วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2552

การศึกษาสภาพและปัญหาในการจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาโรงเรียนเอกชน (ตอนที่ 1)



การศึกษาสภาพและปัญหาในการจัดการศึกษาตามแนวทาง
ปฏิรูปการศึกษาในสถานศึกษาเอกชน ประเภทสามัญศึกษา
เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร
A study of Performances and Problems of Educational
Management in accordance with Educational Reform in
Private Schools in Pasijarearn District Bangkok
วิทยานิพนธ์
ของ
นางสุมาลี ทองสิมา
เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาการบริหารการศึกษา
พ.ศ. 2545
ISBN : 974-373-181-4
ลิขสิทธิ์เป็นของสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
หัวข้อวิทยานิพนธ์ การศึกษาสภาพและปัญหาในการจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษา
ในสถานศึกษาเอกชน ประเภทสามัญศึกษา เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร
โดย นางสุมาลี ทองสิมา
สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ประธานกรรมการ ดร.สรายุทธ์ เศรษฐขจร
กรรมการ รศ.หรรษา ศิวรักษ์
กรรมการ รศ เกริก วยัคฆานนท์
บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา อนุมัติให้วิทยานิพนธ์นี้เป็น
ส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต
................................................................................คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
(รองศาสตราจารย์ นันทา วิทวุฒิศักดิ์)
วันที่..................เดือน..................................พ.ศ. 2545
กรรมการสอบวิทยานิพนธ์
................................................................................ประธานกรรมการ
(ศาสตราจารย์ ดร. สายหยุด จำปาทอง)
................................................................................อาจารย์ที่ปรึกษา
(ดร.สรายุทธ์ เศรษฐขจร)
.................................................................................กรรมการ
(รศ.หรรษา ศิวรักษ์)
.................................................................................กรรมการ
(รศ.เกริก วยัคฆานนท์)
.................................................................................กรรมการ
(อาจารย์ทวีศักดิ์ จงประดับเกียรติ)
.................................................................................กรรมการ
(รองศาสตราจารย์ นันทา วิทวุฒิศักดิ์)
ลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
การศึกษาสภาพและปัญหาในการจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาในสถานศึกษาเอกชน
ประเภทสามัญศึกษา เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร
บทคัดย่อ
ของ
นางสุมาลี ทองสิมา
เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา
ตามหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา
ปีการศึกษา 2545
สุมาลี ทองสิมา.(2545) การศึกษาสภาพและปัญหาในการจัดการศึกษาตามแนวทาง
ปฏิรูปการศึกษาในสถานศึกษาเอกชน ประเภทสามัญศึกษา เขตภาษีเจริญ
กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต.กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย
สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
คณะกรรมการควบคุม ดร.สรายุทธ์ เศรษฐขจร
รศ.หรรษา ศิวรักษ์
รศ.เกริก วยัคฆานนท์
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาในการจัดการศึกษาตามแนว
ทางปฏิรูปการศึกษาในสถานศึกษาเอกชนประเภทสามัญศึกษา เขตภาษีเจริญ
กรุงเทพมหานคร และเพื่อเปรียบเทียบสภาพและปัญหาในการจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูป
การศึกษาในสถานศึกษาเอกชนประเภทสามัญศึกษา เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ตาม
ทัศนะของผู้บริหารและครูอาจารย์
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ใในการวิจัย ได้แก่ กลุ่มผู้บริหาร จำนวน 32 คน และกลุ่มครูอาจารย์
190 คน รวม 222 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ซึ่งแบ่งออกเป็น
3 ตอน ประกอบด้วย ตอนที่ 1 สถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม เป็นแบบเลือกตอบ
ตอนที่ 2 สภาพการดำเนินงานในการจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษา เป็นแบบ
มาตรประมาณค่า ตอนที่ 3 ปัญหาในการจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษา เป็นแบบ
มาตรประมาณค่า การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
และ t-test
ผลการวิจัยพบว่า สภาพการดำเนินงานในการจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูป
การศึกษาในสถานศึกษาเอกชน ประเภทสามัญศึกษา เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร
โดยภาพรวมมีการปฏิบัติงานอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายภารกิจ พบว่า
มีการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก 2 ภารกิจ ได้แก่ ด้านการบริหารงานทั่วไป และด้าน
การบริหารงานบุคคล และมีการปฏิบัติงานอยู่ในระดับปานกลาง 2 ภารกิจ ได้แก่
ด้านการบริหารงานงบประมาณ และด้านการบริหารงานวิชาการ สำหรับปัญหาในการจัด
การศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาในสถานศึกษาเอกชน ประเภทสามัญศึกษา
เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร พบว่า มีปัญหาอยู่ในระดับปานกลางทั้ง 4 ภารกิจ
ส่วนการเปรียบเทียบสภาพและปัญหาในการจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาใน
สถานศึกษาเอกชนประเภทสามัญศึกษา เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ตามทัศนะของ
ผู้บริหารและครูอาจารย์ พบว่า ไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05
A study of Performances and Problems of Educational Management in accordance with
Educational Reform in Private Schools in Pasijarearn District Bangkok
AN ABSTRACT
BY
Mrs.Sumalee Thongsima
Presented in partial fulfillment of the requirements
For the Master of Administration of Education
At Rajabhat Instituted Bansomdej Chao Praya
2000
Sumalee Thongsima.(2002) A study of Performances and Problems of
Educational Management in accordance with Educational Reform in Private
Schools in Pasijarearn District Bangkok.Master thesis.Bongkok : Graduate
School, Rajabhat Institute Bansomdej Chao Praya.
Advisor Committee : Dr.Sarayuth Sethakhajorn
Associate.Professor Hansa Siwaruk
Associate Professor Krerk Wayakanon
The purpose of this research was to study performances and problems of
educational management in accordance with educational reform in Private Schools in
Pasijarearn District Bangkok . The sample used for the study consisted of 32
administrators and 190 teachers.Questionnaires were the instrument for collecting data
which were, in turn, analyzed by means of percentage, mean, standard deviation and
t-test .
Findings were as follows.
1. The levels of performance in business affairs and personel affairs were at
high levels.
2. The levels of performance in academic affairs and budgetings affairs were at
Meduim level.
3. The administrations and teachers' attitudes towards the educational reform
had no statistical significance at .05 level.
ประกาศคุณูปการ
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้สำเร็จลุล่วงได้ด้วยความเรียบร้อย สมบูรณ์ทุกประการโดยได้รับ
ความกรุณาอย่างยิ่งจาก ศาสตราจารย์ ดร.สายหยุด จำปาทอง ที่กรุณารับเป็นประธาน
คณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ ดร.สรายุทธ์ เศรษฐขจร ประธานกรรมการที่ปรึกษา
วิทยานิพนธ์ รศ.หรรษา ศิวรักษ์ รศ.เกริก วยัคฆานนท์ กรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ และ
อาจารย์ทวีศักดิ์ จงประดับเกียรติ ที่กรุณาให้คำแนะนำและตรวจแก้ไขวิทยานิพนธ์ให้ถูกต้อง
และสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ผู้วิจัยขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูง
ขอขอบพระคุณ รศ.นันทา วิทวุฒิศักดิ์ ที่ได้อำนวยความสะดวกในการสอบ
วิทยานิพนธ์ ผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่านที่ได้กรุณาเป็นผู้เชี่ยวชาญในการตรวจแก้ไขและให้คำแนะนำ
ในการสร้างแบบสอบถามทำให้การวิจัยดำเนินไปได้ด้วยความเรียบร้อย
ขอขอบพระคุณนางดุษณี ทองสิมา ผู้บริหารโรงเรียนเผดิมศึกษาที่ให้การสนับสนุนด้าน
การศึกษาด้วยดีตลอดมา
ขอขอบพระคุณคณะผู้บริหาร คณะครูสถานศึกษาเอกชน ประเภทสามัญศึกษา
เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ที่ให้ความร่วมมือในการตอบแบบสอบถาม และอำนวย
ความสะดวกทุกประการในการเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างดียิ่ง
คุณค่าอันพึงมีจากวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ผู้วิจัยขอมอบเป็นเครื่องบูชาพระคุณของบิดา
(นายแสวง ทองสิมา) มารดา(นางบุญมาก ทองสิมา) และสามี(คุณเกรียงศักดิ์ วงศ์ประเสริฐสุข)
ผู้ล่วงลับไปแล้ว ครูอาจารย์ผู้มีพระคุณทุกท่านที่ให้ความช่วยเหลือสนับสนุนในการทำวิจัยจน
สำเร็จลุล่วงด้วยดีทุกประการ
สุมาลี ทองสิมา
สารบัญ
หน้า
บทคัดย่อภาษาไทย..................................................................................... ข
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ................................................................................ ง
ประกาศคุณูปการ....................................................................................... จ
สารบัญเรื่อง................................................................................................ ฉ
สารบัญตาราง............................................................................................. ฃ
บทที่ 1 บทนำ............................................................................................ 1
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา........................................... 1
วัตถุประสงค์ของการวิจัย................................................................. 3
ขอบเขตการวิจัย.............................................................................. 3
สมมุติฐานการวิจัย........................................................................... 3
กรอบแนวคิดในการวิจัย................................................................... 4
คำนิยามศัพท์เฉพาะ........................................................................ 5
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากผลการวิจัย......................................... 6
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง......................................................... 7
แนวทางปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ............................. 7
การปฏิรูปการศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน..... 11
โครงการนำร่องปฏิรูปการศึกษา ในเขตพื้นที่การศึกษาของ
กระทรวงศึกษาธิการ........................................................................ 12
ภารกิจและพันธกิจของการปฏิรูปการศึกษา...................................... 15
การบริหารงานทั่วไป............................................................ 17
การบริหารงานบุคคล........................................................... 19
การบริหารงานงบประมาณ................................................... 21
การบริหารงานวิชาการ........................................................ 22
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง.......................................................................... 26
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย........................................................................... 33
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง............................................................... 33
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย................................................................... 34
การเก็บรวบรวมข้อมูล...................................................................... 36
การวิเคราะห์ข้อมูล........................................................................... 36
สารบัญ (ต่อ)
หน้า
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล...................................................................... 37
ตอนที่ 1 ข้อมูลเกี่ยวกับสถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม....... 37
ตอนที่ 2 สภาพการดำเนินงานในการจัดการศึษาตามแนวทาง
ปฏิรูปการศึกษา................................................................. 39
ตอนที่ 3 การเปรียบเทียบสภาพการดำเนินงานในการจัดการศึกษา
ตามแนวทางปฏิรูปการศึกษา............................................. 44
ตอนที่ 4 ปัญหาการจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษา......... 45
ตอนที่ 5 การปรียบเทียบปัญหาการจัดการศึกษาตามแนวทาง
ปฏิรูปการศึกษา............................................................... 50
บทที่ 5 สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ................................. 51
สรุปผลการวิจัย.............................................................................. 52
อภิปรายผลการวิจัย....................................................................... 56
ข้อเสนอแนะ.................................................................................. 59
บรรณานุกรม............................................................................................ 62
ภาคผนวก................................................................................................ 66
ภาคผนวก ก............................................................................................ 67
ภาคผนวก ข............................................................................................ 77
ภาคผนวก ค........................................................................................... 85
ประวัติผู้วิจัย............................................................................................ 102
สารบัญตาราง
หน้า
ตารางที่ 1 จำนวนประชากรและกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามโรงเรียน...................... 33
ตารางที่ 2 จำนวนและร้อยละของสถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม......... 37
ตารางที่ 3 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของสภาพการดำเนินงาน
ในการจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาในสถานศึกษา
เอกชน ประเภทสามัญศึกษา เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร........... 39
ตารางที่ 4 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของสภาพการดำเนินงาน
ในการจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาในสถานศึกษา
เอกชน ประเภทสามัญศึกษา เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร.
ตามภารกิจการบริหารงานทั่วไป...................................................... 40
ตารางที่ 5 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของสภาพการดำเนินงาน
ในการจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาในสถานศึกษา
เอกชน ประเภทสามัญศึกษา เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร.
ตามภารกิจการบริหารงานบุคคล...................................................... 41
ตารางที่ 6 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของสภาพการดำเนินงาน
ในการจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาในสถานศึกษา
เอกชน ประเภทสามัญศึกษา เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร.
ตามภารกิจการบริหารงานวิชาการ................................................... 42
ตารางที่ 7 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของสภาพการดำเนินงาน
ในการจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาในสถานศึกษา
เอกชน ประเภทสามัญศึกษา เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร.
ตามภารกิจการบริหารงานงบประมาณ............................................ 43
ตารางที่ 8 การเปรียบเทียบสภาพการดำเนินงานในการจัดการศึกษาตาม
แนวทางปฏิรูปการศึกษาในสถานศึกษาเอกชน ประเภทสามัญศึกษา
เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานครของภารกิจ 4 ด้าน ตามทัศนะ
ผู้บริหารและครูอาจารย์................................................................... 44
ตารางที่ 9 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของปัญหาการดำเนินงาน
ในการจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาในสถานศึกษา
เอกชน ประเภทสามัญศึกษา เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร.......... 45
สารบัญตาราง (ต่อ)
หน้า
ตารางที่ 10 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของปัญหาการดำเนินงาน
ในการจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาในสถานศึกษา
เอกชน ประเภทสามัญศึกษา เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร
ตามภารกิจการบริหารงานทั่วไป.................................................... 46
ตารางที่ 11 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของปัญหาการดำเนินงาน
ในการจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาในสถานศึกษา
เอกชน ประเภทสามัญศึกษา เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร.
ตามภารกิจการบริหารงานวิชาการ.................................................. 47
ตารางที่ 12 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของปัญหาการดำเนินงาน
ในการจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาในสถานศึกษา
เอกชน ประเภทสามัญศึกษา เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร.
ตามภารกิจการบริหารงานบุคคล..................................................... 48
ตารางที่ 13 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของปัญหาการดำเนินงาน
ในการจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาในสถานศึกษา
เอกชน ประเภทสามัญศึกษา เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร.
ตามภารกิจการบริหารงานงบประมาณ............................................ 49
ตารางที่ 14 การเปรียบเทียบสภาพการดำเนินงานในการจัดการศึกษาตาม
แนวทางปฏิรูปการศึกษาในสถานศึกษาเอกชน ประเภทสามัญศึกษา
เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานครของภารกิจ 4 ด้าน ตามทัศนะ
ผู้บริหารและครูอาจารย์................................................................... 50
บทที่ 1
บทนำ
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
สืบเนื่องจากภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจในปี 2538-2541 ซึ่งทำให้เศรษฐกิจไทยตกต่ำ เกิดภาวะ
สินค้าราคาแพง ธุรกิจล้มละลาย กำลังการผลิตลดลง แรงงานถูกเลิกจ้าง รวมทั้งมีการตัดลด
งบประมาณลง สภาวะดังกล่าวส่งผลกระทบในด้านลบต่อการศึกษาทั้งในด้านการตัดทอนงบประมาณ
ด้านการศึกษา ผู้ปกครองนักเรียนตกงานและยากจนลงทำให้เกิดความยากลำบากในการส่งบุตรหลาน
ศึกษาต่อ ส่งผลให้จำนวนนักเรียนลดลง ปัญหาการออกกลางคันและการไม่ได้ศึกษาต่อก็ทวีความรุนแรง
ขึ้น (วิทยากร เชียงกูล 2542 : 11-12) ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมยุคโลกาภิวัฒน์ที่มี
ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ
การเมือง และวัฒนธรรม ดังนั้นการเตรียมคุณภาพของประชากรให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก
จึงเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่ง การศึกษาจึงเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการพัฒนาคุณภาพประชากรของประเทศ
ที่ผ่านมาระบบการศึกษาของประเทศไทยยังไม่อาจรองรับต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกและ
ปัญหาที่เกิดขึ้นจากภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจได้อีกต่อไป หากไม่มีการปรับปรุงระบบการศึกษาให้
ก้าวทันกับนานาประเทศ การปรับปรุงระบบการศึกษาแบบค่อยเป็นค่อยไปไม่อาจทันต่อ
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ จึงจำเป็นต้องปรับปรุงทั้งระบบ นั่นคือ การปฏิรูปการศึกษา (สำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2540 : 6)
กระทรวงศึกษาธิการในฐานะหน่วยงานหลักที่จะดำเนินการปฏิรูปการศึกษา ได้เริ่มดำเนินการ
เพื่อการปฏิรูปการศึกษา ตั้งแต่ปีการศึกษา 2539 เป็นต้นมา โดยได้กำหนดขอบข่ายของการปฏิรูป
การศึกษา เพื่อปรับปรุงการดำเนินงานทางการศึกษา และเพื่อแก้ไขปัญหาและอุปสรรคที่มีอยู่เดิมให้
เบาบางลงหรือหมดไป รวมทั้งเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้บรรลุจุดมุ่งหมายตามที่ต้องการ และ
ยกระดับคุณภาพมาตรฐานการศึกษาให้สูงขึ้น มีศักยภาพในการพัฒนาตนเองให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี และ
สามารถอยู่ในสังคมโลกอย่างเป็นสุข โดยกระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดแนวทางการปฏิรูปการศึกษา
ไว้ 4 ด้าน คือ การปฏิรูปโรงเรียนและสถานศึกษา การปฏิรูปครูและบุคลากรทางการศึกษา
การปฏิรูปหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอน การปฏิรูประบบบริหารการศึกษา เพื่อให้สอดคล้อง
ตามเจตนารมณ์ และเพื่อรองรับการดำเนินงานตามแนวทางที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษา
แห่งชาติ พ.ศ. 2542 สำหรับการปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
มีหลักการสำคัญในการปฏิรูปการศึกษา คือ การกระจายอำนาจ การมีส่วนร่วม และความรับผิดชอบใน
การตรวจสอบได้ โดยกำหนดให้การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานและอุดมศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
ต้องดำเนินการโดยยึดเขตพื้นที่การศึกษา (มาตรา 37) และให้กระทรวงกระจายอำนาจการบริหาร
จัดการศึกษาทั้งด้านวิชาการ งบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารงานทั่วไปไปยัง
คณะกรรมการและสำนักงานการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาในเขต
2
พื้นที่การศึกษาโดยตรง (มาตรา 39) เพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติและเพื่อเตรียมเยาวชนของชาติให้มี
ความรู้ความสามารถได้มาตรฐาน เหมาะสมกับความต้องการของสังคมในยุคโลกาภิวัตน์ (ศูนย์ปฏิบัติ
การปฏิรูปการศึกษา 2542 : http:/www.moe.go.th/main2/edu-reform.html)
ขณะนี้โรงเรียนสังกัดรัฐบาลและเอกชนต่างก็อยู่ระหว่างการดำเนินการปฏิรูปการศึกษา เพื่อมุ่ง
ไปสู่ความเป็นเลิศหรือคุณภาพของโรงเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงเรียนเอกชนที่ต้องให้ความสำคัญกับ
ภารกิจดังกล่าว เพื่อให้โรงเรียนมีมาตรฐานเท่าเทียมกับโรงเรียนของรัฐบาลและเป็นที่ยอมรับของสังคม
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน เป็นหน่วยงานหนึ่งของรัฐในกระทรวงศึกษาที่ดูแลการจัดการ
ศึกษาเอกชนในะดับตํ่ากว่าปริญญาตรี มีโรงเรียนเรียนเอกชนในกำกับดูแล 7,212 โรงเรยี น มคี รู
115,484 คน และมีนักเรียน 2,926,313 คน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชนได้ดำเนิน
การปฏิรูปการศึกษา 5 ด้าน คือ (ศูนย์ปฏิบัติการปฏิรูปการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ 2544 : 38 -41)
1) การปฏิรูปกฎหมายและระเบียบให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ. 2542 เช่น การจัด
ทำร่างพระราชบัญญัติการศึกษาเอกชน 2) การปฏิรูปการเรียนรู้ โดยปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาขั้น
พื้นฐาน พัฒนาการเรียนรู้ของโรงเรียนเอกชนโดยใช้การบริหารฐานโรงเรียน พัฒนาครู ผู้บริหารโรงเรียน
ในด้านเทคโนโลยี ภาษาอังกฤษ การจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา กระบวนการเรียนการสอน
ระดับประถมศึกษา การวัดผลและประเมินผลการเรียน 3)การประกันคุณภาพและรับรองมาตรฐาน
คุณภาพการศึกษา เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมให้โรงเรียนเอกชนสามารถพัฒนาตนเองได้อย่างเต็มศักยภาพ
และยกระดับมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนเอกชนสู่ระดับสากล โดยดำเนินโครงการประกันคุณภาพ
และรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษา 4) การอุดหนุนและสนับสนุนการศึกษาเอกชน โดยส่งเสริมและ
พัฒนาการศึกษาในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ให้การอุดหนุนในรูปเงินรายหัว จัดตั้งกองทุนเพื่อส่งเสริมการจัด
การศึกษา เป็นต้น 5) การปฏิรูประบบบริหารและการจัดการศึกษาเอกชน โดยปฏิรูปโครงสร้าง
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 โดยจัดทำฐานข้อมูลของข้าราชการและเตรียม
ความพร้อมให้บุคลากรเข้าสู่โครงสร้าง จัดทำแผนยุทธศาสตร์ปฏิรูปการศึกษาส่งเสริมการศึกษาเอกชน
และแผนพัฒนาการศึกษาเอกชนระยะที่ 9 และนำร่องการบริหารสถานศึกษาเอกชนแบบนิติบุคคล
จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นว่าสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชนได้มีนโยบายและ
แนวปฏิบัติในการปฏิรูปการศึกษาอย่างชัดเจน จึงเป็นที่น่าสนใจว่าโรงเรียนเอกชนภายใต้การกำกับดูแล
ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน ได้มีการดำเนินการปฏิรูปการศึกษาหรือไม่ ถ้าดำเนินการ
อยู่ในระดับใด การดำเนินงานสอดคล้องกับปรัชญาและแนวทางการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษา
ธิการหรือไม่ หากมีการติดตามและประเมินผลการปฏิรูปการศึกษาที่เป็นรูปธรรมจะช่วยให้ได้ข้อมูลที่
เป็นเครื่องบ่งชี้สภาพการดำเนินการปฏิรูปการศึกษา รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานปฏิรูป
การศึกษาที่เกิดขึ้น เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปรับปรุงการจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาให้บรรลุ
เป้าหมายที่ตั้งไว้ ดังนั้นผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาสภาพและปัญหาในการจัดการศึกษาตาม
แนวทางการปฏิรูปการศึกษาในสถานศึกษาเอกชน ประเภทสามัญศึกษา เขตภาษีเจริญ
กรุงเทพมหานคร โดยจะทำการศึกษาในขอบข่ายตามภารกิจในการปฏิรูปการศึกษา 4 ด้าน คือ
ภารกิจด้านการบริหารงานทั่วไป ภารกิจด้านการบริหารงานบุคคล ภารกิจการบริหารงานงบประมาณ
3
และภารกิจด้านการบริหารงานวิชาการ ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนดแห่งพระราชบัญญัติ
การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 39 ที่กำหนดให้กระทรวงกระจายอำนาจการบริหารจัดการศึกษา
ทั้งด้านวิชาการ งบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารงานทั่วไป ไปยังคณะกรรมการและ
สำนักงานการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
โดยตรง (สำนักงานโครงการนำร่องปฏิรูปการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ 2544 : 1-2) ผลจาก
การศึกษาในครั้งนี้จะทำให้ได้สารสนเทศเกี่ยวกับสภาพและปัญหาในการจัดการศึกษาของโรงเรียน
เอกชนตามแนวทางปฏิรูปการศึกษา ซึ่งบุคลากรและหน่วยงานต่าง ๆ ที่ต้องดำเนินการปฏิรูปการศึกษา
สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงและวางแผนพัฒนาการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับ
แนวทางการปฏิรูปการศึกษาตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ อันจะนำมาซึ่งคุณภาพและ
มาตรฐานการศึกษาที่พึงประสงค์
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาในการจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาในสถานศึกษา
เอกชน ประเภทสามัญศึกษา เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร
2. เพื่อเปรียบเทียบสภาพและปัญหาในการจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาใน
สถานศึกษาเอกชน ประเภทสามัญศึกษา เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ตามทัศนะของผู้บริหารและ
ครู
ขอบเขตของการวิจัย
1. ประชากร ได้แก่ กลุ่มผู้บริหารและกลุ่มครูอาจารย์ในสถานศึกษาเอกชน ประเภท
สามัญศึกษา เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีทั้งหมด 16 โรงเรียน จำนวน 569 คน ประกอบ
ด้วยผู้บริหาร 82 คน และครู 487 คน
2. กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 32 คน และครู จำนวน 190 คน รวมทั้งสิ้น
222 คน
3. ศึกษาสภาพและปัญหาในการจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาในสถานศึกษา
เอกชน ซึ่งประกอบด้วยภารกิจและพันธกิจการปฏิรูปการศึกษาในการนำร่องปฏิรูปการศึกษาในเขต
พื้นที่การศึกษา 4 ด้าน ได้แก่ ภารกิจด้านการบริหารงานทั่วไป จำนวน 8 พันธกิจ ภารกิจด้าน
การบริหารงานบุคคล จำนวน 5 พันธกิจ ภารกิจการบริหารงานงบประมาณ จำนวน 6 พันธกิจ และ
ภารกิจด้านการบริหารงานวิชาการ จำนวน 6 พันธกิจ (สำนักงานโครงการนำร่องปฏิรูปการศึกษา
2544 : 52-53)
สมมุติฐานการวิจัย
ระดับสภาพและปํญหาในการจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาในสถานศึกษาเอกชน
ประเภทสามัญศึกษา เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ของภารกิจ 4 ด้าน ตามทัศนะของผู้บริหารและ
อาจารย์มีความแตกต่างกัน
4
กรอบแนวคิดในการวิจัย
ภารกิจและพันธกิจของการปฏิรูปการศึกษา 4 ด้าน 25
พันธกิจ
1. ภารกิจด้านการบริหารงานทั่วไป จำนวน 8 พันธกิจ ได้แก่
1.1 การบริหารและจัดการศึกษาแบบกระจายอำนาจ
1.2 การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ
1.3 การจัดระบบสารสนเทศในการจัดการเรียนการสอน
1.4 การส่งเสริมและการบริการการศึกษา
1.5 การส่งเสริมศาสนา ศิลปวัฒนธรรม
1.6 การดำเนินงานกิจการพิเศษ
1.7 การจัดระบบประกันคุณภาพ
1.8 การนิเทศ ติดตามและประเมินผล
2. ภารกิจด้านการบริหารงานบุคคล จำนวน 5 พันธกิจ ได้แก่
2.1 การบริหารงานบุคคล
2.2 การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา
2.3 การประเมินผลการปฏิบัติงานของครูและ
บุคลากรทางการศึกษา
2.4 การสร้างวินัยและจรรยาบรรณ
2.5 การพัฒนาวิชาชีพ
3. ภารกิจด้านการบริหารงานงบประมาณ จำนวน 6 พันธกิจ ได้แก่
3.1 การจัดตั้งงบประมาณ
3.2 การจัดสรรงบประมาณ
3.3 การบริหารการเงินและบัญชี
3.4 การจัดซื้อ จัดจ้างและการพัสดุ
3.5 การตรวจสอบ ติดตาม ประเมินประสิทธิภาพการใช้จ่าย
งบประมาณ
3.6 การระดมทรัพยากรและการลงทุนทางการศึกษา
4. ภารกิจด้านการบริหารงานวิชาการ จำนวน 6 พันธกิจ ได้แก่
4.1 การสร้างโอกาสในการเข้ารับการศึกษา 4.2 การพัฒนาหลักสูตร
ระดับสถานศึกษา 4.3 การเทียบโอนผลการเรียน
. 4.4 การจัดเครื่อข่ายและแหล่งเรียนรู้
4.5 การพัฒนาสื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษา
4.6 การปฏิรูปการเรียนรู้ในชุมชน
สภาพและปัญหาในการจัด
การศึกษาตามแนวทางปฏิรูป
การศึกษา ตามภารกิจ 4 ด้าน
ได้แก่
1. การบริหารงานทั่วไป
2. การบริหารงานบุคคล
3. การบริหารงานงบประมาณ
4. การบริหารงานวิชาการ
แนวคิดของโครงการนำร่องปฏิรูปการศึกษาในเขตพ้นื ที่การ
ศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (มาตรา
39)
ให้กระทรวงกระจายอำนาจการบริหารและจัดการศึกษาทั้งด้านวิชาการ
งบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารงานทั่วไปไปยัง
คณะกรรมการและสำนักงานการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมเขตพื้นที่
การศึกษาและสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาโดยตรง
5
นิยามศัพท์เฉพาะ
สภาพการจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษา หมายถึง ระดับการปฏิบัติงานใน
ด้านการบริหารงานทั่วไป ด้านการบริหารงานงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคล และด้านการ
บริหารงานวิชาการ ของโรงเรียนสถานศึกษาเอกชน ประเภทสามัญศึกษา เขตภาษีเจริญ
กรุงเทพมหานคร
ปัญหาในการจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษา หมายถึง สิ่งที่เป็นอุปสรรค และ
ข้อขัดข้องต่าง ๆ ที่เป็นสาเหตุให้การปฏิบัติงานในด้านการบริหารงานทั่วไป ด้านการบริหารงาน
งบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคล และด้านการบริหารงานวิชาการ ของโรงเรียนสถานศึกษาเอกชน
ประเภทสามัญศึกษา เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานครไม่บรรลุผล
ภารกิจ หมายถึง กรอบของการดำเนินงานจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษา 4 ด้าน
ได้แก่ ด้านการบริหารงานทั่วไป การบริหารงานบุคคล การบริหารงานงบประมาณ และการบริหารงาน
วิชาการ
พันธกิจ หมายถึง แนวทางการดำเนินงานตามภารกิจทั้ง 4 ด้าน ประกอบด้วย 25 พันธกิจ
ได้แก่ ด้านการบริหารงานทั่วไป 8 พันธกิจ การบริหารงานบุคคล 5 พันธกิจ การบริหารงานงบประมาณ
6 พันธกิจ และการบริหารงานวิชาการ 6 พันธกิจ
การบริหารงานทั่วไป หมายถึง การที่โรงเรียนได้ดำเนินการบริหารจัดการแนวใหม่ มีการใช้
ระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการพัฒนานโยบายและแผนงาน ดำเนินกิจการพิเศษ
มีระบบส่งเสริมและจัดการศึกษา มีการส่งเสริมศาสนา ศิลปวัฒนธรรม มีระบบประกันคุณภาพการศึกษา
และมีการนิเทศ ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน
การบริหารงานบุคคล หมายถึง การที่โรงเรียนได้ดำเนินการวางแผนกำลังคน พัฒนาครูและ
บุคลากรทางการศึกษา ประเมินผลการปฏิบัติงานของครูและบุคลากรทางการศึกษา เสริมสร้างวินัย
และจรรยาบรรณของครูและบุคลากรทางการศึกษา พัฒนาวิชาชีพครูและจัดสวัสดิการ
การบริหารงานงบประมาณ หมายถึง การที่โรงเรียนได้ดำเนินการจัดตั้งงบประมาณ จัดสรร
งบประมาณ บริหารการเงินและบัญชี จัดซื้อ จัดจ้าง และการพัสดุ รวมทั้งตรวจสอบติดตาม และ
ประเมินประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณของโรงเรียน
การบริหารงานวิชาการ หมายถึง การที่โรงเรียนได้ดำเนินการสร้างโอกาสในการเข้ารับ
การศึกษา มีการพัฒนาหลักสูตร มีการเทียบระดับการศึกษาและโอนผลการเรียน มีการพัฒนาสื่อและ
เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา มีการจัดเครื่อข่ายและแหล่งการเรียนรู้ และปฏิรูปการเรียนรู้ของชุมชน
กลุ่มผู้บริหาร หมายถึง ผู้รับใบอนุญาต ผู้จัดการโรงเรียน อาจารย์ใหญ่ ครูใหญ่
ผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่ ผู้ช่วยครูใหญ่ หัวหน้าหมวดที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษาเอกชน ประเภทสามัญศึกษา
เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร
กลุ่มครูอาจารย์ หมายถึง ครูอาจารย์ที่ปฏิบัติหน้าที่สอนในสถานศึกษาเอกชน ประเภท
สามัญศึกษา เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร
6
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากผลการวิจัย
1. ได้ทราบสภาพและปัญหาการจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาในสถานศึกษา
เอกชน ประเภทสามัญศึกษา เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ตามภารกิจ 4 ด้าน
2. ได้ทราบความแตกต่างของสภาพและปัญหาในการจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษา
ในสถานศึกษาเอกชน ประเภทสามัญศึกษา เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ระหว่างผู้บริหารและ
อาจารย์
3.ได้ข้อมูลสารสนเทศเพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงแผนการดำเนินงานจัดการศึกษาตามแนวทาง
ปฏิรูปการศึกษาต่อไป
บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ในการนำเสนอเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผู้วิจัยขอนำเสนอดังนี้
1. แนวทางปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ
2. การปฏิรูปการศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน
3. โครงการนำร่องการปฏิรูปการศึกษา ในเขตพื้นที่การศึกษาของ
กระทรวงศึกษาธิการ
4. ภารกิจและพันธกิจของการปฏิรูปการศึกษา
4.1 การบริหารงานทั่วไป
4.2 การบริหารงานบุคคล
4.3 การบริหารงานงบประมาณ
4.4 การบริหารงานวิชาการ
5. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
1. แนวทางการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ
1.1 ความเป็นมาของการปฏิรูปการศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการ ได้เริ่มดำเนินการเพื่อการปฏิรูปการศึกษา ตั้งแต่ ปีการ
ศึกษา 2539 เป็นต้นมา โดยได้กำหนดขอบข่ายของการปฏิรูปการศึกษา เพื่อปรับปรุง การ
ดำเนินงานทางการศึกษาและเพื่อแก้ไขปัญหาและอุปสรรคที่มีอยู่เดิมให้เบาบางลงหรือ หมด
ไปรวมทั้งเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้บรรลุจุดมุ่งหมายตามที่ต้องการ และยกระดับ คุณ
ภาพมาตรฐานการศึกษาให้สูงขึ้น มีศักยภาพ ในการพัฒนาตนเองให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี และพัฒนา
ประเทศชาติ อยู่ในสังคมโลกอย่างเป็นสุข โดยกำหนดแนวทางการปฏิรูปการศึกษาใน 4 ด้าน คือ 1)
การปฏิรูปโรงเรียนและสถานศึกษา 2) การปฏิรูปครูและบุคลากรทางการศึกษา 3) การปฏิรูป
หลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอน 4) การปฏิรูประบบบริหารการศึกษา
จากการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้
ระบุให้มีการจัดทำกฏหมายเกี่ยวกับการศึกษาขึ้น และกระทรวงศึกษาธิการได้เสนอร่าง พระ
ราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ที่มีการกำหนดหมวดว่าด้วยการปฏิรูปการศึกษาไว้ ประกอบกับคุณ
ภาพการศึกษาของคน ซึ่งถือว่า เป็นผลผลิตของระบบการศึกษายังไม่ตรงกับ ความคาดหวัง
ทำให้คนไทยไม่สามารถก้าวเข้าสู่การแข่งขันในระดับโลกได้กระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะ
หน่วยงานหลักที่จะดำเนินการปฏิรูปการศึกษา จึงได้ดำเนินการเพื่อการปฏิรูป การศึกษา โดย
8
ได้กำหนดขอบข่ายของการปฏิรูปการศึกษา ให้สอดคล้องตามเจตนารมณ์และเพื่อรองรับการ
ดำเนินงานตามแนวทางกำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ให้เกิดผลในทาง
ปฏิบัติและเพื่อเตรียมเยาวชนของชาติให้มีความรู้ความสามารถ ได้มาตรฐาน เหมาะสมกับความ
ต้องการของสังคมในยุคโลกาภิวัตน์ (ศูนย์ปฏิบัติการปฏิรูปการศึกษา 2542 :
http:/www.moe.go.th/main2/edu-reform.html)
1.2 แนวคิดพื้นฐานในการดำเนินงานปฏิรูปการศึกษา
การดำเนินการตามแนวคิดและแนวทางกับภารกิจดังกล่าว ได้กำหนด
เป้าหมายหลักของการปฏิรูปการศึกษา คือ " การเรียนการสอนมีคุณภาพและมาตรฐานในระดับ
สากล ภายในปี พ.ศ. 2550 การปฏิรูปการศึกษาให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษา แห่ง
ชาติ และสถานการณ์ในอนาคต จะต้องเน้นการพัฒนา " คุณภาพการศึกษา " โดยเฉพาะ คุณ
ภาพของผู้เรียนเป็นสำคัญ การพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน จะเกิดขึ้นได้จะต้องเน้น การ
ปฏิรูปกระบวนการเรียนการสอนที่แท้จริงของครูแต่ละคน วิธีการเรียนของผู้เรียนและ การ
บริหารจัดการสภาพแวดล้อมในโรงเรียนเป็นหลักการปฏิรูปการศึกษา (โดยเฉพาะในระดับโรง
เรียนหรือสถานศึกษา) จะครบถ้วนสมบูรณ์ ต้องปฎิรูปทั้ง 3 มิติ คือ องค์ประกอบหลัก ยุทธ
ศาสตร์ การดำเนินงานและปัจจัยสร้างเสริมการเรียน องค์ประกอบหลักของการปฏิรูป การ
ศึกษา ได้แก่ การปฎิรูปหลักสูตร การปฏิรูปกระบวน การเรียนการสอน การปฏิรูปครูและบุคลากร
ทางการศึกษา และการปฎิรูปการบริหารและการจัดการศึกษา การดำเนินการปฏิรูปการศึกษาจะเน้น
ยุทธศาสตร์หลัก 5 ประการคือ กระจายอำนาจให้สถานศึกษาและหน่วยปฏิบัติมีอิสระและความ
คล่องตัวในการบริหารงานที่รับผิดชอบ ใช้แผนยุทธศาสตร์เป็นเครื่องมือใน การดำเนินงาน
ปฏิรูปการศึกษาทุกระดับ เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วมในการจัด การศึกษา ให้
มีระบบประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ เน้นผู้เรียน
เป็นศูนย์กลางเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มศักยภาพ สำหรับปัจจัยสร้าง
เสริมการเรียนที่สำคัญ ซึ่งจะทำให้การปฏิรูปการศึกษาเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ได้แก่ ภาวะผู้นำทางการ
เรียนการสอน มีความคาดหวังในผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง มีจุดเน้นของการสอนของครูที่ชัดเจน
บรรยากาศสิ่งแวดล้อมเกื้อกูลต่อการเรียนของเด็ก มีการติดตามความก้าวหน้าอย่างสม่ำเสมอ
ประชาชน(ภูมิปัญญาท้องถิ่น)มีส่วนร่วม มีเวลาที่ใช้ในการเรียนอย่างสม่ำเสมอ ( ศูนย์ปฏิบัติการ
ปฏิรูปการศึกษา 2542 : http:/www.moe.go.th/main2/ edu-reform.html)
1.3 ความจำเป็นที่ต้องปฏิรูปการศึกษา
9
การปฏิรูปการศึกษาของประเทศไทยในปัจจุบันนี้เกิดจากปัจจัยต่างๆที่เป็น พื้น
ฐานที่ส่งผลกระทบจนทำให้เกิดการปฏิรูปการศึกษาขึ้น ด้วยเหตุผลสำคัญ คือ ( ศูนย์ปฏิบัติการ
ปฏิรูปการศึกษา 2542 : http:/www.moe.go.th/main2/edu-reform.html)
1.3.1 การปฏิรูปการศึกษาเป็นทางเลือกสำคัญที่จะนำพาประเทศไทยให้ผ่านพ้น
วิกฤตปัญหาด้านต่างๆในสภาวะปัจจุบันไปสู่การพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน
1.3.2 ความอ่อนด้อยของระบบการศึกษา และคุณภาพการศึกษาไทย โดย
เฉพาะผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาทุกระดับยังไม่น่าพอใจ ศักยภาพความสามารถใน การแข่ง
ขันกับสังคม ประชาโลกอยู่ในอันดับท้ายๆ แม้แต่ในภูมิภาคเอเชียด้วยกัน จึงเป็นเหตุหนึ่งที่จำเป็น
จะต้องได้รับการปรับเปลี่ยนระบบการศึกษาให้มีความเข้มแข็งมีประสิทธิภาพสูงสุด
1.3.3 แรงผลักดันจากปัจจัยภายในและภายนอก ได้แก่ แรงผลักดันทาง การ
เมืองเศรษฐกิจ สังคม วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ทั้งภายในและภายนอกประเทศรวมทั้งการ
ปฏิรูปการศึกษาในต่างประเทศทั่วโลก ส่งผลให้ประเทศไทยต้องปฏิรูปการศึกษาเพื่อเตรียมความ
พร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง
1.3.4 บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 (มาตรา
81) และบทบัญญัติในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 กำหนดให้มี การปฏิรูป
การศึกษา เพื่อให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษามากขึ้น
1.4 สิ่งที่ได้รับจากการปฏิรูปการศึกษา
1.4.1 คนไทยมีศักยภาพสูงขึ้น โดยเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ
สติปัญญา ความรู้ คุณธรรมและจริยธรรม วัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้
อย่างมีความสุข
1.4.2 การจัดการศึกษาไทย เป็นการจัดการศึกษาตลอดชีวิตทุกคนมีส่วนร่วม
ในการจัดการศึกษา ตลอดจนมีการพัฒนาการเรียนรู้ตลอดชีวิต
1.4.3 การจัดการศึกษามีเอกภาพในนโยบาย ความหลากหลายในทางปฏิบัติ การ
กระจายอำนาจ และมาตรฐานสูงขึ้น
1.4.4 ครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา เป็นบุคลากรและครูมืออาชีพ
1.4.5 มีการระดมสรรพกำลังเพื่อการจัดการศึกษา
1.4.6 บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
และสถาบันต่างๆ มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษามากขึ้น
1.4.7 การจัดการศึกษามีความหลากหลาย มีการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม
ท า ง ก า ร ศึกษาได้อย่ า ง เ ห ม า ะ ส ม ( ศู น ย์ ป ฏิ บั ติ ก า ร ป ฏิ รู ป ก า ร ศึ ก ษ า 2 5 42 :
http:/www.moe.go.th/main2/edu-reform.html)
10
1.5 กระบวนการปฏิรูปการศึกษา
กระบวนการปฏิรูปการศึกษา มีดังนี้ ( ศูนย์ปฏิบัติการปฏิรูปการศึกษา 2542 :
http:/www.moe.go.th/main2/edu-reform.html)
1.5.1 ปฏิรูปแนวคิดในการจัดการศึกษา (ความมุ่งหมายและหลักการ (มาตรา
6-มาตรา9)
1.5.2 ปฏิรูปสิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา (มาตรา10-มาตรา14)
1.5.3 ปฏิรูประบบการศึกษา (มาตรา15-มาตรา21)
1.5.4 ปฏิรูปแนวทางการจัดการศึกษา (มาตรา22- มาตรา30)
1.5.5 ปฏิรูปการบริหารและการจัดการศึกษา (มาตรา31-มาตรา46)
1.5.6 ปฏิรูปมาตรฐานการจัดการศึกษา (มาตรา47 - มาตรา51)
1.5.7 ปฏิรูปครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา (มาตรา52-มาตรา57)
1.5.8 ปฏิรูปทรัพยากรและการลงทุนทางการศึกษา (มาตรา58-มาตรา62)
1.5.9 ปฏิรูปเทคโนโลยีทางการศึกษา (มาตรา63-มาตรา69)
1.6 ยุทธศาสตร์ที่นำไปสู่ความสำเร็จ
1.6.1 รัฐต้องให้ความสำคัญและสนับสนุนการปฏิรูปการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
1.6.2 ประชาชนและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย มีความตระหนักถึงความสำคัญและให้
ความร่วมมือในการจัดการศึกษาอย่างจริงจัง
1.6.3 ครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา มีความมุ่งมั่นมีความรู้ ความ
เข้าใจ และมีความพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนเพื่อการปฏิรูปการศึกษา
1.6.4 มีการระดมสรรพกำลังวิทยาการ และนวัตกรรมใหม่ๆ ในการปฏิรูป
การศึกษาอย่างเหมาะสม (ศูนย์ปฏิบัติการปฏิรูปการศึกษา 2542 : http:/www.moe.go.th/main2/edureform.
html)
1.7 ผลลัพธ์ของการปฏิรูปการศึกษาต่อระบบการศึกษาและสังคมไทย
1.7.1 การจัดการศึกษาตามหลักการใหม่ เป็นการจัดการศึกษาตลอดชีวิตให้
คนไทยทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี มุ่งเน้นปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งใน
ระบบ และนอกระบบโรงเรียน รวมทั้งการศึกษาตามอัธยาศัย ส่งผลให้ผู้เรียนมีโอกาสเลือกศึกษา
ในระบบโรงเรียนหรือระบบอื่นๆ ที่ตอบสนองความสามารถและความถนัดของตนเอง ให้รู้จักคิด
เป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็นและเรียนอย่างมีความสุข
11
1.7.2 การจัดระบบบริหารการศึกษาตามแนวใหม่ ที่มีความเป็นเอกภาพ กระจาย
อำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาจากส่วนกลางไปยังหน่วยงานปฏิบัติในเขตพื้นที่ การ
ศึกษา ได้แก่ คณะกรรมการฯ และสำนักงานการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมเขตพื้นที่ การศึกษา
และสถานศึกษา โดยมีประชาชน ชุมชนองค์กรต่างๆในท้องถิ่นมีส่วนร่วมใน การจัดการ
ศึกษามากขึ้นอันจะส่งผลให้ทุกคนในท้องถิ่นรู้สึกรับผิดชอบในภารกิจที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง
และส่วนรวม
1.7.3 การจัดสรรงบประมาณตามวิธีการใหม่ รัฐจะจัดสรรเงินอุดหนุนทั่วไป
เป็นค่าใช้จ่ายรายบุคคลเท่าเทียมกันระหว่าง รัฐและเอกชนเป็นการมุ่งเน้นให้ได้รับ ความ
เสมอภาค สร้างความเป็นธรรมขึ้นในสังคม เป็นการกระจายความเสมอภาคและโอกาสที่
ทุกคนจะได้รับการศึกษาเท่าเทียมกันทำให้ไม่เกิดความเหลื่อมล้ำระหว่างผู้อยู่ในเมืองและชนบทผู้มี
ฐานะทางเศรษฐกิจดีและผู้มีฐานะด้อยกว่า (ศูนย์ปฏิบัติการปฏิรูปการศึกษา 2542 :
http:/www.moe.go.th/main2/edu-reform.html)
2. การปฏิรูปการศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชนได้ดำเนินการปฏิรูปการศึกษา 5 ด้าน ดัง
นี้ (ศูนย์ปฏิบัติการปฏิรูปการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ 2544 : 38 -41)
2.1 การปฏิรูปกฎหมายและระเบียบให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษา
พ.ศ. 2542 เช่น การจัดทำร่างพระราชบัญญัติการศึกษาเอกชน
2.2 การปฏิรปู การเรยี นร ู้ โดยปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พัฒนาการ
เรียนรู้ของโรงเรียนเอกชนโดยใช้การบริหารฐานโรงเรียน พัฒนาครู ผู้บริหารโรงเรียนในด้าน
เทคโนโลยี ภาษาอังกฤษ การจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา กระบวนการเรียนการสอนระดับ
ประถมศึกษา การวัดผลและประเมินผลการเรียน
2.3 การประกันคุณภาพและรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษา เพื่อกระตุ้นและส่ง
เสริมให้โรงเรียนเอกชนสามารถพัฒนาตนเองได้อย่างเต็มศักยภาพ และยกระดับ มาตรฐาน
การศึกษาของโรงเรียนเอกชนสู่ระดับสากล โดยดำเนินโครงการประกันคุณภาพและรับรองมาตร
ฐานคุณภาพการศึกษา
2.4 การอุดหนุนและสนับสนุนการศึกษาเอกชน โดยส่งเสริมและพัฒนาการศึกษา
ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ให้การอุดหนุนในรูปเงินรายหัว จัดตั้งกองทุนเพื่อส่งเสริมการจัดการศึกษา
เป็นต้น
2.5 การปฏิรูประบบบริหารและการจัดการศึกษาเอกชน โดยปฏิรูปโครงสร้าง
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 โดยจัดทำฐานข้อมูลของข้าราชการและเตรียม
ความพร้อมให้บุคลากรเข้าสู่โครงสร้าง จัดทำแผนยุทธศาสตร์ปฏิรูปการศึกษาส่งเสริมการศึกษาเอก
12
ชน และแผนพัฒนาการศึกษาเอกชนระยะที่ 9 และนำร่องการบริหารสถานศึกษาเอกชนแบบนิติ
บุคคล
สรุปแนวทางการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษานั้นจะดำเนินการปฏิรูป 4
ด้าน คือ การปฏิรูปโรงเรียนและสถานศึกษา การปฏิรูปครูและบุคลากรทางการศึกษา การ
ปฏิรูปหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอน และการปฏิรูประบบบริหารการศึกษา โดยมียุทธ
ศาสตร์ 5 ประการ คือ การกระจายอำนาจให้สถานศึกษา ใช้แผนยุทธศาสตร์เป็นเครื่องมือในการ
ดำเนินงานปฏิรูปการศึกษาทุกระดับ เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วมในการจัดการ
ศึกษา ให้มีระบบประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ และ
จัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
3. โครงการนำร่องการปฏิรูปการศึกษา ในเขตพื้นที่การศึกษาของ
กระทรวงศึกษาธิการ
3.1 ความเป็นมาและความสำคัญ
3.1.1 ความเป็นมา การปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษา แห่งชาติ
พ.ศ. 2542 เป็นการปรับเปลี่ยนครั้งสำคัญที่ส่งผลต่อการจัดการศึกษา ศาสนา และวัฒนาธรรมทั้ง
ระบบ ซึ่งจะส่งผลต่อวิถีและคุณภาพชีวิตของคนไทยในองค์รวม นั่น คือ เป็นการปรับเปลี่ยนแนว
คิด โครงสร้างและกระบวนการในการจัดการศึกษา ซึ่งจะต้องดำเนินการ ปรับเปลี่ยนอย่างมั่นใจ
เหมาะสม จริงจัง และต่อเนื่องที่จะทำให้การปฏิรูปการศึกษาเป็นไปอย่างยั่งยืน โดยยึด เงื่อนไข
อันเป็นหลักการสำคัญของการปฏิรูปการศึกษา คือ การกระจายอำนาจ การมีส่วนร่วม และความรับ
ผิดชอบตรวจสอบได้
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 กำหนดให้การจัดการศึกษา
ขั้นพื้นฐานและอุดมศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาตรี ต้องดำเนินการโดยยึดเขตพื้นที่ การศึกษา (มาตรา
37) และให้กระทรวงกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาทั้งด้านวิชาการ งบประมาณ
การบริหารงานบุคคล และการบริหารทั่วไป ไปยังคณะกรรมการและสำนักงานการศึกษา ศาสนา
และวัฒนธรรมเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาโดยตรง (มาตรา 39) เขต
การศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติจึงมีลักษณะเป็นเขตพิเศษแตกต่างจากการแบ่งเขต
การบริหารอย่างที่เคยมีมาก่อน กล่าวคือ นอกจากเขตพื้นที่การศึกษาจะปฏิบัติงานในฐานะเป็นผู้
แทนกระทรวงปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับส่วนราชการ องค์กรทั้ง ภาครัฐและเอกชนอื่น ๆ รวม
ทั้งให้บริการทางการศึกษาแก่ประชาชนในพื้นที่อีกด้วย เขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาจึงเป็น
13
หน่วยปฏิบัติการทางการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมที่สำคัญที่สุดของกระทรวงในพื้นที่ (สำนัก
งานโครงการนำร่องปฏิรูปการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ 2544 : 1-2)
3.1.2 ความจำเป็นในการนำร่องปฏิรูปการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา ด้วย
กระทรวงศึกษาธิการต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 สภาพการ
ปรับเปลี่ยนตามแนวการปฏิรูปการศึกษาในระยะที่ผ่านมา (2 ปีหลังจาก พระราชบัญญัติการ
ศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มีผลบังคับใช้) ของกระทรวงศึกษาธิการ ข้อคิดและความเห็นที่
แตกต่างในการกำหนดจำนวนเขตพื้นที่ รวมทั้งลักษณะพิเศษของเขต พื้นที่การศึกษาดังกล่าว
แล้ว กระทรวงศึกษาธิการจึงกำหนดการดำเนินการโครงการนำร่องปฏิรูปการศึกษาในเขตพื้นที่
การศึกษา ด้วยเหตุผลและความจำเป็น ดังนี้ (สำนักงานโครงการ นำร่องปฏิรูปการศึกษา กระทรวง
ศึกษาธิการ 2544 : 6-7)
3.1.2.1 กระทรวงศึกษาธิการจำเป็นต้องเตรียมการปรับเปลี่ยนตามแนว
การปฏิรูปการศึกษาตาม พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 สภาพการปรับเปลี่ยนตาม
แนวการปฏิรูปการศึกษาตาม พระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 อย่างเป็นรูปธรรมให้
สามารถตอบคำถามต่อสาธารณชนได้ว่า กระทรวงมีความพร้อมในการดำเนินการปฎิรูปการศึกษา
ตามเงื่อนเวลาที่กำหนดมากน้อยเพียงใด การนำร่องปฏิรูปการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาจึงเป็น
ส่วนหนึ่งของการเตรียมการดังกล่าว
3.1.2.2 การทรวงศึกษาธิการต้องดำเนินการนำร่องปฏิรูปการศึกษาในเขต
พื้นที่การศึกษา เป็นการนำร่องปฏิบัติการ ให้มีการมั่นใจว่าการบริหารจัดการศึกษาในระดับเขตพื้น
ที่ที่มีลักษณะแตกต่างจากการบริหารแบบเดิมโดยสิ้นเชิง สามารถสร้างสัมฤทธิผลในการ จัดการ
ศึกษาได้จริง และนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามเป้าหมายของการปฏิรูป การศึกษา
3.1.2.3 กระทรวงศึกษาธิการในฐานะกระทรวงหลักในการจัดการศึกษา
และรับผิดชอบในการจัดการศึกษาในพื้นที่การศึกษามาก่อน ต้องเสนอแนวคิดและข้อมูล
เชิงประจักษ์ต่อคณะรัฐมนตรีและสาธารณชนว่า การจัดเขตพื้นที่ลักษณะใด (ขนาดและรูปแบบ
การจัดการ) จึงจะมีความเหมาะสมที่สามารถสร้างสัมฤทธิผลสูงสุดในการจัดการศึกษาที่จะนำไปสู่
การตัดสินใจได้ถูกต้องของรัฐบาลในการดำเนินการปฏิรูปการศึกษาให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศ
ชาติและ ประชาชนอย่างแท้จริง
3.1.2.4 เป็นมติที่ประชุมผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการและ
เป็นนโยบายของนายกรัฐมนตรีและอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ต.ท. ดร.
14
ทักษิณ ชินวัตร และนโยบายของนายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการปัจจุบัน
3.1.3 แนวนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการในการนำร่องปฏิรูปการ
ศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา กระทรวงศึกษาธิการจะดำเนินการนำร่องปฏิรูปการศึกษาในเขตพื้นที่
การศึกษา โดยถือเป็นนโยบายสำคัญของกระทรวงศึกษาธิการและเป็นส่วนหนึ่งของการเตรียมการ
สร้างความมั่นใจในการปรับเปลี่ยนตาม พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ โดย
3.1.3.1 ดำเนินการนำร่องปฏิรูปการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา ให้
เป็นการนำแนวคิดและพันธกิจการปฏิรูปลงสู่การปฏิบัติในเขตพื้นที่นำร่องใน 5 จังหวัด เป้า
หมาย ภาคละ 1 จังหวัด ประกอบด้วยจังหวัดพิษณุโลก จังหวัดอำนาจเจริญ จังหวัดชลบุรี จังหวัด
เพชรบุรี และจังหวัดภูเก็ต
3.1.3.2 ให้สำนักงานปลัดกระทรวง สำนักงานคณะกรรมการการประถม
ศึกษาแห่งชาติ กรมอาชีวศึกษา กรมสามัญศึกษา และกรมการศึกษานอกโรงเรียนอำนาจเจริญ
พิษณุโลก ชลบุรี เพชรบุรี และภูเก็ต ตามลำดับ และสำนักงานสภาสถาบัน ราชภัฏ รับผิดชอบ
ในการประเมินโครงการนำร่องปฏิรูปการศึกษา โดยเน้นการปรับเปลี่ยนตามแนวการปฏิรูปการ
ศึกษา สภาพจริงของแต่ละเขตพื้นที่ ความร่วมมือของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายและการให้เขตพื้นที่การ
ศึกษาและสถานศึกษาเป็นฐานในการบริหารจัดการ
3.1.3.3 ดำเนินการเลือกพันธกิจการปฏิรูปการศึกษาในการนำร่องปฏิรูป
การศึกษาอย่างเหมาะสม โดยคำนึงถึงภารกิจของเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาตามที่กฏหมาย
กำหนด พันธกิจที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการปฏิรูปที่จะทำการประเมินและพันธกิจที่สามารถ
ดำเนินการได้ตามแนวการปฏิรูปมากที่สุดภายใต้เงื่อนไขกฏหมายที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
3.1.3.4 ให้ใช้มาตรการทางการบริหารลดข้อจำกัดด้านกฏหมายที่ยังไม่ได้
รับการแก้ไขให้สามารถดำเนินการปรับเปลี่ยนตามแนวการปฏิรูปตาม พระราชบัญญัติ การ
ศึกษาแห่งชาติให้มากที่สุด
3.1.3.5 ดำเนินการโครงการนำร่องปฏิรูปการศึกษาในลักษณะ โครง
การวิจัยพัฒนาเป็นเวลา 2 ภาคเรียน ตั้งแต่ภาคปลายปีการศึกษา 2544 ถึงภาคต้น ปีการศึกษา
2545 และประเมินสัมฤทธิผลโครงการตามแนวประเมินแนวใหม่แบบมีส่วนร่วม อย่างเป็นรูปธรรม
เป็นระบบ รวมทั้งมีการรายงานผลให้ผู้เกี่ยวข้องและสาธารณชนทราบอย่างต่อเนื่อง
3.2 ภาพรวมของโครงการนำร่องปฏิรูปการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการ
3.2.1 ลักษณะโครงการ โครงการนำร่องปฏิรูปการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
เป็นโครงการตามนโยบายเร่งด่วนของกระทรวงศึกษาธิการและเป็นส่วนหนึ่งของการเตรียม
15
การปฏิรูปการศึกษา มีลักษณะเป็นโครงการวิจัยพัฒนาและวิจัยปฏิบัติการเชิงประเมินแบบมีส่วน
ร่วม ดำเนินการเฉพาะในพื้นที่จังหวัดเป้าหมายที่เป็นตัวแทนของเขตพื้นที่และจังหวัดทั่วไป มุ่ง
เน้นการนำแนวคิดการปฏิรูปในพันธกิจที่สำคัญลงสู่การปฏิบัติในเขตพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรมและ
มากที่สุด ภายใต้ข้อจำกัดของกฎหมายและเงื่อนเวลา นับเป็นภารกิจสำคัญในภาพรวมของกระทรวง
ที่ทุกกรมทุกส่วนราชการและบุคคลที่เกี่ยวข้องในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการต้องให้ความร่วมมือ
โดยมีหน่วยเป้าหมายการปฏิบัติการอยู่ที่เขตพื้นที่และสถานศึกษา (สำนักงาน โครงการนำร่อง
ปฏิรูปการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ 2544 : 13)
3.2.2 วัตถุประสงค์
3.2.2.1 วัตถุประสงค์ทั่วไปเพื่อเตรียมความพร้อมและดำเนินการนำร่อง
ปฏิรูปการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา ให้มั่นใจว่า กระทรวง เขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษามี
ความพร้อมและสามารถดำเนินการปฏิรูปการศึกษาตามแนวการปฏิรูปการศึกษาตาม พระราช
บัญญัติ การศึกษาแห่งชาติได้อย่างมีสัมฤทธิผล
3.2.2.2 วัตถุประสงค์เฉพาะ เพื่อศึกษาวิธีการเตรียมการปรับเปลี่ยนที่ทำ
ให้การปฏิบัติพันธกิจการปฏิรูปการศึกษามีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อศึกษาขนาดและรูปแบบการจัด
การศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษาที่เหมาะสมที่ส่งผลให้การพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามแนวการ
ปฏิรูปการศึกษาบังเกิดผลดีสูงสุด ทางด้านความทั่วถึงในการให้บริการการศึกษา คุณภาพผู้
เรียน และคุณภาพสถานศึกษา และประสิทธิภาพในการจัดการศึกษา เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและ
แนวทางแก้ปัญหาของเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาในการดำเนิน การปฏิรูปการศึกษา
3.2.3 หลักการสาํ คัญที่ใช้เป็นแนวทางในการนำร่อง กระทรวงศึกษาธิการยึด
หลักการสำคัญในการนำร่องปฏิรูปการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา ได้แก่ หลักการมีส่วนร่วม หลัก
การปรับเปลี่ยนตามสภาพจริง หลักการปรับเปลี่ยนในองค์รวม หลักการปฏิรูปแบบพึ่ง ตนเอง (
สำนักงานโครงการนำร่องปฏิรูปการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ 2544 : 14)
สรุปโครงการนำร่องปฏิรูปการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา เป็นโครงการตาม
นโยบายเร่งด่วนของกระทรวงศึกษาธิการและเป็นส่วนหนึ่งของการเตรียมการปฏิรูปการศึกษา
โดยยึดหลักการสำคัญในการนำร่องปฏิรูปการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา 4 ประการ คือ หลัก
การมีส่วนร่วม หลักการปรับเปลี่ยนตามสภาพจริง หลักการปรับเปลี่ยนในองค์รวม และหลักการ
ปฏิรูปแบบพึ่งตนเอง
4. ภารกิจและพันธกิจการปฏิรูปการศึกษา
แนวการคัดเลือกภารกิจและพันธกิจการปฏิรูปการศึกษา เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการและ
แนวทางการดำเนินโครงการนำร่องปฏิรูปการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาประกอบกับ ความ
16
สำคัญของพันธกิจการปฏิรูปการศึกษาที่มีต่อความสำเร็จของการดำเนินโครงการ การเลือก
พันธกิจ การปฏิรูปในการนำร่องปฏิรูปการศึกษาในเขตพื้นที่นำร่อง จึงกำหนดเกณฑ์การคัดเลือก
ดังนี้
- เป็นภารกิจของเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา ตามมาตรา 38, 39 และ 40 แห่งพระ
ราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และเป็นภารกิจของเขตพื้นที่และ สถานศึกษาตาม
โครงการที่สำนักงานนำร่องปฏิรูปการศึกษาเสนอ ซึ่งเป็นภารกิจรองรับการกระจายอำนาจตาม
ที่กฏหมายกำหนด
- เป็นพันธกิจที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการปฏิรูปการศึกษาและความสำเร็จของ โครง
การที่จะทำการประเมิน
- เป็นพันธกิจที่สามารถปฏิบัติได้จริง และเป็นไปตามแนวทางการปฎิรูปให้มากที่สุด ภาย
ใต้บริบทการปฏิรูปการศึกษาและระเบียบ กฏหมายที่ใช้อยู่ปัจจุบันและสภาพจริงของการบริหารจัด
การในเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดเป้าหมาย
การเลือกภารกิจและพันธกิจการปฏิรูปการศึกษาในการนำร่องการปฏิรูปการศึกษาในเขต
พื้นที่การศึกษา 4 ภารกิจ 25 พันธกิจ ดังนี้ (สำนักงานโครงการนำร่องปฏิรูปการศึกษา กระทรวง
ศึกษาธิการ 2544 : 52-53)
4.1 ภารกิจการบริหารงานทั่วไป ประกอบด้วย 8 พันธกิจ ดังนี้
4.1.1 การบริหารและจัดการศึกษาแบบกระจายอำนาจ
4.1.2 การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ
4.1.3 การจัดระบบสารสนเทศในการบริหารและจัดการเรียนการสอน
4.1.4 การส่งเสริมและการจัดบริการการศึกษา
4.1.5 การส่งเสริมศาสนา ศิลปวัฒนธรรม
4.1.6 การดำเนินงานกิจการพิเศษ
4.1.7 การจัดระบบประกันคุณภาพ
4.1.8 การนิเทศ การติดตามและประเมินผล
4.2 ภารกิจการบริหารบุคคล ประกอบด้วย 5 พันธกิจ ดังนี้
4.2.1 การเตรียมการบริหารงานบุคคล
4.2.2 การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา
4.2.3 การประเมินผลการปฏิบัติงานของครูและบุคลากรทางการศึกษา
4.2.4 การเสริมสร้างวินัยและจรรยาบรรณ
4.2.5 การพัฒนาวิชาชีพครู
17
4.3 ภารกิจการบริหารงบประมาณ ประกอบด้วย 6 พันธกิจ ดังนี้
4.3.1 การจัดตั้งงบประมาณ
4.3.2 การจัดสรรงบประมาณ
4.3.3 การบริหารการเงินและบัญชี
4.3.4 การจัดซื้อ จัดจ้าง และการพัสดุ
4.3.5 การตรวจสอบ ติดตาม และประเมินประสิทธิภาพการใช้งบประมาณ
4.3.6 การระดมทรัพยากรและการลงทุนทางการศึกษา
4.4 ภารกิจการบริหารวิชาการ ประกอบด้วย 6 พันธกิจ ดังนี้
4.4.1 การสร้างโอกาสในการเข้ารับการศึกษา
4.4.2 การพัฒนาหลักสูตรระดับสถานศึกษา
4.4.3 การเทียบโอนผลการเรียน
4.4.4 การจัดเครือข่ายและแหล่งการเรียนรู้
4.4.5 การพัฒนาสื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษา
4.4.6 การปฏิรูปการเรียนรู้ในชุมชน
สำหรับรายละเอียดของภารกิจ 4 ด้าน นำเสนอดังต่อไปนี้
การบริหารงานทั่วไป
ความหมายของการบริหารงานทั่วไป
กิติมา ปรีดีดิลก (2532 : 133) ได้ให้ความหมายของการบริหารงานทั่วไปว่า หมาย
ถึง งานที่เกี่ยวกับการบริการต่าง ๆ เพื่อให้งานด้านอื่น ๆ สามารถดำเนินงานไปได้โดยไม่มี
อุปสรรค ทำให้งานคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ
กรมสามัญศึกษา (2536 : 20) ได้ให้ความหมายของการบริหารงานทั่วไปว่า หมาย
ถึง การจัดระบบบริหารงานโรงเรียนให้เหมาะสมกับสภาพของโรงเรียนด้านการกำหนดแผนงาน
โรงเรียน การแจกแจงงานในโรงเรียน การมอบหมายงานให้กับบุคลากร การเตรียมงานทั้งระยะยาว
การติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติประจำปี
18
สนอง สุวรรณวงศ์ (2538 : 2) ได้ให้ความหมายของการบริหารงานทั่วไปว่า หมาย
ถึง งานที่เกี่ยวกับการควบคุม ดำเนินการ ประสานงาน จัดระเบียบ สั่งการ เพื่อให้การปฏิบัติงาน
ของทุกฝ่ายดำเนินไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ให้ดีที่สุด
นาวี ยั่งยืน (2544 : 13) ได้สรุปความหมายของการบริหารงานทั่วไปว่า
หมายถึง การบริหารงานภายในโรงเรียนเกี่ยวกับงานต่าง ๆ นอกเหนือจาการบริหารงานด้านวิชา
การ ด้านงบประมาณ และด้านบุคลากร ได้แก่ การบริหารอาคารสถานที่ การบริหารงาน ปก
ครองนักเรียน การบริหารงานสัมพันธ์ชุมชน และการบริหารงานบริการ
สรุปการบริหารงานทั่วไป หมายถึงการบริหารงานที่เกี่ยวกับงานต่าง ๆ ได้แก่
การบริหารอาคารสถานที่ การบริหารงานปกครองนักเรียน การบริหารงานสัมพันธ์ชุมชน และการ
บริหารงานบริการ
ขอบข่ายของการบริหารงานทั่วไป
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (2538 : 4) กำหนดขอบข่ายการ
บริหารงานทั่วไปว่ามี 3 งาน คือ งานธุรการ งานสวัสดิการ และการประสานงาน
สนอง สุวรรณวงศ์ (2538 : 2) กำหนดขอบข่ายการบริหารงานทั่วไปว่ามี 5 งาน
ได้แก่ งานเกี่ยวกับงานสารบรรณ งานพัสดุ งานบริการและสวัสดิการ งานเกี่ยวกับบุคลากรและงาน
การติดต่อ ประสานงานและประชาสัมพันธ์
กิติมา ปรีดีดิลก (2532 : 134) กำหนดขอบข่ายการบริหารงานทั่วไปว่ามี 9 งาน
ได้แก่ งานเกี่ยวกับสารบรรณ งานเกี่ยวกับการเงิน งานเกี่ยวกับการจัดทำงบประมาณประจำปี งาน
เกี่ยวกับการควบคุมพัสดุและครุภัณฑ์ งานเกี่ยวกับทะเบียนนักเรียน งานเกี่ยวกับ การดูแล
รักษาอาคารสถานที่ งานเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ งานเกี่ยวกับการจัดการ ความปลอด
ภัย และงานเกี่ยวกับบุคลากร
การบริหารงานทั่วไป เป็นการบริหารงานภายในโรงเรียนเกี่ยวกับงานต่าง ๆ ที่
นอกเหนือจากงานการบริหารงานด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ และด้านบุคลากร มีขอบข่าย 4
ด้าน ดังนี้ (นาวี ยั่งยืน 2544 : 14)
19
1. การบริหารงานอาคารสถานที่เป็นการที่ผู้บริหารใช้ทรัพยากรที่มีอยู่
ดำเนินงานอาคารสถานที่ร่วมกับบุคลากรในโรงเรียนให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้เป็น การ
บริหารงานอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การจัดสร้างอาคารสถานที่ การจัด สิ่งแวด
ล้อม การใช้อาคารสถานที่ การบำรุงรักษาอาคารสถานที่ การควบคุมดูแลอาคารสถานที่ และการ
ประเมินผลการใช้อาคารสถานที่
2. การบริหารงานปกครองนักเรียน เป็นงานที่เกี่ยวกับตัวนักเรียนและกิจกรรมนัก
เรียนทั้งมวลเพื่อช่วยส่งเสริมการเรียนการสอนให้บรรลุผลตามหลักสูตรนโยบายของโรงเรียน มี
ความมุ่งหมายในด้านต่าง ๆ ได้แก่ มุ่งพัฒนาบุคลิกภาพของนักเรียน ช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับนัก
เรียน ป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้นกับนักเรียนและส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน
3. การบริหารงานสัมพันธ์ชุมชน เป็นการดำเนินงานเพื่อสร้างความ เข้าใจหรือ
ความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษาหรือเพื่อให้เกิดการ
ประสานและความร่วมมือที่ดีในการบริหารงานโรงเรียน โดยแบ่งออกเป็น 5 งาน ได้แก่ งานให้
บริการชุมชน งานรับความช่วยเหลือสนับสนุนจากชุมชน งานส่งเสริมความสัมพันธ์กับชุมชนและ
หน่วยงานอื่น งานประชาสัมพันธ์และงานอื่น ๆ
4. การบริหารงานบริการจากเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนมัธยมศึกษา พ.ศ. 2539 เป็น
การกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ สายงานบริการ การทำแผนภูมิ การจัดบุคลากรให้เหมาะสมกับ
ลักษณะงานเป็นการปฏิบัติหน้าที่ในรูปคณะบุคคลโดยนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารงานมี
ขอบข่ายงานต่าง ๆ ได้แก่ งานแผนงานบริการ งานบริการสาธารณูปโภค การบริการน้ำดื่มน้ำ
ใช้ การบริการด้านสุขภาพอนามัย การบริการห้องสมุด การบริการด้าน โสตทัศนูปกรณ์ การ
ใช้บริการแนะแนว การจัดกิจกรรมสหกรณ์ในสถานศึกษา
สรุปการบริหารงานทั่วไป เป็นการบริหารงานอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากงานการ
บริหารงานด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ และด้านบุคลากร ได้แก่ การบริหารอาคารสถานที่ การ
บริหารงานปกครองนักเรียน การบริหารงานสัมพันธ์ชุมชน และการบริหารงานบริการ สำหรับภาร
กิจการบริหารงานทั่วไปที่จะนำมาศึกษาในการวิจัยครั้งนี้ มีจำนวน 8 พันธกิจ ได้แก่ การ
บริหารและการจัดการศึกษาแบบกระจายอำนาจ การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ การจัด
ระบบสารสนเทศ ในการบริหารและจัดการเรียนการสอน การส่งเสริมและการบริการการศึกษา
การส่งเสริมศาสนาและศิลปวัฒนธรรม การดำเนินงานกิจการพิเศษใน สถานศึกษา การจัด
ระบบการประกันคุณภาพ และการนิเทศ ติดตามและประเมินผล
การบริหารงานบุคคล
20
ความหมายของการบริหารงานบุคคล
สุรัฐ ศิลปอนันต์ (2530 : 16) ให้ความหมายของการบริหารงานบุคคลว่า หมายถึง
กระบวนการวางนโยบาย กำหนดความต้องการบุคลากร การสรรหา การใช้ การพัฒนา การ
จูงใจ การจัดสวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูล การเลื่อนตำแหน่ง การโอนย้าย และการพ้นจาก
ราชการ
สมาน รังสิโยกฤษฎ์ (2531 : 92) ให้ความหมายของการบริหารงานบุคคลว่า หมาย
ถึง ดำเนินการเกี่ยวกับตัวบุคคลในองค์กรหรือหน่วยงาน นับตั้งแต่การสรรหาบุคคลมาปฏิบัติงาน
การบรรจุและแต่งตั้ง การพัฒนาบุคคล การประเมินผลการปฏิบัติงาน ไปจนถึงการพิจารณาบุคคล
ให้พ้นจากงาน
อุทัย หิรัญโต (2531 : 2) ได้ให้ความหมายของการบริหารงานบุคคล คือ
การปฏิบัติการที่เกี่ยวกับตัวบุคคลหรือตัวเจ้าหน้าที่ในองค์การใดองคืการหนึ่ง นับตั้งแต่การสรรหา
คนเข้าทำงาน การคัดเลือก การบรรจุแต่งตั้ง การโอน การย้าย การฝึกอบรม การพิจารณาความดี
ความชอบ การเลื่อนขั้นเงินเดือน การปกครองบังคับบัญชา การดำเนินการทางวินัย การให้พ้นจาก
งาน ตลอดจนการจ่ายค่าบำเหน็จบำนาญ เมื่อออกจากราชการไปแล้ว
ธรี วฒุ ิ ประทุมนพรัตน  (2536 : 5) ได้ให้ความหมายของการบริหารงานบุคลากร
หมายถึง ภารกิจอย่างหนึ่งของผู้บริหารการศึกษา ที่กระทำไปตามขั้นตอนต่อไปนี้ คือการวางแผน
ให้ได้มาซึ่งบุคลากร การสรรหา การบรรจุแต่งตั้ง การพัฒนา การบำรุงขวัญ การจูงใจ การให้ค่า
ตอบแทน และการให้พ้นจากงาน ทั้งนี้เพื่อให้ทรัพยากรการบริหาร คือบุคลากรปฏิบัติงานเต็ม
ความรู้ ความสามารถและเต็มเวลา จนบรรลุวัตถุประสงค์ที่องค์การการศึกษาวางไว้
เสน่ห์ ผดุงญาติ (2535 : 9) ให้ความหมายของการบริหารงานบุคคลว่า หมาย
ถึง การบริหารหรือจัดการงานด้านที่เกี่ยวกับตัวบุคคลผู้ปฏิบัติงานในองค์การใดองค์การหนึ่ง โดยมี
วัตถุประสงค์เพื่อเลือกสรรผู้มีความรู้ความสามารถเข้ามาทำงานให้มีจำนวนเพียงพอ เพื่อให้การใช้
กำลังคนเกิดประโยชน์เต็มที่ เพื่อรักษากำลังแรงงาน บำรุงส่งเสริมสมรรถภาพและกำลังใจของผู้
ปฏิบัติงาน เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้ดีมีประสิทธิภาพ และบรรลุผลสำเร็จ สมความมุ่ง
หมายขององค์การ
สรุปการบริหารงานบุคคล หมายถึง การบริหารหรือการจัดการในด้านบุคคล โดย
ประกอบด้วยกระบวนการวางนโยบาย กำหนดความต้องการบุคลากร การสรรหา การใช้ การพัฒนา
21
การจูงใจ การจัดสวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูล การเลื่อนตำแหน่ง การโอนย้าย และการพ้นจาก
ราชการ
ขอบข่ายของการบริหารงานบุคคล
เวนน์ และ โน (Wayne and Noe 1990 : 8 - 10) เสนอขอบข่ายของการบริหารงาน
บุคคลไว้ 6 ประการ คือ การวางแผนและคัดเลือกบุคลากร การพัฒนาบุคลากร การจัด
ผลประโยชน์ตอบแทน การจัดสวัสดิการเกี่ยวกับความปลอดภัยและสุขภาพอนามัย การสร้างแรง
งานสัมพันธ์ และการวิจัยทรัพยากรบุคคล
พนัส หันนาคินทร์ (2530 : 46) กล่าวว่าภารกิจหลักในการบริหารงานบุคคลใน
สถานศึกษา มีอยู่ 8 ประการคือ การวางแผนกำลังหรือ การจัดอัตรากำลัง การสรรหา หรือ การรับ
สมัครบุคคลเข้าทำงาน การคัดเลือกบุคคลเข้าทำงาน การนำเข้าสู่งาน การประเมินบุคลากร การ
พัฒนาบุคลากร การตอบแทนบุคากร และการสร้างสภาพความมั่นคงในการทำงานของบุคลากร
กองโรงเรียนสามัญศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน กระทรวง
ศึกษาธิการ (2532 : 1) กล่าวถึงภารกิจของการบริหารงานบุคลากรในโรงเรียนเอกชนว่ามี ภาร
กิจ คือ งานบุคลากรในโรงเรียน การดำเนินงานก่อนเข้าสู่ตำแหน่ง การวางโครงการเสริมประสิทธิ
ภาพบุคลากร การคุ้มครองสิทธิของบุคลากร การดำเนินงานเพื่อบุคลากรพ้นจากตำแหน่ง
สรุปขอบข่ายการบริหารบุคลากร ประกอบด้วย การสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง การบำรุง
รักษาบุคลากร การพัฒนาบุคลากร และการให้พ้นจากงาน สำหรับขอบข่ายหรือภารกิจการบริหาร
งานบุคคลที่จะนำมาใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย 5 พันธกิจ ได้แก่ การเตรียมการบริหารงาน
บุคคลระดับเขตพื้นที่และสถานศึกษา การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา การประเมินผลการ
ปฏิบัติงานของครูและบุคลากรทางการศึกษา การเสริมสร้างวินัยและจรรยาบรรณ และการพัฒนา
วิชาชีพครู
การบริหารงานงบประมาณ
ความหมายของการบริหารงานงบประมาณ
22
จิตราภรณ์ ใยศิลป์ (2530 : 18) ได้สรุปความหมายของการบริหารงาน งบ
ประมาณไว้ว่าเป็นการดำเนินการให้ได้มาซึ่งงบประมาณเพื่อนำมาใช้จ่ายในการศึกษาของโรงเรียน
โดยมีการวางแผน มีการจัดการและควบคุม ประเมินผลการใช้งบประมาณให้เป็นไปตามระเบียบ
และกฎเกณฑ์ต่าง ๆ
ไทย ทิพย์สุวรรณกุล (2533 : 50) ได้สรุปความหมายของการบริหารงาน
งบประมาณไว้ว่าเป็นแนวทางหรือแผนการดำเนินงานสำหรับผู้ปฏิบัติในการดำเนินงาน นั้น ๆ โดย
ให้เสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด และสามารถบรรลุถึงเป้าหมายที่วางไว้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจน
สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการดำเนินงานดังกล่าว
ชัยวัฒน์ ไทยเกรียงไกรยศ (2536 : 24) แนวทางหรือแผนดำเนินงานสำหรับผู้
ปฏิบัติในการดำเนินงานนั้น ๆ ให้เสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด และสามรถบรรลุถึงเป้าหมายที่วางไว้อย่าง
มีประสิทธิภาพ
นาวี ยั่งยืน (2544 : 11) ) ได้สรุปความหมายของการบริหารงบประมาณไว้ว่า เป็น
การบริหารงานธุรการ การเงินและพัสดุที่ปฏิบัติอยู่ในสถานศึกษา โดยยึดกฎหมาย ระเบียบข้อ
บังคับ เกณฑ์เงื่อนไข
สรุปการบริหารงบประมาณ หมายถึง กระบวนการบริหารงานธุรการ การเงินและ
พัสดุ เพื่อสนับสนุนการบริหารงานของโรงเรียน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และจุดมุ่งหมาย
ขอบข่ายของการบริหารงานงบประมาณ
นาวี ยั่งยืน (2544 : 11) ได้สรุปขอบข่ายของการบริหารงานงบประมาณ ดัง
นี้
1. การบริหารงานธุรการ ซึ่งประกอบด้วย 4 งาน ได้แก่ งานสารบรรณ งาน
ทะเบียนงานรักษาความปลอดภัย และงานประชาสัมพันธ์
2. การบริหารงานบัญชีการเงิน ซึ่งประกอบด้วยการบริหารเงินงบประมาณ เงิน
นอกงบประมาณ และเงินรายได้แผ่นดิน
3. การบริหารงานพัสดุ ได้แก่ การจัดซื้อ จัดจ้าง เบิกจ่ายวัสดุ ครุภัณฑ์ โดย
ความเห็นชอบของโรงเรียน และดำเนินการเกี่ยวกับราชพัสดุ
23
สนอง สุวรรณวงศ์ (2538 : 193-194) ได้สรุปขอบข่ายของการบริหารงบ
ประมาณในสถาบันการศึกษา ที่ผู้บริหารควรทราบ ได้แก่
1. การจัดทำงบประมาณแผ่นดินและงบประมาณของสถานศึกษา
2. การรับเงินและเบิกจ่ายเงินงบประมาณแผ่นดิน
3. การรับจ่ายเงินบำรุงการศึกษา
4. การจัดทำบัญชีการเงินของสถานศึกษา
5. การตรวจสอบบัญชีจ่ายเงินและบัญชีทรัพย์สิน
6. การรายงานการเงิน
7. การนิเทศระบบบัญชีภายในสถานศึกษา
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช (2537 : 237) ได้สรุปขอบข่ายของการบริหารงบ
ประมาณไว้ว่า จะต้องประกอบด้วย
1. การวางแผนงบประมาณ
2. การเตรียมการงบประมาณ
3. การกำหนดงบประมาณ
4. การเบิกจ่ายงบประมาณ
5. การดูและการใช้เงินงบประมาณ
6. การรายงานผลการปฏิบัติงาน
สรุปขอบข่ายของการบริหารงานงบประมาณจะคลอบคลุมการบริหารงาน ธุร
การ การบริหารงานบัญชีการเงิน และการบริหารงานพัสดุ สำหรับภารกิจการบริหารงาน งบ
ประมาณที่จะนำมาใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย 6 พันธกิจ ได้แก่ การจัดตั้ง งบ
ประมาณ การจัดสรรงบประมาณ การบริหารการเงินและบัญชี การจัดซื้อ จัดจ้าง และพัสดุ และการ
ตรวจสอบ ติดตาม และประเมินประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณ
การบริหารงานวิชาการ
ความหมายของการบริหารงานวิชาการ
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน  (2535 : 16) ใหค้ วามหมายของการบรหิ ารงาน
วิชาการว่า หมายถึง การจัดกิจกรรมทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวกับการปรับปรุงพัฒนาการเรียน การ
สอนให้ได้ผลดีและมีประสิทธิภาพให้เกิดประโยชน์สูงสุด
24
ชัยวัฒน์ ไทยเกรียงไกรยศ (2536 : 6) ให้ความหมายของการบริหารงาน วิชา
การว่า หมายถึง การจัดเก็บบำรุงรักษาสื่อการเรียนการสอน การนิเทศภายใน การกำกับ ดูแล
การวัดผล การใช้ห้องสมุด การใช้เทคนิคการสอน การเตรียมการสอน การจัดห้องเรียน การจัดกิจ
กรรมการเรียนการสอน
เกสิณี ชิวปรีชา (2530 : 8) กิจกรรมทางการศึกษาที่จัดขึ้นทั้งภายในและ ภาย
นอกห้องเรียน เพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์และเกิดการเรียนรู้ ทั้งด้านความรู้ คุณ
สมบัติและทักษะความสามารถตามที่กำหนดไว้ในจุดมุ่งหมายของการศึกษา
ปนัดดา พรพิฆเนส (2540 : 7) กิจกรรมทุกชนิดในสถานศึกษาที่ดำเนินไป โดยมี
วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
สมศรี มธุรสสุวรรณ (2541 : 14) ให้ความหมายของการบริหารงาน วิชาการ
ว่า หมายถึง กิจกรรมทุก ๆ ด้านที่เกี่ยวกับการเรียนการอสอนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้และเกิดการ
พัฒนาในตัวเด็กตามจุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษา
เรณู ครุธไทย (2542 : 9) ให้ความหมายของการบริหารงานวิชาการว่า หมาย
ถึง การจัดกิจกรรมทุกชนิดในโรงเรียนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิด
การเรียนรู้และได้รับประสบการณ์อย่างมีประสิทธิภาพตามจุดมุ่งหมายของการศึกษา
นาวี ยั่งยืน (2544 : 10) กล่าวไว้ว่า การบริหารงานวิชาการเป็นกิจกรรม ทุก
ชนิดในสถานศึกษา โดยเฉพาะกิจกรรมที่เกี่ยวกับการปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอน
สรุปการบริหารงานวิชาการ หมายถึง กระบวนการบริหารกิจกรรมทุกอย่างที่เกี่ยว
ข้องกับการพัฒนา ปรับปรุงการเรียนการสอนให้ดีขึ้น ตั้งแต่การกำหนดนโยบาย การวาง
แผนปรับปรุงการเรียนการสอน ตลอดจนการประเมินผลการเรียนการสอนเพื่อให้เป็นไปตามจุดมุ่ง
หมายของหลักสูตรและจุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษา
ขอบข่ายของการบริหารงานวิชาการ
25
กิตติมา ปรีดีดิลก (2532 : 58) แบ่งขอบข่ายงานวิชาการออกเป็น 6 งาน ได้แก่ แผน
ปฏิบัติงานด้านวิชาการ หลักสูตรและการสอน การจัดการเรียนการสอน สื่อการสอน การปรับ
ปรุงการเรียนการสอน และการวัดและประเมินผล
บุญมี เณรยอด (2534 : 11) กำหนดขอบข่ายของงานวิชาการไว้ 10 ประการ
ได้แก่ หลักสูตรและเอกสารการใช้หลักสูตร ตารางสอนและวิธีสอน วัสดุอุปกรณ์และการใช้แหล่ง
ทรัพยากรท้องถิ่น งานห้องสมุด งานกิจกรรมนักเรียน การนิเทศงานวิชาการในโรงเรียน การ
กำหนดให้ครูอาจารย์ปฏิบัติงานวันวิชาการ การแนะแนว การวัดและประเมินผล และ การ
วางแผนปรับปรุงงานวิชาการ
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน  (2535 : 17) กำหนดขอบข่ายครอบคลุมตั้งแต่
การวางแผนเกี่ยวกับงานวิชาการ การดำเนินงานเกี่ยวกับการเรียนการสอน การจัดบริการ การ
เรียนการสอนและการวัดและประเมินผล รวมทั้งการติดตามผล
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (2536 : 4-9) กำหนดให้งาน วิชา
การเป็นงานหลักของโรงเรียน สำหรับขอบข่ายของงานวิชาการสำหรับโรงเรียน
ประถมศึกษา ได้แก่ งานด้านหลักสูตรและการนำหลักสูตรไปใช้ งานการเรียนการสอน งาน
สื่อการเรียนการสอน งานวัดผลและประเมินผล งานห้องสมุด งานนิเทศการศึกษา งานด้าน
การวางแผนและกำหนดวิธีดำเนินงาน งานส่งเสริมการสอน และงานประชุมอบรมทางวิชาการ
อาคม จันทสุนทร (2537 : 2-28) ได้กล่าวว่า การบริหารด้านวิชาการ เป็นงานที่สำคัญของผู้
บริหารสถานศึกษา เนื่องจากการบริหารงานวิชาการเกี่ยวข้องกับกิจกรรมทุกชนิดใน สถานศึกษา
โดยเฉพาะเกี่ยวกับการปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอน ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายหลักของการจัดการ
ศึกษา เป็นภารกิจของผู้บริหารสถานศึกษาต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ โดยมีขอบข่ายการบริหาร
งานวิชาการ ดังนี้
1. การวางแผนเกี่ยวกับงานวิชาการ เป็นการวางแผนเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรและการ
นำหลักสูตรไปใช้ในการจัดการล่วงหน้าเกี่ยวกับการเรียนการสอน ดังนี้
1.1 แผนการปฏิบัติงานวิชาการ ได้แก่ งานเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรและงานการจัด
ปฏิทินการศึกษา งานเกี่ยวกับความรับผิดชอบตามภาระหน้าที่ และงานการจัดขั้นตอนและจัดเวลา
ในการทำงาน
26
1.2 การจัดทำโครงการสอน เป็นการจัดรายละเอียดเกี่ยวกับวิชาที่ต้องสอนตามกรอบ
และทิศทางของหลักสูตร
1.3 แผนการสอน เป็นการแสดงรายละเอียดของการกำหนดเนื้อหาที่จะสอนในแต่ละคาบ
เวลาของแต่ละวันหรือสัปดาห์โดยการวางแผนไว้ล่วงหน้าและยึดโครงการสอนเป็นหลัก
2. การจัดดำเนินการเกี่ยวกับการเรียนการสอน ได้แก่
2.1 การจัดตารางสอนซึ่งถือเป็นการกำหนดวิชา เวลา ครูผู้สอน สถานที่ ตลอดจนผู้
เรียนในแต่ละรายวิชา
2.2 การจัดชั้นเรียน รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ตลอดจนการใช้สื่อ อุ
ปรกรณ์ต่าง ๆ ในการเรียนการสอน
2.3 การจัดครูเข้าสอนโดยพิจารณาถึงความพร้อมของบุคลากร รวมทั้งเชิญวิทยากรภาย
นอกมาช่วยสอน
2.4 การจัดแบบเรียน ใช้แบบเรียนที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด นอกจากนั้นครูอาจใช้
หนังสือประกอบหรือเอกสารที่ครูเตรียมเอง
2.5 การปรับปรุงการเรียนการสอน เป็นการพัฒนาครูผู้สอนให้ทันวิทยาการเทคโนโลยี
ใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความต้องการความก้าวหน้าของสังคมในด้าน
ต่าง ๆ
2.6 การฝึกงาน เป็นการให้ผู้เรียนได้ทดลองเอาทฤษฎีความรู้ที่ได้เรียนมาประยุกต์ใช้กับ
ชีวิตจริงและให้ผู้เรียนได้เห็นปัญหาที่แท้จริงในสาขาวิชาชีพนั้น ๆ
3. การจัดบริหารเกี่ยวกับการเรียนการสอนเป็นการจัดสิ่งอำนวยความสะดวก
การส่งเสริมการจัดหลักสูตรการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ ได้แก่
3.1 การจัดสื่อการเรียนการสอน เป็นสื่อที่เอื้อต่อการเรียนของผู้เรียน เน้นเครื่องมือ กิจ
กรรมให้ครูได้เลือกใช้ในการสอน
3.2 การจัดห้องสมุดเป็นแหล่งวิทยาการ เป็นที่รวมหนังสือ เอกสาร สิ่งพิมพ์และวัสดุ
อุปกรณ์เพื่อให้ผู้เรียนได้ใช้ค้นคว้าเพิ่มเติม
3.3 การนิเทศการสอน เป็นการช่วยเหลือแนะแนวครูให้เกิดการปรับปรุงแก้ไขปัญหาใน
การเรียนการสอน
4. การวัดและประเมินผล เป็นกระบวนการเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการตรวจสอบและ
วิเคราะห์ผลการเรียน
จรัล สังข์ขาว (2542 : 29) ได้กล่าวว่างานบริหารวิชาการที่ ผู้บริหารจะต้องเข้าใจขอบข่าย
ของการบริหารงานวิชาการ ได้แก่ วัตถุประสงค์ นโยบาย และวิธีบริหารทางวิชาการ หลักสูตร
27
และประมวลการสอน ตารางสอน อุปกรณ์การศึกษา แบบเรียนและหนังสืออ่านประกอบ การจัด
แบ่งหมู่นักเรียน การนิเทศการสอน การจัดห้องสมุด และการวัดผลและประเมินผล
สรุปขอบข่ายของการบริหารวิชาการจะประกอบด้วยการวางแผนเกี่ยวกับ งาน
วิชาการ การจัดดำเนินการเกี่ยวกับการเรียนการสอน การส่งเสริมการจัดหลักสูตร การวัดและ
ประเมินผล สำหรับภารกิจการบริหารงานวิชาการที่จะนำมาใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย 6
พันธกิจ ได้แก  การพัฒนาหลักสูตรระดับสถานศึกษา การปฏิรปู การเรยี นร ู้ การเทยี บโอนผลการ
เรียน การจัดเครือข่ายและแหล่งการเรียนรู้ การพัฒนาสื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษา และการ
ปฏิรูปการเรียนรู้ในชุมชน
5. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
งานวิจัยต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปการศึกษา
มอร์ส (Morse 1994 : Abstract ) ได้ทำการศึกษาเรื่อง "สุดท้ายของการศึกษา" เป็นการ
ศึกษาเค้าโครงประวัติศาสตร์ของเพลโตที่เขียนถึงดิวอี้ สำหรับการวิเคราะห์การปฏิรูปการศึกษา
และสรุปได้ถึงเป้าหมายสุดท้ายของการปฏิรูปการศึกษา คือ การพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพสูงสุด
ทัดเทียมกับสมาชิกอื่น ๆ ในสังคมทั้งในทางปฏิบัติ ทฤษฏี และเทคโนโลยี การปฏิรูปการศึกษาที่มี
ควรมีความชัดเจนในด้าน โครงสร้าง วิธีการ และเนื้อหาสาระ
แมคฟาร์แลนด์ (Mcfarland 1996 : Abstract) ได้ทำการศึกษาเรื่อง "การปฏิรูปการศึกษาและ
พรรคสังคมประชาธิปไตยในเวมาร์ ประเทศปรัสเซีย พบว่า การที่จะปฏิรูปการศึกษาให้เป็นผล
สำเร็จได้นั้น ต้องอาศัยความร่วมมือจากพรรคการเมืองต่าง ๆ หลายพรรคที่เป็นสื่อกลางในการ
ประสาน ความเข้าใจและเป็นตัวผลักดันให้การปฏิรูปการศึกษาประสบความสำเร็จ
เลิช (Laih 1997 : Abstract) ได้ศึกษาเรื่อง "การเปลี่ยนแปลงการศึกษาในระดับที่สูงกว่า
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นของประเทศใต้หวัน" พบว่า มีความไม่ทัดเทียมกันระหว่างความต้องการ
และระบบการศึกษาของรัฐและเอกชน นั่นคือ คนที่เรียนต่อทางสายอาชีวศึกษาจะมีเฉพาะโรงเรียน
ของเอกชน ในขณะที่คนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ได้เรียนในโรงเรียนของรัฐบาลซึ่งทำให้เกิดความ
ไม่ทัดเทียมกันในเรื่องค่าใช้จ่ายและคุณภาพ ผลการวิจัยมีผู้แนะนำว่าควรมีการปฏิรูปการศึกษาโดย
การรวบวัตถุประสงค์ของทั้งสองระบบเข้าเป็นหน่วยเดียวกัน
28

การศึกษาสภาพและปัญหาในการจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาโรงเรียนเอกชน (ตอนที่ 1)
การศึกษาสภาพและปัญหาในการจัดการศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาโรงเรียนเอกชน (ตอนที่ 2)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น