วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2552

การศึกษาสภาพ ปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาของการดำเนินงานตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษาของโรงเรียนเอกชน (ตอนที่ 1)



การศึกษาสภาพ ปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาของการดำเนินงาน
ตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษาของโรงเรียนเอกชน
ในเครือคาทอลิก คณะอุร์สุลิน
นางสาวทิพย์วรรณ สุขุมเจริญวงศ์
วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาการบริหารการศึกษา
ปีการศึกษา 2545
ISBN : 974-373-198-9
ลิขสิทธิ์ของสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จพระยา
A Study of Status, Problems and Guidelines for Solution
According to Education Reform Policy of Catholic Private
Schools of Ursuline Group
Miss Thippawan Sukhumjaronewong
A Thesis Submitted in Partial Fulfillment of the Requirements
for the Master of Education (Educational Administration)
at Rajabhat Institute Bansomdejchaopraya
Acadimic Year 2002
ISBN : 974-373-198-9
หัวข้อวิทยานิพนธ์ การศึกษาสภาพ ปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาของการดำเนินงาน
ตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษาของโรงเรียนเอกชน ในเครือคาทอลิก
คณะอุร์สุลิน
โดย นางสาวทิพย์วรรณ สุขุมเจริญวงศ์
สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ประธานกรรมการ ดร. สรายุทธ์ เศรษฐขจร
กรรมการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุภรณ์ ลิ้มบริบูรณ์
กรรมการ อาจารย์ทวีศักดิ์ จงประดับเกียรติ
บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จพระยา อนุมัติให้นับวิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็น
ส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา
……………………………………………….คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
(รองศาสตราจารย์ ดร.นันทา วิทวุฒิศักดิ์)
คณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์
………………………………………………ประธานกรรมการ
(ศาสตราจารย์ ดร.สายหยุด จำปาทอง)
………………………………………………กรรมการ
(ดร. สรายุทธ์ เศรษฐขจร)
………………………………………………กรรมการ
(ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุภรณ์ ลิ้มบริบูรณ์)
………………………………………………กรรมการ
(อาจารย์ทวีศักดิ์ จงประดับเกียรติ)
………………………………………………กรรมการ
(ดร.เปรมสุรีย์ เชื่อมทอง )
………………………………………………กรรมการและเลขานุการ
(รองศาสตราจารย์ ดร.นันทา วิทวุฒิศักดิ์)
ลิขสิทธิ์ของสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ทิพย์วรรณ สุขุมเจริญวงศ์. (2545) การศึกษาสภาพ ปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาของการ
ดำเนินงานตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษาของโรงเรียนเอกชน ในเครือคาทอลิก
คณะอุร์สุลิน. วิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย สถาบัราชภัฎ
บ้านสมเด็จเจ้าพระยา. คณะกรรมการควบคุม : ดร.สรายุทธ์ เศรษฐขจร
ผศ.สุภรณ์ ลิ้มบริบูรณ์ นายทวีศักดิ์ จงประดับเกียรติ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินงานตามนโยบาย
การปฏิรูปการศึกษาของโรงเรียนเอกชน ในเครือคาทอลิก คณะอุร์สุลิน 2) ศึกษาแนวทางการแก้ไข
ปัญหาของการดำเนินงานตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษาของโรงเรียนเอกชน ในเครือคาทอลิก
คณะอุร์สุลิน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้บริหารและครูผู้สอนโรงเรียนเอกชน ในเครือ
คาทอลิก คณะอุร์สุลิน จำนวน 226 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามชนิดมาตร
ประมาณค่า (Rating Scale) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( x ) ค่าความ
เบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D. )
ผลการวิจัยพบว่า
1.สภาพการดำเนินตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษาของโรงเรียนเอกชนในเครือคาทอลิก
คณะอุร์สุลิน อยู่ในระดับมากทั้ง 4 ด้านคือ ด้านวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา ด้านการ
บริหารและการจัดการ ด้านหลักสูตร และด้านการเรียนการสอน ตามลำดับ
2. ปัญหาการดำเนินตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษาของโรงเรียนเอกชนในเครือคาทอลิก
คณะอุร์สุลิน อยู่ในระดับน้อยทั้ง 4 ด้านคือ ด้านการเรียนการสอน ด้านหลักสูตร ด้านการบริหาร
และการจัดการ และด้านวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา ตามลำดับ
3. แนวทางการแก้ไขปัญหาของการดำเนินตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษาของโรงเรียน
เอกชนในเครือคาทอลิก คณะอุร์สุลิน ด้านการเรียนการสอน คือ ผู้บริหารควรส่งเสริมและ
สนับสนุนให้มีการจัดกระบวนการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้
เรียนรู้ตามสภาพที่แท้จริง ด้วยการฝึกอบรมและเชิงปฏิบัติการให้กับคณะครู ด้านหลักสูตร
ผู้บริหารและครูควรร่วมกันวางแผนพัฒนาหลักสูตร และจัดทำสาระการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับ
หลักสูตรแกนกลางร่วมกันระหว่างโรงเรียนในเครืออุร์สุลิน ด้านวิชาชีพครูและบุคลากรทางการ
ศึกษา ผู้บริหารและครูควรสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับคณะครูเกี่ยวกับมาตรฐานและจรรยา
บรรณของวิชาชีพครู ด้านการบริหารและการจัดการ ผู้บริหาร ครู และชุมชนควรร่วมกันกำหนด
มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา และให้คณะกรรมการสถานศึกษาหรือผู้แทนชุมชนมีส่วนร่วม
ในการบริหารการศึกษา
Thippawan Sukhumjaronewong. (2002) A Study of Status, Problems and Guidelines for
Solution According to Education Reform Policy of Catholic Private Schools of
Ursuline Group. Master Thesis. Bangkok: Graduate School, Rajabhat Institute
Bansomdejchaopraya. Advisor Committee : Dr. Sarayuth Sethakhajorn;
Assistant Professor Suporn Limboriboon ; Mr. Thaweesak Jongpradubgiat
The objectives of this research were 1) to study the status and problems of school
operations according to education reform policy of catholic private schools of Ursuline group 2)
to study guidelines for improvement of operations according to education reform policy of
catholic private schools of Ursuline group. The sample of population used in this research
consisted of 226 administrators and teachers from the schools of Ursuline group. Questionnaire
was used as a tool for collecting data which were, in turn, analyzed by means of percentage,
mean and standard deviation.
Findings were as follows:
1. The status of operations according to education reform policy of catholic private
schools of Ursuline group were at high level in all four areas, ranging from teaching profession,
administration and management, curriculum and learning-teaching.
2. The problems of operations were at low level in all four areas, ranging from learningteaching,
curriculum, administration and management, and teaching profession.
3. The guidelines for solution of operations were as follows: For learning-teaching area;
the child-centered learning should be encouraged and supported by holding seminar and
workshop for teachers. For curriculum area, the administrators and teachers should co-operate
for developing course of study, in such a way that it goes along with the Ursuline group based
courses. For teaching profession area, the standard and morality in professional career should be
clearly defined and made known to all teachers. For administration and management area; the
administrators, teachers and society should participate in the setting up of the educational
standard of the schools.
ประกาศคุณูประการ
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ สำเร็จได้ด้วยดีเพราะได้รับความกรุณาอย่างสูงจากอาจารย์ที่ปรึกษาทั้ง
3 ท่าน คือ ดร.สรายุทธ์ เศรษฐขจร ประธานกรรมการทปี่ รกึ ษาวทิ ยานพิ นธ ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย 
สุภรณ์ ลิ้มบริบูรณ์ และอาจารย์ทวีศักดิ์ จงประดับเกียรติ กรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ที่กรุณา
ให้คำแนะนำ แนวคิด และตรวจสอบ ตลอดจนแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ ผู้วิจัยขอกราบพระคุณเป็น
อย่างสูงมา ณ โอกาสนี้
ขอขอบพระคุณ ผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่านที่ได้กรุณาตรวจสอบเครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้ และ
ขอบพระคุณคณะผู้บริหารและครูโรงเรียนคาทอลิก คณะอุร์สุลินทุกท่านที่ได้กรุณาสละเวลาตอบ
แบบสอบถาม ทำให้ได้ข้อมูลสำหรับงานวิจัยครั้งนี้ตามวัตถุประสงค์ทุกประการ
ขอขอบพระคุณคณาจารย์ หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา
สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาทุกท่านที่ได้ให้ความรู้และประสบการณ์ที่เป็นแนวทางในการ
วิจัยครั้งนี้
ขอขอบพระคุณผู้บริหารโรงเรียนวาสุเทวีที่ได้มอบทุนการศึกษา เพื่อศึกษาวิจัยในครั้งนี้
รวมทั้งกำลังใจที่ได้รับจากคณะซิสเตอร์ คณะครู บิดา มารดา และเพื่อนๆ ทุกท่าน คุณค่าและ
ประโยชน์อันพึงได้จากวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ขอบูชาแทนพระคุณบูรพาจารย์และบุพการีทุกท่าน
ทิพย์วรรณ สุขุมเจริญวงศ์
สารบัญ
หน้า
บทคัดย่อภาษาไทย……………………………………………………………………….. ข
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ……………………………………………………………………. ค
ประกาศคุณูปการ.………………………………………………………………………… ง
สารบัญ...……………………………………………………………………..…………... จ
สารบัญตาราง……………………………………………………………………..……… ช
บทที่ 1 บทนำ………………………………………………………………..….……. 1
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา…………………………..……. 1
วัตถุประสงค์ของการวิจัย………………………………………….…….. 2
ขอบเขตของการวิจัย……………………………………………………. 3
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ.……………………………………………. 3
นิยามศัพท์เฉพาะ…………….…………………………...……………… 4
กรอบแนวคิดในการวิจัย…….…………………………...……………… 6
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง………………………………………………. 7
แนวการจัดการศึกษาของโรงเรียนเอกชนในเครือคาทอลิก คณะอุร์สุลิน.. 7
แนวคิดเกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษา……………………………………. 9
องค์ประกอบหลักของการปฏิรูปการศึกษา……………………………… 14
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง………………………………………………………. 23
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย……………...……………………………………………… 31
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง………...………..…………………………… 31
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย…………………………………………………. 32
การเก็บรวบรวมข้อมูล…………………………..……….……………… 33
วิธีการและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล……………………………… 34
สารบัญ (ต่อ)
หน้า
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล…...……………………………………………………. 35
สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม……………………………………… 36
สภาพการดำเนินงานตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษา…………...……… 37
ปัญหาการดำเนินงานตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษา…………………. 45
ข้อเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา……………………………………..… 52
บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ...……………………………………… 56
สรุปผลการวิจัย…………………………………………………………. 58
อภิปรายผล………………………………………………………………. 60
ข้อเสนอแนะในการพัฒนาการดำเนินงานการปฏิรูปการศึกษา…………. 66
ข้อเสนอสำหรับการวิจัยครั้งต่อไป……………………………………… 68
บรรณานุกรม…………………………………………………………………..………..... 69
ภาคผนวก…………………………………………………………………………….…… 75
ภาคผนวก ก แบบสอบถามเพื่อการวิจัย …..………………………...…… 76
ภาคผนวก ข หนังสือขอความร่วมมือในการวิจัยและหนังสือเชิญ
เป็นผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา…….… 84
รายนามผู้เชี่ยวชาญ………………………………………………………………………… 87
ประวัติผู้วิจัย……………………………………………………………………………… 88
สารบัญตาราง
หน้า
ตารางที่ 1 จำนวนประชากรและกลุ่มตัวอย่างของโรงเรียนเอกชน ในเครือคาทอลิก
คณะอุร์สุลิน จำแนกตามโรงเรียน ……………………………………… 32
ตารางที่ 2 สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม ……………………………………… 36
ตารางที่ 3 แสดงค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สภาพการดำเนินงานตามนโยบาย
การปฏิรูปการศึกษาโดยรวมทุกด้าน…………………………………….. 37
ตารางที่ 4 แสดงค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สภาพการดำเนินงานตามนโยบาย
การปฏิรูปการศึกษาด้านการเรียนการสอน………………………………. 38
ตารางที่ 5 แสดงค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สภาพการดำเนินงานตามนโยบาย
การปฏิรูปการศึกษา ด้านหลักสูตร………………………………………. 40
ตารางที่ 6 แสดงค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สภาพการดำเนินงานตามนโยบาย
การปฏิรูปการศึกษา ด้านวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา………….. 42
ตารางที่ 7 แสดงค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สภาพการดำเนินงานตามนโยบาย
การปฏิรูปการศึกษา ด้านบริหารและการจัดการ…………………………. 43
ตารางที่ 8 แสดงค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตราฐาน ปัญหาการดำเนินงานตาม
นโยบายการปฏิรูปการศึกษาโดยรวมทุกด้าน………………………….…. 45
ตารางที่ 9 แสดงค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตราฐาน ปัญหาการดำเนินงานตาม
นโยบายการปฏิรูปการศึกษา ด้านการเรียนการสอน…………………...… 46
ตารางที่ 10 แสดงค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตราฐาน ปัญหาการดำเนินงานตาม
นโยบายการปฏิรูปการศึกษา ด้านหลักสูตร……………………………… 48
ตารางที่ 11 แสดงค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตราฐาน ปัญหาการดำเนินงานตาม
นโยบายการปฏิรูปการศึกษา ด้านวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา… 50
ตารางที่ 12 แสดงค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตราฐาน ปัญหาการดำเนินงานตาม
นโยบายการปฏิรูปการศึกษา ด้านบริหารและการจัดการ………………… 51
ตารางที่ 13 แนวทางการแก้ไขปัญหาการดำเนินงานตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษา
ด้านการเรียนการสอน………………………………………………….… 52
ตารางที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาการดำเนินงานตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษา
ด้านหลักสูตร………………………………………………………..…… 53
สารบัญตาราง (ต่อ)
ตารางที่ 15 แนวทางการแก้ไขปัญหาการดำเนินงานตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษา
ด้านวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา………………………..……… 54
ตารางที่ 16 แนวทางการแก้ไขปัญหาการดำเนินงานตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษา
ด้านบริหารและการจัดการ……………………………………………..… 55
1
บทที่ 1
บทนำ
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
สภาพเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองที่ประเทศไทยกำลังเผชิญภาวะวิกฤตินี้ หลายฝ่ายมองดูว่าเป็นผลมา
จากการศึกษาไทยปรับเปลี่ยนไม่ทันกระแสโลกาภิวัตน์ (ธนาคารกสิกรไทย 2539 : 3) ซึ่งเกิดจากสาเหตุของปัญหา
ระบบการศึกษาไทยแบ่งออกเป็นสามชั้น ชั้นลึกสุดคือ ทัศนคติเกี่ยวกับการศึกษาไม่ถูกต้อง ชั้นกลางคือขาด
กระบวนการเรียนรู้ที่ดี ระบบการศึกษาไม่ทั่วถึงและไม่ดีพอ และ ชั้นนอกคือสังคมไม่เห็นคุณค่าและมีส่วนร่วม ขาด
ระบบการส่งเสริมครูที่ดี ขาดการมีส่วนร่วมของ องค์กรอื่นในสังคมและระบบการจัดการที่มีปัญหา (ประเวศ วะสี
2541 : 40) ปรากฏการณ์สำคัญอย่างหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นในทุกๆ สังคมในยุคโลกาภิวัตน์คือ การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว
เพื่อให้ก้าวทันโลก ทุกประเทศจึงต้องทำการปรับปรุงกระบวนการในด้านต่างๆ ทั้งในลักษณะปรับรื้อ (Re -
engineering) การปฏิรังสรรค์ (Re - inventing) หรือการปฏิรูป (Reform) ฉะนั้นหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการศึกษา
หน่วยงานเอกชน ปัจเจกบุคคล และสื่อมวลชนจึงได้เรียกร้องให้มีการปฏิรูปการศึกษา (วิจิตร ศรีสอ้าน 2539 :
12) เพื่อจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรมและ
เทคโนโลยี รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 จึงมีบทบัญญัติเกี่ยวกับพระราชบัญญัติการศึกษา
แห่งชาติ พ.ศ. 2542 ซึ่งได้กำหนดให้โรงเรียนเอกชนต้องปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรให้มีสถานะเป็นนิติบุคคล
โดยระบบการทำงานมีรูปเป็นคณะบุคคล มีการกระจายอำนาจโดยให้แต่ละส่วนของสถานศึกษาได้มีบทบาทใน
การพัฒนาทุกระดับ และให้ ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ดังนั้นโรงเรียนจึงต้องเร่งปฏิบัติ
ตามแนวนโยบายเพื่อจะนำไปสู่การศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีคุณภาพ (ศุภรัตน์ สระแก้ว 2544 : 2)
เป้าหมายที่แท้จริงในการปฏิรูปการศึกษาก็คือ การพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย
จิตใจ สติปัญญา ความรู้ คุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความ
สุข การดำเนินการปฏิรูปการศึกษาจึงจำเป็นต้องปฏิรูป กลไกของระบบโรงเรียน ชุมชน รัฐบาล หน่วยงานของรัฐ
ตลอดจนให้เอกชนได้ตระหนักถึงความร่วมมือในการจัดการศึกษาทุกระดับให้มีความสัมพันธ์สอดคล้องกัน มีความ
เหมาะสมกับวัฒนธรรม ประเพณี ค่านิยม บรรยากาศ การศึกษาต้องมีคุณภาพที่ประกันได้ โดยเฉพาะคุณภาพของผู้
เรียนที่ได้มาตรฐานสูงในระดับสากล เพื่อให้สามารถเผชิญปัญหาและการเปลี่ยนแปลง ดำรงตนในสังคมได้อย่างมี
ความสุขและร่วมรับผิดชอบพัฒนาชุมชน ประเทศชาติและสังคมโลก (กระทรวงศึกษาธิการ 2542 : 7)
ในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชนจึงได้วางแนวทางการดำเนินงานปฏิรูปการศึกษา
ให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาการศึกษาเอกชน ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540 - 2544) โรงเรียนของคณะอุร์สุลินเป็นหนึ่งใน
โรงเรียนที่สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน ได้ดำเนินการตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษาของ
กระทรวงศึกษาธิการทั้ง 4 ด้านคือ ด้านกระบวนการเรียนการสอน ด้านหลักสูตร ด้านวิชาชีพครูและบุคลากรทาง
การศึกษา และด้านการบริหารและการจัดการ (กระทรวงศึกษาธิการ 2542 : 10)
2
ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาพบว่ามีอุปสรรคในการดำเนินงานกล่าวคือ นโยบายการรับ นักเรียนที่รัฐ
ไม่มีการกำหนดสัดส่วนการรับนักเรียนระหว่างภาครัฐกับเอกชนไว้อย่างชัดเจน มีการประกาศนโยบายการรับนัก
เรียนเป็นรายปี ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ รวมทั้งกฎระเบียบต่างๆ มีจำนวนมากจึงเป็นข้อจำกัดที่ทำให้โรง
เรียนไม่สามารถพัฒนาตนเองได้เต็มศักยภาพและไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงตามกระแสโลกาภิวัตน์ นอกจากนี้โรง
เรียนของคณะอุร์สุลินส่วนหนึ่งต้องรับเด็กที่มาจากครอบครัวยากจนหรือมีรายได้น้อย ทำให้ไม่สามารถเก็บค่าธรรม
เนียมการเรียนได้หรือเก็บได้ไม่เพียงพอต่อการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ ได้รับการสนับสนุนด้านวิชาการจากหน่วย
งานภาครัฐ ค่อนข้างน้อย เนื่องจากรัฐมีงบประมาณจำกัดจึงไม่สามารถพัฒนาครูและบุคลากรในโรงเรียนได้อย่างทั่ว
ถึง และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางวิชาการและเทคโนโลยีได้ (การจัดการศึกษาเอกชน คาทอลิก 2543 : 33 - 34)
จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้นจึงเป็นสิ่งจูงใจให้ผู้วิจัยมีความสนใจที่จะศึกษาสภาพ ปัญหาและแนวทางแก้
ไขปัญหาการดำเนินงานตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษาของโรงเรียนเอกชน ในเครือคาทอลิก คณะอุร์สุลิน ซึ่งมี
สภาพแวดล้อม การบริหารและการดำเนินงานที่แตกต่างไปจากโรงเรียนในภาครัฐและเอกชนอื่นๆ เพื่อจะทำให้
ทราบว่าโรงเรียนในเครือคาทอลิก คณะอุร์สุลิน เหล่านั้นสามารถปฏิบัติตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษาได้เพียงใด
ผลการวิจัยที่ได้จะเป็นข้อมูลสำหรับคณะ ผู้บริหาร และครูผู้สอนในโรงเรียนเอกชน เครือคาทอลิก คณะอุร์สุลิน
เพื่อนำมาใช้เป็นแนวทางในการแก้ไข ปรับปรุง และกำหนดนโยบายแผนปฏิบัติการในอนาคต นอกจากนี้ ผลที่ได้
จะนำมาใช้ในการแก้ปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นในการดำเนินงานการปฏิรูปการศึกษาให้ลดน้อยลง หรือให้
หมดไป ซึ่งท้ายที่สุดก็จะส่งผลให้โรงเรียนในเครือคาทอลิก คณะอุร์สุลินมีการพัฒนาระบบการจัดการศึกษาที่มีคุณ
ภาพ เป็นไปตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ
3
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาของการดำเนินงานตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษาของ โรงเรียนเอกชน
ในเครือคาทอลิก คณะอุร์สุลิน
2. เพื่อศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาของการดำเนินงานตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษาของโรงเรียน
เอกชน ในเครือคาทอลิก คณะอุร์สุลิน
ขอบเขตของการวิจัย
1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
1.1 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหาร และครูผู้สอนในโรงเรียนเอกชนเครือคาทอลิก
คณะอุร์สุลิน ที่ปฏิบัติงานจริงในปีการศึกษา 2545 จำนวน 5 โรงเรียน จำนวน 525 คน
1.2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหาร และครูผู้สอนจำนวน 226 คนซึ่งได้กำหนด
ขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามตารางเครซีและมอแกน (Krejcie and Morgan) (พวงรัตน์ ทวีรัตน์ 2540 : 303) ซึ่งทำการ
สุ่มตัวอย่างมาโดยวิธีการแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling)
2. ตัวแปรที่ศึกษา
2.1 สภาพและปัญหาของการดำเนินงานตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษา ซึ่งประกอบ
ด้วยการปฏิรูป 4 ด้านคือ
2.1.1 ด้านกระบวนการเรียนการสอน
2.1.2 ด้านหลักสูตร
2.1.3 ด้านวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา
2.1.4 ด้านการบริหารและการจัดการ
2.2 แนวทางการแก้ไขปัญหาของการดำเนินงานตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษาทั้ง 4 ด้าน
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
ผลการวิจัยครั้งนี้จะเป็นข้อมูลสำหรับผู้บริหาร และครูผู้สอนในโรงเรียนเอกชน เครือคาทอลิก
คณะอุร์สุลิน เพื่อนำมาใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงและกำหนดเป็นแผนปฏิบัติการ เพื่อแก้ปัญหาและ
อุปสรรคในการดำเนินงานการปฏิรูปการศึกษาให้ลดน้อยลงหรือหมดไป นอกจากนี้ผลการวิจัยนี้จะใช้เป็นแนวทาง
แก่ผู้ที่ต้องการศึกษาวิจัยในในหัวข้อที่เกี่ยวข้องต่อไป
4
นิยามศัพท์เฉพาะ
สภาพการดำเนินงานตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษา หมายถึง ระดับการปฏิบัติงานตามนโยบายการ
ปฏิรูปการศึกษาของโรงเรียนเอกชน ในเครือคาทอลิก คณะอุร์สุลิน
ปัญหาการดำเนินงานตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษา หมายถึง ความขัดข้องหรืออุปสรรคที่เกิดจาก
การปฏิบัติตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษาของโรงเรียนเอกชนในเครือคาทอลิก คณะอุร์สุลิน
แนวทางการแก้ไขปัญหา หมายถึง ข้อเสนอในการแก้ปัญหาของการดำเนินงานตามนโยบายการปฏิรูป
การศึกษา
การดำเนินงานตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษา หมายถึง การปฏิบัติตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิ
การใน 4 ด้านคือ
1. การปฏิรูปกระบวนการเรียนการสอน หมายถึง การจัดการเรียนการสอนที่เน้นความสำคัญของผู้เรียน
ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองเต็มตามศักยภาพ ประเมินผลการเรียนจากสภาพการปฏิบัติจริง ปรับบท
บาทของครูจากผู้ถ่ายทอดมาเป็นผู้ชี้แนวทางในการเรียน ให้ชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการ
เรียนการสอน มีการถ่ายทอดความรู้และนวัตกรรมเทคโนโลยีแหล่งความรู้ต่างๆ สู่การเรียนการสอน
2. การปฏิรูปหลักสูตร หมายถึง การพัฒนาหลักสูตรที่เน้นการตอบสนองความต้องการของผู้เรียนและ
ชุมชน มีกระบวนการและเนื้อหาที่ครอบคลุม เชื่อมโยงและต่อเนื่องทุกระดับ และประเภทการศึกษาทั้งทางด้าน
ความรู้ ความสามารถ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ คุณธรรม จริยธรรม เน้นการกระจายอำนาจให้สถานศึกษา จัดทำ
หลักสูตรท้องถิ่น และให้แต่ละท้องถิ่นกำหนดมาตรฐานการศึกษาในระดับที่เหมาะสมกับตนเองได้ สำหรับส่วน
กลางจะจัดทำหลักสูตรแกนกลางและมาตรฐานการศึกษาของชาติ
3. การปฏิรูปวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา หมายถึง การพัฒนาบุคลากรทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องใน
ระดับโรงเรียน หรือสถานศึกษา รวมทั้งประชาชนในชุมชนให้เป็นทีมงานที่มีคุณภาพ เพื่อผลักดันให้เกิดพัฒนาการ
ศึกษาอย่างแท้จริง
4. การปฏิรูปการบริหารและการจัดการ หมายถึง การจัดระบบบริหารและการจัดการให้มีเอกภาพ เป็น
หน่วยวางแผนยุทธศาสตร์ของการจัดการศึกษาในท้องถิ่น เปิดโอกาสให้บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กร พัฒนา
ระบบการวางแผน การระดมและจัดสรรทรัพยากร การควบคุม กำกับ ติดตาม ประเมินผลที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณ
ภาพและประสิทธิภาพการจัดการศึกษา
โรงเรียนเอกชนในเครือคาทอลิก คณะอุร์สุลิน หมายถึง โรงเรียนที่ได้รับการรับรองจากสภาการศึกษา
คาทอลิกที่เปิดสอนในระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา ในสังกัดของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน
กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งดำเนินงานโดยนักบวชหญิงคณะอุร์สุลิน โรงเรียนเหล่านี้มีจุดประสงค์ในการให้การศึกษา
อบรมกุลบุตร กุลธิดาของชาติให้เป็นบุคคลที่บรรลุถึงความสมบูรณ์ในอันที่จะทำประโยชน์แก่ประเทศชาติให้มากที่
สุดตามหลักคริสตธรรม
5
ผู้บริหารโรงเรียน หมายถึง ผู้จัดการ ครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่ของโรงเรียนเอกชนในเครือคาทอลิก คณะอุร์
สุลิน
ครูผู้สอน หมายถึง ครูที่ทำหน้าที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนเอกชน เครือคาทอลิกคณะอุร์สุลิน
6
6. กรอบแนวคิดในการวิจัย
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
หมวด 4 แนวการจัดการศึกษา
มาตรา 22 การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนมีความ
สำคัญที่สุด
มาตรา 23 การจัดการศึกษาต้องเน้นความสคัญทั้งความรู้
และคุณธรรม
มาตรา 24 การจัดกระบวนการเรียนรู้ต้องคำนึงถึงความ
แตกต่างระหว่างบุคคล เรียนรู้จากประสบการณ์
ตรง จัดบรรยากาศให้เอื้อต่อการเรียนรู้ และชุม
ชนมีส่วนร่วมในการจัดการเรียน
มาตรา 25 รัฐต้องส่งเสริมการดำเนินงานและการจัดตั้ง
แหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตทุกรูปแบบ
มาตรา 26 ให้สถานศึกษาจัดการประเมินผู้เรียนโดย
พิจารณาจากพัฒนาการของผู้เรียน ความ
ประพฤติ การสังเกตพฤติกรรมการเรียน การ
ร่วมกิจกรรม และการทดสอบควบคู่กันไป
มาตรา 27 การศึกษาพื้นฐานกำหนดหลักสูตรแกนกลาง
สถานศึกษาจัดทำหลักสูตรท้องถิ่น
มาตรา 28 หลักสูตรต้องหลากหลายและสมดุลกัน
มาตรา 30 ส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียน
หมวด 5 การบริหารและการจัดการศึกษาเอกชน
มาตรา 43 ให้มีความเป็นอิสระ โดยมีการกำกับ ติดตามการ
ประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของรัฐ
หมวด 7 ครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา
มาตรา 53 ให้มีองค์กรวิชาชีพครู
มาตรา 55 ให้มีกฎหมายว่าด้วยเงินเดือน ให้มีรายได้
เพียงพอ มีกองทุนส่งเสริม
มาตรา57 ให้บุคคลในชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
สภาพ ปัญหาและแนวทางการแก้
ปัญหาการดำเนินงานตามนโยบายการ
ปฏิรูปการศึกษา
- ด้านกระบวนการเรียนการ
สอน
- ด้านหลักสูตร
- ด้านวิชาชีพครูและบุคลากร
ทางการศึกษา
- ด้านการบริหารและการจัด
การ
องค์ประกอบหลักของการปฏิรูปการศึกษาตาม แนวทาง
ของกระทรวงศึกษาธิการ 4 ด้าน คือ
- การปฏิรูปกระบวนการเรียนการสอน
- การปฏิรูปหลักสูตร
- การปฏิรูปวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา
- การปฏิรูปการบริหารและการจัดการ
บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และได้นำเสนอตาม
ลำดับดังนี้
1. แนวการจัดการศึกษาของโรงเรียนเอกชนในเครือคาทอลิก คณะอุร์สุลิน
2. แนวคิดเกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษา
3. องค์ประกอบหลักของการปฏิรูปการศึกษา
3.1 การปฏิรูปกระบวนการเรียนการสอน
3.2 การปฏิรูปหลักสูตร
3.3 การปฏิรูปวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา
3.4 การปฏิรูปการบริหารและการจัดการ
4. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
1. แนวการจัดการศึกษาของโรงเรียนเอกชนในเครือคาทอลิก คณะอุร์สุลิน
1.1 ความเป็นมาของโรงเรียนคณะอุร์สุลิน ในประเทศไทย
จากการสัมภาษณ์เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของโรงเรียนคณะอุร์สุลิน ในประเทศไทยพบว่า สืบ
เนื่องมาจากการปฏิรูปการศึกษาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งได้ส่งผลให้มีการประกาศใช้
พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. 2464 และได้จัดให้มีการศึกษาภาคบังคับตามพระราชบัญญัตินี้ในรัชกาลต่อมา
ทำให้โรงเรียนมีปริมาณเพิ่มขึ้นถึง 81% และมีจำนวน นักเรียนเพิ่มขึ้นถึง 96% (มณี ภัคเกษม, สัมภาษณ์)
หลังจากที่ประกาศใช้กฎหมายได้เพียง 1 ปี ประมุขสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ท่านสังฆราช เรอเน แป
รอส ได้เห็นถึงความสำคัญการขยายตัวของการศึกษา จึงได้มีจดหมายไปที่กรุงโรม ประเทศอิตาลี เพื่อเชิญนักบวช
หญิงหรือซิสเตอร์มาช่วยงานวัดและการศึกษาในประเทศไทย ซึ่งขณะนั้นมี โรงเรียนไม่เพียงพอต่อความต้องการ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงเรียนมัธยมคาทอลิกสำหรับเด็กหญิงยังมีอยู่น้อยมาก เมื่อเทียบกับโรงเรียนสำหรับเด็กชายที่
คณะ บราเดอร์สเซนต์คาเบรียลดำเนินงานอยู่ จึงมีความจำเป็นที่ต้องจัดโรงเรียนสำหรับเด็กหญิงเพิ่มขึ้น เพื่อตอบ
สนองความต้องการของผู้ปกครองในสมัยนั้น จนกระทั่งในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2467 (ค.ศ. 1924) ซิสเตอร์คณะอุร์สุ
ลินจำนวน 4 ท่าน ได้แก่ คุณแม่อักเนส เดอลัต คุณแม่เทเรสแห่งพระกุมารเยซู เมอร์เทนส์ คุณแม่เซเวียร์ เปียร์ซ และ
คุณแม่ ราฟาแอล วูนิค จึงได้เดินทางจากประเทศฝรั่งเศสถึงประเทศไทย เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2467 ซิส
เตอร์ทั้งสี่ท่านได้เริ่มงานที่โรงเรียนกุหลาบวัฒนา วัดกาลหว่าร์ ตลาดน้อย โดยรับช่วงงานต่อจากซิสเตอร์คณะเซนต์
ปอล เดอ ชาร์ต ในการดูแลเด็กกำพร้า ทำงานวัด และดูแลรับผิดชอบโรงเรียนกุหลาบวัฒนา
ต่อมาจำนวนนักเรียนที่โรงเรียนกุหลาบวัฒนาเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ กอปรกับสถานที่ของโรงเรียนคับ
แคบและไม่สามารถขยายได้อีก คณะซิสเตอร์จึงได้ก่อตั้งโรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัยขึ้น ณ. ถนนเพลินจิต เมื่อพ.ศ.
8
2470 จากนั้นในปีพ.ศ. 2475 ได้เริ่มงานทางภาคเหนือ โดยก่อตั้งโรงเรียน เรยีนาเชลีวิทยาลัยที่จังหวัดเชียงใหม่ และ
ในปีพ.ศ. 2498 คณะอุร์สุลินเปิดโรงเรียนวาสุเทวีที่ซอย วัดไผ่เงิน ตรอกจันทน์ เพื่อช่วยเหลือเด็กหญิงในแถบนั้น
เมื่อปีพ.ศ. 2536 คณะอุร์สุลินเข้ารับการดูแลวัดและโรงเรียนศิริมาตย์เทวี ที่อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย และในปีพ.ศ.
2545 ได้เปิดโรงเรียนปิยมาตย์ที่จังหวัดพะเยาเป็นโรงเรียนอนุบาลแบบสหศึกษา
1.2 การจัดการศึกษาโรงเรียนของคณะอุร์สุลินในประเทศไทย
โรงเรียนของคณะอุร์สุลินทุกแห่งในประเทศไทยจัดการศึกษาโดยยึดถือหลักการและปรัชญาเดียวกัน
โดยมีเป้าหมายสรุปได้ดังนี้ (แนวการจัดการศึกษาอุร์สุลิน มป. : 20)
1.2.1 คงไว้ซึ่งศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ โดยมีความเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนและแต่ละคนย่อมมีคุณค่า
และมีศักดิ์ศรี ปรัชญาการศึกษาของ อุร์สุลินสะท้อนคุณค่าอันสูงส่งยิ่ง ด้วยการให้ความสำคัญถึงการ เคารพในศักดิ์
ศรี รักและเอาใจใส่นักเรียน
1.2.2 คงไว้ซึ่งศักดิ์ศรีของสตรีนักเรียนของอุร์สุลินในประเทศไทยล้วนแต่เป็นสตรีซึ่งศักดิ์ศรีของ
ความเป็นสตรีนั้นเป็นสิ่งที่พึงปลูกฝังให้นักเรียนมีความภาคภูมิใจ และเคารพในเกียรติศักดิ์ทั้งของตนเองและของผู้ที่
เป็นสตรีทั้งมวลในโลกนี้
1.2.3 ไม่ละทิ้งความเป็นกุลสตรีไทย มีกิริยามารยาทที่ดีงาม เป็นสิ่งที่เพียบพร้อมไปด้วยความอ่อน
น้อมถ่อมตน มีวาจาและกิริยามารยาทอันนุ่มนวล
1.2.4 คุณธรรมที่ปลูกฝังได้แก่การเป็นผู้มีระเบียบวินัยในตนเอง เรียบร้อย ซื่อสัตย์สุจริต ตรงต่อ
เวลา อดทน รู้จักรักษาความสะอาด ให้ความช่วยเหลือรับใช้ผู้อื่นได้อย่างเต็มใจ
1.2.5 การศึกษาอุร์สุลินมุ่งเน้นการให้ความรู้คู่คุณธรรม ผู้ให้การศึกษาในโรงเรียน อุร์สุลินต้อง
คำนึงถึงภารกิจส่งเสริมความเจริญงอกงามทางสติปัญญาของนักเรียน ดังนั้น การให้ความรู้และส่งเสริมการเรียนรู้จะ
เป็นสิ่งซึ่งจะละเลยมิได้ ความเป็นเลิศทางวิชาการซึ่งถือว่าเป็นเป้าหมายในการให้การศึกษา
1.2.6 ปรัชญาการศึกษา จากหลักการดังกล่าวข้างต้นนำไปสู่ปรัชญาการศึกษาที่ โรงเรียนใน
เครืออุร์สุลินทุกแห่งยึดถือ นั่นคือ
อบรมเสริมคนให้ครบ
ประสบธรรมอันสูงส่ง
ปัญญาแตกฉานมั่นคง
เสริมส่งเป็นคน - จนสมบูรณ์
จากหลักการ ปรัชญา และเป้าหมายในการจัดการศึกษาของอุร์สุลินดังกล่าวข้างต้นนั้น จะเห็นได้ว่า
แนวทางการจัดการศึกษาของโรงเรียนเอกชนในเครือคาทอลิก คณะอุร์สุลิน มุ่งพัฒนาเสริมสร้างความเป็นคนที่
สมบูรณ์ โดยนำเอาหลักการและปรัชญาการศึกษาของคณะอุร์สุลินมาผสมผสานกับหลักการและจุดมุ่งหมายของ
กระทรวงศึกษาธิการ ตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาของชาติ โดยตระหนักในศักยภาพด้านการเรียนรู้ของทุกคน
เป็นการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งฝึกอบรมให้ ผู้เรียนมีทักษะในการดำเนินชีวิตประจำวัน เน้นการพัฒนาความ
สัมพันธ์ของแต่ละบุคคลกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่บุคคลนั้นๆ นับถือ ความสัมพันธ์กับธรรมชาติ ความสัมพันธ์กับตนเอง
ครอบครัว และผู้อื่น โดยเฉพาะผู้ที่ยากไร้ขัดสนกว่า ด้วยการให้ความช่วยเหลือและรับใช้สังคม
9
2. แนวคิดเกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษา
เนื่องจากกระแสโลกได้ปลุกเร้าให้ทุกประเทศต้องตื่นตัวต่อการพัฒนาเพื่อให้ก้าวทันประเทศอื่นๆ ไม่ว่า
จะเป็นด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ปัญหาคุณภาพของการศึกษาไทยจึงจำเป็นต้องพัฒนาเช่นกัน ซึ่งในกรณีนี้
มีนักการศึกษา ผู้ทรงคุณวุฒิ และหน่วยงานทางการศึกษาได้เสนอแนวทางในการปฏิรูปการศึกษาไว้ ดังนี้
โครงการศึกษาไทยยุคโลกาภิวัตน์ (ธนาคารกสิกรไทย 2539) กล่าวไว้ว่า หัวใจของการปฏิรูปการศึกษา
อยู่ที่ “การปฏิรูปความคิด” ที่เน้นว่าการศึกษาเป็นกระบวนการพัฒนาของคนอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต และด้วยเหตุนี้
จึงไม่ใช่มีเพียงแค่หน่วยงานที่รับผิดชอบ จัดการศึกษาโดยตรงของภาครัฐเท่านั้นที่ต้องรับภาระในการจัดการนี้ หาก
แต่สถาบันต่างๆ ในสังคม นับตั้งแต่สถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา สถาบันศาสนา ชุมชน สื่อมวลชน องค์กร
เอกชนฯลฯ ต่างต้องร่วมปฏิรูปการศึกษาด้วยเช่นกัน ซึ่งประเด็นหลักที่ต้องปฏิรูปการศึกษามี 2 ส่วนคือ
1. การปฏิรูประบบและกระบวนการเรียนรู้ ที่เน้นการวางรากฐานพัฒนาการของชีวิต การพัฒนา
ความรู้ และทักษะพื้นฐาน การพัฒนาสมรรถนะเพื่อการก้าวหน้าทันโลก และการเรียนรู้ตลอดชีวิต
2. การปฏิรูประบบการจัดการ ซึ่งมีข้อเสนอให้ปฏิรูปการจัดรูปแบบการบริหารจัดการศึกษา โดยกลุ่ม
สถานศึกษาและชุมชน การระดมความร่วมมือจากภาคเอกชนเพื่อจัดการศึกษาอาชีพ การรื้อปรับ
ระบบอุดมศึกษา การตรวจสอบเฉพาะการประกันคุณภาพการศึกษาและการระดมทรัพยากรและ
สรรพกำลัง
จากหลักการปฏิรูปการศึกษาดังกล่าวข้างต้นอาจสรุปได้ว่า ข้อเสนอในการปฏิรูปการศึกษาของคณะ
ศึกษา “การศึกษาไทยในยุคโลกาภิวัตน์” มีส่วนในการปลุกกระแสความสนใจการศึกษาจากประชาชนและนักการ
ศึกษาได้อย่างมาก และนอกจากนี้ยังสามารถใช้เป็นส่วนหนึ่งของข้อมูลพื้นฐานอันจะนำไปสู่การยกร่างพระราช
บัญญัติการศึกษาแห่งชาติในปีพ.ศ. 2540 เรื่องข้อเสนอปฏิรูปการศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่ง
ชาติ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2542 : 6) ได้กำหนดวิสัยทัศน์ของหน่วยงานภายในปีพ.ศ.
2550 ว่าจะเป็นองค์กรที่เชี่ยวชาญด้านการศึกษาของชาติ เป็นผู้นำในการวิจัย การพัฒนา นโยบาย การวางแผน การ
บริหารแผนสู่การปฏิบัติ การประเมินผล และการบริหารข้อมูลสารสนเทศ เพื่อให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งการเรียน
รู้ นอกจากนี้ สกศ. ยังได้ริเริ่มการยกร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ เพื่อใช้กฎหมายเป็นกลไกหลักในการ
ปฏิรูปการศึกษา ซึ่งได้ยกร่างในพ.ศ. 2540 - 2541 และนำไปสู่กระบวนการพิจารณาในสภาผู้แทนราษฎรเมื่อปีพ.ศ.
2541 - 2542 เป้าหมายของการปฏิรูปการศึกษานั้นประกอบด้วย สาระสำคัญที่ต้องการปฏิรูป ยุทธศาสตร์ที่ใช้ และ
กระบวนการในการปฏิรูปการศึกษาที่เป็นข้อเสนอของ สกศ.
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ (2541 : 181 - 183) ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษาสรุปได้ว่า
แนวโน้มในศตวรรษที่ 21 ปัจจัยความเจริญมั่งคั่งของประเทศไม่ได้ขึ้นอยู่กับธรรมชาติอีกต่อไปแต่ขึ้นอยู่กับ “การ
10
แข่งขันด้านความรู้ ภูมิปัญญา และวิชาการ” ซึ่งจะเป็นเครื่องมือชี้วัดความสำเร็จของประเทศนั้นเพราะ “ปัญญา”
ของคนในประเทศแม้ไม่มีวัตถุดิบแต่ก็สามารถนำเข้าจากประเทศอื่นมาผลิตแปรรูป จากนั้นก็ส่งกลับไปประเทศที่
เป็นต้นตอวัตถุดิบที่ตนนำเข้านั่นเอง ประเทศที่มีปัญญาก็สามารถแข่งกับประเทศอื่นได้ ฉะนั้นการจัดการศึกษาใน
อนาคตที่ควรดำเนินการคือ
11
1. การศึกษาเพื่ออัตตา คือ การศึกษาเพื่อประโยชน์ส่วนตน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการ ประกอบอาชีพ
เพื่อความอยู่รอด
2. การศึกษาเพื่อชีวิต คือการศึกษาที่มุ่งทำให้คนเข้าใจชีวิตและยกระดับคุณภาพจิตใจ และปูพื้นฐาน
คุณธรรมให้กับเยาวชน เป็นการศึกษาเพื่อทำให้คนเป็นคนที่สมบูรณ์แบบมีคุณธรรมจริยธรรม เข้า
ใจความหมายของชีวิต
3. การศึกษาเพื่อปวงประชา คือการศึกษาที่ให้เราดำรงชีวิตอยู่เพื่อประโยชน์ของสังคม ประเทศชาติ
และมนุษยชาติส่วนรวม การศึกษาเช่นนี้ ทำให้เราต้องขัดเกลาคนให้สามารถทำตัวเป็นผู้อาสาตัวมา
ปรนนิบัติประชาชนในฐานะ “บุคคลสาธารณะ” ให้มากยิ่งขึ้น เราควรสร้างสรรค์การศึกษาเพื่อปวง
ประชาให้กลายเป็นหัวใจของการศึกษาโดยไม่ใช่เป็นการศึกษาเพื่อตัวเองเท่านั้น แต่เป็นการศึกษาที่
ก้าวผ่านตัวเอง ก้าวผ่าน ครอบครัวไปสู่ชุมชน สังคม ประเทศชาติและมนุษยชาติโดยรวม เพื่อให้
ชีวิตตนนั้นเป็นประโยชน์อย่างยิ่งใหญ่แก่มนุษยชาติในรุ่นต่อๆ ไป
รุ่ง แก้วแดง (2543 : 8 - 9) ได้แสดงแสดงแนวคิดว่าโรงเรียนเอกชนควรจะต้องเป็นผู้นำในเรื่องระบบ
การบริหาร ในรูปแบบการบริหารฐานโรงเรียน โดยเอกชนสามารถกำหนดนโยบายของโรงเรียนได้เอง สามารถจ้าง
ครูได้เอง มีระบบการเงินและงบประมาณของตนเอง รวมทั้งมีระบบการประเมินตนเอง และวิชัย วงศ์ใหญ่ (2545 :
54 - 55) ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาไว้ว่า การปฏิรูปหลักสูตรต้องมีการวางแผน จัด
ระบบให้ดี มีข้อมูลที่ชัดเจน รายละเอียดในเอกสารหลักสูตรต้องชี้แนวการสอนอย่างถูกต้อง ทันสมัย คณาจารย์ต้อง
มีคุณภาพ เข้าใจหลักสูตรอย่างดี เมื่อครูเป็นผู้เขียนหลักสูตรเองแล้วย่อมจะทำให้การศึกษาทำความเข้าใจหลักสูตร
เป็นไปโดยง่าย สามารถปรับประยุกต์ให้เหมาะสมกับสภาพที่เป็นจริงในห้องเรียนได้
สมหวัง พิริยานุวัฒน์ (2544 : 29) ได้แสดงแนวความคิดเกี่ยวกับความสำคัญและบทบาทหน้าที่ของครู
ไว้ว่าบทบาทของครูมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ในฐานะเป็นผู้สร้างที่ยิ่งใหญ่ สร้างคนดี คนเก่ง คนกล้าให้แผ่นดิน
และเป็นผู้จัดประสบการณ์ บรรยากาศในกระบวนการเรียนรู้ ฉะนั้นครูจึงต้องมีคุณสมบัติเฉพาะ มีความสามารถสูง
สามารถจัดการเรียนการสอนให้เท่าทันกระแสการ เปลี่ยนแปลงของโลก นอกจากนี้จำรัส นองมาก (2536 : 16) ได้
เสนอแนวทางในการจัดการศึกษา เอกชนไว้ว่า โรงเรียนเอกชนจะต้องพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้ได้รับความเชื่อ
ถือจากรัฐและ ประชาชน สิ่งที่เป็นตัวชี้ และประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเอกชนนั่นก็คือมาตรฐานคุณ
ภาพการศึกษาโดยการพึ่งตนเองเกือบทุกด้าน
สมาคมนักเรียนทุนรัฐบาลไทย (2540) ได้เสนอยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษาให้มี ประสิทธิภาพดัง
นี้
1. ปฏิรูประบบการเรียนการสอน: มุ่งยกระดับคุณภาพ และการคัดเลือกโดยไม่มีผู้แพ้
1.1 ปฏิรูปการเรียนการสอนและหลักสูตร มุ่งคิดเป็น ทำเป็น มีวินัย มีวิถีประชาธิปไตย รู้จักความ
เป็นไทย รู้จักเพื่อนบ้านและโลก รู้ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ ให้มีความรู้ด้านการจัด
การ มุ่งพัฒนาคนในด้านสติปัญญา ทักษะ อารมณ์ สังคม ให้มีสุนทรียด้านศิลปะด้านใดด้านหนึ่ง
อีกทั้งมีสุขภาพอนามัยดีทั้งทางร่างกายและจิตใจ
12
1.2 ปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาต่างประเทศ
1.3 ขยายการศึกษาให้ทุกคนได้มีโอกาสให้ไดเรียน 9 ปีเป็นอย่างน้อยภายใน 5 ปี และขยายเป็น 12
ปี ภายใน 15 ปี
1.4 ให้ชุมชนท้องถิ่นมีส่วนกำหนดหลักสูตรและพัฒนาวิถีชีวิต สังคม และสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น
1.5 ปรับปรุงระบบการวัดผล ประเมินผล และการคัดเลือกทุกระดับไม่มีการแพ้คัดออก จัดให้เรียน
ตามความถนัด
2. เร่งรัดขยายโอกาสทางการศึกษา ฝึกอบรมให้แก่ปวงชน โดยเฉพาะวัยทำงาน มุ่งขยายโอกาสการ
ศึกษา ฝึกอบรมทักษะและอาชีพ
2.1 ให้ความรู้ด้านครอบครัวแก่พ่อ แม่ และสมาชิกในครอบครัวในการดูแล
2.2 สนับสนุนธุรกิจเอกชนในการฝึกอบรมความรู้และทักษะแก่ลูกจ้าง
2.3 ส่งเสริมและสนับสนุนองค์กรเอกชนสาธารณะประโยชน์ให้ช่วยด้านการศึกษา โดยเฉพาะ
แก่ผู้ด้อยโอกาสในด้านต่างๆ
2.4 ขยายและกระจายการศึกษานอกโรงเรียนให้กว้างขวาง
2.5 ใช้เทคโนโลยีด้านต่างๆ รวมทั้งเทคโนโลยีสารสนเทศทันสมัยเพื่อการศึกษา
2.6 ส่งเสริม สนับสนุนให้มวลชนมีบทบาททางการศึกษามากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในการเสริมสร้าง
วัฒนธรรม และค่านิยมที่ดีงาม
3. สนับสนุนการเรียนรู้และเสริมสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ของชุมชน มุ่งยกระดับคุณภาพชีวิต ส่งเสริม
ประชาธิปไตยพื้นฐาน
3.1 สนับสนุนผู้นำชาวบ้านและปราชญ์ชาวบ้านที่จัดการเรียนรู้เพื่อความอยู่รอด การพึ่งตนเองในการ
ทำมาหากิน ยกระดับคุณภาพชีวิต ครอบครัว ชุมชน และสิ่งแวดล้อม
3.2 สนับสนุนความเข้มแข็งของชุมชน อันเป็นประชาธิปไตยระดับพื้นฐาน
3.3 สนับสนุนการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของกลุ่มผู้นำชาวบ้าน เพื่อ
มุ่งแก้ปัญหาร่วมกัน เรียนรู้ร่วมกัน มุ่งสร้างความเข้มแข็งของชุมชน และเครือข่าย โดยผู้นำชาว
บ้านเป็นผู้ริเริ่ม และรัฐเป็นผู้สนับสนุนเสริมสร้างประชาธิปไตย
3.4 สนับสนุนการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ระหว่างชุมชนชนบทกับชุมชนในเมืองในด้านต่างๆ เช่น
การอาชีพ การสนับสนุนซึ่งกันและกันในการค้าขาย การส่งเสริมวัฒนธรรม และการรักษาสิ่ง
แวดล้อม
3.5 สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อมวลชน เพื่อสนับสนุนการสร้างการเรียนรู้ และ
เสริมสร้างเครือข่ายการเรียนรู้
4. ปฏิรูประบบการผลิต การพัฒนา การจัดการครู อาจารย์: มุ่งพัฒนาคุณภาพครู
4.1 รื้อ ปรับระบบอุดมศึกษาให้มีเอกภาพด้านนโยบายจัดระดับอุดมศึกษาโดยให้ระดับต่างๆ ได้แก่
มหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษาเฉพาะทางมุ่งคุณภาพสูง วิทยาลัยการจัดการศึกษาระดับ
ปริญญาตรี มุ่งกระจายโอกาส และวิทยาลัยชุมชนอาจเป็นสาขามหาวิทยาลัยหรือวิทยาลัย มุ่งจัด
การศึกษาอาชีพระดับอนุปริญญาและการ อบรมระยะสั้นเพื่อการอาชีพ
13
4.2 รื้อ ปรับระบบบริหารภายในให้อิสระ คล่องตัว มีประสิทธิภาพโดยรัฐจัดสรรเงินงบประมาณ
หมวดเงินอุดหนุนทั่วไป
4.3 ส่งเสริมและสนับสนุนอุดมศึกษาเอกชน ลดการควบคุมแต่มีมาตรการดูแลคุณภาพ
สนับสนุนการเชื่อมโยงการวิจัย และพัฒนา การฝึกอบรมและบริการวิชาการระหว่างสถาบัน
อุดมศึกษากับธุรกิจเอกชน อุตสาหกรรมและบริการ
5. ปฏิรูปการอุดมศึกษา ยกระดับคุณภาพและการจัดการ
5.1 ปรับระบบอุดมศึกษาให้มีเอกภาพทางนโยบาย จัดระดับอุดมศึกษาให้มีระดับต่างๆ ได้แก่
มหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษาเฉพาะทาง มุ่งคุณภาพสูงวิทยาลัยการจัดการศึกษาระดับ
ปริญญาตรี มุ่งกระจายโอกาส และวิทยาลัยชุมชนอาจเป็นสาขามหาวิทยาลัยหรือวิทยาลัย มุ่งจัด
การศึกษาอาชีพระดับอนุปริญญาและการอบรมระยะสั้นเพื่อการอาชีพ
5.2 รื้อ ปรับระบบบริหารภายในให้อิสระ คล่องตัว มีประสิทธิภาพโดยรัฐจัดสรรเงิน งบประมาณ
หมวดเงินอุดหนุนทั่วไป
5.3 ส่งเสริมและสนับสนุนอุดมศึกษาเอกชน ลดการควบคุมแต่มีมาตรการดูแลคุณภาพ
5.4 สนับสนุนการเชื่อมโยงการวิจัย พัฒนา การฝึกอบรม และการบริการวิชาการระหว่างสถาบัน
อุดมศึกษากับธุรกิจเอกชน อุตสาหกรรมและบริการ
6. เร่งรัดสร้างกำลังคนทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ยกระดับคุณภาพและปริมาณเพื่อสร้างสมรรถนะ
ในการแข่งขันของชาติ
6.1 ส่งเสริมและสนับสนุนภาคเอกชนฝึกและอบรมแรงงานให้มีฝีมือ รวมทั้งให้การศึกษาพื้นฐานเทียบ
เท่ามัธยมศึกษาปีที่ 3 ภายใน 5 ปี และมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภายใน 15 ปี
6.2 ส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาคเอกชนและองค์กรสาธารณประโยชน์ขยายการฝึกอบรมด้าน
คอมพิวเตอร์ ด้านการซ่อมบำรุง และการทำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้กว้างขวาง
6.3 เร่งผลิตครูอาจารย์วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ รวมทั้งสาขาที่ขาดแคลนอื่นๆ
6.4 ผนึกกำลังระหว่างมหาวิทยาลัย จัดการศึกษาระดับปริญญาโทและเอก โดยสนับสนุนเฉพาะบาง
แห่งที่มีความสามารถที่ซ้ำซ้อนกันน้อยที่สุด จัดให้มีคุณภาพสูงเพียงไม่กี่แห่งในสิบปี และเพื่อ
ผลิตอาจารย์และนักวิจัยโดยเน้นคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ พื้นฐาน วิศวกรรมศาสตร์และ
เทคโนโลยี
7. ระดมสรรพกำลังเพื่อการศึกษาอย่างกว้างขวาง: มุ่งจัดการศึกษาให้กว้างขวาง และทั่วถึงเป็นธรรม อีก
ทั้งให้ทุกส่วนของสังคมส่งเสริมการศึกษา
7.1 จัดสรรทุนให้ผู้ยากไร้ และด้อยโอกาสให้กว้างขวาง
7.2 ส่งเสริมให้ทุกส่วนในสังคมช่วยเสริม และช่วยจัดการศึกษานอกโรงเรียนในลักษณะต่างๆ ให้
หลากหลาย รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเสริมการเรียนการสอน การเรียนรู้ทางไกลสอง
ทางที่โต้ตอบกันได้
7.3 เพิ่มการจัดงบประมาณเพื่อการศึกษา
7.4 ผ่อนคลายวิธีการงบประมาณให้สถานศึกษาใช้เงินได้คล่องตัวมีประสิทธิภาพ
14
จากแนวความคิดดังกล่าวได้มีความเห็นสอดคล้องกับนโยบายการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิ
การทั้ง 4 ด้านคือ ด้านกระบวนการเรียนการสอน ด้านหลักสูตร ด้านวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา และด้าน
การบริหารและการจัดการ
3. องค์ประกอบหลักของการปฏิรูปการศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดองค์ประกอบหลักของการปฏิรูปการศึกษาไว้ 4 ด้านตามแนวทางการ
ปฏิรูปการศึกษา โดยมีจุดม่งหมายเพื่อให้การดำเนินงานการปฏิรูปการศึกษาประสบความสำเร็จและบรรลุเป้าหมาย
(กระทรวงศึกษาธิการ 2542 : 7) ดังนี้
15
3.1 การปฏิรูปกระบวนการเรียนการสอน
เป็นการจัดการเรียนการสอนที่เน้นความสำคัญของผู้เรียนเป็นหลัก ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถเรียน
รู้ด้วยตนเองเต็มศักยภาพ ประเมินผลการเรียนจากการปฏิบัติจริง ปรับบทบาทของครูจากผู้ถ่ายทอดเป็นผู้ชี้แนวทาง
ในการเรียน ให้ชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอนและถ่ายทอดความรู้ ตลอดจนใช้
นวัตกรรมเทคโนโลยีแหล่งความรู้ต่างๆ เพื่อการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ (สำนักงานคณะกรรมการการประถม
ศึกษาแห่งชาติ 2539 : 10)
ในการดำเนินการปฏิรูปกระบวนการเรียนการสอนในระดับกระทรวงศึกษาธิการได้ดำเนินการสอด
คล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 31 ซึ่งกำหนดให้กระทรวงมีอำนาจหน้าที่ในการ
กำหนดนโยบาย แผน มาตรฐานการศึกษา สนับสนุนทรัพยากรรวมทั้งติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลโดยดำเนิน
การดังนี้
1. กำหนดนโยบายการปฏิรูปการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
1.1 วิเคราะห์ปัญหา ความต้องการและความสอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบัน และความ
คาดหวังในอนาคต
1.2 ระดมความคิดจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสม
2. ประชาสัมพันธ์ แนวคิด และหลักการปฏิรูปกระบวนการเรียนการสอน
2.1 จัดทำ และเผยแพร่แนวทางการนำนโยบายสู่การปฏิบัติ
2.2 เผยแพร่แนวคิด และหลักการปฏิรูปกระบวนการเรียนการสอนด้วยวิธีการ และสื่อที่
หลากหลาย
2.3 เผยแพร่ผลการดำเนินงานตามแนวการปฏิรูปกระบวนการเรียนการสอนที่ ประสบ
ความสำเร็จ เพื่อเป็นแบบอย่างและแนวทางแก่สถานศึกษา
3. กำกับ ติดตาม การปฏิรูปกระบวนการเรียนการสอน
ด้านกระบวนการเรียนการสอนในระดับโรงเรียน มีขอบข่ายการดำเนินงานโดยปฎิรูปกระบวนการ
เรียนการสอนทุกระดับ ถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุดจะต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาเต็มศักยภาพและมีความสุข
โดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง จัดสาระการเรียนรู้บูรณาการ ความรู้และทักษะต่าง ๆ อย่างเหมาะสมกับระดับการศึกษา
และสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน ชุมชน และประเทศชาติ ให้มีการประเมินผลการเรียนตามสภาพจริงโดย
มีแนวทางดำเนินงาน ดังนี้
1. จัดกระบวนการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามสภาพจริง
(Authentic Learning) มีวิธีการเรียนรู้และมีทักษะแสวงหาความรู้ สร้างความรู้ด้วยตนเอง
16
1.1 ศึกษาผู้เรียนเป็นรายบุคคล
1.2 คิดค้นและใช้นวัตกรรมในการสอนที่หลากหลายและเหมาะสม เช่น การเรียนรู้ จาก
โครงงาน เรียนรู้จากประสบการณ์จริง และการเรียนรู้แบบเป็นหัวเรื่อง (Story Line)
เป็นต้น
1.3 ให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติจริงและแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
1.4 ผลิต และพัฒนาสื่อการเรียนการสอน ตลอดจนนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมและ ทันสมัย
มาใช้ในการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน
2. จัดทำสาระการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลาง และสอดคล้องกับความสนใจความ
ถนัด ความต้องการของผู้เรียน และชุมชน
2.1 จัดทำระบบข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับผู้เรียนด้านความสนใจ ความถนัด และความต้องการ
ของผู้เรียน
2.2 จัดทำระบบข้อมูลพื้นฐานของชุมชนเกี่ยวกับสภาพและต้องการ
2.3 วิเคราะห์หลักสูตรแกนกลาง
2.4 จัดทำเนื้อหาสาระและกระบวนการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับข้อมูลพื้นฐาน
3. จัดบรรยากาศสภาพแวดล้อม และองค์ประกอบอื่นๆ ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างต่อ
เนื่อง
3.1 จัดแหล่งความรู้ที่หลากหลาย เช่น มุมหนังสือ ห้องสมุด
3.2 จัดเครือข่ายการเรียนรู้
4. ให้บุคลากร องค์กร และสถาบันในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน
4.1 ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น แหล่งวิทยาการ
4.2 ประสานความร่วมมือและสร้างความเข้าใจระหว่างสถานศึกษาและแหล่งความรู้ต่างๆ
4.3 นำ ภูมิปัญญาท้องถิ่น แหล่งวิทยาการช่วยจัดการเรียนการสอน
4.4 วิเคราะห์หลักสูตรแกนกลาง
5. มีการทำวิจัยในชั้นเรียน
5.1 ศึกษาสภาพปัญหาการเรียนการสอน
5.2 แก้ปัญหาอย่างมีระบบวิธีการ
5.3 นำผลมาพัฒนาการเรียนการสอน
17
6. ประเมินผลตามสภาพจริง (Authentic Assessment) โดยเน้นการประเมินควบคู่ไปกับกระบวน
การเรียนการสอน และประเมินจากการปฏิบัติงานจริง (Performance Based)
6.1 ประเมินผลการเรียนการสอนที่หลากหลายที่สอดคล้องกับกระบวนการเรียนการสอน
เช่นประเมินการปฏิบัติจริง ใช้แฟ้มสะสมงาน (Portfolio) เป็นต้น
6.2 วิเคราะห์ และจัดทำผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน (Student Performance Profile) เพื่อ
ปรับปรุงคุณภาพการศึกษาของผู้เรียน
6.3 การให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้เรียนและผู้ปกครอง
7. ให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าได้ด้วยตนเอง จากแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ
7.1 รวบรวมแหล่งการเรียนรู้ในชุมชน
7.2 แนะนำแนวทางการศึกษาค้นคว้าจากแหล่งการเรียนรู้
7.3 จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่สนับสนุนการศึกษาด้วยตนเองจากแหล่งการเรียนรู้
8. มีระบบนิเทศการเรียนการสอนภายใน
8.1 จัดระบบการนิเทศติดตามและประเมินภายใน
8.2 จัดทีมนิเทศภายใน
8.3 นำผลการนิเทศ ติดตามประเมินผลมาปรับปรุงการเรียนการสอน
9. ประชาสัมพันธ์รูปแบบการเรียนการสอนของสถานศึกษา
9.1 สร้างความเข้าใจแก่ผู้เรียน ผู้ปกครอง ชุมชน ที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการ
และสื่อที่หลากหลาย
9.2 จัดแสดงผลงานที่เกี่ยวกับการเรียนการสอน
9.3 เผยแพร่รูปแบบการเรียนการสอน
จากที่กล่าวมาข้างต้นสรุปได้ว่าการปฏิรูปด้านกระบวนการเรียนการสอนเป็นการเปลี่ยนแปลงการเรียน
การสอน โดยจัดการเรียนการสอนที่เน้นความสำคัญของผู้เรียนเป็นหลัก ส่งเสริมให้ ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตน
เองเต็มศักยภาพ ประเมินผลการเรียนจากการปฏิบัติจริง ปรับบทบาทของครูจากผู้ถ่ายทอดเป็นผู้ชี้แนวทางในการ
เรียนให้ชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอนและถ่ายทอดความรู้ และใช้นวัตกรรม
เทคโนโลยีแหล่งความรู้ต่างๆ เพื่อการเรียน การสอน
18
3.2 การปฏิรูปหลักสูตร
เป็นการพัฒนาหลักสูตรที่เน้นการตอบสนองความต้องการของผู้เรียนและชุมชนมีกระบวนการและ
เนื้อหาที่ครอบคลุม เชื่อมโยง และต่อเนื่องกันทุกระดับ และทุกประเภทการศึกษาทั้งด้านความรู้ความสามารถ ความ
คิดริเริ่มสร้างสรรค์ คุณธรรม จริยธรรม เน้นการกระจายอำนาจ ให้สถานศึกษาจัดทำหลักสูตรท้องถิ่น และให้แต่ละ
ท้องถิ่นกำหนดมาตรฐานการศึกษาในระดับที่เหมาะสมกับตนเองได้ สำหรับส่วนกลางจะจัดทำหลักสูตรแกนกลาง
และมาตรฐานการศึกษาของชาติ (ประหยัด เมธยกุล 2536 : 21)
หลักสูตรเป็นหัวใจของการศึกษา ทั้งนี้เพราะหลักสูตรเป็นตัวกำหนดทิศทางในการจัดการศึกษา
ของประเทศ ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อผู้เรียน สังคม และประเทศชาติ หลักสูตรเป็นตัวนำและกรรมวิธีในการที่จะให้เกิด
ความรู้ การถ่ายทอดวัฒนธรรม เสริมสร้างทักษะ ปลูกฝังเจตคติ ค่านิยม ตลอดจนสร้างความเจริญงอกงามให้แก่ผู้
เรียนในทุกๆ ด้าน (ธีระ ภูดี 2541 : 30)
ในการปฏิรูปด้านหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการในครั้งนี้ มีความต้องการพัฒนาหลักสูตรที่เน้น
การตอบสนองความต้องการของผู้เรียน และชุมชน มีกระบวนการและเนื้อหาที่ ครอบคลุม เชื่อมโยง และต่อเนื่อง
กันทุกระดับ และประเภทการศึกษาทั้งด้านความรู้ ความสามารถ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ คุณธรรม จริยธรรม เน้น
การกระจายอำนาจให้สถานศึกษาจัดทำหลักสูตรท้องถิ่น ให้แต่ละท้องถิ่นกำหนดมาตรฐานการศึกษาในระดับที่
เหมาะสมกับตนเองได้ สำหรับส่วนกลางจะจัดทำหลักสูตรแกนกลางและมาตรฐานการศึกษาของชาติ โดยมีขอบข่าย
ในการดำเนินงาน (กระทรวงศึกษาธิการ 2542 : 12) ดังนี้
1. กำหนดกรอบหลักสูตร กำหนดนโยบาย เป้าหมาย จัดหลักสูตร และกรอบหลักสูตรการจัดการ
ศึกษาขั้นพื้นฐาน
2. กำหนดมาตรฐานการศึกษาของชาติ และมาตรฐานกลุ่มสาระการเรียนรู้
2.1 จัดทำมาตรฐานหลักสูตรระดับชาติ (National Standard)
2.2 กำหนดตัวชี้วัดตัวสำเร็จ (Benchmark) ของการศึกษาแต่ละระดับช่วงชั้นในลักษณะของผล
การปฏิบัติงาน (Performance) และแนวทางการใช้
2.3 จัดทำคู่มือมาตรฐานการศึกษาและตัวชี้วัดความสำเร็จ
2.4 ชี้แจง ทำความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานการศึกษา และตัวบ่งชี้ความสำเร็จให้ บุคลากรระดับ
กรม และเจ้าหน้าที่จังหวัดหรือเขตพื้นที่
3. จัดทำหลักสูตรแกนกลาง เสนอรูปแบบและแนวทางการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น การพัฒนาต่อ
การจัดการเรียนการสอนและการวัดประเมินผลกำกับ ติดตามประเมินผลการใช้ หลักสูตร
การดำเนินงานการปฏิรูปการศึกษาในระดับสถานศึกษาด้านหลักสูตรมีแนวดำเนินงาน โดยสถาน
ศึกษากำหนดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน นำหลักสูตรกลางมาใช้ ตลอดจนพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นให้สอด
คล้องกับผู้เรียน ชุมชน และประเทศชาติ ให้มีแผนการเรียนที่หลากหลาย มีการเทียบโอนผลการเรียนตามความ
สนใจความเหมาะสมดังนี้
1. จัดทำสาระของหลักสูตรให้สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางขั้นพื้นฐาน
1.1 จัดตั้งคณะทำงานพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา
1.2 วิเคราะห์หลักสูตรแกนกลาง
19
1.3 วิเคราะห์สภาพความต้องการของผู้เรียน และชุมชน
1.4 จัดสาระการเรียนรู้
2. พัฒนาหลักสูตรและการจัดทำแผนการเรียนที่หลากหลายให้สอดคล้องกับสภาพความพร้อม
ความต้องการของผู้เรียน
2.1 วิเคราะห์สภาพความต้องการของผู้เรียน
2.2 จัดทำหลักสูตรของสถานศึกษา
2.3 กำหนดแผนการเรียนที่หลากหลาย
3. บริหารการใช้หลักสูตรให้มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพตามมาตรฐานที่กำหนด
3.1 จัดปัจจัยที่เอื้อต่อหลักสูตรแกนกลางและจัดการเรียนการสอน เช่น เอกสาร หลักสูตร แผน
การสอน สื่อการเรียนการสอน เป็นต้น
3.2 จัดระบบและกลไกการบริหาร กำกับ และติดตามการใช้หลักสูตรของการศึกษา
3.3 การประเมิน และรายงานผลการใช้หลักสูตรเพื่อพัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง
4. ดำเนินการตามระบบเทียบโอนผลการเรียนสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับแนวปฏิบัติการเทียบโอนผล
การเรียนดำเนินการเทียบโอนผลการเรียนตามเกณฑ์ วิธีการและคู่มือดำเนินงาน
การปฏิรูปด้านหลักสูตรนั้นเป็นการเปลี่ยนแปลงการพัฒนาหลักสูตรเพื่อให้ตอบสนองความ
ต้องการของผู้เรียน ชุมชนท้องถิ่น กระบวนการและเนื้อหามีทั้งความรู้ ความสามารถ ความคิด ริเริ่มสร้างสรรค์ คุณ
ธรรม จริยธรรม เน้นการกระจายอำนาจ ให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำหลักสูตร และมีส่วนร่วมในการ
บริหารหลักสูตร
20
3.3 การปฏิรูปวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา
เป็นการปรับกระบวนการผลิต การใช้และการพัฒนาครู ผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษาอย่าง
เป็นระบบและต่อเนื่อง ตลอดจนปรับปรุงสวัสดิการและค่าตอบแทนให้เหมาะสมเพื่อพัฒนามาตรฐานวิชาชีพครู ผู้
บริหารสถานศึกษา และบุคลากรทางการศึกษา (สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ 2539 : 19)
ครูจึงเป็นบุคคลที่สังคมยอมรับนับถือเป็นปูชนียบุคคล และมีหน้าที่พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เป็นผู้
ที่มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ครูจึงต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ของตนเองได้เป็นอย่างดี มี
คุณธรรมจริยธรรม มีอุดมการณ์ในการทำงาน และมีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพครู ทั้งยังต้องพร้อมที่จะพัฒนาตนเองให้
เป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการมีแนวดำเนินงานดังนี้ (สำนักงานคณะกรรมการการประถม
ศึกษาแห่งชาติ 2539 : 23 - 24)
1. กำหนดนโยบายและแผนพัฒนาวิชาชีพครู และบุคลากรทางการศึกษา
2. กำหนดมาตรฐานวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา
3. ปรับปรุงและจัดทำกฎหมายว่าด้วยเงินเดือน ค่าตอบแทน สวัสดิการ และสิทธิเกื้อกูล แก่ครูและ
บุคลากรทางการศึกษา
4. จัดตั้งองค์กร และกองทุนเพื่อพัฒนาวิชาชีพครู
5. ส่งเสริมให้มีระบบการผลิต พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา
6. ส่งเสริม สนับสนุน ประสานการใช้ทรัพยากร และความช่วยเหลือทางวิชาการ
7. ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพ
8. กำกับ ติดตาม ประเมินผลการพัฒนาวิชาชีพ
ขอบข่ายของการดำเนินงานการปฏิรูปการศึกษาด้านวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษาในระดับ
โรงเรียน มีการดำเนินงาน ดังนี้
1. สร้างความตระหนักเรื่องจิตวิญญาณ จรรยาบรรณของวิชาชีพ สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับมาตร
ฐานวิชาชีพ และจรรยาบรรณของวิชาชีพ
2. พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพ มาตรฐาน และจรรยาบรรณของวิชาชีพดังนี้
2.1 กำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา เพื่อนำไปสู่ความเป็นมืออาชีพ
2.2 สร้างพันธกิจร่วมกันในการดำเนินการปฏิรูปการศึกษา (Inform & Commitment)
2.3 พัฒนาครู และบุคลากรในสถานศึกษาให้มีความรู้ความเข้าในการจัดทำ หลักสูตร และ
การจัดการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ
3. สนับสนุน ส่งเสริมครู และบุคลากรในสถานศึกษาให้พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
3.1 ส่งเสริมการเข้าเป็นสมาชิกชมรมวิชาชีพ เครือข่ายวิชาชีพ
3.2 ยกย่องเชิดชูเกียรติ
3.3 จัดสวัสดิการ
4. ติดตามประเมินผลโดย
4.1 การประเมินผลตนเอง
21
4.2 การประเมินผลเพื่อการวิจัยและพัฒนา
4.3 การรายงานสู่สาธารณชน จัดทำประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนได้ทราบผลการปฏิบัติงาน
กล่าวโดยสรุปการปฏิรูปด้านวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นการปรับกระบวนการใช้และ
การพัฒนาครู ผู้บริหารและบุคลากรทางการศึกษาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องให้มีมาตรฐานด้านความรู้ความ
สามารถ คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณของวิชาชีพ
3.4 การปฏิรูปการบริหารและการจัดการ
การปฏิรูปการบริหารและการจัดการเป็นการจัดระบบบริหารและการจัดการให้มี เอกภาพ และ
กระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นโดยเน้นสถานศึกษาเป็นหน่วยวางแผนยุทธศาสตร์ของการจัดการศึกษาในท้องถิ่น เปิด
โอกาสให้บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กร พัฒนาระบบการวางแผนการระดมและจัดสรรทรัพยากร การควบคุม
กำกับ ติดตาม และประเมินผล ที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพรวมทั้งประสิทธิภาพการจัดการศึกษา (ธีระ ภูดี 2541 : 50)
ในระดับกระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดขอบข่ายการดำเนินงานการปฏิรูปการศึกษาด้านระบบบริหารและการจัด
การ (กระทรวงศึกษาธิการ 2539 : 45) ดังนี้
1. กำหนดนโยบายการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
2. กำหนดนโยบายการประกันคุณภาพการศึกษา
3. จัดทำ และพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการจัดการศึกษาระดับชาติ
4. ประสานงานการใช้ทรัพยากร ร่วมมือกันเพื่อพัฒนาการศึกษา
5. ปรับปรุงโครงสร้างการบริหารการศึกษา
6. ประชาสัมพันธ์การดำเนินงานพัฒนาคุณภาพการศึกษา
7. กำกับ ติดตาม ประเมิน ตรวจสอบ และรายงานผลการปฏิบัติงาน
ขอบข่ายการดำเนินงานการปฏิรูปการศึกษาด้านระบบบริหารและการจัดการใน โรงเรียน มีแนว
ดำเนินการดังนี้
1. การจัดการศึกษาแบบเน้นฐานโรงเรียน (School Based Management) ซึ่งเป็นการบริหารจัดการศึกษา
ในลักษณะที่สถานศึกษามีอำนาจในการบริหารแบบเบ็ดเสร็จในด้าน เงิน คน วิชาการ และอื่นๆ
1.1 ตั้งคณะกรรมการสถานศึกษา
1.2 ตั้งคณะทำงานวางแผนปรับปรุงการศึกษาในสถานศึกษา
1.3 ตั้งคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตร
1.4 จัดทำแผนยุทธศาสตร์การปรับปรุงสถานศึกษา (School Improvement Plan)
1.5 จัดทำระบบข้อมูลสารสนเทศ
2. จัดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษา (Quality Assessment)
2.1 กำหนดมาตรฐานของสถานศึกษา
2.2 จัดทำธรรมนูญโรงเรียน
22
2.3 จัดทำระบบตรวจสอบ ระบบการประเมินตนเอง การนิเทศภายในโรงเรียน และการควบ
คุมการจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
2.4 รายงานและนำไปปรับปรุงแก้ไข
3. ปรับปรุงบรรยากาศ สิ่งแวดล้อม และองค์ประกอบที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้
3.1 จัดทำแผนผังแม่บทของสถานศึกษา
3.2 จัดภูมิทัศน์ให้มีความร่มรื่นสวยงาม
3.3 จัดระบบสาธารณูปโภค และกำจัดระบบของเสีย
3.4 จัดระบบความปลอดภัยในสถานศึกษา
4. สนับสนุนส่งเสริมให้มีการใช้เทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
4.1 จัดทรัพยากรและจัดหาเทคโนโลยีที่เหมาะสมทั้งสากลและท้องถิ่น
4.2 ส่งเสริมให้มีการผลิตและพัฒนาเทคโนโลยีทางการศึกษา
4.3 ส่งเสริมให้ครูและบุคลากรมีความรู้ทักษะในการใช้เทคโนโลยี
จากรายละเอียดที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้นสรุปได้ว่า หน่วยงานระดับกระทรวงมีบทบาทหน้าที่
กำหนดนโยบาย แผนและยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาโดยภาพรวม นอกจากนี้ได้กำหนด มาตรฐานการศึกษา
ปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย เพื่อการปฏิรูปการศึกษา สร้างพื้นฐานและเตรียมความพร้อมในการปฏิรูปการศึกษา
สนับสนุน การดำเนินงานการปฏิรูปการศึกษาด้านต่างๆ กำกับ ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงาน
ตามนโยบายของกระทรวง รวมทั้งประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนประชาสัมพันธ์ชี้แจงให้บุคคลที่
เกี่ยวข้องและประชาชนทั่วไปเกิดความเข้าใจและสนับสนุน ร่วมมือในการดำเนินงานการปฏิรูปการศึกษา
หน่วยงานระดับสถานศึกษามีบทบาทในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ปรับปรุงการศึกษาในสถาน
ศึกษา (School Improvement Plan : SIP) ปฏิบัติงานตามแผน นิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมิน และรายงานผลการ
ดำเนินตามแผน เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนสามารถพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้ได้มาตรฐานสูงในระดับสากล และ
เกิดการเปลี่ยนแปลงการศึกษาอย่างแท้จริง ต่อเนื่องและยั่งยืน
4. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
เนื่องจากในปัจจุบันการปฏิรูปการศึกษาเป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจในแวดวงของผู้ที่ เกี่ยวข้องกับ
ระบบการศึกษา เช่นผู้บริหารสถานศึกษา จึงทำให้มีการนำเสนอรายงานและเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนิน
งานทางด้านการปฏิรูปการศึกษาเป็นจำนวนมาก ผู้วิจัยจึงได้ทำการศึกษาค้นคว้าและสรุปผลถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ
การปฏิรูปการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ โดยมีการนำเสนอตามลำดับดังต่อไปนี้
4.1 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องในระดับประถมศึกษา
จรีย์พร โน๊ตชัยยา (2541 : บทคัดย่อ) ได้ทำการสอบถามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูหัว
หน้างาน ที่มีต่อการบริหารโรงเรียนตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการ
ประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร พบว่าแนวความคิดของทั้งผู้บริหารและครูหัวหน้างานร้อยละ 90 เห็นด้วยกับการให้
มีการปฏิรูปการศึกษาตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาทั้ง 4 ด้านคือ ด้านโรงเรียนและสถานศึกษา ด้านครูและ
23
บุคลากรทางการศึกษา ด้านหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอน และด้านระบบบริหารการศึกษา นอกจากนี้ ยัง
ได้มีการเสนอให้มีการปฏิรูปต่อไปอย่างต่อเนื่อง ส่วนปัญหาที่พบนั้นเป็นปัญหาด้านงบประมาณไม่เพียงพอ ครู
อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษายังขาด ความรู้ความเข้าใจในนโยบายการปฏิรูปการศึกษา
วีรยุทธ์ จงจัดกลาง (2542 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาการปฏิบัติตามแนวทางการดำเนินงานตามจุด
เน้นการพัฒนาการปฏิรูปการศึกษาของโรงเรียนกุดตาดำ สำนักงานการประถมศึกษา กิ่งอำเภอพระทองคำ จังหวัด
นครราชสีมา ผลการวิจัยพบว่า
การเปิดขยายการรับนักเรียนระดับก่อนประถมศึกษา และมัธยมศึกษาตอนต้น การับนักเรียนทั้ง
สองระดับ มีการเตรียมห้องเรียน วัสดุอุปกรณ์ สื่อการเรียนให้พร้อมที่จะใช้งานพัฒนาครู ผู้สอนได้จัดการเรียนการ
สอนอย่างหลากหลาย นักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ปัญหาสำคัญที่พบคือ ขาดสื่อที่เหมาะสมในการจัดกิจกรรม
ที่หลากหลาย ขาดครูที่มีความรู้เฉพาะด้าน การแก้ปัญหาคือ ส่งเสริมให้ครูผลิตสื่อ คัดเลือกครูเข้ารับการอบรมเพื่อ
เพิ่มพูนความรู้ความสามารถ
การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอน การพัฒนาครูให้มีความรู้ความเข้าใจในการจัดกิจกรรมการ
เรียนการสอน โดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ปัญหาสำคัญที่พบคือ ขาดเครื่องคอมพิวเตอร์ การแก้ปัญหาคือ ผู้ปกครอง
ได้บริจาคเงินเพื่อซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์
การวัดผลประเมินผลตามสภาพที่แท้จริง ใช้วิธีการวัดผลประเมินผลในหลายรูปแบบ เน้นการใช้
แฟ้มสะสมงานของครู นักเรียน เพื่อพัฒนาวิธีการสอน การพัฒนาผู้เรียนเป็นสำคัญ ปัญหาที่พบคือ ครูขาดทักษะใน
การวัดผลประเมินผลตามสภาพที่แท้จริง การแก้ปัญหาโดยการสัมมนาทางวิชาการ และศึกษาดูงาน
ธีระ ภูดี (2544 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาค้นคว้าการปฏิบัติตามแนวทางการดำเนินงานการปฏิรูป
การศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดมุกดาหารใน 4 ด้านคือ ด้านกระบวน
การเรียนการสอน ด้านการหลักสูตร ด้านการปฏิรูปวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา และด้านระบบบริหารและ
การจัดการ พบว่า โดยภาพรวมและรายด้าน 2 ด้านที่มีสภาพปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง คือ ด้านกระบวนการเรียน
การสอนและหลักสูตร ส่วนอีก 2 ด้านคือ ด้านวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษาและด้านระบบบริหารและการจัด
การมีการปฏิบัติในระดับสูงมาก นอกจากนี้ยัง พบว่า โรงเรียนที่มีขนาดต่างกันมีการปฏิบัติงานตามนโยบายการ
ปฏิรูปการศึกษาไม่แตกต่างกัน
ภูมิพันธ์ จันทร์เพ็ญ (2544 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาเกี่ยวกับการดำเนินงานตาม ยุทธศาสตร์
การปฏิรูปการศึกษาของโรงเรียนแกนนำปฏิรูปการเรียนรู้ สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดสุรินทร์ พบว่า
ข้าราชการครูโดยรวมซึ่งจำแนกตามตำแหน่งและขนาดโรงเรียน มีการปฏิบัติตามยุทธศาสตร์ในด้านการดำเนินงาน
การกระจายอำนาจ การใช้แผนยุทธศาสตร์ การประกันคุณภาพ และการเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางในระดับสูงมาก
ส่วนด้านการเปิดโอกาสการมีส่วนร่วมการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง นอกจากนี้ยังพบว่า ข้าราชการครูในโรงเรียน
ไม่ได้ขยายโอกาส มีการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์มากกว่าโรงเรียนขยายโอกาส ปัญหาที่พบในการดำเนินงานคือ
งบประมาณไม่เพียงพอ ครูผู้สอนขาดความเข้าใจเรื่องการปฏิรูปการศึกษาและการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียน
เป็นศูนย์กลาง
ฤทธิรงค์ ทองคำ (2544 : บทคัดย่อ) ได้วิจัยถึงปัญหาการดำเนินงานการปฏิรูปการศึกษาในโรง
เรียนสังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดศรีสะเกษ ตามองค์ประกอบหลักการปฏิรูปการศึกษา 4 ด้าน คือ ด้าน
24
การปฏิรูปกระบวนการเรียนการสอน ด้านการปฏิรูปหลักสูตร ด้านการปฏิรูปวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา
และด้านการปฏิรูปการบริหารและการจัดการ พบว่า ข้าราชการครูมีปัญหาในการดำเนินงานด้านการปฏิรูปหลักสูตร
ในระดับสูงมาก ขณะที่ปัญหาด้านการปฏิรูปกระบวนการเรียนการสอน การปฏิรูปวิชาชีพครูและบุคลากรทางการ
ศึกษา และการปฏิรูปการบริหารและการจัดการอยู่ในระดับปานกลาง นอกจากนี้ โรงเรียนที่เปิดขยายโอกาสมีปัญหา
ในการดำเนินงานมากกว่าโรงเรียนที่ไม่เปิดขยายโอกาส
4.2 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องในระดับมัธยมศึกษา
จิตรลดา จาตุรนห์รัศมี (2539 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานวิชาการ
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ตามโครงการขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐานในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร พบ
ว่า ปัญหาการบริหารงานวิชาการได้แก่ ขาดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานวิชาการด้านหลักสูตร
และการนำหลักสูตรไปใช้การจัดการเรียนการสอน การวัดผลและประเมินผล ขาดงบประมาณสนันสนุนในด้านการ
ปฏิบัติตามแผน เอกสารหลักสูตรและสื่อการสอน
จิตรา กาญจนวิบูลย์ (2539 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนประถม
ศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาการบริหารงานวิชาการคือ ผู้
บริหารและครูไม่ศึกษาและทำความเข้าใจหลักสูตรให้ชัดเจน สถานที่ อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้และห้องพิเศษไม่
เพียงพอต่อการสนับสนุนกิจกรรมการเรียนการสอน ครูขาดความรู้และทักษะในการผลิต การใช้และการรักษาสื่อ
การเรียนการสอน เอกสาร วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือที่จำเป็นต่อการวัดและประเมินผลไม่เพียงพอ ผู้บริหารและครูไม่
ทำความเข้าใจและไม่ศึกษาหลักการและวิธีการปฏิบัติในการนิเทศภายในอย่างชัดเจน งบประมาณในการประชุมอบ
รมทาง วิชาการไม่เพียงพอ สาเหตุเนื่องจากบุคลากรมีงานต้องปฏิบัติมากทั้งงานสอนและงานอื่นที่ได้รับ มอบ
หมาย
รัชนีย์ สุทธิกรานนท์ (2539 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาเรื่องการบริหารงานวิชาการ โรงเรียน
มัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา : ศึกษากรณีเฉพาะ โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย จังหวัดนครราชสีมา สอบถามผู้
บริหารโรงเรียน ผู้ช่วยบริหารโรงเรียน หัวหน้าหมวดวิชาและหัวหน้างาน ผลการศึกษาด้านการเรียนการสอนพบว่า
มีการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจัดทำแผนการสอน บันทึก การสอน ปรับปรุงแผนการสอน และส่งเสริมการจัดทำสื่อ
ปัญหาสำคัญในการปฏิบัติงานคือ ครูไม่ให้ความสำคัญต่อการจัดทำแผนการสอน และขาดทักษะในการจัดทำสื่อ
การแก้ปัญหาการปฏิบัติงานคือ สนับสนุนการอบรมเกี่ยวกับการทำสื่อ การพัฒนาการปฏิบัติงาน เชิญวิทยากรมาให้
ความรู้ในการ จัดทำสื่อ และจัดตั้งศูนย์บริการสื่อการเรียนการสอนประจำหมวดวิชา
ชนก แสงกล้า (2541 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการปฏิบัติตามแนวทางการ
ปฏิรูปการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดชัยภูมิ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า สภาพปัจจุบัน
ในการปฏิบัติตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษานั้น มีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลางทั้ง 4 ด้าน คือ ดา้ นโรงเรียนและ
สถานศึกษา ด้านครูและบุคลากรทางการศึกษา ด้านหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอน และด้านระบบการ
บริหารการศึกษา ส่วนปัญหาในการปฏิบัติตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษามีปัญหาอยู่ในระดับน้อย 2 ด้านคือ ด้าน
โรงเรียนและสถานศึกษา กับด้านระบบบริหารการศึกษา และมีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง 2 ด้านคือ ด้านครูและ
บุคลากรทางการศึกษา กับด้านหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอน ซึ่งในด้านครูและบุคลากรทางการศึกษานั้น
25
ทางโรงเรียนไม่มีการจัดหาบุคลากรภายนอกมาช่วยสอน ขาดแหล่งวิทยาการและสถานที่ฝึกงานของนักเรียน ส่วน
ด้านหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอนในโรงเรียนส่วนใหญ่ยังไม่มีการจัดทำและพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นขึ้น
ใช้ในโรงเรียน
เชาวน์รัตน์ รัตน์ประโลม (2542 : บทคัดย่อ) ได้ทำการวิจัยในเรื่องที่เกี่ยวกับปัจจัยที่มีผล
กระทบต่อการปฏิรูปการศึกษาของโรงเรียนในระดับมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ซึ่งผลจากการวิจัยปรากฏว่า
ผู้บริหารส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่า ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการปฏิรูปการศึกษาทั้ง 4 ด้านได้แก่ ด้านการพัฒนาโรง
เรียน มีการนำสื่อเทคโนโลยีมาช่วยในการจัดการเรียน การสอน ด้านการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้
ส่งเสริมการดำเนินการตามโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษาหรือโรงเรียนสีขาว สำหรับ
ด้านการพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอน มีการสนับสนุนให้นำคอมพิวเตอร์มาช่วยวัดผลการเรียน
และด้านการพัฒนาระบบการบริหารและการจัดการของโรงเรียน ผู้บริหารส่วนใหญ่มีคาดหวังว่าจะทำให้โรงเรียน
เป็นเลิศตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ
ชัยวัฒน์ พันธ์เดช (2543 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการ
ปฏิบัติงานตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดหนองคาย พบว่า
ข้าราชการครูได้เสนอแนะในการแก้ปัญหาดังนี้ ปัญหาด้านการปฏิรูปโรงเรียนและสถานศึกษา ควรสำรวจข้อมูล
และจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอกับความจำเป็น ด้านการปฏิรูปครูและบุคลากรทางการศึกษา ควรพัฒนาครูโดย
ส่งเสริมให้เข้ารับการอบรมศึกษาดูงานตามสายงานอย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง ด้านการปฏิรูปหลักสูตรและการเรียน
การสอน ควรให้ครูพัฒนา ตนเองและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการสอนโดยการฝึกอบรมและศึกษาดูงาน ด้านการ
ปฏิรูป การบริหารการศึกษา ควรให้บุคลากรและชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารและจัดการศึกษา
สานิตย์ พิมพ์ปัจฉิม (2544 : บทคัดย่อ) ได้ทำการศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนตามแนว
ทางปฏิรูปการศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดอุดรธานี พบว่าผู้บริหาร หัวหน้าหมวด
วิชา ครูปฏิบัติการสอน และนักเรียน มีความเห็นตรงว่า โรงเรียนมีการจัดการเรียนการสอนตามแนวทางการปฏิรูป
การศึกษาในระดับสูงมากทุกด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การ ส่งเสริมกิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี และผู้บำเพ็ญประโยชน์
ส่วนปัญหาที่พบมากที่สุดในการจัดการเรียนการสอนคือ การพัฒนารูปแบบเทคโนโลยีและนวัตกรรมการสอน
ศุภลักษณ์ สระแก้ว (2544 : บทคัดย่อ) เกี่ยวกับเรื่องสภาพการปฏิบัติงาน ปัญหาและแนวทาง
แก้ไขปัญหาการปฏิบัติงานในระบบบริหารการจัดการตามนโยบายปฏิรูปการศึกษาในโรงเรียนเอกชน จังหวัด
กาฬสินธุ์ พบว่า ผู้บริหารและครูผู้สอนมีการปฏิบัติงานระบบการบริหารจัดการตามนโยบายปฏิรูปการศึกษาโดย
รวมและรายด้านทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านโครงสร้างองค์กร ด้านระบบการทำงาน ด้านการกระจายอำนาจ และด้านการมี
ส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก แต่ยังพบว่ามีปัญหาในการปฏิบัติได้แก่ บุคลากรไม่เพียงพอ จึงมุ่งเน้นงานสอนเป็นหลัก
บุคลากรขาดความสามัคคี ไม่รู้จักบทบาทหน้าที่ของตน และผู้ปกครองไม่มีเวลาให้ความร่วมมือเท่าที่ควร ดัง
นั้น โรงเรียนควรวางแผนการปฏิบัติงานโดยเฉพาะเรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อม และควรเปิดโอกาสให้ครูได้มีส่วน
ร่วมในการบริหารงาน นอกจากนี้ ไม่ควรให้ครูหนึ่งคนรับผิดชอบงานในหลายๆ หน้าที่ ยิ่งไปกว่านั้น โรงเรียน
ควรเข้าร่วมกิจกรรมของชุมชนในโอกาสต่างๆ ด้วย
สรุปผลการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องพบว่า การศึกษาเพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนมีความรู้ความ
สามารถตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของแผนการจัดการศึกษาระดับชาติโดยมีกระทรวง ศึกษา ธิการรับผิดชอบ
26
สามารถแบ่งขอบข่ายของการปฏิรูปเป็น 4 ด้าน เพื่อเป็นแนวทางให้โรงเรียนและสถานศึกษานำไปปฏิบัติ ปรับปรุง
พัฒนาการศึกษาดังนี้คือ การการปฏิรูปกระบวนการเรียนการสอน การปฏิรูปหลักสูตร การปฏิรูปวิชาชีพครูและ
บุคลากรทางการศึกษา การปฏิรูปการบริหารและการจัดการ
4.3 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องในต่างประเทศ
คาลลอน (Kallon 1997 : Abstract) ได้ศึกษาเกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษาใน เชียราลีออน
(Sierra Leone) ซึ่งดำเนินการตามโครงการระดับชาติ เพื่อเผยแพร่หลักสูตรประถมศึกษาเชิงนวัตกรรม ที่ดำเนินการ
ปรับให้สอดคล้องกับสภาพท้องถิ่น โดยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล 3 แบบ คือ (1) ศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยว
ข้องกับการปฏิรูปตลอดจนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญของ ยูเนสโก และสหประชาชาติ (2) การสัมภาษณ์ สมาชิก ผู้
นำชุมชน ผู้ปกครอง ครู อาจารย์ นิสิต นักศึกษา และผู้ เกี่ยวข้อง (3) การสังเกตการจัดกิจกรรมการเรียนการ
สอนและการประชุมสัมมนา ผลการศึกษาครั้งนี้ ยืนยันถึงความก้าวหน้าอย่างชัดเจนของความพยายามในการใช้
หลักสูตรที่ สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมของท้องถิ่น นอกจากนี้ยังสะท้อนให้เห็นผลสำเร็จของ
นวัตกรรมของโครงการดังกล่าวเป็นผลมาจากความจริงจังของรัฐบาล ความช่วยเหลือจากเอกชน ความร่วมมือของ
ชุมชน นักศึกษา อาจารย์ระดับมหาวิทยาลัย รวมทั้งครูระดับประถมศึกษา อย่างไร ก็ตามยังมีปัญหาบางประการเกิด
ขึ้น และโครงการจะบรรลุเป้าหมายได้มากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับรัฐบาลในการสนับสนุนในด้านวัสดุอุปกรณ์
ทรัพยากรต่างๆ ตลอดจนการฝึกอบรมควบคุมดูแลอย่างต่อเนื่อง
โซลูบอส (Zolubos 1998: Abstract) ได้ศึกษาผลกระทบของกฎหมายการปฏิรูปการศึกษา ค.ศ.
1993 ต่อผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในรัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา โดยกรรมการสภาโรงเรียนมีบทบาทใน
การปฏิรูปให้เป็นไปตามกฎหมายดังกล่าวโดยให้เน้นระบบการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมคือ ให้บุคลากรเข้ามามี
ส่วนร่วมการปฏิรูปการศึกษาของโรงเรียน เช่น ผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาต่างๆ ใน ชุมชน ผู้ปกครอง ตัวแทนชุมชน
ตลอดจนนักเรียน เป็นต้น โดยมุ่งเน้นศึกษาใน 4 เรื่อง ต่อไปนี้ (1) การปรับปรุงโรงเรียนโดยทั่วไป (2) ประสิทธิภาพ
ของสภาโรงเรียน (3) สภาพ แวดล้อมการทำงานของผู้บริหารโรงเรียน (4) การพัฒนาด้านวิชาชีพ และได้กำหนดตัว
แปรอิสระของผู้บริหารได้ดังนี้คือ อายุ เพศ ประสบการณ์ในตำแหน่ง และระดับการศึกษา การเก็บรวบรวมข้อมูล
จากผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ในรัฐ แมสซาชูเซตส์ จำนวน 201 คน ผลการศึกษาพบว่า ผู้บริหารซึ่งมีความแตก
ต่างกันในเรื่อง อายุ เพศ และระดับการศึกษา จะส่งผลกระทบในด้านต่างๆ ไม่แตกต่างกัน ในขณะที่ผู้บริหารที่มี
ประสบการณ์ในการบริหารต่างกัน จะส่งผลผลกระทบในด้านการปรับปรุงโรงเรียนที่แตกต่างกัน
ลอร์เรนซ์ (Lawrence 1996 : Abstract) ได้ศึกษผลกระทบของการเปลื่ยนแปลงระบบการ
ปฏิรูปการศึกษาที่มีต่อบทบาทความรับผิดชอบ และความสัมพันธ์ของครูใหญ่ ตลอดจน โครงสร้างอำนาจหน้า
ที่ของโรงเรียนจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 3 โรงเรียนที่ได้มีการดำเนินงานการปฏิรูปโรงเรียน ผลการศึกษาพบว่าภาย
ใต้กรอบความคิดการจัดการศึกษาให้เป็นที่ยอมรับ ครูใหญ่จะต้องมีบทบาทเป็นผู้จัดการทั้งในเรื่องงบประมาณ การ
ประเมินบุคคล การควบคุมดูแล และมีบทบาทเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลง เช่น เป็นผู้มีส่วนร่วม เป็นผู้สืบค้น ผู้
ประสานงานเชื่อมโยง และผู้ส่งเสริมสนับสนุน นอกจากนี้ในการเสริมสร้างให้เปิดโรงเรียนที่เป็นประชาธิปไตย
อย่างแท้จริง ควรให้ ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วม รับผิดชอบร่วมกัน โดยจำเป็นต้องไปประเมินประสิทธิภาพการ
ทำงานของ ครูใหญ่ในด้านผลการเรียนของนักเรียน
27
อัลคาวาลเดห์ (Alkhawaldeh 1996 : Abstract) ได้ศึกษาการประเมินโปรแกรมการฝึกหัดครู
สำหรับหลักสูตรการสอนของชาวอิสลามในประเทศจอร์แดน โดยทำการศึกษากับนักศึกษาครูชั้นปีที่ 4 จำนวน 160
คน และใช้แบบสอบถามจำนวน 40 ข้อ จากการศึกษา พบว่าการปฏิรูปการศึกษาของชาวจอร์แดนจะเน้นการปฏิรูป
ในด้าน การบริหารการศึกษา การวางนโยบายทางการศึกษา หลักสูตรของการฝึกหัดครู การใช้หลักสูตรและตำรา
เรียน เทคนิคและเทคโนโลยีทางการศึกษา การจัดงบประมาณ และการวิจัยทางการศึกษา นอกจากนี้ยังพบว่า
หลักสูตรใหม่และหลักสูตรเก่าในด้านเนื้อหาหลักสูตรและวิธีการสอน โดยภาพรวมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัย
สำคัญทางสถิติ และมีเรื่องที่ต้องปรับปรุงเร่งด่วน เช่น รายวิชาที่เกี่ยวกับศาสนาอิสลามที่แตกต่างกัน ความต้องการ
จากระบบสังคมที่แตกต่างกันของชาวอิสลาม นอกจากนี้จะต้องปรับปรุงพัฒนารูปแบบการสอนที่ใช้เทคโนโลยีและ
สื่อการสอน เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียน ให้นักเรียนได้เข้าร่วม กิจกรรมมากที่สุด และมีกิจ
กรรมที่หลากหลาย
บอฟ ( Bof 1998 : Abstract ) ได้ศึกษาการปรับปรุงคุณภาพและประสิทธิภาพของการประถม
ศึกษาในประเทศบราซิล ศึกษากรณีเฉพาะโรงเรียนประถมศึกษาในเขตเทศบาลนคร โดโนโปลิส จังหวัดมาโต
กรอสโซ จำนวน 11 โรง โดยเป็นการศึกษาโปรแกรมการปรับปรุงคุณภาพและประสิทธิภาพการประถมศึกษา ใน
ด้านการเรียนซ้ำชั้น และการลดอัตราการออกกลางคันใน โรงเรียน โดยมุ่งเน้นรูปแบบของการจัดการระดับโรง
เรียนขึ้นใหม่ มีรูปแบบการบริหารการจัดการ 2 ขั้นตอน คือ ขั้นแรก การให้คำปรึกษาแก่ผู้บริหารและผู้ประสานงาน
ขั้นที่สอง บุคลากรของโรงเรียนทำการฝึก อบรมบุคลากรอื่นๆในโรงเรียน ผลการศึกษาพบว่า มีเพียง 4 โรงเรียนที่มี
การใช้โปรแกรมปรับปรุงคุณภาพอย่างสมบูรณ์แบบ การใช้โปรแกรมมีปัญหาและข้อจำกัดดังนี้ 1) การต่อต้านการ
นำโปรแกรมคุณภาพมาใช้ในโรงเรียน 2) ความรอบรู้ด้านแนวคิดและอุปกรณ์เครื่องมือไม่เพียงพอ 4) ผู้บริหาร
และผู้ประสานงานมีเวลาไม่เพียงพอตามโปรแกรม นอกจากนี้ยังพบว่า การต่อต้านผู้ใช้โปรแกรม เมื่อเวลาผ่านไปมี
จำนวนลดลง และมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในโรงเรียน นั่นคือ อัตรา การเรียนซ้ำชั้น และการลาออกกลางคันลดลง
เนื่องจากมีการสอนซ่อมเสริม มีการออกเยี่ยมครอบครัวนักเรียน รวมทั้งการให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในโปรแกรม
บอเออร์ลี โคเพล (Bauerly Kopel 1998 : Abstract) ได้ศึกษาการนำการจัดการคุณภาพแบบ
เบ็ดเสร็จไปใช้ในโรงเรียนมัธยมในรัฐมินนิโซตา สหรัฐอเมริกา ประกอบด้วย 1) การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง 2) การ
มุ่งเน้นผลผลิต 3) การตัดสินใจโดยอาศัยข้อมูล 4) ความเป็นผู้นำ 5) การประเมินผล 6) การคิดแบบเป็นระบบ 7) การ
ฝึกอบรม โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาถึง ปัญหาและอุปสรรค รวมทั้งปริมาณการนำหลักการจัดการคุณภาพแบบ
เบ็ดเสร็จไปใช้งาน ผลการศึกษาพบว่า 1) มีการใช้หลักการจัดคุณภาพแบบเบ็ดเสร็จไปใช้ ทั้ง 7 โรงเรียน ในรัฐมิน
นิโซตา สหรัฐอเมริกา ในระดับที่แตกต่างกัน 2) ยังไม่มีโรงเรียนใดนำหลักการจัดคุณภาพแบบเบ็ดเสร็จทั้ง 7 หลัก
ไปใช้อย่างเต็มที่ 3) ขาดวิทยากร และบุคคลที่เป็นผู้นำ ส่วนอุปสรรคในการนำโครงการไปใช้ มีปัญหาจากเวลา เจต
คติของบุคลากร และการฝึกอบรมไม่เพียงพอ
28
งานวิจัยในต่างประเทศที่เกี่ยวข้องได้แสดงให้เห็นว่า ผู้บริหารและครูส่วนใหญ่เห็นด้วยต่อการ
ปฏิรูปการศึกษา เพราะมีแนวทางการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรมค่อนข้างชัดเจน ส่วนการกระจายอำนาจทางการ
ศึกษา มีการปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนได้ตระหนัก และเข้าใจในบทบาทของตนเองที่เพิ่มขึ้น ตลอดจนรัฐควรเร่งแก้
ไขระเบียบราชการที่เป็นอุปสรรคต่อความร่วมมือระหว่างรัฐและเอกชนในการจัดการศึกษา
จากการศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องสรุปได้ว่า การปฏิรูปการศึกษาเป็นความพยายามที่จะ
แก้ปัญหาการจัดการศึกษาที่กำลังเผชิญอยู่ เพื่อพัฒนานาทรัพยากรมนุษย์ให้มีความรู้ความสามารถและมีคุณลักษณะ
ที่พึงประสงค์ สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และ วัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงไป สามารถอยู่ในสังคม
โลกได้อย่างมีความสุข ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ โดยอาศัยหลักการ
กระจายอำนาจ การมีส่วนร่วม การใช้แผนยุทธศาสตร์เป็นเครื่องมือในการดำเนินงาน การประกันคุณภาพ และการ
จัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ตามแนวทางการปฏิรูป 4 ด้าน คือ การปฏิรูปกระบวนการเรียนการสอน
การปฏิรูปหลักสูตร การปฏิรูปวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา การปฏิรูปการบริหารและการจัดการ
บทที่ 3
วิธีการดำเนินการวิจัย
ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย ซึ่งผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
3. การเก็บรวบรวมข้อมูล
4. การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
1. ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหาร และครูผู้สอนในโรงเรียนเอกชน เครือคาทอลิก คณะอุร์สุ
ลิน ที่ปฏิบัติงานจริงในปีการศึกษา 2545 จำนวน 5 โรงเรียน รวมทั้งสิ้น 525 คน จำแนกเป็นผู้บริหาร 40 คน และครู
ผู้สอน 485 คน
2. กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหาร และครูผู้สอนจำนวน 226 คน จำแนกเป็น ผู้บริหาร
จำนวน 17 คน และครูผู้สอนจำนวน 209 คน โดยการกำหนดกลุ่มตัวอย่างตามตารางเครซีและมอแกน (Krejcie and
Morgan) ซึ่งกลุ่มตัวอย่างดังกล่าวได้ถูกสุ่มมาตามสัดส่วนของผู้บริหารและครูผู้สอนในแต่ละ โรงเรียนโดยวิธีการ
แบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) จากประชากรจำนวน 525 คน โดยกำหนดประชากรออกเป็น 2 กลุ่ม
และทำการสุ่มดังนี้
กลุ่มที่ 1 ได้แก่ ผู้บริหาร จำนวน 40 คน ทำการสุ่มโดยเทียบสัดส่วนกับกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด พบว่า ได้ผู้
บริหาร จำนวน 17 คน
กลุ่มที่ 2 ได้แก่ ครูผู้สอน จำนวน 485 คน ทำการสุ่มโดยเทียบสัดส่วนกับกลุ่มตัวอย่าง ทั้งหมด พบว่า
ได้ครูผู้สอน จำนวน 209 คน รายละเอียดของกลุ่มตัวอย่างที่ถูกคัดเลือกแล้วได้แสดงไว้ในตารางที่ 1
30
ตารางที่ 1 จำนวนประชากรและกลุ่มตัวอย่างของโรงเรียนเอกชน ในเครือคาทอลิก คณะอุร์สุลิน
จำแนกตามโรงเรียน
ผบู้ ริหาร ครูผสู้ อน รวม
โรงเรียน ประชา
กร
กลุ่ม
ตัวอย่าง
ประชา
กร
กลุ่ม
ตัวอย่าง
ประชา
กร
กลุ่ม
ตัวอย่าง
1. โรงเรียนกุหลาบวัฒนา 6 3 60 26 66 29
2. โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย 11 5 135 58 146 63
3. โรงเรียนเรยีนาเชลีวิทยาลัย 13 5 140 60 153 65
4. โรงเรียนวาสุเทวี 8 3 62 27 70 30
5. โรงเรียนศิริมาตย์เทวี 2 1 88 38 90 39
รวม 40 17 485 209 525 226
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง ลักษณะของแบบ สอบถามแบ่ง
ออกเป็น 2 ตอน ดังนี้
ตอนที่ 1 ข้อมูลสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม ซึ่งเป็นแบบเลือกตอบ
ตอนที่ 2 ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพ ปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาของการดำเนินงานตามนโยบาย
การปฏิรูปการศึกษาของโรงเรียนเอกชน ในเครือคาทอลิก คณะอุร์สุลิน ซึ่งเป็นแบบมาตรประมาณค่า (Rating
Scale) ที่สร้างขึ้นตามแบบของ ลิเคิร์ท (Likert Scale) (พวงรัตน์ ทวีรัตน์ 2540 : 8) โดยคำถามจะเกี่ยวข้องกับองค์
ประกอบทั้ง 4 ของแนวทางการปฏิรูปการศึกษาได้แก่ ด้านกระบวนการเรียนการสอน ด้านหลักสูตร ด้านวิชาชีพครู
และบุคลากรทางการศึกษา และด้านการบริหารและการจัดการ
การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
ในการสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ 1 ศึกษาถึงขั้นตอนการสร้างแบบสอบถามจากทฤษฎี หลักการ และแนวคิดจากเอกสาร ตำรา
รายงานการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปการศึกษา
ขั้นที่ 2 สร้างเครื่องมือตามกรอบแนวความคิดโดยให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย
ขั้นที่ 3 สร้างแบบสอบถามตามกรอบแนวความคิดและขอบข่ายของการวิจัย
ขั้นที่ 4 นำแบบสอบถามที่สร้างขึ้นเสนอคณะกรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์เพื่อตรวจสอบและแก้
ไข หลังจากนั้นส่งแบบสอบถามให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน เพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรง
ตามเนื้อหาและความเหมาะสมของการใช้ภาษา
ขั้นที่ 5 ปรับปรุงแก้ไขแบบสอบถามตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ แล้วจึงจัดพิมพ์แบบสอบถาม
เพื่อนำไปปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษาก่อนนำไปทดลองใช้
31
ขั้นที่ 6 นำแบบสอบถามไปทดลอง (Try Out) กับผู้บริหารและครูโรงเรียนที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง ได้
แก่ โรงเรียนเปรมฤดีศึกษา และโรงเรียนวรมงคล จำนวน 30 คน หลังจากนั้นนำแบบสอบ
ถามทั้งหมดที่ได้มาทำการวิเคราะห์เพื่อหาความเชื่อมั่นโดยใช้วิธีการหาค่าสัมประสิทธิ์แอล
ฟ่าของครอนบาค (Cronbach) ได้ค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นรวมทั้งฉบับเท่ากับ 0.83
ขั้นที่ 7 นำแบบสอบถามที่หาความเที่ยงตรงและความเชื่อมั่นแล้ว ไปดำเนินการจัดพิมพ์เป็นแบบ
สอบถามฉบับสมบูรณ์เพื่อใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลต่อไป
การเก็บรวบรวมข้อมูล
ผู้วิจัยขอหนังสือรับรองจากทางบัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เพื่อขอความร่วม
มือในการตอบแบบสอบถาม และเก็บข้อมูลสำหรับการทำวิทยานิพนธ์ไปยังผู้บริหาร โรงเรียนเอกชน ในเครือ
คาทอลิก คณะอุร์สุลินจำนวน 5 โรงเรียน และนำแบบสอบถามส่งทางไปรษณีย์ถึงโรงเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง และ
ติดตามแบบสอบถามที่ส่งไปโดยใช้การโทรศัพท์ โดยใช้ระยะเวลาเก็บรวบรวมแบบสอบถามกลับคืนประมาณ 4
สัปดาห์ ได้รับแบบสอบถามกลับมาทั้งสิ้น 216 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 95.57
32
วิธีการและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยนำข้อมูลจากแบบสอบถามที่ได้รับกลับคืนมาทั้งหมด
มาวิเคราะห์และประมวลผลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS / PC+ ซึ่งรายละเอียดของกระบวนการดัง
กล่าวสามารถสรุปได้ดังนี้
1. วิเคราะห์สถานภาพของผ้ตอบแบบสอบถาม โดยคำนวณหาค่าร้อยละ
2. วิเคราะห์สภาพและปัญหาของการดำเนินงานตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษาของ
โรงเรียนเอกชนในเครือคาทอลิก คณะอุร์สุลิน โดยค่าเฉลี่ย ( x ) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ในแต่ละด้านและ
รวมทุกด้าน
เกณฑ์การกำหนดค่าระดับปฏิบัติ/ปัญหาแบบสอบถามในตอนที่ 2 นี้ ได้กำหนดค่าระดับการดำเนินงาน
ตามเกณฑ์ดังนี้ (ประคอง กรรณสูตร : 2540 : 204)
5 หมายถึง ระดับการปฏิบัติ / ปัญหา มากที่สุด
4 หมายถึง ระดับการปฏิบัติ / ปัญหา มาก
3 หมายถึง ระดับการปฏิบัติ / ปัญหา ปานกลาง
2 หมายถึง ระดับการปฏิบัติ / ปัญหา น้อย
1 หมายถึง ระดับการปฏิบัติ / ปัญหา น้อยที่สุด
สำหรับเกณฑ์ในการพิจารณาค่าเฉลี่ยของแต่ละระดับปฏิบัติ / ปัญหา ได้กำหนดการแปลความหมายของ
ค่าเฉลี่ยดังต่อไปนี้ (ประคอง กรรณสูตร : 2540 : 204)
4.50 - 5.00 หมายถึง ระดับการปฏิบัติ / ปัญหา มากที่สุด
3.50 - 4.49 หมายถึง ระดับการปฏิบัติ / ปัญหา มาก
2.50 - 3.49 หมายถึง ระดับการปฏิบัติ / ปัญหา ปานกลาง
1.50 - 2.49 หมายถึง ระดับการปฏิบัติ / ปัญหา น้อย
1.00 - 1.49 หมายถึง ระดับการปฏิบัติ / ปัญหา น้อยที่สุด
3. วิเคราะห์ข้อมูลที่เป็นข้อเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาของแต่ละองค์ประกอบหลักทั้ง 4 ของการ
ปฏิรูปการศึกษา ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาโดยการหาค่าความถี่และค่าร้อยละ
33

การศึกษาสภาพ ปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาของการดำเนินงานตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษาของโรงเรียนเอกชน (ตอนที่ 1)
การศึกษาสภาพ ปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาของการดำเนินงานตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษาของโรงเรียนเอกชน (ตอนที่ 2)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น