วันจันทร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2554

การศึกษาสภาพ ปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาของการดำเนินงานตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษาของโรงเรียนเอกชน (ตอนที่ 2)



บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
การวิจัยครั้งนี้ได้ศึกษาเกี่ยวกับสภาพ ปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาของการดำเนินงานตามนโยบาย
การปฏิรูปการศึกษาของโรงเรียนเอกชนในเครือคาทอลิก คณะอุร์สุลิน ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยเสนอผลการ
วิเคราะห์ข้อมูลตามลำดับขั้นตอน ดังต่อไปนี้
ตอนที่ 1 สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม
ตอนที่ 2 สภาพการดำเนินงานตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษาของโรงเรียนเอกชนในเครือคาทอลิก คณะอุร์สุ
ลิน
ตอนที่ 3 ปัญหาการดำเนินงานตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษาของโรงเรียนเอกชนในเครือคาทอลิก คณะอุร์สุ
ลิน
ตอนที่ 4 แนวทางการแก้ไขปัญหาของแต่ละองค์ประกอบหลักทั้ง 4 ของการปฏิรูปการศึกษา
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ตอนที่ 1 สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม
ข้อมูลสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถามจำแนกตามตำแหน่ง อายุ ระยะเวลาในการทำงานในโรงเรียน
คาทอลิกคณะอุร์สุลิน และวุฒิทางการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าร้อยละ และนำเสนอข้อมูลในรูปตาราง
ประกอบการบรรยายดังนี้
34
ตารางที่ 2 สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม
สถานภาพ จำนวน ร้อยละ
1. ตำแหน่ง
ผู้บริหาร
ครูผู้สอน
15
201
6.94
93.06
2. อายุ
ต่ำกว่า 31 ปี
31 - 40 ปี
41 - 50 ปี
51 ปีขึ้นไป
79
50
52
35
36.58
23.15
24.07
16.20
3. ระยะเวลาในการทำงานในโรงเรียนคาทอลิก คณะอุร์สุลิน
ต่ำกว่า 10 ปี
10 - 20 ปี
21 - 30 ปี
มากกว่า 30 ปี
124
50
24
18
57.41
23.15
11.11
8.33
4. วุฒิทางการศึกษา
ต่ำกว่าปริญญาตรี
ปริญญาตรี
สูงกว่าปริญญาตรี
33
171
12
15.28
79.17
5.55
จากตารางที่ 2 พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นครูผู้สอน คิดเป็นร้อยละ 93.06 มีอายุต่ำกว่า 31 ปี
คิดเป็นร้อยละ 36.58 มีระยะเวลาในการทำงานในโรงเรียนคาทอลิก คณะอุร์สุลิน ต่ำกว่า 10 ปี คิดเป็นร้อยละ 57.41
และมีวุฒิทางการศึกษาในระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 79.17
35
ตอนที่ 2 สภาพการดำเนินงานตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษา
ผลการวิเคราะห์สภาพการดำเนินงานตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษาของโรงเรียนเอกชนในเครือ
คาทอลิก คณะอุร์สุลิน โดยหาค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดังตารางที่ 3 - 7
ตารางที่ 3 แสดงค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สภาพการดำเนินงานตามนโยบายการปฏิรูปการ
ศึกษาโดยรวมทุกด้าน
สภาพการดำเนินงานตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษา ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบน
มาตรฐาน
(S.D.)
ระดับ
(x ) สภาพ
ด้านการการเรียนการสอน 3.57 0.81 มาก
ด้านหลักสูตร 3.58 0.85 มาก
ด้านวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา 3.88 0.77 มาก
ด้านการบริหารและการจัดการ 3.80 0.77 มาก
รวม 3.71 0.81 มาก
จากตารางที่ 3 พบว่าสภาพการดำเนินงานตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษาของโรงเรียนเอกชนในเครือ
คาทอลิก คณะอุร์สุลิน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( x = 3.71) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีสภาพการดำเนิน
งานอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยมีค่าเฉลี่ยสูงไปต่ำตามลำดับ ดังนี้คือ ด้านวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา
( x = 3.88) ด้านการบริหารและการจัดการ ( x = 3.80) ด้านหลักสูตร ( x = 3.58) และด้านการปฏิรูปการเรียน
การสอน ( x = 3.57) ตามลำดับ
36
ตารางที่ 4 แสดงค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สภาพการดำเนินงานตามนโยบายการปฏิรูปการ
ศึกษา ด้านการเรียนการสอน
สภาพการดำเนินงานตามนโยบายการปฏิรูปการ
ศึกษาด้านการเรียนการสอน
ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบน
มาตรฐาน
(S.D.)
ระดับ
ข้อที่ (x ) สภาพ
1. จัดบรรยากาศ และสภาพแวดล้อมบริเวณโรงเรียนให้
เอื้อต่อการเรียนรู้
3.70 0.75 มาก
2. จัดบรรยากาศ และสภาพแวดล้อมในห้องเรียนให้เอื้อต่อการ
เรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
3.58 0.75 มาก
3. วิเคราะห์ความสามารถ ความถนัด ความสนใจ และวิธีการ
เรียนรู้ของผู้เรียน
3.54 0.66 มาก
4. จัดการเรียนรู้โดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่างๆ อย่างได้
สัดส่วนสมดุลกัน
3.45 0.73 ปานกลาง
5. มีการบูรณาการและสอดแทรกคุณธรรรม จริยธรรม
ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในการ
เรียนการสอนทุกวิชาอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
4.01 0.81 มาก
6. จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมการเรียนรู้ให้หลากหลาย
สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน
3.60 0.71 มาก
7. จัดการเรียนรู้โดยมุ่งพัฒนาและส่งเสริมกระบวนการ
คิด อย่างมีระบบและอย่างมีวิจารณญาณ
3.63 0.69 มาก
8. จัดการเรียนรู้โดยแสวงหาความรู้จากแหล่งความรู้ที่
หลากหลาย เช่น ห้องสมุด ภูมิปัญญาท้องถิ่น สภาพ
แวดล้อม และอื่นๆ
3.52 0.86 มาก
9. จัดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการ
ปฏิบัติให้คิดเป็น ทำเป็นและแก้ปัญหาเป็น
3.61 0.75 มาก
10. ใช้สื่อประกอบการสอนที่หลากหลายสอดคล้องตาม
จุดประสงค์เนื้อหาและเป็นสื่อที่ทำให้ผู้เรียนเกิดการ
เรียนรู้
3.44 0.73 ปานกลาง
37
ข้อที่
สภาพการดำเนินงานตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษาด้าน
การเรียนการสอน
ค่าเฉลี่ย
(x )
ค่าเบี่ยงเบน
มาตรฐาน
(S.D.)
ระดับ
สภาพ
11. ทำ การวิจัยในชั้นเรียนและนำ ผลการวิจัยมา
พัฒนาการเรียนการสอน
2.97 0.92 ปานกลาง
12. นำเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสภาพโรงเรียนมาใช้ในการจัด
การเรียนการสอน
3.31 0.88 ปานกลาง
13. ประเมินผลผู้เรียนให้ครอบคลุมพัฒนาการของผู้เรียน ความ
ประพฤติ พฤติกรรมการเรียน การร่วมกิจกรรม และผลงาน
3.84 0.72 มาก
14. นำผลการประเมินมาปรับปรุงเพื่อพัฒนาคุณภาพ
ผู้เรียน
3.70 0.66 มาก
15. ประสานความร่วมมือกับผู้ปกครองและชุมชนเพื่อร่วมกัน
พัฒนาผู้เรียนเต็มตามศักยภาพ
3.61 0.87 มาก
รวม 3.57 0.81 มาก
จากตารางที่ 4 พบว่าสภาพการดำเนินงานตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษา ด้านการเรียนการสอนของโรง
เรียนเอกชนในเครือคาทอลิก คณะอุร์สุลิน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( x = 3.57) และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบ
ว่า มีสภาพการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลางถึงมาก โดยมีการบูรณาการและสอดแทรกคุณธรรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ดี
งาม รวมทั้งคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในการเรียนการสอนทุกวิชาอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ อยู่ในระดับสูงสุด ( x
= 4.01) รองลงมาคือ มีการประเมินผลผู้เรียนให้ครอบคลุมพัฒนาการของผู้เรียน ความประพฤติ พฤติกรรมการเรียน
การร่วมกิจกรรมและผลงาน ( x = 3.84) และนำผลการประเมินมา ปรับปรุงเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ( x = 3.70)
ตามลำดับ
38
ตารางที่ 5 แสดงค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สภาพการดำเนินงานตามนโยบายการปฏิรูปการ
ศึกษา ด้านหลักสูตร
ข้อที่ สภาพการปฏิรูปการศึกษาด้านหลักสูตร
ค่าเฉลี่ย
(x )
ค่าเบี่ยงเบน
มาตรฐาน
(S.D.)
ระดับ
สภาพ
1. จัดทำข้อมูลพื้นฐานของชุมชนเกี่ยวกับความต้องการของชุม
ชน เพื่อนำมาจัดทำหลักสูตรระดับชั้นเรียน
3.13 0.94 ปานกลาง
2. พัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษาอย่างต่อเนื่องจัดเอกสารหลัก
สูตรที่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอน
3.80 0.77 มาก
3. จัดทำสาระหลักสูตรโดยวิเคราะห์สภาพความต้องการของผู้
เรียน
3.70 0.77 มาก
4. จัดทำประมวลการสอนและแบบการเรียนให้สอดคล้องกับ
หลักสูตรแกนกลางและสภาพของท้องถิ่นโดยร่วมมือกับชุม
ชน ท้องถิ่น
3.46 0.80 ปานกลาง
5. พัฒนาหลักสูตรและจัดแผนการเรียนที่หลากหลายให้สอด
คล้องกับสภาพความพร้อม ความต้องการ ความสนใจผู้เรียน
3.29 0.79 ปานกลาง
6. กำหนดแผนการเรียนที่หลากหลายเพื่อสนองความต้องการ
ความสนใจผู้เรียน
3.60 0.77 มาก
7. จัดอบรม สัมมนาให้ครูเข้าใจหลักสูตร ฝึกการเขียนหลักสูตร
อย่างมั่นใจจนสามารถนำไปปฏิบัติได้
3.65 0.83 มาก
8. วางแผนการบริหารหลักสูตร กำกับและติดตามการใช้หลัก
สูตรของสถานศึกษา
3.93 0.81 มาก
9. วางแผนการบริหารหลักสูตร กำกับและติดตามการใช้หลัก
สูตรของสถานศึกษา
3.66 0.84 มาก
รวม 3.58 0.85 มาก
39
จากตารางที่ 5 พบว่าสภาพการดำเนินงานตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษาของโรงเรียน เอกชนในเครือ
คาทอลิก คณะอุร์สุลิน ด้านหลักสูตร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( x = 3.58) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบ
ว่า มีสภาพการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลางถึงมาก โดยมีการวางแผนการบริหารหลักสูตร กำกับและติดตามการใช้
หลักสูตรของสถานศึกษา อยู่ในระดับสูงสุด ( x = 3.93) รองลงมาคือการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษาอย่างต่อ
เนื่อง จัดเอกสารหลักสูตรที่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอน ( x = 3.80) และจัดทำสาระหลักสูตรโดยวิเคราะห์
สภาพความต้องการของผู้เรียน ( x = 3.70) ตามลำดับ
40
ตารางที่ 6 แสดงค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สภาพการดำเนินงานตามนโยบายการปฏิรูปการ
ศึกษา ด้านวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา
ข้อที่
สภาพการปฏิรูปการศึกษาด้านวิชาชีพครูและ
บุคลากรทางการศึกษา
ค่าเฉลี่ย
(x )
ค่าเบี่ยงเบน
มาตรฐาน
(S.D.)
ระดับ
สภาพ
1. สร้างความตระหนักและจิตวิญญาณของจรรยาบรรณและ
วิชาชีพครู
4.22
0.70 มาก
2. พัฒนาครูให้มีมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพครู
อย่างต่อเนื่อง
4.14 0.68 มาก
3. สร้างข้อตกลงร่วมกันระหว่างผู้บริหารโรงเรียนและครูใน
การพัฒนาบุคลากร
3.71 0.80 ปานกลาง
4. จัดกิจกรรมยกย่องเชิดชูเกียรติบุคลากรในสถานศึกษา 3.63 0.79 มาก
5. ส่งเสริมให้ครูได้ประเมินผลการปฏิบัติงานของ
ตนเอง
3.79 0.69 มาก
6. จัดครูเข้าสอนได้เหมาะสมตรงกับความถนัดของแต่ละคน 3.70 0.81 มาก
7. ส่งเสริมให้ครูศึกษาต่อและเข้ารับการอบรมที่หน่วยงานอื่น
จัด
3.87 0.81 มาก
8. ฝึกปฏิบัติให้ครูมีความรู้ความเข้าใจในวัตถุประสงค์และ เนื้อ
หาของหลักสูตร
3.86 0.72 มาก
9. จัดอบรมและฝึกปฏิบัติให้ครูมีความรู้ ความเข้าใจในการจัด
กระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
4.01 0.73 มาก
รวม 3.88 0.77 มาก
จากตารางที่ 6 พบว่าสภาพการดำเนินงานตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษาของโรงเรียนเอกชนในเครือ
คาทอลิก คณะอุร์สุลิน ด้านวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( x = 3.88) เมื่อ
พิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มีสภาพการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลางถึงมาก โดยมีการดำเนินงานเกี่ยวกับการสร้าง
ความตระหนักและจิตวิญญาณของจรรยาบรรณและวิชาชีพครู อยู่ในระดับสูงสุด ( x = 4.22) รองลงมาคือการ
พัฒนาครูให้มีมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพครูอย่างต่อเนื่อง ( x = 4.14) และจัดอบรมและฝึกปฏิบัติให้ครูมี
ความรู้ ความเข้าใจในการจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ( x = 4.01) ตามลำดับ
ตารางที่ 7 แสดงค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สภาพการดำเนินงานตามนโยบายการปฏิรูปการ
ศึกษา ด้านบริหารและการจัดการ
41
ข้อที่ สภาพการปฏิรูปการศึกษาด้านบริหารและการจัดการ
ค่าเฉลี่ย
(x )
ค่าเบี่ยงเบน
มาตรฐาน
(S.D.)
ระดับ
สภาพ
1. แต่งตั้งคณะกรรมการสถานศึกษาโดยดำเนินการตามขั้นตอน
และระเบียบของ ทางราชการ
3.83 0.83 มาก
2. บริหารจัดการโดยใช้ธรรมนูญโรงเรียนเป็นแผน
แม่บท
3.96 0.77 มาก
3. จัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีสอดคล้องกับธรรมนูญโรง
เรียน
4.06 0.73 มาก
4. จัดระบบข้อมูลและสารสนเทศที่พร้อมนำมาใช้ประโยชน์ ใน
การบริหารจัดการ
3.63 0.77 มาก
5. ตรวจสอบและมีการประเมินตนเองอย่างต่อเนื่อง 3.76 0.80 มาก
6. ควบคุมการจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นโดยคณะ
กรรมการที่สถานศึกษาแต่งตั้ง
3.73 0.76 มาก
7. ปรับปรุงบรรยากาศ สิ่งแวดล้อมและองค์ประกอบอื่นๆ ที่เอื้อ
อำนวยต่อการเรียนรู้
3.80 0.69 มาก
8. สนับสนุน ส่งเสริมผู้บริหารโรงเรียน คณะครู ชุมชนให้ได้ใช้
ทรัพยากรร่วมกัน
3.63 0.78 มาก
9. จัดระบบการกำกับ ติดตามประเมินผลและรายงานผลการ
ประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
3.83 0.73 มาก
รวม 3.80 0.77 มาก
42
จากตารางที่ 7 พบว่าสภาพการดำเนินงานตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษาของโรงเรียน เอกชนในเครือ
คาทอลิก คณะอุร์สุลิน ด้านบริหารและการจัดการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( x = 3.88) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ
พบว่า มีสภาพการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก โดยมีการดำเนินงานเกี่ยวกับการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีสอดคล้อง
กับธรรมนูญโรงเรียน อยู่ในระดับสูงสุด ( x = 4.06) รองลงมาคือการบริหารจัดการโดยใช้ธรรมนูญโรงเรียนเป็น
แผนแม่บท ( x = 3.96) และการแต่งตั้งคณะกรรมการสถานศึกษาโดยดำเนินการตามขั้นตอนและระเบียบของทาง
ราชการ ( x = 3.83) ตามลำดับ
43
ตอนที่ 3 ปัญหาการดำเนินงานตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษา
วิเคราะห์ปัญหาการดำเนินงานตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษาของโรงเรียนเอกชนในเครือคาทอลิก คณะ
อุร์สุลิน โดยใช้ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดังตารางที่ 8 – 12
ตารางที่ 8 แสดงค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ปัญหาการดำเนินงานตามนโยบายการปฏิรูปการ
ศึกษาโดยรวมทุกด้าน
ปัญหาการดำเนินงานตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษา ค่าเฉลี่ย
(x )
ค่าเบี่ยงเบน
มาตรฐาน
(S.D.)
ระดับปัญหา
ด้านการเรียนการสอน 2.47 0.88 น้อย
ด้านหลักสูตร 2.45 0.84 น้อย
ด้านวิชาชีพครูและบุคลากรทาง การศึกษา 2.18 0.79 น้อย
ด้านการบริหารและการจัดการ 2.24 0.80 น้อย
รวม 2.33 0.87 น้อย
จากตารางที่ 8 พบว่า ปัญหาการดำเนินงานตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษา ของโรงเรียนเอกชนในเครือ
คาทอลิก คณะอุร์สุลิน โดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย ( x = 2.33) เมื่อพิจารณาปัญหาเป็นรายด้าน พบว่า มีปัญหาการ
ปฏิบัติงานอยู่ในระดับน้อยทุกด้าน โดยมีค่าเฉลี่ยจากสูงไปต่ำตามลำดับดังนี้คือ ด้านการเรียนการสอน ( x = 2.47)
ด้านหลักสูตร ( x = 2.45) ด้านการบริหารและการ จัดการ ( x = 2.24) และด้านวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา
( x = 2.18) ตามลำดับ
44
ตารางที่ 9 แสดงค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ปัญหาการดำเนินงานตามนโยบายการปฏิรูปการ
ศึกษา ด้านการเรียนการสอน
ข้อที่ ปัญหาการดำเนินงานตามนโยบายการปฏิรูปการ
ศึกษาด้านการเรียนการสอน
ค่าเฉลี่ย
(x )
ค่าเบี่ยงเบนมาตร
ฐาน
(S.D.)
ระดับ
ปัญหา
1. จัดบรรยากาศ และสภาพแวดล้อมบริเวณโรงเรียน
ให้เอื้อต่อการเรียนรู้
2.52 0.88 ปานกลาง
2. จัดบรรยากาศ และสภาพแวดล้อมในห้องเรียนให้เอื้อต่อ
การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2.69 0.95 ปานกลาง
3. วิเคราะห์ความสามารถ ความถนัด ความสนใจ และวิธีการ
เรียนรู้ของผู้เรียน
2.63 0.88 ปานกลาง
4. จัดการเรียนรู้โดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่างๆ อย่าง
ได้สัดส่วนสมดุลกัน
2.58 0.82 ปานกลาง
5. มีการบูรณาการและสอดแทรกคุณธรรรม จริย
ธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึง
ประสงค์ในการเรียนการสอนทุกวิชาอย่างต่อเนื่อง
และสม่ำเสมอ
2.10 0.85 น้อย
6. จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมการเรียนรู้ให้หลาก
หลายสอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้
เรียน
2.37 0.85 น้อย
7. จัดการเรียนรู้โดยมุ่งพัฒนาและส่งเสริมกระบวน
การคิด อย่างมีระบบและอย่างมีวิจารณญาณ
2.48 0.80 น้อย
8. จัดการเรียนรู้โดยแสวงหาความรู้จากแหล่งความรู้
ที่หลากหลาย เช่น ห้องสมุด ภูมิปัญญาท้องถิ่น
สภาพแวดล้อม และอื่นๆ
2.52 0.92 ปานกลาง
9. จัดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการ
ปฏิบัติให้คิดเป็น ทำเป็นและแก้ปัญหาเป็น
2.55 0.87 ปานกลาง
ข้อที่ ปัญหาการดำเนินงานตามนโยบายการปฏิรูปการ
ศึกษาด้านการเรียนการสอน
ค่าเฉลี่ย
(x )
ค่าเบี่ยงเบนมาตร
ฐาน
(S.D.)
ระดับ
ปัญหา
45
10. ใช้สื่อประกอบการสอนที่หลากหลายสอดคล้องตาม
จุดประสงค์เนื้อหาและเป็นสื่อที่ทำให้ผู้เรียนเกิด
การเรียนรู้
2.48 0.86 น้อย
11. ทำ การวิจัยในชั้นเรียนและนำ ผลการวิจัยมา
พัฒนาการเรียนการสอน
2.67 0.92 ปานกลาง
12. นำเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสภาพโรงเรียนมาใช้ในการ
จัดการเรียนการสอน
2.44 0.87 น้อย
13. ประเมินผลผู้เรียนให้ครอบคลุมพัฒนาการของผู้เรียน
ความประพฤติ พฤติกรรมการเรียน การร่วมกิจกรรมและ
ผลงาน
2.33 0.87 น้อย
14. นำผลการประเมินมาปรับปรุงเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน 2.30 0.82 น้อย
15. ประสานความร่วมมือกับผู้ปกครองและชุมชนเพื่อร่วมกัน
พัฒนาผู้เรียนเต็มตามศักยภาพ
2.44 0.81 น้อย
รวม 2.47 0.88 น้อย
จากตารางที่ 9 พบว่าปัญหาการดำเนินงานตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษาของโรงเรียน เอกชนในเครือ
คาทอลิก คณะอุร์สุลิน ด้านการเรียนการสอน โดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย ( x = 2.47) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบ
ว่า มีปัญหาการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลางถึงน้อย โดยมีปัญหาอยู่ในระดับปานกลางได้แก่ จัดบรรยากาศ และ
สภาพแวดล้อมในห้องเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ อยู่ในระดับสูงสุด ( x = 2.69) รองลงมาคือ
การทำวิจัยในชั้นเรียนและนำผลการวิจัยมาพัฒนาการเรียนการสอน ( x = 2.67) สำหรับการดำเนินงานที่มีปัญหา
น้อย ได้แก่การใช้สื่อประกอบการสอนที่หลากหลายสอดคล้องตาม จุดประสงค์เนื้อหาและเป็นสื่อที่ทำให้ ผู้เรียน
เกิดการเรียนรู้ ( x = 2.48) และการจัดการเรียนรู้โดยมุ่งพัฒนาและส่งเสริมกระบวนการคิด อย่างมีระบบและอย่าง
มีวิจารณญาณ ( x = 2.48) ตามลำดับ
46
ตารางที่ 10 แสดงค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ปัญหาการดำเนินงานตามนโยบายการปฏิรูป
การศึกษา ด้านหลักสูตร
ข้อที่ ปัญหาการปฏิรูปการศึกษา ด้านหลักสูตร
ค่าเฉลี่ย
(x )
ค่าเบี่ยงเบนมาตร
ฐาน
(S.D.)
ระดับ
ปัญหา
1. จัดทำข้อมูลพื้นฐานของชุมชนเกี่ยวกับความ
ต้องการของชุมชน เพื่อนำมาจัดทำหลักสูตรระดับ
ชั้นเรียน
2.52 0.89 ปานกลาง
2. พัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษาอย่างต่อเนื่องจัด
เอกสารหลักสูตรที่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอน
2.44 0.83 น้อย
3. จัดทำสาระหลักสูตรโดยวิเคราะห์สภาพความ
ต้องการของผู้เรียน
2.43 0.84 น้อย
4. จัดทำประมวลการสอนและแบบการเรียนให้สอดคล้องกับ
หลักสูตรแกนกลางและสภาพของท้องถิ่นโดยร่วมมือกับ
ชุมชน ท้องถิ่น
2.49 0.85 น้อย
5. พัฒนาหลักสูตรและจัดแผนการเรียนที่หลากหลาย
ให้สอดคล้องกับสภาพความพร้อม ความต้องการ
ความสนใจผู้เรียน
2.48 0.81 น้อย
6. กำหนดแผนการเรียนที่หลากหลายเพื่อสนองความ
ต้องการความสนใจผู้เรียน
2.47 0.86 น้อย
7. จัดอบรม สัมมนาให้ครูเข้าใจหลักสูตร ฝึกการเขียน
หลักสูตรอย่างมั่นใจจนสามารถนำไปปฏิบัติได้
2.30 0.81 น้อย
8. วางแผนการบริหารหลักสูตร กำกับและติดตามการใช้หลัก
สูตรของสถานศึกษา
2.51 1.00 ปานกลาง
9. วางแผนการบริหารหลักสูตร กำกับและติดตามการใช้หลัก
สูตรของสถานศึกษา
2.48 0.91 น้อย
รวม 2.45 0.84 น้อย
47
จากตารางที่ 10 พบว่าปัญหาการดำเนินงานตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษาของโรงเรียนเอกชนในเครือ
คาทอลิก คณะอุร์สุลิน ด้านหลักสูตร โดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย ( x = 2.45) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มี
ปัญหาการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลางถึงน้อย โดยมีปัญหาอยู่ในระดับกลาง ได้แก่ การจัดทำข้อมูลพื้นฐานของชุม
ชนเกี่ยวกับความต้องการของชุมชน เพื่อนำมาจัดทำ หลักสูตรระดับชั้นเรียน อยู่ในระดับสูงสุด ( x = 2.52) รอง
ลงมาคือ การวางแผนการบริหาร หลักสูตร กำกับและติดตามการใช้หลักสูตรของสถานศึกษา ( x = 2.51)
สำหรับการดำเนินงานที่มีปัญหาน้อย ได้แก่ การจัดทำประมวลการสอนและแบบการเรียนให้สอดคล้องกับหลักสูตร
แกนกลางและสภาพของท้องถิ่นโดยร่วมมือกับชุมชน ท้องถิ่น ( x = 2.49) ตามลำดับ
48
ตารางที่ 11 แสดงค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ปัญหาการดำเนินงานตามนโยบายการปฏิรูปการ
ศึกษา ด้านวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา
ข้อที่
ปัญหาการปฏิรูปการศึกษาด้านวิชาชีพครูและบุคลากรทาง
การศึกษา
ค่าเฉลี่ย
(x )
ค่าเบี่ยงเบนมาตร
ฐาน
(S.D.)
ระดับ
ปัญหา
1. สร้างความตระหนักและจิตวิญญาณของจรรยาบรรณและ
วิชาชีพครู
1.94 0.80 น้อย
2. พัฒนาครูให้มีมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพครู
อย่างต่อเนื่อง
2.06 0.84 น้อย
3. สร้างข้อตกลงร่วมกันระหว่างผู้บริหารโรงเรียนและครูใน
การพัฒนาบุคลากร
2.28 0.80 น้อย
4. จัดกิจกรรมยกย่องเชิดชูเกียรติบุคลากรในสถานศึกษา 2.17 0.85 น้อย
5. ส่งเสริมให้ครูได้ประเมินผลการปฏิบัติงานของ
ตนเอง
2.18 0.80 น้อย
6. จัดครูเข้าสอนได้เหมาะสมตรงกับความถนัดของแต่ละคน 2.27 0.88 น้อย
7. ส่งเสริมให้ครูศึกษาต่อและเข้ารับการอบรมที่หน่วยงาน
อื่นจัด
2.13 0.90 น้อย
8. ฝึกปฏิบัติให้ครูมีความรู้ความเข้าใจในวัตถุประสงค์และ
เนื้อหาของหลักสูตร
2.26 0.82 น้อย
9. จัดอบรมและฝึกปฏิบัติให้ครูมีความรู้ ความเข้าใจในการ
จัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2.31 0.90 น้อย
รวม 2.18 0.79 น้อย
จากตารางที่ 11 พบว่าปัญหาการดำเนินงานตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษาของโรงเรียนเอกชนในเครือ
คาทอลิก คณะอุร์สุลิน ด้านวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย ( x = 2.18) เมื่อ
พิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มีปัญหาการปฏิบัติอยู่ในระดับน้อย โดยมีปัญหาเกี่ยวกับการจัดอบรมและฝึกปฏิบัติให้ครู
มีความรู้ ความเข้าใจในการจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ อยู่ในระดับสูงสุด ( x = 2.31) รอง
ลงมาคือการสร้างข้อตกลงร่วมกันระหว่าง ผู้บริหารโรงเรียนและครูในการพัฒนาบุคลากร ( x = 2.28) และจัดครู
เข้าสอนได้เหมาะสมตรงกับความถนัดของแต่ละคน ( x = 2.27) ตามลำดับ
ตารางที่ 12 แสดงค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ปัญหาการดำเนินงานตามนโยบายการปฏิรูปการ
ศึกษา ด้านบริหารและการจัดการ
49
ข้อที่
ปัญหาการปฏิรูปการศึกษาด้านบริหาร
และการจัดการ
ค่าเฉลี่ย
(x )
ค่าเบี่ยงเบนมาตร
ฐาน
(S.D.)
ระดับ
ปัญหา
1. แต่งตั้งคณะกรรมการสถานศึกษาโดยดำเนินการตามขั้น
ตอนและระเบียบของ ทางราชการ
2.16 0.85 น้อย
2. บริหารจัดการโดยใช้ธรรมนูญโรงเรียนเป็นแผนแม่บท 2.12 0.74 น้อย
3. จัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีสอดคล้องกับธรรมนูญโรง
เรียน
2.07 0.80 น้อย
4. จัดระบบข้อมูลและสารสนเทศที่พร้อมนำมาใช้ประโยชน์
ในการบริหารจัดการ
2.26 0.80 น้อย
5. ตรวจสอบและมีการประเมินตนเองอย่างต่อเนื่อง 2.21 0.80 น้อย
6. ควบคุมการจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นโดยคณะ
กรรมการที่สถานศึกษาแต่งตั้ง
2.36 0.85 น้อย
7. ปรับปรุงบรรยากาศ สิ่งแวดล้อมและองค์ประกอบอื่นๆ ที่
เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้
2.26 0.86 น้อย
8. สนับสนุน ส่งเสริมผู้บริหารโรงเรียน คณะครู ชุมชนให้ได้
ใช้ทรัพยากรร่วมกัน
2.35 0.86 น้อย
9. จัดระบบการกำกับ ติดตามประเมินผลและรายงานผลการ
ประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
2.34 0.93 น้อย
รวม 2.24 0.80 น้อย
50
จากตารางที่ 12 พบว่าปัญหาการดำเนินงานตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษาของโรงเรียนเอกชนในเครือ
คาทอลิก คณะอุร์สุลิน ด้านบริหารและการจัดการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย ( x = 2.24) เมื่อพิจารณาเป็น
รายข้อ พบว่า มีปัญหาการปฏิบัติอยู่ในระดับน้อย โดยมีปัญหาเกี่ยวกับการควบคุมการจัดการศึกษาให้มีประสิทธิ
ภาพสูงขึ้นโดยคณะกรรมการที่สถานศึกษาแต่งตั้ง อยู่ในระดับสูงสุด ( x = 2.36) รองลงมาคือสนับสนุน ส่งเสริมผู้
บริหารโรงเรียน คณะครู ชุมชนให้ได้ใช้ทรัพยากรร่วมกัน ( x = 2.35) และจัดระบบการกำกับ ติดตามประเมินผล
และรายงานผลการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ( x = 2.34) ตามลำดับ
ตอนที่ 4 แนวทางการแก้ไขปัญหาการดำเนินงานตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษา
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่เป็นข้อเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาของแต่ละองค์ประกอบหลักทั้ง 4 ของการ
ปฏิรูปการศึกษาโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาที่ได้รับจากแบบสอบถาม ดังตารางที่ 13 - 16
ตารางที่ 13 แนวทางการแก้ไขปัญหาการดำเนินงานตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษา ด้านการเรียนการสอน
แนวทางการแก้ไขปัญหาการปฏิรูปการศึกษาด้านการเรียนการสอน จำนวน ร้อยละ
1. ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการจัดกระบวนการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็น
สำคัญให้เรียนรู้ตามสภาพที่แท้จริง
2. ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาช่วยสอน วางแผนและจัดทำโครงการ
3. สนับสนุนให้ครูช่วยกันผลิตสื่อ แลกเปลี่ยนหรือยืมสื่อการเรียนการสอนร่วมกัน
ระหว่างโรงเรียนในเครืออุร์สุลิน
4. จัดให้มีการนิเทศการสอนอย่างต่อเนื่อง
5. มีการสร้างเครื่องมือวัดผล ดำเนินการวัดผล และประเมินผลเพื่อพัฒนาคุณภาพการ
เรียนการสอนร่วมกัน
32
12
11
7
6
14.81
5.56
5.09
3.24
2.78
จากตารางที่ 13 พบว่าโรงเรียนเอกชนในเครือคาทอลิก คณะอุร์สุลิน เสนอแนวทางแก้ปัญหาด้านการเรียน
การสอนด้วยการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการจัดกระบวนการเรียนการสอนโดยยึด ผู้เรียนเป็นสำคัญให้เรียนรู้
ตามสภาพที่แท้จริง มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 14.81 รองลงมาคือ ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาช่วยสอน วางแผนและจัดทำ
โครงการ และสนับสนุนให้ครูช่วยกันผลิตสื่อ แลกเปลี่ยนหรือยืมสื่อการเรียนการสอนร่วมกันระหว่างโรงเรียนในเคร์
อุร์สุลิน คิดเป็นร้อยละ 5.09 ตามลำดับ
ตารางที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาการดำเนินงานตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษา ด้านหลักสูตร
51
แนวทางการแก้ไขปัญหาการปฏิรูปการศึกษาด้านหลักสูตร จำนวน ร้อยละ
1. ผู้บริหารและครูร่วมกันวางแผนพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
2. มีการจัดทำสาระการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางร่วมกันระหว่างโรง
เรียนในเครืออุร์สุลิน
3. ควรส่งครูเข้ารับการอบรมสัมมนาทางวิชาการในการจัดทำหลักสูตร และ นำมา
เผยแพร่ให้คณะกรรมการโรงเรียน และผู้แทนชุมชนเข้าใจตรงกันเพื่อจะได้ปรับปรุง
หลักสูตรท้องถิ่นให้สมบูรณ์ขึ้น
4. สถานศึกษาควรจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นขึ้นใช้ในสถานศึกษา
29
24
9
6
13.43
11.11
4.17
2.78
จากตารางที่ 14 พบว่าโรงเรียนเอกชนในเครือคาทอลิก คณะอุร์สุลิน เสนอแนวทางแก้ปัญหาด้านหลัก
สูตรด้วยการให้ผู้บริหารและครูร่วมกันวางแผนพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษามากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 13.43 รองลงมา
คือ มีการจัดทำสาระการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางร่วมกันระหว่างโรงเรียนในเครืออุร์สุลิน และควร
ส่งครูเข้ารับการอบรมสัมมนาทางวิชาการในการจัดทำหลักสูตร และนำมาเผยแพร่ให้คณะกรรมการโรงเรียน และผู้
แทนชุมชนเข้าใจตรงกันเพื่อจะได้ ปรับปรุงหลักสูตรท้องถิ่นให้สมบูรณ์ขึ้นคิดเป็นร้อยละ 4.17 ตาลำดับ
52
ตารางที่ 15 แนวทางการแก้ไขปัญหาการดำเนินงานตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษา ด้านวิชาชีพครู
และบุคลากรทางการศึกษา
แนวทางการแก้ไขปัญหาการปฏิรูปการศึกษาด้านวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน ร้อยละ
สร้างความรู้ความเข้าใจให้กับคณะครูเกี่ยวกับมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพครู
จัดให้มีการฝึกบรมสัมมนาและศึกษาดูงานระหว่างครูร่วมกัน เพื่อสร้างความเข้าใจอันดี
และเกิดความร่วมมือกัน
จัดกิจกรรมส่งเสริมขวัญและกำลังใจของครู เช่นการจัดสวัสดิการในรูปแบบต่างๆ
34
18
16
15.74
8.33
7.41
จากตารางที่ 15 พบว่าโรงเรียนเอกชนในเครือคาทอลิก คณะอุร์สุลิน เสนอแนวทางแก้ปัญหาด้านวิชาชีพ
ครูและบุคลากรทางการศึกษาด้วยการสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับคณะครูเกี่ยวกับมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชา
ชีพครูมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 15.74 รองลงมาคือ จัดให้มีการฝึกอบรมสัมมนาและศึกษาดูงานระหว่างครูร่วมกัน
เพื่อสร้างความเข้าใจอันดี และเกิดความร่วมมือกัน และจัดกิจกรรมส่งเสริมขวัญและกำลังใจของครู เช่นการจัดสวัส
ดิการในรูปแบบต่างๆคิดเป็นร้อยละ 7.41 ตามลำดับ
53
ตารางที่ 16 แนวทางการแก้ไขปัญหาการดำเนินงานตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษา ด้านการบริหาร
และการจัดการ
แนวทางการแก้ไขปัญหาการปฏิรูปการศึกษาด้านการบริหารและการจัดการ จำนวน ร้อยละ
1. ผู้บริหาร คณะครู และชุมชนร่วมกันกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
2. ให้คณะกรรมการสถานศึกษา หรือผู้แทนชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารการศึกษา
3. จัดหาทรัพยากรและงบประมาณสำหรับการดำเนินและกิจกรรมพัฒนาสถานศึกษา
ของโรงเรียน
4. ผู้บริหารโรงเรียนควรร่วมมือกันกำหนดแนวทาง ดำเนินการสร้างความสัมพันธ์กับ
ชุมชน
26
22
13
7
12.04
10.19
6.02
3.24
จากตารางที่ 16 พบว่าโรงเรียนเอกชนในเครือคาทอลิก คณะอุร์สุลิน เสนอแนวทางแก้ปัญหาด้านการ
บริหารและการจัดการด้วยการให้ผู้บริหาร คณะครู และชุมชนร่วมกันกำหนด มาตรฐานการศึกษาของสถาน
ศึกษา มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 12.04 รองลงมาคือ ให้คณะกรรมการสถานศึกษา หรือผู้แทนชุมชนมีส่วนร่วมในการ
บริหารการศึกษา และจัดหาทรัพยากรและงบประมาณสำหรับการดำเนินและกิจกรรมพัฒนาสถานศึกษาของโรง
เรียน คิดเป็นร้อยละ 5.09 ตามลำดับ
54
บทที่ 5
สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาสภาพ ปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาของการดำเนินงานตามนโยบายการ
ปฏิรูปการศึกษาของโรงเรียนเอกชนในเครือคาทอลิก คณะอุร์สุลิน ซึ่งผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาของการดำเนินงานตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษาของ โรงเรียนเอกชน
ในเครือคาทอลิก คณะอุร์สุลิน
2. เพื่อศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาของการดำเนินงานตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษาของโรงเรียน
เอกชน ในเครือคาทอลิก คณะอุร์สุลิน
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
1. ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหาร และครูผู้สอนในโรงเรียนเอกชนเครือคาทอลิก คณะอุร์สุลิน
ที่ปฏิบัติงานจริงในปีการศึกษา 2545 จำนวน 5 โรงเรียน รวมทั้งสิ้น 525 คน จำแนกเป็นผู้บริหาร 40 คน และครูผู้
สอน 485 คน
2. กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหาร และครูผู้สอนจำนวน 226 คนจำแนกเป็น ผู้บริหาร
จำนวน 17 คน และครูผู้สอนจำนวน 209 คน โดยการกำหนดกลุ่มตัวอย่างตามตารางเครซีและมอแกน (Krejcie and
Morgan) ซึ่งกลุ่มตัวอย่างดังกล่าวได้ถูกสุ่มมาตามสัดส่วนของผู้บริหารและครูผู้สอนในแต่ละโรงเรียนโดยวิธีการ
แบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) จากประชากรจำนวน 525 คน ได้รับแบบสอบถามกลับคืนมาจากผู้
บริหารโรงเรียน 15 ฉบับ และครูผู้สอน 201 ฉบับ รวมทั้งสิ้น 216 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 95.57
55
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นแบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ
ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม
ตอนที่2เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพ ปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาของการดำเนินงาน ตาม
นโยบายการปฏิรูปการศึกษาของโรงเรียนเอกชน ในเครือคาทอลิก คณะอุร์สุลิน ลักษณะของแบบสอบถามเป็นแบบ
มาตรประมาณค่า (Rating Scale) ซึ่งที่สร้างขึ้นตามแบบของลิเคิร์ท (Likert Scale) โดยคำถามจะเกี่ยวข้องกับ
องค์ประกอบทั้ง 4 ตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาได้แก่ ด้านการเรียนการสอน 15 ข้อ ด้านหลักสูตร 9 ข้อ ด้านวิชา
ชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา 9 ข้อ และด้านการบริหารและการจัดการ 9 ข้อ รวมมีจำนวน 42 ข้อ
การเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บรวบรวมข้อมูลในการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยทำหนังสือขอความร่วมมือในการตอบแบบสอบถามจาก
บัณฑิตวิทยาลัยไปยังผุ้บริหารโรงเรียนในเครือคาทอลิก คณะอุร์สุลิน เพื่อขอความอนุเคราะห์ในการตอบแบบสอบ
ถาม จำนวน 5 โรงเรียน โดยแจกและเก็บแบบสอบถามทางไปรษณีย์ปรากฎว่าได้จัดส่งแบบสอบถามไปจำนวนทั้ง
สิ้น 226 ฉบับ จัดแบ่งเป็นผู้บริหารโรงเรียน 17 ฉบับ ครูผู้สอน 209 ฉบับ ได้รับแบบสอบถามกลับมาทั้งสิ้น 216
ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 95.57
การวิเคราะห์ข้อมูล
ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยทำการวิเคราะห์ข้อมูลและประมวลผลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป
SPSS/PC+ ดังนี้
1. วิเคราะห์สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม โดยการหาค่าร้อยละของสภาพทั่วไปของ ผู้ตอบแบบ
สอบถาม
2. วิเคราะห์สภาพและปัญหาของการดำเนินงานตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษาของโรงเรียน เอกชนใน
เครือคาทอลิก คณะอุร์สุลิน โดยการหาค่าเฉลี่ย ( x ) และหาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ในแต่ละด้านและรวมทุก
ด้าน
3. วิเคราะห์ข้อมูลที่เป็นข้อเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาของตัวแปรตามในแต่ละองค์ประกอบหลักทั้ง
4 ของการปฏิรูปการศึกษา ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาโดยใช้ค่าความถี่และค่าร้อยละ
56
สรุปผลการวิจัย
1. ระดับสภาพการดำเนินงานตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษาของโรงเรียนเอกชนในเครือคาทอลิก คณะ
อุร์สุลินโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีการดำเนินงานด้านวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา อยู่ในระดับสูง
สุด รองลงมาคือด้านการบริหารและการจัดการ ด้านหลักสูตร และด้านการเรียนการสอน ตามลำดับ และเมื่อ
พิจารณาวิเคราะห์สภาพแต่ละด้านพบว่า
1.1 ด้านการเรียนการสอน มีสภาพการดำเนินงานโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีดำเนินการ
เกี่ยวกับการบูรณาการและสอดแทรกคุณธรรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในการเรียน
การสอนทุกวิชาอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ การประเมินผลผู้เรียนให้ครอบคลุม
พัฒนาการของผู้เรียน ความประพฤติ พฤติกรรมการเรียน การร่วมกิจกรรมและผลงาน และนำผลการประเมินมา
ปรับปรุงเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ตามลำดับ
1.2 ด้านหลักสูตร มีสภาพการดำเนินงานโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีการดำเนินการวางแผน
การบริหารหลักสูตร กำกับและติดตามการใช้หลักสูตรของสถานศึกษา อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ การ
พัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งจัดเอกสารหลักสูตรที่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอน และจัด
ทำสาระหลักสูตรโดยวิเคราะห์สภาพความต้องการของผู้เรียน ตามลำดับ
1.3 ด้านวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา มีสภาพการดำเนินงานโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
โดยมีการดำเนินงานเกี่ยวกับการสร้างความตระหนักและจิตวิญญาณของจรรยาบรรณและวิชาชีพครู อยู่ในระดับ
มากที่สุด รองลงมาคือ การพัฒนาครูให้มีมาตรฐาน และจรรยาบรรณของ วิชาชีพครูอย่างต่อเนื่อง และจัดอบรม
และฝึกปฏิบัติให้ครูมีความรู้ ความเข้าใจในการจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ตามลำดับ
1.4 ด้านการบริหารและการจัดการ มีสภาพการดำเนินงานโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก โดยมีการ
ดำเนินงานเกี่ยวกับการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีสอดคล้องกับธรรมนูญโรงเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา
คือ การบริหารจัดการโดยใช้ธรรมนูญโรงเรียนเป็นแผนแม่ และดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการสถานศึกษาโดย
ดำเนินการตาม ขั้นตอนและระเบียบของทางราชการ ตามลำดับ
2. ระดับปัญหาการดำเนินงานตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษาของโรงเรียนเอกชนในเครือคาทอลิก
คณะอุร์สุลินโดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย โดยมีปัญหาเกี่ยวกับด้านการเรียนการสอน อยู่ในระดับน้อยมากที่สุด รอง
ลงมาคือ ด้านหลักสูตร ด้านการบริหารและการจัดการ และด้านวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา ตามลำดับ และ
เมื่อพิจารณาวิเคราะห์ปัญหาแต่ละด้านพบว่า
2.1 ด้านการเรียนการสอน มีปัญหาการดำเนินงานโดยภาพรวม อยู่ในระดับน้อย ซึ่งมีปัญหาเกี่ยว
กับการจัดบรรยากาศ และสภาพแวดล้อมในห้องเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ อยู่ในระดับสูงสุด
รองลงมาคือการทำวิจัยในชั้นเรียนและนำผลการวิจัยมาพัฒนาการเรียน การสอน และการใช้สื่อประกอบการสอนที่
หลากหลายสอดคล้องตามจุดประสงค์ เนื้อหา และเป็นสื่อที่ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ตามลำดับ
2.2 ด้านหลักสูตร มีปัญหาการดำเนินงานโดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย โดยมีปัญหาเกี่ยวกับจัดทำ
ข้อมูลพื้นฐานของชุมชนเกี่ยวกับความต้องการของชุมชน เพื่อนำมาจัดทำหลักสูตรระดับชั้นเรียน อยู่ในระดับสูงสุด
57
รองลงมาคือ การวางแผนการบริหารหลักสูตร กำกับและติดตามการใช้หลักสูตรของสถานศึกษา และมีการจัดทำ
ประมวลการสอนและแบบการเรียนให้สอดคล้องกับ หลักสูตรแกนกลางและสภาพของท้องถิ่นโดยร่วมมือกับชุม
ชน ท้องถิ่น ตามลำดับ
2.3 ด้านวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา มีปัญหาการดำเนินงานโดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย
โดยมีปัญหาเกี่ยวกับการจัดอบรมและฝึกปฏิบัติให้ครูมีความรู้ ความเข้าใจในการจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้น
ผู้เรียนเป็นสำคัญ อยู่ในระดับสูงสุด รองลงมาคือ การสร้างข้อตกลงร่วมกันระหว่างผู้บริหารโรงเรียนและครูในการ
พัฒนาบุคลากร และจัดครูเข้าสอนได้เหมาะสมตรงกับความถนัดของแต่ละคน ตามลำดับ
2.4 ด้านการบริหารและการจัดการ มีปัญหาการดำเนินงานโดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย โดยมี
ปัญหาเกี่ยวกับการควบคุมการจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นโดยคณะกรรมการที่สถานศึกษาแต่งตั้ง อยู่ใน
ระดับสูงสุด รองลงมาคือ การสนับสนุน ส่งเสริมผู้บริหารโรงเรียน คณะครู ชุมชนให้ได้ใช้ทรัพยากรร่วมกัน และจัด
ระบบการกำกับ ติดตามประเมินผลและ รายงานผลการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ตามลำดับ
3. แนวทางการแก้ไขปัญหาการดำเนินงาน
3.1 ด้านการเรียนการสอน ข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาการดำเนินงานคือ ส่งเสริมและ
สนับสนุนให้มีการจัดกระบวนการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญให้เรียนรู้ตามสภาพที่ แท้จริง และใช้ภูมิ
ปัญญาท้องถิ่นมาช่วยสอน วางแผนและจัดทำโครงการ
3.2 ด้านหลักสูตร ข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาการดำเนินงานคือ ผู้บริหารและครูร่วมกัน
วางแผนพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา และมีการจัดทำสาระการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางร่วมกัน
ระหว่างโรงเรียนในเครืออุร์สุลิน
3.3 ด้านวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา ข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาการดำเนินงาน
คือ สร้างความรู้ความเข้าใจให้กับคณะครูเกี่ยวกับมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพครู และจัดให้มีการฝึกอบรม
สัมมนาและศึกษาดูงานระหว่างครูร่วมกัน เพื่อสร้างความเข้าใจอันดี และเกิดความร่วมมือกัน
3.4 ด้านการบริหารและการจัดการ ข้อเสนอแนะแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาการดำเนินงานคือผู้
บริหาร คณะครู และชุมชนร่วมกันกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา และให้ คณะกรรมการสถานศึกษา
หรือผู้แทนชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารการศึกษา
อภิปรายผล
1. สภาพการดำเนินงาน
จากการศึกษาสภาพการปฏิบัติงานตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษาของโรงเรียนเอกชนใน
เครือคาทอลิกกคณะอุร์สุลิน พบว่ามีสภาพการปฏิบัติงานโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากทั้ง 4 ด้าน ทั้งนี้เพราะโรง
เรียนได้ดำเนินจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาที่ต้องการให้คนไทยได้มีโอกาสและความเสมอ
ภาคในการได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงทุกคน สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา กระบวนการจัดการเรียนรู้ต้องเน้น
ผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุข มีคุณภาพมาตรฐานสูงเป็นที่พึงพอใจของสังคม โดยมีครูดี
ครูเก่ง มีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ มีกระบวนการบริหารจัดการที่กระจายอำนาจให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม มีความ
58
โปร่งใสตรวจสอบได้ (กระทรวงศึกษาธิการ 2542 : 5) และเพื่อให้การดำเนินงานปฏิรูปการศึกษาเป็นไปทิศทางเดียว
กัน กระทรวงศึกษาธิการจึงได้จัดทำเอกสารเส้นทางสู่ความสำเร็จของการศึกษาไทย 2550 ภายในเอกสารฉบับนี้ได้
เขียนกรอบแนวทางอย่างกว้างๆ ในการดำเนินงานการปฏิรูปการศึกษาของหน่วยงานต่างๆ ทั้ง 4 ด้านคือ ด้านปฏิรูป
กระบวนการเรียนการสอน การปฏิรูปหลักสูตร การปฏิรูปวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา และการปฏิรูป
ระบบบริหารจัดการ ซึ่งได้ระบุถึงภาระกิจหลักๆ ของการปฏิรูปการศึกษา รวมทั้งแนวปฏิบัติหรือกิจกรรม การ
ปฏิรูปการศึกษาที่หน่วยงานและสถานศึกษาที่เกี่ยวข้องทุกระดับควรดำเนินการในเรื่องใดบ้าง อย่างไร ช่วงเวลาใด
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปเป็นข้อมูลกำหนดแนวปฏิบัติและจัดทำแผนการปฏิรูป (กระทรวงศึกษาธิการ
2542 : คำนำ) สำหรับการพิจารณาเป็นรายด้านผู้วิจัยขอแยกประเด็นเป็นรายข้อดังต่อไปนี้
1.1 ด้านการเรียนการสอน พบว่ามีสภาพการดำเนินงานโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมี
การดำเนินงานเกี่ยวกับการบูรณาการสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ดีงาม และ คุณลักษณะอันพึงประสงค์
ในการเรียนการสอนทุกวิชาอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการจัดการศึกษาอุร์สุลิน (มปป. :
20) ที่มุ่งเน้นให้มีความรู้คู่คุณธรรม และอุทัย บุญประเสริฐ (2544 : 63) ได้กล่าวว่า การจัดการศึกษาทั้งในระบบและ
นอกระบบต้องเน้นความสำคัญทั้งความรู้คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้และบูรณาการตามความเหมาะสมในแต่ละ
ระดับ และมีทำการประเมินผล ผู้เรียนให้ครอบคลุมพัฒนาการของผู้เรียน ความประพฤติ พฤติกรรมการเรียน การ
ร่วมกิจกรรมและผลงาน นำผลประเมินมาปรับปรุงเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ซึ่งเป็นการสอดคล้องกับหลักสูตรการ
ศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 (2545 : 24 - 25) เกี่ยวกับการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ที่กล่าวไว้ว่า การวัดและ
ประเมินผลการเรียนรู้เป็นกระบวนการที่ให้ผู้สอนใช้พัฒนาคุณภาพผู้เรียนเพราะจะช่วยให้ได้ข้อมูลสารสนเทศที่
แสดงพัฒนาการ ความก้าวหน้าและความสำเร็จทางการเรียนโดยประเมินความประพฤติ พฤติกรรมการเรียน การ
ร่วมกิจกรรม และผลงานจากโครงงานหรือแฟ้มสะสมงาน
1.2 ด้านหลักสูตร พบว่ามีสภาพการดำเนินงานโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีการวางแผน
การบริหารหลักสูตร กำกับ ติดตามการใช้หลักสูตร มีการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งจัด
เอกสารหลักสูตรที่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอน และจัดทำหลักสูตรโดยวิเคราะห์สภาพความต้องการของผู้เรียน
ซึ่งวิชัย วงศ์ใหญ่ (2545 : 54 - 55) ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับหลักสูตรสถานศึกษาไว้ว่า การปฏิรูปหลักสูตรต้องมีการ
วางแผน จัดระบบให้ดี มีข้อมูลที่ชัดเจน รายละเอียดในเอกสารหลักสูตรต้องชี้แนวการสอนอย่างถูกต้อง ทันสมัย
คณาจารย์ต้องมีคุณภาพ เข้าใจหลักสูตรอย่างดี เมื่อครูเป็นผู้เขียนหลักสูตรเองแล้ว ย่อมจะทำให้การศึกษาทำความ
เข้าใจ หลักสูตรเป็นไปโดยง่าย สามารถปรับประยุกต์ให้เหมาะสมกับสภาพที่เป็นจริงในห้องเรียนได้
1.3 ด้านวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา พบว่ามีสภาพการดำเนินโดย ภาพรวมอยู่ใน
ระดับมาก โดยโรงเรียนได้สร้างความตระหนัก และจิตวิญญาณของจรรยาบรรณวิชาชีพครู พัฒนาครูให้มีมาตรฐาน
อย่างต่อเนื่อง ในลักษณะการจัดอบรม และฝึกปฏิบัติให้ครูมีความรู้ ความ เข้าใจในการจัดกระบวนการเรียนการสอน
ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ คณะอุร์สุลินได้ตระหนักเห็นว่าในการจัดการศึกษานั้นผู้ที่มีบทบาทและเป็นกลไกสำคัญที่จะ
ดำเนินการพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถตามความมุ่งหวังได้ ก็คือ ครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งสอด
คล้องกับที่ สมหวัง พิริยานุวัฒน์ (2544 : 89) ได้กล่าวไว้ว่าบทบาทของครูมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ในฐานะเป็น
ผู้สร้างที่ยิ่งใหญ่ สร้างคนดี คนเก่ง คนกล้าให้แผ่นดิน และเป็นผู้จัดประสบการณ์ บรรยากาศในกระบวนการเรียนรู้
59
ฉะนั้นครูจึงต้องมีคุณสมบัติเฉพาะ มีความสามารถสูง สามารถจัดการเรียนการสอนให้เท่าทันกระแสการเปลี่ยน
แปลงของโลก ซึ่งโรงเรียนในเครือคาทอลิก
1.4 ด้านการบริหาร และการจัดการ พบว่ามีสภาพการดำเนินงานโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
โดยเฉพาะเรื่องที่โรงเรียนมีความตระหนักและปฏิบัติตามนโยบายของสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษา
เอกชนที่ให้มีการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี ใช้ธรรมนูญโรงเรียนเป็นแผนแม่บท และแต่งตั้งคณะกรรมการสถาน
ศึกษาโดยดำเนินการตามขั้นตอนและระเบียบของทางราชการ เพื่อทำหน้าที่ควบคุมการจัดการศึกษาให้มีประสิทธิ
ภาพ สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษา แห่งชาติพุทธศักราช2542 มาตรา 44 ที่กล่าวไว้ว่าให้สถานศึกษาเอก
ชนเป็นนิติบุคคลและคณะกรรมการสถานศึกษา รวมทั้งได้มีการจัดระบบการกำกับ ติดตาม ตรวจสอบและประเมิน
ตนเองอย่างต่อเนื่อง และให้องค์กรภายนอกเข้ามาร่วมประเมินผล และสอดคล้องกับกับที่จำรัส นองมาก (2536 : 16)
ได้เสนอแนวทางในการจัดการศึกษาเอกชนไว้ว่า โรงเรียนเอกชนจะต้องพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้ได้รับความเชื่อ
ถือจากรัฐและประชาชน สิ่งที่เป็นตัวชี้ และประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน เอกชนนั่นก็คือมาตรฐานคุณ
ภาพการศึกษาโดยการพึ่งตนเองเกือบทุกด้าน ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของรุ่ง แก้วแดง (2543 : 8 - 9) ที่กล่าวว่า โรง
เรียนเอกชนสามารถกำหนดนโยบายของโรงเรียนได้เอง สามารถจ้างครูได้เอง มีระบบการเงินและงบประมาณของ
ตนเอง ดังนั้นจึงทำให้โรงเรียนในเครือคาทอลิก คณะอุร์สุลินต้องเร่งพัฒนา ปรับปรุงคุณภาพการศึกษาให้เกิดความ
เชื่อถือ และศรัทธาจาก ผู้ปกครองที่จะส่งบุตรหลานมาเข้าศึกษาในโรงเรียนอย่างเชื่อมั่นว่า บุตรหลานของเราจะมี
ความรู้ ความสามารถอย่างแท้จริง และงานวิจัยของศุภลักษณ์ สระแก้ว (2544 : บทคัดย่อ) ที่ได้ศึกษาสภาพการ
ปฏิบัติงาน ปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาการปฏิบัติงานระบบการบริหารการจัดการตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษา
โรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ พบว่ามีสภาพการปฏิบัติงานมากเช่นเดียวกัน
2. ปัญหาการดำเนินงาน
จากการศึกษาปัญหาการดำเนินงานตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษาของโรงเรียนเอกชนใน
เครือคาทอลิกคณะอุร์สุลินมีปัญหาโดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย ในการพิจารณาเป็น รายด้านผู้วิจัยขอแยก
ประเด็นเป็นรายข้อดังต่อไปนี้
2.1 ด้านการเรียนการสอน จากการวิจัยพบว่าโดยภาพรวมมีปัญหาด้านการเรียนการสอนอยู่ใน
ระดับน้อย โดยมีปัญหาเกี่ยวกับการจัดบรรยากาศ และสภาพแวดล้อมในห้องเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียน
เป็นสำคัญ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของวีรยุทธ์ จงจัดกลาง (2542 : บทคัดย่อ) ที่พบว่าการพัฒนากิจกรรมการ
เรียนการสอน การพัฒนาครูให้มีความรู้ ความเข้าใจในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้
นักเรียนเป็นคนคิดเป็น สามารถแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง สามารถปฏิบัติงานจริงได้อย่างมีค่านิยมและบุคลิก
ลักษณะที่ดีอย่างถาวร การใช้สื่อประกอบการสอนที่หลากหลายสอดคล้องตามจุดประสงค์ เนื้อหา และเป็นสื่อที่ให้ผู้
เรียนเกิดการเรียนรู้ จัดการเรียนรู้โดยมุ่งพัฒนาและส่งเสริมกระบวนการคิดอย่างมีระบบและมีวิจารณญาณ และนำ
เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสภาพโรงเรียนมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของของจิตรา
กาญจนวิบูลย์ (2539 : บทคัดย่อ) พบว่าปัญหาการบริหารงานวิชาการประการหนึ่งคือ ครูขาดความรู้และทักษะใน
การผลิต การใช้และการบำรุงรักษาสื่อการเรียนการสอน เอกสารและวัสดุอุปกรณ์ เช่นเดียวกับงานวิจัยของจิตรลดา
จาตุรนห์รัศมี (2529 : 121 - 123) พบว่า การบริหารงานวิชาการระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ตามโครงการขยายโอกาส
60
ทางการศึกษาขั้นพื้นฐานในสังกัดกรุงเทพมหานครมีปัญหาเกี่ยวกับการขาดงบประมาณสนับสนุนในการผลิตสื่อการ
สอน และจากงานวิจัยของรัชนีย์ สุทธิกรดานนท์ (2539 : บทคัดย่อ) พบว่า การบริหารงานวิชาการด้านการเรียนสอน
มีปัญหาสำคัญในการปฏิบัติงานคือ ครูไม่ให้ความสำคัญต่อการจัดทำแผนการสอน และขาดทักษะในการจัดทำสื่อ
ในขณะเดียวกันนวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์ (2545 : 11) กล่าวว่า ครูจะต้องปรับเปลี่ยนวิธีการวัดและประเมินผลการเรียน
รู้ของผู้เรียน เพื่อให้สอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนเป็นสำคัญครูต้องประเมินที่การพัฒนาของผู้
เรียนแต่ละบุคคล การวัดและประเมินผลความก้าวหน้าของการเรียนรู้ต้องประเมินจากสภาพจริง มิใช่เป็นแต่ผล
สัมฤทธิ์ทางเรียนเนื้อหาวิชาอย่างเดียวกัน
2.2 ด้านหลักสูตร มีปัญหาโดยรวมอยู่ในระดับน้อย แต่เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่ามีปัญหา
อยู่ในระดับปานกลาง โดยมีปัญหาเกี่ยวกับการจัดทำข้อมูลพื้นฐานของชุมชนเกี่ยวกับความต้องการของชุมชน เพื่อ
นำมาจัดทำหลักสูตรระดับชั้นเรียน การวางแผนการบริหารหลักสูตร กำกับ และ ติดตามการใช้หลักสูตรของสถาน
ศึกษา การจัดทำประมวลการสอนและแบบการเรียนให้สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางและสภาพท้องถิ่นโดยร่วม
มือกับชุมชน สอดคล้องกับที่ อุบลวรรณ สิทธิวรเดช (2544 : 90) ได้กล่าวไว้ว่ารัฐควรกระจายอำนาจการ
บริหารการศึกษาให้กับชุมชนในท้องถิ่น ได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นเรื่องหลักสูตร พร้อมทั้งดูแล และ
กำกับการดำเนินงานของโรงเรียน นอกจากนี้ควรเปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามาจัดการศึกษา รัฐเพียงแต่ดูแลกำกับใน
เรื่องมาตรฐานการศึกษา และทัศนีย์ สงวนสัตย์ (2540 : 61 - 64) กล่าวไว้ว่าบ้านและชุมชนจะต้องรับผิดชอบการ
ศึกษาด้านลักษณะนิสัยของเด็ก เพราะบ้านและชุมชนเป็นจุดเริ่มต้นของการจัดการศึกษาทุกแขนง ในขณะที่จิตรลดา
จาตุรนห์รัศมี (2529 : 121 - 123) ได้ทำการวิจัยสภาพและปัญหาการบริหารงานวิชาการ พบว่ามีปัญหาเกี่ยวกับการ
ขาดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานวิชาการด้านหลักสูตรและการนำหลักสูตรไปใช้ในการจัดการ
เรียนการสอน
2.3 ด้านวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา พบว่าปัญหาโดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย โดย
มีปัญหาเกี่ยวกับการจัดอบรมและฝึกปฏิบัติให้ครูมีความรู้ ความเข้าใจในกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็น
สำคัญ การสร้างข้อตกลงร่วมกันระหว่างผู้บริหารและครูในการพัฒนาบุคลากร และจัดครูเข้าสอนเหมาะสมตรงกับ
ความถนัดของแต่ละคน รวมทั้งได้จัดครูเข้าสอนได้เหมาะสมตรงตามความถนัดของแต่ละคน มีการจัดประชุม
ปรึกษาหารือเป็นประจำทุกเดือน จัดทำเอกสารเสริมความรู้ และส่งเสริมให้ครูและบุคลากรเข้ารับการอบรมสัมมนา
เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะเทคนิคและวิธีการใหม่ๆ ปฏิบัติงาน ทั้งนี้โรงเรียนได้ตระหนักว่าการอบรมเป็นวิธีการหนึ่ง
ที่จะเพิ่มทักษะให้ครูสามารถแก้ปัญหา ปรับปรุงประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับสภาพการจัดการเรียนการสอนและเพิ่มประ
สิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอนได้ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัย เอกชัย ผาบไชย (2534 : บทคัดย่อ) ที่ได้ทำการ
ศึกษาเรื่องลำดับความสำคัญของกิจกรรมการนิเทศการศึกษาภายในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการ
ประถมศึกษาแห่งชาติ ในเขตการศึกษา 8 ซึ่งผลการศึกษาพบว่า ผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษามีความเห็นว่าการ
ส่งครูรับ การอบรมเพิ่มพูนความรู้ที่สถาบันต่างๆ จัดขึ้นมีความสำคัญมากที่สุด
2.4 ด้านการบริหารการจัดการ มีปัญหาโดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย โดยมีปัญหา
เกี่ยวกับการควบคุมการจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นโดยคณะกรรมการที่สถานศึกษาแต่งตั้ง การสนับสนุน
ส่งเสริมผู้บริหารโรงเรียน คณะครู ชุมชนได้ใช้ทรัพยากรร่วมกัน และจัดระบบการกำกับ ติดตามประเมินผลและราย
งานผลการประกันคุณภาพ ซึ่งแสดงว่าโรงเรียนเอกชนในเครือคาทอลิก คณะอุร์สุลินมีความตระหนักและปฏิบัติตาม
61
ข้อกำหนดในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 มาตรา 44 ที่กำหนดให้ สถานศึกษาเอกชนมีการ
บริหารในรูปแบบคณะกรรมการ ซึ่งประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษา ผู้รับใบอนุญาต ผู้แทนผู้ปกครอง ผู้แทนองค์
กรชุมชน ผู้แทนครู ผู้แทนศิษย์เก่าและผู้ทรงคุณวุฒิ โดยอำนาจสูงสุดอยู่ที่คณะกรรมการบริหาร จากข้อกำหนดดัง
กล่าวทำให้โรงเรียนจะต้องจัดโครงสร้างองค์กรให้เป็นรูปธรรม เปิดโอกาสให้บุคคลหลายๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้มี
โอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย วางแผน และให้ฝ่ายปฏิบัตินำไปดำเนินการ ซึ่งก่อให้เกิดผลดีต่อการ
บริหาร เช่น การวินิจฉัยตัดสินใจเกี่ยวกับการบริหาร เป็นไปอย่างรอบคอบเพราะการทำงานหลายคนมีโอกาสร่วม
พิจารณากลั่นกรอง เพื่อให้การทำงานผิดพลาดน้อยที่สุด
3.แนวทางการแก้ไขปัญหา
3.1 ด้านการเรียนการสอน โรงเรียนในเครือคาทอลิก คณะอุร์สุลิน ได้เสนอ แนวทางการแก้
ไขปัญหาด้านการปฏิรูปการเรียนการสอน ด้วยการส่งเสริมให้มีการจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็น
สำคัญ เรียนรู้ตามสภาพที่แท้จริง นำสื่อ วัสดุอุปกรณ์มาใช้ในการจัดการเรียนสอน โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาช่วย
สอน และสนับสนุนให้ครูช่วยกันผลิตสื่อสื่อ มีการ แลกเปลี่ยน หรือยืมสื่อการเรียนการสอนร่วมกันระหว่างโรง
เรียนในเครืออุร์สุลิน ซึ่งตรงกับข้อเสนอแนะของ เจตนา ลี้สุวรรณ (2543 : 294) ซึ่งระบุว่า การบริหารงานวิชาการใน
โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา กรุงเทพมหานคร ควรมีการปฏิบัติงานร่วมกันเกี่ยวสื่อการสอน ทั้งการ
จัด อบรม การผลิต การใช้และการช่วยเหลือเพื่อการผลิตสื่อการสอนร่วมกัน ในทำนองเดียวกัน รัชนีย์ สุทธิกร
ดานนท์ ( 2539 : บทคัดย่อ) ได้เสนอแนวทางแก้ไขปัญหาด้านการเรียนการสอนไว้ว่า ควรสนับสนุนให้จัดฝึกอบรม
เกี่ยวกับการผลิตสื่อ หรือเชิญวิทยากรมาให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำสื่อ และตั้งศูนย์บริการสื่อการเรียนการสอน
สำหรับใช้ร่วมกัน
3.2 ด้านหลักสูตร โรงเรียนในเครือคาทอลิก คณะอุร์สุลิน ได้เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา
ด้านการปฏิรูปหลักสูตร ด้วยการให้ผู้บริหารและครูร่วมกันวางแผนพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา จัดทำสาระการเรียน
รู้ให้สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางร่วมกันระหว่างโรงเรียนในเครือ อุร์สุลิน และส่งครูเข้าอบรมสัมมนาทาง
วิชาการในการจัดทำหลักสูตร แลัวนำมาเผยแพร่ให้ คณะกรรมการโรงเรียน และผู้แทนชุมชนเข้าใจตรงกัน
เพื่อจะได้ปรับปรุงหลักสูตรท้องถิ่นให้สมบูรณ์ขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ ศักดาเดช ทาซ้าย (2542 : 147 -
156) ที่ได้ให้ข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาไว้ว่าการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่น การส่งครูที่เป็นคณะกรรมการ
จัดทำ หลักสูตรเข้าอบรมสัมมนาการจัดทำหลักสูตรและนำความรู้มาทำความเข้าใจกับคณะกรรมการ และได้
แต่งตั้งกรรมการฝ่ายวิชาการหลักสูตรทุกระดับชั้นร่วมกันประเมินและปรับปรุงแก้ไขผลการดำเนินงาน และจากผล
งานวิจัยของ คาลลอน (Kallon 1997 : 2004 - A) ที่ได้ศึกษาเกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษาในเมืองเชียราลีออน ได้ยืน
ยันผลสำเร็จในการใช้หลักสูตรประถมศึกษาเชิงนวัตกรรมที่ สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมของท้อง
ถิ่นเป็นผลมาจากการสนับสนุนของรัฐบาล ความช่วยเหลือจากเอกชน ความร่วมมือของชุมชน นักเรียน และอาจารย์
ในการสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ ทรัพยากรต่างๆ ตลอดจนการฝึกอบรมควบคุมดูแลอย่างทั่วถึง
3.3 ด้านวิชาชีพครูและบุคลากรทางการโรงเรียนในเครือคาทอลิก คณะอุร์สุลิน ได้เสนอแนว
ทางการแก้ไขปัญหาด้านการปฏิรูปวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา ด้วยการสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับคณะ
ครูเกี่ยวกับมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพครู จัดให้มี การอบรมสัมมนา และศึกษาดูงานร่วมกัน ซึ่งจะทำให้
62
เกิดความร่วมมือกัน และจัดกิจกรรมส่งเสริมขวัญและกำลังใจครู เช่นการจัดสวัสดิการให้ครูในรูปแบบต่างๆ สอด
คล้องกับงานวิจัยของ สมชัย ศรีมณี (2543 : 68) ที่ได้ให้ข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหาด้านบุคลากรไว้ว่า โรง
เรียนควรสนับสนุนสวัสดิการ ค่าตอบแทน หรือความดีความชอบ เพื่อเป็นแรงจูงใจให้แก่ครู ซึ่งตรงกับข้อเสนอ
แนะในการวิจัยของ บุญถม หิรัญคำ (2540 : บทคัดย่อ) ที่ได้เสนอแนะการแก้ปัญหาด้านวิชาชีพครูและบุคลากรทาง
การศึกษาไว้ว่า ควรประชุมชี้แจง กำกับ ติดตามและให้ขวัญกำลังใจอย่างสม่ำเสมอ ทำให้งานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
3.4 ด้านการบริหารและการจัดการ โรงเรียนในเครือคาทอลิก คณะอุร์สุลิน ได้เสนอ
แนวทางแก้ไขปัญหาด้านการปฏิรูปการบริหารและการจัดการ ด้วยการให้ผู้บริหาร คณะครู และชุมชนร่วมกัน
กำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา เปิดโอกาสให้คณะกรรมการสถานศึกษา หรือผู้แทนชุมชนมีส่วนร่วมใน
การบริหารการศึกษา และจัดหาทรัพยากรและงบประมาณสำหรับการดำเนินงานเพื่อพัฒนาการศึกษาของโรงเรียน
ในเครืออุร์สุลินให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ ชัยวัฒน์ พันธ์เดช (2543 : บทคัดย่อ) ได้
ศึกษาเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการปฏิบัติงานตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาของโรงเรียนมัธยม
ศึกษา สังกัด กรมสามัญศึกษา จังหวัด หนองคาย ได้เสนอแนะในการแก้ปัญหาด้านระบบการบริหาร ไว้ว่า ควร
ให้บุคลากรและชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารและการจัดการศึกษา ลอร์เรนซ์ (Lawrence. 1996 : 534) ได้ศึกษาผล
กระทบของการเปลี่ยนแปลงการปฏิรูประบบการศึกษาที่มีต่อบทบาทความรับผิดชอบ และความสัมพันธ์กับครูใหญ่
ตลอดจนโครงสร้างอำนาจหน้าที่ของโรงเรียน พบว่า ครูใหญ่จะต้องมีบทบาทเป็นผู้จัดการทั้งในเรื่องงบประมาณ
การประเมินบุคคล และการควบคุมดูแล และมีบทบาทเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลง เช่น เป็นผู้ประสานเชื่อมโยง
และเป็นผู้สนับสนุน
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะสำหรับผู้บริหารโรงเรียนเอกชนในเครือคาทอลิก คณะอุร์สุลิน
จากผลการวิจัยสภาพ ปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาการดำเนินงานตามนโยบายการปฏิรูปการ
ศึกษาของโรงเรียนเอกชนในเครือคาทอลิก คณะอุร์สุลิน สามารถสรุปข้อเสนอแนะ แนวทางในการพัฒนาการดำเนิน
งานการปฏิรูปการศึกษาได้ดังนี้
1.1 ด้านการเรียนการสอน พบว่ามีปัญหาเกี่ยวกับการจัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อมภาย
ในห้องเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ดังนั้นผู้บริหารควรส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการจัด
กระบวนการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยให้เรียนรู้ตามสภาพที่แท้จริง มีการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมา
ช่วยในการเรียนการสอน การวางแผนและจัดทำโครงการต่างๆ นอกจากนี้ควรสนับสนุนให้ครูช่วยกันผลิตหรือแลก
เปลี่ยนสื่อการเรียนการสอนร่วมกันระหว่าง โรงเรียนในเครืออุร์สุลิน รวมทั้งจัดให้มีการนิเทศการสอนอย่างต่อ
เนื่อง มีการสร้างเครื่องมือวัดผล มีการดำเนินการวัดผล และประเมินผลเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนร่วมกัน
โดยวิเคราะห์ความสามารถ ความถนัด ความสนใจ และวิธีการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ
1.2 ด้านหลักสูตร พบว่ามีปัญหาในการจัดทำข้อมูลพื้นฐานของชุมชนเกี่ยวกับความ
ต้องการของชุมชน เพื่อนำมาจัดทำหลักสูตรในแต่ละระดับชั้นเรียน รวมไปถึงการวางแผนบริหารหลักสูตร กำกับ
และติดตามการใช้หลักสูตรของสถานศึกษา ดังนั้นผู้บริหารและครูควรร่วมกันวางแผนพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
63
โดยมีการจัดทำสาระการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางร่วมกันระหว่างโรงเรียนในเครืออุร์สุลิน นอก
จากนี้โรงเรียนควรจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นขึ้นใช้ในสถานศึกษาด้วย
1.3 ด้านวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา พบว่ามีปัญหาในการจัดอบรมและฝึกปฏิบัติ
ให้ครูมีความรู้ ความเข้าใจในกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ดังนั้นผู้บริหารควรจัดให้มีการฝึก
อบรมสัมมนา และมีการศึกษาดูงานระหว่างครูร่วมกัน เพื่อสร้างความเข้าใจอันดี เกิดความร่วมมือกัน และควรจัดกิจ
กรรมส่งเสริมขวัญและกำลังใจของครู เช่นการจัดสวัสดิการในรูปแบบต่างๆ เช่น เงินตอบแทนประจำปีตามผลงานที่
ประเมิน เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจในการทำงาน
1.4 ด้านการบริหารและการจัดการ พบว่ามีปัญหาในเรื่องของประสิทธิภาพของการจัดการ
ศึกษาซึ่งควบคุมโดยคณะกรรมการที่สถานศึกษาแต่งตั้ง ดังนั้นผู้บริหาร คณะครู และชุมชนควรร่วมกันกำหนดมาตร
ฐานการศึกษาของสถานศึกษา รวมทั้งให้คณะกรรมการสถานศึกษา หรือ ผู้แทนชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหาร
การศึกษา จัดหาทรัพยากรและงบประมาณสำหรับการดำเนินและกิจกรรมพัฒนาสถานศึกษาของโรงเรียน นอกจาก
นี้ผู้บริหารโรงเรียนควรร่วมมือกันกำหนด แนวทาง และดำเนินการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน
2. ข้อเสนอแนะสำหรับครูโรงเรียนเอกชนในเครือคาทอลิก คณะอุร์สุลิน
2.1 ด้านการเรียนการสอน พบว่ามีปัญหาเกี่ยวกับการจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อมในห้อง
เรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีปัญหาในการทำวิจัยในชั้นเรียน และการนำผลการวิจัยมา
พัฒนาการเรียนการสอน ดังนั้นผู้บริหารควรสนับสนุนและส่งเสริมให้มีจัดการอบรมและฝึกปฏิบัติเพื่อให้ครูเข้าใจ
ถึงกระบวนการจัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งมุ่งเน้นให้ ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามสภาพที่แท้จริง รวม
ถึงมีการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาช่วยสอน วางแผนและจัดทำโครงการต่างๆ นอกจากนี้ควรสนับสนุนและส่งเสริมให้
ครูทุกคนทำการวิจัยในชั้นเรียน และนำผลการวิจัยมาพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
2.2 ด้านหลักสูตร พบว่ามีปัญหาเกี่ยวกับการจัดทำข้อมูลพื้นฐานของชุมชนเกี่ยวกับความ
ต้องการของชุมชน เพื่อนำมาจัดทำหลักสูตรระดับชั้นเรียน ดังนั้นผู้บริหาร และครูควรร่วมกันวางแผนพัฒนาหลัก
สูตรสถานศึกษาให้เหมาะกับความต้องการของท้องถิ่น นอกจากนี้ควรมีการจัดทำสาระการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับ
หลักสูตรแกนกลางร่วมกันระหว่างโรงเรียนในเครืออุร์สุลิน และนำสิ่งเหล่านั้นมาเผยแพร่ให้กับคณะกรรมการโรง
เรียน และผู้แทนชุมชนเพื่อให้มีความเข้าใจตรงกันจะได้มีการปรับปรุง แก้ไข หลักสูตรท้องถิ่นให้มีความสมบูรณ์
มากยิ่งขึ้น
2.3 ด้านวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา พบว่ามีปัญหาเกี่ยวกับการจัดอบรมและฝึก
ปฏิบัติเพื่อให้ครูมีความรู้ ความเข้าใจในการจัดเตรียมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ดังนั้นผู้บริหารควร
จัดให้มีการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับคณะครู ในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับวิธีการต่างๆ ที่ใช้ในการจัดการเรียนการ
สอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อสร้างความเข้าใจอันดี และเกิดความร่วมมือกันในการพัฒนาการศึกษา
2.4 ด้านการบริหารและการจัดการ พบว่ามีปัญหาในเรื่องของประสิทธิภาพของการจัดการ
ศึกษาซึ่งควบคุมโดยคณะกรรมการที่สถานศึกษาแต่งตั้ง ดังนั้นผู้บริหาร คณะครู และชุมชนร่วมกันกำหนดมาตร
ฐานมาตรฐานของสถานศึกษา และให้คณะกรรมการสถานศึกษา หรือผู้แทน ชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารการ
ศึกษา
64
ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งต่อไป
1. ควรมีการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการดำเนินงานตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษา ใน
สถานศึกษาสังกัดหน่วยงานทางการศึกษาอื่นๆ
2. ควรมีการศึกษาปัญหาการปฏิบัติตามแนวทางการดำเนินงานการศึกษาเป็นรายด้านโดยเฉพาะด้าน
กระบวนการเรียนการสอนและหลักสูตร
65
บรรณานุกรม
บรรณานุกรม
ภาษาไทย
66
กรมวิชาการ. (2545). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์
การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2539). แนวทางการดำเนินงานการปฏิรูปการศึกษา.กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์การศาสนา.
-------. (2542). คำชี้แจงประกอบพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา
กรมการศาสนา.
-------. (2542). แนวทางการดำเนินงานการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2541). คลื่นลูกที่ 5 ปราชญ์สังคม สังคมไทยที่พึงประสงค์ในทศวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ :
ซัค เซสมีเดีย.
จรวยพร ธรณินทร์. (2543 ). การปฏิรูปการศึกษาไทยตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. เอกสารการวิจัยฉบับ
สรุปสำหรับผู้บริหาร.
จรีย์พร โน๊ตชัยยา. (2541). ความเห็นของผู้บริหาร ผู้ช่วยผู้บริหาร และครูหัวหน้างานที่มีต่อการบริหารโรงเรียนตาม
แนวทางการปฏิรูปการศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษากรุงเทพมหานคร
วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์.
จำรัส นองมาก. (2536). การรับรองมาตรฐานคุณภาพโรงเรียนเอกชน : แนวทางการพัฒนาเพื่อเสริมบทบาทการแบ่ง
ภาระของรัฐ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา.
จิตรลดา จาตุรนห์รัศมี. (2539). สภาพและปัญหาการบริหารงานวิชาการ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นตามโครงการ
ขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐานในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร วิทยานิพนธ์ปริญญา
มหาบัณฑิต กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จิตรา กาญจนวิบูลย์. (2539). ศึกษาปัญหาการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการ
ประถมศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
เจตนา ลี้สุวรรณ. (2543). การบริหารงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดกรมสามัญศึกษา ในกรุงเทพมหานคร ใน
รูปแบบกลุ่มโรงเรียนและสหวิทยาเขต วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์.
ชนก แสงกล้า. (2541). การศึกษาสภาพปัจจุบันละปัญหาการปฏิบัติตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาของโรงเรียน
มัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษา ศาสตรมหาบัณฑิต สาขา
วิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ชนิดา รักษ์พลเมือง. (2525). “การเลิกล้มกิจการของโรงเรียนราษฎร์สายสามัญ,” วารสารการศึกษาแห่งชาติ. 16(5)
(มิถุนายน - กรกฎาคม) :31 - 32.
ชัยวัฒน์ พันธ์เดช. (2541). ปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการปฏิบัติงานตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาของโรง
เรียนมัธยมศึกษา จังหวัดร้อยเอ็ด วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
67
เชาวน์รัตน์ รัตน์ประโลม. (2542). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่การปฏิรูปการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาของโรงเรียน
มัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการ
ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ทศพล เชี่ยวชาญประพันธ์. (2543). ปฏิรูปการศึกษาในมุมมองของเด็กไทย. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์คุรุสภา.
ทัศนีย์ สงวนสัตย์. (2540). “การปฏิรูปการศึกษาที่ญี่ปุ่น,” สารพัฒนาหลักสูตร. 16. (มกราคม - มีนาคม) : 61 - 64.
ทิศนา แขมมณี และชนาทิป พรกุล. (2544). “กระบวนการเรียนรู้ : หัวใจของการปฏิรูปการศึกษา,” วารสารครุ
ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 30 (1) ( กรกฎาคม - ตุลาคม) :41 - 47.
ธนาคารกสิกรไทย. โครงการศึกษาไทยในยุคโลกาภิวัตน์. (2539). การศึกษาไทยในยุคโลกาภิวัตน์ : รู้ความก้าว
หน้าและความมั่นคงของชาติในศตวรรษหน้า “ข้อเสนอปฏิรูปการศึกษาไทย”. กรุงเทพฯ.
ธีระ ภูดี. (2541). การปฏิบัติตามแนวทางการดำเนินงานกาปฏิรูปการศึกษาโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงาน
การประถมศึกษาสังกัดงานการประถมศึกษา จังหวัดมุกดาหาร วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์. (2545). “การจัดการเรียนสอนตามแนวปฏิรูปการศึกษา ,” วารสารวิชาการ. 5(10) (ตุลาคม)
:4 - 13.
แนวการศึกษาของโรงเรียนอุร์สุลินในประเทศไทย. (2532). กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์อุดมศึกษา
บุญถม หิรัญคำ. (2539). การดำเนินงานตามแนวการปฏิรูปการศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษา : ศึกษาเฉพาะกรณีโรง
เรียนชุมชนบ้านโศก สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดชัยภูมิ วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ประคอง กรรณสูตร. (2540). สถิติศาสตร์ประยุกต์สำหรับครู. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ :ไทยวัฒนาพานิช
ประเวศ วะสี. (2541). การปฏิรูปการศึกษา ยกเครื่องทางปัญญา : ทางรอดจากความหายนะ. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสดศรี
- สฤษดิ์วงศ์.
ประหยัด เมธยกุล. (2536). การศึกษาระดับการปฏิบัติงานทางวิชาการตามเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนประถมศึกษา
สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการ
บริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สำนัก
ทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
ภูมิพันธ์ จันทร์เพ็ญ. (2544). การดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษาของโรงเรียนแกนนำปฏิรูปการเรียน
รู้ สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดสุรินทร์ วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการ
บริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
มณี ภัคเกษม. (2544). สัมภาษณ์, 26 ธันวาคม
รัชนี สุทธิกรดานนท์. (2539).การศึกษาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดกรมสามัญศึกษา.
ศึกษาเฉพาะกรณีโรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย จังหวัดนครราชสีมา วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ
: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
68
รุ่ง แก้วแดง. (2543).ภาพอนาคตของโรงเรียนเอกชน ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2542.กรุงเทพฯ :
สำนักพิมพ์คอมฟอร์ม.
ฤทธิรงศ์ ทองคำ. (2544). ปัญหาการดำเนินงานการปฏิรูปการศึกษาในโรงเรียน สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา
จังหวัดศรีสะเกษ วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วิจิตร ศรีสะอ้าน. (2539). ในศึกษิตแห่งศตวรรษที่21 : แนวคิดปฏิรูปการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้ง
แอนด์ พับลิชชิ่ง.
วิชัย วงศ์ใหญ่. (2545). “การบริหารหลักสูตรสถานศึกษา,”สานปฏิรูป. 4 (46) (มกราคม) : 54 - 55.
วิชาการ. (2545). “คำถามเกี่ยวกับหลักสูตรที่ครูควรรู้,” สานปฏิรูป. 45 (51) (มิถุนายน) : 52 - 53.
วิทยากร เชียงกุล. (2542). รายงานสภาวะการศึกษาไทย ปี 2541 : วิกฤตและโอกาสการปฏิรูปการศึกษาและสังคม
ไทย. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนพับลิชชิ่ง.
วีรยุทธ์ จงจัดกลาง. (2542).การศึกษาการปฏิบัติตามแนวทางการดำเนินงานตามจุดเน้นการพัฒนาการปฏิรูปการ
ศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษา : ศึกษาเฉพาะโรงเรียนกุดตาดำ สำนักงานการประถมศึกษากิ่งอำเภอพระ
ทองคำ จังหวัดนครราชสีมา วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ศักดาเดช ทาซ้าย. (2542).การดำเนินงานตามแนวการปฏิรูปการศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษา : ศึกษาเฉพาะกรณี
โรงเรียนชุมชนโซ่มิตรภาพที่ 140 สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดหนองคาย วิทยานิพนธ์ปริญญา
มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ศุภลักษณ์ สระแก้ว. (2544). สภาพปฏิบัติงาน ปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการปฏิบัติงานระบบการบริหารจัด
การตามนโยบายปฏิรูปการศึกษา โรงเรียนเอกชน จังหวัดกาฬสินธุ์ วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษา
มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สภาการศึกษาคาทอลิก. (2543). สถิติโรงเรียนและสถาบันการศึกษาคาทอลิก ปีการศึกษา 2543. มปท.
-------. (2543).การจัดการศึกษาเอกชนคาทอลิก. มปท. (อัดสำเนา)
สมชัย ศรีมณี. (2543).การจัดการศึกษาแบบสหวิทยาเขตของโรงเรียนมัธยมศึกษาส่วนกลาง สังกัดกรมสามัญศึกษา
วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สมหวัง พิริยานุวัฒน์. (2544). “แนวคิดในการกำหนดมาตรฐานวิทยฐานะครู : ยุทธศาสตร์หนึ่งของการปฏิรูป,” วาร
สารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 30(1) (กรกฎาคม - ตุลาคม) : 29.
สานิตย์ พิมพ์ปัจฉิม. (2544). การศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนตามแนวทางการปฏิรูปการ ศึกษาในโรงเรียน
มัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดอุดรธานี วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการ
บริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2539). การบริหารโรงเรียนตามแนวทางการปฏิรูปการ
ศึกษา.กรุงเทพฯ:สำนักงานโครงการพิเศษสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ.
-------. (2542). ธรรมนูญโรงเรียน. กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์คุรุสภา.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2542). โรงเรียนปฏิรูปการศึกษาปีการศึกษาปี 2539 - 2540. กรุงเทพฯ :
โรงพิมพ์คุรุสภา.
69
สำนักงานปฏิรูปการศึกษา. (2540). การปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2539). แนวทางการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ :
อมรินทร์พริ้นติ้งแอนพับลิชชิ่ง.
สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2539). เอกสารเพื่อการลงมติในการสัมมนาผู้แทนสมาชิกคุรุสภาทั่วประเทศ : การ
ปฏิรูปครู. กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์คุรุสภา.
สิปปนนท์ เกตุทัต. (2539). เป้าหมายและยุทธศาสตร์ในการปฏิรูปการศึกษา : เอกสารประกอบการสัมมนายุทธ
ศาสคร์การปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ
สุรพล สุพางค์.(2539). “ครูไทยในยุคโลกาภิวัตน์,” วารสารข้าราชการครู. 17 (1) (ตุลาคม - พฤศจิกายน) : 25 - 30.
อุทัย บุญประเสริฐ. (2544). “สาระจากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542,” วารสาร ครุศาสตร์ จุฬา
ลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 30(1) (กรกฎาคม - ตุลาคม) : 60 - 67.
อุบลวรรณ สิทธิวรเดช. (2544). การดำเนินงานตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรม
สามัญศึกษา จังหวัดร้อยเอ็ด : ศึกษากรณีเฉพาะโรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษา
มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เอกชัย ผาบไชย. (2532). การศึกษาลำดับความสำคัญของกิจกรรมการนิเทศการศึกษาภายในโรงเรียนประถมศึกษา
สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ในเขตการศึกษา 8 วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหา
บัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ พิษณุโลก.
ภาษาอังกฤษ
Alkhawaldeh, Nasseer Ahmad . (1996).Assessment of the Program for Preparing Islamic Education Teachers in
Jordannian Public University . Dissertation Abstracts International (DAI). 57(3) : 1096 - A.
Bauerly Kopel, Michelle Elaine. (1997). The Implementation of Total Quality Management Principles in
Minnesota Schools: Evidence form the Field (Secondary School, Education Reform). Dissertation
Abstracts International (DAI). 58(8) :2913 - A.
Bof, Alvana Maria . (1998). Improving the Quality and Efficiency of Primary Education in Brazil. Focusing on the
School: The Case of Randonopolis (Education Reform, School-based Management, Quality Management
Reform). Dissertation Abstracts International (DAI). 58(8) :2914 - A.
Kallon, Michael. R . (1997). An Interpretive Study of Planned Educational Reform Sierra Leana : The Primary
School and Teacher Education. Dessertation Abtracts International (DAI). 58(06) :2004 - A.
Lawrence Steven W. (1996). The Effects of Implementing Systematic Change on Principle’s Role,
Responsibilities and Relationship (Education Reform) Dessertation Abtracts International (DAI). 57(02)
:534 - A.
Zolubos, Maureen herley. (1998). Impact of the Aducation Reform Act of 1993 on Massachusetts Secondary
School Principals. Dissertation Abstacts International (DAI). 58(10) : 3799 - A.
ภาคผนวก
ภาคผนวก ก
แบบสอบถามเพื่อการวิจัย
แบบสอบถามเพื่อการวิจัย
เรื่อง
การศึกษาสภาพ ปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาของการดำเนินงานตามนโยบายการปฏิรูปการ
ศึกษาของโรงเรียนเอกชน ในเครือคาทอลิก คณะอุร์สุลิน
คำชี้แจง
1. แบบสอบถามฉบับนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาถึงสภาพ ปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาของการดำเนินงาน
ตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษาของโรงเรียนเอกชน ในเครือคาทอลิก คณะอุร์สุลิน โดยแบ่งออกเป็น 2 ตอน
คือ
ตอนที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลส่วนตัวของผู้ตอบแบบสอบถาม
ตอนที่ 2 แบบสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับสภาพและปัญหาของการดำเนินงานปฏิรูปการศึกษาของโรงเรียน
เอกชน ในเครือคาทอลิก คณะอุร์สุลิน มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า มี 5 ระดับคือ มาก
ที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด รวมไปถึงข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการแก้ไขปัญหาของ
การดำเนินงานปฏิรูปการศึกษาของโรงเรียนเอกชน ในเครือคาทอลิก คณะอุร์สุลิน
2. ในการตอบแบบสอบถามขอได้โปรดตอบตามความเป็นจริง และตอบคำถามให้ครบทุกข้อ คำตอบของท่านมี
ความสำคัญอย่างยิ่งที่จะนำไปวิเคราะห์ เพื่อเป็นประโยชน์ทางวิชาการ โดยการศึกษาค้นคว้าจะถูกเสนอเป็น
ภาพรวม และจะไม่มีผลกระทบต่อท่านแต่อย่างใด
ขอขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้
ลงชื่อ ……………………………………………
(นางสาวทิพย์วรรณ สุขุมเจริญวงศ์)
นักศึกษาปริญญาโท สาขาการบริหารการศึกษา
สถาบันราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ตอนที่ 1: ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับผู้ตอบแบบสอบถาม
คำชี้แจง: โปรดทำเครื่องหมาย ลงใน (......) หน้าข้อความที่ตรงกับความเป็นจริงเกี่ยวกับตัวท่านในปัจจุบัน
1. ตำแหน่งหน้าที่ในปัจจุบัน
(......) ผู้บริหารโรงเรียน (......) ครูผู้สอน
2. อายุ
(.....) ไม่เกิน 25 ปี (.....) 26-30 ปี
(.....) 31-35 ปี (.....) 36-40 ปี
(.....) 41-45 ปี (.....) 51 ปีขึ้นไป
3. ระยะเวลาการทำงานในโรงเรียนในเครือคาทอลิก คณะอุร์สุลิน
(......) น้อยกว่า 2 ปี (......) 2-5 ปี
(......) 6-10 ปี (......) 11-20 ปี
(......) 21-30 ปี (......) มากกว่า 30 ปี
4. วุฒิการศึกษาสูงสุด
(......) ต่ำกว่าปริญญาตรี (......) ปริญญาตรี
(......) สูงกว่าปริญญาตรี
79
ตอนที่ 2 : ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพปัญหาและแนวทางแก้ไขของการดำเนินงานตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษาของโรงเรียนเอกชน ในเครือคาทอลิก คณะอุร์สุลิน
คำชี้แจง : โปรดอ่านคำถามเกี่ยวกับสภาพ ปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาของการดำเนินงานปฏิรูปการศึกษาในโรงเรียนของท่าน แล้วขอให้พิจารณาและตัดสินใจตอบคำถามแต่ละข้อ
ในเรื่องต่าง ๆ โดยทำเครื่องหมาย  ลงในช่องระดับการปฏิบัติ และถ้าท่านเห็นว่ามีปัญหาในระดับปานกลาง มาก หรือ มากที่สุด โปรดเสนอและแนวทางแก้ไขปัญหา
ระดับการปฏิบัติ ระดับปัญหา
ข้อที่ สภาพและปัญหาของการดำเนินงานปฏิรูปการศึกษา มาก
ที่สุด
มาก ปาน
กลาง
น้อย น้อย
ที่สุด
มาก
ที่สุด
มาก ปาน
กลาง
น้อย น้อย
ที่สุด
แนวทางแก้ไขปัญหา
1.
ด้านการปฏิรูปการเรียนการสอน
จัดบรรยากาศ และสภาพแวดล้อมบริเวณโรงเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้
2. จัดบรรยากาศ และสภาพแวดล้อมในห้องเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ที่
เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
3. วิเคราะห์ความสามารถ ความถนัด ความสนใจ และวิธีการเรียนรู้ของ
ผู้เรียน
4. จัดการเรียนรู้โดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่าง ๆ อย่างได้สัดส่วน
สมดุลกัน
5. มีการบูรณาการ / สอดแทรกคุณธรรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ดีงามและ
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ในการเรียนการสอนทุกวิชาอย่างต่อเนื่อง
และสม่ำเสมอ
6. จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมการเรียนรู้ให้หลากหลายสอดคล้องกับ
ความสนใจและความถนัดของผู้เรียน
ระดับการปฏิบัติ ระดับปัญหา
ข้อที่ สภาพและปัญหาของการดำเนินงานปฏิรูปการศึกษา มาก
ที่สุด
มาก ปาน
กลาง
น้อย น้อย
ที่สุด
มาก
ที่สุด
มาก ปาน
กลาง
น้อย น้อย
ที่สุด
แนวทางแก้ไขปัญหา
7. จัดการเรียนรู้โดยมุ่งพัฒนาและส่งเสริมกระบวนการคิดอย่างมีระบบ
และอย่างมีวิจารณญาณ
8. จัดการเรียนรู้โดยแสวงหาความรู้จากแหล่งความรู้ที่หลากหลาย เช่น
ห้องสมุด ภูมิปัญญาท้องถิ่น สภาพแวดล้อมและอื่นๆ
9. จัดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้คิดเป็น
ทำเป็นและแก้ปัญหาเป็น
10. ใช้สื่อประกอบการสอนที่หลากหลายสอดคล้องตามจุดประสงค์เนื้อหา
และเป็นสื่อที่ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
11. ทำการวิจัยในชั้นเรียนและนำผลการวิจัยมาพัฒนาการเรียนการสอน
12. นำเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสภาพโรงเรียนมาใช้ในการจัดการเรียน
การสอน
13. ประเมินผลผู้เรียนให้ครอบคลุมพัฒนาการของผู้เรียน ความประพฤติ
พฤติกรรมการเรียน การร่วมกิจกรรม และผลงาน
14. นำผลการประเมินมาปรับปรุงเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
15. ประสานความร่วมมือกับผู้ปกครองและชุมชนเพื่อร่วมกันพัฒนาผู้
เรียนเต็มตามศักยภาพ
ระดับการปฏิบัติ ระดับปัญหา
ข้อที่ สภาพและปัญหาของการดำเนินงานปฏิรูปการศึกษา มาก
ที่สุด
มาก ปาน
กลาง
น้อย น้อย
ที่สุด
มาก
ที่สุด
มาก ปาน
กลาง
น้อย น้อย
ที่สุด
แนวทางแก้ไขปัญหา
1.
ด้านการปฏิรูปหลักสูตร
จัดทำข้อมูลพื้นฐานของชุมชนเกี่ยวกับความต้องการของชุมชน เพื่อนำ
มาจัดทำหลักสูตรระดับชั้นเรียน
2. พัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง
3. จัดเอกสารหลักสูตรที่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอน
4. จัดทำสาระหลักสูตรโดยวิเคราะห์สภาพความต้องการของผู้เรียน
5. จัดทำประมวลการสอนและแบบการเรียนให้สอดคล้องกับหลักสูตร
แกนกลางและสภาพของท้องถิ่นโดยร่วมมือกับชุมชน ท้องถิ่น
6. พัฒนาหลักสูตรและจัดแผนการเรียนที่หลากหลายให้สอดคล้องกับ
สภาพความพร้อม ความต้องการ ความสนใจผู้เรียน
7. กำหนดแผนการเรียนที่หลากหลายเพื่อสนองความต้องการความสนใจ
ผู้เรียน
8. จัดอบรม / สัมมนาให้ครูเข้าใจหลักสูตร ฝึกการเขียนหลักสูตรอย่างมั่น
ใจจนสามารถนำไปปฏิบัติได้
9. วางแผนการบริหารหลักสูตร กำกับและติดตามการใช้หลักสูตรของ
สถานศึกษา
ระดับการปฏิบัติ ระดับปัญหา
ข้อที่ สภาพและปัญหาของการดำเนินงานปฏิรูปการศึกษา มาก
ที่สุด
มาก ปาน
กลาง
น้อย น้อย
ที่สุด
มาก
ที่สุด
มาก ปาน
กลาง
น้อย น้อย
ที่สุด
แนวทางแก้ไขปัญหา
1.
ด้านปฏิรูปวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา
สร้างความตระหนักและจิตวิญญาณของจรรยาบรรณและวิชาชีพครู
2. พัฒนาครูให้มีมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพครูอย่างต่อเนื่อง
3. สร้างข้อตกลงร่วมกันระหว่างผู้บริหารโรงเรียนและครูในการพัฒนา
บุคลากร
4. จัดกิจกรรมยกย่องเชิดชูเกียรติบุคลากรในสถานศึกษา
5. ส่งเสริมให้ครูได้ประเมินผลการปฏิบัติงานของตนเอง
6. จัดครูเข้าสอนได้เหมาะสมตรงกับความถนัดของแต่ละคน
7. ส่งเสริมให้ครูศึกษาต่อและเข้ารับการอบรมที่หน่วยงานอื่นจัด
8. ฝึกปฏิบัติให้ครูมีความรู้ความเข้าใจในวัตถุประสงค์และเนื้อหาของ
หลักสูตร
9. จัดอบรมและฝึกปฏิบัติให้ครูมีความรู้ ความเข้าใจในการจัดกระบวน
การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ระดับการปฏิบัติ ระดับปัญหา
ข้อที่ สภาพและปัญหาของการดำเนินงานปฏิรูปการศึกษา มาก
ที่สุด
มาก ปาน
กลาง
น้อย น้อย
ที่สุด
มาก
ที่สุด
มาก ปาน
กลาง
น้อย น้อย
ที่สุด
แนวทางแก้ไขปัญหา
1.
ด้านการปฏิรูปบริหารและการจัดการ
แต่งตั้งคณะกรรมการสถานศึกษาโดยดำเนินการตามขั้นตอนและ
ระเบียบของ ทางราชการ
2. บริหารจัดการโดยใช้ธรรมนูญโรงเรียนเป็นแผนแม่บท
3. จัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีสอดคล้องกับธรรมนูญโรงเรียน
4. จัดระบบข้อมูลและสารสนเทศที่พร้อมนำมาใช้ประโยชน์ในการ
บริหารจัดการ
5. ตรวจสอบและมีการประเมินตนเองอย่างต่อเนื่อง
6. ควบคุมการจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นโดยคณะกรรมการที่
สถานศึกษาแต่งตั้ง
7. ปรับปรุงบรรยากาศ สิ่งแวดล้อมและองค์ประกอบอื่นๆที่เอื้ออำนวยต่อ
การเรียนรู้
8. สนับสนุน ส่งเสริมผู้บริหารโรงเรียน คณะครู ชุมชน ให้ได้ใช้
ทรัพยากรร่วมกัน
9. จัดระบบการกำกับ ติดตามประเมินผลและรายงานผล การประกันคุณ
ภาพภายในสถานศึกษา
ภาคผนวก ข
หนังสือขอความร่วมมือในการวิจัยและหนังสือเชิญ
เป็นผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา
ที่ พิเศษ/ 2545 สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
1061 ถนนอิสรภาพ แขวงหิรัญรูจี
เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร 10600
15 สิงหาคม 2545
เรื่อง ขอความร่วมมือในการวิจัย
เรียน ผู้จัดการโรงเรียนกุหลาบวัฒนา
สิ่งที่ส่งมาด้วย แบบสอบถาม จำนวน 40 ชุด
เนื่องด้วย นางสาวทิพย์วรรณ สุขุมเจริญวงศ์ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา หลักสูตรครุศาสตรมหา
บัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา มีความต้องการเก็บข้อมูลเพื่อประกอบ
การวิจัย เรื่อง “การศึกษาสภาพ ปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาของการดำเนินงานตามนโยบายการปฏิรูปการ
ศึกษาของโรงเรียนเอกชนในเครือคาทอลิก คณะอุร์สุลิน” โดยมีคณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ดังนี้
1. ดร. สรายุทธ์ เศรษฐขจร ประธานกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์
2. ผศ. สุภรณ์ ลิ้มบริบูรณ์ กรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์
3. อาจารย์ทวีศักดิ์ จงประดับเกียรติ กรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์
จึงเรียนมาเพื่อขอความอนุเคราะห์จากท่านได้โปรดพิจารณาให้นางสาวทิพย์วรรณ สุขุมเจริญวงศ์ ได้
เก็บรวบรวมข้อมูลดังกล่าว เพื่อประโยชน์ทางวิชาการและขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงมา ณ โอกาสนี้ด้วย
ขอแสดงความนับถือ
(รองศาสตราจารย์นันทา วิทวุฒิศักดิ์)
รักษาการคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
บัณฑิตวิทยาลัย
โทร. 890-0841-50 ต่อ 809
โทรสาร 890-1786
ที่ พิเศษ/ 2545 สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
1061 ถนนอิสรภาพ แขวงหิรัญรูจี
เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร 10600
22 กรกฎาคม 2545
เรื่อง เรียนเชิญเป็นผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาในการทำวิทยานิพนธ์
เรียน
สิ่งที่ส่งมาด้วย 1. เค้าโครงวิทยานิพนธ์ จำนวน 1 ชุด
2. แบบสอบถาม จำนวน 1 ชุด
3. แบบประเมินความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา จำนวน 1 ชุด
เนื่องด้วย นางสาวทิพย์วรรณ สุขุมเจริญวงศ์ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการ
บริหารการศึกษา สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กำลังทำวิทยานิพนธ์เรื่อง “การศึกษาสภาพ ปัญหาและแนวทางการแก้
ปัญหาของการดำเนินงานตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษาของโรงเรียนเอกชนในเครือคาทอลิก คณะอุร์สุลิน” โดยมีคณะ
กรรมการควบคุมที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ดังนี้
1. ดร. สรายุทธ์ เศรษฐขจร ประธานกรรมการ
2. ผศ. สุภรณ์ ลิ้มบริบูรณ์ กรรมการควบคุม
3. อาจารย์ทวีศักดิ์ จงประดับเกียรติ กรรมการควบคุม
ในการทำวิทยานิพนธ์ครั้งนี้ นักศึกษาจำเป็นต้องตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) ของเครื่องมือ
เพื่อให้ได้เครื่องมือที่สมบูรณ์ที่สุด ทางบัณฑิตวิทยาลัยได้พิจารณาเห็นว่าท่านเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ มีความรู้ความสามารถทางด้าน
การทำวิจัยเป็นอย่างดี จึงขอเรียนเชิญท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาของเครื่องมือดังกล่าว
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาให้ความอนุเคราะห์แก่นักศึกษาด้วยจักเป็นพระคุณยิ่ง
ขอแสดงความนับถือ
(รองศาสตราจารย์นันทา วิทวุฒิศักดิ์)
รักษาการคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
บัณฑิตวิทยาลัย
โทร. 890-0841-50 ต่อ 809
โทรสาร 890-1786
รายนามผู้เชี่ยวชาญ
รศ. เกริก วยัคฆานนท์ คณบดีคณะวิทยาการจัดการ
สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ผศ. ดร. ธำรงรัตน์ อมรรักษา ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
คุณครูรัมภา กิจนิตย์ชีว์ ผู้จัดการโรงเรียนวาสุเทวี
คุณครูพูลศรี ไม้ทอง ผู้บริหารโรงเรียนกุหลาบวัฒนา
คุณณัฐพร สกลพงศ์ไพโรจน์ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนวาสุเทวี
ประวัติผู้วิจัย
ชื่อ - สกุล : นางสาวทิพย์วรรณ สุขุมเจริญวงศ์
วันเดือนปีเกิด : 1 กรกฎาคม 2516
สถานที่เกิด : กรุงเทพฯ
ประวัติการศึกษา : -พ.ศ. 2530 มัธยมศึกษาปีที่ 3
โรงเรียนวาสุเทวี กรุงเทพฯ
-พ.ศ. 2533 มัธยมศึกษาปีที่ 6
โรงเรียนยานนาเวศวิทยาคม กรุงเทพฯ
-พ.ศ. 2537 ปริญญาครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.)
สถาบันราชภัฏสวนดุสิต กรุงเทพฯ
ปัจจุบัน : ครู โรงเรียนวาสุเทวี กรุงเทพฯ

การศึกษาสภาพ ปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาของการดำเนินงานตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษาของโรงเรียนเอกชน (ตอนที่ 1)
การศึกษาสภาพ ปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาของการดำเนินงานตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษาของโรงเรียนเอกชน (ตอนที่ 2)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น