วันศุกร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2554

ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสังกัด สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ (ตอนที่ 2)



เมื่อ F คือ ค่าการแจกแจงของ F
b MS คือ ความปรวนแปร (Mean square) ระหว่างกลุ่ม
w MS คือ ความปรวนแปรภายในกลุ่ม
df = (k-1) และ N-k
เมื่อ K = จำนวนกลุ่ม และ N = จำนวนข้อมูลทั้งหมด
3. การตีความค่าเฉลี่ยผู้วิจัยได้ใช้ระดับดังนี้ (ประคอง กรรณสูตร, 2538 : 78)
ค่าเฉลี่ย 1.00 – 1.49 หมายความว่า ระดับขวัญและกำลังใจน้อยที่สุด
ค่าเฉลี่ย 1.50 – 2.49 หมายความว่า ระดับขวัญและกำลังใจน้อย
ค่าเฉลี่ย 2.50 – 3.49 หมายความว่า ระดับขวัญและกำลังใจปานกลาง
ค่าเฉลี่ย 3.50 – 4.49 หมายความว่า ระดับขวัญและกำลังใจมาก
ค่าเฉลี่ย 4.50 – 5.00 หมายความว่า ระดับขวัญและกำลังใจมากที่สุด
4. ค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient)
Φ ΓΦ Γ
ψ Φ Γ{ψ Φ Γ{

ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสังกัด สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ (ตอนที่ 1)
ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสังกัด สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ (ตอนที่ 2)



Κ Κ Κ
Κ
[
n X 2 x 2 n Y 2 Y 2
n XY X Y
rxy
เมื่อ rxy คือ สัมประสิทธิ์สัมพันธ์แบบเพียร์สัน ของข้อมูล X และ Y
n คือ จำนวนข้อมูลในกลุ่มตัวอย่าง
X คือ ผลการวัดจากครั้งที่ 1
Y คือ ผลการวัดจากครั้งที่ 2
บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
การนำเสนอข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้แบ่งการนำเสนอออกเป็น 5 ตอน คือ
ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
ตอนที่ 2 ระดับขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสังกัด
สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ
ตอนที่ 3 ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับขวัญและกำลังใจของ
บุคลากรในสังกัดสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ
ตอนที่ 4 ความแตกต่างระหว่างขวัญและกำลังใจของบุคลากรในสังกัดสำนักงาน
สภาสถาบันราชภัฏที่มีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกัน
ตอนที่ 5 ข้อเสนอแนะแนวทางในการสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน
ของบุคลากรในสังกัดสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ
ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
ในตอนนี้เป็นการนำเสนอค่าจำนวนและร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับ
หน่วยงานที่สังกัด เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพในการปฏิบัติงาน ตำแหน่งใน
การปฏิบัติงาน ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน และเงินเดือนที่ได้รับในปัจจุบัน รายละเอียด
ดังตารางที่ 2
ตารางที่ 2 จำนวนและร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามตัวแปรต่าง ๆ
ตัวแปร จำนวน ร้อยละ
สำนักพัฒนาระบบบริหาร 95 43.58
สำนักนโยบายและพัฒนาสถาบัน 39 17.89
สำนักพัฒนาการฝึกหัดครู 34 15.60
สำนักมาตรฐานการศึกษา 40 18.35
หน่วยตรวจสอบภายใน 10 4.58
หน่วยงานที่สังกัด
รวม 218 100.00
ชาย 55 25.23
เพศ หญิง 163 74.77
รวม 218 100.00
43
ตารางที่ 2 (ต่อ)
ตัวแปร จำนวน ร้อยละ
20 – 30 ปี 42 19.27
31 – 40 ปี 79 36.24
41 – 50 ปี 65 29.82
51 – 60 ปี 32 14.67
อายุ
รวม 218 100.00
ต่ำกว่าปริญญาตรี 35 16.06
ปริญญาตรี 131 60.09
ปริญญาโท 50 22.94
ปริญญาเอก 2 0.91
ระดับการศึกษา
รวม 218 100.00
ข้าราชการครู 8 3.67
ข้าราชการพลเรือน 152 69.72
ลูกจ้างประจำ 39 17.89
อื่นๆ เช่น ลูกจ้างชั่วคราว 19 8.72
สถานภาพในการปฏิบัติงาน
รวม 218 100.00
ผู้อำนวยการกอง/กลุ่ม/ศูนย์ 9 4.13
หัวหน้าฝ่าย/หัวหน้างาน 29 13.30
ผู้ปฏิบัติงาน 160 73.39
อื่นๆ 20 9.18
ตำแหน่งในการปฏิบัติงาน
รวม 218 100.00
1 – 10 ปี 94 43.12
11 – 20 ปี 67 30.73
21 – 30 ปี 47 21.56
31 ปีขึ้นไป 10 4.59
ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน
รวม 218 100.00
ต่ำกว่า 10,000 บาท 77 35.32
10,000 – 19,990 บาท 95 43.58
20,000 – 29,990 บาท 40 18.35
30,000 บาทขึ้นไป 6 2.75
เงินเดือน
รวม 218 100.00
44
จากตารางที่ 2 จะพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ สังกัดสำนักงานพัฒนาระบบบริหาร
จำนวน 95 คน (ร้อยละ 43.58) เป็นเพศหญิง จำนวน 163 คน (74.77) มีอายุอยู่ระหว่าง 31 – 40 ปี
(ร้อยละ 36.24) มีการศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 131 คน (ร้อยละ 60.09) เป็นข้าราชการพลเรือน
จำนวน 152 คน (ร้อยละ 69.72) เป็นผู้ปฏิบัติงาน จำนวน 160 คน (ร้อยละ 73.39) มีระยะเวลาใน
การปฏิบัติงานอยู่ระหว่าง 1 – 10 ปี จำนวน 94 คน (ร้อยละ 43.12) และส่วนใหญ่ได้รับเงินเดือนใน
ปัจจุบันอยู่ระหว่าง 10,000 – 19,990 บาท จำนวน 95 คน (ร้อยละ 43.58)
ตอนที่ 2 ระดับขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสังกัดสำนักงาน
สภาสถาบันราชภัฏ
ในตอนนี้เป็นการนำเสนอค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของขวัญและ
กำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสังกัดสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ โดยจะแบ่งออกเป็น
6 ด้าน คือ ความเพียงพอของรายได้ โอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ความสัมพันธ์กับ
ผู้บังคับบัญชา ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ความเหมาะสมและความสามารถในการปฏิบัติงาน
และความพอใจในการทำงาน รายละเอียดดังตารางที่ 3-9
ตารางที่ 3 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของผู้ตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับระดับขวัญและ
กำลังใจในการทำงานด้านความเพียงพอของรายได้ (N = 218)
ข้อรายการ μ σ
ระดับขวัญและ
กำลังใจ
รายได้ที่ท่านได้รับในปัจจุบันเหมาะสมกับปริมาณงานและ
ความรับผิดชอบ 2.78 0.82 ปานกลาง
รายได้ที่ท่านได้รับเพียงพอต่อการดำรงชีพในปัจจุบัน 2.44 0.86 น้อย
รายได้ที่ท่านได้รับปัจจุบันมีความเหมาะสมเมื่อเปรียบเทียบกับระยะเวลา
ในการทำงานของท่าน
2.53 0.80 ปานกลาง
รายได้ที่ท่านได้รับมีความเหมาะสมเมื่อเปรียบเทียบกับ
หน่วยงานอื่นที่มีภารกิจคล้ายคลึงกัน 2.44 0.77 น้อย
รายได้ที่ท่านได้รับทำให้ท่านสามารถมีปัจจัย 4 เพียงพอตามอัตภาพ 2.50 0.81 ปานกลาง
สวัสดิการอื่นๆ ที่ท่านได้รับช่วยให้รายได้ของท่านเพียงพอสำหรับการ
ดำรงชีพในปัจจุบัน
2.43 0.84 น้อย
ท่านต้องทำงานหารายได้พิเศษนอกเหนือจากเวลาทำงานปกติ 3.24 1.18 น้อย
รวม 2.62 0.54 ปานกลาง
45
จากตารางที่ 3 พบว่า ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสังกัด
สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ ด้านความเพียงพอของรายได้ ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง
(μ = 2.62)
เมื่อพิจารณาในแต่ละข้อรายการ พบว่า ข้อรายการที่มีระดับขวัญและกำลังใจมาก
ที่สุด คือ ท่านต้องทำงานหารายได้พิเศษ นอกเหนือจากเวลาทำงานปกติ ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง
(μ = 3.24) และข้อรายการที่มีระดับขวัญและกำลังใจน้อยที่สุด คือ สวัสดิการอื่นๆ ที่ท่านได้รับ
ช่วยให้รายได้ของท่านเพียงพอสำหรับการดำรงชีพในปัจจุบัน ซึ่งอยู่ในระดับน้อย (μ = 2.43)
ตารางที่ 4 ค่าเฉล ี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของผู้ตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับขวัญและกำลังใจใน
การทำงานด้านโอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงาน (N = 218)
ข้อรายการ μ σ
ระดับขวัญและ
กำลังใจ
ท่านมีโอกาสได้เรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น 2.83 0.95 ปานกลาง
ท่านมีโอกาสก้าวหน้าในการปฏิบัติงานในสายบังคับบัญชา 2.39 1.01 น้อย
ท่านมีโอกาสเข้ารับการอบรมเพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถ 2.72 0.88 ปานกลาง
ท่านมีโอกาสได้รับการพิจารณาเลื่อนตำแหน่งให้สูงขึ้นอย่างเป็นธรรม 2.49 0.98 น้อย
ท่านมีโอกาสได้แสดงผลการปฏิบัติงานของตนเอง 2.89 0.81 ปานกลาง
ท่านมีโอกาสได้รับการคัดเลือกให้ไปฝึกอบรมหรือดูงาน 2.43 0.89 น้อย
ท่านได้รับความยุติธรรมในการได้รับโอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงาน 2.59 0.95 ปานกลาง
รวม 2.62 0.70 ปานกลาง
จากตารางที่ 4 พบว่า ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสังกัด
สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ ด้านโอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง
(μ = 2.62)
เมื่อพิจารณาในแต่ละข้อรายการแล้ว พบว่า ข้อรายการที่มีระดับขวัญและกำลังใจ
มากที่สุด คือ ท่านมีโอกาสได้แสดงผลการปฏิบัติงานของตนเอง ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง
(μ = 2.89) และข้อรายการที่มีระดับขวัญและกำลังใจน้อยที่สุด คือ ท่านมีโอกาสก้าวหน้าในการ
ปฏิบัติงานในสายบังคับบัญชา ซึ่งอยู่ในระดับน้อย (μ = 2.39)
46
ตารางที่ 5 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของผู้ตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับขวัญและ
กำลังใจในการทำงาน ด้านความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา (N = 218)
ข้อรายการ μ σ
ระดับขวัญและ
กำลังใจ
หัวหน้าให้ความไว้วางใจในการปฏิบัติงาน 3.29 0.77 ปานกลาง
หัวหน้าคอยดูแลเอาใจใส่ ช่วยแก้ปัญหาเมื่อมีปัญหาในการปฏิบัติงาน 3.15 0.89 ปานกลาง
หัวหน้างานยอมรับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้ร่วมงาน 3.12 0.90 ปานกลาง
หัวหน้างานให้เกียรติและเปิดโอกาสให้ทำงานจนเต็มความสามารถ 3.30 0.90 ปานกลาง
หัวหน้างานเป็นบุคคลที่สามารถปรึกษาหารือหรือขอคำแนะนำในเรื่อง
ส่วนตัวได้
2.90 1.03 ปานกลาง
หัวหน้าให้ความยุติธรรมแก่ลูกน้องทุกคนเท่าเทียมกัน 2.98 0.95 ปานกลาง
หัวหน้าให้ความสนับสนุนและส่งเสริมความก้าวหน้าของลูกน้อง 3.05 0.97 ปานกลาง
รวม 3.11 0.78 ปานกลาง
จากตารางที่ 5 พบว่า ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสังกัด
สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ ด้านความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง
(μ = 3.11)
เมื่อพิจารณาในแต่ละข้อรายการแล้ว พบว่า ข้อรายการที่มีระดับขวัญและกำลังใจ
มากที่สุด คือ หัวหน้างานให้เกียรติและเปิดโอกาสให้ทำงานจนเต็มความสามารถ ซึ่งอยู่ในระดับ
ปานกลาง (μ = 3.30) และข้อรายการที่มีระดับขวัญและกำลังใจน้อยที่สุด คือ หัวหน้างานเป็น
บุคคลที่สามารถปรึกษาหารือหรือขอคำแนะนำในเรื่องส่วนตัวได้ ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง
(μ = 2.90)
47
ตารางที่ 6 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาของผู้ตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับขวัญและกำลังใจใน
การทำงาน ด้านความสัมพันธ์กับผู้ร่วมงาน (N = 218)
ข้อรายการ μ σ
ระดับขวัญและ
กำลังใจ
ผู้ร่วมงานในหน่วยงานของท่านให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการแก้
ปัญหาของงานในหน้าที่
3.33 0.84 ปานกลาง
ท่านและเพื่อนร่วมงานให้เกียรติในการแสดงความคิดเห็นและรับฟังเหตุ
ผลซึ่งกันและกัน
3.40 0.77 ปานกลาง
เมื่อท่านมีปัญหาในเรื่องส่วนตัวหรือการปฏิบัติงาน ท่านมักจะปรึกษา
เพื่อนร่วมงานเสมอ
2.98 1.00 ปานกลาง
เพื่อนร่วมงานให้ความร่วมมือในการปฏิบัติงานเป็นอย่างดี 3.43 0.77 ปานกลาง
ผู้ร่วมงานของท่านให้ความช่วยเหลือกันในกรณีที่เพื่อนร่วมงานได้รับ
ความเดือดร้อน
3.39 0.77 ปานกลาง
ท่านได้มีโอกาสพบปะสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานนอกเวลาทำงานหรือใน
โอกาสพิเศษต่างๆ
2.69 0.89 ปานกลาง
เพื่อนร่วมงานยินดีสละเวลาให้ท่านเสมอเมื่อท่านต้องการ 2.95 0.89 ปานกลาง
รวม 3.17 0.66 ปานกลาง
จากตารางที่ 6 พบว่า ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสังกัด
สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ ด้านความสัมพันธ์กับผู้ร่วมงาน ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง
(μ = 3.17)
เมื่อพิจารณาในแต่ละข้อรายการแล้ว พบว่า ข้อรายการที่มีระดับขวัญและกำลังใจ
มากที่สุด คือ เพื่อนร่วมงานให้ความร่วมมือในการปฏิบัติงานเป็นอย่างดี ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง
(μ = 3.43) และข้อรายการที่มีระดับขวัญและกำลังใจน้อยที่สุด คือ ท่านได้มีโอกาสพบปะสัมพันธ์
กับเพื่อนร่วมงานนอกเวลาทำงานหรือในโอกาสพิเศษต่างๆ ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง (μ =
2.69)
48
ตารางที่ 7 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของผู้ตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับขวัญและกำลังใจ
ในการทำงาน ด้านความเหมาะสมและความสามารถในการปฏิบัติงาน (N = 218)
ข้อรายการ μ σ
ระดับขวัญและ
กำลังใจ
ตำแหน่งหน้าที่ในปัจจุบันเหมาะสมกับความรู้ความสามารถของท่าน 3.12 0.86 ปานกลาง
งานที่ท่านทำอยู่ขณะนี้เป็นงานที่ท่านมีความถนัด 3.21 0.84 ปานกลาง
ท่านสามารถใช้ความรู้ ความสามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ 3.35 0.91 ปานกลาง
ท่านได้มีส่วนร่วมในการเสนอแนะความคิดเห็นในการปฏิบัติงาน 3.12 0.84 ปานกลาง
ท่านมีอิสระสามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างเต็มที่ 3.06 0.84 ปานกลาง
ความคิดเห็นของท่านได้รับการยอมรับและนำไปใช้ในการปรับปรุง
การปฏิบัติงาน
2.92 0.71 ปานกลาง
งานที่ได้รับมอบหมายเหมาะสมกับตัวท่าน 3.11 0.78 ปานกลาง
รวม 3.13 0.65 ปานกลาง
จากตารางที่ 7 พบว่า ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสังกัด
สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ ด้านความเหมาะสมและความสามารถในการปฏิบัติงาน ภาพรวมอยู่
ในระดับปานกลาง (μ = 3.13)
เมื่อพิจารณาในแต่ละข้อรายการแล้ว พบว่า ข้อรายการที่มีระดับขวัญและกำลังใจ
มากที่สุด คือ ท่านสามารถใช้ความรู้ ความสามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง
(μ = 3.35) และข้อรายการที่มีระดับขวัญและกำลังใจน้อยที่สุด คือ ความคิดเห็นของท่านได้รับ
การยอมรับและนำไปใช้ในการปรับปรุงการปฏิบัติงาน ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง (μ = 2.92)
49
ตารางที่ 8 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของผู้ตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับขวัญและกำลังใจ
ใน
การทำงาน ด้านความพอใจในการทำงาน (N = 218)
ข้อรายการ μ σ
ระดับขวัญและ
กำลังใจ
ท่านมีความสุขในการทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย 3.22 0.87 ปานกลาง
ท่านสามารถใช้ความคิดริเริ่มและความสามารถส่วนตัวในการบริหารงาน 3.17 0.87 ปานกลาง
งานที่รับผิดชอบเป็นงานที่ท้าทายก่อให้เกิดแรงบันดาลใจให้อยากทำ 3.05 0.95 ปานกลาง
ท่านพอใจกับงานที่ทำอยู่ขณะนี้ 3.11 0.90 ปานกลาง
งานที่ท่านได้รับเป็นงานที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ 3.34 0.83 ปานกลาง
ปริมาณงานในหน้าที่ที่รับผิดชอบพอเหมาะไม่น้อยเกินไป ไม่มากเกินไป 3.09 0.69 ปานกลาง
ท่านพอใจในความรู้ความสามารถของคณะผู้ร่วมงานในปัจจุบัน 3.28 0.69 ปานกลาง
รวม 3.18 0.66 ปานกลาง
จากตารางที่ 8 พบว่า ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสังกัด
สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ ด้านความพอใจในการทำงาน ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง
(μ = 3.18)
เมื่อพิจารณาในแต่ละข้อรายการแล้ว พบว่า ข้อรายการที่มีระดับขวัญและกำลังใจ
มากที่สุด คือ งานที่ท่านได้รับเป็นงานที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง
(μ = 3.34) และข้อรายการที่มีระดับขวัญและกำลังใจน้อยที่สุด คือ งานที่รับผิดชอบเป็นงานที่
ท้าทายก่อให้เกิดแรงบันดาลใจให้อยากทำ ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง (μ = 3.05)
50
ตารางที่ 9 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของผู้ตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับขวัญและกำลังใจ
ในการทำงาน ทั้ง 6 ด้าน (N = 218)
องค์ประกอบของขวัญและกำลังใจ μ σ
ระดับขวัญและ
กำลังใจ
ความเพียงพอของรายได้ 2.62 0.54 ปานกลาง
โอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงาน 2.62 0.70 ปานกลาง
ความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา 3.11 0.78 ปานกลาง
ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน 3.17 0.44 ปานกลาง
ความเหมาะสม ความสามารถในการปฏิบัติงาน 3.13 0.65 ปานกลาง
ความพอใจในการทำงาน 3.18 0.64 ปานกลาง
รวม 2.85 0.35 ปานกลาง
จากตารางที่ 9 พบว่า ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสังกัด
สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ ในการทำงานโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (μ = 2.85)
เมื่อพิจารณาในแต่ละด้านแล้ว พบว่า อยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน และด้านที่มี
ระดับขวัญและกำลังใจมากที่สุด คือ ด้านความพอใจในการทำงาน (μ = 3.18) ด้านที่มีระดับขวัญ
และกำลังใจน้อยที่สุด คือ ด้านโอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงาน (μ = 2.62)
เมื่อพิจารณาค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานทุกข้อ พบว่า ต่ำกว่าครึ่งหนึ่งของค่าเฉลี่ย
ซึ่งแสดงว่าความคิดเห็นของประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มีการกระจายน้อยมาก นั่นคือ ความเห็น
ค่อนข้างเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
51
ตอนที่ 3 ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับขวัญและกำลังใจของบุคลากรใน
สังกัดสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ
ในตอนนี้เป็นการนำเสนอความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลซึ่งได้แก่ เพศ
อายุ ระดับ การศึกษา สถานภาพในการปฏิบัติงาน ตำแหน่งในการปฏิบัติงาน ระยะเวลาในการ
ปฏิบัติงาน และเงินเดือน กับขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร ในสังกัดสำนักงาน
สภาสถาบันราชภัฏ ซึ่งประกอบด้วย 6 ด้าน ได้แก่ ความเพียงพอของรายได้ โอกาสก้าวหน้าใน
หน้าที่การงาน ความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ความเหมาะสมและ
ความสามารถในการปฏิบัติงาน และความพอใจในการทำงาน รายละเอียด ดังตารางที่ 10
ความหมายของตัวแปรต่างๆ มีดังต่อไปนี้
SEX1 หมายถึง เพศ
AGE1 หมายถึง อายุ
DEGREE1 หมายถึง ระดับการศึกษา
STATUS1 หมายถึง สถานภาพในการปฏิบัติงาน
POSIT1 หมายถึง ตำแหน่งในการปฏิบัติงาน
TIME1 หมายถึง ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน
SALARY1 หมายถึง เงินเดือน
ITEM1 หมายถึง ความเพียงพอของรายได้
ITEM2 หมายถึง โอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงาน
ITEM3 หมายถึง ความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา
ITEM4 หมายถึง ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน
ITEM5 หมายถึง ความเหมาะสมและความสามารถในการปฏิบัติงาน
ITEM6 หมายถึง ความพอใจในการทำงาน
52
ตารางที่ 10 ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับขวัญและกำลังใจของบุคลากรในสังกัดสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ
SEX1 AGE1 DEGREE1 STATUS1 POSIT1 TIME1 SALARY1 ITEM1 ITEM2 ITEM3 ITEM4 ITEM5 ITEM6
SEX1 1.000
AGE1 -0.010 1.000
DEGREE1 0.141* 0.093 1.000
STATUS1 0.096 -0.231** -0.229** 1.000
POSIT1 0.039 -0.158* -0.150* 0.251** 1.000
TIME1 0.121 0.456** -0.048 0.010 -0.135* 1.000
SALARY1 0.077 0.664** 0.261** -0.231** -0.229** 0.596** 1.000
ITEM1 0.216** -0.025 -0.038 0.077 0.140* -0.205** -0.179** 1.000
ITEM2 0.224** 0.043 -0.023 -0.023 0.050 0.063 0.030 0.510** 1.000
ITEM3 0.171* 0.141* -0.100 0.000 0.127 0.104 0.044 0.298** 0.524** 1.000
ITEM4 0.072 0.149* -0.174** -0.038 0.094 0.114 0.080 0.173* 0.314** 0.446** 1.000
ITEM5 0.233** -0.052 -0.014 0.050 0.117 -0.007 -0.058 0.242** 0.549** 0.632** 0.433** 1.000
ITEM6 0.243** -0.063 0.049 -0.016 0.115 0.032 -0.018 0.176** 0.453** 0.587** 0.473** 0.833** 1.000
* p<.05
** P<.001
53
จากตารางที่ 10 พบว่า
เพศกับขวัญและกำลังใจ ด้านความเพียงพอของรายได้ โอกาสความก้าวหน้าใน
หน้าที่การงาน ความเหมาะสมและความสามารถในการปฏิบัติงาน และความพอใจในการทำงาน
มีความสัมพันธ์ในทิศทางบวก (r = 0.261, 0.224, 0.171, 0.233 และ 0.243 ตามลำดับ) อย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ส่วนปัจจัยส่วนบุคคลในเรื่องของเพศกับขวัญและกำลังใจ ในด้าน
ความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา มีความสัมพันธ์ในทิศทางบวก (r = 0.741) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ .05 ส่วนเพศกับขวัญและกำลังใจในด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานไม่มีความสัมพันธ์
กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
อายุกับขวัญและกำลังใจ ด้านความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชาและความสัมพันธ์กับ
เพื่อนร่วมงาน มีความสัมพันธ์ในทิศทางบวก (r = 0.141 และ 0.149 ตามลำดับ) อย่างมีนัยสำคัญทาง
สถิติที่ระดับ .05 ส่วนเพศกับขวัญและกำลังใจในด้านความเพียงพอของรายได้ โอกาสความ
ก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา ความเหมาะสมและความสามารถใน
การปฏิบัติงาน และความพอใจในการทำงานไม่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ระดับการศึกษากับขวัญและกำลังใจ ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน มีความ
สัมพันธ์ในทิศทางลบ (r= -0.174) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ส่วนด้านอื่นๆ ไม่มีความ
สัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สถานภาพในการปฏิบัติงานกับขวัญและกำลังใจ ในทุกด้านทั้ง 6 ด้าน ไม่มี
ความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ตำแหน่งในการปฏิบัติงานกับขวัญและกำลังใจ ด้านความเพียงพอของรายได้
มีความสัมพันธ์กันในทิศทางบวก (r = 0.140) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านอื่นๆ
ไม่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ระยะเวลาในการปฏิบัติงานและเงินเดือนกับขวัญและกำลังใจ ในด้านความ
เพียงพอของรายได้ มีความสัมพันธ์ในทิศทางลบ ( r = -0.205) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
.001 ส่วนด้านอื่นๆไม่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
54
ตอนที่ 4 ความแตกต่างระหว่างขวัญและกำลังใจของบุคลากรในสังกัด
สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏที่มีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกัน
ในตอนนี้เป็นการนำเสนอการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติ-
งานของบุคลากรในสังกัดสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกันได้แก่
เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพในการปฏิบัติงาน ตำแหน่งในการปฏิบัติงาน ระยะเวลาในการ
ปฏิบัติงาน และเงินเดือนที่ได้รับในปัจจุบัน รายละเอียด ดังตารางที่ 11 - 23
ตารางที่ 11 การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร
ในสังกัดสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏจำแนกตามเพศ
ข้อรายการ เพศ N μ σ t
ชาย 55 2.82 0.60
ความเพียงพอของรายได้
หญิง 163 2.55 0.50
3.247*
ชาย 55 2.89 0.72
โอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงาน
หญิง 163 2.53 0.67
3.370*
ชาย 55 3.34 0.73
ความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา
หญิง 163 3.04 0.79
2.534*
ชาย 55 3.25 0.52
ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน
หญิง 163 3.14 0.69
1.068
ความเหมาะสมและความสามารถในการ ชาย 55 3.38 0.72
ปฏิบัติงาน หญิง 163 3.04 0.60
3.527*
ชาย 55 3.45 0.77
ความพอใจในการทำงาน
หญิง 163 3.09 0.59
3.683*
หมายเหตุ * p < .05
จากตารางที่ 11 พบว่า ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสำนักงานสภา-
สถาบันราชภัฏ จำแนกตามเพศ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 5
ด้าน คือ ด้านความเพียงพอของรายได้, โอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงาน, ความสัมพันธ์กับ ผู้
บังคับบัญชา, ความเหมาะสมและความสามารถใน การปฏิบัติงาน และความพอใจในการทำงาน
โดยที่ ค่าเฉลี่ยของเพศชายจะสูงกว่าเพศหญิงทุกรายการ ส่วนด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน
ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
55
ตารางที่ 12 การวิเคราะห์ความแปรปรวนของขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรใน
สังกัดสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ จำแนกตามอายุ
ขวัญและกำลังใจ แหล่งความแปรปรวน SS df MS F
ระหว่างกลุ่ม 0.68 3 0.23
ความเพียงพอของรายได้ ภายในกลุ่ม 63.07 214 0.29
รวม 63.76 217
0.77
ระหว่างกลุ่ม 1.69 3 0.56
โอกาสก้าวหน้าในหน้าที่
ภายในกลุ่ม 103.86 214 0.49 1.16
การงาน
รวม 105.55 217
ระหว่างกลุ่ม 4.19 3 1.40
ความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา ภายในกลุ่ม 128.67 214 0.60 2.33
รวม 132.86 217
ระหว่างกลุ่ม 3.49 3 1.16
ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ภายในกลุ่ม 89.80 214 0.42 2.77*
รวม 93.29 217
ระหว่างกลุ่ม 0.41 3 0.14
ความเหมาะสมและความสามารถใน
การปฏิบัติงาน ภายในกลุ่ม 90.40 214 0.42 0.32
รวม 90.81 217
ระหว่างกลุ่ม 0.67 3 0.22
ความพอใจในการทำงาน ภายในกลุ่ม 93.49 214 0.44 0.51
รวม 94.16 217
หมายเหตุ * p < .05
จากตารางที่ 12 พบว่า ค่าเฉลี่ยขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสังกัด
สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ ระหว่างช่วงอายุ ซึ่งแบ่งเป็น 4 ช่วง ตามตารางที่ 2 ในภาพรวม ไม่มี
ความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า ด้านความสัมพันธ์กับ
เพื่อนร่วมงาน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกนั้นไม่แตกต่างกัน
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
56
การเปรียบเทีตารางที่ 13 ยบค่าเฉลี่ยขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสังกัด
สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ เป็นรายคู่ตามช่วงอายุ
อายุ
ขวัญและกำลังใจ อายุ Mean 1 2 3 4
3.36 3.18 3.16 2.92
20 – 30 ปี 3.36 *
ความสัมพันธ์กับเพื่อน 31 – 40 ปี 3.18
ร่วมงาน 41 – 50 ปี 3.16
51 – 60 ปี 2.92
หมายเหตุ * p < .05
1 หมายถึง อายุระหว่าง 20 – 30 ปี
2 หมายถึง อายุระหว่าง 31 – 40 ปี
3 หมายถึง อายุระหว่าง 41 – 50 ปี
4 หมายถึง อายุระหว่าง 51 – 60 ปี
จากตารางที่ 13 พบว่า ค่าฉลี่ยขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสังกัด
สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ เป็นรายคู่ตามช่วงอายุ ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานระหว่าง
บุคลากรที่มีอายุระหว่าง 20 –30 ปี กับบุคลากรที่มีอายุระหว่าง 51 – 60 ปี มีความแตกต่างกันอย่าง
มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
57
ตารางที่ 14 การวิเคราะห์ความแปรปรวนของขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรใน
สังกัดสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ จำแนกตามระดับการศึกษา
ขวัญและกำลังใจ แหล่งความแปรปรวน SS Df MS F
ระหว่างกลุ่ม 0.29 3 0.10
0.32
ความเพียงพอของรายได้ ภายในกลุ่ม 63.47 214 0.30
รวม 63.76 217
ระหว่างกลุ่ม 0.41 3 0.14
โอกาสก้าวหน้าในหน้าที่
ภายในกลุ่ม 105.14 214 0.49
0.28
การงาน
รวม 105.55 217
ระหว่างกลุ่ม 2.77 3 0.92
ภายในกลุ่ม 130.09 214 0.61
ความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา 1.52
รวม 132.86 217
ระหว่างกลุ่ม 5.22 3 1.74
ภายในกลุ่ม 88.08 214 0.41
ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน 4.22*
รวม 93.29 217
ระหว่างกลุ่ม 0.80 3 0.27
ความเหมาะสมและความสามารถใน
การปฏิบัติงาน ภายในกลุ่ม 90.01 214 0.42
0.63
รวม 90.81 217
ระหว่างกลุ่ม 0.31 3 0.10
ภายในกลุ่ม 93.85 214 0.44
ความพอใจในการทำงาน 0.23
รวม 94.16 217
หมายเหตุ * p < .05
จากตารางที่ 14 พบว่า ค่าเฉลี่ยขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสังกัด
สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ จำแนกตามระดับการศึกษา ซึ่งแบ่งเป็น 4 ระดับ ตามตารางที่ 2 ใน
ด้านภาพรวม ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า ด้าน
ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้าน
อื่น ๆ ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
58
การเปรียบเทีตารางที่ 15 ยบค่าเฉลี่ยขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสังกัด
สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ เป็นรายคู่ตามระดับการศึกษา
ระดับการศึกษา
ขวัญและกำลังใจ ระดับการศึกษา Mean 1 2 3 4
2.93 3.13 3.41 3.57
ต่ำกว่าปริญญาตรี 2.93 *
ความสัมพันธ์กับเพื่อน ปริญญาตรี 3.13
ร่วมงาน ปริญญาโท 3.41
ปริญญาเอก 3.57
หมายเหตุ * p < .05
1 หมายถึง ต่ำกว่าปริญญาตรี
2 หมายถึง ปริญญาตรี
3 หมายถึง ปริญญาโท
4 หมายถึง ปริญญาเอก
จากตารางที่ 15 จะพบว่า ค่าฉลี่ยขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสังกัด
สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ เป็นรายคู่ตามระดับการศึกษา ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน
ระหว่างบุคลากรที่มีระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีกับบุคลากรที่มีระดับการศึกษาระดับปริญญา
โท มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
59
ตารางที่ 16 การวิเคราะห์ความแปรปรวนของขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรใน
สังกัดสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ จำแนกตามสถานภาพในการปฏิบัติงาน
ขวัญและกำลังใจ แหล่งความแปรปรวน SS df MS F
ระหว่างกลุ่ม 1.69 3 0.56
ความเพียงพอของรายได้ ภายในกลุ่ม 62.07 214 0.29 1.94
รวม 63.76 217
ระหว่างกลุ่ม 5.74 3 1.91
โอกาสก้าวหน้าในหน้าที่
ภายในกลุ่ม 99.81 214 0.47
4.10*
การงาน
รวม 105.55 217
ระหว่างกลุ่ม 3.21 3 1.07
ภายในกลุ่ม 129.65 214 0.61
ความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา 1.77
รวม 132.86 217
ระหว่างกลุ่ม 5.50 3 1.83
ภายในกลุ่ม 87.79 214 0.41
ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน 4.47*
รวม 93.29 217
ระหว่างกลุ่ม 2.73 3 0.91
ความเหมาะสมและความสามารถใน
การปฏิบัติงาน ภายในกลุ่ม 88.07 214 0.41
2.21
รวม 90.81 217
ระหว่างกลุ่ม 0.71 3 0.24
ภายในกลุ่ม 93.44 214 0.44
ความพอใจในการทำงาน 0.54
รวม 94.16 217
หมายเหตุ * p < .05
จากตารางที่ 16 พบว่า ค่าเฉลี่ยขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสังกัด
สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ ระหว่างสถานภาพในการปฏิบัติงาน ตามตารางที่ 2 ในภาพรวม ไม่มี
ความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า ด้านโอกาส ก้าวหน้า
ในหน้าที่การงานและด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทาง
สถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านอื่น ๆ ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
60
ตารางที่ 17 การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสังกัด
สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ เป็นรายคู่ตามสถานภาพในการปฏิบัติงาน
สถานภาพในการปฏิบัติงาน
ขวัญและกำลังใจ สถานภาพในการปฏิบัติงาน Mean 1 2 3 4
2.38 2.71 2.55 2.16
ข้าราชการครู 2.38
ข้าราการพลเรือน 2.71 *
ลูกจ้างประจำ 2.55
โอกาสก้าวหน้าในหน้าที่
การงาน
ลูกจ้างชั่วคราว 2.16
3.05 3.17 2.97 3.62
ข้าราชการครู 3.05
ความสั มพั น ธ์กับ เพื่ อน
ร่วมงาน
ข้าราการพลเรือน 3.17 *
ลูกจ้างประจำ 2.97 *
ลูกจ้างชั่วคราว 3.62 * *
หมายเหตุ * p < .05
1 หมายถึง ข้าราชการครู
2 หมายถึง ข้าราชการพลเรือน
3 หมายถึง ลูกจ้างประจำ
4 หมายถึง ลูกจ้างชั่วคราว
จากตารางที่ 17 พบว่า ค่าเฉลี่ยขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสังกัด
สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ เป็นรายคู่ตามสถานภาพในการปฏิบัติงาน ด้านโอกาสก้าวหน้าใน
หน้าที่การงาน ระหว่างข้าราชการพลเรือนกับลูกจ้างชั่วคราวมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทาง
สถิติที่ระดับ .05 และข้าราชการพลเรือนมีโอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงานสูงกว่าลูกจ้างชั่วคราว
ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ระหว่างข้าราชการพลเรือนกับลูกจ้างชั่วคราว มีความ
แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และลูกชั่วคราวมีความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน
สูงกว่าข้าราชการพลเรือน
ลูกจ้างประจำกับลูกจ้างชั่วคราว มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
และลูกจ้างชั่วคราวมีความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานสูงกว่าลูกจ้างประจำ
61
ตารางที่ 18 การวิเคราะห์ความแปรปรวนของขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรใน
สังกัดสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ จำแนกตามตำแหน่งในการปฏิบัติงาน
ขวัญและกำลังใจ แหล่งความแปรปรวน SS df MS F
ระหว่างกลุ่ม 5.98 3 1.99
ความเพียงพอของรายได้ ภายในกลุ่ม 57.77 214 0.27 7.39*
รวม 63.76 217
ระหว่างกลุ่ม 1.82 3 0.61
โอกาสก้าวหน้าในหน้าที่
ภายในกลุ่ม 103.73 214 0.48
1.25
การงาน
รวม 105.55 217
ระหว่างกลุ่ม 2.90 3 0.97
ภายในกลุ่ม 129.97 214 0.61
ความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา 1.59
รวม 132.86 217
ระหว่างกลุ่ม 2.09 3 0.70
ภายในกลุ่ม 91.20 214 0.43
ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน 1.64
รวม 93.29 217
ระหว่างกลุ่ม 3.33 3 1.11
ความเหมาะสมและความสามารถใน
การปฏิบัติงาน ภายในกลุ่ม 87.47 214 0.41
2.72
รวม 90.81 217
ระหว่างกลุ่ม 2.74 3 0.91
ภายในกลุ่ม 91.42 214 0.43
ความพอใจในการทำงาน 2.14
รวม 94.16 217
หมายเหตุ * p < .05
จากตารางที่ 18 พบว่า ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสังกัดสำนักงาน
สภาสถาบันราชภัฏ ระหว่างตำแหน่งในการปฏิบัติงาน ในภาพรวม ไม่มีความแตกต่างกันอย่าง
มีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า ด้านความเพียงพอของรายได้ มีความ
แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านอื่น ๆ ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติ
62
การเปรียบเทีตารางที่ 19 ยบค่าเฉลี่ยขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสังกัด
สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ เป็นรายคู่ตามตำแหน่งในการปฏิบัติงาน
ตำแหน่งในการปฏิบัติงาน
ขวัญและกำลังใจ ตำแหน่งในการปฏิบัติงาน Mean 1 2 3 4
2.90 2.92 2.52 2.86
ผู้อำนวยการกอง 2.90
หัวหน้าฝ่าย 2.92 *
ความเพียงพอของรายได้ ผู้ปฏิบัติงาน 2.52
ลูกจ้างประจำ 2.86
หมายเหตุ * p < .05
1 หมายถึง ผู้อำนวยการกอง
2 หมายถึง หัวหน้าฝ่าย
3 หมายถึง ผู้ปฏิบัติงาน
4 หมายถึง ลูกจ้างประจำ
จากตารางที่ 19 พบว่า ค่าเฉลี่ยขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสังกัด
สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ เป็นรายคู่ตามตำแหน่งในการปฏิบัติงาน ด้านความเพียงพอของ
รายได้ ระหว่างบุคลากรในตำแหน่งหัวหน้าฝ่าย/หัวหน้างานกับผู้ปฏิบัติงาน มีความแตกต่างกัน
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยหัวหน้าฝ่าย/หัวหน้างานมีความเพียงพอของรายได้มาก
กว่าผู้ปฏิบัติงาน
63
ตารางที่ 20 การวิเคราะห์ความแปรปรวนของขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรใน
สังกัดสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ จำแนกตามระยะเวลาในการปฏิบัติงาน
ขวัญและกำลังใจ แหล่งความแปรปรวน SS df MS F
ระหว่างกลุ่ม 3.62 3 1.21
ความเพียงพอของรายได้ ภายในกลุ่ม 60.14 214 0.28 4.29*
รวม 63.76 217
ระหว่างกลุ่ม 2.77 3 0.92
ภายในกลุ่ม 102.78 214 0.48
โอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงาน 1.92
รวม 105.55 217
ระหว่างกลุ่ม 3.85 3 1.28
ภายในกลุ่ม 129.02 214 0.60
ความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา 2.13
รวม 132.86 217
ระหว่างกลุ่ม 4.04 3 1.35
ภายในกลุ่ม 89.25 214 0.42
ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน 3.23
รวม 93.29 217
ระหว่างกลุ่ม 0.07 3 0.02
ความเหมาะสมและความสามารถใน
การปฏิบัติงาน ภายในกลุ่ม 90.74 214 0.42
0.06
รวม 90.81 217
ระหว่างกลุ่ม 0.38 3 0.13
ภายในกลุ่ม 93.77 214 0.44
ความพอใจในการทำงาน 0.29
รวม 94.16 217
หมายเหตุ * p < .05
จากตารางที่ 20 พบว่า ค่าเฉลี่ยขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสังกัด
สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ ระหว่างระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ในภาพรวม ไม่มีความแตกต่าง
กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า ด้านความเพียงพอของรายได้
มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านอื่น ๆ ไม่มีความแตกต่างกันอย่าง
มีนัยสำคัญทางสถิติ
64
การเปรียบเทีตารางที่ 21 ยบค่าเฉลี่ยขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสังกัด
สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ เป็นรายคู่ตามระยะเวลาในการปฏิบัติงาน
ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน
ขวัญและกำลังใจ ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน Mean 1 2 3 4
2.49 2.73 2.77 2.44
1 – 10 ปี 2.49 * *
11 – 20 ปี 2.73
ความเพียงพอของรายได้ 21 – 30 ปี 2.77
31 ปีขึ้นไป 2.44
หมายเหตุ * p < .05
1 หมายถึง 1 – 10 ปี
2 หมายถึง 11 – 20 ปี
3 หมายถึง 21 – 30 ปี
4 หมายถึง 31 ปีขึ้นไป
จากตารางที่ 21 พบว่า ค่าเฉลี่ยขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสังกัด
สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ เป็นรายคู่ตามระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ด้านความเพียงพอของ
รายได้ ระหว่างบุคลากรที่มีระยะเวลาในการปฏิบัติงาน 1 – 10 ปี กับ บุคลากรที่มีระยะเวลาในการ
ปฏิบัติงาน 11 - 20 ปี มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยบุคลากรที่มีระยะ
เวลาในการปฏิบัติงาน 11-20 ปี มีความเพียงพอของรายได้มากกว่า บุคลากรที่มีระยะเวลาในการ
ปฏิบัติงาน 1-10 ปี
บุคลากรที่มีระยะเวลาในการปฏิบัติงาน 1 – 10 ปี กับ บุคลากรที่มีระยะเวลาในการ
ปฏิบัติงาน 21 – 30 ปี มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยบุคลากรที่มี
ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน 21-30 ปี มีความเพียงพอของรายได้มากกว่าบุคลากรที่มีระยะเวลาใน
การปฏิบัติงาน 1-10 ปี
65
ตารางที่ 22 การวิเคราะห์ความแปรปรวนของขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรใน
สังกัดสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ จำแนกตามเงินเดือนที่ได้รับในปัจจุบัน
ขวัญและกำลังใจ แหล่งความแปรปรวน SS df MS F
ระหว่างกลุ่ม 5.27 3 1.76
ความเพียงพอของรายได้ ภายในกลุ่ม 58.48 214 0.27 6.43*
รวม 63.76 217
ระหว่างกลุ่ม 1.19 3 0.40
ภายในกลุ่ม 104.36 214 0.49
โอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงาน 0.81
รวม 105.55 217
ระหว่างกลุ่ม 6.45 3 2.15
ภายในกลุ่ม 126.41 214 0.59
ความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา 3.64*
รวม 132.86 217
ระหว่างกลุ่ม 0.89 3 0.30
ภายในกลุ่ม 92.40 214 0.43
ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน 0.69
รวม 93.29 217
ระหว่างกลุ่ม 2.25 3 0.75
ความเหมาะสมและความสามารถใน
การปฏิบัติงาน ภายในกลุ่ม 88.56 214 0.41
1.81
รวม 90.81 217
ระหว่างกลุ่ม 3.28 3 1.09
ภายในกลุ่ม 90.87 214 0.42
ความพอใจในการทำงาน 2.58
รวม 94.16 217
หมายเหตุ * p < .05
จากตารางที่ 22 พบว่า ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสังกัดสำนักงาน
สภาสถาบันราชภัฏ ระหว่างเงินเดือนที่ได้รับในปัจจุบัน ในภาพรวม ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติ เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า ด้านความเพียงพอของรายได้ และด้านความ
สัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 ส่วนด้านอื่น ๆ
ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
66
การเปรียบเทีตารางที่ 23 ยบค่าเฉลี่ยขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสังกัด
สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ เป็นรายคู่ตามเงินเดือนที่ได้รับในปัจจุบัน
เงินเดือน
ขวัญและกำลังใจ เงินเดือน Mean 1 2 3 4
2.50 2.59 2.83 3.26
ต่ำกว่า 10,000 บาท 2.50 * *
10,000 – 19,990 บาท 2.59 *
ความเพียงพอของรายได้ 20,000 – 29,990 บาท 2.83
30,000 บาทขึ้นไป 3.26
3.17 3.01 3.10 4.05
ต่ำกว่า 10,000 บาท 3.17
ความสัมพันธ์กับผู้บังคับ 10,000 – 19,990 บาท 3.01 *
บัญชา 20,000 – 29,990 บาท 3.10
30,000 บาทขึ้นไป 4.05
หมายเหตุ * p < .05
1 หมายถึง เงินเดือนต่ำกว่า 10,000 บาท
2 หมายถึง เงินเดือนระหว่าง 10,000 – 19,990 บาท
3 หมายถึง เงินเดือนระหว่าง 20,000 – 29,990 บาท
4 หมายถึง เงินเดือน 30,000 บาทขึ้นไป
จากตารางที่ 23 พบว่า ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสังกัดสำนักงาน
สภาสถาบันราชภัฏ เป็นรายคู่ตามเงินเดือนที่ได้รับในปัจจุบัน ด้านความเพียงพอของรายได้ ระหว่าง
บุคลากรที่มีเงินเดือนต่ำกว่า 10,000 บาท กับบุคลากรที่มีเงินเดือน 20,000 – 29,990 บาท และ
บุคลากรที่มีเงินเดือน ต่ำกว่า 10,000 บาท กับบุคลากรที่มีเงินเดือน 30,000 บาทขึ้นไป และบุคลากร
ที่มีเงินเดือน 10,000 – 19,990 บาทกับบุคลากรที่มีเงินเดือน 30,000 บาทขึ้นไป มีความแตกต่างกัน
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ด้านความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา ระหว่างบุคลากรที่มีเงินเดือน 10,000 – 19,990 บาทกับ
บุคลากรที่มีเงินเดือน 30,000 บาทขึ้นไป มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05
67
ตอนที่ 5 ข้อเสนอแนะในการเสริมสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของ
บุคลากร
สังกัดสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ
ในตอนนี้เป็นการนำเสนอข้อเสนอแนะในการเสริมสร้างขวัญและกำลังใจใน
การปฏิบัติงานของบุคลากรในสังกัดสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ รายละเอียดดังตารางที่ 24
ตารางที่ 24 จำนวนและร้อยละของข้อเสนอแนะในการเสริมสร้างขวัญและกำลังใจในการ
ปฏิบัติงานของบุคลากรในสังกัดสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ
ข้อรายการ จำนวน
1. สนับสนุนให้บุคลากรได้พัฒนาความรู้ความสามารถ เช่น ให้ทุนศึกษาต่อ จัดอบรม/
สัมมนา ศึกษาดูงาน
33
2. พิจารณาความดีความชอบอย่างเป็นธรรม 21
3. เพิ่มสวัสดิการให้มากขึ้น เช่น โบนัส เงินรางวัลประจำปี 19
4. ผู้บังคับบัญชาควรมีความยุติธรรมและมีคุณธรรม 15
5. ผู้บังคับบัญชาควรให้ความสำคัญกับผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างเสมอภาค 14
6. ส่งเสริมให้มีความก้าวหน้าในหน้าที่การงานและตำแหน่งที่สูงขึ้นจากเดิม 12
7. ควรมีการจัดกิจกรรมสันทนาการ เช่น กีฬา ดนตรี 5
8. การจัดสรรเงินรางวัลประจำปี ควรกำหนดเกณฑ์ใหม่ โดยเน้นข้าราชการชั้นผู้น้อย 5
9. ผู้บังคับบัญชาควรเปิดโอกาสให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเสนอผลงานและแสดงความคิดเห็น 5
อย่างเต็มที่
10. จัดคนให้เหมาะสมกับงาน 5
11. ควรให้สวัสดิการแก่ลูกจ้างชั่วคราวเหมือนกับข้าราชการทุกประการ 4
12. ควรให้ความสำคัญกับผู้ปฏิบัติงานระดับล่างมากกว่านี้ 3
13. ผู้บังคับบัญชาควรให้เกียรติผู้ใต้บังคับบัญชาในการปฏิบัติงาน 3
14. ควรเพิ่มแรงจูงใจในการปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ 3
15. ควรมีการกระจายงานที่รับผิดชอบให้เท่าเทียมกัน 3
16. การพิจารณาความดีความชอบควรเป็นรายบุคคล ไม่ใช่เป็นโควต้าของ แต่ละฝ่าย 2
17. ควรมีการจัดบรรยากาศในการทำงานให้ดีและน่าทำงาน 2
68
จากตารางที่ 24 พบว่า ขวัญและกำลังใจที่มีบุคลากรในสังกัดสำนักงานสภาสถาบัน
ราชภัฏต้องการมากที่สุด คือ สนับสนุนให้บุคลากรได้พัฒนาความรู้ความสามารถ เช่น ให้ทุน
การศึกษาต่อ จัดอบรม/สัมมนา ศึกษาดูงาน จำนวน 33 คน อันดับ 1 รองลงมาคือ พิจารณาความ
ดีความชอบอย่างเป็นธรรม เพิ่มสวัสดิการให้มากขึ้น เช่น โบนัส เงินรางวัลประจำปี ผู้บังคับ
บัญชาควรมีความยุติธรรมและมีคุณธรรม และผู้บังคับบัญชาควรให้ความสำคัญกับผู้ใต้บังคับ
บัญชาอย่างเสมอภาค จำนวน 21 19 15 และ 14 คิดเป็นอันดับที่ 2, 3, 4 และ 5 ตามลำดับ
บทที่ 5
สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
การวิจัยเรื่อง ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสังกัดสำนักงาน
สภาสถาบันราชภัฏ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยมีวัตถุประสงค์ในการวิจัย
คือ 1) เพื่อศึกษาระดับขวัญและกำลังใจในการทำงานของบุคลากรในสังกัดสำนักงาสภาสถาบัน
ราชภัฏ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับขวัญและกำลังใจของบุคลากรใน
สังกัดสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ และ 3) เพื่อศึกษาความแตกต่างระหว่างขวัญและกำลังใจของ
บุคลากรในสังกัดสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏที่มีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกัน
ประชากรเป้าหมาย
ในการวิจัยครั้งนี้กลุ่มประชากรเป้าหมาย ได้แก่ ข้าราชการครู ข้าราชการพลเรือน
และลูกจ้างประจำ และลูกจ้างชั่วคราวทั้งหมดที่ปฏิบัติงานอยู่ที่สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏใน
พ.ศ. 2545 ซึ่งในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้ใช้กลุ่มประชากรเป้าหมายทั้งหมด จำนวนทั้งสิ้น
268 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมี
ทั้งหมด 3 ตอน คือ ตอนที่ 1 คำถามเกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่าง ตอนที่ 2 ถามความ
คิดเห็นเกี่ยวกับขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการสังกัดสำนักงานสภาสถาบัน
ราชภัฏ 6 ด้าน ได้แก่ ความเพียงพอของรายได้ โอกาสก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ ความสัมพันธ์
กับผู้บังคับบัญชา ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ความเหมาะสมด้านความรู้และความสามารถ
ในตำแหน่งงานที่ปฏิบัติ และความพอใจในการทำงาน และตอนที่ 3 ถามเกี่ยวกับความคิดเห็น
และข้อเสนอแนะต่าง ๆ
70
การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
ในการสร้างและพัฒนาเครื่องมือเพื่อใช้ในการศึกษา มีวิธีการดำเนินการ ดังนี้
1. ศึกษาทฤษฎี และทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวกับขวัญและกำลังใจของบุคลากรจาก
เอกสารทางวิชาการต่าง ๆ
2. สร้างแบบทดสอบความร ู้ โดยนำเนื้อหาแต่ละรายการที่จะทำการศึกษามาแยก
ประเด็นเป็นหัวข้อต่าง ๆ แล้วสร้างแบบสอบถามขวัญและกำลังใจ เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อ
วัตถุประสงค์ของการศึกษาที่กำหนดไว้แต่แรก
3. สร้างแบบสอบถามวัดขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน โดยกำหนดสิ่งที่เป็น
องค์ประกอบในด้านต่าง ๆ ที่บุคลากรต้องการจะได้รับ
4. นำแบบสอบถามที่ได้ไปปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ
จำนวน 5 คน (รายชื่อปรากฏในภาคผนวก) เพื่อตรวจสอบรวมทั้งให้คำแนะนำต่าง ๆ และนำมา
ปรับปรุงเพื่อให้แบบสอบถามมีความชัดเจน ถูกต้อง สมบูรณ์ และตรงตามวัตถุประสงค์มากที่สุด
(content validity)
5. นำเครื่องมือไปตรวจสอบคุณภาพ โดยนำไปทดลองใช้ (try out) กับกลุ่มตัวอย่างที่มี
ลักษณะคล้ายคลึงกับกลุ่มที่ต้องการศึกษา จำนวน 30 ราย และนำแบบสอบถามมาหาคุณภาพของ
เครื่องมือด้านความเชื่อมั่น (reliability)) โดยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟา Coefficient Alpha Cronbach
Method (สชุ าต ิ ประสทิ ธิร์ ฐั สินธุ, 2540 : 226)
ผลการทดลองใช้เครื่องมือได้คุณภาพของเครื่องมือทั้งฉบับมีค่าเท่ากับ 0.8950 เมื่อ
พิจารณาในแต่ละด้านพบว่า ด้านความเพียงพอของรายได้มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.6206 ด้าน
โอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงานมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.8673 ด้านความสัมพันธ์กับผู้บังคับ
บัญชามีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.9181 ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ
0.8659 ด้านความเหมาะสม ความสามรถในการปฏิบัติงานมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.8246 ด้าน
ความพอใจในการทำงานมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.8368
การเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ ได้กำหนดเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการขอความร่วมมือจาก
บุคลากรของสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ โดยใช้แบบสอบถามส่งให้กลุ่มประชากรตามสายงาน
จำนวน 268 ชุด ใช้เวลาเก็บข้อมูลภายใน 1-2 สัปดาห์ และได้รับแบบสอบถามกลับจำนวน 218
ชุด คิดเป็นร้อยละ 81.34 จากนั้นผู้วิจัยได้นำแบบสอบถามมาตรวจสอบความสมบูรณ์ก่อนนำข้อมูล
ไปวิเคราะห์ตามขั้นตอนทางสถิติต่อไป
71
การวิเคราะห์ข้อมูล
เมื่อได้แบบสอบถามจากกลุ่มประชากรแล้ว ผู้วิจัยได้ทำการตรวจสอบความถูกต้อง
สมบูรณ์ของข้อมูลทั้งหมด สร้างคู่มือลงรหัสและนำข้อมูลมาลงรหัส จากนั้นนำข้อมูลที่ลงรหัส
เรียบร้อยแล้วไปบันทึกในแผ่นข้อมูล (Diskette) แล้วนำไปวิเคราะห์ประมวลผลด้วยเครื่อง
คอมพิวเตอร์ ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS (Statistical Package For the Social Sciences) สำหรับ
งานวิจัยทางด้วยสังคมศาสตร์
สรุปผลการวิจัย
ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ สังกัดสำนักงานพัฒนาระบบบริหาร เป็นเพศหญิง มีอายุ
อยู่ระหว่าง 31 – 40 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรี เป็นข้าราชการพลเรือน เป็นผู้ปฏิบัติงาน มี
ระยะเวลาในการปฏิบัติงานอยู่ระหว่าง 1 – 10 ปี และส่วนใหญ่ได้รับเงินเดือนในปัจจุบันอยู่
ระหว่าง 10,000 – 19,990 บาท
ตอนที่ 2 ระดับขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสังกัดสำนักงานสภาสถาบัน
ราชภัฏ
2.1 ด้านความเพียงพอของรายได้
ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสังกัดสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ
ด้านความเพียงพอของรายได้ ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาในแต่ละข้อรายการ พบว่า
ข้อรายการที่มีระดับขวัญและกำลังใจมาก ที่สุด คือ ท่านต้องทำงาน หารายได้พิเศษ นอกเหนือ
จากเวลาทำงานปกติ ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง และข้อรายการที่มีระดับขวัญและกำลังใจน้อยที่สุด
คือ สวัสดิการอื่นๆ ที่ท่านได้รับช่วยให้รายได้ของท่านเพียงพอสำหรับการ ดำรงชีพในปัจจุบัน
ซึ่งอยู่ในระดับน้อย
2.2 ด้านโอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงาน
ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสังกัดสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ
ด้านโอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงานภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาในแต่ละข้อ
รายการแล้ว พบว่า ข้อรายการที่มีระดับขวัญและกำลังใจมากที่สุด คือ ท่านมีโอกาสได้แสดงผลการ
ปฏิบัติงานของตนเอง ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง และข้อรายการที่มีระดับขวัญและกำลังใจน้อยที่สุด
คือ ท่านมีโอกาสก้าวหน้าในการปฏิบัติงานในสายบังคับบัญชา ซึ่งอยู่ในระดับน้อย
72
2.3 ด้านความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา
ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสังกัดสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ
ด้านความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาในแต่ละข้อรายการ
แล้ว พบว่า ข้อรายการที่มีระดับขวัญและกำลังใจมากที่สุด คือ หัวหน้างานให้เกียรติและเปิดโอกาส
ให้ทำงานจนเต็มความสามารถ ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง และข้อรายการที่มีระดับขวัญและกำลังใจ
น้อยที่สุด คือ หัวหน้างานเป็นบุคคลที่สามารถปรึกษาหารือหรือขอคำแนะนำในเรื่องส่วนตัวได้ ซึ่ง
อยู่ในระดับปานกลาง
2.4 ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน
ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสังกัดสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ
ด้านความสัมพันธ์กับผู้ร่วมงาน ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาในแต่ละข้อรายการแล้ว
พบว่า ข้อรายการที่มีระดับขวัญและกำลังใจมากที่สุด คือ เพื่อนร่วมงานให้ความร่วมมือในการ
ปฏิบัติงานเป็นอย่างดี ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง และข้อรายการที่มีระดับขวัญและกำลังใจน้อยที่สุด
คือ ท่านได้มีโอกาสพบปะสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานนอกเวลาทำงานหรือในโอกาสพิเศษต่าง ๆ ซึ่ง
อยู่ในระดับปานกลาง
2.5 ด้านความเหมาะสมและความสามารถในการปฏิบัติงาน
ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสังกัดสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ
ด้านความเหมาะสมและความสามารถในการปฏิบัติงาน ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อ
พิจารณาในแต่ละข้อรายการแล้ว พบว่า ข้อรายการที่มีระดับขวัญและกำลังใจมากที่สุด คือ ท่าน
สามารถใช้ความรู้ ความสามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง และข้อรายการที่มี
ระดับขวัญและกำลังใจน้อยที่สุด คือ ความคิดเห็นของท่านได้รับการยอมรับและนำไปใช้ในการ
ปรับปรุงการปฏิบัติงาน ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง
2.6 ด้านความพอใจในการทำงาน
ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสังกัดสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ
ด้านความพอใจในการทำงาน ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาในแต่ละข้อรายการแล้ว
พบว่า ข้อรายการที่มีระดับขวัญและกำลังใจมากที่สุด คือ งานที่ท่านได้รับเป็นงานที่น่าสนใจและ
เป็นประโยชน์ ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง และข้อรายการที่มีระดับขวัญและกำลังใจ น้อยที่สุด คือ
งานที่รับผิดชอบเป็นงานที่ท้าทายก่อให้เกิดแรงบันดาลใจให้อยากทำ ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง
73
ตอนที่ 3 ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับขวัญและกำลังใจของบุคลากรในสังกัด
สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ
เพศกับขวัญและกำลังใจ ในด้านความเพียงพอของรายได้ โอกาสความก้าวหน้าใน
หน้าที่การงาน ความเหมาะสมและความสามารถในการปฏิบัติงาน และความพอใจในการทำงาน
มีความสัมพันธ์ในทิศทางเชิงบวก (r = 0.261, 0.224, 0.233 และ 0.243 ตามลำดับ) อย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติที่ระดับ .001 ส่วนเพศกับขวัญและกำลังใจ ในด้านความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา มีความ
สัมพันธ์ในทิศทางเชิงบวก (r = 0.171) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเพศกับขวัญและ
กำลังใจในด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานไม่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
อายุกับขวัญและกำลังใจ ในด้านความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชาและความสัมพันธ์กับ
เพื่อนร่วมงาน มีความสัมพันธ์ในทิศทางเชิงบวก (r = 0.141 และ 0.149 ตามลำดับ) อย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติที่ระดับ .05 และอายุกับขวัญและกำลังใจในด้านความเพียงพอของรายได้ โอกาสความ
ก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ความเหมาะสมและความสามารถในการปฏิบัติงาน และความพอใจใน
การทำงานไม่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ระดับการศึกษากับขวัญและกำลังใจ ในด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน มีความ
สัมพันธ์ในทิศทางเชิงลบ (r= -0.174) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ส่วนด้านอื่น ๆ ไม่มี
ความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สถานภาพในการปฏิบัติงานกับขวัญและกำลังใจ ในด้านความเพียงพอของรายได้ ไม่มี
ความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ตำแหน่งในการปฏิบัติงานกับขวัญและกำลังใจ ด้านความเพียงพอของรายได้ มีความ
สัมพันธ์กันในเชิงบวก (r = 0.140) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านอื่นๆ ไม่มีความ
สัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ระยะเวลาในการปฏิบัติงานและเงินเดือนกับขวัญและกำลังใจ ในด้านความเพียงพอของ
รายได้ มีความสัมพันธ์ในทิศทางเชิงลบ (r= -0.205) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ส่วนด้าน
อื่นๆไม่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
74
ตอนที่ 4 ความแตกต่างระหว่างขวัญและกำลังใจของบุคลากรในสังกัดสำนักงาน
สภาสถาบันราชภัฏที่มีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกัน
4.1 ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ
ระหว่างเพศชายและเพศหญิง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 5
ด้าน คือ ด้านความเพียงพอของรายได้, โอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงาน, ความสัมพันธ์กับผู้บังคับ
บัญชา, ความเหมาะสมและความสามารถในการปฏิบัติงาน และความพอใจในการทำงาน
4.2 ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ
ระหว่างช่วงอายุ ด้านภาพรวม ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อพิจารณาในแต่ละ
ด้าน พบว่า ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
.05 และเมื่อพิจารณาเป็นรายคู่ตามช่วงอายุ พบว่า บุคลากรที่มีอายุระหว่าง 20 –30 ปี กับ
บุคลากรที่มีอายุระหว่าง 51 – 60 ปี มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4.3 ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ
ระหว่างระดับการศึกษา ในภาพรวม ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อพิจารณาใน
แต่ละด้าน พบว่า ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่
ระดับ .05 และเมื่อพิจารณาเป็นรายคู่ตามระดับการศึกษา พบว่า บุคลากรที่มีระดับการศึกษาต่ำกว่า
ปริญญาตรีกับบุคลากรที่มีระดับการศึกษาระดับปริญญาโท มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทาง
สถิติที่ระดับ .05
4.4 ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ
ระหว่างสถานภาพในการปฏิบัติงาน ในภาพรวม ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
แต่เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า ด้านโอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงานและด้านความสัมพันธ์กับ
เพื่อนร่วมงาน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อพิจารณาเป็นรายคู่
ตามสถานภาพในการปฏิบัติงาน ด้านโอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ระหว่างข้าราชการพลเรือน
กับลูกจ้างชั่วคราว มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนความสัมพันธ์กับ
เพื่อนร่วมงาน ระหว่างข้าราชการพลเรือนกับลูกจ้างชั่วคราว และระหว่างลูกจ้างประจำกับลูกจ้าง
ชั่วคราว มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4.5 ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ
ระหว่างตำแหน่งในการปฏิบัติงาน ในภาพรวม ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่
แต่เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า ด้านความเพียงพอของรายได้ มีความแตกต่างกันอย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อพิจารณาเป็นรายคู่ตามตำแหน่งในการปฏิบัติงาน พบว่า
ระหว่างบุคลากรในตำแหน่งหัวหน้าฝ่าย/หัวหน้างานกับผู้ปฏิบัติงานมีความแตกต่างกันอย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
75
4.6 ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ
ระหว่างระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ในภาพรวม ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่
เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า ด้านความเพียงพอของรายได้ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อพิจารณาเป็นรายคู่ตามระยะเวลาในการปฏิบัติงาน พบว่า ระหว่าง
บุคลากรที่มีระยะเวลาในการปฏิบัติงาน 1 – 10 ปี กับบุคลากรที่มีระยะเวลาในการปฏิบัติงาน 11 -
20 ปี และบุคลากรที่มีระยะเวลาในการปฏิบัติงาน 1 – 10 ปี กับบุคลากรที่มีระยะเวลาในการ
ปฏิบัติงาน 21 – 30 ปี มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4.7 ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ
ระหว่างเงินเดือนที่ได้รับในปัจจุบัน ในภาพรวม ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า ด้านความเพียงพอของรายได้ และความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา
มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อพิจารณาเป็นรายคู่ตามเงินเดือนที่
ได้รับในปัจจุบัน ด้านความเพียงพอของรายได้ ระหว่างบุคลากรที่มีเงินเดือนต่ำกว่า 10,000 บาท กับ
บุคลากรที่มีเงินเดือน 20,000 – 29,990 บาท และบุคลากรที่มีเงินเดือน ต่ำกว่า 10,000 บาท กับ
บุคลากรที่มีเงินเดือน 30,000 บาทขึ้นไป และบุคลากรที่มีเงินเดือน 10,000 – 19,990 บาทกับ
บุคลากรที่มีเงินเดือน 30,000 บาทขึ้นไป มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ส่วนด้านความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา ระหว่างบุคลากรที่มีเงินเดือน 10,000 – 19,990 บาท กับ
บุคลากรที่มีเงินเดือน 30,000 บาทขึ้นไป มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ตอนที่ 5 ข้อเสนอแนะในการเสริมสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร สังกัด
สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ
ขวัญและกำลังใจที่บุคลากรในสังกัดสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏต้องการมากที่สุด คือ
สนับสนุนให้บุคลากรได้พัฒนาความรู้ความสามารถ เช่น ให้ทุนการศึกษาต่อ จัดอบรม/สัมมนา
ศึกษาดูงาน (33) รองลงมาคือ พิจารณาความดีความชอบอย่างเป็นธรรม (21) เพิ่มสวัสดิการให้
มากขึ้น เช่น โบนัส เงินรางวัลประจำปี (19) ผู้บังคับบัญชาควรมีความยุติธรรมและมีคุณธรรม
(15) และผู้บังคับบัญชาควรให้ความสำคัญกับผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างเสมอภาค (14) ตามลำดับ
อภิปรายผล
จากผลการวิจัย มีประเด็นสำคัญที่ผู้วิจัยนำมาอภิปราย ดังนี้
1. ระดับขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุลากรในสังกัดสำนักงาน สภาสถาบัน
ราชภัฏ พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อเรียงลำดับระดับขวัญและกำลังใจจากมากไปน้อย
ได้ดังนี้ ความพอใจในการทำงาน ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ความเหมาะสมและความ
76
สามารถในการปฏิบัติงาน ความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา ความเพียงพอของรายได้ และโอกาส
ก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ตามลำดับ จากผลการวิจัยดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า บุคลากรในสังกัด
สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏมีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานด้านความพอใจในการทำงานมาก
ที่สุด ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่เป็นเครื่องบ่งชี้ว่า บุคลากรมีความสุขกับการทำงานและมีความ
พึงพอใจในหน้าที่การงานที่ปฏิบัติอยู่ ดังนั้นในการปฏิบัติงาน ถ้าได้ทำงานที่ตนพอใจ ย่อมได้
ผลงานดีกว่างานที่ตนไม่พอใจ ฉะนั้นในการเสริมสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของ
บุคลากร จึงต้องหาแนวทางในการเสริมสร้างให้ผู้ปฏิบัติงานพอใจในการปฏิบัติงาน มีความรักงาน
และกระตือรือร้นในการทำงาน ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของ อรุณ รักธรรม (2522 : 205 – 206) ที่
เสนอแนะวิธีการสร้างขวัญและความพอใจในการปฏิบัติงาน คือ ต้องสร้างและปลูกฝังให้ผู้ปฏิบัติ
งานพอใจ รักในงาน และกระตือรือร้นที่จะทำงานและเชื่อว่างานนั้นมีประโยชน์และสำคัญยิ่ง
มีข้อค้นพบของที่ยังไม่เคยพบเป็นองค์ความรู้ใหม่
และเมื่อพิจารณาระดับขวัญและกำลังใจของผู้ปฏิบัติงานในสังกัดสำนักงาน
สภาสถาบันราชภัฏในแต่ละด้าน สรุปได้ว่า
1.1 ด้านความเพียงพอของรายได้ พบว่า ข้อรายการที่ช่วยให้มีระดับขวัญและกำลังใจ
ในการปฏิบัติงานมากที่สุด คือ บุคลากรต้องทำงานหารายได้พิเศษนอกเหนือจากเวลาทำงานปกติ
ซึ่งแสดงให้เห็นว่า บุคลากรในสังกัดสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ มีรายได้ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย
ทำให้ต้องการที่จะหารายได้พิเศษ ทั้งนี้คงเนื่องมาจากสภาพเศรษฐกิจของประเทศ ที่อยู่ในภาวะ
วิกฤต ส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพในการดำรงชีวิตที่นับวันจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ ในขณะที่เงินเดือนที่
ได้รับเท่าเดิมหรือเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย โดยเฉพาะผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงาน ราชการ
1.2 ด้านโอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงาน พบว่า ข้อรายการที่บุคลากรมีความพอใจ
มากที่สุด คือ โอกาสในการได้เรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น รองลงมาคือโอกาสเข้ารับการอบรมเพื่อ
พัฒนาความรู้ความสามารถ ส่วนงานข้อรายการที่บุคลากรมีความพอใจในระดับน้อยที่สุด ได้แก่
โอกาสก้าวหน้าในการปฏิบัติงานในสายบังคับบัญชา ซึ่งแสดงว่าบุคลากรในหน่วยงานมีความ
พอใจในระบบการพัฒนาบุคลากรด้านการเพิ่มพูนความรู้ความสามารถส่วนบุคคล แต่มีความ
พึงพอใจด้านความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงานระดับต่ำ ความเชื่อว่าตนได้รับการพิจารณา
เรื่องตำแหน่งอย่างเป็นธรรมอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำลง
1.3 ด้านความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา พบว่า ข้อรายการที่ช่วยให้มีระดับขวัญและ
กำลังใจในการปฏิบัติงาน พบว่า ข้อรายการที่ช่วยให้มีระดับขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานมาก
ที่สุด คือ หัวหน้างานให้เกียรติและเปิดโอกาสให้ทำงานจนเต็มกำลังความสามารถ จะเห็นว่าสถานภาพ
ระหวา่ งผบู้ งั คบั บญั ชากบั ผใู้ ตบ้ งั คบั บญั ชานนั้ จะเปน็ สงิ่ จงู ใจใหเ้ กดิ ขวญั ทดี่ ใี นการปฏบิ ตั งิ าน ควรจะ
เป็นความสัมพันธ์ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งความเคารพนับถือซึ่งกันและกันให้สมัครใจ เช่น เปิด
77
โอกาสให้มีการปรึกษาหารือกัน ให้ความคุ้มครองเมตตา และให้อิสระในการทำงาน ให้ผู้ใต้บังคับ
บัญชาได้ทำงานอย่างเต็มกำลังความสามารถ ซึ่งจากผลการวิจัยนี้สอดคล้องกับแนวคิดของ อทุ ยั
หิรัญโต (2531:162-163) ที่ได้เสนอปัจจัยที่กระทบต่อขวัญ ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างผู้บังคับ
บญั ชาวา่ ผู้บังคับบญั ชาตอ้ งมีความสัมพนั ธอ์ ันดกี บั ลูกนอ้ งเขา้ ใจซึ่งกนั และกนั ใหเ้ กียรติและยอมรับ
นับถือกัน ย่อมจะทำให้ลูกน้องมีขวัญดี แต่หากวางตัวแบบเจ้านายผู้เรืองอำนาจ ขาดมนุษย์สัมพันธ์
ต่อกัน ไม่ให้เกียรติลูกน้อง ไม่ไว้วางใจ ขวัญของลูกน้องก็ตกต่ำ
1.4 ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน พบว่า ข้อรายการที่ช่วยให้บุคลากรซึ่งปฏิบัติงาน
ในสังกัดสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏมีขวัญและกำลังใจในด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน
มากที่สุด คือ เพื่อนร่วมงานให้ความร่วมมือในการปฏิบัติงานเป็นอย่างดี จะเห็นว่าลักษณะทาง
สังคมของงานเป็นสิ่งที่มีความสำคัญนั่นคือ หากผู้ที่ปฏิบัติงานทำงานร่วมกับ ผู้อื่นได้อย่างมีความ
สุขก็ย่อมพอใจในงานนั้น ลักษณะองค์กรเป็นหนึ่งเดียวมีความร่วมมือร่วมใจทำงาน ซึ่งเป็นลักษณะ
การดึงดูดใจทางสังคมกล่าวคือมีความสัมพันธ์ฉันท์มิตรในหมู่เพื่อร่วมงาน (Barnard, 1982:142-
149)
1.5 ด้านความเหมาะสมและความสามารถในการปฏิบัติงานพบว่า ข้อรายการที่ช่วย
ให้บุคลากรที่ปฏิบัติงานในสังกัดสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏมีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน
มากที่สุดคือ สามารถใช้ความรู้ความสามารถอย่างเต็มที่ ผลการวิจัยนี้สอดคล้องกับแนวความคิด
ของ บาร์นาด (Barnard 1982:142-149) ที่เสนอแนวความคิดเกี่ยวกับปัจจัยนี้กระทบต่อขวัญและ
กำลังใจในการปฏิบัติงานปัจจัยหนึ่ง คือ การที่หน่วยงานสนองความต้องการของบุคคลในด้านความ
ภูมิใจที่ได้แสดงฝีมือ ความรู้สึกพอใจที่ได้ทำงานอย่างเต็มที่ จะทำให้บุคคลนั้นมีขวัญและกำลังใจที่
ดีในการทำงาน
1.6 ด้านความพอใจในการทำงาน พบว่า บุคลากรส่วนใหญ่มีความสุขกับการงานที่ทำ
ในปัจจุบัน แต่คิดว่ายังใช้ความสามารถส่วนบุคคลของตนได้ไม่เต็มที่ และความท้าทายของงานยัง
น้อยไป (ตารางที่ 8) ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าลักษณะงานที่บุคบลากรได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบจะ
เป็นงานในลักษณะเป็นกิจวัตรประจำวัน ที่ต้องอาศัยความสามารถพิเศษน้อย หรือเป็นงานที่มีระดับ
ความยากง่ายต่ำกว่าระดับความสามารถของบุคลากร สอดคล้องกับที่ สมพงษ์ เกษมสิน (2536 :
345 –346) ได้กล่าวถึงความพึงพอใจในงานที่ทำว่ายิ่งงานนั้นปิดโอกาสให้คนได้ใช้ความชำนาญ
และความคิดริเริ่มของตนเองมาก ก็ยิ่งจะพอใจในงานที่ทำ ดังนั้น งานที่มอบให้ทำเป็นงานที่เขา
พอใจและเกิดประโยชน์ เพื่อจะได้ผลิตผลที่มีประสิทธิภาพนั้น เป็นวิธีจูงใจอีกวิธีหนึ่ง
2. ด้านความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน
ของบุคลากรในสังกัดสภาสถาบันราชภัฏ ผลการวิจัยพบดังนี้
78
2.1 ปัจจัยส่วนบุคคลในเรืองเพศกับขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานทุกด้าน มี
ความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันอย่างมีนัยสำคัญ ที่.05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้
ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยที่พบว่า ค่าเฉลี่ยของขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรใน
สังกัดสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ ระหว่างเพศชายเพศหญิงมีความแตกต่างอย่างมี นัยสำคัญทาง
สถิติที่ระดับ .05
2.2 ปัจจัยส่วนบุคคลในเรื่องอายุกับขวัญและกำลังใจมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรง
กันข้ามกับผู้บังคับบัญชาและความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน จากผลการวิจัยนี้ แสดงให้เห็นว่า
วัยวุฒิมีผลกระทบต่อความสัมพันนธ์ระหว่างผู้บังคับบัญชาและความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน เช่น
บุคลากรที่มีอายุมากอาจจะมีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้บังคับบัญชาน้อยกว่าบุคลากรที่อายุน้อยกว่า
ทั้งนี้อาจเนื่องจากผู้ใต้บังคับบัญชาที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับผู้บังคับบัญชา อาจจะมีปัญหาในการ
เรียกใช้งานหรือมอบหมายงานและการวางตัวอาจจะลำบากกว่าผู้ใต้บังคับบัญชาที่อายุน้อยกว่า
เป็นต้น ส่วนความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานก็เช่นเดียวกิน คนที่มีอายุแตกต่างกันความคิดและ
ประสบการณ์ย่อมต่างกัน ดังนั้นคนที่มีวัยวุฒิสูงมากกว่าจึงอาจมีความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน
แตกต่างจากคนที่มีวัยวุฒิไม่มากเพราะคนที่มีวัยวุฒิน้อยกว่าจะปรับตัวเข้ากับกลุ่มเพื่อนได้ง่ายกว่า
2.3 ปัจจัยส่วนบุคคลในเรื่องระดับการศึกษากับขวัญและกำลังใจในด้านความสัมพันธ์
กับเพื่อนร่วมงาน มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้าม แสดงว่าคนที่มีระดับการศึกษาสูงจะมีความ
สัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานน้อย หรือในขณะเดียวกันคนที่มีระดับการศรึกษาที่ต่ำจะมีความสัมพสันธ์
กับเพื่อนร่วมงานมากกว่า ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากคนที่มีระดับการศึกษาสูงมีความรู้และประสบการณ์
ในการทำงานมากกว่าคนที่มีระดับการศึกษาต่ำ สามารถทำงานได้โดยลำพัง สามารถคิดและตัดสิน
ใจได้ด้วยตนเองมากกว่า ในขณะที่คนที่มีคุณวุฒิน้อยอาจจะต้องการความร่วมมือ หรือร่วมคิดจาก
เพื่อนร่วมงานในการปฏิบัติงาน ซึ่งจะส่งผลกระทบให้เกิดสัมพันธภาพที่ดีกับเพื่อร่วมงานอันเกดิ
จากปฏิสัมพันธ์นั่นเอง
2.4 ปัจจัยส่วนบุคคลในเรื่องของสถานภาพในการปฏิบัติงานกับขวัญและกำลังใจใน
ด้านความเพียงพอของรายได้ มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
.05 ทั้งนี้อาจเนื่องมาจาก คนที่มีตำแหน่งที่สูงหรือมีความมั่นคงรายได้ก็จะมากขึ้นตาม ดังนั้นความ
พอเพียงของรายได้ก็จะปรับตาม เช่นเดียวกับคนที่มีสถานภาพเป็นลูกจ้าง รายได้น้อยกว่าข้าราชการ
ก็จะมีความพึงพอใจด้านขวัญและกำลังใจความเพียงพอของรายได้ต่ำตามไปด้วย ซึ่งผลการวิจัยนี้
สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้
2.5 ปัจจัยส่วนบุคคลในเรื่องของตำแหน่งในการปฏิบัติงานไม่มีความสัมพันธ์กับขวัญ
และกำลังใจในการปฏิบัติงานในทุกด้าน ทั้งนี้อาจจะเนื่องจากปัจจุบันอยู่ในระหว่างการเตรียมปรับ
โครงสร้างใหม่ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ตำแหน่งที่ปฏิบัติงานอยู่จึงกระทบ
79
ต่อขวัญและกำลังใจของบุคลากรในทุกด้านเพราะทุกคนเตรียมที่จะปรับเปลี่ยนตำแหน่งใหม่อยู่แล้ว
ไม่ว่าจะปฏิบัติงานในตำแหน่งใดในเวลานี้จึงไม่มีผลต่อขวัญและกำลังใจการปฏิบัติงาน
2.6 ปัจจัยส่วนบุคคลในเรื่องของระยะเวลาในการปฏิบัติงานและเงินเดือนที่ได้รับใน
ปัจจุบันกับขวัญและกำลังใจ ในด้านความพอเพียงของรายได้มีความสัมพันธ์ใน ทิศทางเดียวกัน
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 แสดงให้เห็นว่าบุคลากรที่มีระยะเวลา ปฏิบัติงานมาก ราย
ได้ก็จะมากตาม ดังนั้นก็จะมีความเพียงพอของรายได้ในขณะเดียวกันบุคลากรที่ระยะเวลาในการ
ปฏิบัติงานไม่มากรายได้ก็น้อยตาม รายได้จึงอาจไม่เพียงพอในการครองชีพ
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะสำหรับองค์กร
1. การพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากรด้วยการอบรม หรือศึกษาดูงาน ยังเป็น
มาตรการที่บุคลากรสนใจ การปรับปรุงหน้าที่การงานของบุคลากรที่ผ่านการพัฒนาด้วยการศึกษา
ต่อ และการพิจารณาให้ความเป็นธรรมในการเลื่อนตำแหน่ง เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการสร้างขวัญ
กำลังใจให้บุคลากรในหน่วยงาน
2. ในการมอบหมายงานให้กับบุคลากรในตำแหน่งหน้าที่ต่าง ๆ ควรจะต้องคำนึงถึง
ความเหมาะสมของศักยภาพ และความสามารถเฉพาะตัวของบุคคลด้วย ควรส่งเสริมให้บุคลากร
แต่ละคนได้มีส่วนร่วมในการคิดและพิจารณางานขององค์กรด้วย
3. มาตรฐานและเครื่องมือวัดผลสำเร็จของการปฏิบัติงาน และการประเมินผลงานอย่าง
มีระบบ จะช่วยให้การเลื่อนขั้นเงินเดือน การสับเปลี่ยนโยกย้ายตำแหน่งหน้าที่การงาน เป็นไปด้วย
ความเป็นธรรมมากขึ้น จะมีผลในทางป้องกันการเสื่อมขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของ
บุคคลในองค์กรได้
ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งต่อไป
1. ควรจะได้มีการศึกษาแนวทางในการเสริมสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของ
บุคลากร
2. ควรจะได้มีการศึกษาเพื่อพัฒนาตัวชี้วัดขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร
3. ควรมีการศึกษาเพื่อพัฒนาแบบวัดขวัญและกำลังในการปฏิบัติงานของบุคลากร
บรรณานุกรม
81
บรรณานุกรม
จุฬาภรณ์ หอมจันทร์. (2538). ขวัญในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจ : ศึกษาเฉพาะ
กรณีข้าราชการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 12 อำเภออรัญประเทศ จังหวัด
ปราจีนบุรี.
วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ชัยชาญ ช่วยโพธิ์กลาง. (2542). ขวัญในการปฏิบัติงานของข้าราชการในสำนักงานศึกษาธิ
การ
จังหวัดและสำนักงานศึกษาธิการอำเภอ ในเขตการศึกษา 11. วิทยานิพนธ์ปริญญา
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การศึกษาผู้ใหญ่), บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์.
นิพนธ์ ครุฑเครือศรี. (2531). ขวัญในการปฏิบัติงาน ศึกษาเฉพาะกรณีข้าราชการสาย ค
ในมหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
บริสุทธ์ นุศรีวอ (2541). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อขวัญในการปฏิบัติงาน : ศึกษาเฉพาะกรณี
ของข้าราชการตำรวจ สังกัดกองทะเบียนพล กรมตำรวจ. วิทยานิพนธ์ปริญญา
สังคม
สงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
บุญชวน วงศ์ชา. (2539) กำลังขวัญในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนขยายโอกาสทางการ
ศึกษา
สังกัด ส.ป.ช. และสังกัดกรมสามัญศึกษา ในอำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ
ภาคนิพนธ์ ปริญญาพัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ประทีป เกศกาวี (2535). ศึกษาเปรียบเทียบเฉพาะกรณีข้าราชการสัญญาบัตร กองเรือยุทธ
การ
กับหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร
มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
82
ประเสริฐ ชมนาวัง. (2539). ปัจจัยที่มีผลต่อขวัญกำลังใจของข้าราชการในจังหวัดขอนแก่น
สังกัดกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร-
มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ปานศิริ ประภาวัติ (2530). ขวัญของข้าราชการตำรวจ กองบัญชาการตำรวจนครบาล :
ศึกษา
เฉพาะกรณีนายตำรวจระดับรองผู้กำกับการ. สารนิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหา
บัณฑิต
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ปริทัศน์ สงวนสุข. (2541). ขวัญและประสิทธิผลในการทำงานของข้าราชการตำรวจ
โรงเรียนนายร้อยตำรวจ. วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมศาสตรมหาบัณฑิต (อาชญาวิทยา
และงานยุติธรรม), บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2535). จิตวิทยาการบริหารงานบุคคล. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์
สหมิตรออฟเซทการพิมพ์.
เผด็จ เกาะสมบัติ. (2529). ความพึงพอใจในการทำงาน : ศึกษาเฉพาะกรณีนักวิชาการกรม
วิชาการ
กระทรวงศึกษาธิการ. สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
ภาณุวัฒน์ ปวณิกบุตร. (2534). ขวัญในการปฏิบัติงานของนิติกร กองกฎหมาย การไฟฟ้า
ส่วน
ภูมิภาค. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย
ธรรมศาสตร์.
ภิญโญ สาธร. (2526). การบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพาณิช.
ยุคล ทองตัน. (2537). ขวัญของลูกจ้างประจำในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. วิทยานิพนธ์
ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
รัชนี คงเจริญ. (2540). ขวัญในการปฏิบัติงานของนายตำรวจที่ทำหน้าที่เป็นอาจารย์
ในโรงเรียนตำรวจภูธรและโรงเรียนตำรวจนครบาล. วิทยานิพนธ์ปริญญา
83
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วันเพ็ญ ยอดยาดี (2537). กำลังขวัญในการปฏิบัติงานของพนักงานประจำสำนักเลขานุ
การ
องค์การ องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.). ภาคนิพนธ์ปริญญาศิลป
ศาสตร
มหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีสังคม บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีสังคม (เกริก).
วัลภา ลีละชาติ. (2541). ผลกระทบของพระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่มีต่อ
ขวัญใน
การทำงานของลูกจ้าง (นอกงบประมาณแผ่นดิน) ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย :
กรณีศึกษา หน่วยงานที่มีลูกจ้างนอกงบประมาณแผ่นดิน จำนวน 6 แห่ง. วิทยา
นิพนธ์ ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิจิตร อาวะกุล. (2536). เทคนิคมนุษยสัมพันธ์. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์พิฆเณศ.
วิชิต เยี่ยมเวหา. (2531). การศึกษาขวัญและกำลังใจของครูและคุณภาพของนักเรียนในโรง
เรียน
ประถมศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์
ปริญญา
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ศรียา กาญจนภูมิ. (2530). กำลังขวัญในการปฏิบัติงานของข้าราชการฝ่ายวิชาการ ศึกษา
เฉพาะ
กรณีสำนักงบประมาณ. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย
ธรรมศาสตร์.
สมควร บุพพัณหสมัย. (2543). ขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานในองค์การ :
ศึกษา
กรณี บริษัท จองกิจ เท็กไทล์ จำกัด. วิทยานิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต
โครงการบัณฑิตศึกษา วิทยาลัยคริสเตียน.
84
สมเจตน์ ขันติโชติ. (2529). ขวัญของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานการประถมศึกษา
จังหวัด
ลำปาง. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย
เชียงใหม่.
สมบัติ วันชุรี. (2523). กรวิเคราะห์ปัจจัยทางสังคมที่มีผลต่อขวัญในการปฏิบัติงานเฉพาะ
กรณี
ข้าราชการกองการเจ้าหน้าที่ กรมสามัญศึกษา.
สมพงษ์ เกษมสิน. (2521). การบริหารงานบุคคลแผนใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร :
สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.
(2526). การบริหารงานบุคคลแผนใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร :
สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.
สมพร กลิ่นพงษา. (2523). ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของพัฒนากร. วิทยานิพนธ์
ปริญญา
รัฐศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สาริยา น้อยษา. (2542). ขวัญในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจสังกัดกองตรวจคน
เข้าเมือง 2.
วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์.
สุเจตนา ชูแผน (2543). ขวัญของผู้ชำนาญการตรวจพิสูจน์ระดับรองสารวัตร สังกัดสำนัก
งาน
วิทยาการตำรวจ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สุชาดา ภู่สว่าง. (2527). ขวัญในการปฏิบัติงานของข้าราชการฝ่ายปกครอง สังกัด
กรุงเทพมหานคร.
สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุชาติ ประสิทธ์รัฐสินธุ์. (2540). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 10)
กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์เลี่ยงเชียง.
สุเทพ คงกล่อม. (2540). ขวัญในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจแผนกสายตรวจรถ
ยนต์และ
85
รถจักรยานยนต์ กองกำกับการสายตรวจ กองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการ
พิเศษ
กองบัญชาการตำรวจนครบาล. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิต
วิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สุรสิทธิ์ สังขพงศ์. (2532). การศึกษาขวัญในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร
สังกัดกองบังคับการตำรวจพระนครเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหา
บัณฑิต
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
อดุลย์ แสงสิงแก้ว. (2533). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อกำลังขวัญในการปฏิบัติงานของผู้บังคับ
กอง
ร้อยตำรวจตระเวนชายแดน. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิต
วิทยาลัย สถาบันพัฒนบริหารศาสตร์.
อรุณ รักธรรม. (2522). หลักมนุษยสัมพันธ์กับการบริหาร. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์
ไทยวัฒนาพานิช.
อลงกรณ์ หทัยยุทธ์, พ.ต.ท. (2539). กำลังขวัญในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจกอง
ปราบ
ปราม : ศึกษาเฉพาะกรณี กองกำกับการ 2 กองปราบปราม. ภาคนิพนธ์ปริญญา
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชานโยบายและการวางแผนสังคม), บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยเกริก.
อุทัย หิรัญโต. (2520). ศิลปศาสตร์ของนักบริหาร. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.
. (2531). หลักการบริหารงานบุคคล. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์
Allen Louis Edwards, (1968). Statistical Analysis. N.Y. : Rinehart & Company, Inc
Barnard, Chester I. (1982). The Function of Executives. Massachusetts : Havard
University Press.
Beamer, John Leo. (1981). “The Relationship of Administrative Leadership Practices to Teacher
Morale in The Public Elementary Schools of Charles Country, Maryland,”
Dissertation Abstracts Internation.
Cook, Reese Clara. (1981). “North Carolina Public School Teacher Morale During 1978–1979,”
86
Dissertation abstracts International.
Cruden, Herbert J. & Sherman, Arther W. (1961). Personnel Management. Ohio : Southes
Publishing.
David, Ralph C. (1951). The Fundamental to Top Management. New York : Harper &
Row Publishers.
Davis, Keith. (1967). Human Relation at Work : The Dynamics of Organization
Behavior. New York : McGraw Hill.
Flippo, Edwin B. (1967). Principles of Personnel Management. New York : McGraw Hill.
George, Wesson David. “Perceptions of the Directors and Supervisors on Communication
Adequacy, Decision-Making, Leadership, and Morale in the Mississippi State
Department of Education, 1976-1980. Dissertation Abstracts International.
Gilmer, Van Hal B. (1987). Industrial and Organization Phychology. New York : McGraw
Hill.
Green, James Eddie. (1967) “The Relationship Between Dogmatism of Principles and Teacher
Morale in Twelve Selected Schools in Michigan.” Dissertation Abstracts
International.
Herzberg, Frederick. (1959). The Motivation to Work. New York : John Wiley and Sons.
Hugick, l. & Leonard, J. (1991). Job disatisfaction grows; “moonlighting” on the rise. The
Gallup Poll News Service, 56, 1-11.
Irwin, Wayne. (1976). “Bureaucracy and Teacher Orientation : A Study of Organization, Morale.
Motivation and Loyalty.” Dissertation abstracts International.
Kemper, Lawrence Berttett. (1975). “Morale of Elementary School Principals in Mexican
Proverty Schools,” Dissertation Abstracts International.
Kossen, Stan & College, Meritt. (1975). The Human Side of Organizations. New York :
Canfield Press.
Lewis, Joseph Welborn. (1974). “A Study to Determine the Relation of Administrative Practices
and Teacher Morale in the Post Secondary Vocational Tecnnical Program of
Mississippi,” Dissertation abstracts International.
Maslow. (1954). Motivation and Personality. New York : Harper and Brothers.
87
_______. (1970). Motivation an Personality. New York : Harper & Row Publishers.
Napier, Thomas Gayle. (1966). “Teacher Morale,” Dissertation abstracts International.
Nigro, Felix A. (1963). Public Personnel Administration. New York : Holt, Rinehart Et
Winster, Inc.
Ovard, Glen F. (1966). Administration of Changing Secondary School. New York : The
Macmillan Company.
Spector, P. (2000). Industrial and organizational psychology : research and practice.
(2 nd ed.), Wiley : New York.
Summers, Norman Louis. (1970). “Factors in Fluencing Teacher Morale in Selected Secondary
Schools.” Dissertation abstracts International.
Tjosvold, D. & Tjosvold, M. (1995). Psychology for leaders : using motivation, conflict, and
power to manage more effectively. New York : Wiley.
ภาคผนวก
ภาคผนวก ก
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
89
แบบสอบถาม
เรื่อง ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร
ในสังกัดสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ
คำชี้แจง
แบบสอบถามนี้จะแบ่งเป็น 4 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
ส่วนที่ 2 ข้อมูลเกี่ยวกับองค์ประกอบในการปฏิบัติงาน
ส่วนที่ 3 ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ
ขอให้ท่านตอบคำถามทุกข้อ
ส่วนที่ 1 แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
คำชี้แจง โปรดทำเครื่องหมาย / หน้าวงเล็บ หรือกรอกข้อมูลที่เป็นจริงลงในช่องว่าง
1. หน่วยงานที่สังกัด
( ) 1. สำนักพัฒนาระบบบริหาร ( ) 2. สำนักนโยบายและพัฒนาสถาบัน
( ) 3. สำนักพัฒนาการฝึกหัดครู ( ) 4. สำนักมาตรฐานการศึกษา
( ) 5. หน่วยตรวจสอบภายใน ( ) 6. อื่น ๆ (ระบุ)…………………….
2. เพศ
( ) 1. ชาย ( ) 2. หญิง
3. อายุ
( ) 1. 20 – 30 ปี ( ) 2. 31 – 40 ปี
( ) 3. 41 – 50 ปี ( ) 4. 51 – 60 ปี
4. จบการศึกษาสูงสุดในระดับ
( ) 1. ต่ำกว่าปริญญาตรี ( ) 2. ปริญญาตรี
( ) 3. ปริญญาโท ( ) 4. ปริญญาเอก
( ) 5. อื่น ๆ (ระบุ)……….
90
5. สถานภาพในการปฏิบัติงาน
( ) 1. ข้าราชการครู ( ) 2. ข้าราชการพลเรือน
( ) 3. ลูกจ้างประจำ ( ) 4. อื่น ๆ (ระบุ)………………………..
6. ตำแหน่งที่ท่านปฏิบัติงานอยู่ในขณะนี้
( ) 1. ผู้อำนวยการกอง/กลุ่ม/ศูนย์ ( ) 2. หัวหน้าฝ่าย/หัวหน้างาน
( ) 3. ผู้ปฏิบัติงาน ( ) 4. อื่น ๆ (ระบุ)…………...……
7. ระยะเวลาที่ท่านปฏิบัติงานที่สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ
( ) 1. 1 – 10 ปี ( ) 2. 11 – 20 ปี
( ) 3. 21 – 30 ปี ( ) 4. 30 ปีขึ้นไป
8. เงินเดือนที่ท่านได้รับในปัจจุบัน
( ) 1. ต่ำกว่า 10,000 บาท ( ) 2. 10,000 – 19,990 บาท
( ) 3. 20,000 – 29,990 บาท ( ) 4. 30,000 บาทขึ้นไป
ส่วนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับขวัญและกำลังใจในการทำงาน
คำชี้แจง โปรดทำเครื่องหมาย / ลงในช่องว่างตามความรู้สึกของท่านที่ข้อความนั้นช่วยให้ท่าน
มีขวัญและกำลังใจในระดับใดตามที่เป็นจริง
ระดับขวัญและกำลังใจ
ที่ ข้อความ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด
1
ความเพียงพอของรายได้
รายได้ที่ท่านได้รับในปัจจุบันเหมาะสมกับ
ปริมาณงานและความรับผิดชอบ
2. รายได้ที่ท่านได้รับเพียงพอต่อการดำรงชีพใน
ปัจจุบัน
91
ระดับขวัญและกำลังใจ
ที่ ข้อความ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด
3 รายได้ที่ท่านได้รับปัจจุบันมีความเหมาะสมเมื่อ
เปรียบเทียบกับระยะเวลาในการทำงานของท่าน
4 รายได้ที่ได้รับมีความเหมาะสมเมื่อเปรียบเทียบ
กับหน่วยงานอื่นที่มีภารกิจคล้ายคลึงกัน
5 รายได้ที่ท่านได้รับทำให้ท่านสามารถมีปัจจัย 4
เพียงพอตามอัตภาพ
6 สวัสดิการอื่น ๆ ที่ท่านได้รับช่วยให้รายได้ของ
ท่านเพียงพอสำหรับการดำรงชีพในปัจจุบัน
7 ท่านต้องทำงานหารายได้พิเศษนอกเหนือจาก
เวลาทำงานปกติ
8
โอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงาน
ท่านมีโอกาสได้เรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น
9 ท่านมีโอกาสก้าวหน้าในการปฏิบัติงานในสาย
บังคับบัญชา
10 ท่านมีโอกาสเข้ารับการอบรมเพื่อพัฒนาความรู้
ความสามารถ
11 ท่านมีโอกาสได้รับการพิจารณาเลื่อนตำแหน่ง
ให้สูงขึ้นอย่างเป็นธรรม
12 ท่านมีโอกาสได้แสดงผลการปฏิบัติงานของตน
เอง
13 ท่านมีโอกาสได้รับการคัดเลือกให้ไปฝึกอบรม
หรือดูงาน
14 ท่านได้รับความยุติธรรมในการได้รับโอกาสก้าว
หน้าในหน้าที่การงาน
15
ความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา
หัวหน้าให้ความไว้วางใจในการปฏิบัติงาน
16 หัวหน้าคอยดูแลเอาใจใส่ ช่วยแก้ปัญหาเมื่อมี
ปัญหาในการปฏิบัติงาน
17 หัวหน้างานยอมรับความคิดเห็นและข้อเสนอ
แนะจากผู้ร่วมงาน
92
ระดับขวัญและกำลังใจ
ที่ ข้อความ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด
18 หัวหน้างานให้เกียรติและเปิดโอกาสให้ทำงาน
จนเต็มความสามารถ
19 หัวหน้างานเป็นบุคคลที่สามารถปรึกษาหารือ
หรือขอคำแนะนำในเรื่องส่วนตัวได้
20 หัวหน้าให้ความยุติธรรมแก่ลูกน้องทุกคนเท่า
เทียมกัน
21 หัวหน้าให้ความสนับสนุนและส่งเสริมความก้าว
หน้าของลูกน้อง
22
ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน
ผู้ร่วมงานในหน่วยงานของท่านให้ความช่วย
เหลือซึ่งกันและกันในการแก้ปัญหาของงานใน
หน้าที่
23 ท่านและเพื่อนร่วมงานให้เกียรติในการแสดง
ความคิดเห็นและรับฟังเหตุผลซึ่งกันและกัน
24 เมื่อท่านมีปัญหาในเรื่องส่วนตัวหรือการปฏิบัติ
งาน ท่านมักจะปรึกษาเพื่อนร่วมงานเสมอ
25 เพื่อนร่วมงานให้ความร่วมมือในการปฏิบัติงาน
เป็นอย่างดี
26 ผู้ร่วมงานของท่านให้ความช่วยเหลือกันในกรณี
ที่เพื่อนร่วมงานได้รับความเดือนร้อน
27 ท่านได้มีโอกาสพบปะสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน
นอกเวลาทำงานหรือในโอกาสพิเศษต่าง ๆ
28 เพื่อร่วมงานยินดีสละเวลาให้ท่านเสมอเมื่อท่าน
ต้องการ
29
ความเหมาะสม ความสามารถในการปฏิบัติงาน
ตำแหน่งหน้าที่ในปัจจุบันเหมาะสมกับความรู้
ความสามารถของท่าน
30 งานที่ท่านทำอยู่ขณะนี้เป็นงานที่ท่านมีความ
ถนัด
31 ท่านสามารถใช้ความรู้ ความสามารถทำงานได้
อย่างเต็มที่
93
ระดับขวัญและกำลังใจ
ที่ ข้อความ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด
32 ท่านได้มีส่วนร่วมในการเสนอแนะความคิดเห็น
ในการปฏิบัติงาน
33 ท่านมีอิสระสามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่าง
เต็มที่
34 ความคิดเดห็นของท่านได้รับการยอมรับและนำ
ไปใช้ในการปรับปรุงการปฏิบัติงาน
35 งานที่ได้รับมอบหมายเหมาะสมกับตัวท่าน
36
ความพอใจในการทำงาน
ท่านมีความสุขในการทำงานตามที่ได้รับมอบ
หมาย
37 ท่านสามารถใช้ความคิดริเริ่มและความสามารถ
ส่วนตัวในการบริหารงาน
38 งานที่รับผิดชอบเป็นงานที่ท้าทายก่อให้เกิดแรง
บันดาลใจให้อยากทำ
39 ท่านพอใจกับงานที่ทำอยู่ขณะนี้
40 งานที่ท่านได้รับเป็นงานที่น่าสนใจและเป็น
ประโยชน์
41 ปริมาณงานในหน้าที่ที่รับผิดชอบพอเหมาะไม่
น้อยเกินไป ไม่มากเกินไป
42 ท่านพอใจในความรู้ความสามารถของคณะผู้
ร่วมงานในปัจจุบัน
94
ส่วนที่ 3 ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการเสริมสร้างขวัญและกำลังใจ
ท่านคิดว่าสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ ควรจะดำเนินการเสริมสร้างขวัญและ
กำลังใจอย่างไรบ้าง
(1)……………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………….
(2)……………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………….
(3)………………………………………………………………………………………………….
…………………………………………………………………………………………………….
(4)………………………………………………………………………………………………….
…………………………………………………………………………………………………….
(5)………………………………………………………………………………………………….
…………………………………………………………………………………………………….
…………………………………………………………………………………………………….
…………………………………………………………………………………………………….
ขอขอบคุณที่ให้ความร่วมมือในการกรอกแบบสอบถามครั้งนี้
ภาคผนวก ข
รายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ
97
ผู้ทรงคุณวุฒิ
1 ดร.กฤษดา กรุดทอง รองอธิการบดีฝ่ายกิจการพิเศษ
สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา
2 นายประเสริฐ ตันสกุล ผู้เชี่ยวชาญการป้องกันยาเสพติดและโรคเอดส์
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
3 ดร.เปรมสุรีย์ เชื่อมทอง สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
4 อาจารย์ทวีศักดิ์ จงประดับเกียรติ สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
5 ผศ.ศิริจันทร์ ศิริปทุมานันท์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัย
สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
98
ประวัติผู้วิจัย
ชื่อ – สกุล นางวิสา โรจน์รุ่งสัตว์
เกิดวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 อายุ 56 ปี
สถานภาพ สมรส คู่สมรสชื่อ นายวีระ โรจน์รุ่งสัตย์
มีบุตร-ธิดา 4 คน ชาย 2 คน หญิง 2 คน
รับราชการครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2511 สังกัดสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ (กรมการฝึกหัดครูเดิม)
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ศึกษานิเทศก์ 8 สังกัดสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ
ตำแหน่งเลขที่ 6450
รับเงินเดือน ระดับ 8 ขั้น 20,640 บาท
ที่อยู่ที่ติดต่อได้รวดเร็ว สำนักมาตรฐานการศึกษา สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ
หมายเลขโทรศัพท์ (02) 6285281-90 ต่อ 1303 และโทรสาร (02) 2281-3905, (02) 2281-6643
วุฒิ ครุศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (เอกภาษาไทย) พ.ศ. 2518
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (เอกการบริหารการศึกษา) พ.ศ. 2545
99
ภาคผนวก ค
ประวัติสถาบันราชภัฏ
100
ประวัติความเป็นมาของสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ
สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ เดิมมีชื่อว่า “กรมการฝึกหัดคร”ู เปน็ ส่วนราชการระดบั กรม
ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ กรมการฝึกหัดครูได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2497 โดยมีวัตถุประสงค์
เพื่อพยายามรวมสถาบันการฝึกหัดครูให้อยู่ในกรมเดียว เนื่องจากขณะนั้นได้มีการ จัดตั้งโรงเรียน
ฝึกหัดครูขึ้นจำนวนมาก ทำให้มีโรงเรียนฝึกหัดครูอยู่ในหลายสังกัด รัฐบาลจึงได้ ตราพระราช
บัญญัติจัดตั้งกรมการฝึกหัดครูขึ้น เพื่อให้การผลิตครูของประเทศมีเอกภาพ และ มาตรฐาน
บทบาท โครงสร้างการบริหารของกรมการฝึกหัดครูมีการบริหารจัดการแบบรวมศูนย์
อำนาจ โดยอธิบดีกรมการฝึกหัดครู มีอำนาจสูงสุด เบ็ดเสร็จในการบริหาร สั่งการ นโยบายและการ
ดำเนินการเรื่องสำคัญ ๆ ทั้งในด้านงบประมาณ การเงิน บุคลากร รวมทั้งการแต่งตั้งโยกย้ายผู้
อำนวยการวิทยาลัยครูอยู่ในอำนาจของอธิบดี สำนักงานส่วนกลางของกรมการฝึกหัดครู ทำหน้าที่
ในการสนับสนุนการบริหารงานของอธิบดีเป็นหลัก จึงมีบทบาทความสำคัญสูง เพราะการดำเนิน
กิจการในเรื่องที่สำคัญของวิทยาลัยครูต้องผ่านความเห็นชอบของอธิบดี
ต่อมาได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. 2518 วิทยาลัยครูสามารถปรับ
บทบาทให้ผลิตครูในระดับปริญญาตรี สนองตอบสภาพความจำเป็นของสังคมที่ต้องการครูที่มีคุณ
วุฒิสูงขึ้น รวมทั้งได้มีการขยายบทบาทของวิทยาลัยครูไปสู่การวิจัย การบริการทางวิชาการ และการ
ส่งเสริมอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม โครงสร้างการบริหารของกรมการฝึกหัดครูจึงปรับเปลี่ยนจากการ
บริหารของอธิบดีมาสู่องค์คณะบุคคล ซึ่งเรียกว่า "สภาการฝึกหัดครู" ทำหน้าที่กำหนดนโยบาย
และกำกับดูแลวิทยาลัยครู สภาการฝึกหัดครูประกอบด้วย ผู้แทนอธิการ และผู้แทนคณาจารย์จาก
วิทยาลัยครู และผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก ในช่วงเวลานี้วิทยาลัยครูจึงมีบทบาทในการวาง
นโยบาย และกำกับตรวจสอบการดำเนินกิจการของทั้งวิทยาลัยครูและสำนักงานส่วนกลางเพิ่มขึ้น
ระดับหนึ่ง แต่อย่างไร ก็ตาม อำนาจในการกำหนดนโยบาย อำนาจในการบริหารงบประมาณ
บุคลากร โดยเฉพาะการแต่งตั้งโยกย้ายอธิการวิทยาลัยครูยังคงอยู่ส่วนกลาง เพราะเป็นอำนาจของ
กรมการฝึกหัดครูและสภาการฝึกหัดครู ทำให้บุคลากรของสำนักงานจึงยังคงมีบทบาทสำคัญตาม
ไปด้วย
101
พ.ศ. 2538 มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ นับว่าเป็นช่วงเวลาที่มีการ
เปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญยิ่งอีกครั้งหนึ่ง เพราะมีผลทำให้วิทยาลัยครูปรับเปลี่ยนแปลงเป็น
สถาบันราชภัฏและกรมการฝึกหัดครู ปรับเปลี่ยนเป็นสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ ตาม
พระราชบัญญัตินี้ สถาบันราชภัฏยังไม่มีสถานะเป็นนิติบุคคล ยังคงเป็นส่วนราชการในสำนักงาน
สภาสถาบันราชภัฏ ซึ่งเป็นส่วนราชการระดับกรมในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ แต่พระราช
บัญญัตินี้ก็มีผลทำให้สถาบันราชภัฏมีอิสระและมีความคล่องตัวในการดำเนินกิจการของสถาบันสูง
ขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากมีบทบัญญัติให้สถาบันราชภัฏทุกแห่งมีสภาประจำสถาบัน สถาบันจึงมีอำนาจ
ในการบริหารจัดการในกิจการของตนเองมากขึ้น โดยเฉพาะอำนาจในการเสนอชื่ออธิการบดีของ
สถาบัน นอกจากนี้เพื่อสนองเจตนารมณ์ของกฎหมาย เลขาธิการสภาสถาบันราชภัฏยังได้มอบ
อำนาจทั้งในด้านการบริหารงบประมาณและบุคลากร ให้สถาบันดำเนินการเอง ประกอบกับ
สถาบันราชภัฏทั้งหลายก็ตื่นตัวในการปกครองตัวเองมากขึ้น จึงมีผลโดยภาพรวมให้การใช้อำนาจ
สั่งการของสำนักงานส่วนกลางตามโครงสร้างการบังคับบัญชาได้รับการยอมรับจากสถาบันน้อยลง
ดังนั้น ในการวินิจฉัยสั่งการของเลขาธิการต่อสถาบัน จึงจำเป็นต้องใช้อำนาจของข้อมูล หลักการ
เหตุผล และการมีส่วนร่วมจากสถาบันรองรับความชอบธรรม
ในปี พ.ศ. 2542 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการของสำนักงาน
กลางที่ปรับปรุงใหม่ เพื่อให้สอดรับกับบทบาท ภารกิจที่เปลี่ยนไป โดยมุ่งการทำหน้าที่ประสาน
สนับสนุน ส่งเสริมการดำเนินภารกิจของสถาบันราชภัฏเป็นหลัก เน้นบทบาทในเชิง วิชาการมาก
ขึ้น
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มีบทบัญญัติให้การศึกษาของชาติที่กระจัด
กระจายอยู่ในกระทรวงต่าง ๆ เช่น กระทรวงศึกษาธิการ ทบวงมหาวิทยาลัย และสถาบัน
เทคโนโลยีราชมงคล เป็นต้น ให้มาอยู่รวมในความรับผิดชอบของกระทรวงเดียว คือ กระทรวง
การศึกษา ศาสนา และศิลปวัฒนธรรม อย่างช้าในปี พ.ศ. 2545 ดังนั้น เมื่อการจัดระบบโครงสร้าง
ทางการศึกษาโดยคณะกรรมการปฏิรูปการศึกษาแล้วเสร็จ สถาบันอุดมศึกษาทั้งหลาย รวม
สถาบันราชภัฏ แต่ยกเว้นสถาบันอุดมศึกษาเฉพาะทาง จะต้องเข้ามารวมอยู่ในกระทรวงเดียวกัน
ภายใต้คณะกรรมการการอุดมศึกษา
ผลของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ก่อให้เกิดการปฏิรูปการศึกษา
ทุกระดับ รวมทั้งการจัดการอุดมศึกษา สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบ
อุดมศึกษาไทย ก็ได้รับผลกระทบในครั้งนี้ด้วย แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของสำนักงานสภา
102
สถาบันราชภัฏ คือ การยุบรวมเข้ากับทบวงมหาวิทยาลัยทำงานในสำนักงานคณะกรรมการการ
อุดมศึกษา โดยคาดว่าสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจะเป็นองค์กรขนาดไม่ใหญ่มากนัก
เนื่องจากนโยบายการปฏิรูปการศึกษาที่ชัดเจนก็คือ มุ่งเน้นการกระจายอำนาจให้สถาบันอุดมศึกษา
ดังนั้นบุคลากรในปัจจุบันของสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏจำนวนหนึ่งคงจำเป็นต้องกระจายไป
ทำงานในสถาบันราชภัฏ และ ปรับเปลี่ยนบทบาทภารกิจองค์กรไปจากปัจจุบัน คือ ทำหน้าที่
ประสานระบบการผลิตและพัฒนาครูของประเทศ หรือประสาน สนับสนุน ส่งเสริม สถาบันราช
ภัฏส่วนที่ยังไม่เป็นนิติบุคคล
โครงสร้างการแบ่งส่วนราชการ และอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของสำนักงาน
อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ
เมื่อมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2538 เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ.
2538 ส่งผลให้กรมการฝึกหัดคร ู ต้องเปลี่ยนเป็นสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ มฐี านะเปน็ กรมใน
สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ การบริหารงานเป็นไปในรูปองค์คณะบุคคล มีคณะกรรมการสภา
สถาบันราชภัฏ (คสส.) ทำหน้าที่กำหนดนโยบายและแผนพัฒนากำกับมาตรฐานการศึกษาวาง
ระเบียบ จัดระบบการบริหาร และจัดการของสถาบันราชภัฏ มีสภาวิชาการ ทำหน้าที่กลั่นกรองและ
เสนอความเห็นในการพัฒนางานวิชาการ มีสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏทำหน้าที่เป็นสำนักงาน
เลขานุการของคณะกรรมการสภาสถาบันราชภัฏ และสภาวิชาการ
ในสถาบันราชภัฏแต่ละแห่ง มีคณะกรรมการสภาประจำสถาบัน (สปส.) ทำหน้าที่หลักใน
การกำกับดูแลการดำเนินกิจการของสถาบัน อนุมัติหลักสูตรและการเปิดสอน พิจารณางบ
ประมาณประจำปี และอนุมัติงบประมาณประจำปีจากรายได้ของสถาบัน ตลอดจนการวางระเบียบ
และข้อบังคับต่าง ๆ ในสถาบันราชภัฏ
หน้าที่ความรับผิดชอบของสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ
รับผิดชอบในงานธุรการของคณะกรรมการสภาสถาบันราชภัฏและศึกษารวบรวม
ข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับงานของคณะกรรมการสภาสถาบันราชภัฏ
103
1. เสนอแนะนโยบายและแผนพัฒนาสถาบันราชภัฏให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติ นโยบายของรัฐบาล และนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ
3. จัดทำแผนแม่บท ประสานแผนปฏิบัติงานและเสนอแนะนโยบายการตั้งและ จัดสรร
งบประมาณประจำปี
4. ส่งเสริมสนับสนุน และแสวงหาวิธีการเพื่อพัฒนาความก้าวหน้าของสถาบันราชภัฏให้
เป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น
5. ส่งเสริม สนับสนุนเพื่อพัฒนาวิชาชีพคร ู การผลิตครู การสง่ เสรมิ วทิ ยฐานะครู อาจารย์
และบุคลากรทางการศึกษา
6. กำกับ เร่งรัด ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงานของส่วนราชการ สังกัดสำนักงาน
ให้เป็นไปตามนโยบาย แนวทางและแผนการปฏิบัติงานของคณะกรรมการสภาสถาบันราชภัฏ
7. เสนอความเห็นต่อคณะกรรมการสภาสถาบันราชภัฏ เกี่ยวกับการกำหนดและการ
กำกับดูแลมาตรฐานการศึกษาและการดำเนินงานของสถาบัน
8. ให้คำปรึกษาแก่สภาประจำสถาบันเกี่ยวกับงานในอำนาจหน้าที่ของสภาประจำ
สถาบันราชภัฏ
9. ปฏิบัติการอื่นใด ตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานสภาสถาบัน
ราชภัฏหรือตามที่กระทรวงหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
โครงสร้างการแบ่งส่วนราชการ
การแบ่งส่วนราชการ ตามโครงสร้างในสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ มีดังนี้
1. สำนักงานพัฒนาระบบบริหาร ทำหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปของสำนักงานสภา
สถาบันราชภัฏ และราชการที่มิได้แยกให้เป็นหน้าที่ของสำนัก หรือส่วนราชการใด โดยเฉพาะ
อำนาจหน้าที่ดังกล่าวให้รวมถึงการปฏิบัติงานสารบรรณ ดำเนินการเกี่ยวกับงานช่วยอำนวยการ
งานเลขานุการ งานประชาสัมพันธ์ งานอาคารสถานที่และยานพาหนะ จัดระบบงานและบริหารงาน
บุคคล ดำเนินการเกี่ยวกับงานกฎหมาย งานนิติกรรมและสัญญางานเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิด
และงานคดีที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ งานการเงิน การบัญชี การงบ
ประมาณ และการพัสดุ การจัดการงานก่อสร้าง รวมทั้งให้คำปรึกษาและรับรองการวางแผนและการ
ดำเนินงานก่อสร้างพัฒนาสิ่งแวดล้อมและปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของ
หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย สำนักงานพัฒนาระบบบริหารแบ่งส่วนราชการ
ออกเป็น ส่วนอำนวยการ กลุ่มบริหารงานบุคคล กลุ่มงานคลังและพัสดุ
104
2. สำนักนโยบายและพัฒนาสถาบัน ทำหน้าที่ในการเสนอแนะนโยบายแผน และ
งบประมาณ จัดทำและประสานแผนการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามนโยบายและแผนแม่บทกระทรวง
ดำเนินการเร่งรัดติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานตามแผนงานของหน่วยงานในสังกัด ดำเนิน
การเกี่ยวกับงานเลขานุการของคณะกรรมการสภาสถาบันราชภัฏ ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนา
สถาบันให้เป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น จัดทำงบประมาณของสำนักงานสภาสถาบัน
ราชภัฏ พัฒนาระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศ ติดต่อประสานงานความร่วมมือกับองค์
กรระหว่างประเทศและหน่วยงานภาครัฐและเอกชน และปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการ
ปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
3. สำนักงานมาตรฐานการศึกษา ทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของสภาวิชาการ และ
ดำเนินงานเกี่ยวกับงานเลขานุการของสภาวิชาการ เสนอความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณากำหนด
มาตรฐานการศึกษาและหลักสูตรมาตรฐานทางวิชาการของสถาบันราชภัฏให้สอดคล้องกับการ
เป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น พัฒนาเกณฑ์การจัดตั้งคณะและภาควิชา รวมทั้งเกณฑ์การ
เปิดการยกเลิกสาขาวิชาของสถาบัน พัฒนาเครือข่ายข้อมูล จัดศูนย์เอกสารอุดมศึกษา ส่งเสริม
ความร่วมมือและการสร้างสรรค์งานทางวิชาการของคณาจารย์ พัฒนาระบบความร่วมมือกับ
สถาบันอุดมศึกษาสมทบให้มีมาตรฐานและคุณภาพทางวิชาการ ส่งเสริมการดำเนินงานเกี่ยวกับ
มาตรฐานการศึกษา และติดตามประเมินผลการดำเนินงานของสถาบันราชภัฏ ส่งเสริมการ
ดำเนินงานเกี่ยวกับมาตรฐานการศึกษา และติดตามประเมินผลการดำเนินงานของสถาบันราชภัฏ
ส่งเสริมสนับสนุน ประสานงานการวิจัยในสาขาวิชาต่าง ๆ การพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี ศิลปวัฒนธรรม และการบริการทางวิชาการแก่สังคมของสถาบันราชภัฏ และปฏิบัติงาน
ร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
สำนักงานมาตรฐานการศึกษาแบ่งส่วนราชการเป็นฝ่ายบริหารทั่วไป กลุ่มคุณภาพ การ
ศึกษา กลุ่มวิชาการและหลักสูตร กลุ่มส่งเสริมและบริการวิชาการ กลุ่มพัฒนากิจการนักศึกษา
4. สำนักพัฒนาการฝึกหัดคร ู มีอำนาจหน้าที่เสนอแนะแนวทางการพัฒนาการฝึกหัดครู
ตามความต้องการของกระทรวงศึกษาธิการ ดำเนินการตามกฎหมายและนโยบายเกี่ยวกับการผลิต
ครูและการส่งเสริมวิทยฐานะครู สนับสนุนและส่งเสริมการวิจัยเพื่อพัฒนาการฝึกหัดครู ติดตาม
กำกับ ดูแลมาตรฐานการผลิตและการส่งเสริมวิทยฐานะครู ส่งเสริมการพัฒนาครูและบุคลากรทาง
การศึกษาตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ และปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติ
งานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
105
5. หน่วยตรวจสอบภายใน มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการศึกษา วิเคราะห์และพัฒนา
ระบบ มาตรฐาน รูปแบบ และแนวทางปฏิบัติงานตรวจสอบภายใน เสนอแนะระบบการ ควบคุม
การเงิน พัสดุ ทรัพย์สินของทางราชการ เพื่อป้องกันการรั่วไหล ทุจริต ประสานงานและวิเคราะห์
การรายงานผลการตรวจสอบ ทำการชี้แจงกับสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน กระทรวง การคลัง จัด
ทำคู่มือการปฏิบัติงานด้านการเงิน การบัญชี และการพัสดุ เพื่อให้หน่วยงานในสังกัดสำนักงานสภา
สถาบันราชภัฏถือปฏิบัติให้คำปรึกษาแนะนำ ชี้แจงแนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารการเงิน
การบัญชี และการพัสดุ
6. สถาบันราชภัฏ (ไม่ได้รวมอยู่ในสำนักงานกลาง) มีอำนาจหน้าที่ให้การศึกษาวิชาการ
และวิชาชีพชั้นสูงทำการวิจัย ให้บริการทางวิชาการแก่สังคม ปรับปรุงถ่ายทอด และพัฒนา
เทคโนโลยีทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ผลิตครูและส่งเสริมวิทยฐานะคร ู และปฏิบัติงานร่วมกับหรือ
สนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย โดยที่สถาบันราชภัฏ
แบ่งส่วนราชการเป็น คณะ สำนักงานอธิการบดี สำนักวิจัยและบริการวิชาการ สำนักศิลปวัฒน
ธรรม สำนักกิจการนักศึกษา สำนักวางแผนและพัฒนา และสำนักส่งเสริมวิชาการ
ภาคผนวก ค
ประวัติสถาบันราชภัฏ
98
ประวัติความเป็นมาของสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ
สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ เดิมมีชื่อว่า “กรมการฝึกหัดคร”ู เปน็ ส่วนราชการระดบั กรม
ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ กรมการฝึกหัดครูได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2497 โดยมีวัตถุประสงค์
เพื่อพยายามรวมสถาบันการฝึกหัดครูให้อยู่ในกรมเดียว เนื่องจากขณะนั้นได้มีการ จัดตั้งโรงเรียน
ฝึกหัดครูขึ้นจำนวนมาก ทำให้มีโรงเรียนฝึกหัดครูอยู่ในหลายสังกัด รัฐบาลจึงได้ ตราพระราช
บัญญัติจัดตั้งกรมการฝึกหัดครูขึ้น เพื่อให้การผลิตครูของประเทศมีเอกภาพ และ มาตรฐาน
บทบาท โครงสร้างการบริหารของกรมการฝึกหัดครูมีการบริหารจัดการแบบรวมศูนย์
อำนาจ โดยอธิบดีกรมการฝึกหัดครู มีอำนาจสูงสุด เบ็ดเสร็จในการบริหาร สั่งการ นโยบายและการ
ดำเนินการเรื่องสำคัญ ๆ ทั้งในด้านงบประมาณ การเงิน บุคลากร รวมทั้งการแต่งตั้งโยกย้ายผู้
อำนวยการวิทยาลัยครูอยู่ในอำนาจของอธิบดี สำนักงานส่วนกลางของกรมการฝึกหัดครู ทำหน้าที่
ในการสนับสนุนการบริหารงานของอธิบดีเป็นหลัก จึงมีบทบาทความสำคัญสูง เพราะการดำเนิน
กิจการในเรื่องที่สำคัญของวิทยาลัยครูต้องผ่านความเห็นชอบของอธิบดี
ต่อมาได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. 2518 วิทยาลัยครูสามารถปรับ
บทบาทให้ผลิตครูในระดับปริญญาตรี สนองตอบสภาพความจำเป็นของสังคมที่ต้องการครูที่มีคุณ
วุฒิสูงขึ้น รวมทั้งได้มีการขยายบทบาทของวิทยาลัยครูไปสู่การวิจัย การบริการทางวิชาการ และการ
ส่งเสริมอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม โครงสร้างการบริหารของกรมการฝึกหัดครูจึงปรับเปลี่ยนจากการ
บริหารของอธิบดีมาสู่องค์คณะบุคคล ซึ่งเรียกว่า "สภาการฝึกหัดครู" ทำหน้าที่กำหนดนโยบาย
และกำกับดูแลวิทยาลัยครู สภาการฝึกหัดครูประกอบด้วย ผู้แทนอธิการ และผู้แทนคณาจารย์จาก
วิทยาลัยครู และผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก ในช่วงเวลานี้วิทยาลัยครูจึงมีบทบาทในการวาง
นโยบาย และกำกับตรวจสอบการดำเนินกิจการของทั้งวิทยาลัยครูและสำนักงานส่วนกลางเพิ่มขึ้น
ระดับหนึ่ง แต่อย่างไร ก็ตาม อำนาจในการกำหนดนโยบาย อำนาจในการบริหารงบประมาณ
บุคลากร โดยเฉพาะการแต่งตั้งโยกย้ายอธิการวิทยาลัยครูยังคงอยู่ส่วนกลาง เพราะเป็นอำนาจของ
กรมการฝึกหัดครูและสภาการฝึกหัดครู ทำให้บุคลากรของสำนักงานจึงยังคงมีบทบาทสำคัญตาม
ไปด้วย
พ.ศ. 2538 มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ นับว่าเป็นช่วงเวลาที่มีการ
เปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญยิ่งอีกครั้งหนึ่ง เพราะมีผลทำให้วิทยาลัยครูปรับเปลี่ยนแปลงเป็น
สถาบันราชภัฏและกรมการฝึกหัดครู ปรับเปลี่ยนเป็นสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ ตาม
พระราชบัญญัตินี้ สถาบันราชภัฏยังไม่มีสถานะเป็นนิติบุคคล ยังคงเป็นส่วนราชการในสำนักงาน
99
สภาสถาบันราชภัฏ ซึ่งเป็นส่วนราชการระดับกรมในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ แต่พระราช
บัญญัตินี้ก็มีผลทำให้สถาบันราชภัฏมีอิสระและมีความคล่องตัวในการดำเนินกิจการของสถาบันสูง
ขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากมีบทบัญญัติให้สถาบันราชภัฏทุกแห่งมีสภาประจำสถาบัน สถาบันจึงมีอำนาจ
ในการบริหารจัดการในกิจการของตนเองมากขึ้น โดยเฉพาะอำนาจในการเสนอชื่ออธิการบดีของ
สถาบัน นอกจากนี้เพื่อสนองเจตนารมณ์ของกฎหมาย เลขาธิการสภาสถาบันราชภัฏยังได้มอบ
อำนาจทั้งในด้านการบริหารงบประมาณและบุคลากร ให้สถาบันดำเนินการเอง ประกอบกับ
สถาบันราชภัฏทั้งหลายก็ตื่นตัวในการปกครองตัวเองมากขึ้น จึงมีผลโดยภาพรวมให้การใช้อำนาจ
สั่งการของสำนักงานส่วนกลางตามโครงสร้างการบังคับบัญชาได้รับการยอมรับจากสถาบันน้อยลง
ดังนั้น ในการวินิจฉัยสั่งการของเลขาธิการต่อสถาบัน จึงจำเป็นต้องใช้อำนาจของข้อมูล หลักการ
เหตุผล และการมีส่วนร่วมจากสถาบันรองรับความชอบธรรม
ในปี พ.ศ. 2542 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการของสำนักงาน
กลางที่ปรับปรุงใหม่ เพื่อให้สอดรับกับบทบาท ภารกิจที่เปลี่ยนไป โดยมุ่งการทำหน้าที่ประสาน
สนับสนุน ส่งเสริมการดำเนินภารกิจของสถาบันราชภัฏเป็นหลัก เน้นบทบาทในเชิง วิชาการมาก
ขึ้น
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มีบทบัญญัติให้การศึกษาของชาติที่กระจัด
กระจายอยู่ในกระทรวงต่าง ๆ เช่น กระทรวงศึกษาธิการ ทบวงมหาวิทยาลัย และสถาบัน
เทคโนโลยีราชมงคล เป็นต้น ให้มาอยู่รวมในความรับผิดชอบของกระทรวงเดียว คือ กระทรวง
การศึกษา ศาสนา และศิลปวัฒนธรรม อย่างช้าในปี พ.ศ. 2545 ดังนั้น เมื่อการจัดระบบโครงสร้าง
ทางการศึกษาโดยคณะกรรมการปฏิรูปการศึกษาแล้วเสร็จ สถาบันอุดมศึกษาทั้งหลาย รวม
สถาบันราชภัฏ แต่ยกเว้นสถาบันอุดมศึกษาเฉพาะทาง จะต้องเข้ามารวมอยู่ในกระทรวงเดียวกัน
ภายใต้คณะกรรมการการอุดมศึกษา
ผลของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ก่อให้เกิดการปฏิรูปการศึกษา
ทุกระดับ รวมทั้งการจัดการอุดมศึกษา สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบ
อุดมศึกษาไทย ก็ได้รับผลกระทบในครั้งนี้ด้วย แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของสำนักงานสภา
สถาบันราชภัฏ คือ การยุบรวมเข้ากับทบวงมหาวิทยาลัยทำงานในสำนักงานคณะกรรมการการ
อุดมศึกษา โดยคาดว่าสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจะเป็นองค์กรขนาดไม่ใหญ่มากนัก
เนื่องจากนโยบายการปฏิรูปการศึกษาที่ชัดเจนก็คือ มุ่งเน้นการกระจายอำนาจให้สถาบันอุดมศึกษา
ดังนั้นบุคลากรในปัจจุบันของสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏจำนวนหนึ่งคงจำเป็นต้องกระจายไป
100
ทำงานในสถาบันราชภัฏ และ ปรับเปลี่ยนบทบาทภารกิจองค์กรไปจากปัจจุบัน คือ ทำหน้าที่
ประสานระบบการผลิตและพัฒนาครูของประเทศ หรือประสาน สนับสนุน ส่งเสริม สถาบันราช
ภัฏส่วนที่ยังไม่เป็นนิติบุคคล
โครงสร้างการแบ่งส่วนราชการ และอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของสำนักงาน
อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ
เมื่อมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2538 เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ.
2538 ส่งผลให้กรมการฝึกหัดคร ู ต้องเปลี่ยนเป็นสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ มฐี านะเปน็ กรมใน
สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ การบริหารงานเป็นไปในรูปองค์คณะบุคคล มีคณะกรรมการสภา
สถาบันราชภัฏ (คสส.) ทำหน้าที่กำหนดนโยบายและแผนพัฒนากำกับมาตรฐานการศึกษาวาง
ระเบียบ จัดระบบการบริหาร และจัดการของสถาบันราชภัฏ มีสภาวิชาการ ทำหน้าที่กลั่นกรองและ
เสนอความเห็นในการพัฒนางานวิชาการ มีสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏทำหน้าที่เป็นสำนักงาน
เลขานุการของคณะกรรมการสภาสถาบันราชภัฏ และสภาวิชาการ
ในสถาบันราชภัฏแต่ละแห่ง มีคณะกรรมการสภาประจำสถาบัน (สปส.) ทำหน้าที่หลักใน
การกำกับดูแลการดำเนินกิจการของสถาบัน อนุมัติหลักสูตรและการเปิดสอน พิจารณางบ
ประมาณประจำปี และอนุมัติงบประมาณประจำปีจากรายได้ของสถาบัน ตลอดจนการวางระเบียบ
และข้อบังคับต่าง ๆ ในสถาบันราชภัฏ
หน้าที่ความรับผิดชอบของสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ
รับผิดชอบในงานธุรการของคณะกรรมการสภาสถาบันราชภัฏและศึกษารวบรวม
ข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับงานของคณะกรรมการสภาสถาบันราชภัฏ
1. เสนอแนะนโยบายและแผนพัฒนาสถาบันราชภัฏให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติ นโยบายของรัฐบาล และนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ
3. จัดทำแผนแม่บท ประสานแผนปฏิบัติงานและเสนอแนะนโยบายการตั้งและ จัดสรร
งบประมาณประจำปี
4. ส่งเสริมสนับสนุน และแสวงหาวิธีการเพื่อพัฒนาความก้าวหน้าของสถาบันราชภัฏให้
เป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น
5. ส่งเสริม สนับสนุนเพื่อพัฒนาวิชาชีพคร ู การผลิตครู การสง่ เสรมิ วทิ ยฐานะครู อาจารย์
และบุคลากรทางการศึกษา
101
6. กำกับ เร่งรัด ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงานของส่วนราชการ สังกัดสำนักงาน
ให้เป็นไปตามนโยบาย แนวทางและแผนการปฏิบัติงานของคณะกรรมการสภาสถาบันราชภัฏ
7. เสนอความเห็นต่อคณะกรรมการสภาสถาบันราชภัฏ เกี่ยวกับการกำหนดและการ
กำกับดูแลมาตรฐานการศึกษาและการดำเนินงานของสถาบัน
8. ให้คำปรึกษาแก่สภาประจำสถาบันเกี่ยวกับงานในอำนาจหน้าที่ของสภาประจำ
สถาบันราชภัฏ
9. ปฏิบัติการอื่นใด ตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานสภาสถาบัน
ราชภัฏหรือตามที่กระทรวงหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
โครงสร้างการแบ่งส่วนราชการ
การแบ่งส่วนราชการ ตามโครงสร้างในสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ มีดังนี้
1. สำนักงานพัฒนาระบบบริหาร ทำหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปของสำนักงานสภา
สถาบันราชภัฏ และราชการที่มิได้แยกให้เป็นหน้าที่ของสำนัก หรือส่วนราชการใด โดยเฉพาะ
อำนาจหน้าที่ดังกล่าวให้รวมถึงการปฏิบัติงานสารบรรณ ดำเนินการเกี่ยวกับงานช่วยอำนวยการ
งานเลขานุการ งานประชาสัมพันธ์ งานอาคารสถานที่และยานพาหนะ จัดระบบงานและบริหารงาน
บุคคล ดำเนินการเกี่ยวกับงานกฎหมาย งานนิติกรรมและสัญญางานเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิด
และงานคดีที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ งานการเงิน การบัญชี การงบ
ประมาณ และการพัสดุ การจัดการงานก่อสร้าง รวมทั้งให้คำปรึกษาและรับรองการวางแผนและการ
ดำเนินงานก่อสร้างพัฒนาสิ่งแวดล้อมและปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของ
หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย สำนักงานพัฒนาระบบบริหารแบ่งส่วนราชการ
ออกเป็น ส่วนอำนวยการ กลุ่มบริหารงานบุคคล กลุ่มงานคลังและพัสดุ
2. สำนักนโยบายและพัฒนาสถาบัน ทำหน้าที่ในการเสนอแนะนโยบายแผน และ
งบประมาณ จัดทำและประสานแผนการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามนโยบายและแผนแม่บทกระทรวง
ดำเนินการเร่งรัดติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานตามแผนงานของหน่วยงานในสังกัด ดำเนิน
การเกี่ยวกับงานเลขานุการของคณะกรรมการสภาสถาบันราชภัฏ ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนา
สถาบันให้เป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น จัดทำงบประมาณของสำนักงานสภาสถาบัน
ราชภัฏ พัฒนาระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศ ติดต่อประสานงานความร่วมมือกับองค์
กรระหว่างประเทศและหน่วยงานภาครัฐและเอกชน และปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการ
ปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
102
3. สำนักงานมาตรฐานการศึกษา ทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของสภาวิชาการ และ
ดำเนินงานเกี่ยวกับงานเลขานุการของสภาวิชาการ เสนอความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณากำหนด
มาตรฐานการศึกษาและหลักสูตรมาตรฐานทางวิชาการของสถาบันราชภัฏให้สอดคล้องกับการ
เป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น พัฒนาเกณฑ์การจัดตั้งคณะและภาควิชา รวมทั้งเกณฑ์การ
เปิดการยกเลิกสาขาวิชาของสถาบัน พัฒนาเครือข่ายข้อมูล จัดศูนย์เอกสารอุดมศึกษา ส่งเสริม
ความร่วมมือและการสร้างสรรค์งานทางวิชาการของคณาจารย์ พัฒนาระบบความร่วมมือกับ
สถาบันอุดมศึกษาสมทบให้มีมาตรฐานและคุณภาพทางวิชาการ ส่งเสริมการดำเนินงานเกี่ยวกับ
มาตรฐานการศึกษา และติดตามประเมินผลการดำเนินงานของสถาบันราชภัฏ ส่งเสริมการ
ดำเนินงานเกี่ยวกับมาตรฐานการศึกษา และติดตามประเมินผลการดำเนินงานของสถาบันราชภัฏ
ส่งเสริมสนับสนุน ประสานงานการวิจัยในสาขาวิชาต่าง ๆ การพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี ศิลปวัฒนธรรม และการบริการทางวิชาการแก่สังคมของสถาบันราชภัฏ และปฏิบัติงาน
ร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
สำนักงานมาตรฐานการศึกษาแบ่งส่วนราชการเป็นฝ่ายบริหารทั่วไป กลุ่มคุณภาพ การ
ศึกษา กลุ่มวิชาการและหลักสูตร กลุ่มส่งเสริมและบริการวิชาการ กลุ่มพัฒนากิจการนักศึกษา
4. สำนักพัฒนาการฝึกหัดคร ู มีอำนาจหน้าที่เสนอแนะแนวทางการพัฒนาการฝึกหัดครู
ตามความต้องการของกระทรวงศึกษาธิการ ดำเนินการตามกฎหมายและนโยบายเกี่ยวกับการผลิต
ครูและการส่งเสริมวิทยฐานะครู สนับสนุนและส่งเสริมการวิจัยเพื่อพัฒนาการฝึกหัดครู ติดตาม
กำกับ ดูแลมาตรฐานการผลิตและการส่งเสริมวิทยฐานะครู ส่งเสริมการพัฒนาครูและบุคลากรทาง
การศึกษาตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ และปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติ
งานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
5. หน่วยตรวจสอบภายใน มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการศึกษา วิเคราะห์และพัฒนา
ระบบ มาตรฐาน รูปแบบ และแนวทางปฏิบัติงานตรวจสอบภายใน เสนอแนะระบบการ ควบคุม
การเงิน พัสดุ ทรัพย์สินของทางราชการ เพื่อป้องกันการรั่วไหล ทุจริต ประสานงานและวิเคราะห์
การรายงานผลการตรวจสอบ ทำการชี้แจงกับสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน กระทรวง การคลัง จัด
ทำคู่มือการปฏิบัติงานด้านการเงิน การบัญชี และการพัสดุ เพื่อให้หน่วยงานในสังกัดสำนักงานสภา
สถาบันราชภัฏถือปฏิบัติให้คำปรึกษาแนะนำ ชี้แจงแนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารการเงิน
การบัญชี และการพัสดุ
103
6. สถาบันราชภัฏ (ไม่ได้รวมอยู่ในสำนักงานกลาง) มีอำนาจหน้าที่ให้การศึกษาวิชาการ
และวิชาชีพชั้นสูงทำการวิจัย ให้บริการทางวิชาการแก่สังคม ปรับปรุงถ่ายทอด และพัฒนา
เทคโนโลยีทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ผลิตครูและส่งเสริมวิทยฐานะคร ู และปฏิบัติงานร่วมกับหรือ
สนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย โดยที่สถาบันราชภัฏ
แบ่งส่วนราชการเป็น คณะ สำนักงานอธิการบดี สำนักวิจัยและบริการวิชาการ สำนักศิลปวัฒน
ธรรม สำนักกิจการนักศึกษา สำนักวางแผนและพัฒนา และสำนักส่งเสริมวิชาการ
104
ประวัติผู้วิจัย
ชื่อ – สกุล นางวิสา โรจน์รุ่งสัตว์
เกิดวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 อายุ 56 ปี
สถานภาพ สมรส คู่สมรสชื่อ นายวีระ โรจน์รุ่งสัตย์
มีบุตร-ธิดา 4 คน ชาย 2 คน หญิง 2 คน
รับราชการครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2511 สังกัดสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ (กรมการฝึกหัดครูเดิม)
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ศึกษานิเทศก์ 8 สังกัดสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ
ตำแหน่งเลขที่ 6450
รับเงินเดือน ระดับ 8 ขั้น 20,640 บาท
ที่อยู่ที่ติดต่อได้รวดเร็ว สำนักมาตรฐานการศึกษา สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ
หมายเลขโทรศัพท์ (02) 6285281-90 ต่อ 1303 และโทรสาร (02) 281-3905, (02) 281-6643
วุฒิ ครุศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (เอกภาษาไทย) พ.ศ. 2518
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (เอกการบริหารการศึกษา) พ.ศ. 2545

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น