วันศุกร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2554

บทบาทการพึ่งตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในครอบครัวสมัยใหม่ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร (ตอนที่ 1)



บทบาทการพึ่งตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ในครอบครัวสมัยใหม่ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร
นางสาวเพ็ญศรี พุ่มเที่ยง
วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตาม หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา
ปีการศึกษา 2545
ISBN :
ลิขสิทธิ์ของสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

วิทยานิพนธ์ บทบาทการพึ่งตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ในครอบครัวสมัยใหม่ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร
โดย นางสาวเพ็ญศร ี พุ่มเที่ยง
สาขาวิชา สังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา
อาจารย์ที่ปรึกษา ผศ. ดร. จันทร์วิภา ดิลกสัมพันธ์
อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม รศ. ดร. นงลักษณ์ เทพสวัสดิ์
อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม ดร.ประเทือง อัมพรภักดิ์
บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาอนุมัติให้วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของ
การศึกษาตามหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
…………………………………………………………………………….คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
( รองศาสตราจารย์ ดร. นันทา วิทวุฒิศักดิ์ )
คณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์
.......................................................................................................................ประธานกรรมการ
( ศาสตราจารย์ ดร. สายหยุด จำปาทอง )
..........................................................................................................................กรรมการ
( ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. จันทร์วิภา ดิลกสัมพันธ์ )
..........................................................................................................................กรรมการ
( รองศาสตราจารย ์ ดร. นงลักษณ์ เทพสวัสด ิ์ )
..........................................................................................................................กรรมการ
( ดร. ประเทือง อัมพรภักดิ์ )
……………………………………………………………………..กรรมการและเลขานุการ
( รองศาสตราจารย์ สมชาย พรหมสุวรรณ )
ลิขสิทธิ์ของสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

บทบาทการพึ่งตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในสังคมสมัย
ใหม่ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร
The Role of the Self Reliance of Grade Six Students in the Modern
Families in Pasicharoen District Bangkok
นางสาวเพ็ญศรี พุ่มเที่ยง
วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตาม หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา
ปีการศึกษา 2545
ISBN :
ลิขสิทธิ์ของสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

เพ็ญศรี พุ่มเที่ยง. (2545). บทบาทการพึ่งตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ใน
ครอบครัวสมัยใหม่ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
กรุงเทพมหานคร : บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา คณะกรรมการควบคุม
ผศ. ดร. จันทร์วิภา ดิลกสัมพันธ์ รศ. ดร. นงลักษณ์ เทพสวัสดิ์ ดร. ประะเทือง อัมพรภักดิ์
การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อการศึกษาบทบาทการพึ่งตนเอง เปรียบเทียบเพศ และขนาดของ
ครอบครัวของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการศึกษา อาชีพ ฐานะทาง
เศรษฐกิจ และการอบรมเลี้ยงดูของบิดามารดาต่อการพึ่งตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัว
อย่างที่ใช้ในการศึกษาคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร จำนวน 284 คน
เป็นนักเรียนชาย 145 คน นักเรียนหญิง 139 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่อง
มือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง ประกอบด้วยข้อมูลทั่วไป แบบสอบ
ถามเกี่ยวกับรูปแบบการอบรมเลี้ยงดู และแบบสอบถามเกี่ยวกับการพึ่งตนเอง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อย
ละ ค่าเฉลี่ย ทดสอบค่าที ( t-test ) และทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ( Pearson Correlation
)
ผลการศึกษาพบว่าบทบาทการพึ่งตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เขตภาษีเจริญ
กรุงเทพมหานคร ในด้านการศึกษาและด้านเศรษฐกิจอยู่ในระดับปานกลาง แต่การพึ่งตนเองด้านสังคม
หรือส่วนรวมอยู่ในระดับมาก การเปรียบเทียบเพศของนักเรียนและขนาดครอบครัวพบว่านักเรียนหญิงมี
บทบาทการพึ่งตนเองดีกว่านักเรียนชายด้านการศึกษาอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และไม่พบ
ความแตกต่างระหว่างขนาดครอบครัวกับการพึ่งตนเองของนักเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับการศึกษา อาชีพ ฐานะทางเศรษฐกิจ และการอบรมเลี้ยงดูของบิดา
มารดา พบว่า ระดับการศึกษาของบิดามารดามีความสัมพันธ์กับการพึ่งตนเองด้านสังคมอย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติที่ระดับ 0.05 และพบว่าอาชีพของบิดามีความสัมพันธ์ทางบวกกับการพึ่งตนเองทางด้าน
เศรษฐกิจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ฐานะทางเศรษฐกิจของบิดามารดามีความสัมพันธ์ทาง
บวกกับการพึ่งตนเองทางด้านเศรษฐกิจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และพบว่ามีความสัมพันธ์
ทางบวกระหว่างการอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตยกับการพึ่งตนเองอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
0.05

THE ROLE OF THE SELF RELIANCE OF GRADE SIX
STUDENTS IN THE MODERN FAMILIES IN
PHASICHAROEN DISTRICT BANGKOK.
Miss Pensri Phumthiang
A Thesis Submitted in Partial Fulfillment of Requirements
for the Master of Art (Social Science for Development )
At Rajabhat Tnstitue Bansomdejchaopraya
Academic Year 2002

ISBN :
Pensri Phumthiang. (2002). The Role of the Self Reliance of Grade Six Students in the Modern
Families in Pasicharoen District Bangkok, M.A. Thesis Bangkok : Graduate School,
Rajabhat Institute Bansomdejchaophraya Advisory committee : Assist. Prof. Dr.
Chanvipa Diloksambandh Assoc. Prof. Dr. Nogluksana Thepsawasdi Dr. Prathaung
Ampornpuckdi
The purpose of this study was to study the Role of the Self Reliance of Grade Six Students.
Compare sex and the family’s size of grade six students and the relation between education, occupation,
economic and child rearing of their parents with the self-reliance of grade six students. The method of multi
random sampling was used in selecting 284 of grade six students. There are 145 male students and 139
female students in Pasicharoen Bangkok. Data were collected by using questionaires and analized by
SPSS/PC+. Statistical method used in this study were percentages(%) , arithmetic means ( x) , t-test and
Pearson Correlation.
The result of study showed the role of the self reliance of grade six students in Pasicharoen
Bangkok on education and economic was at moderate level. But the self reliance on social aspect was at
good level. Comparing the students’ sex and the families’ size with the self reliance. It showed that there
was significant different between males and females at 0.05 level and the female students had better self
reliance than male students. There was no significant different between nuclear family and extended family
on the self reliance of students. There was positive relation between parents’ education level with the social
self reliance at 0.05 level. There was positive relation between father’s occupation with the economic self
reliance at 0.05 level. There was positive relation between the economic status of parents and self reliance
on economic at 0.05 level. There was positive relation between the democratic child rearing pattern with
the self reliance at 0.05 level.
3
ประกาศคุณูปการ
สายใยแห่งความสัมพันธ์ภายในครอบครัว เป็นพลังแห่งการสร้างสรรค์และเรียนรู้ร่วมกันของ
ทุกๆคนภายในสังคม ครอบครัว คณาจารย์ และกลุ่มเพื่อน เปรียบเสมือนครอบครัวใหม่ ที่เอื้ออาทร
ห่วงใย และเป็นกำลังใจให้กันและกัน โดยผ่านกระบวนการในการดำเนินการวิจัย ซึ่งวิทยานิพนธ์ฉบับ
นี้เป็นเครื่องยืนยันถึงความมุ่งมั่น ความอดทน และความพากเพียรได้อย่างชัดเจน ซึ่ง“ปริญญาเป็น
เครื่องบ่งบอกถึงความสำเร็จ แต่ผลสำเร็จของกระบวนการวิจัย ได้ถ่ายทอดถึงความมุ่งมั่น มานะ และ
ความพยายามของคนๆหนึ่ง ที่จะพัฒนาตนให้ก้าวต่อๆไป”
วิทยานิพนธ์ เรื่องนี้เป็นผลงานวิจัยที่ทำให้ข้าพเจ้าได้ซึมซับถึงความสัมพันธ์ดังกล่าวข้างต้น
โดยงานวิจัยชิ้นนี้จะสำเร็จและบรรลุถึงวัตถุประสงค์ได้นั้น ข้าพเจ้าได้รับความอนุเคราะห์จากท่าน
อาจารย์ ผศ. ดร. จนั ทรว์ ภิ า ดิลกสัมพันธ  รศ. ดร. นงลักษณ์ เทพสวัสด ิ์ ดร.ประเทอื ง อมั พรภกั ด์ ิ ที่
ได้มอบคำแนะนำและข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ ตลอดจนขอกราบขอบพระคุณเหล่าคณาจารย์
สาขาสังคมศาสตร์ทุกๆท่านที่ได้มอบความห่วงใยและคำชี้แนะ ตลอดจนแนวทางในการศึกษาค้นคว้า
ทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติ จนกระทั่งงานวิจัยเล่มนี้สำเร็จได้ด้วยดี
ขอขอบพระคุณท่านผู้อำนวยการโรงเรียนและนักเรียนกลุ่มตัวอย่างทุกท่านๆท่าน ที่เสียสละ
เวลาอันมีค่าช่วยเติมเต็มให้กับวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ให้สมบูรณ์ ขอขอบพระคุณท่านอาจารย์ ดร. ภักดี
และอาจารย์ มาลี ฐานปัญญา ที่ให้กำลังใจ ให้คำปรึกษา และคำแนะนำตลอดมา รวมทั้งขอขอบคุณ
เพื่อนๆ พี่ๆ และน้องๆในโรงเรียนฐานปัญญาทุกท่านที่คอยเป็นกำลังใจเสมอมา
ขอขอบคุณนางสาวกัลยาณี บุญส่ง นายศุภณัฐ หาญเลิศประเสริฐ และนางสาวภาวดี ศรีมุกดา
ผู้ที่เป็นยิ่งกว่าเพื่อน ที่คอยให้คำแนะนำ ให้กำลังใจ และเป็นที่ปรึกษาตลอดมา และขอขอบคุณ
สมาชิก “ พุ่มเที่ยง “ ทุกคนในบ้านที่คอยเป็นกำลังใจ แต่งเติม และผลักดัน จนกระทั่งทำให้งานวิจัย
ฉบับนี้สำเร็จได้ด้วยดี
หากคุณค่า และงานวิจัยฉบับนี้มีประโยชน์อเนกอนันต ์ ข้าพเจ้าขอมอบคุณค่าของวิทยานิพนธ์
ฉบับนี้แด่ บุพการี ครู อาจารย์ และผู้มีพระคุณทุกๆท่าน ตลอดจนเด็กๆที่จะเป็นพลังแห่งการพัฒนา
ประเทศชาติ สังคม ชุมชน และครอบครัวให้เข้มแข็งตลอดไป
นางสาวเพ็ญศร ี พุ่มเที่ยง
4
สารบัญ
หน้า
บทคัดย่อภาษาไทย……………………………………………………………………………... ก
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ………………………………………………………………………….. ข
ประกาศคุณูประการ.................................................................................................................... ค
สารบัญ.......……………………………………………………………………………………. ง
สารบัญตาราง………………………………………………………………………………….. ฉ
บทที่ 1 บทนำ
1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา…...……………………………………... 1
1.2 วัตถุประสงค์ของการวิจัย…………………………………………………………. 5
1.3 ประโยชน์ของการวิจัย…………………………………………………………… 5
1.4 ขอบเขตในการวิจัย……………………………………………………………….. 5
1.5 นิยามศัพท์เฉพาะ…………………………………………………………………. 6
1.6 สมมุติฐานในการวิจัย…………………………………………………………….. 9
1.7 กรอบแนวความคิดในการวิจัย……………………………………………………. 10
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
2.1 แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับบทบาท……………………………………………… 11
- ความหมายของ “ บทบาท ”………………………………………………… 11
- แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับบทบาท…………………………………………. 13
2.2 แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการพึ่งตนเอง……...………………………………… 14
- ความหมายของ “ การพึ่งตนเอง ”…………………………………………… 14
- ประโยชน์ของการพึ่งตนเอง...……………………………………………… 15
- ทฤษฎีที่เกี่ยวกับการพึ่งตนเอง……………………………………………… 16
2.3 แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวครอบครัว………………………………………………. 18
- ความหมายของ “ ครอบครัว ”……………………………………………… 19
- ทฤษฎีที่เกี่ยวกับครอบครัว…………………………………………………. 23
2.4 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง…………………………………………………. 26
5
สารบัญ ( ต่อ )
หน้า
บทที่ 3 วิธีการดำเนินงานวิจัย
3.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง...……………………………………………………. 34
3.2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย…………………………………………………........... 37
3.3 การเก็บรวบรวมข้อมูล………………………………………………………….. 40
3.4 การวบรวมและการวิเคราะห์ข้อมูล...…………………………………………… 40
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
4.1 การวิเคราะห์ข้อมูล..............................................................................…………. 41
4.2 ผลการศึกษา 42
- การวิเคราะห์ข้อมูลปัจจัยประชากร.................................................................... 42
- การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการศึกษา อาชีพ ฐานะทางเศรษฐกิจของ
บิดามารดากับการพึ่งตนเอง.........…………………………………………….. 49
- การวิเคราะห์รูปแบบการอบรมเลี้ยงดูต่อการพึ่งตนเอง...................................... 57
- การวิเคราะห์เปรียบเทียบเพศ และขนาดครอบครัวต่อการพึ่งตนเอง.................. 58
- การวิเคราะห์เปรียบเทียบ และขนาดครอบครัวต่อการพึ่งตนเอง........................ 59
บทที่ 5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
5.1 สรุปผลการศึกษา………………………………………………………………… 60
5.2 อภิปรายผลการศึกษา........……………………………………………………….. 63
5.3 ข้อเสนอแนะจากการวิจัย………………………………………………………... 69
บรรณานุกรม............................................................................................................................. 71
ภาคผนวก
ภาคผนวก ก................................................................................................................ 76
ภาคผนวก ข................................................................................................................ 77
ภาคผนวก ค...............................................................................................................
84
6
ประวัติผู้วิจัย..............................................................................................................................
93
สารบัญตาราง
หน้า
ตารางที่ 1 กลุ่มตัวอย่างโรงเรียน และจำนวนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เขตภาษีเจริญ
จำแนกตามเพศ………………………………………………………………….. 35
ตารางที่ 2 แสดงจำนวนนักเรียน และจำนวนนักเรียนกลุ่มตัวอย่างแต่ละโรงเรียน………… 36
ตารางที่ 3 แสดงจำนวนนักเรียน และจำนวนนักเรียนกลุ่มตัวอย่างแต่ละโรงเรียน
จำแนกตามเพศ…………………………………………………………………. 37
ตารางที่ 4 จำนวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่าง จำแนกตามสถานศึกษา เพศ ขนาดครอบครัว
รายได้ ฐานะทางเศรษฐกิจ อาชีพ และการศึกษาของบิดามารดา……………… 42
ตารางที่ 5 ค่าเฉลี่ยของรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูของผู้ปกครองนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง
จำแนกรายด้าน………………………...……………………………………….. 46
ตารางที่ 6 ค่าเฉลี่ย และระดับการพึ่งตนเองด้านการศึกษาของนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง
จำแนกรายข้อ........................................................................................................ 46
ตารางที่ 7 ค่าเฉลี่ย และระดับการพึ่งตนเองด้านเศรษฐกิจของนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง
จำแนกรายข้อ........................................................................................................ 47
ตารางที่ 8 ค่าเฉลี่ย และระดับการพึ่งตนเองด้านสังคมหรือส่วนรวมของกลุ่มตัวอย่าง
จำแนกรายข้อ……………………………………………………………………. 48
ตารางที่ 9 วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของระดับการศึกษา อาชีพของบิดามารดา และฐานะ
ทางเศรษฐกิจของครอบครัวกับการพึ่งตนเองด้านการศึกษา…………………… 49
ตารางที่ 10 วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของระดับการศึกษา อาชีพของบิดามารดา และฐานะ
ทางเศรษฐกิจของครอบครัวกับการพึ่งตนเองด้านเศรษฐกิจ.………………….. 52
ตารางที่ 11 วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของระดับการศึกษา อาชีพของบิดามารดา และฐานะ
ทางเศรษฐกิจของครอบครัวกับการพึ่งตนเองด้านสังคม……………………… 55
ตารางที่ 12 วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของการอบรมเลี้ยงดูของผู้ปกครองนักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 6 กับการพึ่งตนเอง จำแนกรายด้าน.....…………………...... 57
ตารางที่ 13 เปรียบเทียบความแตกต่างของการพึ่งตนเองของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างต่อเพศ
ของนักเรียน.......................…………………………………………………..… 58
7
ตารางที่ 14 เปรียบเทียบความแตกต่างของการพึ่งตนเองต่อขนาดครอบครัว………………. 59
สารบัญตาราง (ต่อ)
หน้า
ตารางที่ 15 เปรียบเทียบความแตกต่างของการพึ่งตนเองต่อขนาดครอบครัว………………. 60
ตารางที่ 16 จำนวน และร้อยละของรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูของผู้ปกครองของนักเรียน
กลุ่มตัวอย่าง จำแนกตามเพศ.............................………………………………. 85
ตารางที่ 17 จำนวน และร้อยละของการพึ่งตนเองของนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง จำแนกตามเพศ 86
ตารางที่ 18 จำนวน และร้อยละของพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตยของ
ผู้ปกครองของกลุ่มตัวอย่าง จำแนกรายข้อ...........……………………………. 87
ตารางที่ 19 จำนวน และร้อยละของพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูแบบเข้มงวดกวดขันของ
ผู้ปกครองของกลุ่มตัวอย่าง จำแนกรายข้อ...………………………………… 88
ตารางที่ 20 จำนวน และร้อยละของพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลยของ
ผู้ปกครองของกลุ่มตัวอย่าง จำแนกรายข้อ…………………………………… 89
ตารางที่ 21 จำนวน และร้อยละของการพึ่งตนเองของกลุ่มตัวอย่าง จำแนกรายข้อ……… 90
ตารางที่ 22 ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ของรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูของ
ผู้ปกครองต่อกลุ่มตัวอย่าง จำแนกรายข้อ.....…………………………………. 92
ตารางที่ 23 เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของ
การอบรมเลี้ยงดูกับเพศของนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง…………………………….. 94
ตารางที่ 24 เปรียบเทียบค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของรูปแบบการอบรมเลี้ยงดู
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เขตภาษีเจริญ กับขนาดของครอบครัว….. 94
บทที่ 1
บทนำ
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
ครอบครัวเป็นสถาบันทางสังคมสถาบันแรกของมวลมนุษย์ที่มีความสำคัญและเก่าแก่ที่สุดซึ่ง
เป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของสังคม แต่มีผลกระทบเชื่อมโยงต่อความสัมพันธ์กับโครงสร้างของสังคมทั้ง
ระบบครอบครัวจึงเป็นกุญแจสำคัญของการป้องกันและแก้ไขปัญหาทางสังคม และเป็นกลไกในการ
ทำลายวัฏจักรของปัญหาสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ฉะนั้นครอบครัวจะต้องมีความรับผิดชอบในการ
สร้างประชากรที่มีคุณภาพให้แก่ประเทศชาติเพื่อเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
(โฉมสมร เหลืองโกศล 2531 : 5 )
ด้วยเหตุนี้ครอบครัวจึงมีความสำคัญและจำเป็นมากในการดำรงชีวิตของมนุษย์ตั้งแต่อดีตจนถึง
ปัจจุบัน กล่าวคือครอบครัวจะทำหน้าที่ขัดเกลาทางสังคมขั้นปฐมภูมิในการอบรมเด็กอย่างใกล้ชิดที่สุด
นับตั้งแต่ในการสัมผัสแห่งรัก สอนให้พูด สอนให้เดิน ฯลฯ แม้ว่าวิธีการสอนของครอบครัวในอดีตกับ
ปัจจุบันจะไม่เหมือนกันก็ตาม ซึ่งในสมัยดั้งเดิมของมนุษย์นั้นครอบครัวทำหน้าที่หลายด้าน เช่น การ
ป้องกันสมาชิกให้พ้นภัยพิบัติต่าง ๆ ทำการผลิต แจกจ่ายเครื่องอุปโภคแก่สมาชิกตลอดจนปลูกฝังความ
ศรัทธา ความเชื่อต่าง ๆ ให้กับสมาชิกอีกด้วย ( ทัศนีย์ ทองสว่าง 2534 : 98 )
นอกจากนั้นครอบครัวยังช่วยเสริมสร้างและปลูกฝังบุคลิกภาพให้แก่สมาชิกเพื่อให้สามารถดำรง
อยู่ในสังคมได้ด้วยดี รวมทั้งทำหน้าที่แทนสถาบันทางสังคมอื่น ๆ เช่น สถาบันการปกครอง สถาบันการ
ศึกษา สถาบันศาสนา เป็นต้น ( เกษม อุทยานิน 2506 : 204-206 ) ซึ่งฮอร์ตัน และฮั้นท์ ( Horton and
Hunt ) ได้กล่าวถึงความสำคัญของครอบครัวว่ามีหน้าที่ในการอบรมสั่งสอนระเบียบทางสังคมเบื้องต้นที่
มีอิทธิพลต่อเด็กมากที่สุดในการพัฒนาบุคลิกภาพ ให้ความรักความอบอุ่นและกำหนดสถานภาพทาง
สังคมให้กับเด็ก และทำหน้าที่เป็นสถาบันทางเศรษฐกิจ เป็นต้น นอกจากนั้นครอบครัวยังเป็นหน่วยผลิต
ที่สังคมและสมาชิกร่วมกันทำงานและแบ่งปันผลผลิตอีกด้วย ( Horton and Hunt 1972 : 205-208 )
แต่ในปัจจุบันอันเนื่องจากสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปรวมทั้งบริการทาง
สังคมที่เปลี่ยนแปลงเสริมหลายด้าน เช่น การศึกษา การอนามัย เป็นต้น ทำให้ครอบครัวผลักภาระ
ความรับผิดชอบให้แก่สมาชิกเหล่านั้น ความสับสนทางบทบาทหน้าที่ทางสังคมจึงเกิดขึ้น ขาดความเข้า
ใจในการดำเนินชีวิตครอบครัวโดยเฉพาะการยึดติดกับค่านิยมที่ให้ความสำคัญกับการทำมาหากินให้
2
ความสำคัญกับทางด้านวัตถุ และความร่ำรวยมากกว่าความร่มเย็นเป็นสุข และคุณภาพของสมาชิกใน
ครอบครัว แต่ละครอบครัวดิ้นรนเอาตัวรอด ขาดความสัมพันธ์กับชุมชน และสังคมภายนอก ทำให้ขาด
พลังร่วมกันในการแก้ไขปัญหาในทุกระดับ ประเทศไทยจึงมีปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมมากมายตาม
มา ( สายสุรี จุติกุล 2539 : 149-150 )
กอปรกับในสภาวะการณ์ปัจจุบัน โครงสร้างของระบบครอบครัวไทยมีความเป็นครอบครัวเดี่ยว
เพิ่มมากขึ้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงสภาวะการบีบรัดทางเศรษฐกิจได้อย่างชัดเจน พ่อแม่ไม่มีเวลาให้ลูก
ทำให้สถาบันครอบครัวอ่อนแอลง แม้ว่าระดับการศึกษาของคนไทยจะดีขึ้น แต่บางครั้งพ่อแม่และลูกที่
มีระดับการศึกษาที่แตกต่างกันอาจสื่อสารไม่ตรงกัน ( อมเรศ ศิลาอ่อน 2537 : 27 ) และนำมาซึ่ง
ปัญหาต่าง ๆ ก็ได้ ดังนั้นบทบาทของครอบครัวไม่เพียงแต่มีความสำคัญแต่ในชีวิตของคนแต่ละคนเท่า
นั้น เมื่อคนในครอบครัวเป็นสุข สังคมก็เป็นสุขด้วย การวางรากฐานแห่งความเจริญของสังคม ในอนาคต
จึงต้องขึ้นอยู่กับการมีครอบครัวที่ดีนั่นเอง ( หลวงวิจิตรวาทการ 2519 : คำนำ )
ด้วยเหตุผลดังกล่าว “ การพัฒนาคน ” จึงต้องเริ่มต้นที่การพัฒนาครอบครัว ซึ่งแผนพัฒนา
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 พ.ศ. 2540 – 2544 เน้นการพัฒนา “ คน ” โดยที่คนเป็นศูนย์กลาง
ของการพัฒนามากกว่าการพัฒนาทางด้านวัตถุ ( สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่ง
ชาติ ม.ป.ป. ) และ “ การพึ่งตนเอง ” ก็เป็นแนวทางของการปฏิบัติที่เป็นจุดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาที่
สำคัญที่สุดในประเทศโลกที่ 3 เช่น ประเทศไทย เป็นต้น ซึ่งหมายความว่า เราต้องใช้
ทรัพยากรธรรมชาติ และเงินทุนที่มีอยู่เพื่อไปให้ถึงจุดหมายปลายทางที่ขึ้นอยู่กับ “ ศักยภาพของมนุษย์”
และในการสร้าง และการพัฒนามนุษย์นั้น เป็นงานที่ยากยิ่งยากกว่าการลงทุนทำธุรกิจใดๆทุกอย่างใน
สังคม เพราะผู้สร้างต้องใช้ทั้งแรงกาย แรงใจ และแรงเงินอย่างมีศิลปะและเหมาะสมด้วย ( พรรณทิพย์
ศริ วิ รรณบศุ ย  2540 : 26 )
ในการที่จะทำให้ประชากรในประเทศมีคุณภาพได้นั้นต้องสร้างให้คนในประเทศเรารู้จัก
พึ่งตนเองก่อนเป็นอันดับแรก ซึ่ง “ การพึ่งตนเอง “ นั้นเป็นแนวทางปฏิบัติที่เราในฐานะที่เราชาวพุทธรู้
จัก และได้ยินมาแต่โบราณแล้วว่า “อัตตา หิ อัตตโน นาโถ” แปลว่า ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน แต่คนไทยเรา
นำมาปฏิบัติน้อยมาก เราจึงกลายเป็นคนอ่อนแอ หนักไม่เอาเบาไม่สู้ไม่ค่อยพึ่งตนเอง ไม่คิดสร้างฐานะ
ด้วยความสามารถของตนเอง คอยแต่จะพึ่งพาผู้อื่นตลอดเวลา (พระเทพวิสุทธิเมธี 2533 : 25 ) และใน
การพัฒนาตนเองให้สามารถพึ่งตนเองได้นั้น หมายถึง ความสามารถในการศึกษาด้วยตนเอง ช่วยเหลือ
ตนเองเป็นหลัก ซึ่งเชื่อว่า “บุคคลเมื่อพึ่งตนเองได้แล้วย่อมสามารถพัฒนาสถาบัน และสังคม อันได้แก่
สถาบันครอบครัว สถาบันเศรษฐกิจ สถาบันการเมือง การปกครอง และสถาบันการศึกษาให้เป็นสถาบัน
ที่สามารถพึ่งตนเองได้ตลอดไป ( โฉมสมร เหลืองโกศล 2531 : 4 ) ทั้งนี้บุคคลที่มีความสำคัญที่สุดใน
3
สถาบันครอบครัวที่เราไม่ควรมองข้ามก็คือ “เด็ก” เพราะเด็กเป็นบุคคลที่สืบทอดทุกอย่างจากผู้ใหญ่ ไม่
ว่าการดำเนินชีวิต ทัศคติ หรือวัฒนธรรม ฯลฯ รวมทั้งภาระความรับผิดชอบในการดำรงความสุขของ
สังคม ดังคำกล่าวที่ว่า “ เด็กในวันนี้คือผู้ใหญ่ในวันหน้า อนาคตของชาติขึ้นอยู่กับคุณภาพของเด็กไทย ”
( วราภรณ์ รักวิจัย 2535 : 13 )
ดังนั้นการพัฒนาคุณภาพของเด็กไทยให้มีลักษณะที่ต้องการและไม่ก่อให้เกิดปัญหาต้องเน้นที่
สภาพแวดล้อม ครอบครัว และการอบรมสั่งสอนตั้งแต่ยังเยาว์วัยเพราะเป็นช่วงต้นของชีวิตซึ่งมีอิทธิพล
ต่อการวางรากฐานของการพัฒนาทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา และมีบทบาทสำคัญใน
การเสริมสร้างบุคลิกภาพให้เป็นผู้ใหญ่ในสังคม ซึ่งแตกต่างกันไปตามเงื่อนไขทางเศรษฐกิจและสังคม
ของครอบครัว โดยต้องเริ่มปลูกฝังให้คิดเป็น ทำเป็น และสามารถพึ่งตนเองได้ โดยเฉพาะเด็กในวัยตอน
กลางที่มีอายุระหว่าง 6-12 ปี เป็นช่วงวัยที่มีความสำคัญต่อการได้รับการปลูกฝังลักษณะพฤติกรรมที่จะ
พัฒนาให้เป็นทรัพยากรที่มีคุณภาพเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ ( ประไพ เจนดง 2541 : 1-3 )
เพราะในวัยเด็กช่วงอายุนี้จะเป็นวัยที่ค่อนข้างเด่นมากในเรื่องของการสร้างสัมพันธภาพของเด็ก
กับวัยผู้ใหญ่ค่อนข้างแน่นแฟ้น เด็กจะมีความอยากรู้อยากเห็น เรียนรู้จากการกระทำ ชอบแสดงออกมี
แบบฉบับของการพัฒนาความคิดรวบยอดเป็นของตนเอง ( จิราภา บัวซอย 2541 : 2 ) มีการปะทะ
สังสรรค์ทางสังคมของเด็กมากขึ้น เริ่มมีความเชื่อมั่นในตนเองจึงเริ่มมีการลองทำพฤติกรรมของตนเอง
ในขณะเดียวกันก็พยามยามเลียนแบบผู้ใหญ่ หรือบุคคลที่ตนเองชื่นชอบ ในวัยนี้เป็นระยะการใช้เหตุผล
และการแก้ปัญหาด้วยตนเองมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นระยะสำคัญในการวางรากฐานทางด้านสังคม และการ
ปรับตัวรวมทั้งเริ่มเรียนรู้บทบาทหน้าที่ของตนเอง ตัวอย่างพฤติกรรมที่ดีจากผู้ใหญ ่ จะเป็นตัวแทนสำคัญ
ต่อการกำหนดบุคลิกภาพของเด็กในวัยนี้ และถ้าเด็กในวัยนี้ได้มีโอกาสได้รับประสบการณ์ที่ดี หรือ
ประสบความสำเร็จในกิจกรรมต่างๆโดยมีโอกาสใช้ความคิดในการวางแผนและแก้ปัญหาในการเรียน
การทำงาน และตัดสินใจด้วยตนเองแล้ว เขาก็จะมีพัฒนาการทางด้านความรู้ ความสามารถในการปรับ
ตัวที่ดีในวัยรุ่นและในวัยผู้ใหญ่ต่อไปโดยไม่ต้องขอความช่วยเหลือจากบุคคลอื่นแต่ความสามารถในการ
ช่วยเหลือตนเองได้นั้นจะไม่สำเร็จแน่นอนถ้าสิ้นสุดช่วงวัยนี้ไปแล้ว
ดังนั้นหากเด็กได้มีการเตรียมตัว หรือถูกปลูกฝังพฤติกรรมที่เหมาะสมไปเขาจะเติบโตเป็นเด็ก
วัยรุ่นที่มีความสุข ยอมรับและปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของตน สามารถเติบโตเป็นบุคคลที่ดีและมีพฤติ
กรรมที่เหมาะสมตามที่สังคมคาดหวัง
และถ้าครอบครัวฝึกให้เด็กเป็นบุคคลที่สามารถพึ่งตนเองได้แม้จะตกอยู่ในสภาพแวดล้อมทาง
สังคมที่ไม่ดีอย่างไร ก็จะเป็นเกราะกำบังมิให้มีปัญหาตามวัฒนธรรมนั้นได้ แม้จะตกอยู่ในสภาพกดดัน
4
ทางสังคมที่รุนแรงสักเพียงใด บุคคลย่อมใช้วิจารณญาณแก้ไขปัญหานั้นได้อย่างเป็นตัวของตัวเองโดยไม่
หวั่นไหวหรือคอยพึ่งผู้อื่นรวมทั้งบุคคลจะได้เรียนรู้การใช้พลังในตนเองได้อย่างมีประโยชน์ต่อตนเอง
ผู้อื่น และสังคม เพื่อดำเนินชีวิตในช่วงนั้นได้อย่างราบรื่นเมื่อสามารถพึ่งตนเองได้ย่อมเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ด้วย
ดี และจัดการกับชีวิตในวัยผู้ใหญ่ได้อย่างราบรื่น (โฉมสมร เหลืองโกศล 2531 : 7-8 )
จากสถานการณ์ในปัจจุบันจะเห็นได้ว่าสังคมกำลังอ่อนลงทุกวันอันเนื่องมาจากความสับสนใน
บทบาทของบุคคลในครอบครัว สถาบัน และสังคมนำไปสู่ปัญหามากมาย เราควรจะหันมาให้ความ
สำคัญกับการพัฒนาคุณภาพของเด็กไทยของเราที่จะเป็นกำลังสำคัญ รวมทั้งสืบทอดทุกอย่างจากผู้ใหญ่
ในวันนี้ให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพ สามารถคิดเป็น ทำเป็น เรียนรู้ในการแก้ปัญหาด้วยตนเองและสามารถ
พึ่งตนเองได้ ซึ่งเมื่อเด็กเรียนรู้ที่บทบาทในการพึ่งตนเองและนำไปปฏิบัติแล้ว เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่เขาก็
สามารถนำประสบการณ์ไปใช้ในการบริหารองค์กร สถาบันต่างๆในสังคมได้อย่างประสบผลสำเร็จ
เมื่อครอบครัว สังคมเข้มแข็งแล้วประเทศชาติก็จะดำรงอยู่ได้อย่างสงบสุข
ผู้วิจัยเห็นความสำคัญของบทบาทในการพึ่งตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ใน
ครอบครัวสมัยใหม่ที่นับวันจะกลายเป็นครอบครัวเดี่ยวเพิ่มมากขึ้น ซึ่งกำลังจะเติบโตไปเป็นเยาวชน
ของชาติในอนาคตว่ามีลักษณะการพึ่งตนเองหรือไม่ อย่างไร และมีปัจจัยใดบ้างที่จะทำให้เด็กสามารถ
พึ่งตนเองได้หรือ ไม่สามารถพึ่งตนเองได้ ในฐานะที่ผู้วิจัยเป็นบุคลากรด้านการศึกษา ที่มีส่วนในการ
ปลูกฝังและพัฒนาบุคลิกภาพของเด็กในวัยเยาว์ จึงตระหนักถึงความสำคัญของการพึ่งตนเองของเด็กไทย
โดยเฉพาะเด็กในเขต กรุงเทพมหานคร ที่ความเป็นเมืองได้หล่อหลอมให้เขาเหล่านั้นกลายเป็นบุคคลที่
ให้ความสำคัญกับวัตถุและความสะดวกสบายมากจนกลายเป็นบุคคลที่เติบโตมาอย่างไม่มีคุณภาพไม่รู้
จักพึ่งตนเอง จึงทำการวิจัยในหัวข้อนี้ขึ้นเพื่อให้เป็นแนวทางให้ผู้เกี่ยวข้องกับเด็กโดยเฉพาะ ครอบครัว
ได้เป็นแนวทางในการอบรมสั่งสอน รวมทั้งป้องกันแก้ไขให้เด็กไทยของเราเติบโตขึ้นมาในสังคมอย่างมี
คุณภาพต่อไปในอนาคต
5
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาบทบาทการพึ่งตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
2. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบเพศของนักเรียน และขนาดของครอบครัวของนักเรียนกับ
การพึ่งตนเอง
3. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับการศึกษา อาชีพ และฐานะทางเศรษฐกิจของ
บิดามารดากับการพึ่งตนเองของนักเรียน
4. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการอบรมเลี้ยงดูกับการพึ่งตนเอง
ประโยชน์ของการวิจัย
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับมีดังนี้
1. ทราบบทบาทการพึ่งตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในสังกัดกรุงเทพมหานคร
เขตภาษีเจริญ และปัจจัยทางประชากร ได้แก่ เพศของนักเรียน ฐานะทางเศรษฐกิจ อาชีพ และระดับ
การศึกษาของบิดามารดาเพื่อเป็นข้อมูลและแนวทางในการศึกษาวิจัยครั้งต่อไป
2. ทราบขนาดครอบครัว และลักษณะการอบรมเลี้ยงดูของครอบครัวในปัจจุบันเพื่อเป็น
แนวทาง และเป็นประโยชน์ต่อครู และผู้ปกครองในการเสริมสร้าง และพัฒนาบุคลิกภาพที่ดีให้กับเด็ก
พร้อมทั้งปรับเปลี่ยนวิธีการอบรมสั่งสอน หรือการเลี้ยงดูเด็กในความปกครองให้เหมาะสมกับสังคมใน
ปัจจุบัน รวมทั้งเป็นแนวทางให้แก่ผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ นักแนะแนว นักสังคมสงเคราะห์ นักพัฒนา ใน
การวางแผนพัฒนาเด็กในสังคมไทยต่อไป
ขอบเขตในการศึกษา
ในการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาบทบาทของการพึ่งตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ในครอบครัวสมัยใหม่ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2544 ที่กำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนสหศึกษา ในสังกัด
กรุงเทพมหานคร เขตภาษีเจริญ โดยใช้ระยะเวลาในการศึกษาตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2545 ถึง
31 มีนาคม 2545
6
ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา
ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย
1. ตัวแปรอิสระ/ตัวแปรต้น มีดังนี้
1.1 ปัจจัยทางด้านประชากร
- เพศของนักเรียน
- ระดับการศึกษาของบิดามารดา
- อาชีพของบิดามารดา
- ฐานะทางเศรษฐกิจของบิดามารดา
1.2 ปัจจัยทางด้านครอบครัว
- ขนาดครอบครัว
- การอบรมเลี้ยงดู
- แบบประชาธิปไตย
- แบบเข้มงวด
- แบบปล่อยปละละเลย
2. ตัวแปรตาม ได้แก่ การพึ่งตนเอง
2.1 การพึ่งตนเองต่อตนเอง
- ทางด้านการศึกษา
- ทางด้านเศรษฐกิจ
2.2 การพึ่งตนเองในการทำงานร่วมกับผู้อื่น / สาธารณะชน
นิยามศัพท์เฉพาะ
1. การพึ่งตนเอง หมายถึง การยอมรับและเชื่อมั่นในความสามารถของตนที่จะกระทำการใดๆ
ได้ด้วยตนเอง โดยไม่เป็นภาระของผู้อื่น ซึ่งแบ่งออกเป็นการพึ่งตนเองโดยตนเอง ได้แก่ การพึ่งตนเอง
ด้านการศึกษา ด้านเศรษฐกิจ และการพึ่งตนเองโดยการทำงานร่วมกับผู้อื่น
2. การพึ่งตนเองด้านการศึกษา หมายถึง การรู้จักและปฏิบัติหน้าที่ของตนเองในด้านการศึกษา
มีความพากเพียรและละเอียดรอบคอบ และมีการวางแผนและแก้ไขปรับปรุงในการเรียน ยอมรับผลการ
กระทำในการปฏิบัติหน้าที่รวมทั้งเมื่อเกิดปัญหาหรือข้อสงสัยในการเรียนสามารถแก้ปัญหาได้
3. การพึ่งตนเองทางด้านเศรษฐกิจ หมายถึง การใช้ความรู้ความสามารถตนเองเพื่อแบ่งเบาภาระ
ของบิดามารดา ผู้ปกครอง ตลอดจนรู้จักเลือกและใช้เครื่องอุปโภคบริโภค
7
4. ครอบครัวสมัยใหม่ หมายถึง บุคคลที่มาอยู่รวมกันโดยการสมรสหรือไม่ได้สมรสแต่มีความ
ผูกพัน และมีความเข้าใจต่อกัน ซึ่งประกอบด้วยพ่อ แม่ และลูก บางครอบครัวบิดามารดาอาจจะไม่ได้อยู่
บ้านเดียวกัน สมาชิกในครอบครัวมีอิสระในด้านความคิดและการกระทำของตนเอง
5. การพึ่งตนเองในการทำงานร่วมกับผู้อื่น หมายถึง การใช้ความรู้ความสามารถของตนเอง
อย่างเต็มที่ในการทำงานร่วมกับผู้อื่น กล้าแสดงความคิดเห็นของตนเองรู้จักควบคุมและเอาชนะอารมณ์
ของตนเอง ไม่สร้างภาระหรือปัญหาให้แก่กลุ่ม ช่วยเหลือซึ่งกันและกันในด้านความคิดจนกลุ่มได้งาน
ตามเป้าหมายที่กำหนด สร้างบรรยากาศในการทำงานให้เป็นไปด้วยความราบรื่น มีเหตุผลและทำงาน
ร่วมกับผู้อื่นอย่างเต็มใจ
6. นักเรียน หมายถึง นักเรียน ชาย – หญิง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2544
สังกัดกรุงเทพมหานคร เขตภาษีเจริญ
7. บทบาท หมายถึง แบบแผน หรือพฤติกรรมของนักเรียนในด้านการพึ่งตนเอง ที่พึงกระทำ
ตามสถานภาพ หรือฐานะของตนในครอบครัวและสังคม โดยพฤติกรรมนั้นต้องสอดคล้องกับบรรทัด
ฐานของความคาดหวังของสังคม
8. ระดับการศึกษาของบิดามารดา หมายถึง ระดับการศึกษาสูงสุดของบิดามารดาซึ่งแบ่งเป็น
3 ระดับ คือ ( สำนักงานวิจัยสถาบันพัฒนบริหารศาสตร์ 2541 : 66 )
8.1 ระดับการศึกษาต่ำ หมายถึง บิดาหรือมารดาจบการศึกษาต่ำกว่าชั้นประถมปีที่ 6 หรือ
ประถมปีที่ 6
8.2 ระดับการศึกษาปานกลาง หมายถึง บิดามารดาจบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือ
มัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า
8.3 ระดับการศึกษาสูง หมายถึง บิดาหรือมารดาจบการศึกษาระดับอนุปริญญา หรือ
ปริญญาตรีขึ้นไป
9. รายได้ของบิดามารดา หมายถึง เงินรายได้ทั้งหมดของครอบครัวต่อ 1 เดือน ซึ่งแบ่ง
เปน็ 3 ระดบั ได้แก  ( สำนักงานสถิติแห่งชาต ิ 2541 : 19-20 )
9.1 รายได้ต่ำ หมายถึง เงินรายได้ของครอบครัวต่ำกว่า 10,000 บาท
9.2 รายได้ปานกลาง หมายถึง เงินรายได้ของครอบครัวระหว่าง 10,001 – 20,000 บาท
9.3 รายได้สูง หมายถึง เงินรายได้ของครอบครัวมากกว่า 20,000 บาทขึ้นไป
10. ฐานะทางเศรษฐกิจ หมายถึง รายได้ประจำของสมาชิกครอบครัวทุกคนรวมกันต่อเดือน
และนำมาพิจารณาความเพียงพอของรายจ่ายแต่ละเดือนที่นำมาใช้จ่าย หรือไม่เพียงพอใช้จ่ายใน
ครอบครัว ดังนี้
- รายได้เพียงพอต่อการใช้จ่ายในครอบครัว ถือว่ามีฐานะทางเศรษฐกิจดี
- รายได้เพียงพอใช้จ่ายในครอบครัวแต่ไม่มีเงินเก็บ ถือว่ามีฐานะปานกลาง
- รายได้ไม่เพียงพอ และต้องกู้ยืมเงิน ถือว่ามีฐานะทางเศรษฐกิจไม่ดี
8
11. การอบรมเลี้ยงดู หมายถึง การอบรมเลี้ยงดูของบิดามารดาหรือผู้ปกครองซึ่งได้จาก
การทดสอบความรู้สึกของนักเรียนที่มีต่อการอบรมเลี้ยงดูที่ได้รับจากบิดามารดาหรือผู้ปกครองแบ่งออก
เป็น 3 แบบ คือ การอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย แบบเข้มงวด แบบปล่อยปละละเลย
11.1 การอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย หมายถึง การอบรมเลี้ยงดูที่พ่อแม่ หรือผู้ปกครอง
เลี้ยงดูเด็กอย่างมีเหตุผล ใช้อำนาจในการควบคุมดูแลบุตรตามบทบาทของตนอย่างเหมาะสม มีกำหนด
กฎเกณฑ์ระเบียบการให้ปฏิบัติ แต่สามารถยืดหยุ่นได้ตามสถานการณ์ อย่างความเหมาะสม รวมทั้ง
เด็กสามารถแสดงความคิดเห็น และตัดสินใจในการกระทำต่างๆด้วยตนเอง พ่อแม่ยอมรับในการกระทำ
ของเด็กเกือบทุกอย่าง ไม่มีการลงโทษและคอยให้ความช่วยเหลือในโอกาสที่เหมาะสม พร้อมทั้งมีการ
ส่งเสริมการกระทำของบุตรโดยให้คำชม
11.2 การอบรมเลี้ยงดูแบบเข้มงวดกวดขัน หมายถึง การอบรมเลี้ยงดูแบบที่พ่อแม่กำหนด
ขอบเขตของการกระทำของเด็กมากเกินไป โดยเด็กต้องปฏิบัติตามที่พ่อแม่ต้องการอาจเป็นลักษณะที่พ่อ
แม่ดูแลและเอาใจใส่มากเกินไป หรือคอยให้ความช่วยเหลือตลอดเวลา หรือควบคุมมากโดยการบังคับ
ให้เด็กปฏิบัติตามกรอบประเพณี และกฎระเบียบอย่างเคร่งรัด หากฝ่าฝืนจะถูกลงโทษ
11.3 การอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลย หมายถึง วิธีการเลี้ยงดูในลักษณะที่พ่อแม่
ปล่อยให้เด็กทำอะไรตามใจชอบโดยพ่อแม่ไม่บังคับ ไม่เอาใจใส่หรือให้คำแนะนำช่วยเหลือเท่าที่ควร
ไม่ให้ความรัก ความอบอุ่นอย่างเพียงพอในการเลี้ยงดู ( นฤมล สิริพันธ์ 2533 : 23-27 )
12. ขนาดครอบครัว หมายถึง จำนวนสมาชิกที่อาศัยอยู่ในครอบครัวนั้น ๆ
11.1 ครอบครัวเดี่ยว หมายถึง ครอบครัวที่ประกอบด้วยสามี ภรรยา และบุตร ( อาจเป็น
บุตรบุญธรรมก็ได้ )
12.2 ครอบครัวขยาย หมายถึง ครอบครัวที่ประกอบไปด้วยครอบครัวเดี่ยวและญาติพี่น้อง
เช่น ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา เป็นต้น ซึ่งอาจอยู่ภายใต้หลังคาเดียวกัน หรือเขตบ้านเดียวกัน โดยอาจจะ
ปลูกอยู่ใกล้เคียงกัน
13. อาชีพ หมายถึง การทำมาหากิน หรืองานที่ทำเป็นประจำเพื่อเลี้ยงชีพโดยใช้เวลาในการ
แบ่ง เช่น รับราชการ, พนักงานรัฐวิสาหกิจ, ลูกจ้างบริษัทเอกชน ซึ่งมีระยะเวลาทำงานตั้งแต่เวลา
ประมาณ 8.00 – 17.00 น.
9
สมมุติฐานในการวิจัย
1. นักเรียนหญิงสามารถพึ่งตนเองได้ดีกว่านักเรียนชาย
2. ระดับการศึกษา อาชีพ ฐานะทางเศรษฐกิจของบิดามารดามีความสัมพันธ์กับการพึ่งตนเอง
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
3. นักเรียนที่อาศัยอยู่ในครอบครัวขยายสามารถพึ่งตนเองได้ดีกว่านักเรียนที่อยู่ในครอบครัว
เดี่ยว
4. นักเรียนที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตยมีความสัมพันธ์กับการพึ่งตนเอง
ผู้ศึกษาตระหนักถึงความสำคัญของสถาบันครอบครัวในฐานะเป็นตัวแทนการอบรมทางสังคม
ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญอย่างยิ่ง และยังเป็นสถาบันแรกที่จะพัฒนาค่านิยมขั้นพื้นฐานเรื่องการพึ่งตนเองของ
นักเรียน เพื่อให้สามารถพัฒนาตนเองให้เป็นผู้ใหญ่ที่ช่วยเหลือตนเองได้ในอนาคต จากการทบทวน
วรรณกรรมและเอกสารต่างๆพบว่านอกจากขนาดครอบครัวและรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูแล้ว ปัจจัยทาง
ด้านประชากรได้แก่ เพศของนักเรียน ระดับการศึกษา อาชีพของบิดามารดา และฐานะทางเศรษฐกิจของ
ครอบครัวก็มีผลต่อบทบาทการพึ่งตนเองของบุคคลแต่ละคนอีกด้วย จึงได้กำหนดกรอบแนวความคิดใน
การวิจัยครั้งนี้ ดังต่อไปนี้
10
กรอบแนวคิดในการวิจัย ( Conceptual Framework )
ตัวแปรต้น
ปัจจัยทางประชากร
---------------------------------------------------------
1. เพศของนักเรียน
2. ระดับการศึกษาของบิดามารดา
3. อาชีพของบิดามารดา
4. ฐานะทางเศรษฐกิจของบิดามารดา
ตัวแปรต้น
ปัจจัยทางด้านครอบครัว
--------------------------------------------------------
1. ขนาดครอบครัว
- ครอบครัวเดี่ยว
- ครอบครัวขยาย
2. ลักษณะการอบรมเลี้ยงดู
- แบบประชาธิปไตย
- แบบเข้มงวด
- แบบปล่อยปละละเลย
การพึ่งตนเอง
---------------------------------------------------
1. ต่อตนเอง
-ทางด้านการศึกษา
-ทางด้านเศรษฐกิจ
2. ต่อการอยู่ร่วมกันในสังคม
ตัวแปรตาม
บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และได้นำเสนอตามหัวข้อ
ดังต่อไปนี้
1. แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวกับบทบาท
1.1 ความหมายของบทบาท
1.2 ทฤษฎีที่เกี่ยวกับบทบาท
2 แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการพึ่งตนเอง
2.1 ความหมายของการพึ่งตนเอง
2.2 ประโยชน์ของการพึ่งตนเอง
2.3 ทฤษฎีที่เกี่ยวกับการพึ่งตนเอง
3. แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับครอบครัว
3.1 ความหมายของครอบครัว
3.2 ทฤษฎีที่เกี่ยวกับครอบครัว
4. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
1. แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวกับบทบาท
1.1 ความหมายของบทบาท
โรบินชอน และ สก็อต ( Robinchon and Scott 1969 : 52-57 อ้างใน ศุภาศิริ การิกาญจน์
2541 : 14 ) ให้ความหมายว่า " บทบาท "( Role ) หมายถึง พฤติกรรมที่กระทำตามความคาดหวังของคน
ส่วนใหญ่ที่ยึดถือไว้เป็นบรรทัดฐานโดยที่ ข้อบังคับนั้นจะกล่าวเฉพาะที่แต่ละคนนั้นต้องกระทำ
ส่วน “บทบาท” ในความหมายของกู๊ด (Good ) จะแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ
1. เป็นลักษณะการแสดงออกของบุคคลภายในกลุ่ม
2. เป็นรูปแบบพฤติกรรมที่คาดหวังตามตำแหน่งหน้าที่ หรือการแสดงออกแต่ละ
บุคคล ตามความมุ่งหวังของสังคม ( Good 1973 : 81)
12
ซึ่ง อุทัย หิรัญโต (2526) อธิบายว่า “บทบาท” คือหน้าที่ หรือ พฤติกรรมอันพึงคาดหมาย
ของบุคคลแต่ละกลุ่ม หรือสังคมหนึ่งๆ หน้าที่หรือพฤติกรรมดังกล่าว โดยปกติเป็นสิ่งที่กลุ่มหรือสังคม
หรือวัฒนธรรมของกลุ่ม หรือสังคมนั้นกำหนดขึ้น ดังนั้นบทบาทจึงเป็นแบบแห่งความประพฤติของ
บุคคลในสถานะหนึ่งที่พึงมีต่อบุคคลหนึ่งในสถานะอีกอย่างหนึ่งในสังคมเดียวกัน (อุทัย หิรัญโต 2526 :
197 ) นอกจากนนั้ สุพัตรา สุภาพ ได้กล่าว “บทบาท” เป็นการปฏิบัติตามหน้าท ี่ ตามสิทธ ิ และหน้าที่
ของบุคคลในสถานภาพหรือตำแหน่งนั้น เช่น ตำแหน่งพ่อ บทบาทก็ต้องเลี้ยงลูกโดยที่บทบาทนี้มีการ
เปลี่ยนแปลง และมีความแตกต่างกันไปได้ ( สุพัตรา สุภาพ 2540 :30 )
บทบาท ( Role ) หมายถึง ข้อกำหนด ( Prescription ) แห่งพฤติกรรมระหว่างบุคคลประเภท
ต่างๆที่มีลักษณะเฉพาะตัวบางประการ หรือบางประเภทซึ่งรู้จักกันในนามสถานภาพ ( Status )หรือ
ตำแหน่ง ( Position ) ซึ่งเป็นผลมาจากการปฏิบัติที่เป็นจริงตามการปฏิบัติสังสรรค์ ( Interaction )
ระหว่างบุคคลในสังคม
บทบาท หมายถึง พฤติกรรมที่ถูกคาดหวังจากตำแหน่งทางสังคม และบทบาทจะมีความหมายก็
ต่อเมื่อมีความเกี่ยวพันธ์กับบทบาทอื่น บทบาทจึงเป็นสิ่งที่ไม่สามารถจำกัดรายละเอียดได้ เนื่องจากว่า
เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ( สายฝน น้อยหีด 2540 : 8)
จากความหมายข้างต้นสรุปได้ว่า “บทบาท” หมายถึง แบบแผนหรือ พฤติกรรมของบุคคล
ที่พึงกระทำตามสถานภาพ หรือฐานะของตนในครอบครัวหรือสังคม โดยแบบแผนหรือพฤติกรรมนั้น
ต้องสอดคล้องกับบรรทัดฐาน ขนบธรรมเนียม ประเพณี และความคาดหวังของสังคม
อย่างไรก็ตามการแสดงบทบาทยังต้องขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ 4 ประการอันได้แก่ (
Allport 1976 อ้างใน ศุภาศิริ การิกาญจน์ : 15 )
1. คามคาดหวังเกี่ยวกับบทบาท (Role Expectation) คือ บทบาทที่สังคมคาดไว้หวังให้
บุคคลปฏิบัติเป็นบทบาทที่ถูกกำหนดขึ้นโดยสังคมและเป็นไปตามสถานภาพที่บุคคลนั้นดำรงอยู่
2. อัตมโนทัศน์ของบทบาท (Role Conception) คือ การที่บุคคลมองเห็น หรือคาดหวังว่า
ตนเองควรจะมีบทบาทอย่างไร โดยเขาจะวาดภาพบทบาทของเขาตามความคิด และการรับรู้ของเขาเกี่ยว
กับความคาดหวังของสังคม ซึ่งในความเป็นจริงอาจจะสอดคล้องกับความคาดหวังของสังคมหรือไม่ก็ได้
3. การยอมรับบทบาท (Role Acceptation) คือ การยอมรับบทบาทของบุคคล ซึ่ง
จะเกิดขึ้นภายหลังจากที่ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า บทบาทนั้นเป็นของตนเองและรับรู้ว่าเป็นบทบาทที่สังคม
คาดหวัง มีความสำคัญต่อตนเองและก่อให้เกิดความขัดแย้งทางที่สังคมกำหนดน้อยที่สุด
13
4. การปฏิบัติตามบทบาท (Role Performance) คือ การปฏิบัติตามบทบาทของบุคคลซึ่ง
อยู่กับองค์ประกอบ 3 ประการที่กล่าวมา การปฏิบัติตามบทบาทจะมีมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับระดับ
ความเข้าใจ การรับรู้ และการยอมรับ
จะเห็นได้ว่า การแสดงบทบาทเป็นเรื่องสำคัญ บุคคลมิได้ต้องการแสดงบทบาททุกบท
บาทเสมอไป มีหลายบทบาทที่บุคคลไม่สามารถยอมรับได้ ซึ่งเมื่อบุคคลเกิดความไม่เข้าใจในบทบาท
ไม่รับรู้บทบาทนั้นๆเป็นของตน หรือไม่พึงพอใจต่อบทบาทนั้น ย่อมมีผลกระทบต่อการแสดงบทบาท
และทำให้เกิดความล้มเหลวได้ เสมือนกับเราเปรียบครอบครัวเป็นกลุ่มทางสังคมกลุ่มหนึ่งที่เกี่ยวพันธ์
และมีความสัมพันธ์กับกลุ่มต่างๆเมื่อครอบครัวไม่สามารถแสดงบทบาทได้จะส่งผลกระทบต่อกลุ่มอื่นๆ
เป็นลูกโซ่ต่อไป ในขณะเดียวกันเด็กก็เป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว ย่อมมีบทบาทหน้าที่ของตนในด้าน
ต่างๆเช่นกัน เมื่อเด็กสามารถแสดงบทบาทได้ถูกต้องตามความคาดหวังของครอบครัว และสังคมแล้ว
ประเทศชาติก็สงบสุขและมั่นคงได้เช่นกัน
ดังนั้นบทบาทของบุคคลในครอบครัวและครอบครัวจึงนับว่ามีความสำคัญยิ่งต่อสังคม เพราะ
เป็นสถาบันแรกของการหล่อหลอมเด็กและเยาวชนให้มีคุณภาพ และมีศักยภาพในสังคมเรา โดยเฉพาะ
นับตั้งแต่อดีตสังคมได้มีการเปลี่ยนแปลง โครงสร้างของครอบครัวได้เปลี่ยนจากครอบครัวขยายมาเป็น
ครอบครัวเดี่ยว ทำให้พ่อแม่ต้องทำบทบาทและหน้าที่ 2 ด้านเท่าๆกัน คือ ให้ความสำคัญแก่บทบาทด้าน
เศรษฐกิจ สังคม กฎระเบียบต่างๆ และบทบาทด้านการอบรมเลี้ยงดู ซึ่งจะพัฒนาไปสู่โครงสร้างของ
ครอบครัวแบบใหม่ ซึ่งทุกคนในครอบครัวมีความเท่าเทียมกันและต้องช่วยเหลือกันในทุกๆด้าน
1.2 แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับบทบาท
ทฤษฎีบทบาท ( Role Theory ) อธิบายพฤติกรรมทางสังคมที่มนุษย์มีต่อกันโดยเปรียบกับการ
แสดงละคร ที่มี โรงละคร ผู้กำกับ ตัวแสดง และผู้ชม ที่มีบท สถานภาพ และบรรทัดฐานบุคคลใน
สังคมมีหลายสถานภาพและถูกคาดหวังจากผู้อื่นให้แสดงบทบาทตามสถานภาพที่ตนดำรงอยู่ ในขณะที่
ความคาดหวัง หรือบรรทัดฐานของสังคมจะเป็นตัวบังคับให้ต้องกระทำ หรือห้ามกระทำ และหากไม่
เป็นไปตามที่ควรจะเป็นแล้วจะมีการลงโทษเป็นกลไกในการควบคุม จึงทำให้มนุษย์ดำรงอยู่ในบทบาท
ที่สังคมได้กำหนดขึ้นทั้งทางด้านบทบาท และสถานภาพ
สถานภาพ ( Status ) เป็นตำแหน่งที่ได้จากการเป็นสมาชิกของกลุ่ม เป็นสิทธิและหน้าที่ทั้ง
หมดที่บุคคลมีอยู่เกี่ยวข้องกับผู้อื่น และสังคมส่วนรวม สถานภาพจะกำหนดว่าบุคคลนั้นมีหน้าที่จะต้อง
ปฏิบัติกับผู้อื่นอย่างไร มีหน้าที่รับผิดชอบอย่างไรในสังคม สถานภาพเป็นสิ่งเฉพาะบุคคลนั้นแตกต่าง
จากผู้อื่น และมีอะไรเป็นเครื่องหมายของตนเอง
14
บทบาทขัดกัน บุคคลแต่ละคนอาจมีบทบาทหลายอย่างในเวลาเดียวกัน และบุคคลถูกคาด
หวังให้ปฏิบัติตามบทบาทต่างๆที่ตนมีอยู่ แต่การปฏิบัติบทบาทหนึ่งอาจจะขัดแย้งกับอีกบทบาทหนึ่งก็
ได้ เช่น แม่กับลูก ถ้าแม่เผอิญเป็นครูของลูก แล้วลูกเกิดทำข้อสอบไม่ได้ แม่จะทำบทบาทของความ
เป็นแม่ ถ้าให้ลูกสอบตก ลูกก็จะหาว่าไม่รัก แต่ให้ลูกสอบได้ก็จะเสียบทบาทของความเป็นครู
นักทฤษฎีบทบาทได้แบ่งความคาดหวังในการแสดงบทบาทของมนุษย์แต่ละคนในสังคมออก
เป็น 3 ประการ
1. ความคาดหวังจาก “บท” คือ บรรทัดฐานทางสังคม สังคมจะกำหนดว่าผู้ที่ตำแหน่ง
ใดต้องแสดง หรือกระทำอย่างไร เช่นในสังคมไทย ลูกต้องเชื่อฟังคำสั่งสอนของพ่อแม่
2. ความคาดหวังจาก “ผู้แสดง” อื่น พฤติกรรมของบุคคลแต่ละคนถูกกำหนดโดย
พฤติกรรมของผู้อื่น
3. ความคาดหวังจาก “ผู้ชม” บุคคลต้องดูว่าผู้อื่นชอบ หรือไม่ชอบอย่างไร แล้วแสดงใน
บทบาทตามความต้องการของผู้อื่น ( พัชรมณี สุดรัก 2543 : 19 – 21 )
โดยสรุปแล้ว นักทฤษฎีบทบาทเห็นว่าสังคมโลกถูกสมมติขึ้น โดยทฤษฎีบทบาทซึ่งจัดระบบ
โครงสร้างในลักษณะของความคาดหวังจากสิ่งต่างไม่ว่าจะเป็นการคาดหวังจากบทบาท ความคาดหวัง
จากผู้ร่วมแสดงคนอื่น หรือความคาดหวังจากผู้ชมก็ตามซึ่งรูปแบบของความคาดหวังดังกล่าวเหล่านั้นจะ
ขึ้นอยู่กับสถานภาพที่บุคคลเหล่านั้นครอบครองอยู่นั่นเอง
2. แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวกับการพึ่งตนเอง
2.1 ความหมายเกี่ยวกับ “การพึ่งตนเอง”
การพึ่งตนเอง ( Self Reliance ) หมายถึง การกระทำกิจกรรมเพื่อดำเนินงานอย่างใดจะกระทำ
เพื่อดำเนินงานด้วยทางทรัพย์ ความสามารถและสติปัญญาของตน โดยไม่เรียกร้องหรือคอยความช่วย
เหลือจากบุคคลอื่น
การพึ่งตนเอง หมายถึง การเคารพตนเอง เชื่อมั่นในความสามารถที่จะกระทำการใดให้สำเร็จ
ด้วยตนเอง และไม่ทำให้เป็นปัญหาเพื่อเป็นภาระแก่ผู้อื่นหรือหมู่คณะ
นักวิชาการมอง “การพึ่งตนเอง” ว่าเป็นเชิงอำนาจการตัดสินใจ หมายถึง การตัดสินใจด้วย
ตนเอง มีความเป็นตัวของตัวเองในด้านความคิด ทัศนะในการมองปัญหาต่างๆ
15
ประวีณ รอดเขียว ( 2522 : 27 – 28 ) ได้แบ่งการพึ่งตนเองเป็น 3 ระดับ ดังนี้
1. ระดับปัจเจกบุคคล การพึ่งตนเอง หมายถึง คนที่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้
จากสิ่งที่เขาหามาได้เอง เป็นอิสระได้อย่างแท้จริงโดยไม่ต้องขึ้นอยู่กับผู้ใด ทั้งยังหมายถึง ความร่วม
มือในการทำงานกับผู้อื่นได้ เต็มใจช่วยคนอื่นและให้คนอื่นช่วยแต่เป็นผู้ที่ไม่พึ่งพาอาศัยใคร
2. ระดับชุมชน การพึ่งตนเอง หมายถึง ชุมชนสามารถใช้ทรัพยากรและ
ทักษะซึ่งเป็นเจ้าของร่วมกัน เพื่อสวัสดิการของตนเองและเพื่อพัฒนาของเขาเอง จะต้องไม่มีความคิด
ว่ารัฐบาลหรือหน่วยงานในท้องถิ่นจะมาช่วยวางโครงการและแก้ไขปัญหาได้ แต่ความช่วยเหลือจะมาใน
รูปแบบคำแนะนำ
3. ระดับประเทศ การพึ่งตนเอง หมายถึง เมื่อทุกคนและชุมชนในประเทศ
พึ่งตนเองได้ ประเทศที่สามารถพึ่งตนเองได้ด้วย พลเมืองในประเทศต้องยอมรับร่วมกันหาวิถีทางที่จะ
มุ่งไปข้างหน้า ซึ่งต้องเกิดจากการตัดสินใจร่วมกัน ใช้ทรัพยากรร่วมกัน และ มีความพยายามร่วมกันที่
จะบรรลุอุดมการณ์การพึ่งตนเองได้ในที่สุด
สรุปได้ว่า การพึ่งตนเองมีตั้งแต่ระดับปัจเจกบุคล ชุมชน ไปจนถึงระดับประเทศ แต่ไม่ว่าจะ
เป็นการพึ่งตนเองระดับใดก็ตามที่สำคัญที่สุดคือ ระดับบุคคล ถ้าบุคคลสามารถพึ่งตนเองได้ ครอบครัว
เข้มแข็ง ชุมชนเข้มแข็ง สังคมและประเทศชาติก็จะสามารถพึ่งตนเองได้เช่นกัน
2.2 ประโยชน์ของแนวคิด “การพึ่งตนเอง”
ประโยชน์ของแนวคิด “การพึ่งตนเอง” จะช่วยให้เกิดการพัฒนาทั้งในระดับจุลภาค และ ใน
ระดับมหภาค กล่าวคือ
1. ช่วยให้คนตระหนักในคุณค่า ความสามารถ และพลังศักยภาพของตนเอง
2. ช่วยให้คนสามารถคิดและตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องพึ่งพา
จากภายนอกหรือบุคคลอื่น แต่มิได้หมายถึงแยกตนออกจากผู้อื่น การพึ่งพาผู้อื่นไปอย่างรู้เท่าทัน และ
ไม่แข่งขัน หรือมุ่งครอบงำเหนือกว่า ทั้งไม่ยินยอมให้ผู้อื่นมาทำกับตนด้วย
3. การพึ่งตนเองทำให้เกิดความเป็นตัวของตัวเองในทางความคิด เป็นตัวของตัวเองใน
ทัศนะการมองปัญหาต่างๆ
4. สามารถเข้าใจปัญหา วิเคราะห์ปัญหา วิเคราะห์ปัญหาได้ด้วยตัวเอง รู้ข้อดี
ข้อเสีย ข้อจำกัด และข้อบกพร่องของตนเอง สามารถใช้ทรัพยากรหรือสิ่งที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ได้
5. การพึ่งตนเองทำให้ประชาชนตื่นตัวในสิทธิและเสรีภาพของเขาเอง สนใจที่จะ
เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ เพื่อประโยชน์สุขแก่ส่วนรวม
16
ดังนั้นสรุปได้ว่า ผลประโยชน์ของการพึ่งตนเองนั้น ทุกระดับจะมีส่วนช่วยและได้รับ
ผลประโยชน์ต่อกันไป เมื่อประชาชนมีศักยภาพในตนเอง และนำศักยภาพนั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อ
ตนเองและชุมชน เพราะบุคคลแต่ละคนย่อมมีแรงขับในตนเอง ซึ่งก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่จะนำ
ไปสู่ความสำเร็จในชีวิตมากขึ้น
2.3 ทฤษฎีเกี่ยวข้องกับการพึ่งตนเอง
เราทุกคนมีประสบการณ์ในเรื่องของตนเองแตกต่างกันไป นักจิตวิทยา กล่าวถึงความคิดของ
บุคคลที่มีต่อตนเองโดยใช้คำว่า “อัตมโนทัศน์” ( Self Concept ) ว่าเป็นปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จ
ทางการศึกษาพฤติกรรมทางสังคม และ เกือบทุกๆด้านของชีวิตมนุษย์ โดย โฉมสมร เหลืองโกศล (2531
: 35 – 41) ได้สรุปความหมายไว้ดังนี้
โรเจอร์ ( Roger ) ให้ความหมายของ อัตมโนทัศน์ไว้ คือ เป็นโครงสร้างของการรับรู้ที่บุคคลมี
ต่อตนเองเกี่ยวกับรูปร่าง ลักษณะ ความสามารถ การรับรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างตนกับผู้อื่นและ
สิ่งแวดล้อม การรับรู้เกี่ยวกับคุณค่าของตนเองและมีความเห็นว่าอัตมโนทัศน์พัฒนาขึ้นมาจากผลจากการ
ที่บุคคลได้มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะจากการที่บุคคลได้รับการประเมินจากบุคคลอื่น
โดยสรุปคือ อัตมโนทัศน์ก็คือ ความรู้ ความเข้าใจ ความรู้สึกนึกคิด ทัศนคติเกี่ยวกับตนเอง
ซึ่งได้จากประสบการณ์ที่ตนเองได้รับ ทำให้บุคคลเข้าใจตนเอง ซึ่งจะมีผลต่อการแสดงพฤติกรรม
ของแต่ละบุคคล เพราะมนุษย์ต้องปฏิบัติไปในทางที่ตนเองคิดว่าตนเองเป็นอย่างนั้น ซึ่งการเปลี่ยน
แปลงจะเปลี่ยนไปตามสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับบุคคลเป็นสำคัญ ซึ่งเป็นผลจากการเรียนรู้ ความรู้สึก
นึกคิดจะพัฒนาไปตามระดับวุฒิภาวะ และสิ่งแวดล้อม เพราะในวัยเด็กนั้นเป็นวัยที่กำลังพัฒนาอัตมโน
ทัศน์เกี่ยวกับการพึ่งตนเอง เนื่องจากมนุษย์มีขั้นตอนในการเจริญเติบโตที่ยาวนาน
ฟรอยด์ ( Freud ) ได้กล่าวไว้ตามทฤษฎีจิตวิเคราะห์ ไว้ในเรื่อง Super Ego ว่าเพราะ
มนุษย์มีเวลาแห่งการเป็นทารกนานยิ่งกว่าสัตว์ใดๆ การเป็นทารกทำให้ต้องพึ่งพาผู้อื่น ต้องเอาใจคนอื่น ๆ
ด้วยในระยะแรก ฟรอยด์ มีความเชื่อว่า ปัจจัยภายนอกมีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาพฤติกรรมทาง
สังคมของบุคคล และเห็นว่าอิทธิพลของครอบครัวที่มีต่อบุคคลในระยะเริ่มแรก สามารถกำหนดบุคลิก
ภาพของบุคคลภายหลังได้ และการพัฒนาบุคลิกภาพจะเป็นไปตามลำดับขั้นตอน ซึ่งระยะการพัฒนา 3
ขั้นแรกมีความสำคัญมาก
มาลา วิรุณานนท์ ( 2516 : 12 )ได้นำเสนอตามทัศนะของซัลลิแวน กับ อิริคสัน ( Sullivan and
Erickson ) กล่าวว่า การพึ่งผู้อื่นในระยะแรกเกิดนั้น เป็นแรงขับพื้นฐาน (Basic Drive) ที่มีส่วนในการ
17
พัฒนาบุคลิกภาพของมนุษย์ ซึ่งพ่อแม่นับเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากสภาพของทารกยังไม่สามารถ
ตอบสนองความต้องการของตนเองได้ ดังนั้นเด็กจะต้องเรียนรู้ที่จะพึ่งผู้อื่น แต่เมื่อเด็กมีวุฒิภาวะและ
อายุเพิ่มมากขึ้น เด็กก็จะค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมมาพึ่งตนเองมากขึ้น พ่อแม่ควรฝึกให้ลูกรู้จักการ
พึ่งตนเองมากขึ้น ซึ่งต้องทำด้วยความนิ่มนวล และค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไป เพื่อมิให้เด็กรู้สึกว่าขาดความ
รัก ความอบอุ่น ซึ่งแม็คแคนเลส ( McCandless ) ได้ชี้แนวปฏิบัติไว้ดังนี้
1. เพื่อให้ลูกได้พึ่งตนเองมากขึ้น พ่อแม่ควรฝึกลูกด้วยการลดรางวัลแบบที่เคยให้กับ
ลูกขณะที่ลูกยังเล็ก ๆ ให้น้อยลง
2. พ่อแม่ต้องทำงานให้ลูกพึ่งพาได้น้อยลง
3. ควรเปลี่ยนวิธีการให้รางวัลจากที่เคยให้เมื่อลูกมาขอ การให้รางวัลเมื่อลูกแสดงให้
เห็นว่าสามารถพึ่งตนเองได้ ซึ่งต้องกระทำอย่างค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไป
4. พ่อแม่ต้องคอยฝึกให้ลูกรู้จักคบหาสมาคมกับผู้อื่นบ้าง และฝึกให้ลูกได้รู้สึกคุณค่า
ของการคบเพื่อนด้วย
5. พ่อแม่ต้องฝึกฝนและเปิดโอกาสให้เด็กได้รู้จักรักเรียนรู้จะกระทำสิ่งต่างๆให้สำเร็จ
ด้วยตนเอง ตลอดจนชี้ให้เห็นความไม่สะดวกสบายต่างๆในการที่ไม่สามารถพึ่งตนเองได้
แอดเลอร์ ( Adler ) ชี้ให้เห็นว่าเด็กที่ต้องพึ่งผู้อื่นตลอดเวลา เพราะตนอ่อนแอ เมื่อเติบโตขึ้น
จะหาข้อแก้ตัวในการที่ตนไม่ประสบผลสำเร็จ โดยโทษความไม่สบประกอบอะไรบางอย่างของตนเอง
เป็นข้ออ้าง และเด็กที่พ่อแม่ตามใจจนเสียคน ( Spoiled Child ) เวลาอยากได้อะไรต้องได้ เพราะมี
ทัศนะคติว่าใครๆ ต้องมาเอาใจใส่พะเน้าพะนอตลอดเวลา เด็กพวกนี้จะไม่รู้จักเกรงใจใคร มีแต่จะเรียก
ร้องจากผู้อื่น เพราะยากจะปรับตัวให้เข้ากับสังคมได้ ตรงกันข้ามกับพ่อแม่ที่รู้จักฝึกเด็กคือ ไม่ยอมตามใจ
จนเกินไป ขณะเดียวกันก็ไม่ทอดทิ้งเด็ก แต่ยังให้การสนับสนุนเด็ก เพื่อให้เป็นตัวของตัวเอง ไม่ช่วยเด็ก
มากจนเกินไป หรือน้อยเกินไป ไม่บังคับควบคุม หรือ หักหาญเอาแต่ใจของผู้ใหญ่มากเกินไปเด็กพวกนี้
จะมีความกล้าที่จะเผชิญต่อชีวิต มีความรู้สึกสนใจสังคม ไม่เห็นแก่ตัว
อย่างไรก็ตาม ฮอร์นีย์ ( Horny ) เชื่อว่าวัยเด็กเป็นวัยที่มีความสำคัญ และครอบครัวมีอิทธิพลต่อ
บุคลิกภาพของเด็กมาก เด็กที่พ่อแม่เป็นคนชอบบ่น จู้จี้ ไม่เอาใจใส่ ปากร้าย ก็จะปลูกฝังทัศนะคติ
แบบเดียวกันให้กับเด็ก เมื่อเติบโตไปกลายเป็นคนใจแคบ เถรตรง ขาดความรักนับถือตนเอง และทำ
ให้เด็กไม่รู้จักรักนับถือผู้อื่น ซึ่งจะเห็นได้จากบุคคลที่ขี้บ่น พึ่งตนเองไม่ได้ หรือเป็นนักเลงโตเที่ยว
ระรานผู้อื่น
ฟรอมม์ ( From ) กล่าวว่า บุคคลที่พึ่งผู้อื่นตลอดเวลา เมื่อปล่อยให้อยู่ตามลำพังจะรู้สึกว่าช่วยตัว
เองไม่ได้ และรู้สึกเปล่าเปลี่ยว อ้างว้าง จะคอยเกาะติดผู้อื่นร่ำไป ชอบทำงานชนิดไม่ต้องออกแรง
18
ชอบรวยทางลัด หรือ ชอบความสะดวกสบายต่างๆ ดังนั้นเพื่อให้บุคคลรู้จักพึ่งตนเองได้ จึงเป็นหน้าที่
ของพ่อ แม่ที่ต้องคอยอบรม หรือ ฝึกให้รู้จักการพึ่งตนเอง และรู้จักทำงานร่วมกัน โดยพ่อแม่สมัยใหม่
ต้องทำตัวเป็นเพื่อนลูก และฝึกให้รู้จักรับผิดชอบงานของตนเองให้มากขึ้น ( ประมวล ดิกคินสัน 2511 :
34 –61 )
เซียร์ส แมคโคบี้ และเลอวิน ( Sears, Maccoby and Lewin 1957 : 130 ) ได้เสนอความคิดเห็น
ว่า การกระทำที่ช่วยให้เด็กรู้จักพึ่งตนเองได้หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับการยอมรับในการกระทำของเด็ก การ
ขัดขวางไม่ให้เด็กทำอะไรด้วยตนเอง เป็นการบั่นทอนการช่วยเหลือตนเอง ซึ่งความคิดเห็นดังกล่าวสอด
คล้องกับมุสเส้น และคองเกอร์ ( Mussen and Conger 1969 : 627 ) ที่พบว่าเด็กมีพัฒนาการในการพึ่งตน
เองได้ดีเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ระหว่างพ่อ แม่ ลูก คือ ถ้าพ่อ แม่ ใช้อำนาจสิทธิ์ขาด
(Authoritarian Parents ) ปกครองโดยการบังคับ ควบคุม ถืออำนาจ และห้ามปราม ไม่เปิดโอกาสให้ลูก
รู้จักการพึ่งตนเอง ย่อมไม่สามารถจะพึ่งตนเองและเป็นตัวของตัวเองได้ ตรงกันข้าม ถ้าพ่อแม่ที่เสริม
สร้างความเป็นตัวของตัวเอง ( Autonomy ) ให้ลูกโดยให้รู้จักพึ่งตนเองตามอายุที่เพิ่มขึ้น คอยแนะนำ
และช่วยเหลือในการตัดสินใจของลูก ปกครองด้วยเหตุผล ย่อมสามารถปลูกฝังความรับผิดชอบ และการ
พึ่งตนเอง ให้เกิดขึ้นกับลูกได้
จะเห็นได้ว่ามนุษย์เรานั้นเกิดมามีบุคลิกภาพ และบทบาทหน้าที่ที่แตกต่างกันไปตามสภาพ
ครอบครัว และสิ่งแวดล้อม พ่อแม่เป็นบุคคลที่สำคัญในการที่จะปลูกฝังให้เด็กเกิดการเรียนรู้ และ
กระทำตามแบบอย่างที่ดีหรือไม่ดีตั้งแต่เริ่มเกิดไปจนถึงวัยผู้ใหญ  เด็กๆจะค่อยๆเรียนรู้พัฒนาการในการ
เรียนรู้ที่จะมีพัฒนาการในการพึ่งตนเองเมื่อบุคคลนั้นมีวุฒิภาวะมากขึ้น โดยที่พ่อแม่จะเป็นบุคคลที่มี
ความสำคัญในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเด็กให้สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ในขณะเดียวกันถ้าในวัยเด็ก
พ่อแม่ไม่เปิดโอกาสหรือเตรียมพร้อมที่จะฝึกให้เด็กพึ่งตนเอง เด็กก็จะไม่มีการเรียนรู้ที่จะพึ่งตนเองส่ง
ผลให้ไม่ประสบผลสำเร็จในการทำกิจกรรมหรือกิจการต่างๆเมื่อถึงวัยผู้ใหญ่
3. แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวกับครอบครัว
ครอบครัวเป็นสถาบันที่สำคัญที่สุดของสังคม เพราะเป็นสถาบันมูลฐาน หรือเป็นสถาบันแรก
ของการวิวัฒนาการของสังคมมนุษย์ ซึ่งเป็นหน่วยองค์กรที่มีขนาดเล็กที่สุดของสังคม สมาชิกในครอบ
ครัวจะมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด สนิทสนมกลมเกลียวเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันได้ โดยการรวม
กลุ่มแบบปฐมภูมิ ครอบครัวจะกำหนดสิทธิและหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติต่อกัน และ ต่อสังคมอีกด้วย
สมาชิกในครอบครัวจะได้รับสถานภาพ และบทบาทต่างๆกัน องค์ประกอบและขนาดของครอบครัว
ในแต่ละสังคมจะแตกต่างกันไป และเป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิตมนุษย์อย่างยิ่งตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน
19
เพราะเรายังไม่พบว่ามีสังคมมนุษย์ในโลกนี้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้โดยปราศจากสถาบันที่เรียกว่า “
ครอบครัว ” ( ทัศนี ทองสว่าง 2534 : 96 )
นอกจากนั้นครอบครัวมิใช่กลุ่มทางชีววิทยาเท่านั้น พฤติการณ์ของมนุษย์ก็ไม่ได้เป็นไปโดย
สัญชาติญาณแต่เป็นไป โดยมีระเบียบแบบแผน ซึ่งมีการกำหนดมาตรฐานความประพฤติของครอบครัว
เช่น ความแตกต่างของครอบครัวชาวจีน กรีกโบราณ ชาวเอสกิโม และชาวกรีนิช เป็นความแตกต่าง
ทางด้านวัฒนธรรม ไม่ใช่ความแตกต่างทางด้านชีววิทยา
3.1 ความหมายของ “ครอบครัว”
นักสังคมวิทยา และ นักมนุษยวิทยาได้ให้ความหมายของคำว่า “ครอบครัว” ไว้ต่างๆกัน
ดังต่อไปนี้
ฮอร์ตันและฮั้นท์ (Horton and Hunt) ได้กล่าวว่า “ครอบครัว” หมายถึง ระบบเครือญาติกลุ่มหนึ่ง
ซึ่งจัดเตรียมและสนองความต้องการของมนุษย์ ( Horton and Hunt 19672 : 214 )
ส่วนเบอร์เกส และ ลอค (Burgess and Locke 1971 : 35 ) ได้ให้ความหมายว่า “ครอบครัว”
จะต้องมีลักษณะสำคัญ 4 ประการ คือ
1. ครอบครัวประกอบด้วยบุคคลที่มารวมกันโดยการสมรสหรือ ผูกพันทาง
สายเลือด หรือการมีบุตรบุญธรรม การแต่งงานแสดงความสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยา ส่วนสายสัมพันธ์ต่อ
เนื่องทางสายเลือดหรือชีววิทยาทำให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่และลูก ส่วนบุตรบุญธรรมนั้นมิได้
เกิดจากความสัมพันธ์ทางชีววิทยา หากเกิดจากความสัมพันธ์ตามกฎหมายที่สังคมกำหนด
2. สมาชิกของครอบครัวเหล่านี้อยู่รวมกันภายในครัวเรือนเดียวกันหรือบาง
ครั้งก็แยกไปอยู่ต่างหาก ในสมัยโบราณครอบครัวจะมีขนาดใหญ่กล่าวคือ ในครอบครัวจะมีสมาชิก
3 – 5 ชั่วอายุ แต่ในปัจจุบันครอบครัวอาจจะมีขนาดเล็กลงมามาก คือ ประกอบด้วย สามี ภรรยา
และบุตร 1 – 2 คน เท่านั้น ในบางครอบครัวอาจไม่มีบุตรเลย
3. ครอบครัวเป็นหน่วยของการติดต่อโต้ตอบระหว่างบุคคล ได้แก่ พ่อ แม่
ลูก พี่ น้อง และญาติ โดยสังคมได้กำหนดหน้าที่และบทบาทของสมาชิกแต่ละครอบครัวไว้ ซึ่งขึ้นอยู่
กับขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมของสังคมนั้นๆ เช่น ความรัก ความผูกพัน ความเอาใจใส่
ความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน ตลอดจนการอบรมสั่งสอน เป็นต้น
4. ครอบครัวถ่ายทอดการอนุรักษ์วัฒนธรรมสมาชิกในครอบครัวจะถ่ายทอด
และรักษา รูปแบบของการประพฤติต่อกัน ระหว่าง พ่อ แม่ ลูก ด้วยวัฒนธรรมชาตินั้นๆ มรดกตกทอด
20
ทางสังคมจะอยู่รอดได้ต้องอาศัยพลังจากพ่อ แม่ ช่วยอบรมสั่งสอน โดยผ่านการถ่ายทอดทางวัฒนธรรม
ทั้งทางด้านจิตใจและทางด้านวัตถุแก่สมาชิกในครอบครัวตลอดมา
ไพฑูรย์ เครือแก้ว ( 2513 : 134 – 135 ) ให้ความหมายว่า “ครอบครัว” นั้นประกอบด้วย
บุคคลต่างเพศตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป มีความสัมพันธ์ทางเพศซึ่งกันและกัน มีข้อผูกพันที่จะทำให้ความ
สัมพันธ์ทางเพศที่มีต่อกันนั้นเป็นไปด้วยความแน่นอน และมีระยะเวลานานพอที่จะทำให้เกิดมีบุตรธิดา
ด้วยกันได้ และมีข้อตกลงทางเศรษฐกิจร่วมกันทางสังคม
โดยสรุปแล้ว ครอบครัว หมายถึง กลุ่มบุคคลที่มาอยู่รวมกัน มีความผูกพัน มีความเข้าใจ และ
มีข้อตกลงร่วมกันทางเศรษฐกิจและสังคม มีการถ่ายทอดทางวัฒนธรรมเดิมและสร้างสรรค์วัฒนธรรม
ใหม่ มีความผูกพันทางกฎหมายหรือสายโลหิต ซึ่งอาจจะมีบุตรด้วยกันได้ และครอบครัวจะทำหน้าที่
เบื้องต้นที่จำเป็นต่างๆเพื่อสนองความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ และเป็นสถาบันแรกที่หล่อหลอมให้
มนุษย์ก้าวไปสู่สังคมภายนอกได้อย่างมั่นคง
3.2 ประเภทของครอบครัว
นักสังคมวิทยาและนักมานุษยวิทยา ได้แบ่งประเภทของครอบครัวโดยอาศัยองค์ประกอบขนาด
และลักษณะความสัมพันธ์ของสมาชิกในครอบครัวเป็นหลักเกณฑ์ พบว่าสังคมทั่วไปจะแบ่งครอบครัว
เป็น 2 ประเภท ได้แก่
- ครอบครัวเดี่ยว ( Nuclear Family )
- ครอบครัวขยาย ( Extended Family )
แต่บางสังคมจะจัดครอบครัวเพิ่มขึ้นอีกประเภทคือครอบครัวรวม ( Compound Family หรือ
Polygamous Family ) ( ทัศนีย์ ทองสว่าง 2534 : 100 -101)
ยอร์ช ( George ) ได้แบ่งครอบครัวออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. ครอบครัวเดี่ยว ( Nuclear Family )
เป็นครอบครัวเดี่ยวที่สมาชิกสองชั่วอายุคนและมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดที่สุด คือ
สามี ภรรยา บุตร ส่วนคนอื่น เช่น ปู่ ตา ยาย ย่า หลาน คนอาศัย คนรับใช้ ไม่จัดอยู่ในครอบครัว และเป็น
ครอบครัวที่พบเห็นได้ทั่วไป และมีแนวโน้มจะเป็นครอบครัวแบบนี้มากขึ้น เนื่องด้วยเหตุผลทาง
เศรษฐกิจ เพราะการมีครอบครัวใหญ่เป็นการสิ้นเปลือง โดยเฉพาะ สภาพสังคมปัจจุบันที่ค่าครองชีพสูง
นอกจากนี้ ครอบครัวแบบนี้ยังมีความเป็นอิสระแต่ห่างเหินจากญาติพี่น้องอาจทำให้เกิดความว้าเหว่ และ
ขาดความอบอุ่นได้ ( George Peter Murdoc อ้างใน สุพัตรา สุภาพ 2540 : 60 )
21
2 ครอบครัวขยาย ( Extended Family )
เป็นครอบครัวที่ประกอบด้วยครอบครัวเดี่ยวและญาติพี่น้อง ( ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา
เปน็ ตน้ ) หรือสมาชิกตั้งแต  3 ชั่วอายุคนขึ้นไป โดยอาจจะปลูกบ้านใกล้เคียงกัน หรอื เขตบา้ นเดยี วกนั
โดยมีพี่น้องที่สมรสแล้วหลายคู่อยู่รวมกัน ญาติพี่น้องจะมีหน้าที่ช่วยกันดูแลลูกหลาน เป็นครอบครัวที่มี
ความรักความอบอุ่น แต่ขาดความเป็นอิสระเพราะสมาชิกอาวุโสทำหน้าที่เป็นหัวหน้าครอบครัว ทำหน้า
ที่ควบคุมทุกข์สุขสมาชิกในครัวเรือน ซึ่งจะพบในสังคมเกษตร เช่น จีน อินเดีย เป็นต้น
3. ครอบครัวทีสามีมีภรรยาหลายคน (Polygamous Family)
ครอบครัวประกอบด้วยสามีหนึ่งคน ภรรยาหลายคน ครอบครัวแบบนี้จึงเป็นครอบครัว
เดี่ยว 2 ครอบครัว หรือมากกว่า ที่สามีและพ่อรวมกัน เช่นสังคมจีน อิสลาม เป็นต้น ครอบครัวรวมใน
บางสังคมสมาชิกของแต่ละครอบครัวจะอยู่รวมกันภายใต้หลังคาเดียวกัน แต่บางสังคมจะแยกกันอยู่
คนละบ้าน แต่ผู้ชายคนเดียวกันเป็นหัวหน้าครอบครัว หรือเป็นศูนย์กลางของครอบครัว เช่น สังคม
มุสลิม ( Muslim Society ) ซึ่งอนุญาตให้ผู้ชายมีภรรยาได้ 4 คน แต่ต้องเลี้ยงดูและให้ความรักความยุติ
ธรรม ( ทัศนี ทองสว่าง 2534 :101 )
สจ๊วต (Stuart A Queen 1969 อ้างใน พรรณทิพย์ ศริ วิ รรณบศุ ย  2530 : 12 – 14 ) กล่าวว่าแม้ว่า
ครอบครัวจะมีหลายรูปแบบแต่เราไม่สามารถบอกได้ว่า ครอบครัวใดดีที่สุด เพราะลักษณะของครอบครัว
แต่ละแบบนั้นเหมาะสมกับสภาพสังคมแต่ละสังคม
อย่างไรก็ตามพอสรุปได้ว่าครอบครัวสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1. ครอบครัวเดี่ยวหรือครอบครัวขนาดเล็ก ซึ่งประกอบด้วยบิดา มารดา และ
บุตร ซึ่งรวมทั้งบุตรบุญธรรมด้วย ขนาดของครอบครัวจึงขึ้นอยู่กับจำนวนบุตรที่กำเนิดขึ้นภายในครอบ
ครัวนั้นๆ ครอบครัวประเภทนี้ ส่วนใหญ่มีขนาดเล็ก จำนวนสมาชิกไม่มากนัก สมาชิกสร้างความสัมพันธ์
ได้สะดวก ในปัจจุบันครอบครัวประเภทนี้จะเพิ่มมากขึ้นทุกวัน
2. ครอบครัวขยายหรือครอบครัวใหญ่เป็นครอบครัวที่ขยายมาจากครอบครัว
เล็ก คือ รวมเพิ่มสมาชิกที่เป็นญาติพี่น้องอยู่ร่วมกันในครัวเรือนเดียวกัน ทำให้จำนวนสมาชิกมากกว่า
ครอบครัวเดี่ยว มักพบในครอบครัวเกษตรกรรมและมีมากในชนบท
22
3.3 ลักษณะของการเปลี่ยนแปลงของครอบครัวในเมือง
การเปลี่ยนแปลงของสังคมทำให้ครอบครัวในเมืองมีการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ดังนี้
1. มีลักษณะที่ยึดมั่นในประเพณีเดิมน้อยลง และ รับลักษณะยืดหยุ่นที่เปลี่ยน
แปลงและปรับได้ง่าย เพื่อให้รับกับสภาวะการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างรวดเร็ว
2. หันมาใช้วิถีแบบเมืองที่เน้นความสะดวกสบายทางวัตถุ และใช้เครื่องมือ
ทุ่นแรงต่างๆ มากขึ้น
3. มีความสนใจและความเคร่งครัด ต่อความเชื่อ และการประกอบพิธีกรรม
ทางศาสนาน้อยลง
4. ขาดความมั่นคงทางเศรษฐกิจและทางจิตใจ อัตราการหย่าร้างสูงขึ้น
5. หน้าที่ต่างๆ ที่เคยทำเป็นหน้าที่ของหน่วยสังคมอื่นๆ เช่น เศรษฐกิจ
ศาสนา การปกครอง การศึกษา ครอบครัวจึงมีหน้าที่สำคัญในการให้ความรัก ความอบอุ่นทางใจแก่
สมาชิก การเลี้ยงดูเด็ก และการพัฒนาการทางบุคลิกภาพเด็ก
6. ความสัมพันธ์ภายในครอบครัว เน้นความสัมพันธ์ระหว่างสามี ภรรยา
ความเป็นเพื่อนร่วมทุกข์ร่วมสุข ความสนใจและความสุขของสมาชิกในขณะที่เดิมเน้นการมีบุตรสืบสกุล
การมีตำแหน่งในสังคมที่มีเกียรติ และการประกอบหน้าที่ทางเศรษฐกิจ และ สังคมให้สำเร็จ ทั้งนี้สืบ
เนื่องมาจากการที่ครอบครัวไม่ใช่หน่วยในการผลิตทางเศรษฐกิจ หัวหน้าครอบครัวจึงไม่ต้องใช้อำนาจ
ควบคุมในฐานะหน่วยการผลิต
7. การเปลี่ยนแปลงด้านโครงสร้างของครอบครัวแบ่งออกเป็น
7.1 การเปลี่ยนแปลงด้านโครงสร้างทางอำนาจสามี หรือหัวหน้าครอบครัว
มีอำนาจน้อยลง บุตรธิดา และ ภรรยามีเสรีภาพที่จะทำสิ่งต่างๆมากขึ้น
7.2 สมาชิกของครอบครัวนอกจากจะมีบทบาทภายในครอบครัวแล้วยัง
ต้องมีบทบาทหน้าที่ภายนอกครอบครัว เช่น ในสถาบันการศึกษา ในสถานที่ทำงาน ในสมาคมจึงทำให้
มีความสนใจต่างกัน บทบาทหน้าที่จึงแตกต่างกันไป ครอบครัวจึงลดบทบาทความเป็นศูนย์กลางของกิจ
กรรมต่าง ๆ ลง เด็กรุ่นใหม่อยู่ห่างไกลพ่อแม่ ภรรยามีเวลาให้ครอบครัวน้อยลง จึงแตกแยกได้ง่าย
7.3 การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของครอบครัวเป็นครอบครัวขนาดเล็กลง
7.4 บุคคลโสด และ หย่าร้าง เป็นที่ยอมรับและมีสถานภาพในสังคมเสมอ
บุคคลอื่นๆ อาจจะคล่องตัวกว่าผู้ที่อยู่ในสภาวะทางครอบครัวด้วยซ้ำ ( โสภา ชปีลมันน์ และคณะ 2534 :
47 – 48 )
23
3.3 ทฤษฎีที่เกี่ยวกับครอบครัว
3.3.1 การขัดเกลาทางสังคม (Socialization )
แม้ว่ามนุษย์ไม่ได้เป็นสัตว์โลกโดยกำเนิด จึงจำเป็นต้องได้รับการขัดเกลาทางสังคมอยู่ตลอด
ชีวิต กระบวนการขัดเกลาจึงเป็นสิ่งสำคัญ และจำเป็นในการอยู่ร่วมกันและเป็นที่ยอมรับของสังคมที่ตน
เป็นสมาชิก นอกจากนี้ยังเป็นกระบวนการที่ทำให้มนุษย์เกิดความรู้สึกเป็นตัวของตัวเอง ( Self ) คือ
ความรู้สึกว่าตนเป็นมนุษย์ต่างจากคนอื่น โดยสังคมจะหล่อหลอมมนุษย์โดยผ่านสถาบันพื้นฐาน คือ
ครอบครัว เป็นอันดับแรก เพื่อขัดเกลาเสริมต่อให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์โดยสังคมมีส่วนสร้างความสำนึก
ความประทับใจ คุณค่าทางวัฒนธรรม และแบบแผนพฤติกรรม เพื่อให้บุคคลเป็นสมาชิกของสังคม
อย่างแท้จริง นั่นคือสังคมจะเปลี่ยนสภาพบุคคลจากสถานภาพทางชีววิทยา ( Biological Person ) มาเป็น
บุคคลของสังคม ( Social Person ) ซึ่งการติดต่อสัมพันธ์ของมนุษย์ ( Human Contact ) เป็นสิ่งที่จำ
เป็นต่อการพัฒนาความเป็นตัวตน และการพัฒนาบุคลิกภาพในฐานะเป็นบุคคลหนึ่งของสังคม
การขัดเกลาทางสังคมเป็นกระบวนการทั้งทางตรง และ ทางอ้อมที่มนุษย์ในสังคมหนึ่ง ๆ ได้
เรียนรู้คุณค่า กฎเกณฑ์ ระเบียบแบบแผนที่กลุ่มหนึ่งๆ กำหนด หรือวางไว้เพื่อเป็นแบบแผนของการ
ปฏิบัติต่อกัน และให้บุคคลได้พัฒนาบุคลิกภาพของตนเอง
โดยทั่วไปแล้ว วัยที่จำเป็นต่อการขัดเกลาทางสังคมได้แก่ วัยเด็ก ( Socialization The Child )
ซึ่งเป็นช่วงที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาบุคลิกภาพของเด็กมากที่สุด เพราะเป็นสถาบันแรกที่เด็กได้รับ
การอบรมสั่งสอน ซึ่งเป็นเรื่องของพ่อ แม่ และผู้ปกครองโดยเฉพาะวิธีการขัดเกลาทางสังคมจะออกมา
ในรูปแบบดังนี้
1. การขัดเกลาโดยตรง เป็นการขัดเกลาที่ต้องการให้บุคคลปฏิบัติให้ถูกต้อง
ตามระเบียบแบบแผนที่กลุ่มทางสังคมนั้นกำหนดไว  เป็นการบอกว่าสิ่งใดถูกสิ่งใดผิด นบั วา่ มผี ลตอ่
การพัฒนาบุคลิกภาพมาก เป็นการชี้ทาง และแนะแนวทางในการปฏิบัติต่อบุคคลอย่างจงใจ และ
เจตนา เพื่อให้บุคคลสามารถวางได้ถูกต้องเหมาะสมกับสถานการณ์
2. การขัดเกลาโดยอ้อม เป็นการอบรมที่ไม่ได้บอกกันโดยตรง บุคคลได้รับ
ประสบการณ์ หรือประโยชน์จากการสังเกต หรือเรียนรู้จากการกระทำของผู้อื่น เช่น การสังเกต
ดูคนอื่นว่าปฏิบัติอย่างไรในเหตุการณ์ที่ไม่คุ้นเคย
24
หากมนุษย์ไม่มีการเรียนรู้หรือไม่ได้รับการอบรมขัดเกลา มนุษย์ก็ยากที่จะมีความสัมพันธ์กับ
คนอื่นได้ หากมนุษย์คนใดถูกตัดขาดจากสังคม ไม่มีปฏิกิริยาสัมพันธ์ หรือกระทำร่วมกัน (interaction)
ไม่ได้รับการเอาใจใส่อย่างเพียงพอตั้งแต่ในวัยทารกหรือเด็ก คนนั้นเติบโตขึ้นมาอย่างมีปัญหา เพราะ
พฤติกรรมมนุษย์ไม่ได้เกิดจากชีวภาพบวกกับวัฒนธรรมและประสบการณ์ของตนแต่เกิดจากการมีความ
สัมพันธ์กันในระหว่างมนุษย์
จากการศึกษาเด็กหลายกลุ่ม ทั้งเด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูอย่างดี เด็กกำพร้าและเด็กที่ได้รับการเลี้ยง
ดูต่างกัน ได้ผลสรุปออกมาอย่างเดียวกัน คือ จะกลายเป็นบุคคลที่สมบูรณ์ก็ต่อเมื่อมีปฏิกิริยาสัมพันธ์
ต่อเนื่องเหมาะสมโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากสภาพแวดล้อมทางครอบครัวที่มีความรัก ความอบอุ่นใกล้ชิด
สนิทสนมเป็นพื้นฐาน ( สุพัตรา สุภาพ 2540 : 47-50 )
มีด ( Mead ) บิดาของทฤษฎีการมีปฏิกริยาสัมพันธ์ กล่าวว่า ผลกระทบจากการขัดเกลาเริ่มตั้ง
แต่เด็ก ทั้งนี้เพราะบุคลิกภาพของแต่ละบุคคลเกิดจากประสบการณ์แต่ในวัยเด็ก จนสามารถรู้จักว่า
ตัวตนคือใคร เพราะความเป็นตัวตนนี้ไม่ได้มีมาแต่เกิด แต่ต้องมาสร้างโดยผ่านครอบครัวเป็นสำคัญ
นอกจากนั้นครอบครัวยังเป็นตัวเชื่อมหรือมีบทบาทสำคัญในการขัดเกลาอีกด้วย
แบนดูรา และรอส ( Bandura and Ross 1963 อ้างใน น้ำเพชร อยู่โต 2539 : 43 - 45 )ได้เสนอแนะไว้ว่า
เด็กจะเลียนแบบพฤติกรรมของผู้ใหญ่ ซึ่งเนื้อหาของทฤษฎีถือว่ามีความสำคัญเท่าๆกับทฤษฎีว่าด้วยการ
ให้รางวัลและการลงโทษ เช่น เด็กหญิงที่กำพร้ามารดา เด็กคนนั้นไม่มีมารดาเป็นตัวแบบจึงมีความจำเป็น
ที่จะต้องมีตัวแบบ (Model) ของบทบาทที่เหมาะสมในกระบวนการขัดเกลา
จากทฤษฎีดังกล่าวสรุปได้ว่าเด็กจะมีพฤติกรรมเช่นไร สิ่งสำคัญยิ่งอันสืบเนื่องมาจากการให้
ความสำคัญของบิดา มารดา ในครอบครัวเป็นสำคัญ ในการอบรมเลี้ยงดูบุตร โดยถือว่าครอบครัวมี
บทบาทในการขัดเกลา โดยเฉพาะในทางสังคมเมืองใหญ่ๆทั่วไป เช่น กรุงเทพมหานคร สมาชิกใน
ครอบครัวส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยพ่อ แม่ และลูกเท่านั้น พ่อแม่จะมีบทบาทในการหล่อหลอมบุคลิก
ภาพของลูกเป็นอย่างมาก พ่อแม่จะเป็นผู้กำหนดสิ่งดีงาม ถูกต้องให้ลูกๆโดยไม่มีปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า
น้า อา และญาติผู้ใหญ่ เช่นในครอบครัวขยายที่จะมาช่วยอบรมเลี้ยงดู ซึ่งจะมีผลทำให้การขัดเกลาทาง
สังคมที่ลูกควรจะได้รับลดน้อยลงไป ความอบอุ่น ความผูกพันธ์ในบ้านลดลง ชีวิตความเป็นอยู่แบบตัว
ใครตัวมันมากขึ้นทำให้ชีวิตคนในครอบครัวเปลี่ยนแปลงพ่อแม่จึงมีบทบาทเท่าเทียมกันเพื่อแบ่งเบาภาระ
และร่วมกันปกครองครอบครัวเริ่มลดบทบาทความเป็นศูนย์กลาง เด็กยุคนี้จึงห่างไกลจากพ่อแม่ จึงทำ
ให้ครอบครัวแตกแยกได้ง่ายเพราะไม่มีการเชื่อมความสัมพันธ์ด้วยความใกล้ชิด และความเข้าอกเข้าใจ
25
กัน ดังนั้นครอบครัวจึงมีความสำคัญอย่างมากต่อชีวิตทุกวัยโดยเฉพาะในวัยเด็กที่ต้องการความอบอุ่นจาก
พ่อแม่
3.3.2 ทฤษฎีโครงสร้างและการหน้าที่ (Structional and Functional Theory)
ทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่ถือว่าสังคมเป็นระบบหนึ่งๆ ที่มีอาณาเขตแน่นอนมีระเบียบ และมีการ
ควบคุมตนเอง ซึ่งมีความจำเป็นหรือมีความต้องการจำนวนหนึ่งที่ระบบต้องตอบสนองให้ได้ เพื่อรักษา
ให้ระบบดำรงอยู่ได้ต่อไป และอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ในทุกส่วน รวมทั้งยังส่งผลสะท้อนไปส่วน
อื่นๆ ให้ถูกกระทบกระเทือนไปด้วย สังคมจึงมีระบบต่างๆ ที่เป็นส่วนต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์ระหว่าง
กัน เพื่อมุ่งตอบสนองความจำเป็นหรือความต้องการ เป็นการรักษาบูรณาการของระบบให้เกิดภาวะ
สมดุลย์( Equilibrium ) เพื่อการดำรง ชีวิตอยู่ได้ ( Survival )
แนวความคิดนี้มองว่าครอบครัวเป็นกลุ่มขนาดเล็กหรือในลักษณะระบบสังคม ซึ่งมีการประสาน
บทบาทของสมาชิกเข้าด้วยกัน ทำหน้าที่ดำรงไว้เพื่อระบบครอบครัว และแสดงให้เห็นว่าสมาชิกแต่ละ
คนในครอบครัวเป็นส่วนหนึ่งหรือระบบย่อยหนึ่งในครอบครัว สมาชิกทุกคนมีหน้าที่ของตน เมื่อทุก
คนทำบทบาทและหน้าที่ของตนอย่างดี ครอบครัวจะมีความสุข เป็นครอบครัวที่มีคุณภาพ สังคมและ
ประเทศชาติย่อมมีความมั่นคง ในทางตรงข้ามถ้าเกิดความบกพร่องในบทบาทหน้าที่ของครอบครัวแล้ว
สังคมก็จะไม่สงบสุขด้วยเช่นกัน ( สมพงษ์ ธนธัญญา 2540 : 189 – 190 )
บนสมมติฐานของทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่นิยม ได้แสดงให้เห็นถึงความพยายามในการปรับตัว
เองบุคคลที่ต้องเข้ามามีบทบาทในการหารายได้มาจุนเจือครอบครัว เนื่องจากสภาพทางเศรษฐกิจและ
อิทธิพลของการกลายเป็นเมือง นอกจากนี้รูปแบบครอบครัวได้มีการการปรับตัวเพื่อความอยู่รอดใน
สภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลง ดังนั้นจะเห็นว่าครอบครัวซึ่งเป็นหน่วยย่อยได้มีการปรับตัวให้มีขนาดที่เล็ก
ลงเพื่อความคล่องตัว และสามารถอยู่รอดได้ในสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลง ซึ่งสะท้อนให้เห็นการปรับ
ตัวทางสถาบันครอบครัว ซึ่งเป็นหน่วยย่อยที่สำคัญในการทำหน้าที่เพื่อรักษาสมดุลยภาพ ทำให้สังคม
โดยส่วนรวมดำรงอยู่ได้ ( พัชรมณี สุดใจ 2543 : 22-23 )
โดยสรุปแล้วแสดงให้เห็นว่าสมาชิกแต่ละคนในครอบครัวเป็นส่วนหนึ่ง หรือระบบหนึ่งใน
สังคมนั่นเอง และสมาชิกทุกคนมีบทบาทหน้าที่ของตนเอง ดังเช่น ถ้าสามีภรรยาปฏิบัติหน้าที่ของตน
อย่างมีความรับผิดชอบในการแสดงบทบาทของตนอย่างสมบูรณ์และไม่บกพร่อง จะทำให้ครอบครัวมี
ความสุข เป็นครอบครัวที่มีคุณภาพ ส่งผลให้สังคม และประเทศมีความมั่นคง มีความสุข แต่ในทาง
ตรงกันข้ามถ้าสมาชิกคนใดคนหนึ่ง ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ของตนได้อย่างสมบูรณ์ย่อมทำให้เกิดความ
บกพร่องในครอบครัวได้ และส่งผลต่อประเทศชาติได้
26
4. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
4.1 เพศ
การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเพศกับการพึ่งตนเองนั้นมักพบว่าเพศชายมีลักษณะที่สามารถพึ่ง
ตนเองได้ดีกว่าเพศหญิง ทั้งนี้เพราะการอบรมเลี้ยงดูเด็กไทยมักเป็นแบบปกป้องคุ้มครอง คือ พ่อแม่จะ
คอยดูแลประคบประหงมลูกตลอดเวลา ซึ่งทำให้เด็กไม่สามารถพึ่งตนเองได้โดยเฉพาะเด็กผู้หญิงจะถูก
จำกัดถูกควบคุมดูแลและจำกัดอิสระมากกว่าผู้ชายทำให้เพศหญิงขาดความเชื่อมั่นในตนเองซึ่งนำไปสู่
การพึ่งตนเอง เพราะไม่กล้าคิดกล้าทำนอกจากค่านิยมดั้งเดิมเกี่ยวกับบทบาททางเพศที่เปิดโอกาสและ
สิทธิบางอย่างกับเพศชายมากกว่าเพศหญิง ทำให้เพศหญิงรู้สึกด้อยค่า ( สถิตย์ ภัศระ 2535 : 85 – 86 )
จากการศึกษาของโฉมสมร เหลืองโกศล (2531) ในเรื่องค่านิยมพื้นฐานเรื่องการพึ่งตนเองกับ
การอบรมเลี้ยงดูพบว่านักเรียนชายมีค่านิยมพื้นฐานเรื่องการพึ่งตนเองสูงกว่าเพศหญิงซึ่งสอดคล้องกับ
เอดเวิร์ด (Edward 1959) ในเรื่องบุคลิกภาพด้านความต้องการโดยใช้ EPPS ( The Edward Personal
Preference Schedule ) ของนักศึกษาชายและหญิงในวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยในสหรัฐจำนวน 1,509
คน เป็นชาย 760 คน เป็นหญิง 749 คนกับผู้ที่ไม่ใช่นักศึกษาจำนวน 8,963 คน ชาย 4,031 คน หญิง
4,932 คนพบว่านักศึกษาชายมีความต้องการในด้านการพึ่งตนเอง และการขอความช่วยเหลือน้อยกว่านัก
ศึกษาหญิง ( อัจฉรา เปรมเปรื่องเวส 2517 : 26 )
ส่วนคาแกน และมอส ( Kagan and Moss 1960 ) ศึกษาความมั่นคงของพฤติกรรม การพึ่งผู้อื่น
จากวัยเด็กจนถึงวัยผู้ใหญ  โดยใช้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ใหญ  54 คน เปน็ ชาย 27 คน และหญิง 27 คน
อายุระหว่าง 20 และ 19 และต้องเป็นบุคคลที่เคยได้รับการบันทึกข้อมูลจากการศึกษาเมื่อตอนอายุ 2 – 10
ปีด้วย ผลปรากฏว่า พฤติกรรมการพึ่งผู้อื่นยังคงมีอยู่อย่างมั่นคงในผู้หญิง แต่มีเล็กน้อยในผู้ชายนั่นคือ
มากกว่า 60 % ของค่าสหสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมพึ่งผู้อื่นในวัยเด็กและผู้ใหญ่ที่เป็นเพศหญิง ปรากฏ
ว่ามีนัยสำคัญทางสถิติในขณะที่เพศชายมีเพียง 9 % เท่านั้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเพศหญิงมีพฤติกรรมการ
พึ่งตนเองในทุกวัยน้อยกว่าเพศชายนั่นเอง (ประณต เล็กสวาสดิ์ 2517 : 28) อย่างไรก็ตามจากการศึกษา
ของ รักชนก คชไกร ( 2541 : 34 ) พบว่าเพศหญิงมีความจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการศึกษาสูงกว่าเพศชาย เช่น
เดียวกับในปัจจุบันสังคมไทยให้คุณค่าและความสัมพันธ์แก่เพศหญิงมากขึ้น ซึ่งค่านิยมดังกล่าวนี้อาจทำ
ให้เพศหญิงมีทัศนคติ การยอมรับตนเอง กล้าแสดงออก และเชื่อมั่นในตนเองมากขึ้น ซึ่งนำไปสู่การพึ่ง
ตนเองมากขึ้น และนั่นแสดงให้เห็นว่าเพศจะมีอิทธิพลต่อลักษณะการพึ่งตนเองของแต่ละบุคคลด้วยเช่น
กัน ( บังอร พุ่มสะอาด 2513 อ้างใน พีรพงศ์ ลีรวัฒนางกูร 2520 : 15 )
27
โดยสรุปแล้วเพศมีผลต่อบทบาทการพึ่งตนเองในแต่ละบุคคลเมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไปเพศหญิงก็ได้
เปลี่ยนแปลงบทบาทของตนเองจากเป็นผู้ตามกลายมาเป็นผู้ที่มีความสำคัญเท่าเทียมกับชายและในบาง
โอกาสสามารถกระทำสิ่งต่างๆได้ดีกว่าชาย โดยการมีความเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น ช่วยเหลือตนเอง
และครอบครัวมากกว่าสมัยก่อน โดยเฉพาะผู้หญิงที่อาศัยอยู่ในเมืองสามารถพัฒนาตนเองให้สังคมยอม
รับมากขึ้นทั้งในด้านบทบาทในครอบครัวและบทบาทในทางสังคมอีกด้วย
4.2 ระดับการศึกษาของบิดามารดา
การศึกษาเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญในฐานะที่ช่วยส่งเสริมบุคคลให้เกิดการเรียนรู้และมี
ความเข้าใจในสิ่งต่างๆมากยิ่งขึ้น ทำให้สามารถดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างเหมาะสมและมีคุณภาพ
พร้อมทั้งยังพัฒนาความรู้และทักษะด้านต่างๆ และมีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จด้านต่างๆมากกว่าผู้ที่
มีการศึกษาต่ำ ด้วยเหตุนี้เด็กที่มีบิดามารดาหรือผู้ปกครองที่มีระดับการศึกษาที่แตกต่างกันย่อมมีวิธีการ
เลี้ยงดู ความพร้อม และความคาดหวังในการอบรมให้บุตรของตนที่แตกต่างกันซึ่งจะทำให้เด็กมีพฤติ
กรรมในด้านต่างๆที่แตกต่างกันด้วยเช่นกัน
จากการศึกษาของอรชา วราทิพย์ ( 2526: 122 อ้างใน วิพัฒน์ รักษาเคน 2531 : 33 ) ได้
ศึกษาการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าของเด็กก่อนวัยเรียน ผลพบว่านักเรียนที่ผู้ปกครองมีการศึกษาสูงมีความ
สามารถในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าสูงกว่านักเรียนที่ผู้ปกครองมีการศึกษาต่ำ ซึ่งสอดคล้องกับการ
ศึกษาของอรชา วราทิพย์ ในปีเดียวกันเรื่องการตัดสินใจปัญหาของเด็กปฐมวัยพบว่า ระดับการศึกษา
ของผู้ปกครองที่แตกต่างกันทำให้เด็กมีการตัดสินใจแก้ปัญหาที่แตกต่างกัน ซึ่งพอสรุปได้ว่าเมื่อเด็กมี
การตัดสินใจแก้ปัญหาได้ในระดับหนึ่งจะทำให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้ในด้านต่างๆ โดยไม่ต้อง
พึ่งพาผู้อื่นตลอดเวลา และนำไปสู่การพึ่งตนเองในที่สุด แต่จากการศึกษาของโฉมสมร เหลืองโกศล (
2531 :138 ) พบว่านักเรียนที่มีบิดามารดาจบการศึกษาในระดับปานกลางคือมัธยมศึกษาจะทำให้เด็ก
พึ่งตนเองทางด้านการศึกษาสูงกว่านักเรียนที่มีบิดามารดาที่จบการศึกษาในระดับต่ำกว่าประถมศึกษา
หรือต่ำกว่า) และนักเรียนที่บิดามารดาจบการศึกษาในระดับอนุปริญญาขึ้นไป แสดงให้เห็นว่าระดับ
การศึกษาของบิดามารดานั้นมีความสัมพันธ์กับการพึ่งตนเองของบุตรนั่นเอง
เพราะฉะนั้นระดับการศึกษาของบิดามารดาที่แตกต่างกันมีความสัมพันธ์กับการพึ่งตนเองของ
บุตรและทำให้บุตรมีพฤติกรรมหรือบทบาทที่แตกต่างกันเพราะบิดามารดาแต่ละบุคคลย่อมมีความคิด
ประสบการณ์ และกระบวนการในการอบรมเลี้ยงดูบุตรที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งจะส่งผลต่อการเกิดพฤติกรรม
ที่ทำให้เด็กมีบทบาทในการพึ่งตนเองที่แตกต่างกัน
28
4.3 อาชีพของบิดามารดา
วราภรณ์ รักวิจัย กล่าวว่า อาชีพของบิดามารดามีแนวโน้มต่อการเจริญเติบโตของเด็กและเป็น
ตัวชี้นำสภาพการณ์เลี้ยงเด็ก ด้านสภาพแวดล้อมของเด็กจะเป็นหนทางที่ทำให้เด็กมีโอกาสเรียนรู้คุณ
ลักษณะต่างๆเช่น การช่วยเหลือตนเอง การปรับตนเองให้เข้ากับผู้อื่น ด้านฐานะครอบครัวมักพบว่า พ่อ
แม่ที่มีฐานะทางเศรษฐกิจดีมักมีโอกาสจัดหาทรัพยากร กิจกรรม และการอบรมเลี้ยงดูเด็กได้มากและดี
กว่าพ่อแม่ที่หาเช้ากินค่ำ นอกจากนั้น ความเข้มแข็งทางจิตใจของพ่อแม่ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการ
เลือกรูปแบบการเลี้ยงดูเด็กโดยพ่อแม่ ที่ใจอ่อนมากๆมักจะช่วยเหลือเด็กในทุกๆทางเป็นการปิดโอกาสที่
เด็กได้ฝึกฝนการช่วยเหลือตนเองและตัดสินใจจะทำสิ่งใดซึ่งนำไปสู่พฤติกรรมในการพึ่งตนเองได้นั่นเอง
( กรรณิการ์ วุฒิพงษ์วรโชค 2540 : 17 )
จากการศึกษาของพีรพงศ์ ลีรวัฒนางกูร (2520) เกี่ยวกับการเปรียบเทียบพฤติกรรมสนอง
ระหว่างบุคคลของนักเรียนที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบฝึกให้พึ่งตนเองกับยับยั้งการพึ่งตนเอง ชั้นมัธยม
ศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนรัฐบาลจังหวัดชลบุรี พบว่านักเรียนที่มีมารดามีอาชีพค้าขายส่วนมากได้รับการอ
บรมเลี้ยงดูแบบให้พึ่งตนเอง ( ร้อยละ 70.83 ) แต่นักเรียนที่มีมารดามีอาชีพรับจ้างจะอบรมลูกแบบให้พึ่ง
ตนเองน้อยที่สุดคือ ร้อยละ 52.63 ส่วนนักเรียนที่มีบิดารับราชการจะได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบยับยั้งการ
พึ่งตนเองมากกว่าฝึกให้พึ่งตนเอง ( พีรพงศ์ ลีรวัฒนางกูร 2520 : 45 ) และจากการศึกษาของโฉมสมร
เหลืองโกศล (2531) เรื่องค่านิยมพื้นฐานเรื่องการพึ่งตนเองกับการอบรมเลี้ยงดู พบว่านักเรียนที่มีมารดา
ไม่มีงานทำ ( เป็นแม่บ้าน / ไม่ได้ประกอบอาชีพ ) จะทำให้เด็กมีค่านิยมเรื่องการพึ่งตนเองโดยตนเองทาง
ด้านการศึกษาสูงกว่านักเรียนที่มีมารดามีงานทำ( โฉมสมร เหลืองโกศล 2531 : 136 )
นอกจากนั้น วราภรณ์ รักวิจัย (2535) กล่าวว่าอาชีพของบิดามารดาเป็นองค์ประกอบหลักที่
สำคัญต่อแนวโน้มการเจริญเติบโตของเด็กและบุคลิกภาพของเด็ก โดยเฉพาะอาชีพค้าขายและธุรกิจขนาด
เล็ก กิจกรรมที่เกี่ยวกับอาชีพมักจะมีอิทธิพลและเกี่ยวพันกับสภาพการดำรงชีวิตประจำวันของทุกคนใน
ครอบครัว ลูกจึงมีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมของพ่อแม่ เช่น ช่วยพ่อแม่ขายของ หยิบของ จัดระเบียบสินค้า
เป็นต้น เนื่องจากลูกมีโอกาสที่จะช่วยเหลือตนเองและพ่อแม่จึงมีแนวโน้มที่จะขยัน มีความสามารถและ
ทักษะมากกว่าครอบครัวที่มีอาชีพอื่นๆ ซึ่งฮาวิกเฮอร์สท (Havighurst) กล่าวว่าเด็กพวกนี้จะรู้จักรับผิด
ชอบ มีความมั่นใจในการใช้จ่ายต่อการเงินของตนเอง ตัดสินใจ และเชื่อมั่นในตนเอง สามารถช่วย
เหลือตนเองและครอบครัว รวมทั้งงานส่วนรวมด้วยความเต็มใจ และไม่ทำให้ตนเป็นภาระของสังคมอีก
ด้วย ( วราภรณ์ รักวิจัย 2535 : 31 )
ดังนั้นอาชีพของบิดามารดาก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีความสัมพันธ์กับบทบาทการพึ่งตนเองของ
บุตร เพราะอาชีพของบิดามารดาจะเป็นกิจกรรมที่บุตรต้องเข้ามาช่วยเหลือ หรือเกี่ยวข้องจนเป็นสิ่งหนึ่ง
29
ในชีวิตประจำวันโดยที่เด็กไม่รู้ตัว และกลายเป็นบุคลิกของเด็กไปจนโตดังนั้นถ้าบิดามารดามีอาชีพค้า
ขายบุตรก็จะมีแนวโน้มที่จะมีลักษณะการพึ่งตนเองทางด้านเศรษฐกิจสูงกว่าด้านอื่น
4.4 ฐานะทางเศรษฐกิจของบิดามารดา
จากการศึกษาของกฤตยา กฤษฎาวุฒิ (2513) พบว่าครอบครัวที่มีสภาพเศรษฐกิจและสังคมสูงมี
การศึกษาสูง (อุดมศึกษา) จะฝึกบุตรชายด้านสัมฤทธิ์ผลมากกว่าครอบครัวฐานะปานกลางและต่ำ ให้
อิสระแก่บุตรมากกว่าบิดามารดาที่จบการศึกษาระดับประถม ถ้าหากเด็กได้รับการฝึกให้รู้จักอดได้ รอได้
ก็จะกลายเป็นวัยรุ่นที่มีความรับผิดชอบ เชื่อมั่นในตนเอง และพึ่งตนเองได้ ( กฤตยา กฤษฎาวุฒิ 2513 :
156 ) ซึ่งจรรยา สุวรรณทัต (2530) กล่าวว่าวิถีการดำเนินชีวิตและวัฒนธรรมที่เป็นแบบเฉพาะของแต่
ละครอบครัวตามฐานะเศรษฐกิจและสังคมในทางสังคมวิทยาว่าแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
1. ครอบครัวที่ยากจน ในครอบครัวประเภทนี้พ่อแม่ต้องทำมาหากินจึงขาดเวลาใน
การเอาใจใส่ พ่อแม่ในครอบครัวแบบนี้จึงถือว่า “ลูกจะได้ดีหรือไม่อยู่ที่บุญกรรมของเด็ก” แต่ก็มีครอบ
ครัวที่ยากจนอีกไม่น้อยที่พยายามอบรมเลี้ยงดูเด็กเป็นอย่างดี โดยเชื่อว่าเด็กจะดีหรือชั่วอยู่ที่การปลูกฝัง
ของพ่อแม่ แต่ก็มีอุปสรรคนานาประการ เช่น อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่อำนวยต่อการพัฒนา ทำให้ถูก
ชักจูงให้ประพฤติไม่ถูกทาง เพราะขาดการควบคุมดูแลอย่างเพียงพอจากพ่อแม่ที่ต้องหาเช้ากินค่ำ
2. ครอบครัวชั้นกลาง ครอบครัวประเภทนี้มีฐานะทางสังคมเศรษฐกิจที่ดีกว่าครอบ
ครัวประเภทแรก และมีโอกาสหรือเวลาในการเอาใจใส่ต่อการดูแลปลูกฝังเด็กดีกว่า และมักจะเน้นใน
เรื่องความเป็นระเบียบโดยมีคติว่า “เด็กดีชั่วอยู่ที่การอบรมสั่งสอน” พ่อแม่มีการวางแผนการศึกษาให้
บุตร และพยายามให้บุตรเรียนในระดับสูง
3. ครอบครัวชั้นสูง ครอบครัวประเภทนี้จะไม่มีปัญหาด้านการเงินและมีโอกาสที่จะ
ให้เวลาและเอาใจใส่ต่อเด็กได้ดี ทั้งด้านความเป็นอยู่และการอบรมสั่งสอน แต่มักพบเสมอว่าเด็กบางคน
จากครอบครัวประเภทนี้เป็นปัญหาทางสังคมได้พอๆกับเด็กที่มาจากครอบครัวที่ยากจนด้วยอาจตามใจลูก
จนเหลิงและเสียเด็กก็มี ( จรรจา สุวรรณทัต 2530 : 831–832 )
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีส่วนทำให้เด็กมีบุคลิก
ภาพหรือมีพฤติกรรมที่จะมีแนวโน้มที่จะมีบทบาทการพึ่งตนเองทางด้านต่างเป็นเช่นไรด้วย
4.5 ขนาดครอบครัว
ครอบครัวไทยสมัยก่อนเป็นครอบครัวขยาย ที่ประกอบด้วยครอบครัวเดี่ยวหลายๆ ครอบครัว มี
ความผูกพันรักใคร่อย่างแน่นแฟ้น แต่ลักษณะครอบครัวไทยในปัจจุบันมีขนาดเล็กลงเป็นครอบครัวเดี่ยว
ที่มีสมาชิกน้อย อยู่ในลักษณะครอบครัวเดี่ยวส่วนใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งครอบครัวในเมือง ซึ่งเป็นไป
ตามความเจริญของระบบสังคม สมาชิกในครอบครัวมีอิสระในการดำเนินชีวิต และความสัมพันธ์ไม่
30
แน่นแฟ้น ( กรวิภา ลีรฤทธิเกียรติ 2542 : 19 ) จะเห็นได้จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ
พ.ศ.2543 พบว่าขนาดครัวเรือนโดยเฉลี่ยทั่วประเทศ คือ 3.6 คน แต่จะพบว่าเมื่อเปรียบเทียบขนาดครัว
เรือนทั่วประเทศแล้ว ขนาดครอบครัวของคนกรุงเทพฯ และ 3 จังหวัดโดยรอบ ( นนทบุรี ปทุมธานี
และสมุทรปราการ ) มีค่า 3.2 คน ซึ่งเป็นขนาดครัวเรือนที่เล็กที่สุด ( สำนักงานสถิติแห่งชาต ิ 2543 : 413
)
นอกจากนั้นการเป็นครอบครัวเดี่ยวของคนในเมือง เช่น คนกรุงเทพมหานครก็เพื่อความสะดวก
ในการดำรงชีวิต แต่ก็มีข้อเสียก็คือ ไม่มีญาติ พี่ น้อง หรือผู้ใหญ่คอยดูแลบุตรให้ บางครั้งการตัดสิน
ใจแก้ไขปัญหาบางอย่างไม่มั่นใจเพราะไม่มีใครให้คำปรึกษา และทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกันในแทบทุก
ด้าน จึงไม่ต้องพึ่งพาผู้อื่น ดังนั้นลักษณะขนาดครอบครัว และการดำเนินชีวิตจึงแตกต่างจากครอบครัว
ขยายในอดีตมาก ( เกสร ปาระมีแจ้ 2539 : 1 – 2 )
จากการศึกษาของแบชแมน และคณะ ( Bachman and others 1978 ) ในเรื่องลักษณะความ
สัมพันธ์ทางลบระหว่างขนาดครอบครัวกับความภาคภูมิใจในตนเอง พบว่าบุคคลที่อยู่ในครอบครัว
ขนาดใหญ่จะมีความภาคภูมิใจ มีความเชื่อมั่นในตนเองต่ำกว่าครอบครัวขนาดเล็ก ทั้งนี้เพราะบุคคลใน
ครอบครัวขนาดใหญ่มีพี่น้องหลายคนมักไม่ค่อยได้รับการดูแลเอาใจใส่จากครอบครัวอย่างเพียงพอ ซึ่ง
อาจทำให้มีผลต่อพัฒนาการในด้านต่างๆ ได้แก่ ความเชื่อมั่น การกล้าแสดงออก ซึ่งมีผลต่อการพึ่งตน
เองในที่สุด ( Bachman and others 1978 อ้างใน สาวิตร ี ทยานศิลป  2541 : 17 – 18 ) เด็กจำพวกนี้จะ
เป็นเด็กที่แสดงออกในทางก้าวร้าวหรือเก็บกดได้ แต่ในทางตรงกันข้ามเด็กที่อยู่ท่ามกลางครอบครัวที่
ใหญ่โตมีสมาชิกมากมายก็สามารถมีความเชื่อมั่นในตนเองสูง ซึ่งจะนำไปสู่พฤติกรรมในการกล้าแสดง
ออก กล้าตัดสินใจ และทำในสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเองได้โดยมิต้องพึ่งพาผู้อื่น ถ้าบุคคลนั้นได้แรง
สนับสนุนจากครอบครัว ก็จะทำให้เด็กรู้สึกมีคุณค่าเห็นคุณค่าของตนเอง ทำอะไรด้วยตนเอง ตัดสินใจ
กระทำสิ่งต่าง ๆ และช่วยเหลือตนเองได้มากกว่าบุคคลที่อยู่ในครอบครัวขนาดเล็กได้ด้วย ( เสาวภา
วิชิตาที 2543 : 34 – 35 )
ดังนั้นครอบครัวจึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสัมพันธ์ต่อบุตรและส่งผลให้บุตรมีพฤติกรรมในการ
พึ่งตนเองที่แตกต่างกัน ไปตามขนาดของครอบครัวที่เด็กอาศัยอยู่นั่นเอง
4.6 การอบรมเลี้ยงดู
จากการศึกษาของดวงเดือน พันธุมนาวิน ( 2521 ) ได้กล่าวถึงบทบาทของบิดามารดาในการ
ปลูกฝังลักษณะบุตรว่า บิดามารดาควรเลี้ยงดูบุตรให้พึ่งตนเองตั้งแต่อายุยังน้อย ถ้าบิดามารดาอยู่ใกล้ชิด
บุตรทำตัวเป็นเพื่อนที่ดีของบุตร ให้คำแนะนำมากกว่าการออกคำสั่ง เลี้ยงดูบุตรแบบประชาธิปไตย
แล้วจะทำให้บุตร (โดยเฉพาะลูกชาย ) มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์สูง และสามารถพึ่งตนเองได้ รวมทั้งเป็น
31
ต้นแบบที่ดีแก่บุตรในด้านความพยายามฝ่าฟันอุปสรรค์ให้ได้ผลดีขึ้น ( ดวงเดือน พันธุมนาวิน 2521 :
23 - 24 )จากการศึกษาของไพโรจน์ หวังใจชื่น ( 2525 ) พบว่า ถ้าครอบครัวใดบิดามารดาเปิดโอกาสให้
เด็กได้ตัดสินปัญหาร่วมกัน ก็จะช่วยให้เด็กได้มีโอกาสฝึกฝนความคิดแก้ปัญหาและรู้จักใช้เหตุผลอันจะ
นำไปสู่การพึ่งตนเองได้ (ไพโรจน์ หวังใจชื่น 2525 : 120 )
ดวงเดือน พันธุมนาวิน และคณะ ( 2528 )ได้ทำการวิจัยทางจิตวิทยานิเวศ เกี่ยวกับการอบรม
เลี้ยงดูเด็กของมารดาไทย โดยมีวัตถุประสงค์ประการหนึ่งเพื่อศึกษาแบบแผนการอบรมเลี้ยงดูเด็กใน
มารดาที่มีลักษณะทางชีวสังคม ภูมิหลังและจิตลักษณะบางประการต่างกัน กลุ่มตัวอย่างเน้นผู้ปก
ครองของนักเรียนประถมต้น และมัธยมต้นในกรุงเทพฯจำนวน 662 คน โดยผู้ปกครองครึ่งหนึ่งมา
จากโรงเรียนในถิ่นที่แออัดมากและอีกครึ่งหนึ่งมาจากโรงเรียนในถิ่นแออัดน้อย ผลการวิจัยพบว่า ผู้ที่มี
ทัศนคติที่ดีต่อบุตรมากจะใช้การอบรมเลี้ยงดูแบบลงโทษทางกายน้อย ใช้เหตุผลมากและควบคุมบุตร
มาก ผู้ที่มีสุขภาพจิตดีมากจะใช้เหตุผลกับบุตรมาก ฝึกบุตรให้พึ่งตนเองเร็วและรักสนับสนุนบุตรมาก
ผู้ที่มีความรู้ในการปฏิบัติต่อบุตรมากจะควบคุมบุตรน้อย ฝึกให้พึ่งตนเองเร็ว และใช้เหตุผลกับบุตรมาก
( ดวงเดือน พันธุมนาวิน และคณะ 2528 : 131 )
ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์ ( 2530 อ้างใน มาริสา รัฐบัตย์ 2532 : 19 ) กล่าวว่าครอบครัวที่รักลูก
มากจนเกินไปหรือปกป้องลูกมากเกินไปจะทำให้ถูกทำลายพัฒนาการด้านต่างๆ พัฒนาการด้านความคิด
อารมณ์ และสังคม ผลที่ตามมาคือทำให้เด็กขาดความเชื่อมั่นในตนเอง ไม่กล้าทำสิ่งใด ไม่รู้จักตนเอง
ไม่เข้าใจตนเอง ไม่เป็นตัวของตัวเอง ต้องพึ่งพาผู้อื่น เมื่อเผชิญกับปัญหาหรือสถานการณ์ที่ยุ่งยากมักจะ
หนีมากกว่าผจญ ขาดความกล้าที่จะเผชิญอุปสรรคหรืองานที่ยากลำบากข้างหน้า ขาดความเชื่อถือตนเอง
ตีปัญหาที่เกิดขึ้นไม่แตกเพราะไม่เคยมีโอกาสฝึกฝนใช้วิจารณญาณ ในการตัดสินใจด้วยตนเอง คิด
แก้ปัญหาไม่ค่อยได้
โฉมสมร เหลืองโกศล (2531 : 268) ได้ศึกษาค่านิยมพื้นฐานเรื่องการพึ่งตนเอง พบว่านักเรียน
ที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตยมีแนวโน้มที่จะมีค่านิยมที่จะพึ่งตนเองด้านเศรษฐกิจ และด้าน
การศึกษาสูงสุดโดยนักเรียนที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบเข้มงวดกวดขันเป็นอันดับรอง และนักเรียนที่ได้
รับการอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลยจะมีค่านิยมเรื่องการพึ่งตนเองด้านเศรษฐกิจต่ำสุด ส่วนในด้าน
การทำงานร่วมกับผู้อื่นพบว่านักเรียนที่ได้รับการเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตยจะมีพื้นฐานการพึ่งตนเองใน
การทำงานร่วมกับผู้อื่นสูงสุด โดยนักเรียนที่ได้รับการเลี้ยงดูแบบเข้มงวดกวดขันจะมีพื้นฐานการพึ่ง
ตนเองในด้านการทำงานร่วมกับผู้อื่นต่ำสุด
32
โรเซน และดีแอนเดรด ( Rosen and D ,Andrade 1959 อ้างใน บุหงา วชิรศักดิ์มงคล 2515 : 22
) ได้ศึกษาการปฏิสัมพันธ์ของบิดามารดากับเด็กที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์สูงและต่ำ กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็ก
วัย 9 – 11 ขวบ มีเชื้อชาติเดียวกัน ฐานะทางสังคมระดับเดียวกัน และระดับสติปัญญาใกล้เคียงกัน ผู้
ทดลองต้องการทราบว่าขณะที่เด็กได้รับคำสั่งให้ทำงานนั้น บิดามารดามีปฏิกิริยาต่อเด็กอย่างไรคาดหวัง
ต่อผลสำเร็จอย่างไรสูง หรือต่ำกว่า มาตรฐาน และหวังที่จะให้เด็กพึ่งตนเองได้เพียงใด ผลการศึกษาพบ
ว่าลักษณะของบิดาแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ ประเภทที่หนึ่ง แสดงอำนาจเหนือเด็กทำให้บุตรมีการพึ่ง
ตนเองต่ำ บิดาจะเป็นผู้ตัดสินใจให้ และมีการบังคับเด็กทำงานให้ได้ตามมาตรฐานสูง บิดาประเภทที่
สอง จะมีความคาดหวังในมาตรฐานการทำงานของบุตรต่ำทำให้เด็กมีการพึ่งตนเองต่ำ ส่วนบิดามารดา
ประเภทที่สามนั้นไม่เคร่งเครียดกับเด็กจนเกินไป และไม่ปล่อยปละละเลยเด็กมากเกินไป เด็กพวกนี้
สามารถพึ่งตนเองได้สูงและมีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์สูงอีกด้วย ซึ่งสรุปได้ว่าบิดามารดาที่เลี้ยงดูเด็กแบบ
ประชาธิปไตยจะเป็นผู้ผลักดันให้เด็กมีการพึ่งตนเองและทำงานให้เสร็จ
ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของแมคเคลแลนด์ ที่ว่าการที่มารดาฝึกให้เด็กพึ่งตนเองโดยไม่มีการ
บังคับหรือเข้มงวดจนเกินไปช่วยให้เด็กได้วางมาตรฐานการกระทำของตนให้เหมาะสมกับความสามารถ
ของเขาและการให้กำลังใจให้ความอบอุ่นตลอดจนการแสดงความชื่นชม เมื่อบุตรทำงานเสร็จด้วยตนเอง
จะทำให้เด็กเป็นผู้ที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และสามารถพึ่งตนเองได้สูงแต่ถ้าบิดามารดาเคี่ยวเข็ญบังคับให้
บุตรอยู่ในโอวาท หรือคาดคั้นผลสำเร็จจากเด็กก่อนที่จะสามารถทำสิ่งนั้นได้ หรือตามใจบุตรมากเกินไป
จะทำให้บุตรเป็นคนที่พึ่งพาผู้อื่นตลอดเวลา ( อัจฉรา เปรมเปรื่องเวส 2517 : 24 )
มุสเสน และ คองเกอร์( Mussen and Conger 1969 : 375 ) ทำการศึกษาพบว่าบิดามารดาที่ปล่อย
ให้เด็กเป็นอิสระในการช่วยเหลือตนเอง และสนองความต้องการในการอยากรู้อยากเห็นจะทำให้เด็กมี
ความรู้สึกเป็นตัวของตัวเองพึ่งตนเอง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ กล้าคิด กล้าทำ กล้าตัดสินใจ กล้า
แสดงออก สามารถเผชิญกับสถานการณ์ใหม่ โดยไม่ต้องวิตกกังวล มีความเชื่อมั่นในตนเอง
และผลการอบรมเลี้ยงดูกับบรรยากาศในครอบครัวพบว่าเด็กที่มาจากบ้านและภาพแวดแวดล้อม
แบบประชาธิปไตยจะเป็นคนคล่องแคล่ว กล้าแสดงออก มีความก้าวร้าว กระตือรือร้น มีความคิดสร้าง
สรรค์ และในทำนองเดียวกันจากการศึกษาของ เอเยอร์ และ เบอร์นรูเทอร์ ( Ayer and Burnruter 1937
) ได้ศึกษาบุคลิกภาพของเด็กอันเนื่องมาจากวินัยที่พ่อ แม่ อบรมต่างๆ กัน พบว่า เด็กที่ได้รับการเฆี่ยนตี มี
ลักษณะบุคลิกภาพห่างจากความเป็นจริง ต้องการพึ่งผู้ใหญ่ในด้านความรัก และ เอาใจใส่อย่างผิดปกติ
และปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ได้ยาก ส่วนเด็กที่พ่อแม่ฝึกให้พึ่งตนเอง โดยให้รู้จักใช้ความคิด
และตัดสินใจด้วยตัวเองจะสามารถปรับตัวและกล้าหาญเผชิญความจริงได้ดีกว่า และพึ่งผู้อื่นน้อยกว่า (
พีรพงศ์ ลีรวัฒนางกูร 2520 :13 )
33
วินเดอร์ และรอ ( Winder and Rau 1962 ) พบว่าพ่อแม่ที่เข้มงวดกวดขันกับลูกจะสัมพันธ์กับ
ลักษณะการพึ่งผู้อื่นและความก้าวร้าวในเด็กผู้ชายและพบว่าแม่ที่ชอบใช้วิธีการเข้มงวดเสมอๆจะสัมพันธ์
กับการพึ่งผู้อื่นในเด็กผู้หญิงจากวัยเด็กถึงวัยผู้ใหญ่ แต่สำหรับเด็กชายจะตรงกันข้ามกล่าวคือแม่ที่ชอบ
เขม้ งวดกวดขนั ในชว่ งอายุ 3 – 6 ป  จะมีสัมพันธ์กับการพึ่งผู้อื่นในวัยผู้ใหญ  ( Winder and Rau 1962
อ้างใน ประณต เล็กสวาสดิ์ 2517 : 25 )
จากการทบทวนวรรณกรรมที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่า เพศของนักเรียน ระดับการศึกษาของบิดา
มารดา อาชีพของบิดามารดา ฐานะทางเศรษฐกิจของบิดามารดา ขนาดครอบครัว และการอบรมเลี้ยงดูมี
อิทธิพลต่อการพึ่งตนเองของเด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นวัยแห่งการเรียนรู้การ
ใช้ความสามารถในการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางด้านต่างๆ ให้สำเร็จได้ด้วยดีถ้าได้รับการเปลี่ยนแปลงที่
ดีในช่วงวัยนี้ และการที่จะคาดหวังให้เด็กสามารถแสดงบทบาทของตนได้ถูกต้องตามที่ครอบครัว และ
สังคมคาดหวังไว้นั้น เราต้องกลับมาให้ความสำคัญกับครอบครัวในด้านการอบรมเลี้ยงดูเพราะมีความ
สำคัญในการที่จะทำให้เด็กเกิดอุปนิสัยและลักษณะประจำชาติที่ดี ปัจจุบันการหันมาให้ความสนใจและ
ให้ความสำคัญกับ " การพัฒนาคุณภาพของมนุษย์ " ในสังคมให้สามารถพึ่งตนเองได  กำลังได้รับความ
สนใจเป็นอย่างมาก เพื่อที่จะทำให้ประชากรในประเทศได้เรียนรู้ที่จะใช้พลังความสามารถของตนอย่างมี
ประสิทธิภาพและมีประโยชน์ต่อส่วนรวม
แนวความคิดการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ( ฉบับที่ 8 ) ที่ถือว่าการมีส่วนร่วมของ
ประชากร/ชุมชน และการพึ่งตนเองเป็นหลักการและวิธีการการพัฒนาที่สำคัญยิ่งในการมุ่งพัฒนาคุณภาพ
ทรัพยากรมนุษย์ โดยมุ่งประเด็นไปที่บุคคลในครอบครัวเป็นสำคัญ เพราะครอบครัวเป็นจุดเริ่มแรกของ
การปลูกฝังความคิด ค่านิยม และบุคลิกภาพที่ดีในการมีพฤติกรรมกระตือรือร้นที่จะพึ่งตนเอง และ
บุคคลที่เราต้องปลูกฝังลักษณะการช่วยเหลือตนเอง และพึ่งตนเองได้เป็นบุคคลแรกคงจะไม่สามารถ
มองข้ามเด็กได้ เพราะถ้าเราคาดหวังให้สังคมไทยมีอนาคตที่เข้มแข็งเด็กในประเทศเราต้องเป็นบุคคลที่
เข้มแข็งสามารถช่วยเหลือตนเอง และสามารถพึ่งตนเองได้ก่อนเป็นอันดับแรก โดยเฉพาะเด็กที่อยู่ใน
ช่วงระยะเวลาที่กำลังเรียนรู้ที่จะเป็นผู้ใหญ่ และจดจำพร้อมที่จะเรียนรู้บทบาทหน้าที่ และเลียนแบบ
อย่างที่ดีของตนเพื่อที่จะกลายเป็นอนาคตของชาติที่ดีได้ในอนาคต
บทที่ 3
วิธีดำเนินการวิจัย
ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. การกำหนดประชากรและการสุ่มตัวอย่าง
2. การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
3. การรวบรวมข้อมูล
4. การวิเคราะห์ข้อมูล
การกำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชายหญิงที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2544 ของโรงเรียนสหศึกษาทั้งหมด จำนวน 12 โรงเรียน ดังนี้
1. โรงเรียนวัดนิมมานรดี 7. โรงเรียนวัดประดู่ (พ่วง อุทิศ )
2. โรงเรียนวัดจันทร์ประดิษฐาราม 8. โรงเรียนบางจาก
3. โรงเรียนวัดไชยฉิมพลี 9. โรงเรียนวัดวิจิตรการนิมิตร
4. โรงเรียนวัดทองศาลางาม 10. โรงเรียนวัดโตนด
5. โรงเรียนวัดโคนอน 11. โรงเรียนวัดกำแพง
6. โรงเรียนวัดมะพร้าวเตี้ย 12. โรงเรียนวัดตะล่อม
35
กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่นักเรียนชายหญิงที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 สังกัดกรุงเทพมหานคร เขตภาษีเจริญ โดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน( Multi
Random Sampling ) ดังนี้
1. สุ่มเลือกโรงเรียนประถมสังกัดกรุงเทพมหานครอย่างง่าย 12 โรงเรียน ให้เหลือ 6 โรงเรียน
โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ( Simple Random Sampling ) โดยเขียนชื่อโรงเรียนจับฉลากขึ้นมา 6
โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนวัดจันทร์ประดิษฐาราม โรงเรียนวัดประดู่ โรงเรียนวัดนิมมานรดี โรงเรียนวัด
โคนอน โรงเรียนวัดอ่างแก้ว โรงเรียนวัดกำแพง ซึ่งแต่ละโรงเรียนมีจำนวนนักเรียนชายหญิง ดังนี้
ตารางที่ 1 กลุ่มตัวอย่างโรงเรียน และจำนวนนักเรียนชั้นประถมปีที่ 6 เขตภาษีเจริญ
จำแนกตามเพศ
จำนวนนักเรียน
ชื่อโรงเรียน
ชาย หญิง
รวม
1.โรงเรียนวัดจันทร์ประดิษฐาราม 194 171 365
2.โรงเรียนวัดประดู่ (พ่วง อุทิศ) 17 14 31
3.โรงเรียนวัดนิมมานรดี 187 189 376
4.โรงเรียนวัดโคนอน 29 21 50
5.โรงเรียนวัดอ่างแก้ว 55 63 118
6. โรงเรียนวัดกำแพง 21 21 42
รวม 503 479 982
2. คำนวณขนาดของกลุ่มตัวอย่างนักเรียนใน 6 โรงเรียน จาก 982 คน ได้กลุ่มตัวอย่าง 284 คน
โดยใช้วิธีคำนวณจากสูตร Taro Yamane ( Taro Yamane 1970 : 886 ) ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 สูตรที่ใช้
ดังนี้
N
n =
1+Ne2
ระดับความมีนัยสำคัญที่ 0.05
36
เมื่อ n = กลุ่มตัวอย่าง
N = จำนวนประชากร
e = ความคลาดเคลื่อนนัยสำคัญ 0.05
n = 982
1+(982) (0.05)2
n = 982
3.46
n = 284 คน
3. คำนวณสัดส่วนนักเรียนชั้นประถมปีที่ 6 สังกัดกรุงเทพมหานคร เขตภาษีเจริญ จากกลุ่ม
ตัวอย่าง 6 โรงเรียนเพื่อสุ่มตัวอย่างนักเรียนจำนวน 284 คน คำนวณโดยการนำผลรวมของจำนวนนัก
เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 คูณด้วยจำนวนกลุ่มตัวอย่าง และหารด้วยจำนวนนักเรียนทั้ง 6 โรงเรียน เช่น
โรงเรียนวัดจันทร์ประดิษฐาราม มีจำนวนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6ทั้งหมด 365 คน สัดส่วน
จำนวนตัวอย่างของนักเรียนชายหญิง = 365  284 = 105.56 ∨ 106 คน
982
ตารางที่ 2 จำนวนนักเรียนและจำนวนนักเรียนกลุ่มตัวอย่างแต่ละโรงเรียน
ชื่อโรงเรียน จำนวนนักเรียน กลุ่มตัวอย่าง
1. โรงเรียนวัดจันทร์ประดิษฐาราม 365 106
2 โรงเรียนวัดประดู่ ( พ่วง อุทิศ ) 31 9
3. โรงเรียนวัดนิมมานรดี 376 109
4. โรงเรียนวัดโคนอน 50 14
5. โรงเรียนวัดอ่างแก้ว 118 34
6. โรงเรียนวัดกำแพง 42 12
รวม 982 284
37
4. คำนวณสัดส่วนนักเรียนชั้นประถมปีที่ 6 สังกัดกรุงเทพมหานคร เขตภาษีเจริญ จากลุ่มตัวอย่าง
6 โรงเรียนเพื่อสุ่มตัวอย่างจากจำนวน 284 คน คำนวณโดยนำจำนวนของกลุ่มตัวอย่างแต่ละโรงเรียน คูณ
ด้วยจำนวนนักเรียนโรงเรียนวัดจันทร์ประดิษฐาราม มีจำนวนกลุ่มตัวอย่าง 106 คน นักเรียนชั้นประถม
ศึกษาปีที่ 6 เพศหญิง มีจำนวน 171 คน เพศชายมีจำนวน 184 คน ของนักเรียนชายและหญิงของแต่ละ
โรงเรียน หารด้วยจำนวนนักเรียนทั้งหมดของโรงเรียน เช่น
สัดส่วนเพศหญิงของโรงเรียนวัดจันทร์ประดิษฐาราม = 106  171
365
= 49.66
= 50 คน
สัดส่วนเพศชายของโรงเรียนวัดจันทร์ประดิษฐาราม = 106  194
365
= 56 คน
ตารางที่ 3 จำนวนนักเรียน และจำนวนนักเรียนกลุ่มตัวอย่างแต่ละโรงเรียน จำแนกตามเพศ
ชอื่ โรงเรยี น จาํ นวนนกั เรยี น
ชาย หญิง
รวม
1.โรงเรียนวัดจันทร์ประดิษฐาราม 56 50 106
2.โรงเรียนวัดประดู่ (พ่วง อุทิศ) 5 4 9
3.โรงเรียนวัดนิมมานรดี 54 55 109
4.โรงเรียนวัดโคนอน 8 6 14
5.โรงเรียนวัดอ่างแก้ว 16 18 34
6. โรงเรียนวัดกำแพง 6 6 12
รวม 145 139 284
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
ในการศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามซึ่งประกอบด้วย 3 ตอน ( ภาคผนวก ) ได้แก่
ตอนที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป
ตอนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับรูปแบบการอบรมเลี้ยงดู
ตอนที่ 3 แบบสอบถามเกี่ยวกับการพึ่งตนเอง
38
รายละเอียดของแบบสอบถามแต่ละตอน มีดังนี้
1. แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง เพื่อต้องการจะ
ทราบข้อมูล และรายละเอียดส่วนต่างๆ ของกลุ่มตัวอย่าง แบบสอบถามดังกล่าวนี้จะให้รายละเอียด
เกี่ยวกับเพศ อายุของนักเรียน ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ ฐานะทางเศรษฐกิจของบิดามารดา ขนาด
และสภาพของครอบครัว
2. แบบสอบถามเกี่ยวกับรูปแบบการอบรมเลี้ยงดู เป็นแบบสอบถามที่ใช้สอบถามนัก
เรียนเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูของผู้ปกครอง ซึ่งผู้วิจัยได้สร้างขึ้นโดยการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวช
ข้องกับการอบรมเลี้ยงดู แบบวัดนี้ใช้วัดการรับรู้ของเด็กนักเรียนในเรื่องที่บิดามารดาหรือผู้ปกครองปฏิบัติ
ต่อตนในด้านการอบรมเลี้ยงดูมี 3 แบบ คือ แบบประชาธิปไตย แบบเข้มงวด และแบบปล่อยปละละเลย
ข้อความในแต่ละแบบมี 10 ข้อ ลักษณะการวัดมี 5 ระดับ คือ จริงมากที่สุด (5) ส่วนมากจริง (4) จริงครึ่ง
เดียว (3) จริงบ้าง (2) ไม่จริง (1)
ข้อคำถามเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูแต่ละแบบแยกออกได้ดังนี้
1. การอบรมเลี้ยงดูแบบเข้มงวดกวดขัน อยู่ในคำถามข้อที่ 1 – 10
2. การอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย อยู่ในคำถามข้อที่ 11 – 20
3. การอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลย อยู่ในคำถามข้อที่ 21 – 30
เกณฑ์การตรวจให้คะแนน
ถ้ากาเครื่องหมาย ในช่อง ไม่จริงเลย จริงบ้าง จริงครึ่งเดียว ส่วนมากจริง หรือจริงมากที่
สุดให้คะแนน
1 หมายถึง ไม่จริงเลย
2 หมายถึง จริงบ้าง
3 หมายถึง จริงครึ่งเดียว
4 หมายถึง ส่วนมากจริง
5 หมายถึง จริงมากที่สุด
3. แบบสอบถามวัดการพึ่งตนเอง เป็นแบบสอบถามเรื่องการพึ่งตนเองของนักเรียนด้าน
การศึกษา เศรษฐกิจ และการพึ่งตนเองโดยส่วนรวม ผู้วิจัยได้สร้างขึ้นโดยศึกษาจากเอกสารและงานวิจัยที่
เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นแบบวัดการพึ่งตนเองของเด็กนักเรียนในด้านต่าง ๆ ในแต่ละด้านมี 10 ข้อ ลักษณะการ
วัดมี 5 ระดับ จริงมากที่สุด ส่วนมากจริง จริงครึ่งเดียว จริงบ้าง ไม่จริงเลย
ข้อคำถามในแต่ละด้านแบ่งออกเป็นดังนี้
1. ด้านการศึกษา อยู่ในคำถามที่ 31 – 40
2. ด้านเศรษฐกิจ อยู่ในคำถามที่ 41 – 50
3. ด้านส่วนรวมและสังคม อยู่ในคำถามที่ 51 – 60
39
เกณฑ์การตรวจให้คะแนน
ถ้ากาเครื่องหมาย ในช่อง ไม่จริงเลย จริงบ้าง จริงครึ่งเดียว ส่วนมากจริง หรือจริงมากที่
สุดให้คะแนน 1 , 2 , 3, 4 หรือ 5 ตามลำดับในคำถามเชิงบวก จำนวน 20 ข้อ
ถ้ากาเครื่องหมาย ในช่อง จริงมากที่สุด ส่วนมากจริง จริงครึ่งเดียว จริงบ้าง หรือไม่จริงเลย
ให้คะแนน 5 , 4 , 3 , 2 และ 1 ตามลำดับในข้อคำถามเชิงลบ จำนวน 10 ข้อ
การประเมินบทบาทการพึ่งตนเองของนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง ประเมินโดยการให้คะแนนจากแบบ
สอบถามพฤติกรรมของนักเรียนชั้นประถมปีที่ 6 ที่ได้รับการปฏิบัติเป็นประจำ แล้วจัดระดับ
การพึ่งตนเองได้ดังนี้
1.00 – 1.80 หมายถึง พึ่งตนเองได้น้อยที่สุด
1.81 – 2.60 หมายถึง พึ่งตนเองได้น้อย
2.61 - 3.40 หมายถึง พึ่งตนเองได้ปานกลาง
3.41 – 4.20 หมายถึง พึ่งตนเองได้มาก
4.21 - 5.00 หมายถึง พึ่งตนเองได้มากที่สุด
เกณฑ์การวัดระดับพฤติกรรม ได้จากการนำคะแนนรวมของข้อ หารด้วยจำนวนข้อ การกำหนด
ช่วงคะแนน ได้จากการใช้คะแนนมากที่สุด คือ 5 ลบด้วยคะแนนน้อยสุด คือ 1 แล้วหารด้วย 5
เท่ากับ 5 – 1 หาร 5 = 0.80 แล้วนำมากำหนดช่วง ( วิเชียร เกตุสิงห์ 2538 : 10)
การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ
การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ โดยการกำหนดหาความเที่ยงตรงตามเนื้อหา ( Validity ) และความ
เชื่อมั่นทางเครื่องมือตามวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้
1. การหาความเที่ยงตรงของเครื่องมือ ( Validity )
ผู้วิจัยได้สร้างแบบสอบถามขึ้นเองโดยการศึกษาจากเอกสารและวารสารที่เกี่ยวข้อง จำนวน 60 ข้อ
โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบความเที่ยงตรงตามเนื้อหา และความเหมาะสมทางภาษาจำนวน 3 ท่าน
ประกอบด้วยอาจารย์ภาควิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จำนวน 2 ท่าน และอาจารย์ภาควิชาครุศาสตร์
สาขาจิตวิทยา จำนวน 1 ท่าน นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ปรับปรุงข้อคำถามให้ตรงตามจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
และนำไปใช้
40
2. การตรวจสอบความเชื่อมั่นของเครื่องมือ ( Reliability )
นำแบบสอบถามไปทดลองใช้ ( Try Out ) กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึง
กับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 60 คน เป็นชายจำนวน 30 คน และเป็นหญิงจำนวน 30 คน แล้วคำณวนหาค่า
สัมประสิทธิ์แอลฟ่า ( Coefficient Alpha ) ของคอนบาค (Conbach ) ( เพ็ญแข แสงแก้ว 2541: 116) ดังนี้
ϒ = N [ s 2 ]
N - 1 S 2
เมื่อ ϒ = ค่าสัมประสิทธิ์ของความเชื่อถือได้ของเครื่องมือที่ใช้ในการวัด
s2 = ผลรวมของความแปรปรวนของคะแนนที่ได้แต่ละข้อ
S2 = ค่าความแปรปรวนของคะแนนจากข้อคำถามทุกข้อ
N = จำนวนข้อคำถามหรือจำนวนรายการทั้งหมดที่ใช้วัด
ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.79
การเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้ดำเนินการดังต่อไปนี้
1. ผู้วิจัยขอหนังสือจากบัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาเพื่อขอความร่วมมือ
ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเด็กนักเรียนในสถานศึกษาที่เป็นกลุ่มตัวอย่างของการวิจัย
2. การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยนำแบบสอบถามแจกให้แก่นักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่ผ่านการสุ่มซึ่ง
ชี้แจงครูที่ปรึกษาอย่างละเอียดและชัดเจนเพื่อกลุ่มตัวอย่างจะได้เข้าใจตรงกันและขอความร่วมมือคณะครูที่
ปรึกษาในการเก็บแบบสอบถามคืน
3. ตรวจสอบความสมบูรณ์ ครบถ้วนของข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลในขั้นต่อไป
การรวบรวมและการวิเคราะห์ข้อมูล
ผู้วิจัย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/PC+ (Statistical
Package for the Social Science) ในการประมวลผล โดยการคำนวณค่าทางสถิติดังนี้ คือ
1. ข้อมูลของประชากรของกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งได้แก่ เพศของนักเรียน ระดับการศึกษา อาชีพและ
รายได้ของบิดามารดา โดยนำมาแจกแจงความถี่และคำนวณโดยใช้ค่าร้อยละ
2. เปรียบเทียบความแตกต่างของขนาดครอบครัว เพศของนักเรียน โดยใช้สถิติ t-test แบบ 2
กลุ่มอิสระ( Independent Samples )ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
3. ศึกษาความสัมพันธ์ของอาชีพ ระดับการศึกษา การอบรมเลี้ยงดู และฐานะทางเศรษฐกิจของ
บิดามารดากับการพึ่งตนเอง โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียรสัน (Pearson Correlation )
บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูล
การวิจัยในครั้งนี้ เป็นการศึกษาถึงบทบาทการพึ่งตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ใน
ครอบครัวสมัยใหม่ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับนัก
เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เป็นกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 284 คน จำแนกออกเป็นเพศชาย 145 คน เป็นเพศหญิง
139 คน ผู้วิจัยได้นำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์หาค่าทางสถิติด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS /PC + และ
นำเสนอผลการวิเคราะห์ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
ตอนที่ 1 วิเคราะห์ข้อมูลปัจจัยประชากรนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดกรุงเทพมหานคร
เขตภาษีเจริญ ได้แก่ เพศของนักเรียน ขนาดครอบครัว รายได้ ฐานะทางเศรษฐกิจ อาชีพ ระดับการ
ศึกษาของบิดามารดา โดยแจกแจงความถี่และร้อยละ และนำเสนอเป็นตารางประกอบความเรียง
ตอนที่ 2 วิเคราะห์รูปแบการอบรมเลี้ยงดูของผู้ปกครองนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง พฤติกรรมการพึ่งตน
เองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เขตภาษีเจริญ และระดับการพึ่งตนเองตามเกณฑ์ที่กำหนด
ตอนที่ 3 วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการศึกษา อาชีพ ฐานะทางเศรษฐกิจของบิดามารดา และ
รูปแบบการอบรมเลี้ยงดูกับการพึ่งตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร
โดยหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ( Pearson Correlation )
ตอนที่ 4 วิเคราะห์เปรียบเทียบเพศของนักเรียนและขนาดครอบครัวต่อบทบาทการพึ่งตนเองใน
ด้านต่างๆของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร โดยการทดสอบความ
แตกต่างของคะแนนเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง ด้วยการทดสอบค่าที ( t – test )
42
ผลการศึกษา
ตอนที่ 1 การวิเคราะห์ข้อมูลปัจจัยประชากรของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เขตภาษีเจริญ
สังกัดกรุงเทพมหานคร เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ตามลำดับตัวแปรที่ต้องการศึกษา โดยแจกแจง
ความถี่และร้อยละ ดังตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 4 จำนวน และร้อยละของกลุ่มตัวอย่าง จำแนกตามเพศของนักเรียน ขนาดครอบครัว รายได้
ฐานะทางเศรษฐกิจ อาชีพและการศึกษาของบิดามารดา
ปัจจัยประชากรกลุ่มตัวอย่าง จำนวน ( 284 ) ร้อยละ ( % )
1. สถานศึกษา
- โรงเรียนวัดจันทร์ประดิษฐาราม
106
37.32
- โรงเรียนวัดประดู่ ( พ่วง อุทิศ ) 9 03.17
- โรงเรียนวัดนิมมานรดี 109 38.38
- โรงเรียนวัดโคนอน 14 04.83
- โรงเรียนวัดอ่างแก้ว 34 11.97
- โรงเรียนวัดกำแพง 12 04.33
รวม 284 100.0
2 เพศของนักเรียน
- ชาย
145
51.1
- หญิง 139 48.9
รวม 284 100.0
3. ขนาดครอบครัว
- ครอบครัวเดี่ยว
143
50.4
- ครอบครัวขยาย 141 49.6
รวม 284 100.0
4. รายได้ของบิดามารดารวมกันใน 1 เดือน
- น้อยกว่า 10,000 บาท
132
46.5
- 10,001 – 20,000 บาท 109 38.4
- มากกว่า 20,000 บาท 43 15.1
รวม 284 100.0
43
ตารางที่ 4 ( ต่อ )
5. ฐานะทางเศรษฐกิจ
- พอใช้และมีเงินเก็บ
192
67.6
- พอใช้แต่ไม่มีเงินเก็บ 66 23.2
- ไม่พอใช้บางครั้งต้องกู้ยืม 26 09.2
รวม 284 100.0
6. อาชีพของบิดา
- รับราชการ , พนักงานรัฐวิสาหกิจ , ลูกจ้างบริษัทเอกชน
93
32.7
- ประอบธุรกิจส่วนตัว เช่น ค้าขาย ฯลฯ 101 35.6
- รับจ้างทั่วไป , พ่อบ้าน , แม่บ้าน ,ไม่ได้ประกอบอาชีพ 90 31.7
รวม 284 100.0
7. อาชีพของมารดา
- รับราชการ , พนักงานรัฐวิสาหกิจ , ลูกจ้างบริษัทเอกชน
55
19.4
- ประอบธุรกิจส่วนตัว เช่น ค้าขาย ฯลฯ 115 40.5
- รับจ้างทั่วไป , พ่อบ้าน , แม่บ้าน ,ไม่ได้ประกอบอาชีพ 114 40.1
รวม 284 100.0
8. การศึกษาของบิดา
- ต่ำกว่าชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 / ประถมศึกษาปีที่ 6
112
39.4
- มัธยมศึกษาปีที่ 3 / มัธยมศึกษาปีที่ 6 / เทียบเท่า 103 36.3
อนุปริญญา / สูงกว่าปริญญาตรี 69 24.3
รวม 284 100.0
9. การศึกษาของมารดา
- ต่ำกว่าชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 / ประถมศึกษาปีที่ 6
136
47.9
- มัธยมศึกษาปีที่ 3 / มัธยมศึกษาปีที่ 6 / เทียบเท่า 93 32.7
อนุปริญญา / สูงกว่าปริญญาตรี 55 19.4
รวม 284 100.0
44
ตารางที่ 4 แสดงให้เห็นว่าเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดกรุงเทพมหานคร
เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ในโรงเรียนวัดนิมมานรดี และโรงเรียนวัดจันทร์ประดิษฐาราม มีจำนวน
ใกล้เคียงกันคือ 109 และ 106 คิดเป็นร้อยละ 38.38 และ 37.32 ตามลำดับซึ่งรวมกันแล้วมากกว่าครึ่ง
หนึ่งของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด
นักเรียนชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 6ที่เป็นกลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง โดยเป็นนักเรียน
ชายจำนวน 145 คน นักเรียนหญิงจำนวน 139 คน คิดเป็นร้อยละ 51.1 และ 49.9 ตามลำดับ
ขนาดครอบครัวที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง มีจำนวนใกล้เคียงกันกล่าวคือ ครอบครัวเดี่ยว มีจำนวน 143
ครอบครัว และครอบครัวขยาย จำนวน 141 ครอบครัว คิดเป็นร้อยละ 50.4 และ 49.6
รายได้รวมกันต่อเดือนบิดามารดาของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ มีรายได้ต่ำรวมกันแล้วน้อยกว่า
10,000 บาทต่อเดือน จำนวน 132 ครอบครัว คิดเป็นร้อยละ 46.5 รองลงมาคือรายได้ปานกลางอยู่
ระหว่าง 10,000 - 20,000 บาทต่อเดือน จำนวน 109 ครอบครัว คิดเป็นร้อยละ 38.4 และรายได้สูง
20,000 บาทต่อเดือน จำนวน 43 ครอบครัว คิดเป็นรอยละ 15.1 ตามลำดับ
ฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวนักเรียนกลุ่มตัวอย่างมีฐานะทางเศรษฐกิจดีคือพอใช้ และ
มีเงินเก็บ จำนวน 192 ครอบครัว คิดเป็นร้อยละ 67.6 และครอบครัวที่มีฐานะทางเศรษฐกิจปานกลาง มี
จำนวน 66 ครอบครัว คิดเป็นร้อยละ 23.2 ครอบครัว และครอบครัวที่มีฐานะทางเศรษฐกิจไม่ดีมีจำนวน
26 ครอบครัว คิดเป็นร้อยละ 9.2 ตามลำดับ
อาชีพของบิดามารดาของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอาชีพประกอบอาชีพส่วนตัว เช่น ค้าขาย หรือ
เป็นเจ้าของกิจการ ฯลฯ มีจำนวน 101 คน คือ ร้อยละ 35.6 อาชีพรับราชการ, พนักงานรัฐวิสาหกิจ และ
ลูกจ้างบริษัทเอกชน มีจำนวน 93 คน และอาชีพรับจ้างทั่วไป, แม่บ้าน และไม่ได้ประกอบอาชีพ มี
จำนวน 90 คน คิดเป็นร้อยละ 32.7 และ 31.7 ตามลำดับ
อาชีพของมารดาของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอาชีพประกอบธุรกิจส่วนตัว เช่นเดียวกับบิดา
ซึ่งมีจำนวนใกล้เคียงกับอาชีพรับจ้างทั่วไป, พ่อบ้าน, แม่บ้าน หรือไม่ได้ประกอบอาชีพ จำนวน 115 คน
คิดเป็นร้อยละ 40.5 และ 40.1 โดยมารดาที่ประกอบอาชีพรับราชการ, พนักงานรัฐวิสาหกิจ และลูกจ้างเอก
ชน มีจำนวนน้อยที่สุดคือ จำนวน 55 คน คิดเป็นร้อยละ 19.4 ตามลำดับ
45
การศึกษาของบิดาของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการศึกษาต่ำกว่าชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หรือ
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีจำนวน 112 คน คิดเป็นร้อยละ 34.9 จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 / มัธยมศึกษาปีที่ 6
หรือเทียบเท่า มีจำนวน 103 คน จบอนุปริญญา หรือสูงกว่าปริญญาตรี จำนวน 69 คน คิดเป็นร้อยละ
36.6 และ 24.3 ตามลำดับ
ส่วนการศึกษาของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการศึกษาต่ำกว่าชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หรือชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 6 เช่นเดียวกับบิดาของกลุ่มตัวอย่าง โดยมีจำนวน 136 คน คิดเป็นร้อยละ 47.9 รองลง
มาจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 / มัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า จำนวน 93 คน คิดเป็นร้อยละ 32.7 และจบ
อนุปริญญา หรือสูงกว่าปริญญาตรี มีจำนวน 55 คน คิดเป็นร้อยละ 19.4 ตามลำดับ
ตอนที่ 2 วิเคราะห์รูปแบบการอบรมเลี้ยงดูของผู้ปกครอง และบทบาทการพึ่งตนเองของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และระดับการพึ่งตนเองตามเกณฑ์ที่กำหนด
ตารางที่ 5 ค่าเฉลี่ยของรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูของผู้ปกครองของนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง จำแนกรายด้าน
รูปแบบการอบรมเลี้ยงดู
ค่าเฉลี่ย
( X )
1. แบบประชาธิปไตย 3.39
2. แบบเข้มงวดกวดขัน 2.83
3. แบบปล่อยปละละเลย 1.77
รวม 3.32
จากตารางที่ 5 รูปแบบการอบรมเลี้ยงดูของผู้ปกครองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร นักเรียนส่วนใหญ่ถูกอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตยมากที่สุด คือ มีค่า
เฉลี่ย 3.89 รองลงมา คือ การอบรมเลี้ยงดูแบบเข้มงวดกวดขัน และปล่อยปละละเลยโดยมีค่าเฉลี่ย 2.83
และ 1.77 ตามลำดับ
46
ตารางที่ 6 ค่าเฉลี่ย และระดับการพึ่งตนเองด้านการศึกษาของนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง จำแนกรายข้อ
การพึ่งตนเองด้านการศึกษา
ค่าเฉลี่ย
( x )
ระดับ
การพึ่งตนเอง
1. ฉันมาโรงเรียนสม่ำเสมอ 4.27 มากที่สุด
2. ฉันทำการบ้านหรืองานที่ครูสั่งด้วยตนเอง 3.81 มาก
3. เมื่อมีเวลาว่างฉันจะอ่านหนังสอทบทวน หรือเข้าห้องสมุด 2.97 ปานกลาง
4. เมื่อไม่เข้าใจในบทเรียนฉันจะถามครู หรือค้นคว้าด้วยตนเอง 3.11 ปานกลาง
5. ฉันส่งงาน และการบ้านตามกำหนดเวลาทุกครั้ง 3.48 มาก
6. เมื่อต้องการความรู้เพิ่มเติม ฉันจะค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง 3.23 ปานกลาง
7. ฉันไม่เคยลอกข้อสอบเพื่อนเลยแม้มีโอกาส 3.46 มาก
8. ฉันตรวจดูความเรียบร้อยของการบ้าน และงานก่อนส่งครูเสมอ 3.20 ปานกลาง
9. ฉันอ่านบทเรียนก่อนเรียน และทบทวนบทเรียนก่อนสอบเสมอ 3.18 ปานกลาง
10. ฉันต้องทำงาน หรือการบ้านให้เสร็จก่อนจะไปเล่น 3.51 มาก
รวม 3.42 มาก
ตารางที่ 6 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ส่วนใหญ่มีบทบาท
การพึ่งตนเองอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยระหว่าง 2.97 – 3.23 รองลงมาได้แก่การพึ่งตนเองด้าน
การศึกษาอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยระหว่าง 3.46 – 3.81 ได้แก่ การทำงานและการบ้านด้วยตนเอง
การส่งงานตามกำหนดเวลาทุกครั้ง การไม่ลอกข้อสอบเพื่อน และการงานบ้านหรือการบ้านให้เสร็จก่อน
ไปเล่น และระดับการพึ่งตนเองด้านการศึกษาที่มากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.27 คือ การมาโรงเรียนสม่ำเสมอ
โดยรวมแล้วนักเรียนชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 6 เขตภาษีเจริญ สามารถพึ่งตนเองด้านการศึกษาอยู่ในระดับ
มาก มีค่าเฉลี่ย 3.42 ตามลำดับ
47
ตารางที่ 7 ค่าเฉลี่ย และระดับการพึ่งตนเองด้านเศรษฐกิจของนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง จำแนกรายข้อ
การพึ่งตนเองด้านเศรษฐกิจ
ค่าเฉลี่ย
( x )
ระดับ
การพึ่งตนเอง
11. ฉันช่วยเหลืองานบ้านเพื่อการประหยัดของครอบครัวเช่น รีดผ้า ถู
บ้าน ช่วยทำอาหาร ฯลฯ
3.68
มาก
12. เมื่อเสื้อผ้าขาด หรือสิ่งขิงชำรุด ฉันสามารถซ่อมแซมเองได้ตาม
ความสามารถที่มีอยู่
3.10
ปานกลาง
13. ฉันใช้จ่ายเงินอย่างรอบคอบเสมอ 3.50 มาก
14. ฉันเก็บเงินที่เหลือจากค่าใช้จ่ายในแต่ละวันเพื่อหยอดกระปุก/นำ
ไปฝากธนาคาร
3.39
ปานกลาง
15. ฉันเลือกใช้แต่ของที่ราคาไม่แพงมากแต่มีคุณภาพใช้ได้นาน 3.73 มาก
16. ฉันใช้ของใช้หรืออุปกรณ์การเรียนเก่าที่ยังใช้ได้อยู่ 3.49 มาก
17. ฉันชอบรับประทานอาหารตามความนิยม หรือตามเพื่อนโดยไม่ได้
คำนึงถึงคุณค่าทางอาหาร
2.49
ปานกลาง
18. เมื่อฉันอยากได้หนังสือใหม่ หรืออุปกรณ์การเรียนฉันจะขอเงิน
จากผู้ปกครอง
3.39
ปานกลาง
19.ฉันซื้อของใช้ตามความนิยมโดยไม่คำนึงถึงราคาของสินค้า 2.36 น้อย
20. ฉันพยามยามหารายได้พิเศษยามว่างแม้เป็นรายได้เล็กๆน้อยๆ 2.74 ปานกลาง
รวม 3.19 ปานกลาง
จากตารางที่ 7 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ส่วนใหญ่มีบท
บาทในการพึ่งตนเองด้านเศรษฐกิจอยู่ในระดับปานกลาง คือ 2.49 - 3.39 รองลงมามีระดับการพึ่งตนเอง
มากคือ มีค่าเฉลี่ย 3.49 – 3.68 ได้แก่ การช่วยเหลืองานบ้านเพื่อเป็นการประหยัดของครอบครัว การใช้
จ่ายเงินอย่างรอบคอบ การใช้ของที่ราคาไม่แพงแต่มีคุณภาพ และการใช้ของหรืออุปกรณ์การเรียนเก่าที่
ยังใช้ได้อยู่ อันดับสุดท้ายของการพึ่งตนเองด้านเศรษฐกิจที่มีระดับการพึ่งตนเองน้อย คือมีค่าเฉลี่ย 2.36
ได้แก่ การซื้อของใช้ตามความนิยมโดยไม่คำนึงถึงราคาสินค้า โดยรวมแล้วนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
6 เขตภาษีเจริญ สามารถพึ่งตนเองด้านเศรษฐกิจอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย 3.19 ตามลำดับ
48
ตารางที่ 8 ค่าเฉลี่ย และระดับการพึ่งตนเองด้านสังคม/ส่วนรวมของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างจำแนกรายข้อ
การพึ่งตนเองด้านสังคม/ส่วนรวม ค่าเฉลี่ย
( x )
ระดับ
การพึ่งตนเอง
21. ฉันไม่ชอบทำงานเป็นกลุ่มหรือทำงานร่วมกับผู้อื่น 2.27 น้อย
22. ฉันชอบจะแสดงความคิดเห็น และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเวลา
ทำงานร่วมกับเพื่อนๆ
3.35
ปานกลาง
23. ฉันทำงานในส่วนที่ง่ายของกลุ่มเสมอ 2.65 ปานกลาง
24. ฉันมีความสุข และรู้สึกสนุกสนานกับการทำงานเป็นกลุ่ม 3.81 มาก
25. เมื่อฉันไม่พอใจเพื่อนๆในกลุ่มฉันนิ่งเฉยหรือไม่ได้โต้ตอบใดๆ 3.01 ปานกลาง
26. ฉันยินดีและเต็มใจทุกอย่าง กับงานที่กลุ่มมอบหมายให้ทำอย่างเต็ม
ความสามารถ
3.70
มาก
27. เมื่อมีการแบ่งกลุ่มหรือทำงานเป็นกลุ่ม เพื่อนๆไม่ปฏิเสธที่จะรับ
ฉันเป็นสมาชิกของกลุ่ม
3.77
มาก
28. เมื่อมีปัญหาในการทำงานเป็นกลุ่ม ฉันและเพื่อนๆในกลุ่มจะช่วย
กันแก้ไขเสมอ
3.69
มาก
29. เมื่อทำงานกลุ่ม เพื่อนๆมักเลือกฉันให้มีบทบาทสำคัญ เช่น เป็นหัว
หน้า เป็นเลขาของกลุ่ม
3.40
ปานกลาง
30. ฉันให้ความร่วมมือกับสมาชิกในกลุ่ม และคอยช่วยเหลือเพื่อให้
งานสำเร็จด้วยดี
3.71
มาก
รวม 3.34 ปานกลาง
จาตารางที่ 8 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร มีบทบาทการพึ่ง
ตนเองด้านสังคมหรือส่วนรวมอยู่ในระดับมาก คือมีค่าเฉลี่ย 3.69 – 3.81 ได้แก่ การทำงานเป็นกลุ่มการ
ทำงานให้กลุ่มอย่างเต็มความสามารถ การที่เพื่อนๆยอมรับให้เป็นสมาชิกของกลุ่ม การร่วมกันแก้ไข
ปัญหาในกลุ่มและการให้ความร่วมมือกับกลุ่ม และคอยช่วยเหลือสมาชิกเพื่อให้งานสำเร็จด้วยดี รองลง
มาการพึ่งตนเองที่อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย 3.40 – 3.65 และลำดับสุดท้ายคือระดับการพึ่งตนเอง
ได้น้อย มีค่าเฉลี่ย 2.27 ได้แก่ การไม่ชอบทำงานเป็นกลุ่ม หรือร่วมทำงานกับคนอื่นๆโดยรวมแล้วนัก
เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เขตภาษีเจริญ สามารถพึ่งตนเองด้านสังคมหรือส่วนรวมอยู่ในระดับปาน
กลาง มีค่าเฉลี่ย 3.34 ตามลำดับ
49
ตอนที่ 3 วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างระดับการศึกษา อาชีพของบิดามารดา และฐานะทาง
เศรษฐกิจของครอบครัวกับการพึ่งตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เขตภาษีเจริญ
ตารางที่ 9 วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของระดับการศึกษา อาชีพของบิดามารดา และฐานะทางเศรษฐกิจ
ของครอบครัว
การพึ่งตนเองด้านการศึกษา
รวม
ค่าสถิติ - P
Pearson
ตัวแปรที่ศึกษา
มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด
1.ระดับการศึกษาของบิดา
- ต่ำกว่าชั้น ป.6 / ป. 6
-
23
(8.10)
62
(21.83)
26
(9.15)
1
(0.35)
112
(39.43)
- มัธยมศึกษาปีที่ 3 / ม.6 /เทียบเท่า
-
25
(8.80)
49
(17.25)
27
(9.51)
2
(0.70)
103
(36.26)
- อนุปริญญา / สูงกว่าปริญญาตรี
1
(0.35)
22
(7.75)
28
(9.86)
17
(24.65)
1
(0.35)
69
(24.32)
รวม
1
(0.35)
70
(24.65)
139
(48.94)
70
(24.65)
4
(1.41)
284
(100.0)
Sig. = .036
0.275
2. ระดับการศึกษาของมารดา
- ต่ำกว่าชั้น ป.6 / ป. 6
1
(0.65)
32
(11.26)
68
(23.94)
35
(12.32)
-
135
(48.00)
- มัธยมศึกษาปีที่ 3 / ม. 6 /เทียบเท่า
-
20
(7.04)
44
(15.49)
27
(9.51)
2
(0.70)
93
(33.00)
- อนุปริญญา / สูงกว่าปริญญาตรี
1
(0.35)
22
(7.75)
28
(9.86)
17
(24.65)
1
(0.35)
69
(24.32)
รวม
1
(0.35)
70
(24.65)
139
(48.94)
70
(24.65)
4
(1.41)
284
(100.0)
Sig. = .035
0.279

บทบาทการพึ่งตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในครอบครัวสมัยใหม่ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร (ตอนที่ 1)
บทบาทการพึ่งตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในครอบครัวสมัยใหม่ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร (ตอนที่ 2)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น