วันศุกร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2554

บทบาทการพึ่งตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในครอบครัวสมัยใหม่ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร (ตอนที่ 2)



3. อาชีพของบิดา
- รับราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ
/ลูกจ้างเอกชน
-
26
(9.15)
36
(13.38)
26
(9.15)
1
(0.35)
91
(32.03)
- ประกอบธุรกิจส่วนตัว เช่น ค้าขาย
ฯลฯ
-
28
(9.89)
52
(18.31)
19
(6.70)
2
(0.70)
101
(35.67)
- รับจ้างทั่วไป / พ่อบ้าน / แม่บ้าน
1
(0.35)
16
(3.63)
49
(17.25)
25
(8.80)
1
(0.35)
62
(32.39)
รวม
1
(0.35)
70
(24.65)
139
(48.94)
70
(24.65)
4
(1.41)
284
(100.0)
Sig.= .027
0.328
50
ตาราง 9 ( ต่อ )
การพึ่งตนเองด้านการศึกษา
รวม
ค่าสถิติ - P
Pearson
ตัวแปรที่ศึกษา
มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด
3. อาชีพของมารดา
- รับราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ
/ ลูกจ้างเอกชน
-
13
(4.58)
29
(1021)
11
(3.87)
2
(0.70)
55
(19.36)
- ประกอบธุรกิจส่วนตัว เช่น ค้าขาย
ฯลฯ
-
28
(9.89)
58
(20.42)
27
(9.51)
2
(0.70)
115
(40.50)
-รับจ้างทั่วไป / พ่อบ้าน / แม่บ้าน
1
(0.35)
29
(10.21)
52
(18.31)
32
(11.27)
-
114
(40.14)
รวม
1
(0.35)
70
(24.65)
139
(48.94)
70
(24.65)
4
(1.41)
284
(100.0)
Sig.= .022
0.357
5. ฐานะทางเศรษฐกิจ
- ดี (รายได้เพียงพอและไม่เป็นหนี้)
-
53
(18.67)
90
(31.69)
44
(15.49)
3
(1.05)
190
(66.90)
- ปานกลาง ( รายได้พอเพียงแต่ไม่มี
เงินเก็บ)
1
(0.35)
13
(4.58)
36
(12.67)
18
(6.34)
1
(0.35)
69
(24.30)
-ไม่ดี ( รายได้ไม่พอต้องกู้ยืม )
-
4
(1.40)
13
(4.58)
8
(2.82)
- 25
(8.80)
รวม
1
(0.35)
70
(24.65)
139
(48.94)
70
(24.65)
4
(1.41)
284
(100.0)
Sig. = .039
0.254
ตารางที่ 9 ระดับการศึกษา อาชีพของผู้ปกครองและฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวมีดังนี้
ข้อที่ 1 – 2 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เขตภาษีเจริญ ที่มีผู้ปกรองจบการศึกษาต่ำกว่าชั้นประถม
ศึกษาปีที่ 6 หรือชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สามารถพึ่งตนเองด้านการศึกษาระดับปานกลางมากที่สุด คิดเป็น
ร้อยละ 21.83 และพบว่านักเรียนที่มีมารดาจบการศึกษาต่ำกว่าชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หรือชั้นประถมศึกษาปี
ที่ 6 สามารถพึ่งตนเองด้านการศึกษาได้มากว่านักเรียนที่มีบิดาจบการศึกษาในระดับเดียวกัน คิดเป็นร้อยละ
11.26 และ 8.10 จากผลการทดสอบค่าความสัมพันธ์พบว่าระดับการศึกษาชองบิดามารดาไม่มีความสัมพันธ์
กับการพึ่งตนเองด้านการศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ข้อที่ 3- 4 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ทีมีบิดามารดาประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว เช่น ค้าขาย
ฯลฯ สามารถพึ่งตนเองด้านการศึกษาในระดับปานกลาง และมาก คิดเป็นร้อยละ 20.42 และ 18.31 และ
9.86 และจากผลการทดสอบความสมมุติฐานทางสถิติพบว่าอาชีพของบิดามารดาไม่มีความสัมพันธ์กับ
การพึ่งตนเองด้านการศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
51
ข้อที่ 5 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวดีสามารถพึ่งตนเอง
ด้านการศึกษาในระดับปานกลาง และมาก คิดเป็นร้อยละ 31.69 และ 18.69 ส่วนนักเรียนที่มีฐานะทาง
เศรษฐกิจไม่ดีนั้นสามารถพึ่งตนเองในด้านการศึกษาได้น้อยที่สุด จากการทดสอบสมมุติฐานทางสถิติพบ
ว่าฐานะทางเศรษฐกิจไม่มีความสัมพันธ์กับการพึ่งตนเองด้านการศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางเศรษฐกิจที่
ระดับ 0.05
52
ตาราง 10 วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของระดับการศึกษา อาชีพของบิดามารดา และฐานะทางเศรษฐกิจ
ของครอบครัวกับการพึ่งตนเองด้านเศรษฐกิจ
การพึ่งตนเองด้านเศรษฐกิจ
รวม
ค่าสถิติ - P
Pearson
ตัวแปรที่ศึกษา
มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด
1.ระดับการศึกษาของบิดา
- ต่ำกว่าชั้น ป.6 / ป. 6
-
16
(5.63)
70
(24.65)
31
(10.92)
1
(0.35)
118
(41.55)
- มัธยมศึกษาปีที่ 3 / ม. 6 /เทียบเท่า
-
11
(3.87)
54
(19.01)
38
(13.38)
7
(1.41)
107
(37.68)
- อนุปริญญา / สูงกว่าปริญญาตรี
-
5
(1.76)
29
(10.21)
23
(8.09)
2
(0.70)
59
(20.77)
รวม
-
32
(11.27)
153
(53.87)
92
(32.40)
7
(2.46)
284
(100.0)
Sig. = .080
0.090
2. ระดับการศึกษาของมารดา
- ต่ำกว่าชั้น ป.6 / ป. 6
-
18
(6.34)
60
(21.13)
35
(12.32)
1
(0.35)
114
(4014)
- มัธยมศึกษาปีที่ 3 / ม. 6 /เทียบเท่า
-
10
(3.52)
52
(18.31)
36
(12.68)
4
(1.41)
102
(35.92)
- อนุปริญญา / สูงกว่าปริญญาตรี
-
4
(1.41)
41
(14.44)
21
(7.39)
2
(0.70)
68
(23.94)
รวม
-
32
(11.27)
153
(53.87)
92
(32.40)
7
(2.46)
284
(100.0)
Sig. = .051
0.194
3. อาชีพของบิดา
- รับราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ
/ ลูกจ้างเอกชน
-
8
(2.82)
48
(16.90)
32
(11.27)
5
(1.76)
93
(32.75)
- ประกอบธุรกิจส่วนตัว เช่น ค้าขาย
ฯลฯ
-
11
(3.87)
58
(20.42)
30
(10.56)
2
(0.70)
101
(35.67)
- รับจ้างทั่วไป / พ่อบ้าน / แม่บ้าน
-
13
(4.58)
47
(16.55)
30
(10.56)
-
90
(31.69)
รวม
-
32
(11.27)
153
(53.87)
92
(32.40)
7
(2.46)
284
(100.0)
Sig.= .103*
0.042
53
ตาราง 10 ( ต่อ )
การพึ่งตนเองด้านเศรษฐกิจ
รวม
ค่าสถิติ - P
Pearson
ตัวแปรที่ศึกษา
มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด
3. อาชีพของมารดา
- รับราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ
/ ลูกจ้างเอกชน
-
2
(0.70)
31
(10.92)
20
(7.04)
2
(0.70)
55
(19.36)
- ประกอบธุรกิจส่วนตัว เช่น ค้าขาย
ฯลฯ
-
16
(5.63)
62
(21.83)
34
(11.97)
3
(1.05)
115
(40.50)
-รับจ้างทั่วไป / พ่อบ้าน / แม่บ้าน
-
29
(10.21)
52
(18.31)
32
(11.27)
-
114
(40.14)
รวม
-
32
(11.27)
153
(53.87)
92
(32.40)
7
(2.46)
284
(100.0)
Sig.= .059
0.163
5. ฐานะทางเศรษฐกิจ
- ดี (รายได้เพียงพอและไม่เป็นหนี้ )
-
20
(7.04)
108
(38.03)
57
(20.07)
7
(2.46)
192
(67.61)
- ปานกลาง ( รายได้พอเพียงแต่ไม่มี
เงินเก็บ)
-
8
(2.82)
32
(11.27)
26
(9.15)
-
66
(23.24)
-ไม่ดี ( รายได้ไม่พอต้องกู้ยืม )
-
4
(1.40)
13
(4.58)
9
(3.17)
-
26
(9.15)
รวม
-
32
(11.27)
153
(53.87)
92
(32.40)
7
(2.46)
284
(100.0)
Sig.= .109*
0.033
จากตารางที่ 10 ระดับการศึกษา อาชีพของบิดามารดา และฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวกับการ
พึ่งตนเองด้านเศรษฐกิจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีดังนี้
ข้อที่ 1 - 2 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เขตภาษีเจริญ ที่มีบิดามารดาจบการศึกษาต่ำกว่าชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 6 สามารถพึ่งตนเองด้านเศรษฐกิจได้มากกว่านักเรียนที่มีบิดามารดาจบชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 3 / มัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า และบิดามารดาที่จบอนุปริญญา / สูงกว่าปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ
41.55, 37.68 และ 20.77 จากการทดสอบสมมุติฐานทางสถิติพบว่าระดับการศึกษาของบิดามารดาไม่มีความ
สัมพันธ์กับการพึ่งตนเองทางด้านเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ข้อที่ 3- 4 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ทีมีบิดามารดาประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว เช่น ค้าขาย
ฯลฯ สามารถพึ่งตนเองด้านเศรษฐกิจได้มากกว่านักเรียนที่มีบิดามารดาประกอบอาชีพอื่น คิดเป็นร้อยละ
35.56 และ 40.49 ส่วนนักเรียนที่มีมารดาประกอบอาชีพส่วนตัว สามารถพึ่งตนเองด้านเศรษฐกิจในระดับ
54
ปานกลางมากกว่านักเรียนที่มีบิดาประกอบอาชีพเดียวกัน คิดเป็นร้อยละ 21.83 และ 20.42 และพบว่านัก
เรียนที่มีมารดาประกอบอาชีพรับราชการสามารถพึ่งตนเองในด้านเศรษฐกิจได้น้อยที่สุด จากการ
ทดสอบสมมุติฐานทางสถิติพบว่าอาชีพของบิดามารดาไม่มีความสัมพันธ์กับการพึ่งตนเองด้านเศรษฐกิจที่
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ข้อที่ 5 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวดีมีมากกว่านักเรียน
ที่มีฐานะทางเศรษฐกิจปานกลาง และฐานะทางเศรษฐกิจไม่ดี คิดเป็นร้อยละ 38.03 และ 11.27 และจาก
การศึกษาพบว่าฐานะทางเศรษฐกิจมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการพึ่งตนเองด้านเศรษฐกิจอย่างมี
นัยสำคัญทางเศรษฐกิจที่ระดับ 0.05
55
ตาราง 11 วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของระดับการศึกษา อาชีพของบิดามารดา และฐานะทางเศรษฐกิจ
ของครอบครัวกับการพึ่งตนเองทางด้านสังคม/ส่วนรวม
การพึ่งตนเองด้านสังคม/ส่วนรวม
รวม
ค่าสถิติ - P
Pearson
ตัวแปรที่ศึกษา
มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด
1.ระดับการศึกษาของบิดา
- ต่ำกว่าชั้น ป.6 / ป. 6
-
22
(7.75)
57
(20.07)
37
(13.03)
1
(0.35)
117
(41.20)
- มัธยมศึกษาปีที่ 3 / ม. 6 /เทียบเท่า
-
11
(3.87)
62
(21.83)
23
(8.09)
3
(1.06)
99
(34.86)
- อนุปริญญา / สูงกว่าปริญญาตรี
-
23
(8.09)
28
(9.86)
15
(5.28)
2
(0.70)
68
(23.94)
รวม
-
56
(19.72)
147
(51.76)
75
(26.41)
6
(2.11)
284
(100.0)
Sig = .124*
0.018
2. ระดับการศึกษาของมารดา
- ต่ำกว่าชั้น ป.6 / ป. 6
-
22
(7.75)
70
(24.65)
41
(14.44)
3
(1.06)
13
(47.88)
- มัธยมศึกษาปีที่ 3 / ม. 6 /เทียบเท่า
-
13
(4.58)
53
(18.66)
26
(9.15)
1
(0.35)
93
(33.00)
- อนุปริญญา / สูงกว่าปริญญาตรี
-
21
(7.39)
24
(8.45)
8
(2.82)
2
(0.70)
55
(19.37)
รวม
-
56
(19.72)
147
(51.76)
75
(26.41)
6
(2.11)
284
(100.0)
Sig = .128*
0.15
3. อาชีพของบิดา
- รับราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ
/ ลูกจ้างเอกชน
-
23
(8.09)
40
(14.08)
27
(9.51)
3
(1.06)
93
(32.75)
- ประกอบธุรกิจส่วนตัว เช่น ค้าขาย
ฯลฯ
-
20
(7.04)
57
(20.07)
24
(8.45)
2
(0.70)
103
(36.27)
- รับจ้างทั่วไป / พ่อบ้าน / แม่บ้าน
-
13
(4.58)
50
(16.61)
24
(8.45)
1
(0.35)
88
(330.98)
รวม
-
56
(19.72)
147
(51.76)
75
(26.41)
6
(2.11)
284
(100.0)
Sig.= .497
0.207
56
ตาราง 11 ( ต่อ )
การพึ่งตนเองด้านสังคม/ส่วนรวม
รวม
ค่าสถิติ - P
Pearson
ตัวแปรที่ศึกษา
มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด
3. อาชีพของมารดา
- รับราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ
/ ลูกจ้างเอกชน
-
9
(3.17)
20
(7.04)
18
(6.34)
2
(0.70)
49
(17.25)
- ประกอบธุรกิจส่วนตัว เช่น ค้าขาย
ฯลฯ
-
25
(8.80)
68
(23.94)
26
(9.15)
2
(0.70)
115
(40.50)
-รับจ้างทั่วไป / พ่อบ้าน / แม่บ้าน
-
22
(7.75)
59
(20.77)
31
(10.92)
2
(0.70)
114
(40.14)
รวม
-
56
(19.72)
147
(51.76)
75
(26.41)
6
(2.11)
284
(100.0)
Sig. .021
0.361
5. ฐานะทางเศรษฐกิจ
- ดี (รายได้เพียงพอและไม่เป็นหนี้ )
-
42
(7.04)
97
(34.15)
49
(17.25)
4
(1.41)
192
(67.61)
- ปานกลาง ( รายได้พอเพียงแต่ไม่มี
เงินเก็บ)
-
8
(2.82)
40
(14.08)
16
(5.63)
2
(0.07)
66
(23.24)
-ไม่ดี ( รายได้ไม่พอต้องกู้ยืม )
-
6
(2.11)
10
(3.52)
80
(3.52)
-
26
(9.15)
รวม
-
56
(19.72)
147
(51.76)
75
(26.41)
6
(2.11)
284
(100.0)
Sig. .012
0.383
จากตารางที่ 11 ระดับการศึกษา อาชีพของบิดามารดา และฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวกับการ
พึ่งตนเองทางด้านสังคม หรือส่วนรวมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีดังนี้
ข้อที่ 1 - 2 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เขตภาษีเจริญ ที่มีบิดามารดาจบการศึกษาต่ำกว่าชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 6 สามารถพึ่งตนเองด้านสังคมหรือส่วนรวมได้มากกว่านักเรียนที่มีบิดามารดาจบชั้นมาก
กว่าในระดับอื่นๆ คิดเป็นร้อยละ 41.2 และ 47.88 และพบว่านักเรียบที่มีมารดาจบการศึกษาต่ำกว่าชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 6 หรือชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สามารถพึ่งตนเองได้ในระดับปานกลางได้มากกว่านักเรียนที่
มีบิดาจบการศึกษาในระดับเดียวกัน คิดเป็นร้อยละ 24.65 และ 20.07 ในขณะเดียวกันนักเรียนที่มีบิดามารดา
จบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 / มัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า สามารถพึ่งตนเองด้านสังคมได้ใน
ระดับปานกลางมากกว่านักเรียนที่มีมารดาจบการศึกษาในระดับเดียวกัน คิดเป็นร้อยละ 21.83 และ 18.66
จากการทดสอบสมมุติฐานทางสถิติพบว่าระดับการศึกษาของบิดามารดามีความสัมพันธ์ทางบวกกับการพึ่ง
ตนเองทางด้านสังคมหรือส่วนรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
57
ข้อที่ 3- 4 นักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่มีบิดามารดาประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว เช่น ค้าขาย ฯลฯ
สามารถพึ่งตนเองด้านสังคมได้มากกว่าอาชีพอื่นๆ คิดเป็นร้อยละ 36.27 และ 23.94 และนักเรียนที่มีบิดา
มีอาชีพรับราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ / ลูกจ้างเอกชน สามารถพึ่งตนเองด้านสังคมในระดับมากได้
มากกว่านักเรียนที่มีบิดาประกอบอาชีพอื่นๆ และจากผลการทดสอบความสมมุติฐานทางสถิติพบว่าอาชีพ
ของบิดามารดาไม่มีความสัมพันธ์กับการพึ่งตนเองด้านสังคมหรือส่วนรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่
ระดับ 0.05
ข้อที่ 5 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีฐานทางเศรษฐกิจของครอบครัวดีมีมากที่สุด คิดเป็น
ร้อยละ 67.61 รองลงมาคือ นักเรียนที่มีฐานะทางเศรษฐกิจปานกลางและไม่ดี จำนวนร้อยละ 23.24 และ
9.15 และพบว่านักเรียนที่มีฐานะทางเศรษฐกิจครอบครัวดี (พอใช้และไม่มีหนี้สิน) สามารถพึ่งตนเองได้
ในระดับมากและปานกลางได้มกกว่านักเรียนที่มีฐานะทางเศรษฐกิจปานกลางไม่ดี และนักเรียนที่มีฐานะ
ทางเศรษฐกิจไม่ดีสามารถพึ่งตนเองด้านสังคม / ส่วนรวมได้น้อยที่สุด จากการทดสอบสมมุติฐานทาง
สถิติพบว่าฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวไม่มีความสัมพันธ์กับการพึ่งตนเองด้านสังคมหรือส่วนรวม
อย่างมีนัยสำคัญทางเศรษฐกิจที่ระดับ 0.05
ตาราง 12 วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของการอบรมเลี้ยงดูของผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
กับการพึ่งตนเองด้านต่างๆ จำแนกรายด้าน
รูปแบบการอบรมเลี้ยงดู สถิติ การพึ่งตนเอง
ค่าสถิติ - P ด้านการศึกษา ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม
1. แบบประชาธิปไตย Pearson .397 .332 .348
P - value .000* .000* .000*
3. แบบเข้มงวดกวดขัน Pearson .216 .267 .148
P - value .000* .000* .006*
3. แบบปล่อยปละละเลย Pearson .097 .128 .022
P - value .015 .016* .070
* P < 0.05 จากตารางที่ 12 พบว่านักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เขตภาษีเจริญ ที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบ ประชาธิปไตย และแบบเข้มงวดกวดขันมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการพึ่งตนเองในด้านการศึกษา 58 ด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และพบว่ามีความสัมพันธ์ทางบวก ระหว่างนักเรียนที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลยกับการพึ่งตนเองในด้านเศรษฐกิจ อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนด้านอื่นๆไม่พบความสัมพันธ์ ตอนที่ 4 วิเคราะห์เปรียบเทียบเพศของนักเรียน ขนาดครอบครัวต่อบทบาทการพึ่งตนเองของนัก เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ตารางที่ 13 เปรียบเทียบความแตกต่างของบทบาทการพึ่งตนเองของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างต่อเพศของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เพศชาย เพศหญิง การพึ่งตนเอง X X T - test 1. การพึ่งตนเองด้านการศึกษา 3.32 3.53 2.59* 2. การพึ่งตนเองด้านเศรษฐกิจ 3.13 3.24 1.46 3. การพึ่งตนเองด้านสังคม / ส่วนรวม 3.29 3.38 1.23 รวม 3.25 3.39 2.15* * มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ( t = 1.645 ) จากตาราง 13 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เขตภาษีเจริญ มีบทบาทการพึ่งตนเองโดยรวมแตก ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยนักเรียนหญิงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีบทบาทการพึ่ง ตนเองด้านต่างๆดีกว่าเพศชาย และพบว่านักเรียนหญิงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีบทบาทการพึ่งตนเองด้าน การศึกษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยนักเรียนหญิงมีบทบาทการพึ่งตนเองด้าน การศึกษาดีกว่าเพศชาย ส่วนในด้านอื่นไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 59 ตารางที่ 14 เปรียบเทียบความแตกต่างของการพึ่งตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เขตภาษีเจริญกับขนาดครอบครัว ครอบครัวเดี่ยว ครอบครัวขยาย การพึ่งตนเอง X X T - test 1. การพึ่งตนเองด้านการศึกษา 3.41 3.33 0.32 2. การพึ่งตนเองด้านเศรษฐกิจ 3.16 3.20 0.60 3. การพึ่งตนเองด้านสังคม / ส่วนรวม 3.29 3.32 1.30 รวม 3.29 3.38 0.71 * มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ( t = 1.645 ) จากตารางที่ 14 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เขตภาษีเจริญ ที่มีขนาดครอบครัวแตกต่างกันมีบท บาทการพึ่งตนเองด้านต่างและการพึ่งตนเองโดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 บทที่ 5 สรุป อภิปราย และข้อเสนอแนะ การวิจัยเรื่อง“ บทบาทการพึ่งตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในครอบครัวสมัยใหม่ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร“ ในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive Research )โดยใช้วิธี การวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. ศึกษาบทบาทการพึ่งตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร 2. เปรียบเทียบเพศและขนาดครอบครัวต่อการพึ่งตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3. ศึกษาความสัมพันธ์ของระดับการศึกษา อาชีพ ฐานะทางเศรษฐกิจ และรูปแบบการอ บรม เลี้ยงดูของผู้ปกครองกับการพึ่งตนเองในด้านต่างๆของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่6ในโรงเรียนสหศึกษา เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ได้แก่ นักเรียนโรงเรียนวัดจันทร์ประดิษฐาราม โรงเรียนวัดนิมมานรดี โรงเรียนวัดอ่างแก้ว โรงเรียนวัดโคนอน โรงเรียนวัดกำแพง และโรงเรียนวัดประดู่ ( พ่วง อุทิศ ) จำนวน 284 คน นักเรียนชาย 145 คน นักเรียนหญิง 139 คน ซึ่งได้มาด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้น ตอน ( Multi Random Sampling ) ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ถึง 31 มีนาคม 2545 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นประกอบด้วย 3 ตอน ได้แก่ ข้อมูลส่วนตัว แบบสอบถามเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดู และแบบวัดการพึ่งตนเองของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6 สรุปผลการวิจัย 1. ปัจจัยด้านประชากรของกลุ่มตัวอย่าง เพศ เป็นนักเรียนชายมากว่าเพศหญิง โดยคิดเป็นร้อยละ 51.1 เพศหญิงคิดเป็นร้อยละ 48.9 ขนาดครอบครัวมีจำนวนใกล้เคียงกัน คือ ครอบครัวเดี่ยวคิดเป็นร้อยละ 50.4 และครอบครัว ขยายคิดเป็นร้อยละ 49.6 รายได้ของบิดามารดารวมกันภายใน 1 เดือน ร้อยละ 46.5 มีรายได้ต่ำ คือ รวมกันแล้วไม่เกิน 10,000 บาท รองลงมาร้อยละ 38.4 มีรายได้ปานกลางอยู่ระหว่าง 10,001 – 20,000 บาท และรายได้ สูงร้อยละ 15.1 มีรายได้สูงกว่า 20,000 บาทต่อเดือน ฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัว ร้อยละ 67.6 มีฐานะดี คือ พอใช้และมีเงินเก็บ ร้อยละ 23.2 มีฐานะทางเศรษฐกิจปานกลางคือพอใช้แต่ไม่มีเงินเก็บ และร้อยละ 9.2 มีฐานะทางเศรษฐกิจไม่ดี 61 อาชีพของบิดาของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 35.6 มีอาชีพประกอบธุรกิจส่วนตัว รองลงมา ร้อยละ 32.7 มีอาชีพรับราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ และลูกจ้างเอกชน และร้อยละ 31.7 เป็นผู้มี อาชีพรับจ้างทั่วไป พ่อบ้าน แม่บ้าน ส่วนมารดาของกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 40.5 มีอาชีพประกอบธุรกิจ ส่วนตัว รองลงมาร้อยละ 40.1 เป็นผู้มีอาชีพรับจ้างทั่วไป พ่อบ้าน แม่บ้าน ฯลฯ และร้อยละ 19.4 มี อาชีพ รับราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือ ลูกจ้างเอกชน ตามลำดับ การศึกษาของบิดาของกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 394 จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หรือต่ำ กว่าชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ร้อยละ 36.3 จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 / มัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือ เทียบเท่า และร้อยละ 24.3 จบอนุปริญญา หรือสูงกว่าปริญญาตรี ส่วนการศึกษาของมารดาของกลุ่ม ตัวอย่าง ร้อยละ 47.9 จบการศึกษาต่ำกว่าชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หรือชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 รองลงมาร้อยละ 32.7 จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 / ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า และร้อยละ 19.4 จบ อนุปริญญา หรือสูงกว่าปริญญาตรี ตามลำดับ 2. รูปแบบการอบรมเลี้ยงดู นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที 6 เขตภาษีเจริญ ส่วนใหญ่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบ ประชาธิปไตยมีค่าเฉลี่ย 3.89 รองลงมาเป็นการอบรมเลี้ยงดูแบบเข้มงวดกวดขันค่าเฉลี่ย 2.83 และ แบบปล่อยปละละเลย ค่าเฉลี่ย 1.77 นักเรียนเพศหญิงได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย และ แบบไม่ปล่อยปละละเลยมากกว่าเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 54.68 , 46.89 และ 81.29 , 66.20 3. การพึ่งตนเอง นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เขตภาษีเจริญ มีบทบาทการพึ่งตนเองด้านการศึกษาอยู่ใน ระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ย 2.97 – 3.23 เช่นเดี่ยวกับการพึ่งตนเองด้านเศรษฐกิจอยู่ในระดับปาน กลาง มีค่าเฉลี่ย 2.49 – 3.39 ซึ่งพบว่าในบางคำถามในเรื่องการพึ่งตนเองด้านเศรษฐกิจคำตอบที่ได้มีผู้ หญิงตอบมากกว่าผู้ชายเช่นในเรื่องของการซ่อมแซมเสื้อผ้า หรือสิ่งของที่ชำรุด คิดเป็นร้อยละ 3.10 ซึ่ง แสดงว่าผู้หญิงมีการพึ่งตนเองด้านนี้มากกว่าในเรื่องของการช่วยกันประหยัดค่าใช้จ่าย ส่วนแต่การพึ่ง ตนเองด้านสังคมหรือส่วนรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย 3.69 – 3.81 ตามลำดับ 4. เปรียบเทียบปัจจัยทางประชากรด้านเพศที่มีอิทธิพลต่อการพึ่งตนเอง นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เพศหญิงสามารถพึ่งตนเองในด้านต่างๆอยู่ในระดับปานกลาง และมาก คิดเป็นร้อยละ 51.08 , 47.29 / 57.55 , 48.28 และ 56.83 , 48.28 โดยนักเรียนหญิงมีบท 62 บาทในการพึ่งตนเองในทุกด้านมากกว่าเพศชาย และพบว่านักเรียนชายหญิงมีการพึ่งตนเองด้านการ ศึกษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยพบว่านักเรียนหญิงสามารถพึ่งตนเองด้าน การศึกษาได้ดีกว่านักเรียนชาย 5. เปรียบเทียบปัจจัยด้านครอบครัวด้านขนาดครอบครัวที่มีผลต่อการพึ่งตนเอง นักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่อาศัยอยู่ในครอบครัวขยายและครอบครัวเดี่ยวมีค่าเฉลี่ยในการพึ่งตนเอง ด้านต่างๆแตกต่างกัน โดยนักเรียนที่อาศัยอยู่ในครอบครัวขยายมากกว่าครอบครัวเดี่ยว คิดเป็นร้อยละ 50.4 และ 49.6 แต่ไม่พบความแตกต่างระหว่างขนาดครอบครัวกับการพึ่งตนเองอย่างมีนัยทางสถิติที่ ระดับ 0.05 ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมุติฐาน 6. ศึกษาความสัมพันธ์ของระดับการศึกษา อาชีพของผู้ปกครอง และฐานะทาง เศรษฐกิจของครอบครัวกับการพึ่งตนเอง 6.1. ระดับการศึกษาของบิดามารดา นักเรียนที่มีบิดามารดาจบการศึกษาต่ำกว่าชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หรือชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สามารถพึ่งตนเองในด้านต่างๆในระดับปานกลางและมากได้ดีกว่านักเรียนที่มีบิดามารดาจบการศึกษา ในระดับอื่นๆ และพบว่าระดับการศึกษาชองบิดามารดามีความสัมพันธ์ทางบวกกับการพึ่งตนเองทางด้าน สังคมหรือส่วนรวมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 6.2. อาชีพของบิดามารดา นักเรียนที่มีบิดามารดาประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว เช่น ค้าขาย ฯลฯ มีค่าเฉลี่ยในการพึ่งตนเอง ในระดับมากและปานกลาง มากกว่านักเรียนที่มีบิดามารดาประกอบอาชีพอื่นๆคือ ร้อยละ 18.31 และ 20.42 พบว่ามีความสัมพันธ์ทางบวกระหว่างอาชีพของบิดากับการพึ่งตนเองด้านเศรษฐกิจของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 6.3. ฐานะทางเศรษฐกิจ นักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่อาศัยอยู่ในครอบครัวที่มีฐานะทางเศรษฐกิจดีสามารถพึ่งตนเองในด้าน ต่างๆอยู่ในระดับปานกลางและมาก คิดเป็นร้อยละ 31.69 , 38.03 และ 34.15 และพบความสัมพันธ์ ทางบวกระหว่างฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวกับการพึ่งตนเองทางด้านเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05 6.4. ศึกษาความสัมพันธ์ของรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูต่อการพึ่งตนเอง 63 การอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตยและการอบรมเลี้ยงดูแบบเข้มงวดกวดขันมีความสัมพันธ์ทาง บวกกับการพึ่งตนเองในด้านการศึกษา ด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และพบว่าการอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลยมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการพึ่งตนเองด้าน เศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 อภิปรายผล การศึกษาบทบาทการพึ่งตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในครอบครัวสมัยใหม่ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร (The Role of the Self Reliance of Grade Six students in The Modern Families in Pasicharoen District Bangkok) ซึ่งผู้วิจัยนำผลการศึกษาค้นคว้ามาอภิปรายใน ประเด็นที่สำคัญและตามสมมุติฐาน ดังนี้ สมมุติฐานข้อที่ 1 นักเรียนหญิงสามารถพึ่งตนเองได้ดีกว่าเพศชาย จากการศึกษาพบว่า เพศของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร มี ผลต่อการพึ่งตนเองที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยนักเรียนหญิงมีการพึ่งตน เองด้านการศึกษาที่แตกต่างกันกับนักเรียนชายซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานข้อที่ 1 สอดคล้องกับ รักชนก คชไกร ( 2541 : 43 ) ซึ่งพบว่าเพศหญิงมีผลการเรียนสัมฤทธิ์สูงกว่าเพศชายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.01 และเช่นเดียวกับ โฉมสมร เหลืองโกศล ( 2531 : 120 ) ศึกษาพบว่านักเรียนชายหญิงมีค่า นิยมในการพึ่งตนเองด้านการศึกษาแตกต่างกัน ที่ระดับความสำคัญที่ 0.05 และบังอร พุ่มสะอาด กล่าวว่า ปัจจุบันสังคมไทยให้คุณค่าและความสำคัญกับเพศหญิงมากขึ้น ซึ่งค่านิยมดังกล่าวทำให้ผู้ หญิงมีทัศนคติ การยอมรับตนเอง การกล้าแสดงออก และเชื่อมั่นในตนเองมากขึ้น นำไปสู่การพึ่งตนเอง มากขึ้น ( บังอร พุ่มสะอาด อา้ งใน พีรพงศ  ลีรวัฒนางกูล 2520 : 15 ) แต่ไม่สอดคล้องกันในประเด็นเพศหญิง สามารถพึ่งตนเองได้ดีกว่าเพศชายจากการศึกษาของสถิตต์ ภัศระ ( 2535 : 85 – 86 ) และพบว่าเพศ หญิงถูกเลี้ยงมาแบบปกป้องคุ้มครอง ประคบประหงมตลอดเวลาจึงทำให้เด็กไม่สามารถพึ่งตนเองใน ด้านต่างๆได้เท่ากับเพศชายเช่นเดียวกับการศึกษาของ เอดเวิร์ด ( Edward 1959) และคาแกน และ มอส ( Kagan and Moss 1960 ) พบว่าเพศชายสามารถพึ่งตนเองในด้านต่างๆได้ดีกว่าเพศหญิง โดยที่เพศ หญิงจะมีพฤติกรรมพึ่งผู้อื่นในเด็กและวัยผู้ใหญ่มากกว่าเพศชาย แต่จากการศึกษาของสมาร์ท และ สมาร์ท ( Smart and Smart 1967) ได้กล่าวสนับสนุนสมมุติ ฐานว่าความเป็นตัวของตัวเองว่าเป็นลักษณะหนึ่งที่พบในวัยแรกของชีวิตและเป็นลักษณะที่มีอยู่ ตลอดไปตั้งแต่วัยเด็กถึงวัยผู้ใหญ่โดยจะมีในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ซึ่งโดยปกติเป็นผลมาจากการอบรม 64 เลี้ยงดู หรือการขัดเกลาทางสังคม เมื่อถึงระยะเวลาหนึ่งเด็กพอที่จะพึ่งตนเองได้แล้วแต่พ่อแม่ไม่ยอมให้ เด็กเป็นตัวของตัวเอง มักจะให้เรียนรู้ตามความต้องการของผู้ใหญ่ สิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดการยับยั้งในการ เรียนรู้ที่จะตัดสินใจในเรื่องต่างๆด้วยตนเอง ความต้องการในการเสนอแนะความคิดเห็นของตนเอง ตลอดจนค่านิยมต่างๆ ( Smart and Smart อ้างใน อัจฉรา เปรมเปรื่องเวส 2517: 20 ) จากการศึกษาครั้งนี้พบว่าเพศหญิง ในเขตภาษีเจริญ สามารถพึ่งตนเองด้านการศึกษาได้ดีกว่า เพศชายซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าเนื่องจากปัจจุบันรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูของครอบครัวไทยความเป็นเมือง ทำให้เพศหญิงต้องออกไปทำงานนอกบ้าน ผู้หญิงเป็นส่วนหนึ่งในการหาเลี้ยงครอบครัว ทำให้ผู้หญิงมี ความคิดที่ทันสมัยมากขึ้น เพราะเหตุที่ในเขตกรุงเทพมหานครมีความเป็นเมืองสูงการพัฒนาระบบการ บริการทางสังคมและเทคโนโลยีต่างๆทำให้รูปแบบการทำกิจกรรมต่างๆเปลี่ยนแปลงไป เพศหญิงจึงต้อง มีการเปลี่ยนแปลงบทบาทของตนจากการทำงานนอกบ้านมากขึ้น และมีการเรียกร้องสิทธิให้เท่าเทียม กับเพศชายมากขึ้น ประกอบกับปัจจุบันการอบรมเลี้ยงดูบุตรมีความเท่าเทียมกันมากขึ้นในด้านของเพศ บิดามารดาให้สิทธิ และโอกาสในการเรียนรู้ของเพศหญิงเท่าเทียมกับเพศชายมากขึ้น ดังที่โสภา ชปีลมันน์และคณะ ( 2534 ) กล่าวว่าครอบครัวในปัจจุบันมิได้ให้อำนาจ ความเป็น ใหญ่กับเพศชายเช่นสมัยก่อน แต่ครอบครัวสมัยใหม่เกิดจากความรักและความเข้าใจกันและกันแบบ Romantic love ของหญิงชาย มีการตกลงร่วมกันที่จะเป็นครอบครัวสามีภรรยาทั้งจิตใจและแบ่งปัน ปัจจัยทางเศรษฐกิจฝ่ายละเท่าๆกัน อำนาจและบทบาทจึงมีเท่ากัน ซึ่งถือว่าทั้งสองต้องพึ่งกันและกัน และแต่ละฝ่ายมีระบบแบ่งปันนับแต่เริ่มแต่งงาน จนถึงการทำหน้าที่ต่างๆภายในครอบครัว รวมทั้ง กฎหมายมีการคุ้มครองเพศหญิงมากขึ้น (โสภา ชปีลมันน์ และคณะ 2534 : 51-52 ) จึงจำเป็นที่เพศ หญิงต้องพยามยามเรียนให้สูงเพื่อที่จะได้มีความรู้ความสามารถในการทำงานและทำสิ่งต่างๆเท่าเทียม กับเพศชาย และเพื่อจะได้มีรายได้มาจุนเจือครอบครัวได้อย่างเท่าเทียมกับเพศชาย ดังนั้นเพศหญิงจึงมี ความพยายามในการพึ่งตนเองด้านการศึกษามากกว่าเพศชายในปัจจุบัน สมมุติฐานข้อที่ 2 ะดับการศึกษา อาชีพ ฐานะทางเศรษฐกิจของบิดามารดามีความ สัมพันธ์กับการพึ่งตนเอง 2.1 ระดับการศึกษาของบิดามารดามีความสัมพันธ์กับการพึ่งตนเองของนักเรียนชั้น ประถม ศึกษาปีที่ 6 จากการศึกษาพบว่าระดับการศึกษาของบิดามารดามีความสัมพันธ์ทางบวกกับการพึ่งตนเอง ด้านสังคมหรือส่วนรวมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เขตภาษีเจริญ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 65 ระดับ 0.05 ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของ อรชา วราทิพย์ ว่าระดับการศึกษาของผู้ปกครองทำให้เด็กมี การ ตัดสินใจแก้ปัญหาที่แตกต่างกัน เมื่อเด็กมีการตัดสินใจแก้ปัญหาได้ในระดับหนึ่งจะทำให้เด็กสามารถ ช่วยเหลือตนเองในด้านต่างๆโดยไม่ต้องพึ่งพาผู้อื่น ( อรชา วราทิพย์ 2516 : 122 อ้างใน วิพัฒน์ รักษาเคน 2531 : 33 )และจากการศึกษาของ โฉมสมร เหลืองโกศล พบว่านักเรียนที่มีบิดาจบการ ศึกษาในระดับปานกลางคือชั้นมัธยมศึกษาจะทำให้เด็กสามารถพึ่งตนเองด้านการศึกษาสูงกว่านักเรียน ที่มีบิดาจบการศึกษาในระดับต่ำ ( ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หรือต่ำกว่าชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ) และระดับ อนุปริญญาขึ้นไป นอกจากนั้น กฤตยา กฤษฎาวุฒิ พบว่าครอบครัวที่มีบิดามารดามีการศึกษาสูงจะฝึกให้บุตร เรียนมากกว่าครอบครัวอื่นๆ และให้อิสระแก่บุตรมากกว่าบิดามารดาที่จบชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 6 ( กฤตยา กฤษฎาวุฒิ 2513 : 156 ) ในขณะเดียวกัน สมจิต พิมพะนิต พบว่าบิดามารดามีการศึกษาต่ำ ย่อมขาดจิตวิทยาในการอบรมเลี้ยงดูหรือบิดามารดามีการศึกษาสูงก็อาจมุ่งหวังและคาดหวังในตัวลูก มากเกินไป ( สมจิต พิมพะนิต 2522 : 104 ) นอกจากนั้น จงกลนี ตุ้ยเจริญ พบว่าแม้ว่าระดับการศึกษา ของบิดามารดาจะมีอิทธิพลต่อความเชื่อ ความเข้าใจในการดูแลบุตรตลอดเวลาจนมีความสามารถใน การปรับต่อบทบาทของบิดามารดาและบุตร บิดามารดาที่ระดับการศึกษาปานกลาง ( มัธยมศึกษา ) จะ ดูแลบุตรแบบบังคับให้รับผิดชอบและพึ่งตนเอง ส่วนบิดามารดาที่จบการศึกษาสูง ( อุดมศึกษาขึ้นไป ) มักจะใช้เวลาและทำกิจกรรมร่วมกับบุตร แต่เนื่องจากปัจจุบันข่าวสารทำให้ได้รับข้อมูลมาก บิดา มารดาจึงมีความรูเกี่ยวกับการดูแลบุตรที่ดี ( จงกลนี ตุ้ยเจริญ 2540 : 118 ) จากผลการศึกษาพบว่านักเรียนที่มีบิดามีระดับการศึกษาต่ำ ( ชั้นประถมศึกษา / ต่ำกว่าชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6 ) สามารถเป็นแรงผลักดันให้บิดามีการอบรมเลี้ยงดูบุตรให้มีพฤติกรรมในการพึ่งตน เองด้านการศึกษาสูงขึ้นเพื่อให้บุตรได้มีการศึกษาที่สูงกว่าตนเอง ต้องการให้บุตรสามารถปรับตนเอง ให้เข้ากับความเป็นเมืองที่ทันสมัย รวมทั้งสามรถช่วยเหลือตนเองให้อยู่รอดในสังคมสมัยใหม่ได้ ดัง นั้นจึงเป็นแรงผลักดันให้บุตรมีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนมากกว่าบุตรที่มีบิดามารดาจบการศึกษา ในระดับอื่นๆ 2.2 อาชีพของบิดามารดามีความสัมพันธ์กับการพึ่งตนเองของนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 6 จากการศึกษาพบว่าอาชีพของบิดามีความสัมพันธ์ทางบวกกับการพึ่งตนเองทางด้านเศรษฐกิจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานข้อที่ 2 และสอดคล้องกับการศึกษาของ 66 จรรจา สุวรรณทัต ที่ว่าค่านิยมและรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูที่บ้านมีแนวโน้มที่จะสะท้อนค่านิยม หรือ คุณค่าจากการทำงานที่บิดามารดาทำบิดามารดาที่ทำงานเป็นอิสระซึ่งต้องตัดสินใจด้วยตนเองมักจะ กระตุ้นให้เด็กมีความเป็นตัวของตัวเอง และสามารถควบคุมตนเองได้ดีกว่าบิดามารดาที่ทำงานในระดับ ใช้แรงงาน ( จรรจา สุวรรณทัต 2530: 811 ) เช่นเดียวกับ วราภรณ์ รักวิจัย กล่าวว่าอาชีพของบิดา มารดาเป็นองค์ประกอบหลักสำคัญต่อแนวโน้มการเจริญเติบโตของลูก โดยเฉพาะอาชีพค้าขายและ ประกอบธุรกิจส่วนตัวขนาดเล็ก กิจกรรมที่เกี่ยวกับอาชีพมักจะมีอิทธิพล และเกี่ยวพันกับการดำรงชีวิต ประจำวันของทุกคนในครอบครัว ลูกมักมีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมของพ่อแม่ เช่น ช่วยพ่อแม่ขายของ หยิบของ จัดระเบียบสินค้า เป็นต้น เนื่องจากลูกมีโอกาสที่จะช่วยเหลือตนเองและพ่อแม่มากจึงมีแนว โน้มที่จะขยันมีความสามารถและมีทักษะมากกว่า ( วราภรณ์ รักวิจัย 2535 : 31 ) และจากการศึกษาของพีรพงศ์ ลีรวัฒนางกูร พบว่านักเรียนที่มีมารดามีอาชีพค้าขายส่วนมาก ได้รับการอบรมเลี้ยงดูให้รู้จักพึ่งตนเอง ( ร้อยละ 70.83 ) แต่นักเรียนที่มีมารดามีอาชีพรับจ้างจะ สามารถพึ่งตนเองได้น้อยที่สุด ส่วนนักเรียนที่มีบิดารับราชการจะได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบยับยั้งการพึ่ง ตนเองมากกวา่ ฝกึ ใหพ้ งึ่ ตนเอง ( พีรพงศ  ลีรวัฒนางกูร 2520 : 45 ) เชน่ เดยี วกบั การศกึ ษาของ โฉม สมร เหลืองโกศล พบว่านักเรียนที่มีมารดาไม่มีงานทำ ( แม่บ้าน / ไม่ได้ประกอบอาชีพ ) จะทำให้เด็กมี ค่านิยมเรื่องการพึ่งตนเองโดยตนเองทางด้านการศึกษาสูงกว่านักเรียนที่มีมารดามีงานทำ( โฉมสมร เหลืองโกศล 2531 : 136 ) แต่จากการศึกษาของ จงกลณี ตุ้ยเจริญ พบว่าอาชีพไม่มีผลต่อการปรับตัวของนักเรียนอาจ เป็นเพราะนักเรียนมีความเป็นตัวของตัวเองสูง ทำให้พึ่งพาผู้ใหญ่น้อยลง จึงทำให้อาชีพไม่มีผลต่อการ ปรับตัวในการพึ่งตนเองด้านต่างๆเพราะในปัจจุบันทั้งบิดาและมารดาต้องออกไปทำงานนอกบ้านเพื่อหา รายได้มาจุนเจือครอบครัว หากมีการสะสมประสบการณ์การเรียนรู้จากงานที่ทำมาพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น เรื่อยๆ อีกทั้งเวลาและคุณภาพที่ทำให้บุตรต้องเรียนรู้และเข้าใจ จึงทำให้บุตรมีการพัฒนาตนเองและ สามารถดำรงชีวิตสามารถปรับตัวให้อยู่ในสังคมอย่างสงบสุข ( จงกลนี ตุ้ยเจริญ 2540 : 119 ) จากข้างต้นอธิบายได้ว่าเนื่องจากปัจจุบันบิดามารดาในกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีบทบาทหน้าที่ใน การประกอบอาชีพเพื่อหารายได้มาจุนเจือครอบครัว ไม่ว่าบิดามารดาจะประกอบอาชีพใดก็ตามบุตรเข้า มามีบทบาทและมีส่วนร่วมในการแบ่งเบาภาระของบิดามารดา และเรียนรู้ที่จะพึ่งตนเองมากขึ้นกว่าเด็ก ที่อยู่ในต่างจังหวัด และในสังคมไทยเราถือว่าบิดาเป็นต้นแบบที่สำคัญให้กับบุตรในการปฏิบัติ ดังนั้น อาชีพของบิดาจึงมีความสัมพันธ์ต่อการพึ่งตนเองของนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง 67 2.2 ฐานะทางเศรษฐกิจของบิดามารดากับการพึ่งตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 6 ผลจากการศึกษาพบความสัมพันธ์ทางบวกระหว่างฐานะทางเศรษฐกิจของบิดามารดากับ การพึ่งตนเองทางด้านเศรษฐกิจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งไม่สอดคล้องกับการศึกษา ของ ปนัดดา มุมบ้านเช่า ที่ว่ารายได้ของบิดามารดาไม่มีความสัมพันธ์กับการพึ่งตนเองด้านต่างๆของ เด็ก ( ปนัดดา มุมบ้านเช่า 2537 : 65 ) เช่นเดียวกับการศึกษาของนงนุช โรจนเลิศ พบว่านักเรียนที่มี ฐานะทางเศรษฐกิจ และสังคมแตกต่างกันมีการควบคุมตนเองในด้านต่างๆไม่แตกต่างกัน ( นงนุช โรจนเลิศ 2536 : 115 ) เช่นเดียวกับ สมพิศ ไชยกิจ พบว่านักเรียนที่มีฐานะทางเศรษฐกิจของครอบ ครัวแตกต่างกันจะมีพฤติกรรมความภาคภูมิใจในตนเอง และความเชื่อมั่นในตนเองแตกต่างกัน ( สมพิศ ไชยกิจ 2536 : 70 ) ซึ่งไม่สอดคล้องกับการศึกษาของ นิภา พิรยายน ที่พบว่าฐานะทางเศรษฐกิจของ ครอบครัวมีผลต่อพฤติกรรมเด็กทั้งทางตรงและทางอ้อม และปรากฏว่าเด็กที่มาจากครอบครัวฐานะดี สามารถปรับพฤติกรรมได้ดี ซึ่งแตกต่างกันไปตามฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวซึ่งย่อมมีวิธีการอ บรมบุตรที่แตกต่างกันไป จึงทำให้บุตรมีพฤติกรรมและบุคลิกภาพที่แตกต่างกันไป ( นิภา พิรยายน 2520 : 195 )และสอดคล้องกับการศึกษาของ อัจฉรา สุขารมณ์ และ อรพินทร์ ชูชม ที่พบว่าฐานะทาง เศรษฐกิจมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเด็กในด้านการปรับตัว และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ซึ่งจะนำไปสู่พฤติ กรรมการพึ่งตนเองในที่สุด ( อรพินทร์ ชูชม และ อัจฉรา สุขารมณ์ 2533 : 116 ) ทั้งอาจเป็นไปได้ว่า ครอบครัวมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ มีการจัดสรรรายได้กับรายจ่ายได้ อย่างเหมาะสม ซึ่งแม้ว่าจะไม่มีรายได้มากนักแต่ก็ไม่มีหนี้สิน จะเห็นได้จากกลุ่มตัวอย่างที่ประเมินว่ามี ฐานะทางเศรษฐกิจดีไม่ใช่กลุ่มที่มีรายได้สูง แต่มีรายได้ไม่เกิน 10,000 บาท / เดือน เท่านั้นเอง ในขณะที่ ครอบครัวที่มีรายได้สูงอาจมีรายจ่ายที่ไม่สมดุลกันอันเนื่องมาจากการมีรายได้สูงต้องมีการจ่ายในเรื่อง ต่างๆที่ไม่จำเป็นเพื่อให้สามารถอยู่ในสังคมที่มีฐานะดีจึงมีรายจ่ายสูงและอาจมีการกู้ยืมเงินมากกว่า ครอบครัวที่มีรายได้ต่ำแต่ไม่มีหนี้สิน ในครอบครัวที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพที่มีรายได้สูงย่อมมีรายจ่ายสูง เพื่อให้เท่าเทียมผู้อื่น จึงทำให้รายจ่ายมากกกว่ารายรับ ประกอบกับครอบครัวที่มีรายได้ต่ำมีความรอบ คอบ และระมัดระวังในการใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็นเท่านั้น จึงทำให้ฐานะทางเศรษฐกิจแตกต่างกันย่อมมี ความสัมพันธ์กับการพึ่งตนเองด้านเศรษฐกิจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สมมุติฐานข้อที่ 3 นักเรียนที่อาศัยอยู่ในครอบครัวขยายสามารถพึ่งตนเองได้ดีกว่า นักเรียนที่อาศัยอยู่ในครอบครัวเดี่ยว จากการศึกษาพบว่านักเรียนที่อาศัยอยู่ในครอบครัวขนาดต่างกันมีการพึ่งตนเองด้านต่างๆไม่ แตกต่างกัน ซึ่งไม่เป็นไปสมมุติฐานข้อที่ 3 ทั้งนี้ เกลร ปาระมีแจ้ กล่าว่าอาจเป็นเพราะครอบครัวของ 68 คนกรุงเทพส่วนใหญ่ไม่มีญาติ พี่ น้อง หรือผู้ใหญ่คอยดูแลบุตรให้ บางครั้งการตัดสินใจแก้ปัญหาบาง อย่างไม่มั่นใจเพราะไม่มีใครคอยให้คำปรึกษา เพราะทุกคนมีสิทธิ์เท่าเทียมกันทุกด้าน จึงไม่ต้องพึ่งพาผู้ อื่น ( เกสร ปาระมีแจ้ 2539 : 1-2 ) ซึ่งสอดคล้องกับ สมาร์ท และสมาร์ท ศึกษาพบว่าครอบครัวที่ส่ง เสริมให้เด็กมีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์สูงมีการพึ่งตนเอง ต้องเป็นครอบครัวที่ไม่ใหญ่ ในพวกชนชั้นต่ำ ( Smart and Smart 1967 : 540-541 อ้างใน อัจฉรา เปรมเปรื่องเวส 2517 : 22 ) และบุคคลที่อยู่ในครอบครัว ขนาดใหญ่จะมีความภาคภูมิใจในตนเองต่ำกว่าบุคคลที่อยู่ในครอบครัวที่มีขนาดเล็ก ซึ่งจะทำให้ขาด ความ เชื่อมั่นในตนเอง ทำให้เด็กไม่มีประสิทธิภาพนำไปสู่การมีพฤติกรรมพี่งตนเองต่ำด้วย ( สาวิตรี ทยานศิลป์ 2541 : 17 ) แต่ในทางตรงกันข้ามถ้าเด็กเกิดมาท่ามกลางครอบครัวจำนวนสมาชิกมากก็มีความภาคภูมิใจ ในตนเองสูงกว่าเด็กที่เติบโตในครอบครัวที่มีสมาชิกน้อยได้เช่นกัน ทั้งนี้ลักษณะความมีคุณค่าในตนเอง ซึ่งจะนำไปสู่ความเชื่อมั่นในตนเองสามารถพึ่งตนเองได้นั้นเป็นส่วนหนนึ่งที่มาจากลักษณะการยอมรับ และได้รับแรงสนับสนุนจากครอบครัว ถ้าเด็กได้รับการสั่งสอนให้เกิดความภาคภูมิใจและเชื่อมั่นในตน เองมากจะทำให้เด็กสามารถทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง อย่างเชื่อมั่นได้มากกว่าครอบครัวขนาดเล็ก ( สาวิตรี ทยานศิลป์ 2541 : 18 ) ซึ่งสอดคล้อองกับ พัชรี สุดรัก ศึกษาพบว่าเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดมีลักษณะครอบครัวเดี่ยว ( Nuclear Family ) มีจำนวนพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันเฉลี่ย 3.16 คน อาจเป็นไปได้ว่าครอบครัว ขยายที่มีเครือญาติอยู่ด้วยกันจะสามารถช่วยเหลือให้คำปรึกษา ให้คำแนะนำสั่งสอนและดูแลพฤติกรรม ของบุตรหลานที่อยู่ในวัยเด็กและวัยรุ่นได้มากกว่าเด็กที่อยู่ในครอบครัวเดี่ยว ( พัชรี สุดรัก 2543 : 33 ) แต่ในทางตรงกันข้ามเด็กที่อยู่ในครอบครัวที่ใหญ่หรือครอบครัวขยายที่มีสมาชิกมากมายก็สามารถมี ความเชื่อมั่นในตนเองสูง ซึ่งจะนำไปสู่พฤติกรรมกล้าแสดงออก กล้าตัดสินใจ และทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง โดยไม่ต้องพึ่งพาผู้อื่น ซึ่งจะทำให้เด็กรู้สึกตนเองมีคุณค่า ตัดสินใจกระทำสิ่งต่างๆและช่วยเหลือตนเองได้ มากกว่าบุคคลที่อยู่ในครอบครัวขนาดเล็กได้ด้วย ( เสวภา วิชิตวาที 2543 : 35 ) ทั้งนี้กล่าวได้ว่าการเปลี่ยนแปลงของสังคมในปัจจุบันโดยเฉพาะในเมืองเช่นกรุงเทพมหานครให้ พ่อแม่มีการสร้างพฤติกรรมและการอบรมเลี้ยงดูที่เหมาะสม ให้สิทธิ ให้เสียงแก่เด็กผู้เป็นลูกมากขึ้น บิดา มารดาจะคอยห่างลูกเมื่อลูกโตขึ้น เพื่อให้เขาตัดสินใจเอง และปรับตนเองให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่ สามารถพึ่งตนเอง และช่วยเหลือตนเองได้เร็วกว่า และในปัจจุบันมีครอบครัวเดี่ยวที่ประกอบด้วยพ่อแม่ ลูกในปริมาณที่มากขึ้น ภายใต้ครอบครัวเดี่ยวเรายังพบครอบครัวที่มีลักษณะที่พ่อแม่ไม่ได้อยู่ร่วมกันกับ 69 ลูก ด้วยเหตุผลหรือปัจจัยใดก็ตาม เด็กจะอยู่กับใครแล้วแต่ข้อตกลง และพบแนวโน้มว่าสังคมไทยจะมี ครอบครัวเช่นนี้เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นจึงไม่มีความแตกต่างระหว่างขนาดครอบครัวกับการพึ่งตนเองอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สมมุติฐานข้อที่ 4 นักเรียนที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตยมีความ สัมพันธ์กับการพึ่งตนเอง ผลการศึกษาครั้งนี้พบว่านักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เขตภาษีเจริญ ที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดู แบบประชาธิปไตยมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการพึ่งตนเองด้านการศึกษา ด้านเศรษฐกิจ และด้าน สังคม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานข้อที่ 4 ซึ่งผลจากกการศึกษาครั้ง นี้สอดคล้องกับการศึกษาของโฉมสมร เหลืองโกศล พบว่านักเรียนที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบ ประชาธิปไตยมีความสัมพันธ์กับการพึ่งตนเอง (โฉมสมร เหลืองโกศล 2531 : 268) และเช่นเดียวกับ โรเซน และ ดีแฮนเดรค ศึกษาพบว่าบิดามารดาที่เลี้ยงดูบุตรแบบไม่เคร่งเครียดกับเด็กจนเกินไปและไม่ ปล่อยปละละเลยเด็กจนเกินไปจะทำให้เด็กมีแรงจูงใจในการกระทำสิ่งต่างๆสูง ซึ่งจะผลักดันให้เด็กมีการ พึ่งตนเองปรับตัวเองได้ดี มีความรับผิดชอบเชื่อมั่นในตนเองและพัฒนาบุคลิกภาพได้เต็มที่ รู้จักตัดสินใจ ในการกระทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง ( ประสาร ทิพย์ธารา 2535 : 35 ) เช่นเดียวกับดวงเดือน พันธุมนาวิน และคณะ พบว่าผู้ที่มีทัศนคติที่ดีต่อบุตรมากจะใช้การลงโทษทางกายน้อย ใช้เหตุผลมากและควบคุม บุตรมาก ผู้ที่มีสุขภาพจิตดีมากจะใช้เหตุผลกับบุตรมาก ฝึกให้บุตรพึ่งตนเองเร็ว ผู้ที่มีความรู้ในการ ปฏิบัติบุตรมากจะควบคุมบุตรน้อย จะฝึกบุตรให้พึ่งตนเองเร็ว ( ดวงเดือน พันธุมนาวิน และคณะ 2528 : 131 ) จากการวิจัยครั้งนี้พออธิบายได้ว่าการที่บิดามารดาให้ความสนใจเลี้ยงดูบุตรอย่างมีเหตุผลเป็น การเปิดโอกาสให้เด็กได้คิดและตัดสินใจด้วยตนเองในการกระทำสิ่งต่างๆที่ถูกต้องโดยมีผู้ใหญ่คอยให้คำ ปรึกษาและคอยแนะนำ ในด้านการเรียน ความประพฤติและเป็นแบบอย่างที่ดีต่อบุตร พร้อมทั้งให้ความ ไว้วางใจในการใช้จ่ายด้วยตนเอง ทำให้เด็กมีประสบการณ์ในการคิดและตัดสินใจในการใช้จ่ายอย่าง รอบคอบ เหมาะสมกับฐานะทางเศรษฐกิจของตนเองโดยไม่เป็นภาระและไม่ต้องพึ่งพาบิดามารดาเมื่อ เติบใหญ่ สามารถเป็นผู้นำที่ดีและเติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ในสังคมที่สามารถนำพาสถาบันครอบครัวและ สถาบันอื่นๆในสังคมให้เข้มแข็งได้ตลอดไป ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งนี้ 70 จากการศึกษาพบว่าเพศของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีผลต่อการพึ่งตนเองของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างในเขตภาษีเจริญ โดยเพศหญิงมีบทบาทในการพึ่งตนเองด้านการศึกษาดีกว่าเพศชาย ยก เว้นด้านเศรษฐกิจและสังคม และพบว่ารูปแบบการอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตยมีความสัมพันธ์ทาง บวกกับการพึ่งตนเองของกลุ่มตัวอย่างด้านการศึกษา ด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคม เช่นเดียวกับการอ บรมเลี้ยงดูแบบเข้มงวดกวดขัน รวมทั้งพบว่าอาชีพของบิดามีความสัมพันธ์ทางบวกกับการพึ่งตนเองทาง ทางด้านเศรษฐกิจ และพบว่าฐานะทางเศรษฐกิจของบิดามารดามีความสัมพันธ์ทางบวกกับการพึ่งตน เองด้านเศรษฐกิจ แต่ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างขนาดครอบครัวกับการพึ่งตนเองด้านต่างๆ ผลการวิจัยในครั้งนี้ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะในการประยุกต์ใช้การวิจัย 1. ในระดับสังคม เราควรหันมาให้ความสนใจและร่วมมือกันในแต่ละสถาบัน โดยมองการ พัฒนาและร่วมกันแก้ไขในภาพรวมในแต่ละสถาบัน เช่น สถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา สถาบัน ศาสนา และสถาบันการเมือง ฯลฯ ซึ่งต้องช่วยกันแก้ไขในทุกส่วนของสังคม และเอาใจใส่บุคคลในครอบ ครัวให้ประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นไปตามความคาดหวังของสังคม 2. ในระดับชุมชนครอบครัวและสถานศึกษาเป็นสถาบันที่สำคัญยิ่งต่อการดำรงอยู่ในสังคม ของ เด็กและวัยรุ่นที่เติบโตเป็นผู้ใหญ่ในวันข้างหน้า ดังนั้นคนในครอบครัว ควรดูแลเอาใจใส่ให้เด็กในครอบ ครัวปฏิบัติตนเองได้อย่างเหมาะสมและสามารถพึ่งตนเองโดยไม่เป็นภาระของครอบครัวและ สถาบันการ ศึกษา ได้แก่ โรงเรียน ควรจัดให้มีการเรียนการสอนและฝึกประสบการณ์ในการเรียนรู้ ปฏิบัติให้เด็กคิด เป็น ทำเป็น และช่วยเหลือตนเองได้ 3. ในระดับครอบครัว บิดามารดาหรือผู้ปกครองควรมีการการอบรมสั่งสอนที่ดีเพื่อเป็น แรงผลักดันให้เด็กเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง ใฝ่สัมฤทธิ์ และยืดหยัดด้วยตนเอง โดยไม่ต้องขอความ ช่วยเหลือจากผู้อื่น โดยเฉพาะควรมีการอบรมเลี้ยงดูเลี้ยงดูบุตรแบบประชาธิปไตยเพื่อเป็นการฝึกทักษะ การพึ่งตนเองทั้งในเด็กผู้หญิงและเด็กผู้ชายอย่างพอเหมาะพอดีโดยไม่เลือกปฏิบัติกับบุตรเพศใดเพศ หนึ่งอย่างมีเหตุผล ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยต่อไป 1. ควรศึกษาบทบาทการพึ่งตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนเอกชนและ โรงเรียนของรัฐบาลในลักษณะการเปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่างของบทบาทการพึ่งตนเอง 2. ควรศึกษาเปรียบเทียบบทบาทการพึ่งตนเองของเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในเขต เมืองและเขตชนบท 71 3. ควรศึกษาวิจัยเชิงคูณภาพ เกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งเสริมให้เด็กมีบทบาทหรือพฤติกรรมในการ พึ่งตนเองในด้านต่างๆ 71 บรรณานุกรม กรรณณิการ์ วุฒิพงษ์วรโชค. การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการอบรมเลี้ยงดู การสนับสนุนทางสังคม การบรรลุงานตามขั้นพัฒนาการ และพฤติกรรมพลเมืองดีของเด็กตอนต้น ในภาคตะวันตก. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2540. กรวิภา ลีฤทธิเกียรติ. การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมทางสังคม การบรรลุงานตามขั้น พัฒนาการและพฤติกรรมประชาธิปไตยของวัยเด็กตอนกลางในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง , 2542 กฤตยา กฤษฎาวุฒิ. การศึกษาเปรียบเทียบสังคมประกิตและบุคลิกภาพของบุตรที่บิดามารดาทระดับการ ศึกษาต่างกัน. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2513. เกสร ปาระมีแจ้. บทบาทของสถาบันครอบครัวในการถ่ายทอดความรู้อันเนื่องมาจากอิทธิพลของอุตสห กรรม. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2539. เกษม อุทยานนิน. สังคมวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 3 พระนคร : สมาคมสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย, 2506. จรรจา สุวรรณทัต. พัฒนาการเด็กและการอบรมเลี้ยงดู. เอกสารการสอนวิชาการพัฒนาเด็กและการอบรม เลี้ยงดู. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์สหมิตร, 2530. จงกลนี ตุ้ยเจริญ. สัมพันธภาพของวัยรุ่นกับบิดามาดา การเห็นคุณค่าในตนเองกับการปรับตัวของวัยรุ่น ตอนต้น. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล, 2540. จิรภา บัวซอย. การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการอบรมเลี้ยงดู การสนับสนุนทางสังคม การบรรลุงาน ตามขั้นพัฒนาการ และพฤติกรรมพลเมืองดีของวัยเด็กตอนกลางในภาคเหนือ. วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2541. โฉมสมร เหลืองโกศล. ค่านิยมพื้นฐานเรื่องการพึ่งตนเองกับการอบรมเลี้ยงดู. วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคม สงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร, 2531. ดวงเดือน พันธุมนาวิน. ปัจจัยทางจิตวิทยาสังคมกับความสันทัดทางภาษาไทย. รายงานการวิจัยฉบับ 3 สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, 2521. ดวงเดือน พันธุมนาวิน และคณะ. ปัจจัยทางจิตวิทยานิเวศน์ที่เกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กของมารดาไทย. รายงานวิจัยฉบับที่ 32 สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสาน มิตร, 2528 ทัศนีย์ ทองสว่าง. สังคมไทย. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์, 2534. 72 นฤมล สิริพันธ์. ความสัมพันธ์ระหว่างวิธีการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ ความคิดเห็นเกี่ยวกับตนเอง ลำดับ การเกิด เพศและผลสัมฤทธิ์จากการเรียน กับพฤติกรรมกล้าแสดงออกของนักเรียนชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 3 กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์- มหาวิทยาลัย, 2533. น้ำเพชร อยู่โต. ความคาดหวังของสตรีที่ทำงานนอกบ้านต่อบทบาทในครอบครัวของคู่สมรส . วิทยา- นิพนธ์ปริญญาสังคมวิทยามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539. นงนุช โรจนเลิศ. การศึกษาตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมตนเองของนักเรียนวัยรุ่น. วิทยานิพนธ์ปริญญา การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2543. บุหงา วชิระศักดิ์มงคล. การศึกษาความสัมพันธ์และการเปรียบเทียบความเกรงใจ การรักษาหน้าและ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ระหว่างนักเรียนไทยกับนักเรียนไทยเชื้อสายจีน ในกรุงเทพมหานคร และจังหวัดในภาคเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต วิทยาลัยวิชาการศึกษา ประสานมิตร, 2515. ปนัดดา มุมบ้านเช่า. ปัญหาพฤติกรรมวัยรุ่นชั้นมัธยมต้น สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดลพบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2537. ประณต เล็กสวาสดิ์. ความสัมพันธ์ระหว่างการอบรมเลี้ยงดูเด็ก การพึ่งผู้อื่น พฤติกรรมด้านความเป็นผู้ นำและความรู้สึกรับผิดชอบ. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณต มหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒ, 2517. ประมวล ดิคคินสัน. ทฤษฎีจิตวิทยาว่าด้วยบุคลิกภาพ. พระนคร : โรงพิมพ์ศิริภัณฑ์, 2511. ประไพ เจนดง. การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการอบรมเลี้ยงดู การสนับสนุนทางสังคม การบรรลุงาน ตามขั้นพัฒนาการ และพฤติกรรมพลเมืองดี. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2541. ประวีน รอดเขียว. ทัศนคติต่อการพึ่งตนเองของประชาชนในเขตบริการของโรงเรียนในโครงการทดลอง ของโรงเรียนมัธยมชุมชนจังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิตมหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, 2522. พรรณทพิ ย์ ศริ วิ รรณบศุ ย. จิตวิทยาครอบครัว. โครงการพฒั นาการเรยี นการสอนรว่ มกัน โครงการตาํ รา เอกสารทางวิชาการ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530. _______. จิตวิทยาครอบครัว. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540. พระเทพวิสุทธิเมธี ( ปั่น ปัญญานนโท ). รักลูกให้ถูกทาง เพื่ออนาคตอันแจ่มใสของลูกรัก. กรุงเทพ : ธรรมสภา , 2533. 73 พัชรมณี สุดรัก. ผลกระทบชีวิตครอบครัวของสตรีทำงานนอกบ้าน : ศึกษากรณีของอาจารย์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมวิทยามหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหา- วิทยาลัย, 2543. พีรพงศ์ ลีรวัฒนางกูร. การเปรียบเทียบพฤติกรรมสนองระหว่างบุคคลของนักเรียนที่ได้รับ การอบรม เลี้ยงดูแบบฝึกให้พึ่งตนเอง กับ แบบยับยั้งการพึ่งตนเอง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียน รัฐบาล จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2520. เพ็ญแข แสงแก้ว. การวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ, 2541 ไพฑูรย์ เครือแก้ว. ลักษณะสังคมไทย. กรุงเทพ : โรงพิมพ์เลี่ยงเซียงจงเจริญ , 2513. ไพโรจน์ หวังใจชื่น. การศึกษาองค์ประกอบที่สัมพันธ์กับทัศนคติความเป็นพลเมืองดีของนักเรียนมัธยม ศึกษาตอนปลาย ในจังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, 2525. มาริสา รัฐปัตย์. ความสัมพันธ์ระหว่างการอบรมเลี้ยงดูกับแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาการ ศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2532. มาลา วิรุณานนท์. ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์แบบการรับรู้และการอบรมเลี้ยงดูลูกในด้าน การฝึกให้พึ่งตนเอง กับในด้านการยับยั้งการพึ่งตนเองเปรียบเทียบเด็กในนครหลวงกับเด็กต่าง จังหวัดในระดับชั้นประถมปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต วิทยาลัยการศึกษา ประสานมิตร, 2516 . รักชนก คชไกร. ความเครียด บุคลิกภาเข้มแข็ง แรงสนับสนุนทางสังคมกับพฤติกรรมการเผชิญปัญหา วัยรุ่น : นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สังกัดกรมสามัญศึกษา กรุงเทพฯ. วิทยานิพนธ์ปริญญา วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล, 2541. วราภรณ์ รักวิจัย. การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : แสงศิลป์การพิมพ์, 2535. วิจิตวาทการ, หลวง. วิชาการครองเรือน-ครองรัก. พิมพ์ครั้งที่ 4. พระนคร : โรงพิมพ์รุ่งเรืองรัตน์, 2519. วิเชียร เกตุสิงห์. การวิจัยเชิงปฏิบัติการ. ม.ป.พ : 2538. วิพัฒน์ รักษาเคน. ความสำนึกในความรับผิดชอบและความสามารถในการแก้ปัญหาของเด็กนักเรียนชั้น ประถมศึกษาในจังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศร-ี นคริทรวิโรฒ ประสานมิตร, 2531. ศุภาศิริ การิกาญจน์. บทบาทของพ่อ แม่ในการสอนเพศศึกษาแก่ลูกสาววัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล, 2541. สถิต ภัศระ. ปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องกับความภาคภูมิใจในตนเองของบุคคลวัยรุ่น. วิทยานิพนธ์ปริญ การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, 2535. 74 สมพิศ ไชยกิจ. ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับความภาคภูมิใจในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียน มัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญ จังหวัดนราธิวาส. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2536. สมพงษ์ ธนธัญญา. สถาบันครอบครัว : มุมมองนักสวัสดิการสังคม. กรุงเทพ : เจ.พริ้นท์, 2540. สายฝน น้อยหีด. ครัวเรือนไทย : การศึกษาแบบแผนความสัมพันธ์เชิงบทบาทของสมาชิกในครัวเรือน. วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมวิทยามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2540. สายสุรี จุติกุล. ครอบครัวไทยในสองศตวรรษข้างหน้า สะพานทอดสู่อนาคตเมืองไทยในปี 2500. กรุงเทพฯ : ซัคเซสมีเดีย, 2539. สาวิตรี ทยานศิลป์. อิทธิพลครอบครัวต่อความภาคภูมิใจในตนเองของวัยรุ่น. วิทยานิพนธ์ปริญญา สังคมศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล, 2541. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 ( พ.ศ. 2540 – 2544 ). กรุงเทพฯ : ห.จ.ก. เม็ดทรายพริ้นติ้ง , ม.ป.ป. สำนักงานวิจัยสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. คุณภาพชีวิตของคนในกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพ : ทิพเนรการพิมพ์, 2541 สำนักงานสถิติแห่งชาติ.รายงานเชิงวิเคราะห์เรื่องพฤติกรรมการออมของครอบครัว. กรุงเทพฯ : สำนักงาน สถิติแห่งชาติ, 2541. สุพัตรา สุภาพ. สังคมวิทยา. กรุงเทพ ฯ : ไทยวัฒนาพานิช, 2540. เสาวภา วิชิตวาที. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง การสนับสนุนทางสังคมกับพฤติ กรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยที่สูญเสียแขนขา. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล, 2534. อมเรศ ศิลาอ่อน. “ ครอบครัวไทย : จะไปทิศทางใด.” รายงานพิธีเปิดปีครอบครัวสากล และ การประชุม สมัชชาแห่งชาติด้านครอบครัว. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและ ประสานงานสตรีแห่งชาติ, 2537. อรพินทร์ ชูชม และอัจฉรา สุขารมณ์. องค์ประกอบที่สัมพันธิ์กับการปรับตัวของนักเรียนวัยรุ่น. รายงานการ วิจัยฉบับที่ 48 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, 2533. อัจฉรา เปรมเปรื่องเวส. ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพแสดงตัว – เก็บตัว ความเกรงใจและการพึ่งตน เองของนักเรียน ครูระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาตอนต้นชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2516 ใน วิทยาลัยครูภูเก็ต. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต วิทยาลัยวิชาการศึกษา ประสาน มิตร, 2517. อุทัย หิรัญโต. สารานุกรมศัพท์สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์, 2526. 75 Ayer and Bernruter. " A Study of the Relationship between Discipline and Personality Traits in Little Children. " Journal o f Genetic Psychology. 1937. Carter, Good V. Dictionary of Education. New York : Mc Graw. Hill Book Company, 1973. Horton, Paul B. and Hunt, Chester L. Sociology. New York : McGraw - Hill Book Company,1972. Sear, Robert R. Maccolby, Eleanor E. and Lewin, Harry. Pattern of child Rearing. New York : Peterson and Company, 1957. Mussen, Paul Henry and Conger, John Janeway. Child Development and Personality. New York : Harper and Brother,1969. Burgess, W. Ernest and Locke, J. The Family. New York : Van Nostrand, 1971. Yamane, Taro. Statistics an introductory analysis. (2 nd ed. ). Tokyo : John Weatherhill, 1970. 77 แบบสอบถามวิทยานิพนธ์ สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา สถาบันราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา No. เรื่อง บทบาทการพึ่งตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในครอบครัวสมัยใหม่ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร แบบสอบถามเรื่อง “ บทบาทการพึ่งตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในครอบครัว สมัยใหม่ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ” คำชี้แจงในการตอบแบบสอบถาม 1. แบบสอบถามชุดนี้มีทั้งหมด 3 ตอน (โปรดตอบแบบสอบถามทุกส่วนและทุกตอน) ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป ตอนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับรูปแบบการอบรมเลี้ยงดู ตอนที่ 3 แบบสอบถามวัดการพึ่งตนเอง 2. การตอบแบบสอบถามให้นักเรียนอ่านคำชี้แจงในแต่ละส่วนให้เข้าใจก่อนลงมือตอบข้อคำถาม ถ้านักเรียนลังเลใจในการตอบ ขอแนะนำให้เลือกตอบตามความคิดครั้งแรก 3. การตอบแบบสอบถามชุดนี้ไม่มีคำตอบที่ถูกหรือผิด คำตอบของนักเรียนจะเก็บไว้เป็นความลับ และไม่เกี่ยวข้องกับผลการเรียนของนักเรียนแต่อย่างใด ขอขอบใจนักเรียนทุกคนที่ให้ความร่วมมือ 78 ตอนที่1 ข้อมูลทั่วไป คำชี้แจง โปรดกาเครื่องหมาย �� ลงในช่อง □ หน้าข้อความที่นักเรียนต้องการตอบ เฉพาะเจ้าหน้าที่ 1. เพศ �� 4 1. □ ชาย 2. □ หญิง 2. สมาชิในบ้านประกอบด้วย ( ขนาดครอบครัว ) �� 5 1. □ มีเฉพาะพ่อ แม่ และลูก ( ครอบครัวเดี่ยว ) 2. □ มีทั้งพ่อ แม่ ลูก และญาติบางคน เช่น ลุง ป้า น้า อา ย่า ยาย ปู่ ตา ( ครอบครัวขยาย ) 3. รายได้ของบิดามารดา �� 6 1. □ น้อยกว่า 10,000 บาทต่อเดือน 2. □ 10,001 - 20,000 บาทต่อเดือน 3. □ มากกว่า 20,000 บาทต่อเดือน 4. ฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัว �� 7 1. □ เพียงพอใช้จ่ายและมีเงินเก็บ 2. □ ใช่จ่ายเพียงพอแต่ไม่มีเงินเก็บ 3. □ ไม่พอใช้จ่าย บางครั้งต้องกู้ยืม 5. อาชีพของบิดามารดา ��8-9 บิดา มารดา 1. □ □ รับราชการ , พนักงานรัฐวิสาหกิจ , ลูกจ้างบริษัทเอกชน 2. □ □ ประกอบธุรกิจส่วนตัว เช่น ค้าขาย ฯลฯ 3. □ □ รับจ้างทั่วไป , พ่อบ้าน , แม่บ้าน , ไม่ได้ประกอบอาชีพ 6. ระดับการศึกษาสูงสุด ��10-11 บิดา มารดา 1. □ □ ต่ำกว่าชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 / ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 1. □ □ มัธยมศึกษาปีที่ 3 / มัธยมศึกษาปีที่ 6 / เทียบเท่า 1. □ □ อนุปริญญา / สูงปริญญาตรี 79 ตอนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับรูปแบบการอบรมเลี้ยงดู คำชี้แจง 1. ผู้ปกครองที่กล่าวถึง หมายถึง พ่อแม่ที่แท้จริงหรือบุคคลที่นักเรียนอาศัยอยู่ด้วยนานที่สุด ( อาจเป็น พ่อ แม่ พี่ ป้า น้า อา ปู่ ย่า ตา ยาย ) ข้อที่สำคัญต้องเป็นบุคคลที่อบรมและเลี้ยงดูนักเรียนมากที่สุด - คำว่า “ ฉัน ” หมาถึง ตัวนักเรียนเอง 2. โปรดตอบคำถามต่อไปนี้ตามความเป็นจริง โดยใส่เครื่องหมาย ลงในช่องที่ตรงกับความเป็นจริง มากที่สุดเท่านั้น ข้อความ จริงมากที่สุด(5) ส่วนมากจริง(4) จริงครึ่งเดียว(3) จริงบ้าง(2) ไม่จริงเลย(1) 1. ฉันและสมาชิกในครอบครัวพูดคุย และปรึกษาหารือกันในเรื่อง ต่างๆเมื่อมีโอกาสเสมอ เช่นเวลารับประทานอาหารร่วมกัน/ดูทีวี พร้อมๆกัน 2. ผู้ปกตรองให้การสนับสนุนเสมอเมื่อฉันทำกิจกรรมต่างๆ ในโรง เรียน เช่น กีฬาสี เล่นดนตรี ร่วมกิจกรรมวันสำคัญทางศาสนา ฯลฯ 3. ผู้ปกครองให้คำแนะนำ และถามไถ่เรื่องการเรียนของฉันเสมอ 4. เมื่อมีการโต้แย้งหรือทะเลาะวิวาทของสมาชิกในครอบครัวผู้ปก ครองจะตัดสินด้วยความยุติธรรม 5. ผู้ปกครองแสดงความดีใจ และชื่นชมในผลงานที่ฉันทำเอง 6. เมื่อฉันและสมาชิกในครอบครัวทำผิดพลาดผู้ปกครองจะว่ากล่าว ตักเตือนพร้อมทั้งอธิบายเหตุผล 7. ผู้ปกครองมอบหมายงานให้ฉันทำตามความสามารถของฉัน 8. ผู้ปกครองให้ฉันเป็นผู้ตัดสินใจในการตัดสินเลือกซื้อของใช้ส่วนตัว และเสื้อผ้าของฉันเองโดยได้รับคำแนะนำตามความเหมาะสม 9. ผู้ปกครองอนุญาตให้ฉันไปเที่ยวตามลำพังกับเพื่อนๆได้ตามเหตุผล อันสมควร 10. เมื่อมีโอกาสผู้ปกครองจะไปร่วมกิจกรรมที่ทางโรงเรียนจัดเสมอ 80 ข้อความ จริงมากที่สุด(5) ส่วนมากจริง(4) จริงครึ่งเดียว(3) จริงบ้าง(2) ไม่จริงเลย(1) 11. ผู้ปกครองต้องการให้ฉันทำตามคำแนะนำและความคิดเห็นของ ท่านทุอย่าง 12. ไม่ว่าฉันจะทำสิ่งใดต้องได้รับอนุญาตจากผู้ปกครองก่อนเสมอ 13. ผู้ปกครองมักตำหนิหรือว่ากล่าวเมื่อฉันร่วมสนทนากับผู้อื่น 14. ผู้ปกครองมักตำหนิและดุว่าฉันเสมอ 15. ผู้ปกครองจะแสดงความไม่พอใจ หรือดุด่าฉันเสมอ เมื่อฉันมีเรื่อง ไปปรึกษา 16. ผู้ปกครองเข้มงวดกวดขัน และควบคุมงานที่มอบหมายให้ฉันทุก ครั้ง 17. ผู้ปกครองจะเป็นผู้จัดซื้อเสื้อผ้าของใช้ให้ฉันทุกอย่าง โดยไม่ยอม ให้ฉันเป็นผู้เลือกเอง 18. ผู้ปกครองควบคุมฉันทุกอย่างจนฉันไม่สามารถทำสิ่งที่ฉันอยาก จะทำ 19. ฉันต้อองกลับบ้านตามเวลาที่ผู้ปกครองกำหนดทุกครั้งที่ออกไป นอกบ้าน 20. ผู้ปกครองต้องการให้ฉันเรียนเก่งๆหรือได้คะแนนดีๆ 21. ผู้ปกครองไม่เคยสนใจ หรือรับฟังความคิดเห็นของฉันเลย 22. ผู้ปกครองไม่สนใจว่าฉันจะทำกิจกรรมใดๆ 23. ผู้ปกครองไม่เคยถามไถ่เรื่องการเรียนและการบ้านของฉันเลย 24. เมื่อมีปัญหา / โต้แย้ง หรือทะเลาะวิวาทกันของสมาชิกในครอบ ครัว ผู้ปกครองจะไม่สนใจและให้แก้ไขกันเอง 25. ผู้ปกครองไม่เตยสนใจในผลงานที่ฉันทำด้วยตนเอง 26. ฉันใช้เงินอย่างไมจำกัดจำนวน และผู้ปกครองไม่เคยสนใจ หรือ ถามไถ่ว่าฉันใช้จ่ายอะไรบ้าง 81 ข้อความ จริงมากที่สุด(5) ส่วนมากจริง(4) จริงครึ่งเดียว(3) จริงบ้าง(2) ไม่จริงเลย(1) 27. ผู้ปกครองไม่สนใจจะเข้าร่วมกิจกรรมใดๆที่ทางโรงเรียนจัด เช่น วันแม่ ฯลฯ 28. เมื่อเกิดปัญหาฉันต้องแก้ไขเองเสมอ 29. ฉันและครอบครัวไปเที่ยว หรือทำกิจกรรมร่วมกันน้อยมาก 30. ฉันสามารถเที่ยวตามลำพัง หรือไปนอนค้างบ้านเพื่อนได้โดยไม่ ต้องขออนุญาตผู้ปกครอง 82 ตอนที่ 3 แบบสอบถามวัดการพึ่งตนเอง คำชี้แจง แบบสอบถามนี้ถามถึงความรู้สึกของนักเรียน อ่านข้อความสั้นๆ โดยพิจารณาและตัดสินใจตาม ความรู้สึก ของนักเรียนว่าข้อความนั้นเป็นจริงมากหรือน้อยเพียงใด แล้วทำเครื่องหมาย ในช่องว่าง ข้อความ จริงมากที่สุด(5) ส่วนมากจริง(4) จริงครึ่งเดียว(3) จริงบ้าง(2) ไม่จริงเลย(1) การพึ่งตนเอง 1. ฉันมาโรงเรียนสม่ำเสมอ 2 ฉันทำการบ้านหรืองานที่ครูสั่งด้วยตนเอง 3. เมื่อมีเวลาว่างฉันจะอ่านหนังสอทบทวน หรือเข้าห้องสมุด 4. เมื่อไม่เข้าใจในบทเรียนฉันจะถามครู หรือค้นคว้าด้วยตนเอง 5. ฉันส่งงาน และการบ้านตามกำหนดเวลาทุกครั้ง 6. เมื่อต้องการความรู้เพิ่มเติม ฉันจะค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง 7. ฉันไม่เคยลอกข้อสอบเพื่อนเลยแม้มีโอกาส 8. ฉันตรวจดูความเรียบร้อยของการบ้าน และงานก่อนส่งครูเสมอ 9. ฉันอ่านบทเรียนก่อนเรียน และทบทวนบทเรียนก่อนสอบเสมอ 10. ฉันต้องทำงาน หรือการบ้านให้เสร็จก่อนจะไปเล่น 11. ฉันช่วยเหลืองานบ้านเพื่อการประหยัดของครอบครัวเช่น รีดผ้า ถูบ้าน ช่วยทำอาหาร ฯลฯ 12. เมื่อเสื้อผ้าขาด หรือสิ่งขิงชำรุด ฉันสามารถซ่อมแซมเองได้ตาม 83 ความสามารถที่มีอยู่ 13. ฉันใช้จ่ายเงินอย่างรอบคอบเสมอ 14. ฉันเก็บเงินที่เหลือจากค่าใช้จ่ายในแต่ละวันเพื่อหยอดกระปุก /นำ ไปฝากธนาคาร 15. ฉันเลือกใช้แต่ของที่ราคาไม่แพงมากแต่มีคุณภาพใช้ได้นาน 16. ฉันใช้ของใช้หรืออุปกรณ์การเรียนเก่าที่ยังใช้ได้อยู่ ข้อความ จริงมากที่สุด(5) ส่วนมากจริง(4) จริงครึ่งเดียว(3) จริงบ้าง(2) ไม่จริงเลย(1) 17. ฉันชอบรับประทานอาหารตามความนิยม หรือตามเพื่อนโดยไม่ได้ คำนึงถึงคุณค่าทางอาหาร 18. เมื่อฉันอยากได้หนังสือใหม ่ หรืออุปกรณ์การเรียนฉันจะขอเงิน จากผู้ปกครอง 19.ฉันซื้อของใช้ตามความนิยมโดยไม่คำนึงถึงราคาของสินค้า 20. ฉันพยามยามหารายได้พิเศษยามว่าง แม้เป็นรายได้เล็กๆน้อยๆ 21. ฉันไม่ชอบทำงานเป็นกลุ่มหรือทำงานร่วมกับผู้อื่น 22. ฉันชอบจะแสดงความคิดเห็น และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเวลา ทำงานร่วมกับเพื่อนๆ 23. ฉันทำงานในส่วนที่ง่ายของกลุ่มเสมอ 24. ฉันมีความสุข และรู้สึกสนุกสนานกับการทำงานเป็นกลุ่ม 25. เมื่อฉันไม่พอใจเพื่อนๆในกลุ่มฉันนิ่งเฉยหรือไม่ได้โต้ตอบใดๆ 26. ฉันยินดีและเต็มใจทุกอย่าง กับงานที่กลุ่มมอบหมายให้ทำอย่างเต็ม ความสามารถ 27. เมื่อมีการแบ่งกลุ่มหรือทำงานเป็นกลุ่ม เพื่อนๆไม่ปฏิเสธที่จะรับ ฉันเป็นสมาชิกของกลุ่ม 28. เมื่อมีปัญหาในการทำงานเป็นกลุ่ม ฉันและเพื่อนๆในกลุ่มจะช่วย 84 กันแก้ไขเสมอ 29. เมื่อทำงานกลุ่ม เพื่อนๆมักเลือกฉันให้มีบทบาทสำคัญ เช่น เป็นหัวหน้า เป็นเลขาของกลุ่ม 30. ฉันให้ความร่วมมือกับสมาชิกในกลุ่ม และคอยช่วยเหลือเพื่อให้ งานสำเร็จด้วยดี 79 ตอนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับรูปแบบการอบรมเลี้ยงดู คำชี้แจง 1. ผู้ปกครองที่กล่าวถึง หมายถึง พ่อแม่ที่แท้จริงหรือบุคคลที่นักเรียนอาศัยอยู่ด้วยนานที่สุด ( อาจเป็น พ่อ แม่ พี่ ป้า น้า อา ปู่ ย่า ตา ยาย ) ข้อที่สำคัญต้องเป็นบุคคลที่อบรมและเลี้ยงดูนักเรียนมากที่สุด - คำว่า “ ฉัน ” หมาถึง ตัวนักเรียนเอง 2. โปรดตอบคำถามต่อไปนี้ตามความเป็นจริง โดยใส่เครื่องหมาย ลงในช่องที่ตรงกับความเป็นจริง มากที่สุดเท่านั้น ข้อความ จริงมากที่สุด(5) ส่วนมากจริง(4) จริงครึ่งเดียว(3) จริงบ้าง(2) ไม่จริงเลย(1) 1. ฉันและสมาชิกในครอบครัวพูดคุย และปรึกษาหารือกันในเรื่อง ต่างๆเมื่อมีโอกาสเสมอ เช่นเวลารับประทานอาหารร่วมกัน/ดูทีวี พร้อมๆกัน 2. ผู้ปกตรองให้การสนับสนุนเสมอเมื่อฉันทำกิจกรรมต่างๆ ในโรง เรียน เช่น กีฬาสี เล่นดนตรี ร่วมกิจกรรมวันสำคัญทางศาสนา ฯลฯ 3. ผู้ปกครองให้คำแนะนำ และถามไถ่เรื่องการเรียนของฉันเสมอ 4. เมื่อมีการโต้แย้งหรือทะเลาะวิวาทของสมาชิกในครอบครัวผู้ปก ครองจะตัดสินด้วยความยุติธรรม 5. ผู้ปกครองแสดงความดีใจ และชื่นชมในผลงานที่ฉันทำเอง 6. เมื่อฉันและสมาชิกในครอบครัวทำผิดพลาดผู้ปกครองจะว่ากล่าว ตักเตือนพร้อมทั้งอธิบายเหตุผล 7. ผู้ปกครองมอบหมายงานให้ฉันทำตามความสามารถของฉัน 8. ผู้ปกครองให้ฉันเป็นผู้ตัดสินใจในการตัดสินเลือกซื้อของใช้ส่วนตัว และเสื้อผ้าของฉันเองโดยได้รับคำแนะนำตามความเหมาะสม 9. ผู้ปกครองอนุญาตให้ฉันไปเที่ยวตามลำพังกับเพื่อนๆได้ตามเหตุผล อันสมควร 10. เมื่อมีโอกาสผู้ปกครองจะไปร่วมกิจกรรมที่ทางโรงเรียนจัดเสมอ 80 ข้อความ จริงมากที่สุด(5) ส่วนมากจริง(4) จริงครึ่งเดียว(3) จริงบ้าง(2) ไม่จริงเลย(1) 11. ผู้ปกครองต้องการให้ฉันทำตามคำแนะนำและความคิดเห็นของ ท่านทุอย่าง 12. ไม่ว่าฉันจะทำสิ่งใดต้องได้รับอนุญาตจากผู้ปกครองก่อนเสมอ 13. ผู้ปกครองมักตำหนิหรือว่ากล่าวเมื่อฉันร่วมสนทนากับผู้อื่น 14. ผู้ปกครองมักตำหนิและดุว่าฉันเสมอ 15. ผู้ปกครองจะแสดงความไม่พอใจ หรือดุด่าฉันเสมอ เมื่อฉันมีเรื่อง ไปปรึกษา 16. ผู้ปกครองเข้มงวดกวดขัน และควบคุมงานที่มอบหมายให้ฉันทุก ครั้ง 17. ผู้ปกครองจะเป็นผู้จัดซื้อเสื้อผ้าของใช้ให้ฉันทุกอย่าง โดยไม่ยอม ให้ฉันเป็นผู้เลือกเอง 18. ผู้ปกครองควบคุมฉันทุกอย่างจนฉันไม่สามารถทำสิ่งที่ฉันอยาก จะทำ 19. ฉันต้อองกลับบ้านตามเวลาที่ผู้ปกครองกำหนดทุกครั้งที่ออกไป นอกบ้าน 20. ผู้ปกครองต้องการให้ฉันเรียนเก่งๆหรือได้คะแนนดีๆ 21. ผู้ปกครองไม่เคยสนใจ หรือรับฟังความคิดเห็นของฉันเลย 22. ผู้ปกครองไม่สนใจว่าฉันจะทำกิจกรรมใดๆ 23. ผู้ปกครองไม่เคยถามไถ่เรื่องการเรียนและการบ้านของฉันเลย 24. เมื่อมีปัญหา / โต้แย้ง หรือทะเลาะวิวาทกันของสมาชิกในครอบ ครัว ผู้ปกครองจะไม่สนใจและให้แก้ไขกันเอง 25. ผู้ปกครองไม่เตยสนใจในผลงานที่ฉันทำด้วยตนเอง 26. ฉันใช้เงินอย่างไมจำกัดจำนวน และผู้ปกครองไม่เคยสนใจ หรือ ถามไถ่ว่าฉันใช้จ่ายอะไรบ้าง 81 ข้อความ จริงมากที่สุด(5) ส่วนมากจริง(4) จริงครึ่งเดียว(3) จริงบ้าง(2) ไม่จริงเลย(1) 27. ผู้ปกครองไม่สนใจจะเข้าร่วมกิจกรรมใดๆที่ทางโรงเรียนจัด เช่น วันแม่ ฯลฯ 28. เมื่อเกิดปัญหาฉันต้องแก้ไขเองเสมอ 29. ฉันและครอบครัวไปเที่ยว หรือทำกิจกรรมร่วมกันน้อยมาก 30. ฉันสามารถเที่ยวตามลำพัง หรือไปนอนค้างบ้านเพื่อนได้โดยไม่ ต้องขออนุญาตผู้ปกครอง 82 ตอนที่ 3 แบบสอบถามวัดการพึ่งตนเอง คำชี้แจง แบบสอบถามนี้ถามถึงความรู้สึกของนักเรียน อ่านข้อความสั้นๆ โดยพิจารณาและตัดสินใจตาม ความรู้สึก ของนักเรียนว่าข้อความนั้นเป็นจริงมากหรือน้อยเพียงใด แล้วทำเครื่องหมาย ในช่องว่าง ข้อความ จริงมากที่สุด(5) ส่วนมากจริง(4) จริงครึ่งเดียว(3) จริงบ้าง(2) ไม่จริงเลย(1) การพึ่งตนเอง 1. ฉันมาโรงเรียนสม่ำเสมอ 2 ฉันทำการบ้านหรืองานที่ครูสั่งด้วยตนเอง 3. เมื่อมีเวลาว่างฉันจะอ่านหนังสอทบทวน หรือเข้าห้องสมุด 4. เมื่อไม่เข้าใจในบทเรียนฉันจะถามครู หรือค้นคว้าด้วยตนเอง 5. ฉันส่งงาน และการบ้านตามกำหนดเวลาทุกครั้ง 6. เมื่อต้องการความรู้เพิ่มเติม ฉันจะค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง 7. ฉันไม่เคยลอกข้อสอบเพื่อนเลยแม้มีโอกาส 8. ฉันตรวจดูความเรียบร้อยของการบ้าน และงานก่อนส่งครูเสมอ 9. ฉันอ่านบทเรียนก่อนเรียน และทบทวนบทเรียนก่อนสอบเสมอ 10. ฉันต้องทำงาน หรือการบ้านให้เสร็จก่อนจะไปเล่น 11. ฉันช่วยเหลืองานบ้านเพื่อการประหยัดของครอบครัวเช่น รีดผ้า ถูบ้าน ช่วยทำอาหาร ฯลฯ 12. เมื่อเสื้อผ้าขาด หรือสิ่งขิงชำรุด ฉันสามารถซ่อมแซมเองได้ตาม 83 ความสามารถที่มีอยู่ 13. ฉันใช้จ่ายเงินอย่างรอบคอบเสมอ 14. ฉันเก็บเงินที่เหลือจากค่าใช้จ่ายในแต่ละวันเพื่อหยอดกระปุก /นำ ไปฝากธนาคาร 15. ฉันเลือกใช้แต่ของที่ราคาไม่แพงมากแต่มีคุณภาพใช้ได้นาน 16. ฉันใช้ของใช้หรืออุปกรณ์การเรียนเก่าที่ยังใช้ได้อยู่ ข้อความ จริงมากที่สุด(5) ส่วนมากจริง(4) จริงครึ่งเดียว(3) จริงบ้าง(2) ไม่จริงเลย(1) 17. ฉันชอบรับประทานอาหารตามความนิยม หรือตามเพื่อนโดยไม่ได้ คำนึงถึงคุณค่าทางอาหาร 18. เมื่อฉันอยากได้หนังสือใหม ่ หรืออุปกรณ์การเรียนฉันจะขอเงิน จากผู้ปกครอง 19.ฉันซื้อของใช้ตามความนิยมโดยไม่คำนึงถึงราคาของสินค้า 20. ฉันพยามยามหารายได้พิเศษยามว่าง แม้เป็นรายได้เล็กๆน้อยๆ 21. ฉันไม่ชอบทำงานเป็นกลุ่มหรือทำงานร่วมกับผู้อื่น 22. ฉันชอบจะแสดงความคิดเห็น และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเวลา ทำงานร่วมกับเพื่อนๆ 23. ฉันทำงานในส่วนที่ง่ายของกลุ่มเสมอ 24. ฉันมีความสุข และรู้สึกสนุกสนานกับการทำงานเป็นกลุ่ม 25. เมื่อฉันไม่พอใจเพื่อนๆในกลุ่มฉันนิ่งเฉยหรือไม่ได้โต้ตอบใดๆ 26. ฉันยินดีและเต็มใจทุกอย่าง กับงานที่กลุ่มมอบหมายให้ทำอย่างเต็ม ความสามารถ 27. เมื่อมีการแบ่งกลุ่มหรือทำงานเป็นกลุ่ม เพื่อนๆไม่ปฏิเสธที่จะรับ ฉันเป็นสมาชิกของกลุ่ม 28. เมื่อมีปัญหาในการทำงานเป็นกลุ่ม ฉันและเพื่อนๆในกลุ่มจะช่วย 84 กันแก้ไขเสมอ 29. เมื่อทำงานกลุ่ม เพื่อนๆมักเลือกฉันให้มีบทบาทสำคัญ เช่น เป็นหัวหน้า เป็นเลขาของกลุ่ม 30. ฉันให้ความร่วมมือกับสมาชิกในกลุ่ม และคอยช่วยเหลือเพื่อให้ งานสำเร็จด้วยดี ภาคผนวก ข แบบสอบถาม ตารางที่ 1 จำนวนและร้อยละของรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูของผู้ปกครองนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง จำแนกตามเพศ ชาย หญิง รูปแบบการอบรมเลี้ยงดู จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ 1. แบบประชาธิปไตย - มากที่สุด 1 0.69 2 01.44 - มาก 68 48.89 76 54.68 - ปานกลาง 63 43.45 43 30.94 - น้อย 13 08.97 17 12.23 - น้อยที่สุด - - 1 0.71 รวม 145 100.0 139 100.0 1. แบบเข้มงวดกวดขัน - มากที่สุด 3 02.07 - - - มาก 19 13.10 20 14.39 - ปานกลาง 70 48.28 59 42.45 - น้อย 48 33.10 55 39.57 - น้อยที่สุด 5 03.45 5 03.59 รวม 145 100.0 139 100.0 1. แบบปล่อยปละละเลย - มากที่สุด - - - - - มาก 5 03.45 2 01.44 - ปานกลาง 6 04.14 6 04.32 - น้อย 38 26.21 18 12.95 - น้อยที่สุด 96 65.20 113 81.29 รวม 145 100.0 139 100.0 ตารางที่ 2 จำนวนและร้อยละของรูปแบบการพึ่งตนเองของนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง จำแนกตามเพศ ชาย หญิง รูปแบบการพึ่งตนเอง จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ 1. ด้านการศึกษา - มากที่สุด - - - - - มาก 28 20.00 41 29.49 - ปานกลาง 69 47.59 71 51.08 - น้อย 45 31.03 25 17.99 - น้อยที่สุด 2 01.38 2 01.44 รวม 145 100.0 139 100.0 1. ด้านเศรษฐกิจ - มากที่สุด - - - - - มาก 19 11.72 30 21.58 - ปานกลาง 70 48.28 80 57.55 - น้อย 55 37.93 25 17.99 - น้อยที่สุด 3 02.07 4 02.88 รวม 145 100.0 139 100.0 1. ด้านสังคม / ส่วนรวม - มากที่สุด - - - - - มาก 30 20.69 26 18.71 - ปานกลาง 70 48.28 79 56.83 - น้อย 42 28.96 31 22.30 - น้อยที่สุด 3 02.07 3 02.16 รวม 145 100.0 139 100.0 ตารางที่ 3 จำนวนร้อยละของพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตยของผู้ปกครองของกลุ่มตัว อย่าง จำแนกรายข้อ ไม่จริงเลย จริงบ้าง จริงครึ่งเดียว ส่วนมากจริง จริงมากที รูปแบบการอบรมเลี้ยงดู จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้ การอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย 1. ฉันและสมาชิกในครอบครัวพูดคุย และปรึกษาหารือกัน ในเรื่องต่างๆเมื่อมีโอกาสเสมอ เช่นเวลารับประทาน อาหารร่วมกัน/ดูทีวีพร้อมๆกัน 4 1.4 57 20.1 42 14.8 113 39.8 68 2. ผู้ปกตรองให้การสนับสนุนเสมอเมื่อฉันทำกิจกรรม ต่างๆ ในโรงเรียน เช่น กีฬาสี เล่นดนตรี ร่วมกิจกรรมวัน สำคัญทางศาสนา ฯลฯ 3 1.1 16 5.6 22 7.7 99 24.9 144 3. ผู้ปกครองให้คำแนะนำ และถามไถ่เรื่องการเรียนของ ฉันเสมอ 2 0.7 24 8.5 30 10.6 95 33.5 133 4. เมื่อมีการโต้แย้งหรือทะเลาะวิวาทของสมาชิกในครอบ ครัวผู้ปกครองจะตัดสินด้วยความยุติธรรม 10 3.5 46 46.2 33 11.6 90 31.7 105 5. ผู้ปกครองแสดงความดีใจ และชื่นชมในผลงานที่ฉันทำ เอง 2 0.7 29 10.2 34 12.0 127 44.7 92 6. เมื่อฉันและสมาชิกในครอบครัวทำผิดพลาดผู้ปกครอง จะว่ากล่าวตักเตือนพร้อมทั้งอธิบายเหตุผล 2 0.7 28 9.9 24 8.5 101 35.6 129 7. ผู้ปกครองมอบหมายงานให้ฉันทำตามความสามารถ ของฉัน 8 2.8 21 7.4 33 11.6 95 33.5 127 8. ผู้ปกครองให้ฉันเป็นผู้ตัดสินใจในการตัดสินเลือกซื้อ ของใช้ส่วนตัว และเสื้อผ้าของฉันเองโดยได้รับคำแนะนำ ตามความเหมาะสม 9 3.2 39 13.7 36 12.7 103 36.3 97 9. ผู้ปกครองอนุญาตให้ฉันไปเที่ยวตามลำพังกับเพื่อนๆได้ ตามเหตุผลอันสมควร 36 12.7 75 25.4 37 13.0 67 23.6 72 10. เมื่อมีโอกาสผู้ปกครองจะไปร่วมกิจกรรมที่ทางโรง เรียนจัดเสมอ 14 4.9 51 18.0 48 16.9 75 26.4 96 ตารางที่ 4 จำนวนและร้อยละของพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูแบบเข้มงวดกวดขันของผู้ปกครองของ กลุ่มตัวอย่าง จำแนกรายข้อ ไม่จริงเลย จริงบ้าง จริงครึ่งเดียว ส่วนมากจริง จริงมากที รูปแบบการอบรมเลี้ยงดู จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้ การอบรมเลี้ยงดูแบบเข้มงวดกวดขัน 11. ผู้ปกครองต้องการให้ฉันทำตามคำแนะนำและความคิด เห็นของท่านทุอย่าง 22 7.7 62 21.8 58 20.4 95 33.5 47 12. ไม่ว่าฉันจะทำสิ่งใดต้องได้รับอนุญาตจากผู้ปกครองก่อน เสมอ 7 2.5 45 15.8 40 14.1 84 29.6 108 13. ผู้ปกครองมักตำหนิหรือว่ากล่าวเมื่อฉันร่วมสนทนากับผู้ อื่น 96 33.8 92 32.4 41 14.4 33 11.6 22 14. ผู้ปกครองมักตำหนิและดุว่าฉันเสมอ 71 25.0 105 37.0 51 18.0 35 12.3 22 15. ผู้ปกครองจะแสดงความไม่พอใจ หรือดุด่าฉันเสมอ เมื่อ ฉันมีเรื่องไปปรึกษา 164 57.7 53 18.7 30 10.6 22 7.7 15 16. ผู้ปกครองเข้มงวดกวดขัน และควบคุมงานที่มอบหมาย ให้ฉันทุกครั้ง 41 14.4 86 30.3 57 20.1 53 18.7 47 17. ผู้ปกครองจะเป็นผู้จัดซื้อเสื้อผ้าของใช้ให้ฉันทุกอย่าง โดยไม่ยอมให้ฉันเป็นผู้เลือกเอง 100 35.2 76 26.8 47 16.5 39 13.7 22 18. ผู้ปกครองควบคุมฉันทุกอย่างจนฉันไม่สามารถทำสิ่งที่ ฉันอยาก จะทำ 121 42.6 82 28.9 39 13.7 26 9.2 16 19. ฉันต้อองกลับบ้านตามเวลาที่ผู้ปกครองกำหนดทุกครั้งที่ ออกไปนอกบ้าน 37 13.0 84 29.6 57 20.1 53 18.7 57 20. ผู้ปกครองต้องการให้ฉันเรียนเก่งๆหรือได้คะแนนดีๆ 13 4.6 19 6.7 21 7.4 51 18.0 180 ต า ร า ง ทีี่ี่ี่่ 5 จํ า นว นแ ล ะ ล ะ ข อ ง พฤ ติ ก ร ร ม ก า ร อ บ ร ม เ ลี้ ย ง ดู แ บ บ ป ล่ อ ย ป ล ะ ล ะ เ ล ย ข อ ง ผู้ ป ก ค ร อ ง ข อ ง ก ลุ่ ม ตั ว อ ย่ า ง จํ า แ น ก ร า ย ข้ อ ไม่จริงเลย จริงบ้าง จริงครึ่งเดียว ส่วนมากจริง จริงม รูปแบบการอบรมเลี้ยงดู จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ จำนวน การอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลย 21. ผู้ปกครองไม่เคยสนใจ หรือรับฟังความคิดเห็นของ ฉันเลย 168 9.2 72 25.4 16 5.6 18 6.3 10 22. ผู้ปกครองไม่สนใจว่าฉันจะทำกิจกรรมใดๆ 178 62.7 65 22.9 18 6.3 17 6.0 6 23. ผู้ปกครองไม่เคยถามไถ่เรื่องการเรียนและการบ้าน ของฉันเลย 191 67.3 52 18.3 14 4.9 18 6.3 9 24. เมื่อมีปัญหา / โต้แย้ง หรือทะเลาะวิวาทกันของ สมาชิกในครอบครัว ผู้ปกครองจะไม่สนใจและให้แก้ไข กันเอง 167 58.8 65 22.9 26 9.2 12 4.2 14 25. ผู้ปกครองไม่เตยสนใจในผลงานที่ฉันทำด้วยตนเอง 171 60.2 61 21.5 33 11.6 8 2.8 11 26. ฉันใช้เงินอย่างไม่จำกัดจำนวน และผู้ปกครองไม่เคย สนใจ หรือถามไถ่ว่าฉันใช้จ่ายอะไรบ้าง 169 54.5 65 22.9 22 7.7 16 5.6 12 27. ผู้ปกครองไม่สนใจจะเข้าร่วมกิจกรรมใดๆที่ทางโรง เรียนจัด เช่น วันแม่ ฯลฯ 165 58.1 69 24.3 24 8.5 17 6.0 9 28. เมื่อเกิดปัญหาฉันต้องแก้ไขเองเสมอ 91 32.0 126 44.4 32 11.3 18 6.3 17 29. ฉันและครอบครัวไปเที่ยว หรือทำกิจกรรมร่วมกัน น้อยมาก 76 26.8 118 41.5 41 14.4 24 8.5 25 30. ฉันสามารถเที่ยวตามลำพัง หรือไปนอนค้างบ้านเพื่อน ได้โดยไม่ต้องขออนุญาตผู้ปกครอง 212 74.6 40 14.1 10 3.5 12 4.2 10 ต อ นทีี่ี่ี่่ 3 แ บ บ ส อ บ ถ า ม วั ด ก า ร พึึ่ึ่ึ่่ง ต น เ อ ง คํ า ชีี้ี้ี้้ แ จ ง แ บ บ ส อ บ ถ า มนี้ถ า ม ถึ ง ค ว า ม รู้ สึ ก ข อ ง นัก เ รี ย น อ่ า น ข้ อ ค ว า ม สั้ น ๆ โ ด ย พิจ า ร ณา แล ะ ตัด สิ น ใ จ ต า ม ค ว า ม รู้ สึ ก ข อ ง นัก เ รี ย น ว่ า ข้ อ ค ว า ม นั้น เ ป็น จ ริ ง ม า ก ห รื อ น้ อ ย เ พี ย ง ใ ด แ ล้ ว ทํ า เ ค รื่ อ ง ห ม า ย ใ นช่ อ ง ว่ า ง ข้้้้ อ ค ว า ม จ ริ ง มา ก ส่่่่ ว น มา ก จ ริ ง ค รึึ่ึ่ึ่่ ง จ ริ ง บ้้้้า ง (2) ไ ม่่่่ จ ริ ง ก า ร พึึ่ึ่ึ่่ง ต น เ อ ง 1. ฉั น ม า โ ร ง เ รี ย น ส ม่ํ า เ ส ม อ 2 ฉั น ทํ า ก า ร บ้ า น ห รื อ ง า น ที่ ค รู สั่ ง ด้ ว ย ต น เ อ ง 3. เ มื่ อ มี เ ว ล า ว่ า ง ฉั น จ ะ อ่ า น ห นั ง ส อ ท บ ท ว น ห รื อ เ ข้ า ห้ อ ง ส มุ ด 4. เ มื่อ ไ ม่ เ ข้ า ใ จ ใ นบทเ รี ย น ฉัน จ ะ ถ า มครู ห รื อ ค้ น ค ว้ า ด้ ว ย ต น เ อ ง 5. ฉั น ส่ ง ง า น แ ล ะ ก า ร บ้ า น ต า ม กํ า หนด เ ว ล า ทุ ก ค รั้ ง 6. เ มื่ อ ต้ อ ง ก า ร ค ว า ม รู้ เ พิ่ม เ ติ ม ฉั น จ ะ ค้ น ค ว้ า ห า ค ว า ม รู้ ด้ ว ย ต น เ อ ง 7. ฉั น ไ ม่ เ ค ย ล อ ก ข้ อ ส อ บ เ พื่ อ น เ ล ย แ ม้ มี โ อ ก า ส 8. ฉั น ต ร ว จ ดู ค ว า ม เ รี ย บ ร้ อ ย ข อ ง ก า ร บ้ า น แ ล ะ ง า นก่ อ น ส่ ง ค รู เ ส ม อ 9. ฉั น อ่ า น บ ท เ รี ย น ก่ อ น เ รี ย น แ ล ะ ท บ ท ว นบ ท เ รี ย น ก่อ น ส อ บเ ส มอ 10. ฉั น ต้ อ ง ทํ า ง า น ห รื อ ก า ร บ้ า น ใ ห้ เ ส ร็ จ ก่ อ น จ ะ ไ ป เ ล่ น 11. ฉั น ช่ ว ย เ ห ลื อ ง า น บ้ า น เ พื่ อ ก า ร ป ร ะ ห ยั ด ข อ ง ค ร อ บ ค รั ว เ ช่ น รี ด ผ้ า ถู บ้ า น ช่ ว ย ทํ า อ า ห า ร ฯ ล ฯ 12. เ มื่อ เ สื้ อ ผ้ า ข า ด ห รื อ สิ่ ง ขิ ง ชํ า รุ ด ฉั น ส า ม า ร ถ ซ่ อ ม แ ซ ม เ อ ง ไ ด้ ต า ม ค ว า ม ส า ม า ร ถ ที่ มี อ ยู่ 13. ฉั น ใ ช้ จ่ า ย เ งิ น อ ย่ า ง ร อ บ ค อ บ เ ส ม อ 14. ฉั น เ ก็ บ เ งิ น ที่ เ ห ลื อ จ า ก ค่ า ใ ช้ จ่ า ย ใ น แ ต่ ล ะ วั น เ พื่ อ ห ย อ ด ก ร ะ ปุ ก /นํ า ไ ป ฝ า ก ธ นา ค า ร 15. ฉั น เ ลื อ ก ใ ช้ แ ต่ ข อ ง ที่ ร า ค า ไ ม่ แ พ ง ม า ก แ ต่ มี คุ ณ ภ า พ ใ ช้ ไ ด้ น า น 16. ฉั น ใ ช้ ข อ ง ใ ช้ ห รื อ อุ ป ก ร ณ์ก า ร เ รี ย น เ ก่ า ที่ ยั ง ใ ช้ ไ ด้ อ ยู่ ข้้้้ อ ค ว า ม จ ริ ง ส่่่่ ว น จ ริ ง จ ร่ ิ ง ไ ม่่่่ 17. ฉัน ช อ บ รั บ ป ร ะ ท า น อ า ห า ร ต า ม ค ว า ม นิย ม ห รื อ ต า ม เ พื่ อ น โ ด ย ไ ม่ ไ ด้ คํ า นึ ง ถึ ง คุ ณ ค่ า ท า ง อ า ห า ร 18. เ มื่ อ ฉั น อ ย า ก ไ ด้ หนั ง สื อ ใ ห ม่ ห รื อ อุ ป ก ร ณ์ ก า ร เ รี ย น ฉัน จ ะ ข อ เ งิ น จ า ก ผู้ ป ก ค ร อ ง 19.ฉัน ซื้ อ ข อ ง ใ ช้ ต า ม ค ว า ม นิ ย ม โ ด ย ไ ม่ คํ า นึ ง ถึ ง ร า ค า ข อ ง สิ น ค้ า 20. ฉันพยามยามหารายได้พิเศษยามว่าง แม้เป็นรายได้เล็กๆน้อยๆ 21. ฉั น ไ ม่ ช อ บ ทํ า ง า น เ ป็ น ก ลุ่ ม ห รื อ ทํ า ง า น ร่ ว ม กั บ ผู้ อื่ น 22. ฉัน ช อ บ จ ะ แ ส ด ง ค ว า ม คิ ด เ ห็น แ ล ะ แ ล ก เ ปลี่ ย น ค ว า ม คิ ด เ ห็ น เ ว ล า ทํ า ง า น ร่ ว ม กั บ เ พื่ อ น ๆ 23. ฉัน ทํ า ง า น ใ น ส่ ว น ที่ ง่ า ย ข อ ง ก ลุ่ ม เ ส ม อ 24. ฉัน มี ค ว า ม สุ ข แ ล ะ รู้ สึ ก ส นุก ส น า นกั บ ก า ร ทํ า ง า นเ ป็น ก ลุ่ ม 25. เ มื่ อ ฉั น ไ ม่ พ อ ใ จ เ พื่ อ น ๆ ใ น ก ลุ่ ม ฉัน นิ่ ง เ ฉย หรื อ ไ ม่ไ ด้ โ ต้ต อ บ ใ ด ๆ 26. ฉั น ยิ น ดี แ ล ะ เ ต็ ม ใ จ ทุ ก อ ย่ า ง กั บ ง า น ที่ ก ลุ่ ม ม อ บ หม า ย ใ ห้ ทํ า อ ย่ า ง เ ต็ ม ค ว า ม ส า ม า ร ถ 27. เ มื่ อ มี ก า ร แ บ่ ง ก ลุ่ ม ห รื อ ทํ า ง า น เ ป็ น ก ลุ่ ม เ พื่ อ น ๆ ไ ม่ ป ฏิ เ ส ธ ที่ จ ะ รั บ ฉั น เ ป็ น ส ม า ชิ ก ข อ ง ก ลุ่ ม 28. เ มื่ อ มี ปั ญ ห า ใ น ก า ร ทํ า ง า น เ ป็ น ก ลุ่ ม ฉัน แ ล ะ เ พื่ อ น ๆ ใ น ก ลุ่ ม จ ะ ช่ ว ย กั น แ ก้ ไ ข เ ส ม อ 29. เ มื่อ ทํ า ง า น ก ลุ่ ม เ พื่ อ น ๆ มั ก เ ลื อ ก ฉั น ใ ห้ มี บ ท บ า ท สํ า คั ญ เ ช่น เ ป็ น หั ว ห น้ า เ ป็น เ ล ขา ของ ก ลุ่ ม 30. ฉัน ใ ห้ ค ว า ม ร่ ว ม มื อ กั บ ส ม า ชิ ก ใ น ก ลุ่ ม แ ล ะ ค อ ย ช่ ว ย เ ห ลื อ เ พื่ อ ใ ห้ ง า น สํ า เ ร็ จ ด้ ว ย ดี 8 รายนามผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเครื่องมือในการวิจัย 1. ผศ. สุพิศวง ธรรมพันทา ภาควิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ ราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 2. ผศ. วัชรา คลายนาทร ภาควิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ ราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 3. ดร. เปรมสุรีย์ เชื่อมทอง ภาควิชาจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ ราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 9 ประวัติผู้วิจัย ชื่อ - สกุล นางสาวเพ็ญศรี พุ่มเที่ยง วัน /เดือน/ ปีเกิด 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2512 ที่อยู่ 47/3 หมู่ 5 ต. สวนหลวง อ. กระทุ่มแบน จ. สมุทรสาคร 74130 ประวัติการศึกษา พ.ศ. 2526 – 2530 มัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 ( ศิลป์ภาษา : อังกฤษ + ฝรั่งเศส ) โรงเรียนปัญญาวรคุณ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2531 - 2535 ปริญญาตรี คณะศิลปศาสตร์ วิชาเอก สังคมวิทยาและมนุษยวิทยา วิชาโท ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จ. ปัตตานี ประวัติการทำงาน พ.ศ. 2539 – ปัจจุบัน ครูแผนกประถมศึกษา โรงเรียนฐานปัญญา อ. ภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2538 – 2539 เจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคล โรงแรมแกรนด์พาเลช กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2535 – 2537 ครูแผนกประถมศึกษา โรงเรียนศึกษาสมบูรณ์อนุสรณ์ อ. หนองแขม กรุงเทพมหานคร บทบาทการพึ่งตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในครอบครัวสมัยใหม่ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร (ตอนที่ 1)
บทบาทการพึ่งตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในครอบครัวสมัยใหม่ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร (ตอนที่ 2)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น