า ภายนอกที่ล่อและจูงใจ
ให้บุคคลแสดงพฤติกรรมออกมา
พวงเพชร วัชรอยู่ (2537 : 32) ได้กล่าวถึงแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ คือความต้องการความสำเร็จ
เกี่ยวกับตนเอง มองเห็นมาตรฐานของความเป็นเยี่ยม เป็นเลิศ ตั้งเป้าหมายในการทำงานไว้สูง แต่เป็น
เป้าหมายที่เป็นจริง มีการวางแผนการทำงานล่วงหน้า ต้องการการตอบกลับของผลการกระทำในทันที
และอย่างชัดเจนและมีความรับผิดชอบในสิ่งที่ทำเสมอความต้องการ ความสำเร็จนี้ เป็นความต้องการ
ที่มีความหมาย และมีความสำคัญมากที่สุด ซึ่งจากผลการศึกษาของ David C. Mc Clelland ความ
ต้องการความสำเร็จ (the need to achieve) ซึ่งเป็นความต้องการสิ่งหนึ่งให้ดีขึ้นกว่าที่เคยทำมาก่อนและ
เป็นที่ปรากฎชัดว่าความต้องการความสำเร็จเป็นกุญแจสำคัญอันหนึ่งที่นำไปสู่ความเจริญทาง
เศรษฐกิจ ในขณะที่ พงษ์พันธ์ พงษ์โสภา (2542: 125) และสุภัทรา บิณฑะแพทย์ (2532 : 149) ได้
กล่าวในทำนองเดีวยวกันว่าพวกที่ทำงานโดยมุ่งความสำเร็จในงานนี้เรียกว่า “พวกมุ่งงาน” มีลักษณะที่
มีความห่วงใยถึงความสำเร็จของงาน ทำงานให้ดีที่สุดโดยความมุมานะพยายามมีความรับผิดชอบสูง มี
ความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน
นอกจากนี้ ยงยุทธ เกษสาคร (2541: 67) ได้กล่าวถึงแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (achievable
motivation) ว่าหมายถึงความปรารถนาที่จะบรรลุถึงผลสำเร็จในงานที่ยุ่งยากซับซ้อน ไม่ย่อท้อต่อ
34
อุปสรรค พยายามหาวิธีการต่าง ๆ แก้ปัญหาเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จที่ต้องการ ต้องการชัยชนะในการ
แข่งขัน มุ่งมั่นที่จะทำให้ดีเลิศ ผู้ที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์สูงจะมีพฤติกรรมที่มีความรับผิดชอบ มีความ
เชื่อมั่นในตนเอง ปรับปรุงตนเองให้ดีข้น มีความกระตือรือร้น มีความมานะอดทน และสามารถแก้ไข
ปัญหาและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนทรงพล ภูมิพัฒน์ (2538 : 156-157) ได้กล่าวถึงแรง
จูงใจใฝ่สัมฤทธ ิ์ เป็นแรงจูงใจที่เกิดขึ้นจากการคาดหวังของบุคคลซึ่งอาจจะได้พบหรือมีประสบการณ์
เกิดความประทับใจและพยายามก้าวไปสู่ความสำเร็จนั้น ถ้าการคาดหวังไว้เกิดผลสำเร็จกำลังใจก็จะ
เกิดขึ้น และจะคาดหวังความสำเร็จในครั้งต่อไปสูงขึ้นซึ่งเมอร์เรย์ มีแนวความคิดว่าแรงจูงใจใฝ่
สัมฤทธิ์เป็นความปรารถนาที่จะได้รับผลสำเร็จจากการกระทำกิจกรรมต่าง ๆ เกิดความต้องการที่จะ
ทำงานโดยไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคเพื่อให้บรรลุเป้ามายสูงสุดตามความต้องการและลักษณะของบุคคลที่
มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์
กล่าวโดยสรุป บุคคลทุกคนต้องได้รับการตอบสนองพื้นฐานที่เป็นปัจจัย 4 เป็นเบื้องต้นก่อน
จึงจะกระทำพฤติกรรมตอบสนองความต้องการขั้นอื่น ๆ เป็นลำดับต่อไปในด้านความต้องการของ
มนุษย์นั้นย่อมขึ้นอยู่กับแรงจูงใจซึ่งเป็นสิ่งกระตุ้นให้คนทำงาน ผลงานจะดีมีประสิทธิภาพหรือไม่ขึ้น
อยู่กับปัจจัยภายนอก และปัจจัยภายในหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือความต้องการทางกายและความ
ต้องการทางใจเพราะความต้องการของมนุษย์ไม่มีสิ้นสุด ฉะนั้นความต้องการจึงเป็นแรงผลักดันตาม
ธรรมชาติ จำเป็นต้องได้รับการตอบสนองในระดับที่สมดุลหรือเหมาะสม รวมทั้งเป็นปัจจัยสำคัญ
อย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดแรงจูงใจในการเข้ามีส่วนร่วมงานพัฒนาสังคม
5. แนวคิดเกี่ยวกับปัจจัยที่ทำให้เยาวชนเข้าสู่งานอาสาสมัคร
เยาวชนในกลุ่มอายุ 15 – 25 ปี เป็นกลุ่มที่มีลักษณะทางกายภาพที่เอื้อต่อการทำกิจกรรม
ต่างๆ ประกอบกับเป็นช่วงวัยของการเรียนรู้ การเสริมสร้างบุคลิกภาพ คุณธรรมจริยธรรม เพื่อให้มี
คุณลักษณะที่พึงประสงค์ สามารถพัฒนาตนเอง และสังคมต่อไป เยาวชนแต่ละบุคคลมีความแตก
ต่างกันทั้งคุณลักษณะส่วนบุคคลและสภาพแวดล้อม สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อการนำเยาวชนเข้าสู่งาน
อาสาสมัคร ได้แก่
เพศ เป็นปัจจัยพื้นฐานด้านร่างกายที่แตกต่างกันของบุคคล เป็นสถานภาพที่มีมาแต่กำเนิด
ของบุคคล เมื่อเป็นสมาชิกของกลุ่ม เพศจะเป็นตัวกำหนดบทบาทหน้าที่ของบุคคล ในการปฏิบัติและ
ความรับผิดชอบเฉพาะบุคคลให้แตกต่างกัน (สุพัตรา สุภาพ 2539 : 52)
35
อายุ เยาวชน คือผู้ที่มีอายุไม่เกิน 25 ปี จึงกล่าวได้ว่า เยาวชนเป็นช่วงวัยแห่งที่มีการเปลี่ยน
แปลงตามระยะพัฒนาการร่างกายของมนุษย์ พัฒนาการของเยาวชนจึงมีทั้งพัฒนาการการเจริญเติบโต
ในทางที่เพิ่มทั้งขนาด น้ำหนัก ส่วนสูง รวมทั้งภาวะการเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจด้วย ส่งผลให้เกิดการ
พัฒนาการทางบุคลิกภาพและทางสังคม (สงวน สุทธิเลิศอรุณ 2543 : 38)
ศาสนา ทุกๆ ศาสนาต่างก็สอนให้ศาสนิกชนมุ่งกระทำความดี เพื่อเป็นคนดีของสังคม แต่เน้น
กระบวนการและปรัชญาที่แตกต่างกัน ด้วยเหตุนี้บุคคลที่นับถือลัทธิและศาสนาก็มุ่งเน้นการประกอบ
พฤติกรรมดีทั้งสิ้น (สงวน สุทธิเลิศอรุณ 2543 : 39)
ครอบครัว เป็นจุดเริ่มต้นของมนุษย์ทุกคน เพราะครอบครัวเป็นแหล่งหล่อหลอมลักษณะ
บุคลิกภาพ ความรู้สึกนึกคิด ตลอดจนพฤติกรรมการแสดงออกของบุคคล แม้ว่าในบางช่วงอายุของ
บุคคลจะได้รับอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อมภายนอกครอบครัวบ้างแต่การได้รับการถา่ ยทอดจากครอบครัว
ในเบื้องต้นจะเป็นพื้นฐานในการกำหนดท่าทียอมรับปฏิเสธหรือผสมผสานประสบการณ์ใหม่ได้อย่าง
เหมาะสม (อ้อมเดือน สดมณี 2543 : 16-17)
การศึกษา และสถาบันการศึกษา มีหน้าที่ในการรักษาและถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรม
ส่งเสริมการเรียนรู้ในการเข้าสังคม ผสมผสานความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของสังคม ส่งเสริมการ
พัฒนาของปัจเจกชนให้ใช้ศักยภาพในตัวให้ได้มากที่สุด ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ก้าวหน้าไปในด้านที่ตน
ถนัดและสนใจ และนำการเปลี่ยนแปลงเป็นสถาบันถ่ายทอดทางสังคมให้แก่บุคคลอย่างมีแบบแผน
(อ้อมเดือน สดมณี 2543 : 19)
นอกจากปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อการเข้าสู่งานอาสาสมัครแล้ว ยังมีปัจจัยจากความ
ต้องการและแรงจูงใจที่เกิดขึ้นในแต่ละบุคคลด้วย
6. ทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนาสังคม (Social Development)
6.1 ความหมายของการพัฒนาสังคม
สัญญา สัญญาวิวัฒน์ (2546 : 4) ได้กล่าวถึง การพัฒนาสังคม ดังนี้ การพัฒนาสังคม คือ การ
เปลี่ยนแปลงโครงสร้างสังคมตามแผนของสังคมหนึ่งสังคมใด นั่นคือ การพัฒนาต้องมี การ
36
เปลี่ยนแปลง และเป็นการเปลี่ยนแปลงตามที่ผู้ต้องการเปลี่ยนแปลงกำหนดสิ่งที่จะเปลี่ยนแปลงคือ
โครงสร้างสังคม ซึ่งประกอบด้วยคน ระเบียบสังคมและวัตถุสิ่งของ ทั้งนี้ไม่ว่าคนเหล่านั้นจะเกี่ยวข้อง
กับเศรษฐกิจ การเมือง การศาสนา อนามัย การศึกษา หรือด้านใดๆ ก็รวมอยู่ในความหมายนี้ทั้งสิ้น
สรุปได้ว่า การพัฒนาสังคม เป็นกระบวนการซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในสังคม โดยใช้
นโยบายและการวางแผนสังคมเป็นเครื่องมือในการเปลี่ยนแปลง เพื่อปรับระดับคุณภาพชีวิตของ
ประชาชนได้มีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น ทั้งในด้านอาหาร ที่อยู่อาศัย การศึกษา สุขภาพอนามัย การมีงาน
ทำและรายได้เพียงพอแก่การครองชีพ ตลอดจนให้ประชาชนได้รับความเสมอภาค ยุติธรรมในสังคม
โดยเปิดโอกาสให้เข้ามีส่วนร่วมในการดำเนินงานทุกขั้นตอน
6.2 ทฤษฎีการพัฒนาสังคม
สัญญา สัญญาวิวัฒน์ (2546 : 18-19) ได้กล่าวถึงทฤษฎีศักยภาพการพัฒนาและการแพร่
กระจาย ซึ่งชี้ให้เห็นว่าการพัฒนารวมถึงการพัฒนาสังคมด้วย จะเกิดขึ้นได้ก็โดยมีปัจจัยเหตุ 6 ประการ
นั้นคือ
1. ทรัพยากรธรรมชาติ
2. ทรัพยากรมนุษย์
3. องค์การสังคม
4. ภาวะผู้นำ
5. การติดต่อ
6. การฝึกอบรม
ปัจจัยเหตุเหล่านี้ยิ่งมีมากเพียงใดการพัฒนาสังคมก็จะมีระดับสูงมากยิ่งขึ้นเพียงนั้น
ทฤษฎีการพัฒนา หรือ แนวความคิดในการพัฒนา มิใช่สูตรสำเร็จ (Ready Formula) ที่จะนำ
ไปใช้ได้อย่างกว้างขวางในทุกระบบสังคม ทั้งนี้เพราะกระบวนการพัฒนาเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้อง
กับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และวัฒนธรรม ซึ่งสภาพการณ์ของแต่ละสังคมนั้น
มีเงื่อนไขและรูปแบบทางประวัติศาสตร์ที่แตกต่างกัน ดังนั้น กลวิธีการพัฒนาที่ประสบความสำเร็จใน
สังคมหนึ่งอาจใช้ไม่ได้ผลในอีกสังคมหนึ่งก็ได้
สมพร เทพสิทธา (2535 : 8 ) ได้กล่าวถึงยุทธศาสตร์การพัฒนา ประกอบด้วย
37
1. การพัฒนาคน ครอบครัว ชุมชนและสังคม ให้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
2. พัฒนาสังคมในรูปแบบการสงเคราะห์ต่อกัน โดยใช้หลักธรรมสังคหวัตถุ 4
3. การสร้างจิตสำนึกในการพัฒนาสังคม
4. การผสมผสานในการพัฒนาสังคม ทั้งด้านจิตใจ สังคม และเศรษฐกิจ เน้นที่การพัฒนา
จิตใจเป็นสำคัญ
5. การร่วมมือกันของทุกฝ่าย การส่งเสริมการมีส่วนร่วม บทบาทในการพัฒนาคุณภาพชีวิต
และการพัฒนาสังคมของทุกคนให้มากขึ้น
การพัฒนาสังคม นับเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลง ที่เริ่มตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงทางวัฒน
ธรรม และส่งผลต่อพฤติกรรมของบุคคลส่วนใหญ่ ทั้งนี้อาจเป็นวางเงื่อนไข หรือเป็นการเปลี่ยน
แปลงตามจังหวะและโอกาสที่เป็นไปได้ โดยทุกคนในสังคมต้องมีส่วนร่วมในการพัฒนา และรับผล
ที่เกิดจากการพัฒนาด้วย
เยาวชนอาสาสมัครในงานพัฒนาสังคม จึงมีบทบาทในหลายด้าน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับภูมิหลังของ
เยาวชน ความรู้ความเข้าใจ ค่านิยม ความเชื่อหรือทัศนะ สภาพแวดล้อม หรือช่วงระยะเวลาที่จะเอื้อ
อำนวยต่อการปฏิบัติงานด้านพัฒนาสังคมให้เกิดผลดีที่สุดทั้งนี้เยาวชนอาสาสมัครจะต้องแสดงบท
บาทต่อตนเอง และผู้อื่นด้วยอุดมการณ์ของอาสาสมัครอย่างต่อเนื่องและสั่งสมประสบการณ์ จนผล
งานเป็นที่ปรากฏแก่สังคม และคุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดเลือกและสรรหาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
7. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
งานวิจัยค้นคว้าเกี่ยวกับบทบาทเยาวชนอาสาสมัครในงานพัฒนาสังคม มีผู้วิจัยได้กระทำไว้
เป็นจำนวนมาก ซึ่งสามารถนำมาใช้อ้างอิงเปรียบเทียบและเป็นข้อมูลในการสืบค้นเพิ่มเติมได้ต่อไป
ได้แก่
อภิชาต มั่นศิลป์ (2533 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาภาวะสร้างสรรค์ของสมาชิกกลุ่มเยาวชนเร่งรัด
พัฒนาชนบท (รพช.) ในจังหวัดเชียงใหม่ โดยศึกษาจากสมาชิกกลุ่มเยาวชนเร่งรัดพัฒนาชนบทใน
จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 213 คน ผลการศึกษาพบว่า สมาชิกกลุ่มเยาวชนที่มีอายุเฉลี่ย 20 ปี มากกว่า
ครึ่งหนึ่งเป็นเพศชาย และผู้ให้ข้อมูลเกือบทั้งหมดมีรายได้ที่เกิดขึ้นจากการทำงานของตนเองโดยแหล่ง
รายได้มาจากการขายผลผลิตของตนเอง การรับจ้าง และรายได้อื่น สำหรับจำนวนบุคคลที่อาศัยอยู่ใน
38
ครอบครัวเดียวกันเฉลี่ย 5 คน ส่วนมากสำเร็จการศึกษาภาคบังคับ ระดับประถมปีที่ 6 และมีความมุ่ง
หวังในชีวิตและแรงจูงใจอยู่ในระดับสูง สมาชิกกลุ่มเยาวชนส่วนมากมีระดับความวิตกกังวลใน
กิจกรรมกลุ่มทางบวก คือ รู้สึกห่วงใยในกิจกรรมของตนเอง ส่วนการรับรู้ในกิจกรรมกลุ่มนั้นผู้ให้ข้อ
มูลส่วนใหญ่มีการรับรู้ในทางลบและผู้ให้ข้อมูลทั้งหมดมีการติดต่อกับผู้นำก่อนดำเนินงานกิจกรรม
กลุ่ม สำหรับภาวะสร้างสรรค์ของผู้ให้ข้อมูลนั้นพบว่า ผู้ให้ข้อมูลส่วนมากมีภาวะสร้างสรรค์ใน
ระดับสูง
เอื้ออารี แจ่มผล (2533 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของวัยรุ่นตอนต้น
โดยศึกษาจากนักเรียนวัยรุ่นตอนต้นทั้งชายและหญิงที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในท้องที่
การศึกษา 3 เขตการปกครองพญาไทและบางเขน กรุงเทพมหานคร จำนวน 240 คน ผลการศึกษาพบ
ว่า อิทธิพลของเพื่อนและวิธีการอบรมเลี้ยงดูของครอบครัวมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับระดับความมีคุณ
ภาพชีวิตของวัยรุ่นตอนต้น ส่วนความสัมพันธ์ในครอบครัว อิทธิพลของโรงเรียน และอิทธิพลของ
ชุมชนบริเวณที่อยู่อาศัย ไม่มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับระดับความมีคุณภาพชีวิตของวัยรุ่นตอนต้น
เสาวนีย์ กานต์เดชารักษ์ (2543 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อคุณภาพชีวิต
ของวัยรุ่น โดยศึกษาจากวัยรุ่นที่กำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย และโรงเรียนราชินีบูรณะ
จำนวน 360 คน ผลการศึกษาคือ วัยรุ่นมีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับสูงเป็นส่วนใหญ่ กล่าวคือมีสุขภาพดี
ทั้งร่างกายและจิตใจ มีลักษณะการใฝ่รู้ใฝ่เรียน มีคุณธรรม มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
รักและภูมิใจในความเป็นไทย รู้จักพึ่งตนเอง สำหรับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อคุณภาพชีวิตของวัยรุ่น
มีความสัมพันธ์ทั้ง 3 ปัจจัยคือ ปัจจัยทางครอบครัว ได้แก่ วิธีการอบรมเลี้ยงดูเป็นแบบประชาธิบไตย
ความสัมพันธ์ในครอบครัว อยู่ด้วยกันกับบิดามารดา การสื่อสารในครอบครัวสมาชิกมีการพูดคุย
ปรึกษาหารือกัน และฐานะทางเศรษฐกิจในครอบครัวมีรายได้ 20,000-40,000 บาท/เดือน ปัจจัยด้าน
สังคม ได้แก่ อิทธิพลจากกลุ่มเพื่อน อิทธิพลจากโรงเรียน และอิทธิพลจากสื่อมวลชนและปัจจัยทาง
สภาพแวดล้อม ได้แก่ แหล่งที่อยู่อาศัย เป็นหมู่บ้านจัดสรร
นิเวศ ศรีพุทธา (2541 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาการพัฒนาคุณภาพและบทบาทผู้นำสตรีระดับ
หมู่บ้านเพื่อการพัฒนาชุมชน โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างจากผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และ
สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลของอำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย ผลการศึกษาพบว่า
ลักษณะที่สำคัญที่แสดงถึงการเป็นผู้นำสตรีที่มีคุณภาพ ได้แก่ การเป็นผู้มีความจงรักภักดีต่อสถาบัน
ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ไม่มั่วสุมอบายมุข ซื่อสัตย์สุจริต จริงจังในการทำงาน รับผิดชอบต่อ
39
หน้าที่และเป็นผู้มีสุขภาพจิตดี ส่วนการปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ก่อนกิจกรรมแทรกแซง พบว่า ผู้นำ
สตรีระดับหมู่บ้านได้ปฏิบัติตามบทบาทอยู่ในระดับปานกลาง
สำรอง คำสมหมาย (2541 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาการเพิ่มบทบาทของผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน
เพื่อการพัฒนาชุมชนในจังหวัดหนองบัวลำภู โดยศึกษาจาก ผู้นำอาสาพัฒนาชุมชนจาก 3 อำเภอใน
จังหวัดหนองบัวลำภู จำนวน 57 คน ผลการศึกษาพบว่าการจัดกิจกรรมแทรกแซง ประกอบด้วย การ
ฝึกอบรม การศึกษาดูงาน การส่งเสริมให้ปฏิบัติกิจกรรมพัฒนาชุมชน และการนิเทศติดตามผลจะส่ง
ผลให้เกิดกิจกรรมการพัฒนาที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนอย่างมาก
เกียรติศักดิ์ มูลไธสง (2542 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาการสร้างความเข้มแข็งของคณะกรรมการ
ศูนย์เยาวชนตำบล โดยศึกษาจากคณะกรรมการศูนย์เยาวชนตำบลโคกก่อ อำเภอเมืองมหาสารคาม
จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 32 คน ผลการศึกษาพบว่าคณะกรรมการศูนย์เยาวชนตำบลมีความรู้ความ
เข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตนเอง และได้ปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของตนเอง และสรุปได้ว่าแนวทาง
ในการสร้างความเข้มแข็งของคณะกรรมการศูนย์เยาวชนตำบล โดยการฝึกอบรม ศึกษาดูงาน จัด
กิจกรรมส่งเสริมบทบาทของคณะกรรมการศูนย์เยาวชนตำบล และการนิเทศติดตามผลการปฏิบัติงาน
เป็นแนวทางสร้างความเข้มแข็งให้แก่กรรมการศูนย์เยาวชนตำบล
ภิรมย์ จั่นถาวร (2546 : เอกสารประกอบการสัมมนา) ได้ทำการศึกษาความฉลาดทางอารมณ์
ของเยาวชนร่วมค่าย “เยาวชนสานสัมพันธ์ไทย-มาเลย์” โดยศึกษาจากเยาวชนดีเด่นของสภาสังคม
สงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ผลการศึกษาพบว่า เยาวชนดีเด่นของสภาสังคม
สงเคราะห์ฯ มีความฉลาดทางอารมณ์ทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านดี ด้านเก่ง ด้านสุข อยู่ในเกณฑ์ปกติและสูง
กว่าปกติ
งานวิจัยที่เกี่ยวข้องดังกล่าว สรุปได้ว่า เยาวชนมีความมุ่งหวังในชีวิตและแรงจูงใจอยู่ในระดับ
สูง ต้องการเป็นผู้ที่มีคุณภาพจึงต้องอาศัยปัจจัยต่างๆ ได้แก่ ปัจจัยทางครอบครัว ปัจจัยทางสังคมและ
ปัจจัยทางสภาพแวดล้อม มาส่งเสริมสร้างให้เยาวชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ทั้งยังต้องเสริมสร้างให้
เยาวชนมีบทบาทในการเป็นอาสาสมัครพัฒนาสังคม ด้วยโครงการหรือกิจกรรมต่างๆในงานพัฒนา
สังคม
40
จากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้นสรุปได้ว่า เยาวชน คือผู้ที่มีอายุ
ไม่เกิน 25 ปี เป็นช่วงวัยที่มีการเปลี่ยนแปลง มีพัฒนาการการเจริญเติบโตทางร่างกายและภาวะการ
เปลี่ยนแปลงด้านจิตใจ จะได้รับการปลูกฝังและการถ่ายทอดลักษณะบุคลิกภาพ ความรู้สึกนึกคิด
พฤติกกรรม คุณธรรมและจริยธรรมอันเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต ซึมซับต้นแบบในการปฏิบัติตน
ตามบทบาทหน้าที่ที่พึงกระทำมาจากครอบครัว
นอกจากนี้ยังเป็นช่วงแห่งวัยของการเรียนรู้ ได้รับการถ่ายทอดวิชาความรู้และสั่งสมประสบ
การณ์ในการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ จากสถานศึกษา โดยมีครูอาจารย์เป็นผู้ถ่ายทอดวิชาความรู้เหล่านั้น
ด้วยเหตุนี้ หากเยาวชนได้มีโอกาสได้ทำกิจกรรมต่างๆ โดยการได้รับการมอบหมายหน้าที่ในการทำ
กิจกรรมนั้น พร้อมทั้งได้รับการส่งเสริมบทบาทหน้าที่ของเยาวชนให้พัฒนาบทบาทที่พึงกระทำอันได้
แก่ บทบาทต่อตนเอง บทบาทต่อผู้อื่น บทบาทต่อสังคม บทบาทต่อสถาบันชาติ บทบาทต่อสถาบัน
ศาสนา และบทบาทต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ทำให้เยาวชนได้รับโอกาสในการพัฒนาตนเอง ให้เป็น
บุคคลที่มีคุณภาพ สามารถนำความรู้ความสามารถไปพัฒนาชาติในอนาคตต่อไป
หากเยาวชนผู้ที่สามารถปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายจนสำเร็จลุล่วง หรือได้ทำกิจกรรมที่ตน
เองสนใจในประสบความสำเร็จ จะได้รับการยกย่องชมเชยในการปฏิบัติงาน และได้รับการยกย่อง
เชิดชูเมื่อได้ประสบความสำเร็จในกิจกรรมต่างนั้นๆ สิ่งเหล่านี้จะเป็นการสร้างขวัญกำลังใจและเป็น
แรงจูงใจให้เยาวชนได้เข้าสู่งานอาสาสมัคร คือการทำงานเพื่อประโยชน์ส่วนรวมด้วยความสมัครใจ
โดยไม่หวังผลตอบแทนต่อไปในอนาคต
บทที่ 3
วิธีดำเนินการวิจัย
ในการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ซึ่งเป็นการเก็บรวบรวม
ข้อมูลจากสภาพความเป็นจริง โดยการศึกษาประวัติและผลงาน รวมทั้งการสัมภาษณ์ตลอดจนการ
สังเกตพฤติกรรม จากการเข้าร่วมกิจกรรมหรือโครงการของเยาวชนดีเด่นแห่งชาติ สาขาพัฒนา
เยาวชน บำเพ็ญประโยชน์ อาสาสมัคร สวัสดิการ และประสานงาน ซึ่งคัดเลือกโดยสำนักงาน
คณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ (ส.ย.ช.) และเยาวชนดีเด่นของสภาสังคม
สงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งอายุไม่เกิน 25 ปี ในปี พ.ศ.2546 จำนวน 10
คน เพื่อให้ทราบบทบาทของเยาวชนต่องานพัฒนาสังคม และทราบปัจจัยที่ทำให้เยาวชนเข้าสู่งาน
อาสาสมัครพัฒนาสังคม
การสัมภาษณ์ครั้งนี้ ผู้ศึกษาได้สัมภาษณ์เป็นรายบุคคลอย่างละเอียด ด้วยการเข้าไปศึกษา
แบบเจาะลึก (In-dept Interview) และการสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ (Informal Interview) โดย
ตั้งคำถามไว้ล่วงหน้า เพื่อสะดวกในการจัดเก็บข้อมูล มีการสัมภาษณ์เพื่อเก็บข้อมูล 3 ครั้ง จนปรากฏ
ว่าข้อมูลที่ได้ไม่เปลี่ยนแปลง จึงได้สรุปเป็นผลของการสัมภาษณ์
ประชากร
ประชากรที่ศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ เยาวชนดีเด่นแห่งชาติ สาขาพัฒนาเยาวชน บำเพ็ญประโยชน์
อาสาสมัคร สวัสดิการ และประสานงาน ซึ่งคัดเลือกโดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและ
ประสานงานเยาวชนแห่งชาติ และเยาวชนดีเด่นของสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย
ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งอายุไม่เกิน 25 ปี ในปี พ.ศ.2546
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ (2544 : 9) ได้กล่าวถึง
ความเป็นมาของวันเยาวชนแห่งชาติ ไว้ดังนี้ นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2528 องค์การสหประชาชาติ ได้กำหนด
ให้เป็นปีเยาวชนสากล และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2528 กำหนดให้วันที่ 20
กันยายน ของทุกปี เป็นวันเยาวชนแห่งชาติ เนื่องจากวันดังกล่าวเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของ
พระมหากษัตริย์สองพระองค์ ที่ได้เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติในฐานะยุวกษัตริย์ คือ พระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8
42
หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนจึงได้ยึดถือว่า วันที่ 20 กันยายน เป็นวันสิริมงคลที่เยาวชน
ควรสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของล้นเกล้าล้นกระหม่อม ทั้งสองพระองค์ จึงได้มีการสรรหาและ
คัดเลือกเยาวชนดีเด่นเพื่อเป็นการยกย่องเชิดชูเกียรติและให้รางวัลแก่เยาวชนที่มีความประพฤติดี
มีคุณธรรม และได้บำเพ็ญประโยชน์แก่ผู้อื่นและสังคม โดยในแต่ละปีสำนักงานคณะกรรมการส่ง
เสริมและประสานงาน เยาวชนแห่งชาติ ได้คัดเลือกเยาวชนดีเด่นแห่งชาติ โดยคัดเลือกเยาวชนที่มี
อายุระหว่าง 15-25 ปี จำแนกออกเป็น 10 สาขา และหนึ่งในจำนวนสิบสาขานั้นได้แก่ สาขาพัฒนา
เยาวชน บำเพ็ญประโยชน์ อาสาสมัคร สวัสดิการและประสานงาน โดยมีขอบเขตของสาขา คือ
พฤติกรรม ความสามารถ หรือการสนับสนุนสร้างสรรค์กิจกรรมการพัฒนาเยาวชนในลักษณะต่างๆ
จากการรวบรวมรายชื่อเยาวชนดีเด่นแห่งชาติ สาขาพัฒนาเยาวชน บำเพ็ญประโยชน์ อาสา
สมัคร สวัสดิการและประสานงาน จากหนังสือเยาวชนดีเด่นแห่งชาติและผู้ทำคุณประโยชน์ต่อ
เยาวชน ตั้งแต่ปี พ.ศ.2536 ถึงปี พ.ศ.2545 และได้ดำเนินการคัดเลือกรายชื่อผู้ที่มีอายุไม่เกิน 25 ปี
ในปี พ.ศ.2546 มีจำนวน 32 คน
สำหรับในส่วนของสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ดำเนิน
การคัดเลือกเยาวชนดีเด่นเป็นประจำทุกปี โดยพิจารณาคัดเลือกผู้ที่มีอายุ 15-25 ปี และมีคุณสมบัติ
ตามหลักเกณฑ์การพิจารณาคือ เป็นตัวอย่างที่ดีทางด้านกิริยามารยาท ความประพฤติ และ คุณธรรม
ในด้านต่างๆ เป็นตัวอย่างที่ดีทางด้านความรู้ความสามารถ เป็นผู้ที่มีผลงานด้านการบำเพ็ญตนให้
เป็นประโยชน์ และเป็นตัวอย่างที่ดี เป็นที่ยอมรับและยอย่องเป็นแบบอย่างโดยทั่วไปจากการรวบ
รวมรายชื่อเยาวชนดีเด่นจากหนังสือทำเนียบเด็กดีเด่น สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยฯ
ปี 2533 - 2544 เยาวชนดีเด่นสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยฯ ปี 2530 - 2544 และเอกสาร
ประกอบพิธีมอบโล่ เข็มเกียรติคุณ และทุนการศึกษาแก่เยาวชนดีเด่น สภาสังคมสงเคราะห์ฯ และได้
ดำเนินการคัดเลือกรายชื่อผู้ที่มีอายุไม่เกิน 25 ปี ในปี พ.ศ.2546 มีจำนวน 144 คน รวมทั้งสิ้น
176 คน
กลุ่มตัวอย่าง
การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง เป็นการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sample) (เพญ็ แข
แสงแก้ว 2541 : 62) โดยมีขั้นตอนเป็นลำดับดังต่อไปนี้
1. รวบรวมรายชื่อผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเป็นเยาวชนดีเด่นแห่งชาติ สาขาพัฒนาเยาวชน
บำเพ็ญประโยชน์ อาสาสมัคร สวัสดิการ และประสานงาน จากหนังสือเยาวชนดีเด่นแห่งชาติและ
43
ผู้ทำคุณประโยชน์ให้แก่เยาวชน และมีรายชื่อผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเป็นเยาวชนดีเด่นของสภาสังคม
สงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จากหนังสือทำเนียบเยาวชนดีเด่นของสภาสังคม
สงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในประจำปี พ.ศ. 2536 –2545
การคัดเลือกเยาวชนดีเด่นแห่งชาติ ของ สยช. และเยาวชนดีเด่นของสภาสังคมสงเคราะห์
แห่งประเทศไทยฯ จะคัดเลือกเยาวชนที่มีอายุตั้งแต่ 15 – 25 ปี ดังนั้น เยาวชนจะมีอายุไม่เกิน 25 ปี
ในปี พ.ศ.2546 นั้น จึงต้องเลือกกลุ่มตัวอย่างจากเยาวชนที่ได้รับรางวัลย้อนหลังไป 10 ปี นั่นคือ
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 – 2545
2. คัดเลือกเยาวชนที่มีอายุไม่เกิน 25 ปี ในปี พ.ศ.2546 รวบรวมได้ดังนี้ เยาวชนดีเด่น
แห่งชาติ สาขาพัฒนาเยาวชน บำเพ็ญประโยชน์ อาสาสมัคร สวัสดิการ และประสานงาน มีจำนวน
32 คน และเยาวชนดีเด่นของสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ มีจำนวน
144 คน รวมทั้งสิ้น 176 คน
3. คัดเลือกเยาวชนโดยผู้วิจัยใช้วิจารณญาณและประสบการณ์จากการมีส่วนร่วมในฐานะ
อาสาสมัครสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และการปฏิบัติในฐานะ
กรรมการขององค์การพัฒนาเอกชน มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 รวม 6 ปีเศษ ได้คุ้นเคยกับลักษณะต่างๆ
ของประชากรเป็นอย่างดี จึงตัดสินใจสุ่มตัวอย่างเยาวชนดีเด่นซึ่งมีคุณสมบัติผ่านเกณฑ์การคัดเลือก
ให้เป็นเยาวชนดีเด่นแห่งชาต ิ ซึ่งคัดเลือกโดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาว
ชนแห่งชาติ และสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยกลุ่มตัวอย่างมี
ลักษณะเด่นและมีความสมบูรณ์ในการเป็นตัวแทนประชากรได้เป็นอย่างดี จำนวนทั้งสิ้น 10 คน
กลุ่มตัวอย่างทั้ง 10 คน ได้ดำเนินการคัดเลือกจากเงื่อนไข คือ กลุ่มตัวอย่างเป็นเยาวชนที่
ดำเนินกิจกรรมอาสาสมัครพัฒนาสังคม และสามารถติดต่อเพื่อดำเนินการสัมภาษณ์และเก็บข้อมูลได้
ตลอดช่วงระยะเวลาของการศึกษาวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสัมภาษณ์ ซึ่งได้นำแนวคิด ทฤษฎี และผลงานวิจัยที่
เกี่ยวข้องมาสรุปประเด็นหลักในแบบสัมภาษณ์
แบบสัมภาษณ์ผู้วิจัยกำหนดประเด็นสำคัญของการสัมภาษณ์ดังนี้ คือ
1. ข้อมูลทั่วไปของเยาวชน ได้แก่ อายุและเพศ ระดับการศึกษา ศาสนา และครอบครัว
และ การเข้าสู่งานอาสาสมัครพัฒนาสังคม
2. บทบาทของเยาวชนในด้านต่างๆ ได้แก่ บทบาทต่อตนเอง บทบาทต่อผู้อื่น บทบาท
ต่อสังคม บทบาทต่อสถาบันชาติ บทบาทต่อสถาบันศาสนา และบทบาทต่อสถาบันพระมหากษัตริย์
44
3. การดำเนินงานพัฒนาสังคม ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินโครงการหรือ
กิจกรรม รวมทั้งการรับได้การสนับสนุน
4. แนวคิดและข้อเสนอแนะของเยาวชนต่องานพัฒนาสังคม
(ดูแบบสัมภาษณ์ในภาคผนวก)
การเก็บรวบรวมข้อมูล
ในการศึกษาครั้งนี้ได้เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการศึกษาจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
รวบรวมชื่อของกลุ่มตัวอย่างจากหนังสือประวัติและผลงานเยาวชนดีเด่นแห่งชาติและผู้ทำ
คุณประโยชน์แก่เยาวชน ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ
และหนังสือประวัติและผลงานเยาวชนดีเด่นของสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรม
ราชูปถัมภ์ ดำเนินการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกโดยตรงกับ เยาวชน และสังเกตพฤติกรรมจากการเข้าไป
มีส่วนร่วมในกิจกรรมหรือโครงการที่เยาวชนดำเนินงาน
การวิเคราะห์ข้อมูล
วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาจากประวัติและผลงานของ
เยาวชน จากการสัมภาษณ์โดยใช้สถิติค่าร้อยละ และเสนอผลการวิจัยด้วยการบรรยายเชิงพรรณนา
บทที่ 4
การวิเคราะห์ผลการศึกษา
ผลการศึกษาเรื่อง “บทบาทของเยาวชนดีเด่นอาสาสมัครในงานพัฒนาสังคม” ในครั้งนี้ ได้ทำ
การศึกษาเยาวชนดีเด่นแห่งชาติ สาขาพัฒนาเยาวชน บำเพ็ญประโยชน์ อาสาสมัคร สวัสดิการ และ
ประสานงานซึ่งคัดเลือกโดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ
(ส.ย.ช.) และเยาวชนดีเด่นของสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จำนวน
10 คน โดยมีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาบทบาทของเยาวชนอาสาสมัครในงานพัฒนาสังคม
2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ทำให้เยาวชนทำงานอาสาสมัคร ด้วยวิธีการศึกษาข้อมูลจากประวัติและผลงานของ
เยาวชน สัมภาษณ์โดยใช้แบบสัมภาษณ์ และได้ผลการศึกษาดังนี้
ส่วนที่ 1 ผลการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพรรณนาเป็นรายบุคคล
ส่วนที่ 2 ผลการศึกษาวิเคราะห์ตามลักษณะตัวแปรดังนี้
1. ครอบครัว
2. การศึกษา
3. ความต้องการและแรงจูงใจ
4. บทบาทหน้าที่ในการทำกิจกรรมต่างๆ
ส่วนที่ 1 ผลการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพรรณนาเป็นรายบุคคล
กรณีศึกษาที่ 1
เพศหญิง ปัจจุบันอายุ 24 ปี นับถือศาสนาพุทธ จบการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขา
นิติศาสตร์ จาก มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย คติธรรมประจำใจ จริงจังและจริงใจ เรียนรู้สิ่งใหม่เพื่อการ
พัฒนา เป็นชาวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปัจจุบันอาศัยอยู่กับน้าที่กรุงเทพมหานคร มีพี่น้อง 2 คน
เป็นบุตรคนแรก บิดามารดาประกอบอาชีพค้าขาย ครอบครัวมีฐานะปานกลาง บิดามารดาเป็นผู้ส่งเสีย
ค่าเล่าเรียน ได้รับการคัดเลือกเป็นเยาวชนดีเด่นของสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรม
ราชูปถัมภ์ ปี พ.ศ.2543 และเยาวชนดีเด่นแห่งชาติ ปี พ.ศ.2544
เป็นผู้ที่มีความสนใจในการศึกษาวิชานิติศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง โดยมีผลการศึกษาในระดับดี
ตลอดระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา นอกจากผลการเรียนจะอยู่ในเกณฑ์ดีแล้ว ความประพฤติสามารถที่จะ
46
เป็นแบบอย่างให้กับเยาวชนได้ โดยเป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับในคณะนิติศาสตร์และในมหาวิทยาลัย
รวมทั้งบุคคลทั่วไปว่า เป็นนักศึกษาที่มีอัธยาศัยอันดีงาม เป็นที่รักของบุคคลทั่วไป จนได้รับรางวัล
เยาวชนดีเด่น ของสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ประจำปี 2543 ได้ให้ความสนใจในการทำ
กิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เมื่อครั้งเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา และแม้ว่าภาระทางการศึกษาจะหนัก
ขึ้นแต่ก็มิได้ย่อท้อต่อการทำกิจกรรมต่าง ๆ กิจกรรมที่ให้ความสนใจเป็นเพิเศษในขณะศึกษาใน
มหาวิทยาลัยคือกิจกรรมทางด้านกฎหมาย โดยให้ความสนใจในด้านกฎหมายรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้มี
ความคิดว่าทุกคนจะต้องเคารพต่อรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกฎหมาย สูงสุดของประเทศ และการเลือกตั้ง
จะเป็นการดำเนินการตามวิถีทางประชาธิปไตยอย่างหนึ่งดังนั้นจึงให้ความสนใจการเลือกตั้งเป็นพิเศษ
โดยได้นำความรู้เกี่ยวกับการเลือกตั้งไปเผยแพร่ให้แก่ประชาชนในชนบทในรูปของการออกค่ายอาสา
พัฒนาเผยแพร่ความรู้และสาธิตเกี่ยวกับวิธีการเลือกตั้งเพื่อเป็นแนวทางให้แก่ประชาชนในชนบท
เข้าใจวิธีการเลือกตั้งที่ถูกต้อง
นอกจากจะเป็นผู้สนใจปัญหาเรื่องการเลือกตั้งแล้ว ยังเป็นผู้ที่เห็นความสำคัญของภาษา
อังกฤษ ซึ่งนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มีความสนใจภาษาอังกฤษน้อยมาก ดังนั้น จึงได้ร่วมกับกลุ่ม
เพอื่ นๆ ก่อตั้งชมรม English Club for the Lawyer คณะนิติศาสตร  มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เพอื่
กระตุ้นให้นักศึกษานิติศาสตร์ สนใจวิชาภาษาอังกฤษเพิ่มมาก อันจะเป็นประโยชน์ต่อไปในอนาคต
เป็นการบ่งบอกให้เห็นการมองการณ์ไกลว่าวิชาภาษาอังกฤษ เป็นวิชาที่สำคัญที่ทุกคนจะต้องศึกษา
โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักศึกษานิติศาสตร์
ผลงานที่สำคัญในด้านการปกครอง คุ้มครองสิทธิเด็กและเยาวชน ได้แก่ การจัดสัมมนาหัวข้อ
เรื่อง “ภัยจากสังคม 2001” เพื่อให้ประชาชนทั่วไปทราบและช่วยกันป้องกันภัยอันจะเกิดกับเด็กและ
สตรี
จากมูลเหตุดังกล่าว พอสรุปได้ว่า เป็นผู้ที่ได้รับการปลูกฝังให้ตระหนักในความมั่นคง
ปลอดภัยและยึดมั่น ในการปกครองระบอบประชาธิปไตย มีความสำนึกที่ดี ทำให้มีความคิดสร้าง
สรรค์ ประกอบกับเป็นผู้ที่มีความมุ่งมั่นในการศึกษา และมีความรู้ด้านกฎหมาย จึงสามารถนำความรู้ที่
มีอยู่ไปใช้เป็นเครื่องมือในการช่วยเหลือผู้อื่น โดยเฉพาะชาวชนบท แสดงให้เห็นว่าเป็นผู้ที่มีความคิด
สร้างสรรค์ เสียสละอดทน เมื่อเห็นผู้ด้อยโอกาสจึงมีความคิดที่จะช่วยเหลือ จนได้ชื่อว่าเป็นเยาวชน
ดีเด่นที่ช่วยเหลือสังคมและประเทศชาติ
กรณีศึกษาที่ 2
เพศหญิง อายุ 21 ปี นับถือศาสนาพุทธ กำลังกำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี คณะสังคม
สงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นชาวกรุงเทพมหานคร มีพี่น้อง 2 คน เป็นบุตรคนแรก
บิดามารดาประกอบอาชีพรับราชการ ครอบครัวมีฐานะปานกลาง ได้ค่าเล่าเรียนจากบิดามารดา ได้รับ
47
การคัดเลือกให้เป็นเยาวชนดีเด่นของสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ปี
พ.ศ.2543 และเยาวชนดีเด่นแห่งชาต ิ ป ี พ.ศ.2543
เป็นผู้ที่มีความกตัญญูกตเวทีต่อครอบครัว เชื่อฟังคำสั่งสอนและปฏิบัติตามโอวาทของบิดา
มารดา แบ่งเบาภาระหน้าที่ของครอบครัว รู้จักใช้จ่ายอย่างประหยัด มีน้ำใจช่วยเหลือชุมชน มีความซื่อ
สัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น รางวัลที่ประกาศเกียรติคุณความดี เช่น ได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทนโรงเรียนเข้า
ร่วมกิจกรรมวันสุนทรภู่ โดยเป็นพิธีการและร่วมเล่นละคร ได้รับเกียรติบัตรรางวัลเรียนดี จากสหกรณ์
ออมทรัพย์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ จำกัด ได้รับรางวัล “บัตรเด็กดี” จากการเป็นหัวหน้าห้อง ชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 4 ซึ่งปฏิบัติงานดี เกียรติบัตรรางวัลเยาวชนคนดีมีศีลธรรมตามโครงการ “ห่วงใย…
วัยจ๊าบ” ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ เกียรติบัตรเยาวชนดี
เด่นระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ของโรงเรียนเบญจมราชาลัย เกียรติบัตรผู้มีคุณธรรมด้านความ
ซื่อสัตย์สุจริต ในวันเด็กแห่งชาติ ของโรงเรียนเบญจมราชาลัย เนื่องจากเก็บกระเป๋าสตางค์แล้วนำคืน
เจ้าของ เกียรติบัตรด้านผู้มีความประพฤติดี จากพุทธสมาคมแห่งประเทศไทยฯ ได้รับโล่และเข็ม
เกียรติคุณ รางวัล “เยาวชนดีเด่น” จากสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
ได้รับเกียรติบัตรผู้มีคุณธรรมจริยธรรมดีเด่นจากโรงเรียนเบญจมราชาลัย
นอกจากนยี้ งั ไดร้ บั คดั เลอื กเขา้ รว่ มโครงการตา่ งๆ ที่มีประโยชน ์ เชน่ เขา้ รว่ มโครงการการ
รณรงค์ป้องกันโรคเอดส์ ของกรมสามัญศึกษา โครงการอบรมนักเรียนแกนนำในโรงเรียนสังกัดกรม
สามัญศึกษา เป็นเยาวชนพี่เลี้ยงในการเข้าร่วมค่าย “เด็กดีเด่นสร้างชาติ” ของสภาสังคมสงเคราะห์แห่ง
ประเทศไทย ในพระบรมราชูถัมภ์ และยังได้รับคัดเลือกเข้าร่วมประกวดร้องเพลง ละคร แบบจำลอง
ภาษาฝรั่งเศษ บทสนทนา เรียงความ ฯลฯ
จากมูลเหตุดังกล่าว สรุปได้ว่า เป็นผู้ที่มีความประหยัด รู้จักใช้เงิน มีจิตใจที่ชอบช่วยเหลือ
ผู้อื่น อันเป็นสำนึกที่ดีของเยาวชน รักและเชิดชูวัฒนธรรมไทย ช่วยเหลือสร้างสรรค์กิจกรรมต่างๆ อัน
เป็นการบำเพ็ญประโยชน์ต่อส่วนรวม มีความรู้ความสามารถจนเป็นที่ยอมรับของบุคคลทั่วไป จนได้
รับคัดเลือกเป็นเยาวชนดีเด่นที่เป็นอาสาสมัครพัฒนาสังคม
กรณีศึกษาที่ 3
เพศหญงิ อายุ 19 ป ี นับถือศาสนาพุทธ กำลังศึกษาอยู่ระดับชั้นปริญญาตร ี มหาวิทยาลัยบูรพา
เป็นชาวสมุทรปราการ ปัจจุบันอยู่หอพักนักศึกษาที่จังหวัดชลบุรี เป็นบุตรคนเดียว บิดามารดามีอาชีพ
รับจ้างในวังกุ้งที่จังหวัดสมุทรปราการ ครอบครัวมีฐานะปานกลาง ค่าเล่าเรียนได้จากการกู้ยืมกองทุน
เพื่อการศึกษาของรัฐบาล ได้รับการคัดเลือกเป็นเยาวชนดีเด่นของสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศ
ไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ปี พ.ศ.2544
48
เป็นผู้ที่มีความกตัญญูต่อบุพการี เคารพและเชื่อฟังในคำสั่งสอนของบิดามารดาตลอดจนครู
อาจารย์ นอกจากนี้ยังช่วยแบ่งเบาภาระทางบ้านโดยช่วยทำงานบ้านต่างๆ และหารายได้พิเศษเพื่อที่จะ
นำเงินมาช่วยเหลือครอบครัวและค่าอุปกรณ์การเรียน จากการเย็บจาก เรียงผ้า และนำพืชผักสวนครัว
ไปขาย เป็นผู้ที่มีความมานะต่อสู้ ขยัน วิริยะอุตสาหะในการเล่าเรียนหนังสือ และการทำงานต่างๆ
นอกจากนี้ยังเป็นผู้มีความซื่อสัตย์ มีจิตใจที่ดีงาม เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อเพื่อนฝูงและน้องๆ เก็บเงินของผู้อื่น
ได้ไม่นำมาเป็นของตนเอง นำส่งคืนเจ้าของ นอกจากนี้ยังเป็นผู้ที่ได้บริจาคโลหิตเพื่อเพื่อนมนุษย์ และ
ยังใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์มากที่สุดอีกด้วย
มีความขยันหมั่นเพียรในการศึกษาจนได้รับการเชิดชูเกียรติว่าเป็นผู้ที่มีผลการเรียนดีเด่นตั้ง
แต่ประถมถึงมัธยม มีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมายจนเป็นที่ไว้วางใจจากเพื่อนๆ และ
ผู้บังคับบัญชา ได้รับการเลือกตั้งให้ทำหน้าที่เป็นที่ประธานคณะกรรมการนักเรียน ทุ่มเทกำลังกาย
กำลังใจ กำลังสติปัญญาที่จะกระทำภาระหน้าที่ที่ได้รับด้วยความเต็มใจ เต็มเวลาและตามกำลังความ
สามารถ ได้รับรางวัลชนะเลิศการแข่งขันบรรยายธรรมะ สอบผ่านการคัดเลือกให้เป็นตัวแทนนักเรียน
ไปร่วมแข่งขันตอบปัญหารัฐสภา ได้รับรางวัลจากประกวดเรียงความเป็นจำนวนมาก ได้รับรางวัล
ยอดนักอ่าน รางวัลชนะเลิศยอดเยี่ยมการแข่งขันโต้วาที ของระดับอำเภอ นอกจากนี้ยังได้เป็นพิธีกร
และวิทยากรบรรยายประวัติความเป็นมาขององค์พระสมุทรเจดีย์ ยังเป็นผู้นำการฝึกซ้อมกองเชียร์และ
พาเหรดของคณะป้อมพระจุลจอมเกล้าจนได้รับรางวัลชนะเลิศ
ผลงานในการบำเพ็ญประโยชน์ ในฐานะประธานกรรมการนักเรียนได้ช่วยเหลือกิจกรรม
ต่างๆ ภายในโรงเรียน เช่น เป็นสมาชิกผู้นำเยาวชนสาธารณสุขในโรงเรียน โครงการพี่สอนน้อง
โครงการปันน้ำใจเพื่อเด็กไทย ร่วมกิจกรรมวันสำคัญทางพุทธศาสนาต่างๆ เป็นผู้นำอาสาสมัคร
รณรงค์ต่อต้านยาเสพติด ร่วมกิจกรรมวันปลูกต้นไม้แห่งชาติ และร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นประโยชน์
ต่อส่วนรวมทั้งในและนอกโรงเรียน จนได้รับเกียรติบัตรผู้มีความประพฤติและบำเพ็ญประโยชน์ต่อ
สังคม
จากมูลเหตุดังกล่าว สรุปได้ว่า เป็นผู้ที่มีความใฝ่รู้ มีความรับผิดชอบ และเป็นผู้ยึดมั่นในพระ
พุทธศาสนา จึงส่งผลให้เป็นผู้ที่มีจิตสำนึกที่ดี มีลักษณะความเป็นผู้นำ นอกจากนี้ยังเป็นผู้ที่มีจิตใจดี
และสามารถถ่ายทอดออกมาเป็นเรียงความในหัวข้อต่างๆ จนได้รับรางวัลในระดับชาติหลายรางวัล
ส่วนตัวบทบาทหน้าที่ที่มีต่อสังคม ได้ทำโครงการต่างๆ เพื่อช่วยเหลือสังคม และเยาวชนที่ด้อยโอกาส
จากความดีต่างๆ จึงได้รับคัดเลือกเป็นเยาวชนดีเด่นอาสาสมัคร
กรณีศึกษาที่ 4
เพศชาย อายุ 24 ปี นับถือศาสนาพุทธ กำลังศึกษาอยู่ระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยราม
คำแหง เป็นชาวกรุงเทพมหานคร เป็นบุตรคนเดียว บิดามารดาประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว ครอบครัว
49
มีฐานะปานกลาง ได้เงินค่าเล่าเรียนจากบิดา และมีรายได้พิเศษจากการเป็นพิธีกร ได้รับการคัดเลือก
เป็นเยาวชนดีเด่นแห่งชาติ ปี พ.ศ.2543
เป็นผู้ที่มีความประพฤติเรียบร้อย มีมนุษยสัมพันธ์ดี มีความเสียสละเพื่อส่วนรวม ไม่ยุ่งเกี่ยว
กับอบายมุขทั้งหลาย ตั้งใจเรียน ช่วยเหลือกิจกรรมต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษาอยู่เสมอ
มีความเป็นผู้นำ กล้าแสดงออก โดยมีโครงการและกิจกรรมดังนี้
ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาคณะกรรมการนักเรียน และคณะกรรมการกลุ่ม เป็นประธานโครง
การพลังสร้างสรรค์สัมพันธ์เยาวชน ในโครงการรักใจคุณ จัดกิจกรรมสอนพิเศษ ให้เพื่อนในช่วง
ปิดเทอมมาโดยตลอด ได้รับคัดเลือกเขา้ รว่ มโครงการมติ รภาพสำหรบั ศตวรรษที่ 21 ณ ประเทศญี่ปุ่น
ได้รับเกียรติบัตร ผ่านการอบรมอาสาสมัครการให้บริการปรึกษาและเผยแพร่ความรู้สุขภาพจิต ได้เข้า
ร่วมจัดกิจกรรมวันสิ่งแวดล้อมโลก เข้าร่วมประชุมวางแผนงานกาชาดโลก เป็นคณะทำงานโครงการ
ผ้าป่าช่วยชาติ ได้รับคัดเลือกเป็นเยาวชนดีเด่นของทบวงมหาวิทยาลัย ได้รับเกียรติบัตรและเข็ม
ความประพฤติดีโดยพุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้รับคัดเลือกให้ดำรง
ตำแหน่งนายกสโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยเกริก ได้รับการคัดเลือกจากตัวแทนทั่วประเทศในการ
เลือกกุลบุตร-กุลธิดากาชาด เพื่อปฏิบัติภารกิจช่วยงานกาชาดตลอดปี
จากมูลเหตุดังกล่าว สรุปได้ว่า เป็นผู้ที่มีน้ำใจ มีแรงจูงใจที่เกิดจากการที่เห็นบิดาช่วยเหลือ
ผู้อื่นมาตั้งแต่เด็ก จึงซึมซับการทำความดีมาจากบิดา และนำมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติต่อผู้อื่น
อีกทั้งเป็นผู้ที่เรียนดีมีการศึกษาสูง มีภาวะผู้นำ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สามารถเข้าร่วมโครงการใน
ระดับโลกได้ จนได้รับรางวัล เยาวชนดีเด่นของทบวงมหาวิทยาลัย และเยาวชนดีเด่นแห่งชาติ จึงเป็น
เหตุจูงใจให้เข้าสู่การเป็นอาสาสมัครพัฒนาสังคม
กรณีศึกษาที่ 5
เพศหญิง อายุ 22 ปี นับถือศาสนาพุทธ กำลังศึกษาอยู่ที่คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัย
กรุงเทพ เป็นชาวกรุงเทพมหานคร เป็นบุตรคนเดียวของครอบครัว บิดามีอาชีพรับจ้าง ส่วนมารดาเป็น
แม่บ้าน ครอบครัวมีฐานะปานกลาง บิดามารดาเป็นผู้ส่งเสียค่าเล่าเรียน ได้รับการคัดเลือกเป็น
เยาวชนดีเด่นของสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ปี พ.ศ.2544
เป็นผู้ที่มีความกตัญญูกตเวที เป็นเด็กดี เชื่อฟังคำสั่งสอนของบิดามารดาและครูอาจารย์เป็น
อย่างดี มีความซื่อสัตย์สุจริต มีความเมตตากรุณาและเอื้ออาทร เป็นผู้ที่มีระเบียบวินัยในตนเอง มีความ
ขยันหมั่นเพียรดีเลิศ และมีความเสียสละ มุมานะ อดทน และมุ่งมั่นเอาจริงเอาจัง จะเห็นได้จากใน
ระยะหลายปีที่ผ่านมา ได้ฝึกซ้อมกีฬาเป็นประจำ เป็นผู้มีน้ำใจเป็นนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย และรู้
จักเคารพกฎกติกาของสังคม มีมนุษยสัมพันธ์ดี สุขภาพกายแข็งแรง และสุขภาพจิตเข้มแข็ง ห่างไกล
ยาเสพติด ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ โดยการใช้การกีฬาเป็นสื่อพัฒนาศักยภาพของตนเองและสังคม
50
มีความเป็นอยู่เรียบง่าย นิสัยอ่อนโยน มีความจริงใจ เป็นที่รักของครอบครัว ญาติพี่น้อง ครูอาจารย์
เพื่อนฝูง และคนทั่วไป
ความรู้ความสามารถ เป็นผู้ที่มีความสามารถทางด้านการเรียนและกีฬา นอกจากเป็นนักกีฬา
ว่ายน้ำทีมชาติที่มีชื่อเสียงแล้ว ยังเป็นผู้ที่มีผลการเรียนอยู่ในระดับดีด้วย ติดทีมชาติครั้งแรกเมื่อปี
พ.ศ.2541 ติดทีมชาติชุดโอลิมปิก เมื่อปี พ.ศ.2544 ได้รับรางวัลนักกีฬายอดเยี่ยมหญิง จากการ
แข่งขันกีฬาแห่งชาติเกาะแก้วเกมส์ที่จังหวัดระยอง และรางวัลนักกีฬายอดเยี่ยมจากการแข่งขันกีฬา
แห่งชาติ มหานครเกมส์ที่กรุงเทพฯ
ผลงานในการบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ เป็นผู้ที่มีความจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา
และพระมหากษัตริย์ อย่างเสมอมา และได้ติดทีมชาติเข้าร่วมแข่งขันกีฬาว่ายน้ำในรายการสำคัญๆ
หลายรายการ และนำชื่อเสียงมาสู่ตนเอง วงศ์ตระกูล มหาวิทยาลัย สังคม และประเทศชาติ นับเป็น
ความภูมิใจของบิดามารดา ญาติพี่น้อง เพื่อนฝูง และครูอาจารย์เป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้ยังเป็นผู้นำ
เยาวชนให้สนใจการเล่นกีฬา ใส่ใจสุขภาพ และแนะนำวิธีการเล่นกีฬาอย่างถูกต้องตามกฎกติกา
จากมูลเหตุดังกล่าว สรุปได้ว่า เป็นผู้มีความกตัญญู จากการที่เป็นเด็กดี รักและเชื่อฟังคำสอน
ของบิดามารดา และเป็นผู้มีระเบียบวินัย เมื่อได้รับการสนับสนุนให้เล่นกีฬา ก็เป็นนักกีฬาที่ดี
ทำชื่อเสียงให้กับประเทศชาติ และสามารถใช้กีฬาเป็นสื่อกลางในการทำกิจกรรมช่วยเหลือผู้อื่น และ
ผู้ด้อยโอกาส จากการช่วยเหลือผู้อื่นมาเสมอจึงได้นำไปสู่กระบวนการอาสาสมัครพัฒนาสังคม
กรณีศึกษาที่ 6
เพศหญิง อายุ 22 ปี นับถือศาสนาพุทธ กำลังศึกษาระดับปริญญาโท คณะอักษรศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นชาวกรุงเทพมหานคร มีพี่น้อง 2 คน เป็นบุตรคนแรก บิดามารดา
ประกอบอาชีพค้าขาย ครอบครัวมีฐานะปานกลาง ได้ค่าเล่าเรียนจากการได้รับทุนการศึกษา และมีราย
ได้จากการสอนพิเศษ ได้รับการคัดเลือกเป็นเยาวชนดีเด่นของสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย
ในพระบรมราชูปถัมภ์ ปี พ.ศ.2544 และเยาวชนดีเด่นแห่งชาติ ปี พ.ศ.2545
เป็นผู้ที่มีความกตัญญูกตเวที มีสัมมาคารวะ เคารพเชื่อฟังบิดา มารดา ครู อาจารย์ ช่วยกิจการ
ของครอบครัวทั้งที่โรงงานและบริษัท โดยช่วยบิดา มารดาขายสินค้าอยู่เป็นประจำ ส่วนที่คณะอักษร
ศาสตร์ ก็ยังได้ช่วยเหลืองานต่าง ๆ ของภาควิชา และของอาจารย์อย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ยังเป็นผู้มี
ความซื่อสัตย์สุจริตในทุกกิจกรรมที่เข้าร่วม และยังได้เป็นผู้นำให้เพื่อนและรุ่นน้องทำกิจกรรมด้วย
ความสุจริตและโปร่งใส มีความรับผิดชอบสูงยิ่งในด้านการเงิน ทั้งในกิจการของครอบครัว และ
สถานศึกษา เป็นผู้มีความเมตตากรุณา เอื้ออาทร มีความขยันหมั่นเพียร สามารถจัดแบ่งเวลาในการ
ศึกษาและเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งของคณะ และการประกวดแข่งขันต่าง ๆ และทำทุกสิ่งได้อย่าง
เป็นผลดี จึงเป็นบทพิสูจน์ให้เห็นได้ว่า เป็นผู้มีความขยันหมั่นเพียร และมีความพยายามสูง
51
ความรู้ความสามารถ เป็นผู้มีความพยายามยอดเยี่ยมในด้านการศึกษา ประสบความสำเร็จ
ได้รับรางวัลจากการเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1 ทั้งในด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาไทย และ
ภาษาต่างประเทศ เมื่อจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายก็ได้มีความสามารถยอดเยี่ยมในด้านภาษาไทย
จนได้รับคัดเลือกให้ได้ทุนโครงการช้างเผือกและวรรณคดีไทย ให้เข้าศึกษาต่อในคณะศึกษาศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปัจจุบันมีระดับคะแนนเฉลี่ย 3.5 และค่อนข้างแน่นอนว่าจะได้รับเกียรตินิยม
เมื่อสำเร็จการศึกษา ชอบเล่นกีฬามาตั้งแต่เยาว์วัย และได้เข้าร่วมแข่งขันกีฬาของโรงเรียนมาโดยตลอด
กีฬาที่ถนัดคือบาสเกตบอล เมื่อเข้าศึกษาในคณะศึกษาศาสตร์ เป็นตัวแทนของคณะเข้าร่วมแข่งขันกีฬา
ในระดับมหาวิทยาลัยหลายครั้ง และดำรงตำแหน่งประธานฝ่ายกีฬา คณะกรรมการนิสิตคณะอักษร
ศาสตร์ เมื่อ พ.ศ. 2542 เป็นผู้มีความสามารถในการพูดอย่างรอบด้าน ทั้งการพูดแบบใช้ปฏิภาณ เช่น
การโต้วาที ยอวาที เล่านิทาน ฯลฯ ได้เข้าร่วมกิจกรรมที่แสดงความสามารถในการพูด ได้รับรางวัล
เกี่ยวกับการพูดจำนวนมาก รางวัลสำคัญล่าสุดคือรางวัลจากการประกวดสุนทรพจน์อุดมศึกษาเรื่อง
ตามรอยพระยุคลบาท ช่วยกู้ชาติได้อย่างไร” เริ่มฝึกหัดดนตรีมาตั้งแต่ชั้นประถมจึงสามารถเล่นดนตรี
ได้หลายชนิด ทั้งไทย จีน และสากล เคยเป็นสมาชิกวงดุริยางค์เยาวชน และปัจจุบันเป็นผู้บรรเลง Alto
Saxophone ของวงดนตรีสากลแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีความสนใจและถนัดในด้านศิลปการ
แสดง โดยเฉพาะอย่างยิ่งศิลปะพื้นบ้านของไทย เชี่ยวชาญในการเล่นลำตัด และเพลงพื้นบ้านไทย
หลายชนิด เคยได้รับรางวัลที่หนึ่ง ในการประชันสักวาในงานวันสุนทรภู่ นอกจากนี้ยังมีความ
สามารถในการแสดงละคร โดยเฉพาะละครพูดพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 6 เคยได้รับทุนนาฎศิลป์และ
การละคร จากมูลนิธิมหาวชิราวุธานุสรณ์ มีความเป็นผู้นำจึงได้เป็นกรรมการนักเรียนของโรงเรียน
สตรีวิทยาลัยหลายสมัย และเป็นรองประธานชมรมศิลปะการพูด ในปัจจุบันเป็นผู้แทนนิสิตคณะ
อักษรศาสตร์ มีความสามารถสูงยิ่งในด้านการประพันธ์ ได้รับรางวัลมากมายจากการประกวดทั้งร้อย
แก้วและร้อยกรอง
ผลงานในการบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ เป็นผู้บำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ
โดยเฉพาะในด้านการปกครอง โดยแสดงออกมาในรูปการสร้างสรรค์ เข้าร่วมกิจกรรมทางพระพุทธ
ศาสนาอย่างสม่ำเสมอ เช่น กิจกรรมฝึกสมาธิของวัดบวรนิเวศ สอบฝ่ายธรรมศึกษาตรี ที่วัดมหาธาตุ
และได้รับยกย่องให้เป็นเยาวชนดีเด่นของกรมการศาสนา นอกจากนี้ยังได้บำเพ็ญประโยชน์เพื่อเชิดชู
สถาบันพระมหากษัตริย์ เช่น การประกวดศิลปะการพูดเรื่องในหลวงของเรา และความปรารถนาของ
ข้าพเจ้า และยังได้เข้าร่วมกิจกรรม เป็นการบำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคมมาโดยตลอด เช่น เข้าร่วม
โครงการอ่านหนังสือให้คนตาบอด เป็นกรรมการฝ่ายพัฒนาสังคมและบำเพ็ญประโยชน์ของคณะ
อักษรศาสตร์ นำเพื่อนนิสิตไปเยี่ยมบ้านเด็กและคนชราอยู่เป็นประจำ
จากมูลเหตุดังกล่าวสรุปได้ว่า เป็นผู้ที่มีการศึกษาดี มีน้ำใจ มีความประพฤติดี บำเพ็ญ
ประโยชน์ต่อสังคม และยังเป็นผู้ที่มีจิตใจรักศิลปะและวัฒนธรรมพื้นบ้านของไทย จนได้รับรางวัล
52
และได้รับทุนนาฎศิลป์และละครจากมูลนิธิมหาวชิราวุธานุสรณ์ จากการที่เป็นผู้ที่เชื่อฟังอาจารย์และ
ปฏิบัติตามคำสอนอยู่เสมอ และมีความประทับใจในบทบาทของอาจารย์ที่ให้ความช่วยเหลือผู้อื่นจึงยึด
อาจารย์เป็นต้นแบบในการประพฤติดี จนได้รับความสำเร็จและได้รับคัดเลือกเป็นเยาวชนดีเด่น และยัง
ยึดถือเป็นแนวทางในการทำงานอาสาสมัครพัฒนาสังคม
กรณีศึกษาที่ 7
เพศชาย อายุ 24 ปี นับถือศาสนาพุทธ จบการศึกษาปริญญาตรี จากสถาบันเทคโนโลยี
พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เป็นชาวจังหวัดกาฬสินธุ์ มีพี่น้อง 3 คน เป็นบุตรคนแรก บิดา
มารดา มีอาชีพเกษตรกรรม มีฐานะยากจน ได้ค่าเล่าเรียนจากการส่งเสียของบิดามารดาและการหา
รายได้พิเศษ ได้รับการคัดเลือกเป็นเยาวชนดีเด่นของสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ใน
พระบรมราชูปถัมภ์ ปี พ.ศ.2541 และเยาวชนดีเด่นแห่งชาติ สาขาพัฒนาเยาวชน บำเพ็ญประโยชน์
อาสาสมัคร สวัสดิการ และประสานงาน ปี พ.ศ.2543
เป็นผู้ที่มีคติประจำใจ “ครองชีพอยู่ด้วยจิตใจ ใฝ่สร้างสรรค์ สู่เส้นทาง คุณความดีที่เลิศผล
หมั่นศึกษา พัฒนาใจ พร้อมกายตน พัฒนาชน ก้าวหน้า สถาพร” แนวทางในการดำเนินชีวิต “ยึดมั่น
ถึงความถูกต้องและยุติธรรม หลักของประชาธิปไตยในการดำเนินชีวิต” เป็นเยาวชนมีความรับผิดชอบ
ปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ประสบความสำเร็จเป็นที่ภาคภูมิใจของเพื่อน ๆ ครูอาจารย์ ผู้บริหาร
สถานศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมาชิกองค์การวิชาชีพ หน่วยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้รับรางวัล
และชื่อเสียงจากกิจกรรมต่าง ๆ คือ ปีพ.ศ.2541 ได้รับรางวัลพระราชทานรางวัลชมเชยอันดับหนึ่ง
ระดับมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ จัดโดยกระทรวงศึกษาธิการ เยาวชนดีเด่นจากสภาสังคมสงเคราะห์แห่ง
ประเทศไทย เยาวชนหนึ่งในสี่ของกรมอาชีวศึกษา เข้าร่วมโครงการถ่ายทอดความรู้จากนักวิชาการที่
อยู่ต่างประเทศ เพื่อสร้างเครือข่ายพัฒนาเยาวชนไทย พร้อมสู่เวทีเอเปคในศตวรรษที่ 21 เยาวชนดีเด่น
จังหวัดมหาสารคาม จากพุทธิกะสมาคม จังหวัดมหาสารคาม นักกิจกรรมดีเด่น จากมูลนิธิทองใบ
ทองเปาด์ ได้รับคัดเลือกเข้าโครงการถ่ายทอดความรู้จากนักวิชาการไทยที่อยู่ต่างประเทศเพื่อสร้าง
เครือข่ายเยาวชนพร้อมสู่เวทีเอเปคในทศวรรษที่ 21 ปี 2543 นายกองค์การช่างเทคนิคในอนาคตแห่ง
ประเทศไทย ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นายกองค์การช่างเทคนิคแห่งประเทศไทย หน่วยวิทยาลัย
เทคนิคมหาสารคาม เป็นผู้ประสานงานโครงการต่างๆ และเป็นวิทยากรในการอบรมโครงการต่าง ๆ
ทั้งในและนอกสถานศึกษา หรือหน่วยงานต่างๆ เป็นประจำ
จากมูลเหตุดังกล่าว สรุปได้ว่า เป็นผู้มีความมานะพยายาม เป็นผู้ที่ใฝ่ดีและฐานะยากจน แต่ก็มี
ความคิดในการพึ่งตนเอง และมีความคิดสร้างสรรค์ จากเห็นประโยชน์ในการช่วยเหลือผู้อื่นและเสีย
สละเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ในการช่วยเหลือผู้อื่นจนได้รับรางวัลนักกิจกรรมดีเด่น
53
กรณีศึกษาที่ 8
เพศชาย อายุ 22 ปี นับถือศาสนาพุทธ กำลังศึกษาอยู่ระดับปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตร์
และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม เอกปิโตรเคมีและวัสดุโพลิเมอร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสนาม
จันทร์ เป็นชาวจังหวัดชุมพร มีพี่น้อง 4 คน เป็นบุตรคนแรก บิดามารดาประกอบอาชีพค้าขายและทำ
ธุรกิจส่วนตัว ครอบครัวมีฐานะปานกลาง ได้ค่าเล่าเรียนจากการได้รับทุนการศึกษา ได้รับการคัดเลือก
เป็นเยาวชนดีเด่น สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ปี พ.ศ.2544
เป็นผู้ที่มีความประพฤติเรียบร้อย เป็นบุตรที่มีความกตัญญูกตเวทีต่อบิดา มารดา และ
ครอบครัว เนื่องจากเป็นบุตรคนโตของครอบครัว อีกทั้งครอบครัวประกอบอาชีพค้าขายที่จังหวัด
ชุมพร ต้องมาศึกษาเล่าเรียนที่กรุงเทพมหานคร พร้อมทั้งดูแลน้องด้วย และเมื่อว่างจากการศึกษาหรือ
ปิดภาคเรียน จะกลับไปช่วยค้าขายกับครอบครัวสม่ำเสมอ มีความซื่อสัตย์สุจริต จนได้รับความไว้วาง
ใจจากบิดามารดา อาจารย์และเพื่อน ๆ อีกทั้งเป็นผู้รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ รู้จักแบ่งเวลาด้าน
การศึกษาและกิจกรรม เพื่อสังคมอย่างเป็นระเบียบ มีผลในการเรียนอยู่ในเกณฑ์ดีและยังเป็นผู้มีความ
เมตตากรุณา เอื้ออาทรต่อเพื่อนมนุษย์และสัตว์ เวลาพบคนตกทุกข์ได้ยาก เช่น คนกระเป๋าสตางค์หาย
ก็ได้สละเงินตนเองเพื่อเป็นค่าพาหนะให้กลับบ้าน เมื่อพบสัตว์ที่บาดเจ็บ ได้ช่วยพาไปส่งที่ร้าน
สัตวแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจนสุดความสามารถ จากพฤติกรรมที่ทำความดีต่อเนื่องมาตลอด
เวลา 15 ปี จึงได้รับการยกย่องจากพุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ให้เป็น
นักศึกษามีความประพฤติดีงามและรับการยกย่องจากคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาห
กรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสนามจันทร์ ว่าเป็นผู้ที่สร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัยและคณะ
และได้รับการยกย่องจากคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ ว่าเป็นผู้กระทำ
กิจกรรมดีเด่นด้านความคิดริเริ่ม
ความรู้ความสามารถ เป็นผู้มีความขยันหมั่นเพียรทางการศึกษา มีระดับผลการเรียนยอดเยี่ยม
ได้รับมอบหมายให้ได้รับตำแหน่งและหน้าที่ต่าง ๆ เช่น เป็นประธานฝ่ายวิชาการของชมรมกลุ่ม
ปิยมิตร เป็นประธานฝ่ายวิชาการคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ได้สละเวลาส่วน
ตัวเพื่อปฏิบัติหน้าที่พัฒนาเยาวชนในด้านต่าง ๆ เช่น สิ่งแวดล้อม ส่งเสริมประชาธิปไตย ต่อต้าน
ยาเสพติด พัฒนาความเป็นผู้นำชุมชน รักษาวัฒนธรรมไทย เช่น อาสาสมัครโครงการ ราษฎร์รัฐต้าน
ภัยยาเสพติด สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ เป็นอาสาสมัคร
พิทักษ์สิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม มีความคิดสร้างสรรค์ เป็นผู้มีความสามารถด้าน
การสื่อความหมายโดยใช้ทักษะการพูด สามารถโน้มน้าวให้เยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความคิดและ
พฤติกรรมเปลี่ยนไปในทางที่ดี พร้อมทั้งมีอุดมการณ์และแนวความคิดการทำงานเพื่อสังคมอย่างจริง
จัง รวมทั้งมีความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ สามารถสร้างโปรแกรม
ต่าง ๆ ตลอดจนใช้โปรแกรมต่าง ๆ ได้ดี นอกจากนี้ยังเป็นผู้ชำนาญเรื่องการใช้กล้องถ่ายภาพ รวมไป
54

บทบาทเยาวชนดีเด่นอาสาสมัครในงานพัฒนาสังคม (ตอนที่ 1)
บทบาทเยาวชนดีเด่นอาสาสมัครในงานพัฒนาสังคม (ตอนที่ 2)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น