วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2552

การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานของพระสังฆาธิการในวัดพัฒนาตัวอย่าง (ตอนที่ 1)



การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานของ
พระสังฆาธิการในวัดพัฒนาตัวอย่าง
นายปกรณ์ ตันสกุล
วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาการบริหารการศึกษา
ปีการศึกษา 2546
ISBN : 974-310-141-1
ลิขสิทธิ์ของสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
A STUDY OF STATUS AND PROBLEMS OF
ADMINISTRATION OF CHIEF ABBOTS
OF EXAMPLARY WATS
MR. PAKORN TANSAKUL
A Thesis Submitted in Partial Fulfillment of the Requirements
for the Master of Education (Education Administration)
at Rajabhat Institute Bansomdej Chao Praya
Academic Year 2003
ISBN : 974-310-141-1
วิทยานิพนธ์ การศึกษาสภาพปัญหาการบริหารงานของพระสังฆาธิการในวัดพัฒนาตัวอย่าง
โ ด ย น า ย ป ก ร ณ์ ตั น ส กุ ล
ส า ข า ก า ร บ ริ ห า ร ก า ร ศึ ก ษ า
ปร ะ ธ า นก ร ร มก า ร ค ว บคุม วิ ท ย า นิพ น ธ์์์์ ด ร .
อ า ร มณ์ จิ น ด า พัน ธ์
ก ร ร มก า ร ด ร .ส ม ศั ก ดิ์ ด ล
ป ร ะ สิ ท ธิ์
กรรมการ รองศาสตราจารย์ ดร.นันทา วิทวุฒิศักดิ์
บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา อนุมัติให้วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา
ต า ม ห ลั ก สู ต ร ป ริ ญ ญ า ค รุ ศ า ส ต ร ม ห า บั ณ ฑิต
....................................................................... คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
(ดร.สรายุทธ์ เศรษฐขจร)
คณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์
....................................................................... ประธานกรรมการ
(ศาสตราจารย์ ดร. สายหยุด จำปาทอง)
....................................................................... กรรมการ
(ดร. อารมณ์ จินดาพันธ์)
....................................................................... กรรมการ
(ดร.สมศักดิ์ ดลประสิทธิ์)
....................................................................... กรรมการ
(รองศาสตราจารย์ ดร. นันทา วิทวุฒิศักดิ์)
....................................................................... กรรมการ
(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุภรณ์ ลิ้มบริบูรณ์)
....................................................................... กรรมการและเลขานุการ
(รองศาสตราจารย์ สมชาย พรหมสุวรรณ)
ลิ ข สิ ท ธิ์ิ์ิ ข อ ง ส ถ า บั น ร า ช ภั ฏ บ้้้้ า น ส ม เ ด็ จ
เ จ้้้้ า พ ร ะ ย า
ปกรณ์ ตันสกุล. (2546). การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานของพระสังฆาธิการในวัด
พัฒนาตัวอย่าง. วิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัยสถาบันราชภัฏ
บ้านสมเด็จเจ้าพระยา. คณะกรรมการควบคุม ดร.อารมณ์ จนิ ดาพนั ธ; ดร.สมศักดิ์
ดลประสิทธิ์; รศ.ดร.นันทา วิทวุฒิศักดิ์
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปญั หาการบรหิ ารงาน และภาวะผู้นำของ
พระสงั ฆาธกิ ารในวัดพัฒนาตัวอย่าง เพอื่ ประมวลปญั หาและขอ้ เสนอแนะในการดาํ เนนิ การของ
วัดพัฒนาตัวอย่าง ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามที่สร้างขึ้นตามหลักเกณฑ์และแนวทางในการพิจารณาวัด
พัฒนาตัวอย่าง 3 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านการจัดการปกครองภายในวัด (2) ด้านอาคารเสนาสนะ
และ (3) ด้านการจัดกิจกรรมเพื่อชุมชน โดยมคี า่ ความเชอื่ มนั่ 0.9840 ทำการเก็บรวบรวมข้อมูล
จากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นพระสังฆาธิการในวัดพัฒนาตัวอย่าง จำนวน 302 รูป การวิเคราะห์ข้อมูล
ใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพการบริหารงานโดยรวมของพระสังฆาธิการในวัดพัฒนาตัวอย่างอยู่ใน
ระดับมากทุกด้าน โดยพบว่า ด้านอาคารเสนาสนะ มีสภาพการบริหารงานมากกว่าด้านอื่นๆ
2. ปัญหาการบริหารงานโดยรวมของพระสังฆาธิการในวัดพัฒนาตัวอย่าง อยู่ใน
ระดับปานกลางทุกด้าน โดยพบว่าด้านการจัดการปกครองภายในวัด มีปัญหาการบริหารงาน
มากกว่าด้านอื่นๆ
3. ภาวะผู้นำโดยรวมของพระสังฆาธิการในวัดพัฒนาตัวอย่าง อยู่ในระดับมาก
โดยพบว่า ความสามารถทำงานเป็นทีมหรือคณะ และร่วมทำงานกับพระสังฆาธิการวัดอื่นได้ดี
เป็นภาวะผู้นำที่อยู่ระดับปานกลางเพียงข้อเดียว
4. ปัญหาและข้อเสนอแนะในการดำเนินงานของวัดพัฒนาตัวอย่าง มีปัญหามาก คือ
พระภิกษุสงฆ์ สามเณร ในปัจจุบันปกครองให้มีคุณภาพเป็นไปได้ยาก ขาดงบประมาณ
ในการก่อสร้างและการพัฒนาวัดเจ้าอาวาสต้องช่วยเหลือตนเอง ประชาชนไม่มีเวลาในการจัด
กิจกรรมระหว่างวัดและชุมชน สำหรับข้อเสนอแนะที่ได้รับ คือ ควรถวายความรู้ และส่งเสริมให้
เจ้าอาวาสเข้าใจทางด้านการบริหารทั่วไป ควรจัดสรรงบประมาณอุดหนุนการพัฒนาวัดด้าน
อาคารเสนาสนะเพิ่มขึ้นและสอดคล้องกับเศรษฐกิจปัจจุบัน และควรมีการจัดกิจกรรมที่สร้างสรรค์
ระหว่างวัดและชุมชน ตามลำดับ
PAKORN TANSAKUL. (2003). A STUDY OF STATUS AND PROBLEMS OF
ADMINISTRATIONOF CHIEF ABBOTS OF EXAMPLARY WATS, BANGKOK:
GRADUATE SCHOOL RAJABHAT INSTITUTE BANSOMDEJ CHAO PRAYA,
ADVISOR COMMITTEE: DR. AROM JINDAPUN; DR. SOMSAK DOLPRASIT;
ASSOC.PROF.DR.NANTA WITWTUTTHISAK.
This research aimed to study status and problems of chief abbot’s management
exemplary wats, Bangkok Three areas of management were considered in the study:
administration, buildings and contraction and community activities. Questionnaire was the
instrument to gather data, which were, in twin, analyzed be means of percentage, mean, standard
deviation and frequency.
Findings were as follows:
1. The respondents rated administration at high level.
2. Administration problems were rated at average level.
3. Leadership role of the chief abbots was rate at high level.
ประกาศคุณูปการ
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้สำเร็จได้ด้วยความกรุณาอย่างยิ่งจาก ดร.อารมณ์ จินดาพันธ์
ประธานผู้ควบคุมวิทยานิพนธ์ ที่ได้สละเวลาอันมีค่าให้การแนะนำ ช่วยเหลือ และตรวจสอบ
แก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ ด้วยความเอาใจใส่อย่างดียิ่งมาโดยตลอด รวมทั้งรองศาสตราจารย์
ดร. นันทา วิทวุฒิศักดิ์ และ ดร. สมศักดิ์ ดลประสิทธิ์ ที่ได้กรุณาให้คำแนะนำและตรวจแก้ไข
เพื่อให้วิทยานิพนธ์มีความถูกต้อง ผู้วิจัยขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงไว้ ณ โอกาสนี้
ขอขอบพระคุณ ศาสตราจารย์ ดร.สายหยุด จำปาทอง ประธานกรรมการตรวจสอบ
วิทยานิพนธ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุภรณ์ ลิ้มบริบูรณ์ และรองศาสตราจารย์ สมชาย พรหมสุวรรณ
กรรมการสอบวิทยานิพนธ์ ที่ได้กรุณาให้คำแนะนำและข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ และ
ตรวจแก้ไขวิทยานิพนธ์ให้ถูกต้องสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ขอขอบพระคุณท่านธำรง อมโร รองอธิบดี
กรมการศาสนา ดร. กมล รอดคล้าย ผู้เชี่ยวชาญด้านฝึกอบรม กระทรวงศึกษาธิการ
อาจารย์มนัส ภาคภูมิ ผู้อำนวยการกองศาสนศึกษา และ ดร.บัณฑิต แท่นพิทักษ์ ศึกษานิเทศก์
กรมสามัญศึกษา ผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบเครื่องมือทุกท่าน ที่ได้กรุณาให้คำแนะนำและ
ข้อเสนอแนะในการสร้างเครื่องมือในการวิจัย ขอขอบพระคุณคณาจารย์ สาขาบริหารการศึกษา
บัณฑิตวิทยาลัยสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาทุกท่านที่ได้ประสิทธิประสาทความรู้
แนวคิดและประสบการณ์ต่างๆ ในขณะศึกษาอยู่ในสถาบันนี้
ขอกราบขอบพระคุณท่านเจ้าอาวาสวัดพัฒนาตัวอย่าง ที่ให้ความอนุเคราะห์ในการเก็บ
ข้อมูลและเป็นกลุ่มตัวอย่างในการตอบแบบสอบถามครั้งนี้เป็นอย่างดียิ่ง
คุณค่าและประโยชน์อันพึงมีจากวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ขอมอบเป็นเครื่องบูชาพระคุณ
บุพการีผู้ให้กำเนิดและคณาจารย์ทุกท่านผู้ประสิทธิ์ประสาทความรู้ และผู้มีพระคุณทุกท่าน
ปกรณ์ ตันสกุล
สารบัญ
หน้า
บทคัดย่อภาษาไทย………………………………………………………………………….. ก
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ………………………………………………………………………. ข
ประกาศคุณูปการ………………………………………………………………………….... ค
สารบัญ.......…...…………………………………………………………………………….. ง
สารบัญตาราง…...…………………………………………………………………………… ช
สารบัญแผนภาพ…………………………………………………………………………….. ซ
บทที่ 1 บทนำ
1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา………………..…………………… 1
1.2 วัตถุประสงค์ของการวิจัย…………………………………………………….. 3
1.3 ประโยชน์ที่จะได้รับ...........…………………………………………………... 4
1.4 ขอบเขตของการวิจัย…………………………………………………………. 4
1.5 นิยามศัพท์...........…………………………………………………………….. 5
1.6 กรอบแนวคิดในการวิจัย..…....…………………………………………........… 6
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
2.1 วัดกับการพัฒนาเป็นวัดตัวอย่าง...................................................................... 8
2.2 การบริหารงานของพระสังฆาธิการในวัดพัฒนาตัวอย่าง................................ 24
2.3 สภาพและปัญหาการบริหารงาน..................................................................... 32
2.4 แนวคิดเกี่ยวกับภาวะผู้นำ............................................................................... 43
2.5 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง.......................................................................................... 47
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย
3.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง.............................................................................. 52
3.2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย................................................................................. 54
3.3 การสร้างและการหาคุณภาพของเครื่องมือ...................................................... 55
3.4 การเก็บรวบรวมข้อมูล..................................................................................... 56
3.5 การวิเคราะห์ข้อมูล.......................................................................................... 56
3.6 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล...................................................................... 57
5
สารบัญ (ต่อ)
หน้า
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล............................................................................................. 58
4.1 ตอนที่ 1 สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม................................................. 58
4.2 ตอนที่ 2 การศกึ ษาสภาพและปญั หาการบรหิ ารงาน ของพระสังฆาธกิ ารใน
วัดพัฒนาตัวอย่าง จำแนกเป็นรายด้านและรวมทุกด้าน…………………..… 60
4.3 ตอนที่ 3 การศึกษาภาวะผู้นำของพระสังฆาธิการในวัดพัฒนาตัวอย่าง
จำแนกเป็นรายข้อ........................…………………………………………… 67
4.4 ตอนที่ 4 ปัญหาและข้อเสนอแนะ ในการดำเนินการของวัดพัฒนาตัวอย่าง.. 70
บทที่ 5 สรุปผล อภิปราย และข้อเสนอแนะ
5.1 วัตถุประสงค์.................................................................................................... 76
5.2 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง.................................................................... ……. 76
5.3 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย................................................................................. 76
5.4 การเก็บรวบรวมข้อมูล.................................................................................... 77
5.5 การวิเคราะห์ข้อมูล.......................................................................................... 77
5.6 สรุปผล............................................................................................................ 78
5.7 อภิปรายผล...................................................................................................... 80
5.8 ข้อเสนอแนะ.................................................................................................... 83
บรรณานุกรม………………………………………………………………………………… 83
ภาคผนวก
ภาคผนวก ก รายชื่อผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเครื่องมือ แบบสอบถามเพื่อการวิจัย..... 88
ภาคผนวก ข หนังสือราชการที่เกี่ยวข้อง………………........................................ 100
ภาคผนวก ค เขตการปกครองคณะสงฆ์..………………………………………... 104
ภาคผนวก ง รายชื่อวัดพัฒนาที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง
จำแนกตามเขตปกครองคณะสงค์..................................................... 107
6
สารบัญ (ต่อ)
หน้า
ภาคผนวก จ แบบรายงานวัดพัฒนาตัวอย่าง…………………………………….. 121
ภาคผนวก ช ประวัติผู้วิจัย……………………………………………………….. 131
7
สารบัญตาราง
ตารางที่ หน้า
1 แสดงจำนวนประชากรและกลุ่มตัวอย่างพระสังฆาธิการในวัดพัฒนา
ตัวอย่างจำแนกตามเขตปกครองคณะสงฆ์…………………………………..... 53
2 แสดงสถานภาพของกลุ่มตัวอย่างที่อยู่ในวัดพัฒนาตัวอย่าง.................................... 59
3 แสดงค่าคะแนนเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของสภาพและปัญหา
การบริหารงานของพระสังฆาธิการในวัดพัฒนาตัวอย่าง………………………. 60
4 แสดงค่าคะแนนเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของสภาพและปัญหา
การบริหารงานของพระสังฆาธิการในวัดพัฒนาตัวอย่างด้านการจัดการ
ปกครองภายในวัด.……………………………………………………………. 61
5 แสดงค่าคะแนนเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของสภาพและปัญหา
การบริหารงานของพระสังฆาธิการในวัดพัฒนาตัวอย่างด้านอาคารเสนาสนะ… 63
6 แสดงค่าคะแนนเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของสภาพและปัญหา
การบริหารงานของพระสังฆาธิการในวัดพัฒนาตัวอย่างด้านการจัดกิจกรรม
เพื่อชุมชน……………………………………………………………………… 65
7 แสดงค่าคะแนนเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของภาวะผู้นำของ
พระสังฆาธิการในวัดพัฒนาตัวอย่าง…………...……………………………… 67
8 แสดงปัญหาและข้อเสนอแนะในการดำเนินงานของวัดพัฒนาตัวอย่าง
ด้านการจัดการปกครองภายในวัด........………………………………………. 70
9 แสดงปัญหาและข้อเสนอแนะในการดำเนินงานของวัดพัฒนาตัวอย่าง
ด้านอาคารเสนาสนะ……………………………………………….………….. 72
10 ปัญหาและข้อเสนอแนะในการดำเนินงานของวัดพัฒนาตัวอย่าง
ด้านการจัดกิจกรรมเพื่อชุมชน………………………….……………………… 74
8
สารบัญแผนภาพ
หน้า
แผนภาพที่ 1 แสดงกรอบแนวคิดในการวิจัย.........................…………………………….… 7
แผนภาพที่ 2 แสดงแผนผังการปกครองคณะสงฆ์ปัจจุบัน.................................................... 35
แผนภาพที่ 3 แสดงตัวอย่างการจัดทำแผนผังวัด........................………………......……….. 38
บทที่ 1
บทนำ
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
สภาพสังคมไทยเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านเศรษฐกิจและด้านสังคม
การพัฒนาประเทศมุ่งเน้นการพัฒนาความเจริญทางเศรษฐกิจ ทำให้สังคมไทยเปลี่ยนเป็นสังคม
เมือง ความสัมพันธ์แบบพึ่งพาอาศัยกันของชุมชน เปลี่ยนเป็นต่างคนต่างอยู่ เป็นสังคมบริโภคนิยม
ความเสื่อมถอยทางด้านศีลธรรม จริยธรรมของประชาชนมีมากขึ้น ขาดศรัทธาในศาสนา วิถีชีวิต
ของคนไทยเริ่มห่างไกลจากวัดมากขึ้นทุกที ก่อให้เกิดปัญหาทางสังคมตามมามากมาย พุทธศาสนา
เป็นศาสนาที่ประชาชนชาวไทยมากกว่าร้อยละ 95 เคารพนับถือและเป็นรากฐานที่สำคัญของ
วัฒนธรรมไทย กล่าวได้ว่าวิถีชีวิตของคนไทยกับพุทธศาสนาผูกพันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
อย่างแน่นแฟ้น พุทธศาสนาจึงเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติไทย (ศุภกุล เกียรติสุนทร, 2527 : 28)
ดังนั้น ความเจริญและความเสื่อมของพระพุทธศาสนาจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนา
และความมั่นคงของประเทศ (พระเทพเวที, 2534 : 1)
วัดเป็นศูนย์กลางแห่งกิจกรรมต่างๆ ของชุมชน เป็นแหล่งการศึกษาของประชาชนและ
ทำหน้าที่เป็นสถาบันหลักในการฝึกอบรมพระสงฆที่จะสืบต่อพระศาสนาและพลเมืองที่จะ
รับผิดชอบสังคม ในอดีตพระภิกษุสงฆ์มีฐานะทั้งครูบาอาจารย์และผู้ฝึกฝนอบรมให้แก่ประชาชน
ในชุมชนเกือบทุกเรื่องทั้งด้านจิตใจและด้านความเป็นอยู่หรืออาชีพของประชาชน และวัด
ยังมีฐานะเป็นโรงเรียนอีกด้วย แม้ปัจจุบันความเป็นศูนย์กลางในบางเรื่องจะลดลงแต่
ความสำคัญเหล่านั้นก็ยังคงอยู่โดยเฉพาะวัดในเขตภูมิภาค บทบาทของวัดยังคงมีความเข้มข้น
อยู่ค่อนข้างมาก ทั้งในเรื่องของการพัฒนาชุมชน การพัฒนาอาชีพ หรือหน่วยส่งเสริมเศรษฐกิจ
ชุมชน การรวมกลุ่ม การเป็นหน่วยสังคมสงเคราะห์และความเป็นศูนย์กลางทางด้านจิตใจยังคงอยู่
มิเสื่อมคลายแต่อย่างใด (กรมการศาสนา 2540 ก. : 1)
การจะให้วัดเป็นศูนย์กลางชุมชนดังเช่นในอดีต จำเป็นต้องพัฒนาวัดในทุกๆ
ด้าน โดยเฉพาะการจัดกิจกรรมเพื่อประโยชน์แก่ชุมชนนั้น พระสงฆ์เป็นผู้มีบทบาทสำคัญที่สุด
เพราะถือกันว่า สถาบันพระสงฆ์เป็นสถาบันทางจริยธรรม และเป็นผู้นำทางด้านจิตใจของสังคม
(พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต), 2541 ก. : 17) ดังนั้น วัดและพระสงฆ์จึงมีอิทธิพลต่อความเจริญ
รุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา ซึ่งจะช่วยสร้างสังคมให้อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ส่งผลต่อการพัฒนา
ประเทศได้เป็นอย่างดี
2
เจ้าอาวาสเป็นพระสังฆาธิการผู้มีหน้าที่บริหารและปกครองวัด ที่อยู่ใกล้ชิดประชาชน
มากที่สุด พระพุทธศาสนาจะเจริญก็เพราะความเลื่อมใสของประชาชน เจ้าอาวาสย่อมเป็น
ตัวจักรสำคัญในความเจริญของพระพุทธศาสนา ดังนั้นการพัฒนาวัดให้เป็นศูนย์กลางของชุมชน
เจ้าอาวาสจะต้องเป็นบุคคลที่ประชาชนเคารพนับถือ เป็นที่ศรัทธาของประชาชน
(พระธรรมวโรดม, 2539 : 188) ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 และแก้ไขเพิ่มเติม
โดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ได้บัญญัติหน้าที่ของเจ้าอาวาสในมาตราที่ 37
และอำนาจของเจ้าหน้าที่ในมาตราที่ 38 ดังนี้
มาตรา 37 เจ้าอาวาสมีหน้าที่ ดังนี้
1. บำรุงรักษาวัด จัดกิจกรรมและศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปด้วยดี
2. ปกครองและสอดส่องให้บรรพชิตและคฤหัสถ์ที่มีอยู่ หรือพำนักอาศัยอยู่ในวัดนั้น
ปฏิบัติตามพระธรรมวินัย กฎมหาเถรสมาคม ข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งของมหาเถรสมาคม
3. เป็นธุระในการศึกษาอบรมและสั่งสอน พระธรรมวินัยแก่บรรพชิต และคฤหัสถ์
4. ให้ความสะดวกตามสมควรในการบำเพ็ญกุศล
มาตรา 38 เจ้าอาวาสมีอำนาจดังนี้
1. ห้ามบรรพชิตและคฤหัสถ์ซึ่งมิได้รับอนุญาตจากเจ้าอาวาสเข้าไปอยู่อาศัยในวัด
2. สั่งให้บรรพชิตและคฤหัสถ์ซึ่งไม่อยู่ในโอวาทของเจ้าอาวาสออกไปเสียจากวัด
3. สั่งให้บรรพชิตและคฤหัสถ์ที่มีอยู่หรือพำนักอาศัยในวัด ทำงานภายในวัด หรือ
ใหท้ าํ ทณั ฑบ์ นหรอื ใหข้ อขมาโทษ ในเมื่อบรรพชติ และคฤหสั ถใ์ นวัดนั้นประพฤติผิดคาํ สัง่ เจา้ อาวาส
ซึ่งได้สั่งโดยชอบด้วยพระธรรมวินัย กฎมหาเถรสมาคม ข้อบังคับ ระเบียบหรือคำสั่งของ
มหาเถรสมาคม
จากสภาพความเสื่อมถอยทางด้านศีลธรรม จริยธรรมของประชาชน ขาดศรัทธาใน
พระพุทธศาสนา กระทรวงศึกษาธิการจึงมีนโยบายให้ฟื้นฟูวัดให้เป็นศูนย์กลางชุมชน
เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจและนำไปปฏิบัติในวิถีชีวิตของไทย โดยมอบหมายให้กรมการศาสนา
เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการปรับปรุงวัด ให้เป็นศูนย์กลางการเผยแผ่พระพุทธธรรม จริยธรรม
ตลอดจนคุณธรรมให้วัดต่าง ๆ ดูแลบริเวณวัด อาคารเสนาสนะให้อยู่ในสภาพเรียบร้อย สวยงาม
มีบรรยากาศร่มรื่น อย่างไรก็ตามวัดเป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ดงั นนั้ การปกครองดแู ลวดั จึงเปน็ อาํ นาจหนา้ ที่ของเจา้ อาวาสวัดนั้นๆ ตามมาตรา 37 และมาตรา 38
ของพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2525 กรมการศาสนาจึงได้เริ่มโครงการวัดพัฒนาตัวอย่างตั้งแต่ปี
พ.ศ. 2507 เพื่อพิจารณาคัดเลือก วัดที่เจ้าอาวาสมีความวิริยะอุตสาหะ จัดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์
ต่อชุมชนปรับปรุงวัดให้มีความสะอาดร่มรื่นเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง
3
หลักเกณฑ์ที่กรมการศาสนาได้ใช้เป็นแนวทางเพื่อประกอบการพิจารณาคัดเลือกวัด
ทั่วๆ ไป ขึ้นเป็นวัดพัฒนาตัวอย่างในปัจจุบันนี้ พอสรุปได้ดังนี้ (กรมการศาสนา, 2540 ก. : 227)
1. หลักเกณฑ์ของวัดนั้น ได้รับการแต่งตั้งถูกต้องตามกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 5
พ.ศ. 2506 และแกไ้ ขเพมิ่ เตมิ พ.ศ. 2509 และ พ.ศ. 2521
2. มีพระภิกษุอยู่ประจำไม่น้อยกว่า 5 รูปขึ้นไป
3. การปกครองพระภิกษุสามเณรและศิษย์วัดเป็นไปอย่างมีระเบียบเรียบร้อย
4. มีกุฏิ วิหาร เสนาสนะ หรือตลอดจนสิ่งปลูกสร้างภายในวัด มีความเป็นระเบียบ
เรียบร้อย สะอาด สวยงาม มั่นคงแข็งแรงดี
5. ได้ประกอบกิจกรรมอันเป็นแนวทางในการช่วยเหลือส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม
และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนในท้องถิ่นนั้น
วัดเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของสถาบันพระพุทธศาสนา วัดเป็นเสมือนร่างกายของศาสนา
ซึ่งต้องบำรุงรักษา (พระธีรญาณมุนี, 2527 : 30) ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายให้
กรมการศาสนาดาํ เนนิ การปรับปรงุ วัดโดยเริ่มโครงการวัดพฒั นาตัวอยา่ ง ตัง้ แตป่  2507 ซงึ่ ดาํ เนนิ การ
มาเป็นระยะเวลา 36 ปี ยังไม่มีรายงานวิจัยใดที่ติดตามผลการดำเนินการของวัดพัฒนาตัวอย่าง
หลังจากการได้รับการยกฐานะเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง ผู้วิจัยในฐานะผู้บริหารกรมการศาสนา
จึงมีความสนใจที่จะศึกษาสภาพการบริหารและปัญหาการบริหารงานของพระสังฆาธิการในวัด
พัฒนาตัวอย่าง ตามหลักเกณฑ์และแนวทางการพิจารณาคัดเลือกวัดพัฒนาตัวอย่างของกรมการ
ศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อนำข้อมูลไปใช้ประกอบการวางแผนพัฒนาโครงการวัดพัฒนา
ตวั อยา่ งและปรบั ปรงุ การบรหิ ารงานและการปฏบิ ตั งิ านของพระสงั ฆาธกิ ารในวดั พฒั นาตวั อยา่ งทจี่ ะ
ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนในท้องถิ่นนั้นอย่างดีตลอดไป
วตั ถปุ ระสงคข์ องการวจิ ยั
ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ตั้งความมุ่งหมายไว้ดังนี้
1. เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานของพระสังฆาธิการในวัดพัฒนาตัวอย่าง
2. เพื่อศกึ ษาภาวะผูน้ าํ ของพระสังฆาธกิ ารในวัดพฒั นาตัวอยา่ ง
3. เพื่อประมวลปัญหาและข้อเสนอแนะในการดำเนินการของวัดพัฒนาตัวอย่าง
4
ประโยชน์ที่จะได้รับ
1. ทำให้ทราบถึงสภาพการบริหารงานของพระสังฆาธิการในวัดพัฒนาตัวอย่าง
2. ทำให้ทราบถึงสภาพปัญหาการบริหารงานของพระสงั ฆาธกิ ารในวดั พฒั นาตวั อยา่ ง
3. ทำให้ทราบถึงภาวะผู้นำของพระสังฆาธิการในวัดพัฒนาตัวอย่าง
4. เป็นแนวทางการบริหารวัดพัฒนาตัวอย่าง สำหรับพระสังฆาธิการ และกรมการ
ศาสนา
ขอบเขตของการวิจัย
1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
1.1 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย
ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ไดแ้ ก ่ พระสงั ฆาธิการในวดั ทีไ่ ดร้ บั การยกฐานะเปน็
วัดพฒั นาตัวอย่างทัว่ ประเทศ ระหวา่ งป ี พ.ศ. 2507 ถงึ พ.ศ. 2545 จาํ นวน 1,402 รปู
1.2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ พระสังฆาธิการในวัดที่ได้รับ
การยกฐานะเป็นวัดพัฒนาตัวอย่างทั่วประเทศ ระหวา่ งป ี พ.ศ. 2507 ถงึ พ.ศ. 2545 ใช้วิธี
การสุ่มตวั อยา่ งแบบแบง่ ชัน้ (Stratified Random Sampling) ตามเขตปกครองคณะสงฆ  18 เขต
โดยกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างจากตารางสำเร็จรูปของ เครซี่และมอร์แกน (Krejcie and
Morgan, 1970 : 608) ทำให้ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 302 รูป โดยกลุ่มตัวอย่างต้องเป็น
พร ะ สั ง ฆ า ธิ ก า ร ข อ ง วั ด ที่ ไ ด้ รั บ ก า ร ย ก
ฐ า น ะ เ ป็ น วั ด พัฒ น า ตั ว อ ย่ า ง ซึ่ ง คุ ณ
ส ม บั ติ เ กี่ ย ว กั บ
อ า ยุ วุฒิการศึกษาทางโลก ระยะเวลาที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระสังฆาธิการ และระยะ
เ ว ล า
ที่วัดได้รับการยกฐานะเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง
2. การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษา
2.1 สภาพและปัญหาการบริหารงานของพระสังฆาธิการในวัดพัฒนาตัวอย่าง
ตามหลักเกณฑ์และแนวทางการพิจารณาคัดเลือกวัดพัฒนาตัวอย่าง 3 ด้าน คือ
2.1.1 ด้านการจัดการปกครองภายในวัด
2.1.2 ด้ า น อ า ค า ร เ ส น า ส น ะ
5
2.1.3 ด้ า น ก า ร จั ด กิ จ ก ร ร ม เ พื่ อ
ชุ ม ช น
2.2 ภาวะผู้นำของพระสังฆาธิการในวัดพัฒนาตัวอย่าง
2 . 3 ปั ญ ห า แ ล ะ ข้ อ เ ส น อ แ น ะ ใ น ก า ร
บ ริ ห า ร ง า น ข อ ง พ ร ะ สั ง ฆ า ธิ ก า ร ใ น วั ด
พั ฒ น า
ตั ว อ ย่ า ง
นิยามศัพท์
ส ภ า พแ ล ะ ปัญ ห า ก า ร บ ริ ห า ร ง า น ห ม า ย
ถึ ง ส ภ า พแ ล ะ ปัญ ห า ข อ ง ก า ร บ ริ ห า ร วั ด
พั ฒ น า
ตั ว อ ย่ า ง เ พื่ อ ใ ห้ เ ป็ น ไ ป ต า ม ห ลั ก
เ กณฑ์แ ล ะ แ นว ทา ง ก า ร พิจ า ร ณา คัด เ ลื อ ก
วั ด พั ฒ น า ตั ว อ ย่ า ง
ใ น 3 ด้ า น ไ ด้แ ก่
1. ด้านการจัดการปกครองภายในวัด หมายถึง การปกครองและสอดส่องให้
บรรพชิตและคฤหัสถ์ในวัดประพฤติดี ปฏิบัติชอบ ถูกต้องตามพระธรรมวินัย มีกฎระเบียบ เพื่อให้
การปกครองเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
2. ด้านอาคารเสนาสนะ หมายถึง กุฏิ วิหาร หรือสิ่งปลูกสร้างภายในวัด ที่มีความ
เป็นระเบียบเรียบร้อย สะอาด สวยงาม มั่นคงแข็งแรง
3. ด้านการจัดกิจกรรมเพื่อชุมชน หมายถึง การจัดกิจกรรมของวัดในการช่วยเหลือ
ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนในท้องถิ่น นั้น
พระสังฆาธิการ หมายถึง เจ้าอาวาสที่ได้รับการแต่งตั้งตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่
กำหนดในกฎมหาเถรสมาคม ให้ทำหน้าที่ปกครองวัดพัฒนาตัวอย่าง
วัดพัฒนาตัวอย่าง หมายถึง วัดที่ได้รับการคัดเลือกตามหลักเกณฑ์ที่กรมการศาสนา
กำหนดและขึ้นทะเบียนไว้โดยจัดงบประมาณสนับสนุนเพื่อพัฒนาวัดให้เป็นศูนย์กลางชุมชน
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2507 ถึงปีปัจจุบัน
ภาวะผู้นำ หมายถึง กระบวนการใช้บารมีรวมทั้งความสามารถทางกาย ทางใจ และ
สมอง อย่างมีศิลปะ ในการบริหารวัดพัฒนาตัวอย่างให้บรรลุเป้าหมายตามสถานการณ์ต่างๆ
โดยการจูงใจให้ผู้อื่นยอมรับและให้ความร่วมมือด้วยความเต็มใจ จนงานสำเร็จตามเป้าหมาย
6
วุฒิการศึกษาทางโลก หมายถึง วุฒิการศึกษาชั้นสูงสุดที่พระสังฆาธิการได้รับจาก
การศึกษาตามระบบของรัฐหรือที่รัฐให้การรับรอง แบ่งเป็น 3 ระดับ คือ
1. ระดับชั้นประถมศึกษา หมายถึง สำเร็จการศึกษาขั้นสูงสุดชั้นประถมศึกษา
2. ระดับชั้นมัธยมศึกษา หมายถึง สำเร็จการศึกษาขั้นสูงสุดชั้นมัธยมศึกษา
3. ระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่า หมายถึง สำเร็จการศึกษาขั้นสูงสุดปริญญาตรี
หรอื สูงกวา่
ระยะเวลาที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระสังฆาธิการ หมายถึง จำนวนปีที่ได้รับ
การแต่งตั้งให้เป็นพระสังฆาธิการแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ
1. น้อยกว่า 5 ปี หมายถึง ระยะเวลาที่บริหารงานในวัดพัฒนาตัวอย่าง ตั้งแต่ 1 ปี
ขึ้นไป แต่ไม่ถึง 5 ปี
2. ระยะเวลา 5-10 ปี หมายถึง ระยะเวลาที่บริหารงานในวัดพัฒนาตัวอย่าง ตั้งแต่
5 ปี ถึง 10 ปี
3. มากกว่า 10 ปี หมายถึง ระยะเวลาที่บริหารงานในวัดพัฒนาตัวอย่าง ตั้งแต่ 10 ปี
ขึ้นไป
ระยะเวลาที่วัดได้รับการยกฐานะเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง หมายถึง จำนวนปีที่ได้รับ
การยกฐานะเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง ที่กรมการศาสนากำหนดและขึ้นทะเบียน แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ
1. ระยะเวลาน้อยกว่า 5 ปี หมายถึง ได้รับการยกฐานะเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง ตั้งแต่
1 ปี ขึ้นไป แต่ไม่ถึง 5 ปี
2. ระยะเวลา 5–10 ปี หมายถึง ได้รับการยกฐานะเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง ตั้งแต่ 5
ถึง 10 ปี
3. ระยะเวลามากกว่า 10 ปี หมายถึง ได้รับการยกฐานะเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง ตั้งแต่
10 ปีขึ้นไป
กรอบแนวคิดในการวิจัย
กรอบแนวคิดในการวิจัยนี้ ผู้วิจัยได้ ศึกษา และทำการสังเคราะห์ เกี่ย ว กั บ บ ท
บ า ท แ ล ะ
คุณสมบัติของพระสังฆาธิการและหลักเกณฑ์ที่กรมการศาสนาได้ใช้เป็นแนวทางเพื่อประกอบ
การพิจารณาคัดเลือกวัดทั่วๆ ไป ขึ้นเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง (กรมการศาสนา, 2540 ก. : 227) คือ
(1) การปกครองพระภิกษุสามเณรและศิษย์วัดเป็นไปอย่างมีระเบียบเรียบร้อย
(2) มีกุฏิ วิหาร เสนาสนะ หรือตลอดจนสิ่งปลูกสร้างภายในวัด มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย สะอาด
7
สวยงาม มั่นคงแขง็ แรงดี (3) ไดป้ ระกอบกิจกรรมอันเปน็ แนวทางในการชว่ ยเหลือสง่ เสริมคุณธรรม
จริยธรรม และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนในท้องถิ่นนั้น และศึกษาทฤษฎีภาวะผู้นำของ
พระสังฆาธิการ เพื่อนำมาวิเคราะห์และประกอบการวิจัยในครั้ง
ผู้วิจัยจึงได้กำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัยเรื่อง “การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหาร
งานของพระสังฆาธิการในวัดพัฒนาตัวอย่าง” ไว้ดังแผนภาพที่ 1
แผนภาพที่ 1 แสดงกรอบแนวคิดในการวิจัย
คุณสมบัติพระสังฆาธิการ
ของวัดที่ได้รับการยกฐานะ
เป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง
1. อายุ
2. วุฒิการศึกษาทางโลก
3. ระยะเวลาที่ได้รับการ
แต่งตั้งเป็นพระสังฆาธิการ
4. ระยะเวลาที่วัดได้รับการ
ยกฐานะเป็นวัดพัฒนา
ตวั อยา่ ง
สภาพและปัญหาการบริหารงานของ
พระสังฆาธิการในวัดพัฒนาตัวอย่าง
ตามหลักเกณฑ์และแนวทางการพิจารณา
คัดเลือกวัดพัฒนาตัวอย่าง ใน 3 ด้าน คือ
1. ด้านการจัดการปกครองภายในวัด
2. ด้านอาคารเสนาสนะ
3. ด้านการจัดกิจกรรมเพื่อชุมชน
ภาวะผู้นำของพระสังฆาธิการ
ในวัดพัฒนาตัวอย่าง
ปัััั ญ ห า แ ล ะ ข้้้้ อ เ ส น อ
แ นะ ใ นก า ร บ ริ ห า ร
ง า น
บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และได้นำเสนอ
ตามหัวข้อดังต่อไปนี้
1. วัดกับการพัฒนาเป็นวัดตัวอย่าง
1.1 สถานภาพของวัดทั่วไป
1.2 การพัฒนาเป็นวัดตัวอย่าง
1.3 หลักเกณฑ์และแนวทางการพิจารณาคัดเลือกวัดพัฒนาตัวอย่าง
2. การบริหารงานของพระสังฆาธิการในวัดพัฒนาตัวอย่าง
2.1 แนวคิดและหลักการบริหารองค์กร
2.2 บทบาทของพระสังฆาธิการ
3. สภาพและปัญหาการบริหารงาน
3.1 ด้านการจัดการปกครองวัด
3.2 ด้านอาคารเสนาสนะ
3.3 ด้านการจัดกิจกรรมเพื่อชุมชน
4. แนวคิดเกี่ยวกับภาวะผู้นำ
5. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
วัดกับการพัฒนาเป็นวัดตัวอย่าง
1. สถานภาพของวัดทั่วไป
จากการที่พุทธศาสนาเป็นศาสนาที่ประชาชนชาวไทยมากกว่าร้อยละ 95
เคารพนับถือและเป็นรากฐานที่สำคัญของวัฒนธรรมไทย กล่าวได้ว่าวิถีชีวิตของคนไทยกับ
พุทธศาสนาผูกพันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอย่างแน่นแฟ้น พุทธศาสนาจึงเป็นเอกลักษณ์
ประจำชาติไทย (กรมการศาสนา, 2543 : ก) วัดนับว่าเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของชุมชนของ
ประเทศไทย ในอดีตจนถึงปัจจุบัน วัดจึงเป็นศูนย์กลางแห่งกิจกรรมต่างๆ ของชุมชน
เป็นแหล่งการศึกษาของประชาชนและทำหน้าที่เป็นสถาบันหลักในการฝึกอบรมพระสงฆ์
ที่จะสืบต่อพระศาสนาและพลเมืองที่จะรับผิดชอบสังคม และวัดยังมีฐานะเป็นโรงเรียนอีกด้วย
แม้ปัจจุบันความเป็นศูนย์กลางในบางเรื่องจะลดลงแต่ความสำคัญก็ยังคงอยู่ โดยเฉพาะวัด
9
ในเขตภูมิภาค บทบาทของวัดยังคงมีความเข้มข้นอยู่ค่อนข้างมาก ทั้งในเรื่องของการพัฒนาชุมชน
การพัฒนาอาชีพ หรือหน่วยส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน การรวมกลุ่ม การเป็นหน่วยสังคมสงเคราะห์
และความเป็นศูนย์กลางทางด้านจิตใจยังคงอยู่มิเสื่อมคลายแต่อย่างใด วัดจึงมีบทบาทอย่างยิ่งใน
สังคมไทย
1.1 บทบาทของวัดในฐานะเป็นศูนย์กลางของสังคม
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต) (2541 ก. : 15 – 16) ได้สรุปบทบาทของวัดใน
ฐานะศูนย์กลางของสังคม ดังนี้
1.1.1 เป็นสถานศึกษา สำหรับชาวบ้านส่งกุลบุตรมาอยู่รับใช้พระรับ
การฝึกอบรมทางศีลธรรม และเล่าเรียนวิชาการต่าง ๆ ตามที่มีสอนในสมัยนั้น
1.1.2 เป็นสถานสงเคราะห์ ที่บุตรหลานชาวบ้านที่ยากจนได้มาอาศัยเลี้ยงชีวิต
และศึกษาเล่าเรียน ตลอดถึงผู้ใหญ่ที่ยากจนมาอาศัยเลี้ยงชีพ
1.1.3 เป็นสถานพยาบาลที่รักษาผู้เจ็บป่วยตามภูมิรู้ของคนสมัยนั้น
1.1.4 เป็นที่พักคนเดินทาง
1.1.5 เป็นสโมสรที่ชาวบ้านมาพบปะสังสรรค์ หย่อนใจ หาความรู้เพิ่มเติม
1.1.6 เป็นสถานบันเทิง ที่จัดงานเทศกาล และมหรสพต่างๆ สำหรับชาวบ้าน
ทั้งหมด
1.1.7 เป็นที่ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท เป็นที่ปรึกษาแก้ปัญหาชีวิต ครอบครัวและ
ความทุกข์ต่าง ๆ
1.1.8 เป็นศูนย์กลางของศิลปวัฒนธรรม ที่รวบรวมศิลปกรรมต่างๆ ของชาติ
ตลอดจนเป็นเสมือนพิพิธภัณฑ์
1.1.9 เป็นคลังวัสดุ สำหรับเก็บของใช้ต่างๆ ซึ่งชาวบ้านจะได้ใช้ร่วมกัน เมื่อมี
งานวัด หรือยืมไปใช้เมื่อตอนมีงาน
1.1.10 เป็นศูนย์กลางการบริหารหรือการปกครอง ที่กำนันหรือผู้ใหญ่บ้านจะ
เรียกลูกบ้านมาประชุมกัน บอกแจ้งกิจกรรมต่าง ๆ (ในยามสงคราม อาจใช้เป็นที่ชุมนุมทหารด้วย)
1.1.11 เป็นที่ประกอบพิธีกรรม หรือใช้บริการด้านพิธีกรรม อันเป็นเรื่อง
ผูกพันกับชีวิตของทุกคน ในระยะเวลาต่าง ๆ ของชีวิต
การที่วัดกลายเป็นศูนย์กลางของสังคม ทำให้พระสงฆ์กลายเป็นผู้นำทางจิตใจ
เป็นศูนย์รวมความร่วมมือ อาจจะเกิดจากปัจจัยหลายอย่าง เช่น การเป็นที่ประกอบพิธีกรรม
พระภิกษุสงฆ์เป็นผู้มีสติปัญญารอบรู้วิชาการต่างๆ เป็นที่ปรึกษาแนะนำชาวบ้านในปัญหาต่างๆ
ได้ และในฐานะเป็นศิษย์กับอาจารย์ ทำให้สังคมไทยเชิดชูฐานะของพระสงฆ์ในสังคม
10
คือ ความบริสุทธิ์ ความเสียสละบำเพ็ญผลประโยชน์ และความเป็นผู้นำทางสติปัญญา
(พระธรรมปิฎก, (ป.อ. ปยุตโต), 2541 ก. : 18 – 19)
1.2 บทบาทของวัดในฐานะที่เป็นศาสนวัตถุ
พระธีรญาณมุนี (2527 : 199–202) กล่าวถึงวัดในพระพุทธศาสนาว่า เป็นที่อยู่
ของภิกษุ และเป็นศาสนวัตถุที่มีคุณค่ายิ่งในสถาบันพระพุทธศาสนา คุณค่าของวัดที่มีต่อพุทธศาสนิก
ชนหรือประชาชนทั่วไป มีดังนี้
1.2.1 เป็นวัตตสถาน คือเป็นที่ประพฤติพรหมจรรย์ กล่าวคือเป็นที่กุลบุตรไป
บรรพชาอุปสมบทและเป็นที่ชาวบ้านไปถือศีลฟังธรรม บำเพ็ญความดีความงาม
1.2.2 เป็นบุญญเขต คือ เป็นสถานที่ที่ชาวบ้านไปบำเพ็ญกุศล
1.2. 3 เป็นรูปสมสถาน คือ สถานแห่งความสงบ ใครมีเรื่องเดือดร้อน
เมื่อเข้าหาวัด ก็มักจะเกิดความรู้สึกสงบ ไม่วุ่นวาย
1.2.4 เป็นสาธารณูปการสถาน คือ สถานที่ที่ชาวบ้านใช้สาธารณูปโภค เช่น
ได้อาศัยน้ำกินน้ำใช้ในวัดถึงที่บ่อ ที่สระของวัด
1.2.5 เป็นสถานศึกษา คือ เป็นที่เล่าเรียนวิชาความรู้ตั้งแต่ชั้นต่ำจนถึง
ชั้นมหาวิทยาลัยทั้งในด้านศาสนศึกษา สามัญศึกษา และวิสามัญศึกษา
1.2.6 เป็นสโมสรสถานหรือสมาคม คือ เป็นที่ไปชุมนุมหย่อนใจ
หย่อนอารมณ์ของประชาชนในบางโอกาส เช่น ข้าราชการที่ออกจากราชการแล้ว หรือชาวบ้านที่
แก่เฒ่าว่างกิจการแล้วก็ดี หรือชาวบ้านที่ยังมีหน้าที่การงานอยู่ แต่เมื่อมีเวลาว่างก็มักหาโอกาสไป
วัด เพื่อสนทนากับพระที่รู้จักคุ้นเคยกันในวันปกติ หรือในคราวมีงานมีการที่วัดก็ไปพบปะกันที่วัด
1.2.7 เป็นสุขศาลา โรงพยาบาล หรือแพทยสถาน กล่าวคือ ในวัดหนึ่งๆ
แต่ก่อนมักจะมีพระศึกษาทางแพทย์แผนโบราณอยู่ และโดยมากแพทย์พระนั้นมักจะเป็นจำพวกยา
ขอหมอวานเป็นทางเมตตา กรุณา ขอหยูกยา พระก็มักอนุเคราะห์ด้วยเมตตากรุณา
1.2.8 เป็นอนาถนาถสถาน คือ เป็นที่พึ่งของคนไม่มีที่พึ่ง เช่น คราวต้อง
อัคคีภัย น้ำท่วม ชาวบ้านก็ได้อาศัยวัดช่วย
1.2. 9 เป็นภยตัชชิตนาถสถาน คือ เป็นที่พึ่งของคนผู้ถูกภัยคุกคาม เช่น
ในระหว่างสงคราม
1.2.10 เป็นมตามาตนาถสถาน คือ เป็นที่พึ่งของผู้ตายและญาติของผู้ตาย
ซึ่งมีชีวิตอยู่โดยมากสำหรับคนตาย เป็นที่นำศพญาติไปฝัง เก็บ หรือเผา ที่สุสานของวัด และได้
บำเพ็ญกุศลทักษิณานุปทาน และญาปนกิจ ณ ที่วัดนั้น
1.2.11 เป็นกีฬาสถาน คือ สนามเด็กเล่น ที่วัดไม่ว่าบ้านไหนเมืองไหน มักถือว่า
เป็นสาธารณสถาน เข้าไปเที่ยวเล่นกันได้
11
1.2.12 เป็นโรงแรม ตามหัวเมืองหรือตามชนบท พวกพ่อค้าที่เดินเที่ยวค้าขาย
ย่อมพากันไปขอพักตามวัด หรือแม้ในกรุงเทพมหานคร ชาวชนบทเข้ากรุงด้วยกิจการใดก็ตาม ก็
มักขอพักอาศัยตามวัด เสมือนหนึ่งวัดเป็นโรงแรม
1.2.13 เป็นศาล ในสมัยก่อนหรือแม้ในสมัยนี้ ตามชนบทเมื่อมีเรื่อง
มักจะไปหาพระซึ่งเป็นที่เคารพนับถือ โดยมากเป็นสมภารเจ้าวัด ขอให้ช่วยเปรียบเทียบความให้
หรือทำการวินิจฉัยคดีให้ โดยมากมักจะเป็นที่พอใจและสิ้นสุด หรือตกลงกันเพียงนั้น ไม่ต้อง
ขึ้นโรงขึ้นศาล โดยที่วัดทำหน้าที่เสมือนศาล
1.2.14 เป็นยุวายุวดีทัสสนสถาน คือ เป็นที่มาพบกันแห่งชายหนุ่มหญิงสาว
ในสมัยกระโน้น ไม่มีโรงมหาศพเสมือนสมัยนี้ วัดย่อมมีการประชุมทำบุญตักบาตรกันเนืองๆ
นอกนั้นยังมีงานที่วัด เช่น งานศพ งานเมรุ เป็นต้น
1.2.15 เป็นศูนย์กลางแห่งวัฒนธรรม และเป็นจุดสำคัญของสังคม
จากข้อสรุปทั้ง 15 ข้อ คือ บทบาทของวัดในฐานะที่เป็นศาสนวตั ถ ุ ซงึ่ ลว้ น
แล้วแต่มีคุณค่าอย่างยิ่งต่อสถาบันพระพุทธศาสนา และมีคุณค่าต่อพุทธศาสนิกชนหรือประชาชนที่
นับถือศาสนาพุทธทั่วไป
1.3 บทบาทของวัดที่มีต่อสังคมไทย
เฉียบ ไทยยิ่ง (2539 : 1) ได้จำแนกบทบาทของวัดที่มีต่อสังคมไทยไว้ดังนี้
1.3.1 บทบาทในฐานะที่เป็นจิตและวิญญาณของชุมชนและสังคม วัดทำหน้าที่
ในฐานะเป็นผู้หล่อหลอมและยกระดับจิตใจของผู้คนในสังคมให้สูงขึ้น มีคุณธรรมจริยธรรม
รักสันติและสมานสามัคคีปรองดองรวมทั้งความมีเหตุมีผลในการดำรงชีวิต วัดและ
พระพุทธศาสนาได้รังสรรค์ในประเด็นนี้ได้อย่างครบถ้วน วัดมีหน้าที่ในการอบรมสั่งสอนขัดเกลา
ในด้านศีลธรรมและจริยธรรม วัดและสถาบันพระพุทธศาสนาจึงเป็นแหล่งกำเนิดของกฎระเบียบ
ประเพณีวัฒนธรรมปทัสถานและวิถีชีวิตของสังคมไทย มาโดยตลอด
1.3.2 บทบาทในฐานะที่เป็นหน่วยงานพัฒนาและสังคมสังเคราะห์ชุมชน
บทบาทที่สำคัญของวัดในประเทศไทยตั้งแต่อดีตจนปัจจุบันไม่ได้มีหน้าที่เพียงจิตวิญญาณของ
ชุมชนเท่านั้น แต่เป็นผู้นำในการพัฒนาชุมชนในทุกเรื่อง เป็นแหล่งสร้างวัฒนธรรมความร่วมมือ
ในงานพัฒนาชุมชนในด้านต่าง ๆ รวมทั้งทำหน้าที่เป็นที่พักพิงอาศัยและให้ความช่วยเหลือ
ทั้งด้านสังคมสงเคราะห์และปัญหาทางโรคภัยไข้เจ็บทางร่างการและจิตใจ
1.3.3 บทบาทในฐานะเป็นหน่วยงานทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
พระสงฆ์ในชนบทยังมีหน้าที่เป็นผู้แนะแนวอาชีพต่าง ๆ แก่ชาวบ้านด้วย มีวัดจำนวนมาก
ได้จัดตั้งสหกรณ์หมู่บ้าน ธนาคารข้าว จัดอบรมให้ความรู้ทางด้านเกษตรสมัยใหม่ และเป็นสถานที่
12
ฝึกอบรมอาชีพต่างๆ บทบาทดังกล่าวมีความเด่นชัดมาตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ในสังคมชนบท
1.4 บทบาทของวัดสมัยต่างๆ
สุเมธ การศรีทอง (2545 : 7–8) กล่าวว่า บทบาทของวัดสมัยได้เริ่มขึ้นเมื่อ
พระพุทธศาสนาได้เข้าสู่ประเทศไทย เมื่อราว พ.ศ. 500 โดยชาวอินเดีย เมื่อพระพุทธศาสนาเข้ามา
สู่ประเทศไทย ก็มีอิทธิพลต่อสภาพชีวิตความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียมและค่านิยมของคนไทย
อย่างมาก สิ่งต่างๆ เหล่านี้ถูกหลอมรวมเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทยและเป็นมรดกตกทอด
มายังอนุชนรุ่นต่อ ๆ มา หลังจากพระพุทธศาสนาได้แพร่เข้ามาในดินแดนอันเป็นประเทศไทยใน
ปัจจุบันนี้ ได้มีส่วนทำให้เกิดความเจริญทางด้านพระพุทธศาสนาในสมัยต่างๆ ปรากฏ ดังนี้
1.4.1 สมัยกรุงสุโขทัย (พ.ศ. 1800 – 1893) วัดมีบทบาทสำคัญต่อสังคมไทย
เป็นอย่างยิ่ง เป็นศูนย์กลางของชุมชนในการอบรมศีลธรรมและความรู้ด้านต่างๆ แก่ประชาชน
พระสงฆ์ในวัดทำหน้าที่เทศนาสั่งสอน ตำราที่ใช้ คือ พระไตรปิฎก พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
ทรงประกาศให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ พระยาลิไททรงออกผนวช ซึ่งนับเป็น
แบบอย่างในการบวชเรียนสมัยต่อมา นอกจากนี้ยังได้พระราชนิพนธ์หนังสือไตรภูมิพระร่วง
เพื่อใช้ในการอบรมสั่งสอนราษฎรให้มีคุณธรรม หนังสือเล่มนี้ได้เป็นแนวในการปฏิบัติตน
ของคนไทยสมัยต่อมา
1.4.2 สมัยกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. 1893 – 2310) วัดยังคงมีบทบาทหน้าที่สำคัญ
ต่อชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทย เช่นเดียวกับสมัยกรุงสุโขทัย วัดถูกสร้างเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก
ประชาชนนิยมพาบุตรหลานของตนไปฝากให้ศึกษาเล่าเรียนที่วัด มีทั้งอยู่ประจำและแบบไป–
กลับ พระสงฆ์ยังคงให้การศึกษาอบรมแก่เด็กและเยาวชนไทย ให้เป็นผู้มีความประพฤติดี
ประพฤติชอบ พร้อมทั้งได้มีการถ่ายทอดวัฒนธรรมประเพณีไทยแบบโบราณเดิม และในสมัยนั้น
ถือเป็นประเพณีว่า ผู้ชายไทยพุทธทุกคนควรจะบวชเรียน และหากจะเข้ารับราชการควรต้อง
บวชเรียนมาแล้ว
1.4.3 สมัยกรุงธนบุรี (พ.ศ. 2310 – 2315) วัดวาอาราม และคัมภีร์ทาง
พระพุทธศาสนาถูกพม่าเผาผลาญไปเป็นจำนวนมาก หลังจากที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้
กอบกู้เอกราชเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ได้ทรงมีการสืบเสาะหาต้นฉบับวรรณกรรม และคัมภีร์ทาง
พุทธศาสนาที่ยังคงเหลืออยู่ตามที่ต่างๆ มาคัดลอกแต่งเติมเสริมใหม่ ซึ่งนับว่าเป็นประโยชน์
อย่างยิ่งในการทำการสังคายนาพระไตรปิฏกสมัยต่อมา นอกจากนั้นพระองค์ยังทรงบูรณะและ
สร้างวัดขึ้นหลายวัด เช่น วัดระฆังโฆสิตาราม วัดอรุณราชวราราม วัดอินทาราม และวัดราชคฤห์
เป็นต้น
13
1.4.4 สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. 2315 – ปัจจุบัน) พระพุทธศาสนาได้รับ
การทำนุบำรุงให้เจริญรุ่งเรืองโดยลำดับ มีการทำสังคายนาพระไตรปิฎกให้ครบถ้วนสมบูรณ์ขึ้น
เพื่อใช้เป็นหลักในการสอบประชาชนให้มีคุณภาพ และใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติตนของ
พระภิกษุสงฆ์ต่อไป พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ศรัทธาและเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา
ทรงปฏิบัติพระองค์ตามหลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างดี และใช้วัดเป็นที่เผยแพร่
ความรู้ในด้านต่างๆ สู่ประชาชนชน เช่น พระบาทสมเด็จพระสั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้จารึก
ตำราวิชาแพทย์แผนโบราณ ตำราหมดนวด ตำรายา และโคลงกลอนต่าง ๆ ไว้ให้ประชาชนได้
ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองที่วัดโพธิ์ (วัดพระเชตุพน) จนเป็นที่กล่าวขานกันว่า “วัดพระเชตุพนเป็น
มหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย” จนกระทั่งได้มีการริเริ่มการจัดการศึกษาแบบใหม่ใน
รัชการที่ 5 มีการจัดตั้งโรงเรียนตามแบบแผนอย่างประเทศทางตะวันตก เพื่อมุ่งก้าว
ให้ทันวิทยาการ นำพาประเทศให้ทัดเทียมตามความเชื่อที่เห็นว่าประเทศทางตะวันตกนั้นเจริญกว่า
เรา และเพื่อดำรงไว้ซึ่งเอกราชของชาติในยุคการล่าอาณานิคม บทบาทความรับผิดชอบใน
การจัดการศึกษาตามประเพณีนิยมในสังคมไทยก็ค่อยๆ เปลี่ยนมาอยู่ในโรงเรียน วัดในบทบาท
ปัจจุบันจึงเป็นที่ประกอบพิธีการทางศาสนาและมีบทบาทหน้าที่ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์
พ.ศ. 2505 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535
1.5 วัดตามพระราชพระราชบัญญัติคณะสงฆ ์ พ.ศ. 2505
กรมการศาสนา (2540 ก. : 223-228) กล่าวว่า วัด คือสถานที่ทางศาสนา
ตามปกติแล้วจะมีเสนาสนะและอาคารวัตถุต่างๆ เป็นที่พำนักอยู่อาศัยศึกษาปฏิบัติธรรมวินัย และ
ประกอบศาสนกิจของพระภิกษุสงฆ์ ตลอดจนเป็นที่บำเพ็ญกุศลต่าง ๆ ของพุทธบริษัทโดยทั่วไป
นอกจากนี้ วัดยังเป็นศูนย์กลางบริการทางการศึกษาและทางสังคมอีกด้วย วัดมีฐานะทางกฎหมาย
คือ เป็นนิติบุคคลเท่าเทียมกัน แต่ในทางพระวินัยยังมีฐานะที่แตกต่างกันอยู่อีก ดังนั้น
ตามมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ได้จำแนกวัดออกเป็น 2 อย่าง คือ
1.5.1 วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ได้แก่ "อาราม" ตามที่ได้บัญญัติไว้
ในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 และวัดที่เลื่อนฐานะมาจาก
สำนักสงฆ์ โดยได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เพื่อเป็นประโยชน์แก่สังฆกรรมตามพระธรรม
วินัยสำหรับพระสงฆ์ นับว่าเป็นวัดที่สมบูรณ์ด้วยฐานะทั้งทางกฎหมาย และทางพระวินัย
ทุกประการ โดยมีเจ้าอาวาสเป็นผู้แทนของวัดในกิจการทั่วไป
1.5.2 สำนักสงฆ์ ได้แก่วัดที่กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศตั้งวัดแล้ว
แต่ยังมิได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา รวมถึงวัดที่ได้รับพระบรมราชานุญาตให้สร้างขึ้น
ตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 (พ.ศ. 2445)
และวัดที่สร้างขึ้นก่อน ร.ศ. 121 ซึ่งยังมิได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาด้วย
14
1.6 สภาพฐานะของวัดในปัจจุบัน
กรมการศาสนา (2540 ก. : 223-228) ได้จำแนกประเภทของวัดโดยแบ่ง
ตามสภาพฐานะออกเป็น 3 ประเภท คือ
1.6.1 พระอารามหลวง ได้แก่ วัดที่พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระราชินี สมเด็จ
พระยุพราชทรงสร้างและปฏิสังขรณ์เป็นการส่วนพระองค์ก็ดี พระราชทานเพื่อเป็นเกียรติยศแก่
ผูต้ า่ํ ศกั ดิล์ งมาหรือแก่วัดเองก็ดี มีอยู่จำนวนหนึ่งที่พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชบริพารผู้ใหญ่
ทรงสร้างหรือสร้างขึ้นหรือทรงโปรดให้ปฏิสังขรณ์และสร้างขึ้น แล้วน้อมเกล้าน้อมกระหม่อม
ถวายเป็นพระอารามหลวง รวมทั้งวัดที่ประชาชนสร้าง หรือปฏิสังขรณ์และทรงรับไว้เป็น
พระอารามหลวงด้วย
1.6.2 วัดราษฎร์ ได้แก่ วัดที่ประชาชนทั่วไปสร้างหรือปฏิสังขรณ์ ซึ่งได้
อนุญาตให้สร้างวัดและประกาศตั้งวัด โดยถูกต้องตามกฎหมายจากทางราชการแล้ว และช่วยกัน
ทะนุบำรุงวัดสืบต่อกันมาตามลำดับ วัดราษฎร์หมายถึงวัดทั้งชนิดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา
และสาํ นกั สงฆซ์ งึ่ มไิ ดน้ บั เขา้ เปน็ พระอารามหลวง
1.6.3 วัดร้าง ได้แก่ วัดที่ไม่มีพระภิกษุสงฆ์พำนักอาศัยประจำ ซึ่งทางราชการ
จะขึ้นทะเบียนเป็นวัดร้างได้ วัดร้างโดยสภาพยังเป็นนิติบุคคลอยู่โดยสมบูรณ์และมีโอกาสที่จะ
เป็นวัดมีพระสงฆ์ได้อีก โดยดำเนินการตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการยกวัดร้าง
เป็นวัดมีพระสงฆ์ พ.ศ. 2514
1.7 จุดมุ่งหมายของการก่อตั้งวัด
พนม พงษ์ไพบูลย์ (2538 : 25 - 26) ได้กล่าวไว้ใน “หนังสือจารึกไว้ใน
พระพุทธศาสนา” ว่าวัดสามารถจำแนกเป็น 3 ประเภท คือ
1.7.1 วัดที่มุ่งพัฒนาถาวรวัตถุให้มีความโอ่อ่า มีเสนาสนะใหญ่โต วัดประเภท
นี้ใช้ทุนรอนมาก มีผู้อุปถัมภ์เป็นพิเศษหรือเจ้าอาวาสมีคุณลักษณะพิเศษหารายได้เข้าวัดได้มาก
เงินที่ได้มาส่วนใหญ่จากคนทั่วไปไม่ใช่คนในท้องถิ่น
1.7.2 วัดที่มุ่งเน้นปริยัติ มุ่งให้ประชาชน พระเณรได้ศึกษาในรูปแบบต่างๆ
วัดประเภทนี้ ทุนรอนไม่มากนักแต่มีกิจกรรมเพื่อการศึกษาในวัดสม่ำเสมอ
1.7.3 วัดที่มุ่งการปฏิบัติ เช่น วิปัสสนาธุระ เน้นการสร้างความสงบในจิตใจ
วัดประเภทนี้มักทำให้วัดคล้ายธรรมชาติ มักลงทุนในสิ่งก่อสร้างน้อย
จากการที่จะให้วัดเป็นแหล่งศิลปวิทยาการในชุมชน เป็นศูนย์รวมจิตใจของคน
ในชุมชนและการเรียนรู้พระพุทธศาสนาได้ดีนั้น วัดจะต้องมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้
(พนม พงษไ์ พบลู ย, 2538 : 30) วัดมีบริเวณกว้างขวางพอสมควร ควรอยู่ห่างไกลจากสิ่งรบกวน
ต่างๆ ต้องมีความสงบร่มรื่น ควรมีความงามตามธรรมชาติ มีความสะอาด มีความเป็นระเบียบ
15
มีเสนาสนะตามความจำเป็นและเหมาะสม เพื่อการปฏิบัติศาสนกิจของพระสงฆ์และพุทธบริษัท
มีสิ่งที่เป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชน เช่น ศิลปวัตถุโบราณหรือของเก่าที่มีค่าหายาก เป็นต้น
วัดมีสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานพอเหมาะสมกับสภาพ มีพระสงฆ์ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
มีพระสงฆ์ที่มีความรู้ความเข้าใจในพระธรรมวินัยอย่างแท้จริง มีกิจกรรมเพื่อศึกษาธรรม
ให้แก่ประชาชน มีกิจกรรมภาคปฏิบัติ เป็นแหล่งบริการเพื่อเพิ่มพูนการศึกษาและพัฒนาคุณภาพ
ชีวิตของประชาชน และวัดควรทำหน้าที่เป็นผู้นำชักจูงให้ประชาชนได้ปรึกษาหารือกัน
เพื่อสร้างความสงบสุขและความเจริญของชุมชน
สรุปได้ว่า สถานภาพของวัดทั่วไป นั้นยังคงมีบทบาทต่อการดำรงชีวิตของคนไทย
ทั้งในอดีตจนถึงปัจจุบัน นอกจากจะเป็นสถาบันที่ทำหน้าที่ในการฝึกอบรมพระสงฆ์เพื่อให้
ออกมาทำหน้าที่ในการสืบสานพระพุทธศาสนาแล้ว วัดก็ยังคงเป็นศูนย์กลางแห่งกิจกรรมต่างๆ
ของชุมชน และมีบทบาทต่อการพัฒนาอาชีพของคนโดยเฉพาะคนในชนบทที่อยู่ห่างไกลนั้น
ยังคงยึดมั่นให้วัดเป็นแหล่งที่ทำหน้าที่ในการพัฒนาทางจิตใจไว้อย่างเหนี่ยวแน่นเสมอมา
2. การพัฒนาเป็นวัดตัวอย่าง
กรมการศาสนา (2540 ก. : 10) กล่าวว่า วัดถือเป็นนิติบุคคลประเภทหนึ่งตาม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เป็นส่วนเน้นที่มีความสำคัญมากในทางพระพุทธศาสนา
โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับสังคมชาวพุทธของประเทศไทยเรานั้น ถือกันว่าวัดเป็นศูนย์กลาง
แห่งการรวมน้ำใจ ของบรรดาพุทธศาสนิกชน จากการที่วัดเป็นส่วนอันสำคัญยิ่งเช่นนี้ จำต้องให้
รับการพิจารณา เพื่อให้เกิดการวิวัฒนาการให้ทันต่อความเจริญของบ้านเมือง ด้วยเหตุนี้
กรมการศาสนาโดยความเห็นชอบจากรัฐบาลจึงได้เริ่มโครงการวัดพัฒนาตัวอย่างขึ้น ซึ่งเป็น
โครงการถาวร และได้ริเริ่มโครงการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2507 จนสืบเนื่องมาถึงปัจจุบัน
โดยพิจารณาเลือกวัดที่เจ้าอาวาส มีความวิริยอุตสาหะ จัดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน
ปรับปรุงบริเวณวัดให้มีความสะอาดร่มรื่นและมีความเป็นระเรียบเรียบร้อยเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง
โดยได้จัดสรรงบประมาณเพื่อการนี้ไว้โดยเฉพาะตามเป้าหมายที่ทางราชการกำหนด
กรมการศาสนา (2543 : 23) ให้ความหมายของการพัฒนาวัดว่า หมายถึง
การปรับปรุงสภาพวัดและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของวัดเพื่อสนับสนุนให้วัดมีความเจริญ
รุ่งเรืองและเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชน โดยมีเป้าหมายสำคัญอันเป็นนโยบายของ
กรมการศาสนา ก็คือ การพัฒนาวัดให้เป็นศูนย์กลางชุมชน ซึ่งชุมชนมองวัดในปัจจุบันดังนี้
16
2.1 สภาพของวัดตามความหมายของชุมชน
2.1.1 เป็นที่พำนักอาศัยของพระภิกษุสามเณร
2.1.2 เป็นที่บวชเรียน
2.1.3 เป็นที่ทำบุญบำเพ็ญกุศลของประชาชน ชาวบ้านรอบวัด
2.1.4 เป็นที่ประชาชน ชาวบ้านรอบวัดได้มารับการปลูกฝังศีลธรรม
2.1.5 เป็นศูนย์กลางสำหรับประกอบกิจกรรม ทางสังคมร่วมกันของประชาชน
ชาวบ้านรอบวัดนั้น
2.2 สิ่งที่วัดควรเร่งดำเนินการ
กรมการศาสนา (2541 ค. : 257–258) ได้กำหนดวัตถุประสงค์ของการพัฒนาวัด
เพื่อให้วัดเป็นศูนย์กลางของชุมชน โดยวัดควรดำเนินการถึงสิ่งต่างๆ ได้แก่
2.2.1 จัดและพัฒนากิจกรรมของวัดให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชน ชาวบ้าน
รอบวัดให้มากที่สุด
2.2.2 จัดการปกครองพระภิกษุสามเณรในวัดให้เป็นระเบียบเรียบร้อย สิ่งเสริม
คนรอบวัดหรือคนในชุมชนนั้นให้มาบวชเรียนศึกษาพระธรรมวินัยที่วัดนั้นให้มากที่สุด และ
2.2.3 จัดการพัฒนาบริเวณอาคารสถานที่ เสนาสนะของวัดให้สะอาดเรียบร้อย
ร่มรื่นเหมาะสมกับสภาพความต้องการและความจำเป็นให้มากที่สุด
2.3 สิ่งที่วัดควรสร้างให้เกิดขึ้นภายในชุมชน
กรมการศาสนา (2541 ค. : 257 – 258) ยังได้กำหนดแนวทางการพัฒนาวัด
เพื่อให้เป็นศูนย์กลางของชุมชน โดยวัดจะต้องดำเนินการพัฒนาวัดให้มีความสะอาด สงบ ร่มรื่น
สร้างความรู้สึกแก่ชุมชนในท้องถิ่นว่าวัดเป็นของตน มีการจัดกิจกรรมเพื่อประชาชน ให้เกิด
การยอมรับว่าวัดกับชุมชนนั้นๆ เป็นหน่วยเดียวกัน ให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน
2.3.1 พัฒนาวัดให้เกิดความรู้สึกแก่ชุมชนในท้องถิ่นว่า วัดเป็นของตน
มีความรู้สึกหวงแหน รัก และช่วยกันดูแลรักษา
2.3.2 สร้างสภาพวัดให้มีความหมาย 5 ประการ ดังที่กล่าวข้างต้น คือ เป็นที่
พักอาศัยของพระภิกษุสามเณร เป็นที่บวชเรียนศึกษาปฏิบัติธรรม เป็นที่ทำบุญบำเพ็ญกุศลของ
ชาวบ้าน เป็นที่ที่ชาวบ้านนั้นได้เข้ามาหาความสงบทางกายและใจ เป็นศูนย์กลางสำหรับ
ทำกิจกรรมทางสังคมร่วมกันของชาวบ้าน
2.3.3 สร้างความสัมพันธ์ระหว่างวัดกับประชาชนในท้องถิ่น วัดต้องสะอาด
ร่มรื่น มีการจัดกิจกรรมเพื่อประชาชน มีความพร้อมที่จะให้บริการและแก่ประชาชนในท้องถิ่นที่มี
ความต้องการเข้าวัด เพื่อบำเพ็ญกุศล ศึกษาพระธรรมวินัย และหลักพระพุทธศาสนา ประชาชน
จะได้เห็นคุณค่าและเข้าวัดมากขึ้น
17
2.3.4 สร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างวัดกับประชาชนในท้องถิ่น
วัดควรเป็นแกนนำของประชาชนในท้องถิ่นในการติดต่อกับหน่วยงานอื่นๆ การจัดกิจกรรม
เพื่อการสาธารณูปโภค สาธารณูปการ ตลอดจนการส่งเสริมอาชีพซึ่งควรใช้วัดเป็นศูนย์กลาง
2.3.5 ให้เกิดการยอมรับตลอดไปว่า วัดกับชุมชนนั้นๆ เป็นหน่วยเดียวกัน
ให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน
2.4 แนวทางสำหรับพัฒนาวัด
การพัฒนาจะเริ่มขึ้นและสำเร็จลุล่วงไปได้ เจ้าอาวาสจะต้องเป็นผู้ประสาน
ที่สำคัญ จึงควรจะได้ศึกษาสภาพแวดล้อม และองค์ประกอบต่างๆ ของวัดเพื่อให้ได้ข้อมูลเป็น
พื้นฐานไว้ก่อน โดยมีจุดหมายแห่งการพัฒนาวัดเล็งสู่เป้าหมาย 3 ประการ อันเป็นหลักความมั่นคง
แห่งพระพุทธศาสนา (กรมการศาสนา, 2540 ข. : 292 ; 2541 ค : 257 – 258) คือ
2.4.1 การพัฒนาด้านศาสนวัตถุ คือ ที่ตั้งวัดและทรัพย์สินของวัด
ซึ่งแบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้
2.4.1.1 เสนาสนะ ได้แก่ ที่ดินที่ตั้งวัดจัดให้มีหนังสือสำคัญขึ้นทะเบียน
ไว้กับทางราชการให้เรียบร้อย และวัดจะต้องมีแผนผังกำหนดการปลูกสร้างภายในวัด แยกเป็น
3 เขตหลัก และ 1 เขตจัดประโยชน์ (สำหรับวัดมีที่ดินเหลือพอที่จะจัดประโยชน์หารายได้บำรุง
วัดอยู่อีก ก็ให้กำหนดเขตเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเขต)
(1) เขตพุทธาวาส เป็นที่ตั้งอุโบสถ เจดีย์ วิหาร สถูป ศาลา
การเปรียญและสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เป็นแดนที่สงบเรียบร้อย
(2) เขตสังฆาวาส เป็นที่ตั้งกุฏิที่อยู่ของพระภิกษุสามเณร
โรงครวั หอฉัน โรงเก็บพัสด ุ โรงไฟฟ้า โรงประปา ศาลารับแขก
(3) เขตสาธารณสงเคราะห์ เป็นบริเวณที่ทางวัดกันไว้เพื่อ
สงเคราะห์แก่ประชาชน เช่น เป็นที่ตั้งโรงเรียน สุขศาลา สถานพยาบาล สมาคมทางศาสนา
โรงเรียนพระปริยัติธรรม ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ สุสาน ฌาปนสถานตามความเหมาะสมแก่วัดนั้นๆ
(4) เขตจัดประโยชน์ ซึ่งได้มาจากการแบ่งเขตทั้ง 3 เขตหลัก
ไปก่อน โดยเขตจัดประโยชน์นี้จะต้องกันไว้ให้ห่างจากเขตพุทธาวาส และเขตสังฆาวาส
เพื่อมิให้มีกิจการอย่างใดอย่างหนึ่งอันเป็นปฏิปักษ์ต่อความสงบเรียบร้อยภายในวัด
หลักการจัดเสนาสนะต้องคำนึงถึงสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้
(1) ในบริเวณวัดมีการปลูกต้นไม้ผล ไม้ดอกไม้ใบ ไม้ที่เกี่ยวกับ
การเรียนพุทธประวัติ และไม้ที่เป็นสัญลักษณ์ของหมู่บ้านนั้น ทำให้วัดเป็นแหล่งศึกษาและเป็น
สถานที่รื่นรมย์ พื้นลานวัดปัดกวาดให้สะอาดตามธรรมชาติ จะทำเป็นสนามหญ้า หรือทำลานปูน
18
ก็แล้วแต่ความเหมาะสมต้องรักษาความสะอาดปราศจากมูลฝอย และสิ่งปฏิกูล มีถังรองรับเศษขยะ
ตั้งไว้เป็นระยะ มีถนนหรือทางเท้าภายในวัด
(2) วัดควรมีประตูปิดเปิด ตามเวลาเพื่อความปลอดภัย
แก่ทรัพย์สินของวัด และเพื่อความศักดิ์สิทธิ์แห่งปูชนียสถาน ทั้งทำให้เกิดความเป็นระเบียบใน
การปกครอง
(3) มีป้ายแสดงสิ่งสำคัญๆ เพื่อดึงดูดศรัทธาของประชาชน
ตามสมควร เช่น ป้ายวัด ป้ายบอกเวลาปิดเปิดวัด ป้ายชื่อสิ่งปลูกสร้าง นอกจากนี้ควรมีแผ่นป้าย
พิเศษบอกตำนานหรือประวัติสำคัญๆ ของวัดนั้น
(4) การใช้สี ไม่ฉูดฉาดเกินไป การปลูกสร้างเสนาสนะภายใน
วัดให้รักษาไว้ซึ่งศิลปกรรมของไทย เป็นที่แสดงออกซึ่งวัฒนธรรมของชาติและของท้องถิ่นนั้นๆ
กับควรให้มีขนาดและจำนวนเท่าที่จำเป็น มิใช่ว่าวัดที่เจริญจะต้องมีสิ่งก่อสร้างใหญ่โตและราคา
แพงเสมอไป แต่หากอยู่ที่ความเหมาะสมพอดีกับฐานะของวัด และความสะอาดเรียบร้อยเป็น
สำคัญ และถ้าเป็นไปได้ก็ควรใช้วัสดุที่ผลิตในท้องถิ่นในการปลูกสร้าง และตกแต่งด้วยก็จะทำให้
เกิดความน่านิยมมาก นอกจากนี้ การก่อสร้างถาวรวัตถุขนาดใหญ่จะต้องให้สถาปนิกและวิศวกร
ตรวจแบบแปลนเพื่อความมั่นคงด้วย
2.4.1.2 คุณสมบัติของวัด ได้แก่ ทรัพย์สินของวัด เช่น พระพุทธรูป
ศิลปวัตถุ โบราณวัตถุ ตลอดจนที่ดินอันเป็นที่ตั้งวัด มีการควบคุมดูแล เป็นอย่างดีและบำรุงรักษา
ตามหลักวิชา ทรัพย์สินของวัดส่วนที่จัดประโยชน์ทางวัดได้ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย
กฎกระทรวง คำสั่งมหาเถรสมาคม และระเบียบแบบแผนของทางราชการ ทั้งได้ดำเนินการไปใน
ทางที่ชอบที่ควร ทะเบียนบัญชีพัสดุ บัญชีเงิน เอกสารการรับจ่ายเงินถูกต้องตามแบบของ
ทางราชการ และบรรดาหนังสือสัญญา นิติกรรม หนี้สิน วัดได้ปฏิบัติไปตามเงื่อนไข โดยสุจริตใจ
2.4.1.3 สวัสดิการ โดยวัดจะต้องจัดให้มีระบบการส่งเสริมสวัสดิภาพ
ของพระภิกษุ สามเณร และคนในวัดตลอดจนผู้ไปติดต่อกับวัดเป็นอย่างดี เช่น มีน้ำดื่ม น้ำใช้
มีไฟแสงสว่าง มีที่อยู่อาศัยอันเหมาะสม มีระบบกำจัดสิ่งปฏิกูล จัดการเลี้ยงดูพระภิกษุสามเณร
ตลอดจนการรักษาพยาบาลให้ทั่วถึง จัดการเลี้ยงดูพระภิกษุสามเณร ตลอดจนการรักษาพยาบาลให้
ทั่วถึง จัดให้พระภิกษุสามเณรได้รับความผาสุข ในการบำเพ็ญสมณธรรม และการศึกษาเล่าเรียน
โดยที่ทางวัดสนับสนุน มีเจ้าหน้าที่สวัสดิการตามพระพุทธานุญาต เช่น ภัตตุทเทศก์ และเจ้าหน้าที่
เสนาสนะคหาปกะ เป็นต้น และจัดสวัสดิการสำหรับคนเข้าวัด
2.4.2 การพัฒนาด้านศาสนธรรม โดยศาสนธรรม ได้แก่ หลักคำสั่งสอนทาง
ศาสนา หรือการปฏิบัติตามพระธรรมวินัย แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้
19
2.4.2.1 สมณธรรม มีการส่งเสริมการเรียนพระธรรมวินัยของพระภิกษุ
สามเณร ส่งเสริมการศึกษาธรรม สำหรับประชาชน ส่งเสริมการปฏิบัติสมณธรรม เช่น การรักษา
ธุดงควัตร การทำสมาธิ เดินจงกรม และการประพฤติพรหมจรรย์ มีการแสดงเป็นประจำในวัน
ธรรมสวนะและมีการประกอบพิธีมหาบูชาในวันสำคัญทางศาสนา พระภิกษุสามเณรมีการ
ลงอุโบสถ ทำวัตร สวดมนต์ ทำอุโบสถสังฆกรรม ทำอุปัชฌายวัตรอาจาริยวัตรตามจารีตของสงฆ์
2.4.2.2 สาธารณสงเคราะห์ ให้วัดกับบ้านถ้อยทีถ้อยอาศัยกันและกัน
ชาวบ้านร่วมกันบำรุงวัด วัดก็อำนวยประโยชน์แก่ชาวบ้านในทางที่ชอบที่ควร โดยยึดหลักหน้าที่
ของสมณพึงบำรุงกุลบุตรกุลธิดาในสิงหาโลวาทสูตร (ทิศ 6) เช่น วัดจัดตั้งหน่วยสงเคราะห์
พุทธมามกะผู้เยาว์ขึ้นตามคำแนะนำของกรมการศาสนา เพื่อสงเคราะห์เด็กผู้เยาว์ในหมู่บ้านที่ตั้งวัด
กันที่ดินบางส่วนให้ทางราชการปลูกสร้างโรงเรียนและทางวัดก็ให้การอุปถัมภ์แก่โรงเรียนนั้น
เอื้อเฟื้อให้สถานที่ ตั้งหน่วยงานการกุศลสาธารณประโยชน์ภายในวัด ซึ่งไม่ทำให้วัดได้รับ
ความเสื่อมเสียทั้งในด้านศิลปกรรมและด้านจิตใจของประชาชน กันบริเวณวัดมีการปลูกต้นไม้
ให้ร่มรื่นหรือมีศาลาที่พักให้ประชาชนได้ไปพักผ่อนหาความสงบใจเป็นครั้งคราว
จัดตั้งพิพิธภัณฑ์ทางศาสนา และห้องสมุดบริการเอกสารทางวิชาการ ให้ประชาชนและเยาวชน
แสวงหาความรู้รอบตัวตามสมควร
2.4.3 การพัฒนาด้านศาสนบุคคล โดยศาสนบุคคล ได้แก่ พุทธบริษัททั้ง 4
หรือบุคคลที่เกี่ยวกับวัด แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
2.4.3.1 สงฆ์ การปกครองพระภิกษุสามเณรและอารามิกชน ภายในวัด
นั้นๆ ให้เป็นหมู่คณะที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย และเป็นหมู่ที่มีระเบียบเรียบร้อย เช่น พระสงฆ์
มีความสามัคคีพร้อมเพรียงกัน ร่วมมือกันพัฒนาวัด พระสงฆ์มีระเบียบ เช่น ในการครองผ้า ใน
การทำกิจวัตรร่วมกัน การใช้เสนาสนะ สังฆบริขาร เวจกุฏี และบริเวณวัดอันเป็นที่อยู่อาศัย
เป็นวัดที่ไม่มีอธิกรณ์หรือฟ้องร้องกันให้เป็นที่อื้อฉาว หากมีอธิกรณ์ขึ้นทางวัดก็พิจารณาหา
ทางยุติด้วยความเป็นธรรม เจ้าอาวาสวัดได้มีการสอดส่องดูและลูกวัดของตนมิให้ประพฤตินอกรีด
นอกรอยทั้งในและนอกวัด บุคคลภายในวัด ต้องมีทะเบียนบัญชีแสดงการย้ายเข้าย้ายออกและ
การลากิจ บุคคลทุกคนที่พำนักอาศัยอยู่ในวัด ไม่ว่าจะเป็นบรรพชิตหรือคฤหัสถ์ ย่อมอยู่ภายใต้
การปกครองบังคับบัญชาของเจ้าอาวาสทั้งสิ้น คือ เจ้าอาวาสสามารถปกครองวัดได้ทั่วถึง บุคคล
ที่พึงนักอาศัยอยู่ในวัดทุกคน บำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์แก่วัด และสนับสนุนการพัฒนาวัดนั้นๆ
2.4.3.2 สังฆาธิการกิจ เจ้าอาวาสได้นำพระภิกษุสามเณรขึ้นอยู่ใน
การปกครองบังคับบัญชาของพระสังฆาธิการผู้ปกครองเหนือตนด้วยดี เจ้าอาวาสได้ปฏิบัติตาม
คำสั่งของมหาเถรสมาคมและของเจ้าคณะโดยเอื้อเฟื้อ การใดซึ่งจะต้องปฏิบัติต่อทางราชการ
บ้านเมืองทางวัดได้ปฏิบัติตามด้วยดี
20
2.4.3.3 สัปปุรุษ ทางวัดได้ปลูกฝังศรัทธาของศาสนิกชนในหมู่บ้าน
ที่ขึ้นกับวัดโดยทั่วถึง ปรากฏว่าประชาชนที่มีภูมิลำเนาอยู่ใกล้วัดพากันเลื่อมใสในวัดของตน
สัปปุรุษที่ขึ้นกับวัด ตั้งอยู่ในศีลธรรมอันดีงามตามสมควรแก่ภาวะของตน ประชาชนที่ขึ้นกับวัด
ได้ช่วยทำนุบำรุงวัดเต็มกำลัง วัดได้เป็นธุระในการสงเคราะห์ประชาชนตามสมณวิสัย
2.5 ขั้นตอนในการพัฒนาวัด
กรมการศาสนา (2545 : 12– 22) ได้สรุปขั้นตอนในการพัฒนาวัดไว้ดังต่อไปนี้
2.5.1 แต่งตั้งกรรมการ ในการพัฒนาวัด ควรจะได้ดำเนินงานไปในรูปแบบ
ของคณะกรรมการ เพื่อระดมความคิดและความร่วมมือร่วมใจกัน ซึ่งอาจประกอบด้วยพระสงฆ์
ภายในวัด ประมาณ 5 – 7 รูป คฤหัสถ์ประมาณ 7 – 10 คน โดยคัดเลือกบุคคลที่มีความรู้
ความสามารถ และที่สำคัญจะต้องพร้อมที่จะให้ความร่วมมือด้วยดี เมื่อติดต่อทาบทามเป็น
การภายในเรียบร้อยแล้ว จึงประกาศแต่งตั้งเป็นลายลักษณ์อักษร แล้วปิดประกาศให้ทราบทั่วกัน
ทั้งวัดและหมู่บ้าน และจัดทำสำเนาเอกสารส่งให้เจ้าคณะปกครองเหนือตนตามลำดับทราบด้วย
2.5.2 ชี้แจงพระภิกษุสามเณรและศิษย์วัด โดยการจัดให้มีการประชุมเพื่อชี้แจง
แก่พระภิกษุสามเณรและศิษย์วัดเป็นสิ่งจำเป็นที่เจ้าอาวาสควรกระทำเป็นระยะๆ ประมาณ
ปักษ์ละ 1 ครั้ง การชี้แจงนั้น คือ การแจ้งความเปลี่ยนแปลงของวัดและความก้าวหน้าในการพัฒนา
ให้ทราบโดยทั่วกันและขอความร่วมมือจากบุคคลในวัดทุกประเภท ถ้าวัดมีโรงเรียนตั้งอยู่ในวัด
ก็ให้แนะนำแก่ครูและนักเรียนด้วย
2.5.3 ประชุมกรรมการ ซึ่งในการประชุมครั้งแรกถือว่าเป็นครั้งที่สาํ คัญมาก
ดังนั้นควรนัดประชุมในวันที่กรรมการจะมาประชุมได้พร้อมเพรียงกัน โดยมีเรื่องที่
ควรนำเข้าวาระการประชุมครั้งแรก ควรมีดังนี้
2.5.3.1 เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ แจ้งให้ที่ประชุมทราบ
ถึงนโยบายของรัฐบาล และคณะสงฆ์ในการพัฒนาวัดว่า มุ่งที่จะส่งเสริมให้วัด พัฒนาทางด้านวัตถุ
และด้านจิตใจควบคู่กันไป สำหรับเป้าหมายในการพัฒนาวัดก็คือมุ่งพัฒนาวัดให้เป็นศูนย์กลาง
ของชุมชน ซึ่งเจ้าอาวาสจะต้องมีความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวดีพอ เพื่อสมาชิกจะได้มีความเข้าใจ
ที่ถูกต้องและตรงกัน การพัฒนาวัดจะได้ดำเนินไปอย่างถูกต้องตามเป้าหมาย
2.5.3.2 เรื่องอาณาเขตของวัด ควรจะพิจารณากันถึงการจัดให้มีหนังสือ
สำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินของวัดให้เรียบร้อย การกำหนดเขตวัด เพื่อการจัดทำแผนผังวัด ได้แก่
การกำหนดหน้าวัด หลังวัด ควรอยู่ทิศทางใดจึงเหมาะสม จะแบ่งเนื้อที่วัดออกเป็นเขตพุทธาวาส
เขตสังฆาวาส เขตสาธารณสงเคราะห์ตรงไหน อย่างไร จำเป็นต้องจัดทำรั้วหรือกำแพง เป็นต้น
2.5.3.3 เรื่องการจัดทำโครงการพัฒนาวัด สมาชิกต้องช่วยกัน
เสนอความคิดเห็น เช่น ทางวัดควรจะต้องทำอะไรบ้าง สิ่งไหนจำเป็นจะต้องทำก่อนหรือหลัง จะ
21
ทำเมื่อไร ใช้เวลาเท่าใด ใช้กำลังงานและงบประมาณจากไหน งานนั้นๆ ควรมอบหมายให้ใครเป็น
ผู้รับผิดชอบดำเนินงาน รวบรวมได้แล้วจัดทำเป็นแผนงานของวัด เรียงตามลำดับงานที่สำคัญและ
ความจำเป็นก่อนหลังไว้เพื่อเป็นเครื่องกำหนดแนวทางในการปฏิบัติงานและติดตามประเมินผล
2.5.3.4 จัดทำแผนผังวัด ในการจัดทำแผนผังวัด ควรหาผู้ที่มีความรู้ใน
การทำแผนผังมาช่วยจัดทำให้ แผนผังวัดควรจัดทำเป็น 2 แบบคือ ผังสภาพปัจจุบัน
แสดงรายละเอียดต่างๆ ของสภาพปัจจุบันทั้งหมด และผังโครงการ เป็นผังที่ควรจัดทำขึ้นเพื่อ
พัฒนาวัด ตามมติที่ประชุมกรรมการพัฒนาวัดในการประชุมครั้งที่ 1 วาระที่ 2 เรื่องการกำหนด
เขตวัดเพื่อจัดทำผัง ผังโครงการนี้เป็นผังที่สมบูรณ์ที่คาดการณ์ล่วงหน้าว่า เมื่อพัฒนาด้าน
วัตถุเบ็ดเสร็จแล้ว สภาพของวัดในอนาคตจะเป็นเช่นไร หน้าวัด หลังวัด จะหันไปทางทิศไหน
อาคารเสนาสนะแต่ละหลังจะตั้งเป็นหมวดหมู่อย่างไร สิ่งใดจะต้องรื้อทิ้ง สิ่งใดจะต้องเคลื่อนย้าย
สิ่งก่อสร้างที่จะปลูกใหม่ จะปลูกตรงไหน บริเวณวัดจะตกแต่งและจะตัดถนนเช่นไร การนี้ผู้ทำผัง
จะต้องมีความรู้ในเรื่องการจัดวางผังและตกแต่งบริเวณ จึงจะสามารถทำได้เหมาะสมสวยงาม
ตามสภาพของพื้นที่ตั้งวัดและสภาพแวดล้อมเกี่ยวกับเศรษฐกิจและสังคมของละแวกนั้น
ในการจัดทำผังโครงการ ควรจัดเป็นหมวดหมู่ โดยคำนึงถึง
ผลประโยชน์ใช้สอยและความเป็นระเบียบเรียบร้อย ซึ่งสามารถแบ่งเนื้อที่ของวัดออกเป็น
เขตต่างๆ ดังนี้
(1) เขตพุทธาวาส ได้แก่ เขตที่ตั้งวิหาร อุโบสถ ศาลา
การเปรียญ หอไตร เจดีย์
(2) เขตสังฆาวาส ได้แก่ เขตที่ตั้งกุฏิ ครัว เรือนไฟ ที่สรงน้ำ
(3) เขตสาธารณสงเคราะห์ ได้แก่ บริเวณโรงเรียน บ้านพักชี
บริเวณฌาปนสถานฯ
2.5.3.5 จัดทำโครงการพัฒนาวัด เมื่อคณะกรรมการ ฯ ได้ประชุม
หารือกันในเรื่องแผนงานพัฒนาของวัดว่าจะต้องทำงานหรือกิจกรรมใดบ้างตามลำดับความสำคัญ
ก่อนหลังแล้ว ผู้ที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบในงานหรือกิจกรรมนั้นๆ ควรจะได้เขียนโครงการ
กิจกรรมให้ชัดแจ้ง เสนอกรรมการเพื่อพิจารณาอนุมัติโครงการก่อนที่จะดำเนินการ กิจกรรมของ
วัดที่จะพัฒนาแยกได้เป็น 2 ทาง คือ
(1) การพัฒนาทางด้านวัตถุ หมายถึง การพัฒนาสภาพวัดให้เกิด
ศรัทธาทางรูปธรรม ได้แก่ อาคารเสนาสนะ มีเอกลักษณ์ของการเป็นวัดไทย ปลูกสร้างอยู่เป็น
หมวดหมู่ สวยงามและไม่ใหม่โตเกินความจำเป็นแห่งประโยชน์ใช้สอยและสภพแวดล้อมของวัด
และชุมชน ถนนบริเวณวัดสะอาด ร่มรื่น ตกแต่งด้วยไม้ยืนต้น ไม้ดอก ไม้ประดับอย่างเหมาะสม
22
อาณาเขตของวัดแบ่งเป็นหมวดหมู่ การก่อสร้างอาคารสถานที่ต่าง ๆ ควรดำเนินการให้สอดคล้อง
กับแผนผังโครงการที่จัดทำไว้
(2) การพัฒนาทางด้านจิตใจ หมายถึง การพัฒนาทางนามธรรม
เช่น การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมแก่ ศาสนิกชนในท้องถิ่น รวมถึงกิจกรรมต่างๆ ที่วัดควรจะ
เป็นศูนย์กลางจัดขึ้น เพื่ออำนวยประโยชน์ต่อชุมชนหมู่บ้านนั้น การพัฒนาทางด้านนี้ ควรจะได้นำ
หนังสือหรือพัฒนาควบคู่ไปกับการปรับปรุงสภาพวัดทางด้านวัตถุหรือรูปธรรม
2.5.3.6 ดำเนินการพัฒนาวัด เมื่อได้จัดแผนผังวัดจัดทำแผนและ
โครงการพัฒนาวัด ได้แก่ กิจกรรมต่าง ๆ เสร็จและผ่านควรเห็นชอบจากกรรมการในการประชุม
ครั้งต่อๆ มาเรียบร้อยแล้ว เริ่มพัฒนาได้เลย โดยอาจจะกำหนดวันชุมนุมสัปปุรุษและประชาชน
ในท้องถิ่น เพื่อประกาศชี้แจงความมุ่งหมายในการพัฒนาวัด และโครงการต่าง ๆ ที่วัดจะ
ดำเนินการให้ทราบโดยทั่วกัน พร้อมทั้งเชิญชวนและขอความร่วมมือจากประชาชน ในการ
ที่ดำเนินการพัฒนาวัดในโครงการต่างๆ นั้นด้วย จากนั้นจะร่วมกันทำความสะอาด ปลูกต้นไม้
ทำรั้ววัด ไว้เป็นที่ระลึกจะเป็นการดียิ่ง ซึ่งในโอกาสข้างหน้าวัดจะได้รับความร่วมมือจากชาวบ้าน
อีกต่อไปด้วยดี
สรุปได้ว่า การพัฒนาเป็นวัดตัวอย่าง จะต้องเกิดจากความร่วมมือร่วมใจของทุกฝ่าย
เพื่อยกระดับฐานะวัดของตนให้กลายเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง
3. หลักเกณฑ์และแนวทางการพิจารณาคัดเลือกวัดพัฒนาตัวอย่าง
3.1 หลักเกณฑ์และแนวทางการพิจารณาคัดเลือกวัดพัฒนาตัวอย่าง
กรมการศาสนา (2540 ก. : 257 -258) ได้กำหนดหลักเกณฑ์และแนวทาง
การพิจารณาคัดเลือกวัดพัฒนาตัวอย่างไว้ดังต่อไปนี้
3.1.1 เป็นวัดที่ถูกต้องตามกฎหมาย และเจ้าอาวาสของวัดนั้นจะต้องได้รับ
การแต่งตั้งถูกต้องอย่างถูกต้องตามกฎมหาเถรสมาคม
3.1.2 มีพระภิกษุอยู่ประจำตลอดทั้งปีไม่น้อยกว่า 5 รูปเป็นเวลาติดต่อกัน
ไม่น้อยกว่า 3 ปี
3.1.3 มีอาคารเสนาสนะมั่นคง เป็นระเบียบสวยงาม บริเวณสะอาด เรียบร้อย
และ ร่มรื่น
3.1.4 จัดการปกครองพระภิกษุ สามเณร และศิษย์วัดอย่างมีระเบียบ
23
3.1.5 มีการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และเอื้ออำนวย
ประโยชน์แก่ชุมชน
3.1.6 ไม่เคยได้รับการคัดเลือกให้เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างหรือวัดพัฒนาตัวอย่าง
ที่มีผลงานดีเด่นมาก่อน
3.2 ขั้นตอนเพื่อขอเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง
3.2.1 วัดที่จะขอเป็นวัดพัฒนาตัวอย่างกรอกรายละเอียดลงในแบบฐานะ
ของวัด เพื่อประกอบการพิจารณาให้ความอุปถัมภ์ในด้านการพัฒนาวัด โดยได้รับความเห็นชอบ
จากอำเภอ เจ้าคณะอำเภอ นายอำเภอ ศึกษาธิการจังหวัด เจ้าคณะจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัด
พร้อมจัดทำแผนผังแสดงอาคาร เสนาสนะที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน หรือที่ปรังปรุงใหม่ในอนาคต
3.2.2 ให้วัดรายงานแผลการจัดกิจกรรมต่าง ๆ พร้อมรูปภาพประกอบ เช่น
การปกครอง การดูแลรักษาเสนาสนะ การศึกษาพระปริยัติธรรม การจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม
จริยธรรม และกิจกรรมอื่น ๆ ที่เอื้ออำนวยประโยชน์ต่อชุมชน
3.2 .3 ให้วัดเขียนโครงการพัฒนาวัดและกิจกรรมต่าง ๆ ที่คาดว่าจะดำเนินการ
ในปีงบประมาณที่จะขอเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง
3.2.4 จังหวัดพิจารณาคัดเลือกวัดประเภทต่างๆ ให้เข้าหลักเกณฑ์
ตามคุณสมบัติที่กรมการศาสนากำหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการศาสนาจังหวัด
3.2.5 จังหวัดรวบรวมเอกสารส่งกรมการศาสนา เพื่อดำเนินการขึ้นทะเบียน
และจัดสรรงบประมาณให้ต่อไป
3.2.6 กรมการศาสนาตรวจสอบและนำเสนอคณะกรรมการกลั่นกรอง
การคัดเลือกวัด
3.2.7 กรมการศาสนาประกาศขึ้นทะเบียนเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง ในโครงการ
ของกรมการศาสนา
จากการศึกษาการพัฒนาวัดให้กลายเป็นวัดพัฒนาตัวอย่างนั้น พบว่า มักจะ
เน้นไปที่การพัฒนาให้วัดเป็นศูนย์กลางของชุมชน และเป็นแหล่งอารยธรรมอันเจริญรุ่งเรือง
มีศาสนวัตถุ ศาสนสถานอันเป็นเครื่องหมายแห่งศิลปวัฒนธรรมอันดีงาม บุคลากรทางศาสนามี
ความประพฤติปฏิบัติดี เป็นแบบอย่างแก่ประชาชนในสังคม สามารถแนะนำให้ประชาชนใน
สังคมพ้นจากความลุ่มหลง ฟุ้งเฟ้อและดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นสุข มีการส่งเสริมกิจกรรม
ที่เป็นประโยชน์อย่างหลากหลาย ทั้งในด้านศาสนพิธี การให้การศึกษา การเผยแผ่
และการสาธารณสงเคราะห์ เพื่อให้พระศาสนาสร้างความสงบสุขแก่สังคมได้อย่างแท้จริง
24
สรุปได้ว่า วัดพัฒนาตัวอย่าง หมายถึง วัดที่ได้รับการคัดเลือกตามหลักเกณฑ์ที่
กรมการศาสนากำหนดและขึ้นทะเบียนไว้โดยจัดงบประมาณสนับสนุนเพื่อพัฒนาวัดให้เป็นศูนย์
กลางชุมชน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2507 ถึงปีปัจจุบันหมายถึง
การบริหารงานของพระสังฆาธิการในวัดพัฒนาตัวอย่าง
1. แนวคิดและหลักการบริหารองค์การ
เนื่องจากวัด เป็นสถาบันสังคมที่มีโครงสร้างองค์การเช่นเดียวกับองค์การอื่นๆ
ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้นำแนวคิดและหลักการการบริหารองค์การมาใช้ในการศึกษาในครั้งนี้
1.1 การจัดองค์การ
กรมการศาสนา (2542 ข. : บทนำ) กล่าวว่า องค์การเป็นหน่วยงานทางสังคม
ที่ประกอบด้วยมนุษย์หลายๆ คนที่อยู่ร่วมกัน เพื่อกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้บรรลุเป้าหมาย
ร่วมกัน องค์การจึงมีความเคลื่อนไหว มีพฤติกรรมและมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบไปมาระหว่างกัน
ทั้งภายในและภายนอกองค์การ
ดังนั้น กรมการศาสนา (2542 ข. : บทนำ) จึงได้ให้ความหมายของการจัด
องค์การว่าหมายถึง กระบวนการที่จัดตั้งขึ้นเพื่อความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างๆ ที่จะ
สามารถทำให้การประกอบการขององค์การบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยมีหลักของการจัด
องค์การที่สำคัญ ประกอบไปด้วย
1.1.1 วัตถุประสงค์
1.1.2 การแบ่งงานตามลักษณะเฉพาะ
1.1.3 ช่วงการบังคับบัญชา
1.1.4 การรวมอำนาจการบังคับบัญชา
1.1.5 การจัดสายบังคับบัญชา โดยมีบุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นผู้รับผิดชอบใน
การบริหาร รวมทั้งให้มีการประสานงาน อำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบอย่างเพียงพอ
1.2 โครงสร้างองค์การและภารกิจ
เนื่องจากวัดเป็นสถาบันสังคมที่มีโครงสร้างองค์การเช่นเดียวกับองค์การอื่นๆ
ผู้วิจัยจะนำแนวคิดและหลักการการบริหารองค์การ แนวคิดเกี่ยวกับภาวะผู้นำ ตามลำดับ
เจมส ์ ด ี ทอป์มสัน (James D. Thompson อ้างถึงในสมพงษ ์ เกษมสิน 2528 :
221) ได้กล่าวว่า การออกแบบจัดโครงสร้างองค์การจะต้องคำนึงถึงปัจจัยที่สำคัญ คือ ปัจจัยที่เป็น
ข้อจำกัดในการบริหารงานขององค์การ โครงสร้างขององค์การ หน้าที่การงาน และผลที่จะได้รับ
ออกมาในรูปของผลผลิตที่มีประสิทธิภาพ โดยองค์การแบบต่างๆ จะมีโครงสร้าง
25
เพื่อเอื้อต่อการประสานงานและควบคุมการกระทำของทุกคนในองค์การ และโครงสร้างองค์การ
มีประเด็นที่จะต้องนำมาพิจารณาอยู่ 3 ประเภท คือ
1.2.1 ประมวลกิจกรรม พิจารณาระดับการแบ่งงานกัน ทำให้เกิดความชัดเจน
ในฝ่ายต่างๆ
1.2.2 กฎเกณฑ์ พิจารณาระดับของระเบียบวิธีปฏิบัติงาน เพื่อก่อให้เกิด
บทบาท อำนาจหน้าที่ของแต่ละฝ่ายแต่ละคน และ
1.2.3 ศูนย์รวมอำนาจ พิจารณารากฐานของอำนาจตัดสินใจในแต่ละระดับ
ดังนั้นในการปฏิบัติงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ จะต้องมีโครงสร้างขององค์การจะมีประโยชน์
สำคัญอยู่ 2 ประการ คือ
1.2.3.1 โครงสร้างขององค์การแสดงให้เห็นกิจกรรมต่างๆ ขององค์การ
การจัดหน่วยงาน อาจนำไปใช้ได้หลายโอกาส เช่น การอบรม การปรับปรุงองค์การ ฯลฯ เป็นต้น
1.2.3.2 โครงสร้างช่วยให้มองเห็นความสัมพันธ์ขององค์การ จึงมี
ประโยชน์ในการจัดระบบงานหรือสายทางเดินของงาน การศึกษาองค์การ การวางแผน ตลอดจน
การพิจารณาแก้ปัญหาหรืออุปสรรคข้อบกพร่องในการดำเนินงาน
1.3 ประโยชน์ของการจัดโครงสร้างขององค์การ
อี เอฟ แอล เบรช (E.F.L. Brech อ้างถึงในบุญศรี พานะจิตต์ และศรีนวล
ลัภกิตโร, 2542 : 32) ให้ความเห็นว่า โครงสร้างขององค์การจะช่วยให้เกิดประโยชน์อยู่ 4 ประการ
คือ
1.3.1 เป็นกรอบงานสำหรับการปฏิบัติงานในความรับผิดชอบในด้าน
การบริหารงาน
1.3.2 เป็นเครื่องมือในการมอบอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ
1.3.3 ช่วยในการประสานงานของกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อร่วมมือกันทำงาน
1.3.4 ช่วยในการกระตุ้นเตือนให้สมาชิกขององค์การทำงานให้มีประสิทธิภาพ
ยิ่งขึ้น
1.4 กระบวนการจัดโครงสร้างขององค์การ
บุญศรี พานะจิตต์ และศรีนวล ลัภกิตโร (2542 : 32) กล่าวว่า กระบวนการ
จัดโครงสร้างขององค์การ จะต้องประกอบไปด้วย
1.4.1 แบ่งงานออกเป็นหน่วยงานย่อยๆ ตามลักษณะขององค์การ
1.4.2 ให้มีการแบ่งงานกันทำให้เหมาะสมในแต่ละหน่วยงาน
1.4.3 มอบอำนาจหน้าที่ เน้นถึงการใช้อำนาจหน้าที่ในแต่ละหน่วย และ
ความสามารถในการตรวจสอบผลงาน เพื่อทำให้เกิดความร่วมมือประสานงานในองค์การ
26
1.4.4 จัดให้มีหน่วยงานที่ปรึกษา ซึ่งจะเป็นหน่วยสำคัญในการปรับปรุงงาน
โดยเฉพาะองค์การที่มีแนวโน้มจะขยายใหญ่และซับซ้อนยิ่งขึ้น
1.4.5 ต้องพิจารณาโครงสร้างทั้งหมดขององค์การ เพื่อให้เกิดการสมดุลใน
หน่วยงานต่างๆ และมีพลังที่จะเสริมสร้างให้องค์การเติบโตได้ ซึ่งหน้าที่ของโครงสร้างของ
องค์การนั้น สามารถแสดงให้ทราบหน้าที่สำคัญได้ 4 ประการ คือ
1.4.5.1 เกี่ยวกับเรื่องประสิทธิภาพการทำงาน
1.4.5.2 โครงสร้างสังคมและการติดต่อสื่อสาร ได้แก่ การมอบอำนาจ
หน้าที่ ระเบียบการ และอื่นๆ การรายงานซึ่งเป็นข่าวสารรายงานสู่ระดับบน เพื่อการควบคุมและ
รับทราบปัญหาอีกด้วย
1.4.5.3 ทราบความพึงพอใจในงานของบุคคลในองค์การ โดยเหตุที่
องค์การได้จัดความสัมพันธ์ระหว่างงานและความรับผิดชอบเอาไว้ และนอกจากนี้โครงสร้างของ
องค์การยังได้กำหนดให้บุคคลแต่ละคนมี สถานภาพต่างกัน
1.4.5.4 ให้ทราบถึงเอกลักษณะขององค์การ งานขององค์การสามารถ
สังเกตและอธิบายได้ คล้ายกับว่า เป็นกลุ่มของบุคคลที่ผูกพันกับความสำเร็จวัตถุประสงค์
ที่กำหนดไว้
สรุปได้ว่า จากแนวคิดและหลักการบริหารองค์การ จะเน้นไปที่การจัดองค์การ
และกำหนดหน่วยงานหลักเพื่อทำหน้าที่ในการบริหาร ติดต่อประสานงาน อำนาจหน้าที่มี
กำหนดเป้าหมาย มีสายการบังคับบัญชาสั่งการ สามารถวิเคราะห์งานได้อย่างเป็นระบบ
2. บทบาทของพระสังฆาธิการในการพัฒนาวัด
2.1 ความหมายของพระสังฆาธิการ
พระสังฆาธิการในพจนานุกรม หมายถึง พระสงฆ์ระดับเจ้าอาวาสขึ้นไปจนถึง
สมเด็จพระราชาคณะ
พระสังฆาธิการในกฎมหาเถรสมาคม หมายถึง พระภิกษุผู้ดำรงตำแหน่ง
ปกครองคณะสงฆ์ ดังต่อไปนี้
2.1.1 เจ้าคณะใหญ่
2.1.2 เจ้าคณะภาค รองเจ้าคณะภาค
2.1.3 เจ้าคณะจังหวัด รองเจ้าคณะจังหวัด
2.1.4 เจ้าคณะอำเภอ รองเจ้าคณะอำเภอ
27
2.1.5 เจ้าคณะตำบล รองเจ้าคณะตำบล
2.1.6 เจ้าอาวาส รองเจ้าอาวาส ผู้ช่วยเจ้าอาวาส
2.2 คุณสมบัติของพระสังฆาธิการ ซึ่งกรมการศาสนา (2540 ข. : บทนำ; 2542 ก. :
11 – 12) ได้กำหนดคุณสมบัติของพระภิกษุที่จะดำรงตำแหน่งพระสังฆาธิการไว้ดังต่อไปนี้
2.2.1 มีพรรษาสมควรแก่ตำแหน่ง
2.2.2 มีความรู้สมควรแก่ตำแหน่ง
2.2.3 มีความประพฤติเรียบร้อยตามพระธรรมวินัย
2.2.4 เป็นผู้ฉลาดสามารถในการปกครองคณะสงฆ์
2.2.5 ไม่เป็นผู้มีร่างกายทุพพลภาพ ไร้ความสามารถ หรือมีจิตฟั่นเฟือน
ไม่สมประกอบหรือเป็นโรคเรื้อน หรือเป็นวัณโรค ในระยะอันตรายจนเป็นที่น่ารังเกียจ
2.2.6 ไม่เคยต้องคำวินิจฉัยลงโทษ ในอธิกรณ์ที่พึงรังเกียจมาก่อน
2.2.7 ไม่เคยถูกถอดถอนหรือปลดจากตำแหน่งใด เพราะความผิดมาก่อน
2 . 3 ห น้ า ที่ แ ล ะ อํ า น า จ ข อ ง เ จ้ า
อ า ว า ส ต า มพร ะ ร า ช บัญ ญัติ ค ณ ะ ส ง ฆ์ พ.ศ .
2 5 0 5 แ ล ะ แ ก้ ไ ข เ พิ่ ม เ ติ ม โ ด ย พ ร ะ ร า ช
บั ญ ญัติ ค ณ ะ ส ง ฆ์ (ฉ บับ ที่ 2) พ . ศ . 2535 ไ ด้
บั ญ ญั ติ ห น้ า ที่ แ ล ะ อํ า น า จ ข อ ง เ จ้ า
อ า ว า ส ดั ง นี้
มาตรา 37 เจ้าอาวาสมีหน้าที่ดังนี้
2.3.1 บำรุงรักษาวัด จัดกิจกรรมและศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปด้วยดี
2.3.2 ปกครองและสอดส่องให้บรรพชิตและคฤหัสถ์ที่มีอยู่ หรือพำนักอาศัยอยู่
ในวัดนั้นปฏิบัติตามพระธรรมวินัย กฎมหาเถรสมาคม ข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งของมหาเถร
สมาคม
2.3.3 เป็นธุระในการศึกษาอบรมและสั่งสอน พระธรรมวินัยแก่บรรพชิต และ
คฤหัสถ์
2.3.4 ให้ความสะดวกตามสมควรในการบำเพ็ญกุศล
มาตรา 38 เจ้าอาวาสมีอำนาจดังนี้
2.3.5 ห้ามบรรพชิตและคฤหัสถ์ซึ่งมิได้รับอนุญาตของเจ้าอาวาสเขา้ ไปอยอู่ าศยั
ในวัด
2.3.6 สั่งให้บรรพชิตและคฤหัสถ์ซึ่งไม่อยู่ในโอวาสของเจ้าอาวาสออกไปเสียจากวัด
28
2.3.7 สั่งให้บรรพชิตและคฤหัสถ์ที่มีอยู่หรือพำนักอาศัยในวัด ทำงานภายในวัด
หรือให้ทำทัณฑ์บนหรือให้ขอขมาโทษ ในเมื่อบรรพชิตและคฤหัสถ์ในวัดนั้นประพฤติ
ผิดคำสั่งเจ้าอาวาสซึ่งได้สั่งโดยชอบด้วยพระธรรมวินัย กฎมหาเถรสมาคม ข้อบังคับ ระเบียบ
หรอื คาํ สงั่ ของมหาเถรสมาคม
สรุปได้ว่า พระสังฆาธิการ หมายถึง เจ้าอาวาสที่ได้รับการแต่งตั้งตาม
หลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎมหาเถรสมาคม ให้ทำหน้าที่ปกครองวัดพัฒนาตัวอย่าง
2.4 บทบาทของพระสังฆาธิการ
บทบาทพระสงฆ์ในอดีตพอสรุปได้ดังนี้
2.4.1 บทบาทในการศึกษาพระปริยัติธรรมให้รู้จริง นำไปปฏิบัติให้ถูกต้อง
สามารถสั่งสอนประชาชน (เสฐียรพงษ์ วรรณปก, 2538 : 131 – 132) แต่ปัจจุบันได้มีการพัฒนา
บทบาทของพระสงฆ์ไปตามความเปลี่ยนแปลงของสังคมมากขึ้น กล่าวคือ พระสงฆ์ได้เป็น
ผู้นำด้านจิตวิญญาณของประชาชนที่เห็นได้ เช่น การเกิดขึ้นของสวนโมกขพลาราม จังหวัด
สุราษฎร์ธานี สำนักวิปัสสนากัมฐาน ของวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏ์ กรุงเทพมหานคร
และการปฏิบัติธรรมแบบสัมมาอรหังของพระมงคลเทพมุนี (สด จันทสโร) วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
กรุงเทพมหานคร
2.4.2 บทบาทของพระสงฆ์ที่ทำหน้าที่ให้การศึกษาแก่ประชาชนและเยาวชน
เช่น การตั้งสำนักเรียน พระปริยัติธรรม แผนกธรรม บาลี สามัญศึกษา ธรรมศึกษา และ
สถาบันอุดมศึกษาของคณะสงฆ์
2.4.3 บทบาทในด้านการพัฒนาชนบทและชุมชนให้เป็นแผ่นดินธรรม
แผ่นดินทอง จัดสอนขั้นพื้นฐานด้านอาชีพ เป็นผู้นำชุมชนอย่างไม่เป็นทางการ สงเคราะห์ชุมชน
และช่วยเหลือทางราชการในการพัฒนาชุมชน โดยได้รวมกลุ่มเป็นเครือข่ายช่วยเหลือซึ่งกัน
และกัน เพื่อพัฒนาช่วยเหลือสังคม (ธีรวุฒิ ทองโอษฐ์, 2544 : 10 – 11)
นอกจากจะเป็นที่พึ่งทางด้านจิตใจแล้ว จากข้อมูลของสมศักดิ์ แก้วปู่ (กรมการ
ศาสนา, 2541 ข. : 13) ได้กล่าวถึงบทบาทของพระสงฆ์ซึ่งต้องทำหน้าที่ต่างๆ ดังนี้
2.4.3.1 ทำหน้าที่เป็นครูในการอบรมสั่งสอนลูกหลานของชาวบ้านให้
ตั้งอยู่ในศีลธรรม ในขณะเดียวกันก็สอนวิชาการต่างๆ ทั้งทางด้านภาษาและวิชาชีพ ในข้อนี้วัดเป็น
เสมือนสถาบันศึกษา และพระสงฆ์ก็เป็นผู้บริหารการศึกษาในระดับต่างๆ
2.4.3.2 ทำหน้าที่นักสังคมสงเคราะห์ผู้ที่ตกทุกข์ได้ยาก ประสบกับ
ปัญหาชีวิต คนที่ยากจนโดยช่วยสงเคราะห์อนุเคราะห์บุตรหลานของชาวบ้านที่ยากจน หรือ
ช่วยสงเคราะห์สังคมในด้านต่างๆ เช่นคราวเมื่อมีผู้ประสบภัยต่างๆ ให้ทุนการศึกษา เป็นต้น
29
2.4.3.3 ทำหน้าที่เป็นนายแพทย์รักษาคนไข้ต่างๆ ตามความรู้
ความสามารถในยุคนั้นๆ โดยใช้การรักษาแบบแพทย์แผนโบราณ ใช้ยาสมุนไพร บางครั้ง
ก็ใช้การรักษาแบบวิธีทางไสยศาสตร์เข้าช่วยด้วย ในข้อนี้วัดจึงเป็นเสมือนโรงพยาบาล
และพระสงฆ์เป็นเหมือนนายแพทย์และพยาบาลที่ประจำอยู่ตามโรงพยาบาลต่างๆ ที่คอย
ให้การช่วยเหลือชาวบ้านตลอดมา
2.4.3.4 ทำหน้าที่ให้การสงเคราะห์ด้านที่พักอาศัยให้การช่วยเหลือ
ชาวบ้านตลอดมา บทบาทมากในข้อนี้ คนที่เดินทางได้อาศัยวัดเป็นที่พำนักในขณะเดินทาง
รอนแรมไปในสถานที่ต่างๆ ในกรณีนี้ วัดจึงเป็นเหมือนโรงแรม และพระสงฆ์เป็นเหมือน
ผู้บริหารของโรงแรม ผิดกันแต่ตรงที่ว่าโรงแรมคิดค่าบริการแก่แขกผู้มาพัก แต่วัดและพระสงฆ์
มิได้คิดค่าบริการแต่อย่างใด
2.4.3.5 ทำหน้าที่ผู้พิพากษา ในกรณีชาวบ้านเกิดข้อพิพาทหรือมีเรื่องราว
ที่ไม่สามารถตกลงกันได้ พระสงฆ์เป็นผู้ที่ได้รับความเคารพนับถือ และการยอมรับจากชาวบ้าน
ว่าเป็นผู้มีศีลธรรม มีความยุติธรรมจึงได้รับเกียรติให้เป็นผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่เกิดขึ้น
ให้ออมชอมกันและให้ได้รับความยุติธรรมแก่คนทั้งสองฝ่าย
2.4.3.6 ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของชาวบ้าน เมื่อชาวบ้านมีปัญหาชีวิต
เช่นการครองชีพ ปัญหาครอบครัวและความทุกข์ต่าง ๆ พระสงฆ์จะทำหน้าที่ให้คำแนะนำ
ช่วยหาทางออกที่ถูกต้องให้ในการแก้ปัญหาหรือความทุกข์เหล่านั้นโดยยึดหลักคำสอน
ของพระพุทธศาสนาเป็นหลักในการแก้ปัญหาชีวิตของผู้ที่เข้ามาขอคำแนะนำ
2.4.3.7 ทำหน้าที่อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของชาติที่ล้วนแต่มีบ่อเกิดมา
จากวัดเกือบทั้งสิ้น พระสงฆ์จึงเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการสานสืบต่อโดยการอนุรักษ์ศิลปะต่างๆ
ของชาติไว้ให้คงสืบต่อมาได้จนถึงปัจจุบันนี้
2.4.3.8 ทำหน้าที่เป็นผู้นำทางด้านพิธีกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ
หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา เช่น การบวชพระ เป็นต้น ซึ่งบทบาทนี้ยังเด่นชัดในปัจจุบัน
2.4.3.9 ทำหน้าที่เป็นที่พึ่งทางด้านจิตใจของชาวบ้าน พระสงฆ์
เป็นปูชนียบุคคล และเป็นรัตนะหนึ่งในพระรัตนตรัย ทำหน้าที่ที่สำคัญคือเป็นผู้นำทาง
ด้านจิตวิญญาณ โดยการเป็นผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ และสั่งสอนให้ศาสนิกชนดำเนินตาม
หลักคำสอนนั้นด้วย
บทบาทพระสงฆ์ในปัจจุบันพอสรุปได้ดังนี้
กรมการศาสนา (2541 ก. : 14) กล่าวว่า จากสภาพการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
ทำให้พระสงฆ์ต้องปรับตัวเองที่จะเสริมสร้างบทบาทในด้านต่างๆ เพื่อชดเชยบทบาทที่สูญเสียไป
ซึ่งพอจะสรุปบทบาทของพระสงฆ์ในปัจจุบันได้ดังนี้
30
2.4.4 เผยแผ่หลักธรรมคำสอนด้วยวิธีต่างๆ เช่น งานพระธรรมทูต
งานพระธรรมจาริก การเผยแผ่ทางวิทยุ และโทรทัศน์ วารสาร และนิตยสารเผยแผ่ธรรม การเผยแผ่
ในต่างประเทศ
2.4.5 การให้คำแนะนำทางด้านจิตใจ เป็นที่ปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาชีวิตต่างๆ
2.4.5 การเป็นที่พึ่งให้ความร่มเย็นทางจิตใจ เป็นที่พึ่งทางจิตวิญญาณ
ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี
2.4.6 การให้คำแนะนำปรึกษาด้านอื่น ๆ เช่น ทางวิชาการ เป็นต้น
2.4.7 ในสังคมชนบทที่กำลังพัฒนา เป็นผู้นำทางด้านการพัฒนาต่างๆ เช่น
จัดตั้งศูนย์ฝึกอาชีพให้แก่ประชาชน
2.4.8 ให้การสงเคราะห์ทางด้านวัตถุ เช่น ให้ทุนการศึกษาและทางด้าน
พิธีกรรม
2.4.9 ทำหน้าที่เป็นครูสอนศีลธรรม จริยธรรมตามโรงเรียนต่างๆ หรือ
ตั้งโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ขึ้นภายในวัด
2.4.10 ให้การอบรมแก่เยาวชนในโอกาสต่าง ๆ เช่น บรรพชาสามเณร
ภาคฤดูร้อน
2.4.11 งานด้านการค้นคว้าและวิจัย เป็นผลงานทางด้านวิชาการที่ออกมาเป็นรูป
เล่มหนังสือ ให้พุทธศาสนิกชนได้นำไปศึกษา
2.5 บทบาทของวัดและพระสงฆ์ซึ่งกำลังเสื่อมลงไปในปัจจุบัน
พระราชธรรมโมลี (2545 : 69–78) ได้ประมวลบทบาทของวัดและพระสงฆ์
ซึ่งกำลังจะเสื่อมไปได้ ดังนี้
2.5.1 ด้านบทบาทของวัดที่ถูกลดสถานะไป บทบาทของวัดเป็นเรื่องหนึ่ง
ที่มีผลต่อการพัฒนา วัดจะเป็นรูปแบบและแนะนำความเจริญมาได้ เพราะได้รับความสนใจดูแล
เอาใจใส่จากพุทธบริษัททั้ง 4 แต่ในปัจจุบัน ต่างคนต่างไม่ค่อยจะให้ความสำคัญต่อกันและกัน
ปล่อยให้เป็นเพียงหน้าที่ของพระสงฆ์เท่านั้น วัดที่เคยเป็นแหล่งประกอบความดีสาธารณ
ประโยชน์ต่างๆ ถูกลดบทบาทไปอย่างสิ้นเชิงถูกมองเป็นเพียงสถานที่พักพิงของพระสงฆ์สามเณร
เท่านั้นการพัฒนาและกิจกรรมต่างๆ จะถูกปล่อยปละละเลยไป
2.5.2 ด้านบทบาทของพระสงฆ์ที่เป็นผู้นำไม่มีศักยภาพเพียงพอ ในเรื่องนี้
ตัวของพระสงฆ์ผู้ทำหน้าที่เป็นเจ้าอาวาสปกครองดูแลวัดมีความรู้ ความสามารถ และศักยภาพไม่
เพียงพอที่จะบริหารกิจกรรมภายในวัด เป็นผู้ที่ไม่ปรับตัวเข้ากับสังคม ไม่รู้เท่ากับสภาพสังคมที่
เปลี่ยนไป ขาดคุณสมบัติที่จะบริหารงาน หรือไม่เคยมีประสบการณ์ด้านการบริหาร ตลอดจน
31
ไม่กล้าตัดสินใจ เกรงกลัวต่ออำนาจที่ไม่เป็นธรรมจนทำให้ไม่กล้าที่จะคิดสรรค์สร้างกิจกรรม
ต่างๆ ภายในวัดให้เจริญได้
2.5.3 ด้านขาดระบบการจัดการที่ดี เป็นเรื่องใหญ่ที่ผู้บริหารในฐานะ
ที่ทำหน้าที่ปกครองดูแลวัดควรคำนึงถึงอุปสรรคและปัญหาต่างๆ ภายในวัดที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
เป็นเพราะวัดขาดระบบและการจัดการที่แน่นอน โดยเฉพาะระบบงานภายในวัด ที่เป็นไป
ตามพระธรรมวินัย และพระราชบัญญัติการปกครองคณะสงฆ์ ทุกวัดควรดำเนินการ ดังนี้
2.5.3.1 งานด้านการปกครอง เช่น ขาดการดูแลเอาใจใส่พระภิกษุ
สามเณร และศิษย์วัด ตลอดจนคนที่อาศัยวัด ปล่อยไปตามยถากรรมต่างคนต่างอยู่ โดยไม่ได้จัดทำ
บัญชีและทะเบียนที่ชัดเจน ตลอดจนขาดการดูแลเอาใจใส่ต่อกิจวัตรความประพฤติของพระภิกษุ
สามเณร และศิษย์วัด
2.5.3.2 งานด้านการศึกษา วัดบางแห่งไม่ได้จัดการศึกษาไว้เป็นระบบ
ปล่อยปละละเลย ซึ่งเป็นผลมาจากงบประมาณและวิสัยทัศน์ ความเสียสละของผู้ปกครอง
ทั้งการศึกษาในวัดและนอกวัด ก็ไม่ได้ส่งเสริม
2.5.3.3 งานด้านการเผยแผ่ ขาดการฝึกหัดพระภิกษุสามเณรให้เป็น
นกั เผยแผท่ ดี่ พี อ เชน่ การฝึกเทศน ์ การอภปิ รายธรรม การสนทนาธรรม และการสอนจรยิ ธรรม
ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ผู้ปกครองยังขาดความเอาใจใส่
2.5.3.4 งานสาธารณูปการ ไม่มีความรู้ในงานสาธารณูปการ
ขาดความเอาใจใส่ต่อศาสนวัตถุภายในวัดไม่ว่าจะเป็นวัตถุสิ่งของอุปกรณ์ เครื่องใช้ภายในวัด
ไม่สนใจรักษาซ่อมแซมให้ดีขึ้น
2.5.3.5 งานศาสนสัมพันธ์ คือ ขาดการประสานงานกับทุกฝ่ายที่ก่อให้
เกิดประโยชน์ของวัด เช่น ขาดการประสานงานภายในวัด การประสานงานระหว่างวัดกับชาวบ้าน
ตลอดจนโรงเรียนและสถานที่ราชการต่าง ๆ
2.5.3.6 งานเลขานุการวัด วัดส่วนมากไม่ค่อยสนใจต่อบทบาท
เลขานุการวัดเท่าไรนักเรื่องทุกเรื่องอยู่ที่เจ้าอาวาสรูปเดียว และไม่มีการกลั่นกรองงาน
ที่เป็นระบบ จึงทำให้ระบบติดต่อประสานงานติดขัด
2.5.4 ด้านติดขัดเรื่องงบประมาณ เป็นปัญหาต่อการพัฒนาเป็นอย่างมาก
บางวัดไม่มีทุนที่จะก่อสร้างและบำรุงรักษาเสนาสนะขาดการดูแลเอาใจใส่จากญาติโยมก็เป็น
อุปสรรคต่อการพัฒนาวัดได้ นอกจากนี้ ยังมีปัญหาและอุปสรรคมากมาย ซึ่งแต่ละวัดก็จะพบกับ
อุปสรรคไม่เหมือนกัน จนทำให้การพัฒนาวัดติดขัดและไม่สามารถดำเนินการไปได้
32
จากบทบาทและคุณสมบัติของพระสังฆาธิการ และบทบาทของวัดซึ่งกำลังได้
รับผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบันที่ได้ศึกษามา ผู้วิจัยพบว่าสามารถใช้เป็น
แนวทางและหลักเกณฑ์สำหรับการพิจารณาคัดเลือกวัดทั่วๆไป ขึ้นเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง
โดยพิจารณาจากคุณสมบัติและบทบาทของพระสังฆาธิการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาวัด อันได้แก่
(1) การปกครองพระภิกษุสามเณรและศิษย์วัดเป็นไปอย่างมีระเบียบเรียบร้อย (2) มีกุฏิ วิหาร
เสนาสนะ หรือตลอดจนสิ่งปลูกสร้างภายในวัด มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย สะอาด สวยงาม มั่นคง
แข็งแรงดี และ (3) ได้ประกอบกิจกรรมอนั เปน็ แนวทางในการชว่ ยเหลือสง่ เสรมิ คณุ ธรรม
จริยธรรม และกอ่ ใหเ้ กิดประโยชนต์ อ่ ชุมชนในทอ้ งถิ่นนั้น
สภาพและปัญหาการบริหารงาน
ก ร ม ก า ร ศ า ส นา (2540 ก . : 227) ไ ด้ นํ า เ อ า ก ร อ บ
ข อ ง บ ท บ า ท แ ล ะ คุ ณ ส ม บั ติ ข อ ง
พ ร ะ สั ง ฆ า ธิ ก า ร ที่ ไ ด้ อ ธิ บ า ย ม า แ ล้ ว
เ บื้ อ ง ต้ น ใ ช้ เ ป็น ห ลั ก เ ก ณฑ์แ ล ะ แ นว
ท า ง ก า ร พิ จ า ร ณ า
คั ด เ ลื อ ก วั ด พั ฒ น า ตั ว อ ย่ า ง ซึ่ ง มี
ก า ร พิ จ า ร ณา คั ด เ ลื อ ก วั ด ทั่ ว ๆ ไ ป ขึ้ น
เ ป็ น วั ด พั ฒ น า ตั ว อ ย่ า ง ไ ด้
จ ะ ต้ อ ง ป ร ะ ก อ บ ไ ป ด้ ว ย (1) ก า ร ปก ค ร อ ง พร ะ
ภิ ก ษุส า ม เ ณร แ ล ะ ศิ ษ ย์ วั ด เ ป็น ไ ป อ ย่ า ง
มี ร ะ เ บี ย บ
เ รี ย บ ร้ อ ย (2) มี กุ ฏิ วิ ห า ร เ ส นา สนะ
ห รื อ ต ล อ ด จ นสิ่ ง ป ลู ก ส ร้ า ง ภ า ย ใ น วั ด มี
ค ว า ม เ ป็ น ร ะ เ บี ย บ
เ รี ย บ ร้ อ ย ส ะ อ า ด ส ว ย ง า ม มั่ น ค ง แ ข็ ง
แ ร ง ดี แ ล ะ (3) ไ ด้ ป ร ะ ก อ บกิ จ ก ร ร ม อั น เ ป็น
แ น ว ท า ง ใ น ก า ร ช่ ว ย เ ห ลื อ ส่ ง เ ส ริ ม คุ ณ
ธ ร ร ม จ ริ ย ธ ร ร ม แ ล ะ ก่ อ ใ ห้ เ กิ ด ป ร ะ โ ย ช น์
ต่ อ ชุ ม ช น ใ น ท้ อ ง ถิ่ น ดั ง นี้
พระราชธรรมโมลี (2545 : 69–78) กล่าวว่าใ นอ ดี ต วั ด เ ค ย มี
บ ท บ า ท ต่ อ สั ง ค ม แ ท บ
ทุ ก ด้ า น เ ช่ น ด้ า น ก า ร บ ริ ห า ร ก า ร ป ก
33
ค ร อ ง ด้ า น ก า ร ศึ ก ษ า ด้ า น ก า ร ส ง เ ค ร า ะ ห์
แ ล ะ ด้ า น ศ า ส น พิ ธี ต่ า ง ๆ เ ป็ น ต้ น
ปั จ จุ บั น บ ท บ า ท ข อ ง วั ด เ ริ่ ม จ ะ จ า ง ห า ย
แ ล ะ ห ม ด ไ ป เ นื่ อ ง จ า ก ส ภ า พ สั ง ค ม
ปั จ จุ บั น ไ ด้ รั บ เ อ า ค ว า ม เ จ ริ ญ ส มั ย
ใ ห ม่ ต า ม แ บ บ ต ะ วั น ต ก ม า เ ป็ น วิ ถี ชี วิ ต
แ ต่ เ ดิ ม ใ น อ ดี ต วั ด เ ค ย เ ป็ น ส ถ า น ที่
ศึ ก ษ า โ ด ย มีพ ร ะ ส ง ฆ์เ ป็น ผู้ ถ่ า ย ท อ ด
วิ ช า ค ว า ม รู้ เ ค ย เ ป็ น ส ถ า น ที่ พั ก ผ่ อ น
ห ย่ อ น ใ จ แ ล ะ เ ป็ น ส โ ม ส ร พบ ป ะ สั ง ส ร ร ค์
ข อ ง ชุ ม ช น เ ว ล า มี กิ จ ก ร ร ม เ กี่ ย ว กั บ
บ้ า น เ มื อ ง แ ต่ สิ่ ง เ ห ล่ า นี้ กํ า ลั ง จ ะ
สู ญ ห า ย ไ ป
สื บ เ นื่ อ ง ม า จ า ก ก า ร เ ป ลี่ ย น แ ป ล ง ท า ง
สั ง ค ม พ ร ะ ส ง ฆ์ ผู้ ทํ า ห น้ า ที่ เ ป็ น ผู้
ก า ร บ ริ ห า ร วั ด จ ะ ต้ อ ง เ ป็ น ผู้ ที่ มี
ค ว า ม คิ ด ส ร้ า ง ส ร ร ค์ โ ด ย กา รนำ เ อา คว า ม
เ จ ริ ญ ม า สู่ วั ด แ ล ะ ยั ง เ ป็น ก า ร ป รั บ
ป รุ ง แ ล ะ พั ฒ น า
วั ด ที่ ต น ต้ อ ง ดู แ ล รั บ ผิ ด ช อ บ ใ น ฐ า น ะ
เ จ้ า อ า ว า ส แ ล ะ ผู้ นํ า ข อ ง ชุ ม ช น ซึ่ ง
ต้ อ ง เ ป็ น ผู้ ส น ใ จ ใ น กิ จ ก า ร ข อ ง วั ด จ ะ
ป ล่ อ ย ป ล ะ ล ะ เ ล ย ไ ป ต า ม มี ต า ม เ กิ ด ไ ป ไ ม่
ไ ด้ เ พร า ะ จ ะ ทํ า ใ ห้ เ กิ ด ปัญ ห า ต่ อ ก า ร
พัฒ น า วั ด ไ ด้ ดั ง นั้ น เ มื่ อ ก ล่ า ว ถึ ง
ส ภ า พ แ ล ะ ปั ญ ห า ใ น ก า ร บ ริ ห า ร ง า น แ ล้ ว
ยั ง พ บ ว่ า มี อุ ป ส ร ร ค ต่ า ง ๆ
น่ า นั บ ป ร ะ ก า ร ที่ มี ผ ล ต่ อ ก า ร บ ริ ห า ร
วั ด พัฒ น า ตั ว อ ย่ า ง ใ น ปั จ จุ บั น
สรุปได้ว่า สภาพและปัญหาการบริหารงาน หมายถึง สภาพและปัญหาของ
การบริหารวัดพัฒนาตัวอย่าง เพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และแนวทางการพิจารณาคัดเลือกวัด
34
พัฒนาตัวอย่าง ใน 3 ด้าน (1) ด้านการจัดการปกครองภายในวัด (2) ด้านอาคารเสนาสนะ และ
(3) ด้านการจัดกิจกรรมเพื่อชุมชน
1. ด้านการจัดการปกครองวัด
การปกครอง หมายถึง การสอดส่องดูแลเพื่อให้การปกครองคณะสงฆ์และสามเณรเป็น
ไปตามพระธรรมวินัย กฎหมาย กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่ง ประกาศของมหาเถรสมาคม หรือ
พระบัญชาของสมเด็จพระสังฆราช (กรมการศาสนา, 2535 : 4 – 10) ในอดีตครั้งพุทธกาล การปก
ครองคณะสงฆ์เป็นการปกครองตามพระธรรมวินัย คือ ยึดพระธรรมวินัยเป็นธรรมนูญ
การปกครอง โดยพระพุทธเจ้าทรงเป็นพระธรรมราชา มีพระสงฆ์อัครสาวกเป็นพระธรรมเสนาบดี
ทรงมอบความเป็นใหญ่ในสังฆกรรมให้แก่พระสงฆ์ การบริหารการปกครองต้องผ่านมติ
ที่ประชุมสงฆ์เป็นเอกฉันท์ โดยมีอำนาจรัฐและจารีตประเพณีสนับสนุนอย่างเข้มแข็ง
ถือเป็นแก่นแท้ของการปกครองคณะสงฆ์ (พระเทพปริยัติสุธี, 2540 : 1; พระมหาเสริมชัย
ชยมงคโล, 2541 : 7; มาณพ พลไพรินทร์, 2534 : 10 อ้างถึงในธีรวุฒิ ทองโอษฐ์, 2544 : 22)
พระวินัย หมายถึง ขนบธรรมเนียมหรือแบบแผนข้อบังคับสำหรับพระภิกษุสงฆ์ วินัย
นั้น โดยตรงได้แก่ระเบียบหรือกฎข้อบังคับ สำหรับเป็นเครื่องบริหารหมู่คณะให้มีระเบียบได้
ระดับกัน ถ้าหมู่ไหนไม่มีระเบียบ หมู่นั้นก็จะแก่งแย่งกัน ตั้งต้นแต่การทำกิจต่างๆ
ก็มักไม่มีความพร้อมเพรียงกัน ยิ่งกว่านั้นผู้มีกำลังมาก ก็ข่มเหงผู้มีกำลังน้อยกว่าเป็นต้น
วินัยโดยอ้อมก็คือศีลของภิกษุนั่นเอง แต่เป็นศีลที่รักษาอย่างเคร่งครัด
สังวรระวังไม่ก้าวล่วงสิกขาบทแม้เล็กน้อย เมื่อภิกษุประพฤติถูกทางแล้ว ย่อมทำตนให้เป็น
ผู้มีมารยาทงามมีใจแช่มชื่น แม้จะเข้าไปในหมู่ภิกษุผู้มีศีล ก็องอาจไม่สะทกสะท้าน
ทั้งไม่ถูกจับกุมลงโทษหรือถูกติเตียน มีแต่จะได้รับความสรรเสริญ ทั้งเป็นปัจจัยให้บำเพ็ญ
คุณธรรมที่ยิ่งๆ ขึ้นไปอีก ดังนี้เป็นต้น
อาบัติ หมายถึง กิริยาที่ล่วงละเมิดในข้อที่พระพุทธเจ้าทรงห้าม มี 7 อย่าง
คือ ปาราชิก สังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฎิเทสนียะ ทุกกฎ และทุพภาสิต เมื่อว่าโดยโทษ
ของอาบัติ แบ่งไว้ดังนี้ (1) ปาราชิก มีโทษอย่างหนักทำให้ผู้ละเมิดต้องขาดจากความเป็นภิกษุ
ทันที เป็น อเตกิจฉา กล่าวคือ แก้ไขไม่ได้ ต้องให้ลาสิกขาจากเพศบรรพชิตอย่างเดียวเท่านั้น
(2 ) สงั ฆาทเิสส มีโทษอย่างกลาง เปน็ สเตกจิ ฉา กลา่ วคอื แกไ้ ขได้ ด้วยการอยูก่ รรม และ (3) ถุลลัจจัย
ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฎ ทุพภาสิต ทั้ง 5 อย่างนี้ มีโทษอย่างเบา เป็นสเตกิจฉา กล่าวคือ แก้ไข
ได้ด้วยการแสดงคืนต่อหน้าภิกษุด้วยกัน
โทษทางโลกและโทษทางพระวินัย
35
โลกวัชชะ หมายถึง อาบัติที่เป็นโทษทางโลก ซึ่งชาวโลกเขาติเตียน คือ
คนที่เป็นคฤหัสถ์ทำเข้าเป็นความผิด ภิกษุทำเข้าก็เป็นความผิด เช่น ทำโจรกรรม และฆ่ามนุษย์
ตลอดถึงโทษเบาๆ เช่น ทุบตีกัน เป็นต้น เมื่อภิกษุทำกรรมเช่นนี้ ย่อมผิดทั้งกฎหมายบ้านเมือง และ
ผิดทั้งบัญญัติทางพระวินัยด้วย
ปัณณัตติวัชชะ หมายถึง อาบัติที่เป็นโทษทางพระบัญญัติ คือ คนที่เป็นคฤหัสถ์ทำ
เข้าไปแล้วไม่เป็นความผิด เป็นความผิดเฉพาะพระภิกษุโดยฐานละเมิดพระบัญญัติ
เท่านั้น เช่น ขุดดิน ฉันอาหารในเวลาวิกาล ใช้ทองและเงิน ผิงไฟ ชาวบ้านทำไม่มีความผิดหรือ
เสียหาย แต่พระภิกษุทำเข้าเป็นความผิดทางพระบัญญัติ คือ ผิดทางพระวินัยอย่างเดียว ไม่มี
ความผิดทางกฎหมายบ้านเมือง
จุดมุ่งหมายแห่งพระวินัย 8 อย่าง ได้แก่ (1) เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นคนเหี้ยมโหด
(2) เพื่อป้องกันความลวงโลกเลี้ยงชีพ (3) เพื่อป้องกันความดุร้าย (4) เพื่อป้องกันความ
ประพฤติเลวทราม (5) เพื่อป้องกันความประพฤติเสียหาย (6) เพื่อป้องกันการเล่นซุกซน
(7) เพื่อรักษาความนิยมของคนในสมัยนั้น และ (8) เพื่อให้เป็นธรรมเนียมของภิกษุ
ประโยชน์แห่งการบัญญัติพระวินัย 10 อย่าง ได้แก่ (1) เพื่อความดีแห่งหมู่
(2) เพื่อความผาสุกแห่งหมู่ (3) เพื่อกำจัดบุคคลผู้แก้อยาก (หน้าด้าน, ดื้อด้าน)
(4) เพื่อความอยู่เป็นสุขแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก (5) เพื่อระวังอาสวะที่จะเกิดขึ้นในปัจจุบัน
(6) เพื่อกำจัดอาสวะที่จะมีต่อไปในภายหน้า (7) เพื่อความเลื่อมใสของบุคคลผู้ที่ยังไม่เลื่อมใส
(8) เพื่อความเจริญยิ่งของบุคคลผู้เลื่อมใสแล้ว (9) เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม และ
(10) เพื่อความเกื้อกูลพระวินัย
การปกครองคณะสงฆ์ในปัจจุบันเป็นไปตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505
และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 โดยได้มอบอำนาจการปกครองคณะสงฆ์ทั้งหมดให้
แก่มหาเถรสมาคม ซึ่งมีสมเด็จพระสังฆราชทรงเป็นประธาน มีคณะพระสังฆาธิการปกครอง
บังคับบัญชาลงมาตามลำดับ คือ เจ้าคณะใหญ่ เจ้าคณะภาค เจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะอำเภอ
เจ้าคณะตำบล จนถึงเจ้าอาวาส ซึ่งเป็นการดำเนินการตามอย่างทางโลก (ธีรวุฒิ ทองโอษฐ์, 2544 :
23) ดังแผนภาพที่ 3
36
การปกครองคณะสงฆ์ในปัจจุบัน
แผนภาพที่ 2 แสดงแผนผังการปกครองคณะสงฆ์ปัจจุบัน
ที่มา : กรมการศาสนา (2542 ข. : ภาพประกอบ)
หน่วยงานปกครองของคณะสงฆ์ขั้นต้นและสำคัญที่สุดคือ วัด ซึ่งมีฐานะเป็น
นิติบุคคลโดยเจ้าอาวาสเป็นผู้บริหารจัดการ (กรมการศาสนา, 2542 ก. : 15) ตามมาตรา 45
แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 กำหนดให้เจ้าอาวาสมีฐานะเป็นเจ้าพนักงานตามความใน
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368 (เพิ่มศักดิ์ เพิ่มพูน, 2534 : 25) มาตรา 37 (2) กำหนดให้
เจ้าอาวาสมีหน้าที่ในการปกครองและสอดส่องให้พระภิกษุสามเณรให้พระภิกษุสามเณรและ
ส ม เ ด็ จ
กรรมการมหาเถรสมาคม
เ จ้้้้ า ค ณะ

เ จ้้้้ า ค ณะ ภา ค
เ จ้้้้ า ค ณะ
เ จ้้้้ า ค ณะ อํ า เ ภอ
เ จ้้้้ า ค ณะ ตํ า บล
เ จ้้้้ า อ า ว า ส
37
คฤหัสถ์ที่มีอยู่หรือพำนักอาศัยอยู่ในวัดปฏิบัติตามพระธรรมวินัย กฎมหาเถรสมาคม ข้อบังคับ
ระเบียบ หรือคำสั่งมหาเถรสมาคม (คณะสงฆ์ ภาค 9, 2540 : 8 ; กรมการศาสนา, 2542 ก. : 48)
ด้านการจัดการปกครองของวัด ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (พระมหา เสริมชัย
ชยมังคโล, 2541 : 15 – 136 อ้างถึงใน ธีรวุฒิ ทองโอษฐ์, 2544 : 23 – 24) ได้อธิบายว่า
ตามพระธรรมวินัย เจ้าอาวาสมีหน้าที่ในการบริหารอยู่ 2 อย่าง คือ การบริหารตน และการบริหาร
หมู่คณะ การบริหารตน หมายถึง การคุ้มครอง รักษาความประพฤติปฏิบัติของตนทางไตรทวาร คือ
ทางกาย วาจา และใจ ตามพระธรรมวินัย ให้งดงามพร้อมด้วยศีลาจารวัตรให้สงบ เรียบร้อยดี
ไม่มีโทษ และให้พ้นจากอำนาจของกิเลส อวิชชา ตัณหา อุปาทาน เพื่อสลัดตนออกจาก
ทุกข์ทั้งปวงและเพื่อทำนิพพานให้แจ้งตามระดับภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้ ส่วนการบริหารหมู่คณะ คือ
การปกครองดูแล ตลอดจนแนะนำสั่งสอน อบรมพระภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์ที่มีที่อยู่หรือพำนัก
อยู่ในวัดให้ประพฤติในพระธรรมวินัยด้วยหลักไตรสิกขา คือ ศีลสิกขา การอบรม ความประพฤติ
จิตสิกขา การอบรมจิต และปัญญาสิกขา การอบรมปัญญา ชำเลือง วุฒิจันทร์ (2526 : 86 – 88)
กล่าวว่า โดยปกติวัดทุกแห่งทั่วประเทศ จะมีระเบียบของวัดเกี่ยวกับกิจวัตรที่ภิกษุสามเณร
ต้องปฏิบัติและเจ้าอาวาสมีหน้าที่ต้องควบคุมดูแลให้ปฏิบัติตามอยู่แล้ว เช่น กจิ วตั รประจาํ วนั ที่
พระภิกษุสามเณรทุกรูป ทุกวัด ที่สังกัดธรรมยุติกนิกายต้องปฏิบัติตามพระธรรมวินัยและประเพณี
คณะสงฆ์ไทย ได้แก่ การไหว้พระก่อนนอน เพื่อบูชาพระรัตนตรัย ระลึกพระคุณบิดามารดา
พระอุปัชฌาย์อาจารย์ และแผ่เมตตาแก่สัตว์ทั้งหลาย การออกบิณฑบาตทุกเช้า ถือเป็นการออก
โปรดสัตว์ การฉันภัตตาหารทุกครั้งก่อนฉันและขณะฉันต้องพิจารณาอย่างมีสติ การทำวัตร
เข้า ทำวัตรเย็น เป็นธรรมเนียมประเพณีของพระสวดมนต์ร่วมกัน การฟังเทศน์ทุกวันพระ (วันขึ้น
และแรม 8 และ 15 ค่ำ) ร่วมกับคฤหัสถ์ โดยมีเจ้าอาวาส เจ้าคณะหรือพระธรรมกถึก
(พระนักเทศน์) เป็นผู้แสดงธรรม การฟังพระปาติโมกข์ทุกวันขึ้นและแรม 15 ค่ำ ของพระสงฆ์
เป็นพุทธบัญญัติ หากละเลยจะต้องอาบัติทุกกฎ (ความผิดเล็กน้อย) การศึกษาอบรม ให้รู้และเข้าใจ
ในพระธรรมวินัย ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติของตนโดยตรง ได้แก่ ศีล 227 ข้อ ของพระภิกษุ ศีล 10 ข้อ
ของสามเณร เป็นต้น รวมทั้งการสอบความรู้ตามหลักสูตรนักธรรมหรือบาลีด้วย การศึกษาและ
ปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน เพื่อความสุขสงบแห่งจิตใจ การทำกิจวัตรพิเศษ สมณกิจและกิจนิมนต์
คือ ศาสนกิจทุกอย่างเพื่อสงเคราะห์ประชาชนในโอกาสต่างๆ การปฏิบัติกิจวัตรส่วนตัว
และการดูแลรักษาบูรณ์ซ่อมแซมบริเวณวัด เสนาสนะ ตลอดจนกิจการต่างๆ ของวัด
น อ ก จ า ก นี้ ยั ง มี ป ร ะ ก า ศ ร ะ เ บี ย บ
แ ล ะ คํ า สั่ ง ข อ ง ม ห า เ ถ ร ส ม า ค ม ซึ่ ง เ จ้ า
อ า ว า ส
ต้ อ ง ป ฏิ บั ติ ต า ม แ ล ะ ใ ช้ เ ป็ น เ ค รื่ อ ง
38
มื อ ใ น ก า ร บ ริ ห า ร ก า ร ป ก ค ร อ ง พร ะ ภิ ก ษุ
ส า ม เ ณ ร ภ า ย ใ น วั ด
ใ ห้ เ กิ ด ค ว า ม เ ป็ น ร ะ เ บี ย บ เ รี ย บ ร้ อ ย ดี
ง า มใ นว ง ก า ร คณะ ส ง ฆ์
ส รุ ป ไ ด้้้้ ว่่่่ า ด้้้้ า น ก า ร จั ด ก า ร ป ก
ค ร อ ง ภา ย ใ นวั ด ห ม า ย ถึ ง ก า ร ปก ค ร อ ง แ ล ะ
ส อ ด ส่่่่ อ ง ใ ห้้้้ บ ร ร พ ชิ ต แ ล ะ ค ฤ หั ส ถ์์์์ ใ น วั ด
ป ร ะ พฤ ติ ดี ป ฏิ บั ติ ช อ บ ถู ก ต้้้้ อ ง ต า ม พร ะ
ธ ร ร ม วิ นั ย
มี ก ฎ ร ะ เ บี ย บ เ พืื่ื่ื่่ อ ใ ห้้้้ ก า ร ป ก ค ร อ ง เ ป็็็็ น
ไ ปด้้้้ ว ย ค ว า ม เ รี ย บ ร้้้้ อ ย
2. ด้้้้ า น อ า ค า ร เ ส น า ส น ะ
การพัฒนาด้านอาคารเสนาสนะ จัดอยู่ในการสาธารณูปการ ซึ่งหมายถึง
การก่อสร้างและการบูรณะปฏิสังขรณ์ศาสนวัตถุและศาสนสมบัติของสงฆ์ เช่น โบสถ์ วิหาร
(ราชบณั ฑิตยสถาน, 2539 : 827) เปน็ ศาสนสถานภายในวดั ใหเ้ รยี บรอ้ ยดงี าม ซึง่ ไดแ้ ก ่ การพฒั นาวดั
ให้เป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชน โดยมีพระภิกษุสงฆ์เป็นผู้นำในการพัฒนาทั้งด้านวัตถุ
และจิตใจ (พระเทพปริยัติสุธี, 2540 : 54 – 58)
การพัฒนาวัด ได้แก่ การปรับปรุงสภาพวัดและการดำเนินกิจกรรมต่างๆ
ของวัด เพื่อสนับสนุนส่งเสริมให้วัดมีความเจริญรุ่งเรือง และเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชนได้
อย่างแท้จริง โดยเน้นการปรับปรุงและแก้ไขข้อบกพร่องเดิมภายในวัด รวมทั้งส่งเสริม
กระบวนการดำเนินงานกิจการพระศาสนาในวัดให้มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพสมบูรณ์
ในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 37 (1) กำหนดให้เจ้าอาวาสมีหน้าที่ในการบำรุง
รักษาวัด จัดกิจการและศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปด้วยดี (กรมการศาสนา, 2542 ข : 29)
2.1 การพัฒนาวัดของเจ้าอาวาส
พระธรรมวโรดม (2539 : 178 – 185) และสาโรจน์ กาลศิริศิลป์ (2543 :
28–29 อ้างถึงใน ธีรวุฒิ ทองโอษฐ์ 2544 : 34 – 36) ได้อธิบายเพิ่มเติมในเรื่องดังกล่าวว่า
การบำรุงรักษาวัดในเป็นไปด้วยดี ได้แก่ การที่เจ้าอาวาสดำเนินการพัฒนาวัดให้เจริญรุ่งเรืองใน
ทุกด้าน อาทิ
39
2.1.1 การจัดทำป้ายชื่อวัด ซึ่งนิยมทำป้ายที่คงทนถาวรติดตั้งไว้ ณ สถานที่
เหมาะสม มองเห็นได้ชัดเจน
2.1.2 การทำประวัติวัด ได้แก่ ชื่อวัด สถานที่ตั้งวัด อาณาเขตของวัด จำนวน
ถาวรวัตถุ และปูชนียวัตถุภายในวัด การบูรณะปฏิสังขรณ์และค่าใช้จ่าย ลำดับเจ้าอาวาส ตั้งแต่เริ่ม
สร้างวัดจนปัจจุบัน จัดทำสถิติพระภิกษุสามเณรและศิษย์วัด และสถิติการศึกษาพระปริยัติธรรม
2.1.3 การทำแผนผังวัด ได้แก่ เขตพุทธาวาส คือ เขตเป็นที่สร้างอุโบสถ วิหาร
เป็นต้น เขตสังฆาวาส คือ เขตเป็นที่สร้างกุฏิสงฆ์ หอสวดมนต์ หอฉัน เป็นต้น เขตสาธารณ
สงเคราะห์ คือ เขตที่ธรณีสงฆ์ สำหรับสร้างโรงเรียน ห้องสมุด สถานีอนามัย ฌาปนสถาน ศาลา
บำเพ็ญกุศล เป็นต้น เขตอภัยทาน คือ เขตห้ามล่าสัตว์ เขตการศึกษา คือ เขตสถานที่ศึกษาทาง
ธรรมชาติ เช่น ป่าไม้ หรือแร่ธาตุ เป็นต้น และเขตจัดผลประโยชน์ คือ เขตที่ธรณีสงฆ์
เพื่อหารายได้บำรุงวัด ซึ่งมีรูปแบบของการจัดทำแผนผังวัด ดังแผนภาพที่ 3
ตัวอย่างการจัดทำแผนผังของวัด
แผนภาพที่ 3 แสดงตัวอย่างการจัดทำแผนผังวัด
ที่มา : กรมการศาสนา (2545 : ภาพประกอบ)
2.1.4 การวางแผนผังของวัด ได้แก่ การประชุมปรึกษาหารือกันระหว่าง
เจ้าอาวาส กรรมการวัด เจ้าคณะพระสังฆาธิการตามลำดับ ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อตกลงกันก่อสร้างถาวรวัตถุภายในวัด โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญในการวางแผนผังมา
40
ร่วมให้คำปรึกษา แนะนำ และมอบหมายให้นายช่างเขียนแผนผัง พร้อมประมาณการงบประมาณ
การก่อสร้าง
2.1.5 การสร้างถาวรวัตถุอันเหมาะสม เจ้าอาวาสและกรรมการวัดจะต้อง
ก่อสร้างถาวรวัตถุต่างๆ ตามแบบแปลนแผนผังที่ได้ตกลงกันไว้แล้ว หากจะมีการเปลี่ยนแปลง
จะต้องปรึกษาหารือและได้รับความเห็นชอบจากเจ้าคณะพระสังฆาธิการตามลำดับชั้นและ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รูปลักษณะของถาวรวัตถุเป็นสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาสอดคล้องกับ
ศิลปะประจำท้องถิ่นนั้น ๆ โดยไม่ใหญ่โตเกินความจำเป็น และไม่นิยมก่อสร้างเพื่ออวดบารมีของ
เจ้าอาวาส
2.1.6 การพัฒนาวัดให้เป็นอาราม คือ การรักษาวัดให้สะอาด ร่มรื่น เป็น
ระเบียบเรียบร้อย โดยสถานที่ที่สมควรพัฒนาคือ
2.1.6.1 กุฏิเจ้าอาวาส ควรพัฒนาเป็นอันดับแรก เพื่อเป็นตัวอย่างแก่
พระภิกษุสามเณร
2.1.6.2 ลานวัด บริเวณวัด อุโบสถ วิหาร ศาลาการเปรียญและกุฏิ
มีการดูแลรักษาตลอดเวลา
2.1.6.3 นิยมปลูกต้นไม้ยืนต้นประเภทไม้ใบในบริเวณวัด เพราะให้
ความร่มรื่นและเป็นสัญลักษณ์ทางศาสนา เช่น พิกุล บุนนาค สารภี และอโศก เป็นต้น
2.1.6.4 บูรณะปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุต่าง ๆ ภายในวัด เมื่อเห็นว่าเริ่มชำรุด
ทรุดโทรม และรักษาสภาพเดิมของถาวรวัตถุ ศิลปวัตถุ และโบราณวัตถุไว้
2.1.6.5 ตัวอาคารต่าง ๆ ควรทาสีเพื่อรักษาตัวไม้ไม่ให้ผุกร่อน เพราะ
แดดและฝน และใช้สีที่เหมาะสมแก่สถานที่ทางพระพุทธศาสนา
2.1.6.6 ควรจัดให้มีสถานที่เก็บรักษาสัมภาระ เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ
2.1.6.7 เก็บรักษาปูชนียวัตถุและโบราณวัตถุอันมีค่าไว้ในที่ปลอดภัย
โดยมอบหมายให้พระภิกษุหรือสามเณรดูแลรักษาเป็นประจำ
2.1.6.8 ถนนเข้าวัดและภายในวัด พร้อมทั้งปลูกไม้ยืนต้นริมถนนอย่าง
เป็นระเบียบเรียบร้อย
พระธรรมวโรดม (2539 : 178 – 185) และสาโรจน์ กาลศิริศิลป์ (2543 : 28–29
อ้างถึงใน ธีรวุฒิ ทองโอษฐ์ 2544 : 34 – 36) ยังได้อธิบายเพิ่มเติมว่า การจัดศาสนสมบัติของวัด
ให้เป็นไปด้วยดี โดยการที่เจ้าอาวาสจัดการดูแลรักษาคุ้มครองป้องกันสมบัติของวัดและ
ผลประโยชน์ของวัดมิให้เสียหาย อาทิ จัดทำทะเบียนที่ธรณีสงฆ์ (ที่เป็นสมบัติของวัด) และ
บัญชีที่กัลปนา (ที่ซึ่งมีผู้ถวายผลประโยชน์ให้แก่วัด) ไว้เป็นหลักฐาน และจัดทำบัญชีถาวรวัตถุ
และปูชนียวัตถุของวัด
41
จากที่กล่าวมาข้างต้น ความหมายขั้นพื้นฐานของการพัฒนาวัด ในด้านอาคาร
เสนาสนะได้รวมไปถึงการสร้างวัดให้วัดเป็นศูนย์กลางของชุมชน และเป็นแหล่งอารยธรรม
อันเจริญรุ่งเรือง มีศาสนวัตถุ ศาสนสถานอันเป็นเครื่องหมายแห่งศิลปวัฒนธรรมอันดีงาม
บุคลากรทางศาสนา สำหรับการพัฒนาศาสนสถานและศาสนวัตถุ จะต้องประกอบไปด้วย
(1) พัฒนาและปรับปรุงศาสนสถาน เช่น โบสถ์ วิหาร กุฎิ ฯลฯ ให้สวยงาม ประหยัดเรียบง่าย
สอดคล้องกับศิลปะวัฒนธรรมประเพณีของชาติและท้องถิ่น มีการจัดเก็บศาสนวัตถุ เช่น
พระพุทธรูป ใบลาน ฯลฯ แยกไว้อย่างชัดเจนเป็นหมวดหมู่ในรูปของพิพิธภัณฑ์และเป็น
ประโยชน์สูงสุดในแง่การศึกษาและเป็นศูนย์รวมศรัทธาของประชาชน และ (2) ปรับปรุง
สภาพแวดล้อมภายในวัดให้มีความสะอาดร่มรื่น เชน่ การปลูกต้นไม ้ ดอกไม้ประดับ เพื่อให้
ความร่มรื่น มีบ่อน้ำ สระน้ำ ทางเดินเท้า ท่อระบายน้ำ ฯลฯ การจัดทำแผนผังภายในวัดเพื่อให้ใช้
ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่และเป็นศูนย์กลางในการจัดกิจกรรมต่างๆ ในชุมชน
2.2 ประเมินเกณฑ์มาตรฐานในการจัดตั้งวัด
พรเลิศ อ่วมพ่วง (2539 : 9) ได้ประเมินเกณฑ์มาตรฐานในการจัดตั้งวัด
โดยอาศัยที่ตั้งของวัดเป็นหลัก เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาวัด ซึ่งสามารถจำแนกออกเป็น 3
ขนาดดังต่อไปนี้
2.2.1 วัดขนาดเล็ก คือ วัดที่ตั้งอยู่ในชุมชนขนาดเล็ก ควรจัดแผนผังขนาดย่อม
โดยให้มีถนนเชื่อมพองามกับให้มีสนามหญ้าและที่ปลูกต้นไม้ไว้ส่วนหนึ่ง เสนาสนะควรมีเฉพาะ
ที่ขาดไม่ได้ คือ กุฎี ศาลาการเปรียญ และอุโบสถ และควรกันบริเวณ ไว้เป็นเขตฌาปนสถาน พร้อม
กับสิ่งก่อสร้างไว้ในแผนผังคือ เมรุเผาศพ ศาลาบำเพ็ญกุศล ส่วนเสนาสนะอื่นๆ
ถ้าจำเป็นจริงจึงให้มี เพราะถือนโยบายประหยัด
2.2.2 วดั ขนาดกลาง คอื วดั ทตี่ งั้ อยใู่ นชมุ ชนขนาดกลาง ทีต่ ั้งวดั กวา้ งขวาง
ควรจัดแบ่งออกเป็นเขต คือ เขตพุทธาวาส เขตสังฆาวาส เขตการศึกษา และเขตการสาธารณ
สงเคราะห์กันเขตด้วยถนนหรือลำคลอง จัดเป็นสนามหญ้าบริเวณปลูกต้นไม้ (สวนป่า) และ
เขตอภัยทาน ตามควรแก่ที่ตั้งวัดและชุมชน เสนาสนะควรมีมากกว่าวัดขนาดเล็ก คือ กุฏิ
เป็นหมู่ ศาลาการเปรียญ อุโบสถ โรงเรียนพระปริยัติธรรม โรงเรียนการศึกษาสงเคราะห์
เขตการสาธารณสงเคราะห์หรือ ฌาปนสถาน ควรแยกเป็นส่วนหนึ่ง กำหนดสิ่งก่อสร้างให้ชัดเจน
เช่น เมรุเผาศพ ศาลาบำเพ็ญกุศล ที่เก็บศพ โรงครัว เป็นต้น
2.2.3 วดั ขนาดใหญ  คือ วดั ทตี่ งั้ อยใู่ นชมุ ชนขนาดใหญ ่ ควรจดั แบง่ เขตให้
เหมาะสมกว่าวัดขนาดกลาง หรืออาจเพิ่มเขตจัดประโยชน์ด้วย เสนาสนะก็อาจมีมากกว่าและ
ประณีตขึ้น ตามสมควรแก่ขนาดวัดและชุมชน
42
อนึ่ง วัดขนาดเล็ก ขนาดกลาง หรือขนาดใหญ่ก็ตาม ควรได้มี
การบูรณะปฏิสังขรณ์ให้น่ารื่นรมย์เหมาะสมกับคำว่า “อาราม” เช่น จัดทำถนนเข้าวัดและ
ภายในวัด ทำความสะอาดวดั เปน็ ประจาํ ทกุ สปั ดาห ์ ปลกู ไมย้ นื ตน้ รมิ ถนน จัดทาํ ปา้ ยบอกชื่อวดั ทตี่ งั้
ระยะทาง ทำป้ายประชาสัมพันธ์กิจการภายในวัด เขียนแผนผังวัดลงในกระดานขนาดใหญ่
ติดไว้ในที่เปิดเผย การทำป้ายชื่อวัดนั้น ควรใช้ชื่อทางราชการให้ถูกต้องตรงกัน ทั้งป้ายถนนแยก
เข้าวัดและป้ายหน้าวัด รวมไปถึงการดูแลรักษาและจัดหาผลประโยชน์ของวัดเพื่อบำรุงวัดให้
เจริญรุ่งเรือง
สรุปได้ว่า ด้านอาคารเสนาสนะ หมายถึง กุฏิ วิหาร หรือสิ่งปลูกสร้างภายในวัด ที่มี
ความเป็นระเบียบเรียบร้อย สะอาด สวยงาม มั่นคงแข็งแรง
3. ด้้้้ า น การจดั กจิ กรรมเพอื่ ชมุ ชน
ด้านการจัดกิจกรรมเพื่อชุมชน จัดเป็นการสาธารณสงเคราะห์ ซึ่งหมายถึง
การดำเนินกิจการวัดหรือของพระภิกษุสงฆ์ เพื่อให้เป็นสาธารณประโยชน์ในด้านสังคมสงเคราะห์
ทั้งการสงเคราะห์บุคคลและสาธารณสงเคราะห์ (พระเทพปริยัติสุธี, 2540 : 61 - 62)
3.1 การสาธารณสงเคราะห์ของพระสงฆ์
3.1.1 การดำเนินกิจการเพื่อช่วยเหลือเกื้อกูล ได้แก่ การที่วัดหรือคณะสงฆ์
ดำเนินการเองซึ่งกิจการอย่างใดอย่างหนึ่งที่มีวัตถุประสงค์ให้เป็นสาธารณประโยชน์ เช่น
กิจการหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล กิจการห้องสมุดเพื่อประชาชน จัดอบรมวิชาชีพให้แก่
ประชาชนในท้องถิ่น ไถ่ถอนชีวิตโคกระบือจากโรงฆ่าสัตว์แล้วมอบให้ชาวบ้าน จัดตั้ง
สหกรณ์ออมทรัพย์ จัดตั้งระบบประปาหมู่บ้าน สร้างอ่างเก็บน้ำ การตั้งมูลนิธิเพื่อคนยากจน
หรือกิจการอื่น ๆ การนี้ มุ่งเอากิจการที่ทำเองหรือโครงการที่กำหนดเอง ทั้งที่เป็นกิจประจำ
หรือกิจการชั่วคราว
3.1.2 การช่วยเหลือเกื้อกูลกิจการของผู้อื่นเพื่อสาธารณประโยชน์ ได้แก่
การช่วยเหลือสนับสนุนส่งเสริมกิจการของรัฐหรือของเอกชนหรือผู้ใดผู้หนึ่งดำเนินการ และ
การนั้นเป็นไปเพื่อการสาธารณประโยชน์ เช่น การพัฒนาหมู่บ้าน การพัฒนาตำบล ขุดสระน้ำ
ขนาดใหญ่ เพื่อเป็นแหล่งน้ำอุปโภคและเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ อนุรักษ์วัฒนธรรม
และสิ่งแวดล้อม การจัดหาทุนเพื่อการสงเคราะห์และอื่น ๆ การนี้ มุ่งเอาเฉพาะส่งเสริมงานของ
ผู้อื่น มิได้มุ่งถึงกิจการที่ดำเนินการ ทั้งที่เป็นกิจการประจำหรือกิจการเฉพาะเรื่อง
แม้การช่วยป้องกันยาเสพย์ติดให้โทษ เช่น ยาบ้า หรือช่วยป้องกันการติดโรคเอดส์ ก็ควรนับ
เข้าในข้อนี้
43
3.1.3 การช่วยเหลือเกื้อกูลสถานทีอ่ นั เปน็ สาธารณสมบัติ ไดแ้ ก ่ การสรา้ งถนน
ขุดลอกคูคลอง สร้างโรงพยาบาลและจัดซื้อเครื่องมือแพทย์ สร้างการประปา สร้างเครื่องกำเนิด
ไฟฟ้า ปลูกต้นไม้ และอื่นๆ ข้อนี้ มุ่งเอาเฉพาะการช่วยเหลือเกื้อกูลสถานที่อันเป็นของ
สาธารณประโยชน์
3.1.4 การช่วยเหลือเกื้อกูลประชาชนทั่วไป ได้แก่ การช่วยเหลือประชาชนใน
การที่ควรช่วยเหลือ เช่น จัดตั้งหน่วยอาสาสมัครบรรเทาสาธารณภัย ช่วยเหลือประชาชนทั้งด้าน
ไฟไหม้และน้ำท่วม พร้อมมอบเครื่องอุปโภคบริโภคแก่ผู้ประสบภัย หรือในยามปกติ
ก็ตั้งกองทุนทำอาหารเลี้ยงเด็กกำพร้าและเด็กด้อยโอกาส
ฉะนั้น การสาธารณสงเคราะห์ จึงเป็นการแสดงบทบาทของพระภิกษุสงฆ์ ใน
ด้านสังคมสังเคราะห์ ทั้งการสงเคราะห์บุคคลและสาธารณสงเคราะห์ โดยมีพระภิกษุสงฆ์เป็น
ผู้นำชุมชนในการบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติต่า งๆ เพราะพระภิกษุสงฆ์เป็น
ศูนย์กลางเชื่อมประสานระหว่างคนจนกับคนรวย ปัจจัยที่ได้รับบริจาคมา พระภิกษุสงฆ์
ก็ใช้ทำประโยชน์เป็นสาธารณกุศล และช่วยเหลือบุคคลผู้ขาดแคลนและด้อยโอกาสดังกล่าวแล้ว
3.2 ข้อเตือนใจในทางความประพฤติปฏิบัติของพระสงฆ์
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) (2541 ก : 63 - 64) กล่าวว่า พระภิกษุสงฆ์
ซึ่งเป็นบรรพชิตในพระพุทธศาสนา มีหน้าที่ศึกษาปฏิบัติธรรม เผยแผ่คำสอนสืบต่อ
พระพุทธศาสนา มีคุณธรรมและหลักความประพฤติที่ต้องปฏิบัติมากมาย อาทิ หน้าที่ ที่สัมพันธ์
กับคฤหัสถ์ และข้อเตือนใจในทางความประพฤติปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
3.2.1 อนุเคราะห์ชาวบ้าน พระสงฆ์อนุเคราะห์คฤหัสถ์ตามหลักปฏิบัติ
ในฐานะที่ตนเป็นเสมือนทิศเบื้องต้นออกเป็น 6 ข้อดังนี้
3.2.1.1 ห้ามปรามสอนให้เว้นจากความชั่ว
3.2.1.2 แนะนำสั่งสอนให้ตั้งอยู่ในความดี
3.2.1.3 อนุเคราะห์ด้วยความปรารถนาดี
3.2.1.4 ให้ได้ฟังได้รู้สิ่งที่ยังไม่เคยรู้ไม่เคยฟัง
3.2.1.5 ชี้แจงอธิบายทำสิ่งที่เคยฟังแล้วให้เข้าใจแจ่มแจ้ง
3.2.1.6 บอกทางสวรรค์ สอนวิธีดำเนินชีวิตให้ประสบความสุข
ความเจริญ
3.2.2 หมั่นพิจารณาตนเอง คือ พิจารณาเตือนตนเองอยู่เสมอตามหลักปัพพชิต
อภิณหปัจจเวกขณ์ (ธรรมที่บรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ) 10 ประการ ดังนี้
3.2.2.1 เรามีเพศต่างจากคฤหัสถ์ สลัดแล้วซึ่งฐานะ ควรเป็นอยู่ง่าย
จะจู้จี้ถือตัวเอาแต่ใจตนไม่ได้
44
3.2.2.2 ความเป็นอยู่ของเราเนื่องด้วยผู้อื่น ต้องอาศัยเขาเลี้ยงชีพ ควรทำ
ตัวให้เขาเลี้ยงง่าย และบริโภคปัจจัย 4 โดยพิจารณาไม่บริโภคด้วยตัณหา
3.2.2.3 เรามีอากัปกิริยาที่พึงทำต่างจากคฤหัสถ์ อาการกิริยาใดๆ ของสมณะ
เราตอ้ งทำอาการกิริยานั้นๆ และยังจะต้องปรับปรุงตนให้ดียิ่งขึ้นไปกว่านี้
3.2.2.4 ตัวเราเองยังติเตียนตัวเราเองโดยศีลไม่ได้อยู่หรือไม่
3.2.2.5 เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ผู้เป็นวิญญูชน พิจารณาแล้ว
ยังติเตียนเราโดยศีลไม่ได้อยู่หรือไม่
3.2.2.6 เราจักต้องถึงความพลัดพรากจากของรักของชอบใจไปทั้งสิ้น
3.2.2.7 เรามีกรรมเป็นของตน เราทำกรรมใด ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม จักต้อง
เป็นทายาทของกรรมนั้น
3.2.2.8 วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เราทำอะไรอยู่
3.2.2.9 เรายินดีในที่สงัดอยู่หรือไม่
3.2.2.10 คุณวิเศษยิ่งกว่ามนุษย์สามัญที่เราบรรลุแล้วมีอยู่หรือไม่ที่จะให้เรา
เป็นผู้ไม่เก้อเขิน เมื่อถูกเพื่อนบรรพชิตถาม ในกาลภายหลัง
3.3 หน้าที่ในฐานะที่เป็นผู้นำชุมชน
ธีรวุฒิ ทองโอษฐ์ (2544 : 37 – 38) ได้อธิบายด้านการจัดกิจกรรมเพื่อชุมชน
ว่าเจ้าอาวาสเป็นผู้นำชุมชนในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อชุมชน เช่น จัดตั้งร้านค้าสหกรณ์ให้
พึ่งตนเอง ช่วยกันทำงาน ชมรมหมอยาพื้นบ้าน โครงการสมุนไพรเพื่อการพึ่งตนเอง ชมรม
เพื่อธรรมชาติ งานเกษตรผสมผสาน เป็นต้น ในส่วนศาสนกิจของสงฆ์
สรุปได้ว่า ด้านการจัดกิจกรรมเพื่อชุมชน หมายถึง การจัดกิจกรรมของวัดใน
การช่วยเหลือ ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนในท้องถิ่นนั้น
แนวคิดเกี่ยวกับภาวะผู้นำ
ในด้านของลักษณะพฤติกรรมผู้นำ ผู้บริหารของหน่วยงานจะต้องมีลักษณะความเป็น
ผู้นำในตัวเอง จึงจะสามารถนำหน่วยงานให้บรรลุเป้าหมายได้ เพราะเป็นผู้มีหน้าที่และ
ความรับผิดชอบสูงสุดในหน่วยงานนั้น ผู้นำและแบบของผู้นำในหน่วยงานมีความสำคัญ
ต่อหน่วยงานยิ่งกว่าตัวประกอบอื่น ๆ ดังนั้นเจ้าอาวาสเป็นผู้บริหารวัดและเป็นผู้นำที่กอปร
ด้วยลักษณะสูงยิ่งกว่าผู้บริหารหน่วยงานหรือองค์การลักษณะอื่นๆ กล่าวคือ การเป็นผู้นำ
ที่ต้องรักษาศรัทธาของพระสงฆ์และศาสนิกชนที่มีต่อเจ้าอาวาสอย่างมั่นคง ดังนั้น จึงจะได้
45
นำแนวคิดและหลักการศึกษาของนักวิชาการ พร้อมทั้งหลักพระพุทธศาสนามาเป็นกรอบแนวคิด
โดยสรุปดังนี้
1. ความหมายของผู้นำ (Leader)
จากการศึกษาพบว่า ได้มีนักวิชาการได้ให้ความหมายของผู้นำไว้อย่างกว้างขวาง
ซึ่งได้รวบรวมและสรุปไว้ ดังนี้
เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์ (2540 : 76) ให้ความหมายว่า ผู้นำ คือ บุคคลที่มีผู้อื่น
ตามบุคคลใดก็ตามที่ปราศจากผู้ตาม ก็ไม่สามารถจะเรียกว่าเป็นผู้นำได้
พรนพ พุกกะพันธ์ (2542 : 1) ให้ความหมายว่า ผู้นำ คือ บุคคลที่จะมาประสานช่วย
ให้คนทั้งหลายรวมกัน โดยที่ว่า จะเป็นการอยู่รวมกันก็ตาม หรือทำงานร่วมกันก็ตาม ให้พากัน
ไปด้วยดี สู่จุดหมายที่ดีงาม
ศจี อนันต์นพคุณ (2542 : 18) ให้ความหมายว่า ผู้นำ หมายถึง บุคคลที่เป็นที่
ยอมรับของกลุ่ม ซึ่งมีอิทธิพล และมีความสามารถในการจูงใจให้ผู้อื่นมีการเปลี่ยนแปลง
และคล้อยตามด้วยความเต็มใจ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
เศาวนิต เศรณานนท์ (2542 : 2) ให้ความหมายว่า ผู้นำ คือบุคคลที่ได้รับ
การแต่งตั้ง หรือเลือกตั้ง หรือการยกย่องจากกลุ่ม ให้ทำหน้าที่ของตำแหน่งผู้นำ
อำไพ อินทรประเสริฐ (2542 : 3) ใหค้ วามหมายไวว้ า่ ผูน้ าํ คือผูท้ ีม่ อี าํ นาจหรือ
อทิ ธพิ ลเหนือการกระทาํ ของผอู้ นื่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความสามารถในการจงู ใจ การตัดสินใจ
การประสานสัมพันธ์ การติดต่อสื่อสาร ฯลฯ เพื่อให้งานประสบความสำเร็จบนพื้นฐานของ
ความศรัทธา ยอมรับโดยผู้นำ อาจได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการหรือไม่ก็ได้
ฮอลพิน (Halpin, 1957: 161 อ้างในกิติพันธ์ รุจิรกุล, 2529 : 7) ได้ให้ความหมายของ
ผู้นำไว้ 5 ลักษณะ ได้แก่
1.1 ผู้นำ หมายถึง บุคคลที่มีบทบาท หรืออิทธิพลต่อคนในหน่วยงานมากกว่าผู้อื่น
1.2 ผู้นำ หมายถึง ผู้ที่มีบทบาทเหนือบุคคลอื่น
1.3 ผู้นำ หมายถึง บุคคลที่มีบทบาทสำคัญที่สุด ในการทำให้หน่วยงานก้าวไป
สู่เป้าหมายที่ตั้งไว้
1.4 ผู้นำ หมายถึง บุคคลหนึ่ง ซึ่งได้รับการคัดเลือกจากผู้อื่นให้เป็นผู้นำ
1.5 ผู้นำ หมายถึง บุคคลหนึ่งซึ่งดำรงตำแหน่งในหน่วยงาน หรือดำรงตำแหน่ง
หัวหน้างาน
สรุปได้ว่า ผู้นำหมายถึง ผู้ที่มีอิทธิพลเหนือบุคคลอื่นและมีความสามารถใน
การตัดสินใจ การแก้ปัญหา มีความสามารถในการสั่งการ ประสานงาน จูงใจให้ผู้ร่วมงานและ
46
ผู้เกี่ยวข้องรับผิดชอบในการปฏิบัติงานในการดำเนินไปสู่เป้าหมาย และเป็นที่ยอมรับของบุคคล
ทั่วไป
2. ความหมายของภาวะผู้นำ (Leadership)
ได้มีนักวิชาการให้ความหมาย “ภาวะผู้นำ” ไว้อย่างหลากหลาย ดังต่อไปนี้
เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์ (2540 : 10) ให้ความหมายว่า ภาวะผู้นำ เป็นการใช้อิทธิพล
ของบุคคลหรือของตำแหน่งให้ผู้อื่นยินยอมปฏิบัติตาม เพื่อที่จะนำไปสู่การบรรลุของกลุ่มตามที่
ได้กำหนดไว้ หรือภาวะผู้นำ คือ รูปแบบของอิทธิพลระหว่างบุคคล
เรมวล นันท์ศุภวัฒน์ (2542 : 3) ให้ความหมายไว้ว่า ภาวะผู้นำ คือ กระบวนการ
ระหว่างบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปที่มีปฏิสัมพันธ์กัน โดยมีอำนาจและอิทธิพลเข้ามาเกี่ยวข้อง
เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายได้สำเร็จ
ศจี อนันต์นพคุณ (2542 : 19) ได้ให้ความหมายไว้ว่า ภาวะผู้นำ หมายถึง การที่
ผู้นำใช้ศิลปะหรือความสามารถในการชักชวน จูงใจผู้อื่น ให้ร่วมมือร่วมใจกับตนปฏิบัติกิจกรรม
ด้วยความเต็มใจ จนกระทั่งสำเร็จตามเป้าหมาย
เศาวนิต เศรณานนท์ (2542 : 4-5) ให้ความหมายไว้ว่า ภาวะผู้นำ คือกระบวนการ
ที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือมากกว่า พยายามใช้อิทธิพลของตนหรือกลุ่มตน กระตุ้น ชี้นำ ผลักดัน
ให้บุคคลอื่น หรือกลุ่มบุคคลอื่นมีความเต็มใจและกระตือรือร้นในการทำสิ่งต่าง ๆ ตามต้องการ
โดยมีความสำเร็จของกลุ่มหรือองค์การเป็นเป้าหมาย
อำไพ อินทรประเสริฐ (2542 : 6) ได้ให้ความหมายของการเป็น ผู้นำ (ภาวะผู้นำ)
ไว้ว่า การเป็นผู้นำเป็นกระบวนการใช้อิทธิพลทางสังคม ต่อกิจกรรมของกลุ่มบุคคลใน
สถานการณ์อย่างหนึ่ง เพื่อนำกลุ่มให้บรรลุวัตถุประสงค์ผู้นำจึงต้องรู้จักใช้ศิลปะในสถานการณ์
ต่าง ๆ เพื่อปฏิบัติและอำนวยการให้เกิดความร่วมมือในการดำเนินงานจนบรรลุผลสำเร็จ
ตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้
ทองใบ สุดชารี (2543 : 4) ให้ความหมายไว้ว่า ภาวะผู้นำ หมายถึง กระบวนการที่
บุคคลใช้อำนาจหรืออิทธิพลต่อผู้อื่น เพื่อให้บุคคลหรือกลุ่มยอมปฏิบัติตามความต้องการของ
ตนทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
3. พระไตรปิฎก
พร ะ ไ ต ร ปิ ฎ ก ใ น ต อ น ห นึ่ ง ไ ด้ก ล่าวถึง ภาวะผู้นำ และ
ภารกิจของผู้เป็นเจ้าอาวาสไว้ว่าจะต้องมี (บุญศรีพานะจิตต์, 2544 : 34) โดยกำหนดคุณสมบัติ
ของเจ้าอาวาสไว้ตามพระไตรปิฏก (จากพระสุตตันตปิฏก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต) ซึ่งว่าด้วย
ธรรมหลายๆ ประการดังต่อไปนี้
47
3.1 อาวาสิกสูตร ว่าด้วย ธรรมของเจ้าอาวาส
3.1.1 เป็นผู้เพียบพร้อมด้วยมารยาท เพียบพร้อมด้วยวัตร
3.1.2 เป็นพหูสูตร ทรงสุตะ
3.1.3 เป็นผู้ประพฤติขัดเกลา ยินดีในการหลักเร้น
3.1.4 เป็นผู้ยินดีในกัลยาณธรรม มีวาจางาม เจรจาถ้อยคำไพเราะ
3.1.5 มีปัญญา ไม่โง่เขลา ไม่เป็นคนเซอะ
3.2 โสภณสูตร ว่าด้วย ธรรมที่เป็นเหตุให้อาวาสงดงาม
3.2.1 เป็นผู้มีศีล สำรวม ฯลฯ ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
3.2.2 เป็นพหูสูตร ฯลฯ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ
3.2.3 เป็นผู้มีวาจางาม เจรจาถ้อยคำไพเราะอันประกอบด้วยวาจาชาวเมือง
ที่สละสลวย ไม่หยาบคาย ให้รู้ความหมายได้
3.2.4 เป็นผู้สามารถชี้แจงบุคคลผู้เข้าไปหาให้เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไป
ปฏิบัติเร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง ด้วยธรรมีกถา
3.3 พหูปการสูตร ว่าด้วย ธรรมที่เป็นเหตุให้มีอุปการะมากแก่เจ้าอาวาส
3.3.1 เป็นผู้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
3.3.2 เป็นพหูสูตร ฯลฯ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ
3.3.3 ปฏิสังขรณ์เสนาสนะที่ปรักหักพัง
3.3.4 เมื่อภิกษุสงฆ์จำนวนมากเข้ามาถึง หรือภิกษุจากต่างแคว้นเข้ามาถึงเธอ
เข้าไปบอก พวกคฤหัสถ์ว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุสงฆ์จำนวนมากเข้ามาถึงแล้ว ภิกษุจาก
ต่างแคว้นเข้าถึงแล้ว ขอเชิญพวกท่านทำบุญเถิด นี้เป็นกาลสมัยที่จะทำบุญ”
3.3.5 เป็นผู้ได้ฌาน 5 อันมีในจิตยิ่ง ซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
3.4 อนุกัมปสูตร ว่าด้วย ธรรมที่เป็นเหตุอนุเคราะห์คฤหัสถ์
3.4.1 ให้คฤหัสถิ์สมาทานอธิศีล
3.4.2 ให้คฤหัสถ์ตั้งอยู่ในการเห็นธรรม
3.4.3 เข้าไปหาคฤหัสถ์ผู้เป็นไข้ให้สติว่า “ท่านทั้งหลายจงตั้งสติไว้ต่อ
พระรตั นตรยั ทคี่ วรแกส่ กั การะ” และเมือ่ ภิกษสุ งฆจ์ าํ นวนมากเขา้ มาถึง หรอื ภิกษจุ ากตา่ งแควน้ เขา้
มาถึง เธอเข้าไปบอกพวกคฤหัสถ์ว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุสงฆ์จำนวนมากเข้ามาถึงแล้ว ขอเชิญพวก
ทา่ นทาํ บญุ เถดิ นีเ้ ปน็ กาลสมยั ทีจ่ ะทำบุญ”
3.4.5 ฉันโภชนะที่พวกคฤหัสถ์นำมาถวาย จะเลวหรือประณีตก็ตามด้วยตนเอง
48
3.4.6 ไม่ทำศรัทธาไทยให้ตกไป
ดังนั้น ภาวะผู้นำของเจ้าอาวาสตามหลักพระธรรมวินัยดังที่กล่าวแล้ว
คือผู้นำทางจิตวิญญาณ ที่ทำให้ทั้งพระสงฆ์ในปกค ร อ ง แ ล ะ พุท ธ ศ า
ส นิ ก ช น ไ ม่ เ พี ย ง แ ต่ ย ก ย่ อ ง ศ รั ท ธ า
เ ท่ า นั้ น แ ต่ ห ม า ย ร ว ม ถึ ง ก า ร เ ค า ร พ
บู ช า แ ล ะ เ ชื่ อ ฟั ง ย อ ม ป ฏิ บั ติ ต า ม คํ า
สั่ ง ส อ น แ ล ะ นํ า
อ ย่ า ง สิ้ น ส ง สั ย
สรุปได้ว่า ภาวะผู้นำ หมายถึง กระบวนการใช้บารมี รวมทั้งความสามารถทางกาย
ทางใจ และสมอง อย่างมีศิลปะ ในการบริหารวัดพัฒนาตัวอย่างให้บรรลุเป้าหมายตามสถานการณ์
ต่างๆ โดยการจูงใจให้ผู้อื่นยอมรับและให้ความร่วมมือด้วยความเต็มใจ จนงานสำเร็จตามเป้าหมาย
49
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ชำเลือง วุฒิจันทร์ (2526 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง การพัฒนากิจการคณะสงฆ์และ
การพระศาสนาเพื่อความมั่นคงแห่งชาติ พบว่า กิจกรรมที่พระภิกษุสงฆ์ และวัดได้ดำเนิน
เพื่อประโยชน์สุขแก่สังคมไทย แบ่งได้เป็น 6 ประการ คือ (1) การรักษาความเรียบร้อยดีงาม ได้แก่
การดำเนินการเพื่อให้พระภิกษุสามเณรทั้งสังฆมณฑล ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยอย่างบริสุทธิ์
ถูกต้อง เพื่อเป็นตัวอย่างแก่ประชาชนให้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามหลักธรรมแห่งพระพุทธศาสนา
อย่างทั่วถึงทั้งประเทศ (2) การศาสนศึกษา ได้แก่ การดำเนินการให้พระภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์
ได้ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย จนมีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง
(3) การศึกษาสงเคราะห์ ได้แก่ การดำเนินการสงเคราะห์ช่วยเหลือให้เด็กและประชาชนได้ศึกษา
เล่าเรียนทั้งในและนอกระบบการศึกษาของรัฐ เพื่อสามารถดำรงตนและดำเนินชีวิตในสังคมได้
อย่างมีความสุขและเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพของประเทศ (4) การเผยแผ่พระพุทธศาสนา ได้แก่
การดำเนินการประกาศพระพุทธศาสนาให้ประชาชนได้ทราบ เข้าใจ และน้อมนำไปปฏิบัติเพื่อ
ล่วงพ้นความทุกข์และประสพความสุขตามอุปนิสัย และผลของการปฏบิ ตั ติ ามหลกั พระพทุ ธศาสนา
อันจะยังผลให้สังคมตลอดจนประเทศชาติมีความผาสุก สันติสุข และเจริญก้าวหน้า
(5) การสาธารณูปการ ได้แก่ การดำเนินการให้วัดทั่วประเทศเป็นวัดโดยสมบูรณ์เป็นที่พักพำนัก
อาศัยศกึ ษาเลา่ เรยี นและปฏบิ ตั ติ ามพระธรรมวนิ ยั ของพระภกิ ษสุ ามเณร เปน็ ทีท่ าํ บุญบาํ เพญ็ กุศล
ฟังเทศน์ปฏิบัติธรรมและกระทำกิจกรรมของสังคมของประชาชนแห่งวัด หรือในท้องที่
ที่ตั้งแห่งวัดนั้น ตลอดจนการรักษาวัฒนธรรม และอนุรักษ์ศิลปโบราณวัตถุ และโบราณสถานของ
สังคมนั้นๆ ด้วย และ (6) การสาธารณสงเคราะห์ ได้แก่ การดำเนินการสงเคราะห์ประชาชน
ทางด้านจิตใจ และทางวัตถุที่ไม่ขัดพระธรรมวินัยและสมณวิสัย เพื่อประโยชน์และความสุขของ
ประชาชนทวั่ ไป
ศุภกุล เกียรติสุนทร (2527 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง กิจกรรมของวัดที่เป็นที่เลื่อมใส
ศรัทธาของพุทธศาสนิกชน พบว่า กิจกรรมของวัดที่เป็นที่เลื่อมใสศรัทธา ประกอบด้วย กิจกรรม
ด้านการประสานงานกับหน่วยงานราชการเพื่อพัฒนาชุมชน กิจกรรมด้านการจัดสวัสดิการ
การควบคุมดูแล รักษาศาสนสมบัติและศาสน บุคคล กิจกรรมด้านการอนุรักษ์และการเผยแพร่
ศาสนาและวัฒนธรรม กิจกรรมด้านการบริหารกิจกรรมพระศาสนาภายในวัด กิจกรรมด้านการจัด
ศาสนศึกษาเพื่อประชาชน กิจกรรมด้านสาธารณสงเคราะห์ และกิจกรรมด้านการเผยแพร่
ศาสนธรรม
50
พรประภา กิจโกศล (2534 : บทคัดย่อ) ได้ทำการศึกษาวิจัยเรื่อง บทบาทและผลได้
ต่อการพัฒนาชนบทของพระสงฆ์ : ศึกษาเฉพาะกรณีบ้านโนนเมือง อำเภอขามสะแกแสง จังหวัด
นครราชสีมา พบว่า พระสงฆ์ดำเนินการพัฒนาประชาชนในชนบท โดยเน้นการพัฒนาจิตใจ
เป็นหลัก โดยจัดตั้งโครงการรณรงค์ลดละเลิกอบายมุขและโครงการเสริมเพื่อพัฒนาสภาพ
ความเป็นอยู่ของประชาชน เช่น โครงการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โครงการสหกรณ์ร้านค้าและ
โครงการออมทรัพย์ ประชาชนให้ความร่วมมือในทุกโครงการ เนื่องจากเห็นว่าเป็นโครงการที่มี
ประโยชน์ต่อตนเองและหมู่บ้าน พระสงฆ์เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการชักชวนให้ประชาชน
เข้าร่วมโครงการ แต่ลักษณะการมีส่วนร่วมส่วนใหญ่ยังเป็นการรับประโยชน์เท่านั้น การเข้าร่วม
วางแผนและดำเนินงานมีน้อยมาก ในส่วนของการเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติตามคำสั่งสอนทาง
พุทธศาสนาของประชาชน เปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลังจากที่พระสงฆ์มีบทบาทใน
การพัฒนา พบว่า ประชาชนมีการปฏิบัติตนดีขึ้นทั้งด้านการปฏิบัติกิจทางศาสนา การลดอบายมุข
และการพัฒนาจิตใจ
สมคิด เพ็งอุดม (2535 : บทคัดย่อ) ศึกษาวิจัยเรื่องบทบาทของพระสงฆ์ที่มีต่อ
การพัฒนาชุมชน พบว่า มีพระสงฆ์ที่พัฒนาหลายรูป ได้ปรับเปลี่ยนความเชื่อและค่านิยมของ
ชาวบ้านในด้านสังคมและวัฒนธรรม ได้แก่ การอบรมสั่งสอนแนะนำชาวบ้านว่า การทำ
ความสะอาดบ้านเรือนหรือชุมชน ไม่ทิ้งขยะมูลฝอยลงแม่น้ำลำคลอง ก็คือการทำบุญอย่างหนึ่ง
สมพร เทพสิทธา (2538 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาเรื่องบทบาทของพระสงฆ์ใน
การพัฒนาชุมชน พบว่า การเป็นผู้นำทางจิตใจ ศรัทธา และปัญญา การพัฒนาจิตใจของ
ประชาชน ด้วยกระบวนการให้การศึกษาอบรม ส่วนการสงเคราะห์ประชาชนทั้งด้านการศึกษา
สงเคราะห์ และสาธารณสงเคราะห์นั้น พระสงฆ์ควรมีบทบาทในการส่งเสริมการศึกษาของ
เยาวชนและประชาชนในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด การจัดการศึกษา
ในระบบโรงเรียน ทั้งระดับประถมและมัธยมรวมทั้งการศึกษาพระปริยัติธรรม การจัดวัดให้
เป็นแหล่งความรู้และเป็นอุทยานการศึกษา เป็นต้น และบทบาทการสงเคราะห์ผู้ประสบ
ความทุกข์ยาก เดือดร้อน และการแก้ปัญหาชุมชนนั้น พระสงฆ์ควรให้การสงเคราะห์
เท่าที่ทำได้โดยการให้ธรรมะ คำปรึกษา แนะนำ กำลังใจ โดยจะต้องทำเป็นขั้นตอน
ตามหลักอริยสัจสี่ของพระพุทธเจ้า
รุ่งโรจน์ คำแน่น (2539 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์
ต่อบทบาทการพัฒนาชุมชนของเจ้าอาวาส : ศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดเพชรบุรี พบว่า เจ้า
อาวาสมีบทบาทพัฒนาชุมชนด้านการพัฒนาจิตใจมากที่สุด รองลงมาได้แก่ การส่งเสริมและ
พัฒนาการศึกษา การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ การพัฒนาเพื่อจัดระเบียบชุมชน
การพัฒนาการสาธารณสุข การส่งเสริมการมีส่วนร่วม การฝึกอบรมพัฒนาอาชีพ การส่งเสริม
51
การเกษตร และกิจกรรมการพัฒนาอื่น ๆ ตามลำดับ สำหรับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อบทบาท
การพัฒนาชุมชน ได้แก่ ความเกี่ยวพันกับชาวบ้านและความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาชุมชน
มาณี ไชยธีรานุวัฒนศิริ และคณะ (2540 : 36) ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง บทบาทพระสงฆ์
ในยุคโลกาภิวัตน์ : ศาสตร์และศิลปในการอบรมคุณธรรมของพระเถระภาคตะวันออกเฉียง
เหนือ ผลการวิจัยพบว่า พระสงฆ์รูปที่พุทธศาสนิกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้ความ
เคารพศรัทธา มีทัศนะต่อบทบาทด้านการอบรมสั่งสอนคุณธรรม การพัฒนาสังคม และบทบาท
ที่เหมาะสมในยุคโลกาภิวัตน์ว่า จากบทบาทตามบริบทของพระพุทธศาสนา ซึ่งมีหน้าที่หลัก 2
ประการ คือ การอบรมตน และการเผยแผ่พระพุทธศาสนา และบทบาทที่องค์การสงฆ์กำหนด
ให้ มีบทบาทสำคัญ 5 ประการ คือ การศึกษาพระพุทธศาสนา การปกครองพระสงฆ์ การเผยแผ่
พระธรรมคำสอน การสร้างสาธารณูปการ และงานสาธารณสงเคราะห์ และสรุปได้ว่าบทบาท
ของพระสงฆ์ในยุคโลกาภิวัตน์ มีองค์ประกอบ 3 ประการ คือ (1) บทบาทของพระสงฆ์ใน
การอบรมตน ได้แก่ ศึกษาธรรมลึกซึ้ง ปฏิบัติเคร่งครัด ปกครองสงฆ์ (2) บทบาทของพระสงฆ์ใน
การเผยแผ่ศาสนา ได้แก่ สอนธรรมะ พัฒนาสังคม พัฒนาวัด และ (3) บทบาทใหม่ของพระสงฆ์
ยุคโลกาภิวัตน์ ได้แก่ ติดตามข่าวสาร ร่วมแก้ไขปัญหาสงฆ์ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
กรมการศาสนา (2540 ก : บทคัดย่อ) ได้ทำการวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จ
ของเจ้าอาวาสในการพัฒนาวัดให้เป็นศูนย์กลางชุมชน พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของ
เจ้าอาวาสในการพัฒนาวัดให้เป็นศูนย์กลางชุมชน แบ่งเป็น 2 ปัจจัย คือ ปัจจัยหลัก ประกอบด้วย
ความสามารถพิเศษหรือคุณลักษณะเฉพาะพิเศษของเจ้าอาวาส บุคลิกภาพ/ภาวะผู้นำ เช่น
ความมีมนุษย์สัมพันธ์ ความซื่อสัตย์ การปฏิบัติตนในพระธรรมวินัย และกระบวนการบริหารและ
การทำงานอย่างเป็นระบบ อาทิ การจัดองค์กร การบริหารบุคลากร การติดตามงานการบริหาร
การเงิน เป็นต้น และปัจจัยเสริม คือ ปัจจัยที่มีส่วนสนับสนุนได้แก่ สภาพแวดล้อมทำเลที่ตั้ง
บรรยากาศในวัดและการที่วัดมีลักษณะพิเศษเฉพาะ เช่น เป็นโบราณสถานมีโบราณวัตถุ
ทางศิลปวัฒนธรรม และอื่น ๆ
ธีรวุฒิ ทองโอษฐ์ (2544 : บทคัดย่อ) ได้ทำการศึกษาวิจัยเรื่อง การศึกษาการปฏิบัติ
ศาสนกิจของเจ้าอาวาสในจังหวัดร้อยเอ็ด ผลการวิจัยพบว่า (1) เจ้าอาวาสในจังหวัดร้อยเอ็ด
มีการปฏิบัติศาสนกิจ 6 ด้าน โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีการ
ปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการปกครอง การเผยแผ่พระพุทธศาสนา การสาธารณูปการ และ
การสาธารณสงเคราะห์ และด้านที่มีการปฏิบัติอยู่ระดับปานกลาง ได้แก่ การศาสนศึกษา และการ
ศึกษาสงเคราะห์ (2) เจ้าอาวาสในจังหวัดร้อยเอ็ดที่มีวุฒิการศึกษาทางโลกแตกต่างกัน มีการ
ปฏิบัติศาสนกิจด้านการปกครอง การศาสนศึกษา การศึกษาสงเคราะห์ การเผยแผ่พระพุทธศาสนา
การสาธารณูปการ และการสาธารณสงเคราะห์ โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน (3) เจ้าอาวาส
52
ในจังหวัดร้อยเอ็ดที่มีระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสแตกต่างกัน คือ ต่ำกว่า 10 ปี และตั้ง
แต่ 10 ปีขึ้นไป มีการปฏิบัติศาสนกิจโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีการปฏิบัติศาสนกิจแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
0.05 ในด้านการปกครอง การเผยแผ่พระพุทธศาสนา และการสาธารณูปการ ส่วนด้าน
การศาสนศึกษา การศึกษาสงเคราะห์ และการสาธารณสงเคราะห์ พบว่า มีการปฏิบัติไม่
แตกต่างกัน (4) ปํญหาอุปสรรคในการปฏิบัติศาสนกิจของเจ้าอาวาสในจังหวัดร้อยเอ็ดโดยรวม
พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีปัญหาอุปสรรค ในการปฏิบัติ
อยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ ด้านการปกครอง การศึกษาสงเคราะห์ การเผยแผ่พระพุทธศาสนา
การสาธารณูปการ และการสาธารณสงเคราะห์ ส่วนด้านการศาสนศึกษา มีปัญหาอุปสรรคอยู่ใน
ระดับมาก
โคเบอร์รี่ มาร์เกเร็ท (Coberly, Margaret, 1997 : Online) ได้ทำการศึกษาวิจัยเรื่อง
มิติต่าง ๆ เกี่ยวกับความเกี่ยวพันระหว่างบุคคลในสถานศึกษาและการดูแลของที่พักพระธุดงค์ :
การใช้จิตวิทยาของพุทธศาสนาซิกชนแบบธิเบต พบว่า พุทธศาสนาของธิเบตจะมีส่วนเกี่ยวข้อง
กับการศึกษาความเกี่ยวพันระหว่างบุคคลเกี่ยวกับเรื่องของความตายและภาวะใกล้ตายของพวก
ตะวันตก เนื่องจากเป็นการสอนและส่งเสริมให้มีความตระหนักเกี่ยวกับเรื่องต่อไปนี้
การไม่สามารถหลุดพ้นจากความไม่แน่นอนและการเปลี่ยนแปลง พลังของจิตและวิธีทาง
ของมนุษย์ซึ่งได้รับการอบรมและเสริมสร้างพลังให้เข้มแข็ง แนวคิดเกี่ยวกับอนุกรมจิตใจ ซึ่งไม่มี
จุดเริ่มต้นและมีความต่อเนื่อง ซึ่งจะดำเนินถ่ายทอดจากชีวิตไปสู่อีกชีวิต และระหว่างชีวิต
ในสภาวะหลังความตาย สภาวะต่าง ๆ ใกล้ความตายและการสลายของธาตุต่างๆ ซึ่งแสดง
สัญญาณใกล้ความตาย
จากการวิเคราะห์วรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องสรุปได้ว่า การพัฒนาวัดเป็น
การปรับปรุงสภาพวัดและการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของวัด เพื่อสนับสนุนส่งเสริมให้วัดมี
ความเจริญรุ่งเรือง และเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชน เน้นการปรับปรุงและแก้ไขข้อบกพร่อง
ในวัด รวมทั้งส่งเสริมกระบวนการดำเนินงานกิจการพระศาสนาในวัดให้มีคุณภาพและมี
ประสิทธิภาพสมบูรณ์ การพัฒนาวัด มุ่งเน้นให้วัดเป็นศูนย์กลางของชุมชน และเป็น
แหล่งอารยธรรมอันเจริญรุ่งเรือง มีศาสนวัตถุ ศาสนสถานอันเป็นเครื่องหมายแห่ง
ศิลปวัฒนธรรมอันดีงาม มีการส่งเสริมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์อย่างหลากหลาย ทั้งในด้าน
ศาสนพิธี การให้การศึกษา การเผยแผ่ และการสาธารณสงเคราะห์ เพื่อให้พระศาสนา
สร้างความสงบสุขแก่สังคมไทยได้อย่างแท้จริง
53
สรุปได้ว่า “การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานของพระสังฆาธิการในวัดพัฒนา
ตวั อยา่ ง” ครงั้ น ี้ หลงั จากที่ผูว้ จิ ยั ไดศ้ กึ ษาแนวคดิ และทฤษฎี ตลอดจนงานวจิ ยั ทีเ่ กีย่ วขอ้ งตา่ งๆ แลว้
พบวา่ การทวี่ ดั ไดร้ บั การพฒั นาจนกลายเปน็ วดั พฒั นาไดน้ นั้ สาเหตหุ ลกั ประการหนงึ่ เกดิ จากบารมี
หรือภาวะผู้นำของเจ้าอาวาสซึ่งทำหน้าที่ปกครองดูแลวัดประการหนึ่ง และในการพัฒนาวัดให้
กลายเปน็ วัดพฒั นาตัวอยา่ งไดน้ ั้น วดั จะตอ้ งปฎบิ ตั ติ ามหลกั เกณฑแ์ ละแนวทางการพจิ ารณาคดั เลอื ก
วดั พฒั นาตวั อยา่ งใน 3 ดา้ น ไดแ้ ก  ด้านการจัดการปกครองภายในวัด ด้านอาคารเสนาสนะ
และด้านการจัดกิจกรรมเพื่อชุมชน จากหลักการดังกล่าวผู้วิจัยได้นำมาใช้เป็นกรอบแนวคิดใน
การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ โดยได้นำเสนอกรอบแนวคิดดังกล่าวไว้แล้ว ดังมีรายละเอียดปรากฏอยู่
ในบทนำ
บทที่ 3
วิธีดำเนินการวิจัย
การวิจัยเรื่อง “การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงาน ของพระสังฆาธิการในวัดพัฒนาตัว
อย่าง” ครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ซึ่งผู้วิจัยได้กำหนดวิธีดำเนินการในการวิจัยดังนี้
1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
3. การสร้างและการหาคุณภาพของเครื่องมือ
4. การเก็บรวบรวมข้อมูล
5. การวิเคราะห์ข้อมูล
6. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
1. ประชากรที่ใช้ในการวิจัย
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย พระสังฆาธิการในวัดที่ได้รับ
การยกฐานะเป็นวัดพัฒนาตัวอย่างทั่วประเทศ ระหว่างปี พ.ศ. 2507 ถึง พ.ศ. 2545 จำนวน
1,402 รูป (กรมการศาสนา, 2545 : 183 – 283)
2. กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย พระสังฆาธิการในวัดที่ได้
รับการยกฐานะเป็นวัดพัฒนาตัวอย่างทั่วประเทศ ระหว่างปี พ.ศ. 2507 ถึง พ.ศ. 2545 จำนวน 302 รูป
ได้จากการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างจากตารางสำเร็จรูปของ เครซี่และมอร์แกน (Krejcie
and Morgan, 1970 : 608) ดำเนินการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยสุ่มตัวอย่างด้วย
วิธีการสุม่ ตวั อยา่ งแบบแบง่ ชัน้ (Stratified Random Sampling) ตามเขตปกครองคณะสงฆ  18 เขต
และใช้วิธีสุ่มแบบง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้สัดส่วน ดังรายละเอียดที่ปรากฏ
ตามตารางที่ 1
53
ตารางที่ 1 จำนวนประชากรและกลุ่มตัวอย่างพระสังฆาธิการในวัดพัฒนาตัวอย่าง
จำแนกตามเขตปกครองคณะสงฆ์
เขตปกครองคณะสงฆ์ จำนวนประชากร จำนวนกลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ
ภาค 1 82 18 5.96
ภาค 2 67 14 4.64
ภาค 3 63 14 4.64
ภาค 4 61 13 4.30
ภาค 5 70 15 4.97
ภาค 6 88 19 6.29
ภาค 7 60 13 4.30
ภาค 8 81 17 5.63
ภาค 9 89 20 6.62
ภาค 10 102 22 7.28
ภาค 11 89 19 6.69
ภาค 12 65 14 4.64
ภาค 13 74 16 5.30
ภาค 14 89 19 6.29
ภาค 15 99 21 6.69
ภาค 16 67 14 4.64
ภาค 17 57 12 3.97
ภาค 18 99 22 7.28
รวม 1,402 302 100.00
54
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพและปัญหาการบริหารงาน
ของพระสังฆาธิการในวัดพัฒนาตัวอย่าง ตามหลักเกณฑ์และแนวทางการพิจารณาคัดเลือกวัดพัฒนา
ตวั อยา่ ง 3 ดา้ น คอื ดา้ นการจดั การปกครองภายในวัด ดา้ นอาคารเสนาสนะ และดา้ นการจัดกจิ กรรม
เพื่อชุมชน ปัญหาและข้อเสนอแนะในการดำเนินการของวัดพัฒนาตัวอย่าง และแบบสอบถาม
เกยี่ วกบั ภาวะผนู้ าํ ซึ่งผู้วิจัยได้สร้างเครื่องมือขึ้น โดยแบ่งเป็นแบบสอบถาม 4 ตอน ดังต่อไปนี้
ตอนที่ 1 เปน็ แบบสอบถามเกีย่ วกบั สถานภาพของผูต้ อบแบบสอบถาม มลี กั ษณะเปน็ แบบ
เลอื กตอบ (Check List) สอบถามเกยี่ วกบั อายุ วุฒิการศึกษาทางโลก ระยะเวลาทไี่ ดร้ บั การ
แต่งตั้งเป็นพระสังฆาธิการ และระยะเวลาทวี่ ดั ไดร้ บั การยกฐานะเปน็ วดั พฒั นาตวั อยา่ ง
ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพและปัญหาการบริหารงานของพระสังฆาธิการ
ในวัดพัฒนาตัวอย่าง มีลักษณะเป็นแบบมาตรประมาณค่า (Rating Scale) โดยแบ่งระดับการบริหาร
งานและระดบั ปญั หาการปฏบิ ตั งิ าน ตามความเห็นของพระสังฆาธิการออกเป็น 5 ระดบั คือ มากที่สุด
มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด ซึ่งมีเกณฑ์การให้คะแนนแต่ละระดับดังนี้
5 หมายถึง ระดับการบรหิ ารงาน/ระดบั ปญั หาในการปฏบิ ตั งิ านมากทสี่ ดุ
4 หมายถึง ระดับการบรหิ ารงาน/ระดบั ปญั หาในการปฏบิ ตั งิ านมาก
3 หมายถึง ระดับการบรหิ ารงาน/ระดบั ปญั หาในการปฏบิ ตั งิ านปานกลาง
2 หมายถึง ระดับการบรหิ ารงาน/ระดบั ปญั หาในการปฏบิ ตั งิ านนอ้ ย
1 หมายถึง ระดับการบรหิ ารงาน/ระดบั ปญั หาในการปฏบิ ตั งิ านนอ้ ยทีส่ ดุ
ตอนที่ 3 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำของพระสังฆาธิการในวัดพัฒนาตัวอย่าง
มลี ักษณะเปน็ แบบมาตรประมาณคา่ โดยแบ่งระดับความเห็นของพระสงั ฆาธกิ ารออกเป็น 5 ระดบั
คือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด ดังนี้
ระดับ 5 หมายถึง เป็นภาวะผู้นำที่เห็นด้วยมากที่สุด
ระดับ 4 หมายถึง เป็นภาวะผู้นำที่เห็นด้วยมาก
ระดับ 3 หมายถึง เป็นภาวะผู้นำที่เห็นด้วยปานกลาง
ระดับ 2 หมายถึง เป็นภาวะผู้นำที่เห็นด้วยน้อย
ระดับ 1 หมายถึง เป็นภาวะผู้นำที่เห็นด้วยน้อยที่สุด
55
โดยมีเกณฑ์การแปลความหมายจากค่าเฉลี่ย (Mean) ตามเป็นเกณฑ์ประเมิน ซึ่งได้นำ
เอาค่าเฉลี่ยที่ได้จากการคำนวณไปเทียบกับเกณฑ์การแปลความหมาย (ประคอง กรรณสูตร, 2540 :
70) ดังนี้
4.50 – 5.00 หมายความว่า มีการบริหารงาน/มีปัญหาอยู่ในระดับมากที่สุด
เป็นภาวะผู้นำที่มีผู้เห็นด้วยมากที่สุด
3.50 – 4.49 หมายความว่า มีการบริหารงาน/มีปัญหาอยู่ในระดับมากที่สุด
เป็นภาวะผู้นำที่มีผู้เห็นด้วยมากที่สุด
2.50 – 3.49 หมายความว่า มีการบริหารงาน/มีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง
เป็นภาวะผู้นำที่มีผู้เห็นด้วยปานกลาง
1.50 – 2.49 หมายความว่า มีการบริหารงาน/มีปัญหาอยู่ในระดับน้อย
เป็นภาวะผู้นำที่มีผู้เห็นด้วยน้อย
0.00 – 1.49 หมายความว่า มีการบริหารงาน/มีปัญหาอยู่ในระดับน้อยที่สุด
เป็นภาวะผู้นำที่มีผู้เห็นด้วยน้อยที่สุด
ตอนที่ 4 เปน็ แบบสอบถามปลายเปดิ (Open–Ended Questionnaire) แสดงความคิดเห็น
เกี่ยวกับปัญหาและข้อเสนอแนะในการดำเนินการของวัดพัฒนาตัวอย่าง
การสร้างและการหาคุณภาพของเครื่องมือ
ผู้วิจัยได้ดำเนินการสร้างเครื่องมือตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ คือ
1. ศึกษาค้นคว้าหลักการ แนวความคิด ทฤษฎีจากเอกสาร ตำรา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
สภาพและปัญหาการบริหารงานของพระสังฆาธิการในวัดพัฒนาตัวอย่าง 3 ด้าน ได้แก่
(1) ดา้ นการจดั การปกครองภายในวดั (2) ดา้ นอาคารเสนาสนะ (3) ด้านการจดั กิจกรรมเพือ่ ชุมชน
และทฤษฎีเกี่ยวกับภาวะผู้นำ เพื่อนำมาใช้เป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย
2. สร้างแบบสอบถาม โดยอาศัยข้อมูลจากข้อ 1 และสร้างให้สอดคล้องกับนิยามศัพท์
เฉพาะ ตามข้อมูลที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าและตามองค์ประกอบต่างๆ ของการบริหารงานและ
การปฏิบัติงานของพระสังฆาธิการในวัดพัฒนาตัวอย่าง
3. นำแบบสอบถามที่สร้างขึ้นไปปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษา และให้ผู้เชี่ยวชาญซึ่งมีความรู้
ทางด้านการบริหารงานและการปฏิบัติงานของพระสังฆาธิการในวัดพัฒนาตัวอย่าง ตรวจสอบ
ความเที่ยงตรงของแบบสอบถาม ดังมีรายชื่อและรายละเอียดของผู้เชี่ยวชาญปรากฏอยู่ใน
ภาคผนวก ข
4. ปรับปรงุ ตามขอ้ เสนอแนะของผูท้ รงคุณวฒุ แิ ล้วนาํ มาปรกึ ษาอาจารยท์ ี่ปรกึ ษา
56
5. นำแบบสอบถามที่ปรับปรุงแล้ว ไปทดลองใช้ (Try Out) กับวัดพัฒนาตัวอย่างใน
เขตกรงุ เทพมหานคร จังหวัดนนทบุร ี และจงั หวดั นครปฐม จาํ นวน 30 รปู ทีไ่ มใ่ ชก่ ลุม่ ตัวอยา่ ง
ซึ่งมีลักษณะการบริหารงานและการปฏิบัติงานใกล้เคียงกับกลุ่มตัวอย่าง
6. นำแบบสอบถามในข้อ 4. จำนวน 40 ข้อ นำมาหาค่าความเชื่อมั่น โดยหาค่า
สัมประสิทธิ์แอลฟา (ϒ - Coefficient) ของครอนบัค (Cronbach; อ้างถึงในพวงรัตน์ ทวีรัตน์,
2540 : 125) ตามเกณฑ์ของเบสท์ (Best, 1970 : 190) ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม
ทั้งฉบับ เท่ากับ 0.9840
7. นำแบบสอบถามฉบับสมบูรณ์ไปใช้เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง
การเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยดำเนินการดังนี้
1. นำหนังสือจากบัณฑิตศึกษา สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เพื่อขอ
ความร่วมมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บข้อมูล ดังนี้
1.1 ผู้วิจัยเก็บข้อมูลด้วยตนเอง ระหว่างเดือนธันวาคม 2545 - กุมภาพันธ์ 2546
กับวัดพัฒนาตัวอย่างในเขตการปกครองคณะสงฆ์ ภาค 1
1.2 ผูว้ จิ ยั ส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย ์ สำหรับวดั พัฒนาตวั อยา่ งที่เปน็ กลุม่ ตวั อยา่ ง
เขตการปกครองคณะสงฆ์ ภาค 2 – ภาค 18 เพื่อขอความอนุเคราะห์ให้พระสังฆาธิการในวัดพัฒนา
ตัวอย่าง ตอบแบบสอบถาม แล้วส่งคืนทางไปรษณีย์ ผู้วิจัยได้ส่งซองที่จ่าหน้าซอง มีแสตมป์
ไปพร้อมกับแบบสอบถาม และกำหนดให้ส่งแบบสอบคืนภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2546
2. ตรวจสอบความสมบูรณ์ของแบบสอบถาม โดยได้แบบสอบถามที่มีความสมบูรณ์
ตอบกลับคืนมายังผู้วิจัยจำนวน 302 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100
การวิเคราะห์ข้อมูล
ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป ดังนี้
1. การวิเคราะห์ข้อมูลตอนที่ 1 ซึ่งเป็นข้อมูลสถานภาพของตอบแบบสอบถาม โดยหาค่า
ความถี่ (Frequency) และค่าร้อยละ (Parentage)
2. การวิเคราะห์ข้อมูลตอนที่ 2 และตอนที่ 3 วิเคราะห์ในลักษณะภาพรวม โดยหา
ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
3. การวิเคราะห์ข้อมูลตอนที่ 4 โดยหาค่าความถี่ (Frequency)
57

การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานของพระสังฆาธิการในวัดพัฒนาตัวอย่าง (ตอนที่ 1)
การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานของพระสังฆาธิการในวัดพัฒนาตัวอย่าง (ตอนที่ 2)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น