วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2554

การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 (ช่วงชั้นที่ 2) (ตอนที่ 1)



การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6
(ช่วงชั้นที่ 2) : กรณีศึกษา โรงเรียนวัดพิกุล
สังกัดกรุงเทพมหานคร
นายชนาวิทย์ ผู้นำพล
วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา
ปีการศึกษา 2547
ISBN 974-373 -390-6
ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
Environmental Conservations of Students Level 2:
A Case Study of Wat pikunl School in Bangkok
Metropolitan Administration Jurisdiction
Chanavit Punumpol
A thesis Submitted in Partial fulfillment of the Requirements
For the Master of Arts (Social Sciences for Development)
At Bansomdejchaopraya Rajabhat University
Academic Year 2004
ISBN : 974-373-390-6
วิทยานิพนธ์ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 (ช่วงชั้นที่ 2):
กรณีศึกษา โรงเรียนวัดพิกุล สังกัดกรุงเทพมหานคร
โดย นายชนาวิทย์ ผู้นำพล
สาขาวิชา สังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา
ประธานกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ รองศาสตราจารย์ ดร. สิทธิชัย ตันธนะสฤษดิ์
กรรมการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุพิศวง ธรรมพันทา
กรรมการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ บุปผา แช่มประเสริฐ
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา อนุมัติให้วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของ
การศึกษาตามหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
……………………………………………… คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
(ดร.สรายุทธ์ เศรษฐขจร)
คณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์
……………………….………………….….. ประธานกรรมการ
(ศาสตราจารย์ ดร.สายหยุด จำปาทอง)
………………………………………………. กรรมการ
(รองศาสตราจารย์ ดร.สิทธิชัย ตันธนะสฤษดิ์)
………………………………………………. กรรมการ
(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุพิศวง ธรรมพันทา)
………………………………………...…….. กรรมการ
(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ บุปผา แช่มประเสริฐ)
………………………………………...…….. กรรมการ
(ดร. ทวิช บุญธิรัศมี)
……………………………………………….. กรรมการและเลขานุการ
(นางสาว อาภา วรรณฉวี)
ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ชนาวิทย์ ผู้นำพล (2547) การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 (ช่วงชั้นที่ 2):
กรณีศึกษา โรงเรียนวัดพิกุล สังกัดกรุงเทพมหานคร วิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ:
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. คณะกรรมการควบคุม:
รองศาสตราจารย์ ดร.สิทธิชัย ตันธนะสฤษดิ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุพิศวง ธรรมพันทา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ บุปผา แช่มประเสริฐ.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนโรงเรียนวัดพิกุล กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 105 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01
ผลการวิจัยพบว่า
1.ปัจจัยการอบรมเลี้ยงดูบุตรมีความสัมพันธ์ในระดับปานกลางกับพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (r = 0.425 ) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01
2.ปัจจัยการศึกษาอบรมจากโรงเรียนมีความสัมพันธ์ในระดับค่อนข้างต่ำกับพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (r = 0.379 ) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01
3.ปัจจัยการนำเสนอและเผยแพร่จากสื่อสังคมมีความสัมพันธ์ในระดับค่อนข้างสูงกับพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (r = 0.661) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01

Chanavit Punumpol (2004). Environmental Conservations of Students Level 2 :
A Case Study of Watpikunl School in Bangkok Metropolitan Administration Jurisdiction. Bangkok: Graduate School, Bansomdejchaopraya Rajabhat University. Advisor Committee: Associate Professor Sittichai Tantanasarit Ph.D, Assistant Professor Supitsawong Tampunta, Assistant Professor Boobpha Champrasert.
The objective of this report is to study Environmental Conservations of Students Level 2:
A Case Study of Wat Pikunl School in Bangkok Metropolitan Administration Jurisdiction, and the factors that influence Environment Conservation of Students behavior.
Questionnaires of Students Level 2 of Watpikunl School in Bangkok were taken for data collection, totally 105 cases. The datas were analyzed by statistical method using Percentage, Mean, Standard Deviation and Co-valuation of Pearson at the level of significance 0.01
Results of study were:
1. Family treatment factors had relation with Environmental Conservations of Students of
level 2 Wat Pikunl School in Bangkok Metropolitan Administration Jurisdiction at medium level
(r = 0.425 ) as significance at 0.01.
2. Training from School factors had relation with Environmental Conservations of Students level 2 of Wat Pikunl School in Bangkok Metropolitan Administration Jurisdiction at nearly low level (r = 0.379 ) as significance at 0.01.
3. The Presentation and publicize from media factors had relation with Environmental Conservations of Students level 2 of Wat Pikunl School in Bangkok Metropolitan Administration Jurisdiction at nearly high level (r = 0.661) as significance at 0.01.
ประกาศคุณูปการ
วิทยานิพนธ์นี้สำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์ได้ ด้วยความกรุณาเป็นอย่างยิ่งจาก รองศาสตราจารย์
ดร.สิทธิชัย ตันธนะสฤษดิ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุพิศวง ธรรมพันทา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ บุปผา แช่มประเสริฐ ดร.ทวิช บุญธิรัศมี อาจารย์วิเชียร อินทรจันทร์ อาจารย์ณรงค์ ดวงกระจ่าง และอาจารย์สุวรรณา วรกุลสวัสดิ์ ที่ได้กรุณาให้คำแนะนำข้อคิดต่างๆ ตรวจแก้และปรับปรุงแก้ไขจนวิทยานิพนธ์นี้สำเร็จสมบูรณ์
ขอขอบคุณ เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ สังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา และเจ้าหน้าที่บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และนักเรียนโรงเรียนวัดพิกุล สำนักงานเขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานครทุกท่านที่ให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือ ทำให้การเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นไปได้ด้วยดี สะดวกในการจัดทำ และเป็นกำลังใจในการทำวิทยานิพนธ์ครั้งนี้จนลุล่วงไปด้วยดี
ชนาวิทย์ ผู้นำพล
สารบัญ
หน้า
กิตติกรรมประกาศ …………..…………………………………………..……………………….. ง
บทคัดย่อภาษาไทย …..……………………………………………………….………………….. จ
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ ..…………………………………………………………………….……. ฉ
สารบัญเรื่อง ..…………………………………………………………………………….……… ช
สารบัญแผนภาพ……………………………………………..…………………….…………….. ญ
สารบัญตาราง……………………………………………………………………………………. ฎ
บทที่ 1 บทนำ................................................................................................................................ 1
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา............................................................................ 1
วัตถุประสงค์ของการวิจัย................................................................................................... 3
ขอบเขตการวิจัย................................................................................................................. 3
สมมติฐานการวิจัย............................................................................................................. 4
นิยามศัพท์เฉพาะ............................................................................................................... 4
กรอบความคิดในการวิจัย.................................................................................................. 5
ประโยชน์ของการวิจัย....................................................................................................... 7
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง......................................................................................... 8
แนวคิดเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็ก.................................................................................. 8
แนวคิดทฤษฎีปฏิสัมพันธ์ในครอบครัว.............................................................. 12
แนวคิดพื้นฐานการขัดเกลาทางสังคม................................................................. 13
แนวคิดเกี่ยวกับการให้การศึกษาอบรมจากโรงเรียน......................................................... 16
ทฤษฎีการเรียนรู้.................................................................................................. 16
กระบวนการเรียนรู้.............................................................................................. 16
แนวทางการปลูกฝังคุณธรรม.............................................................................. 18
โครงการในโรงเรียน........................................................................................... 20

สารบัญ (ต่อ)
แนวคิดเกี่ยวกับการนำเสนอจากสื่อสังคม........................................................................ 24
ทฤษฎีการสื่อสาร............................................................................................... 24
ทฤษฎีแนวคิดเกี่ยวกับสื่อสื่อสังคม.................................................................... 27
แนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม......................................................... 31
แนวทางการศึกษาพฤติกรรมมนุษย์.................................................................. 36
แนวคิดเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม............................................................. 37
แนวคิดเกี่ยวกับการมีส่วนร่วม.......................................................................... 43
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง...................………........................................................................... 46
บทที่ 3 วิธีการวิจัย..................................................................................................................... 51
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง............................................................................................. 51
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย................................................................................................. 51
การพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย............................................................................... 54
การเก็บรวบรวมข้อมูล.................................................................................................... 55
การวิเคราะห์ข้อมูล......................................................................................................... 55
สถิติการวิเคราะห์ข้อมูล.................................................................................................. 55
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล…………………………………………………………………. 57
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป……………………………………..……………..….….. 57
ผลการทดสอบสมมติฐาน...…………………………………...…..………….…...…… 63
บทที่ 5 สรุปและอภิปรายผล……………………………………………..……….……….…… 66 สรุปผลการวิจัย………………………………….…………………………………...... 66
อภิปรายผลการศึกษาวิจัย………………..…………………………………………….. 67
ข้อเสนอแนะ ………………………………..………………………………………… 74
ข้อเสนอแนะในการวิจัยต่อไป ………………………………………………………... 75

สารบัญ (ต่อ)
หน้า
บรรณานุกรม…………………………………………………………………………………….. 76
ภาคผนวก...................................................................................................................................... 80
รายนามผู้เชี่ยวชาญ……………....…………………..……………………..................... 81
ภาคผนวก (ก) แบบสอบถาม.....………………………………….................................. 85
ภาคผนวก (ข) ปริมาณการใช้ไฟฟ้าน้ำประปาทั้งประเทศ............................................... 89
ภาคผนวก (ค) ค่าใช้จ่ายสาธารณูปโภคโรงเรียนวัดพิกุล................................................. 95
ภาคผนวก (ง)โครงการแยกขยะและขยะรีไซเคิลโรงเรียนวัดพิกุล................................. 107
ภาคผนวก (จ) โครงการประหยัดน้ำและประหยัดไฟโรงเรียนวัดพิกุล........................... 110
ประวัติผู้วิจัย.............................................................................................................. …………. 113

สารบัญแผนภาพ
หน้า
แผนภาพที่ 1 กรอบแนวคิด………………………………………….…………….……. 6

สารบัญตาราง
หน้า
ตารางที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม….…………………..…………… 57
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละ คะแนนเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของ
แบบสอบถามด้านปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม.... 58
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละ คะแนนเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานด้าน
พฤติกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม…………..…………. 61
ตารางที่ 4 ค่าระดับปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม…………… 62
ตารางที่ 5 ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและ
ตัวแปรการอบรมเลี้ยงดู.…………………………………..…………. .. 63
ตารางที่ 6 ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและ
ตัวแปรการให้การศึกษาอบรมจากโรงเรียน………………..…………. 64
ตารางที่ 7 ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและ
ตัวแปรการนำเสนอและการเผยแพร่จากสื่อสังคม………..…………… 65
บทที่ 1
บทนำ
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนับเป็นปรากฏการณ์ใหม่ของมนุษยชาติ อันเกิดจากการกระทำกิจกรรมของมนุษย์ได้กระทำมาตั้งแต่เริ่มปฏิวัติอุตสาหกรรม การพัฒนาเทคโนโลยี การเพิ่มขึ้นของประชากรมนุษย์อย่างรวดเร็ว ซึ่งมีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์เป็นส่วนใหญ่ ผลกระทบที่ใหญ่ๆ ที่มีต่อมนุษย์และสังคม ได้แก่ ปัญหาสารพิษ ปัญหาของระบบนิเวศ การดำรงชีวิตของมนุษย์ต้องอาศัยทรัพยากรเป็นปัจจัยพื้นฐาน และเป็นปัจจัยสำคัญ การที่ประชากรเพิ่มขึ้นจึงส่งผลต่อการนำทรัพยากรมาใช้เพิ่มมากขึ้น การใช้ทรัพยากรอย่างไม่มีประสิทธิภาพจึงทำให้เกิดการร่อยหรอของทรัพยากร การพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเปลี่ยนแปลงขนบธรรมเนียบประเพณีและวัฒนธรรม ค่านิยม ความเชื่อ และการพัฒนาเพื่อยกระดับมาตรฐานการครองชีพของมนุษย์ ส่งผลให้เกิดการทำลายธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เกิดอย่างกว้างขวางทั่วโลก
กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงของประเทศที่มีความหลากหลายด้านประชากร และมีอัตราขยายตัวอย่างรวดเร็วของชุมชนอันเป็นผลจากการเจริญเติบโตทั้งธุรกิจ การย้ายถิ่นฐานของประชาชน ซึ่งปัจจุบันคาดว่ามีมากกว่า 10 ล้านคน อีกทั้งกรุงเทพมหานครยังเป็นศูนย์รวมของความเจริญในทุกด้าน เช่น การเมืองการปกครอง ธุรกิจการค้า อุตสาหกรรม การศึกษา การคมนาคม และเป็นเมืองท่า ทั้งทางบกและทางน้ำ ผลการศึกษาเกี่ยวกับการพยากรณ์ความต้องการ การใช้ไฟฟ้า ของคณะอนุกรรมการการพยากรณ์การใช้ไฟฟ้า เดือนมกราคม 2545 พบว่า การขยายตัวเมืองเป็นไปอย่างไร้ระเบียบ ขาดการวางผังการเมืองที่ดี และไม่มีการวางแผนในการใช้พื้นที่ดินให้เหมาะสม ทำให้กรุงเทพมหานครสะสมปัญหาไว้มากมายหลายประการ เช่น ปัญหาความแออัดด้านประชาการ ปัญหาแหล่งเสื่อมโทรม ปัญหาจราจร และมลพิษ ปัญหาสิ่งแวดล้อมถูกทำลาย ปัญหาการใช้สาธารณูปโภคเกินขอบเขต การใช้ไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตระบุว่าในปี 2540 มีปริมาณการใช้ไฟฟ้า 77,989 ล้านหน่วย ปี 2542 มีปริมาณการใช้ไฟฟ้า 78,439 ล้านหน่วย ปี 2543 มีปริมาณการใช้ไฟฟ้า 85,286 ล้านหน่วยปี 2544 มีปริมาณการใช้ไฟฟ้า 77,989 ล้านหน่วยปี 2540 มีปริมาณการใช้ไฟฟ้า 77,989 ล้านหน่วย ส่วนการใช้ไฟฟ้าในกรุงเทพมหานคร ระบุไว้ว่า ปี 2540 มีปริมาณการใช้ไฟฟ้า 32,176 ล้านหน่วย ในปี 2543 ปริมาณการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเป็น 32,558 ล้านหน่วย (คณะอนุกรรมการการพยากรณ์การใช้ไฟฟ้า 2545) ปริมาณการใช้ในประปาในปี 2545 คิดเป็น 3,412 ยูนิต ปี2546 คิดเป็น 3,056 ยูนิตต่อปี (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2547: ออนไลน์)
2
สถิติในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาปริมาณขยะมูลฝอยของประเทศไทยได้เพิ่มขึ้นทุกปี โดยในปี 2536 มีปริมาณขยะมูลฝอยเกิดขึ้นประมาณวันละ 30,640 ตัน และเพิ่มขึ้นเป็นวันละ 39,225 ตัน ในปี 2545 โดยมีอัตราเฉลี่ยประมาณร้อยละ 12 ต่อปี โดยมีปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานครในปี 2536 มีปริมาณ 7,050 ตัน ต่อวัน ปี 2538 มีปริมาณขยะ 7,912 ตัน ต่อ วัน ปี 2539 มีปริมาณขยะ 8,098 ตัน ต่อ วันปี 2540 มีปริมาณขยะ 8,949 ตัน ต่อ วันปี 2542 มีปริมาณขยะ 8,990 ตัน ต่อ วันปี 2543 มีปริมาณขยะ 9,130 ตัน ต่อ วันปี 2544 มีปริมาณขยะ 9,317 ตัน ต่อวันปี 2545 มีปริมาณขยะ 9,617 ตัน ต่อวัน (กระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม 2547: ออนไลน์)
จากปริมาณการใช้ไฟฟ้า น้ำประปาและขยะที่เกิดขึ้นต่อปี ต่อวัน ล้วนเป็นปัญหาหลักที่หลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนให้ความสนใจพยายามหาแนวทางในการลดปริมาณการใช้ และลดปริมาณการเกิดขยะโดยเฉพาะหน่วยงานต่างๆ มีนโยบายให้ร่วมมือแก้ไขอย่างจริงจัง เพราะปัญหาเหล่านี้มีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ต้องอาศัยทรัพยากรเป็นปัจจัยพื้นฐาน และเป็นปัจจัยสำคัญเกื้อหนุนต่อการดำรงชีวิตและพัฒนาประเทศ (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2547: ออนไลน์) จากแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 ข้อที่ 4.2 กล่าวถึงการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากร ธรรมชาติให้มีความอุดมสมบูรณ์โดยคุ้มครองกำหนดเขตพื้นที่การอนุรักษ์เพื่อการรักษาสมดุลระบบนิเวศและการใช้ประโยชน์ที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม จัดทำแผนหลักฟื้นฟูทรัพยากรให้มีความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อรักษาสมดุลระบบนิเวศใช้ทรัพยากรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ และฟื้นฟูทรัพยากรดินให้สามารถใช้ประโยชน์ เพื่อเพิ่มผลผลิตการเกษตรรวมทั้งส่งเสริมอนุรักษ์ และการใช้พลังงาน อย่างมีประสิทธิภาพและประหยัด ข้อที่ 4.4 การบริหารจัดการปัญหามลพิษอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อพัฒนาให้เมืองและชุมชนน่าอยู่โดยส่งเสริมระบบกำจัดอันตรายที่เกิดจากของเสียที่เป็นที่ยอมรับของชุมชน บังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดจริงจัง พัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษควบคู่ไปกับการปรับปรุงให้ได้มาตรฐานสากล (แผนพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจฉบับที่ 9 2544) โดยกำหนดให้ประชาชน ชุมชนในท้องถิ่นให้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และดูแลรักษาสภาวะแวดล้อมในท้องถิ่นของตนเอง ด้วยการสนับสนุนจากภาครัฐ นักวิชาการ องค์กรพัฒนาเอกชนและองค์กรธุรกิจ และเป็นแบบอย่างแก่เยาวชน
โรงเรียนวัดพิกุล เป็นโรงเรียนหนึ่งในสังกัดสำนักงานเขต ตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาเหล่านี้ จึงให้ความร่วมมือที่จะช่วยแก้ไขปัญหาการใช้ปริมาณไฟฟ้า น้ำประปาที่สิ้นเปลืองเกินความจำเป็น ปัญหาขยะและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน ตามนโยบายของรัฐ ประกอบกับโรงเรียนวัดพิกุลต้องรับภาระค่าใช้จ่ายในการจัดการขยะ น้ำประปา ไฟฟ้า ฯลฯ ด้วยงบประมาณเหมาจ่ายจากกรุงเทพมหานคร ค่าใช้จ่ายสาธารณูปโภคของโรงเรียนในปี 2544 ค่าไฟฟ้า 52,728.50 บาท ค่าน้ำประปา 42,015.16 บาท ปี 2545 ค่าไฟฟ้า 109,376.25 ค่าน้ำประปา 82,329.55 ปี 2546 ค่า
3
ใช้จ่ายรวมทั้งสิ้น 192,458.68 บาท จากรายงานการใช้จ่ายค่าสาธารณูปโภค ประจำปีงบประมาณ 2544-2546 ของสำนักงานเขตตลิ่งชัน พบว่า ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจาการใช้ไฟฟ้าและน้ำประปามีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ในขณะที่สำนักงานกรุงเทพมหานครได้กำหนดค่าใช้จ่ายสาธาณูปโภค ปี 2547 เป็นจำนวนเงิน 1,100 บาทต่อคนต่อปี ซึ่งผู้บริหารและบุคลากรทุกคนต้องร่วมกันบริหารจัดการและใช้งบประมาณดังกล่าวให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด และแสวงหาวิธีการลดรายจ่ายของโรงเรียน ด้วยการจัดตั้งโครงการขยะหอมและโครงการโรงเรียนสีเขียวขึ้นซึ่งเพื่อเป็นการลดปัญหาสิ่งแวดล้อมซึ่งยังไม่ประสบความสำเร็จ
ผู้วิจัยมีความสนใจและติดตามปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางตลอดมา ได้พบว่า ปัญหาการเพิ่มปริมาณขยะ การใช้ไฟฟ้า น้ำประปาที่สิ้นเปลืองเกินความจำเป็น ซึ่งโรงเรียนสามารถแก้ปัญหาได้โดยการปลูกฝังพฤติกรรมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้กับนักเรียนขึ้นได้ จึงมีความสนใจที่จะศึกษาเรื่อง “การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 (ช่วงชั้นที่ 2): กรณีศึกษา โรงเรียนวัดพิกุล กรุงเทพมหานคร” เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียน ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 (ช่วงชั้นที่ 2) โรงเรียนวัดพิกุล กรุงเทพมหานคร
2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4-6 (ช่วงชั้นที่ 2) โรงเรียนวัดพิกุล กรุงเทพมหานคร
ขอบเขตการวิจัย
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเฉพาะชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4- 6 โรงเรียนวัดพิกุล เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานครทุกคน โดยมีระยะเวลาในการดำเนินการเก็บข้อมูลระหว่างเดือน พฤษภาคม- มิถุนายน 2547 และดำเนินการวิเคราะห์ ประมวลผลข้อมูล พร้อมทั้งสรุปข้อค้นพบจากการวิจัยในเดือน กรกฎาคม 2547
4
ด้านเนื้อหา ศึกษาการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของเด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จากปัจจัยการ
อบรมเลี้ยงดูจากครอบครัว การให้การศึกษาอบรมจากโรงเรียนและ การนำเสนอและการเผยแพร่จากสื่อสังคมที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 (ช่วงชั้นที่ 2) โรงเรียนวัดพิกุล เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร
สมมติฐานการวิจัย
สมมติฐานที่ 1 การอบรมเลี้ยงดูจากครอบครัวมีผลต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของ
นักเรียนโรงเรียนวัดพิกุล กรุงเทพมหานคร
สมมติฐานที่ 2 การให้การศึกษาอบรมจากโรงเรียนมีผลพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
ของนักเรียนโรงเรียนวัดพิกุล กรุงเทพมหานคร
สมมติฐานที่ 3 การนำเสนอและเผยแพร่จากสื่อสังคมมีผลต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์
สิ่งแวดล้อมของนักเรียนโรงเรียนวัดพิกุล กรุงเทพมหานคร
นิยามศัพท์เฉพาะ
การอบรมเลี้ยงดูจากครอบครัว หมายถึง การที่บิดามารดาหรือผู้ปกครองให้การอบรมสั่งสอนเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วยวิธีการอบรมเลี้ยงดูแบบใช้เหตุผล
การให้การศึกษาอบรมจากโรงเรียน หมายถึง การถ่ายทอดวิชาความรู้และประสบการณ์ที่เกี่ยวกับคุณค่าของสิ่งแวดล้อม เพื่อให้นักเรียนเกิดความรู้สึก เกิดทักษะและเจตคติ ความรู้สึก ความคิด และการกระทำต่าง ๆ ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในชีวิตประจำวัน
สื่อสังคม หมายถึง สอทางสังคมที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงสำนึก และพฤติกรรมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ได้แก่ สื่อบุคคลที่เป็นบุคคลต้นแบบ เช่น ผู้ปกครอง ครู และสื่อมวลชน เช่น โทรทัศน์ วิทยุ นิตยสาร และ อินเตอร์เน็ท ฯลฯ ที่มีบทบาทต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและสื่อเฉพาะกิจ ได้แก่ สื่อที่จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
พฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หมายถึง กิจกรรม การกระทำ หรือการแสดงออกของนักเรียน ที่ไม่ทำลายสภาพแวดล้อม และช่วยฟื้นฟูรักษา โดยผ่านขบวนการ การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร การมีความรู้ความเข้าใจและการมีส่วนร่วม ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทั้งที่บ้านและโรงเรียน ได้แก่ การทิ้งขยะมูลฝอย การใช้ไฟฟ้าและน้ำประปาอย่างประหยัด
5
การประหยัดไฟฟ้า น้ำประปา หมายถึง การใช้ไฟฟ้าและน้ำประปาอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งนี้เพราะไฟฟ้าและน้ำประปา ผลิตจากทรัพยากรธรรมชาติจึงเป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติโดยตรง
กรอบความคิดในการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาภายใต้แนวคิดและทฤษฎีต่างๆ ดังนี้
1. แนวคิดการอบรมเลี้ยงดูบุตร ของดวงเดือน พันธุมนาวิน (2522: 17) ที่อธิบายถึง ความสำคัญของสถาบันครอบครัวว่าเป็นสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อบุคลิกภาพและพฤติกรรมของเด็ก การอบรมเลี้ยงดูจากครอบครัวจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของเด็ก
2. แนวคิดการขัดเกลาทางสังคม ของจีกาส (Gecas อ้างถึงใน สายฝน สุคนธพันธ์ 3532: 2) การขัดเกลาทางสังคมที่อธิบายถึง เป็นการปรับปรุงตัวของบุคคลและการที่บุคคลทำตัวให้สอดคล้องกับความคาดหวังในบทบาทความมุ่งหวังของคนอื่น และบรรทัดฐานค่านิยมของสังคม
3. แนวคิดเกี่ยวกับการศึกษาและอบรมจากโรงเรียน ได้แก่ ทฤษฎีการเรียนรู้ ของสนธยา พลศรี (2533: 159) และ มงคล ชาวเรือ (2527: 127-128) ได้อธิบายถึง การเรียนรู้ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และแนวคิดของ ศิริวรรณ เสรีรัตน์ (2539: 151) ที่อธิบายถึง กระบวนการการเรียนรู้ลักษณะของการเรียนรู้เป็นกระบวนการซึ่งปรากฎถึงเปลี่ยนแปลง เป็นผลจากความรู้ใหม่ที่ได้รับจาก การอ่าน, การสังเกต หรือ ความคิด หรือจากประสบการณ์ ที่มีผลต่อพฤติกรรมในอนาคต และแนวคิดของไฮเดอร์ (Heider) ซึ่งอธิบายการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของบุคคลจะเกิดขึ้นเมื่อมีความคิดเห็นต่อส่งหนึ่งสิ่งใดตรงกับความคิดของบุคคลนั้น ก็จะเกิดการเปลี่ยนทัศนคติที่มีต่อสิ่งนั้น ทอลแมน (Tallman and Others 1988: 24)
4. แนวคิดการนำเสนอจากสื่อสังคม จากแนวคิดของ เกศินี จุฑาวิจิตร (2540: 64-88) ที่อธิบายถึง สื่อบุคคลเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจยอมรับนวัตกรรมด้วยสื่อบุคคลมีลักษณะที่เอื้ออำนวยต่อการชักจูงและโน้มน้าวใจ สื่อมวลชนเป็นสื่อที่มีความซับซ้อนทางเทคโนโลยีสามารถส่งไปยังผู้รับสารที่ไม่รู้จักได้เป็นจำนวนมาก และอยู่ห่างไกลกันได้อย่างรวดเร็ว และสื่อเฉพาะกิจที่มีเนื้อหาเฉพาะเจาะจงที่จะกระตุ้นไปยังผู้รับสาร
5. ทฤษฎีเกี่ยวกับพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จากแนวคิดของ ณัฐพงศ์ สุกรี (2541: 4) ที่อธิบายถึง กระบวนการเรียนรู้ที่เกิดจากสภาพการณ์ทางธรรมชาติอาจส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และเป็นการสร้างจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของเยาวชน
6
6. แนวคิดการมีส่วนร่วมในการพัฒนา จากแนวคิดของ อุษณีย์ ศิริสุนทรไพบูรณ์ (2528: 27) ที่อธิบายถึงความสำคัญของการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนา โดยเพาะในโครงการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชน
จากแนวคิดทฤษฎีดังกล่าว ผู้วิจัยได้นำมาทำการวิเคราะห์และสังเคราะห์ร่วมกับหลักฐาน เชิงประจักษ์จากงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม สร้างเป็นกรอบแนวความคิดโดยมีรายละเอียดดังแผนภาพที่ 1
แผนภาพที่ 1 กรอบแนวคิดในการวิจัย
ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม
ประโยชน์ของการวิจัย
1. การอบรมเลี้ยงดู
2. การให้การศึกษาอบรมจากโรงเรียน
3. การนำเสนอและเผยแพร่จากสื่อสังคม
พฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย
ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย
1. ตัวแปรอิสระ ได้แก่
1.1 การอบรมเลี้ยงดูจากครอบครัว
1.2 การให้การศึกษาอบรมจากโรงเรียน
1.3 การนำเสนอและการเผยแพร่จากสื่อสังคม
2. ตัวแปรตาม ได้แก่ พฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
7
ประโยชน์ที่ได้รับ
1. ทราบถึงพฤติกรรมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของ เด็กนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 (ช่วงชั้นที่ 2) โรงเรียนวัดพิกุล กรุงเทพมหานคร
2. ทราบถึงปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของเด็กนักเรียนชั้นประถม ศึกษา ปีที่ 4-6 (ช่วงชั้นที่ 2) โรงเรียนวัดพิกุล กรุงเทพมหานคร
3. เพื่อเป็นแนวทางในการวางพื้นฐานพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของเด็กนักเรียนแก่
เด็กวัยอื่นและโรงเรียนอื่นๆ ต่อไป
4. ผลงานวิจัยที่ได้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจและหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ในการวิจัยเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 (ช่วงชั้นที่ 2): กรณีศึกษา โรงเรียนวัดพิกุล สังกัดกรุงเทพมหานคร ครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาค้นคว้าทบทวนเอกสารต่าง ๆ และ ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องตามลำดับที่จะนำเสนอดังต่อไปนี้
1. แนวคิดการอบรมเลี้ยงดู
1.1 ปฏิสัมพันธ์ในครอบครัว
1.2 พื้นฐานการขัดเกลาทางสังคม
2. แนวคิดการให้การศึกษาอบรมจากโรงเรียน
2.1 ทฤษฎีการเรียนรู้
2.2 การเรียนการสอนในโรงเรียน
3. แนวคิดการนำเสนอจากสื่อสังคม
3.1 ทฤษฎีการสื่อสาร
4. แนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
4.1 แนวคิดการมีส่วนร่วม
5. เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
แนวคิดเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็ก
ดวงเดือน พันธุมนาวิน ( 2522: 17) ได้อธิบายถึง สถาบันครอบครัว เป็นสถาบันทางสังคมที่มีความสำคัญต่อพัฒนาการของเด็กอย่างยิ่ง เป็นสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อบุคลิกภาพและพฤติกรรมของเด็กมาก และมีอยู่ตลอดไป ซึ่งทารกเรียนรู้ว่าเมื่อตนร้องไห้ จะมีแม่หรือบุคคลอื่นนำอาหารมาให้ มีคนคอยปกป้องสิ่งที่มารบกวนและทำอันตรายแก่ตน ถ้าทารกเกิดมาในครอบครัวที่ไม่มีใครให้ความสนใจ ปล่อยปละละเลย เด็กจะเกิดความไม่มั่นคงในตนเอง จะไม่มีความไว้วางใจคนอื่นตามมาด้วย สิ่งเหล่านี้จะมีผลต่อพัฒนาการของเด็กต่อไป ครอบครัวจะมีบทบาทมากต่อพัฒนาการด้านบุคลิกภาพของเด็ก ลักษณะเฉพาะของเด็กแต่ละคน เกิดจากการเลียนแบบผู้ใหญ่ หรือการที่แสดงพฤติกรรมอกมา แล้วคนอื่นในครอบครัวยอมรับพอใจ ลักษณะเช่นนี้เด็กจะเรียนรู้และแสดงออกมา เพราะว่าการที่คนอื่นยอมรับนั้นเป็นการได้รับรางวัลอย่างหนึ่งของเด็ก ในที่สุดลักษณะเช่นนี้ กลายเป็นลักษณะเฉพาะของตนเองไป ครอบครัวจึงเป็นสถาบันแรกที่มีความสำคัญ
9
ต่อชีวิตของเด็กในการสร้างลักษณะนิสัยหรือบุคลิกภาพของเด็ก การอบรมเลี้ยงดู การสั่งสอน ตลอดจนความเชื่อ เจตคติของบิดามารดา ผู้ปกครองหรือญาติผู้ใหญ่ มีผลต่อพฤติกรรมและพัฒนาการของเด็กทุกด้าน
ความหมายของการอบรมเลี้ยงดู
ดวงเดือน พันธุมนาวิน ( 2528: 10-12) ได้อธิบายถึง การอบรมเลี้ยงดูหมายถึง การที่บิดามารดาปฏิบัติต่อเด็กและเรียกร้องให้เด็กปฏิบัติต่อตนเองและผู้อื่นไปในทำนองต่างๆ ดังนั้น การอบรมเลี้ยงดู คือ การที่ผู้เลี้ยงดูกับเด็กมีการติดต่อเกี่ยวข้องกัน ผู้เลี้ยงดูสามารถให้รางวัล หรือลงโทษการกระทำต่างๆของเดกได้ นอกจากนี้เด็กยังมีโอกาสเฝ้าสังเกตลักษณะและการกระทำต่างๆ ของเด็กได้ และของผู้เลี้ยงดู ทำให้เด็กได้เลียนแบบผู้เลี้ยงดูอีกด้วย
รูปแบบของการเลี้ยงดูที่เหมาะสม
ดวงเดือน พันธุมนาวิน (2528: 4-12) ได้อธิบายถึง การเลี้ยงดูเด็กเป็นเรื่องสำคัญในการพัฒนาบุคลิกภาพให้เด็ก ไปในทิศทางใด ให้มีคุณภาพ หรือพฤติกรรมอย่างไร จากการประมวลผลการวิจัย เกี่ยวกับจิตลักษณะของเยาวชนที่ถูกอบรมเลี้ยงดูมาต่าง ๆ กัน ทำให้เห็นความสำคัญของการอบรมเลี้ยงดู 5 ประการ ดังนี้
การอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุน หมายถึง การที่บิดามารดาได้แสดงความรักใคร่ เอาใจใส่สนใจทุกข์สุขบุตรของตนอย่างเพียงพอ มีความใกล้ชิดกับบุตร กระทำกิจกรรมต่าง ๆ กันร่วมกับบุตร นอกจากนั้นยังมีความสนิทสนม การสนับสนุนช่วยเหลือและการให้ความสำคัญแก่บุตรด้วย การ อบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุนมากนี้ เป็นการให้ในสิ่งที่บุตรต้องการทั้งสิ้น ฉะนั้นบิดามารดาที่เลี้ยงดูบุตรด้วยวิธีนี้จึงเป็นผู้ที่บุตรรัก และบุตรเป็นผู้มีความสำคัญของบิดามารดา ซึ่งจะทำให้บุตรยอมรับ การอบรมสั่งสอนต่างๆ ของบิดามารดาได้โดยง่าย และยอมรับบิดามารดาเป็นแบบอย่างโดยไม่รู้ตัว จะเห็นได้ว่า การอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุนนี้เป็นพื้นฐานสำคัญของการที่บิดามารดา จะสามารถถ่ายทอดลักษณะต่าง ๆ ไปสู่เด็ก นอกจากนั้น ทฤษฎีพัฒนาการทางสังคม อารมณ์ของอีริคสัน กล่าวว่าถ้าเด็กทารกได้รับความสุขความพอใจจากการดูแลอย่างใกล้ชิดของมารดาตั้งแต่เกิด เด็กจะเกิดความรู้สึกไว้วางใจมารดา และเมื่อโตขึ้นจะแผ่ขยายความรู้สึกรักใคร่ไว้วางใจ และสภาพแวดล้อมที่แปลกใหม่ จะทำให้เด็กสามารถปรับตัวได้ดีในกาลต่อมา ซึ่งเกี่ยวข้องกับการมีสุขภาพจิตที่ดีของเด็กโดยตรง
10
การถูกอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุนมากนั้น จะพบได้มากในบุคคลที่มีคุณธรรมและจริยธรรมสูง บุคคลที่มีสุขภาพจิตดี มุ่งอนาคตสูง และไม่ทำผิดกฎระเบียบ หรือ กฎหมายของบ้านเมือง ฉะนั้นการ อบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุนมาก จึงเป็นวิธีการอบรมเลี้ยงดูที่เหมาะสมกับเยาวชนทุกเพศทุกวัย
การอบรมเลี้ยงดูแบบใช้เหตุผล หมาย ถึง การที่บิดามารดาได้อธิบายเหตุผลให้แก่บุตร
ในขณะที่มีการส่งเสริมหรือขัดขวางการกระทำของบุตร หรือลงโทษบุตร นอกจากนั้นบิดามารดาที่ใช้วิธีการนี้ ยังให้รางวัลและลงโทษบุตรอย่างเหมาะสมกับการกระทำของบุตรมากกว่าที่จะปฏิบัติต่อบุตรตามอารมณ์ของตนเอง การกระทำของบิดามารดาจะเป็นเครื่องช่วยให้บุตรได้เรียนรู้และรับทราบถึงสิ่งที่ควรและไม่ควรกระทำ นอกจากนั้นยังช่วยให้บุตรสามารถจะทำนายว่า ตนจะได้รับรางวัลหรือถูกลงโทษจากบิดามารดา หลังจากที่ตนกระทำพฤติกรรมต่าง ๆ แล้วมากน้อยเพียงใด
การอบรมเลี้ยงดูแบบใช้เหตุผลเป็นสิ่งที่นักวิชาการพบว่า มีความสำคัญต่อจิตใจ และพฤติกรรมของเด็กมานานแล้ว โดยเฉพาะเกี่ยวข้องกับลักษณะทางจริยธรรม สุขภาพจิต ลักษณะมุ่งอนาคตและลักษณะอื่นๆ ของเยาวชน โดยจะพบความสำคัญในวัยรุ่นเป็นต้นไป แม้ผลเช่นนี้จะปรากฏในวัยรุ่น แต่ก็ควรมีการอบรมเลี้ยงดูแบบนี้มาตั้งแต่เด็กยังเล็กอย่างสม่ำเสมอจนเติบใหญ่
การอบรมเลี้ยงดูแบบลงโทษทางจิตมากกว่าทางกาย การลงโทษเป็นวิธีที่พ่อแม่ใช้กับลูก
ที่มีพฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนา การลงโทษเด็กโดยเฉพาะการทำให้เจ็บกาย เป็นวิธีการปรับพฤติกรรมที่บิดามารดามักจะใช้อย่างจงใจ ใช้มากและใช้บ่อยกว่าการให้รางวัลเด็ก เมื่อทำความดีส่วนการลงโทษอีกชนิดเป็นการใช้อำนาจบังคับโดยไม่ลงโทษทางกาย แต่เป็นการใช้วาจาดุว่า การงดวัตถุสิ่งของ การงดแสดงความรักใคร่เมตตาและการตัดสิทธิต่างๆ เหล่านี้เป็นการลงโทษทางจิต อิทธิพลของการลงโทษทางจิตจะเด่นชัดขึ้น เมื่อใช้ควบคู่กับการอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุน แต่อย่างไรก็ตาม อาจสรุปได้ว่า การอบรมเลี้ยงดูแบบลงโทษทางจิตนั้น เหมาะสมกับการอบรมเลี้ยงดูแบบลงโทษทางกาย ในเด็กทั้งชายและหญิง ที่มีอายุมากกว่า 7 ปี ขึ้นไป
การอบรมเลี้ยงดูแบบควบคุม หมายถึง พ่อแม่ออกคำสั่งให้เด็กทำตามแล้วผู้ใหญ่คอยเฝ้าตรวจตราอย่างใกล้ชิดว่าเด็กทำตามที่ตนต้องการหรือไม่ ถ้าเด็กไม่ทำตามก็จะลงโทษเด็กด้วยโดยที่การ อบรมเลี้ยงดูแบบควบคุมมาก เป็นการบังคับให้เด็กทำตามที่ผู้เลี้ยงดูเห็นดีเห็นชอบ โดยการตรวจตราและขู่เข็ญ ส่วนการควบคุมน้อยหมายถึงการปล่อยให้เด็กรู้จักคิดตัดสินใจเองว่าควรทำหรือไม่ควรทำสิ่งใด และเปิดโอกาสให้เด็กเป็นตัวของตัวเองบ่อยครั้ง โดยไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยว
11
กับเด็กมากนักผู้ใหญ่ไทยมักเข้าใจสับสนเกี่ยวกับการควบคุมเด็ก และการทำตนใกล้ชิดกับเด็ก สองวิธีนี้ต่างกัน วิธีหลังเป็นการอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุน
การอบรมเลี้ยงดูแบบควบคุมมาก เหมาะสมในระยะก่อนวัยรุ่นและเหมาะสมสำหรับเด็กหญิง ส่วนการอบรมเลี้ยงดูแบบควบคุมน้อย เหมาะสมในระยะวัยรุ่นเป็นต้นไป และเหมาะสมกับเด็กชาย
การอบรมเลี้ยงดูแบบให้พึ่งตนเอง หมายถึง การเปิดโอกาสให้เด็กได้ทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันด้วยตนเอง ภายใต้การแนะนำและการฝึกฝนจากบิดามารดา หรือผู้เลี้ยงดูอื่นๆซึ่งจะทำให้เด็กช่วยตนเองได้เร็ว และไม่ต้องพึ่งพาผู้อื่นมากและนานเกินไป เช่นการทำความสะอาดร่างกาย การแต่งกาย การช่วยงานเล็กๆน้อยๆในบ้าน เพื่อเป็นการเริ่มฝึกให้เด็กทำสิ่งต่าง ๆ ภายใต้การดูแลของผู้เลี้ยง
การอบรมเลี้ยงดูแบบฝึกให้พึ่งตนเองแบบนี้ เกี่ยวข้องกับการที่เด็กมีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์สูงอย่างเด่นชัด
ลักษณะต่างๆที่บิดามารดาอบรมเลี้ยงดูลูก ย่อมส่งผลต่อพฤติกรรมของลูกที่แสดงออกมา
และจะเป็นลักษณะเฉพาะตัวของแต่ละคน
เดโช สวนานนท์ (2518: 76-78) ได้กล่าวถึง ลักษณะการอบรมเลี้ยงดูของบิดามารดาที่มีต่อ
ลูกในลักษณะต่างๆ ซึ่งมีผลกระทบกระเทือนต่อบุคลิกภาพของลูกในอนาคต คือ บิดามารดาที่ไม่เอาใจใส่ลูก ย่อมทำให้ลูกมีความรู้สึกไม่ปลอดภัยทางอารมณ์ รู้สึกว้าเหว่ ไม่มั่นคงและส่งผลให้ลูกมีผลพฤติกรรมที่ออกมาในรูปปฏิเสธ เป็นคนขาดความรักและยังให้ความรักกับใครไม่เป็นอีกด้วย ส่วนบิดามารดาที่ให้ความปกป้องคุ้มครองด้วยการบังคับออกคำสั่งอยู่ตลอดเวลา จะทำให้ลูกขาดความคิดริเริ่ม ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง มีแนวโน้มว่าจะต้องพึ่งพาผู้อื่นอยู่ตลอดเวลา บิดามารดาที่ใช้ระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัดย่อมทำให้ลูกมีลักษณะลงโทษตัวเอง
การอบรบเลี้ยงดู 5 แบบขั้นต้น ต่างก็มีลักษณะก่อให้เกิดผลทางคุณธรรมของเด็กแตกต่างกันการเลือกการเลี้ยงลูกแบบที่ถูกต้องย่อมขึ้นอยู่กับลักษณะของเด็ก ลกษณะของผู้ปกครองและความปรารถนาของผู้ปกครองว่าต้องการเด็กประเภทใด ผู้วิจัยเห็นว่า ครอบครัวเป็นสถาบันแรกที่มีความสำคัญต่อชีวิตของเด็กในการสร้างลักษณะนิสัย หรือบุคลิกภาพของเด็ก การอบรมเลี้ยงดู การสั่งสอน ตลอดจนความเชื่อ เจตคติของบิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือ ญาติผู้ใหญ่ มีผลต่อพฤติกรรมและพัฒนาการของเด็กทุกด้าน จะแสดงออกมาในทางที่ดี หรือไม่ดี ย่อมอยู่ที่ภูมิหลังของชีวิต จึง
12
ได้นำมาเป็นกรอบแนวความคิดในด้าน การสร้างความสัมพันธ์ภายในครอบครัวและวิธีการอบรมเลี้ยงดูมีผลต่อการสร้างจิตสำนึกการรับผิดชอบในการรักษาสิ่งแวดล้อม
แนวคิดทฤษฎีปฏิสัมพันธ์ในครอบครัว
สถาบันทางสังคมที่เล็กที่สุดคือ ครอบครัว เป็นหน่วยย่อยของสังคมพื้นฐานที่มีความสำคัญที่สุดและมีความยั่งยืนที่สุด เป็นหน่วยสังคมที่ทำหน้าที่ต่างๆ ทั้งหน้าที่ในการสร้างสรรค์สมาชิกให้การเลี้ยงดูผู้เยาว์ให้เจริญเติบโต ให้การอบรมสั่งสอน ความรัก ความอบอุ่น กำหนดสถานภาพและบทบาท ตลอดจนกำหนดสิทธิและหน้าที่สมาชิกที่มีต่อกัน นับว่าเป็นหน่วยสังคมที่มีความสัมพันธ์และความร่วมมืออย่างใกล้ชิด
ดวงเดือน พันธุมนาวิน (2520: 54) กล่าวถึง สัมพันธภาพในครอบครัว คือ ความสัมพันธ์ตามบทบาทที่คนเรามีต่อสมาชิกคนอื่นในครอบครัว ลักษณะความสัมพันธ์ที่ดี ประกอบด้วยความปรองดอง รักใคร่กลมเกลียวในครอบครัว นอกจากนี้ ศรีทับทิม พาณิชพันธ์ได้กล่าวเพิ่มเติมถึงลักษณะที่ดี กล่าวว่า ต้องประกอบด้วยความผูกพันรักใคร่ ความใกล้ชิดสนิทสนมระหว่างกันของสมาชิกในครอบครัว รวมตลอดถึงเครือญาติ และบุคคลอื่นที่อาศัยอยู่ในครัวเรือนนั้น
เกรนเดล (Grandall อ้างถึงใน ดวงเดือน พันธุมนาวิน 2520: 54) กล่าวถึง สัมพันธภาพในครอบครัวว่า เป็นความสัมพันธ์แบบปฐมภูมิ (Primary Relationship) ซึ่งมีองค์ประกอบดังนี้
1. จำนวนของบทบาท (Number of Role) มีหลายบทบาท เพราะครอบครัวมีการสร้าง
ความรักมีปฏิสัมพันธ์กันหลายด้าน ทำให้เกิดความสนใจ ได้รู้จักค่านิยม ความเชื่อถือ ตลอดจนบุคลิกที่แท้จริงของกันและกัน
2. การสื่อสาร (Communication) ความสัมพันธ์ปฐมภูมิเป็นความสัมพันธ์แบบเปิด มีการ
พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
3. อารมณ์ (Emotion) ความสัมพันธ์ในครอบครัวจะก่อรูปจากอารมณ์ต่างๆ ระหว่าง
สมาชิกก่อให้เกิดความรัก ความเข้าใจ ความผูกพันรักใคร่ ความขัดแย้ง
4. ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้สึก (Transferability) ความสัมพันธ์แบบปฐมภูมิ
ก่อรูปขึ้นกับบุคคลใด บุคคลหนึ่งแน่นอน เป็นการปฏิสัมพันธ์กับบุคคลแต่ละคนไป มีความรู้สึกผูกพันเฉพาะเจาะจง ยากที่จะ เปลี่ยนแปลงได้
13
ครอบครัวจะประกอบด้วยกลุ่มบุคคลที่มีสัมพันธภาพ มีความผูกพันรักใคร่ ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน และบริหารครอบครัวไปในแนวเดียวกัน ดังนั้น เมื่อมีสมาชิกในครอบครัวเกิดการเจ็บป่วย ซึ่งเป็นเหตุการณ์หรือแรงผลักดันภายนอกที่เกิดขึ้นอย่างกระทันหัน หรือไม่ได้คาดคิดมาก่อน จึงไปสู่ภาวะวิกฤต ที่ไม่เพียงแต่มีผลต่อผู้ป่วย เท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อครอบครัวของผู้ป่วยด้วยนั้นคือ ทำให้โครงสร้างของครอบครัวเปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งบทบาทหน้าที่ และ สัมพันธภาพระหว่างสมาชิกในครอบครัว ก่อให้เกิดความเครียด แต่ละครอบครัวจะมีการเผชิญกับปัญหาที่แตกต่างกัน จึงมีผลที่ทำให้ภาวะสมดุลของแต่ละครอบครัวแตกต่างกันด้วย
ตามแนวคิดดังกล่าว ชี้ให้เห็นว่าสัมพันธภาพในครอบครัว เป็นความสัมพันธ์ตามบทบาทที่คนเรามีต่อสมาชิกคนอื่นในครอบครัว ลักษณะของความสัมพันธ์ที่ดีประกอบด้วยความปรองดอง รักใคร่กลมเกลียวในครอบครัว ซึ่งความสัมพันธภาพในลักษณะนี้ สามารถทำให้สมาชิกในครอบครัวมีความสุข มีสุขภาพจิตที่ดีได้ จึงได้นำมาเป็นแนวคิดสนับสนุนการอบรมเลี้ยงดูและความสัมพันธ์ภายในครอบครัวมีผลต่อการสร้างจิตสำนึกในการรักษาสิ่งแวดล้อมของเยาวชน
แนวคิดพื้นฐานของการขัดเกลาทางสังคม
ในสังคมปัจจุบันที่มีความซับซ้อนเพิ่มมากขึ้น ประสบการณ์ได้รับการขัดเกลาทางสังคมจากครอบครัวไม่เพียงพอที่จะเตรียมเด็กไปสู่โลกของผู้ใหญ่ โรงเรียนจึงมีบทบาทอย่างมากในฐานะที่เป็นตัวแทนของสถาบันการศึกษา ในการสร้างสมาชิกใหม่ให้แก่สังคมในครรลองที่สังคมมุ่งหวัง เพื่อให้สังคมมีความต่อเนื่องและมีเสถียรภาพ กระบวนการซึ่งเป็นวิถีทางให้ครอบครัวและโรงเรียนทำหน้าที่ดังกล่าวได้ก็คือ กระบวนการขัดเกลาทางสังคม (Socialization) ด้วยเหตุนี้ กระบวนการขัดเกลาทางสังคมที่เกิดขึ้นในโรงเรียนจึงมีความกว้างขวางและมีอิทธิพลอย่างมากต่อนักเรียน
พัทยา สายหู (2524: 92-99) ได้อธิบายถึง แนวคิดพื้นฐานของการขัดเกลาทางสังคม (Socialization) คือ การที่บุคคลเกิดขึ้นมาท่ามกลางสังคม บุคคลมีการเรียนรู้ที่จะรู้จักตนเอง รู้จักคนอื่นๆ มีความสามารถในการปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น ๆ ในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ ดังนั้นมนุษย์แต่ละคนในสังคมได้สัมผัสกับกระบวนการขัดเกลาทางสังคมตั้งแต่เริ่มเกิดจนกระทั่งตาย ภายในช่วงชีวิตหนึ่ง ๆ ของมนุษย์ในสังคม รวมไปถึงการที่บุคคลยอมรับทัศนคติ ค่านิยม ทักษะ พฤติกรรม โดยผ่านบริบทต่าง ๆ เริ่มต้นจากครอบครัวเป็นแห่งแรก ต่อมาคือสังคมที่ตนเป็นสมาชิก การเป็นสมาชิกของสังคมหรือองค์กรจะสมบูรณ์เมื่อผ่านกระบวนการขัดเกลาทางสังคม ซึ่งมีตัวขัดเกลา
14
เป็นตัวส่งผ่านแบบแผนทั้งหลาย จนสามารถใช้ระบบสัญลักษณ์ที่องค์กรนั้นกำหนด เป็นความหมายร่วมตามบทบาทหน้าที่ของตนได้อย่างเหมาะสมถูกต้อง และสั่งสมเอาความชำนิชำนาญเหล่านี้ไว้จนสามารถเป็นตัวแทนที่จะส่งผ่านไปสู่สมาชิกรุ่นต่อไปได้
พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิ์พงษ์ (2532: 2) ได้กล่าวถึง มโนทัศน์การขัดเกลาทางสังคมโดยทั่วไปว่าหมายถึง วิถีทางที่บุคคลเรียนรู้ทักษะ ความรู้ ค่านิยม แรงจูงใจ และบทบาทที่เหมาะสมกับตำแหน่งของเขาในกลุ่ม หรือในสังคม นิยามการขัดเกลาทางสังคมในเชิงสังคมวิทยามักจะเน้นวิถีทางที่บุคคลเรียนรู้เพื่อทำตัวให้สอดประสานกับสังคม และยังมองต่อไปว่านอกจากกระบวนการดังกล่าวที่จะเปลี่ยนแปลงบุคคลแล้ว ยังเปลี่ยนแปลงสังคมด้วย นอกจากนั้นการขัดเกลาทางสังคมยังทำหน้าที่ในการดำรงรักษากลุ่มทางสังคม โดยการส่งเสริมการดัดแปลงตนเองของบุคคลต่อกลุ่มเหล่านั้น ในแง่ดังกล่าวการขัดเกลาทางสังคมจึงมีผลดีต่อทั้งบุคคลและสังคม (Sewell) ให้นิยามการขัดเกลาทางสังคมว่าเป็น "กระบวนการที่บุคคลยอมรับทักษะ ความรู้ ทัศนคติ ค่านิยม และแรงจูงใจที่ปรากฏอยู่ในกลุ่มทั้งหลายที่เขาเป็นหรือจะเป็นสมาชิก" ในทำนองเดียวกัน นิยามทั้งหลายที่เกี่ยวกับการถ่ายทอดวัฒนธรรม (Acculturation) ก็ถือว่า การขัดเกลาทางสังคมไม่เพียงแต่จะทำให้ผู้รับการขัดเกลาสามารถดัดแปลงตนเองได้เท่านั้น แต่ยังเป็นวิถีทางที่วัฒนธรรม และสังคมสามารถสืบทอดตนเองไปยังคนรุ่นต่อไปอีกด้วย (Inkeles: 1968) ดังนั้นเพื่อที่จะคงไว้ซึ่งความต่อเนื่องในการจัดระเบียบทางสังคม บทบาท พฤติกรรม ค่านิยม และทัศนคติที่เหมาะสม โดยจะต้องได้รับการถ่ายทอด ถ้าปราศจากการ ขัดเกลาทางสังคมแล้ว สังคมก็จะไม่สามารถสืบทอด ตนเองตามการสืบทอดของคนแต่ละรุ่นได้
เทอร์เนอร์ (Turner อ้างถึงใน สายฝน สุคนธพันธ์ 2532: 2) ได้กล่าวถึงการขัดเกลาทางสังคมว่า เป็นสิ่งที่สำคัญที่ต้องระลึกไว้ว่า กระบวนการขัดเกลาทางสังคมคือ วิธีการของการเรียนรู้ความหมายของบทบาทที่เป็นมาตรฐานทางวัฒนธรรม และวิธีการทำความเข้าใจในสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับบทบาทต่าง ๆ
จีกาส (Gecas อ้างถึงใน สายฝน สุคนธพันธ์ 2532: 2) ได้ให้ความหมายของการขัดเกลาทางสังคมไว้ว่า หมายถึง การปรับปรุงตัวและการที่บุคคลทำตัวให้สอดคล้องกับความคาดหวังในบทบาทความมุ่งหวังของคนอื่น และบรรทัดฐานค่านิยมของสังคม ซึ่งเป็นความหมายที่ใกล้เคียงกับแนวคิดโครงสร้างหน้าที่ (Structural-functionalist perspective)
ในอีกความหมายของการขัดเกลาทางสังคม จะมองในลักษณะเป็นการปฏิสังสรรค์ เชิงสัญลักษณ์ (Symbolic interaction) เช่น งานเขียนของ มีด และคณะ (Mead and Others) ซึ่งเน้นเรื่องของจิตและโครงสร้างของสังคม โดยให้ความสำคัญในเรื่องการสวมบทบาท (role-taking)
15
เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการรู้จักตนเองและคนอื่นของการปฏิสังสรรค์ทางสังคม (สุจิตรา สง่าเนตร 2529: 8-9)
ทอลแมน (Tallman and Others 1988: 24 อ้างถึงใน สายฝน สุคนธพันธ์ 2532: 2) กล่าวถึงเนื้อหาของกระบวนการขัดเกลาทางสังคมโดย ทั่วไป คือ การหาความรู้ และประสบการณ์ที่เป็นความชำนาญเกี่ยวกับบุคลิกภาพเด่นที่เปลี่ยนไปภายในวงขอบเขตของหัวข้อใหญ่ ๆ ดังนี้
ชนิดของสถานภาพ บทบาท ตำแหน่งทางสังคมและบุคลิกภาพทางสังคมที่ผู้อยู่ใน
สถานะนั้นหรือกำลังจะเข้าสู่สถานะนั้น เรียนรู้ภายในบริบททางสังคมที่เกี่ยวข้อง พฤติกรรมการ
แสดงออก และลักษณะนิสัย ความเชื่อของแต่ละกลุ่ม มีลักษณะเฉพาะและถ่ายทอดกันอยู่ใน
สังคมแต่ละสังคมนั้น
พฤติกรรมการแสดงออก และลักษณะนิสัยความเชื่อมีรากฐานที่ก่อให้เกิดลักษณะเฉพาะ
ทางสังคมตามแบบของแต่ละสังคม
การกระทำโต้ตอบกันในสังคม หรือการกระทำตอบกลับตามความคาดหมาย (Expected
Reaction) ที่ผู้อื่นกระทำต่อกันนั้นเป็นไปตามแบบแผนที่กำหนด มีระเบียบแบบแผนทางสังคม เช่น บรรทัดฐาน ความยึดมั่นผูกพันความซื่อสัตย์ระบบ
ต่างๆ ที่เกี่ยวโยงกันภายในสังคมนั้น
การที่จะซึมซับเนื้อหาต่าง ๆ ดังกล่าว บุคคลจะต้องเรียนรู้พื้นฐานและเพิ่มพูนความรู้สึกของความเป็นตัวเองและความรู้สึกทางสังคม โดยผ่านการขัดเกลาทางสังคมอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ การขัดเกลาทางสังคม (Socialization) เป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจจากนักสังคมศาสตร์จากสาขาต่าง ๆ แต่ก็จะพิจารณาวิเคราะห์ในมิติและแง่มุมที่แตกต่างกันในสังคมวิทยาเองถึงแม้จะยึดถือความคิดพื้นฐานร่วมกัน แต่นักสังคมวิทยาแต่ละกลุ่มก็จะทำการวิเคราะห์การขัดเกลาทางสังคมในประเด็นที่แตกต่างกันไป
การที่บุคคลเกิดขึ้นมาท่ามกลางสังคม มีการเรียนรู้ที่จะรู้จักตนเอง รู้จักคนอื่นๆ ภายใต้การอบรมเลี้ยงดู การมีปฏิสัมพันธ์ภายในครอบครัว และ พื้นฐานการขัดเกลาทางสังคม ส่งผลให้เด็ก มีความสามารถในการปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น ๆ ในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้นั้น เด็ก แต่ละคนจะได้สัมผัสกับกระบวนการขัดเกลาทางสังคมตั้งแต่เริ่มเกิดจนกระทั่งตาย ตามแนวคิดของ พัทยา สายหู ชี้ให้เห็นว่ากระบวนการ ขัดเกลาทางสังคม มีตัวขัดเกลาเป็นตัวส่งผ่านแบบแผนทั้งหลายจนสามารถใช้ระบบสัญลักษณ์ที่องค์กรนั้นกำหนด เป็นความหมายร่วมตามบทบาทหน้าที่ของตนได้อย่างเหมาะสมถูกต้อง และสั่งสมเอาความชำนิชำนาญเหล่านี้ไว้จนสามารถเป็นตัวแทนที่จะส่งผ่าน
16
ไปสู่สมาชิกรุ่นต่อไปได้ นับได้ว่า กระบวนการขัดเกลาทางสังคมนั้นเป็นส่วนหน้าที่ ทำให้คนเป็นคนดีมีคุณภาพได้ ผู้วิจัยจึงได้นำมาเป็นกรอบแนวความคิดในด้าน ความสัมพันธ์ภายในครอบครัว และความสัมพันธ์กับครูอาจารย์มีผลต่อการสร้างจิตสำนึกในการรักษาสิ่งแวดล้อมของเยาวชน
แนวคิดการให้การศึกษาอบรมจากโรงเรียน
ทฤษฎีการเรียนรู้
สนธยา พลศรี (2533: 159) และ มงคล ชาวเรือ (2527: 127-128) ได้อธิบายถึง ทฤษฎีการเรียนรู้ ซึ่งอาจจำแนกได้ 2 กลุ่มคือ
1.กลุ่มทฤษฎีความรู้ความเข้าใจหรือทฤษฎีสนาม (Cognitive or Field Theories) ได้สรุปการเรียนรู้ไว้ว่า หมายถึง “การที่มนุษย์รวบรวมการรับรู้และแนวความคิดต่างๆ เข้าเป็นระเบียบแบบแผนที่มีความหมายก่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจลักษณะส่วนรวมของเหตุการณ์ และเกิดการหยั่งเห็น (Insight) ในการแก้ปัญหา
2. กลุ่มทฤษฎีความสัมพันธ์ (Associationistic Theories) สรุปว่า การเรียนรู้ หมายถึง “กระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่คอนข้างถาวรอันเป็นผลมาจากการฝึกฝนหรือประสบการณ์ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนี้หมายรวมถึงการเปลี่ยนแปลงด้านความรู้ความเข้าใจ การเปลี่ยน แปลงด้านทักษะในการคิดการทำงาน รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงทัศนคติด้วย”
การเรียนรู้ของคนในชุมชนต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดนั้น เป็นการที่คนในชมชนได้รับรู้เรื่องราว ต่าง ๆ เกี่ยวกับสิ่งนั้นจำนวนมากพอ และสามารถรวบรวมสิ่งที่รู้ทั้งหมดเข้ามาเป็นระเบียบระบบ ทำให้เกิดความเข้าใจต่อสิ่งนั้นอย่างถ่องแท้ เกิดการหยั่งเห็นในการแก้ปัญหา และมีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมทั้งด้านความรู้ ความเข้าใจ ทักษะการคิด การทำงาน และทัศนคติของเขา ดังนั้นการเรียนรู้ จึงเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยต่าง ๆ มากมาย เช่น ความพร้อมของบุคคล ความแตกต่างระหว่างบุคคล การฝึกหัด การเสริมแรง การจูงใจ สิ่งเร้าและการตอบสนองเป็นต้น
กระบวนการการเรียนรู้
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ (2539: 151) อธิบายถึง ลักษณะของการเรียนรู้เป็นเป็นกระบวนการซึ่งปรากฎเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โดยเป็นผลจากความรู้ใหม่ที่ได้รับ (การอ่าน, การสังเกต หรือ ความคิด) หรือจากประสบการณ์ที่แท้จริงทั้งความรู้และประสบการณ์ใหม่ซึ่งมีผลต่อพฤติกรรมในอนาคตในสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกัน จากความหมายนี้เป็นที่ชัดเจนว่า ผลลัพธ์จากการเรียนรู้เป็น
17
ผลจากความรู้และ หรือ (ประสบการณ์) คุณสมบัตินี้แสดงถึงความแตกต่างของการเรียนรู้จากพฤติกรรม หรือจิตใต้สำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยมีส่วนประกอบพื้นฐานดังนี้
1. การจูงใจ อิทธิพลของแรงกระตุ้นภายในบุคคลซึ่งกระตุ้นให้บุคคลปฏิบัติ การจูงใจขึ้น อยู่กับความต้องการ จุดมุ่งหมาย การจูงใจทำให้เกิดการเรียนรู้ด้วยความต้องการและจุดมุ่งหมายจากสิ่งกระตุ้น แรงจูงใจเกิดจากแรงกระตุ้น ซึ่งหมายถึง ตัวกระตุ้นภายในที่ทำให้เกิดการกระทำของสิ่งจูงใจ ซึ่งเป็นความต้องการที่อยู่ในตัวมนุษย์ประกอบด้วยความต้องการด้านร่างกาย และความต้องการด้านจิตใจ
2. สัญญาณหรือสิ่งบอกเหตุ หมายถึง สิ่งกระตุ้นซึ่งกำหนดทิศทางสำหรับแรงจูงใจของผู้ปฏิบัติ ตัวอย่างการเสนอวิธีเฉพาะอย่างต่อตอบสนองแรงจูงใจที่สำคัญอาจหมายถึง สิ่งกระตุ้นภายนอกหรือปัจจัยภายในมีอำนาจกระตุ้นให้เกิดการตอบสนองอย่างใดอย่างหนึ่ง
ความแตกต่างระหว่างสัญญาณกับสิ่งกระตุ้น คือ สิ่งกระตุ้น หมายถึง หน่วยของปัจจัยนำเข้าสู่ประสาทสัมผัส ประกอบด้วยการโฆษณาผ่านสื่อต่าง ๆ ซึ่งเป็นปัจจัยนำเข้าสู่ความรู้สึก สิ่งบอกเหตุจะกำหนดสิ่งเร้าต่อบุคคล เมื่อทั้งสองอย่างสอดคล้องกับความคาดหวังของผู้ต้องการอนุรักษ์ก็สิ่งกระตุ้นและเสนอแนะกิจกรรมแก่บุคคลไปในทิศทางที่ต้องการ
3. การตอบสนอง หมายถึง พฤติกรรมที่เกิดขึ้นหลังจากสิ่งกระตุ้น หรืออาจหมายถึงปฏิกิริยา ของแต่ละบุคคลต่อสิ่งกระตุ้นหรือสิ่งบอกเหตุ การเรียนรู้เป็นวิธีการที่บุคคลมีปฏิกิริยาต่อสิ่งเร้าหรือสิ่งบอกเหตุ การเรียนรู้สามารถเกิดขึ้นได้แม้ว่าการตอบสอนงจะไม่ปรากฏชัด ซึ่งการตอบสนองจะขึ้นอยู่กับการเรียนรู้ในอดีตและยังขึ้นอยู่กับการตอบสนอง
4. การเสริมแรง หมายถึง ผลลัพธ์ด้านความพอใจหรือไม่พอใจซึ่งมีอิทธิพลที่ดูเหมือนว่าจะมีพฤติกรรมเฉพาะอย่างที่จะกระทำซ้ำในอนาคต เพื่อตอบสนองสิ่งบอกเหตุหรือสิ่งกระตุ้นอย่างใดอย่างหนึ่ง
นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์ (2545: 21-30) ได้กล่าวถึง การเรียนการสอนในโรงเรียนว่า กระบวนการเรียนของเด็กนักเรียนจะต้องมีการจัดเนื้อหา สาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจ ความถนัด และความแตกต่างของผู้เรียนฝึกทักษะกระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และประยุกต์ใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง ผสมผสานสาระความรู้ด้านต่าง ๆ อย่างสมดุล รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา ครูสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียนครู นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่และมีความหลากหลาย
18
แนวทางการปลูกฝังคุณธรรม
สุมน อมรวิวัฒน์ และทิศนา แขมมณี (2527: 187-188) ได้กล่าวว่า ในการปลูกฝังคุณธรรมของศาสนาต่าง ๆ ที่ความสัมพันธ์ต่อความคิด ความรับผิดชอบของเด็กในการนึกถึงผลกระทบที่จะส่งผลบุคคลอื่น หรือ สิ่งแวดล้อม ยังมีแนวการสอนที่ดำรงอยู่จากอดีตมาถึงปัจจุบันและที่เรียกว่า ยังทันสมัยอยู่เสมอและนำมาใช้ในโรงเรียนได้แก่ หลักคำสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งสรุปได้ดังนี้
1. สอนจากเนื้อหาที่ง่ายไปสู่เนื้อหาที่ยาก
2. สอนโดยคำนึงถึงผู้เรียนเป็นสำคัญ
3. สอนด้วยประสบการณ์ตรงและปฏิบัติจริง
4. สอนด้วยการใช้สิ่งแวดล้อมทั้งที่เป็นธรรมชาติบุคคลและเหตุการณ์มาเป็นตัวอย่างและเปรียบเทียบให้เห็นจริง
5. สอนด้วยการประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่าง
กรมวิชาการ (2542) ได้อธิบายไว้ว่า การพัฒนาศักยภาพของเด็กไทยด้านการช่วยเหลือผู้อื่น เสียสละ มุ่งมั่นพัฒนา ด้วยวิธีการสอนโดยบทบาทสมมติ การเสนอโดยใช้กรณีตัวอย่าง การสอนโดยใช้ข่าวและเหตุการณ์ประจำวันการสอนแบบอภิปราย การสอนโดยสถานการณ์ และการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาคุณธรรม การอบรมสั่งสอน และการฝึกปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ดังนี้
1. การเป็นแบบอย่างที่ดี การเป็นแบบอย่างที่ดีของผู้ใหญ่ เป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการสร้างเสริมคุณธรรมให้แก่เด็ก การประพฤติปฏิบัติเป็นแบบอย่างที่ดีเป็นการเจริญรอยตามพระพุทธเจ้าที่ ทรงบำเพ็ญเพียร เทศนาสั่งสอนและเมตตาต่อมวลมนุษย์ นักการศึกษาทั่วโลกเห็นพ้องกันว่า ผใหญ่ต้องปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีแก่เด็ก ผู้ใหญ่ที่อยู่ใกล้ชิดเด็กจะต้องปฏิบัติตามแนวทางที่สอนเด็ก สิ่งที่ผู้ใหญ่สอนและปฏิบัติต้องมีความสอดคล้องกัน ถ้าต้องการให้เด็กมีความเมตตากรุณา เห็นใจผู้อื่น มีน้ำใจต่อผู้อื่น ผู้ใหญ่ต้องประพฤติปฏิบัติเช่นนั้นด้วย
2. การจัดสภาพแวดล้อม การจัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณธรรมเป็น ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อเด็ก เมื่อเด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เด็กก็จะซึมซับคุณลักษณะที่ดีงามโดยไม่ต้องพร่ำบ่นมาก สภาพแวดล้อมที่ดีเกิดจากการจัดสถานที่ที่เหมาะสม การอบรมดูแลที่ดี และความเอาใจใส่ของคนที่อยู่ใกล้ชิดเด็ก
19
3. การอบรมสั่งสอนและการฝึกปฏิบัติ การสอนให้เด็กรู้และเข้าใจในสิ่งที่ควรปฏิบัติ เป็นสิ่งที่จำเป็นในการปลูกฝังค่านิยมและคุณธรรม เด็กจะเชื่อฟังคำสอน ถ้าผู้ใหญ่สอนอย่างมีเหตุผล และได้พูดคุยจนเด็กเห็นพ้องว่าเป็นสิ่งที่ถูกที่ควรทั้งยังต้องมีการฝึกฝนปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ดังนั้นการปลูกฝังการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ให้แก่เด็กเป็นหน้าที่ของโรงเรียนและครอบครัว ครูและผู้ปกครองของเด็กมิอาจหลีกเลี่ยงบทบาทนี้ได้ ทั้งยังต้องผนึกกำลังร่วมมือกันในการเสริมสร้างลักษณะนิสัยที่ดีงามให้แก่เด็ก
การเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางกับการมีส่วนร่วม
1. ความต้องการหรือความสนใจของผู้เรียนเป็นสำคัญ
2. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนมากที่สุด
3. เน้นให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง สามารถเรียนรู้จากประสบการณ์ในสภาพความเป็นจริง สามารถวิจัยเชิงปฏิบัติการ และสืบค้นหาความรู้ด้วยตนเอง
4. เป็นการพึ่งพาตนเอง เพื่อให้เกิดทักษะที่จะนำสิ่งที่เรียนรู้ ไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน และสามารถเข้าใจวิธีการเรียนรู้ของตนเองได้คือ รู้วิธีคิดของตนเองและพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนวิธีคิดอย่างเหมาะสม ไม่เน้นการจดจำเพียงเนื้อหา
5. เน้นการประเมินตนเองเปิดโอกาสให้ประเมินตนเองอย่างต่อเนื่อง ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจตนเองอย่างต่อเนื่อง เข้าใจตนเองอย่างชัดเจน รู้จุดเด่น จุดด้อย พร้อมที่จะปรับปรุงหรือพัฒนาตนเองให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น
5. เน้นความร่วมมือ ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญในการดำเนินชีวิตประจำวัน
เนื้อหาวิชาที่สอดคล้องกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
สูตรที่เกี่ยวข้องในการสอนเรื่องสิ่งแวดล้อม นำเสนอพอสังเขปดังนี้
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โลกประกอบด้วยสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตซึ่งทุกอย่างต่างมีความ สัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกัน ถ้าสิ่งหนึ่งสิ่งใดขาดสภาพสมดุลไป ก็จะส่งผลกระทบต่อสิ่งต่าง ๆ ตามมาเป็นระบบ
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ การอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ ดิน ป่าไม้ การใช้อย่างประหยัด การรู้จักคุณค่า การปรับปรุง และการใช้อย่างคุ้มค่า การดำรงชีวิตที่เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพแวดล้อม การใช้เทคโนโลยีมาเป็นส่วนหนึ่งของการดำรงชีวิตในปัจจุบัน
20
ซึ่งมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องมีการเรียนรู้การใช้อย่างฉลาด การควบคุม และการเลือกใช้โดยคำนึงถึงการรักษาภาพแวดล้อม
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สิ่งมีชีวิตและสิ่งที่อย ู่รอบตัวเรา สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ บริเวณที่ถูกทำลายไปย่อมส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ที่เป็นผู้ผลิต ผู้บริโภค และผู้ย่อยอินทรีย์สาร การใช้ทรัพยากรธาตุควรยึดหลักการประหยัด และได้ประโยชน์สูงสุด รวมทั้งการนำกลับมาใช้ใหม่
โครงการในโรงเรียน
โครงการแยกขยะและขยะรีไซเคิล
1.หลักการและเหตุผล
มนุษย์จำเป็นต้องมีปัจจัยในการดำรงชีวิต มีการอุปโภคบริโภคในแต่ละวัน ก่อให้เกิดสิ่งเหลือจากวัสดุหรือสิ่งที่ใช้แล้วอย่างมากมายไร้ประโยชน์ ซึ่งเรียนกว่า “ขยะ” นับวันยิ่งเพิ่มจำนวนมากยิ่งขึ้นก่อให้เกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม มลภาวะเป็นพิษและสุขภาพอนามัยของมนุษย์ ดังนั้นปัญหาขยะจึงจำเป็นให้ทุกฝ่ายร่วมกันแก้ไข ทางโรงเรียนวัดพิกุลจึงได้จัดทำโครงการแยกขยะและขยะรีไซเคิลนี้ขึ้น
2. วัตถุประสงค์ของโครงการ
2.1 เพื่อให้ครู นักเรียน ชุมชน มีความรู้เรื่องขยะ
2.2 เพื่อให้ครู นักเรียน ชุมชน มีจิตสำนึกและตระหนักในการลดปริมาณขยะ
2.3 เพื่อให้ครู นักเรียน ชุมชนปฏิบัติในการลดขยะ แยกขยะ และนำขยะบางชนิดที่เหลือให้กับมาใช้ใหม่ได้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น
2.4 เพื่อจัดเก็บขยะและทิ้งขยะให้เป็นระบบ
2.5 เพื่อนำขยะที่สามารถนำมาใช้ในการทำสื่อการเรียนการสอน
3. เป้าหมายของโครงการ
3.1 ด้านปริมาณ
3.1.1 บุคลากรและนักเรียนจำนวน 337 คน ช่วยลดปริมาณขยะในแต่ละวัน
3.1.2 บุคลากรและนักเรียน จำนวน 337 คน ทิ้งขยะ แยกขยะได้ถูกต้อง
21
3.1.3 บุคลากรและนักเรียน จำนวน 337 คน สามารถนำขยะกลับมาใช้ใหม่
3.2 ด้านคุณภาพ
3.2.1 โรงเรียนมีสถานที่เก็บแยกขยะได้อย่างเหมาะสมและถูกต้อง
3.2.2 โรงเรียนมีสิ่งแวดล้อมที่ดี สะอาดและปราศจากกลิ่นเหม็นจากขยะ
4. ลักษณะของโครงการ
เป็นโครงการต่อเนื่อง ในการรักษาความสะอาดและพัฒนาสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้ดีขึ้น
5. แนวทางการดำเนินงาน
5.1 ประชุมชี้แจง ปรึกษาในการแยกขยะและทำขยะรีไซเคิล
5.2 วางแผนการดำเนินงาน แต่งตั้งผู้รับผิดชอบ ทั้งบุคลากรและนักเรียน
5.3 จัดหาอุปกรณ์ในการใส่ขยะและแยกขยะ
5.4 รณรงค์เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับเรื่องการลด แยกขยะและนำขยะที่ใช้ได้กลับมาใช้ใหม่
5.5 จำหน่ายขยะที่เหลือใช้
5.6 ระยะเวลาดำเนินงาน ตลอดปีการศึกษา 2546
5.7 สถานที่ดำเนินงาน โรงเรียนวัดพิกุล
5.8 ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน
5.9 จัดทำรายงานสรุป
6. ค่าใช้จ่ายของโครงการ
ใช้เงินงบประมาณ และจากผู้มีจิตศรัทธาบริจาค
7. ปัญหาและอุปสรรค
7.1 อุปกรณ์ในการจัดแยกขยะประเภทต่าง ๆ ไม่เพียงพอ
7.2 นักเรียนบางส่วนขาดความร่วมมือในการทิ้ง ลด และแยกขยะ
8. ประโยชน์ของโครงการ
8.1 ปริมาณขยะในโรงเรียนลดน้อยลง ทำให้สภาพแวดล้อมดีขึ้น
8.2 นักเรียนแยกขยะได้ถูกต้อง และโรงเรียนสะอาด
22
9. การติดตามและประเมินผล
9.1 ผู้ติดตามและประเมินผล คณะกรรมการดำเนินการโครงการ
9.2 วิธีติดตามและประเมินผล จากแบบประเมิน และผลการบันทึกการแยกขยะ
9.3 ระยะเวลาประเมินผล สิ้นปีการศึกษา
โครงการประหยัดน้ำประหยัดไฟ
1. หลักการและเหตุผล
น้ำและไฟ นับว่ามีคุณค่าและความจำเป็นสำหรับมนุษย์ ซึ่งในใช้ในการอุปโภคบริโภคในการดำรงชีวิตประจำวัน ดังนั้น น้ำและไฟจึงมีความสำคัญที่ต้องช่วยกันประหยัด และใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
2. วัตถุประสงค์ของโครงการ
2.1 เพื่อให้ครู นักเรียน รู้จักการประหยัด น้ำ และ ไฟ
2.2 เพื่อให้ครู นักเรียน เห็นคุณค่าและความสำคัญของน้ำและไฟ
2.3 เพื่อปลูกฝังให้นักเรียนมีนิสัยประหยัด ไม่ฟุ่มเฟือย
3. เป้าหมายของโครงการ
3.1 ด้านประมาณ
3.1.1 สถิติการใช้น้ำและไฟฟ้าลดลง
3.1.2 ค่านำค่าไฟฟ้าลดลง
3.2 ด้านคุณภาพ
3.2.1 นักเรียนช่วยกันประหยัดน้ำ ประหยัดไฟฟ้า ไม่เปิดน้ำ ไฟ พัดลม เครื่องปรับอากาศทิ้งไว้
3.2.2 นักเรียนใช้น้ำ ใช้ไฟฟ้าอย่างคุ้มคา และเกิดประโยชน์มากที่สุด
4.ลักษณะของโครงการ
เป็นโครงการต่อเนื่อง ในการประหยัดน้ำประหยัดไฟ
5. แนวทางการดำเนินงาน
23
5.1 เสนอโครงการ และขออนุมัติโครงการ
5.2 แต่งตั้งคณะกรรมการผู้รับผิดชอบ ประชุมวางแผน
5.3 ดำเนินการตามแผนและสำรวจน้ำและไฟ
5.4 ระยะเวลาดำเนินงาน ตลอดปีการศึกษา 2546
5.5 สถานทีดำเนินงาน โรงเรียนวัดพิกุล
5.6 ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน
5.7 จัดทำรายงานสรุป
6. ค่าใช้จ่ายของโครงการ
ใช้เงินงบประมาณและจากผู้มีจิตศรัทธาบริจาค
7. ปัญหาและอุปสรรค
7.1 งบประมาณไม่เพียงพอ
7.2 นักเรียนบางส่วนขาดความร่วมมือในการประหยัดน้ำประหยัดไฟ
8. ประโยชน์ของโครงการ
8.1 ประหยัดค่าใช้จ่ายเงินงบประมาณ
8.2 ฝึกนักเรียนให้เป็นคนประหยัดไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย
9. การติดตามและประเมินผล
9.1 ผู้ติดตามและประเมินผล คณะกรรมการดำเนินการโครงการ
9.2 วิธีติดตามและประเมินผล จากแบบรายงานบันทึกการใช้น้ำและไฟ
9.3 ระยะเวลาประเมินผล เดือนละ 1 ครั้ง
ตามแนวคิดทฤษฎี เนื้อหาและโครงการภายในโรงเรียนที่กล่าวมาแล้วข้างต้น สามารถนำมาอธิบายพฤติกรรมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนตามในทัศนะของผู้วิจัย เห็นว่า ความรู้ ความเข้าใจ ความคิด คือผลที่เกิดจากการเรียนรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องใดเรื่องหนึ่งการมีแบบอย่างที่ดีและการอยู่ใกล้ชิด ประกอบกับขบวนการสอนที่ให้นักเรียนเป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้ นำประสบการณ์ที่ได้รับ พร้อมกับขอบเขตเนื้อหาสาระของบทเรียนด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ถูกต้อง ย่อมนำไปสู่ความเข้าใจของเด็ก เห็นความสำคัญและความจำเป็นที่จะต้องได้รับการแก้ไข จึงทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ทัศนคติและการทำงาน การปฏิบัติ การกระทำที่มีความสัมพันธ์ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมขึ้น จึงได้นำแนวคิดนี้มาทำการศึกษาในครั้งนี้
24
แนวคิดการนำเสนอและเผยแพร่จากสื่อสังคม
การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ และจำเป็นที่จะต้องนำเสนอให้บุคคลในสังคมได้เกิดความรู้ ความเข้าใจ การมีทัศนคติ ค่านิยมที่จะปฏิบัติในแนวทางที่ถูกต้อง การเรียนรู้เรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ทุกโอกาส ทุกสถานที่ ซึ่งมีอิทธิพลนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการรับผิดชอบ และสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างถาวร และองค์ประกอบที่สำคัญที่ทำหน้าที่ในการรับรู้ของบุคคลในสังคมนั้นคือ การนำเสนอและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารจากสื่อมวลชนและตัวแบบของสื่อสังคม ซึ่งมีแนวคิดและทฤษฎีที่สัมพันธ์เกี่ยวข้องดังนี้
ทฤษฎีการสื่อสาร
การส่งข่าวสารข้อมูล หรือการแจ้งประกาศจากเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีผลต่อการรับรู้ของบุคคล และส่งผลให้พฤติกรรมของบุคคลเหล่านั้นเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ผู้ส่งสารต้องการ
กิติมา สุรสนธิ (2541: 2) ได้สรุปความหมายและสาระสำคัญเกี่ยวกับการสื่อสารไว้ดังนี้
การสื่อสาร หมายถึง การถ่ายทอดข่าวสารจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง
องค์ประกอบของการสื่อสาร ประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 4 ส่วน คือ
1. ผู้ส่งสาร หมายถึง บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่มีความคิด มีความต้องการมีความตั้งใจที่จะส่งข่าวสาร ความรู้สึกนึกคิด ความคิดเห็น ความเชื่อและอื่น ไปยังผู้รับสาร ผู้ส่งสารจึงเป็นองค์ประกอบที่สัมพันธ์กับองค์ประกอบอื่น โดยสามารถแยกผู้ส่งสารออกเป็นประเภทต่าง ๆ ได้ดังนี้
1.1 พิจารณาตามจำนวน ได้แก่ ผู้ส่งสารที่เป็นบุคคลเดียวหรือกลุ่มคน
1.2 พิจารณาตามความตั้งใจ แบ่งเป็น ผู้ส่งสารโดยเจตนาที่จะส่งสารไปยังผู้รับสารและผู้ส่งสารที่ไม่เจตนาจะส่งสารไปยังผู้รับสาร อาจเป็นการส่งสารโดยบังเอิญ
1.3 ลักษณะความเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ผู้ส่งสารแบบเป็นทางการ ได้แก่ ผู้ส่งสารในลักษณะที่เป็นทางการ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการสื่อสารในองค์การ และผู้ส่งสารที่ไม่เป็นทางการ ได้แก่ ผู้ส่งสารที่ส่งข้อมูล ข่าวสารที่มีเนื้อหาส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับอารมณ์และความรู้สึกมากกว่าข้อมูลที่เป็นทางการ
2. สาร เป็นองค์ประกอบสำคัญอีกสิ่งหนึ่งในกระบวนการสื่อสาร “สาร” หมายถึง ข่าว และอื่น ๆ ซึ่งมีความหมายที่แสดงออกโดยอาศัยภาษาหรือสัญลักษณ์ใด ๆ ที่สามารถทำให้เกิดการ
25
รับรู้ร่วมกันได้ระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร ซึ่งสารจะเป็นตัวเร้าให้ผู้รับสารรับรู้ถึงความหมายและมีปฏิกิริยาตอบสนอง โดยสารมีส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ
2.1 รหัสสาร คือ ภาษาหรือสัญลักษณ์ที่มนุษย์คิดขึ้น
2.2 เนื้อหาของสาร คือ เรื่องราวสิ่งต่างๆ ที่ผู้ส่งต้องการจะถ่ายทอดหรือส่งไปยังผู้รับสารในรูป ต่าง ๆ เช่น เนื้อหาทั่วไป เนื้อหาสาระ เนื้อหาเชิงวิชาการ และไม่เชิงวิชาการ เนื้อหาประเภทความคิด และเนื้อหาประเภทจูงใจ
2.3 การจัดเรียงลำดับสาร หมายถึง รูปแบบวิธีการนำรหัสสารมาเรียบเรียง เพื่อให้ได้ใจความตามเนื้อหาที่ต้องการ ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะโครงสร้างของภาษา และบุคลิกลักษณะของแต่ละบุคคล
3. ช่องทางการสื่อสารหรือสื่อ
ช่องทางการสื่อสารหรือสื่อเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการสื่อสาร ซึ่งอาจหมายถึงพาหนะที่จะนำพาข่าวสารจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร
หลักเกณฑ์ในการพิจารณาสื่อที่เป็นมนุษย์และสื่อที่ไม่เป็นมนุษย์แบ่งได้ 2 ประเภท คือ
1. สื่อที่เป็นมนุษย์หรือสื่อบุคคล ได้แก่ บุคคลที่เป็นผู้นำสารไปยังผู้รับสาร คือ ผู้ส่งสารนั้นเองเป็นผู้ที่ทำการเข้ารหัสไปยังผู้รับ
2. สื่อที่ไม่ใช่มนุษย์ หมายถึง สื่อธรรมชาติหรือสื่อที่ถูกประดิษฐ์ขึ้น ได้แก่ สื่อมวลชน และสื่อระยะไกล สำหรับสื่อที่เป็นมวลชนนั้นแบ่งออกได้ 2 ประเภทคือ สื่อสิ่งพิมพ์ อันได้แก่ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร หนังสือ แผ่นพับ และ สื่ออิเลคทรอนิกส์ ได้แก่ วิทยุ โทรทัศน์ และภาพยนตร์ เป็นต้น
วิธีการใช้สื่อ
การใช้สื่อมีหลายลักษณะ ซึ่งสามารถสรุปวิธีต่าง ๆ ได้ดังนี้
การใช้สื่อทางเดียว เป็นการใช้สื่อหนึ่งในการส่งข้อมูลข่าวสารไปยังผู้รับสาร เช่น ผู้ส่งสารอาจใช้สื่อในการไปบอกเล่าเรื่องราวให้ชาวบ้านฟัง สื่อประเภทหนี้มักไม่มีสิ่งเร้าให้แก่ผู้รับสาร
การใช้สื่อผสม เป็นการนำเสนอข่าวสารโดยใช้สื่อหลาย ๆ ประเภทหรือหลายสื่อเพื่อให้บรรลุเป้าหมายและให้สามารถเข้าถึงผู้รับได้อย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง สื่อที่ใช้ ได้แก่ วิทยุ และสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ เป็นต้น
26
4. ผู้รับสาร เป็นบุคคลที่สำคัญมากในการสื่อสาร การสื่อสารจะประสบความสำเร็จหรือไม่ขึ้นอยู่กับผู้รับสาร โดยผู้รับสารแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท คือ
4.1 ผู้รับสารแบบคนเดียว เป็นผู้รับสารที่มีจำนวนน้อยที่สุด ผู้ส่งสารสามารถควบคุมการรับข่าวสารได้ง่าย
4.2 ผู้รับสารแบบกลุ่มเล็ก เป็นผู้รับสารที่มีจำนวนมากขึ้น การควบคุมการเปิดรับข่าวยัง
ทำ ได้ง่าย
4.3 ผู้รับสารแบบกลุ่มใหญ่ เป็นผู้รับสารที่มีจำนวนมาก การควบคุมความสนใจในการเปิดรับข่าวสารเป็นไปได้ยาก ผู้ส่งสารต้องใช้เทคนิค รูปแบบวิธีที่น่าสนใจในการทำให้ผู้คนจำนวนมากในใจในเรื่องราวที่นำเสนอ
4.4 ผู้รับสารมวลชนหรือผู้รับสารสาธารณะ มักเกิดในรูปการสื่อสารมวลชน การควบคุมทำได้ยาก หรือไม่ได้เลย เนื่องจากมีคุณลักษณะแตกต่างกันทางด้านประชากร
วัตถุประสงค์ทั่วไปของการสื่อสาร สามารถแยกจุดมุ่งหมายออกได้ 2 ลักษณะคือ
ผู้ส่งสาร
1. เพื่อแจ้งให้ทราบ เป็นการบอกให้รู้หรือแจ้งเหตุการณ์ต่าง ๆ
2. เพื่อให้การศึกษา ต้องการให้ผู้รับสารได้รับความรู้ ความเข้าใจในบางเรื่อง
3.เพื่อชักจูง เป็นการเน้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเครื่องความรู้ทัศนคติ
4. เพื่อสร้างความพอใจ เป็นความต้องการให้ผู้รับสารเกิดความสนุกสนานมีอารมณ์แจ่มใส
ผู้รับสาร
1. เพื่อทราบ เพื่อให้ผู้รับสารทราบเรื่องราว
2. เพื่อเรียนรู้ เกิดความเข้าใจในเรื่องราวหรือวิชาการต่าง ๆ
3. เพื่อตัดสินใจ เพื่อให้เกิดความคิดหรือเพื่อปรับเปลี่ยนความคิด เป็นการแสวงหาข้อมูลเพื่อให้เกิดการตัดสินใจ
4. เพื่อสนุกสนาน เป็นการเสริมสร้างความสุข
ทฤษฎีและแนวคิดเกี่ยวกับlสื่อสังคม
สื่อนับว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในกระบวนการสื่อสารและมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของมนุษย์ที่สอดคล้องและเหมาะสมกับความคาดหวังและสังคมต้องการ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
27
1. สื่อมวลชน
ปรมะ สตะเวทิน (2540: 56) ได้ให้ความหมายของสื่อมวลชนว่า เป็นสื่อที่ใช้ในการสื่อสาร
มวลชน เรียกว่า สื่อมวลชน คือสื่อที่สามารถนำสารจากผู้ส่งสาร ไปสู่ผู้รับสารที่ประกอบด้วยคนจำนวนมากได้อย่างรวดเร็ว ภายในเวลาเดียวกัน หรือใกล้เคียงกัน ได้แก่ หนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ นิตยสารและภาพยนตร์
เกศินี จุฑาวิจิตร (2540: 64) กล่าวว่า สื่อมวลชนเป็นสื่อที่มีความซับซ้อนทางเทคโนโลยีสามารถส่งไปยังผู้รับสารที่ไม่รู้จักได้เป็นจำนวนมาก และอยู่ห่างไกลกันได้อย่างรวดเร็ว
ณรงค์ สมพงษ์ (2543: 160) กล่าวถึงสื่อมวลชนต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
วิทยุโทรทัศน์ เป็นการส่งและการรับสัญญาณภาพ และเสียงโดยเครื่องส่งและเครื่องรับ อิเล็คโทรนิคออกอากาศโดยคลื่นวิทยุ จึงเป็นสื่อที่แพร่ภาพและเสียงไปสู่เป้าหมายปลายทางได้รวดเร็ว ในด้านของการรับสารสามารถรับรู้ทั้งภาพและเสียง ซึ่งช่วยทำให้เกิดความเข้าใจได้ง่ายกว่าการรับรู้ด้วยเสียงเพียงอย่างเดียวเพราะภาพจะให้ผู้ดูเกิดความเข้าใจได้ทันที อีกประการหนึ่งสัญญาณโทรทัศน์สามารถบันทึกเก็บไว้ในสื่อต่าง ๆ ได้ดี ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ
1. รายการประเภทให้ความรู้ และประสบการณ์แก่ผู้ชม เช่น รายการสารคดี รายการสัมภาษณ์บุคคลที่น่าสนใจ
2. รายการทางการสอน จัดขึ้นเพื่อการเรียนการสอนโดยตรง
3. รายการข่าว นำเสนอเหตุการณ์ที่เพิ่งจะเกิดขึ้น หรือกำลังเกิดขึ้นและอยู่ในความสนใจ
ของประชาชนทั่วไป มีผลกระทบต่อบุคคลในสังคม โดยการนำเสนอตามที่เป็นจริง ไม่มีการใส่ความคิดเห็นลงไป
4. รายการบันเทิง เป็นรายการที่เน้นความสนุกสนาน เพลิดเพลินเป็นหลักใหญ่ เช่น ละคร ภาพยนตร์ เพลง เกมโชว์ต่าง ๆ
5. รายการโฆษณา เป็นการโฆษณาชวนเชื่อ และโน้มน้าวใจ ทั้งนี้เพื่อสร้างผลทางจิตวิทยาให้เกิดความศรัทธาแก่ผู้รับสาร
วิทยุกระจายเสียง เป็นสื่อมวลชนประเภทเสียงที่ออกอากาศด้วยระบบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าด้วยคลื่นส่งวิทยุไปยังผู้รับที่มีเครื่องรับวิทยุ
หนังสือพิมพ์ เป็นวัสดุที่เป็นสื่อมวลชนประเภทหนึ่งซึ่งมีลักษณะเฉพาะตัว คือ มีเนื้อหาเน้นหนักในเรื่องของการรายงานข่าวและเหตุการณ์สำหรับคนทั่วไป มีความหลากหลายในเนื้อหา
28
ไม่เน้นเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่ง และมีระยะเวลาในการพิมพ์ที่แน่นอน เผยแพร่สู่สาธารณชนจำนวนมาก ๆ เปิดโอกาสให้ทุกคนซื้ออ่านได้ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
นิตยสาร เป็นหนังสือที่มีระยะเวลาออกเป็นรายคาบไว้แน่นอน เช่น ออกเป็นรายสัปดาห์ รายปักษ์ (ครึ่งเดือน) รายเดือน ราย 2 เดือน นิตยสารมีลักษณะต่างจากสิ่งพิมพ์อื่น ๆ คือ เน้นหนักทางด้านการเสนอบทความ สารคดีและข้อเขียนต่าง ๆ ที่ให้ทั้งความรู้ ความบันเทิงกับผู้อ่านทั่วไป มีการจัดหน้าและรูปเล่มที่สวยงาม ให้ความรู้และความบันเทิงเฉพาะด้านแตกต่างกันออกไปทั้งเพศ และวัย
2. สื่อบุคคล
เกศินี จุฑาวิจิตร (2540: 83-84) ได้ให้ความหมายของสื่อบุคคลว่า เป็นพื้นฐานที่ใช้ในการถ่ายถอดข่าวสารความรู้ ความเข้าใจและความคิดเห็นต่าง ๆ ที่มีมาแต่ดังเดิมของมนุษย์ก่อนการใช้สื่อประเภทอื่น ๆ และเป็นช่องทางสำคัญในการสื่อสารระหว่างบุคคล จากอดีตถึงปัจจุบัน สื่อบุคคลมีอิทธิพลต่อกลไกการเปลี่ยนแปลงทางสังคมทุกยุคทุกสมัย แม้ในยุคที่มีการพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกว้างไกล เช่น ปัจจุบันจะมีการนำคอมพิวเตอร์ และอุปการณ์การสื่อสารมาใช้เพื่อช่วยขจัดข้อจำกัดด้านระยะทางและเวลาในการสื่อสารระหว่างบุคคล การสื่อสารระหว่างบุคคลโดยผ่านสื่อบุคคลในลักษณะที่เป็นการสื่อสารแบบเห็นหน้ายังคงมีความสำคัญเสมอ ตราบใดที่มนุษย์ยังอยู่ในสังคมย่อมเลี่ยงไม่พ้นที่จะติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่น ๆ
ประเภทของสื่อบุคคลในสังคม
เกศินี จุฑาวิจิตร (2540: 83-84) ได้อธิบายว่า สื่อบุคคลมีอิทธิพลต่อกลไกการเปลี่ยนแปลงทางสังคมทุกยุคทุกสมัย การสื่อสารระหว่างบุคคลโดยผ่านสื่อบุคคลในลักษณะที่เป็นการสื่อสารแบบเห็นหน้ายังคงมีความสำคัญเสมอ สื่อบุคคลแบ่งเป็นประเภทต่างๆสรุปได้ดังนี้
สื่อภายนอก เป็นได้ทั้งแบบบุคคลต่อบุคคล และบุคคลต่อกลุ่มบุคคล โดยใช้วิธีการบอกกล่าว สัมภาษณ์ สอบถาม และส่งข่าวสารในรูปแบบต่างๆไปยังผู้รับสารที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย สื่อภายใน ได้แก่ บุคคลที่อยู่ในสังคมนั้นๆ เช่น ผู้นำชุมชน คณะครู เป็นต้น สื่อภายในเป็นผู้ส่งสารต่อไปยังกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้ได้ทราบถึงวัตถุประสงค์ของโครงการ และ คุณประโยชน์ที่จะได้รับ ความรู้และเป็นการปลูกจิตสำนึกที่ส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สื่อบุคคลที่สำคัญต่อการพัฒนาได้แก่
29
1. ผู้นำความคิด พัชรี เชยจรรยา และ คณะ (2538: 191) อธิบายไว้ว่า ผู้นำความคิด เปรียบเสมือนช่องทางการเผยแพร่กระจายข่าวสารและสร้างเครือข่ายการสื่อสารในสังคม ซึ่งจะแพร่กระจายข่าวสารผสมผสานความคิดเห็นเป็นส่วนตัว ไปยังสมาชิกในสังคมนั้น อย่างไรก็ดีผู้นำความคิดในเรื่องหนึ่งหรือกิจกรรมหนึ่งก็อาจไม่ใช่ผู้นำความคิดในอีกเรื่องหนึ่งหรือกิจกรรมหนึ่งก็ได้
2. นักพัฒนา เกศินี จุฑาวิจิตร (2540: 88) ได้ให้ความหมาย ว่า บุคคลนอกชุมชนที่เข้าไปมีบทบาทผลักดันให้บุคคลในชุมชนเกิดความเคลื่อนไหว และเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ซึ่งนักพัฒนานี้จะรวมทั้งพัฒนาการ เจ้าหน้าที่ส่งเสริม เจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้เชี่ยวชาญ เจ้าหน้าที่ขององค์กรพัฒนาเอกชนและอาสาสมัครที่นำแนวคิดใหม่ ๆ หรือนวัตกรรมไปเผยแพร่ในท้องถิ่น
บทบาทของสื่อบุคคล
เกศินี จุฑาวิจิตร (2540: 85-88) กล่าวว่า สื่อบุคคลเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจยอมรับนวัตกรรมด้วยสื่อบุคคลมีลักษณะที่เอื้ออำนวยต่อการชักจูงและโน้มน้าวใจ ซึ่งสรุปได้ดังนี้
1. การติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลดำเนินไปอย่างง่าย ๆ ไม่มีกฎเกณฑ์บังคับคู่สื่อสาร มีความใกล้ชิดกัน ซึ่งกระบวนการกลุ่มสามารถที่จะมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมของบุคคล
2. การติดต่อสื่อสารแบบเห็นหน้า หรือเผชิญหน้าเป็นการสื่อสารที่เปิดโอกาสให้มีการซักถามได้ทันทีทั้งยังสามารยืดหยุ่นการนำเสนอเนื้อหาได้ หาผู้ส่งสารได้รับการต่อต้านจากผู้ฟังก็อาจเปลี่ยนหัวข้อสนทนาได้
3. ผู้รับสารบางคนมีแนวโน้มที่จะเชื่อถือ และยอมรับความคิดเห็นหรือทัศนะของสื่อบุคคลที่เขา รู้จักคุ้นเคยและนับถือมากกว่าที่เชื่อบุคคลที่เข้าไม่รู้สึกคุ้นเคย
ปัจจัยที่ทำให้สื่อบุคคลในฐานะเป็นผู้ส่งสารเหล่านี้ มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงทัศนคติและพฤติกรรมของผู้รับสารเป้าหมาย มีดังนี้
30
1. ความน่าเชื่อถือ คือ ระดับความรู้สึกที่ผู้รับสารรู้สึกว่า ผู้ส่งสารเป็นที่น่าไว้วางใจและมีความสามารถ ถ้าผู้รับสารเป้าหมายมีความรู้สึกว่านักพัฒนาหรือผู้นำความคิดเห็นมีความน่าเชื่อถือ ผู้รับสารมีแนวโน้มที่จะยอมรับสารจากพวกเขาเหล่านั้น
2. ความดึงดูดใจ ผู้ส่งสารมีความดึงดูดใจย่อมกระตุ้นให้ผู้รับสารเกิดความสนใจ หรือพึงพอใจในการได้พบเห็นพูดคุย เช่น ดาราภาพยนตร์ ศิลปินเพลง หรือ นักกีฬาที่มีชื่อเสียง
3. ความคล้ายคลึง ในด้าน เพศ อายุ เชื้อชาติ ศาสนา ภาษา การแต่งกาย สถานภาพทางสังคมและเศรษฐกิจ จะมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงทางทัศนคติและความคิดเห็นของผู้รับสาร ซึ่งทำให้เกิดความรู้สึกเข้าใจ เห็นอกเห็นใจ ชอบพอและไว้วางใจ
3. สื่อเฉพาะกิจ เกศินี จุฑาวิจิตร (2540: 85-88) ได้อธิบายสื่อเฉพาะกิจสรุปได้ว่า เป็นสื่อที่ผลิตขึ้นมา โดยมีเนื้อหาเฉพาะเจาะจงเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เพื่อกระตุ้นให้ผู้รับสารเกิดความสนใจในเรื่องนั้น ๆ
พัชรี เชยจรรยาและคณะ (2541: 67-198) อธิบายไว้ว่า กระบวนการสื่อสารหรือสื่อทางสังคมแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ การสื่อสารระหว่างบุคคลและการสื่อสารมวลชน แต่ในปัจจุบันได้เพิ่มการสื่อสารแบบกึ่งกลางจึงทำให้การสื่อสารแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
1. การสื่อสารระหว่างบุคคล คือการสื่อสารโดยตรงระหว่างคน 2 คน หรือมากกว่า 2 คนในระยะห่างทางกายภาพพอที่จะเลือกใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 (หู ตา จมูก ลิ้นและผิวกาย)
2. การสื่อสารมวลชน เป็นกระบวนการสื่อสารที่มุ่งไปที่ผู้รับสารจำนวนมาก ไม่รู้จักคุ้นเคย มีความแตกต่างกันในกลุ่มผู้รับ มีการถ่ายทอดข้อมูลอย่างเปิดเผย กำหนดเวลาให้ถึงผู้รับพร้อม ๆ กัน ผู้ส่งสารมักส่งในองค์กรที่มีความซับซ้อนมีค่าใช้จ่ายสูง ซึ่งจะส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลลดลงและดึงบุคคลออกจากสภาพสังคมวัฒนธรรมที่อยู่รอบตัวโดยทั่วไป
3. การสื่อสารแบบกึ่งกลาง หมายถึง การใช้เครื่องมือเทคนิคภายใต้สภาพการณ์ที่ค่อนข้างจำกัด โดยมีผู้สื่อสารที่สามารถระบุชี้ได้ การสื่อสารประเภทนี้จึงเป็นการสื่อสารขั้นกลาง ซึ่งมีลักษณะทั้งที่เหมือนกันการสื่อสารระหว่างบุคคล ในการสื่อสารแบบกึ่งกลางมีจำนวนผู้รับสารน้อย โดยมาจะมีเพียงคนเดียวเป็นผู้ที่ส่งสารรู้จัก การส่งสารจะทำภายใต้สภาพการณ์ที่จำกัด ดังนั้นสารจึงไม่เป็นสารที่เปิดให้สาธารชนรู้ ฉะนั้นผู้สื่อสารจึงมีการแลกเปลี่ยนความคิดซึ่งกันและกัน เหมือนกับที่ปรากฏในการสื่อสารระหว่างบุคคล และรูปแบบของการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สื่อสารซงค่อนข้างจะไม่มีโครงสร้างหรือรูปแบบที่แน่นอนตายตัว ได้แก่ โทรศัพท์ เทเล็กซ์ อินเทอร์เน็ต โทรศัพท์เคลื่อนที่
31
จากทฤษฎีการสื่อสารที่กล่าวมาข้างต้น แสดงให้เห็นว่า ทั้งผู้ส่งสาร หรือจากการนำเสนอจากสื่อที่มิอิทธิพลทางสังคม ไม่ว่าจะเป็นบุคคล หรือ จากสื่อมวลชนทั้งหลาย และสื่อเฉพาะกิจที่จัดทำขึ้นเพื่อเฉพาะเจาะจงในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง มีอิทธิพลและมีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจ ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนความคิด ทัศนคติ การแสวงหาข้อมูล เพื่อนำไปสู่พฤติกรรมที่แสดงออกของผู้รับสาร ดังนั้น การส่งเสริมหรือกระตุ้น แจ้งข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในโรงเรียนจากหน่วยงานและบุคคลคลที่รับผิดชอบ ย่อมมีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนในโรงเรียนทั้งทางตรงและทางอ้อมด้วยกันทั้งสิ้น สื่อจึงอิทธิพลทางสังคมที่ใช้กระตุ้นให้บุคคลปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางสังคม ผู้วิจัยได้นำแนวคิดด้านการสื่อสาร และลักษณะของสื่อต่างๆ ดังกล่าวข้างต้นมากำหนดเป็น ”สื่อสังคม” และเป็นตัวแปรต้นในการศึกษาวิจัยครั้งนี้
แนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
แนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรม
ได้มีผู้ศึกษาพฤติกรรมมนุษย์ และให้ความหมายเกี่ยวกับพฤติกรรมไว้ด้วยกันหลายท่าน เช่น พจนานุกรมของลองแมน (Longman) ได้ให้คำจำกัดความเกี่ยวกับพฤติกรรมไว้ว่า พฤติกรรมเป็นการกระทำ เพื่อการตอบสนองการกระทำทางจิตวิทยาของแต่ละบุคคลและเป็นปฏิสัมพันธ์ในการตอบสนองสิ่งกระตุ้นภายในหรือภายนอก รวมทั้งเป็นกิจกรรมการกระทำต่าง ๆ ที่เป็นไปอย่างมีจุดมุ่งหมาย สังเกตเห็นได้ หรือเป็นกิจกรรมการกระทำต่าง ๆ ที่ได้ผ่านการใคร่ครวญมาแล้ว หรือเป็นไปอย่างไม่รู้สึกตัว (Goldenson 1984 : 90)
ความหมายของพฤติกรรม
ประภาเพ็ญ สุวรรณ (2526: 15) ได้ให้ความหมายของพฤติกรรม หมายถึง การกระทำโดยรู้สึกตัว ทั้งสังเกตได้ด้วยตนเองหรือผู้อื่น รวมทั้งการกระทำที่ไม่อาจสังเกตเห็นได้ หรือใช้เครื่องมือสังเกต
ชุดา จิตพิทักษ์ (2525: 2) ได้กล่าวว่า พฤติกรรมหรือการกระทำของบุคคลนั้นไม่ร่วมเฉพาะสิ่งที่ปรากฎออกมาภายนอกเท่านั้น แต่ยังรวมถึงสิ่งที่อยู่ในใจ ซึ่งคนภายนอกไม่สามารถสงเกตเห็นได้โดยตรง เช่น คุณค่าที่เรายึดถือเป็นหลักในการประเมินสิ่งต่างๆ ทัศนคติที่มีต่อสิ่งต่าง ๆ ความคิดเห็น ความเชื่อ รสนิยม และสภาพจิตใจ
32
ชัยพร วิชชาวุธ (2535: 1) ได้ให้คำจำกัดความในการวิจัยเชิงจิตวิทยาว่า พฤติกรรม หมายถึง กิจกรรมหรือการกระทำของมนุษย์ ไม่ว่าการกระทำนั้นผู้กระทำทำโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวและไม่ว่าคนอื่นจะสังเกตการกระทำได้หรือไม่ก็ตาม เช่น การพูด การเดิน การกระพริบตา การได้ยิน การเข้าใจ การรู้สึกโกรธ การคิด การทำงานของหัวใจ การทำงานของกล้ามเนื้อเป็นต้น
เบนดูรา (Bandura 1997: 16) กล่าวว่า ความรู้สึก ความเข้าใจ หรือความเชื่อของคนมีบทบาทสำคัญต่อการแสดงออกซึ่งพฤติกรรม
จากความหมายของพฤติกรรมที่กล่าวมาข้างต้น สรุปได้ว่า พฤติกรรม หมายถึง การปฏิบัติหรือการกระทำที่มนุษย์แสดงออกมาโดยมีความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติและความเชื่อในการปฏิบัติที่มีต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ได้แก่ การทิ้งขยะ การใช้ไฟฟ้าและน้ำ ทั้งที่บ้านและโรงเรียน
องค์ประกอบของพฤติกรรม
มล.ตุ้ย ชุมสาย (2508: 123) แบ่งพฤติกรรมการเรียนรู้ออกเป็น 2 ประการ คือ พฤติกรรมที่ติดตัวมาแต่กำเนิด คือพฤติกรรมที่อินทรีย์ทำเองได้โดยที่อินทรีย์มิได้มีโอกาสเรียนรู้มาก่อนเลย และพฤติกรรมที่เป็นผลของการเรียนรู้ หมายถึง พฤติกรรมที่อินทรีย์ทำขึ้นหลังจากที่ได้มีการเรียนรู้หรือเลียนแบบจากบุคคลอื่นในสังคม พฤติกรรมประเภทนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า พฤติกรรมทางสังคม
ประภาเพ็ญ สุวรรณ(2526: 15-17) ได้กล่าวถึงทฤษฎีของเบนจามิน เอส.บลูม (Benjamin S. Bloom) พฤติกรรมมีส่วนประกอบอยู่ 3 ส่วน คือ
1. พฤติกรรมด้านพุทธิปัญญา พฤติกรรมด้านนี้เกี่ยวข้องกับ การรับรู้ การจำ ข้อเท็จจริง
ต่างๆ รวมทั้งการพัฒนาความสามารถและทักษะทางด้านสติปัญญาการใช้วิจารณญาณเพื่อประกอบการตัดสินใจ พฤติกรรมด้านนี้ประกอบด้วย ความสามารถยกระดับต่าง ๆ คือ ความรู้ ความเข้าใจ การประยุกต์หรือการนำความรู้ไปใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และการประเมินผล
2. พฤติกรรมด้านทัศนคติ ค่านิยม ความรู้สึกชอบ พฤติกรรมด้านนี้หมายถึง ความสนใจ ความคิดเห็น ความรู้สึก ท่าที ความชอบ ไม่ชอบ การให้คุณค่า การรับ การเปลี่ยนหรือปรับปรุงค่านิยมที่ยึดถืออยู่ เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นภายในจิตใจของมนุษย์ ยากแก่การอธิบาย โดยมีองค์ประกอบ 5 ขั้นตอน คือ การรับรู้ หรือการให้ความสนใจ การตอบสนอง การให้ค่า หรือการเกิดค่านิยม การจัดระเบียบ และการแสดงลักษณะค่านิยมที่ยึดถือ
33
3. พฤติกรรมด้านการปฏิบัติ เป็นพฤติกรรมที่ใช้ความสามารถทางร่างกายแสดงออก ซึ่งรวมทั้งการปฏิบัติ หรือพฤติกรรมที่แสดงออกและสังเกตได้ ในสถานการณ์หนึ่ง หรืออาจจะเป็นพฤติกรรมที่ล่าช้า คือ บุคคลไม่ได้ปฏิบัติทันที แต่คาดคะเนว่าอาจปฏิบัติในโอกาสต่อไป พฤติกรรมการแสดงออกนี้เป็นพฤติกรรมขั้นสุดท้ายที่เป็นเป้าหมายของการศึกษา ซึ่งต้องอาศัยพฤติกรรมระดับต่าง ๆ
ในการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมครั้งนี้ ผู้วิจัยมุ่งศึกษาพฤติกรรมในด้านการปฏิบัติหรือกระทำที่บุคคลแสดงออกมาอย่างเปิดเผยเท่านั้นซึ่งเป็นผลมาจากการเรียนรู้
คอนบาช (Cronbach 1972 : 14) ได้แบ่งองค์ประกอบของพฤติกรรมที่มาจากการเรียนรู้ออกเป็น 7 ประการ ดังนี้
1. ความมุ่งหมาย เป็นความต้องการหรือวัตถุประสงค์ที่ทำให้เกิดกิจกรรม คนเราต้องทำกิจกรรมเพื่อสนองตอบความต้องการที่เกิดขึ้น กิจกรรมบางอย่างก็ให้ความพอใจหรือสนองความต้องการที่เกิดขึ้น กิจกรรมบางอย่างให้ความพอใจหรือสนองตอบความต้องการได้ทันที แต่ความต้องการ หรือวัตถุประสงค์บางอย่างก็ต้องใช้เวลานาน จึงจะสามารถบรรลุความต้องการได้ คนเราจะมีความต้องการหลายอย่างในเวลาเดียวกัน และมักจะต้องเลือกสนองความต้องการที่รีบด่วนก่อน และสนองความต้องการที่ห่างออกไปในภายหลัง
2. ความพร้อม หมายถึง ระดับวุฒิภาวะหรือความสามารถที่จำเป็นในการทำกิจกรรม เพื่อ
สนองความต้องการได้หมดทุกอย่าง ความต้องการบางอย่างก็อยู่นอกเหนือความสามารถของเขา ในกรณีนี้กล่าวได้ว่าเขาขาดความพร้อม
3. สถานการณ์ เป็นเหตุการณ์ที่เปิดโอกาสให้เลือกทำกิจกรรมเพื่อสนองความต้องการ
4. การแปลความหมาย ก่อนที่คนเราจะทำกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งลงไปนั้น เขาจะต้องพิจารณาสถานการณ์เสียก่อนแล้วตัดสินใจเลือกวิธีที่คาดว่าจะทำให้เกิดความพอใจมากที่สุด
5. การตอบสนอง เป็นการทำกิจกรรมเพื่อสนองความต้องการ โดยวิธีการเลือกแล้วในขั้นการแปลความหมาย
6. ผลที่ได้รับหรือผลที่ตามมา เมื่อทำกิจกรรมแล้วย่อมได้รับผลจากการกระทำ อาจจะตรงตามความต้องการที่คิดไว้ หรือตรงข้ามกับความคาดหมายก็ได้
7. ปฏิกิริยาต่อความผิดหวัง หากคนเราไม่สามารถตอบสนองความต้องการได้ ก็กล่าวได้ว่าเขาประสบความผิดหวัง ในกรณีเช่นนี้ เขาอาจย้อนกลับไปแปลความหมายของสถานการณ์เสียใหม่ และเลือกวิธีการตอบสนองใหม่ได้
34
กระบวนการเกิดพฤติกรรม
วิมลสิทธิ์ หรยางกูร (2526: 7-9) ได้กล่าวถึงกระบวนการเกิดพฤติกรรมว่ามีขั้นตอนในการเกิดอยู่ด้วยกัน 3 กระบวนการ คือ
1. กระบวนการรับรู้ คือกระบวนการที่รับข่าวสารจากสภาพแวดล้อมโดยผ่านทางระบบประสาทสัมผัส กระบวนการจึงรวมถึงความรู้สึกด้วย
2. กระบวนการรู้ คือ กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับทางจิต ที่รวมการเรียนรู้ การจำการคิด กระบวนการทางจิตดังกล่าวย่อมรวมถึงการพัฒนาด้วย กระบวนการรู้จึงเป็นกระบวนการทางปัญญา พร้อมกันในกระบวนการรับรู้ และกระบวนการรู้นี้เกิดการตอบสนองทางด้านอารมณ์ เกิดกระบวนรับรู้และกระบวนการทางอารมณ์เป็นพฤติกรรมภายใน
3. กระบวนการเกิดพฤติกรรมในสภาพแวดล้อม คือ กระบวนการที่บุคคลมีพฤติกรรมเกิดขึ้นในสภาพแวดล้อม มีความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมผ่านการกระทำ สังเกตได้จากภายนอก เป็นพฤติกรรมภายนอก
สิ่งกำหนดพฤติกรรมมนุษย์
ในการแสดงพฤติกรรมมนุษย์ มีอะไรเป็นสิ่งที่ให้มนุษย์แสดงออกถึงพฤติกรรม บางอย่างอาจถูกกำหนดได้จากความต้องการตามธรรมชาติ เช่น การกิน การนอน การเจ็บไข้ แต่มีบางลักษณะของพฤติกรรมมีสิ่งที่กำหนดให้เกิดขึ้นได้ ซึ่ง ณรงค์ สินสวัสดิ์ (2518: 14) ได้อธิบายถึงสิ่งที่กำหนดพฤติกรรมมนุษย์อาจแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. ลักษณะนิสัยส่วนตัวของมนุษย์แต่ละคน ได้แก่
ความเชื่อ หมายถึง หมายถึง การที่บุคคลคิดว่าการกระทำบางอย่าง ปรากฏการณ์บางอย่าง หรือสิ่งของบางอย่าง หรือคุณสมบัติของสิ่งของ หรือบุคคลบางอย่างมีอยู่จริง หรือเกิดขึ้นจริง ๆ หรือ หมายถึง การที่บุคคลหนึ่งคิดถึงอะไรก็ได้ในแง่ข้อเท็จจริง คือ เขาคิดว่าความจริงเป็นเช่นนั้นแล้วความเชื่ออาจจะได้มาโดยการเห็น ได้สัมผัส ได้ยินกับหู หรือได้รับคำบอกเล่า อ่านภาพเขียน สิ่งตีพิมพ์ รวมทั้งการคิดขึ้นมาเอง
ค่านิยม คือสิ่งที่คนนิยมยึดถือประจำใจ ที่ช่วยตัดสินใจในการเลือก หรือแนวคิดทั้งที่เห็นได้เด่นขัดและไม่เด่นชัด ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษของบุคคลหนึ่ง หรือกลุ่มบุคคลหนึ่งเกี่ยวกับว่าอะไรเป็นสิ่งที่ดี ซึ่งความคิดที่มีอิทธิพลให้บุคคลเลือกกระทำอันใดอันหนึ่งจากวิธีการที่มีอยู่หลายๆ วิธี
35
หรือเลือกเป้าหมายอันใดอันหนึ่งจากหลาย ๆ อันที่มีอยู่ ค่านิยมอาจได้มาโดยการอ่าน จากคำบอกเล่าหรือคิดขึ้นเอง
ทัศนคติ คือ ทฤษฎีที่ใช้อธิบายโครงสร้างของทัศนคติหลายทฤษฎีเห็นพ้องกันว่า ทัศนคติมีความเกี่ยวข้องกันกับพฤติกรรมของบุคคล กล่าวคือ ทัศนคติเป็นแนวโน้มหรือขั้นเตรียมพร้อมของพฤติกรรม หรือทัศนคติเป็นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าทางจิตใจ ซึ่งคล้ายกับการตอบสนองทางร่างกาย ต่างกันแต่ว่าไม่ได้ออกกำลังกายไปเท่านั้น
บุคลิกภาพ คือ สิ่งที่บอกว่าบุคคลหนึ่งจะทำอะไรถ้าเขาอยู่ในสถานการณ์หนึ่ง
2.กระบวนการอื่น ๆ ทางสังคม ซึ่งไม่เกี่ยวกับลักษณะนิสัยส่วนตัวของมนุษย์ สามารถแยกได้เป็น 2 ประเด็น คือ
สิ่งกระตุ้นพฤติกรรม และความเข้มข้นของสิ่งกระตุ้นพฤติกรรม ลักษณะนิสัยของบุคคล คือ ความเชื่อ ค่านิยม ทัศนคติ และบุคลิกภาพนั้นมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมก็จริง แต่พฤติกรรมจะเกิดขึ้นหรือไม่ถ้าไม่มีสิ่งกระตุ้นพฤติกรรม สิ่งกระตุ้นพฤติกรรมนี้อาจเป็นอะไรก็ได้ แต่จะต้องมีพลังและความเข้มข้นด้วย ซึ่งจะทำให้พฤติกรรมของแต่ละคนแตกต่างกันไป
สถานการณ์ หมายถึง สิ่งแวดล้อมทั้งที่เป็นบุคคลและไม่ใช่บุคคล ซึ่งอยู่ในสภาวะที่บุคคลกำลังจะมีพฤติกรรม บางครั้งถ้าสถานการณ์เปิดช่องว่างให้แล้วพฤติกรรมของคนเราก็อาจแตกต่างกันไปตามแต่ลักษณะของเขา
องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของมนุษย์
พัฒน์ สุจำนงค์ (2522: 80-82) กล่าวถึงองค์ประกอบต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของมนุษย์ ประกอบไปด้วย
1. กลุ่มสังคม ได้แก่ กลุ่มเพื่อนบ้าน กลุ่มเพื่อนที่โรงเรียน และกลุ่มเพื่อนสถาบันเดียวกัน
2. บุคคลที่เป็นแบบอย่าง ได้แก่ พ่อแม่พี่น้อง ผู้มีชื่อเสียงในสังคม
3. สถานภาพ อาจเป็นสถานภาพที่สังคมกำหนดให้ เช่น เพศ อายุ ศาสนา หรือสิ่งที่บุคคล
ได้มาซึ่งตนเอง เช่น ยศ ตำแหน่ง เมื่อบุคคลมีสถานภาพแตกต่างกันไป พฤติกรรมก็ย่อมแตกต่างกัน
4. ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี นปัจจุบันมนุษย์นิยมใช้เครื่องทุนแรงต่าง ๆ ในการทำงานแทนการใช้แรงงานเหมือนอย่างแต่ก่อน ทำให้พฤติกรรมมนุษย์เปลี่ยนไปจากเดิม
36
5. กฎหมาย พฤติกรรมบางส่วนของมนุษย์จะถูกควบคุมโดยกฎหมาย เช่น การสูบบุหรี่บนรถประจำทางในเขตกรุงเทพมหานครถือว่าผิดกฎหมาย ดังนั้นพฤติกรรมการสูบบุหรี่บนรถประจำทางก็น้อยลงไป
6. ศาสนา แต่ละศาสนามีกฎเกณฑ์ ข้อห้ามที่แตกต่างกัน ดังนั้น ในสถานการณ์อย่างเดียวกัน คนที่นับถือศาสนาต่างกันก็อาจแสดงพฤติกรรมที่ต่างกันได้ ทั้งนี้เนื่องมาจากอิทธิพลของศาสนานั้นเอง
7. ขนบธรรมเนียมประเพณี ความเชื่อต่าง ๆ ล้วนมีอิทธิพลต่อการปฏิบัติตนของบุคคลทั้งสิ้น เช่นประเพณีในการเลี้ยงเด็กในแต่ละสังคม ก็แตกต่างกันออกไปตามความเชื่อ เป็นต้น
8. สิ่งแวดล้อม คนที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมต่างกันออกไป พฤติกรรมก็ต่างกัน เช่น ที่บ้าน และที่โรงเรียน คนในชนบท กับ คนในเมือง
9. ทัศนคติ มีอิทธิพลต่อการแสดงออกของมนุษย์ เช่น นักเรียนมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อครูผู้สอนก็มักจะแสดงพฤติกรรมแปลก ๆ ออกมา เช่น ไม่ตั้งใจเรียน หรือ ขาดเรียนเมื่อถึงชั่วโมงที่ครูคนนี้สอน
10. การเรียนรู้ในทางจิตวิทยา ถือว่าพฤติกรมส่วนมากของมนุษย์เกิดจากการเรียนรู้ การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยตลอดตั้งแต่เล็กจนโต เช่น เด็กเรียนรู้การปฏิบัติตนจากการที่ได้ดูตัวอย่างจากผู้ใหญ่ เป็นต้น
แนวทางการศึกษาพฤติกรรมมนุษย์
พฤติกรรมของบุคคลนั้น มีทั้งพฤติกรรมภายนอกและพฤติกรรมภายใน การศึกษาพฤติกรรมจึงมีได้หลายวิธี เช่น พฤติกรรมภายนอก ทำการศึกษาได้โดยการสังเกตทั้งทางตรงและทางอ้อม แต่ถ้าเป็นพฤติกรรมภายใน ซึ่งไม่สามารถสังเกตได้ต้องใช้วิธีทางอ้อม เช่น การสัมภาษณ์ การทดสอบด้วยแบบทดสอบ หรือการทดลองทั้งในห้องปฏิบัติการและในชุมชน ดังนั้นเครื่องมือที่ใช้วัดพฤติกรรมอาจทำได้โดยการสร้างเป็นแบบสอบถาม ซึ่งสอดคล้องกับ วิธีการศึกษาพฤติกรรม ของ สมจิตต์ สุพรรณทัศน์ (2526: 131-136) ที่กล่าวถึงการใช้แบบสอบถาม เป็นวิธีการที่เหมาะสมสำหรับการศึกษาพฤติกรรมของบุคคลเป็นจำนวนมาก และเป็นผู้ที่อ่านออกเขียนได้ หรือสอบถามกับบุคคลที่อยู่ห่างไกล กระจัดกระจาย นอกจากนี้ ยังสามารถถามพฤติกรรมในอดีต หรือต้องการทราบแนวโน้มพฤติกรรมในอนาคตได้ ข้อดีอีกประการหนึ่งคือ ผู้ถูกศึกษาสามารถที่จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมที่ปกปิด หรือพฤติกรรมต่าง ๆ ที่ไม่ยอมแสดงให้บุคคลอื่นทราบได้โดยวิธีอื่น ซงผู้ถูกศึกษาแน่ใจว่าเป็นความลับ และการใช้แบบสอบถามจะใช้ศึกษาเวลาใดก็ได้
37
สำหรับการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยเห็นว่าแนวคิดของ พัฒน์ สุจำนงค์ (2522: 80-82) ชี้ให้เห็นว่าพฤติกรรมและการกระทำของมนุษย์นั้นมีผลหรือมีอิทธิพลมาจาก กลุ่มสังคม ทั้งที่บ้านและโรงเรียน สิ่งแวดล้อม ทัศนคติ และการเรียนรู้ ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยจึงได้นำแนวคิดนี้มาเป็นกรอบของการศึกษาพฤติกรรมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของเด็กนักเรียนโรงเรียนวัดพิกุล สำหรับการศึกษาวิจัยพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนในครั้งนี้ เป็นการศึกษาพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของเด็กนักเรียนทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ซึ่งประชากรเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ซึ่งมีจำนวนมาก และสามารถอ่านออกเขียนได้
แนวคิดเกี่ยวกับอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
วินัย วีระวัฒนานนท์ (2540: 1-4) ได้กล่าวไว้ว่า ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์เผชิญอยู่มี 3 ประการที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่และการพัฒนาในสังคมมนุษย์คือ ปัญหาความร่อยหรอของธรรมชาติ ปัญหาสารพิษ ปัญหาระบบนิเวศ และมนุษย์เพียรพยายามที่จะแก้ไขปัญหาด้วยการพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อขจัดสารพิษต่างๆ การจัดการฟื้นฟูสภาพแวดล้อม ดำเนินการทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขเพื่อพัฒนาสุขภาพและอนามัยของมนุษย์ และมาตรการทางสังคมเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม และปัญหานิเวศ แต่ก็ยังห่างไกลเป้าหมายและการให้การศึกษาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ทรัพยากร ระบบนิเวศ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยีหรือวิทยาการด้านอื่นๆ ต้องประสมประสานกันอย่างอย่างถูกต้อง เป็นไปเพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพ ก่อให้เกิดสติปัญญา ก่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจในชีวิตธรรมชาติโดยรอบตัวอย่างถ่องแท้ และก่อให้เกิดทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตอย่างแท้จริง
แนวโน้มเกี่ยวกับการอนุรักษ์และความเปลี่ยนแปลงเรื่องอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวทำให้เกิดแนวความคิดในเรื่องการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ (Boo 1991) ซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้
แนวโน้มเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
การที่ประชากรเพิ่มขึ้นและภาวะทางเศรษฐกิจถดถอยในหลายประเทศ กิจกรรมการพัฒนาต่าง ๆ เช่น การทำไม้ การทำเหมืองแร่ และการเกษตรเกิดขึ้นรอบ ๆ ภายในพื้นที่อนุรักษ์ ส่งผลกระทบรุนแรงต่อระบบนิเวศ จนทำให้ทรัพยากรเสื่อมโทรม ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาประเทศกำลังพัฒนา จึงพยายามผสมผสานเรื่องการอนุรักษ์เข้ากับการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยการใช้ประโยชน์พื้นที่อนุรักษ์ที่ได้จัดตั้งขึ้น ให้เป็นแหล่งพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมควบคู่ไปกับการสงวนรักษาระบบนิเวศตามธรรมชาติโดยการส่งเสริมการท่องเที่ยว ในพื้นที่อนุรักษ์ อย่างเช่น ใน
38
อุทยานแห่งชาติ ด้วยความเชื่อว่าการท่องเที่ยวในพื้นที่อนุรักษ์เป็นทางเลือกหนึ่งที่เปิดโอกาสให้มีการจ้างงาน และสร้างรายได้จำนวนมากทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ เท่ากับเป็นการสร้างแรงจูงใจด้านเศรษฐกิจให้กับประชาชนในชนบท เพื่อจะได้ตระหนักถึงความสำคัญ และหันมาช่วยกันสนับสนุนการสงวนรักษาพื้นที่อนุรักษ์และทรัพยากร ตลอดจนเป็นแรงผลักดันให้กลุ่มอนุรักษ์และประชาชนทั่วไปยอมรับว่าการท่องเที่ยวที่มีการวางแผนที่ดี จะมีศักยภาพใช้เป็นเครื่องมือในการสนับสนุนการอนุรักษ์อุทยานแห่งชาติ และพื้นที่ต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี
ศรีพร สมบุญธรรม (2537: 54-55) ได้กำหนดแนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับการอนุรักษ์ ดังนี้
1.การนำกฎหมายมาบังคับใช้อย่างจริงจังสำหรับผู้กระทำการฝ่าฝืน เช่น การตัดไม้ทำลายป่า การลักลอบเก็บหรือมีปะการัง การล่าสัตว์ในเขตหวงห้าม
2.การควบคุมสิ่งก่อสร้างต่างๆในบริเวณแหล่งท่องเที่ยวให้มีความกลมกลืนกับสภาพแวดล้อม รวมทั้งการควบคุมระบบกำจัดขยะและน้ำเสียจากสิ่งก่อสร้างต่างๆ
3.ไม่ทำลายป่า ไม่ขีดเขียน ทำลาย รื้อถอน ลักขโมยโบราณวัตถุ หรือบุกรุกพื้นที่โบราณสถานและพื้นที่สาธารณะ
ลลิตา โภชนพันธ์ (2539: 35) ได้อธิบายถึงแนวทางการอนุรักษ์เพื่อให้ถือเป็นหลักในการปฏิบัติ ดังนี้
1.การกำจัดขยะของเสียต่างๆ ต้องไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและทัศนียภาพของสถานที่อาคารบ้านเรือนหรือสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ
2.ประสบการณ์ที่นักเรียนได้รับในการอบรมจะต้องเสริมสร้างความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ธรรมชาติ
3. ต้องให้ความเคารพและส่งเสริมการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น
ลักษณะการใช้ทรัพยากร
เกษม จันทร์แก้ว (2541: 11-18) ได้กล่าวถึงการใช้ทรัพยากรและวิธีการให้แบบยั่งยืนนั้น หมายถึงการใช้ด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสมให้ผลผลิตมาก มีของเสียน้อยและมลภาวะเกิดขึ้นน้อย ก่อให้เกิดการฟื้นตัวของทรัพยากรสิ่งแวดล้อมจนมีศักยภาพ ในการให้ผลผลิตแบบยั่งยืนอย่าง ต่อ เนื่อง ตลอดไป
จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีที่นำไปใช้นั้นต้องเกิดของเสียและมลภาวะน้อยที่สุดหรือไม่เกิดเลยตามหลักเมื่อเกิดของเสียและมลพิษสิ่งแวดล้อมขึ้นมา ต้องเสาะแสวงหาเทคโนโลยีการบำบัด การ
39
กำจัดหรือเทคโนโลยีการฟื้นคืนสภาพ ตลอดจนต้องคำนึงถึงเทคโนโลยีนำของมาใช้ประโยชน์ หรือ รีไซเคิล (Recycle) มีผลทำให้ของเสียและมลพิษสิ่งแวดล้อมลดน้อยลง หรือแปรสภาพเป็นทรัพยากรที่มีกำลังผลิตได้
การบริโภคโดยตรง หมายถึง การใช้ที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ เพื่อความเจริญเติบโต มีพลังและความปลอดภัยได้แก่
1. การใช้ทรัพยากรเพื่อปัจจัยสี่ ได้แก่ อาหาร ยารักษาโรค เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย
2. การใช้ทรัพยากรเพื่อเป็นพลังงาน จะใช้ร่มกับเทคโนโลยีเพื่อให้ได้งานที่ต้องการ เช่นการใช้ฟื้นและถ่านเป็นเชื้อเพลิงในการหุงต้ม การใช้ก๊าซธรรมชาติ น้ำมันเชื้อเพลิง หรือ การหมักของเสียและขยะมูลฝอยเพื่อให้ได้ก๊าซชีวภาพและใช้ในการหุงต้ม หรือการผลิตการะแสไฟฟ้าด้วยน้ำมันและก๊าซชีวภาพ
3. การใช้ทรัพยากรเพื่อป้องกันภัยพิบัติ เช่น ป่าป้องกันลมพายุ ทำนบกั้นน้ำรอบเมือง
4. การใช้ทรัพยากรเพื่อความสะดวกสบาย เช่น รถยนต์ เฟอร์นิเจอร์ เครื่องยนต์
หลักปฏิบัติในการใช้ทรัพยากร
1. ต้องการให้มีทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมสำหรับมนุษย์ได้ใช้สอย พร้อมทั้งพึ่งพิงในการดำรงชีวิต โดยเฉพาะปัจจัยสี่ ความสะดวกสบาย และความปลอดภัยของชีวิต
2.ใช้ทรัพยากรเชิงอนุรักษ์นั้นมุ่งหวังที่จะใช้ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมประกอบกันอยู่ในระบบมีศักยภาพในการให้ผลแบบยั่งยืนและให้มีความเพิ่มพูน
3. การใช้ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมเชิงอนุรักษ์วิทยา จะต้องบรรจุแนวทางปฏิบัติในการควบคุมของเสียมิให้เกิดขึ้นภายในระบบสิ่งแวดล้อม
4. การใช้ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมเชิงอนุรักษ์วิทยา ได้ยึดหลักการของอนุรักษ์วิทยาเป็นพื้นฐานซึ่งจะต้องมีการรักษา สงวน ปรับปรุง ซ่อมแซม และพัฒนาทรัพยากร
5. การใช้ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมเชิงอนุรักษ์วิทยา ไม่ว่าจะเป็นสิ่งใด ระบบใด หรือท้องที่ใด มีความต้องการนอกจากจะเกี่ยวข้องกับการใช้ การกำจัดของเสีย การเพิ่มศักยภาพในการผลิต ต้องการให้มีการจัดองค์ประกอบภายในระบบสิ่งแวดล้อม หรือระบบนิเวศให้มีความหลากหลายชนิด มีปริมาณ สดส่วนการกระจายในระบบตามเกณฑ์มาตรฐานธรรมชาติที่ทุกสิ่งทุกชีวิตในระบบสามารถอยู่ได้อย่างเป็นสุขและมีความสมดุลตามธรรมชาติ
การอนุรักษ์ทรัพยากร
40
1.การอนุรักษ์และการจัดเก็บกักทรัพยากร เป็นการควบคุมการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมตามกาลเวลาโดยมีวิธีพอสังเขปดังนี้
1.1 ทรัพยากรน้ำ ใช้วิธีการสร้างอ่างเก็บน้ำ สร้างเขื่อนเก็บกักน้ำ
1.2 ทรัพยากรดิน ใช้วิธีทำรั้ว ขุดร่อง การปลูกหญ้าแฝกคลุมดิน ห้ามทำไร่เลื่อนลอย กำหนดเขตพื้นที่ป่าสงวน เขตประวัติศาสตร์ เขตควบคุม
1.3 ทรัพยากรอาหารและยา ใช้วิธีการใส่เกลือ หรือยาฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ การทำให้แห้ง การทำให้สุก การเก็บไว้ในที่มีอุณหภูมิต่ำ
1.4 ทรัพยากรไม้ และโลหะ โดยการอาบน้ำยาไม้ การตากไม้ให้แห้ง การเผาให้ ผิวภายนอกกลายเป็นถ่าน โลหะเคลือบด้วยสารเคมี
2. การแปรรูปของเสียที่เป็นของแข็ง ได้แก่ ขยะ สิ่งปฏิกูล มาใช้ประโยชน์ด้วยการเผาเพื่อให้เกิดพลังงานความร้อนและขี้เถ้า การนำไปฝังกลบ กากของเสียที่เป็นพิษต้องทำให้มีสภาพเป็นกลาง
3. การซ่อมแซม ได้แก่ การเพิ่มโครงสร้างให้ครบ ณ ที่ขาดหายไป การรักษาโดยเทคโนโลยีบำบัด เช่น การเติมอากาศในบ่อบำบัดน้ำเสีย การปลูกป่า
4. การฟื้นฟู ได้แก่ การใช้ธรรมชาติในการฟื้นฟู การป้องกันไฟป่าอย่างมีประสิทธิภาพ การห้ามทำไร่เลื่อนลอย การปล่อยน้ำเสียให้ไหลสัมผัสอากาศเพื่อทำให้เป็นน้ำดี
5. การพัฒนา หมายถึง การทำให้ผลิตผลจากทรัพยากรนั้นให้ดีกว่าปกติโดยใช้วิธีการเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพช่วยให้กลไกสิ่งแวดล้อมทำงานได้ดีขึ้น ได้แก่ การใช้ปุ๋ยและยาปราบศัตรูพืช รวมทั้งการใช้เครื่องมือเกษตรอื่น ๆ มาปรับปรุงเทคโนโลยีเกษตร
6. การป้องกัน เป็นวิธีการปกป้องคุ้มครองทรัพยากรที่เคยมี และกำลังถูกทำลาย อาจเป็นการใช้กฎหมาย การประชาสัมพันธ์ การให้ความรู้ การทำรั้วกั้น การสร้างขอบเขต การติดป้ายระบุ
7. การสงวน คือ การเก็บไว้มิให้ใช้เนื่องจากเป็นทรัพยากรที่กำลังจะหมดหรือกำลังจะสูญสิ้นโดยการกำหนดระยะเวลาเป็นช่วง ๆ ให้ทรัพยากรพอฟื้นคืนสภาพเดิม
8. การแบ่งเขต เป็นการอนุรักษ์ขั้นสุดท้าย ถ้าไม่สามารถใช้วิธีการอื่นได้แล้ว เนื่องจากปัญหาการไม่มีวินัยทางสังคม หรือกฎหมายไม่รัดกุม ได้แก่ เขตต้นน้ำ เขตป่าไม้ เขตป่าสงวน
พฤติกรรมที่มีต่อสิ่งแวดล้อม
41
ศูนย์พัฒนาหลักสูตร กรมวิชาการ ( 2520 อ้างใน ลลิตา โภชนพันธ์ 2539: 15-16) ได้กล่าวไว้ว่า พฤติกรรมควรได้รับการปรับปรุงให้สอดคล้องและกลมกลืนกับธรรมชาติมากที่สุด ซึ่งการประพฤติตนให้สอดคล้องกับธรรมชาติสิ่งแวดล้อม มีข้อควรคำนึงดังต่อไปนี้
1. ทุกคนมีบางสิ่งบางอย่างที่ได้รับจากสังคม ได้แก่การศึกษา การบริการสาธารณะ เป็นต้น
สิ่งที่ต้องให้แก่สังคม ได้แก่ ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ การเคารพกฎหมาย การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
เป็นต้น
2. ทุกคนควรต้องรักษาเสริมสร้างธรรมชาติเอาไว้ เพื่อประโยชน์ต่อตนเองและรักษาสิ่งมีชีวิตอื่นๆ
3. การตักตวงผลประโยชน์จากธรรมชาติโดยไม่ระมัดระวัง ย่อมก่อให้เกิดผลเสียหายแก่การดำรงของสิ่งมีชีวิต
4. ถ้าเราดำรงชีวิตอย่างมีความสุข เราจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไข ความคิด ความรู้สึกที่จะอยู่ในสิ่งแวดล้อมอย่างกลมกลืนและมีความพอเหมาะ
5. ทรัพยากรทั้งหมดในโลกเป็นของสิ่งมีชีวิตทั้งมวล ไม่ใช่ของมนุษย์เท่านั้น
6. การดำรงชีวิตของมนุษย์ต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จากการใช้ทรัพยากรและการกระทำกิจกรรมอื่นๆ
7.ในการกระทำกิจกรรมใดๆ ที่กระทำต่อสิ่งแวดล้อมจะต้องคำนึงถึงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างๆ ในสิ่งแวดล้อมที่มีต่อความเกี่ยวข้องกันอย่างเป็นระบบ เช่น การตัดไม้ทำลายป่า ทำให้เกิดความแห้งแล้งและอุทกภัย มีผลต่อการดำรงชีวิตของคน
8.การดำรงชีวิตอย่างมัธยัสถ์ เท่านั้นจะทำให้คนมีชีวิตกลมกลืนกับสิ่งแวดล้อมอย่างมีความสุข เช่น การใช้จักรยานทำให้ไม่เปลืองน้ำมัน ไม่ทำให้อากาศเป็นพิษ สุขภาพแข็งแรงและอุบัติเหตุลดลง
9.ในการกระทำใดๆ ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจะต้องคำนึงถึงผลที่เกิดขึ้นในระยะยาวที่จะกระทบกระเทือนถึงอนุชนรุ่นต่อไป เช่นการตัดไม้ทำลายป่า จะทำให้เกิดความแห้งแล้งกันดาร และเมื่อระยะเวลาผ่านไปที่แห่งนั้นก็จะเป็นทะเลทรายอย่างถาวร
10.ปัญหาสิ่งแวดล้อมทั้งมวลเกิดจากคน ดังนั้นในการแก้ไขและป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อมจึง จำเป็นต้องแก้ที่ตัวคน โดยแต่ละคนสำนึกและฝึกปฏิบัติตนเอง และร่วมกันแก้ปัญหาสังคม
พฤติกรรมที่แสดงถึงการมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม
42
เนื่องจากจิตสำนึกเป็นผลที่ได้มาจากการประเมินค่า การเห็นความสำคัญต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง อันเกิดจากการผสมผสานกันระหว่าง ความเชื่อ ทัศนคติ ค่านิยม และความเห็น ดังนั้น จึงอาจสรุปได้ว่าจิตสำนักในการอนุรักษ์นั้น เกิดจากผลของการประเมินค่าของความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์ ซึ่งเป็นกระบวนการเรียนรู้ซึ่งมีสถานบันต่าง ๆ เช่น ครอบครัว โรงเรียน กลุ่มเพื่อน และสื่อมวลชนเป็นผู้กำหนดอันประกอบด้วย ความรู้ ความเข้าใจในการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมซึ่งจะมีผลมาจากกระบวนการเรียนรู้เฉพาะเรื่อง เป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดความรู้สึก มีความตื่นตัวตระหนักในบทบาทหน้าที่ของตนและพร้อมที่จะมีส่วนร่วม ดังนั้นการที่เด็กและเยาวชนที่มีจิตสำนึกในอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมจึงควรมีลักษณะดังนี้
1. มีความรู้ความเข้าใจในการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
2.มีความรู้สึกรับผิดชอบต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
3.มีความสนใจที่จะปฏิบัติตนในการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
การส่งเสริมจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
ณัฐพงศ์ สุกรี (2541: 4) ได้อธิบายการส่งเสริมความตระหนักและจิตสำนึกในการอนุรักษ์ว่า เป็นสิ่งสำคัญประการหนึ่งในการพัฒนาที่เกี่ยวข้องในอนาคต และส่งเสริมรักษาคุณภาพของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมให้ดำรงอยู่ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในระยะยาว โดยกระบวนการทางสิ่งแวดล้อมศึกษา มุ่งเน้นพัฒนาจากพฤติกรรมส่วนบุคคลไปสู่ประชากรทุกระดับให้มีความสำนึกถึงความสัมพันธ์ระหว่ามนุษย์และสิ่งแวดล้อม
การสร้างจิตสำนึก เพื่อให้ทุกคนมีความตระหนักในความสำคัญต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมนั้น มีขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้
1. ขั้นการรับรู้ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของแต่ละบุคคล เช่น บุคคลที่อาศัยอยู่ในบริเวณหมู่บ้านกะทูนใน จ. นครศรีธรรมราช ย่อมรับรู้ในการอุทกภัยอันเนื่องมาจากการตัดไม้ทำลายป่ามากกว่าประชาชนในบริเวณอื่น
2. ขั้นความใส่ใจและเห็นคุณค่าในเรื่องที่จะเรียนรู้ เมื่อบุคคลรับรู้แล้วก็เกิดความสนใจ
และ เมื่อเกิดความสนใจแล้วก็เริ่มเห็นคุณค่า เหมือนนักอนุรักษ์ที่นิยมที่เริ่มต้นจากการรับรู้และสนใจในเรื่องสภาพแวดล้อมและเห็นคุณค่าในสิ่งนั้น ๆ เช่น เห็นคุณค่าของแม่น้ำลำคลองและบ้านเมืองที่สะอาด
43
จากแนวความคิดดังกล่าว อาจกล่าวได้ว่าการส่งเสริมจิตสำนึกในการอนุรักษ์ สามารถพัฒนาให้เกิดขึ้นได้ โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดจากสภาพการณ์ทางธรรมชาติโดยมีบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเด็กและเยาวชน ให้ดำเนินไปตามความเป็นจริงอันเป็นพื้นฐานของการตระหนักในความเป็นเจ้าของในทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมนั้น ๆ การได้เห็นได้ยินได้ฟังและเข้าใจความเป็นไปในที่นั้นๆ อย่างแท้จริงโดยไม่ทำลายให้เกิดความเสียหายจึงเป็นสำนึกที่สำคัญที่สุดต่อการพัฒนาการอนุรักษ์ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมให้ไปสู่ความยั่งยืน (ณัฐพงศ์ สุกรี 2541: 4) และกระบวนการพัฒนาให้บุคคลมีจิตสำนึกในการท่องเที่ยวอย่างอนุรักษ์ที่นำมาใช้ได้ผลที่สุดก็คือ การให้การศึกษาในรูปแบบของสิ่งแวดล้อมศึกษาทั้งที่บ้านและโรงเรียนนั้นเอง
ในทัศนะของผู้วิจัยเห็นว่าแนวคิดของ ณัฐพงศ์ สุกรี (2541: 4) กระบวนการเรียนรู้ที่เกิดจากสภาพการณ์ทางธรรมชาติ อาจส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและเป็นการสร้างจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของเยาวชน ผู้วิจัยจึงได้นำมาเป็นกรอบในการศึกษาครั้งนี้
องค์ประกอบต่างเหล่านี้จะนำไปสู่การมีพฤติกรรม ที่แสดงถึงการมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมนั่นเอง และการแสดงถึงการมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมนั้นมีแนวทางในการปฏิบัติในการประหยัดการใช้ไฟฟ้า และน้ำหรือใช้อย่างคุ้มค่าและได้รับประโยชน์อย่างสูงสุด การกำจัดขยะมูลฝอยอย่างมีประสิทธิภาพ
จากแนวคิดเกี่ยวกับการอนุรักษ์สรุปได้ว่า การอนุรักษ์เป็นหน้าที่ที่ทุกฝ่ายทุกคนทุกเพศทุกวัยที่จะต้องมีความรับผิดชอบต่อสภาพแวดล้อมและทรัพยากร ระบบนิเวศ แหล่งประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมที่ปรากฏอยู่ในพื้นที่นั้น โดยไม่ทำลายหรือทำให้ทรัพยากรเสื่อมโทรมด้วยการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ใหม่ การเสาะแสวงหาวิธีการบำบัด การกำจัด และผลผลิตมาก มีของเสียและมลภาวะเกิดขึ้นน้อย ก่อให้เกิดการฟื้นตัวของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมจนมีศักยภาพในการให้ผลผลิตอย่างถาวร
แนวคิดเกี่ยวกับการมีส่วนร่วม
จากพยายามในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น ด้วยขบวนการจัดการการมีส่วนร่วมในการกันประหยัดใช้ บูรณะฟื้นฟูสภาพแวดล้อม เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม และสิ่งที่กระทบต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์จึงเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม ในขณะเดียวกัน ชุมชนก็จะได้รับประโยชน์ในทุกด้านร่วมไปด้วย การมีส่วนร่วมจึงมีความสำคัญต่อการพัฒนา และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ดังนี้
44
ความสำคัญ ของการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในพัฒนา
อุษณีย์ ศิริสุนทรไพบูรณ์ (2528: 27) กล่าวถึงความสำคัญของการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาโดยเพาะในโครงการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชนดังนี้
1. เนื่องจากโครงการพัฒนาชนบททุกโครงการ มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ดังนั้นหากประชาชนที่เป็นเป้าหมายของการพัฒนา เข้าใจและยอมรับต่อการพัฒนาแล้วโครงการเหล่านั้นย่อมมีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จ
2. บทสมมติฐานที่ว่าประชาชนในท้องถิ่นจะรู้และเข้าใจถึงสภาพปัญหาความต้องการของ ท้องถิ่นเป็นอย่างดี เพราะเป็นผู้อาศัยอยู่ในพื้นที่มานาน ดังนั้น การที่จะให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในขั้นตอนต่าง ๆ ของการพัฒนาจึงน่าจะเป็นสิ่งที่ดี เพื่อจะได้สร้างความรู้สึกความเป็นเจ้าของ และแก้ปัญหาของท้องถิ่นได้ตรงกับความต้องการมากขึ้น
3. ในแต่ละท้องถิ่นมีสภาพแตกต่างกันออกไป การที่จะใช้รูปแบบการพัฒนารูปแบบเดียวกัน ทั้งประเทศ อาจจะเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ตรงจุด
4. ในประเทศที่มีการปกครองระบบประชาธิปไตย รัฐบาลสามารถใช้แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาชนบท ที่ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นชนบทของตนเป็นแนวทางในการปูพื้นฐานเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย ให้แก่ประชาชนและชนบท
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วม
ในการศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยจูงใจหรือปัจจัยที่อิทธิพลทำให้บุคคลเข้ามามีส่วนร่วมนั้น ได้มีผู้ทำการวิจัยดังนี้
วิคเตอร์ เอช รูม (Victor H. Room อ้างใน Erviu William 1976: 94) ได้กล่าวถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ ประกอบด้วย
1. ความตั้งใจที่จะมีส่วนร่วมในการทำงาน
2. ทัศนคติต่องาน
3. ความมีอิสระในการตัดสินใจในการทำงาน
4. ความมีอำนาจตามหน้าที่
5. ลักษณะของการทำงาน
45
เฮอร์เบิกร์ก เมซัว และ ไซเดอร์แมน (Herzberg Mausuer and Snyderman อ้างใน สมยศ นาวีการ 2525: 19) ได้กล่าวถึงปัจจัยที่จูงใจบุคคลในการทำงานซึ่งจะก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมได้ คือ
1. การได้รับความสำเร็จ
2. ได้รับการยกย่อง
3. มีความก้าวหน้าในงาน
4. ลักษณะงาน
5. ความรับผิดชอบ
6. ความเจริญเติบโตส่วนบุคคล
เงื่อนไขพื้นฐานของการมีส่วนร่วม
United Nations (1981: 11 อ้างถึงใน สมยศ นาวีการ 2525: 19) กำหนดเงื่อนไขพื้นฐานของการมีส่วนร่วมว่า มีองค์ประกอบ 5 ประการ คือ
1. รัฐบาล จะต้องมีการยอมรับในแนวความคิดของการมีส่วนร่วมของประชาชนก่อนในเบื้องต้น และได้บรรลุหลักการนี้ไว้ในแผนหรือนโยบายในระดับต่าง ๆ ด้วย
2. ประชาชนจะต้องมีพื้นฐานองค์กรประชาชน ที่สามารถเป็นตัวแทนในการเจรจาต่อรองกับกลุ่มผลประโยชน์และบุคคลอื่นได้
3. ประชาชนต้องมีความอิสระในความคิดริเริ่ม และในการตัดสินใจในระดับท้องถิ่น เพื่อกำหนดกิจกรรมของตนเอง
4. ชุมชนต้องมีการไหลเวียนของข่าวสารและความรู้ใหม่ ๆ โดยเฉพาะหลัการและปรัชญาของการพัฒนาเทคนิควิธีการในการจัดสรรทรัพยากรและความรู้ทางการบริหาร
5. ชุมชนจะต้องได้รับการสนับสนุนทางด้านสิ่งของ และความคิดเทคนิคที่จำเป็นโดย เฉพาะในระระยะแรก
ถิรลาภ (2528: 76) กล่าวถึงเงื่อนไขการมีส่วนร่วมเกิดจากพื้นฐาน 4 ประการ คือ
1. ต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และความสามารถที่จะมีส่วนร่วม กล่าวคือ ทุกคนจะต้องมีศักยภาพที่จะเข้าร่วมในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ เช่น แต่ละคนต้องมีความสามารถในการค้นหาความต้องการ วางแผน จัดการและบริหารองค์การ และการใช้ทรัพยากร
2. ต้องมีความพร้อมที่จะเข้าร่วม กล่าวคือ มีสภาพทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และการที่จะเปิดโอกาสให้เข้ามามีส่วนร่วม
3. ต้องมีความประสงค์ที่จะเข้าร่วม มีความเต็มใจ เห็นประโยชนในการเข้าร่วม จะต้องมิใช่เกิดจากการบังคับหรือผลักดันให้เข้าร่วม
46
4. ต้องมีความเป็นไปได้ที่จะเข้าร่วม มีโอกาส มีการกระจายอำนาจในการตัดสินใจ การกำหนดกิจกรรมในระดับที่เหมาะสม การจัดการด้วยตนเองในระบบพื้นฐานทางการเมือง
จากความสำคัญการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นดังข้างต้น มีความสอดคล้อง และสัมพันธ์กับการเรียนการสอนรูปแบบการเรียนรู้ที่ยึดหลักผู้เรียนเป็นศูนย์กลางหรือเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งวิธีการเรียนแบบนี้จะมีแนวทางการเรียนรู้ที่เป็นประชาธิปไตยและให้นักเรียนเป็นผู้ที่กำหนดบทบาทหน้าที่ของตนเอง และมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนแสวงหาความรู้ การกำหนดโครงการและการเข้าร่วมทำกิจกรรมซึ่งจะมีผลต่อการกำหนดบทบาทและหน้าที่ของตนเอง โดยผู้วิจัยได้นำเสนอหลักสำคัญของการยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์การมีส่วนร่วมของนักเรียนในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ภายใต้รูปแบบการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ซึ่ง รองศาสตาจารย์ ดร. สมศักดิ์ ภู่ดาวรรธน์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (อัดสำเนา) ได้นำเสนอไว้ โดยผู้วิจัยได้นำประเด็นที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมมาสรุปได้ดังนี้
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ผลงานที่เกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กันกับสิ่งที่ผู้วิจัยต้องสมมติฐานเพื่อทำการศึกษามีดังนี้
ด้านการอบรมเลี้ยงดู
จุฑามณี จาบตะขบ (2542: บทคัดย่อ) ได้ศึกษาปัจจัยที่ทำให้คนทำดีเพื่อสังคม ศึกษา
เฉพาะกรณี บุคคลที่อาศัยอยู่ในตำบลกำแพงดิน อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร ผลการศึกษาพบว่า แบบพฤติกรรมของคนดีกระทำความดีเพื่อสังคมในพื้นที่นี้แบ่งออกเป็น ก) การกระทำความดีภายในครอบครัว คือ มีความรับผิดชอบและปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทของตน ข) การกระทำความดีเพื่อช่วยเหลือบุคคลอื่น ซึ่งสามารถแบ่งเป็น การช่วยเหลือหน่วยงานราชการตามตำแหน่งทางราชการที่ดำรงอยู่ การทำงานช่วยเหลือทั่วไปและงานพัฒนาชุมชนและการพัฒนาวัดเพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา ปัจจัยหลักที่ทำให้คนทำความดีเพื่อสังคมมีอยู่ 2 ปัจจัย คือ 1) การเลี้ยงดูในวัยเด็ก ซึ่งทุกกรณีศึกษาจะได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุน การอบรมเลี้ยงดูแบบใช้เหตุผล การอบรมเลี้ยงดูแบบลงโทษทางจิตมากกว่าทางกาย การอบรมเลี้ยงดูแบบควบคุมและการอบรมเลี้ยงดูแบบให้พึ่งตนเองเร็วจากคนในครอบครัว 2) ความเชื่อทางศาสนา ซึ่งจะได้รับการถ่ายทอดมาจากครอบครัว การได้มีโอกาสบวชเรียนในบวรพุทธศาสนาหรือเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนาอื่นๆ อย่างใกล้ชิด ซึ่งมีผลทำให้เกิดค่านิยม ทัศนคติต่อการกระทำความดี นอกจากนี้ยังพบปัจจัยส่งเสริมให้กรณีศึกษากระทำความดีเพื่อสังคมอีก คือ ลักษณะของครอบครัวที่มีการเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน อาชีพทางการเกษตร ตำแหน่งทางราชการที่อยู่ในชุมชน ประสบการณ์เรียนรู้จากการศึกษา ฝึกอบ
47
รมทั้งในและนอกโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัย ทำให้มีวิสัยทัศน์และโลกทัศน์ในการพัฒนาหมู่บ้าน
ดวงเดือน พันธุมนาวิน และคณะ (2528: บทคัดย่อ) งานวิจัยเรื่องปัจจัยทางจิตวิทยานิเวศที่เกี่ยวกับการ อบรมเลี้ยงดูเด็กของมารดาไทย เป็นการวิจัยประเภทศึกษาปัญหา และวิเคราะห์ สมุหฐานของปัญหานั้นในเชิงที่เป็นภาวะวิสัย (Objective approach) ซึ่งหมายถึงการกำหนดสาเหตุของปัญหาจากทฤษฎีและผลวิจัยต่างๆ ที่ประมวลมา ว่าสาเหตุเหล่านี้คืออะไรบ้างที่อาจปรากฎในบิดา มารดาไทยแล้วจึงวัดลักษณะเหล่านี้ พร้อมทั้งวัดปริมาณการใช้วิธีการอบรมเลี้ยงดู 5 ประการ มีลักษณะที่ก่อให้เกิดผลทางคุณธรรมของเด็ก แตกต่างกัน
ดวงเดือน พันธุมนาวินและ เพ็ญแข ประจนปัจจนึก (2524: 2) ได้ศึกษาความสัมพันธ์ภายในครอบครัวกับสุขภาพจิตและจริยธรรมของนักเรียนวัยรุ่นไทย พบว่า การอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุนมาก แบบใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์ มีทัศนคติที่ดีต่อบิดามารดาและส่งผลต่อสุขภาพจิตดี และการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม
ด้านการให้การศึกษาอบรมจากโรงเรียน
จากการศึกษาของ โจนส์ (Jones 1977: บทคัดย่อ) พบว่า ผลสัมฤทธิ์ของการเรียนวิชาสิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นปีที่ 3 ผลสัมฤทธิ์ของการเรียนจะส่งผลต่อการประพฤติปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อมของนักเรียน ดังนั้นผลสัมฤทธิ์ของการเรียน เป็นสิ่งที่ชี้วัดระดับความรู้ของบุคคล ซึ่งส่งผลต่อการแสดงออกทางด้านพฤติกรรมในด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนด้วย
วิชาญ มณีโชติ (2535: บทคัดย่อ) ศึกษาพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในจังหวัดสงขลา พบว่า การได้รับข่าวสารจากวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ วารสารและสิ่งพิมพ์อื่นๆ ต่างกัน ทำให้มีพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
โกสินทร์ รังสยาพันธ์ (2521: บทคัดย่อ) ได้ศึกษาเกี่ยวกับปัญหาความสกปรกเป็นพิษของสิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 7 พบว่า ความรู้ความเข้าใจในความรุนแรง และอันตรายของปัญหา ความรู้ความเข้าใจของสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหา ความรู้ความเข้าใจวิธีแก้ปัญหามีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการปฏิบัติในการเพิ่มหรือลดปัญหาสิ่งแวดล้อม
ด้านการนำเสนอจากสื่อสังคม
48
แคลปเปอร์ (Klapper 1957: บทคัดย่อ) ได้ศึกษาและสรุปงานวิจัยที่สำคัญเกี่ยวกับผลหรืออิทธิพลของการสื่อสารมวลชนและสรุปให้เห็นถึง ความสามารถของสื่อสารมวลชนในการเปลี่ยนแปลงทัศนคติและพฤติกรรมของบุคคล ว่า โดยปกติการสื่อสารมวลชนไม่ใช่สาเหตุสำคัญเพียงประการเดียวที่ทำให้เกิดผลในการรับสาร แต่จะทำหน้าที่ร่วมกันหรือผ่านปัจจัยและอิทธิพลที่เป็นตัวกลางอื่น ๆ มากกว่า และประสิทธิภาพของการสื่อสารมวลชนขึ้นอยู่กับลักษณะต่าง ๆ ของสาร แหล่งสารหรือสถานการณ์ของการสื่อสาร
สุภารักษ์ จูตระกูล (2536: บทคัดย่อ) ศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารกับความรู้ และทัศนคติและการมีส่วนร่วมในการทิ้งขยะแยกประเภท เพื่อการหมุนเวียนกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่า การเปิดรับข่าวสารจากหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ แผ่นพับ โปสเตอร์ งานนิทรรศการ มีความสัมพันธ์กับความรู้เกี่ยวกับการทิ้งขยะแยกประเภท การเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชน บุคคลในครอบครัว โปสเตอร์ งานนิทรรศการ มีความสัมพันธ์กับทัศนคติ การเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชน บุคคลในครอบครัว เพื่อนบ้าน เพื่อนร่วมอาชีพ แผ่นพับมีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วม
อรสา ประยูรหงษ์ (2536: บทคัดย่อ) ศึกษาเรื่อง เจตคติและลักษณะพฤติกรรมการตอบสนองต่อการใช้ภาชนะโฟมของผู้บริโภคในห้างสรรพสินค้า เขตกรุงเทพมหานคร พบว่า พฤติกรรมการตอบสนองต่อการใช้ภาชนะโฟม ขึ้นอยู่กับระดับในการรับข้อมูลข่าวสารระหว่างสื่อมวลชนประเภท โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร และสื่อบุคคลประเภทเครือญาติ พี่น้อง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
สมชาย อำพันทอง (2532: บทคัดย่อ) ศึกษาเกี่ยวกับความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมของผู้บริหารเรียนมัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครต่อปัญหาสิ่งแวดล้อม พบว่า การได้รับข้อมูลข่าวสารมีผลต่อพฤติกรรมของผู้บริหาร
ยุวดี อิ่มใจ (2529: 94) ศึกษาปัจจัยทางสังคมจิตวิทยามีความสัมพันธ์ต่อความตั้งใจในการรักษาความสะอาดของบ้านเมืองของเยาวชนระดับมัธยมปลายในกรุงเทพมหานคร พบว่า ทัศนคติต่อพฤติกรรมในการรักษาความสะอาดของบ้านเมือง มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจในการักษาความสะอาดบ้านเมืองของเยาวชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 กล่าวคือ เยาวชนมีทัศนคติที่ดีต่อพฤติกรรมการรักษาความสะอาดบ้านเมืองมาก จะมีความตั้งใจในการรักษาความสะอาดของบ้านเมืองมาก และเยาวชนมีทัศนคติที่ดีต่อพฤติกรรมในการรักษาความสะอาดของบ้านเมืองน้อย ก็จะมีความตั้งใจในการรักษาความสะอาดของบ้านเมืองน้อย
49
พฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
ยุพิน ระพิพันธุ์ (2544: บทคัดย่อ) ศึกษาเรื่อง ความรู้ ทัศนคติ การจัดการที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการชุมชนในการจำแนกประเภทขยะมูลฝอย ที่ใช้ในชีวิตประจำวันก่อนทิ้ง ในเขตเทศบาลเมืองพนัสนิคมในจังหวัดชลบุรี พบว่า ความรู้เกี่ยวกับขยะมูลฝอยมีผลต่อการมีส่วนร่วมในการสจัดการขยะมูลฝอย
นฤเทพ สิทธิชาญคณะ (2541: บทคัดย่อ) ศึกษาเรื่อง การมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำจัดขยะมูลฝอย กรณีศึกษากรุงเทพมหานคร พบว่า ประชาชนในกรุงเทพมหานครมีส่วนร่วมในการกำจัดขยะมูลฝอยในระดับปานกลาง ร้อยละ 71.2 จากการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์พบว่า การรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับขยะมูลฝอย มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำจัดขยะมูลฝอย
ชัยยุทธ โยธมาตย์ (2539: บทคัดย่อ) ศึกษาเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำจัดขยะมูลฝอย ศึกษากรณีเขตเทศบาล ตำบลพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ผลการศึกษา พบว่าความรู้ความเข้าใจเรื่องขยะมูลฝอย และความคิดเห็นต่อปัญหาขยะมูลฝอยมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำจัดขยะมูลฝอย
ธรรมนูญรัฐ ทวีกุล (2530: บทคัดย่อ) ได้ศึกษาพฤติกรรมการอนุรักษ์สภาพแวดล้อมสาธารณะของประชาชน: ศึกษาเฉพาะกรณีผู้ที่มาใช้สวนสาธารณะในกรุงเทพมหานคร พบว่าประชาชนมีพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมสวนสาธารณะในเชิงบวก และพบว่าเพศ การศึกษา รายได้ มีลักษณะการมาใช้สวนสาธารณะ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 และอายุกับระยะเวลาที่มาใช้สวนสาธารณะมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการอนุรักษ์สภาพแวดล้อมสวนสาธารณะ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
เทียนฉาย กีรนันท์ (2525: บทคัดย่อ) ศึกษาพฤติกรรมการใช้พลังงานในครัวเรือนของชาว กรุงเทพมหานคร พบว่า ประชาชนมีทัศนคติที่ดีต่อการประหยัดพลังงานก็จะยิ่งมีพฤติกรรมดียิ่งขึ้น คือ มีการใช้พลังงานในครัวเรือนน้อยลง
วิชัย พัฒนาวงศ์ธรรม (2524: บทคัดย่อ) ศึกษาเจตนคติต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของนักศึกษาวิทยาลัยครูภาคใต้ พบว่าตัวแปรเพศ ภูมิลำเนา การเป็นสมาชิกของชมรมอนุรักษ์ มีเจตคติต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้แตกต่างกัน และนักศึกษาที่บิดามารดามีอาชีพแตกต่างกันจะมีเจตคติต่อการอนุรักษ์ป่าไม้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
50

การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 (ช่วงชั้นที่ 2) (ตอนที่ 1)
การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 (ช่วงชั้นที่ 2) (ตอนที่ 2)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น