ศึกษาและโหลดฟรีเป็นตัวอย่างเกี่ยวกับงานวิจัย all free download research
วันจันทร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2554
การศึกษาสภาพและปัญหาในการจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาโรงเรียนเอกชน (ตอนที่ 2)
งานวิจัยในประเทศที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปการศึกษา
ปราณี ฉ่ำพึ่ง (2539 : บทคัดย่อ)ได้ทำการศึกษา เรื่อง “ ความคิดเห็นของผู้บริหาร การ
ศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษาเกี่ยวกับนโยบายปฏิรูปการศึกษาด้านระบบบริหารการศึกษาตาม
โครงการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ” การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความเห็น
และเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษาเกี่ยวกับนโยบาย
ปฏิรูปการศึกษาด้านระบบบริหารการศึกษาตามโครงการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ
กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยที่ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ ผู้บริหารการศึกษา จำนวน 123 คน ผู้บริหาร
สถานศึกษา จำนวน 358 คน แบบสอบถามมีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า แบ่งออกเป็น 7
ประเด็นตามแนวคิดเกี่ยวกับนโยบายปฏิรูปการศึกษาด้านระบบริหารการศึกษาตามโครงการปฏิรูป
การศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ได้แก่ 1) การกำหนดหน่วยงานหลัก 2) การมุ่งพัฒนาองค์กร
ในทุกระดับ 3) การมุ่งส่งเสริมบทบาทของครอบครัว ชุมชน และเอกชน 4) การพัฒนาการบริหาร
บุคลากรของกระทรวงศึกษาธิการ 5) การพัฒนาระบบการตรวจติดตาม 6) การดำเนินการช่วยเหลือ
ด้านค่าใช้จ่าย และ7) การมุ่งเพิ่มค่าใช้จ่ายทางการศึกษาผลการวิจัย พบว่า ผู้บริหารการศึกษา และผู้
บริหารสถานศึกษา มีความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายปฎิรูป การศึกษาด้านระบบบริหารการศึกษา
ตามโครงการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ อยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง เมื่อเปรียบ
เทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายปฏิรูปการศึกษาด้านระบบบริหารการศึกษาตามโครงการปฏิรูป
การศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการไม่แตกต่างกันที่ระดับ 0.05
ถวิล พลสาร (2541 : บทคัดย่อ) ได้ทำการศึกษา เรื่อง "การดำเนินการปฏิรูป การศึกษา
ของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์" โดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษา
และเปรียบเทียบระดับการดำเนินการปฏิรูปการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญ
ศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยใช้แบบสอบถามลักษณะมาตราส่วนประมาณค่า มีความเชื่อมั่นของ
แบบสอบถามทั้งฉบับ เท่ากับ 0.86 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหาร ครู-อาจารย์ของโรง
เรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษาจังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งได้จากการ สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น
และสุ่มอย่างง่าย จำนวน 240 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการ
วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทาง ผลการศึกษา พบว่า
1) การดำเนินการปฏิรูปการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์
ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูอาจารย์ โดยส่วนรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็น
รายด้าน พบว่า การดำเนินงานอยู่ในระดับมาก คือ ด้านการปฏิรูปโรงเรียนและสถานศึกษา ด้านการ
ปฏิรูประบบบริหารการศึกษา และด้านปฏิรูปหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอน ตามลำดับ
ส่วนด้านปฏิรูปครูและบุคลากรทางการศึกษา มีการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณา
29
ตามตัวแปรสถานภาพ และขนาดโรงเรียน พบว่าทุกทุกตัวแปรมีการดำเนินการ โดยส่วนรวมอยู่ใน
ระดับมากเช่นเดียวกันทุกตัวแปร ยกเว้นตัวแปรโรงเรียนขนาดเล็กที่มีการดำเนินการอยู่ในระดับ
ปานกลาง 2) การดำเนินการปฏิรูปการศึกษาของ โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา
จังหวัดกาฬสินธุ์ ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร และครูอาจารย์ โดยส่วนรวมแตกต่างกัน
สวัสดิ์ วงศ์วัจนสุนทร (2541 : บทคัดย่อ) ได้ทำการศึกษาเรื่อง "การดำเนินงานของ
คณะกรรมการโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ"
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และแนวทางที่เป็นไปได้ในการดำเนินงานของ
คณะกรรมการโรงเรียนมัธยมศึกษา ผู้ให้ข้อมูลในการศึกษา คือคณะกรรมการโรงเรียนในโรงเรียน
มัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 138 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
เป็นแบบสอบถามที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่และร้อยละ ผลการศึกษา
สรุปได้ดังนี้ สภาพการดำเนินงานของคณะกรรมการโรงเรียนโดยส่วนใหญ่ด้วยวิธีการที่ผู้บริหาร
โรงเรียนเป็นผู้เชิญมาเป็นคณะกรรมการ และคณะกรรมการส่วนใหญ่เคยมีส่วนร่วมในกิจกรรม
ของโรงเรียนมาก่อน ซึ่งจุดอ่อนของการจัดตั้งคณะกรรมการโรงเรียน คือ คณะกรรมการไม่มี
ส่วนร่วมในการแต่งตั้ง สำหรับการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการนั้น คณะกรรมการส่วนใหญ่
ได้มีส่วนร่วมวิเคราะห์นโยบายและเป้าหมายการปฏิรูปการศึกษา วิเคราะห์สภาพปัจจุบันและ
ปัญหาของโรงเรียน ร่วมกำหนดแผนปรับปรุงการบริหารและ การจัดการกับแผนงานโครง
การที่กำหนดไว้ในแผน ร่วมกิจกรรมรายงานผลสำเร็จของ การดำเนินงานและแนวทางใน
การปรับปรุงโรงเรียน ให้การสนับสนุนการเงินและร่วมเผยแพร่ ชื่อเสียงของโรงเรียน และมี
ความเห็นว่าการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการมีความเหมาะสม การปฏิบัติงานของคณะกรรมการ
โรงเรียนมีปัญหาในด้านคณะกรรมการไม่มีเวลาปฏิบัติหน้าที่ มาปฏิบัติหน้าที่ไม่ครบ ไม่มีประสบ
การณ์ในการทำงาน และขาดความเข้าใจในภาระหน้าที่ สำหรับแนวทางที่เป็นไปได้ในการจัดตั้ง
คณะกรรมการ ควรเลือกผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการจัดการศึกษา และมีเวลาพอมาเป็น
คณะกรรมการ ส่วนแนวทางในการดำเนินงานควรประชุมผู้ปกครองบ่อย ๆ จัดทำเป้าหมายของโรง
เรียนอย่างชัดเจน แล้วนำเสนอต่อ ผู้ปกครอง และจัดการบริหารให้สอดคล้องกับสภาพ
ปัจจุบันของโรงเรียน
สุนีย์ บุญทิม (2542 : บทคัดย่อ ) ได้ทำการศึกษา เรื่อง “การศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์
ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในช่วงปฏิรูปการศึกษา (พ.ศ. 2539-2550) ตามความคาดหวังของ
ผู้บริหารและครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 6” การวิจัยครั้งนี้มีจุด
ประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ในช่วงปฏิรูปการ
ศึกษา (2539-2550) ตามความคาดหวังของผู้บริหารและครูโรงเรียน มัธยมศึกษา สังกัดกรม
30
สามัญศึกษา เขตการศึกษา 6 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารจำนวน 103 คน ครู จำนวน 361 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบเลือกตอบและ แบบมาตราส่วนประมาณค่า
ผลการวิจัย พบว่า 1) คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหาร โรงเรียนมัธยมศึกษา ตามความ
คาดหวังของผู้บริหารและครูในคุณลักษณะ 2 ด้าน คือ คุณลักษณะด้านบุคลิกภาพ และคุณ
ลักษณะด้านวิชาชีพอยู่ในระดับมากที่สุด 2)เมื่อเปรียบเทียบความคาดหวังของผู้บริหารและครูที่มี
ต่อคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในทุกด้านของผู้บริหาร โรงเรียนมัธยมศึกษา พบว่า มีความคาด
หวังไม่แตกต่างกัน
โกศล กิตินิรันดร์กุล (2543 : บทคัดย่อ) ได้ทำการศึกษาเรื่อง "การศึกษาปัญหาและ
แนวทางแก้ไขการดำเนินงานปฏิรูปการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา"
โดยมีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ไขการดำเนินงานปฏิรูปการศึกษาของ โรง
เรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ตามความคิดของผู้บริหารโรงเรียนสังกัด กรมสามัญ
ศึกษา เพื่อเปรียบเทียบระดับปัญหาในการปฏิรูปการศึกษา โดยจำแนกตามขนาด โรงเรียน และ
สถานที่ตั้งโรงเรียน และเพื่อศึกษาแนวทางแก้ไขปัญหาในการดำเนินงานปฏิรูปการศึกษา ตามความ
คิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนมัธยม
ศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จำนวน 223 คน เครื่องมือที่ใช้ใน การศึกษาเป็นแบบสอบถาม
แบบมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว ผลการศึกษาค้นคว่า พบว่า ปัญหา
การดำเนินงานปฏิรูปการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษา ทุกขนาดและทุกสถานที่ตั้งอยู่ในระดับ
ปานกลาง และมีปัญหาไม่แตกต่างกัน สำหรับแนวทางสำหรับในการแก้ปัญหาการปฏิรูปโรงเรียน
ด้านโรงเรียนและสถานศึกษา ได้แก่ การจัดทำแผนการใช้ห้องเรียน ด้านครูและบุคลากรทางการ
ศึกษา ได้แก่ การส่งเสริมให้ครูเข้ารับการอบรมอย่างสม่ำเสมอ ด้านหลักสูตรและกระบวนการเรียน
การสอน ได้แก่ การจัดสรรงบประมาณเพื่อหาสื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัย และด้านระบบ
บริหารการศึกษา ได้แก่ การจัดตั้ง คณะกรรมการโรงเรียนเพื่อสนับสนุนและจัดทำแผน
พัฒนาโรงเรียน
ถวิล ภารแผ้ว (2543 : บทคัดย่อ) ได้ทำการศึกษาเรื่อง "การดำเนินงานตามกลยุทธ์การ
บริหารโรงเรียนของโรงเรียนปฏิรูปการศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอสมเด็จ
จังหวัดกาฬสินธุ์" โดยมีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาการดำเนินงานตามกลยุทธุ์การบริหารโรงเรียน
ของโรงเรียนปฏิรูปการศึกษา จากบุคลากร จำนวน 161 คน ประกอยด้วย ผู้บริหาร โรงเรียน ผู้ช่วยผู้
บริหารโรงเรียน และข้าราชการครูผู้สอนในโรงเรียนปฏิรูปการศึกษา สังกัดสำนักงานคณะ
กรรมการประถมศึกษาอำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ ปีการศึกษา 2542 ซึ่งได้ว่าโดยใช้วิธีการสุ่ม
31
แบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ผู้บริหาร
โรงเรียนและผู้ช่วยผู้บริหาร เกี่ยวกับสภาพและลักษณะการดำเนินงานตามกลยุทธ์การบริหารโรง
เรียนของโรงเรียนปฏิรูปการศึกษา ทั้ง 10 ด้าน และแบบสอบถามปลายเปิดที่ใช้สอบถามข้าราชการ
ครูผู้สอนกลุ่มทักษะภาษาไทย กลุ่มทักษะคณิตศาสตร์ กลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต กลุ่ม
สร้างเสริมลักษณะนิสัย กลุ่มการงานพื้นฐานอาชีพ และกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์พิเศษภาษา
อังกฤษเกี่ยวกับการจัดกิจกรรม การเรียนการสอน และการวัดประเมินผล จำนวน 2 ด้าน สถิติที่ใช้
คือ ค่าร้อยละ ผลการศึกษา พบว่า โรงเรียนปฏิรูปการศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา
อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ ส่วนมากดำเนินงานตามกลยุทธ์การบริหารโรงเรียนของโรงเรียน
ปฏิรูปการศึกษาตามที่สำนักงาน การประถมศึกษาแห่งชาติกำหนด 10 ด้าน มีลักษณะหรือรูป
แบบการดำเนินงานในแต่ละ แนวทางอย่างหลากหลาย มีความแตกต่างกันกันทั้งลักษณะหรือรูป
แบบและจำนวนกิจกรรมที่ดำเนินงานขึ้นอยู่กับความพร้อมและศักยภาพของโรงเรียนโดยมีสิ่งที่
ควรปรับปรุงและพัฒนา คือ การจัดหาข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับโรงเรียน ชุมชน องค์
กรท้องถิ่น ภูมิปัญญา ท้องถิ่น ความต้องการชุมชน และศักยภาพของโรงเรียนอย่างเป็นระบบ ใช้
แผนยุทธศาสตร์ การบริหารโรงเรียน เปิดโอกาสให้กรรมการโรงเรียนและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม
คิด ร่วมทำ และร่วมบริหารโรงเรียน จัดทำแผนผังโรงเรียนเป็นรูปทรงอย่างเต็มรูปแบบ วิเคราะห์
ครูเป็น รายบุคคลเพื่อหาจุดพัฒนา ประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนและองค์กรท้องถิ่นเข้ามามีส่วน
สนับสนุนทรัพยากรในการบริหาร สนับสนุนให้ข้าราชการครูวางแผนและเตรียมการสอนล่วงหน้า
และ การสนับสนุนส่งเสริมให้ข้าราชการครูผู้สอนวัดและประเมินผลโดยใช้แฟ้มสะสมงาน
สรุปว่างานวิจัยส่วนใหญ่ที่ผ่านมามุ่งศึกษาการดำเนินงานปฏิรูปการศึกษาหรือกลยุทธ์ใน
การปฏิรูปการศึกษาจากผลการวิจัยแสดงให้เห็นถึงกระบวนการในการดำเนินงานปฏิรูปการศึกษา
รวมทั้งแนวทางสำหรับในการแก้ปัญหาการดำเนินงานด้านการปฏิรูปการศึกษาของ สถานศึกษา
ซึ่งเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อการวางแผนปรับปรุงการดำเนิน นอกจากนี้บางเรื่อง ผลการวิจัย
แสดงให้เห็นลักษณะหรือรูปแบบการดำเนินงานในแต่ละแนวทางอย่างหลากหลาย มีความแตก
ต่างกันกันทั้งลักษณะหรือรูปแบบและจำนวนกิจกรรมที่ดำเนินงานขึ้นอยู่กับ ความพร้อมและ
ศักยภาพของโรงเรียนโดยมีสิ่งที่ควรปรับปรุงและพัฒนา เช่น การจัดหาข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อ
มูลเกี่ยวกับโรงเรียน ชุมชน องค์กรท้องถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น ความต้องการชุมชน และ
ศักยภาพของโรงเรียนอย่างเป็นระบบ ใช้แผนยุทธศาสตร์การบริหารโรงเรียน เปิดโอกาสให้
กรรมการโรงเรียนและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมคิด ร่วมทำ และร่วมบริหารโรงเรียน จัดทำแผนผัง
โรงเรียนเป็นรูปทรงอย่างเต็มรูปแบบ วิเคราะห์ครูเป็นรายบุคคลเพื่อหาจุดพัฒนา เป็นต้น
งานวิจัยในประเทศที่เกี่ยวข้องกับภารกิจในการบริหารงานโรงเรียน
32
เสน่ห์ ผดุงญาติ (2535 : บทคัดย่อ) ได้ทำการศึกษาเรื่อง "สภาพปัญหาการบริหารงาน
บุคคลของข้าราชการครูในสถานศึกษา สังกัดกรมการศึกษานอกโรงเรียน"โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อ
ศึกษาสภาพปัญหาการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูในสถานศึกษา สังกัดกรมการศึกษานอก
โรงเรียน ตามทัศนะของผู้บริหารและเจ้าหน้าที่บุคคลใน 4 ด้าน ได้แก่ การสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง
บุคลากร การบำรุงรักษาบุคลากร การพัฒนาบุคลากร และการให้พ้นจากงาน กลุ่มตัวอย่าง
ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นข้าราชการครูในสถานศึกษา สังกัดกรมการศึกษา นอกโรงเรียนปี
การศึกษา 2534 ทั้ง 80 แห่ง รวมทั้งสิ้น 160 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บ รวบรวมข้อมูลเป็น
แบบสอบถามมาตรส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบน
มาตรฐาน และการทดสอบค่าเฉลี่ย ผลการศึกษาที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1) สภาพปัญหาการบริหาร
งานบุคคลของ ข้าราชการครูในสถานศึกษา สังกัดกรมการศึกษานอกโรงเรียน ผู้บริหารและเจ้า
หน้าที่บุคคลมีทัศนะดังนี้ 1.1) ผู้บริหารมีทัศนะเกี่ยวกับสภาพ การบริหารงานบบุคคลของข้า
ราชการครูในสถานศึกษา สังกัดกรมการศึกษานอกโรงเรียนรวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับปานกลาง
โดยมีสภาพปัญหาในด้านการให้พ้นจากงานอยู่ในระดับต่ำ สำหรับด้านอื่น ๆ มีสภาพปัญหาอยู่ใน
ระดับปานกลาง 1.2) เจ้าหน้าที่งานบุคคลมีทัศนะ เกี่ยวกับปัญหาในการบริหารงานบุคคลอยู่ใน
ระดับปานกลางทุกด้าน 2) เมื่อเปรียบเทียบสภาพปัญหาการบริหารงานบุคคลตามความคิดเห็นของ
ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่บุคคล พบว่า ไม่มีความแตกต่างกันในทุกด้าน
ชัยวัฒน์ ไทยเกรียงไกรยศ (2536 : บทคัดย่อ) ได้ทำการศึกษาเรื่อง รูปแบบการบริหารงาน
เอกชน : ศึกษากรณีระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา โดยมีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา รูปแบบ
การบริหารงานโรงเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงาน คณะ
กรรมการการศึกษาเอกชนตามความคิดเห็นของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ประกอบ
ด้วยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารการศึกษา จำนวน 6 คน กลุ่มผู้เชี่ยวชาญจากสำนักงานคณะ
กรรมการการศึกษาเอกชน 10 คน และผู้เชี่ยวชาญจากผู้บริหารโรงเรียน เอกชน 11 คน รวม
ทั้งสิ้น 27 คน โดยทำการศึกษาการบริหารงาน 6 ด้าน คือ การบริหารงานวิชาการ การบริหาร
งานด้านบุคลากร การบริหารงานด้านธุรการ การเงินและพัสดุ การบริหารงานด้านอาคาร
สถานที่ การบริหารงานด้านกิจการนักเรียน และการบริหารงานด้านความสัมพันธ์กับชุมชน เก็บ
รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับรูปแบบการบริหารงานโรงเรียนเอกชนระดับประถม
ศึกษาและมัธยมศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่ามัธยฐานและค่าพิสัยอินเตอร์ควอร์ไทล์ ผลการวิจัย
พบว่า 1) การบริหารงานวิชาการควรจัดในรูปของ คณะกรรมการโดยมีเจ้าของ หรือผู้จัดการ
เป็นประธาน มีอาจารย์ใหญ่หรือครูใหญ่ ตลอดจน หัวหน้ากลุ่มประสบการณ์เป็นกรรมการ จัด
ให้มีสื่อการเรียนการสอน มีการนิเทศภายใน มีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ 2) การ
33
บริหารงานบุคลากร ควรจัดการบริหารในรูปของ คณะกรรมการ โดยแต่งตั้งผู้รับผิดชอบงาน
3 ด้าน คือ ด้านการบริหารงานปกครอง ด้านการเรียนการสอนและกิจกรรม ด้านการนิเทศและติด
ตามผล 3) การบริหารงานธุรการ การเงินและพัสดุ ควรยึดกฎระเบียบแบบแผนคำสั่งของสำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาเอกชนใน การปฏิบัติงาน 4) การบริหารงานอาคารสถานที่ ควรจัดให้มี
อาคารเพียงพอกับความต้องการและกิจกรรมการเรียนการสอนที่จัดขึ้น มีการวางแผนงานปลูกสร้าง
อาคารให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ มีเครื่องสาธารณูปโภคเพียงพอกับความต้องการ 5) การบริหาร
งานด้านกิจการ นักเรียน ควรมีหัวหน้าฝ่ายกิจกรรมโดยเฉพาะ มีการจัดทีมในการบริหารกิจการ
นักเรียน โดยแบ่งหน้าที่ออกเป็น 4 ฝ่าย คือ ด้านบุคลากร ด้านกิจกรรม ด้านการประสานงานและ
ดำเนินการ และการวัดประเมินผล ควรจัดตั้งสมาคมผู้ปกครอง และมีฝ่ายประชาสัมพันธ์ของโรง
เรียนที่เด่นชัด 6) การบริหารงานด้านความสัมพันธ์กับชุมชน พบว่า ควรมีการบริการในรูปของคณะ
กรรมการโรงเรียน โรงเรียนควรมีส่วนร่วมกับชุมชน โดยเฉพาะด้านขนบธรรมเนียมประเพณีและ
วัฒนธรรม ผู้บริหารโรงเรียนและครูควรเป็นผู้นำในการสร้างความสัมพันธ์กับ ชุมชน
สรุปงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับภารกิจในการบริหารงานโรงเรียนส่วนใหญ่มุ่งศึกษา
ครอบคลุมภารกิจในการบริหารงานวิชาการ การบริหารงานบุคคล การบริหารงานอาคาร สถาน
ที่ การบริหารงานธุรการ การเงินและพัสดุ การบริหารงานกิจการนักเรียน และการบริหารงานความ
สัมพันธ์กับชุมชน โดยประเด็นที่ทำการศึกษา ได้แก่ การศึกษาสภาพและปัญหา การบริหาร
งานในภารกิจต่าง ๆ ตามขอบข่ายงาน นอกจากนี้ยังมีการศึกษารูปแบบการบริหารงานโรงเรียน
เป็นต้น สำหรับในการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยมุ่งศึกษาสภาพและปัญหาในการจัดการศึกษาตามแนวทาง
ปฏิรูปการศึกษา โดยยึดขอบข่ายงานตามภารกิจ 4 ด้าน คือ การบริหารงานทั่วไป การบริหารงาน
บุคคล การบริหารงานงบประมาณ และการบริหารงานวิชาการ
บทที่ 3
วิธีดำเนินการวิจัย
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาใน
การจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาในสถานศึกษาเอกชน ประเภทสามัญศึกษา
เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อเปรียบเทียบสภาพและปัญหาในการจัดการศึกษาตาม
แนวทางปฏิรูปการศึกษาในสถานศึกษาเอกชน ประเภทสามัญศึกษา เขตภาษีเจริญ
กรุงเทพมหานคร ตามทัศนะของผู้บริหารและครู ซึ่งผู้วิจัยมีวิธีดำเนินการวิจัยตาม ขั้นตอนดังนี้
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
1. ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้บริหารและครูในสถานศึกษาเอกชนประเภท
สามัญศึกษา เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีทั้งหมด 16 โรงเรียน จำนวน 569 คน ซึ่ง
ประกอบด้วยผู้บริหาร 82 คน ครู 487 คน
2. กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารโรงเรียน และครู จำนวน 222 คน
ได้มาจากการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างจากประชากร จำนวน 569 คน โดยใช้ตาราง
สำเร็จรูปของ Yamane (Yamane ,1973 : 107) ที่ระดับความเชื่อมั่น 95 % และระดับ
ความคลาดเคลื่อน 5% ดำเนินการสุ่มกลุ่มตัวอย่างในแต่ละโรงเรียนโดยใช้สัดส่วน
เมื่อได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างในแต่ละโรงเรียนแล้วจึงดำเนินการสุ่มอย่างง่ายโดยวิธีการจับฉลาก
รายละเอียดของกลมุ่ ตัวอยา่ ง ดังตารางท ี่ 3.1
ตารางที่ 1 จำนวนประชากรและกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามโรงเรียน
โรงเรยี น จำนวนประชากร (คน) จำนวนกลมุ่ ตวั อยา่ ง (คน)
ผู้บริหาร ครูผู้สอน ผู้บริหาร ครูผู้สอน
1. เผดิมศึกษา 11 37 4 14
2. สุภาคมศึกษา 1 24 - 9
3. เอกประสิทธิศึกษา 12 43 5 17
4. ศิลปบำรุง 1 14 - 6
5. สุธรรมศึกษา 6 15 2 6
6. สุจิณวดี 2 14 - 6
7. ผดุงกิจวิทยา 5 42 2 17
8. ฐานปัญญา 12 50 5 20
34
ตารางที่ 1 (ต่อ)
จำโรงเรยี น นวนประชากร (คน) จำนวนกลมุ่ ตวั อยา่ ง (คน)
ผู้บริหาร ครูผู้สอน ผู้บริหาร ครูผู้สอน
9. นีรนาทวิทยา 1 13 - 5
10. สุภาคมวิทยา 1 7 - 3
11. ชาญกิจวิทยา 1 12 - 5
12. เปี่ยมสุวรรณวิทยา 15 47 6 19
13. ดำรงค์เรืองวิทย์ 1 12 - 5
14. ทองพูน 2 18 - 7
15. สถาพรศึกษา 6 19 2 7
16.ตรีมิตรวิทยา 14 110 6 44
รวม 82 487 32 190
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพและปัญหาใน
การจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาตามภารกิจ 4 ด้าน ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ซึ่งมีทั้งหมด
3 ตอน คือ
ตอนที่ 1 สถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม มีลักษณะ
เป็นแบบเลือกตอบ
ตอนที่ 2 สภาพการดำเนินงานในการจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูป
การศึกษา ตามภารกิจ 4 ด้าน 25 พันธกิจ มีลักษณะเป็น
แบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ คือตั้งแต่ 0 ถึง 4 ซึ่งมี
ความหมายดังนี้
4 หมายถึง มีการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมากที่สุด
3 หมายถึง มีการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก
2 หมายถึง มีการปฏิบัติงานอยู่ในระดับปานกลาง
1 หมายถึง มีการปฏิบัติงานอยู่ในระดับน้อย
0 หมายถึง ไม่มีการปฏิบัติงานเลย
35
การแปลผลค่าเฉลี่ย มีเกณฑ์ดังนี้ (ประคอง กรรณสูตร 2535 : 204)
3.50 – 4.00 หมายถึง มีการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมากที่สุด
2.50 – 3.49 หมายถึง มีการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก
1.50 – 2.49 หมายถึง มีการปฏิบัติงานอยู่ในระดับปานกลาง
0.50 – 1.49 หมายถึง มีการปฏิบัติงานอยู่ในระดับน้อย
0.00 – 0.49 หมายถึง ไม่มีการปฏิบัติงานเลย
ตอนที่ 3 ปัญหาการดำเนินงานในการจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูป
การศึกษา มีลักษณะเป็นแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ
คือตั้งแต่ 0 ถึง 4 ซึ่งมีความหมายดังนี้
4 หมายถึง มีปัญหาการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมากที่สุด
3 หมายถึง มีปัญหาการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก
2 หมายถึง มีปัญหาการปฏิบัติงานอยู่ในระดับปานกลาง
1 หมายถึง มีปัญหาการปฏิบัติงานอยู่ในระดับน้อย
0 หมายถึง ไม่มีปัญหาการปฏิบัติงานเลย
การแปลผลค่าเฉลี่ย มีเกณฑ์ดังนี้ (ประคอง กรรณสูต (2535 : 204)
3.50 – 4.00 หมายถึง มีปัญหาการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมากที่สุด
2.50 – 3.49 หมายถึง มีปัญหาการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก
1.50 – 2.49 หมายถึง มีปัญหาการปฏิบัติงานอยู่ในระดับปานกลาง
0.50 – 1.49 หมายถึง มีปัญหาการปฏิบัติงานอยู่ในระดับน้อย
0.00 – 0.49 หมายถึง ไม่มีปัญหาการปฏิบัติงานเลย
การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย
2. ศึกษาวิธีการสร้างแบบสอบถาม
3. ดำเนินการสร้างข้อคำถามโดยใช้ข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวมทั้ง
ข้อมูลจากสัมภาษณ์ผู้บริหารและครูเกี่ยวกับปัญหาการดำเนินในการจัดการศึกษา
ตามแนวทางปฏิรูปการศึกษา
4. นำเครื่องมือที่สร้างขึ้นไปให้ผู้เชี่ยวชาญ 6 ท่านเพื่อตรวจสอบความที่ยงตรง
เชิงเนื้อหา
36
5. นำเครื่องมือไปทดลองใช้กับกลุ่มที่ลักษณะคล้ายคลึงกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน
แล้วนำมาหาความเชื่อมั่นได้ของแบบสอบถามด้วยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟา (Alpha Coefficient)
ผลการหาคุณภาพของเครื่องมือ ได้ค่าความเชื่อมั่นได้ทั้งฉบับเท่ากับ 0.9831
6. นำเครื่องมือไปเก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่าง
การเก็บรวบรวมข้อมูล
ผู้วิจัยนำจดหมายจากบัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาไปติดต่อ
ขออนุญาต และขอความร่วมมือไปยังผู้บริหารโรงเรียนเอกชน ประเภทสามัญศึกษา เขตภาษี
เจริญ กรุงเทพมหานคร จำนวน 16 โรงเรียน และนำแบบสอบถามไปเก็บรวบรวมข้อมูล
จากผู้บริหารและครูในโรงเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างด้วยตนเอง ได้รับแบบสอบถามคืนจำนวน
222 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100
การวิเคราะห์ข้อมูล
ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS version 10.01 ดังนี้
1. วิเคราะห์สถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม โดยใช้ค่าร้อยละ
2. วิเคราะห์สภาพและปัญหาในการจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษา ดังนี้
2.1 วิเคราะห์สภาพในการจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษา โดยใช้
ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
2.2 วิเคราะห์ปัญหาในการจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษา โดยใช้
ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
2.3 เปรียบเทียบสภาพในการจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษา
ระหว่างผู้บริหารและครู โดยใช้ค่าสถิติ t-test
2.4 เปรียบเทียบปัญหาในการจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษา
ระหว่างผู้บริหารและครู โดยใช้ค่าสถิติ t-test
บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
สำหรับผลการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยนำเสนอโดยแบ่งเป็น 5 ตอน ดังนี้
ตอนที่ 1 สถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
ตอนที่ 2 สภาพการดำเนินงานในการจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษา
ตอนที่ 3 การเปรียบเทียบสภาพการดำเนินงานในการจัดการศึกษาตามแนวทาง
ปฏิรูปการศึกษา
ตอนที่ 4 ปัญหาการจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษา
ตอนที่ 5 การเปรียบเทียบปัญหาการจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษา
ตอนที่ 1 สถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
ผลการวิเคราะห์สถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ประกอบด้วยข้อมูล เกี่ยวกับ
เพศ อายุ วุฒิการศึกษาสูงสุดหรือเทียบเท่า ตำแหน่ง และประสบการณ์ใน การปฏิบัติงาน
รายละเอียดดังตารางที่ 3
ตารางที่ 2 จำนวนและร้อยละของสถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
สถานภาพทั่วไป จำนวน ร้อยละ
1. เพศ
ชาย
หญิง
ไม่ระบุ
35
181
6
15.77
81.53
2.70
รวม 222 100.00
2. อายุ
ต่ำกว่า 30 ปี
30 – 39 ปี
40 – 49 ปี
50 – 59 ปี
60 ปีขึ้นไป
ไม่ระบุ
65
63
59
23
10
2
29.28
28.38
26.58
10.36
4.50
0.90
รวม 222 100.00
38
ตารางที่ 2 (ต่อ)
สถานภาพทั่วไป จำนวน ร้อยละ
3. วุฒิการศึกษาสูงสุดหรือเทียบเท่า
ต่ำกว่าปริญญาตรี 49 22.07
ปริญญาตรี 167 75.23
ปริญญาโท 3 1.35
ปริญญาเอก 2 0.90
ไม่ระบุ 1 0.45
รวม 222 100.00
4. ตำแหน่ง
ผู้รับใบอนุญาต 2 0.90
ผู้จัดการโรงเรียน 1 0.45
ครูใหญ่ / อาจารย์ใหญ่ 10 4.50
ผู้ช่วยครูใหญ่ 9 4.05
หัวหน้าหมวด 10 4.50
ครูอาจารย์ 190 85.59
รวม 222 100.00
5. ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน
ต่ำกว่า 10 ปี 137 61.71
10 – 19 ปี 44 19.82
20 – 29 ปี 21 9.46
30 – 39 ปี 16 7.21
40 ปีขึ้นไป 4 1.80
รวม 222 100.00
จากตารางที่ 2 พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 81.53)
มีอายุต่ำกว่า 30 ปีมากที่สุด (ร้อยละ 29.28) รองลงมา คือ มีอายุ 30 - 39 ปี (ร้อยละ 28.38)
และ อายุ 40 - 49 ปี (ร้อยละ 26.58) ตามลำดับ มีการศึกษาระดับปริญญาตรีมากที่สุด (ร้อยละ
75.23) มีตำแหน่งเป็นครูอาจารย์ (ร้อยละ 85.59) มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานต่ำกว่า 10 ปี
มากที่สุด (ร้อยละ 61.71)
39
ตอนที่ 2 สภาพการดำเนินงานในการจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษา
ในสถานศึกษาเอกชน ประเภทสามัญศึกษา เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร
ผลการวิเคราะห์สภาพการดำเนินงานในการจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษา ใน
สถานศึกษาเอกชน ประเภทสามัญศึกษา เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร โดยภาพรวม และเป็น
รายภารกิจ ซึ่งประกอบด้วย ภารกิจการบริหารงานทั่วไป ภารกิจการบริหารงานบุคคล ภารกิจการ
บริหารงานวิชาการ และภารกิจการบริหารงานงบประมาณ รายละเอียด ดังตารางที่ 3-7
ตารางที่ 3 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของสภาพการดำเนินงานในการจัดการศึกษา
ตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาในสถานศึกษาเอกชน ประเภทสามัญศึกษา
เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร
ภารกิจ X S.D. แปลผล
1. การบริหารงานทั่วไป 2.71 0.75 มาก
2. การบริหารงานบุคคล 2.58 0.76 มาก
3. การบริหารงานวิชาการ 2.34 0.76 ปานกลาง
4. การบริหารงานงบประมาณ 2.32 0.86 ปานกลาง
รวม 2.49 0.73 ปานกลาง
จากตารางที่ 3 สภาพการดำเนินงานในการจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาใน
สถานศึกษาเอกชน ประเภทสามัญศึกษา เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร โดยรวมอยู่ในระดับปาน
กลาง (X= 2.49)
เมื่อพิจารณาในแต่ละภารกิจสภาพการดำเนินงานในการจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูป
การศึกษาในสถานศึกษาเอกชน ประเภทสามัญศึกษา เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร มีการปฏิบัติ
งานอยู่ในระดับมาก 2 ภารกิจ คือ การบริหารงานทั่วไป (X= 2.71) และการบริหารงานบุคคล (X=
2.58) และอยู่ในระดับปานกลาง 2 ภารกิจ คือ การบริหารงานวิชาการ (X = 2.34) และการ
บริหารงานงบประมาณ (X = 2.32)
ตารางที่ 4 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของสภาพการดำเนินงานในการจัดการศึกษา
ตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาในสถานศึกษาเอกชน ประเภทสามัญศึกษา
เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ตามภารกิจการบริหารงานทั่วไป
40
พันธกิจ X S.D. แปลผล
1. การบริหารจัดการแนวใหม่ 2.63 0.73 มาก
2. การใช้ระบบสารสนเทศ 2.56 0.86 มาก
3. การพัฒนานโยบายและแผน 2.61 0.81 มาก
4. การดำเนินงานกิจการพิเศษ 2.80 0.75 มาก
5. งานส่งเสริมและจัดการศึกษา 2.50 0.77 มาก
6. การส่งเสริมศาสนาศิลปะและวัฒนธรรม 3.00 0.80 มาก
7. การจัดระบบการประกันคุณภาพการศึกษา 2.84 0.86 มาก
8. การนิเทศติดตามและประเมินผล 2.86 0.98 มาก
รวม 2.71 0.75 มาก
จากตารางที่ 4 สภาพการดำเนินงานในการจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาใน
สถานศึกษาเอกชน ประเภทสามัญศึกษา เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานครของภารกิจด้านการบริหาร
งานทั่วไป โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X= 2.71)
เมื่อพิจารณาในแต่ละพันธกิจมีการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมากทั้ง 8 พันธกิจ คือ การ
ส่งเสริมศาสนาศิลปะและวัฒนธรรม (X = 3.00) การนิเทศติดตามและประเมินผล (X = 2.90)
การจัดระบบการประกันคุณภาพการศึกษา (X = 2.84) การดำเนินงานกิจการพิเศษ (X = 2.80) การ
พัฒนานโยบายและแผน (X = 2.61) การบริหารจัดการแนวใหม่ (X = 2.63) การใช้ระบบสารสนเทศ
(X = 2.56) และงานส่งเสริมและจัดการศึกษา (X = 2.50) ตามลำดับ
41
5 ตารางที่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของสภาพการดำเนินงานในการจัดการศึกษา
ตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาในสถานศึกษาเอกชน ประเภทสามัญศึกษา
เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ตามภารกิจด้านการบริหารงานบุคคล
พันธกิจ X S.D. แปลผล
1. การวางแผนกำลังคน 2.38 0.82 ปานกลาง
2. การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา 2.64 0.82 มาก
3. การประเมินระดับการปฏิบัติงานของครู
และบุคลากรทางการศึกษา
2.55 0.96
มาก
4. การเสริมสร้างวินัยและจรรยาบรรณ 2.69 0.83 มาก
5. การพัฒนาวิชาชีพครูและการจัดสวัสดิการ 2.62 0.88 มาก
รวม 2.58 0.76 มาก
จากตารางที่ 5 สภาพการดำเนินงานในการจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาใน
สถานศึกษาเอกชน ประเภทสามัญศึกษา เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานครของภารกิจด้านการบริหาร
งานบุคคล โดยรวมอยู่ในระดับมาก (X= 2.58)
เมื่อพิจารณาในแต่ละพันธกิจอยู่ในระดับมาก 4 พันธกิจ คือ การเสริมสร้างวินัยและจรรยา
บรรณ (X = 2.69) การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา (X = 2.64) การพัฒนา วิชาชีพครู
และการจัดสวัสดิการ (X = 2.62) และการประเมินระดับการปฏิบัติงานของครูและบุคลากรทางการ
ศึกษา (X = 2.55) และมีการปฏิบัติงานอยู่ในระดับปานกลาง 1 พันธกิจ คือ การวางแผนกำลังคน (X
= 2.38)
42
ตารางที่ 6 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของสภาพการดำเนินงานในการจัดการศึกษา
ตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาในสถานศึกษาเอกชน ประเภทสามัญศึกษา
เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ตามภารกิจการบริหารงานวิชาการ
พันธกิจ X S.D. แปลผล
1. การสร้างโอกาสในการเข้ารับการศึกษา 2.53 0.79 มาก
2. การพัฒนาหลักสูตร 2.70 0.90 มาก
3. การเทียบระดับการศึกษาและโอนผลการเรียน 1.77 1.08 ปานกลาง
4. การพัฒนาสื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา 2.45 0.85 ปานกลาง
5. การจัดเครือข่ายและแหล่งการเรียนรู้ 2.24 0.89 ปานกลาง
6. การปฏิรูปการเรียนรู้ในชุมชน 2.14 0.93 ปานกลาง
รวม 2.34 0.76 ปานกลาง
จากตารางที่ 6 สภาพการดำเนินงานในการจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาใน
สถานศึกษาเอกชน ประเภทสามัญศึกษา เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานครของภารกิจการบริหารงาน
วิชาการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (X = 2.34)
เมื่อพิจารณาในแต่ละพันธกิจอยู่ในระดับมาก 2 พันธกิจ คือ การพัฒนาหลักสูตร
(X = 2.70) และการสร้างโอกาสในการเข้ารับการศึกษา (X = 2.53) และมีการปฏิบัติงานอยู่ในระดับ
ปานกลาง 4 พันธกิจ คือ การพัฒนาสื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (X = 2.45) การจัดเครือข่าย
และแหล่งการเรียนรู้ (X = 2.24) การปฏิรูปการเรียนรู้ในชุมชน (X = 2.14) และ การเทียบระดับ
การศึกษาและโอนผลการเรียน (X = 1.77)
ตารางที่ 7 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของสภาพการดำเนินงานในการจัดการศึกษา
ตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาในสถานศึกษาเอกชน ประเภทสามัญศึกษา
43
เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ตามภารกิจการบริหารงานงบประมาณ
พันธกิจ X S.D. แปลผล
1. การจัดตั้งงบประมาณ 2.08 1.00 ปานกลาง
2. การจัดสรรงบประมาณ 2.07 1.02 ปานกลาง
3. การบริหารการเงินและบัญชี 2.50 0.94 มาก
4. การจัดซื้อจัดจ้างและการพัสดุ 2.49 0.91 ปานกลาง
5. การตรวจสอบ ติดตามการประเมิน 9 0.97 ปานกลาง
ประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณ
2.2
6. การระดมทรัพยากรและการลงทุนทางการศึกษา 2.39 0.89 ปานกลาง
รวม 2.32 0.86 ปานกลาง
จากตารางที่ 7 สภาพการดำเนินงานในการจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาใน
สถานศึกษาเอกชน ประเภทสามัญศึกษา เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานครของภารกิจการบริหารงาน
งบประมาณ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (X = 2.32)
เมื่อพิจารณาในแต่ละพันธกิจอยู่ในระดับมาก 1 พันธกิจ คือ การบริหารการเงินและบัญชี
(X = 2.50) และมีการปฏิบัติงานอยู่ในระดับปานกลาง 5 พันธกิจ คือ การจัดซื้อจัดจ้างและการพัสดุ
(X = 2.49) การระดมทรัพยากรและการลงทุนทางการศึกษา (X = 2.39) การตรวจสอบ ติดตามการ
ประเมินประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณ (X = 2.29) การจัดตั้งงบประมาณ (X = 2.08) และการจัด
สรรงบประมาณ (X = 2.07) ตามลำดับ
44
ตอนที่ 3 การเปรียบเทียบสภาพการดำเนินงานในการจัดการศึกษาตามแนวทาง
ปฏิรูปการศึกษาในสถานศึกษาเอกชน ประเภทสามัญศึกษา เขตภาษีเจริญ
กรุงเทพมหานคร
ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบสภาพการดำเนินงานในการจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูป
การศึกษาในสถานศึกษาเอกชน ประเภทสามัญศึกษา เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ของภารกิจ
4 ด้าน ตามทัศนะของผู้บริหารและครูผู้สอน แสดงรายละเอียดดังตารางที่ 8
ตารางที่ 8 การเปรียบเทียบสภาพการดำเนินงานในการจัดการศึกษาตามแนวทาง
ปฏิรูปการศึกษาในสถานศึกษาเอกชน ประเภทสามัญศึกษา เขตภาษีเจริญ
กรุงเทพมหานคร ของภารกิจ 4 ด้าน ตามทัศนะผู้บริหารและครูอาจารย์
ภารกิจ กลุ่มตัวอย่าง N X S.D. t
1. การบริหารงานทั่วไป ผู้บริหาร 32 2.69 0.78
ครูอาจารย์ 190 2.73 0.75
0.309
2. การบริหารงานบุคคล ผู้บริหาร 32 2.41 0.96
ครูอาจารย์ 190 2.60 0.73
1.293
3. การบริหารงานวิชาการ ผู้บริหาร 32 1.70 0.76
ครูอาจารย์ 190 1.93 0.60
1.891
4. การบริหารงานงบประมาณ ผู้บริหาร 32 2.15 1.04
ครูอาจารย์ 190 2.31 0.82
0.959
รวม ผู้บริหาร 32 2.24 0.84
ครูอาจารย์ 190 2.39 0.67
1.166
*p < .05 จากตารางที่ 8 พบว่า ผู้บริหารและครูอาจารย์มีทัศนะเกี่ยวกับสภาพการดำเนินงานในการ จัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาในสถานศึกษาเอกชน ประเภทสามัญศึกษา เขต ภาษีเจริญ กรุงเทพมหานครทั้งภาพรวมและรายด้านของภารกิจ 4 ด้าน ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัย สำคัญที่ระดับ .05 45 ตอนที่ 4 ปัญหาการดำเนินงานในการจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษา ในสถานศึกษาเอกชน ประเภทสามัญศึกษา เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ผลการวิเคราะห์ปัญหาการดำเนินงานในการจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูป การ ศึกษา ในสถานศึกษาเอกชน ประเภทสามัญศึกษา เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร โดยภาพ รวม และเป็นรายภารกิจ ซึ่งประกอบด้วย การบริหารงานทั่วไป การบริหารงานบุคคล การบริหาร งานวิชาการ และการบริหารงานงบประมาณ แสดงรายละเอียดดังตารางที่ 9 – 13 ตารางที่ 9 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของปัญหาการดำเนินงานในการจัดการศึกษา ตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาในสถานศึกษาเอกชน ประเภทสามัญศึกษา เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ปัญหา X S.D. แปลผล 1. ด้านการบริหารงานทั่วไป 1.89 0.88 ปานกลาง 2 ด้านการบริหารงานบุคคล 1.79 0.92 ปานกลาง 3. ด้านการบริหารงานวิชาการ 1.83 0.98 ปานกลาง 4. ด้านการบริหารงานงบประมาณ 1.84 1.01 ปานกลาง รวม 1.81 0.87 ปานกลาง จากตารางที่ 9 ภาพรวมปัญหาในการดำเนินงานในการจัดการศึกษา ตามแนว ทางปฏิรูปการศึกษาในสถานศึกษาเอกชน ประเภทสามัญศึกษา เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานครอยู่ ในระดับปานกลาง (X = 1.81) เมื่อพิจารณาปัญหาการดำเนินงานในการจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาใน สถานศึกษาเอกชน ประเภทสามัญศึกษา เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานครแต่ละภารกิจ พบว่า อยู่ใน ระดับปานกลางทั้ง 4 ภารกิจ คือ ด้านการบริหารงานทั่วไป (X = 1.89) ด้านการบริหารงานงบ ประมาณ (X= 1.84) ด้านการบริหารงานวิชาการ (X= 1.83) และด้านการบริหารงานบุคคล (X = 1.79) ตามลำดับ ตารางที่ 10 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของปัญหาการดำเนินงานในการจัดการศึกษา ตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาในสถานศึกษาเอกชน ประเภทสามัญศึกษา เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ตามภารกิจด้านการบริหารงานทั่วไป 46 ปัญหา X S.D. แปลผล 1. บุคลากรในสถานศึกษามีความรับผิดชอบและความสามัคคีน้อย 1.81 1.07 ปานกลาง 2. สถานศึกษาไม่ได้รับความร่วมมือจากชุมชนเท่าที่ควร 1.80 0.97 ปานกลาง 3. ชุมชนยังไม่เข้าใจระบบการจัดการศึกษาของสถานศึกษาตาม แนวทางการปฏิรูปการศึกษา 2.07 1.04 ปานกลาง 4. การบริหารงานทั่วไปไม่ค่อยเป็นระบบตามแนวปฏิรูปการศึกษา 1.84 1.00 ปานกลาง 5. ขาดแหล่งการเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น 2.03 1.03 ปานกลาง 6. การบริหารงานเน้นในรูปธุรกิจมากเกินไปทำให้ไม่สอดคล้องกับ การปฏิรูปการศึกษา 1.81 1.01 ปานกลาง 7. ขาดความชัดเจนในการบริหารงานตามแนวทางการปฏิรูป การศึกษาด้านบุคลากร 1.80 1.03 ปานกลาง 8. ขาดความชัดเจนในทิศทางในการจัดการศึกษาตามแนวทาง การปฏิรูปการศึกษา 1.90 1.05 ปานกลาง 9. บุคลากรของสถานศึกษายังไม่เข้าใจแนวทางการปฏิรูปการศึกษา เท่าที่ควร 1.86 1.03 ปานกลาง 10. ขาดข้อมูลด้านการปฏิรูปการศึกษาที่เป็นแนวทางไปสู่การปฏิบัติ 1.90 1.07 ปานกลาง 11. บุคลากรยังไม่มีความพร้อมในการจัดการศึกษาตามแนวทาง การปฏิรูปการศึกษา 1.81 1.05 ปานกลาง 12. การบริหารงานตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาก่อให้เกิดความ ยุ่งยากแก่บุคลากรในการจัดทำเอกสารหลักฐานและเป็นการ เพิ่มภาระงาน 1.99 1.08 ปานกลาง รวม 1.89 0.88 ปานกลาง จากตารางที่ 10 ภาพรวมของปัญหาการดำเนินงานในการจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูป การศึกษาในสถานศึกษาเอกชน ประเภทสามัญศึกษา เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานครด้านการ บริหารงานทั่วไปอยู่ในระดับปานกลาง (X = 1.89) สำหรับปัญหาในการดำเนินงานด้านการบริหารงานทั่วไป 5 อันดับแรก ได้แก่ ชุมชน ยังไม่เข้าใจระบบการจัดการศึกษาของสถานศึกษาตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษา (X = 2.07) ขาดแหล่งการเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น (X = 2.03) การบริหารงานตามแนวทาง ปฏิรูปการศึกษาก่อให้เกิดความยุ่งยากแก่บุคลากรในการจัดทำเอกสารหลักฐานและเป็นการ เพิ่มภาระงาน (X = 1.99) ขาดความชัดเจนในทิศทางในการจัดการศึกษาตามแนวทางการ ปฏิรูปการศึกษา (X = 1.90) และขาดข้อมูลด้านการปฏิรูปการศึกษาที่เป็นแนวทางไปสู่ การปฏิบัติ (X = 1.90) ตามลำดับ 11 ค่าเฉล ตารางที่ ี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของปัญหาการดำเนินงานในการจัดการศึกษา ตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาในสถานศึกษาเอกชน ประเภทสามัญศึกษา เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ตามภารกิจด้านการบริหารงานวิชาการ 47 ปัญหา X S.D. แปลผล 1. ฝ่ายวิชาการของสถานศึกษาขาดประสบการณ์และความรู้ใน 4 1.12 ปานกลาง การจัดการศึกษาตามแนวปฏิรูปการศึกษา 1.8 2. ครูไม่เข้าใจและไม่เห็นความสำคัญของการปฏิรูปการศึกษา 1.63 1.00 ปานกลาง 3. นักเรียนไม่เข้าใจและไม่เห็นความสำคัญของการปฏิรูปการศึกษา 1.82 1.08 ปานกลาง 4. ขาดเอกสารแนะแนวทางไปสู่การปฏิบัติที่ถูกต้องเกี่ยวกับ 7 1.04 ปานกลาง การปฏิรูปการศึกษา 1.8 5. ครูขาดความสามารถในการจัดการงานเอกสาร เช่น จัดทำแผน 72 1.05 ปานกลาง การสอน การจัดทำโครงงานประกอบการสอน และการวิจัยใน ชั้นเรียน เป็นต้น 1. 6. ครูขาดความมั่นใจในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตาม 71 1.09 ปานกลาง แนวทางปฏิรูปการศึกษาโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ 1. 7. การจัดครูเข้าสอนไม่ตรงกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ถนัดหรือ 80 1.10 มีความสามารถ 1. ปานกลาง 8. การจัดทำแผนการสอนที่แสดงถึงกลยุทธ์ในการเรียนการสอน 9 1.08 แบบยึดผู้เรียนเป็นสำคัญทำให้ครูต้องปรับแผนการสอนตลอดเวลา โดยเฉพาะชั้นเรียนที่มีนักเรียนเรียนอ่อนเป็นจำนวนมาก 1.9 ปานกลาง รวม 1.79 0.92 ปานกลาง จากตารางที่ 11 ภาพรวมของปัญหาการดำเนินงานในการจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูป การศึกษาในสถานศึกษาเอกชน ประเภทสามัญศึกษา เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ด้านการ บริหารงานบุคคลอยู่ในระดับปานกลาง (X = 1.79) สำหรับปัญหาในการดำเนินงานด้านการบริหารงานบุคคล 5 อันดับแรก ได้แก่ การจัดทำ แผนการสอนที่แสดงถึงกลยุทธ์ในการเรียนการสอนแบบยึดผู้เรียนเป็นสำคัญทำให้ครูต้องปรับแผน การสอนตลอดเวลา โดยเฉพาะชั้นเรียนที่มีนักเรียนเรียนอ่อนเป็นจำนวนมาก (X = 1.99) ขาดเอกสาร แนะแนวทางไปสู่การปฏิบัติที่ถูกต้องเกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษา (X = 1.87) ฝ่ายวิชาการของ สถานศึกษาขาดประสบการณ์และความรู้ในการจัดการศึกษาตามแนวปฏิรูป การศึกษา (X = 1.84) นักเรียนไม่เข้าใจและไม่เห็นความสำคัญของการปฏิรูปการศึกษา (X = 1.82) และการจัดครู เข้าสอนไม่ตรงกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ถนัดหรือมีความสามารถ (X = 1.80) ตามลำดับ ตารางที่ 12 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของปัญหาการดำเนินงานในการจัดการศึกษา ตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาในสถานศึกษาเอกชน ประเภทสามัญศึกษา เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ตามภารกิจด้านการบริหารงานบุคคล ปัญหา X S.D. แปลผล 1. ขาดบุคลากรที่เชี่ยวชาญในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ 1.85 1.10 ปานกลาง 48 เช่น วิชาคณิตศาสตร์ 2. สถานศึกษาไม่มีฝ่ายบริหารงานบุคคลที่ชัดเจน 1.82 1.16 ปานกลาง 3. จำนวนบุคลากรมีน้อยแต่ภาระงานมีมากส่งผลกระทบต่อ 94 1.17 ปานกลาง ประสิทธิภาพการเรียนการสอน 1. 4. การมอบหมายงานแก่บุคลากรไม่ตรงกับความสามารถและ 85 1.09 ปานกลาง ความเชี่ยวชาญ 1. 5. บุคลากรไม่ให้ความร่วมมือในการปฏิรูปการศึกษาเพราะ คิดว่าเป็นการเพิ่มงาน 1.69 1.07 ปานกลาง 6. บุคลากรขาดความพร้อมในการจัดการศึกษาตามแนวปฏิรูป เพราะยึดติดกับรูปแบบวิธีการเรียนการสอนแบบเดิม 1.87 1.16 ปานกลาง รวม 1.83 0.98 ปานกลาง จากตารางที่ 12 ภาพรวมของปัญหาการดำเนินงานในการจัดการศึกษาตามแนวทาง ปฏิรูปการศึกษาในสถานศึกษาเอกชน ประเภทสามัญศึกษา เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ด้านการบริหารงานบุคคลอยู่ในระดับปานกลาง (X = 1.83) สำหรับปัญหาในการดำเนินงานด้านการบริหารงานบุคคล 5 อันดับแรก ได้แก่ จำนวน บุคลากรมีน้อยแต่ภาระงานมีมากส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการเรียนการสอน (X = 1.94) บุคลากรขาดความพร้อมในการจัดการศึกษาตามแนวปฏิรูปเพราะยึดติดกับรูปแบบวิธีการเรียน การสอนแบบเดิม (X = 1.87) การมอบหมายงานแก่บุคลากรไม่ตรงกับความสามารถและ ความเชี่ยวชาญ (X = 1.85) ขาดบุคลากรที่เชี่ยวชาญในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ เช่น วิชาคณิตศาสตร์ (X = 1.85) และสถานศึกษาไม่มีฝ่ายบริหารงานบุคคลที่ชัดเจน (X = 1.82) ตามลำดับ ตารางที่ 13 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของปัญหาการดำเนินงานในการจัดการศึกษา ตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาในสถานศึกษาเอกชน ประเภทสามัญศึกษา เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ตามภารกิจด้านการบริหารงานงบประมาณ ปัญหา X S.D. แปลผล 1. งบประมาณที่รัฐบาลจัดสรรให้ไม่เพียงพอทำให้สถานศึกษา 1.85 1.16 ปานกลาง 49 ต้องเรียกเก็บจากผู้ปกครองนักเรียนเพิ่มขึ้น 2. การปฏิรูปการศึกษาทำให้สถานศึกษาต้องใช้งบประมาณ เพิ่มขึ้นทำให้งบประมาณของสถานศึกษาไม่เพียงพอกับ ความต้องการของครูแต่ละฝ่าย 1.96 1.13 ปานกลาง 3. การบริหารงบประมาณล่าช้า ไม่ทันต่อความจำเป็นเร่งด่วน 1.80 1.15 ปานกลาง 4. การบริหารงบประมาณไม่โปร่งใส 1.69 1.16 ปานกลาง 5. การปรับเงินเดือน และสวัสดิการต่างๆ ไม่มีระบบที่ชัดเจน 1.97 1.25 ปานกลาง รวม 1.84 1.01 ปานกลาง จากตารางที่ 13 ภาพรวมของปัญหาการดำเนินงานในการจัดการศึกษาตามแนวทาง ปฏิรูปการศึกษาในสถานศึกษาเอกชน ประเภทสามัญศึกษา เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ด้านการบริหารงบประมาณอยู่ในระดับปานกลาง (X = 1.84) สำหรับปัญหาการดำเนินงานด้านการบริหารงบประมาณ 5 อันดับแรก ได้แก่ การปรับ เงินเดือน และสวัสดิการต่างๆ ไม่มีระบบที่ชัดเจน (X = 1.97) การปฏิรูปการศึกษาทำให้ สถานศึกษาต้องใช้งบประมาณเพิ่มขึ้นทำให้งบประมาณของสถานศึกษาไม่เพียงพอกับ ความต้องการของครูแต่ละฝ่าย (X = 1.96) งบประมาณที่รัฐบาลจัดสรรให้ไม่เพียงพอทำให้ สถานศึกษาต้องเรียกเก็บจากผู้ปกครองนักเรียนเพิ่มขึ้น (X = 1.85) การบริหารงบประมาณล่า ช้า ไม่ทันต่อความจำเป็นเร่งด่วน (X = 1.80) และการบริหารงบประมาณไม่โปร่งใส (X = 1.69) ตามลำดับ 50 ตอนที่ 5 การเปรียบเทียบปัญหาการดำเนินงานในการจัดการศึกษาตามแนวทาง ปฏิรูปการศึกษาในสถานศึกษาเอกชน ประเภทสามัญศึกษา เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบปัญหาการดำเนินงานในการจัดการศึกษาตามแนวทาง ปฏิรูปการศึกษาในสถานศึกษาเอกชน ประเภทสามัญศึกษา เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ของ ภารกิจ 4 ด้าน ตามทัศนะของผู้บริหารและครูผู้สอน แสดงรายละเอียดดังตารางที่ 14 ตารางที่ 14 การเปรียบเทียบปัญหาการดำเนินงานในการจัดการศึกษาตามแนวทาง ปฏิรูปการศึกษาในสถานศึกษาเอกชน ประเภทสามัญศึกษา เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ของภารกิจ 4 ด้าน ตามทัศนะผู้บริหารและครูอาจารย์ ปัญหา กลุ่มตัวอย่าง N X S.D. t 1. ด้านการบริหารงานทั่วไป ผู้บริหาร 32 1.72 0.76 ครูอาจารย์ 190 1.91 0.89 1.022 2.ด้านการบริหารงานบุคคล ผู้บริหาร 32 1.55 0.77 ครูอาจารย์ 190 1.83 0.95 1.536 3. ด้านการบริหารงานวิชาการ ผู้บริหาร 32 1.62 0.81 ครูอาจารย์ 190 1.87 1.00 1.313 4. ด้านการบริหารงานงบประมาณ ผู้บริหาร 32 1.69 0.94 ครูอาจารย์ 190 1.87 1.02 0.861 รวม ผู้บริหาร 32 1.65 0.65 ครูอาจารย์ 190 1.84 0.90 1.037 *p < .05 จากตารางที่ 14 พบว่า ผู้บริหารและครูอาจารย์มีทัศนะเกี่ยวกับปัญหาการดำเนินงานในการ จัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาในสถานศึกษาเอกชน ประเภทสามัญศึกษา เขต ภาษีเจริญ กรุงเทพมหานครทั้งภาพรวมและรายด้านของภารกิจ 4 ด้าน ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัย สำคัญที่ระดับ .05 บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ การวิจัย เรื่อง การศึกษาสภาพ และปัญหาในการจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการ ศึกษาในสถานศึกษาเอกชน ประเภทสามัญศึกษา เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาในการจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาในสถาน ศึกษาเอกชน ประเภทสามัญศึกษา เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร 2.เพื่อเปรียบเทียบสภาพและปัญหาในการจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาใน สถานศึกษาเอกชน ประเภทสามัญศึกษา เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ตามทัศนะของ ผู้ บริหารและครู ประชากรและกลุ่มตัวอย่างการวิจัย 1. ประชากร ได้แก่ ผู้บริหารและครูในสถานศึกษาเอกชน ประเภทสามัญศึกษา เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีทั้งหมด 16 โรงเรียน จำนวน 569 คน ประกอบด้วย ผู้ บริหาร 82 คน และครู 487 คน 2. กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 32 คน และครู จำนวน 190 คน รวมทั้ง สิ้น 222 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพและปัญหาในการจัดการ ศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาตามภารกิจ 4 ด้าน ซึ่งมีทั้งหมด 3 ตอน คือ ตอนที่ 1 สถานภาพ ทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบเลือกตอบ ตอนที่ 2 สภาพการดำเนินงานในการ จัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษา ตามภารกิจ 4 ด้าน 25 พันธกิจ มีลักษณะเป็น แบบมาตร ประมาณค่า 5 ระดับ คือตั้งแต่ 0 ถึง 4 และตอนที่ 3 ปัญหาการดำเนินงานในการจัดการศึกษาตาม แนวทางปฏิรูปการศึกษา มีลักษณะเป็นแบบ มาตรประมาณค่า 5 ระดบั คอื ตงั้ แต 0 ถึง 4 ผู้วิจัยได้สร้างเครืองมือขึ้นเอง และนำไปให้ ผู้เชี่ยวชาญ 6 ท่าน ตรวจสอบความเที่ยงตรง เชิงเนื้อหา จากนั้นนำเครื่องมือไปทดลองใช้กับกลุ่มที่ลักษณะคล้ายคลึงกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 52 คน แล้วนำมาหาความเชื่อมั่นได้ของแบบสอบถามด้วยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟา (Alpha Coefficient) ได้ค่าความเชื่อมั่นได้เท่ากับ 0.9831 การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยนำจดหมายจากบัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาไปติดต่อ ขออนุญาต และขอความร่วมมือไปยังผู้บริหารโรงเรียนเอกชน ประเภทสามัญศึกษา เขต ภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร จำนวน 16 โรงเรียน และนำแบบสอบถามไปเก็บรวบรวม ข้อมูล จากผู้บริหารและครูในโรงเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างด้วยตนเอง ได้รับแบบสอบถามคืนจำนวน 222 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100 การวิเคราะห์ข้อมูล ในการการวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรม SPSS version 10.01 ดังนี้ 1. วิเคราะห์สถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม โดยใช้ค่าร้อยละ 2. วิเคราะห์สภาพและปัญหาในการจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษา ดังนี้ 2.1 วิเคราะห์สภาพในการจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษา โดยใช้ค่า เฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.2 วิเคราะห์ปัญหาในการจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษา โดยใช้ค่า เฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.3 เปรียบเทียบสภาพในการจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาระหว่างผู้ บริหารและครู โดยใช้ค่าสถิต ิ t-test 2.4 เปรียบเทียบปัญหาในการจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาระหว่างผู้ บริหารและครู โดยใช้ค่าสถิต ิ t-test สรุปผลการวิจัย 1. สภาพการดำเนินงานในการจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาในสถานศึกษา เอกชน ประเภทสามัญศึกษา เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร 53 สภาพการดำเนินงานในการจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาในสถานศึกษาเอก ชน ประเภทสามัญศึกษา เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานครโดยภาพรวมมีการปฏิบัติงานอยู่ในระดับ ปานกลาง เมื่อพิจารณาในแต่ละภารกิจ พบว่า มีการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก 2 ภารกิจ ได้แก่ ด้านการบริหารงานทั่วไป และด้านการบริหารงานบุคคล และมีการปฏิบัติงาน อยู่ในระดับปาน กลาง 2 ภารกิจ ได้แก่ ด้านการบริหารงานวิชาการ และด้านการบริหารงานงบประมาณ 1.1 ด้านการบริหารงานทั่วไป สภาพการดำเนินงานในการจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษา ตามภาร กิจด้านการบริหารงานทั่วไปมีการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมากทั้ง 8 พันธกิจ ได้แก่ การส่งเสริม ศาสนาศิลปะและวัฒนธรรม การนิเทศติดตามและประเมินผล การจัดระบบการประกันคุณภาพการ ศึกษา การดำเนินงานกิจการพิเศษ การพัฒนานโยบายและแผน การบริหารจัดการแนวใหม่ การใช้ ระบบสารสนเทศ และงานส่งเสริมและจัดการศึกษา ตามลำดับ 1.2 ด้านการบริหารงานบุคคล สภาพการดำเนินงานในการจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาตาม ภาร กิจด้านการบริหารงานบุคคลมีการปกิบัติงานอยู่ในระดับมาก 4 พันธกิจ ได้แก่ การเสริมสร้างวินัย และจรรยาบรรณ การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา การพัฒนาวิชาชีพครูและการจัดสวัสดิ การ และการประเมินระดับการปฏิบัติงานของครูและบุคลากรทางการศึกษา และ มีการปฏิบัติ งานอยู่ในระดับปานกลาง 1 พันธกิจ ได้แก่ การวางแผนกำลังคน 1.3 ด้านการบริหารงานวิชาการ สภาพการดำเนินงานในการจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาตาม ภาร กิจด้านการบริหารงานวิชาการมีการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก 2 พันธกิจ ได้แก่ การพัฒนา หลักสูตร และการสร้างโอกาสในการเข้ารับการศึกษา และมีการปฏิบัติงานอยู่ในระดับปานกลาง 4 พันธกิจ ได้แก่ การพัฒนาสื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา การจัดเครือข่ายและแหล่งการเรียนรู้การ ปฏิรูปการเรียนรู้ในชุมชน และการเทียบระดับการศึกษาและโอนผล การเรียน ตามลำดับ 1.4 ด้านการบริหารงานงบประมาณ สภาพการดำเนินงานในการจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาตาม ภาร กิจด้านการบริหารงานงบประมาณมีการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมากเพียงพันธกิจเดียว ได้แก่ การ บริหารการเงินและบัญชี ส่วนพันธกิจอีก 4 ด้านมีการปฏิบัติงานอยู่ในระดับปานกลาง ได้ 54 แก่ การจัดซื้อจัดจ้างและการพัสดุ การระดมทรัพยากรและการลงทุนทางการศึกษา การ ตรวจสอบติดตามและประเมินประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณ การจัดตั้งงบประมาณ และการ จัดสรรงบประมาณ ตามลำดับ 2. การเปรียบเทียบสภาพการดำเนินงานในการจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูป การศึกษา จากการเปรียบเทียบสภาพการดำเนินงานในการจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูป การ ศึกษาทั้งภาพรวมและในแต่ละภารกิจ 4 ด้าน ตามทัศนะของผู้บริหารและครู พบว่า ไม่แตก ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 3. ปัญหาการดำเนินงานในการจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษา โดยภาพรวมปัญหาในการดำเนินงานในการจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาอยู่ ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาในแต่ละภารกิจ พบว่า ปัญหาการดำเนินงานในการจัดการศึกษา ตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาอยู่ในระดับปานกลางทั้ง 4 ภารกิจ เรียงลำดับปัญหาจากมากไปน้อย คือ ด้านการบริหารงานทั่วไป ด้านการบริหารงานงบประมาณ ด้านการบริหารงานวิชาการ และด้าน การบริหารงานบุคคล ตามลำดับ 3.1 ด้านการบริหารงานทั่วไป ปัญหาการดำเนินงานในการจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาตาม ภารกิจ ด้านการบริหารงานทั่วไปอยู่ในระดับปานกลางทุกข้อ โดยปัญหา 5 อันดับแรก ได้แก่ ชุมชน ยังไม่เข้าใจระบบการจัดการศึกษาของสถานศึกษาตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษา ขาดแหล่ง การเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น การบริหารงานตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาก่อให้เกิดความยุ่งยาก แก่บุคลากรในการจัดทำเอกสารหลักฐานและเป็นการเพิ่มภาระงาน ขาดความชัดเจนในทิศทางใน การจัดการศึกษาตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษา และขาดข้อมูลด้าน การปฏิรูปการศึกษาที่ เป็นแนวทางไปสู่การปฏิบัติ ตามลำดับ 3.2 ด้านการบริหารงานวิชาการ ปัญหาการดำเนินงานในการจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาตาม ภาร กิจด้านการบริหารงานวิชาการอยู่ในระดับปานกลางทุกข้อ โดยปัญหา 5 อันดับแรก ได้แก่ การจัดทำ แผนการสอนที่แสดงถึงกลยุทธ์ในการเรียนการสอนแบบยึดผู้เรียนเป็นสำคัญทำให้ครูต้องปรับแผน 55 การสอนตลอดเวลาโดยเฉพาะชั้นเรียนที่มีนักเรียนเรียนอ่อนเป็นจำนวนมาก ขาดเอกสารแนะ แนวทางไปสู่การปฏิบัติที่ถูกต้องเกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษา ฝ่ายวิชาการของสถานศึกษาขาด ประสบการณ์และความรู้ในการจัดการศึกษาตามแนวปฏิรูปการศึกษา นักเรียนไม่เข้าใจและ ไม่เห็นความสำคัญของการปฏิรูปการศึกษา และการจัดครูเข้าสอนไม่ตรงกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ ถนัดหรือมีความสามารถ ตามลำดับ 3.3 ด้านการบริหารงานบุคคล ปัญหาการดำเนินงานในการจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาด้าน การ บริหารงานบุคคลอยู่ในระดับปานกลางทุกข้อ โดยปัญหา 5 อันดับแรก ได้แก่ จำนวนบุคลากรมี น้อยแต่ภาระงานมีมากส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการเรียนการสอน บุคลากรขาดความพร้อม ในการจัดการศึกษาตามแนวปฏิรูปเพราะยึดติดกับรูปแบบวิธีการเรียนการสอนแบบเดิม การมอบ หมายงานแก่บุคลากรไม่ตรงกับความสามารถและความเชี่ยวชาญ ขาดบุคลากรที่เชี่ยวชาญในกลุ่ม สาระการเรียนรู้ต่างๆ เช่น วิชาคณิตศาสตร์ และสถานศึกษาไม่มีฝ่ายบริหารงานบุคคลที่ชัดเจน ตามลำดับ 3.4 ด้านการบริหารงานงบประมาณ ปัญหาการดำเนินงานในการจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาด้าน การ บริหาร งบประมาณอยู่ในระดับปานกลางทุกข้อ โดยปัญหา 5 อันดับแรก ได้แก่ การปรับ เงิน เดือน และสวัสดิการต่างๆ ไม่มีระบบที่ชัดเจน การปฏิรูปการศึกษาทำให้สถานศึกษาต้องใช้งบ ประมาณเพิ่มขึ้นทำให้งบประมาณของสถานศึกษาไม่เพียงพอกับความต้องการของครู แต่ละ ฝ่าย งบประมาณที่รัฐบาลจัดสรรให้ไม่เพียงพอทำให้สถานศึกษาต้องเรียกเก็บจาก ผู้ปกครอง นักเรียนเพิ่มขึ้น การบริหารงบประมาณล่าช้าไม่ทันต่อความจำเป็นเร่งด่วน และ การบริหาร งบประมาณไม่โปร่งใส ตามลำดับ 4. การเปรียบเทียบปัญหาการดำเนินงานในการจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูป การศึกษา 56 จากการเปรียบเทียบปัญหาการดำเนินงานในการจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูป การ ศึกษาทั้งภาพรวมและรายด้านของภารกิจ 4 ด้าน ตามทัศนะของผู้บริหารและครู พบว่า ไม่ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 อภิปรายผลการวิจัย จากการศึกษาสภาพและปัญหาในการจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาในสถาน ศึกษาเอกชน ประเภทสามัญศึกษา เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร มีประเด็นที่นำมาอภิปรายผล ดัง นี้ 1. สภาพการดำเนินงานในการจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาใน สถาน ศึกษาเอกชน ประเภทสามัญศึกษา เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานครโดยภาพรวม มีการ ปฏิบัติงานนอยู่ในระดับปานกลาง สำหรับภารกิจที่มีการดำเนินงานมากที่สุดเมื่อเทียบกับภารกิจ อื่นๆใน 4 ภารกิจ คือ ด้านการบริหารงานทั่วไปที่ผลการศึกษาปรากฎเช่นนี้เพราะโดยลักษณะของ ขอบข่ายการบริหารงานทั่วไปนั้นจะครอบคลุมงานในหลายลักษณะ เช่น การบริหารอาคารสถานที่ การบริหารงานปกครองนักเรียน การบริหารงานสัมพันธ์กับชุมชน รวมทั้ง งานบริการซึ่งแต่ ละโรงเรียนต้องดำเนินการอยู่แล้วไม่ว่าจะมีการปฏิรูปการศึกษาหรือไม่ก็ตาม สำหรับพันธกิจใน ด้านการบริหารงานทั่วไปที่มีการดำเนินงานมากที่สุด คือ การส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม ซึ่งเป็น การอนุรักษ์และสืบสานวัฒนกรรมของไทย รวมทั้งการส่งเสริมงานศาสนา จะเห็นว่าในปัจจุบันมี การรณรงค์กันอย่างจริงจังทั้งภาครัฐและเอกชน ดังนั้นการที่โรงเรียน ต่าง ๆ มีการดำเนินงาน ในพันธกิจนี้ในระดับมากจึงเป็นสิ่งสะท้อนถึงการให้ความสำคัญใน พันธกิจดังกล่าว ซึ่งสอด คล้องกับแนวทางการปฏิรูปที่จัดให้งานส่งเสริมศาสนาศิลปะและ วัฒนธรรมเป็นพันธกิจ หนึ่งที่สำคัญที่ต้องดำเนินการ (สำนักงานโครงการนำร่องปฏิรูปการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ 57 2544 : 52-53 ) นอกจากนี้ผลการวิจัยยังพบว่า สถานศึกษามีการดำเนินในด้านการบริหารงานวิชา การน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับภารกิจอื่น ซึ่งงานด้านการบริหารงาน วิชาการนั้นถือว่าเป็นหัวใจ ของการจัดการศึกษา เพราะเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทุกชนิดของสถานศึกษา โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งการปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอน เห็นได้จากแนวคิดพื้นฐานในการดำเนินงานปฏิรูปการ ศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการที่ได้กำหนดเป้าหมายหลักของการปฏิรูปการศึกษา คือ "การเรียน การสอนที่มีคุณภาพและมีมาตรฐาน โดยปฏิรูป การศึกษาให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ และสถานการณ์ในอนาคต จะต้องเน้นการพัฒนา "คุณภาพการศึกษา" โดย เฉพาะคุณภาพของผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยต้องทำการปฏิรูปการศึกษาที่ต้องมีองค์ประกอบหลัก คือ การปฏิรูปหลักสูตร ปฏิรูปกระบวนการเรียน การสอน(ศูนย์ปฏิบัติการปฏิรูปการศึกษา 2542 : http:/www.moe.go.th/main2/edu-reform.html) ซึ่งจะเห็นว่าล้วนแต่อยู่ในขอบข่ายของงานวิชาการ ทั้งสิ้น แต่ที่ผลการศึกษา ปรากฎเช่นนี้เพราะมีปัญหาที่สำคัญที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนิน งานด้านการบริหารวิชาการที่พบในงานวิจัยนี้ คือ แนวทางการจัดการเรียนการสอนตามแนวปฏิรูป ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางนั้นทำให้ครูผู้สอนต้องปรับเปลี่ยนแผนการสอนตลอดเวลาให้สอดคล้อง ของสภาพของนักเรียนในแต่ละลักษณะ รวมทั้งขาดเอกสารที่เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการ สอนตามแนวทางปฏิรูปการศึกษา นอกจากนี้ฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับงานวิชาการของโรงเรียนยังขาด ความรู้และประสบการณ์ในการจัดการเรียนการสอนตามแนวทางปฏิรูปการศึกษา ดังนั้นปัญหาดัง กล่าวล้วนแต่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานด้านวิชาการทั้งสิ้น 2. จากการเปรียบเทียบสภาพและปัญหาการดำเนินงานในการจัดการศึกษาตามแนวทาง ปฏิรูปการศึกษาในสถานศึกษาเอกชน ประเภทสามัญศึกษา เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานครทั้งภาพ รวมและในแต่ละภารกิจ 4 ด้าน ตามทัศนะของผู้บริหารและครู พบว่า ไม่แตกต่างกันที่ระดับนัย สำคัญที่ .05 ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ทั้งนี้เพราะผู้บริหารและครูในสถานศึกษาเอกชนมี ลักษณะของการปฏิบัติงานไม่ได้แยกขาดจากกัน นั่นคือ ผู้บริหารก็เป็นผู้ที่ทำหน้าที่ในการเป็นครูผู้ สอนเช่นเดียวกันไม่ได้ทำหน้าที่ใน การบริหารงานอย่างเดียว ในขณะที่ครูนอกจากทำหน้าที่ใน การสอนแล้วก็ต้องมี ส่วนร่วมในการบริหารงานโรงเรียนด้วย ทำให้การมองสภาพและปัญหา การดำเนินงานในการจัด การศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาจากฐานความคิดอันเดียวกัน ดัง นั้นทัศนะของผู้บริหารและครูจึงไม่แตกต่างกันในเรื่องดังกล่าว 3. จากการศึกษาปัญหาในการดำเนินงานในการจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูป การ ศึกษาในสถานศึกษาเอกชน ประเภทสามัญศึกษา เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร โดย ภาพรวม พบว่า มีปัญหาในการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของ โกศล กิตินิรันดร์กุล (2543 : บทคัดย่อ) ที่ทำการศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหา การ 58 ดำเนินงานปฏิรูปการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ที่พบว่า ปัญหาการ ดำเนินงานปฏิรูปการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาทุกขนาดและทุกสถานที่ตั้งอยู่ในระดับ ปาน กลาง เมื่อพิจารณาปัญหาการดำเนินงานในแต่ละภารกิจ พบว่า ปัญหาการดำเนินงานใน การจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาในสถานศึกษาเอกชน ประเภทสามัญศึกษา เขต ภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับปานกลางทั้ง 4 ภารกิจ โดยภารกิจที่มีปัญหา มากที่สุด คือ ด้านการบริหารงานทั่วไป รองลงมาคือ ด้านการบริหารงานงบประมาณ ส่วนภารกิจที่มี ปัญหาน้อยที่สุด คือ ด้านการบริหารงานบุคคล สำหรับปัญหาในด้านการบริหารงานทั่วไป 3 อันดับแรก คือ ชุมชนยังไม่เข้าใจระบบการจัดการศึกษาของสถานศึกษาตามแนวทางการปฏิรูปการ ศึกษา รองลงมา คือ ขาดแหล่งการเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น และ การบริหารงานตามแนว ทางปฏิรูปการศึกษาก่อให้เกิดความยุ่งยากแก่บุคลากรในการจัดทำเอกสารหลักฐานและเป็นการเพิ่ม ภาระงาน จะเห็นว่าปัญหาดังกล่าวเป็นเครื่องสะท้อน สภาพของการบริหารจัดการในสถาน ศึกษาเอกชนที่มีการสร้างความเข้าใจหรือประสานงานกับชุมชนยังไม่เพียงพอ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะ สถานศึกษาเองยังไม่ชัดเจนในแนวทางการจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาจึงทำให้การที่ จะไปสร้างความเข้าใจกับชุมชนนั้นจึงเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก สำหรับปัญหาการขาดแหล่งการเรียนรู้ และภูมิปัญญาท้องถิ่นก็เช่นเดียวกันน่าจะเป็นผลสืบเนื่องจากการประสานสัมพันธ์กับชุมชน เพราะ แหล่งการเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นล้วนแต่มาจากชุมชนเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นการประชาสัมพันธ์ ให้ชุมชนและองค์กรท้องถิ่นเข้ามา มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาจึงเป็นกลยุทธ์หนึ่งของการ ปฏิรูปการศึกษา ซึ่งเป็นกลยุทธ์ในการดำเนินงานปฏิรูปการศึกษาที่พบในงานวิจัยของ ถวิล ภาร แผ้ว (2543 : บทคัดย่อ) ส่วนปัญหาที่พบว่าการบริหารงานตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาก่อให้เกิด ความยุ่งยากแก่บุคลากรในการจัดทำเอกสารหลักฐานและเป็นการเพิ่มภาระงานนั้น คงเป็นผลสืบ เนื่องจากแนวทางของการปฏิรูปการศึกษาที่ต้องมีเอกสารและหลักฐานเพื่อเป็นแนวทางในการ ดำเนินงานที่เป็นรูปธรรมจะได้ปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกัน ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ บุคลากรในสถานศึกษาจะต้องจัดทำเอกสารประกอบการดำเนินงาน สำหรับปัญหาในการบริหารงานงบประมาณที่พบมากที่สุด 3 อันดับแรกในการดำเนินการ จัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษา ในสถานศึกษาเอกชน ประเภทสามัญศึกษา เขต ภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร คือ การปรับเงินเดือน และสวัสดิการต่างๆ ไม่มีระบบที่ชัดเจน รองลง มา คือ การปฏิรูปการศึกษาทำให้สถานศึกษาต้องใช้งบประมาณเพิ่มขึ้นทำให้งบประมาณของสถาน ศึกษาไม่ เพียงพอกับความต้องการของครูแต่ละฝ่าย และงบประมาณที่รัฐบาลจัดสรรให้ไม่เพียงพอ ทำให้สถานศึกษาต้องเรียกเก็บจากผู้ปกครองนักเรียนเพิ่มขึ้น จะเห็นว่าปัญหาที่พบมากที่สุดอันดับ 59 แรก คือ การปรับเงินเดือน และสวัสดิการต่างๆ ไม่มีระบบที่ชัดเจน ทั้งนี้เพราะระบบการบริหาร งานงบประมาณ รวมทั้งสวัสดิการต่าง ๆ ของสถานศึกษาเอกชนนั้นขึ้นอยู่กับผู้จัดการโรงเรียนหรือ เจ้าของโรงเรียน โดยที่บุคลากรในโรงเรียนไม่ได้มีส่วนร่วมใน การบริหารงบประมาณ ดังนั้น ระบบงบประมาณจึงยังไม่ชัดเจน แต่อย่างไรก็ตามในการบริหาร การเงินและงบประมาณก็ต้อง ยึดตามระเบียบแบบแผนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชนซึ่งจะทำให้ปัญหาดังกล่าว ลดน้อยลง ส่วนปัญหาที่การปฏิรูปการศึกษาทำให้สถานศึกษาต้องใช้งบประมาณเพิ่มขึ้นทำให้งบ ประมาณของสถานศึกษาไม่พียงพอกับความต้องการของครูแต่ละฝ่าย และงบประมาณที่รัฐบาลจัด สรรให้ไม่เพียงพอทำให้สถานศึกษาต้องเรียกเก็บจาก ผู้ปกครองนักเรียนเพิ่มขึ้นนั้น สะท้อนให้ เห็นว่าในการดำเนินงานปฏิรูปการศึกษาต้องใช้ งบประมาณจำนวนมากแต่การจัดสรรงบ ประมาณยังไม่เพียงพอต่อการดำเนินงานซึ่งก็เป็นอุปสรรคสำคัญที่จะก่อให้เกิดผลสำเร็จในการ ดำเนินงานปฏิรูปการศึกษา โดยที่สถานศึกษาเองยังต้องเรียกเก็บเงินเพิ่มจากผู้ปกครองนักเรียน เพื่อชดเชยงบประมาณให้กับส่วนอื่นเพราะ งบประมาณส่วนอื่นถูกนำไปใช้ในการปฏิรูปการ ศึกษา ซึ่งปัญหาเหล่านี้ผู้บริหารและครูจัดว่าเป็นปัญหาที่พบมากในด้านการบริหารงานงบประมาณ จากการศึกษาปัญหาในด้านการบริหารงานบุคคลโดยภาพรวมพบว่าเป็นงานที่มีปัญหาใน ระดับปานกลาง ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยของเสน่ห์ ผดุงญาติ (2535 : บทคัดย่อ) ที่ทำการ ศึกษาสภาพปัญหาการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูในสถานศึกษา สังกัดกรมการ ศึกษานอกโรงเรียนที่พบว่า ทั้งผู้บริหารและเจ้าหน้าที่บุคคลให้ทัศนะว่าปัญหา การบริหาร งานบุคคลอยู่ในระดับปานกลาง สำหรับปัญหาด้านการบริหารงานบุคคล เมื่อเปรียบเทียบ กับปัญหาในภารกิจอื่น ๆ ใน 4 ด้าน พบว่า เป็นภารกิจที่มีปัญหาใน การดำเนินงานน้อยที่ สุด ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะสถานศึกษาเอกชนมีการบริหารงานบุคคลที่ ค่อนข้างมีความยืดหยุ่น เพราะมีความเป็นอิสระสูงในการบริหารงานไม่ว่าจะเป็นการกำหนดความต้องการบุคลากร การ สรรหา การโยกย้าย หรือการพ้นจากงาน เป็นต้น ส่วนปัญหาที่พบมากที่สุด 3 อันดับแรกในการ ดำเนินการจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาใน สถานศึกษาเอกชน คือ จำนวน บุคลากรมีน้อยแต่ภาระงานมีมากส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการเรียนการสอน ทั้งนี้อาจสืบ เนื่องจากผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจที่ทำให้อัตราการรับครูได้น้อย ถ้ามีการรับครูมากก็จะมีปัญหา ในด้านงบประมาณตามมา จึงทำให้เกิดปัญหาดังกล่าว จะเห็นว่าในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นสถานศึกษา ของรัฐหรือเอกชนก็จะมีปัญหาในลักษณะดังกล่าวเช่นกัน สืบจากนโยบายของกระทรวงศึกษาที่ ปรับลดอัตรากำลังด้านการศึกษา ส่วนปัญหาที่บุคลากรขาดความพร้อมในการจัดการศึกษาตาม แนวปฏิรูปเพราะยึดติดกับรูปแบบวิธีการเรียนการสอนแบบเดิมเป็นปัญหาของความพร้อมที่จะเข้า สู่การปฏิรูปของบุคลากรนับว่าเป็นปัญหาที่สำคัญ เพราะบุคลากรเป็นกลไกสำคัญที่จะนำไปสู่ความ 60 สำเร็จในการจัดการศึกษาตามแนวปฏิรูป ซึ่งถ้าบุคลากรไม่ปรับเปลี่ยนตนเองให้สอดคล้องกับแนว ทางปฏิรูปก็จะมีปัญหาอื่นตามมา จะเห็นว่าในการดำเนินการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิ การได้กำหนดว่าจะต้องปฏิรูปครูและบุคลากรทางการศึกษาด้วย(ศูนย์ปฏิบัติการปฏิรูปการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ 2544 : 38 - 41) ดังนั้นปัญหาที่บุคลากรขาดความพร้อมจะหมดไปถ้าได้มีการ ปฏิรูปอย่างจริงจังและเป็นระบบ ข้อเสนอแนะ 1. ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ 1.1 จากผลการศึกษา พบว่า สถานศึกษาเอกชนได้มีการดำเนินการจัด การ ศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาอยู่ในระดับปานกลาง ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่น สำนัก งานคณะกรรมการการศึกษาเอกชนควรเร่งรัด กำกับ ติดตามให้สถานศึกษาได้ปฏิบัติตามนโยบาย ของการปฏิรูปการศึกษา เพื่อให้มีการปฏิบัติงานตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาให้อยู่ในระดับ มากที่สุดทั้งภารกิจ 4 ด้าน โดยเฉพาะด้านวิชาการควรส่งเสริมเป็นอย่างมากเพราะเป็นหัวใจสำคัญ ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนโดยตรง ซึ่งจากการศึกษาครั้งนี้พบว่ามีการดำเนินงานตามแนวทาง ปฏิรูปการศึกษาน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับภารกิจด้านอื่น ๆ 1.2 จากผลการศึกษา พบว่า สถานศึกษามีปัญหาในการดำเนินงานทั้ง 4 ภาร กิจอยู่ในระดับปานกลาง ดังนั้นผู้บริหารสถานศึกษาต้องเร่งรัดหรือวางแนวทางในการ แก้ไข ปัญหาที่เกิดขึ้นให้หมดไป เพื่อให้การดำเนินการจัดการศึกษาบรรลุเป้าประสงค์อันจะนำมาซึ่งคุณ ภาพของผลผลิต สำหรับข้อเสนอแนะในการดำเนินปฏิรูปการศึกษาตามภารกิจ 4 ด้านดังนี้ 1.2.1 ด้านการบริหารงานทั่วไป จากผลการศึกษา พบว่ามีปัญหาที่พบเป็นอันดับ แรก คือ ชุมชนยังไม่เข้าใจระบบการจัดการศึกษาของสถานศึกษาตามแนวทาง การปฏิรูป การศึกษา ดังนั้นสถานศึกษาควรจะมีมาตรการที่จะส่งเสริมให้ชุมชนได้เข้ามา มีส่วนร่วม ในการจัดการศึกษารวมทั้งมีการประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจให้กับชุมชนถึง แนวทางใน การจัดการศึกษา หรือมีการแต่งตั้งคณะกรรมการชุมชนมาร่วมบริหารงานโรงเรียน เป็นต้น 1.2.2 ด้านการบริหารงานวิชาการ จากผลการศึกษา พบว่ามีปัญหาที่พบ เป็นอันดับแรกคือ การจัดทำแผนการสอนที่แสดงถึงกลยุทธ์ในการเรียนการสอนแบบยึดผู้เรียน เป็นสำคัญทำให้ครูต้องปรับแผนการสอนตลอดเวลา โดยเฉพาะชั้นเรียนที่มีนักเรียนเรียนอ่อนเป็น จำนวนมาก ดังนั้นผู้บริหารสถานศึกษาและฝ่ายวิชาการหรือส่วนที่เกี่ยวข้องควรจะวาง แนว 61 ทางร่วมกันเพื่อจัดทำแผนการสอนร่วมกัน หรืออาจจะทำในรูปของคณะกรรมการในแต่ละกลุ่ม สาระการเรียนรู้ เพื่อให้ปัญหาดังกล่าวหมดไป 1.2.3 ด้านการบริหารงานบุคคล จากผลการศึกษา พบว่ามีปัญหาที่พบ เป็นอันดับแรก คือ จำนวนบุคลากรมีน้อยแต่ภาระงานมีมากส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพ การเรียนการสอน ดังนั้นผู้บริหารสถานศึกษาหรือฝ่ายบุคคลควรจะมีการสรรหาบุคลากรให้สอด คล้องกับภาระงานและมีการจัดหาวิทยากรพิเศษ เช่น วิทยากรจากชุมชนหรือท้องถิ่น หรือจัดให้มี แหล่งการเรียนรู้ที่มากกว่าที่จะให้ครูสอนอย่างเดียว 1.2.4 ด้านการบริหารงบประมาณ จากผลการศึกษา พบว่ามีปัญหาที่พบเป็น อันดับแรกคือ การปรับเงินเดือน และสวัสดิการต่างๆ ไม่มีระบบที่ชัดเจน การปฏิรูป การศึกษา ทำให้สถานศึกษาต้องใช้งบประมาณเพิ่มขึ้นทำให้งบประมาณของสถานศึกษาไม่ เพียงพอกับ ความต้องการของครูแต่ละฝ่าย และงบประมาณที่รัฐบาลจัดสรรให้ไม่เพียงพอทำให้ สถาน ศึกษาต้องเรียกเก็บจากผู้ปกครองนักเรียนเพิ่มขึ้น ดังนั้นสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษา เอกชนควรจะเข้ามากำกับ ติดตาม และตรวจสอบการบริหารงบประมาณของ สถานศึกษาเอก ชน และรัฐควรจะเพิ่มงบประมาณเพื่อการปฏิรูปการศึกษาให้เพียงพอต่อ การดำเนินงานเพื่อ ไม่ให้กระทบต่องบประมาณของสถานศึกษา 2. ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งต่อไป 2.1 ควรทำการศึกษาผลการดำเนินงานตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาของ สถาน ศึกษา เพื่อให้ทราบว่าการดำเนินงานมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด 2.2 ควรทำการศึกษาแนวทางในการแก้ปัญหาในการจัดการศึกษาตามแนวทาง ปฏิรูปการศึกษา เพื่อให้ได้ขอเสนอแนะที่เป็นแนวทางให้การจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการ ศึกษาบรรลุวัตถุประสงค์ต่อไป 2.3 ควรทำการศึกษาผลกระทบของการจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูป การ ศึกษาที่มีต่อการดำเนินงานสถานศึกษาที่นำนโยบายปฏิรูปการศึกษาไปดำเนินการ เช่น ผล กระทบด้านบุคลากร ด้านการบริหารจัดการ ด้านการเรียนการสอน ด้านงบประมาณ เป็นต้น 2.4 ควรมีการศึกษาเปรียบเทียบสภาพและปัญหาของการดำเนินงานงการ จัดการ ศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษา ตัวแปรอื่น ๆ เช่น เพศ อายุการทำงาน และประสบการณ์ใน การทำงาน บรรณานุกรม กองการมัธยมศึกษา, กรมสามัญศึกษา.(2536).ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการบริหาร. กรุงเทพมหานคร : กรมสามัญศึกษา. กองการมัธยมศึกษา,กรมสามัญศึกษา.(2542).พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว. กิตติมา ปรีดีดิลก. (2532). การบริหารและการนิเทศเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร : อักษรพิพัฒน์. เกสิณี ชิวปรีชา.(2530). การศึกษาการดำเนินงานทางวิชาการในสถานศึกษาที่ได้รับ รางวัลพระราชทาน สังกัดกรมอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. โกศล ตินิรันดร์กูล. (2543). การศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ไขการดำเนินงานปฏิรูป การศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต , มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน. (2538). รายงานสรุปผลการสัมมนา หัวหน้าฝ่ายบริหารงานทั่วไป สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดทั่วประเทศ . กรุงเทพมหานคร : สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาต.ิ คณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน. (2531). การบริหารงานบุคคลสำหรับ ผู้บริหารสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษา แห่งชาติ. คณะกรรมการการศึกษาเอกชน, สำนักงาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2532). คู่มือการวางแผน พัฒนาการศึกษาเอกชนระดับจังหวัด ชุดฝึกอบรม เล่ม 1-6. กรุงเทพมหานคร : กองนโยบายและแผน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน. จรัล สังข์ขาว. (2542). ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียน-นักศึกษาต่อการบริหารงาน โรงเรียนสุราษร์เทคโนโลยีช่างอุตสาหกรรม. ปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาบัณฑิต สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. จิตราภรณ์ ใยศิลป์. (2530). การศึกษาการบริหารเงินบำรุงการศึกษาโรงเรียน มัธยมศึกษาในจังหวัดเพชรบูรณ์ : การศึกษาเฉพาะกรณี. วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ชัยวัฒน์ ไทยเกรียงไกรยศ. (2536). รูปแบบการบริหารโรงเรียนเอกชน : ศึกษากรณี ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหาร การศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร. 63 ถวิล พลสาร (2541). การดำเนินงานการปฏิรูปการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัด กรมสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาบริหาร การศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ถวิล ภารแผ้ว (2543). การดำเนินงานตามกลยุทธ์การบริหารโรงเรียน ของโรงเรียน ปฏิรูปการศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอสมเด็จ จังหวัด กาฬสินธุ์. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัย มหาสารคาม. ธีรวุฒิ ประทุมนพรัตน์. (2536). การบริหารบุคคลทางการศึกษา. สงขลา : มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา. นพพงษ์ บุญจิตราดุลย์. (2534). ก้าวเข้าสู่ผู้บริหารการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์อนงค์ศิลปการพิมพ์. นาวี ยั่งยืน. (2544). การศึกษาความต้องการของชุมชนในการมีส่วนร่วมบริหาร จัดการศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ส่วนกลาง สหวิทยา เขตรัตนโกสินทร์ 1. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จ เจ้าพระยา. บุญมี เณรยอด. (2534). “การบริหารงานวิชาการ”.เอกสารประกอบการสัมมนาผู้บริหาร โรงเรียนระดับสูง รุ่นที่ 13. กรุงเทพมหานคร : ภาควิชาบริหารการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ปนัดดา พรพิฆเนส. (2540). สภาพและปัญหาการดำเนินงานวิชาการในโรงเรียน สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน : กรณีศึกษาโรงเรียนที่ได้รับรางวัล พระราชทานระดับประถมศึกษา ปีการศึกษา 2539. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ประคอง กรรณสูตร. (2535). สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์ . พิมพ์ครั้งที่ 1 , กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย . ปราณี ฉ่ำพึ่ง (2539). ความคิดเห็นของผู้บริหารการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษา เกี่ยวกับนโยบาย ปฏิรูปการศึกษาด้านระบบบริหารการศึกษาตามโครงการ ปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2535). การบริหารวิชาการ. กรุงเทพมหานคร : สหมิตรออฟเซท. พนัส หันนาคินทร์. (2530). การบริหารบุคลากรโรงเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : เนติกุลการพิมพ์. 64 เรณู ครุธไทย. (2542). การศึกษาการดำเนินงานวิชาการของโรงเรียนในกลุ่ม นวมินทราชูทิศ สังกัดกรมสามัญศึกษา.วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (2537). แนวการศึกษาชุดวิชาการบริหารทรัพยากร การศึกษา หน่วยที่ 1-8. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. ศูนย์ปฏิบัติการปฏิรูปการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2544). ปฏิรูปการศึกษา : ก้าวอย่างมั่นใจ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์การศาสนา. ศูนย์ปฏิบัติการปฏิรูปการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2542).[ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก : http :// www.moe.go.th/main2/edu-reform.html. สมศรี มธุรสสุวรรณ. (2541). การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานวิชาการใน โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษาในจังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สมาน รังสิโยกฤษฎ์. (2531). เอกสารการสอนชุดวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ใน องค์การ. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สนอง สุวรรณวงศ์. (2538). การบริหารงานธุรการ การเงินและพัสดุ. ภาควิชาพื้นฐาน การศึกษา คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏสงขลา. สวัสดิ์ วงศ์วัจนสุนทร (2541). การดำเนินงานของคณะกรรมการโรงเรียนมัธยมศึกษา ตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สุนีย์ บุญทิม (2542). การศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียน มัธยมศึกษาในช่วงปฏิรูปการศึกษา (พ.ศ. 2539-2550) ตามความคาดหวังของ ผู้บริหารและครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 6. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สุรัฐ ศิลปอนันต์.(2530).ปฏิบัติการบริหารงานบุคคล : การบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการคร.ู อุดรธานี : สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษา จังหวัดอุดรธานี . เสน่ห์ ผดุงญาติ. (2535). สภาพปัญหาการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูใน สถานศึกษา สังกัดกรมการศึกษานอกโรงเรียน. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษา มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ.(2536).คู่มือการปฏิบัติงานสำหรับ ผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาแห่งชาติ(ฉบับปรับปรุง).กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว. 65 สำนักงานโครงการนำร่องการปฏิรูปการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (2544). ชุดคู่มือ ปฏิบัติการโครงการนำร่องปฏิรูปการศึกษา ฉบับที่ 1. กรุงเทพมหานคร :โรงพิมพ์ การศาสนา . สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ กระทรวงศึกษาธิการ (2544). แนวทางและคู่มือการ ปฏิบัติงาน โครงการประเมินผลโครงการนำร่องปฏิรูปการศึกษา ในเขตพื้นที่ การศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ. กรุงเทพมหานคร : เอส แอนด์ จี กราฟฟิค. อาคม จันทสุนทร และคณะ. ( 2537) .การวางแผนและการบริหารโรงเรียน. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภา. อุทัย หิรัญโต. (2531). หลักการบริหารบุคคล. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์. Laih, H. L. (1997). The Transition of Taiwan's Upper Secondary Education [CD-RoM]. Abstract form : ProQuest File : Dissertation Abstracts Item : 9702571 Mcfraland. P.G. (1996). Educational Reform and The Social Democretic Party in Weimar Prussia, 1918-1932[CD-RoM]. Abstract form : ProQuest File : Dissertation Abstracts Item : 9618311 Morse.J.F. (1994). The Ends of Education : An Historical Framework form Plato to Dewey for Analyzing Education Reform [CD-RoM]. Abstract form : Pro Quest File : Dissertation Abstracts Item : 9425950 Yamane, T (1973). Statistics : An introductory analysis. 3 rd ed. New York : Harper & Row publishers. Wayne, Mondy R. and Robert M.Noe.(1990).Human Resource Management. 4th ed. Boston Allyn and Bacon. ภาคผนวก ภาคผนวก ก แบบสอบถามในการวิจัย 68 คำชี้แจง แบบสอบถามนี้เป็นการสอบถามเกี่ยวกับสภาพและปัญหาในการจัดการศึกษาตามแนวทาง ปฏิรูปการศึกษาของสถานศึกษาเอกชน ประเภทสามัญศึกษา เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีทั้งหมด 3 ตอนคือ ตอนที่ 1 สถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2 สภาพการดำเนินงานในการจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษา ตอนที่ 3 ปัญหาการดำเนินงานในการจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษา คำชี้แจง โปรดกรอกข้อมูลและทำเครื่องหมาย ลงใน ➄ ตรงหน้าข้อความที่เป็นจริงเกี่ยวกับตัวท่าน 1. เพศ ➄ 1) ชาย ➄ 2) หญิง 2. อายุ ➄ 1) ต่ำกว่า 30 ปี ➄ 2) 30 – 39 ปี ➄ 3) 40 – 49 ปี ➄ 4) 50 – 59 ปี ➄ 5) 60 ปีขึ้นไป 3. วุฒิการศึกษาสูงสุดหรือเทียบเท่า ➄ 1) ต่ำกว่าปริญญาตรี ➄ 2) ปริญญาตรี สาขาวิชา ………………………………… ➄ 3) ปริญญาโท สาขาวิชา ………………………………… ➄ 4) ปริญญาเอก สาขาวิชา ……………………………….. 4. ปัจจุบันท่านดำรงตำแหน่ง ➄ 1) ผู้รับใบอนุญาต ➄ 2) ผู้จัดการโรงเรียน ➄ 3) ครูใหญ่ / อาจารย์ใหญ่ ➄ 4) ผู้ช่วยครูใหญ่ ➄ 5) หัวหน้าหมวด ➄ 6) ครูผู้สอน 5. ประสบการณ์ในการปฏิบัติงานในโรงเรียนแห่งนี้ ➄ 1) ต่ำกว่า 10 ปี ➄ 2) 10–19 ปี ➄ 3) 20 – 29 ปี ➄ 4) 30 – 39 ปี ➄ 5) 40 ปีขึ้นไป แบบสอบถามการศึกษาสภาพและปัญหาในการจัดการศึกษา ตามแนวทางปฏิรูปการศึกษา ตอนที่ 1 สถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม 69 คำชี้แจง โปรดทำเครื่องหมาย / ลงในช่องสภาพการดำเนินงานในการจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูป การศึกษา ว่าโรงเรียนของท่านได้ดำเนินการในสิ่งเหล่านี้หรือไม่ และมากน้อยเพียงใด ซึ่งมีระดับ การปฏิบัติงานทั้งหมด 5 ระดับ คือ ตั้งแต่ 4 ถึง 0 ซึ่งมีความหมาย ดังนี้ 4 หมายถึง มีการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมากที่สุด 3 หมายถึง มีการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก 2 หมายถึง มีการปฏิบัติงานอยู่ในระดับปานกลาง 1 หมายถึง มีการปฏิบัติงานอยู่ในระดับน้อย 0 หมายถึง ไม่มีการปฏิบัติงานเลย ผลการปฏิบัติงาน กิจกรรม 4 3 2 1 0 ภารกิจด้านงานบริหารทั่วไป 1. การบริหารจัดการแนวใหม่ 1.1 มีแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา 1.2 สถานศึกษาปรับเปลี่ยนแนวการจัดกระบวนการเรียนรู้ 1.3 มีการพัฒนาระบบข้อมูลและสารสนเทศ เพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา 1.4 มีการจัดกิจกรรมพื้นฐาน (กิจกรรม 5 ส) 1.5 การมีจัดทำดัชนีชี้วัดความต้องการพัฒนาสถานศึกษา 2. การใช้ระบบสารสนเทศ 2.1 มีการพัฒนาเครือข่ายเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนากระบวนการเรียนการสอน 2.2 มีการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 3. การพัฒนานโยบายและแผนงาน 3.1 มีการวิเคราะห์นโยบายเพื่อการวางแผน 3.2 มีแผนการดำเนินงานที่สอดคล้องกับนโยบายและแผนปัจจุบัน 4 การดำเนินงานกิจการพิเศษ 4.1 มีการดำเนินงานโครงการตามแนวพระราชดำริ 4.2 มีการดำเนินงานนโยบายเร่งด่วนของรัฐ เช่น ยาเสพติด เอดส์ เป็นต้น 4.3 มีการดำเนินกิจกรรมการศึกษา เช่น ลูกเสือ ตอนที่ 2 สภาพการดำเนินงานในการจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษา 70 ผลการปฏิบัติงาน กิจกรรม 4 3 2 1 0 5. งานส่งเสริมและจัดการศึกษา 5.1 มีการสำรวจข้อมูลพื้นฐาน 5.2 มีการจัดทำข้อมูลสารสนเทศ 5.3 มีการจัดทำแหล่งการเรียนรู้ 5.4 มีการระดมทรัพยากรเพื่อจัดการศึกษา 5.5 มีการสนับสนุนการวิจัยในชั้นเรียน 6. งานส่งเสริมศาสนา ศิลปวัฒนธรรม 6.1 มีการสนับสนุนงานศาสนา 6.2 มีการสนองงานพระสังฆาธิการ 6.3 มีการอนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรม 7. การจัดระบบการประกันคุณภาพการศึกษา 7.1 มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษา 7.2 มีการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา 7.3 มีการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน 7.4 มีการประเมินคุณภาพการศึกษาตนเอง 7.5 มีการเตรียมรับการประเมินภายนอก 8. การนิเทศ ติดตาม ประเมินผล 8.1 มีการนิเทศการศึกษา 8.2 มีการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล ภารกิจด้านการบริหารงานบุคคล 1. การวางแผนกำลังคน 1.1 สถานศึกษามีรายงานผลการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเขตบริการ สำมะโนนักเรียนและ ประชาชนที่ได้รับบริการทางการศึกษา ข้อมูลประชากรวัยเรียน 1.2 มีรายงานผลการขาดแคลนครูและบุคลากรทางการศึกษา 1.3 มีกรอบภารกิจที่ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการกำหนดกรอบ 1.4 มีการจัดทำแผนกำลังคนที่ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมเสนอคณะกรรมการโรงเรียน 71 ผลการปฏิบัติงาน กิจกรรม 4 3 2 1 0 2. การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา 2.1 มีการวิเคราะห์ความจำเป็นที่สอดคล้องกับสภาพจริงในการพัฒนาบุคลากรทุก สถานศึกษา 2.2 มีการร่วมกันจัดทำแผนพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา 2.3 มีโครงการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา 2.4 มีรายงานผลการดำเนินงาน 2.5 มีกิจกรรมให้ครูทำวิจัยในชั้นเรียน อย่างน้อย 1 ครั้ง/ปี 2.6 มีการกำหนดแผนการพัฒนาครู 2.7 มีการสร้างเครือข่ายเพื่อพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา 3. การประเมินผลการปฏิบัติงานของครูและบุคลากรทางการศึกษา 3.1 มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของครู บุคลากรทางการศึกษาทุกคนตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนด 3.2 มีการนำผลการประเมินไปใช้ในการบริหารบุคคลทุกสถานศึกษา 4. การเสริมสร้างวินัยและจรรยาบรรณ 4.1 มีแผนงาน/โครงการที่สอดคล้องกับมาตรฐานคุณธรรมและจริยธรรมที่กำหนด 4.2 มีการดำเนินการตามมาตราการป้องกันการกระทำผิดวินัยของสถานศึกษา 5. การพัฒนาวิชาชีพครูและการจัดสวัสดิการ 5.1 มีมาตรการส่งเสริมให้มีการเรียนเพิ่มคุณวุฒิ 5.2 มีโครงการส่งเสริมการพัฒนาความรู้ตามมาตรฐานวิชาชีพครู 5.3 มีการจัดสวัสดิการให้แก่ครูและบุคลากรทางการศึกษา 5.4 มีการส่งเสริมให้ครูและบุคลากรมีความปลอดภัยและมีความสุขในการปฏิบัติงาน 5.5 มีจำนวนครูที่ศึกษาหรือฝึกอบรมเพิ่มเติมด้านวิชาชีพครูเพิ่มขึ้น ภารกิจด้านงานวิชาการ 1. การสร้างโอกาสในการเข้ารับการศึกษา 1.1 ชุมชนมีส่วนร่วมในการกำหนดแผนการรับนักเรียน 1.2 มีการกำหนดเกณฑ์การรับนักเรียนที่ชัดเจน 1.3 ประชากรวัยเรียนทุกประเภทในเขตพื้นที่มีโอกาสเท่าเทียมกันในการเข้าเรียน 1.4 มีการประกาศและมีหลักฐานการรับที่สามารถตรวจสอบได้ 72 ผลการปฏิบัติงาน กิจกรรม 4 3 2 1 0 2. การพัฒนาหลักสูตร 2.1 มีการแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อพัฒนาหลักสูตร 2.2 บุคลากรทุกสาชาวิชาได้รับการเตรียมพร้อมในการพัฒนาหลักสูตร 2.3 มีแผนการพัฒนาหลักสูตร แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา/ธรรมนูญโรงเรียน 2.4 มีแผนพัฒนาหลักสูตรและแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา และมีการนำไปปฏิบัติจริง 2.5 สถานศึกษามีการจัดทำสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 2.6 หลักสูตรที่จัดทำเป็นไปตามปรัชญาของการสร้างหลักสูตร มีองค์ประกอบครบถ้วน 2.7 ครูและบุคลากรรับรู้ในการจัดทำหลักสูตร 2.8 หลักสูตรสามารถนำไปใช้ได้จริง 2.9 มีการนิเทศติดตามและประเมินผลการใช้หลักสูตร 3. การเทียบระดับการศึกษาและโอนผลการเรียน 3.1 สถานศึกษามีการกำหนดแนวทางการเทียบระดับการศึกษา และโอนผลการเรียน 3.2 ประชาชนทุกคนได้รับโอกาสในการเทียบระดับการศึกษาและโอนผลการเรียน 3.3 แนวทางการเทียบระดับการศึกษา และโอนผลการเรียนสามารถนำไปปฏิบัติได้ 3.4 สถานศึกษามีการจัดทำแผนปฏิบัติในการสอบเทียบ 3.5 แผนการสอบเทียบสามารถนำไปดำเนินการได้ 3.6 มีการแจ้งผลการติดตามให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ 4. การพัฒนาสื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา 4.1 สถานศึกษามีศูนย์สื่อ/ห้องสื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา 4.2 ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดตั้งศูนย์สื่อและเทคโนโลยี 4.3 ครูทุกคนมีโอกาสใช้บริการอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน 4.4 มีจำนวนผู้ใช้บริการในศูนย์สื่อ/ห้องสื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา 4.5 สถานศึกษามีการพัฒนาครูและบุคลากรด้านการผลิตและการใช้สื่อ 4.6 ครูมีโอกาสเท่าเทียมกันในการเข้ารับการพัฒนาด้านการผลิต และการใช้สื่อ 4.7 มีการพัฒนาครูเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดครอบคลุมทุกสาขาวิชา 4.8 ครูสามารถผลิตและสร้างสื่อการเรียนการสอนได้ 4.9 มีการติดตามประเมินผลและรายงานผลการดำเนินงาน 73 ผลการปฏิบัติงาน กิจกรรม 4 3 2 1 0 5. การจัดเครือข่ายและแหล่งการเรียนรู้ 5.1 มีการจัดตั้งและพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา 5.2 มีการประชุมร่วมกับชุมชนเพื่อสำรวจแหล่งการเรียนรู้ และจัดทำระบบสารสนเทศ เครือข่ายและแหล่งการเรียนรู้ 5.3 มีระบบสารสนเทศครบถ้วนในแหล่งการเรียนรู้ 5.4 มีการเผยแพร่ให้ผู้ต้องการใช้ทราบ 5.5 ครูทุกคนมีโอกาสได้รับรู้จากสื่อประชาสัมพันธ์ของสถานศึกษา 5.6 มีการประชาสัมพันธ์อย่างครอบคลุมทุกเรื่องและมีความถี่ที่เหมาะสม 5.7 มีการติดตามผลการประชาสัมพันธ์ และมีรายงานการติดตามผล 6. การปฏิรูปการเรียนรู้ในชุมชน 6.1 มีการจัดประชุมสร้างความเข้าใจ ส่งเสริมและระดมทรัพยากรบุคลากรในชุมชนให้ เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา 6.2 มีวิธีการสร้างความเข้าใจเหมาะสม 6.3 จำนวนครั้งในการจัดประชุมเป็นไปตามที่กำหนดไว้ 6.4 มีจำนวนบุคลากรในชุมชนที่เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาพอเพียงเหมาะสม 6.5 มีการประเมินติดตามผล และจัดทำรายงานพร้อมทั้งเผยแพร่ ภารกิจด้านการบริหารงานงบประมาณ 1. การจัดตั้งงบประมาณ 1.1 มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดเกณฑ์ในการจัดตั้งงบประมาณ 1.2 มีการกำหนดเกณฑ์ในการจัดตั้งงบประมาณ 1.3 มีคณะกรรมการมาจากหน่วยงานที่จะขอใช้งบประมาณทุกหน่วยงาน 1.4 มีแผนกลยุทธ์และแผนงบประมาณระยะกลางของสถานศึกษา 2. การจัดสรรงบประมาณ 2.1 มีการจัดสรรงบประมาณให้แต่ละหน่วยงานเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 2.2 การจัดสรรงบประมาณเป็นไปตามแผนกลยุทธ์ของสถานศึกษา 2.3 มีคณะกรรมการมาจากทุกหน่วยงานในการพิจารณาการจัดสรรงบประมาณ 3. การบริหารการเงินและบัญชี 3.1 มีบุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ด้านการเงินและบัญชีโดยตรง 3.2 บุคลากรที่ปฏิบัติงานมีความรู้ความเข้าใจด้านการเงินและบัญชีเป็นอย่างดี 3.3 บุคลากรที่ปฏิบัติงานได้รับการพัฒนา/อบรมในเรื่องการเงินและบัญชีเป็นประจำ 3.4 บุคลากรที่ปฏิบัติงานสามารถให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเงินและบัญชีได้อย่างถูกต้อง 74 ผลการปฏิบัติงาน กิจกรรม 4 3 2 1 0 4. การจัดซื้อ จัดจ้าง และการพัสดุ 4.1 มีการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างเป็นไปตามระเบียบที่กำหนด 4.2 มีการจัดทำทะเบียนครุภัณฑ์ และบัญชีวัสดุที่ถูกต้องเป็นปัจจุบัน 4.3 มีการรายงานผลการจัดซื้อจัดจ้างที่สามารถตรวจสอบได้ 5. การตรวจสอบ ติดตาม และประเมินประสิทธิภาพการใช้จ่าย งบประมาณ 5.1 มีการแต่งตั้งคณะกรรมการติดตามการใช้จ่ายงบประมาณ 5.2 มีแผนการติดตามการใช้จ่ายงบประมาณในแต่ละหน่วยงาน 5.3 มีการติดตามการใช้จ่ายงบประมาณในแต่ละหน่วยงาน 5.4 มีการประเมินความคุ้มทุนของการใช้จ่ายงบประมาณในแต่ละหน่วยงาน 6. การระดมทรัพยากรและการลงทุนทางการศึกษา 6.1 มีรายงานการวิเคราะห์เรื่องทุนการศึกษาและทุนพัฒนาสถานศึกษา 6.2 มีแนวทางการรับบริจาคทุนการศึกษาและทุนพัฒนาสถานศึกษา 6.3 มีแนวทางการส่งเสริม สนับสนุนสถานศึกษาเรื่องการจัดหารายได้และผลประโยชน์ 6.4 มีรายงานการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายของสถานศึกษา 6.5 มีแผนการใช้ทรัพยากรร่วมกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน 6.6 มีรายงานการใช้ทรัพยากรร่วมระหว่างสถานศึกษา คำชี้แจง โปรดทำเครื่องหมาย / ลงในช่องระดับปัญหาในการดำเนินงานในการจัดการศึกษาตามแนวทาง ปฏิรูปการศึกษา ตามที่โรงเรียนของท่านประสบปัญหาอยู่ ซึ่งมีระดับปัญหาในการปฏิบัติงาน มีทั้งหมด 5 ระดับ คือ ตั้งแต่ 4 ถึง 0 ซึ่งมีความหมาย ดังนี้ 4 หมายถึง มีปัญหาการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมากที่สุด 3 หมายถึง มีปัญหาการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก 2 หมายถึง มีปัญหาการปฏิบัติงานอยู่ในระดับปานกลาง 1 หมายถึง มีปัญหาการปฏิบัติงานอยู่ในระดับน้อย 0 หมายถึง ไม่มีปัญหาการปฏิบัติงานเลย ตอนที่ 3 ปัญหาการดำเนินงานในการจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษา 75 ระดับปัญหา รายการปัญหา การปฏิบัติงาน 4 3 2 1 0 1. ด้านการบริหารงานทั่วไป 1.1 บุคลากรในโรงเรียนขาดความรับผิดชอบและขาดความสามัคคี 1.2 โรงเรียนไม่ได้รับความร่วมมือจากชุมชนเท่าที่ควรเนื่องจากชุมชนยังไม่เข้าใจระบบ การจัดการศึกษาของโรงเรียนตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษา 1.3 การบริหารงานทั่วไปไม่ค่อยเป็นระบบตามแนวปฏิรูปการศึกษา 1.4 ขาดแหล่งการเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น 1.5 การบริหารงานเน้นในรูปธุรกิจมากเกินไปทำให้ไม่สอดคล้องกับการปฏิรูปการศึกษา 1.6 ขาดความชัดเจนในการบริหารงานตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาทั้งด้าน บุคลากร และทิศทางในการจัดการศึกษา 1.7 บุคลากรของโรงเรียนยังไม่เข้าใจแนวทางการปฏิรูปการศึกษาเท่าที่ควร 1.8 ขาดข้อมูลด้านการปฏิรูปการศึกษาที่เป็นแนวทางไปสู่การปฏิบัติ 1.9 บุคลากรยังไม่มีความพร้อมในการจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษา 1.10 การบริหารงานตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาก่อให้เกิดความยุ่งยากแก่บุคลากรใน การจัดทำเอกสารหลักฐานและเป็นการเพิ่มภาระงาน 2. ด้านการบริหารงานวิชาการ 2.1 ฝ่ายวิชาการของโรงเรียนขาดประสบการณ์และความรู้ในการจัดการศึกษาตามแนว ปฏิรูปการศึกษา 2.2 ครูและนักเรียนไม่เข้าใจและไม่เห็นความสำคัญของการปฏิรูปการศึกษา 2.3 ขาดเอกสารแนะแนวทางไปสู่การปฏิบัติที่ถูกต้องเกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษา 2.4 ครูขาดความสามารถในการจัดการงานเอกสาร เช่น การจัดทำแผนการสอน การจัด ทำโครงงานประกอบการสอน และการวิจัยในชั้นเรียน 2.5 ครูขาดความมั่นใจในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวทางการปฏิรูปการ ศึกษาโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง 2.6 การจัดครูเข้าสอนไม่ตรงกับสาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ 2.7 การจัดทำแผนการสอนที่แสดงถึงกลยุทธ์ในการเรียนการสอนแบบยึดผู้เรียนเป็น ศูนย์กลางทำให้ครูต้องปรับแผนการสอนตลอดเวลา โดยเฉพาะชั้นเรียนที่มีนักเรียน เรียนอ่อนเป็นจำนวนมาก 76 ระดับปัญหา รายการปัญหา การปฏิบัติงาน 4 3 2 1 0 3. ด้านการบริหารงานบุคคล 3.1 ขาดบุคลากรที่เชี่ยวชาญในสาขาวิชาต่าง ๆ เช่น สาขาวิชาคณิตศาสตร์ 3.2 โรงเรียนไม่มีฝ่ายบริหารงานบุคคลที่ชัดเจน 3.3 จำนวนบุคลากรมีน้อยแต่ภาระงานมีมากส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการเรียน การสอน 3.4 การมอบหมายงานแก่บุคลากรไม่ตรงกับความสามารถและความเชี่ยวชาญ 3.5 บุคลากรไม่ให้ความร่วมในการปฏิรูปการศึกษาเพราะคิดว่าเป็นการเพิ่มงาน 3.6 บุคลากรขาดความพร้อมในการจัดการศึกษาตามแนวปฏิรูป เพราะยึดติดกับ รูปแบบวิธีการเรียนการสอนแบบเดิม 4. ด้านการบริหารงานงบประมาณ 4.1 งบประมาณที่รัฐบาลจัดสรรให้ไม่เพียงพอทำให้โรงเรียนต้องเรียกเก็บจากผู้ปกครอง นักเรียนเพิ่มขึ้น 4.2 การปฏิรูปการศึกษาทำให้โรงเรียนต้องใช้งบประมาณเพิ่มขึ้นทำให้งบประมาณของ โรงเรียนไม่เพียงพอกับความต้องการของครูแต่ละฝ่าย 4.3 ขาดการบริหารงบประมาณที่ดีล่าช้า ไม่ทันต่อความจำเป็นเร่งด่วน 4.4 การบริหารงบประมาณไม่โปร่งใส 4.5 การปรับเงินเดือน และสวัสดิการต่าง ๆ ไม่มีระบบที่ชัดเจน ขอขอบพระคุณที่ให้ความร่วมมือในการตอบแบบสอบถาม สุมาลี ทองสิมา ภาคผนวก ข รายชื่อผู้เชี่ยวชาญในการตรวจเครื่องมือวิจัย 78 รายชื่อผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาของเครื่องมือ 1. ดร.ศรีสมร พุ่มสะอาด ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาหลักสูตร กรมวิชาการ 2. ดร.เพชรา พิพัฒน์สันติกุล ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาคุณภาพการฝึกหัดครู สำนักพัฒนาการฝึกหัดครู สรภ. 3. อ.รพีพรรณ เอกสุภาพันธุ์ หัวหน้าหน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน 4. ดร.อำนวย เดชชัยศรี ศึกษานิเทศก์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน 5. ดร.วัฒนา มัคคสมัน ศึกษานิเทศก์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน 6. อ.อุดมศิลป์ ศรีสมบูรณ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ 102 ประวัติผู้วิจัย ชื่อ-สกุล นางสุมาลี ทองสิมา วันเดือนปีเกิด วันที่ 25 เมษายน 2490 สถานที่เกิด ตำบลกระทุ่มแบน อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร ประวัติการศึกษา ประถมศึกษา โรงรียนวัดอ่างทอง จังหวัดสมุทรสาคร มัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนวิเศษสมุทรคุณ จังหวัดสมุทรสาคร มัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนวัดแจ้งร้อน กรุงทพมหานคร ปริญญาตรี ครุศาสตรบัณฑิต วิชาเอกนาฏศิลป์ วิทยาลัยครู สวนสุนันทา เมื่อปี พ.ศ. 2526 ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ สถานที่ทำงาน โรงเรียนผดิมศึกษา เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร การศึกษาสภาพและปัญหาในการจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาโรงเรียนเอกชน (ตอนที่ 1)
การศึกษาสภาพและปัญหาในการจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาโรงเรียนเอกชน (ตอนที่ 2)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น