ศึกษาและโหลดฟรีเป็นตัวอย่างเกี่ยวกับงานวิจัย all free download research
วันเสาร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2554
บทบาทเยาวชนดีเด่นอาสาสมัครในงานพัฒนาสังคม (ตอนที่ 2)
ถึงการใช้อุปกรณ์โสตทัศนศึกษาอื่น ๆ อีกด้วย มีความสามารถในการร้องเพลงเพื่อชีวิต ซึ่งสามารถนำ
ไปประกอบการอบรมเยาวชนให้ห่างไกลยาเสพติด และมีความรู้ความสามารถด้านศิลปวัฒนธรรม
โดยดูได้จากการเป็นวิทยากรอบรมเยาวชนโครงการอนุรักษ์มรดกโลก อยุธยา รุ่น 3 และได้รับรางวัลที่
3 จากการประกวดวาดภาพสี ในปี พ.ศ.2537 ของ โรงเรียนมัธยมวัดเบญจบพิตร เป็นต้น
ผลงานในการบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ เป็นผู้บำเพ็ญประโยชน์ต่อสถาบันชาติ โดยเป็น
คณะกรรมการต้านภัยยาเสพติด ปฏิบัติกิจกรรมส่งเสริมทนุบำรุงศาสนา โดยถวายตัวเป็นศิษย์วัด
เบญจมบพิตร ในฐานะกรรมการนักเรียน เป็นผู้แทนนักศึกษาจัดกิจกรรมไหว้ครู และเวียนเทียนวัน
สำคัญทางศาสนา ได้ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีที่จะสอนน้องและเป็นที่ปรึกษาแก่เพื่อนในยามทุกข์
ยาก นอกจากนี้ยังทำงานบ้าน ดูแลกิจวัตรทั้งของตนเองและน้อง ๆ ในบ้านโดยไม่ขาดตกบกพร่อง
ช่วยรักษาสาธารณสมบัติของส่วนรวม เช่น เมื่อเห็นผู้ที่กำลังจะทำลายสาธารณสมบัติของส่วนรวม ก็
จะเข้าไปว่ากล่าวตักเตือน ถ้าไม่เชื่อฟังก็จะแจ้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องโดยทันที จะเข้าร่วมกิจกรรม
อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทุกครั้งเมื่อมีโอกาส เพื่อจะได้เรียนรู้และเสนอแนวคิดและการแก้ปัญหาที่กำลังอยู่
ในภาวะวิกฤติอย่างในปัจจุบันให้ดีขึ้น ได้มีโอกาสบำเพ็ญประโยชน์ต่อสถานศึกษามากมาย เช่น เป็น
คณะกรรมการนักเรียนโรงเรียนวัดเบญจมบพิตร เป็นกรรมการสโมสรนักศึกษา เป็นประธานฝ่ายวิชา
การชั้นปีที่ 2 คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นหัวหน้า
ฝ่ายวิชาการชมรมผู้นำเยาวชนกลุ่มปิยมิตร และเป็นเยาวชนที่ปฏิบัติตามแนวทางที่พระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงดำรัสไว้ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น
สอดคล้องกับคำขวัญที่ว่า “รักในหลวง ห่วงลูกหลาน ร่วมกันต้านยาเสพติด”
จากเหตุผลดังกล่าวสรุปได้ว่า เป็นเยาวชนที่มีผลการเรียนดี มีความรู้ความสามารถทางด้าน
เทคโนโลยีสมัยใหม่ มีจิตสำนึกในการช่วยเหลือผู้อื่น และเป็นผู้มีความรับผิดชอบสูง จนได้รับการไว้
วางใจจากครูอาจารย์และเพื่อนๆ ให้ความช่วยเหลือผู้อื่นทางด้านวิชาการอยู่เสมอ นอกจากนี้ยังช่วย
กิจกรรมต่าง ๆ ของสถาบัน จนได้รับเลือกเป็นประธานฝ่ายวิชาการ และได้รับเลือกเป็นเยาวชนดีเด่น
ในที่สุด
กรณีศึกษาที่ 9
เพศชาย อายุ 23 ป นับถือศาสนาพุทธ กำลังศึกษาระดับปริญญาตร ี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
เป็นชาวจังหวัดพิษณุโลก มีพี่น้อง 2 คน เป็นบุตรคนแรก บิดามารดาประกอบอาชีพรับราชการ
ครอบครัวมีฐานะปานกลาง บิดามารดาส่งเสียค่าเล่าเรียน ได้รับการคัดเลือกเป็นเยาวชนดีเด่นแห่งชาติ
สาขาพัฒนาเยาวชน บำเพ็ญประโยชน์ อาสาสมัคร สวัสดิการ และประสานงาน ปี พ.ศ.2540
เป็นเยาวชนที่มีความกตัญญูกตเวที เชื่อฟังคำสั่งสอนของบิดามารดา ครู อาจารย์ มีความ
ซื่อสัตย์ สุจริต เสียสละ และเป็นลูกเสือ – เนตรนารี สังกัดกองลูกเสือของวิทยาลัยอาชีวศึกษา
55
พิษณุโลก ได้ช่วยเหลือครูอาจารย์ในการอบรมลูกเสือ เนตรนารี คณะอยู่ค่ายพักแรม ร่วมกิจกรรม
ลูกเสือ เป็นผู้กล้าหาญ โดยได้ช่วยเหลือเนตรนารีจากการถูกคนร้ายทำร้ายร่างกายและทำอนาจาร จน
ตนเองได้รับบาดเจ็บสาหัส จากการกระทำดังกล่าวและยึดถือคติธรรมประจำใจที่ว่า ทำวันนี้ให้ดีที่สุด
จึงทำให้เขาได้รับโล่ห์จากสำนักงานคณะกรรมการลูกเสืออำเภอเมืองพิษณุโลก จากวิทยาลัยป้องกัน
ราชอาณาจักร จากค่ายลูกเสือแห่งชาติ และตำรวจภูธร จังหวัดสุโขทัย ปีพ.ศ. 2539 และในปีพ.ศ. 2540
ได้รับของที่ระลึกวันเด็กแห่งชาติ จาก ฯพณฯ สุขวิช รังสิตพล รองนายกรัฐมนตรี ได้รับเหรียญ
สรรเสริญชั้น 1 จากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ปี 2540 จากการที่ปฏิบัติตาม
ระเบียบข้อบังคับของวิทยาลัย และมุ่งกระทำแต่ความดี ใฝ่หาความรู้และประสบการณ์ต่าง ๆ เป็น
ผู้เสียสละและใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ปฏิบัติตนตามคำปฏิญาณของลูกเสือในข้อที่ว่า “ข้าฯ จะ
ช่วยเหลือผู้อื่นทุกเมื่อ” จึงสมควรได้รับการยกย่องให้เป็นเยาวชนดีเด่น สาขาพัฒนาเยาวชน บำเพ็ญ
ประโยชน์อาสาสมัคร สวัสดิการและประสานงาน ประจำปี พ.ศ.2540
จากมูลเหตุดังกล่าว สรุปได้ว่า เป็นเยาวชนที่เป็นคนดี ช่วยเหลือผู้อื่น เป็นผู้เสียสละและใช้
เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ และยังใช้กิจกรรมลูกเสือมาเป็นเครื่องมือในการบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม
สมดังคำปฏิญานตนของลูกเสือ แสดงให้เห็นว่าเป็นเยาวชนที่ดี นอกจากนี้ยังเป็นผู้ที่กล้าหาญ ช่วย
เหลือผู้อื่นอยู่เสมอ จนได้รับรางวัลจากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร
กรณีศึกษาที่ 10
เพศชาย อายุ 21 ปี นับถือศาสนาพุทธ จบการศึกษาระดับอนุปริญญา คณะบริหารธุรกิจ
วิทยาลัยอาชีวศึกษาเลย เป็นชาวจังหวัดเลย มีพี่น้อง 2 คน เป็นบุตรคนแรก บิดามารดาประกอบอาชีพ
เกษตรกรรม ครอบครัวฐานะยากจน ค่าเล่าเรียนได้รับทุนการศึกษาและการหารายได้พิเศษ ได้รับการ
คัดเลือกเยาวชนดีเด่นของสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ปี พ.ศ.2544
เป็นผู้ที่มีความกตัญญูกตเวทีต่อบิดา มารดา เชื่อฟังคำสั่งสอน ดำรงตนอยู่ในศีลธรรมอันดี
อีกทั้งให้ความเคารพเชื่อฟังในคำสั่งสอนของครูอาจารย์ มีความอ่อนน้อมถ่อมตน มีสัมมาคารวะ มี
ความซื่อสัตย์สุจริตต่อหน้าที่การงานที่ได้รับมอบหมาย มีน้ำใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา
และยังเป็นผู้ที่อุทิศตนเสียสละทั้งเวลากำลังกายและสติปัญญา ในการช่วยเหลือกิจกรรมต่างๆ ของ
โรงเรียน และบุคคลอื่นๆ โดยมิเห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อย จนวิทยาลัยได้พิจารณาคัดเลือกให้เป็นผู้ที่มี
คุณธรรม จริยธรรม และมีความกตัญญูดีเด่น ประจำปีการศึกษา 2543 นอกจากนี้ยังเป็นผู้ที่มีความ
ประพฤติดี นิสัยร่าเริง สุขภาพจิตที่ดี ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี จนเป็นที่รักใคร่ของเพื่อนๆ และผู้อื่น
มีความมานะพากเพียร บากบั่นในการเล่าเรียนและทำงานในหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ และได้
เป็นนายกองค์การนักธุรกิจในอนาคตแห่งประเทศไทย หน่วยวิทยาลัยอาชีวศึกษาเลย มีผลการเรียน
อยู่ในเกณฑ์ดีมาตลอด เป็นผู้ที่มีความสามารถ ความพร้อมทุกด้านในเรื่องความเป็นผู้นำ มีระเบียบวินัย
56
มีความสามารถด้านการศึกษา ด้านกีฬา และด้านการพูด ได้เป็นตัวแทนเข้าร่วมการประชุมต่างๆ ทั้งใน
ระดับจังหวัดและระดับภาค จนได้รับเกียรติบัตรมากมาย อีกทั้งด้านดนตรี และศิลปวัฒนธรรม เป็นต้น
ผลงานการบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ ในฐานะนายกองค์การนักธุรกิจในอนาคตแห่ง
ประเทศไทย ได้เป็นผู้นำและร่วมกิจกรรมต่างๆ ของสถาบัน เป็นตัวแทนไปร่วมงานในระดับภาคและ
ระดับชาติ สร้างชื่อเสียงให้แก่สถาบันเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้ได้ร่วมกิจกรรมต่างๆ เช่น ร่วมรณรงค์
ต่อต้านยาเสพติด รณรงค์ไปใช้สิทธิต่างๆ รณรงค์รักษาสิ่งแวดล้อม ปลูกต้นไม้ และกิจกรรมต่างๆ ที่
เป็นประโยชน์ของชุมชน ได้อุทิศตน เสียสละทั้งแรงกาย แรงใจ ให้การช่วยเหลือผู้อื่น สังคม ชุมชน
ทุกๆ ด้าน เท่าที่ตนเองมีความสามารถที่จะกระทำได้
จากมูลเหตุดังกล่าว สรุปได้ว่า เป็นผู้ที่เกิดมาจากครอบครัวที่ยากจน เป็นคนดีมีความกตัญญู
เชื่อฟังบิดามารดา มีความมานะพากเพียรและมีผลการเรียนที่ดี เป็นผู้ที่มีจิตใจดี ใช้เวลาว่างในการ
ทำงานช่วยเหลือครอบครัว และทำกิจกรรมต่างๆ จนเป็นที่ยอมรับของครูอาจารย์และเพื่อนๆ มีภาวะ
ผู้นำสูง ทำกิจกรรมต่างๆ ที่มีประโยชน์ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม จนได้รับตำแหน่งเป็นนายกองค์การ
นักธุรกิจในอนาคตแห่งประเทศไทย และทำชื่อเสียงให้แก่สถาบันและประเทศชาติ จนได้รับคัดเลือก
เป็นเยาวชนดีเด่นอาสาสมัครพัฒนาสังคม
ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง
ตารางที่ 1 เพศ อายุ และศาสนาของกลุ่มตัวอย่าง
กรณีศึกษาที่ เพศ อายุ (ปี) ศาสนา
1 หญิง 24 พุทธ
2 หญิง 21 พุทธ
3 หญิง 19 พุทธ
4 ชาย 24 พุทธ
5 หญิง 22 พุทธ
6 หญิง 22 พุทธ
7 ชาย 24 พุทธ
8 ชาย 22 พุทธ
9 ชาย 23 พุทธ
10 ชาย 21 พุทธ
ที่มา : จากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างเมื่อวันท ี่ 20 สิงหาคม – 5 กันยายน 2546
57
ตารางที่ 2 สรุปเพศของกลุ่มตัวอย่าง
เพศ จำนวน คิดเป็นร้อยละ
ชาย 5 50
หญิง 5 50
รวม 10 100
จากตารางที่ 2 พบว่า มีเยาวชนชาย 5 คน คิดเป็นร้อยละ 50 และเยาวชนหญิง 5 คน คิดเป็น
ร้อยละ 50
ตารางที่ 3 สรุปอายุของกลุ่มตัวอย่าง
อายุ จำนวน คิดเป็นร้อยละ
15- 20 ปี 1 10
21-25 ปี 9 90
รวม 10 100
จากตารางที่ 3 พบว่า มีเยาวชนที่มีอายุระหว่าง 15 – 20 ปี มีจำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 10
และเยาวชนที่มีอายุ 21-25 ปี มีจำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 90
ตารางที่ 4 สรุปศาสนาของกลุ่มตัวอย่าง
ศาสนา จำนวน คิดเป็นร้อยละ
พุทธ 10 100
รวม 10 100
จากตารางที่ 4 พบว่าเยาวชนทั้งหมดนับถือศาสนาพุทธคิดเป็นร้อยละ 100
ตารางที่ 5 ระดับการศึกษาและสถานศึกษาของกลุ่มตัวอย่าง
กรณี
ศึกษาที่
ระดับการศึกษา
กำลัง/จบการศึกษา
สถานศึกษา ประเภทของสถานศึกษา
รัฐบาล/เอกชน
1 จบการศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เอกชน
2 กำลังศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รัฐบาล
3 กำลังศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา รัฐบาล
4 กำลังศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยรามคำแหง รัฐบาล
5 กำลังศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เอกชน
58
กรณี
ศึกษาที่
ระดับการศึกษา
กำลัง/จบการศึกษา
สถานศึกษา ประเภทของสถานศึกษา
รัฐบาล/เอกชน
6 กำลังศึกษาปริญญาโท จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รัฐบาล
7 จบการศึกษาปริญญาตรี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
เจ้าคุณทหารลาดกระบัง
รัฐบาล
8 กำลังศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยศิลปากร รัฐบาล
9 กำลังศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เอกชน
10 จบการศึกษาอนุปริญญา วิทยาลัยอาชีวศึกษาเลย รัฐบาล
ที่มา : จากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างเมื่อวันท ี่ 20 สิงหาคม – 5 กันยายน 2546
ตารางที่ 6 สรุประดับการศึกษาของกลุ่มตัวอย่าง
ระดับการศึกษา จำนวน คิดเป็นร้อยละ
จบการศึกษาอนุปริญญา 1 10
กำลังศึกษาปริญญาตรี 5 50
จบการศึกษาปริญญาตรี 2 20
กำลังศึกษาปริญญาโท 2 20
รวม 10 100
จากตารางที่ 6 พบว่ามีเยาวชนที่จบการศึกษาระดับอนุปริญญา มีจำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ
10 กำลังศึกษาระดับปริญญาตร ี มจี าํ นวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 50 จบการศึกษาระดับปริญญาตรี มี
จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 20 และกำลังศึกษาระดับปริญญาโท มีจำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 20
ตารางที่ 7 สรุปสถานศึกษาของกลุ่มตัวอย่าง
สถานศึกษา จำนวน คิดเป็นร้อยละ
รัฐบาล 7 70
เอกชน 3 30
รวม 10 100
จากตารางที่ 7 พบว่า มีเยาวชนที่กำลังศึกษาหรือจบการศึกษาจากสถานศึกษาของรัฐบาลมี
จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 70 และสถานศึกษาของเอกชน มีจำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 30
59
ตารางที่ 8 ภูมิลำเนา และที่อยู่ปัจจุบันของกลุ่มตัวอย่าง
กรณี
ศึกษาที่
ภูมิลำเนา ที่อยู่ปัจจุบัน
1 พระนครศรีอยุธยา กรุงเทพมหานคร
2 กรุงเทพมหานคร กรุงเทพมหานคร
3 สมุทรปราการ ชลบุรี
4 กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ
5 กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ
6 กรุงเทพมหานคร กรุงเทพมหานคร
7 กาฬสินธุ์ กรุงเทพมหานคร
8 ชุมพร นครปฐม
9 พิษณุโลก กรุงเทพมหานคร
10 เลย กรุงเทพมหานคร
ที่มา : จากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างเมื่อวันท ี่ 20 สิงหาคม – 5 กันยายน 2546
ตารางที่ 9 สรุปภูมิลำเนาของกลุ่มตัวอย่าง
ภูมิลำเนา จำนวน คิดเป็นร้อยละ
กรุงเทพมหานคร 4 40
ต่างจังหวัด 6 60
รวม 10 100
จากตารางที่ 9 พบว่า เยาวชนมีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานคร มีจำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ
40 และอยู่ต่างจังหวัด มีจำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 60
ตารางที่ 10 สรุปที่อยู่ปัจจุบันของกลุ่มตัวอย่าง
ภูมิลำเนา จำนวน คิดเป็นร้อยละ
กรุงเทพมหานคร 6 60
ต่างจังหวัด 4 40
รวม 10 100
จากตารางที่ 10 พบว่า เยาวชนมีที่อยู่ปัจจุบันอยู่ในกรุงเทพมหานคร มีจำนวน 6 คน คิดเป็น
ร้อยละ 60 และอยู่ต่างจังหวัด มีจำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 40
60
ตารางที่ 11 ความเป็นอยู่ในครอบครัวของกลุ่มตัวอย่าง
กรณี
ศึกษาที่
ความเป็นอยู่ในครอบครัว
1 มีพี่น้องจำนวน 2 คน เป็นบุตรคนที่ 1 บิดามารดาประกอบอาชีพค้าขาย
ครอบครัวมีฐานะปานกลาง
ค่าเล่าเรียนได้จากบิดามารดา
2 มีพี่น้องจำนวน 2 คน เป็นบุตรคนที่ 1 บิดามารดาประกอบอาชีพรับราชการ
ครอบครัวมีฐานะปานกลาง
ค่าเล่าเรียนได้จากบิดามารดา
3 เป็นบุตรคนเดียวของครอบครัว บิดามารดาประกอบอาชีพรับจ้าง
ครอบครัวมีฐานะปานกลาง
ค่าเล่าเรียนได้จากการกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา
4 เป็นบุตรคนเดียวของครอบครัว บิดาประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว
ครอบครัวมีฐานะปานกลาง
ค่าเล่าเรียนได้จากบิดา และรายได้พิเศษจากการเป็นพิธีกร
5 เป็นบุตรคนเดียวของครอบครัว บิดามารดาประกอบอาชีพรับจ้าง
ครอบครัวมีฐานะปานกลาง
ค่าเล่าเรียนได้จากบิดามารดา
6 มีพี่น้องจำนวน 2 คน เป็นบุตรคนที่ 1 บิดามารดาประกอบอาชีพค้าขาย
ครอบครัวมีฐานะปานกลาง
ค่าเล่าเรียนได้จากได้รับทุนการศึกษา มีรายได้พิเศษจากการสอนพิเศษ
7 มีพี่น้องจำนวน 3 คน เป็นบุตรคนที่ 1 บิดามารดาประกอบอาชีพเกษตรกรรม
ครอบครัวมีฐานะยากจน
ค่าเล่าเรียนได้จากบิดามารดาและการหารายได้พิเศษ
8 มีพี่น้องจำนวน 4 คน เป็นบุตรคนที่ 1 บิดามารดาประกอบอาชีพค้าขาย
ครอบครัวมีฐานะปานกลาง
ค่าเล่าเรียนได้จากการได้รับทุนการศึกษา
9 มีพี่น้องจำนวน 2 คน เป็นบุตรคนที่ 1 บิดามารดาประกอบอาชีพรับราชการ
ครอบครัวมีฐานะปานกลาง
ค่าเล่าเรียนได้จากบิดามารดา
61
กรณี
ศึกษาที่
ความเป็นอยู่ในครอบครัว
10 มีพี่น้องจำนวน 2 คน เป็นบุตรคนที่ 1 บิดามารดาประกอบอาชีพเกษตรกรรม
ครอบครัวมีฐานะยากจน
ค่าเล่าเรียนได้จากการได้รับทุนการศึกษาและการหารายได้พิเศษ
ที่มา : จากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างเมื่อวันท ี่ 20 สิงหาคม – 5 กันยายน 2546
ตารางที่ 12 สรุปจำนวนพี่น้องของกลุ่มตัวอย่าง
จำนวนพี่น้อง จำนวน คิดเป็นร้อยละ
เป็นบุตรคนเดียว 3 30
มีพี่น้อง 7 70
รวม 10 100
จากตารางที่ 12 พบว่า เยาวชนที่เป็นบุตรคนเดียวมีจำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 30 และเยาว
ชนที่มีพี่น้อง มีจำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 70
ตารางที่ 13 สรุปลำดับการเป็นบุตร
จำนวนพี่น้อง จำนวน คิดเป็นร้อยละ
เป็นบุตรคนแรก 10 100
รวม 10 100
จากตารางที่ 13 พบว่า เยาวชนทั้งหมดเป็นบุตรคนแรก คิดเป็นร้อยละ 100
ตารางที่ 14 สรุปอาชีพครอบครัวของกลุ่มตัวอย่าง
อาชีพ จำนวน คิดเป็นร้อยละ
ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว 4 40
รับราชการ 2 20
รับจ้าง 2 20
เกษตรกรรม 2 20
รวม 10 100
62
จากตารางที่ 14 พบว่า เยาวชนที่ครอบครัวมีอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว มีจำนวน 4 คน คิด
เป็นร้อยละ 40 อาชีพรับราชการ มีจำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 20 อาชีพรับจ้าง มีจำนวน 2 คน คิด
เป็นร้อยละ 20 และอาชีพเกษตรกรรม มีจำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 20
ตารางที่ 15 สรุปฐานะของครอบครัว
ฐานะ จำนวน คิดเป็นร้อยละ
ยากจน 2 20
ปานกลาง 8 80
รวม 10 100
จากตารางที่ 15 พบว่า เยาวชนที่ครอบครัวมีฐานะยากจน มีจำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 20
และมีฐานะปานกลาง มีจำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 80
ตารางที่ 16 สรุปการได้รับค่าเล่าเรียน
ค่าเล่าเรียน จำนวน คิดเป็นร้อยละ
ได้รับจากบิดามารดา 4 40
จากการกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา 1 10
จากทุนการศึกษา 1 10
จากบิดามารดาและรายได้พิเศษ 2 20
จากทุนการศึกษาและรายได้พิเศษ 2 20
รวม 10 100
จากตารางที่ 16 พบว่า มีเยาวชนที่ได้ค่าเล่าเรียนจากบิดามารดา มีจำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ
40 จากการกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา มีจำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 10 จากทุนการศึกษา มีจำนวน 1 คน
คิดเป็นร้อยละ 10 จากบิดามารดาและรายได้พิเศษ มีจำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 20 และจากทุนการ
ศึกษาและรายได้พิเศษ มีจำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 20
ตารางที่ 17 ชื่อโครงการหรือกิจกรรมที่ดำเนินการ
กรณี
ศึกษาที่
ชื่อโครงการหรือกิจกรรมที่ดำเนินการ
1 - กิจกรรมทางด้านกฎหมาย การเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการเลือกตั้งให้แก่
ประชาชนในชนบท
- ก่อตั้งชมรม English Club for the Lawyer
63
กรณี
ศึกษาที่
ชื่อโครงการหรือกิจกรรมที่ดำเนินการ
1 (ต่อ) - กิจกรรมการปกป้องคุ้มครองสิทธิเด็กและเยาวชน
2 - โครงการรณรงค์ป้องกันโรคเอดส์
- โครงการอบรมนักเรียนแกนนำในโครงการเพื่อนเตือนเพื่อน
- ค่าย “เด็กดีเด่นสร้างชาติ”
- การประกวดร้องเพลง ละคร แบบจำลองภาษาฝรั่งเศส บทสนทนา เรียงความ
- โครงการการรักษาวัฒนธรรมในชุมชน
- โครงการแนะแนวการศึกษา
- โครงการสิ่งแวดล้อม
3 - กิจกรรมในฐานะประธานคณะกรรมการนักเรียน
- การแข่งขันบรรยายธรรมะ
- การแข่งขันตอบปัญหารัฐสภา
- การประกวดเรียงความ
- การแข่งขันโต้วาที
- วิทยากรบรรยายประวัติและความเป็นมาขององค์พระสมุทรเจดีย์
- ผู้นำการฝึกซ้อมกองเชียร์และพาเหรด
- สมาชิกผู้นำเยาวชนสาธารณสุขในโรงเรียน
- โครงการพี่สอนน้อง
- โครงการปันน้ำใจเพื่อเด็กไทย
- ผู้นำอาสาสมัครรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด
- กิจกรรมวันปลูกต้นไม้แห่งชาติ
4 - กิจกรรมสอนพิเศษ
- กิจกรรมในฐานะผู้แทนนักศึกษาเข้าร่วมสัมมนาสภานิสิตนักศึกษา ระดับอุดม
ศึกษาทั่วประเทศ
- โครงการมิตรภาพสำหรับศตวรรษที่ 21 ณ ประเทศญี่ปุ่น
- โครงการอบรมอาสาสมัครการให้บริการปรึกษาและเผยแพร่ความรู้สุขภาพจิต
- กิจกรรมวันสิ่งแวดล้อมโลก
- เข้าร่วมประชุมวางแผนงานกาชาดโลก
- โครงการผ้าป่าช่วยชาติ ของหลวงตามหาบัว
64
กรณี
ศึกษาที่
ชื่อโครงการหรือกิจกรรมที่ดำเนินการ
4 (ต่อ) - คณะกรรมการจัดงานและพิธีกรลานประกาศผลสอบคัดเลือกเข้าสถาบันอุดม
ศึกษา
- กิจกรรมในฐานะนายกสโมสรศึกษา มหาวิทยาลัยเกริก
- คณะกรรมการคัดเลือกกุลบุตร –กุลธิดากาชาด
5 - นักกีฬาว่ายทีมชาติ
- ผู้นำเยาวชนให้สนใจการเล่นกีฬา ใส่ใจสุขภาพ และแนะนำวิธีการเล่นกีฬา
อย่าง ถูกต้องตามกฎกติกา
6 - โครงการช้างเผือกด้านภาษาและวรรณคดีไทย
- แข่งขันกีฬาในระดับมหาวิทยาลัย
- การประกวดสุนทรพจน์อุดมศึกษา “ตามรอยพระยุคลบาทช่วยกู้ชาติได้
อย่างไร”
- สมาชิกวงดนตรีสากลแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- การประชันสักวาในงานวันสุนทรภู่
- การแสดงละครพูดพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 6
- กิจกรรมฝึกสมาธิของวัดบวรนิเวศ
- ประกวดศิลปะการพูดเรื่อง “ในหลวงของเราและความปรารถนาของข้าพเจ้า”
- โครงการอ่านหนังสือให้คนตาบอด
- โครงการเยี่ยมบ้านเด็กอ่อนและบ้านคนชรา
7 - โครงการถ่ายทอดความรู้จากนักวิชาการที่อยู่ต่างประเทศ เพื่อสร้างเครือข่าย
พัฒนาเยาวชนไทย พร้อมสู่เวทีเอเปคในศตวรรษที่ 21
- กิจกรรมในฐานะนายกองค์การช่างเทคนิคในอนาคตแห่งประเทศไทย ระดับ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- โครงการต่อต้านโรคเอดส์
- โครงการพัฒนาจิต
- โครงการของสมาคมการไม่ดื่มสุรา
8 - กิจกรรมในฐานะประธานฝ่ายวิชาการของชมรมกลุ่มปิยะมิตร
- กิจกรรมในฐานะประธานฝ่ายวิชาการ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
อุตสาหกรรม
65
กรณี
ศึกษาที่
ชื่อโครงการหรือกิจกรรมที่ดำเนินการ
8 (ต่อ) - กิจกรรมในฐานะอาสาสมัครพิทักษ์สิ่งแวดล้อม
- กิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตย
- กิจกรรมป้องกันยาเสพติด
- กิจกรรมการพัฒนาความเป็นผู้นำเยาวชน
- กิจกรรมรักษาวัฒนธรรมไทย
- อาสาสมัครโครงการราษฎร์-รัฐ ร่วมใจต้านภัยยาเสพติด
- วิทยากรอบรมเยาวชนโครงการอนุรักษ์มรดกโลกอยุธยา
- การประกวดวาดภาพสี
9 - ผู้ช่วยการจัดอบรมลูกเสือ-เนตรนารี
- ช่วยเหลือผู้ที่ถูกคนร้ายทำร้ายร่างกายและกระทำอนาจาร
10 - กิจกรรมในฐานะนายกองค์การนักธุรกิจในอนาคตแห่งประเทศไทย
- โครงการรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด
- โครงการรณรงค์ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
- โครงการรณรงค์รักษาสิ่งแวดล้อม
- กิจกรรมต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ของชุมชน
ที่มา : จากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างเมื่อวันท ี่ 20 สิงหาคม – 5 กันยายน 2546
ตางรางที่ 18 ผลงานหรือรางวัลที่เยาวชนได้รับ
กรณี
ศึกษาที่
ผลงานหรือรางวัลที่เยาวชนได้รับ
1 - เยาวชนดีเด่นของสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
- เยาวชนดีเด่นแห่งชาติ สาขากฎหมายและการปกป้องคุ้มครองสิทธิเด็กและ
เยาวชน
2 - รางวัลเรียนดี จากสหกรณ์ออมทรัพย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จำกัด
- รางวัลบัตรเด็กดี
- เยาวชนดีคนดีมีศีลธรรมตามโครงการ “ห่วงใย...วัยจ๊าบ”
- เยาวชนดีเด่นระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ของโรงเรียนเบญจมราชาลัย
- เกียรติบัตรผู้มีคุณธรรมด้านความซื่อสัตย์สุจริต เนื่องจากเก็บกระเป๋าสตางค์
แล้วนำคืนเจ้าของ
66
กรณี
ศึกษาที่
ผลงานหรือรางวัลที่เยาวชนได้รับ
2 (ต่อ) - เกียรติบัตรด้านผู้มีความประพฤติดี จากพุทธสมาคมแห่งประเทศไทยฯ
- เยาวชนดีเด่น ของสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรม
ราชูปถัมภ์
- เยาวชนดีเด่นแห่งชาติ สาขาคุณธรรมและจริยธรรม
3 - ได้รับการเชิดชูเกียรติว่าเป็นผู้มีผลการเรียนดีเด่น
- ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานคณะกรรมการนักเรียน
- รางวัลชนะเลิศการแข่งขันบรรยายธรรมะ ในงานส่งเสริมพระพุทธศาสนา
- รางวัลชมเชยประกวดเรียงความเรื่อง “น้ำใจไมตรี”
- รางวัลชนะเลิศการเขียนเรียงความเรื่อง “แม่คือผู้สร้าง”
- รางวัลชนะเลิศการเขียนเรียงความเนื่องในวันพ่อแห่งชาติ
- รางวัลชนะเลิศการเขียนเรียงความเนื่องในงานสัปดาห์ต่อต้านยาเสพติด
- รางวัลชนะเลิศการเขียนเรียงความเรื่อง “เอดส์ลดหรือเพิ่มเริ่มที่ผู้ชาย”
- รางวัลยอดนักอ่าน ในโครงการอ่านเฉลิมพระเกียรติ
- รางวัลชนะเลิศการแข่งขันโต้วาที
- นำการฝึกซ้อมกองเชียร์และพาเหรดจนได้รับรางวัลชนะเลิศ
- เกียรติบัตรผู้มีความประพฤติและบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม
- ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น “คนดีศรี ป.ว.”
- เยาวชนดีเด่นของสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
4 - ได้รับคัดเลือกเป็นที่ปรึกษาคณะกรรมการนักเรียน
- ได้รับคัดเลือกเป็นประธานโครงการพลังสร้างสรรค์สัมพันธ์เยาวชน
- ได้รับคัดเลือกเขา้ รว่ มโครงการมติ รภาพสำหรบั ศตวรรษที่ 21
- เยาวชนดีเด่นของทบวงมหาวิทยาลัย
- เกียรติบัตรและเข็มความประพฤติดี โดยพุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระ
บรมราชูปถัมภ์
- ได้รับคัดเลือกเป็นนายกสโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยเกริก
- เยาวชนดีเด่นแห่งชาติ สาขาพัฒนาเยาวชน บำเพ็ญประโยชน์ อาสาสมัคร
สวัสดิการ และประสานงาน
67
กรณี
ศึกษาที่
ผลงานหรือรางวัลที่เยาวชนได้รับ
5 - ได้รับการคัดเลือกเป็นนักกีฬาว่ายน้ำทีมชาติ
- รางวัลนักกีฬายอดเยี่ยมหญิง จากการแข่งขันกีฬาแห่งชาติเกาะแก้วเกมส์ที่
จังหวัดระยอง
- ได้รับการคัดเลือกเป็นนักกีฬาว่ายน้ำทีมชาติชุดโอลิมปิก
- รางวัลนักกีฬายอดเยี่ยมหญิง จากกีฬาแห่งชาติ มหานครเกมส์ที่กรุงเทพฯ
6 - ได้รับคัดเลือกให้รับทุนโครงการช้างเผือกด้านภาษาและวรรณคดีไทย
- ได้รับคัดเลือกให้เป็นนักกีฬาบาสเก็ตบอลของมหาวิทยาลัยในการแข่งขันกีฬา
ในระดับมหาวิทยาลัย
- ได้รับคัดเลือกให้เป็นประธานฝ่ายกีฬา คณะกรรมการนิสิตคณะอักษรศาสตร์
- รางวัลจากการประกวดสุนทรพจน์อุดมศึกษา เรื่อง “ตามรอยพระยุคลบาล ช่วย
กู้ชาติได้อย่างไร”
- ได้รับคัดเลือกเป็นสมาชิกวงดุริยางค์เยาวชน และวงดนตรีสากลแห่งจุฬาลง
กรณ์มหาวิทยาลัย
- ได้รับคัดเลือกให้รับทุนนาฏศิลป์และการละครจากมูลนิธิมหาวชิราวุธานุสรณ์
- เยาวชนดีเด่นของสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
7 - รางวัลพระราชทานรางวัลชมเชย อันดับ 1 ระดับมัธยมศึกษา จากกระทรวง
ศึกษาธิการ
- เยาวชนดีเด่นของสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
- เยาวชนดีเด่นจังหวัดมหาสารคาม จากพุทธิกสมาคม
- นักกิจกรรมดีเด่น จากมูลนิธิทองใบ ทองเปาด์
- ได้รับคัดเลือกเป็นนายกองค์การช่างเทคนิคในอนาคตแห่งประเทศไทย ระดับ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- เยาวชนดีเด่นแห่งชาติ สาขาพัฒนาเยาวชน บำเพ็ญประโยชน์ อาสาสมัคร
สวัสดิการ และประสานงาน
8 - ได้รับการยกย่องเป็นนักศึกษาผู้มีความประพฤติดีงาม จากพุทธสมาคมแห่ง
ประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
- ได้รับการยกย่องเป็นผู้สร้างชื่อเสียงให้กับคณะวิศวกรรมศาสตร์และ
เทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร
- เกียรติบัตรผู้กระทำกิจกรรมดีเด่นด้านความคิดริเริ่ม
68
กรณี
ศึกษาที่
ผลงานหรือรางวัลที่เยาวชนได้รับ
8 (ต่อ) - ได้รับการคัดเลือกเป็นประธานฝ่ายวิชาการของชมรมกลุ่มปิยะมิตร
- ได้รับการคัดเลือกเป็นประธานฝ่ายวิชาการ คณะวิศวกรรมศาสตร์และ
เทคโนโลยีอุตสาหกรรม
- รางวัลที่ 3 จากการประกวดวาดภาพสี ของโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร
- ได้รับการคัดเลือกเป็นคณะกรรมการนักเรียน
- ได้รับการคัดเลือกเป็นกรรมการสโมสรนักศึกษา
9 - ได้รับเหรียญสรรเสริญชั้น 1 จากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ
สยามมกุฎราชกุมาร
- ได้รับการยกย่องเป็นผู้กล้าหาญจากสำนักงานคณะกรรมการลูกเสืออำเภอเมือง
พิษณุโลก
- ได้รับการยกย่องเป็นผู้กล้าหาญจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
- ได้รับการยกย่องเป็นผู้กล้าหาญจากค่ายลูกเสือแห่งชาติ
- ได้รับการยกย่องเป็นผู้กล้าหาญจากสถานีตำรวจภูธรจังหวัดสุโขทัย
- เยาวชนดีเด่นแห่งชาติ สาขาพัฒนาเยาวชน บำเพ็ญประโยชน์ อาสาสมัคร
สวัสดิการ และประสานงาน
10 - นักศึกษารางวัลพระราชทาน ระดับอุดมศึกษา
- ได้รับคัดเลือกให้เป็นผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรม และมีความกตัญญูดีเด่น
- ได้รับการคัดเลือกให้เป็นนายกองค์กรนักธุรกิจในอนาคตแห่งประเทศไทย
- เยาวชนดีเด่น ของสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรม
ราชูปถัมภ์
ที่มา : จากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างเมื่อวันท ี่ 20 สิงหาคม – 5 กันยายน 2546
ส่วนที่ 2 ผลการศึกษาวิเคราะห์ตามลักษณะตัวแปร
จากผลการศึกษาตัวแปรต่างๆ สามารถแบ่งผลการวิเคราะห์รายบุคคลออกเป็นด้านต่างๆ ดังนี้
69
ตารางที่ 19 ผลการศึกษาวิเคราะห์ตามลักษณะตัวแปร
กรณีศึกษาที่ 1
ครอบครัว/การศึกษา แรงจูงใจ บทบาทหน้าที่
ครอบครัว ภูมิลำเนา เป็นชาวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา บิดา
มารดา ประกอบอาชีพค้าขาย มีพี่น้อง 2 คน เป็นบุตรคนโต ใน
ระหว่างที่อยู่กับบิดามารดา ได้ช่วยบิดามารดาค้าขาย และช่วยดูแล
น้อง เพื่อแบ่งเบาภาระของบิดามารดาที่ไม่มีเวลาเนื่องจากต้องค้า
ขาย ต่อมาได้ย้ายเข้าไปอาศัยอยู่กับญาติที่กรุงเทพฯ เพื่อเรียน
หนังสือ
การศึกษา จบปริญญาตรี สาขานิติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยหอการ
ค้าไทย โดยมีผลการศึกษาอยู่ในระดับดีมาตลอด และบิดามารดา
เป็นผู้ที่ส่งเสียให้เรียน ปัจจุบันมีอายุ 24 ปี ทำงานเป็นเจ้าหน้าที่
รัฐสภา
ในขณะที่ ศึกษาในคณะนิติศาสตร์ ได้ร่วมทำกิจกรรมต่างๆ เช่น
การนำความรู้เกี่ยวกับการเลือกตั้งไปเผยแพร่แก่ประชาชนใน
ชนบทในรูปของค่ายอาสาพัฒนา และทำการสาธิตเกี่ยวกับวิธีการ
เลือกตั้ง โดยที่ทำหน้าที่เป็นวิทยากรบรรยายเนื้อหาด้านกฎหมาย
และการเลือกตั้ง นอกจากนี้ ยังเป็นผู้ที่มีความสนใจในด้านภาษา
ต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษาอังกฤษ จึงได้จัดตั้งชมรม
English Club for the Lawyer ขึ้นที่คณะนิติศาสตร์ เพื่อให้นักศึกษา
ได้พัฒนาภาษาอังกฤษ กรณีที่ 1 ได้เล่าว่า “ได้ดูรายการทีวีรายการ
หนึ่งที่มีการนำเสนอชีวิตของคนจน และคนด้อยโอกาส จึงคิดว่า
ตัวเองมีส่วนช่วยเหลือคนเหล่านี้ได้ และอยากให้เขามีคุณภาพชีวิต
ที่ดีขึ้น จึงได้มีความคิดว่า น่าจะนำความรู้ของตนที่มีอยู่ไปช่วยได้
โดยคิดว่าน่าจะไปช่วยชาวชนบทที่ห่างไกลความเจริญ” ซึ่งจาก
เหตุการณ์นี้จึงเป็นแรงจูงใจให ้ เริ่มบทบาทอาสาสมัครพัฒนาสังคม
กระบวนการเข้าสู่งานอาสาสมัคร เริ่มจากการทำกิจกรรมใน
โรงเรียนทำให้ชอบงานช่วยเหลือผู้อื่น จึงได้เข้าทำงานด้านอาสา
สมัคร
บทบาทหน้าที่ เป็นผู้นำในการคิดวางแผน และประสาน
งานของการจัดกิจกรรมต่างๆ อาทิ การเผยแพร่ความรู้ด้าน
กฎหมาย การเมือง สิทธิของประชาชน และวิธีการเลือกตั้ง
ผู้แทนราษฎร์ ให้แก่ประชาชนในชนบทที่ไม่มีความรู้อยู่
เสมอ เป็นผู้ที่ริเริ่มกิจกรรมการสัมมนาเรื่องการปกป้องคุ้ม
ครองสิทธิเด็กและเยาวชน ซึ่งจากการกระทำเหล่านี้ ทำให้
ได้รับคัดเลือกเป็นเยาวชนดีเด่นในปี 2543และได้รับการคัด
เลือกให้เป็นเยาวชนดีเด่นแห่งชาติ สาขากฏหมายและการ
ปกป้องคุ้มครองสิทธิเด็กและเยาวชนในปี 2544
70
กรณีศึกษาที่ 2
ครอบครัว/การศึกษา แรงจูงใจ บทบาทหน้าที่
ครอบครัว เป็นชาวบางอ้อ เขตบางพลัด กรุงเทพฯ ปัจจุบันอายุ 21
ปี บิดามารดา รับราชการทั้ง 2 คน มีพี่น้อง 2 คน เป็นบุตรคนโต
เป็นบุคคลที่เชื่อฟังคำสั่งสอนของบิดามารดา แบ่งเบาภาระหน้าที่
ของบิดามารดา ใช้จ่ายเงินอย่างประหยัด และมีน้ำใจช่วยเหลือชุม
ชนอยู่เสมอจนบิดามารดา มีความภาคภูมิใจและชมเชยว่า “เป็น
คนกตัญญู”
การศกึ ษา ปัจจุบันกำลังศึกษาในระดับปริญญาตร ี คณะสังคม
สงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยมีผลการเรียน
อยู่ในเกณฑ์ดี มีบิดาและมารดาเป็นผู้ส่งเสียค่าเล่าเรียน
มีคติธรรมประจำใจว่า “ความกตัญญูเป์นเครื่องหมายของคนดี”
และมีความตั้งใจในการดำรงชีวิตและประพฤติในสิ่งที่ดีงาม รู้จัก
เคารพและให้ความช่วยเหลือผู้อื่น เต็มกำลังความสามารถ ดังนั้น
จึงได้ทำกิจกรรมต่างๆ ในการช่วยเหลือผู้อื่น
กระบวนการเข้าสู่งานอาสาสมัคร เริ่มจากการทำกิจกรรมใน
โรงเรียนทำให้ชอบงานช่วยเหลือผู้อื่น จึงได้เข้าทำงานด้านอาสา
สมัคร
บทบาทหน้าที่ ไดท้ าํ โครงการรณรงคป์ อ้ งกนั โรคเอดส์
และโครงการรักษาวัฒนธรรมในชุมชน โครงการแนะแนว
การศึกษาให้เยาวชน และโครงการรักษาสิ่งแวดล้อม
71
กรณีศึกษาที่ 3
ครอบครัว/การศึกษา แรงจูงใจ บทบาทหน้าที่
ครอบครัว บิดามารดาเป็นชาวสมุทรปราการ ประกอบอาชีพ
รับจ้าง เป็นบุตรคนเดียว ขณะในวัยเด็กได้ช่วยบิดามารดาในการ
ประกอบอาชีพ เลี้ยงกุ้ง
การศึกษา ปัจจุบันศึกษาในคณะครุศาสตร์ เอกการศึกษาปฐมวัย
มหาวิทยาลัยบูรพา ปีที่ 2 เมื่อปิดภาคการศึกษา ก็จะช่วยครอบครัว
ทำงาน วังกุ้ง เนื่องจากครอบครัวยากจน จึงต้องกู้ยืมกองทุนเพื่อ
การศึกษาของรัฐบาลเป็นค่าใช้จ่ายในการเรียน
เป็นผู้ที่สนใจเล่าเรียนสูง จนได้รับคำชมเชยจากสถานศึกษาว่า
“เป็นผู้ที่มีผลการเรียนดีเด่นมาโดยตลอด และมีความรับผิดชอบ
ในงานที่ได้รับมอบหมาย” จากพฤติกรรมดังกล่าว จึงเป็นที่รักใคร่
และไว้วางใจจากเพื่อนๆ และอาจารย์ ต่อมาได้รับการคัดเลือกให้
เป็น “ผู้นำนักเรียน” นอกจากนี้ ยังสนใจศึกษาหลักธรรม จน
สามารถบรรยายธรรมได้อย่างดี และได้รับรางวัลชนะเลิศการแข่ง
ขั้นบรรยายธรรมะในงานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา เป็น
ประธานนักเรียน ทุ่มเทกำลังกาย กำลังใจ ที่จะทำหน้าที่อย่างเต็มใจ
ได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทนนักเรียนไปทำกิจกรรมต่างๆ จนได้รับ
รางวัล
กระบวนการเข้าสู่งานอาสาสมัคร เริ่มจากการทำกิจกรรมใน
โรงเรียนทำให้ชอบงานช่วยเหลือผู้อื่น จึงได้เข้าทำงานด้านอาสา
สมัคร
บทบาทหน้าที่ ได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทนนักเรียนไปแข่ง
ขันตอบปัญหารัฐสภา และได้รับรางวัลชมเชยประกวดเรียง
ความ เรื่อง “น้ำใจไมตรี” และชนะเลิศเรื่อง “แม่คือผู้
สร้าง” ในกิจกรรมวันแม่แห่งชาติ ปี 2541และ 2542 ชนะ
เลิศเนื่องในวันพ่อแห่งชาติ และในปี 2543 ชนะเลิศเรียง
ความ “เอดส์ลดเพิ่มเริ่มที่ผู้ชาย” และได้รับรางวัลยอดนัก
อ่านระดับม.4 เนื่องในการจัดกิจกรรมโครงการอ่านเฉลิม
พระเกยี รตปิ 2542 ไดร้ บั รางวลั ชนะเลศิ ยอดเยยี่ มการ
แข่งขันโต้วาทีระดับ ม.ปลาย ปี2543 ของระดับอำเภอ
นอกจากนี้ยังทำหน้าที่พิธีกร และวิทยากรบรรยาย ประวัติ
ความเป็นมาขององค์พระสมุทรเจดีย์
72
กรณีศึกษาที่ 4
ครอบครัว/การศึกษา แรงจูงใจ บทบาทหน้าที่
ครอบครัว เป็นชาวกรุงเทพฯ บิดามารดา มีอาชีพ ทำธุรกิจส่วนตัว
เป็นบุตรคนเดียว ตอนเด็กได้ติดตามบิดา ไปช่วยงานเสมอ
การศึกษา ศึกษาในระดับปริญญาโท สาขาการจัดการสวัสดิการ
สังคม ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง
เกิดจากการที่ได้ติดตามบิดาในตอนเด็ก ซึ่งบิดาเป็นที่ปรึกษาด้าน
แรงงาน ได้ช่วยเหลือผู้ใช้แรงงาน ทั้งในด้านการทำงาน และสวัส
ดิการต่างๆ จากการเป็นผู้ที่มีความประพฤติดี เป็นคนมีน้ำใจ ได้
รับคำชมเชยจากเพื่อนๆ และผู้ใกล้ชิดอยู่เสมอ นอกจากนี้ยังมีภาวะ
ผู้นำ และกล้าแสดงออก
กระบวนการเข้าสู่งานอาสาสมัคร เริ่มจากการเห็นบิดาเป็นตัวแบบ
และบิดามีบทบาทในการช่วยเหลือสังคม
บทบาทหน้าที่ ได้รับคัดเลือกให้เป็นที่ปรึกษาคณะ
กรรมการนักเรียน เป็นประธานโครงการพลังสร้างสรรค์
สัมพันธ์เยาวชน ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมโครงการมิตรภาพ
และเข้าร่วมประชุมวางแผนงานกาชาดโลก เป็นคณะ
ทำงานโครงการผ้าป่าช่วยชาติ ต่อมาได้รับรางวัลเป็น “เยาว
ชนดีเด่นของทบวงมหาวิทยาลัย” และ “เยาวชนดีเด่น
แห่งชาติ สาขาพัฒนาเยาวชนบำเพ็ญประโยชน์อาสาสมัคร
สวัสดิการและประสานงาน” ปี 2543
73
กรณีศึกษาที่ 5
ครอบครัว/การศึกษา แรงจูงใจ บทบาทหน้าที่
ครอบครัว เป็นชาวกรุงเทพมหานคร บิดามีอาชีพรับจ้าง มารดามี
อาชีพแม่บ้าน เป็นผู้ที่มีความกตัญญูกตเวที เป็นผู้ใกล้ชิดกับ
มารดามาก รักและเชื่อฟังคำสั่งสอน และปฏิบัติตามเสมอ มีความ
ซื่อสัตย์และมีระเบียบวินัยในตนเอง ครอบครัวสนับสนุนให้เล่น
กีฬา
การศึกษา กำลังศึกษาในระดับปริญญาตรี คณะนิเทศศาสตร์
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ผลการเรียนอยู่ในระดับดี เป็นผู้ที่ใช้เวลาว่าง
ให้เป็นประโยชน์โดยใช้กีฬาเป็นสื่อในการพัฒนาศักยภาพของตน
เองและตนเอง เมื่ออายุ 14 ปี ติดนักกีฬาว่ายน้ำทีมชาติ
จากการที่ครอบครัว สนับสนุนให้เล่นกีฬาว่ายน้ำ และได้รับคัด
เลือกให้ลงแข่งขัน จนประสบผลสำเร็จ จึงมีความคิดว่า “จะมุ่งมั่น
ฝึกฝนตนเองให้มีความสามารถสูงขึ้น” ต่อมาได้รับรางวัลนักกีฬา
หญิงยอดเยี่ยมจากการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ปี 2541 เอเชี่ยนเกมส์ที่
ประเทศไทย ปี 2542 ได้รับ 6 เหรียญทอง 2 เหรียญเงิน ปี 2543 ติด
ทีมชาติชุดโอลิมปิค ปี 2544 ได้รับ 10 เหรียญทองแดงจากกีฬาแห่ง
ชาติ มหานครเกมส์ที่กรุงเทพฯ และได้รับรางวัลนักกีฬายอดเยี่ยม
หญิง
กระบวนการเข้าสู่งานอาสาสมัคร เริ่มจากครอบครัวสนับสนุนใน
ด้านการกีฬา ทำให้เป็นผู้รู้จักเสียสละ และมุมานะในการภาระที่รับ
ผิดชอบ จึงมีความคิดที่จะนำกีฬาที่ตนเองมีความสามารถมาเป็น
เครื่องมือในการช่วยเหลือและพัฒนาสังคม
บทบาทหน้าที่ เป็นผู้ที่บำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อ
ส่วนรวม โดยเป็นนักกีฬาทีมชาติ และ เป็นนักกีฬาที่ทำชื่อ
เสียงให้แก่ประเทศชาติ และวงศ์ตระกูล นับเป็นความ
ภาคภูมิใจ เป็นผู้นำเยาวชนให้สนใจการเล่นกีฬา ใส่ใจสุข
ภาพ และแนะนำวิธีการเล่นกีฬาอย่างถูกต้องตามกฎกติกา
74
กรณีศึกษาที่ 6
ครอบครัว/การศึกษา แรงจูงใจ บทบาทหน้าที่
ครอบครัว เป็นชาวกรุงเทพมหานคร มีอาชีพ ค้าขาย เป็น
บุตรคนโต และมีพี่น้อง 2 คน เป็นผู้มีความกตัญญู ช่วยเหลือบิดา
มารดาค้าขายอยู่เป็นประจำ และยังช่วยเหลือดูแลน้องๆ เพื่อผ่อน
ภาระบิดามารดา เป็นผู้ที่มีความเอื้ออาทรต่อผู้อื่น
การศึกษา กำลังศึกษาในระดับปริญญาโท คณะอักษรศาสตร์ จุฬา
ลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้ที่มีความสามารถในด้านการศึกษา
ประสบความสำเร็จจากการเรียนมาโดยตลอด จนได้รับทุนโครง
การช้างเผือก ด้านภาษาและวรรณคดีไทย
แรงจูงใจ มีความสนใจในด้านศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน จึงได้
ศึกษา เกี่ยวกับวัฒนธรรมพื้นบ้าน จนมีความเชี่ยวชาญด้านการเล่น
ลำตัด และเพลงพื้นบ้านหลายชนิด เคยได้รับรางวัลในการประชัน
สักวา ในงานวันสุนทรภู่ รับทุนนาฏศิลป์และการละครจากมูลนิธิ
มหาวชิราวุธานุสรณ์
กระบวนการเข้าสู่งานอาสาสมัคร เริ่มจากการได้ร่วมกิจกรรมใน
สถานศึกษา และมีอาจารย์เป็นผู้แนะนำ สอนให้รู้จักการช่วยเหลือ
ผู้อื่น ซึ่งนางสาวชนกพร พัวพัฒนกุลจึงยึดถือคำแนะนำของ
อาจารย์เป็นแนวทางในการทำงานอาสาสมัคร
บทบาทหน้าที่ ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมประกวดสุนทร
พจน์เรื่อง “ตามรอยพระยุคลบาท ช่วยกู้ชาติได้อย่างไร”
และช่วยเหลืองานการสงเคราะห์ผู้ด้อยโอกาส เช่น การ
เยี่ยมเด็กอ่อน และคนชรา และโครงการอ่านหนังสือให้คน
ตาบอด
75
กรณีศึกษาที่ 7
ครอบครัว/การศึกษา แรงจูงใจ บทบาทหน้าที่
ครอบครัว บิดามารดา เป็นเกษตรกรรม จังหวัดกาฬสินธุ์
มีพี่น้อง 3 คน เป็นบุตรคนโต ฐานะทางบ้านยากจน จึงมีความ
มานะในการศึกษาหาความรู้ โดยมีความคิดว่า “การศึกษาจะช่วย
ให้มีงานทำเพื่อนำมาช่วยเหลือครอบครัว”
ต่อมาได้ย้ายมาอาศัยอยู่กับน้าที่ กรุงเทพมหานคร เพื่อศึกษา
ต่อในระดับปริญญาตรี
การศึกษา ได้ศึกษาจนจบปริญญาตรี คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม
จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ใน
ขณะศึกษาได้ช่วยเหลือกิจกรรมต่างๆ ของสถาบันมาโดยตลอด
มีแรงจูงใจจากการที่ตัวเองมีฐานะยากจน โดยเล่าว่า “เนื่องจากตัว
เองไม่มีเงิน และเห็นว่าการทำกิจกรรมประชุมมีอาหารให้รับ
ประทาน จึงเข้ามาช่วยงานเพื่อได้รับประทานอาหารที่เหลือจาก
การจัดเลี้ยง และต่อมาได้สิ่งอื่นๆ มากกว่าอาหาร ได้แสดงความ
สามารถ ได้รับการยอมรับจากเพื่อนๆ จึงมีความมุ่งมั่นและเสียสละ
ที่จะทำงานด้านการช่วยเหลือจนได้รับคัดเลือกเป็น นายกองค์การ
ช่างเทคนิคในอนาคตของประเทศไทย ในระดับวิทยาลัย และ
ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ”
กระบวนการเข้าสู่งานอาสาสมัคร เริ่มจากการได้ร่วมกิจกรรมใน
สถานศึกษา เพื่อหาอาหารรับประทาน ทำให้พบว่า การทำงาน
อาสาสมัคร ได้รับประโยชน์อื่นๆ และยังสามารถช่วยเหลือผู้อื่นได้
บทบาทหน้าที่ ได้รับคัดเลือกให้เป็นผู้ประสานงาน
โครงการต่างๆ ของสถาบัน และเป็นวิทยากร ในการอบรม
ตามโครงการต่างๆ ทั้งในและนอกสถานศึกษา นอกจากนี้
ยังได้รับคัดเลือกเข้าร่วมโครงการถ่ายทอดความรู้ จากนัก
วิชาการไทย ที่อยู่ต่างประเทศ เพื่อสร้างเครือข่ายพัฒนา
เยาวชนพร้อมสู่เวทีเอเปคในศตวรรษที่ 21 ได้รับรางวัล
พระราชทาน “รางวัลชมเชยอันดับ 1 ระดับมัธยมศึกษา
จากกระทรวงศึกษาธิการ” ได้รับรางวัลนักกิจกรรมดีเด่น
จากมูลนิธิทองใบ ทองเปาด์และ เยาวชนดีเด่น จังหวัด
มหาสารคาม เยาวชนดีเด่นแห่งชาติ ปี 2543
76
กรณีศึกษาที่ 8
ครอบครัว/การศึกษา แรงจูงใจ บทบาทหน้าที่
ครอบครัว บิดามารดา เป็นชาวจังหวัดชุมพร มีอาชีพค้า
ขาย มีพี่น้อง 4 คน และ เป็นบุตรคนโต จึงต้องช่วยเหลือครอบ
ครัวและดูแลพี่น้อง เพื่อผ่อนภาระบิดามารดา
การศึกษา กำลังศึกษาในระดับปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยศิลปากร ผลการเรียนอยู่ในระดับยอดเยี่ยม มีการฝึก
ฝนการใช้คอมพิวเตอร์ สามารถเขียนโปรแกรมต่างๆ และการใช้
อุปกรณ์โสตทัศนศึกษาอื่นๆ ได้เป็นอย่างดี
จากการที่เป็นนักศึกษาที่ประสบผลสำเร็จทางด้านการเรียน จึงมี
ความคิดที่จะช่วยเหลือผู้อื่น อีกทั้ง ยังได้ชื่อว่า เป็นผู้ที่มีความรับ
ผิดชอบสูง จนเป็นที่ไว้วางใจของเพื่อนๆ และครูอาจารย์ให้ดำรง
ตำแหน่ง ประธานฝ่ายวิชาการของคณะ
กระบวนการเข้าสู่งานอาสาสมัคร เริ่มจากการได้ร่วมกิจกรรมใน
สถานศึกษา ในโครงการพัฒนาเยาวชน
บทบาทหน้าที่ ได้ทำหน้าที่ เปน็ ผปู้ ระสานงานและ
เป็นวิทยากรในโครงการพัฒนาเยาวชนในด้านต่างๆ เช่น
การส่งเสริมประชาธิปไตย การป้องกันยาเสพติด การเป็น
อาสาสมัครพิทักษ์สิ่งแวดล้อม การรักษาวัฒนธรรมไทย
เป็นคณะกรรมการนักเรียนของโรงเรียนวัดเบญจมบพิตร
77
กรณีศึกษาที่ 9
ครอบครัว/การศึกษา แรงจูงใจ บทบาทหน้าที่
ครอบครัว บิดามารดา เป็นชาวจังหวัดพิษณุโลก อาชีพรับ
ราชการ มีพี่น้อง 2 คน เป็นบุตรคนโต จึงทำหน้าที่ดูแลน้อง เป็นผู้
ที่เชื่อฟังคำสั่งสอนของบิดามารดา ครูอาจารย์
การศึกษา กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี คณะบริหารธุรกิจ
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ผลการเรียนอยู่ในระดับดี เป็นที่รักใคร่
ของเพื่อนและครูอาจารย์ ขณะเรียนได้ทำกิจกรรมเกี่ยวกับลูกเสือ
และการบำเพ็ญประโยชน์ต่อส่วนรวมมาโดยตลอด
จากการที่ ทำกิจกรรมลูกเสือและการบำเพ็ญประโยชน์ จึงเป็นแรง
จูงใจให้ สนใจที่จะทำกิจกรรมต่างๆ ในการช่วยเหลือผู้อื่น และยัง
เคยช่วยเหลือเนตรนารีให้พ้นจากอันตราย จากการถูกคนร้ายทำร้าย
ร่างกาย และกระทำอนาจาร จนตนเองได้รับบาดเจ็บสาหัส จากการ
ที่ ปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับของวิทยาลัย และมุ่งกระทำแต่
ความดี ใฝ่หาความรู้และประสบการณ์ต่างๆ เป็นผู้ที่เสียสละและ
ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และปฏิบัติตนตามคำปฏิญาณของลูก
เสือในข้อที่ว่า “ข้าฯ จะช่วยเหลือผู้อื่นทุกเมื่อ” โดยมีคติธรรม
ประจำใจที่ว่า “ทำวันนี้ให้ดีที่สุด”
กระบวนการเข้าสู่งานอาสาสมัคร เริ่มจากการได้ร่วมกิจกรรมใน
สถานศึกษา และกิจกรรมลูกเสือ ทำให้เข้าสู่งานอาสาสมัคร
บทบาทหน้าที่ ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือครูอาจารย์ และได้
ช่วยเหลือเนตรนารี จากการถูกทำร้าย จนได้รับรางวัลผู้มี
ความกล้าหาญ จากสำนักงานคณะกรรมการลูกเสืออำเภอ
พิษณุโลก จากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร จากค่ายลูก
เสือแห่งชาติ และจากตำรวจภูธรจังหวัดสุโขทัย และได้รับ
เหรียญสรรเสริญ ชั้น 1 จากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช
ในปี 2540
78
กรณีศึกษาที่ 10
ครอบครัว/การศึกษา แรงจูงใจ บทบาทหน้าที่
ครอบครัว บิดามารดา เป็นชาวจังหวัดเลย ประกอบอาชีพ
เกษตรกรรม มีพี่น้อง 2 คน เป็นบุตรคนโต มีฐานะยากจน ทำให้
ต้องช่วยเหลือบิดามารดาในการประกอบอาชีพมาแต่เด็ก เป็นคน
ที่มีความกตัญญูกตเวที เชื่อฟังคำสั่งสอนของบิดามารดา เป็นผู้ที่มี
สัมมาคารวะ จนเป็นที่รักใคร่ของบิดามารดา และผู้ ใกล้ชิด
การศึกษาจบการศึกษาระดับอนุปริญญา จากวิทยาลัยอาชีวศึกษา
จังหวัดเลย ขณะศึกษา ได้ประกอบอาชีพ เป็นเจ้าหน้าที่ ของ
วิทยาลัย มีความมานะพากเพียรและบากบั่นในการเรียน และมีผล
การเรียนดีมาโดยตลอด มีความสามารถ และความพร้อมในการ
เป็นผู้นำในการทำกิจกรรมต่างๆ
จากการที่ ช่วยเหลือกิจกรรมต่างๆ ของสถานศึกษามาโดยตลอด
และเป็นที่ยอมรับของเพื่อนๆ และครูอาจารย์ จนได้รับคัดเลือก
เป็นนายกองค์การนักธุรกิจในอนาคตแห่งประเทศไทย ทำให้มี
ความรู้สึกว่า การช่วยเหลือสังคม มีประโยชน์มาก
กระบวนการเข้าสู่งานอาสาสมัคร เริ่มจากการได้ร่วมกิจกรรมใน
สถานศึกษา และกิจกรรมตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาเป็นต้นมา และ
ประสบผลสำเร็จในด้านต่างๆ ทำให้เกิดความรู้สึกชื่นชอบต่อการ
ทำกิจกรรมอาสาสมัคร
บทบาทหน้าที่ ได้เป็นตัวแทนไปร่วมงานและกิจกรรม
ต่างๆ เช่น ร่วมรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด การรณรงค์ไปใช้
สิทธิเลือกตั้ง การรักษาสิ่งแวดล้อมและกิจกรรมที่เป็น
ประโยชน์ต่อชุมชน เป็นนักศึกษารางวัลพระราชทาน
ระดับอุดมศึกษา ในปี 2544 และในฐานะที่ดำรงตำแหน่ง
นายกองค์การนักธุรกิจในอนาคตแห่งประเทศไทย ได้เป็น
ผู้นำ และร่วมทำกิจกรรมต่างๆ เป็นตัวแทนร่วมงานใน
ระดับภาค และระดับชาติ และสร้างชื่อเสียงให้กับสถาบัน
การศึกษาเป็นอย่างยิ่ง และได้รับเลือกเป็นเยาวชนดีเด่น
ของสภาสังคมสงเคราะห์ แห่งประเทศไทยในพระบรม
ราชูปถัมภ์ปี 2544
ที่มา : จากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม – 5 กันยายน 2546
79
กรณีศึกษาที่ 1
ด้านครอบครัว ภูมิลำเนา อยู่อยุธยา บิดามารดา ประกอบอาชีพค้าขาย มีพี่น้อง 2 คน เป็น
บุตรคนโต ในระหว่างที่อยู่กับบิดามารดา ได้ช่วยบิดามารดาค้าขาย และช่วยดูแลน้อง เพื่อแบ่งเบา
ภาระของบิดามารดาที่ไม่มีเวลาเนื่องจากต้องค้าขาย ต่อมาได้ย้ายเข้าไปอาศัยอยู่กับญาติที่กรุงเทพฯ
เพื่อเรียนหนังสือ
การศกึ ษา จบปรญิ ญาตรี สาขานิติศาสตร ์ จากมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย โดยมผี ลการ
ศึกษาอยู่ในระดับดีมาตลอด และบิดามารดา เป็นผู้ที่ส่งเสียให้เรียน
ความต้องการและแรงจูงใจ ในขณะที่กำลังศึกษาในคณะนิติศาสตร์ ได้ร่วมทำกิจกรรม
ต่างๆ เช่น การนำความรู้เกี่ยวกับการเลือกตั้งไปเผยแพร่แก่ประชาชนในชนบทในรูปของค่ายอาสา
พัฒนา และทำการสาธิตเกี่ยวกับวิธีการเลือกตั้ง โดยที่ทำหน้าที่เป็นวิทยากรบรรยายเนื้อหาด้าน
กฎหมายและการเลือกตั้ง นอกจากนี้ เป็นผู้ที่มีความสนใจในด้านภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งภาษาอังกฤษ จึงได้จัดตั้งชมรม English Club for the Lawyer ขึ้นที่คณะนิติศาสตร์ เพื่อให้
นักศึกษาได้พัฒนาภาษาอังกฤษ กรณีศึกษาที่ 1 เล่าว่า “ได้ดูรายการทีวีรายการหนึ่งที่มีการนำเสนอ
ชีวิตของคนจนและคนด้อยโอกาส จึงคิดว่า ตัวเองมีส่วนช่วยเหลือคนเหล่านี้ได้ และอยากให้เขามี
คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จึงได้มีความคิดว่า น่าจะนำความรู้ของตนที่มีอยู่ไปช่วยได้ โดยคิดว่าน่าจะไป
ช่วยชาวชนบทที่ห่างไกลความเจริญ” ซึ่งจากเหตุการณ์นี้จึงเป็นแรงจูงใจให้ กรณีศึกษาที่ 1 เริ่ม
บทบาทอาสาสมัครพัฒนาสังคม
กระบวนการเข้าสู่งานอาสาสมัคร เริ่มจากการทำกิจกรรมในโรงเรียนทำให้ชอบงานช่วย
เหลือผู้อื่น จึงได้เข้าทำงานด้านอาสาสมัคร
บทบาทหน้าท ี่ เปน็ ผนู้ าํ ในการคดิ วางแผน และประสานงานของการจัดกิจกรรมต่างๆ
อาทิ การเผยแพร่ความรู้ด้านกฎหมาย การเมือง สิทธิของประชาชน และวิธีการเลือกตั้งผู้แทน
ราษฎร์ ให้แก่ประชาชนในชนบทที่ไม่มีความรู้ อยู่เสมอ เป็นผู้ที่ริเริ่มกิจกรรมการสัมมนาเรื่อง
การปกป้องคุ้มครองสิทธิเด็กและเยาวชน ซึ่งจากการกระทำเหล่านี้ ทำให้ ได้รับคัดเลือกเป็นเยาวชน
ดีเด่นในปี 2543 และได้รับการคัดเลือกให้เป็นเยาวชนดีเด่นแห่งชาติ สาขากฎหมายและการปกป้อง
คุ้มครองสิทธิเด็กและเยาวชนในปี 2544
กรณีศึกษาที่ 2
ด้านครอบครัว บิดามารดา รับราชการทั้ง 2 คน มีพี่น้อง 2 คน เป็นบุตรคนโต เป็น
บุคคลที่เชื่อฟังคำสั่งสอนของบิดามารดา แบ่งเบาภาระหน้าที่ของบิดามารดา ใช้จ่ายเงินอย่าง
80
ประหยัด และมีน้ำใจช่วยเหลือชุมชนอยู่เสมอจนบิดามารดา มีความภาคภูมิใจและชมเชยว่า “เป็น
คนกตัญญู”
การศกึ ษา ปัจจุบันกำลังศึกษาในระดับปริญญาตร ี คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยมีผลการเรียนอยู่ในเกณฑ์ดี มีบิดาและมารดาเป็นผู้ส่งเสียค่าเล่า
เรียน
ความต้องการและแรงจูงใจ มีคติธรรมประจำใจว่า “ความกตัญญูเป็นเครื่องหมายของ
คนดี” และมีความตั้งใจในการดำรงชีวิตและประพฤติในสิ่งที่ดีงาม รู้จักเคารพและให้ความช่วย
เหลือผู้อื่น เต็มกำลังความสามารถ ดังนั้น จึงได้ทำกิจกรรมต่างๆ ในการช่วยเหลือผู้อื่น
กระบวนการเข้าสู่งานอาสาสมัคร เริ่มจากการทำกิจกรรมในโรงเรียนทำให้ชอบงานช่วย
เหลือผู้อื่น จึงได้เข้าทำงานด้านอาสาสมัคร
บทบาทหน้าท ี่ ได้ทำโครงการรณรงค์ป้องกันโรคเอดส์ และโครงการรักษาวัฒนธรรม
ในชุมชน โครงการแนะแนวการศึกษาให้เยาวชน และโครงการรักษาสิ่งแวดล้อม
กรณีศึกษาที่ 3
ครอบครัว บิดามารดาเป็นชาวสมุทรปราการ ประกอบอาชีพรับจ้าง เป็นบุตรคนเดียว
ขณะในวัยเด็กได้ช่วยบิดามารดาในการประกอบอาชีพ เลี้ยงกุ้ง
การศกึ ษา ปัจจุบันศึกษาในคณะครุศาสตร ์ เอกการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยบูรพา ปีที่ 2
เมื่อปิดภาคการศึกษา ก็จะช่วยครอบครัวทำงาน วังกุ้ง เนื่องจากครอบครัวยากจน จึงต้องกู้ยืมกอง
ทุนเพื่อการศึกษาของรัฐบาลเป็นค่าใช้จ่ายในการเรียน
ความต้องการและแรงจูงใจ จากการที่ เป็นผู้ที่สนใจเล่าเรียนสูง จนได้รับคำชมเชยจาก
สถานศึกษาว่า “เป็นผู้ที่มีผลการเรียนดีเด่นมาโดยตลอด และมีความรับผิดชอบ ในงานที่ได้รับมอบ
หมาย” จากพฤติกรรมดังกล่าว เป็นที่รักใคร่ และไว้วางใจจากเพื่อนๆ และอาจารย์ ต่อมาได้รับการ
คัดเลือกให้เป็น “ผู้นำนักเรียน” นอกจากนี้ ยังสนใจศึกษาหลักธรรม จนสามารถบรรยายธรรมได้
อย่างดี และได้รับรางวัลชนะเลิศการแข่งขั้นบรรยายธรรมะในงานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา
นางสาวน้ำผึ้ง สุศรี เป็นประธานนักเรียน ทุ่มเทกำลังกาย กำลังใจ ที่จะทำหน้าที่อย่างเต็มใจ ได้รับ
คัดเลือกเป็นตัวแทนนักเรียนไปทำกิจกรรมต่างๆ จนได้รับรางวัล
กระบวนการเข้าสู่งานอาสาสมัคร เริ่มจากการทำกิจกรรมในโรงเรียนทำให้ชอบงานช่วย
เหลือผู้อื่น จึงได้เข้าทำงานด้านอาสาสมัคร
บทบาทหน้าท ี่ ได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทนนักเรียนไปแข่งขันตอบปัญหารัฐสภา และได้
รบั รางวลั ชมเชยประกวดเรยี งความ เรอื่ ง “น้ำใจไมตร”ี และชนะเลิศเรื่อง “แม่คือผู้สร้าง” ใน
81
กิจกรรมวันแม่แห่งชาติ ปี 2541และ 2542 ชนะเลิศเนื่องในวันพ่อแห่งชาติ และในปี 2543 ชนะเลิศ
เรียงความ “เอดส์ลดเพิ่มเริ่มที่ผู้ชาย” และได้รับรางวัลยอดนักอ่านระดับ ม.4 เนื่องในการจัดกิจ
กรรมโครงการอ่านเฉลิมพระเกียรติปี 2542 ได้รับรางวัลชนะเลิศยอดเยี่ยมการแข่งขันโต้วาที
ระดับ ม.ปลาย ปี2543 ของระดับอำเภอ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่พิธีกร และวิทยากรบรรยาย ประวัติ
ความเป็นมาขององค์พระสมุทรเจดีย์ ในงานครบรอบ 175 ปี องค์พระปฐมเจดีย์ และเป็นผู้นำการฝึก
ซ้อมกองเชียร์และพาเหรดของคณะป้อมพระจุลจอมเกล้า จนได้รางวัลชนะเลิศ
ส่วนในฐานะประธานนักเรียน ได้ช่วยเหลือกิจกรรมต่างๆ ภายในโรงเรียน เช่น เป็น
สมาชิกผู้นำเยาวชนสาธารณสุขในโรงเรียน โครงการพี่สอนน้อง และโครงการปันน้ำใจเพื่อ
เด็กไทย โดยรับบริจาคสิ่งของเครื่องใช้จากเพื่อนๆ ครูอาจารย์ แล้วนำไปบริจาคให้เด็กที่ขาดแคลน
ในต่างจังหวัด ร่วมกิจกรรมวันสำคัญทางศาสนา เป็นผู้นำอาสาสมัครรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด ปลูก
ต้นไม้แห่งชาติ และยังร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมทั้งในและนอกโรงเรียน จน
ได้รับเกียรติบัตรผู้มีความประพฤติและบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม จากนายพนม พงศ์ไพบูลย์ ปลัด
กระทรวงศึกษาธิการในวันเด็กแห่งชาติ ป 2544 และได้รับการเชิดชูเกียรต ิ ใหเ้ ปน็ “คนดศี ร ี ปว.
ของโรงเรียนอีกด้วย
กรณีศึกษาที่ 4
ครอบครัว เป็นชาวกรุงเทพฯ บิดามารดา มีอาชีพ ทำธุรกิจส่วนตัว โดยเป็นบุตรคน
เดียว ตอนเด็กได้ติดตามบิดา ไปช่วยงานเสมอ
การศึกษา ศึกษาในระดับปริญญาโท สาขาการจัดการสวัสดิการสังคม ที่
มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ความต้องการและแรงจูงใจ เกิดจากการที่ได้ติดตามบิดาในตอนเด็ก ซึ่งบิดาเป็นที่
ปรึกษาด้านแรงงาน ได้ช่วยเหลือผู้ใช้แรงงาน ทั้งในด้านการทำงาน และสวัสดิการต่างๆ จากการที่
เป็นผู้ที่มีความประพฤติดี เป็นคนมีน้ำใจ ได้รับคำชมเชยจากเพื่อนๆ และผู้ใกล้ชิดอยู่เสมอ นอกจาก
นี้ยังมีภาวะผู้นำ และกล้าแสดงออก
กระบวนการเข้าสู่งานอาสาสมัคร เริ่มจากการเห็นบิดาเป็นตัวแบบ และบิดามีบทบาทใน
การช่วยเหลือสังคม
บทบาทหน้าท ี่ ได้รับคัดเลือกให้เป็นที่ปรึกษาคณะกรรมการนักเรียน เปน็ ประธานโครง
การพลังสร้างสรรค์สัมพันธ์เยาวชน ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมโครงการมิตรภาพ และเข้าร่วมประชุม
วางแผนงานกาชาดโลก เป็นคณะทำงานโครงการผ้าป่าช่วยชาติ ต่อมาได้รับรางวัลเป็น “เยาวชนดี
82
เด่นของทบวงมหาวิทยาลัย” และ “เยาวชนดีเด่นแห่งชาติ สาขาพัฒนาเยาวชนบำเพ็ญประโยชน์
อาสาสมัครสวัสดิการและประสานงาน” ปี 2543
กรณีศึกษาที่ 5
ครอบครัว บิดามารดาของชาวกรุงเทพมหานคร บิดามีอาชีพรับจ้าง มารดามีอาชีพ
แม่บ้าน เป็นผู้ที่มีความกตัญญูกตเวที เป็นผู้ใกล้ชิดกับมารดามาก รักและเชื่อฟังคำสั่งสอน และ
ปฏิบัติตามเสมอ มีความซื่อสัตย์และมีระเบียบวินัยในตนเอง ครอบครัวสนับสนุนให้เล่นกีฬา
การศกึ ษา กำลังศึกษาในระดับปริญญาตร ี คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
ผลการเรียนอยู่ในระดับดี เป็นผู้ที่ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์โดยใช้กีฬาเป็นสื่อในการพัฒนาศักย
ภาพของตนเองและตนเอง เมื่ออายุ 14 ปี ติดนักกีฬาว่ายน้ำทีมชาติ
ความต้องการและแรงจูงใจ จากการที่ครอบครัวสนับสนุนให้เล่นกีฬาว่ายน้ำ และได้
รับคัดเลือกให้ลงแข่งขัน จนประสบผลสำเร็จ จึงมีความคิดว่า “จะมุ่งมั่นฝึกฝนตนเองให้มีความ
สามารถสูงขึ้น” ต่อมาได้รับรางวัลนักกีฬาหญิงยอดเยี่ยมจากการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ปี 2541 เอ
เชี่ยนเกมส์ที่ประเทศไทย ปี 2542 ได้รับ 6 เหรียญทอง 2 เหรียญเงิน ปี 2543 ติดทีมชาติชุดโอลิมปิค
ปี 2544 ได้รับ 10 เหรียญทองแดงจากกีฬาแห่งชาติ มหานครเกมส์ที่กรุงเทพฯ และได้รับรางวัลนัก
กีฬายอดเยี่ยมหญิง
กระบวนการเข้าสู่งานอาสาสมัคร เริ่มจากครอบครัวสนับสนุนในด้านการกีฬา ทำให้เป็นผู้
รู้จักเสียสละ และมุมานะในการภาระที่รับผิดชอบ จึงมีความคิดที่จะนำกีฬาที่ตนเองมีความสามารถ
มาเป็นเครื่องมือในการช่วยเหลือและพัฒนาสังคม
บทบาทหน้าท ี่ เป็นผู้ที่บำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม โดยเป็นนักกีฬาทีมชาติ
และ เป็นนักกีฬาที่ทำชื่อเสียงให้แก่ประเทศชาต ิ และวงศ์ตระกูล นับเป็นความภาคภูมิใจ เปน็ ผนู้ าํ
เยาวชนให้สนใจการเล่นกีฬา ใส่ใจสุขภาพ และแนะนำวิธีการเล่นกีฬาอย่างถูกต้องตามกฎกติกา
กรณีศึกษาที่ 6
ครอบครัว บิดามารดา เป็นชาวกรุงเทพมหานคร มีอาชีพ ค้าขาย เป็นบุตรคนโต และ
มีพี่น้อง 2 คน เป็นผู้มีความกตัญญูช่วยเหลือบิดามารดาค้าขายอยู่เป็นประจำ และยังช่วยเหลือดูแล
น้องๆ เพื่อผ่อนภาระบิดามารดา เป็นผู้ที่มีความเอื้ออาทรต่อผู้อื่น
การศึกษา กำลังศึกษาในระดับปริญญาโท คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เป็นผู้ที่มีความสามารถในด้านการศึกษา ประสบความสำเร็จจากการเรียนมาโดยตลอด จนได้รับทุน
โครงการช้างเผือก ด้านภาษาและวรรณคดีไทย
83
ความต้องการและแรงจูงใจ มีความสนใจในด้านศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน จึงได้ศึกษา
เกี่ยวกับวัฒนธรรมพื้นบ้าน จนมีความเชี่ยวชาญด้านการเล่นลำตัด และเพลงพื้นบ้านหลายชนิด เคย
ได้รับรางวัลในการประชันสักวา ในงานวันสุนทรภู่ รับทุนนาฏศิลป์และการละครจากมูลนิธิ มหา
วชิราวุธานุสรณ์
กระบวนการเข้าสู่งานอาสาสมัคร เริ่มจากการได้ร่วมกิจกรรมในสถานศึกษา และมีอาจารย์
เป็นผู้แนะนำ สอนให้รู้จักการช่วยเหลือผู้อื่น จึงยึดถือคำแนะนำของอาจารย์เป็นแนวทางในการ
ทำงานอาสาสมัคร
บทบาทหน้าท ี่ ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมประกวดสุนทรพจน์เรื่อง “ตามรอยพระยคุ ลบาท
ช่วยกู้ชาติได้อย่างไร” และช่วยเหลืองานการสงเคราะห์ผู้ด้อยโอกาส เช่น การเยี่ยมเด็กอ่อน และคน
ชรา และโครงการอ่านหนังสือให้คนตาบอด
กรณีศึกษาที่ 7
ครอบครัว บิดามารดาเป็นเกษตรกรรม จังหวัดกาฬสินธุ์ มีพี่น้อง 3 คน เป็นบุตร คน
โต ฐานะทางบ้านยากจน จึงมีความมานะในการศึกษาหาความรู้ โดยมีความคิดว่า “การศึกษาจะช่วย
ให้มีงานทำเพื่อนำมาช่วยเหลือครอบครัว” ต่อมาได้ย้ายมาอาศัยอยู่กับน้าที่ กรุงเทพมหานคร เพื่อ
ศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี
การศึกษา ได้ศึกษาจนจบปริญญาตรี คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม จากสถาบันเทคโนโลยี
พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ในขณะศึกษาได้ช่วยเหลือกิจกรรมต่างๆ ของสถาบันมาโดย
ตลอด
ความต้องการและแรงจูงใจ มีแรงจูงใจจากการที่ตัวเองมีฐานะยากจน โดยเล่าว่า “เนื่องจาก
ตัวเองไม่มีเงิน และเห็นว่าการทำกิจกรรมประชุมมีอาหารให้รับประทาน จึงเข้ามาช่วยงานเพื่อได้
รับประทานอาหารที่เหลือจากการจัดเลี้ยง และต่อมาได้สิ่งอื่นๆ มากกว่าอาหาร ได้แสดงความ
สามารถ ได้รับการยอมรับจากเพื่อนๆ จึงมีความมุ่งมั่นและเสียสละที่จะทำงานด้านการช่วยเหลือจน
ได้รับคัดเลือกเป็น นายกองค์การช่างเทคนิคในอนาคตของประเทศไทย ในระดับวิทยาลัย และ
ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ”
กระบวนการเข้าสู่งานอาสาสมัคร เริ่มจากการได้ร่วมกิจกรรมในสถานศึกษา เพื่อหาอาหาร
รับประทาน ทำให้พบว่า การทำงานอาสาสมัคร ได้รับประโยชน์อื่นๆ และยังสามารถช่วยเหลือผู้อื่น
ได้
บทบาทหน้าท ี่ ได้รับคัดเลือกให้เป็นผู้ประสานงานโครงการต่างๆ ของสถาบัน และเป็น
วิทยากร ในการอบรมตามโครงการต่างๆ ทั้งในและนอกสถานศึกษา นอกจากนี้ยังได้รับคัดเลือกเข้า
84
ร่วมโครงการถ่ายทอดความรู้ จากนักวิชาการไทย ที่อยู่ต่างประเทศ เพื่อสร้างเครือข่ายพัฒนาเยาว
ชนพร้อมสู่เวทีเอเปคในศตวรรษที่ 21 ได้รับรางวัลพระราชทาน “รางวัลชมเชยอันดับ 1 ระดับ
มัธยมศึกษา จากกระทรวงศึกษาธิการ” ได้รับรางวัลนักกิจกรรมดีเด่น จากมูลนิธิทองใบ ทองเปาด์
และ เยาวชนดเี ดน่ จังหวัดมหาสารคาม เยาวชนดีเด่นแห่งชาต ิ ป 2543
กรณีศึกษาที่ 8
ครอบครัว บิดามารดาเป็นชาวจังหวัดชุมพร มีอาชีพค้าขาย มีพี่น้อง 4 คน เป็นบุตร
คนโต จึงต้องช่วยเหลือครอบครัวและดูแลพี่น้อง เพื่อผ่อนภาระบิดามารดา
การศกึ ษา กำลังศึกษาในระดับปริญญาตร ี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ศิลปากร ผลการเรียนอยู่ในระดับยอดเยี่ยม มีการฝึกฝนการใช้คอมพิวเตอร์ สามารถเขียนโปรแกรม
ต่างๆ และการใช้อุปกรณ์โสตทัศนศึกษาอื่นๆ ได้เป็นอย่างดี
ความต้องการและแรงจูงใจ จากการที่เป็นนักศึกษาที่ประสบผลสำเร็จทางด้านการ
เรียน จึงมีความคิดที่จะช่วยเหลือผู้อื่น อีกทั้งยังได้ชื่อว่า เป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบสูง จนเป็นที่ไว้
วางใจของเพื่อนๆ และครูอาจารย์ให้ดำรงตำแหน่ง ประธานฝ่ายวิชาการของคณะ
กระบวนการเข้าสู่งานอาสาสมัคร เริ่มจากการได้ร่วมกิจกรรมในสถานศึกษา ในโครงการ
พัฒนาเยาวชน
บทบาทหน้าท ี่ ได้ทำหน้าท ี่ เป็นผู้ประสานงานและเป็นวิทยากรในโครงการพัฒนาเยาว
ชนในด้านต่างๆ เช่น การส่งเสริมประชาธิปไตย การป้องกันยาเสพติด การเป็นอาสาสมัครพิทักษ์สิ่ง
แวดล้อม การรักษาวัฒนธรรมไทย เป็นคณะกรรมการนักเรียนของโรงเรียนวัดเบญจมบพิตร
กรณีศึกษาที่ 9
ครอบครัว บิดามารดา เป็นชาวจังหวัดพิษณุโลก อาชีพรับราชการ มีพี่น้อง 2 คน ต่อ
เป็นบุตรคนโต จึงทำหน้าที่ดูแลน้อง เป็นผู้ที่เชื่อฟังคำสั่งสอนของบิดามารดา ครูอาจารย์
การศกึ ษา กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตร ี คณะบรหิ ารธรุ กิจ มหาวิทยาลัย
กรุงเทพ ผลการเรียนอยู่ในระดับดี เป็นที่รักใคร่ของเพื่อนและครูอาจารย์ ขณะเรียนได้ทำกิจกรรม
เกี่ยวกับลูกเสือและการบำเพ็ญประโยชน์ต่อส่วนรวมมาโดยตลอด
ความต้องการและแรงจูงใจ จากการที่ทำกิจกรรมลูกเสือและการบำเพ็ญประโยชน์
จึงเป็นแรงจูงใจให้ สนใจที่จะทำกิจกรรมต่างๆ ในการช่วยเหลือผู้อื่น และยังเคยช่วยเหลือเนตรนารี
ให้พ้นจากอันตราย จากการถูกคนร้ายทำร้ายร่างกาย และกระทำอนาจาร จนตนเองได้รับบาดเจ็บ
สาหัส จากการที่ นายธีรพงศ์ คงต่อ ปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับของวิทยาลัย และมุ่งกระทำแต่
85
ความดี ใฝ่หาความรู้และประสบการณ์ต่างๆ เป็นผู้ที่เสียสละและใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และ
ปฏิบัติตนตามคำปฏิญาณของลูกเสือในข้อที่ว่า “ข้าฯ จะช่วยเหลือผู้อื่นทุกเมื่อ” โดยมีคติธรรม
ประจำใจที่ว่า “ทำวันนี้ให้ดีที่สุด”
กระบวนการเข้าสู่งานอาสาสมัคร เริ่มจากการได้ร่วมกิจกรรมในสถานศึกษา และกิจกรรม
ลูกเสือ ทำให้เข้าสู่งานอาสาสมัคร
บทบาทหน้าท ี่ ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือครูอาจารย ์ และได้ช่วยเหลือเนตรนารี จากการถูก
ทำร้าย จนได้รับรางวัลผู้มีความกล้าหาญ จากสำนักงานคณะกรรมการลูกเสืออำเภอพิษณุโลก จาก
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร จากค่ายลูกเสือแห่งชาติ และจากตำรวจภูธรจังหวัดสุโขทัย และได้
รับเหรียญสรรเสริญ ชั้น 1 จากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ในปี 2540
กรณีศึกษาที่ 10
ครอบครัว บิดามารดาเป็นชาวจังหวัดเลย ประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีพี่น้อง 2 คน
เป็นบุตรคนโต มีฐานะยากจน ทำให้ต้องช่วยเหลือบิดามารดาในการประกอบอาชีพมาแต่เด็ก เป็น
คนที่มีความกตัญญูกตเวที เชื่อฟังคำสั่งสอนของบิดามารดา เป็นผู้ที่มีสัมมาคารวะ จนเป็นที่รักใคร่
ของบิดามารดา และผู้ใกล้ชิด
การศึกษา จบการศึกษาระดับอนุปริญญา จากวิทยาลัยอาชีวศึกษาจังหวัดเลย ขณะ
ศึกษา ได้ประกอบอาชีพ เป็นเจ้าหน้าที่ ของวิทยาลัย มีความมานะพากเพียรและบากบั่นในการเรียน
และมีผลการเรียนดีมาโดยตลอด มีความสามารถ และความพร้อมในการเป็นผู้นำในการทำกิจกรรม
ต่างๆ
ความต้องการและแรงจูงใจ จากการที่ได้ช่วยเหลือกิจกรรมต่างๆ ของสถานศึกษามา
โดยตลอด และเป็นที่ยอมรับของเพื่อนๆ และครูอาจารย์ จนได้รับคัดเลือกเป็นนายกองค์การ
นักธุรกิจในอนาคตแห่งประเทศไทย ทำให้มีความรู้สึกว่า การช่วยเหลือสังคม มีประโยชน์มาก
กระบวนการเข้าสู่งานอาสาสมัคร เริ่มจากการได้ร่วมกิจกรรมในสถานศึกษา และกิจกรรม
ตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาเป็นต้นมา และประสบผลสำเร็จในด้านต่างๆ ทำให้เกิดความรู้สึกชื่นชอบต่อ
การทำกิจกรรมอาสาสมัคร
บทบาทหน้าท ี่ ไดเ้ ปน็ ตวั แทนไปรว่ มงานและกจิ กรรมตา่ งๆ เชน่ รว่ มรณรงคต์ อ่ ตา้ นยา
เสพติด การรณรงค์ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง การรักษาสิ่งแวดล้อมและกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน
เป็นนักศึกษารางวัลพระราชทาน ระดับอุดมศึกษา ในปี 2544 และในฐานะที่ดำรงตำแหน่ง นายก
องค์การนักธุรกิจในอนาคตแห่งประเทศไทย ได้เป็นผู้นำ และร่วมทำกิจกรรมต่างๆ เป็นตัวแทน
ร่วมงานในระดับภาค และระดับชาต ิ และสร้างชื่อเสียงให้กับสถาบันการศึกษาเป็นอย่างยิ่ง และ
86
ได้รับเลือกเป็นเยาวชนดีเด่นของสภาสังคมสงเคราะห์ แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ปี
2544
สรุปผลการวิเคราะห์ตามลักษณะตัวแปร
ผลการวิเคราะห์ตามลักษณะตัวแปร สรุปได้เป็น ด้านครอบครัว การศึกษา แรงจูงใจ
บทบาทหน้าที่และกระบวนการที่นำไปสู่งานอาสาสมัครพัฒนาสังคม
ผลการวิเคราะห์ด้านครอบครัว ทั้ง 10 กรณีศึกษา พบว่า ครอบครัว มีส่วนช่วยเหลือให้
เยาวชนเป็นคนดี สังเกตได้จากครอบครัวที่ให้ความรักและสนับสนุนบุตรธิดาด้านต่างๆ เห็นได้จาก
บิดามารดาเป็นผู้ที่สนับสนุนและส่งเสียให้เรียนจนประสบผลสำเร็จ ถึงแม้นว่ากรณีศึกษาที่ 7 และ
กรณีศึกษาที่ 10 ครอบครัวยากจน แต่ก็มีความมานะพยายาม รู้จักแก้ไขปัญหาโดยยึดถือคุณธรรม
และทำความดี มีความซื่อสัตย์ สุจริต รู้จัดอดทน และหางานทำเพื่อเลี้ยงตนเอง การที่เยาวชนมี
ความรักใคร่ เชื่อฟังบิดามารดา แสดงให้เห็นถึงการเป็นคนดี มีความกตัญญูรู้คุณ เห็นได้จากการที่
เยาวชนทั้ง 10 กรณีศึกษาต่างก็ช่วยเหลือแบ่งเบาภาระของครอบครัว ดูแลน้องๆ ซึ่งส่งผลให้เป็นผู้มี
ความรับผิดชอบตั้งแต่เด็ก ทั้งยังเป็นการปลูกจิตสำนึกให้เป็นคนดี มีความประพฤติดี เสียสละ ดัง
เห็นได้จากกรณีศึกษาทั้ง 10 กรณี ต่างก็ได้รับการยอมรับและยกย่องว่าเป็นเด็กดี เชื่อฟังบิดามารดา
และครูอาจารย์ทั้งสิ้น ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของ อ้อมเดือน สดมณี (2543 : 16-17) ที่กล่าวว่า
ครอบครัวเป็นจุดเริ่มต้นของมนุษย์ทุกคน เป็นแหล่งหล่อหลอมลักษณะบุคลิกภาพ ความรู้สึกนึกคิด
ตลอดจนพฤติกรรมการแสดงออกของบุคคล แม้ว่าในบางช่วงบุคคลจะได้รับอิทธิพลจากภายนอก
ครอบครัวบ้าง แต่การได้รับการ แต่การได้รับการถ่ายทอดจากครอบครัวในเบื้องต้นจะเป็นพื้นฐาน
ในการกำหนดท่าทียอมรับปฏิเสธหรือผสมผสานประสบการณ์ใหม่ได้อย่างเหมาะสม
ผลการวิเคราะห์ทางด้านการศึกษา เยาวชนดีเด่นทั้ง 10 กรณีศึกษา ต่างก็ได้นำความรู้และ
ประสบการณ์จากการศึกษามาใช้ในการทำกิจกรรมช่วยเหลือสังคม ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของ
อ้อมเดือน สดมณี (2543 : 19) การศึกษา และสถาบันการศึกษา มีหน้าที่ในการรักษาและถ่ายทอด
มรดกทางวัฒนธรรมและส่งเสริมการเรียนรู้ในการเข้าสังคม ผสมผสานความเป็นอันหนึ่งอันเดียว
กัน ส่งเสริมการพัฒนาให้ใช้ศักยภาพในตัวให้ได้มากที่สุด ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ก้าวหน้าไปในด้าน
ที่ตนถนัดและสนใจ และนำการเปลี่ยนแปลงเป็นสถาบันถ่ายทอดทางสังคมให้แก่บุคคลอย่างมี
แบบแผนดังเห็นได้จาก กรณีศึกษาที่ 1 เป็นผู้ที่มีความรู้ด้านกฎหมาย ได้นำความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย
87
ไปใช้กับการพัฒนาสังคม เผยแพร่ความรู้ เพื่อให้ชาวชนบทได้รู้ถึงสิทธิประโยชน์ของตนในการไป
ใช้สิทธิเลือกตั้ง ทั้งยังเป็นการส่งเสริมการปกครองแบบประชาธิปไตย ซึ่งสอดคล้องกับบทบาทของ
เยาวชนด้านการส่งเสริมประชาธิปไตย ซึ่งเป็นคุณลักษณะเด็กและเยาวชนไทยที่พึงประสงค์ กรณี
ศึกษาที่ 3 และกรณีศึกษาที่ 6 ใช้ความรู้ความสามารถด้านศิลปวัฒนธรรมที่ดีงามของท้องถิ่นมาใช้
ในการทำกิจกรรม เผยแพร่ไปสู่สังคมให้ได้รู้จักศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นของตนได้เป็นอย่างดี จนได้
รับรางวัลระดับชาติหลายรางวัล ซึ่งสอดคล้องกับคุณลักษณะเด็กและเยาวชนไทยที่พึงประสงค์
ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ ที่กำหนดให้เยาวชนที่พึง
ประสงค์ เป็นเยาวชนที่มีวัฒนธรรมที่ดีงาม และรู้คุณค่าภูมิปัญญาท้องถิ่น กรณีศึกษาที่ 5 ได้ใช้
ความรู้ความสามารถด้านการกีฬามาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาเยาวชนให้รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็น
ประโยชน์ ใช้กีฬาเป็นตัวนำ เพื่อสร้างจิตสำนึกให้เยาวชนเป็นผู้ที่มีน้ำใจนักกีฬา มีความเสียสละ
และมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ซึ่งสอดคล้องกับบทบาทหน้าที่ของเยาวชนต้องเป็นผู้สืบทอด
วัฒนธรรมทั้งด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัย และการถ่ายทอดวัฒนธรรม เพื่อความอยู่รอด
ปลอดภัยของสังคมในอนาคต โดยการเรียนตามหลักสูตรกีฬา ศิลปวัฒนธรรม และการบำเพ็ญ
ประโยชน์ กรณีศึกษาที่ 7 ใช้ความรู้ความด้านเทคนิคเข้ามาช่วยเหลือการทำกิจกรรมต่างๆ จนได้
รับการคัดเลือกเป็นนายกองค์การเทคนิคในอนาคตของประเทศไทย ในระดับวิทยาลัย และระดับ
ภาค ซึ่งสอดคล้องกับบทบาทของเยาวชนต้องมีความรู้ มีสติปัญญา มีเหตุผล มีคุณธรรม และ
วัฒนธรรม มีพลานามัยที่สมบูรณ์ มีทักษะในการประกอบอาชีพ พึ่งตนเองได้ เป็นสมาชิกที่ดีของ
สังคม มีความรู้ความสามารถในเทคโนโลยีที่เหมาะสม เป็นกำลังในการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคม
ของประเทศ เช่นเดียวกับ กรณีศึกษาที่ 8 ที่ใช้ความรู้ความสามารถทางด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่ มา
ช่วยกิจกรรมในการช่วยเหลือบุคคลอื่นจนได้รับการคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานฝ่ายวิชาการ
กรณีศึกษาที่ 9 ใช้ความรู้ด้านลูกเสือมาช่วยเหลือผู้อื่น โดยยึดมั่นในคำปฏิญาณ ในข้อที่ว่า “ข้าฯ จะ
ช่วยเหลือผู้อื่นทุกเมื่อ” และได้มีวีรกรรมในการช่วยเหลือผู้อื่นจนได้รับรางวัลสรรเสริญชั้น 1 จาก
พระบรมโอรสาธิราช และ กรณีศึกษาที่ 10 ใช้ความรู้ในระดับอาชีวศึกษา เข้ามาช่วยในการทำ
กิจกรรมต่างๆ ช่วยเหลือสังคมจนได้รับคัดเลือกเป็นนายกองค์การธุรกิจในอนาคตแห่งประเทศไทย
และทำกิจกรรมช่วยเหลือสังคมเป็นอันมาก ทำให้สถาบันมีชื่อเสียงเป็นอย่างมาก
ผลการวิเคราะห์ด้านความต้องการและแรงจูงใจ และกระบวนการนำเข้าสู่งานอาสาสมัคร
จากการวิเคราะห์พบว่า แรงจูงใจที่ทำให้เยาวชนเข้าสู่กระบวนการอาสาสมัคร ประกอบด้วย ความ
ต้องการทำงานด้วยความสมัครใจของเยาวชน และการเล็งเห็นประโยชน์ต่อสังคม และส่วนรวม
โดยไม่หวังผลตอบแทน ซึ่งสอดคล้องกับแนวพระราชดำริของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร์อดุลยเดช
88
วิกรม พระบรมราชชนก พระบิดาแห่งการแพทย์ไทยและพระบิดาแห่งการสังคมสงเคราะห์ ที่ทรง
สั่งสอนนักเรียนแพทย์ให้ยึดมั่นในอุดมคติ “ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตัวเป็นกิจที่สอง ประโยชน์
ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง” แรงจูงใจจึงเกิดจากอุดมคติหรืออุดมการณ์ และยึดถือคุณธรรม
ความดีที่จะทำประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติด้วยความบริสุทธิ์ใจ
นอกจากนี้ แรงจูงใจที่พบในการศึกษาครั้งนี้ เห็นได้จากการทำกิจกรรมของเยาวชนจาก
กรณีศึกษาที่ 1 ที่มีแรงจูงใจในการให้ความรู้เกี่ยวกับการเลือกตั้ง เมื่อได้ไปทำกิจกรรมออกค่าย
อาสาพัฒนา ได้พบชาวชนบทที่ไม่รู้กฎหมาย เมื่อต้องออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งก็ไม่รู้ถึงสิทธิของตน
จึงมีแรงจูงใจที่จะไปให้ความรู้ด้านกฎหมายการเลือกตั้งแก่ชาวบ้าน กรณีศึกษาที่ 2 มีแรงจูงใจจาก
คติธรรมของตนเองที่ว่า “ความกตัญญูเป็นเครื่องหมายของคนดี” จึงมีความตั้งใจในการดำรงชีวิต
และประพฤติตนตั้งอยู่ในความดี ให้ความช่วยเหลือผู้อื่น เพื่อให้เขาเหล่านั้นเป็นคนดีของสังคม ซึ่ง
เป็นการช่วยเหลือประเทศได้ในทางอ้อม ทั้งกรณีศึกษาที่ 1 และกรณีศึกษาที่ 2 สอดคล้องกับ แนว
คิดด้านการจูงใจของ ดำรงศักดิ์ ชัยสนิท และประสาน หอมมูล (2538 : 69-70) ที่อธิบายถึงแรงจูงใจ
ภายนอกของบุคคลเกี่ยวกับทัศนคติ เป็นความรู้สึกนึกคิดที่บุคคลมีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งนั้น จัดเป็น
แรงจูงใจภายในที่จะกระตุ้นให้บุคคลแสดงพฤติกรรมที่ดี กรณีศึกษาที่ 3 แรงจูงใจเกิดจาก
หลักพระพุทธศาสนา เป็นผู้ที่มีความศรัทธาในหลักธรรม เป็นผู้นำนักศึกษาที่สามารถบรรยายธรรม
ได้เป็นอย่างดีจนได้รับรางวัลชนะเลิศในการแข่งขันบรรยายธรรม ในงานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธ-
ศาสนา ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของ สงวน สุทธิเลิศอรุณ (254.: 39) ที่กล่าวถึงหลักธรรมทาง
ศาสนาทุกศาสนา ต่างก็สอนให้ศาสนิกชน มุ่งกระทำความดี เพื่อเป็นคนดีของสังคม คนที่นับถือ
ต่างมุ่งเน้นพฤติกรรมดีทั้งสิ้น กรณีศึกษาที่ 4 แรงจูงใจที่ทำให้ทำงานอาสาสมัคร เกิดจากบิดาที่
เป็นตัวแบบในการช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส ทำให้เกิดแรงจูงใจในการทำความดี ช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น
ตามแบบอย่างที่ดีของบิดา ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของ อ้อมเดือน สดมณี (2543 : 16-17) ที่กล่าว
ว่าครอบครัวเป็นจุดเริ่มต้นของมนุษย์ทุกคน เป็นแหล่งหล่อหลอมลักษณะบุคลิกภาพ ความรู้สึก
นึกคิด ตลอดจนพฤติกรรมการแสดงออกของบุคคล แม้ว่าในบางช่วงบุคคลจะได้รับอิทธิพลจาก
ภายนอกครอบครัวบ้าง แต่การได้รับการ แต่การได้รับการถ่ายทอดจากครอบครัวในเบื้องต้นจะเป็น
พื้นฐานในการกำหนดท่าทียอมรับปฏิเสธหรือผสมผสานประสบการณ์ใหม่ได้อย่างเหมาะสม กรณี
ศึกษาที่ 5 แรงจูงใจเกิดจากความสำเร็จด้านการกีฬา และซึ่งมีผลมาจากความต้องการของครอบครัว
ให้ว่ายน้ำเป็นเพื่อความปลอดภัยในการเดินทางทางน้ำ จากการฝึกฝนด้วยความมานะอุตสาหะจน
สามารถเล่นกีฬาได้อย่างดีเยี่ยมเป็นนักกีฬาระดับโลก ทำให้เป็นคนมีระเบียบวินัย มีความเสียสละ รู้
แพ้รู้ชนะ ส่งผลให้เห็นประโยชน์ของการกีฬา จึงมีแนวคิดที่จะนำกีฬามาพัฒนาสังคม โดยถ่ายทอด
ความรู้หลักการและวิธีในการเล่นกีฬาที่ถูกต้อง ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดด้านแรงจูงใจของ ดำรง
89
ศักดิ์ ชัยสนิท (2538: 69-70) ที่กล่าวถึง แรงจูงใจภายในที่เกิดจากความสนใจพิเศษ ถ้าผู้ปฏิบัติมี
ความสนใจสิ่งใดเป็นพิเศษจะมีความตั้งใจในการทำงานให้ประสบผลสำเร็จ ได้ในเวลาอันรวดเร็ว
กรณศี กึ ษาที่ 6 แรงจูงใจได จากความประทับใจจากครูที่คอยให้คำชี้แนะให้ทำความดี ช่วยเหลือผู้
อื่น ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของ อ้อมเดือน สดมณี (2543 : 19) การศึกษา และสถาบันการศึกษา มี
หน้าที่ในการรักษาและถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรมและส่งเสริมการเรียนรู้ในการเข้าสังคม ผสม
ผสานความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ส่งเสริมการพัฒนาให้ใช้ศักยภาพในตัวให้ได้มากที่สุด ส่งเสริม
ให้ผู้เรียนได้ก้าวหน้าไปในด้านที่ตนถนัดและสนใจ และนำการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้เพราะสถาบัน
การศึกษาเป็นสถาบันถ่ายทอดทางสังคมให้แก่บุคคลอย่างมีแบบแผน กรณีศึกษาที่ 7 และกรณี
ศึกษาที่ 10 ได้แรงงจูงใจจากการที่ครอบครัวมีฐานะยากจน จึงต้องพึ่งตนเอง และมีความซื่อสัตย์
สุจริต และได้เห็นประโยชน์จากการช่วยเหลือสังคม จึงได้มุ่งมั่นทำความดี เสียสละ และช่วยเหลือ
กิจกรรมต่าง ๆ ของสถาบัน จนได้รับการยอมรับ และได้รับการคัดเลือกเป็นนายกองค์การช่าง
เทคนิคในอนาคตของประเทศไทย ต่อมาได้รับการคัดเลือกเป็นนักเรียนรางวัลพระราชทาน ซึ่งแรง
จูงใจที่เกิดขึ้นนี้มาจากความต้องการพื้นฐานทางร่างกาย เพื่อลดความอดอยาก เนื่องจากความยากจน
ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของ มาสโลว์ (สวนา พรพัฒน์กุล 2522 : 119 อ้าง
ถึง Maslow) กรณีศึกษาที่ 8 แรงจูงใจเกิดจาก ความสำเร็จที่มาจากการเรียน และเป็นที่ไว้วางใจ
ของเพื่อนและครูอาจารย์ จึงได้ให้ความช่วยเหลือกิจกรรมต่างๆ ของสถาบัน ซึ่งสอดคล้องกับ
ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของ มาสโลว์ (สวนา พรพัฒน์กุล 2522 : 119 อ้างถึง Maslow) ใน
ด้านความต้องการการได้รับการยกย่อง ความเชื่อมั่นที่จะกระทำสิ่งที่ดีร่วมกับผู้อื่น ต้องการให้ผู้อื่น
ชื่นชม กรณีศึกษาที่ 9 แรงจูงใจเกิดจากการยึดถือแบบอย่างที่ดีของลูกเสือมาใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ
ในการบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น ซึ่งสอดคล้องกับพระประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระ
มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ตั้งคณะลูกเสือเพื่อให้เยาวชนเป็นผู้บำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่น ในข้อที่ว่า “ข้าฯ
จะช่วยเหลือผู้อื่นทุกเมื่อ”
ผลการวเิ คราะหด์ ้านบทบาทหนา้ ที่ จากการศึกษาพบว่า เยาวชนดีเด่นมีบทบาทการเป็น
สมาชิกของครอบครัวที่ดี ได้รับการปลูกฝังให้เยาวชนรู้จักบทบาทหน้าที่ของตน และส่งผลให้เกิด
จิตสำนึกในการบำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่น ทั้ง 10 กรณีศึกษา เยาวชนดีเด่นต่างมีบทบาทด้านการ
บำเพ็ญประโยชน์ในด้านต่างๆ อาทิ ด้านผู้สืบทอดวัฒนธรรม จะเห็นได้จาก กรณีศึกษาที่ 3 และ
กรณีศึกษาที่ 6 ทำกิจกรรมในด้านการธำรงรักษาและถ่ายทอด เผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านที่ดี
ของชาติ กรณีศึกษาที่ 3 มีบทบาทที่เด่นชัดในเรื่องรักษาและถ่ายทอดวัฒนธรรมทางด้านภาษา
และประวัติศาสตร์ และประวัติของศาสนสถานที่ควรศึกษา กรณีศึกษาที่ 5 มีบทบาทในการใช้การ
90
กีฬามาเป็นเครื่องมือในการทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ กรณีศึกษาที่ 7 มีบทบาทในการเป็นถ่าย
ทอดความรู้จากนักวิชาการไทยที่อยู่ต่างประเทศ และสร้างเครือข่ายพัฒนาเยาวชนพร้อมสู่เวทีเอเปค
ในศตวรรษที่ 21 จนได้รับรางวัลนักกิจกรรมดีเด่น กรณีศึกษาที่ 8 มีบทบาทหน้าที่ในด้านการถ่าย
ทอดความรู้เชิงวิชาการ ในฐานะประธานฝ่ายวิชาการให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการแก่ผู้อื่น และยัง
มีจิตสำนึกในการช่วยเหลือผู้อื่นอย่างสม่ำเสมอ โดยเสียสละเวลาของตนเองมาช่วยเหลือและทำ
กิจกรรมให้กับสถาบันการศึกษา กรณีศึกษาที่ 9 ใช้บทบาทหน้าที่ของลูกเสือช่วยเหลือผู้อื่น ตามคำ
ปฏิญาณซึ่งเป็นไปตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ที่ทรง
สถาปนาลูกเสือเพื่อให้เยาวชนรู้จักบำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่น และกรณีศึกษาที่ 10 ใช้บทบาท
หน้าที่ในการในการใช้วิชาชีพมาทำกิจกรรมต่างๆจนได้รับหน้าที่เป็นนายกองค์การนักธุรกิจแห่ง
ประเทศไทย
จากบทบาทหน้าที่ต่างๆ ชี้ให้เห็นว่าเยาวชนดีเด่นทั้ง 10 กรณีศึกษามีบทบาทหน้าที่สำคัญ
ในการพัฒนาสังคม และมีคุณสมบัติที่เข้าหลักเกณฑ์ของการพิจารณาเป็นเยาวชนดีเด่น จนเป็นตัว
อย่างแก่เยาวชนโดยส่วนรวมทางด้านการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
นวตกรรม มีความสามารถในการทำกิจกรรมที่บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมที่มีคุณภาพ เป็นการ
เสียสละ เพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมอย่างต่อเนื่อง โดยไม่คิดถึงประโยชน์ส่วนตัว ซึ่งสอดคล้องกับ
คุณสมบัติของเยาวชนดีเด่นของสภาสังคมสงเคราะห์แห่ประเทศไทยกำหนดไว้ กรณีศึกษาทั้ง 10 นี้
เป็นเยาวชนที่มีคุณภาพ และคุณธรรมที่ควรได้รับการยกย่อง คัดสรรให้เป็นคนดี นอกจากนี้ กรณี
ศึกษา ยังมีความประพฤติ และกิริยามารยาทที่ดี มีความกตัญญูกตเวที ช่วยเหลือครอบครัว ชุมชน
และสังคม มีมนุษยสัมพันธ์ เป็นผู้ที่มีบทบาทในการรักษาศิลปวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม อันเป็น
ตัวอย่างที่ดี ที่เยาวชนควรนำไปเป็นตัวอย่าง
จากการศึกษา บทบาทของเยาวชนอาสาสมัครในงานพัฒนาสังคม ทั้ง 10 กรณีศึกษา พบ
ว่า มีบทบาทที่สำคัญ ได้แก่ บทบาทต่อตนเอง เป็นผู้ที่ใฝ่พัฒนาตนเอง ไปสู่ความสำเร็จ และมีชีวิต
ที่ดีมีคุณค่า บทบาทต่อผู้อื่น มีความเคารพเชื่อฟังบิดามารดา ครูอาจารย์ เป็นผู้ที่มีความกตัญญู
กตเวที ต่อผู้มีพระคุณ เป็นมิตรที่ดีของเพื่อน และเป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี บทบาทต่อสังคม เป็น
เยาวชนที่มีส่วนช่วยในการสงเคราะห์ ผู้ด้อยโอกาส ช่วยแก้ไขปัญหาสังคม และช่วยในการพัฒนา
สังคม บทบาทต่อสถาบันชาติ เป็นเยาวชนที่ช่วยรักษาศิลปวัฒนธรรม และถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรม
ที่ดีงามของชาติให้เป็นที่รู้จัก และส่งเสริมสถาบันชาติให้มีความมั่นคง พัฒนาบุคคลให้รู้จักสิทธิ
ของตนและการปกครองระบอบประธิปไตย บทบาทต่อสถาบันศาสนา มีส่วนในการช่วยรักษา
91
และส่งเสริมสถาบันศาสนา ยึดหลักคุณธรรมและจริยธรรมในการดำเนินชีวิต บทบาทต่อสถาบัน
พระมหากษัตริย์ มีความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ โดยน้อมนำแนวพระราชดำริมาเป็นแนว
ทางในการปฏิบัติและเผยแพร่ต่อสังคม
สำหรับด้านปัจจัยที่ทำให้เยาวชนทำงานอาสาสมัคร จากการศึกษาทั้ง 10 กรณีศึกษา พบว่า
ปัจจัยด้านครอบครัว เช่น การสนับสนุนจากบิดามารดาให้ร่วมในกิจกรรมทางสังคม การศึกษา เช่น
การที่ได้เคยร่วมกิจกรรมจากโรงเรียนได้จุดประกายให้รักกิจกรรม และต่อมาจึงได้ดำเนินการจัด
กิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและการพัฒนาสังคม แรงจูงใจทั้งภายในและภายนอก เช่น การ
ได้รับคำยกย่องเชิดชูเกียรติ และบทบาทหน้าที่ที่ได้รับการยอมรับและยกย่องจากสังคม เป็นส่วน
ผลักดันให้เกิดกระบวนการเข้าสู่งานอาสาสมัครพัฒนาสังคม
จากการศึกษาพบว่า การแสดงบทบาทของเยาวชนทั้ง 10 กรณีศึกษา มีปัจจัย ดังนี้ คือ
1. ผู้ที่เกี่ยวข้องกับเยาวชนมีความคาดหวังว่าเยาวชนจะประพฤติปฏิบัติตามหน้าที่ที่ตนมี
นั่นคือ พ่อแม่ผู้ปกครอง จะคาดหวังต่อการแสดงบทบาทของเยาวชนในฐานะเป็นลูก ครูอาจารย์จะ
มีความคาดหวังว่า เยาวชนจะแสดงบทบาทเป็นลูกศิษย์
2. เยาวชนได้เรียนรู้และรับรู้ในบทบาทของตนว่าควรจะแสดงอย่างไรได้รับรู้ความ
ต้องการของสังคมในบทบาทต่างๆ
3. เยาวชนให้การยอมรับในการที่จะแสดงบทบาทต่างๆ เหล่านั้นด้วยความเต็มใจ ทั้งจาก
การมอบหมาย และจากความต้องการของตนเอง
4. เยาวชนปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ ได้อย่างถูกต้องตามที่คาดหวัง
จากการศึกษาดังกล่าว มีผลที่สอดคล้องกับแนวคิดเกี่ยวกับการแสดงบทบาทของบุคคล ซึ่ง
Allport (อ้างถึงใน ละเอียด วรรณสารเมธา 2539 : 29) ได้กล่าวถึงปัจจัยการแสดงบทบาทของบุคคล
มี 4 ประการคือ 1) ความคาดหวังในบทบาท 2) การรับรู้บทบาท 3) การยอมรับบทบาทของบุคคล
และ 4) การปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของบุคคล
นอกจากนี้ จากการศึกษาของ 10 กรณีศึกษา ครอบครัว มีความสำคัญต่อการแสดงบทบาท
ของเยาวชน คือการอบรมเลี้ยงดูของครอบครัวจะมีผลต่อความต้องการและความสามารถในการ
แสดงบทบาทต่างๆ ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของ เอื้ออารี แจ่มผล (2533 : บทคัดย่อ) ซึ่งได้ศึกษา
ถึงปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชิวตของวัยรุ่นตอนต้นซึ่งผลการศึกษาคือวิธีการอบรมเลี้ยงดูของ
92
ครอบครัวมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับระดับความมีคุณภาพชีวิตของวัยรุ่นตอนต้น และสอดคล้องกับ
การศึกษาของเสาวณีย์ กานต์เดชารักษ์ (2543 : บทคัดย่อ) ซึ่งได้ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อคุณ
ภาพชีวิตของวัยรุ่น ผลการศึกษาคือปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อคุณภาพชีวิตของวัยรุ่นมีความสัมพันธ์
ทั้ง 3 ปัจจัยคือ 1) ปัจจัยทางครอบครัว 2) ปัจจัยด้านสังคม และ 3) ปัจจัยทางสภาพแวดล้อม
ตารางที่ 20 สรุปบทบาทของเยาวชนในด้านต่างๆ
บทบาท รายละเอียด สรุปผล
บทบาทต่อตนเอง มีการพัฒนาตนเองด้านความรู้อยู่
เสมอ
เยาวชนทั้ง 10 กรณีมีการพัฒนาตน
เองด้านการศึกษา ใผ่หาความรู้อยู่
เสมอ มีผลการเรียนอยู่ในเกณฑ์ดี
คิดเป็นร้อยละ 100
พัฒนาตนเองด้านคุณธรรม เยาวชนทั้ง 10 กรณี มีคุณธรรม จริย
ธรรม มีความมานะพยายาม ความ
ซื่อสัตย์ต่อตนเอง คิดเป็นร้อยละ
100
พัฒนาตนเองด้านสุขภาพอนามัย เยาวชนทั้ง 10 กรณี ดูแลตนเองด้าน
สุขภาพอนามัยเป็นประจำ เล่นกีฬา
ออกกำลังการอยู่เสมอ คิดเป็นร้อย
ละ 100
บทบาทต่อผู้อื่น เคารพเชื่อฟังบิดามารดา ครูอาจารย์
และผู้มีอุปการะคุณ
เยาวชนทั้ง 10 กรณี มีความเคารพ
เชื่อฟังบิดามารดาครูอาจารย์ และผู้มี
อุปการะคุณทุกคน คิดเป็นร้อยละ
100
มีความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ เยาวชนทั้ง 10 กรณี มีความกตัญญู
กตเวทีต่อผู้มีพระคุณทุกคน คิดเป็น
ร้อยละ 100
เป็นมิตรที่ดีของเพื่อน เยาวชนทั้ง 10 กรณี เป็นผู้ที่น้ำใจต่อ
เพื่อนให้คำแนะนำที่ดีต่อเพื่อนเสมอ
คิดเป็นร้อยละ 100
93
บทบาท รายละเอียด สรุปผล
มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี เยาวชนทั้ง 10 กรณี เป็นผู้ที่มีมนุษย์
สัมพันธ์ด ี มีอัธยาศัยดีต่อผู้อื่น มี
กริยามารยาทเรียบร้อย คิดเป็นร้อย
ละ 100
บทบาทต่อสังคม มีส่วนช่วยในการสงเคราะห์ผู้ด้อย
โอกาส
เยาวชนทั้ง 10 กรณี มีส่วนช่วยใน
การสงเคราะห์ผู้ด้อยโอกาสอย่าง
สม่ำเสมอเมื่อมีโอกาส คิดเป็นร้อย
ละ 100
ช่วยแก้ไขปัญหาสังคม เยาวชนทั้ง 10 กรณี มีส่วนช่วยแก้ไข
ปัญหาสังคม โดยการเข้าร่วมหรือ
ดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่สถานศึกษา
หรือหน่วยงานอื่น จัดขึ้น คิดเป็น
ร้อยละ 100
ช่วยพัฒนาสังคม เยาวชนทั้ง 10 กรณี มีส่วนช่วย
พัฒนาสังคม โดยการเข้าร่วมหรือ
ดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่สถานศึกษา
หรือหน่วยงานอื่นจัดขึ้น คิดเป็นร้อย
ละ 100
บทบาทต่อสถาบันชาติ ช่วยรักษาศิลปวัฒนธรรม และถ่าย
ทอดศิลปวัฒนธรรมที่ดีงามของชาติ
ให้เป็นที่รู้จัก
- เยาวชน 4 กรณี มีส่วนช่วยรักษา
ศิลปวัฒนธรรมไทย โดยการถ่าย
ทอดมาเป็นการเขียนเรียงความ การ
พูดสุนทรพจน์ การโต้วาที การ
แสดงศิลปวัฒนธรรมไทย การแสดง
พื้นบ้าน การร่วมโครงการรักษา
วัฒนธรรมชุมชน คิดเป็นร้อยละ 40
- เยาวชนทั้ง 10 กรณี มีกริยามารยาท
ดีงาม ซึ่งเป็นการรักษาประเพณีและ
วัฒนธรรมไทย คิดเป็นร้อยละ 100
94
บทบาท รายละเอียด สรุปผล
ส่งเสริมสถาบันชาติให้มีความมั่นคง - เยาวชน 1 กรณี ช่วยส่งเสริมการ
ปกครองระบอบประชาธิปไตย เผย
แพร่ความรู้ให้ประชาชนมีความเข้า
ใจในการเลือกตั้ง คิดเป็นร้อยละ 10
- เยาวชน 2 กรณี ได้ช่วยส่งเสริม
ความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศ
โดยการเข้าร่วมโครงการมิตรภาพ
และได้นำชื่อเสียงให้แก่ประเทศชาติ
โดยการทำหน้าที่เป็นนักกีฬาว่ายน้ำ
ทีมชาติ คิดเป็นร้อยละ 20
- เยาวชนทั้ง 10 กรณี มีความจงรัก
ภักดีต่อชาติ ช่วยเสริมสร้างความมั่น
คงของชาติ รักษาเอกลักษณ์ไทย
ช่วยแก้ไขปัญหายาเสพติด และ
ต่อต้านโรคเอดส์คิดเป็นร้อยละ 100
พัฒนาบุคคลให้รู้จักสิทธิของตน
แ ล ะ ก า ร ป ก ค ร อ ง ร ะ บ อ บ
ประชาธิปไตย
- เยาวชน 1 กรณี มีส่วนช่วยพัฒนา
บุคคลให้รู้จักสิทธิของตน และส่ง
เสริมความรู้ด้านกฎหมาย และการ
ปกครองระบอบประชาธิปไตย โดย
จัดโครงการเรื่องสิทธิเด็ก และการ
เผยแพร่ความรู้การเลือกตั้งให้
ประชาชนในชนบท คิดเป็นร้อยละ
10
- เยาวชนทั้ง 10 กรณี รู้จักและ
ประพฤติปฏิบัติตนตามหน้าที่ของ
พลเมืองที่ดี ไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น
ปฏิบัติตนตามกฎหมายและระเบียบ
ของสังคม คิดเป็นร้อยละ 100
95
บทบาท รายละเอียด สรุปผล
บ ท บ า ท ต่ อ ส ถ า บั น
ศาสนา
ช่วยรักษาและส่งเสริมสถาบัน
ศาสนา
- เยาวชน 2 กรณี ได้มีส่วนช่วยส่ง
เสริมสถาบันศาสนาโดยการได้ร่วม
เป็นคณะทำงานผ้าป่าช่วยชาติ ร่วม
กิจกรรมต่างๆ คิดเป็นร้อยละ 20
- เยาวชนทั้ง 10 กรณี มีส่วนช่วยส่ง
เสริมศาสนา โดยการร่วมกิจกรรม
ต่างๆ ในวันสำคัญทางศาสนา คิด
เป็นร้อยละ 100
ยึดหลักคุณธรรมและจริยธรรมใน
การดำเนินชีวิต
- เยาวชนทั้ง 10 กรณี ยึดหลักคุณ
ธรรมและจริยธรรมในการดำเนิน
ชีวิตอยู่เสมอ มีความเมตตากรุณา มี
ความซื่อสัตย์ มีความพากเพียร คิด
เป็นร้อยละ 100
บทบาทต่อสถาบันพระ
มหากษัตริย์
มีความจงรักภักดีต่อพระมหา
กษัตริย์
- เยาวชน 2 กรณี ได้ถ่ายทอดความรู้
สึกของความจงรักภักดีด้วยการเขียน
เรียงความและการพูดสุนทรพจน์
คิดเป็นร้อยละ 20
- เยาวชน ทั้ง 10 กรณี มีความจงรัก
ภักดีต่อพระมหากษัตริย์ และพระ
บรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ โดยการ
ร่วมกิจกรรมต่างๆ ในวันสำคัญๆ
และการร้อยละ 100
น้อมนำแนวพระราชดำริมาเป็นแนว
ทางในการปฏิบัติและเผยแพร่ต่อ
สังคม
- เยาวชนทั้ง 10 กรณี ได้น้อมนำ
แนวพระราชดำริมาเป็นแนวทางใน
การปฏิบัติ รู้จักพอเพียง มีความ
มานะพากเพียร คิดเป็นร้อยละ 100
96
สรุปได้ว่า เยาวชนทั้ง 10 กรณีศึกษา มีบทบาทต่อตนเองโดยเป็นผู้ที่ใฝ่พัฒนาตนเองทั้งใน
ด้านความรู้ คุณธรรมและสุขภาพ มีบทบาทต่อผู้อื่นโดยเป็นผู้ที่มีความเคารพเชื่อฟังบิดามารดา ครู
อาจารย์ เป็นผู้ที่มีความกตัญญูกตเวที ต่อผู้มีพระคุณ เป็นมิตรที่ดีของเพื่อน และเป็นผู้มีมนุษย์
สัมพันธ์ที่ดี มีบทบาทต่อสังคมโดยเป็นเยาวชนที่มีส่วนช่วยในการสงเคราะห์ ผู้ด้อยโอกาส ช่วยแก้
ไขปัญหาสังคม และช่วยในการพัฒนาสังคม มีบทบาทต่อสถาบันชาติโดยเป็นเยาวชนที่ช่วยรักษา
ศิลปวัฒนธรรม และถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรมที่ดีงามของชาติให้เป็นที่รู้จัก และส่งเสริมสถาบันชาติ
ให้มีความมั่นคง พัฒนาบุคคลให้รู้จักสิทธิของตนและการปกครองระบอบประธิปไตย มีบทบาท
ต่อสถาบันศาสนาโดยมีส่วนในการช่วยรักษาและส่งเสริมสถาบันศาสนา ยึดหลักคุณธรรมและ
จริยธรรมในการดำเนินชีวิต มีบทบาทต่อสถาบันพระมหากษัตริย์โดยเป็นผู้ที่มีความจงรักภักดีต่อ
พระมหากษัตริย์ โดยน้อมนำแนวพระราชดำริมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติและเผยแพร่ต่อสังคม
ตารางที่ 21 สรุปปัจจัยที่ส่งผลให้เยาวชนเข้าสู่งานอาสาสมัคร
ปัจจัย รายละเอียด สรุปผล
ครอบครัว ภูมิลำเนาของครอบครัว - เยาวชน 4 กรณีมีภูมิลำเนาอยู่ใน
กรุงเทพมหานคร คิดเป็นร้อยละ 40
- เยาวชน 6 กรณีมีภูมิลำเนาอยู่ในต่าง
จังหวัด คิดเป็นร้อยละ 60
การประกอบอาชีพของครอบครัว - เยาวชน 4 กรณี ครอบครัวมีอาชีพค้า
ขายหรือธุรกิจส่วนตัว คิดเป็นร้อยละ 40
- เยาวชน 2 กรณี ครอบครัวมีอาชีพรับ
ราชการ คิดเป็นร้อยละ 20
- เยาวชน 2 กรณี ครอบครัวมีอาชีพรับ
จ้าง คิดเป็นร้อยละ 20
- เยาวชน 2 กรณี ครอบครัวมีอาชีพ
เกษตรกรรม คิดเป็นร้อยละ 20
ฐานะของครอบครัว - เยาวชน 2 กรณี ครอบครัวมีฐานะยาก
จน คิดเป็นร้อยละ 20
- เยาวชน 8 กรณี ครอบครัวมีฐานะปาน
กลาง คิดเป็นร้อยละ 80
97
ปัจจัย รายละเอียด สรุปผล
ครอบครัวให้ความรักอบรมสั่งสอน - เยาวชนทั้ง 10 กรณี ได้รับความรักความ
อบอุ่นจากครอบครัว คิดเป็นร้อยละ 100
คนในครอบครัวมีส่วนเกี่ยวข้องกับงาน
อาสาสมัคร
- เยาวชน 1 กรณี เมื่อวัยเด็กจะคอยติด
ตามบิดาไปทำงานที่เกี่ยวข้องกับงาน
อาสาสมัคร คิดเป็นร้อยละ 10
- เยาวชนทั้ง 10 กรณี ครอบครัวให้การ
สนับสนุนการดำเนินกิจกรรมต่างๆอย่าง
สม่ำเสมอ คิดเป็นร้อยละ 100
การศึกษา ระดับการศึกษา - เยาวชน 1 กรณี จบการศึกษาระดับ
อนุปริญญา คิดเป็นร้อยละ 10
- เยาวชน 5 กรณี กำลังศึกษาระดับ
ปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 50
- เยาวชน 2 กรณี จบการศึกษาระดับ
ปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 20
- เยาวชน 2 กรณี กำลังศึกษาระดับ
ปริญญาโท คิดเป็นร้อยละ 20
สถานศึกษา - เยาวชน 7 กรณี จบการศึกษาหรือกำลัง
ศึกษาอยู่ในสถานศึกษาของรัฐบาล คิด
เป็นร้อยละ 70
- เยาวชน 3 กรณี จบการศึกษาหรือกำลัง
ศึกษาอยู่ในสถานศึกษาของเอกชน คิด
เป็นร้อยละ 30
ค่าเล่าเรียน - เยาวชน 4 กรณี ได้รับการสนับสนุนค่า
เล่าเรียนจากบิดามารดา คิดเป็นร้อยละ 40
- เยาวชน 1 กรณี ได้รับการสนับสนุนค่า
เล่าเรียนจากการกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาคิด
เป็นร้อยละ 10
98
ปัจจัย รายละเอียด สรุปผล
- เยาวชน 1 กรณี ได้รับการสนับสนุนค่า
เล่าเรียนจากทุนการศึกษาคิดเป็นร้อยละ
10
- เยาวชน 2 กรณี ได้รับการสนับสนุนค่า
เล่าเรียนจากบิดามารดาและรายได้พิเศษ
คิดเป็นร้อยละ 20
- เยาวชน 2 กรณี ได้รับการสนับสนุนค่า
เล่าเรียนจากทุนการศึกษาและรายได้
พิเศษ คิดเป็นร้อยละ 20
ผลการเรียนอยู่ในเกณฑ์ดี - เยาวชนทั้ง 10 กรณี มีผลการเรียนอยู่ใน
เกณฑ์ดี คิดเป็นร้อยละ 100
มีกิจกรรมนอกหลักสูตร - เยาวชนทั้ง 10 กรณีมีกิจกรรมนอกหลัก
สูตร คิดเป็นร้อยละ 100
การสนับสนุนในการทำกิจกรรมของครู
อาจารย์
- เยาวชนทั้ง 10 กรณี ครูอาจารย์ ให้การ
สนับสนุนในการทำกิจกรรม คิดเป็นร้อย
ละ 100
แรงจูงใจ แรงจูงใจภายใน - เยาวชนทั้ง 10 กรณี มีความต้องการที่จะ
ใช้ความรู้ความสามารถในการดำเนินกิจ
กรรมต่างๆ คิดเป็นร้อยละ 100
- เยาวชน ทั้ง 10 กรณี มีความ สนใจ
พิเศษในด้านต่างๆ ได้แก่ ด้านกีฬา ด้าน
วัฒนธรรม ด้านเทคโนโลยี ด้านกฎหมาย
ด้านกิจกรรมลูกเสือ คิดเป็นร้อยละ 100
- เยาวชนทั้ง 10 กรณี มีทัศนคติหรือเจต
คติต่อการทำงานอาสาสมัครว่าเป็นงานที่
น่ายกย่อง และภูมิใจเมื่อได้ดำเนิน
กิจกรรมต่างๆ และประสบความสำเร็จ
คิดเป็นร้อยละ 100
99
ปัจจัย รายละเอียด สรุปผล
แรงจูงใจภายนอก - เยาวชนทั้ง 10 กรณี มีความพอใจและ
ปรารถนาที่จะดำเนินกิจกรรมต่างๆ เมื่อ
ได้รับรางวัล คำชมเชย คำยกย่อง หรือ
การเชิดชูจากบุคคลอื่น คิดเป็นร้อยละ
100
บทบาทหน้าที่
ใ น ก า รทำ กิจ
กรรม
บทบาทที่แสดงออกจากปัจจัยส่วน
บุคคล
- เยาวชน 5 กรณี เป็นเพศชาย คิดเป็นร้อย
ละ 50 และเยาวชน 5 กรณี เป็นเพศหญิง
คิดเป็นร้อยละ 50
- เยาวชน 1 กรณี มีอายุระหว่าง 15 – 20 ปี
คิดเป็นร้อยละ 10 และเยาวชน 9 กรณี มี
อายุระหว่าง 21 – 25 ปี คิดเป็นร้อยละ 90
- เยาวชนทั้ง 10 กรณี นับถือศาสนาพุทธ
คิดเป็นร้อยละ 100
บทบาทที่แสดงออกจากปัจจัยทาง
สังคม
- เยาวชนทั้ง 10 กรณี ได้แสดงบทบาทใน
อุดมคติตามตำแหน่งหน้าที่ที่สังคมได้
กำหนดไว้ คือ บทบาทในการเป็นลูกของ
บิดามารดา บทบาทในการเป็น ลูกศิษย์
ของครูอาจารย์ บทบาทในการเป็นเพื่อน
และผู้นำของเพื่อนๆ ในสถานศึกษา คิด
เป็นร้อยละ 100
- เยาวชนทั้ง 10 กรณี ได้แสดงบทบาทที่
ควรกระทำ โดยมี ทัศนคติและเจตคติที่
เชื่อว่าเมื่อทำแล้วจะเกิดผลดี คิดเป็นร้อย
ละ 100
- เยาวชนทั้ง 10 กรณี ได้แสดงบทบาทที่
กระทำจริงโดยได้ดำเนินการตามขั้นตอน
ซึ่งได้ผ่านกระบวนการเรียนร ู้ การปฏิบัติ
ตามแบบอย่างและประสบการณ์ต่างๆ ใน
การดำเนินกิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 100
100
สรุปได้ว่า ครอบครัวของเยาวชนมีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานคร คิดเป็นร้อยละ 40
และอยู่ในต่างจังหวัด ร้อยละ 60 ครอบครัวประกอบอาชีพค้าหรือหรือธุรกิจส่วนตัว คิดเป็นร้อยละ
40 รับราชการ ร้อยละ 20 รับจ้าง ร้อยละ 20 และเกษตรกรรม ร้อยละ 20 ฐานะของครอบครัวมี
ฐานะยากจน ร้อยละ 20 และฐานะปานกลาง ร้อยละ 80 เยาวชนได้รับความรักความอบอุ่นจาก
ครอบครัว ร้อยละ 100 นอกจากนี้ เยาวชนได้ติดตามคนในครอบครัวไปทำงานที่เกี่ยวข้องกับงาน
อาสาสมัครในวัยเด็ก คิดเป็นร้อยละ 10 และ ครอบครัวให้การสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมต่างๆ
อย่างสม่ำเสมอ ร้อยละ 100
การศึกษา เยาวชนจบการศึกษาระดับอนุปริญญาร้อยละ 10 กำลังศึกษาระดับปริญญา
ตรี ร้อยละ 50 จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 20 และ กำลังศึกษาระดับปริญญาโท ร้อยละ
20 จบการศึกษาหรือกำลังศึกษาในสถานศึกษาของรัฐบาล ร้อยละ 70 และสถานศึกษาของเอกชน
ร้อยละ 30 ได้รับการสนับสนุนค่าเล่าเรียนจากบิดามารดา ร้อยละ 40 กู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา ร้อย
ละ 10 ได้รับทุนการศึกษา ร้อยละ 10 ได้จากบิดามารดาและรายได้พิเศษ ร้อยละ 20 และได้รับทุน
การศึกษาและรายได้พิเศษ ร้อยละ 20 ผลการเรียนอยู่ในเกณฑ์ดี ร้อยละ 100 มีกิจกรรมนอกหลัก
สูตร ร้อยละ 100 นอกจากนี้ ครูอาจารย์ให้การสนับสนุนการทำกิจกรรม ร้อยละ 100
แรงจูงใจ เยาวชนมีความต้องการที่จะใช้ความรู้ความสามารถในการดำเนินกิจกรรม
ต่างๆ ร้อยละ 100 มีความสนใจพิเศษในด้านต่างๆ ร้อยละ 100 มีทัศนคติและเจตคติต่อการทำงาน
อาสาสมัคร ร้อยละ 100 มีความพอใจจากการได้รับรางวัล คำชมเชย คำยกย่อง และการเชิดชูจาก
บุคคลอื่น ร้อยละ 100
บทบาทหน้าที่ในการทำกิจกรรม เยาวชนเพศชาย ร้อยละ 50 และเพศหญิง ร้อยละ 50 มี
อายุระหว่าง 15-20 ปี ร้อยละ 10 และ อายุระหว่าง 21-25 ปี ร้อยละ 90 นับถือศาสนาพุทธร้อยละ
100 เยาวชนแสดงบทบาทในอุดมคติตามตำแหน่งหน้าที่ที่สังคมได้กำหนดไว้ ร้อยละ 100 แสดง
บทบาทที่ควรกระทำตามทัศนคติและเจตคติของตน ร้อยละ 100 แสดงบทบาทที่กระทำจริงตาม
ความรู้ความสามารถ แบบอย่างและประสบการณ์ต่างๆ ร้อยละ 100
บทที่ 5
สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
การศึกษาเรื่อง “บทบาทของเยาวชนดีเด่นอาสาสมัครในงานพัฒนาสังคม” ในครั้งนี้ ได้ทำ
การศึกษาเยาวชนดีเด่นแห่งชาติ ซึ่งคัดเลือกโดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงาน
เยาวชนแห่งชาติ และเยาวชนดีเด่นของสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรม
ราชูปถัมภ์ โดยมีวัตถุประสงค์ คือ
1. เพื่อศึกษาบทบาทของเยาวชนดีเด่นอาสาสมัครในงานพัฒนาสังคม
2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ทำให้เยาวชนทำงานอาสาสมัคร
สรุปผลการวิจัย
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการศึกษาจากข้อมูลประวัติและผลงานของ
เยาวชนดีเด่นแห่งชาติ ซึ่งคัดเลือกโดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชน
แห่งชาติ และเยาวชนดีเด่นของสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
จำนวน 10 คน เป็นเยาวชนชาย 5 คน และเยาวชนหญิง 5 คน ด้วยวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก โดย
ใช้แบบสัมภาษณ์ และวิธีการสังเกตจากการร่วมกิจกรรมหรือโครงการที่เยาวชนดำเนินการเป็น
เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป ประกอบด้วย เพศ อายุ ศาสนา ระดับการศึกษา ภูมิหลัง/ครอบครัว
กิจกรรมหรือโครงการที่เข้าร่วมหรือดำเนินการ ผลงานหรือรางวัลที่ได้รับ
ส่วนที่ 2 บทบาทของเยาวชน
ส่วนที่ 3 ปัจจัยที่ทำให้เยาวชนเข้าสู่งานอาสาสมัคร
สรุปผลได้ว่า เยาวชนทั้ง 10 กรณีศึกษา มีบทบาทต่อตนเองโดยเป็นผู้ที่ใฝ่พัฒนาตนเองทั้ง
ในด้านความรู้ คุณธรรมและสุขภาพ มีบทบาทต่อผู้อื่นโดยเป็นผู้ที่มีความเคารพเชื่อฟังบิดามารดา
ครูอาจารย์ เป็นผู้ที่มีความกตัญญูกตเวที ต่อผู้มีพระคุณ เป็นมิตรที่ดีของเพื่อน และเป็นผู้มีมนุษย์
สัมพันธ์ที่ดี มีบทบาทต่อสังคมโดยเป็นเยาวชนที่มีส่วนช่วยในการสงเคราะห์ ผู้ด้อยโอกาส ช่วยแก้
ไขปัญหาสังคม และช่วยในการพัฒนาสังคม มีบทบาทต่อสถาบันชาติโดยเป็นเยาวชนที่ช่วยรักษา
ศิลปวัฒนธรรม และถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรมที่ดีงามของชาติให้เป็นที่รู้จัก และส่งเสริมสถาบันชาติ
102
ให้มีความมั่นคง พัฒนาบุคคลให้รู้จักสิทธิของตนและการปกครองระบอบประธิปไตย มีบทบาท
ต่อสถาบันศาสนาโดยมีส่วนในการช่วยรักษาและส่งเสริมสถาบันศาสนา ยึดหลักคุณธรรมและ
จริยธรรมในการดำเนินชีวิต มีบทบาทต่อสถาบันพระมหากษัตริย์โดยเป็นผู้ที่มีความจงรักภักดีต่อ
พระมหากษัตริย์ โดยน้อมนำแนวพระราชดำริมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติและเผยแพร่ต่อสังคม
ปัจจัยที่ทำให้เยาวชนเข้าสู่งานอาสาสมัครพัฒนาสังคม มาจากปัจจัยภายในคือ ปัจจัยส่วน
บุคคลและปัจจัยภายนอก คือ ครอบครัว การศึกษา แรงจูงใจ และบทบาทหน้าที่ในการทำกิจกรรม
ซึ่งมีส่วนสนับสนุนเยาวชนเข้ามาสู่การเป็นเยาวชนอาสาสมัคร
สรุปและอภิปรายผลการวิจัย
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป ประกอบด้วย เพศ อายุ ศาสนา ระดับการศึกษา ภูมิหลัง/ครอบครัว กิจกรรม
หรือโครงการที่เข้าร่วมหรือดำเนินการ ผลงานหรือรางวัลที่ได้รับ
ผลการศึกษากรณีศึกษาทั้ง 10 กรณี เป็นเยาวชนดีเด่นเพศชาย ร้อยละ 50 และเพศหญิง
ร้อยละ 50 พบว่า เยาวชนเพศหญิงและเยาวชนเพศชายมีโอกาสเข้าสู่งานอาสาสมัครพัฒนาสังคมได้
เท่ากัน
เยาวชนมีอายุอยู่ในช่วงระหว่าง 15 ถึง 20 ปี ร้อยละ 10 อายุ 21-25 ร้อยละ 90 พบว่า
เยาวชนที่มีอายุมากกว่า 20 ปี จะมีโอกาสได้เข้าสู่งานอาสาสมัคร ได้มากกว่าเยาวชนที่อายุน้อยกว่า
20 ปี
เยาวชนทั้งหมดนับถือศาสนาพุทธ เนื่องจากศาสนาทุกศาสนา ต่างก็สอนให้ศาสนิกมุ่ง
กระทำความดี เยาวชนจึงมีสิ่งยึดเหนี่ยวใจและปฏิบัติตามหลักคำสอนของศาสนา
ระดับการศึกษา มีเยาวชนที่จบการศึกษาระดับอนุปริญญา ร้อยละ 10 กำลังศึกษาระดับ
ปริญญาตรี ร้อยละ 50 จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 20 และกำลังศึกษาระดับปริญญาโท
ร้อยละ 20 ส่วนใหญ่กำลังศึกษาหรือจบจากสถาบันการศึกษาของรัฐบาล ร้อยละ 70 และสถาบัน
การศึกษาเอกชน ร้อยละ 30 พบว่า เยาวชนได้รับการศึกษาสูงกว่ามัธยมศึกษา และศึกษาในสถาบัน
การศึกษาในระบบ จึงมีส่วนในการที่จะได้รับการถ่ายทอดความรู้ และประสบการณ์จากการร่วมกิจ
กรรมต่างๆ ของสถานศึกษา
ภูมิลำเนา เยาวชนส่วนใหญ่มีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัด แต่ที่อยู่ปัจจุบันส่วนใหญ่อยู่ใน
กรุงเทพมหานคร เนื่องจากเยาวชนต้องย้ายถิ่นมาเพื่อศึกษาในระดับอุดมศึกษาในกรุงเทพมหานคร
แต่ไม่มีผลต่อการเข้าสู่งานอาสาสมัครแต่อย่างใด เพราะเยาวชนส่วนใหญ่จะเข้าสู่งานอาสาสมัคร
เมื่อขณะศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษา
103
ส่วนที่ 2 บทบาทของเยาวชน
ผลการวิเคราะห์ด้านบทบาทหน้าที่ บทบาทของเยาวชนอาสาสมัครในงานพัฒนาสังคม
ทั้ง 10 กรณีศึกษา พบว่า มีบทบาทที่สำคัญ ได้แก่
บทบาทต่อตนเอง แสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้ที่ใฝ่พัฒนาตนเอง ไปสู่ความสำเร็จ และมี
ชีวิตที่ดีมีคุณค่า
บทบาทต่อผู้อื่น เป็นเยาวชนที่ดีมีความเคารพเชื่อฟังบิดามารดา ครูอาจารย์ เป็นผู้ที่มีความ
กตัญญูกตเวที ต่อผู้มีพระคุณ เป็นมิตรที่ดีของเพื่อน และเป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
บทบาทต่อสังคม เป็นเยาวชนที่มีส่วนช่วยในการสงเคราะห์ ผู้ด้อยโอกาส ช่วยแก้ไข
ปัญหาสังคม และช่วยในการพัฒนาสังคม
บทบาทต่อสถาบันชาติ เป็นเยาวชนที่ช่วยรักษาศิลปวัฒนธรรม และถ่ายทอดศิลปวัฒน
ธรรมที่ดีงามของชาติให้เป็นที่รู้จัก และส่งเสริมสถาบันชาติให้มีความมั่นคง พัฒนาบุคคลให้รู้จัก
สิทธิของตนและการปกครองระบอบประธิปไตย
บทบาทต่อสถาบันศาสนา มีส่วนในการช่วยรักษาและส่งเสริมสถาบันศาสนา ยึดหลักคุณ
ธรรมและจริยธรรมในการดำเนินชีวิต
บทบาทต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ มีความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ โดยน้อมนำแนว
พระราชดำริมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติและเผยแพร่ต่อสังคม และบทบาทที่สำคัญคือ เป็นผู้นำ
ความเปลี่ยนแปลงถ่ายทอดไปยังเยาวชนอื่น และเป็นตัวแบบที่ดีที่ควรยึดถือเป็นแบบอย่าง
จึงสรุปได้ว่า บทบาทหน้าที่ของเยาวชนที่เป็นพลังสำคัญที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในอนาคต
เมื่อได้รับการชี้แนะ และปลูกฝังจิตสำนึกและอุดมการณ์ย่อมมีบทบาทตามที่คาดหวัง การศึกษา
เยาวชนดีเด่นได้พบบทบาทที่สำคัญของเยาวชนได้แก่ บทบาทต่อตนเอง บทบาทต่อผู้อื่น บทบาท
ต่อสังคม บทบาทต่อสถาบันชาติ บทบาทต่อสถาบันศาสนา และบทบาทต่อสถาบันพระมหากษัตริย์
ซึ่งบทบาทเหล่านี้ เยาวชนได้นำมาสู่การพัฒนาสังคม ทั้งในด้านการเป็นผู้สืบทอดวัฒนธรรม และ
การกีฬา การบำเพ็ญประโยชน์ต่อส่วนรวม การถ่ายทอดความรู้ มีคุณธรรม และวัฒนธรรมที่ดีงาม
และการนำเอาความรู้ความสามารถด้านเทคโนโลยีที่นำสมัยมาใช้ในการพัฒนาสังคม
ส่วนที่ 3 ปัจจัยที่ทำให้เยาวชนเข้าสู่งานอาสาสมัครพัฒนาสังคม
ผลการศึกษาปัจจัยที่ทำให้เยาวชนทำงานอาสาสมัคร พบว่า ปัจจัยด้านครอบครัว การ
ศึกษาจากโรงเรียน แรงจูงใจทั้งภายในและภายนอก การได้รับการยอมรับและการยกย่องจากสังคม
104
และภาระหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย เป็นปัจจัยที่ผลักดันให้เยาวชนเข้าสู่งานอาสาสมัครพัฒนาสังคม
ดังนี้
ครอบครัว พบว่าทั้ง 10 กรณีศึกษา ครอบครัวมีส่วนช่วยเหลือให้เยาวชนเป็นคนดี ครอบ
ครัวที่ให้ความรักและสนับสนุนบุตรธิดาด้านต่างๆ ส่งเสียให้เรียนจนประสบผลสำเร็จ มีส่วนน้อย
ที่ยากจนและต้องพึ่งตนเอง แต่ก็มีความมานะพยายาม รู้จักแก้ไขปัญหาโดยยึดถือคุณธรรม และทำ
ความดี มีความซื่อสัตย์ สุจริต รู้จัดอดทน การที่เยาวชนมีความรักใคร่ เชื่อฟังบิดามารดา แสดงให้
เห็นถึงการเป็นคนดี มีความกตัญญูรู้คุณ ช่วยเหลือแบ่งเบาภาระของครอบครัว ซึ่งส่งผลให้เป็นผู้
มจี ติ สาํ นกึ ในความรบั ผดิ ชอบ และเป็นคนด ี มีความประพฤติดี เสียสละ จนได้รับการยอมรับและ
ยกย่องว่าเป็นเยาวชนดีเด่น
ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า เยาวชนดีเด่นนั้นเกิดจากการพัฒนาที่เหมาะสม ตามกระบวน
การพัฒนาทางสังคม โดยเริ่มจากครอบครัวและบรรยากาศแวดล้อม ทำให้เยาวชนได้เข้าสู่วัยแสวง
หาความรัก และประสบการณ์และการช่วยเหลือบุคคลอื่น ทำให้ได้รับการยอมรับและมีพัฒนาการสู่
การสร้างชื่อเสียงให้ตนเองและครอบครัวตามลำดับ
จึงสรุปได้ว่า ครอบครัวมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมของเยาวชน เป็นแบบอย่างในการ
ปฏิบัติตน ซึ่งเยาวชนซึมซับและลอกเลียนแบบในสิ่งที่ดีจากบุคคลที่ตนรักและศรัทธา ปฏิบัติตน
เป็นคนดี ของสังคม
การศึกษา เยาวชนดีเด่นทั้ง 10 กรณีศึกษา ได้นำความรู้และประสบการณ์จากการศึกษามา
ใช้ในการทำกิจกรรมช่วยเหลือสังคม ใช้เสริมสร้างกิจกรรมต่างๆ ในการรักษาและถ่ายทอดมรดก
ทางวัฒนธรรม การกีฬา ความรู้ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม การปกครอง ด้านการส่งเสริม
ประชาธิปไตย เป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ต่อตนเองและสังคม ผสมผสานความเป็นอันหนึ่งอันเดียว
กัน ในการพัฒนาให้ใช้ศักยภาพของตนมากที่สุด จากความรู้ที่ตนมีทักษะและความสนใจ จากบท
บาทหน้าที่ของสถาบันการศึกษาที่ให้การรักษาและถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรม ส่งเสริมการเรียน
รู้ในสังคม และส่งเสริมพัฒนาปัจเจกชนให้ใช้ศักยภาพในตัวตนให้ได้มากที่สุด
สรุปได้ว่า การศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญที่สร้างเสริมให้เยาวชนมีกระบวนการคิดอย่างมีเหตุผล
สามารถนำเอาความรู้ความเข้าใจที่ได้จากสถาบันการศึกษาไปประยุกต์ใช้ในการทำกิจกรรมต่างๆ
ที่เป็นการพัฒนาสังคม ทั้งด้านการส่งเสริมประชาธิปไตย การรักษาศิลปวัฒนธรรมและถ่ายทอด
105
วัฒนธรรมประเพณีที่ดีงามให้เป็นที่รู้จัก และนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากการทำกิจกรรม
ไปใช้ในการพัฒนาตนเอง และสังคมได้
ความต้องการและแรงจูงใจ ที่ทำให้เยาวชนเข้าสู่กระบวนการอาสาสมัคร ประกอบด้วย
ความต้องการทำงานด้วยความสมัครใจของเยาวชน และการเล็งเห็นประโยชน์ต่อสังคม และส่วน
รวมโดยไม่หวังผลตอบแทน โดยมีเจนคติในการช่วยเหลือสังคม โดยมีหลักในการให้ความสำคัญ
และประโยชน์ต่อส่วนรวม
กระบวนการเข้าสู่งานอาสาสมัครพัฒนาสังคม ส่วนใหญ่มาจากการได้เคยร่วมทำกิจกรรม
ช่วยเหลือสังคมมาก่อน เป็นผู้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์เป็นทุนเดิมอยู่ในตัวแล้ว จากการรักที่จะนำ
ทักษะที่ตนถนัดมาใช้ในการทำกิจกรรม และการได้รับความสำเร็จจากบทบาทหน้าที่ต่างๆ จนเป็น
ที่ยอมรับและได้รับการยกย่องจากสังคม เป็นแรงจูงใจที่นำเยาวชนเข้าสู่กระบวนการอาสาสมัคร
พัฒนาสังคม
สรุปได้ว่า แรงจูงใจเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อพฤติกรรมมนุษย์ มาจากองค์ประกอบที่
สำคัญของความต้องการทั้งทางสรีรวิทยา และความต้องการทางสังคม เป็นการกระตุ้นให้บุคคลทำ
ในสิ่งที่ตนต้องการโดยอาศัยเป็นสิ่งล่อให้เกิดความสนใจ เช่น การได้รับการยอมรับยกย่องเชิดชูจาก
สังคม แรงจูงใจจึงเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของมนุษย์
สรุปได้ว่าปัจจัยที่ทำให้เยาวชนเข้าสู่งานอาสาสมัครพัฒนาสังคม มาจากปัจจัยภายในคือ
ปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยภายนอก คือ ครอบครัว การศึกษา แรงจูงใจ และบทบาทหน้าที่ ซึ่งมี
ส่วนสนับสนุนเยาวชนเข้ามาสู่การเป็นเยาวชนอาสาสมัคร ผลการศึกษาในครั้งนี้จึงสอดคล้องกับ
การศึกษาของ เอื้ออารี แจ่มผล (2533 : บทคัดย่อ) ซึ่งได้ทำการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิต
ของวัยรุ่นตอนต้น ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของวัยรุ่นตอนต้นคือ วิธีการ
อบรมเลี้ยงดูของครอบครัว และการศึกษาของเสาวนีย์ กานต์เดชารักษ์ (2543 : บทคัดย่อ) ซึ่งได้
ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อคุณภาพชีวิตของวัยรุ่น ผลการศึกษาคือ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อ
คุณภาพชีวิตของวัยรุ่น คือ ปัจจัยทางครอบครัว ปัจจัยทางสังคม และปัจจัยทางสภาพแวดล้อม
106
ข้อค้นพบจากการวิจัย
จากการศึกษาบทบาทของเยาวชนดีเด่นอาสาสมัครในงานพัฒนาสังคมในครั้งนี้ ได้ทราบ
ถึงบทบาทของอาสาสมัครในงานพัฒนาสังคม ที่มีประโยชน์ต่อสังคมโดยรวม ทราบถึงปัจจัยต่างๆ
ที่มิอิทธิพลให้เยาวชนเป็นคนดี และพบว่า การศึกษาเป็นสิ่งที่ส่งเสริมให้เยาวชนมีความคิดริเริ่ม มี
กระบวนการคิดที่มีเหตุมีผล การที่เยาวชนเป็นคนดี เกิดจากจิตสำนึกที่ดี และการปลูกฝังที่ดีจาก
ครอบครัว และสถานศึกษา
ข้อเสนอแนะจากการวิจัย
จากการศึกษาในครั้งนี้ มีข้อเสนอแนะว่า การที่จะเสริมสร้างเยาวชนให้เป็นเยาวชนไทยที่
พึงประสงค์ หรือเป็นเยาวชนที่มีคุณสมบัติเป็นเยาวชนดีเด่นให้เกิดขึ้นในอนาคตนั้น จึงเป็นเรื่องที่
เป็นไปได้ โดยการสนับสนุนส่งเสริมและให้ความรู้แก่เยาวชน ครอบครัว โรงเรียน และสื่อต่างๆ
ทางสังคม ให้มารณรงค์เสริมสร้างให้เยาวชนมีความดี และมีบทบาทสำคัญในสังคมไทยต่อไป ซึ่ง
เยาวชนเหล่านี้จะเป็นผู้ที่เป็นกำลังของชาติในการพัฒนาชาติและสังคมสืบไป
ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในการพัฒนาสังคมให้น่าอยู่
ในการศึกษาครั้งนี้ เยาวชนได้ให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในการพัฒนาสังคม ดังนี้
1. ควรมีการส่งเสริมและพัฒนาผู้ด้อยโอกาสให้มีศักยภาพเพิ่มขึ้น ให้เป็นไปในลักษณะ
ของการให้ความรู้เพื่อนำความรู้ไปใช้ในการดำเนินชีวิตต่อไป ดังคำกล่าวที่ว่า “สอนให้รู้จักการ
ตกปลา มิใช่การนำปลาไปให้” การส่งเสริมในลักษณะเช่นนี้ จะช่วยเสริมสร้างกำลังสำคัญของชาติ
ในด้านต่างๆ ต่อไปได้ดี
2. ควรกำหนดนโยบายด้านการพัฒนาสังคมให้ชัดเจน รัฐบาลควรจัดสวัสดิการ และ
ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีส่วนร่วมของประชาชนจะ
ทำให้สามารถแก้ปัญหาต่างๆ ได้อย่างถูกจุดและราบรื่นมากขึ้น
3. ควรกำหนดมีการส่งเสริมให้เยาวชนได้มีส่วนในการพัฒนาสังคมให้มากขึ้น โดย
เฉพาะอย่างยิ่งการจัดให้มีวิชางานพัฒนาสังคมในหลักสูตรการเรียนการสอนในการศึกษาตามระบบ
และการศึกษานอกโรงเรียน เพื่อให้เยาวชนได้มีกิจกรรมทางเลือกมากขึ้น และมีโอกาสได้แสดง
ความสามารถ พร้อมทั้งเยาวชนจะเกิดความภาคภูมิใจเมื่อได้มีส่วนในการช่วยพัฒนาสังคม
107
4. ภาครัฐควรมีส่วนสนับสนุนงานพัฒนาสังคมกับองค์กรหรือหน่วยงานต่างๆ ให้มากขึ้น
และเยาวชนควรมีส่วนในการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมในการพัฒนาสังคมให้มากยิ่งขึ้น
ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
1. การศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาเยาวชนดีเด่นแห่งชาติ สาขาพัฒนาเยาวชน บำเพ็ญ
ประโยชน์ อาสาสมัคร สวัสดิการ และประสานงาน ซึ่งคัดเลือกโดยสำนักงานคณะกรรมการส่ง
เสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ และเยาวชนดีเด่นของสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศ
ไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงเห็นว่าควรศึกษาเยาวชนดีเด่นแห่งชาติในสาขาอื่นๆ เช่น สาขากีฬา
และนันทนาการ สาขาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยี และสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยา
ศาสตร์ สาขาศิลปวัฒนธรรม และสาขาสื่อมวลชนเพื่อเด็กเยาชนที่ป้องกันปัญหาสังคม
2. ควรศึกษาปัจจัยที่ทำให้เยาวชนกลุ่มอื่น ที่ได้เข้ามาทำงานด้านการพัฒนาสังคม เพื่อเป็น
แนวทางในการวางแผนการพัฒนาเยาวชนของชาติให้เป็นทรัพยากรที่มีค่า และเป็นกำลังของชาติใน
อนาคต
108
บรรณานุกรม
กันยา สุวรรณแสง. 2532. จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพมหานคร : บำรุงสาส์น.
เกษม วัฒนชัย. 2545. “อุดมการณ์อาสาสมัครในเยาวชน เริ่มวิกฤติ”. วารสารสังคมพัฒนา : 30
(4/2545) หน้า 73.
เกียรติศักดิ์ มูลไธสง. 2542. การสร้างความเข้มแข็งของคณะกรรมการศูนย์เยาวชนตำบล.
ขอนแก่น : วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
จันทนา เอมมณีรตน์. 2536. บทบาทหญิงชายในด้านการตัดสินใจและการแบ่งแรงงานในกระบวน
การผลิตไหม : ศึกษาเฉพาะกรณี อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท,
มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ชาชิวัฒน์ ศรีแก้ว. 2545. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 พ.ศ.2545-2549.
กรุงเทพมหานคร : บริษัทธนธัชการพิมพ์ จำกัด
ณรงค์ เส็งประชา. 2538. วิทยาศาสตร์สังคม : ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปรากฏการณ์สังคม.
กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.
” ”. 2530. มนุษย์กับสังคม. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.
ดำรงศักดิ์ ชัยสนิท และประสาน หอมมูล. 2538. จิตวิทยาเบื้องต้น/จิตวิทยาธุรกิจเบื้องต้น.
กรุงเทพมหานคร : วังอักษร.
เดโช สวนานนท์. 2518. จิตวิทยาสังคม. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.
ถวิล ธาราโภชน์. 2524. จิตวิทยาสังคม. กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัดบำรุงสาส์น.
ทรงพล ภูมิพัฒน์. 2538. จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพมหานคร : ภาควิชาพื้นฐาน คณะศิลปศาสตร์
มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
นงลักษณ์ เทพสวัสดิ์. 2536. วิเคราะห์ปัญหาสำคัญๆ ในสังคมไทย และแนวทางแก้ไข.
กรงุ เทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร.์
นิเวศ ศรีพุทธา. 2541. การพัฒนาคุณภาพและบทบาทผู้นำสตรีระดับหมู่บ้านเพื่อการพัฒนาชุมชน.
ขอนแก่น : วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยขอนแก่น
บัณฑิต ชัยชนะ. 2533. บทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา. ขอนแก่น. วิทยา
นิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ประพันธ์ สุทธาวาส. 2522. จิตวิทยาสังคม. เชียงใหม่ : โรงพิมพ์กลางเวียง.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน. 2535. จิตวิทยาบริหารงานบุคคล. กรงุ เทพมหานคร : ศูนย์สื่อเสริม
กรุงเทพ.
109
ปฬาณี ฐิติวัฒนา. 2535. การพัฒนาเด็ก เยาวชนและสตรี. กรุงเทพมหานคร : ชุมนุมสหกรณ์การ
เกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
ปุ๋ย โรจนะบุรานนท์. 2525. “อาสาสมัคร”. เอกสารประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง
บทบาทของอาสาสมัครสภาสังคมสงเคราะห์. คณะกรรมการประสานงานส่วนภูมิภาค
ภาค 1 สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์. วันที่ 30 พฤษภาคม
2525 ณ หอประชุมศาลากลางจังหวัดสระบุรี. (อัดสำเนา)
พงษ์พันธ์ พงษ์โสภา. 2542. จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : วิสิทธิ์พัฒนา.
พวงเพชร วัชรอยู่. 2537. แรงจูงใจในการทำงาน. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์
พัชนี วรกวิน. 2526. จิตวิทยาสังคม : ทฤษฎีและปฏิบัติการ. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนา
พานิช.
พัทยา สายหู. 2534. กลไกทางสังคม. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิสิทธิ์ สารวิจิตร. 2523. พุทธศาสตร์การสอนวิชาการพัฒนาตนเองและบุคลิกภาพจากระดับ
อนุบาลถึงปริญญาเอก. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
ไพบูลย์ เทวรักษ์. 2537. จิตวิทยา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ เอส. ดี. เพรส.
ภิญโญ สาธร. 2519. หลักการบริการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ไทย
วัฒนาพานิช.
ภิรมย์ จั่นถาวร. 2546. ผลการวิเคราะห์ความฉลาดทางอารมณ์ของเยาวชนร่วมงานค่ายเยาวชน
สานสัมพันธ์ไทย-มาเลย์. กรุงเทพมหานคร : เอกสารประกอบการสัมมนาเด็กและเยาวชน
ดีเด่นสร้างชาติ. วันที่ 10 พฤษภาคม 2546 ณ ห้องประชุมตึกนวมหาราช.
มธุรส สว่างบำรุง. 2542. จิตวิทยาทั่วไป. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยแม่โจ.้
มนูญ ตนะวัฒนา. 2532. การพัฒนาบุคคลในโลกธุรกิจ-อุตสาหกรรม. กรุงเทพมหานคร : โอเอส
พริ้นติ้งเฮาส์.
มหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. 2546. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
http://www.geocities.com/siriraj_83/initial.html
ยงยุทธ เกษสาคร. 2541. ภาวะผู้นำและการจูงใจ. กรุงเทพมหานคร : คณะวิทยาการจัดการ
สถาบันราชภัฏสวนดุสิต.
ยุวัฒน์ วุฒิเมธี. 2533. หลักการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพมหานคร : เพิ่มเสริมกิจ.
ละเอียด วรรณสารามธา. 2539. บทบาทของเครือญาติในการดูแลความเจ็บป่วย. วิทยานิพนธ์
ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ศุภพร อยู่วัฒนา. 2536. การยอมรับบทบาทของสตรีไทยทางการเมืองและการปกครอง. วิทยา
นพิ นธป์ รญิ ญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร.
110
สงวน สุทธิเลิศอรุณ. 2543. พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร :
อักษราพัฒน์.
สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยฯ. 2545. โครงการคัดเลือกเด็กและเยาวชนดีเด่น.
กรุงเทพมหานคร : สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย.
สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยฯ. 2544. ทำเนียบเด็กดีเด่นสภาสังคมสงเคราะห์แห่ง
ประเทศไทยฯ ปี 2533 – 2544 เยาวชนดีเด่นสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยฯ
ปี 2530 – 2544. กรุงเทพมหานคร : สมชายการพิมพ์.
สมพร เทพสิทธา. 2544. อุดมการณ์อาสาสมัครและการพัฒนางานอาสาสมัคร. กรุงเทพมหานคร :
กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม.
” ”. 2542. กรณียกิจของเยาวชนต่อประเทศชาติ. กรุงเทพมหานคร : จิรรัชการพิมพ์
” ”. 2540. บทบาทของเด็กและเยาวชนในยุคโลกาภิวัตน์. กรุงเทพมหานคร : สมชายการ
พิมพ์
” ”. 2535. ยุทธศาสตร์การพัฒนาสังคม. กรุงเทพมหานคร : สมชายการพิมพ์.
สัญญา สัญญาวิวัฒน์. 2546. ทฤษฎีและกลยุทธ์การพัฒนาสังคม. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์
แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำรอง คำสมหมาย. 2541. การเพิ่มบทบาทของผู้นำอาสาพัฒนาชุมชนเพื่อการพัฒนาชุมชนใน
จังหวัดหนองบัวลำภู. ขอนแก่น : วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยขอนแก่น
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ. 2545, เยาวชนดีเด่นแห่งชาติ
และผู้ทำคุณประโยชน์ต่อเยาวชน. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและ
ประสานงานเยาวชนแห่งชาติ.
” ”. 2544. เยาวชนดีเด่นแห่งชาติและผู้ทำคุณประโยชน์ต่อเยาวชน. กรุงเทพมหานคร :
บริษัท พริ้น แอนด์ คอนโทรล จำกัด.
” ”. 2543. เยาวชนดีเด่นแห่งชาติและผู้ทำคุณประโยชน์ต่อเยาวชน. กรุงเทพมหานคร :
บริษัท คัมปาย อิมเมจจิ้ง จำกัด.
” ”. 2542. เยาวชนดีเด่นแห่งชาติและผู้ทำคุณประโยชน์ต่อเยาวชน. กรุงเทพมหานคร :
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ.
” ”. 2541. 2 ทศวรรษ ส.ย.ช. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและ
ประสานงานเยาวชนแห่งชาติ.
” ”. 2541. เยาวชนดีเด่นแห่งชาติและผู้ทำคุณประโยชน์ต่อเยาวชน. กรุงเทพมหานคร :
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ.
111
” ”. 2540. เยาวชนดีเด่นแห่งชาติและผู้ทำคุณประโยชน์ต่อเยาวชน. กรุงเทพมหานคร :
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ.
” ”. 2539. เยาวชนดีเด่นแห่งชาติและผู้ทำคุณประโยชน์ต่อเยาวชน. กรุงเทพมหานคร :
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ.
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ. 2538. เยาวชนดีเด่นแห่งชาติ
และผู้ทำคุณประโยชน์ต่อเยาวชน. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและ
ประสานงานเยาวชนแห่งชาติ.
” ”. 2537. คู่มือการปฏิบัติงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานการพัฒนาเด็กและ
เยาวชน จังหวัด อำเภอ กรุงเทพมหานคร เทศบาล. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์องค์การ
สงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
” ”. 2537. เยาวชนดีเด่นแห่งชาติและผู้ทำคุณประโยชน์ต่อเยาวชน. กรุงเทพมหานคร :
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ.
” ”. 2536. เยาวชนดีเด่นแห่งชาติและผู้ทำคุณประโยชน์ต่อเยาวชน. กรุงเทพมหานคร :
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ.
สุชา จันทร์เอม. 2543. จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช.
สุพัตรา สุภาพ. 2539. สังคมวิทยา. กรุเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ ไทยวัฒนาพานิช.
” ”. 2536. สังคมวิทยา. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.
สุภัททา บิณฑะแพทย์. 2532. จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพมหานคร : ภาควิชาจิตวิทยาและการ
แนะแนว สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา.
เสาวนีย์ กานต์เดชารักษ์. 2543. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อคุณภาพชีวิตของวัยรุ่น.
กรุงเทพมหานคร : วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, วิทยาลัยคริสเตียน
เสาวนีย์ เสนานุ. 2529. งานอาสาสมัครและกิจกรรมเยาวชน. เอกสารประกอบการสอนวิชางาน
อาสาสมัครและกิจกรรมเยาวชน ภาควิชาการศึกษารู้ใหม่ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
อภิชาต มั่นศิลป์. 2533. ภาวะสร้างสรรค์ของสมาชิกกลุ่มเยาวชนเร่งรัดพัฒนาชนบท (รพช.) ใน
จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่ : วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้
อมรา พงศาพิชญ์. 2521. มนุษย์กับสังคม. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อรสุดา เจริญรัถ. 2543. คำพ่อสอน ประมวลพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสเกี่ยวกับเด็กและ
เยาวชน. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์กรุงเทพฯ.
112
อ้อมเดือน สดมณี. 2543. ค่านิยมเกี่ยวกับการทำงาน การถ่ายทอดการทำงานและลักษณะทางจิต
สังคมของประชาชน. รายงานวิจัย ฉบับที่ 78 สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
อุทัย หิรัญโต. 2526. สารานุกรมศัพท์ทางสังคมวิทยา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์โอเดียนสโตร์.
อุบลศรี เสนาะรักษ์. 2544. บทบาทพระสงฆ์ในงานสังคมสงเคราะห์ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยา
นิพินธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร.์
เอื้ออารี แจ่มผล. 2533. ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของวัยรุ่นตอนต้น. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท,
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Abraham Maslow. 1970. Motivation and Personality, 2nd ed, Harper & Row.
ภาคผนวก
114
แบบสัมภาษณ์
เรื่อง บทบาทของเยาวชนดีเด่นอาสาสมัครในงานพัฒนาสังคม
ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
1. ชื่อ-นามสกุล เพศ
2. วันเดือนปีเกิด อายุ ปี
3. ศาสนา
4. การศึกษาสูงสุดหรือกำลังศึกษา
สถานศึกษา
5. ภูมิลำเนา
6. ความเป็นอยู่ในครอบครัว
7. โครงการหรือกิจกรรมที่ดำเนินการ
8. ผลงานหรือรางวัลที่ได้รับ
ตอนที่ 2 บทบาทของเยาวชน
1. บทบาทต่อตนเอง
2. บทบาทต่อผู้อื่น
115
3. บทบาทต่อสังคม
4. บทบาทต่อสถาบันชาติ
5. บทบาทต่อสถาบันศาสนา
6. บทบาทต่อสถาบันพระมหากษัตริย์
ตอนที่ 3 กระบวนการการเข้าสู่งานอาสาสมัคร
ตอนที่ 4 การดำเนินงาน
9. รูปแบบการดำเนินงาน
10. ปัญหา/และอุปสรรค
11. การได้รับการสนับสนุน
116
ตอนที่ 5 แนวคิดต่อการพัฒนาสังคม
ตอนที่ 6 ข้อเสนอแนะของเยาวชนต่อการพัฒนาสังคม
117
ประวัติผู้วิจัย
ชื่อ-ชื่อสกุล ว่าที่ร้อยตรีหญิง น้องนุช ประสมคำ
วันเดือนปีเกิด 17 พฤศจิกายน 2517
สถานที่อยู่ปัจจุบัน 175 ซอยมัสยิดบางหลวง แขวงวัดกัลยาณ์
เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร 10600
ตำแหน่งหน้าที่การงาน เจ้าหน้าที่วิเทศสัมพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหิดล เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
งานอาสาสมัคร กรรมการและเลขานุการ
มูลนิธิทองทศฯ เพื่อการศึกษาและสาธารณประโยชน์
แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร 10600
ประวัติการศึกษา พ.ศ.2540 บริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการ-ภาษาธุรกิจ)
สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตบพิตรพิมุข จักรวรรดิ
บทบาทเยาวชนดีเด่นอาสาสมัครในงานพัฒนาสังคม (ตอนที่ 1)
บทบาทเยาวชนดีเด่นอาสาสมัครในงานพัฒนาสังคม (ตอนที่ 2)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น