ศึกษาและโหลดฟรีเป็นตัวอย่างเกี่ยวกับงานวิจัย all free download research
วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2554
การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 (ช่วงชั้นที่ 2) (ตอนที่ 2)
จากการศึกษาค้นคว้าวรรณกรรม แนวคิด ทฤษฎี เอกสารรายงานการวิจัยที่เกี่ยวข้องปัจจัยสำคัญส่งผลให้บุคคลมีพฤติกรรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม นั้นคือ ครอบครัว ได้แก่ รูปแบบการอบรมเลี้ยงดูภายในครอบครัว การมีปฏิสัมพันธ์ของครอบครัว ขบวนการขัดเกลาทางสังคม โรงเรียน ได้แก่ การเรียนรู้ ขบวนการเรียนรู้ที่ให้เด็กเป็นศูนย์กลาง การนำประสบการณ์มาประยุกต์ให้เกิดการเรียนรู้พร้อมทั้งครูคือต้นแบบในการถ่ายทอดคุณธรรมความรับผิดชอบ ทัศนคติ จิตสำนึกของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้เกิดขึ้นกับเด็ก ในขณะเดียวกันการนำเสนอและเผยแพร่จากสื่อสังคมในการให้ความรู้ข้อมูลรู้ข่าวสาร ได้แก่ สื่อมวลชน และสื่อบุคคล มีบทบาทมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การกระทำชนิดใดดีควรกระทำ และการกระทำชนิดใดที่ไม่ดีที่ควรงดเว้น ลักษณะและพฤติกรรมประเภทใดเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมมากน้อยเพียงใด การที่บุคคลแสดงพฤติกรรมที่สังคมนิยมชมชอบหรืองดเว้นการแสดงพฤติกรรมที่ฝ่าฝืนกฎเกณฑ์ หรือค่านิยมในสังคม เช่น การ การเสียสละเพื่อส่วนรวม และการช่วยเหลือผู้อื่น การทำดี เป็นผู้มีความรับผิดชอบ ภายใต้การมีเหตุผล ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญในการพัฒนาพฤติกรรมและบุคลิกภาพให้เด็กไปในทิศทางใด ให้มีคุณภาพหรือพฤติกรรมอย่างไร และมีอิทธิพลคงทนและสร้างจิตสำนึกที่ดีไปถึงวัยผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพและนำไปสู่การพัฒนาประเทศชาติในอนาคต
จากการศึกษาแนวคิดทฤษฎีและหลักฐานเชิงประจักษ์ดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัยได้นำมา
วิเคราะห์และสังเคราะห์ เพื่อกำหนดตัวแปร กรอบแนวความคิด และสมมติฐานในการศึกษาครั้งนี้โดยมีตัวแปรต้น ประกอบด้วย การอบรมเลี้ยงดูจากครอบครัว การให้การศึกษาอบรมจากโรงเรียน การนำเสนอและการเผยแพร่จากสื่อสังคม ตัวแปรตาม ได้แก่ พฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
บทที่ 3
วิธีการวิจัย
ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 (ช่วงชั้นที่ 2): กรณีศึกษาโรงเรียนวัดพิกุล สังกัดกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้ศึกษารวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้องจาก หนังสือ งาน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการวิจัย โดย มีรายละเอียดดังนี้
ประชากรที่ศึกษาและการสุ่มตัวย่าง
ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 (ช่วงชั้นที่ 2) โรงเรียนวัดพิกุล กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ทุกคน ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 105 คน ซึ่งพฤติกรรมของนักเรียนมีส่วนสำคัญในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม และลดปริมาณการใช้ไฟฟ้า น้ำประปาที่สิ้นเปลืองเกินความจำเป็นในโครงการต่างๆ ของโรงเรียน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้โดยศึกษาจากผลงานวิจัย เอกสารทางด้านวิชาการ ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นแนวทางในการกำหนดขอบเขตเนื้อหาในการสร้างเครื่องมือ โดยมีลำดับขั้นตอนดังนี้
1. สร้างข้อคำถามให้ครอบคลุมรายละเอียดของตัวแปรอิสระ ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้อง
กับพฤติกรรมการอนุรกษ์สิ่งแวดล้อม และจัดทำแบบสอบถามให้เหมาะสมกับการนำไปใช้ และนำแบบสอบถามฉบับนี้ไปหาคุณภาพ โดยได้กำหนดการวัดและเกณฑ์การให้คะแนนรายละเอียด ต่าง ๆ ดังนี้
52
แบบสอบถาม ประกอบด้วย รายละเอียดของคำถามที่ใช้วัดปัจจัยที่มีผลต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม แบ่งออกเป็น 2 ตอน ดังนี้ คือ
ตอนที่ 1 แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จำนวน 30 ข้อ เป็น คำถามเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดู การให้การศึกษาและอบรมในโรงเรียน และ คำถามเกี่ยวกับการนำเสนอสื่อทางสังคม
ตอนที่ 2 คำถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จำนวน 20 ข้อ เป็นการวัดระดับการปฏิบัติของผู้ตอบแบบสอบถาม และเป็นแบบสอบถามแบบประมาณค่า (Rating Scale) 3 ระดับ มีระดับการวัดแบบประเภทช่วง (Interval Scale) จำนวน 30 ข้อ ดังนี้
1.คำถามเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดู จำนวน 10 ข้อ
2. คำถามเกี่ยวกับการให้การศึกษาและอบรมในโรงเรียน จำนวน 10 ข้อ
3. คำถามเกี่ยวกับการนำเสนอสื่อทางสังคม จำนวน 10 ข้อ
โดยมีเกณฑ์ในการให้คะแนนแบบสอบถามดังนี้
ความคิดเห็น
คะแนน
ไม่ทำ
1
ทำบางครั้ง
2
ทำบ่อยครั้ง
3
2. คำถามในตอนที่ 2 เป็นคำถามเพื่อวัดระดับการปฏิบัติการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของ ผู้ตอบแบบสอบถาม และเป็นแบบสอบถามแบบประมาณค่า (Rating Scale) 3 ระดับ มีระดับการวัดแบบประเภทช่วง (Interval Scale) จำนวน 20 ข้อ ดังนี้
53
คะแนน
การปฏิบัติ
คำถามเชิงบวก
คำถามเชิงลบ
ไม่ทำ
1
3
ทำบางครั้ง
2
2
ทำบ่อยครั้ง
3
1
3. แปลผลจากคะแนนของแบบสอบถาม โดยรวมคะแนนจากแบบสอบถามทั้ง 50 ข้อ แล้วใช้ค่าเฉลี่ย (⎯X ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) นำมาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ตัวแปรต้น หรือปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และลักษณะแบบสอบถามที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็น 3 ระดับ ดังนั้นเกณฑ์การพิจารณาขอบเขตของคะแนนเฉลี่ยเพื่อใช้ในการแปลความหมายข้อมูล เกณฑ์การพิจารณาขอบเขตของคะแนนเฉลี่ยเพื่อใช้ในการแปลผลตามความหมายของข้อมูลในการศึกษาครั้งนี้ได้กำหนดไว้เป็น 3 ระดับ จากหลักการคำนวณค่าพิสัยของ กัลยา วานิชย์บัญชา (2541: 28) ที่กำหนดให้พิสัยมีค่าเท่ากับ ค่าสูงสุดลบด้วยค่าต่ำสุด หารด้วยจำนวนระดับ ในที่นี้กำหนดให้ค่าสูงสุด = 3 และค่าต่ำสุด = 1 และจำนวนระดับ = 3 มีเกณฑ์การพิจารณาดังนี้
พิสัย = (คะแนนสูงสุด – คะแนนต่ำสุด)
3
= ( 3 – 1 )
3
= 0.66
เกณฑ์การพิจารณาขอบเขตของคะแนนเฉลี่ยเพื่อใช้ในการแปลความหมายข้อมูล 3 ระดับมีดังนี้
คะแนนเฉลี่ย
1.00-1.66
หมายถึง
อยู่ในระดับต่ำ
1.67-2.33
หมายถึง
อยู่ในระดับปานกลาง
2.34-3.00
หมายถึง
อยู่ในระดับสูง
54
การพัฒนาเครื่องมือเพื่อใช้ในการวิจัย
ในการสร้างและพัฒนาแบบสอบถามให้มีคุณภาพ ผู้วิจัยได้พัฒนาเครื่องมือด้วยตนเองโดยรวบรวมข้อมูลจากเอกสารต่าง ๆ เพื่อนำเป็นแนวทางในการสร้างแบบสอบถาม
เมื่อทำการสร้างแบบสอบถามเป็นเครื่องมือที่จะใช้ในการวิจัยแล้ว ผู้วิจัยได้ทำการ ตรวจ สอบคุณภาพของเครื่องมือและดำเนินการปรับปรุงแก้ไข โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. การตรวจสอบความตรงของเครื่องมือ (Validity) ได้นำแบบสอบถามที่สร้างขึ้นไปหาความตรงตามเนื้อหา (Content Validity) โดยนำแบบสอบถามฉบับร่างไปให้กรรมการวิทยานิพนธ์ จำนวน 3 ท่าน และผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน ตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา เพื่อตรวจสอบความสมบูรณ์ของเครื่องมือในด้านเนื้อหาคำถาม เพื่อให้ครอบคลุมและวัดได้ตรงตามที่ต้องการวัด รวมทั้งตรวจสอบความเป็นปรนัย (Objectivity) ของคำถาม คำตอบแต่ละข้อ เพื่อให้ได้ข้อคำถามที่ถูกต้องชัดเจน เมื่อผ่านการพิจารณาจากผู้เชี่ยวชาญแล้วผู้วิจัยได้นำแบบสอบถามมาทำการปรับแก้ให้เหมาะสมทั้งภาษาและเนื้อหาตามความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ เพื่อนำไปตรวจสอบคุณภาพด้านอำนาจการจำแนกของข้อคำถาม ความเที่ยงตรงของเครื่องมือ เพื่อนำไปใช้จริง
2. การทดลองใช้แบบสอบถาม (Try Out) นำแบบสอบถามที่ปรับปรุงแล้วไปทดลองใช้กับประชากรที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกลุ่มตัวอย่าง ที่อยู่ในโรงเรียนวัดท่าพระ ซึ่งมีลักษณะเดียวกัน จำนวน 30 คน เพื่อตรวจสอบภาษาที่ใช้ให้เป็นที่เข้าใจและมีความชัดเจนเมื่อนำแบบสอบถามไปใช้ได้จริง
3. การตรวจสอบความเที่ยงตรงของเครื่องมือ (Reliability) ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.8057
4. ทำการปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องของแบบสอบถามขั้นสุดท้าย ในด้านการใช้ภาษา สำนวนภาษาในข้อคำถามให้เข้าใจง่ายและเข้าใจตรงกัน มีความเที่ยงตรง มีความเหมาะสมในการนำไปใช้ แล้วจึงนำไปทำการสอบถามจากลุ่มตัวอย่างจริง
การเก็บรวบรวมข้อมูล
55
ผู้วิจัยได้ขอจดหมายสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เพื่อขออนุญาตการเก็บรวบรวมข้อมูลจากโรงเรียนเป้าหมายด้วยตนเอง มีหนังสือปะหน้าทุกฉบับ อธิบายถึงรายละเอียดการตอบแบบสอบถาม และผู้ตอบแบบสอบถามไม่ต้องระบุชื่อ นามสกุล และผู้วิจัยได้ชี้แจงและอธิบายให้ผู้ตอบเข้าใจข้อคำถามเพื่อให้ได้ข้อมูลชัดเจนและถูกต้องมากที่สุด ซึ่งผู้วิจัยจะนำเสนอผลการวิจัยในภาพรวม โดยจะใช้เวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูลประมาณ 2 เดือน
ดำเนินการเก็บรวบรวมแบบสอบถามทั้งหมดมาทำการลงรหัส และนำไปทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows
การวิเคราะห์ข้อมูล
ผู้วิจัยได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างมาทำการวิเคราะห์ทางสถิติด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS (Statistical Package for Social Science) ในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาความสัมพันธ์ทางสถิติในการวิจัยครั้งนี้ ใช้ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 99 (α= 0.01) เป็นเกณฑ์ในการยอมรับหรือปฏิเสธสมมติฐานในการวิจัย
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
1. วิเคราะห์ค่าสถิติเชิงพรรณา (Descriptive Statistics) โดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ อธิบายตัวแปรทุกตัวที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ตัวแปรที่มีระดับการวัดแบบช่วง ใช้ค่ามัชฌิมเลขคณิต (⎯X ) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( SD. )
2. การทดสอบสมมติฐานข้อที่ 1-3 โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์ความสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation Coefficient )
เกณฑ์ในการแปลความหมายค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (r) ในการศึกษาครั้งนี้กำหนดเป็น 5 ระดับโดยคิดจากค่าพิสัยเท่ากับ 0.20 ผู้วิจัยได้คำนวณตามหลักการคิดค่าพิสัยของ กัลยา วานิชย์บัญชา (2541: 28) ที่กำหนดให้พิสัยมีค่าเท่ากับ ค่าสูงสุดลบด้วยค่าต่ำสุด หารด้วยจำนวนระดับ ในที่นี้กำหนดให้ค่าสูงสุดของ r = 1 และค่าต่ำสุด = 0 และจำนวนระดับ = 5 มีเกณฑ์พิจารณาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ดังนี้
ค่า r ความหมาย
0.8 ขึ้นไป มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง
56
0.61- 0.80 มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับค่อนข้างสูง
0.41- 0.60 มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง
0.21- 0.40 มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ
0.01- 0.20 มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับต่ำ
0.00 ไม่มีความสัมพันธ์
วิธีการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation Coefficient) นำค่าที่ได้มาทำการแปลผล ดังนี้
1. ค่า r เป็นบวกและมีค่ามากกว่า 1 ขึ้นไป แสดงว่า ตัวแปรทั้งสองตัวมีความสัมพันธ์กัน
เชิงบวก แสดงว่า ตัวแปรตัวหนึ่งมีค่าสูงมากขึ้น ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์นั้นก็จะสูงมากขึ้นเช่นเดียวกัน
2. ค่า r มีค่าน้อยกว่า 0 หรือติดลบ แสดงว่า ตัวแปรทั้งสองตัวมีความสัมพันธ์กันเชิงลบ แสดงว่า ตัวแปรตัวหนึ่งมีค่าสูงขึ้นมากเท่าใด ตัวแปรอีกตัวหนึ่งก็จะต่ำลงมากเท่านั้น
ผู้วิจัยได้กำหนดสมมติฐานย่อยไว้ดังนี้
สมมติฐานที่ 1 การอบรมเลี้ยงดูจากครอบครัวมีผลต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนโรงเรียนวัดพิกุล กรุงเทพมหานคร
สมมติฐานที่ 2 การให้การศึกษาอบรมจากโรงเรียนมีผลต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนโรงเรียนวัดพิกุล กรุงเทพมหานคร
สมมติฐานที่ 3 การนำเสนอและเผยแพร่จากสื่อสังคมมีผลต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนโรงเรียนวัดพิกุล กรุงเทพมหานคร
บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามจำนวน 105 ชุด เป็นการวิจัยเชิงสำรวจที่ทำการศึกษาการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 (ช่วงชั้นที่ 2) : กรณีศึกษา โรงเรียนวัดพิกุล สังกัดกรุงเทพมหานคร เพื่อศึกษาพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนวัดพิกุล กรุงเทพมหานคร ดังจะนำเสนอผลการวิจัยตาม ลำดับดังนี้
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป
ตารางที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
ข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคล
จำนวน
ร้อยละ
1. เพศ
ชาย
หญิง
54
51
51.40
48.60
4. ระดับการศึกษา
ชั้นประถมปีที่ 4
ชั้นประถมปีที 5
ชั้นประถมปีที่ 6
45
35
25
42.90
33.30
23.80
รวม
105
100.00
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามจากตารางที่ 1 พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นนักเรียนชั้นประถมปีที่ 4 – 6 จำนวน 105 คน แยกเป็นนักเรียนชาย จำนวน 54 คน คิดเป็นร้อยละ 51.40 และเป็นนักเรียนหญิง จำนวน 51 คน คิดเป็นร้อยละ 48.60
เมื่อพิจารณาระดับการศึกษาพบว่า เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 45 คน คิดเป็นร้อยละ 42.90 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 35 คน คิดเป็นร้อยละ 33.30 และ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 25 คน คิดเป็นร้อยละ 23.80
58
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละ คะแนนเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของแบบสอบถาม
ด้านปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
ข้อความ
ประจำ
บางครั้ง
ไม่ทำ
Mean
SD
ระดับ
การอบรมเลี้ยงดู
1.นักเรียนได้รับคำชมจากพ่อแม่ว่าเป็นเด็กดี ขยัน ตั้งใจเรียน
4.80
94.20
1.00
2.04
.24
ปานกลาง
2.นักเรียนช่วยพ่อแม่ทำงานหรือไปเที่ยวด้วยกันเสมอ
34.30
63.80
1.90
2.32
.51
ปานกลาง
3.นักเรียนเชื่อฟังคำสั่งสอนของพ่อแม่
57.10
42.90
0.00
2.57
.50
สูง
4.นักเรียนไม่ชอบทำอะไรที่ผิดระเบียบ
12.40
74.30
13.30
1.99
.51
ปานกลาง
5. พ่อแม่ของนักเรียนอบรมสั่งสอนด้วยการอธิบายให้เหตุผล
68.50
30.50
1.00
2.68
.49
สูง
6. เมื่อนักเรียนทำความผิดพ่อแม่จะลงโทษด้วยการตี
12.40
81.00
6.60
2.06
.43
ปานกลาง
7.พ่อแม่ให้รางวัลนักเรียนเมื่อทำความดี หรือเรียนเก่งขึ้น
26.70
66.70
6.60
2.20
.54
ปานกลาง
8.พ่อแม่ปล่อยให้นักเรียนทำอะไรด้วยตนเอง
26.70
62.90
10.40
2.16
.55
ปานกลาง
9.นักเรียนสามารถช่วยเหลือตนเองได้
46.70
53.30
0.00
2.47
.50
สูง
10.นักเรียนช่วยเหลือรับผิดชอบงานในบ้าน
33.30
66.70
0.00
2.33
.47
ปานกลาง
เฉลี่ย
2.28
0.17
ปานกลาง
การให้การศึกษาอบรมจากโรงเรียน
11.ครูให้ความรู้เรื่องการใช้น้ำไฟอย่างสม่ำเสมอ
61.90
35.20
2.90
2.59
.
.55
สูง
12.ครูอธิบายเรื่องการใช้น้ำไฟการทิ้งขยะอย่างมีเหตุผล
68.50
30.50
1.00
2.68
.49
สูง
13.นักเรียนมักถูกครูตำหนิและทำโทษเรื่องทิ้งขยะเสมอ
14.20
62.90
22.90
1.91
.61
ปานกลาง
14.ครูมอบหมายให้นักเรียนดูแลปิดน้ำไฟ
35.20
60.00
4.80
2.30
.56
ปานกลาง
15.นักเรียนทิ้งขยะลงในถังที่ทางโรงเรียนจัดให้
50.40
44.80
4.80
2.46
.59
สูง
16.นักเรียนจะทำการคัดแยกขยะก่อนทิ้ง
8.60
62.80
28.60
1.80
.58
ปานกลาง
17.ครูให้รางวัลเมื่อนักเรียนทำความดี ประหยัดน้ำไฟ
16.20
65.70
18.10
1.98
.59
ปานกลาง
18.โรงเรียนจะให้นักเรียนช่วยกันปิดไฟก่อนออกจากห้อง
73.30
22.90
3.80
2.70
.54
สูง
19.ครูเป็นแบบอย่างการใช้ทรัพยากรน้ำไฟอย่างคุ้มค่า
51.40
41.90
6.70
2.45
.62
สูง
20.นักเรียนแนะนำเพื่อนให้ช่วยกันประหยัดน้ำไฟในโรงเรียน
21.00
61.90
17.10
2.04
.62
ปานกลาง
เฉลี่ย
2.90
.24
ปานกลาง
59
ข้อความ
ประจำ
บางครั้ง
ไม่ทำ
Mean
SD
ระดับ
การนำเสนอและเผยแพร่จากสื่อสังคม
21.นักเรียนชมเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจากโทรทัศน์
28.60
65.70
5.70
2.23
.54
ปานกลาง
22. นักเรียนฟังวิทยุเรื่องปัญหาและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
11.40
70.50
18.10
1.93
.54
ปานกลาง
23. นักเรียนอ่านหนังสือเกี่ยวกับทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
14.30
74.30
11.40
2.03
.51
ปานกลาง
24. นักเรียนฟังครูพูดเรื่องเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและนำไปปฏิบัติ
20.00
70.50
9.50
2.10
.54
ปานกลาง
25. นักเรียนอ่านป้ายประกาศที่บอร์ดเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
17.10
68.60
14.30
2.03
.56
ปานกลาง
26. นักเรียนอ่านหนังสือพิมพ์คอลัมน์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
17.10
57.10
25.80
1.91
.65
ปานกลาง
27. นักเรียนอ่านนิตยสารเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
9.50
68.60
21.90
1.88
.55
ปานกลาง
28. นักเรียนอ่านการ์ตูนเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
27.60
50.50
21.90
2.06
.70
ปานกลาง
29. นักเรียนอ่านอินเตอร์เน็ตการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
7.60
56.20
36.20
1.71
.60
ปานกลาง
30. นักเรียนดู VDO, VCD เรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
20.00
51.40
28.60
1.91
.69
ปานกลาง
เฉลี่ย
1.98
.34
ปานกลาง
ผลการวิเคราะห์ตารางที่ 2 พบว่า การอบรมเลี้ยงดู พบว่า การอบรมเลี้ยงดูมีค่าอยู่ในระดับปานกลาง(⎯X = 2.28, SD =0.17 ), และพบว่าข้อคำถามที่มีค่าเฉลี่ยสูง ได้แก่ นักเรียนเชื่อฟังคำสั่งสอนของพ่อแม่ (⎯X = 2.57, SD =0.50 ), พ่อแม่ของนักเรียนอบรมสั่งสอนด้วยการอธิบายให้เหตุผล (⎯X = 2.68, SD =0.49 ) และนักเรียนสามารถช่วยเหลือตนเองได้ (⎯X = 2.47, SD =0.50 ) ส่วนข้อคำถามที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดได้แก่ นักเรียนไม่ชอบทำอะไรที่ผิดระเบียบ (⎯X = 1.99, SD =0.51 )
ผลการวิเคราะห์การให้การศึกษาอบรมจากโรงเรียนมีค่าอยู่ในระดับปานกลาง (⎯X = 2.29, SD =0.24), และพบว่าข้อคำถามที่มีค่าเฉลี่ยสูง ได้แก่ ครูอธิบายเรื่องการใช้น้ำไฟการทิ้งขยะอย่างมีเหตุผล (⎯X = 2.68, SD =0.49 ), ครูให้ความรู้เรื่องการใช้น้ำไฟอย่างสม่ำเสมอ (⎯X = 2.59, SD =0.55 ) นักเรียนทิ้งขยะลงในถังที่ทางโรงเรียนจัดให้ (⎯X = 2.46, SD =0.59 ) โรงเรียนจะให้นักเรียนช่วยกันปิดไฟก่อนออกจากห้อง (⎯X = 2.70, SD =0.54 ) และครูเป็นแบบอย่างการใช้ทรัพยากรน้ำไฟอย่างคุ้มค่า (⎯X = 2.45, SD =0.62 ) สวนข้อคำถามที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดได้แก่ นักเรียนมักถูกครูตำหนิและทำโทษเรื่องทิ้งขยะเสมอ (⎯X = 1.91, SD =0.61)
60
ผลการวิเคราะห์การนำเสนอและเผยแพร่จากสื่อสังคมมีค่าอยู่ในระดับปานกลาง (⎯X = 1.98, SD =0.34 ) คำถามที่มีค่าเฉลี่ยสูง ได้แก่ นักเรียนชมเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจากโทรทัศน์ (⎯X = 2.23, SD =0.54 ) ส่วนข้อคำถามที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดได้แก่ นักเรียนอ่านอินเตอร์เน็ตการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม(⎯X = 1.71, SD =0.60 ) พิจารณาจากการตอบแบบสอบถามของนักเรียนมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง
61
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละ คะแนนเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานพฤติกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากร
และสิ่งแวดล้อม
ข้อความ
ประจำ
บางครั้ง
ไม่ทำ
Mean
SD
ระดับ
1.นักเรียนใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัดทั้งที่บ้านและ
โรงเรียน
36.20
63.80
0.00
2.36
.48
สูง
2. นักเรียนปิดไฟก่อนออกจากห้อง
53.30
45.70
1.00
2.52
.52
สูง
3. นักเรียนมักลืมเปิดไฟทิ้งไว้
3.80
74.30
21.90
1.82
.48
ปานกลาง
4. นักเรียนนำน้ำซักผ้าครั้งสุดท้ายไปรดต้นไม้หรือ
ล้างพื้น
17.10
42.90
40.00
1.77
.72
ปานกลาง
5. นักเรียนใช้น้ำอย่างประหยัดทั้งที่บ้านและโรงเรียน
34.30
61.90
3.80
2.30
.54
ปานกลาง
6.นักเรียนลืมปิดน้ำทิ้งไว้เมื่อล้างมือล้างหน้าเสร็จแล้ว
10.50
43.80
45.70
1.65
.66
ปานกลาง
7.นักเรียนไม่สนใจเรื่องการประหยัดน้ำและไฟฟ้า
5.70
63.80
30.50
1.75
.55
ปานกลาง
8.นักเรียนช่วยทำขยะหอมในโครงการของโรงเรียน
21.90
63.80
14.30
2.08
.60
ปานกลาง
9.นักเรียนจะคัดแยกขยะก่อนนำไปทิ้ง
14.30
60.00
25.70
1.89
.63
ปานกลาง
10.เมื่อนักเรียนพบขยะจะเก็บลงไปทิ้งที่ถังขยะทันที
16.20
74.30
9.50
2.07
.51
ปานกลาง
11.นักเรียนทิ้งขยะออกนอกหน้าต่างหรือบนพื้นรถเมล์
5.70
50.50
43.80
1.62
.59
ปานกลาง
12.นักเรียนจะรวบรวมเศษใบไม้และเศษอาหารไปทำขยะหอม
16.20
56.2
27.60
1.89
.66
ปานกลาง
13.นักเรียนจะเอาใจใส่ดูแลรับผิดชอบต้นไม้ที่ปลูกไว้
23.80
69.50
6.70
2.17
.53
ปานกลาง
14.นักเรียนจะทิ้งขยะลงคลอง
6.70
53.30
40.00
1.67
.60
ปานกลาง
15.นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมรักษาความสะอาดในชุมชน
12.40
78.10
9.50
2.03
.47
ปานกลาง
16.นักเรียนชักชวนเพื่อน ๆ ให้ช่วยกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
14.30
68.60
17.10
1.97
.56
ปานกลาง
17.นักเรียนเคยคุยกับเพื่อนเรื่องการประหยัดไฟฟ้าหรือน้ำประปา
11.40
62.90
25.70
1.86
.60
ปานกลาง
18.นักเรียนเคยเล่าเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้คนที่บ้านฟัง
12.40
61.90
25.70
1.87
.61
ปานกลาง
19. นักเรียนสนใจติดตามเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
15.20
68.60
16.20
1.99
.56
ปานกลาง
20.นักเรียนมีส่วนร่วมในโครงการโรงเรียนสีเขียวหรือ
ขยะหอม
27.60
61.00
11.40
2.10
.61
ปานกลาง
เฉลี่ย
2.10
.61
ปานกลาง
62
ผลการวิเคราะห์ตารางที่ 3 พฤติกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมจากการตอบแบบสอบถามของนักเรียน พบว่า มีค่าเฉลี่ยเอยู่ในระดับปานกลาง (⎯X = 2.10, SD =0.61 ) ข้อคำถามที่มีค่าเฉลี่ยสูง ได้แก่ นักเรียนใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัดทั้งที่บ้านและโรงเรียน (⎯X = 2.36, SD =0.48 ) และนักเรียนปิดไฟก่อนออกจากห้อง (⎯X = 2.52, SD =0.52 ) ส่วนข้อคำถามที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดได้แก่ นักเรียนทิ้งขยะออกนอกหน้าต่างหรือบนพื้นรถเมล์ (⎯X =1.62 SD =0.59 )
ตารางที่ 4 ค่าระดับปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
ตัวแปร
⎯X
SD
ค่าระดับ
1.การอบรมเลี้ยงดู
2.การให้การศึกษาอบรมจากโรงเรียน
3.การนำเสนอและเผยแพร่จากสื่อสังคม
4.พฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
2.281
2.290
1.980
1.971
0.175
0.240
0.343
0.198
ปานกลาง
ปานกลาง
ปานกลาง
ปานกลาง
จากตารางที่ 4 แสดงค่าระดับของปัจจัยต่างๆ ที่ได้จากแบบสอบถาม โดยนำค่าเฉลี่ยมาเปรียบเทียบตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และแปลผลสรุปแยกแต่ละปัจจัย พบว่า
1. การอบรมเลี้ยงดู มีค่าอยู่ในระดับปานกลาง (⎯X = 2.281, SD = 0.175 )
2. การให้การศึกษาอบรมจากโรงเรียน มีค่าอยู่ในระดับปานกลาง (⎯X = 2.290, SD = 0.240 )
3. การนำเสนอและเผยแพร่จากสื่อสังคม มีค่าอยู่ในระดับปานกลาง (⎯X = 1.980, SD = 0.343 )
4. พฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มีค่าในอยู่ในระดับปานกลาง (⎯X = 1.971, SD = 0.198 )
63
ผลการทดสอบสมมติฐาน
ตารางที่ 5 ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียน
โรงเรียนวัดพิกุล กรุงเทพมหานครและตัวแปรการอบรมเลี้ยงดู
ตัวแปร
⎯X
SD
Pearson
Correlation
(r )
Sig.
พฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
1.971
0.198
การอบรมเลี้ยงดู
2.281
0.175
0.425
.000
มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
การทดสอบสมมติฐานที่ 1 การอบรมเลี้ยงดูจากครอบครัวมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการ
อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนโรงเรียนวัดพิกุล กรุงเทพมหานคร
ผลการวิเคราะห์ ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนโรงเรียนวัดพิกุล กรุงเทพมหานครและการอบรมเลี้ยงดู จากตารางที่ 5 พบว่า ค่าเฉลี่ยของพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนโรงเรียนวัดพิกุล กรุงเทพมหานคร (⎯X = 1.971, SD = 0.198) และการอบรมเลี้ยงดู (⎯X = 2.281, SD= 0.175) อยู่ในระดับปานกลาง และมีความสัมพันธ์ในระดับปานกลางกับพฤติกรรม การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนโรงเรียนวัดพิกุล กรุงเทพมหานคร (r = 0.425) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 ซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้
64
ตารางที่ 6 ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียน
โรงเรียนวัดพิกุล กรุงเทพมหานคร และตัวแปรการให้การศึกษาอบรมจากโรงเรียน
ตัวแปร
⎯X
SD
Pearson
Correlation
(r )
Sig.
พฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
1.971
0.198
การศึกษาอบรมจากโรงเรียน
2.290
0.240
0.379
.000
มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
การทดสอบสมมติฐานที่ 2 การให้การศึกษาอบรมจากโรงเรียนมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนโรงเรียนวัดพิกุล กรุงเทพมหานคร
ผลการวิเคราะห์ ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนโรงเรียนวัดพิกุล กรุงเทพมหานครและการให้การศึกษาอบรมจากโรงเรียนจากตารางที่ 6 พบว่า ค่าเฉลี่ยของพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม(⎯X = 1.971, SD= 0.198) และการให้การศึกษาอบรมจากโรงเรียน(⎯X = 2.290, SD= 0.240 ) อยู่ในระดับปานกลาง และมีความสัมพันธ์ในระดับค่อนข้างต่ำ (r = 0.379) กับพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนโรงเรียนวัดพิกุล กรุงเทพมหานคร ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 ซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้
65
ตารางที่ 7 ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียน
โรงเรียนวัดพิกุล กรุงเทพมหานครและตัวแปรการนำเสนอและการเผยแพร่จากสื่อสังคม
ตัวแปร
⎯X
SD
Pearson
Correlation
(r )
Sig.
พฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
1.971
0.198
การนำเสนอและการเผยแพร่จาก
สื่อสังคม
1.980
0.343
0.661
.000
มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
การทดสอบสมมติฐานที่ 3 การนำเสนอและเผยแพร่จากสื่อสังคมมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนโรงเรียนวัดพิกุล กรุงเทพมหานคร
ผลการวิเคราะห์ ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนโรงเรียนวัดพิกุล กรุงเทพมหานคร และการนำเสนอและเผยแพร่จากสื่อสังคมจากตารางที่ 7 พบว่า ค่าเฉลี่ยของพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนโรงเรียนวัดพิกุล กรุงเทพมหานคร (⎯X = 1.971, SD = 0.198) การนำเสนอและเผยแพร่จากสื่อสังคม (⎯X = 1.980, SD= 0.343) อยู่ในระดับปานกลาง และมีความสัมพันธ์ค่อนข้างสูง (r = 0.661) กับพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนโรงเรียนวัดพิกุล กรุงเทพมหานคร ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 ซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้
บทที่ 5
สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
การศึกษาเรื่อง การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 (ช่วงชั้นที่ 2): กรณีศึกษา โรงเรียนวัดพิกุล สังกัดกรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์ในการวิจัยดังนี้
1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6
โรงเรียนวัดพิกุล กรุงเทพมหานคร
2.เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนวัดพิกุล กรุงเทพมหานคร
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 (ช่วงชั้นที่ 2) โรงเรียนวัดพิกุล กรุงเทพมหานครทุกคน ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 105 คน ซึ่งมีส่วนสำคัญในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม และลดปริมาณการใช้ไฟฟ้า น้ำประปาที่สิ้นเปลืองเกินความจำเป็นในโครงการต่างๆ ของโรงเรียน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น 0.8057
สรุปผลการวิจัย
การศึกษา เรื่อง การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 (ช่วงชั้นที่ 2): กรณีศึกษา โรงเรียนวัดพิกุล สังกัดกรุงเทพมหานคร เป็นการศึกษา เพื่อศึกษาพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนวัดพิกุล กรุงเทพมหานคร
ผลการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ของนักเรียนโรงเรียนวัดพิกุล กรุงเทพมหานคร พบว่า
1. ปัจจัยการอบรมเลี้ยงดูบุตรมีความสัมพันธ์ในระดับปานกลาง (r = 0.425 ) กับพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนโรงเรียนวัดพิกุล กรุงเทพมหานคร ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01
2. ปัจจัยการศึกษาอบรมจากโรงเรียนมีความสัมพันธ์ในระดับค่อนข้างต่ำ (r = 0.379 ) กับพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนโรงเรียนวัดพิกุล กรุงเทพมหานคร ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01
67
3. ปัจจัยการนำเสนอและเผยแพร่จากสื่อสังคมมีความสัมพันธ์ในระดับค่อนข้างสูง (r = 0.661) กับพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนโรงเรียนวัดพิกุล กรุงเทพมหานคร ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01
จากผลการศึกษาครั้งนี้ สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาเยาวชนให้มีคุณภาพ มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มีความยั่งยืนต่อไป
การอภิปรายผลการวิจัย
ผลการศึกษาในครั้งนี้จะนำเสนอประเด็นสำคัญที่พบในการวิจัยดังต่อไปนี้
ผลการศึกษาค่าระดับของปัจจัย พบว่า ปัจจัยการอบรมเลี้ยงดู มีค่าอยู่ในระดับปานกลาง (⎯X = 2.281, SD = 0.175 ) ปัจจัยการให้การศึกษาอบรมจากโรงเรียน มีค่าอยู่ในระดับปานกลาง (⎯X = 2.290, SD = 0.240 ) ปัจจัยการนำเสนอและเผยแพร่จากสื่อสังคม มีค่าอยู่ในระดับปานกลาง (⎯X = 1.980, SD = 0.343 ) และปัจจัยพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มีค่าในอยู่ในระดับ ปานกลาง (⎯X = 1.971, SD = 0.198 )
ผลการทดสอบสมมติฐานที่ 1 การอบรมเลี้ยงดูจากครอบครัวมีผลต่อพฤติกรรมการ
อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนโรงเรียนวัดพิกุล กรุงเทพมหานคร พบว่า ค่าเฉลี่ยของพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนโรงเรียนวัดพิกุล กรุงเทพมหานคร มีค่าอยู่ในระดับปานกลาง (⎯X = 1.971, SD = 0.198) ตัวแปรการอบรมเลี้ยงดูมีค่าอยู่ในระดับปานกลาง (⎯X = 2.281, SD = 0.175) และการอบรมเลี้ยงดูมีความสัมพันธ์ในระดับปานกลาง (r = 0.425) กับพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนโรงเรียนวัดพิกุล กรุงเทพมหานคร ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 ซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้
ผลการศึกษาที่ยอมรับสมมติฐานนี้ เกิดจากการที่นักเรียนได้รับการขัดเกลาทางสังคมมีผลมาจากการอบรมเลี้ยงดูของครอบครัว นักเรียนเชื่อฟังคำสั่งสอนของบิดามารดา ซึ่งส่วนใหญ่อบรมสั่งสอนด้วยวิธีการอธิบายให้เหตุผลแก่บุตร ทำให้นักเรียนมีพฤติกรรมที่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ทั้งนี้ การอบรมสั่งสอนของบิดามารดาโดยใช้วิธีการอบรมด้วยการอธิบายให้เหตุผล จึงเป็นวิธีการที่ทำให้เด็กสามารถนำไปปฏิบัติได้ด้วยตนเองทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน โดยเฉพาะการอบรมให้เด็กมีนิสัยประหยัดน้ำประปา และไฟฟ้าตั้งแต่เด็ก ทำให้เด็กซึมซับ เรียนรู้โดยการปฏิบัติตามบิดามารดามาตั้งแต่เด็กและนำมาใช้ปฏิบัติจนเกิดความเคยชินในชีวิตประจำวัน การอบรมเลี้ยงดูจากครอบครัว
68
จึงเป็นพื้นฐานการขัดเกลาทางสังคมที่สำคัญต่อการเรียนรู้ และมีความสำคัญต่อพัฒนาการของเด็ก สอดคล้องกับแนวคิดของพัทยา สายหู (2524 : 92-99) ที่ชี้ให้เห็นว่า การขัดเกลาทางสังคมเป็นวิถีทางที่บุคคลเรียนรู้ทักษะ ความรู้ ค่านิยม แรงจูงใจ และบทบาทที่เหมาะสมในสังคม เป็นกระบวนการที่บุคคลยอมรับทักษะ ความรู้ ทัศนคติ ค่านิยม และแรงจูงใจที่ปรากฏอยู่ในกลุ่มที่ตนเป็นสมาชิก ภายใต้การอบรมเลี้ยงดู การมีปฏิสัมพันธ์ภายในครอบครัว ซงพื้นฐานการขัดเกลาทางสังคมจะส่งผลให้เด็กมีความสามารถในการปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น ๆ ในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ สอดคล้องกับแนวคิดของ พัทยา สายหู (2524: 92-99) ที่ชี้ให้เห็นว่ากระบวนการขัดเกลาทางสังคม มีตัวขัดเกลาเป็นตัวส่งผ่านแบบแผนทั้งหลาย จนสามารถใช้เป็นสัญลักษณ์ที่กำหนดบทบาทหน้าที่ได้อย่างเหมาะสมถูกต้อง และสั่งสมเอาความชำนิชำนาญเหล่านี้ไว้ จนสามารถเป็นตัวแทนที่จะส่งผ่านไปสู่สมาชิกรุ่นต่อไปได้ กระบวนการขัดเกลาทางสังคมจึงเป็นส่วนที่ทำให้คนเป็นคนดีมีคุณภาพ ดังนั้นการอบรมเลี้ยงดูบุตรของครอบครัวจึงมีความสำคัญต่อพัฒนาการของเด็ก ครอบครัวจึงเป็นสถาบันแรกที่มีความสำคัญต่อชีวิตและลักษณะนิสัยหรือบุคลิกภาพของเด็ก นอกจากนี้ ดวงเดือน พันธุมนาวิน (2522: 17) ยังชี้ให้เห็นว่า การที่บิดามารดาได้แสดงความรักใคร่ เอาใจใส่ สนใจทุกข์สุขบุตรของตนอย่างเพียงพอ มีความใกล้ชิดกับบุตร ทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันกับบุตร มีความสนิทสนม ให้การสนับสนุนช่วยเหลือ ให้ความสำคัญแก่บุตร ให้ในสิ่งที่บุตรต้องการทุกอย่าง โดยแสดงให้เห็นว่าบุตรเป็นผู้มีความสำคัญของบิดามารดา ซึ่งเป็นวิธีการเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุน ที่ส่งผลให้บุตรรัก และยอมรับการอบรมสั่งสอนโดยง่าย ทั้งยังยอมรับบิดามารดาเป็นแบบอย่างโดยไม่รู้ตัว จะเห็นได้ว่าการอบรมเลี้ยงดูแบบนี้ เป็นพื้นฐานสำคัญของการที่บิดามารดาจะสามารถถ่ายทอดลักษณะต่างๆ ไปสู่เด็ก ซึ่งอีริคสันได้กล่าวไว้ในทฤษฎีพัฒนาการทางสังคม อารมณ์ว่า ถ้าเด็กทารกได้รับความสุขความพอใจจากการดูแลอย่างใกล้ชิดของมารดาตั้งแต่เกิด เด็กจะเกิดความรู้สึกไว้วางใจมารดา และเมื่อโตขึ้นจะแผ่ขยายความรู้สึกรักใคร่ไว้วางใจและสภาพแวดล้อมที่แปลกใหม่ จะทำให้เด็กสามารถปรับตัวได้ดีในกาลต่อมา ในส่วนของสัมพันธภาพในครอบครัวดวงเดือน พันธุมนาวิน (2528: 11-12) ได้ให้แนวคิดว่า ลักษณะของความสัมพันธ์ที่ดีประกอบด้วยความปรองดอง รักใคร่กลมเกลียวกันในครอบครัว ความสัมพันธ์ในลักษณะนี้ สามารถทำให้สมาชิกในครอบครัวมีความสุข มีสุขภาพจิตที่ดีได้
ผลจากการอบรมเลี้ยงดูของครอบครัวในการศึกษาครั้งนี้ให้ข้อสนับสนุนว่า เด็กจะใช้บิดามารดาเป็นตัวแบบมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตน โดยเฉพาะการสร้างจิตสำนึกที่ได้จากการเรียนรู้และประสบการณ์จากการเลียนแบบบิดามารดาในการทำกิจกรรมต่างๆ การอบรมเลี้ยงดูจากครอบครัวจึงส่งผลต่อพฤติกรรมของเด็ก เช่น พฤติกรรมการประหยัดไฟฟ้า น้ำประปา นอกจากจะเป็นการประหยัดรายจ่ายของครอบครัวแล้ว ยังเป็นการประหยัดทรัพยากรธรรมชาติที่นำมาใช้ผลิตได้ทางอ้อม ดังนั้นการที่เด็กรู้จักประหยัดไฟฟ้า น้ำประปา และรักษาความสะอาดตั้งแต่ยังเด็กได้ แสดงให้เห็นถึงคุณภาพของเยาวชน ซึ่งจะสังเกตได้จากพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมพื้นฐานดังกล่าวผลจากการ
69
วิเคราะห์การตอบแบบสอบถามของนักเรียนให้ข้อสนับสนุนว่า พฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนมีผลมาจากวิธีการอบรมเลี้ยงดูจากครอบครัว จากข้อคำถามที่มีคะแนนสูงสุดพบว่า บิดามารดาอบรมเลี้ยงดูด้วยการอธิบายและให้เหตุผลแก่บุตร และนักเรียนเชื่อฟังคำสั่งสอนของบิดามารดาและช่วยเหลือตนเองได้ การอบรมเลี้ยงดูที่บิดามารดาใช้หลักเหตุผลกับเด็กจึงมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม ผลการศึกษาครั้งนี้จึงสรุปได้ว่า การอบรมเลี้ยงดูจากครอบครัวมีผลต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนโรงเรียนวัดพิกุล กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
ผลการทดสอบสมมติฐานที่ 2 การให้การศึกษาอบรมจากโรงเรียนมีผลต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์ของนักเรียนโรงเรียนวัดพิกุล กรุงเทพมหานคร พบว่า ค่าเฉลี่ยของพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมีค่าอยู่ในระดับปานกลาง (⎯X = 1.971, SD = 0.198) ตัวแปรการให้การศึกษาอบรมจากโรงเรียนมีค่าอยู่ในระดับปานกลาง (⎯X = 2.290, SD = 0.240 ) และการให้การศึกษาอบรมจากโรงเรียนมีความสัมพันธ์ในระดับค่อนข้างต่ำ (r = 0.379) กับพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนโรงเรียนวัดพิกุล กรุงเทพมหานครที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 ซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้
ผลการศึกษาที่ยอมรับสมมติฐานนี้ ผลการศึกษาที่พบว่าการให้การศึกษาอบรมจากโรงเรียนที่มีค่าอยู่ในระดับสูง นั้นเป็นผลที่เกิดจากการที่ครูให้ความรู้เรื่องการใช้น้ำไฟอย่างสม่ำเสมอ และอธิบายเรื่องการใช้น้ำ ไฟฟ้า และการทิ้งขยะอย่างมีเหตุผลให้กับนักเรียน ทำให้นักเรียนมีพฤติกรรมการทิ้งขยะลงในถังที่ทางโรงเรียนจัดให้ และสอนให้นักเรียนช่วยกันปิดไฟก่อนออกจากห้อง และครูเป็นแบบอย่างการใช้ทรัพยากรน้ำไฟอย่างคุ้มค่า แสดงให้เห็นว่า ครูให้ความรู้เรื่องการใช้ทรัพยากรน้ำประปา ไฟฟ้า การรักษาความสะอาดเกี่ยวกับการทิ้งขยะอย่างสม่ำเสมอ เป็นการเสริมสร้างลักษณะนิสัยที่ดีให้กับเด็ก โดยมีครูเป็นตัวแบบที่ดีสำหรับเด็ก ส่งผลต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของนักเรียน การให้การศึกษาอบรมจากโรงเรียนเป็นกระบวนการซึ่งปรากฏเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทั้งนี้เกิดจากความรู้ใหม่ที่ได้รับ (การอ่าน, การสังเกต หรือ ความคิด) หรือจากประสบการณ์ที่แท้จริง ทั้งความรู้และประสบการณ์ใหม่ ส่งผลต่อพฤติกรรมในอนาคตในสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกัน จากความหมายนี้เป็นที่ชัดเจนว่า ผลลัพธ์จากการเรียนรู้เป็นผลจากความรู้และประสบการณ์ คุณสมบัตินี้แสดงถึงความแตกต่างของการเรียนรู้จากพฤติกรรม หรือจิตใต้สำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของ ศิริวรรณ เสรีรัตน์ (2539: 151) และแนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการเรียนของเด็กนักเรียนของ นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์ (2545 : 21-30) ที่ชี้ให้เห็นว่า การเรียนของเด็กควรจะต้องมีการจัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจ ความถนัด และความแตกต่างของผู้เรียนฝึกทักษะกระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และประยุกต์ใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง ผสมผสานสาระความรู้ด้านต่าง ๆ
70
อย่างสมดุล รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ไว้ในทุกวิชา ครูสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียน ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่ และมีความหลากหลาย นอกจากหลักการสอนแล้วเนื้อหาวิชาก็เป็นสิ่งสำคัญต่อการเรียนรู้ของเด็ก เมื่อพิจารณาถึงการเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมพบว่า เนื้อหาวิชาที่สอดคล้องกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หลักสูตรที่เกี่ยวข้องในการสอนเรื่องสิ่งแวดล้อม ที่สอนเด็กนักเรียนชั้นประถมปีที่ 4 มีเนื้อหาเกี่ยวกับ โลก โดยอธิบายถึงสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต ซึ่งทุกอย่างต่างมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกัน ถ้าสิ่งหนึ่งสิ่งใดขาดสภาพสมดุลไป ก็จะส่งผลกระทบต่อสิ่งต่างๆ ตามมาเป็นระบบ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กล่าวถึงสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ การอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ ดิน ป่าไม้ การใช้อย่างประหยัด การรู้จักคุณค่า การปรับปรุง และการใช้อย่างคุ้มค่า การดำรงชีวิตที่เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพแวดล้อม การใช้เทคโนโลยีมาเป็นส่วนหนึ่งของการดำรงชีวิตในปัจจุบัน ซึ่งมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องมีการเรียนรู้การใช้อย่างฉลาด การควบคุม และการเลือกใช้โดยคำนึงถึงการรักษาสภาพแวดล้อม และชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สิ่งมีชีวิต และสิ่งที่อย ู่รอบตัวเรา สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ บริเวณที่ถูกทำลายไปย่อมส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ที่เป็นผู้ผลิต ผู้บริโภค และผู้ย่อยอินทรีย์สาร การใช้ทรัพยากรธาตุควรยึดหลักการประหยัด และได้ประโยชน์สูงสุด รวมทั้งการนำกลับมาใช้ใหม่ เมื่อเด็กเรียนรู้เนื้อหาวิชาแล้ว สิ่งที่มีความจำเป็นที่ทำให้เกิดจิตสำนึกในบุคคลได้ คือ ประสบการณ์ ดังนั้น จึงเห็นได้ว่าโรงเรียนได้จัดทำโครงการต่างๆ เพื่อสร้างทักษะให้กับเด็ก ให้เด็กลงมือปฏิบัติเพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจและจดจำไปใช้ อาทิ โครงการแยกขยะหรือการนำขยะมารีไซเคิล จากการที่มนุษย์จำเป็นต้องมีปัจจัยในการดำรงชีวิต มีการอุปโภคบริโภคในแต่ละวัน ก่อให้เกิดสิ่งเหลือจากวัสดุหรือสิ่งที่ใช้แล้วอย่างมากมายไร้ประโยชน์ ซึ่งเรียกว่า “ขยะ” นับวันยิ่งเพิ่มจำนวนมากยิ่งขึ้นก่อให้เกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม มลภาวะเป็นพิษ และสุขภาพอนามัยของมนุษย์ดังนั้นปัญหาขยะจึงจำเป็นให้ทุกฝ่ายร่วมกันแก้ไข ทางโรงเรียนต่างๆ จึงได้จัดทำโครงการแยกขยะและขยะรีไซเคิลนี้ขึ้น เพื่อให้ครูและนักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ ชุมชน มีจิตสำนึกและตระหนักในการลดปริมาณขยะ มีผลให้ครู นักเรียน ชุมชนปฏิบัติในการลดขยะ แยกขยะ และนำขยะบางชนิดที่เหลือให้กับมาใช้ใหม่ได้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น มีการจัดเก็บขยะและทิ้งขยะให้เป็นระบบ และนำขยะที่สามารถนำมาใช้ในการทำสื่อการเรียนการสอน
นอกจากนี้ โรงเรียนต่างๆ ยังมีการสอนให้เด็กรู้จักประหยัดไฟฟ้า และน้ำประปา โดยจัดเป็นโครงการประหยัดน้ำและไฟ เพื่อให้เด็กเห็นคุณค่าและความจำเป็นสำหรับมนุษย์ ซึ่งในใช้ในการอุปโภคบริโภคในการดำรงชีวิตประจำวัน น้ำและไฟจึงมีความสำคัญที่ต้องช่วยกันประหยัดและใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเป็นการประหยัดทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้ในการผลิตอย่างมีคุณภาพ ผลจากการศึกษาอบรมจากโรงเรียน ประกอบกับกระบวนการสอนที่ให้นักเรียนเป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้ สามารถนำประสบการณ์ที่ได้รับพร้อมกับขอบเขตเนื้อหาสาระของบทเรียนด้านการอนุรักษ์
71
สิ่งแวดล้อมที่ถูกต้อง ไปสู่ความเข้าใจของเด็ก ทำให้เด็กเห็นความสำคัญและความจำเป็นที่จะต้องได้รับการแก้ไข ซึ่งจะทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ทัศนคติ และการทำงาน การปฏิบัติ การกระทำที่มีความสัมพันธ์ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จากการตอบแบบสอบถามของนักเรียนให้ข้อสนับสนุนถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเด็กที่ได้รับจากการอบรม และฝึกปฏิบัติในด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยพิจารณาจากข้อคำถามที่มีคะแนนสูงสุดพบว่า นักเรียนช่วยกันปิดไฟฟ้าก่อนออกจากห้องเรียน ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ครูให้ความรู้เรื่องการใช้ไฟฟ้า น้ำประปา และการทิ้งขยะอย่างมีเหตุผล โดยมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับต่ำ แสดงให้เห็นว่านักเรียนได้รับความรู้เรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจากโรงเรียน โดยมีครูเป็นตัวแบบในการปฏิบัติด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม แต่นักเรียนยังอยู่ในวัยเด็กจึงขาดความรับผิดชอบในการควบคุมตนเอง และอาจมีแบบอย่างจากเพื่อนนักเรียนบางคนที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม จึงทำให้ความรู้ที่ได้จากโรงเรียนมีผลต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมต่ำได้ ผลการศึกษาครั้งนี้จึงสรุปได้ว่า การให้การศึกษาอบรมจากโรงเรียนมีผลต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ของนักเรียนโรงเรียนวัดพิกุล กรุงเทพมหานคร ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้
ผลการทดสอบสมมติฐานที่ 3 การนำเสนอและเผยแพร่จากสื่อสังคมมีความสัมพันธ์กับ
พฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนโรงเรียนวัดพิกุล กรุงเทพมหานคร พบว่า ค่าเฉลี่ยของพฤติกรรมการอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อมของนักเรียนโรงเรียนวัดพิกุล กรุงเทพมหานครมีค่าอยู่ในระดับปานกลาง (⎯X = 1.971, SD = 0.198) ตัวแปรการนำเสนอและเผยแพร่จากสื่อสังคมมีค่าอยู่ในระดับปานกลาง (⎯X = 1.980, SD = 0.343) และการนำเสนอและเผยแพร่จากสื่อสังคม มีความสัมพันธ์ค่อนข้างสูง (r = 0.661) กับพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนโรงเรียนวัดพิกุล กรุงเทพมหานคร ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 ซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้
ผลการศึกษาที่ยอมรับสมมติฐานนี้ มีผลมาจากการนำเสนอและเผยแพร่จากสื่อทางสังคม มีความสำคัญต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งพิจารณาจากการตอบแบบสอบถามของนักเรียนทุกข้อคำถามเกี่ยวกับการนำเสนอ และการเผยแพร่ของสื่อทางสังคมมีค่าอยู่ในระดับปานกลาง แสดงให้เห็นว่า การเผยแพร่จากสื่อทางสังคมเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมยังมีน้อยทำให้นักเรียนไม่ได้ข้อมูลข่าวสารที่เพียงพอ โดยเฉพาะสื่อเฉพาะกิจที่จะกระตุ้นหรือชักจูงให้เด็กมีพฤติกรรมด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หรือโน้มน้าวให้เด็กเห็นว่าการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งสำคัญ โรงเรียนจึงควรมีโครงการการนำเสนอและเผยแพร่จากสื่อในรูปแบบต่างๆ เพื่อเน้นให้เห็นถึงความสำคัญและจำเป็น จะต้องนำเสนอให้นักเรียนหรือบุคคลในสังคมได้เกิดความรู้ ความเข้าใจ การมีทัศนคติ ค่านิยมที่จะปฏิบัติในแนวทางที่ถูกต้อง ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของ กิติมา สุรสนธิ (2541: 2) ซึ่งชี้ให้เห็นว่า การเรียนรู้เรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ทุกโอกาส ทุกสถานที่ ซึ่งมีอิทธิพล
72
นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการรับผิดชอบ และสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างถาวร ซึ่ง องค์ประกอบที่สำคัญที่ทำหน้าที่ในการรับรู้ของบุคคลในสังคมนั้นคือ การนำเสนอและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารจากสื่อมวลชนและตัวแบบของสื่อสังคมการส่งข้อมูลข่าวสาร หรือการแจ้งประกาศจากเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีผลต่อการรับรู้ของบุคคล และส่งผลให้พฤติกรรมของบุคคลเหล่านั้นเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ผู้ส่งสารต้องการ ปัจจุบันสื่อที่มีอิทธิพลต่อเด็กมากที่สุดได้แก่ สื่อวิทยุและโทรทัศน์ เป็นการส่งและการรับสัญญาณภาพ และเสียงโดยเครื่องส่งและเครื่องรับอิเลคทรอนิค ออกอากาศโดยคลื่นวิทยุ ซึ่งเป็นสื่อที่แพร่ภาพและเสียงไปสู่เป้าหมายปลายทางได้รวดเร็ว ในด้านของการรับสารสามารถรับรู้ทั้งภาพและเสียง ซึ่งช่วยทำให้เกิดความเข้าใจได้ง่ายกว่าการรับรู้ด้วยเสียงเพียงอย่างเดียว เพราะภาพจะให้ชมเกิดความเข้าใจได้ทันที สื่อบุคคล เป็นอีกสื่อหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อความคิดของเด็ก ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของเกศินี จุฑาวิจิตร (2540 : 83-84) ที่ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของสื่อบุคคลว่า เป็นพื้นฐานที่ใช้ในการถ่ายถอดข่าวสารความรู้ ความเข้าใจและความคิดเห็นต่าง ๆ ที่มีมาแต่ดั่งเดิมของมนุษย์ก่อนการใช้สื่อประเภทอื่น ๆ และเป็นช่องทางสำคัญในการสื่อสารระหว่างบุคคล จากอดีตถึงปัจจุบัน สื่อบุคคลมีอิทธิพลต่อกลไกการเปลี่ยนแปลงทางสังคมทุกยุคทุกสมัย แม้ในยุคที่มีการพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกว้างไกล เช่น ปัจจุบันจะมีการนำคอมพิวเตอร์ และอุปการณ์การสื่อสารมาใช้เพื่อช่วยขจัดข้อจำกัดด้านระยะทางและเวลาในการสื่อสารระหว่างบุคคล การสื่อสารระหว่างบุคคลโดยผ่านสื่อบุคคลในลักษณะที่เป็นการสื่อสารแบบเห็นหน้ายังคงมีความสำคัญเสมอ ตราบใดที่มนุษย์ยังอยู่ในสังคมย่อมเลี่ยงไม่พ้นที่จะติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่น ๆ สื่อบุคคลในสังคม ที่สำคัญได้แก่ ผู้นำความคิด เปรียบเสมือนช่องทางการเผยแพร่กระจายข่าวสารและสร้างเครือข่ายการสื่อสารในสังคม ซึ่งจะแพร่กระจายข่าวสารผสมผสานความคิดเห็นเป็นส่วนตัว ไปยังสมาชิกในสังคมนั้น อย่างไรก็ดี ผู้นำความคิดในเรื่องหนึ่งหรือกิจกรรมหนึ่งก็อาจไม่ใช่ผู้นำความคิดในอีกเรื่องหนึ่งหรือกิจกรรมหนึ่งก็ได้ (พัชรี เชยจรรยา และคณะ (2538: 191) และ นักพัฒนา ซึ่ง เกศินี จุฑาวิจิตร (2540: 88) ได้อธิบายไว้ว่า บุคคลนอกชุมชนที่เข้าไปมีบทบาทผลักดันให้บุคคลในชุมชน เกิดความเคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ซึ่งนักพัฒนานี้จะรวมทั้งพัฒนากร เจ้าหน้าที่ส่งเสริม เจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้เชี่ยวชาญ เจ้าหน้าที่ขององค์กรพัฒนาเอกชนและอาสาสมัครที่นำแนวคิดใหม่ ๆ หรือนวัตกรรมไปเผยแพร่ในท้องถิ่น สื่อบุคคลเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจยอมรับนวัตกรรม ด้วยสื่อบุคคลมีลักษณะที่เอื้ออำนวยต่อการชักจูงและโน้มน้าวใจ โดยเฉพาะเยาวชนซึ่งง่ายต่อการชักจูงใจ ผลจากการศึกษาจึงสรุปได้ว่า จากการนำเสนอจากสื่อสังคม ไม่ว่าจะเป็นบุคคล ต้นแบบ หรือจากสื่อมวลชนทั้งหลาย ย่อมมีอิทธิพลและมีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจ การปรับเปลี่ยนความคิด การแสวงหาข้อมูลเพื่อนำไปสู่พฤติกรรมที่แสดงออกของผู้รับสาร ดังนั้นการส่งเสริมหรือกระตุ้น แจ้งข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในโรงเรียนจากหน่วยงานและบุคคลที่รับผิดชอบ ย่อมมีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนในโรงเรียนทั้งทางตรงและทางอ้อม กับผลการศึกษาในครั้งนี้ ให้ข้อสนับสนุนว่า สื่อที่มีอิทธิ
73
พลทางสังคมเป็นสิ่งสำคัญ เป็นต้นแบบในเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี และเป็นตัวกระตุ้นให้เด็กมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้ง่าย จึงควรหาแนวทาง เพื่อพิจารณาปรับปรุงการนำเสนอสื่อสังคมในรูปแบบต่างๆ ในเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับเด็กในวัยต่างๆ ผลการศึกษาครั้งนี้จึงสรุปได้ว่าการนำเสนอและเผยแพร่จากสื่อสังคมมีผลต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนโรงเรียนวัดพิกุล กรุงเทพมหานคร ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้
ผลวิเคราะห์จากการสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนที่บ้าน ได้ข้อสรุปจากการพูดคุย ซักถามและสังเกตพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียน และสมาชิกในครอบครัว และบิดามารดาของนักเรียนว่า นักเรียนส่วนใหญ่มีพฤติกรรมที่เป็นไปตามความเคยชิน ไม่ค่อยมีความตระหนักในเรื่องการการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เช่น เห็นว่าการเปิดปิดไฟทิ้งไว้เป็นเรื่องธรรมดา ไม่มีการเข้มงวดกวดขันเท่าที่ควร การทิ้งขยะส่วนใหญ่ยังทิ้งขยะอย่างไม่มีระเบียบ ยึดตามความสะดวกสบาย เช่นโยนทิ้งน้ำ ทิ้งข้างบ้าน หรือทิ้งลงใต้ถุนบ้าน ฯลฯ โดยไม่คำนึงถึงว่า ความสะอาดเรียบร้อย และปริมาณขยะที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้เกิดจากการเห็นพฤติกรรมจากสมาชิกในครอบครัว จึงเกิดการเลียนแบบจากต้นแบบที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และไม่รู้สึกผิดที่กระทำ และไม่ค่อยเชื่อฟังการอบรมสั่งสอนจากทางบ้าน เพราะการปฏิบัติที่ขัดแย้งกับการอบรมตักเตือน จึงเป็นเหตุให้เด็กไม่เชื่อบิดามารดาหรือผู้ปกครอง ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดเรื่องการอบรมเลี้ยงดูบุตรของดวงเดือน พันธุมนาวิน ( 2522: 17) ที่ได้อธิบายไว้ว่า การที่บิดามารดาปฏิบัติต่อเด็กและเรียกร้องให้เด็กปฏิบัติต่อตนเองและผู้อื่นไปในทำนองต่างๆ เป็นการที่ผู้เลี้ยงดูกับเด็กมีการติดต่อเกี่ยวข้องกัน เด็กยังมีโอกาสเฝ้าสังเกตลักษณะและการกระทำต่างๆ ของผู้เลี้ยงดู ทำให้เด็กได้เลียนแบบผู้เลี้ยงดูอีกด้วย
ผลการวิเคราะห์จากการสังเกตพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนที่โรงเรียน ได้ข้อสรุปจากการสังเกตและสอบถามจากครูผู้สอน พบว่า ครูเป็นผู้อบรมสั่งสอน และเป็นตัวแบบในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้กับนักเรียน ได้เข้มงวดกวดขัน ตักเตือน ให้รางวัลแก่นักเรียนที่ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ โรงเรียนยังมีการจัดโครงการต่างๆ เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้กับนักเรียน มีการปิดประกาศ ประชาสัมพันธ์ให้
ทราบถึงประโยชน์ของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โทษของการตัดต้นไม้ และจัดให้มีนิทรรศการต่างๆ ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ให้สาระความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ตามควรแก่โอกาส จัดกิจกรรมให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เช่น การดูแลต้นไม้ อาคาร สถานที่ ความสะอาดในห้องเรียน การจัดทำโครงการขยะหอม ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้นักเรียนมีความตื่นตัว สนใจและการแสดงออกด้านพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ซงนักเรียนเชื่อฟังและปฏิบัติตาม ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของเทอร์เนอร์ (Turner อ้างถึงใน สายฝน สุคนธพันธ์ 2532: 2) ที่ชี้ให้เห็นว่า การขัดเกลาทางสังคมเป็นสิ่งที่สำคัญที่ต้องระลึกไว้ว่า กระบวนการขัดเกลาทางสังคม เป็นวิธีการของการ
74
เรียนรู้ความหมายของบทบาทที่เป็นมาตรฐานทางวัฒนธรรม และวิธีการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับบทบาทต่าง ๆ และแนวคิดของทอลแมน (Tallman and Others 1988: 24 อ้างถึงใน สายฝน สุคนธพันธ์ 2532: 2) ให้ข้อสนับสนุนว่า กระบวนการขัดเกลาทางสังคมโดยทั่วไป คือ การหาความรู้และประสบการณ์ที่เป็นความชำนาญเกี่ยวกับบุคลิกภาพเด่นที่เปลี่ยนไปภายในวงขอบเขตของชนิดของสถานภาพ บทบาท ตำแหน่งทางสังคมและบุคลิกภาพทางสังคมที่ผู้อยู่ในสถานะนั้นหรือกำลังจะเข้าสู่สถานะนั้น เรียนรู้ภายในบริบททางสังคมที่เกี่ยวข้อง พฤติกรรมการแสดงออก และลักษณะนิสัย ความเชื่อของแต่ละกลุ่ม มีลักษณะเฉพาะและถ่ายทอดกันอยู่ในสังคมแต่ละสังคมนั้น ดังนั้นพฤติกรรมการแสดงออก และลักษณะนิสัยความเชื่อมีรากฐานที่ก่อให้เกิดลักษณะเฉพาะทางสังคมตามแบบของแต่ละสังคม ซึ่งการที่จะซึมซับเนื้อหาต่างๆ ดังกล่าว บุคคลจะต้องเรียนรู้พื้นฐานละเพิ่มพูนความรู้สึกของความเป็นตัวเองและความรู้สึกทางสังคม
แ
ผลการวิเคราะห์ด้านนำเสนอและเผยแพร่ของสื่อ จากการตอบแบบสอบถามของนักเรียนมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ไม่มีข้อใดที่มีความโดดเด่น แต่มีค่าความสัมพันธ์กับการกับพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมค่อนข้างสูง จึงให้ข้อสนับสนุนว่า สื่อเป็นสิ่งสำคัญที่เป็นต้นแบบในเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเป็นอย่างดี และเป็นตัวกระตุ้นให้เด็กมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้ง่าย จึงควรหาแนวทางเพื่อพิจารณาปรับปรุงการนำเสนอสื่อสังคมในรูปแบบต่างๆ ในเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับเด็กในวัยต่างๆ
ข้อเสนอแนะ
ผลจากจากศึกษาครั้งนี้ ให้ข้อสนับสนุนว่า นักเรียนมีความสนใจในเรื่องการอนุรักษ์
สิ่งแวดล้อมแตกต่างกันระหว่างอยู่ที่บ้านกับโรงเรียน พฤติกรรมเมื่ออยู่ที่บ้านมักละเลยไม่ปฏิบัติตนในด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เนื่องจากขาดการกวดขันในการปฏิบัติจากบิดามารดา ผู้ปกครอง นอกจากนี้บิดามารดา ผู้ปกครองยังไม่ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างในด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จึงควรให้ความรู้ในเรื่องการอนุรักษ์ควบคู่ไปกับการปฏิบัติกับบิดามารดา และผู้ปกครองของนักเรียน เพื่อให้ปฏิบัติตนเป็นต้นแบบที่ดีและถูกต้องแก่เด็ก เพราะบิดามารดา และผู้ปกครองเป็นสื่อที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้กับเด็กอย่างหนึ่ง
นักเรียนเมื่ออยู่ในโรงเรียน จะมีความสนใจและปฏิบัติตนในด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมดีกว่าที่บ้าน เพราะมีครูเป็นตัวแบบที่ดีให้กับนักเรียน และมีการเข้มงวดกวดขันในด้านพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนอย่างสม่ำเสมอ โดยมีการจัดนิทรรศการ และโครงการต่างๆ ที่เป็นการกระตุ้นให้นักเรียนมีส่วนร่วม ตื่นตัวด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมตลอดเวลา แต่ยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร เพราะนักเรียนยังไม่มีจิตสำนึกในด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะขาดสื่อ
75
ประชาสัมพันธ์ที่ดี และหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนและรับผิดชอบในการปลูกฝังเด็กอย่างจริงจัง จึงควรมีการศึกษาเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขในระดับต่อๆ ไป
ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
1. ควรศึกษายุทธศาสตร์การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมสำหรับเยาวชน เพื่อสร้างเป็นตัวแบบให้กับเยาวชนให้เหมาะสมกับวัย
2. ควรศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างจิตสำนึกของบุคคลต้นแบบ ในด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อนำผลที่ได้มาเผยแพร่แก่เยาวชนในการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
บรรณานุกรม
กิติมา สุรสนธิ.(2541). ความรู้ทางการสื่อสาร. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
กัลยา วาณิชย์บัญชา. (2541). หลักสถิติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เกศินี จุฑาวิจิตร.(2540). การสื่อสารเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น. นครปฐม : เพชรเกษมการพิมพ์.
เกษม จันทร์แก้ว (2541). การใช้ทรัพยากรที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม.
การฝึกอบรมหลักสูตรการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในเขตปฏิรูปที่ดิน
วันที่ 8 กันยายน ณ ห้องประชุม 3 ส.ป.ก. ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพมหานคร.
(อัดสำเนา)
โกสินทร์ รังสยาพันธ์. (2521). การศึกษากับปัญหาความสกปรกเป็นพิษของสิ่งแวดล้อม.
ปริญญาวิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
จุฑามณี จาบตะขบ. (2542). การศึกษาปัจจัยที่ทำให้คนทำความดีเพื่อสังคม :
ศึกษาเฉพาะกรณี บุคคลที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ ตำบลกำแพงดิน อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร.
วิทยานิพนธ์ มหาบัณฑิต คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ชัยยุทธ โยธามาตย์. (2539). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำจัดขยะมูลฝอย: กรณีศึกษา
เทศบาลตำบลพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต
วิทยานิพนธ์ สถาบันพัฒนบริหารศาสตร์.
ชัยพร วิชชาวุธ .(2523). การวิจัยเชิงจิตวิทยา. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช.
ชุดา จิตพิทักษ์. (2525). พฤติกรรมศาสตร์เบื้องต้น. . กรุงเทพมหานคร : สารมวลชน.
ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม, กระทรวง. (2547). ขยะมูลฝอย. มีนาคม 2547. [ออนไลน์]
เข้าถึงได้จาก: http://www.pcd.go.th/SolidWaste/wasteStat42/wastethai/htm.
ณรงค์ สมพงษ์. (2543). สื่อมวลชนเพื่องานส่งเสริม. กรุงเทพมหานคร สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์.
ณรงค์ สินสวัสดิ์. (2518). การวิจัยเชิงจิตวิทยา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นฤเทพ สิทธิชาญคุณะ. (2541). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการำจัดขยะมูลฝอย : กรณีศึกษา กรุงเทพ
มหานคร. วิทยานิพนธ์ สาขานโยบายและการวางแผนสังคม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกริก.
ดวงเดือน พันธุมนาวิน (2524). รายงานการวิจัยเรื่อง ความสัมพันธ์ภายในครอบครัวกับสุขภาพจิต
และจริยธรรมของนักเรียนวัยรุ่นไทย. สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
77
ดวงเดือน พันธุมนาวิน และคณะ. (2528) ปัจจัยทางจิตวิทยานิเวชที่เกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กของ
มารดาไทย. รายงานการวิจัยฉบับที่ 32 สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ : มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
_______. (2524). คุณธรรมที่พึงประสงค์ของเยาวชนไทย. กรุงเทพฯ:
สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
_______. (2529). รายงานการวิจัย เรื่อง การควบคุมอิทธิพลสื่อมวลชนของครอบครัว
กับจิตลักษณะที่สำคัญของเยาวชนไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
ดวงเดือน พันธุมนาวิน อรพินทร์ ชูชม และงามตา วนินทานนท์. (2528). ปัจจัยทาง
จิตวิทยานิเวศน์ที่เกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กของมารดาไทย. กรุงเทพฯ:
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
ตุ้ย ชุมสาย. ( 2508). จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช จำกัด.
เทียนฉาย กีรนันท์ .(2526). พฤติกรรมการใช้พลังงานในครัวของชาวกรุงเทพมหานคร.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธรรมรัฐ ทวีกุล. (2530). "การศึกษาพฤติกรรมการอนุรักษ์สภาพแวดล้อมสวนสาธารณะของ
ประชาชน : ศึกษาเฉพาะกรณีผู้ที่มาใช้สวนสาธารณะในกรุงเทพมหานคร".
วิทยานิพนธ์ ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาสิ่งแวดล้อมศึกษา
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
บุญชม ศรีสะอาด. (2543) . การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : สุวียาสาศ์น.
ปรมะ สตะเวทิน.(2540). สื่อสารเพื่อการพัฒนา.กรุงเทพมหานคร : หจก.ชวนพิมพ์.
ประภาเพ็ญ สุวรรณ. (2526). "ทัศนคติ : การวัดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอนามัย".
กรุงเทพฯ : บริษัทสำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด.
พัชนี เชยจรรยา และคณะ. (2538). แนวคิดหลักนิเทศศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร :
สำนักพมิพ์ข้าวฝ่าง.
พัฒน์ สุจำนงค์. (2522).สุขศึกษา.กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์.
มงคล ชาวเรือ. (2527). ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน, (พระนครศรีอยุธยา ) : วิทยาลัยครู
พระนครศรีอยุธยา.
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2547). สถิติการใช้น้ำประปา. มีนาคม 2547. [ออนไลน์]
เข้าถึงได้จาก: http://www.reg.cmu.ac.th/chart/show.php?code=ST03.
78
ยุพิน ระพิพันธุ์.(2544) ความรู้ ทัศนคติและการจัดการที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของกรรมการ
ชุมชนในการจำแนกประเภทมูลฝอยที่ใช้ในชีวิตประจำวันก่อนทิ้ง ในเขตเทศบาลเมือง
พนัสนิคม อำเภอพนัสนิคมจังหวัดชลบุรี วิทยานิพนธ์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ยุวดี อิ่มใจ. (2529). ปัจจัยทางสังคมและจิตวิทยาที่มีความสัมพันธ์ต่อความตั้งใจในการรักษา
ความสะอาดของบ้านเมืองของเยาวชนระดับชั้นมัธยมปลายในกรุงเทพมหานคร.
วิทยานิพน์ปริญญาสังคมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสิ่งแวดล้อม. บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยมหิดล.
วิชาการ, กรม. (2542). กองวิจัยทางการศึกษา การสังเคราะห์รูปแบบการพัฒนาศักยภาพของเด็ก
ไทยด้านการช่วยเหลือผู้อื่น เสียสละ มุ่งมั่นพัฒนา กรุงเทพมหานคร : กองวิจัยทางการ
การศึกษา กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ
วิชาญ มณีโชติ. (2535). พฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ในจังหวัด สงขลา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสิ่งแวดล้อมศึกษา.
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
วิมลสิทธิ์ หรยางกูร. (2526). พฤติกรรมกับสภาพแวดล้อม. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วิรัช ชมชื่น.(2536). พฤติกรรมการกำจัดขยะมูลฝอยของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองนครปฐม
วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสิ่งแวดล้อมศึกษา : บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยมหิดล
ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2539). พฤตกรรมผู้บริโภค ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพมหานคร : วิสิทธ์พัฒนา.
สนธยา พลศรี. (2533).ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน.กรุงเทพมหานคร : โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์.
สมจิตต์ ตรีวิเชียร.(2527). การรักษาความสะอาดของกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร:
สำนักงานนโยบายและแผนกรุงเทพมหานคร.
สมจิตต์ สุพรรณทัศน์. (2534). "พฤติกรรมและการเปลี่ยนแปลง". ในเอกสารการสอนชุดวิชา
สุขศึกษา หน่วยที่ 1-7 (หน้า 98-106, 132-136). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัย
สุโขทัยธรรมาธิราช.
สมศักดิ์ ศรีสันติสุข. (2523) . สังคมไทย แนวทางวิจัยและพัฒนา . กรุงเทพมหานคร:
สำนักพิมพ์แพร่วิทยา.
สุมน อมรวิวัฒน์ และ ทิศนา แขมมณี .(2527). “หน่วยที่ 4 หลักการสอนจริยศึกษา” ใน เอกสารการสอนชุดวิชาการสอนกลุ่มสร้างเสริมลักษณะนิสัย หน้า 168-213 นนทบุรี สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
79
สุภารักษ์ จูตระกูล. (2541) การศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารกับความรู้ ทัศนคติ และการมีส่วนร่วมในการทิ้งขยะแยกประเภทเพื่อการหมุนเวียนกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ (Recycle) ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุวัจน์ สงวนวงศ์.(2540). การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ดอกเบี้ย.
สำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.(2544). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบันที่ 9.
อมรรัตน์ รีกิจติศิริกุล. (2530). พฤติกรรมเกี่ยวกับการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมของ
วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสิ่งแวดล้อมศึกษา :
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
อรสา ประยูรหงษ์. (2536). การศึกษาเจตคติและลักษณะพฤติกรรมการตอบสนองต่อการใช้
วิทยานิพนธ์ปริญญา ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสิ่งแวดล้อมศึกษา:
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
Ayer,M.E and R.Bernrueter.(1937). A Study of the Relationship. Between Discipline and
Personality: Traits in Young Children. Journal of Genetic Psychology.
50 :163-170, April.
Bandura Albert. (1977). Social Leaning Theory. New Jersey : Prentice-Hall Inc.
Englewood Gliffs.
Cronbach, Lee Joseph. (1972). The Dependability of Behavioral Measurement: Theory
of Generaligility for Scores and Profiles. By Lee J. Cronbach and others. New York :
Willey.
Fishbey , Martin and AJyen ,Icek. (1975). Belief, Attitude,Intention and Behavior.
Massachusettes : Addison-Wesley Publishing company.
Jones, Vigjinia A. (1954) . Character Development in Children : An Objective Approach in
Manual of Child Psychology. New York: John-Willey.
Klapper, Joseph T. The Effects of Mass Communnication. New York : The Free Press, 1960.
ภาคผนวก
ภาคผนวก (ก)
แบบสอบถามเพื่อการวิจัย
การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6
โรงเรียนวัดพิกุล กรุงเทพมหานคร
คำชี้แจง การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนวัดพิกุล
คำแนะนำเกี่ยวกับแบบสอบถาม
แบบสอบถามมีทั้งหมด 2 ตอน
ตอนที่ 1 แบบสอบเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 จำนวน 30 ข้อ ได้แก่
-การอบรมเลี้ยงดู จำนวน 10 ข้อ
-การให้การศึกษาอบรมจากโรงเรียน จำนวน 10 ข้อ
-การนำเสนอและเผยแพร่จากสื่อสังคม จำนวน 10 ข้อ
ตอนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4 – 6 จำนวน 20 ข้อ
86
แบบสอบถาม ชุดที่
นักเรียนชั้น………………………………… เพศ……………………….
ตอนที่ 1 แบบสอบถามการปฏิบัติด้านปัจจัยที่มีผลต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
คำชี้แจง โปรดใส่เครื่องหมาย √ ลงในช่องว่างทางขวามือของแต่ละข้อความที่ตรงกับความคิดเห็นของผู้นักเรียนมากที่สุด
ระดับการปฏิบัติ
ข้อความ
ประจำ
บางครั้ง
ไม่ทำ
1.ท่านได้รับคำชมจากพ่อแม่ว่าเป็นเด็กดี ขยัน ตั้งใจเรียน
2.ท่านช่วยพ่อแม่ทำงานหรือไปเที่ยวด้วยกันเสมอ
3.ท่านเชื่อฟังคำสั่งสอนของพ่อแม่
4.ท่านไม่ชอบทำอะไรที่ผิดระเบียบ
5. พ่อแม่ของท่านอบรมสั่งสอนด้วยการอธิบายให้เหตุผล
6. เมื่อท่านทำความผิดพ่อแม่จะลงโทษด้วยการตี
7.พ่อแม่ให้รางวัลท่านเมื่อทำความดี หรือเรียนเก่งขึ้น
8.พ่อแม่ปล่อยให้ท่านทำอะไรด้วยตนเอง
9.ท่านสามารถช่วยเหลือตนเองได้
10.ท่านช่วยเหลือรับผิดชอบงานในบ้าน
11.ครูให้ความรู้เรื่องการใช้น้ำไฟอย่างสม่ำเสมอ
12.ครูอธิบายเรื่องการใช้น้ำไฟการทิ้งขยะอย่างมีเหตุผล
13.ท่านมักถูกครูตำหนิและทำโทษเรื่องทิ้งขยะเสมอ
14.ครูมอบหมายให้ท่านดูแลปิดน้ำไฟ
15.ท่านทิ้งขยะลงในถังที่ทางโรงเรียนจัดให้
16.ท่านจะทำการคัดแยกขยะก่อนทิ้ง
17.ครูให้รางวัลเมื่อท่านทำความดี ประหยัดน้ำไฟ
18.โรงเรียนจะให้นักเรียนช่วยกันปิดไฟก่อนออกจากห้อง
19.ครูเป็นแบบอย่างการใช้ทรัพยากรน้ำไฟอย่างคุ้มค่า
20.ท่านแนะนำเพื่อนให้ช่วยกันประหยัดน้ำไฟในโรงเรียน
87
ระดับการปฏิบัติ
ข้อความ
ประจำ
บางครั้ง
ไม่ทำ
21.ท่านชมเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจากโทรทัศน์
22. ท่านฟังวิทยุเรื่องปัญหาและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
23. ท่านอ่านหนังสือเกี่ยวกับทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
24. ท่านฟังครูพูดเรื่องเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและนำไปปฏิบัติ
25. ท่านอ่านป้ายประกาศที่บอร์ดเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
26. ท่านอ่านหนังสือพิมพ์คอลัมน์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
27. ท่านอ่านนิตยสารเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
28. ท่านอ่านการ์ตูนเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
29. ท่านอ่านอินเตอร์เน็ตการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
30. ท่านดู VDO, VCD เรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
88
ตอนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
คำชี้แจง โปรดใส่เครื่องหมาย √ ลงในช่องว่างทางขวามือของแต่ละข้อความที่ตรงกับการปฏิบัติของผู้นักเรียนมากที่สุด
ระดับการปฏิบัติ
ข้อความ
ประจำ
บางครั้ง
ไม่ทำ
1. ท่านใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัดทั้งที่บ้านและโรงเรียน
2. ท่านปิดไฟก่อนออกจากห้อง
3. ท่านมักลืมเปิดไฟทิ้งไว้
4. ท่านนำน้ำซักผ้าครั้งสุดท้ายไปรดต้นไม้หรือล้างพื้น
5. ท่านใช้น้ำอย่างประหยัดทั้งที่บ้านและโรงเรียน
6.ท่านลืมปิดน้ำทิ้งไว้เมื่อล้างมือล้างหน้าเสร็จแล้ว
7.ท่านไม่สนใจเรื่องการประหยัดน้ำและไฟฟ้า
8.ท่านช่วยทำขยะหอมในโครงการของโรงเรียน
9.ท่านจะคัดแยกขยะก่อนนำไปทิ้ง
10.เมื่อท่านพบขยะจะเก็บลงไปทิ้งที่ถังขยะทันที
11.ท่านทิ้งขยะออกนอกหน้าต่างหรือบนพื้นรถเมล์
12.ท่านจะรวบรวมเศษใบไม้และเศษอาหารไปทำขยะหอม
13.ท่านจะเอาใจใส่ดูแลรับผิดชอบต้นไม้ที่ปลูกไว้
14.ท่านจะทิ้งขยะลงคลอง
15.ท่านเข้าร่วมกิจกรรมรักษาความสะอาดในชุมชน
16.ท่านชักชวนเพื่อน ๆ ให้ช่วยกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
17.ท่านเคยคุยกับเพื่อนเรื่องการประหยัดไฟฟ้าหรือน้ำประปา
18.ท่านเคยเล่าเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้คนที่บ้านฟัง
19. ท่านสนใจติดตามเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
20.ท่านมีส่วนร่วมในโครงการโรงเรียนสีเขียวหรือ
ขยะหอม
ขอขอบคุณในความร่วมมือตอบแบบสอบถาม
ชนาวิทย์ ผู้นำพล
ผู้วิจัย
81
รายนามผู้เชี่ยวชาญ
ชื่อ-นามสกุล
วุฒิการศึกษา
ตำแหน่ง
1. นายวิเชียร อินทจันทร์
การศึกษามหาบัณฑิต
สาขาบริหารการศึกษา
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
อาจารย์ใหญ่ โรงเรียนสุเหร่า
บ้านม้า สำนักงานเขตประเวศ
กรุงเทพมหานคร
2. นายณรงค์ ดวงกระจ่าง
การศึกษามหาบัณฑิต
สาขาบริหารการศึกษา
สถาบันราชภัฎจันทร์เกษม
รองอาจารย์ใหญ่
ฝ่ายกิจกรรมนักศึกษา
โรงเรียนสยามธุรกิจ
กรุงเทพมหานคร
3.นางสุวรรณา วรกุลสวัสดิ์
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาชีวเคมี
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อาจารย์ระดับ 7
คณะแพทย์ศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ภาคผนวก (ข)
ปริมาณการใช้ไฟฟ้าน้ำประปาทั้งประเทศ
ภาคผนวก (ค)
ค่าใช้จ่ายสาธารณูปโภคโรงเรียนวัดพิกุล
ภาคผนวก (ง)
โครงการแยกขยะและขยะรีไซเคิลโรงเรียนวัดพิกุล
ภาคผนวก (จ)
โครงการประหยัดน้ำและประหยัดไฟโรงเรียนวัดพิกุล
113
ประวัติผู้วิจัย
ชื่อ-นามสกุล นายชนาวิทย์ ผู้นำพล
วัน เดือน ปีเกิด 3 สิงหาคม 2502
สถานที่เกิด กรุงเทพมหานคร
ประวัติการศึกษา ศิลปศาสตรบัณฑิต
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ตำแหน่งและสถานที่ทำงาน อาจารย์ 2 ระดับ 7
โรงเรียนวัดพิกุล
สำนักงานเขตตลิ่งชัน
กรุงเทพมหานคร
การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 (ช่วงชั้นที่ 2) (ตอนที่ 1)
การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 (ช่วงชั้นที่ 2) (ตอนที่ 2)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น