บทที่ 1
บทนำ
1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
หนังสือที่พิมพ์ด้วยกระดาษออกมาเป็นรูปเล่มให้เห็นอยู่ในปัจจุบันนี้ เริ่มต้นจากการที่ นักเขียน เขียนหนังสือออกมาเป็นต้นฉบับ แล้วต้องจัดหาสำนักพิมพ์เพื่อพิมพ์หนังสือออกมาเป็น รูปเล่ม ซึ่งเมื่อได้สำนักพิมพ์แล้ว สำนักพิมพ์จะทำการบรรณาธิการ จัดหน้า กำหนดรูปเล่ม และจัด จำหน่ายต่อไป จะเห็นได้ว่าการจัดทำหนังสือหนึ่งเล่มต้องผ่านการจัดการหลายขั้นตอน ซึ่งแต่ละ ขั้นตอนก็อาจจะมีปัญหาเกิดขึ้นได้ เช่น การจัดหาสำนักพิมพ์ให้ตีพิมพ์หนังสือ ถ้าเป็นนักเขียนใหม่ ก็อาจจะถูกปฏิเสธ การจัดจำหน่ายถ้ามีสำนัพิมพ์ที่มีชื่อเสียงเป็นผู้จัดจำหน่าย หนังสือของผู้เขียนก็ จะได้อยู่บนแผงหนังสือที่มีการจัดวางที่น่าสนใจเป็นที่สนใจของผู้อ่าน ถ้าไม่ใช่สำนักพิมพ์ที่มี ชื่อเสียงก็จะไปอยู่ในชั้นที่ไม่ได้เป็นจุดสนใจที่โดดเด่น
ในยุคโลกาภิวัฒน์ข้อมูลข่าวสารและความรู้ได้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางและหลากหลายรูปแบบ ซึ่งได้มีการส่งต่อเผยแพร่ไปทั่วโลกโดยอาศัยสื่อหลากหลาย เช่น สื่อโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม สื่อคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะระบบอินเตอร์เน็ตเป็นระบบที่สำคัญที่จะมาเป็นสื่อเสริมระบบหนังสือ นั่นคือสามารถบรรจุหนังสือทั้งเล่มไว้ในระบบอินเตอร์เน็ตเพื่อสะดวกต่อการสืบค้นข้อมูล สามารถส่งหนังสือและให้ความเห็นระหว่างผู้สนใจได้อย่างรวดเร็ว สามารถลดค่าใช้จ่ายใน การพิมพ์หนังสือ โดยบรรจุลงในอินเตอร์เน็ตแทนที่จะจัดพิมพ์เป็นรูปเล่ม และสามารถปรับปรุง แก้ไขหนังสือที่อยู่ในอินเตอร์เน็ตได้โดยสะดวกรวดเร็ว
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book) คือหนังสือที่อยู่ในรูปแบบดิจิตอล เป็นหนังสือที่ไม่ต้องใช้ กระดาษ แต่จะใช้วิธีบันทึกรูปภาพ หรืออักษรลงในสื่อบันทึกของเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น ซีดีรอม หรือฮาร์ดดิสก์ แล้วแต่ความเหมาะสม การอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ต้องอาศัยเครื่องมือ ซึ่งแบ่งได้ เป็น ฮาร์ดแวร์ และ ซอฟต์แวร์
ฮาร์ดแวร์สำหรับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ และ เครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค
2. กลุ่มผู้ใช้อุปกรณ์พกพาต่าง ๆ เช่น พีดีเอ พ็อกเก๊ตพีซี ออแกนไนเซอร์
ซอฟต์แวร์ที่จำเป็นสำหรับการทำงานของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบ่งออกเป็น
1. ซอฟต์แวร์สำหรับการเขียน ซึ่งมักจะใช้เฉพาะกลุ่มผู้เขียนและสำนักพิมพ์ ตัวอย่างเช่น ExeBook Self – Publisher 1.2 , e-ditor เวอร์ชั่น 2.0
2. ซอฟต์แวร์สำหรับการอ่าน ซึ่งส่วนใหญ่จะถูกติดตั้งกับอุปกรณ์ของผู้ใช้โดยทั่วไป ตัวอย่าง เช่น Adobe Acrobat eBook Reader, Microsoft Reader และ Palm Reader
จากการศึกษาพบว่าหากนักเขียนหรือสำนักพิมพ์ที่ต้องการสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ จะใช้ ซอฟต์แวร์ ดังนี้
1. Hyper Text Markup Language (HTML)
2. Portable Document Format (PDF)
3. Peanut Markup Language (PML)
4. Extensive Markup Language (XML)
จะเห็นได้ว่าซอฟต์แวร์ในการเขียนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ส่วนใหญ่จะมีมากมายหลายแบบ ผู้จัดทำโครงงานจึงเสนอโครงการนี้ เพื่อศึกษามาตรฐานในการจัดทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์และ สร้างโปรแกรมในการเขียนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
1.2 วัตถุประสงค์
เพื่อพัฒนาซอฟต์แวร์ในการเขียนและอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
1.3 สมมติฐานการวิจัย
สื่อการเรียนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่พัฒนาขึ้นจะช่วยให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของ นักเรียนดีขึ้น
1.4 ขอบเขตของโครงงาน
โครงงานเกี่ยวกับมาตรฐานการทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ได้กำหนดขอบเขตไว้ดังนี้
1.4.1 พัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ต้นแบบตามวิธีการต่าง ๆ ดังนี้ คือ
1.4.1.1 Adobe Portable Document Format (PDF)
1.4.1.2 Extensive Markup Language (XML)
1.4.2 ทำการศึกษาการเรียนรู้ของนักเรียนเกี่ยวกับโปรแกรมที่ใช้ในการเขียนหนังสือ อิเล็กทรอนิกส์ 2 แบบ คือ PDF, XML กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4 จำนวน 32 คน ที่ กำลังศึกษาในปีการศึกษา 2546 เท่านั้น
1.4.3 รวบรวมข้อมูลที่ได้จากการพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ตามวิธีการต่าง ๆ เพื่อศึกษา ถึงข้อดี และ ข้อเสีย ของแต่ละวิธีการ
1.4.4 โปรแกรมที่พัฒนาจะใช้งานอยู่บนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
1.4.5 ในการทดสอบสมมติฐานสื่อการเรียนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จะพิจารณาจากตัวแปรอิสระคือสื่อการเรียนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และตัวแปรตามคือ ผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนรู้เท่านั้น
1.5 ประชากรและการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2546 จำนวน 32 คน
1.6 วิธีการดำเนินงาน
1.6.1 กำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
1.6.2 กำหนดเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ( Questionnaire) จำนวน 1 ชุด
1.6.3 การสร้างแบบสอบถามและทดสอบเครื่องมือ
1.6.4 เก็บรวบรวมข้อมูล
1.6.5 วิเคราะห์ข้อมูล
1.7 สถิติที่ใช้ในการทำโครงงาน
การทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติการทดสอบค่าที (t-test) เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่าง สื่อการเรียนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของนักเรียน
1.8 เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำโครงงาน
1.8.1 ส่วนของเครื่องเซิร์ฟเวอร์ (Server)
1.8.1.1 เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีหน่วยประมวลผลกลางระดับเพนเทียม (Pentium)
1.8.1.2 หน่วยความจำ 128 MB.
1.8.1.3 ฮาร์ดดิสก์ ขนาด 20 Gb.
1.8.1.4 จอภาพ VGA Color
1.8.1.5 ซีดีรอมไดร์ฟ
1.8.2 ส่วนของเครื่องไคลแอนต์ (Client)
1.8.2.1 เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีหน่วยประมวลผลกลางระดับเพนเทียม (Pentium)
1.8.2.2 หน่วยความจำ 128 MB.
1.8.2.3 ฮาร์ดดิสก์ ขนาด 20 Gb.
1.8.2.4 จอภาพ VGA Color
1.8.2.5 ซีดีรอมไดร์ฟ
1.8.3 ภาษาคอมพิวเตอร์ (Computer Language)
1.8.3.1 Adobe Portable Document Format (PDF)
1.8.3.2 Extensive Markup Language ( XML)
1.8.3.3 PHP
1.8.4 ระบบปฏิบัติการ Windows 98, Windows Me, Windows 2000
1.8.5 โปรแกรมการจัดการฐานข้อมูล MySQL
1.8.6 โปรแกรมแมโครมีเดียแฟลช (Macromedia Flash)
1.9 ขั้นตอนการดำเนินงาน
1.9.1 ศึกษาและรวบรวมข้อมูลวิธีการเขียนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้วยแบบต่าง ๆ
1.9.2 วิเคราะห์ข้อมูล
1.9.3 ออกแบบขั้นตอนการดำเนินงาน
1.9.4 ออกแบบระบบฐานข้อมูล
1.9.5 พัฒนาระบบ
1.9.6 ทดสอบระบบงาน แบบแบล็กบอกซ์ (Black Box Testing )
1.9.7 จัดทำเอกสารประกอบการพัฒนาระบบงาน
1.9.8 สรุปการดำเนินงานของระบบ
1.10 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.10.1 ผู้อ่านได้รับความสะดวกสบาย ไม่ต้องเดินทางไปหาซื้อหนังสือ
1.10.2 ผู้เขียนหนังสือได้รับความสะดวกสบายในการเผยแพร่งานพิมพ์และประหยัด ค่าใช้จ่ายในเรื่องการจัดหาสำนักพิมพ์
บทที่ 2
เอกสารและงานที่เกี่ยวข้อง
การพัฒนาโปรแกรมการเขียนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ผู้พัฒนาได้ทำการศึกษาหลักการทฤษฎี ต่าง ๆเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องมาประยุกต์ใช้งาน เพื่อให้ได้ระบบงานที่มีความถูกต้องและรวดเร็ว ในการดำเนินงาน โดยแบ่งเป็นหัวข้อดังนี้
1. ระบบฐานข้อมูล
2. ภาษาพีเอชพี ( PHP )
3. ระบบจัดการฐานข้อมูลมายเอสคิวแอล ( MySQL)
4. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ( Electronic Book )
5. โปรแกรมมาโครมีเดียแฟลช ( Macromedia Flash )
6. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
2.1 ระบบฐานข้อมูล
2.1.1 ฐานข้อมูล หมายถึง การเก็บรวบรวมข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กันไว้ในที่ที่เดียวกันและ เป็นข้อมูลที่ใช้สนับสนุนการดำเนินงานอย่างใดอย่างหนึ่งในระบบการประมวลผลฐานข้อมูลจะมี รูปแบบและวิธีการจัดการข้อมูลที่แตกต่างจากระบบแฟ้มข้อมูลจะมีองค์ประกอบหนึ่งเพิ่มขึ้นมา จากระบบการประมวลแฟ้มข้อมูล ได้แก่ องค์ประกอบที่เรียกว่า ระบบจัดการฐานข้อมูล หรือ DBMS (Database Management System) ซึ่งเป็นโปรแกรมชนิดหนึ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อแก้ ข้อบกพร่องของระบบการประมวลผลแฟ้มข้อมูล ในระบบการประมวลผลฐานข้อมูลนี้แฟ้มข้อมูล ต่าง ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกันหรือมีความสัมพันธ์กันจะถูกเก็บอยู่รวมกันในที่ที่เดียว ซึ่งจะช่วยลด ความซ้ำซ้อนของข้อมูล ทำให้ข้อมูลมีความถูกต้องและทันสมัยอยู่ตลอด ในขณะที่โปรแกรม ประยุกต์ที่เขียนขึ้นก็จะไม่ขึ้นกับโครงสร้างของแฟ้มข้อมูล ระบบจัดการฐานข้อมูลเป็นหนึ่งใน
ระบบฐานข้อมูล (Database System) ที่ประกอบด้วย ฐานข้อมูล ฮาร์ดแวร์ บุคลากร และระบบ การจัดการฐานข้อมูล
ระบบการประมวลฐานข้อมูลเป็นระบบที่สามารถแก้ไขข้อบกพร่องของระบบการ ประมวลผลแฟ้มข้อมูลได้ ในปัจจุบันจึงมีหลายหน่วยงานหันมาให้ความสนใจกับระบบฐานข้อมูล
ซึ่งมีโครงสร้างข้อมูล (Data Structure) ในฐานข้อมูลที่แสดงถึงข้อมูลต่าง ๆ ที่มี ความสัมพันธ์ต่อกันภายในข้อมูล เนื่องจากฐานข้อมูลเป็นยิ่งกว่าการเก็บรวบรวมข้อมูลแฟ้มข้อมูล หลายแฟ้มเข้าด้วยกันฐานข้อมูลยังต้องมีการเก็บคำอธิบายเกี่ยวกับโครงสร้างของฐานข้อมูลที่ เรียกว่า พจนานุกรม ข้อมูล (Data Dictionary) มีหน้าที่อธิบายลักษณะของข้อมูลที่เก็บอยู่ใน ฐานข้อมูลรวมทั้งความสัมพันธ์ของข้อมูล ซึ่งพจนานุกรมจะถูกเก็บและถูกเรียกใช้งานในระหว่าง ที่มีการประมวลผลฐานข้อมูล
2.1.2 โมเดลแบบ E-R เป็นโมเดลที่นิยมในการใช้งานสำหรับงานออกแบบฐานข้อมูลโมเดลนี้ มีชื่อเรียกว่า โมเดลแบบ E-R (Entity-Relationship Model) เป็นโมเดลที่แนะนำโดย Peter Chen ในปี 2519 เป็นการนำเสนอโครงสร้างของฐานข้อมูลในระดับความคิด (Conceptual Level ) ในลักษณะของแผนภาพ (diagram) โครงสร้างเข้าใจง่าย โมเดลแบบ E-R เกิดภายหลังจากที่มีการสำรวจความต้องการของผู้ใช้และเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นเครื่องมือแสดงภายหลังจากที่มีการสำรวจความต้องการของผู้ใช้และเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นเครื่องมือแสดงให้เห็นถึงเอนติตี้ต่าง ๆ ความสัมพันธ์ระหว่างเอนติตี้ แอททริบิวท์ของแต่ละเอนติตี้ และเมื่อได้โมเดลตามต้องการแล้ว ก็แปลงโมเดลนี้ให้อยู่ในรูปแบบที่สอดคล้องกับระบบจัดการฐานข้อมูล หรือDBMS แผนภาพ E-R มีสัญลักษณ์ต่าง ๆ ดังนี้
2.1.2.1 เอนติตี้ (Entity) หมายถึง ชื่อของสิ่งของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง อาจเป็นคน สถานที่
สิ่งของ ซึ่งต้องการจัดเก็บข้อมูลไว้ เช่น เอนติตี้พนักงาน การแสดงถึงเอนติตี้ในแผนภาพ E-R
จะใช้สัญลักษณ์รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแทนเอนติตี้หนึ่งเอนติตี้ และมีชื่อเอนติตี้อยู่ภายในดังภาพที่ 2-1
(สมจิตร และงามนิจ,2541: 54)
ภาพที่ 2-1 แสดงเอนติตี้พนักงาน
2.1.2.2 แอททริบิวท์ (Attribute) เป็นองค์ประกอบของเอนติตี้หรือเป็นคุณสมบัติของเอนติตี้ หรือสามารถกล่าวอีกอย่างหนึ่งว่าเอนติตี้เป็นผลรวม (Aggregation) ของแอททริบิวท์ เช่น เอนติตี้พนักงาน ซึ่งพนักงานแต่ละคนจะมีแอทริบิวท์ที่เหมือนกัน เช่น รหัสพนักงาน ชื่อพนักงาน ตำแหน่งและรหัสแผนก การแสดงถึงแอททริบิวท์ในแผนภาพ E-R จะใช้สัญลักษณ์รูปวงรี แทนแอททริบิวท์หนึ่งแอททริบิวท์ และมีชื่อแอททริบิวท์กำกับอยู่ภายใน ดังภาพที่ 2 -2
(สมจิตร และงามนิจ,2541: 54)
ภาพที่ 2-2 แสดงแอททริบิวท์ของเอนติตี้พนักงาน
2.1.2.3 ความสัมพันธ์ (Relationship) เป็นความสัมพันธ์ของเอนติตี้กับเอนติตี้ ซึ่งมี ความสัมพันธ์กันได้เช่น เอนติตี้พนักงานกับเอนติตี้แผนกจะมีความสัมพันธ์กันในลักษณะที่ว่า พนักงานแต่ละคนจะสังกัดอยู่แผนกใดก็แสดงความสัมพันธ์ระหว่างเอนติตี้ด้วยแผนภาพ E-R จะ แสดงโดยการใช้สัญลักษณ์รูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด ดังภาพที่ 2-3 (สมจิตร และงามนิจ,2541: 55)
ภาพที่ 2-3 แสดงความสัมพันธ์ชื่อ “สังกัดอยู่” ระหว่างเอนติตี้พนักงานกับเอนติตี้แผนก
2.1.2.4 ประเภทของความสัมพันธ์ระหว่างเอนติตี้ เป็นความสัมพันธ์ที่สมาชิกของ เอนติตี้หนึ่งสัมพันธ์กับสมาชิกของอีกเอนติตี้หนึ่ง ซึ่งแบ่งประเภทของความสัมพันธ์ออกเป็น 3 ประเภทดังนี้
ก) ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหนึ่ง (one-to-one) (สมจิตร และงามนิจ,2541: 55) ใช้สัญลักษณ์ 1:1 แทนความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหนึ่ง ความสัมพันธ์แบบนี้เป็นความสัมพันธ์ ที่สมาชิกหนึ่งรายการของเอนติตี้หนึ่งมีความสัมพันธ์กับสมาชิกหนึ่งรายการของอีกเอนติตี้หนึ่ง เช่น รหัส สมมติว่าบริษัทขายรถยนต์แห่งหนึ่ง ได้กำหนดว่าลูกค้าแต่ละคนมีสิทธิ์ซื้อรถยนต์ได้ เพียงหนึ่งคันเท่านั้น และรถยนต์คันหนึ่ง ๆ ก็จะขายให้กับลูกค้าได้เพียงคนเดียว ดังนั้น ความสัมพันธ์ระหว่างเอนติตี้ลูกค้า และเอนติตี้รถยนต์จะเป็นแบบ 1:1 เขียนแทนด้วยภาพแบบ ER ดังภาพที่ 2-4 พนักงาน
ภาพที่ 2-4 แสดงความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหนึ่ง (1:1)
ข) ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อกลุ่ม (one-to-many) (สมจิตร และงามนิจ, 2541: 56) ใช้สัญลักษณ์ 1:N แทนความหมายของความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อกลุ่ม ซึ่งสัมพันธ์รูปแบบนี้เป็นความสัมพันธ์ที่สมาชิกหนึ่งรายการของเอนติตี้หนึ่ง มีความสัมพันธ์กับสมาชิกหลายรายการใน อีกเอนติตี้หนึ่ง เช่น อาจารย์ที่ปรึกษาหนึ่งคนจะมีนักศึกษาได้หลายคน นักศึกษาแต่ละคนจะมีอาจารย์ที่ปรึกษาได้เพียงคนเดียว ดังนั้นความสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษากับอาจารย์ที่ปรึกษาจะเป็น แบบ 1:N เขียนแทนด้วยภาพแบบ E-R ดังภาพที่ 2-5
ภาพที่ 2-5 แสดงความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อกลุ่ม (1:N)
ค) ความสัมพันธ์แบบกลุ่มต่อกลุ่ม (many-to-many) (สมจิตร และงามนิจ, 2541: 57) ใช้สัญลักษณ์ N:M แทนความสัมพันธ์แบบกลุ่มต่อกลุ่ม ความสัมพันธ์แบบนี้จะเป็นความสัมพันธ์ที่สมาชิกหลายรายการในเอนติตี้หนึ่งมีความสัมพันธ์กับสมาชิกหลายรายการในอีกเอนติตี้หนึ่ง เช่น นักศึกษาแต่ละคนจะสามารถลงทะเบียนเรียนได้หลายวิชา และวิชาแต่ละวิชาก็จะสามารถมีนักศึกษาลงทะเบียนเรียนได้มากกว่าหนึ่งคนขึ้นไป ดังนั้นความสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษากับวิชาจะเป็นแบบ N:M เขียนแทนด้วยแผนภาพแบบ E-R ดังภาพที่ 2-6
ภาพที่ 2-6 แสดงความสัมพันธ์แบบกลุ่มต่อกลุ่ม (N:M)
2.2 ภาษาพีเอชพี ( PHP )
PHP เป็นภาษาสคริปต์ (script) คำสั่งต่าง ๆ จะเก็บอยู่ในไฟล์แทรกอยู่และเวลาที่ใช้งานต้องอาศัยตัวแปลชุดคำสั่ง ตัวอย่างของภาษาสคริปต์ก็เช่น JavaScript, Perl เป็นต้น ลักษณะของ PHP ที่แตกต่างจากภาษาสคริปต์แบบอื่น ๆ คือ PHP ได้รับการพัฒนาและออกแบบมาเพื่อใช้งานในการสร้างเอกสารแบบ HTML โดยสามารถสอดแทรกหรือแก้ไขเนื้อหาได้โดยอัตโนมัติ จึงกล่าวได้ว่า PHP เป็นภาษาที่เรียกว่า Server-side หรือ HTML-embeded Scripting Language เป็นเครื่องมือที่ สำคัญชนิดหนึ่งที่ช่วยให้สามารถ สร้างเอกสารแบบ Dynamic HTML ได้อย่างมีประสิทธิภาพ PHP ได้รับการพัฒนาขึ้นมาเพื่อแทนที่ SSI รูปแบบเดิม ๆ โดยให้มีความสามารถ และมีส่วนเชื่อมต่อกับเครื่องมือชนิดอื่นมากขึ้น เช่น ติดต่อกับคลังข้อมูลหรือ Database เป็นต้น
PHP ได้รับการเผยแพร่เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1994 จากนั้นก็มีการพัฒนาต่อมาตามลำดับเป็นเวอร์ชั่น 1 ในปี 1995เวอร์ชั่น 2 (ตอนนั้นใช้ชื่อว่า PHP/FI) ในช่วงระหว่าง 1995-1997 และ เวอร์ชั่น 3 ช่วง 1997 ถึง 1999 จนถึงเวอร์ชั่น 4 ในปัจจุบัน PHPเป็นผลงานที่เติบโตมาจากกลุ่มของ นักพัฒนาในเชิงเปิดเผยรหัสต้นฉบับ หรือ OpenSource ดังนั้น PHP จึงมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว และแพร่หลายโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้ร่วมกับ Apache Web Server ระบบปฏิบัติอย่างเช่น Linux หรือ FreeBSD เป็นต้น ในปัจจุบัน PHP สามารถใช้ร่วมกับ Web Server หลาย ๆ ตัวบน ระบบปฏิบัติการอย่างเช่น Windows 95/98/NT เป็นต้น
เนื่องจาก PHP ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของตัวWeb Server ดังนั้นถ้าจะใช้ PHP ก็จะต้องศึกษาว่า Web server นั้นสามารถใช้สคริปต์ PHP ได้หรือไม่ เช่น PHP สามารถใช้ได้กับ Apache Web Server และ Personal Web Server (PWS) สำหรับระบบปฏิบัติการ Windows 95/98/NT ในกรณีของ Apache สามารถใช้ PHP ได้สองรูปแบบคือ ในลักษณะของ CGI และ Apache Module ความแตกต่างอยู่ตรงที่ ถ้าใช้ PHP เป็นแบบโมดูล PHP จะเป็นส่วนหนึ่งของ Apache หรือเป็นส่วนขยายในการทำงาน ซึ่งจะทำงานได้เร็วกว่าแบบที่เป็น CGI เพราะว่า ถ้าเป็น CGI แล้ว ตัวแปลชุดคำสั่งของ PHP ถือว่าเป็นแค่โปรแกรมภายนอก ซึ่ง Apache จะต้องเรียกขึ้นมาทำงานทุกครั้ง ที่ต้องการมีการลง ใช้ PHP ดังนั้น ถ้ามองในเรื่องของประสิทธิภาพในการทำงาน การใช้ PHP แบบที่เป็นโมดูลหนึ่งของ Apache จะทำงานได้มีประสิทธิภาพมากกว่า
จุดเด่นที่สำคัญที่ทำให้ภาษา PHP ได้รับความนิยมในการพัฒนาเว็บเพจเนื่องจากเป็นฟรีแวร์ (Freeware) ทำให้ได้รับความนิยมจากนักพัฒนาเป็นส่วนมาก ทั้งยังนำข้อดีของภาษาสคริปต์ที่เคยมี ในภาษา C, Perl และ Java มารวมเข้าด้วยกันทำให้มีความรวดเร็วในการทำงาน PHP สามารถทำงานข้ามระบบปฏิบัติการได้ไม่ว่าบน Windows 98/NT/2000 Unix Linux หรืออื่นๆ สามารถติดต่อฐานข้อมูลได้ทุกชนิดและมีประสิทธิภาพ สามารถสนับสนุนโปรโตคอลหลายแบบนอกจากนี้ยังมีความง่ายสามารถที่จะแทรกสคริปต์ลงบริเวณไหนของแท็ก HTML ก็ได้
โครงสร้างของภาษา PHP คล้ายกับโครงสร้างของภาษาคอมพิวเตอร์ทั่วไป ที่ประกอบด้วยหลาย ๆ ส่วนที่ช่วยให้โปรแกรมเมอร์สามารถสร้างโปรแกรมได้ตามที่ต้องการ ประกอบด้วย ชนิด ของข้อมูล ตัวแปร โอเปอร์เรเตอร์ ค่าคงที่ เงื่อนไขเพื่อการตัดสินใจ การทำงานวนรอบ ซึ่งเป็นพื้นฐานของการศึกษาเพื่อการใช้งาน (ศรีภิรมณ์,2542)
2.3 ระบบจัดการฐานข้อมูล MySQL
SQL มาจากคำว่า Structured Query Language เป็นภาษาที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัท IBM ซึ่งปัจจุบันเป็นที่นิยมใช้กันเป็นอย่างมากในวงการฐานข้อมูล (Database) กลุ่มบุคคล ที่ใช้กันก็ได้แก่ Database Programmer, DBA : Database Administration เป็นต้น
SQL Language เป็นภาษาที่ใช้ในการจัดการฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Database) ซึ่งปัจจุบันโปรแกรมที่นำมาพัฒนา Application ทางด้าน Database ส่วนใหญ่นั้น จะต้องใช้ภาษา SQL ด้วยกันทั้งสิ้น เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการจัดการกับฐานข้อมูล ไม่ว่าจะเป็น Visual Basic, Delphi, Power Builder เป็นต้น หรือ จะเป็นทางด้าน Script ก็จะเป็นพวกASP, PHP, Perl, CGI และ JSP เป็นต้น
คำสั่งประเภทต่าง ๆ ของ ภาษา SQL
- Query ใช้ในการกรองข้อมูลจากฐานข้อมูล
- Data Manipulation เป็นตัวดำเนินการข้อมูล เช่น Insert, Update, Delete ข้อมูลใน
ฐานข้อมูล
- Data Definition ใช้ในการกำหนด View, Tables และ Indexes ในฐานข้อมูล
- Data Control การป้องกัน ระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูล จากกลุ่มผู้ใช้
2.3.1 คำสั่งในการสร้าง Table มีรูปแบบคำสั่งดังนี้ Create Table [Table Name]
ตัวอย่างการสร้าง Table ชื่อ Employee มีดังนี้
ตารางที่ 2-1 แสดงการสร้าง Table Employee
ในที่นี้จะมี Field Type อยู่ 2 ตัว คือ Char เก็บข้อมูลชนิดตัวอักษร และ Decimal เก็บข้อมูลชนิดตัวเลข Char (5) หมายถึง มีเนื้อที่เก็บได้ 5 ตัวอักษร Decimal (6,2) หมายถึง เก็บจำนวนเต็ม 6 หลัก และทศนิยมอีก 2 ตำแหน่ง Not Null หมายถึง Field นี้จะต้องมีข้อมูลห้ามมีค่าว่าง เมื่อสิ้นสุดคำสั่งจะต้องปิดท้ายด้วยเครื่องหมาย ; เสมอ
2.3.2 คำสั่งในการป้อนข้อมูลลงใน Table แบบต่าง ๆ มีรูปแบบคำสั่งดังนี้ Insert Into [Table Name] Values( ) ตัวอย่างการใส่ข้อมูลในตาราง
ตารางที่ 2-2 แสดงการใส่ข้อมูลลงในตาราง
สังเกต Row:2 Position,Salary ยังไม่มีข้อมูล อาจเป็นเพราะยังไม่มีตำแหน่งบรรจุ สามารถให้ค่าว่างไว้ด้วย Null ดังนี้
ตารางที่ 2-3 แสดงการใส่ข้อมูลลงในตารางกรณีไม่มีข้อมูล
การป้อนข้อมูลเฉพาะ Field ที่เราต้องการมีรูปแบบดังนี้
ตารางที่ 2-4 แสดงการใส่ข้อมูลลงในตารางเฉพาะ Field ที่ต้องการ
หมายเหตุ : การป้อนข้อมูลชนิดตัวอักษรจะต้องอยู่ภายใต้เครื่องหมาย ‘ ’ (Single Quote) Null ใช้สำหรับป้อนข้อมูลว่าง
2.3.3 คำสั่งในการแก้ไขข้อมูลใน Table มีรูปแบบคำสั่งดังนี้ คำสั่ง Update [Table Name] SET Field = Value Where [Condition] ตัวอย่างการปรับปรุงข้อมูลในตาราง
ตารางที่ 2-5 แสดงการปรับปรุงข้อมูลในตาราง
2.3.4 คำสั่งในการแสดงข้อมูลจาก Table มีรูปแบบคำสั่งดังนี้ คำสั่ง Select Field ,Field2,Field…From [Table Name] ตัวอย่างการแสดงข้อมูล
ตารางที่ 2-6 แสดงการเรียกข้อมูลในตารางมาดู
ตารางที่ 2-6 (ต่อ)
หมายเหตุ สามารถใช้ * แทนชื่อทุกField ได้
2.3.5 คำสั่งในการแสดงข้อมูลจาก Table โดยลดข้อมูลที่ซ้ำซ้อนกัน ถ้าต้องการทราบว่าบริษัทมีตำแหน่งอะไรบ้าง กรณีใช้ Select Position From Employee; ก็จะมีข้อมูลที่ซ้ำซ้อนกันขึ้นคือ Webmaster สามารถแก้ปัญหาลักษณะนี้ได้โดยใส่ Distinct หน้า Select ดังตัวอย่าง
ตารางที่ 2-7 การแสดงข้อมูลจาก Table โดยลดข้อมูลที่ซ้ำซ้อนกัน
2.3.6 คำสั่งในการเรียงลำดับของข้อมูลมีรูปแบบคำสั่งคือ Order By [Field Order] ตัวอย่างการเรียงลำดับของข้อมูลโดยแสดงข้อมูลทั้งหมด เรียงตาม ชื่อจากน้อยไปหามาก (A-Z) และแสดงข้อมูลเฉพาะ รหัสพนักงาน, ชื่อ, ที่อยู่ เรียงตาม ชื่อ จากมากไปน้อย (Z-A) โดยใส่ DESC(Descending) เพิ่มเข้าไปหลัง Field ที่ต้องการจัดเรียง
ตารางที่ 2-8 แสดงการเรียงลำดับของข้อมูล
2.3.7 คำสั่งในการแสดงข้อมูลจาก Table แบบมีเงื่อนไข
2.3.7.1 Operator ของ Where
ตัวอย่างการแสดงข้อมูลโดยใช้เงื่อนไข Where ตัวอย่าง การแสดงข้อมูลทุก Field จาก Tableชื่อ Employee เฉพาะตำแหน่ง Webmaster
ตารางที่ 2-9 การแสดงข้อมูลจาก Table แบบมีเงื่อนไข
2.3.7.2 การใช้เงื่อนไข AND และเงื่อนไข OR ตัวอย่าง การแสดงข้อมูลเฉพาะชื่อ, ตำแหน่ง, เงินเดือน จาก Table ชื่อ Employee ที่มีเงินเดือนน้อยกว่า 20000 บาท และต้องมีตำแหน่งเป็น Engineer หรือ Admin เท่านั้น
ตารางที่ 2-10 การแสดงข้อมูลจาก Table แบบมีเงื่อนไข AND ,OR
ตาราง 2-10 (ต่อ)
2.3.7.3 คำสั่งในการแสดงข้อมูลแบบชุดด้วย IN ตัวอย่างที่ ต้องการข้อมูลเฉพาะผู้ที่มีตำแหน่ง Webmaster, Engineer และ Admin จะเห็นได้ว่าจะต้องใช้เงื่อนไข OR ถึง 2 ชุดด้วยกันถ้าเกิดต้องการตำแหน่งมากกว่านี้ จะทำให้เงื่อนไขยาวมาก
ตารางที่ 2-11 การแสดงข้อมูลจาก Table แบบชุดด้วย IN
2.3.7.4 คำสั่งในการแสดงข้อมูลแบบช่วงตัวอย่างแสดง ชื่อ ตำแหน่ง เงินเดือน โดยมีเงื่อนไขว่า เฉพาะเงินเดือนที่อยู่ระหว่าง 8000-16000
ตารางที่ 2-12 การแสดงข้อมูลจาก TABLE แบบช่วง
2.3.7.5 คำสั่งในการแสดงข้อมูลแบบค้นหาตามตัวอักษร ด้วย LIKE ตัวอย่างแสดงข้อมูลของผู้ที่มีตัวอักษร Su นำหน้าจากนั้นตามด้วยตัวอักษรอะไรก็ได้ เครื่องหมาย % ใช้แทนตัวอักษรอะไรก็ได้ เครื่องหมาย _ ใช้แทนตัวอักษร 1 ตัว
ตารางที่ 2-13 การแสดงข้อมูลแบบค้นหาตามตัวอักษรด้วย LIKE
2.4 หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ( Electronic Book )
ความหมายของหนังสือ
หนังสือ (Book) หมายถึง สิ่งพิมพ์ที่เย็บเข้าเล่มทำปก มีลักษณะรูปเล่ม ความหนาและขนาดต่างๆ กันโดยทั่วไปมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดและความหนาพอประมาณที่จะจับถืออ่านได้สะดวก เนื้อหาของหนังสือส่วนใหญ่เป็นเรื่องเดียวกันทั้งเล่ม และจบสมบูรณ์ในเล่มเดียวจึงไม่มีออกจำหน่ายเผยแพร่ตามกำหนดวาระเหมือนวารสาร นิตยสาร ผู้เขียนมักเป็นคนเดียวทั้งเล่ม
2.4.1 ส่วนต่างๆ ของหนังสือ ประกอบด้วยส่วนต่างๆ เรียงลำดับดังนี้ คือ
2.4.1.1 กระดาษหุ้มปก (Book Jacket) หรือปกนอกของหนังสือ มีไว้ป้องกันหนังสือหรืออาจพิมพ์ข้อความ รูปภาพเพื่อดึงดูดความสนใจ บางเล่มพิมพ์รายละเอียดบางอย่างเกี่ยวกับหนังสือเล่มนั้นด้วย หนังสือบางเล่มอาจไม่มีส่วนนี้
2.4.1.2 ปกหนังสือ (Cover) เป็นส่วนกระดาษแข็งกว่าส่วนอื่น สำหรับป้องกันรักษาตัวหนังสือทั้งหมด และให้รายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ เช่น ชื่อหนังสือ ผู้แต่ง ฯลฯ
2.4.1.3 ใบรองปก (Fly leaf) มักเป็นกระดาษเปล่า หรือพิมพ์ข้อความ ภาพลวดลายที่ไม่ค่อยมีความสำคัญ มีไว้สำหรับป้องกันหนังสืออีกชั้นหนึ่ง
2.4.1.4 ปกใน (Title Page) ทำให้รายละเอียดเกี่ยวกับหนังสืออีกครั้งหนึ่งเช่นเดียวกับปก กรณีที่ปกขาดชำรุดไป ปกในจะเป็นส่วนให้ข้อมูลสำรอง
2.4.1.5 หน้าลิขสิทธิ์ (Copyrights page) จะอยู่หน้าซ้ายด้านหลังของปกใน แสดงข้อมูลเกี่ยวกับการจัดพิมพ์ ผู้ถือลิขสิทธิ์
2.4.1.6 หน้าอุทิศ (Decication Page) สำหรับให้ผู้แต่งแสดงความประสงค์ การอุทิศผลงาน ได้แก่ บุคคลหรือสถาบัน
2.4.1.7 คำนิยม (Foreword) เป็นหน้าแสดงคำชมเชย หรือคำรับรองจากผู้ที่มีชื่อเสียงหรืออาจเป็นผู้บังคับบัญชา
2.4.1.8 คำนำ (Preface) เป็นข้อความที่ผู้แต่งเขียนขึ้นเพื่อ อธิบายจุดประสงค์ หรือความคิดเห็นต่าง ๆ ให้ทราบก่อนที่จะเริ่มต้นอ่านหนังสือ
2.4.1.9 สารบัญ (Table of content) เป็นรายการแสดงข้อความต่าง ๆ และหมายเลขหน้าสำหรับให้ค้นหาเรื่องที่จะอ่านได้สะดวก หรือบางเล่มอาจมีสารบัญภาพ สารบัญตาราง ถัดจากสารบัญเรื่อง
2.4.1.10 ใบแก้คำผิด (Errata) กรณีพบข้อความที่ผิดหลังจากพิมพ์เสร็จแล้ว
2.4.1.11 เนื้อเรื่อง (Contents) หมายถึงส่วนรายละเอียดของเนื้อหาทั้งหมดในเนื้อหาแต่ละหน้าหรือแต่ละตอนอาจมีเชิงอรรถ อธิบายเพิ่มเติมหรือแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือเอกสารสืบค้นเรื่องราวบางตอน
2.4.1.12 ภาคผนวก (Appendix) เป็นส่วนแสดงรายละเอียดที่เป็นส่วนประกอบเพิ่มเติมของ เนื้อหา เช่น รูปภาพ ตาราง กฎ สูตรต่าง ๆ
2.4.1.13 หนังสืออ้างอิง (Reference) หรือบรรณานุกรม (Bibliographies) เป็นส่วนแสดงรายการหนังสือ เอกสาร หนังสืออื่น ๆ ที่ใช้อ้างอิง ผู้อ่านสามารถศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม
2.4.1.14 ดรรชนี (Index) คือคำหรือข้อความสำคัญในเล่มที่นำมาจัดเรียงลำดับไว้
ตามตัวอักษรและระบุหมายเลขหน้าเอาไว้ เพื่อนำไปสู่การค้นหารายละเอียดของคำหรือข้อความนั้น ๆ
2.4.1.15 หน้าแสดงข้อมูลการพิมพ์ (Colophon) จะอยู่ส่วนท้ายของเล่มให้รายละเอียดถึงการพิมพ์โดยเฉพาะ โดยทั่วไปจะระบุ ชื่อโรงพิมพ์ ผู้พิมพ์ ปีที่พิมพ์ ฯลฯ
ความหมายของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์หมายถึง รูปแบบของการจัดเก็บและนำเสนอข้อมูลหลากหลายรูปแบบ ทั้งที่เป็นข้อความ ตัวเลข ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ข้อมูลเหล่านี้มีวิธีเก็บในลักษณะพิเศษ นั่นคือ จากแฟ้มข้อมูลหนึ่งผู้อ่านสามารถเรียกดูข้อมูลอื่น ๆที่เกี่ยวข้องได้ทันที โดยที่ข้อมูลนั้นอาจจะอยู่ในแฟ้มเดียวกัน หรืออาจจะอยู่ในแฟ้มอื่น ๆ ที่ห่างไกลก็ได้ (ครรชิต, 2540 : 175)
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของกรมวิชาการ
สืบเนื่องจากกระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช2544 การจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรดังกล่าวมุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง เรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต เรียนรู้ได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ และเรียนรู้ได้จากสื่อและแหล่งการเรียนรู้ทุกประเภท อินเตอร์เน็ตถือเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญอีกแหล่งหนึ่ง ซึ่งในแผนเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ มีเป้าหมายที่จะให้สถานศึกษาทุกแห่งสามารถเข้าถึงและใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อการจัดการเรียนการสอน
2.4.2 รูปแบบของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ จัดทำใน 2 รูปแบบ ดังนี้
2.4.2.1 หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีรูปแบบธรรมดา กรมวิชาการจัดทำใน 2 ลักษณะ
- ให้บริการบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยจัดทำจากหนังสือประเภทต่าง ๆ ที่กรมวิชาการจัดทำไว้ เช่น หนังสือเสริมประสบการณ์ หนังสือส่งเสริมการอ่าน
- จัดเก็บในรูปเอกสารสำคัญ ได้แก่ หนังสือหายาก แบบเรียนเก่าที่อยู่ในห้องสมุดกรมวิชาการ เช่น หนังสือจินดามณี ประถม ก กา
2.4.2.2 หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีรูปแบบมัลติมีเดีย
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีรูปแบบมัลติมีเดีย (Multimedia e-Book) เพิ่งเริ่ม
จัดทำโดยเลือกเฉพาะเนื้อหาที่ต้องการองค์ประกอบด้านมัลติมีเดีย เช่น ภาพเคลื่อนไหว เสียง
วีดิทัศน์
2.4.3 การเผยแพร่หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของกรมวิชาการ
2.4.3.1 ให้บริการบนอินเตอร์เน็ต
2.4.3.2 สำเนาในรูปซีดีรอมแจกโรงเรียน
2.5 โปรแกรมแมโครมีเดียแฟลช (Macromedia Flash)
โปรแกรมแมโครมีเดียแฟลช เป็นโปรแกรมสร้างงานมัลติมีเดียที่ได้รับความนิยม เนื่องจาก
คุณสมบัติที่โดดเด่น ดังนี้
2.5.1 ใช้งานง่าย เมื่อเทียบกับโปรแกรมประเภทเดียวกันอื่น ๆ และยังให้ผลงานที่มีคุณภาพทัดเทียมกัน
2.5.2 ชิ้นงานที่ได้มีขนาดเล็ก มีผลดีเมื่อนำไปใช้งานบนอินเตอร์เน็ต ประหยัดเวลาในการดาวน์โหลดของผู้ใช้งาน
2.5.3 สร้างเว็บไซต์ได้โดดเด่นด้วยภาพเคลื่อนไหว (Animation) พร้อมเสียงประกอบ และยังโต้ตอบสนองการใช้งาน (Interactive) ได้เป็นอย่างดี ฉีกรูปแบบเดิม ๆ ของเว็บไซต์
2.5.4 แฟลช (Flash) กลายเป็นมาตรฐานใหม่ของการแสดงผลบราวเซอร์ที่ใช้ดูเว็บเพจในปัจจุบันและอนาคต มีแนวโน้มอย่างสูงที่เว็บไซต์ระดับมืออาชีพทั้งหมดจะเป็นเว็บไซต์ที่สร้างจากแฟลช
2.5.6 สามารถนำแฟลช (Flash) ไปใช้งานด้านอื่น ๆ อีกมากมาย โดยเฉพาะงานทางด้านการนำเสนอ (Presentation)
2.6 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
งานวิจัยในประเทศ
พณณา (2544) ได้พัฒนาระบบการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สำหรับการเรียนและการสอน
ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยผู้ใช้ระบบได้ถูกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มนักเรียน กลุ่มอาจารย์ และผู้บริหารระบบ ผลจากการประเมินประสิทธิภาพของระบบโดยผู้เชี่ยวชาญด้วยวิธีการประเมินแบบแบล็กบ๊อกซ์ พบว่า ระบบงานนี้ มีประสิทธิภาพ ในระดับดี
ปิลัญธนา (2542) ได้ทำการวิจัยเชิงทดลอง เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบสื่อประสมเรื่องสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการประชาสัมพันธ์ สำหรับใช้ในการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพในระดับ 80 - 89 % ตามเกณฑ์ประเมินค่า E-CAI โดยใช้สูตรKW - CAI กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาวิชาเอกนิเทศศาสตร์ สาขาวิชาการประชาสัมพันธ์ ชั้นปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 คณะวิทยาการจัดการ สถาบันราชภัฏเพชรบูรณ์ ปีการศึกษา 2542 ผลการหาประสิทธิภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบสื่อประสมเรื่องสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการประชาสัมพันธ์ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 87.67 ซึ่งอยู่ในระดับพอใช้
งานวิจัยต่างประเทศ
ริชาร์ด และ เจย์ (Richard and Jay. 2002) ได้ทำการทดสอบการเรียนรู้และความพึงพอใจในการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์จัดขึ้นในภาคเรียนระหว่างฤดูใบไม้ผลิปี 2002 ณ มหาวิทยาลัย Ball State ในการทดสอบนักศึกษาจะใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 2 รูปแบบคือ REB 1100(B&W) และ REB 1200 (Color) ผลปรากฎว่าการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ไม่มีผลต่อการเรียนรู้ของนักศึกษาและนักศึกษาไม่พึงพอใจในการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เพราะตัวหนังสือที่ถูกแปลงมาไม่สามารถแสดงผลได้ดี แสดงให้เห็นว่าความสามารถของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์จะต้องมีการพัฒนาต่อไป
ไซม่อน (Simon. 2002) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ถูกออกแบบมาเพื่อใช้จัดเก็บและแสดงข้อมูลการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เข้าสู่ห้องเรียนเป็นที่ยอมรับมาหลายปีแต่เทคโนโลยีนี้ก็ไม่สามารถตอบสนองได้ ไซม่อนได้ทดลองการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์กับนักศึกษาในวิชาชีววิทยาแทนการใช้หนังสือแบบเรียน และนักศึกษาได้ทำการตอบแบบสอบถาม ผลปรากฎว่าหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ใช้ง่ายและมีประสิทธิภาพ มีข้อได้เปรียบกว่าการใช้หนังสือเรียนแบบเดิม ข้อมูลได้ถูกนำเสนอในรูปแบบของกราฟ ตั้งแต่ การเรียนรู้ ลักษณะนิสัยในการอ่านของผู้ใช้ ข้อดีข้อเสียของรูปแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และระดับความพอใจ ผลจากการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่านักศึกษาผู้ใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์มีความกระตือรือร้นที่จะรับเทคโนโลยีใหม่ในอัตราส่วนที่มากขึ้น
บทที่ 3
วิธีการดำเนินงาน
วิธีการดำเนินงานของการพัฒนาโปรแกรมการเขียนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ผู้พัฒนาได้แบ่งวิธีการการดำเนินงานออกเป็น 5 ขั้นตอนด้วยกันคือ
1. การศึกษาระบบงานเดิม
2. การวิเคราะห์ระบบ
3. การออกแบบระบบ
4. การพัฒนาระบบ
5. การทดสอบและประเมินประสิทธิภาพระบบ
3.1 การศึกษาระบบเดิม
การศึกษาวิธีการในการทำ งานของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เป็นการศึกษาว่าหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีอยู่มีการทำงานอะไรบ้างในแต่ละการทำงาน และมีขั้นตอนการทำงานอย่างไรเพื่อจะได้นำไปวิเคราะห์และออกแบบระบบซึ่งเป็นงานขั้นต่อไปได้อย่างครอบคลุม จากการศึกษาวิธีการทำงานเดิมผู้จัดทำโครงงานได้ศึกษาจากแหล่งข้อมูล 2 แหล่งดังต่อไปนี้คือ
3.1.1 ศึกษาจากหนังสือ และ เอกสารในห้องสมุดกลางของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
3.1.2 ศึกษาจากอินเตอร์เน็ต โดยศึกษาหลักการทำงานของโปรแกรมหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
จากการศึกษาจะพบว่าหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ได้มีการพัฒนาจากหลาย ๆ บริษัท ซึ่งแต่ละบริษัทจะมีการพัฒนาทั้งซอฟต์แวร์ในการเขียนและอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ บางบริษัทก็ต้องเสียเงินในการซื้อโปรแกรมมาใช้ บางบริษัทก็สามารถดาวน์โหลดมาใช้ได้โดยไม่ต้องเสียเงิน ถ้าผู้เขียนเขียนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้วยโปรแกรมของบริษัทใด ก็ต้องใช้โปรแกรมในการอ่านของบริษัทนั้น ๆ ปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือ ทำให้ยากต่อการใช้งานร่วมกัน
3.2 การวิเคราะห์ระบบงานใหม่
การพัฒนาโปรแกรมการเขียนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ได้นำ Data Flow Diagram (DFD) เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ระบบ โดยแสดงการไหลของข้อมูล และความสัมพันธ์ข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ระบบ เพื่อแสดงการนำเข้าข้อมูล (Input) และแสดงผลลัพธ์ (Output) ของระบบในการทำงานแต่ละส่วน โดยเส้นทางการไหลของข้อมูลดังกล่าว แสดงลำดับของกระบวนการทำงานดังนี้
ภาพที่ 3-1 Context Diagram การพัฒนาโปรแกรมการเขียนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
ภาพที่ 3-2 แสดง Data Flow Diagram Level 1 การพัฒนาโปรแกรมการเขียนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
ภาพที่ 3-3 การประมวลผลขั้นตอนการบันทึกข้อมูลผู้ใช้
ภาพที่ 3-4 การประมวลผลขั้นตอนการอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
ภาพที่ 3-5 การประมวลผลขั้นตอนการสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
ภาพที่ 3-6 การประมวลผลขั้นตอนการบันทึกข้อมูลหนังสือ
3.3 การออกแบบระบบ
เมื่อผ่านขั้นตอนการวิเคราะห์ระบบโดยใช้ Data Flow Diagram แล้วจะทำให้เห็นทิศทางการไหลของข้อมูลในระบบ และการทำงานทั้งหมด ในขั้นตอนของการออกแบบจะนำเอา Data Flow Diagram นำมาแสดงในรูปแบบแผนผังโครงสร้าง (Structure Chart) ได้ โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ
3.3.1 ผู้ใช้ระบบ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
3.3.1.1 ผู้ใช้ทั่วไป ซึ่งจะใช้ระบบนี้ในการสร้างหนังสือ ค้นหาหนังสือ และคำศัพท์
3.3.1.2 ผู้ดูแลระบบ ซึ่งทำหน้าที่ในการจัดการข้อมูลต่าง ๆ ในฐานข้อมูล
3.3.2 ระบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เป็นระบบที่ง่ายต่อการใช้งานของผู้ใช้โดยทั่วไป และผู้ดูแลระบบ ผ่านบราวเซอร์บนระบบอินเตอร์เน็ต
จากการออกแบบระบบดังกล่าวสามารถนำมาเป็นภาพโครงสร้างของระบบโดยรวม และแผนผังโครงสร้างลำดับการทำงานของระบบ ดังภาพที่ 3-7 แสดงแผนผังโครงสร้างลำดับการทำงานโดยรวมของระบบ ภาพที่ 3-8 แสดงแผนผังโครงสร้างลำดับการทำงานของการอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ภาพที่ 3-9 แสดงแผนผังโครงสร้างลำดับการทำงานของการสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ภาพที่ 3-10 สรุปแสดงแผนผังโครงสร้างลำดับการทำงานของระบบทั้งหมดเป็นการแสดงโครงสร้างลำดับการทำงานตามขั้นตอนที่ระบบกำหนดไว้
ภาพที่ 3-7 แสดงแผนผังโครงสร้างลำดับการทำงานโดยรวมของระบบ
ภาพที่ 3-8 แสดงแผนผังโครงสร้างลำดับการทำงานของการอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
ภาพที่ 3-9 แสดงแผนผังโครงสร้างลำดับการทำงานของการสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
ภาพที่ 3-10 สรุปแสดงแผนผังโครงสร้างลำดับการทำงานของระบบทั้งหมด
3.4 การออกแบบฐานข้อมูลของระบบ
การออกแบบฐานข้อมูลของระบบใช้แผนภาพแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูล (Entity –
Relationship Diagram) เป็นเครื่องมือในการนำเสนอโครงสร้างของฐานข้อมูลและความสัมพันธ์
ระหว่างเอนติตี้ในระบบ ซึ่งสามารถแสดงความสัมพันธ์ได้ ดังภาพที่ 3-11 เพื่อนำ ER - Diagram
มาจัดเก็บข้อมูลในรูปของตารางเก็บข้อมูลซึ่งเป็นขั้นตอนต่อไป
ภาพที่ 3-11 แสดงความสัมพันธ์ของ E-R Diagram ของระบบการเขียนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
ตารางที่ 3-1 แฟ้มข้อมูลชื่อผู้ใช้ (User)
ตารางที่ 3-2 แฟ้มข้อมูลหนังสือ (Book)
ตารางที่ 3-3 แฟ้มข้อมูลผู้แต่ง (Author)
ตารางที่ 3-4 แฟ้มข้อมูลสารบัญ (Contents)
ตารางที่ 3-5 แฟ้มข้อมูลดัชนีหนังสือ (Index)
3.5 การพัฒนาระบบ
การพัฒนาระบบเป็นขั้นตอนที่ทำหลังจากมีการวิเคราะห์และออกแบบระบบเรียบร้อยแล้วสำหรับขั้นตอนการพัฒนาระบบผู้ทำโครงงานได้ใช้โปรแกรมภาษาพีเอชพี (PHP) โปรแกรมจัดการฐานข้อมูลมายเอสคิวแอล (MySQL) และโปรแกรมแมโครมีเดียแฟลช พีเอชพี (PHP) เป็นภาษาสคริปต์ คำสั่งต่าง ๆ จะเก็บอยู่ในไฟล์แทรกและเวลาใช้งานต้องอาศัยตัวแปลชุดคำสั่ง PHP เป็นภาษาที่เรียกว่า Server – Side ที่ช่วยให้สามารถสร้างเอกสารแบบ Dynamic HTML ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โปรแกรมมายเอสคิวแอล (MySQL) เป็นโปรแกรมการจัดการฐานข้อมูล ภาษา SQL เป็นภาษาที่ใช้ในการจัดการฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Database) ทำให้เกิดความสะดวกรวดเร็วในการจัดการกับฐานข้อมูล โปรแกรมแมโครมีเดียแฟลช (Macromedia Flash) เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการสร้างเว็บไซต์ให้มีเทคนิคลูกเล่นต่าง ๆ เพื่อดึงดูดให้ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตเกิดความประทับใจในเว็บไซต์นั้น ๆ โปรแกรมแมโครมีเดียแฟลชมีความสามารถในการสร้างภาพแอนิเมชั่น ใส่เสียง ทำอินเตอร์แอคทีฟ หรือเทคนิคอื่น ๆ อีกมากมาย
3.6 การทดสอบระบบและเก็บรวบรวมข้อมูล
การทดสอบระบบใช้วิธีการทดสอบแบบแบล็กบอกซ์ (Black Box Testing) การทดสอบวิธีการนี้ เป็นการทดสอบเพื่อหาข้อผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นกับระบบ โดยจะทดสอบในแต่ละฟังก์ชันการทำงานของระบบทั้งหมด โดยการทดสอบจะแบ่งเป็น 2 ส่วนดังนี้
3.6.1 การทดสอบโดยการสมมติข้อมูลขึ้น ซึ่งข้อมูลที่สมมติเป็นข้อมูลหลายรูปแบบ เช่น ป้อนข้อมูลที่ถูกต้อง (Valid) ป้อนข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง (Invalid) หรือค่าว่าง (Null)
3.6.2 ทำการทดสอบโดยผู้ใช้ระบบ เป็นการทดสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ ทำการทดสอบในด้าน
ต่าง ๆ 4 ด้านดังนี้
3.6.2.1 Functional Requirement Test
3.6.2.2 Function Test
3.6.2.3 Usability Test
3.6.2.4 Security Test
3.7 การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล
ข้อมูลที่ได้จากแบบประเมินผลประสิทธิภาพของระบบการพัฒนาโปรแกรมการเขียนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สามารถสรุปผลการทดสอบประสิทธิภาพของโครงงานที่ได้พัฒนาโดยนำข้อมูลที่ได้มาคำนวณหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่อสรุปผลการประเมินว่าอยู่ในระดับใด ซึ่งแบ่งระดับเกณฑ์ดังนี้
คะแนนเฉลี่ย 9.00 – 10.00 แสดงว่า มีประสิทธิภาพดีมาก
คะแนนเฉลี่ย 7.00 – 8.99 แสดงว่า มีประสิทธิภาพดี
คะแนนเฉลี่ย 5.00 – 6.99 แสดงว่า มีประสิทธิภาพปานกลาง
คะแนนเฉลี่ย 3.00 – 4.99 แสดงว่า มีประสิทธิภาพน้อย
คะแนนเฉลี่ย 1.00 – 2.99 แสดงว่า มีประสิทธิภาพน้อยมาก
ระเบียบวิธีการทางสถิติ
3.7.1 นำค่าระดับความคิดเห็นที่ผู้เชี่ยวชาญประเมินมาทำรอยคะแนน
3.7.2 นำคะแนนที่ได้มาคำนวณค่าสถิติ ดังนี้
หาค่าเฉลี่ย ของคำตอบแต่ละข้อ โดยใช้สูตรดังนี้
หาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้สูตรดังนี้
หาค่าที โดยใช้สูตรดังนี้
A Development of E-Book Writer Program ( ตอนที่ 2)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น