วันจันทร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2554

การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานของพระสังฆาธิการในวัดพัฒนาตัวอย่าง (ตอนที่ 2)



สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ผู้วิจัยได้ใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้
1. สถิติพื้นฐาน
1.1 ค่าความถี่ (Frequency)
1.2 ค่าร้อยละ (Percentage)
1.3 ค่าเฉลี่ย (Mean)
1.4 ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
2. สถิติที่ใช้ในการหาคุณภาพของแบบสอบถาม
หาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม โดยวิธีหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา
(ϒ - Coefficient) ของครอนบัค (Cronbach)
บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ผู้วิจัยได้กำหนดสัญลักษณ์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อความเข้าใจตรงกันใน
การแปลความหมายของข้อมูล ดังต่อไปนี้
X แทน ค่าคะแนนเฉลี่ย
S.D. แทน ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ผู้วิจัยนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลตามลำดับ ดังนี้
ตอนที่ 1 สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม
ตอนที่ 2 การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานของพระสังฆาธิการในวัดพัฒนา
ตัวอย่าง จำแนกเป็นรายด้านและรวมทุกด้าน
ตอนที่ 3 การศึกษาภาวะผู้นำของพระสังฆาธิการในวัดพัฒนาตัวอย่าง จำแนกเป็น
รายข้อ
ตอนที่ 4 ปัญหาและข้อเสนอแนะในการดำเนินการของวัดพัฒนาตัวอย่าง จำแนกเป็น
รายด้าน
ตอนที่ 1 สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม
สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตาม อายุ วุฒิการศึกษาทางโลก
ระยะเวลาที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระสังฆาธิการ และระยะเวลาที่วัดได้รับการยกฐานะเป็น
วัดพัฒนาตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาความถี่ เพื่อหาค่าร้อยละ และนำเสนอข้อมูลใน
ตารางประกอบการบรรยาย ดังนี้
59
ตารางที่ 2 แสดงสถานภาพของกลุ่มตัวอย่างที่อยู่ในวัดพัฒนาตัวอย่าง
สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน ร้อยละ
อายุ น้อยกว่า 45 ปี 46 15.23
46 - 60 ปี 116 38.41
มากกว่า 60 ปีขึ้นไป 140 46.38
รวม 302 100.00
วุฒิการศึกษาทางโลก ระดับชั้นประถมศึกษา 162 53.64
ระดับชั้นมัธยมศึกษา 70 23.18
ระดับปริญญาตรี หรือสูงกว่า 70 23.18
รวม 302 100.00
ระยะเวลาที่ได้รับ น้อยกว่า 5 ปี 99 32.78
การแต่งตั้งเป็น 5 - 10 ปี 133 44.04
พระสังฆาธิการ มากกว่า 10 ปี 70 23.18
รวม 302 100.00
ระยะเวลาที่วัดได้รับ น้อยกว่า 5 ปี 23 7.62
การยกฐานะเป็นวัด 5 - 10 ปี 186 61.59
พัฒนาตัวอย่าง มากกว่า 10 ปี 93 30.79
รวม 302 100.00
จากตารางที่ 2 พบว่า พระสังฆาธิการในวัดพัฒนาตัวอย่างที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง
ส่วนใหญ่มีอายุมากกว่า 60 ปี ขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 46.38 มีวุฒิการศึกษาทางโลกในระดับ
ประถมศึกษา คิดเป็นร้อยละ 53.64 โดยระยะเวลาที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระสังฆาธิการมาแล้ว
5 – 10 ปี คิดเป็นร้อยละ 44.04 และระยะเวลาที่วัดได้รับการยกฐานะเป็นวัดพัฒนาตัวอย่างมา
แล้ว 5 – 10 ปี คิดเป็นร้อยละ 61.59
60
ตอนที่ 2 การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงาน ของพระสังฆาธิการใน
วัดพัฒนาตัวอย่าง จำแนกเป็นรายด้านและรวมทุกด้าน
ตารางที่ 3 แสดงค่าคะแนนเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของสภาพและปัญหาการบริหารงาน
ของพระสังฆาธิการในวัดพัฒนาตัวอย่าง
การบริหารของพระสังฆาธิการ สภาพการบริหารงาน ปัญหาในการปฏิบัติงาน
ในวัดพัฒนาตัวอย่าง X S.D. การแปลผล X S.D. การแปลผล
1. ด้านการจัดการปกครองภายในวัด 3.76 0.74 มาก 2.63 0.95 ปานกลาง
2. ด้านอาคารเสนาสนะ 3.95 0.81 มาก 2.42 0.99 ปานกลาง
3. ด้านการจัดกิจกรรมเพื่อชุมชน 3.84 0.84 มาก 2.38 1.10 ปานกลาง
รวม 3.85 0.80 มาก 2.48 1.01 ปานกลาง
จากตารางที่ 3 พบว่า สภาพการบริหารงานของพระสังฆาธิการในวัดพัฒนาตัวอย่าง
มีการบริหารงานโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( X = 3.85) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ปรากฏว่า
ด้านอาคารเสนาสนะ มีการบริหารงานอยู่ในระดับมากเป็นอันดับแรก ( X = 3.95) รองลงมา คือ
ด้านการจัดกิจกรรมเพื่อชุมชน ( X = 3.84) และด้านการจัดการปกครองภายในวัดเป็นอันดับ
สุดท้าย ( X = 3.76)
ส่วนปัญหาการบริหารงานของพระสังฆาธิการในวัดพัฒนาตัวอย่าง มีปัญหาในการ
ปฏิบัติงานโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (X = 2.48) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ปรากฏว่า ด้านการ
จัดการปกครองภายในวัด มีปัญหาหาในการปฏิบัติงานมากเป็นอันดับแรก (X = 2.63) รองลงมาคือ
ด้านอาคารเสนาสนะ (X = 2.42) และด้านการจัดกิจกรรมเพื่อชุมชนเป็นอันดับสุดท้าย (X = 2.38)
61
ตารางที่ 4 แสดงค่าคะแนนเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของสภาพและปัญหาการบริหารงาน
ของพระสังฆาธิการในวัดพัฒนาตัวอย่างด้านการจัดการปกครองภายในวัด
การบริหารของพระสังฆาธิการ สภาพการบริหารงาน ปัญหาในการปฏิบัติงาน
ในวัดพัฒนาตัวอย่าง X S.D. การแปลผล X S.D. การแปลผล
1. การดำเนินงานตามภารกิจด้าน
การปกครองของวัด
3.69
0.63
มาก
2.77
0.60
ปานกลาง
2. การจัดดำเนินการตามแผนปฏิบัติ
การ/ แผนปฏิบัติงานประจำปี
3.62
0.65
มาก
2.62
0.65
ปานกลาง
3. การดำเนินการจัดทำทะเบียน
ประวัติของพระสงฆ์ภายในวัด
3.23
1.09
ปานกลาง
2.54
0.78
ปานกลาง
4. วางระเบียบข้อบังคับสำหรับพระ
ภิกษุสามเณรและบุคลากรภายในวัด
4.00
0.71
มาก
2.69
0.85
ปานกลาง
5. การประชุมอบรมพระภิกษุสามเณร
และบุคลากรภายในวัด ประจำเดือน
หรือวันธรรมสวนะ
3.46
0.78
ปานกลาง
2.54
0.78
ปานกลาง
6. การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการ
บริหารจัดการวัด
2.77
1.01
ปานกลาง
2.31
0.75
น้อย
7. การให้การศึกษาอบรม สั่งสอน
พระธรรมวินัยแก่บรรพชิต
4.08
0.86
มาก
2.23
0.83
น้อย
8. การสั่งสอนอบรมศีลธรรมแก่คฤหัสถ์
และศิษย์วัด
3.92
0.76
มาก
2.62
0.96
ปานกลาง
9. การควบคุมให้บรรพชิตและ
คฤหัสถ์ในวัดประพฤติดีและปฏิบัติ
ตามพระธรรมวินัยและข้อบังคับ
ของมหาเถรสมาคม
4.08
0.49
มาก
2.54
1.05
ปานกลาง
10. การจัดสวัสดิการและสงเคราะห์
บรรพชิตและคฤหัสถ์ภายในวัด
3.85
0.80
มาก
3.15
2.51
ปานกลาง
62
ตารางที่ 4 (ต่อ)
การบริหารของพระสังฆาธิการ สภาพการบริหารงาน ปัญหาในการปฏิบัติงาน
ในวัดพัฒนาตัวอย่าง X S.D. การแปลผล X S.D. การแปลผล
11. การทำนุบำรุงรักษาวัด 4.23 0.60 มาก 2.85 0.90 ปานกลาง
12. การจัดกิจการและศาสนสมบัติ
ของวัดให้เป็นไปด้วยดี
4.15
0.55
มาก
2.69
0.75
ปานกลาง
รวม 3.76 0.74 มาก 2.63 0.95 ปานกลาง
จากตารางที่ 4 พบว่า สภาพการบริหารงานของพระสังฆาธิการในวัดพัฒนาตัวอย่าง
มีการบริหารงานด้านการจัดการปกครองภายในวัด โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( X = 3.76) เมื่อ
พิจารณาเป็นรายข้อ ปรากฏว่า การทำนุบำรุงรักษาวัด มีการบริหารงานอยู่ในระดับมากเป็น
อันดับแรก ( X = 4.23) รองลงมาคือ การจัดกิจการและศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปด้วยดี
( X = 4.15) และการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารจัดการวัดเป็นอันดับสุดท้าย ( X = 2.77)
ส่วนปัญหาการบริหารงานของพระสังฆาธิการในวัดพัฒนาตัวอย่าง มีปัญหาใน
การปฏิบัติงานด้านการจัดการปกครองภายในวัด โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( X = 2.63) เมื่อ
พิจารณาเป็นรายข้อ ปรากฏว่า การจัดสวัสดิการและสงเคราะห์บรรพชิตและคฤหัสถ์ภายในวัดมี
ปัญหาในการปฏิบัติงานมากเป็นอันดับแรก ( X = 3.15) รองลงมา คือ การทำนุบำรุงรักษาวัด
( X = 2.85) และการให้การศึกษาอบรม สั่งสอนพระธรรมวินัยแก่บรรพชิต เป็นอันดับสุดท้าย
( X = 2.23)
63
ตารางที่ 5 แสดงค่าคะแนนเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของสภาพและปัญหาการบริหารงาน
ของพระสังฆาธิการในวัดพัฒนาตัวอย่างด้านอาคารเสนาสนะ
การบริหารของพระสังฆาธิการ สภาพการบริหารงาน ปัญหาในการปฏิบัติงาน
ในวัดพัฒนาตัวอย่าง X S.D. การแปลผล X S.D. การแปลผล
1. การจัดทำป้ายชื่อ แผนผัง และ
ประวัติวัด
3.38
0.96
ปานกลาง
2.23
1.01
น้อย
2. การพัฒนาถาวรวัตถุที่เหมาะสมกับ
ศาสนสถานและสถานที่
3.85
0.55
มาก
2.46
0.88
น้อย
3. การบำรุงรักษาสภาพอุโบสถให้มั่น
คงแข็งแรง
3.92
0.95
มาก
2.31
0.85
น้อย
4. การดูแลรักษาอาคารเสนาสนะ
เหมาะสมกับสภาพของวัดและท้องถิ่น
3.92
0.64
มาก
2.46
0.88
น้อย
5. การดูแลรักษากุฏิของวัดมีความเป็น
ระเบียบ เรียบร้อย สะอาด สวยงาม
มั่นคงแข็งแรง
4.15
0.80
มาก
2.46
1.13
น้อย
6. การดูแลรักษาวิหารของวัด
มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย
สะอาด สวยงาม มั่นคงแข็งแรง
4.31
0.63
มาก
2.54
1.05
ปานกลาง
7. การดูแลรักษาเสนาสนะของวัดมี
ความเป็นระเบียบเรียบร้อย สะอาด
สวยงาม มั่นคงแข็งแรง
4.08
0.64
มาก
2.31
1.03
น้อย
8. สิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ ของวัดมีความ
เป็นระเบียบ เรียบร้อย สะอาด
สวยงาม มั่นคง แข็งแรง
4.08
0.86
มาก
2.54
0.88
ปานกลาง
9. การดูแลรักษาเสนาสนะและ
สิ่งก่อสร้างในวัดได้ใช้ประโยชน์
อย่างคุ้มค่า
3.92
0.76
มาก
2.54
1.05
ปานกลาง
10. การดูแลบำรุงรักษาเสนาสนะและ
สิ่งปลูกสร้างในวัด
3.92
0.86
มาก
2.38
0.87
น้อย
64
ตารางที่ 5 (ต่อ)
การบริหารของพระสังฆาธิการ สภาพการบริหารงาน ปัญหาในการปฏิบัติงาน
ในวัดพัฒนาตัวอย่าง X S.D. การแปลผล X S.D. การแปลผล
11. การดูแลซ่อมแซมระบบไฟฟ้า น้ำ
ประปา สุขา ของวัด
4.08
0.64
มาก
2.38
1.12
น้อย
12. การกำหนดเขตของสงฆ์และ
ฆราวาสอย่างเหมาะสม
3.77
1.24
มาก
2.54
1.20
ปานกลาง
13. การจัดสิ่งแวดล้อมภายในวัดอย่าง
เป็นระบบและต่อเนื่อง
3.92
0.95
มาก
2.31
0.95
น้อย
รวม 3.95 0.81 มาก 2.42 0.99 น้อย
จากตารางที่ 5 พบว่า สภาพการบริหารงานของพระสังฆาธิการในวัดพัฒนาตัวอย่าง
มีการบริหารงานด้านอาคารเสนาสนะ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( X = 3.95) เมื่อพิจารณาเป็น
รายข้อ ปรากฏว่า การดูแลรักษาวิหารของวัดมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย สะอาด สวยงาม มั่นคง
แข็งแรง มีการบริหารงานอยู่ในระดับมากเป็นอันดับแรก ( X = 4.31) รองลงมา คือ การดูแลรักษา
กุฏิของวัดมีความเป็นระเบียบ เรียบร้อย สะอาด สวยงาม มั่นคงแข็งแรง ( X = 4.15) และการจัด
ทำป้ายชื่อ แผนผัง และประวัติวัดเป็นอับดับสุดท้าย ( X = 3.38)
ส่วนปัญหาการบริหารงานของพระสังฆาธิการในวัดพัฒนาตัวอย่าง มีปัญหาใน
การปฏิบัติงานด้านอาคารเสนาสนะ โดยรวมอยู่ในระดับระดับน้อย ( X = 2.42) เมื่อพิจารณาเป็น
รายข้อ ปรากฏว่า การดูแลรักษาวิหารของวัดมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย สะอาด สวยงาม มั่นคง
แข็งแรง, สิ่งปลูกสร้างอื่นๆ ของวัดมีความเป็นระเบียบ เรียบร้อย สะอาด สวยงาม มั่นคง
แข็งแรง, การดูแลรักษาเสนาสนะและสิ่งก่อสร้างในวัดได้ใช้ประโยชน์ อย่างคุ้มค่า
และการกำหนดเขตของสงฆ์และฆราวาสอย่างเหมาะสม มีปัญหาในการปฏิบัติงานมากเป็น
อันดับแรก ( X = 2.54) และการจัดทำป้ายชื่อ แผนผัง และประวัติวัด เป็นอันดับสุดท้าย
(X = 2.23)
65
ตารางที่ 6 แสดงค่าคะแนนเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของสภาพและปัญหาการบริหารงาน
ของพระสังฆาธิการในวัดพัฒนาตัวอย่างด้านการจัดกิจกรรมเพื่อชุมชน
การบริหารของพระสังฆาธิการ สภาพการบริหารงาน ปัญหาในการปฏิบัติงาน
ในวัดพัฒนาตัวอย่าง X S.D. การแปลผล X S.D. การแปลผล
1. การมีส่วนร่วมในการดำเนิน
งานจัดกิจกรรมของชุมชน
3.69
0.75
มาก
2.69
1.03
ปานกลาง
2. การจัดกิจกรรมทางพุทธศาสนา
แก่ประชาชน
3.85
0.90
มาก
2.31
0.85
น้อย
3. การให้ความสะดวกในการบำเพ็ญ
กุศลของประชาชน
4.00
0.91
มาก
2.38
0.87
น้อย
4. การจัดกิจกรรมด้านสาธารณูปโภค
ต่าง ๆ ให้ชุมชน
3.85
0.90
มาก
2.54
1.13
ปานกลาง
5. การจัดกิจกรรมสงเคราะห์คนชรา
และครอบครัวผู้ยากไร้ในชุมชน
3.46
0.78
ปานกลาง
2.62
0.77
ปานกลาง
6. การจัดกิจกรรมสงเคราะห์
ครอบครัวผู้ยากไร้ในชุมชน
2.85
0.55
ปานกลาง
2.31
0.85
น้อย
7. การจัดกิจกรรมส่งเสริมการศึกษา
ของชุมชน
3.54
1.20
มาก
2.46
1.20
น้อย
8. การจัดกิจกรรมส่งเสริมการอาชีพ
ของชุมชน
3.23
1.17
ปานกลาง
2.31
0.95
น้อย
9. การจัดกิจกรรมส่งเสริมอนุรักษ์
วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น
โบราณสถานและศิลปวัตถุ
ในชุมชน
3.69
1.32
มาก
2.31
1.18
น้อย
10. การจัดกิจกรรมของวัดให้
สอดคล้องกับความต้องการ
ของชุมชน
3.77
0.93
มาก
2.62
1.04
ปานกลาง
11. การช่วยเหลือชุมชนผู้ยากไร้ในการ
อุปสมบท
4.08
0.86
มาก
2.23
1.24
น้อย
66
ตารางที่ 6 (ต่อ)
การบริหารของพระสังฆาธิการ สภาพการบริหารงาน ปัญหาในการปฏิบัติงาน
ในวัดพัฒนาตัวอย่าง X S.D. การแปลผล X S.D. การแปลผล
12. การช่วยเหลือชุมชนผู้ยากไร้ใน
การฌาปนกิจศพญาติผู้เสียชีวิต
4.31
0.63
มาก
2.23
1.24
น้อย
13. การให้ชุมชนยืมอุปกรณ์
เครื่องใช้ในโอกาสต่าง ๆ
4.31
0.63
มาก
2.31
1.18
น้อย
14. การอนุญาตให้ชุมชนใช้สถานที่
ในวัดจัดกิจกรรมต่างๆ
4.46
0.52
มาก
2.15
1.41
น้อย
15. การจัดให้วัดเป็นศูนย์รวมของ
ชุมชนในท้องถิ่น
4.54
0.52
มาก
2.23
1.54
น้อย
รวม 3.84 0.84 มาก 2.38 1.10 น้อย
จากตารางที่ 6 พบว่า สภาพการบริหารงานของพระสังฆาธิการในวัดพัฒนาตัวอย่าง
มีการบริหารงานด้านการจัดกิจกรรมเพื่อชุมชน โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( X = 3.84)
เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ ปรากฏว่า การจัดให้วัดเป็นศูนย์รวมของชุมชนในท้องถิ่น
มีการบริหารงานอยู่ในระดับมากเป็นอันดับแรก ( X = 4.54) รองลงมา คือ การอนุญาตให้ชุมชน
ใช้สถานที่ในวัดจัดกิจกรรมต่างๆ ( X = 4.46) และการจัดกิจกรรมสงเคราะห์ครอบ ครัวผู้ยากไร้
ในชุมชนเป็นอันดับสุดท้าย ( X = 2.85)
ส่วนปัญหาการบริหารงานของพระสังฆาธิการในวัดพัฒนาตัวอย่าง มีปัญหา
ในการปฏิบัติงานด้านการจัดกิจกรรมเพื่อชุมชน โดยรวมอยู่ในระดับน้อย ( X = 2.38)
เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ ปรากฏว่า การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานจัดกิจกรรมของชุมชน
มีปัญหาในการปฏิบัติงานมากเป็นอันดับแรก ( X = 2.69) รองลงมา คือ การจัดกิจกรรมของวัด
ให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน ( X = 2.62) และการอนุญาตให้ชุมชนใช้สถานที่ใน
วัดจัดกิจกรรมต่างๆ เป็นอันดับสุดท้าย ( X = 2.15)
67
ตอนที่ 3 การศึกษาภาวะผู้นำของพระสังฆาธิการในวัดพัฒนาตัวอย่าง
จำแนกเป็นรายข้อ
ตารางที่ 7 แสดงค่าคะแนนเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของภาวะผู้นำของพระสังฆาธิการ
ในวัดพัฒนาตัวอย่าง
พระสังฆาธิการในวัดพัฒนาตัวอย่าง X S.D. การแปลผล ลำดับที่
1 เป็นผู้มีบารมี และมีความรู้ความสามารถ
เป็นที่ยอมรับ
3.92
0.76
มาก
10
2 มีความสามารถชักจูงและโน้มน้าวให้
บุคลากรในวัดและผู้เกี่ยวข้อง ปฏิบัติงานตาม
ที่ได้รับมอบหมายด้วยความเต็มใจ
4.00
0.71
มาก
7
3 มีความสามารถในการให้ชุมชนเข้ามามีส่วน
ร่วมในการพัฒนาวัด
4.23
0.73
มาก
3
4 มีความสามารถในการชี้นำ แนะนำ และ
เสนอแนะแนวทางการดำเนินงาน
3.85
0.90
มาก
16
5 มีความสามารถในการสร้างภาพอนาคตของ
วัดพัฒนาตัวอย่าง โดยใช้ข้อมูลและเหตุผล
ที่เหมาะสม
3.85
0.80
มาก
14
6 มีมนุษยสัมพันธ์สูง สามารถทำงานร่วมกับ
ผู้ใต้ปกครอง คนในชุมชนรวมทั้งหน่วยงาน
ราชการและเอกชนได้ดี
3.92
0.86
มาก
13
7 ความสามารถทำงานเป็นทีมหรือคณะ และ
ร่วมทำงานกับพระสังฆาธิการวัดอื่นได้ดี
2.92
0.87
ปานกลาง
17
68
ตารางที่ 7 (ต่อ)
พระสังฆาธิการในวัดพัฒนาตัวอย่าง X S.D. การแปลผล ลำดับที่
8 สามารถกระตุ้นให้ผู้ใต้ปกครอง ชุมชน เห็น
ความสำคัญ และมุ่งมั่นที่จะพัฒนาวัดร่วมกัน
3.92
0.76
มาก
11
9 มีความสามารถในการมองการณ์ไกล
สามารถคาดคะเนแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง
และปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง
3.85
0.80
มาก
15
10 มีความสามารถในการแก้ปัญหาและ
ข้อขัดแย้ง ที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติงาน
4.00
0.91
มาก
8
11 มีความสามารถในการกระจายอำนาจ และ
มอบหมายงานให้ผู้อื่นปฏิบัติได้
4.08
0.86
มาก
6
12 มีความสามารถในการประสานงาน
สร้างความร่วมมือและระดมสรรพกำลัง
ตลอดจนทรัพยากรมาใช้ในการพัฒนาวัด
4.17
0.83
มาก
4
13 มีความสามารถในเชิงความคิดริเริ่มพัฒนา
และปรับปรุงงาน ตลอดจนแสวงหาวิธีการ
ใหม่ๆ มาใช้ในการพัฒนาวัด
3.92
0.76
มาก
12
14 เป็นนักประชาธิปไตย ใจกว้างยอมรับฟัง
ความคิดเห็นของคนอื่น
4.00
0.91
มาก
9
15 มีความรอบรู้เกี่ยวกับท้องถิ่นที่วัดพัฒนา
ตัวอย่างตั้งอยู่เป็นอย่างดี
4.38
0.87
มาก
1
16 มีความอดทนต่อการแสดงความคิดเห็น
ของบุคคลอื่น
4.08
0.76
มาก
5
17 มีความรู้ความสามารถเกี่ยวกับการพัฒนาวัด
และเป็นผู้นำชุมชนร่วมมือกับวัดพัฒนา
4.31
0.75
มาก
2
รวม 3.96 0.81 มาก
จากตารางที่ 7 พบว่า พระสังฆาธิการในวัดพัฒนาตัวอย่างมีภาวะผู้นำ โดยรวมอยู่ใน
ระดับมาก ( X = 4.38) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ ปรากฏว่า ข้อที่พระสังฆาธิการในวัดพัฒนา
ตัวอย่างมีภาวะผู้นำอยู่ในระดับมาก คือ มีความรอบรู้เกี่ยวกับท้องถิ่นที่วัดพัฒนาตัวอย่างตั้งอยู่
69
เป็นอย่างดี อยู่ในระดับสูงสุดเป็นอันดับแรก ( X = 4.38) รองลงมา คือ มีความรู้ความสามารถ
เกี่ยวกับการพัฒนาวัดและเป็นผู้นำชุมชนร่วมมือกับวัดพัฒนา ( X = 4.31) และ มีความสามารถ
ในการให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาวัด (X = 4.23) ตามลำ ดับ ส่วนข้อที่
พระสังฆาธิการในวัดพัฒนาตัวอย่างมีภาวะผู้นำอยู่ในระดับต่ำสุด คือ ความสามารถทำงานเป็น
ทีมหรือคณะและร่วมทำงานกับพระสังฆาธิการวัดอื่นได้ดี ( X = 2.92) รองลงมา คือ มีความ
สามารถในการชี้นำ แนะนำ และเสนอแนะแนวทางการดำเนินงาน ( X = 3.85)
70
ตอนที่ 4 ปัญหาและข้อเสนอแนะในการดำเนินการของวัดพัฒนาตัวอย่าง
ตารางที่ 8 แสดงปัญหาและข้อเสนอแนะในการดำเนินงานของวัดพัฒนาตัวอย่าง
ด้านการจัดการปกครองภายในวัด
ปัญหาในการบริหารงาน จำนวน ข้อเสนอแนะ จำนวน
1. พระภิกษุสงฆ์ สามเณรใน
ปัจจุบันปกครองให้มีคุณภาพ
เป็นไปได้ยาก
49
1. ควรถวายความรู้ และส่งเสริม
ให้เจ้าอาวาสเข้าใจทางด้าน
การบริหารทั่วไป
39
2. เจ้าอาวาสสูงอายุ ทำให้การ
ปกครองแบบเก่า ไม่ทันยุคสมัย
32
2. จัดการศึกษาสงฆ์ให้ทั่วถึง 30
3. เจ้าอาวาสรุ่นใหม่ ยังขาด
ประสบการณ์ ในการพัฒนาวัด
28
3. ศึกษารูปแบบในการพัฒนา
วัดในด้านการจัดการ
29
4. การพัฒนาวัดส่วนใหญ่เน้นการ
พัฒนาวัตถุ ขาดการจัดกิจกรร
ที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน
25
4. จัดหลักสูตร การฝึกอบรมจัด
ประชุมสัมมนา ด้านการบริหาร
งานพระศาสนา
23
5. เจ้าอาวาสขาดขวัญกำลังใจ
เพราะไม่ได้รับการดูแลในเรื่อง
การเลื่อนชั้น เลื่อนตำแหน่ง
และเลื่อนสมณศักดิ์
19
5. ทางราชการควรจัดสรร
งบประมาณและวัสดุอุปกรณ์
ที่จะใช้ในการพัฒนาวัด
18
6. เจ้าอาวาสไม่ได้รับการอบรม
พัฒนาในเรื่องการบริหารการ
ปกครองอย่างทั่วถึง
13
6. รัฐให้การอุดหนุนวัดในการ
ปกครองและการบริหาร
จัดการให้มีคุณภาพ
9
7. ขาดแคลนพระสงฆ์ที่มีบทบาท
ในการพัฒนาวัด
11
7. ควรมีการจัดทำวัดให้เป็นวัด
พัฒนาแบบยั่งยืน
7
8. ขาดแคลนงบประมาณและวัสดุ
อุปกรณ์ในการบริหารจัดการ
9
จากตารางที่ 8 พบว่า พระสังฆาธิการในวัดพัฒนาตัวอย่างได้พบปัญหาการบริหาร
งานด้านการจัดการปกครองภายในวัด โดยปัญหาที่พบมากที่สุด คือ พระภิกษุสงฆ์ สามเณร ใน
71
ปัจจุบันปกครองให้มีคุณภาพเป็นไปได้ยาก สำหรับข้อเสนอแนะที่ได้รับคือ ควรถวายความรู้
และส่งเสริมให้เจ้าอาวาสเข้าใจทางด้านการบริหารทั่วไป
ตารางที่ 9 แสดงปัญหาและข้อเสนอแนะในการดำเนินงานของวัดพัฒนาตัวอย่าง
ด้านอาคารเสนาสนะ
ปัญหาในการบริหารงาน จำนวน ข้อเสนอแนะ จำนวน
1. ขาดงบประมาณในการก่อสร้าง
และการพัฒนาวัดเจ้าอาวาสต้อง
ช่วยเหลือตนเอง
50
1. ควรจัดสรรงบประมาณอุดหนุน
การพัฒนาวัดด้านอาคาร
เสนาสนะเพิ่มขึ้นและสอดคล้อง
กับเศรษฐกิจปัจจุบัน
48
2. สภาพวัดบางวัดเสื่อมโทรม และ
ต้องคอยทำนุบำรุงเสมอ
46
2. ควรมีแบบแปลนกุฏิต่างๆ ให้วัด
เพื่อมีต้นแบบที่ถูกต้องและ
เหมาะสมควร
42
3. ขาดแผนผังแบบแปลน
ที่ได้มาตรฐาน
38
3. มีกองทุนช่วยเหลือเมื่อวัด
ประสบภัย
40
4. เจ้าอาวาสไม่มีความรู้ด้านอาคาร
เสนาสนะที่ได้มาตรฐาน
37
4. ควรจัดอบรมถวายความรู้แก่
เจ้าอาวาสด้านการก่อสร้าง
ภายในวัด ระดับพื้นฐาน และ
ระดับกลาง
36
5. ขาดแรงงานในการพัฒนาและ
บำรุงรักษาอาคารเสนาสนะ
ภายในวัด
32
5. อาคารเสนาสนะในวัดพัฒนา
ควรจัดให้สะอาด ร่มรื่น
เป็นระเบียบ น่าเคารพ
29
6. บางวัดเน้นการพัฒนาอาคาร
สถานที่การก่อสร้างถาวรวัตถุ
มากเกินไป
23
7. เจ้าอาวาสหากสนใจเรื่องใด ก็จะ
สนับสนุนเรื่องนั้น เช่น สนใจ
อาคารเสนาสนะแปลกๆ ก็จะจัด
ทำ ขาดการวางแผนที่เหมาะสม
ไม่มีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง
15
72
จากตารางที่ 9 พบว่า พระสังฆาธิการในวัดพัฒนาตัวอย่างได้พบปัญหาใน
การบริหารงานด้านอาคารเสนาสนะ โดยปัญหาที่พบมาก คือ ขาดงบประมาณในการก่อสร้างและ
การพัฒนาวัดเจ้าอาวาสต้องช่วยเหลือตนเอง สำหรับข้อเสนอแนะที่ได้รับคือ ควรจัดสรรงบ
ประมาณอุดหนุนการพัฒนาวัดด้านอาคารเสนาสนะเพิ่มขึ้นและ สอดคล้องกับเศรษฐกิจปัจจุบัน
73
ตารางที่ 10 ปัญหาและข้อเสนอแนะในการดำเนินงานของวัดพัฒนาตัวอย่าง
ด้านการจัดกิจกรรมเพื่อชุมชน
ปัญหาในการบริหารงาน จำนวน ข้อเสนอแนะ จำนวน
1. ประชาชนไม่มีเวลาในการจัด
กิจกรรมระหว่างวัดและชุมชน
60
1. ควรมีการจัดกิจกรรมที่
สร้างสรรค์ระหว่างวัดและชุมชน
54
2. งบประมาณที่ใช้ในการจัด
กิจกรรมไม่มี วัดต้องหาเอง
จึงจัดได้ไม่ดีเท่าที่ควร
56
2. วัดควรเป็นศูนย์กลางให้
ความช่วยเหลือประชาชน
ในชุมชนเมื่อยามเดือดร้อน
51
3. ขาดผู้นำชุมชนที่จะชักชวน
ประชาชนพัฒนาวัด
44
3. รัฐควรจัดสรรงบประมาณด้าน
การจัดกิจกรรมเพื่อชุมชน
ระหว่างวัด โรงเรียนและชุมชน
ให้มากขึ้น
46
4. วัดไม่มีกิจกรรมที่จะทำให้
ประชาชนสนใจ และมีพระสงฆ์
น้อยไม่สามารถปฏิบัติกิจสงฆ์
ได้ครบถ้วน
37
4. วัดควรให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการ
พัฒนาวัดทุกด้าน
42
5. การจัดกิจกรรมเพื่อชุมชนบางวัด
ขาดความร่วมมือจากชุมชน
26
5. ควรมีการประชาสัมพันธ์
กิจกรรมการพระศาสนาให้
มากขึ้น
38
6. เจ้าอาวาสบางรูปขาดความ
สนใจในงานช่วยเหลือเกื้อกูล
ประชาชน
23
6. บ้าน วัด โรงเรียนและหน่วยงาน
ราชการ ที่เกี่ยวข้อง ควรมีการ
วางแผนและประสานความร่วม
มือในการพัฒนาวัดในชุมชน
27
7. วัดมีความขาดแคลน จึงไม่
สามารถจัดกิจกรรมเพื่อ
ชุมชนได้
20
7. วัดควรจัดกิจกรรมและเชิญชวน
ให้ชุมชนเข้าวัดมากขึ้น
17
8. ขาดความร่วมมือจากหน่วยงาน
ราชการ/เอกชน โดยจะเลือก
พัฒนาเฉพาะบางวัดเท่านั้น
18
8. จัดโครงการวัดละหนึ่งตำบล 15
74
ตารางที่ 10 (ต่อ)
ปัญหาในการบริหารงาน จำนวน ข้อเสนอแนะ จำนวน
9. ขาดการประสานงานระหว่างวัด
ผู้นำชุมชน กับสถานศึกษาทำให้
ขาดการวางแผนในการจัด
กิจกรรมเพื่อชุมชน
15
จากตารางที่ 10 พบว่า พระสังฆาธิการในวัดพัฒนาตัวอย่างได้พบปัญหาใน
การบริหารงาน ด้านการจัดกิจกรรมเพื่อชุมชน โดยปัญหาที่พบมาก คือ ประชาชนไม่มีเวลาในการจัด
กิจกรรมระหว่างวัดและชุมชน สำหรับข้อเสนอแนะที่ได้รับคือ ควรมีการจัดกิจกรรมที่สร้างสรรค์
ระหว่างวัดและชุมชน
บทที่ 5
สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
การวิจัยในครั้งนี้เป็นการศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงาน ของพระสังฆาธิการใน
วัดพัฒนาตัวอย่าง ผู้วิจัยได้ดำเนินการสรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ ดังนี้
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานของพระสังฆาธิการในวัดพัฒนาตัวอย่าง
2. เพื่อศึกษาภาวะผู้นำของพระสังฆาธิการในวัดพัฒนาตัวอย่าง
3. เพื่อประมวลปัญหาและข้อเสนอแนะในการดำเนินการของวัดพัฒนาตัวอย่าง
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ พระสังฆาธิการในวัดที่ได้รับการยกฐานะเป็นวัดพัฒนา
ตัวอย่างทั่วประเทศ ระหว่างปี พ.ศ. 2507 ถึง พ.ศ. 2545 จำนวน 1,402 รูป
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ พระสังฆาธิการในวัดที่ได้รับการยกฐานะ
เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างทั่วประเทศ ระหว่างปี พ.ศ. 2507 ถึง พ.ศ. 2545 ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่าง
แบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) ตามเขตปกครองคณะสงฆ์ 18 เขต โดยกำหนดขนาด
ของกลุ่มตัวอย่างจากตารางสำเร็จรูปของเครซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan, 1970 : 608)
ทำให้ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 302 รูป
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพและปัญหา
การบริหารงานของพระสังฆาธิการในวัดพัฒนาตัวอย่าง ตามหลักเกณฑ์และแนวทางการพิจารณา
คัดเลือกวัดพัฒนาตัวอย่าง 3 ด้าน คือ ด้านการจัดการปกครองภายในวัด ด้านอาคารเสนาสนะ
และด้านการจัดกิจกรรมเพื่อชุมชน ปัญหาและข้อเสนอแนะในการดำเนินการของวัดพัฒนา
ตัวอย่าง และแบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำ ซึ่งผู้วิจัยได้สร้างเครื่องมือขึ้น โดยแบ่งเป็น
แบบสอบถาม 4 ตอน ดังต่อไปนี้
76
ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม มีลักษณะ
เป็นแบบเลือกตอบ (Check List) สอบถามเกี่ยวกับ อายุ วุฒิการศึกษาทางโลก ระยะเวลาที่ได้รับ
การแต่งตั้งเป็นพระสังฆาธิการ และระยะเวลาที่วัดได้รับการยกฐานะเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง
ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพและปัญหาการบริหารงานของ
พระสังฆาธิการในวัดพัฒนาตัวอย่าง มีลักษณะเป็นแบบมาตรประมาณค่า (Rating Scale) โดยแบ่ง
ระดับการบริหารงานและระดับปัญหาการปฏิบัติงาน ตามความเห็นของพระสังฆาธิการออกเป็น 5
ระดับ คือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด ซึ่งมีเกณฑ์การให้คะแนนแต่ละระดับ
ดังนี้
ตอนที่ 3 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำของพระสังฆาธิการในวัดพัฒนาตัวอย่าง
มีลักษณะเป็นแบบมาตรประมาณค่า โดยแบ่งระดับความเห็นของพระสังฆาธิการออกเป็น 5
ระดับ คือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด ดังนี้
ตอนที่ 4 เป็นแบบสอบถามปลายเปิด (Open-Ended Questionnaire) เพื่อแสดง
ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาและข้อเสนอแนะในการดำเนินการของวัดพัฒนาตัวอย่าง
การเก็บรวบรวมข้อมูล
ผู้วิจัยส่งแบบสอบถามเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างด้วยตนเองระหว่างเดือน
ธันวาคม 2545 - กุมภาพันธ์ 2546 ให้กับวัดพัฒนาตัวอย่างในเขตการปกครองคณะสงฆ์ ภาค 1
และส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ สำหรับวัดพัฒนาตัวอย่างที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง เขตการปกครอง
คณะสงฆ์ ภาค 2 - ภาค 18 เพื่อขอความอนุเคราะห์ให้พระสังฆาธิการในวัดพัฒนาตัวอย่าง
ตอบแบบสอบถาม แล้วส่งคืนทางไปรษณีย์ โดยผู้วิจัยได้ส่งซองที่จ่าหน้าซอง มีแสตมป์ไป
พร้อมกับแบบสอบถาม และกำหนดให้ส่งแบบสอบคืนภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2546
จำนวน 302 ฉบับ ได้รับแบบสอบถามกลับคืนทั้งสิ้น 302 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100
การวิเคราะห์ข้อมูล
ผู้วิจัยดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูปช่วยใน
เพื่อวิเคราะห์หาค่าสถิติ ดังนี้
1. ข้อมูลสถานภาพของตอบแบบสอบถาม โดยหาค่าความถี่ (Frequency) และ
ค่าร้อยละ (Parentage)
2. ข้อมูลสภาพและปัญหาการบริหารงาน ข้อมูลภาวะผู้นำของพระสังฆาธิการในวัด
พัฒนาตัวอย่าง โดยหาค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
77
3. ข้อมูลปัญหาและข้อเสนอแนะในการดำเนินการของวัดพัฒนาตัวอย่าง โดยหา
ค่าความถี่ (Frequency)
สรุปผล
จากผลการศึกษาวิจัย เกี่ยวกับสภาพและปัญหาในการบริหารงานของพระสังฆาธิการ
ในวัดพัฒนาตัวอย่าง สรุปผลได้ดังนี้
1. ผลการศึกษากลุ่มตัวอย่าง จำแนกตามข้อมูลภูมิหลัง พบว่า พระสังฆาธิการในวัด
พัฒนาตัวอย่างที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่มีอายุมากกว่า 60 ปี ขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 46.38
มีวุฒิการศึกษาทางโลกในระดับประถมศึกษา คิดเป็นร้อยละ 53.64 โดยระยะเวลาที่ได้รับ
การแต่งตั้งเป็นพระสังฆาธิการมาแล้ว 5 - 10 ปี คิดเป็นร้อยละ 44.04 และระยะเวลาที่วัดได้รับ
การยกฐานะเป็นวัดพัฒนาตัวอย่างมาแล้ว 5 - 10 ปี คิดเป็นร้อยละ 61.59
2. ผลการศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานของพระสังฆาธิการในวัดพัฒนา
ตัวอย่าง พบว่า
2.1 สภาพการบริหารงานของพระสังฆาธิการในวัดพัฒนาตัวอย่าง โดยภาพรวม
และรายด้านมีสภาพการบริหารงานอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับสภาพการบริหารงาน
จากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านอาคารเสนาสนะ ด้านการจัดกิจกรรมเพื่อชุมชน และด้านการจัด
การปกครองภายในวัด
เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อตามสภาพการบริหารงานของพระสังฆาธิการในวัด
พัฒนาตัวอย่างในแต่ละด้านพบว่า
2.1.1 ด้านการจัดการปกครองภายในวัด พระสังฆาธิการในวัดพัฒนาตัวอย่าง
มีสภาพการบริหารงานน้อยทุกข้อคือ การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารจัดการวัด และมี
สภาพการบริหารงานมาก 2 ข้อ คือ (1) การทำนุบำรุงรักษาวัด (2) การจัดกิจการและ
ศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปด้วยดี
2.1.2 ด้านอาคารเสนาสนะ พระสังฆาธิการในวัดพัฒนาตัวอย่าง มีสภาพ
การบริหารงานน้อย 1 ข้อ คือ การจัดทำป้ายชื่อ แผนผัง และประวัติวัด และมีสภาพการบริหาร
งานมาก 2 ข้อ คือ (1) การดูแลรักษาวิหารของวัดมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย สะอาด สวยงาม
มั่นคงแข็งแรง (2) การดูแลรักษากุฏิของวัดมีความเป็นระเบียบ เรียบร้อย สะอาด สวยงาม มั่นคง
แข็งแรง
2.1.3 ด้านการจัดกิจกรรมเพื่อชุมชน พระสังฆาธิการในวัดพัฒนาตัวอย่าง
มีสภาพการบริหารงานน้อยกว่าทุกข้อ คือ การจัดกิจกรรมสงเคราะห์ครอบครัวผู้ยากไร้ในชุมชน
78
และมีสภาพการบริหารงานมาก 2 ข้อ คือ (1) การจัดให้วัดเป็นศูนย์รวมของชุมชนในท้องถิ่น
(2) การอนุญาตให้ชุมชนใช้สถานที่ในวัดจัดกิจกรรมต่างๆ
2.2 ปัญหาการบริหารงานของพระสังฆาธิการในวัดพัฒนาตัวอย่าง โดยภาพรวม
และรายด้าน มีปัญหาการบริหารงานอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน โดยเรียงลำดับปัญหา
การบริหารงานจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านการจัดการปกครองภายในวัด ด้านอาคาร
เสนาสนะ และด้านการจัดกิจกรรมเพื่อชุมชน
2.2.1 ด้านการจัดการปกครองภายในวัด พระสังฆาธิการในวัดพัฒนาตัวอย่าง
มีปัญหาการบริหารงานมากอยู่ 3 ข้อแรก คือ (1) การจัดสวัสดิการและสงเคราะห์บรรพชิตและ
คฤหัสถ์ภายในวัด (2) การทำนุบำรุงรักษาวัด และ (3) การดำเนินงานตามภารกิจด้าน
การปกครองวัด
2.2.2 ด้านอาคารเสนาสนะ พระสังฆาธิการในวัดพัฒนาตัวอย่าง มีปัญหา
การบริหารงานมากอยู่ 4 ข้อแรก คือ (1) การดูแลรักษาวิหารของวัดมีความเป็นระเบียบ
เรียบร้อย สะอาด สวยงาม มั่นคงแข็งแรง (2) สิ่งปลูกสร้างอื่นๆ ของวัดมีความเป็นระเบียบ
สะอาด สวยงาม มั่นคง แข็งแรง (3) การดูแลรักษาเสนาสนะและสิ่งก่อสร้างในวัดได้ใช้
ประโยชน์ อย่างคุ้มค่า และ(4) การกำหนดเขตของสงฆ์และฆราวาสอย่างเหมาะสม
2.2.3 ด้านการจัดกิจกรรมเพื่อชุมชน พระสังฆาธิการในวัดพัฒนาตัวอย่าง
มีปัญหาการบริหารงานมากอยู่ 4 ข้อแรก คือ (1) การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานจัดกิจกรรม
ของชุมชน (2) การจัดกิจกรรมสงเคราะห์คนชราและครอบครัวผู้ยากไร้ในชุมชน (3) การจัด
กิจกรรมของวัดให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน และ (4) การจัดกิจกรรมด้าน
สาธารณูปโภคต่างๆ ให้ชุมชน
3. ผลการศึกษาภาวะผู้นำของพระสังฆาธิการในวัดพัฒนาตัวอย่าง พบว่า
ภาวะผู้นำโดยรวมของพระสังฆาธิการในวัดพัฒนาตัวอย่าง อยู่ในระดับมากทุกข้อ ยกเว้น ความ
สามารถทำงานเป็นทีมหรือคณะ และร่วมทำงานกับพระสังฆาธิการวัดอื่นได้ดี มีภาวะผู้นำอยู่ใน
ระดับปานกลาง โดยข้อที่มีภาวะผู้นำอยู่ในระดับมาก 3 ข้อแรก คือ (1) มีความรอบรู้เกี่ยวกับ
ท้องถิ่นที่วัดพัฒนาตัวอย่างตั้งอยู่เป็นอย่างดี (2) มีความรู้ความสามารถเกี่ยวกับการพัฒนาวัดและ
เป็นผู้นำชุมชนร่วมมือกับวัดพัฒนา และ (3) มีความสามารถในการให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมใน
การพัฒนาวัด
4. ผลการศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะในการดำเนินงานของวัดพัฒนาตัวอย่าง
โดยจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า
79
4.1 ด้านการจัดการปกครองภายในวัด ปัญหาที่พบว่ามาก คือ พระภิกษุสงฆ์
สามเณร ในปัจจุบันปกครองให้มีคุณภาพเป็นไปได้ยาก สำหรับข้อเสนอแนะที่ได้รับคือ
ควรถวายความรู้ และส่งเสริมให้เจ้าอาวาสเข้าใจทางด้านการบริหารทั่วไป
4.2 ด้านอาคารเสนาสนะปัญหาที่พบมาก คือ ขาดงบประมาณในการก่อสร้าง
และการพัฒนาวัดเจ้าอาวาสต้องช่วยเหลือตนเอง สำหรับข้อเสนอแนะที่ได้รับคือ ควรจัดสรร
งบประมาณอุดหนุนการพัฒนาวัดด้านอาคารเสนาสนะเพิ่มขึ้นและ สอดคล้องกับเศรษฐกิจปัจจุบัน
4.3 ด้านการจัดกิจกรรมเพื่อชุมชน ปัญหาที่พบมาก คือ ประชาชนไม่มีเวลาใน
การจัดกิจกรรมระหว่างวัดและชุมชน สำหรับข้อเสนอแนะที่ได้รับคือ ควรมีการจัดกิจกรรม
ที่สร้างสรรค์ระหว่างวัดและชุมชน
อภิปรายผล
1. จากการศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานของพระสังฆาธิการในวัดพัฒนา
ตัวอย่าง พบประเด็นที่สำคัญดังนี้
1.1 จากการศึกษาสภาพการบริหารงานของพระสังฆาธิการในวัดพัฒนาตัวอย่าง
ด้านสภาพการบริหารงาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า
ด้านอาคารเสนาสนะอยู่ในระดับสูงกว่าด้านอื่นๆ
จากผลการวิจัยดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า สภาพการบริหารงานของ
พระสังฆาธิการในวัดพัฒนาตัวอย่างจะให้ความสำคัญกับเรื่องอาคารเสนาสนะ อาจเนื่องมาจาก
ด้านอาคารเสนาสนะเป็นจุดเน้นของวัดพัฒนาที่สามารถเห็นได้เป็นรูปธรรม โดยเฉพาะ
ในปัจจุบันการพัฒนาวัดด้านอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้วัดได้เอื้อประโยชน์ตามภารกิจ
ของวัดในด้านอื่นๆ ด้านการศึกษา และการเผยแผ่ธรรมะ การจัดที่วัดแบ่งเขตเป็นพุทธาวาส
สังฆาวาส และเขตกัมมัฐาน ที่พอเหมาะและพอควรแก่จำนวนพระเณรภายในวัด ตลอดจน
การเอื้อประโยชน์ต่อการบำเพ็ญกุศลของศาสนิกชน เพื่อรองรับความต้องการและศรัทธาของ
ประชาชน เพื่อสนับสนุนภารกิจและกิจกรรมของวัดอย่างพอเพียงข้อค้นพบนี้ ซึ่งแตกต่างกับ
งานวิจัยของพรเลิศ อ่วมพ่วง (2539 : บทคัดย่อ) ที่ได้ทำศึกษาวิจัยไว้ในเรื่อง การประเมิน
เกณฑ์มาตรฐานในการจัดตั้งวัด โดยผลการวิจัยพบว่า ข้อมูลจากการสัมภาษณ์นักวิชาการ
ผู้บริหาร และผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านพุทธศาสนา ได้ให้ความคิดเห็นว่าในปัจจุบันมีวัดจำนวนมาก
เพียงพอแล้ว แต่ในบางพื้นที่หรือบางชุมชน โดยเฉพาะชุมชนที่เกิดขึ้นใหม่ ก็ยังมีความจำเป็นที่
จะต้องสร้างวัดขึ้น ซึ่งต้องพิจารณาเป็นกรณีๆ ไป ส่วนในด้านลักษณะการสร้างวัดในปัจจุบันนั้น
ยังคงเน้นที่ความใหญ่โต หรือความสวยงามเกินความจำเป็น ในด้านของการปฏิบัติภารกิจของ
80
พระภิกษุนั้น แม้ส่วนใหญ่จะอยู่ในเกณฑ์ที่ดีพอควร แต่ก็มีวัดบางส่วนที่มีการปฏิบัติตนที่ด้อย
คุณภาพ กระทำผิดวินัย
ส่วนปัญหาการบริหารงานของพระสังฆาธิการในวัดพัฒนาตัวอย่าง โดยภาพ
รวมมีปัญหาการบริหารงานอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า
ด้านการจัดการปกครองภายในวัดมีปัญหามากกว่าทุกด้าน ผลการวิจัยที่พบในครั้งนี้สอดคล้องกับ
ผลการวิจัยของ ธีรวุฒิ ทองโอษฐ์ (2544 : บทคัดย่อ) ซึ่งได้ศึกษาไว้ในเรื่อง การศึกษาการปฏิบัติ
ศาสนกิจของเจ้าอาวาสในการจังหวัดร้อยเอ็ด และพบว่า ปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติศาสนกิจ
ของเจ้าอาวาสในจังหวัดร้อยเอ็ด ด้านที่มีปัญหาอุปสรรค ในการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง
ได้แก่ ด้านการปกครอง ซึ่งอาจเนื่องมาจากการปกครองคณะสงฆ์ในอดีตเป็นการปกครอง
ตามพระธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้เพื่อเป็นหลักปฏิบัติของพระสงฆ์ และเป็นการอยู่
ร่วมกันอย่างปกติ เป็นที่ศรัทธาของประชาชนและส่งเสริมการปฏิบัติของสงฆ์ เมื่อมีการศึกษา
ก็มีการปกครองไปในตัว ดังนั้นความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าอาวาสกับพระภิกษุสามเณรจึงเป็นแบบ
ครูอาจารย์กับศิษย์ มีความหมายลึกซึ้งยิ่งใหญ่ แต่การปกครองคณะสงฆ์ในปัจจุบันได้เอาแบบอย่าง
ทางโลก เจ้าอาวาสมีฐานะเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาพระภิกษุสามเณร จึงไม่มีฐานเป็นครู
อาจารย์ผู้ให้ความรู้แก่ศิษย์ ไม่ได้ทำหน้าที่ให้การศึกษาอบรมสั่งสอนแก่ศิษย์อีกต่อไป จึงทำให้
การปกครองเป็นไปได้ยาก ความประพฤติเสื่อมเสียก็ปรากฏทั่วไป ความเสื่อมโทรมก็เกิด
แก่พระศาสนา (พระเทพเวที, 2531 : 41-44)
2. จากการศึกษาภาวะผู้นำของพระสังฆาธิการในวัดพัฒนาตัวอย่าง พบว่า ภาวะผู้นำ
โดยรวมของพระสังฆาธิการในวัดพัฒนาตัวอย่าง อยู่ในระดับมาก โดยผลการวิจัยที่พบในครั้งนี้
สอดคล้องกับผลการวิจัยของ กรมการศาสนา (2540 : บทคัดย่อ) ซึ่งได้ศึกษาวิจัยไว้ในเรื่อง
ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของเจ้าอาวาสในการพัฒนาวัดให้เป็นศูนย์กลางชุมชน และพบว่า
บุคลิกภาพและภาวะผู้นำ ของเจ้าอาวาสวัดพัฒนาตัวอย่างอยู่ในระดับสูงหรือมาก และบุญศรี
พานะจิตต์ และศรีนวล ลัภกิตโร (2545 : บทคัดย่อ) ซึ่งได้วิจัยเรื่อง ความสำเร็จในการปฏิบัติ
ภารกิจของวัด : ศึกษาเฉพาะกรณีวัดชลประทานรังสฤษฎ์ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ได้
พบว่าเจ้าอาวาสมีภาวะผู้นำสูงทั้งทางธรรมและทางโลก ซึ่งผลการวิจัยดังกล่าวข้างต้น อธิบายได้ว่า
2.1 ภาวะผู้นำของพระสังฆาธิการในวัดพัฒนาตัวอย่าง อาจเกิดขึ้นความสามารถ
พิเศษเฉพาะตัว และบุคลิกภาพส่วนตัวเป็นสำคัญ โดยภาวะผู้นำของพระสังฆาธิการนั้นเกิดจาก
การที่ได้ปฏิบัติตามหลักธรรมของพุทธศาสนาที่ยึดเป็นหลักปฏิบัติ เช่น มีความเมตตา กรุณา
อุเบกขา วิริยะ อุตสาหะ ฉันทะ ฯลฯ ความมีมนุษยสัมพันธ์ สติปัญญา มีความรับผิดชอบสูง
เสียสละ ยุติธรรม เป็นต้น นอกจากนี้ ภาวะผู้นำของพระสังฆาธิการที่มีอยู่และสร้างขึ้นจาก
81
การประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมวินัยในระยะเวลาอันยาวนาน เป็นที่ยอมรับของชนทั่วไปใน
ด้านความเป็นพระผู้ใหญ่ บารมี ความโอบอ้อมอารี สุขุมและความตั้งใจในการทำงานพัฒนาวัด
2.2 พระสังฆาธิการในวัดพัฒนาตัวอย่าง มีความสามารถในการบริหารซึ่งสอดคล้อง
กับหลักการและทฤษฎีการบริหารองค์กรทั่วไป คือ การจัดองค์กร การจัดบุคลากร การบริหารงาน
บุคคล การบริหารงานการเงิน การพัฒนาอาคารสถานที่ การสั่งการและการควบคุมงาน
การวางแผน และมีการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน ซึ่งสอดคล้องกับ พระมหาเสริมชัย ชยมังคโล
(2541 : 15 - 136) ได้ศึกษาว่า ตามพระธรรมวินัย เจ้าอาวาสมีหน้าที่ในการบริหารอยู่ 2 อย่าง
คือ การบริหารตน และการบริหารหมู่คณะ การบริหารตน หมายถึง การคุ้มครอง รักษา
ความประพฤติปฏิบัติของตนทางไตรทวาร คือ ทางกาย วาจา และใจ ตามพระธรรมวินัยให้งดงาม
พร้อมด้วยศีลาจารวัตรให้สงบ เรียบร้อยดี ไม่มีโทษ และให้พ้นจากอำนาจของกิเลส อวิชชา ตัณหา
อุปาทาน ส่วนการบริหารหมู่คณะ คือ การปกครองดูแล ตลอดจนแนะนำสั่งสอน อบรมพระภิกษุ
สามเณรและคฤหัสถ์ที่อยู่หรือพำนักอยู่ในวัดให้ประพฤติในพระธรรมวินัยด้วยหลักไตรสิกขา
คือ ศีลสิกขา การอบรมความประพฤติ จิตสิกขา และปัญญาสิกขา
2.3 อย่างไรก็ดีถึงแม้ว่าภาวะผู้นำโดยรวมของพระสังฆาธิการในวัดพัฒนาตัวอย่าง
อยู่ในระดับมาก แต่เมื่อพิจารณาเป็นข้อ พบว่าโดยข้อที่มีภาวะผู้นำอยู่ในระดับมาก 2 ข้อแรก คือ
(1) มีความรอบรู้เกี่ยวกับท้องถิ่นที่วัดพัฒนาตัวอย่างตั้งอยู่เป็นอย่างดี (2) มีความรู้ความสามารถ
เกี่ยวกับการพัฒนาวัดและเป็นผู้นำชุมชนร่วมมือกับวัดพัฒนา โดยจะเห็นได้ว่าใน
การสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือ การมีส่วนร่วมกันกับชุมชนเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งจะเกิดจาก
การร่วมมือกันทำงาน ความใกล้ชิดกับชุมชน การทำกิจกรรมทางศาสนาร่วมกันโดยผลการวิจัยที่
พบในครั้งนี้ สอดคล้องกับผลการวิจัยของธีรวุฒิ ทองโอษฐ์ (2544 : บทคัดย่อ) ซึ่ง ได้ทำการศึกษา
การปฏิบัติศาสนกิจของเจ้าอาวาสในจังหวัดร้อยเอ็ด โดยพบว่า เจ้าอาวาสจะแต่งตั้งบุคคลที่มี
ภูมิลำเนาอยู่ในชุมชนที่วัดตั้งอยู่ และเป็นบุคคลที่เจ้าอาวาสไว้วางใจ เป็นไวยาวัจกรของวัด
ซึ่งมีหน้าที่ดูแลผลประโยชน์ของวัด ตลอดจนเจ้าอาวาสที่มีมนุษยสัมพันธ ์ มกี ารประสานงาน
กับประชาชน ชุมชน รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาวัดได้เป็นอย่างดี ดังนั้น
พระสังฆาธิการในวัดพัฒนาตัวอย่างควรจะให้ความสำคัญกับชุมชนและท้องถิ่นที่วัดตั้งอยู่ด้วย
82
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอเสนอแนะสำหรับวัดโดยทั่วไป
1.1 ด้านการจัดการปกครองภายในวัด ควรจัดสวัสดิการและสงเคราะห์บรรพชิต
และคฤหัสถ์ภายในวัด ควรให้การทำนุบำรุงรักษาวัด และควรดำเนินงานตามภารกิจ
ด้านการปกครองวัดให้ชัดเจน
1.2 ด้านอาคารเสนาสนะ ควรให้การดูแลรักษาวิหารของวัดให้มีความเป็นระเบียบ
เรียบร้อย สะอาด สวยงาม มั่นคงแข็งแรง ควรสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ ของวัดมีความเป็นระเบียบ
เรียบร้อย สะอาด สวยงาม มั่นคง แข็งแรง นอกจากนี้ยังควรมีการดูแลรักษาเสนาสนะและ
สิ่งก่อสร้างในวัดได้ใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า และควรการกำหนดเขตของสงฆ์และฆราวาส
อย่างเหมาะสม
1.3 ด้านการจัดกิจกรรมเพื่อชุมชน ควรมีการจัดกิจกรรมที่สร้างสรรค์ระหว่าง
วัดและชุมชน
2. ข้อเสนอเสนอแนะสำหรับกรมการศาสนา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
2.1 ด้านการจัดการปกครองภายในวัด ควรถวายความรู้ และส่งเสริมให้เจ้าอาวาส
เข้าใจทางด้านการบริหารทั่วไป
2.2 ด้านอาคารเสนาสนะ ควรจัดสรรงบประมาณอุดหนุนการพัฒนาวัดด้านอาคาร
เสนาสนะเพิ่มขึ้นและสอดคล้องกับเศรษฐกิจปัจจุบัน
2.3 ด้านการจัดกิจกรรมเพื่อชุมชน ควรกำหนดเป็นนโยบายสำหรับการมีส่วนร่วม
พัฒนาวัดในรูปแบบต่างๆ เพื่อส่งเสริมให้เป็นวัดของชุมชนและท้องถิ่น
3. ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยต่อไป
3.1 ควรจะมีการศึกษาถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมในการบริหารวัดพัฒนา
ตัวอย่างของพระสังฆาธิการว่ามีปัจจัยใดบ้าง
3.2 ควรศึกษาถึงรูปแบบ วิธีการ ในการที่จะให้วัดพัฒนาตัวอย่างเข้ามามีส่วนร่วมให้
ชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืน เพื่อพัฒนาระบบสังคมไทย
3.3 ควรมีการศึกษาวิจัยในเชิงคุณภาพกับวัดพัฒนาตัวอย่าง
3.4 ควรมีการศึกษาวิจัยเพื่อหารูปแบบในการดำเนินงานวัดพัฒนาตัวอย่าง
ที่เหมาะสมกับยุคโลกาภิวัตน์
บรรณานุกรม
กรมการศาสนา. (2535). วินัยบัญญัตินักธรรมชั้นตรี. กรุงเทพฯ : ฝ่ายวิชาการ กองศาสนาศึกษา
โรงพิมพ์การศาสนา.
________. (2540). ก. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของเจ้าอาวาสในการพัฒนาวัด
ให้เป็นศูนย์กลางชุมชน. กรุงเทพฯ : กองแผนงาน โรงพิมพ์การศาสนา.
________. (2540). ข. คู่มือวิทยากรอบรมพระสังฆาธิการระดับเจ้าอาวาส. กรุงเทพฯ :
กองแผนงาน โรงพิมพ์การศาสนา.
________. (2541). ก. รายงานวิจัยแนวทางการพัฒนาพระสังฆาธิการ. กรุงเทพฯ :
โรงพิมพ์การศาสนา.
________. (2541). ข. คู่มือการปฏิบัติงานด้านศาสนา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา.
________. (2541). ค. วัดพัฒนาปี 42 กองพุทธศาสนสถาน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา.
________. (2542). ก. คู่มือพระสังฆาธิการว่าด้วยพระราชบัญญัติ กฎ ระเบียบ และคำสั่ง
ของคณะสงฆ์. กรุงเทพฯ : กองแผนงาน.
________. (2542). ข. คู่มือการบริหารและการจัดการวัดฉบับย่อ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์
การศาสนา.
________. (2543). วัดพัฒนา ’ 43 กองพุทธศาสนสถาน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา.
________. (2545). คู่มือการดำเนินงานวัดพัฒนาตัวอย่าง. กรุงเทพฯ : กองพุทธศาสนสถาน.
________. (2526). การบริหาร. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.
คณะสงฆ์ ภาค 9. (2540). คู่มือพระสังฆาธิการ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา.
ชาญชัย อาจิณสมาจาร. (2527). การบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา.
ชำเลือง วุฒิจันทร์. (2526) การพัฒนากิจการคณะสงฆ์และการพระศาสนาเพื่อความมั่นคง
แห่งชาติ. กรุงเทพฯ : วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.
ทองใบ สุดชารี. (2543). ภาวะผู้นำและการจูงใจ. เอกสารคำสอนรายวิชา อุบลราชธานี :
คณะวิทยาการจัดการ สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.
ทิพวรรณ ยุทธโยธิน. (2525). การบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ : จูจีนไทย.
ธีรวุฒิ ทองโอษฐ์. (2544). การศึกษาการปฏิบัติศาสนกิจของเจ้าอาวาสในจังหวัดร้อยเอ็ด.
วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต บริหารการศึกษา
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
นพพงษ์ บุญจิตราดุลย์. (2534). หลักการบริหารการศึกษา กรุงเทพฯ : ศูนย์การพิมพ์กรุงเทพฯ.
84
บุญศรี พานะจิตต์ และศรีนวล ลัภกิตโร. (2545). ความสำเร็จในการปฏิบัติภารกิจของวัด : ศึกษา
เฉพาะกรณีวัดชลประทานรังสฤษฎ์ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี.
ทุนอุดหนุนการวิจัยของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. กรุงเทพฯ :
โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประคอง กรรณสูตร. (2540). สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ :
โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พนม พงษ์ไพบูลย์. (2538). จารึกไว้ในพระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา.
พรนพ พุกกะพันธุ์. (2542). ภาวะความเป็นผู้นำ. กรุงเทพฯ : จามจุรีโปรดักท์.
พรประภา กิจโกศล. (2534). บทบาทและผลได้ต่อการพัฒนาชนบทของพระสงฆ์ :
ศึกษาเฉพาะกรณีบ้านโนนเมือง อำเภอขามสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมา.
รายงานการวจิ ยั สถาบันวิจัยพุทธศาสตร ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พรเลศิ อว่ มพว่ ง. (2539). ประเมินเกณฑ์มาตรฐานในการจัดตั้งวดั . ทนุ อดุ หนนุ การวจิ ยั ของ
กรมการศาสนา. เอกสารอัดสำเนา.
พระเทพปริยัติสุธี. (2540) การคณะสงฆ์และการพระศาสนา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระเทพวาที (ป.อ. ปยุตโต). (2534). ความสำคัญของพระพุทธศาสนาในฐานะศาสนา
ประจำชาติ. กรุงเทพฯ : กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ.
________. (2531). ทิศทางการศึกษาสงฆ์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมปิฏก. (ป.อ. ปยุตฺโต). (2541). ธรรมนูญชีวิต. กรุงเทพฯ : กองศาสนศึกษา
กรมการศาสนา.
________. (2541). ก. ธรรมนูญชีวิต. กรุงเทพฯ : กองศาสนศึกษา กรมการศาสนา.
________. (2541). การศึกษาเครื่องมือพัฒนาที่ยังต้องพัฒนา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ :
สหธรรมิก.
พระธรรมวโรดม. (2539). การปกครองวัด. คู่มือประกอบคำบรรยายโครงการความรู้แก่เจ้าอาวาส.
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา.
พระธีรญาณมุนี. (2527). สมเด็จฯ อยู่อินเดีย. กรุงเทพฯ : ประยูรวงศ์.
พระมหาเสริมชัย ชยมังคโล. (2541) การบริหารวัด. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ :
มูลนิธิพุทธภาวนา วิชาธรรมกาย.
พระราชธรรมโมลี. (2545). วัดพัฒนา’ 43 “ปัญหา อุปสรรค และแนวทางวิธีแก้ไขในการพัฒนาวัด.
กรุงเทพฯ : กองพุทธศาสนสถาน กรมการศาสนา.
85
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์.
พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา
มหาวิทยาศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
เพิ่มศักดิ์ เพิ่มพูน. (2534). กฎหมายที่พระสงฆ์ควรทราบ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ :
โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มาณี ไชยธีรานุวัฒนศิริ และคณะ. (2540). บทบาทพระสงฆ์ในยุคโลกาภิวัตน์ : ศาสตร์
และศิลป์ในการอบรมคุณธรรมของพระเถระภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.
ทุนอุดหนุนวิจัย กรมการศาสนา.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2539). พจนานกุ รมฉบบั ราชบณั ฑติ ยสถาน พ.ศ. 2525. พิมพค์ รัง้ ที่ 6. กรงุ เทพฯ :
อกั ษรเจรญิ ทศั น.์
รุ่งโรจน์ คำแน่น. (2539). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อบทบาทการพัฒนาชุมชนของเจ้าอาวาส :
ศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดเพชรบุรี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
เรมวล นันท์ศุภวัฒน์. (2542). ภาวะผู้นำทางการพยาบาลในองค์การ. เชียงใหม่ : ภาควิชา
บริหารการพยาบาล คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ศจี อนันต์นพคุณ. (2542). กลวิธีการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพ. สงขลา : ชลบุตรกราฟฟิค.
ศุภกุล เกียรติสุนทร. (2527). กิจกรรมของวัด ซึ่งเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของพุทธศาสนิกชน.
กรุงเทพฯ : กองแผนงาน กรมการศาสนา. (เอกสารอัดสำเนา).
เศาวนิต เศรณานนท์. (2542). ภาวะผู้นำ (Leadership). นครราชสีมา : คณะครุศาสตร์
สถาบันราชภัฏนครราชสีมา.
สมคิด เพ็งอุดม. (2535). บทบาทของพระสงฆ์ที่มีต่อการพัฒนาชุมชนตามทรรศนะของ
พระสงฆ์และเจ้าหน้าที่กระทรวงหลักระดับตำบล ในจังหวัดสมุทรสงคราม.
วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการศึกษาผู้ใหญ่ บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
สมพงษ์ เกษมสิน. (2528). การบริหาร. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.
สมพร เทพสิทธา. (2538). บทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ :
สภายุวพุทธิกสมาคมแห่งชาติในพระบรมราชูปถัมภ์.
สุภาพร มากแจ้ง. (2545). รูปแบบและกระบวนกาจัดการศึกษาและการเผยแผ่ศาสนธรรม
กรณีศึกษา 9 วัดทุนอุดหนุนการวิจัยของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
86
สุเมธ การศรีทอง. (2545). ความสำเร็จในการปฏิบัติภารกิจของวัด : ศึกษาเฉพาะกรณีวัดไผ่ล้อม
อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาต.ิ
เสฐียรพงษ์ วรรณปก. (2538). พุทธศาสนา ทรรศนะและวิจารณ์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ :
พิฆเณศพริ้นติ้งเซ็นเตอร์.
เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. (2540). ความขัดแย้ง : การบริหารเพื่อความสร้างสรรค์. พิมพ์ครั้งที่ 2.
กรุงเทพฯ : ต้นอ้อ.
อำไพ อินทรประเสริฐ. (2542). ศิลปะการเป็นผู้นำ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เสมาธรรม.
Best, John. W. (1970). Research in Education. 2nd ed. New Jersey : Prentice-Hall.
Coberly, Margaret. (1997, October 25). “Transpersonal Dimensions in Hospice Care and
Education: Applications of Tibetan Buddhist Psychology”. [Online].
Available : http://ccbs.ntu.edu.tw.
Halpin, A. W. (1957). Theory and Research in Administration. New York : Macmillan.
Krejcie, Robert V. and Daryle, W. Morgan. (1970). “Determining Sample Size for Research
Activities”. Educational and Psychological Measurement. 30(8) : May; 608.
ภาคผนวก
88
ภาคผนวก ก
แบบสอบถามเพื่อการวิจัย
89
แบบสอบถามเพื่อการวิจัย
การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานของพระสังฆาธิการในวัดพัฒนาตัวอย่าง
คำชี้แจง
แบบสอบถามนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานของพระสังฆาธิการ
ในวัดพัฒนาตัวอย่าง ตามหลักเกณฑ์และแนวทางการพิจารณาคัดเลือกวัดพัฒนาตัวอย่างใน 3 ด้าน คือ
ด้านการจัดการปกครองภายในวัด ด้านอาคารเสนาสนะ และด้านการจัดกิจกรรมเพื่อชุมชน
ผู้วิจัยใคร่ขอความร่วมมือจากพระคุณท่านในการตอบแบบสอบถาม และโปรดตอบ
ทุกข้อ เนื่องจากทุกข้อมีความสำคัญยิ่ง ต่อการวิเคราะห์และมีคุณค่าอย่างมากต่อการวิจัยครั้งนี้
ผลการวิจัยที่ได้จะเป็นประโยชน์ สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลสารสนเทศในการวางแผนพัฒนา
ปรับปรุงการติดตามประเมินผลโครงการวัดพัฒนาตัวอย่างของกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ และ
เป็นแนวทางในการดำเนินการของวัดพัฒนาตัวอย่างให้มีประสิทธิภาพต่อไป
แบบสอบถามฉบับนี้ แบ่งออกเป็น 3 ตอน ดังนี้
ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 4 ข้อ
ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพและปัญหาการบริหารงานของพระสังฆาธิการใน
วัดพัฒนาตัวอย่าง ตามหลักเกณฑ์และแนวทางการพิจารณาคัดเลือกวัดพัฒนาตัวอย่างใน 3 ด้าน ได้แก่
1. ด้านการจัดการปกครองภายในวัด จำนวน 12 ข้อ
2. ด้านอาคารเสนาสนะ จำนวน 14 ข้อ
3. ด้านการจัดกิจกรรมเพื่อชุมชน จำนวน 15 ข้อ
ตอนที่ 3 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำของพระสังฆาธิการในวัดพัฒนาตัวอย่าง
จำนวน 17 ข้อ
ตอนที่ 4 เป็นแบบสอบถามปลายเปิด (Open – Ended Questionnaire) เพื่อให้แสดงความคิด
เห็นเกี่ยวกับปัญหาและข้อเสนอแนะในการดำเนินการของวัดพัฒนาตัวอย่าง
นายปกรณ์ ตันสกุล
ขอขอบพระคุณในความร่วมมืออย่างยิ่ง
90
ตอนที่ 1
ข้อมูลเกี่ยวกับสถานภาพข องผู้ตอบแบบสอบถาม
คำชี้แจง โปรดกาเครื่องหมาย �� ลงใน �� ที่เป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับตัวท่านตามข้อคำถามต่อไปนี้
1. อายุ
�� น้อยกว่า 45 ปี
�� 46 - 60 ปี
�� มากกว่า 60 ปีขึ้นไป
2. วุฒิการศึกษาทางโลก
�� ระดับชั้นประถมศึกษา
�� ระดับชั้นมัธยมศึกษา
�� ระดับปริญญาตรี หรือสูงกว่า
3. ระยะเวลาที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระสังฆาธิการ
�� น้อยกว่า 5 ปี
�� 5 - 10 ปี
�� มากกว่า 10 ปี
4. ระยะเวลาที่วัดได้รับการยกฐานะเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง
�� น้อยกว่า 5 ปี
�� 5 – 10 ปี
�� มากกว่า 10 ปี
91
ตอนที่ 2
ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพและปัญหาการบริหารงานของพระสังฆาธิการ
ในวัดพัฒนาตัวอย่าง
คำชี้แจง
แบบสอบถามตอนนี้ เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพและปัญหาการบริหารงาน
ของพระสังฆาธิการในวัดพัฒนาตัวอย่าง ตามหลักเกณฑ์และแนวทางการพิจารณาคัดเลือกวัดพัฒนา
ตัวอย่าง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการจัดการปกครองภายในวัด ด้านอาคารเสนาสนะและด้าน
การจัดกิจกรรมเพื่อชุมชน จึงใคร่ขอความอนุเคราะห์จากพระคุณท่านโปรดอ่านและพิจารณา
ข้อความแต่ละข้อแล้วโปรดเขียนเครื่องหมาย �� ลงในช่อง ที่กำหนดให้
โดยแต่ละระดับให้เป็นคะแนน ดังนี้
5 หมายถึง การบริหารงาน/และปัญหาในการบริหารงานมากที่สุด
4 หมายถึง การบริหารงาน/และปัญหาในการบริหารงานมาก
3 หมายถึง การบริหารงาน/และปัญหาในการบริหารงานปานกลาง
2 หมายถึง การบริหารงาน/และปัญหาในการบริหารงานน้อย
1 หมายถึง การบริหารงาน/และปัญหาในการบริหารงานน้อยที่สุด
นิยามศัพท์
1. หลักเกณฑ์และแนวทางการพิจารณาคัดเลือกวัดพัฒนาตัวอย่าง หมายถึง คุณสมบัติ
เบื้องต้นในการพิจารณาคัดเลือกวัด ให้เป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง ของกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ
3 ด้าน คือ
1.1 ด้านการจัดการปกครองภายในวัด หมายถึง การปกครองและสอดส่องให้บรรพชิต
และคฤหัสถ์ในวัดประพฤติดี ปฏิบัติชอบ ถูกต้องตามพระธรรมวินัย มีกฎระเบียบ เพื่อให้การปกครอง
เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
1.2 ด้านอาคารเสนาสนะ หมายถึง กุฏิ วิหาร หรือสิ่งปลูกสร้างภายในวัด ที่มีความเป็น
ระเบียบเรียบร้อย สะอาด สวยงาม มั่นคงแข็งแรง
1.3 ด้านการจัดกิจกรรมเพื่อชุมชน หมายถึง การจัดกิจกรรมของวัดในการช่วยเหลือ
ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนในท้องถิ่น นั้น
92
2. ระยะเวลาที่ได้รับการยกฐานะเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง หมายถึง จำนวนปีที่ได้รับ
การยกฐานะเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง ที่กรมการศาสนากำหนดและขึ้นทะเบียน แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ
2. 1 ระยะเวลาน้อยกว่า 5 ปี หมายถึง ได้รับการยกฐานะเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง
ตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป แต่ไม่ถึง 5 ปี
2.2 ระยะเวลา 5 – 10 ปี หมายถึง ได้รับการยกฐานะเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง ตั้งแต่ 5
ถึง 10 ปี
2.3 ระยะเวลามากกว่า 10 ปี หมายถึง ได้รับการยกฐานะเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง ตั้งแต่
10 ปี ขึ้นไป
3. การบริหาร หมายถึง การบริหารจัดการของพระสังฆาธิการในวัดพัฒนาตัวอย่าง
ตามหลักเกณฑ์และแนวทางการพิจารณาคัดเลือกวัดพัฒนาตัวอย่าง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านอาคารเสนาสนะ
ด้านการจัดการปกครองภายในวัด และ ด้านการจัดกิจกรรมเพื่อชุมชน
4. ปัญหาอุปสรรค หมายถึง สิ่งที่เข้ามาขัดขวางทำให้การปฏิบัติงานมีปัญหา ไม่สามารถ
บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้
ตัวอย่าง โปรดกาเครื่องหมาย ��ลงในช่องที่ตรงกับความเห็นของท่านว่าอยู่ในระดับใด
ของแต่ละข้อคำถาม
ความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินการตามหลักเกณฑ์
และแนวทางการพิจารณาคัดเลือกวัดพัฒนาตัวอย่าง
รายการ ด้านการบริหารงานของวัด ด้านปัญหาในการปฏิบัติงาน
5 4 3 2 1 5 4 3 2 1
0. พระสังฆาธิการมีการพัฒนาวัด
ตามหลักเกณฑ์ ฯอย่างต่อเนื่อง
�� ��
จากตัวอย่าง ข้อ 0 แสดงว่า ท่าน เห็นว่าพระสังฆาธิการมีพัฒนาวัดตามหลักเกณฑ์ ฯ อย่างต่อเนื่อง
ด้านการบริหารงานของวัด อยู่ในระดับ มาก
ข้อ 00 แสดงว่า ท่านเห็นว่าพระสังฆาธิการมีพัฒนาวัดตามหลักเกณฑ์ ฯ อย่างต่อเนื่อง
ด้านปัญหาในการปฏิบัติงาน อยู่ในระดับ น้อย
93
ความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพและปัญหาการบริหารงาน
ตามหลักเกณฑ์และแนวทางการพิจารณา
คัดเลือกวัดพัฒนาตัวอย่าง
รายการ สภาพการบริหารงาน ปัญหาการบริหารงาน
5 4 3 2 1 5 4 3 2 1
ด้านการจัดการปกครองภายในวัด
1. การดำเนินงานตามภารกิจด้านการปกครอง
ของวัด
2. การจัดดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ/
แผนปฏิบัติงานประจำปี
3. การดำเนินการจัดทำทะเบียนประวัติ
ของพระสงฆ์ภายในวัด
4. วางระเบียบข้อบังคับสำหรับพระภิกษุ
สามเณรและบุคลากรภายในวัด
5. การประชุมอบรมพระภิกษุสามเณรและ
บุคลากรภายในวัด ประจำเดือนหรือวันธรรมสวนะ
6. การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารจัดการวัด
7. การให้การศึกษาอบรม สั่งสอนพระธรรม
วินัยแก่บรรพชิต
8. การสั่งสอนอบรมศีลธรรมแก่คฤหัสถ์และศิษย์วัด
9. การควบคุมให้บรรพชิตและคฤหัสถ์ในวัด
ประพฤติดีและปฏิบัติตามพระธรรมวินัยและ
ข้อบังคับของมหาเถรสมาคม
10. การจัดสวัสดิการและสงเคราะห์บรรพชิต
และคฤหัสถ์ภายในวัด
11. การทำนุบำรุงรักษาวัด
12. การจัดกิจการและศาสนสมบัติของวัดให้เป็น
ไปด้วยดี
94
ความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพและปัญหาการบริหารงาน
ตามหลักเกณฑ์และแนวทางการพิจารณา
คัดเลือกวัดพัฒนาตัวอย่าง
รายการ สภาพการบริหารงาน ปัญหาการบริหารงาน
5 4 3 2 1 5 4 3 2 1
ด้านอาคารเสนาสนะ
1. การจัดทำป้ายชื่อ แผนผัง และประวัติวัด
2. การพัฒนาถาวรวัตถุที่เหมาะสมกับ
ศาสนสถานและสถานที่
3. การบำรุงรักษาสภาพอุโบสถให้มั่นคงแข็งแรง
4. การดูแลรักษาอาคารเสนาสนะเหมาะสมกับ
สภาพของวัดและท้องถิ่น
5. การดูแลรักษากุฏิของวัดมีความเป็นระเบียบ
เรียบร้อย สะอาด สวยงาม มั่นคงแข็งแรง
6. การดูแลรักษาวิหารของวัดมีความเป็นระเบียบ
เรียบร้อย สะอาด สวยงาม มั่นคงแข็งแรง
7. การดูแลรักษาเสนาสนะของวัดมีความเป็น
ระเบียบเรียบร้อย สะอาด สวยงาม มั่นคงแข็งแรง
8. สิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ ของวัดมีความเป็นระเบียบ
เรียบร้อย สะอาด สวยงาม มั่นคง แข็งแรง
9. การดูแลรักษาเสนาสนะและสิ่งก่อสร้างในวัดได้
ใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า
10. การดูแลบำรุงรักษาเสนาสนะและ
สิ่งปลูกสร้างในวัด
11. การดูแลซ่อมแซมระบบไฟฟ้า น้ำประปา
สุขาของวัด
12. การกำหนดเขตของสงฆ์และฆราวาส
อย่างเหมาะสม
13. การจัดสิ่งแวดล้อมภายในวัดอย่างเป็น
ระบบและต่อเนื่อง
95
ความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพและปัญหาการบริหารงาน
ตามหลักเกณฑ์และแนวทางการพิจารณา
คัดเลือกวัดพัฒนาตัวอย่าง
รายการ สภาพการบริหารงาน ปัญหาการบริหารงาน
5 4 3 2 1 5 4 3 2 1
ด้านการจัดกิจกรรมเพื่อชุมชน
1. การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานจัดกิจกรรม
ของชุมชน
2. การจัดกิจกรรมทางพุทธศาสนาแก่ประชาชน
3. การให้ความสะดวกในการบำเพ็ญกุศลของ
ประชาชน
4. การจัดกิจกรรมด้านสาธารณูปโภคต่าง ๆ ให้ชุมชน
5. การจัดกิจกรรมสงเคราะห์คนชราและครอบครัว
ผู้ยากไร้ในชุมชน
6. การจัดกิจกรรมสงเคราะห์ครอบครัวผู้ยากไร้
ในชุมชน
7. การจัดกิจกรรมส่งเสริมการศึกษาของชุมชน
8. การจัดกิจกรรมส่งเสริมการอาชีพของชุมชน
9. การจัดกิจกรรมส่งเสริมอนุรักษ์วัฒนธรรม
ภูมิปัญญาท้องถิ่น โบราณสถานและศิลปวัตถุ
ในชุมชน
10. การจัดกิจกรรมของวัดให้สอดคล้องกับ
ความต้องการของชุมชน
11. การช่วยเหลือชุมชนผู้ยากไร้ในการอุปสมบท
12. การช่วยเหลือชุมชนผู้ยากไร้ในการฌาปนกิจ
ศพญาติผู้เสียชีวิต
13. การให้ชุมชนยืมอุปกรณ์ เครื่องใช้ในโอกาส
ต่าง ๆ
14. การอนุญาตให้ชุมชนใช้สถานที่ในวัด
จัดกิจกรรมต่าง ๆ ของ
15. การจัดให้วัดเป็นศูนย์รวมของชุมชนในท้องถิ่น
96
ตอนที่ 3
ความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะผู้นำของพระสังฆาธิการในวัดพัฒนาตัวอย่าง
คำชี้แจง โปรดกาเครื่องหมาย (��) ลงในช่องที่ตรงกับภาวะผู้นำของท่าน
โดยเขียนเครื่องหมาย �� ลงในช่อง ที่กำหนดให้ โดยกำหนดระดับความคิดเห็น ดังนี้
หมายถึง ระดับ 5 เป็นภาวะผู้นำของพระสังฆาธิการในวัดพัฒนาตัวอย่าง
ที่เห็นด้วยมากที่สุด
ระดับ 4 หมายถึง เป็นภาวะผู้นำของพระสังฆาธิการในวัดพัฒนาตัวอย่าง
ที่เห็นด้วยมาก
ระดับ 3 หมายถึง เป็นภาวะผู้นำของพระสังฆาธิการในวัดพัฒนาตัวอย่าง
ที่เห็นด้วยปานกลาง
ระดับ 2 หมายถึง เป็นภาวะผู้นำของพระสังฆาธิการในวัดพัฒนาตัวอย่าง
ที่เห็นด้วยน้อย
ระดับ 1 หมายถึง เป็นภาวะผู้นำของพระสังฆาธิการในวัดพัฒนาตัวอย่าง
ที่เห็นด้วยน้อยที่สุด
นิยามศัพท์
ภาวะผู้นำ หมายถึง กระบวนการใช้บารมีรวมทั้งความสามารถทางกาย ทางใจ และสมอง
อย่างมีศิลปะ ในการบริหารวัดพัฒนาตัวอย่างให้บรรลุเป้าหมายตามสถานการณ์ต่างๆ โดยการจูงใจให้
ผู้อื่นยอมรับและให้ความร่วมมือด้วยความเต็มใจ จนงานสำเร็จตามเป้าหมาย
ตัวอย่าง โปรดกาเครื่องหมาย ��ลงในช่องที่ตรงกับความเห็นของท่านว่าอยู่ในระดับใด
ของแต่ละข้อคำถาม
ภาวะผู้นำของพระสังฆาธิการ ระดับความเห็น
ในวัดพัฒนาตัวอย่าง 5 4 3 2 1
0. พระสังฆาธิการมีวิสัยทัศน์ในการบริหารวัด a
00. พระสังฆาธิการมีมนุษย์สัมพันธ์กับชุมชน a
จากตัวอย่าง ข้อ 0 แสดงว่า ท่านเห็นว่าพระสังฆาธิการมีวิสัยทัศน์ในการบริหารวัด อยู่ในระดับ มาก
ข้อ 00 แสดงว่า ท่านเห็นว่าพระสังฆาธิการมีมนุษย์สัมพันธ์กับชุมชน อยู่ในระดับ น้อย
97
ภาวะผู้นำของพระสังฆาธิการ ระดับความคิดเห็น
ในวัดพัฒนาตัวอย่าง 5 4 3 2 1
1. เป็นผู้มีบารมี และมีความรู้ความสามารถเป็น
ที่ยอมรับ
2. มีความสามารถชักจูงและโน้มน้าวให้บุคลากรใน
วัดและผู้เกี่ยวข้อง ปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบ
หมายด้วยความเต็มใจ
3. มีความสามารถในการให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม
ในการพัฒนาวัด
4. มีความสามารถในการชี้นำ แนะนำ และ
เสนอแนะแนวทางการดำเนินงาน
5. มีความสามารถในการสร้างภาพอนาคตของ
วัดพัฒนาตัวอย่าง โดยใช้ข้อมูลและเหตุผลที่
เหมาะสม
6. มีมนุษยสัมพันธ์สูง สามารถทำงานร่วมกับ
ผู้ใต้ปกครอง คนในชุมชนรวมทั้งหน่วยงาน
ราชการและเอกชนได้ดี
7. ความสามารถทำงานเป็นทีมหรือคณะ
และร่วมทำงานกับพระสังฆาธิการวัดอื่นได้ดี
8. สามารถกระตุ้นให้ผู้ใต้ปกครอง ชุมชน เห็นความ
สำคัญ และมุ่งมั่นที่จะพัฒนาวัดร่วมกัน
9. มีความสามารถในการมองการณ์ไกล สามารถ
คาดคะเนแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงและปรับตัว
ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง
10. มีความสามารถในการแก้ปัญหาและข้อขัดแย้ง
ที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติงาน
11. มีความสามารถในการกระจายอำนาจ และ
มอบหมายงานให้ผู้อื่นปฏิบัติได้
12. มีความสามารถในการประสานงาน สร้างความ
ร่วมมือและระดมสรรพกำลัง ตลอดจน
ทรัพยากรมาใช้ในการพัฒนาวัด
98
ภาวะผู้นำของพระสังฆาธิการ ระดับความคิดเห็น
ในวัดพัฒนาตัวอย่าง 5 4 3 2 1
13. มีความสามารถในเชิงความคิดริเริ่ม พัฒนาและ
ปรับปรุงงาน ตลอดจนแสวงหาวิธีการใหม่ๆ
มาใช้ในการพัฒนาวัด
14. เป็นนักประชาธิปไตย ใจกว้างยอมรับฟัง
ความคิดเห็นของคนอื่น
15. มีความอดทนต่อการแสดงความคิดเห็นของ
บุคคลอื่น
16. มีความรอบรู้เกี่ยวกับท้องถิ่นที่วัดพัฒนาตัวอย่าง
ตั้งอยู่เป็นอย่างดี
17. มีความรู้ความสามารถเกี่ยวกับการพัฒนาวัด
และเป็นผู้นำชุมชนร่วมมือกับวัดพัฒนา
99
ตอนที่ 4
ข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาและข้อเสนอแนะในการบริหารงานของพระสังฆาธิการในวัดพัฒนาตัวอย่าง
คำชี้แจง
พระคุณท่านมีความเห็นเกี่ยวกับปัญหาในการบริหารงานอย่างไรบ้าง โปรดพิจารณาให้ข้อเสนอ
แนะเพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงการแก้ไขวัดพัฒนาตัวอย่างต่อไป
การดำเนินงานของวัด
พัฒนาตัวอย่าง
ปัญหาในการบริหารงาน ข้อเสนอแนะ
1. ด้านการจัดการ
ปกครองภายในวัด
2. ด้านอาคารเสนาสนะ
3. ด้านการจัดกิจกรรม
เพื่อชุมชน
ข้อเสนอแนะอื่น ๆ (ถ้ามี)
ภาคผนวก ข
รายชื่อผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเครื่องมือ
หนังสือราชการที่เกี่ยวข้อง
101
รายชื่อผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเครื่องมือ
1. นายธำรง อมโร
รองอธิบดีกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ
2. ดร. กมล รอดคล้าย
ผู้อำนวยการกองแผนงาน กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ
3. นายมนัส ภาคภูมิ
ผู้อำนวยการกองศาสนศึกษา กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ
4. ดร.บัณฑิต แท่นพิทักษ์
ศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
5. ดร.สุขุม มูลเมือง
ผู้อำนวยการหัวหน้าส่วนติดตามประเมินผล
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ
102
ที่ พิเศษ/ 2545 สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
1061 ถนนอิสรภาพ แขวงหิรัญรูจี
เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร 10600
18 ตุลาคม 2545
เรื่อง เรียนเชิญเป็นผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาเครื่องมือในการทำวิทยานิพนธ์
เรียน ……………………………………
สิ่งที่ส่งมาด้วย 1. เค้าโครงวิทยานิพนธ์ จำนวน 1 ชุด
2. แบบสอบถาม จำนวน 1 ชุด
3. แบบประเมินความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา จำนวน 1 ชุด
เนื่องด้วยนายปกรณ์ ตันสกุล นักศึกษาระดับบัณฑิตา หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหาร
การศึกษา รุ่นที่ 2 สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กำลังทำวิทยานิพนธ์ เรื่อง “การศึกษาสภาพและ
ปัญหาการบริหารงานของพระสังฆาธิการในวัดพัฒนาตัวอย่าง” โดยมีคณะกรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ดังนี้
1. ดร.อารมณ์ จินดาพันธ์ ประธานกรรมการ
2. ดร.สมศักดิ์ ดลประสิทธิ์ กรรมการ
3. รศ.ดร.นันทา วิทวุฒิศักดิ์ กรรมการ
ในการทำวิทยานิพนธ์ครั้งนี้ นักศึกษาจำเป็นต้องตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity)
ของเครื่องมือ เพื่อให้ได้เครื่องมือที่สมบูรณ์ที่สุด ทางบัณฑิตวิทยาลัยได้พิจารณาเห็นว่าท่านเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ
มีความรู้ความสามารถทางด้านการทำวิจัยเป็นอย่างดี จึงขอเรียนเชิญท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบ
ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาของเครื่องมือดังกล่าว
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาให้ความอนุเคราะห์แก่นักศึกษาด้วย จักเป็นพระคุณยิ่ง
ขอแสดงความนับถือ
(รองศาสตราจารย์ ดร.นันทา วิทวุฒิศักดิ์)
รักษาการคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
บัณฑิตวิทยาลัย
โทร. 02-890-0841-50 ต่อ 809
โทรสาร 02-890-1786
103
ที่ พิเศษ/ 2545 สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
1061 ถนนอิสรภาพ แขวงหิรัญรูจี
เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร 10600
15 ธันวาคม 2545
เรื่อง ขอความอนุเคราะห์ข้อมูลในการทำวิทยานิพนธ์
เรียน ………………………………………………….
ด้วย นายปกรณ์ ตันสกุล นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหาร
การศึกษา รุ่นที่ 2 สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กำลังทำวิทยานิพนธ์ โดยได้รับอนุมัติจากบัณฑิตวิทยาลัย
ให้ทำวิทยานิพนธ์เรื่อง “การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานของพระสังฆาธิการในวัดพัฒนาตัวอย่าง”
โดยมีคณะกรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ดังนี้
1. ดร.อารมณ์ จินดาพันธ์ ประธานกรรมการ
2. ดร.สมศักดิ์ ดลประสิทธิ์ กรรมการ
3. รศ.ดร.นันทา วิทวุฒิศักดิ์ กรรมการ
การทำวิทยานิพนธ์ครั้งนี้ นักศึกษาที่ทำการวิจัย จำเป็นต้องเก็บรวบรวมข้อมูลจากวัดพัฒนาตัวอย่าง
ซึ่งอยู่ในความดูแลและรับผิดชอบของพระคุณท่าน ดังนั้นจึงใคร่ขอความอนุเคราะห์เก็บข้อมูลจากวัด
ดังกล่าวด้วย เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปประกอบการทำวิจัยให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา หวังว่าคงได้รับความอนุเคราะห์และขอกราบอารธนาพรพระคุณท่านมา ณ
โอกาสนี้
ขอแสดงความนับถือ
(รองศาสตราจารย์ ดร.นันทา วิทวุฒิศักดิ์)
รักษาการคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
บัณฑิตวิทยาลัย
โทร. 02-890-0841-50 ต่อ 809
โทรสาร 02-890-1786
ภาคผนวก ค
เขตการปกครองคณะสงฆ์
105
เขตการปกครองคณะสงฆ์
เขตการปกครองคณะสงฆ์ หมายถึง การปกครองคณะสงฆ์ ตามมาตรา 21 แห่ง
พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ได้จัดแบ่งเขต
การปกครองเป็นภาค จังหวัด อำเภอ และตำบล แบ่งเป็น 18 ภาค และให้รวมเขตการปกครอง
จังหวัดต่างๆ เป็นเขตปกครองภาค (กรมการศาสนา, 2542 : 25) ดังนี้
ภาค 1 มี 4 จงั หวดั คอื กรงุ เทพมหานคร นนทบุร ี ปทมุ ธาน ี สมทุ รปราการ
ภาค 2 มี 3 จังหวัด คือ พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สระบุรี
ภาค 3 มี 4 จังหวัด คือ ลพบุรี สิงห์บุรี ชัยนาท และอุทัยธานี
ภาค 4 มี 4 จังหวัด คือ นครสวรรค์ กำแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์
ภาค 5 มี 4 จังหวัด คือ พิษณุโลก สุโขทัย ตาก อุตรดิตถ์
ภาค 6 มี 5 จังหวัด คือ ลำปาง พะเยา เชียงราย แพร่ น่าน
ภาค 7 มี 3 จังหวัด คือ เชียงใหม่ ลำพูน แม่ฮ่องสอน
ภาค 8 มี 5 จังหวัด คือ อุดรธานี หนองคาย เลย สกลนคร หนองบัวลำภู
ภาค 9 มี 4 จังหวัด คือ ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด
ภาค 10 ม ี 6 จงั หวดั คอื อบุ ลราชธาน ี ยโสธร ศรีสะเกษ นครพนม
มุกดาหาร อาํ นาจเจรญิ
ภาค 11 มี 4 จงั หวดั คือ นครราชสมี า ชัยภูมิ บรุ รี มั ย ์ สุรนิ ทร์
ภาค 12 มี 4 จังหวัด คือ ปราจีนบุรี นครนายก ฉะเชิงเทรา สระแก้ว
ภาค 13 มี 4 จังหวัด คือ ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด
ภาค 14 มี 4 จังหวัด คือ นครปฐม สุพรรณบุรี กาญจนบุรี สมุทรสาคร
ภาค 15 มี 4 จังหวัด คือ ราชบุรี เพชรบุรี สมุทรสงคราม ประจวบคิรีขันธ์
ภาค 16 มี 3 จังหวัด คือ นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ชุมพร
ภาค 17 มี 5 จังหวัด คือ ภูเก็ต ตรัง พังงา กระบี่ ระนอง
ภาค 18 มี 6 จังหวัด คือ สงขลา พัทลุง สตูล ปัตตานี ยะลา นราธิวาส
106
แผนที่แสดงเขตปกครองคณะสงฆ์
ภาคผนวก ง
รายชื่อวัดพัฒนาที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง จำแนกตามเขตปกครองคณะสงฆ์
108
สรุปวัดพัฒนาตัวอย่างที่ใช้เป็นกลุ่มตัวอย่าง จำแนกตามเขตปกครองคณะสงฆ์
เขตปกครองคณะสงฆ์ จังหวัด จำนวนประชากร จำนวนกลุ่มตัวอย่าง
ภาค 1 4 82 18
ภาค 2 3 67 14
ภาค 3 4 63 14
ภาค 4 4 61 13
ภาค 5 4 70 15
ภาค 6 5 88 19
ภาค 7 3 60 13
ภาค 8 5 81 17
ภาค 9 4 89 20
ภาค 10 6 102 22
ภาค 11 4 89 19
ภาค 12 4 65 14
ภาค 13 4 74 16
ภาค 14 4 89 19
ภาค 15 4 99 21
ภาค 16 3 67 14
ภาค 17 5 57 12
ภาค 18 6 99 22
รวม 76 1,402 302
109
รายชื่อกลุ่มตัวอย่างวัดพัฒนาตัวอย่าง จำแนกตามเขตปกครองคณะสงฆ์
เขตปกครองคณะสงฆ์ วัด จังหวัด
ภาค 1 1. วชิรธรรมสาธิต กรงุ เทพมหานคร
2. ชัยชนะสงคราม กรงุ เทพมหานคร
3. สระเกศ กรงุ เทพมหานคร
4. ปากน้ำ กรงุ เทพมหานคร
5. ราษฎรศ์ รทั ธาธรรม กรงุ เทพมหานคร
6. ชลประทานรังสฤษฎิ์ นนทบุรี
7. สวนแก้ว นนทบุรี
8. เฉลิมพระเกียรติ นนทบุรี
9. บางบัวทอง นนทบุรี
10. สำโรง นนทบรุ ี
11. สวุ รรณจนิ ดาราม ปทมุ ธานี
12. นพรตั นาราม ปทมุ ธานี
13. ชินวราราม ปทุมธานี
14.จันทน์กะพ้อ ปทุมธานี
15. ชัยมงคล สมทุ รปราการ
16. ทรงธรรม สมทุ รปราการ
17. คู่สร้าง สมุทรปราการ
18. พระสมุทรเจดีย์ สมุทรปราการ
ภาค 2 19. ราชประดิษฐาน พระนครศรีอยุธยา
20. ใหญ่ชัยมงคล พระนครศรีอยุธยา
21. ไผ่ล้อม พระนครศรีอยุธยา
22. ชุมพลนิกายาราม พระนครศรีอยุธยา
23. โบสถ์ พระนครศรีอยุธยา
24. ต้นสน อ่างทอง
25. วิเศษชัยชาญ อ่างทอง
26. ป่าโมก อ่างทอง
110
เขตปกครองคณะสงฆ์ วัด จังหวัด
27. เกษทอง อ่างทอง
28. พระพุทธฉาย สระบุรี
29. มวกเหล็กนอก สระบุรี
30.พระพุทธบาท สระบุรี
31. เกาะแก้วอรุณคาม สระบุรี
32. ศรีอุทัย สระบุรี
ภาค 3 33. เสาธงทอง ลพบุรี
34. ศีรีรัตนาราม ลพบุรี
35. มณีโสภณ ลพบรุ ี
36.สามัคคีประชาราม ลพบุรี
37. สังฆราชาวาส สิงห์บุรี
38. พระปรางค์มุนี สิงห์บุรี
39. อัมพวัน สิงห์บุรี
40. ธรรมิกาวาส ชัยนาท
41. สองพี่น้อง ชัยนาท
42. โพธาราม ชัยนาท
43. ใหญ่ ชัยนาท
44. อมฤตวารี อุทัยธานี
45. ลานสัก อุทัยธานี
46. สว่างอารมณ์ อุทัยธานี
ภาค 4 47. คิรีวงศ์ นครสวรรค์
48. หนองโพ นครสวรรค์
49. ตากฟ้า นครสวรรค์
50. พระบรมธาตุ กำแพงเพชร
51. แสนสุข กำแพงเพชร
52. เทพนิมิตมงคล กำแพงเพชร
53. ไตรภูมิ กำแพงเพชร
111
เขตปกครองคณะสงฆ์ วัด จังหวัด
54. ตะพานหิน พิจิตร
55. ธรรมสังเวช พิจิตร
56. ไทรย้อย พิจิตร
57. มหาธาตุ เพชรบูรณ์
58. สระเกศ เพชรบูรณ์
59. ป่าเรไรทอง เพชรบูรณ์
60. สว่างเนตร เพชรบูรณ์
ภาค 5 61. พระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก
62. ธรรมจักร พิษณุโลก
63. ใหม่พรหมพิราม พิษณุโลก
64. เกาะแก้วประชานุรักษ์ พิษณุโลก
65. ไทยชุมพล สุโขทัย
66. กงไกรลาศ สุโขทัย
67. สังฆาราม สุโขทัย
68. พระศรีรัตนมหาธาตุ สุโขทัย
69. มณีบรรพต ตาก
70. ศรีมงคล ตาก
71. โบสถ์มณีศรีบุณเรือง ตาก
72. อรัญญเขต ตาก
73. คลองโพธิ์ อุตรดิตถ์
74. เจดีย์คีรีวิหาร อุตรดิตถ์
75. พระยืน (พระยืนพุทธบาทยุคล) อุตรดิตถ์
ภาค 6 76. พระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม ลำปาง
77. ถ้ำสุขเกษมสวรรค์ ลำปาง
78. พระพุทธบาทวังตวง ลำปาง
79. พระธาตุเสด็จ ลำปาง
80. ศรีจอมเรือง พะเยา
112
เขตปกครองคณะสงฆ์ วัด จังหวัด
81. แท่นคำ พะเยา
82. ศรีอุโมงค์คำ พะเยา
83. พระแก้ว เชียงราย
84. พระสิงห์ เชียงราย
85. เม็งรายมหาราช เชียงราย
86. บุญเรือง เชียงราย
87. พระบาทมิ่งเมือง แพร่
88. พระธาตุช่อแฮ แพร่
89. เชตวัน แพร่
90. ศรีดอนคำแพร่
91. เมืองราม น่าน
92. พรหม น่าน
93. พระธาตุช้างค้ำ น่าน
94. พระธาตุแช่แห้ง น่าน
ภาค 7 95. อุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) เชียงใหม่
96. สันกำแพง เชียงใหม่
97. นันทาราม เชียงใหม่
98. ล้านนาญาณสังวราราม (ธ) เชียงใหม่
99. ท่าตอน เชียงใหม่
100. พระพุทธบาทตากผ้า ลำพูน
101. ป่าลาน ลำพูน
102. จามเทวี ลำพูน
103. พวงคำ ลำพูน
104. แม่ลาน้อย แม่ฮ่องสอน
105. ม่วยต่อ แม่ฮ่องสอน
106. พระธาตุดอนกองมู แม่ฮ่องสอน
107. ชัยลาภ แม่ฮ่องสอน
113
เขตปกครองคณะสงฆ์ วัด จังหวัด
ภาค 8 108. โพธิวราราม อุดรธานี
109. บุญญานุสรณ์ อุดรธานี
110. บูรพาวัน (ธ) อุดรธานี
111. พระแท่น บ้านแดง อุดรธานี
112. พระพุทธบาท (เวิ้นกุ่ม) หนองคาย
113. ป่าวิเวกธรรมคุณ หนองคาย
114. จันทรสามัคคี หนองคาย
115. ศรีวิชัยวนาราม เลย
116. โพธิ์ชัย เลย
117. สันติธรรมาราม เลย
118. ศรีโพนเมือง สกลนคร
119. ราษฎร์สามัคคี สกลนคร
120. แสงสุริโยทัย สกลนคร
121. โนนแสนคำสกลนคร
122. พิศาลรัญญาวาน หนองบัวลำภู
123. สระพังทอง หนองบัวลำภู
124. โพธิ์ศรีสว่าง หนองบัวลำภู
ภาค 9 125. ศรีมงคล ขอนแก่น
126. พระบาทภูพานคำ ขอนแก่น
127. ป่าชัยวัน (ธ) ขอนแก่น
128. บูรพาราม ขอนแก่น
129. เกาะแก้ว ขอนแก่น
130. ประชาบำรุง มหาสารคาม
131. สุวรรณาวาส มหาสารคาม
132. โสมนัสประดิษฐ์ มหาสารคาม
133. ดงแดน มหาสารคาม
134. ปัจจิมเชียงยืน มหาสารคาม
114
เขตปกครองคณะสงฆ์ วัด จังหวัด
135. ขวัญเมือง กาฬสินธุ์
136. วิเศษไชยาราม กาฬสินธุ์
137. อโศการาม กาฬสินธุ์
138. ธรรมพิทักษ์ กาฬสินธุ์
139. ป่าเรไร ร้อยเอ็ด
140. เวฬุวัน ร้อยเอ็ด
141. ศรีสุวรรณาราม ร้อยเอ็ด
142. ป่าเมตตาธรรม ร้อยเอ็ด
143. มิ่งเมือง ร้อยเอ็ด
ภาค 10 144. หนองปา่ พง อบุ ลราชธานี
145. ทุ่งศรีเมือง อุบลราชธานี
146. โขงเจียม อุบลราชธานี
147. โพธิ์ตาก อุบลราชธานี
148. มหาธาตุ ยโสธร
149. ศรีฐานใน ยโสธร
150. เขมไชยาราม ยโสธร
151. สิงห์ทอง ยโสธร
152. หลวงสุมังคลาราม (ธ) ศรีสะเกษ
153. ศรีขุนหาญ ศรีสะเกษ
154. จนั ทาราม ศรสี ะเกษ
155. ธาตุมหาชัย นครพนม
156. ศรีสมบูรณ์ นครพนม
157. โพธิ์ชัย นครพนม
158. ธาตุศรีคูณ นครพนม
159. ป่าวิเวก มุกดาหาร
160. พุทโธธัมมธโร มุกดาหาร
161. บัฎฐิกวัน มกุ ดาหาร
115
เขตปกครองคณะสงฆ์ วัด จังหวัด
162. ทรายทอง มกุ ดาหาร
163. สุธิกาวาส อำนาจเจริญ
164. พระศรเี จรญิ อาํ นาจเจรญิ
165. เทพมงคล อำนาจเจริญ
ภาค 11 166. พายัท นครราชสีมา
167. สมุทรการ นครราชสีมา
168. ญาณโสถิตวนาราม นครราชสีมา
169. ใหญ่สีคิ้ว นครราชสีมา
170. หนองแวง นครราชสีมา
171. ชัยชุมพร ชัยภูมิ
172. ป่าเรไร ชัยภูมิ
173. หรดี ชัยภูมิ
174. ปทุมาวาส ชัยภูมิ
175. ป่าสุวรณไพโรจน์ ชัยภูมิ
176. สะแกชำ บุรีรัมย์
177. สำโรง บุรีรัมย์
178. อีสานทะเมนชัย บุรีรัมย์
179. กลาง (กลางประโคนชัย) บุรีรัมย์
180. ทักษิณวารี (ทักษิณวารีสิริสุข) สุรินทร์
181. สุวรรณรัตน์โพธิยาราม สุรินทร์
182. ไตรรัตนาราม สุรินทร์
183. เกาะแก้ว สุรินทร์
184. จอมพระ สุรินทร์
ภาค 12 185. หลวงปรีชากูล ปราจีนบุรี
186. แก้วพิจิตร ปราจีนบุรี
187. นพคุณทอง ปราจีนบุรี
188. หลวงบดินทร์เดชา ปราจีนบุรี
116
เขตปกครองคณะสงฆ์ วัด จังหวัด
189. ประสิทธิเวช นครนายก
190. องครักษ์ธรรมปัญญาราม นครนายก
191. วิหารขาวเจติยาราม นครนายก
192. เจดีย์ทอง นครนายก
193. สนามจันทร์ ฉะเชิงเทรา
194. สุขาราม ฉะเชิงเทรา
195. เกาะแก้วเวฬุวัน ฉะเชิงเทรา
196. สระแก้ว สระแก้ว
197. เขาฉกรรจ์ สระแก้ว
198. วิหารธรรม สระแก้ว
ภาค 13 199. หนองปรือ ชลบุรี
200. โคกขี้หนอน ชลบุรี
201. หนองใหญ่ศิริธรรม ชลบุรี
202. ราษฎร์นิยมธรรม ชลบุรี
203. เขากะโดน ระยอง
204. สุขไพรวัน ระยอง
205. วังจันทร์ ระยอง
206. เนินพระ ระยอง
207. ไผ่ล้อม จันทบุรี
208. โป่งแรด (โป่งแรดพฤษาราม) จันทบุรี
209. บูรพาพิทยาราม จันทบุรี
210. ปากน้ำ (แหลมสิงห์) จันทบุรี
211. ธรรมาภิมุข ตราด
212. บ่อไร่ ตราด
213. สุวรณมงคล ตราด
214. บุปผาราม ตราด
117
เขตปกครองคณะสงฆ์ วัด จังหวัด
ภาค 14 215. พระปฐมเจดีย์ นครปฐม
216. ไร่ขิง นครปฐม
217. วังตะกู นครปฐม
218. ห้วยจรเข้ นครปฐม
219. กลางคูเวียง นครปฐม
220. ป่าเลไลยก์ สุพรรณบุรี
221. ไทรงามธรรมธราราม สุพรรณบุรี
222. ไผ่โรงวัว สุพรรณบุรี
223. สองพี่น้อง สุพรรณบุรี
224. สามชุก สุพรรณบุรี
225. ทองผาภูมิ กาญจนบุรี
226. ถ้ำมังกรทอง กาญจนบุรี
227. มโนธรรมาราม กาญจนบุรี
228. พระแท่นดงรัง กาญจนบุรี
229. ด่านมะขามเตี้ย กาญจนบุรี
230. ชัยมงคล สมุทรสาคร
231. ยกระบัตร สมุทรสาคร
232. ศรีบูรณาวาส สมุทรสาคร
233. นางสาว สมุทรสาคร
ภาค 15 234. คงคาราม ราชบุรี
235. ศรัทธาราษฎร์ ราชบุรี
236. จอมบึง ราชบุรี
237 รางบัว ราชบุรี
238. ประชุมพบแสน (ธ) ราชบุรี
239. มหาธาตุ เพชรบุรี
240. อรัญญาราม เพชรบุรี
241. เนรัญชราราม (ธ) เพชรบุรี
118
เขตปกครองคณะสงฆ์ วัด จังหวัด
242. บันไดทอง เพชรบุรี
243. ลาดศรัทธาราม เพชรบุรี
244. แก่งกระจาน เพชรบุรี
245. ช่องลม สมุทรสงคราม
246. จุฬามณี สมุทรสงคราม
247. ปราโมทย์ สมุทรสงคราม
248. เจริญสุขาราม สมุทรสงคราม
249. พระยาญาติ สมุทรสงคราม
250. ธรรมิการาม ประจวบคิรีขันธ์
251. ธรรมรังสี ประจวบคิรีขันธ์
252. ไกลกังกล ประจวบคิรีขันธ์
253. หัวหิน ประจวบคิรีขันธ์
254. เขาตะเกียบ ประจวบคิรีขันธ์
ภาค 16 255. โคกมะม่วง นครศรีธรรมราช
256. มะนาวหวาน นครศรีธรรมราช
257. ใหม่ไทยเจริญ นครศรีธรรมราช
258. พระมหาธาตุ (ธ) นครศรีธรรมราช
259. เสาธงทอง นครศรีธรรมราช
260. สันติธรรมาราม สุราษฎร์ธานี
261. สุทธาวาส สุราษฎร์ธานี
262. ท่าไทร สุราษฎร์ธานี
263. พุนพินใต้ สุราษฎร์ธานี
264. โพธิ์ สุราษฎร์ธานี
265. ขันเงิน ชุมพร
266. ถ้ำขวัญเมือง ชุมพร
267. นาสร้าง ชุมพร
268.ธรรมถาราม (ธ) ชุมพร
119
เขตปกครองคณะสงฆ์ วัด จังหวัด
ภาค 17 269. เชิงทะเล ภูเก็ต
270. สุวรรณคีรีวงค์ ภูเก็ต
271. กะพังสุรินทร์ ตรัง
272. ห้วยยอด ตรัง
273. เขาพระวิเศษ ตรัง
274. ชนาธิการาม พังงา
275. ปาโมกข์ พังงา
276. สามัคคีธรรม (ป่าส้วน) พังงา
277. ถ้ำเสือ กระบี่
278. เกาะลันตา กระบี่
279. ตโปทาราม ระนอง
280. อุปนันทาราม ระนอง
ภาค 18 281. โพธิ์ปฐมาวาส สงขลา
282. โคกสมานคุณ สงขลา
283. วังปริง สงขลา
284. กาญจนาวาส สงขลา
285. ใหม่ทุ่งคา สงขลา
286. คลองเปล สงขลา
287. ป่าตอ พัทลุง
288. นาปะขอ พัทลุง
289. ป่าลิไลย์ พัทลุง
290. บางแก้ว (เขียนบางแก้ว) พัทลุง
291. ชนาธิปเฉลิม สตูล
292. พัฒนาราม สตูล
293. นิคมพัฒนาราม สตูล
294. นพวงศาราม (ธ) ปัตตานี
295. อรัญวาสิการาม ปัตตานี
120
เขตปกครองคณะสงฆ์ วัด จังหวัด
296. สารวัน ปัตตานี
297. พุทธภูมิ ยะลา
298. ยะหาประชาราม ยะลา
299. บาละ ยะลา
300. บางนรา นราธิวาส
301. พระพุทธ นราธิวาส
302. สุคิรินประชาราม นราธิวาส
ภาคผนวก จ
แบบรายงานวัดพัฒนาตัวอย่าง
122
ฐานะของวัดเพื่อประกอบการพิจารณาให้ความอุปถัมภ์ในด้านการพัฒนา
ประจำปี พ.ศ. ..............
1. ชื่อวัด.............................................เป็น วัดราษฎร์ พระอารามหลวง (ให้กา ไว้)
ตั้งอยู่บ้านหมู่ที่.....................ตำบล.................................อำเภอ...........................จังหวัด.....................
2. ที่ดิน ที่ตั้งวัด จำนวน...........................ไร่..................................งาน..............................ตาราง
ที่ธรณีสงฆ์ จำนวน...........................ไร่..................................งาน..............................ตาราง
ที่กัลปนา จำนวน...........................ไร่..................................งาน..............................ตาราง
3. บุคคลภายในวัด
พระภิกษุ .....................................รูป สามเณร.................................รูป
- น้อยกว่า 5 พรรษา .....................................รูป ศิษย์วัด...................................รูป
- ตั้งแต่ 5 พรรษาขึ้นไป .....................................รูป ชี ...................................รูป
4. อาคารเสนาสนะภายในวัด มีหรือไม่ มั่นคงเพียงไร (ให้กา ไว้)
อุโบสถ มั่นคง ไม่มั่นคง ไม่มี
วิหาร มั่นคง ไม่มั่นคง ไม่มี
ศาลาการเปรียญ มั่นคง ไม่มั่นคง ไม่มี
หอสวดมนต์ มั่นคง ไม่มั่นคง ไม่มี
โรงเรียนพระปริยัติธรรม มั่นคง ไม่มั่นคง ไม่มี
กุฎิ รวม.....................หลัง มั่นคง จำนวน........................................หลัง
ไม่มั่นคง จำนวน........................................หลัง
อาคารอื่น ๆ (ถ้ามี) ได้แก่
- ..................................... มั่นคง ไม่มั่นคง
- ..................................... มั่นคง ไม่มั่นคง
- ..................................... มั่นคง ไม่มั่นคง
5. วัดมีปูชนียวัตถุหรือไม่ ถ้ามี ได้แก่.........................................................................................................
.................................................................................................................................................................
6. โรงเรียนที่ตั้งอยู่ในที่ดินของวัด มีหรือไม่...............................ถ้ามี ได้แก่
ร.ร. สังกัดกรมสามัญศึกษา จำนวน........................โรง ชื่อ................................
ร.ร. สังกัดกรมอาชีวศึกษา จำนวน........................โรง ชื่อ................................
ร.ร. สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาแห่งชาติ จำนวน....................โรง ชื่อ......................


123
ร.ร. สังกัดเทศบาล จำนวน....................โรง ชื่อ......................
ร.ร. เอกชน จำนวน....................โรง ชื่อ......................
อื่น ๆ (โปรดระบุ)............................ จำนวน....................โรง ชื่อ......................
จำนวนนักเรียนทั้งหมด.................... คน
7. การร่วมมือจากประชาชน (โดยเฉลี่ย/ครั้ง)
- ในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ประมาณ................................คน
- ในวันธรรมสวนะ ประมาณ................................คน
8. รายได้ของวัด
- รายได้จากกการจัดประโยชน์ ปีละ.....................................................บาท
- รายได้จากการบริจาคและงานกุศลอื่น ๆ ได้แก่...........................................................
....................................................................ปีละ.....................................................บาท
9. โปรดแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับการดำเนินงานกิจกรรมที่วัดจัดขึ้น ในหัวข้อต่อไปนี้
โดยละเอียดแนบท้ายแบบฟอร์มนี้
- การเทศนา - ห้องสมุด
- การแจกหนังสือธรรม - สมาคมทางศาสนา
- การจัดตั้งมูลนิธิ - สถานพยาบาล
- การบริการทางสังคม - อื่น ๆ
10. วัดมีแผนผังวัดหรือไม่.................ถ้ามี ให้เขียนแผนผังวัดที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และการปรับปรุง
ใหม่ในอนาคตให้ละเอียดและชัดเจน ใช้มาตราส่วนเป็นหลักประกอบในการเขียนด้วย
และแนบมาพร้อมแบบฟอร์มนี้
(ลงชื่อ).........................................................เจ้าอาวาส
(...........................................)
ความเห็นศึกษาธิการอำเภอ.................................................................................................................
(ลงชื่อ).........................................................
(...........................................)
ความเห็นเจ้าคณะอำเภอ......................................................................................................................
(ลงชื่อ).........................................................
(...........................................)
124
ความเห็นนายอำเภอ.............................................................................................................................
(ลงชื่อ).........................................................
(...........................................)
ความเห็นศึกษาธิการจังหวัด.....................................................................................................................
(ลงชื่อ).........................................................
(...........................................)
ความเห็นเจ้าคณะจังหวัด...........................................................................................................................
(ลงชื่อ).........................................................
(...........................................)
ความเห็นผู้ว่าราชการจังหวัด.....................................................................................................................
(ลงชื่อ).........................................................
(...........................................)
หมายเหตุ (1) ถ้าเจ้าอาวาสดำรงตำแหน่งเจ้าคณะทางการปกครอง เช่น เป็นเจ้าคณะตำบล เจ้าคณะอำเภอ
เจ้าคณะจังหวัด ให้ระบุไว้ด้วย
(2) โปรดส่งภาพถ่ายบริเวณวัด อาคารเสนาสนะ ภาพถ่ายกิจกรรมต่าง ๆ และอื่น ๆ
(ฉบับตัวจริง) ของวัดมาพร้อมแบบฟอร์มนี้ด้วย
125
แบบรายงานผลการพัฒนาวัด
ประกอบเรื่องขอเป็นวัดพัฒนาตัวอย่างที่มีผลงานดีเด่น
ประจำปี.............
....................................
ชื่อวัด........................................ ตำบล.......................อำเภอ..........................จังหวัด...........................
นามเจ้าอาวาส..............................................ฉายา...........................................นามเดิม........................
โปรดเขียนรายงานการพัฒนาวัดที่ได้ดำเนินการไปแล้ว และที่จะดำเนินการต่อไป ตาม
หัวข้อที่กำหนดโดยสังเขป และให้ตรงตามความเป็นจริง
หมวด 1 บริเวณวัด เสนาสนะและถาวรวัตถุ
หัวข้อเรื่อง "แผนผังวัด ป้ายชื่อวัด ป้ายสถิติบอกจำนวนศาสนบุคคลภายในวัด ป้าย
แสดงรายนามของเจ้าอาวาส ป้ายแสดงประวัติวัดโดยย่อ รั้วแสดงบริเวณที่ตั้งวัด ถนนและทางเท้า
ภายในวัด การสาธารณูปโภคภายในวัด ห้องสุขาสาธารณะ ที่พักผ่อนในบริเวณวัด ไม้ดอกไม้
ประดับ ไม้ยืนต้น ความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยในเขตพุทธาวาส - เขตสังฆาวาส -
พื้นที่อื่น ๆ ภายในวัด"
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
หมวด 2 การบริหารและการปกครอง
หัวข้อเรื่อง "จำนวนพระภิกษุ-สามเณรและศิษย์วัด การแต่งตั้งคณะกรรมการวัด การวาง
แผนและโครงการประจำปี การประชุมอบรมศีลาจารวัตรแก่พระภิกษุสามเณร ระเบียบของพระ
ภิกษุสามเณรและศิษย์วัด สมุดเยี่ยม สมุดบันทึกประวัติวัด ทะเบียนพระภิกษุสามเณรและศิษย์วัด
การประพฤติปฏิบัติของพระภิกษุ-สามเณร-ศิษย์วัด การทำวัตรปฏิบัติของพระภิกษุสามเณร การทำ
กิจวัตรของศิษย์วัด การปกครองดูแลศิษย์วัด สวัสดิการภายในวัด"
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
126
หมวด 3 การดูแลรักษาและการจัดศาสนสมบัติ
หัวข้อเรื่อง “การดูแลรักษาโบราณสถาน-โบราณวัตถุ-ศิลปวัตถุ-เสนาสนะ, ทะเบียน
ทรัพย์สินของวัด, บัญชีการเงิน, การจัดทำแผนผังเขตจัดประโยชน์, การจัดประโยชน์ของวัด,
การเก็บรักษาเอกสารสิทธิต่าง ๆ, ไวยาวัจกร”
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
หมวด 4 การศึกษา อบรม เผยแพร่
หัวข้อเรื่อง “การศึกษาพระปริยัติธรรม, ผลการศึกษาพระปริยัติธรรม, การศึกษาของ
ศิษย์วัด, การเทศนาอบรมประชาชนในบริเวณวัด-ภายนอกวัด, การส่งเสริมการศึกษาทางพทุ ธ
ศาสนาแก่เยาวชนและประชาชน, การจัดกิจกรรมที่เอื้อต่อการเผยแพร่พระพุทธศาสนา,
การสงเคราะห์ทางการศึกษา, อุบาสก อุบาสิกาในชุมชนรอบวัด”
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
หมวด 5 การสาธารณสงเคราะห์
หัวข้อเรื่อง “การเผยแพร่ควมรู้และข่าวสารแก่ชาวบ้านทางด้านสาธารณสุขมูลฐาน
การเกษตร-กฎหมายและอื่น ๆ , การตรวจรักษาและพยาบาล, การจัดตั้งธนาคารข้าว – ธนาคารโค –
กระบือ – ธนาคารยา – ธนาคารเมล็ดพันธุ์พืช – การจัดตั้งสหกรณ์ในหมู่บ้าน, การระงับ ข้อพิพาท
และขอ้ ขัดแยง้ ของชาวบา้ น, การสง่ เสรมิ ใหป้ ระชาชนลดและเลกิ อบายมขุ การสง่ เสริมใหป้ ระชาชน
ประหยัด”
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
127
ความเห็นศึกษาธิการอำเภอ........................................................................................................................
(ลงชื่อ).........................................................
(...........................................)
ความเห็นเจ้าคณะอำเภอ.............................................................................................................................
(ลงชื่อ).........................................................
(...........................................)
ความเห็นนายอำเภอ..................................................................................................................................
(ลงชื่อ).........................................................
(...........................................)
ความเห็นศึกษาธิการจังหวัด.....................................................................................................................
(ลงชื่อ).........................................................
(...........................................)
ความเห็นเจ้าคณะจังหวัด...........................................................................................................................
(ลงชื่อ).........................................................
(...........................................)
ความเห็นผู้ว่าราชการจังหวัด.....................................................................................................................
(ลงชื่อ).........................................................
(...........................................)
หมายเหตุ (1) ผู้รายงานควรเป็นผู้ที่ทราบการดำเนินการต่าง ๆ ของวัดเป็นอย่างดี
(2) โปรดส่งภาพถ่ายประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ที่ผ่านมา – กำลังดำเนินการอยู่และจะดำเนินการ
ในอนาคต (ฉบับตัวจริง) ของวัดมาพร้อมแบบฟอร์มนี้ด้วย
128
แบบรายงานผลการดำเนินงานพัฒนาวัด
ปี พ.ศ. .......................
1. ชื่อ/ฉายาเจ้าอาวาส....................................................................วัด...............................................................
ตำบล............................................อำเภอ.......................................จังหวัด....................................................
เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างปี...............................................ได้รับพัด ฯ ปี..........................................................
2. บุคคลภายในวัด ประกอบด้วย
พระภิกษุ..................รูป สามเณร......................รูป ชี........................คน ศิษย์วัด...................คน
3. ผลการพัฒนาวัดในปี 25.................... มีดังนี้
3.1 การปรับปรุงบริเวณวัด ตลอดจนอาคารเสนาสนะถาวรวัตถุต่าง ๆ ได้ดำเนินงานไปแล้วคือ
..................................................................................................................................................................
3.2 การบริหารและการปกครอง ได้ดำเนินงานไปแล้วคือ
..................................................................................................................................................................
3.3 การดูแลรักษาและจัดการศาสนสมบัติ ได้ดำเนินงานไปแล้วคือ
..................................................................................................................................................................
3.4 การศึกษาอบรมเผยแพร่ ได้ดำเนินงานไปแล้วคือ
..................................................................................................................................................................
3.5 การสาธารณสงเคราะห์ (การบำเพ็ญประโยชน์ต่อชุมชน) ได้ดำเนินงานไปแล้วคือ
..................................................................................................................................................................
3.6 กิจกรรมอื่น ๆ (ถ้ามี) ได้ดำเนินงานไปแล้วคือ
..................................................................................................................................................................
ขอรับรองว่า ผลการดำเนินงานพัฒนาตามแบบรายงานฉบับนี้เป็นควมจริง
(ลงชื่อ)..................................................เจ้าอาวาส
(...........................................)
129
ความเห็นศึกษาธิการอำเภอ........................................................................................................................
(ลงชื่อ).........................................................
(...........................................)
ความเห็นเจ้าคณะอำเภอ.............................................................................................................................
(ลงชื่อ).........................................................
(...........................................)
130
แบบรายงานกิจกรรม
ที่วัดจะจัดดำเนินการในปี.....................
----------------------------
1. การปรับปรุงบริเวณวัด ตลอดจนอาคารเสนาสนะถาวรวัตถุต่าง ๆ
........................................................................................................................................................................
........................................................................................................................................................................
2. การบริหารและการปกครอง
........................................................................................................................................................................
........................................................................................................................................................................
3. การดูแลรักษาและจัดการศาสนสมบัติ
........................................................................................................................................................................
........................................................................................................................................................................
4. การศึกษาอบรมเผยแพร่
........................................................................................................................................................................
........................................................................................................................................................................
5. การสาธารณสงเคราะห์ (การบำเพ็ญประโยชน์ต่อชุมชน)
........................................................................................................................................................................
........................................................................................................................................................................
6. กิจกรรมอื่น ๆ (ถ้ามี)
........................................................................................................................................................................
........................................................................................................................................................................
(ลงชื่อ)..................................................เจ้าอาวาส
(...........................................)
ภาคผนวก ช
ประวัติผู้วิจัย
132
ประวัติผู้วิจัย
ชื่อ – สกุล นายปกรณ์ ตันสกุล
วัน เดือน ปี เกิด วันที่ 3 มกราคม 2492
การศึกษา
พ.ศ. 2512 มัธยมศึกษาปีที่ 8
โรงเรียนอำนวยศิลป์พระนคร กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. 2516 วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. 2546 ครุศาสตรมหาบัณฑิต
สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กรุงเทพมหานคร
ประสบการณ์ทำงาน การรับราชการ
พ.ศ. 2518-2519 วิศวกร 3
กองสำรวจรางวัดที่ดินสาธารณะ กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. 2519-2539 วิศวกรโยธา 3-6
ฝ่ายออกแบบและก่อสร้าง กองพุทธศาสนสถาน
กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. 2538-2546 รักษาการผู้จัดการโรงพิมพ์การศาสนา
กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. 2539-2541 เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป 7
หัวหน้าฝ่ายศาสนสถาน กรมการศาสนา
กระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. 2541-ปัจจุบัน เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป 8
ผู้อำนวยการกองศาสนูปถัมภ์ กรมการศาสนา
กระทรวงวัฒนธรรม
133
การฝึกอบรม
พ.ศ. 2543 อบรมหลักสูตรนักบริหารระดับกลาง รุ่นที่ 15
(ระหว่างวันที่ 21 สิงหาคม-8 กันยายน 2543)
พ.ศ. 2544 โครงการพัฒนาหลักสูตร
“การวางแผนและการบริหารเชิงกลยุทธ์สมัยใหม่” กระทรวงศึกษาธิการ
(ระหว่างวันที่ 27 กันยายน-9 ธันวาคม 2544)
ณ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พ.ศ. 2546 หลักสูตรนักบริหารระดับสูง (หลักสูตร นบส. 1 รุ่นที่ 39)
จากสถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
ผลงานทางด้านการออกแบบกว่า 100 รายการ
ผลงานในปีปัจจุบัน
พ.ศ. 2546 โครงการบรรพชาอุปสมบทภาคฤดูร้อนเฉลิมพระเกียรติ
โครงการแลกเปลี่ยนศาสนทายาทระหว่างประเทศไทย-จีน
โครงการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุพระเขี้ยวแก้ว
จากประเทศจีนมาประดิษฐานที่พุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม
โครงการศาสนิกสัมพันธ์แห่งชาติ “งานศาสนิกสัมพันธ์แห่งชาติ ครั้งที่ 1”
ระหว่างวันที่ 10-12 สิงหาคม ณ ศูนย์วัฒธรรมแห่งประเทศไทย
โครงการอบรมศาสนพิธีกรและผู้ช่วยศาสนพิธีกร
โครงการอบรมศาสนมัคคุเทศก์
ดำเนินการขอพระราชทานผ้าพระกฐิน พร้อมเครื่องบริวารพระกฐิน
พระราชทานถวายวัดไทย ในต่างประเทศจำนวน 30 วัด
(ปี 2545 โปรดเกล้าฯ 20 วัด และปี 2546 โปรดเกล้าฯ 10 วัด)

การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานของพระสังฆาธิการในวัดพัฒนาตัวอย่าง (ตอนที่ 1)
การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานของพระสังฆาธิการในวัดพัฒนาตัวอย่าง (ตอนที่ 2)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น